query_id
stringlengths 1
4
| query
stringlengths 11
185
| positive_passages
listlengths 1
9
| negative_passages
listlengths 1
30
|
---|---|---|---|
2326 | ภัยพิบัติเชียร์โนบีล ก่อสร้างขึ้นเมื่อวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "323534#0",
"text": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล (; ) เป็นอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ขั้นร้ายแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1986 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีล ตั้งอยู่ที่นิคมเชียร์โนบีล ริมฝั่งแม่น้ำนีเปอร์ ใกล้เมืองพริเพียต แคว้นเคียฟ ทางตอนเหนือของยูเครน ใกล้ชายแดนเบลารุส (ในขณะนั้นยูเครนและเบลารุสยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต) อุบัติเหตุที่เชียร์โนบีลนี้เป็นอุบัติเหตุที่เกิดกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ในแง่ของค่าใช้จ่ายและชีวิต",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#4",
"text": "ภัยพิบัติเริ่มในช่วงการทดสอบระบบในวันเสาร์ที่ 26 เมษายน 1986 ที่เครื่องปฏิกรณ์หมายเลขสี่ของโรงไฟฟ้าเชียร์โนบีล มีพลังงานกระชาก () ที่ฉับพลันและไม่คาดคิด และเมื่อมีความพยายามที่จะปิดแบบฉุกเฉิน พลังงานกระชากขนาดที่ใหญ่กว่ามากก็เกิดขึ้นในส่วนของพลังงานส่งออก ซึ่งนำไปสู่การแตกของ'อ่างปฏิกรณ์' () และการระเบิดเป็นชุดของไอน้ำ เหตุการณ์เหล่านี้เปิดให้ตัวหน่วงปฏิกิริยานิวตรอนที่ทำด้วยกราไฟท์ () ของเครื่องปฏิกรณ์ได้สัมผัสกับอากาศ ก่อให้เกิดการลุกไหม้. ไฟที่ไหม้ส่งกลุ่มฝุ่น () ที่มีกัมมันตรังสีสูงออกสู่ชั้นบรรยากาศและทั่วพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง รวมทั้งเมือง Pripyat กลุ่มฝุ่นกัมมันตรังสีลอยเหนือส่วนใหญ่ของภาคตะวันตกของสหภาพโซเวียตและยุโรป จากปี 1986-2000 ประชาชน 350,400 คนได้รับคำสั่งให้อพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่ออกจากพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ปนเปื้อนอย่างรุนแรงของเบลารุส รัสเซียและยูเครน ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการของโซเวียตช่วงหลังจากสลายตัว ประมาณ 60% ของกลุ่มฝุ่นกัมมันตรังสีตกลงในเบลารุส",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
}
] | [
{
"docid": "323534#158",
"text": "ตัวเก็บที่ปลอดภัยใหม่จะต้องถูกสร้างขึ้นภายในสิ้นปี 2005 อย่างไรก็ตาม มันมีปัญหาเนื่องจากความล่าช้าอย่างต่อเนื่องและ ณ ปี 2010 เมื่อการก่อสร้างเริ่มได้ในที่สุด มันคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2013 มันถูกเลื่อนออกไปอีกครั้งไปที่ปี 2016 ซึ่งเป็นตอนปลายของอายุการใช้งาน 30 ปีของโลงศพ โครงสร้างจะถูกสร้างขึ้นติดกับโรงเก็บเดิมและจะถูกเลื่อนให้เข้าที่โดยราง มันจะเป็นโลหะโค้งสูง 105 เมตร (344 ฟุต) และทอดยาว 257 เมตร (843 ฟุต) เพื่อให้ครอบคลุมทั้งหน่วยที่ 4 และโครงสร้างอื่นที่สร้างขึ้นอย่างเร่งรีบในปี 1986 'กองทุนโรงเก็บเชียร์โนบีล' ถูกตั้งขึ้นในปี 1997 ได้รับ €810 ล้านจากผู้บริจาคและโครงการระหว่างประเทศเพื่อให้ครอบคลุมโครงการนี้และงานก่อนหน้า กองทุนนี้และ 'บัญชีความปลอดภัยนิวเคลียร์' ยังถูกใช้ในการรื้อถอนเชียร์โนบีลอีกด้วย ทั้งสองกองทุนมีการจัดการโดยธนาคารยุโรปเพื่อการบูรณะและพัฒนา (EBRD)",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#9",
"text": "ในบทหนึ่งของกรีนพีซ ผู้ก่อตั้งภูมิภาคนั้นชาวรัสเซียยังประพันธ์หนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า \"เชียร์โนบีล: ผลกระทบของภัยพิบัติที่เกิดกับผู้คนและสิ่งแวดล้อม\" ซึ่งสรุปได้ว่าท่ามกลางผู้คนนับพันล้านคนทั่วโลกที่ได้สัมผัสกับการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีจากภัยพิบัติ เกือบหนึ่งล้านคนเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งก่อนวัยอันควรระหว่างปี 1986 ถึงปี 2004 อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้ล้มเหลวในกระบวนการ peer review ในห้าความคิดเห็นที่ตีพิมพ์ในสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ สี่ความคิดเห็นพิจารณาว่าหนังสือเล่มนี้มีข้อบกพร่องและขัดแย้งอย่างรุนแรง และหนึ่งความคิดเห็นยกย่องในขณะที่มีการตั้งข้อสังเกตถึงข้อบกพร่องบางอย่าง ความคิดเห็นโดย M.I. Balonov เผยแพร่โดย 'สถาบันวิทยาศาสตร์นิวยอร์ก' สรุปว่ารายงานมีค่าเป็นลบเพราะมันมีประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์น้อยมากในขณะที่สร้างความเข้าใจผิดอย่างมากให้กับผู้อ่าน มันประมาณการผู้เสียชีวิตเกือบหนึ่งล้านคนในดินแดนของนิยายมากกว่าในดินแดนของวิทยาศาสตร์",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#64",
"text": "การอพยพเริ่มมานานก่อนที่การเกิดอุบัติเหตุจะเป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนทั่วสหภาพ เฉพาะในวันที่ 28 เมษายน หลังจากที่ระดับรังสีเปิดการเตือนภัยที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Forsmark ในประเทศสวีเดน ที่อยู่ห่างจากโรงงานเชียร์โนบีลกว่า 1,000 กิโลเมตร (620 ไมล์) สหภาพโซเวียตก็ยอมรับกับสาธารณชนว่าอุบัติเหตุได้เกิดขึ้น เมื่อเวลา 21:02 น. ของเย็นวันนั้น มีการอ่านประกาศเป็นเวลา 20 วินาทีในรายการข่าวโทรทัศน์ Vremya:",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#101",
"text": "สวีเดนเป็นผู้ค้นหาแหล่งที่มาของกัมมันตภาพรังสี หลังจากที่พวกเขาได้พิจารณาแล้วว่าไม่มีการรั่วไหลที่โรงไฟฟ้าของสวีเดน ในตอนเที่ยงของวันที่ 28 เมษายน พวกเขาค้นพบเบาะแสแรกว่าเกิดปัญหานิวเคลียร์ร้ายแรงในทางตะวันตกของสหภาพโซเวียต ดังนั้นการอพยพของ Pripyat ในวันที่ 27 เมษายน หรือ 36 ชั่วโมงหลังจากการระเบิดครั้งแรกก็เสร็จสมบูรณ์อย่างเงียบ ๆ ก่อนที่ภัยพิบัติจะกลายเป็นที่รู้จักนอกสหภาพโซเวียต ในเวลานั้นการเพิ่มขึ้นของระดับรังสีได้มีการวัดเรียบร้อยแล้วในฟินแลนด์ แต่การนัดหยุดงานของข้าราชการพลเรือนทำให้การตอบสนองและข่าวล่าช้า",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#176",
"text": "กองทุนโรงเก็บเชียร์โนบีลได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1997 ที่ประชุมสุดยอด G8 ครั้งที่ 23 ที่เดนเวอร์ เพื่อเป็นเงินทุนการดำเนินงานตามแผนการสร้างโรงเก็บ (SIP) แผนนี้เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนสถานที่ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยทางระบบนิเวศโดยใช้วิธีการรักษาเสถียรภาพของโลงศพหลังการก่อสร้างอาคารเก็บที่ปลอดภัยใหม่ () ในขณะที่การประมาณการค่าใช้จ่ายเดิมของ SIP อยู่ที่ USD 768 ล้าน การประมาณการในปี 2006 จะอยู่ที่ USD 1.2 พันล้าน SIP จะถูกจัดการโดยบริษัทร่วมทุนของ Bechtel Battelle และไฟฟ้าฝรั่งเศส และออกแบบตามแนวความคิดสำหรับ NSC ที่ประกอบด้วยซุ้มประตูเคลื่อนที่ โดยสร้างให้ไกลจากโรงเก็บเพื่อหลีกเลี่ยงรังสีที่สูง ที่จะตกลงไปในโลงศพ NSC คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2015 และจะเป็นโครงสร้างที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#99",
"text": "วัสดุกัมมันตรังสีถูกปล่อยออกจากเชียร์โนบีลมากกว่าระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาถึงสี่ร้อยเท่า ภัยพิบัตินี้ได้ปล่อยออกมา 1/100 ถึง 1/1000 ของปริมาณกัมมันตภาพรังสีทั้งหมดที่ปล่อยออกมาโดยการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ในช่วงปี 1950s และ 1960s ประมาณ 100,000 ตารางกิโลเมตรของที่ดินมีการปนเปื้อนอย่างมีนัยสำคัญด้วยฝุ่นละออง () ที่มีผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดกับภูมิภาคที่อยู่ในเบลารุส ยูเครนและรัสเซีย ระดับการปนเปื้อนที่น้อยกว่าได้รับการตรวจพบทั่วทั้งยุโรปยกเว้นคาบสมุทรไอบีเรีย",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#178",
"text": "โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติในปี 2003 ได้เปิดตัวโครงการเฉพาะที่เรียกว่าโครงการการกู้คืนและพัฒนาเชียร์โนบีล (CRDP) เพื่อกู้คืนพื้นที่ได้รับผลกระทบ โปรแกรมถูกริเริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2002 ตามคำแนะนำในรายงานเกี่ยวกับผลกระทบที่ตามมากับมนุษย์เนื่องจากอุบัติเหตุนิวเคลียร์เชียร์โนบีล เป้าหมายหลักของกิจกรรมของ CRDP ก็คือการสนับสนุนรัฐบาลของประเทศยูเครนในการบรรเทาผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศระยะยาวของภัยพิบัติเชียร์โนบีล. CRDP ทำงานอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากเชียร์โนบีลในยูเครน 4 แห่ง ได้แก่ Kyivska, Zhytomyrska, Chernihivska และ Rivnenska",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#180",
"text": "\"The Front Veranda\" (1986), พิมพ์หินโดยซูซาน โดโรธี White ในหอศิลป์แห่งชาติของออสเตรเลีย เป็นตัวอย่างของการรับรู้ทั่วโลกของเหตุการณ์ \"น้ำหนัก\" () \"ภาพยนตร์สำหรับเชียร์โนบีล\" ได้รับการนำเสนอวโดย Seventh Art ในปี 2006 เพื่อรำลึกถึงภัยพิบัติผ่านทางบทกวีและบัญชีมือแรก ฟิล์มนำเสนอสารคดีเรื่องสั้นที่ดีที่สุดที่เทศกาลภาพยนตร์ Cinequest เช่นเดียวกับรางวัล \"คะแนนที่ดีที่สุด\" ที่โรดไอแลนด์ พร้อมกับการคัดกรองที่ Tate Modern",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
}
] |
1762 | คิม อิล-ซ็อง เกิดเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "263409#1",
"text": "อัตชีวประวัติของประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง นั้นได้มาจากตัวประธานาธิบดีเองและการจัดพิมพ์ของรัฐบาลเกาหลีเหนือ ซึ่งข้องเท็จจริงบางประการนั้นขัดแย้งกับหลักฐานจากภายนอก ประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2455[3][4] เดิมมีชื่อว่า คิม ซ็อง-จู () ที่หมู่บ้านมันกย็องแด ในเมืองเปียงยาง จังหวัดพย็องอันใต้ของเกาหลีเหนือในปัจจุบัน เป็นบุตรชายคนโตของคิม ฮย็อง-จิก () และคัง พัน-ซ็อก () มีน้องชายสองคนได้แก่ คิม ช็อล-จู และคิม ย็อง-จู[4]:15 ครอบครัวของคิม ซ็อง-จู นับถือคริสต์ศาสนานิกายเพรสไบทีเรียน[5][6][7] บิดา คิม ฮย็อง-จิก เป็นครู เกาหลีในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิญี่ปุ่น เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นนั้นประสบปัญหาภาวะข้าวยากหมากแพงเป็นเหตุให้ครอบครัวของคิม อิล-ซ็อง อพยพย้ายไปอาศัยยังมณฑลจี๋หลิน แคว้นแมนจูเรีย ของสาธารณรัฐจีนเมื่อประมาณ พ.ศ. 2463 เมื่อคิม ซ็อง-จู นั้นยังอายุน้อย",
"title": "คิม อิล-ซ็อง"
},
{
"docid": "263409#0",
"text": "คิม อิล-ซ็อง (, 15 เมษายน พ.ศ. 2455 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537) เป็นผู้นำคนแรกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ก่อตั้งประเทศเมื่อ พ.ศ. 2492 ถึง พ.ศ. 2515 และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ พ.ศ. 2515 กระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2537[1] นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแรงงานเกาหลี ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 จนถึง พ.ศ. 2537 คิม อิล-ซ็องเป็นที่รู้จักกว้างขวางในฐานะผู้เผด็จการในระบอบคอมมิวนิสต์ของประเทศเกาหลีเหนือ โดยดำรงตำแหน่งอยู่ในอำนาจในฐานะผู้นำของประเทศเกาหลีเหนือเป็นเวลายาวนานถึงสี่สิบกว่าปี ดำรงตำแหน่งในช่วงสำคัญในประวัติศาสตร์อันได้แก่สงครามเย็นและสงครามเกาหลี มีการพัฒนาลัทธิบูชาบุคคลขึ้นมาสำหรับคิม อิล-ซ็องโดยเฉพาะ หลังคิม อิล-ซ็อง ถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว รัฐบาลเกาหลีเหนือภายใต้การนำของประธานาธิบดีคิม จ็อง-อิล บุตรชาย ได้ให้สมญานามแก่เขาว่า \"ประธานาธิบดีตลอดกาล\" (Eternal President )[2] เมื่อ พ.ศ. 2554",
"title": "คิม อิล-ซ็อง"
}
] | [
{
"docid": "744955#1",
"text": "ได้เหินห่างมานานหลายปี ก่อนที่คิม จ็อง-อิล เสียชีวิต คิม ย็อง-ซุก มีลูกสาว สมรสกับ คิม ซุล-ซ็อง (เกิด 1974) เธอเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของเกาหลีเหนือ ตั้งแต่ปี 1994 ถึง 2011",
"title": "คิม ย็อง-ซุก"
},
{
"docid": "263409#5",
"text": "นอกเหนือจากคิม อิล-ซ็อง สหภาพโซเวียตได้พยายามที่จะรวบรวมบุคคลและองค์กรต่าง ๆ ของชาวเกาหลีที่ให้การสนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาสู่รัฐบาลเกาหลีเหนือ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 พรรคประชาชนใหม่ของคิม ดู-บง () และพรรคแรงงานเกาหลีที่โซลของนายพัก ฮ็อน-ย็อง ถูกยุบรวมเข้ากับพรรคแรงงานแห่งเกาหลีของนายคิม อิล-ซ็อง กลายเป็นสภาประชาชนชั่วคราวแห่งเกาหลีเหนือ โดยมีคิม อิล-ซ็อง เป็นผู้นำ แต่ทว่าตำแหน่งหัวหน้าพรรคแรงงานนั้นตกเป็นของคิม ดู-บง ในฐานะผู้นำของสภาประชาชนคิม อิล-ซ็อง ได้ปฏิรูประบบที่ดินในเกาหลี ซึ่งในสมัยการปกครองของญี่ปุ่นนั้นดินแดนส่วนใหญ่ในเกาหลีมีนายทุนชาวญี่ปุ่นเป็นเจ้าของ คิม อิล-ซ็อง ได้จัดสรรที่ดินใหม่ทั้งหมดตามหลักการของลัทธิคอมมิวนิสต์",
"title": "คิม อิล-ซ็อง"
},
{
"docid": "263409#11",
"text": "การรุกรานเกาหลีใต้ของคิม อิล-ซ็อง ใน พ.ศ. 2493 เป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่ของคิม อิล-ซ็อง ทัพผสมสหรัฐอเมริกาและสหประชาชาติเมื่อยุติการรุกรานของเกาหลีเหนือได้แล้ว ก็หวังผลการรวมคาบสมุทรเกาหลีไว้กับรัฐบาลที่โซล จึงยกพลขึ้นเหนือจากเส้นขนานที่ 38 ในเดือนตุลาคม เข้ารุกรานเกาหลีเหนือ เข้ายึดเมืองเปียงยางได้ กองทัพประชาชนเกาหลีแตกพ่าย คิม อิล-ซ็อง หลบหนีจากเมืองเปียงยางไปยังมณฑลจี๋หลินของสาธารณรัฐจีน เมื่อทัพสหรัฐอเมริกายกพลมาจนใกล้ถึงแม่น้ำยาลู ฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีนภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตงมีความเห็นว่าฝ่ายสหรัฐอเมริกานั้นเข้ามาคุกคามใกล้เคียงกับเขตแดนของสาธารณรัฐประชาชนจีนมากจนเกินทน จึงส่งเผิง เต๋อหฺวาย (Chinese:彭德怀, Péng Déhuái) นำกองทัพอาสาประชาชนเข้าช่วยฝ่ายเกาหลีเหนือ โดยฝ่ายสหรัฐอเมริกาและสหประชาชาติไม่ทันตั้งตัวถูกโจมตีจนล่าถอยกลับลงมาสู่เส้นขนานที่ 38 กองทัพสหประชาชาติ กองทัพอาสาประชาชนของจีน และกองทัพประชาชนเกาหลี เจรจาทำข้อตกลงสงบศึกในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2496 ที่หมู่บ้านพันมุนจ็อม () ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะกำหนดเขตปลอดทหาร ความกว้างสี่กิโลเมตรระหว่างเขตแดนของทั้งสองประเทศ",
"title": "คิม อิล-ซ็อง"
},
{
"docid": "177758#2",
"text": "รายละเอียดเกี่ยวกับการเกิดของคิม จ็อง-อิลแตกต่างกันไปตามแหล่งข้อมูล บันทึกโซเวียตแสดงให้เห็นว่าเขาเกิดในหมู่บ้านวยัตสโคเย (Vyatskoye) ดินแดนฮาบารอฟสค์ (Khabarovsk) สหภาพโซเวียต เมื่อค.ศ. 1941[10] มีชื่อเมื่อแรกเกิดว่า ยูริ อีร์เซโนวิช คิม (Yuri Irsenovich Kim; รัสเซีย: Юрий Ирсенович Ким) เป็นบุตรชายคนโตคนแรกของนายคิม อิล-ซ็อง () กับนางคิม จ็อง-ซุก () คิม อิล-ซ็อง ผู้เป็นบิดา ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองพันที่ 1 แห่งกองพลน้อยโซเวียตที่ 88 อันประกอบด้วยชาวจีนและเกาหลีพลัดถิ่น แห่งกองทัพแดง (Red Army) ของสหภาพโซเวียต เพื่อต่อสู้กับการรุกรานแมนจูเรียของจักรวรรดิญี่ปุ่น ในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 (Second Sino-Japanese War) คิม จ็อง-อิล มีน้องชายมารดาเดียวกันอีกหนึ่งคนคือ คิม มัน-อิล () หรือ คิม ชูรา (Kim Sura; ) เกิดเมื่อปีค.ศ. 1944 และน้องสาวหนึ่งคนคือ คิม กยอง-ฮี ()",
"title": "คิม จ็อง-อิล"
},
{
"docid": "177758#30",
"text": "คิม จ็อง-อิลสมรสกับนางคิม ยอง-ซุก () เมื่อค.ศ. 1974 ซึ่งได้ให้กำเนิดบุตรสาวคนโตคนแรกแก่คิม จ็อง-อิล คือ คิม ซอล-ซ็ง () ในปีต่อมาค.ศ. 1975 คิม อิล-ซ็องผู้เป็นบิดาล่วงรู้ถึงความสัมพันธ์ของคิม จ็อง-อิล บุตรชายกับนางซ็อง ฮเย-ริม แม้ว่าซ็อง ฮเย-ริม จะไม่ได้รับสถานะเป็นภรรยาที่ถูกต้องแต่คิม จ็อง-นัม นั้นได้รับการยอมรับในฐานะบุตรชายของคิม จ็อง-อิล",
"title": "คิม จ็อง-อิล"
},
{
"docid": "177758#8",
"text": "หลังจากที่มารดาของคิม จ็อง-อิล เสียชีวิตไป คิม อิล-ซ็อง ผู้เป็นบิดาได้สมรสใหม่กับนางคิม ซ็อง-แอ () จากการสมรสครั้งใหม่ของบิดา คิม จ็อง-อิล มีน้องชายต่างมารดาอีกสองคน หนึ่งในนั้นคือ คิม พย็อง-อิล ( ตั้งตามชื่อน้องชายที่จมน้ำเสียชีวิตของคิม จ็อง-อิล) นับแต่ ค.ศ. 1988 คิม พย็อง-อิลได้รับราชการในสถานทูตเกาหลีเหนือหลายแห่งในยุโรปและปัจจุบันเป็นเอกอัครราชทูตเกาหลีเหนือประจำโปแลนด์ นักวิจารณ์ต่างประเทศสงสัยว่าคิม พยองอิลถูกบิดาส่งไปรับตำแหน่งห่างไกลเหล่านี้เพื่อป้องกันการแก่งแย่งอำนาจระหว่างบุตรชายทั้งสอง[20]",
"title": "คิม จ็อง-อิล"
},
{
"docid": "263409#4",
"text": "เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 จักรวรรดิญี่ปุ่นประกาศยอมจำนนต่อสงครามโลกครั้งที่สอง และทัพโซเวียตเข้ายึดเมืองเปียงยาง เกาหลีพ้นจากการเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น และด้วยมติของสหประชาชาติให้เกาหลีอยู่ในภาวะทรัสตี (Trusteeship) โดยสหภาพโซเวียตเข้ากำกับดูแลดินแดนเกาหลีทางตอนเหนือ ในขณะที่สหรัฐอเมริกากำกับดูแลเกาหลีทางตอนใต้ โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) ผู้นำสหภาพโซเวียตต้องการสรรหาผู้นำชาวเกาหลีซึ่งจะปกครองเกาหลีส่วนเหนือที่อยู่ภายใต้การล่าอาณานิคมของโซเวียตต่อไป ลาฟเรนตี เบเรีย (Lavrentiy Beria) ได้แนะนำคิม อิล-ซ็อง ต่อสตาลิน[3][10][11] ให้เป็นผู้ปกครองดินแดนเกาหลีเหนือ คิม อิล-ซ็อง จึงเดินทางกลับมายังเกาหลีโดยเทียบท่าที่เมืองวอนซันในเดือนกันยายน พ.ศ. 2488[11][12] ในเดือนธันวาคมสหภาพโซเวียตประกาศให้คิม อิล-ซ็อง เป็นหัวหน้าพรรคแรงงานล่าอาณานิคมเกาหลี[13] แม้ว่าพรรคแรงงานแห่งเกาหลีเดิมนั้นมีที่ทำการอยู่ที่โซล และมีหัวหน้าอยู่ก่อนแล้วคือพัก ฮ็อน-ย็อง () ด้วยการสนับสนุนของสหภาพโซเวียต คิม อิล-ซ็อง จึงสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำคอมมิวนิสต์สูงสุดของเกาหลีเหนือได้สำเร็จ[11][13]",
"title": "คิม อิล-ซ็อง"
},
{
"docid": "177758#38",
"text": "ทว่ามีการรายงานข่าวทางโทรทัศน์ในเกาหลีเหนือเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2011 ว่า คิม จ็อง-อิล ถึงแก่อสัญกรรมแล้วเมื่อสองวันก่อน (17 ธันวาคม) ด้วยสาเหตุทำงานมากเกินไป จนทำให้ทั้งทางร่างกายและจิตใจรับไม่ไหว[51] คิม จ็อง-อิล ถึงแก่อสัญกรรมที่กรุงเปียงยาง มีการไว้ทุกข์เป็นเวลาสองสัปดาห์และพิธีศพมีขึ้นในวันที่ 28 ธันวาคม ศพของนายคิม จ็อง-อิล ถูกตั้งไว้ที่วังสุริยะคึมซูซัน เช่นเดียวกับคิม อิล-ซ็อง บิดา",
"title": "คิม จ็อง-อิล"
},
{
"docid": "263409#7",
"text": "นายกรัฐมนตรีคิม อิล-ซ็อง นิยมการบริหารประเทศในแบบของโจเซฟ สตาลิน จนนำมาเป็นแบบอย่าง คิม อิล-ซ็อง เริ่มการสร้างลัทธิบูชาตัวบุคคล (cult of personality) ของเขาเองขึ้นมา เริ่มมีการเรียกคิม อิล-ซ็อง ว่า \"ท่านผู้นำ\" (Great Leader) รูปปั้นเสมือนของคิม อิล-ซ็อง ก็เริ่มปรากฏขึ้นในสมัยนี้เช่นกัน",
"title": "คิม อิล-ซ็อง"
},
{
"docid": "451299#0",
"text": "เพลงของนายพลคิม อิล-ซ็อง ( \"คิมอิล-ซ็อง จังกุนนึย โนแร\") เป็นเพลงที่ใช้ในการเดินสวนสนามของกองทัพเกาหลีเหนือ และใช้เป็นเพลงเปิดสถานีโทรทัศน์ของเกาหลีเหนือ (KCTV) เพลงนี้แต่งขึ้นโดย คิม ว็อน-กยุน ในปี ค.ศ. 1946 เพื่อสรรเสริญต่อประธานาธิบดี คิม อิล-ซ็อง1.ระบบเสียงกระทรวงวัฒนธรรมเกาหลี 2000 : http://lyricstranslate.com/en/north-korean-patriotic-song-song-general-kim-il-sung-김일성장군의-노래-gim-il-se.html",
"title": "เพลงของนายพลคิม อิล-ซ็อง"
},
{
"docid": "263409#6",
"text": "เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2490 สหประชาชาติมีมติให้รัฐบาลที่มาจากเลือกตั้งที่โซลมีอำนาจปกครองทั่วทั้งคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งเป็นข้อตกลงที่สหภาพโซเวียตไม่เห็นชอบด้วย เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491 รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่โซลนำโดยอี ซึง-มัน (Yi Seung-man; ) ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเกาหลีในเดือนต่อมากันยายน พ.ศ. 2491 สหภาพโซเวียตจึงยกระดับสภาประชาชนเกาหลีเหนือขึ้นเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (Democratic People's Republic of Korea; DPRK) โดยมีนายคิม อิล-ซ็อง เป็นนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีคิม อิล-ซ็อง จัดตั้งกองทัพล่าอาณานิคมเกาหลี เพื่อเป็นกองกำลังทหารประจำรัฐ คิม อิล-ซ็อง รวบรวมพรรคคอมมิวนิสต์อื่น ๆ ในเกาหลีจัดตั้งเป็น แนวร่วมล่าอาณานิคมเพื่อเอกภาพแห่งปิตุภูมิ (Democratic Front of the Reunification of the Fatherland) โดยมีพรรคแรงงานล่าอาณานิคมแห่งเกาหลีของคิม อิล-ซ็อง เป็นแกนนำหลัก",
"title": "คิม อิล-ซ็อง"
},
{
"docid": "263409#15",
"text": "ผู้นำโซเวียตคนใหม่ นิกิตา ครุสชอฟ มีนโยบายต่อต้านลัทธิสตาลิน โดยผู้นำคอมมิวนิสต์ต่าง ๆ ซึ่งมีความนิยมในตัวสตาลินต่างถูกขับออกจากอำนาจ คิม อิล-ซ็อง ผู้นิยมสตาลิน (Stalinist) ถูกทางการสหภาพโซเวียตเรียกเข้ารายงานตัวที่มอสโกใน พ.ศ. 2499 เพื่อพบครุสชอฟ ครุสชอฟได้กล่าวตำหนิถึงวิธีการบริหารประเทศแบบสตาลินของคิม อิล-ซ็อง ได้แก่ความเผด็จการและการสร้างลัทธิบูชาตัวบุคคล และเน้นย้ำให้คิม อิล-ซ็อง เห็นถึงหลักการของภาวะผู้นำร่วม (collective leadership)[19] ขณะที่คิม อิล-ซ็อง อยู่ที่เมืองมอสโคนั้น ฝ่ายย็อนอันได้ฉวยโอกาสนี้พยายามก่อการยึดอำนาจจากคิม อิล-ซ็อง โดยชเว ชัง-อิก ได้กล่าวสุนทรพจน์ตำหนิการบริหารประเทศของคิมว่ารวบอำนาจไว้ในมือของตนแต่เพียงผู้เดียวเป็นเผด็จการ แต่ทว่าสมาชิกพรรคคนอื่น ๆ ในรัฐบาลไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจของฝ่ายย็อนอัน เมื่อคิม อิล-ซ็อง เดินทางกลับมาจึงสั่งให้มีการสอบสวนจับกุมผู้นำฝ่ายย็อนอันทั้งหลาย คิม ดู-บง ผู้นำฝ่ายย็อนอันแม้จะไม่ได้มีส่วนร่วมในการก่อการครั้งนี้แต่ก็ถูกตัดสินโทษประหารชีวิต เช่นเดียวกับชเว ชัง-อิก ผู้ริเริ่มในการก่อการครั้งนี้",
"title": "คิม อิล-ซ็อง"
},
{
"docid": "263409#19",
"text": "คิม อิล-ซ็อง หมายมั่นที่จะให้บุตรชายคนโตของตนที่เกิดจากภรรยาคนแรกคือ นายคิม จ็อง-อิล เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำของพรรคแรงงานแห่งเกาหลีต่อไป โดยใน พ.ศ. 2507 นายคิม จ็อง-อิล ได้รับการแต่งตั้งเข้าทำงานในแผนกจัดระเบียบและวางแนวทาง (Organization and Guidance Department) ของพรรคแรงงานแห่งเกาหลี อันเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อปูทางสำหรับคิม จ็อง-อิล ให้ขึ้นสู่อำนาจโดยเฉพาะ ต่อมาใน พ.ศ. 2516 คิม จ็อง-อิล ได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นเลขาธิการพรรคแรงงานแห่งเกาหลี ความก้าวหน้าทางการเมืองของคิม จ็อง-อิล ทำให้นานาชาติคาดการณ์ว่าเขาน่าจะเป็นผูสืบทอดต่อจากคิม อิล-ซ็อง ผู้เป็นบิดา พ.ศ. 2534 คิม จ็อง-อิล ได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพประชาชนเกาหลี เป็นการแสดงออกของนายคิม อิล-ซ็อง ว่า คิม จ็อง-อิล ผู้เป็นบุตรชายนั้นเป็นผู้สืบทอดอำนาจอย่างแท้จริง การสืบทอดตำแหน่งต่อจากบิดาของนายคิม จ็อง-อิล ทำให้เกาหลีเหนือกลายเป็นรัฐเผด็จการแบบสืบทอด หรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยพฤตินัย",
"title": "คิม อิล-ซ็อง"
},
{
"docid": "263409#14",
"text": "ในสมัยต้นของเกาหลีเหนือ คิม อิล-ซ็อง มิได้เป็นผู้นำคอมมิวนิสต์ที่มีอำนาจเพียงคนเดียวในเกาหลีเหนือ แต่ทว่ารัฐบาลเกาหลีเหนือในสมัยนั้นประกอบไปด้วยฝ่ายการเมืองถึงสี่ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายกองโจรแมนจูเรียคือฝ่ายของคิม อิล-ซ็อง ฝ่ายที่ให้การสนับสนุนสหภาพโซเวียต ฝ่ายที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลจีน และฝ่ายคอมมิวนิสต์จากเกาหลีใต้ ซึ่งฝ่ายที่เป็นคู่แข่งที่สำคัญที่สุดของคิม อิล-ซ็อง คือ ฝ่ายที่ให้การสนับสนุนจีนหรือที่เรียกว่า ฝ่ายย็อนอัน () นำโดยนายคิม ดู-บง และชเว ชัง-อิก () พ.ศ. 2496 คิม อิล-ซ็อง โทษฝ่ายคอมมิวนิสต์เกาหลีใต้ ซึ่งนำโดยนายพัก ฮ็อน-ย็อง ว่าเป็นสาเหตุทำให้กองทัพประชาชนเกาหลีไม่ได้รับการตอบรับจากชาวเกาหลีใต้ในสงครามเกาหลี พัก ฮ็อน-ย็อง และสมาชิกฝ่ายคอมมิวนิสต์ต่างถูกจับกุมดำเนินคดีต่อหน้าสาธารณชน (show trial) และจำนวนมากถูกตัดสินโทษประหารชีวิตหรือหายไปอย่างไร้ร่องรอย พัก ฮ็อน-ย็อง ถูกตัดสินโทษประหารใน พ.ศ. 2498",
"title": "คิม อิล-ซ็อง"
},
{
"docid": "2519#2",
"text": "เกาหลีเหนือเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวภายใต้สหแนวร่วมนำโดยพรรคแรงงานเกาหลี[3][4][5][6] รัฐบาลของประเทศเจริญตามอุดมการณ์จูเช (Juche) ว่าด้วยการพึ่งพาตนเอง พัฒนาโดยประธานาธิบดีของประเทศ คิม อิล-ซ็อง หลังเขาถึงแก่อสัญกรรม คิม อิล-ซ็องถูกประกาศให้เป็นประธานาธิบดีตลอดกาลของประเทศ จูเชจึงกลายมาเป็นอุดมการณ์ของรัฐอย่างเป็นทางการ เมื่อประเทศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใน พ.ศ. 2515[7] แม้คิม อิล-ซ็องจะใช้ร่างเป็นนโยบายอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ. 2498[8] หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้ง ได้เกิดทุพภิกขภัยขึ้นในประเทศ เป็นเหตุให้มีประชาชนเสียชีวิตถึงระหว่าง 9 แสนถึง 2 ล้านคน[9] โดยเผชิญกับสถานการณ์เหล่านี้ ผู้นำ คิม จ็อง-อิลประกาศใช้นโยบายซอนกุน (Songun) หรือ \"ทหารมาก่อน\" เพื่อเสริมสร้างประเทศและรัฐบาล[10]",
"title": "ประเทศเกาหลีเหนือ"
},
{
"docid": "177758#34",
"text": "บิดา: คิม อิล-ซ็อง มารดา: คิม จ็อง-ซุก พี่น้อง: คิม มัน-อิล (มารดาเดียวกัน) คิม กย็อง-ฮี (มารดาเดียวกัน) สมรสกับ ชัง ซ็อง-แท็ก คิม กย็อง-ซุก (ต่างมารดา) คิม พย็อง-อิล (ต่างมารดา) คิม ย็อง-อิล (ต่างมารดา) คิม กย็อง-จิน (ต่างมารดา) ภรรยา: ฮง อิล-ช็อน (ค.ศ. 1942 - ?) บุตรสาวคนแรก: คิม ฮเย-กย็อง (ค.ศ. 1968 - ปัจจุบัน) ภรรยานอกสมรส: ซ็อง ฮเย-ริม (ค.ศ. 1937 - 2002) บุตรชายคนแรก: คิม จ็อง-นัม (ค.ศ. 1971 - 2017) ภรรยา: คิม ยอง-ซุก (ค.ศ. 1947 - ?) บุตรสาวคนที่ 2: คิม ซอล-ซ็ง (ค.ศ. 1974 - ปัจจุบัน) บุตรสาวคนที่ 3: คิม ชุน-ซ็ง (ค.ศ. 1975 - ปัจจุบัน) ภรรยา: โค ย็อง-ฮี (ค.ศ. 1953 - ค.ศ. 2004) บุตรชายคนที่ 2: คิม จ็อง-ชอล (ค.ศ. 1981 - ปัจจุบัน) บุตรชายคนที่ 3: คิม จ็อง-อึน (ค.ศ. 1983 - ปัจจุบัน) บุตรสาวคนที่ 4: คิม ยอ-จ็อง (ค.ศ. 1987 - ปัจจุบัน) ภรรยา: คิม อ็ก (ค.ศ. 1964 - ปัจจุบัน)",
"title": "คิม จ็อง-อิล"
},
{
"docid": "263409#20",
"text": "วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง แห่งเกาหลีเหนือ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจขาดเลือดเมื่ออายุ 82 ปี หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของคิม อิล-ซ็อง ผ่านไปแล้วกว่า 34 ชั่วโมง รัฐบาลเกาหลีเหนือจึงประกาศการถึงแก่อสัญกรรมของคิม อิล-ซ็อง อย่างเป็นทางการ และประกาศช่วงเวลาการไว้ทุกข์เป็นเวลาสิบวัน ซึ่งงานรื่นเริงทุกชนิดถูกห้าม มีชาวเกาหลีเหนือเข้าร่วมพิธีศพของประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง กว่าหนึ่งพันคนในวันที่ 17 กรกฎาคม ศพของคิม อิล-ซ็อง ตั้งไว้ที่วังสุริยะคึมซูซัน (Kumsusan Palace of the Sun) ในเมืองเปียงยาง อันเป็นที่พำนักอยู่เดิมของประธานาธิบดีผู้ล่วงลับ",
"title": "คิม อิล-ซ็อง"
},
{
"docid": "263409#13",
"text": "หลังสงครามเกาหลีเป็นช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟูประเทศ คิม อิล-ซ็อง ริเริ่มแนวความคิดช็อลลีมา (Chollima Movement; ) หรือ \"ม้าหมื่นลี้\" เป็นแนวความคิดของการใช้ทรัพยากรธรรรมชาติและทรัพยากรคนอย่างหนักหน่วง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อที่จะฟื้นฟูประเทศจากสงครามเกาหลี ทำให้เกาหลีเหนือมีระบบเศรษฐกิจแบบบังคับ (command economy) ชาวเกาหลีเหนือจำนวนมากถูกเกณฑ์เข้าเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาล เพื่อเร่งผลผลิตออกมาใช้ในประเทศ",
"title": "คิม อิล-ซ็อง"
},
{
"docid": "177758#29",
"text": "คิม จ็อง-อิล เริ่มความสัมพันธ์กับ ซ็อง ฮเย-ริม () ดาราชื่อดังของเกาหลีเหนือเมื่อค.ศ. 1968 แม้ว่านางซ็อง ฮเย-ริม จะมีสามีอยู่แล้วก็ตาม นางซ็อง ฮเย-ริม ให้กำเนิดบุตรชายคนแรกแก่คิม จ็อง-อิล เมื่อค.ศ. 1970 คือ คิม จ็อง-นัม () แต่ทว่าคิม จ็อง-อิล ได้ปิดบังความสัมพันธ์กับ ซ็อง ฮเย-ริม และบุตรชายคนโตจากคิม อิล-ซ็องผู้เป็นบิดา และส่งบุตรชายของตนไปฝากเลี้ยงไว้กับนางซ็อง ฮเย-รัง () ผู้เป็นพี่สาวของซ็อง ฮเย-ริม โดยที่คิม จ็อง-อิลไม่อนุญาตให้บุตรชายของตนได้รับการศึกษาที่โรงเรียนเนื่องจากเกรงว่าความสัมพันธ์จะถูกเปิดเผย",
"title": "คิม จ็อง-อิล"
},
{
"docid": "744955#0",
"text": "คิม ย็อง-ซุก (, เกิดเมื่อปี 1947) เป็นภรรยาคนแรกของ คิม จ็อง-อิล เธอเป็นลูกสาวของนายทหารระดับสูง คิม อิล-ซ็อง พ่อของคิม จ็อง-อิล ได้รับเลือกสรรให้เธอแต่งงานกับลูกชายของเขา ทั้งสอง",
"title": "คิม ย็อง-ซุก"
},
{
"docid": "177758#17",
"text": "วันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1994 บิดาของคิม จ็อง-อิล คิม อิล-ซ็องถึงแก่อสัญกรรม ด้วยวัย 82 ปีจากอาการโรคหัวใจกำเริบ คิม จ็อง-อิลได้รับหน้าที่เป็นผู้นำในการจัดงานพิธีศพให้แก่บิดาของตน และปรับปรุงบูรณะวังสุริยะคึมซูซัน (Kumsusan Palace of the Sun) ให้เป็นที่พำนักสุดท้ายของคิม อิล-ซ็องผู้เป็นบิดา อย่างไรก็ดี คิม จ็อง-อิลใช้เวลาสามปีในการรวมอำนาจ เขารับตำแหน่งเลขาธิการพรรคแรงงานเกาหลีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1997 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ถือว่าเป็นผู้นำสูงสุดโดยปริยายของเกาหลีเหนือในขณะนั้น แต่ทว่าคิม จ็อง-อิล นั้นไม่ได้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากคิม อิล-ซ็อง ผู้เป็นบิดา การแก้ไขรัฐธรมนูญในค.ศ. 1998 โดยสภาประชาชนสูงสุด (Supreme People's Assembly) อันเป็นองค์กรนิติบัญญัติได้ยกเลิกตำแหน่งประธานาธิบดีออกจากรัฐธรรมนูญ และยกย่องอดีตประธนานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง ให้เป็น \"ประธานาธิบดีตลอดกาล\" (Eternal President) ของสาธารณรัฐ อย่างไรก็ดี อาจแย้งได้ว่าเขาได้เป็นประมุขของประเทศเมื่อเขาเป็นผู้นำพรรคแรงงาน ในประเทศคอมมิวนิสต์ส่วนใหญ่ ผู้นำพรรคเป็นบุคคลผู้ทรงอำนาจที่สุดในประเทศอย่างเป็นทางการ",
"title": "คิม จ็อง-อิล"
},
{
"docid": "263409#21",
"text": "หลังจากที่ประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง ถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว คิม จ็อง-อิล ผู้เป็นบุตรชายได้สืบทอดตำแหน่งเลขาธิการพรรคแรงงานเกาหลี อันเป็นตำแหน่งสูงสุดของพรรคแรงงานเกาหลี และตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการป้องกันประเทศ (Chairman of the National Defence Commission) แต่คิม จ็อง-อิล นั้นไม่ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีต่อจากบิดา การแก้ไขรัฐธรรมนูญปีพ.ศ. 2538 ได้ยกเลิกตำแหน่งประธานาธิบดีและยกย่องให้อดีตประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็องนั้น เป็น\"ประธานาธิบดีตลอดกาล\" (Eternal President; ) การแก้ไขรัฐธรรมนูญปีพ.ศ. 2556 ยังคงยืนยันสถานะความเป็นประธานาธิบดีตลอดกาลของคิม อิล-ซ็อง",
"title": "คิม อิล-ซ็อง"
},
{
"docid": "803474#0",
"text": "ท่านผู้นำ & คนทำหนัง (อังกฤษ: \"The Lovers & The Despot\") คือ ภาพยนตร์สารคดีกำกับโดย รอส แอดัม และ โรเบิร์ต แคนแนน เล่าเรื่องราวของ ชิน ซัง-อก และ ชเว อึน-ฮี ผู้กำกับภาพยนตร์และนักแสดงหญิงชาวเกาหลีใต้ ที่ถูกลักพาตัวไปประเทศเกาหลีเหนือในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1970 เพื่อให้ทำหน้าที่พัฒนาวงการภาพยนตร์เกาหลีเหนือตามความต้องการของ คิม จ็อง-อิล ลูกชายของ คิม อิล-ซ็อง ประธานาธิบดีเกาหลีเหนือในขณะนั้น โดยเรื่องราวในภาพยนตร์ถูกถ่ายทอดผ่านการให้สัมภาษณ์ของชเวและบุคคลที่แวดล้อมตัวเธอและเหตุการณ์ดังกล่าว เช่น ชิน ช็อง-คยุน กับ ชิน มยุง-คิม บุตรชายและบุตรสาวของชินและชเว ปีแยร์ รีซีย็อง นักสร้างภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศสผู้อยู่ร่วมสมัยกับชิน จัง จิน-ซ็อง กวีชาวเกาหลีเหนือที่เคยทำงานให้กับ คิม จ็อง-อิล ฯลฯ นอกจากนั้น ภาพยนตร์ยังใช้ข้อมูลจากเทปบันทึกเสียงบทสนทนาระหว่าง ชิน ซัง-อก กับ คิม จ็อง-อิล ด้วย",
"title": "ท่านผู้นำ & คนทำหนัง"
},
{
"docid": "478586#0",
"text": "คิม ซ็อง-แอ ( เกาหลี : 김성애 ,เกิด 1928 ) เป็นภรรยาคนที่สองของท่านประธานาธิบดีตลอดกาลของเกาหลีเหนือคิม อิลซุง ทั้งสองท่านเป็นคู่สมรสกันในปี 1952 หลังจากการตายของคิม จอง-ซุกภรรยาคนแรกของคิม อิล-ซุง ในปี 1949 ก่อนที่จะเกิดสงครามเกาหลี เธอให้กำเนิดลูกสาว คิม คยอง-จิน ในปี 1953 และลูกชายสองคนคือ คิม พยอง อิล ในปี 1955และ คิม ยอง อิล ในปี 1957 หลังจากนั้นเธอก็ได้มีอำนาจทางการเมืองกลายเป็นประธานของคณะกรรมการกลางของสมาคมสตรีเกาหลี ในช่วงกลางทศวรรษ 1960 และในปี 1970 เธอดำรงตำแหน่งนี้และลาออกจะลาออกในปี 1998 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็มีข้อมูลเกี่ยวกับตัวเธอน้อยมาก",
"title": "คิม ซ็อง-แอ"
},
{
"docid": "263409#3",
"text": "พ.ศ. 2478 คิม ซ็องจูเปลี่ยนชื่อของตนเองเป็นคิม อิล-ซ็อง คิม อิล-ซ็อง ไต่เต้าสายการบังคับบัญชาของกองทัพจีนในแมนจูเรียขึ้นมาตามลำดับ จนกระทั่งได้เป็นผู้บังคับบัญชามีกองกำลังเป็นของตนเอง สงครามจีน-ญี่ปุ่นอันเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สองยืดเยื้อยาวนานจนกระทั่งกองทัพฝ่ายจีนในแมนจูเรียถูกลดทอนกำลังลงและสูญเสียผู้บังคับบัญชาไปมาก คิม อิล-ซ็อง ซึ่งในขณะนั้นเป็นหนึ่งในผู้บังคับบัญชาเพียงไม่กี่คนของจีนที่ยังมีชีวิตรอด ถูกกองทัพญี่ปุ่นโจมตีจนต้องล่าถอยข้ามแม่น้ำอามูร์เข้าไปยังอาณาเขตของสหภาพโซเวียต เมื่อ พ.ศ. 2483 คิม อิล-ซ็อง พำนักอยู่ที่เมืองเวียตสกอย (Vyatskoye) ดินแดนฮาบารอฟสค์ (Khabarovsk Krai) ประเทศรัสเซียในปัจจุบัน และเข้าร่วมกองทัพแดง ของสหภาพโซเวียต ที่เมืองเวียดสกอยในปี พ.ศ. 2484 คิม อิล-ซ็อง ได้สมรสกับนางคิม จ็อง-ซุก () นางคิม จ็อง-ซุก ได้ให้กำเนิดบุตรชายคนแรกคือ คิม จ็อง-อิล ในปีเดียวกัน[9]",
"title": "คิม อิล-ซ็อง"
},
{
"docid": "263409#8",
"text": "นางคิม จ็อง-ซุก สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งภรรยาคนแรกของคิม อิล-ซ็อง ผู้เป็นมารดาของคิม จ็อง-อิล ได้ให้กำเนิดบุตรชายคนที่สองคือ คิม มัน-อิล () ใน พ.ศ. 2487 และได้ให้กำเนิดบุตรสาวคนโตคนแรกคือ คิม คย็อง-ฮี () เมื่อ พ.ศ. 2489 แต่ทว่าคิม มัน-อิล ได้เสียชีวิตจากการจมน้ำในสระว่ายน้ำใน พ.ศ. 2490 ด้วยอายุเพียงสามปี จากนั้นใน พ.ศ. 2492 นางคิม จ็อง-ซุก ก็เสียชีวิตจากการให้กำเนิดบุตรคนที่สี่ คิม อิล-ซ็อง สมรสใหม่ในอีกสามปีต่อมา พ.ศ. 2495 กับเลขานุการส่วนตัว คิม ซ็อง-แอ () ระหว่างช่วงสงครามเกาหลี",
"title": "คิม อิล-ซ็อง"
},
{
"docid": "263409#2",
"text": "คิม อิล-ซ็อง ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่มณฑลจี๋หลิน เนื่องจากเติบโตมาในแมนจูเรีย คิม อิล-ซ็อง จึงพูดภาษาจีนกลางเป็นหลักและบางหลักฐานบอกว่า คิม อิล-ซ็อง นั้นพูดภาษาเกาหลีได้น้อยมากในวัยเยาว์[8] ชีวประวัติซึ่งแต่งโดยรัฐบาลเกาหลีเหนือบรรยายว่าคิม อิล-ซ็อง มีบทบาทและมีความกระตือรือร้นในการเคลื่อนไหวปลดแอกเกาหลีจากการปกครองของญี่ปุ่น และยึดมั่นในลัทธิคอมมิวนิสต์ จนกระทั่งถูกทางการสาธารณรัฐจีนจับกุมตัว ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ ไม่พบหลักฐานรายละเอียดว่า คิม ซ็อง-จู เข้าร่วมลัทธิคอมมิวนิสต์ได้อย่างไร เมื่อ พ.ศ. 2474 คิม ซ็อง-จู เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในปีเดียวกันนั้นเองเกิดเหตุการณ์มุกเดน เป็นเหตุให้จักรวรรดิญี่ปุ่นยกทัพเข้ารุกรานแมนจูเรีย นำไปสู่สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 คิม ซ็อง-จู จึงได้เข้าร่วมทหารกองโจรคอมมิวนิสต์จีนต่อสู้เพื่อต้านทานการรุกรานของญี่ปุ่น ระหว่างการต่อสู้ต้านทานญี่ปุ่นภายใต้ธงของรัฐบาลจีนนั้น คิม ซ็อง-จู ได้รู้จักกับเว่ย์ เจิ้งหมิน (Wei Zhengmin) ผู้บังคับบัญชาชาวจีนซึ่งมีอิทธิพลต่อแนวความคิดทางด้านลัทธิคอมมิวนิสต์และเปรียนเสมือนเป็นอาจารย์ของคิม ซ็อง-จู",
"title": "คิม อิล-ซ็อง"
},
{
"docid": "263409#23",
"text": "ปู่: คิม โบ-ฮย็อน (พ.ศ. 2414 - 2498) ย่า: ลี โบ-อิก ( พ.ศ. 2419 - 2502) บิดา: คิม ฮย็อง-จิก ( พ.ศ. 2427 – 2469) มารดา: คัง พัน-ซ็อก ( พ.ศ. 2435 – 2475) พี่น้อง: คิม ช็อล-จู () คิม ย็อง-จู () ภรรยาคนแรก: คิม จ็อง-ซุก ( พ.ศ. 2460 – 2492) บุตรชายคนแรก: คิม จ็อง-อิล บุตรชายคนที่ 2: คิม มัน-อิล ( พ.ศ. 2487 – 2490) บุตรสาวคนแรก: คิม กย็อง-ฮี ( พ.ศ. 2489 – ปัจจุบัน) สมรสกับ ชัง ซ็อง-แท็ก ภรรยาคนที่ 2: คิม ซ็อง-แอ ( พ.ศ. 2471 -?) บุตรสาวคนที่ 2: คิม กย็อง-ซุก ( พ.ศ. 2494 – ปัจจุบัน) บุตรชายคนที่ 3: คิม พย็อง-อิล ( พ.ศ. 2497 – ปัจจุบัน) บุตรชายคนที่ 4: คิม ย็อง-อิล ( พ.ศ. 2498 – ปัจจุบัน) บุตรสาวคนที่ 3: คิม กย็อง-จิน ()",
"title": "คิม อิล-ซ็อง"
}
] |
1168 | เจ. เค. โรว์ลิงเริ่มวางจำหน่ายหนังสือเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ เล่มแรกเมื่อใด? | [
{
"docid": "38960#15",
"text": "ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1997 บลูมบิวส์รีตีพิมพ์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ โดยตีพิมพ์ครั้งแรกทั้งหมด 1,000 เล่ม หนังสือ 500 เล่มจากทั้งหมดได้ถูกแจกจ่ายให้กับห้องสมุดต่างๆ ในปัจจุบันหนังสือเหล่านี้มีมูลค่าอยู่ระหว่าง 16,000 ปอนด์ไปจนถึง 25,000 ปอนด์[63] ห้าเดือนให้หลัง ศิลาอาถรรพ์ก็ได้รับรางวัลหนังสือเนสเล่สมาร์ตตีส์ จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ก็ได้รับรางวัลบริติชบุ๊คอวอร์ด สาขาหนังสือเด็กแห่งปีและตามด้วยรางวัลชิลเดรนส์บุ๊คอวอร์ด ต่อมาในช่วงต้นปี 1998 มีการจัดการประมูลขึ้นที่สหรัฐอเมริกา เพื่อยื่นซื้อลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์นิยายและสำนักพิมพ์สกอแลสติกชนะการประมูลด้วยค่าลิขสิทธิ์ 105,000 ดอลล่าร์ โรว์ลิงกล่าวว่าเธอ “แทบคลั่ง” เมื่อทราบข่าวนี้[64] ในเดือนตุลาคม ปี 1998 สำนักพิมพ์สกอแลสติกได้ตีพิมพ์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์และเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษจากคำว่า Philosopher's Stone เป็น Harry Potter and the Sorcerer's Stone การปรับเปลี่ยนในครั้งนี้โรว์ลิงได้บอกว่าเธอรู้สึกเสียดายและคงจะคัดค้านถ้าเธออยู่ในสถานะที่ดีกว่าที่เธอเป็น ณ ตอนนั้น[65] ภายหลังโรว์ลิงย้ายออกจากแฟลตของเธอมาอยู่ที่บ้านเลขที่ 19 ถนนฮาร์เซลแบงก์ เทอร์เรซ ในเอดินบะระ ด้วยเงินที่ได้จากการขายลิขสิทธิ์ให้สกอแลสติก[53]",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
}
] | [
{
"docid": "111005#0",
"text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม เป็นหนังสือเล่มที่หกในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง ออกวางจำหน่ายเมื่อ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 หนังสือเล่มนี้ขายได้ถึง 9 ล้านเล่มภายใน 24 ชั่วโมงแรก ถือเป็นสถิติสูงสุดในขณะนั้น ซึ่งตอนนี้ภาคที่ตามมา แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ได้ทำลายสถิตินั้นลงไปเรียบร้อยแล้ว แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม ฉบับภาษาไทยแปลโดย \"สุมาลี\" จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม"
},
{
"docid": "38960#45",
"text": "ในเดือนกันยายน ปี 2012 โรว์ลิงกล่าวว่าเธอกำลังเขียนหนังสือสองเล่มสำหรับผู้อ่านที่อายุน้อยกว่าแฮร์รี่ พอตเตอร์[24] ในการให้สัมภาษณ์กับเดอะการ์เดียนเธอยังคงพูดเหมือนครั้งก่อนว่าหนึ่งในนิยายสองเรื่องยังเป็นหนังสือ“เทพนิยายการเมือง” ถึงแม้เธอคาดหมายว่าจะนำหนังสือเล่มอื่นของเธอออกวางขายก่อนก็ตาม[153] ที่งานเทศกาลหนังสือนิยายเชลต์นัมเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2012 เธอได้บอกว่าเธอมีนิยายอยู่สองเรื่องในแล็ปท็อปของเธอ ซึ่งเธอตั้งใจเขียนให้กลุ่มผู้อ่านที่อายุต่ำกว่าผู้อ่านแฮร์รี่ พอตเตอร์เล็กน้อยและใกล้ที่จะเขียนเสร็จแล้ว[154]",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
},
{
"docid": "38960#52",
"text": "ในปี 2005 โรว์ลิงและสมาชิกสภายุโรป เอ็มมา นิโคลสัน ได้ร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิชิลเดรนไฮเลเวลกรุ๊ป (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ลูมอส)[172] นอกจากนั้นในเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 โรว์ลิงเดินทางไปที่บูคาเรสต์เพื่อเน้นย้ำถึงการใช้เตียงลูกกรงกับเด็กในโรงพยาบาลจิตเวช[173] และเพื่อเป็นการสนับสนุนแก่มูลนิธิชิวเดรนไฮเลเวลกรุ๊ป โรว์ลิงเปิดให้ประมูลหนึ่งในเจ็ดเล่มของหนังสือนิทานของบีเดิลยอดกวี ซึ่งเป็นผลงานรวมนิทานที่มีการกล่าวถึงในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต โดยเธอได้เขียนและวาดภาพประกอบด้วยมือเธอเอง และถูกซื้อไปในราคา 1.95 ล้านปอนด์จากการซื้อผ่านเว็บไซต์อเมซอน.คอมเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2007 เป็นหนังสือที่มีราคาแพงที่สุดตลอดกาลจากการประมูล[174][174][175] โรว์ลิงมอบหนังสืออีกหกเล่มที่เหลือคนที่ใกล้ชิดกับหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์[174] จากนั้นในปี 2008 โรว์ลิงตกลงให้มีการตีพิมพ์หนังสือ ซึ่งรายได้ทั้งหมดจะมอบให้กับมูลนิธิลูมอส[117] ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013 โรว์ลิงส่งมอบรายได้ทั้งหมดจากการขายหนังสือนิทานของบีเดิลยอดกวีแก่มูลนิธิลูมอสเป็นจำนวนเงินกว่า 19 ล้านปอนด์[176]",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
},
{
"docid": "221956#0",
"text": "แฮร์รี่อะฮิสตอรี่ () เป็นหนังสือสารคดีของเมลิซ่า เอนิลเว็บมาสเตอร์แฟนไซต์แฮร์รี่ พอตเตอร์ชื่อดัง The Leaky Cauldronที่ได้รวบรวมประวัติความเป็นมาของหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ตั้งแต่เจ. เค. โรว์ลิ่งผู้เขียนเริ่มเขียนไปจนถึงแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มสุดท้ายวางจำหน่าย เมลิซ่าได้เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2551ซึ่งหนังสือเล่มนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับหนังสือสารคดีและหนังสือจดหมายเหตุ แฮร์รี่อะฮิสตอรี่วางจำหน่ายในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551นอกจากนั้นยังติดอยู่ในอันดับที่18หนังสือขายดีของนิวยอร์กไทม์อีกด้วย",
"title": "แฮร์รี่อะฮิสตอรี่"
},
{
"docid": "38960#1",
"text": "โรว์ลิงเกิดที่เมืองเยตส์ มณฑลกลอสเตอร์เชอร์ เคยทำงานเป็นนักวิจัยและเลขานุการสองภาษาให้กับองค์การนิรโทษกรรมสากล ก่อนได้ความคิดสำหรับชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[3461,3481,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์</i>บนขบวนรถไฟที่ล่าช้าจากแมนเชสเตอร์ไปลอนดอนเมื่อปี 1990[9] อีกเจ็ดปีถัดมา เธอเสียมารดา หย่าร้างกับสามีคนแรกและค่อนข้างยากจน จนโรว์ลิงเขียน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ เสร็จในปี 1997 มีภาคต่อหกเล่ม เล่มสุดท้ายคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ในปี 2007 จากนั้นโรว์ลิงเขียนหนังสือสำหรับผู้อ่านผู้ใหญ่สามเรื่อง ได้แก่ เก้าอี้ว่าง (2012) และนวนิยายสืบสวนสอบสวน เรื่อง เสียงเพรียกจากคักคู (2013) และ หนอนไหม (2014) โดยใช้ชื่อปลอมในการเขียนว่า โรเบิร์ต กัลเบรธ[10]",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
},
{
"docid": "125700#0",
"text": "ภาคีนกฟีนิกซ์ () เป็นองค์การลับในชุดหนังสือบันเทิงคดีแฮร์รี่ พอตเตอร์ เขียนโดย เจ. เค. โรว์ลิง อัลบัส ดัมเบิลดอร์เป็นผู้ก่อตั้ง เพื่อต่อสู้กับลอร์ดโวลเดอมอร์และสมุนผู้เสพความตาย ภาคีฯ เป็นชื่อของหนังสือเล่มที่ห้าในชุด ชื่อ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์\"",
"title": "ภาคีนกฟีนิกซ์"
},
{
"docid": "4336#43",
"text": "ความสำเร็จของนวนิยายชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้สร้างความมั่งคั่งให้แก่ เจ. เค. โรว์ลิง ผู้ประพันธ์ ตลอดไปจนถึงสำนักพิมพ์และผู้ถือสิทธิ์ด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ทั้งหมด โรว์ลิงได้รับผลตอบแทนมากจนกระทั่งนับได้ว่าเป็นนักเขียนเพียงคนเดียวที่ติดอันดับ \"มหาเศรษฐี\" ของโลก[80] มีการจำหน่ายหนังสือไปแล้วกว่า 400 ล้านเล่มทั่วโลก และช่วยนำกระแสนิยมให้แก่ภาพยนตร์ชุดดัดแปลงโดย วอร์เนอร์บราเธอร์ส ด้วย ภาพยนตร์ดัดแปลงในแต่ละตอนต่างประสบความสำเร็จไปตามกัน สามารถติดอันดับเป็นภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลในทุกภาคที่เข้าฉาย[81][82] ชุดภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นได้รับการต่อยอดไปสู่รูปแบบวิดีโอเกมและสินค้าจดลิขสิทธิ์กว่า 400 รายการ ซึ่งมูลค่าโดยประมาณของแบรนด์แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นมีมูลค่าสูงกว่ากว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] ทำให้โรว์ลิงกลายเป็นมหาเศรษฐีระดับพันล้าน[83] ในรายงานเปรียบเทียบบางแห่งยังกล่าวว่าเธอร่ำรวยกว่าสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเสียอีก[84][85] ทว่าโรว์ลิงชี้แจงว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง[86]",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "898311#0",
"text": "โลกเวทมนตร์ () (หรือชื่อเดิม โลกเวทมนตร์ของเจ. เค. โรว์ลิง ()) เป็น และ จักรวาลสมมติ ที่เป็นฉากหลังของภาพยนตร์มาจากนวนิยายแฟนตาซี ชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" ของนักเขียน เจ. เค. โรว์ลิง จัดจำหน่ายโดยบริษัท วอร์เนอร์บราเธอส์ และผลิตโดยบริษัท เฮย์เดย์ฟิล์มส์ ซึ่งตั้งแต่ ค.ศ. 2000 ได้ผลิตภาพยนตร์ออกมาแล้ว 10 เรื่อง แบ่งเป็นภาพยนตร์ชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" แปดภาคและภาพยนตร์ \"สัตว์มหัศจรรย์\" สองภาค และยังมีอีกสามเรื่องอยู่ในขั้นตอนการผลิต ภาพยนตร์ชุดนี้ทำรายได้มาแล้วกว่า 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก เป็นแฟรนไชส์ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลอันดับที่สาม รองจากจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล และ สตาร์ วอร์ส",
"title": "โลกเวทมนตร์"
},
{
"docid": "4336#51",
"text": "เจนนี่ ซอว์เยอร์ เขียนไว้ใน Christian Science Monitor เมื่อ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ว่า หนังสือชุดนี้เป็นตัวแทนถึง \"จุดเปลี่ยนค่านิยมการเล่านิทานและสังคมตะวันตก\" โดยที่ในนิยายชุดนี้ \"หัวใจแห่งศีลธรรมกำลังเหือดหายไปจากวัฒนธรรมยุคใหม่... หลังจากผ่านไป 10 ปี, 4195 หน้า และ 375 ล้านเล่ม ท่ามกลางความสำเร็จอย่างสูงยิ่งของ เจ. เค. โรว์ลิง แต่เสาหลักของวรรณกรรมเด็กอันยิ่งใหญ่กลับขาดหายไป นั่นคือการเดินทางของวีรบุรุษเพื่อยืนหยัดความถูกต้อง\" ซอว์เยอร์กล่าวว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์ ไม่เคยประสบความท้าทายทางศีลธรรม ไม่เคยตกอยู่ใต้ภาวะลำบากระหว่างความถูกผิด ดังนั้นจึง \"ไม่เคยมีสถานการณ์ใดที่ความถูกผิดไม่เป็นสีขาวและสีดำ\"[103]",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "4336#62",
"text": "โรว์ลิ่งได้เปิดเผยข้อมูลผ่านทวิตเตอร์ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ซึ่งตรงกับวันครบรอบการวางแผงหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มแรกว่าละครเวทีแฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นจะใช้ชื่อการแสดงว่า \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเด็กต้องคำสาป\"[130] โดยคาดการณ์ว่าจะเริ่มเปิดการแสดงในช่วงฤดูร้อนของปี พ.ศ. 2559 ที่โรงละครพาเลซเธียเตอร์[131] ซึ่งบัตรเข้าชมในช่วงสี่เดือนแรกหรือช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนถูกขายหมดในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังเปิดจำหน่าย[132] ภายหลังในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ได้มีการเปิดเผยผ่านเว็บไซต์พอตเตอร์มอร์ว่าบทละครจะถูกตีพิมพ์จำหน่ายในรูปแบบหนังสือหนึ่งวันหลังรอบปฐมทัศน์โลกของละครเวที และเหตุการณ์ในเรื่องจะเกิดขึ้นสิบเก้าปีให้หลังจากบทจบของแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต โดยบางกลุ่มได้จัดบทละครที่จะถูกตีพิมพ์นี้เป็นหนังสือเล่มที่แปด แม้จะไม่ได้ถูกเขียนโดยเจ. เค. โรว์ลิ่งที่ก็ตาม[133]",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "38960#43",
"text": "เมื่อปี 2006 โรว์ลิงประกาศว่าเธอกำลังเขียนเรื่องสั้นจำนวนหนึ่งและหนังสือเด็กอีกหนึ่งเล่ม (เทพนิยายการเมือง) ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับปีศาจ โดยกลุ่มเป้าหมายจะเป็นผู้อ่านที่อายุน้อยกว่าผู้อ่านแฮร์รี่ พอตเตอร์[147] จากนั้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007 โรว์ลิงบอกว่าเธอต้องการใช้เวลาร่วมกับครอบครัวของเธอให้มากขึ้นแต่เป็นเพราะเธอกำลังเขียนหนังสืออยู่สองเล่ม เป็นหนังสือเด็กหนึ่งเล่มและหนังสือผู้ใหญ่อีกหนึ่งเล่ม[148] เธอไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับนิยายทั้งสองเรื่อง เพียงแค่กล่าวว่าเธอรู้สึกตื่นเต้นเนื่องจากการเขียนหนังสือสองเรื่องทำให้เธอนึกถึงตอนที่เธอเขียนศิลาอาถรรพ์ เธออธิบายว่ารู้สึกยังไงในตอนนั้นที่เธอเขียนหนังสือสองเรื่องไปพร้อมๆกัน จนกระทั่งแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้เข้ามาแทนที่ในที่สุด[149]",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
},
{
"docid": "715768#0",
"text": "เสียงเพรียกจากคักคู หรือ The Cuckoo's Calling เป็นนวนิยายเล่มแรกของนวนิยายสืบสวนสอบสวนคอร์โมรัน สไตรก์ เขียนโดยโรเบิร์ต กัลเบรธ ซึ่งเป็นชื่อปลอมของ เจ. เค. โรว์ลิง ผู้เขียนวรรณกรรมแฟนตาซีชื่อดังชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดยเล่าถึงคอร์โมรัน สไตรก์ นักสืบเอกชนและอดีตทหารผ่านศึกที่ได้รับการว่าจ้างให้สืบคดีฆ่าตัวตายของนางแบบชื่อดัง ในตอนแรกหนังสือถูกตีพิมพ์เพียงแค่ 1,500 เล่มเท่านั้น แต่ภายหลังมีการเปิดเผยว่าโรเบิร์ต กัลเบรธคือนามแฝงของโรว์ลิง ส่งผลให้ยอดขายหนังสือเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 4000 และด้วยความสำเร็จนี้ทำได้ให้มีการเขียนภาคต่อในชื่อ \"The Silkworm\" ซึ่งได้วางจำหน่ายในปีถัดมา อีกทั้งยังได้รับการซื้อลิขสิทธ์ไปดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ทางสถานีบีบีซีวันอีกด้วย",
"title": "เสียงเพรียกจากคักคู"
},
{
"docid": "4336#46",
"text": "ครั้นเมื่อหนังสือออกวางจำหน่ายถึงเล่มที่ห้า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ นวนิยายก็ได้รับการวิจารณ์ที่หนักหน่วงขึ้นจากเหล่านักวิชาการด้านวรรณกรรม เฮโรลด์ บลูม ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเยล นักวิชาการวรรณศิลป์และนักวิจารณ์ เป็นผู้ยกประเด็นการวิจารณ์วรรณกรรมเกี่ยวกับศีลธรรม เขากล่าวว่า \"ในใจของโรว์ลิงมีแต่เรื่องอุปมาเกี่ยวกับความตายวนไปวนมา ไม่มีลีลาการเขียนแบบอื่นเลย\"[94] เอ. เอส. ไบแอต นักเขียนประจำนิวยอร์กไทมส์ บอกว่าจักรวาลในเรื่องของโรว์ลิงสร้างขึ้นจากจินตนาการที่ผสมปนเปจากวรรณกรรมเด็กหลาย ๆ เรื่อง และเขียนขึ้นเพื่อคนที่มีจินตนาการหมกมุ่นกับการ์ตูนทีวี โลกในฟองสบู่ที่เว่อร์เกินจริง รายการรีแอลิตี และข่าวซุบซิบดารา[95]",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "17410#0",
"text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี คือหนังสือเล่มที่สี่ในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง และแปลโดยงามพรรณ เวชชาชีวะจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ตีพิมพ์และวางจำหน่ายเป็นฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 และเป็นฉบับภาษาไทยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544 วรรณกรรมชุดนี้ถือว่ายาวมากอย่างไม่น่าจะมีใครทำมาก่อน โดยในฉบับภาษาไทยมีความยาวทั้งหมดถึง 832 หน้า (ฉบับบลูมส์บูรี่มีความยาวทั้งหมด 636 หน้า) หนังสือเล่มนี้สร้างสถิติโดยเป็นหนังสือเล่มแรกที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมากกว่าชิ้นงานวรรณกรรมเยาวชนอื่นๆ มีเพียงหนังสือเล่มต่อๆ มาในชุดเดียวกันนี้เท่านั้นที่สามารถลบสถิตินี้ได้ นั่นคือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม โดยเฉพาะจากการที่ เจ. เค. โรว์ลิ่งออกมาเตือนผู้อ่านก่อนหนังสือจะตีพิมพ์ว่าจะมีตัวละครเสียชีวิตในเล่มนี้ ซึ่งสร้างกระแสของการคาดการณ์ว่าตัวละครใดจะเสียชีวิต และสร้างปรากฏการณ์ 'คลั่งแฮร์รี่ พอตเตอร์' ทั่วโลก",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี"
},
{
"docid": "4336#64",
"text": "หลังจาก แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต วางแผงได้ไม่นานนัก ทางประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการวางแผนและทำแบบแปลนการสร้างสวนสนุกที่ยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ต เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา โดยจำลองสถานที่ต่าง ๆ ในวรรณกรรมแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เกี่ยวกับสถานที่ในโลกเวทมนตร์เช่น ฮอกวอตส์และหมู่บ้านฮอกส์มี้ด เป็นต้น สวนสนุกแห่งนี้วางแผนการสร้างโดย จิม ฮิล มีแบบจำลองปราสาทฮอกวอตส์ รวมไปถึงหมู่บ้านฮอกส์มีดส์อีกด้วย ผู้สร้างสวนสนุกยังได้เชิญ เจ. เค. โรว์ลิง ให้มาร่วมทำการเนรมิตสวนสนุกแห่งนี้ เพื่อทำให้เหมือนกับสถานที่ในหนังสือของเธอให้มากที่สุด ซึ่งโรว์ลิงก็ตอบตกลง สวนสนุกตั้งอยู่ในไอส์แลนด์ส ออฟ แอดเวนเจอร์ซึ่งเป็นเกาะรวมเครื่องเล่นแนวผจญภัยของยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ท โดยได้ใช้ชื่อว่าอย่างเป็นทางการว่าโลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์และเปิดให้เข้าชมในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553[135] โดยมีทั้งนักแสดงจากภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ อาทิ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ (แฮร์รี่ พอตเตอร์), ไมเคิล แกมบอน (ศาสตราจารย์ดัมเบิลดอร์), รูเพิร์ท กรินท์ (รอน วีสลีย์) แมทธิว ลิวอิส (เนวิลล์ ลองบัตท่อม) และทอม เฟลตัน (เดรโก มัลฟอย) รวมถึง เจ.เค. โรว์ลิ่ง และผู้ประพันธ์เพลงให้กับภาพยนตร์ 3 ภาคแรกอย่าง จอห์น วิลเลียมส์ มาร่วมงานครั้งนี้ด้วย",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "38960#74",
"text": "สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ (หนังสือเล่มเสริมจากชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[99216,99236,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์) (1 มีนาคม ค.ศ. 2001) ควิดดิชในยุคต่างๆ (หนังสือเล่มเสริมจากชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[99306,99326,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์) (1 มีนาคม ค.ศ. 2001) นิทานของบีเดิลยอดกวี (หนังสือเล่มเสริมจากชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[99399,99419,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์) (4 ธันวาคม ค.ศ. 2008) Short Stories from Hogwarts of Power, Politics and Pesky Poltergeists (6 กันยายน ค.ศ. 2016) Short Stories from Hogwarts of Heroism, Hardship and Dangerous Hobbies (6 กันยายน ค.ศ. 2016) Hogwarts: An Incomplete and Unreliable Guide (6 กันยายน ค.ศ. 2016) บทภาพยนตร์สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ (19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016)",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
},
{
"docid": "78353#21",
"text": "บลูมส์บิวรีตอบรับหนังสือ โดยจ่ายโรว์ลิงล่วงหน้า 2,500 ปอนด์[11] และคันนิงแฮมส่งสำเนาต้นฉบับถึงผู้ประพันธ์ นักวิจารณ์และผู้ขายหนังสือที่ได้รับเลือกอย่างระวังเพื่อเอาความเห็นที่จะสามารถยกมาเมื่อวางขายหนังสือ[9] เขากังวลถึงความยาวหนังสือน้อยกว่าชื่อผู้ประพันธ์ เพราะชื่อเรื่องฟังคล้ายหนังสือเด็กชาย และเด็กชายนิยมหนังสือผู้ประพันธ์ชาย ฉะนั้น โรว์ลิงจึงใช้นามปากกา เจ.เค. โรว์ลิง ไม่นานก่อนพิมพ์[9] ในเดือนมิถุนายน 2540 บลูมส์บิวรีจัดพิมพ์<i data-parsoid='{\"dsr\":[22712,22727,2,2]}'>ศิลาอาถรรพ์ ทีแรกจำนวน 500 เล่มเป็นปกแข็ง ซึ่งสามร้อยเล่มถูกจำหน่ายไปห้องสมุดต่าง ๆ[12] ชื่อเดิม \"โจแอนน์ โรว์ลิง\" ของเธอ พบเป็นตัวพิมพ์เล็ก ๆ ในหน้าลิขสิทธิ์ของฉบับพิมพ์ในอังกฤษครั้งแรกนี้ (ฉบับพิมพ์ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ปี 2541 ตัดการพาดพิงถึง \"โจแอนน์\" อย่างสิ้นเชิง)[13] การพิมพ์ครั้งแรกเป็นจำนวนน้อยนั้นเป็นเรื่องปกติสำหรับนวนิยายเล่มแรก และคันนิงแฮมหวังว่าผู้ขายหนังสือจะอ่านหนังสือ และแนะนำให้ลูกค้า[9] ตัวอย่างจากการพิมพ์ครั้งแรกนี้ที่มีมูลค่าสูง คือ ในการประมูลเฮอริเทจปี 2550 ขายได้ราคาถึง 33,460 ดอลลาร์สหรัฐ[14]",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์"
},
{
"docid": "4336#24",
"text": "โรว์ลิงขยายจักรวาลแฮร์รี่ พอตเตอร์ด้วยหนังสือเรื่องสั้นหลายเล่มซึ่งผลิตออกมาให้การกุศลหลายอย่าง[26][27] ใน พ.ศ. 2544 เธอวางจำหน่ายสัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ (หนังสือที่สมมติขึ้นว่าเป็นหนังสือเรียนในฮอกวอตส์) และควิดดิชในยุคต่าง ๆ (หนังสือที่แฮร์รี่อ่านเอาสนุก) รายได้จากการขายหนังสือทั้งสองเล่มนี้ได้มอบให้แก่มูลนิธิคอมมิครีลิฟ[28] ใน พ.ศ. 2550 โรว์ลิงประพันธ์นิทานของบีเดิลยอดกวีฉบับเขียนด้วยมือเจ็ดเล่ม ซึ่งเป็นหนังสือที่รวมเทพนิยายซึ่งปรากฏในเล่มสุดท้าย หนึ่งในนั้นถูกประมูลขายเพื่อระดมทุนแก่ชิลเดรนส์ไฮเลเวลกรุ๊ป กองทุนเพื่อเด็กพิการในประเทศยากจน หนังสือนี้ได้รับตีพิมพ์ระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551[29][30] โรว์ลิงได้เขียนพลีเควล 800 คำ ใน พ.ศ. 2551 เป็นส่วนหนึ่งของการระดมทุนซึ่งจัดโดยร้านขายหนังสือวอเทอร์สโตนส์[31] ใน พ.ศ. 2554 โรว์ลิงออกเว็บไซต์ใหม่ในชื่อ พอตเตอร์มอร์ ซึ่งเป็นการรวบรวมเนื้อหาต่าง ๆ ที่ไม่ได้รับการเปิดเผยในหนังสือ[32]",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "940971#0",
"text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์: ฮอกวอตส์ มิสเตอรี () เป็นวิดิโอเกมในรูปแบบ เกมเล่นตามบทบาท อิงจากนวนิยาย แฮร์รี่ พอตเตอร์ ของ เจ. เค. โรว์ลิง เกมถูกพัฒนาโดย แจม ซิตี้ และวางจำหน่ายโดย พอร์ตคีย์ เกม เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2018 โดยมีในระบบ แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ) และ ไอโอเอส ตัวเกมส์อยู่ในฮอกวอตส์ โดยเป็นเนื้อเรื่องก่อนเหตุการณ์ในนวนิยาย รวมไปถึงตัวละครและชุดสามารถปรับแต่งได้",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์: ฮอกวอตส์มิสทะรี"
},
{
"docid": "4336#54",
"text": "ในปี พ.ศ. 2542 เจ. เค. โรว์ลิง ขายสิทธิ์การสร้างภาพยนตร์จากหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์สี่เล่มแรกให้กับวอร์เนอร์บราเธอร์ส ในราคาหนึ่งล้านปอนด์สเตอร์ลิง[112] โรว์ลิงยืนยันให้นักแสดงหลักเป็นชาวสหราชอาณาจักร รวมถึงต้องใช้ภาษาอังกฤษบริเตนในบทสนทนา ภาพยนตร์สองภาคแรกกำกับโดยคริส โคลัมบัส ภาคที่สามโดยอัลฟอนโซ กวารอน ภาคที่สี่โดยไมค์ นิวเวลล์ และภาคที่ห้าถึงภาคสุดท้ายโดยเดวิด เยตส์[113] บทภาพยนตร์ของสี่ภาคแรกเขียนโดยสตีฟ โคลฟ โดยร่วมงานกับโรว์ลิง บทภาพยนตร์มีความเปลี่ยนแปลงจากหนังสือบ้างตามรูปแบบการนำเสนอของภาพยนตร์และเงื่อนไขเวลา อย่างไรก็ตาม โรว์ลิงได้กล่าวว่าบทภาพยนตร์ของโคลฟนั้นมีความซื่อตรงต่อหนังสือ[114] ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ทุกภาค มีนักแสดงหลักคือแดเนียล แรดคลิฟฟ์ เอ็มม่า วัตสันและรูเพิร์ท กรินท์ แสดงเป็นแฮร์รี่ พอตเตอร์ เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ และรอน วีสลีย์ตามลำดับ โดยสามคนนี้ได้รับเลือกในปี พ.ศ. 2543 จากเด็กหลายพันคน[115]",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "4336#33",
"text": "โรว์ลิงเขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์เสร็จใน พ.ศ. 2538 และต้นฉบับถูกส่งไปยังตัวแทนผู้ซื้อขายลิขสิทธิ์หนังสือหลายคน (prospective agent)[43] ตัวแทนคนที่สอง คริสโตเฟอร์ ลิตเตล เสนอเป็นตัวแทนเธอและส่งต้นฉบับไปยังสำนักพิมพ์บลูมส์บรี หลังสำนักพิมพ์อื่นแปดสำนักปฏิเสธศิลาอาถรรพ์ บลูมส์บรีเสนอค่าตอบแทนล่วงหน้าเป็นเงิน 2,500 ปอนด์แก่โรว์ลิงเป็นค่าจัดพิมพ์[44][45] แม้เธอจะไม่ได้วางกลุ่มอายุเป้าหมายไว้ในใจเมื่อเริ่มต้นเขียนหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ สำนักพิมพ์เดิมตั้งเป้าไว้ที่เด็กอายุระหว่างเก้าถึงสิบเอ็ดปี[46] วันก่อนวันจัดพิมพ์ โรว์ลิงได้รับการร้องขอจากสำนักพิมพ์ให้ใช้นามปากกาที่ไม่บ่งบอกเพศมากกว่านี้ เพื่อดึงดูดกลุ่มอายุที่เป็นชายมากขึ้น ด้วยกลัวว่าพวกเขาอาจไม่สนใจอ่านนวนิยายที่พวกเขารู้ว่าผู้หญิงเขียน เธอเลือกใช้ชื่อ เจ. เค. โรว์ลิง (โจแอนน์ แคทลีน โรว์ลิง) โดยใช้ชื่อย่าของเธอเป็นชื่อที่สอง เพราะเธอไม่มีชื่อกลาง[45][47]",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "91329#0",
"text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต () เป็นนวนิยายแนวแฟนตาซี เขียนโดยนักเขียนชาวอังกฤษ เจ. เค. โรว์ลิ่ง เป็นหนังสือเล่มที่เจ็ดและเป็นเล่มสุดท้ายในนวนิยายชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" ออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 เป็นการปิดฉากชุดนวนิยายซึ่งเริ่มต้นเมื่อ ค.ศ. 1997 จากการตีพิมพ์นวนิยายเรื่อง \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์\" ในประเทศอังกฤษตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บลูมสบิวรี่ ประเทศอเมริกาตีพิมพ์โดยสกอลาสติก และในประเทศไทยตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ (ออกจำหน่ายวันที่ 7 ธันวาคมพ.ศ. 2550) ดำเนินเรื่องราวต่อจากเหตุการณ์ใน \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม\" ไปจนถึงการเผชิญหน้าครั้งสุดท้ายระหว่างสองพ่อมด แฮร์รี่ พอตเตอร์ และลอร์ดโวลเดอมอร์",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต"
},
{
"docid": "38960#17",
"text": "หนังสือเล่มที่สี่ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี วางจำหน่ายพร้อมกันทั้งในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 และทำลายสถิติยอดขายของทั้งสองประเทศ โดยสามารถขายได้ 372,775 เล่มในวันแรกที่อังกฤษ ซึ่งเกือบจะเท่ากับจำนวนยอดขายตลอดปีของ<i data-parsoid='{\"dsr\":[30963,30985,2,2]}'>นักโทษแห่งอัซคาบัน[69] ส่วนที่อเมริกาก็สามารถขายได้กว่าสามล้านเล่มภายในเวลา 48 ชั่วโมงแรกและทำลายทุกสถิติ[69] โรว์ลิงกล่าวว่าเธอต้องเจอกับปัญหาใหญ่ระหว่างที่เขียนหนังสือเล่มนี้ และต้องเขียนบทนึงในหนังสือใหม่หลายครั้งเพื่อแก้ปัญหาของโครงเรื่อง[70] ในปีนั้นเองโรว์ลิงได้รับการระบุให้เป็นนักเขียนแห่งปี 2000 จากรางวัลบริติชบุ๊คอวอร์ด[71]",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
},
{
"docid": "38960#0",
"text": "โจแอนน์ \"โจ\" โรว์ลิง (English: Joanne \"Jo\" Rowling, OBE FRSL[1]) หรือนามปากกา เจ. เค. โรว์ลิง[2] และ<b data-parsoid='{\"dsr\":[1509,1531,3,3]}'>โรเบิร์ต กัลเบรธ (เกิด 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1965)[3] เป็นนักเขียนนวนิยายชาวอังกฤษ ผู้เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ประพันธ์วรรณกรรมแฟนตาซีชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งได้รับความความสนใจจากทั่วโลก ได้รับรางวัลมากมาย และมียอดขายกว่า 500 ล้านเล่ม[4] และยังเป็นหนังสือชุดที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์[5] ด้านภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ที่ดัดแปลงมาจากหนังสือก็เป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำรายได้มากที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์[6] โรว์ลิงอนุมัติบทภาพยนตร์ทุกภาค[7] และตลอดจนควบคุมงานฝ่ายสร้างสรรค์ภาพยนตร์ภาคสุดท้ายในฐานะผู้อำนวยการสร้าง[8]",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
},
{
"docid": "4336#44",
"text": "ความต้องการอย่างสูงในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ทำให้ นิวยอร์กไทมส์ ตัดสินใจเปิดอันดับหนังสือขายดีอีก 1 ประเภทสำหรับวรรณกรรมเด็กโดยเฉพาะเมื่อปี พ.ศ. 2543 ก่อนการวางจำหน่าย แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2543 และหนังสือของโรว์ลิงก็อยู่บนอันดับหนังสือขายดีนี้ติดต่อกันเป็นเวลายาวนานถึง 79 สัปดาห์ โดยที่ทั้งสามเล่มแรกเป็นหนังสือขายดีในประเภทหนังสือปกแข็งด้วย[87] การจัดส่งหนังสือชุด ถ้วยอัคนี ต้องใช้รถบรรทุกของเฟดเอกซ์กว่า 9,000 คันเพื่อการส่งหนังสือเล่มนี้เพียงอย่างเดียว[88] วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2550 ร้านหนังสือ บาร์นส์แอนด์โนเบิล ประกาศว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต ได้ทำลายสถิติหนังสือจองผ่านเว็บไซต์โดยมียอดจองมากกว่า 500,000 เล่ม[89] เมื่อนับรวมทั้งเว็บของบาร์นส์แอนด์โนเบิล กับอเมซอนดอตคอม จะเป็นยอดจองล่วงหน้ารวมกันมากกว่า 700,000 เล่ม[88] แต่เดิมสถิติการพิมพ์หนังสือฉบับพิมพ์ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 3.8 ล้านเล่ม[88] แต่ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับภาคีนกฟีนิกซ์ ทำลายสถิตินี้ด้วยยอดพิมพ์ครั้งแรก 8.5 ล้านเล่ม และต่อมาก็ถูกทำลายสถิติลงอีกด้วย แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเจ้าชายเลือดผสม ที่ 10.8 ล้านเล่ม[90] ในจำนวนนี้ได้ขายออกไป 6.9 ล้านเล่มภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังจากวางจำหน่าย ส่วนในอังกฤษได้ขายออกไป 2 ล้านชุดภายในวันแรก[91] อย่างไรก็ตามหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ซึ่งเป็นหนังสือเล่มสุดท้าย ก็ได้ทำลายสถิติก่อนหน้าลง ด้วยยอดขายกว่า 11 ล้านเล่ม ในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงแรกของการจำหน่าย[4] โดยมียอดสั่งจองล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์อเมซอนและร้านหนังสือบาร์นส์แอนด์โนเบิลกว่า 1 ล้านเล่ม[92]",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "38960#19",
"text": "หนังสือเล่มที่หกแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม วางจำหน่ายในวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 และทำลายทุกสถิติการขายเช่นกัน สามารถขายได้ถึง 9 ล้านเล่มภายในเวลา 24 ชั่วโมงแรกของการวางขาย[74] ต่อมาในปี 2006 เจ้าชายเลือดผสม</i>ได้รับรางวัลหนังสือแห่งปีจากบริติชบุ๊คอวอร์ด[66]",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
},
{
"docid": "898311#4",
"text": "เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1998 วอร์เนอร์บราเธอส์ ซื้อลิขสิทธิ์ทำภาพยนตร์จากนวนิยายแฟนตาซี \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" สี่เล่มแรก ของ เจ. เค. โรว์ลิง เป็นจำนวนเงินเจ็ดหลัก หลังได้รับการแนะนำจากผู้อำนวยการสร้าง เดวิด เฮย์แมน วอร์เนอร์บราเธอร์ได้สังเกตเห็นถึงความปรารถนาและความคิดของโรว์ลิงเกี่ยวกับภาพยนตร์เมื่อร่างสัญญาของเธอ หนึ่งในข้อตกลงหลักของเธอก็คือพวกเขาต้องถ่ายทำในประเทศอังกฤษกับนักแสดงชาวอังกฤษทั้งหมด ซึ่งวอร์เนอร์บราเธอร์ก็ทำตามข้อตกลงนั้น เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2000 นักแสดงที่ไม่เป็นที่รู้จักอย่าง แดเนียล แรดคลิฟฟ์ และนักแสดงหน้าใหม่ รูเพิร์ต กรินต์ และ เอ็มมา วอตสัน ถูกคัดเลือกให้เล่นเป็น แฮร์รี่ พอตเตอร์, รอน วีสลีย์ และ เฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ตามลำดับ คริส โคลัมบัส ถูกจ้างให้กำกับภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากหนังสือเล่มแรก \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์\" พร้อมกับ สตีฟ โคลฟส์ ที่ถูกเลือกให้มาเขียนบทภาพยนตร์ ",
"title": "โลกเวทมนตร์"
},
{
"docid": "38960#20",
"text": "ชื่อของหนังสือเล่มที่เจ็ดซึ่งเป็นภาคสุดท้ายของหนังสือชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[33301,33321,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์</i>ได้รับการประกาศในวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2006 โดยใช้ชื่อว่าแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต (The Deathly Hallows) [75] และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 มีการประกาศว่าโรว์ลิงได้เขียนข้อความลงบนรูปปั้นครึ่งตัวในห้องพักของเธอที่โรงแรมบัลโมรัล เมืองเอดินบะระ ว่าเธอได้เขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มที่เจ็ดเสร็จในห้องนี้เมื่อวันที่ 11 มกราคม ปี 2007[76] แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต</i>วางจำหน่ายในวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 (เวลาเที่ยงคืนหนึ่งนาที)[77] และทำลายสถิติหนังสือที่ขายได้ไวที่สุดตลอดกาลที่ภาคก่อนเคยทำได้สำเร็จ[78] สามารถขายได้ถึง 11 ล้านเล่มในการวางขายวันแรกที่สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา[78] และบทสุดท้ายของหนังสือก็เป็นหนึ่งในบทที่เธอเขียนไว้ตั้งแต่ช่วงปี 1990 แล้ว[79]",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
},
{
"docid": "38960#16",
"text": "จากนั้นหนังสือภาคต่อ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับก็ได้รับการตีพิมพ์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1998และเป็นอีกครั้งที่โรว์ลิงได้รับรางวัลหนังสือเนสเล่สมาร์ตตีส์[66] ต่อมาในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1999 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันก็ได้รับรางวัลดังกล่าวอีกครั้งและทำให้โรว์ลิงเป็นนักเขียนคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้สามครั้งติดต่อกัน[67] ภายหลังเธอถอนชื่อหนังสือเล่มที่สี่ของเธอออกจากการแข่งขันเพื่อเปิดโอกาสและให้ความยุติธรรมแก่นักเขียนคนอื่น แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันยังได้รับรางวัลหนังสือวิตเบรดสาขาหนังสือเด็กแห่งปี แม้ว่าจะพลาดรางวัลสาขาหนังสือแห่งปีให้กับเบวูล์ฟฉบับแปลของเชมัส ฮีนีย์ก็ตาม[68]",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
},
{
"docid": "38960#21",
"text": "ณ ตอนนี้ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ถือเป็นชื่อสินค้าระดับโลกที่มูลค่ามากกว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[80] และหนังสือสี่เล่มสุดท้ายของ<i data-parsoid='{\"dsr\":[35508,35528,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์</i>ก็สร้างสถิติเป็นหนังสือที่ขายได้ไวที่สุดติดต่อกัน[78][81] หนังสือทั้งเจ็ดเล่มมีจำนวนหน้าทั้งหมด 4,195 หน้า[82] และมีการนำไปแปลเป็นภาษาต่างๆกว่า 73 ภาษา[83][84]",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
}
] |
2428 | เจดีย์ชเวดากอง สร้างเสร็จเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "33487#1",
"text": "ตามตำนาน เจดีย์ชเวดากองนั้นสร้างเมื่อ 2,500 ปีที่แล้ว แต่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีเชื่อกันว่าสร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6-10 โดยชาวมอญ[3] ตามตำนานนั้นกล่าวว่ามีพี่น้องพ่อค้า 2 คนคือ ตปุสสะและภัลลิกะ จากตอนเหนือของเนินเขาเชียงกุตระ ได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์จึงประทานพระเกศาให้พ่อค้าทั้งสองมา 8 เส้น พ่อค้าทั้งสองกลับมายังพม่าและได้ความช่วยเหลือจากผู้ปกครองท้องถิ่น พระราชาโอกะละปา ในการประดิษฐานพระเกศาธาตุบริเวณเนินเขาเชียงกุตระ",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
}
] | [
{
"docid": "33487#20",
"text": "ในปี ค.ศ. 1920 นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยของพม่ามาพบกันที่ศาลามุมตะวันตกเฉียงใต้ของเจดีย์ชเวดากอง และวางแผนประท้วงต่อต้านพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยใหม่ ที่พวกเขาเชื่อว่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับการปกครองของอาณานิคมมากขึ้น ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ได้รับการขึ้นเป็นอนุสรณ์สถาน ผลที่ตามมาคือการคว่ำบาตรมหาวิทยาลัยและมีการจัดตั้ง \"สถาบันการศึกษาแห่งชาติ\" ซึ่งมีแหล่งเงินทุนและดำเนินการโดยชาวพม่า วันนี้จึงได้รับการระลึกเป็นวันชาติวันหนึ่งของพม่า ครั้งที่สองนักศึกษามหาวิทยาลัยได้หยุดประท้วงในปี ค.ศ. 1936 โดยรวมตัวกันบริเวณเชิงฐานเจดีย์ชเวดากอง",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "120426#13",
"text": "ในวันที่ 26 กันยายน วิน ไนง์ กลุ่มผู้สนับสนุนประชาธิปไตยถูกจับที่บ้านในย่างกุ้งเมื่อ 2.30 น. หลังจากนำอาหารและน้ำไปให้พระสงฆ์ที่ออกมาประท้วง แต่ถูกปล่อยตัวหลังจากคุมขังไว้ 1 คืน[20] กองทหารเข้าปืดล้อมพระเจดีย์ชเวดากอง และโจมตีกลุ่มผู้ประท้วง 700 คนด้วยแก๊สน้ำตาและกระบอง ตำรวจพร้อมโล่และกระบองเข้าขับไล่พระสงฆ์และผู้ประท้วง 200 คนที่ยังเหลืออยู่ในบริเวณใกล้ประตูทางตะวันออกของพระเจดีย์ชเวดากอง ทหารเข้าปิดล้อมบริเวณพระเจดีย์เพื่อป้องกันไม่ให้เข้ามาประท้วงอีก[21][22] แต่ล้มเหลว ยังมีพระสงฆ์ 5,000 รูปประท้วงในย่างกุ้ง บางคนสวมหน้ากากป้องกันแก๊สน้ำตา ในวันนั้น รายงานว่ามีอย่างน้อยมีพระสงฆ์ 3 รูป และผู้หญิง 1 คน ถูกฆ่า เมื่อกลุ่มประชาชนและพระสงฆ์ยังคงประท้วงต่อไป[23]",
"title": "การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์"
},
{
"docid": "891622#0",
"text": "อุปปาตสันติเจดีย์ (, ; ชื่อทางการ , หมายถึง \"เจดีย์แห่งสันติ\") สถานที่โดดเด่นสำคัญในเมืองเนปยีดอ เมืองหลวงใหม่ของประเทศพม่า องค์พระเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศจีน องค์พระเจดีย์จำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวดากองในเมืองย่างกุ้ง และมีความสูง ",
"title": "อุปปาตสันติเจดีย์"
},
{
"docid": "33487#2",
"text": "องค์เจดีย์ได้ถูกทิ้งร้างทรุดโทรมจนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 พระยาอู่ (ค.ศ. 1323-1384) ได้ทรงบูรณะเจดีย์ให้มีความสูง 18m (59ft) ศตวรรษต่อมาพระนางเชงสอบู (ค.ศ. 1453-1472) ได้ทรงบูรณะเจดีย์ให้มีความสูงถึง 40m (131ft) ได้ทำการปรับเปลี่ยนเนินซึ่งเป็นที่ตั้งขององค์เจดีย์ให้เป็นฐานเจดีย์ลาดเป็นชั้น ๆ แบบขั้นบันได และปูพื้นด้านบนของฐานด้วยแผ่นหิน พระนางรับสั่งให้มีการบำรุงรักษาองค์เจดีย์ต่อไปแก่พระเจ้าธรรมเจดีย์ ซึ่งครองราชสมบัติต่อหลังพระนางสละราชสมบัติ ในช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพพระนางได้วางแท่นบรรทมให้มองเห็นองค์เจดีย์ มีการจารึกรายชื่อผู้ที่มีส่วนร่วมในการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1436 จนกระทั่งการบูรณะเสร็จสิ้นในรัชสมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ต่อมาเจดีย์ชเวดากองได้กลายเป็นสถานที่แสวงบุญของพุทธศาสนิกชนที่มีชื่อเสียงที่สุดในพม่า[4]",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "606606#4",
"text": "ในประเทศพม่า มีตำนานของเจดีย์ชเวดากองได้เล่าขานไว้ว่า ตปุสสะและภัลลิกะพ่อค้าพี่น้องทั้งสองนั้นเป็นชาวมอญมาจากเมืองย่างกุ้ง ได้เดินทางไปค้าขายที่ประเทศอินเดีย ทั้งสองได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งกำลังประทับอยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ และได้ถวายภัตตาหารแด่พระองค์ หลังจากเสวยเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าได้ประทานพระเกศาให้ 8 เส้น เมื่อ ตปุสสะและภัลลิกะ เดินทางกลับ พระราชาแห่งอเชตตะได้ขอแบ่งพระเกศธาตุไป 2 เส้น พญานาคขอไปอีก 2 เส้น เมื่อเดินทางกลับถึงเมืองอสิตัญชนะ พระเจ้าโอกกลปะก็ได้ทรงประกอบพิธีต้อนรับพระเกศาธาตุอย่างยิ่งใหญ่ และได้ทรงคัดเลือกสถานที่บนเขาสิงฆุตตระ นอกประตูเมืองอสิตัญชนะให้เป็นที่สร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระเกศธาตุ แต่ขณะที่กำลังทำการขุดดินก่อสร้างนั้น ก็ได้ค้นพบพระบริโภคเจดีย์ของอดีตพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ อีก 3 พระองค์ด้วย คือ ไม้ธารพระกร ภาชนะสำหรับใส่น้ำ และสบง จึงได้บรรจุของทั้งหมดนี้ในพระเจดีย์พร้อมกับพระเกศธาตุด้วย แต่ก่อนที่จะบรรจุก็ค้นพบด้วยว่า พระเกศธาตุกลับมี 8 เส้นดังเดิม พระเกศธาตุได้บรรจุไว้ภายในเจดีย์ทอง เงิน ดีบุก ทองแดง ตะกั่ว หินอ่อน และเหล็กตามลำดับ เสร็จแล้วจึงสร้างเจดีย์อิฐสูง 9 เมตรทับไว้ในชั้นแรก",
"title": "ตปุสสะ ภัลลิกะ"
},
{
"docid": "936990#3",
"text": "เจดีย์ชเวดากอง ถูกสร้างขึ้นกว่าพันปีก่อนบริเวณเนินเขาสิงห์กุตระ (เชียงกุตระ)",
"title": "ทิวเขาพะโค"
},
{
"docid": "970844#0",
"text": "เจดีย์โบตทอง ( ; รู้จักกันในชื่อ เจดีย์โบตะทาว; หมายถึง \"ทหาร 1,000 นาย\") เป็นเจดีย์ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในย่านใจกลางเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า ใกล้แม่น้ำย่างกุ้ง เจดีย์ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกโดยชาวมอญช่วงเวลาเดียวกันกับเจดีย์ชเวดากอง ตามความเชื่อท้องถิ่นสร้างเมื่อกว่า 2,500 ปีที่ผ่านมา และเป็นที่รู้จักในชื่อภาษามอญว่า ไจเดอัต () เจดีย์กลวงภายในและเชื่อว่าเป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุพระพุทธเจ้า",
"title": "เจดีย์โบตทอง"
},
{
"docid": "970844#2",
"text": "ตามตำนานกษัตริย์มอญนามว่าโอกะละปาได้ให้นายทหารระดับแม่ทัพ 1,000 นาย ตั้งแถวถวายสักการะพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าที่พ่อค้าสองพี่น้อง ตปุสสะและภัลลิกะ อัญเชิญมาทางเรือจากประเทศอินเดีย และมาขึ้นฝั่งเมืองตะเกิงหรือดากอง ณ บริเวณนี้เมื่อ 2,000 ปีก่อน จึงสร้างเจดีย์โบตทองไว้เป็นที่ระลึก พร้อมทั้งแบ่งพระเกศา 1 เส้นมาบรรจุไว้ ก่อนนำไปบรรจุในเจดีย์ชเวดากองและเจดีย์สำคัญอื่น ๆ",
"title": "เจดีย์โบตทอง"
},
{
"docid": "33487#12",
"text": "รัดยาร์ด คิปลิง ได้บรรยายในปี ค.ศ. 1889 ถึงการเยี่ยมชมเจดีย์ชเวดากอง อีกสิบปีต่อมาได้ลงพิมพ์ในหนังสือ From Sea to Sea and Other Sketches, Letters of Travel[9]",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "971087#3",
"text": "ตามตำนานที่ตั้งของเจดีย์ซูเลในปัจจุบันเคยเป็นที่สถิตของ นะ นามว่า ซูเล เมื่อท้าวสักกะอยากจะช่วยเหลือกษัตริย์โอกะละปา เพื่อหาสถานที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ แต่ท้าวสักกะไม่ทราบว่าควรเป็นที่ไหน เหล่าเทวดา มนุษย์ พร้อมด้วยกษัตริย์โอกะละปาจึงมาประชุมบริเวณซูเล และนะซูเลจึงได้แนะนำสถานที่สำหรับการสร้างเจดีย์ชเวดากอง",
"title": "เจดีย์ซูเล"
},
{
"docid": "33487#26",
"text": "วันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2007 มีการปะทะกันระหว่างกองกำลังรักษาความปลอดภัยกับพระสงฆ์และผู้ประท้วงหลายพันคน มีผู้ประท้วงที่เสียชีวิตอย่างน้อย 5 รายจากกองกำลังรักษาความปลอดภัย ตามรายงานเจ้าหน้าที่มีการใช้แก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุมอย่างสันติของพระสงฆ์จำนวนมากรอบ ๆ เจดีย์ชเวดากอง[15]",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "33487#16",
"text": "สองศตวรรษต่อมาจักรวรรดิบริติชเริ่มเข้าครอบครองพื้นที่เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1824 ช่วงสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง ทันทีที่ยึดครองเจดีย์ชเวดากองได้พวกเขาได้ใช้เป็นป้อมปราการจนสละทิ้งในอีกสองปีต่อมา มีการปล้นสะดมการทำลายทรัพย์สิน และข้ออ้างของเจ้าหน้าที่คนหนึ่งในการขุดอุโมงค์เข้าไปในส่วนลึกของเจดีย์ คือการหาว่าสามารถใช้เป็นที่เก็บดินปืนได้หรือไม่ ระฆังมหาคันธะ ระฆังสัมฤทธิ์หนัก 23 ตัน สร้างในปี ค.ศ. 1779 โดยได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าจิงกูจาและเป็นที่รู้จักในชื่อระฆังพระเจ้าจิงกูจา ถูกขนย้ายลงเรือปรารถนาที่จะส่งไปยังโกลกาตา และได้พบเหตุการณ์เช่นเดียวกับระฆังพระเจ้าธรรมเจดีย์คือตกลงไปในแม่น้ำ เมื่อชาวอังกฤษล้มเหลวในความพยายามที่จะกู้ระฆังขึ้นมา จึงมีประชาชนเสนอที่จะกู้ระฆังโดยมีเงื่อนไขว่าถ้ากู้ขึ้นมาได้ให้ถวายคืนไปยังเจดีย์ ชาวอังกฤษคิดว่ามันเป็นเรื่องไร้ประโยชน์จึงตอบตกลง ต่อมานักดำน้ำได้นำเสาไม้ไผ่หลายร้อยต้นผูกเข้ากับระฆังด้านล่างและปล่อยให้ลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ ระฆังใบนี้มักมีคนสับสนกับระฆังพระเจ้าแสรกแมง ขนาด 42 ตัน ซึ่งได้รับการถวายในปี ค.ศ. 1841 โดยพระเจ้าแสรกแมงพร้อมกับชุบทองคำ 20 กก. ระฆังขนาดใหญ่นี้แขวนอยู่ในศาลามุมตะวันออกเฉียงเหนือของเจดีย์ ส่วนระฆังพระเจ้าจิงกูจาแขวนในศาลาตะวันตกเฉียงเหนือของเจดีย์[10]",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "971087#0",
"text": "เจดีย์ซูเล (; ) เป็นเจดีย์ตั้งอยู่ในใจกลางเมืองย่างกุ้ง เป็นพื้นที่ภูมิศาสตร์สำคัญของการเมืองพม่าร่วมสมัย ตามตำนานระบุว่าเจดีย์ถูกสร้างขึ้นก่อนเจดีย์ชเวดากอง ในช่วงพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่ ทำให้เจดีย์องค์นี้เก่าแก่กว่า 2,500 ปี ตำนานระบุว่าสถานที่สำหรับก่อสร้างเจดีย์ชเวดากองได้รับการแนะนำจาก นะ เก่าแก่ของเมืองที่สถิตอยู่บริเวณเจดีย์ซูเล",
"title": "เจดีย์ซูเล"
},
{
"docid": "33487#4",
"text": "เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 7 มีนาคม ค.ศ. 2012 มีเทศกาลเฉลิมฉลองประจำปีของเจดีย์ชเวดากองเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 หลังถูกห้ามโดยสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ ที่ปกครองประเทศในขณะนั้น[5][6] เทศกาลเจดีย์ชเวดากองเป็นเทศกาลเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ เดือนตะบอง (Tabaung) ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ ตามปฏิทินพม่าแบบดั้งเดิม[6]",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "120426#12",
"text": "ในวันนี้ กองทัพได้เริ่มปราบปรามและส่งรถบรรทุกทหารไปยังพระเจดีย์ชเวดากอง มีพระสงฆ์ 5,000 รูปและประชาชนเดินขบวนไปยังพระเจดีย์ชเวดากอง[18] มีการประกาศในย่างกุ้งให้ฝูงชนยุติการประท้วง อองซาน ซูจีถูกนำตัวออกจากบ้านไปยังเรือนจำอินเส่ง[19]",
"title": "การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์"
},
{
"docid": "578781#2",
"text": "ปัจจุบันกรุงเนปยีดอมีการพัฒนาถนนทางหลวงหมายเลข 8 เพื่อเชื่อมต่อกับย่างกุ้ง มีโครงการสร้างสถานีรถไฟขึ้นอีก 1 แห่งในเนปยีดอ ถัดจากสถานีในปยินมะนาที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2549 มีการสร้างเจดีย์อุปปาตสันติ ซึ่งจำลองแบบจากเจดีย์ชเวดากองในย่างกุ้ง[8] และทางการยังมีแผนการสร้างสวนสาธารณะ น้ำพุ สวนสัตว์ สวนบริเวณใจกลางเมือง และศูนย์การค้าแห่งใหม่อีก 42 แห่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนเมืองหลวงแห่งใหม่ นอกจากนี้ยังมีแผนการก่อสร้างอาคารทันสมัยต่าง ๆ สำหรับหน่วยงานรัฐ ส่วนที่พักอาศัย โรงพยาบาลเอกชน ธนาคาร อาคารสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพพม่า (UMFCCI) และโครงการศูนย์การค้าระดับนานาชาติ โดยเป็นโครงการที่จะดำเนินไปตลอดทศวรรษหน้า",
"title": "เนปยีดอ"
},
{
"docid": "33487#25",
"text": "เมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2007 พระภิกษุและตี่ละฉิ่น กว่า 20,000 รูป (การประท้วงครั้งใหญ่สุดในรอบ 20 ปี) ได้เดินขบวนไปยังเจดีย์ชเวดากองที่เมืองย่างกุ้ง ต่อมาในวันจันทร์มีประชาชนกว่า 30,000 คนและพระสงฆ์ 15,000 รูป เดินขบวนจากเจดีย์ชเวดากองและผ่านสำนักงานพรรคฝ่ายค้านของนางอองซาน ซูจี คือ พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) นักแสดงตลกและนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ซากะนา กับ จอ ตู มีการนำอาหารและน้ำมาถวายแด่พระสงฆ์ ในวันเสาร์มีพระสงฆ์เดินทางไปทักทายนางอองซานซูจีซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมในบ้านพัก ต่อมาวันอาทิตย์มีแม่ชีจำนวน 150 คนเข้าร่วมเดินขบวน[12][13] เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2007 พระสงฆ์และผู้สนับสนุน 2,000 คนขัดขืนคำขู่ของคณะผู้บริหารประเทศ เดินขบวนในถนนย่างกุ้งไปยังเจดีย์ชเวดากอง ท่ามกลางรถบรรทุกทหารและคำเตือนของ พลจัตวา มยิน มอง ไม่ให้พุทธศาสนิกชนละเมิดกฎระเบียบและข้อบังคับ[14]",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "33487#21",
"text": "ในปี ค.ศ. 1938 คนงานเหมืองบ่อน้ำมันได้หยุดงานประท้วง และทยอยเดินทางออกจากเหมืองบ่อน้ำมันเมืองเชาะและเยนานยองบริเวณตอนกลางของพม่าไปยังเมืองย่างกุ้ง เพื่อจัดค่ายประท้วงบริเวณเจดีย์ชเวดากอง การประท้วงครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและนักศึกษา เป็นที่รู้จักกันในชื่อ 'การปฏิวัติ 1300' เจ้าหน้าที่ตำรวจของบริติชได้สวมรองเท้าบูทบุกเข้าจู่โจมค่ายผู้ประท้วงบริเวณเจดีย์ ขณะที่ชาวพม่าล้วนต้องถอดรองเท้าก่อนขึ้นเจดีย์ทั้งสิ้น",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "33487#15",
"text": "ในปี ค.ศ. 1608 นักผจญภัยชาวโปรตุเกส ฟีลีปือ ดือ บรีตู อี นีโกตือ หรือที่รู้จักในนามของ งะซีนกา เมื่ออยู่ในพม่า ได้เข้าปล้นชิงสมบัติของเจดีย์ชเวดากอง และได้เอาระฆังพระเจ้าธรรมเจดีย์ขนาด 300 ตัน ซึ่งถวายโดยพระเจ้าธรรมเจดีย์เมื่อปี ค.ศ. 1485 เจตนาของฟีลีปือคือการหลอมระฆังเพื่อสร้างปืนใหญ่ แต่ระฆังได้ตกลงไปในแม่น้ำพะโคขณะกำลังขนย้าย จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้รับการกู้คืน",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "279386#9",
"text": "ต่อมา พระนางได้กลับมาสู่พม่าที่เมืองย่างกุ้ง ทรงเคียดแค้นขุนนางพม่าที่ไปเข้ากับอังกฤษ ตรัสบริภาษอยู่เป็นประจำ มีฝรั่งเขียนเกี่ยวกับพระนางไว้ว่า เมื่อพระนางแก่ตัวเข้าและรู้สำนึกในชีวิตแล้ว ทรงสงบเสงี่ยม สุภาพ น่าสงสาร ทรงเลี้ยงสุนัขเป็นเพื่อน และเสียพระทนต์ทั้งหมด พระนางอยู่ในตำหนักที่อังกฤษจัดถวายให้ในเมืองย่างกุ้ง 10 ปี จึงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ขณะพระชนมายุ 65 พรรษา การจัดการพระศพก็เป็นไปตามยถากรรม ไม่ได้มีพิธีรีตองมากมายไม่ต่างจากคนทั่วไป ปัจจุบันยังมีที่ฝังพระศพอยู่ในย่างกุ้ง โดยรัฐบาลอังกฤษจัดการพระศพให้ตามธรรมเนียม แต่ไม่อนุญาตให้เชิญพระศพขึ้นไปที่ราชธานีกรุงมัณฑะเลย์ คงอนุญาตเพียงแต่ทำเป็นมณฑปบรรจุพระอัฐิเท่านั้น ปัจจุบันนี้อยู่ที่ถนนเจดีย์ชเวดากอง (Shwe Dagon Pagoda Rd.) ห่างจากบันไดด้านทิศใต้ของพระเจดีย์ชเวดากองมาประมาณ 200 เมตร สร้างเป็นกู่ทรงมณฑปยอดปราสาทแบบพม่า ก่ออิฐฉาบปูนขาว รูปทรงคล้ายที่ฝังพระศพของพระเจ้ามินดงในกรุงมัณฑะเลย์ ที่ฐานล่างมีแผ่นจารึกแผ่นเล็กของตอปยากะเล (Taw Payar Kalay) หรือออง ซาย (Aung Zay) ซึ่งเป็นพระราชนัดดาองค์สุดท้ายของพระเจ้าสีป่อ ที่เสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 2006 และนำอัฐิมาฝังไว้ในกู่เดียวกับพระนางศุภยาลัต โดยพระนางมีศักดิ์เป็น \"พระอัยยิกา\" ของนัดดาองค์นี้",
"title": "พระนางศุภยาลัต"
},
{
"docid": "33487#0",
"text": "เจดีย์ชเวดากอง (Burmese: ရွှေတိဂုံစေတီတော်, Burmese pronunciation:[ʃwèdəɡòʊɴ zèdìdɔ̀] เฉว่ดะโก่งเส่ดี่ด่อ) ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเชียงกุตระ เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า โดยคำว่า \"ชเว\" (ရွှေ) หมายถึง ทอง, \"ดากอง\" (ဒဂုံ แผลงเป็น တိဂုံ) คือชื่อดั้งเดิมของเมืองย่างกุ้ง[1] เชื่อกันว่าเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระโคตมพุทธเจ้าจำนวน 8 เส้น ยอดสุดขององค์เจดีย์บริเวณลูกแก้วหรือหยาดน้ำข้างประดับด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ และเพชร 5,448 เม็ด ชั้นบนสุดมีทับทิม 2,317 เม็ดและเพชรเม็ดใหญ่ 76 กะรัต เพื่อรับลำแสงแรกและลำแสงสุดท้ายของดวงอาทิตย์[2] ผู้ที่เข้ามานมัสการหรือเยี่ยมชมจะต้องถอดรองเท้าทุกครั้ง",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "33487#19",
"text": "“หลังจากเกษียณแล้วเขาย้ายกลับไปยังเขตย่างกุ้งซึ่งยังคงอยู่ในมือพม่า ไม่นานนักก่อนที่นั้นจะถูกยึดครอง เขาเคยถูกจับอีกครั้งในช่วงสงคราม แต่เขาโชคดีที่สนับสนุนกิจการทางศาสนาและได้รับบุญอันยิ่งใหญ่ ความสามารถในการเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมของเขา ทำให้เขาได้รับหน้าที่ในการบูรณะเจดีย์ชเวดากองครั้งใหญ่ จากการถูกทำลายและปล้นทรัพย์สมบัติของกองทัพบริติชช่วงสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สอง ศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ของพุทธถูกใช้เป็นป้อมปราการโดยกองทัพบริติชช่วงสงครามในปี ค.ศ. 1824 และใช้เป็นป้อมปราการอีกครั้งในปี ค.ศ. 1852 เมื่อเขาได้ยินการเปลี่ยนศาสนสถานเป็นป้อมปราการและปล้นทรัพย์สมบัติ เขาจึงส่งจดหมายอุทธรณ์ทันทีไปยังสำนักงานบริติชอินเดียในลอนดอนให้หยุดทำลายศาสนสถาน เขาได้รับค่าชดเชยจากข้าหลวงพม่าแห่งบริติช มิสเตอร์เพเลย์ (Arthur Purves Phayre) และเริ่มบูรณะเจดีย์ในปี ค.ศ. 1855 พร้อมการสนับสนุนการบริจาคจากประชาชน เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลเจดีย์ชเวดากอง และได้รับยศ KSM จากบริติชราช สำหรับการบริการสาธารณะของเขา เขาเสียชีวิตเมื่ออายุ 95 ปี มรดกที่เขาทิ้งไว้คือเกียรติประวัติและกิตติศัพท์สูงสุดแก่วงศ์ตระกูลและทายาทรุ่นหลังของเขา”",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "33487#3",
"text": "แผ่นดินไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ เรื่อยมาทำให้เจดีย์ได้รับความเสียหาย และเมื่อปี ค.ศ. 1768 ได้เกิดแผ่นดินไหวอย่างหนัก ทำให้ยอดของเจดีย์หักถล่มลงมา แต่ได้มีการบูรณะให้สูงขึ้นถึง 99m (325ft) ฉัตรองค์ใหม่สำหรับประดับยอดเจดีย์ได้รับการถวายจากพระเจ้ามินดง เมื่อปี ค.ศ. 1871 หลังการผนวกดินแดนพม่าตอนล่างโดยอังกฤษ แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงปานกลางในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1970 ทำให้เพลาฉัตรบนยอดองค์เจดีย์ได้รับความเสียหาย มีการสร้างโครงและซ่อมแซมครั้งใหญ่",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "207375#0",
"text": "เจดีย์ชเวมอดอ ( ; ) เป็นเจดีย์สำคัญที่อยู่ในเมืองพะโค ประเทศพม่า มีความสูง ถือเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในประเทศพม่า แต่เจดีย์ชเวดากอง ในเมืองย่างกุ้ง มักถูกบันทึกว่าเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในประเทศ เพราะประดิษฐานบนเนินเขา เจดีย์ชเวมอดอเชื่อกันว่าเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุและพระเขี้ยวแก้วของพระโคตมพุทธเจ้า เจดีย์ชเวมอดอ เจดีย์ชเวดากอง และพระธาตุไจทีโย เป็นเจดีย์ที่มีชื่อเสียงที่ถูกสร้างโดยชาวมอญ เทศกาลประจำปีเฉลิมฉลองเจดีย์ชเวมอดอ มักจัดในช่วงเดือนตะกู (Tagu) ตามปฏิทินพม่าแบบดั้งเดิม",
"title": "เจดีย์ชเวมอดอ"
},
{
"docid": "33487#30",
"text": "เจดีย์ชเวดากองจำลองขนาด 46.8m (154ft) ณ อุทยานลุมพินี ในเมืองเบอราสตากี, จังหวัดสุมาตราเหนือ, ประเทศอินโดนีเซีย สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 2010 วัสดุก่อสร้างของเจดีย์นี้ถูกนำเข้ามาจากประเทศพม่า[18]",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "33487#23",
"text": "ในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1946 นายพลอองซาน ได้จัดการชุมนุมใหญ่ที่บริเวณเจดีย์เพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ โดยมีการประท้วงและการชุมนุมเป็นวงกว้าง อีกสี่สิบสองปีต่อมาในวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1988 ลูกสาวของเขา อองซาน ซูจี ได้กล่าวกับผู้ชุมนุมกว่า 500,000 คนที่บริเวณเจดีย์ชเวดากองเพื่อเรียกร้องการปกครองระบอบประชาธิปไตยจากการปกครองของทหาร เหตุการณ์นี้เป็นที่รู้กันกันในชื่อ การปฏิวัติ 8888 ซึ่งเป็นการประท้วงระบอบการปกครองครั้งใหญ่ครั้งที่สอง",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "33487#29",
"text": "อุปปาตสันติเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเนปยีดอ เมืองหลวงของประเทศพม่า เป็นเจดีย์ที่จำลองมาจากเจดีย์ชเวดากองสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2009 โดยมีรูปแบบลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่มีความสูงน้อยกว่าเจดีย์ชเวดากองเล็กน้อย[17]",
"title": "เจดีย์ชเวดากอง"
},
{
"docid": "891622#1",
"text": "การก่อสร้างเจดีย์อุปปาตสันติ เริ่มขึ้นในที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และมีพิธีการวางศิลาฤกษ์ การก่อสร้างเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 สร้างขึ้นภายใต้การแนะนำของตาน ฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ มีบัตรเชิญเข้าร่วมพิธีเปิดด้วยวลี \"ราชธานีเนปยีดอ\" องค์พระเจดีย์โดยรวมสั้นกว่าเจดีย์ชเวดากอง 30 เซนติเมตร",
"title": "อุปปาตสันติเจดีย์"
},
{
"docid": "971087#5",
"text": "เจดีย์เป็นรูปทรงแปดเหลี่ยมซึ่งแต่ละด้านมีความยาว 24 ฟุต (7 เมตร) สูง 144 ฟุต 9½ นิ้ว (44 เมตร) เจดีย์ได้รับการบูรณะและมีขนาดเท่าปัจจุบันในสมัยพระนางเชงสอบู (ค.ศ. 1453–1472) รอบ ๆ เจดีย์มีระฆังสัมฤทธิ์ 10 ใบขนาดและอายุแตกต่างกันไปโดยมีการจารึกชื่อผู้บริจาคและวันที่ถวาย คำอธิบายเกี่ยวกับชื่อเจดีย์แตกต่างกันไปตามความเชื่อเช่น มาจาก ซู-เว หมายถึง \"การชุมนุมโดยรอบ\" มาจากเมื่อครั้งกษัตริย์โอกะละปาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ สืบหาที่ตั้งของเนินเขาเชียงกุตระเพื่อสร้างเจดีย์ชเวดากอง อีกความเชื่อกล่าวว่ามาจาก ซู-เล หมายถึงพุ่มไม้ป่าชนิดหนึ่ง และสมมุติฐานใหม่ที่ไม่เกี่ยวกับตำนานมาจากความเชื่อมโยงกับภาษาบาลีคำว่า จุลฺล หมายถึง \"เล็ก\" และ เจติย หมายถึง \"เจดีย์\"",
"title": "เจดีย์ซูเล"
}
] |
3703 | พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ ขึ้นครองราชสมบัติครั้งแรกปีใด ? | [
{
"docid": "156222#0",
"text": "สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ (English: Edward III of England; French: Édouard III d'Angleterre; 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1312 – 21 มิถุนายน ค.ศ. 1377) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทของราชอาณาจักรอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1327 ถึงปี ค.ศ. 1377 พระองค์นับเป็นกษัตริย์อังกฤษผู้ประสบความสำเร็จที่สุดพระองค์หนึ่งในยุคกลาง โดยทรงฟื้นฟูความมั่นคงของราชบัลลังก์ หลังจากที่เสื่อมโทรมลงไปมากในรัชสมัยของพระราชบิดา พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 และทรงเป็นผู้ที่ทำให้ราชอาณาจักรอังกฤษเป็นรัฐที่มีอำนาจทางทหารมากที่สุดในยุโรป และเป็นรัชสมัยที่มีการวิวัฒนาการทางการปกครองทางนิติบัญญัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวิวัฒนาการของระบบรัฐสภา แต่ในสมัยเดียวกันนี้พระองค์ก็ทรงต้องเผชิญกับความหายนะจากกาฬโรคระบาดในยุโรป พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงครองราชย์เป็นเวลานานถึง 50 ปีซึ่งไม่มีพระเจ้าแผ่นดินองค์ใดที่ครองราชย์นานเช่นนั้นตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 และต่อจากนั้นก็ไม่มีพระองค์ใดจนมาถึงรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 3 ในฐานะกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ"
}
] | [
{
"docid": "234564#1",
"text": "หลังจากการเสียชีวิตของริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3 ในยุทธการเวคฟิลด์ในเดือนธันวาคมปีก่อนหน้านั้นแล้วฝ่ายยอร์คก็นำโดยบุตรของริชาร์ดเอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งมาร์ช (พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4) ผู้มีอายุเพียง 18 ปี เอ็ดเวิร์ดต้องกันจะป้องกันไม่ให้กองทัพของฝ่ายแลงคาสเตอร์ที่นำโดยโอเว็น ทิวดอร์และลูกชายแจสเปอร์ ทิวดอร์จากเวลส์ไปสมทบกับกองทัพใหญ่ของแลงคาสเตอร์ได้ เอ็ดเวิร์ดรวบรวมกองกำลังจากบริเวณชายแดนและจากกองกำลังเวลช์ที่เป็นฝ่ายยอร์คโดยเฉพาะจากวิลเลียม เฮอร์เบิร์ต เอิร์ลแห่งเพ็มโบรคที่ 1 (William Herbert, 1st Earl of Pembroke) และผู้สนับสนุน ฝ่ายยอร์คได้รับชัยชนะ แจสเปอร์ ทิวดอร์หนีไปได้แต่โอเว็น ทิวดอร์ถูกจับและถูกประหารชีวิต ทหารเวลส์จำนวนมากถูกสังหาร บ้างก็ว่าเป็นจำนวนถึง 4000 คน ชัยชนะครั้งนี้นำไปสู่การขึ้นครองราชสมบัติของเอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งมาร์ชเป็นสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษในปลายปีเดียวกัน",
"title": "ยุทธการมอร์ติเมอร์ครอส"
},
{
"docid": "901992#7",
"text": "ต่อมาในวันที่ 26 ธันวาคม พระเจ้าจอห์นเข้าถวายบังคมพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ ณ เมืองนิวคาสเซิลอะพอนไทน์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ทรงแสดงออกอย่างเปิดเผยว่าทรงเห็นสก็อตแลนด์เป็นเหมือนอย่างเมืองขึ้น ซึ่งกษัตริย์จอห์นก็อยู่ในภาวะที่ขัดขืนไม่ได้เพราะแผ่นดินสก็อตแลนด์ยังไม่สงบมั่นคง ฝ่ายตรงข้ามกับราชบัลลังก์ (เอ็ดเวิร์ด บรูซ) ยังมีกำลังเข้มแข็งอยู่มาก พอถึงเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1294 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงเรียก กษัตริย์จอห์น บัลลิออล เข้าพบอีกแล้วแจ้งว่า อังกฤษมีแผนที่จะทำสงครามบุกโจมตีฝรั่งเศส และทรงให้เวลาสก็อตแลนด์จนถึงเดือนกันยายน ค.ศ. 1294 ที่จะจัดเตรียมไพร่พลและเงินทุนสนับสนุนราชการสงครามให้พร้อม\nกษัตริย์จอห์นเรียกพบสภาที่ปรึกษาและสั่งให้มีการประชุมรัฐสภาเป็นการด่วน เพื่อวางแผนต่อต้านพระบัญชาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ฯ ฝ่ายสก็อตแลนด์ส่งคณะทูตไปแจ้งให้พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศสทรงทราบถึงเจตนาของพระเจ้ากรุงอังกฤษที่จะกรีฑาทัพเข้ารุกราน ทั้งสองฝ่ายเจรจาทำสัญญาขึ้นฉบับหนึ่ง โดยตกลงว่าฝ่ายสก็อตแลนด์จะยกทัพเข้าโจมตีอังกฤษ เมื่อใดก็ตามที่พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษยกทัพไปรุกรานฝรั่งเศส ส่วนฝรั่งเศสก็จะสนับสนุนสก็อตแลนด์ในการต่อสู้เพื่อปลดแอกจากอังกฤษ พระราชบุตรของพระเจ้าจอห์น (เอ็ดเวิร์ด) ถูกกำหนดให้อภิเษกสมรสกับ โจน (Joan) หลานสาวของพระเจ้าฟิลิป สัญญาสัมพันธมิตรระหว่างสก็อตแลนด์กับฝรั่งเศสได้รับการต่ออายุไปเรื่อยๆจนกระทั่งปี ค.ศ. 1560 และถูกเรียกว่า Auld Alliance (พันธมิตรเก่าแก่)",
"title": "สงครามประกาศอิสรภาพสกอตแลนด์"
},
{
"docid": "160008#2",
"text": "เมื่อเอ็ดเวิร์ดผู้ลี้ภัยสิ้นพระชนม์เมื่อปี ค.ศ. 1057 เอ็ดการ์ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นรัชทายาทโดยนิตินัยโดยพระอัยกา สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ แต่เอ็ดการ์ยังทรงพระเยาว์เกินกว่าที่จะครองราชสมบัติและสามารถป้องกันประเทศที่มึเค้าการรุกรานของฝรั่งเศสโดย ดยุคแห่งนอร์ม็องดี ดังนั้นเมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตสภาวิททันจึงเลือก ฮาโรลด์ กอดวินสัน ผู้เป็นน้องเขยของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเป็นสมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน เมื่อพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสันเสด็จสวรรคตที่ยุทธการเฮสติงส์ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1066 เอ็ดการ์จึงได้รับการประกาศให้เป็น สมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ที่ 2 โดยสภาวิททันในลอนดอน แต่มิได้ทรงรับการสวมมงกุฏ พระเจ้าเอ็ดการ์ถูกส่งตัวให้ พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ราวหกถึงแปดอาทิตย์ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 14 หรือ 15 พรรษา",
"title": "พระเจ้าเอ็ดการ์ที่ 2 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "156222#26",
"text": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเองในขณะนั้นก็ไม่ทรงมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด หลังจากราวปี ค.ศ. 1375 บทบาททางการปกครองของพระองค์ก็เป็นไปอย่างจำกัด[19] ราววันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1376 พระองค์ก็ทรงล้มประชวรด้วยฝีใหญ่ หลังจากที่ทรงรู้สึกดีขึ้นอยู่ระยะหนึ่งในเดือนกุมภาพันธ์พระองค์ก็เสด็จสวรรคตด้วยหลอดเลือดสมองแตก (แต่บางกระแสก็ว่าด้วยโรคหนองใน (gonorrhea)[20]) ที่พระราชวังริชมอนด์เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน[21] ผู้ที่สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์คือพระนัดดาพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 พระโอรสของเจ้าชายดำผู้สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1376 พระเจ้าริชาร์ดขณะนั้นมีพระชนม์เพียง 10 พรรษา",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "158568#5",
"text": "ดินแดนผืนแรกที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงได้รับพระราชทานคือดินแดนแกสโคนี แต่ในปี ค.ศ. 1248 ปีหนึ่งก่อนหน้าที่จะพระราชทานให้กับพระเจ้าเฮนรีพระราชโอรส ทรงแต่งตั้งให้ไซมอนแห่งมอนฟอร์ต เอิร์ลแห่งเลสเตอร์ที่ 6 (Simon de Montfort, 6th Earl of Leicester) ไปเป็นข้าหลวงที่แกสโคนีเป็นเวลาเจ็ดปี ฉะนั้นแม้ว่าเอ็ดเวิร์ดจะมีฐานะเป็นเจ้าของแกสโคนีแต่พระองค์ก็ไม่ทรงมีอำนาจและรายได้จากแกสโคนีแต่อย่างใด",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "156222#9",
"text": "ในปี ค.ศ. 1336 จอห์นแห่งเอลแธม เอิร์ลแห่งคอร์นวอลพระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ก็มาสิ้นพระชนม์ลง จอห์นแห่งฟอร์ดุนอ้างไว้ในบันทึกเจสตา (Gesta Annalia) ว่าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดปลงพระชนม์จอห์นแห่งเอลแธมหลังจากที่ทรงมีปากมีเสียงกัน",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "156222#8",
"text": "สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 มีพระราชประสงค์ที่จะยึดดินแดนที่อังกฤษเสียไปคืน และทรงสามารถยึดเบอร์ริคคืนได้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1333 พระองค์ก็ทรงได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดที่ ยุทธการฮาลิดันฮิลล์ (Battle of Halidon Hill) ต่อกองทัพของยุวกษัตริย์พระเจ้าเดวิดที่ 2 แห่งสกอตแลนด์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงอยู่ในฐานะที่จะแต่งตั้งให้เอ็ดเวิร์ด บาล์ลิโอล (Edward Balliol) ขึ้นครองราชบัลลังก์สกอตแลนด์โดยได้รับดินแดนทางใต้ของสกอตแลนด์เป็นรางวัล (โลเธียนส์, ร็อกซเบิร์กเชอร์, เบอร์วิคเชอร์, ดัมฟรีสเชอร์, แลนนาร์คเชอร์ และพีเบิลเชอร์) แม้ว่าจะทรงได้รับชัยชนะที่ดูพพลินและฮาลิดัน แต่ไม่นานนักโรเบิร์ต บรูซ (Robert the Bruce) ก็ยึดกลับ และภายในปี ค.ศ. 1335 การยึดครองของอังกฤษโดยบาล์ลิโอลก็อ่อนตัวลง หลังจากยุทธการคัลเบรียน (Battle of Culblean)",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "156009#13",
"text": "ถ้าว่ากันตามลำดับการสืบสันตติวงศ์กันแล้วในฐานะที่เป็นลูกของจอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ (พระราชโอรสพระองค์ที่สามในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ) โบลลิงโบรคก็แทบจะไม่มีสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ ตามธรรมเนียมแล้วราชบัลลังก์ควรจะผ่านไปทางผู้สืบสายที่เป็นชายของไลโอเนลแห่งแอนต์เวิร์ป ดยุกที่ 1 แห่งแคลเรนซ์ พระราชโอรสพระองค์ที่สองในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 และตามความเป็นจริงแล้วพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 เองผู้ไม่มีพระราชโอรสธิดาก็ได้ทรงประกาศให้โรเจอร์ มอร์ติเมอร์ เอิร์ลที่ 4 แห่งมาร์ช หลานของไลโอเนลแห่งแอนต์เวิร์ปเป็น “รัชทายาท” แต่โรเจอร์ มอร์ติเมอร์มาเสียชีวิตเสียก่อนในปีก่อนหน้านั้น ฉะนั้นเอ็ดมันด์ มอร์ติเมอร์ เอิร์ลที่ 5 แห่งมาร์ช บุตรของโรเจอร์ก็ควรจะมีสิทธิต่อจากบิดา แต่ก็ไม่มีขุนนางผู้ใดที่สนับสนุนการอ้างสิทธิของเอ็ดมันด์ มอร์ติเมอร์",
"title": "สงครามดอกกุหลาบ"
},
{
"docid": "156222#23",
"text": "ขณะเดียวกันในฝรั่งเศส สิบปีหลังจากสนธิสัญญาเบรตีญีเป็นช่วงที่สงบสุขอยู่ระยะหนึ่ง แต่เมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1364 เมื่อพระเจ้าจอห์นที่ 2 แห่งฝรั่งเศส เสด็จสวรรคตขณะที่ทรงถูกจำขังอยู่ในอังกฤษหลังจากที่ทรงพยายามหาทุนสำหรับค่าไถ่จากฝรั่งเศสแต่ไม่สำเร็จ การเสด็จสวรรคตของพระองค์ตามด้วยการขึ้นครองราชสมบัติของพระเจ้าชาร์ลที่ 5 ผู้ไปเกณฑ์ความช่วยเหลือจาก Constable of France แบร์ทรันด์ ดู เกอสแคลง (Bertrand du Guesclin) ผู้มีความสามารถ[15] ในปี ค.ศ. 1369 สงครามร้อยปีก็เริ่มขึ้นอีกครั้ง พระราชโอรสองค์รองของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด จอห์นแห่งกอนท์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ก็ได้รับมอบให้มีความรับผิดชอบในการรณรงค์ต่อต้านผู้แข็งข้อแต่ไม่ทรงสำเร็จ ในที่สุดก็ต้องลงนามในสนธิสัญญาบรูดจ์สในปี ค.ศ. 1375 ซึ่งทำให้เสียดินแดนต่างๆ ของอังกฤษให้แก่ฝรั่งเศส ซึ่งทำให้ดินแดนต่างๆ ของอังกฤษในฝรั่งเศสก็ลดลงเหลือแต่เพียงเมืองคาเลส์ที่เป็นเมืองริมทะเลทางตอนเหนือสุด, บอร์โดซ์ และ เบยอนน์[16]",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "157344#2",
"text": "เอ็ดเวิร์ดแห่งยอร์กเป็นบุตรคนที่สองของริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์ก ผู้อ้างว่ามีสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษโดยตรง \n) และเซซิลี เนวิลล์ ดัชเชสแห่งยอร์ก เอ็ดเวิร์ดเป็นบุตรคนโตที่สุดในบรรดาบุตรชายสี่คนที่รอดชีวิตมาจนโต ดยุกแห่งยอร์กอ้างสิทธิในราชบัลลังก์เป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1460 ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้ความขัดแย้งระหว่างราชสกุลยอร์กและแลงแคสเตอร์เลวร้ายลงจนกลายเป็นการต่อสู้กันในสงครามดอกกุหลาบ เมื่อริชาร์ด แพลนแทเจเนตเสียชีวิตในยุทธการเวคฟิลด์ เอ็ดเวิร์ดก็อ้างสิทธิต่อ โดยมีริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 16 แห่งวอริก (“ผู้สร้างกษัตริย์” (The Kingmaker)) ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องเป็นผู้หนุนหลัง เอ็ดเวิร์ดได้รับชัยชนะต่อราชวงศ์แลงแคสเตอร์ในหลายศึก ขณะที่พระเจ้าเฮนรีที่ 6 และพระนางมาร์กาเรตมัวแต่ไปรณรงค์อยู่ทางเหนือของอังกฤษ ดยุกแห่งวอริกได้ทีเข้ายึดเมืองหลวงและให้เอ็ดเวิร์ดประกาศตัวเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ลอนดอนในปี ค.ศ. 1461 เอ็ดเวิร์ดย้ำความมีสิทธิของพระองค์ด้วยการได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดที่ ยุทธการโทว์ทันในปีเดียวกันจนกองกำลังของราชวงศ์แลงแคสเตอร์ถูกกำจัดเกือบหมดสิ้น",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "156222#15",
"text": "ในเดีอนเมษายน ค.ศ. 1341 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงถูกรัฐสภาอังกฤษบังคับให้ยอมรับสถานการณ์อันจำกัดทางการเงิน แต่ในเดือนตุลาคมก็ทรงละเมิดและทรงขับจอห์น แสตร็ทฟอร์ดจากราชสำนัก แต่การปฏิบัติของรัฐสภาในปี ค.ศ. 1341 ในการบังคับพระเจ้าแผ่นดินให้ทำตามคำสั่งรัฐสภาเป็นสิ่งที่นอกเหนือจากธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติกันมาก่อนหน้านั้น เพราะอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินในยุคกลางเป็นอำนาจที่ไม่มีขอบเขตและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงใช้อำนาจนี้ในการละเมิดคำสั่ง[8]",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "158392#40",
"text": "เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับการสวรรคตของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 ไม่มีหลักฐานสนับสนุนจากข้อเขียนใดๆ จากคริสต์ศตวรรที่ 14 หลักฐานที่ใกล้เคียงที่สุดก็เป็นบันทึกของแอดัม เมอริมัธที่กล่าวว่าความเชื่อส่วนใหญ่เกี่ยวกับสาเหตุการสวรรคตคือทรงถูกกลั้นลมหายใจให้ตาย บันทึกลิทชฟิลด์กล่าวว่าทรงถูกบีบคอ บันทึกอื่นๆ กล่าวว่าเสด็จสวรรคตเป็นไปตามธรรมชาติ จนกระทั่งกลางคริสต์ทศศตวรรษ 1330 จึงได้มีข่าวลือเรื่องท่อนเหล็กกันเป็นที่แพร่หลาย ในพระราชประวัติของพระราชินีอิสซาเบลลาที่เขียนโดยนักประวัติศาสตร์แอลิสัน เวียร์ (Alison Weir) เวียร์เสนอทฤษฏีใหม่ที่อ้างจาก “จดหมายฟิเอสชิ” (Fieschi Letter) ซึ่งเป็นจดหมายโดย มานูเอล เดอ ฟิเอสชิ พระชาวเจนัวถึงพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ราวปี ค.ศ. 1337 โดยกล่าวว่าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 มิได้ทรงถูกปลงพระชนม์แต่ทรงหนีจากการคุมขัง และมีพระชนม์อยู่ต่อมาอย่างผู้หนีภัยจนเสด็จสวรรคต เอียน มอร์ติเมอร์ในพระราชประวัติพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ยืนยันว่า พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 ทรงมีชีวิตอยู่ต่อมาอีกอย่างน้อยสิบเอ็ดปีหลังจากปี ค.ศ. 1327 ที่เชื่อกันว่าเป็นปีที่สวรรคต และไปเสด็จสวรรคตเอาที่ประเทศอิตาลี",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "156222#4",
"text": "เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1327 เมื่อเอ็ดเวิร์ดแห่งวินด์เซอร์มีพระชนมายุได้ราว 14 พรรษา พระนางอิสซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษพระราชมารดาและโรเจอร์ มอร์ติเมอร์และรัฐสภาก็ปลดพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 จากราชบัลลังก์ และยกเอ็ดเวิร์ดแห่งวินด์เซอร์ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ โดยทรงเข้าพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1327 โดยมีสมเด็จพระราชินีอิสซาเบลลาและโรเจอร์ มอร์ติเมอร์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มอร์ติเมอร์ถือได้ว่าเป็นผู้ปกครองอังกฤษโดยพฤตินัย อีกทั้งยังข่มเหงน้ำพระทัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดโดยไม่ให้ความนับถือต่อพระองค์และทำให้ทรงเสียพระพักตร์โดยตลอด เมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1328 ในขณะมีพระชนมายุได้ 15 พรรษา ก็ได้ทรงเสกสมรสกับฟิลิปปาแห่งเฮนอลต์ วัย 16 พรรษา ณ ยอร์กมินสเตอร์[3]",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "156409#5",
"text": "หลังจากที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 และพระอนุชาถูกส่งไปหอคอยแห่งลอนดอนก็ไม่มีใครเห็นพระองค์อีก การหายตัวของพระองค์เป็นเรื่องลึกลับที่เขียนถึงในหนังสือหลายเล่ม เป็นที่เชื่อกันว่าทรงถูกปลงพระชนม์และผู้ที่อาจจะมีส่วนร่วมก็ได้แก่พระเจ้าริชาร์ดที่ 3, เฮนรี สตาฟฟอร์ด ดยุคแห่งบัคคิงแฮมที่ 2 และ เฮนรี ทิวดอร์ ผู้รับชัยชนะต่อพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 และขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "158575#10",
"text": "เฮนรีเริ่มป่วยหนักขึ้นและอ่อนแอลงในช่วงปีท้ายๆ พระโอรสและทายาทของพระองค์ เอ็ดเวิร์ด กลายเป็นผู้ดูแลของอังกฤษและเริ่มมีบทบาทอำนาจมากขึ้นในการบริการปกครอง มรดกที่สำคัญที่สุดของพระเจ้าเฮนรีที่ 3 คือเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ในปี ค.ศ. 1042 เอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพเริ่มสร้างแอบบีย์ของนักบุญปีเตอร์ขึ้นมาใหม่เพื่อสร้างที่ฝังพระศพหลวงให้ตนเอง เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ยุคแรก การก่อสร้างโบสถ์ในยุคที่สองและเป็นโบสถ์ปัจจุบันเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1245 โดยพระเจ้าเฮนรีที่ 3 ที่เลือกให้เป็นที่ฝังพระศพของตนเอง ในปี ค.ศ. 1269 เฮนรีกำกับดูแลพิธีการใหญ่เพื่อฝังเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพใหม่ในแท่นบูชาใหม่ที่วิจิตรงดงาม ทรงให้ความช่วยเหลือเป็นการส่วนตัวในการแบกพระศพไปสถานที่พักผ่อนแห่งใหม่",
"title": "พระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "157431#8",
"text": "ในปี ค.ศ. 1041 ขุนนางชาวแองโกล-แซ็กซอนอัญเชิญเอ็ดเวิร์ดกลับมาอังกฤษ ครั้งนี้ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวของพระเจ้าฮาร์ธาคานูท (พระราชโอรสในพระเจ้าคานูทมหาราช) ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเอ็ดเวิร์ด พงศาวดารแองโกล-แซ็กซอนกล่าวว่าพระเจ้าฮาร์ธาคานูททำพิธีตั้งสัตยาบรรณในการเป็นพระเจ้าแผ่นดินเคียงข้างเอ็ดเวิร์ด หลังจากาการสวรรคตของพระเจ้าฮาร์ธาคานูทเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1042 เอ็ดเวิร์ดก็ขึ้นครองราชย์เป็น “พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด” ด้วยความนิยมของประชาชนอย่างเต็มที่ บันทึกแองโกล-แซ็กซอนกล่าวว่าเอ็ดเวิร์ดได้รับเลือกเป็นพระเจ้าแผ่นดินในลอนดอนก่อนที่พระศพของฮาร์ธาคานูทจะถูกฝัง เอ็ดเวิร์ดได้รับการสมมงกุฏที่มหาวิหารวินเชสเตอร์ เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1043",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี"
},
{
"docid": "139796#8",
"text": "เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขีเสด็จสวรรคตโดยไม่มีรัชทายาท ผู้ที่อ้างสิทธิในราชบัลลังก์มีด้วยกันอย่างน้อยสามฝ่าย -- ดยุกวิลเลียมแห่งนอร์ม็องดี, ฮาโรลด์ กอดวินสัน เอิร์ลผู้มีอำนาจแห่งเวสเซ็กซ์ และพระเจ้าฮาโรลด์ที่ 3 แห่งนอร์เวย์ ดยุกวิลเลียมอ้างว่ามีเชื้อสายเกี่ยวข้องกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทางพระปิตุฉาเอ็มมาแห่งนอร์ม็องดีผู้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2และเป็นพระราชมารดาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด นอกจากนั้นดยุกวิลเลียมยังอ้างว่าขณะที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงลึ้ภัยอยู่ในนอร์ม็องดีระหว่างการยึดครองของเดนมาร์กในอังกฤษ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงให้สัญญายกราชบัลลังก์ให้เมื่อดยุกวิลเลียมเดินทางมาเยึ่ยมพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ลอนดอนในปี ค.ศ. 1052 และยังอ้างว่าหลังจากที่ได้ช่วยฮาโรลด์ กอดวินสันจากเรือแตกและเคานต์แห่งปัวตู ทั้งสองคนก็ได้ร่วมกันต่อสู้โคนันที่ 2 ดยุกแห่งบริตานี จนได้รับชัยชนะ ดยุกวิลเลียมจึงแต่งตั้งให้ฮาโรลด์เป็นอัศวิน ฮาโรลด์จึงได้ให้คำปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อดยุกวิลเลียมต่อหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1064",
"title": "พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "158392#33",
"text": "การสละราชสมบัติของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการที่ลอนดอนเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1327 วันต่อมาจึงเป็นวันแรกของรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ ผู้มีพระชนมพรรษา 14 ปีและเป็นผู้ที่ยังถูกควบคุมโดยพระราชินีอิสซาเบลลาและมอร์ติเมอร์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 เองก็ยังทรงถูกจำขัง",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "156222#34",
"text": "ทั้งพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 และ ที่ 2 ทรงใช้นโยบายการจำกัดจำนวนขุนนาง โดยการแต่งตั้งขุนนางสืบตระกูลเพียงไม่กี่ตำแหน่งในระยะเวลาหกสิบปีก่อนหน้าที่สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 จะทรงขึ้นครองราชย์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงเปลี่ยนแปลงนโยบายนี้ ในปี ค.ศ. 1337 เมื่อทรงเตรียมเข้าสงครามที่จะมาถึงโดยการก่อตั้งตำแหน่งเอิร์ลใหม่อีกหกตำแหน่งในวันเดียว[32] ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงเพิ่มตำแหน่งใหม่ที่สูงกว่าตำแหน่งเอิร์ลเป็นตำแหน่ง “ดยุก” สำหรับพระญาติพระวงศ์ที่ใกล้ชิดกับพระองค์",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "160832#1",
"text": "พระเจ้าเอเดรดเสด็จพระราชสมภพราว ค.ศ. 923 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส และพระชายาองค์ที่สามเอ็ดจิวาแห่งเค้นท์ธิดาของซิเกเฮลม (Sigehelm) ขุนนางแห่งเค้นท์ ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 946 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 955 พระเจ้าเอเดรดขึ้นครองราชสมบัติหลังจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 แห่งอังกฤษพระเชษฐาเสด็จสวรรคต พระเจ้าเอเดรดทรงเป็นนายทหารผู้เก่งกล้าเช่นเดียวกับพระพระเชษฐา ทรงมีความสำเร็จในการต่อต้านไวกิง ทรงเป็นผู้เคร่งศาสนาแต่ไม่มีพระสุขภาพพลานามัยที่ดีนัก พระเจ้าเอเดรดเสด็จสวรรคตที่ฟรูมในซอมเมอร์เซ็ท พระบรมศพถูกฝังไว้ที่วินเชสเตอร์ พระนัดดาขึ้นครองราชสมบัติต่อมาเป็นสมเด็จพระเจ้าเอ็ดวีแห่งอังกฤษ",
"title": "พระเจ้าเอเดรด"
},
{
"docid": "237722#1",
"text": "เอ็ดเวิร์ดประสูติเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1330 เป็นพระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ และพระราชินีฟิลลิปปา และเป็นพระบิดาของสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ เอ็ดเวิร์ดทรงเป็นผู้นำทางการทหารผู้มีความสามารถและทรงเป็นผู้ที่เป็นที่นิยมขณะที่ยังทรงมีชีวิตอยู่ เอ็ดเวิร์ดสิ้นพระชนม์เพียงปีเดียวก่อนที่พระราชบิดาจะเสด็จสวรรคต ทรงเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์องค์แรกที่ไม่ได้ขึ้นครองราชสมบัติ ราชบัลลังก์จึงตกไปเป็นของริชาร์ด พระโอรสองค์โตของพระองค์เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 เสด็จสวรรคต",
"title": "เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำ"
},
{
"docid": "158575#2",
"text": "พระเจ้าเฮนรีที่ 3 ทรงขึ้นครองราชสมบัติตั้งแต่ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ แม้ว่าจะทรงราชย์เป็นระยะเวลานานแต่ไม่ทรงมีความสำเร็จอะไรมากนักและมิได้ทรงเป็นนักการทหารหรือนักการปกครองผู้สามารถแต่อย่างใด แต่อังกฤษมีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในรัชสมัยของพระองค์ ทรงใช้เมืองวินเชสเตอร์เป็นที่ว่าราชการ พระองค์ทรงขยายแอบบีและทรงสร้างอนุสรณ์แก่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี",
"title": "พระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "158568#20",
"text": "ในระยะแรกเอ็ดเวิร์ดมีพระประสงค์ที่จะใช้นาม “พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4” ตามพระนามกษัตริย์แซ็กซอนสามพระองค์ที่ปกครองอังกฤษก่อนหน้านั้น แต่ไม่ทราบว่าจะเป็นด้วยสาเหตุใดก็ตาม พระองค์มารู้จักกันในพระนามว่า “พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด” โดยไม่มีลำดับตัวเลข เมื่อพระราชโอรสที่มีพระนามเดียวกันขึ้นเสวยราชย์ก็ทรงใช้พระนามว่า “พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2” และ “พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด” จึงกลายเป็น “พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1” ซึ่งเป็นการริเริ่มการลำดับหมายเลขหลังพระนามพระมหากษัตริย์ตั้งแต่นอร์มันได้รับชัยชนะต่ออังกฤษในปี ค.ศ. 1066 เป็นต้นมา แม้ว่าพระนาม “เอ็ดเวิร์ด” จะเป็นพระนามที่ใช้ทั้งก่อนและหลังจากนอร์มันได้รับชัยชนะก็ตาม",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "158392#28",
"text": "หลังจากจำขังพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แล้วพระราชินีอิสซาเบลลาและมอร์ติเมอร์ก็มีปัญหาว่าจะทำเช่นใดกับพระองค์ วิธีที่ง่ายที่สุดคือปลงพระชนม์ ตำแหน่งพระมหากษัตริย์ก็จะตกไปเป็นของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดซึ่งพระราชินีอิสซาเบลลาทรงสามารถควบคุมได้ และเป็นการป้องกันการกู้ราชบัลลังก์คืนแก่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดไปด้วยในตัว แต่คำสั่งการปลงพระชนม์ต้องมาจากการพิจารณาคดีและการตัดสินของศาลว่าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงเป็นกบฏ แม้ว่าขุนนางจะเห็นพ้องกันว่าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดไม่ทรงใส่ใจในการปกครองบ้านเมือง แต่ขุนนางบางคนให้ข้อคิดเห็นว่าในเมื่อพระเจ้าแผ่นดินเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้าฉะนั้นพระเจ้าแผ่นดินจึงไม่สามารถถูกปลดหรือถูกตัดสินให้ประหารชีวิตทางนิตินัยได้ ถ้าทำเช่นนั้นพระเจ้าก็จะลงโทษประเทศ การตัดสินจึงเป็นที่ตกลงกันว่าจะจำขังพระองค์ตลอดพระชนม์ชีพแทนที่",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "156222#37",
"text": "แต่การทำให้เป็นอังกฤษ (Anglicisation) ก็ไม่ควรจะขยายความกันจนเกินเลย เพราะพระราชบัญญัติที่ออกในปี ค.ศ. 1362 ก็ยังเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส ซึ่งก็ไม่มีผลในทันทีทันใด รัฐสภาเองก็ยังเปิดประชุมกันเป็นภาษาฝรั่งเศสมาจนถึง ปี ค.ศ. 1377[36] เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์แม้ว่าจะเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์อังกฤษแต่ยังมอบให้แก่ชาวต่างประเทศเช่นจอห์นที่ 5 ดยุกแห่งบริตานี และเซอร์โรแบร์ตแห่งนาเมอร์[37] พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเองก็ยังเป็นผู้พูดสองภาษาและยังทรงถือพระองค์ว่าเป็นกษัตริย์ที่ถูกต้องของทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส พระองค์จึงไม่ทรงสามารถแสดงความลำเอียงไปทางใดทางหนึ่งได้ตราบใดที่ทรงยังอ้างสิทธิในสองราชบัลลังก์",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "91429#0",
"text": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 (อัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด; 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2384 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร ประมุขแห่งเครือจักรภพแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดีย เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และเป็นพระประมุขพระองค์แรกและพระองค์เดียวของราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา พระองค์ทรงครองราชสมบัตินับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2444 จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "156002#10",
"text": "เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1483 ริชาร์ดก็ได้รับราชาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ ณ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ส่วนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 และพระอนุชาหายสาบสูญไปโดยไม่มีร่องรอย (จนปัจจุบัน) เป็นที่เชื่อกันว่าพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 สังหารพระราชนัดดา แต่นักประวัติศาสตร์ก็ยังขัดแย้งกันอยู่เรื่องการเสียชีวิตของทั้งสองพระองค์และเหตุผลที่ที่ริชาร์ดขึ้นครองราชสมบัติ (เจ้าชายในหอคอยแห่งลอนดอน (Princes in the Tower))",
"title": "พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "158568#23",
"text": "ราชรัฐเวลส์จึงกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรอังกฤษภายใต้พระราชบัญญัติรัดด์แลนในปี ค.ศ. 1284 และในปี ค.ศ. 1301 นอกจากนั้นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ยังทรงสถาปนาพระราชโอรสองค์โตขึ้นเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ซึ่งกลายมาเป็นประเพณีที่เป็นตำแหน่งสำหรับพระราชโอรสองค์โตของพระมหากษัตริย์อังกฤษเกือบทุกพระองค์ต่อมาจนถึงทุกวันนี้ ยกเว้นแต่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "165651#1",
"text": "แม้พระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ราชวงศ์กาเปเตียงจะมีพระโอรสถึงสามองค์ ซึ่งทั้งสามพระองค์ก็ได้เป็นกษัตริย์ แต่กลับไม่มีพระองค์ใดมีทายาทเลย ในค.ศ. 1328 พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 สิ้นพระชนม์ พระนางอิซาเบลลา พระขนิษฐาของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 ทรงอภิเษกกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ และมีพระโอรสเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ดังนั้นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงเป็นพระญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของพระเจ้าชาร์ลส์ที่จะขึ้นครองบัลลังก์ฝรั่งเศส แต่ไม่มีขุนนางฝรั่งเศสคนใดจะยอมให้กษัตริย์อังกฤษมาครองฝรั่งเศสเป็นแน่ จึงยกกฎซาลิก (Salic Law) อันเก่าแก่ของชาวแฟรงก์โบราณออกมาอ้างว่าการสืบสันตติวงศ์นั้นจะต้องผ่านทางผู้ชายเท่านั้น เท่ากับตัดพระนางอิซาเบลลาและพระเจ้าเอ็ดวาร์ดออกไป และยกบัลลังก์ให้ฟิลิป ลูกชายของชาร์ลส์แห่งวาลัว เป็นพระเจ้าฟิลิปที่ 4 ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์วาลัว",
"title": "ราชวงศ์วาลัว"
}
] |
1373 | สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง เริ่มต้นขึ้นเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "327885#0",
"text": "สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง หรืออีกชื่อหนึ่งคือ สงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่สอง เป็นสงครามอาณานิคมซึ่งเกิดขึ้นระหว่างกองทัพราชอาณาจักรอิตาลีกับจักรวรรดิเอธิโอเปีย (หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ \"อะบิสซิเนีย\") โดยเริ่มต้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1935 และสิ้นสุดลงในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1936 ผลของสงครามจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของเอธิโอเปียและถูกอิตาลีผนวกเข้าเป็นดินแดนอาณานิคมแห่งใหม่ภายใต้ชื่อ \"แอฟริกาตะวันออกของอิตาลี\" ( , )",
"title": "สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "192295#73",
"text": "ในปี ค.ศ. 1935 มุสโสลินีเชื่อว่าถึงเวลาอันสมควรแล้วที่อิตาลีจะทำการบุกเอธิโอเปีย (หรือรู้จักกันในนามอะบิสซิเนีย) และผนวกเข้ามาเป็นอาณานิคมของตน ส่งผลให้เกิดสงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สองขึ้น อิตาลีบุกเอธิโอเปียผ่านอาณานิคมเอริเทรียและโซมาลีแลนด์ของตน พร้อมทั้งกระทำการเหี้ยมโหดต่อชาวเอธิโอเปีย เช่น การโปรยสารพิษเคมีทางอากาศใส่ทหารแนวหน้าฝ่ายเอธิโอเปีย จนเอธิโอเปียยอมแพ้ในปี ค.ศ. 1936 อิตาลีจึงสามารถพิชิตเอาเอธิโอเปียมาไว้ในครอบครองได้สำเร็จหลังจากที่ล้มเหลวในความพยายามช่วงยุค ค.ศ. 1880 ต่อมาพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 จึงอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์เอธิโอเปียและสถาปนาตนขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งเอธิโอเปีย แต่ผลที่ตามมาในเวทีนานาชาติคือการที่อิตาลีถูกโดดเดี่ยวในที่ประชุมสันนิบาตชาติ ด้านฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรก็รู้สึกสูญสิ้นความไว้วางใจในตัวมุสโสลินีในทันที มีเพียงชาติเดียวที่คอยหนุนหลังอิตาลีในเวลานั้นคือนาซีเยอรมัน ภายหลังจากที่ถูกประณามโดยสันนิบาตชาติ ที่ประชุมใหญ่ฟาสซิสต์อิตาลีจึงมีมติให้อิตาลีประกาศถอนตัวจากสันนิบาตชาติในวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1937 และมุสโสลินีกล่าวเยาะเย้ยสันนิบาติชาติว่าเป็นเพียงแค่ \"วิหารที่ใกล้จะถล่ม\"",
"title": "ราชอาณาจักรอิตาลี"
}
] | [
{
"docid": "327885#3",
"text": "สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นจากความปรารถนาอย่างแรงกล้าของมุสโสลินีในการสร้างจักรวรรดิโรมันขึ้นมาใหม่ ซึ่งดินแดนของจักรวรรดิที่มุสโสลินีต้องการครอบครองนั้นคือบริเวณรอบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตอนเหนือของทวีปแอฟริกา สงครามครั้งนี้ยังเป็นความต้องการล้างอายที่อิตาลีพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ต่อเอธิโอเปียในยุทธการอัดวาซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1896 ในช่วงสงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่หนึ่งอันทำให้อิตาลีต้องเสื่อมเสียเกียรติภูมิเป็นอย่างยิ่ง การที่มุสโลลินีได้ใหคำสัญญาแก่ชาวอิตาลีว่าจะต้องได้ \"แผ่นดินภายใต้ดวงตะวัน\" (\"a place in the sun\") ก็เป็นช่วงที่สอดคล้องกับการขยายอาณานิคมครั้งใหม่ของสหราชอาณาจักรและสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3",
"title": "สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "819596#0",
"text": "สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่หนึ่ง เป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิเอธิโอเปียกับราชอาณาจักรอิตาลีเกิดระหว่างปี ค.ศ. 1894 ถึง 1896 เมื่ออิตาลีพยายามยึดเอธิโอเปียมาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอาณานิคมอิตาลีแต่เอธิโอเปียได้รับการสนับสนุนทางอาวุธจากอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย จึงทำให้เอธิโอเปียชนะสงครามได้และยุทธการอัดวาเป็นจุดสำคัญที่ชี้ขาดถึงผลของสงครามทั้งหมด",
"title": "สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่หนึ่ง"
},
{
"docid": "327885#7",
"text": "ต้นเดือนธันวาคม ค.ศ. 1934 ความตึงเครียดของทั้งสองฝ่ายได้ปะทุขึ้นจากเหตุการณ์ที่รู้จักกันในชื่อ \"กรณีเวลเวล\" ผลจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีทหารเอธิโอเปียเสียชีวิตประมาณ 150 นาย ฝ่ายอิตาลีตาย 50 นาย และนำไปสู่ \"วิกฤตการณ์อะบิสซิเนีย\" ในที่ประชุมสันนิบาตชาติ",
"title": "สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "327885#6",
"text": "ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1934 กองกำลังรักษาดินแดนของเอธิโอเปียซึ่งคุ้มครองคณะกรรมการปักปันชายแดนแดนอังกฤษ-เอธิโอเปีย ได้ประท้วงการละเมิดอธิปไตยของอิตาลี สมาชิกคณะกรรมการฝ่ายอังกฤษได้ถอนตัวไปทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้อิตาลีเสียหน้า โดยที่กองกำลังทั้งฝ่ายอิตาลีและเอธิโอเปียยังคงตั้งค่ายเผชิญหน้ากันในระยะใกล้",
"title": "สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "327885#1",
"text": "ในทางการเมือง สงครามครั้งนี้เป็นเครื่องหมายจดจำที่โดดเด่นที่สุดถึงความอ่อนแออันเป็นปกติวิสัยขององค์การสันนิบาตชาติ วิกฤตการณ์อะบิสซิเนียในปี ค.ศ. 1934 มักถูกมองว่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนถึงความไร้ประสิทธิภาพของสันนิบาตชาติ เช่นเดียวการที่จักรวรรดิญี่ปุ่นยึดครอง 3 มณฑลของจีนในกรณีมุกเดนเมื่อปี ค.ศ. 1931 ทั้งอิตาลีและเอธิโอเปียล้วนเป็นชาติสมาชิกของสันนิบาต แต่สันนิบาตชาติก็ไม่สามารถปกป้องเอธิโอเปียให้พ้นจากการคุกคามของอิตาลีได้เมื่อการณ์ปรากฏชัดเจนว่าอิตาลีได้ละเมิดต่อบทบัญญัติของสันนิบาตชาติมาตรา 10 อนึ่ง สงครามครั้งนี้ยังถูกจดจำด้วยการใช้ก๊าซพิษทำสงครามอย่างผิดกฎหมายอย่างก๊าซมัสตาร์ด (mustard gas) และสารฟอสจีน (Phosgene) โดยฝ่ายกองทัพอิตาลี",
"title": "สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "327885#9",
"text": "อิตาลีสามารถเปิดฉากการรุกโดยปราศจากการขัดขวางอย่างจริงจัง เนื่องจากสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสให้ความสำคัญแก่การดึงเอาอิตาลีเป็นพันธมิตรในการต่อต้านนาซีเยอรมนี ด้วยเหตุนี้ในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1935 ฝรั่งเศสจึงได้ลงนามในข้อตกลงกับอิตาลี โดยยกให้อิตาลีจัดการกับทวีปแอฟริกาได้โดยอิสระ เพื่อเป็นการประกันความมั่นคงในความร่วมมือกับอิตาลี ถัดจากนั้นมาในเดือนเมษายน อิตาลีก็ได้ใจยิ่งขึ้นจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกข้อตกลงแนวสเตรซา ซึ่งเป็นข้อตกลงในการกำหนดทิศทางการขยายอำนาจของเยอรมนี ถึงเดือนมิถุนายน แผนการของอิตาลีดำเนินไปได้โดยสะดวกมากขึ้น จากการแตกร้าวทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหราชอาณาจักรกับฝรั่งเศสอันมีมูลเหตุจากข้อตกลงทางนาวีของทั้งสองประเทศ",
"title": "สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "327885#5",
"text": "สนธิสัญญาอิตาลี-เอธิโอเปีย ฉบับ ค.ศ. 1928 กำหนดให้พรมแดนระหว่างโซมาลีแลนด์ของอิตาลีกับเอธิโอเปียมีความยาว 21 ลีก (ราว 73.5 ไมล์) โดยขนานไปตามชายฝั่งเบนาดีร์ (Benadir) ในปี ค.ศ. 1930 อิตาลีได้สร้างป้อมขึ้นที่โอเอซิสเวลเวล (Welwel) ในบริเวณเขตโอกาเดน (Ogaden) และส่งทหารนอกประจำการชาวโซมาลีที่เรียกว่าดูบัต (dubat) เข้ามาประจำการ ป้อมที่สร้างขึ้นที่เวลเวลนั้นอยู่นอกเหนือเขตจำกัด 21 ลีกและรุกร้ำเข้ามาในเขตแดนของเอธิโอเปีย",
"title": "สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "327885#8",
"text": "วันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1935 สันนิบาตชาติได้ประกาศปลดเปลื้องความผิดของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจากกรณีเวลเวล สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสพยายามอย่างอย่างที่จะดึงอิตาลีไว้เป็นพันธมิตรต่อต้านเยอรมนี จึงไม่ได้ขัดขวางการเสริมสร้างกำลังทางทหารของอิตาลี ในไม่ช้าอิตาลีจึงเสริมกองทัพของตนในบริเวณชายแดนของเอธิโอเปียด้านที่ต่อกับเอริเทรียและโซมาลีแลนด์ของอิตาลี",
"title": "สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "327885#4",
"text": "เอธิโอเปียเป็นดินแดนเป้าหมายชั้นดีในการยึดครองเป็นอาณานิคมด้วยหลายสาเหตุ จากการแข่งขันแย่งชิงทวีปแอฟริกาของชาติจักรวรรดินิยมยุโรป ในเวลานั้นเหลือดินแดนที่เป็นอิสระอยู่เพียงแห่งเดียวคือเอธิโอเปีย การได้ยึดครองเอธิโอเปียจะทำให้อิตาลีสามารถรวมดินแดนนี้เข้ากับเอริเทรียและและอิตาเลียนโซมาลีแลนด์ที่ตนยึดครองไว้ก่อนได้ อนึ่ง เอธิโอเปียเองก็มีกำลังทหารที่อ่อนแอจากการที่ทหารชนพื้นเมืองในเอธิโอเปียมีอาวุธเพียงหอกกับโล่ แลกองทัพอากาศเอธิโอเปียก็มีอากาศยานประจำการเพียง 13 ลำเท่านั้น",
"title": "สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง"
}
] |
3267 | จอห์น โรนัลด์ รูล ทอลคีน ได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนอะไร? | [
{
"docid": "5622#1",
"text": "โทลคีนเข้าศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนคิงเอดเวิดส์ เมืองเบอร์มิงแฮม และจบการศึกษาระดับปริญญาจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เข้าทำงานครั้งแรกในตำแหน่งอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัยลีดส์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2463 - 2468 ได้เป็นศาสตราจารย์สาขาแองโกลแซกซอน ตำแหน่ง Rawlinson and Bosworth Professor ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ตั้งแต่ พ.ศ. 2468 - 2488 และได้เป็นศาสตราจารย์ด้านภาษาและวรรณคดีอังกฤษ ตำแหน่ง Merton Professor ตั้งแต่ พ.ศ. 2488 - 2502 โทลคีนได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งราชอาณาจักรบริเตน ระดับ Commander จากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2515",
"title": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน"
}
] | [
{
"docid": "43986#7",
"text": "เลนนอนนับถือนิกายแองกลิคันและเข้าศึกษาที่โดฟเดลไพรแมรีสกูล หลังจากผ่านการทดสอบอีเลเวนพลัส เขาเข้าศึกษาที่โรงเรียนควอรีแบงก์ไฮสกูล ตั้งแต่เดือนกันยายนปี 1952 ถึง 1957 และฮาร์วีย์พูดถึงเขาว่า \"เด็กหนุ่มร่าเริง เรียบง่าย อารมณ์ดี ไม่ทุกข์ไม่ร้อน\" เขามักวาดการ์ตูนขบขันลงนิตยสารที่โรงเรียนพิมพ์เองชื่อ \"เดอะเดลีฮาวล์\" แต่แม้ว่าเขามีพรสวรรค์ด้านศิลปะ แต่ผลการเรียนของเขากลับออกมาเลวร้าย: \"อยู่บนถนนสู่ความล้มเหลว สิ้นหวัง มากกว่าเป็นตัวตลกในห้องเรียน เสียเวลาของนักเรียนคนอื่น ๆ\"",
"title": "จอห์น เลนนอน"
},
{
"docid": "928700#2",
"text": "ซัลลิแวน เกิดและเติบโตที่ บอสตัน, รัฐแมสซาซูเซตส์ จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมจากโรงเรียนมัธยมซาเวเรี่ยน เมื่อ พ.ศ. 2520 ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ด้านประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยบราวน์ ในปี พ.ศ.2524 และปริญญาเอกด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย พ.ศ.2529 จากนั้นทำหน้าที่บรรณาธิการวิชาการ ในหนังสือ \"\"Columbia Law Review\"\" เขาเคยเป็นเสมียนประจำตัวผู้พิพากษา จอห์น ไมเนอร์ วิซดอม อดีตผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์สหรัฐเขตที่ 5 และ เดวิด เซาเทอร์ อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาสหรัฐมาก่อน",
"title": "จอห์น ซัลลิแวน"
},
{
"docid": "5622#0",
"text": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีชื่อเต็มว่า จอห์น โรนัลด์ รูล ทอลคีน (John Ronald Reuel Tolkien; นามปากกาว่า J. R. R. Tolkien ) (3 มกราคม พ.ศ. 2435 – 2 กันยายน พ.ศ. 2516) เป็นกวี นักประพันธ์ นักภาษาศาสตร์ และศาสตราจารย์ชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงในฐานะผู้ประพันธ์นิยายแฟนตาซีระดับคลาสสิก เรื่อง\"เดอะฮอบบิท\" และ\"เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์\"",
"title": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน"
},
{
"docid": "15596#1",
"text": "ริชาร์ด สตอลล์แมน เข้ารับการศึกษาจากเอ็มไอที แต่ได้ลาออกขณะที่ศึกษาและย้ายมาทำงานที่ เอ็มไอทีแล็บ โดยทำหน้าที่พัฒนาโปรแกรม ในระหว่างที่ทำงาน เขามีความคิดอุดมคติที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการในระบบที่ใกล้เคียงกับระบบยูนิกซ์ ให้ใช้งานได้เสรีสำหรับทุกคน โดยได้ร่วมโครงการกับแฮกเกอร์หลายคน ซึ่งในขณะที่พัฒนาเคอร์เนลและยังไม่สำเร็จนั้น ได้พบว่า ลีนุส ทอร์วัลส์ นักศึกษามหาวิทยาลัยชาวฟินแลนด์ได้พัฒนาเคอร์เนล ลินุกซ์เป็นผลสำเร็จขึ้นในเวลาหกเดือน สตอลล์แมนจึงได้ติดต่อกับลีนุส และรับอาสาทำหน้าที่จัดการระบบสัญญาอนุญาตเสรี GPL ให้กับทางระบบลินุกซ์",
"title": "ริชาร์ด สตอลล์แมน"
},
{
"docid": "935371#4",
"text": "บลตันเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเยล ศิลปศาสตร์บัณฑิต และจบการศึกษาระดับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในปีพ. ศ. 2513 เขาเป็นสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรทางการเมืองของเยล เขาเข้าเรียนที่โรงเรียนกฎหมายมหาวิทยาลัยเยล เมื่อปีพ. ศ. 2514 ถึง 2517 ซึ่งเขาได้ร่วมชั้นเรียนกับเพื่อนของเขา คลาเรนซ์ โทมัส จบการศึกษาในปี พ.ศ. 2517",
"title": "จอห์น อาร์. โบลตัน"
},
{
"docid": "38960#8",
"text": "ในปี 1982 โรว์ลิงสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดแต่ไม่ผ่านการคัดเลือก เธอจึงเข้าศึกษาในคณะศิลปศาสตร์สาขาภาษาฝรั่งเศสและวรรณกรรมคลาสสิค ที่มหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์แทน มาร์ติน ซอเรล อาจารย์สอนภาษาฝรั่งเศสที่มหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์จดจำเธอได้ว่า \"เธอเป็นเด็กที่มีความสามารถ ผมสีดำ ใส่แจ๊กเก็ตยีนส์ ในด้านการเรียนก็ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ควรทำ\" โรว์ลิงเล่าถึงช่วงนั้นว่าเธอทำงานพิเศษเล็กน้อย ชื่นชอบการฟังเพลงของวงเดอะสมิธส์ และอ่านงานเขียนของดิกคินส์และโทลคีน หลังจากศึกษาที่ปารีสเป็นเวลาหนึ่งปี โรว์ลิงได้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ในปี 1986 จากนั้นจึงย้ายมาอยู่ที่ลอนดอน โดยทำงานเป็นนักวิจัยและเลขานุการสองภาษาให้กับองค์การนิรโทษกรรมสากล ในปี 1988 โรว์ลิงได้เขียนบทความสั้นเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เธอเรียนวิชาวรรณกรรมคลาสสิค ในบทความเรื่อง \"What was the Name of that Nymph Again? or Greek and Roman Studies Recalled\" ตีพิมพ์โดยนิตยสารเพกาซัส นิตยสารข่าวของมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
},
{
"docid": "5622#15",
"text": "ปลายปี 1911 โทลคีนสามารถสอบชิงทุนเข้าเรียนในวิทยาลัย Exeter มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ได้สำเร็จ เขาเลือกเรียนสาขาวิชาประวัติศาสตร์ภาษา และได้อ่านบทแปลภาษาอังกฤษของมหากาพย์ฟินแลนด์เรื่อง \"คาเลวาลา\" เป็นครั้งแรก ทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการศึกษาภาษาฟินแลนด์ ด้วยต้องการอ่าน คาเลวาลา ในภาษาต้นฉบับ โทลคีนยังเล่าเรียนแตกฉานในภาษายุคโบราณและยุคกลางอีกหลายภาษา รวมถึงงานประพันธ์ของวิลเลียม มอร์ริส เขาได้อ่านบทกวีเก่าแก่ของแองโกลแซกซอน ว่าด้วยเทพองค์หนึ่งชื่อ เออาเรนเดล (Earendel) ซึ่งประทับใจเขามาก ในปี 1914 หลังการรวมพลของสมาชิก T.C.B.S. โทลคีนแต่งบทกวีขึ้นบทหนึ่ง ตั้งชื่อว่า \"การผจญภัยของเออาเรนเดล ดวงดาวสายัณห์ (The Voyage of Earendel the Evening Star)\" ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน",
"title": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน"
},
{
"docid": "124907#2",
"text": "เขาจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อเขาอายุได้ 16 ปี และ ได้รับทุนการศึกษาได้เรียนต่อทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัยของโตรอนโต เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เขาได้เข้าศึกษาต่อในชั้นสูงขึ้นที่มหาวิทยาลัยเดียวกันนั้นเอง อย่างไรก็ดี การศึกษาได้ถูกระงับชั่วคราวขณะที่เขาศึกษาอยู่เนื่องจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง และ เมื่อสงครามสิ้นสุดลงเขาได้เริ่มทำงานในระดับดุษฎีบัณฑิต กับศาสตราจารย์ แมลคอล์ม ครอว์ฟอร์ด ที่มหาวิทยาลัยเดิม และหลังจากจบการศึกษา ชอว์โลว์ได้รับทุนผู้ติดตาม และ ได้เข้าทำงานกับ ชาร์ลซ์ เทาซ์ ที่ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในฤดูหนาวของ ปี พ.ศ. 2493 ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การนำของ ราบี โดยที่มี นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลอีกไม่ต่ำกว่า 8 คนที่ทำงานอยู่ที่ภาควิชานั้นด้วย",
"title": "อาเธอร์ ลีโอนาร์ด ชอว์โลว์"
},
{
"docid": "110016#6",
"text": "แคลวิน คูลิดจ์จบการศึกษาจากวิทยาลัยแอมเฮิร์สต์ รัฐแมสซาชูเซตส์ซึ่งอยู่ใกล้พลีมัธ และเลิกใช้ชื่อ \"จอห์น\" เมื่อเรียนจบ ขณะเรียนคูลิดจ์ได้เข้าเป็นสมาชิกพรรครีพับลิกันและเภทนักศึกษาในปี พ.ศ. 2435 คูลิดจ์ยอมรับนับถืออาจารย์ผู้สอนวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์คนหนึ่งว่าเป็นผู้มีอิทธิพลอย่างมากต่อคูลิดจ์ ในปี พ.ศ. 2528 คูลิดจ์จบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมคัมราวด์ ได้รับเลือกให้เป็นผู้แต่งและอ่านสุนทรพจน์ที่ขำขันซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของมหาวิทยาลัยในวันรับปริญญา",
"title": "แคลวิน คูลิดจ์"
}
] |
2791 | ลักเซมเบิร์ก อยู่ประเทศอะไร ? | [
{
"docid": "370985#0",
"text": "ลักเซมเบิร์ก ( \"ลุกซ็องบูร์\", ลักเซมเบิร์ก: Lëtzebuerg) เป็นมณฑลทางใต้ที่สุดของเขตวัลลูนและประเทศเบลเยียม โดยทางตะวันตกมีพื้นที่ติดต่อกับมณฑลนามูร์, ทางเหนือติดต่อกับมณฑลลีแยฌของประเทศเบลเยียม, ทางตะวันออกติดต่อกับประเทศลักเซมเบิร์ก และทางใต้ติดต่อกับจังหวัดอาร์แดน, จังหวัดเมิซ และจังหวัดเมอร์เตมอแซลของประเทศฝรั่งเศส",
"title": "มณฑลลักเซมเบิร์ก"
}
] | [
{
"docid": "17188#0",
"text": "ลักเซมเบิร์ก (; ลักเซมเบิร์ก: ; ; ) หรือชื่อทางการคือ ราชมหารัฐลักเซมเบิร์ก (; ลักเซมเบิร์ก: ; ; ) เป็นนครรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป มีพรมแดนด้านตะวันออกติดกับประเทศเยอรมนี ด้านใต้ติดกับฝรั่งเศส และด้านตะวันตกติดกับเบลเยียม",
"title": "ประเทศลักเซมเบิร์ก"
},
{
"docid": "17188#12",
"text": "ลักเซมเบิร์กเป็นหนึ่งในประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดในยุโรป และมีขนาดเป็นอันดับ 167 ของโลก พื้นที่ทั่วประเทศ 2,586 ตารางกิโลเมตร ทางตะวันตกของประเทศ มีพรมแดนติดกับจังหวัดลักเซมเบิร์กของเบลเยียม ซึ่งมีพื้นที่ใหญ่ (4,443 ตารางกิโลเมตร) เกือบสองเท่าของประเทศลักเซมเบิร์ก",
"title": "ประเทศลักเซมเบิร์ก"
},
{
"docid": "17188#1",
"text": "ราชรัฐลักเซมเบิร์กเป็นนครรัฐ มีประวัติความเป็นมาย้อนหลังมากกว่า 1,000 ปี เมื่อปี พ.ศ. 1506 เคานท์ซิเอกฟิลด์แห่งลักเซมเบิร์ก เคานท์แห่งอาร์เดนเนส และผู้ก่อตั้งราชวงศ์ลักเซมเบิร์กสร้างปราสาทในบริเวณเมืองหลวงของลักเซมเบิร์กในปัจจุบัน ซึ่งกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนั้น เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีภูเขาสลับซับซ้อนล้อมรอบหลายชั้น เป็นที่รู้กันทั่วไปในนาม “ยิบรอลตราทางเหนือ” (The Gibraltar of the North) ในช่วงปลายยุคกลางจนถึงศตวรรษที่ 15 ราชวงศ์ลักเซมเบิร์กมีความรุ่งเรืองมาก กษัตริย์หลายพระองค์ในยุโรปสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์นี้ อาทิ จักรพรรดิปกครองเยอรมนี 4 พระองค์ กษัตริย์ปกครองโบฮีเมีย 4 พระองค์ และกษัตริย์ปกครองฮังการี 1 พระองค์ กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงของลักเซมเบิร์ก ในยุคนั้น ได้แก่ สมเด็จพระจักรพรรดิไฮนริคที่ 7 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์,พระเจ้าจอห์นแห่งโบฮีเมียและดยุกแวนเซลอสที่ 1 แห่งลักเซมเบิร์ก จากนั้นก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจเบอร์กันดีในปีพ.ศ. 2010 เมื่อดัสเชสเอลิซาเบธที่ 2 ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ลักเซมเบิร์กพระองค์สุดท้าย ทรงได้สละสิทธิอันชอบธรรมของพระนางในราชบัลลังก์ พระโอรสของฟิลลิปเดอะกูด ดยุกแห่งเบอร์กันดีคือ ชาร์ลส์เดอะโบลด์ ดยุกแห่งเบอร์กันดีทรงยอมรับพระอิศริยยศนี้โดยรวมเข้ากับพระยศ\"ดยุกแห่งเบอร์กันดี\" หลังจากนั้นลักเซมเบิร์กประสบความพ่ายแพ้ในสงครามหลายครั้ง และตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาติต่าง ๆ เช่น สเปน ฝรั่งเศส ออสเตรีย และรัสเซีย จนกระทั่งสิ้นสุดคริสศตวรรษที่ 19 ในปี พ.ศ. 2358 ลักเซมเบิร์กได้รับอิสรภาพอีกครั้ง โดยการประชุมที่เวียนนา (Congress of Vienna) ได้ยกฐานะของลักเซมเบิร์กจาก Duchy เป็น Grand Duchy และมอบให้เป็นพระราชสมบัติส่วนพระองค์ของกษัตริย์เนเธอร์แลนด์ ให้สิทธิในการปกครองแก่สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็มที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์และในปี พ.ศ. 2410 สนธิสัญญาลอนดอน (Treaty of London 1867) ได้รับรองบูรณภาพ แบ่งดินแดน และสิทธิในการปกครองตนเองของลักเซมเบิร์ก",
"title": "ประเทศลักเซมเบิร์ก"
},
{
"docid": "17188#9",
"text": "ลักเซมเบิร์กยังมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศ และเป็นประเทศหนึ่งที่ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของ UN ในการให้เงินช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และในปีพ.ศ. 2544 ลักเซมเบิร์กให้เงินช่วยเหลือแก่ต่างประเทศร้อยละ 0.8 ของ GDP ซึ่งเกินเป้าหมายของ UN และ OECD นอกจากนั้น ลักเซมเบิร์กมีแผนการที่จะเพิ่มเงินช่วยเหลือให้ถึงร้อยละ 1 ในปีพ.ศ. 2548 เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศที่มีความยากจนและประสบภัยสงคราม",
"title": "ประเทศลักเซมเบิร์ก"
},
{
"docid": "318091#6",
"text": "ตัวเมืองรอบปราสาทก็ขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ จนกลายเป็นศูนย์กลางขนาดเล็กแต่เป็นรัฐที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อฝรั่งเศส เยอรมนี และกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ ป้อมปราการของลักเซมเบิร์กก็ได้รับการสร้างเสริมและขยายตัวเพิ่มขึ้นตามลำดับโดยผู้ครองคนต่อๆ มา ซึ่งเป็นผลทำให้กลายมาเป็นป้อมปราการที่แข็งแรงมั่นคงที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป ระบบการป้องกันอันแน่นหนาและตำแหน่งอันสำคัญทางยุทธศาสตร์ทำให้ลักเซมเบิร์กได้รับสมญาว่าเป็น \"ยิบรอลตาร์แห่งภาคเหนือ\"",
"title": "ประวัติศาสตร์ลักเซมเบิร์ก"
},
{
"docid": "17188#13",
"text": "ทางตอนเหนือของประเทศ เป็นเนินเขาและภูเขาเตี้ย ๆ จุดสูงสุดอยู่ที่ Buurgplaatz มีความสูง 559 เมตร พื้นที่อื่น ๆ มักจะเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ เช่นกันภาคการบริการเป็นสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของลักเซมเบิร์ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาการเงินการธนาคาร โดยลักเซมเบิร์กมีกฎหมายด้านการเงินที่ดึงดูดนักลงทุน ทำให้ลักเซมเบิร์กกลายเป็นศูนย์กลางด้านกองทุนลงทุนที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น โดยจะเห็นได้จากการที่ในปี 2543 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศลักเซมเบิร์กมาจากภาคบริการถึงร้อยละ 69 (ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 30 และภาคการเกษตร ร้อยละ 1) และมีแรงงานถึงร้อยละ 90 ของแรงงานทั้งหมดทำงานในภาคบริการ (ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 8 และภาคการเกษตร ร้อยละ 2)",
"title": "ประเทศลักเซมเบิร์ก"
},
{
"docid": "311902#0",
"text": "ลิมเบิร์ก () เป็นมณฑลที่อยู่ทางตะวันออกที่สุดของเขตฟลามส์ในประเทศเบลเยียม และอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเมิซ มีพื้นที่ทางเหนือติดต่อกับจังหวัดนอร์ทบราแบนต์, ทางตะวันออกติดต่อกับจังหวัดลิมเบิร์กของประเทศเนเธอร์แลนด์, ทางใต้ติดต่อกับมณฑลลีแยฌ, ทางตะวันตกติดต่อกับมณฑลเฟลมิชบราบันต์และมณฑลแอนต์เวิร์ปของประเทศเบลเยียม",
"title": "มณฑลลิมเบิร์ก (เบลเยียม)"
},
{
"docid": "17188#15",
"text": "สหภาพเศรษฐกิจเบลโก-ลักเซมเบิร์ก \nเบลเยียมและลักเซมเบิร์กได้จัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจเบลโก-ลักเซมเบิร์ก (Belgium-Luxembourg Economic Union - BLEU) ระหว่างกันเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2464 ซึ่งทำให้การเก็บสถิติการค้าและการลงทุนมักจะเป็นไปบนพื้นฐานของตัวเลขของทั้งสองประเทศรวมกัน นอกจากนี้ มีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของทั้งสองประเทศไว้ที่อัตราส่วนหนึ่งต่อหนึ่ง (one-to-one parity) สหภาพเศรษฐกิจเบลโก- ลักเซมเบิร์กมีลักษณะสำคัญ ดังนี้\n1. จัดระบบการค้าเสรีระหว่างกัน \n2. มีการประสานนโยบายในด้านเศรษฐกิจ การเงิน และสังคม รวมทั้ง ปรับกฎหมายภายในประเทศทั้งสองให้สอดคล้องกัน \n3. ธนาคารแห่งประเทศเบลเยี่ยมจะทำหน้าที่เป็นธนาคารกลางของ ทั้งสองประเทศ \n4. ใช้กฎหมายด้านการปริวรรตเงินตราต่างประเทศแบบเดียวกัน \n5. มีการจำกัดปริมาณเงินฟรังค์ลักเซมเบิร์ก โดยกำหนดปริมาณเป็นระยะ ๆ ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ เงินฟรังค์ของทั้งสองประเทศมีค่าเท่ากัน \n6. เบลเยีมจะมีบทบาทนำด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากลักเซมเบิร์กมี GDPประมาณร้อยละ 4.5 ของ GDP เบลเยียม และลักเซมเบิร์กได้เน้นภาคบริการโดยเฉพาะเป็นศูนย์กลางทางการเงินและการธนาคาร โดยมีนโยบายด้านการเงินที่เสรี และอัตราภาษีเงินได้ที่ต่ำ",
"title": "ประเทศลักเซมเบิร์ก"
},
{
"docid": "318091#2",
"text": "ในปี ค.ศ. 963 เคานต์ซีกฟรีดแห่งลักเซมเบิร์กแห่งราชวงศ์อาร์แดนน์ทำการซื้อที่ดินจากอธิการวิแครัสแห่งแอบบีแซงต์มักซิแมง ที่ดินดังกล่าวอยู่ในบริเวณที่เชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของซากป้อมปราการของจักรวรรดิโรมันเดิมที่มีชื่อเป็นภาษาเจอร์มานิคว่า \"Lucilinburhuc\" (ที่โดยทั่วไปแปลว่าปราสาทเล็ก) ในปีต่อๆ มาซีกฟรีดก็สร้างปราสาทขึ้นใหม่บนซากปราสาทเดิม บนเนินหินที่ต่อมาเรียกว่า \"Bock Fiels\" ปราสาทนี้ตั้งเด่นอยู่บนถนนโรมันที่เชื่อมระหว่างเมืองแรงส์, อาร์ลอง และ เทรียร์ ซึ่งทำให้ได้รับผลประโยชน์จากการค้าขายและการเก็บภาษี ประวัติของลักเซมเบิร์กเริ่มขึ้นเมื่อปราสาทหลังนี้สร้างขึ้น แต่แม้ว่าจะได้สร้างปราสาทขึ้นแต่เคานท์ซีกฟรีดและทายาทต่อมาก็ไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหลัก",
"title": "ประวัติศาสตร์ลักเซมเบิร์ก"
}
] |
3018 | สตาร์ วอร์ส เขียนโดยใคร ? | [
{
"docid": "11758#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส ([Star Wars]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help)) (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 4: ความหวังใหม่ (English: Star Wars Episode IV: A New Hope))[3] เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวมหากาพย์ละครอวกาศ ออกฉายในปี พ.ศ. 2520[4] เขียนบทและกำกับโดยจอร์จ ลูคัส เป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายเป็นลำดับแรกสุดของมหากาพย์ภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส ทั้ง 6 ภาค โดยมีภาคต่ออีก 2 ภาค ครบสมบูรณ์เป็นไตรภาคเดิม และภาคก่อนอีก 3 ภาคเป็นไตรภาคต้น รวมเป็นมหากาพย์ 6 ภาค ตามลำดับเวลาในเรื่องแล้วถือเป็นลำดับที่ 4 ของการเดินเรื่อง ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สร้างมาตรฐานใหม่ของการใช้เทคนิกพิเศษในการถ่ายทำภาพยนตร์ การตัดต่อแบบแหวกแนว และการเล่าเรื่องแนวแฟนตาซีวิทยาศาสตร์ ถือเป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จและเป็นแรงบันดาลใจมากที่สุดเรื่องหนึ่งตลอดกาล",
"title": "สตาร์ วอร์ส (ภาพยนตร์)"
}
] | [
{
"docid": "769466#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส: ปัจฉิมบทแห่งเจได () หรือ สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 8: ปัจฉิมบทแห่งเจได (\"Star Wars: Episode VIII – The Last Jedi\") เป็นภาพยนตร์มหากาพย์เทพนิยายอวกาศ เขียนบทและกำกับโดยไรอัน จอห์นสัน เป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 2 ในไตรภาคต่อของภาพยนตร์ชุด \"สตาร์ วอร์ส\" ต่อจากภาพยนตร์เรื่อง \"\" (พ.ศ. 2558) ผลิตโดยบริษัทลูคัสฟิล์ม จัดจำหน่ายโดยวอลท์ดิสนีย์สตูดิโอโมชั่นพิคเจอร์ส นำแสดงโดย มาร์ก แฮมิลล์, แคร์รี ฟิชเชอร์, อดัม ไดรฟ์เวอร์, เดซี ริดลีย์, จอห์น โบเยกา, ออสการ์ ไอแซ็ค, ลูพีตา ญองอ, ดอมห์แนล กลีสัน, แอนโธนี แดเนียลส์, เกวนโดลีน คริสตี้, แอนดี เซอร์คิส, เบนีเซียว เดล โตโร, ลอร่า เดิร์น และเคลลี่ แมรี่ แทรน และเป็นผลงานการแสดงครั้งสุดท้ายของแคร์รี่ ฟิชเชอร์ ก่อนจะเสียชีวิตเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยภาพยนตร์ได้ลงคำอุทิศให้ เนื้อเรื่องเล่าเรื่องของเรย์ที่ไปฝึกวิชาเจไดกับลุค สกายวอล์คเกอร์ เพื่อช่วยเหลือฝ่ายต่อต้านที่ยังต่อสู้กับไคโล เร็น และปฐมภาคี",
"title": "สตาร์ วอร์ส: ปัจฉิมบทแห่งเจได"
},
{
"docid": "442940#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต่อ () เป็นภาพยนตร์ไตรภาคที่มีการวางแผนว่าจะสร้างมาแล้วหลายครั้ง โดยจะเป็นภาคต่อ (ตอนที่ 7-9) ของไตรภาคเดิม (ตอนที่ 4-6) ของภาพยนตร์ชุด \"สตาร์ วอร์ส\" โดยบริษัทลูคัสฟิล์ม แม้ภาพยนตร์ไตรภาคต้นที่เคยได้รับการพูดถึงในลักษณะเดียวกันมาก่อนจะได้รับการผลิตเป็นภาพยนตร์ออกฉายจริง ๆ ในช่วง ค.ศ. 1999-2005 ก็ตาม แต่ทั้งลูคัสฟิล์มและจอร์จ ลูคัสได้ปฏิเสธอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี ว่าจะไม่มีการสร้างภาพยนตร์ภาคต่อของสตาร์ วอร์ส และเนื้อเรื่องทั้งหมดของสตาร์ วอร์ส จะมีแค่ภาพยนตร์ 6 ตอนเท่านั้น",
"title": "สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต่อ"
},
{
"docid": "756189#3",
"text": "เลโก้ สตาร์ วอร์ส 2 ดิ ออริจินัล ไตรโลจี้ ( เป็นวิดีโอเกมชุดที่สองของเลโก้ สตาร์ วอร์ส เป็นวิดีโอเกมสำหรับเด็กวางจำหน่ายในรูปแบบพีซี,เอ็กซ์บอกซ์เป็นต้น. เนื้อเรื่องในเกมจะดำเนินตามภาพยนตร์เรื่องสตาร์วอร์สไตรภาคเดิม",
"title": "เลโก้ สตาร์ วอร์ส (วีดีโอเกม)"
},
{
"docid": "299451#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส () เป็นภาพยนตร์การ์ตูนชุดทางโทรทัศน์แบบแอนิเมชัน 3 มิติ ผลิตโดย Lucasfilm Animation, Lucasfilm Animation Singapore และ CGCG Inc. ฉายครั้งแรกในช่อง Cartoon Network ของสหรัฐอเมริกาในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ดำเนินเรื่องในจักรวาล\"สตาร์ วอร์ส\" ช่วงเวลาเดียวกับภาพยนตร์การ์ตูนชุด \"\" ที่เคยฉายในปี พ.ศ. 2546 ดำเนินเรื่องตามเวลาในท้องเรื่องช่วงปีที่ 22-20 ก่อนยุทธการยาวิน แต่ละตอนยาวประมาณ 22 นาที ฉายในช่วง 30 นาทีโทรทัศน์ จอร์จ ลูคัสผู้สร้าง\"สตาร์ วอร์ส\"กล่าวว่า \"จะมีทั้งหมดอย่างน้อย 100 ตอน (ประมาณ 5 ซีซั่น)\" มี Dave Filoni เป็น supervising director ในขณะที่ Genndy Tartakovsky ซึ่งเป็นผู้กำกับของการ์ตูนชุด \"Clone Wars\" ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนชุดนี้ แต่ผู้ออกแบบตัวละคร Kilian Plunkett ใช้การออกแบบตัวละครจากการ์ตูนชุดฉบับ 2D เป็นต้นแบบในการออกแบบตัวละครฉบับ 3D นี้ นอกจากนี้ยังมีหนังสือการ์ตูนออนไลน์เล่าเรื่องสั้นๆ ระหว่างแต่ละตอนด้วย",
"title": "สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส"
},
{
"docid": "618654#1",
"text": "หลังจากเดอะวอลต์ดิสนีย์คอมพานีซื้อลูคัสฟิล์มไปใน พ.ศ. 2555 ก็มีการประกาศสร้างออกมา โดย\"อุบัติการณ์แห่งพลัง\"จะเป็นภาพยนตร์ภาคแรกสุดที่จะถูกสร้าง โดยมีผู้อำนวยการสร้างคือแคธลีน เคนเนดี, แอบรัมส์, และไบรอัน เบิร์ก ซึ่งร่วมงานกับแอบรัมส์มานาน ส่วนจอร์จ ลูคัส ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์ \"สตาร์ วอร์ส\"ตั้งแต่ต้น จะเป็นที่ปรึกษาให้กับการสร้าง\"อุบัติการณ์แห่งพลัง\"และภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\"ภาคอื่น ๆ ที่จะสร้างตามมา ภาพยนตร์เรื่องนี้มี แอบรัมส์ เป็นผู้กำกับ จากบทที่เขียนร่วมกับระหว่าง แอบรัมส์ กับ ลอว์เรนซ์ แคสแดน ซึ่งเป็นผู้เขียนบทร่วมของ \"จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ\" และ \"การกลับมาของเจได\" ซึ่งบทนี้ แอบรัมส์ และ แคสแดน เขียนขึ้นใหม่จากบทร่างแรกโดย ไมเคิล อารนท์ ซึ่งเป็นผู้แต่งเรื่องด้วยเช่นกัน การถ่ายทำในกองถ่ายสมทบเริ่มขึ้นเมื่อเมษายน พ.ศ. 2557 ในอาบูดาบีและไอซ์แลนด์ และกองถ่ายหลักถ่ายทำในช่วงพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ในอาบูดาบี และสตูดิโอไพน์วู้ดในไอเวอร์เฮลท์ บักกิงแฮมเชอร์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์สตาร์วอร์สตั้งแต่ภาคแรกสุดที่ออกฉายเมื่อปี ค.ศ. 1977",
"title": "สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง"
},
{
"docid": "6583#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 3 : ซิธชำระแค้น () เป็นตอนที่สามในภาพยนตร์ชุด\"สตาร์ วอร์ส\" (แต่สร้างเป็นลำดับที่ 6) เริ่มฉายเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 จัดจำหน่ายโดย 20th Century Fox กำกับและเขียนบทภาพยนตร์โดยจอร์จ ลูคัส",
"title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 3: ซิธชำระแค้น"
},
{
"docid": "5927#7",
"text": "ต่อมาได้มีการสร้างภาพยนตร์แอนิเมชันชื่อ สตาร์ วอร์ส: สงครามโคลน (Star Wars: The Clone Wars) ฉายเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2008 โดยเป็นการปูเนื้อเรื่องเข้าสู่ สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส",
"title": "สตาร์ วอร์ส"
},
{
"docid": "376501#0",
"text": "จักรวาลขยายของ\"สตาร์ วอร์ส\" ประกอบด้วยเรื่องราวทั้งหมดของจักรวาลในเรื่องแต่งชุด \"สตาร์ วอร์ส\" ที่นอกเหนือจากภาพยนตร์ทั้งหกภาคของจอร์จ ลูคัส เรื่องราวในจักรวาลขยายเหล่านี้อยู่ในรูปหนังสือ หนังสือการ์ตูน วิดีโอเกม ภาพยนตร์ฉบับแยก เช่น \"สตาร์ วอร์ส สงครามโคลน\" ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ ของเล่น และสื่ออื่น ๆ ซึ่งได้ขยายและเล่าเรื่องราวของ\"สตาร์ วอร์ส\" ต่อเนื่องนอกเหนือจากที่ปรากฏในภาพยนตร์ เป็นประวัติศาสตร์เล่าเรื่องราวย้อนหลังหลายหมื่นปี และล่วงหน้าหลายร้อยปี ",
"title": "จักรวาลขยายของสตาร์ วอร์ส"
},
{
"docid": "744599#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส ฮอลิเดย์สเปเชียล () กำกับโดย Steve Binder เป็นภาพยนตร์ในเรื่องแต่งชุด\"สตาร์ วอร์ส\"ที่ผลิตสำหรับออกฉายทางโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1978 นำแสดงโดยนักแสดงหลักจากรวมทั้งแนะนำตัวละครใหม่เช่นโบบา เฟตต์ ซึ่งจะมีบทบาทในภาพยนตร์ตอนต่อๆ ไป ถือเป็นภาพยนตร์ภาคแยกของ\"สตาร์ วอร์ส\"ตอนแรกอย่างเป็นทางการ ภาพยนตร์ตอนนี้ออกฉายทางโทรทัศน์เพียงครั้งเดียวในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1978 (หนึ่งสัปดาห์ก่อนเทศกาลขอบคุณพระเจ้า) ทางสถานีโทรทัศน์ CBS ตั้งแต่เวลา 20-22 นาฬิกา EST",
"title": "สตาร์ วอร์ส ฮอลิเดย์สเปเชียล"
},
{
"docid": "5927#6",
"text": "สองทศวรรษหลังไตรภาคดั้งเดิมออกฉาย ก็ได้มีการสร้างภาพยนตร์ต่อ โดยสร้างเป็นไตรภาคก่อน 3 ภาค ประกอบด้วย สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น (Star Wars Episode I: The Phantom Menace) ฉายเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1999, สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 2: กองทัพโคลนส์จู่โจม (Star Wars Episode II: Attack of the Clones) ฉายเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 และ สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 3: ซิธชำระแค้น (Star Wars Episode III: Revenge of the Sith) ฉายเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2005[9]",
"title": "สตาร์ วอร์ส"
},
{
"docid": "744599#3",
"text": "ภาพยนตร์ตอนนี้ได้เรียบเสียงตอบรับในทางลบอย่างท่วมท้น แอนโธนี แดเนียลส์ ผู้แสดงเป็นซีทรีพีโอ ได้กล่าวติดตลกเอาไว้ในสารคดีโปรโมทคอนเสิร์ท\"สตาร์ วอร์ส อินคอนเสิร์ท\" ว่า จักรวาล\"สตาร์ วอร์ส\"นั้น ยังนับรวมถึง \"หนัง\"ตอนพิเศษวันหยุด\"สุดห่วยที่ไม่มีใครพูดถึง\" นี้ด้วย Nathan Rabin จาก AV Club ได้เขียนไว้ว่า \"เป็นการยากที่ผมจะไม่เชื่อว่าภาพยนตร์ตอนพิเศษฯ นี้ ไม่ได้ถูกเขียนบทและกำกับโดยถุงโคเคนที่ทรงสติปัญญา\" ทางจอร์จ ลูคัสเอง ก็ไม่ได้มีส่วนร่วมในการผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้มาก และมีรายงานว่าเขาไม่ชอบใจกับผลลัพธ์ที่ออกมานัก อย่างไรก็ดี Patty Maloney ผู้รับบทลัมปี้ ได้กล่าวไว้เมื่อ ค.ศ. 2008 ว่ามีการส่งจดหมายอนุมัติการตัดสินใจถ่ายทำมายังกองถ่ายทุกๆ วัน David Acomba เพื่อนร่วมชั้นของลูคัสที่โรงเรียนภาพยนตร์ USC เคยได้รับเลือกให้มากำกับภาพยนตร์ตอนพิเศษนี้ แต่เขาตัดสินใจไม่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ลูคัสนับสนุน",
"title": "สตาร์ วอร์ส ฮอลิเดย์สเปเชียล"
},
{
"docid": "6939#11",
"text": "ภาพยนตร์ปิดฉากลงด้วยการเฉลิมฉลองอิสรภาพจากสหพันธ์ฯ บนดาวนาบู ราชินีอมิดาล่าได้มอบของขวัญให้แก่แนซเพื่อเป็นการยกย่องและเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพ\"สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น\" ได้รับคำวิจารณ์หลายแบบจากนักวิจารณ์ รวมถึงเหล่าผู้ชมในต่างประเทศ ภาพยนตร์ชุดนี้ได้รับการตอบรับที่เรต 61% จากเว็บไซต์รอทเทนโตเมโต้ ด้วยคะแนนเฉลี่ยที่ 5.9/10 ซึ่งถือเป็นอันดับต่ำสุดของภาพยนตร์ชุด \"สตาร์วอร์ส\" การเขียนสคริปต์บางส่วนได้รับการวิจารณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จาร์ จาร์ บิงคส์ ที่ได้รับการสรุปโดยผู้ชมรุ่นเก่าหลายคนว่า เหมาะสำหรับจัดทำในรูปแบบเมอร์แชนไดส์มากกว่าตัวละครแบบจริงจังในภาพยนตร์",
"title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น"
},
{
"docid": "11751#0",
"text": "สตาร์วอร์ส 2 () (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 5: จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ ()) เป็นภาพยนตร์ภาคที่สองในไตรภาคที่สองของภาพยนตร์ชุดสตาร์ วอร์ส ของจอร์จ ลูคัส และเป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายเป็นลำดับที่ 2 ของชุดภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส ทั้งหมด ออกฉายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2523 มีการฉายใหม่โดยมีการปรับปรุงภาพและเสียงในปี พ.ศ. 2540 และปรับปรุงอีกครั้งเมื่อวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2547 กำกับโดยเออรวิน เคอร์ชเนอร์ เขียนบทโดยลี แบรคเกต และลอว์เรนซ์ แคสแดน ร่วมกับจอร์จ ลูคัส ซึ่งแต่งเรื่อง และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสร้าง เป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายเป็นลำดับที่ 2 ของชุดภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส ทั้งหมด",
"title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 5: จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ"
},
{
"docid": "6939#3",
"text": "\"ภัยซ่อนเร้น\"ออกฉายครั้งแรกในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 นับเป็นเวลา 16 ปี หลังจากภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\"ภาคล่าสุดคือ\"การกลับมาของเจได\"ออกฉายเมื่อ ค.ศ. 1983 เสียงตอบรับเป็นไปด้วยความตื่นเต้น ครอบครองพื้นที่สื่อจำนวนมาก และมีผู้ตั้งตารอคอยภาพยนตร์เรื่องนี้จำนวนมากเนื่องจากผลกระทบทางวัฒนธรรมร่วมสมัยที่มาจากภาพยนตร์ภาคก่อนๆ เสียงวิจารณ์เป็นไปในทางก้ำกึ่งโดยเสียงชื่นชมมาจากงานภาพและฉากแอกชัน แต่นักวิจารณ์มักชี้ว่ามีจุดบกพร่องในการเขียนบท การสร้างตัวละคร การแสดง และการกำกับการแสดง อย่างไรก็ดีภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ไป 924.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั่วโลกจากการฉายครั้งแรก ทำให้เป็นภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\"ที่มีรายได้สูงที่สุดหากไม่ปรับตามค่าเงินเฟ้อ ปี ค.ศ. 2012 ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกนำมาปรับปรุงและฉายใหม่อีกครั้งในระบบสามมิติ จึงทำเงินเพิ่มได้อีก 102.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้มีรายรับรวมทั้งหมดทั่วโลกมากกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัญฯ กลับมาอยู่ใน 10 อันดับภาพยนตร์รายรับสูงที่สุดตลอดกาล แต่คงอยู่ในตำแหน่งได้เพียงไม่กี่เดือนก่อนที่\"อัศวินรัตติกาลผงาด\"จะมาชิงตำแหน่งไป",
"title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น"
},
{
"docid": "5927#12",
"text": "หมวดหมู่:ภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส หมวดหมู่:ภาพยนตร์ซีรีส์ หมวดหมู่:สตาร์ วอร์ส",
"title": "สตาร์ วอร์ส"
},
{
"docid": "296121#0",
"text": "กาแลกซีในสตาร์ วอร์ส เป็นฉากหลังของเรื่องแต่งชุด\"สตาร์ วอร์ส\" บางครั้งถูกเรียกว่า กาแลกซีอันไกลแสนไกล (Galaxy Far, Far Away) ตามที่ปรากฏในประโยคเปิดเรื่องของภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส ที่ว่า \"กาลครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว ณ กาแลกซี อันไกลแสนไกล\" (A long time ago in a galaxy far, far away)",
"title": "กาแลกซี (สตาร์ วอร์ส)"
},
{
"docid": "6939#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น () เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวมหากาพย์ละครอวกาศ เขียนบทและกำกับโดยจอร์จ ลูคัส เป็นภาพยนตร์ลำดับที่ออกฉายเป็นลำดับที่สี่ของมหากาพย์ภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\" เป็นภาคแรกของภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\" ชุดไตรภาคต้น และเป็นภาพยนตร์ลำดับแรกสุดตามลำดับเหตุการณ์ทั้งหมด นอกจากนี้ยังเป็นภาพยนตร์ที่เป็นผลงานกำกับของจอร์จ ลูคัส เรื่องแรกในรอบ 22 ปี หลังจากภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\"ภาคแรกสุด และเป็นผลงานกำกับเรื่องที่สี่ของเขา",
"title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น"
},
{
"docid": "756565#1",
"text": "จอร์จ ลูคัสได้ทำการสร้างภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิมก่อน เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก หลังจากที่มีการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกแล้ว ลูคัสจึงทำการรีเมคสตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิมในปี ค.ศ.1997 และทำการสร้างภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต้น ซึ่งเป็นภาคย้อนรอยของสตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิม ว่าทำไมพ่อของลุค สกายวอล์คเกอร์ถึงเป็นดาร์ธ เวเดอร์ และมาจากที่ไหน สาเหตุของการล่มสลายของสาธารณรัฐกาแลกติกและทำไมถึงมีจักรวรรดิกาแลกติกเข้ามาแทนที่",
"title": "สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต้น"
},
{
"docid": "11760#0",
"text": "สตาร์วอร์ส 3 ชัยชนะของเจได () (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 6: การกลับมาของเจได ()) เป็นภาพยนตร์อเมริกัน แนวมหากาพย์เทพนิยายอวกาศ กำกับโดย ริชาร์ด มาร์ควานด์ เขียนบทโดยจอร์จ ลูคัสและลอว์เรนว์ แคสแดน โดยมีลูคัสเป็นหัวหน้าผู้อำนวยการสร้าง เป็นภาคที่ 6 ตามลำดับเวลาของภาพยนตร์ชุด \"สตาร์ วอร์ส\" และยังเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ใช้ระบบ THX ด้วย ภาพยนตร์ดำเนินเรื่องในช่วงเวลาหนึ่งปีหลังเหตุการณ์ใน \"\"",
"title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 6: การกลับมาของเจได"
},
{
"docid": "918662#0",
"text": "ฮาน โซโล: ตำนานสตาร์ วอร์ส () เป็นภาพยนตร์บันเทิงคดีวิทยาศาสตร์แนวผจญภัยแบบคาวบอยอวกาศ โดยมีฮาน โซโล จากเรื่องแต่งชุด \"สตาร์ วอร์ส\" เป็นตัวละครนำ กำกับโดย Phil Lord & Christopher Miller ร่วมกับรอน ฮาวเวิร์ด เขียนบทโดยลอว์เรนซ์ แคสแดน และ Jon Kasdan ผลิตโดยลูคัสฟิล์ม และจัดจำหน่ายโดยวอลท์ดิสนีย์สตูดิโอโมชั่นพิคเจอร์ส เป็นภาพยนตร์ลำดับที่สองในชุดภาพยนตร์ตอนเดี่ยวของ \"สตาร์ วอร์ส\" ต่อจาก \"\" ที่ออกฉายเมื่อ พ.ศ. 2559 แต่ไม่ได้เป็นเรื่องราวที่ดำเนินต่อกันแต่อย่างใด โดยภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าเรื่องเหตุการณ์ในช่วงก่อนเหตุการณ์ในภาพยนตร์ \"สตาร์ วอร์ส\" ภาคแรก เป็นเรื่องราวของฮาน โซโลวัยหนุ่ม และชิวแบคคา และการได้พบกับแลนโด้ คาลริสเซียน และยาน \"มิลเลนเนียม ฟาลคอน\" นำแสดงโดย Alden Ehrenreich รับบทโซโล และนักแสดงคนอื่น ๆ ได้แก่ Woody Harrelson, เอมีเลีย คลาร์ก, ดอนัลด์ โกลเวอร์, Thandie Newton, Phoebe Waller-Bridge, Joonas Suotamo, และ Paul Bettany",
"title": "ฮาน โซโล: ตำนานสตาร์ วอร์ส"
},
{
"docid": "756189#4",
"text": "เลโก้ สตาร์ วอร์ส 2 ดิ ออริจินัล ไตรโลจี้ ( เป็นวิดีโอเกมชุดของเลโก้สตาร์ วอร์ส โดยตัวเกมจะเหมือนกับเลโก้ สตาร์ วอร์ส 2 ดิ ออริจินัล ไตรโลจี้ สามารถเล่นได้ในโทรศัพท์เป็นเกมรูปแบบบิท",
"title": "เลโก้ สตาร์ วอร์ส (วีดีโอเกม)"
},
{
"docid": "381281#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส: ไนทส์ออฟดิโอลด์รีพับลิค () เป็นหนังสือการ์ตูนชุดจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ดาร์คฮอร์ส ฉบับแรกวางจำหน่ายเมื่อ 25 มกราคม ค.ศ. 2006 และตีพิมพ์ต่อเนื่องเป็นรายเดือน เขียนเรื่องโดยผู้เขียนคนเดียวคือ John Jackson Miller",
"title": "สตาร์ วอร์ส: ไนทส์ออฟดิโอลด์รีพับลิค (หนังสือการ์ตูน)"
},
{
"docid": "5927#2",
"text": "16 ปี ต่อมาหลังฉายไตรภาคเดิม ก็ได้มีการฉายไตรภาคต้น โดยเว้นระยะห่างแต่ละภาคเป็นเวลา 3 ปี เช่นกัน โดยภาคสุดท้ายฉายเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 ในเดือนตุลาคมปี ค.ศ. 2012 บริษัท เดอะวอลต์ดิสนีย์ ได้ทำการซื้อบริษัท ลูคัสฟิล์ม เป็นจำนวนเงิน $4.05 พันล้าน และประกาศสร้างไตรภาคใหม่ของสตาร์ วอร์ส โดยภาคแรก สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง, กำหนดฉายในปี ค.ศ. 2015[1] อย่างไรก็ดีค่าย 20th Century Fox ยังคงได้สิทธิ์ได้การจำหน่ายภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส ทั้งสองไตรภาคอยู่ โดยเฉพาะภาค สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 4: ความหวังใหม่ นั้น 20th Century Fox จะเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ส่วน ภาค 1-3, 5 และ 6 นั้นจะหมดสัญญาภายใน พฤษภาคม ค.ศ. 2020[2]",
"title": "สตาร์ วอร์ส"
},
{
"docid": "442940#1",
"text": "หลังจากเดอะวอลต์ดิสนีย์คอมพานีประกาศเมื่อ 30 ตุลาคม 2555 ว่าจะซื้อบริษัทลูคัสฟิล์มในราคา 4.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จ่ายเป็นเงินสดครึ่งหนึ่งและจ่ายเป็นหุ้นดิสนีย์ครึ่งหนึ่ง ทำให้บริษัทลูคัสฟิล์มจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของดิสนีย์ เช่นเดียวกับมาร์เวลและพิกซาร์ นอกจากนี้ดิสนีย์ยังประกาศว่าจะผลิตภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 7 ออกฉายในปี ค.ศ. 2015 โดยมอบหมายให้ไมเคิล อาร์นท์ เป็นผู้เขียนบท และเจ.เจ. แอบรัมส์ เป็นผู้กำกับ และจะผลิตภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส ออกฉายหลังจากนั้นทุก ๆ 2-3 ปี",
"title": "สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต่อ"
},
{
"docid": "6936#9",
"text": "THX 1138 (ค.ศ. 1970) (กำกับ, เขียนบท) วัยกระเตาะ (ค.ศ. 1973) (กำกับ, เขียนบท) สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 4 : อะ นิว โฮป (ค.ศ. 1977) (กำกับ, เขียนบท) สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 5 : ดิ เอ็มไพร์ สไตรค์ แบ็ค (ค.ศ. 1980) (อำนวยการสร้าง, ร่วมเขียนบท) Raiders of the Lost Ark (ค.ศ. 1981) (ร่วมเขียนบท, อำนวยการสร้าง) สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 6 : รีเทิร์น ออฟ เดอะ เจได (ค.ศ. 1983) (อำนวยการสร้าง, ร่วมเขียนบท) Indiana Jones and the Temple of Doom (ค.ศ. 1984) (ร่วมเขียนบท, อำนวยการสร้าง) Howard the Duck (ค.ศ. 1986) (อำนวยการสร้าง) Willow (ค.ศ. 1988) (เขียนบท,อำนวยการสร้าง) Indiana Jones and the Last Crusade (ค.ศ. 1989) (ร่วมเขียนบท, อำนวยการสร้าง) สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น (ค.ศ. 1999) (กำกับ, เขียนบท, อำนวยการสร้าง) สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 2: กองทัพโคลนส์จู่โจม (ค.ศ. 2002) (กำกับ, ร่วมเขียนบท, อำนวยการสร้าง) สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 3: ซิธชำระแค้น (ค.ศ. 2005) (กำกับ, เขียนบท, อำนวยการสร้าง)",
"title": "จอร์จ ลูคัส"
},
{
"docid": "618654#11",
"text": "\"สตาร์ วอร์ส: เอพพิโซด 9\" มีกำหนดเข้าฉายวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2019 โดยจะได้เจ.เจ. แอบรัมส์กลับมาทำหน้าที่ผู้กำกับอีกครั้ง โดยร่วมเขียนบทกับคริส เทอร์ริโอ",
"title": "สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง"
},
{
"docid": "907838#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 9 () เป็นภาพยนตร์ในชุด\"สตาร์ วอร์ส\" ภาพยนตร์มหากาพย์เทพนิยายอวกาศ มี เจ. เจ. แอบรัมส์ เป็นผู้กำกับ อำนวยการสร้าง และร่วมเขียนบท เป็นภาพยนตร์ลำดับที่สามและลำดับสุดท้ายในชุดภาพยนตร์ไตรภาคต่อของ\"สตาร์ วอร์ส\" ต่อจาก \"\" เป็นผลงานร่วมผลิตระหว่างบริษัทลูคัสฟิล์ม และแบดโรบอทโปรดักชันส์ซึ่งเป็นบริษัทผลิตภาพยนตร์ของแอบรัมส์ จัดจำหน่ายโดยวอลท์ดิสนีย์สตูดิโอโมชั่นพิคเจอร์ส มีกำหนดออกฉายวันที่ 20 ธันวาคม 2019",
"title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 9"
},
{
"docid": "425930#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส: เลกาซี () เป็นหนังสือการ์ตูนชุดของเรื่องแต่งชุด\"สตาร์ วอร์ส\" จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ ดาร์กฮอร์สคอมิกส์ เขียนเรื่องโดยจอห์น ออสแตรนเดอร์ และแจน ดูร์ซีมา วาดภาพโดยดูร์ซีมาและนักวาดคนอื่นๆ ลงหมึกโดยแดน พาร์สันส์ และลงสีโดยแบรด แอนเดอร์สัน วางจำหน่ายฉบับแรกเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2006",
"title": "สตาร์ วอร์ส: เลกาซี"
},
{
"docid": "756565#0",
"text": "สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต้น () เป็นภาพยนตร์ไตรภาคชุดที่สองของสตาร์ วอร์ส โดยผ่านมุมมองของอนาคิน สกายวอลค์เกอร์ ซึ่งได้แก่ \"\", \"\" และ \"\"",
"title": "สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต้น"
}
] |
3999 | ญี่ปุ่นใช้สกุลเงินอะไร ? | [
{
"docid": "5557#0",
"text": "เยน (ญี่ปุ่น: 円, สัญลักษณ์ ¥, รหัส ISO 4217 JPY) เป็นสกุลเงินของประเทศญี่ปุ่น มีหน่วย่อยคือ cen =1/100เยน และ rin 1/10cen(ในปัจจุบันได้ยกเลิกแล้ว) โดยมีการใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยนิยมเก็บเป็นเงินสำรอง รองลงมาจาก ดอลลาร์สหรัฐ และ เงินยูโร คำว่า<b data-parsoid='{\"dsr\":[465,474,3,3]}'>เยน ภาษาญี่ปุ่นจะอ่านออกเสียงว่า เอน อย่างไรก็ตามการอ่านออกเสียง เยน ถือเป็นชื่อมาตรฐานใช้กันทั่วโลก สัญลักษณ์ลาตินคือ ¥ ในขณะที่คนญี่ปุ่นจะนิยมเขียนเป็นตัวอักษรคันจิว่า 円",
"title": "เยน"
}
] | [
{
"docid": "593895#2",
"text": "ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BoJ - Bank of Japan) \nมีหน้าที่กำกับดูแลนโยบายการเงินของประเทศญี่ปุ่น ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเป็นสถาบันที่ทันสมัยที่สุด ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นหลังจากมีการฟื้นฟูในสมัย “เมจิ (Meiji) ” ก่อนที่จะมีการบูรณะระบบศักดินาของญี่ปุ่น หัวเมืองทั้งหมดมีการออกเงินของตัวเองมาใช้ “ฮันซัสสุ” ในลำดับของหน่วยที่เข้ากันไม่ได้ แต่พระราชบัญญัติเงินตราใหม่ของเมจิ 4 (1871) ได้แก้ไขปัญหาเหล่านี้ และยังเป็นที่ยอมรับให้เป็นสกุลเงินทศนิยมใหม่ อดีตหัวเมืองกลายเป็นจังหวัด และโรงกษาปณ์ของพวกเขากลายเป็นธนาคารเอกชนแบบเช่าเหมา (ธนาคารชาร์เตอร์) ซึ่งในช่วงแรกยังคงสิทธิ์ในการพิมพ์เงิน เมื่อเวลาผ่านไป ทั้งรัฐบาลกลางและคนเหล่านี้เรียกว่า ธนาคารออกเงินแห่งชาติ ด้วยเหตุนี้ธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปีเมจิที่ 15 (1828) และได้รับการผูกขาดในการควบคุมปริมาณเงิน\nจัดตั้งขึ้นเพื่อขจัดภาวะเงินฝืดให้หมดสิ้นไป และสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศญี่ปุ่นควบคุมนโยบายการเงิน ประโยชน์ของเสถียรภาพด้านราคาที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้รับหน้าที่ในการตัดสินใจดูแลนโยบายการเงินถูกนำมาเป็นทั้งราคาของสินค้าและบริการที่เราจะได้ราคาที่มีเสถียรภาพ มีผลต่อการก่อตัวของความสนใจในตลาดการเงินที่เป็นสกุลเงินและการควบคุมทางการเงินและมีความเชื่อมั่นจากการใช้เงินเป็นรากฐานของเศรษฐกิจของประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดตามกฎบัตรภารกิจของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นคือการจัดเก็บภาษีในญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ \"ภาษีประเทศ\"หรือเงินภาษีที่ชำระให้กับประเทศ ซึ่งจะจัดเก็บโดยรัฐบาลกลาง เช่น ภาษีจากรายได้ ภาษีบริโภค เป็นต้น และ\"ภาษีท้องถิ่น\"หรือเงินภาษีที่ชำระให้กับจังหวัดหรือเทศบาล ซึ่งจะจัดเก็บโดยรัฐบาลท้องถิ่น เช่น ภาษีบุคคล ภาษีสิ่งก่อสร้าง ภาษีรถยนต์ ภาษีที่ชำระให้กับประเทศและภาษีท้องที่สามารถแบ่งออกได้เป็นภาษีโดยตรงและภาษีโดยอ้อม ภาษีโดยตรง เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีนิติบุคคล ภาษีพักอาศัย ภาษีรถยนต์ เป็นต้น ภาษีโดยอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร ภาษีสุรา เป็นต้น",
"title": "การคลังสาธารณะของญี่ปุ่น"
},
{
"docid": "39196#0",
"text": "สกุลเงิน หมายถึงชื่อเรียกเงินตราที่มีใช้ในแต่ละประเทศ สกุลเงินจะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศหรือกลุ่มประเทศ โดยการแลกเปลี่ยนเงิน หรือการซื้อของหรือบริการระหว่างประเทศที่ใช้สกุลเงินต่างกันจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินเป็นเกณฑ์ในการอ้างอิง ",
"title": "สกุลเงินตรา"
},
{
"docid": "39196#2",
"text": "สกุลเงินทั่วไปจะมีหน่วยสกุลเงินย่อย โดยส่วนมากจะเป็นอัตราส่วน 1/100 ของสกุลเงินหลัก เช่น 100 สตางค์ = 1 บาท หรือ 100 เซนต์ = 1 ดอลลาร์ แต่บางสกุลเงินจะไม่มีหน่วยย่อยเช่น สกุลเงินเยน ในหลายหลายประเทศเนื่องจากเงินเฟ้อ ทำให้สกุลเงินย่อยมีการเลิกใช้ไป",
"title": "สกุลเงินตรา"
},
{
"docid": "399537#6",
"text": "พ.ศ. 2550 รัฐบาลออกกฎหมายควบคุมราคาสินค้า ผู้ใดขายสินค้าในราคาเกินกำหนดถือว่ามีความผิด แต่ผลคือ ต้นทุนของสินค้ายังเพิ่มขึ้นจนแพงกว่ากำแพงราคาที่กำหนด ร้านค้าต่างๆ เก็บสินค้าของตนออกไปขายในตลาดมืด เพราะไม่สามารถขายในราคาที่ขาดทุนได้ ทำให้ตลาดมืด (ตลาดผิดกฎหมาย) ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประชาชนไม่มีทางเลือก และเกิดการกักตุนสินค้าในตลาดมืดไว้ขายในราคาที่สูงกว่าในวันหน้า และนอกจากนี้ ชาวซิมบับเวเปลี่ยนไปใช้เงินสกุลอื่น หรือใช้สิ่งของในการแลกเปลี่ยนแทนเงินประจำชาติ เพราะมีความเสถียรกว่ามาก มีรายงานว่าแม้แต่โรงพยาบาลบางแห่ง ยังยินดีรับค่ารักษาเป็นถั่วลิสงมากกว่าที่จะรับเงินในสกุล ZWN โดยจะคิดค่ารักษาเป็นจำนวนถังของถั่วลิสง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการทาขนมปังให้คนไข้ เงินสกุลนี้ กลายเป็นเงินที่ต้องรีบใช้ เพราะราคาของในเงินสกุลนี้จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และการเก็บออมโดยใช้เงินสกุลนี้คงจะยากที่จะมีโอกาสตั้งตัว และมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ต้องพบชะตากรรม เพราะเงินล้านที่ทำงานอดออมมาทั้งชีวิตตลอดก่อนหน้านี้เพื่อหวังจะใช้ชีวิตสบายยามชรา กลับเหลือมูลค่านำมาซื้อได้เพียงข้าวเช้า 1 จานเท่านั้น การควบคุมค่าเงินดูจะเป็นไปไม่ได้เสียแล้ว เงินเฟ้อประจำปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 66,212.3 ต่อปี",
"title": "ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดในประเทศซิมบับเว"
},
{
"docid": "594182#2",
"text": "ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BoJ - Bank of Japan)\nมีหน้าที่กำกับดูแลนโยบายการเงินของประเทศญี่ปุ่น ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเป็นสถาบันที่ทันสมัยที่สุด ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นหลังจากมีการฟื้นฟูในสมัย “เมจิ (Meiji)” ก่อนที่จะมีการบูรณะระบบศักดินาของญี่ปุ่น หัวเมืองทั้งหมดมีการออกเงินของตัวเองมาใช้ “ฮันซัสสุ” ในลำดับของหน่วยที่เข้ากันไม่ได้ แต่พระราชบัญญัติเงินตราใหม่ของเมจิ 4 (1871) ได้แก้ไขปัญหาเหล่านี้ และยังเป็นที่ยอมรับให้เป็นสกุลเงินทศนิยมใหม่ อดีตหัวเมืองกลายเป็นจังหวัด และโรงกษาปณ์ของพวกเขากลายเป็นธนาคารเอกชนแบบเช่าเหมา (ธนาคารชาร์เตอร์) ซึ่งในช่วงแรกยังคงสิทธิ์ในการพิมพ์เงิน เมื่อเวลาผ่านไป ทั้งรัฐบาลกลางและคนเหล่านี้เรียกว่า ธนาคารออกเงินแห่งชาติ ด้วยเหตุนี้ธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปีเมจิที่ 15 (1828) และได้รับการผูกขาดในการควบคุมปริมาณเงิน\nจัดตั้งขึ้นเพื่อขจัดภาวะเงินฝืดให้หมดสิ้นไป และสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศญี่ปุ่นควบคุมนโยบายการเงิน ประโยชน์ของเสถียรภาพด้านราคาที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้รับหน้าที่ในการตัดสินใจดูแลนโยบายการเงินถูกนำมาเป็นทั้งราคาของสินค้าและบริการที่เราจะได้ราคาที่มีเสถียรภาพ มีผลต่อการก่อตัวของความสนใจในตลาดการเงินที่เป็นสกุลเงินและการควบคุมทางการเงินและมีความเชื่อมั่นจากการใช้เงินเป็นรากฐานของเศรษฐกิจของประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดตามกฎบัตรภารกิจของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นคือการจัดเก็บภาษีในญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ \"ภาษีประเทศ\"หรือเงินภาษีที่ชำระให้กับประเทศ ซึ่งจะจัดเก็บโดยรัฐบาลกลาง เช่น ภาษีจากรายได้ ภาษีบริโภค เป็นต้น และ\"ภาษีท้องถิ่น\"หรือเงินภาษีที่ชำระให้กับจังหวัดหรือเทศบาล ซึ่งจะจัดเก็บโดยรัฐบาลท้องถิ่น เช่น ภาษีบุคคล ภาษีสิ่งก่อสร้าง ภาษีรถยนต์ ภาษีที่ชำระให้กับประเทศและภาษีท้องที่สามารถแบ่งออกได้เป็นภาษีโดยตรงและภาษีโดยอ้อม ภาษีโดยตรง เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีนิติบุคคล ภาษีพักอาศัย ภาษีรถยนต์ เป็นต้น ภาษีโดยอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร ภาษีสุรา เป็นต้น",
"title": "ระบบการคลังสาธารณะประเทศญี่ปุ่น"
},
{
"docid": "627015#0",
"text": "โดชคอยน์ (Dogecoin, /'doʊʒkɔɪn/[3][4], code: DOGE, symbol: Ð and D) เป็นสกุลเงินแบบดิจิตัลที่ใช้รูปของสุนัขชื่อโดช(Doge)ที่เป็นอินเทอร์เน็ตมีมของสุนัขญี่ปุ่นพันธุ์ Shiba Inu เป็นโลโก้ของสกุลเงิน[5][6][7][8][9][10] โดชคอยน์ถูกริเริ่มเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2013 [11] เมื่อทำการเปรียบเทียบกับสกุลเงินดิจิตอลอื่น โดชคอยน์มีระยะเวลาการไมนิงจำนวนเหรียญเริ่มต้นเร็วกว่าสกุลเงินอื่น โดยจะมีเม็ดเงินที่เกิดจากการไมนิง 100 พันล้านเหรียญโดยประมาณภายในสิ้นปี 2014 และหลังจากนั้น 5.2 พันล้านเหรียญจะถูกสร้างทุกๆปี ทั้งนี้ในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2014 โดชคอยน์จำนวนกว่า 65 พันล้านเหรียญได้ถูกไมนิงได้[12] ถึงแม้ว่าในขณะนี้จะมีแอปพลิเคชันสำหรับโดชคอยน์ไม่มากนัก แต่จำนวนการใช้โดชคอยน์ผ่านทางระบบการให้ทิปในอินเทอร์เน็ตกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก โดยระบบนี้ทำให้คนบนโลกโซเชียลมีเดียสามารถให้ทิปคนอื่นที่นำเสนอบนความที่น่าสนใจผ่านทางโดชคอยน์[13] ทั้งนี้สมาชิกในชุมชนโดชคอยน์และชุมชนอื่นๆใช้ประโยคที่ว่า \"To the moon!\" สำหรับเรียกเวลาราคาเหรียญกำลังสูงขึ้น.[14][15][16]",
"title": "โดชคอยน์"
},
{
"docid": "64261#2",
"text": "เรอูนียงเป็นแคว้นที่อยู่ห่างไกลที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรปและใช้สกุลเงินยูโร ตามความจริง ตำแหน่งที่ตั้งของเรอูนียงในเขตเวลาทางด้านตะวันออกของทวีปยุโรป ทำให้เรอูนียงเป็นแคว้นแรกในโลกที่ใช้สกุลเงินยูโร และการใช้สกุลเงินยูโรเป็นครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเวลา 00.01 นาฬิกา เมื่อนายกเทศมนตรีเมืองแซง-เดอนี เรอเน-ปอล วิกโตเรีย ซื้อลิ้นจี่ถุงหนึ่งในตลาด",
"title": "เรอูนียง"
},
{
"docid": "593895#1",
"text": "กระทรวงการคลัง (Ministry Finance Japan) มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น สังกัดคณะรัฐมนตรี เป็นศูนย์รวมอำนาจด้านการเงิน มีอำนาจทั้งการจัดทำงบประมาณ งบการเงินและการบัญชีกองทุนปรับงบดุล และได้รับการอนุมัติงบประมาณของแต่ละกระทรวงและการรับรองหน่วยงานเจ้าหน้าที่ในความดูแลของใบเสร็จรับเงินและเบิกจ่ายเงิน ตรวจสอบเกี่ยวกับการกำกับดูแลการดำเนินการงบประมาณของพนักงานหน่วยงานภาครัฐและการเก็บรวบรวมงบประมาณสำหรับการทำบัญชี การเก็บภาษีการจัดการด้านทรัพย์สินของรัฐบาล มีการใช้ระบบนอกงบประมาณที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ 2-3 เท่า ปีงบประมารเริ่มต้น 1 เมษายนของทุกปี รับผิดชอบทั้งการบริหารเงินอย่างถูกต้องในการจัดการสกุลเงินและการบำรุงรักษาความเชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและภารกิจคือการให้ความมั่นใจในเสถียรภาพของจัดตั้งแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้เกิดการจัดเก็บภาษีของความยุติธรรมและเหมาะสมการบริหารจัดการที่เหมาะสมของภาษีศุลกากร, การจัดการที่เหมาะสมของการบริหารเงินของชาติและการบำรุงรักษาความเชื่อมั่นในสกุลเงิน งบประมาณและการบัญชีการเงินของประเทศ สกุลเงิน ภาษีพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น, การลงทุนทางการเงินจากอัตราแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของรัฐ",
"title": "การคลังสาธารณะของญี่ปุ่น"
},
{
"docid": "5410#3",
"text": "เงินยูโรยังสามารถใช้ในการชำระหนี้ในอาณาเขตนอกสหภาพยุโรปบางแห่ง ได้แก่ ประเทศโมนาโก ประเทศซานมารีโน และนครรัฐวาติกัน ซึ่งเคยใช้ฟรังก์ฝรั่งเศสหรือลีราอิตาลีเป็นสกุลเงินทางการ ตอนนี้ได้เปลี่ยนมาใช้สกุลยูโรแทนและได้รับสิทธิ์ในการผลิตเหรียญในสกุลยูโรในจำนวนเงินน้อย ๆ แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปก็ตาม",
"title": "ยูโร"
},
{
"docid": "974481#16",
"text": "กระเป๋าเงินสกุลเงินดิจิทัล ทำหน้าที่จัดเก็บคีย์สาธารณะและคีย์ส่วนตัว[30]ที่สามารถนำมาใช้เพื่อรับและใช้จ่ายสกุลเงินดิจิทัลได้ โดยกระเป๋าเงินสามารถจัดเก็บคู่คีย์สาธารณะและส่วนตัวได้หลายคู่ ณ เดือนมกราคม 2018 มีสกุลเงินดิจิทัลมากกว่าหนึ่งพันสามร้อยสกุลเงิน โดยสกุลเงินแรกและเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ บิทคอยน์[31] ในส่วนของสกุลเงินดิจิทัลเองไม่ได้เป็นกระเป๋าเงิน หากบิทคอยน์และสกุลเงินดิจิทัลมาจากกระเป๋าเงิน ถือว่าสกุลเงินดิจิทัลถูกจัดเก็บและรักษาโดยขึ้นกับส่วนกลางในบัญชีแยกประเภท[32][33]ที่เปิดเป็นสาธารณะ ทุกๆ สกุลเงินดิจิทัลมีคีย์ส่วนตัว ด้วยคีย์แยกประเภท มันสามารถเขียนบัญชีแยกประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้บิทคอยน์ที่เกี่ยวข้อง[34]",
"title": "คูโนส"
},
{
"docid": "139086#25",
"text": "ระบบการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงิน หมายถึงการผูกมูลค่าของสกุลเงินนั่นๆให้เท่ากับมูลค่าของสกุลเงินของประเทศใดประเทศหนึ่ง (ที่มีความแข็งแกร่งเช่น เงินดอลล่าร์สหรัฐ) หรือสกุลเงินของหลายๆประเทศ การตรึงอัตราแลกเปลี่ยนสามารถนำมาใช้เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้ แต่เนื่องจากมูลค่าของสกุลเงินที่นำมาอ้างอิงมีการเพิ่มและลดลงตลอดเวลา ดังนั้นมูลค่าของเงินในประเทศที่อยู่ภายใต้ระบบการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนจึงเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามมูลค่าของสกุลเงินที่นำมาอ้างอิง ซึ่งหมายความว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศนั้นๆจะถูกกำหนดโดยอัตราเงินเฟ้อของประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลเงินที่นำมาอ้างอิง ดังนั้นการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนจึงทำให้รัฐบาลไม่สามารถใช้ของตัวเองในการที่จะบรรลุเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคได้",
"title": "ภาวะเงินเฟ้อ"
},
{
"docid": "17218#20",
"text": "สกุลเงินที่ใช้คือโครนาไอซ์แลนด์ (króna – ISK) ออกโดยธนาคารกลางไอซ์แลนด์ ซึ่งทำหน้าที่ดูแลนโยบายการเงินด้วย ค่าเงินโครนามีความผันผวนกับสกุลเงินยูโรสูง จึงทำเกิดความคิดที่จะเปลี่ยนมาใช้เงินยูโรโดยไม่เข้าร่วมกับกลุ่มสหภาพยุโรป จากการสำรวจในปี 2550 พบว่า 53% ของชาวไอซ์แลนด์สนับสนุนการร่วมใช้สกุลเงินยูโร 37% ต่อต้าน และ 10% ไม่ตัดสินใจ[21] ไอซ์แลนด์มีอัตราการใช้จ่ายด้วยเงินสดในประเทศต่ำมาก (น้อยกว่า 1% ของ GDP)[22] และนับได้ว่าเป็นประเทศที่ใช้ปัจจัยอื่นทดแทนเงินสดได้มากที่สุด[23] ประชากรส่วนใหญ่ชำระเงินด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตแม้จะเป็นเพียงจำนวนเล็กน้อย[24] พลังงานทดแทน ได้แก่พลังงานน้ำและพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นส่วนประกอบถึงมากกว่า 70% ของการบริโภคพลังงานของไอซ์แลนด์[25]",
"title": "ประเทศไอซ์แลนด์"
},
{
"docid": "7635#1",
"text": "สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศ[2] และในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป",
"title": "ดอลลาร์สหรัฐ"
},
{
"docid": "139086#8",
"text": "ในช่วงศตวรรษที่ 19 นักเศรษฐศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าการขึ้นลงของราคาสินค้ามีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยได้แก่ (1) การเปลี่ยนแปลงมูลค่าพื้นฐานหรือค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้า (2) การเปลี่ยนแปลงราคาของซึ่งก็คือแร่โลหะที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินนั้นๆเช่น ทองคำ หรือ เงิน และ (3) \"การลดค่าของสกุลเงิน\" ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของปริมาณเงินตรากับปริมาณของโลหะสำรองที่เงินตรานั้นๆสามารถนำไปแลกได้ หลังจากมีการใช้บัตรธนาคาร (ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์) อย่างแพร่หลายในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา คำว่า \"ภาวะเงินเฟ้อ\" จึงเริ่มมีความหมายตรงกับการลดค่าของสกุลเงิน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของบัตรธนาคารได้แซงปริมาณของโลหะที่บัตรธนาคารนั้นๆสามารถทำไปแลกได้ ในสมัยนั้น \"ภาวะเงินเฟ้อ\" จึงหมายถึงการลดค่าของสกุลเงินแทนที่จะหมายถึงการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า",
"title": "ภาวะเงินเฟ้อ"
},
{
"docid": "391397#15",
"text": "เงินสกุลเยนญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่หลังจากเกิดแผ่นดินไหว และแตะระดับสูงสุดหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่ 76.25 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากมีการคาดคะเนว่านักลงทุนญี่ปุ่นจะส่งทรัพย์สินกลับประเทศเพื่อใช้จ่ายในการบูรณะ เนื่องจากญี่ปุ่นพึ่งพาภาคการส่งออกเป็นหลัก เงินเยนที่แข็งค่านั้นอาจทำลายเศรษฐกิจยิ่งลงไปอีก ความไร้เสถียรภาพของตลาดการเงินได้ทำให้กลุ่มจี 7 ประชุมกันเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ซึ่งได้ข้อสรุปเป็นความตกลงในการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนกับดอลล่าร์ร่วมกัน ซึ่งนับเป็นพฤติการณ์ดังกล่าวครั้งแรกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2543",
"title": "ผลที่ตามมาจากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "868473#0",
"text": "เปโซคิวบา (English: Cuban peso) คือหน่วยสกุลเงินหนึ่งที่ใช้ในประเทศคิวบาแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ คิวบาเปโซ (CUP) ถือเป็นสกุลเงินหลักในประเทศ และ<b data-parsoid='{\"dsr\":[1321,1351,3,3]}'>คอนเวอร์ทิเบิลเปโซ (CUC) หรือสกุลเงินที่ออกมาเพื่อใช้แทนดอลลาร์สหรัฐ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐ มีค่าเท่ากับ 1 CUC และ 1 CUC มีค่าเท่ากับ 24 CUP แสดงให้เห็นว่าสกุลเงินในประเทศถูกกว่าสกุลเงินที่ใช้ทดแทนเงินภายนอกมาก แต่ทั้ง CUP และ CUC สามารถเรียกรวมกัน ง่ายๆ ว่า เปโซ (Peso) ในคิวบาตามร้านค้าจะไม่ค่อยรับ CUC มากนัก หรือรับก็มีมาตรฐานค่าเงินต่างกัน จึงมักเกิดกรณีที่ชาวต่างชาติจ่ายเงินเกินจำนวนบ่อย[3]",
"title": "เปโซคิวบา"
},
{
"docid": "880117#2",
"text": "สกุลเงินนี้ใช้ครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2535 ซึ่งใช้แทนสกุลเงินเดนาร์ยูโกสลาเวีย เนื่องจากว่าประเทศมาซิโดเนียได้แยกตัวออกมาจากยูโกสลาเวียแล้ว",
"title": "เดนาร์แมซิโดเนีย (สกุลเงิน)"
},
{
"docid": "399537#16",
"text": "แต่การกระทำใดๆ ไร้ผล ที่สุดแล้วรัฐบาลซิมบับเว ประกาศยกเลิกการใช้เงินสกุลดอลลาร์ซิมบับเวในประเทศและยอมรับการใช้เงินสกุลอื่นในประเทศอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 เมษายน 2552 โดยกล่าวว่า จะหยุดใช้เงินสกุลนี้ไปอย่างน้อยหนึ่งปี จนกว่าประเทศจะพร้อมกลับไปใช้เงินสกุลนี้อีกครั้ง เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจเยียวยาตัวมันเอง นับจากวันนั้น ภาวะเงินเฟ้อในซิมบับเวลดลงสู่ระดับเกือบปกติในทันที และไม่เคยพุ่งสูงอีกเลย และจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลเลิกใช้เงินสกุลนี้มีแล้วหลายปี แต่ก็ยังไม่ได้ให้ประเทศกลับไปใช้เงินสกุลนี้แต่อย่างใด",
"title": "ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดในประเทศซิมบับเว"
},
{
"docid": "39196#3",
"text": "ตารางแสดงถึงการจัดอันดับสกุลเงิน 15 สกุลเงินที่ใช้ในการชำระเงินข้ามประเทศมากที่สุดในโลก (15 most frequently used currencies in World Payments) โดยสมาคมโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก (SWIFT)",
"title": "สกุลเงินตรา"
},
{
"docid": "18223#5",
"text": "เนื่องจากประเทศอันดอร์ราไม่มีสกุลเงินใช้เป็นของตนเอง โดยก่อนหน้านี้ใช้เงินสกุลฟรังก์ฝรั่งเศสและเปเซตาสเปน ในปัจจุบันใช้สกุลเงินยูโรเป็นหลัก รายได้ GDP ต่อหัว ประมาณ 16,600 ดอลลาร์สหรัฐ และมี GDP โดยรวมประมาณ 1,065,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยมีรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนประมาณ 15,000,000 คนต่อปี",
"title": "ประเทศอันดอร์รา"
},
{
"docid": "2712#2",
"text": "ตามข้อมูลของสมาคมโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก (SWIFT) สกุลเงินบาทได้รับการอันดับเป็นสกุลเงินอันดับที่ 10 ของโลกที่ใช้ในการชำระเงินระหว่างประเทศ (most frequently used currencies in World Payments)[1]",
"title": "บาท (สกุลเงิน)"
},
{
"docid": "594182#1",
"text": "กระทรวงการคลัง (Ministry Finance Japan) มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น สังกัดคณะรัฐมนตรี เป็นศูนย์รวมอำนาจด้านการเงิน มีอำนาจทั้งการจัดทำงบประมาณ งบการเงินและการบัญชีกองทุนปรับงบดุล และได้รับการอนุมัติงบประมาณของแต่ละกระทรวงและการรับรองหน่วยงานเจ้าหน้าที่ในความดูแลของใบเสร็จรับเงินและเบิกจ่ายเงิน ตรวจสอบเกี่ยวกับการกำกับดูแลการดำเนินการงบประมาณของพนักงานหน่วยงานภาครัฐและการเก็บรวบรวมงบประมาณสำหรับการทำบัญชี การเก็บภาษีการจัดการด้านทรัพย์สินของรัฐบาล มีการใช้ระบบนอกงบประมาณที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ 2-3 เท่า ปีงบประมารเริ่มต้น 1 เมษายนของทุกปี รับผิดชอบทั้งการบริหารเงินอย่างถูกต้องในการจัดการสกุลเงินและการบำรุงรักษาความเชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและภารกิจคือการให้ความมั่นใจในเสถียรภาพของจัดตั้งแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้เกิดการจัดเก็บภาษีของความยุติธรรมและเหมาะสมการบริหารจัดการที่เหมาะสมของภาษีศุลกากร, การจัดการที่เหมาะสมของการบริหารเงินของชาติและการบำรุงรักษาความเชื่อมั่นในสกุลเงิน งบประมาณและการบัญชีการเงินของประเทศ สกุลเงิน ภาษีพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น, การลงทุนทางการเงินจากอัตราแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของรัฐ",
"title": "ระบบการคลังสาธารณะประเทศญี่ปุ่น"
},
{
"docid": "5410#10",
"text": "สหราชอาณาจักร ใช้เงินสกุลปอนด์สเตอร์ลิง(ได้ออกจากEUแล้ว) สวีเดน ใช้เงินสกุลโครนสวีเดน เดนมาร์ก ใช้เงินสกุลโครนเดนมาร์ก DKK 7.46038 XEU 1 = DKK 0.19770007 บัลแกเรีย ใช้เงินสกุลเลฟ DEM 1.95583 XEU 1 = DEM 0.625083268 โรมาเนีย ใช้เงินสกุลเลอู ฮังการี ใช้เงินสกุลโฟรินต์ สาธารณรัฐเช็ก ใช้เงินสกุลโครูนาเช็ก โครเอเชีย ใช้เงินสกุลคูนา โปแลนด์ ใช้เงินสกุลซวอตี",
"title": "ยูโร"
},
{
"docid": "974481#17",
"text": "กระเป๋าเงินทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นสำหรับทำธุรกรรมสกุลเงิน Counos ถึงแม้ว่ากระเป๋าเงินจะถูกจัดว่าเป็นสิ่งที่ใช้จัดเก็บสกุลเงินดิจิทัล Counos ตามการทำงานพื้นฐานของระบบ แต่สกุลเงินดิจิทัล Counos ไม่สามารถแยกออกได้จากการทำธุรกรรมบล็อกเชน แต่หากอธิบายให้ดียิ่งขึ้น กระเป๋าเงิน คือ “สิ่งที่เก็บข้อมูลสำคัญทางดิจิทัลสำหรับเงิน Counos ของคุณ” และช่วยให้คุณสามารถเข้าถึง (และใช้จ่าย) เงินเหล่านั้นได้ กระเป๋าเงิน Counos จะไม่ได้ถูกเก็บไว้ในกระเป๋าเงิน แต่จะจัดเก็บคีย์ส่วนตัว (รหัสดิจิทัลรักษาความปลอดภัยสำหรับคุณและกระเป๋าเงินเท่านั้น) และจะแสดงความเป็นเจ้าของคีย์ดังกล่าว (รหัสดิจิทัลสาธารณะที่เชื่อมต่อกับจำนวนสกุลเงิน) ดังนั้น กระเป๋าเงินของคุณจัดเก็บคีย์ส่วนตัวและสาธารณะเข้าด้วยกัน ทำให้คุณสามารถส่งและรับเหรียญอีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นเครื่องมือทำธุรกรรมส่วนบุคคล[35]",
"title": "คูโนส"
},
{
"docid": "39159#0",
"text": "ดอลลาร์ (; $) เป็นชื่อของสกุลเงินที่ใช้เหมือนกันในหลายประเทศทั่วโลก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ สกุลเงินของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเงินสกุลสำคัญสกุลหนึ่งของโลก",
"title": "ดอลลาร์"
},
{
"docid": "39196#1",
"text": "ในหลายประเทศสกุลเงินสามารถมีชื่อเดียวกันได้ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์ฮ่องกง และดอลลาร์แคนาดา และในหลายประเทศใช้สกุลเงินเดียวกัน เช่นในประเทศแถบยุโรปหลายประเทศใช้สกุลเงินยูโร และในบางประเทศใช้หน่วยเงินของประเทศอื่นเป็นเกณฑ์เช่นประเทศปานามา และ ประเทศเอลซัลวาดอร์ ใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ",
"title": "สกุลเงินตรา"
},
{
"docid": "171849#12",
"text": "เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948 สหรัฐอเมริกาและอังกฤษยื่นข้อเสนอต่อสภาปกครองฝ่ายพันธมิตรให้สร้างสกุลเงินเยอรมนีใหม่เพื่อแทนที่สกุลเงินไรช์มาร์ค (Reichsmark) ที่มีปริมาณล้นอยู่ในระบบและขาดมูลค่าอย่างแท้จริง สหภาพโซเวียตปฏิเสธข้อเสนอนี้เพราะต้องการให้เยอรมนีคงสภาพอ่อนแอ ประเทศมหาอำนาจตะวันตกทั้งสามจึงร่วมมือกันสร้างสกุลเงินใหม่ขึ้นมาอย่างลับ ๆ และประกาศใช้ในพื้นที่ของตนเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1948 ในชื่อสกุลเงินดอยช์มาร์ค (Deutsche Mark) สหภาพโซเวียตไม่ยอมรับสกุลเงินนี้ แต่ฝ่ายตะวันตกได้แอบลักลอบเอาเงินสกุลใหม่นี้เข้าไปในเบอร์ลินเป็นจำนวนถึง 250,000,000 ดอยช์มาร์คแล้ว ไม่นานนัก ดอยช์มาร์คก็กลายเป็นสกุลเงินมาตรฐานในทุกพื้นที่ของเยอรมนี",
"title": "การปิดกั้นเบอร์ลิน"
},
{
"docid": "974481#10",
"text": "สกุลเงินดิจิทัล (หรือสกุลเงินคริปโต) คือ สกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับการออกแบบขึ้นมาสำหรับใช้แลกเปลี่ยนและทำธุรกรรมทางการเงิน ควบคุมการสร้างหน่วยเงินเพิ่มเติมและตรวจสอบความถูกต้องของการถ่ายโอนทรัพย์สิน[26][27] สกุลเงินดิจิทัลคือสกุลเงินดิจิทัลประเภทหนึ่ง หรือสกุลเงินเสมือนหรือสกุลเงินทางเลือก ทั้งนี้ สกุลเงินดิจัลใช้การควบคุมที่ไม่ขึ้นกับส่วนกลาง[28]และต่อต้านเงินอิเล็คทรอนิกที่ขึ้นกับส่วนกลางและระบบการธนาคารกลาง การควบคุมที่ไม่ขึ้นกับส่วนกลางของแต่ละสกุลเงินดิจิทัลทำงานผ่านเทคโนโลยีการแจกจ่ายหรือที่เรียกว่า บล็อกเชน ที่ทำหน้าที่เป็นฐานข้อมูลธุรกรรมทางการเงินสาธารณะ Bitcoin ซึ่งเปิดตัวเป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สครั้งแรกในปี 2009 โดยทั่วไปถือว่าเป็นสกุลเงินคริปโตแรกที่ไม่ขึ้นกับส่วนกลาง นับตั้งแต่ การปล่อยบิทคอยน์ อัลท์คอยน์กว่า 4,000,000 เหรียญ (อีกประเภทหนึ่งของบิทคอยน์หรือสกุลเงินคริปโตอื่นๆ ) ได้ถูกสร้าง ขึ้น[29]",
"title": "คูโนส"
},
{
"docid": "2175#0",
"text": "ISO 4217 เป็นมาตรฐานสากลสำหรับรหัสสกุลเงินที่ใช้ในประเทศต่างๆ มักใช้ในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินตามธนาคาร ประกอบด้วยอักษรละตินตัวใหญ่ 3 ตัวจากชื่อประเทศและชื่อของสกุลเงินที่ใช้ในประเทศนั้น",
"title": "ISO 4217"
}
] |
1918 | ใครคือผู้ก่อตั้ง บิตคอยน์? | [
{
"docid": "608027#23",
"text": "กล่าวคือ นากาโมโตะ ผู้สร้างบิตคอยน์ ตั้งนโยบายการเงินบนฐานของความขาดแคลนประดิษฐ์ (artificial scarcity) และทำให้บิตคอยน์ถูกจำกัดอยู่ที่จำนวน 21 ล้านบิตคอยน์ตั้งแต่แรก จำนวนทั้งหมดจะถูกเผยทุก ๆ สิบนาทีและอัตราการสร้างจะลดลงครึ่งหนึ่งทุก ๆ สี่ปีจนบิตคอยน์ทั้งหมดอยู่ในระบบ",
"title": "บิตคอยน์"
},
{
"docid": "608027#4",
"text": "ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ชื่อโดเมน \"bitcoin.org\" ถูกตั้งขึ้น ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ลิงค์ไปยังเอกสารในหัวข้อ \"บิตคอยน์:ระบบเงินอิเลคโทรนิคแบบเพียร์ทูเพียร์\" เขียนโดย ซาโตชิ นากาโมโตะ ได้ถูกส่งไปยังกลุ่มรายชื่อของอีเมล์ของวิทยาการเข้ารหัสลับ นากาโมโตะนำซอฟต์แวร์บิตคอยน์มาใช้เป็นโค้ดแบบโอเพนซอร์ซและเปิดตัวในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ขณะนั้นจนถึงตอนนี้ตัวตนของนากาโมโตะยังไม่ถูกเปิดเผย",
"title": "บิตคอยน์"
},
{
"docid": "608027#0",
"text": "บิตคอยน์ () เป็นเงินตราแบบดิจิทัล (cryptocurrency) และเป็นระบบการชำระเงินที่ใช้กันทั่วโลก บิตคอยน์เป็นสกุลเงินดิจิทัลแรกที่ใช้ระบบกระจายอำนาจ โดยไม่มีธนาคารกลางหรือแม้แต่ผู้คุมระบบแม้แต่คนเดียว เครือข่ายเป็นแบบเพียร์ทูเพียร์ และการซื้อขายเกิดขึ้นระหว่างจุดต่อเครือข่าย (network node)โดยตรง ผ่านการใช้วิทยาการเข้ารหัสลับและไม่มีสื่อกลาง การซื้อขายเหล่านี้ถูกตรวจสอบโดยรายการเดินบัญชีแบบสาธารณะที่เรียกว่าบล็อกเชน บิตคอยน์ถูกพัฒนาโดยคนหรือกลุ่มคนภายใต้นามแฝง \"ซาโตชิ นากาโมโตะ\" และถูกเผยแพร่ในรูปแบบซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซในปี พ.ศ. 2552",
"title": "บิตคอยน์"
}
] | [
{
"docid": "608027#6",
"text": "หนึ่งในผู้สนับสนุน ผู้นำไปใช้ และผู้ร่วมพัฒนาบิตคอยน์คนแรก ๆ เป็นผู้รับการซื้อขายบิตคอยน์ครั้งแรก เขาเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ชื่อว่า ฮาล ฟินนีย์ (Hal Finney) ฟินนีย์ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์บิตคอยน์ในวันแรกที่เปิดตัว และได้รับ 10 บิตคอยน์จากนากาโมโตะในการซื้อขายบิตคอยน์ครั้งแรกของโลก ผู้สนับสนุนแรกเริ่มคนอื่น ๆ ได้แก่ Wei Dai ผู้สร้าง \"b-money\" และ Nick Szabo ผู้สร้าง \"bit gold\" ทั้งคู่ที่มาก่อนบิตคอยน์",
"title": "บิตคอยน์"
},
{
"docid": "608027#1",
"text": "บิตคอยน์ถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วย 'การขุด' (mining, การทำเหมือง) และสามารถแลกเป็นสกุลเงินอื่น สินค้า และบริการ ณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 มีร้านค้ากว่า 100,000 ร้านยอมรับการจ่ายเงินด้วยบิตคอยน์ งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ประมาณว่าใน พ.ศ. 2560 มีผู้ใช้เงินตราแบบดิจิทัล 2.9 ถึง 5.8 ล้านคน โดยส่วนใหญ่แล้วใช้บิตคอยน์",
"title": "บิตคอยน์"
},
{
"docid": "943088#14",
"text": "โดยกฎแล้ว ธุรกรรมแรกของบล็อกเป็นธุรกรรมพิเศษที่สร้างบิตคอยน์ใหม่ซึ่งผู้สร้างบล็อกจะเป็นเจ้าของ\nซึ่งเป็นแรงจูงใจให้สถานีต่าง ๆ สนับสนุนเครือข่าย\nและยังเป็นวิธีสร้างบิตคอยน์ใหม่เข้าระบบ\nแต่รางวัลการขุดเหรียญจะลดลงครึ่งหนึ่งทุก ๆ 210,000 บล็อก\nโดยเริ่มที่ 50 เหรียญ ลดลงเหรือ 25 เหรียญปลายปี 2012 แล้วเหลือ 12.5 เหรียญในปี 2016\nกระบวนการลดรางวัลครึ่งหนึ่งนี้ ได้โปรแกรมให้เกิด 64 ครั้ง ก่อนจะยุติการสร้างเหรียญใหม่ ๆ อีกต่อไป",
"title": "เครือข่ายบิตคอยน์"
},
{
"docid": "608027#21",
"text": "ผู้ขุดที่หาบล็อกใหม่สำเร็จได้รับรางวัลเป็นบิตคอยน์ที่ถูกสร้างขึ้นและค่าธรรมเนียมการซื้อขาย ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 รางวัลอยู่ที่จำนวน 12.5 บิตคอยน์ที่ถูกสร้างใหม่ต่อบล็อกที่ถูกเพิ่มไปยังบล็อกเชน เพื่อขอรับรางวัล การซื้อขายพิเศษที่เรียกว่า \"คอยน์เบส\" ถูกรวมเข้ากับการจ่ายที่ถูกดำเนินการ บิตคอยน์ที่มีอยู่ทั้งหมดถูกสร้างด้วยการซื้อขายแบบคอยน์เบสนี้",
"title": "บิตคอยน์"
},
{
"docid": "608027#9",
"text": "เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ช่องโหว่ครั้งใหญ่ในโพรโทคอลของบิตคอยน์ถูกพบ การซื้อขายไม่ได้ถูกตรวจสอบอย่างถูกต้องก่อนถูกใส่เข้าไปในบล็อกเชน ทำให้ผู้ใช้สามารถเลี่ยงข้อจำกัดทางเศรษฐศาสตร์ของบิตคอยน์ และสร้างบิตคอยน์ขึ้นมาได้ในจำนวนไม่จำกัด ในวันที่ 15 สิงหาคม ช่องโหว่นี้ถูกใช้สร้างกว่า 184 ล้านบิตคอยน์ผ่านการซื้อขายหนึ่งครั้ง และส่งไปยังที่อยู่สองที่ในเครือข่าย การซื้อขายถูกพบภายในไม่กี่ชั่วโมง และถูกลบออกจากบันทึกหลังแก้ไขบัคและอัพเดทรุ่นโพรโทคอลของบิตคอยน์",
"title": "บิตคอยน์"
},
{
"docid": "289114#0",
"text": "รอย โอลิเวอร์ ดิสนีย์ (24 มิถุนายน ค.ศ. 1893 - 20 ธันวาคม ค.ศ. 1971) เป็นพี่ชายของวอลต์ ดิสนีย์ ทั้งสองเป็นผู้ร่วมกันก่อตั้งดิสนีย์บราเธอส์คาร์ูตูนสตูดิโอ ในปี ค.ศ. 1923 ซึ่งปัจจุบันคือ เดอะวอลต์ดิสนีย์ โดยรอยเป็นผู้บริหารด้านการเงินของบริษัท มีหน้าที่หาเงินทุนมาสนับสนุนการสร้างสรรค์ผลงานของผู้เป็นน้องชาย โดยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท (1923-1971) ดำรงตำแหน่งประธานบริษัท (president) ตั้งแต่ปี 1945 และตำแหน่งประธานกรรมการ (chairman) หลังจากวอลต์ ดิสนีย์ เสียชีวิตเมื่อปี 1966",
"title": "รอย โอ. ดิสนีย์"
},
{
"docid": "13548#0",
"text": "วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (เกิด 28 ตุลาคม ค.ศ. 1955) หรือที่มักเป็นที่รู้จักในชื่อ บิล เกตส์ เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกา และหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ เขากับผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้ร่วมกันเขียนต้นแบบของภาษาอัลแตร์เบสิก ซึ่งเป็นอินเตอร์เพรเตอร์สำหรับเครื่องอัลแตร์ 8800 (เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในยุคแรกๆ) เขาได้ร่วมกับพอล แอลเลน ก่อตั้งไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชันขึ้น ซึ่งในขณะนี้เขาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเรื่องเทคโนโลยี นิตยสารฟอบส์ได้จัดอันดับให้ บิล เกตส์ เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกหลายปีติดต่อกัน",
"title": "บิล เกตส์"
},
{
"docid": "943088#2",
"text": "ความเป็นเจ้าของบิตคอยน์จะระบุได้โดยลำดับธุรกรรมที่ลงนามดิจิทัลเริ่มตั้งแต่การสร้างบิตคอยน์\nเจ้าของบิตคอยน์จะโอนเงินโดยลงนามดิจิทัลเพื่อให้แก่เจ้าของคนต่อไปคล้ายกับการสลักหลังเช็ค โดยผ่านธุรกรรมของบิตคอยน์\nและผู้รับจ่ายก็สามารถตรวจสอบธุรกรรมก่อน ๆ เพื่อยืนยันโซ่ความเป็นเจ้าของ\nแต่ไม่เหมือนกับการสลักหลังเช็ค ธุรกรรมของบิตคอยน์จะย้อนคืนไม่ได้ ซึ่งกำจัดความเสี่ยงการฉ้อฉลโดยการขอเงินคืนจากสถาบันการเงินซึ่งเป็นคนกลาง เช่น chargeback fraud",
"title": "เครือข่ายบิตคอยน์"
}
] |
1286 | คลื่นวิทยุ มีหน่วยความถี่ว่าอะไร? | [
{
"docid": "228649#1",
"text": "ส่วนประกอบของคลื่น 1. สันคลื่น (Crest) ตำแหน่งสูงสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางบวก 2. ท้องคลื่น (Trough) ตำแหน่งต่ำสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางลบ 3. แอมพลิจูด (Amplitude) เป็นระยะการกระจัดมากสุด ทั้งค่าบวกและค่าลบ 4. ความยาวคลื่น (wavelength) เป็นความยาวของคลื่นหนึ่งลูกมีค่าเท่ากับระยะระหว่างสันคลื่นหรือท้องคลื่นที่อยู่ถัดกัน ความยาวคลื่นแทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นเมตร (m) 5. ความถี่ (frequency) หมายถึง เวลาที่ตำแหน่งใด ๆ ในหนึ่งหน่วยเวลา แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที (s-1) หรือ เฮิรตซ์ (Hz) 6. คาบ (period) หมายถึง เวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ครบหนึ่งลูกคลื่น แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นวินาทีต่อรอบ (s) 7. อัตราเร็วของคลื่น (wave speed) หาได้จากผลคูณระหว่างความยาวคลื่นและความถี่",
"title": "คลื่นวิทยุ"
}
] | [
{
"docid": "707389#0",
"text": "คลื่นฟ้า ()\nคือ เทคนิคการส่งคลื่นวิทยุข้ามแนวขอบฟ้าของโลก โดยอาศัยคุณสมบัติการสะท้อนคลื่นวิทยุบางย่านความถี่ของบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์",
"title": "คลื่นฟ้า"
},
{
"docid": "228649#0",
"text": "คลื่นวิทยุ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงความถี่วิทยุบนเส้นสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นวิทยุไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ ใช้ในการสื่อสารมี 2 ระบบคือ A.M. และ F.M. ความถี่ของคลื่น หมายถึง จำนวนรอบของการเปลี่ยนแปลงของคลื่น ในเวลา 1 วินาที คลื่นเสียงมีความถี่ช่วงที่หูของคนรับฟังได้ คือ ตั้งแต่เริ่มมี คลื่นวิทยุแต่ละช่วงความถี่จะถูกกำหนดให้ใช้งานด้านต่างๆ ตามความเหมาะสม",
"title": "คลื่นวิทยุ"
},
{
"docid": "153149#0",
"text": "รังสีอินฟราเรด () มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า รังสีใต้แดง หรือรังสีความร้อน เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างคลื่นวิทยุและแสงมีความถี่ในช่วง 10 – 10 เฮิร์ตซ์หรือความยาวคลื่นตั้งแต่ 1-1000 ไมโครเมตร มีความถี่ในช่วงเดียวกับไมโครเวฟ มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างแสงสีแดงกับคลื่นวิทยุสสารทุกชนิดที่มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง -200 องศาเซลเซียสถึง 4,000 องศาเซลเซียส จะปล่อยรังสีอินฟราเรดออกมา คุณสมบัติเฉพาะตัวของรังสีอินฟราเรด เช่น ไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แตกต่างกันก็คือ คุณสมบัติที่ขึ้นอยู่กับความถี่ คือยิ่งความถี่สูงมากขึ้น พลังงานก็สูงขึ้นด้วย ",
"title": "อินฟราเรด"
},
{
"docid": "552731#21",
"text": "สำหรับความถี่ต่ำถึงความถี่กลาง ตัวนำสามารถถักเป็นสายเกลียว แต่ละเส้นเคลือบฉนวน สายไฟที่สร้างขึ้นโดยใช้เทคนิคนี้เรียกว่า Litz wire วิธีนี้จะช่วยบรรเทาผลกระทบจาก skin effect ด้วยการบังคับให้กระแสกระจายเท่าเทียมกันตลอดหน้าตัดของสายเกลียว Litz wire ถูกนำมาใช้ทำ ตัวเหนี่ยวนำคุณภาพสูง ลดการสูญเสียในตัวนำกระแสสูงแต่ความถี่ต่ำ และขดลวดของอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงขึ้น (ถึงหลายร้อยกิโลเฮิร์ตซ์) เช่นเพาเวอร์ซัพพลายแบบสลับโหมด และหม้อแปลงไฟฟ้าคลื่นความถี่วิทยุ",
"title": "ไฟฟ้ากระแสสลับ"
},
{
"docid": "14929#32",
"text": "John Chowning แห่งมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดเป็นผู้วิจัยคนแรกในการที่จะคิดค้นการสร้างเสียงดนตรีจากเครื่องสร้างไฟฟ้ากระแสสลับอันหนึ่งที่ใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุตั้งระดับเสียงของอุปกรณ์อื่นๆ วิธีการนี้เรียกว่า FM หรือ การสังเคราะห์การใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนความถี่คลื่น (Frequency Modulation) การทดลอง FM ในช่วงแรกของ Chowning ทำด้วยโปรแกรมโปรแกรมบนเมนเฟรมคอมพิวเตอร์",
"title": "เครื่องสังเคราะห์เสียง"
},
{
"docid": "228649#2",
"text": "ระบบ A.M สื่อสารโดยใช้คลื่นเสียงผสมเข้าไปกับคลื่นวิทยุเรียกว่า \"คลื่นพาหะ\" โดยแอมพลิจูดของคลื่นพาหะจะเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณคลื่นความถี่ของการซอย ในการส่งคลื่นระบบ A.M. สามารถส่งคลื่นได้ทั้งคลื่นดินเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงขนานกับผิวโลกและคลื่นฟ้าโดยคลื่นจะไปสะท้อนที่ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ แล้วสะท้อนกลับลงมา จึงไม่ต้องใช้สายอากาศตั้งสูงรับ ระบบ F.M. สื่อสารโดยใช้คลื่นเสียงผสมเข้ากับคลื่นพาหะ โดยความถี่ของคลื่นพาหะจะเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณคลื่นเสียง ในการส่งคลื่นระบบ F.M. ส่งคลื่นได้เฉพาะคลื่นดินอย่างเดียว ถ้าต้องการส่งให้คลุมพื้นที่ต้องมีสถานีถ่ายทอดและเครื่องรับต้องตั้งเสาอากาศสูงๆ รับ",
"title": "คลื่นวิทยุ"
},
{
"docid": "211949#0",
"text": "ดาราศาสตร์วิทยุ () เป็นสาขาหนึ่งของดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ที่เฝ้าศึกษาวัตถุท้องฟ้าในช่วงความถี่ของคลื่นวิทยุ การตรวจจับพบคลื่นวิทยุจากวัตถุทางดาราศาสตร์ (ในทางช้างเผือก) เป็นครั้งแรกเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่สองจึงมีความคืบหน้าในการแยกแยะแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุในอวกาศที่แตกต่างกัน คือจากดาวฤกษ์ ดาราจักร และวัตถุท้องฟ้าประเภทใหม่ๆ ที่ค้นพบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น ดาราจักรวิทยุ พัลซาร์ และเมเซอร์ การค้นพบการแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลนับเป็นการค้นพบที่สำคัญที่สุด ",
"title": "ดาราศาสตร์วิทยุ"
},
{
"docid": "2937#15",
"text": "เทคโนโลยีวิทยุและการแพร่กระจายสเปกตรัม - เครือข่ายท้องถิ่นไร้สายจะใช้เทคโนโลยีวิทยุความถี่สูงคล้ายกับโทรศัพท์มือถือดิจิทัลและเทคโนโลยีวิทยุความถี่ต่ำ. LAN ไร้สายใช้เทคโนโลยีการแพร่กระจายคลื่นความถี่เพื่อการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลายชนิดในพื้นที่จำกัด. IEEE 802.11 กำหนดคุณสมบัติทั่วไปของเทคโนโลยีคลื่นวิทยุไร้สายมาตรฐานเปิดที่รู้จักกันคือ Wifi",
"title": "เครือข่ายคอมพิวเตอร์"
},
{
"docid": "14929#12",
"text": "นอกจากนี้ยังมีวิธีการสังเคราะห์ที่แตกต่างกันอีกหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็จัดอยู่ในกลุ่มซินธิไซเซอร์แบบอนาล็อกและแบบดิจิตอลทั้งสิ้น เทคนิคเหล่านี้ล้วนต้องเกี่ยวข้องวิธีทางคณิตศาสตร์ ยกเว้นวิธีการใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนความถี่คลื่น (Frequency Modulation; FM) และวิธีการใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนคาบของคลื่น (Phase Modulation; PM)",
"title": "เครื่องสังเคราะห์เสียง"
},
{
"docid": "68535#2",
"text": "2) การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ (Frequency Division Multiplexer หรือ FDM) เป็นวิธีที่ใช้กันทั้งระบบที่มีสายและระบบคลื่นวิทยุ ซึ่งหลักการของการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่นี้คือ การนำสัญญาณจากแหล่งต่างๆมารวมกัน ให้อยู่ในคลื่นพาห์เดียวกันที่ความถี่ต่างๆ และสัญญาณเหล่านี้สามารถที่จะใช้เส้นทางร่วมกันได้ซึ่งต่างจากแบบแรกที่ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้",
"title": "อุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ"
},
{
"docid": "9020#0",
"text": "ความถี่ () คือจำนวนการเกิดเหตุการณ์ซ้ำในหนึ่งหน่วยของเวลา ความถี่อาจเรียกว่า \"ความถี่\"เชิงเวลา (temporal frequency) หมายถึงแสดงให้เห็นว่าต่างจากความถี่เชิงพื้นที่ (spatial) และความถี่เชิงมุม (angular) คาบคือระยะเวลาของหนึ่งวงจรในเหตุการณ์ที่เกิดซ้ำ ดังนั้นคาบจึงเป็นส่วนกลับของความถี่ ตัวอย่างเช่น ถ้าหัวใจของทารกเกิดใหม่เต้นที่ความถี่ 120 ครั้งต่อนาที คาบ (ช่วงเวลาระหว่างจังหวะหัวใจ) คือครึ่งวินาที (นั่นคือ 60 วินาทีหารจาก 120 จังหวะ) ความถี่เป็นตัวแปรสำคัญในวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม สำหรับระบุอัตราของปรากฏการณ์การแกว่งและการสั่น เช่น การสั่นของเครื่องจักร โสตสัญญาณ (เสียง) คลื่นวิทยุ และแสงมีหลักการดังนี้มือจับที่คอและพูดก็จะพบว่าคอสั่นหรือท่อเสียงนั่นเอง",
"title": "ความถี่"
},
{
"docid": "8870#3",
"text": "สำหรับคลื่นวิทยุ ความสัมพันธ์นี้เขียนโดยประมาณได้เป็น: ความยาวคลื่น (ในหน่วยเมตร) = 300 / ความถี่ (ในหน่วย megahertz)",
"title": "ความยาวคลื่น"
},
{
"docid": "228649#17",
"text": "คลื่นวิทยุ: สายอากาศ 1. ตัวนำโลหะ ซึ่งมักจะเป็นแบบใดแบบหนึ่งของความยาวลวดหรือท่อกลวง ตัวนำ ที่จะใช้สำหรับสายอากาศจะต้องให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำนั้นได้ 2. สายอากาศของเครื่องส่ง กระแสไฟฟ้าจะสร้างคลื่นวิทยุแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นนี้จะประกอบไปด้วยสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก ซึ่งเคลื่อนที่ไปในอากาศจากสายอากาศ 3. สายอากาศของเครื่องรับคลื่นวิทยุจะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ในสายอากาศ ซึ่งกระแสไฟฟ้านี้จะเป็นสัญญาณเข้าของเครื่องรับ 4. วิทยุ ความถี่ประชาชน (CB) ต่างก็ใช้สายอากาศสำหรับรับ – ส่งเหมือนกัน 5. สายนำสัญญาณ จะต่อกับสายอากาศ ภายในสายนำสัญญาณจะประกอบด้วยตัวนำลวดคู่ วางใน ช่องว่างระหว่างกันคงที่ หน้าที่ของสายนำสัญญาณคือ การนำกระแสไฟฟ้าโดยปราศจากการแผ่คลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า",
"title": "คลื่นวิทยุ"
},
{
"docid": "9020#5",
"text": "สำหรับคลื่นเสียง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่นคลื่นวิทยุหรือแสง) สัญญาณไฟฟ้า หรือคลื่นอื่นๆ ความถี่ในหน่วยเฮิรตซ์ของคลื่นนั้นคือจำนวนรอบที่คลื่นนั้นซำรอยเดิมในหนึ่งวินาที สำหรับคลื่นเสียง ความถี่คือปริมาณที่บ่งบอกความทุ้มแหลม",
"title": "ความถี่"
},
{
"docid": "430555#1",
"text": "แฮทซ์พิสูจน์ทฤษฎีโดยการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ส่งและรับคลื่นวิทยุโดยใช้การทดลอง นั่นให้เหตุผลถึงปรากฏการณ์แบบไร้สายอื่น ๆ ที่รู้จัก หน่วยวิทยาศาสตร์ของความถี่รอบต่อวินาทีได้รับการตั้งชื่อเป็น \"เฮิรตซ์\" เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา",
"title": "ไฮน์ริช แฮทซ์"
},
{
"docid": "282121#0",
"text": "ย่านความถี่ () คือแถบหรือย่านความถี่ของคลื่น ย่านความถี่มักจะหมายถึงย่านความถี่ของเสียง หรือย่านความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่รวมทั้งแสง และ คลื่นวิทยุ อุปกรณ์วิทยุมักจะทำงานในย่านความถี่ใดย่านความถี่หนึ่งที่เฉพาะเจาะจง",
"title": "ย่านความถี่"
},
{
"docid": "608485#12",
"text": "การทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงในระยะต้น ๆ ด้วยความถี่สูง (หรือคลื่นสั้น) เช่นนี้ ปรากฏผลว่าการรับฟังในระยะทางใกล้ เช่นในเขตจังหวัดใกล้เคียงกรุงเทพฯ ไม่ใคร่ได้ผลดี เนื่องจากมีอาการจางหาย กองช่างวิทยุกรมไปรษณีย์โทรเลข จึงเปลี่ยนไปทดลองส่งด้วยความถี่ปานกลาง (หรือที่เรียกกันว่าคลื่นยาวในสมัยนั้น) ขนาดความถี่ประมาณ 937.5 กิโลเฮิรตซ์ หรือความยาวคลื่น 320 เมตร ใช้กำลังส่ง 1,000 วัตต์ มีสัญญาณเรียกขานว่า “หนึ่ง หนึ่ง พี.เจ.” (HS 1 1 P J) ปรากฏว่าได้ผลการรับฟังดีกว่าเมื่อใช้ความถี่สูงจึงได้ใช้คลื่นวิทยุขนาดความถี่ปานกลางนี้สำหรับการส่งวิทยุกระจายเสียงภายในประเทศ ส่วนการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงด้วยความถี่สูง คงใช้สำหรับการส่งวิทยุกระจายเสียงไปต่างประเทศเท่านั้น",
"title": "วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย"
},
{
"docid": "228649#15",
"text": "1.3 SW (Shot Wave) ความถี่ 3 -30 MHz คุณภาพเสียงไม่ดี แต่ส่งไปได้ไกลมากนับพันกิโลเมตร จึงสามารถส่งกระจายเสียงได้ถึงข้ามทวีป เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (Radio Thailand) 11.965 MHz และ 9.0655 MHz สถานี BBC ความถี่ที่รับได้ในประเทศไทย 11.910 MHz สถานีวิทยุเสียงอเมริกา หรือ (Voice of America) ความถี่ 11.780 MHz สถานีวิทยุของออสเตเลีย (Radio Australia) ความถี่ 15.40 MHz Radio Japan ความถี่ 15.235 MHz (ยุทธนา สาริยา 2527: 18)",
"title": "คลื่นวิทยุ"
},
{
"docid": "182492#13",
"text": "วิธีการติดต่อสื่อสารในข่ายวิทยุอาสาสมัครเป็นแบบซิมแปล็กซ์ (Simplex) ซึ่งผู้ส่งข่าว จะต้องกดคีย์ที่ไมโครโฟนเพื่อบังคับให้เครื่องส่งวิทยุทำงานส่งก่อน แล้วจึงพูดส่งข้อความไปพร้อมกับคลื่นวิทยุนำสัญญาณ หรือ คลื่นพาห์ (Carrier Wave) เมื่อส่งข้อความจบ จึงจะกล่าวคำว่า “เปลี่ยน” แล้วจึงปล่อยคีย์ เพื่อเปิดโอกาสให้คู่สถานีโต้ตอบกลับมาได้ มีอยู่บ่อยครั้งที่มีการกดคีย์ที่ไมโครโฟนนี้ค้างไว้ ทำให้เครื่องส่งวิทยุนั้นส่งคลื่นวิทยุนำสัญญาณแผ่กระจายออกมาตลอดเวลาทั้งโดยเจตนาเพราะไม่มีวินัยไร้มารยาทในการติดต่อสื่อสาร และทั้งโดยไม่เจตนา เป็นเหตุให้ไม่สามารถใช้ช่องสัญญาณความถี่นั้นติดต่อกันได้ บางทีก็ใช้วิธีกดคีย์ไมโครโฟนเข้าแทรกในจังหวะเวลาช่องว่างระหว่างการสนทนา มีอยู่ครั้งหนึ่ง ในขณะที่กำลังพระราชทานคำแนะนำในด้านวิชาการให้แก่ศูนย์ควบคุมข่าย “สายลม” ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้เวลานานพอสมควร ได้มีการกระทำในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นระยะสั้น ๆ หลายครั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตรวจสอบความแรงของสัญญาณ และความถี่ของสถานีวิทยุที่กดคีย์เข้ามาแล้ว ทรงทราบว่า เป็นสัญญาณที่แปลกปลอมเข้ามา จึงได้รับสั่งให้ผู้ที่กำลังรับฟังพระราชกระแสอยู่ว่า “คงเป็นเพราะเราผูกขาดความถี่มานานพอสมควร คนอื่นอยากเข้ามา ถ้าเข้ามาก็เชิญ วีอาร์-009 เคลียร์ ไม่ต้องเบรก” (เคลียร์=Clear เป็นภาษาพูดของนักวิทยุอาสาสมัครแจ้งความประสงค์ขอเลิกการติดต่อ เบรก=Break เป็นภาษาพูดของนักวิทยุอาสาสมัครแจ้งความประสงค์ขอเข้าแทรกระหว่างการสนทนาในช่องสัญญาณทางวิทยุของคู่สถานีหนึ่ง)",
"title": "กิจการวิทยุอาสาสมัคร"
},
{
"docid": "228649#10",
"text": "การเรียกขนาดของความถี่ บางครั้งอาจเรียกตามความยาวคลื่น ซึ่งหาได้จากความเร็วคลื่นหารด้วยความถี่ เช่น คลื่นวิทยุ FM ความถี่ 100 MHz ความยาวคลื่นจึงเท่ากับ 3 เมตร การทราบขนาดความยาวคลื่นมีประโยชน์สำหรับการเลือกรับคลื่นวิทยุต่างๆ เนื่องจากบางครั้งจะเรียกคลื่นวิทยุตามความยาวคลื่น นอกจากนี้ยังมีประโยชน์สำหรับการเลือกใช้ขนาดแผงสายอากาศที่เหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไป แผงสายอากาศจะใช้ขนาดประมาณ 1 ใน 4 ของความยาวคลื่น",
"title": "คลื่นวิทยุ"
},
{
"docid": "486544#1",
"text": "โปรดระวังว่าหนังสือที่เกี่ยวกับ\n คำว่า Bandwidth ในภาษาอังกฤษอาจมีความหมายว่า ช่วงความถี่ของคลื่นวิทยุ โดยช่วงความถี่ของคลื่นวิทยุจะมีหน่วยเป็น Hertz แต่ว่า Bandwidth ที่มีความหมายถึงอัตราการส่งถ่ายข้อมูลนั้น จะใช้ในหน่วยของ บิตต่อวินาที หนังสือบางเล่มอาจะใช้คำว่า \"bit rate\", \"channel capacity\" and \"throughput\" แทนคำว่า \"Bandwidth \" เพื่อป้องกันการสับสนจากกรณีนี้ เราสามารถมองคำว่า อัตราการส่งถ่ายข้อมูลได้ในแง่มุมต่อไปนี้ ",
"title": "อัตราการส่งถ่ายข้อมูล"
},
{
"docid": "529232#0",
"text": "โทรทัศน์ในประเทศไทย ออกอากาศทางภาคพื้นดินเป็นช่องทางหลัก โดยแพร่ภาพผ่านคลื่นวิทยุ ซึ่งระยะแรกที่ออกอากาศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 เริ่มใช้ย่านความถี่สูงมาก (Very High Frequency; VHF) ซึ่งประกอบด้วย ช่วงความถี่ต่ำ (low band) คือช่องสัญญาณที่ 2-4 และช่วงความถี่สูง (high band) คือช่องสัญญาณที่ 5-12 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2538 จึงเริ่มใช้ย่านความถี่สูงยิ่ง (Ultra High Frequency; UHF) คือช่องสัญญาณที่ 26-60 (ช่วงความถี่ต่ำ (low band) คือช่องสัญญาณที่ 26-34 และช่วงความถี่สูง (high band) คือช่องสัญญาณที่ 35-60) ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มออกอากาศ จนถึง พ.ศ. 2517 ใช้ระบบสัญญาณแอนะล็อก ในการส่งแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที (National Television System Committee; NTSC) ซึ่งกำหนดขึ้นโดย คณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (Federal Communications Committee; FCC ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเต็มเป็น Federal Communications Commission) ต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 จึงเริ่มนำระบบการส่งแพร่ภาพ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที (Phase Alternating Line; PAL) ซึ่งกำหนดขึ้นโดย คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยคลื่นวิทยุ (Consultative Committee on International Radio; CCIR ปัจจุบันคือ ภาควิทยุคมนาคมโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ International Telecommunication Union Radiocommunication Sector; ITU-R) เข้ามาใช้ในประเทศไทย และเริ่มออกอากาศด้วยภาพสี ภายใต้ระบบดังกล่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน",
"title": "โทรทัศน์ในประเทศไทย"
},
{
"docid": "4817#44",
"text": "ในความหมายแรกคือช่องทางที่เป็นสื่อทางกายภาพที่ใช้ส่งสัญญาณระหว่างเครื่องส่งและรับ ตัวอย่างเช่น อากาศในการส่งสัญญาณด้วยเสียง, ใยแก้วนำแสงสำหรับส่งสัญญาณด้วยแสง, สาย coaxial สำหรับส่งสัญญาณด้วยกระแสไฟฟ้าและ อากาศสำหรับส่งสัญาณด้วยแสงที่มองเห็นได้ หรือเป็นคลื่นอินฟราเรด แสงอัลตราไวโอเลต และคลื่นวิทยุ ช่องทางสุดท้ายนี้เรียกว่า \"free space channel\" หมายถึงที่ว่างใดๆ ที่อาจเป็นอากาศหรือสุญญากาศก็ได้ เช่นการส่งคลื่นวิทยุผ่านทาง free space channel นั่นคือ การส่งไปในที่ว่างใดๆ เพราะคลื่นวิทยุเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถเดินทางได้ดีในสุญญากาศเท่าๆกับเดินทางในอากาศ หมอก เมฆ หรือแก๊สบางชนิดที่ไม่ใช่อากาศ ในอีกความหมายของ \"ช่อง\" ในกิจการโทรคมนาคม คือคำว่าช่องสื่อสาร ซึ่งเป็นส่วนย่อยของตัวกลางที่ใช้ส่งหลายๆกระแสข้อมูลไปพร้อมๆกัน ตัวอย่างเช่น สถานีวิทยุหนึ่งสามารถออกอากาศคลื่นวิทยุเข้าไปใน free space ที่ความถี่ในย่าน 94.5 MHz ในขณะที่สถานีวิทยุ อื่นสามารถออกอากาศพร้อมกันด้วยคลื่นวิทยุที่มีความถี่ในย่าน 96.1 MHz แต่ละสถานีจะส่ง คลื่นวิทยุด้วยความกว้างหรือแบนด์วิดท์ประมาณ 180 kHz โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ความถี่ดังกล่าวข้างต้นซึ่งถูกเรียกว่า\"ความถี่คลื่นพาห์\" แต่ละสถานีในตัวอย่างนี้จะถูกแยกออกจากสถานีที่อยู่ใกล้เคียง ห่าง 200 kHz และความแตกต่างระหว่าง 200 khz และ 180 kHz (20 kHz)เป็นค่ายอมรับได้ทางด้านวิศวกรรมสำหรับความไม่สมบูรณ์ของระบบการสื่อสาร เมื่อมีผู้ใช้ ใช้ตัวกลางในการสื่อสารร่วมกัน ความถี่ของเครื่องส่งของแต่ละผู้ใช้ ในตัวอย่างข้างต้น \"free space channel\" ถูกแบ่งออกเป็นสองช่องสื่อสารตามความถี่ และแต่ละช่องมีการกำหนดความถี่ของแบนด์วิดท์ให้แยกจากกันในการออกอากาศคลื่นวิทยุ ระบบการแบ่งสื่อกลางให้เป็นช่องทางตามความถี่นี้เรียกว่า การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ (English: Frequency Division Multiplex) หรือ FDM",
"title": "โทรคมนาคม"
},
{
"docid": "228649#16",
"text": "2.ระบบ เอฟเอ็ม (FM) เป็นการผสมคลื่นทางความถี่ (Frequency Modulation) คือคลื่นวิทยุที่ผสมกับคลื่นเสียงแล้ว จะมีความถี่ไม่สม่ำเสมอ เปลี่ยนแปลงไปตามคลื่นเสียง แต่ความสูงของคลื่นยังคงเดิม วิทยุ FM ส่งด้วยความถี่ 88 -108 MHz ในประเทศไทยมีจำนวนกว่า 100 สถานี กระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ให้คุณภาพเสียงดีเยี่ยม ไม่เกิดสัญญาณรบกวนจากสภาพอากาศแปรปรวน แต่ส่งได้ในระยะประมาณไม่เกินประมาณ 150 กิโลเมตร ปัจจุบันนิยมส่งในแบบ สเตอริโอ ที่เรียกว่าระบบ FM Stereo Multiplex ซึ่งเครื่องรับวิทยุสามารถแยกสัญญาณแอกเป็น 2 ข้าง คือ สัญญาณสำหรับลำโพงด้านซ้าย (L) และ สัญญาณสำหรับลำโพงขวา (R)",
"title": "คลื่นวิทยุ"
},
{
"docid": "61169#0",
"text": "การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ () คือ การส่งสัญญาณจากผู้ส่งหรือสถานีส่งจำนวนหลายๆ สถานีไปในช่องสัญญาณเดียวกัน ด้วยการใช้เทคนิคแบบอะนาล็อกที่เกี่ยวกับช่องสัญญาณของสื่อนำสัญญาณ โดยสัญญาณต่างๆ จะสร้างขึ้นด้วยการมอดูเลตกับพาหะที่มีความถี่ต่างกัน กล่าวคือ เป็นการแบ่งความถี่ของช่องสัญญาณของสื่อนำสัญญาณออกเป็นช่องสัญญาณหรือช่องความถี่ย่อยๆ (Sub Channel) สำหรับนำข้อมูลของแต่ละสถานีส่ง ซึ่งแต่ละสถานีส่งจะส่งข้อมูลภายในช่องสัญญาณหรือความถี่ที่ได้รับเท่านั้น และระหว่างช่องความถี่จะมีการ์ดแบนด์ (Guard Band) เพื่อป้องกันไม่แต่ละช่องความถี่เกิดการแทรกแซงสัญญาณระหว่างกัน ตัวอย่างของการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ เช่น การส่งสัญญาณคลื่นวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ โทรศัพท์เซลลูลาร์แบบอนาล็อก และเพจเจอร์ บริเวณสถานีส่งจะมีอุปกรณ์มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer) ซึ่งทำหน้าที่ในการรับสัญญาณข้อมูลจากสถานีส่งแต่ละสถานี และส่งสัญญาณไปยังย่านความถี่ของสถานีต่างๆ ผ่านสายส่งเพื่อไปยังสถานีปลายทาง ในขณะที่สถานีปลายทางจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่าดีมัลติเพล็กเซอร์ (Demultiplexer) ซึ่งจะทำการแยกสัญญาณคืนกลับตามย่านความถี่ให้สอดคลองกับสถานีต้นทาง สำหรับตัวกลางหรือช่องทางที่ใช้สื่อสารร่วมกัน (Shared Channel) นั้นสามารถเป็นได้ทั้งสายเคเบิลชนิดต่าง รวมถึงคลื่นวิทยุไมโครเวฟ",
"title": "การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่"
},
{
"docid": "273157#5",
"text": "คลื่นวิทยุเกิดจากการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าที่อยู่ในสายอากาศ แล้วแผ่กระจายไปในอากาศ (ลักษณะเดียวกับคลื่นในน้ำ) เป็นลูกคลื่น มียอดคลื่นและท้องคลื่น การเคลื่อนตัวหนึ่งรอบคลื่น หมายถึง จากผิวน้ำ-ขึ้นไปสู่ยอดคลื่น-ตกลงที่ท้องคลื่น-และกลับขึ้นมาเสมอผิวน้ำ ความถี่ของคลื่นวิทยุมีหน่วยต่อวินาที (CPS : Cycle Per Second) เพื่อให้เกียรติแด่ผู้ค้นพบจึงเรียก \"หน่วยต่อวินาที\" ว่า \"เฮิรตซ์\" (Hz) ",
"title": "วิทยุสื่อสาร"
},
{
"docid": "228649#8",
"text": "ชื่อแถบความถี่ ความถี่ การใช้งานในประเทศไทย",
"title": "คลื่นวิทยุ"
},
{
"docid": "19816#8",
"text": "ในตอนนั้น เออร์สเตด ไม่ได้ให้คำอธิบายของปรากฏการณ์อันนั้นให้เป็นที่น่าพอใจได้ และก็ไม่ได้พยายามที่จะนำเสนอปรากฏการณ์ในรูปแบบของคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตาม อีกสามเดือนต่อมา เขาก็เริ่มค้นคว้าหาสาเหตุอย่างจริงจัง ไม่นานเขาก็พิมพ์สิ่งที่เขาค้นพบ พิสูจน์ว่ากระแสไฟฟ้าสร้างสนามแม่เหล็กเมื่อมีกระแสไหลผ่านเส้นลวด คำว่า เออร์สเตด จึงเป็นหน่วยวัดการเหนี่ยวนำของแม่เหล็ก ถูกตั้งให้เป็นเกียรติแก่เขาในฐานะมีคุณูปการต่อวิชาการด้านทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า\nการค้นพบของเออร์สเตดมีผลทำให้มีการค้นคว้าในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์กันอย่างมากมายในเรื่อง พลศาสตร์ไฟฟ้า หรืออิเล็กโทรไดนามิกส์ (electrodynamics; การปฏิสัมพันธ์ระหว่างไฟฟ้าและแม่เหล็ก) สาขานี้มีอิทธิพลต่อนักฟิสิกซ์ชาวฝรั่งเศสชื่อ อ็องเดร-มารี อ็องแปร์ ที่พัฒนารูปแบบทางคณิตศาสตร์แบบเดียวเพื่อแสดงอำนาจแม่เหล็กระหว่างตัวนำหลายตัวที่มีกระแสไหลผ่าน การค้นพบของเออร์สเตดยังเป็นก้าวสำคัญในการทำให้กรอบความคิดเกี่ยวกับพลังงานเป็นหนึ่งเดียว\nการเป็นหนึ่งเดียว ทำให้ไมเคิล ฟาราเดย์ นำไปใช้ ขยายเพิ่มเติมโดยเจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ และสร้างสูตรบางส่วนขึ้นมาโดยโอลิเวอร์ เฮฟวีไซด์ และไฮน์ริช เฮิร์ตซ์ เป็นความสำเร็จอย่างสำคัญสำหรับฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 19 ผลที่ตามมาไปไกลมาก หนึ่งในนั้นก็คือความเข้าใจในธรรมชาติของแสง ไม่เหมือนกับสิ่งที่นำเสนอในทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า แสงและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอื่น ๆ ในปัจจุบันถูกมองว่าอยู่ในรูปของปริมาณที่แน่นอน เป็นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่รังสีออกไปด้วยตัวเองในรูปคลื่นแกว่งไปมาซึ่งถูกเรียกว่าโฟตอน ความถี่ในการแกว่งที่ต่างกันทำให้รูปแบบการแผ่อำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าในรูปแบบที่แตกต่างกัน จากคลื่นวิทยุที่มีความถี่ต่ำสุด ไปจนถึงความถี่ขนาดกลางที่เป็นแสงมองเห็นได้ และความถี่สูงสุดเป็นรังสีแกมมา",
"title": "ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า"
},
{
"docid": "19816#11",
"text": "เนื่องจาก สนามทั้งสองไม่สามารถแยกจากกันได้ จึงควรรวมให้เป็นอันเดียวกัน เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ เป็นผู้รวมสนามไฟฟ้ากับสนามแม่เหล็กเข้าด้วยกันด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ เพียงสี่สมการ ที่เรียกว่า สมการของแมกซ์เวลล์ ทำให้เกิดการพัฒนาฟิสิกส์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19เป็นอย่างมาก และนำไปสู่ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น แสงนั้น อธิบายได้ว่าเป็นการสั่นของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่กระจายออกไป หรือเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั่นเอง ความถี่ของการสั่นที่แตกต่างกันทำให้เกิดรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่แตกต่างกัน เช่น คลื่นวิทยุเกิดจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำ แสงที่มองเห็นได้เกิดจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ปานกลาง รังสีแกมมาเกิดจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง",
"title": "ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า"
}
] |
1591 | สงครามพระเจ้าอลองพญา สู้กันเพื่ออะไร ? | [
{
"docid": "372893#13",
"text": "ขณะที่นักประวัติศาสตร์มีความเห็นโดยทั่วไปว่าการสนับสนุนของอยุธยาต่อกบฏมอญ และการปล้นสะดมข้ามพรมแดนของมอญนั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุของสงคราม แต่ยังไม่มีข้อสรุปถึงแรงจูงใจที่ลึกลับกว่านั้น นักประวัติศาสตร์พม่าสมัยอาณานิคมอังกฤษบางคนลงความเห็นว่าสาเหตุที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงข้ออ้างเท่านั้น และได้เสนอว่าสาเหตุหลักของสงคราม คือ ความปรารถนาของพระเจ้าอลองพญาที่จะฟื้นฟูจักรวรรดิของพระเจ้าบุเรงนองขึ้นอีกครั้ง ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมถึงอาณาจักรอยุธยาด้วย เดวิด ไวอัท นักประวัติศาสตร์ไทย ยอมรับว่าพระเจ้าอลองพญาอาจทรงกลัวการสนับสนุนการฟื้นฟูอาณาจักรหงสาวดีของอยุธยา แต่ได้เสริมว่าพระเจ้าอลองพญานั้นชัดเจนว่าออกจะเป็นชาวชนบทดิบซึ่งมีประสบการณ์ทางการทูตน้อยมาก จึงได้เพียงสานต่อสิ่งต่อพระองค์ได้ทรงแสดงออกมาให้เห็นแล้วว่าพระองค์ทำได้ดีที่สุด ซึ่งก็คือการนำกองทัพไปสู่สงคราม",
"title": "สงครามพระเจ้าอลองพญา"
},
{
"docid": "372893#1",
"text": "ความต้องการครอบครองชายฝั่งตะนาวศรีและการค้าขายในแถบนี้เป็นชนวนเหตุของสงคราม และการให้การสนับสนุนของอยุธยาต่อกบฏมอญแห่งอดีตราชอาณาจักรหงสาวดีฟื้นฟู ราชวงศ์โกนบองที่เพิ่งจะสถาปนาขึ้นใหม่นั้นต้องการจะแผ่ขยายอำนาจเข้าควบคุมชายฝั่งตะนาวศรีตอนบนอีกครั้ง (ปัจจุบันคือ รัฐมอญ) ซึ่งอยุธยาได้ให้การสนับสนุนแก่กบฏชาวมอญและจัดวางกำลังพลไว้ ฝ่ายอยุธยาปฏิเสธข้อเรียกร้องของพม่าที่จะส่งตัวผู้นำกบฏมอญหรือระงับการบุกรุกดินแดนซึ่งพม่ามองว่าเป็นดินแดนของตน",
"title": "สงครามพระเจ้าอลองพญา"
}
] | [
{
"docid": "372893#0",
"text": "สงครามพระเจ้าอลองพญา เป็นชื่อเรียกความขัดแย้งทางทหารครั้งแรกระหว่างอาณาจักรโกนบองแห่งพม่า กับอาณาจักรอยุธยาสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง สงครามครั้งนี้เป็นการจุดชนวนการสงครามนานหลายศตวรรษระหว่างทั้งสองรัฐขึ้นอีกครั้ง ซึ่งจะกินเวลานานไปอีกหนึ่งศตวรรษข้างหน้า ฝ่ายพม่านั้นอยู่ที่ \"ขอบแห่งชัยชนะ\" แล้วเมื่อจำต้องถอนกำลังจากการล้อมอยุธยา เนื่องจากพระเจ้าอลองพญาถูกระเบิดปืนใหญ่สิ้นพระชนม์ พระองค์สวรรคตและทำให้สงครามครั้งนี้ยุติลง",
"title": "สงครามพระเจ้าอลองพญา"
},
{
"docid": "51126#5",
"text": "พระเจ้าอลองพญาเสด็จสวรรคตระหว่างทางกลับจากการทำสงครามกับอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ซึ่งก่อนจะมาสงคราม พระองค์ส่งพระราชสาสน์ถึงสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ แจ้งเหตุสงครามครั้งนี้ โดยอ้างสิทธิของพม่าเหนืออยุธยาแต่ครั้งพระเจ้าบุเรงนอง และอ้างว่าพระองค์เป็นพระเจ้าช้างเผือก หรือพระเจ้าจักรพรรดิ ตามพงศาวดารไทยระบุว่าสวรรคตเพราะปืนใหญ่แตกที่วัดหน้าพระเมรุ แต่ทางพงศาวดารพม่าระบุว่าสวรรคตเพราะประชวร",
"title": "พระเจ้าอลองพญา"
},
{
"docid": "372893#20",
"text": "แผนการรบฝ่ายพม่าคือ การเลี่ยงตำแหน่งที่มีการป้องกันแข็งแรงของฝ่ายอยุธยาตามฉนวนด่านเจดีย์สามองค์-อยุธยา โดยทรงเลือกเส้นทางที่ยาวกว่าแต่มีการป้องกันเบาบางกว่า โดยมุ่งลงใต้ตามตะนาวศรี ข้ามเทือกเขาตะนาวศรีไปยังอ่าวไทย แล้วจึงวกกลับขึ้นเหนือไปยังอยุธยา เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นี้ ฝ่ายพม่าได้รวบรวมกองทัพเรือที่มีเรือกว่า 300 ลำ เพื่อขนส่งทหารบางส่วนไปยังชายฝั่งตะนาวศรีโดยตรง\nพระเจ้าอลองพญาทรงเป็นผู้นำทัพด้วยพระองค์เอง โดยมีพระราชบุตรองค์ที่สอง เจ้าชายมังระ เป็นรองแม่ทัพใหญ่ ส่วนเจ้าชายมังลอก พระราชบุตรองค์โต พระองค์ทรงให้บริหารประเทศต่อไป ส่วนพระราชโอรสที่เหลือนั้นนำทหารราวหนึ่งกองพันทั้งสองพระองค์ นอกจากนี้ที่ติดตามกองทัพไปด้วยนั้นยังมีแม่ทัพยอดฝีมือ ซึ่งรวมไปถึงมังฆ้องนรธา ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ทางทหารอย่างมาก บางคนในราชสำนักสนับสนุนให้เขาผู้นี้อยู่ข้างหลังและมังระนำปฏิบัติการแทน แต่พระเจ้าอลองพญาทรงปฏิเสธ",
"title": "สงครามพระเจ้าอลองพญา"
},
{
"docid": "372893#29",
"text": "แม่ทัพระดับสูงของพม่าเก็บความลับที่ว่าพระเจ้าอลองพญาทรงสิ้นพระชนม์เป็นความลับและสั่งให้มีการถอยทัพทั้งหมด พม่าได้ปกปิดข้อเท็จจริงตรงนี้ไว้โดยอ้างเหตุผลว่าพระมหากษัตริย์นั้นทรงพระประชวรสิ้นพระชนม์ พระเจ้าอลองพญาทรงเลือกพระสหายขณะยังทรงพระเยาว์ มังฆ้องนรธา รับเกียรติบังคับบัญชาทหารกองหลัง ทหารเหล่านี้เป็น \"ทหารชั้นเลิศของกองทัพ\" ประกอบด้วยทหารราบ 6,000 นาย และทหารม้า 500 นาย โดยทุกนายมีปืนคาบศิลาเป็นอาวุธ มังฆ้องนรธาขยายทหารกองหลังออกเป็นแถวยาวแล้วเฝ้าคอย เป็นเวลาสองวันก่อนที่ฝ่ายอยุธยาจะรู้ว่าทัพหลวงพม่าได้ยกกลับไปแล้ว จากนั้นทัพหลวงของอยุธยาได้ยกออกมาจากกรุง ทหารของเขาเฝ้ามองขณะที่ข้าศึกเข้ามาใกล้พวกเขา และกลัวว่าจะถูกตัดขาดจากส่วนที่เหลือของกองทัพ พวกเขาร้องขอแม่ทัพให้ถอยกลับไปเล็กน้อย แต่มังฆ้องนรธากล่าว่า \"สหาย ความปลอดภัยของพระเจ้าอยู่หัวอยู่ในการรักษาของพวกเรา ขอพวกเราอย่าถอย ด้วยเสียงของปืนจะไปรบกวนการบรรทมของพระองค์ท่าน\" ภายใต้การนำของเขา กองทัพพม่าจึงล่าถอยได้เป็นระเบียบเรียบร้อยดี และสามารถรวบรวมผู้พลัดหลงกับกองทัพได้ตลอดทาง",
"title": "สงครามพระเจ้าอลองพญา"
},
{
"docid": "372893#21",
"text": "ตามพงศาวดารพม่า การปะทะกันครั้งแรกในสงครามเกิดขึ้นในช่วงปลายฤดูมรสุมในพรมแดนทวาย ราวเดือนกันยายนหรือตุลาคม พ.ศ. 2302 พระเจ้าอลองพญาทรงได้รับแจ้งว่ามีการโจมตีการขนส่งทางเรือของพม่าโดยอยุธยารอบ ๆ ทวาย และการรุกล้ำเข้าไปยังพรมแดนทวายของอยุธยายังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อพิสูจน์ให้แน่ชัด ซึ่งอาจเป็นข้ออ้างโดยชอบธรรมในการทำสงครามของฝ่ายพม่าได้เป็นอย่างดี แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่ากองทัพอยุธยาได้เตรียมแนวป้องกันด่านหน้าไปแล้วในตอนนั้น",
"title": "สงครามพระเจ้าอลองพญา"
},
{
"docid": "43492#3",
"text": "พระองค์ทรงเป็นผู้ที่เคยติดตามพระบิดาคือ พระเจ้าอลองพญา มาทำสงครามกับอาณาจักรอยุธยาโดยพงศาวดารพม่าได้กล่าวถึงพระเจ้ามังระว่าเป็นผู้เตือนพระบิดาถึงความยากลำบากในการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาที่มีปราการธรรมชาติยิ่งใหญ่ขนาดนี้ หากจะอาศัยแต่กำลังพลแลเสบียงอาหารเท่าที่มีอยู่นั้น เห็นจะไม่สามารถปิดล้อมสายส่งกำลังบำรุงทั้งทางเหนือและใต้ของกรุงศรีอยุธยาได้หมด และหากยุทธปัจจัยของกรุงศรียังบริบูรณ์เราจะไม่มีทางทำอะไรกรุงศรีอยุธยาได้เลย ควรยกทัพกลับไปวางแผนใหม่จะดีกว่า แต่พระเจ้าอลองพญาเชื่อมั่นในความสามารถของพระองค์จึงได้ทำการรบพุ่งต่อสุดท้ายการณ์ก็เป็นอย่างที่พระเจ้ามังระตรัสไว้ แม้พระเจ้าอลองพญาจะพยายามอย่างมาก แต่ก็ไม่สามารถหาทางข้ามแม่น้ำเข้ากรุงศรีอยุธยาได้ ด้วยครั้งนั้นอยุธยายังเพรียบพร้อมไปด้วยอาวุธและกำลังพล อีกทั้งสายส่งกำลังบำรุงจากทางเหนือและใต้ก็ยังสามารถส่งอาหารและกระสุนดินดำเข้าสู่พระนครได้อยู่ แลครั้งนั้นกรุงศรียังได้สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรออกบัญชาการรบด้วยพระองค์เองสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ทั้งทหารและประชาชนในพระนครเป็นอันมาก จนพระเจ้าอลองพญาต้องมาสิ้นพระชนด้วยกระสุนปืนใหญ่แตกใส่(พงศาวดารฝ่ายไทย) หรือหากอิงตามพงศาวดารพม่าก็จะระบุว่าสวรรคตเพราะประชวร",
"title": "พระเจ้ามังระ"
},
{
"docid": "388144#3",
"text": "ในเวลาเดียวกัน ทางอังวะ พระเจ้าอลองพญาสถาปนาตนเองขึ้นครองราชย์ หลังจากปราบปรามมอญได้สิ้น โดยมีพระราชบุตรมังระ (จักรกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม) และมังฆ้องนรธา เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญ ที่ตะนาวศรีทางฝ่ายอยุธยาได้ริบเรือสินค้าของอังวะไป พระเจ้าอลองพญาเห็นเป็นจังหวะเหมาะ ประกอบกับได้สดับรู้ความของพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ของอยุธยาว่า โฉดเขลา ไม่เป็นที่ยอมรับของราษฎร โดยที่พระองค์ต้องการจะทำสงครามเพื่อให้อาณาประชาราษฎร์และสมณชีพราหมณ์ได้เป็นอยู่อย่างเป็นสุข",
"title": "ขุนรองปลัดชู (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "372893#12",
"text": "พระเจ้าอลองพญาทรงกังวลกับกบฏมอญที่หลั่งไหลเข้าไปสู่ดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของอยุธยาอย่างไม่ขาดสาย โดยทรงเชื่อว่าพวกมอญมักจะเตรียมวางแผนก่อกบฏและพยายามชิงเอาพม่าตอนล่างกลับคืนไปเป็นของตน ความกังวลของพระองค์นั้นถูกพิสูจน์แล้วว่าสมเหตุสมผล มอญได้ก่อกบฏขึ้นหลายครั้งในปี พ.ศ. 2301, 2305, 2317, 2326, 2335 และ 2367-69 ซึ่งการกบฏแต่ละครั้งที่ล้มเหลวนั้นจะตามมาด้วยการหลบหนีของมอญเข้าไปยังอาณาจักรของไทย พระเจ้าอลองพญาทรงเรียกร้องให้อยุธยาหยุดให้การสนับสนุนต่อกบฏมอญ ยอมส่งตัวผู้นำมอญ และยุติการส่งกำลังรุกล้ำเข้าไปทางตอนเหนือของตะนาวศรี ซึ่งพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นดินแดนของพม่า พระมหากษัตริย์อยุธยา พระเจ้าเอกทัศ ปฏิเสธข้อเรียกร้องของพม่า และเตรียมพร้อมทำสงคราม",
"title": "สงครามพระเจ้าอลองพญา"
},
{
"docid": "372893#26",
"text": "ถึงแม้ว่าจะได้รับความสูญเสียอย่างหนักที่สุพรรณบุรี กองทัพพม่ายังคงมุ่งหน้าต่อไปยังกรุงศรีอยุธยา ทหารเหล่านี้ไม่สามารถพักผ่อนได้เนื่องจากฤดูมรสุมอยู่ห่างออกไปเพียงเดือนเศษเท่านั้น เนื่องจากอยุธยาล้อมรอบด้วยแม่น้ำหลายสาย การล้อมในฤดูฝนจึงเป็นงานที่น่าหวาดหวั่น ภูมิประเทศโดยรอบจะถูกน้ำท่วมสูงหลายฟุต ทหารพม่าที่ยังเหลือรอดกว่าครึ่งป่วยเป็นโรคบิด และพระเจ้าอลองพญาเองก็เริ่มมีพระพลานามัยไม่ค่อยดีแล้ว",
"title": "สงครามพระเจ้าอลองพญา"
}
] |
3909 | แบคทีเรีย คืออะไร? | [
{
"docid": "5451#0",
"text": "แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแบบ",
"title": "แบคทีเรีย"
}
] | [
{
"docid": "923370#11",
"text": "การดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียนั้นสามารถเกิดขึ้นได้เองทั่วไปในธรรมชาติ โดยมีการค้นพบยีนที่มีมาแต่โบราณซึ่งเป็นยีนทำให้แบคทีเรียเหล่านั้นดื้อต่อยาปฏิชีวนะ โดยยาปฏิชีวนะนั้นอาจเป็นยาที่ถูกผลิตขึ้นมาโดยแบคทีเรียนั้น ๆ ซึ่งยีนที่ทำให้เกิดการดื้อยาดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นรีซิสโตม (resistome) ที่พบการเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ โดยยีนเหล่านั้นอาจถูกถ่ายทอดจากแบคทีเรียที่ไม่ก่อโรคไปยังแบคทีเรียอื่นที่ก่อโรคและทำให้แบคทีเรียที่ได้รับยีนนี้เข้าไปสามารถทนต่อยาปฏิชีวนะได้เช่นกัน",
"title": "แบคทีเรียดื้อยา"
},
{
"docid": "911835#2",
"text": "เป็นที่ทราบกันดีว่ายากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งอาร์บีกาซินก็เป็นหนึ่งในยากลุ่มนี้ จะออกฤทธิ์โดยจับกับหน่วยย่อย 30 เอสบนไรโบโซมของแบคทีเรีย ทำให้ขึ้นตอนการแปลรหัสพันธุกรรมของทีอาร์เอ็นเอนั้นเกิดความผิดพลาด ทำให้แบคทีเรียนั้นๆไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตได้ ส่งผลให้เซลล์แบคทีเรียนั้นตายไปในที่สุด ทั้งนี้ เนื่องจากการขนส่งกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์เข้าสู่เซลล์ของเชื้อแบคทีเรียนั้นจำเป็นต้องมีการใช้พลังงาน ซึ่งแบคทีเรียกลุ่มที่ไม่ต้องการออกซิเจนนั้นมีพลังงานไม่มากพอที่จะใช้ในกระบวนการนี้ ทำให้กลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์มีผลต้านเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้ได้น้อย",
"title": "อาร์บีกาซิน"
},
{
"docid": "923370#16",
"text": "เนื่องจากแบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว ทำให้แบคทีเรียดื้อยาที่แพร่กระจายลงสู่สิ่งแวดล้อมนั้นสามารถเจริญเติบโตและแพร่จำนวนได้มากภายในระยะเวลาอันสั้น ยิ่งไปกว่านั้น แบคทีเรียที่ดื้อยาเหล่านี้ยังสามารถถ่ายทอดยีนดื้อยาไปยังแบคทีเรียสายพันธุ์หรือสเตรนอื่น ๆ ได้ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การถ่ายทอดยีนในแนวราบ (horizontal gene transfer; HGT) ดังนั้น ถึงแม้ว่ายาปฏิชีวนะที่แบคทีเรียดังกล่าวดื้อยาจะไม่ถูกปล่อยลงสู่ธรรมชาติเพิ่มเติมในอนาคต ยีนที่ดื้อยาปฏิชีวนะดังกล่าวก็จะยังคงพบเห็นอยู่ในแบคทีเรียธรรมชาติทั่วไป เนื่องจากแบคทีเรียดังกล่าวจะมีการแบ่งตัวและถ่ายทอดยีนดื้อยาให้กันจากรุ่นสู่รุ่น นอกจากนี้ยังพบว่า มีการแพร่กระจายเป็นวงกว้างของแบคทีเรียดื้อยาในสัตว์ทะเลที่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นที่คาดการณ์กันว่าแบคทีเรียดื้อยาที่พบเหล่านี้อาจเป็นแหล่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาในสิ่งแวดล้อมทางทะเล",
"title": "แบคทีเรียดื้อยา"
},
{
"docid": "808443#1",
"text": "โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียมีสาเหตุจากแบคทีเรียที่เกิดเองตามธรรมชาติในช่องคลอดเกิดเสียสมดุล โดยแบคทีเรียชนิดที่พบบ่อยมากที่สุดเกิดการเปลี่ยนแปลงและจำนวนรวมของแบคทีเรียที่มีเพิ่มขึ้นร้อยเท่าถึงพันเท่า ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ การสวนล้างอวัยวะ การมีคู่สัมพันธ์ทางเพศคนใหม่หรือหลายคน ยาปฏิชีวนะ และการใช้ ห่วงอนามัย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อดังกล่าวไม่นับว่าเป็นการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การวินิจฉัยโรคจะเข้าข่ายต้องสงสัยโดยอาศัยดูจากอาการที่มีและอาจยืนยันว่าเป็นจริงได้ด้วยการตรวจสอบตกขาวแล้วพบว่า ค่าความเป็นกรด-ด่าง ที่ช่องคลอดสูงกว่าปกติและพบแบคทีเรียเป็นจำนวนมากมหาศาล มักเกิดความเข้าใจสับสนกันระหว่างโรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (BV)กับ โรคติดเชื้อยีสต์หรือราในช่องคลอด หรือกับ การติดเชื้อพยาธิหนวดทริโคโมนาส",
"title": "โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย"
},
{
"docid": "911479#19",
"text": "ไทกีไซคลีนได้รับการรับรองให้ใช้ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน (complicated skin and soft tissue infections; cSSTI), การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน (complicated intra-abdominal infections; cIAI) และ โรคปอดอักเสบชุมชนที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (community-acquired bacterial pneumonia; CAP) ในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในสหราชอาณาจักร ยานี้ได้รับการรับรองให้ใช้ได้ในผู้ใหญ่และเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไปในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน (ไม่รวมถึงแผลเบาหวานติดเชื้อแบคทีเรียที่เท้า) และการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน เฉพาะกรณีที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะอื่นที่มีข้อข่งใช้เดียวกัน",
"title": "ไทกีไซคลีน"
},
{
"docid": "923370#5",
"text": "การเพิ่มขึ้นของการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียนั้นมีความสัมพันธ์กับปริมาณการสั่งใช้ยาหรือการใช้ยาดังกล่าว รวมไปถึงการรับประทานยาปฏิชีวนะไม่ครบตามที่ได้ควรได้รับ โดยการสั่งยาใช้ปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมนี้มีสาเหตุมาจากหลายประการ ทั้งจากการที่ผู้ป่วยยืนยันที่จะให้แพทย์สั่งใช้ยาปฏิชีวนะแก่ตน ถึงแม้จะไม่มีข้อบ่งชี้ที่จำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าว และแพทย์บางรายก็อาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะให้แก่ผู้ป่วยของตนตามที่ร้องขอ เนื่องจากไม่มีเวลามากพอที่จะอธิบายให้ผู้ป่วยตระหนักรู้ได้ถึงเหตุผลที่ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาการเจ็บป่วยครั้งนั้น ๆ และในบางกรณี แพทย์ผู้สั่งใช้ยาเองก็ไม่ทราบแน่ชัดว่าเมื่อใดที่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะหรือมีความระมัดระวังมากเกินไปในการสั่งใช้ยาเนื่องมาจากเหตุผลทางการแพทย์ รวมไปถึงเหตุผลทางกฏหมาย นอกจากนี้แล้ว การที่มีระดับความเข้มข้นของยาปฏิชีวนะในร่างกายต่ำมากเกินไปก็อาจก่อให้เกิดการดื้อยาของแบคทีเรียได้ผ่านกระบวนการการเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ของแบคทีเรียนั้น ๆ ส่งผลให้แบคทีเรียดังกล่าวสามารถเจริญเติบโตอยู่ได้ตามปกติถึงแม้จะมีการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะชนิดเดิมที่ให้ความเข้มข้นของยาในกระแสเลือดมากขึ้นกว่าเดิมก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น การดื้อยาของแบคทีเรีย \"Pseudomonas aeruginosa\" และ \"Bacteroides fragilis\" ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์จากการได้รับยาปฏิชีวนะในขนาดที่ให้ความเข้มข้นของยาดังกล่าวในร่างกายต่ำกว่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียดังกล่าว (subinhibitory concentration)",
"title": "แบคทีเรียดื้อยา"
},
{
"docid": "911215#21",
"text": "ทั้งนี้ ไลนิโซลิดเป็ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสืบพันธุ์หรือการเติบโตต่อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ โดยไม่ได้ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยตรง (bacteristatic antibiotic) อย่างไรก็ตาม ยาดังกล่าวจะมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยตรง (bactericidal) ต่อเชื้อแบคทีเรียสกุลสเตรปโตคอกคัส[3][63] การศึกษาบางการศึกษาพบว่า แม้ว่าไลนีโซลิดจะมีฤทธิ์ยับยั้งการเติบโตและการสิบพันธุ์ในการทดลองนอกกายมนุษย์นั้น (in vitro) แต่ไลนีโซลิดกลับมีพฤติกรรมในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยตรงในการทดลองในกายมนุษย์ (in vivo) ด้วยการยับยั้งการผลิตสารพิษบางชนิดของเชื้อแบคทีเรียสกุลสแตฟฟิโลคอคคัส และสกุลสเตรปโตคอกคัส (streptococcus)[29] นอกจากนี้ ไลนิโซลิดยังมีผลหลังการใช้ยาปฏิชีวนะ (post-antibiotic effect) 1 – 4 ชั่วโมงในแบคทีเรียส่วนใหญ่ ซึ่งหมายความว่าการเติบโตของแบคทีเรียได้รับการกดไว้ชั่วคราวแม้จะหยุดใช้ยาดังกล่าวแล้วก็ตาม[17]",
"title": "ไลนิโซลิด"
},
{
"docid": "354232#0",
"text": "สโตรมาโตไลต์ () เป็นโครงสร้างคล้ายหินพิเศษซึ่งมักเกิดจากการงอกพอกพูนในบริเวณน้ำตื้น เกิดขึ้นจากแบคทีเรีย อย่างเช่น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (ไซยาโนแบคทีเรีย) นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากแบคทีเรียและสาหร่ายเซลล์เดียวชนิดอื่นได้อีกด้วย\nเมือกที่แบคทีเรียหลั่งออกมาจะดักจับตะกอนขนาดเล็กเอาไว้ ก่อนที่จะถูกยึดเข้าด้วยกันด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งมาจากแบคทีเรียอีกเช่นกัน ทั้งหมดทำให้เกิดขึ้นเป็นโครงสร้างที่พบเห็นได้ตามชายทะเลบริเวณอ่าวบางแห่ง ไซยาโนแบคทีเรียใช้น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และแสงอาทิตย์เพื่อสร้างอาหาร ตลอดจนได้ผลิตภัณฑ์เป็นก๊าซออกซิเจน ",
"title": "สโตรมาโตไลต์"
},
{
"docid": "19724#25",
"text": "พลังงานในแสงอาทิตย์ถูกพืช ไซยาโนแบคทีเรีย แบคทีเรียสีม่วง แบคทีเรียซัลเฟอร์สีเขียวและโพรทิสต์บางชนิดจับไว้ กระบวนการนี้มักนับรวมกับการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสารอินทรีย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสังเคราะห์ด้วยแสง อย่างไรก็ดี พลังงานที่ถูกจับและระบบการตรึงคาร์บอนสามารถแยกกันทำงานได้ในโปรคารีโอต เช่น แบคทีเรียสีม่วงและแบคทีเรียซัลเฟอร์สีเขียวสามารถใช้แสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงาน ขณะที่เปลี่ยนระหว่างการตรึงคาร์บอนกับการหมักสารอินทรีย์",
"title": "เมแทบอลิซึม"
},
{
"docid": "26342#9",
"text": "ต่อมาในปี ค.ศ. 1928, เซอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง ได้ค้นพบเพนิซิลลิน ซึ่งเป็นสารที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยราเพื่อฆ่าหรือหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียบางชนิด เฟลมมิงทำงานเพื่อช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บจากสงครามและมีการติดเชื้อแบคทีเรียของแผล ในการเพาะเชื้อแบคทีเรียก่อโรคเขาได้ค้นพบโดยบังเอิญว่าถาดเพาะเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในบริเวณที่มีการปนเปื้อนรานั้นไม่มีการเจริญของแบคทีเรียดังกล่าว ซึ่งต่อมาทราบภายหลังว่ารานั้นคือสายพันธุ์ Penicillium chrysogenum [40] เฟลมมิงได้ตั้งสมมติฐานว่าราดังกล่าวอาจหลั่งสารบางอย่างที่มีฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรีย เขาได้นำถาดเพาะเชื้อชิ้นนั้นไปเพาะเลี้ยงต่อ แล้วพบว่าเชื้อรานั้นได้ฆ่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคหลายชนิด และเขาได้ตั้งชื่อสารนั้นว่า เพนิซิลลิน เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1929 เฟลมมิงเชื่อว่าคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรียของสารนี้นั้นอาจเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคติดเชื้อต่างๆ เขาจึงได้เริ่มศึกษาถึงคุณสมบัติทางชีววิทยาของเพนิซิลลินและพยายามที่จะใช้สารสกัดอย่างหยาบ (crude preparation) ที่ได้จากการศึกษาเพื่อรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด แต่อย่างไรก็ตาม เขาไม่สามารถพัฒนาสารนี้เพิ่มเติมต่อไปได้เนื่องจากไม่มีความช่วยเหลือนักเคมีที่มีความรู้และประสบการณ์[41][42]",
"title": "ยาปฏิชีวนะ"
},
{
"docid": "328944#0",
"text": "แบคทีเรียกรัมบวก () เป็นแบคทีเรียที่ย้อมติดสีม่วง (คริสทัลไวโอเลต) ในการย้อมสีกรัม ซึ่งตรงข้ามกับแบคทีเรียกรัมลบที่ไม่ติดสีม่วงของคริสทัลไวโอเลต แต่จะติดสีของสีที่สอง (ซาฟรานินหรือฟุคซีน) แบคทีเรียกรัมบวกสามารถรักษาสีของคริสทัลไวโอเลตได้เพราะในผนังเซลล์มีเปบทิโดไกลแคนมาก และไม่มีเยื่อหุ้มชั้นนอกแบบที่พบในแบคทีเรียกรัมลบ",
"title": "แบคทีเรียกรัมบวก"
},
{
"docid": "750844#0",
"text": "ภาวะเลือดมีแบคทีเรีย () เป็นภาวะที่พบแบคทีเรียในเลือด โดยปกติเลือดเป็นสิ่งแวดล้อมที่ปลอดเชื้อ ดังนั้นการพบแบคทีเรียในเลือดนั้น จึงเป็นเรื่องที่ผิดปกติเสมอ",
"title": "ภาวะเลือดมีแบคทีเรีย"
},
{
"docid": "25367#4",
"text": "เดเมโคลไซคลีนเป็นยาปฏิชีวนะที่ได้รับการรับรองให้ใช้เพื่อการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด อาทิ โรคไลม์ สิวที่เกิดจากแบคทีเรีย]] หลอดลมอักเสบจากแบคทีเรีย เนื่องจากพบการดื้อยาของแบคทีเรียต่อยานี้ได้มากขึ้นในปัจจุบัน จึงพบเห็นการใช้เดเมโคลไซคลีนเพื่อรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียได้ไม่มากเท่าใดนัก",
"title": "เดเมโคลไซคลีน"
},
{
"docid": "26342#36",
"text": "การดื้อต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียนั้นเป็นภาวะฉุกเฉินภาวะฉุกเฉินที่พบเกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกในปัจจุบัน โดยการดื้อต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียเป็นการตอบสนองและการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในขณะที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียนั้นๆ โดยการดื้อยานี้อาจเกิดจากการปรับตัวทางกายภาพหรือทางพันธุกรรมของแบคทีเรียนั้นก็ได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการอยู่รอดของเชื้อเพิ่มขึ้นแม้จะมีการใช้ยาปฏิชีวนะในขนาดที่สูงขึ้นก็ตาม ในบางสภาวะการใช้ยาปฏิชีวนะอาจทำให้เกิดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียดื้อมากขึ้น ในขณะที่แบคทีเรียซึ่งยังมีความไวต่อยาถูกกำจัดออกไป[160] ตัวอย่างเช่น การใช้ยาปฏิชีวนะในการคัดแยกสายพันธุ์แบคทีเรียที่ได้รับการตกแต่งพันธุกรรมด้วยยีนดื้อยาในปี ค.ศ. 1943 โดยเรียกการทดลองนี้ว่า การทดลองของเดลบรัค–ลูเรีย (Luria–Delbrück experiment)[161] สถานการณ์การดื้อต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียในปัจจุบันนี้พบว่า ยาปฏิชีวนะหลายชนิดที่มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อแบคทีเรียหลากหลายสายพันธุ์ในอดีต เช่น เพนิซิลลิน และอิริโทรมัยซิน กลับมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆได้น้อยลง ทั้งนี้เนื่องมาจากอัตราการดื้อต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียมีเพิ่มขึ้นมากกว่าในอดีต[162]",
"title": "ยาปฏิชีวนะ"
},
{
"docid": "26342#39",
"text": "กลไกการดื้อต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียในระดับโมเลเท่าที่ทราบในปัจจุบันนั้น การดื้อยาต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียตั้งแต่กำเนิด (Intrinsic resistance) อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม (genetic makeup) ของแบคทีเรียสายพันธ์นั้น[168][169] ตัวอย่างเช่น ตำแหน่งที่เป็นเป้าหมายการออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะอาจจะหายไปจากจีโนมของแบคทีเรีย ส่วนการดื้อต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียที่เกิดภายหลัง (Acquired resistance) นั้นจะเป็นผลมาจากการกลายพันธุ์ในโครโมโซมของแบคทีเรีย หรือการได้รับยีนดื้อยาจากแบคทีเรียอื่นผ่านทางดีเอ็นเอที่อยู่นอกโครโมโซม (extra-chromosomal DNA)[168] ทั้งนี้ ในแบคทีเรียบางสายพันธุ์ที่สามารถผลิตสารที่ออกฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะได้นั้นจะสามารถดื้อต่อยาปฏิชีวนะดังกล่าวได้อย่างอัตโนมัตและอาจมีการถ่ายทอดความสามารถในการดื้อต่อยาปฏิชีวนะนี้ไปยังแบคทีเรียอื่นๆได้เช่นกัน[170][171] การแพร่กระจายของแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะนั้นส่วนใหญ่จะพบในรูปแบบถ่ายทอดพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่นหรือการติดต่อตามแนวดิ่ง (vertical transmission) และโดยการรวมตัวกันใหม่ของยีน (Genetic Recombination) ในดีเอ็นเอโดยการถ่ายทอดยีนในแนวราบ (Horizontal gene transfer)[164] โดยแบคทีเรียดื้อยาสามารถถ่ายทอดยีนดื้อยาที่ถูกบรรจุอยู่ในพลาสมิดไปยังสเตรนอื่นหรือสายพันธุ์อื่นได้[164][172] โดยพลาสมิดบางชนิดที่บรรจุยีนดื้อยาที่แตกต่างกันไว้หลายยีนสามารถทำให้แบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายขนานได้[172] โดยการดื้อยาปฏิชีวนะข้ามชนิดหนือข้ามกลุ่มกันในเชื้อแบคทีเรียนั้นอาจพบเกิดขึ้นได้ในกรณีที่กลไกการดื้อต่อยาเหล่านั้นถูกควบคุมโดยยีนตำแหน่งเดียวกัน[172]",
"title": "ยาปฏิชีวนะ"
},
{
"docid": "26362#1",
"text": "เป็นที่คาดการณ์กันว่าซิโซมัยซินนั้นเป็นยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก เช่นเดียวกับยาอื่นในกลุ่มนี้ ซิโซมัยซินนั้นมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในห้องปฏิบัติการ โดยความเข้มข้นของซิโซมัยซินที่ฆ่าเชื้อแบทีเรียได้ร้อยละ 90 (MBC) นั้นมีค่าเท่ากันหรือใกล้เคียงกันกับความเข้มข้นต้ำสุดที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ในห้องปฏิบัติการ (MIC). ยิ่งไปกว่านั้น เชื้อแบคทีเรีย \"Pseudomonas aeruginosa\" ที่แยกได้จากห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่ยังตอบสนองต่อซิโซมัยซินได้ดี การดื้อต่อยาซิโซมัยซินของแบคทีเรียนั้นอาจเป็นผลมาจากทั้งโดยการสร้างเอนไซม์หรือด้วยกลไกที่ไม่ใช่เอนไซม์ ทั้งนี้ ซิโซมัยซินสามารถถูกทำให้หมดฤทธิ์ได้โดยเอนไซม์เดียวกันที่ทำให้เจนตามัยซินหมดฤทธิ์ อย่างไรก็ตาม เชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่ที่ดื้อต่อเจนตามัยซินนั้นยังคงตอบสนองต่อซิโซมัยซินได้ดี ทั้งนี้เป็นผลเนื่องจากกลไกการดื้อต่อเจนตามัยซินของแบคทีเรียเหล่านั้นเป็นกลไกที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับการสร้างเอนไซม์ออกมาเปลี่ยนแปลงตัวยา",
"title": "ซิโซมัยซิน"
},
{
"docid": "853013#0",
"text": "แบคทีเรียก่อโรคหมายถึงกลุ่มหนึ่งของแบคทีเรียที่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ (บทความนี้จะเน้นแบคทีเรียที่ก่อโรคในมนุษย์)",
"title": "แบคทีเรียก่อโรค"
},
{
"docid": "25437#19",
"text": "ซิฟิลิส จากการติดเชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum โรคคุดทะราด ที่มีสาเหตุจากแบคทีเรีย Treponema pertenue โรคติดเชื้อลิสเทอเรีย จากแบคทีเรียสายพันธุ์ Listeria monocytogenes โรคติดเชื้อวินเซนต์ (Vincent's infection) ที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย Fusobacterium fusiforme โรคแอคติโนมัยโคสิส จากการติดเชื้อแบคทีเรีย Actinomyces israelii โรคติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียในสกุลคลอสทริเดียม",
"title": "ดอกซีไซคลีน"
},
{
"docid": "875623#0",
"text": "วิทยาแบคทีเรีย () เป็นสาขาเฉพาะแขนงหนึ่งของชีววิทยาที่ศึกษาด้านสัณฐานวิทยา นิเวศวิทยา พันธุศาสตร์ และชีวเคมีของแบคทีเรีย วิทยาแบคทีเรียเป็นส่วนหนึ่งของจุลชีววิทยาซึ่งมีการจำแนก การจัดหมวดหมู่ลักษณะจำเพาะของแบคทีเรียแต่ละสปีชีส์",
"title": "วิทยาแบคทีเรีย"
},
{
"docid": "25437#13",
"text": "โรคไข้พุพองเทือกเขาร็อกกี, ไข้รากสาดใหญ่ และไข้ไทฟัสชนิดอื่นๆ, โรคไข้คิว,[46] โรคฝีริคเค็ทเซีย, และโรคไข้เห็บที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียสกุลริคเค็ทเซีย การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุมาจาก Mycoplasma pneumoniae[47] กามโรคต่อมน้ำเหลือง หรือฝีมะม่วง, โรคริดสีดวงตา ซึ่งรวมไปเยื่อตาอักเสบจากแบคทีเรีย, และการติดเชื้อแบคทีเรีย Chlamydia trachomatis ในท่อปัสสาวะ, มดลูก หรือไส้ตรง ในกลุ่มประชากรผู้ใหญ่ที่มีพยากรณ์ของโรคไม่ซับซ้อน โรคนกแก้ว (Psittacosis) ท่อปัสสาวะอักเสบจากแบคทีเรียที่ไม่ใช่โกโนคอคคอล เช่น Ureaplasma urealyticum ไข้กลับซ้ำ ที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย Borrelia recurrentis แผลริมอ่อน ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Haemophilus ducreyi กาฬโรค จากการติดเชื้อ Yersinia pestis โรคทูลาริเมีย (Tularemia) อหิวาตกโรค การติดเชื้อแบคทีเรีย Campylobacter fetus โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) ที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียในสกุล Brucella (โดยให้การรักษาร่วมกับสเตรปโตมัยซิน) โรคบาร์โตเนลโลสิส (Bartonellosis) หรือโรคไข้แมวข่วน (Cat scratch fever) แผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ (Granuloma inguinale) (จากการติดเชื้อแบคทีเรียในสกุล Klebsiella) โรคไลม์ [48]",
"title": "ดอกซีไซคลีน"
},
{
"docid": "750844#2",
"text": "ภาวะเลือดมีแบคทีเรียอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้หลายอย่าง เช่น ปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อการมีแบคทีเรียในเลือดอาจทำให้เกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ หรือลุกลามเป็นภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ ซึ่งมีอัตราการตายสูง เชื้อแบคทีเรียในเลือดอาจแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อในส่วนอื่นๆ ได้ เช่น เยื่อบุหัวใจอักเสบ หรือกระดูกและไขกระดูกอักเสบ ซึ่งมักเกิดตามมาจากการมีแบคทีเรียในเลือด ในกรณีที่มีความเสี่ยงเช่นนี้ อาจมีการให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ หรือการป้องกันด้วยการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันได้",
"title": "ภาวะเลือดมีแบคทีเรีย"
},
{
"docid": "26342#51",
"text": "เฟจเพื่อการรักษาโรค เป็นการรักษาอีกวิธีหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ โดยการรักษาแบบเฟจเพื่อการรักษาโรคนี้จะเป็นการทำให้แบคทีเรียก่อโรคนั้นๆเกิดการติดเชื้อไวรัสที่มีแบคทีเรียดังกล่าวเป็นโฮสต์จำเพาะ โดยไวรัสดังกล่าวจัดเป็นแบคเทอริโอฟาจ (bacteriophage) หรือเรียกโดยย่อว่า ฟาจ เป็นไวรัสที่ต้องอาศัยอยู่กับเซลล์ของแบคทีเรียเพื่อการเจริญและเพิ่มจำนวน โดยฟาจแต่ละชนิดจะมีความจำเพาะต่อแบคทีเรียสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งเป็นอย่างมาก ดังนั้นฟาจดังกล่าวจึงไม่ส่งผลกระทบต่อจุลชีพอื่นๆ หรือจุลชีพประจำถิ่นในทางเดินอาหารของโฮสต์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่พบไม่ได้ในยาปฏิชีวนะที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน[202] แบคเทอริโอฟาจสามารถทำให้แบคทีเรียก่อโรคเกิดการติดเชื้อได้และส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตหรือฆ่าเซลล์แบคทีเรียนั้นๆ ได้โดยการทำให้เกิดการแตกออกของเซลล์ (lytic cycle)[202][203] โดยฟาจจะเข้าจับกับเซลล์แบคทีเรียและแทรกสอดดีเอ็นเอของตนเข้าไปในเซลล์นั้น ซึ่งดีเอ็นเอเหล่านั้นจะถูกถอดรหัสพันธุกรรมและสังเคราะห์ส่วนประกอบชีวภาพของฟาจใหม่ขึ้นภายในเซลล์ของแบคทีเรีย ทำให้มีฟาจใหม่เกิดขึ้นภายในเซลล์แบคทีเรียจำนวนมาก จนเกิดการแตกออกของเซลล์นั้นๆในที่สุด โดยฟาจใหม่ที่เกิดขึ้นนี้จะเข้าทำลายเซลล์อื่นของแบคทีเรียในสายพันธ์เดิมด้วยกระบวนการข้างต้นต่อไป[203] การที่ฟาจมีความจำเพาะต่อแบคทีเรียสายพันธุ์หนึ่งๆเป็นอย่างมากนี้จะช่วยให้แบคทีเรียอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อโฮสต์ไม่ถูกทำลายไปด้วย อย่างไรก็ตาม การใช้ฟาจในการรักษานี้ก็มีข้อเสียเช่นเดียวกันกับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ โดยจีโนมที่ฟาจแทรกสอดเข้ามาในเซลล์ของแบคทีเรียนั้นอาจมียีนหรือสารอื่นที่ก่อให้เกิดพิษสอดแทรกอยู่ ดังนั้น จึงต้องมีการศึกษาและจำแยกยีน สารประกอบหรือสารพิษต่างๆจากฟาจนั้นอย่างละเอียดและรอบคอบก่อนนำมาใช้ในทางคลินิก นอกจากนี้ การศึกษาเกี่ยวกับการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียด้วยฟาจนั้นพบว่าการบริหารยาทางช่องปากและการฉีดเข้าหลอดเลือดดำนั้นมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่สูงกว่าการบริหารยาโดยการทาบนพื้นผิว (topical application) และมีความกังวลเกียวกับการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่แน่นอนต่อฟาจที่จัดเป็นแอนติเจนต่อร่างกายนี้ รวมไปถึงอุปสรรคด้านกฎหมายและจริยธรรมมากมายที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้รองรับและสอดคล้องกับการใช้เฟจเพื่อรักษาโรค[202] ถึงกระนั้น การใช้แบคเทอริโอฟาจเพื่อทดแทนยาต้านจุลชีพในการรักษาโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อดื้อยาหลายชนิดที่ไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะแบบเดิมๆ ก็ยังคงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจแม้ว่าจะมีความท้าทายมากมายก็ตาม[202][204]",
"title": "ยาปฏิชีวนะ"
},
{
"docid": "59247#4",
"text": "โคลิฟอร์มแบคทีเรีย เป็นแบคทีเรียชี้แนะ (Bacteriological indicator) ซึ่งถ้าตรวจพบในน้ำก็แสดงว่าน้ำนั้นน่าจะไม่ปลอดภัย คืออาจมีเชื้อโรคอยู่ในน้ำ ซึ่งคุณสมบัติของแบคทีเรียชี้แนะที่ดีมีดังนี้",
"title": "แบคทีเรียโคลิฟอร์ม"
},
{
"docid": "391957#0",
"text": "แบคทีเรียแกรมลบ (English: Gram-negative bacteria) เป็น แบคทีเรีย ที่ไม่สามารถรักษาสีคริสทัลไวโอเลต ในการย้อมสีแบบแกรมได้[1] ในการย้อมสีแบบแกรม สีตรงข้าม (ปกติคือ ซาฟรานิน) ซึ่งเดิมทีหลังคริสทัลไวโอเลต จะติดสีแบคทีเรียแกรมลบให้เป็นสีแดงหรือสีชมพู วิธีนี้เป็นประโยชน์ในการจำแนกแบคทีเรียขั้นต้น โดยใช้ความแตกต่างของผนังเซลล์ แบคทีเรียแกรมบวก จะยังคงรักษาสีม่วงของคริสตัลไวโอเลตได้แม้จะใช้สารชะสีออกแล้ว",
"title": "แบคทีเรียแกรมลบ"
},
{
"docid": "356198#0",
"text": "ไซยาโนแบคทีเรีย หรือ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue-green algae หรือ cynobacteria) จัดอยู่ในไฟลัม Cynobacteria ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้ สาหร่ายชนิดนี้มีโครงสร้างของนิวเคลียสคล้ายคลึงกับนิวเคลียสของแบคทีเรีย และบางชนิดยังมีคุณสมบัติตรึงไนโตรเจนในอากาศได้ นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติทางชีวเคมีคล้ายแบคทีเรียด้วย แต่ต่างจากแบคทีเรีย เพราะสาหร่ายชนิดนี้มีคลอโรฟิลล์เอ และมีการปล่อยออกซิเจนออกสู่สิ่งแวดล้อมจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งไม่พบในแบคทีเรีย",
"title": "ไซยาโนแบคทีเรีย"
},
{
"docid": "26342#28",
"text": "โดยปกติแล้วการแบ่งกลุ่มยาปฏิชีวนะนั้นจะแบ่งตามกลไกการออกฤทธิ์, โครงสร้างทางเคมี หรือขอบเขตการออกฤทธิ์ โดยมีเป้าหมายการออกฤทธิ์มุ่งไปที่การขัดขวางการทำงานในระดับเซลล์หรือการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย[16] ซึ่งเป้าหมายเหล่านั้นอาจเป็นผนังเซลล์ (กลุ่มเพนิซิลลิน และกลุ่มเซฟาโลสปอริน) หรือเยื่อหุ้มเซลล์ (พอลีมิกซิน) หรือรบกวนการทำงานของเอนไซม์ที่จำเป็นของแบคทีเรีย (กลุ่มไรฟามัยซิน, กลุ่มลิปิอาร์มัยซิน, กลุ่มควิโนโลน, และกลุ่มซัลโฟนาไมด์) โดยที่ออกฤทธิ์ที่ตำแหน่งดังข้างต้นนั้นจะมีคุณสมบัติเป็น ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (bactericidal antibiotic) ส่วนยาปฏิชีวนะอื่นที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย (กลุ่มแมโครไลด์, กลุ่มลินโคซาไมด์ และเตตราไซคลีน) จะเป็น ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อแบคทีเรีย (bacteriostatic antibiotic) ยกเว้นกลุ่มอะมิโมไกลโคไซด์ที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย[99] นอกเหนือไปจากนี้มักเป็นการแบ่งตามความจำเพาะในการออกฤทะกับเป้าหมาย ยกตัวอย่างเช่น ยาปฏิชีวนะที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์แคบ (Narrow-spectrum antibiotics) จะหมายถึงยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อแบคทีเรียกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อาทิ แบคทีเรียแกรมลบ หรือแบคทีเรียแกรมบวก เป็นต้น ในขณะที่ ยาปฏิชีวนะที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์กว้าง (Broad-spectrum antibiotics) จะออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียได้หลายกลุ่ม นอกเหนือจากการแบ่งกลุ่มดังข้างต้น ได้มีการคิดค้นพัฒนายาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งหากย้อนไปในอดีตราว 40 กว่าปีที่แล้วตั้งแต่ที่มีการค้นพบสารประกอบกลุ่มใหม่ที่มีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรีย ก็ไม่ได้มีการค้นพบยาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้นเท่าใดนัก จนกระทั่งในช่วงปลายคริสต์ทศวรรตที่ 2000 และต้นคริสต์ทศวรรตที่ 2010 ได้มีการพัฒนาคิดค้นยาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่ขึ้นได้สำเร็จและถูกนำมาใช้ทางคลินิกมากถึง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มไลโปเพปไทด์ (เช่น แดพโตมัยซิน), กลุ่มไกลซิลไซคลีน (เช่น ไทกีไซคลีน), กลุ่มออกซาโซลิไดโอน (เช่น ไลนิโซลิด), และ กลุ่มลิปิอาร์มัยซิน (เช่น ฟิแดกโซมัยซิน)[100][101]",
"title": "ยาปฏิชีวนะ"
},
{
"docid": "26342#26",
"text": "ผลลัพธ์ที่ดีจากการได้รับการรักษาด้วยาปฏิชีวนะนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ระบบภูมิคุ้มกันของแต่ละคน, ตำแหน่งที่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย, และคุณสมบัติทางเภสัชพลศาสตร์และเภสัชจลนศาสตร์ของยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษา[90] ฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของยาปฏิชีวนะนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรค และอัตราการเกิดเมแทบอลิซึมภายในเซลล์ของแบคทีเรีย รวมไปถึงความเร็วในการแบ่งตัวของแบคทีเรียชนิดนั้นๆอีกด้วย[91] โดยปัจจัยที่กล่าวมาดังข้างต้นล้วนเป็นผลลัพธ์ที่ได้มาจากการศึกษาทดลองภายในห้องปฏิบัติการและล้วนให้ผลที่สอดคล้องกับการบำบัดรักษาจริงในทางคลินิก[90][92] ทั้งนี้ เนื่องจากการออกฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียของยาปฏิชีวนะนั้นขึ้นอยู่กับความเข้นข้นของยาปฏิชีวนะชนิดนั้นๆ[93] การศึกษานอกร่างกายมนุษย์ ซึ่งทดลองภายในห้องปฏิบัติการ (in vitro) ได้มีการจำแนกประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของยาปฏิชีวนะโดยใช้ ความเข้มข้นของยาต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (minimum inhibitory concentration; MIC) และ ความเข้มข้นยาต่ำสุดที่ฆ่าแบคทีเรียได้ร้อยละ 90 (minimum bactericidal concentration; MBC)[90][94] โดยใช้ค่าดังกล่าว ร่วมกับคุณสมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาปฏิชีวนะชนิดนั้นๆ และคุณลักษณะอื่นทางเภสัชวิทยาในการทำนายประสิทธิภาพและผลลัพธ์การรักษาของยาปฏิชีวนะชนิดใดชนิดหนึ่งในทางคลินิก[95]",
"title": "ยาปฏิชีวนะ"
},
{
"docid": "923370#14",
"text": "นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่บ่งชี้ได้ว่าโลหะหนัก และสารก่อมลพิษอื่น ๆ อาจมีส่วนในการทำให้เกิดการแพร่กระจายของแบคทีเรียดื้อยาได้โดยโลหะหนักและสารพิษเหล่านั้นจะทำให้แบคทีเรียที่ไม่ดื้อยาไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่ในทางตรงกันข้าม แบคทีเรียที่ดื้อยาจะไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าวและจะมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นเพื่อทดแทนแบคทีเรียไม่ดื้อยาที่ลดจำนวนลงไป",
"title": "แบคทีเรียดื้อยา"
},
{
"docid": "911479#2",
"text": "ไทกีไซคลีนถูกใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน (complicated skin and structure infections), การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน (complicated intra-abdominal infections) และ โรคปอดอักเสบชุมชนที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (community-acquired bacterial pneumonia) ขอบข่ายการออกฤทธิ์ของไทกีไซคลีน ดังแสดงต่อไปนี้\nการบริหารยาไทกีไซคลีนนั้นสามารถบริหารยาได้เฉพาะการฉีดเข้าหลอดเลือดดำเท่านั้น โดยยานี้มีขอบข่ายการออกฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบหลายสายพันธุ์ นอกจากนี้แล้วยังออกฤทธิ์ครอบคลุมถึงจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจนได้บางชนิด โดยส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะอื่นที่มีใช้อยู่ก่อน เช่น methicillin-resistant \"Staphylococcus aureus\" (MRSA) และ \"Acinetobacter baumannii\" แต่ไม่มีผลต่อเชื้อสกุล \"Pseudomonas\" \"spp\". และ \"Proteus\" \"spp\". ปัจจุบันไทกีไซคลินผ่านการทดลองทางคลินิกในขั้นที่ 3 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้รับการรับรองให้ใช้ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน, การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน และ โรคปอดอักเสบชุมชนที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยพบว่ายานี้ในรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำมีประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อนได้เทียบเท่ากับแวนโคมัยซินและแอซทรีโอนัมรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำเป็นอย่างน้อย และมีประสิทธิภาพเทียบเคียงได้กับอิมมิพีเนม/ซิลลาสตาตินในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน",
"title": "ไทกีไซคลีน"
},
{
"docid": "26342#52",
"text": "ในการคิดค้นและพัฒนายาต้านจุลชีพชนิดใหม่นั้น พืชถือว่าเป็นแหล่งที่มาสำคัญของสารประกอบที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียซึ่งอาจนำมาพัฒนาต่อยอดได้ ดังจะเห็นได้จากการใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อการป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อจุลชีพต่างๆ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงในปัจจุบัน[205][206] โดยในปัจจุบัน การพัฒนายาต้านจุลชีพใหม่หลายชนิดนั้นมีแนวโน้มที่จะมุ่งความสนใจไปยังการค้นคว้าสารประกอบจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพ โดยเรียกสารเหล่านั้นว่าเป็นสารในกลุ่ม 'antibiotic-ome' (ซึ่งมีการให้นิยามว่าหมายถึง ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย) ซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมากสำหรับการค้นคว้ายาต้านเชื้อแบคทีเรียในยุคปัจจุบันที่มีการศึกษาลึกถึงระดับจีโนม[193][207] โดยสารในพืชสมุนไพรที่ค้นพบว่ามีฤทธิ์ทางยานั้นจะถูกเรียกว่า สารพฤกษเคมี ซึ่งสารพฤกษเคมีบางชนิด ได้แก่ แทนนิน แอลคาลอยด์ เทอร์พีนอยด์ และฟลาโวนอยด์ พบว่ามีสมบัติในการต้านแบคทีเรียด้วย[205][208][209] นอกจากนี้ ผลการทดลองในเนื้อเยื่อนอกร่างกายมุนษย์ (in vitro) ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระบางชนิดที่มีส่วนประกอบเป็นสารพฤกษเคมี (สารกลุ่มโพลีฟีนอล) เช่น สารสกัดจากเมล็ดองุ่น พบว่าก็มีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรียเช่นกัน[210][211][212] โดยสารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียเหล่านี้มีกลไกการออกฤทธิ์ที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปขึ้น โดยอาจออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์เปบทิโดไกลแคนซึ่งเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์แบคทีเรีย ทำให้เกิดความเสียหายต่อเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย ปรับเปลี่ยนสมบัติความไม่เข้ากันกับน้ำ (hydrophobicity) ของพื้นผิวเยื่อหุ้มเซลล์แบคทีเรีย หรืออาจกระตุ้นระบบควอรัมเซนซิง (quorum-sensing) ของแบคทีเรียให้ผลิตสารที่เป็นสัญญาณระบุตำแหน่งที่เอื้อต่อการออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะ[208] อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในปัจจุบันอุบัติการณ์และความรุนแรงของการเกิดแบคทีเรียดื้อยาจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก แต่ยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ที่เป็นอนุพันธ์ของสารประกอบจากสมุนไพรซึ่งได้รับการคาดหวังว่าจะช่วยบรรเทาความรุนแรงของภาวะฉุกเฉินดังกล่าวลงนั้น ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาค้นคว้าในห้องปฏิบัติการเท่านั้น[207]",
"title": "ยาปฏิชีวนะ"
}
] |
392 | เอ็มทีวีไทยแลนด์ ออกอากาศครั้งแรกที่สถานีโทรทัศน์ใด? | [
{
"docid": "96843#1",
"text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ออกอากาศครั้งแรกบนช่อง 49 เครือยูบีซี ต่อมาย้ายมาช่องยูบีซี 32 ต่อมา เอ็มทีวีไทยแลนด์ประกาศย้ายการออกอากาศในไทยวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 จากเคเบิลทีวี ช่องทรูวิชั่นส์ไปแพร่ภาพทางทีวีดาวเทียม ดีทีเอช[1] หรือรับชมผ่านเคเบิลทีวีท้องถิ่น ขณะนี้เอ็มทีวีไทยแลนด์ ได้ย้ายการออกอากาศจากสไมล์ทีวี เน็ตเวิร์ค โดยได้กลับมาออกอากาศ ทาง ทรูวิชั่นส์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ย้ายมาอยู่ช่อง 85 เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553 ออกอากาศในวันสุดท้ายของคืนวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ปัจจุบันเอ็มทีวีได้กลับมาออกอากาศใหม่อีกครั้งทางช่องทรูวิชันส์ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556 โดยถ่ายทอดสัญญาณของเอ็มทีวีเอเชียมา และออกอากาศอย่างเป็นทางการผ่านระบบซีแบนด์ (ที่ได้รับสัมปทานความถี่ช่องดาวเทียมของ อสมท.) และเคยูแบนด์ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 กลับมาฉายอีกครั้งในรูปแบบเอ็มทีวีไทยแลนด์",
"title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์"
}
] | [
{
"docid": "207530#1",
"text": "วู้ดดี้เคยย้ายไปอยู่นิวยอร์กได้สัมผัสกับวงการบันเทิง จึงรู้สึกชื่นชอบ ต่อมาได้มาเป็นดีเจจากการชักชวนของเพื่อน หลังจากนั้นเป็นพิธีกร เคยเป็นวีเจทางช่องเอ็มทีวีไทยแลนด์ และเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์หลายรายการ ต่อมาในปี 2547 วู้ดดี้ได้ก่อตั้งบริษัท ดับเบิ้ลยู เน็ตเวิร์ค จำกัด และภายหลังในปี 2552 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท วู้ดดี้เวิลด์ จำกัด ผลิตรายการโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันได้แก่ รายการวู้ดดี้ เกิดมาคุย และรายการเช้าดูวู้ดดี้ ทั้งสองรายการออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ต่อมาวู้ดดี้ วุฒิธร มิลินทจินดา ออกมาประกาศยุติรายการชื่อดัง วู้ดดี้ เกิดมาคุย ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องถึง 9 ปี โดยจะออกอากาศตอนสุดท้ายในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 โดยเป็นเทปของการบุกบ้านตลากลูกสี่ เปิ้ล นาคร",
"title": "วุฒิธร มิลินทจินดา"
},
{
"docid": "214921#0",
"text": "ไลฟ์ออฟไรอัน () เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ ที่ตามติดชีวิตนักสเกตบอร์ดอาชีพที่ชื่อ ไรอัน เช็กเลอร์ โดยในแต่ละตอนมีความยาวประมาณ 22 นาที เป็นเรื่องราวชีวิตของไรอัน และครอบครัวของเขา รวมถึงเพื่อน ในเรื่องราวของครอบครัว การหาแฟน รวมถึงในฐานะโปรสเกตบอร์ด โดยส่วนมากของหลาย ๆ ตอนจะถ่ายทำในละแวกบ้านของเช็กเลอร์ในแซนเคลเมนที รัฐแคลิฟอร์เนียรายการผลิตโดยคาร์โบนเอนเทอร์เทนเมนต์ ให้กับทางเอ็มทีวี ออกอากาศทางเอ็มทีวี, เอ็มทีวี 2, เอ็มทีวียุโรป, เอ็มทีวีโปแลนด์, เอ็มทีวีเอเดรีย, เอ็มทีวีฮังการี, เอ็มทีวีโรมาเนีย, เอ็มทีวีโปรตุเกส, เอ็มทีวีเซ็นทรัล, เอ็มทีวีแคนาดา, เอ็มทีวีอิตาลี, เอ็มทีวีนิวซีแลนด์ ,เอ็มทีวียูเค, เอ็มทีวีลาตินอเมริกา, เอ็มทีวีเอเชีย และเอ็มทีวีไทยแลนด์ โดยออกอากาศครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2007 เวลา 22.30 น่. หลังจากนั้นออกอากาศฤดูกาลที่สองเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 2008",
"title": "ไลฟ์ออฟไรอัน"
},
{
"docid": "96843#0",
"text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ (English: MTV Thailand) เป็นสถานีโทรทัศน์ทางดนตรีในประเทศไทย ปัจจุบันบริหารงานโดยบริษัท อันลิมิเต็ด คอนเท้นท์ จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 โดยรายการแรกที่ออกอากาศคือรายการ เอ็มทีวีไทยแลนด์ฮิตลิสต์ ดำเนินรายการโดย วีเจแองจี้ ส่วนมิวสิกวิดีโอเพลงแรกที่เปิดคือ เพลงพันธ์ทิพย์ ของโลโซ สำหรับกลุ่มเป้าหมายหลักของเอ็มทีวีไทยแลนด์คือวัยรุ่นกินอาณาเขตตั้งแต่วัยรุ่นตอนต้น-ตอนปลาย อายุตั้งแต่ 12-25 ปี และกลุ่มเป้าหมายรองคืออายุตั้งแต่ 25-35 ปี",
"title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์"
},
{
"docid": "249821#2",
"text": "มิวสิกวิดีโอของเพลงบิลลี จีน ออกอากาศทางเอ็มทีวี ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นสถานีโทรทัศน์ช่องเล็ก ในครั้งแรกเอ็มทีวีปฏิเสธที่จะออกอากาศ เนื่องจากนโยบายการเหยียดผิว แต่ด้วยอิทธิพลของผู้บริหารของซีบีเอส ต้นสังกัดของไมเคิล แจ็กสัน เป็นผู้กดดันให้เอ็มทีวีต้องตัดสินใจยอมออกอากาศในที่สุด นับเป็นผลงานชิ้นแรกของศิลปินผิวดำที่ได้ออกอากาศผ่านทางเครือข่าย และได้รับความนิยม ทำให้สถานีนี้เริ่มได้รับความนิยม",
"title": "บิลลี จีน"
},
{
"docid": "96843#7",
"text": "ไวอาคอมอินเตอร์เนชันแนลมีเดียเนตเวิร์กเอเชีย ประกาศข้อตกลงให้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยเด็ดขาดกับ บริษัท แอปเปิลทูล บริษัทในเครือวีอาร์วันมีเดียกรุป ทำให้เอ็มทีวีไทยแลนด์กลับมาออกอากาศในประเทศไทย โดยถ่ายทอดสัญญาณของเอ็มทีวีเอเชียมา เริ่มทดลองออกอากาศเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556 ทางทรูวิชั่นส์ ช่อง 59 สำหรับแพ็กเกจฟรีวิว และจานดาวเทียม ไทยคม 5 ระบบซีแบนด์ และออกอากาศอย่างเป็นทางการวันที่ 1 พฤษภาคม ในปีเดียวกัน ผ่านระบบดาวเทียมฟรีแบนด์ และเคยูแบนด์[11] หลังจากนั้นเอ็มทีวีไทยแลนด์กลับมาออกอากาศ ภายใต้บริษัท อันลิมิเต็ด คอนเท้นท์ จำกัด เกิดจากการร่วมทุนระหว่าง บริษัท ดีเอ็นเอ 2002 จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วน 50% กับทางนายกุลพงศ์ บุนนาค และนายอมฤต ศุขวณิช อีก 50% ด้วยทุนจดทะเบียนเบื้องต้น 20 ล้านบาท โดยได้รับสิทธิ์ดูแลเอ็มทีวีไทยแลนด์ 5 ปี[12]",
"title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์"
},
{
"docid": "119721#6",
"text": "ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550 สมาคมฯ มีมติให้ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิก จัดเรียงช่องรายการที่ออกอากาศ ให้เป็นรูปแบบเดียวกันในช่อง 21-40 รวมทั้งสิ้น 20 ช่องคือ ช่อง 21 เอ็มไอซี, ช่อง 22 เอ็มวีทีวี, ช่อง 23 ฮิต สเตชัน, ช่อง 24 เอช พลัส แชนแนล, ช่อง 25 สตาร์ แชนแนล, ช่อง 26 เอ็มวีนิวส์, ช่อง 27 เอส สเตชัน, ช่อง 28 เนชั่น แชนแนล, ช่อง 29 เอชเอสเอ, ช่อง 30 มันนีแชนแนล, ช่อง 31 นิวส์วัน, ช่อง 32 ไทยแลนด์ เอาต์ลุก แชนแนล, ช่อง 33 เอเอสทีวี 3 แฮปปี วาไรตี แชนแนล, ช่อง 34 อีสาน ดิสคัฟเวอรี, ช่อง 35 สถานีสุวรรณภูมิ, ช่อง 36 เพื่อแผ่นดิน, ช่อง 37 จอยทีวี, ช่อง 38 ไลฟ์ทีวี, ช่อง 39 สไมล์ทีวีเน็ตเวิร์ก และช่อง 40 เอ็มทีวี เอเชีย",
"title": "โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล"
},
{
"docid": "96843#4",
"text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ เป็นสถานีโทรทัศน์ทางดนตรีในประเทศไทย 24 ชั่วโมง เป็นการร่วมลงทุนกันระหว่างเอ็มทีวีเอเชียเน็ทเวิร์ค และบริษัท มีเดีย คอมมูนิเคชั่น เน็ทเวิร์คส จำกัด ภายใต้การบริหารงานของบริษัท มิวสิก เทเลวิชั่น เน็ทเวิร์ค จำกัด (บริษัทในเครือบริษัท มีเดีย คอมมูนิเคชั่น เน็ทเวิร์คส จำกัด) โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544[3] โดยรายการแรกที่ออกอากาศคือรายการ เอ็มทีวีไทยแลนด์ฮิตลิสต์ ดำเนินรายการโดย วีเจแองจี้ ส่วนมิวสิกวิดีโอเพลงแรกที่เปิดคือเพลง \"พันธ์ทิพย์\" ของโลโซ ส่วนเพลงสากลเพลงแรกที่ออกอากาศคือเพลง \"ป็อป\" ของวงเอ็นซิงก์[4] โดยออกอากาศทางช่องยูบีซี 49 แทนช่องเอ็มทีวีเอเชียที่มีอยู่เดิมทางยูบีซี[5] ต่อมา 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ยูบีซีได้จัดลำดับเลขช่องรายการใหม่ โดยย้ายจากช่อง 49 มาอยู่ที่ช่อง 32[6]",
"title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์"
},
{
"docid": "343309#5",
"text": "ทีวีแชมป์เปี้ยนได้นำเทปออกอากาศในญี่ปุ่นเข้ามาประเทศไทยทั้ง 6 ครั้งด้วยกันโดยครั้งแรกออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี. ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 19.00-19.30 โดยผู้ที่ออกอากาศคือบริษัท อีฟนิ่งสตาร์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ถึง พ.ศ. 2546 ครั้งที่ 2 ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยเปลี่ยนเสียงทีมพากย์เดิมเป็นเสียงพากย์ทางช่อง 3 ออกอากาศทุกวันเสาร์เวลา 14.00 น. โดยประมาณออกอากาศเมื่อปี พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 3 ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์โดยออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 20.30-21.30 โดยผู้ที่นำออกอากาศคือ บริษัท เดย์ โอเพทส์ จำกัด (มหาชน) โดยนำเทปยุคสุดท้ายของรายการ ครั้งที่ 4 ออกอากาศทางทรูเอ็กไซท์โดยนำเทปทุกซีซั่น ครั้งที่5 ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ทีวี และครั้งล่าสุด ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวีออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 13.00-14.00 นอกจากนี้ประเทศไทยได้ซื้อลิขสิทธิ์รายการทีวีแชมป์เปี้ยนโดยครั้งแรกที่ถูกซื้อคือบริษัท กันตนา โดยใช้ชื่อว่า \"ทีวีแชมป์เปี้ยนไทยแลนด์\" ในปี พ.ศ. 2539",
"title": "ทีวีแชมเปียน"
},
{
"docid": "398302#1",
"text": "หมายเหตุ : เรียงตามลำดับตามตัวอักษรพยัญชนะไทย บางละครอาจมีการเปลี่ยนแปลงตัวนักแสดงได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของบทบาทและตัวผู้แสดง และจะปรากฏชื่อนักแสดงในรายชื่อนี้เพียงบทสำคัญ และในกรณีที่เป็นละครโทรทัศน์ในรูปแบบละครชุด ถ้าเรื่องใดได้มีการออกอากาศแล้ว จะคงเหลือเพียงชื่อเรื่องที่ยังไม่ได้ออกอากาศ",
"title": "รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3"
},
{
"docid": "96843#50",
"text": "หมวดหมู่:สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย หมวดหมู่:ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ หมวดหมู่:ทรูวิชั่นส์",
"title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์"
},
{
"docid": "96843#2",
"text": "นอกจากการออกอากาศทางช่องสถานี เอ็มทีวีไทยแลนด์ยังมีกิจกรรมคอนเสิร์ต งานเทศกาลดนตรี อีกทั้งยังมีโครงการและกิจกรรมการกุศลต่าง ๆ",
"title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์"
},
{
"docid": "258327#1",
"text": "เตเวแซ็งก์มงด์ออกอากาศครั้งแรกในเดือนมกราคม ค.ศ. 1984 โดยมี นายแซร์ฌ อาดา เป็นผู้จัดการสถานีจนถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004 โดยมีกรรมการคนใหม่วันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 2005 คือ นายฌ็อง-ฌัก อายากง ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและการสื่อสารฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 2006 ได้มีการปรับรูปแบบใหม่ภายใต้ชื่อ \"เตเวแซ็งก์มงด์\" เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นและจุดสำคัญให้เป็นให้เป็นสถานีโทรทัศน์ระดับโลก นอกจากนี้ยังมีการย้ายไปยังสำนักงานออกอากาศแห่งใหม่และปรับเปลี่ยนตารางการออกอากาศใหม่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 เป็นต้นมา นอกจากนี้ เตเวแซ็งก์มงด์ยังเป็นทั้งชื่อขององค์กร อย่างไรก็ตามในแคนาดายังมีการดำเนินการออกอากาศภายใต้ชื่อ \"เตเวแซ็งก์\" อยู่ ทั้งนี้เตเวแซ็งก์มงด์ยังเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีเครือข่ายทั่วโลกใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลกรองจากที่บีบีซี, เอ็มทีวี และซีเอ็นเอ็น",
"title": "เตเวแซ็งก์มงด์"
},
{
"docid": "96843#18",
"text": "นอกจากออกแพร่ภาพทางช่องเคเบิลทีวีแล้ว เอ็มทีวีไทยแลนด์ยังมีรายการออกอากาศทางฟรีทีวี คือรายการ เอ็มทีวีนิวส์ออนทีไอทีวี ทางช่องทีไอทีวี เป็นรายการสรุป ข่าว เบื้องหลังต่าง ๆ ไม่ว่าดนตรี หรือภาพยนตร์ เริ่มออกอากาศครั้งแรกวันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[19] แต่ก็ได้ยกเลิกออกอากาศไปหลังจากที่สถานีทีไอทีวีถูกระงับการออกอากาศไป และต่อมากับรายการทางช่อง 5 ชื่อรายการ เอ็มทีวีสกูลแอตแท็ก ที่มีรูปแบบรายการนำศิลปินไปสร้างความประหลาดใจ ออกอากาศวันพฤหัส เวลา 17.05 – 17.30 น. ดำเนิน รายการโดย ศุภกาญจน์ ปลอดภัย และภูมิใจ ตั้งสง่า[20] ปัจจุบันยุติการออกอากาศไปแล้ว",
"title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์"
},
{
"docid": "96843#3",
"text": "เอ็มทีวีในเอเชียเริ่มมีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535 โดยเริ่มจากเอ็มทีวีญี่ปุ่น หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2538 จึงได้มีเอ็มทีวีเอเชียซึ่งออกอากาศในหลายประเทศและได้รับความนิยม หลังจากนั้นในช่วงปี พ.ศ. 2544-2545 เอ็มทีวีเอเชียได้แยกช่องออกเป็นอีกสามช่องคือ เอ็มทีวีฟิลิปปินส์ เอ็มทีวีไทยแลนด์ และเอ็มทีวีอินโดนีเซีย[2]",
"title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์"
},
{
"docid": "96843#6",
"text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ได้กลับมาทดลองออกอากาศทางทรูวิชั่นส์ ช่อง 111 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 จากนั้นย้ายมาที่ช่อง 85 เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553 โดยอยู่ในแพ็กเกจโกลด์ของทรูวิชั่นส์เฉพาะระบบจานดาวเทียม เอ็มทีวีไทยแลนด์ออกอากาศในวันสุดท้ายของคืนวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ได้ปิดตัวลงอย่างเป็นทางการ[10]",
"title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์"
},
{
"docid": "294219#2",
"text": "ด้านความสำเร็จ เพลงนี้ติดชาร์ตทางสถานีวิทยุ และสถานีโทรทัศน์ดนตรีหลายแห่ง เช่นติดอันดับ 4 บนชาร์ตของเอ็มทีวีไทยแลนด์",
"title": "ลีฟแอนด์เลิร์น"
},
{
"docid": "96843#11",
"text": "รายการโดยส่วนใหญ่ จะเปิดมิวสิกวิดีโอโดยไม่มีวีเจ ส่วนรายการที่แนะนำเพลงใหม่ประจำสัปดาห์คือรายการ เอ็มทีวีเดบิวต์ นอกจากนั้นยังมีการจัดอันดับเพลงตามยอดการขอและยอดการเปิดออกอากาศจากทุกๆ รายการในรายการ เอ็มทีวีชาร์ท [16]",
"title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์"
},
{
"docid": "135238#6",
"text": "กระทั่งต่อมานับจากช่วงปีตั้งแต่ปี 2535 อิทธิวัฒน์บุกเบิกวงการเคเบิลทีวี ด้วยการผลิตรายการโทรทัศน์ 24 ชั่วโมงให้กับยูบีซีถึง 5 ช่อง ผลงานชิ้นเอกในยุคนี้ของคุณอิทธิวัฒน์คือการก่อตั้ง แชนแนลวีไทยแลนด์ ช่องโทรทัศน์ดนตรี 24 ชั่วโมงช่องแรกของเมืองไทย นอกจากนั้นยังได้ก่อตั้งเอ็มทีวีไทยแลนด์ , วีเอชวัน และ เอฟทีวีไทยแลนด์ อีกด้วย",
"title": "อิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ"
},
{
"docid": "21299#7",
"text": "ไฮโซบ้านนอก ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2548 เป็นที่กล่าวถึงกันอย่างมาก เนื่องจากพฤติกรรมของ คชาภา ตันเจริญ (มดดำ) ซึ่งเป็นคนเปิดเผยและค่อนข้างตรง ทำให้บางครั้งเรื่องราวเกิดขึ้นเพียงคนๆ เดียว เช่น เกือบเผาบ้าน หรือแม้แต่วีนใส่ทีมงาน และอีกอย่าง เนื่องด้วยไฮโซบ้านนอก เป็น เรียลลิตีโชว์แบบเฟค (ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตจริง แต่ทีมงานกับผู้เข้าแข่งขัน ต่างรู้เรื่องราวกันเป็นอย่างดีโดยที่ผู้ชมทางบ้านไม่รู้ว่า นี่คือ การสมรู้ร่วมคิดกันของทีมงานกับผู้เข้าแข่งขัน) ทำให้ถูกวิจารณ์และทำให้ความหมายของคำว่า เรียลลิตีโชว์ ในไทย แปลความหมายผิดเพี้ยนไปจากเดิม รายการตัวจริง ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2549 ค้นหาพิธีกรโทรทัศน์ The Arsenal Dream ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2549 (วันอาทิตย์ เวลา 13.00 น.โดยประมาณ) เนื่องจากได้เวลาในช่วงบ่าย ประกอบกับการขาดเรื่องประชาสัมพันธ์ ทำให้เรตติ้งรายการไม่กระเตื้องขึ้น Thailand Next Top Model ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2548 ผู้ที่ซื้อลิขสิทธิ์ก็คือ ซอนญ่า คูลลิ่ง มีการกล่าวถึงเรื่องการดำเนินเกมส์ที่ขาดสีสัน ด้านอารมณ์ ทำให้ผู้เข้าแข่งขันมีลักษณะไปในทางเดียวกัน กล่าวคือ ไม่มีความริษยาหรือโกรธแค้นกลั่นแกล้งกัน ทำให้ความนิยมของรายการไม่กระเตื้องขึ้น ส่วนในด้านผลงานของผู้แข่งขันหลังจบเกมส์ ทาง BEC Tero ไม่ได้ประชาสัมพันธ์หรือป้อนงานให้ ทำให้ไม่สามารถติดตามผลงานได้ว่าพวกเธอมีผลงานในวงการบันเทิงในด้านใดบ้าง M Thailand ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปลายปี พ.ศ. 2548 ถึง ต้นปี พ.ศ. 2549 (วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 22.00 น. โดยประมาณ) มีการกล่าวถึงกันมาก เนื่องจากว่ากันว่ารูปแบบรายการได้ลอกเนื้อหามาจาก Thailand's Perfect Man โดยทาง BEC Tero ได้ชิงตัดหน้าขโมยความคิด นำมาทำเป็นรูปแบบเกมส์เรียลลิตีโชว์ก่อน และอีกสาเหตุหนึ่งมาจาก การวิจารณ์ผู้เข้าแข่งขันในรอบคัดเลือก จนไปสร้างความกดดันให้คนดูและผู้เข้าแข่งขัน รวมไปถึง การใช้ไอเดียของรายการ Manhunt ในการซ่อนทีมงานไปปะปนในหมู่ผู้เข้าแข่งขัน ทำให้ถูกพูดถึงในแง่การวิจารณ์เป็นอย่างมากและด้วยการดำเนินรายการของ BEC Tero ที่ไม่มีการโต้แย้งของผู้เข้าแข่งขัน ทำให้เรตติ้งรายการค่อนข้างทรงตัวจนจบการแข่งขัน ส่วนในด้านผลงานของผู้แข่งขันหลังจบเกมส์ เนื่องด้วยทาง BEC Tero ไม่ได้ประชาสัมพันธ์หรือป้อนงานให้กับผู้เข้าแข่งขันคนอื่นๆ นอกจากผู้ชนะเลิศของรายการ ทำให้ไม่สามารถติดตามผลงานของผู้เข้าแข่งขันคนอื่นๆ ได้ว่าใครไปมีอาชีพในวงการบันเทิงในด้านใดบ้าง Thailand's Perfect Man ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในปี พ.ศ. 2549 (ต้นเดือนกุมภาพันธ์-ปลายเดือนมิถุนายน ทุกวันอังคาร เวลา 23.00 น.) และทาง Chic Channel ของ UBC หลังจากที่ M Thailand ได้ชิงตัดหน้าออกอากาศไปก่อน ทำให้ Thailand's Perfect Man (TPM) ที่ดำเนินบริหารงานโดย เมทินี กิ่งพโยม ได้นำรายการไปเสนอทางไอทีวี และได้ปรับเนื้อหาของเกมส์ จนมีความลงตัวในหลายด้านๆ และไม่มีการสร้างความกดดันให้กับคนดูมากเกินไป แต่ถึงกระนั้นเรตติ้งของรายการก็ไม่ได้กระเตื้องขึ้น จนกระทั่งได้นำการเดินแบบในชุดว่ายน้ำมานำเสนอ จนทำให้เรตติ้งของรายการเพิ่มขึ้นประกอบกับความขัดแย้งของผู้เข้าแข่งขันในช่วงการแข่งขัน ทำให้เนื้อหามีความน่าติดตามมากยิ่งขึ้น ส่วนในด้านผลงานของผู้แข่งขันหลังจบเกมส์ ได้มีการประชาสัมพันธ์ติดต่อจากสปอนเซอร์หลัก (ธนาคารไทยพาณิชย์, ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล, กันตนา ฯลฯ) ทำให้มีงานป้อนเข้ามาเป็นระยะ ซึ่งเป็นการดำเนินงานของ เมทินี กิ่งพโยม อัจฉริยะข้ามคืน ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มออกอากาศในปี พ.ศ. 2549 จนถึงต้นปี พ.ศ. 2551 Eco Challenge คนเก่ง เกมนักขับ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในปี พ.ศ. 2549 ดำเนินการผลิตโดย กันตนา (ออกอากาศต่อจาก Thailand's Perfect Man ประมาณ 1 เดือน ทุกวันอังคาร เวลา 23.00 น.) รูปแบบของรายการได้ใช้รูปแบบของรายการเซอร์ไวเวอร์ ผสมกับเทคนิคการขับรถยนต์ในสถานการณ์ทุกรูปแบบ แต่เนื่องจากรูปแบบรายการที่ไม่ชัดเจนและใช้รูปแบบของเซอร์ไวเวอร์ มากถึง 70% ทำให้เรตติ้งรายการไม่กระเตื้องขึ้น ซึ่งผู้ชนะได้รับรถยนต์มิตซูบิชิ และเงินรางวัล 1 ล้านบาท (รายการเป็นรูปแบบเดียวกับทางฝั่งอเมริกาที่เป็นคนเดียวกันกับที่ทำรายการ Survivor และ Eco Challenge) ซีซ่า ทางสายฝันสู่ดวงดาว ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2549 โดยมี มณีนุช เสมรสุต (ครูอ้วน) เป็นผู้บริหารรายการ รายการเป็นรูปแบบแข่งขันร้องเพลงสำหรับเด็ก ทำดีให้พ่อดู เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ ตามติดชีวิตนักล่าฝันจากรายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ในซีซั่นที่ 1 ถึง 3 ในการปฏิบัติภารกิจเพื่อสังคม 12 โครงการ โดยแบ่งผู้ปฏิบัติภารกิจตามสายรหัส V1-V12 ของแต่ละซีซั่น พร้อมทั้งอาสาสมัครบุคคลทั่วไปที่จะร่วมกันสร้างสรรค์ความดี เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา ออกอากาศซีซี่นที่ 1 พ.ศ. 2550 ในตอน 12 V 12 ความดีเพื่อพ่อ และออกอากาศซีซั่นที่ 2 พ.ศ. 2552 ในชื่อตอน เรียนรู้ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยนักล่าฝันจากรายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ในซีซั่นที่ 4 ถึง 6 โดยแบ่งนักล่าฝันเป็นรุ่น 3 รุ่น เพื่อเดินทางไปเรียนรู้งานในทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง 4 วัน 3 คืน ณ สถานที่ๆทีมงานกำหนด The Singer ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2550 เป็นรายการรูปแบบแข่งขันร้องเพลง โดยมี พุทธธิดา ศิระฉายา เป็นผู้บริหารรายการ อัจฉริยะยกบ้าน ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2551 ซูเปอร์สตาร์ ที่สุดแห่งดาว เป็นรายการเรียลลิตีฟอร์มยักษ์ เป็นการแข่งขันของเหล่าดารา เปิดเผยเบื้องหลังที่มาของการแสดงทุกรูปแบบ ดาราที่เข้าแข่งขันจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ทีม เพื่อแข่งขันใน 10 หัวข้อการแสดง โดยการฝึกสอนจากเทรนเนอร์ที่เป็นที่สุดของทุกแขนง ออกอากาศซีซั่นแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 The Master ออกอากาศ 24 ชั่วโมงทาง ทรูวิชั่นส์ ช่อง 18 และมีรายการไฮไลท์ประจำวัน และคอนเสิร์ตทุกวันเสาร์ที่ช่อง 19 ทรูอินไซด์ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2552 เป็นเวลา 1 เดือน รูปแบบรายการเป็นการแข่งขันร้องเพลงและแสดงโชว์ แข่งขันเป็นทีม ทีมละ 5 คน โดยผู้เข้าแข่งขันมาจากตำแหน่งผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศอันดับหนึ่งของรายการ ทรู อคาเดมี่ แฟนเทเชีย ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 1-5 และได้มีการโหวตคัดเลือกผู้แข่งขันนักล่าฝันคนอื่นๆเพิ่มเติมผ่านระบบ SMS รายการนี้จะเน้นการทำงานเบื้องหลังของศิลปิน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้ประสบการณ์ในการทำงาน คิดและวางแผนโชว์ที่จะเกิดขึ้นในทุกคืนวันเสาร์ด้วยตนเอง ร่วมกับสมาชิกในทีม และทีมเบื้องหลัง และผู้ชนะรายการเพียงหนึ่งเดียวจากผล Popular Vote จะได้ตำแหน่ง สุดยอดเดอะมาสเตอร์ สุภาพบุรุษบอยแบนด์ ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 กลางเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 The Trainer ปั้นฝันสนั่นเวที รายการเรียลลิตีโชว์สำหรับเด็ก ออกอากาศทาง ช่อง 9 เดือนพฤษภาคม ปี 2552 - ปัจจุบัน ล้านฝันสนั่นโลก ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 The Voyager เกมเดินทางในต่างแดน</b>ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 Teen Superstar เกิดมาเป็นดาว คือรายการ ซุปเปอร์สตาร์ ที่สุดแห่งดาว แต่ได้เปลี่ยนรูปแบบรายการใหม่ ค้นหาเยาวชน ผู้ชนะ ชาย 2 หญิง2 จะมาจากการโหวดของประชาชน ซึ่งก็คือ ชายและหญิง 2 คนแรก จะได้มีโอกาสไปเป็นศิลปินในประเทศเกาหลี และอีกสองคนจะได้เป็นศิลปินในประเทศไทย ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ประมาณเดือนธันวาคม ปี 2553 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต ออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 9 กันยายน พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน เดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์ ซีซั่นที่ 1 เดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์ (English: The Comedian Thailand) เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ มีจุดประสงค์เพื่อค้นหา \"เอนเตอร์เทนเนอร์\" เป็นตัวแทนถ่ายทอดศาสตร์ตลกและศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อรับรางวัลมากมายพร้อมกับโอกาสที่จะได้ก้าวเข้าสู่วงการบันเทิง ออกอากาศ ช่อง ทรูวิชั่นส์ (ถ่ายทอดสดตลอด 24 ชั่วโมง) ถ่ายทอดสดการประกวด ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 – 21 เมษายน 2556 เดอะวอยซ์ คิดส์ ไทยแลนด์ ออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 27 เมษายน พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน เดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์ ซีซั่นที่ 2 เดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์ (English: The Comedian Thailand) เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ มีจุดประสงค์เพื่อค้นหา \"เอนเตอร์เทนเนอร์\" เป็นตัวแทนถ่ายทอดศาสตร์ตลกและศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อรับรางวัลมากมายพร้อมกับโอกาสที่จะได้ก้าวเข้าสู่วงการบันเทิง ออกอากาศ ช่อง ทรูวิชั่นส์ (ถ่ายทอดสดตลอด 24 ชั่วโมง) ถ่ายทอดสดการประกวด ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 26 มกราคม พ.ศ. 2557 - 13 เมษายน พ.ศ. 2557 เดอะวินเนอร์อีส ไทยแลนด์ ออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน เดอะเฟซไทยแลนด์(4 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน) เรียลลิตี้โชว์รายการเรียลลิตีเพื่อค้นหาสุดยอดนางแบบ โดยจะมีการแบ่งนางแบบออกเป็น 3 ทีมตามทีมของเมนเทอร์ของตนเอง เนลท์ให้โอกาสประเทศไทยเป็นครั้งแรกในเอเชีย ผลิตรายการโดย บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เดอะเฟซเมนไทยแลนด์(29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน) เรียลลิตี้โชว์รายการเรียลลิตีเพื่อค้นหาสุดยอดนายแบบ โดยจะมีการแบ่งนายแบบออกเป็น 3 ทีมตามทีมของเมนเทอร์ของตนเอง ซึ่งเป็นการต่อยอดจากรายการเดอะเฟซไทยแลนด์ ผลิตรายการโดย บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) The Mask Singer หน้ากากนักร้อง (6 ตุลาคม พ.ศ.2559 - ปัจจุบัน) เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์เพื่อค้นหาบุคคลในวงการบันเทิงที่มีความสามารถในการร้องเพลงมาเข้าร่วมประกวด โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องใส่ชุดหน้ากากเพื่อปิดบังตัวตนของตัวเองไว้ ซึ่งเป็นรายการที่ซื้อลิขสิทธิ์มาจาก ประเทศเกาหลีใต้ ผลิตรายการโดย เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ซูเปอร์เท็น (7 มกราคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน) เป็นรายการประกวดในรูปแบบที่จะค้นหา<b data-parsoid='{\"dsr\":[16130,16154,3,3]}'>อัจฉริยะพันธุ์จิ๋ว ผลิตรายการโดย บริษัท ซูเปอร์จิ๋ว จำกัด มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ (4 มิถุนายน พ.ศ.2560 - ปัจจุบัน) เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์เพื่อค้นหาผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพเชฟ แต่มีใจรักที่จะทำอาหารและมีความสามารถที่จะไปเป็นเชฟได้ โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องผ่านโจทย์การทำอาหารทั้งแบบเดี่ยวและแบบทีมในแต่ละสัปดาห์ รายการ Topchef รายการแข่งทำอาหารของ Chef ชื่อดัง",
"title": "เรียลลิตีโชว์"
},
{
"docid": "674776#0",
"text": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์ (Hollywood Game Night Thailand) หรือชื่อเดิม ซุป'ตาร์ปาร์ตี้ (CELEBRITY GAME NIGHT) เป็นรายการวาไรตี้เกมโชว์ที่ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาจากรายการ \"Hollywood Game Night\" โดยมีวิลลี่ แมคอินทอช เป็นผู้ดำเนินรายการ ผลิตรายการโดย บริษัท มีมิติ จำกัด (ในซุป'ตาร์ปาร์ตี้ บริษัท เดอะวัน เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด ฝ่ายบริหารรายการโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ช่องวัน ในสังกัด เอ็กแซ็กท์ เป็นผู้ผลิตรายการร่วม) ออกอากาศครั้งแรกทาง สถานีโทรทัศน์ช่องวัน เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2557 จนถึงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559 โดยย้ายเวลาออกอากาศทั้งหมด 4 ครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม รายการนี้ได้กลับมาออกอากาศอีกครั้งแต่ได้เปลี่ยนแปลงชื่อรายการไปเป็นชื่อเดียวกันกับรายการจากสหรัฐอเมริกา ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 18:20 - 19:50 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และ ช่อง 3 เอชดี โดยออกอากาศในรูปแบบซีซั่นฤดูกาล โดยในฤดูกาลที่ 1 ออกอากาศเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 จนถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และฤดูกาลที่ 2 ออกอากาศเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ.2561 จนถึงปัจจุบัน",
"title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์"
},
{
"docid": "96843#5",
"text": "ต่อมาเอ็มทีวีไทยแลนด์ประกาศย้ายการออกอากาศในไทยวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 จากเคเบิลทีวี ช่องทรูวิชั่นส์ เนื่องจากหมดสัญญา 5 ปี[7] ไปแพร่ภาพทางทีวีดาวเทียม ดีทีเอช และ กับลูกค้าเคเบิลท้องถิ่น 2 ล้านครัวเรือน โดยออกอากาศพร้อมช่องเครือข่ายอย่าง วีเอชวัน และนิกเคลโลเดียน[8] ออกอากาศต่อเนื่องถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2551 หลังจากนั้นอยู่ในช่วงไม่ได้ออกอากาศที่ใด (ออฟแอร์)[9]",
"title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์"
},
{
"docid": "96653#0",
"text": "สถานีโทรทัศน์เคเบิลแชนแนลวีไทยแลนด์ (Channel [V] Thailand) เป็นช่องโทรทัศน์เคเบิลรายการเพลง ออกอากาศ 24 ชั่วโมง เปิดมิวสิกวิดีโอเพลงไทย เพลงเอเชีย และเพลงสากล ขณะนี้อยู่ในช่วงเปลี่ยนมือผู้ผลิต ดำเนินงานโดย บริษัท ฟอกซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล แชนแนล (ประเทศไทย) จำกัด ยังอยู่ในช่วงการปรับปรุงรูปแบบรายการใหม่ จึงยังไม่มีรายการใด ๆ เปิดมิวสิกวิดีโอแบบนอนสต๊อป",
"title": "แชนแนลวีไทยแลนด์"
},
{
"docid": "984167#0",
"text": "เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ซีซั่นที่ 7 เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ประกวดร้องเพลงโดย บางกอกมีเดียแอนด์บรอดคาสติง หรือสถานีโทรทัศน์พีพีทีวี ที่ซื้อลิขสิทธิ์รูปแบบรายการมาจากบริษัท ทาลพา ของเนเธอร์แลนด์ เจ้าของรายการเดอะวอยซ์ (The Voice) และเดอะวอยซ์ออฟฮอลแลนด์ (The Voice of Holland) ผลิตรายการโดย เอพีแอนด์เจ โปรดักชั่น และ บริษัท ใจอั้น จำกัด โดยใช้โค้ชร้องเพลงและผู้คัดเลือกผู้เข้าประกวด 4 คน คือ ก้อง - สหรัถ สังคปรีชา, โจอี้ บอย, เจนนิเฟอร์ คิ้ม และป๊อบ - ปองกูล สืบซึ้ง และเป็นฤดูกาลแรกที่ออกอากาศทางช่องพีพีทีวี และออกอากาศย้อนหลังทางไลน์ทีวี หลังจาก 6 ฤดูกาลก่อนหน้านี้ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ทั้งหมด ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 20:15 – 22:00 น. โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561",
"title": "เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ซีซั่นที่ 7"
},
{
"docid": "96843#12",
"text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ยังมีรายการนำเสนอข่าวออกอากาศทุกวัน ความยาวประมาณ 10 นาที ในรายการ เอ็มทีวีบัซซ์ [17] และยังมีรายการเกี่ยวกับภาพยนตร์ คือรายการ เอ็มทีวีสกรีน",
"title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์"
},
{
"docid": "301984#5",
"text": "ทั้งนี้ ในปลายปี พ.ศ. 2552 ทางบริษัทฯ ได้โอนขายทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจสื่อทั้งหมดของบริษัทให้แก่ บริษัท มีเดีย สตูดิโอ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่มีวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินการด้านธุรกิจสตูดิโอ โดยได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยมี โยธิน บุญดีเจริญ เข้ามารับช่วงกิจการต่อ ส่วนชาลอต เป็นประธานบริษัท มีเดีย สตูดิโอ จำกัด เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์และสื่อต่าง ๆ จากบริษัทเดิมต่อไป โดยมีสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมของตนเองภายใต้ชื่อ \"ที แชนแนล\", \"มีเดีย แชนแนล\", \"ยู แคมปัส แชนแนล\" และ \"มีเดีย บูม\" อีกด้วย แต่ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 ทางบริษัทฯ ได้ยกเลิกการทำสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ที แชนแนล เนื่องจากผลประกอบการที่ผ่านมาไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ และเปลี่ยนมาดำเนินการในรูปแบบการรับจ้างผลิตรายการช่องสถานีลูกทุ่งให้กับบริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรู วิชั่นส์ เคเบิล จำกัด (มหาชน) โดยยังคงรูปแบบรายการเหมือนสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเดิม จนส่งผลกระทบให้ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553 ชาลอตได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งประธานบริษัท มีเดีย สตูดิโอ จำกัด และเปลี่ยนชื่อของบริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) เป็น บริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจเป็นธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์แทน โดยได้โอนสิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจในด้านผลิตรายการโทรทัศน์ทั้งหมดจากบริษัทฯ ให้กับทางบริษัทย่อย นั่นคือ บริษัท มีเดีย สตูดิโอ จำกัด และยังคงดำเนินธุรกิจด้านสื่อและการผลิตรายการโทรทัศน์มาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน\nปัจจุบัน มีเดีย สตูดิโอ (หรือในชื่อเดิมคือ มีเดีย ออฟ มีเดียส์) มีรายการโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่ 5 รายการ เป็นรายการประเภทเกมโชว์, วาไรตี้โชว์ และรายการข่าว ซึ่งออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ทั้งหมด ทั้งนี้ รายการโทรทัศน์ที่กำลังจะออกอากาศในอนาคตเน้น \"\"ตัวเอน\"\" และรายการโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่ในปัจจุบันเน้น \"ตัวหนา\"",
"title": "มีเดีย ออฟ มีเดียส์"
},
{
"docid": "157482#4",
"text": "รายการสาระแนออกอากาศไปแล้ว 5 ช่องด้วยกัน ครั้งแรกฉายทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ต่อมาในปี 2547 จนถึงปี 2551 ได้ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ต่อมาในปี 2551 ก็ได้มาออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก จนถึงต้นปี 2557 โดยชื่อรายการที่ใช้คือ \"สาระแน\" (แต่ในผังรายการของทางสถานีระบุว่า \"สาระแนโชว์\" เหมือนกับครั้งแรกที่เริ่มจัด แต่กระนั้นคนทั่วไปก็ยังเรียกชื่อรายการนี้ว่า \"สาระแน\") ต่อมาในปี 2557 สาระแนได้มีการย้ายมาออกอากาศอีกช่องหนึ่งคือช่องเวิร์คพอยท์ ครีเอทีฟ ทีวี (เวิร์คพอยท์ทีวี) โดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ซึ่งออกอากาศตั้งแต่เดือนเมษายน 2557 จนถึง 29 มีนาคม 2558 และได้นำมากลับออกอากาศอีกครั้งทาง ไลน์ทีวี ในชื่อ สาระแน on LINE TVสำหรับภาพยนตร์ชุดสาระแน สร้างโดย ลักษ์ฟิล์ม ร่วมมือกับ สหมงคลฟิล์ม (เฉพาะ \"สาระแน โอเซกไก\" ที่ร่วมสร้างโดย เอ็ม เทอร์ตี้ไนน์ และ \"สาระแน เลิฟยูววว\" ที่ร่วมสร้างโดย เทค ไทยแลนด์) โดยใช้ชื่อคำว่า สาระแน นำหน้าในแต่ละเรื่อง ได้แก่ สาระแน ห้าวเป้ง!! (2552), สาระแนสิบล้อ (2553), สาระแนเห็นผี (2553), สาระแน โอเซกไก (2555) และ สาระแน เลิฟยูววว (2560) มีนักแสดงดังต่อไปนี้",
"title": "สาระแน (รายการโทรทัศน์)"
},
{
"docid": "96843#44",
"text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ ร่วมกับเอ็มทีวียุโรปฟาวเดชันที่ได้รับการสนับสนุนจาก USAID กับโครงการเพื่อสังคมภายใต้ชื่อ เอ็มทีวีเอกซิต: เอ็นด์เอกซ์พลอยเทชันแอนด์แทรฟฟิกกิง ซึ่งเป็นโครงการรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ โครงการนี้เป็นสารคดีที่ถ่ายทอดความรู้และการป้องกัน เรื่องเกี่ยวกับ การค้ามนุษย์ การล่วงละเมิดทางเพศ และการถูกล่อลวงไปค้าประเวณีของผู้หญิง ซึ่งออกอากาศครั้งแรกทั่วยุโรป ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2548 ซึ่งมีผู้ดำเนินรายการโดยนักแสดงชื่อดังจากฮอลลีวูด แองเจลินา โจลี และในปี พ.ศ. 2550 ในส่วนของประเทศไทย มูลนิธิ เอ็มทีวี ยุโรป ได้คัดเลือกนักร้องสาวชื่อดังของเมืองไทยอย่าง ทาทา ยัง มารับหน้าที่ดำเนินสารคดีในประเทศไทย[32] ส่วนในปี พ.ศ. 2551 ได้ อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม มาเป็นแอมบาสเดอร์ประจำประเทศไทย[33]",
"title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์"
},
{
"docid": "289177#2",
"text": "เอฟเอ็มทีวีได้ทำหน้าที่นำเสนอรายการธรรมะตามแนวของสันติอโศก ตลอดจนนำเสนอข่าวสารและสาระเชิงสร้างสรรค์ รวมถึงทำหน้าที่ถ่ายทอดสดการชุมนุมทางการเมืองต่างๆ ที่กองทัพธรรมเข้าร่วม เช่น การชุมนุมของกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติในปี พ.ศ. 2553-2554 การชุมนุมองค์การพิทักษ์สยามในปี พ.ศ. 2555 รวมถึงถ่ายทอดสดการชุมนุมใหญ่ของกลุ่ม กปปส. ในปี พ.ศ. 2556–2557 โดยถ่ายทอดการชุมนุมจากเวทีกองทัพธรรมสลับกับการถ่ายทอดสัญญาณจาก บลูสกายแชนแนล เอเอสทีวี และ ทีนิวส์ทีวี ในช่วงของการชุมนุม เอฟเอ็มทีวีได้แพร่ภาพผ่านระบบโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อกทางช่อง 24 ระบบยูเอชเอฟ รับสัญญาณได้ชัดเจนทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จนกระทั่งในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 มีการประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร และมีคำสั่งให้สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม งดออกอากาศชั่วคราว หนึ่งในนั้นมีเอฟเอ็มทีวีด้วย หลังจากนั้น เมือ่เกิดการรัฐประหารในอีกสองวัน คณะรัฐประหารมีประกาศให้สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตามที่มีประกาศเมื่อครั้งประกาศกฎอัยการศึก งดออกอากาศชั่วคราวอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งมีการเปิดให้ผู้ประกอบการสถานีโทรทัศนืเหล่านั้น มาขอใบอนุญาตกับทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อให้ออกอากาศต่อไปได้ โดยมีเงื่อนไขห้ามเสนอข่าวในลักษณะยุยงปลุกปั่นสร้างความแตกแยก และให้เปลี่ยนชื่อช่องรายการ ดังนั้น สถานีจึงเปลี่ยนชื่อเป็น \"บุญนิยมทีวี\" และเริ่มออกอากาศอีกครั้งในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557",
"title": "บุญนิยมทีวี"
},
{
"docid": "513167#1",
"text": "จูเนียร์ มาสเตอร์เชฟ ไทยแลนด์ เป็นรายการเกมโชว์ทำอาหาร ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ผู้เข้าแข่งขันเป็นเยาวชนไทยอายุ 8-12 ปี ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 3 กุมภาพันธ์ และจะออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00-19.30 น.",
"title": "จูเนียร์ มาสเตอร์เชฟ ไทยแลนด์"
}
] |
2960 | เกมทศกัณฐ์ ตอนแรกออกอากาศเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "213416#0",
"text": "เกมทศกัณฐ์ เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ที่ผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2546 ทาง โมเดิร์นไนน์ทีวี สร้างสรรค์และควบคุมการผลิตโดย รุ่งธรรม พุ่มสีนิลรายการ เกมทศกัณฐ์ ออกอากาศทาง โมเดิร์นไนน์ ทีวี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2546 เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์รายการแรกที่รางวัลแจ๊คพอตที่มีเงินรางวัลสูงสุดถึง 10 ล้านบาทนับถือว่าเป็นรางวัลแจ๊คพอตสูงที่สุดในวงการของรายการเกมโชว์โทรทัศน์ไทยและในเอเชีย (โดยเฉพาะ \"เกมทศกัณฐ์ยกทัพ\" ที่มีรางวัลแจ๊คพอตสูงถึง 30 ล้านบาท) เพียงตอบคำถามใบหน้าของบุคคลที่มีชื่อเสียงสำคัญ ๆ ของคนทั่วทั้งโลก ตอบถูกครบ 10 หน้า รับไปเลยรางวัลแจ๊คพอตสูงที่สุด 10 ล้านบาทและนับตั้งแต่ออกอากาศเกมทศกัณฐ์จนไปถึงยกสยาม เป็นเวลาเกือบ 8 ปีทางรายการได้แจกรางวัลไปทั้งหมดเกือบ 70 ล้านบาท",
"title": "เกมทศกัณฐ์"
}
] | [
{
"docid": "866996#1",
"text": "เกมพิศวง เริ่มออกอากาศเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2541 โดยในระยะแรก ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 11.20 น. - 12.20 น. แต่เนื่องจากได้รับกระแสการตอบรับเป็นอย่างดี จึงได้มีการเพิ่มเวลาออกอากาศจากเดิม 1 ชม. เป็น 1 ชม.15 นาที เป็นทุกวันอาทิตย์ เวลา 11.20 น. - 12.35 น. และสิ้นสุดการออกอากาศในปี พ.ศ. 2544 ดำเนินรายการโดย จอห์น รัตนเวโรจน์ และ เอ็ม สุรศักดิ์ วงษ์ไทย และมีขบวนการประจำรายการที่ชื่อว่า ขบวนการกุ๊กกุ๊กกู๋ \nรายการเกมพิศวงนี้มีแนวคิดก็คือ การหลอกลวง ซึ่งเกมพิศวงนี้เปรียบเสมือนเมืองที่เต็มไปด้วยการหลอกลวง ซึ่งจะมีเหล่าขบวนการกุ๊กกุ๊กกู๋คอยหลอกลวงผู้เข้าแข่งขันในรูปแบบต่างๆตลอดการแข่งขัน ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะต้องคอยสังเกตและมีความจำที่ดีตลอดการแข่งขัน ในแต่ละสัปดาห์จะมีสมาชิกขบวนการกุ๊กกุ๊กกู๋ทั้งหมด 6 ท่าน โดยที่หัวหน้าขบวนการนั้นจะเป็นศิลปินดาราที่จะมาเป็นแขกรับเชิญสลับสับเปลี่ยนกันไปในแต่ละเทป และจะมีสมาชิกประจำรายการดังต่อไปนี้",
"title": "เกมพิศวง"
},
{
"docid": "70553#17",
"text": "เฟท/สเตย์ ไนท์ ในรูปแบบอะนิเมะ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2549 และสิ้นสุดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ความยาวทั้งหมด 24 ตอนโดย Studio DEEN ภายใต้ชื่อว่า Fate Project ด้วยความร่วมมือของ Geneon Entertainment, TBS,CREi,ไทป์-มูน และ Frontier Works Inc. ต่อมาก็ได้ออกอากาศอย่างเป็นสากลในช่อง อะนิแม็กซ์ ในปี 2550 อีกทั้งยังมีฉบับภาษาอังกฤษ เพื่อออกอากาศในเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเดือน เมษายน ปี พ.ศ. 2550 พร้อมทั้งยังมีการเผยแพร่ลิขสิทธิ์ไปยัง อเมริกาเหนือ อีกด้วย ซึ่งเนื้อหาในอะนิเมะนั้นจะเน้นหนักไปในเนื้อหาของเกม ในส่วนของบท\"เฟท\" มีการเสริมเนื้อหาในส่วนของ \"อันลิมิเต็ด เบลด เวิร์คส\" และ \"เฮฟเว่นส ฟีล\" อีกด้วย แต่จะไม่เพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนของ \"เฟท/ฮอลโลว์ อทาราเซีย\" เลยแม้แต่นิดเดียว ซึ่งในฉบับอะนิเมะนี้ ก็ได้คุณ คาวาอิ เคนจิ ซึ่งเป็นผู้แต่งเพลงในซีรีส์ของเฟท ในต้นฉบับของเกม มาเป็นผู้แต่งเพลงให้ในฉบับอะนิเมะด้วย ซึ่งจะเห็นได้จากการนำซาวนด์แทร็กในเกม มารีมิกซ์ใหม่เพื่อใช้ในฉบับอะนิเมะโดยเฉพาะ อย่างเช่นเพลง \"Yakusoku Sareta Shouri No Tsurugi\"(約束されたの剣), \"Emiya\" และ \"This Illusion\" ซึ่งต่อมาได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น \"disillusion\" เพื่อใช้เป็นเพลงเปิดสำหรับฉบับอะนิเมะ",
"title": "มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์"
},
{
"docid": "423174#2",
"text": "ภาพยนตร์เมื่อออกฉายครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฮ่องกงในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 จัดเป็นภาพยนตร์อาชญากรรมแนวใหม่ที่ไม่เน้นฉากขับรถไล่ล่า และดวลปืน แต่เต็มไปด้วยบรรยากาศลุ้นระทึกกับปฏิบัติการไล่ล่าชิงไหวชิงพริบระหว่างตำรวจและอาชญากร ด้วยภาพมุมสูงที่ให้อารมณ์แตกต่าง คล้ายกับภาพยนตร์ฮอลลีวูดเรื่อง \"The Recruit\" และ \"The Mission Impossible\" ได้รับคำวิจารณ์ในทางที่ดีมากมายจากสื่อมวลชนและผู้ชม",
"title": "พลิกเกมทรชน คนเหนือเมฆ"
},
{
"docid": "176402#0",
"text": "เกาะแก้วพิสดาร เป็นรายการเกมโชว์ไทย แนว ตลก ผจญภัย ออกอากาศเทปแรกวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ และวันจันทร์ - พุธ เวลา 17.45 - 18.30 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ผลิตโดย บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท จันทร์ 25 จำกัด ดำเนินการผลิตและสร้างสรรค์เกมโดย บริษัท สาระแน แปซิฟิค จำกัด ดำเนินรายการโดย วิลลี่ แมคอินทอช และ เสนาหอย เกียรติศักดิ์ อุดมนาค",
"title": "เกาะแก้วพิสดาร"
},
{
"docid": "62504#0",
"text": "เกมเศรษฐี เป็นรายการเกมโชว์ประเภทควิซโชว์ ที่ได้รับลิขสิทธิ์จากรายการ \"Who Wants to Be a Millionaire?\" โดยได้เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยในสมัยแรกมีสโลแกนว่า เกมที่ทำให้คุณเป็นเศรษฐีได้ใน 16 คำถาม ต่อมาได้ย้ายไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 โดยมีผู้ดำเนินรายการคือ ไตรภพ ลิมปพัทธ์ ผลิตรายการโดยบริษัท บอร์น แอนด์ แอสโซซิเอทด์ จำกัด และใช้ชื่อรายการใหม่ว่า เกมเศรษฐีเด็ก The Team และ เกมเศรษฐี Super Team ต่อมาได้เปลี่ยนกลับมาสร้างเกมเศรษฐีในรูปแบบ 16 คำถาม 3 ตัวช่วยเหมือนเดิม เงินรางวัลสูงสุดคือ 100,000 บาท ปัจจุบันรายการนี้ได้ยุติการออกอากาศลงแล้วเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551 เนื่องจากทางสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีได้ยุติการแพร่ภาพลงเพื่อเปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส",
"title": "เกมเศรษฐี (รายการโทรทัศน์)"
},
{
"docid": "591609#0",
"text": "ณ กาลครั้งหนึ่ง () เป็นละครโทรทัศน์จากสหรัฐ แนวชีวิตในจินตนาการ ฉายครั้งแรกวันที่ 23 ตุลาคม 2011 ถึงวันที่ 18 พฤษภาคม 2018 ทางช่อง ABC หกฤดูกาลแรกดำเนินเรื่องในเมืองสมมุติริมทะเลแห่งหนึ่งชื่อเมืองสตอรีบรุก รัฐเมน ซึ่งชาวเมืองนั้นเป็นตัวละครในเทพนิยายที่ถูกลบความทรงจำส่งมายังโลกจริงโดยคำสาป โดยมีเอ็มมา สวอนรับบทนำ ในขณะที่ฤดูกาลที่เจ็ดซึ่งเป็นฤดูกาลสุดท้ายเหตุการณ์เกิดขึ้นในซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน หรือที่เรียกว่าเมือง ไฮพีเรียน ไฮตส์ ซึ่งมีเรื่องราวหลักใหม่นำโดย เฮนรี มิลส์ ลูกชายของเอ็มมา สวอน การแสดงยืมองค์ประกอบและตัวละครจากแฟรนไชส์ของดิสนีย์และวรรณคดีตะวันตกที่เป็นที่นิยมของชาวบ้านและเทพนิยาย",
"title": "ณ กาลครั้งหนึ่ง"
},
{
"docid": "190995#12",
"text": "ฤดูกาลแรกของ \"อสุรกายดงดิบ\" ออกในรูปแบบดีวีดีภายใต้ชื่อ \"Lost: The Complete First Season\" เป็นบอกซ์เซต มีจำนวน 7 แผ่น ไวด์สกรีน โซน 1 ออกขายในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 6 กันยายน ค.ศ. 2005 สองอาทิตย์หลังจากปฐมทัศน์ฤดูกาลที่ 2 จัดจำหน่ายโดยบัวนาวิสตาโฮมเอนเตอร์เทนเมนต์ นอกจากตอนทั้งหมดที่ออกอากาศแล้ว ยังมีดีวีดีพิเศษอย่างเช่น คำบรรยายแต่ละตอน เบื้องหลังการถ่ายทำ การทำงาน เช่นเดียวกับฉากที่ถูกลบออกไป โดยฉายสลับฉายจริงกับที่หลุดคิว และต่อมาออกวางขายรูปแบบเดียวกันโซน 4 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 และโซน 2 เมื่อ 16 มกราคม ค.ศ. 2006 สำหรับการออกในโซน 2 ในการออกในรูปแบบมาตรฐานทั่วไป จะแบ่งออกเป็นสองส่วนเป็นครั้งแรก ส่วนแรกเป็น 12 ตอนแรกของซีรีส์ มี 4 แผ่น ไวด์สกรีน เป็นดีวีดีบอกซ์เซต ขายเมื่อ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2005 ขณะที่อีก 13 ออกขายวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 2006 ส่วนโซน 1 ก็ออกขายแบบแยกส่วนเป็น 2 บอกซ์เซตเหมือนกัน ในสองฤดูกาลแรกออกขายในรูปแบบบลูเรย์ เมื่อ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2009",
"title": "อสุรกายดงดิบ"
},
{
"docid": "868759#0",
"text": "มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ เป็นรายการเกมโชว์ทำอาหาร ออกอากาศครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จากทุกอาชีพและทุกภาคของประเทศไทย\nโดยมีผู้เข้าแข่งขันจากทั่วประเทศสามารถผ่านมาได้ 120 คนและได้มาทำการคัดเลือกให้เหลือ 38 คน ก่อนจะทำการคัดให้เหลือ 16 คนสุดท้ายด้วยทักษะในครัวขั้นพื้นฐาน",
"title": "มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 1"
},
{
"docid": "962781#0",
"text": "มาสเตอร์เชฟ จูเนียร์ ไทยแลนด์ เป็นรายการเกมโชว์ทำอาหาร ออกอากาศครั้งแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 ทาง ช่อง 7 โดยเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันที่มีอายุ 8 - 13 ปี จากทุกภาคของประเทศไทย ดำเนินรายการโดยปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (ป๊อก) และมีคณะกรรมการในการตัดสินคือ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (คุณอิงค์), หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (คุณป้อม) และพงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)",
"title": "มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์"
}
] |
2860 | คู่สมรสของ ท้าวสุรนารี คือใคร? | [
{
"docid": "32012#2",
"text": "เมื่อปี พ.ศ. 2339 โม เมื่ออายุได้ 25 ปี ได้แต่งงานสมรสกับนายทองคำขาว พนักงานกรมการเมืองนครราชสีมา ต่อมานายทองคำขาว ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น \"พระภักดีสุริยเดช\" ตำแหน่งรองปลัดเมืองนครราชสีมา นางโม จึงได้เป็น คุณนายโม และต่อมา \"พระภักดีสุริยเดช\" ได้เลื่อนเป็น \"พระยาสุริยเดช\" ตำแหน่งปลัดเมืองนครราชสีมา คุณนายโมจึงได้เป็น คุณหญิงโม ชาวเมืองนครราชสีมาเรียกท่านทั้งสองเป็นสามัญว่า \"คุณหญิงโม\" และ \"พระยาปลัดทองคำ\" ท่านเป็นหมันไม่มีทายาทสืบสายโลหิต ชาวเมืองนครราชสีมาทั้งหลายจึงพากันเรียกแทนตัวคุณหญิงโมว่า แม่ มีผู้มาฝากตัวเป็นลูก-หลานกับคุณหญิงโมอยู่มาก ซึ่งเป็นกำลังและอำนาจส่งเสริมคุณหญิงโมให้ทำการใด ๆ ได้สำเร็จเสมอ หนึ่งในลูกหลานคนสำคัญที่มีส่วนร่วมกับคุณหญิงโม เข้ากอบกู้เมืองนครราชสีมาจากกองทัพเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ คือ นางสาวบุญเหลือ",
"title": "ท้าวสุรนารี"
},
{
"docid": "32012#1",
"text": "ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า \"โม\" (แปลว่า ใหญ่มาก) หรือท้าวมะโหโรง เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีระกา พ.ศ. 2314 มีนิวาสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ แป้นาผล ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชายหนึ่งคน ชื่อ จุก (ภายหลังได้เป็นเจ้าเมืองพนมซร็อก ต่อมามีการอพยพชาวเมืองพนมซร็อกมาอยู่ริมคูเมืองนครราชสีมาด้านใต้ จึงเอาชื่อเมืองพนมซร็อกมาตั้งชื่อ บ้านพนมศรก ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็นบ้านสก อยู่หลังสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระจนทุกวันนี้)",
"title": "ท้าวสุรนารี"
}
] | [
{
"docid": "190373#3",
"text": "คบหากับ แฟนหนุ่มชาวชาวเนเธอร์แลนด์ ชื่อ นาย วาวเตอร์ เดราฟ มาเป็นเวลา 2ปี \nปัจจุบันจดทะเบียนสมรสกันแล้ว เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 ย้อนเส้นทางความรักของ สุนารี และ วาวเตอร์ พบรักกันที่ร้านอาหารย่านสุขุมวิทจากนั้นได้มีการติดต่อกันเรื่อยมา\nสุนารี ได้สมรสกับ แฟนหนุ่ม \"วาวเตอร์ เดราฟ\" แฟนหนุ่มชาวเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2559",
"title": "สุนารี ราชสีมา"
},
{
"docid": "79458#11",
"text": "ทรงชัยสมรสกับนางเสาวนีย์ รัตนสุบรรณ (ตั้งกงพานิช) มีบุตรธิดาด้วยกัน 3 คน ได้แก่ นางสาวภัทรภร รัตนสุบรรณ, นายศิรภพ รัตนสุบรรณ และนางสาวปริยากร รัตนสุบรรณ ซึ่งต่อมาล่าสุดเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560 ทางสนามมวยเวทีลุมพืนีได้แต่งตั้งให้ปริยากร และนายศุภศักดิ์ เงาประเสริฐวงศ์ (ดร.น็อต วันทรงชัย) หนึ่งในทีมงานของวันทรงชัย รวมถึงนาย พัฒน์ชนินทร์ มีจันทร์ (เสี่ยชาย สุโขทัย) หัวหน้าคณะค่ายมวยช.ห้าพยัคฆ์ และผู้จัดรายการศึกมวยไทย ททบ.5 ซึ่งถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เป็นโปรโมเตอร์ของสนามมวยลุมพินี นับเป็นการกลับเข้าสู่เวทีลุมพินีของวันทรงชัยในรอบ 17 ปี นับตั้งแต่ที่นายทรงชัยลาออกจากการเป็นโปรโมเตอร์ของเวทีลุมพินี",
"title": "ทรงชัย รัตนสุบรรณ"
},
{
"docid": "32012#0",
"text": "ท้าวสุรนารี หรือ คุณหญิงโม (ต้นฉบับว่า ท่านผู้หญิงโม้) นิยมเรียกว่า ย่าโม (พ.ศ. 2314 — พ.ศ. 2395) เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ไทยในฐานะวีรสตรีมีส่วนกอบกู้เมืองนครราชสีมาจากกองทัพเจ้าอนุวงศ์ พระมหากษัตริย์เวียงจันทน์ เมื่อปี พ.ศ. 2369 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังคุณหญิงโมได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นท้าวสุรนารี",
"title": "ท้าวสุรนารี"
},
{
"docid": "301536#2",
"text": "กนกอร บุญมา ปัจจุบันหลังจากสมรสกับ สุวิทย์ พงษ์จรัสพันธุ์ เมื่อ 18 พฤษภาคม 2518 แล้ว กนกอรได้มาเป็นแม่บ้านอย่างเต็มตัว รวมไปถึงช่วยดำเนินธุรกิจปั๊มน้ำมันเชลล์ สุรนารีบริการ และห้างหุ้นส่วนจำกัดอุปกรณ์ค้าไม้ของสามี ที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา",
"title": "กนกอร บุญมา"
},
{
"docid": "156717#3",
"text": "ปัจจุบัน สุพรรษา สมรสกับ สุรชัย ตั้งใจตรง มีลูกชาย 1 คน นักธุรกิจชาวชลบุรี ทำธุรกิจสถาบันเสริมความงาม และไร่องุ่นชื่อ \"ซิลเวอร์เลค\" ตั้งอยู่ที่เขาชีจรรย์ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี อาณาจักรไร่องุ่นของ “สุพรรษา” นางเอกรุ่นใหญ่ และมีโครงการทำธุรกิจสปอร์ตคอมเพล็กซ์ ร่วมกับ ภราดร ศรีชาพันธุ์ \"เพียงฟ้า-ภราดร\" รักระหว่างรบ (สงครามธุรกิจ) !] เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉ.778",
"title": "สุพรรษา เนื่องภิรมย์"
},
{
"docid": "32012#3",
"text": "ท้าวสุรนารีเป็นคนมีสติปัญญาหลักแหลม เล่นหมากรุกเก่ง มีความชำนาญในการขี่ช้าง ขี่ม้า มีม้าตัวโปรดสีดำ และมักจะพาลูกหลานไปทำบุญที่วัดสระแก้วเป็นประจำเสมอท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือน เมษายน พ.ศ. 2395 (เดือน 5 ปีชวด จัตวาศก จศ. 1214) สิริรวมอายุได้ 81 ปี",
"title": "ท้าวสุรนารี"
},
{
"docid": "34482#7",
"text": "สมัคร สมรสกับ คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช (สกุลเดิม: นาคน้อย) มีบุตรสาวฝาแฝดคือ กาญจนากร ไชยสาส์น และกานดาภา มุ่งถิ่น และเนื่องจากคุณหญิงสุรัตน์เป็นที่ปรึกษาด้านการเงินของเครือเจริญโภคภัณฑ์ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 สถานะการเงินจึงมั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวได้ สมัครจึงมิได้ทำงานประจำใด ๆ โดยทำงานการเมืองเพียงอย่างเดียว มาตั้งแต่ พ.ศ. 2516 อย่างไรก็ตา นายสมัครยังรับเป็นผู้จัดการมรดกตระกูลธรรมวัฒนะ ตามคำสั่งเสียของนางสุวพีร์ ธรรมวัฒนะ",
"title": "สมัคร สุนทรเวช"
},
{
"docid": "575891#4",
"text": "ชีวิตส่วนตัว เคยสมรสกับดวงดาว จารุจินดา มีบุตรที่เกิดกับดวงดาวคือ วิชญะ จารุจินดา (ตั้ม),ตะวัน จารุจินดา (เติ้ล) พระเอกของช่อง 7 ต่อมามีบุตรคนสุดท้องกับภรรยาใหม่อีกคนคือ สุริยัน จันทรวิบูลย์ (ต๋อง) ปัจจุบันใช้ชีวิตในที่เมืองลอสแอนเจลิส มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีกิจการร้านเสริมสวยผสมสปานวดตัวและหน้า ชื่อ \"ลุกกิ้งกู๊ด (Looking Good\") และเป็นผู้จัดการฝ่ายนักร้องที่ไทยแลนด์พลาซ่า ร้านอาหารไทย",
"title": "สายัณห์ จันทรวิบูลย์"
},
{
"docid": "168797#8",
"text": "ร.ต.อ.สุรัตน์ สมรสกับปองทิพย์ โอสถานุเคราะห์ (สกุลเดิม เธียรประสิทธิ์) ซึ่งเป็นพี่สาวของสปัน เธียรประสิทธิ์ อดีตภรรยาของชรินทร์ นันทนาคร สุรัตน์และปองทิพย์มีบุตรชายสองคน คือ เพชร โอสถานุเคราะห์ (นักร้อง และนักดนตรี เจ้าของผลงานเพลง “เพียงชายคนนี้..ไม่ใช่ผู้วิเศษ” ที่โด่งดังเมื่อปี พ.ศ. 2530) และรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ซึ่งทั้งสองเข้ารับช่วงการบริหารบริษัทในเครือโอสถสภา และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ต่อจาก ร.ต.อ.สุรัตน์ ที่วางมือจากตำแหน่งบริหาร ต่อมาสมรสกับนางช่อพิภพ โอสถานุเคราะห์",
"title": "สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์"
}
] |
3260 | บียอนเซ่ จิเซลล์ โนวส์ มีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด? | [
{
"docid": "61435#3",
"text": "บียอนเซ่ โนวส์ เกิดเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1981 ที่เมืองฮิวสตัน รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา เป็นลูกสาวคนโตของ แมททิว โนวส์ ผู้จัดการฝ่ายขายของซีร็อกซ์ และทีนา บียินเซ่ เป็นผู้ออกแบบเสื้อผ้าและทรงผม พ่อของโนวส์เป็นชาวแอฟริกันอเมริกัน ส่วนแม่ของเธอเป็นชาวครีโอล (บรรพบุรุษเป็น ชาวแอฟริกันอเมริกัน, พื้นเมืองอเมริกัน, ฝรั่งเศส, เคจัน, ไอริช และสเปน) [6] คุณตาและยายของเธอ ลูมิส อัลเบร์ต บียินเซ่ และ แอกเนซ เดเรออน เป็นชาวหลุยส์เซียนาครีโอล (เชื้อสายฝรั่งเศส-แอฟริกัน)[6] เธอเป็นพี่สาวของโซลอนจ์ ซึ่งเป็นนักร้องและนักแต่งเพลง และนักแสดง",
"title": "บียอนเซ่ โนวส์"
}
] | [
{
"docid": "255946#0",
"text": "อโบฟแอนด์บียอนเซ่ - วิดีโอคอลเลคชั่นแอนด์แดนซ์มิกซ์ส () คืออัลบั้มมิกซ์และอัลบั้มวิดีโอของ บียอนเซ่ โนวส์ นักร้องสาวเพลงอาร์แอนด์บีชาวอเมริกัน อัลบั้มนี้ออกจำหน่ายในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โดย DVD และCD เป็นสินค้าพิเศษของวอล-มาร์ต",
"title": "อโบฟแอนด์บียอนเซ่ - วิดีโอคอลเลกชันแอนด์แดนซ์มิกซ์ส"
},
{
"docid": "258777#0",
"text": "บียอนเซ่ - ไลฟ์แอตเวมเบล์ย () คือ ดีวีดี/ซีดี อัลบั้มบันทึกการแสดงสด ของบียอนเซ่ โนวส์ นักร้องสาวเพลงอาร์แอนด์บีชาวอเมริกัน ซึ่งก็ได้ออกวางจำหน่ายวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2547 ภายในดีวีดีได้มีคอนเสิร์ตของเธอที่ Wembley Arena ใน เวมเบล์ย, ลอนดอน, อังกฤษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ คอนเสิร์ตทัวร์เดนเจอรัสลีอินเลิฟ",
"title": "บียอนเซ่ - ไลฟ์แอตเวมเบล์ย"
},
{
"docid": "61435#0",
"text": "บียอนเซ่ จิเซลล์ โนวส์ (English: Beyoncé Giselle Knowles) เกิดเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1981 เป็นนักร้องสไตล์อาร์แอนด์บี, นักแต่งเพลง, โปรดิวเซอร์, นักแสดง และ นางแบบ ชาวอเมริกัน โนวส์เกิดและเติบโตที่ฮิวส์ตัน รัฐเท็กซัส ในวัยเด็กบียอนเซ่ได้เข้าร่วมในการแสดงหลากหลายเรียนอนุบาลถึงประถม ซึ่งรวมไปถึงการร้องเพลง อันเป็นการปูทางสำหรับอาชีพการเป็นนักร้อง บียอนเซ่เริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในช่วงปี 1990 ในฐานะสมาชิกคนสำคัญของเดสทินีส์ไชลด์ วงดนตรีหญิงล้วนแนวอาร์แอนด์บีชื่อดังในยุคนั้น ตลอดชีวิตการทำงานของเธอ มียอดขายเกินกว่า 100 ล้านชุดในฐานะศิลปินเดียว[3]",
"title": "บียอนเซ่ โนวส์"
},
{
"docid": "270763#0",
"text": "\"บิวติฟูล์ไลอาร์\" () คือเพลงของบียอนเซ่ โนวส์ นักร้องเพลงอาร์แอนด์บี ชาวอเมริกัน และชาคีร่า นักร้องเพลงลาตินป็อปชาวโคลอมเบียน ซึ่งได้เขียนขึ้นโดย โนวส์, Amanda Ghost, Ian Dench, และ สมาชิกของ Stargate นั่นคือ Mikkel S. Eriksen และ Tor Erik Hermansen และผลิตขึ้นโดย Stargate และโนวส์สำหรับการวางจำหน่ายอัลบั้มเดี่ยวชุดสองของเธอ\"บี'เดย์\" อีกครั้ง และก็ได้มีฉบับมิกซ์เป็นภาษาสเปนและอังกฤษโดยใช้ชื่อว่า \"Bello Embustero\"",
"title": "บิวติฟูล์ไลอาร์"
},
{
"docid": "283053#0",
"text": "\"โบร์เคน-ฮาร์ตต์เกิร์ล\" () คือเพลงโดยบียอนเซ่ โนวส์ นักร้องอาร์แอนด์บี ชาวอเมริกัน จากผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 3 \"ไอแอม... ซาชาเฟียร์ส\" เพลงนี้ได้แต่งขึ้นโดยโนวส์, เคนเน็ธ เบบี้เฟส เอ็ดมอนส์, Mikkel S. Eriksen และ Tor Erik Hermansen และยังผลิตโดยตัวโนวส์เองร่วมกับ Stargate",
"title": "โบร์กเคน-ฮาร์ตเกิร์ล"
},
{
"docid": "61435#68",
"text": "หมวดหมู่:นักร้องอเมริกัน หมวดหมู่:นักแสดงอเมริกัน หมวดหมู่:บียอนเซ่ โนวส์ หมวดหมู่:สมาชิกวงเดสทินีส์ไชลด์ หมวดหมู่:ศิลปินสังกัดโคลัมเบียเรเคิดส์ หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายฝรั่งเศส หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายชนพื้นเมืองอเมริกัน หมวดหมู่:ผู้ที่ได้รับรางวัลแกรมมี หมวดหมู่:โปรดิวเซอร์เพลงชาวอเมริกัน หมวดหมู่:นักออกแบบเสื้อผ้าชาวอเมริกัน หมวดหมู่:บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ หมวดหมู่:นักร้องเสียงเมซโซ-โซปราโน หมวดหมู่:ผู้กำกับมิวสิกวิดีโอชาวอเมริกัน หมวดหมู่:บุคคลจากฮิวสตัน หมวดหมู่:นักร้องหญิงชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน",
"title": "บียอนเซ่ โนวส์"
},
{
"docid": "260336#0",
"text": "บีอีทีพรีเซนต์สบียอนเซ่ () คืออัลบั้มวิดีทัศน์ของบียอนเซ่ โนวส์ นักร้องสาวเพลงอาร์แอนด์บีชาวอเมริกัน ดีวีดีนี้ได้ออกวางจำหน่ายในรูปแบบคู่กับอัลบั้ม บี'เดย์ ซึ่งก็ได้บรรจุเบื้องหลังการถ่ายแบบของ บียอนเซ่ ร่วมไปถึงนักร้องอื่นๆพูดถึงอัลบั้มของเธอ",
"title": "บีอีทีพรีเซนต์สบียอนเซ่"
},
{
"docid": "61435#59",
"text": "ตั้งแต่ปี 2002 โนวส์ได้เริ่มคบหาดูใจกับแร็ปเปอร์หนุ่มชื่อว่า เจย์-ซีซึ่งเป็นบุคคลที่คอยช่วยเหลือเธอมาโดยตลอด ข่าวลือต่างๆได้เริ่มตอกย้ำความสัมพันธ์ระหว่างเขาทั้งสองคน หลังจากที่โนวส์ได้ร่วมร้องเพลงกับเจย์-ซี ในเพลง \"'03 บอนนีย์แอนด์ไคล์ด\"[106] และในปี 2005 ข่าวลือต่างๆก็ได้กระจายไปทั่วว่าบียอนเซ่ และ เจย์-ซี จะแต่งงานกัน แต่เมื่อได้สอบถามกับตัวโนวส์แล้ว เธอได้บอกว่าตัวเธอกับเจย์-ซีนั้นยังไม่ได้หมั้นหมายกันไว้แต่อย่างใด[107] และเมื่อผู้สื่อข่าวได้ถามอีกครั้งในเดือนกันยายน ปี 2007 เจย์-ซีก็ได้ตอบว่า \"One day soon - let's leave it at that.\"[108] ลอร่า เชรฟเฟอร์ ซึ่งเป็นนักเขียนอาวุโสของนิตยสาร OK! กล่าวว่า \"พวกเขาเป็นคนที่มีความเป็นส่วนตัวเอามากๆ\"[109] ในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2008 โนวส์กับเจย์-ซีได้แต่งงานกันในเมืองนิวยอร์กซิตี้[110] บียอนเซ่เปิดเผยว่าเธอเคยแท้งลูกราวปี 2010 หรือ 2011 ในสารคดีไลฟ์อิสบัตอะดรีม ทั้งนี้เธอได้แต่งเพลงให้กับความสูญเสียในครั้งนี้ด้วย",
"title": "บียอนเซ่ โนวส์"
},
{
"docid": "61435#22",
"text": "โนวส์กลับมากับอัลบั้ม บี'เดย์ ซึ่งออกวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 2006 ซึ่งตรงกับวันเกิดอายุครบ 25 ปีของเธอพอดี อัลบั้มนี้เปิดตัวที่อันดับ 1 ในชาร์ตบิลบอร์ด ด้วยยอดจำหน่ายกว่า 541,000 ชุด และเป็นอัลบั้มที่มียอดขายในสัปดาห์แรกสูงที่สุดในฐานะศิลปินเดี่ยว[49] นอกจากจะรับหน้าที่เป็นเอกซ์คูทีฟโปรดิวเซอร์ในอัลบั้มนี้แล้ว โนวส์ยังร่วมแต่งและโปรดิวซ์เพลงในอัลบั้มนี้ถึง 11 เพลงเลยทีเดียว ร่วมด้วยทีมงานโปรดิวเซอร์และนักแต่งเพลงระดับซุปเปอร์สตาร์เช่น สวิซ บีทซ์, ริช ฮาร์ริซัน, เดอะเนปจูนส์, ซีน การ์เรต, สตาร์ เกต, เจย์-ซี, โซแลงก์ โนวส์, เองเจลินา บียินเซ่, มาคีบา และ รอดนีย์ เจอร์กินส์[50]",
"title": "บียอนเซ่ โนวส์"
},
{
"docid": "61435#42",
"text": "ในบทความที่มีชื่อว่า \"บอร์นทูเอ็นเตอร์เทน\" โนวส์รวมถึงศิลปินคลาสสิกและร่วมสมัยอื่นๆ ได้รับคำชมจากการแสดงบนเวทีของเธอ[67] ในบทวิจารณ์คอนเสิร์ตทัวร์ไอแอม... ในปี ค.ศ. 2009ของเธอ อลิส โจนส์ของหนังสือพิมพ์<i data-parsoid='{\"dsr\":[44399,44416,2,2]}'>อินดีเพนเดนท์ ได้เขียนไว้ว่า \"Watching Beyoncé sing and strut her stuff can feel at best overawing, at worst, alienating. She takes her role as entertainer so seriously she's almost too good.\"[68] เดอะนิวยอร์กไทมส์ เขียนว่า \"มันมีความน่าทึ่งพร้อมกับน่าตื่นเต้นมากในการวางแผนของเธอที่จะทำให้ผู้ชมสนุกสนาน\"[69] รีนี มิเชลล์ ฮารริสของ<i data-parsoid='{\"dsr\":[45231,45252,2,2]}'>เซาท์ฟลอริดาไทมส์ เขียนว่า โนวส์ \"สามารถทำตัวเป็นเจ้าของเวทีพร้อมกับใส่เอกลักษณ์ของเธอและมีความเอาจริงเอาจัง... การแสดงที่มีเสียงร้องอันทรงพลังของเธอและไม่มีโน้ตใดที่ตกหล่นไป, การเต้นที่สมบูรณ์แบบ...ไม่มีใครทั้งนั้น, ไม่ใช่บริตนีย์, ไม่ใช่ซิเอรา และก็ไม่ใช่ริอานน่า สามารถทำอย่างที่เธอทำได้ ทั้งการร้องการเคลื่อนไหวที่สมบูรณ์ในเวลาเดียวกัน\"[70] และนี่เป็นการสะท้อนออกมาของลอร์เรน ชวารตซ์จาก<i data-parsoid='{\"dsr\":[45905,45925,2,2]}'>ดิเอกซ์แซมิเนอร์ ผู้ที่เขียนไว้ว่า \"ในเวลาน้อยกว่าหนึ่งปี ฉันได้เห็น มาดอนน่า, บริตนีย์, และบียอนเซ่... [บียอนเซ่]ดีกว่าสามคนนั้นอยู่ไกลมาก\"[71]",
"title": "บียอนเซ่ โนวส์"
},
{
"docid": "61435#67",
"text": "(in Thai) (in English) (in Thai) at AllMusic (in English) on IMDb (in English)",
"title": "บียอนเซ่ โนวส์"
},
{
"docid": "61435#47",
"text": "ต่อมาเมื่ออัลบั้ม 4 ถูกปล่อยในช่วง 2011 พร้อมซิงเกิลเปิดอัลบั้มอย่าง \"รันเดอะเวิลด์ (เกิร์ลส) ซึ่งประกาศความเป็นสตรีนิยมของบียอนเซ่อย่างเต็มตัว และตอกย้ำภาพลักษณ์ความเป็นสตรีนิยมให้เด่นชัดมากขึ้นอีกในเพลง \"***ฟลอว์เลส\" จากอัลบั้ม<i data-parsoid='{\"dsr\":[51249,51261,2,2]}'>บียอนเซ่ ที่มีเนื้อหาให้ผู้หญิงมีความมั่นใจในตนเอง และมีสุนทรพจน์ของชิมามานดา อะดิชี นักเขียนชาวไนจีเรียอยู่ในเพลงด้วย ต่อมาในปี 2015 บียอนเซ่ได้ร่วมแสดงในเทศกาลดนตรีเมดอินอเมริกาและเทศกาลโกลบอลซิตีเซน ซึ่งมีนัยด้านสตรีนิยมปรากฏ",
"title": "บียอนเซ่ โนวส์"
},
{
"docid": "247270#0",
"text": "รายชื่อผลงานของ บียอนเซ่ โนวส์ นักร้องอาร์แอนด์บี ชาวอเมริกัน ซึ่งประกอบไปด้วย 5 สตูดิโออัลบั้ม, 2 อีพี, 47 ซิงเกิล (รวมถึงซิงเกิลที่ได้รับเชิญ 9 ซิงเกิล), 4 ดีวีดีบันทึกการแสดงสด จากค่ายโคลัมเบียเรเคิดส์",
"title": "รายชื่อผลงานของบียอนเซ่ โนวส์"
},
{
"docid": "285189#0",
"text": "\"มี, มายเซลฟแอนด์ไอ\" () คือเพลงโดยบียอนเซ่ โนวส์ นักร้องเพลงอาร์แอนด์บี ชาวอเมริกัน แต่งขึ้นโดยโนวส์, Scott Storch และ Robert Waller และได้ดูแลการผลิตโดย Storch และโนวส์สำหรับอัลบั้มเปิดตัวของเธอ อัลบั้ม \"เดนเจอรัสลีอินเลิฟ\"",
"title": "มี, มายเซลฟแอนด์ไอ"
},
{
"docid": "256914#0",
"text": "บี'เดย์แอนโทโลจีวิดีโออัลบั้ม () คืออัลบั้มวิดีทัศน์ของบียอนเซ่ โนวส์ นักร้องสาวเพลงอาร์แอนด์บีชาวอเมริกัน ได้ออกวางจำหน่ายพร้อมกับ \"บี'เดย์ ฉบับดีลักซ์\" เมื่อวันที่3 เมษายน พ.ศ. 2550",
"title": "บี'เดย์แอนโทโลจีวิดีโออัลบั้ม"
},
{
"docid": "270332#0",
"text": "\"เดจาวู\" () คือเพลงของบียอนเซ่ โนวส์ นักร้อง-นักแต่งเพลง แนวอาร์แอนด์บี ชาวอเมริกัน ร่วมกับศิลปินแนวฮิปฮอปอย่างเจย์-ซี ซึ่งได้ผลิตขึ้นโดย Rodney \"Darkchild\" Jerkins และโนวส์สำหรับอัลบั้มเดี่ยวชุดที่สองของเธอ อัลบั้ม\"บี'เดย์\" เพลงนี้ได้ผสมผสานดนตรีแนวอาร์แอนด์บีร่วมสมัยและแนวฟังก์ยุค 70 และได้ใช้เครื่องดนตรีหลายๆชนิด โดยมีกีตาร์เบส, hi-hat, ฮอร์น, และดรัมแมชชีน Roland TR-808 ชื่อและเนื้อเพลงของเพลงนี้ได้อ้างอิงไปถึงหญิงที่กำลังคิดถึงคนรักที่จากไป",
"title": "เดจาวู (เพลงของบียอนเซ่ โนวส์)"
},
{
"docid": "260139#0",
"text": "บียอนเซ่ดิอัลติเมทเพอร์ฟอร์เมอร์ () คืออัลบั้มวิดีทัศน์ของบียอนเซ่ โนวส์ นักร้องสาวเพลงอาร์แอนด์บีชาวอเมริกัน จัดจำหน่ายโดย บีอีที และ โคลัมเบีย ในสหรัฐอเมริกา วันที่24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549",
"title": "บียอนเซ่ดิอัลติเมทเพอร์ฟอร์เมอร์"
},
{
"docid": "284494#0",
"text": "\"เฮโล\" () คือเพลงโดยบียอนเซ่ โนวส์ นักร้องอาร์แอนด์บี ชาวอเมริกัน แต่งขึ้นโดย Ryan Tedder และ Evan Bogart เพื่อสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 3 ของโนวส์ \"ไอแอม... ซาชาเฟียร์ส\" ในสหรัฐอเมริกาเพลงนี้ได้วางจำหน่ายวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2552 โดยเป็นซิงเกิลที่ 4 จากอัลบั้ม",
"title": "เฮโล (เพลง)"
},
{
"docid": "61435#63",
"text": "เดนเจอรัสลีอินเลิฟ (2003) บี'เดย์ (2006) ไอแอม... ซาชาเฟียร์ส (2008) โฟร์ (2011) บียอนเซ่ (2013) เลม่อนเนด (2016) เอฟวรี่ทิงสอิสเลิฟ (ร่วมกับ เจย์-ซี) (2018)",
"title": "บียอนเซ่ โนวส์"
},
{
"docid": "269310#0",
"text": "\"อีเรเพลสอเบิล\" () คือเพลงของบียอนเซ่ โนวส์ นักร้องสาวแนวอาร์แอนด์บี ชาวอเมริกัน ซึ่งแต่งขึ้นโดย นี-โย, Tor Erik Hermansen, Mikkel S. Eriksen, Espen Lind, Amund Bjørklund, และผลิตขึ้นโดย Stargateและโนวส์ สำหรับอัลบั้มเดี่ยวชุดที่สองของเธอ อัลบั้มบี'เดย์",
"title": "อีเรเพลสอเบิล"
},
{
"docid": "61435#52",
"text": "ปี 2005 โนวส์เปิดตัวธุรกิจห้องเสื้อที่เธอได้ร่วมมือกับทีน่า โนวส์ (แม่ของเธอ) โดยใช้ชื่อว่า เฮาส์ออฟเดเรออน (House of Deréon) [94] (เดเรออน คือชื่อยายของเธอ) ซึ่งงานออกแบบได้รับแรงบันดาลใจมาจากบรรพบุรุษในตระกูล ทัวร์คอนเสิร์ต เดสทินีฟูล์ฟิลด์ ... แอนด์เลิฟวิงอิทเวิลด์ทัวร์ ของเดสทินีส์ไชลด์ ได้เลือกใช้ชุดจากห้องเสื้อนี้ของเธอเองทั้งหมด ปัจจุบันได้มีการประยุกต์ธุรกิจนี้ร่วมกับผลงานของเธอที่ออกมาในขณะนั้นด้วย",
"title": "บียอนเซ่ โนวส์"
},
{
"docid": "285283#0",
"text": "\"นอติเกิร์ล\" () คือเพลงอาร์แอนด์บี-ดิสโก้ โดยบียอนเซ่ โนวส์ นักร้องเพลงอาร์แอนด์บี ชาวอเมริกัน แต่งขึ้นโดยโนวส์, Scott Storch, Robert Waller, และ Angela Beyincé สำหรับอัลบั้มเปิดตัวของโนวส์ \"เดนเจอรัสลีอินเลิฟ\" ดูแลการผลิตโดยโนวส์ และ Storch ควบคู่กันไปกับการได้รับรางวัลต่างๆตลอดมา เพลงนี้ก็ได้รับความตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์ต่างๆ",
"title": "นอติเกิร์ล"
},
{
"docid": "61435#38",
"text": "ในงานประกาศผลรางวัลแกรมมีครั้งที่ 57 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 บียอนเซ่เข้าชิงทั้งหมด 6 สาขาด้วยกัน และชนะในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ Best R&B Performance และ Best R&B Song จากเพลง \"ดรังอินเลิฟ\" และ Best Surround Sound Album จาก \"บียอนเซ่\" เธอเข้าชิงรางวัล Album of The Year ด้วย แต่เบ็กชนะไปด้วยอัลบั้มมอร์นิ่งเฟส",
"title": "บียอนเซ่ โนวส์"
},
{
"docid": "283220#0",
"text": "สวีตดรีมส์ () คือเพลงโดยบียอนเซ่ โนวส์ นักร้องอาร์แอนด์บี ชาวอเมริกัน จากผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 3 \"ไอแอม... ซาชาเฟียร์ส\" แต่งและดูแลการผลิตโดยโนวส์, James Scheffer, Wayne Wilkins, และ Rico Love เพลงนี้ปล่อยซิงเกิลวิทยุเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยเป็นซิงเกิลที่ 6 จากอัลบั้ม",
"title": "สวีตดรีมส์"
},
{
"docid": "61435#62",
"text": "ดูบทความหลักที่ รายชื่อผลงานของบียอนเซ่ โนวส์",
"title": "บียอนเซ่ โนวส์"
},
{
"docid": "229831#14",
"text": "ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 พรินซ์ได้ปรากฏตัวในงานรางวัลแกรมมี่ ครั้งที่ 47 พร้อมกับ บียอนเซ่ โนวส์ ในการแสดงสดเปิด ที่เล่นเพลงเมดเล่ย์ของ \"Purple Rain\", \"Let's Go Crazy\", \"Baby I'm a Star\",และเพลงของบียอนเซ่ \"Crazy in Love\" เดือนต่อมา พรินซ์ได้มอบรางวัลในงานหอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล ",
"title": "พรินซ์"
},
{
"docid": "61435#37",
"text": "วันที่ 13 ธันวาคม 2013 โนวส์ได้ออกสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 5 ใช้ชื่อว่า บียอนเซ่ ลงบนไอทูนส์โดยปราศจากการประกาศล่วงหน้า และขึ้นแท่นบิลบอร์ดอันดับที่ 1 ในบิลบอร์ด 200 ทำให้เธอกลายเป็นผู้หญิงคนแรกที่มีอัลบั้ม 5 อัลบั้มแรกเปิดตัวบนชาร์ตด้วยอันดับ 1 อัลบั้มนี้ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในทางที่ดีและขายได้ 617,000 ชุด ภายใน 3 วันในสหรัฐฯ (828,773 ทั่วโลก) เป็นอัลบั้มที่สร้างปรากฏเหนือความคาดหมายในวงการเพลงส่งท้ายปี โดยนำเสนอในรูปแบบเพลงจำนวน 14 เพลง (16 เพลง [\"โกสต์\" / \"ฮอนเท็ด\" และ \"ยอนเซ่\" / \"พาร์ทิชั่น\" เป็นเพลงต่อ]) และมิวสิกวีดีโอ 17 เพลง แถมโบนัสวิดีโอ \"โกรนวูแมน\" โดยมีบูทส์, ทิมบาแลนด์, จัสติน ทิมเบอร์เลค, เจ ร๊อซ, เจย์ ซี, พาเรียล, เดอะ ดรีม, ฮิตบอย, ไรอัน แทนเดอร์, เซีย, มิเกล, เดรก, มาจิด จอร์แดน, แฟรงก์ โอเชียน ฯลฯ เป็นโปรดิวเซอร์ [64] บียอนเซ่ปล่อยซิงเกิลเอ็กโอและดรังอินเลิฟที่พีกขึ้นอันดับ 2 บนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 หลังจากการแสดงที่งานประกาศผลรางวัลแกรมมี 2014 ตามด้วยพาร์ทิชั่นและพริตทีเฮิร์ตส เดือนเมษายน 2014 บียอนเซ่และเจย์ซีประกาศทัวร์คอนเสิร์ตร่วมกันอย่างเป็นทางการ ใช้ชื่อว่า \"ออนเดอะรันทัวร์\" โดยกวาดรายได้กว่าร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐด้วยจำนวนรอบ 21 รอบ ในเดือนสิงหาคม 2014 เธอได้รับรางวัลไมเคิลแจ็กสันแวนการ์ดในงานประกาศผลรางวัลเอ็มทีวี วิดีโอ มิวสิก อวอร์ดส 2014 และยังชนะอีก 3 รางวัล ได้แก่ Best Video with a Social Message และ Best Cinematography จากพริตทีเฮิร์ตสและ Best Collaboration จากดรังอินเลิฟ ในเดือนพฤศจิกายน นิตยสารฟอบส์รายงานว่า บียอนเซ่เป็นผู้หญิงในวงการเพลงที่ทำรายได้สูงสุดติดกันเป็นปีที่ 2 โดยทำรายได้ไป 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในหนึ่งปี ซึ่งมากกว่ารายได้ของเธอในปี 2013 กว่าสองเท่า ต่อมาบียอนเซ่ปล่อย บียอนเซ่ ฉบับแพลตินั่ม พร้อม 2 เพลงใหม่ ได้แก่ 7/11 และริงออฟ และ 4 เพลงรีมิกซ์ หนึ่งในนั้นมีสแตนดิงออนเดอะซัน ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้ในโฆษณาของ H&M ด้วย",
"title": "บียอนเซ่ โนวส์"
},
{
"docid": "285112#0",
"text": "\"ริงดิอลาร์ม\" () คือเพลงแนวอาร์แอนด์บี-ฮิปฮอปโซล แต่งขึ้นโดยบียอนเซ่ โนวส์, Kasseem \"Swizz Beatz\" Dean, และ Sean Garrett สำหรับสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 2 ของบียอนเซ่ \"บี'เดย์\"",
"title": "ริงดิอลาร์ม"
},
{
"docid": "61435#46",
"text": "— สุนทรพจน์ของชิมามานดา อะดิชี ในเพลง ***ฟลอว์เลส [81]",
"title": "บียอนเซ่ โนวส์"
}
] |
3035 | ศรีสะเกษ ศ.รุ่งวิสัย เกิดวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "413066#1",
"text": "ศรีสุข รุ่งวิสัย เกิดเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2506 ที่จังหวัดศรีสะเกษ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง",
"title": "ศรีสุข รุ่งวิสัย"
}
] | [
{
"docid": "535869#1",
"text": "ศรีสะเกษ นครหลวงโปรโมชั่น มีชื่อจริงตามบัตรประจำตัวประชาชน ว่า วิศักดิ์ศิลป์ วังเอก มีชื่อเล่นว่า \"ตั้ม\" แต่เพื่อน ๆ นิยมเรียกว่า \"แหลม\" ตามลักษณะของใบหน้า เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2529 ที่ตำบลแต้ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ในครอบครัวนักมวย ที่มีปู่, พ่อ และอา ล้วนแต่เป็นนักมวยทั้งสิ้น โดยเป็นลูกชายคนโตในจำนวนลูกชายทั้งหมด 3 คน ของนายเจียมศักดิ์ และนางหนูรัตน์ วังเอก ซึ่งลูก ๆ ทุกคนก็ล้วนแต่เป็นนักมวยทั้งหมด ศรีสะเกษจบการศึกษาเทียบเท่าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ปัจจุบันกำลังศึกษาระดับปริญญาตรีที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา และได้รับบรรจุเข้าเป็นข้าราชการตำรวจ สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ ในอัตราชั้นยศ สิบตำรวจตรี (ส.ต.ต)",
"title": "ศรีสะเกษ ศ.รุ่งวิสัย"
},
{
"docid": "535869#4",
"text": "จนกระทั่ง สุริยัน ศ.รุ่งวิสัย นักมวยในสังกัดนครหลวงโปรโมชั่น ได้เสียแชมป์โลกในรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท ของสภามวยโลก ให้กับ โยตะ ซะโต นักมวยชาวญี่ปุ่นถึงถิ่นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ทางต้นสังกัดจึงได้หมายมั่นให้ศรีสะเกษขึ้นชิงแชมป์โลกในรุ่นนี้แทนด้วยสัญญาที่มีไว้ผูกพันกับทางซะโต จึงทำให้ซะโตหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่มาเดินทางมาป้องกันตำแหน่งถึงในประเทศไทย",
"title": "ศรีสะเกษ ศ.รุ่งวิสัย"
},
{
"docid": "535869#3",
"text": "จากนั้น ศรีสะเกษได้เข้าสู่สังกัด นครหลวงโปรโมชั่น ของสุรชาติ พิสิฐวุฒินันท์ โดยมีผู้สนับสนุนหลัก คือ ศรีสุข รุ่งวิสัย สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จังหวัดศรีสะเกษ จึงได้รับการสร้างสรรค์อย่างแท้จริง โดยได้แชมป์ในรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท ของสภามวยโลกเอเชีย (WBC ASIA) มาก่อน ในปี พ.ศ. 2554 จากนั้นจึงป้องกันตำแหน่งไว้ได้ทั้งหมด 3 ครั้ง สลับกับการชกอุ่นเครื่องธรรมดา ทำสถิติชนะน็อกรวด 17 ครั้ง",
"title": "ศรีสะเกษ ศ.รุ่งวิสัย"
},
{
"docid": "535869#10",
"text": "ชีวิตส่วนตัว ศรีสะเกษเคยมีภรรยา คือ พัชรีวรรณ กัณหา (ชื่อเล่น: เก๋) โดยอยู่กินกันโดยไม่ได้มีพิธีสมรส โดยในระยะแรกที่เดินทางเข้ามากรุงเทพมหานคร ศรีสะเกษรวมทั้งภรรยามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบากมากด้วยความยากจน ตัวศรีสะเกษเองก็เคยผ่านอาชีพมาแล้วหลากหลาย ทั้งพนักงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) หรือแม้กระทั่งเก็บขยะขาย หรือต้องคุ้ยหาอาหารในกองขยะ และหลังจากได้แชมป์โลกในครั้งที่สอง ศรีสะเกษได้รับการบรรจุเข้ารับราชการตำรวจในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ อันเป็นบ้านเกิด",
"title": "ศรีสะเกษ ศ.รุ่งวิสัย"
},
{
"docid": "535869#0",
"text": "ศรีสะเกษ ศ.รุ่งวิสัย หรือ ศรีสะเกษ นครหลวงโปรโมชั่น เป็นแชมป์โลกชาวไทยในรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท (115 ปอนด์) ของสภามวยโลก (WBC) 2 สมัย ในกลางปี พ.ศ. 2560 เว็บไซต์บ็อกเรกดอตคอมได้ยกให้เป็นนักมวยชาวเอเชียอันดับ 1 และเป็นนักมวยอันดับ 5 ของโลก เมื่อเทียบกันรุ่นต่อรุ่น อีกทั้งยังได้รับการยอมรับจากเดอะริงให้เป็นแชมป์โลกในรุ่นเดียวกัน",
"title": "ศรีสะเกษ ศ.รุ่งวิสัย"
},
{
"docid": "535869#5",
"text": "ศรีสะเกษ ศ.รุ่งวิสัย สามารถเอาชนะทีเคโอ โยตะ ซะโต ไปได้ในต้นยกที่ 8 เมื่อกรรมการห้ามบนเวทีชาวอิตาเลียนได้ยุติการชก ด้วยเวลา 1.23 นาที หลังจากยกที่ 7 ในช่วงกลางยกถึงปลายยกเป็นฝ่ายไล่ชกซะโตอยู่ข้างเดียว ทำให้ศรีสะเกษได้เป็นแชมป์โลกไปในทันที ซึ่งก่อนหน้านั้นการชกก็เป็นไปในลักษณะนี้อยู่แล้ว โดยที่ซะโตนาน ๆ ที จึงจะออกหมัดสวนมาครั้งหนึ่ง ซึ่งก่อนการชกนั้นทางศรีสะเกษได้วางแผนการชกให้ศรีสะเกษเป็นฝ่ายเดินบุกอัดลำตัวของซะโต มาตั้งแต่ยกต้น ๆ และลงนวมซ้อมไปทั้งสิ้น 200 ยก",
"title": "ศรีสะเกษ ศ.รุ่งวิสัย"
},
{
"docid": "535869#2",
"text": "ศรีสะเกษเคยชกมวยไทยมาก่อนตั้งแต่อายุได้ 15 ปี ในละแวกบ้าน ใช้ชื่อว่า \"ซูเปอร์เล็ก ศิษย์ประเทือง\" ได้ค่าตัวครั้งแรก 1,000 บาท แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก จากนั้นเมื่อตัดสินใจมุ่งหน้าเดินทางเข้ามาแสวงโชคที่กรุงเทพมหานคร ก็ได้ใช้ชื่อว่า \"วรวุฒิ ว.ป.ศรีสะเกษ\" และ \"วรวุฒิ ศิษย์ทรายทอง\" ในสังกัดศิษย์ทรายทอง ก่อนจะหันมาชกมวยสากลอาชีพในปี พ.ศ. 2552 ด้วยการเดินทางไปชกที่ประเทศญี่ปุ่น โดยพบกับ อะกิระ ยะเอะงะชิ นักมวยเจ้าถิ่น ซึ่งศรีสะเกษเป็นฝ่ายแพ้น็อกไปในยกที่ 3 จากกำหนดทั้งหมด 8 ยก ซึ่งต่อมายะเอะงะชิ ยังได้เป็นแชมป์โลกในรุ่นมินิมั่มเวท (105 ปอนด์) ของสมาคมมวยโลก (WBA) และแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท (112 ปอนด์) ของสภามวยโลก",
"title": "ศรีสะเกษ ศ.รุ่งวิสัย"
},
{
"docid": "630471#1",
"text": "รุ่ง สุริยา เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่ง ฉายา \"สุภาพบุรุษลูกทุ่ง\" มีชื่อจริงว่า ณรงค์ แซ่วี เป็นชาวจังหวัดพิษณุโลก เกิดเมื่อวันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2513 ที่จังหวัดพิษณุโลก สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยรุ่งมีผลงานสร้างชื่อจากเพลง \"วอนพ่อตากสิน\" , \"รักจริงให้ติงนัง\", และอีกมากมาย รุ่ง สุริยา รักการร้องเพลงเป็นชีวิตจิตใจ ขึ้นเวทีประกวดร้องเพลงมาอย่างโชกโชน โดยเฉพาะในแนวเพลงของ ยอดรัก สลักใจ จนกระทั่งขึ้นเวทีประกวดของแอ็ดเทวดา ซึ่งก็ได้รับรางวัลชนะเลิศ เด็ดดวง ดอกรัก จึงสนับสนุนให้เป็นนักร้องอัดแผ่นเสียง ตอนนั้นใช้ชื่อว่า ดุษฎี ดอกรัก เริ่มต้นจากบันทึกเสียงเพลงอมตะก่อน เช่น น้ำตาลก้นแก้ว รอยไถแปร แม่ค้าตาคม ชวนน้องแต่งงาน ฯลฯ ต่อมาได้พบกับ พร พนาไพร อดีตศิษย์เอกของครูสุรพล สมบัติเจริญ พร ชอบในน้ำเสียงจึงชวนให้มาอัดแผ่นเสียงอีก และตั้งชื่อให้ใหม่ว่า รุ่ง สุริยา และได้บันทึกเสียงเพลงชุด วอนพ่อตากสิน ในปี พ.ศ. 2540 จนเริ่มรู้จักมากขึ้น ต่อมาเจนภพ จบกระบวนวรรณ นักจัดรายการวิทยุคลื่นลูกทุ่งเอฟ เอ็ม แต่งเพลง รักจริงให้ติงนังให้กับ รุ่ง สุริยา ซึ่งเพลงนี้เป็นเพลงที่สร้างชื่อให้รุ่ง สุริยา มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541",
"title": "รุ่ง สุริยา"
},
{
"docid": "388378#1",
"text": "สุริยันได้แชมป์โลกมาจากการเอาชนะคะแนนแบบเป็นเอกฉันท์ 12 ยก จาก โธมัส โรฮาส นักมวยชาวเม็กซิกัน ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยชนะไปด้วยคะแนน 115-114, 116-112 และ 117-111",
"title": "สุริยัน ศ.รุ่งวิสัย"
}
] |
348 | โดกาปอง ถูกผลิดเป็นครั้งแรกโดยบริษัทอะไร? | [
{
"docid": "53838#1",
"text": "โดกาปอง ถูกผลิดเป็นครั้งแรกโดยบริษัท แอสมิค-เอส และบริษัท สตริง (Sting) ประเทศญี่ปุ่น ลักษณะส่วนใหญ่ของเกมนี้มักจะเน้นไปที่วัยเด็กเป็นหลัก เพราะลักษณะรูปภาพจะเน้นออกไปทางสีสันที่น่ารัก ๆ",
"title": "โดกาปอง"
}
] | [
{
"docid": "205562#8",
"text": "สำหรับเครื่องดื่มชูกำลังในประเทศไทยนั้น เข้ามาเป็นครั้งแรกโดยลิโพวิตันดีเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยกรรมสิทธิ์ในการผลิตเป็นของบริษัทโอสถสภา หลังจากนั้นในอีก 4 ปีต่อมา (พ.ศ. 2524) บริษัท ไทยฟามาซูติคอล จำกัด ก็ได้เริ่มนำเครื่องดื่มชูกำลังเข้าสู่ท้องตลาด โดยใช้ชื่อ \"กระทิงแดง\" ภายใต้สโลแกน \"กระทิงแดง...ซู่ซ่า\" แต่ในปี พ.ศ. 2528 โอสถสภาก็ส่ง \"เอ็ม-150\" เข้ามาตีตลาดของ ลิโพวิตันดี เนื่องจากในขณะนั้น เอ็ม-150 มีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 4% เมื่อเทียบกับกระทิงแดงที่มีส่วนแบ่งการตลาดถึง 50% ในปี พ.ศ. 2543 เอ็ม-150 สามารถแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดจากกระทิงแดงได้สำเร็จ ในขณะนั้นทำส่วนแบ่งการตลาดได้ถึง 40% โดยเอ็ม-150 ยังสามารถรักษาส่วนแบ่งการตลาดนี้มาได้จนถึงปัจจุบัน",
"title": "เครื่องดื่มชูกำลัง"
},
{
"docid": "10069#3",
"text": "โคคา-โคลา หรือ โค้ก ออกจำหน่ายในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2492 ในปริมาณบรรจุขวดละ 6.5 ออนซ์ จำหน่ายราคา 1.50 บาท โดย นายรักษ์ ปันยารชุน นักธุรกิจชาวไทยร่วมกับหุ้นส่วนชาวต่างชาติ ดำเนินการขออนุมัติลิขสิทธิ์ขวด เป็นผู้จัดจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 และต่อมาได้ขายลิขสิทธิ์ดังกล่าวให้แก่บริษัทผลิตเครื่องดื่ม ไทยเพียว จำกัด ปัจจุบัน กลุ่มบริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด และ บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการจัดจำหน่ายใน 14 จังหวัดภาคใต้ เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่ม โคคา-โคลา ในประเทศไทย",
"title": "โคคา-โคล่า"
},
{
"docid": "22630#3",
"text": "ผงชูรสมีการขายในเชิงพานิชย์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1909 (พ.ศ. 2452) ภายใต้ชื่อการค้าเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า \"อายิโนะโมะโต๊ะ\" (Ajinomoto หมายถึง แก่นแท้ของรสชาติ) ในประเทศญี่ปุ่น โดยใช้วิธีการย่อยแป้งสาลีด้วยกรดเพื่อให้ได้กรดอะมิโนแล้วจึงแยกกลูตาเมตออกมาภายหลัง ผงชูรสที่ผลิตในเชิงพาณิชย์ในสมัยใหม่ผลิตขึ้นโดยการหมักด้วยจุลินทรีย์ในกลุ่ม \"Corynebacterium\" ในประเทศไทยใช้แป้งมันสำปะหลังและกากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบหลัก ตลาดผงชูรสโลกมีขนาด 1.5 ล้านต้น ในปี พ.ศ. 2544 และคาดว่ามีการเติบโตในอัตราปีละ 4% ในเชิงพานิชย์มีการใช้ผงชูรสเป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มวัตถุเจือปนอาหาร ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อนุญาตให้ใช้ได้ในอาหารที่บริโภคโดยคนทั่วไป และพบได้ในอาหารว่างประเภทขนมขบเคี้ยว อาหารแช่แข็ง และอาหารปรุงสำเร็จ เช่น เครื่องปรุงรสสำหรับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น ในภาษาจีน เรียกผงชูรสว่า \"เว่ยจิง\"",
"title": "โมโนโซเดียมกลูตาเมต"
},
{
"docid": "150504#7",
"text": "สำหรับในประเทศไทย ภายหลังอัตราภาษีใหม่ของอาฟต้า ทำให้บริษัทพระนครยนตรการได้นำโปรตอนเข้ามาขาย โดยเปิดตัวครั้งแรกในงานมอเตอร์เอกซ์โปที่เมืองทองธานี ช่วงปลายปี 2550 ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม มียอดจองเกิน 1,000 คัน และได้ทยอยส่งมอบรถให้กับผู้ที่สั่งจองแล้ว ปัจจุบัน โปรตอนมีรถยนต์เข้ามาขาย 7 รุ่น คือ เซฟวี่ ซากา ซาเทรีย-นีโอ เจนทู เพอร์โซนา เอ็กซ์โซร่า และล่าสุด เพรเว่",
"title": "โปรตอน โฮลดิงส์"
},
{
"docid": "145468#6",
"text": "โทไกโดชิงกันเซ็ง ได้เปิดใช้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) ซึ่งทันเวลาสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1964 ณ กรุงโตเกียวพอดี ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จทันทีทีเปิดใช้บริการ โดยมีจำนวนผู้โดยสารถึง 100 ล้านคนในเวลาน้อยกว่า 3 ปีคือวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) และยอดผู้โดยสารรวมมีจำนวนถึง 1,000 ล้านคนในปี 1976 และรถไฟขบวนโดยสาร 16 ตู้ก็ได้นำมาจัดแสดงในงานนิทรรศการปี 70 ที่โอซากะ",
"title": "ชิงกันเซ็ง"
},
{
"docid": "211529#62",
"text": "เลดี้กาก้าเฟม ซึ่งเป็นน้ำหอมแรกของเลดี้ กาก้า ผลิตโดยเฮาส์แลบอราทอรีส์ (Haus Laboratories) ร่วมกับบริษัทโคตี (Coty, Inc.) โดยใช้เทคโนโลยี push-pull ในการผสมส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน ซึ่งมาในรูปแบบน้ำสีดำ โดยจำหน่ายในเมริกาที่ห้างเมซีส์ (Macy's) เฟม เป็นน้ำหอมแบรนด์แรกของโลกที่มีน้ำเป็นสีดำสนิท โดยกาก้ากล่าวว่า น้ำหอมเป็นสีดำ แต่เมื่อฉีดโดนผิวหนังแล้ว จะไม่มีคราบสีดำติดผิวหนัง แม้จะเป็นผ้าสีขาวบริสุทธิ์ น้ำหอมเฟมยังขึ้นเป็นน้ำหอมขายดีอันดับ 1 ของสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และอีกหลายๆประเทศที่น้ำหอมขึ้นท็อปส์อันดับ 1 น้ำหอมเฟม มีสโลแกนว่า THE FIRST EVER BLACK eau de PARFUM น้ำหอมเฟม จำหน่ายได้ 28 ล้านขวด ภายในอาทิตย์แรกที่วางจำหน่าย ซึ่งมียอดขายมากกว่าน้ำหอมศิลปินอื่น อาทิเช่น บียอนเซ่ มาดอนน่า บริทนีย์ สเปียร์ส เคที เพอร์รี่ ปัจจุบันน้ำหอมเฟมมียอดขายตั้งแต่เปิดตัวรวม 30 ล้านขวด ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จมาก",
"title": "เลดีกากา"
},
{
"docid": "212961#1",
"text": "การ์ตูนชุดปังปอนด์ได้มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2545 โดยบริษัท วิธิตา แอนิเมชัน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบันลือกรุ๊ป (เครือเดียวกับสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น) ในชื่อ \"ปังปอนด์ ดิ แอนิเมชัน ตอน ตะลุยโลกอนาคต\" ออกฉายครั้งแรกเป็นตอน ๆ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 ได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างสูง จากสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในดาราการ์ตูนชั้นนำของไทย และได้มีการตัดต่อใหม่สำหรับฉายในโรงภาพยนตร์ในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน เพื่อฉลองครบรอบ 10 ปี การ์ตูนชุดปังปอนด์ ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนี้นับได้ว่าเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่สร้างด้วยภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก 3 มิติตลอดทั้งเรื่อง เนื่องจากที่ผ่านมาภาพยนตร์แอนิเมชันในประเทศไทยล้วนแต่เป็นภาพแบบ 2 มิติทั้งสิ้น และยังเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ภาพยนตร์แอนิเมชั่นไทยเรื่องแรก ที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ หลังจากนั้นบริษัท วิธิตายังได้สร้างการ์ตูนแอนิเมชันชุด ปังปอนด์ ต่อเนื่องออกมาหลายชุดจนถึงปัจจุบัน โดยการ์ตูนแอนิเมชันชุดล่าสุดคือ \"ปังปอนด์ ตัวจิ๋ว หัวใจฮีโร่\"",
"title": "ปังปอนด์"
},
{
"docid": "115184#2",
"text": "ต่อมาในปี 2530 โกดักเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ 7 ชนิดซึ่งใช้ในการบันทึก จัดระเบียบข้อมูล แปลงสัญญาณและใช้พิมพ์ภาพสี ต่อมาปี 2533 โกดักพัฒนาระบบซีดีภาพซึ่งเป็นมาตรฐานใช้เทียบระดับความเพี้ยนของสีในการส่งข้อมูลภาพผ่านระบบคอมพิวเตอร์ทั่วโลก ปีถัดมาบริษัท โกดักพัฒนาระบบดีซีเอส (Digital Camera System) สำหรับช่างภาพมืออาชีพ โดยกล้อง Nikon รุ่น F-3 มีความละเอียดสูง 1.3 เมกะพิกเซล กล้องดิจิตอลตัวแรกที่เป็นที่นิยมในครัวเรือนและทำงานกับคอมพิวเตอร์บ้านได้จริง คือ กล้อง Apple QuickTake 100 camera ที่ผลิตขึ้นเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2537 ปีถัดมาบริษัท โกดักและคาสิโอเปิดตัวกล้องรุ่น DC40 และ QV-11 ตามลำดับมาแข่งขันกิจการกล้องดิจิตอลบูมตลาดอย่างกว้างขวาง และเป็นอุปกรณ์ถ่ายภาพที่แพร่หลายไปทั่วโลก",
"title": "กล้องดิจิทัล"
},
{
"docid": "13714#5",
"text": "โดราเอม่อนถูกผลิตขึ้นในโรงงานมัตซึชิบะที่เมือง โตเกียว เมื่อวันที่ 3 กันยายน ในคริสต์ศตวรรษที่ 22 แต่ในระหว่างการผลิตเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ทำให้โดราเอมอนมีคุณสมบัติไม่เหมือนหุ่นยนต์แมวตัวอื่น ต้องเข้ารับการอบรมในห้องเรียนคลาสพิเศษของโรงเรียนหุ่นยนต์ (และได้พบกับเพื่อนๆ แก๊งขบวนการโดราเอมอนที่นั่น) จนกระทั่งวันหนึ่งในงาน \"โรบ็อต ออดิชั่น\"(การแสดงหุ่นยนต์) ซึ่งเป็นงานที่จัดให้มีการแสดงความสามารถของหุ่นยนต์ที่ได้ผ่านการอบรมแล้ว ด้วยความซุกซนของ เซวาชิ ในวัยเด็ก เขาจึงได้กดปุ่มเลือกซื้อโดราเอมอนมาไว้ที่บ้าน ด้วยเหตุนี้โดราเอมอนอาศัยอยู่กับตระกูลโนบิ ในฐานะหุ่นยนต์เลี้ยงเด็กแต่ในต้นฉบับดั้งเดิมนั้นจะแตกต่างกันคือโดราเอมอนได้ถูกนำไปขายทอดตลาดเพราะเป็นสินค้าไม่ได้คุณภาพ พ่อแม่ของเซวาชิจึงมาซื้อโดราเอมอนเพราะเห็นว่าราคาถูกจึงเอาไปไว้ที่บ้านเป็นพี่เลี้ยงเซวาชิ",
"title": "โดราเอมอน (ตัวละคร)"
}
] |
3540 | กระดูกคอของมนุษย์เชื่อมต่อกับกระดูกสันหลังใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "43092#0",
"text": "กระดูกสันหลัง (English: vertebral column) ในกายวิภาคของมนุษย์ คือกระดูกแกนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตั้งแต่ส่วนต้นคอ ลงมาจนถึงส่วนก้น ภายในมีไขสันหลัง ซึ่งอยู่ในช่องไขสันหลังอีกทีหนึ่ง",
"title": "กระดูกสันหลัง"
}
] | [
{
"docid": "71181#0",
"text": "กระดูกซี่โครง () เป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกมนุษย์ที่อยู่ในบริเวณส่วนอก ซึ่งจะเชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic vertebral column) ทางด้านหลัง กับกระดูกอก (Sternum) ทางด้านหน้า และประกอบขึ้นเป็นโครงร่างของผนังช่องอกและช่วยในการป้องกันอวัยวะภายในของช่องอกที่สำคัญ เช่นปอดและหัวใจ โดยทั่วไปแล้วในผู้ใหญ่จะมีกระดูกซี่โครงทั้งหมด 12 คู่ หรือ 24 ซี่ ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย อย่างไรก็ตามในบางคนอาจมีจำนวนของกระดูกซี่โครงที่มากกว่าหรือน้อยกว่าปกติได้เล็กน้อย",
"title": "กระดูกซี่โครง"
},
{
"docid": "167612#2",
"text": "ในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม กระดูกที่มีต้นกำเนิดเดียว (homologous) กับกระดูกโกลนมักเรียกว่า \"คอลัมเมลลา\" (columella) อย่างไรก็ตาม ในสัตว์เลื้อยคลานจะใช้คำเรียกได้ทั้งสองคำ",
"title": "กระดูกโกลน"
},
{
"docid": "882505#7",
"text": "ตามรายงานของสำนักงานวิจัยและคุณภาพการรักษาสุขภาพสหรัฐ (AHRQ)\nในปี 2554 มีการการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง 488,000 รายในโรงพยาบาลสหรัฐ (ที่อัตรา 15.7 ต่อประชากร 10,000) ซึ่งอยู่ในอัตรา 3.1% ของการผ่าตัดทั้งหมด\nและเพิ่มขึ้น 70% จากปี 2544\nโดยการเชื่อมกระดูกส่วนเอวสามัญที่สุด ที่ ~210,000 รายต่อปี\nส่วนอกอยู่ที่ 24,000 รายต่อปี และส่วนคอ 157,000 รายต่อปี",
"title": "การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง"
},
{
"docid": "882505#1",
"text": "การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังทำมากที่สุดเพื่อบรรเทาความปวดและแรงกดต่อไขสันหลัง ที่เกิดเมื่อหมอนกระดูกสันหลัง (กระดูกอ่อนระหว่างข้อกระดูก) เสื่อม (degenerative disc disease)\nอาการทางแพทย์อื่น ๆ ที่รักษาด้วยวิธีนี้รวมทั้งช่องไขสันหลังตีบ กระดูกสันหลังเคลื่อน กระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังหัก กระดูกสันหลังคด และหลังโกง\nเหมือนกับการผ่าตัดอื่น ๆ ภาวะแทรกซ้อนอาจรวมทั้งการติดเชื้อ การเสียเลือด และความเสียหายต่อประสาท\nการเชื่อมยังเปลี่ยนการเคลื่อนไหวปกติของกระดูกสันหลัง ซึ่งสร้างภาระมากขึ้นกับข้อกระดูกเหนือและใต้ข้อที่เชื่อมเข้าด้วยกัน\nดังนั้น ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวก็คือกระดูกที่มีภาระมากขึ้นจะเสื่อม",
"title": "การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง"
},
{
"docid": "43092#9",
"text": "กระดูกสันหลังส่วนเอวทั้ง 5 ชิ้นจะมีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่น และมี transverse processes ที่บางและยาว ยกเว้นกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวชิ้นที่5 ซึ่งจะมีขนาดใหญ่เพื่อเป็นจุดเกาะของเอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกสันหลังส่วนเอวกับกระดูกเชิงกราน (ileolumbar ligaments) ซึ่งเชื่อมระหว่างกระดูกสันหลังชิ้นนี้กับกระดูกเชิงกราน",
"title": "กระดูกสันหลัง"
},
{
"docid": "168620#1",
"text": "กระดูกสันหลังส่วนคอมีทั้งหมด 7 ชิ้น เรียงตามลำดับตั้งแต่บนลงล่าง C-1 ถึง C-7 โดยมีแผ่นกระดูกอ่อนอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละชิ้น คอทำหน้าที่รับน้ำหนักของศีรษะและปกป้องเส้นประสาทซึ่งนำข้อมูลรับความรู้สึกและสั่งการจากสมองลงไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนี้คอยังมีความยืดหยุ่นซึ่งทำให้สามารถหมุนและงอได้ในหลายทิศทาง กระดูกสันหลังส่วนคอทั้งเจ็ดชิ้นจะเรียงตัวโค้งแอ่นมาทางด้านหน้าเล็กน้อย ส่วนโค้งของกระดูกสันหลังบริเวณคอนี้มีลักษณะโค้งน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับส่วนโค้งของกระดูกสันหลังอื่นๆ",
"title": "คอ"
},
{
"docid": "172004#0",
"text": "กระดูกนิ้วเท้าท่อนกลาง () เป็นกระดูกที่พบในรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ ในมนุษย์กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกที่อยู่ที่ปล้องกลางระหว่างข้อนิ้วของนิ้วเท้า สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น กระดูกนิ้วเท้าท่อนต้นจะปรากฏในตำแหน่งที่คล้ายๆ กับเท้าของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในอุ้งเท้า, ปีก, กีบ, หรือครีบ",
"title": "กระดูกนิ้วเท้าท่อนกลาง"
},
{
"docid": "43092#7",
"text": "กระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นแรก (First cervical vertebra) หรือ<b data-parsoid='{\"dsr\":[4142,4154,3,3]}'>แอตลาส (Atlas) เป็นกระดูกสันหลังที่ต่อกับกะโหลกศีรษะโดยตรง ลักษณะที่สำคัญคือจะไม่มีส่วนของ body แต่ตรงกลางจะเป็นช่องเปิดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยแนวกระดูกโค้งทั้งทางด้านข้าง ด้านหน้าและด้านหลังที่บริเวณผนังด้านข้างของช่องนี้ทางด้านบนจะเป็นจุดต่อกับปุ่มท้ายทอย (occipital condyle) ของกะโหลกศีรษะโดยข้อต่อท้ายทอย (atlanto-occipital joint) ขณที่ส่วนด้านล่างจะต่อกับ superior articular process ของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่สอง ที่แนวกระดูกโค้งทางด้านหน้าจะเป็นพื้นผิวข้อต่อสำหรับเดือยที่เรียกว่า เดนส์ (dens) ซึ่งยื่นขึ้นมาจาก body ของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่สอง และจะถูกตรึงไว้กับที่ด้วยเอ็นแนวขวาง (transverse ligaments of atlas) ซึ่งอยู่ทางด้านหลัง โครงสร้างนี้ทำหน้าที่คล้ายเดือยที่ทำให้แอตลาสสามารถหมุนได้ในระดับหนึ่ง ส่วน transverse processes ของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นแรกนี้จะยื่นออกไปทางด้านข้างมากเป็นพิเศษ ซึ่งจุดนี้จะเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของข้อต่อระหว่างกระดูกแอตลาสกับแอกซิส (Atlanto-axial joint) กระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่สอง (Second cervical vertebra) หรือ<b data-parsoid='{\"dsr\":[5147,5159,3,3]}'>แอกซิส (Axis) จะมีลักษณะที่สำคัญคือ dens ที่ยื่นขึ้นไปด้านบน นอกจากนี้ที่บริเวณด้านข้างเยื้องไปทางด้านบนเล็กน้อยของ dens จะมีรอยบุ๋มเล็กๆทั้งสองด้าน ซึ่งเป็นจุดเกาะของเอ็น alar ligaments ซึ่งเชื่อมระหว่าง dens กับ occipital condyle และป้องกันการหมุนที่มากเกินไประหว่างศีรษะและกระดูกสันหลังส่วนคอ",
"title": "กระดูกสันหลัง"
},
{
"docid": "844992#3",
"text": "กระดูกเหล่านี้ทำงานเหมือนคานงัดและลูกสูบ ที่แปลงแรงสั่นของแก้วหูที่มีความดันต่ำ ให้เป็นแรงสั่นมีความดันสูงเมื่อไปถึงช่องหูชั้นในรูปหอยโข่ง/คอเคลีย (cochlea) ที่เล็กกว่าซึ่งเรียกว่าช่องรูปไข่ (oval window) หรือ vestibular window\nจุดงัดเริ่มต้นคือกระดูกค้อนซึ่งเชื่อมกับแก้วหู เป็นตัวงัดกระดูกทั่ง ซึ่งจะงัดกับกระดูกโกลน ที่ทำหน้าที่คล้ายกับลูกสูบ โดยปลายจะปิดเชื่อมกับช่องรูปไข่ของคอเคลีย\nความดันเสียง (แรงสั่น) ที่สูงกว่าที่ช่องรูปไข่ เป็นเรื่องจำเป็นเพราะว่า หูชั้นในเลยช่องรูปไข่เข้าไปเป็นน้ำ ไม่ใช่อากาศเหมือนหูชั้นกลางและหูชั้นนอก\nกระดูกค้อนและกระดูกทั่งเป็นส่วนเหลือค้างจากกระบวนการวิวัฒนาการ โดยเป็นส่วนของกระดูกขากรรไกรของสัตว์เลื้อยคลานที่เป็นบรรพบุรุษ",
"title": "ระบบการได้ยิน"
},
{
"docid": "860308#20",
"text": "สัตว์มีกระดูกสันหลังบนบกวิวัฒนาการหูชั้นกลางอย่างเป็นอิสระจากกันและกันในสัตว์แต่ละพวก คือเป็นวิวัฒนาการแบบขนานกัน\nดังนั้น รูปแบบของหูชั้นกลางในโมโนทรีมและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นเธอเรียที่คล้ายกัน จึงจัดเป็นวิวัฒนาการเบนเข้า (convergent evolution) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า homoplasy\nหลักฐานซากดึกดำบรรพ์แสดงการแยกส่วนของหูออกจากกระดูกขากรรไกร ว่าเป็นวิวัฒนาการแบบเบนเข้า \nนอกจากนั้นแล้ว ยังชัดเจนอีกด้วยว่า แก้วหูที่พบในสัตว์บก และโครงสร้างที่เชื่อมต่อกัน เช่น ท่อยูสเตเชียน ยังเป็นวิวัฒนาการเบนเข้าในสัตว์แต่ละพวก ๆ ไม่ใช่เพราะมีบรรพบุรุษร่วมกัน",
"title": "วิวัฒนาการของคอเคลีย"
},
{
"docid": "168031#0",
"text": "โครงกระดูกแกน () เป็นชุดของกระดูกที่ประกอบด้วยกระดูกในร่างกายมนุษย์จำนวน 80 ชิ้นในศีรษะและลำตัวของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ กะโหลกศีรษะมนุษย์ (human skull) , กระดูกหูในหูชั้นกลาง (ossicles) , กระดูกไฮออยด์ (hyoid bone) ในลำคอ, หน้าอก และกระดูกสันหลัง โครงกระดูกแกนและโครงกระดูกรยางค์รวมกันเป็นโครงกระดูกมนุษย์",
"title": "โครงกระดูกแกน"
},
{
"docid": "872431#0",
"text": "กระดูกสันหลังหัก ()\nเป็นภาวะกระดูกหักที่กระดูกสันหลัง โดยมีรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้ง \nกระดูกสันหลังหักเหตุอัด (vertebral compression fracture)\nกระดูกแตก (burst fracture), กระดูกคอหัก (cervical fracture), กระดูกคอหักแบบ Jefferson, กระดูกคอหักแบบ Flexion teardrop, กระดูกสันหลังหักที่คอหรือที่อกแบบ Clay-shoveler, แบบ Chance, และแบบ Holdsworth fracture",
"title": "กระดูกสันหลังหัก"
},
{
"docid": "872439#3",
"text": "มีการผ่าตัดรักษาแบบต่าง ๆ โดยที่สามัญสุดก็คือการเชื่อมลำกระดูกสันหลังบริเวณที่บาดเจ็บเข้าด้วยกัน และเอาเศษกระดูกใหญ่ ๆ ที่แตกออก\nการผ่าตัดเชื่อมลำกระดูกสันหลัง (spinal fusion) จะยึดกระดูกสองลำหรือมากกว่านั้นเข้าด้วยกันโดยใช้ตัวยึดไทเทเนียม\nส่วนการผ่าตัดอีกอย่างที่สามัญน้อยกว่าก็คือ การเปลี่ยนกระดูกที่เสียหายด้วยกระดูกเทียม\nหรือด้วยกระดูกของผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้ว\nวิธีการสองอย่างสุดท้ายใช้ได้ดีในผู้สูงอายุ แต่ยังไม่ได้ลองในคนที่อายุน้อยกว่าเพราะเสถียรภาพระยะยาวยังไม่ชัดเจน",
"title": "Burst fracture"
},
{
"docid": "489158#0",
"text": "กระดองเต่า () เป็นลักษณะสำคัญที่ทำให้เต่ามีความแตกต่างจากสัตว์เลื้อยคลานในอันดับอื่น ๆ กระดองเต่าเป็นแคลเซียมที่ประกอบด้วยกระดูกในชั้นหนังเชื่อมรวมกับกระดูกซี่โครง กระดูกสันหลัง บางส่วนของกระดูกหัวไหล่ และกระดูกหน้าอก เนื่องจากกระดูกสันหลังส่วนลำตัว (ยกเว้นกระดูกคอและกระดูกหาง) เชื่อมรวมกับกระดอง กระดูกสันหลังในส่วนลำตัวจึงเคลื่อนไหวไม่ได้ เมื่อกระดูกซี่โครงเชื่อมรวมกับกระดองทำให้กระดูกหัวไหล่และกระดูกเชิงกรานต้องเลื่อนตำแหน่งเข้าไปอยู่ทางด้านในของกระดูกซี่โครง ซึ่งเป็นลักษณะจำเพาะของเต่า ซึ่งแตกต่างไปจากสัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ และสัตว์มีกระดูกสันหลังในชั้นอื่น ๆ ทุกชั้น ลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการเจริญและการแปรสภาพ 2 ประการ คือกระดองเต่าประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ กระดองหลัง และกระดองท้อง เชื่อมต่อกันทางด้านข้าง พื้นผิวด้านบนของกระดองหลังมีแผ่นแข็งของสารประกอบเคอราตินคลุมทับไว้หรือบางครั้งเป็นชั้นหนังอ่อนนุ่ม ได้แก่ วงศ์ Dermochelyidae (เต่ามะเฟือง), Trionychidae (ตะพาบ) และCarettochelyidae (เต่าบิน) แผ่นแข็งที่ปกคลุมพื้นผิวด้านบนของกระดองหลังไม่ได้มีแบบแผนและลักษณะการเรียงตัวสอดคล้องกับตัวกระดองหลัง กระดองหลังของเต่าอาจเป็นแผ่นแข็งแผ่นเดียวหรือเป็นแผ่นแข็งหลายแผ่นต่อกันไม่มั่นคงซึ่งแตกต่างกันในเต่าแต่ละกลุ่ม โดยมี ระยางค์ขา หัวและคอ และหางยื่นออกจากช่องทางด้านหน้าและทางด้านท้ายของกระดอง กระดองเต่าแต่ละชนิดมีรูปร่างแตกต่างกันมาก อาจมีรูปร่างโค้งนูนและสูงซึ่งส่วนมากเป็นกระดองของเต่าบก หรือมีรูปร่างแบนราบและเรียวยาวซึ่งเป็นของเต่าทะเลและเต่าน้ำ เป็นต้น",
"title": "กระดองเต่า"
},
{
"docid": "882505#13",
"text": "รายการต่อไปนี้เป็นตัวอย่างเทคนิคการเชื่อมกระดูกไขสันหลังที่สามัญเพื่อกระดูกแต่ละระดับ ๆการเชื่อมกระดูกสันหลังเป็นการผ่าตัดที่เสี่ยงสูงและภาวะแทรกซ้อนอาจหนัก รวมทั้งถึงตาย\nโดยทั่วไปแล้ว ความเสี่ยงจะสูงขึ้นในผู้มีอายุที่มีดัชนีมวลกายสูง มีโรคอื่น มีโภชนาการที่ไม่ดีและมีอาการทางประสาทอื่น ๆ (เช่น เหน็บชา ไม่มีแรง ปัญหาการกลั้นปัสสาวะอุจจาระ) ก่อนผ่าตัด\nภาวะแทรกซ้อนยังขึ้นอยู่กับประเภทและขอบเขตของการผ่าตัด\nมีเวลาสามช่วงที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนการฟื้นตัวหลังการเชื่อมกระดูกสันหลังต่างกันมาก โดยขึ้นอยู่กับศัลยแพทย์และประเภทการผ่าตัด\nคนไข้จะอยู่ในโรงพยาบาลโดยเฉลี่ย 3.7 วัน\nแต่ก็มีคนไข้บางพวกที่สามารถกลับบ้านในวันเดียวกันถ้าเป็นการเชื่อมกระดูกส่วนคอแบบง่าย ๆ และทำในศูนย์ผ่าตัดผู้ป่วยนอก\nการผ่าตัดที่เจาะผ่าน้อย (Minimally invasive surgeries) ยังลดเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลอย่างสำคัญอีกด้วย\nการฟื้นสภาพมักจะมีข้อจำกัดในกิจกรรมและการฝึกฟื้นสมรรถภาพ\nโดยข้อจำกัดหลังจากการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับแพทย์",
"title": "การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง"
},
{
"docid": "43092#10",
"text": "กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บเป็นกระดูกห้าชิ้นที่เชื่อมรวมกันเป็นชิ้นเดียว และมีปลายชี้ไปทางด้านล่าง ลักษณะของกระดูกชิ้นนี้จะเว้าทางด้านหน้าและนูนออกไปทางด้านหลัง ทางด้านบนจะมีรอยต่อขนาดใหญ่กับกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวชิ้นที่ 5 ส่วนด้านล่างจะต่อกับกระดูกสันหลังส่วนก้นกบ ที่ด้านข้างรอยต่อรูปตัว L ขนาดใหญ่เพื่อต่อกับกระดูกเชิงกราน พื้นผิวทั้งด้านหน้าและด้านหลังจะมีช่องเปิดอยู่ด้านละ 4 คู่ ซึ่งคือ posterior and anterior sacral foramina ซึ่งเป็นทางออกของแขนงเส้นประสาทจากไขสันหลังที่ออกไปสู่บริเวณเชิงกรานและขา สำหรับกระดูกสันหลังส่วนก้นกบ (Coccyx) จะอยู่ด้านล่างสุดของกระดูกสันหลัง เป็นกระดูกเล็กๆรูปสามเหลี่ยม และไม่มีทั้ง vertebral arch และ vertebral canal",
"title": "กระดูกสันหลัง"
},
{
"docid": "43092#3",
"text": "กระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical vertebrae) ซึ่งมีจำนวน 7 ชิ้น อยู่ในช่วงลำคอ กระดูกสันหลังในส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของลำคอและศีรษะ กระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic vertebrae) มีจำนวน 12 ชิ้น อยู่ในส่วนอก และมีลักษณะพิเศษคือจะมีจุดเชื่อมต่อสำหรับกระดูกซี่โครง ซึ่งเป็นโครงร่างสำคัญของช่องอก กระดูกสันหลังส่วนบั้นเอว (Lumber vertebrae) มี 5 ชิ้น อยู่ในช่วงเอว และมีขนาดใหญ่เพื่อรองรับน้ำหนักของร่างกายท่อนบน และมีส่วนเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อที่เป็นผนังทางด้านหลังของช่องท้องอีกด้วย กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (Sacral vertebrae) ซึ่งเดิมมี 5 ชิ้น แต่จะเชื่อมรวมกันเป็นชิ้นเดียว และจะต่อกับกระดูกเชิงกราน (pelvic bone) โดยจะมีช่องเปิด (sacral foramina) เพื่อเป็นทางผ่านของเส้นประสาทที่ไปยังบริเวณเชิงกรานและขา กระดูกสันหลังส่วนก้นกบ (Coccygeal vertebrae) ซึ่งเดิมมี 4 ชิ้น ซึ่งจะเชื่อมกันเป็นกระดูกชิ้นเดียวเป็นกระดูกรูปสามเหลี่ยมที่ปลายด้านล่างสุด",
"title": "กระดูกสันหลัง"
},
{
"docid": "864648#6",
"text": "ยังมีงานวิจัยทางพันธุกรรมต่อมาเกี่ยวกับพัฒนาการของกระดูกหูจาก embryonic arch อีกด้วย\nและงานที่เชื่อมเรื่องนี้กับประวัติวิวัฒนาการ\n\"ยีน \"Bapx1\" หรือ \"Nkx3.2\" ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีกำเนิดเดียวกันกับยีน \"Bagpipe\" ของแมลงหวี่สกุล \"Drosophila\"\nเป็นสมาชิกในชั้น NK2 ของยีน homeobox...\"\nงานวิจัยแสดงว่ายีนนี้เป็นเหตุในการเปลี่ยนกระดูกขากรรไกรที่พบในสัตว์อื่น ๆ ไปเป็นกระดูกหูในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม\nยีนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้ง \"Dlx\", \"Prx\", และ \"Wnt\"\nหูชั้นกลางของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีกระดูกหูท่อนน้อย ๆ 3 ท่อนที่เรียกว่า กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน\nโดยกระดูกหูเป็นระบบคานงัดที่ซับซ้อน และมีหน้าที่ต่าง ๆ คือ ลดแอมพลิจูดของแรงสั่น\nเพิ่มแรงสั่น\nและดังนั้น ช่วยถ่ายทอดพลังงานเสียงอย่างมีประสิทธิภาพจากแก้วหูไปยังโครงสร้างของหูชั้นใน\nกระดูกหูทำงานทางแรงกลเหมือนกับหม้อแปลงไฟฟ้าทำกับกระแสไฟฟ้า เป็นการแมทชิงอิมพีแดนซ์ของแรงสั่นจากอากาศให้เป็นแรงสั่นในน้ำภายในคอเคลีย\nซึ่งผลโดยรวมก็คือเพิ่มความไวและขีดจำกัดเสียงความถี่สูงของการได้ยินในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยเทียบกับสัตว์เลื้อยคลาน\nแต่รายละเอียดของโครงสร้างและผลเหล่านี้ก็ยังต่างกันอย่างเห็นได้ในสปีชีส์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่าง ๆ แม้แต่สปีชีส์ที่ใกล้ชิดกันมากเช่นมนุษย์กับชิมแปนซี",
"title": "วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม"
},
{
"docid": "43092#13",
"text": "สไปนา ไบฟิดา (Spina bifida) เป็นความผิดปกติที่มักเป็นมาแต่กำเนิด ซึ่งเกิดขึ้นจากแนวโค้งของ vertebral arches ทั้งสองด้านไม่เชื่อมต่อกันระหว่างการเจริญในครรภ์ ซึ่งมักจะเป็นที่กระดูกสันหลังส่วนล่าง ผลคือทำให้ช่องภายในกระดูกสันหลังเปิดออกมา Spina bifida ที่พบโดยทั่วไปมีสองแบบ แบบที่พบได้บ่อยที่สุดคือแบบที่ไม่ร้ายแรง หรือ Spina bifida occulta โดยจะมีความผิดปกติที่ vertebral arches ของกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวชิ้นที่ 5 ถึงส่วนกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ ทั่วไปมักจะไม่มีอาการหรือความผิดปกติที่เด่นชัด หรืออาจมีแค่กระจุกของเส้นผมที่อยู่เหนือ spinous process ที่ผิดปกติเท่านั้น ส่วน Spina bifida ชนิดที่รุนแรงกว่าคือแบบที่มีความผิดปกติของแนวกระดูกสันหลังทางด้านหลังที่รอยต่อระหว่างกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวกับส่วนกระเบนเหน็บ ซึ่งจะทำให้มีถุงของ meninges ยื่นออกมาด้านนอก โดยในถุงนี้อาจมีน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) ซึ่งจะเรียกว่า เมนินโกซีล (meningocele) หรืออาจมีบางส่วนของไขสันหลังหลุดออกมาด้วย ซึ่งจะเรียกว่า ไมอีโลเมนินโกซีล (myelomeningocele) ซึ่งในกรณีนี้มักจะมีอาการความผิดปกติของระบบประสาทร่วมด้วย เช่นความผิดปกติในการเดิน หรือการควบคุมการปัสสาวะ กระดูกสันหลังคด (Scoliosis) เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังมีความโค้งในแนวซ้ายขวาที่ผิดปกติ นอกจากนี้อาจมีการบิดหรือหมุนออกไปจากแนวเดิมของกระดูกสันหลังอีกด้วย ภาวะกระดูกสันหลังคดที่พบได้บ่อยที่สุดคือแบบ idiopathic scoliosis ซึ่งไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด โดยจะไม่พบในช่วงแรกเกิด แต่จะเกิดขึ้นในวัยเด็กหรือวัยรุ่น นอกจากนี้ส่วนโครงสร้างของกระดูกสันหลัง เช่นส่วนของ bodies, เพดิเซล หรือลามินี ก็ไม่พบความผิดปกติใดๆ ในกรณีที่พบกระดูกสันหลังคดตั้งแต่กำเนิด จะเรียกว่า congenital scoliosis ซึ่งจะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติระหว่างการเจริญ และยังพบว่ากลุ่มนี้จะมีความผิดปกติของผนังช่องอก หัวใจ รวมทั้งระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์ ดังนั้นผู้ป่วยในกลุ่มนี้จึงต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญ ภาวะกระดูกสันหลังคดยังสามารถพบเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคทางระบบประสาท เช่นโรคโปลิโอ (poliomyelitis) อีกด้วย ซึ่งจะเรียกกลุ่มนี้ว่า neuropathic scoliosis ภาวะกระดูกสันหลังคดอีกประเภทที่พบได้ไม่มาก แต่มีความสำคัญคือกระดูกสันหลังคดเนื่องจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่เกิดจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (muscular dystrophy) เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณหลังไม่สามารถยึดกระดูกสันหลังไว้ได้ กระดูกสันหลังจึงคด โรคอื่นๆที่สามารถทำให้เกิด scoliosis ได้เช่นกัน คือเนื้องอกของกระดูก เนื้องอกของไขสันหลัง และอาการหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน หลังค่อม (Kyphosis) เป็นความผิดปกติของความโค้งในกระดูกสันหลังส่วนอก ทำให้เกิดภาวะหลังค่อม อาการนี้มักเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคอื่น โดยเฉพาะวัณโรค (tuberculosis) ที่มีการแพร่กระจายของเชื้อเข้าไปในกระดูกสันหลัง ทำให้กระดูกสันหลังที่ติดเชื้อเกิดการงอลงมา ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า gibbus deformity ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้มากในช่วงที่ก่อนจะมีการใช้ยารักษาวัณโรค การแตกหักของกระดูกสันหลัง (Vertebral fractures) การแตกหักของกระดูกสันหลังสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วน แต่ความร้ายแรงของอาการที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากการแตกหักเท่านั้น แต่เกิดจากความเสียหายที่เกิดกับโครงสร้างภายในช่องภายในกระดูกสันหลังและเนื้อเยื่อโดยรอบ ในกระดูกสันหลังส่วนคอ แม้ว่าจะมีเอ็นต่างๆจำนวนมากเพื่อเพิ่มเสถียรภาพของโครงสร้าง แต่หากเกิดการบาดเจ็บรุนแรงจะสามารถทำลายความเสถียรของกระดูกสันหลังส่วนนี้ได้ โอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บของไขสันหลังจะมีได้สูง และอาการที่เกิดขึ้นจากการบาดเจ็บที่ส่วนนี้ ได้แก่อัมพาตทั้งแขนและขา (quadriplegia) รวมทั้งอาจเกิดความล้มเหลวของระบบหายใจ เนื่องจากความเสียหายของไขสันหลังส่วนคอและเส้นประสาทไขสันหลังส่วนคอคู่ที่ 3 ถึง 5 ซึ่งมีแขนงประสาทที่ไปควบคุมกะบังลม (phrenic nerve) แม้แต่การบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยของกระดูกสันหลังส่วนคอนี้ก็อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของแขนและขา รวมทั้งการหายใจก็จะติดขัดได้ง่าย ส่วนการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอว นั้นพบได้ไม่มากนัก แต่หากเกิดขึ้น มักจะเกิดจากแรงจำนวนมาก เช่นการกระแทกอย่างรุนแรงในกรณีของอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บระหว่างการเล่นกีฬา ซึ่งอาจต้องตรวจอวัยวะภายในช่องท้องและกระดูกอื่นๆ เพื่อตรวจหาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับอวัยวะโดยรอบ กระดูกทับเส้น (Herniated disc) มักจะมีสาเหตุที่เกิดจากการที่ส่วนหนึ่งของไขสันหลังไปสัมผัสกับส่วนหนึ่งของเส้นประสาท ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดเอว ต้นขาและอาจจะมีการลามไปจนกระทั้งถึงส่วนของเท้าและบริเวณนิ้วเท้า ในรายที่มีอาการหนักจะมีอาการอ่อนแรงของเท้าเข้ามาประกอบด้วยเพราะว่ากล้ามเนื้อที่ได้รับการดูแลจากเส้นประสาทนั้นถูกกดทับอยู่ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในวัยทำงาน สาเหตุโดยส่วนใหญ่ของโรคกระดูกทับเส้นนั้นสามารถที่จะสรุปออกมาเป็นประเด็นได้ดังนี้ การสึกกร่อนตามอายุการใช้งาน เมื่อมีอายุที่เพิ่มมากขึ้นร่างกายจะเกิดการสึกไป, พฤติกรรมการยกของหนักเป็นประจำ, การนั่งผิดท่าหรือการนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ และพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ ตัวอย่างเช่น การสูบบุหรี่.[1]",
"title": "กระดูกสันหลัง"
},
{
"docid": "882505#4",
"text": "การเชื่อมกระดูกส่วนเอวและส่วนคอจะสามัญกว่าส่วนอก\nเพราะกระดูกในเขตเหล่านี้เคลื่อนไหวมากกว่าจึงเสื่อมง่ายกว่า\nอนึ่ง เพราะกระดูกส่วนอกมักจะเคลื่อนไม่ได้ ปัญหาจากส่วนนี้จึงมักมาจากความบาดเจ็บ หรือการเสียรูปเนื่องจากกระดูกสันหลังคด (scoliosis) และหลังโกง (kyphosis)",
"title": "การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง"
},
{
"docid": "4218#69",
"text": "โดยกายวิภาค การเดินด้วยสองเท้าต้องประกอบพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างกระดูก ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ขาที่ยาวขึ้นและเชิงกรานที่เปลี่ยนรูปร่างไปเท่านั้น แต่กับส่วนอื่น ๆ เช่นกระดูกสันหลัง เท้ากับข้อเท้า และกะโหลกศีรษะด้วย[16] คือ กระดูกต้นขาเกิดวิวัฒนาการโดยโค้งเข้ามาทางศูนย์กลางความโน้มถ่วง เข้ามาแนวกลางด้านตั้งของร่างกาย หัวข้อเข่าและข้อเท้าก็แข็งแกร่งยิ่งขึ้นเพื่อรองรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ส่วนกระดูกสันหลังก็เปลี่ยนไปเป็นรูป S เพื่อที่แต่ละข้อจะรองรับน้ำหนักมากขึ้นเมื่อยืน และกระดูกสันหลังระดับเอว (lumbar vertebrae) ก็สั้นลงและกว้างขึ้น ส่วนที่เท้า หัวแม่โป้งก็หันไปทางเดียวกันกับนิ้วเท้าอื่น ๆ ที่สั้นลงเพื่อช่วยในการเดินไปข้างหน้า กระดูกเท้าก็เพิ่มส่วนโค้งในทางยาว แขนทั้งส่วนต้นส่วนปลายก็สั้นลงเทียบกับขาเพื่อทำให้วิ่งสะดวกยิ่งขึ้น ช่องฟอราเมน แมกนัมซึ่งเป็นทางออกของไขสันหลังที่กะโหลกศีรษะ ก็ย้ายไปอยู่ทางด้านล่างของกะโหลกเยื้องไปทางด้านหน้า[95] เทียบกับของลิงใหญ่ที่เยื้องไปทางด้านหลัง[12]",
"title": "วิวัฒนาการของมนุษย์"
},
{
"docid": "172000#0",
"text": "กระดูกนิ้วมือท่อนปลาย () เป็นกระดูกที่พบในรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ในมนุษย์กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกนิ้วมือที่อยู่ปลายสุดของนิ้วมือ สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น กระดูกนิ้วมือท่อนต้นจะปรากฏในตำแหน่งที่คล้ายๆ กับมือของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในครีบของปลาวาฬหรือปีกของนก",
"title": "กระดูกนิ้วมือท่อนปลาย"
},
{
"docid": "882505#11",
"text": "มีเทคนิคการเชื่อมข้อกะระดูกสันหลังหลายอย่าง\nซึ่งขึ้นอยู่กับระดับข้อกระดูกสันหลังและตำแหน่งที่กดบีบไขสันหลัง/เส้นประสาท\nหลังจากที่ลดความกดดันที่กระดูกสันหลังแล้ว แพทย์ก็จะปลูกถ่ายกระดูกหรือกระดูกเทียมใส่ในระหว่างข้อกระดูกเพื่อให้เชื่อมเข้าด้วยกัน\nโดยทั่วไปแล้ว การเชื่อมจะทำจากด้านหน้า ด้านหลัง หรือที่ด้านทั้งสองของข้อกระดูก\nทุกวันนี้ การเชื่อมโดยมากจะทำพร้อมกับวัสดุยึดอื่น ๆ (รวมทั้งสกรู แผ่นยึด หรือท่อนยึด) เพราะมีหลักฐานว่าเชื่อมกันดีกว่าที่ไม่ใช้",
"title": "การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง"
},
{
"docid": "882505#0",
"text": "การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง ()\nเป็นเทคนิคทางศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์เพื่อเชื่อมข้อกระดูกสันหลังสองข้อหรือมากกว่านั้น\nซึ่งสามารถทำได้ที่กระดูกสันหลังส่วนคอ ส่วนอก และส่วนเอว เพื่อกันข้อกระดูกที่เชื่อมกันไม่ให้เคลื่อนไหว\nมีวิธีการเชื่อมกระดูกหลายอย่าง แต่ละอย่างจะมีการปลูกถ่ายกระดูก (bone grafting)\nไม่ว่าจะมาจากคนไข้เอง (autograft) ได้จากผู้บริจาค (allograft) หรือจากกระดูกเทียม เพื่อช่วยเชื่อมกระดูกที่เกี่ยวข้อง\nและบ่อยครั้งจะต้องใช้อุปกรณ์อื่น ๆ (รวมทั้งสกรู แผ่นวัสดุ หรือกรง) เพื่อยึดกระดูกให้อยู่กับที่ในขณะที่กระดูกปลูกถ่ายเชื่อมข้อกระดูกเข้าด้วยกัน",
"title": "การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง"
},
{
"docid": "108575#8",
"text": "อย่างที่คนส่วนมากชอบจินตนาการกัน แต่น่าจะใช้เขาในการขวิดและแทงในระยะประชิดแบบพวกกระทิง หรือช้างที่ใช้งาเป็นอาวุธมากกว่า ที่นักบรรพชีวินส่วนมากเชื่อเช่นนั้น เพราะได้ศึกษาส่วนกระดูกข้อต่อคอที่เชื่อมกับกระดูกสันหลังของ ไทรเซราทอปส์ และเห็นว่ามันมีความคล่องตัวยืดหยุ่นสามารถหมุนได้ ซึ่งสัตว์มีเขาที่ใช้เขาขวิดจะมีลักษณะแบบนี้ ในขณะที่แรดนั้นจะไม่มีกระดูกคอที่มีลักษณะแบบนี้ อีกทั้งได้เคยมีการทดสอบด้วยหุ่นจำลองและเห็นว่าการหันหน้าวิ่งเอาเขาพุ่งชนนั้นจะทำร้ายตัว ไทรเซราทอปส์เอง มากกว่า",
"title": "ไทรเซราทอปส์"
},
{
"docid": "882505#6",
"text": "โปรตีนเพิ่มการเติบโตของกระดูก คือ Bone morphogenetic protein (rhBMP) ไม่ควรใช้เป็นปกติสำหรับการเชื่อมกระดูกสันหลังส่วนคอจากด้านหน้า เช่นที่ทำด้วยเทคนิค anterior cervical discectomy and fusion\nเพราะมีรายงานว่าการรักษาเช่นนี้ทำให้เนื้อเยื่ออ่อนบวม แล้วมีผลเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตเพราะกลืนไม่ได้หรือหายใจไม่ออก",
"title": "การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง"
},
{
"docid": "882505#2",
"text": "การเชื่อมกระดูกสันหลังสามารถใช้รักษาอาการต่าง ๆ ที่มีผลต่อสันหลังระดับคอ อก และเอว\nซึ่งโดยทั่วไปใช้ลดแรงกดอัดต่อและสร้างเสถียรภาพให้กระดูก\nเหตุสามัญที่สุดของแรงอัดที่ไขสันหลังหรือเส้นประสาท ก็คือหมอนกระดูกสันหลังเสื่อม (degenerative disc disease)\nเหตุสามัญอื่น ๆ รวมทั้งหมอนกระดูกสันหลังเคลื่อน ช่องไขสันหลังตีบ การบาดเจ็บ และเนื้องอกที่ไขสันหลัง",
"title": "การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง"
},
{
"docid": "70700#0",
"text": "โครงกระดูกมนุษย์ ประกอบไปด้วยกระดูกชิ้นต่างๆในร่างกาย ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยโครงสร้างของข้อต่อ เอ็น กล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน และอวัยวะต่าง ๆ กระดูกในมนุษย์ผู้ใหญ่มีประมาณ 206 ชิ้น และคิดเป็นประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักร่างกาย อย่างไรก็ดี จำนวนของกระดูกอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทารกแรกเกิดจะมีกระดูกจำนวนประมาณ 300 ชิ้น ซึ่งต่อมากระดูกบางชิ้นจะมีการเชื่อมรวมกันระหว่างการเจริญเติบโต เช่นส่วนกระเบนเหน็บและส่วนก้นกบของกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ในทารกแรกเกิดยังมีโครงสร้างของกระดูกอ่อนอยู่มาก เพื่อให้มีการสร้างโครงสร้างของกระดูกระหว่างการเจริญเติบโต และจะมีการพัฒนาไปเป็นกระดูกทั้งหมดเมื่อสิ้นสุดช่วงวัยรุ่น",
"title": "โครงกระดูกมนุษย์"
},
{
"docid": "172005#0",
"text": "กระดูกนิ้วเท้าท่อนปลาย () เป็นกระดูกที่พบในรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ในมนุษย์กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกนิ้วเท้าที่อยู่ปลายสุดของนิ้วเท้า สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น กระดูกนิ้วเท้าท่อนต้นจะปรากฏในตำแหน่งที่คล้าย ๆ กับเท้าของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในครีบของปลาวาฬหรือปีกของนก",
"title": "กระดูกนิ้วเท้าท่อนปลาย"
},
{
"docid": "171996#0",
"text": "กระดูกนิ้วมือท่อนกลาง () เป็นกระดูกที่พบในรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ ในมนุษย์กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกที่อยู่ที่ปล้องกลางระหว่างข้อนิ้วของนิ้วมือ สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น กระดูกนิ้วมือท่อนต้นจะปรากฏในตำแหน่งที่คล้ายๆ กับมือของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในอุ้งเท้า, ปีก, กีบ, หรือครีบ",
"title": "กระดูกนิ้วมือท่อนกลาง"
}
] |
3066 | ประเทศฟินแลนด์มีธงชาติสีอะไร? | [
{
"docid": "59315#0",
"text": "ธงชาติฟินแลนด์ (Finnish: Siniristilippu ธงกากบาทสีน้ำเงิน) ใช้พื้นฐานธงกากบาทแบบนอร์ดิกที่เริ่มต้นโดยธงชาติเดนมาร์ก ธงของฟินแลนด์เป็นรูปกากบาทนอร์ดิกสีฟ้าบทพื้นสีขาว โดยสีฟ้าแสดงถึงทะเลสาบและท้องฟ้า และสีขาวแสดงถึงหิมะและราตรีสีขาวของฟินแลนด์ในช่วงฤดูหนาว ธงรัฐการมีตราแผ่นดินอยู่ที่จุดตัด นอกนั้นแล้วเหมือนกับธงพลเรือนทุกประการ ธงของทหารนั้นมีปลายของกากบาทเป็นลักษณะแหลม และธงของประธานาธิบดีมีลักษณะคล้ายธงของทหาร แต่ว่ามีตราอิสริยาภรณ์กางเขนแห่งเสรีภาพ (ภาษาฟินแลนด์: Vapaudenristin ritarikunta) อยู่ที่มุมซ้ายบน",
"title": "ธงชาติฟินแลนด์"
}
] | [
{
"docid": "67674#8",
"text": "ประเทศต่าง ๆ ส่วนมากใช้ธงชาติเป็นธงเดินเรือในขณะเดียวกัน เรียกว่า ธงเรือประจำชาติ ดังรูป () แต่ธงเดินเรือในบางประเทศ เช่น ฝรั่งเศส จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับธงชาติ แต่อาจมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย เช่น กำหนดสัดส่วนธงให้ต่างออกไป เป็นต้น มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่กำหนดให้มีธงเดินเรือแยกจากธงชาติออกมาโดยเฉพาะ เช่น สหราชอาณาจักร ซึ่งมีการใช้ธงเดินเรือถึง 3 ชนิด สำหรับจำแนกประเภทเรือ ได้แก่ ธงเดินเรือสีแดง สำหรับเรือพาณิชย์ของประชาชนทั่วไป ธงเดินเรือสีขาว สำหรับใช้เป็นธงราชนาวี และ ธงเดินเรือสีน้ำเงิน สำหรับเรือราชการของรัฐบาลที่ไม่ได้สังกัดราชนาวีอังกฤษ",
"title": "ธงชาติ"
},
{
"docid": "110168#17",
"text": "ธงชาติฟิลิปปินส์ได้ถูกห้ามใช้อีกครั้งเมื่อญี่ปุ่นกรีฑาทัพเข้ารุกรานและยึดครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์ในต้นเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 และถูกชักขึ้นอีกครั้งพร้อมกับการสถาปนาสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 2 ซึ่งญี่ปุ่นเป็นผู้ให้การสนับสนุน ในพิธีการซึ่งถูกจัดขึ้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1943 อดีตประธานาธิบดีเอมีลีโอ อากีนัลโด ได้ชักธงชาติซึ่งใช้สีเลียนแบบธงชาติคิวบาขึ้นอีกครั้ง ธงดังกล่าวยังคงถูกชักโดยให้แถบสีฟ้าอยู่ด้านบนตามปกติจนกระทั่งประธานาธิบดีโฮเซ ลอเรล ประกาศสถานะรัฐในภาวะสงครามต่อประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรในปี ค.ศ. 1944 ส่วนรัฐบาลเครือรัฐฟิลิปปินส์พลัดถิ่นซึ่งลี้ภัยไปอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ของสหรัฐอเมริกา ยังคงใช้ธงชาติฟิลิปปินส์ตามสีแบบธงชาติสหรัฐอเมริกาเช่นเดิม และใช้ในลักษณะที่กลับเอาสีแดงขึ้นด้านบนนับตั้งแต่การถูกญี่ปุ่นรุกรานมาโดยตลอด ด้วยการต่อสู้ของกองกำลังผสมฟิลิปปินส์-สหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1944 และการปลดปล่อยฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1945 ธงชาติฟิลิปปินส์ตามแบบสีธงของอเมริกาได้ถูกนำกลับมาใช้บนแผ่นดินฟิลิปปินส์อีกครั้ง และธงดังกล่าวนี้เองคือแบบธงที่ได้ถูกชักขึ้นในพิธีส่งมอบเอกราชจากสหรัฐอเมริกาสู่ประเทศฟิลิปปินส์ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1946",
"title": "ธงชาติฟิลิปปินส์"
},
{
"docid": "137699#0",
"text": "ธงชาติอิรัก (อาหรับ: علم العراق) มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วหลายครั้ง จากความผันผวนทางการเมืองในประเทศ นับตั้งแต่การก่อตั้งประเทศใน พ.ศ. 2464 เป็นต้นมา ธงชาติแบบที่เปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดนี้ ได้ดัดแปลงจากธงชาติอิรัก พ.ศ. 2457-2551 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีแดง-ขาว-ดำ แบ่งตามแนวนอน มีความกว้างแต่ละแถบเท่ากัน กลางแถบสีขาวมีอักษรคูฟิก เขียนเป็นข้อความภาษาอาหรับว่า \"อัลลอหุ อักบัร\" แปลว่า พระอัลเลาะห์เจ้าทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด ทั้งนี้ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมโดยยกเอารูปดาวห้าแฉกสีเขียว 3 ดวงออกจากธงเดิมไป ธงดังกล่าวนี้จะใช้เป็นธงชาติอิรักเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการรับรองแบบธงชาติใหม่ใน พ.ศ. 2552",
"title": "ธงชาติอิรัก"
},
{
"docid": "164787#1",
"text": "หลังการประกาศเอกราช ประเทศโกตดิวัวร์ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับกลุ่มประเทศแอฟริกาตะวันตก ซึ่งกลุ่มประเทศดังกล่าวล้วนใช้ธงที่ได้รับอิทธิพลจากธงชาติฝรั่งเศสและสีพันธมิตรแอฟริกา สีที่โกตดิวัวร์ใช้ในธงชาตินั้น ประเทศไนเจอร์ก็ได้นำไปใช้ในธงชาติของตนด้วยเช่นกัน เพื่อแสดงถึงความเป็นพันธมิตรต่อกันของทั้งสองชาติ ความหมายของสีธงที่ทั้งสองใช้มีดังนี้",
"title": "ธงชาติโกตดิวัวร์"
},
{
"docid": "148969#7",
"text": "ในประเทศฟินแลนด์ส่วนที่พูดภาษาสวีเดน สีของธงชาติรัสเซียปัจจุบันถูกตีความถึงประวัติศาสตร์ฟินแลนด์ในปี ค.ศ. 1809 (พ.ศ. 2352) ซึ่งเป็นช่วงที่ฟินแลนด์ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ความหมายโดยรวมคือการเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ",
"title": "ธงชาติรัสเซีย"
},
{
"docid": "59315#1",
"text": "ตามกฎหมายของประเทศฟินแลนด์ ธงชาติฟินแลนด์มีอัตราส่วนด้านสูงต่อด้านกว้างเท่ากับ 11:18 หากเป็นธงปลายแหลมของรัฐด้านยาวจะยาวขึ้นอีกหนึ่งส่วน โดยส่วนแหลมนั้นยาวห้าส่วน ความกว้างของกากบาทสีน้ำเงินเท่ากับสามส่วน เมื่ออยู่บนเสาธง ธงควรจะมีความกว้างเป็นเศษหนึ่งส่วนหกของความสูงของเสาธง สีของธงตามมาตรฐานสีของแพนโทนเป็นดังนี้ สีฟ้า 294C สีแดง 186C และสีเหลือง 123C",
"title": "ธงชาติฟินแลนด์"
},
{
"docid": "110168#15",
"text": "จากการที่สาธารณรัฐฟิลิปปินส์จบลงด้วยความพ่ายแฟ้ต่อสหรัฐอเมริกา ประเทศฟิลิปปินส์จึงถูกปกครองด้วยระบบอาณานิคมของสหรัฐอเมริกา และการแสดงธงชาติฟิลิปปินส์ได้ถูกประกาศให้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการต่อต้านรัฐบาล ค.ศ. 1907 (Sedition Act of 1907) กฎหมายดังกล่าวนี้ต่อมาได้ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1919 เมื่อมีการอนุญาตให้ใช้ธงชาติฟิลิปปินส์ในเวลานั้น ผ้าสีแดงและสีน้ำเงินที่ขายตามห้างร้านขายผ้าต่างๆ ส่วนมากเป็นสีตามแบบของธงชาติสหรัฐอเมริกา ฉะนั้นธงชาติฟิลิปปินส์นับตั้งแต่ ค.ศ. 1919 เป็นต้นมาจึงใช้สีแดงและน้ำเงินตามแบบธงชาติสหรัฐอเมริกา (สีน้ำเงินในธงดังกล่าวเป็นสีชนิดที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า \"สีเนวีบลู\") สภานิติบัญญัติฟิลิปปินส์ได้ผ่านรัฐบัญญัติเลขที่ 2928 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1920 เพื่อให้ธงชาติฟิลิปปินส์เป็นธงอย่างเป็นทางการสำหรับหมู่เกาะฟิลิปปินส์ทั้งหมด ส่วนการฉลองวันธงชาติ (Flag Day) ของฟิลิปินส์ในระยะนั้นจนถึงช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการฉลองเป็นประจำในวันที่ 30 ตุลาคมของทุกปี อันเป็นวันที่กฎหมายห้ามการใช้ธงชาติฟิลิปปินส์ได้ถูกยกเลิก",
"title": "ธงชาติฟิลิปปินส์"
},
{
"docid": "135314#3",
"text": "ซิมบับเวโรดิเซีย เป็นชื่อของประเทศซิบบับเวตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2522 ถึง 18 เมษายน พ.ศ. 2523 ธงชาติของประเทศนี้ออกแบบโดย เรืออากาศเอกเซดริก เฮอร์เบิร์ต (Cedric Herbert) แห่งกองทัพอากาศโรดิเซีย และสมาชิกของสมาคม Rhodesian Heraldry and Genealogy Society โดยออกแบบจากสีพันธมิตรแอฟริกา 4 สี ได้แก่ สีเหลือง สีดำ สีเขียว และสีแดง พร้อมทั้งนิยามความหมายของสีธงชาติ ดังนี้",
"title": "ธงชาติซิมบับเว"
},
{
"docid": "132152#2",
"text": "หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีเหนือคงยังรวมกับเกาหลีใต้เป็นประเทศเกาหลี เกาหลีเหนือจึงใช้ธงแทกึกกีเป็นธงชาติเช่นเดียวกับเกาหลีใต้ ต่อมาเมื่อเกาหลีเหนือประกาศแยกตัวเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ในปี พ.ศ. 2491 จึงได้เปลี่ยนธงชาติใหม่ให้ใกล้เคียงกับธงชาติสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ที่ให้การสนับสนุน โดยเอาสีหลักในธงชาติเกาหลีเดิม คือ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน มาออกแบบเป็นธงชาติใหม่ เน้นให้สีแดงโดดเด่นกว่าสีอื่น และเพิ่มรูปดาวแดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของลัทธิคอมมิวนิสต์ ลงบนวงกลมพื้นสีขาว ซึ่งก็คือธงชาติของเกาหลีเหนือที่ปรากฏในปัจจุบัน",
"title": "ธงชาติเกาหลีเหนือ"
},
{
"docid": "195808#1",
"text": "เมื่อมีการยกฐานะสาธารณรัฐปกครองตนเองคาเรเลียขึ้นเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิชในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1940 ได้มีการออกแบบธงประจำดินแดนขึ้นใหม่ โดยมีลักษณะเป็นธงแดงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปค้อนเคียวและอักษรบอกนามประเทศ 2 แถว แถวบนเป็นอักษรละติน ภาษาฟินแลนด์ ใจความว่า \"Karjalais-Suomalainen SNT\" (ย่อจาก \"Karjalais-Suomalainen Sosialistinen Neuvostotasavalta\") แถวล่างเป็นภาษารัสเซีย อักษรซีริลลิก ใจความว่า \"Карело-Финская ССР\" (ย่อจาก (Карело-Финская Советская Социалистическая Республика) รูปดังกล่าวทั้งหมดเป็นสีเหลืองทอง",
"title": "ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิช"
},
{
"docid": "164779#0",
"text": "ธงชาติบูร์กินาฟาโซ เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในแบ่งครึ่งตามแนวนอน ครึ่งบนพื้นสีแดง ครึ่งล่างพื้นสีเขียว กลางธงมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลือง 1 ดวง ธงนี้เริ่มใช้มาตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2527 หลังเหตุการณ์รัฐประหารในปีนั้น ซึ่งนำโดยร้อยเอกโตมาส์ ซังการา (Thomas Sankara - ต่อมาคือประธานาธิบดีคนแรกของประเทศนี้) สีในธงนี้ถือเป็นสีพันธมิตรแอฟริกาเช่นเดียวกับธงในหลายประเทศ ซึ่งมีต้นแบบมาจากธงชาติเอธิโอเปีย โดยสีแดงหมายถึงการต่อสู้ในการปฏิวัติประเทศ สีเขียวหมายถึงความหวังและความอุดมสมบูรณ์ ดาวสีเหลืองหมายถึงความมั่งคั่งด้วยทรัพยากรแร่ธาตุของประเทศ",
"title": "ธงชาติบูร์กินาฟาโซ"
},
{
"docid": "59315#4",
"text": "หมวดหมู่:สัญลักษณ์ของประเทศฟินแลนด์ ฟินแลนด์",
"title": "ธงชาติฟินแลนด์"
},
{
"docid": "294477#3",
"text": "ธงแถบแนวนอนสีขาวและสีแดงถือเป็นรูปแบบธงอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ดังจะเห็นได้ว่ามีธงหลากหลายธงที่คล้ายคลึงกับธงชาติโปลแลนด์แต่มิได้มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด ธงสำคัญซึ่งมีลักษณะดังกล่าวได้แก่ธงของแคว้นโบฮีเมียในสาธารณรัฐเช็ค และธงชาติของสองประเทศซึ่งเรียงแถบสีแดงอยู่เหนือสีขาว อันได้แก่ธงชาติอินโดนีเซียและธงชาติโมนาโก ในประเทศโปแลนด์ ธงหลายชนิดจะมีพื้นฐานการออกแบบมาจากธงชาติเป็นหลัก และมีสีประจำชาติปรากฏร่วมอยู่ในธงด้วย",
"title": "ธงชาติโปแลนด์"
},
{
"docid": "137699#5",
"text": "แบบธงดังกล่าวนี้ ถือได้ว่าแตกต่างจากธงที่ใช้ในกลุ่มประเทศอาหรับอย่างสิ้นเชิง เพราะตามประวัติศาสตร์ของชาติต่างๆ ในแถบตะวันออกกลาง ธงชาติมักจะใช้สีเขียวและสีดำ เพื่อแทนความหมายของศาสนาอิสลาม ใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์ของแนวคิดชาตินิยมอาหรับ และในตราสัญลักษณ์แบบอาหรับนั้น ก็นิยมใช้สีเขียวหรือสีแดงโดยทั่วไปอีกด้วย การที่ใช้ธงชาติที่มีสีหลักเป็นสีขาวและฟ้าเช่นนี้ จึงได้กลายเป็นประเด็นที่โต้แย้งและถกเถียงกันในอิรัก เพราะลักษณะธงนี้ไปคล้ายคลึงกับธงชาติอิสราเอล ซึ่งอิรักถือว่าเป็นประเทศชนชาติศัตรู (อนึ่ง แบบธงชาติอิสราเอลจำนวนหนึ่งก่อนที่จะมีการประกาศใช้ธงชาติของตนจริงๆ นั้น ก็มีสีเหลืองประกอบอยู่ในธงด้วย)) ข้อวิจารณ์ในหลายแห่งแสดงออกมามาว่ารู้สึกเสียใจที่ธงชาติอย่างใหม่นี้ ได้ละเลยการใช้สีพันธมิตรอาหรับ และไม่มีข้อความสรรเสริญพระเจ้า \"อัลลอหุ อักบัร\" ปรากฏอยู่ โดยขาดความเคารพต่อผู้ที่ออกแบบธงเดิม",
"title": "ธงชาติอิรัก"
},
{
"docid": "8855#15",
"text": "สีน้ำเงินขาบเป็นสีส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ (สีประจำวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ วันเสาร์) เมื่อเปลี่ยนแปลงเช่นนี้แล้วธงชาติสยามก็จะเป็นธงสามสีในทำนองเดียวกันกับธงชาติของประเทศฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งน่าจะทำให้ทั้งสามประเทศพอใจประเทศสยามยิ่งขึ้นเพราะเสมือนว่าได้ยกย่องชาติเหล่านั้น การมีสีของสถาบันพระมหากษัตริย์ในธงชาติ จะเป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกถึงพระองค์ในวาระที่ชาติสยามเข้าสู่เหตุการณ์สำคัญต่างๆ",
"title": "ธงชาติไทย"
},
{
"docid": "161602#0",
"text": "ธงชาติสาธารณรัฐชาด มีลักษณะเป็นธงสามสีสามแถบอย่างธงชาติฝรั่งเศส กล่าวคือ แต่ละแถบแบ่งตามแนวตั้งและมีความกว้างเท่ากัน ประกอบด้วยแถบสีน้ำเงิน สีเหลือง และสีแดง เรียงจากด้านคันธงไปยังด้านปลายธง ลักษณะโดยรวมของธงนี้พ้องกับธงชาติโรมาเนียเกือบทุกประการ ธงนี้เริ่มใช้มาตั้งแต่เมื่อชาดเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองและได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2503 และแม้ว่าประเทศจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงภายในอีกหลายครั้ง แต่แบบธงชาติชาดก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเลยมาจนถึงทุกวันนี้",
"title": "ธงชาติชาด"
},
{
"docid": "194930#0",
"text": "ธงชาติเนเธอร์แลนด์ () เป็นธงสามสีสามแถบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สัดส่วนโดยรวมกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในเรียงเป็นแถบสีสีแดง สีขาว และสีน้ำเงินตามลำดับจากบนลงล่าง เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2115 แต่ได้กำหนดให้เป็นธงชาติของประเทศเนเธอร์แลนด์อย่างเป็นทางการมาในปี พ.ศ. 2480 ธงนี้นับเป็นธงสามสีธงแรกของโลกและเป็นธงสามสีที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ทั้งยังเป็นต้นแบบของธงชาติต่างๆ ที่ใช้สีธงหลักเป็น 3 สีในโลกนี้ด้วย",
"title": "ธงชาติเนเธอร์แลนด์"
},
{
"docid": "168146#1",
"text": "ที่มาของสีในธงชาติทั้ง 4 สี คือ สีแดง สีเขียว สีดำ และ สีเหลือง มาจากสีของพรรควานูอากูปาตี (Vanua'aku Pati- พรรคแผ่นดินของเรา) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่นำพาประเทศวานูอาตูให้ได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2523 ส่วนความหมายของสีธงแต่ละสีนั้น สีเขียวหมายถึงความมั่งคั่งของแผ่นดิน สีแดงหมายถึงเลือดของมนุษย์และหมูป่า และสีดำเป็นเครื่องหมายของชนชาตินิวานูอาตู (เป็นคำเรียกชาวโพลีเนเชียนที่อยู่ในประเทศวานูอาตู) ส่วนแถบคล้ายอักษร \"Y\" สีเหลืองขอบดำนั้น นายกรัฐมนตรีแห่งวานูอาตูได้ขอให้เพิ่มเข้าไปในธงชาติ เพื่อเน้นให้พื้นสีดำเด่นขึ้น เฉพาะตัวแถบสีเหลืองนั้น หมายถึงคำสอนของพระผู้เป็นเจ้าที่สอดแทรกอยู่ในวิถีชีวิตของชาวเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ทั้งนี้ ประเทศวานูอาตูมีประชากรเกือบร้อยละ 90 นับถือศาสนาคริสต์",
"title": "ธงชาติวานูอาตู"
},
{
"docid": "294477#0",
"text": "ธงชาติของประเทศโปแลนด์ ประกอบด้วยแถบแนวนอนสองสีขนาดกว้างเท่ากัน โดยแถบบนเป็นสีขาว แถบล่างเป็นสีแดง สีทั้งสองนี้ถือเป็นสีประจำชาติตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์ สำหรับธงชาติโปแลนด์ที่มีการเพิ่มเครื่องหมายตราแผ่นดินลงที่กลางแถบขาวของธงถือเป็นธงชาติสำหรับใช้ในทางราชการตามกฎหมายทั้งในต่างประเทศและในเรือเดินทะเลของรัฐ ส่วนธงอีกอย่างหนึ่งที่คล้ายคลึงกับธงในราชการแต่มีการตัดชายธงเป็นรูปหางนกแซงแซวนั้นเป็นธงนาวีสำหรับกองทัพเรือโปแลนด์",
"title": "ธงชาติโปแลนด์"
},
{
"docid": "59315#3",
"text": "at Flags of the World เว็บไซต์กระทรวงมหาดไทยแห่งฟินแลนด์ (in English) - Virtual Finland (in English)",
"title": "ธงชาติฟินแลนด์"
},
{
"docid": "148969#2",
"text": "แบบของธงชาติรัสเซียที่ใช้อยู่ในธงวันนี้มีลักษณะแตกต่างจากธงที่เริ่มใช้ใน ค.ศ. 1991 เล็กน้อย จากการแก้ไขเพิ่มเติมใน ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) และรับรองให้ใช้เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่ ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) เป็นต้นมา โดยสีของธงนี้จัดเป็นสีพันธมิตรสลาฟ ซึ่งประกอบด้วยสีแดง-น้ำเงิน-ขาว ปรากฏอยู่ในธงชาติของกลุ่มประเทศสลาฟหลายประเทศ",
"title": "ธงชาติรัสเซีย"
},
{
"docid": "114843#0",
"text": "ธงชาติเดนมาร์ก หรือ \"ธงแดนเนอบรอก\" (, IPA: ) เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดง มีรูปกางเขนแบบสแกนดิเนเวียสีขาวปลายจดขอบธง โดยที่ส่วนหัวของกางเขนนั้นอยู่ชิดกับทางด้านคันธง รูปกางเขนบนผืนธงดังกล่าว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนศาสนาคริสต์ ได้มีการนำไปปรับใช้ในธงของกลุ่มประเทศนอร์ดิก อันได้แก่ สวีเดน นอร์เวย์ ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ หมู่เกาะโอลันด์ และหมู่เกาะแฟโร เช่นเดียวกับธงของกลุ่มเกาะเชตแลนด์และออร์คนีย์ของสกอตแลนด์ ในระหว่างที่ประเทศเดนมาร์กและนอร์เวย์รวมตัวเป็นสหภาพเดียวกันนั้น ธงแดนเนอบรอกยังได้ใช้เป็นธงชาติสำหรับนอร์เวย์ และยังคงมีการใช้ต่อมาโดยมีการดัดแปลงเล็กน้อย ตราบจนกระทั่งนอร์เวย์ได้เริ่มใช้แบบธงปัจจุบันในปี ค.ศ. 1821",
"title": "ธงชาติเดนมาร์ก"
},
{
"docid": "17480#0",
"text": "ธงชาติลิทัวเนีย มีลักษณะคล้ายกับธงชาติพม่า แต่ไม่มีดาว และออกจะเข้มด้วย ธงสามสีแบ่งตามแนวนอน พื้นสีเหลือง สีเขียวและสีแดง เรียงจากบนลงล่าง ความกว้างแต่ละแถบเท่ากัน ธงนี้เริ่มใช้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2532 ซึ่งเป็นเวลาเกือบ 2 ปี ก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและการประกาศเอกราช ก่อนหน้านี้ธงนี้เคยใช้เป็นธงชาติลิทัวเนียในช่วงปี พ.ศ. 2461 - 2483 ซึ่งเป็นช่วงที่ลิทัวเนียอยู่ภายใต้การยึดครองของสหภาพโซเวียต โดยที่สีในธงดังกล่าวสว่างกว่าสีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ต่อมาหลังการยึดครองระยะสั้นของนาซีเยอรมนีช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ลิทัวเนียมีฐานะเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย ธงชาติในยุคนี้เริ่มแรกเป็นธงแดงแบบธงชาติสหภาพโซเวียตพร้อมอักษรบอกนามประเทศ ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นธงแดงแบบโซเวียตมีแถบสีขาวและสีเขียวอยู่ตอนล่าง",
"title": "ธงชาติลิทัวเนีย"
},
{
"docid": "314075#3",
"text": "ธรรมเนียมการใช้ธงในประเทศกานานั้น เห็นได้ชัดว่าได้รับอิทธิพลจากประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นประเทศเจ้าอาณานิคมเดิม ยกตัวอย่างเช่น ธงนาวีกานา ซึ่งใช้ในกองทัพเรือกานานั้น เป็นธงพื้นสีขาวมีกากบาทสีแดงอยู่กลางธง ที่มุมธงด้านคันธงนั้นมีธงชาติกานา ในลักษณะอย่างเดียวกันกับธงแสดงสัญชาติสีขาว ส่วนธงเรือเอกชนกานานั้น ใช้ธงพื้นสีแดง ที่มุมธงด้านคันธงมีธงชาติกานามีขอบสีดำ ลักษณะดังกล่าวนี้เป็นการเลียนแบบจากธงแสดงสัญชาติสีแดง.",
"title": "ธงชาติกานา"
},
{
"docid": "161595#1",
"text": "แบบธงชาตินแคเมอรูนนี้ดัดแปลงมาจากธงชาติฝรั่งเศส ส่วนสีที่ใช้ในธงชาตินั้นจัดเป็นกลุ่มสีพันธมิตรแอฟริกา โดยแถบสีเหลืองหมายถึงดวงอาทิตย์และทุ่งหญ้าสะวันนาในภาคเหนือของประเทศ สีเขียวหมายถึงป่าไม้ในแถบภาคใต้ของประเทศ แถบกลางสีแดงและดาวสีเหลืองกลางธงหมายถึงเอกภาพ ซึ่งดาวดวงนี้มักเรียกกันด้วยชื่อว่า ดาวแห่งเอกภาพ (\"the star of unity\")",
"title": "ธงชาติแคเมอรูน"
},
{
"docid": "137699#2",
"text": "ธงชาติแบบแรกสุดของประเทศอิรัก กำหนดให้มีขึ้นเมื่อมีการจัดตั้งประเทศในปี พ.ศ. 2464 โดยเป็นรัฐอารักขาเมโสโปเตเมียของสหราชอาณาจักร ลักษณะเป็นธงสามสีพื้นสีดำ-ขาว-เขียว ที่ด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมคางหมูในแนวตั้งพื้นสีแดง (บางแบบก็เป็นรูปสามเหลี่ยมก็มี) ในพื้นสีแดงนั้นมีดาว 7 แฉก 2 ดวง เรียงกันในแนวตั้ง หมายถึงทั้ง 14 จังหวัดของราชอาณาจักรอิรักในขณะนั้น สังเกตได้ว่า ธงนี้มีความคล้ายคลึงกับธงชาติจอร์แดนเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่าสีในธงทั้งหมดนั้น บรรดาเจ้าผู้ครองนคร (Hashemite leaders) ในการปฏิวัติอาหรับ ซึ่งเป็นผู้สถาปนาประเทศนี้ เป็นผู้เลือกให้ใช้ในธงชาติอิรัก ธงนี้มีการใช้มาตลอดสมัยที่อิรักปกครองด้วยระบอบกษัตริย์จนถึง พ.ศ. 2502 ซึ่งในหมู่พวกนิยมกษัตริย์ในอิรัก ก็ยังมีการใช้ธงนี้อยู่\nหลังจากการปฏิวัติเพื่อโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ภายใต้การนำของอับดุล การิม คัสซิม (Abdul Karim Qassim) ในปี พ.ศ. 2501 ประเทศอิรักก็ได้มีการออกกฎหมายเลขที่ 102 ค.ศ. 1959 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ให้ใช้ธงชาติอย่างใหม่ของสหพันธรัฐอาหรับอิรักและจอร์แดน ซึ่งมีลักษณะเป็นธงสามสีแนวตั้ง พื้นสีดำ-ขาว-เขียว ที่กลางแถบสีขาวนั้นมีรูปดาว 8 แฉกสีแดง 1 ดวง ภายในมีวงกลมสีเหลือง ความหมายของสีดำและสีเขียวคือเป็นสีพันธมิตรอาหรับ ดวงตะวันสีเหลืองหมายถึงชนกลุ่มน้อยชาวเคิร์ด ส่วนดาว 7 แฉกสีแดงนั้นหมายถึงชนกลุ่มน้อยชาวอัสซีเรีย",
"title": "ธงชาติอิรัก"
},
{
"docid": "195174#0",
"text": "ธงชาติเช็กเกีย () มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งครึ่งตามแนวนอน โดยครึ่งบนมีสีขาว ครึ่งล่างมีสีแดง ที่ด้านคันธงมีรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วสีน้ำเงิน โดยฐานของรูปนั้นอยู่ติดกับด้านคันธง ธงนี้เดิมเป็นธงชาติของประเทศเช็กโกสโลวาเกีย แต่เมื่อมีการแยกประเทศเช็กโกสโลวาเกียเป็นสาธารณรัฐเช็ก (เช็กเกีย) และสโลวาเกียในปี พ.ศ. 2536 สาธารณรัฐเช็กก็ได้รับเอาธงชาติเช็กโกสโลวาเกียเดิมเป็นธงชาติของตนสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะเป็นการขัดรัฐธรรมนูญซึ่งห้ามทั้งสองชาติใช้สัญลักษณ์ที่สืบทอดจากประเทศเช็กโกสโลวาเกียเดิมก็ตาม",
"title": "ธงชาติเช็กเกีย"
},
{
"docid": "59315#2",
"text": "กฎหมายฟินแลนด์มีการควบคุมเกี่ยวกับธงหลายอย่าง เช่น ห้ามการขีดเขียนเล่นหรือนำไปใช้ในทางที่ไม่เคารพ ห้ามนำธงออกจากเสาโดยไม่ได้รับอนุญาต การใช้ธงของรัฐหรือประธานาธิบดีโดยไม่ได้รับอนุญาต การเพิ่มเติมสัญลักษณ์บนธง รวมถึงการขายธงชาติที่เพี้ยนไปจากรูปร่างและสีที่ระบุตามกฎหมาย การละเมิดกฎเหล่านี้อาจมีโทษปรับได้",
"title": "ธงชาติฟินแลนด์"
},
{
"docid": "169537#1",
"text": "ก่อนหน้านั้น คูเวตใช้ธงสีแดงเป็นธงสำหรับชาติเช่นเดียวกับประเทศอาหรับทั้งหลาย ส่วนสีบนธงชาติในปัจจุบันนี้เป็นสีพันธมิตรอาหรับ แต่ละสีล้วนมีความหมายต่างๆ คือ สีดำหมายถึงความพ่ายแพ้ของพวกศัตรู สีแดงคือเลือดที่เปือนบนดาบของชาวคูเวต สีขาวเป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ และสีเขียวหมายถึงแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ ทั้งนี้ ยังมีอีกแนวคิดหนึ่งเกี่ยวกับสีธงชาติคูเวตกล่าวว่า รูปสี่เหลี่ยมคางหมูสีดำนั้นอาจมีที่มาจากธงชาติอิรักในช่วงก่อน พ.ศ. 2500 ก็ได้ (ธงชาติอิรักในยุคนั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีดำ-เขียว-ขาว มีรูปสี่เหลี่ยมคางหมูสีแดงที่ด้านคันธง ภายในรูปดังกล่าวมีดาวสีขาว 2 ดวง)",
"title": "ธงชาติคูเวต"
}
] |
2078 | โฮงซาวหมายถึงอะไร? | [
{
"docid": "828796#3",
"text": "โฮงซาวหมายถึงโฮงขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยหมู่อาคารหลายๆ ห้องยาวติดต่อกัน หรือหมู่อาคารหลายๆ หลังแยกจากกัน แต่มีส่วนเชื่อมโยงหากัน ดังปรากฏในวรรณกรรมลาว-อีสาน เรื่องรามเกียรติ์ (พะลักพะลาม) หรือเรื่องพระยาฮาบพระนาสวน ว่า",
"title": "โฮง"
}
] | [
{
"docid": "289494#4",
"text": "โฮโนเรียพยายามหลบหนีหลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ พระเชษฐาจึงทรงจับโฮโนเรียให้สมรสกับสมาชิกวุฒิสภาโรมัน โฮโนเรียพยายามหาทางเลี่ยงโดยหันไปให้อัตติลาช่วยโดยการส่งสาส์นถึงพระองค์พร้อมกับแหวนหมั้นในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 450 โฮโนเรียอาจจะมิได้ตั้งใจที่เสนอการแต่งงาน แต่อัตติลาตีความหมายของการสื่อสารดังว่าและยอมตกลง โดยขอดินแดนครึ่งหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันตกเป็นสินสอดทองหมั้น เมื่อจักรพรรดิวาเล็นติเนียนทราบแผน แทนที่จะทรงสั่งให้ฆ่าโฮโนเรีย พระองค์ก็ทรงสั่งเนรเทศตามคำร้องของของพระราชมารดากาลลา พลาซิเดีย และแล้วก็ทรงส่งพระราชสาส์นไปถึงอัตติลาปฏิเสธความถูกต้องของการขอแต่งงานของโฮโนเรียอย่างแข็งขัน แต่อัตติลาผู้ทรงตั้งใจมานานแล้วที่จะรุกรานโรมก็ทรงส่งราชทูตไปยังราเวนนาเพื่อไปประกาศความบริสุทธิ์ของโฮโนเรีย และยืนยันว่าการขอแต่งงานของโฮโนเรียเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และพระองค์จะทรงเดินทางมารับโฮโนเรียผู้ที่ทรงถือว่าเป็นของพระองค์อย่างถูกต้อง ในปี ค.ศ. 451 อัตติลาจึงใช้ข้ออ้างนี้เดินทางเข้ามารุกรานโรมในฐานะ “สามีผู้ถูกทรยศ” แต่โรมรอดตัวมาได้วยความช่วยเหลือของวิซิกอธ อัตติลาจึงไม่ได้ช่วยโฮโนเรีย และในที่สุดโฮโนเรียก็ถูกส่งตัวกลับโรม แต่จักรพรรดิวาเล็นติเนียนทรงพยายามเลี่ยงข้อครหาโดยมิได้ทรงสั่งให้ประหารชีวิต แต่ก็ไม่ทรงต้องการที่จะเนรเทศโฮโนเรียอีก ในที่สุดโฮโนเรียก็ต้องสมรสกับสมาชิกวุฒิสภาเฟลเวียส บัสซัส เฮอร์คิวลานัสผู้ที่พยายามหลีกเลี่ยงมาตั้งแต่แรก",
"title": "จัสตา กราตา โฮโนเรีย"
},
{
"docid": "277543#13",
"text": "แต่ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 450 จัสตา กราตา โฮโนเรีย พระขนิษฐาของจักรพรรดิวาเล็นติเนียนผู้พยายามหนีจากการที่จะต้องสมรสกับสมาชิกวุฒิสภาโรมันก็ส่งสาส์นถึงอัตติลาพร้อมกับแหวนหมั้นเพื่อของร้องให้ช่วย โฮโนเรียอาจจะมิได้ตั้งใจที่เสนอการแต่งงาน แต่อัตติลาตีความหมายของการสื่อสารดังว่าและยอมตกลง โดยขอดินแดนครึ่งหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันตกเป็นสินสอดทองหมั้น เมื่อจักรพรรดิวาเล็นติเนียนทราบแผน แทนที่จะทรงสั่งให้ฆ่าโฮโนเรีย พระองค์ก็ทรงสั่งเนรเทศตามคำร้องของของพระราชมารดากาลลา พลาซิเดีย และแล้วก็ทรงส่งพระราชสาส์นไปถึงอัตติลาปฏิเสธความถูกต้องของการขอแต่งงานของโฮโนเรียอย่างแข็งขัน แต่อัตติลาผู้ทรงตั้งใจมานานแล้วที่จะรุกรานโรมก็ทรงส่งราชทูตไปยังราเวนนาเพื่อไปประกาศความบริสุทธิ์ของโฮโนเรีย และยืนยันว่าการขอแต่งงานของโฮโนเรียเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และพระองค์จะทรงเดินทางมารับโฮโนเรียผู้ที่ทรงถือว่าเป็นของพระองค์อย่างถูกต้อง ในปี ค.ศ. 451 อัตติลาจึงใช้ข้ออ้างนี้เดินทางเข้ามารุกรานโรมในฐานะ “สามีผู้ถูกทรยศ” แต่โรมรอดตัวมาได้วยความช่วยเหลือของวิซิกอธ อัตติลาจึงไม่ได้ช่วยโฮโนเรีย และในที่สุดโฮโนเรียก็ถูกส่งตัวกลับโรม แต่จักรพรรดิวาเล็นติเนียนทรงพยายามเลี่ยงข้อครหาโดยมิได้ทรงสั่งให้ประหารชีวิต แต่ก็ไม่ทรงต้องการที่จะเนรเทศโฮโนเรียอีก ในที่สุดโฮโนเรียก็ต้องสมรสกับสมาชิกวุฒิสภาเฟลเวียส บัสซัส เฮอร์คิวลานัสผู้ที่พยายามหลีกเลี่ยงมาตั้งแต่แรก",
"title": "อัตติลา"
},
{
"docid": "103092#0",
"text": "โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่บนถนนสถานพยาบาล (ถนนนี้ตั้งชื่อตามโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์) เป็นโรงพยาบาลศูนย์ ขนาด 780 เตียง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีพื้นที่ทั้งหมดรวมกว่า 52 ไร่ ประชาชนในท้องที่มักเรียกว่า \"โฮงยาไทย\" หมายถึง \"โรงพยาบาลของไทย\" (สาเหตุที่เรียก \"โฮงยาไทย\" เพราะจังหวัดเชียงรายมีโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง คือ โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค ที่มักเรียกกันว่า \"โฮงยาฝรั่ง\") และมีคำว่าประชานุเคราะห์ต่อท้ายเนื่องจากได้รับการสนับสนุนในการจัดสร้างจากประชาชนซึ่งในปี พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองและมีนโยบายสร้างโรงพยาบาลในหัวเมือง โดยประกาศใช้ พรบ.สาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2477 เพื่อแสดงเกียรติภูมิของชาติให้ปรากฏแก่ประเทศเพื่อบ้านที่เป็นอาณานิคมของประเทศตะวันตกตามนโยบาย \"อวดธง\" ในปี พ.ศ. 2479 พระพนมนครารักษ์ (ฮกไก่ พิศาลบุตร) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย มีดำริที่จะสร้างโรงพยาบาลประจำจังหวัดเชียงราย ซึ่งประชาชนในจังหวัดเชียงราย นำโดยคหบดีกลุ่มหนึ่งได้บริจาคที่ดิน จำนวน 19 ไร่ และดำเนินการขออนุมัติจากกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการก่อสร้างโดยได้รับเงินสนับสนุนจากประชาชนในจังหวัดเชียงราย",
"title": "โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์"
},
{
"docid": "35450#3",
"text": "เพลงแองแตร์นาซิอองนาลฉบับภาษาอังกฤษนี้ มีบทร้องทั้งหมด 3 บท แต่สำนวนของเมริกัน ประพันธ์เนื้อร้องโดย ชาร์ลส์ โฮป เคอร์ ประกอบด้วยบทร้องทั้งหมด 5 บท ส่วนใหญ่นิยมร้องแค่ 2 บท โดยได้มีการแก้ไขคำว่า \"the internationale\", \"the international soviet\", หรือ \"the international union\" เป็นคำว่า \"the international working class\" มีความหมายว่า สามัคคีกรรมกรนานาชาติ.",
"title": "แองเตอร์นาซิอองนาล"
},
{
"docid": "17747#2",
"text": "ภาษาแต่ละภาษาในโลกเปรียบเสมือนเป็นเนมสเปซหนึ่งๆ ซึ่งคำหนึ่งๆในแต่ละภาษาจะหมายถึงสิ่งของสิ่งๆหนึ่ง ซึ่งเมื่อคำเดียวกันในภาษาที่แตกต่างกันสามารถหมายถึงสิ่งของคนละสิ่งได้ ภาษาที่แตกต่างกันของเนมสเปซนี้รวมไปถึงภาษาถิ่น และ ภาษาโปรแกรมต่างๆ ตัวอย่างเช่นคำว่า \"ไอ\" ในภาษาไทย หมายถึง อาการไอ ขณะที่ \"ไอ\" ในภาษาอังกฤษหมายถึง เรา (ตัวผู้พูด) และ \"ไอ\" ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง ความรัก หรือ คำว่า \"ซาว\" ในภาษาไทยกลาง หมายถึงการซาวข้าว ขณะที่ภาษาไทยเหนือ หมายถึง ยี่สิบ",
"title": "เนมสเปซ"
},
{
"docid": "392005#0",
"text": "เจ้าหญิงมาเรีย ฟรานซิสกาแห่งซาวอย(มาเรีย ฟรานซัวส์ เอลิซาเบธ; 21 มิถุนายน พ.ศ. 2189 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2226) ทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งซาวอยและสมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส เป็นพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าอัลฟองโซที่ 6 แห่งโปรตุเกสและเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าเปโดรที่ 2 แห่งโปรตุเกส\nเจ้าหญิงมารี ฟรานซัวส์ เอลิซาเบธ เดอ ซาวอเอีย หรือ เจ้าหญิงมาเรีย ฟรานซิสกาแห่งซาวอย ประสูติวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2189 เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในชาร์ลส์ อมาเดอุส ดยุคแห่งเนมัวส์กับเอลิซาเบธ เดอ บูร์บง เจ้าหญิงเป็นพระปนัดดาในพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศสกับพระสนมของพระองค์คือ กาเบรียล เดสเทร่ส์ พระเชษฐภคินีของเจ้าหญิงคือ เจ้าหญิงมารี ณานน์แห่งซาวอย ก่อนอภิเษกสมรสเจ้าหญิงทรงดำรงพระอิศริยยศ \"มาดมัวแซล เดอ ออเมล\" ซึ่งมาจากชื่อของรัฐดัชชีแห่งออเมลซึ่งเป็นดินแดนของพระราชบิดาของเจ้าหญิง",
"title": "มาเรีย ฟรานซิสกาแห่งซาวอย สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส"
},
{
"docid": "244360#1",
"text": "ซาวด์การ์เดนถือเป็นวงสำคัญวงหนึ่งที่สร้างสรรค์เพลงแนวกรันจ์ แนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟร็อกอย่างหนึ่งที่พัฒนาขึ้นในซีแอตเทิล วงอยู่สังกัดซับป็อป ซาวด์การ์เดนถือเป็นวงกรันจ์วงแรกที่ได้เซ็นสัญยากับค่ายใหญ่ ถึงแม้ว่าวงจะไม่ประสบความสำเร็จด้านการตลาด จนกระทั่งวงเนอร์วานาและเพิร์ลแจม สร้างกระแสแนวกรันจ์ให้เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1990 ",
"title": "ซาวด์การ์เดน"
},
{
"docid": "206966#2",
"text": "เมื่อพระเจ้าเลนเต้สววรคต โฮจิ๋น แม่ทัพใหญ่ในราชสำนักและเป็นพี่ชายของนางโฮเฮา ได้ยกหองจูเปียนโอรสพระเจ้าเลนเต้ที่เกิดกับนางโฮเฮาขึ้นเป็นกษัตริย์ และได้ให้อ้วนเสี้ยวคุมทหารไปตามจับขันทีเกนหวนซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหองจูเหียบ โอรสพระเจ้าเลนเต้ที่เกิดกับนางอองบีหยิน เกนหวนหนีไปในสวนดอกไม้และถูกก๊กเสงสังหารในสวนดอกไม้นั้น เมื่อเกนหวนตาย อ้วนเสี้ยวได้ยุยงให้โฮจิ๋นกวาดล้างสิบขันทีที่เหลือให้สิ้น ก๊กเสงพร้อมด้วยขันทีที่เหลือที่นำโดยเตียวเหยียงจึงได้ไปเข้าเฝ้านางโฮเฮา อ้างว่าเกนหวนแต่เพียงผู้เดียวที่คิดการหมายจะยกหองจูเหียบขึ้นเป็นกษัตริย์ พวกตนที่เหลือมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วย พร้อมอ้อนวอนให้นางโฮเฮาช่วยพูดกับโฮจิ๋นให้ไว้ชีวิตพวกตน นางโฮเฮายอมทำตามคำอ้อนวอนของสิบขันที โฮจิ๋นจึงเลิกคิดการกวาดล้างสิบขันที",
"title": "ก๊กเสง"
},
{
"docid": "149854#2",
"text": "ธงแถบเขียว-ขาว-แดง, กลางมีรูปตราอาร์มแห่งแคว้นซาวอย ประกาศใช้ครั้งแรก ในฐานะธงกองทัพของกองทัพบก โดย กองทัพปิเยมอนต์แห่งราชอาณาจักรซาร์ดิเนียเมื่อ ค.ศ. 1848. ระหว่างการประกาศอิสรภาพของลอมบาร์ด-เวเนเชียน, โดยชารล์ส อัลเบิรต์แห่งซาร์ดิเนีย กล่าวว่า \"... in order to show more clearly with exterior signs the commitment to Italian unification, We want that Our troops ... have the Savoy shield placed on the Italian tricolour flag.\" ตราอาร์มแห่งราชวงศ์ซาวอย \"กางเขนสีขาวบนอาร์มสีแดง\"ภายใน\"ขอบสีน้ำเงิน\", สีน้ำเงิน หมายถึง พระราชวงศ์ซาวอย, ทั้งนี้มิได้อ้างอิงตามหลักมุทราศาสตร์. ประกาศใช้อย่างเป็นทางการตามพระบรมราชโองการ ค.ศ. 1851.",
"title": "ธงชาติอิตาลี"
},
{
"docid": "828796#2",
"text": "โฮงอันเป็นที่ประทับของเจ้านายชั้นรองลงมาตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์นิยมเรียกว่า โฮง เฉยๆ หรือเรียกว่า โฮงเจ้า โฮงท้าว (กรณีที่เจ้านายพระองค์นั้นเป็นบุรุษ) โฮงนาง (กรณีที่เจ้านายพระองค์นั้นเป็นสตรี) หรือต่อท้ายชื่อโฮงด้วยพระยศหรือบรรดาศักดิ์ของเจ้านาย เช่น โฮงเจ้ามหาอุปฮาต โฮงอุปฮาต โฮงราชบุตร โฮงราชวงศ์ หรือต่อท้ายด้วยพระนามของเจ้านาย เช่น โฮงเจ้าเพชรราช (วังเชียงแก้ว แขวงหลวงพระบาง) เป็นต้น",
"title": "โฮง"
},
{
"docid": "828796#42",
"text": "ความเชื่อทางไสยศาสตร์ของหมอดูหรือหมอหูฮา (หมอโหรา) ทางลาว-อีสานที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานก้อมหรือหนังสือก้อม ได้มีการกล่าวถึงฤกษ์ยามเรื่องมื้อ-วัน เพื่อการทำการอุดมมงคลสวัสดีต่างๆ ในบ้านเรือน คำว่า มื้อ ส่วนมากหมายเอาทางจันทรคติขึ้นแรม เช่น มื้อ ๑ ค่ำ มื้อ ๒ ค่ำ เป็นต้น ส่วนคำว่า วัน นั้นหมายเอาทางสุริยคติ เช่น อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ เป็นต้น ในตำราหมอดูมื้อ-วัน ได้จัดมื้อ-วัน เป็นโคง (โคลง) เพื่อความสะดวกในการจดจำและเกิดคุณค่าในทางวรรณศิลป์ อาทิ โคงยาม โคงวัน โคงเดือน โคงวันจม โคงวันฟู โคงช้างแก้ว เป็นต้น",
"title": "โฮง"
},
{
"docid": "828796#33",
"text": "\"...อยู่ภูเขียวบ่ได้เผี่ยง อยู่ภูเวียงบ่ได้ท่อเอาไป เสาอยู่ในเผิ่นให้ปลอก เส้นอยู่นอกเผิ่นให้ฟัน มารวมกันเป็นเสาเล้า ใส่ข้าวจ้าวและข้าวเหนียว ไผเหลียวมาว่าแม่นปราสาท งามอาดหลาดปานโฮงหลวง บ่เข็ดขวางคูณค้ำ ใส่ข้าวก่ำได้พอซาว ใส่ข้าวขาวได้แสนหาบ ยกมือกราบสามหน เทพอยู่บนจงมาส่อง...\"",
"title": "โฮง"
},
{
"docid": "160723#22",
"text": "ในปี ค.ศ. 2000 เมทัลลิกาพบว่าเดโมของซิงเกิล \"I Disappear\" ซึ่งจะเปิดตัวพร้อมกับซาวด์แทร็กในภาพยนตร์ \"ฝ่าปฏิบัติการสะท้านโลก 2\" ได้ถูกนำมาอากาศทางวิทยุก่อน ทำให้วงได้ติดตามการรั่วไหลของซิงเกิลนี้ จนพบว่าไฟล์ต้นฉบับมาจากเว็บไซด์แชร์ดนตรี แนปสเตอร์ (Napster) และยังได้พบว่าไฟล์ในหมวดหมู่ของเมทัลลิกายังปล่อยให้โหลดอย่างอิสระ จึงเกิดการฟ้องร้องขึ้นกับแนปสเตอร์ ผ่านทางศาลกลางแห่งแคลิฟอร์เนีย ทางโจทก์ได้กล่าวหาว่าแนปสเตอร์ได้ล่วงละเมิดลิขสิทธิ์ การออกอากาศผ่านระบบดิจิตอลอย่างผิดกฎหมาย และการใช้อิทธิพล หลอกลวงทางสื่อมีเดีย",
"title": "เมทัลลิกา"
},
{
"docid": "272288#3",
"text": "ราชรัฐกลายมาเป็นรัฐอิสระในปี ค.ศ. 1815 หลังจากสงครามนโปเลียน แต่คาร์ลผู้เป็นประมุขก็มาถูกถอดจากตำแหน่งระหว่างการปฏิวัติของ ค.ศ. 1848 คาร์ล อันโทน พระโอรสหันไปหารัสเซียเพื่อขอความช่วยเหลือ กองทัพปรัสเซียมาถึงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1849 ในสนธิสัญญาที่ลงนามในเดือนธันวาคมโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงินก็ถูกผนวกโดยปรัสเซียในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1850 แต่การผนวกก็มิได้หมายถึงการสิ้นสุดของตระกูลโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงิน\nเจ้าชายองค์สุดท้ายคาร์ล อันโทนมีตำแหน่งเป็นประธานรัฐมนตรีแห่งปรัสเซียระหว่าง ค.ศ. 1858 ถึง ค.ศ. 1861 พระโอรสองค์ที่สองคาร์ล ไอเทิล ฟรีดริช แห่งโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงินได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าชาย (ค.ศ. 1866-ค.ศ. 1881) และต่อมาพระมหากษัตริย์แห่งโรมาเนีย (ค.ศ. 1881-ค.ศ. 1914) และครองราชย์จนเมื่อราชอาณาจักรโรมาเนีย สลายตัวลงในปี ค.ศ. 1947",
"title": "โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงิน"
},
{
"docid": "252886#0",
"text": "ซาวอย อาจจะหมายถึง",
"title": "ซาวอย (แก้ความกำกวม)"
},
{
"docid": "244360#2",
"text": "ซาวด์การ์เดนประสบความสำเร็จมากที่สุดกับผลงานอัลบั้มในปี 1994 ชุด \"Superunknown\" ที่เปิดตัวโดยการเข้าอันดับ 1 บนชาร์ทบิลบอร์ด และยังมีซิงเกิ้ลที่ได้รับรางวัลแกรมมี่อย่าง \"Black Hole Sun\" และ \"Spoonman\" ต่อมาในปี 1997 วงได้แตกไปเนื่องจากการขัดแย้งกันได้เรื่องทิศทางการสร้างสรรค์ผลงาน ซาวด์การ์เดนมียอดขายกว่า 8 ล้านชุดในสหรัฐอเมริกา และมียอดขายประมาณ 20 ล้านชุดทั่วโลก",
"title": "ซาวด์การ์เดน"
},
{
"docid": "115107#13",
"text": "หลังจากนั้น โฮจิ๋นรับฟังอีกคำแนะนำของอ้วนเสี้ยวที่ให้โฮจิ๋นลอบเรียกขุนศึกหรือขุนนางฝ่ายทหารจากหัวเมืองต่างๆ (ได้แก่ ตั๋งโต๊ะ อองของ เตียวโป้ และเต๊งหงวน) ให้นำกำลังเข้าประชิดราชธานีลกเอี๋ยงแล้วเรียกร้องให้นำตัวเหล่าขันทีไปประหารชีวิต หมายจะกดดันนางโฮเฮาให้ดำเนินการจัดการกับเหล่าขันที ตอนแรกนางโฮเฮาปฏิเสธที่ทำร้ายเหล่าขันที แต่เมื่อกำลังของตั๋งโต๊ะเข้ามาใกล้เมืองลกเอี๋ยง นางโฮเฮาจึงมีพระราชเสาวนีย์ให้เหล่าขันทีออกจากพระราชวังกลับไปยังเขตศักดินาของตน น้องสาวของนางโฮเฮาแต่งงานกับบุตรบุญธรรมของเตียวเหยียง เตียวเหยียงจึงทูลขอร้องนางโฮเฮาให้ทรงช่วยเหลือ นางโฮเฮาจึงทรงแจ้งนางบูยงกุ๋นผู้เป็นมารดาผู้ซึ่งก็ขอร้องนางโฮเฮาเช่นเดียวกัน นางโฮเฮาจึงยอมผ่อนปรนและเรียกเหล่าขันทีกลับเข้ามาในพระราชวัง ",
"title": "สิบขันที"
},
{
"docid": "828796#32",
"text": "เยียเข้าในภาษาลาว-อีสานหมายถึง เล้าข้าว ในบทสูตรขวัญเล้าข้าวของชาวลาว-อีสาน มีการนำเล้าข้าวมาเปรียเทียบหรืออุปมากับโฮงเพื่อความเป็นสิริมงคลไว้ว่า",
"title": "โฮง"
},
{
"docid": "289053#30",
"text": "เคานท์แห่งซัวซองส์คนที่สองเสียชีวิตโดยไม่มีทายาท บรรดาศักดิ์จึงตกไปเป็นของน้องสาวคนรอง มารี เดอ บูร์บอง-คองเด ภรรยาของทอมัส ฟรองซัวส์ พรินซ์แห่งคาริยองแห่งราชวงศ์ซาวอย มารีจึงเป็นที่รู้จักกันว่า มาดามเคานเทสแห่งซัวซองส์ เมื่อมารีเสียชีวิตตำแหน่งก็ตกไปเป็นของบุตรชายคนที่สอง โจเซฟ-เอมมานูเอล พรินซ์แห่งซาวอย-คาริยอง (ค.ศ. 1631-ค.ศ. 1656) และต่อมาไปเป็นของบุตรชายคนที่สามเออแฌง-ฟรองซัวส์ พรินซ์แห่งซาวอย-คาริยอง เออแฌงสมรสกับโอลิมเปีย มันชินิหลานของคาร์ดินัลมาซาแรง โอลิมเปียจึงเป็นที่รู้จักกันว่า มาดามเคานเทสแห่งซัวซองส์[3] เช่นเดียวกับมารดาของสามี เมื่อสามีเสียชีวิตบรรดาศักดิ์ก็ตกไปเป็นของบุตรชายคนโตหลุยส์-ทอมัส พรินซ์แห่งซาวอย-คาริยองผู้เป็นพี่ชายของนายพลผู้มีชื่อเสียงของออสเตรียเจ้าชายยูจีนแห่งซาวอย ตำแหน่งซัวซองส์มาสิ้นสุดลงเมื่อ เออแฌง-ฌอง-ฟรองซัวส์เดอซาวอย-คาริยอง เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1734",
"title": "เจ้าชายสืบสายพระโลหิต"
},
{
"docid": "978432#0",
"text": "เซินติญ () เป็นชื่อในรายชื่อพายุหมุนเขตร้อนในชุดที่ 1 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ส่งโดยประเทศเวียดนาม คำว่า \"เซินติญ\" เป็นชื่อเทพประจำทิวเขาบาหวี่ในตำนานเทพของเวียดนาม ชื่อนี้ส่งมาทดแทนชื่อ ซาวมาย () ซึ่งหมายถึง ดาวรุ่ง และถูกถอนไปในฤดูกาล 2549\nพายุซาวมายนั้นอาจหมายถึง",
"title": "พายุเซินติญ"
},
{
"docid": "828796#9",
"text": "นอกจากโฮงจะหมายถึงพระราชวัง วัง หรือตำหนักอันเป็นสถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เจ้าผู้ครองนคร เจ้าเมือง และพระบรมวงศานุวงศ์ของเจ้านายฝ่ายหัวเมืองลาว-อีสานแล้ว คำว่า โฮง ยังหมายถึง โรง หรือห้องโถงที่มีขนาดใหญ่ด้วย[3] อาทิ โฮงอุปโป (โรงทานหรือหอแจก) โฮงธรรม (ศาลาการเปรียญ) โฮงกะดี (กุฏิพระ) โฮงเจ้าพ่อ (หอผีหรือศาลเจ้า) โฮงซ้าง (โรงช้าง) โฮงม้า (โรงม้า) โฮงหมอ (คลินิก) โฮงแฮม (โรงแรม) โฮงเฮียน (โรงเรียน) โฮงหนัง (โรงหนัง) เป็นต้น",
"title": "โฮง"
},
{
"docid": "45475#1",
"text": "หนึ่งในชื่อของเมืองเปียงยางที่ใช้กันมากมาย \"รยูกย็อง\" (류경; 柳京) มีความหมายว่า \"เมืองหลวงแห่งต้นหลิว\" ซึ่งได้มาจากต้นหลิว และในทุกวันนี้ เป็นเมืองที่มีต้นหลิวมากมาย นอกจากนี้รยูกย็องก็ยังเป็นชื่อสิ่งก่อสร้างแห่งหนึ่งอีกด้วย สำหรับชื่ออื่น ๆ ของเปียงยางนั้นได้แก่ \"คีซ็อง\", \"ฮวังซ็อง\", \"รากรัง\", \"ซอ-กยง\", \"โซโด\", \"โฮ-กยง\" และ \"ชังอัน\" สำหรับช่วงอาณานิคม เมืองเปียงยางมีชื่อว่า \"เฮโจ\"",
"title": "เปียงยาง"
},
{
"docid": "319059#0",
"text": "วังและพระราชวังของราชวงศ์ซาวอย () หมายถึงกลุ่มสิ่งก่อสร้างในตูรินและในจังหวัดตูรินในพีดมอนท์ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี",
"title": "วังและพระราชวังของราชวงศ์ซาวอย"
},
{
"docid": "447226#0",
"text": "โฮซอ (ความหมายอย่างแท้จริง \"ฝั่งตะวันตกของทะเลสาบ\") เป็นภูมิภาคที่อยู่กับจังหวัดชุงชองเดิม ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเกาหลีใต้ ปัจจุบันนี้ภูมิภาคโฮซอใช้กล่าวอ้างถึงบริเวณ แทจอน, จังหวัดชุงชองใต้และจังหวัดชุงชองเหนือ ชาวภูมิภาคโฮซอใช้ภาษาถิ่นชุงชอง ชื่อโฮซอนี้ใช้อ้างถึงบุคคลที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้",
"title": "โฮซอ"
},
{
"docid": "75681#0",
"text": "เว็บโฮสติ้ง คือ พื้นที่การใช้งานในอินเทอร์เน็ต สำหรับเว็บไซต์ทั่วไป โฮสติ้งมีลักษณะที่เปรียบเทียบได้เหมือนกับ ฮาร์ดดิสก์ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ฉะนั้นถ้าคุณมีพื้นที่การใช้งานโฮสติ้งที่มาก คุณก็จะสามารถเก็บ ไฟล์, รูปภาพ, เอกสาร และอื่นๆ ได้มากตามไปด้วยเช่นกัน บางครั้งเราอาจเรียกได้หลายแบบเช่น โฮสติง โฮสติ้ง เว็บโฮสติ้ง โฮสต์ แต่ทั้งหมดก็มีความหมายเหมือนกัน",
"title": "เว็บโฮสติง"
},
{
"docid": "221551#11",
"text": "ในสหราชอาณาจักร ซาวน่าเกย์มักถูกตำรวจจู่โจม ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1980 อย่างเช่น การจู่โจมเมื่อพฤษภาคม 1988 ที่บราวนีส์ ในสเตรตแฮม เจ้าของเข้าคุกนานกว่า 6 เดือนและถูกปรับ £5,000 และซาวน่าโรงแรมบรู๊กลินเฮาส์ ในแมนเชสเตอร์ ในทศวรรษ 1990 จากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น อย่างเช่นการจัดการ การลดลงของการฟ้องร้อง การเข้าใจในการเหยียดเพศ และความสนใจของอาชญากรรมที่ไม่มีเหยื่อ ซาวน่าเกย์กลายเป็นสถานที่ที่ดำเนินการได้โดยไม่มีภัย ถึงแม้ว่าทัศนคติของตำรวจจะมีความหมายว่าพวกเขายินยอมที่จะทำไม่รู้ไม่ชี้เพราะพวกเขายินดีให้มีกิจกรรมเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่จำกัด มากกว่ากิจกรรมนอกสถานที่ ที่พวกเขาฝ่าฝืนกิจกรรมรักร่วมเพศ กระทำอนาจาร ",
"title": "โรงอาบน้ำเกย์"
},
{
"docid": "828796#0",
"text": "โฮง หรือ หอโฮง คือพระราชวัง วัง หรือตำหนักอันเป็นสถานที่ประทับหรืออยู่อาศัย ตลอดจนใช้ว่าราชการและสำเร็จราชการงานเมืองของพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง เจ้าผู้ครองนคร เจ้าเมือง หรือเจ้านายในคณะอาญาสี่ (เจ้าขันคำทั้งสี่หรือเจ้ายั้งขม่อมทั้งสี่) และพระบรมวงศานุวงศ์ของเจ้านายฝ่ายหัวเมืองลาว-อีสาน หรือหมายถึงที่พักอาศัยที่ใหญ่กว่าเฮือน (เรือน) มักมีหลายห้องและเป็นที่อยู่ของเจ้าเมืองลาวในสมัยโบราณ[1]",
"title": "โฮง"
},
{
"docid": "828796#6",
"text": "เขาก็นีรมิต โฮงซ้างพร้อม โฮงซาว</b>ขีนไขว่",
"title": "โฮง"
},
{
"docid": "828796#20",
"text": "\"...เมื่อนั้นนางเมืองพร้อม จาระจาดูเมื่อย นานแหล้ว เขาก็มาเหนี่ยวท้าว เมือหน้าสู่เมือง ก่อนเทอญ เมื่อนั้นท้าวยี่น้อย ขานว่า ดีๆ มากแหล้ว ข้อยจักไปอําลา เศรษฐีเป็นเจ้า ค้อมว่าแล้ว เฮวฮีบเลยไป เถิงโฮงคํา กล่าวแหมหมายถ้อย บัดนี้ข้าก็เคืองใจตั้ง นายเมืองควายเผือก พระยาหล้าน้ำ ยังท่าข่าวสาร พระเอ๊ย...\" ตอนชาวเมืองเป็งจาลให้ท้าวยี่พักที่สนามชัย",
"title": "โฮง"
}
] |
430 | คาราโอเกะมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอะไร? | [
{
"docid": "17806#0",
"text": "คาราโอเกะ () เป็นความบันเทิงชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในรูปแบบของเพลงบรรเลง หรือเพลงที่ปิดเสียงร้องของนักร้องไว้ ผู้ใช้งานจะร้องเพลงนั้นผ่านไมโครโฟน โดยมีเนื้อเพลงขึ้นมาแสดงบนหน้าจอเป็นช่วง ๆ เพื่อช่วยในการร้อง นอกจากนี้แล้วบางครั้งยังมีการเปลี่ยนสีตัวอักษร โดยกวาดเลื่อนสีใหม่ทับสีเดิมตามความเร็วและจังหวะที่ถูกต้องในการร้องอีกด้วย คาราโอเกะมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น จากนั้นก็แพร่หลายไปยังส่วนอื่นๆ ของเอเชียตะวันออกและทั่วโลก",
"title": "คาราโอเกะ"
}
] | [
{
"docid": "17806#25",
"text": "รูปแบบ CD+G ของดิสก์คาราโอเกะ ซึ่งบรรจำเนื้อร้องในแทร็คที่ลงรหัสพิเศษเอาไว้ จึงต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพงเพื่อใช้เล่น แต่เครื่องเล่นในปัจจุบันมีราคาถูกลงเรื่อยๆ และมีอุปกรณ์เสริมอีกมาก เล่นเครื่องเล่นวิดีโอเกม Sega Saturn สามารถถอดรหัสกราฟิกได้ ความจริงแล้วเครื่องเล่นคาราโอเกะ รวมทั้งวิดีโอ และบางครั้งก็สามารถบันทึกได้ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทมี่นิยมกันมากในร้านค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และของเล่นต่างๆ",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "52894#23",
"text": "รวมฮิต ร็อกเจ็บลึก (พ.ศ. 2537) - จัดจำหน่ายในรูปแบบเทปคาสเซ็ทและซีดี AMPHOL BIG HITS BIG STORY (พ.ศ. 2539) - จัดจำหน่ายในรูปแบบเทปคาสเซ็ทและซีดี รวมมิวสิกวิดีโอคาราโอเกะ - อำพล ลำพูน (พ.ศ. 2540) - จัดจำหน่ายในรูปแบบม้วนวิดีโอและวิดีโอ ซีดี คาราโอเกะ VERY BEST OF อำพล ลำพูน (พ.ศ. 2542) - จัดจำหน่ายในรูปแบบเทปคาสเซ็ท , ซีดี , วิดีโอ ซีดี คาราโอเกะ , ม้วนวิดีโอ และในรูปแบบ ซีดี + วีซีดีแพ็คคู่ BEST HITS OF AMPHOL (พ.ศ. 2548) - จัดจำหน่ายในรูปแบบเทปคาสเซ็ท , ซีดี และวิดีโอ ซีดี คาราโอเกะ BEST OF AMPHOL อำพล ลำพูน (พ.ศ. 2556) - จัดจำหน่ายในรูปแบบซีดี และ ดีวีดี คาราโอเกะ",
"title": "อำพล ลำพูน"
},
{
"docid": "17806#16",
"text": "คาราโอเกะเกมนั้น เดิมเผยแพร่เป็น เกมแฟมิคอม แต่ด้วยข้อจำกัดความสามารถในการคำนวณ ทำให้มีรายการเพลงน้อย และมีคุณค่าลดลง ด้วยเหตุนี้คาราโอเกะเกมจึงถือว่ามีความสำคัญน้อย กระทั่งเดิมมีการเผยแพร่ในรูปแบบ DVD ความจุสูง",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#2",
"text": "คำว่า คาราโอเกะ (カラオケ) มาจากคำว่า \"คาระ\" (空 หรือ カラ) หมายถึง ว่างเปล่า และ \"โอเกะ\" (オーケ) ซึ่งย่อจากคำว่า \"โอเกซูโตระ\" (オーケストラ) หมายถึง ออร์เคสตรา[2]",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#29",
"text": "เครื่องเล่นคาราโอเกะแบบต้องใช้ไมโครโฟนเฉพาะนั้น ต้องต่อเข้ากับโทรทัศน์ และบางกรณีต้องต่อปลั๊กไฟด้วย บางเครื่องก็มีแบตเตอรีในตัว อุปกรณ์พวกนี้จะมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น การแก้ระดับเสียง สเปเชียลเอฟเฟกต์ บางบริษัทก็มีคาราโอเกะแบบจ่ายเงินเพื่อดาวน์โหลด เพื่อเพิ่มจำนวนเพลงในระบบคาราโอเกะแบบใช้ไมโครโฟน",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#22",
"text": "เริ่มตั้งแต่ปี 2003 มีการผลิตซอฟต์แวร์มากมายสำหรับการร้องคาราโอเกะ และร้องกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และแทนที่จะต้องพกเลเซอร์ดิสก์ หรือ CD-G เป็นร้อยๆ แผน ก็สามารถบันทึกบนฮาร์ดดิสก์ ทั้งเนื้อทั้งเพลงได้สบายๆ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ยังให้นักร้องสามารถร้องและฟังคนอื่นผ่านอินเทอร์เน็ต โดยมีผู้ร่วมฟังทั่วโลกได้ด้วย เช่น Happy Karaoke เมื่อก่อนในปรเทศไทยมีการให้บริการร้องคาราโอเกะผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น ซิงกิงออนเว็บ ของ นิคคาราโอเกะ และ ทีเอ คาราโอเกะ ของ เทเลคอมเอเซีย แต่ปัจจุบันยุติการให้บริการแล้ว",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#31",
"text": "หลายประเทศในเอเชีย นิยมใช้ตู้คาราโอเกะ (บางทีก็เรียกว่า KTV) นับเป็นเครื่องเล่นคาราโอเกะที่นิยมกันมากที่สุด ร้านคาราโอเกะนั้น เป็นห้องขนาดเล็ก หรือขนาดกลาง ที่ใส่อุปกรณ์คาราโอเกะเอาไว้ สำหรับเพื่อนฝูงได้ร้องเพลงอย่างสนุกสนาน โดยมีบรรยากาศที่เป็นส่วนตัว",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#26",
"text": "ทั้งนี้ยังมีซอฟต์แวร์สำหรับ Windows, Pocket PC, Linux, และ Macintosh Computer ที่สามารถถอดรหัส และแสดงผลแทร็คเพลงคาราโอเกะได้ แม้ปกติแล้วจะต้องคลายการบีบอัดก่อนก็ตาม ปัจจุบันนี้มีการผลิตซอฟต์แวร์คาราโอเกะสำหรับโทรศัพท์มือถือมากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับในแถวเอเชีย",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#20",
"text": "ความนิยมของ Video CD ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เพิ่มมากขึ้นนั้น มีผลจากราคาที่ถูกลง และคุณภาพก็พอรับได้ และส่วนหนึ่งก็เพราะความนิยมในการใช้คาราโอเกะนั่นเอง เครื่องเล่น VCD จำนวนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีฟังก์ชันคาราโอเกะอยู่ในตัว ซึ่งเมื่อผู้ใช้ปิดเสียงนักร้อง ปล่อยเฉพาะเสียงดนตรีออกมา ก็สามารถเล่นคาราโอเกะได้ ในอดีตนั้นมี VCD คาราโอเกะเฉพาะเพลงป๊อปเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้มีคาราโอเกะเพลงต่างๆ แทบทุกชนิด แม้กระทั่ง VCD คาราโอเกะงิ้วภาษากวางตุ้ง ก็นิยมกันมากในปัจจุบันนี้ในฮ่องกง",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "114715#5",
"text": "พ่อเธอเป็นคนดื่มเหล้า สูบบุหรี่จัด และชอบร้องคาราโอเกะ ทั้งยังแอบไปมีความสัมพันธ์กับ หยก (แชมเปญ เอ็กซ์) เมียน้อยของเสี่ยโต้ง (วีรดิษ วิญญรัตน์) เจ้าของร้านคาราโอเกะ ซึ่งเมื่อรู้ความสัมพันธ์ลับนั้นก็ส่งมือปืนมาตามเก็บพ่อปู",
"title": "ฝัน บ้า คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#35",
"text": "ในประเทศไทย คาราโอเกะหลายแห่งมีการขายบริการทางเพศแอบแฝงสำหรับผู้ชาย โดยผู้เข้ามาใช้บริการในห้องคาราโอเกะ จะมีผู้หญิงมาบริการในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่มาเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม มานั่งคุยเป็นเพื่อนในลักษณะของจีเอฟอี การแสดงเปลื้องผ้าโชว์ รวมไปถึงการมีเพศสัมพันธ์ทั้งลักษณะสอดใส่และไม่สอดใส่ภายในสถานบริการ ผู้หญิงที่ให้บริการในประเทศไทยจะมาจากหลากหลายสถานที่ ไม่ว่าในประเทศหรือจากต่างประเทศ[1]",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#5",
"text": "อุตสาหกรรมคาราโอเกะนั้นเริ่มต้นในญี่ปุ่นเมื่อต้นทศวรรษ 1970 เมื่อนักร้องคนหนึ่ง ชื่อ ไดซุเกะ อินุอะเอะ ได้รับคำร้องขอจากแขกอยู่บ่อยๆ ในร้านอุตะโกะเอะ คิซซา ที่เขาไปแสดงดนตรีนั้น ให้ไปบันทึกการแสดง พวกเขาจึงร้องเพลงไปด้วยในช่วงวันหยุดของ เมื่อทราบความต้องการของตลาด เขาจึงทำเครื่องบันทึกเทปที่เล่นเพลงได้เมื่อหยอดเหรียญ 100 เยน นี่คือเครื่องคาราโอเกะเครื่องแรก แต่แทนที่เขาจะขายเครื่องคาราโอเกะ เขากลับให้เช่าแทน ทำให้ร้านต่างๆ ไม่ต้องซื้อเพลงใหม่ๆ เป็นของตัวเอง",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#8",
"text": "เครื่องเล่นคาราโอเกะอย่างง่ายนั้น ประกอบด้วยอินพุทเสียง เป็นตัวเปลี่ยนระดับเสียงดนตรี (ไม่ใช่เสียงนักร้อง) และเอาต์พุตเสียง สำหรับเครื่องที่มีราคาถูกบางรุ่น พยายามจะลดเสียงร้อง โดยสามารถป้อนเสียงร้องปกติเข้าเครื่อง และลดเสียงของนักร้องเดิมลง แต่วิธีนี้ไม่ค่อยจะมีประสิทธิภาพนัก สำหรับเครื่องที่พบเห็นทั่วไปส่วนใหญ่จะเป็นการผสมเสียงด้วยอินพุทไมโครโฟน ที่มีเครื่องเล่น DVD, LD (เลเซอร์ดิสก์), Video CD หรือ CD+G อยู่ในเครื่อง เครื่องเล่น CD+G นั้นใช้แทร็คพิเศษ เรียกว่า ซับโคด (subcode) หรือรหัสย่อย เพื่อเข้ารหัสเนื้อเพลงและภาพที่แสดงบนจอ ขณะที่รูปแบบอื่นๆ นั้นปกติจะแสดงผลทั้งภาพและเสียง ในบางประเทศ คาราโอเกะที่สามารถแสดงเนื้อได้ เรียกว่า KTV",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#11",
"text": "เครื่องบันเทิงราคาถูกจำนวนมาก (อย่างเครื่องบูมบ็อกซ์) ก็มีโหมดสำหรับร้องคาราโอเกะ ที่พยายามจะขจัดเสียงร้องออกจากแผ่นซีดีเพลง (Audio CD) ทั่วไป ที่ไม่ใช้ซีดีคาราโอเกะ ซึ่งทำได้โดยควบคุม center removal จากข้อเท็จจริงที่ว่าเสียงร้องส่วนมากจะมีความถี่อยู่บริเวณกลางช่วงความถี่เสียง และเมื่อเป็นเช่นนี้ ก็หมายความว่า เสียงร้อง จะมีระดับความดังเท่ากันในช่องสเตอริโอทั้งสองข้าง และไม่มีความต่างเฟส การได้แทร็คโมโนของคาราโอเกะจำลองนี้ ช่องสัญญาณซ้ายของเสียงเดิมจะถูกลบออกจากช่องสัญญาณขวานั่นเอง",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#15",
"text": "โปรแกรมคอมพิวเตอร์บางแบบที่ใช้งานคล้ายๆ กันในเครื่องคาราโอเกะมาตรฐาน ถูกพัฒนาขึ้นมาให้ใช้การสร้างเสียงดนตรีแบบ Midi เพื่อสร้างเสียงประกอบแทนที่จะเป็นเสียงดนตรีที่บันทึกเอาไว้ นี่เป็นข้อดีในการแข่งขันด้านเทคโนโลยี และยังลดข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ประกอบการร้อง เพราะสามารถส่งผ่านอินเทอร์เน็ตได้ง่าย แม้เครือข่ายจะมีความเร็วต่ำก็ตาม รูปแบบไฟล์มาตรฐานนั้นจะใช้ไฟล์ *.KAR ซึ่งเป็นส่วนขยายของรูปแบบดิสก์ MIDI มาตรฐาน และสามารถเล่นด้วยซอฟต์แวร์สำหรับเล่น MIDI โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร (ซอฟต์แวร์ นิคคาราโอเกะ เป็นซอฟต์แวร์คาราโอเกะชนิดนี้ตัวแรกของไทย ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ DOS และพัฒนาสู่เวอร์ชันทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows XP) นอกจากนี้ยังมีเครื่องเล่น DVD ยี่ห้อ SOKEN ที่เล่น Midi Karaoke ได้เป็นเครื่องแรกในไทย",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#27",
"text": "นอกจาก CD+G และคาราโอเกะแบบใช้ซอฟต์แวร์แล้ว เครื่องเล่นคาราโอเกะที่ใช้ไมโครโฟนก็เป็นที่นิยมอย่างมากในอเมริกาเหนือ และบางประเทศในเอเชีย",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#30",
"text": "ระบบคาราโอเกะแบบใช้ไมโครโฟน และแบบ CD+G นั้นปกติจะใช้กันในบ้าน แต่ปัจจุบันนี้ DVD คาราโอเกะเป็นที่นิยมสูงสุดในการใช้คาราโอเกะในบ้านในอเมริกาเหนือ ทั้งนี้เพราะมีเครื่องเล่น DVD จำนวนมากที่สามรถใช้เล่น DVD คาราโอเกะได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นให้ยุ่งยากเสียเวลา",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#33",
"text": "คาราโอเกะในรูปแบบนี้ เป็นการประยุกต์ใช้โปรแกรมจัดทำงานนำเสนอเพื่อจัดทำสารบบเพลงคาราโอเกะเสมือนจริง โดยรูปแบบแล้วจะเหมือนกับการนำเสนอผลงานตามปกติ แต่จะมีเนื้อเพลงที่ใช้วิธีสร้างข้อความศิลป์ และลูกเล่นการนำเสนอ เพื่อปาดคำร้องให้ตรงตามเพลงที่ต้องการ ข้อดีของคาราโอเกะในแบบฉบับพาวเวอร์พอยต์ คือ สามารถสร้างสรรค์ขึ้นได้ง่าย และยังสามารถเปลี่ยนรูปภาพหรือสื่อนำเสนออื่นที่ต้องการให้เหมาะสมกับโอกาสต่างๆ ได้อีกด้วย ทั้งนี้ก็มีข้อเสียอยู่ประการหนึ่ง คือ คำร้องบางส่วนอาจปาดได้ไม่ตรงกับเพลงบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครื่องที่ใช้และการตั้งเวลาที่เหมาะสม",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#21",
"text": "เมื่อ พ.ศ. 2546 มีหลายบริษัทเริ่มให้บริการคาราโอเกะผ่านโทรศัพท์มือถือ และยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทว่าไม่สามารถคาดหมายได้ชัดว่าจะเติบโตไปในทิศทางใด อย่างไรก็ตามผู้ให้บริการคาราโอเกะผ่านโทรศัพท์มือถือบางราย เช่น Karaokini ได้เริ่มประสบความสำเร็จในเชิงพานิชย์บ้างแล้ว บริการคาราโอเกะผ่านมือถือมักจะใช้ ภาษาจาวา ซึ่งทำงานด้วยไฟล์ข้อความ บรรจุเป็นคำ และไฟล์ midi พร้อมเสียงดนตรี www.web2txt.co.uk เป็นบริษัทแรกที่เสนอคาราโอเกะผ่านมือถือ ในรูปแบบ 3GP ซึ่งให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า (ในประเทศไทยเคยมีให้บริการร้องคาราโอเกะบนมือถือผ่านเครื่อข่ายระบบฮัทช์)",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#14",
"text": "วิดีโอซีดี (VCD) มักพบได้ตามร้านขายเพลงทั่วไป ออกโดยเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงหรือค่ายเพลง มักจะมีมิวสิกวิดีโอหรือวิดีโอของการร้องหรือการแสดงของศิลปินให้ด้วยในแต่ละเพลง ปัจจุบันพบว่ามักมีคำออกเสียงภาษาอังกฤษใต้คำภาษาไทย มิดิ (MIDI) อยู่ในรูปแบบของซอฟต์แวร์ เล่นมิดิคาราโอเกะ เช่น นิคคาราโอเกะ คาราโอเค คาราโปรพลัส อาร์เอ็มเอส คาราคาเฟ่ วินคาราโอเกะ และ บูมิวสิค คาราโอเกะ เป็นต้น ที่มีเพลงอยู่มากมาย มักไม่มีการแสดงมิวสิกวิดีโอหรือภาพประกอบในระหว่างการเล่นคาราโอเกะ และการเล่นดนตรีแบบมิดิอาจจะได้เสียงบรรเลงที่แตกต่างหรือเพี้ยนไปจากเพลงจริงบ้าง แต่ข้อดีของรูปแบบมิดิคือประหยัดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเป็นอย่างมาก ช่วยให้สามารถบันทึกข้อมูลเพลงและคำร้องไว้ในระบบคาราโอเกะได้เป็นจำนวนมาก",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "114715#3",
"text": "ในปี พ.ศ. 2552 มีการผลิตเป็นดีวีดีสำหรับจัดจำหน่ายในประเทศไทยในรูปแบบของ The Legend Collection ตำนานหนังกลางใจ ซึ่งเป็นการนำภาพยนตร์ไทยเก่าๆ กลับมาผลิตเป็นดีวีดีสำหรับสะสม โดย ฝัน บ้า คาราโอเกะ อยู่ใน Vol. 4 เช่นเดียวกับ เรื่องตลก 69 ภาพยนตร์ลำดับถัดไปโดย เป็นเอก รัตนเรือง",
"title": "ฝัน บ้า คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#3",
"text": "คำนี้ถูกใช้เป็นศัพท์สแลงด้านสื่อ เมื่อการบรรเลงสดถูกแทนที่ด้วยดนตรีที่บันทึกเอาไว้ก่อน และเขียนเป็นตัวอักษรคาตากานะ คำว่า \"คาราโอเกะ\" ยังตีความได้ว่า \"วงออร์เคสตราเสมือนจริง\" เพราะคนคนเดียวก็สามารถควบคุมดนตรีและเริ่มต้นร้องไปได้โดยไม่ต้องมีวงดนตรีจริง ๆ ในสหรัฐอเมริกานั้น มักจะเรียกเพี้ยนเป็น \"คาเรอโอกี\" ส่วนในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง \"คาราโอเกะ\"",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#10",
"text": "เกมที่ใช้คาราโอเกะนั้น จะมีการพิมพ์หมายเลขเรียกเพลง ซึ่งผู้ใช้จะสามารถร้องได้นานเท่าที่ต้องการ สำหรับบางเครื่องนั้น เกมนี้มีการตั้งโปรแกรมเอาไว้ก่อน และอาจจำกัดแนวเพลง ทำให้ไม่สามารถเรียกเพลงที่คนอื่นๆ อาจไม่รู้จักได้ เกมนี้ในบางส่วนของอเมริกาและแคนาดา เรียกกันว่า \"คามิคาเซ คาราโอเกะ\" (Kamikaze Karaoke)",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#32",
"text": "ในต่างประเทศใช้คำว่า karaoke bar, karaoke restaurant, karaoke club หรือ karaoke lounge ซึ่งหมายถึงร้านอาหารที่มีอุปกรณ์คาราโอเกะ ให้ลูกค้าเข้าไปร้องได้ สำหรับในร้านอาหารจีนแบบดั้งเดิมบางแห่ง เรียกว่า ห้องคาราโอเกะ-ไพ่นกกระจอก (mahjong-karaoke room) ซึ่งผู้ใหญ่อาจเข้าไปนั่งเล่นไพ่นกกระจอก และวัยรุ่นใช้ร้องคาราโอเกะได้ ทำให้เป็นที่นิยมสำหรับผู้คนทุกวัย",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "479008#0",
"text": "' “รักหรรษา..คาราโอเกะ”' เป็นเรื่องราวความรักกุ๊กกิ๊กชิงไหวชิงพริบระหว่าง หรรษา (บอย พิษณุ) หนุ่มปากมอมที่ฝันอยากมีร้านคาราโอเกะเป็นของตัวเอง กับ โป๊ยเซียน (นาเดีย นิมิตรวานิช) สาวข้างบ้านจอมแก่นไม่ยอมใคร \nถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ โดย บริษัท โพลีพลัสเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2549 กำกับการแสดงโดย บุญชู พิทักษ์เลิศกุล ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ 17.00-18.00น.",
"title": "รักหรรษาคาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#1",
"text": "การให้บริการคาราโอเกะจะมีหลากหลายรูปแบบ เช่นการให้บริการตู้คาราโอเกะ, ห้องส่วนตัว หรือห้องรวมพร้อมอุปกรณ์คาราโอเกะในสถานบันเทิงหรือร้านอาหาร โดยสถานบันเทิงคาราโอเกะบางแห่งอาจมีการบริการขายบริการทางเพศพ่วงเข้ามาด้วย[1]",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#6",
"text": "ในช่วงแรกๆ นั้นราคาค่าหยอดตู้คาราโอเกะนับว่าแพงพอสมควร เงิน 100 เยนนั้นพอที่จะซื้ออาหารกลางวันได้ถึง 2 ที่ แต่ไม่นานต่อมาคาราโอเกะก็กลายเป็นความบันเทิงยอดนิยมไปแล้ว เครื่องคาราโอเกะมีบริการในร้านอาหาร ห้องต่างๆ ของโรงแรม และไม่ช้าก็เปิดธุรกิจใหม่ คือ ร้านคาราโอเกะ Karaoke Box ที่มีห้องขนาดเล็ก พร้อมด้วยเครื่องคาราโอเกะให้บริการ ซึ่งเป็นที่นิยมในเวลาไม่นานนัก ในปี 2004 นั้น นายไดซุเกะ อินุอะเอะ ได้รับรางวัลอิกโนเบลสาขาสันติภาพ ในฐานะผู้คิดค้นระบบคาราโอเกะขึ้น \"นับเป็นการเสนอทางเลือกใหม่ให้ผู้คนได้ทนซึ่งกันและกันได้\"",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#23",
"text": "ผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศจีน จีลี่ ออโตโมบิล ได้ผลิตรถสปอร์ตรุ่น BL (Beauty Leopard) ที่มีเครื่องคาราโอเกะในรถเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2546 เป็นอุปกรณ์มาตรฐานประจำรถ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันคาราโอเกะในเครื่องเล่น DVD สำหรับรถยนต์ด้วย",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "17806#7",
"text": "เดิมทีเครื่องคาราโอเกะแต่ละเครื่องนั้นจะใช้เทปคาสเซตต์หรือวิดีโอเทป แต่เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ก็แทนที่ด้วยแผ่นวิดีโอซีดี หรือดีวีดี หรือระบบฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น ในปี ค.ศ. 1992 บริษัทไทโต (Taito Corporation) ได้นำเสนอเครื่อง X2000 ที่สามารถค้นหาเสียงดนตรีโดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ได้ สำหรับคุณภาพของดนตรีและภาพนั้นยังมีข้อจำกัด แต่ความก้าวหน้าของการสื่อสารมีมากกว่า จึงมีการใช้เทคโนโลยีสื่อสารที่ทันสมัยอยู่เสมอ ทำให้เครื่องคาราโอเกะมีขนาดเล็กลง และมีเครื่องรุ่นใหม่ๆ มาแทนที่เครื่องรุ่นเก่าๆ เสมอ เครื่องคาราโอเกะจะเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายไฟเบอร์ออปติก เพื่อให้ได้ภาพและเสียงดนตรีคุณภาพสูงอย่างฉับไว ซึ่งเป็นที่นิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่นานคาราโอเกะก็แพร่หลายไปยังส่วนอื่นๆ ของเอเชีย และแพร่ไปถึงสหรัฐอเมริกาเมื่อทศวรรษ 1990 มีร้านคาราโอเกะ หรือคาราโอเกะบาร์ที่จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ให้ลูกค้าที่เป็นนักร้องสมัครเล่นได้ร้องเพลง ในบางแห่งนั้นแทนที่จะมีเครื่องเล่นคาราโอเกะขนาดเล็ก กลับใช้เครื่องเสียงไฮเอนด์ขนาดใหญ่แทนเลยก็มี เวทีสำหรับเต้นและแสงไฟก็เป็นสิ่งที่พบได้ในคาราโอเกะบาร์ เนื้อร้องนั้นมักจะแสดงอยู่บนจอโทรทัศน์หลายจอที่วางไว้รอบๆ รวมทั้งมีจอฉายภาพขนาดใหญ่ด้วย",
"title": "คาราโอเกะ"
}
] |
1801 | แม่น้ำเจ้าพระยายาวเท่าไหร่ ? | [
{
"docid": "9927#1",
"text": "จุดเริ่มของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยการรวมของแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีพื้นที่ 20,125 ตารางกิโลเมตร (ไม่รวมลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ป่าสัก และท่าจีน)[1] และมีความยาวถึง 372 กิโลเมตร โดยแยกออกเป็นแม่น้ำท่าจีนที่จังหวัดชัยนาท",
"title": "แม่น้ำเจ้าพระยา"
}
] | [
{
"docid": "168610#0",
"text": "แม่น้ำท่าจีน เป็นแม่น้ำที่แยกตัวออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ตำบลท่าซุงบริเวณปากคลองมะขามเฒ่า จึงเรียกแม่น้ำนั้นว่า คลองมะขามเฒ่า และมาหักเลี้ยวเป็นแยกแม่น้ำที่ไหลไปเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาได้อีกที ตรงที่เป็นพื้นที่ปากคลอง ตำบลหาดท่าเสา อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท กับ ฝั่งตะวันตกที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ไหลผ่านจังหวัดชัยนาท จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะไหลออกสู่อ่าวไทยที่ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 325 กิโลเมตร แม่น้ำท่าจีนมีชื่อเรียกหลายชื่อ ตอนที่ไหลผ่านจังหวัดชัยนาทเรียกว่า \"แม่น้ำมะขามเฒ่า\" ตอนที่ผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี เรียกว่า \"แม่น้ำสุพรรณบุรี\" ตอนที่ผ่านจังหวัดนครปฐมเรียกว่า \"แม่น้ำนครชัยศรี\" ส่วนตอนที่ไหลผ่านจังหวัดสมุทรสาครและไหลลงสู่อ่าวไทยเรียกว่า \"แม่น้ำท่าจีน\"",
"title": "แม่น้ำท่าจีน"
},
{
"docid": "22927#0",
"text": "สะพานกรุงเทพ () เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 3 ต่อจากสะพานพระราม 6 และสะพานพระพุทธยอดฟ้า ถือเป็นสะพานโยกเพียงแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังเปิด-ปิดได้อยู่ เชื่อมระหว่างบริเวณสี่แยกถนนตก เขตบางคอแหลมทางฝั่งพระนคร กับบริเวณสี่แยกบุคคโลในพื้นที่เขตธนบุรีทางฝั่งธนบุรี ใช้ในการคมนาคมทางบกข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและปิด-เปิด ให้เรือเข้าออก ลักษณะการก่อสร้างเป็นแบบคอนกรีตอัดแรง โดยวิธีการอิสระซึ่งยาวที่สุดในประเทศไทย มีช่องทางจราจร 4 ช่อง ความยาวสะพาน 350.80 เมตร ช่วงกลางน้ำยาว 226 เมตร เริ่มเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท",
"title": "สะพานกรุงเทพ"
},
{
"docid": "409012#1",
"text": "คลองอ้อมนนท์ ปัจจุบันเป็นคลองที่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอเมืองนนทบุรี เข้าเขตอำเภอบางใหญ่ วกลงทางใต้ ไปจรดคลองบางกรวย แล้วออกแม่น้ำเจ้าพระยาในท้องที่อำเภอบางกรวย (ในช่วงนี้เรียกว่าคลองบางกรวย) มีความยาว 17.5 ก.ม. ชื่ออื่นๆที่นิยมเรียกได้แก่ คลองอ้อม แม่น้ำอ้อม คลองบางอ้อม คลองอ้อมน้อย หรือถือเป็นส่วนหนึ่งของคลองบางกอกน้อย ลำคลองสายนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตริมน้ำ และมีสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมหลายแห่ง คือ",
"title": "คลองอ้อมนนท์"
},
{
"docid": "846075#6",
"text": "คลองมีลักษณะตรงทอดยาวในแนวเหนือใต้เช่นเดียวกับคลองอื่น ๆ ทิศเหนือทะลุคลองมหาไชยที่สามารถต่อไปถึงแม่น้ำลพบุรีหรือแม่น้ำป่าสักได้ ส่วนทิศใต้ทะลุแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณป้อมเพชร ถือเป็นคลองขุดที่มีขนาดยาวที่สุดในเกาะเมือง ทิศตะวันตกมีคลองบางเอียนแยกออกไป และมีคลองอีกสายหนึ่งเชื่อมคลองในไก่กับคลองประตูจีน",
"title": "คลองในไก่"
},
{
"docid": "76514#1",
"text": "เขื่อนเจ้าพระยามีลักษณะเป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก ยาว 237.50 เมตร สูง 16.5 เมตร ติดตั้งบานประตูเหล็กรูปโค้งสูง 7.50 เมตร มีช่องระบายให้น้ำไหลผ่านขนาดกว้าง 12.50 เมตร จำนวน 16 ช่อง ประตูน้ำสำหรับเรือสัญจรติดกับเขื่อนด้านขวากว้าง 14 เมตร ยาว 170.50 เมตร เรือขนาดใหญ่สามารถผ่านเข้าออกได้ บนสันเขื่อนมีสะพานกว้าง 7 เมตร รับรถน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 20 ตัน และมีทางระบายน้ำล้นฉุกเฉินสร้างบนคันกั้นน้ำซ้ายมือเหนือเขื่อนเจ้าพระยา กว้าง 10 เมตร ยาว 1,000 เมตร เพื่อช่วยระบายน้ำเมื่อเกิดอุทกภัย อัตราการระบายน้ำผ่านเขื่อนสูงสุดประมาณ 3,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่การปล่อยน้ำจะควบคุมให้อยู่ในระดับไม่เกิน 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อมิให้กระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา",
"title": "เขื่อนเจ้าพระยา"
},
{
"docid": "164529#0",
"text": "แม่น้ำหวางเหอ, หวง หรือ แม่น้ำฮวง, ฮวงโห ( แปลว่า \"แม่น้ำเหลือง\") เป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับสองของประเทศจีน รองจากแม่น้ำแยงซี และเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ 6 ของโลก มีความยาว 3,395 ไมล์ หรือ 5,464 กิโลเมตร สูงเหนือระดับน้ำทะเล ถึง 5,400 เมตร (ยาวกว่าแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 15 เท่า) ไหลจากฝั่งตะวันตกมาทางตะวันออก ผ่านมณฑลชิงไห่, เสฉวน, กานซู, หนิงเซี่ย, มองโกเลียใน, ซานซี, เหอหนาน และออกสู่ทะเลโป๋ (โป๋ไห่) ใน มณฑลซานตง ซึ่งเป็นทะเลในอ่าวทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน",
"title": "แม่น้ำหวง"
},
{
"docid": "17455#7",
"text": "มีผมที่ยาวขึ้น ไม่มีคิ้ว มีนัยน์ตาเป็นสีฟ้า และมีสายฟ้ารอบตัว เป็นร่างที่พัฒนามาจากซุปเปอร์ไซย่า 2 โดยร่างนี้เกิดจากการฝึกฝนอย่างหนัก โดยจะมีพลังและความเร็วเพิ่มขึ้นจากเดิม 400 เท่า เป็นร่างที่ใช้พลังงานมากและร่างกายจะได้รับภาระอย่างหนัก จึงไม่ค่อยได้ใช้สักเท่าไหร่ โดยจะปรากฏตัวครั้งแรกในช่วงที่สู้กับจอมมารบู",
"title": "ซง โกคู"
},
{
"docid": "78621#2",
"text": "แม่น้ำสะแกกรัง คือ ช่วงตั้งแต่ปากคลองขุมทรัพย์ หรือคลองอีเติ่ง ที่บ้านจักษา อำเภอเมืองอุทัยธานี หรือตรงปลายแม่น้ำตากแดด ณ จุดที่แม่น้ำตากแดดไหลมาบรรจบกับคลองขุมทรัพย์ ซึ่งน้ำจะเป็นสองสี แล้วไหลผ่านตัวเมืองอุทัยธานี แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท มีความยาวจากต้นน้ำถึงจุดที่บรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาประมาณ 108 กิโลเมตร",
"title": "แม่น้ำสะแกกรัง"
},
{
"docid": "409012#0",
"text": "คลองอ้อมนนท์\nเคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยก่อน เมื่อถึงปี พ.ศ. 2179 พระเจ้าปราสาททองโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงเมืองนนทบุรี ซึ่งมีความคดเคี้ยว การเดินทางสัญจรต้องใช้เวลานาน เมื่อขุดคลองลัดแล้ว แม่น้ำก็เปลี่ยนทางไหลเข้าคลองขุดใหม่กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่ดังปัจจุบันนี้ ซึ่งมีความยาวประมาณ 5 ก.ม. ส่วนแม่น้ำสายเดิมนั้นเล็กลงกลายเป็นทางน้ำอ้อม เรียกกันว่าแม่น้ำอ้อม\nเมื่อถึง พ.ศ. 2208 สมเด็จพระนารายณ์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมปราการตรงปากแม่น้ำอ้อม และโปรดฯ ให้ย้ายเมืองนนทบุรีมาอยู่ปากแม่น้ำอ้อมด้วย",
"title": "คลองอ้อมนนท์"
},
{
"docid": "50675#1",
"text": "เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ หัวค่อนข้างโต มีหนวดสั้น 1 คู่ อยู่มุมปากบน ปากเล็กยืดหดได้ อยู่คล้อยลงมาใต้ส่วนหัว สีของลำตัวเหลือง มีแถบสีดำ 7 แถบ พาดไปตามความยาวของ ลำตัว แถบสีดำเหล่านี้จะพาดอยู่ระหว่างรอยต่อของเกล็ด ตาสีแดง ครีบทุกครีบสีชมพู อยู่ตามแม่น้ำที่พื้นที่เป็นกรวด หินหรือทราย ในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้จะเปลี่ยนสีลำตัวเป็นสีคล้ำอมม่วงและมีตุ่มสิวขึ้นบริเวณข้างแก้มและครีบอก วางไข่ในฤดูหนาว โดยจะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ฝูงละ 30 - 40 ตัว บริเวณที่วางไข่อยู่ท้ายเกาะกลางน้ำ กินหอยและตัวอ่อนแมลงน้ำที่อยู่บริเวณพื้นดิน ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบมีความยาว 1 เมตร และมีน้ำหนักถึง 40 กิโลกรัม \nพบตามแหล่งน้ำใหญ่ของภาคกลาง, ภาคเหนือและอีสาน เช่น แม่น้ำโขง, แม่น้ำน่าน, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำแม่กลอง นอกจากนี้แล้วยังพบได้ที่แม่น้ำปะหัง ในรัฐปะหัง ของมาเลเซียอีกด้วย\nปลายี่สก มีชื่อเรียกแตกต่างออกไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น \"ปลาเอิน\" หรือ \"ปลาเอินตาแดง\" ในภาษาอีสาน \"ปลายี่สกทอง\" หรือ \"ปลาอีสก\" หรือ \"ปลากะสก\" ในแถบแม่น้ำน่าน และที่จังหวัดเชียงรายเรียกว่า \"ปลาเสือ\" เป็นต้น",
"title": "ปลายี่สก"
},
{
"docid": "925222#1",
"text": "เมืองจันเสนตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยโบราณเคยมีลำน้ำ เช่น คลองบ้านคลอง เข้ามาเลี้ยงตัวเมืองโดยเชื่อมกับแนวคูเมืองทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทางด้านทิศตะวันออก ภายในเมืองมีสระหรือบึงขุดขนาดใหญ่ เรียกว่า บึงจันเสน มีความลึกมาก มีเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ คาดว่าเป็นสระประจำเมือง ส่วนทางด้านทิศตะวันออกของบึง มีคันดินโบราณกว้าง 20 เมตร มีความยาวเท่าที่พบประมาณ 4 กิโลเมตรเศษ มีลักษณะแนวตรงผ่านเข้าไปในทุ่ง เมื่อถึงบ้านหนองกระจอกแนวคันดินจะเลือนหายไป ไม่ชัดเจน ทางด้านเหนือของคันดิน มีคูน้ำเลียบเกือบตลอดแนว เรียก ลำคูหนุมาน คาดว่าใช้เป็นเขื่อนน้ำ สำหรับกั้นน้ำและรับน้ำจากพื้นที่ลุ่มทางตะวันออกเฉียงเหนือ",
"title": "จันเสน"
},
{
"docid": "172777#0",
"text": "แม่น้ำวัง () เป็นแม่น้ำอยู่ในภาคเหนือของไทย เกิดในเทือกเขาผีปันน้ำในเขตจังหวัดเชียงราย มีความยาว 382 กิโลเมตร ไหลไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ก่อนจะไหลไปที่แม่น้ำเจ้าพระยา",
"title": "แม่น้ำวัง"
},
{
"docid": "498758#2",
"text": "ในปี ค.ศ. 2012 สมาคมสัตว์เลี้ยงลูกด้วยทะเลได้ยอมรับให้เป็นชนิดใหม่ต่างหากโดยเริ่มศึกษามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 อย่างไรก็ตามโลมาชนิดนี้มักไม่เป็นที่รู้จักเท่าไหร่ ในเดือนกันยายน ปีเดียวกัน ประธานาธิบดีเอโบ โมราเลส แห่งโบลิเวีย ได้ออกกฎหมายคุ้มครองโลมาแม่น้ำโบลิเวียให้เป็นสมบัติของชาติ",
"title": "โลมาแม่น้ำโบลิเวีย"
},
{
"docid": "42508#0",
"text": "แม่น้ำน่าน () มีต้นกำเนิดอยู่ในเทือกเขาหลวงพระบาง จังหวัดน่าน มีความยาวตลอดลำน้ำ 740 กิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุด ในบรรดาแควต้นน้ำเจ้าพระยาด้วยกัน นับเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายหลักในภาคเหนือและภาคกลางของไทย โดยได้ไหลย้อนขึ้นไปท่วมจังหวัดเชียงใหม่อยู่เสมอ",
"title": "แม่น้ำน่าน"
},
{
"docid": "194644#0",
"text": "แม่น้ำลพบุรี เป็นลำน้ำสาขาที่แยกออกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนไหลไปรวมเข้ากับแม่น้ำป่าสัก มีความยาวทั้งหมด 85 กิโลเมตร บางแห่งว่ามีความยาว 95 กิโลเมตร บางแห่งว่า 305 กิโลเมตร",
"title": "แม่น้ำลพบุรี"
},
{
"docid": "977572#5",
"text": "โค้งแม่น้ำเจ้าพระยาตรงบางกะเจ้าซึ่งมีความยาวราว 20 กิโลเมตร ช่วยชะลอน้ำเค็มและเป็นที่พักตะกอนต่าง ๆ จากสภาพพื้นดิน ที่เกิดจากการทับถมของตะกอนบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้บริเวณบางกะเจ้ามีความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีน้ำขังในพื้นที่อยู่ประมาณ 2.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ช่วยเป็นแหล่งพักน้ำไม่ให้ไหลเข้ามาในเขตชุมชนของกรุงเทพ",
"title": "บางกะเจ้า"
},
{
"docid": "6523#10",
"text": "แม่น้ำสะแกกรัง มีต้นกำเนิดจากเขาโมโกจูในจังหวัดกำแพงเพชร ไหลผ่านอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ผ่านอำเภอสว่างอารมณ์ อำเภอทัพทัน และอำเภอเมืองอุทัยธานี ก่อนไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่ที่บ้านท่าซุง ตำบลท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี มีความยาวประมาณ 225 กิโลเมตร โดยในแม่น้ำบริเวณตลาดหน้าวัดอุโปสถาราม มีชุมชนชาวแพซึ่งอยู่อาศัยกันมาหลายชั่วอายุคน มีการทำสวนต้นเตยและเพาะเลี้ยงปลาแรดในกระชังซึ่งเป็นปลาที่มีชื่อของจังหวัดด้วย แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลมาจากจังหวัดนครสวรรค์ผ่าน ต.หาดทนง (เกาะเทโพ) อ.เมือง จังหวัดอุทัยธานี ลำห้วยคลองโพ เกิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอชุมตาบง อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี ไหลมาบรรจบแม่น้ำสะแกกรัง(แควตากแดด) ที่ตำบลสว่างอารมณ์ อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี มีความยาวประมาณ 30 กิโลเมตร ลำห้วยขุนแก้ว เกิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอบ้านไร่ และอำเภอห้วยคต ไหลผ่านอำเภอห้วยคต อำเภอลานสัก อำเภอหนองฉาง อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี และอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท มาบรรจบแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร ลำห้วยทับเสลา ห้วยทับเสลาเป็นลำห้วยสาขาของแม่น้ำสะแกกรัง ห้วยทับเสลา มีต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก ทางทิศตะวันตกของจังหวัดอุทัยธานี ไหลผ่านอำเภอลานสัก อำเภอหนองฉาง อำเภอหนองขาหย่าง มาบรรจบแม่น้ำสะแกกรังที่ตำบลน้ำซึม อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี มีความยาวจากท้ายเขื่อนทับเสลาถึงจุดที่บรรจบกับแม่น้ำสะแกกรังประมาณ 90 กิโลเมตร ลำห้วยกระเสียว เป็นลำห้วยสาขาใหญ่ของแม่น้ำท่าจีน ต้นน้ำอยู่ระหว่างเขาแหละกับเขาใหญ่ในเขตอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ไหลผ่านท้องที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี อำเภอด่านช้าง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี มาบรรจบแม่น้ำท่าจีนที่บ้านทึง อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี รวมความยาวประมาณ 140 กิโลเมตร",
"title": "จังหวัดอุทัยธานี"
},
{
"docid": "124209#0",
"text": "แม่น้ำปิง () เป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในสองของแม่น้ำที่บรรจบมาเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิงไหลอยู่ในหุบเขาระหว่างทิวเขาถนนธงชัยกลางกับทิวเขาผีปันน้ำตะวันตก มีต้นน้ำอยู่ที่ดอยเชียงดาวในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ไหลลงทางใต้ผ่านจังหวัดลำพูน รวมกับแม่น้ำวังที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ไหลลงใต้ผ่านจังหวัดกำแพงเพชร แล้วบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และจากจุดนี้ไปเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิงมีความยาวทั้งสิ้น 658 กิโลเมตร",
"title": "แม่น้ำปิง"
},
{
"docid": "755373#1",
"text": "มีรูปร่างคล้ายตะพาบทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก หัวเล็กและลำคอยาว จมูกค่อนข้างสั้นยาว เมื่อขนาดเล็กมากจะมีแถบสีเหลืองปนน้ำตาลบนส่วนหัวและกระดองอย่างชัดเจน โดยสีสันนั้นอาจปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพแวดล้อม อาจจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมม่วงก็ได้ บนกระดองลายแถบจะพาดผ่านส่วนหัวยาวอย่างต่อเนื่องมาบนกระดอง ส่วนท้องจะมีสีขาวหรือขาวอมชมพู โดยโตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 1.5 เมตร ความกว้างของกระดอง 1 เมตร และหนักถึง 100–120 กิโลกรัม ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียครึ่งต่อครึ่ง เชื่อว่ามีอายุยืนยาวได้กว่า 100 ปี มีถิ่นกำเนิดที่แม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี, แม่น้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี และแม่น้ำปิงในเขตภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น และมีรายงานว่าพบที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง และพบที่มาเลเซียและอินโดนีเซียด้วย (โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย)",
"title": "ตะพาบม่านลายไทย"
},
{
"docid": "22894#3",
"text": "สะพานพระราม 8 มีความยาวรวม 475 เมตร สูงเท่าสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และความลาดชันไม่เกิน 3% เป็นสะพานหลักช่วงข้ามแม่น้ำ 300 เมตร สะพานยึดช่วงบนบก 100 เมตร และสะพานช่วงโครงสร้างยึดเสา 75 เมตร มีรูปแบบโดดเด่นสวยงามเพราะได้ออกแบบเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตร ซึ่งหมายความว่ามีเสาสะพานหลักเสาเดียวบนฝั่งธนบุรี และมีเสารับน้ำหนัก 1 ต้นบนฝั่งพระนคร จึงไม่มีเสารับน้ำหนักตั้งอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ไม่มีปัญหาต่อการสัญจรทางน้ำ ช่วยป้องกันน้ำท่วมและระบบนิเวศวิทยาในน้ำ รวมทั้งไม่กระทบต่อการจัดตั้งกระบวนพยุหยาตราชลมารค ",
"title": "สะพานพระราม 8"
},
{
"docid": "390255#2",
"text": "มีขนาดโตเต็มที่ยาวได้ประมาณ 12 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำใหญ่ ๆ ทั่วประเทศไทย ทั้ง แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำโขง ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน",
"title": "ปลาน้ำฝายหลังดำ"
},
{
"docid": "13734#14",
"text": "อากาเนะเป็นที่พึ่งของเพื่อนผู้หญิงทั่วไป ทั้งความใจดี อ่อนโยน ขี้สงสาร แต่เห็นแบบนี้อากาเนะก็เป็นคนที่อ่อนไหวง่าย(ยิ่งโดนหาว่าขาดความเป็นแม่ศรีเรือนเท่าไหร่ ยิ่งคิดมาก) ขี้อาย และชอบซ่อนความรู้สึกของตัวเองเสมอ คนที่เป็นที่ระบายให้กับเธอได้จริงๆก็คือรันม่า เดิมอากาเนะไว้ผมยาว แต่ถูกมีดของเรียวกะตัดขาด",
"title": "รันม่า ½"
},
{
"docid": "291061#8",
"text": "มิเลแบ่งการเขียนภาพ “โอฟีเลีย” เป็นสองขั้น: ขั้นแรกเขียนภูมิทัศน์และขั้นที่สองเขียนตัวโอฟีเลีย เมื่อพบฉากที่ต้องการแล้วมิเลก็นั่งเขียนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำฮอกสมิลล์—ไม่ไกลจากที่พักของเพื่อนร่วมกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอล วิลเลียม โฮลแมน ฮันท์ เพียงไม่เท่าไหร่—11 ชั่วโมงต่อวัน, หกวันต่อหนึ่งสัปดาห์ เป็นเวลากว่าห้าเดือนในปี ค.ศ. 1851",
"title": "โอฟีเลีย (มิเล)"
},
{
"docid": "66442#0",
"text": "คลองลัดโพธิ์ เป็นชื่อคลองเดิม บริเวณตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เดิมมีลักษณะตื้นเขิน ต่อมาได้จัดสร้างเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ เป็นการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร โดยยึดหลักการ \"เบี่ยงน้ำ\" ภายใต้การดูแลของหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงานคือ กรมชลประทาน กรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีหลักการคือ จากสภาพของแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมที่มีลักษณะไหลวนคดเคี้ยวบริเวณรอบพื้นที่บริเวณบางกะเจ้านั้นมีความยาวถึง 18 กิโลเมตร นั้นทำให้การระบายน้ำที่ท่วมพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครเป็นไปได้ช้า ไม่ทันเวลาน้ำทะเลหนุน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงมีพระราชดำริให้พัฒนาใช้คลองลัดโพธิ์ ซึ่งเดิมมีความตื้นเขินมีความยาวราว 600 เมตร ให้ใช้ระบายน้ำที่หลากและน้ำที่ท่วมทางสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ทะเลทันทีในช่วงก่อนที่น้ำทะเลหนุน และปิดคลองลัดโพธิ์เมื่อน้ำทะเลหนุน เพื่อหน่วงน้ำทะเลไม่ให้ขึ้นลัดเลาะไปตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยาที่คดโค้งถึง 18 กิโลเมตรก่อนซึ่งใช้เวลามากจนถึงเวลาน้ำลง ทำให้ไม่สามารถขึ้นไปท่วมตัวเมืองได้",
"title": "คลองลัดโพธิ์"
},
{
"docid": "1919#0",
"text": "กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม. มีประชากรตามทะเบียนราษฎรกว่า 5 ล้านคน ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเอกนคร (Primate City) จัด มีผู้กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเป็น \"เอกนครที่สุดในโลก\" เพราะมีประชากรมากกว่านครที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ถึง 40 เท่า[1]",
"title": "กรุงเทพมหานคร"
},
{
"docid": "112094#0",
"text": "สะพานกาญจนาภิเษก () เป็นสะพานขึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ของประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของถนนกาญจนาภิเษก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ช่วงทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์) ลักษณะการก่อสร้างเป็นสะพานขึงระนาบคู่ขนาด 6 ช่องจราจร ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาระหว่างท้องที่ตำบลบางจาก (เขตเทศบาลเมืองลัดหลวง) กับตำบลบางหัวเสือ (เขตเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย) อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 52 เมตร เพื่อให้เรือสินค้าสามารถเข้าออกได้ ตัวสะพานมีความยาวช่วงกลางแม่น้ำ 500 เมตร ซึ่งถือว่าเป็น \"สะพานขึง\" ที่มีช่วงกลางแม่น้ำยาวที่สุดในประเทศไทย และถือว่าเป็นสะพานข้ามแม่น้ำที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550",
"title": "สะพานกาญจนาภิเษก"
},
{
"docid": "92401#3",
"text": "เคยมีการสันนิษฐานว่าจมูกที่ยาวของมีไว้เพื่อใช้ในการว่ายน้ำ แต่เหตุผลข้อนี้ก็ต้องตกไป เพราะตัวเมียก็ว่ายน้ำเหมือนกัน แต่ตัวเมียกลับมีจมูกที่เล็กกว่าครึ่งหนึ่งของตัวผู้ นักชีววิทยาบางกลุ่มก็สันนิษฐานว่า จมูกมีหน้าที่ในการระบายอากาศจากภายในร่างกาย เนื่องจากตัวผู้มีขนาดตัวและมีกระเพาะที่ใหญ่มาก ภายในร่างกายจึงมีความร้อนมาก บ้างก็อธิบายโดยใช้หลักการของชาร์ล ดาร์วิน ว่า ตัวเมียจะชอบตัวผู้ที่มีจมูกใหญ่ เมื่อนานเข้าตัวผู้ที่มีจมูกเล็กจึงลดจำนวนลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเหลือแต่ตัวที่จมูกใหญ่ คล้ายกับว่ายิ่งตัวผู้มีจมูกยาวใหญ่เท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นที่สนใจของตัวเมียมากขึ้นเท่านั้น ",
"title": "ลิงจมูกยาว"
},
{
"docid": "194644#1",
"text": "ต้นน้ำของแม่น้ำลพบุรี อยู่ที่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ไหลมาทางตะวันออกผ่านอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี, อำเภอท่าวุ้ง และอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ก่อนไหลลงไปทางใต้เข้าเขตอำเภอบ้านแพรก, อำเภอมหาราช, อำเภอบางปะหัน, อำเภอนครหลวง และไหลมาบรรจบกับแม่น้ำป่าสักหน้าตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถึงจะมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าวัดพนัญเชิง ตำบลหอรัตนไชย อำเภอและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมความยาวที่ไหลผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประมาณ 63 กิโลเมตร",
"title": "แม่น้ำลพบุรี"
},
{
"docid": "348226#3",
"text": "แม่น้ำเจ้าพระยามีความยาวประมาณ 372 กิโลเมตร ก่อให้เกิดเป็นที่ราบลุ่มและแควน้ำสาขารวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำมากมาย อาทิ แม่น้ำสะแกกรัง, แม่น้ำป่าสัก, แม่น้ำลพบุรี, แม่น้ำท่าจีน, กว๊านพะเยา, บึงบอระเพ็ด เป็นต้น ทำให้หลายชนิดเป็นปลาเฉพาะถิ่น และหลายชนิดก็เป็นปลาที่พบได้เฉพาะบริเวณนั้นหรือปลาท้องถิ่นเท่านั้น",
"title": "ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา"
}
] |
639 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ แต่งงานกับใคร ? | [
{
"docid": "105416#0",
"text": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ (ประสูติ: 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 — สิ้นพระชนม์: 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ที่ต่อมาได้เสกสมรสเป็นพระชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ โดยเป็นพระมารดาของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ 8",
"title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์"
}
] | [
{
"docid": "105416#1",
"text": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ เป็นพระธิดาองค์โตในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช กับหม่อมเลี่ยม ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศุภสุทธิ์) สตรีชาวเพชรบุรี เมื่อแรกประสูติทรงฐานันดรศักดิ์เป็น \"หม่อมเจ้า\" พระบิดาทรงออกพระนามว่า \"หญิงทิพย์\" ประสูติ ณ วังบูรพาภิรมย์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2428",
"title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์"
}
] |
1832 | เมืองหลวงของประเทศอิรักคือ? | [
{
"docid": "628869#0",
"text": "โมซูล () หรือ อัลเมาศิล () เป็นนครในภาคเหนือของประเทศอิรัก และเมืองหลวงของจังหวัดนีนะวา ห่างจากกรุงแบกแดด เมืองหลวงของประเทศ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 400 กิโลเมตร นครเดิมตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำไทกริส ตรงข้ามกับนครนีนะวาของอัสซีเรียโบราณที่อยู่ฝั่งตะวันออก แต่ปัจจุบันพื้นที่มหานครได้เติบโตขึ้นครอบคลุมพื้นที่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ โดยมีสะพานห้าแห่งเชื่อมระหว่างสองฝั่ง ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับ (โดยมีชนกลุ่มน้อยอัสซีเรีย เติร์กเมนอิรัก และเคิร์ด) เป็นนครขนาดใหญ่อันดับสองของประเทศ รองจากกรุงแบกแดด",
"title": "โมซูล"
},
{
"docid": "2890#0",
"text": "ประเทศอิรัก (; อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (; ) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด",
"title": "ประเทศอิรัก"
},
{
"docid": "168552#0",
"text": "แบกแดด (; \"บัฆดาด\"; ) เป็นเมืองหลวงของประเทศอิรัก มีประชากรในเขตนครประมาณ 7,000,000 คน เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในอิรัก แบกแดดเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกอาหรับ (รองจากไคโร) และใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (รองจากเตหะราน)",
"title": "แบกแดด"
}
] | [
{
"docid": "383197#0",
"text": "เขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถานแห่งอิรัก (; หรือเคอร์ดิสถานใต้) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศอิรัก มีชายแดนติดต่อกับประเทศซีเรีย ตุรกีและอิหร่าน มีพื้นที่ 40,000 ตารางกิโลเมตร (ขนาดเทียบเท่ากับประเทศเนเธอร์แลนด์) ประกอบด้วยเขตปกครองตนเอง 3 เขต ได้แก่เมืองเอร์บีล (Erbil), โดฮูก (Dohuk) และ สุลัยมานียะฮ์ (Suleimaniah) มีเอร์บีล (Erbil) เป็นเมืองหลวง",
"title": "เคอร์ดิสถานอิรัก"
},
{
"docid": "747166#0",
"text": "อันนาศิรียะฮ์ () เป็นนครในประเทศอิรัก ตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำยูเฟรทีส ตั้งห่างจากกรุงแบกแดดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 225 ไมล์ (370 กม.) อยู่ใกล้กับโบราณสถานเมืองอูร์ เป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าการษีกอร ในปี ค.ศ. 2003 มีประชากรราว 560,000 คน ทำให้เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสี่ของประเทศอิรัก ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ประชากรนับถือหลากหลายศาสนา คือ เป็นชาวมุสลิม ยิว มันดาอี แต่ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม นิกายชีอะฮ์",
"title": "อันนาศิรียะฮ์"
},
{
"docid": "2890#4",
"text": "อิรักมีพื้นที่ทั้งหมด 437,072 ตารางกิโลเมตร ทิศตะวันออกติดกับ อิหร่าน ทิศเหนือ ติดกับตุรกี ทิศใต้ติดกับคูเวต ทิศตะวันตกติดกับ ซีเรีย และจอร์แดน\nสภาพทางภูมิศาสตร์ของอิรัก เป็นทะเลทรายร้ออิรักยละ 40 ที่ราบสูง ยากแต่การทำการเกษตรทำให้อิรักต้องนำเข้าสินค้าภาคการเกษตรเช่น ข้าวสาลี ข้าวจ้าว ธัญพืช แต่อย่างไรก็ดี อิรักก็มีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ ไทรกิส ยูเฟรตีส ทำให้ยังพอมีความอุดมสมบูรณ์อยู่บ้างหลังจากสงครามโลกครั้งที่1 ยุติลงอาณาจักรออตโตมันที่เคยเป็นมหาอำนาจในตะวันออกกลางตกเป็นผู้แพ้สงคราม ดินแดนต่างๆที่ออตโตมันปกครองก็ถูกแบ่งแยกออกเป็นรัฐต่างๆ อิรักเป็นหนึ่งในรัฐที่ถูกแบ่งแยกออกมาโดยอังกฤษที่สามารถยึดครองอิรักจากออตโตมันได้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่1",
"title": "ประเทศอิรัก"
},
{
"docid": "145088#5",
"text": "คนอิหร่านเชื้อสายอาหรับส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางตะวันตกของประเทศในจังหวัดคูเชสถานติดกับพรมแดนอิรัก ซึ่งจังหวัดคูเชสถานนี้เป็นแหล่งน้ำมันที่สำคัญที่สุดของอิหร่าน ขณะเดียวกัน อิรักก็พยายามอ้างอยู่เสมอว่าจังหวัดดังกล่าวเป็นดินแดนของอิรัก ถึงกับตั้งชื่อให้ว่า จังหวัดอราเบแซน ทหารของสองประเทศมักมีการปะทะกันย่อมๆอยู่เสมอในจังหวัดนี้",
"title": "สงครามอิรัก–อิหร่าน"
},
{
"docid": "2890#8",
"text": "สังคมของอิรักเป็นสังคมหลากหลายชาติพันธุ์ เป็นเหตุมาจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่เป็นแหล่งอารยธรรมมาหลายพันปี พลเมืองของอิรักที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ มุสลิมชีอะห์(ร้อยละ 65) และ มุสลิมสุหนี่ (ร้อยละ 20) นอกจากนี้ยังมีชาวเคิร์ด อยู่ในบริเวณเคอร์ดิสถาน ชาวเคริ์ดในอริรักมีอยู่ประมาณ 3,700,000 คน นับว่าเป็นคนส่วนน้อยในอิรัก และเนื่องด้วยรูปแบบการปกครองที่ให้สิทธิของชนชาติอาหรับ และผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจให้กับมุสลิมสุหนี่ ส่งผลให้ กลายเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนา และชาติพันธุ์ในอิรัก ทั้งกับมุสลิมด้วยกันเองคือ สุหนี่และชีอะห์ และ ยังปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวคิร์ดกับรัฐบาลกลางของอิรัก เพื่อเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมอีกด้วย",
"title": "ประเทศอิรัก"
},
{
"docid": "2890#1",
"text": "ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย",
"title": "ประเทศอิรัก"
},
{
"docid": "384898#0",
"text": "คีร์คูก หรือ เคอร์คูก (เคอร์ดิช: Kerkûk/کهرکووک, อราเมอิก:ܐܪܦܗܐ, ; หรือ Karkuk หรือ Kerkuk) เป็นเมืองในประเทศอิรัก เป็นเมืองหลวงของจังหวัดคีร์คูก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นศูนย์กลางการเกษตรและตลาด มีการเลี้ยงแกะและมีแหล่งน้ำมัน เป็นเมืองปลายทางของเส้นทางรถไฟจากกรุงแบกแดด เป็นดินแดนอาหรับแห่งแรก ๆ ที่พบน้ำมันในคริสต์ศตวรรษที่ 20 การผลิตน้ำมันหยุดชะงักไประหว่างทศวรรษ 1980 เนื่องจากสงครามระหว่างอิหร่านกับอิรัก",
"title": "คีร์คูก"
},
{
"docid": "2890#2",
"text": "ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ",
"title": "ประเทศอิรัก"
}
] |
2010 | กิมย้งเกิดที่ประเทศอะไร? | [
{
"docid": "1231#2",
"text": "เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1924 (ตรงกับ พ.ศ. 2467 ตามปฏิทินไทยในสมัยนั้น) ที่อำเภอไฮ้เล้ง เขตไห่หนิง มณฑลเจ้อเจียง แห่งภาคตะวันออกของจีน เป็นบุตรคนที่สองของตระกูลที่มีฐานะ เริ่มอ่านหนังสือตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อตอนอายุ 9 ขวบ ก็อ่านทั้งนิยายของจีนทั้งหมด และนิยายแปลของต่างประเทศ ในวัยเยาว์ได้อ่านวรรณกรรมคลาสสิกทั้ง 4 เรื่องของจีน ได้แก่ สามก๊ก (三国演义) ซ้องกั๋ง (水浒传) ไซอิ๋ว (西游记) และความฝันในหอแดง (红楼梦)",
"title": "กิมย้ง"
}
] | [
{
"docid": "1231#3",
"text": "เริ่มศึกษาในปี ค.ศ. 1929 ที่โรงเรียนเจียเซียง ไห่หนิง (嘉兴海宁小学) มณฑลเจ้อเจียง, ปี ค.ศ. 1944 เข้าเรียนในภาควิชาภาษาต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยการเมืองแห่งรัฐบาลกลาง (國立中央政治大學) ต่อมาปี ค.ศ. 1946 ได้ย้ายมาเรียนที่ภาควิชากฎหมาย มหาวิทยาลัยตงอู๋ (東吳大學) แห่งเซี่ยงไฮ้ เอกกฎหมายระหว่างประเทศ ในปี ค.ศ. 2005 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และ ศึกษาปริญญาเอกในภาควิชาการศึกษาตะวันออก เอกประวัติศาสตร์จีนที่ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี ค.ศ. 2013 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางด้านวรรณคดีจีนจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง (北京大學)",
"title": "กิมย้ง"
},
{
"docid": "165958#1",
"text": "เถิม ทวี้ หั่ง หรือชื่อจริงว่า เหงียน กิม ฝุ่ง เกิดเมื่อปี 1941 (พ.ศ. 2484) ที่เมืองไฮฟอง (Hải Phòng) แต่ย้ายถิ่นตามครอบครัวมาอยู่ที่จังหวัดอานซาง (An Giang) ทางตอนใต้ของเวียดนาม พออายุได้ 16 ปีไปสมัครเป็นนักแสดงของ บริษัทภาพยนตร์ หมี เวิน โดยที่พ่อแม่ของเธอไม่ทราบ และเธอก็ได้รับการคัดเลือกจากผู้ที่เข้ามาสมัครถึง 2,000 คน เจ้าของบริษัทภาพยนตร์ หมี เวิน (Mỹ Vân) ก็ได้ตั้งชื่อเพื่อใช้ในการแสดงให้เธอว่า เถิม ทวี้ หั่ง (Thẩm Thúy Hằng) มีผลงานการแสดงเรื่องแรก ในปี 1958 (พ.ศ. 2501) คือ คนงามแห่งบิ่ญเซือง (Người đẹp Bình Dương - เหงื่อย แด็ป บิ่ญ เซือง) และทำให้เธอเป็นที่รู้จักต่อมาอีกมากมาย ทำให้เธอเป็นดาราของเวียดนามที่แสดงภาพยนตร์มากที่สุดคนหนึ่งในยุค ปลาย 1950 ถึง 1960 ในปี 1969 (พ.ศ. 2512) เธอก็ได้จัดตั้งกลุ่มผลิตภาพยนตร์ของตัวเองด้วย ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นบริษัท Vilifilms",
"title": "เถิม ทวี้ หั่ง"
},
{
"docid": "488159#1",
"text": "สกายมีชื่อเต็มคือ ฮานึล \"สกาย\" คิม เขามีพื้นเพมาจากประเทศเกาหลีใต้และเกิดในแทกู ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 และใน ค.ศ. 2006 เขาก็กลายเป็นพลเมืองออสเตรเลีย เขามีส่วนสูงที่ 183 เซนติเมตร (72 นิ้ว) และน้ำหนัก 95 กิโลกรัม (210 ปอนด์) ส่วนพ่อและพี่ชายของเขาต่างก็เป็นนักยิงธนูเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ เขาได้แต่งงานกับเพื่อนนักยิงธนูชื่อ จุง ฮยอน-อก ที่เขาได้พบเมื่อช่วงทำการฝึกยิงธนูใน ค.ศ. 2000",
"title": "สกาย คิม"
},
{
"docid": "951970#0",
"text": "จีน-บาติสต์ คิม (เกิด 26 มกราคม ค.ศ. 1966) เป็นผู้ลี้ภัย-ผู้แปรพักตร์\nทางการเมืองจากประเทศเกาหลีใต้ในทวีปยุโรป จีน-บาติสต์ คิมเกิดที่ประเทศเกาหลีใต้. ในปี ค.ศ. 2007 จีน-บาติสต์ ประกาศแยกตัวออกจากเปียงยางและเขาจะไม่ร่วมทำงานกับประเทศเกาหลีเหนืออีกต่อไป ระหว่างที่เขาออกจากราชการทางการเมือง ปัจจุบันเขาอาศัยในอานซี ประเทศฝรั่งเศส กับครอบครัว และได้เขียนอัตชีวประวัติของเขา หนังสือและบทความในเพจเฟสบุ๊ค",
"title": "จีน-บาติสต์ คิม"
},
{
"docid": "933505#0",
"text": "กรณีเทียนอันเหมิน () เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2519 ณ จัตุรัสเทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดตรงกับเทศกาลเช็งเม้ง หลังเหตุการณ์นานจิง และมีชนวนเหตุจากการถึงแก่อสัญกรรมของนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหลในปีเดียวกันก่อนหน้านี้ บางคนคัดค้านการแสดงความไว้อาลัย และเริ่มชุมนุมกันในจัตุรัสเพื่อประท้วงต่อรัฐบาลกลาง ซึ่งอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของแก๊งออฟโฟร์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสั่งการให้เก็บกวาดจัตุรัส",
"title": "กรณีเทียนอันเหมิน"
},
{
"docid": "290425#1",
"text": "หลิน จื้ออิ่งเกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ที่กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน มีส่วนสูง 173 นับถือศาสนาพุทธ เป็นลูกคนที่ 2 ในจำนวน 5 คน มีพี่ชาย 1 คน น้องชาย 2 คนและน้องสาวอีก 1 คน เรียนชั้นอนุบาลที่โรงเรียนจงเสี้ยวเสี่ยวเสวีย จากนั้นต่อชั้นมัธยมที่วิทยาลัยศิลปะหัวกัง วิชาเอกการแสดง วิชาโทถ่ายภาพ พูดได้ทั้งภาษาจีนกลาง ฮกเกี้ยน อังกฤษ และกวางตุ้ง ยามว่างงานชอบท่องเที่ยว ดูหนัง",
"title": "หลิน จื้ออิ่ง"
},
{
"docid": "263006#1",
"text": "คิมเกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2467 แต่ต่อมาเขาได้บันทึกในทะเบียนว่าเกิดวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2468 เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเกณฑ์ทหารในช่วงระหว่างที่เกาหลีอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น คิมเป็นบุตรคนที่สองในบรรดาเจ็ดคนในครอบครัวชาวนาชั้นกลาง คิมเกิดที่เมืองซินาน ซึ่งขณะนั้นอยู่จังหวัดช็อลลา ซึ่งปัจจุบันอยู่ในจังหวัดช็อลลาใต้ ต่อมาครอบครัวของคิมย้ายมาอยู่ใกล้เมืองท่าม็อกโป ซึ่งจะทำให้เขาสามารถสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คิมสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพาณิชย์ม็อกโป ในปี พ.ศ. 2486 ด้วยคะแนนสูงสุดของชั้น ภายหลังจากทำงานเป็นเสมียนในบริษัทขนส่งทางเรือของญี่ปุ่นในช่วงเกาหลีอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ต่อมาเขาได้กลายมาเป็นเจ้าของธุรกิจ และร่ำรวยขึ้นเป็นอย่างมาก คิมจึงต้องหลบหนีการจับกุมของคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามเกาหลี",
"title": "คิม แด-จุง"
},
{
"docid": "75508#1",
"text": "หม่ำ จ๊กมก เกิดวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2508 ที่อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร) มีชื่อจริงว่า เพ็ชรทาย วงศ์คำเหลา มีพี่น้อง 7 คน เป็นคนกลาง มีน้องสาวซึ่งเป็นนักแสดงตลกเช่นกันคือ แวว จ๊กมก (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ออกจากบ้านตั้งแต่อายุ 16-17 ปี มาทำงานอยู่กับวงดนตรีลูกทุ่งของ สดใส รุ่งโพธิ์ทอง เป็นวงแรก โดยเริ่มทำงานในตำแหน่งคอนวอย (เด็กยกของ) ก่อนจะได้เลื่อนขึ้นมาเป็นหางเครื่อง และตลกตามลำดับ หลังจากนั้น หม่ำ ได้ย้ายไปทำงานกับวงดนตรีลูกทุ่งหลายวง เช่น เกรียงไกร กรุงสยาม, โชคชัย โชคอนันต์, ศิรินทรา นิยากร และ สุพรรณ สันติชัย หลังจากนั้น หม่ำ จ๊กมก ตัดสินใจ รวมตัวกับเพื่อนศิลปินตลก ตั้งตลกคณะเก้ายอดขึ้น ก่อนที่ในที่สุด จะได้รับการชักชวนให้มาเล่นตลกในคณะ เทพ โพธิ์งาม ทำให้หม่ำแสดงตลกร่วมกับคณะเทพ โพธิ์งามมาตลอด โดยใช้ชื่อขณะนั้นว่า \"หม่ำ สปาเก็ตตี้\" ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็น \"หม่ำ จ๊กม๊ก\" โดยรับหน้าที่เป็นตัวประกอบรับมุกในคณะของ เทพ โพธิ์งาม จนหม่ำเริ่มดังเป็นที่รู้จัก เทพ โพธิ์งาม เห็นถึงโอกาสของหม่ำที่จะโด่งดังขึ้นในอนาคต จึงแนะนำให้หม่ำออกจากคณะ เพื่อไปตั้งคณะตลกเป็นของตนเอง โดยหม่ำได้ออกไปตั้งคณะให้ชื่อว่า คณะหม่ำ จ๊กมก โดยมีสมาชิกคนสำคัญ เช่น จาตุรงค์ มกจ๊ก,หยอง ลูกหยี,แวววาว จ๊กมก,อาแปะ จ๊กมก,เท่ง เถิดเทิง, โหน่ง ชะชะช่า เป็นต้น",
"title": "หม่ำ จ๊กมก"
},
{
"docid": "177758#3",
"text": "ชีวประวัติอย่างเป็นทางการของคิม จ็อง-อิล ซึ่งแต่งโดยรัฐบาลเกาหลีเหนือในสมัยต่อมา ระบุว่าเขาเกิดในค่ายทหารลับบนภูเขาแพกตู (Baekdu Mountains) ในเกาหลีของญี่ปุ่น จังหวัดรยังกัง ประเทศเกาหลีเหนือในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 นักชีวประวัติทางการอ้างว่า การเกิดของเขาที่ภูเขาแพกตูมีลางบอกเหตุเป็นนกนางแอ่น และป่าวประกาศโดยการปรากฏขึ้นของรุ้งกินน้ำสองสายเหนือยอดเขาและดาวดวงใหม่ในสรวงสวรรค์",
"title": "คิม จ็อง-อิล"
}
] |
2188 | ตลาดเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนในไทยที่มีผู้ประกอบการหลักกี่ราย? | [
{
"docid": "915552#10",
"text": "ปัจจุบันตลาดเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มีผู้ประกอบการหลัก 3 รายและมีอัตราการเติบโตสูงถึง 136% โดยปัจจุบันผู้ให้บริการเครือข่ายหลักๆ จะใช้เทคโนโลยีของกลุ่ม GSM และ 3GPP ได้แก่ GSM, EDGE, UTMS และ LTE ส่วนตลาดโทรทัศน์ในประเทศปัจจุบันแบ่งเป็นโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเดิม 6 ช่อง และโทรทัศน์ระบบสัญญาณดิจิทัลจำนวน 26 ช่อง",
"title": "โทรคมนาคมในประเทศไทย"
},
{
"docid": "915552#14",
"text": "ในไตรมาสที่ 4 ของปีพ.ศ. 2557 มีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยที่ 97.6 ล้านเลขหมาย คิดเป็นอัตราการเติบโตถึง 146% แบ่งเป็นผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน 84.8 ล้านเลขหมาย โดย 99% ของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้ผู้ให้บริการหลัก 3 ราย (รวมถึงผู้ให้บริการในเครือด้วย) ได้แก่ เอไอเอส มีสัดส่วนผู้ใช้บริการอยู่ที่ 46.52% รองลงมาได้แก่ ดีแทค 28.50% และทรูมูฟ เอช 24.26% ส่วนผู้ให้บริการรายอื่นรวมถึงรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ ทีโอที 0.57% และ กสท. โทรคมนาคม 0.15% รวมถึงผู้ประกอบการกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนโครงข่ายเสมือน (MVNO)",
"title": "โทรคมนาคมในประเทศไทย"
}
] | [
{
"docid": "4771#15",
"text": "นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯได้จัดตั้งบริษัทย่อยคือ บริษัท แฟมมิลี่ โนฮาว จำกัด เพื่อทำหน้าที่ผลิตและเผยแพร่สื่อความรู้และรายการสาระบันเทิงสอดแทรกความรู้ ที่เน้นเนื้อหาสาระด้านการจัดการการเงินส่วนบุคคลและการลงทุน เพื่อเผยแพร่ความรู้ไปยังผู้เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจอย่างแพร่หลายผ่านสื่อต่าง ๆ และจัดตั้งช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม \"มันนีแชนแนล\" เมื่อปี พ.ศ. 2548 เพื่อให้ความรู้ข่าวสารเศรษฐกิจและการลงทุน",
"title": "ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "416330#13",
"text": "ต่อมา ทีโอทีจับมือกับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือใหม่ 5 ราย (MVNO) ได้แก่\nเปิดให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือระยะที่ 3 บนคลื่นความถี่ 2100 เมกกะเฮิร์ต โดยความร่วมมือระหว่างเอไอเอสและทีโอที แต่แท้จริงแล้ว บริการดังกล่าวคือการนำเอาคลื่นความถี่ 1900 เมกะเฮิร์ตที่ทีโอทีมีอยู่จากกิจการไทยโมบาย มาพัฒนาแล้วให้รันเสมือนบนคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิร์ตแทน ซึ่งผู้ให้บริการทั้งหมด 5 รายนี้ จะเข้ามาใช้คลื่นความถี่ของทีโอทีร่วมกันในลักษณะผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง หรือ MVNO",
"title": "3 จีในประเทศไทย"
},
{
"docid": "195093#2",
"text": "ตลาดชายแดนบ้านคลองลึกเป็นตลาดพรมแดนขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการค้ากว่าร้อยละ 90 เป็นชาวกัมพูชา (ปัจจุบันรอการยืนยันสถานะของชาวเวียดนามที่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่เข้ามาแทนที่ชาวกัมพูชา ชาวกัมพูชาส่วนมากจะเป็นผู้ประกอบการรายย่อย เบื้องหลังกลุ่มชาวเวียดนามกำลังมีบทบาทขึ้นเรื่อย ๆ) รายได้ของไทยมาจากการส่งออกสินค้าพื้นฐานทั้งอุปโภค บริโภค อุปกรณ์ก่อสร้าง ปัจจุบันรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อที่ผลิตในไทยก็กำลังได้รับความนิยมเช่นกัน รวมถึงก๊าซหุงต้ม ชาวกัมพูชานิยมนำรถรถยนต์นั่งดัดแปลงเข้ามาเติมในสถานี้เติมก๊าซรถยนต์ในอำเภออรัญประเทศ และนำกลับเข้าไปจำหน่ายในฝั่งกัมพูชาเพื่อบรรจุเป็นก๊าซหุงต้มครัวเรือน ซึ่งกำลังเป็นธุรกิจที่น่าจับตามองเกี่ยวข้องกับความมั่นคงและการบังคับใช้กฎหมายของไทย",
"title": "ตลาดชายแดนบ้านคลองลึก"
},
{
"docid": "99890#12",
"text": "เป็นเทคโนโลยี การนำเสนอข้อมูลการซื้อขายตลาดหลักทรัพย์ ในรูปแบบอักษรวิ่ง (ภายหลังพัฒนาเป็นการใช้อักษรเลื่อนขึ้นร่วมด้วย) โดยในปีพ.ศ. 2533 ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. นับเป็นสถานีโทรทัศน์ ที่เริ่มใช้แถบรายงานดังกล่าว เป็นครั้งแรกของประเทศไทย ต่อมา ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2547 โมเดิร์นไนน์ทีวี ปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอข่าวเศรษฐกิจ โดยมีรายการเศรษฐกิจ ในช่วงเวลาประมาณ 08.30-16.30 น. พร้อมทั้งใช้กราฟิก รายงานข่าวเศรษฐกิจตลอดช่วงบ่าย โดยใช้ชื่อว่า \"สถานีหุ้น โมเดิร์นไนน์ทีวี\" ซึ่งในสมัยนั้นมี 2 ชั้น",
"title": "สำนักข่าวไทย"
},
{
"docid": "608485#9",
"text": "ฝ่ายกองช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลข ก็ได้ดำเนินการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง โดยใช้เครื่องส่งวิทยุโทรศัพท์ขนาดเล็ก กำลังส่งประมาณ 200 วัตต์ ณ ที่ตั้งของกองช่างวิทยุ ในตึกที่ทำการ กรมไปรษณีย์โทรเลข (เก่า) ปากคลองโอ่งอ่าง หน้าวัดราชบูรณะ(วัดเลียบ) ซึ่งปัจจุบันได้รื้อลงหมดแล้ว เพื่อสร้างสะพานพระปกเกล้า ขนานกับสะพานพระพุทธยอดฟ้า ทางด้านฝั่งกรุงเทพมหานคร กองช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้ส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นงานประจำ ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 เป็นต้นมา การส่งวิทยุกระจายเสียงในระยะเริ่มแรกนี้ ใช้ขนาดความถี่สูงประมาณ 8,000 กิโลเฮิรตซ์ (หรือที่เรียกว่า คลื่นสั้น ความยาวคลื่นประมาณ 37 เมตร) มีกำลังส่งออกอากาศ 200 วัตต์ ใช้สัญญาณเรียกขาน (Call Sign) ประจำสถานีว่า 4 พี.เจ. (HS 4 PJ)",
"title": "วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย"
},
{
"docid": "237192#1",
"text": "กลุ่มซีไอเอ็มบี ดำเนินธุรกิจในฐานะของธนาคารผู้ให้บริการทางการเงินอย่างครบวงจร (Universal Bank) โดยเป็นผู้ให้บริการทางการเงินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศมาเลเซีย และอันดับ 5 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อจัดอันดับตามขนาดสินทรัพย์ และมีเงินทุนหมุนเวียนในตลาดประมาณ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ \nปัจจุบัน กลุ่มซีไอเอ็มบี มีฐานการตลาดหลักด้านการเงินธนาคารแบบครบวงจร ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และไทย นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายใน 9 ประเทศ ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนศูนย์ให้บริการทางการเงินทั่วโลก รวมถึงในประเทศต่างๆ ที่ลูกค้ามีธุรกิจและการลงทุนอยู่",
"title": "ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย"
},
{
"docid": "336331#0",
"text": "สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ตลาดหมอชิต) เป็นสถานีขนส่งที่ใช้รับส่งผู้โดยสารจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง และเป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท ขนส่ง จำกัด บนเนื้อที่ของกรมธนารักษ์จำนวน 63 ไร่ เปิดทำการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 ปัจจุบันปิดทำการ และก่อสร้างใหม่เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมระบบรถไฟฟ้า ของโครงการรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา และสำนักงานใหญ่ของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เรียบร้อยแล้ว",
"title": "สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต)"
},
{
"docid": "330870#1",
"text": "ให้บริการระบบ NMT470 (ปัจจุบันปรับระบบไปใช้เป็นโครงข่าย โทรศัพท์สาธารณะเคลื่อนที่ และใช้เป็นระบบโทรศัพท์เพื่อให้บริการแก่ประชาชนในเขตนอกข่ายสายและถิ่นทุรกันดาร โดยใช้เป็นโทรศัพท์ประจำที่ติดตั้งภายในอาคาร มีสายอากาศรับสัญญาณ ภายหลัง พ.ศ. 2551 จึงได้ปรับระบบเป็น CDMA 2001X\nให้บริการระบบ [[3G]] บนโครงข่าย HSPA บนความถี่ 1900MHz (ความถี่ ThaiMobile เดิม) และความถี่ 2100MHz (ความถี่ทดลอง) ในชื่อ TOT[[3G]] ในพื้นที่ กทม.\nเจ้าของโครงข่าย และให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2 เครือข่าย ในระบบ 3G บนเทคโนโลยี CDMA 2000 1x EV-DO ภายใต้ชื่อ \"CATCDMA\" สำหรับบริการทางเสียงและ SMS ของ CAT CDMA ใช้งานได้ 77 จังหวัดทั่วประเทศ สำหรับบริการอินเทอร์เน็ตและสื่อสารข้อมูล ใช้งานได้ 52 จังหวัด ในพื้นที่ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และใต้ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน พะเยา เชียงราย แม่ฮ่องสอน ชัยนาท นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร ชัยภูมิ อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู ขอนแก่น อุดรธานี เลย หนองคาย บึงกาฬ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต สุราษฏร์ธานี สงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส\nและให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3G บนเทคโนโลยี HSPA ความถี่ 850 MHz ภายใต้ชื่อ \"มาย\" (My) เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ปัจจุบันเปิดให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด\nรับสัมปทานให้บริการระบบ NMT900 จาก [[บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)]] ในชื่อ CELLULAR 900 (ปัจจุบันยกเลิกการให้บริการแล้ว)\nปัจจุบันให้บริการระบบ GSM บนความถี่ 900MHz โดยรับสัมปทานจาก [[บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)]] ในชื่อ GSM Advance และ One-2-Call\nGSM Advance และ One-2-Call ให้บริการทางเสียงและสื่อสารข้อมูล ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด บนเทคโนโลยี EDGE/GPRS ความถี่ 900 MHz และ [[3G]] บนเทคโนโลยี HSPA ความถี่ 900 MHz ปัจจุบันทดลองให้บริการอินเทอร์เน็ตและสื่อสารข้อมูล 4G บนเทคโนโลยี [[LTE]] โดยร่วมกับ [[บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)]] ทดสอบระบบในกรุงเทพฯ (บริเวณถนนพระรามที่ 1) ตั้งแต่หน้ามาบุญครองถึงเซ็นทรัลเวิลด์ รวมถึงบริเวณแจ้งวัฒนะในพื้นที่กระทรวงไอซีที ศูนย์ราชการ และสำนักงานทีโอที ใช้ย่านความถี่ 2300 MHz แบบ Time Division Duplex (TDD) ที่แบนด์วิดท์ 20 MHz จะทดสอบการให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง (BWA) มีสถานีฐานทั้งหมด 20 แห่ง \nให้บริการในระบบ GSM บนความถี่ 1800 MHz ภายใต้ชื่อ GSM1800 โดยรับสัมปทานจาก [[บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)]] (ผ่านการซื้อกิจการของ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ซึ่งเป็นโครงข่ายในชื่อการค้า Hello เดิม) เปิดให้บริการทางเสียงและสื่อสารข้อมูล บนเทคโนโลยี EDGE/GPRS ความถี่ 1800 MHz ปัจจุบันทดลองให้บริการอินเทอร์เน็ตและสื่อสารข้อมูล 4G บนเทคโนโลยี [[LTE]] โดยร่วมมือกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม ทดสอบระบบ 4G ในจังหวัดมหาสารคาม บริเวณมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ใช้ความถี่ 1800 MHz แบบ Frequency Division Duplex (FDD) ที่แบนด์วิดท์ 10 MHz มีสถานีฐานทั้งหมด 8 แห่ง\nรับสัมปทานให้บริการระบบ AMPS 800 Band-B จาก [[บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)]] ในชื่อ Wordphone 800 (ปัจจุบันยกเลิกการให้บริการแล้ว)\nรับสัมปทานให้บริการระบบ GSM บนความถี่ 1800 MHz จาก[[บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)]] ในชื่อ Wordphone 1800 ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น \"ดีแทค\" (DTAC) ในระบบจดทะเบียน และ \"แฮปปี้\" (Happy) ในระบบเติมเงิน ดีแทคให้บริการทางเสียงและสื่อสารข้อมูล ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด บนเทคโนโลยี EDGE/GPRS ความถี่ 1800 MHz และ [[3G]] บนเทคโนโลยี HSPA ความถี่ 850 MHz ปัจจุบันกำลังทดลองให้บริการอินเทอร์เน็ตและสื่อสารข้อมูล 4G บนเทคโนโลยี [[LTE]]\nรับสัมปทานให้บริการระบบ GSM บนความถี่ 1800 MHz จาก[[บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)]] ปัจจุบันให้บริการ 3G บนโครงข่าย HSPA ความถี่ 850 MHz ในบริเวณบางพื้นที่ของ กทม. และ พัยา เชียงใหม่ ภูเก็ต สัมปทานจะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2556\nผู้ขายต่อบริการ (Reseller) ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ HSPA ในความถี่ 850 MHz และบริการ 3G ในเชิงพาณิชย์ ภายใต้ชื่อ “ทรูมูฟ เอช” (Truemove H) ให้บริการทางเสียงและสื่อสารข้อมูล ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด \nตัวแทนผู้ให้บริการด้านการตลาด โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA20001x ในพื้นที่ กรุงเทพฯ และ 25 จังหวัดจาก [[บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)]] ภายใต้แบรนด์ฮัทช์ (HUTCH)\nปัจจุบันกลุ่มทรูคอร์ปอเรชั่นและกสท. โดยบริษัทเรียล มูฟ จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ได้เข้าซื้อกิจการและโครงข่าย เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553 ของบริษัท ฮัทชิสัน ไวร์เลส มัลติมีเดีย โฮลดิ้งส์ จำกัด หรือ HWMH และ บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด หรือ BFKT\nเป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดยการลงทุนร่วมกันระหว่าง [[บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)]] และ[[บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)]] เพื่อให้บริการระบบ GSM บนความถี่ 1900MHz ในพื้นที่ กทม. แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการให้บริการ ต่อมา[[บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)]] ได้ทำการซื้อหุ้นจาก [[บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)]] 49% กลับมาทั้งหมด เพื่อต้องการให้ได้สิทธิ์ในการบริหารและสิทธิ์การให้บริการ เพื่อนำความถี่ GSM1900 MHz มาพัฒนาระบบระบบ 3G (ปัจจุบันได้ให้บริการระบบ [[3G]] ในความถี่นี้แล้ว และได้ยกเลิกระบบ GSM1900 ในระบบ [[2.75G]])[[หมวดหมู่:โทรศัพท์มือถือ]]",
"title": "โทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย"
}
] |
2897 | กีฬารีโอ 2016 นั้นได้มีการชิงชัยทั้งหมดกี่เหรียญ? | [
{
"docid": "120651#0",
"text": "กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 \"()\" หรือชื่อที่เป็นทางการ กีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 31 หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ รีโอ 2016 เป็นมหกรรมกีฬานานาชาติที่สำคัญในประเพณีโอลิมปิก ซึ่งจัดในที่นครรีโอเดจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 ถึง 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559 การแข่งขันครั้งนี้มีจำนวนนักกีฬามากกว่า 10,500 คนจาก 207 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ซึ่งครั้งนี้เป็นการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งแรกของประเทศคอซอวอและประเทศเซาท์ซูดาน กีฬารีโอ 2016 นั้นได้มีการชิงชัยทั้งหมด 307 เหรียญในกีฬาโอลิมปิกทั้งหมด 28 กีฬา — อาทิ กีฬารักบี้ 7 คน และกีฬากอล์ฟ ซึ่งถูกบรรจุโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ใน พ.ศ. 2551 กีฬาต่าง ๆในครั้งนี้จัดแข่งขันทั้งหมดใน 33 สนาม ในเมืองเจ้าภาพ ส่วนอีก 5 สนาม จะจัดขึ้นที่นครเซาเปาลู (เมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศบราซิล), นครเบโลโอรีซอนชี, นครซัลวาดอร์, นครบราซีเลีย (เมืองหลวงประเทศบราซิล) และนครมาเนาส์",
"title": "โอลิมปิกฤดูร้อน 2016"
}
] | [
{
"docid": "348526#19",
"text": "การแข่งขันเทควันโด \"โคเรีย โอเพ่น 2016\" ระดับจีทู เมื่อเดือน ก.ค. ณ เมืองคย็องจู ประเทศเกาหลีใต้ นักเทควันโดไทยสามารถคว้ามาได้ทั้งหมด 1 เหรียญทองกับ 2 เหรียญทองแดง เหรียญทองจากประเภทเยาวชนหญิงรุ่นน้ำหนัก 52 กก.วิภาวรรณ ศิริพรเพิ่มศักดิ์ อดีตเหรียญเงินไทยแลนด์โอเพ่นและสามารถคว้ารางวัลนักกีฬายอดเยี่ยมเยาวชนหญิงจากรายการนี้ได้อีกด้วย เหรียญทองแดงจากรุ่นน้ำหนัก 49 กก. รัชนีกร สูนประหัต อดีตแชมป์เก่ารายการนี้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว และเหรียญทองแดงจากรุ่นประชาชนหญิง รุ่นน้ำหนัก 53 กก. เบญจรัตน์ อย่างตระกูล อดีตเจ้าของเหรียญเงินเยาวชนชิงแชมป์เอเชียที่ไต้หวัน",
"title": "ชเว ย็อง-ซ็อก"
},
{
"docid": "639753#10",
"text": "ในปี 2559 เข้าร่วมการแข่งขันเทควันโด รายการ \"Aquece Rio International Taekwondo Tournament\" หรือ พรีโอลิมปิกเกมส์ 2016 ที่กรุงรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล คว้าเหรียญทองแดง รุ่นไม่เกิน 49 กก.หญิง ซึ่งเป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นเพื่อให้นักกีฬาเทควันโดแต่ละชาติได้ประลองสนามก่อนที่จะมีการแข่งขัน \"โอลิมปิกเกมส์ 2016\" นภาพรเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้แทนนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย จำนวน 2 คน คือ ชนาธิป ซ้อนขำ และพาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ ที่สามารถคว้าโควต้าเข้าร่วมการแข่งขัน \"โอลิมปิกเกมส์ 2016\" ได้สำเร็จ ในการแข่งขันเทควันโด รุ่นไม่เกิน 49 กก.หญิง",
"title": "นภาพร จรณวัต"
},
{
"docid": "527016#0",
"text": "กีฬากอล์ฟในกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 29 เริ่มการแข่งขันวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 23 มีนาคม พ.ศ. 2556 ณ สนามสิงค์ปาร์ค จังหวัดขอนแก่น มีการชิงชัยเหรียญทอง 4 เหรียญด้วยกัน แบ่งเป็น 4 ประเภทแข่งขัน ได้แก่ บุคคลชาย ทีมชาย บุคคลหญิง และทีมหญิง โดยจังหวัดที่ได้เหรียญรางวัลเยอะมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร",
"title": "กีฬากอล์ฟในกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 29"
},
{
"docid": "306665#3",
"text": "การแข่งขันครั้งนี้ได้ชิงชัยกัน 102 รายการ จากทั้งหมด 15 ชนิดกีฬา โดยได้บรรจุรายการบิ๊กแอร์ในกีฬาสโนว์บอร์ด, แมสสตาร์ทในกีฬาสเกตความเร็ว, คู่ผสมในกีฬาเคอร์ลิง และทีมผสมในกีฬาสกีลงเขาครั้งแรก มีนักกีฬาแข่งขันทั้งหมด 2,922 คนจาก 92 ประเทศ อาทิ เอกวาดอร์, เอริเทรีย, คอซอวอ, มาเลเซีย, ไนจีเรีย และสิงคโปร์ ซึ่งประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันครั้งแรก ส่วนประเทศรัสเซียได้ถูกแบนจากการแข่งขัน หลังจากพบปัญหาการใช้สารกระตุ้นใน โอลิมปิกฤดูหนาว 2014 แต่ยังสามารถเข้าร่วมได้ในนาม \"นักกีฬาโอลิมปิกจากประเทศรัสเซีย\" นอกจากนี้ประเทศเกาหลีเหนือได้เข้าร่วมการแข่งขันด้วย แม้ว่ายังอยู่ในภาวะตรึงเครียดระหว่างประเทศเกาหลีเหนือและใต้ โดยในพิธีเปิดประเทศเกาหลีเหนือและใต้ได้รวมทีมเกาหลี และได้ส่งแข่งขันกีฬาฮอกกี้น้ำแข่ง ประเภททีมหญิงในนามทีมรวมเกาหลีอีกด้วย",
"title": "โอลิมปิกฤดูหนาว 2018"
},
{
"docid": "348526#18",
"text": "วันที่ 21 เม.ย. 59 การแข่งขันเทควันโดชิงแชมป์เอเชีย “เอเชี่ยน เทควันโด แชมเปียนชิพ 2016” ครั้งที่ 22 ประเภทเคียวรูกิ (ต่อสู้) ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ นักเทควันโดไทยสามารถคว้ามาได้ทั้งหมด 1 เหรียญทอง 5 เหรียญเงิน และ 2 เหรียญทองแดง ทั้งในประเภทท่ารำและต่อสู้ นักเทควันโดไทยคว้ามาได้ 1 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน และ 2 เหรียญทองแดง รวมกับเทควันโดพุมเซ่ ประเภทฟรีสไตล์ อีก 3 เหรียญเงิน",
"title": "ชเว ย็อง-ซ็อก"
},
{
"docid": "608251#11",
"text": "ในกลางปี พ.ศ. 2556 ฉัตร์ชัยถือเป็นนักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทยเพียงคนเดียวที่ได้รับเหรียญรางวัลในรายการมวยสากลสมัครเล่นสมัครเล่นชิงแชมป์โลก ในรายการไอบ้า เวิลด์บ็อกซิ่ง แชมเปี้ยนชิพส์ อัลมาตี 2013 ที่เมืองอัลมาตี ประเทศคาซัคสถาน แม้จะเป็นเพียงเหรียญทองแดงก็ตาม โดยในครั้งนี้ กติกาการชกมวยสากลสมัครเล่นได้ให้ถอดเฮดการ์ดออก จะเปลี่ยนระบบการให้คะแนนเป็นให้ยกละ 10 คะแนนคล้ายกับมวยสากลอาชีพ ซึ่งนับว่าฉัตร์ชัยเป็นนักมวยทีมชาติไทยคนแรกในรอบหลายปีที่คว้าเหรียญรางวัลในรายการนี้ นับจากสมจิตร จงจอหอ ที่ได้เหรียญเงินในปี พ.ศ. 2550 ที่นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา และโอมาร์ มาลากอน เทรนเนอร์ผู้ฝึกสอนชาวคิวบาได้ทำนายว่า ฉัตร์ชัยจะเป็นผู้ที่คว้าเหรียญทองมาได้ในโอลิมปิกครั้งหน้าที่บราซิล เหมือนเช่นสมจิตรที่ทำได้มาก่อน",
"title": "ฉัตร์ชัย บุตรดี"
},
{
"docid": "705561#1",
"text": "มีการชิงชัยทั้งหมด 15 เหรียญทอง คือ",
"title": "กีฬายกน้ำหนักในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016"
},
{
"docid": "315297#0",
"text": "ซีเกมส์ 2009มีการจัดการแข่งขันกีฬายกน้ำหนักขึ้นที่ โรงเรียนพอนสะหวัน ในนครหลวงเวียงจันทน์ โดยมีการชิงชัยกันทั้งสิ้น 13 เหรียญทอง เป็น ชาย 7 เหรียญทอง และหญิง 6 เหรียญทอง โดยเจ้าสนามครั้งนี้ คือประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งคว้าเหรียญทองไปได้มากถึง 5 เหรียญทอง ส่วนไทยอยู่อันดับ 2 ได้ 4 เหรียญทอง และเจ้าภาพลาวอยู่อันดับ 5 ได้ 1 เหรียญทอง",
"title": "ยกน้ำหนักในซีเกมส์ 2009"
},
{
"docid": "943389#0",
"text": "กีฬาวีลแชร์เทนนิสในการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 35 เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 โดยมีกีฬาทั้งหมด 5 ประเภท มีเหรียญทอง 4 เหรียญ, เหรียญเงิน 3 เหรียญ และเหรียญทองแดง 4 เหรียญ จัดขึ้นที่สนามกีฬาจิระนคร",
"title": "กีฬาวีลแชร์เทนนิสในกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 35"
},
{
"docid": "120651#23",
"text": "ในกีฬาโอลิมปิกคราวนี้ มีการแข่งขันกีฬาทั้งหมด 28 ชนิด รวมทั้งหมดคิดเป็น 41 ประเภท จาก 306 เหรียญทอง และในวงเล็บคือจำนวนเหรียญทองของกีฬาแต่ละรายการ\nสัญลักษณ์ของการแข่งขันออกแบบโดยบริษัทบราซิล Tatíl Design โดยเปิดตัวเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2553 โดยในมุมหนึ่งเป็นรูปเสมือนคนสามคนจับมือกันเต้นรำเป็นวงกลม โดยมี 3 สี คือ สีเหลือง สีน้ำเงิน และสีเขียว ตามสีธงชาติบราซิล และอีกมุมหนึ่งจำลองลักษณะของภูเขาชุการ์โลฟ แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในเมืองรีโอ ในขณะที่อีกมุมหนึ่งเป็นข้อความจำลองคำว่า R I O แนวคิดของสัญลักษณ์มาจากแนวความคิด 4 เรื่องได้แก่ พลังที่ส่งถึงกัน ความหลากหลายที่กลมกลืน ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และจิตวิญญาณโอลิมปิก",
"title": "โอลิมปิกฤดูร้อน 2016"
}
] |
356 | ยุขันมีกี่ตอน? | [
{
"docid": "53376#3",
"text": "บทะครนอกเรื่องยุขัน แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนต้นเรื่องกล่าวถึงกำเนิดของ \"นางประวะลิ่ม\" ซึ่งเป็นนางเอกของเรื่อง ส่วนตอนที่สอง กล่าวถึงการผจญภัยของ \"ยุขัน\" ซึ่งมีความยืดยาวและพิสดารมาก เริ่มตั้งแต่ออกตามหานกวิเศษชื่อ \"หัสรังสี\" และพบ \"นางประวะลิ่ม\" จนกระทั่งจบถึงตอนยุขันจัดเตรียมเครื่องบรรณาการไปกราบพระดาหลีมหามุณี และเดินทางไปกราบพระบรมศพพระเจ้าอุรังยิดที่เมืองอุรังยิด",
"title": "ยุขัน"
}
] | [
{
"docid": "442617#13",
"text": "เสมารู้ข่าวเข้าเลยแอบขึ้นเรือนขันตอนกลางคืนเพื่อช่วยจำเรียงออกมา แต่จังหวะชุลมุน เสมาเลยหลงเข้าห้อง ดวงแข น้องสาวคนสวยของขัน เสมาเจ็บใจขันเลยแกล้งลวนลามดวงแขเพื่อแก้แค้น ทำให้ดวงแขทั้งรักทั้งเสมาตั้งแต่บัดนั้น",
"title": "ขุนศึก (บันเทิงคดี)"
},
{
"docid": "328307#1",
"text": "พรชัยเป็นบุตรชายคนที่ 3 ในจำนวนบุตรทั้ง 4 คนของนายสำลีและนางบังอร ทองบุราณ และมีศักดิ์เป็นหลานชายของนายสมบูรณ์ ทองบุราณ อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดยโสธร (สว.ยโสธร) เริ่มชกมวยครั้งแรกเมื่ออายุได้ 10 ขวบ \nด้วยการหัดมวยสากลสมัครเล่นเลย ผิดกับคนอื่นที่หัดมวยไทย พรชัยหัดมวยเป็นครั้งแรกกับ จ.ส.ต.รณยุทร ยี่สันเที๊ยะ ซึ่งเป็นน้าชายของตัวเอง โดยจุดประสงค์ตอนนั้นเพื่อจะต่อยในกีฬาจังหวัด โดยพรชัยได้เป็นตัวแทนของตำบล ชกในรุ่นไม่เกิน 30 กิโลกรัม ซึ่งแม้ว่าพรชัยจะหัดชกไม่กี่เดือน และน้ำหนักตัวตอนนั้นก็เพียงแค่ 22 กิโลกรัม แต่พรชัยก็สามารถคว้าเหรียญทองมาได้ด้วยการชนะรวด 3 คน ภายในวันเดียว",
"title": "พรชัย ทองบุราณ"
},
{
"docid": "53376#18",
"text": "หมวดหมู่:วรรณคดีไทย หมวดหมู่:วรรณคดีประเภทกลอน หมวดหมู่:บทละคร",
"title": "ยุขัน"
},
{
"docid": "53376#15",
"text": "\"ชะรอยกรรมจำพรากจากไกลขืนไปจะม้วยวายชนม์\"",
"title": "ยุขัน"
},
{
"docid": "438963#6",
"text": "บ้านสาวโสด มีเพลงประกอบในภาพยนตร์ พ.ศ. 2513 คำร้องและทำนองโดย ไพบูลย์ บุตรขัน ขับร้องคนแรกโดย กิ่งดาว จันทร์สวัสดิ์ เพลงนี้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์หรือละครเรื่องนี้เสมอ ไม่ว่าจะนำมาสร้างใหม่กี่ครั้งก็ตาม",
"title": "บ้านสาวโสด"
},
{
"docid": "550946#2",
"text": "รศ.ดร.ธัญยธรณ์ ขันทปราบ เป็นอาจารย์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และเป็นเลขานุการของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ",
"title": "ธัญยธรณ์ ขันทปราบ"
},
{
"docid": "40345#13",
"text": "มิยะซะกิใช้เวลาถึง 16 ปีในการผูกเรื่องและสร้างตัวละครของโมะโนะโนะเกะฮิเมะ โครงเรื่องและการแต่งกายที่คล้ายกันอาจพบได้ในมังงะเรื่อง The Journey of Shuna ใน ค.ศ. 1983 ของมิยะซะกิ เนื่อเรื่องและตัวละครได้เปลี่ยนแปลงอย่างมากระหว่างขั้นวางแผนสร้างภาพยนตร์ โมะโนะโนะเกะฮิเมะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้หลังจากมิยะซะกิและทีมงานไปเที่ยวป่าเก่าแก่แห่งเกาะยุคุชิมะ แต่มิยะซะกิก็ยังเขียนโครงเรื่องไม่เสร็จสมบูรณ์กระทั่งได้เริ่มสร้างภาพยนตร์ไปแล้ว แผนผังโครงตอนจบเพิ่งจะเสร็จสิ้นเพียงไม่กี่เดือนก่อนวันฉายรอบปฐมทัศน์ในญี่ปุ่น[5]",
"title": "เจ้าหญิงจิตวิญญาณแห่งพงไพร"
},
{
"docid": "79452#0",
"text": "นำขบวน หนองกี่พาหุยุทธ มีชื่อจริงคือ คำเพียว ศรีจันทึก เกิดเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 ที่ตำบลจันทึก อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเป็นน้องชายของนำพล หนองกี่พาหุยุทธ อดีตนักมวยไทยที่มีชื่อเสียง",
"title": "นำขบวน หนองกี่พาหุยุทธ"
},
{
"docid": "146937#3",
"text": "วังจั่นน้อย ได้รับฉายาว่า \"\"ไอ้หมัด 33 วิ\"\" จากการเอาชนะน็อก นำขบวน หนองกี่พาหุยุทธ น้องชายของนำพล หนองกี่พาหุยุทธ ด้วยหมัดไปด้วยเวลาเพียง 33 วินาที ของยกแรกเท่านั้น ซึ่งนับเป็นสถิติการชกที่รวดเร็วมาก และยังมีอีกฉายาหนึ่งว่า \"\"ไอ้หนุ่มชีวาส\"\" เนื่องจากชอบสังสรรค์เฮฮา กินเลี้ยงกับเพื่อนฝูงด้วยวิสกี้ยี่ห้อชีวาสรีเกิล โดยเฉพาะหลังชกเสร็จ และยังมีฉายาอื่นอีก เช่น \"\"เมธีหมัดตรง\"\" และ\"\"พระกาฬละโว้\"\"",
"title": "วังจั่นน้อย ส.พลังชัย"
},
{
"docid": "53376#2",
"text": "บทละครนอกเรื่อง ยุขัน พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ จุลศักราช 1240 (พ.ศ. 2421) เป็นการพิมพ์รวมเล่มสมุดไทยตั้งแต่เล่มที่ 1-23 และมิได้มีการพิมพ์เผยแพร่อีก จนกระทั่งในปีพุทธศักราช 2548 กรมศิลปากรพิจารณาเห็นว่า บทละครเรื่องยุขันมีคุณค่าต่อการศึกษาวรรณกรรมไทยในแง่ของการได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมต่างชาติ จึงได้มีการตรวจสอบชำระ และจัดพิมพ์เผยแพร่ขึ้นมาอีกครั้ง",
"title": "ยุขัน"
},
{
"docid": "550946#0",
"text": "รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญยธรณ์ ขันทปราบ (ชื่อเดิม กนลา ขันทปราบ) เป็นรองศาสตราจารย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และเป็นอดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ",
"title": "ธัญยธรณ์ ขันทปราบ"
},
{
"docid": "79450#1",
"text": "นำพลฝึกมวยไทยมาตั้งแต่เด็ก ๆ อายุเพียง 9-10 ขวบ จากการเห็นแววของ อาจารย์ปราโมทย์ หอยมุกข์ เจ้าของค่ายหนองกี่พาหุยุทธ จากการเห็นนำพลวิ่งในโรงเรียนในฐานะนักกีฬาของโรงเรียน นำพลเริ่มมีชื่อเสียงขึ้นมาจากการชกมวยรอบที่จังหวัดสุรินทร์ และนครราชสีมา ก่อนที่จะเข้ามาชกที่กรุงเทพมหานคร ที่เวทีลุมพินี โดยไฟต์แรก พบกับ เชียงรายน้อย ก.ณรงค์ศักดิ์ และเป็นฝ่ายชนะไป",
"title": "นำพล หนองกี่พาหุยุทธ"
},
{
"docid": "232958#0",
"text": "นายปราโมทย์ หอยมุกข์ หรือชื่อที่นิยมเรียกกันติดปากว่า อาจารย์ปราโมทย์ เจ้าของค่ายมวย \"หนองกี่พาหุยุทธ\" และ \"ศูนย์กีฬาหนองกี่\" ที่อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์",
"title": "ปราโมทย์ หอยมุกข์"
},
{
"docid": "53376#17",
"text": "ฝ่ายยุขันหลังจากแยกทางกับพระเชษฐาแล้ว ก็รอนแรมมาในป่าจนกระทั่งพบกับอาศรมของ<b data-parsoid='{\"dsr\":[8255,8277,3,3]}'>พระรักขิตมหาฤๅษี</b>ตามที่ในจารึกบอกไว้ จึงเข้าไปกราบแล้วเล่าเรื่องราวของตนแล้วถามทางไปเมืองอุเรเซ็น พระฤๅษีทราบเรื่องก็เกิดความเมตตาจึงกล่าวว่า อันหนทางจะไปเมืองอุเรเซ้นนั้น เต็มไปด้วยอันตรายมากมาย มีทั้งยักษ์มาร และแม่น้ำที่ลึกและกว้าง เมื่อเห็นว่าพลัดพรากจากพระเชษฐาจึงร่ายเวทย์ชุบคนขึ้นมาต่างหน้าพี่ชายไว้เป็นเพื่อนเดินทางแล้วตั้งชื่อให้ว่า เจ้าลิขิต ทั้งสองจึงฝากตัวเป็นศิษย์ของฤๅษี ก่อนออกเดินทางพระฤๅษีจึงได้มอบพระขรรค์แก้วให้กับเจ้าลิขิต และมอบธนูกับศรวิเศษให้กับยุขัน แล้วทั้งสั่งสอนว่าทางข้างหน้าอันตรายให้อยู่ช่วยดูแลกันและกันอย่าประมาท จากนั้นก็จึงอวยพรและชี้ทางให้ ทั้งสองเดินทางเรื่อยมาจนล่วงเข้าเขตที่อยู่ของ<b data-parsoid='{\"dsr\":[8886,8905,3,3]}'>ยักษ์มัตตะริม</b>ซึ่งอาศัยอยู่ปราสาททิพย์กลางป่า และมีอาวุธวิเศษคือ<b data-parsoid='{\"dsr\":[8955,8981,3,3]}'>กระบองแก้วสุริยกานต์</b>อันมีฤทธิ์คือหากกวัดแก่วง ก็จะขอสิ่งที่อยากได้ตามใจนึก นอกจากนี้ยังมีอสูรทหารเอก ซึ่งคอยเผ้าหน้าด่านในป่าอยู่ถึงสามชั้นคือ อสุรปานัน, วายุกันยักษ์ และ นันทสูร อยู่มาวันหนึ่ง อสูรมัตตะริมนั้นเกิดเปล่าเปลี่ยวจิต คิดหาคู่ครองจึงควงอาวุธเหาะหาสาวงามจนล่วงไปถึงเมืองไอสุริยา",
"title": "ยุขัน"
},
{
"docid": "442617#26",
"text": "หลังจากแต่งงานไม่นาน พันอินทราชซึ่งตอนนี้เป็น หลวงพิมานมงคล ได้เสียชีวิตลงและฝากฝังให้เสมาดูแลศรีเมืองแทนตนด้วย เรไรเลยอนุญาตให้เสมารับศรีเมืองไว้เป็นภรรยาน้อยได้ ส่วนขันกับพุฒก็ทะเลาะกันรุนแรง เพราะพุฒใช้เส้นน้าชายไปสังกัดกรมกองใหม่โดยไม่บอกขัน แม่ของขันทนสงสารลูกไม่ได้ เลยไปขอให้เสมาช่วย เสมาลืมเรื่องเก่า ๆ ทำให้ขันซึ้งใจ ยอมรับผิดและทั้งคู่ก็กลายเป็นเพื่อนกัน",
"title": "ขุนศึก (บันเทิงคดี)"
},
{
"docid": "79450#0",
"text": "นำพล หนองกี่พาหุยุทธ (ชื่อจริง: นำพล ศรีจันทึก; ชื่อเล่น: แขก; เกิด: 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 ที่ตำบลจันทึก อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์; เสียชีวิต: 19 กันยายน พ.ศ. 2559 ที่โรงพยาบาลนางรอง) เป็นนักมวยไทยชื่อดังในยุคเดียวกับ สามารถ พยัคฆ์อรุณ, เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง, เชอรี่ ส.วานิช, เพชรดำ ลูกบ่อไร่, เหนือธรณี ทองราชา, แสงเทียนน้อย ส.รุ่งโรจน์ และเป็นพี่ชายแท้ ๆ ของ นำขบวน หนองกี่พาหุยุทธ อดีตยอดนักมวยไทยอีกราย",
"title": "นำพล หนองกี่พาหุยุทธ"
},
{
"docid": "86446#9",
"text": "เมื่อประมาณ 100 กว่าปีที่ก่อน จังหวัดจันทบุรีแทบจะไม่มีผลไม้พื้นถิ่นของตัวเองเลย แต่ด้วยสภาพภูมิประเทศเหมาะแก่การทำสวน และอุปนิสัยคนจันทน์ที่ขยัน ช่างสังเกต และชอบการเพาะปลูก เมื่อพบเห็นผลไม้แปลก ๆ ก็มักจะนำเมล็ด กิ่งตอน กลับมาปลูกที่บ้าน ซึ่งเมื่อประมาณกว่า 80 ปีที่ผ่านมา ชาวสวนจันทบุรีหลาย ๆ คน นิยมนำกิ่งตอนและเมล็ดของเงาะบางยี่ขันจากกรุงเทพฯ กลับมาปลูกยังเมืองจันทน์ ที่ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง ก็บังเอิญมีชาวสวนไปพบเงาะต้นหนึ่งที่งอกออกมาจากเมล็ดเงาะบางยี่ขัน เมื่อสังเกตดูก็เห็นว่ามีลักษณะต่างออกไปจากเงาะบางยี่ขัน คือเป็นเงาะที่มีสีชมพูสด สวยงาม เนื้อมีรสหวานกรอบ และ ล่อนจากเมล็ดดีมาก",
"title": "เงาะ"
},
{
"docid": "79450#4",
"text": "หลังแขวนนวม นำพลมีกิจการเป็นของตัวเอง คือ ร้านหมูกระทะชื่อ \"นำพล หมูย่างเกาหลี\" ที่ตัวอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยเป็นนักมวยคนแรกที่เปิดกิจการในลักษณะนี้ก่อนที่นักมวยอีกหลายคนจะเปิดตามมา ต่อมากิจการร้านหมูกระทะได้ปิดตัวลง และนำพลได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง เงียบสงบที่จังหวัดบุรีรัมย์บ้านเกิด จากที่ดินและบ้านที่เก็บเงินซื้อไว้ตั้งแต่สมัยชกมวย และใช้เวลาว่างสอนมวยไทยให้แก่นักมวยรุ่นน้องที่ค่ายหนองกี่พาหุยุทธ",
"title": "นำพล หนองกี่พาหุยุทธ"
},
{
"docid": "442617#9",
"text": "แต่เรื่องนี้รู้เข้าถึงหูขุนราม ทำให้ขุนรามไม่พอใจแถมยังได้ลูกยุจากขัน พุฒ อีกขุนรามเลยยิ่งรังเกียจเสมาและกลัวว่าถ้าเสมาเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมาแล้วจะ ล้างแค้นตน เสมามีแต่ตำแหน่งอย่างเดียว และจะได้เงินก็ต่อเมื่อออกรบเท่านั้น (ประมาณทหารรับจ้าง) ขุนรามชอบขันเพราะบ้านขันร่ำรวยมาก แถมขัน พุฒ ยังช่วยกันประจบทั้งขุนราม เสมาเลยต้องไปตีเหล็กหาเงินใช้ ทำให้ได้เจอกับ เอื้อยแตงเพื่อนสมัยเด็ก ทั้งคู่สนิทกันมาก แถมเอื้อยแตง ยังแอบชอบเสมา เลยมีคนเอาไปนินทา ทำให้ เรไรเข้าใจผิดคิดว่าเสมานอกใจ จนทั้งคู่ทะเลาะกัน ในขณะที่พุฒเห็นบัวเผื่อน ก็เลยจีบเพื่อหวังจะใช้บัวเผื่อนเป็นเครื่องมือในการยุแยงเรไรให้โกรธกับ เสมา",
"title": "ขุนศึก (บันเทิงคดี)"
},
{
"docid": "53376#0",
"text": "ยุขัน เป็นบทละครนอกที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทกลอนบทละคร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งเมื่อใดและผู้แต่งเป็นใคร สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากนิทานสุภาษิตเปอร์เซียเรื่องอิหร่านราชธรรม หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สิบสองเหลี่ยม เนื่องจากปรากฏข้อความบนทะเบียนเก่าของหอสมุดวชิรญาณ",
"title": "ยุขัน"
},
{
"docid": "254006#4",
"text": "ปัจจุบัน คัมภีร์พระไตรปิฎก 45 เล่ม ตามการแบ่งของประเทศไทย จะจัดแบ่งคัมภีร์มหาวรรคออกเป็นสองตอนหรือ 2 ภาค โดยจัดให้ตอนแรก (4 ขันธกะแรก) อยู่ในเล่มที่ 4 และตอนที่สอง (6 ขันธกะหลัง) อยู่ในเล่มที่ 5",
"title": "มหาวรรค"
},
{
"docid": "906654#1",
"text": "สารวัตรแม่ลูกอ่อน เป็นละครโทรทัศน์ แนวละครโรแมนติก คอมเมดี จากบทประพันธ์ของ นันทนา วีระชน บทโทรทัศน์โดย พลพล พงษ์แพทย์, สิบพลัง ผลิตโดย บริษัทมงคลดี โปรดักชั่น จำกัด กำกับการแสดงโดย ตะวัน จารุจินดา นำแสดงโดย อาภา ภาวิไล,ชนกันต์ พูนศิริวงศ์,พรหมพิริยะ ทองพุทธรักษ์,ภัทรานิษฐ์ วิริยะบำรุงกิจ,เกียรติศักดิ์ อุดมนาค,ปิยา พงศ์กุลภา,ปราบ ยุทธพิชัย,โสภิตสุดา อิทธิเมธินทร์,ชัชฎาภรณ์ ธนันทา,สาริน บางยี่ขัน,ณัฏฐริณีย์ กรรณสูต ออกอากาศทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 18.50 น. และวันศุกร์-อาทิตย์ เวลา 18.20 น. ทางช่อง 7 สี ละครสารวัตรแม่ลูกอ่อน เริ่มตอนแรกวันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560-19 มกราคม พ.ศ. 2561 ต่อจากละคร เล่ห์รักยาใจ",
"title": "สารวัตรแม่ลูกอ่อน"
},
{
"docid": "232958#3",
"text": "มีนักมวยไทยในสังกัดที่มีชื่อเสียงโด่งดัง คือ นำพล หนองกี่พาหุยุทธ และ นำขบวน หนองกี่พาหุยุทธ และในส่วนมวยสากลสมัครเล่นก็เคยมีนักมวยติดทีมชาติคือ สมชาย ฉิมรัมย์ ในการชกในกีฬาโอลิมปิกที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย",
"title": "ปราโมทย์ หอยมุกข์"
},
{
"docid": "53376#1",
"text": "ยุขัน มีชื่อระบุในสมุดไทยว่า ยุขัน (สิบสองเหลี่ยม) อีกทั้งเนื้อเรื่องตอนต้นก็ได้กล่าวถึงเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นในเมืองสิบสองเหลี่ยม แต่กระนั้น ก็มีอิทธิพลของชวา และบทละครเรื่อง อิเหนาเข้ามาปะปนอยู่ด้วย เช่น ชื่อของตัวละคร หรือตำแหน่งต่างๆ เช่น \"ประไหมสุหรี\" เป็นต้น",
"title": "ยุขัน"
},
{
"docid": "943407#6",
"text": "เป็นข่วงเล่าข่าวสารต่าง ๆ ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและต่างประเทศในรูปแบบของพิธีกรที่มีสอดแทรกมุขตลกชวนขำขัน โดยอาจมีบุคคลที่เป็นข่าวมาปรากฏตัวให้สัมภาษณ์กับพิธีกรอีกด้วย",
"title": "ทอล์ก-กะ-เทย"
},
{
"docid": "53376#14",
"text": "กล่าวถึงองค์ปะตาระกาหลาซึ่งเป็นเทวดาบนสวรรค์ เกิดร้อนอาสน์ จึงเล็งตาทิพย์ลงมาเห็นหางประวะลิ่มและยุขันเป็นเนื้อคู่ตุนาหงันกัน จึงคิดใช้นกหัสรังสีเป็นสื่อสัมพันธ์ ปะตาระกาหลาจึงได้ลงมาเขียนสารบรรยายคุณวิเศษของนกนั้นไว้ข้างแท่นบรรทมของ<b data-parsoid='{\"dsr\":[6476,6494,3,3]}'>ท้าวอุรังยิด</b>เจ้าเมืองอุรังยิด ซึ่งมีโอรสรูปงามสององค์ คือ ยุดาหวัน</b>องค์พี่ กับ<b data-parsoid='{\"dsr\":[6565,6576,3,3]}'>ยุขัน</b>องค์น้อง ครั้นท้างอุรังยิดได้ทราบความในสารดังกล่าวทราบถึงคุณวิเศษของดวงแก้วกายสิทธิ์ที่อยู่ในศีรษะนกนั้น จึงมีความปรารถนาจะได้ไว้ครอบครอง ยุดาหวันและยุขันจึงรับอาสาที่จะไปนำนกหัสรังสีมาถวาย ก่อนออกเดินทางท้าวอุรังยิดได้ให้โหรหลวงทำนายได้ความว่า ทั้งสองพี่น้องจะประสบชัย อีกอีกสามปีจึงจะได้กลับมาบ้านเมือง ทั้งสองพี่น้องจึงเริ่มออกเดินทางไปในป่าจนพบกับ<b data-parsoid='{\"dsr\":[6927,6946,3,3]}'>เสาประโคนใหญ่</b>ตั้งไว้ที่เชิงเขามีจารึกใจความว่า\"พระพรหมได้สาปไว้ว่าผู้ใดมาถึงเสาประโคนนี้ หากมาเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มให้แยกเดินทางซ้ายขวาคนละทาง หากไปด้วยกันจะมีภัยถึงชีวิตทั้งคู่ หากแยกกันเดินก็จะได้พบกับพระมหาฤษ๊สั่งสอนวิชาให้ และจะเดินทางไปยังเมืองอุเรเซ็นอย่างปลอดภัย ทั่งสองพี่น้องได้อ่านสารจารึกดังกล่าวก็บังเกิดความเศร้าโศกรำพึงรำพันว่า",
"title": "ยุขัน"
},
{
"docid": "254021#4",
"text": "ปัจจุบัน คัมภีร์พระไตรปิฎก 45 เล่ม ตามการแบ่งของประเทศไทย จะจัดแบ่งคัมภีร์จูฬวรรคออกเป็นสองตอนหรือ 2 ภาค ทั้งหมด 12 ขันธกะ โดยจัดให้ตอนแรก (4 ขันธกะแรก) อยู่ในเล่มที่ 6 และตอนที่สอง (8 ขันธกะหลัง) อยู่ในเล่มที่ 7",
"title": "จูฬวรรค"
},
{
"docid": "7043#85",
"text": "นำพล หนองกี่พาหุยุทธ นำขบวน หนองกี่พาหุยุทธ เอฟ 16 ราชานนท์ สิงห์ดำ เกียรติหมู่เก้า สามเอ ไก่ย่างห้าดาวยิม เทอดเกียรติ ศิษย์เทพพิทักษ์ วันมีโชค ภูหงษ์ทอง มังกรทอง ศักดิ์บุรีรัมย์",
"title": "จังหวัดบุรีรัมย์"
},
{
"docid": "758127#3",
"text": "\"หนึ่งด้าวฟ้าเดียว\" เป็นละครจากค่ายทีวีซีน เป็นเรื่องราวของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ผู้จัดเข้าหาวรรณวรรธน์ ผู้เขียน \"ข้าบดินทร์\" ให้มาช่วยแต่งบทละครเรื่องนี้ ผ่านตัวละครและเรื่องราวใหม่ ๆ ได้รับแรงบันดาลใจเค้าโครงเรื่องจาก กฎหมายตราสามดวงว่าด้วยกฎมณเฑียรบาล ที่บันทึกว่ามีขันทีชาวต่างชาติในขบวนเสด็จของกษัตริย์ ทำให้เกิดเรื่องราวของชาวตุรกี ที่ปลอมตัวเป็นขันทีเข้ากรุงศรีอยุธยามาสืบราชการลับในละครเรื่องนี้ โดยมีบุคคลในประวัติศาสตร์อย่าง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระเจ้ามังระ, พระยาพิชัยดาบหัก, กรมขุนวิมลพัตร, เจ้าจอมเพ็ญ ฯลฯ และใช้เวลาประพันธ์ 3 เดือน สำหรับตัวละครขันทอง รับบทโดยจิรายุ ตั้งศรีสุข วรรณวรรธน์ได้วางตัวละครนี้โดยมีจิรายุไว้ในใจตั้งแต่ตอนเขียนบทประพันธ์ เพราะประทับใจบทบาทการแสดงในละครเรื่อง \"สุภาพบุรุษจุฑาเทพ\" ส่วนเครื่องแต่งกายของละครเรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพจิตรกรรมฝาผนัง และเพิ่มเติมสีสันสดใสให้ดูเหมาะสม",
"title": "หนึ่งด้าวฟ้าเดียว"
}
] |
1103 | จังหวัดมุกดาหาร ก่อตั้งขึ้นเมื่อใด ? | [
{
"docid": "2854#0",
"text": "มุกดาหาร เป็นจังหวัดชายแดน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร และอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน2 ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 642 กิโลเมตร แยกออกมาจากจังหวัดนครพนมเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 นับเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไทย",
"title": "จังหวัดมุกดาหาร"
}
] | [
{
"docid": "241781#0",
"text": "รายชื่อวัดในจังหวัดมุกดาหาร",
"title": "รายชื่อวัดในจังหวัดมุกดาหาร"
},
{
"docid": "282522#0",
"text": "วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในกลุ่มสถาบันวิทยาลัยชุมชน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2547 ตามนโยบาย \"การศึกษาสร้างชาติ สร้างคน สร้างงาน\" ของรัฐบาล โดยเฉพาะจังหวัดที่ไม่มีสถาบันอุดมศึกษา โดยการคัดเลือกศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดมุกดาหาร ให้ทำหน้าที่วิทยาลัยชุมชนควบคู่ไปกับภารกิจเดิม ปัจจุบัน วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร จัดการศึกษาหลักสูตรอนุปริญญาและหลักสูตรพัฒนาทักษะและเสริมสร้างประสบการณ์ด้านอาชีพและคุณภาพชีวิต (ฝึกอบรมระยะสั้น)จัดโครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน",
"title": "วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร"
},
{
"docid": "234037#0",
"text": "ต่อไปนี้เป็นรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดมุกดาหาร",
"title": "รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดมุกดาหาร"
},
{
"docid": "2854#7",
"text": "โรงเรียนมุกดาหาร โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยมุกดาหาร",
"title": "จังหวัดมุกดาหาร"
},
{
"docid": "456334#1",
"text": "สืบเนื่องจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ 6/2550 วันเสาร์ที่ 15 กันยายน 2550 ได้เห็นชอบโครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติลุ่มน้ำโขงจังหวัดมุกดาหาร โดยมีการเรียนการสอนให้สอดรับความต้องการของพื้นที่จังหวัดมุกดาหารด้านการส่งเสริมธุรกิจระหว่างประเทศ ด้านการท่องเที่ยว ภาษา วัฒนธรรม ทั้งนี้การจัดการเรียนการสอน ณ จังหวัดมุกดาหาร เป็นการขยายโอกาสทางการศึกษา ให้กับนักศึกษาไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะจาก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้จบอาชีวศึกษาได้ต่อในระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้จังหวัดมุกดาหารได้มอบอาคารเรียนหลังเก่า ของโรงเรียนมุกดาลัย ชื่อตึกเหลืองมุกดาลัย มอบให้เพื่อใช้ในการเรียนการสอน และเป็นสำนักงาน มหาวิทยาลัยได้นำตึกเหลืองมุกดาลัย มาปรับปรุงใหม่โดยยังคงรูปแบบเดิมของตึกให้มากที่สุด ปรับปรุงซ่อมแซมไปในเดือน เมษายน และเดือนพฤษภาคม 2550 มหาวิทยาลัยอุบลได้ส่ง ดร.กุลภา โภคสวัสดิ์ มาเตรียมงานและดูแลการปรับปรุงสถานที่ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2550 จากนั้นในวันที่ 1 มิถุนายน 2550 ได้ส่งอาจารย์ ณัฎฐ์นรี สุขจิต มาเป็นอาจารย์ประจำศูนย์ฯ มุกดาหารอีกหนึ่งท่าน และมีอาจารย์ประจำมาเพิ่มอีกคือ อาจารย์ทยากร สุวรรณปักษ์ และอาจารย์ ชุมพร หลินหะตระกูล ตามลำดับ\nต่อมาเมื่อวันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2551 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ 3/2551 มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งวิทยาเขตมุกดาหาร และได้ขอความเห็นชอบในการใช้พื้นที่ป่าไม้บริเวณภูผาเจี้ย ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เพื่อจัดตั้งวิทยาเขตมุกดาหาร\nวิทยาเขตมุกดาหาร มีนักศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 144 คน (พ.ศ. 2554) มีพื้นที่ดำเนินการ 3 พื้นที่ คือ พื้นที่พืชไร่ตำบลคำอาอวน พื้นที่ทหารตำบลคำอาอวน และพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลมุกดาหาร (ภูผาเจี้ย) โดยวิทยาเขตมุกดาหาร กำลังมีโครงการจะก่อสร้างอาคารซึ่งเป็นที่ตั้งถาวรของวิทยาเขต นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมนานาชาติสิรินธารา สามารถรองรับกิจกรรมอเนกประสงค์ และรองรับการประชุมได้ 4,000 ที่นั่ง บริเวณพื้นที่ภูผาเจี้ย เนื้อที่ 1,134 ไร่",
"title": "มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร"
},
{
"docid": "794883#20",
"text": "งานโฮมเหง้าเผ่าผู้ไทย ไหว้พระไกรสรราชเมืองหนองสูง เป็นงานประจำปีของอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ [25] ซึ่งส่วนราชการอำเภอหนองสูง เทศบาลตำบลหนองสูงเหนือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมุกดาหาร[26] และสภาวัฒนธรรมอำเภอหนองสูงได้กำหนดจัดงานขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูพระเกียรติยศของพระไกรสรราช (สิงห์) เจ้าเมืองหนองสูงองค์แรก และเป็นวันคล้ายวันก่อตั้งเมืองหนองสูงเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๘๗ ตลอดจนเพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณีและศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชนเผ่าภูไท ส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอหนองสูง เสริมสร้างความรักความสามัคคีของพี่น้องชาวภูไทอำเภอหนองสูง และชาวภูไทจากต่างถิ่นให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น กิจกรรมภายในงานมีพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ตามจารีต มีพิธีบวงสรวงพระอนุสาวรีย์พระไกรสรราช (สิงห์) เจ้าเมืองหนองสูงองค์แรก มีการแห่แหนศิลปวัฒนธรรมภูไทจากตำบลต่างๆ การแสดงศิลปวัฒนธรรมชาวภูไทจากต่างจังหวัดและต่างประเทศ หรือการแสดงศิลปวัฒนธรรมภูไท ๓ แผ่นดิน ได้แก่ ชาวภูไทจากประเทศเวียดนาม ชาวภูไทจากประเทศลาว และชาวภูไททั่วประเทศไทย[27] รวมทั้งมีการประกวดอาหารพื้นบ้าน การประกวดส้มตำลีลา การประกวดฟ้อนกลองตุ้ม การประกวดธิดาผู้ไทยพระไกรสรราช การประกวดศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวภูไทในด้านต่างๆ อาทิ การประกวดพานบายศรี การประกวดขันหมากเบ็ง การประกวดเสื้อเย็บมือ เป็นต้น[28]",
"title": "พระไกรสรราช (สิงห์ ไตรยวงค์)"
},
{
"docid": "2854#14",
"text": "มุกดาหารอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 642 กิโลเมตร ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา-อำเภอบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-อำเภอโพนทอง-อำเภอคำชะอี-มุกดาหาร หรือเส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 207 ที่บ้านวัด-เลี้ยวขวาผ่านอำเภอประทาย-อำเภอพุทไธสง-อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย–อำเภอเกษตรวิสัย-อำเภอสุวรรณภูมิ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2169 ผ่านอำเภอทรายมูล-อำเภอกุดชุม-อำเภอเลิงนกทา แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอนิคมคำสร้อย สู่จังหวัดมุกดาหาร",
"title": "จังหวัดมุกดาหาร"
},
{
"docid": "2854#11",
"text": "อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ/มุกดาหาร ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านคอนสาย ตำบลนาสีนวน อำเภอเมืองมุกดาหาร อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านหนองเม็ก ตำบลป่าไร่ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร(มุกดาหาร,ยโสธร,อำนาจเจริญ) อุทยานแห่งชาติภูผายล/ห้วยหวด ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านห้วยหวด ตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร(สกลนคร,นครพนม,มุกดาหาร) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯตั้งอยูที่อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร(มุกดาหาร,กาฬสินธุ์) วนอุทยานดงบังอี ที่ทำการวนอุทยานฯตั้งอยู่ที่ตำบลนากอก อำเภอนิคมคำสร้อย เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯตั้งอยู่ที่ตำบลบึงงาม อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด(ร้อยเอ็ด,กาฬสินธุ์,มุกดาหาร)",
"title": "จังหวัดมุกดาหาร"
},
{
"docid": "435465#1",
"text": "ในปี พ.ศ. 2450 ได้มีการปรับปรุงการปกครองในมณฑลอุดร เป็นจังหวัด จึงถูกยุบลงเป็น อำเภอมุกดาหาร ขึ้นตรงกับ จังหวัดนครพนม และในปี พ.ศ. 2525 จึงได้มีพระราชบัญญัติ จัดตั้งจังหวัดมุกดาหารขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาการบุกรุก และขยายอิทธิพล ของระบบสังคมนิยม ของค่าสังคมนิยมในลาว ซึ่งได้เปลี่ยนการ ปกครองจาก ระบบประชาธิปไตย เป็นสังคมนิยม ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2518 ทำให้ชุมชนสุขาภิบาลมุกดาหาร ได้รับการยกฐานะ เป็นเทศบาลเมือง ตามการจัดตั้ง จังหวัดมุกดาหาร เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2526 (ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 100 หน้า 63 ลงวันที่ 21 เมษายน 2526) นายกเทศมนตรีคนแรก คือ นายนิรันดร์ ยิ่งอรุณธรรม เข้าดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2526",
"title": "เทศบาลเมืองมุกดาหาร"
},
{
"docid": "850541#0",
"text": "โรงเรียนมุกดาหาร ()เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ตั้งอยู่ที่ 211 ถนนพิทักษ์พนมเขต อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร และเป็นโรงเรียนประเภทโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ ปัจจุบันมีอายุ 70 ปี ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2491",
"title": "โรงเรียนมุกดาหาร"
},
{
"docid": "537418#0",
"text": "วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย มุกดาหาร เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร จัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชสชีพชั้นสูง(ปวส.)",
"title": "วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย มุกดาหาร"
},
{
"docid": "129664#0",
"text": "เมืองมุกดาหาร เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร",
"title": "อำเภอเมืองมุกดาหาร"
},
{
"docid": "6340#7",
"text": "ในปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหาร พ.ศ. 2525 แยกอำเภอ มุกดาหารเป็นจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525",
"title": "จังหวัดนครพนม"
},
{
"docid": "2854#21",
"text": "สะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) รายชื่อวัดในจังหวัดมุกดาหาร รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดมุกดาหาร รายชื่อสาขาของธนาคารในจังหวัดมุกดาหาร รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดมุกดาหาร",
"title": "จังหวัดมุกดาหาร"
},
{
"docid": "156787#2",
"text": "ก่อนสมัยขอมเรืองอำนาจ ดินแดนแถบนี้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรศรีโคตรบูรหรือศรีโคตรบอง ต่อมาในสมัยขอมเรืองอำนาจเมืองนี้มีชื่อว่า สุวรรณภูมิประเทศ เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ในปี พ.ศ. 2120 ท้าวหม่อมบ่าวหลวง (เจ้าคำโพน) กวานเวียงดงเขยแห่งเมืองน้ำน้อยอ้อยหนูและนางสิมมาหรือเจ้านางสิมผู้เป็นภริยา ได้อพยพผู้คนจากน้ำน้อยอ้อยหนูภาคเหนือของอาณาจักรล้านช้าง ลงมาตั้งหมู่บ้านชื่อว่าบ้านหลวงโพนสิมหรือเมืองโพนสิมเก่า แล้วยกให้เป็นเมืองชื่อว่าเมืองหลวงมหาสุวรรณภูมิคำโพนสิมมาเขตต์ โดยถือเอานิมิตทองคำและภูมิประเทศซึ่งเป็นเนินดินสูงเป็นนามเมือง ห่างจากตัวเมืองสุวรรณเขตปัจจุบันประมาณ 18 กิโลเมตร เส้นทางเดียวกันกับทางไปพระธาตุอิงฮัง วัดพระธาตุอิงฮัง บ้านธาตุอิงฮัง ครั้นถึง พ.ศ. 2185 ท้าวแก้วสิมพลีบุตรชายคนรองได้พาชาวบ้านหลายสิบครอบครัวแยกออกไปตั้งบ้านเมืองใหม่เป็นชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง คือบ้านท่าแฮ่ แล้วสร้างวัดขึ้นโดยอาศัยหินแฮ่ที่มีอยู่มากมายริมน้ำโขงมาเป็นวัสดุก่อสร้าง นอกจากนี้ ประวัติการก่อตั้งเมืองสุวรรณเขตยังเกี่ยวพันกับการก่อตั้งจังหวัดมุกดาหารในฝั่งไทย เพราะชาวบ้านที่อพยพมาจากบ้านหลวงโพนสิมได้ข้ามไปตั้งบ้านเรือนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง จากนั้นท้าวแก้วสิมพลีจึงก่อตั้งเมืองมุกดาหารขึ้นที่ปากห้วยบังมุก โดยออกนามเมืองว่ามุกดาหารบุรีศรีมุตติกนคร โดยถือเอานิมิตหอยกาบมุกที่ปากห้วยบังมุกเป็นนามเมือง คนทั่วไปเรียกว่าเมืองบังมุก ส่วนพี่ชายของท้าวแก้วสิมพลีนั้นชื่อว่า ท้าวคำสิงห์ ได้อพยพชาวบ้านไปสร้างบ้านท่าสะโน (สะโหน) แล้วข้ามแม่น้ำโขงไปตั้งบ้านชะโนด (สะโนด) ในอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหารปัจจุบัน ชาวเมืองจึงนับถือกันว่าเมืองหลวงโพนสิม เมืองคันธบุรี เมืองมุกดาหาร บ้านสะโนและบ้านชะโนดนั้นเป็นพี่น้องเผ่าพันธุ์เดียวกัน เมื่อท้าวหม่อมบ่าวหลวงผู้เป็นบิดาได้เสียชีวิตลง ชาวบ้านจึงตั้งให้ท้าวหลวงท่อมเป็นเจ้าเมืองโพนสิมองค์ที่ 2 โดยมีผู้คนอาศัยอยู่อย่างเบาบางไม่ถึงร้อยหลังคาเรือน หลัง พ.ศ. 2256 สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรหรือเจ้าหน่อกษัตริย์ ได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้านครจำปาศักดิ์พระองค์แรกจากราชวงศ์เวียงจันทน์ พระองค์ได้โปรดฯ ให้เจ้าจารย์จันทสุริยวงศ์แห่งราชวงศ์เวียงจันทน์ซึ่งเป็นศิษย์คนสำคัญของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก และมีศักดิ์เป็นพระโอรสของเจ้าศรีวิชัย เป็นพระราชนัดดาของเจ้าศรีวรวังโส และเป็นพระราชปนัดดาในสมเด็จพระเจ้าโพธิสาลราชแห่งนครหลวงพระบาง ไปปกครองเมืองหลวงโพนสิมร้างอยู่หลายสิบปี โดยมีเมืองพิน เมืองนอง เมืองตะโปน (เซโปน) เป็นเมืองขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 เจ้าจันทกินรีหรือเจ้ากินรีพระโอรสของเจ้าจารย์จันทสุริยวงศ์ ได้อพยพผู้คนจากเมืองโพนสิมมาสร้างเมืองบังมุกร้าง ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นเมืองที่ท้าวแก้วสิมพลีปกครองมาก่อน จากนั้นเจ้ากินรีจึงได้เสวยราชย์เป็นเจ้าเมืองมุกดาหารพระองค์แรกจากราชวงศ์เวียงจันทน์ เฉลิมพระนามว่าเจ้าพระยาศรีสุราชอุปราชามันธาตุราช และตั้งชื่อเมืองว่ามุกดาหารบุรีศรีสัตตตาลนคร โดยถือเอานิมิตแก้วมุกดาหารที่เสด็จลอยออกมาจากต้นตาลเจ็ดยอดในเวลากลางคืนเป็นนามเมือง",
"title": "แขวงสุวรรณเขต"
},
{
"docid": "2854#16",
"text": "กรุงเทพฯ - มุกดาหาร กรุงเทพฯ - มุกดาหาร นครราชสีมา - มุกดาหาร ขอนแก่น - มุกดาหาร มุกดาหาร - ระยอง มุกดาหาร - พัทยา - ระยอง มุกดาหาร - หัวหิน มุกดาหาร - แม่สอด",
"title": "จังหวัดมุกดาหาร"
},
{
"docid": "156787#5",
"text": "ชนเผ่าในแขวงสุวรรณเขตมีทั้งหมด 8 ชนเผ่า ได้แก่ เผ่าลาว, เผ่าผู้ไท, เผ่ามังกอง (มะกอง), เผ่าตะโอ้ย, เผ่าปะโกะ, เผ่าส่วย, เผ่ากะตาง, เผ่าตรี\nจากจังหวัดมุกดาหาร ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 แล้วให้นั่งรถสองแถวหรือรถสามล้อมาด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดมุกดาหาร จากนั้นให้มาติดต่อทำหนังสือเดินทางและซื้อตั๋วเรือข้ามแม่น้ำโขงที่นี่ โดยใช้เวลาประมาณ 25 นาที ก็จะถึงแขวงสุวรรณเขตหรือมาโดยรถโดยสารประจำทาง ที่หมอชิต 2 มีรถโดยสารไปจังหวัดมุกดาหารทุกวัน โทรศัพท์ 0 2936 2841-8, 0 2936 2852-66 เมื่อมาถึงสถานีขนส่ง แล้วให้นั่งรถสองแถวหรือรถสามล้อมาด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดมุกดาหาร จากนั้นให้มาติดต่อทำหนังสือเดินทางและซื้อตั๋วเรือข้ามแม่น้ำโขงที่นี่ ก็จะถึงเมืองแขวงสุวรรณเขต",
"title": "แขวงสุวรรณเขต"
},
{
"docid": "282522#1",
"text": " วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร แรกเริ่มก่อตั้งโดยได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารให้ใช้อาคาร ที่ว่าการอำเภอเมืองมุกดาหารหลังเก่า ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร จึงย้ายสำนักงานจากศูนย์การศึกษา นอกโรงเรียนจังหวัดมุกดาหาร มาที่อาคารที่ว่าการอำเภอเมืองมุกดาหารหลังเก่า ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2547 เป็นต้นมา ขณะเดียวกันสำนักงานบริหารงานวิทยาลัยชุมชน ได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อทำการซ่อมแซมอาคารดังกล่าว จำนวน 1,998,000 บาท และทำการซ่อมแซมแล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤษภาคม 2547 โดยวิทยาลัยฯ ใช้ประโยชน์ จากอาคารดังกล่าวเป็นสำนักงานวิทยาลัย ศูนย์วิทยบริการ ศูนย์ภาษาแบบพึ่งพาตนเอง บริการนักศึกษา และ ห้องเรียน โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ ศาสตราจารย์นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เดินทางมาเป็น ประธานพิธีเปิดอาคารสำนักงานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2548 ",
"title": "วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร"
},
{
"docid": "296747#2",
"text": "ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2553 สโมสรฟุตบอลมุกดาหาร-สะหวันนะเขต ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารและมีการเปลี่ยนแปลงชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลมุกดาหาร ซิตี้ ครั้งนี้มีการร่วมมือกัน ระหว่างภาคส่วนมากขึ้น โดยภาคส่วนราชการและกลุ่มนักธุรกิจผู้รักกีฬาฟุตบอลชาวมุกดาหาร และได้รับอนุมัติแผนงานดำเนินงาน ซึ่งรับรองโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารในขณะนั้น คือ นายชาญวิทย์ วสยางกูร โดยนโยบายหลักของทีม คือ ต้องการให้ประชาชนชาวมุกดาหาร และเยาวชนในจังหวัดมุกดาหาร หันมาสนใจการแข่งขันกีฬาฟุตบอล ใช้เวลาว่างทำกิจกรรมกับครอบครัวในวันสุดสัปดาห์ และห่างไกลยาเสพติด นอกจากนั้นแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการเสริมความสัมพันธ์ในด้านการกีฬา ระหว่าง เมืองคู่แฝดของจังหวัดมุกดาหาร คือ แขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว ในขณะนั้นทีมมุกดาหาร ซิตี้ ได้มีโควต้านักกีฬาที่เป็น ชาวสุวรรณเขต รวมอยู่ในโควตานักกีฬาต่างชาติอีกด้วย รวมไปถึงแผนการใช้สนามเมืองสุวรรณเขตเป็นสนามเหย้าในบางนัด เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันกับกับทีมงานของมุกดาหาร ซิตี้ ภาคจังหวัดและแขวงสุวรรณเขต (เมืองไกสอน พมวิหาน)",
"title": "สโมสรฟุตบอลมุกดาหาร ไชยยืนยง"
},
{
"docid": "850541#1",
"text": "โรงเรียนมุกดาหาร เดิมเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ประจำอำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม เปิดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2491 เริ่มเปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยอาศัยบริเวณโรงเรียนมุกดาลัย (โรงเรียนประถมศึกษาประจำอำเภอ) และในปี พ.ศ. 2525 (จากราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2525) อำเภอมุกดาหารได้แยกออกจากจังหวัดนครพนม ก่อตั้งเป็นจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดที่ 73 ของประเทศ เหตุนี้จึงทำให้โรงเรียนมุกดาหารเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดโดยพฤตินัย ปัจจุบันได้ทำการเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรพิเศษ 3 หลักสูตร คือ หลักสูตร Mini English Program (MEP), หลักสูตร Intensive English Program (IEP), และหลักสูตรส่งเริมคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้โรงเรียนมุกดาหารยังได้เข้าร่วมโครงการสร้างหลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์มาตรฐานสากล ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามแนวทางของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอีกด้วย",
"title": "โรงเรียนมุกดาหาร"
},
{
"docid": "111193#1",
"text": "เริ่มในสมัยขอมเรืองอำนาจ เมืองนี้มีชื่อว่า สุวรรณภูมิประเทศ เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ในปี พ.ศ. 2120 ท้าวหลวงและนางสิมได้อพยบผู้คนจากภาคเหนือลงมาตั้งหมู่บ้านชื่อว่าบ้านหลวงโพนสิม ห่างจากตัวเมืองปัจจุบันประมาณ 18 กิโลเมตร เส้นทางเดียวกับไปพระธาตุอิงฮัง ครั้นถึง พ.ศ. 2185 ท้าวสิมพลีบุตรชายได้พาชาวบ้านหลายสิบครอบครัวแยกออกไปตั้งเมืองใหม่เป็นชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขงประวัติการก่อตั้งเมืองสุวรรณเขตยังเกี่ยวพันกับการก่อตั้งจังหวัดมุกดาหารในฝั่งไทย เพราะชาวบ้านที่อพยพมาจากบ้านโพนสิมได้ข้ามไปตั้งบ้านเรือนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงแล้วก่อตั้งเมืองมุกดาหารขึ้นการเดินทางไปเมืองไกสอน พมวิหาน จากประเทศไทย สามารถทำได้โดยผ่านด่านพรมแดนที่สะพานมิตรภาพ 2 ตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเป็นจุดกึ่งกลางในการเดินทางระหว่างเวียงจันทน์ถึงปากเซ",
"title": "ไกสอน พมวิหาน (เมือง)"
},
{
"docid": "2854#8",
"text": "มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร[1] วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร",
"title": "จังหวัดมุกดาหาร"
},
{
"docid": "296747#1",
"text": "แรกเริ่มเกิดจากนโยบายทางด้านกีฬาของประเทศไทย ที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในด้านการกีฬา และพัฒนาวงการฟุตบอลอาชีพของไทย ซึ่งจังหวัดมุกดาหารได้เริ่มก่อตั้งทีมสโมสรฟุตบอลเป็นของตัวเอง ลงทะเบียนกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในชื่อเริ่มแรกว่า สโมสรฟุตบอลจังหวัดมุกดาหาร ต่อมาได้มีการร่วมมือด้านกีฬากับแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลมุกดาหาร-สะหวันนะเขต (Mukdahan-Savannakhet Football Club) โดยมีฉายาในขณะนั้นว่า แก้วมุกดา (The Perfume Flower Trees) ซึ่งเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง และชื่อมีความคล้องจองกับสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นสัญลักษณ์ยุคใหม่ของจังหวัดคือ หอแก้วมุกดาหารหรือหอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก คือ หอสังเกตการณ์ที่มีความสูง 65.50 เมตร สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2539 ในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 ครบ 50 ปี) ทีมสโมสรฟุตบอลมุกดาหาร-สะหวันนะเขตมีการเปลี่ยนโลโก้สัญลักษณ์ จากสัญลักษณ์หลักที่เป็นรูปหอแก้วมุกดาหาร เป็นรูปสัญลักษณ์ของ พญานาค ซึ่งเป็นตำนานตามความเชื่อท้องถิ่นของจังหวัด",
"title": "สโมสรฟุตบอลมุกดาหาร ไชยยืนยง"
},
{
"docid": "114522#10",
"text": "ถนนช่วงสมเด็จ–มุกดาหาร เดิมเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2042 หรือ ทางหลวงแผ่นดินสายสี่แยกสมเด็จ–มุกดาหาร เริ่มจากอำเภอสมเด็จ ผ่านอำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุฉินารายณ์ เข้าเขตจังหวัดมุกดาหาร ผ่านอำเภอหนองสูง และไปตัดที่ถนนชยางกูร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212) ในอำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร จากนั้นไปสิ้นสุดที่เขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร รวมระยะทาง 122 กิโลเมตร",
"title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12"
},
{
"docid": "790333#0",
"text": "อำมาตย์เอก พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ จันทรสาขา) อดีตเจ้าเมืองมุกดาหารองค์ที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๓๐-๒๔๔๒) จากราชวงศ์เวียงจันทน์ในฐานะเจ้าเมืองประเทศราช อดีตราชบุตรผู้รักษาราชการเมืองมุกดาหาร อดีตจางวางที่ปรึกษาราชการเมืองมุกดาหาร อดีตกรมการพิเศษจังหวัดนครพนม (พ.ศ. ๒๔๔๒-๒๔๖๐) อดีตจางวางอำเภอมุกดาหาร อำมาตย์เอก พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ จันทรสาขา) เป็นต้นสกุลพระราชทาน จันทรสาขา แห่งจังหวัดมุกดาหารและเป็นต้นสกุลพระราชทาน พิทักษ์พนม แห่งอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ในภาคอีสานของประเทศไทย",
"title": "พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ จันทรสาขา)"
},
{
"docid": "435465#0",
"text": "เทศบาลเมืองมุกดาหาร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ได้รับยกฐานะมาจากเทศบาลตำบลมุกดาหาร มีเขตรับผิดชอบ ได้แก่ ตำบลศรีบุญเรืองทั้งตำบล และ บางส่วนของตำบลมุกดาหาร",
"title": "เทศบาลเมืองมุกดาหาร"
},
{
"docid": "866749#0",
"text": "วัดศรีฐานธรรมิการาม เป็นวัดพระพุทธศาสนา แบบเถรวาท ชนิดคามวาสี(วัดบ้าน) เป็นวัด อารามราษฎร์ ชั้นสามัญ สังกัดมหานิกาย ในการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดมุกดาหาร เขตการปกครองคณะสงฆ์หนตะวันออก ตามกฏมหาเถรสมาคม เริ่มก่อตั้งวัดเมื่อ ๒๔๘๓ ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๑๕",
"title": "วัดศรีฐานธรรมิการาม"
},
{
"docid": "490331#6",
"text": "หอแก้วมุกดาหาร เป็นหอคอยสูงที่ทันสมัยแห่งหนึ่ง และเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของจังหวัดมุกดาหาร มีความสูงจากระดับพื้นดินถึงระดับหอชมทัศนียภาพ 50 เมตร และถึงยอดลูกแก้วมุกดาหาร 15 เมตร รวมความสูงทั้งสิ้น 65.50 เมตร มีทั้งหมด 7 ชั้น",
"title": "หอแก้วมุกดาหาร"
},
{
"docid": "456334#0",
"text": "มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร เป็นอดีตวิทยาเขตหนึ่งของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยตั้งอยู่ที่จังหวัดมุกดาหาร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2550 เปิดรับนักศึกษาครั้งแรก พ.ศ. 2552 มีนักศึกษา 4 รุ่น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ยกเลิกสถานะวิทยาเขตมุกดาหารแล้ว",
"title": "มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร"
}
] |
2907 | อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน เกิดที่ไหน ? | [
{
"docid": "193765#1",
"text": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน เกิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 1801 ในชุมชนเล็ก ๆ นามว่า เกร (Gray) ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในจังหวัดโอต-โซนของประเทศฝรั่งเศส จบการศึกษาจากโรงเรียนประจำชุมชนเมื่ออายุได้ 15 ปี สี่ปีต่อมาเขาได้ทำงานเป็นเสมียนในสำนักงานของทนายความ ขณะเดียวกันเขาก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับงานทางด้านกฎหมายและปรัชญาควบคู่ไปด้วย ซึ่งได้รับแรงบันดานใจจากการทำงานของเขาที่สำนักทนายความลาปลัส (Laplace) ซึ่งทำให้เขารู้ว่าเขาต้องการที่จะศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ จนกระทั่งเขามีอายุได้ 19 ปี เขาได้สมัครเรียนทางด้านคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองเบอซ็องซง และต่อจากนั้นได้สอบผ่านเข้าเรียนต่อในสถาบันที่มีชื่อว่า Normale Supérieure ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงปารีสในปี 1821",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
}
] | [
{
"docid": "282119#1",
"text": "กูลงเกิดที่เมืองอ็องกูแลม (Angoulême) ประเทศฝรั่งเศส ในครอบครัวที่มีฐานะดี มีบิดาชื่ออ็องรี กูลง ซึ่งเป็นผู้ตรวจการสวนหลวงในเมืองมงเปอลีเย มารดาของเขาชื่อแคทเทอรีน บาเช ซึ่งมาจากครอบครัวค้าขนสัตว์",
"title": "ชาร์ล-โอกุสแต็ง เดอ กูลง"
},
{
"docid": "193765#8",
"text": "ในบทที่สี่เขาได้อธิบายเกี่ยวกับฟังก์ชันอุปสงค์ของเขาเองโดยให้รูปแบบทั่วไปของฟังก์ชันอุปสงค์เท่ากับฟังก์ชันของราคา D = F (p) เขาสมมติให้ F เป็นฟังก์ชันอุปสงค์โดยเป็นเส้นลาดลง (Downward Sloping) หรือเทียบได้กับกฎอุปสงค์ (Law of Demand) ในปัจจุบัน อีกทั้งได้แนะนำแนวคิดเกี่ยวกับความยืดหยุ่น (Elasticity) แต่ยังไม่ได้เขียนในเชิงคณิตศาสตร์",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#11",
"text": "ในบทที่หก เขาได้ตรวจสอบผลกระทบจากภาษี (Tax) ความเต็มใจจ่ายในราคาที่เกิดขึ้น ปริมาณการผลิตในรูปแบบของตัวแปร ทั้งยังชี้ให้เห็นผลกระทบว่าการเก็บภาษีจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ผลิตและผู้บริโภคอย่างไร",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#5",
"text": "ในปี 1834 เขาได้เข้าไปยังสำนักงานของปัวซงที่เมืองลียง (Lyons) ซึ่งเขาคิดว่าเป็นแหล่งการค้นคว้าทางด้านการวิเคราะห์และทางด้านกลศาสตร์ที่ดีเลยทีเดียว ในปีต่อมาเขาได้รับความไว้วางใจจากปัวซงให้เป็นอธิการบดีที่สถาบันแห่งเกรอนอบล์ (Grenoble) ที่นั่นเขาได้ทำงานเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการเป็นส่วนใหญ่",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#10",
"text": "ในบทที่ห้า เขาได้ข้ามไปยังการวิเคราะห์การผลิตแบบผูกขาด (Monopoly) ในที่นี้เขาได้เริ่มแนวคิดการผลิตที่ทำให้เขาได้กำไรสูงที่สุด ขั้นแรกเขาได้นำเข้าสู่ฟังก์ชันต้นทุน F (D) และอธิบายการลดลง การคงที่และการเพิ่มขึ้นของผลได้ที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของต้นทุน โดยแสดงทางคณิตศาสตร์ให้เห็นว่าผู้ผลิตจะเลือกผลิตในปริมาณที่รายได้หน่วยสุดท้าย (MR: Marginal Revenue) เท่ากับต้นทุนหน่วยสุดท้าย (MC: Marginal Cost) เขาได้แสดงให้เห็นอีกว่า ฟังก์ชันต้นทุนที่แท้จริงนั้นเป็นฟังก์ชันของราคา f' (D(p)) = y (p))",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#0",
"text": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน (French: Antoine-Augustin Cournot) เป็นนักปรัชญา นักคณิตศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในเรื่อง\"หลักหน่วยสุดท้ายดั้งเดิม\" (Proto-Marginalists) คนหนึ่ง โดยงานหลักของเขาจะเป็นงานเขียนทางด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นการค้นคว้าใน\"หลักคณิตศาสตร์แห่งความมั่งคั่ง\" (Principle of Wealth) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ยังไม่มีใครสามารถที่จะล้มล้างได้ในขณะนั้น ทั้งนี้ผลงานเขาก็ยังคงมีอิทธิพลในปัจจุบันด้วย",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#19",
"text": "ในปี 1841 เขาได้ตีพิมพ์บทความการวิเคราะห์จากเมืองลียง เพื่ออุทิศให้กับปัวซง และอีกสองปีต่อมาเขาได้สร้างทฤษฎีความเป็นไปได้โดยมีข้อแตกต่างระหว่างความเป็นไปได้อยู่สามชนิดได้แก่ จุดประสงค์ เงื่อนไขและปรัชญา โดยสองอย่างแรกมาจากความเป็นจริงตามหลักธรรมชาติและอย่างที่สามอ้างอิงจากความเป็นไปได้\" which depend mainly on the idea that we have of the simplicity of the laws of nature.\"",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#4",
"text": "วิทยานิพนธ์และบทความบางชิ้นของได้รับความสนใจจากนายซีเมอง-เดอนี ปัวซง (Siméon-Denis Poisson) ซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นและเป็นผู้ชักจูงให้กูร์โนกลับเข้าศึกษาต่อ โดยในระยะแรกเขาได้ปฏิเสธ แต่ภายหลังจากที่ข้อตกลงของครอบครัวของ Saint Cyr หมดลงแล้ว เขาได้มาทำงานในตำแหน่งงานชั่วคราวของสถาบันการศึกษาในปารีส และในระหว่างนั้นเขาได้ทำการแปลบทความเกี่ยวกับดาราศาสตร์ของ John Herschel และบทความเกี่ยวกับกลศาสตร์ของ Dionysus Lardner",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#21",
"text": "ในปี 1859 เขาได้เขียนความทรงจำของตังเองในอดีตเพื่อเป็นอนุสรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์และชีวประวัติของตัวเองและตำราทางปรัชญาก็ถูกตีพิมพ์อีกสองเล่มในเวลาต่อมาในปี 1861 และปี 1872 ซึ่งได้รับการกล่าวขานในสังคมปรัชญาของฝรั่งเศสโดยผลงานของเขาไม่ได้เสนอความคิดเห็นทางเศรษฐศาสตร์แต่อย่างใด หลังจากนั้นในปี1863 เขาได้นำเศรษฐศาสตร์มาเป็นหลักในการศึกษาค้นคว้าอีกครั้งแต่ต่อมาความสนใจทางด้านเศรษฐศาสตร์ของเขาได้จบลงเมื่อการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับบทความทางด้านเศรษฐศาสตร์ของเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นผลงานที่มาจากแนวคิดของริคาร์โด นำมาซึ่งสร้างความขมขื่นให้แก่ตัวเขาเป็นอันมาก แต่ถึงอย่างไรก็ตามการปฏิวัติหลักหน่วยสุดท้ายในขณะนั้นได้เริ่มเกิดขึ้นจากนักเศรษฐศาสตร์ชื่อลีอง วาลราส (Léon Walras) ซึ่งเป็นผู้ที่ได้อ่านผลงานของกูร์โนมาก่อน ซึ่งต่อมาวาลราสได้โต้แย้งเกี่ยวกับทฤษฎีของเขาและก็ได้ยอมรับลักษณะทั่วไปในการค้าที่ประกอบไปด้วยหลายตลาดตลอดจนทฤษฎีดุลยภาพบางส่วนของกูร์โน แต่ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์อย่างเฌอวงยังไม่ได้อ่านบทความของกูร์โนมาก่อน ถึงกระนั้นก็ยังให้การยอมรับกูร์โนว่าเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ในวงการปฏิวัติหน่วยสุดท้ายและต่อมาก็ได้ปรับปรุงพัฒนาทฤษฎีของกูร์โนให้ดียิ่งขึ้น",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#17",
"text": "ผลงานของเขาในปี 1838 ที่ตีพิมพ์ออกมา แทบจะไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนัก ผู้ที่มีอิทธิพลทางวิชาเศรษฐศาสตร์ในฝรั่งเศสในขณะนั้นไม่ได้ให้ความสนใจในความคิดของเขาเลยซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจของกูร์โนยิ่งนัก",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#14",
"text": "ในบทที่เก้า เขาได้เริ่มเรื่องขึ้นมาใหม่ ซึ่งนำเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสารทางการค้า (communication of markets) หรือการค้าขายสินค้าชนิดเดียวกันระหว่างภูมิภาค",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#25",
"text": "For an interesting early 20th century evaluation see:",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#12",
"text": "ในบทที่เจ็ดเขาได้เสนอแบบจำลองของของผู้ขายน้อยราย (Duopoly) ที่มีชื่อเสียงของเขา เขาได้ออกแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการผลิตสินค้าของผู้ผลิตเพียง 2 คน ในสินค้าเดียวกัน ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการ ผู้ผลิตแต่ละคนมีความคิดว่า\"การตัดสินใจในการผลิต ปริมาณสินค้าจะได้รับอิทธิพลจากราคาที่ต้องเผชิญและกำไรที่คาดว่าจะได้รับ\" เพราะฉะนั้นผู้ผลิตแต่ละคนจะเลือกทำการผลิตในปริมาณที่ทำให้ได้กำไรมากที่สุด คณิตศาสตร์ของเขาจึงมาจากการที่ผู้ผลิตทำการผลิตในปริมาณที่คาดคะเนว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะทำการผลิตอีกเท่าไร เพื่อที่จะได้ทำการผลิตให้สอดคล้องกัน (ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป) กูร์โนได้แสดงเส้นโค้ง reaction จากผู้ผลิตทั้งสองที่ทำการผลิต สามารถตัดกันได้ที่จุดดุลยภาย (equilibrium) ในการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เขาได้อธิบายภายใต้แบบจำลองผู้ผลิตน้อยราย ซึ่งราคาจะต่ำกว่าและปริมาณการผลิตจะสูงกว่าแบบจำลองผู้ผลิตแบบผูกขาดซึ่งการอธิบายของเขาทำให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า \"การเพิ่มผู้ผลิตจะทำให้ปริมาณสินค้ามากขึ้นและราคาสินค้าจะลดลง\"",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#18",
"text": "ในปี 1839 ปัวซงป่วยด้วยโรคระบาดจึงได้ขอร้องให้กูร์โนเป็นตัวแทนของเขาในการประชุมทางวิชาการด้านคณิตศาสตร์แทน ณ Conseil Royal หลังจากที่ปัวซงได้เสียชีวิตไปแล้ว กูร์โนก็ได้สานต่อเจตนารมณ์ของปัวซงที่มอบหมายให้เขาทำหน้าที่แทนเขาอีกทั้งให้เป็นตัวแทนผู้สืบทอดมรดก",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#3",
"text": "ในปี 1823 เขาได้ทำงานเป็นผู้ช่วยเขียนหนังสือให้กับนายมาร์แชล กูววง แซ็ง ซีร์ (Marshal Gouvoin Saint Cyr) และเขายังได้เป็นครูสอนพิเศษให้กับบุตรชายของมาร์แชลด้วย ต่อมาอีกสิบปีเขาก็ยังคงอยู่ที่กรุงปารีส ในยามว่างจากการทำงานเขามักจะศึกษาค้นคว้าตามแนวทางของตนเอง จนกระทั่งปี 1829 เขาก็ได้รับปริญญาเอกในด้านกลศาสตร์และดาราศาสตร์ โดยหลังจากที่อาจารย์มารีได้เสียชีวิตในปี 1830 เขาได้เรียบเรียงและตีพิมพ์ชีวประวัติของอาจารย์ท่านนี้ด้วย",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#20",
"text": "ภายหลังการปฏิวัติในปี 1848 กูร์โนได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประจำการ ณ Hautes Études ในระหว่างนั้นเขาได้เขียนตำราเล่มแรกเกี่ยวกับปรัชญาทางวิทยาศาสตร์ หลังจากนั้นในปี 1854 เขาได้เข้ารับตำแหน่งอธิการบดี ณ เมืองดีฌง อย่างไรก็ตามสายตาของเขาก็เริ่มแย่ลงมากขึ้นทุกวัน เขาจึงออกจากการสอนในปี 1862 และย้ายกลับกรุงปารีส",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#9",
"text": "มีข้อสำคัญที่ควรสังเกตคือ จากฟังก์ชันอุปสงค์ยังไม่เป็นการกำหนดอุปสงค์ที่อยู่ในยุคปัจจุบัน เส้นโค้งของเขาที่ D = F (p) นั่นเป็นเพียงการสรุปความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณที่มาจาการสังเกตราคาและการซื้อขายโดยทั่วไปที่มองจากฐานะของผู้ซื้อ หรือผู้อุปสงค์กล่าวคือ เมื่อราคาสูงขึ้น ความต้องการสินค้าจะมีในปริมาณที่น้อยลง แปรผกผันกัน กูร์โนปฏิเสธทฤษฎีทั้งหลายที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีอรรถประโยชน์ที่ว่าด้วยพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอุปสงค์เขาได้อีกกล่าวว่า\" แนวความคิดของอรรถประโยชน์ ความขาดแคลนและความเหมาะสมที่จำเป็นและความเพลิดเพลินเกี่ยวกับมนุษยชาติคือตัวแปรและความไม่แน่นอนทางธรรมชาติ\" ผลลัพธ์ที่ได้คือความเหมาะสมอันเลวร้ายสำหรับการสร้างทฤษฎีโดยอาศัยหลักแห่งความเป็นจริง\"the utility of the article, the nature of the services it can render or the enjoyments it can procure, on the habits and customs of the people, on the average wealth, and on the scale on which wealth is distributed.\" เขามั่นใจในความคิดของตัวเขาเอง เขากล่าวว่า \" รูปแบบฟังก์ชันของเขา ขึ้นอยู่กับประโยชน์ที่ได้รับจากสินค้า และสิ่งที่แสดงออกในการบริการบนพื้นฐานของความเป็นมนุษย์\"",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#26",
"text": "หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#22",
"text": "ในขณะที่เอ็ดเวิร์ด (Francis Ysidro Edgeworth) ได้ไปหากูร์โนเพื่อศึกษาทฤษฎีการแข่งขันสมบูรณ์ และทางด้านมาร์แชล (Alfred Marshall) ได้ร้องขอให้เขากลับมาในปี 1868 อีกสองปีต่อมาหนังสือของเขาก็เป็นที่แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะทฤษฎีการตัดสินใจของหน่วยธุรกิจ",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#6",
"text": "ในปี 1839 เขาถูกเรียกตัวไปตรวจสอบอย่างละเอียด ในปีเดียวกันเขาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวินผู้ซื่อสัตย์ตลอดจนผลงานของเขาทางเศรษฐศาสตร์รวมถึงงานวิจัยชิ้นเอกของเขาได้ถูกตีพิมพ์ขึ้นในปีเดียวกันนี้ด้วยและเขาได้เริ่มให้ข้อคิดเห็นเบื้องต้นเกี่ยวกับบทบาทของการประยุกต์คณิตศาสตร์ในสังคมศาสตร์ โดยการประกาศจุดยืนในการใช้คณิตศาสตร์เป็นเพียงแนวทางความคิดและทำให้เข้าใจในข้อเสนอของเขาได้ดีที่จะนำไปสู่การคำนวณข้อสมมติต่างๆออกมาเป็นตัวเลขซึ่งเขาไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของนาย N.F. Canard ที่เป็นคนเสนอความคิดมาก่อนเขา",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#13",
"text": "ในบทที่แปด เขาได้อธิบายถึงกรณีของการแข่งขันแบบไม่มีขีดจำกัด นั่นคือที่ปริมาณการผลิตที่สูงจากการที่มีผู้เข้ามาทำการผลิตมาก โดยที่ผู้ผลิตนั้นไม่ได้ใส่ใจผลผลิตที่จะเกิดขึ้น จะทำให้เขาจะได้รับราคาและปริมาณการผลิตที่อยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่า การแข่งขันอย่างสมบูรณ์ (Perfectly Competitive) ในขั้นนี้ราคาจะเท่ากับต้นทุนหน่วยสุดท้าย (P=MC)",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#2",
"text": "จากเหตุผลทางการเมือง ทำให้สถานที่ที่เขาได้ศึกษาอยู่ในขณะนั้นต้องปิดลงในปีต่อมา ซึ่งเขาแก้ปัญหาโดยย้ายไปเรียน ณ มหาวิทยาลัยซอร์บอน (Sorbonne) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในฝรั่งเศส โดยเรียนในสาขาคณิตศาสตร์ เขาได้ทุ่มเทฝีมืออย่างเต็มที่เพื่อที่จะได้เข้าสังคมปัญญาชนและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเขามีความสนใจเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการในชั้นเรียน ตลอดจนในห้องรับแขกของนายโชแซฟ ดรอซ (Joseph Droz) นักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งในขณะนั้นแนวคิดของเขาได้มีอิทธิพลในสถาบันที่เขาเรียนอย่างมาก โดยมีลากร็องฌ์ (Lagrange) และอาแช็ต (Hachette) เพื่อนร่วมชั้นที่เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ มารี อ็องตวน กงดอร์เซ (Marie Antoine Condorcet) ที่ชักจูงให้เขาเข้าสังคมทางคณิตศาสตร์ และนั่นเป็นการเข้าสังคมที่ทำให้เขาสามารถเชื่อมโยงในเรื่องคณิตศาสตร์ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งนับได้ว่าเขาเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีอายุน้อยเมื่อเทียบกันกับเพื่อนที่เป็นนักคณิตศาสตร์ด้วยกัน",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#24",
"text": "ในเวลาต่อมาผลงานของเขาก็ไม่ได้ใส่บทความที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อีกเลย ดูเหมือนว่าเขาจะชื่นชมยินดีในความพยายามของวาลราสที่สามารถเป็นที่ยอมรับของสถาบันการศึกษาของฝรั่งเศสได้ ตลอดจนได้โต้แย้งนักวิชาการทั้งหลายที่มีความคิดเห็นที่ไม่ยุติธรรมต่อตัวเขาและในปี 1877 กูร์โนก็ได้เสียชีวิตลง",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "634742#2",
"text": "หลุยส์ได้ชื่อว่าเป็นผู้สร้างต้นแบบของกิโยตีน อุปกรณ์นี้มีชื่อเรียกว่า \"ลูยแซ็ต\" () อยู่ช่วงหนึ่งหลังจากที่เขาออกแบบมันขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ภายหลังอุปกรณ์ดังกล่าวถูกเปลี่ยนชื่อตามชื่อของโฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็ง (ค.ศ. 1738–1814) แพทย์ชาวฝรั่งเศสผู้เสนอให้สร้างเครื่องประหารที่ถูกหลักมนุษยธรรมมากขึ้นกว่าเดิม",
"title": "อ็องตวน หลุยส์"
},
{
"docid": "193765#7",
"text": "หนังสือของเขาที่แต่งขึ้นในสามบทแรกพูดได้ถึงคำจำกัดความของความมั่งคั่งความสัมบูรณ์กับความสัมพันธ์ทางด้านราคาในเรื่อง กฎแห่งราคาเดียว (absolute vs. relative prices and the law of one price)",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#23",
"text": "กูร์โนมีชีวิตยืนยาวพอที่จะได้ชื่นชมกับผลงานของวาลราสและเฌอวงด้วยความรู้สึกรักใคร่สนิทสนมซึ่งปรากฏในหนังสือที่มีชื่อว่า\" Cournot's Revue sommaire\" (1877) อย่างเห็นได้ชัด",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "282119#7",
"text": "ชาร์ล-โอกุสแต็ง เดอ กูลง เป็นผู้คิดค้นกฎของคูลอมบ์ขึ้นมาแล้ว กฎของกูลง (Coulomb's Law) มีใจความว่า \"แรงระหว่างประจุไฟฟ้ามีค่าแปรผันตามผลคูณของประจุไฟฟ้าทั้งสองและแปรผกผันกับระยะทางระหว่างประจุไฟฟ้าทั้งสองยกกำลังสอง\"",
"title": "ชาร์ล-โอกุสแต็ง เดอ กูลง"
},
{
"docid": "193765#15",
"text": "ในบทที่สิบ เขาได้วิเคราะห์ประเทศที่เป็นอิสระจากกันจำนวนสองประเทศและผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน ที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน เขาแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างสองประเทศที่จะนำไปสู่ดุลยภาพของราคา ประเทศใดที่ผลิตสินค้าโดยใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าจะส่งออกสินค้าไปยังประเทศที่ผลิตสินค้าที่ใช้ต้นทุนที่สูงกว่า กูร์โนพยายามพิสูจน์เงื่อนไขที่ว่าการเปิดการค้าเสรีจะนำไปสู่การลดลงของปริมาณสินค้าส่งออกและรายรับที่ลดลงของประเทศที่มีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า ซึ่งต่อมาเขาได้อธิบายผลกระทบของภาษีนำเข้าและภาษีส่งออก จากคำอธิบายนี้เขาได้ตั้งข้อสงสัยในบทถัดไปเกี่ยวกับกำไรจากการค้าและการป้องกันกำไรจากภาษีนำเข้าอีกด้วย",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
},
{
"docid": "193765#16",
"text": "บทส่งท้าย ในการอธิบายดังกล่าวได้นำมาซึ่งทฤษฎีดุลยภาพบางส่วนแต่ยังไม่สมบูรณ์ เขาต้องการแสดงว่า การนำเอาหลายตลาดมาพิจารณาและพยายามจะแก้ไขปัญหาเพื่อหาดุลยภาพโดยทั่วไป แต่มันยากเกินกว่าที่จะอธิบายได้โดยการใช้คณิตศาสตร์ (but 'this would surpass the powers of mathematical analysis')",
"title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน"
}
] |
2106 | ดวงจันทร์ ไพโรจน์เกิดเมื่อวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "595593#1",
"text": "วงจันทร์ ไพโรจน์ มีชื่อเล่นว่าจิ๋ม เป็นชาวกรุงเทพมหานคร เกิดเมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายทวี และนางสงิม ไพโรจน์ จบการศึกษาชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวันรับศีลวิทยา ก่อนที่จะมาศึกษาต่อที่โรงเรียนสตรีเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6",
"title": "วงจันทร์ ไพโรจน์"
}
] | [
{
"docid": "64704#5",
"text": "รำพึง จิตรหาญ เกิดที่ บ้านหนองนกเขา ตำบลไพรนกยูง อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท โตที่ตำบลบ่อสุพรรณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นบุตรีของนายสำราญ และนางเล็ก จิตรหาญ ครอบครัวมีอาชีพรับจ้างทำไร่อ้อย เกิดในครอบครัวยากจน เป็นลูกคนที่ 5 ของบ้านในจำนวน 12 คน",
"title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์"
},
{
"docid": "37170#1",
"text": "จวงจันทร์ จันทร์คณาเป็นบุตรของหลวงราชสมบัติ (จันทน์) นายอำเภอเมือง และนางสร้อย เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2444 ที่ อ.เมือง จังหวัดเพชรบุรีมีน้องสาวร่วมบิดา มารดา 1 คน คือ นางสังวาลย์ มณิปันตี (ถึงแก่กรรม) เนื่องจากบิดาเป็นข้าราชการ ซึ่งต้องโยกย้ายไปรับราชการตามต่างจังหวัดต่างๆ เมื่อเติบวัยที่จะเข้าศึกษาได้ บิดาได้ย้ายมาจังหวัดราชบุรี จึงได้เข้าเรียนหนังสือที่วัดสัตนาถ จังหวัดราชบุรี เรียนอยู่ได้ไม่นานบิดาก็ถึงแก่กรรม ขณะนั้นมีอายุได้ 7 ปี มารดาได้พากลับบ้านเดิมที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้เรียนหนังสือต่อจนอายุได้ 11 ปี จึงได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบนั้น นอกจากจะได้รับเลือกเข้าเล่นฟุตบอลในทีมโรงเรียนแล้ว ยังสามารถเล่นยูโด และไวโอลินได้ดีอีกด้วย เมื่อจบชั้น ม.8 จากโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ได้เข้าศึกษาต่อที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นนายอำเภอ แต่อาจารย์เห็นว่าตัวเล็กจะเป็นนายอำเภอคงไม่เหมาะ จึงย้ายคณะไปเรียนวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อเรียนถึงปี 2 มารดาถึงแก่กรรม และไม่มีทุนเรียนต่อ จึงออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย",
"title": "พรานบูรพ์"
},
{
"docid": "394944#1",
"text": "หลวงปู่ดี ท่านเกิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2416 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านทุ่งสมอ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรของคุณพ่อเทศ และคุณแม่จันทร์ เอกฉันท์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 9 คน ท่านเป็นลูกคนที่ 7 บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2434 ณ วัดทุ่งสมอ โดยมีท่านอาจารย์รอดซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ของท่าน เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชเป็นสามเณรอยู่เป็นเวลาอยู่ 6 เดือนก็ลาสิกขาบท ต่อมาเมื่อมีอายุครบเกณฑ์จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ. 2437 ณ วัดทุ่งสมอ โดยมีพระครูวิสุทธิรังษี (ช้าง) วัดบ้านทวน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์รอด วัดทุ่งสมอ เป็นพระกรรมวาจาจารย์",
"title": "พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทฺธโชติ)"
},
{
"docid": "394720#1",
"text": "หลวงพ่อรุ่ง ติสสโร ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2416 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บิดาชื่อ พวง มารดาชื่อ กิม นามสกุล พวงประพันธ์ พออายุครบ 21 ปี มารดาของท่านได้พามาอุปสมบทที่ วัดน้อย หลังจากศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดน้อยได้ระยะหนึ่ง ท่านได้ออกธุดงค์เพื่อศึกษาวิชาความรู้เพิ่มเติมจนกระทั่งท่านได้มาพบวัดท่ากระบือ ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นสำนักสงฆ์ที่มีสภาพรกร้าง ท่านจึงคิดพัฒนาให้เป็นสถานปฏิบัติธรรมอันสงบร่มรื่น ชาวบ้านละแวกนั้นเห็นท่านเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเอาจริงเอาจังในการพัฒนาจนสำนักสงฆ์ท่ากระบือกลายเป็นสถานที่ร่มรื่นเหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาหลวงพ่อรุ่งได้ขอตราตั้งสำนักสงฆ์ท่ากระบือเพื่อให้กลายเป็นวัด เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ชาวบ้านจึงได้ช่วยกันบริจาคทรัพย์เพื่อสร้างถาวรวัตถุในวัดจนเจริญรุ่งเรืองเป็นลำดับ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระไพโรจน์วุฒาจารย์ ได้ดำรงสมณเพศตราบจนสิ้นอายุขัยเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2500 ในต้นแผ่นดินในหลวง อายุ 84 ปี 63 พรรษา",
"title": "พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง ติสสโร)"
},
{
"docid": "256817#1",
"text": "ยุทธพงศ์ ภูริสัมบรรณ หรือ รวี โดมพระจันทร์ เกิดที่หนองปลาไหล จังหวัดพิจิตร (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490) บิดาเป็นชาวจีนไหหลำอพยพชื่อนายวา แซ่พัว และมารดามีเชื้อจีนไทย ชื่อนางเฮี๊ยะ แซ่พัว (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้วทั้งคู่) ยุทธพงศ์เป็นลูกคนที่ 4 จากทั้งหมด 9 คน ครอบครัวเดิมประกอบอาชีพค้าขาย และได้ย้ายมาตั้งรกรากที่พิษณุโลกตั้งแต่ยุทธพงศ์ยังเด็ก \nยุทธพงศ์แต่งงานกับพ.ญ.วารุณี (สดเจริญ) มีบุตรชายหนึ่งคนและบุตรสาวหนึ่งคน และได้ย้ายมาชลบุรีซึ่งเป็นจังหวัดที่ภรรยาทำงานอยู่ เนื่องจากต้องเดินงานไปกลับ กรุงเทพ-ชลบุรีเป็นประจำ ประกอบด้วยการทำงานหนัก และต้องเจอกับควันบุหรี่ในที่ทำงาน ยุทธพงศ์จึงร่างกายอ่อนแอ และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดแม้ว่าไม่เคยสูบบุหรี่เลย ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ก่อนวันเกิดปีที่สี่สิบสองเพียงไม่ถึงเดือนตำแหน่งงานสุดท้ายของยุทธพงศ์ก่อนเสียชีวิตคือเป็นผู้จัดการศูนย์ข้อมูล บ.ตะวันออกแมกกาซีน ในเครือของสนธิ ลิ้มทองกุล ภายหลังที่เขาจากไป บริษัทที่ทำงานได้ก่อตั้ง \"รางวัลรวี โดมพระจันทร์\" จัดประกวดกวีนิพนธ์และนวนิยาย แต่ดำเนินไปได้เพียงสองปีก็ยุติลง ทิ้งไว้เพียงหนังสือรวมบทกวีเล่มสุดท้าย ซึ่งรวบรวมจากผลงานเด่นๆ ของเขาในชื่อ \"ตื่นเถิดเสรีชน\" ในเล่มมีข้อเขียนของกวีใหญ่ และเจ้าพ่อสื่อใหญ่",
"title": "รวี โดมพระจันทร์"
},
{
"docid": "932259#0",
"text": "คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 เป็นธิดาของจางวางทั่ว และนางปลั่ง พาทยโกศล มีพี่ชาย คือ นายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล คุณหญิงไพฑูรย์ได้ถ่ายทอดวิชาดนตรีจากบิดา และเรียนร้องเพลงจากเจริญ พาทยโกศล หรือหม่อมเจริญ ภรรยาของจางวางทั่ว ได้เรียนจะเข้จาก ครูช่อ สุนทรวาทินด้วย เมื่อเติบโตขึ้น ติดตามบิดาและคุณแม่เจริญไปในการบรรเลงดนตรี ได้เข้าไปในวังบางขุนพรหม เคยร่วมบรรเลงดนตรี กับเจ้านายและพระธิดา ในสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ในคราวที่จางวางทั่ว นำวงปี่พาทย์ไปบันทึกเสียงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 คุณหญิงไพฑูรย์ได้เป็นนักร้องบันทึกเสียงไว้มาก ใช้ชื่อบนแผ่นเสียงว่า นางสาวทูน พาทยโกศล",
"title": "ไพฑูรย์ กิตติวรรณ"
},
{
"docid": "324046#0",
"text": "ดวงใจ หทัยกาญจน์ หรือมีชื่อจริงว่า ดวงใจ บันธยามาศ มีชื่อเล่นว่า อี๊ด เกิดวันที่ 25 พฤศจิกายน 2496 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักแสดงชาวไทย มีผลงานแสดงภาพยนตร์ อาทิ\n\"ลานสาวกอด\" (2515), \"กุหลาบไฟ\" (2516), \"น้ำตานาง\" (2517), \"คู่หู\" (2518), \"5 แผ่นดินเพลิง\" (2518), \"ป่ากามเทพ\" (2519), \"ขบวนการสามสลึง\" (2520), \"ทีเด็ดลูกเขย\" (2521), \"ชั่วฟ้าดินสลาย\" (2523), \"ศรีธนญชัย\" (2524), \"ผีเสื้อและดอกไม้\" (2528) และ \"ผู้ชายชื่อต้น ผู้หญิงชื่อนุช\" (2528) เป็นต้น ได้รับรางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมในงานมหกรรมภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิก จากภาพยนตร์เรื่อง \"รักริษยา\" (2521)",
"title": "ดวงใจ หทัยกาญจน์"
},
{
"docid": "399329#1",
"text": "พ่อท่านเขียว ท่านเกิดเมื่อเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2472 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ณ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เป็นบุตรของนายทอง เพชรภักดี และ นางกิ๊ม นวลศรี ครอบครัวชาวนาในจังหวัดยะลา เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด 7 คน ช่วงชีวิตในวัยเด็ก ท่านเรียนจบแค่เพียงชั้นระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพราะบิดาถึงแก่กรรม จึงต้องออกมาช่วยมารดาทำงานเพื่อช่วยเหลือครอบครัว จนกระทั่งเมื่อมีอายุได้ 20 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดนางโอ (หรือวัดบุพนิมิต) ในปัจจุบัน ตำบลแม่ลาน (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น อำเภอแม่ลาน) จังหวัดปัตตานีเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2492 โดยมีพระครูมนูญสมณการ วัดพลานุภาพ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการแดง ธมฺมโชโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการคำ ติสสโร เป็นพระอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสานความรู้วิชาให้แก่พ่อท่านเขียวก่อนอุปสมบท หลังจากนั้นท่านจึงได้ฝึกฝนสวดมนต์บทต่าง ๆ ในเจ็ดตำนานและการสวดภาณยักษ์",
"title": "พระครูอนุศาสน์กิจจาทร (เขียว กิตฺติคุโณ)"
},
{
"docid": "69078#1",
"text": "พรไพร เพชรดำเนิน มีชื่อจริงว่า วันชัย เจริญชนม์ เกิดเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ที่ ตำบลขุนพิทักษ์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี บิดาชื่อ ส้มปันนัง มารดาชื่อ นางทองเจือ มีพี่น้องทั้งหมด 6 คน เป็นคนที่ 3 ครอบครัวมีอาชีพทำสวนและค้าขายเล็กๆ น้อยๆ เขาการศึกษาแค่จบชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดหลักหกรัตนาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เพราะทางบ้านยากจน",
"title": "พรไพร เพชรดำเนิน"
}
] |
488 | สำนักงานใหญ่ของมรดกโลกอยู่ที่ไหน? | [
{
"docid": "629788#2",
"text": "การประชุมสมัยสามัญประจำปีจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันจัดในเมืองสำคัญต่างๆจากทั่วโลก ซึ่งนอกจากครั้งที่จัดขึ้นที่กรุงปารีส อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ขององค์การยูเนสโกแล้ว จะมีเพียงประเทศที่สมาชิกของคณะกรรมการมรดกโลกเท่านั้นที่จะได้รับสิทธิในการจัดการประชุมครั้งต่อไป โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และรับรองได้ว่าสมาชิกภาพของประเทศนั้นๆจะไม่หมดวาระลงเสียก่อนที่จะได้จัดการประชุม",
"title": "คณะกรรมการมรดกโลก"
}
] | [
{
"docid": "48260#84",
"text": "งานเขียนชุดหนึ่งที่จัดว่ามีชื่อเสียงไม่แพ้ชุดของโคนัน ดอยล์ เนื่องจากสามารถรักษาบุคลิกภาพและแนวทางดำเนินเรื่องได้คล้ายคลึงกับต้นฉบับ คืองานเขียนชุดเชอร์ล็อก โฮมส์ ของนิโคลัส มีเยอร์ ได้แก่เรื่อง The Seven-Per-Cent Solution, The Canary Trainer และ The West End Horror มีเยอร์เปิดตัว The Seven-Per-Cent Solution ในปี 1974 โดยแต่งเนื้อเรื่องว่าทายาทของหมอวอตสันได้รับมอบเอกสารส่วนหนึ่งมาเป็นมรดก ในเอกสารเหล่านั้นมี \"บันทึกที่หายไป\" ว่าด้วยคดีของเชอร์ล็อก โฮมส์ที่ยังไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน",
"title": "เชอร์ล็อก โฮมส์"
},
{
"docid": "580832#7",
"text": "พ.ศ. 2546 รีจัสซื้อกิจการ HQ Global Workplaces ผู้ให้บริการพื้นที่สำนักงานทั่วโลก ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในอเมริกา ในปี 2547 สำนักงานใหญ่ของ HQ ในเมืองแอดดิสัน มลรัฐ\nเท็กซัสกลายมาเป็นหนึ่งในสำนักงานใหญ่ของรีจัส \nรีจัสซื้อหุ้นกิจการในอังกฤษคืนในปี ",
"title": "รีจัส"
},
{
"docid": "703105#11",
"text": "แต่ว่าก็มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับการตีความหลักฐานต่าง ๆ ว่า เป็นการสนับสนุนหรือไม่สนับสนุน ว่าสัตว์อื่นมีทฤษฎีจิต \nมีตัวอย่างที่เห็นได้คือ ในปี ค.ศ. 1990 มีงานวิจัย \nที่แสดงผู้ทำการทดลองสองคนให้ลิงชิมแปนซีเห็นเพื่อที่จะขออาหาร\nคนหนึ่งจะเห็นว่าอาหารซ่อนอยู่ที่ไหน อีกคนหนึ่งจะไม่เห็นเพราะเหตุต่าง ๆ (เช่นมีถังหรือถุงครอบศีรษะ มีอะไรปิดตาอยู่ หรือว่าหันไปทางอื่น) ดังนั้นจะไม่รู้ว่าอาหารอยู่ที่ไหนและจะได้แต่เดาเท่านั้น\nนักวิจัยพบว่า ลิงไม่สามารถแยกแยะผู้ที่รู้ว่าอาหารอยู่ที่ไหนเพื่อที่จะขอให้ถูกคน\nแต่อีกงานวิจัยหนึ่งในปี ค.ศ. 2001 \nพบว่า ลิงชิมแปนซีที่เป็นรองสามารถใช้ความรู้ของลิงชิมแปนซีคู่แข่งที่เป็นใหญ่ในการกำหนดว่า ที่เก็บอาหารไหนที่ลิงที่เป็นใหญ่ได้เข้าไปตรวจสอบ\nและก็มีนักวิจัยอื่น ๆ ที่ไม่สงสัยเลยว่า ลิงโบโนโบ (ลิงชิมแปนซีประเภทหนึ่ง) มี ToM โดยอ้างการสื่อสารกับลิงโบโนโบที่มีชื่อเสียงตัวหนึ่งชื่อว่า Kanzi เป็นหลักฐาน",
"title": "ทฤษฎีจิต"
},
{
"docid": "39503#1",
"text": "พระพรหมบัณฑิต เป็นพระนักวิชาการ นักบริหาร นักการศึกษา นักเทศน์และนักเขียน ผู้มีผลงานมากมายทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลและดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายสถาบัน และเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา ในฐานะเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสได้บูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุมหาเจดีย์ของวัดจนได้รับรางวัลยอดเยี่ยม อันดับ 1 ด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรรมจากองค์การยูเนสโก เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 5 สมัยได้ก่อสร้างสำนักงานใหญ่ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานผู้ก่อตั้งสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติและประธานผู้ก่อตั้งสภาสากลวันวิสาขบูชาโลกที่ได้รับฐานะเป็นองค์กรที่ปรึกษาพิเศษขององค์การสหประชาชาติ",
"title": "พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)"
},
{
"docid": "184660#0",
"text": "แฟรี่เทล ศึกจอมเวทอภินิหาร () ) เป็นการ์ตูนแนวแฟนตาซีโดยฮิโระ มาชิม่า ซึ่งมีชื่อเสียงจากผลงานเรื่อง เรฟ ผจญภัยเหนือโลก ในประเทศไทยได้ตีพิมพ์ลงในนิตยสารของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจแฟรี่เทล ศึกจอมเวทอภินิหาร เดอะมูฟวี่ ศึกจอมเวท พันธุ์มังกรตอนถูกเรียกออกมาโดยไม่มีสื่อเป็นรูปธรรม มีวิธีเดียวที่เรียกได้คือ คือผู้ใช้มีพลังเวทระดับสูงถึงขนาดเรียก 3 ตัวพร้อมกัน โดยเจ้านาย-ผู้รับใช้ที่มีความผูกพันกันอย่างลึกซึ้งเท่านั้น เมื่อผู้ใช้ทำลายกุญแจทองคำจึงเรียกออกมาได้ จึงเท่ากับว่าลูซี่เรียกได้อีก 9 ครั้ง เพราะใช้ไปครั้งหนึ่งแล้ว กับยูกิโนะเรียกได้อีก 2 ครั้ง ส่วนกุญแจทองคำที่ใช้ไปจะพัง อีก 1 ปีกุญแจจะไปเกิดใหม่ที่ไหนสักแห่งบนโลก",
"title": "แฟรี่เทล ศึกจอมเวทอภินิหาร"
},
{
"docid": "1901#71",
"text": "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นอยู่ในความดูแลของกระทรวงการคลัง เพื่อการนั้น จึงมีการจัดตั้งสำนักงานขึ้นเรียก สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินส่วนใหญ่ ได้แก่ ที่ดินและหุ้น ทั้งนี้บริษัทซีบีริชาร์ดเอลลิส บริษัทโบรกเกอร์ด้านอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของโลก ได้เคยประมาณการตัวเลขพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่ที่ 32,500 ไร่ โดยในบางพื้นที่มีมูลค่าสูงกว่า 380 ล้านบาทต่อไร่ ทำให้พระองค์ทรงได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์บ ให้เป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ทั้งนี้ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ชี้แจงว่า บทความดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เนื่องจากว่าทรัพย์สินที่บทความนำมาประเมินนั้น ในความเป็นจริงมิใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ แต่เป็นของแผ่นดิน ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกันกับพระมหากษัตริย์ในประเทศอื่นที่บทความดังกล่าวไม่ได้จัดอันดับ ",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
},
{
"docid": "9941#42",
"text": "ประเทศอิตาลีมีสถานที่ที่เป็นแหล่งมรดกโลกอยู่มากกว่าประเทศอื่นในโลก[11] ซึ่งมีทั้งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและมรดกโลกทางธรรมชาติที่มีคุณค่าอย่างมาก ประมาณ 60% ของงานจิตรกรรมทั้งหมดในโลกสรรค์สร้างขึ้นในประเทศอิตาลี และประเทศนี้ยังผลิตไวน์ที่มากกว่าประเทศอื่นอีกด้วย",
"title": "ประเทศอิตาลี"
},
{
"docid": "398178#0",
"text": "โครงการอาหารโลก ( ;WFP) เป็นฝ่ายให้ความช่วยเหลือด้านอาหารขององค์การสหประชาชาติ และเป็นองค์การด้านมนุษยธรรมใหญ่ที่สุดของโลกซึ่งจัดการปัญหาความหิวโหยทั่วโลก โครงการอาหารโลกจัดหาอาหารให้แก่ประชากรโลกเฉลี่ย 90 ล้านคนต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้ 58 ล้านคนเป็นเด็ก โครงการดังกล่าวมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี และมีสำนักงานสาขาในอีกมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก มีหน้าที่ทำงานช่วยเหลือผู้ไม่สามารถผลิตหรือได้อาหารเพียงพอแก่ตนเองและครอบครัว โครงการดังกล่าวเป็นสมาชิกของกลุ่มพัฒนาแห่งสหประชาชาติและเป็นส่วนหนึ่งของคณะผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มฯ ใน ค.ศ. 2007 โครงการฯ มีพนักงาน 9,139 คน โดยราว 90% ปฏิบัติการภาคสนาม",
"title": "โครงการอาหารโลก"
},
{
"docid": "319118#0",
"text": "ศิลปะสกัดหินในวัลกาโมนีกา () งานสลักหินแห่งหุบเขากาโมนีกาเป็นกลุ่มงานศิลปะสกัดหินยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และเป็นสถานที่แรกที่องค์การยูเนสโกพิจารณาเลือกให้เป็นมรดกโลกของอิตาลีในปี ค.ศ. 1979",
"title": "ศิลปะสกัดหินในวัลกาโมนีกา"
},
{
"docid": "284984#1",
"text": "ผลงานอาคารของเขามักมีเอกลักษณ์เรื่องพื้นที่ที่มโหฬารและแสดงถึงการผสมผสานปริมาตรและที่ว่าง ที่จะสร้างรูปแบบอย่างไม่มีแบบแผนและมักจะรับน้ำหนักโดยไพโลติ ทั้งยังได้รับการยกย่องและเสียงวิจารณ์ว่าเป็น \"อนุสาวรีย์แห่งประติมากรรม\" เขายังได้รับยกย่องว่าเป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่และหนึ่งในสถาปนิกผู้เยี่ยมยอดในยุคของเขา ผลงานอันโด่งดังของเขาเช่นอาคารสาธารณะจำนวนมากที่ออกแบบในกรุงบราซิเลีย เมืองมรดกโลก และสำนักงานใหญ่สหประชาชาติในนครนิวยอร์ก เป็นต้น",
"title": "ออสการ์ นีเอไมเยร์"
},
{
"docid": "34368#24",
"text": "นายอดุล วิเชียรเจริญ ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกกล่าวว่า การที่กรมชลประทานยังไม่ยกเลิกโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำ 3 แห่งในพื้นที่แหล่งมรดกโลกแห่งนี้นั้นทำให้น่าเป็นห่วงว่าแหล่งมรดกโลกแห่งนี้อาจถูกถอนออกจากการเป็นมรดกโลก ซึ่งแหล่งมรดกโลกที่เคยถูกถอดถอนและถูกปลดมาอยู่ในภาวะอันตรายนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการท่องเที่ยว ซึ่งนับเป็นภัยคุกคามที่ร้างแรง เพราะจะทำให้มีปัญหาขยะ น้ำเสีย โดยในการประชุมประจำปี พ.ศ. 2550 คณะกรรมการมรดกโลกได้ลงมติให้หมู่เกาะกาลาปากอส ประเทศเอกวาดอร์ ถูกปลดสถานภาพไปอยู่ในภาวะอันตราย เช่นเดียวกับที่อุทยานแห่งชาตินีโอโกโล-โกโบ ประเทศเซเนกัล ซึ่งมีปัญหาการก่อสร้างเขื่อน",
"title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่"
},
{
"docid": "11237#5",
"text": "Template:CJKV \"ว่านหลี่ฉางเฉิง\") สำนักงานมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจีน ประกาศเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ว่านักโบราณคดีได้ตรวจวัดความยาวของสิ่งก่อสร้างจากน้ำมือมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกหรือ \"กำแพงเมืองจีน\" อย่างเป็นทางการนานร่วม 5 ปี ตั้งแต่ 2008-2012 และพบว่ายาวกว่าที่บันทึกไว้เดิมกว่า 2 เท่า หรือ 21,1ึ6.18 กิโลเมตร จากเดิม 8,840 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 15 มณฑลทั่วประเทศ",
"title": "กำแพงเมืองจีน"
},
{
"docid": "66384#23",
"text": "เศรษฐกิจที่สำคัญในเกียวโตนั้นมาจากอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์ นครเกียวโตนั้นยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่บริษัทชั้นนำมากมาย อาทิ นินเทนโด, ออมรอน เป็นต้น แต่ทั้งนี้ การท่องเที่ยวยังเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของเกียวโต จากการที่เป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมนั้น ทำให้ในแต่ละวัน มีนักเรียน-นักศึกษาจากทั่วประเทศรวมถึงนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาทัศนศึกษาและท่องเที่ยวในเกียวโต และจากการสำรวจและจัดอันดับระดับภูมิภาคในปี 2007 นครเกียวโตได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่สองในเมืองที่น่าสนใจที่สุดของญี่ปุ่น รองจากนครซัปโปโระ",
"title": "เกียวโต (นคร)"
},
{
"docid": "845854#3",
"text": "คลองฉะไกรใหญ่ประสบปัญหาขยะมูลฝอยทิ้งเกลื่อนกลาดจนเกิดทัศนะอุจาด เป็นเหตุให้คณะกรรมการมรดกโลก ให้อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อปี 2538 ได้ใบเหลืองหรือเป็นมรดกโลกในสภาวะอันตราย เพื่อเตือนเกี่ยวกับปัญหาด้านการจัดการหรืออนุรักษ์โบราณสถาน ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ช่วงต้นปี 2560 คลองฉะไกรใหญ่ได้เข้าสู่โครงการอนุรักษ์และพัฒนาคลองโบราณ ซึ่งจากการขุดค้นของนักโบราณคดีทำให้พบประตูน้ำโบราณบริเวณฝั่งตะวันตกของคลองตรงข้ามสำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และคลองฉะไกรใหญ่และคลองในไก่ถือเป็นหนึ่งในสองคลองภายในเกาะเมืองที่รอดพ้นการบุกรุกหรือถมคลองและคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน",
"title": "คลองฉะไกรใหญ่"
},
{
"docid": "5673#40",
"text": "อุทยานแห่งชาติทับลาน มรดกโลก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มรดกโลก อุทยานแห่งชาติปางสีดา มรดกโลก วนอุทยานเขาอีโต้",
"title": "จังหวัดปราจีนบุรี"
},
{
"docid": "467701#3",
"text": "เรื่องปัญหาการบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานมีความสำคัญมากเพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่มรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ การดำเนินการรื้อถอนบ้านพักและรีสอร์ทที่บุกรุกพื้นที่จึงเป็นไปตามข้อบังคับของคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งศูนย์มรดกโลกได้ส่งตัวแทนเข้ามาติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และมีข้อมติจากคณะกรรมการมรดกโลกให้ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งจะนำเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 36 ที่ประเทศรัสเซีย เช่น แก้ปัญหาและติดตามการบุกรุกพื้นที่มรดกโลกอย่างใกล้ชิด และมีการปรับปรุงแนวเขตที่เหมาะสม มีการพิจารณาขยายผนวกพื้นที่มรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่บุกรุก ลดกิจกรรมการเลี้ยงปศุสัตว์ ลดผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนห้วยโสมง การดำเนินการถนนสาย 304 เพื่อเชื่อมต่อผืนป่า เป็นต้น \nดำรงค์ พิเดช ได้จัดตั้งพรรคการเมือง และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย แต่การเลือกตั้งครั้งดังกล่าว เป็นโมฆะตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ",
"title": "ดำรงค์ พิเดช"
},
{
"docid": "330227#0",
"text": "บีพี (BP) เป็นบริษัททางด้านพลังงานขนาดใหญ่ของโลก โดยเป็นบริษัทด้านพลังงานที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก เป็นบริษัทที่มีพนักงานมากที่สุดอันดับสี่ของโลก และเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร ส่วนบีพีสาขาอเมริกามีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองฮิวสตันในรัฐเทกซัส ในปี พ.ศ. 2543 บีพีได้ซื้อกิจการของคาสตรอล ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นรถยนต์และรถจักรยานยนต์คาสตรอล ส่งผลให้คาสตรอลขึ้นกับบีพีนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา",
"title": "บีพี"
},
{
"docid": "734953#0",
"text": "วัดโคฟุกุ () เป็นวัดพุทธในเมืองนะระ จังหวัดนะระ ของประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นหนึ่งในเจ็ดวัดใหญ่แห่งนันโตะ วัดแห่งนี้เป็นสาขาใหญ่ของสำนักฮซซูและเป็นหนึ่งสถานที่ในอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์นะระโบราณ มรดกโลกโดยยูเนสโก ",
"title": "วัดโคฟุกุ"
},
{
"docid": "6349#36",
"text": "นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงร่วมมือกับนานาประเทศเพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือในด้านการพัฒนาสังคม อาทิเช่น ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว ซึ่งพระองค์ได้ทรงมีโครงการตามพระราชดำริทั้งในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต การให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์และการสาธารณสุข การพัฒนาทางด้านการศึกษา เป็นต้น นอกจากประเทศลาวแล้ว โครงการเพื่อการพัฒนาของพระองค์ยังได้ขยายออกไปยังประเทศกัมพูชา ประเทศพม่า และประเทศเวียดนามด้วย นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ ความร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ พระองค์ทรงให้ความร่วมมือในโครงการอาหารในโรงเรียน ซึ่งเป็นโครงการของโครงการอาหารโลกแห่งองค์การสหประชาชาติ โดยได้แต่งตั้งให้พระองค์เป็นทูตพิเศษของโครงการด้วย, โครงการการศึกษาเพื่อทุกคน เป็นโครงการด้านการส่งเสริมศักยภาพของเด็กชนกลุ่มน้อย ด้วยการศึกษาและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นโครงการขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม รวมทั้ง โครงการการศึกษาหลังประถมศึกษาสำหรับผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น โดยมูลนิธิการศึกษาเพื่อผู้ลี้ภัย สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ",
"title": "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี"
},
{
"docid": "614894#0",
"text": "เรนเนลล์ตะวันออก เป็นส่วนที่อยู่ทางตอนใต้ของเกาะเรนเนลล์ในหมู่เกาะโซโลมอน โดยเรนเนลล์ตะวันออกได้รับการสถาปนาให้เป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกในปี ค.ศ. 1998 ในปี ค.ศ. 2013 คณะกรรมการมรดกโลกได้เพิ่มเรนเนลล์ตะวันออกเข้าไว้ในบัญชีแหล่งมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในภาวะอันตราย เนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่าในบริเวณแหล่งมรดกโลก เรนเนลล์เป็นเกาะอะทอลล์ที่เกิดจากการยกตัวในกระบวนการธรณีแปรสันฐานที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกและในส่วนของเรนเนลล์ตะวันออกนั้นอยู่ล้อมรอบทะเลสาบเตกาโน ซึ่งมีสิ่งมีชีวิตหลากหลายสปีชีส์อาศัยอยู่",
"title": "เรนเนลล์ตะวันออก"
},
{
"docid": "34368#23",
"text": "ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 นายเกษมสันต์ จิณณวาโส เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เลขานุการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เปิดเผยว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้พิจารณาเห็นชอบโครงการขยายเชื่อมผืนป่ามรดกโลก ถนนสาย 304 (กบินทร์บุรี-ปักธงชัย) ช่วงกิโลเมตรที่ 42-47 ซึ่งตัดผ่านป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลาน โดยกรมทางหลวงเตรียมขยายเส้นทางจาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร แต่ต้องออกแบบอุโมงค์ให้รถลอดใต้อุโมงค์เพื่อให้สัตว์ป่าสามารถข้ามไปมาระหว่างป่าได้ โดยกรมทางหลวงเตรียมขออนุมัติงบประมาณปี 2558 จำนวน 2,900 ล้านบาท เพื่อเตรียมการก่อสร้างและทำรายงานผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป [1]",
"title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่"
},
{
"docid": "34030#0",
"text": "เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร เป็น 1 ใน 3 แหล่งมรดกโลกแห่งแรกของประเทศไทย ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทย หลังผ่านเกณฑ์ขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก โดยเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวารเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชรได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้",
"title": "เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร"
},
{
"docid": "797876#1",
"text": "วิกิมีเดียอิดิทอะธอนเกิดขึ้นจากสำนักงานใหญ่ของสาขาวิกิมีเดีย, สถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรอง รวมทั้งมหาวิทยาลัยโซโนมาสเตต, มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต, มหาวิทยาลัยวิกตอเรียในประเทศแคนาดา เช่นเดียวกับสถาบันทางวัฒนธรรม เช่นพิพิธภัณฑ์หรือจดหมายเหตุ โดยอีเวนต์ที่จัดขึ้นประกอบด้วยหัวข้อเช่นมรดกทางวัฒนธรรม, ของที่สะสมไว้ในพิพิธภัณฑ์, ประวัติศาสตร์ของสตรี, คตินิยมสิทธิสตรี, การลดช่องว่างทางเพศของวิกิพีเดีย, ประเด็นความยุติธรรมทางสังคม และหัวข้ออื่น ๆ บรรดาสตรี และชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา รวมถึงชุมชนกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ต่างใช้อีดิทอะธอนในฐานะของการลดช่องว่างทางเพศและเชื้อชาติสำหรับการเข้าสู่วิกิพีเดีย ซึ่งบางส่วนได้รับการจัดโดยวิกิพีเดียในถิ่นที่อยู่ ส่วนอีดิทอะธอนที่ยาวนานที่สุดจัดขึ้นที่มูเซโอโซว์มายาของเม็กซิโกซิตีตั้งแต่วันที่ 9 ถึง 12 มิถุนายน ค.ศ. 2016 ที่อาสาสมัครและพนักงานพิพิธภัณฑ์ได้ทำการแก้ไขในช่วง 72 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่อง โดยอีดิทอะธอนครั้งนี้ได้รับการยอมรับจากบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ว่ายาวนานที่สุด",
"title": "อีดิทอะธอน"
},
{
"docid": "362749#1",
"text": "ใน พ.ศ. 2489 ประเทศ 26 ประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร ได้ให้สัตยาบันธรรมนูญแห่งองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (เรียกกันทั่วไปว่ายูเนสโก) ซึ่งมีความมุ่งหมายเพื่อ \"อนุรักษ์และคุ้มครองมรดกทางเอกสาร งานศิลปะ และอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์และธรรมชาติของโลก\" สหราชอาณาจักรได้ให้เงินช่วยเหลือกองทุนมรดกโลกปีละ 130,000 ปอนด์เพื่อเป็นเงินทุนในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกในประเทศกำลังพัฒนา แหล่งมรดกโลกบางแห่งนั้นประกอบด้วยสถานที่หลายแห่งที่มีสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์หรือมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกัน ",
"title": "รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "27839#5",
"text": "ในที่สุด พ.ศ. 2519 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างของงานชิ้นใหม่ แล้วจัดทำโครงการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาขึ้น และเริ่มทำการบูรณะปรับปรุงโบราณสถานเป็นต้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2520 และในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 ปี พ.ศ. 2534 ณ เมืองคาร์เธจ ประเทศตูนิเซีย นครประวัติศาสคร์พระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร (อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร) และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก",
"title": "อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา"
},
{
"docid": "34368#15",
"text": "อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงรัก ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ \"ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่\" ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 29 เมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้",
"title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่"
},
{
"docid": "97099#1",
"text": "และด้วยเหตุนี้ องค์การยูเนสโกจึงได้เริ่มการระดมทุนเพื่อช่วยกอบกู้สิ่งก่อสร้างทั้งหลายนี้ขึ้น ผลตามมาก็คือ ได้มีประเทศต่างๆกว่า 60 ประเทศได้บริจาคทั้งเงินและความช่วยเหลือ อนุรักษ์และศึกษา ซึ่งต่อมาทั่วโลกได้ตระหนักว่าควรจะมีองค์กรพิเศษเพื่อรักษาและอนุรักษ์สถานที่ ทั้งสิ่งก่อสร้างและธรรมชาติขึ้น จนเมื่อถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) ในการประชุมใหญ่องค์การยูเนสโกครั้งที่ 17 ณ สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จึงได้มีการลงนามสนธิสัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ซึ่งในอีก 3 ปีต่อมาประเทศกว่า 20 ประเทศได้ลงปฏิญาณร่วมกัน",
"title": "กลุ่มอนุสาวรีย์แห่งนูเบีย"
},
{
"docid": "419452#0",
"text": "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง คือแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติของประเทศไทย ประกอบด้วยสองเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ตั้งอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี ตากและกาญจนบุรี ทางตะวันตกของประเทศใกล้กับชายแดนประเทศพม่า ครอบคลุมพื้นที่ 622,200 เฮกตาร์ เป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรอินโดจีน เป็นพื้นที่ป่าที่สามารถเข้าถึงได้น้อยที่สุด และเป็นบริเวณที่รบกวนน้อยที่สุดของประเทศ โดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ 77% (โดยเฉพาะช้างและเสือ) นกขนาดใหญ่ 50% และ สัตว์มีกระดูกสันหลังบก 33% ที่พบในภูมิภาคสามารถพบได้ในแหล่งมรดกโลกแห่งนี้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2534 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้โดยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกพร้อมกันกับนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร และเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทย",
"title": "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง"
},
{
"docid": "959161#1",
"text": "ซินหัว(Xinhua) เป็นองค์กรสื่อที่ใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดในประเทศจีนรวมถึงเป็นสำนักข่าวที่ใหญ่ที่สุดในโลกในด้านมีผู้สื่อข่าวทั่วโลก ซินหัว เป็นสถาบันระดับกระทรวงที่อยู่ในสังกัดรัฐบาลกลางของจีนและเป็นองค์กรสื่อระดับสูงที่สุดในประเทศควบคู่ไปกับ People's Daily (人民日) ประธานาธิบดีของเขาเป็นสมาชิกของคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน\nซินหัวมีสำนักงานมากกว่า 170 แห่งทั่วโลกและมีสำนักงาน 31 แห่งในประเทศจีนหนึ่งแห่งสำหรับแต่ละจังหวัดภูมิภาคอิสระและเขตปกครองที่บริหารโดยตรงและสำนักงานทหาร \nซินหัวเป็นช่องทางเดียวสำหรับการเผยแพร่ข่าวสำคัญเกี่ยวกับพรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลกลางของจีนและสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงปักกิ่งตั้งอยู่ใกล้กับ \"ทำเนียบประธานาธิบดีจีน\"(Zhongnanhai) ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนสภาแห่งรัฐและ สำนักงานอธิการบดีของสาธารณรัฐประชาชนจีน",
"title": "สำนักข่าวซินหัว"
}
] |
2171 | มูลเหตุของสังฆทานคืออะไร? | [
{
"docid": "209574#7",
"text": "มูลเหตุที่ทำให้พุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน มาจาก ทักขิณาวิภังคสูตร[1] ในพระไตรปิฎก ซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสังฆทานว่า (โดยย่อ)",
"title": "สังฆทาน"
}
] | [
{
"docid": "209574#11",
"text": "โดยได้ตรัสว่า แม้ในอนาคตกาล การถวายสังฆทานแม้แก่พระสงฆ์ผู้ทุศีล ก็ยังนับว่ามีผลนับประมาณมิได้ และปาฏิปุคลิกทานทั้งปวงในบุคคลใด ๆ มีพระพุทธเจ้าเป็นอาทิ ก็ไม่สามารถมีผลสู้สังฆทาน 1 ใน 7 ประการดังกล่าวได้เลย\"",
"title": "สังฆทาน"
},
{
"docid": "766783#3",
"text": "ยมกปกรณ์อรรถกถาเป็นการขยายความยมกปกรณ์ให้พิสดารยิ่งขึ้น โดยมีรูปแบบของการอธิบายศัพท์ และการถามตอบข้อธรรมที่มีความลึกซึ้ง เช่น การยกศัพท์ขึ้นมาอธิบายว่า \"\"คำว่า อญฺญมญฺญมูลานิ จ (แปลว่า) เป็นมูลซึ่งกันและกันด้วย อธิบายว่า มูลทั้งหลายย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัย กะกันและกันโดยเป็นเหตุเป็นปัจจัย ในปฏิโลมปุจฉา ไม่ตรัสว่า สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลมูเลน เอกมูลา (แปลว่า) ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล แต่ตรัสว่า สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา (แปลว่า) ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศล\"\" ดังนี้เป็นต้น ",
"title": "ยมกปกรณ์อรรถกถา"
},
{
"docid": "209574#9",
"text": "จากนั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสถึงปาฏิปุคลิกทาน 14 ประเภท (มีการถวายทักษิณาแก่พระพุทธเจ้าเป็นอาทิ) และตรัสถึงทักษิณาทานที่ถวายแก่สงฆ์ (สังฆทาน) ว่ามี 7 ประการ คือ",
"title": "สังฆทาน"
},
{
"docid": "402053#2",
"text": "กลุ่มคนรักเชียงใหม่ มีนายเพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล เป็นแกนนำกลุ่ม และมีสตรีอายุประมาณ 50 ปี นุ่งขาวห่มขาวทำหน้าที่เป็นร่างทรงของพระเจ้ามูลเมืองที่ทางกลุ่มเชื่อว่าเป็นอดีตชาติของ ทักษิณ ชินวัตร \nร่างทรงได้กล่าวว่าในชาติก่อนของพระเจ้ามูลเมือง ได้ก่อกรรมทำเข็ญไว้มากระหว่างการทำสู้รบกับฝ่ายพม่าเมื่อหลายร้อยปีก่อนได้ฆ่าคนเป็นจำนวนมากและขนเอาทรัพย์สินของชาวพม่ามาด้วย เป็นเหตุให้มีกรรมติดตัวมาจนถึงชาตินี้และเป็นกรรมหนักต้องทำการแก้ด้วยการสร้างบารมี ในพีธีได้นำธนบัตรชนิดใบละ 1,000 และ 500 บาท ส่งคืนแก่กษัตริย์ชาวพม่าโดยส่งไปทางด้านหลังของพระพุทธรูปปางห้ามญาติที่นำมาประกอบพีธี ตามความเชื่อของกลุ่ม",
"title": "เจ้ามูลเมือง"
},
{
"docid": "209574#1",
"text": "การถวายสังฆทานนั้น เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าคือการนำถังใส่จตุปัจจัยสีเหลืองไปถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งหรือหลายรูปเท่านั้น แต่ความจริงแล้วสังฆทานอาจหมายถึงการถวายปัจจัยวัตถุใด ๆ ก็ได้ ที่เป็นประโยชน์แก่คณะสงฆ์โดยส่วนรวม เช่นการถวายกุฏิวิหาร หนังสือ ปากกา จาน หรือ แม้กระทั่งไม้กวาด แม้จะกล่าวคำถวายหรือไม่กล่าว หรือกล่าวคำถวายเป็นอย่างอื่น แต่อาการแห่งการถวายเป็นการอุทิศให้แก่สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ก็จัดเป็นสังฆทานได้",
"title": "สังฆทาน"
},
{
"docid": "209574#22",
"text": "ปุพพเจตนา หรือ มีความตั้งใจในการทำบุญโดยการเลือกซื้อสิ่งของที่เป็นประโยชน์แท้จริงแก่พระสงฆ์ เช่นของมีคุณภาพ หรือสิ่งของที่พระสงฆ์ต้องการ มุญฺจเจตนา คืออาการที่ถวายเป็นสังฆทานถูกต้อง เช่น ถวายเข้ากองกลางของวัด หรือถวายแก่ตัวแทนของพระสงฆ์เพื่อนำสิ่งของไปแจกจ่าย หรือเผดียงสงฆ์ไม่เลือกระบุตัวพระสงฆ์ผู้รับ โดยการถวายดังกล่าวควรทำเจตนาในการถวายให้มุ่งตรงต่อหมู่สงฆ์ ไม่ใช่ถวายแก่บุคคล อปราปรเจตนา[7] เมื่อถวายแล้วก็ทำจิตใจให้เป็นบุญ นึกถึงการถวายสังฆทานดังกล่าวเมื่อใดก็มีความยินดีไม่เกิดความเสียดาย",
"title": "สังฆทาน"
},
{
"docid": "20836#14",
"text": "วันพระคือวันที่มีการทำบุญ ตักบาตร ถวายสังฆทาน นั่งสมาธิ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ละเว้นความชั่ว ละเว้นอบายมุขต่างๆ ทำตัวให้มีประโยชน์ต่อสังคม ปล่อยนกปล่อยปลา ฟังธรรมเทศนา สนทนาธรรมกับพระสงฆ์ รักษาศีล มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ๆ มีพระสงฆ์คอยรับถวายสังฆทาน",
"title": "วันพระ"
},
{
"docid": "209574#0",
"text": "สังฆทาน ([สงฺฆทาน]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help)) เป็นศัพท์ในพระสูตร เป็นชื่อเรียกการถวายทานแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามีอานิสงส์มาก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร[1] ว่าการถวายสังฆทานแก่คณะพระสงฆ์ มีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานเฉพาะเจาะจงแก่พระพุทธเจ้า แม้ยังทรงพระชนม์อยู่",
"title": "สังฆทาน"
},
{
"docid": "209574#3",
"text": "การถวายสังฆทาน หมายถึงการ ถวายสิ่งของจตุปัจจัยวัตถุแก่หมู่พระสงฆ์ โดยไม่เลือกระบุถวายเฉพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง กล่าวคือ ถวายเข้าเป็นสิทธิกองกลางแก่คณะสงฆ์ภายในวัด เพื่อคณะสงฆ์จะจัดแบ่งปันแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ต้องการ",
"title": "สังฆทาน"
},
{
"docid": "209574#5",
"text": "เมื่อพิจารณาจากมูลอันจะเป็นสังฆทานดังกล่าว การที่จะเป็นสังฆทานหรือไม่นั้น มีหลักสำคัญอยู่ที่การถวายสิ่งของเพื่อบำรุงสังฆบริษัท หรือตัวแทนแห่งสังฆบริษัท เพื่อประโยชน์ในด้านการไม่เลือกปฏิบัติและความเท่าเทียมด้านปัจจัยสี่ของพระสงฆ์นั่นเอง[1]",
"title": "สังฆทาน"
},
{
"docid": "595995#9",
"text": "อรรถกถา สัมมาทิฏฐิสูตร สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ โดยยกอาการรู้จักอกุศลและมูลรากของอกุศล การรู้จักกุศลและมูลรากของกุศลขึ้นแสดง ตามด้วยปริยายข้ออื่นๆ อีก 15 ข้อ และโดยรู้จักสิ่งนั้น เหตุเกิดของสิ่งนั้นความดับของสิ่งนั้น ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับสิ่งนั้น พระอรรถกถาจารย์อธิบายเพิ่มเติมว่า สัมมาทิฏฐิ มี 2 อย่าง คือ โลกิยะ และโลกุตตระ, คนที่มีสัมมาทิฏฐิ มี 3 ประเภท คือ ปุถุชน เสกขบุคคล (ผู้ต้องศึกษา) อเสกขบุคคล (ผู้ไม่ต้องศึกษา) และกล่าววว่า การวิรัติ (เจตนาที่งดเว้นจากความชั่ว) แยกออกเป็น 3 อย่าง คือ สัมปัตตวิรัติ (เว้นได้ซึ่งสิ่งที่ประจวบเข้า) สมาทานวิรัติ (เว้นด้วยการสมาทาน) สมุจเฉทวิรัติ (เว้นได้โดยเด็ดขาด) ",
"title": "อรรถกถามูลปริยายวรรค"
},
{
"docid": "209574#2",
"text": "ทานพิธีที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ที่เข้าลักษณะของสังฆทาน ก็จัดว่าเป็นสังฆทานได้ เช่น การตักบาตร การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้าป่า เป็นต้น",
"title": "สังฆทาน"
},
{
"docid": "514306#26",
"text": "ตามกฎหมายไทยแล้ว กำหนดจุดเริ่มต้นของระยะเวลาในการใช้สิทธิบอกล้างหรือให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรมว่า ให้เริ่มเมื่อมูลเหตุที่ทำให้นิติกรรมกลายเป็นโมฆียะสิ้นสุดลง กล่าวคือได้แก่ เมื่อพ้นจากมูลเหตุแห่งการแสดงเจตนาโดยวิปริต คือ พ้นจากภาวะสำคัญผิด พ้นจากการถูกกลฉ้อฉลหรือทราบความจริงแห่งกลฉ้อฉล หรือพ้นจากการถูกข่มขู่, เมื่อผู้เยาว์พ้นจากความเป็นผู้เยาว์ คือ บรรลุนิติภาวะ, เมื่อ",
"title": "โมฆียกรรม"
},
{
"docid": "664560#0",
"text": "การแบ่งแยกเชื้อชาติ () เป็นการแบ่งมนุษย์ออกเป็นกลุ่มเชื้อชาติในชีวิตประจำวัน อาจใช้กับกิจกรรมอย่างการรับประทานในภัตตาคาร การดื่มจากน้ำพุ การใช้ห้องน้ำสาธารณะ การเข้าโรงเรียน การไปโรงภาพยนตร์ การโดยสารรถโดยสารประจำทาง หรือในการเช่าหรือซื้อบ้าน คณะกรรมการต่อต้านคตินิยมเชื้อชาติและการไม่ยอมรับยุโรป (European Commission against Racism and Intolerance) นิยามการแบ่งแยกว่า \"การกระทำซึ่งบุคคลแย่งบุคคลอื่นบนพื้นฐานมูลเหตุที่ระบุไว้หนึ่งโดยปราศจากการให้เหตุผลวัตถุพิสัยและสมเหตุสมผล เข้ากับบทนิยามที่เสนอของการเลือกปฏิบัติ ผลคือ การกระทำโดยเจตนาซึ่งแบ่งแยกคนหนึ่งจากบุคคลอื่นบนพื้นฐานมูลเหตุที่ระบุไว้ไม่ประกอบเป็นการแบ่งแยก\"",
"title": "การแบ่งแยกเชื้อชาติ"
},
{
"docid": "327366#4",
"text": "นอกเหนือจาก 6 โจทก์ที่น่าจะเป็นมูลเหตุทำให้เสธ.แดงถูกลอบยิงแล้ว ยังมีมูลเหตุอีก ดังนี้",
"title": "การลอบสังหารขัตติยะ สวัสดิผล"
},
{
"docid": "766783#4",
"text": "หลังจากการยกศัพท์แล้ว อาจมีการตั้งบทปุจฉา-วิสัชชนา (ถามตอบ) ความนัยของศัพท์ที่มีความลึกซึ้งในทางธรรม เช่น จากที่ทรงตรัสว่า สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา (ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศล) ผู้แต่งได้ตั้งคำถามต่อว่า \"\"ถามว่า เพราะเหตุไร?\"\" จากนั้นจึงตั้งคำตอบว่า \"\"ตอบว่า เพราะไม่มีเนื้อความแปลกกัน ก็เมื่อจะทำการปุจฉาว่า กุสลมูเลน เอกมูลา (แปลว่า) มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลหรือ ดังนี้ พึงทำการวิสัชชนาตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังว่า มูลานิ ยานิ เอกโต อุปฺปชฺชนติ (แปลว่า) มูลทั้งหลายเหล่าใดเกิดขึ้นคราวเดียวกัน ก็เมื่อความแปลกกันแห่งเนื้อความไม่มีอยู่ เหตุนั้น พระองค์จึงไม่ทรงกระทำการถามอย่างนั้น แต่ทรงกระทำการถามอย่างนี้แม้ในมูลนัย\"\" เป็นต้น",
"title": "ยมกปกรณ์อรรถกถา"
},
{
"docid": "209574#8",
"text": "\"ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชมน์อยู่ ครั้งนั้นทรงประทับอยู่ ณ วัดนิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระมาตุจฉาของพระพุทธเจ้า ได้เกิดศรัทธาแรงกล้า ทรงทอจีวรด้วยพระองค์เองเพื่อนำมาถวายแก่พระพุทธเจ้า แต่พระพุทธองค์ทรงได้ปฏิเสธที่จะรับถวายผ้าจีวรดังกล่าว โดยได้ตรัสให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีนำผ้าดังกล่าวไปถวายแก่กองกลางคณะสงฆ์ เพราะทรงเห็นว่าการถวายผ้าเป็นสังฆทานจักได้อานิสงส์มากกว่า แม้จะถวายแก่พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดาก็ตาม (การถวายหรือให้ทานแก่พระพุทธเจ้า พระภิกษุหรือบุคคลทั่วไป ทรงจัดเป็นปาฏิปุคลิกทาน) อีกทั้งการถวายเป็นสังฆทานนั้นย่อมถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นประมุขแห่งพระสงฆ์ทั้งปวงด้วย",
"title": "สังฆทาน"
},
{
"docid": "209574#4",
"text": "หรือเพียงแค่ถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง (โดย \"ไม่เลือก\" ว่าจำเพาะถวายรูปนั้นรูปนี้ เช่น เป็นพระผู้ทรงพรรษา พระรูปที่เรารู้จัก หรือพระรูปที่ตนศรัทธา) ที่เป็นตัวแทนแห่งสงฆ์ (ได้รับเผดียงสงฆ์) หรือถวายโดยมีเจตนาเพื่อบำรุงพระสงฆ์สามเณรโดยไม่เลือกผู้รับ ก็นับเป็นสังฆทานเช่นกัน (ตัวอย่าง: เช่นการใส่บาตรโดยไม่เลือกพระผู้รับ ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์หรือสามเณรก็ตาม)",
"title": "สังฆทาน"
},
{
"docid": "595994#9",
"text": "อรรถกถา สัมมาทิฏฐิสูตร สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ โดยยกอาการรู้จักอกุศลและมูลรากของอกุศล การรู้จักกุศลและมูลรากของกุศลขึ้นแสดง ตามด้วยปริยายข้ออื่นๆ อีก 15 ข้อ และโดยรู้จักสิ่งนั้น เหตุเกิดของสิ่งนั้นความดับของสิ่งนั้น ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับสิ่งนั้น พระอรรถกถาจารย์อธิบายเพิ่มเติมว่า สัมมาทิฏฐิ มี 2 อย่าง คือ โลกิยะ และโลกุตตระ, คนที่มีสัมมาทิฏฐิ มี 3 ประเภท คือ ปุถุชน เสกขบุคคล (ผู้ต้องศึกษา) อเสกขบุคคล (ผู้ไม่ต้องศึกษา) และกล่าววว่า การวิรัติ (เจตนาที่งดเว้นจากความชั่ว) แยกออกเป็น 3 อย่าง คือ สัมปัตตวิรัติ (เว้นได้ซึ่งสิ่งที่ประจวบเข้า) สมาทานวิรัติ (เว้นด้วยการสมาทาน) สมุจเฉทวิรัติ (เว้นได้โดยเด็ดขาด) ",
"title": "มูลปริยายวรรค"
},
{
"docid": "209574#12",
"text": "จากพระพุทธดำรัสดังกล่าว ทำให้พุทธศาสนิกชนผู้ศรัทธานิยมทำบุญด้วยการถวายสังฆทานเพราะมีอานิสงส์มาก อีกประการหนึ่งการที่สังฆทานมีอานิสงส์มากกว่าปาฏิปุคลิกทานธรรมดาเพราะการที่จัดถวายทานแก่ส่วนรวม (คณะสงฆ์) ย่อมมีประโยชน์แก่พระศาสนามากกว่า เพราะการถวายสังฆทานเป็นการกระจายปัจจัยวัตถุอันจะพึงได้แก่คณะสงฆ์ทั้งปวงโดยไม่จำกัดหรือเลือกปฏิบัติแก่รูปใดรูปหนึ่ง",
"title": "สังฆทาน"
},
{
"docid": "209574#20",
"text": "จนในช่วงปี 2548 เริ่มมีรายการโทรทัศน์ออกข่าวเปิดโปงการเอาเปรียบดังกล่าวและมีสื่อมวลชนและองค์กรต่าง ๆ เสนอข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวมาเป็นระยะ จนในที่สุดสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จึงได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2550) เรื่อง ให้ชุดสังฆทานและชุดไทยธรรมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก[4] เพื่อควบคุมชุดสังฆทานและชุดไทยธรรมที่ขายตามรานค้าและร้านสังฆภัณฑ์ต่าง ๆ ให้มีคุณภาพต่อไป แต่ก็ยังคงมีผู้ค้าบางรายแอบนำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาใส่ในถังเหลืองเพื่อจำหน่ายอยู่บ้าง",
"title": "สังฆทาน"
},
{
"docid": "84201#4",
"text": "หมาป่าเคราขาวที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าเซอราโด ของบราซิล มีพฤติกรรมชอบกินผลของโลบิรา (\"Solanum lycocarpum\") มาก และเมื่อกินแล้วจะถ่ายมูลลงบนยอดจอมปลวกเล็ก ๆ ที่ขึ้นในทุ่งหญ้าเซอราโด ซึ่งในมูลนั้นจะมีเมล็ดของโลบิราอยู่ด้วย ซึ่งจะงอกเป็นต้นโลบิราขึ้นมาบนจอมปลวกนั้น เป็นเหตุให้ต้นโลบิราในทุ่งหญ้าเซอราโด มักขึ้นอยู่บนยอดจอมปลวกขนาดเล็ก",
"title": "หมาป่าเคราขาว"
},
{
"docid": "57347#26",
"text": " กิเลส สามารถจำแนกได้หลายแบบ เช่น โลภะ โทสะ โมหะ ก็ได้ ราคะ โกธะ โมหะก็ได้ หรือจะซอยย่อยๆเป็น 16 อย่างก็ได้ แต่สุดท้าย ก็ต้องมาลงที่ โลภ โกรธ หลง และ เมื่อรวมทั้ง 3 อย่างก็มาลงที่ ความรู้สึกว่าตัวกู ของกู นั่นเอง ท่านเน้นว่า ความรู้สึกว่าตัวกู ของกู นั้นเป็นศูนย์กลาง (Neucleus) ที่รู้สึกอยู่ภายใน แล้วก่อให้เกิดกิเลสทั้งหลาย ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า ความรู้สึกว่าตัวกู ของกู เป็นมูลเหตุของความทุกข์ทั้งปวง หรือ อีกนัยหนึ่ง คือ เป็นมูลเหตุของโรคทั้งปวง ",
"title": "แก่นพุทธศาสน์"
},
{
"docid": "209574#17",
"text": "ปัจจุบันในประเทศไทย มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำบุญด้วยการถวายสังฆทานมาก โดยส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าสิ่งของที่จะนำมาถวายสังฆทานนั้นต้องซื้อเป็นชุดไทยธรรมถังสีเหลืองสำเร็จรูปที่บรรจุสิ่งของจากร้านสังฆภัณฑ์ หรือจะต้องนำสิ่งของที่ตนตั้งใจถวายใส่บรรจุภัณฑ์หรือภาชนะที่มีสีเหลือง แล้วนำสิ่งเหล่านั้นไปถวายพระสงฆ์แล้วจะเป็นสังฆทานที่ถูกต้อง",
"title": "สังฆทาน"
},
{
"docid": "209574#18",
"text": "ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการถวายสังฆทานในปัจจุบัน มีผู้กล่าวว่าเกิดจากปรากฏการณ์ \"ถังสีเหลือง\"[3] โดยกล่าวว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวมีที่มาจากการที่ร้านค้าสังฆภัณฑ์จัดสินค้าเป็นถังไทยธรรมที่บรรจุสิ่งของเครื่องใช้นำมาวางจำหน่ายโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์สีเหลืองเพื่อให้เป็นที่ติดตาของผู้ซื้อ และบางร้านมีการติดสัญลักษณ์ร้านค้าบนบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพของถังสีเหลืองให้แก่ผู้ซื้ออีกด้วย โดยเรียกถังสีเหลืองดังกล่าวว่าเป็น \"ถังสังฆทาน\" และปรากฏว่าพุทธศาสนิกชนนิยมซื้อสินค้าดังกล่าวนำไปถวายพระสงฆ์ เพราะมีความสะดวกที่ไม่ต้องไปจัดหาสิ่งของด้วยตนเอง และความสวยงามของการจัดรูปแบบสิ่งของในตัวบรรจุภัณฑ์",
"title": "สังฆทาน"
},
{
"docid": "209574#21",
"text": "ปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้ \"ถังสีเหลือง\" เป็นสิ่งของแรก ๆ ที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยส่วนใหญ่คิดถึง เมื่อจะไปทำบุญถวายจตุปัจจัยตามวัดต่าง ๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า \"การทำบุญด้วยถังสีเหลือง\" เป็นสิ่งคู่กันอย่างแยกไม่ออก และมักเรียกรวมกันว่า การถวายถังสังฆทาน ซึ่งยังคงก่อปัญหาความลำบากใจให้แก่พระสงฆ์ตามวัดต่าง ๆ อยู่จนถึงปัจจุบัน[5] เพราะยังคงมีร้านค้าบางร้านใช้สินค้าราคาถูกหรือไม่ได้คุณภาพบรรจุลงในถังเหลืองออกจำหน่ายอยู่ ดังนั้นการทำบุญให้เป็นสังฆทานที่มีคุณภาพโดยแท้จริงควรซื้อหาสินค้าที่จะนำไปถวายโดยพิจารณาจากความต้องการและประโยชน์ของพระสงฆ์ มากกว่าประโยชน์คือความสะดวกของผู้ถวาย ดังที่มีผู้แนะนำการถวายสังฆทานว่าควรประกอบไปด้วย[6]",
"title": "สังฆทาน"
},
{
"docid": "209574#6",
"text": "มีข้อควรพิจารณาประการหนึ่งว่า ในพระวินัยถือว่า ภิกษุสงฆ์ 4 รูปขึ้นไปนับเป็นองค์สงฆ์ แต่เมื่อพิจารณาจากเจตนาของพระพุทธเจ้าในทักขิณาวิภังคสูตรแล้ว หากแม้จะเป็นพระภิกษุถึง 4 รูป แต่เป็นพระที่ผู้ถวายเจาะจงระบุตัวมา ก็หานับว่าเป็นสังฆทานไม่ (คงนับเป็นปาฏิปุคคลิกทาน คือทานที่ระบุตัวพระภิกษุผู้รับถวายทาน)",
"title": "สังฆทาน"
},
{
"docid": "45300#15",
"text": "มูลเหตุในการเปลี่ยนตราประจำชาตินั้น นอกจากที่จะระบุไว้ข้างต้นว่า รัชกาลที่ 5 ทรงติว่าตราอาร์มเป็นอย่างฝรั่งเกินไปแล้ว เป็นไปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงตราแผ่นดินน่าจะมีมูลเหตุหลักมาจากการสูญเสียประเทศราชทั้งลาว เขมร พม่า (บางส่วน) และมลายูในรัชสมัยของพระองค์ จึงต้องเปลี่ยนแปลงตราเพื่อให้เหมาะกับกาลสมัย",
"title": "ตราแผ่นดินของไทย"
},
{
"docid": "209574#13",
"text": "ดังนั้นการที่พระพุทธองค์ตรัสยกย่องสังฆทานจึงนับได้ว่าเป็นการแสดงออกถึงการไม่เลือกปฏิบัติทางด้านบุคคล ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เพื่อเป็นประโยชน์ผาสุกโดยเท่าเทียมกันทางด้านปัจจัย 4 แก่พระสงฆ์ทั้งปวงผู้เป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบัน",
"title": "สังฆทาน"
}
] |
1129 | สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ใด? | [
{
"docid": "626567#0",
"text": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย (English: Thailand Volleyball Association) เป็นองค์กรกีฬาระดับชาติ สำหรับบริหารกีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทย และเป็นสมาชิกของสมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย และสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยรับผิดชอบในการจัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลทั้งวอลเลย์บอลในร่มและวอลเลย์บอลชายหาด รวมทั้งให้การสนับสนุนวอลเลย์บอลทีมชาติไทย ทั้ง ทีมชาย และ ทีมหญิง สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่การกีฬาแห่งประเทศไทย หัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร",
"title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"
}
] | [
{
"docid": "716743#0",
"text": "วอลเลย์บอลอะคาเดมีลีก เป็นลีกชั้นนำระดับเยาวชนสำหรับทั้งชาย และ หญิงในประเทศไทย จัดตั้งโดยสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย",
"title": "วอลเลย์บอลอะคาเดมีลีก"
},
{
"docid": "626567#25",
"text": "วอลเลย์บอลชายหาด ยูโร่เค้ก ไทยแลนด์บีชวอลเลย์บอล",
"title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "626567#6",
"text": "ทีมวอลเลย์บอลไทยประสบภาวะตกต่ำไม่ได้เหรียญใด ๆ เลย ถึง 3 ครั้ง ติดต่อกันตั้งแต่กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 10–12 ประกอบกับมีปัญหาด้านการบริหารสมาคม ทำให้เกิดความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารใหม่ โดยได้เรียนเชิญ นายพิศาล มูลศาสตรสาทร ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้นเข้ารับตำแหน่งนายกสมาคมฯ",
"title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "626567#5",
"text": "ตั้งแต่ประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับนานาชาติเป็นครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง (เซียพเกมส์) ครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2502 จนถึงครั้งที่ 8 ทีมชายได้เหรียญทองเพียงครั้งเดียวในการแข่งขันครั้งที่ 1 แต่ยังได้เหรียญเงินและทองแดง ทุกครั้ง ยกเว้นครั้งที่ 5 ที่ไม่ได้ส่งแข่ง และครั้งที่ 7 ที่ไม่ได้เหรียญใดเลย ส่วนทีมหญิงมีโอกาสได้เหรียญทองในการแข่งขันครั้งที่ 4 และ 8 ซึ่งจัดการแข่งขันที่กรุงเทพฯ และในการแข่งขันครั้งอื่น ๆ ได้เหรียญเงิน หรือทองแดงทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนชื่อการแข่งขันจากกีฬาแหลมทอง (เซียพเกมส์) เป็นซีเกมส์ (Southeast Asian Games) ในการแข่งขันครั้งที่ 9 ทีมชาย-หญิง ยังคงได้หรียญทองแดงส่วนในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพทั้ง 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 5 ปี พ.ศ. 2509 ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2513 และ ครั้งที่ 8 ปี พ.ศ. 2521 ทีมวอลเลย์บอลไม่ประสบผลสำเร็จเพียงเข้าร่วมการแข่งขันในฐานะเจ้าภาพเท่านั้น",
"title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "626567#8",
"text": "การที่สมาคมฯ มีฐานการทำงานที่แข็งแกร่งจากกระทรวงมหาดไทย ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศให้ความร่วมมือสนับสนุนวงการวอลเลย์บอล เป็นการกระจายฐานของกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยออกไปในวงกว้างทั่วประเทศ",
"title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "626567#1",
"text": "จากการที่ประเทศไทยได้ริเริ่มและรับเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาแหลมทอง (Southeast Asian Peninsular Games – SEAP Games หรือเซียพเกมส์) ครั้งที่ 1 ณ กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2502 คณะกรรมการจัดการแข่งขัน กีฬาเซียพเกมส์ได้เลือกกีฬาวอลเลย์บอล (ประเภททีมชาย) เป็นหนึ่งในชนิดกีฬาที่แข่งขัน แต่ประเทศไทยยังไม่มีสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลมารับผิดชอบ จึงจำเป็นต้องมีองค์กรระดับชาติที่สมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชียรับรองและต้องเป็นสมาชิกของสมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย และจะเป็นสมาชิกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติโดยอัตโนมัติ เพื่อให้ถูกต้องตามกฎข้อบังคับฯ อาจารย์แมน พลพยุหคีรี ซึ่งรู้จักกับบุคลากรในกรมพลศึกษามาก เป็นตัวหลักในการจัดตั้งสมาคม จึงได้ชักชวนคณะบุคคล รวม 7 คน ร่วมกันจัดตั้งสมาคมขึ้น ประกอบด้วย พลเอก สุรจิต จารุเศรณี นายกอง วิสุทธารมณ์ นายสวัสดิ์ เลขยานนท์ นายเสรี ไตรรัตน์ นายนิคม พลสุวรรณ นายแมน พลพยุหคีรี และนายเฉลิม บุณยะสุนทร โดยในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ได้ร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับการดำเนินงานจัดตั้งสมาคมและพิจารณาร่างข้อบังคับของสมาคมขึ้น นายกอง วิสุทธารมณ์ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมให้เป็นผู้แทนดำเนินการ ได้ติดต่อขออนุญาตจากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ และได้รับอนุญาตให้เป็น สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (English: Amateur Volleyball Association of Thailand) ตามคำสั่งของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติที่ ต.11/2502 ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 โดยมี นายนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ลงนามในใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมฯ และได้จดทะเบียนสมาคมที่กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2502[1] โดยมีวัตถุประสงคเพื่อสนับสนุนและเผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลให้เจริญรุดหน้า และดำเนินการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลในระบบ 6 คน",
"title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "626567#17",
"text": "สำหรับการจัดแข่งขันวอลเลย์บอลลีกอาชีพ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ได้ร่วมกับสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย จัดการแข่งขันวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก ครั้งแรกใน พ.ศ. 2548 (ฤดูกาล 2005/2006) และดำเนินการมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้ขยายไปถึงลีกระดับรองคือ วอลเลย์บอลดิวิชัน 2 (โปรชาเลนจ์) ตลอดจน วอลเลย์บอลอะคาเดมีลีก ซึ่งเป็นการพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลให้มีศักยภาพสู่การเป็นกีฬาอาชีพอย่างแท้จริง และไทยมีนักกีฬาป้อนเข้าสู่ทีมชาติได้อย่างต่อเนื่อง",
"title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "932808#0",
"text": "เกาหลี–ไทย โปรวอลเลย์บอลออลสตาร์ซูเปอร์แมตช์ (; ) เป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลกระชับมิตรระหว่างประเทศไทย และประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย และสหพันธ์วอลเลย์บอลเกาหลี (โคโว) โดยจัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2560 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย",
"title": "เกาหลี–ไทย โปรวอลเลย์บอลออลสตาร์ซูเปอร์แมตช์"
},
{
"docid": "902256#0",
"text": "วอลเลย์บอลหญิงเอเชียนคัพ 2018 () หรือชื่อแบบทางการ เอสเอ็มเอ็ม วอลเลย์บอลหญิงเอวีซีคัพ 2018 โดยมีสยามอินเตอร์มัลติมีเดียเป็นผู้สนับสนุนหลักของรายการ ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 6 ของรายการวอลเลย์บอลหญิงเอเชียนคัพ ณ จังหวัดนครราชสีมา, ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 16 ถึง 23 กันยายน พ.ศ. 2561 โดยรายการนี้เป็นรายการวอลเลย์บอลนานาชาติที่จะจัดทุก 2 ปี ซึ่งถูกควบคุมโดยสมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย (เอวีซี) ร่วมกับสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย (ส.ว.ท.)",
"title": "วอลเลย์บอลหญิงเอเชียนคัพ 2018"
},
{
"docid": "626567#4",
"text": "หลังจากกีฬาแหลมทองครั้งที่ 1 สมาคมฯ มีกิจกรรมการแข่งขันชิงแชมป์ประเทศไทยระดับประชาชนเพียงรายการเดียว ปีละครั้งกับกีฬาแห่งชาติ (กีฬาเขตแห่งประเทศไทยเดิม จัดโดยองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย) ที่ทีมชาติลงแข่งขันไม่ได้เท่านั้นก่อนซีเกมส์ครั้งที่ 13 (พ.ศ. 2528) มีทีมชาติไทยไม่ได้พัฒนาเพราะได้แข่งขันในระดับนานาชาติเฉพาะกีฬาเซียพเกมส์และกีฬาซีเกมส์ (2 ปี ต่อครั้ง) กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ และได้มีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันเยาวชนชายชิงชนะเลิศแห่งเอเชียครั้งที่ 1 ที่เกาหลีใต้ และทีมชายได้ไปแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกครั้งที่ 5 ที่โตเกียวเท่านั้น",
"title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "626567#9",
"text": "ผู้บริหารของสมาคมฯ ในยุคต่อ ๆ มาได้ดำเนินงานตามนโยบายที่นายกฯ พิศาลฯ ให้ไว้มาโดยตลอด และสร้างโอกาสให้ผู้ฝึกสอนและนักกีฬาได้เรียนรู้การพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลอย่างต่อเนื่องจนผู้ฝึกสอนไทยมีความสามารถสร้างทีมแข่งขันในระดับทวีปและระดับโลก ประกอบกับสมาคมฯ มีแผนงานการปฏิบัติงานที่ชัดเจนตามปฏิทินที่กำหนดไว้ทุกปี และมีผู้ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจนสามารถจัดการแข่งขันระดับทวีปและระดับโลก และร่วมการแข่งขันระดับทวีปและระดับโลกเป็นประจำทุกปี",
"title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "626567#27",
"text": "ช่วงปีที่ผ่านมา สมาคมฯ มีผลงานที่ปรากฏต่อสาธารณชน ความสำเร็จการแข่งขันในระดับนานาชาติแม้จะไม่โดดเด่น โดยรวมถือว่ายังคงรักษามาตรฐานได้เป็นอย่างดี จากความสำเร็จในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ที่วอลเลย์บอลทีมชาติไทยยังสามารถรักษาแชมป์ไว้ได้ทั้งประเภททีมหญิงและทีมชาย ขณะเดียวกันรายการเวิลด์กรังด์ปรีซ์ ทีมหญิงยังคงได้สิทธิ์อยู่ในกลุ่ม 1 ต่อไป",
"title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "626567#16",
"text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย",
"title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "934314#0",
"text": "เกาหลี–ไทย โปรวอลเลย์บอลออลสตาร์ซูเปอร์แมตช์ 2018 (; ) เป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลกระชับมิตรระหว่างวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้ และวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ครั้งที่ 2 ณ เมืองฮวาซ็อง, ประเทศเกาหลีใต้ ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2561 ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย (ส.ว.ท.) และสหพันธ์วอลเลย์บอลเกาหลี (โคโว)",
"title": "เกาหลี–ไทย โปรวอลเลย์บอลออลสตาร์ซูเปอร์แมตช์ 2018"
},
{
"docid": "626567#24",
"text": "วอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก วอลเลย์บอลดิวิชัน 2 (โปรชาเลนจ์) วอลเลย์บอลอะคาเดมีลีก",
"title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "626567#21",
"text": "วอลเลย์บอลยุวชน \"เอสโคล่า\" รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย",
"title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "668546#0",
"text": "กีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11 หรือ การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 11 เป็นการแข่งขันกีฬาหลายชนิดระดับประเทศของประเทศไทย การแข่งขันครั้งนี้จัดที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 11 – 17 ธันวาคม พ.ศ. 2524 มีการแข่งขัน 14 ชนิดกีฬา คือ กรีฑา แบดมินตัน บาสเกตบอล มวยสากลสมัครเล่น จักรยาน ฟุตบอล ยูโด ลอนเทนนิส เซปักตะกร้อ ยิงปืน เทเบิลเทนนิส วอลเลย์บอล ว่ายน้ำ และยกน้ำหนัก มีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากเขตต่างๆ รวมทั้งกรรมการ ผู้ตัดสินจากสมาคมกีฬาสมัครเล่น จำนวน 2,617 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่านักกีฬาประเภทต่างๆ มีขีดความสามารถดีขึ้น เป็นที่พึงพอใจของผู้แทนสมาคมกีฬาต่างๆ และสมาคมได้เชิญนักกีฬาดีเด่นเหล่านั้น มาทำการฝึกซ้อม เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนทีมชาติเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 8 ณ กรุงเทพมหานคร",
"title": "กีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11"
},
{
"docid": "626567#13",
"text": "การแข่งขันระดับอายุ 16 ปี เป็นรายการที่ 3 ที่สมาคมฯ จัดขึ้นทั่วประเทศ ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัทเสริมสุข จำกัด (มหาชน) จัดการแข่งขันยุวชนเป๊ปซี่ มาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 19 สมาคมฯ ได้ขอพระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศการแข่งขันจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นรายการวอลเลย์บอลยุวชน เอสโคล่า",
"title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "626567#2",
"text": "ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ได้มีประกาศใช้ข้อบังคับของสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย เป็นฉบับแรก โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหาร 7 ตำแหน่ง อยู่ในตำแหน่งสมัยละ 4 ปี คณะกรรมการฯ ชุดนี้ถือเป็นคณะกรรมการบริหารชุดแรกของสมาคมฯ ประกอบด้วย",
"title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "152778#7",
"text": "ราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ร.ย.ส.ท) สมาคมกีฬากรีฑาแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมกีฬากอล์ฟอาชีพแห่งประเทศไทย (สกอท.) สมาคมกีฬาแข่งรถจักรยานยนต์แห่งประเทศไทย (สกจท) สมาคมกีฬาทางอากาศและการบินแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สกอท.) สมาคมกีฬาเนตบอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (ส.น.ท.) สมาคมกีฬาปีนหน้าผาแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทย (สพท.) สมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทย (สมท.) สมาคมกีฬายิงปืนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สยท.) สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งแห่งประเทศไทย (สฮนท.) สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย (สมท.) สมาคมกีฬาคริกเกตแห่งประเทศไทย (สคท.) สมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สจท.) สมาคมกีฬาซอฟท์เทนนิสแห่งประเทศไทย (สซทท.) สมาคมกีฬาตะกร้อแห่งประเทศไทย (สตท.) สมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) สมาคมกีฬาบริดจ์แห่งประเทศไทย (สบท.) สมาคมกีฬาเบสบอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (สบท.) สมาคมกีฬาโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทย (บลท.) สมาคมกีฬาเปตองแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สปท.) สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.ฟ.ท.) สมาคมกีฬาไทยแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมกีฬาเรือเร็วแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬายิงเป้าบินแห่งประเทศไทย (สปบ.) สมาคมกีฬามวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (สมทท.) สมาคมกีฬามวยปล้ำแห่งประเทศไทย (สปสท.) สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (สนท.) สมาคมกีฬายิมนาสติกแห่งประเทศไทย (ส.ย.ท.) สมาคมกีฬายูยิตสูแห่งประเทศไทย สมาคมเรือพายแห่งประเทศไทย (ส.ร.พ.ท.) สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย (ส.ว.ท.) สมาคมกีฬาวินด์เซิร์ฟแห่งประเทศไทย (ส.ว.ท.) สมาคมวู้ดบอลแห่งประเทศไทย สมาคมหมากรุกสากลแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาแฮนด์บอลแห่งประเทศไทย (สฮท.) สมาคมกีฬาเทนนิส ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมกีฬากอล์ฟแห่งประเทศไทย (สกท.) สมาคมกาบัดดี้แห่งประเทศไทย (สกบ.) สมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.ก.พ.ท.) สมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย (ส.ก.บ.ท.) สมาคมกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะแห่งประเทศไทย (สกปวท) สมาคมกีฬาฟิกเกอร์และสปีดสเก็ตติ้งแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬายิงธนูแห่งประเทศไทย (ส.ธ.ท.) สมาคมกีฬาลีลาศแห่งประเทศไทย (สลท.) สมาคมกีฬาเอ็กซ์ตรีมแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาขี่ม้าโปโลแห่งประเทศไทย (ส.ม.ป.) สมาคมแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.ข.ร.ท.) สมาคมคาราเต้แห่งประเทศไทย (สคท.) สมาคมหมากรุกเซี่ยงฉีแห่งประเทศไทย สมาคมเจ็ตสกีแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี สมาคมซอฟท์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (สซ.สท.) สมาคมไตรกีฬาแห่งประเทศไทย (สตท.) สมาคมเทเบิลเทนนิสแห่งประเทศไทย (สททท.) สมาคมกีฬาบาสเกตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สบท.) สมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมปันจักสีลัตแห่งประเทศไทย (สปสท.) สมาคมฟันดาบสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ (ส.ฟ.ท.) สมาคมฟุตวอลเลย์แห่งประเทศไทย สมาคมมวยไทยแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมาคมกีฬามวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สม.สท.) สมาคมยิงเป้าบินแห่งประเทศไทย (ปบ.) สมาคมยูโดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สยท.) สมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์ (สรท.) สมาคมลอนโบวล์สแห่งประเทศไทย (ส.ล.บ.) สมาคมว่ายน้ำแห่งประเทศไทย (ส.ว.ท.) สมาคมวูซูแห่งประเทศไทย (ส.พ.ว.) สมาคมสควอชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สคส.) สมาคมฮอกกี้แห่งประเทศไทย (ส.ฮ.ท.) สมาคมคูราชแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬายิงปืนรณยุทธแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาไทยแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.ก.ท.) สมาคมดำน้ำ ทีดีเอ แห่งประเทศไทย สมาคมชักกะเย่อแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย",
"title": "การกีฬาแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "626567#31",
"text": "จากการที่ได้ให้ความร่วมมือสนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมกับสมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย และสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ เป็นอย่างดีมาโดยตลอด และเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ สมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชียมีมติให้ย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ประเทศไทย โดยได้เปิดทำการตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา",
"title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "893676#0",
"text": "วอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก เป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลลีกอาชีพ ระดับสูงสุดของประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2549 ภายใต้การบริหารของสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย และบริษัท ไทยวอลเลย์บอล จำกัด ซึ่งปัจจุบันมีทีมเข้าแข่งขันทั้งหมด 8 ทีม และมีการแข่งขันแบบพบกันหมดในระบบเหย้าและเยือน ",
"title": "วอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีก"
},
{
"docid": "438279#0",
"text": "วอลเลย์บอลชายไทยแลนด์ลีก เป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลลีกอาชีพ ระดับสูงสุดของประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2549 ภายใต้การบริหารของสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย และบริษัท ไทยวอลเลย์บอล จำกัด ซึ่งปัจจุบันมีทีมเข้าแข่งขันทั้งหมด 8 ทีม และมีการแข่งขันแบบพบกันหมดในระบบเหย้าและเยือน ",
"title": "วอลเลย์บอลชายไทยแลนด์ลีก"
},
{
"docid": "626567#20",
"text": "วอลเลย์บอลยุวชนอายุไม่เกิน 14 ปี \"แอร์เอเชีย\" ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย",
"title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "114542#6",
"text": "วอลเลย์บอลได้แพร่เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงไหนนั้นยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่ชาวไทยบางกลุ่มเริ่มเล่นและแข่งขันวอลเลย์บอลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปี 2477 กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาเผยแพร่โดยอาจารย์นพคุณ พงษ์สุวรรณซึ่งจัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปีและบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงเข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรกโดยใช้กติกาการเล่นระบบ 9 คน และตั้งแต่นั้นมากีฬาวอลเลย์บอลก็พัฒนาขึ้นมาโดยตลอด ต่อมาเมื่อปี 2500 ได้มีการประชุมหารือพิจารณาจัดตั้งสมาคมขึ้นมารับผิดชอบ จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (Amateur Volleyball Association of Thailand) อย่างเป็นทางการขึ้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 และเปลี่ยนระบบการแข่งขันเป็น 6 คน และต่อมาได้บรรจุเข้าในหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเมื่อปี 2521 หลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อปี 2524[1]",
"title": "วอลเลย์บอล"
},
{
"docid": "626567#23",
"text": "แชมป์กีฬา 7 สี วอลเลย์บอลอุดมศึกษา วอลเลย์บอล \"ซีเล็คทูน่า\" ประชาชน ก ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย วอลเลย์บอล \"ซีเล็คทูน่า\" ประชาชน ข ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย",
"title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "114542#7",
"text": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย (English: Thailand Volleyball Association) เป็นองค์กรกีฬาระดับชาติ สำหรับบริหารกิตติกีฬาวอลเลย์บอลของไทย ทำหน้าที่จัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลอย่างเป็นทางการ ทั้งวอลเลย์บอลในร่มและวอลเลย์บอลชายหาด และให้การสนับสนุนวอลเลย์บอลทีมชาติของไทย สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย เป็นสมาชิกของสมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย และสหพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้กีฬาวอลเลย์บอลของไทยเป็นที่ยอมรับทั้งระดับทวีปและระดับโลก สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่การกีฬาแห่งประเทศไทย หัวหมาก กรุงเทพมหานคร",
"title": "วอลเลย์บอล"
},
{
"docid": "626567#34",
"text": "หมวดหมู่:วอลเลย์บอล หมวดหมู่:ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2502 หมวดหมู่:วอลเลย์บอลในประเทศไทย หมวดหมู่:สมาชิกสมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย",
"title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "626567#22",
"text": "วอลเลย์บอลเยาวชน \"กฟภ\" (PEA) ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย วอลเลย์บอล \"ซีเล็คทูน่า\" เยาวชน ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย",
"title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"
}
] |
2352 | จังหวัดลพบุรีมีกี่อำเภอ? | [
{
"docid": "5358#0",
"text": "จังหวัดลพบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นถึง 8 จังหวัด วนตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลพบุรีเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งศูนย์กลางของอาณาจักรละโว้",
"title": "จังหวัดลพบุรี"
}
] | [
{
"docid": "5358#26",
"text": "ในด้านการปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดลพบุรีประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี, เทศบาลเมือง 3 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองลพบุรี เทศบาลเมืองเขาสามยอด และเทศบาลเมืองบ้านหมี่, เทศบาลตำบล 19 แห่ง, และองค์การบริหารส่วนตำบล 103 แห่ง โดยรายชื่อเทศบาลจำแนกตามอำเภอในจังหวัดลพบุรี มีดังนี้",
"title": "จังหวัดลพบุรี"
},
{
"docid": "330211#7",
"text": "•ปัจจุบัน กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์ มีที่ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๔ ถนนประดิพัทธ์ แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์ ตั้งอยู่ ณ บริเวณเดียวกันกับกองบังคับการกรม ส่วน กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๑ รักษาพระองค์ (ป.พัน.๑๑ รอ.) ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าแค อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี และกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๓๑ รักษาพระองค์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี",
"title": "กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์"
},
{
"docid": "245071#0",
"text": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2089 สายมวกเหล็ก–ลำนารายณ์ เป็นทางหลวงสายหนึ่งของจังหวัดสระบุรีและจังหวัดลพบุรี มีระยะทางทั้งหมดประมาณ 70.315 กิโลเมตร แนวสายทางเริ่มจากถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) กิโลเมตรที่ 35 อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ผ่านอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี อำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ข้ามแม่น้ำป่าสัก ไปสิ้นสุดสายทางที่ถนนสุรนารายณ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205) ที่สี่แยกลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ตรงข้ามกับถนนคชเสนีย์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2129)",
"title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2089"
},
{
"docid": "366076#0",
"text": "วัดเจริญธรรม (วัดถ้ำภูตอง) ตั้งอยู่ในตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี\nวัดเจริญธรรมเป็นวัดหนึ่งที่มีความสวยงามและทิวทัศน์ที่น่าชื่นชม เพราะอยู่บริเวณเชิงเขาและติดถนนใหญ่ มีความเงียบสงบ เป็นวัดที่เน้นการปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงวัดหนึ่งของจังหวัดลพบุรี เป็นวัดสายวิปัสนาธรรมโลกุตระ มีพระอุโบสถที่ตั้งอยู่บนเขาที่มีความสวยงาม ในปัจจุบันวัดนี้เป็นที่นิยมของพุทธศนิกชนนิยมเดินทางมายังวัดแห่งนี้เพื่อเจริญภาวะนาและปฏิบัติธรรม การเดินทาง :ใช้เส้นทาง กรุงเทพ-สระบุรี อำเภอพระพุทธบาท เข้าสู่จังหวัดลพบุรี ระยะทาง 153 กิโลเมตร",
"title": "วัดเจริญธรรม (ถ้ำภูตอง)"
},
{
"docid": "194644#3",
"text": "มนุษย์ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำลพบุรีมาไม่น้อยกว่า 3,000 ปีแล้ว จนเป็นแหล่งชุมชนที่พัฒนาเป็นบ้านเมืองแล้วเป็นรัฐ อาทิ รัฐทวารวดี, รัฐละโว้-อโยธยา ก่อนพัฒนาเป็นกรุงศรีอยุธยาในกาลต่อมา ในยุคทวารวดี สายน้ำนี้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับคลองและสายน้ำไปยังเมืองบางไผ่ (อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี), เมืองจันเสน (อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์), เมืองอู่ตะเภา (อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท) ดังจะพบวัดเก่าสมัยอยุธยาเรียงรายตามลำน้ำอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ได้สันนิษฐานไว้ในหนังสือ \"\"ระยะทางเสด็จพระราชดำเนินประพาสตั้งแต่พระราชวังจันทรเกษมถึงจังหวัดลพบุรี\"\" ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า \"เส้นทางสายนี้คงเป็นแม่น้ำลพบุรีสายเดิม และพระนางจามเทวีเดินทางจากละโว้ ขึ้นไปครองเมืองหริภุญไชย ผ่านตามเส้นทางน้ำที่ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาแถบหลังอำเภอพยุหะคีรี\" ",
"title": "แม่น้ำลพบุรี"
},
{
"docid": "5358#29",
"text": "ประชากรของจังหวัดลพบุรีส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายลาว แต่ปัจจุบันมีหลายกลุ่มที่มีความเป็นไทย ชาวไทยภาคกลางนั้นจะหนาแน่นแถบอำเภอเมืองใกล้รอยต่อระหว่างจังหวัดลพบุรี พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอ่างทอง รอบนอกเมืองลพบุรีส่วนใหญ่จะมีเชื้อสายลาวทุกอำเภอ ซึ่งแต่เดิมปรากฏว่ามีการใช้ภาษาลาวด้วย แต่ปัจจุบันหลายชุมชนในอำเภอเมืองมีแนวโน้มในการใช้ภาษาลาวลดลง และมีชนเชื้อสายจีนปะปนอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีชนเชื้อสายลาวพวนส่วนใหญ่อยู่ในท้องที่อำเภอบ้านหมี่ มีบ้างในตำบลถนนใหญ่ และโคกกระเทียมในอำเภอเมือง ชนเชื้อสายมอญอาศัยอยู่ในเขตท้องที่ตำบลบางขันหมากส่วนล่าง (ส่วนบนส่วนใหญ่เป็นชาวไทย) อำเภอเมืองลพบุรี นอกจากนี้ยังมีชาวไทเบิ้ง ซึ่งเป็นชนกลุ่มเดียวกับชาวไทยโคราช ที่ส่วนใหญ่อาศัยในอำเภอพัฒนานิคม ส่วนชาวอีสานนั้นเข้ามาทางตะวันออกซึ่งติดกับจังหวัดนครราชสีมา กับจังหวัดชัยภูมิ และอาศัยทางโคกเจริญ ชัยบาดาล ฯลฯ ชาวไทยเชื้อสายปากีสถานและอินเดียก็อาศัยในอำเภอเมืองและชัยบาดาล ซึ่งชนเชื้อสายต่าง ๆ นี้ยังคงรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษาพูดที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ลักษณะนิสัยต่าง ๆ จึงแตกต่างกัน แต่ก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับประชากรส่วนใหญ่ได้ดี",
"title": "จังหวัดลพบุรี"
},
{
"docid": "5358#51",
"text": "มหาวิทยาลัยปทุมธานี (ศูนย์ลพบุรี ตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีละโว้ อำเภอเมืองลพบุรี) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ศูนย์ลพบุรี ตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี) มหาวิทยาลัยศรีปทุม (ศูนย์ลพบุรี ตั้งอยู่ที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี แห่งที่ 2 (ที่พักบุคคลกรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี) มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดลพบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกร สังกัดสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลพบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร โครงการจัดตั้งวิทยาเขตลพบุรี อำเภอชัยบาดาล สถาบันรัชต์ภาคย์ (ศูนย์ลพบุรี ตั้งอยู่ที่ วิทยาลัยสารพัดช่าง อำเภอเมืองลพบุรี) สถานีวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอโคกเจริญ",
"title": "จังหวัดลพบุรี"
},
{
"docid": "5358#49",
"text": "โรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตอำเภอเมือง โรงเรียนบ้านโคกตูม อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนพิบูลสงเคราะห์ 1 อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนวัดโคกหม้อ อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนอนุบาลลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนอนุบาลจังหวัดทหารบกลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนเมืองใหม่ (ชลอราษฎร์รังสฤษฏ์) อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนสาธิต เขตอำเภอเมือง โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนสาธิตเทศบาลเมืองลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนเอกชน เขตอำเภอเมือง โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ฯ อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนวินิตศึกษา 2 อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนบัณฑิตศึกษา อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนบรรจงรัตน์ อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนจินดารัตน์ อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนพัฒนปัญญา อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนเมืองละโว้วิทยา อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนในความดูแลของกองทัพบก โรงเรียนพลร่มอนุสรณ์ (มิตรภาพที่ 50) อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนค่ายนารายณ์ศึกษา อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมถ์สองเหล่าสร้าง อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนอนุบาลจังหวัดทหารบกลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี",
"title": "จังหวัดลพบุรี"
},
{
"docid": "5358#69",
"text": "รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดลพบุรี รายชื่อวัดในจังหวัดลพบุรี สโมสรฟุตบอลลพบุรี อาณาจักรละโว้ อำเภอเมืองลพบุรี รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดลพบุรี รายชื่อสาขาของธนาคารในจังหวัดลพบุรี รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดลพบุรี",
"title": "จังหวัดลพบุรี"
},
{
"docid": "280680#0",
"text": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3196 สายดงพลับ–เจ้าปลุก เป็นถนนแอสฟัลต์คอนกรีตขนาด 2 ช่องจราจร แยกจากถนนพหลโยธินบริเวณสามแยกดงพลับ ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ขนานไปกับคลองอนุศาสนนันท์ทางทิศตะวันตก ผ่าน อำเภอบ้านหมี่ อำเภอโคกสำโรง อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ถึงถนนพระโหราธิบดี เขตเทศบาลเมืองลพบุรี จากนั้นจะเลียบคลองชลประทานลพบุรี-บางปะหัน เข้าสู่ อำเภอบ้านแพรก อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิ้นสุดเส้นทาง บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3267 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 ที่สี่แยกเจ้าปลุก อำเภอมหาราช ระยะทาง 105.736 กิโลเมตร",
"title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3196"
},
{
"docid": "134767#0",
"text": "ชัยบาดาล เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดในจังหวัดลพบุรี ในอดีตมีพื้นที่กว้างขวางมาก ครอบคลุมพื้นที่อำเภอท่าหลวงและอำเภอลำสนธิในปัจจุบัน และเคยได้ถูกเสนอจัดตั้งเป็นศูนย์กลางของจังหวัดพระนารายณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2546 และปี พ.ศ. 2553",
"title": "อำเภอชัยบาดาล"
},
{
"docid": "5358#53",
"text": "วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี วิทยาลัยอาชีวศึกษาลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี วิทยาลัยสารพัดช่างลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี วิทยาลัยการอาชีพชัยบาดาล อำเภอชัยบาดาล วิทยาลัยเกษตรและโนโลยีลพบุรี อำเภอพัฒนานิคม วิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวศึกษาหนองม่วง อำเภอหนองม่วง วิทยาลัยเทคนิคลพบุรีแห่งที่2 อำเภอโคกสำโรง วิทยาลัยเทคนิคโคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง (เดิมคือ วิทยาลัยการอาชีพโคกสำโรง) วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนพณิชยการช่างเทคนิคลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล วิทยาลัยเทคโนโลยีลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี วิทยาลัยเทคโนโลยีละโว้ อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนบริหารธุรกิจละโว้ อำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนเอเชียบริหารธุรกิจเทคโนโลยีลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี",
"title": "จังหวัดลพบุรี"
},
{
"docid": "135287#0",
"text": "อำเภอเมืองลพบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี",
"title": "อำเภอเมืองลพบุรี"
},
{
"docid": "105708#0",
"text": "จังหวัดพระนารายณ์ เป็นจังหวัดที่มีการร้องขอให้จัดตั้งขึ้นโดยแยกพื้นที่ อำเภอลำสนธิ อำเภอสระโบสถ์ อำเภอชัยบาดาล อำเภอท่าหลวง และ อำเภอโคกเจริญ ออกจากจังหวัดลพบุรี ตามข้อเสนอของนายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2546",
"title": "จังหวัดพระนารายณ์"
},
{
"docid": "5114#73",
"text": "กลุ่มไทโคราชเป็นกลุ่มที่แสดงเอกลักษณ์ของเมืองนครราชสีมา เพราะสำเนียงแตกต่างจากกลุ่มอื่น เป็นกลุ่มที่พูดภาษาไทยโคราชซึ่งคล้ายคลึงภาษาไทยกลางแต่สำเนียงเพี้ยน เหน่อ ห้วนสั้น เกิ่นเสียง มีคำไทยลาว (อีสาน) ปะปนบ้างเล็กน้อย ชาวไทยโคราชแต่งกายแบบไทยภาคกลาง รับประทานข้าวเจ้า อาหารทั่วไปคล้ายคลึงภาคกลาง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมคล้ายไทยภาคกลาง ปัจจุบัน กลุ่มไทยโคราชอาศัยอยู่ในทุกอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ยกเว้นบางอำเภอที่มีชาวไทยอีสานมากกว่า (อำเภอบัวใหญ่ ปักธงชัย และสูงเนิน) และยังพบชาวไทยโคราชในบางส่วนของจังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอเนินสง่า อำเภอจัตุรัส อำเภอเทพสถิต อำเภอซับใหญ่ อำเภอคอนสวรรค์ และอำเภอเมืองชัยภูมิ) และจังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอเมืองบุรีรัมย์ นางรอง และหนองกี่)",
"title": "จังหวัดนครราชสีมา"
},
{
"docid": "299650#0",
"text": "วัดเชิงท่า เป็นวัดในจังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ในตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี",
"title": "วัดเชิงท่า (ลพบุรี)"
},
{
"docid": "351078#0",
"text": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2256 (ถนนโค้ง - กุดม่วง) เป็นทางหลวงที่สำคัญสายหนึ่งที่ใช้เดินทางเชื่อมระหว่าง ภาคกลาง กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใน จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดลพบุรี มีระยะทางทั้งหมดประมาณ 77.033 กิโลเมตร แนวถนนสายนี้ทางเริ่มจากถนนสุรนารายณ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205) ที่หลักกิโลเมตรที่ 56 ใน ตำบลชัยบาดาล อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ข้ามแม่น้ำป่าสัก ผ่านอำเภอท่าหลวง เข้าสู่อำเภอชัยบาดาลอีกครั้ง อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี เข้าสู่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ไปสิ้นสุดที่ ถนนสีคิ้ว-ชัยภูมิ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201) ที่หลักกิโลเมตรที่ 34 ในอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา",
"title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2256"
},
{
"docid": "243323#1",
"text": "ทิศเหนือ ติดกับวัดพรหมทินเหนือ ตำบลหลุมข้าว อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ทิศตะวันออก ติดกับตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ทิสตะวันตก ติดกับวัดสระเตยน้อย ตำบลหนองทรายขาว อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ทิศใต้ ติดกับวัดบ้านคลอง ตำบลหนองทรายขาว อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี",
"title": "วัดพรหมทินใต้"
},
{
"docid": "289459#0",
"text": "สนามกีฬาพระราเมศวร เป็นสนามกีฬาประจำจังหวัดลพบุรี\nสนามกีฬาพระราเมศวร เป็นสนามกีฬากลางของจังหวัดลพบุรี เป็นสนามกีฬาระดับมาตรฐานแห่งหนึ่ง ที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาของจังหวัด ระดับภูมิภาค และองค์กรต่างๆยังใช้สนามกีฬาแห่งนี้เป็นสนามแข่งขันอีกด้วย และนอกจากนี้ยังเป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนและออกกำลังกายของชาวลพบุรีซึ่งสนามกีฬาแห่งนี้ตั้งอยู่บน ถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ด้านหลังศาลากลางจังหวัดลพบุรี ซึ่งมีสนามต่างๆที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาครบทุกประเภท ปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี เป็นผู้ดูแล",
"title": "สนามกีฬาพระราเมศวร"
},
{
"docid": "5358#44",
"text": "ระยะทางจากอำเภอเมืองลพบุรีไปยังอำเภอต่าง ๆ อำเภอท่าวุ้ง ระยะทาง 15 กิโลเมตร อำเภอบ้านหมี่ ระยะทาง 32 กิโลเมตร อำเภอโคกสำโรง ระยะทาง 35 กิโลเมตร อำเภอพัฒนานิคม ระยะทาง 51 กิโลเมตร อำเภอหนองม่วง ระยะทาง 54 กิโลเมตร อำเภอสระโบสถ์ ระยะทาง 65 กิโลเมตร อำเภอโคกเจริญ ระยะทาง 77 กิโลเมตร อำเภอท่าหลวง ระยะทาง 83 กิโลเมตร อำเภอชัยบาดาล ระยะทาง 97 กิโลเมตร อำเภอลำสนธิ ระยะทาง 120 กิโลเมตร ระยะทางจากจังหวัดลพบุรีไปยังจังหวัดใกล้เคียง กรุงเทพมหานคร ระยะทาง 153 กิโลเมตร จังหวัดสิงห์บุรี ระยะทาง 33 กิโลเมตร จังหวัดอ่างทอง ระยะทาง 45 กิโลเมตร จังหวัดสระบุรี ระยะทาง 46 กิโลเมตร จังหวัดชัยนาท ระยะทาง 86 กิโลเมตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยะทาง 91 กิโลเมตร จังหวัดนครสวรรค์ ระยะทาง 129 กิโลเมตร จังหวัดนครราชสีมา ระยะทาง 195 กิโลเมตร จังหวัดชัยภูมิ ระยะทาง 230 กิโลเมตร จังหวัดเพชรบูรณ์ ระยะทาง 236 กิโลเมตร",
"title": "จังหวัดลพบุรี"
},
{
"docid": "262137#2",
"text": "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ร่วมประชุมปรึกษาราชการกับผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี คณะผู้บริหารจังหวัดลพบุรีและผู้เกี่ยวข้อง ในการจัดหาพื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่ ตามที่ทางจังหวัดลพบุรีเห็นว่าเหมาะสม ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตลพบุรี โดยมอบหมายให้นายอำเภอโคกสำโรงเป็นผู้ดำเนินการ และเสนอพื้นที่ “ที่สาธารณประโยชน์หนองโสน” ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลเพนียด อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี พื้นที่ประมาณ 1,876 ไร่ เป็นพื้นที่จัดตั้งวิทยาเขตลพบุรี ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรจัดตั้งวิทยาเขตลพบุรี ในพื้นที่ที่จังหวัดลพบุรี จัดหาให้นั้น",
"title": "ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกร จังหวัดลพบุรี"
},
{
"docid": "280676#1",
"text": "คลองอนุศาสนนันท์ แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณประตูระบายน้ำมโนรมย์ ตำบลวัดโคก อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ก่อนะไหลลงถึงบริเวณคลองอู่ตะเภา ตำบลอู่ตะเภา อำเภอมโนรมย์ แล้วผ่านสะพานเบี่ยง ตำบลเสือโฮก อำเภอเมืองชัยนาท ก่อนเข้าสู่ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอบ้านหมี่ อำเภอโคกสำโรง อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เข้าสู่ อำเภอหนองโดน อำเภอพระพุทธบาท อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี บรรจบกับแม่น้ำป่าสักที่ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความยาวทั้งสิ้น 134 กิโลเมตร",
"title": "คลองอนุศาสนนันท์"
},
{
"docid": "43007#2",
"text": "อำเภอบ้านแพรก มีที่มาของชื่อจากทางแยกของแม่น้ำที่เปลี่ยนทางเดินคือแม่น้ำลพบุรีสายเก่ากับคลองตาเมฆ เรื่องเล่าว่าตาเมฆเป็นชาวสุพรรณบุรี มารับราชการในกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับบิดามีหน้าที่ดูแลช้างหลวง ตาเมฆได้นำโขลงช้างมามาพักเลี้ยงอยู่ริมแม่น้ำลพบุรี โขลงช้างเดินขึ้นลงในแม่น้ำลพบุรีเกิดเป็นลำรางกลายเป็นคลอง จึงได้ชื่อว่า \"คลองตาเมฆ\" แม่น้ำลพบุรีเป็นแม่น้ำที่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ผ่านอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านอำเภอบ้านแพรก อำเภอมหาราช อำเภอบางปะหัน มาบรรจบกับแม่น้ำป่าสักที่วัดตองปุ ตำบลบ้านเกาะ อำเภอพระนครศรีอยุธยา",
"title": "อำเภอบ้านแพรก"
},
{
"docid": "5358#14",
"text": "ที่ราบลุ่ม มีพื้นที่ 1,170 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ของอำเภอท่าวุ้งทั้งหมด ตอนกลาง และตะวันตกของอำเภอเมืองลพบุรี ตอนกลางและตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอโคกสำโรง และส่วนใหญ่ของอำเภอบ้านหมี่ พื้นที่ราบตอนกลางของอำเภอเมืองลพบุรี บริเวณหมู่บ้านสะพานอิฐ และหมู่บ้านหินสองก้อนจะมีดินสีขาวที่สามารถนำมาทำดินสอพองได้ และดินสอพองของจังหวัดลพบุรีได้ชื่อว่าเป็นดินสอพองที่ดีที่สุดของเมืองไทย ที่ราบสลับเนินเขาและภูเขา มีเนื้อที่ 4,816.67 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ด้านตะวันออกของอำเภอเมืองลพบุรี ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอบ้านหมี่บางส่วน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันออกของอำเภอโคกสำโรงและอำเภอท่าหลวง",
"title": "จังหวัดลพบุรี"
},
{
"docid": "939796#4",
"text": "ลาวแง้วถือเป็นกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ เพราะมีชุมชนกระจัดกระจาย ตั้งแต่จังหวัดสระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี และนครสวรรค์ ปะปนกับกลุ่มลาวพวนและลาวเวียง ปัจจุบันพบกลุ่มลาวแง้ว ในเขตอำเภอเมือง อำเภอบ้านหมี่ และอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรีมากที่สุด นอกนั้นก็เป็นกลุ่มที่อยู่ดั้งเดิมคือในตำบลทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยตำบลอินทร์ อำเภออินทร์บุรีมีคนเชื้อสายลาวแง้วอาศัยอยู่มาก นอกจากนี้ยังมีที่วัดท่าอิฐ วัดเกาะแก้ว วัดตุ้มหู บางโฉมศรี ตำบลบุ่งชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี และแถบตำบลบ้านสิงห์ วัดสาธุ ตำบลโพงพางเสือ อำเภอบางระจันก็มีลาวแง้วอาศัยอยู่ ส่วนในพื้นที่ที่ลาวแง้วขยับขยายไปตั้งถิ่นฐานแหล่งใหม่ ได้แก่ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี",
"title": "แง้ว"
},
{
"docid": "181813#6",
"text": "ถนนพหลโยธินเข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านอำเภอบางปะอินกับอำเภอวังน้อย โดยมีแนวถนนเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครอง จากนั้นเส้นทางออกไปทางทิศตะวันออกและเข้าสู่อำเภอวังน้อยตั้งแต่ทางแยกต่างระดับทางแยกต่างระดับบางปะอิน 1 แล้วเข้าสู่จังหวัดสระบุรี ผ่านอำเภอหนองแค ซึ่งช่วงตั้งแต่อำเภอบางปะอินจนถึงบ้านหินกอง อำเภอหนองแค เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 1 จากนั้นเส้นทางเข้าสู่อำเภอเมืองสระบุรี ในช่วงนี้ถนนมีช่องจราจรเหลือเพียง 6 ช่อง จากนั้นเข้าสู่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอพระพุทธบาท แล้วเข้าจังหวัดลพบุรี ผ่านเทศบาลเมืองลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี ซึ่งถนนจะลดเหลือ 4 ช่องจราจร แล้วเข้าสู่อำเภอโคกสำโรง และอำเภอหนองม่วง โดยเมื่อพ้นตัวอำเภอโคกสำโรงถนนจะลดเหลือ 2 ช่องจราจร จากนั้นเส้นทางออกไปทางทิศตะวันตกและเข้าสู่จังหวัดนครสวรรค์เป็นครั้งแรกที่อำเภอตากฟ้า และอำเภอตาคลี เมื่อผ่านอำเภอตาคลี เส้นทางจะขยายเป็น 4-6 ช่องจราจรอีกครั้ง แล้วไปยังจังหวัดชัยนาท ผ่านอำเภอเมืองชัยนาท ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 แล้วเส้นทางตัดออกไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอมโนรมย์ เข้าสู่จังหวัดนครสวรรค์เป็นครั้งที่ 2 โดยเส้นทางบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ที่อำเภอพยุหะคีรี จะเรียกถนนตั้งแต่ช่วงนี้ว่า \"ถนนสายเอเชีย\" เนื่องจากช่วงนี้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 1 จนถึงอำเภอเมืองตาก และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 2 ตั้งแต่ช่วงนี้ไปจนถึงอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย",
"title": "ถนนพหลโยธิน"
},
{
"docid": "283472#0",
"text": "แม่น้ำบางขาม \nเป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ มีความยาวเพียง 20 กิโลเมตร ซึ่งมีต้นกำเนิดจากคลอง ในเขตอำเภอบ้านหมี่ ไหลไปรวมกับแม่น้ำลพบุรี ในเขตอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี\nลุ่มแม่น้ำบางขาม ลพบุรี เป็นสายน้ำแห่งวิถีชีวิตของผู้คนซึ่งนักโบราณคดีเชือว่า เดิมชุมชนแห่งนี้มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวพุทธศักราช 1100- 1600 เป็นแหล่งอารยธรรมของมอญอาศัยอยู่ชื่อว่า \"เมืองราม\" เมื่ออิทธิพลขอมเรืองอำนาจ อาณาจักรทวารวดีล่มสลายลง และต่อมาชนเผ่าในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นผู้คนจาก จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดลพบุรี ได้พากันอพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ำบางขามและเนื่องจากริมแม่น้ำดังกล่าวมีต้นไผ่ซึ่งชาวบ้านปลูกไว้เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน และป้องกันลมจากชายน้ำ และมีจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกขานกันว่าเป็น บ้านวังไผ่ ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่บริเวณหมู่ที่ 4 ตำบลบางพึ่ง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี \nลุ่มแม่น้ำบางขาม ประกอบด้วย ต.มหาสอน ต.บางพึ่ง ต.บ้านชี ต.บางขาม อ.บ้านหมี่ และต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ซึ่งวิถีชีวิตเดิมมีความผูกพันกับสายน้ำใช้เป็นเส้นทาง \nสัญจร ค้าขาย โดยเฉพาะบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ทำนาตลอดปีโดยอาศัยแหล่งน้ำจากแม่น้ำบางขาม ในปี พ.ศ. 2546 จังหวัดลพบุรี ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้ร่วมกันอนุรักษ์คุณภาพของน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดการทำลายทรัพยากร โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ได้ร่วมกันขุดลอกและกำจัดผักตบชวาและดำเนินการจัดทำประตูสำหรับการระบายน้ำแม่น้ำบางขาม วึ่งทำให้ประชาชนในเขตลุ่มน้ำบางขามได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ แยงทำให้วิถีชีวิตผู้คนลุ่มน้ำบางขาม กลับฟื้นคืนมาอีกครั้งหนึ่ง",
"title": "แม่น้ำบางขาม"
},
{
"docid": "289550#0",
"text": "รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดลพบุรี ทั้ง 11 อำเภอ\nแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลพบุรีจำแนกเป็นรายประเภท ดังนี้",
"title": "รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดลพบุรี"
},
{
"docid": "194644#1",
"text": "ต้นน้ำของแม่น้ำลพบุรี อยู่ที่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ไหลมาทางตะวันออกผ่านอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี, อำเภอท่าวุ้ง และอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ก่อนไหลลงไปทางใต้เข้าเขตอำเภอบ้านแพรก, อำเภอมหาราช, อำเภอบางปะหัน, อำเภอนครหลวง และไหลมาบรรจบกับแม่น้ำป่าสักหน้าตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถึงจะมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าวัดพนัญเชิง ตำบลหอรัตนไชย อำเภอและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมความยาวที่ไหลผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประมาณ 63 กิโลเมตร",
"title": "แม่น้ำลพบุรี"
},
{
"docid": "546471#0",
"text": "โรงพยาบาลพระพุทธบาท ตั้งอยู่เลขที่ 86 หมู่ 8 ตำบลธารเกษม อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ห่างจากตัวจังหวัด 28 กิโลเมตร โดยประมาณ มีเนื้อที่ 70 ไร่\nมีอาณาเขต ดังนี้\nทิศเหนือ : จดพื้นที่อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี\nทิศใต้: จดพื้นที่อำเภอบ้านหมอ อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี\nทิศตะวันออก :จดพื้นที่อำเภอเสาไห้ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี\nและทิศตะวันตก: จดพื้นที่อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี",
"title": "โรงพยาบาลพระพุทธบาท สระบุรี"
}
] |
243 | เซลล์ไฟฟ้าเคมี คิดค้นโดยใคร ? | [
{
"docid": "366546#0",
"text": "อาเลสซานโดร จูเซปเป อันโตนิโอ อนาสตาซิโอ โวลตา (Italian: Alessandro Giuseppe Antonio Anastasio Volta; 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1745 — 5 มีนาคม ค.ศ. 1827) เป็นนักฟิสิกส์ชาวลอมบาร์ดี ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าคิดค้นแบตเตอรี (เซลล์ไฟฟ้าเคมี) ขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1800",
"title": "อาเลสซานโดร โวลตา"
}
] | [
{
"docid": "58892#14",
"text": "ช่องไอออนโดยมากเปิดให้ไอออนโดยเฉพาะ ๆ ข้าม บางอย่างเปิดปิดโดยศักย์ไฟฟ้า (voltage gated) ซึ่งหมายความว่าจะอยู่ในสภาพเปิดปิดขึ้นอยู่กับความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าข้ามเยื่อ บางอย่างเปิดปิดทางเคมี (chemically gated) ซึ่งหมายความว่าจะอยู่ในสภาพเปิดปิดโดยอาศัยปฏิสัมพันธ์ทางเคมีกับของเหลวที่อยู่ระหว่างเซลล์",
"title": "เซลล์ประสาท"
},
{
"docid": "19082#0",
"text": "โวลต์ (สัญลักษณ์ : V) คือหน่วยอนุพันธ์ในระบบเอสไอของความต่างศักย์ไฟฟ้า ปริมาณที่กำกับด้วยหน่วยโวลต์นั้นคือผลการวัดความเข้มของแหล่งจ่ายไฟฟ้าในแง่ที่ว่าจะสร้างพลังงานได้เท่าใดที่ระดับกระแสค่าหนึ่ง ๆ โวลต์ซึ่งเป็นชื่อของหน่วยนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ อาเลสซันโดร วอลตา (พ.ศ. 2288–2370) ผู้คิดค้นแบตเตอรี่เคมีชนิดแรกที่เรียกว่าเซลล์โวลตาอิก (Voltaic Pile)",
"title": "โวลต์"
},
{
"docid": "48613#43",
"text": "ไฟฟ้าเคมีได้เป็นส่วนสำคัญในการผลิตไฟฟ้าเสมอ จากสิ่งประดิษฐ์ช่วงเริ่มต้นของเซลล์ซ้อนของโวลตา เซลล์ไฟฟ้าเคมีได้วิวัฒนาการไปเป็นแบตเตอรีชนิดต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งเซลล์การชุบด้วยไฟฟ้าและเซลล์อิเล็กโทรไลต์ อะลูมิเนียมสามารถผลิตขึ้นมาได้ในปริมาณมหาศาลก็ด้วยวิธีนี้ และอุปกรณ์เคลื่อนที่จำนวนมากได้รับพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แบบที่ชาร์จไฟใหม่ได้",
"title": "ไฟฟ้า"
},
{
"docid": "129606#1",
"text": "เซลล์เชื้อเพลิงชนิดนี้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้า โดยอาศัยปฏิกิริยาทางไฟฟ้าเคมี ตามปฏิกิริยารีดอกซ์ โดยที่ขั้วอิเล็กโทรด ของเซลล์ไฟฟ้าชนิดนี้ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแพลตทินัม(Pt)และขั้วอิเล็กโทรไลท์ใช้โพลิเมอร์แข็ง คือ แนฟฟิออน(Nafion(R)) เป็นเยื่อเลื่อกผ่านประจุ สารตั้งต้นของเซลล์เชื้อเพลิงแบบเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน ใช้ กาซไฮโดรเจน และ ออกซิเจน(หรือ อากาศ) โดยกาซไฮโดรเจนจะแตกตัวบนพื้นผิวตัวเร่งปกิกิริยาที่ด้านแอโนด ให้ผลิตภัณท์คือ โปรตอน และ อิเล็กตรอน ตามปฏิกิริยาออกซิเดชั่น แต่ในเซลล์เชื้อเพลิงที่ใช้แนฟฟิออนเป็นเยื่อเลือกผ่านนี้ เฉพาะอิออนที่มีประจุบวกเท่านั้นจึงจะผ่านได้ ดังนั้นในที่นี้โปรตรอนจึงถูกเลือกให้เคลื่อนที่ผ่านไปยังขั้วแคโทด ส่วนอิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ออกจากเซลล์ไฟฟ้าเคมีไปยังขั้วแคโทด โดยผ่านภาระทางไฟฟ้า หรือ โหลด (Load)และเป็นที่รู้กันดีว่าไฟฟ้าเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน ดังนั้นเราก็จะได้แสงสว่างจากไฟฟ้าที่ผลิตได้ หากโหลดนั้นคือหลอดไฟฟ้า เมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปยังขัวแคโทดถือว่าครบวงจร จากนั้นอิเล็กตรอน โปรตอน และก๊าซออกซิเจน ตามปฏิกิริยารีดักชั่น ก็จะรวมตัวกัน กลายเป็นน้ำ ดังนั้นเซลล์เชื้อเพลิงชนิดนี้จึงไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม",
"title": "เซลล์เชื้อเพลิงชนิดเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน"
},
{
"docid": "366546#11",
"text": "ด้วยวิธีนี้เขาได้ค้นพบชุดเคมีไฟฟ้าและกฎหมายว่าแรงดึงดูด (emf) ของเซลล์ไฟฟ้าประกอบด้วยอิเล็กตรอนคู่ที่แยกจากกันโดยอิเลคโตรไลท์ คือความแตกต่างระหว่างศักย์ไฟฟ้าของขั้วไฟฟ้าทั้งสอง ( อิเล็กโทรไลต์ทั่วไปให้ศูนย์ emf สุทธิ ) นี่อาจเรียกว่ากฎไฟฟ้าเคมีของโวลต้า",
"title": "อาเลสซานโดร โวลตา"
},
{
"docid": "366546#12",
"text": "ในปีค.ศ. 1800 เนื่องจากความไม่เข้ากันของ Galvanic ทำให้ Galvani และ Volta ได้ทำการคิดค้น voltaic ขึ้นมาซึ่งเป็นแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง Volta ได้กำหนดให้คู่ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดของโลหะที่แตกต่างกันในการผลิตไฟฟ้าคือสังกะสีและทองแดง ตอนแรกเขาทดลองกับแต่ละเซลล์ในชุดแต่ละเซลล์เป็นถ้วยไวน์ที่เต็มไปด้วยน้ำเกลือที่ขั้วไฟฟ้าทั้งสองต่างถูกจุ่มลง กอง voltaic แทนถ้วยกับกระดาษแข็งแช่ในน้ำเกลือ.",
"title": "อาเลสซานโดร โวลตา"
},
{
"docid": "22013#11",
"text": "แบตเตอรี่แปลงพลังงานเคมีให้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง แบตเตอรี่ประกอบด้วยเซลล์แบบโวลตาได้มากกว่าหนึ่งเซลล์ แต่ละเซลล์ประกอบด้วยสอง ครึ่งเซลล์ ที่เชื่อมต่อเรียงกันเป็นแถวโดยสารอิเล็กโทรไลต์ที่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้าที่มีไอออนที่มีประจุลบ () และไอออนที่มีประจุบวก () ครึ่งเซลล์หนึ่งตัวจะมีอิเล็กโทรไลต์และขั้วลบ (อิเล็กโทรดที่แอนไอออนวิ่งเข้าหา); อีกครึ่งเซลล์หนึ่งจะมีอิเล็กโทรไลต์และขั้วบวก (อิเล็กโทรดที่แคทไอออนวิ่งเข้าหา Redox ปฏิกิริยา Redox เป็นตัวให้พลังงานกับแบตเตอรี่ แคทไอออนจะลดลง (อิเล็กตรอนมีการเพิ่ม) ที่แคโทดระหว่างการชาร์จประจุ ในขณะที่แอนไอออนจะถูกออกซิไดซ์ (อิเล็กตรอนจะถูกลบออก) ที่ขั้วบวกระหว่างการชาร์จ ในระหว่างการดีสชาร์จกระบวนการจะเป็นตรงกันข้าม ขั้วไฟฟ้าทั้งสองไม่ได้สัมผัสกัน แต่เชื่อมต่อทางไฟฟ้าโดย อิเล็กโทรไลต์ เซลล์บางตัวใช้อิเล็กโทรไลต์แตกต่างกันสำหรับแต่ละครึ่งเซลล์ ตัวคั่นช่วยให้ไอออนไหลระหว่างครึ่งเซลล์ แต่จะช่วยป้องกันการผสมของอิเล็กโทรไลต์ทั้งสองด้าน",
"title": "แบตเตอรี่"
},
{
"docid": "659972#63",
"text": "แบตเตอรี่ไหลมีความคล้ายคลึงด้านเทคนิคกับทั้งเซลล์เชื้อเพลิงและเซลล์สะสมไฟฟ้าเคมี (ความสามารถในการเปลี่ยนกลับทางด้านเคมีไฟฟ้า). ในขณะที่มันมีข้อได้เปรียบทางเทคนิคเช่นถังของเหลวที่อาจแยกได้และอายุยืนยาวเกือบไม่จำกัดเหนือกว่าแบตเตอรีแบบชาร์จไฟได้ธรรมดาส่วนใหญ่, การใช้งานในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วมีประสิทธิภาพน้อยกว่าและต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อนมากกว่า. ชนิดใหม่กว่าของแบตเตอรี่ไหลกำลังมีการพัฒนาเพื่อให้สามารถจัดเก็บพลังงานจำนวนมากได้, เนื่องจากการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานโดยรวมของระบบ (มีค่าเป็น MWh) โดยทั่วไปต้องใช้เพียงการเพิ่มขึ้นของขนาดของอ่างเก็บสารเคมีที่เป็นของเหลวเท่านั้น.",
"title": "การเก็บพลังงาน"
},
{
"docid": "36761#1",
"text": "เซลล์ไฟฟ้าเคมีประกอบด้วยสองครึ่งเซลล์ แต่ละ\"ครึ่งเซลล์\"ประกอบด้วยขั้วไฟฟ้าและอิเล็กโทรไลต์อย่างละหนึ่งตัว สองครึ่งเซลล์อาจใช้อิเล็กโทรไลต์เดียวกันหรือต่างกัน ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์อาจเกี่ยวข้องกับทั้งอิเล็กโทรไลต์และขั้วไฟฟ้าและ/หรือกับสารภายนอก (เช่นในเซลล์เชื้อเพลิงที่อาจใช้แก๊สไฮโดรเจนเป็นตัวทำปฏิกิริยา) ในเซลล์ไฟฟ้าเคมีเต็มรูปแบบ สารละลายในหนึ่งครึ่งเซลล์จะสูญเสียอิเล็กตรอน (ออกซิเดชัน) ให้กับขั้วไฟฟ้าของมันในขณะที่สารละลายในอีกหนึ่งครึ่งเซลล์ได้อิเล็กตรอนเพิ่ม (รีดักชัน) จากขั้วไฟฟ้าของมัน",
"title": "เซลล์ไฟฟ้าเคมี"
},
{
"docid": "659972#59",
"text": "แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้, หรือเรียกว่า storage battery หรือ accumulator, เป็นแบตเตอรี่ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง. มันประกอบด้วยเซลล์ไฟฟ้าเคมีหนึ่งชุดหรือมากกว่า, และเป็นต้วสะสมพลังงานประเภทหนึ่ง. มันเป็นที่รู้จักกันในนาม 'เซลล์รอง' เพราะปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีของมันเป็นแบบไฟฟ้าย้อนกลับ. แบตเตอรี่ที่ชาร์จไฟได้มาในรูปทรงและขนาดที่แตกต่างกัน, ตั้งแต่เซลล์ขนาดกระดุมจนถึงระบบเมกะวัตต์ที่เชื่อมต่อเพื่อรักษาเสถียรภาพของเครือข่ายการกระจายไฟฟ้า. ส่วนผสมของสารเคมีที่แตกต่างกันหลายอย่างถูกนำมาใช้โดยทั่วไป, ได้แก่ ตะกั่ว-กรด, นิกเกิลแคดเมียม (NiCd), นิกเกิลเมททัลไฮไดรด์ (NiMH), ลิเธียมไอออน (Li-ion), และพอลิเมอลิเธียมไอออน (Li-ion polymer).",
"title": "การเก็บพลังงาน"
},
{
"docid": "783166#5",
"text": "ในกรณีที่เป็นแบตเตอรี่ การแยกตัวของประจุที่ก่อให้เกิดความต่างแรงดันระหว่างขั้วทั้งสองสามารถทำสำเร็จได้โดยปฏิกิริยาเคมีที่ขั้วไฟฟ้าที่จะแปลงพลังงานเคมีให้เป็นพลังงานศักย์แม่เหล็กไฟฟ้า เซลล์ไฟฟ้าอาจคิดว่าเป็นการมี \"ปั๊มประจุ\" ที่มีขนาดเท่าอะตอมที่แต่ละขั้วไฟฟ้า นั่นคือ",
"title": "แรงเคลื่อนไฟฟ้า"
},
{
"docid": "366546#13",
"text": "แบตเตอรีที่โวลตาผลิตได้รับยกย่องเป็นเซลล์ไฟฟ้าเคมีเซลล์แรก ประกอบด้วยสองอิเล็กโทรด อันหนึ่งทำจากสังกะสี อีกอันหนึ่งทำจากทองแดง อิเล็กโทรไลต์เป็นกรดซัลฟิวริกผสมน้ำหรือน้ำเกลือเข้มข้นทะเลรูปหนึ่ง อิเล็กโทรไลต์มีอยู่ในรูป 2H+ และ SO42− สังกะสีซึ่งมีศักยะอิเล็กโทรต (electrode potential) สูงกว่าทองแดงและไฮโดรเจน ทำปฏิกิริยากับซัลเฟต (SO42−) ซึ่งมีประจุลบ ไอออนไฮโดรเจน (โปรตอน) ซึ่งมีประจุบวกจับอิเล็กตรอนจากทองแดง ก่อให้เกิดฟองแก๊สไฮโดรเจน H2 ทำให้แท่งสังกะสีเป็นอิเล็กโทรตลบและแท่งทองแดงเป็นอิเล็กโทรดบวก ฉะนั้น มีสองปลาย และกระแสไฟฟ้าจะไหลหากเชื่อมต่อกัน ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์โวตาอิกนี้เป็นดังนี้",
"title": "อาเลสซานโดร โวลตา"
},
{
"docid": "58892#16",
"text": "นิวรอนส่งสัญญาณผ่านจุดประสานประสาททางเคมี (chemical synapse) และจุดประสานประสาททางไฟฟ้า (electrical synapse) ในกระบวนการที่เรียกว่าการสื่อประสาท (neurotransmission) หรือการสื่อผ่านไซแนปส์ (synaptic transmission) กระบวนการหลักที่จุดชนวนให้เซลล์ปล่อยสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ก็คือศักยะงาน (action potential) ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าวิ่งผ่าน และสร้างโดยอาศัยความต่างศักย์ของเยื่อหุ้มเซลล์/เยื่อหุ้มเซลล์ที่เร้าได้ด้วยไฟฟ้า โดยเกิดในลักษณะเป็นคลื่นของการลดขั้ว (depolarization)",
"title": "เซลล์ประสาท"
},
{
"docid": "58892#4",
"text": "นิวรอนทั้งหมดสามารถเร้าได้โดยกระแสไฟฟ้า โดยรักษาศักย์ไฟฟ้าที่ต่างกันระหว่างภายในภายนอกเซลล์ข้ามเยื่อหุ้มเซลล์ โดยใช้ปั๊มไอออน (หรือ ion transporter) บวกกับช่องไอออนที่ฝังอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์เพื่อรักษาความเข้มข้นของไอออนต่าง ๆ (เช่น โซเดียม โพแทสเซียม คลอไรด์ และแคลเซียม) ในระดับที่ต่างกันระหว่างภายในภายนอกเซลล์ ความเปลี่ยนแปลงของความต่างศักย์ไฟฟ้าข้ามเยื่อหุ้มเซลล์อาจเปลี่ยนการทำงานของช่องไอออนที่เปิดปิดโดยศักย์ไฟฟ้า (Voltage-gated ion channel) ถ้าศักย์ต่างเปลี่ยนมากพอ ก็จะมีผลเป็นศักยะงาน (action potential) ที่ยิงแบบเกิดหรือไม่เกิด (all-or-none) และเป็นพัลส์ไฟฟ้าเคมีที่วิ่งไปอย่างรวดเร็วทางแอกซอนของเซลล์ แล้วจบลงด้วยการส่งสัญญาณข้ามเซลล์ที่จุดประสานประสาท (โดยเซลล์ประสาทต่อไปอาจส่งสัญญาณต่อ)",
"title": "เซลล์ประสาท"
},
{
"docid": "355991#0",
"text": "เซลล์กัลวานี หรือ เซลล์วอลตา (English: Galvanic cell หรือ Voltaic cell) เป็นเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่ตั้งชื่อตาม ลุยจิ กัลวานี หรือ อาเลสซานโดร โวลตาตามลำดับ เซลล์นี้จะให้พลังงานไฟฟ้าจากปฏิกิริยารีดอกซ์ที่เกิดขึ้นเองภายในเซลล์ โดยทั่วไปมันจะประกอบด้วยโลหะที่ต่างกันสองชนิดเชื่อมต่อกันด้วยสะพานเกลือ หรือสองครึ่งเซลล์ที่คั่นด้วยเยื่อที่มีรูพรุน",
"title": "เซลล์กัลวานี"
},
{
"docid": "7498#0",
"text": "เซลล์เชื้อเพลิง () เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานเคมีจากเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งให้เป็นกระแสไฟฟ้าผ่านทางปฏิกิริยาเคมีของไอออนของไฮโดรเจนประจุบวกกับอ๊อกซิเจนหรือตัวทำอ๊อกซิเดชันอื่น เซลล์เชื้อเพลิงแตกต่างจากแบตเตอรี่ที่ว่ามันต้องการแหล่งจ่ายเชื้อเพลิงและอ๊อกซิเจนหรืออากาศอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนของปฏิกิริยาเคมี ในขณะที่ในแบตเตอรี่สารเคมีภายในจะทำปฏิกิริยาต่อกันเพื่อผลิตแรงเคลื่อนไฟฟ้า (emf) เซลล์เชื้อเพลิงสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องนานเท่าที่เชื้อเพลิงและอ๊อกซิเจนหรืออากาศยังคงถูกใส่เข้าไป ไม่เหมือนกับแบตเตอรี่ที่จะหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้าถ้าสารเคมีหมดอายุการใช้งาน ",
"title": "เซลล์เชื้อเพลิง"
},
{
"docid": "36761#5",
"text": "ศักย์ของเซลล์สามารถทำนายได้โดยการใช้ศักย์ของขั้วไฟฟ้า (แรงดันไฟฟ้าของแต่ละครึ่งเซลล์) ศักย์ของครึ่งเซลล์เหล่านี้จะถูกกำหนดเทียบกับแรงดัน 0 โวลต์ที่มอบหมายให้กับขั้วไฟฟ้าไฮโดรเจนมาตรฐาน () (ดูตารางที่ศักย์มาตรฐานของขั้วไฟฟ้า) ความแตกต่างในแรงดันไฟฟ้าระหว่างศักย์ขั้วไฟฟ้าทั้งสองจะสามารถคาดการณ์ถึงศักย์ที่จะทำการวัด เมื่อคำนวณค่าความแตกต่างของแรงดันไฟฟ้า เราต้องเขียนสมการปฏิกิริยาครึ่งเซลล์ขี้นใหม่ก่อนเพื่อหาสมการอ๊อกซิเดชัน-รีดักชันที่สมดุลข้อสังเกต ศักย์ของเซลล์จะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อปฏิกิริยาจะถูกคูณด้วยค่าคงที่",
"title": "เซลล์ไฟฟ้าเคมี"
},
{
"docid": "22013#0",
"text": "แบตเตอรี่ () เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วย เซลล์ไฟฟ้าเคมี หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า ที่มีการเชื่อมต่อภายนอกเพื่อให้กำลังงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า แบตเตอรี่มี ขั้วบวก () และ ขั้วลบ () ขั้วที่มีเครื่องหมายบวกจะมีพลังงานศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าขั้วที่มีเครื่องหมายลบ ขั้วที่มีเครื่องหมายลบคือแหล่งที่มาของอิเล็กตรอนที่เมื่อเชื่อมต่อกับวงจรภายนอกแล้วอิเล็กตรอนเหล่านี้จะไหลและส่งมอบพลังงานให้กับอุปกรณ์ภายนอก เมื่อแบตเตอรี่เชื่อมต่อกับวงจรภายนอก สาร อิเล็กโทรไลต์ มีความสามารถที่จะเคลื่อนที่โดยทำตัวเป็นไอออน ยอมให้ปฏิกิริยาทางเคมีทำงานแล้วเสร็จในขั้วไฟฟ้าที่อยู่ห่างกัน เป็นการส่งมอบพลังงานให้กับวงจรภายนอก การเคลื่อนไหวของไอออนเหล่านั้นที่อยู่ในแบตเตอรี่ที่ทำให้เกิดกระแสไหลออกจากแบตเตอรี่เพื่อปฏิบัติงาน ในอดีตคำว่า \"แบตเตอรี่\" หมายถึงเฉพาะอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ แต่การใช้งานได้มีการพัฒนาให้รวมถึงอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว",
"title": "แบตเตอรี่"
},
{
"docid": "783166#6",
"text": "แหล่งที่มาของแรงเคลื่อนไฟฟ้าอาจจะคิดได้ว่าเป็นชนิดหนึ่งของ\"ปั้มประจุ\"ที่ทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายประจุบวกจากจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำผ่านตัวมันเองไปยังจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าที่สูงกว่า ... โดยวิธีการทางเคมี, ทางกลไกหรือทางอื่น ๆ แหล่งที่มาของแรงเคลื่อนไฟฟ้าจะทำงาน \"dW\" บนประจุนั้นเพื่อที่จะเคลื่อนย้ายประจุไปยังขั้วที่มีศักยภาพสูง แรงเคลื่อนไฟฟ้า \"ℰ\" ของแหล่งที่มาจะถูกกำหนดให้เป็นงาน \"dW\" ที่ทำบนประจุ \"dq\" ดังนั้น \"ℰ\" = \"dW/dq\"\nราวปี 1830 ไมเคิล ฟาราเดย์ระบุว่าปฏิกิริยาในแต่ละรอยต่อสองรอยต่อระหว่างขั้วไฟฟ้ากับสารอิเล็กโทรไลต์จะให้ \"EMF\" สำหรับเซลล์ไฟฟ้า นั่นคือ ปฏิกิริยาเหล่านี้เป็นตัวขับเคลิ่อนกระแสและไม่ได้เป็นแหล่งที่มาของพลังงานที่ไม่มีที่สิ้นสุดอย่างที่ติดไว้แต่แรก ในกรณีของวงจรเปิด การแยกตัวของประจุจะดำเนินต่อไปจนกระทั่งสนามไฟฟ้าจากประจุที่ถูกแยกตัวมีปริมาณเพียงพอที่จะหยุดปฏิกิริยา หลายปีก่อนหน้านี้ อาเลสซานโดร โวลตา ผู้ที่วัดความต่างศักย์ของจุดสัมผัสระหว่างโลหะกับโลหะ (ขั้วไฟฟ้ากับอิเล็กโทรด) ของเซลล์ของเขา เขาได้ให้ความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้องที่ว่าจุดสัมผัสเพียงอย่างเดียว (โดยไม่คำนึงถึงปฏิกิริยาทางเคมี) เป็นต้นกำเนิดของ EMF",
"title": "แรงเคลื่อนไฟฟ้า"
},
{
"docid": "563366#22",
"text": "ตัวกระตุ้นเชิงเคมี ตัวอย่างเช่นกลิ่น มีการตรวจจับโดยหน่วยรับความรู้สึกของเซลล์ที่บ่อยครั้งจับคู่กับประตูไอออนที่มีหน้าที่ถ่ายโอนสารเคมีเป็นสัญญาณไฟฟ้า กรณีหนึ่งก็คือเซลล์ประสาทรับกลิ่น (Olfactory receptor neuron) คือ เมื่อสารมีกลิ่นเข้าไปยึดกับหน่วยรับกลิ่นของเซลล์ ศักย์ของเยื่อหุ้มเซลล์ก็ลดลงเปิดประตูไออนบวกที่ไม่เลือกขนาดไอออน ซึ่งเริ่มกระบวนการถ่ายโอนสารเคมีเป็นสัญญาณไฟฟ้า นอกจากนั้นแล้ว หน่วยรับกลิ่นคู่กับจีโปรตีนในเยื่อหุ้มเซลล์สามารถก่อให้เกิดกระบวนการที่สองที่เปิดประตูไออนบวก ทำให้สัญญาณไฟฟ้าของเซลล์มีกำลังมากขึ้น เป็นการขยายสัญญาณของกลิ่น",
"title": "ตัวกระตุ้น"
},
{
"docid": "36761#6",
"text": "ศักย์ของเซลล์สามารถมีช่วงประมาณศูนย์ถึง 6 โวลต์ เซลล์ที่ใช้อิเล็กโทรไลต์ที่ผสมน้ำมักจะจำกัดศักย์ของเซลล์ไว้ที่น้อยกว่าประมาณ 2.5 โวลต์ เพราะส่วนผสมสำคัญเพื่อทำออกซิเดชันและรีดักชันที่มีประสิทธิภาพมากในการผลิตศักย์เซลล์ที่สูงขึ้นจะมีแนวโน้มที่จะทำปฏิกิริยากับน้ำ ศักย์ของเซลล์ที่สูงขึ้นมีความเป็นไปได้กับเซลล์ที่ใช้ตัวทำละลายอื่นแทนน้ำ ยกตัวอย่างเช่นเซลล์ลิเธียมที่มีแรงดันไฟฟ้า 3 โวลต์ที่มีอยู่ทั่วไป",
"title": "เซลล์ไฟฟ้าเคมี"
},
{
"docid": "15489#3",
"text": "หลักการของเซลล์เคมีไฟฟ้า คือ การเปลี่ยนจากพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยนำขั้วไฟฟ้า คือ ทองแดง และแผ่นสังกะสีจุ่มในสารซัลฟิวริกเจือจาง ขั้วไฟฟ้าทั้งสองจะทำปฏิกิริยากับสารละลายแล้วเกิดการแตกตัว โดยสังกะสีจะแตกตัวให้อิเล็กตรอนมากกว่าทองแดง ทำให้อิเล็กตรอนเคลื่อนที่จากขั้วสังกะสีไปสู่ขั้วทองแดง ขั้วสังกะสีจะเป็นขั้วไฟฟ้าลบและมีศักย์ไฟต่ำ ส่วนขั้วทองแดงจะเป็นขั้วไฟฟ้าบวกและมีศักย์ไฟฟ้าสูง ดังนั้นจะทำให้มีกระแสอิเล็กตรอนเคลื่อนที่จากขั้วสังกะสีไปสู่ขั้วทองแดง จึงเกิดกระแสไฟฟ้า",
"title": "ไฟฟ้าเคมี"
},
{
"docid": "15489#2",
"text": "ปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเอง (spontaneous) สามารถใช้เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าได้เช่นในเซลล์เคมีไฟฟ้า (electrochemical cell) หรือ แบตเตอรี่ (battery) และ เซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) ตัวอย่างในเซลล์เชื้อเพลิง ก๊าซออกซิเจน (O) และไฮโดรเจน (H) จะรวมตัวกันเกิดเป็นน้ำ (HO) ความร้อนและพลังงานไฟฟ้า (electrical energy) ในทางกลับกันอิเล็กโตรไลสิส (electrolysis) ของน้ำเกิดเป็นก๊าซออกซิเจนและไฮโดรเจนเกิดขึ้นเองไม่ได้\n(non-spontaneous electrochemical reactions) ต้องใช้แรงดันไฟฟ้า (voltage) ช่วย",
"title": "ไฟฟ้าเคมี"
},
{
"docid": "355991#35",
"text": "การคำนวณเหล่านี้จะมีพื้นฐานบนสมมติฐานที่ว่าปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดอยู่ในภาวะสมดุล เมื่อมีกระแสไหลในวงจร สภาวะสมดุลจะไม่ประสบความสำเร็จและมีศักย์ของเซลล์มักจะลดลงตามกลไกต่างๆ เช่นการพัฒนาของศักย์เกิน[9] นอกจากนี้เนื่องจากปฏิกิริยาเคมีจะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์กำลังผลิตไฟฟ้า ความเข้มข้นของอิเล็กโทรไลต์จะเปลี่ยนและแรงดันไฟฟ้าของเซลล์จะลดลง ผลที่ตามมาของการพึ่งพาอุณหภูมิของศักย์มาตรฐานคือว่าแรงดันไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นโดยเซลล์กัลวานีก็ขึนอยู่กับอุณหภูมิเช่นกัน",
"title": "เซลล์กัลวานี"
},
{
"docid": "355991#4",
"text": "ในรูปแบบที่ง่ายที่สุด ครึ่งเซลล์แรกจะประกอบด้วยโลหะแข็งชนิดหนึ่ง (เรียกว่าขั้วไฟฟ้า) ที่จุ่มอยู่ในสารละลายชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยไอออนบวก หรือแคตไอออน (cation) (พร่องอิเล็กตรอน) ของโลหะที่ทำเป็นขั้วไฟฟ้า อีกครึ่งเซลล์หนึ่งจะประกอบด้วยโลหะแข็งอีกชนิดหนึ่งทำเป็นขั้วไฟฟ้าที่จุ่มอยู่ในสารละลายอีกชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยไอออนลบ หรือแอนไอออน (anion) (อิเล็กตรอนเกิน) ของโลหะที่ทำเป็นขั้วไฟฟ้านั้นเช่นกัน ทั้งสองครึ่งเซลล์จะเชื่อมถึงกันเพื่อความสมดุลของประจุจากไอออนทั้งสองแบบ ในสาระสำคัญ ภายในครึ่งเซลล์แรกจะเกิดออกซิเดชัน (oxidation) ระหว่างขั้วไฟฟ้ากับสารละลาย ทำให้สายละลายพร่องอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนที่พร่องไปสะสมที่ขั้วไฟฟ้า ภายในครึ่งเซลล์หลังจะเกิดรีดักชัน (reduction) ระหว่างขั้วไฟฟ้ากับสารละลาย ทำให้สารละลายได้รับอิเล็กตรอนเพิ่ม ทำให้ขั้วไฟฟ้าพร่องอิเล็กตรอน (เรียกว่าโฮล) ดังนั้นเมื่อเชื่อมสองครึ่งเซลล์เข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเซลล์สมบูรณ์ ปฏิกิริยาโดยรวมจึงเรียกว่าปฏิกิริยารีดอกซ์ เพื่อให้เกิดความสมดุลทางเคมี สภาวะที่สมดุลสามารถเขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ดังต่อไปนี้ (เมื่อ \"M\" เป็นไอออนบวกของโลหะ ซึ่งหมายถึงอะตอมที่มีประจุไม่สมดุลเนื่องจากการ การสูญเสียของอิเล็กตรอน \"n\" ตัว)",
"title": "เซลล์กัลวานี"
},
{
"docid": "36761#0",
"text": "เซลล์ไฟฟ้าเคมี () เป็นอุปกรณ์ที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากปฏิกิริยาเคมีหรือช่วยอำนวยความสะดวกในการทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีผ่านการการใช้พลังงานไฟฟ้า ตัวอย่างหนึ่งที่ใช้ร่วมกันของเซลล์ไฟฟ้าเคมีเป็นเซลล์มาตรฐาน 1.5 โวลต์ที่ผลิตขึ้นมาสำหรับการใช้งานของผู้บริโภค อุปกรณ์ชนิดนี้รู้จักกันว่าเป็นเซลล์กัลวานีเดี่ยว แบตเตอรี่จะประกอบด้วยเซลล์สองตัวหรือมากกว่าเชื่อมต่อกันแบบอนุกรมหรือแบบขนาน",
"title": "เซลล์ไฟฟ้าเคมี"
},
{
"docid": "22013#8",
"text": "แม้ว่าแบตเตอรี่ในช่วงต้นต้นจะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับวัตถุประสงค์ด้านการทดลองก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติแล้วแรงดันไฟฟ้าของพวกมันมีความผันผวนและพวกมันก็ไม่สามารถให้กระแสขนาดใหญ่ได้เป็นระยะเวลาอย่างต่อเนื่อง ส่วน เซลล์ของนีลล์ ที่คิดค้นได้ในปี 1836 โดยนักเคมีชาวอังกฤษ จอห์น เฟรเดอริก นีลล์ เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าในทางปฏิบัติครั้งแรก และกลายเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นแหล่งพลังงานสำหรับเครือข่าย โทรเลขไฟฟ้า เซลล์ของนีลล์ประกอบด้วยหม้อทองแดงที่เติมเต็มด้วยสารละลาย คอปเปอร์ซัลเฟต ที่แช่ด้วยภาชนะ ดินเผา เคลือบที่เติมเต็มด้วย กรดกำมะถัน และขั้วไฟฟ้าสังกะสี",
"title": "แบตเตอรี่"
},
{
"docid": "36761#4",
"text": "แต่ละครึ่งเซลล์มีแรงดันไฟฟ้าลักษณะเฉพาะ () สสารที่เป็นทางเลือกสำหรับแต่ละครึ่งเซลล์มีหลากหลาย พวกมันจะให้ความต่างศักย์ที่แตกต่างกัน แต่ละปฏิกิริยาจะดำเนินการเพื่อการสมดุลทางเคมีระหว่างสถานะออกซิเดชันที่แตกต่างกันของไอออน: เมื่อเกิดความสมดุล เซลล์จะไม่สามารถให้แรงดันไฟฟ้าสูงสุดอีกต่อไป ในครึ่งเซลล์ที่กำลังเกิดออกซิเดชัน ยิ่งความสมดุลเข้าใกล้กับไอออน/อะตอมที่มีสถานะออกซิเดชันในเชิงบวกมากเท่าไร ศักย์ไฟฟ้าที่ปฏิกิริยานี้จะสร้างให้ก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ในทำนองเดียวกันในปฏิกิริยารีดักชัน ยิ่งความสมดุลเข้าใกล้กับไอออน/อะตอมที่มีสถานะออกซิเดชันในเชิง\"ลบ\"มากเท่าไร ศักย์ไฟฟ้าที่ปฏิกิริยานี้จะสร้างให้ก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น",
"title": "เซลล์ไฟฟ้าเคมี"
},
{
"docid": "22013#15",
"text": "แรงดันไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นระหว่างขั้วไฟฟ้าของเซลล์จะขึ้นอยู่กับการปลดปล่อยพลังงานของปฏิกิริยาเคมีของขั้วไฟฟ้าและอิเล็กโทรไลต์ของมัน เซลล์แบบ อัลคาไลน์ และแบบ สังกะสีคาร์บอน มีปฏิกิริยาเคมีแตกต่างกัน แต่มี EMF ประมาณเดียวกันที่ 1.5 โวลต์; ในทำนองเดียวกัน เซลล์แบบ NiCd และแบบ NiMH จะมีเคมีที่แตกต่างกัน แต่มี EMF ประมาณเดียวกันที่ 1.2 โวลต์ การเปลี่ยนแปลงศักย์ไฟฟ้าเคมีที่สูงในปฏิกิริยาของสารประกอบ ลิเธียม จะเป็นผลให้เซลล์ลิเธียมมี EMF ที่ 3 โวลต์หรือมากกว่า",
"title": "แบตเตอรี่"
}
] |
3294 | ประเทศอินโดนีเซียเป็นสมาชิกอาเซียนหรือไม่? | [
{
"docid": "467950#1",
"text": "ประเทศสมาชิกของอาเซียนได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม การประชุมสุดยอดอาเซียนจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ที่จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพครั้งแรกในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพมหานคร",
"title": "การประชุมสุดยอดอาเซียน"
},
{
"docid": "2069#33",
"text": "การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งแรกจัดขึ้นที่จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2519 จากผลของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่สาม ณ กรุงมะนิลา ในปี พ.ศ. 2530 สรุปว่าผู้นำประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนควรจะจัดการประชุมขึ้นทุกห้าปี อย่างไรก็ตาม ผลของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งต่อมาที่ประเทศสิงคโปร์ ในปี พ.ศ. 2535 ได้เสนอให้จัดการประชุมให้บ่อยขึ้น และได้ข้อสรุปว่าจะมีการจัดการประชุมสุดยอดขึ้นทุกสามปีแทน ต่อมา ในปี พ.ศ. 2544 ผู้นำสมาชิกประเทศกลุ่มอาเซียนได้เสนอให้จัดการประชุมขึ้นทุกปีเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาด่วนที่ส่งผลกระทบในพื้นที่ ประเทศสมาชิกจะได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดขึ้นเรียงตามตัวอักษร ยกเว้นประเทศพม่า ซึ่งถูกยกเลิกการเป็นเจ้าภาพการประชุมในปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547",
"title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
},
{
"docid": "220118#0",
"text": "ปฏิญญาอาเซียน () หรือ ปฏิญญากรุงเทพฯ () เป็นเอกสารในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รับการลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยในขณะนั้นมีสมาชิกผู้ก่อตั้งจำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซียและฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสกัดการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม โดยกำหนดหลักการเบื้องต้นของอาเซียน อย่างเช่น การร่วมมือกัน มิตรภาพและการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวต่อสถานการณ์ภายในประเทศสมาชิกทั้งหมด วันดังกล่าวมีการจัดการเฉลิมฉลองเป็น วันอาเซียน",
"title": "ปฏิญญากรุงเทพฯ"
},
{
"docid": "2069#0",
"text": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ () หรือ อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ไทย บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,479,210 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 625 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี อาเซียนมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ",
"title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
},
{
"docid": "2069#43",
"text": "เป็นการประชุมประจำปีระหว่างผู้นำของประเทศกลุ่มอาเซียนร่วมกับประธานาธิบดีของสหพันธรัฐรัสเซีย\nการประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน () เป็นกิจกรรมทางทหารของประเทศสมาชิกอาเซียน เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2544 โดยกองทัพเรือไทยเป็นเจ้าภาพ ใช้ชื่อว่า ASEAN Navy Interaction (ANI) หลังการประชุมครั้งที่ 3 ได้เว้นช่วงไประยะหนึ่ง จึงดำเนินการจัดการประชุมต่อในครั้งที่ 4 ที่อินโดนีเซีย และในการประชุมครั้งที่ 5 ได้เปลี่ยนชื่อการประชุมเป็น ASEAN Navy Chiefs' Meeting",
"title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
},
{
"docid": "2069#12",
"text": "วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มีการลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างภูมิภาคอาเซียน 10 ประเทศ กับนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย มีการประเมินว่าความตกลงการค้าเสรีนี้จะเพิ่มจีดีพีใน 12 ประเทศขึ้นมากกว่า 48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ระหว่าง พ.ศ. 2543-2563 ต้นปี พ.ศ. 2554 ติมอร์-เลสเตวางแผนจะยื่นจดหมายขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกแก่สำนักเลขาธิการอาเซียนในอินโดนีเซีย เป็นประเทศสมาชิกลำดับที่สิบเอ็ดของอาเซียนระหว่างการประชุมสุดยอดในกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซียแสดงท่าทีต้อนรับติมอร์-เลสเตอย่างอบอุ่น",
"title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
}
] | [
{
"docid": "2069#39",
"text": "ที่ประชุมกลุ่มอาเซียนเป็นการประชุมหลายฝ่ายอย่างเป็นทางการในภาคพื้นแปซิฟิก ในเดือนกรกฎาคม 2550 ที่ประชุมดังกล่าวประกอบด้วย ประเทศสมาชิก 27 ประเทศ; ออสเตรเลีย บังกลาเทศ แคนาดา สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพยุโรป อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ มองโกเลีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี รัสเซีย ติมอร์-เลสเต สหรัฐอเมริกา และศรีลังกา จุดประสงค์ของที่ประชุมเพื่อการปรึกษาหารือ นำเสนอความไว้วางใจและธำรงความสัมพันธ์ทางการทูตในกลุ่มสมาชิก ที่ประชุมกลุ่มอาเซียนจัดการประชุมครั้งแรกในปี 2537",
"title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
},
{
"docid": "386360#17",
"text": "ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ค่อนข้างขวางกั้นการสมัครเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของปาปัวนิวกินี แม้จะตั้งอยู่ไม่ห่างจากกรุงจาการ์ตา อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่อาเซียน มากไปกว่าตอนเหนือของพม่า แต่ในทางภูมิศาสตร์ ปาปัวนิวกินีมิใช่ส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือทวีปเอเชีย เมื่อปาปัวนิวกินีได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์เมื่อ พ.ศ. 2519 อาเซียนก็ได้รับรองว่าปาปัวนิวกินีมีภูมิภาคการเมืองและเศรษฐกิจเดียวกับสมาชิกอาเซียน และเชื่อมโยงกันทางภูมิศาสตร์ เพราะปาปัวนิวกินีกินพื้นที่ครึ่งหนึ่งของเกาะนิวกินีขนาดใหญ่ ซึ่งอีกครึ่งหนึ่งของเกาะเป็นที่ตั้งของจังหวัดปาปัวและปาปัวตะวันตกของอินโดนีเซีย นับแต่นั้น ปาปัวนิวกินีก็รอคอยนาน 35 ปีที่จะกลายเป็นสมาชิกเต็มตัว",
"title": "การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
},
{
"docid": "2069#42",
"text": "การประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรปเป็นกระบวนการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ มีขึ้นครั้งแรกในปี 2538 เพื่อเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุโรปและเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมาชิกของสหภาพยุโรปและอาเซียน โดยกลุ่มอาเซียนจะส่งเลขาธิการอาเซียนเป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมร่วมกับผู้แทนอีก 45 คน และได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะผู้บริหารของมูลนิธิเอเชีย-ยุโรป ซึ่งเป็นองค์การความร่วมมือกันทางด้านสังคมและวัฒนธรรมระหว่างเอเชียกับยุโรป",
"title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
},
{
"docid": "386360#11",
"text": "ที่ AMM ครั้งที่ 29 พม่าได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ในอาเซียน รัฐมนตรีต่างประเทศพม่าได้ปรึกษากับอาเซียนและเข้าร่วมการประชุมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิกเป็นครั้งแรก วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2539 รัฐมนตรีต่างประเทศพม่ายื่นคำขอเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของพม่า เขายังได้แสดงความปรารถนาว่าประเทศพม่าจะเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนภายใน พ.ศ. 2540 พร้อมกับกัมพูชาและลาว",
"title": "การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
}
] |
2610 | สแตน ลี เกิดวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "488054#0",
"text": "สแตน ลี (สแตนลีย์ มาร์ติน ลีเบอร์, ; 28 ธันวาคม พ.ศ. 2465 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561) เป็นนักเขียนการ์ตูน บรรณาธิการ นักแสดง โปรดิวเซอร์ ผู้จัดพิมพ์ ผู้มีชื่อเสียงทางรายการโทรทัศน์ชาวอเมริกัน และเป็นอดีตประธานของมาร์เวลคอมิกส์",
"title": "สแตน ลี"
}
] | [
{
"docid": "655984#1",
"text": "สแตนเกิดวันที่ 19 ตุลาคม สแตนเหมือนจะเป็นเด็กธรรมดาคนหนึ่งทั่วไปในเมืองเซาท์พาร์ก เขามักจะสวมเสื้อกันหนาวสีน้ำตาลและหมวกไหมพรมสีน้ำเงินอยู่เสมอ ในเรื่องสแตนมีบทบาทสำคัญพอสมควร มีความเป็นผู้นำและมักคอยช่วยเหลือและเป็นคนปรึกษาให้กับคนอื่นเสมอโดยเฉพาะไคลท์ สแตนมีแฟนหนึ่งคนคือ เวนดี้ เทสตาเบอร์เกอร์(Wendy Testaburger) ที่เคยเลิกไปแล้วครั้งหนึ่งและกลับมาคืนดีกันเหมือนเดิม \nด้านครอบครัว สแตนมีพ่อชื่อว่าแรนดี้ (Randy) ซึ่งเป็นตัวละครผู้ใหญ่ที่มีบทบาทพอๆกับเขา รวมถึงเป็นหนึ่งในประธานสมาคมผู้ปกครองของโรงเรียนด้วย ส่วนแม่ของเขาชาร์รอน (Sharon) ทำงานที่คลินิกศัลยกรรมที่มีชื่อว่าทอมซ ไรโนพลัสตี้ (Tom's Rhinoplasty) สแตนมีพี่สาวคนหนึ่งชื่อ แชลลี่ มาร์ช ( Shelly Marsh ) แชลลี่ชอบทะเลาะกับสแตนบ่อยๆ รวมถึงยังมีคุณลุงที่ชื่อว่าจิมโบ เคิร์น (Jimbo kern)ที่เป็นอดีตทหารสงครามเวียดนามซึ่งปัจจุบันเป็นคนขายอาวุธเพื่อการล่าสัตว์ นอกจากนี้ สแตนมีสัตว์เลี้ยงเป็นหมาชื่อสปาร์คกี้",
"title": "สแตน มาร์ช"
},
{
"docid": "772051#0",
"text": "เวนเดล เมเรดิธ สแตนลีย์ (; 16 สิงหาคม ค.ศ. 1904 – 15 มิถุนายน ค.ศ. 1971) เป็นนักชีวเคมีและนักวิทยาไวรัสชาวอเมริกัน เกิดที่เมืองริดจ์วิลล์ เรียนจบปริญญาตรีสาขาเคมีจากวิทยาลัยเอิร์ลแฮม เรียนจบปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ หลังจากนั้นสแตนลีย์เดินทางไปศึกษาดูงานกับไฮน์ริช ออตโต วีลันด์ที่เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี แล้วกลับมาเป็นผู้ช่วยที่สถาบันร็อกเกอะเฟลเลอร์เพื่อการวิจัยทางการแพทย์ในนครนิวยอร์ก สแตนลีย์ทำงานอยู่ที่นี่จนถึงปี ค.ศ. 1948 ภายหลังเขาดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านชีวเคมีที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์",
"title": "เวนเดล เมเรดิธ สแตนลีย์"
},
{
"docid": "21015#1",
"text": "สเตฟีนี่ เกิดวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1979 ราศีธนู ปีมะเมีย เป็นลูกสาวคนเดียวและเป็นคนสุดท้องของครอบครัว ของสตีเฟนและมาร์เกียเร็ต ซึ่งอาศัยอยู่ที่เมือง เกลโนล์เดน ในรัฐเพนซิลเวเนีย ชื่อของเธอมาจากชื่อของพ่อ คือสตีเฟน เป็น\"สเตฟีนี่\" (คนส่วนใหญ่สับสนชื่อของเธอว่า เป็น \"สเตฟานี่\") เธอได้รับการศึกษาจากโรงเรียน อาร์บิชอบ เพรนเดอร์แกรส ไฮ สคูล ซึ่งเธอได้เข้าร่วมกิจกรรมทางกีฬามากมาย หลังจากนั้นจึงเข้ามหาวิทยาลัยเทมเพิล ที่บ้านเกิด ก่อนที่จะย้ายไปที่ มหาวิทยาลัยมอนมัธ ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ซึ่งเธอได้เข้าทีมกีฬา ลาครอสส์ ให้กับทั้ง 2 มหาวิทยาลัย\nหลังจากนั้นเธอได้รับปริญญาบัณฑิตทางด้านบริหารธุรกิจ สาขาการบริหารจัดการและการตลาด ทันทีที่จบการศึกษาเธอก็ทำงานเป็นตัวแทนจำหน่ายเภสัชภัณฑ์ และเป็นบาร์เทนเดอร์เป็นอาชีพเสริม",
"title": "สเตฟีนี่ ลากรอสซา"
},
{
"docid": "86219#1",
"text": "สแตนลีย์ มีเชื้อสายยูเครน-ยิว เกิดที่ฟิลาเดลเฟีย แต่ไปเติบโตที่นิวยอร์ก เริ่มเล่นแซกโซโฟนเมื่ออายุได้ 13 ปี และร่วมวงดนตรีของแจค ทีการ์เดน เมื่อปี 1943 เมื่ออายุ 16 ปี และได้ร่วมงานกับนักดนตรีอีกหลายคน เช่น เบนนี กู๊ดแมน สแตน เคนตัน จิมมี ดอร์ซีย์ วูดดี เฮอร์แมน นอกจากนี้ยังเคยร่วมงานกับ แนท คิง โคล และยังเคยบรรเลงร่วมกับ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งเสด็จราชดำเนินเยือนนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960)",
"title": "สแตน เก็ตส์"
},
{
"docid": "276011#0",
"text": "สตีเฟน แพทริก เดวิด เกตลี () (17 มีนาคม ค.ศ. 1976 - 10 ตุลาคม ค.ศ. 2009) เป็นนักร้องชาวไอร์แลนด์ นักเขียนและนักแสดง และเป็นนักร้องนำร่วมกับโรแนน คีตติงให้กับวงบอยแบนด์ชื่อ บอยโซน อัลบั้มทุกชุดของวงติดอันดับ 1 ในสหราชอาณาจักร เขาเป็นศิลปินเดี่ยว มีอัลบั้มติดท็อป 10 ในปี 2000 หลังจากที่วงแยกย้ายกับไป เกตลีปรากฏตัวตามเวทีและบนรายการโทรทัศน์ ในปี 2008 เขามารวมตัวกับวงบอยโซนอีกครั้ง มีเพลงใหม่และร่วมแสดงคอนเสิร์ต",
"title": "สตีเฟน เกตลี"
},
{
"docid": "14215#0",
"text": "สตีน สตีนเซิน ปลีเกอร์ (; 11 ตุลาคม พ.ศ. 2325 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2391) เป็นนักเขียนเรื่องสั้นและกวีชาวเดนมาร์ก เขาได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งเรื่องสั้นสมจริงของเดนมาร์ก เขาเขียนเรื่องสั้นไว้นับร้อยเรื่อง และบทกวีอีกสามร้อยบท เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คนในคาบสมุทรจัตแลนด์ (ภาคกลางของประเทศ) ด้วยอารมณ์ขันเสียดสีและมุมมองมืดมนของคนท้อแท้เบื่อโลก เนื่องจากครอบครัวเป็นบาทหลวงมาหลายชั่วอายุคน ปลีเกอร์เองก็ได้เป็นบาทหลวงในชนบท หลังจากหลงใหลเสน่ห์อาชีพครูและเกษตรกรอยู่พักสั้น ๆ แล้วไปเรียนจนจบปริญญาเอกสาขาเทววิทยาจากโคเปนเฮเกนเมื่ออายุ 27 ปี นอกจากเป็นบาทหลวงผู้ยากไร้ ถูกประชาชนเกลียดชังจนกระทั่งถูกบีบให้ลาออกในปี ค.ศ. 1847 แล้ว ปลีเกอร์ยังเคราะห์ร้ายในชีวิตแต่งงานอีกด้วย หญิงม่ายวัย 17 ซึ่งแต่งงานกันตอนเขาอายุ 28 ปี มีลูกให้เขาสิบคน แต่แล้วกลับทิ้งเขาไปหลังจากอยู่กินกันมาสิบเจ็ดปี ปี ค.ศ. 1826 ปลีเกอร์ออกนิตยสารวิจารณ์ชื่อ \"Nordlyset\" (แสงขั้วโลกเหนือ) ซึ่งตีพิมพ์เรื่องสั้นส่วนใหญ่ของเขา นอกจากนี้เขายังแปลงานเขียนของออสเซียน (กวีชาวสกอต) เป็นภาษาเดนมาร์ก และได้รับอิทธิพลจากกวีผู้นี้ด้วย",
"title": "สตีน สตีนเซิน ปลีเกอร์"
},
{
"docid": "20659#2",
"text": "สเตฟานีเกิดเมื่อ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1969 ที่ฟูลเลอร์ตัน รัฐแคลิฟอร์เนีย เติบโตในครอบครัวโรมันคาทอลิกในแอนะไฮม์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ชื่อของเธอตั้งตามชื่อบริกรหญิงบนเครื่องบนจากบนประพันธ์ปี 1968 เรื่อง \"แอร์พอร์ต\" ส่วนชื่อกลาง เรเน (Renée) มาจากเพลงของวงเดอะโฟร์ทอปส์ ปี 1968 ที่คัฟเวอร์ของเลฟต์ แบงก์ในปี 1966 ที่ชื่อ \"วอล์กอะเวย์เรเน\" พ่อเธอ เดนนิส สเตฟานี เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาลี ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด (marketing executive) ที่ยามาฮ่า ส่วนแม่ของเธอ แพตตี (สกุลเดิม ฟลินน์) ทำงานเป็นนักบัญชี ก่อนที่จะออกมาเป็นแม่บ้าน พ่อแม่ของเกว็นนั้นเป็นแฟนเพลงแนวโฟล์ก ยังให้เธอฟังเพลงของศิลปินอย่าง บ็อบ ดิลลันและเอมมีลู แฮร์ริส เธอยังมีน้องอีก 2 คน คือ จิลล์และทอดด์ และมีพี่ชายชื่อเอริก เอริกเคยเป็นมือคียบอร์ดให้วงโนเดาต์ ก่อนจะออกไปทำงานสร้างภาพเคลื่อนไหวเรื่อง \"เดอะซิมป์สันส์\"",
"title": "เกว็น สเตฟานี"
},
{
"docid": "629786#0",
"text": "ณัฏฐินี เจียรวนนท์ หรือ นาตาลี เจียรวนนท์ (ชื่อเล่น: ลี) เป็นนักแสดงหญิงไทย เกิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2523 เป็นบุตรของ ดร.ประทีป เจียรวนนท์ ทายาทตระกูลเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี คุณแม่เป็นคนอเมริกัน สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศีกษาจาก โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคอินเตอร์ คณะศิลปศาสตร์ สาขาอังกฤษและอเมริกันศึกษา British and American Studies (BAS) และระดับปริญญาโท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ (MABE) เส้นทางในวงการบันเทิง มีผลงานมากมาย เช่น มิวสิควิดีโอเพลง พรุ่งนี้ไม่ต้องโทรมา ของ เจอาร์ - วอย และผลงานภาพยนตร์เช่น ภารกิจบิดระเบิดรัก (Delivery Sexy Love) รับบท เจน ในปี 2549 ตามด้วยละคร ทะเลสาบสีเลือด ดาวเปื้อนดิน เจ้าหญิงลำซิ่ง แจ๋วใจร้ายกับคุณชายเทวดา กุหลาบเหนือเมฆ รักออกอากาศ เสน่หาสัญญาแค้น ฯลฯ เป็นต้น\nชีวิตส่วนตัวคบหาดูใจกับ ฟลุค- เกริกพล มัสยวาณิช",
"title": "ณัฏฐินี เจียรวนนท์"
},
{
"docid": "794309#0",
"text": "ซิดนีย์ คลอปตัน ลาเนียร์ (; 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1842 – 7 กันยายน ค.ศ. 1881) เป็นกวี นักดนตรีและนักวิชาการชาวอเมริกัน เกิดที่เมืองเมคอน รัฐจอร์เจีย เป็นบุตรของรอเบิร์ต แซมป์สัน ลาเนียร์และแมรี เจน แอนเดอร์สัน ซิดนีย์เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยโอเกิลทอร์ป แต่ต่อมาเกิดสงครามกลางเมืองอเมริกา จึงเข้าร่วมกับกองทัพฝ่ายสมาพันธรัฐ (ฝ่ายใต้) สู้รบในรัฐเวอร์จิเนียและเป็นพลขับเรือร่วมกับน้องชาย คลิฟฟอร์ด ลาเนียร์ ต่อมาซิดนีย์ถูกจับตัวและถูกคุมขังที่คุกทหารในรัฐแมรีแลนด์ และติดเชื้อวัณโรคจากที่นั่น",
"title": "ซิดนีย์ ลาเนียร์"
}
] |
964 | การทุจริตทางการเมืองหมายถึงอะไร? | [
{
"docid": "424312#0",
"text": "การทุจริตทางการเมือง (English: political corruption, ภาษาปากในภาษาไทยเรียกทับศัพท์ว่า \"คอร์รัปชัน\") คือการใช้ตำแหน่งหรืออำนาจทางราชการและการเมือง หรือในองค์กรของเอกชน เพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้ หรือการฉ้อโกงเอาเงินสาธารณะมาเป็นของตนและพรรคพวก หรือหาประโยชน์อื่นๆ ซึ่งการทุจริตนี้อาจมิใช่เป็นตัวเงิน วิธีการที่ใช้อาจจะผิดกฎหมายหรือไม่ผิดก็ได้ แต่เป็นพฤติกรรมซึ่งสาธารณชนจะไม่พอใจหรือผิดจากจารีตประเพณีนิยม เนื่องจากเป็นการกระทำที่ขัดกับความคาดหวังของสาธารณชน เรื่องมาตรฐานจริยธรรมและพฤติกรรมที่ดีของบุคคลสาธารณะ (ข้าราชการและนักการเมืองหรือองค์กรเอกชน) คำจำกัดความส่วนหลังนี้ เขียนไว้เพื่อเปิดช่องให้มีการตีความพฤติกรรมการทุจริตที่อาจจะแตกต่างกันในแต่ละสังคม หรือแม้แต่ในสังคมเดียวกัน",
"title": "การทุจริตทางการเมือง"
}
] | [
{
"docid": "862537#4",
"text": "ครอบครัวเบรจเนฟทุกคนยกเว้น กาลินา ลูกสาวของเบรจเนฟถูกจับกุมในข้อหาทุจริตทางการเมืองในระหว่างการบริหารของมีฮาอิล กอร์บาชอฟ[8] Churbanov ลูกเขยของเบรจเนฟถูกตัดสินจำคุกสิบสองปีเนื่องจากมีการฉ้อฉลและการทุจริตขนาดใหญ่ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1982 โดยถูกปลดออกจากตำแหน่งทั้งหมดและส่งไปยังค่ายกักกันแรงงาน กาลินาพร้อมกับครอบครัวที่เหลือของเบรจเนฟสูญเสียสิทธิ์ของรัฐทั้งหมด เมืองเบรจเนฟถูกเปลี่ยนเป็นชื่อเดิมคือ Naberezhnye Chelny และมีการเปลี่ยนชื่อเมือง ถนน โรงงานและสถาบันที่มีชื่อของเบรจเนฟและคอนสตันติน เชียร์เนนโคทั้งหมด[9]โดยที่มีรัฐบาลโซเวียตออกรัฐกฤษฎีกาในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1982[10]ตามที่คำกล่าวของหลานชายของเขาอันเดรย์ เบรจเนฟ \"ชื่อ เบรจเนฟ ได้กลายเป็นคำสาปแช่งสำหรับครอบครัวและสมาชิกในครอบครัว หลายคนถูกบังคับให้ออกจากงานของพวกเขาและเพื่อนของพวกเขาได้ทิ้งเขาไป\"[10]นอกจากนี้ รางวัล และ เครื่องอิสริยากรณ์ต่างๆที่ได้มาจากการสู้รบในสงครามโลกครั้งที่สองของเบรจเนฟมีมติให้ยึดคืนในการประชุมสภาโซเวียตสูงสุดเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1989[11]",
"title": "มรดกของเลโอนิด เบรจเนฟ"
},
{
"docid": "6130#7",
"text": "นอกจากกรณีกลุ่มงูเห่าแล้ว ยังมีกรณีรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลที่ได้รับการตัดสินว่ามีความผิดทางการเมืองอีก 2 ท่าน ได้แก่ นายรักเกียรติ สุขธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยนายรักเกียรติ สุขธนะ (พรรคชาติไทย) ได้รับคำพิพากษาตัดสินจาก ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้จำคุกเป็นเวลา 5 ปี ฐานเรียกรับสินบนบริษัทยา ทีเอ็น พี เฮลท์ แคร์ จำกัด ซึ่งนับว่าเป็นรัฐบาลชุดแรกที่รัฐมนตรีร่วมรัฐบาล ได้รับโทษถึงที่สุดให้จำคุกจากการทุจริตในระหว่างการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะร้ฐบาล",
"title": "ชวน หลีกภัย"
},
{
"docid": "142237#5",
"text": "ในปี พ.ศ. 2551 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต่อมาในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉันตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน\nคดีหมายเลขดำ อม.39/2558 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อายุ 58 ปี อดีต รมว.คลัง สมัยพรรคพลังประชาชน เป็นรัฐบาล เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เป็นเหตุให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับความเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จากกรณีเมื่อปี 2551 ระหว่าง นพ.สุรพงษ์ ดำรงตำแหน่ง รมว.คลัง สมัยรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ได้มีการแต่งตั้งประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ธปท. โดยมิชอบ ซึ่งภายหลังมีการร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ได้วินิจฉัยว่า การคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการ ธปท.เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากกรรมการ ในคณะกรรมการคัดเลือกฯ บางคน มีลักษณะต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 28/1ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองรับฟ้อง",
"title": "สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี"
},
{
"docid": "316119#8",
"text": "สำหรับแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกานั้น จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 272 วรรคสองและวรรคสาม, มาตรา 308 เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่นซึ่งถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น รวมทั้งกรณีบุคคลอื่นที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนด้วย",
"title": "ศาลฎีกา"
},
{
"docid": "788956#4",
"text": "การทุจริตโครงการนี้นับเป็นการทุจริตที่สลับซับซ้อนที่มีเครือข่ายในวงการนักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจ คนในครอบครัว อย่างกว้างขวาง ซึ่งในสมัยนั้นไม่มีกฎหมายห้ามกิจการของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ[2] จึงเป็นช่องโหว่ในการแสวงหาผลประโยชน์ ปัจจุบันโครงการแห่งนี้ได้ถูกทิ้งร้าง ชาวบ้านในพื้นที่ต้องย้ายที่อยู่ และรัฐบาลยังคงต้องจ่ายค่าชดเชยโครงการกับกลุ่มบริษัท NVPSKG ที่เหลืออีก 2 งวด[6] รวมเป็นเงินที่ประเทศไทยสูญเสียไปกว่า 3 หมื่นล้านบาท เป็นคดีทุจริตที่สร้างความเสียหายมากที่สุดคดีหนึ่งในประเทศไทย สื่อไทยทุกแขนงจึงต่างตั้งชื่อคดีนี้ว่า \"ค่าโง่คลองด่าน\"[7][8][9]",
"title": "คดีคลองด่าน"
},
{
"docid": "117172#3",
"text": "บทบาทในทางการเมืองของนายศิริโชค เป็นที่โดดเด่นมาก โดยเฉพาะการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจในประเด็นการทุจริตในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร วาระที่ 2 เช่น เรื่องการทุจริตการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด CTX ในสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น ทั้ง ๆ ที่เป็นเพียง ส.ส. หน้าใหม่ จนได้รับเลือกจากสื่อมวลชนให้เป็นดาวเด่นประจำสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2544 และได้รับเลือกให้เป็นผู้อภิปรายดีเด่นในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ปี พ.ศ. 2545",
"title": "ศิริโชค โสภา"
},
{
"docid": "316119#11",
"text": "แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา เป็นแผนกที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่นซึ่งถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น รวมทั้งกรณีบุคคลอื่นที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนด้วย",
"title": "ศาลฎีกา"
},
{
"docid": "11151#4",
"text": "สิ้นสุดวาระก่อนกำหนด จากคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้จำคุกจำเลยคนละ 2 ปี แต่เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยทั้ง 9 แล้ว โทษจำคุกศาลให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี ฐานกระทำผิดทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีขึ้นค่าตอบแทนให้ตนเองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. - ศราวุธ เมนะเศวต",
"title": "คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ"
},
{
"docid": "424312#2",
"text": "บุคคลในทางการเมืองระดับประเทศของไทยที่ถูกกล่าวหา และถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงค์ตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาให้มีความผิดและรับโทษจำคุกคนแรกคือ นายรักเกียรติ สุขธนะ และยังมีนักการเมืองในระดับประเทศอีกหลายคนที่ถูกกล่าวหาและถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิด เช่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายวัฒนา อัศวเหม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยที่ทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ นายวัฒนา อัศวเหม ต่างก็อยู่ระหว่างการหลบหนีโทษจำคุก",
"title": "การทุจริตทางการเมือง"
},
{
"docid": "50071#5",
"text": "4. คดีเกี่ยวกับกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ใดถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง",
"title": "ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง"
},
{
"docid": "263349#39",
"text": "หลังจากที่ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2544 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า ทักษิณ ชินวัตร จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ซึ่งมีความผิดตามรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 มาตรา 295[67] ซึ่งเป็นความผิดที่จะต้องถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี คดีนี้ถูกเรียกว่า คดีซุกหุ้น เนื่องจากรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าห้ามไม่ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและภรรยาถือหุ้นในบริษัทเอกชนตามที่กฎหมายกำหนด แต่ พ.ต.ท.ทักษิณกลับปกปิดความเป็นเจ้าของหุ้นโดยการโอนหุ้นที่มีอยู่ไปให้คนรับใช้ คนรถ คนสวนถือแทน[68] ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณได้ชี้แจงข้อกล่าวหาดังกล่าวว่า (1) รัฐธรรมนูญไม่มีนิยามคำว่า \"ทรัพย์สินของตน\", (2) คำอธิบายแบบบัญชีฯ ไม่ชัดเจน, (3) การไม่แสดงทรัพย์สินที่ใช้ชื่อบุคคลอื่นถือแทน ซึ่งเดิมไม่กำหนดให้แสดง ไม่ถือเป็นความผิด, (4) ไม่จงใจไม่แสดงรายการทรัพย์สินที่ใช้ชื่อบุคคลอื่น, (5) ไม่ใช่หน้าที่ที่จะต้องยื่นบัญชีฯ ก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งเพิ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2542 และ (6) ในหนังสือลับ ลงวันที่ 14, 24 และ 30 พฤศจิกายน 2543 ถึงประธานอนุกรรมการตรวจสอบฯ ผู้ถูกร้อง (ทักษิณ ชินวัตร) ชี้แจงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเหตุผลที่มิได้แสดงไว้ในบัญชีฯ โดยให้ถือการแจ้งรายการทรัพย์สินเพิ่มเติมเป็นส่วนหนึ่งของบัญชีฯ ที่ยื่นทั้งสามครั้งด้วย ในขณะที่นายกล้าณรงค์ จันทิก เลขานุการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ-ปปช. ชี้แจงว่า (1) แม้รัฐธรรมนูญจะไม่นิยามคำว่า \"ทรัพย์สินของตน\" ไว้ แต่เป็นที่เข้าใจได้, (2) คำอธิบายแบบบัญชีฯ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงคงมีสาระสำคัญเหมือนเดิม แต่มีการแก้ไขเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อย เพื่อทำให้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น, (3) ไม่ปรากฏว่ามีรัฐมนตรีหรือผู้ยื่นบัญชีฯรายใด ยกเหตุไม่แสดงรายการทรัพย์สิน เพราะใช้ชื่อบุคคลอื่นถือแทน โดยอ้างว่าไม่เข้าใจคำอธิบายบัญชีฯ และ (4) แม้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2542 แต่ผู้ถูกร้องมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีฯตามรัฐธรรมนูญนี้ ตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้บังคับ คือ วันที่ 11 ตุลาคม 2540 แล้ว[69] ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยด้วยเสียง 8 ต่อ 7 ว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้มีเจตนาในเรื่องดังกล่าว ท่ามกระแสกดดันจากสังคมมายังศาลรัฐธรรมนูญ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณกำลังได้รับความนิยมมากในขณะนั้น ควรได้รับโอกาสในการบริหารประเทศ[70] อย่างไรก็ตามก็มีอีกบางส่วนของสังคมที่เคลือบแคลงสงสัยในคำตัดสินของศาล และทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณถูกมองว่าแทรกแทรงกระบวนการยุติธรรม[71] จนมีการไปร้องเรียนเพื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 4 คน ในเวลาต่อมา[72]",
"title": "ทักษิณ ชินวัตร"
},
{
"docid": "152224#9",
"text": "ติดยาเสพติดให้โทษ เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 96 (1) (2) หรือ (4) อยู่ระหว่างถูกระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราวหรือถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล เคยได้รับโทษจำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงสิบปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอันถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเพราะกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงยังไม่เกินสองปี เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา 144 หรือมาตรา 235 วรรคสาม",
"title": "สภาผู้แทนราษฎรไทย"
},
{
"docid": "713433#5",
"text": "นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีองค์กรที่เรียกว่า \"องค์กรเพื่อความโปร่งใสระหว่างประเทศ\" (Transparency International) ที่จะคอยจัดทำดัชนีภาพลักษณ์ของการทุจริตคอร์รัปชั่นออกมาเป็นรายงานประจำปีทุกๆ ปี เพื่อให้คนจากทั่วโลกสามารถรับรู้ถึงพัฒนาการ และความเป็นไปของความโปร่งใสทางการเมืองของรัฐบาลจากทั่วทุกมุมโลกอีกด้วย นอกจากนี้ “สื่อ” (media) ที่เสรี และเป็นมืออาชีพ ก็เป็นกลไกที่สำคัญอีกประการหนึ่งในระบอบเสรีประชาธิปไตยสมัยใหม่ ที่จะช่วยทำหน้าที่ตรวจสอบความโปร่งใสทางการเมือง และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนของรัฐได้จากการรายงาน และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง และเที่ยงตรงอย่างปราศจากอคติ และการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง",
"title": "ความโปร่งใส"
},
{
"docid": "290328#5",
"text": "นอกจานี้ยังเคยดำรงตำแหน่ง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และทำหน้าที่โฆษก ป.ป.ช. ซึ่ง พล.ต.ท.วิเชียรโชติ เป็น 1 ใน 9 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดที่มีความผิดในการออกระเบียบขึ้นเงินเดือนให้แก่ตัวเอง และศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ชี้ขาดว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้ง 9 คน มีโทษจำคุก 2 ปี แต่ให้รอลงอาญา เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2548 ซึ่งมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ 83",
"title": "วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์"
},
{
"docid": "788956#8",
"text": "หมวดหมู่:การทุจริต หมวดหมู่:คดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในประเทศไทย หมวดหมู่:คดีอาญาซึ่งชำระโดยศาลฎีกา",
"title": "คดีคลองด่าน"
},
{
"docid": "263849#2",
"text": "การลาออกสามารถใช้ในทางการเมืองได้ ดังที่เคยเกิดขึ้นในฟิลิปปินส์ ระหว่างเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2005 เมื่อรัฐมนตรี 10 คนลาออกจากตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เพื่อกดดันให้ประธานาธิบดีกลอเรีย อาโรโยลาออก จากข้อกล่าวหาในการทุจริตการเลือกตั้ง และอาจเป็นอุบายทางการเมืองได้ เช่น ในปี ค.ศ. 1995 นายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษ จอห์น เมเจอร์ ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม เพื่อที่จะสงบการวิพากษ์วิจารณ์ภายในพรรคและอ้างสิทธิ์ในอำนาจของตนใหม่ โดยหลังจากการลาออก เขาก็ได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งอีกสมัยหนึ่ง",
"title": "การลาออก"
},
{
"docid": "344427#0",
"text": "ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ( หมายถึง โอกาส ความเป็นไปได้ และความน่าจะเป็น ที่จะเกิดความบกพร่อง การทุจริต หรือความผิดพลาด ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ป้องกันได้ กับทั้งเหตุสุดวิสัยทั้งในรูปอุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ รวมถึงภัยคุกคามโดยมนุษย์ อันจะนำไปสู่ความเสียหาย ความชะงักงัน และ/หรือการล่วงละเมิดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ กระทั่งเป็นผลร้ายและรุนแรงต่อสถานภาพทางการเงิน การดำเนินธุรกิจ และความมั่นคงน่าเชื่อถือของสถาบันโดยรวม",
"title": "ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ"
},
{
"docid": "912313#0",
"text": "การประท้วงในประเทศอิหร่าน พ.ศ. 2560-2561 () เกิดขึ้นในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2560 การชุมนุมประท้วงในครั้งนี้ นับเป็นเหตุการณ์แสดงความไม่พอใจของประชาชนครั้งใหญ่และร้ายแรงที่สุดของอิหร่าน นับแต่การชุมนุมประท้วงเมื่อปี พ.ศ. 2552 ซึ่งเกิดจากเหตุขัดแย้งในการเลือกตั้ง การประท้วงในครั้งนั้นเกิดในเมืองเตหะราน แต่ การประท้วงเกิดขึ้นในหลายภาคของประเทศ เช่นเมืองราชต์ทางตอนเหนือ และที่เมืองเคอร์มานชาห์ทางตะวันตกของอิหร่าน นอกจากนี้ยังมีผู้ประท้วงอีกหลายร้อยคนที่เมืองอิสฟาฮาน, ฮามาดาน, กอม ซึ่งมีฐานะยากจนกว่า และนักวิเคราะห์มองว่า การประท้วงเกิดจากผู้คนในระดับรากหญ้า รวมทั้งเกิดการประท้วงที่เมืองหลวงกรุงเตหะราน มีผู้เสียชีวิตในการประท้วงครั้งนี้ 22 ราย ทางการได้เข้าจับกุมตัวผู้ประท้วงจำนวนหนึ่งจากจัตุรัสในกรุงเตหะราน ทั้งได้จับกุมผู้ประท้วงอีก 52 คนที่เมืองมาชาด โดยกล่าวหาว่าคนเหล่านี้ตะโกนถ้อยคำด่าทอรุนแรง มีการชักชวนกันผ่านทางโซเชียล มีเดียเพื่อให้ประชาชนพากันออกไปประท้วงในเมืองต่าง ๆ แม้ว่ารัฐบาลจะออกคำเตือนถึงการจับกลุ่มกันอย่างผิดกฎหมายก็ตาม ผู้คนที่ไปร่วมมีตั้งแต่ต่ำกว่า 100 ไปจนถึงหลายพันในเมืองอย่างน้อย 7 แห่ง แต่ว่าก็ยังไม่มีที่ใดที่มีผู้คนออกมาแบบมีพลังในการกดดันรัฐบาล คลิปวิดีโอที่อยู่ในโซเชียลมีเดียแสดงให้เห็นว่ามีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนในเมืองเคอร์มานชาห์ มีรายงานว่าผู้ประท้วง 450 คนถูกจับกุม สาเหตการประท้วงเกิดจากความไม่พอใจทั้งเรื่องภาวะเงินเฟ้อ การว่างงาน และการทุจริตคอร์รัปชัน",
"title": "การประท้วงในประเทศอิหร่าน พ.ศ. 2560–2561"
},
{
"docid": "85789#6",
"text": "การดำเนินการเกี่ยวกับอาชญากรรมและศัตรูทางการเมืองได้ถูกนำมาใช้โดยในเกือบทุกสังคมทั้งกับการลงโทษความผิดทางอาญาและความขัดแย้งทางการเมือง ในบรรดาประเทศส่วนใหญ่ที่โทษประหารในทางปฏิบัติได้ถูกสงวนไว้สำหรับคดีการฆาตกรรม (การฆ่าคน), การจารกรรม, การก่อกบฏ หรือเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงยุติธรรม ในบางประเทศอาชญากรรมทางเพศเช่น การข่มขืนกระทำชำเรา, คบชู้, การร่วมประเวณีกับญาติสนิทและการสังวาสที่ผิดธรรมชาติ ถูกดำเนินการประหารชีวิตเช่นเดียวกับการก่ออาชญากรรมทางศาสนาเช่น การละทิ้งศาสนาในประเทศอิสลาม (สละอย่างเป็นทางการในศาสนาประจำชาติ) ในหลายประเทศที่มีการใช้โทษประหารชีวิตนั้น, การค้ายาเสพติดยังคงเป็นความผิดทางกฎหมาย ในประเทศจีน การค้ามนุษย์และกรณีที่ร้ายแรงของการทุจริตทางการเมืองจะต้องถูกลงโทษโดยการประหารชีวิต ในกองทัพทั่วโลก ศาลทหารได้กำหนดโทษประหารสำหรับความผิดเช่น ขี้ขลาด, ละทิ้งหน้าที่, ไม่เชื่อฟัง และกบฏ ",
"title": "โทษประหารชีวิต"
},
{
"docid": "2867#38",
"text": "สำหรับการดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติ คาซัคสถานจะต้องแก้ปัญหาการทุจริตและปัญหาความไม่โปร่งใสของการลงทุน ซึ่งพบอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะการครอบครองด้านเศรษฐกิจโดยกลุ่มผู้จัดการน้ำมันที่มีอำนาจทางการเมือง จะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีน้อยลง",
"title": "ประเทศคาซัคสถาน"
},
{
"docid": "424312#3",
"text": "การทุจริตทางการเมือง หมวดหมู่:การละเมิด",
"title": "การทุจริตทางการเมือง"
},
{
"docid": "51420#1",
"text": "ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือบุคคลใดกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริต หรือร่ำรวยผิดปกติ ให้ส่งรายงานเอกสารหลักฐานพร้อมทั้งความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการสูงสุดดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 โดยให้ถือว่ามติของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต",
"title": "คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ"
},
{
"docid": "23191#2",
"text": "การแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และวุฒิสภาไทยบุคคลผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งได้รับเงินเดือนประจำเรียกว่า \"ข้าราชการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ\" เป็นข้าราชการซึ่งได้รับบรรจุ และแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554 โดยการกำหนดตำแหน่งและการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำ ตำแหน่งของข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับ โดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า \"ก.พ.\" ให้หมายถึง คณะกรรมการ ป.ป.ช. และ คำว่า \"ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี\" ให้หมายถึงสำนักงาน ป.ป.ช.",
"title": "สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ"
},
{
"docid": "881613#3",
"text": "วันที่ 15 มีนาคม 2558 หลังได้รับสำนวนของ ป.ป.ช. ตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด สั่งยื่นฟ้องบุคคล ได้แก่ บุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว, ภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว และอดีตผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 3 คน, ข้าราชการการเมือง 3 คน นิติบุคคลและกรรมการบริษัทรวม 21 คน ตามความผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 4, 9, 10, 12 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ จัดการหรือรักษาทรัพย์ ใช้อำนาจโดยทุจริตสร้างความเสียหายแก่รัฐ และมาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตสร้างความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด และพระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4, 123 และ 123/1 ซึ่งมีอัตราโทษสูงสุดถึงขั้นจำคุกตลอดชีวิต ศาลให้ประกันจำเลย วงเงินระหว่าง 5–20 ล้านบาท",
"title": "คดีระบายข้าวจีทูจี"
},
{
"docid": "7673#4",
"text": "ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เขาขึ้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป้นโจทก์ฟ้องความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ฉ้อโกง ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ความผิดต่อพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ความผิดต่อพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษายกฟ้อง",
"title": "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์"
},
{
"docid": "157635#4",
"text": "นายวราเทพ ได้รับมอบหมาย แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองหลายตำแหน่ง อาทิ\nหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกคำสั่งคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 2/2557 เรียกให้ไปรายงานตัว และ พี่ชายเขา นาย สุนทร รัตนากร ถูก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา สั่ง ระงับการปฏิบัติราชการหรือหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร อยู่เป็นการชั่วคราวโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน\nศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาให้จำคุกนายวราเทพ รัตนากร จำเลยในคดีทุจริตโครงการออกสลากเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว (หวยบนดิน) ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นเวลา 2 ปี ปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้",
"title": "วราเทพ รัตนากร"
},
{
"docid": "155314#37",
"text": "พนักงานอัยการ ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงยุติธรรม ในอดีตได้มีข้อครหาทางการเมืองถึงการยกฟ้องหรือสั่งฟ้องอย่างไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะคดีความเรื่องทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเรื่องราวของอัยการมักจะเป็นหัวข้อที่อภิปรายกันเป็นประจำ",
"title": "การปกครองประเทศฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "50071#2",
"text": "1. คดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือคดีที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่นซึ่งถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น รวมทั้งกรณีบุคคลอื่นที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ผู้ให้ ผู้ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่บุคคลดังกล่าวเพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ด้วย ตามมาตรา 275 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง",
"title": "ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง"
},
{
"docid": "277372#1",
"text": "นายรักเกียรติ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 14 พฤศจิกายน 2540 (ลาออก 15 ก.ย. 2541)) เป็นรัฐมนตรีคนแรกที่ต้องโทษจำคุกในคดีทุจริตรับสินบน ตามการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ฐานทุจริตรับเงินสินบน 5 ล้านบาทจากบริษัทยา ทำให้สาธารณสุขจังหวัดต้องจัดซื้อยาในราคาแพงกว่าปกติตั้งแต่ 50 % ถึงกว่า 300% ในพื้นที่ 34 จังหวัดทั่วประเทศ ความเสียหายโดยประมาณ 181.7 ล้านบาท โดยเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาว่า",
"title": "รักเกียรติ สุขธนะ"
}
] |
3149 | สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีบุตรหรือไม่? | [
{
"docid": "23931#12",
"text": "ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเสกสมรสแห่งเจ้านายในพระราชวงศ์[10] เพื่อสมรสกับพันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2487[11][9] พระองค์มีพระธิดาเพียงคนเดียว คือ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม (สกุลเดิม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์; สมรสกับสินธู ศรสงคราม มีบุตรชาย คือ พันตรีจิทัศ ศรสงคราม)",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
}
] | [
{
"docid": "23931#15",
"text": "ในวโรกาสสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เป็นพระโสทรเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึง 2 พระองค์ ด้วยทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์มาโดยลำดับ รวมทั้งทรงเป็นที่รักเทิดทูนของปวงชนชาวไทยทั่วไป[15] จึงมีพระบรมราชโองการสถาปนาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์[16] ซึ่งนับเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในที่ได้รับการสถาปนาเป็นพระองค์แรกในรัชกาล[17] โดยมีการพระราชพิธีสถาปนาพระอิสริยศักดิ์และบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระชนมายุ 6 รอบ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ภายในพระบรมมหาราชวัง[18]",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "23931#86",
"text": "การสื่อสารแห่งประเทศไทย (ไปรษณีย์ไทย) ในปัจจุบัน ออกตราไปรษณียากรที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ในวโรกาสต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[86]",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "168370#20",
"text": "พระราชทานพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ดังนี้",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "955379#0",
"text": "สักการะราชสดุดี เป็นบทเพลงเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์\nคณะกรรมการโครงการจัดทำบทเพลงเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ร่วมกับ สมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย และ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก จัดทำเพลง สักการะราชสดุดีสมเด็จพระพี่นาง ให้ศิลปินนักร้อง และนักแสดงจากทั่วฟ้าเมืองไทย ร่วมขับขานบทเพลงเทิดพระเกียรติถวายความอาลัย ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เป็นครั้งสุดท้าย",
"title": "สักการะราชสดุดีสมเด็จพระพี่นาง"
},
{
"docid": "23931#69",
"text": "งาน “สถิต ณ ดวงใจ” เป็นงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย โดยเป็นงานนิทรรศการเกี่ยวกับพระประวัติ พระกรณียกิจ และโครงการในพระองค์ ตลอดจนพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ซึ่งเปิดให้ประชาชนเข้าชมระหว่างวันที่ 7 มกราคม - 11 เมษายน พ.ศ. 2551 ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมกับคณะข้าราชการ ลูกจ้างกรุงเทพมหานคร และประชาชน ร่วมกล่าวน้อมรำลึกและถวายความอาลัยหน้าพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ นอกจากนี้ ยังมีการจัดซุ้มเพื่อให้ประชาชนร่วมลงนามถวายสักการะ และจัดพิมพ์หนังสือ “สถิต ณ ดวงใจ” เนื่องในโอกาสเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาเพื่อแจกในงานนี้ด้วย[75]",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "23931#52",
"text": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชดังต่อไปนี้[56]",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "196315#0",
"text": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นพระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อแสดงความจงรักภักดีและถวายความอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยรัฐบาลกำหนดวันพระราชพิธีฯ ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551",
"title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "23931#6",
"text": "วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ตามเสด็จฯ สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชนนีไปประทับที่ประเทศเยอรมนี[6] ช่วงเวลานั้นเองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ประสูติ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "168370#46",
"text": "สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระบรมราชานุญาตในการดำเนิน “โครงการจัดทำเข็มที่ระลึก สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์” เพื่อให้ประชาชนร่วมกับรัฐบาลน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณและแสดงความจงรักภักดี รวมทั้งมีเข็มที่ระลึกเพื่อประดับและเก็บรักษาไว้เป็นที่ระลึกแห่งความทรงจำ ตลอดจนเพื่อนำรายได้ภายหลังหักค่าใช้จ่ายสมทบทุน “สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์”",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "168370#3",
"text": "ต่อจากนั้น พระอาการของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ก็ดีขึ้นตามลำดับ ตามแถลงการณ์สำนักพระราชวัง ฉบับที่ 20 ความว่า",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "23931#84",
"text": "เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ฉลองพระชนมายุ 6 รอบ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ด้านหน้าเป็นพระรูปของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ฉลองพระองค์ชุดไทย ทรงสายสะพายราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ด้านหลังเป็นตราราชสกุลมหิดล โดยแบ่งเป็นเหรียญกษาปณ์เงินและเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ทั้งชนิดขัดเงาและไม่ขัดเงา[82] เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ฉลองพระชนมายุ 80 พรรษา เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ด้านหน้าเป็นพระรูปของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ฉลองพระองค์ชุดไทย ทรงสายสะพายราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ที่พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 8 และ 9 ด้านหลังเป็นอักษรพระนามย่อ \"กว\" ภายใต้จุลมงกุฎ โดยแบ่งเป็นเหรียญกษาปณ์เงิน เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ทั้งชนิดขัดเงาและไม่ขัดเงา และเหรียญกษาปณ์โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) [83] เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ด้านหน้าเป็นพระรูปของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ฉลองพระองค์ชุดไทย ทรงสายสะพายราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ที่พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 8 และ 9 ด้านหลังเป็นอักษรพระนามย่อ \"กว\" ภายใต้จุลมงกุฎ โดยแบ่งเป็นเหรียญกษาปณ์เงิน และเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ทั้งชนิดขัดเงาและไม่ขัดเงา[84] เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกงาน พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยคาดว่าจะมีรูปแบบเช่นเดียวกับเหรียญที่ระลึกงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และงานพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7[85]",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "23931#1",
"text": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์หลายร้อยโครงการ ทั้งด้านการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์และการสาธารณสุข การต่างประเทศ การศาสนา และอื่น ๆ กับทั้งยังมีพระปรีชาสามารถด้านการเขียน ด้านการกีฬา และด้านการถ่ายภาพ",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "23931#83",
"text": "กรมธนารักษ์ออกเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในวโรกาสต่าง ๆ ดังต่อไปนี้",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "168370#37",
"text": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นพระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รัฐบาลไทยจัดเพื่อแสดงความจงรักภักดีและอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยรัฐบาลกำหนดวันพระราชพิธีระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 โดยกำหนดการพระราชพิธีสำคัญ ได้แก่ การบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพในวันที่ 15 พฤศจิกายน พระราชพิธีเก็บพระอัฐิ ในวันที่ 16 พฤศจิกายน การบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระอัฐิ ในวันที่ 17 พฤศจิกายน การเชิญพระอัฐิประดิษฐานที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวันที่ 18 พฤศจิกายน และการเชิญพระผอบพระสรีรางคารไปยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในวันที่ 19 พฤศจิกายน",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "23931#87",
"text": "ตราไปรษณียากรที่ระลึก 80 พรรษา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา วันแรกจำหน่าย 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 - เป็นภาพพระสาทิสลักษณ์ ทรงประทับยืน ฉลองพระองค์เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่ง มหาจักรีบรมราชวงศ์ ตราไปรษณียากรที่ระลึก 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา วันแรกจำหน่าย 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 - เป็นภาพพระสาทิสลักษณ์ ตราไปรษณียากรที่ระลึก พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันแรกจำหน่าย 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 - เป็นภาพพระสาทิสลักษณ์ 4 ช่วงพระชนมายุ ตั้งแต่พระองค์ทรงพระเยาว์ จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้บริษัท ไปรษณีย์ไทย ร่วมกับองค์กรภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย ชมรมแผ่นดินสยาม บริษัท ปตท.จำกัด และบริษัท ไทยออลล์ จำกัด น้อมเกล้าฯ เฉลิมพระเกียรติ จัดทำแสตมป์ที่ระลึก และไปรษณียบัตรถวายอาลัย (ส่งโดยไม่ต้องติดแสตมป์) พร้อมสายรัดข้อมือ มี 2 แบบ แบบแรกเป็นสายรัดข้อมือสีขาว และสายรัดข้อมือสีฟ้า (พร้อมทั้งไปรษณียบัตรถวายอาลัย) เพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงความอาลัยของประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศที่มีต่อสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯและเป็นการสมทบทุนเพื่อร่วมสนับสนุนการแพทย์เพื่อประชาชนในถิ่นทุรกันดารตามพระปณิธาน อีกทั้งเพื่อสมทบทุนร่วมสนับสนุนการศึกษาแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยในชนบท [87]",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "23931#71",
"text": "มูลนิธินรารัตน์วันชัยขันติภาวนาบารมี ร่วมกับ โครงการเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้จัดทำซีดีเพลงเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เนื่องในวโรกาสทรงพระเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา ประกอบด้วยเพลงเฉลิมพระเกียรติ ทั้งบรรเลงและขับร้อง[76] ทั้งหมด 6 เพลง ได้แก่",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "23931#48",
"text": "หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา มหิดล (6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470) พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 – 2 มีนาคม พ.ศ. 2477) สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา (2 มีนาคม พ.ศ. 2477 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2487) ท่านผู้หญิงกัลยาณิวัฒนา รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (11 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2493) สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา (25 มีนาคม พ.ศ. 2493 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2538) สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (6 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 – 2 มกราคม พ.ศ. 2551)",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "168370#1",
"text": "สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์เรื่อง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประชวร ฉบับที่ 1 ความว่า",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "42033#10",
"text": "หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงครามจึงได้สานต่อพระกรณียกิจให้ลุล่วง เช่น การดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาพิเศษของกองทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิกในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ การตัดหวายลูกนิมิตรเอกวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ที่อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นที่ตั้งของเจดีย์ศรีพุทธคยา ที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นประธานในการจัดสร้าง การเป็นผู้แทนรับมอบปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และการเป็นประธานรางวัลครูเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งเป็นพระประสงค์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และในปี พ.ศ. 2553 เป็นต้น",
"title": "ทัศนาวลัย ศรสงคราม"
},
{
"docid": "168370#10",
"text": "สำนักพระราชวัง มีประกาศเรื่อง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2551 ความว่า",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "23931#5",
"text": "หลังจากประสูติได้ไม่นาน สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงย้ายจากลอนดอนไปประทับที่เมืองเซาท์บอนซึ่งอยู่ทางตะวันออกของอังกฤษ จากนั้นเสด็จไปยังเมืองบอสคัม อยู่ติดชายฝั่งด้านทิศใต้ของอังกฤษ[6] ต่อมาเมื่อพระชันษาได้ 6 เดือน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จึงตามเสด็จฯ สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี กลับประเทศไทย",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "574091#8",
"text": "รูปแบบสถาปัตยกรรมพระเมรุของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชวินิจฉัยให้ยึดรูปแบบพระเมรุของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ แต่ต้องปรับเปลี่ยนบางส่วนให้สมพระเกียรติยศมากขึ้น เพราะ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีพระอิสริยยศต่ำกว่า ",
"title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "23931#65",
"text": "อื่น ๆ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส เขตวัฒนา สวนสมเด็จเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สวนแม่-สวนลูก) จังหวัดปัตตานี ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 14 โรงพยาบาลศิริราช",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "23931#24",
"text": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์หลายร้อยโครงการ ทั้งด้านการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์และการสาธารณสุข การต่างประเทศ การศาสนา และอื่น ๆ",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "23931#64",
"text": "การศึกษา อาคารกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อาคาราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาคารบรรณราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ โรงเรียนกัลยาณิวัฒนา ๑ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก โรงเรียนกัลยาณิวัฒนา ๒ อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา (เดิมชื่อ สถาบันวัฒนธรรมศึกษา) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส สถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ห้องสมุดกัลยาณิวัฒนา โรงเรียนวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "23931#76",
"text": "ในคราวประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งมีสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธานที่ปรึกษา และนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดวันพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ รวม 6 วัน คือ ระหว่างวันที่ 14 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "23931#4",
"text": "สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นการลำลองว่า บี๋[5]",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "23931#66",
"text": "วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกุรณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "23931#92",
"text": "พงศาวลีของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 16. (=20) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย8. (=10) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว17. (=21) สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี4. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว18. สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์9. สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี19. หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา2. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก20. (=16) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย10. (=8) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว21. (=17) สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี5. สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า22. หลวงอาสาสำแดง (แตง สุจริตกุล)11. สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา23. ท้าวสุจริตธำรง (นาค สุจริตกุล)1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์12. ชุ่ม6. ชู ชูกระมล3. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี7. คำ ชูกระมล15. ผา",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "23931#50",
"text": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชูปโภคสำหรับสมเด็จเจ้าฟ้า ซึ่งสร้างขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีรายการดังต่อนี้[55]",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
}
] |
1131 | ภูมิภาคอเมริกาเหนือ มีกี่รัฐ? | [
{
"docid": "3898#1",
"text": "ทวีปอเมริกาเหนือมีพื้นที่ประมาณ 24,709,000 ตารางกิโลกเมตร หรือคิดเป็น 16.5% ของผืนดินและคิดเป็น 4.8% ของผิวโลก ทวีปอเมริกาเหนือใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา และมีประชากรเป็นอันดับ4 ของโลกรองจากเอเชีย แอฟริกาและยุโรป ในปี 2013 ประชากรประมาณ 579 ล้านคนในรัฐอิสระ 23 แห่งคิดเป็น 7.5% ของประชากรโลก หากรวมหมู่เกาะใกล้เคียง (อาทิแคริบเบียน) ทวีปอเมริกาเหนือแบ่งเป็นภูมิภาคย่อยได้หลายภูมิภาคเช่น แคริเบียน ภูมิภาคอเมริกาเหนือ อเมริกากลางซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก",
"title": "ทวีปอเมริกาเหนือ"
},
{
"docid": "3898#5",
"text": "แผ่นดินผืนใหญ่ของทวีปประกอบไปด้วย 2 ประเทศใหญ่คือ แคนาดา สหรัฐอเมริกา \nพื้นที่ทางใต้ของทวีปซึ่งมีพื้นที่เล็กกว่าซึ่งอาจเรียกเป็นภูมิภาคย่อยว่าอเมริกากลาง ในภูมิภาคอเมริกากลางนี้ประกอบได้ด้วย ประเทศ เบลิซ คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส นิการากัว เม็กซิโกและปานามา\nนอกจากพื้นที่บนผืนทวีปแล้วยังมีหมู่เกาะจำนวนมากซึ่งอยู่ใกล้ๆกับแผ่นดินใหญ่ของทวีปดินแดนหมู่เกาะที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของแผ่นดินใหญ่มักจะถูกเรียกรวม ๆ กันว่า แคริบเบียน ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศอิสระคือ แอนติกาและบาร์บูดา บาฮามาส บาร์เบโดส คิวบา ดอมินีกา สาธารณรัฐโดมินิกัน เกรนาดา เฮติ จาเมกา เซนต์คิตส์และเนวิส เซนต์ลูเซีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ตรินิแดดและโตเบโก และดินแดนภายใต้ความคุ้มครองได้แก่ แองกวิลลา (ดินแดนของสหราชอาณาจักร) อารูบา (ดินแดนของเนเธอร์แลนด์) หมู่เกาะเคย์แมน (ดินแดนของสหราชอาณาจักร) กัวเดอลุป (ดินแดนของฝรั่งเศส) มาร์ตีนิก (ดินแดนของฝรั่งเศส) มอนต์เซอร์รัต (ดินแดนของสหราชอาณาจักร) เกาะนาแวสซา (ดินแดนของสหรัฐอเมริกา) กือราเซา (ดินแดนของเนเธอร์แลนด์) ปวยร์โตรีโก (ดินแดนของสหรัฐอเมริกา) หมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส (ดินแดนของสหราชอาณาจักร) หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน (ดินแดนของสหราชอาณาจักร) หมู่เกาะเวอร์จิน (ดินแดนของสหรัฐอเมริกา) ซินต์มาร์เติน (ดินแดนของเนเธอร์แลนด์)",
"title": "ทวีปอเมริกาเหนือ"
},
{
"docid": "17294#4",
"text": "เม็กซิโกตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ นอกจากบนทวีปดังกล่าวแล้ว เม็กซิโกยังมีกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะเล็ก ๆ ในอ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน อ่าวแคลิฟอร์เนีย และมหาสมุทรแปซิฟิก (ได้แก่เกาะกวาดาลูเปและหมู่เกาะเรบียาคีเคโดที่อยู่ห่างไกลออกไป) อีกด้วย พื้นที่เกือบทั้งหมดของเม็กซิโกแผ่นดินใหญ่ตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกอเมริกาเหนือ โดยมีบางส่วนของคาบสมุทรบาฮากาลิฟอร์เนียตั้งอยู่บนแผ่นแปซิฟิกและแผ่นโกโกส ในทางธรณีฟิสิกส์ นักภูมิศาสตร์บางกลุ่มจัดให้ดินแดนของประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันออกของคอคอดเตอวนเตเปกอยู่ในภูมิภาคอเมริกากลาง แต่ในทางภูมิศาสตร์การเมือง เม็กซิโกเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคอเมริกาเหนือร่วมกับแคนาดาและสหรัฐอเมริกา",
"title": "ประเทศเม็กซิโก"
}
] | [
{
"docid": "823#55",
"text": "สหรัฐแผ่นดินใหญ่มีพื้นที่ 7,663,940.6 ตารางกิโลเมตร รัฐอะแลสกา ซึ่งมีประเทศแคนาดาคั่นสหรัฐแผ่นดินใหญ่ เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุด มีขนาด 1,717,856.2 ตารางกิโลเมตร รัฐฮาวายซึ่งเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ มีพื้นที่ 28,311 ตารางกิโลเมตร ดินแดนที่มีประชากรอาศัยของสหรัฐ ได้แก่ ปวยร์โตรีโก อเมริกันซามัว กวม หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาและหมู่เกาะเวอร์จินรวมมีพื้นที่ 23,789 ตารางกิโลเมตร",
"title": "สหรัฐ"
},
{
"docid": "633869#0",
"text": "แอปพาเลเชีย (; การออกเสียง: ; \"แอ-เปอะ-เล-เชีย\") หรือ ภูมิภาคแอปพาเลเชีย เป็นภูมิภาคทางวัฒนธรรมทางช่วงตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ซึ่งรวมตั้งแต่รัฐนิวยอร์กช่วงใต้ จนกระทั่งถิ่นเหนือของรัฐแอละแบมา มิสซิสซิปปี และจอร์เจีย โดยไม่นับบริเวณอื่นในเทือกเขาแอปพาเลเชียน เช่น เกาะเบลล์ ของแคนาดา และภูเขาชีฮอของแอละแบมา อิงตามสำมะโนสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2010 ในปี ค.ศ. 2010 ภูมิภาคแอปพาเลเชียมีผู้อยู่อาศัยมากกว่า 25 ล้านคน",
"title": "แอปพาเลเชีย"
},
{
"docid": "51872#0",
"text": "แอฟริกาเหนือ หรือ แอฟริกาตอนเหนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาประกอบไปด้วย 7 ประเทศคือ:\nมีเทือกเขาสำคัญคือ เทือกเขาแอตลาส\nด้านทิศเหนือจรดทะเลเมดิเตอเรเนียน มีช่องแคบยิบรอลตาร์เป็นพรมแดนที่แคบที่สุดที่กั้นระหว่างทวีปแอฟริกากับทวัปยุโรป\nมีทะเลทรายสะฮาราเป็นทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุดในโลก อยู่บริเวณตอนใต้ของภูมิภาค\nทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก\nทิศตะวันออกจรดทวีปเอเชีย มีทะเลแดงเป็นพรมแดนกั้นระหว่างสองทวีป",
"title": "แอฟริกาเหนือ"
},
{
"docid": "409173#10",
"text": "ในทวีปอเมริกาเหนือ ประชากรราว 15,000 ตัวได้ตั้งถิ่นฐานรอบเซนต์หลุยส์ และพื้นที่ใกล้เคียงอย่างบางส่วนของรัฐอิลลินอยส์และทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐไอโอวา นกเหล่านี้สืบเชื้อสายมาจากนก 12 ตัวที่นำเข้ามาจากประเทศเยอรมนีและถูกปล่อยในปลายเดือนเมษายน ค.ศ. 1870 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงนกพื้นเมืองในท้องถิ่นทวีปอเมริกาเหนือ ในพื้นที่การกระจายพันธุ์ที่จำกัดในอเมริกา นกกระจอกบ้านต้องแข่งขันกับนกกระจอกใหญ่ในเมือง และจะพบมากในสวนสาธารณะ ไร่นา และป่าละเมาะ ชาวอเมริกามักเรียกนกชนิดนี้ว่า \"นกกระจอกเยอรมัน\" (German Sparrow) เพื่อให้ต่างจากนกพื้นเมืองอย่างนกกระจอกต้นไม้อเมริกา (American Tree Sparrow) และนกกระจอกบ้านอังกฤษ (\"English\" House Sparrow) ที่แพร่พันธุ์มากขึ้น",
"title": "นกกระจอกบ้าน"
},
{
"docid": "3898#6",
"text": "หมู่เกาะซึ่งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในทวีปอเมริกาเหนือด้วยได้แก่ เบอร์มิวดา (ดินแดนของสหราชอาณาจักร) กรีนแลนด์ (ดินแดนของเดนมาร์ก) แซ็งปีแยร์และมีเกอลง (ดินแดนของฝรั่งเศส)ทวีปอเมริกาเหนือตั้งอยู่ในเขตซีกโลกเหนือระหว่างละติจูด 7 องศา 15 ลิปดาเหนือถึง 83 องศา 38 ลิปดาเหนือ และระหว่างลองจิจูด 55 องศา 42 ลิปดาตะวันตกถึง 172 องศา 30 ลิปดาตะวันออก",
"title": "ทวีปอเมริกาเหนือ"
},
{
"docid": "3900#0",
"text": "เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือ\nทวีปอเมริกาใต้ไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น",
"title": "ทวีปอเมริกาใต้"
},
{
"docid": "11195#22",
"text": "ในระยะนี้มีรัฐพรมแดน เหนือ-ใต้ ประกาศแยกตัวเพิ่มอีก 4 รัฐ คือ เวอร์จิเนีย, เทนเนสซี, อาร์คันซัส และ นอร์ทแคโรไลนา โดยแต่เดิมรัฐเหล่านี้วางท่าที ไม่ยอมถืออาวุธเข้าห้ำหั่นกับรัฐทางเหนือที่เป็นเพื่อนบ้าน การแยกตัวออกของรัฐเวอร์จิเนียทำให้ นายพลโรเบิร์ต อี. ลี ถอนตัวจากกองทัพฝ่ายสหภาพ โดยอ้างว่าไม่สามารถจับอาวุธขึ้นสู้กับบ้านเกิดของตนได้ ทางฝ่ายสมาพันธรัฐอเมริกาตอบแทนรัฐเวอร์จิเนีย โดยการย้ายเมืองหลวงไปตั้งที่ริชมอนด์ เมืองหลวงของเวอร์จิเนีย",
"title": "สงครามกลางเมืองอเมริกา"
}
] |
1244 | บักส์ บันนี มีสีอะไร ? | [
{
"docid": "774#5",
"text": "ในเรื่องที่สาม Hare-um Scare-um ฉายวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1939 กำกับโดย ดัลตัน และ ฮาร์ดอเวย์ ในตอนนี้กิล เทอร์เนอร์ซึ่งเป็นผู้วาด ได้ให้ชื่อกับ กระต่ายของเรา โดยเขียน \"บักส์ บันนี\") ไว้ที่กระดาษร่างของเขา ซึ่งมีความหมายว่า ตัวกระต่ายนี้เป็นตัวการ์ตูนของ ฮาร์ดอเวย์ และเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องแรกที่กระต่ายมีสีเป็นสีเทาแทนที่จะเป็นสีขาว เนื้อเรื่องนั้นเป็นเนื้อเรื่องง่ายๆ คือ บักส์ เจอกับนักล่าสัตว์ และ สุนัขล่าเนื้อของเขา สิ่งที่เด่นในตอนนี้ก็คือ เป็นครั้งแรกที่บักส์ร้องเพลง และนับเป็นครั้งแรกที่บักส์แต่งตัวเป็นกระเทยเพื่อล่อหลอกศัตรู และจากเรื่องนี้เป็นต้นมากระต่ายก็ได้ชื่อว่า \"บักส์\" โดยผู้ตั้งชื่อให้คือ เหล่าผู้วาดที่ เทอร์ไมท์ เทอเรซ เพื่อเป็นเกียรติให้กับผู้สร้าง คือเบ็น บักส์ ฮาร์ดอเวย์",
"title": "บักส์ บันนี"
}
] | [
{
"docid": "774#34",
"text": "หลังจากนั้น บักส์ก็ปรากฏในการ์ตูนซีรีส์ ลูนีย์ทูนส์ อีกหลายตอน รวมทั้งการ์ตูนเช้าวันเสาร์ และ การ์ตูน syndicated animated series ลักษณะของบักส์นั้น ทำให้เขาเป็นที่โปรดปรานของผู้กำกับการ์ตูนหลายคน เช่น ฟริซ เฟรเลง โรเบิร์ต แม็คคิมสัน เท็กซ์ เอฟวรีย์ และ ชัค โจนส์ และนอกจากนั้น ยังได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์จอใหญ่ เช่นเรื่อง<i data-parsoid='{\"dsr\":[25711,25722,2,2]}'>สเปซแจม โดยร่วมแสดงกับ ไมเคิล จอร์แดน",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#3",
"text": "จากบันทึกของนักประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์ และ การ์ตูน บักส์ บันนี ปรากฏตัวครั้งแรกใน การ์ตูนสั้น Porky's Hare Hunt ฉายครั้งแรก วันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1938 การ์ตูนนี้กำกับร่วมกันโดย แคล ดัลตันและ โจเซฟ เบ็นสัน ฮาร์ดอเวย์ (รู้จักต่อมาในชื่อว่า เบ็น ฮาร์ดอเวย์) โดยตัว ฮาร์ดอเวย์ นั้นมีชื่อเล่นว่า \"บักส์\" การ์ตูนเรื่องนี้ ลอกเค้าโครงมาจาก Porky's Duck Hunt ที่ออกมาก่อนหน้าแล้ว ในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 กำกับโดย เท็กซ์ เอฟวรีย์ ซึ่งเป็นตอนแนะนำตัวของแดฟฟี ดัก แต่ในการ์ตูนเรื่องแรกของ บักส์ บันนี นี้ เป็นเรื่องราว ที่นักล่าสัตว์ พอร์คกี พิก ออกไล่ล่าเหยื่อที่ต๊องพอๆ กัน เพราะแทนที่จะหนี กลับอยากที่จะทำให้ผู้ล่านั้นคลั่งเสียสติ ในเรื่องนี้เหยื่อก็คือ กระต่ายขาวตัวเล็ก และยังไม่มีชื่อ แทนที่จะเป็น เป็ดดำ แดฟฟี ดัก เช่นเคย ในเรื่องนี้ เมล บลังค์ เป็นผู้พากษ์เสียงของกระต่าย และคำเปิดตัวคือ \"Jiggers, fellers!\" และคำคม (ซึ่งถือเป็นลักษณะบ่งชี้เฉพาะตัวของกระต่ายตัวนี้) ก็คือ คำที่คัดลอกมาจาก เกราโช มาร์กซ ที่ว่า \"Of course, you know, this means war.\" พอร์คกี ก็เลยเป็น คู่กัด คนแรกของ บักส์ โดยมีจุดจบคือ ได้เข้าไปนอนหยอดน้ำข้าวต้มในโรงพยาบาล",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#18",
"text": "ในช่วง ค.ศ. 1942 มีการ์ตูนของบักส์ ออกมาทั้งหมด 6 ตอน ตอนแรกนั้นกำกับโดยโรเบิร์ต แคลมเพ็ต ชื่อตอน The Wacky Wabbit ฉายครั้งแรกวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 และก็เป็นอีกครั้งที่บักส์ของเรานั้น ได้สนุกสนานกับการกลั่นแกล้ง เอลเมอร์ ฟัดด์ ซึ่งในเรื่องนี้ได้ถูกจัดให้เป็นนักขุดหาทองในทะเลทราย เรื่องที่สองคือ Hold the Lion, Please ฉายครั้งแรก 13 มิถุนายน ค.ศ. 1942 เนื้อเรื่องในตอน เป็นเรื่องของสิงโต ที่พยายามจะพิสูจน์ตัวเองว่ายังเป็น \"King of the Jungle\" หรือจ้าวป่าอยู่ โดยการออกไปไล่ล่าสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ไร้ทางต่อสู้ และก็ได้ตัดสินใจที่จะล่าบักส์, แล้วก็พบว่า ตัวเองนั้นเป็นฝ่ายถูกหลอกแบบไร้ทางสู้เลยก็ว่าได้ แต่ในที่สุดแล้ว สิงโด ก็ได้พบจุดอ่อนของบักส์ คือ บักส์นั้นกลัวภรรยา (หรือ ภาษาชาวบ้านก็เรียกว่า กลัวเมีย) ตอนนี้เป็นตอนแรกที่ภรรยาของบักส์ปรากฏตัว และก็เป็นตอนสุดท้ายด้วย เพราะว่าหลังจากนั้นบักส์ของเรา ก็กลับกลายเป็นโสดเหมือนเดิม ตอนนี้เป็นตอนแรกในช่วงเวลา 2 ปีที่กำกับโดยชัค โจนส์",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#7",
"text": "บุคลิกจริง ๆ ของบักส์นั้น ได้ปรากฏครั้งแรก ในเรื่อง A Wild Hare ของ เท็กซ์ เอฟวรีย์ ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 โดยมีบักส์โผล่ออกมาจากโพลงกระต่าย มาทักทายเอลเมอร์ ฟัดด์ ว่า \"What's Up Doc?\" ซึ่งถือเป็นจุดที่ภาพลักษณ์ของตัวการ์ตูนนั้นได้พัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#13",
"text": "ตอนสุดท้ายในปีเดียวกันนี้ของบักส์ ก็คือ Wabbit Twouble ฉายครั้งแรกวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1941 กำกับโดย โรเบิร์ต แคลมเพ็ต ซึ่งถึงเวลานี้ได้มีแค่ฉากที่นำบักส์ไปโผล่เป็นช่วงสั้นๆ เพื่อเป็นผู้ประกาศ และในตอนนี้บักส์ก็ได้เจอ เอลเมอร์ ฟัดด์ อีกครั้ง และก็อีกเช่นเคย เอลเมอร์เพียงแค่ต้องการเที่ยวพักผ่อน ที่ \"Jellostone National Park\" (เป็นการเลียนเสียง อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน) นอกจากบักส์แล้ว เอลเมอร์ยังถูกรบกวนจากหมีที่กำลังฉุนเฉียวอีก ผลสุดท้ายทั้งสามถูกตำรวจประจำอุทยานจับเข้าคุกในข้อหาบ่อนทำลายความสงบ ในตอนนี้ เอลเมอร์ถูกวาดให้มีลักษณะสูงและอ้วนกว่าที่เคยเป็น โดยรูปร่างนี้เป็นการออกแบบให้เข้ากับผู้ที่พากย์เอลเมอร์ ซึ่งก็คือ อาเธอร์ คิว ไบรอัน",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#11",
"text": "เรื่องที่สามนั้น กำกับโดย เท็กซ์ เอฟวรีย์ ชื่อตอน The Heckling Hare ฉายครั้งแรก 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 แต่ครั้งนี้ไม่ได้เจอนักล่า แต่เป็นสุนัขล่าเนื้อชื่อ<i data-parsoid='{\"dsr\":[7330,7342,2,2]}'>วิลเลอบี ซึ่งเมื่อมาถึงจุดนี้ ก็เป็นที่เริ่มคุ้นเคยกันทั่วไปกับลักษณะของบักส์แล้ว ที่เขาจะหลอกล่อกวนโมโหศัตรูของเขาตลอดทั้งตอน และคำถามเดียวที่วนเวียนอยู่ในหัวเขาก็คือ \"Let's see...what can I do to this guy next?\"",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#20",
"text": "เรื่องที่สี่ เป็นของ ฟริซ เฟรเลง ชื่อ Fresh Hare ฉายครั้งแรก 22 สิงหาคม ค.ศ. 1942 ในตอน บักส์หลบซ่อนอยู่ในป่าทางตอนเหนือของประเทศแคนาดา จากการไล่ล่าของ เอลเมอร์ ฟัดด์ ตำรวจแห่งชาติแคนาดา (Royal Canadian Mounted Police) ตามหมายจับซึ่งต้องการตัวบักส์ ไม่ว่าจะจับเป็นหรือจับตาย แต่ถ้าเป็นไปได้ให้จับตาย หลังจากการดิ้นรนอย่างสุดชีวิต ในที่สุด บักส์ก็ถูกจับ และ ตัดสินให้ถูกประหารด้วยการยิงเป้า ในขณะที่กำลังจะถูกประหาร บักส์ ได้เริ่มร้องเพลง \"Dixie's Land\" ซึ่งแต่งขึ้นในปี ค.ศ. 1859 โดย แดเนียล ดีเคเตอร์ เอ็มเม็ต (ชาตะ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1815 - มรณะ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1904) แล้วลานประหารก็กลายเป็นทุ่งฝ้าย และตำรวจก็เริ่มแสดงละครเพลง",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#14",
"text": "ถัดมา บักส์ ก็ได้ไปปรากฏตัวในช่วงสั้นๆอีกเรื่อง ในการ์ตูนเกี่ยวกับการท่องเที่ยว Crazy Cruise ซึ่งออกมาในวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1942 โดย เท็กซ์ เอฟวรีย์ และ โรเบิร์ต แคลมเพ็ต และนี่ก็เป็นตอนสุดท้ายที่กำกับโดย เท็กซ์ เอฟวรีย์ ในขณะที่ยังทำงานให้กับ\"เทอร์ไมท์ เทอเรซ\"",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#19",
"text": "เรื่องที่สาม กำกับโดย โรเบิร์ต แคลมเพ็ต ชื่อ Bugs Bunny Gets the Boid ฉายครั้งแรกวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1942 เป็นเรื่องของแม่อีแร้ง ที่สอนลูกๆ อีแร้งที่ขนเพิ่งขึ้น ให้รู้จักล่าอาหารด้วยตนเอง แล้ว บีกกี บัซซาร์ด ซึ่งตัวเล็กที่สุด และอ่อนแอที่สุดในครอก ก็ดันไปล่าเอาบักส์ ไม่เพียงแค่ไม่ประสบผลสำเร็จ สุดท้ายบักส์ต้องเอาตัว บีกกี้ บัซซาร์ด ไปส่งคืนให้แม่อีแร้งซะอีก นกแร้งน้อยตัวนี้ หลังจากที่เปิดตัวในตอนนี้แล้ว ยังได้ออกมาอีกในตอนหลัง บีกกีนั้นมีที่มาจากหุ่นกระบอก มอร์ติเมอร์ สเนิร์ด ซึ่งเล่นโดย เอ็ดการ์ เบอร์เก็น นอกจากนั้น บีกกียังมีส่วนที่คล้ายเจ้าหมากูฟฟี และเสียงพากษ์ของบีกกี โดย เค็นท์ โรเจอร์ส (เสียชีวิต เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944) นั้นก็ยังมีส่วนคล้าย ที่ทำให้นึกถึงผู้ให้เสียง กูฟฟี คือ พินโต โคลวิก อย่างไรก็ตาม ถึงจุดนี้ดูเหมือนว่า โรเบิร์ต แคลมเพ็ต จะเริ่มคุ้นเคยกับการกำกับการ์ตูน บักส์ บันนี แล้ว ในตอนนี้ บักส์ ได้ถูกออกแบบใหม่เล็กน้อย โดยฟันกระต่ายของเขานั้นถูกทำให้เด่นน้อยลง และหัวของเขาก็กลมขึ้นอีกหน่อย ผู้ที่รับผิดชอบในการออกแบบคือ โรเบิร์ต แม็คคิมสัน ซึ่งเป็นนักวาด ที่ทำงานให้กับ โรเบิร์ต แคลมเพ็ต ในขณะนั้น รูปโฉมใหม่ของบักส์นั้น แรกเริ่มก็ใช้อยู่เพียงในกลุ่มของแคลมเพ็ต แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็ได้กลายเป็นรูปโฉมที่ใช้ในการ์ตูนที่กำกับ และสร้างโดยคนอื่นด้วย",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "11307#10",
"text": "และยังได้กลายมาเป็นต้นแบบของตัวการ์ตูนหลากหลายตัว เช่น โรเจอร์ แรบบิท, บักส์ บันนี ที่ได้ต้นแบบมาจากกระต่ายป่าที่ปราดเปรียว หรือมาชิมาโร่ ของเกาหลีใต้ที่เป็นสื่อเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต \nโดยตัวละครการ์ตูนกระต่ายตัวแรกของโลก มีชื่อว่า \"ออสวอลด์\" ปรากฏตัวในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง \"Oswald the Lucky Rabbit\" เมื่อปี ค.ศ. 1927 จากการสร้างสรรค์ของวอลต์ ดิสนีย์",
"title": "กระต่าย"
},
{
"docid": "774#16",
"text": "ตอนต่อมาที่บักส์ได้ปรากฏตัว เป็นโฆษณาชื่อ Any Bonds Today? กำกับโดยโรเบิร์ต แคลมเพ็ต ฉายครั้งแรก วันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1942 เป็นการโปรโมทขาย พันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เพื่อเอาเงินไปใช้ในสงครามโลกครั้งสอง ในตอนนี้ บักส์ได้ร้องเพลงและเต้นโชว์ และมีการแสดง blackface performance (ที่ได้กล่าวถึงไปข้างต้น) เพื่อล้อเลียน แอล โจลสัน (Al Jolson) ในตอนจบนั้น เอลเมอร์ ฟัดด์ และ พอร์คกี พิก ได้มาร่วมแสดง และนี่ก็เป็นการ์ตูนเพลงเรื่องแรกของบักส์ ความเป็นที่นิยมของ บักส์ เหนือ เอลเมอร์ และ พอร์คกี นั้นค่อนข้างเด่นชัดในช่วงเวลานั้น",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#29",
"text": "การปรากฏตัวครั้งที่ 7 ของบักส์ ในปี ค.ศ. 1943 นั้นกำกับโดย โรเบิร์ต แคลมเพ็ต ชื่อตอน Falling Hare บักส์ในตอนนี้นั้น กำลังพักผ่อน อ่านหนังสือ \"Victory Through Hare Power\" อยู่ที่ลานบินซึ่งดูเหมือนจะไม่มีใครอื่นอยู่ด้วย บักส์นั้นในขณะที่กำลังสนุกสนานอยู่กับเรื่องเล่าเกี่ยวกับตัว เกรมลิน ในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งมีหน้าที่สร้างความหายนะให้กับเครื่องบิน ก็ได้ยินเสียงจากเครื่องบินทิ้งระเบิดที่อยู่ใกล้ๆ เมื่อเขาไปตรวจดูก็พบตัวเกรมลินกำลังก่อวินาศกรรมเครื่องบินอยู่ บักส์ได้พยายามเข้าไปขัดขวาง มารู้ตัวอีกทีเขาก็กำลังขับเครื่องบินอยู่ การบินนั้นเป็นไปอย่างทุลักทุเล และ ทำให้บักส์นั้นถึงกับเสียวสันหลังเลยทีเดียว แต่เขาก็ช่วยเครื่องบินเอาไว้ได้ก่อนที่จะพุ่งโหม่งพื้นโลก ตอนนี้เป็นหนึ่งในจำนวนไม่กี่ตอนที่บักส์นั้นได้เสียความเยือกเย็น เรียกได้ว่า แตกตื่นเสียจริตไปเลยก็ว่าได้",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#27",
"text": "ตอนที่ 5 ของปี เป็นเพียงการปรากฏตัวสั้นๆ ใน Porky Pig's Feat ฉาย 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 เป็นครั้งแรกที่ผู้กำกับ แฟร็งค์ แทชลิน ที่ใช้ตัวการ์ตูนบักส์ เป็นเรื่องการเดินทางของ พอร์คกี พิก และ แดฟฟี ดัก ทั้งสองได้มาพักที่โรงแรม \"Broken Arms Hotel\" (โรงแรมแขนหัก) โดย แดฟฟี ดัก นั้น ถังแตกจากการพนัน เหลือเงินติดตัวแค่พอค่าใช้จ่ายเท่านั้น ส่วน พอร์คกี ก็ถูกขูดรีด โดยโดนเก็บค่าที่พักแพงกว่าปกติ ทั้งคู่ถูกข่มขู่ว่า ถ้าไม่จ่าย ทั้งคู่จะได้รู้จักเหตุที่มาของชื่อโรงแรม ตลอดทั้งตอนเป็นเรื่องราว ที่ทั้งคู่พยายามหนีออกจากโรงแรมโดยไม่จ่ายค่าที่พัก นี่เป็นตอนแรกที่ พอร์คกี ปรากฏตัวพร้อมกับ บักส์ และ แดฟฟี ซึ่งปกติเป็นศัตรูของเขา ในลักษณะที่ค่อนข้างเป็นมิตร ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก็ตาม",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#1",
"text": "บักส์เป็นที่รู้จักกันดีจากการเป็นคู่แค้นกับ เอลเมอร์ ฟัดด์ โยเซมิตี แซม มาร์วิน มาร์เชียนแม้กระทั่ง ไวลี อี. ไคโยตี (ซึ่งโดยปกติแล้วจะไล่ล่า โรด รันเนอร์) (แต่ใน เดอะ ลูนี่ตูนส์ โชว์ พวกเขาเป็นเพื่อนของบักส์) ทุกครั้งที่มีเรื่องมีราวกัน บักส์จะลงเอยเป็นผู้ชนะเสมอ โดยเฉพาะตอนที่กำกับโดย ชัคก์ โจนส์ ผู้ซึ่งชอบจับคู่ชน ระหว่าง \"ผู้ชนะ\" กับ \"ผู้แพ้\" เนื่องจากโจนส์เป็นห่วงว่า ในที่สุดผู้ชมจะหมดความเห็นอกเห็นใจให้กับ บักส์ ซึ่งเป็นผู้ชนะตลอด (โดยปกติ ผู้ชนะมักจะเป็นฝ่ายที่ก้าวร้าวกว่า) โจนส์จึงได้วางเนื้อเรื่องให้บักส์นั้นถูกรังแก ถูกล่อลวง และถูกข่มขู่ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จากอีกฝ่ายที่มีเรื่องกันเสมอ หลังจากถูกหาเรื่อง (ปกติแล้วจะเกิดขึ้น 3 ครั้ง) บักส์ก็จะพูดว่า \"Of course, you realize this means war\" (แน่นอน คุณก็เห็นว่านี่คือสงคราม) เป็นคำพูดที่โจนส์เอามาจาก เกราโช มาร์กซ และผู้ชมก็จะไม่ว่าอะไร ในลักษณะเป็นเชิงให้อนุญาตให้บักส์นั้น เริ่มใช้ความรุนแรงตอบโต้ได้",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#36",
"text": "บักส์ รับบทเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัย acme looniversity ในการ์ตูน Tiny Toon Adventures ของSteven Spielberg",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "32230#0",
"text": "เอลเมอร์ เจ. ฟัดด์ (Elmer J. Fudd) ตัวละครการ์ตูนของลูนีทูนส์/เมอรรีเมโลดีส์ และเป็นคู่ปรับคนสำคัญกับ บักส์ บันนี",
"title": "เอลเมอร์ ฟัดด์"
},
{
"docid": "774#2",
"text": "แต่ในตอนที่บักส์ พบกับตัวการ์ตูนที่เป็น \"ผู้ชนะ\" เหมือนกัน เช่น ซิซิล เดอะ เทอเทิล ใน Tortoise Beats Hare (กระต่ายกับเต่า) หรือใน WWII (สงครามโลกครั้งที่สอง) the Gremlin of Falling Hare บักส์มักจะเสียสถิติในการเป็นผู้ชนะ เนื่องจากความมั่นใจในตัวเองมากเกินไป",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#8",
"text": "บักส์ ได้ปรากฏตัวใน Patient Porky ของ โรเบิร์ต แคลมเพ็ต ซึ่งฉายในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1940 เพียงแค่ช่วงสั้นๆ เพื่อมาประกาศการเกิดของกระต่าย 260 ตัว ในการปรากฏตัวครั้งที่ 7 ของบักส์ ในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1941 ในชื่อตอน Elmer's Pet Rabbit ของชัค โจนส์ นั้น เป็นครั้งแรกที่มีการประกาศชื่อของเขา คือ บักส์ บันนี ให้ผู้ชมได้รับรู้ (ก่อนหน้านี้เป็นที่รู้กันเฉพาะในกลุ่ม\"เทอร์ไมท์ เทอเรซ\") ตอนนี้เป็นตอนแรกที่บักส์เริ่มได้รับความนิยม เขาได้กลายมาเป็นตัวการ์ตูนใน ลูนีย์ทูนส์ ที่มีชื่อเสียงในเรื่อง ความใจเย็น ตลบตะแลง ไร้กังวล อันเป็นลักษณะที่ทำให้เขาได้กลายเป็นที่รักของชาวอเมริกัน ทั้งในช่วงสงคราม และหลังสงครามโลกครั้งที่สอง",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#38",
"text": "หมวดหมู่:ตัวละครในลูนีทูนส์ หมวดหมู่:ตัวละครที่เป็นกระต่าย",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#12",
"text": "เรื่องถัดมาของบักส์ ก็ยังคงกำกับโดยเอฟวรียร์ ชื่อตอน All this and Rabbit Stew ฉายครั้งแรกเมื่อ 20 กันยายน ค.ศ. 1941 บักส์ ก็ยังโดนไล่ล่าอีกเช่นเคย โดยผู้ล่าเป็นตัวการ์ตูนชาวอเมริกาเชื้อสายแอฟริกาหรือคนผิวดำนั่นเอง โดยใช้รูปแบบของการแสดงที่แต่งหน้าด้วยสีดำเพื่อเป็นการบ่งชี้ หลังจากที่กลั่นแกล้งศัตรูจนเป็นที่พอใจแล้ว บักส์ก็หลอกล่อศัตรูของเขาให้ตัดสินการต่อสู้นี้ด้วยการโยนลูกเต๋า และในที่สุดศัตรูของบักส์ก็ถูกบักส์รูดทรัพย์สินและเสื้อผ้าจนหมด เหลือแต่ใบไม้ปิดบังตัวเท่านั้น และเขาได้พูดถึงสภาพของเขาว่า \"Just call me Adam\" ซึ่งมีที่มาจากเรื่องของอาดัมกับอีฟ ในพระคัมภีร์ไบเบิลตอนพระเจ้าสร้างโลกนั่นเอง และนี่ก็เป็นตอนสุดท้ายของบักส์ที่กำกับโดย เท็กซ์ เอฟวรีย์ ซึ่งได้ออกจากสตูดิโอ เนื่องจากความขัดแย้งกับผู้ผลิต ลีออน ชเลสซิงเกอร์ และย้ายไปอยู่ที่โรงถ่ายการ์ตูนของ เมโทร-โกลด์วิน-ไมเออร์",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#0",
"text": "บักส์ บันนี (English: Bugs Bunny) เป็นตัวการ์ตูนใน ลูนีย์ทูนส์ และเดอะ ลูนี่ตูนส์ โชว์ ซึ่งการ์ตูนซีรีส์เป็นตอน ๆ และเป็นตัวการ์ตูนที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก บักส์บอกว่าเขาเกิดในปี พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) ที่ย่านบรูกลิน ในนครนิวยอร์ก แต่เสียงของ เมล แบลงก์ ซึ่งพากย์เสียงของ บักส์ บันนี เป็นสำเนียงลูกผสมระหว่างคนย่านบรองซ์กับบรูกลิน",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#31",
"text": "เรื่องหนูน้อยหมวกแดงนี้ ได้เคยถูกทำเป็นการ์ตูนมาแล้ว 12 ครั้งก่อนหน้านี้ ครั้งแรกนั้นสร้างโดย วอลต์ ดิสนีย์ เป็นส่วนหนึ่งของการ์ตูนซีรีส์ \"Laugh-O-Grams\" ซึ่งฉาย 29 มิถุนายน ค.ศ. 1922 ครั้งที่สองกำกับโดย วอลเตอร์ แลนทซ์ ระหว่างที่เขาทำงานที่โรงถ่ายเบรดี และออกฉาย 4 มกราคม ค.ศ. 1925 ทั้งสองตอนนี้ และ ตอนที่กำกับโดย เฟรเลง นั้นได้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของการสร้างการ์ตูน ในช่วงเวลา 25 ปี",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#9",
"text": "หลังจากนั้น บักส์ ก็ได้ปรากฏในอีก 5 ตอนในช่วงปี ค.ศ. 1941 เรื่องแรกนั้นก็คือ Tortoise Beats Hare ของ เท็กซ์ เอฟวรีย์ ซึ่งฉายในวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1941 เป็นเรื่องราวของนิทานอีสป ที่กระต่ายท้าเต่าให้วิ่งแข่งกัน และได้พ่ายแพ้ให้กับเต่า เนื่องมาจากความมั่นใจในตัวเองที่สูงเกินไป แต่ในการ์ตูนนี้ บักส์ ได้เสียรู้ให้กับเต่าคู่แข่ง คือ ซิซิล เทอร์เทิล โดยเต่าคู่แข่งได้เอาญาติๆ ซึ่งหน้าตาเหมือนกัน มาเรียงรายไว้ตลอดรายทาง เพื่อหลอกให้บักส์หลงเชื่อว่าได้ถูกวิ่งแซง เป็นการ์ตูนเรื่องแรกที่ บักส์ ได้กลับกลายมาเป็นผู้ถูกหลอก และได้รับความอับอาย จากคู่แข่งซะเอง เท็กซ์ เอฟวรีย์นั้น ในภายหลังก็ได้ใช้แนวความคิด ที่ใช้ญาติที่หน้าตาเหมือนๆ กัน ในการ์ตูนตอนที่มี ดรูปปี ด็อก อยู่ในเรื่องตอนอื่นๆ",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#15",
"text": "บักส์ และ เอลเมอร์ ได้พบกันอีกครั้งในตอน The Wabbit Who Came to Supper ของฟริซ เฟรเลง ออกมาในวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1942 ในขณะที่ เอลเมอร์ กำลังล่าบักส์อยู่นั้น เขาได้รับโทรเลข แจ้งว่าเขาจะได้รับมรดก $3,000,000 จากลุงลูอีของเขา โดยมีเงื่อนไขว่าเขาจะต้องเลิกทำร้ายสัตว์ โดยเฉพาะกระต่าย บักส์เลยฉวยโอกาสนี้ย้ายเข้าไปอยู่ในบ้านของ เอลเมอร์ ซะเลย และเรียกร้องสารพัด เอลเมอร์ ตอนหลังได้รับรู้ว่าลุงลูอี้ ได้เสียชีวิตแล้ว และเมื่อหักภาษีของการตกทอดมรดกแล้ว ก็ไม่มีอะไรเหลือถึง เอลเมอร์ บักส์ได้รู้ดังนั้นก็เลยรีบเผ่นออกจากบ้านไปทันที หลังจากนั้นไม่นานบักส์ก็ส่งของขวัญมาให้ เอลเมอร์ ทางไปรษณีย์ ในกล่องของขวัญนั้นเต็มไปด้วยลูกกระต่าย ซึ่งเข้ามาอยู่เต็มบ้านของ เอลเมอร์ ไปหมด",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#25",
"text": "ตอนที่สามคือ Jack-Wabbit and the Beanstalk กำกับโดย ฟริซ เฟรเลง ฉาย 12 มิถุนายน ค.ศ. 1943 เนื้อเรื่องมีเค้าโครงมาจากเรื่อง แจ็คผู้ฆ่ายักษ์ (Jack and the Beanstalk) โดยวางตัวให้บักส์เป็นผู้ฆ่ายักษ์ ตัวยักษ์นั้นได้ถูกถ่ายทอดออกมาให้มีลักษณะที่เต็มไปด้วยความมั่นใจ และความรู้สึกว่าตัวนั้นเหนือชั้นกว่าบักส์ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากคำพูด \"Well he can't outsmart me, 'cause I'm a moron\" (เป็นมุขคือ ไม่มีความฉลาด (smart) ที่จะให้ฉลาดกว่า (outmart) ได้ -- moron นั้นคือ คนที่สมองหยุดเจริญเติบโตตั้งแต่เด็ก) แต่บักส์ก็ได้พิสูจน์ถึงปัญญาที่เหนือชั้นกว่าในตอนจบ เป็นที่น่าสังเกตว่ามิคกี เมาส์ นั้น ก็ได้ออกตอนแจ็คผู้ฆ่ายักษ์ ในชื่อ Brave Little Tailor ฉาย 23 กันยายน ค.ศ. 1938 ก่อนหน้านั้นแล้ว และ มิคกี เมาส์ ก็ได้ชนะยักษ์ด้วยปัญญาเช่นกัน แต่ในลักษณะที่แตกต่างไปจากบักส์ นี่ก็เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นว่า การ์ตูนของวอร์เนอร์ บราเธอร์ส นั้น มีลักษณะความขำขันเป็นของตัวเอง และก็เป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ การ์ตูนของวอร์เนอร์ บราเธอร์ส ในช่วงยุค 40",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#21",
"text": "เรื่องถัดมาของบักส์ ก็กำกับโดยฟริซ เฟรเลง ชื่อ The Hare-Brained Hypnotist ออกฉายวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1942 ในตอนนี้ เอลเมอร์ ฟัดด์ ได้สะกดจิตตัวเอง เพื่อให้มีความสามารถที่จะจับบักส์ได้ แต่ในระหว่างการไล่ล่า บักส์ได้ทำการสะกดจิตเอลเมอร์ ให้หลงเข้าใจว่าตัวนั้นเป็นกระต่าย แต่ เอลเมอร์ นั้นกลับหลงคิดว่าตัวเองคือบักส์ ผลคือ บักส์เลยได้ลิ้มรสชาติเล่ห์กลของตัวเองจาก เอลเมอร์ แล้วทั้งสองก็ไล่ล่าพยายามที่จะสะกดจิดฝ่ายตรงข้าม ในตอนจบ เอลเมอร์ กลับเป็นปกติ แต่บักส์นั้นขับเครื่องบินไล่หาสนามบิน เนื่องจากถูกสะกดจิตว่าตัวเองเป็นนักบินขับเครื่องบินทิ้งระเบิด ตอนนี้ เป็นตอนที่ลักษณะการดวลกันระหว่าง เอลเมอร์ และ บักส์ นั้นตรงข้ามกับปกติ คือ เอลเมอร์ นั้นเป็นฝ่ายได้เปรียบ (บ้าง ถึงแม้จะเป็นในช่วงสั้นๆ ก็ตาม)",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#6",
"text": "ตอนที่สี่ Elmer's Candid Camera โดย ชัค โจนส์ ฉายในวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1940 ตอนนี้ ทั้ง บักส์ และ เอลเมอร์ ฟัดด์ ได้ถูกออกแบบรูปร่างหน้าตาใหม่ เพื่อง่ายแก่การจดจำของผู้ชม ตอนนี้เป็นการพบกันครั้งแรกของตัวการ์ตูนทั้งสอง เอลเมอร์นั้นต้องการเพียงจะถ่ายรูปพื้นที่ แต่ บักส์ก็ทำตัวเองราวกับตกเป็นเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย ความจริงนั้นทำไปก็เพื่อความสนุกสนานเท่านั้น",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#4",
"text": "เรื่องที่สองที่ปรากฏตัว คือ Prest-O Change-O ฉาย 25 มีนาคม ค.ศ. 1939 กำกับโดย ชัค โจนส์ โดยเล่นเป็นกระต่าย ของนักมายากลล่องหน แชม-ฟู เมื่อสุนัข 2 ตัว เข้ามาในบ้านตอนที่นักมายากลไม่อยู่เพื่อหลบพายุ กระต่ายก็เริ่มกลั่นแกล้งเจ้าสุนัขทั้งสอง ในเรื่อง บักส์ จูบ สุนัขตัวหนึ่งถึง 2 ครั้ง นี่เป็นครั้งแรกที่บักส์จูบศัตรูของเขา เพื่อสร้างความสับสน และเรื่องนี้ก็เป็นครั้งแรกที่ บักส์พ่ายแพ้แก่ศัตรู",
"title": "บักส์ บันนี"
},
{
"docid": "774#24",
"text": "ในตอนที่สองซึ่งออกฉายในปีเดียวกันนี้นั้น กำกับโดย ชัค โจนส์ ชื่อตอน Super Rabbit ออกฉายเมื่อ 13 เมษายน ค.ศ. 1943 เป็นการล้อเลียน ซูเปอร์แมน จากการ์ตูนซีรีส์ของ ฟเลเชอร์สตูดิโอ โดยบักส์นั้น ได้รับพลังยอดมนุษย์ (super powers) จากการกิน super carrots ที่พัฒนาโดย ศาสตราจารย์ คานาฟราซ (Canafrazz) ภารกิจแรกของบักส์นั้นคือ ต่อสู้กับ คาวบอย จาก รัฐเทกซัส ผู้ซึ่งเกลียดกระต่าย และนี่ก็เป็นภารกิจสุดท้ายของบักส์ในขณะที่เป็นยอดมนุษย์ แล้วบักส์ได้แสดงถึงความรักชาติ โดยสละชุดที่มีสีสันออก และประกาศ \"This looks like a job for a real super hero\" แล้วก็โผล่ออกมาในชุดเครื่องแบบทหาร ของ กองทัพเรือสหรัฐฯ ซึ่งขณะนั้นยังคงรบอยู่ในสงครามโลกครั้งที่สอง",
"title": "บักส์ บันนี"
}
] |
4036 | เอ็มมา ชาร์ล็อต ดูแอร์ วอตสัน มีผลงานที่โดดเด่นที่สุดคือเรื่องใด ? | [
{
"docid": "137619#0",
"text": "เอ็มมา ชาร์ล็อต ดูแอร์ วอตสัน[1] (English: Emma Charlotte Duerre Watson; เกิด 15 เมษายน พ.ศ. 2533)[2] เป็นนักแสดงหญิง นางแบบ และนักกิจกรรมหญิงชาวบริติช เกิดในปารีสและเติบโตในออกซฟอร์ดไชร์ วอตสันเข้าเรียนโรงเรียนดรากอนสกูลขณะเป็นเด็ก และเรียนการแสดงที่โรงเรียนสเตจโคชเธียเตอร์อาตส์ สาขาออกซฟอร์ด เธอเป็นที่จดจำจากบทบาทการแสดงในบทเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ในภาพยนตร์ชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[1969,1988,2,2]}'>แฮร์รี พอตเตอร์ ปรากฏตัวในภาพยนตร์<i data-parsoid='{\"dsr\":[2009,2028,2,2]}'>แฮร์รี พอตเตอร์</i>แปดภาคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2554 โดยก่อนหน้านั้นเธอเคยแสดงเฉพาะละครในชั้นเรียน[3] แฟรนไชส์ แฮร์รี พอตเตอร์ ทำให้วอตสันมีชื่อเสียงทั่วโลก ได้รับคำยกย่อง และรายได้มากกว่า 10 ล้านปอนด์[4] เธอยังคงรับงานแสดงนอกจากภาพยนตร์<i data-parsoid='{\"dsr\":[2927,2946,2,2]}'>แฮร์รี พอตเตอร์ อีก เรื่องแรกคือพากย์เสียงในภาพยนตร์ การผจญภัยของเดเปอโร และปรากฏในภาพยนตร์โทรทัศน์ฉบับดัดแปลงจากนวนิยายเรื่อง รองเท้าบัลเลต์ ตั้งแต่นั้นมา เธอได้รับบทในภาพยนตร์เรื่อง วัยป่วนหัวใจปึ้ก และวัยร้าย วัยลัก ได้รับบทเป็นตนเองในฉบับ \"เกินจริง\" ปรากฏตัวชั่วครู่ในภาพยนตร์ วันเนี๊ย...จบป่ะ[5] และรับบทเป็นบุตรบุญธรรมของตัวละครหลักในเรื่อง โนอาห์ มหาวิบัติวันล้างโลก[6]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
}
] | [
{
"docid": "137619#30",
"text": "วอตสันได้รับรางวัลนักออกแบบชาวบริติชยอดเยี่ยมในงานประกาศรางวัลแฟชันบริติชอะวอดส์ 2014 ในงานยังมีดารามากมาย เช่น เดวิด เบคแคม เอมัล คลูนีย์ เคต มอส และเคียรา ไนต์ลีย์",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#5",
"text": "ในปี พ.ศ. 2544 วอตสันเปิดตัวแสดงความสามารถครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง<i data-parsoid='{\"dsr\":[9960,9994,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ ภาพยนตร์ทำลายสถิติรายได้ในวันฉายวันแรกและสัปดาห์แรก และเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงที่สุดในปีนั้น[23][24] นักวิจารณ์ชื่นชมการแสดงของนักแสดงนำทั้งสามคน โดยชื่นชมวอตสันเป็นพิเศษ หนังสือพิมพ์เดอะเดลีเทลิกราฟเรียกการแสดงของเธอว่า \"น่าชื่นชม\"[25] และเว็บไซต์ไอจีเอ็นกล่าวว่าเธอ \"โดดเด่นมากกว่าคนอื่น ๆ\"[26] วอตสันได้เข้าชิงรางวัลห้ารางวัลจากเรื่อง<i data-parsoid='{\"dsr\":[11300,11315,2,2]}'>ศิลาอาถรรพ์ และได้รับรางวัลนักแสดงเด็กสาขานักแสดงนำเด็กหญิง[27]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#13",
"text": "วอตสันพากย์เสียงให้บทเจ้าหญิงพีในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง เดเปอโร...รักยิ่งใหญ่จากใจดวงเล็ก ภาพยนตร์ตลกสำหรับเด็กนำแสดงโดยแมททิว บรอเดริก และนักแสดงร่วมเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ ร็อบบี โคลเทรน (รูเบอัส แฮกริด) แสดงในเรื่องนี้เช่นกัน[57] การเดเปอโร...รักยิ่งใหญ่จากใจดวงเล็ก</i>ออกฉายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 และทำรายได้ได้ 87 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก[58]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#9",
"text": "ภาพยนตร์เรื่องที่ห้าในแฟรนไชส์คือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ ออกฉายในปี พ.ศ. 2550 จากความสำเร็จด้านรายได้ครั้งใหญ่ ภาพยนตร์ทำสถิติทำรายได้ในสัปดาห์แรกสูงที่สุดที่ 332.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[42] วอตสันชนะรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติสาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยม[43] เนื่องจากชื่อเสียงของวอตสันและภาพยนตร์ยังคงดำเนินต่อเนื่อง วอตสันและนักแสดงภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ และรูเพิร์ต กรินต์ พิมพ์ฝ่ามือ รอยเท้า และไม้กายสิทธิ์ที่บริเวณหน้าโรงละครกรอแมนส์ไชนีสเธียเตอร์ในฮอลลิวูดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2550[44]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#28",
"text": "ในปี พ.ศ. 2548 วอตสันเริ่มงานอาชีพนางแบบด้วยการถ่ายโฟโตชู้ตให้นิตยสารทีนโว้ก และเป็นดาราอายุน้อยที่สุดที่ได้ขึ้นปก[2] สามปีต่อมา สื่อของบริติชรายงานว่าวอตสันจะเป็นพรีเซนเตอร์ของเชอแนลแทนเคียรา ไนต์ลี แต่ทั้งสองคนปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง[93] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 หลายปีหลังข่าวลือ วอตสันยืนยันว่าเธอจะร่วมกับเบอร์เบอรี เป็นพรีเซนเตอร์ในโครงการฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาวปี พ.ศ. 2552 ซึ่งเธอได้รับค่าตอบแทนประมาณหกหลัก[8][94] เธอยังปรากฏตัวในโครงการโครงการฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาวปี พ.ศ. 2553 ของเบอร์เบอรีร่วมกับอเล็กซ์ น้องชายของเธอ จอร์จ เครก และแมตต์ กิลเมอร์ นักดนตรี และแม็กซ์ เฮิร์ด นายแบบ[95] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 วอตสันได้รับรางวัลสไตล์ไอคอนจากนิตยสารแอล มอบโดยวิเวียน เวสต์วูด[96] วอตสันยังคงทำงานโฆษณาแฟชันต่อไปหลังเธอประกาศว่าเธอเป็นพรีเซนเตอร์ให้ผลิตภัณฑ์ลังโคมในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554[9]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#7",
"text": "ในปี พ.ศ. 2547 ภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันออกฉาย วอตสันรู้สึกพอใจในบทบาทเฮอร์ไมโอนี่ซึ่งเธอแสดงออกอย่างเต็มที่มากขึ้น โดยเธอเรียกตัวละครของเธอว่า \"มีเสน่ห์\" และเป็น \"บทอัศจรรย์\"[31] แม้ว่านักวิจารณ์ตำหนิการแสดงของแรดคลิฟฟ์ มองว่าเขา \"เล่นแข็ง\" แต่พวกเขายกย่องวอตสัน หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ชมเชยการแสดงของวอตสันว่า \"โชคดีที่คุณแรดคลิฟฟ์ที่ไร้อารมณ์ถูกชดเชยด้วยความอดทนของคุณวอตสัน แฮร์รีได้อวดทักษะพ่อมดที่หลากหลายขึ้น แต่เฮอร์ไมโอนี่ได้รับเสียงปรบมือดังที่สุดจากหมัดปราศจากเวทมนตร์ต่อยเข้าที่จมูกของเดรโก มัลฟอย\"[32] แม้ว่าเรื่องนักโทษแห่งอัซคาบันจะเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้น้อยที่สุดในภาพยนตร์ชุด แต่การแสดงของวอตสันจะชนะรางวัลออตโตสองรางวัล และรางวัลการแสดงเด็กแห่งปีจากนิตยสารโททัลฟิล์ม[33][34]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#20",
"text": "ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 วอตสันยืนยันบทไอลาในภาพยนตร์เรื่อง โนอาห์ มหาวิบัติวันล้างโลก ของแดร์เรน อาโรนอฟสกี ถ่ายทำในเดือนถัดมาและออกฉายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557[6] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 มีรายงานว่าวอตสันกำลังเจรจาแสดงเป็นตัวละครซินเดอเรลล่า ในภาพยนตร์ดิสนีย์ฉบับคนแสดง เค็นเน็ท แบรเนอ กำกับภาพยนตร์ ขณะเคต แบลนเชตต์ รับบทเป็นแม่เลี้ยงใจร้าย วอตสันได้รับข้อเสนอให้เสนอบทดังกล่าว แต่เธอปฏิเสธ[78]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#18",
"text": "ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 มีรายงานว่าวอตสันกำลังพิจารณาแสดงในภาพยนตร์เรื่อง วัยป่วนหัวใจปึ้ก[74] ภาพยนตร์เริ่มถ่ายทำในฤดูร้อนปี พ.ศ. 2554 และออกฉายเดือนกันยายน พ.ศ. 2555[75]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#4",
"text": "ในปี พ.ศ. 2542 การคัดเลือกนักแสดงภาพยนตรเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์เริ่มขึ้น โดยเป็นภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายที่ขายดีที่สุดของเจ. เค. โรว์ลิง เจ้าหน้าที่ที่คัดเลือกนักแสดงพบวอตสันผ่านทางครูของเธอที่โรงละครออกซฟอร์ด และโปรดิวเซอร์รู้สึกประทับใจในความมั่นใจในตนเองของเธอ หลังการออดิชันแปดครั้ง โปรดิวเซอร์ เดวิด เฮย์แมน บอกวอตสันและผู้สมัครอีกสองคนคือ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ และ รูเพิร์ต กรินต์ว่าพวกเขาได้รับเลือกให้เป็นตัวละครเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ และรอน วีสลีย์ โดยเป็นเพื่อนร่วมโรงเรียนเดียวกัน โรว์ลิงสนับสนุนวอตสันตั้งแต่การทดสอบหน้ากล้องครั้งแรก[18]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#19",
"text": "ภาพยนตร์เรื่อง วัยร้าย วัยลัก (2556) วอตสันรับบทเป็นนิกกี ภาพยนตร์สร้างจากเหตุการณ์ของกลุ่มโจรปล้นบลิงริงที่เกิดขึ้นจริง โดยวอตสันเล่นเป็นอเล็กซิส เนเออส์ ในโทรทัศน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในวัยรุ่นเจ็ดคนที่เข้ามาพัวพันกับการปล้น ภาพยนตร์ได้รับคำวิจารณ์คละกันเป็นส่วนใหญ่ แต่นักวิจารณ์ให้คำชมวอตสันที่แสดงเป็นนิกกีอย่างเป็นเอกฉันท์ วอตสันยังได้แสดงในภาพยนตร์ตลกพยากรณ์<!--apocalyptic-->เรื่อง วันเนี๊ย...จบป่ะ (2556) โดยเธอ เซธ โรเกน เจมส์ แฟรนโก และคนอื่น ๆ เล่นเป็น \"ตนเองในแบบเกินจริง\"[5] และวอตสันได้ทิ้ง \"ระเบิด f-bomb\" ครั้งที่เป็นที่จดจำในเรื่อง[76] เธอกล่าวว่าเธอไม่อาจพลาดโอกาสที่เธอจะได้แสดงภาพยนตร์ตลกเรื่องแรก และ \"ทำงานร่วมกับนักแสดงตลกที่ดีที่สุด...ในโลกในตอนนี้\"[77]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#35",
"text": "วอตสันส่งเสริมการศึกษาของเด็กหญิงด้วยการแวะเยี่ยมประเทศบังกลาเทศและแซมเบีย[117] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 เธอมีนัดพบในฐานะทูตสันถวไมตรีสตรีของสหประชาชาติ[12] ในเดือนกันยายนปีเดียวกันนั้น วอตสันซึ่งยอมรับว่ารู้สึกกังวลใจ[118] ส่งที่อยู่ให้สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติในนครนิวยอร์กเพื่อออกโครงการรณรงค์ฮีฟอร์ชี (HeForShe) ซึ่งเรียกร้องให้ผู้ชายสนับสนุนความเท่าเทียมกันทางเพศ ในสุนทรพจน์ครั้งนั้น เธอกล่าวว่าเธอเริ่มสงสัยถึงสมมุติฐานเกี่ยวกับเพศเมื่ออายุแปดขวบเมื่อเธอถูกเรียกว่า \"เจ้ากี้เจ้าการ\" (ลักษณะนิสัยที่ทำให้เธอเป็นผู้สมบูรณ์แบบ)[119] ขณะที่เด็กชายไม่ถูกเรียกเช่นนั้น และขณะอายุ 14 ปี เมื่อเธอ \"ถูกสื่อบางแหล่งให้ความสำคัญทางเพศ\"[120] คำกล่าวของวอตสันได้ชื่อว่ามีคตินิยมสิทธิสตรี \"ความเชื่อที่ว่าผู้ชายและผู้หญิงควรมีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกัน\" และเธอประกาศว่าเรื่องที่เธอ \"เกลียดผู้ชาย\" เป็นสิ่งที่เธอ \"ต้องหยุดให้ได้\"[118] ต่อมาวอตสันได้รับภัยคุกคามหลังจากกล่าวสุนทรพจน์ไม่ถึง 12 ชั่วโมง ทำให้เธอรู้สึก \"โกรธเกรี้ยว ถ้าพวกเขาพยายามทำให้ฉันเลิกทำสิ่งนี้ มันจะเป็นตรงข้ามกันเลย\"[121] ในปี พ.ศ. 2558 มาลาลา ยูซาฟไซ บอกกับวอตสันว่าเธอตัดสินใจเรียกตนเองว่าผู้สนับสนุนสิทธิสตรีหลังจากได้ฟังสุนทรพจน์ของวอตสัน[122]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#22",
"text": "จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 วอตสันมีกำหนดได้ร่วมงานกับโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์<i data-parsoid='{\"dsr\":[34656,34676,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์ เดวิด เฮย์แมน ในภาพยนตร์เรื่อง ควีนออฟเดอะเทียร์ลิง สร้างจากหนังสือไตรภาพที่ยังไม่วางจำหน่าย เธอจะรับบทนำเป็นฮีโรผู้หญิง เคลซี กลินน์ รวมถึงเป็นผู้ควบคุมงานสร้างด้วย[81] วอร์เนอร์บราเธอส์เป็นผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์[82]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#25",
"text": "วอตสัน ร่วมกับจูดี เดนช์ โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ ไมก์ ลี จูเลีย ลุยส์-เดรย์ฟัส และมาร์ก รัฟฟาโล ได้รับรางวัลบริเทนเนียอะวอดส์ 2014 จัดขึ้นในวันที่ 30 ตุลาคมที่ลอสแอนเจลิส วอตสันได้รับรางวัลศิลปินชาวบริติชแห่งปี และมอบรางวัลให้มิลลี หนูแฮมสเตอร์ของเธอที่ตายขณะวอตสันถ่ายทำเรื่อง<i data-parsoid='{\"dsr\":[37683,37698,2,2]}'>ศิลาอาถรรพ์[11]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#21",
"text": "วอตสันได้รับการติดต่อให้แสดงบทเอ็มมา ฟอร์เรสต์ ในภาพยนตร์เรื่อง<i data-parsoid='{\"dsr\":[33582,33605,2,2]}'>ยัวร์วอยซ์อินมายเฮด ในขณะนั้น ผู้กำกับ<i data-parsoid='{\"dsr\":[33624,33642,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอ</i>ร์ เดวิด เยตส์ ก็ได้รับการติดต่อเช่นกัน ในบทสัมภาษณ์เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 ปรากฏว่าวอตสันไม่ได้แสดงในภาพยนตร์ดังกล่าวแล้ว สแตนลีย์ ทุชชีกล่าวว่าบทนั้นจะให้เอมีลี บลันต์แสดงแทน[79] อย่างไรก็ตาม ก่อนเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 มีการยืนยันว่าวอตสันจะได้กลับมารับบทฟอร์เรสต์อีกครั้ง และภาพยนตร์จะเริ่มถ่ายทำเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน โดยผู้กำกับคนใหม่คือ ฟรานเซสกา เกรกอรินี[80]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#11",
"text": "แม้ว่าภาพยนตร์เรื่อง<i data-parsoid='{\"dsr\":[20493,20510,2,2]}'>ภาคีนกฟีนิกซ์</i>ประสบความสำเร็จ อนาคตของแฟรนไชส์แฮร์รี่ พอตเตอร์กลายเป็นความไม่แน่นอน เมื่อนักแสดงทั้งสามคนลังเลที่จะต่อสัญญาการแสดงบทบาทของพวกเขาต่อไปในภาพยนตร์สองตอนสุดท้าย[47] ในที่สุดแรดคลิฟฟ์ยินยอมรับแสดงภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2550[47] แต่วอตสันยังคงลังเลใจต่อไป[48] เธออธิบายว่าเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญ เนื่องจากเป็นการผูกมัดเธอกับบทบาทนี้ไปอีกสี่ปี แต่ในที่สุดเธอยอมรับว่าเธอ \"ไม่อยากทิ้ง[บทเฮอร์ไมโอนี่]ไป\"[49] และรับแสดงบทดังกล่าวในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2550[50]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#3",
"text": "เมื่ออายุ 10 ขวบ วอตสันได้แสดงในละครเวทีของโรงเรียนสเตจโคชหลายเรื่อง รวมถึงเรื่อง อาร์เธอร์: เดอะยังเยียร์แอนด์เดอะแฮปปีพรินซ์[20] แต่เธอไม่เคยแสดงมืออาชีพใด ๆ ก่อนภาพยนตร์ชุดแฮร์รี พอตเตอร์ หลังจบโรงเรียนดรากอนสกูล วอตสันย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเฮดิงตันสกูล[13] ขณะอยู่ที่กองถ่ายภาพยนตร์ เธอและเพื่อน ๆ มีครูสอนพิเศษให้วันละห้าชั่วโมง[21] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 เธอเข้าสอบ GCSE 10 วิชา ได้รับเกรด A* 8 วิชา และเกรด A 2 วิชา[13][22]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#12",
"text": "วอตสันแสดงภาพยนตร์ที่ไม่ใช่<i data-parsoid='{\"dsr\":[22289,22309,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์</i>เรื่องแรกคือเรื่อง รองเท้าบัลเลต์ ออกอากาศทางช่องบีบีซีในปี พ.ศ. 2550 ดัดแปลงจากนวนิยายในชื่อเดียวกัน เขียนโดยโนล สเตรตเฟลด์[51][52] ผู้กำกับภาพยนตร์ แซนดรา โกลด์บาเชอร์ ให้ความเห็นว่าวอตสันแสดงได้ \"สมบูรณ์แบบ\" กับบทบาทนักแสดงหญิง พอลีน ฟอสซิล \"เธอมีออร่าที่เฉียบแหลมละเอียดอ่อนที่ทำให้คุณอยากจ้องมองที่เธอ\"[53] รองเท้าบัลเลต์ ฉายในสหราชอาณาจักรในวันเปิดกล่องของขวัญปี พ.ศ. 2550 ให้ผู้ชม 5.7 ล้านคน ได้รับคำวิจารณ์คละกันไป[54][55][56]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#6",
"text": "ปีต่อมา วอตสันรับบทเป็นเฮอร์ไมโอนี่อีกครั้งในภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ ภาพยนตร์เรื่องที่สองในชุด นักวิจารณ์ชื่นชมการแสดงของเธอ หนังสือพิมพ์<i data-parsoid='{\"dsr\":[11783,11807,2,2]}'>เดอะลอสแอนเจลิสไทมส์</i>กล่าวว่าวอตสันและเพื่อน ๆ เติบโตขึ้นจากเรื่องเดิม[28] ขณะที่หนังสือพิมพ์เดอะไทมส์วิจารณ์ผู้กำกับ คริส โคลัมบัส ที่จ้างวอตสันมาเป็นตัวละครยอดนิยมด้วยค่าตัวที่น้อย[29] การแสดงของวอตสันทำให้เธอได้รับรางวัลออตโตจากนิตยสารเยอรมัน บราโว[30]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#17",
"text": "หลังจบเรื่อง<i data-parsoid='{\"dsr\":[29793,29813,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์ วอตสันแสดงภาพยนตร์เรื่อง 7 วัน แล้วคิดถึงกันตลอดไป รับบทเป็นลูซี ผู้ช่วย ที่ถูกตัวละครหลัก โคลิน คลาร์ก เกี้ยวพาราสี และออกเที่ยวกับเขาหลายครั้ง[72][73]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "56795#1",
"text": "จอห์น โบรดัส วอตสัน เกิดในแทรเวเลอส์เรสต์ รัฐเซาท์แคโรไลนา เป็นบุตรชายของพิกเกนส์ บัตเลอร์ และ เอ็มมา (สกุลเดิม โร) วอตสัน แม่ของเขา เอ็มมา เป็นคนที่ศรัทธาในนิกายโปรเตสแตนต์ที่เคร่งครัด พ่อของเขา พิกเกนส์ เป็นคนติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เขาทิ้งครอบครัวไปอาศัยอยู่กับหญิงชาวอินเดียสองคน ขณะวอตสันอายุ 13 ปี ด้วยความที่ครอบครัวของเขาขัดสนเงิน แม่ของเขาจึงขายฟาร์มที่มีอยู่ และย้ายไปอาศัยอยู่ในกรีนวิลล์ รัฐเซาท์แคโรไลนา เพื่อให้วอตสันมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ การย้ายจากหมู่บ้านชนบทที่ห่างไกลไปยังกรีนวิลล์ พิสูจน์ให้เห็นว่ามันสำคัญมากสำหรับวอตสัน โดยการให้โอกาสเขาได้สัมผัสกับความหลากหลายของคนประเภทต่าง ๆ ซึ่งเขายังนำใช้ศึกษาทฤษฎีในด้านจิตวิทยา ",
"title": "จอห์น บี. วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#34",
"text": "ขณะถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องโนอาห์ มหาวิบัติวันล้างโลก วอตสันถูกถามเกี่ยวกับศรัทธา และเธอบรรยายตนว่าเป็นผู้มีจิตใจรอบรู้กว้างขวาง[116]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#14",
"text": "การถ่ายทำฉากสำคัญ<!--Principal photography-->ให้ภาพยนตร์<i data-parsoid='{\"dsr\":[25458,25478,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์</i>เรื่องที่หก เริ่มขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2550 โดยในส่วนของวอตสัน ถ่ายทำตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม ถึง 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2551[59][60] แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม ฉายรอบปฐมฤกษ์ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552[61] เลื่อนจากเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551[62] เนื่องจากนักแสดงหลายคนเป็นวัยรุ่นตอนปลาย นักวิจารณ์วิจารณ์พวกเขาในระดับเดียวกับนักแสดงคนอื่น ๆ ในเรื่อง โดยหนังสือพิมพ์<i data-parsoid='{\"dsr\":[26763,26783,2,2]}'>ลอสแอนเจลิสไทมส์</i>บรรยายเป็น \"การแนะนำสู่การแสดงแบบทันสมัย\"[63] หนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์รู้สึกว่าวอตสัน \"แสดงได้มีเสน่ห์ที่สุดจนถึงทุกวันนี้\"[64] ขณะที่หนังสือพิมพ์เดอะเดลีเทลิกราฟบรรยายถึงนักแสดงนำว่า \"กระตือรือต้น อิสระ และมีพลังที่จะแสดงสิ่งที่พวกเขามีให้กับส่วนที่เหลือของเรื่อง\"[65] ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 วอตสันกล่าวว่าเธออยากเรียนระดับมหาวิทยาลัยหลังเธอถ่ายทำภาพยนตร์ชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[28041,28061,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์</i>จบทั้งหมด[66]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#8",
"text": "ด้วยภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ทำให้ทั้งวอตสันและภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญครั้งใหม่ ภาพยนตร์ทำสถิติสำหรับสัปดาห์ออกฉายสัปดาห์แรกของภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นภาพยนตร์ไม่ได้เริ่มฉายในสหรัฐอเมริกาในวันสุดสัปดาห์ของเดือนพฤษภาคม และเป็นภาพยนตร์ที่ฉายสัปดาห์แรกในสุดสัปดาห์ในสหราชอาณาจักร นักวิจารณ์ชื่นชมการเติบโตของวอตสันและการแสดงวัยรุ่นของเธอ หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ชมการแสดงของเธอว่า \"เอาจริงเอาจังอย่างน่าประทับใจ\"[35] สำหรับวอตสัน เรื่องขบขันในภาพยนตร์ส่วนมากเกิดจากความเครียดในหมู่ตัวละครหลักสามคนขณะที่พวกเขากำลังเติบโต เธอกล่าวว่า \"ฉันชอบทุกตอนที่เราทะเลาะกัน ฉันคิดว่ามันเหมือนจริงมากที่พวกเขาทะเลาะกันและที่จะมีปัญหามากมาย\"[36] หลังจากภาพยนตร์เรื่องถ้วยอัคนีได้เข้าชิงสามรางวัล วอตสันชนะรางวัลออตโตเหรียญทองแดง[37][38] ต่อมาในปีนั้น วอตสันกลายเป็นคนที่อายุน้อยที่สุดบนปกนิตยสารทีนโว้ก[39] เมื่อเธอปรากฏตัวอีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552[40] ในปี พ.ศ. 2549 วอตสันรับบทเฮอร์ไมโอนี่ในละคร<i data-parsoid='{\"dsr\":[17690,17712,2,2]}'>เดอะควีนส์แฮนด์แบก ตอนพิเศษของแฮร์รี่ พอตเตอร์เพื่อธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร[41]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#26",
"text": "ปี พ.ศ. 2558 มีผลงานที่เอ็มมาแสดงออกฉาย เช่น โคโลเนีย หนีตาย ร่วมแสดงโดยแดเนียล บรูล และมีคาเอล นีควิสต์[87] วอตสันจะรับบท เบลล์ ในภาพยนตร์คนแสดงดัดแปลงเรื่อง บิวตีแอนด์เดอะบีสต์ พ.ศ. 2560 คู่กับแดน สตีเวนส์ ซึ่งรับบทเป็นบีสต์.[88] เธอจะร้องเพลงในภาพยนตร์เป็นครั้งแรก ซึ่งเธอเรียกว่า \"น่าหวาดกลัวในตัวเอง\"[89] เธอยังร่วมแสดงในภาพยนตร์ รีเกรสชั่น สัมผัส…ผวา ภาพยนตร์ระทึกขวัญออกฉายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 แสดงร่วมกับอีธาน ฮอว์ก และเพื่อนนักแสดงจากแฮร์รี่ พอตเตอร์ เดวิด ทิวลิส[90] และเซ็นชื่อรับแสดงคู่กับทอม แฮงส์ ในภาพยนตร์ดัดแปลงเรื่อง เดอะเซอร์เคิล[91]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#2",
"text": "เอ็มมา วอตสันเกิดที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส เธอเป็นลูกสาวของทนายความชาวอังกฤษชื่อ แจ็กลีน ลิวสบี และคริส วอตสัน[13][14][15] วอตสันอาศัยอยู่ในปารีสจนอายุ 5 ขวบ พ่อแม่ของเธอแยกทางกันตั้งแต่เธอยังเด็ก หลังจากพ่อแม่หย่าร้างกัน วอตสันย้ายกลับมาอยู่กับมารดาที่ออกซฟอร์ดไชร์ ประเทศอังกฤษ และอยู่กับบิดาที่ลอนดอนในวันสุดสัปดาห์[13][16] วอตสันเคยกล่าวว่าเธอพูดภาษาฝรั่งเศสได้บ้าง แม้ว่า \"ไม่คล่องแคล่ว\" เท่าที่เคย[17] หลังจากย้ายไปที่ออกซฟอร์ดกับมารดาและน้องชาย เธอเข้าศึกษาที่โรงเรียนดรากอนสกูลในออกซฟอร์ด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2546 เธออยากเป็นนักแสดงตั้งแต่อายุ 6 ขวบ[18] และเรียนร้องเพลง เต้นรำ และการแสดงที่โรงเรียนสเตจโคชเธียเตอร์อาตส์แบบไม่เต็มเวลา[19]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#23",
"text": "มีรายงานในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 ว่าวอตสันจะแสดงในภาพยนตร์เรื่อง ไวล์เวอร์ยัง ภาพยนตร์ดัดแปลงจากนวนิยายเรื่อง 29 ของอะดีนา แฮลเพิร์น ที่เป็นเรื่องราวของคุณยายที่จิตใจยังสาวที่ใช้เวลากับหลานสาว (วอตสัน) แทนที่จะอยู่กับลูกสาวของเธอเอง ภาพยนตร์กำกับโดยสตีเฟน เชอบอสกี ที่เคยร่วมงานกับวอตวันในภาพยนตร์เรื่อง วัยป่วนหัวใจปึ้ก[83] วอตสันยังได้รับคัดเลือกแสดงคู่กับอีธาน ฮอว์ก ในภาพยนตร์ระทึกขวัญเรื่อง รีเกรสชัน อเลฮานโดร อาเมนาบาร์ เขียนบทและกำกับภาพยนตร์ ออกฉายในปี พ.ศ. 2558[84]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#27",
"text": "ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 วอตสันประกาศว่าพักงานแสดงเป็นเวลาหนึ่งปี เธอวางแผนใช้เวลากับ \"การพัฒนาส่วนบุคคล\" และงานเกี่ยวกับสิทธิสตรี[92]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#10",
"text": "จนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 กล่าวกันว่างานแสดงของวอตสันในภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์สร้างรายได้ให้เธอมากกว่า 10 ล้านปอนด์ และเธอตระหนักว่าเธอไม่ต้องทำงานเพื่อเงินอีกต่อไป[4] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 เธออยู่ในอันดับที่ 6 ในรายชื่อ \"ดาราหนุ่มสาวที่มีรายได้มากที่สุด\" จัดโดยนิตยสารฟอบส์[45] และในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เธอได้ชื่อเป็นดาราสาวที่มีรายได้สูงสุดของฮอลลิวูด โดยมีรายได้ประมาณ 19 ล้านปอนด์ใน พ.ศ. 2552[46]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "137619#33",
"text": "วอตสันพบและเริ่มคบหากับนักเรียนที่ออกซฟอร์ด วิล แอดาโมวิกซ์ ในปี พ.ศ. 2554 ระหว่างเรียนมหาวิทยาลัยปีแรก[111] เขาไปกับเธอในงานประกาศรางวัลเอ็มทีวีมูวีอะวอดส์ 2013 ซึ่งวอตสันได้รับรางวัลเทรลเบลเซอร์[112] ทั้งคู่เลิกรากันในต้นปี พ.ศ. 2557[113] ต่อมาในปีนั้น วอตสันคบหากับนักกีฬารักบี้ของออกซฟอร์ดชื่อ แมทธิว แจนนี[114] ความสัมพันธ์สิ้นสุดลงในเดือนพฤศจิกายน ผู้แถลงข่าวแทนวอตสันกล่าวว่าทั้งคู่เลิกรากันเนื่องจาก \"ตารางงานไม่มีเวลาว่าง\"[115]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
}
] |
1887 | ราชวงศ์โชซ็อน สิ้นสุดลงเมื่อใด ? | [
{
"docid": "163253#1",
"text": "ราชวงศ์โชซอน (English: Joseon Dynasty; ) หรือ ราชวงศ์ลี ที่สถาปนาขึ้นภายหลังการยกสถานะของอาณาจักรโชซอนเป็นจักรวรรดิโชซอนตามพระบรมราชโองการของจักรพรรดิควังมูแห่งจักรวรรดิโชซอน (จักรพรรดิโคจง) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองคาบสมุทรเกาหลีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1392-1910 (อย่างเป็นทางการ) โดยรวมแล้วราชวงศ์โชซอนมีอายุกว่า 600 ปี",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
}
] | [
{
"docid": "184325#50",
"text": "ความบิดเบี้ยวของราชสำนักโซซอนนี้ ดำเนินมาตลอดประวัติศาสตร์ราชวงศ์โชซ็อน ที่ส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพและความมั่นคงของประเทศชาติ จนมาสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2453 เมื่อเกาหลีสูญเสียเอกราชให้จักรวรรดิญี่ปุ่น",
"title": "อี ซุน-ชิน"
},
{
"docid": "67957#0",
"text": "พระเจ้าช็องจง ( ค.ศ. 1357 - ค.ศ. 1419) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์โชซ็อน (ค.ศ. 1398 - ค.ศ. 1400) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในพระเจ้าแทโจ ปฐมกษัตริย์ผู้สถาปนาราชวงศ์โชซ็อน",
"title": "พระเจ้าช็องจงแห่งโชซ็อน"
},
{
"docid": "198571#3",
"text": "สิ่งหนึ่งที่ต่างออกไปจากยุคสมัยราชวงศ์โครยอ กับราชวงศ์อื่น ๆ ของจีนเมื่อพันปีก่อนก็คือ ราชวงศ์โชซ็อน หาได้มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับทางจีนเลยไม่ อย่างไรก็ตาม ราชวงศ์หมิงก็มีความสัมพันธ์ทางการค้าและการทูตที่ดีต่อราชวงศ์โชซ็อน และพึงพอใจในความสัมพันธ์ทางการค้ากับญี่ปุ่น",
"title": "การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98)"
},
{
"docid": "163253#43",
"text": "จักรวรรดิโชซ็อน ซังกุง สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งโชซ็อน ราชวงศ์โครยอ",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "163253#17",
"text": "พ.ศ. 2178 หวงไท่จี๋สถาปนาราชวงศ์ชิง ปีต่อมาพ.ศ. 2179 จึงส่งสารมาเรียกบรรณาการจากโชซ็อน บรรดาขุนนางฝ่ายตะวันตกซึ่งสนับสนุนราชวงศ์หมิงก็ปฏิเสธทันที หวงไท่จี๋จึงส่งทัพมาบุกถึงฮันซ็องอย่างรวดเร็วจนพระเจ้าอินโจทรงหลบหนีไม่ทัน และล้อมเมืองไว้ ทำให้ภายในเมืองผู้คนเริ่มอดอยากล้มตาย อีกทั้งพระโอรสและบรรดาสนมต่างถูกทัพแมนจูจับที่เกาะคังฮวา ทำให้พระเจ้าอินโจทรงยอมแพ้ หวงไท่จี๋นัดพระเจ้าอินโจมาที่ซัมจอนโด สั่งให้สร้างอนุสรณ์ยกย่องแมนจู และบังคับให้พระเจ้าอินโจคำนับตนเองถึงเก้าครั้ง รวมทั้งยังตั้งเงื่อนไขให้โชซ็อนพ้นจากราชวงศ์หมิงมาเป็นเมืองขึ้นของราชวงศ์ชิง และส่งองค์ชายโซฮย็อนและองค์ชายพงนิมรวมทั้งลูกชายของขุนนางชั้นสูงไปเป็นตัวประกันที่เสิ่นหยาง",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "163253#37",
"text": "ขณะเดียวกัน พระเจ้าโกจง ก็ทรงลี้ภัยไปประทับที่สถานกงสุลรัสเซีย ฝ่ายจักรวรรดิญี่ปุ่นได้อำนาจก็ทำการปรับปรุงจักรวรรดิโชซ็อนให้ทันสมัย โดยยกเลิกประเพณีเก่า ๆ โดยเฉพาะสั่งให้ผู้ชายทุกคนตัดจุก (ลัทธิขงจื๊อห้ามตัดผม) สร้างความไม่พอใจแก่ชาวเกาหลีอย่างมาก ชาวโชซ็อนทุกชนชั้นจึงรวมตัวกันเป็น สมาคมเอกราช (ทงนิบ-ฮย็อบพี) ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าโกจงทรงทนการรบเร้าจากสมาคมเอกราชมิได้ จึงทรงกลับมาประทับที่พระราชวังทอกซู และมีพระบรมราชโองการเลื่อนฐานะของอาณาจักรโชซ็อน เป็นจักรวรรดิโชซ็อนพร้อมเปลี่ยนสถานะของพระองค์จากพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรโชซ็อนเป็น สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโชซ็อน ภายหลังญี่ปุ่นได้สยบพระราชอำนาจของพระองค์ลงได้และสั่งให้นำตัวพระราชวงศ์ทั้งหมดไปอยู่ที่เกาะญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์โชซ็อนที่ยาวนานถึง 600 ปีจึงสิ้นสุดเพียงเท่านี้",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "749161#1",
"text": "นับตั้งแต่พระเจ้าวีมันแห่งโชซ็อนโบราณ (Wiman of Gojoseon) ขึ้นครองราชย์ ความสัมพันธ์ระหว่างโชซ็อนโบราณกับฮั่นก็เสื่อมถอยลง ในรัชสมัยพระเจ้าอูกอแห่งโชซ็อนโบราณ (Ugeo) มีการขัดขวางไม่ให้ผู้นำเผ่าต่าง ๆ ของเกาหลีติดต่อกับราชวงศ์ฮั่น จักรพรรดิฮั่นอู่จึงส่งผู้แทนนามว่าเช่อ เหอ (She He) ไปสอบถาม แต่เช่อ เหอก็ยังไม่สามารถแก้ไขเรื่องดังกล่าวได้ ขณะเดินทางกลับ เช่อ เหอได้ฆ่าข้าราชการของกษัตริย์โชซ็อน พระเจ้าอูกอจึงส่งคนไปฆ่าเช่อ เหอ และสั่งให้ฆ่าคณะทูตของราชวงศ์ฮั่น ซึ่งทำให้จักรพรรดิฮั่นอู่กริ้วมาก อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์สมัยใหม่สันนิษฐานว่าราชวงศ์ฮั่นก่อสงครามนี้ขึ้นเพื่อกำจัดอาณาจักรโชซ็อนโบราณก่อนจะร่วมเป็นพันธมิตรกับกลุ่มชนซฺยงหนู ซึ่งเป็นหนึ่งในศัตรูที่ฮั่นกำลังทำสงครามอยู่ หรือเป็นการตอบโต้ที่พระเจ้าวีมันสั่งห้ามการค้าระหว่างชินบ็อน (Jinbeon) กับฮั่น",
"title": "สงครามโชซ็อนโบราณ–ฮั่น"
},
{
"docid": "163253#9",
"text": "ราชวงศ์โชซ็อนนั้นมีพระราชวังที่อยู่ในเมืองหลวงทั้งหมดห้าแห่ง คือ",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "290659#0",
"text": "ช็อง โด-จ็อน (; ; ; 1342-1398) เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1342 เป็นอัครมหาเสนาบดีคนแรกแห่งราชวงศ์โชซ็อน และเป็นขุนนางที่พระเจ้าแทโจ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โชซ็อนโปรดปรานและไว้วางพระทัยมากที่สุด โดยท่านเป็นผู้นำแห่ง \"กลุ่มชินจิน\" ซึ่งเป็นกลุ่มขุนนางที่ทรงอิทธิพลที่สุด ในช่วงต้นราชวงศ์โชซ็อนท่านถูกลอบสังหารที่พระราชวังคย็องบก โดยลีพังวอน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1398 ขณะอายุได้ 56 ปี",
"title": "ช็อง โด-จ็อน"
},
{
"docid": "250291#0",
"text": "สุสานหลวงราชวงศ์โชซ็อน () เป็นสุสานที่ฝังพระศพของกษัตริย์ พระมเหสี และพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์โชซ็อน ประกอบด้วยสุสานทั้งหมด 40 สุสาน ซึ่งกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 18 แห่ง สุสานแห่งนี้ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2552",
"title": "สุสานหลวงราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "163253#10",
"text": "พระราชวังคย็องบก พระราชวังหลวงและพระราชวังหลักของกษัตริย์ราชวงศ์โชซ็อน พระราชวังชังด็อก พระราชวังตะวันออก พระราชวังท็อกซู พระราชวังตะวันตก พระราชวังชังกย็อง พระราชวังฤดูร้อน พระราชวังคย็องฮี พระราชวังใต้ ป้อมฮวาซ็อง ป้อมที่ใหญ่ที่สุดในราชวงศ์โชซ็อน",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "282507#0",
"text": "ระบอบกษัตริย์ของเกาหลีนั้นเริ่มมีมาเมื่อกว่า 2000-2500 ปีก่อน โดยกษัตริย์องค์แรกคือพระเจ้าทันกุนแห่งอาณาจักรโชซ็อนโบราณ และปกครอง เรื่อยมาและมีหลายรัฐหลายราชวงศ์ก่อนที่ระบอบกษัตริย์ของเกาหลีจะมาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1910 ในรัชสมัยพระเจ้าซุนจงพระราชาองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โชซ็อน โดยการถูกญี่ปุ่นโค่นล้ม",
"title": "รายพระนามพระมหากษัตริย์เกาหลี"
},
{
"docid": "867227#0",
"text": "โจจุน ( ; 1889 – 1948) ขุนนางในช่วงปลาย ราชวงศ์โครยอ ถึงต้น ราชวงศ์โชซ็อน ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งเป็น ย็องอีจ็อง หรืออัครมหาเสนาบดีแห่งราชวงศ์โชซ็อนในช่วง พ.ศ. 1946 – 1948",
"title": "โจจุน"
},
{
"docid": "50629#1",
"text": "ประวัติศาสตร์เริ่มจากอาณาจักรโชซ็อนโบราณ สถาปนาขึ้นโดย \"ทันกุน\" ต่อมาสมัยสามอาณาจักรแห่งเกาหลี (โคกูรยอ, แพ็กเจ, และชิลลา) ถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นสหอาณาจักรชิลลา ซึ่งมีพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง และต่อมา ค.ศ. 918 ได้สถาปนาอาณาจักรโครยอซึ่งเป็นชื่อของเกาหลี (Korea) และเมื่อราชวงศ์โชซ็อน (ราชวงศ์ลี) ครองอำนาจเปลี่ยนชื่ออาณาจักรใหม่ ชื่อ อาณาจักรโชซ็อนเมืองหลวงชื่อว่า ฮันยาง (โซล) มีลัทธิขงจื้อ เป็นคติธรรมประจำชาติ และได้ประดิษฐ์อักษรเกาหลี ขึ้น",
"title": "ประเทศเกาหลี"
},
{
"docid": "133828#13",
"text": "โคโจซ็อนในสมัยเหว่ยมั่งนี้มีการขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวางขึ้นอีก และเพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากจีนเหว่ยมั่งได้ผูกสัมพันธ์กับชนเผ่าซ่งหนู อันเป็นเผ่าเร่รอนที่อาศัยอยู่ในแมนจูเรียจากนั้นก็พยายามติดต่อกับแคว้นอื่นๆ ในจีน ราชวงศ์ของเหว่ยมั่งสืบต่อมาจนกระทั่งถึง พ.ศ. 434 ในสมัยของหยูฉู่ ซึ่งเป็นรุ่นหลานขึ้นมาเป็นกษัตริย์ปกครอง ในขณะนั้นจีนอยู่ในยุคสมัยของกษัตริย์ ฮั่นหวูตี้ พระเจ้าฮั่นหวูตี้ได้นำกองทัพเข้าโจมตีโคโจซ็อน สงครามดำเนินไปอยู่จนกระทั่งอีกปีต่อมา ในที่สุดเมืองหลวงวังกอมซองก็ถูกยึดโดยกองทัพราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์เหว่ยมั่งจึงสิ้นสุดลงเพียงเท่านั้นพร้อมกับจุดสิ้นสุดของอาณาจักรโชซ็อนโบราณ ที่ต้องตกเป็นเมืองขึ้นครั้งแรกของจีนราชวงศ์ฮั่น นับแต่ พ.ศ. 435 ราชวงศ์ฮั่นได้แบ่งอาณาจักรโชซ็อนโบราณออกเป็นสี่แคว้น คือ มณฑลนังนัง มณฑลชินบอน มณฑลอินดุน และมณฑลฮย็อนโท แต่ราชวงศ์ฮั่นได้ปกครองอย่างจริงจังเพียงมณฑลเดียวคือ มณฑลนังนังเพราะเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ ทำให้แคว้นอื่นๆ ค่อยๆแยกตัวออกไปอย่างอิสระในที่สุด แต่ภายหลังอาณาจักรนังนังก็สามารถกู้เอกราชมาได้ โดยพระเจ้าชอยรี",
"title": "อาณาจักรโชซ็อนโบราณ"
},
{
"docid": "163253#22",
"text": "เมื่อพระเจ้ายองโจครองราชย์ใน พ.ศ. 2267 ทรงเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายของขุนนาง บ้านเมืองที่ทรุดโทรมและประชาชนกำลังลำบากแต่ราชสำนักกลับมัวแต่ทะเลาะกัน จึงทรงห้ามมิให้มีการแบ่งฝ่ายอีก การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายจึงเสื่อมลงตั้งแต่สมัยพระเจ้ายองโจ และสิ้นสุดในสมัยแทวอนกุน",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "67956#4",
"text": "ในที่สุดด้วยการรบเร้าของสภาองคมนตรีและขุนนางทั้งหลาย ในค.ศ. 1392 อี ซ็อง-กเย ก็บังคับให้พระเจ้าคงยางสละราชบัลลังก์แล้วเนรเทศไปเมืองวอนจู ประกาศล้มเลิกราชวงศ์โครยอ ปราบดาภิเษกตนเองเป็นกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่ อี ซ็อง-กเย ได้อาศัยหลักอาณัติสวรรค์ (Mandate of Heaven) ของจีนมาอธิบายการสิ้นสุดของราชวงศ์โครยอและการปราบดาภิเษกของตนเอง ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในเกาหลี ในค.ศ. 1393 พระเจ้าแทโจทรงส่งทูตไปยังกรุ่งปักกิ่งเพื่อขอพระราชทานการรับรองจากพระจักรพรรดิหงหวู่ และให้ทรงเลือกชื่อราชวงศ์ใหม่ระหว่าง \"ฮวาย็อง\" และ \"โชซ็อน\" ซึ่งพระจักรพรรดิหมิงก็ทรงเลือกชื่อ \"โชซ็อน\" อย่างไรก็ตาม ราชวงศ์หมิงยังคงไม่รับรองราชวงศ์ใหม่นี้ของเกาหลีจนกระทั่งรัชสมัยของพระเจ้าแทจงใน ค.ศ. 1394 พระเจ้าแทโจก็สำเร็จโทษพระเจ้าคงยางพร้อมกับพระราชวงศ์ที่เหลือ ",
"title": "พระเจ้าแทโจแห่งโชซ็อน"
},
{
"docid": "163253#18",
"text": "ความพ่ายแพ้คราวนี้สร้างความคับแค้นแก่โชซ็อนอย่างมาก เพราะชาวโชซ็อนดูถูกพวกแมนจูมาช้านาน ว่าเป็นอนารยชนจากทางเหนือ ขุนนางโชซ็อนยังคงจงรักภักดีต่อราชวงศ์หมิงอยู่ จนราชวงศ์หมิงถูกทำลายลงในพ.ศ. 2187 ราชวงศ์ชิงของพวกแมนจูก็เข้าปกครองแทน โชซ็อนก็ยังต้องส่งบรรณาการให้กับจีนต่อไปอีกราชวงศ์หนึ่ง",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "163253#31",
"text": "ในพ.ศ. 2420 โชซ็อนส่งทูตไปเยี่ยมชมการปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตกของญี่ปุ่น และทูตก็ได้พบว่าญี่ปุ่นนั้นเจริญก้าวหน้าเมืองต่าง ๆ กลายเป็นเมืองใหญ่ มเหสีมินจึงทรงตระหนักว่าประเทศของพระองค์นั้นล้าสมัยเพียงใดและต้องการการพัฒนาประเทศ แต่บรรดาขุนนางขงจื๊อของพระองค์ก็แตกเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายหัวก้าวหน้า ที่เห็นชอบกับการรับวิทยาการตะวันตกเข้ามาอย่างเต็มที่ และตัดความสัมพันธ์กับจีน และฝ่ายซาแด คือ ฝ่ายที่เห็นตัวอย่างจากราชวงศ์ชิงแล้วว่า ชาวตะวันตกคือภัยคุกคาม ไม่ควรข้องแวะ แต่ภายใต้อำนาจของมเหสีมิน วิทยาการตะวันตกก็เข้าสู่โชซ็อนอย่างเต็มตัว",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "163253#2",
"text": "ช่วงเวลาที่ราชวงศ์โชซ็อนปกครองเกาหลีนั้น ได้สร้างการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มั่นคง ส่งเสริมปรัชญาของลัทธิขงจื๊อให้ซึมซาบไปในสังคมโชซ็อน และรับวัฒนธรรมจีน เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมโชซ็อนรุ่งเรือง และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์โชซ็อนอ่อนแอลงด้วยการรุกรานของญี่ปุ่นและแมนจูเรีย ทำให้โชซ็อนใช้นโยบายปิดประเทศอย่างแข็งกร้าว อาณาจักรโชซ็อนจึงเป็นรู้จักของชาวตะวันตกในนาม อาณาจักรฤๅษี (The Hermit Kingdom) เมื่อสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 อาณาจักรโชซ็อนก็เสื่อมลงด้วยการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายและการแย่งชิงอำนาจและการเผชิญทั้งศึกภายนอกและศึกภายใน จนกระทั่งปี ค.ศ. 1895 เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นชนะสงครามกับจักรวรรดิชิง (ประเทศจีน) ก็ได้ส่งทหารบุกเข้าพระราชวังเคียงบกเพื่อปลงพระชนม์ พระมเหสีมิน จาย็อง พระมเหสีในพระเจ้าโกจง (ภายหลังได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็น จักรพรรดินีมย็องซ็อง) และบังคับให้อาณาจักรโชซ็อนแยกตัวเป็นเอกราชจากจักรวรรดิชิงตามสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ใน ค.ศ. 1897 อย่างไรก็ตาม อาณาจักรโชซ็อนโดยพระเจ้าโกจง (พระอิสรยิยศขณะนั้น) โดยการถวายคำแนะนำของรัสเซีย จึงเลื่อนสถานะของอาณาจักรโชซ็อนเป็นจักรวรรดิโชซ็อน และสถาปนาอิสริยยศพระองค์เองใหม่เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิ แต่ในที่สุดก็จบลงด้วยการเข้ายึดครองของจักรวรรดิญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) ตามสนธิสัญญาการเข้ายึดครองเกาหลีของญี่ปุ่น ในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิยุงฮีแห่งจักรวรรดิโชซ็อน (พระเจ้าซุนจง) ด้วยการลดพระอิสริยยศเหลือเพียง กษัตริย์ และบังคับเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ไปประทับที่ญี่ปุ่นเพื่อเป็นองค์ประกัน",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "163253#44",
"text": "หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 14 หมวดหมู่:ก่อตั้งในปี พ.ศ. 1935 หมวดหมู่:สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2440",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "163253#5",
"text": "ใน พ.ศ. 1935 อี ซอง-กเย ก็ปลดพระเจ้าคงยางและตั้งตนเองเป็นกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่ และย้ายเมืองหลวงมาที่ฮันยาง ทำการก่อสร้างและปรับปรุงเมือง จนสร้างพระราชวังเคียงบกเสร็จใน พ.ศ. 1938 พระเจ้าแทจงโอรสของพระเจ้าแทโจก็ได้ทรงวางรากฐานการปกครองของอาณาจักรโชซ็อน ทรงตั้งสภาอึยจอง ให้มีการสำรวจสำมะโนประชากร และสนับสนุนลัทธิขงจื๊อให้เป็นที่ยอมรับนับถือเหนือพระพุทธศาสนาซึ่งแต่เดิมมีชาวโชซ็อนนับถือกันมาช้านาน พ.ศ. 1944 ราชวงศ์หมิงก็ยอมรับให้ราชวงศ์โชซ็อนปกครองโชซ็อนอย่างเป็นทางการ และเป็นเมืองขึ้นของจีนต้องส่งบรรณาการ",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "856101#0",
"text": "ฮายุน ( , 22 มกราคม พ.ศ. 1890 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 1959) มีนามปากกาว่า โฮจอง และมีชื่อรองว่า แทริม เป็นนักการเมือง นักการศึกษารวมถึงขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในช่วงปลายสมัย ราชวงศ์โครยอ และช่วงต้น ราชวงศ์โชซ็อน โดยได้เป็นอัครมหาเสนาบดีแห่งโชซ็อนถึง 3 สมัยในรัชสมัย พระเจ้าแทจง พระราชาลำดับที่ 3 แห่งโชซ็อนตั้งแต่ พ.ศ. 1951 – 1952 , พ.ศ. 1952 – 1955 และ พ.ศ. 1957 –1958",
"title": "ฮายุน"
},
{
"docid": "841229#0",
"text": "พระมเหสีชินด็อก (; ) เป็นพระมเหสีองค์ที่ 2 ใน พระเจ้าแทโจ ปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์โชซ็อน แต่พระองค์นับเป็นพระมเหสีองค์แรกแห่งโชซ็อนเนื่องจาก พระมเหสีชินอึย () พระมเหสีองค์แรกของพระเจ้าแทโจสิ้นพระชนม์เมื่อ ค.ศ. 1391 หรือ 1 ปีก่อนสถาปนาราชวงศ์โชซ็อน",
"title": "พระนางชินด็อก"
},
{
"docid": "133828#11",
"text": "ในเรื่องของชาวจีนที่ไปเป็นกษัตริย์ปกครองโคโจซ็อนนี้ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ของเกาหลีในสองยุคสมัย จึงมักทำให้สับสนว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในยุคสมัยใดกันแน่ เหตุการณ์แรกคือเรื่องของ จี้จื่อ หรือ กีจา นี้เกิดในช่วงของโคโจซ็อนยุคกลาง ตรงกับยุคสมัยราชวงศ์โจว แต่อีกเหตุการณ์หนึ่งนั้นเกิดขึ้นสมัยโคโจซ็อนยุคปลาย ซึ่งตรงกับยุคสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีน เหตุการณ์ครั้งหลังนี้ยังนำมาสู่การก่อตั้งอาณาจักรแห่งใหม่ขึ้นอีกแห่งทางตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ในประวัติศาสตร์ช่วงหลังนี้กล่าวถึงขุนพลชาวจีนผู้หนึ่งนามว่า เหว่ยมั่ง ในพ.ศ. 349 เหว่ยมั่งเป็นขุนพลจากแคว้นเอี๋ยน ที่ลี้ภัยเข้าไปอยู่ในอาณาจักรโคโจซ็อน แล้วเข้ารับใช้กษัตริย์จุน ที่ปกครองโคโจซ็อนในขณะนั้น",
"title": "อาณาจักรโชซ็อนโบราณ"
},
{
"docid": "206059#0",
"text": "พระเจ้าย็องโจ ( ค.ศ. 1694 - ค.ศ. 1776) ทรงเป็นกษัตริย์ลำดับที่ 21 แห่งราชวงศ์โชซ็อน (ค.ศ. 1724 - ค.ศ. 1776) พระเจ้าย็องโจทรงปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองหลายประการ ทรงเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ได้รับยกย่องที่สุดแห่งราชวงศ์โชซ็อน คู่กับพระนัดดา คือ พระเจ้าช็องโจแห่งโชซ็อน พระเจ้าย็องโจทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวที่สุดของราชวงศ์โชซ็อน",
"title": "พระเจ้าย็องโจแห่งโชซ็อน"
},
{
"docid": "163253#38",
"text": "หลังจากการสถาปนาเป็นจักรวรรดิโชซ็อนของสมเด็จพระเจ้าควังมู (พระเจ้าโคจง) ราชวงศ์โชซ็อนเดิมได้ถูกเปลี่ยนเป็นราชวงศ์อี จนกระทั่งถูกญี่ปุ่นยึดครองเมื่อปี ค.ศ.1910 และพ้นจากการปกครองของญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1945 นำไปสู่การปกครองเกาหลีที่แยกออกเป็น 2 รัฐเนื่องจากสงครามโชซ็อน แต่ก็ยังคงมีการสืบราชบัลลังก์อยู่จนถึงปัจจุบันในประเทศเกาหลีใต้ซึ่งปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "163253#35",
"text": "แม้กบฏทงฮักจะถูกทำลายไปแล้ว แต่ทั้งจีนและญี่ปุ่นไม่ยอมถอนทัพกลับคืน และทำสงครามกันในโชซ็อน เรียกว่า สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 จนกองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดพระราชวังเคียงบก คุมตัวพระเจ้าโกจงและมเหสีมิน ทางโชซ็อนจึงต้องจำนนทำตามข้อเรียกร้องของญี่ปุ่น ให้ขับกองทัพจีนกลับไปให้หมด และตามสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ โชซ็อนหยุดส่งบรรณาการให้จีน เป็นประเทศเอกราช ทำลายยอนกึมมุน (ประตูใช้รับทูตราชวงศ์ชิง) และสร้างทงนิมมุน (ประตูเอกราช) ขึ้นแทน",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "163253#20",
"text": "การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายของขุนนางได้สร้างความขัดแย้งและความวุ่นวายให้แก่อาณาจักรโชซ็อนไปอีก 100 กว่าปี ในพ.ศ. 2202 พระเจ้าฮโยจงสิ้นพระชนม์ ก็เกิดปัญหาว่าควรจะให้พระพันปีแจอึยซึ่งเป็นพระมารดาเลี้ยงของพระเจ้าฮโยจงสวมชุดไว้ทุกข์เป็นเวลานานเท่าไร เพราะตามหลักของจื้อไม่ได้บอกไว้ว่าเมื่อลูกเลี้ยงที่สืบทอดตระกูลเสียชีวิตจะให้แม่เลี้ยงทำอย่างไร ฝ่ายตะวันตกบอกว่าให้ใส่หนึ่งปี แต่ฝ่ายใต้บอกให้ใส่สามปี พระเจ้าฮย็อนจงทรงเลือกที่จะให้ใส่หนึ่งปี เท่ากับดันให้ฝ่ายตะวันตกมีอำนาจ แต่พระองค์ก็ทรงสนับสนุนฝ่ายใต้เพื่อคานอำนาจ พอพ.ศ. 2217 มเหสีอินซอนพระมารดาของพระเจ้าฮย็อนจงสิ้นพระชนม์ ก็เกิดปัญหาขัดแย้งระหว่างฝ่ายตะวันตกกับฝ่ายใต้อีกว่าจะให้พระพันปีแจอึยไว้ทุกข์นานเท่าไร แม้พระเจ้าฮย็อนจงจะสิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน ความขัดแย้งก็ไม่สิ้นสุด จนพระเจ้าซุกจงต้องทรงห้ามมิให้ทะเลาะกันอีก",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "163253#30",
"text": "ญี่ปุ่นหลังจากที่มีการฟื้นฟูเมจินั้น ได้รับเอาวิทยาการตะวันตกเข้ามาอย่างมากและปรับปรุงประเทศจนทันสมัยมีพลังอำนาจแสนยานุภาพทัดเทียมชาติตะวันตก ในปี พ.ศ. 2418 เรือรบญี่ปุ่นชื่อ อุโย บุกเข้ามาโจมตีเมืองท่าต่าง ๆ ของโชซ็อนและหนีกลับ และญี่ปุ่นก็ส่งข้อเรียกร้องจนญี่ปุ่นและโชซ็อนได้ทำสนธิสัญญาคังฮวา ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่ไม่เท่าเทียม ทำให้โชซ็อนเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่ญี่ปุ่น และต้องเปิดเมืองท่าให้กับญี่ปุ่นและชาวตะวันตก ได้แก่ ปูซาน อินชอน วอนซัน รวมถึงยินยอมให้คนญี่ปุน่สามารถเข้าไปจับจองที่ดินในโชซ็อนได้โดยไม่มีข้อกังขาใด ๆ",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
}
] |
745 | พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เกิดที่ไหน? | [
{
"docid": "4284#3",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นพระโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลแบร์ก สาธารณรัฐไวมาร์ (ปัจจุบันคือประเทศเยอรมนี) ขณะที่สมเด็จพระราชชนกทรงศึกษาการแพทย์ที่ประเทศเยอรมนี โดยได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า หม่อมเจ้าอานันทมหิดล มหิดล หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล โดยสมเด็จพระราชชนนีทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า \"นันท\" พระองค์ทรงมีสมเด็จพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระอนุชา 1 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร"
}
] | [
{
"docid": "4284#0",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (20 กันยายน พ.ศ. 2468 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (ภายหลังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาลย์ (ภายหลังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (ภายหลังทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช)",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร"
}
] |
1740 | เอ็มบีเคเอนเตอร์เทนเมนต์ ก่อตั้งเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "591223#0",
"text": "เอ็มบีเคเอนเตอร์เทนเมนต์ (MBK Entertainment) (ภาษาเกาหลี: MBK 엔터테인먼트) ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ.2007 โดย คิม กวางซู เป็นบริษัทเพลงในเครือ CJ E&M Music and Live ชื่อเดิม คือ คอร์คอนเทนส์มีเดีย (Core Contents Media) มีศิลปินในสังกัดที่เป็นที่รู้จัก เช่น แชนนอน, HIGH BROW, ไดอา ซน โฮ-จุน และ ฮา ซอก-จิน อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักในฐานะบริษัทผู้ผลิตศิลปินชื่อดังในวงการเพลงเกาหลีใต้อย่าง เช่น ที-อารา ดาวีชี โคเอ็ดสคูล SG Wannabe (เอสจีวอนนาบี), Seeya (ซียา), เป็นต้น",
"title": "เอ็มบีเคเอนเตอร์เทนเมนต์"
}
] | [
{
"docid": "314845#0",
"text": "ทีเอ็มเอสเอ็นเตอร์เทนเมนต์ () หรือในชื่อเดิม โตเกียวมูฟวี่ชินชะ () เป็นสตูดิโอแอนิเมชันในประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2489 ปัจจุบันเป็นบริษัทลูกของกลุ่มเซก้าแซมมีโฮลดิงส์ (Sega Sammy Holdings) ทีเอ็มเอสเอ็นเตอร์เทนเมนต์เป็นหนึ่งในสตูดิโออนิเมะที่เก่าแก่ที่สุดและมีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งไม่เพียงแต่ผลิตอนิเมะในประเทศ แต่ยังผลิตอนิเมะเพื่อฉายในต่างประเทศเช่นสหรัฐอเมริกา อิตาลีและฝรั่งเศสอีกด้วย สตูดิโอดังกล่าวใช้ชื่อทีเอ็มเอสเอ็นเตอร์เทนเมนต์เป็นชื่อบริษัท แต่ใช้ชื่อเรียกสตูดิโอว่า \"โตเกียวมูฟวี่\" () ทีเอ็มเอสเป็นเจ้าของบริษัทย่อยเทเลคอมแอนิเมชันฟิล์ม (Telecom Animation Film) ซึ่งมักร่วมผลิตอนิเมะกับทีเอ็มเอส",
"title": "ทีเอ็มเอสเอ็นเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "591223#2",
"text": "Ha Seok Jin Hwang Jung Eum Son Ho Joon Lee Hae In Choi Soo Eun Park Sang Won Kim Min Hyung Lee Bo Ram Yoon So Ra Jeon Boram Lee Qri Park Soyeon Ham Eunjung Park Hyomin Park Jiyeon Kim Dani Ryu Hyoyoung Park Sejoon Choi Sungmin Kang Minkyung Cho Seunghee",
"title": "เอ็มบีเคเอนเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "828445#0",
"text": "อะราวด์อัสเอนเตอร์เทนเมนต์ () เป็นบริษัทค่ายเพลงในประเทศเกาหลีใต้ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2016 โดยวง บีสต์ บอยแบนด์ชื่อดังของเกาหลีใต้ภายหลังหมดสัญญาจากค่าย คิวบ์เอนเตอร์เทนเมนต์",
"title": "อะราวด์อัสเอนเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "639211#0",
"text": "วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ (เกาหลี: YG 엔터테인먼트) เป็นหน่วยงานในโซล เกาหลีใต้ที่ก่อตั้งขึ้นโดยยัง ฮย็อน-ซ็อก เป็นตัวย่อสำหรับ \"ํYang Goon\" (ประธานหยาง) ชื่อเล่นผู้อำนวยการบริหารยัง นอกจากนี้กลุ่มฮิปฮอปและ 1TYM Jinusean ก็เคยสังกัดอยู่กับวายจี",
"title": "วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "591223#7",
"text": "หมวดหมู่:ค่ายเพลงเกาหลี หมวดหมู่:บริษัทของเกาหลีใต้",
"title": "เอ็มบีเคเอนเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "958360#0",
"text": "เอ็นซีที (, ) เป็นวงบอยแบนด์สัญชาติเกาหลี จากค่าย SM เอนเตอร์เทนเมนต์ โดยชื่อวงตั้งตามชื่อโปรเจกต์ Neo Culture Technology โดย อี ซู-มัน ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท SM เอนเตอร์เทนเมนต์ ได้อธิบายแนวคิดของเอ็นซีทีว่าไม่มีการจำกัดจำนวนของสมาชิกในวง และจะมีการเปิดตัวยูนิตย่อยตามหลายเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก",
"title": "ผลงานด้านการแสดงของเอ็นซีที"
},
{
"docid": "51530#1",
"text": "ในปี 2008 แผนกโรงภาพยนตร์ของ ดีทีเอส ได้แยกตัวออกมาตั้งเป็น ดีทีเอส ดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ต่อมา ในปี 2009 บริษัท บิวฟอร์ต อินเตอร์เนชันแนล กรุ๊ป มหาชน ทำการเข้าซื้อกิจการของ ดีทีเอส ดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเมนต์ และกลายมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ดาต้าแซท ดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จนกระทั่ง ปี 2011 ดีทีเอส ดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ดาต้าแซท ดิจิตอล ซาวด์ ถึงแม่กระนั้น บริษัท ดีทีเอส จำกัด ก็ยังคงพัฒนาและจดสิทธิบัตรสินค้าและออกวางจำหน่ายตามปกติ ในขณะเดียวกัน ดาต้าแซท ดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ก็ได้ประกาศขายสินค้าด้านการประมวลเสียงระดับสูงแก่ลูกค้า",
"title": "ดีทีเอส"
},
{
"docid": "902725#0",
"text": "โซกูด () เป็นมินิอัลบั้มลำดับที่ 7 ของวงที-อารา โดยค่ายเอ็มบีเคเอนเตอร์เทนเมนต์ ซึ่งวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 2015 อัลบั้มนี้อยู่อันดับที่ 4 ของแกออนชาร์ต และอัลบั้มสามารถทำยอดจำหน่ายได้ 21,617 ชุด (ณ ธันวาคม ค.ศ. 2015)",
"title": "โซกูด (อีพี)"
},
{
"docid": "520241#0",
"text": "คิวบ์เอนเตอร์เทนเมนต์ เป็นค่ายเพลงเกาหลีใต้ ก่อตั้งโดย ฮง ซึง-ซ็อง และ ชิน ช็อง-ฮวา เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2006 โดยมีศิลปินที่สร้างชื่อเสียงมากมาย เช่น โฟร์มินิต, บีสต์, บีทูบี, ซีแอลซี และ ไอเดิล เป็นต้น",
"title": "คิวบ์เอนเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "639211#1",
"text": "วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นหนึ่งใน \"Big Three\" บริษัทค่ายเพลงเกาหลีใต้ ร่วมกับ เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ และ เจวายพีเอนเตอร์เทนเมนต์, ส่วนแบ่งการตลาดของพวกเขาที่มีขนาดใหญ่ \nช่องวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ ในยูทูบ มีผู้เข้าชมเพลงมากกว่า 5 ล้านครั้งและได้รับการติดตามมากกว่า 12 ล้านคน ทำให้พวกเขามีผู้เข้าชมมากที่สุดและศิลปินและมีผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก",
"title": "วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "78853#0",
"text": "เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ (English: SM Entertainment, Korean: SM엔터테인먼트) เป็นบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายเพลงของประเทศเกาหลีใต้ หนึ่งในสามบริษัทอุตสาหกรรมบันเทิงที่ทรงอิทธิพลที่สุดของเกาหลีใต้ ก่อตั้งโดยอี ซู-มัน ในอดีตชื่อต้นของบริษัท “เอสเอ็ม” (SM) มาจากชื่อจริงของผู้ก่อตั้ง “ซูมัน” (Soo Man) แต่ในปัจจุบันทางบริษัทได้ตั้งความหมายของชื่อบริษัทใหม่เป็น \"ศูนย์รวมดารา\" (Star Museum)",
"title": "เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "941695#2",
"text": "เจลลี่ฟิช เอนเตอร์เทนเมนต์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ที่เมื่อง โซล โดยมี ฮวัง เซ-จุนเป็นนักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์ โดยมีศิลปินคนแรกของค่ายคือ ซอง ชี-คยอง โดยการปล่อยเพลงเดี่ยวที่ชื่อว่า \"Parting Once Agian\" () และปีต่อมาก็มี ลิซ่า และ ปาร์ค ฮัค-กี",
"title": "เจลลีฟิชเอนเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "787271#1",
"text": "โครมเอนเตอร์เทนเมนต์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2011 โดย ฮวัง ฮยุน-ชาง ช่างภาพโฆษณาเสื้อผ้าและสินค้าอิเล็กทรอนิกที่ตัดสินใจทำค่ายเพลงเนื่องจากได้รับแรงบันดาลใจจากมิวสิกวิดีโอของที-อารา จากโทรทัศน์ โดยใช้เงินลงทุนเบื้องต้น 10 ล้านวอน ฮยุน-ชาง ได้เปลี่ยนสตูดิโอถ่ายภาพของตัวเองเพื่อทำเป็นโครมเอนเตอร์เทนเมนต์ ระหว่างนี้ได้ขายกล้องเพื่อใช้เป็นเงินทุนทั้งหมดและทำเป็นธุรกิจร่วมค้า",
"title": "โครมเอนเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "789106#0",
"text": "เอ็นซีที (, ) เป็นวงบอยแบนด์สัญชาติเกาหลี จากค่าย SM เอนเตอร์เทนเมนต์ โดยชื่อวงตั้งตามชื่อโปรเจกต์ Neo Culture Technology โดย อี ซู-มัน ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท SM เอนเตอร์เทนเมนต์ ได้อธิบายแนวคิดของเอ็นซีทีว่าไม่มีการจำกัดจำนวนของสมาชิกในวง และจะมีการเปิดตัวยูนิตย่อยตามหลายเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก",
"title": "เอ็นซีที"
},
{
"docid": "38533#71",
"text": "หลังจากการประกาศครั้งแรกของเอสเอ็มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ในเรื่องการก่อตั้งกลุ่มย่อย ซูเปอร์จูเนียร์ ไชน่า[27] หรือภายหลังได้เปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น ซูเปอร์จูเนียร์ เอ็ม[28] ได้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากกลุ่มแฟนคลับที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดดังกล่าว ในเบื้องต้น เว็บไซต์และเครื่อข่ายได้ถูกจัดตั้งขึ้นในชื่อ \"เราต้องการ 13 (Only 13)\" เพื่อเป็นที่รวบรวม และวางแผนการต่อต้านโครงการดังกล่าว ในช่วงแรก พวกเขามีแนวคิดที่คว่ำบาตรสินค้าทุกชนิดของเอสเอ็มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ดังที่กลุ่มแฟนคลับของ ทงบังชินกี เคยทำในอดีต แต่ในภายหลัง สมาชิกส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการดังกล่าว และเลือกที่จะใช้สันติวิธีแทน โดยกลุ่มแฟนจำนวนหลายร้อยคนได้ไปรวมตัวกันอย่างสงบที่หน้าที่ทำการของเอสเอ็มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ในโซล ประเทศเกาหลีใต้ แล้วชูป้ายเรียกร้องให้เอสเอ็มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ยกเลิกแผนการดังกล่าวเสีย[29]",
"title": "ซูเปอร์จูเนียร์"
},
{
"docid": "591223#4",
"text": "Alex Bell พัก ซังวอน คิม แทมิน Lee Sangyeon",
"title": "เอ็มบีเคเอนเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "765234#0",
"text": "บริษัท อะนิเพล็กซ์ จำกัด () เป็นบริษัทผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายอนิเมะและดนตรีของญี่ปุ่น ก่อตั้งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2538 ในชื่อ โซนี่พิคเจอร์สเอ็นเตอร์เทนเมนต์วิชวลเวิร์ก (Sony Pictures Entertainment Visual Works) โดยการร่วมทุนระหว่างโซนี่คอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์กับโซนี่มิวสิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (ประเทศญี่ปุ่น) จากนั้นในปี 2545 จึงเปลี่ยนชื่อไปเป็น โซนี่มิวสิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์วิชวลเวิร์ก (Sony Music Entertainment Visual Works) ก่อนที่ต่อมา โซนี่มิวสิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (ประเทศญี่ปุ่น) ได้เข้ามาถือหุ้นทั้งหมดและตั้งสถานะเป็นบริษัทลูก และในปี 2546 ก็เปลี่ยนชื่อเป็น \"อะนิเพล็กซ์\" นอกจากสตูดิโอของตัวเองแล้ว อะนิเพล็กซ์ยังได้ตั้งสตูดิโอการผลิตอีกแห่งขึ้นในปี 2548 ที่ชื่อว่า เอ-1 พิกเจอส์ ",
"title": "อะนิเพล็กซ์"
},
{
"docid": "78853#3",
"text": "อี ซู-มัน ผู้ก่อตั้งบริษัทเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโซล หลังจากที่จบการศึกษาแล้ว เขาก็ได้เริ่มทำการสำรวจกลุ่มวัยรุ่นผู้หญิง ว่าต้องการเห็นกลุ่มเพลงแบบไหน ด้วยเหตุนี้ ทำให้เค้าเริ่มก่อตั้งวงบอยแบนด์ ชื่อ H.O.T และกลุ่มเกิร์ลแบนด์ที่ชื่อว่า S.E.S ขึ้นมาเป็นวงแรก ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก ซึ่ง 2 วงนี้ได้ชื่อว่าเป็น วงดนตรีป๊อปชั้นนำของเกาหลี ในช่วงปี ค.ศ. 1990 แต่อย่างไรก็ดี ปัญหาเริ่มปรากฏขึ้นกับบริษัทเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ เนื่องจากการแยกวงของ H.O.T ข่าวลือนี้กระจายไปทั่วท่ามกลางความจริงที่ว่า สมาชิก 2 คนยังอยู่กับบริษัทอยู่ ขณะที่สมาชิกคนอื่นได้อยู่ในวงอื่นและบริษัทอื่นไปแล้ว คาดว่าปัญหาเรื่องการเงินทำให้เกิดการขัดแย้งขึ้น แต่เหตุผลที่จริงยังไม่ได้ถูกเปิดเผยอย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุนี้ทำให้เอสเอ็มเสียกลุ่มหลักของบริษัทไป แต่ก็ยังประสบความสำเร็จกับกลุ่มอื่น เช่น S.E.S, Shinhwa, Fly To The Sky แม้ว่าตอนนี้จะออกจากบริษัทหรือแยกวงกันไปแล้วก็ตาม และวงใหม่อย่าง Black Beat, Isak N Jiyeon ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จมากนักอย่างไรก็ตามเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ก็ได้พบดาวดวงใหม่อย่างโบอา เธอโด่งดังไม่ใช่แค่ในเกาหลีแต่โด่งดังมากที่ญี่ปุ่น และวงอย่าง ทงบังชินกี, ซูเปอร์จูเนียร์ และ เกิลส์เจเนอเรชัน เป็นต้น",
"title": "เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "69365#0",
"text": "โซนี่อินเตอร์แอ็กทีฟเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (Sony Interactive Entertainment) หรือชื่อในอดีตก่อนปี 2016 คือ โซนี่คอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ (Sony Computer Entertainment) เป็นบริษัทวิดีโอเกมทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เป็นบริษัทลูกในเครือโซนี่ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993 ที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น",
"title": "โซนี่อินเตอร์แอ็กทีฟเอ็นเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "591223#3",
"text": "คิม โซย็อน มิน ซน ยอน คิม ดานี่ T-ara N4 ชเว จี ฮุน จี ซู Lee Ahryoung Byun Seungmi (Janey)",
"title": "เอ็มบีเคเอนเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "341832#1",
"text": "นนทนันท์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ก่อตั้งขึ้นโดย อานนท์ อัศวานันท์ โดยแรกเริ่มใช้ชื่อว่า กรุงเกษมภาพยนตร์ หรือ กรุงเกษม เอนเตอร์เทนเมนต์ ประกอบกิจการนำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศสำหรับการฉายในโรงภาพยนตร์ต่าง ๆ ในประเทศ เช่น \"เดชคัมภีร์เทวดา\" ในปี พ.ศ. 2533 เป็นต้น จนได้ชื่อว่าเป็นคู่แข่งรายสำคัญ ของ สหมงคลฟิล์ม ซึ่งจุดเด่นของภาพยนตร์ต่างประเทศของบริษัทนี้ คือ การพากย์ที่เป็นเอกลักษณ์ โดยใช้ทีมพากย์จากช่อง 3",
"title": "นนทนันท์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์"
},
{
"docid": "78853#5",
"text": "เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ ประเทศญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2001 ซึ่งทางบริษัทยังได้วางแผนจะเปิดสาขาเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแห่งที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนเพื่อขยายการตลาดเป็นแห่งที่ 3 นอกจากนี้ ยังมีแผนจะตั้งศูนย์กลางเอเชียที่ฮ่องกง เพื่อทำธุรกิจในตลาดจีนอีกด้วย ปี 2010 นายอี ซู-มัน ได้ถอนตัวออกจากตำแหน่งประธานบริษัท เพื่อทำหน้าที่โปรดิวเซอร์ แต่ยังคงถือหุ้น 29.4% เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดเช่นเดิม ถึงชื่อจะไม่ใช่ประธานแล้ว แต่การถือหุ้นก็ยังเหมือนเดิม เหมือนว่าการถอนตัวออกจากตำแหน่งนั้นมีอะไรแอบแฝงอยู่ ในช่วงกลางปี 2011 เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนท์ได้ทำการขยายตลาดมายังประเทศไทยโดยร่วมมือกับกลุ่ม ทรูวิชั่นส์ ผู้ให้บริการโทรทัศน์บอกรับสมาชิกรายใหญ่ของประเทศไทย จัดตั้งบริษัท SM True โดยมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 20 ล้านบาท ในสัดส่วนของทรูวิชั่นส์จำนวน 51% และเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนท์จำนวน 49% โดย SM True จะเป็นผู้ดูแลลิขสิทธิ์และผลงานของศิลปินในค่าย SM ทั้งหมดในประเทศไทย",
"title": "เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "591223#5",
"text": "มารู เอนเตอร์เทนเมนต์เป็นหนึ่งในบริษัทย่อยของเอ็มบีเคเอนเตอร์เทนเมนต์",
"title": "เอ็มบีเคเอนเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "591223#1",
"text": "ฮง จิน-ย็อง SeeYa Yangpa Hwayoung โน มิน-วู Jiae (จีแอ / ฮานา) Jiwon",
"title": "เอ็มบีเคเอนเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "591223#6",
"text": "(in Korean) on Facebook on Twitter (in Korean) on YouTube on Daum Cafe",
"title": "เอ็มบีเคเอนเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "202765#2",
"text": "ในปี 1998 ลูคัสก่อตั้งบริษัทของตัวเองที่ชื่อ ลูคัสเอนเตอร์เทนเมนต์ จากเงินที่เขาหาได้ขณะทำอาชีพเป็น male escort โดยเปิดบริษัทในนิวยอร์กซิตี (ซึ่งโดยส่วนมากบริษัทสตูดิโอผลิตหนังโป๊จะตั้งอยู่ในลอสแอนเจลิส) เพื่อจะอาศัยประโยชน์การตลาดจากการที่มีคู่แข่งน้อยกว่า ในปี 2004 เปิด ลูคัสดิสทริบิวชัน อินค์ ที่เป็นบริษัทจัดจำหน่ายวิดีโอสำหรับผู้ใหญ่ ลูคัสกำกับและร่วมแสดงในภาพยนตร์ของเขาเองภายใต้ลูคัสเอนเตอร์เทนเมนต์ สตูดิโอของเขาได้รับรางวัลเกย์วีเอ็นมาแล้วหลายรางวัล ",
"title": "ไมเคิล ลูคัส (ผู้กำกับ)"
},
{
"docid": "220359#0",
"text": "เจวายพีเอนเตอร์เทนเมนต์ (; ) เป็นบริษัทตัวแทนศิลปิน ค่ายเพลง มีชื่อตามผู้ก่อตั้ง ปาร์ก จิน-ยอง บริษัทเป็นที่รู้จักในฐานะผลิตศิลปินชื่อดังอย่าง ปาร์ก จิ ยูน, เรน, กลุ่มศิลปิน จี.โอ.ดี. และวงหญิงล้วนวันเดอร์เกิลส์ มีสตูดิโอและสำนักงานใหญ่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งเปิดทำการอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 และกำลังขยายสาขาไปทั่วโลกโดยเปิดทำการในสาขาประเทศจีนในชื่อ JYP Beijing Center จากรายงานของ \"โคเรียนไทม์ส\" และเว็บไซต์การเงิน Chaebul.com ระบุข้อมูลไว้ว่า เจวายพีเอนเตอร์เทนเมนต์ มีรายได้ 16.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2006 และ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน 6 เดือนแรกของปี 2007 และยังคงเป็นอันดับ 1 ในปี 2008 ในสาขาบริษัทบันเทิง จากรายงานระบุว่า เจวายพีเอนเตอร์เทนเมนต์ มีมูลค่ามากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นบริษัทบันเทิงอิสระที่มีมูลค่ามากที่สุดในเกาหลี",
"title": "เจวายพีเอนเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "285185#0",
"text": "บริษัท บลิซซาร์ด เอ็นเตอร์เทนเมนต์ () เป็นบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายวิดีโอเกมสัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2534 โดยใช้ชื่อว่า ซิลิกอน & ไซแนพซ์ เดิมเป็นบริษัทผลิตพอร์ตเกมสำหรับค่ายเกมอื่น ๆ ก่อนที่จะเริ่มการพัฒนาซอฟต์แวร์ของตนในปี พ.ศ. 2536 ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2537 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บลิซซาร์ด เอ็นเตอร์เทนเมนต์ บริษัทดังกล่าวได้ผลิตเกมพีซีซึ่งขายดีและประสบความสำเร็จหลายอย่าง รวมทั้ง \"วอร์คราฟต์\", \"สตาร์คราฟต์\", \"เดียโบล\" และ \"โอเวอร์วอตช์\" และเกมสวมบทบาทออนไลน์ \"เวิลด์ ออฟ วอร์คราฟต์\"",
"title": "บลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์"
},
{
"docid": "787271#5",
"text": "ในวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2013 โครมเอนเตอร์เทนเมนต์ได้เซ็นสัญญาร่วมกับโซนีมิวสิกเอนเตอร์เทนเมนต์ โดยโซนีมิวสิกฯจะทำหน้าที่จัดจำหน่ายและโปรโมตผลงานศิลปินของโครมเอนเตอร์เทนเมนต์ในต่างประเทศ และในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 โครมเอนเตอร์เทนเมนต์ได้เซ็นสัญญาเป็นอิสระภายใต้การจัดการของโซนีเอนเตอร์เทนเมนต์ ด้วยสัญญาฉบับนี้ทำให้โครมเอนเตอร์เทนเมนต์สามารถจัดจำหน่ายผลงานของตนเองจากค่ายเพลงอื่น ๆ ",
"title": "โครมเอนเตอร์เทนเมนต์"
}
] |
341 | ใครเป็นผู้ออกแบบ เอเอช-64 อาปาเช่? | [
{
"docid": "76627#3",
"text": "ข้อเสนอดังกล่าวมีบิษัทผู้ผลิตยอมรับทั้งสินห้าบริษัทด้วยกัน คือ เบลล์ โบอิง เวอร์ทอล (ทำงานร่วมกับกรัมแมน) ฮิวส์ ล็อกฮีด และซิคอร์สกี้ ในปีพ.ศ. 2516 กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ได้ทำการเลือกเบลล์และฮิวส์ [4]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
}
] | [
{
"docid": "76627#0",
"text": "เอเอช-64 อาปาเช่ ([AH-64 Apache]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help)) (ออกเสียงในภาษาอังกฤษ สำเนียงอเมริกันว่า อ่า-พ้า-ชี่ แต่ชื่อเรียกในภาษาไทยที่รับรู้กันโดยทั่วไปคือ อาปาเช่ [1]) เป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีสองเครื่องยนต์ สี่ใบพัด พร้อมล้อสามล้อ และห้องนักบินแบบเรียงเดียวสำหรับสองที่นั่ง อาปาเช่ถูกพัฒนาในชื่อ โมเดล 77 โดยฮิวจ์ส เฮลิคอปเตอร์สให้กับโครงการของกองทัพบกสหรัฐเพื่อแทนที่เอเอช-1 คอบรา มันได้ทำการบินครั้งแรกในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2518 เอเอช-64 มีจุดเด่นที่ปืนกล เอ็ม230 ขนาด 30 ม.ม. คาลิเบอร์ที่จมูกของมัน เอเอช-64 ยังใช้เอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์และไฮดรา 70 สี่ตำแหน่งบนปีกทั้งสองข้าง เอเอช-64 ยังมีระบบการอยู่รอดที่ดีเยี่ยมสำหรับเครื่องบินและลูกเรือในการต่อสู้ เช่นเดียวกับในกรณีที่มันตกเพื่อช่วยเหลือนักบิน",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#39",
"text": "กองทัพอากาศคูเวตได้สั่งซื้อเอเอช64ดีจำนวน 16 ลำในปีพ.ศ. 2547[42] พร้อมกับมีเอเอช-64ดีจำนวน 6 ลำใช้งานในเดือนมกราคมพ.ศ. 2551[41]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#6",
"text": "ในพ.ศ. 2524 เอเอช-64เอสามลำก่อนการสร้างถูกยื่นให้กับกองทัพบกสหรัฐฯ ให้ทำการทดสอบครั้งที่สอง การทดสอบของกองทัพบกนั้นสมบูรณ์แต่ก็ได้ทำารตัดสินใจให้พัฒนาเครื่องยนต์ ที700-จีอี-701 แบบใหม่ที่ให้กำลัง 1,690 แรงม้า[4] ในช่วงท้ายพ.ศ. 2524 เอเอช-64 ถูกตั้งชื่อว่า\"อาพาชี่\"ตามเผ่าพื้นเมืองของอเมริกัน ฮิวส์ถูกนำเข้าผลิตอย่างเต็มรูปแบบในปีพ.ศ. 2525[4] ในปีพ.ศ. 2526 เฮลิคอปเตอร์ทำการผลิตครั้งแรกถูกนำเสนอที่ฮิวส์ในรัฐอริโซน่า ในพ.ศ. 2527 ฮิวส์ เฮลิคอปเตอร์ถูกซื้อโดยแมคดอนเนลล์ ดักลาสด้วยเงินจำนวน 470 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] เฮลิคอปเตอร์ตอ่มากลายมาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทโบอิงด้วยผู้ประสานงานของโบอิงและแมคดอนเนลล์ในเดือนสิงหาคมพ.ศ. 2540 ในปี 2529 ราคาที่เพิ่มขึ้นหรือบานปลายของเอเอช-64 คือ 7.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และราคาประมาณอยู่ที่ 13.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [7]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#29",
"text": "รุ่นที่ก้าวหน้าอย่าง<b data-parsoid='{\"dsr\":[19189,19219,3,3]}'>เอเอช-64ดีอาปาเช่ลองโบว์</b>ติดตั้งเซ็นเซอร์และระบบอาวุธที่พัฒนา หัวใจของการพัฒนาที่เหนือกว่าแบบเอก็คือเรดาร์ทรงโดมแบบเอเอ็น/เอพีจี-78 ที่ติดตั้งอยู่ที่ด้านบนของใบพัดหลัก ด้วยตำแหน่งที่สูงขึ้นของเรดาร์ทรงโดมทำให้การตรวจจับวิถีโค้งของขีปนาวุธจากศัตรูได้ในขณะที่มันซ่อนตัวอยู่หลังสิ่งกีดขวาง นอกเหนือจากนั้นโมเดมวิทยุผสมผสานกับเซ็นเซอร์ซึ่งทำให้อาพาชี่แบบบดีนั้นมีข้อมูลของเป้าหมายร่วมกับเอเอช-64ดีลำอื่นได้หากลำหนึ่งมองไม่เห็นเป้าหมาย สิ่งนี้ทำให้กลุ่มของอาปาเช่สามารถเข้าปะทะศัตรูจำนวนมากได้โดยเปิดเผยเพียงแค่เรดาร์ทรงโดมของเอเอช-64ดีลำใดลำหนึ่ง",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#20",
"text": "ในเดือนกันยายนพ.ศ. 2546 กรีซได้สั่งซื้อเอเอช-64ดีจำนวน 12 ลำโดยมีมูลค่าทั้งสิ้น 675 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (รวมทั้งอาวุธและอื่นๆ) โดยตกลำละ 56.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สิงคโปร์ได้ซื้อเอเอช-64ดี ลองโบว์อาปาเช่ทั้งสิ้น 20 ลำในระหว่างพ.ศ. 2542 และพ.ศ. 2544 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ซื้อเอเอช-64เอทั้งสิ้น 30 ลำในปีพ.ศ. 2534 และ 2537 ซึ่งพวกมันในตอนนี้ได้พัฒนาเป็นเอเอช-64ดี[28] คูเวตได้สั่งซื้อเฮลิคอปเตอร์ลองโบว์จำนวน 16 ลำ[29] ประเทศอื่นๆ ที่มีอาปาเช่ก็ได้แก่อียิปต์ ญี่ปุ่น และซาอุดิอาระเบีย[30]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "270643#0",
"text": "อกุสต้าเวสท์แลนด์ อาพาชี่ () เป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีเอเอช-64ดี อาพาชี่ลองโบว์ของโบอิงที่ผลิตขึ้นมาภายใต้ใบอนุญาตให้กับกองทัพบกอังกฤษ เฮลิคอปเตอร์แปดลำแรกถูกสร้างขึ้นโดบโบอิง อีก 59 ลำที่เหลือประกอบโดยเวสท์แลนด์ เฮลิคอปเตอร์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอกุสต้าเวสท์แลนด์) โดยใช้ส่วนประกอบจากโบอิง สิ่งที่มันมีแตกต่างจากเอเอช-64ดีคือเครื่องยนต์โรลส์รอยซ์ ระบบอิเลคทรอนิกป้องกันแบบใหม่ และกลไลใบพัดที่ททำให้รุ่นนี้สามารถทำหน้าที่ได้จากบนเรือ เฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้ได้รับชื่อว่า\"ดับบลิวเอเอช-64\" ที่ตั้งโดยเวสท์แลดน์ เฮลิคอปเตอร์ มันใช้อีกชื่อหนึ่งว่า\"อาพาชี่ เอเอช มาร์ค1\" (\"Apache AH Mk 1\") หรือ\"อาพาชี่ เอเอช1\" โดยกระทรวงกลาโหมของสหราชอาณาจักร ",
"title": "อกุสต้าเวสท์แลนด์ อาพาชี่"
},
{
"docid": "76627#43",
"text": "กองทัพอากาศสหรัฐฯอาหรับเอมิเรตส์ได้รับเอเอช-64เอจำนวน 30 ลำในปี 2548[32] ทางกองทัพมีเอเอช-64เอจำนวน 12 ลำและเอเอช-64ดีจำนวน 14 ลำในเดือนมกราคมปี 2551[41]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#41",
"text": "กองทัพอากาศซาอุดิอาระเบียมีเอเอช-64เอจำนวน 12 ลำ พวกมันจะถูกพัฒนาให้เป็นเอเอช-64ดี ลองโบว์ในปีพ.ศ. 2553[43]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#18",
"text": "สหราชอาณาจักรใช้อาปาเช่ลองโบว์รุ่นดัดแปลงที่เรียกว่าเวสท์แลนด์ ดับบลิวเอเอช-64 อาปาเช่และถูกเรียกว่าอาปาเช่ เอเอช มาร์ค1 โดยกองทัพบกอังกฤษ เวสท์แลนด์ได้สร้างดับบลิวเอเอช-64จำนวน 67 ลำ[22] ภายใต้ใบอนุญาตจากโบอิงที่แทนที่เครื่องยนต์ด้วยโรลส์-รอยซ์ที่ทรงพลังกว่า ใบพัดที่พับได้วำหรับการปฏิบัติการในกองทัพเรือเป็นอีกการเปลี่ยนแปลงหนึ่งที่สำคัญซึ่งทำให้อาปาเช่ของอังกฤษสามารถทำงานร่วมกับปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกได้โดยบินออกจากเรือที่บรรทุกมันมา เวสท์แบนด์อาปาเช่ได้เข้ามาแทนที่เวสท์แลนด์ลิงซ์ เอเอช7 ในฐานะเฮลิคอปเตอร์จู่โจมของกองทัพบกอังกฤษ ดับบลิวเอเอช-64 ในปัจจุบันถูกวางพลในอัฟกานิสถานที่ซึ่งพวกมันทำหน้าที่โดดเด่นในการสนับสนุนกองกำลังของสหราชอาณาจักรและรัฐบาลร่วมในทางตอนใต้ของประเทศ[23] ดับบลิวเอเอช-64 อาปาเช่ของอังกฤษใช้เรดาร์ควบคุมการยิงของลองโบว์ในอัฟกานิสถานโดยกล่าวว่ามันช่วยเพิ่มความระวังต่อสถานการณ์[24]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#13",
"text": "ในปฏิบัติการดีเซิร์มสตอร์มเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2534 เอเอช-64เอจำนวนแปดลำที่นำทางโดยเอ็มเอช-53 เพฟโลว์สี่ลำ ถูกใช้เพื่อทำลายที่มั่นเรดาร์ของอิรักเพื่อทำให้เครื่องบินทิ้งระเบิดสามารถเข้าไปในอิรักได้โดยไม่ถูกตรวจจับ[4] นี่เป็นการโจมตีครั้งแรกของดีเซิร์มสตอร์ม[4] อาปาเช่บรรทุกจรวดแบบไฮดรา 70 เฮลไฟร์ และถังเชื้อเพลิงสำรอง[14] ในช่วง 100 ชั่วโมงของสงครามบนพื้นมีเอเอช-64 ทั้งสิ้น 277 ลำเข้าร่วม อาปาเช่ได้ทำลายรถถังกว่า 500 คัน ยานเกราะขนบุคคลและยานพาหนะอื่นๆ จำนวนมากในปฏิบัติการดีเซิร์ทสตอร์ม[4]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#27",
"text": "ด้วยทุนจากสภาในปลายปี 2534 ส่งผลในโครงการพัฒนาเอเอช-64เอเป็นเอเอช-64บี+ ทุนอีกมากเปลี่ยนแผนไปพัฒนาเอเอช-64ซี รุ่นซีนั้นมีความคล้ายคลึงกับลองโบว์ยกเว้นเรดาร์ขนาดใหญ่และเครื่องยนต์แบบใหม่ อย่างไรก็ดีในปีพ.ศ. 2536 รุ่นซีก็ถูกระงับ[4]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#44",
"text": "ดูที่เวสท์แลนด์ ดับบลิวเอเอช-64 อาปาเช่",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#5",
"text": "เอเอช-64เอเข้าสู่ช่วงที่สองของโครงการ ขั้นตอนนี้มีเพื่อสร้างเอเอช-64 ก่อนการผลิตสามลำ และพัฒนาวายเอเอช-64เอต้นแบบสองลำและสำหรับทดสอบภาคพื้นดินหนึ่งลำ[6] อาวุธและระบบเซ็นเซอร์ยังถูกรวมและทำการทดสอบไปด้วย[4] มันยังรวมทั้งขีปนาวุธเฮลไฟร์แบบใหม่[6]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#1",
"text": "กองทัพบกเลือกเอเอช-64 แทนที่จะเป็นเบลล์ วายเอเอช-63 ในปีพ.ศ. 2519 ทำให้ฮิวจ์ส เฮลิคอปเตอร์สนั้นรางวัลเป็นสัญญาในการสร้าง ในปีพ.ศ. 2525 กองทัพบกยืนยันการผลิตเต็มรูปแบบ แมคดอนเนลล์ ดักลาสยังทำการผลิตและพัฒนาต่อหลังจากที่ซื้อบริษัทฮิวจ์ส เฮลิคอปเตอร์สมาจากซัมมา คอร์เปอร์เรชั่นในปีพ.ศ. 2527 ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 235 เอเอช-64ดี อาปาเช่ลองโบว์</b>ลำแรกได้ทำการบินและการผลิตครั้งแรกนั้นก็ถูกส่งให้กับกองทัพบกในปีพ.ศ. 2540 ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 โบอิงและแมคดอนเนลล์ ดักลาสรวมเข้าด้วยกันเพื่อกลายเป็นบริษัทโบอิง คอมพานี ในปัจจุบันโบอิงได้ทำการผลิตเอเอช-64 ต่อไป",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#4",
"text": "แต่ละบริษัทสร้างเฮลิคอปเตอร์ต้นแบบและเข้าสู่โปรแกรมทดสอบการบิน แบบ 77/วายเอเอช-64เอของฮิวส์เริ่มทำการบินครั้งแรกในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2518 ในขณะที่แบบ 409/วายเอเอช-61เอของเบลล์ทำการบินในวันที่ 1 ตุลาคม[4] หลังจากประเมินผลการทดสอบกองทัพบกได้เลือกวายเอเอช-64เอของฮิวส์ในปีพ.ศ. 2519 เหตุผลที่เลือกวายเอเอช-64เอยังรวมทั้งใบพัดหลักสี่ใบที่ทนทานกว่าและความไม่เสถียรของวายเอเอช-63[5]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#45",
"text": "กองทัพบกสหรัฐฯ มีเอเอช-64 จำนวน 698 ลำในเดือนมกราคมพ.ศ. 2551[41]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#26",
"text": "ในปีพ.ศ. 2534 หลังจากปฏิบัติการดีเซิร์มสตอร์มเอเอช-64บีเป็นการพัฒนาจากเอเอช-64เอจำนวน 254 ลำ การพัฒนารวมทั้งใบพัดแบบใหม่ ระบบจีพีเอส ระบบนำร่อง และวิทยุแบบใหม่ สภาได้อนุมัติเงินจำนวน 82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเริ่มการพัฒนาอาปาเช่ รุ่นบี โครงการบีถูกยกเลิกในปี 2535[4] วิทยุ การนำร่อง และจีพีเอสได้ถูกนำไปติดตั้งในอาปาเช่แบบเอในเวลาต่อมา",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#12",
"text": "อาปาเช่ถูกใช้ต่อสู้ครั้งแรกในการรุกรานปานามาเมื่อพ.ศ. 2532 เอเอช-64เอ อาปาเช่และเอเอช-64ดี อาปาเช่ลองโบว์มีบทบาทสำคัญในสงครามในตะวันออกกลางซึ่งรวมทั้งสงครามอ่าวเปอร์เซีย ปฏิบัติการเอ็นดัวริงฟรีดอมในอัฟกานิสถาน และปฏิบัติการปลดปล่อยอิรัก อาปาเช่ถูกพิสูจน์ว่าเป็นนักล่ารถถังชั้นยอดและยังได้ทำลายยานเกราะนับร้อยซึ่งส่วนใหญ่เป็นของกองทัพอิรัก",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#22",
"text": "ญี่ปุ่นได้สั่งซื้อเอเอช-64ดีจำนวน 50 ลำ[32] พวกมันจะถูกสร้างภายใต้ใบอนุญาตโดยอุตาหกรรมฟูจิด้วยการส่งเฮลิคอปเตอร์ลำแรกให้กับญี่ปุ่นในปี 2549 [33][34] หลังจากที่เริ่มการส่งในปี 2548[35] อาพาชี่ที่สร้างโดยฟูจิจะใช้ชื่อว่า<i data-parsoid='{\"dsr\":[16572,16590,2,2]}'>เอเอช-64ดีเจบี[33]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#36",
"text": "กองทัพกรีกมีเอเอช-64เอจำนวน 20 ลำและเอเอช-64ดีจำนวน 12 ลำในการสั่งซื้อเมื่อปี 2548[32] กรีซมีเอเอช-64เอจำนวน 20 ลำและเอเอช-64ดีจำนวน 8 ลำในปี 2551[41]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#16",
"text": "เอเอช-64ดีของอเมริกันปัจจุบันบินในอิรักและอัฟกานิสถานโดยปราศจากเรดาร์ระยะไกลเนื่องจากไม่มีภัยคุกตามของยานเกราะต่อกองกำลังของรัฐบาลร่วม[20] อาปาเช่ส่วนมากที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักสามารถทำภารกิจต่อไปได้และบินกลับฐานอย่างปลอดภัย ตัวอย่างเช่น อาปาเช่ 33 ลำที่ใช้ในการโจมตีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2546 มี 30 ลำที่ได้รับความเสียหายจากการยิงของอิรักจนไม่สามารถซ่อมเแซมได้แต่มีเพียงลำเดียวเท่านั้นที่ไม่สามารถบินกลับฐาน[18] เมื่อถึงปี 2551 มีเฮลิคอปเตอร์อาปาเช่ 11 ลำที่ถูกยิงตกโดนศัตรูตลอดทั้งสงครามและอีก 15 ลำตกในอิรักเพราะสาเหตุอื่น",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#40",
"text": "กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ได้รับเอเอช-64ดีจำนวน 30 ลำเมื่อปีพ.ศ. 2548[32] พร้อมกับมีเอเอช-64ดีจำนวน 29 ลำในปี 2551[41]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#19",
"text": "กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ได้สั่งซื้อเอเอช-64ดี อาปาเช่จำนวน 30 ลำเมื่อปีพ.ศ. 2539[25] เอเอช-64ดีของเนเธอร์แลนด์นั้นไม่ใช้ลองโบว์ การใช้งานครั้งแรกของพวกเขาเกิดขึ้นในแอฟริกา พวกมันยังถูกวางพลร่วมกับเอเอช-64 ของสหรัฐฯ ในการเข้าสนับสนุนกองกำลังของนาโต้ในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ในปี 2547 เอเอช-64 ของเนเธอร์แลนด์ถูกวางพลในกองกำลังผสมที่อิรัก[26] ในเวลาเดียวกันอาปาเช่ของเนเธอร์แลนด์ถูกวางพลที่คาบูลเพื่อช่วยเหลือกองทัพอากาศอิสราเอล ในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2549 เนเธอร์แลนด์ได้ช่วยกองกำลังนาโต้ในอัฟกานิสถานด้วยการเพิ่มทหารขึ้นเป็น 1,400 นายและเอเอช-64 ก็ถูกส่งไปสนับสนุนเช่นกัน[27]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#9",
"text": "เอเอช-64 มีขุมกำลังเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์แบบเจเนรัลอิเลคทริค ที700 สองเครื่องพร้อมกับท่อไอเสียทั้งสองด้าน อาปาเช่มีใบพัดหลักสี่ใบและใบพัดหางสี่ใบ ลูกเรือจะนั่งเรียงตามหลังกันโดยมีนักบินนั่งอยู่ด้านหลังเหนือนักบินผู้ช่วยหรือพลปืนที่อยู่ด้านหน้า ห้องนักบินและถังเชื้อเพลิงจะหุ้มด้วยเกราะที่ทำให้มันยังสามารถบินได้ถึงแม้ถูกยิงด้วยกระสุนขนาด 23 ม.ม.[11][12]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#7",
"text": "ในช่วงกลางถึงปลายปีพ.ศ. 2523 แมคดอนเนลล์ ดักลาสศึกษาแบบพัฒนาของ\"เอเอช-64บี\"ที่มีห้องนักบินแบบใหม่ ระบบควบคุมการยิงใหม่ และการพัฒนาอื่นๆ ในปี 2531 ได้มีการลงทุนเข้าโครงการพัฒนาเพื่อพัฒนาเซ็นเซอร์และอาวุธและระบบดิจิตอลต่างๆ อย่างไรก็ดีเทคโนโลยีที่พัฒนาแล้วก็ปรากฏตัว มันถูกตัดสินใจยกเลิกโครงการพัฒนา สิ่งนี้นำไปสู่เอเอช-64ดี อาปาเช่ลองโบว์ที่ดีกว่าในช่วงกลางถึงปลายปี 2533[8]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#33",
"text": "รุ่นอื่นจำนวนมากได้ถูกดัดแปลงมาจากทั้งเอเอช-64เอและเอเอช64ดีสำหรับการส่งออก ทางอังกฤษได้สร้างเวสท์แลนด์ ดับบลิวเอเอช-64 อาปาเช่ที่มีพื้นฐานมาจากเอเอช-64ดีพร้อมกับระบบมากมายที่แตกต่างออกไปและรวมทั้งเครื่องยนต์ที่ใหม่และทรงพลังยิ่งขึ้น",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#37",
"text": "กองทัพอากาศอิสราเอลมีเอเอช-64เอจำนวน 37 ลำและเอเอช64ดีจำนวน 11 ลำในคลังแสงเมื่อเดือนมกราคมปี 2551[41]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#42",
"text": "กองทัพอากาศสิงคโปร์มีเอเอช-64ดีจำนวน 18 ลำในเดือนมกราคมพ.ศ. 2551[41]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#35",
"text": "กองทัพอากาศอียิปต์ได้สั่งซื้อเอเอช-64เอจำนวน 36 ลำในปีพ.ศ. 2538 และถูกพัฒนาให้เป็นเอเอช-64ดีในปีพ.ศ. 2548[32] อียิปต์มีเอเอช-64ดีในปฏิบัติการ 35 ลำเมื่อเดือนมกราคมพ.ศ. 2551[41]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
},
{
"docid": "76627#17",
"text": "กองทัพอากาศอิสราเอลใช้อาปาเช่เพื่อทำการโจมตีเป้าหมายมากมายด้วยขีปนาวุธนำวิถี เอเอช-64เอได้โจมตีและทำลายค่ายทหารบางส่วนของกลุ่มเฮซบอลลาห์ในเลบานอนเมื่อพ.ศ. 2533 เป็นการโจมตีในหลายสภาพอากาศและทั้งวันทั้งคืน ในอัล-อาซ่า อินทิฟาด้า กองทัพอิสราเอลได้ใช้อาปาเช่เพื่อสังหารกลุ่มผู้นำฮามาสอย่างอาห์เมด ยาซินและแอดนัน อัลกูลด้วยขีปนาวุธนำวิถี ในความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและเลบานอนในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมเมื่อปีพ.ศ. 2549 มีเฮลิคอปเตอร์อาปาเช่ของกองทัพอากาศอิสราเอลสองลำชนกันทำให้นักบินหนึ่งคนเสียชีวิตและอีกสามคนบาดเจ็บสาหัส อีกอุบัติเหตุหนึ่งคือเอเอช-64ดี ลองโบว์ของกองทัพอิสราเอลตกที่สังหารนักบินสองคนเนื่องมาจากการขัดข้องทางทคนิค[21]",
"title": "เอเอช-64 อาพาชี"
}
] |
2966 | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ครองราชย์เมื่อไหร่? | [
{
"docid": "4281#0",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระองค์ที่ 9 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 และทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 รวมดำรงสิริราชสมบัติ 9 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 สิริพระชนมพรรษา 47 พรรษา",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"
}
] | [
{
"docid": "39365#17",
"text": "ในช่วงที่ประทับอยู่ในสหราชอาณาจักรนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระประชวรอยู่เนือง ๆ แต่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีก็ยังทรงปรนนิบัติพระองค์ จนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ขณะที่ทั้งสองพระองค์ประทับอยู่ที่พระตำหนักคอมพ์ตัน ตำบลเวอร์จิเนียวอเตอร์ ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตโดยฉับพลันด้วยพระหทัยวาย มีพระชนมพรรษา 48 พรรษา",
"title": "สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี"
},
{
"docid": "39365#15",
"text": "ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ประทับ ณ วังไกลกังวล เพื่อให้พ้นจากสองฝ่ายทั้งสองฝ่ายจึงเสด็จฯ โดยเรือศรวรุณ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ท่ามกลางสภาวะอากาศเลวร้ายใช้เวลากว่าสองวัน จึงถึงจังหวัดสงขลา ไปประทับ ณ ตำหนักเขาน้อย สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ทรงเล่าความในพระราชหฤทัยครั้งนั้นว่า\nในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 (นับศักราชตามเดิม)พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ สู่ทวีปยุโรป แต่ก็ยังมีการขัดแย้งเจรจาเกี่ยวกับการเมืองกับทางกรุงเทพมหานครสืบเนื่องกันอยู่ตลอดเวลา จนในที่สุด ก็มีการขัดแย้งกันระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับรัฐบาล เช่นในเรื่องที่รัฐบาลได้แต่งตั้งพรรคพวกเข้าเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรประเภทที่สองและรัฐบาลไม่ได้ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนอย่างเพียงพอ ไม่ตรงกับพระราชปณิธานอย่างแน่วแน่ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงแสดงความไม่เห็นพ้องกับคณะผู้บริหารประเทศด้วยการตัดสินพระราชหฤทัยทรงสละราชสมบัติในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะที่ยังประทับอยู่ในประเทศอังกฤษ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี มีพระราชดำรัสถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่า",
"title": "สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี"
},
{
"docid": "4281#59",
"text": "พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพิพิธภัณฑ์ในความดูแลของสถาบันพระปกเกล้า ตั้งที่อาคารกรมโยธาธิการเดิม บริเวณสี่แยกผ่านฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งสถาบันพระปกเกล้าได้บูรณะเพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี จัดแสดงภาพถ่าย เอกสาร และพระราชประวัติของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จฯ แทนพระองค์ทรงเปิดพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2545",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "39209#3",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2545 ภายในพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปัจจุบัน ภายในพิพิธภัณฑ์มีการรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี จัดแสดงภาพถ่าย เอกสาร และพระราชประวัติของพระองค์",
"title": "พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "4281#53",
"text": "สถาบันพระปกเกล้า เป็นสถาบันพัฒนาประชาธิปไตยที่จัดตั้งขึ้นในวโรกาสครบรอบ 100 ปี วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนชาวไทย โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชให้เชิญพระนามของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาเป็นชื่อของสถาบัน",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "4281#52",
"text": "ถนนประชาธิปก เป็นถนนที่เริ่มตั้งแต่สะพานพระพุทธยอดฟ้าถึงวงเวียนใหญ่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตั้งชื่อถนนถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า \"ถนนพระปกเกล้า\" หรือ \"ถนนประชาธิปก\" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าและถนนเพื่อเชื่อมฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี โดยพระองค์พระราชทานนามถนนนี้ว่า \"ถนนประชาธิปก\"",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "4281#39",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่ถูกทักท้วงจากพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่จึงได้ระงับไปก่อน ซึ่งหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล มีดำรัสถึงเรื่องนี้ว่า \"\"ส่วนพระเจ้าอยู่หัวเองนั้น [พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว] ทรงรู้สึกยิ่งขึ้นทุกทีว่าการปกครองบ้านเมืองในสมัยเช่นนี้ เป็นการเหลือกำลังของพระองค์ที่จะทรงรับผิดชอบได้โดยลำพังแต่ผู้เดียว พระองค์ทรงรู้ดีว่า ทรงอ่อนทั้งในทาง physical และ mental จึงมีพระราชปรารถนาจะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ช่วยกันรับผิดชอบให้เต็มที่อยู่เสมอ\"\"",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "6776#1",
"text": "ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 นั้น ครูมีแขกได้เป็นครูปี่พาทย์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงประดิษฐไพเราะ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2396 ตำแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็กว่าราชการกรมปี่พาทย์ ฝ่ายถพระบวรราชวัง ในปีเดียวกันนั้นเองท่านได้แต่งเพลงเชิดจีน แล้วนำขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด้จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นที่สมพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งจึงโปรดให้เลื่อนบรรดาศักดิ์จากหลวงเป็นพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางค์กูร) ได้รับสมญาว่าเป็นเจ้าแห่งเพลงทยอยเพราะผลงานเพลงลูกล้อลูกขัด เช่น ทยอยนอก ทยอยเขมร ล้วนเป็นผลงานของท่านทั้งนั้น",
"title": "พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร)"
},
{
"docid": "4281#56",
"text": "พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่หน้าตึกรัฐสภา พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร มีขนาดหนึ่งเท่าครึ่งพระองค์จริง ทรงเครื่องพระบรมราชภูษิตาภารณ์ฉลองพระองค์ครุยสวมพระชฎามหากฐินปักขนนกการเวก เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งพุดตาญจนสิงหาสน์ พระหัตถ์วางเหนือพระเพลาทั้งสองข้าง ออกแบบโดยนาวาเอกสมภพ ภิรมย์ โดยจะมีพิธีถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันที่ 10 ธันวาคมเป็นประจำทุกปี",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "4236#7",
"text": "ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการให้เฉลิมพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปว่า \"\"พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว\"\" หรือ \"\"พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3\"\"\nเมื่อครั้งที่ทรงกำกับราชการกรมท่า (ในสมัยรัชกาลที่ 2) ได้ทรงแต่งสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอันมาก พระราชบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า \"เจ้าสัว\" เมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความเห็นว่าพระองค์ (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์) ขณะนั้นมีพระชนมายุ 37 พรรษา ทรงรอบรู้กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้าและการปกครอง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3พระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเสริมสร้างกำลังป้องกันราชอาณาจักร โปรดให้สร้างป้อมปราการตามปากแม่น้ำสำคัญ และหัวเมืองชายทะเล",
"title": "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "4281#4",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 ณ พระที่นั่งสุทธาศรีภิรมย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามเมื่อการสมโภชเดือนว่า \"สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ชเนศรมหาราชาธิราช จุฬาลงกรณนารถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธ์ มหามงกุฎราชพงษบริพรรต บรมขัตติยมหารชดาภิสิญจนพรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรวรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร\" พระนามทั่วไปเรียกว่า \"ทูลกระหม่อมเอียดน้อย\"",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"
}
] |
4127 | สุโขทัยมีกี่อำเภอ ? | [
{
"docid": "5487#9",
"text": "การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 86 ตำบล 843 หมู่บ้าน",
"title": "จังหวัดสุโขทัย"
}
] | [
{
"docid": "72685#0",
"text": "อำเภอพิชัย เป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 9 อำเภอ ของจังหวัดอุตรดิตถ์ พิชัยเป็นเมืองสำคัญมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เคยเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงสุโขทัย เมืองหน้าด่านในสมัยกรุงศรีอยุธยา และเคยเป็นตัวจังหวัดเก่าอีกด้วย",
"title": "อำเภอพิชัย"
},
{
"docid": "900268#2",
"text": "วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 ย้ายมาอยู่บริเวณสนามบินเก่า ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ส่วนบริเวณใต้วัดไทยชุมพลยกให้โรงเรียนอุดมดรุณี เมื่อโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคมได้พัฒนาขึ้น สามารถช่วยเปิดสถาบันการศึกษาให้แก่จังหวัดสุโขทัย คือ\n1. พ.ศ. 2500 ก่อตั้งวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดสุโขทัย โดยโรงเรียนให้ใช้อาคารสถานที่จนกระทั่งวิทยาลัยพลศึกษาสร้างเสร็จ และย้ายออกจากโรงเรียนเมื่อ พ.ศ. 2523 \n2. พ.ศ. 2523 ให้วิทยาลัยนาฏศิลป์สุโขทัย ใช้อาคารสถานที่ จนวิทยาลัยนาฏศิลป์สุโขทัยสร้างเสร็จ จึงย้ายออกไปจากโรงเรียนเมื่อ พ.ศ. 2525 3. พ.ศ. 2525 เปิดโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ณ ตำบลยางซ้ายอำเภอเมืองสุโขทัย โดยเป็นสาขาของโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม ปัจจุบันคือโรงเรียนยางซ้ายวิทยาคม นอกจากนี้โรงเรียนยังบริการส่วนราชการตลอดจนชุมชน ที่สำคัญคือ",
"title": "โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม"
},
{
"docid": "371427#1",
"text": "พระครูสุวิชานวรวุฒิ มีนามเดิมก่อนบวชว่า ปี้ นามสกุล ชูสุข (คำว่า \"ปี้\" หมายถึง เงินตราสมัยโบราณ) เกิดเมื่อวันพุธที่ 15 ตุลาคม 2445 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีขาล ณ ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย \nการศึกษาแต่เดิมส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในวัด ที่มีพระ หรือฑิตที่ลาสิกขาไปเป็นผู้สอน หลวงพ่อปี้ ทินฺโน ในวัยเยาว์ คือเมื่ออายุประมาณ 12 ปี ทางครอบครัวบิดามารดา ได้นำไปฝากไว้กับพระอธิการหน่าย น้อยผล เจ้าอาวาสวัดเชิงคีรี ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย โดยเริ่มแรกได้เรียนหนังสือมูลบทบรรพกิจเบื้องต้น ทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอม หลวงพ่อปี้ ในวัยเยาว์มีความสามารถอ่านเขียนหนังสือไทยและหนังสือขอมได้เป็นอย่างดี จนเป็นที่พอใจของพระผู้สอน และทางครอบครัว ต่อมาเมื่ออายุได้ 16 ปี จึงได้กลับบ้านเพื่อไปประกอบอาชีพทางการเกษตรอันเป็นอาชีพของครอบครัว \nเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2475 หลวงพ่อปี้ ทินฺโน เมื่ออายุครบบวช 20 ปี จึงเข้ารับการอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดสังฆาราม ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย มีพระครูวินัยสาร (ทิม ยสฺทินโน)วัดราชธานี เจ้าคณะอำเภอเมืองสุโขทัย เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการน้อย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า ทินโน เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงคีรี ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย",
"title": "พระครูสุวิชานวรวุฒิ (ปี้ ทินฺโน)"
},
{
"docid": "5487#10",
"text": "อำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอคีรีมาศ อำเภอกงไกรลาศ อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสำโรง อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีนคร อำเภอทุ่งเสลี่ยม",
"title": "จังหวัดสุโขทัย"
},
{
"docid": "5487#12",
"text": "อำเภอเมืองสุโขทัย เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี เทศบาลตำบลบ้านสวน เทศบาลตำบลเมืองเก่า เทศบาลตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านด่านลานหอย เทศบาลตำบลลานหอย เทศบาลตำบลตลิ่งชัน อำเภอคีรีมาศ เทศบาลตำบลทุ่งหลวง เทศบาลตำบลบ้านโตนด อำเภอกงไกรลาศ เทศบาลตำบลกงไกรลาศ อำเภอศรีสัชนาลัย เทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสำโรง เทศบาลตำบลศรีสำโรง อำเภอสวรรคโลก เทศบาลเมืองสวรรคโลก เทศบาลตำบลในเมือง เทศบาลตำบลป่ากุมเกาะ เทศบาลตำบลคลองยาง เทศบาลตำบลเมืองบางขลัง อำเภอศรีนคร เทศบาลตำบลศรีนคร อำเภอทุ่งเสลี่ยม เทศบาลตำบลทุ่งเสลี่ยม เทศบาลตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ เทศบาลตำบลกลางดง",
"title": "จังหวัดสุโขทัย"
},
{
"docid": "5487#15",
"text": "อำเภอเมืองสุโขทัย ศาลหลักเมืองสุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า พิพิธภัณฑ์ปลาในวรรณคดี ตำบลบ้านสวน สวนหลวง ร.๙ ตำบลบ้านสวน พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรามคำแหง ตำบลเมืองเก่า พิพิธภัณฑ์สังคโลก ตำบลบ้านหลุม พระราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตำบลเมืองเก่า พระราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ตำบลเมืองเก่า ศาลพระแม่ย่า ศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ตำบลธานี พระพุทธอุทยานสุโขทัย ตำบลธานี ทุ่งทะเลหลวง ตำบลบ้านกล้วย พุทธมณฑลสุโขทัย ทุ่งทะเลหลวง ตำบลบ้านกล้วย โครงการสวนสัตว์สุโขทัย ตำบลบ้านกล้วย สวนพฤษศาสตร์พระแม่ย่า สุโขทัย ตำบลบ้านกล้วย วัดศรีชุม(พระอจนะ) ตำบลเมืองเก่า วัดสะพานหิน ตำบลเมืองเก่า เตาทุเรียง ตำบลเมืองเก่า เขื่อนทำนบพระร่วง(สรีดพงษ์) ตำบลเมืองเก่า อำเภอศรีสัชนาลัย ศาลหลักเมืองศรีสัชนาลัย ตำบลศรีสัชนาลัย ศาลหลักเมืองเชลียง ตำบลศรีสัชนาลัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตำบลศรีสัชนาลัย ย่านพานิชย์หัตกรรมเงินทองโบราณ 800 ปี ตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลท่าชัย สนามแข่งขันBMXเฉลิมพระเกียรติ(หนองช้าง) ตำบลศรีสัชนาลัย วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร(วัดพระปรางค์)ตำบลศรีสัชนาลัย แหล่งขุดข้นโบราณคดีโครงกระดูก(วัดชมชื่น)ตำบลศรีสัชนาลัย แก่งหลวง ตำบลศรีสัชนาลัย พระราชานุสาวรีย์พระมหาธรรมราชาที่ ๑(พระยาลิไท)ตำบลศรีสัชนาลัย วัดเชิงคีรี(หลวงพ่อโต 700 ปี) ตำบลศรีสัชนาลัย พิพิธภัณฑ์ชุมชนศรีสัชนาลัย ตำบลศรีสัชนาลัย บ้านศิลปะศิลาแลงอาร์ตแกลอรี่(วัดโคกสิงคาราม) ตำบลศรีสัชนาลัย อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย ตำบลบ้านแก่ง อ่างเก็บน้ำแม่ท่าแพ ตำบลบ้านแก่ง ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลก(เตาทุเรียง)ตำบลหนองอ้อ ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านโบราณหาดเสี้ยว(สุนทรีผ้าไทย)ตำบลหนองอ้อ ชุมชนผ้าทอไทครั้ง ตำบลหนองอ้อ สาธรพิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ ตำบลหาดเสี้ยว ชุมชนไทพวน บ้านหาดเสี้ยว ตพบลหาดเสี้ยว ท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านนาต้นจั่น ตำบลบ้านตึก ปางช้างศรีสัชนาลัย(หมู่บ้านช้างบ้านภูนก) ตำบลบ้านตึก ศูนย์การท่องเที่ยวชุมชนบ้านคุกพัฒนา โดย อพท. ตำบลสารจิตร อำเภอทุ่งเสลี่ยม หลวงพ่อศิลา วัดทุ่งเสลี่ยม วัดพิพัฒน์มงคล(พระพุทธรูปทองคำ) ถ้ำลม-ถำวัง วัดเชิงผา(ศูนย์ปฏิบัติธรรม) โบราณสถานวัดใหญ่ชัยมงคล โบราณสถานวัดเจดีย์เจ็ดแถว หอรบโบราณ โบราณสถานแนวถนนพระร่วง อำเภอสวรรคโลก ศาลหลักเมืองสวรรคโลก ตำบลเมืองสวรรคโลก กุฏิ<b>พระสวรรค์วรนายก (ทองคำ โสโณ) วัดกลาง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก ตำบลวังไม้ขอน พิพิธภัณโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสวรรคโลก\"อนันตนารี\" ตำบลเมืองสวรรคโลก พิพิธภัณโรงพักเรือนทรงปั้นหยา ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่2 พิพิธภัณที่ว่าการอำเภอสวรรคโลก(หลังเก่า) ศูนย์วัฒนธรรมอำภอสวรรคโลก (ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา) สวนหลวงพระร่วงเฉลิมพระเกียรติ (ทุ่งแม่ระวิง) ตำบลป่ากุมเกาะ วัดสว่างอารมณ์วรวิหาร (วัดจวน) ตำบลเมืองสวรรคโลก วัดสวรรคาราม(วัดกลาง) ตำบลวังพิณพาต เมืองโบราณบางขลัง ตำบลเมืองบางขลัง โครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัย ตำบลคลองกระจง ท่าอากาศยานสุโขทัย(สนามบินสุโขทัย)ตำบลคลองกระจง พระราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์(วัดคุ้งวารี)ตำบลย่านยาว ชุมชนบ้านโบราณตลาดเมืองสวรรคโลก พระราชานุสาวรีย์พ่อขุนบางกลางหาว พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ตำบลเมืองบางขลัง อำเภอบ้านด่านลานหอย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม พิพิธภัณฑ์โบราณคดีชุมชนบ้านวังหาด อำเภอศรีสำโรง เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม อำเภอคีรีมาศ อุทยานแห่งชาติรามคำแหง ศาลพระแม่ย่า อำเภอคีรีมาศ แหล่งเคื่องปั่นดินเผาบ้านทุ่งหลวง อำเภอกงไกรลาศ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านกง อำเภอศรีนคร มูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์(โครงการที่ดินทำกิน)",
"title": "จังหวัดสุโขทัย"
},
{
"docid": "386383#0",
"text": "ตำบลเมืองเก่า เป็นตำบลหนึ่งในเขตอำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย อันเป็นสถานที่ตั้งของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อันเป็นโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ชาติไทย ทั้งในส่วนของศาสนา ความเชื่อ การเมืองการปกครองด้วยเช่นกัน",
"title": "ตำบลเมืองเก่า (อำเภอเมืองสุโขทัย)"
},
{
"docid": "108913#0",
"text": "อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 - 19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนจรดวิถีถ่อง)",
"title": "อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย"
},
{
"docid": "137790#3",
"text": "นอกจากเทศบาลเมืองอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดจะมีชื่อเรียกตามชื่อจังหวัดแล้ว (ยกเว้นตัวจังหวัดที่เป็นเทศบาลนครแล้วจำนวน 22 จังหวัด และตัวจังหวัดสุโขทัยซึ่งมีชื่อว่า เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) เทศบาลเมืองที่ตั้งอยู่ในตัวอำเภอโดยทั่วไปมักมีชื่อตามชื่ออำเภอหรือตำบลที่เทศบาลตั้งอยู่ เช่น เขตเทศบาลเมืองสวรรคโลก ครอบคลุมเขตตำบลเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย แต่ก็มีบางแห่งที่ไม่ใช้ชื่ออำเภอหรือตำบลเป็นชื่อ เช่น เขตเทศบาลเมืองลัดหลวง ครอบคลุมเขตตำบลบางพึ่ง ตำบลบางจาก และตำบลบางครุ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ",
"title": "เทศบาลเมือง"
},
{
"docid": "74881#2",
"text": "ภายหลังในปี พ.ศ. 2482 ได้มีการจัดตั้งจังหวัดสุโขทัยขึ้น จึงได้ยกอำเภอสุโขทัยธานีเป็นศูนย์กลางของจังหวัด และได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมืองสุโขทัย ",
"title": "อำเภอเมืองสุโขทัย"
},
{
"docid": "130982#1",
"text": "อำเภอหนองกี่ เดิมเป็นพื้นที่อยู่ในเขตการปกครอง อำเภอนางรอง กระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งเป็นกิ่งอำเภอหนองกี่ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2517 ขณะนั้นแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองกี่ ตำบลเย้ยปราสาท ตำบลหนองไผ่ ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2522",
"title": "อำเภอหนองกี่"
},
{
"docid": "114522#2",
"text": "ถนนในช่วงตาก–สุโขทัย มีชื่อเรียกว่า ถนนจรดวิถีถ่อง มีระยะทางรวมในช่วงนี้ 78.802 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นที่กิโลเมตรที่ 92.804 บริเวณสี่แยกทางหลวง ซึ่งเชื่อมต่อมาจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1400 (ถนนมหาดไทยบำรุง) ที่ตัดกับถนนพหลโยธิน เป็นทางคู่ขนาด 4 ช่องจราจร เส้นทางตรงไปทางทิศตะวันออกผ่านอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย แล้วเข้าเขตอำเภอเมืองสุโขทัย เมื่อมาถึงแยกวังวน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลขจะเบี่ยงออกไปทางขวา ซึ่งถ้าหากตรงไปจะเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 125 หรือถนนเลี่ยงเมืองสุโขทัย เมื่อเลี้ยวขวาจะเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งเป็นทางเดี่ยว 2 ช่องจราจร เมื่อออกจากอุทยานจะผ่านแยกบ้านนา ซึ่งมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1272 มาบรรจบทางซ้ายมือ ส่วนทางขวามือจะเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 จากนั้นตรงเข้าไปยังเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี ผ่านสะพานพระร่วง ข้ามแม่น้ำยม แล้วสิ้นสุดที่แยกสุโขทัยธานี ตัดกับถนนประพันธ์บำรุงทางซ้ายมือ และถนนสิงหวัฒน์ ซึ่งแยกออกไปทางขวาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ถ้าตรงไปจะเป็นถนนจรดวิถีถ่องอีกช่วงหนึ่ง ซึ่งใช้เรียกกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ช่วงสุโขทัย–ศรีสำโรง–สวรรคโลก",
"title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12"
},
{
"docid": "342570#1",
"text": "พระราชประสิทธิคุณ นามเดิม ขาว สกุล มุ่งผล เกิดเมื่อวันเสาร์ สิงหาคม พ.ศ. 2424 ที่ตำบลไผ่ดำ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง และมารดาได้เสียชีวิตแต่เยาวัยว์ เมื่อถึงวัยสมควรบิดาได้นำไปฝากเพื่อศึกษารับใช้พระในวัดมหาดไทย อำเภออ่างทองในขณะนั้น ซึ่งเป็นแบบแผนการศึกษาเดิมในครั้งอดีตที่เด็กจะไปศึกษาจากวัดผ่านการเป็นเด็กวัด บวชเป็นสามเณร และเป็นพระ จนกระทั่งได้มีโอกาสติดตามพระมาอยู่อาศัยในกรุงเทพฯ บวชเป็นสามเณร เข้าเรียนหนังสือที่วัดนวลนรดิศจบชั้น 3 จากนั้นจึงได้ลาสิกขามาช่วยบิดาและครอบครัวประกอบอาชีพ จนกระทั่งถึงวัยครบ 20 ปี จึงเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และกลับไปจำพรรษาที่วัดอนงคาราม กรุงเทพ รับหน้าที่พิเศษคือช่วยสอนหนังสือขอม แก่นักเรียนและนักธรรม ต่อมาได้รับยศสมณศักดิ์เป็นฐานาที่สมุห์ ทำหน้าที่คอยรับเสด็จสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ วโรรสสมเด็จฯ โปรดมาก จึงได้ส่งพระทิม ให้มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอเมืองสุโขทัยระยะนั้น เพื่อดูแลงานการพระศาสนาต่างพระเนตรพระกัณห์ พระทิมเมื่อมาอยู่จังหวัดสุโขทัย ได้ร่วมกับประชาชนก่อตั้งโรงเรียนนักธรรมเพื่อให้การศึกษาแก่กุลบุตรชาวสุโขทัยในครั้งนั้น เมื่อมาอยู่จังหวัดสุโขทัยได้เจริญก้าวหน้าทั้งการงาน และสมณศักดิ์ โดยพระสมุห์ทิมเป็นพระครูประทวนได้ 8 เดือน ก็ได้รับตราตั้งเป็นอุปัชฌาย์และได้รับสัญญาบัตร เป็นพระครูวินัยสาร เจ้าคณะแขวงอำเภอเมือง และอำเภอกงไกรลาศ รวม 2 แห่ง เมื่อ พ.ศ. 2472 เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย พ.ศ. 2490 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ 2508 เป็นเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย จนถึงมรณภาพ รวมสิริชนมายุ 89 ปี\nเป็นผู้รวบรวมศาสนวัตถุและจัดมอบให้พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย อาทิ",
"title": "พระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน)"
},
{
"docid": "75070#2",
"text": "อำเภอชาติตระการเชื่อกันว่าสร้างขึ้นรุ่นเดียวกับกรุงสุโขทัยและเมืองนครไทยสมัยก่อน พ่อเมืองชายไทยสองคน คือ พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง (เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วงผู้ปกครองเมืองสุโขทัย ปี พ.ศ. 1718) กับพ่อขุนผาเมืองได้รวมกำลังเข้ายึดเมืองสุโขทัยจากขอมสบาดโขลญลำพง ในการเดินทางครั้งนั้นจะต้องผ่านเข้ามาทางเมืองชาติตระการ บ้านดง ทุ่งยั้ง ศรีสัชนาลัย และสุโขทัย ",
"title": "อำเภอชาติตระการ"
},
{
"docid": "74881#0",
"text": "อำเภอเมืองสุโขทัย เป็นศูนย์กลางการบริหารราชการ ศูนย์กลางธุรกิจ และวัฒนธรรมของจังหวัดสุโขทัย",
"title": "อำเภอเมืองสุโขทัย"
},
{
"docid": "97959#1",
"text": "ภาษาลาวเวียงจันทน์ ใช้ในประเทศลาว ท้องที่นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงบอลิคำไซ และในประเทศไทยท้องที่จังหวัดชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย โพธิ์ตาก สังคม(บางหมู่บ้าน) ) ขอนแก่น (อำเภอภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อำเภอเมืองยโสธร ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อำเภอบ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน) ศรีสะเกษ (ในบางหมู่บ้านของอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุขันธ์ และอำเภอขุนหาญ) ภาษาลาวเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงหลวงพระบาง ไชยบุรี อุดมไซ ในประเทศไทยท้องที่จังหวัดเลย อุตรดิตถ์ (อำเภอบ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อำเภอภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของอำเภอสีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อำเภอคอนสาร) พิษณุโลก (อำเภอชาติตระการและนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อำเภอสังคม) อุดรธานี (อำเภอน้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน) ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงเชียงขวาง หัวพัน ในประเทศไทยท้องที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และบางหมู่บ้านในจังหวัดสกลนคร หนองคาย(บางหมู่บ้านในอำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอโพธิ์ตาก) และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น หนองคาย ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสุวรรณเขต ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จังหวัดนครพนม สกลนคร บึงกาฬ (อำเภอเซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสุวรรณเขต จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จังหวัดมุกดาหาร ภาษาลาวใต้ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงจำปาศักดิ์ สาละวัน เซกอง อัตตะปือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร ภาษาลาวตะวันตก (ภาษาลาวร้อยเอ็ด) ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่ร้อยเอ็ด อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม หนองคาย(บางหมู่บ้าน) และบริเวณใกล้เคียงมณฑลร้อยเอ็ดของสยาม",
"title": "ภาษาไทยถิ่นอีสาน"
},
{
"docid": "5487#16",
"text": "งานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ อำเภอเมืองสุโขทัย งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อำเภอเมืองสุโขทัย งานสักการะพระแม่ย่าและงานกาชาด อำเภอเมืองสุโขทัย งานออกพรรษาแห่ตาชูชก อำเภอเมืองสุโขทัย งานมหาสงกรานต์กรุงเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย งานสงกรานต์เสื้อลายดอก ถนนข้าวตอกสุโขทัย อำเภอเมืองสุโขทัย งานแข่งขันเรือพายเทโวโรหณะ อำเภอเมืองสุโขทัย ประเพณีบวชนาคแห่ช้างหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย งานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮง อำเภอศรีสัชนาลัย งานประเพณีสรงน้ำโอยทานสงกรานต์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย งานนสมโภชพระธาตุเฉลียงและพระธาตุมุเตา(วัดพระปรางค์) อำเภอศรีสัชนาลัย งานย้อนอดีตศรีสัชนาลัยนุ่งผ้าไทยใส่เงินทองโบราณ อำเภอศรีสัชนาลัย งานของดีศรีสัชนาลัยและเทศกาลอาหาร อำเภอศรีสัชนาลัย งานประเพณีแห่กฐินทางน้ำ(เฮือซ่วง) อำเภอศรีสัชนาลัย งานประเพณีบุญบั้งไฟบ้านหาดสูง อำเภอศรีสัชนาลัย งานประเพณีออกพรรษาศรีสัชฯ-ท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย งานหมากม่วงหมากปรางและงานของดีศรีสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก งานประเพณีสงกรานต์และเทศกาลอาหารเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก งานวันพิชิตยอดเขาหลวง อำเภอคีรีมาศ ประเพณีการทำขวัญผึ้ง อำเภอคีรีมาศ",
"title": "จังหวัดสุโขทัย"
},
{
"docid": "35773#1",
"text": "แม่สอดเป็นอำเภอที่มีการค้าระหว่างประเทศไทยกับพม่า เนื่องจากเป็นอำเภอที่อยู่ติดชายแดน และเป็นที่ตั้งจุดผ่านแดนถาวรด่านพรมแดนแม่สอด เชื่อมโยงเมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ประวัติความเป็นมาของอำเภอแม่สอดนั้นยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจะเป็นเมืองฉอดของขุนสามชนที่เคยยกทัพไปตีกรุงสุโขทัยหรือไม่ ยังไม่มีผู้ใดพิสูจน์ได้ เมื่อดูตามสภาพบ้านเมืองของอำเภอแม่สอดนั้น ไม่พบว่ามีสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่มีอายุอยู่ในยุคของสุโขทัยได้เลย ฉะนั้นจึงน่าเชื่อได้ว่าไม่ใช่เมืองเดียวกัน และขณะนี้ได้มีนักโบราณคดีพบซากเมืองโบราณอยู่ในป่าทึบในท้องที่อำเภอแม่ระมาด ซึ่งอาจจะเป็นเมืองฉอดตามศิลาจารึกกรุงสุโขทัยได้",
"title": "อำเภอแม่สอด"
},
{
"docid": "114522#3",
"text": "ถนนในช่วงสุโขทัย–พิษณุโลก มีชื่อเรียกว่า ถนนสิงหวัฒน์ เริ่มต้นในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย มุ่งไปยังทิศตะวันออก บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 125 หรือถนนเลี่ยงเมืองสุโขทัย จากนั้นผ่านอำเภอกงไกรลาศ เข้าสู่จังหวัดพิษณุโลก ผ่านอำเภอพรหมพิราม จากนั้นเข้าสู่อำเภอเมืองพิษณุโลก ตัดกับถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศเหนือ หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126 ที่แยกเลี่ยงเมือง (บ้านกร่าง) จากนั้นผ่านศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก ศาลหลักเมืองพิษณุโลก ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก สิ้นสุดที่เชิงสะพานนเรศวรริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ภายในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก",
"title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12"
},
{
"docid": "130982#4",
"text": "อำเภอหนองกี่แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 108 หมู่บ้าน\nท้องที่อำเภอหนองกี่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่การเดินทาง\nทางแยกต่างระดับ อำเภอสีคิ้ว เลี้ยวมาทางอำเภอโชคชัย ผ่านอำเภอหนองบุญมาก ถึงสี่แยกอำเภอหนองกี่ จากนั้นเลี้ยวซ้ายประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงหาด",
"title": "อำเภอหนองกี่"
},
{
"docid": "109226#0",
"text": "อำเภอพรหมพิราม เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก\nคำว่า พรหมพิราม หมายถึง เมืองที่งดงามเป็นที่อยู่แห่งพรหมหรือพระเจ้าผู้สร้างโลก เดิมเรียกว่า เมืองพรหมพิราม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน ตำบลมะตูม ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอชื่อว่า อำเภอพรหมพิราม เมื่อ พ.ศ. 2438 และได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ฝั่งขวาของลำน้ำน่านที่ บ้านย่านขาด เมื่อประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา ต่อมาเมืองทางรัฐบาลได้สร้างทางรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพ-เชียงใหม่) ขึ้นจึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งใกล้ทางรถไฟอีกครั้งหนึ่งที่บ้านกรับพวง (ปัจจุบัน คือบ้านพรหมพิราม) ตำบลพรหมพิราม ห่างจากสถานีรถไฟพรหมพิราม ประมาณ 500 เมตร สำหรับอาคารนั้นแต่เดิมเป็นไม้ชั้นเดียว ในปี พ.ศ. 2503 จึงได้ปรับปรุงขึ้นเป็น 2 ชั้น โดยเทพื้นคอนกรีตใต้ถุนอาคารเดิมและตีฝาโดยรอบ ซึ่งใช้เป็นที่ทำการของส่วนราชการต่างๆ ปัจจุบันได้สร้างที่ว่าการอำเภอใหม่ ณ สถานที่เดิมเป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น และเปิดทำการเมื่อ ปี พ.ศ. 2519 ในปี พ.ศ. 2515 กรมศิลปากรได้สำรวจแนวกำแพงดิน คูเมือง ฐานเจดีย์ ก่ออิฐและวัตถุโบราณ เช่น เครื่องสังคโลกสมัยกรุงสุโขทัย ในบริเวณแนวถนนพระร่วงจากกรุงสุโขทัย ผ่านบ้านท่างาม บ้านท่าทอง ต.ศรีภิรมย์ บ้านท้องพระโรง ตำบลดงประคำ ไปทางทิศตะวันออกไป อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอนครไทย ซึ่งขณะนี้เห็นเป็นแนวอยู่บ้าง สันนิษฐานว่าคงเป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างกรุงสุโขทัยกับเมือง บางยาง สมัยพ่อขุนบางกลางท้าว (พ่อขุนศรีอินทราทิตย์) กับพ่อขุนเมือง ที่ร่วมมือกนยกกองทัพเข้าตีกรุงสุโขทัยอันเป็นเมืองหน้าด่านของขอมในสมัยนั้น โดยใช้เส้นทางนี้เดินทัพก็เป็นได้ และมีร่องรอยว่าครั้งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทำสงครามกับพระเจ้าติโลกราชแห่งแคว้นล้านนา คงจะเดินทัพผ่านอำเภอพรหมพิรามไปยังเมืองพิชัยด้วย",
"title": "อำเภอพรหมพิราม"
},
{
"docid": "341476#9",
"text": "บ้านสวนมีสถานะเป็นชุมชนและหน่วยการปกครองมาแต่ต้น ดังปรากฏหลักฐานเมื่อ พ.ศ. 2455 (รศ.130) เป็น ประกาศ บอกล่วงน่าจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน ใน(1) ทุ่งบ้านสวนเหนือ ตำบลบ้านสวนเหนือ อำเภอในเมือง (2) ในทุ่งบ้านสวนใต้ ตำบลบ้านสวนใต้ อำเภอในเมือง (3) ในทุ่งบ้านทุ่งหลวง ตำบลบ้านทุ่งหลวง อำเภอในเมือง (4) ในทุ่งบ้านท่าดินแดง ตำบลท่าดินแดง อำเภอในเมือง แขวงเมืองศุโขทัย เล่มที่ ๒๘ ตอน ๐ง ประกาศเมื่อ วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2454 หน้า 2182 ปรากฏหน่วยการปกครองในเขตบ้านสวนว่า ประกาศกำหนดวันจะแจกสำหรับโฉนดที่ดิน ๑.ในทุ่งบ้านสวนเหนือ ตำบลบ้านสวนเหนือ อำเภอในเมือง ๒.ในทุ่งบ้านสวนใต้ ตำบลบ้านสวนใต้ อำเภอในเมือง ๓.ในทุ่งบ้านทุ่งหลวง ตำบลบ้านทุ่งหลวง อำเภอในเมือง ๔.ในทุ่งบ้านท่าดินแดง ตำบลท่าดินแดง อำเภอในเมือง แขวงเมือง ศุโขไทย ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2454) บ้านสวนจึงเป็นหน่วยการปกครองในระดับตำบลขึ้นกับแขวงศุโขไทย จังหวัดศุโขไทย ที่เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพิษณุโลก โดยแยกการปกครองเป็น \"ตำบลบ้านสวนเหนือ\" และ \"ตำบลบ้านสวนใต้\" และเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมือง จังหวัดศุโขไทย (สะกดตามราชกิจจานุเบกษาปี พ.ศ. 2460) เดิมชื่อว่า อำเภอเมือง ซึ่งในปี พ.ศ. 2460 ในสมัยรัชกาลที่ 6 อำเภอนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอธานี จนเมื่อสมัยรัชกาลที่ 7 วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 ได้ยุบอำเภอธานีและเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอสุโขทัยธานี ขึ้นต่อจังหวัดสวรรคโลก ภายหลังในปี พ.ศ. 2482 ภายใต้การปกครองของคณะราษฎร์ อันมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นปีที่รัฐบาล ประกาศใช้รัฐนิยมฉบับที่ 1 อันมีสาระเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม เป็น ไทย พร้อมประกาศจัดตั้งจังหวัดสุโขทัยอีกครั้ง ยกอำเภอสุโขทัยธานีเป็นศูนย์กลางของจังหวัด และได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมืองสุโขทัย ",
"title": "ตำบลบ้านสวน (อำเภอเมืองสุโขทัย)"
},
{
"docid": "5487#4",
"text": "พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสุโขทัยจะเป็นที่ราบลุ่ม ทางตอนเหนือและตอนใต้ของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบสูง มีเขาหลวงเป็นภูเขาที่มีความสูงที่สุด วัดจากระดับน้ำทะเลมีความสูงประมาณ 1,200 เมตร โดยมีแนวภูเขายาวเป็นพืดทางด้านทิศตะวันตก ส่วนพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดจะเป็นที่ราบ มีแม่น้ำยมไหลผ่านจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ผ่านอำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง อำเภอเมืองสุโขทัย และอำเภอกงไกรลาศ ช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดสุโขทัยยาวประมาณ 170 กิโลเมตร",
"title": "จังหวัดสุโขทัย"
},
{
"docid": "311778#0",
"text": "โรงเรียนศรีสำโรงชนูปถัมภ์ (Srisamrongchanupatham School) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 เป็นโรงเรียนประจำอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2501 ณ ทุ่งคลองกระบาย (โรงเรียนอนุบาลศรีสำโรงในปัจจุบัน) ตำบลสามเรือน อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ก่อนที่จะย้ายมาตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ 97 หมู่ที่ 6 ตำบลคลองตาล อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ในปัจจุบัน",
"title": "โรงเรียนศรีสำโรงชนูปถัมภ์"
},
{
"docid": "74881#1",
"text": "เดิมอำเภอดังกล่าวเป็นเมืองเอกของจังหวัดศุโขไทย (สะกดตามราชกิจจานุเบกษาปี พ.ศ. 2460) เดิมชื่อว่า อำเภอเมือง ซึ่งในปี พ.ศ. 2460 อำเภอนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอธานี จนเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 ได้ยุบอำเภอธานีและเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอสุโขทัยธานี ขึ้นต่อจังหวัดสวรรคโลก ",
"title": "อำเภอเมืองสุโขทัย"
},
{
"docid": "74881#3",
"text": "อำเภอเมืองสุโขทัยตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้\nMap_Sukhothai.jpg\nอำเภอเมืองสุโขทัยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 97 หมู่บ้าน ได้แก่\nท้องที่อำเภอเมืองสุโขทัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่",
"title": "อำเภอเมืองสุโขทัย"
},
{
"docid": "341476#0",
"text": "ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีประวัติความเป็นมานับแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สืบความจากหลักฐานการตั้งถิ่นฐานโดยมีวัดเป็นศูนย์ในอดีต พร้อมกับหลักฐานวัดร้างที่ขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรที่มีประวัติเนื่องต่อกับชุมชนในอดีตล่วงมาจนถึงปัจจุบัน ตำบลบ้านสวนเป็นศูนย์การการเพราะปลูกข้าว \"คุณภาพ\" ที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย อันเนื่องเป็นที่ลุ่มที่เหมาะแก่การทำเกษตร ",
"title": "ตำบลบ้านสวน (อำเภอเมืองสุโขทัย)"
},
{
"docid": "129615#32",
"text": "โดยปัจจุบันคนบ้านคุ้งตะเภาดั้งเดิม ยังคงใช้สำเนียงพูดแบบสุโขทัยอยู่ ซึ่งเป็นชุมชนหนึ่งในไม่กี่แห่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ยังใช้สำเนียงแบบสุโขทัยโบราณ ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลและเทียบเคียงสำเนียงการพูดของ ภาษาถิ่นบ้านคุ้งตะเภา และ ภาษาถิ่นบ้านพระฝาง พบว่ามีการใช้คำศัพท์ใกล้เคียงกันมากที่สุดกว่าสำเนียงสุโขทัยแบบอื่น จึงเป็นข้อสันนิษฐานหนึ่งว่า ชาวบ้านคุ้งตะเภา อาจสืบเชื้อสายมาจากครัวเรือน ที่พระมหากษัตริย์ในสมัยอาณาจักรสุโขทัยพระราชทานพระบรมราชูทิศไว้ในพระพุทธศาสนา ตามธรรมเนียมโบราณ เมื่อ ๗๐๐ ปี ก่อน เพื่อให้เป็นผู้ดูแลรักษาพระทันตธาตุ แห่งพระมหาธาตุพระฝาง เมืองสวางคบุรี ก็เป็นได้",
"title": "หมู่บ้านคุ้งตะเภา"
},
{
"docid": "128649#2",
"text": "มาร์วิน บราวน์ (Marvin Brown) ศึกษาภาษาถิ่นของไทยและให้ความเห็นว่าภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบมีวิวัฒนาการมาจากภาษาสุโขทัยโดยตรง ในตากใบเองก็มีตำนานที่เกี่ยวข้องกับเมืองเหนือ เช่น กรุงสุโขทัย จนทำให้ภาษามีเอกลักษณ์เฉพาะ ตำนานแรกเล่าว่าตากใบเคยอยู่ภายใต้การปกครองของสุโขทัย จึงมีขุนนางสุโขทัยเดินทางมาปกครองต่างพระเนตรพระกรรณ จึงสันนิษฐานว่ามีกำแพง และวัง หรือวัดปรักหักพังที่บ้านโคกอิฐ และเมื่อขุนนางสุโขทัยเดินทางมาที่ตากใบแล้วย่อมมีบริวารตามมาหลายคน ด้วยเหตุนี้เอง วัฒนธรรมภาษาพูดเมืองเหนือจึงผสมผสานกับภาษาชาวตากใบ และวัฒนธรรมอื่นๆ เช่น สถาปัตยกรรมในวัด ไม่ว่าจะเป็นวิหาร ศาลาการเปรียญ มีรูปแบบและศิลปะค่อนไปทางเหนือ ส่วนตำนานที่สองกล่าวถึงชาวสุโขทัยติดตามช้างเชือกสำคัญมาทางเมืองใต้ ในที่สุดมาตั้งหลักแหล่งที่ตากใบ เป็นที่น่าสังเกตว่ามีชื่อหมู่บ้าน และตำบลเกี่ยวข้องกับช้าง เช่น บ้านไพรวัลย์ มาจากคำว่า บ้านพลายวัลย์ (ปัจจุบันเป็นตำบลไพรวัน) สถานที่ช้างลงอาบน้ำ เดิมเรียก บ้านปรักช้าง ต่อมาเปลี่ยนเป็น ฉัททันต์สนาน ซึ่งเป็นชื่อวัดในหมู่บ้านนี้ เล่ากันว่ามีช้างสำคัญมาล้มที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ภายหลังเรียกว่า บ้านช้างตาย ปัจจุบันตั้งอยู่ในอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันเรียกเป็นภาษามลายูว่า บ้านกาเยาะมาตี อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า เมื่อครั้งทัพไทยสมัยโบราณยกไปตีหัวเมืองมลายู มีคนไทยลงมาตั้งหมู่บ้านคอยต้อนรับกันเป็นทอดๆ จะเห็นว่าปัจจุบันมีบางหมู่บ้านที่มีชาวบ้านพูดจาคล้ายๆเสียงของชาวตากใบ เช่นที่อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี ในจังหวัดปัตตานี และชาวบ้านในอำเภอสุไหงปาดี และอำเภอแว้ง ในจังหวัดนราธิวาส ",
"title": "สำเนียงตากใบ"
},
{
"docid": "296771#0",
"text": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุโขทัย เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยลีก โดยสโมสรลงแข่งขันในลีกสูงสุดของประเทศไทยเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2559 หลังจากคว้าอันดับ 3 ได้ในไทยลีกดิวิชัน 1 2558 และได้เลื่อนชั้นขึ้นสู่ไทยลีก สโมสรยังเคยได้ตำแหน่งชนะเลิศร่วม ช้าง เอฟเอคัพ 2559 และได้สิทธิ์แข่งขัน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ด้วย ในปี 2560\nสโมสรฟุตบอลจังหวัดสุโขทัย ได้เริ่มก่อตั้งและส่งทีมแข่งขันในฟุตบอลลีกระดับประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยมี จักรินทร์ เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย (ในขณะนั้น) เป็นประธานสโมสร โดยลงทำการแข่งขัน ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 2552 โดยมีฉายาของทีมว่า \"ค้างคาวไฟ\" เนื่องจากใน จังหวัดสุโขทัย มีแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถพบ ค้างคาว ได้จำนวนมาก ณ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ อำเภอทุ่งเสลี่ยม และ อำเภอศรีสำโรง โดยในระยะแรกสโมสรใช้นักฟุตบอลท้องถิ่นในจังหวัด ผสมกับ นักฟุตบอลจาก สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุโขทัย ซึ่งผลงานในปีแรก จบอันดับที่ 7 จาก 12 สโมสร โซนภาคเหนือ โดยผลงานในช่วงนั้น สโมสรจบในอันดันค่อนท้ายตารางเป็นส่วนใหญ่",
"title": "สโมสรฟุตบอลสุโขทัย"
}
] |
1231 | ชาไข่มุกสูตรดั้งเดิม ทำมาจากอะไร? | [
{
"docid": "629501#2",
"text": "ชาไข่มุกสูตรดั้งเดิม ทำมาจาก ชาดำไต้หวันร้อน ใส่ไข่มุกที่มาจากแป้งมันสำปะหลัง (粉圓) เม็ดเล็ก ๆ นมข้นหวาน และน้ำเชื่อม (糖漿) หรือน้ำผึ้ง ต่อจากนั้นก็มีสูตรใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ต่างก็ชื่นชอบดื่มแบบเย็นกันมากกว่าดื่มแบบร้อน มีการทดลองเปลี่ยนประเภทของชาที่ใช้อยู่ตลอดเวลา แต่เดิมเริ่มจาก ชาเขียวไข่มุก ซึ่งใช้ ชาเขียว (茉香綠茶) กลิ่นมะลิมาแทนชาดำที่เคยใช้ เพิ่มขนาดเม็ดไข่มุกให้ใหญ่ขึ้น (波霸/黑珍珠) มีการเพิ่มรสชาติของลูกพีช และผลพลัม ต่อมามีการเพิ่มรสชาติของผลไม้หลากหลายชนิด ในบางสูตร ถึงกับตัดชาออกไป ไม่เหลือส่วนผสมของชาไว้เลย เพื่อคงรสชาติผลไม้ไว้ให้ได้มากที่สุด มีการค้นพบว่า น้ำผลไม้เหล่านี้ ทำให้ไข่มุกเปลี่ยนสี (รวมถึง \"เยลลี่ชิ้นเล็ก ๆ \" ในเครื่องดื่มพวกทาโฮ คล้าย ๆ เต้าฮวย) เพราะฉะนั้น จึงมีการเลือกสีของไข่มุกให้เข้ากับเครื่องดื่มผลไม้แต่ละชนิด และเพื่อให้ได้รสชาติของชาดำร้อนหรือชาเขียวที่ดีขึ้น อาจมีการเติมผงสกัด น้ำผลไม้ เนื้อผลไม้ น้ำเชื่อม ลงไป เมื่อใส่รวมกันในกระบอกเชคเกอร์ หรือปั่นรวมกับน้ำแข็งในเครื่องปั่นรวม เพิ่มไข่มุกและส่วนผสมอื่น ๆ (อย่างเช่น วนิลลา น้ำผึ้ง น้ำเชื่อม หรือ น้ำตาล) ในตอนสุดท้าย",
"title": "ชานมไข่มุก"
}
] | [
{
"docid": "629501#14",
"text": "ร้านชาชุน ฉุ่ยถังในเมืองไถจง น่าจะเป็นร้านแรกที่คิดค้นเมนูชาไข่มุกขึ้นมา เมื่อปี 1988 ขณะที่กำลังประชุมอยู่นั้น คุณหลินชิ่วฮุย (ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์) ได้เทขนมหวานชิ้นเล็ก ๆ ลงไปในชา ทุกคนในห้องประชุมเห็นว่าน่าสนใจ จึงทำออกมาขาย ปรากฏว่า ยอดขายดีมาก ทำลายสถิติเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ บ้างก็ว่า ชาไข่มุกน่าจะมีที่มาจากร้านชาหานหลิน ที่เมืองไถหนาน ประเทศไต้หวัน ของนายถัวซ่งเหอ เขาใส่เม็ดสาคูสีขาวลงไปในชา ทำให้มันเหมือนไข่มุก เป็นที่มาของคำว่า \"ชาไข่มุก\" หลังจากนั้นไม่นาน หานหลินเปลี่ยนสีสาคูจากสีขาวเป็นสีดำแบบที่นิยมกันในปัจจุบัน ช่วงปี 1990 เครื่องดื่มชนิดนี้เป็นที่นิยมมากในเอเชียตะวันออก และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้",
"title": "ชานมไข่มุก"
},
{
"docid": "505586#8",
"text": "ควรตั้งต้นที่ จิตเดิมแท้ แล้วไต่ไปตามมรรคปฏิปทา ข้อต้นคือ ศีล ปราศจากความทุจริต ความตระหนี่ ความโกรธ ข้อสองคือสมาธิ ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ ข้อสามคือปัญญา เพื่อเป็นอิสระจากความคิดห่อรัด แม้กระทั่งว่าการห่อรัดนั้นจะเป็นการห่อรัดกับความดีก็ไม่ได้ ทุกอย่างต้องลงไปที่ จิตเดิมแท้ จึงถูกต้องเนื่องจากในเมืองจีนสมัยนั้นมีสองสำนัก คือสำนักฉับพลันฝ่ายใต้ สำนักเชื่องช้าฝ่ายเหนือ รายละเอียดเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสอนธรรมะ",
"title": "สูตรของเว่ยหล่าง"
},
{
"docid": "629501#15",
"text": "ช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2012 ร้านแมคคาเฟ่ของแมคโดนัลด์ สาขาในประเทศเยอรมันและออสเตรียเริ่มจำหน่ายชาไข่มุก มีให้เลือกหลากหลายทั้งชาดำ ชาเขียว และชาขาว, เลือกได้ทั้งแบบผสมและไม่ผสมนม รวมถึงน้ำเชื่อมผลไม้รสต่าง ๆ สามารถสรรสร้างเมนูใหม่ ๆ ได้มากกว่า 250 แบบเมื่อก่อน เคยมีการรายงานว่า เม็ดสาคู, นมผง และน้ำเชื่อมรสผลไม้ มีส่วนผสมของสารปรุงแต่งต้องห้าม ในเดือนพฤษภาคม ปี 2011 ฟู้ดสแกนดอล ในไต้หวันตีแผ่เรื่องราวของ DEHP (สารเสริมสภาพพลาสติก) (สารเคมีพลาสติไซเซอร์ที่มีสารก่อมะเร็ง) ที่พบในสารกันบูดในเครื่องดื่มและน้ำเชื่อมรสผลไม้ต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกนอกประเทศ และใช้ในร้านชาไข่มุกทั่วโลก DEHP (สารเสริมสภาพพลาสติก) นี้มีผลกับระดับฮอร์โมนในร่างกาย ช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2011 กระทรวงสาธารณสุขของประเทศมาเลเซีย นายเลียว เทียงไหล ประกาศให้บริษัทที่จำหน่าย \"น้ำเชื่อมรสสตอเบอร์รี่\" (หนึ่งในส่วนผสมที่ใช้ในชาไข่มุกบางเมนู) หยุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เนื่องจากทดสอบแล้วพบว่า มีสารก่อมะเร็งดังกล่าวปะปนอยู่",
"title": "ชานมไข่มุก"
},
{
"docid": "629501#16",
"text": "ในช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2012 นักวิทยาศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยอาเคิน (RWTH) ในประเทศเยอรมันได้ทำการวิเคราะห์ส่วนผสมของชาไข่มุกเพื่อหาสารอาจที่ก่อให้เกิดการแพ้ ผลการตรวจสอบ พบว่า มีส่วนผสมของ สไตรีน, อะซีโตฟีโนน และ สารที่ผ่านกรรมวิธีการเติมโบรมีน หนังสือพิมพ์ในประเทศเยอรมัน \"Rheinische Post\" ตีพิมพ์บทวิเคราะห์ดังกล่าว ส่งผลให้ตัวแทนในประเทศเยอรมันของทางไต้หวันต้องออกมาแถลงการณ์ กล่าวว่า จะมีการตรวจสอบอาหารทุกประเภทในไต้หวันอย่างละเอียด ต่อมา ในเดือนกันยายน องค์การอาหารและยาของไต้หวันได้ออกมาแจ้งผลการวิเคราะห์รอบสองซึ่งผ่านการควบคุมโดยองค์กรประเทศเยอรมัน พบว่า ชาไข่มุกของไต้หวันปลอดจากสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ไม่พบส่วนผสมของโลหะหนัก หรือสารอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด",
"title": "ชานมไข่มุก"
},
{
"docid": "143044#1",
"text": "วิญญาณพยัคฆ์ เจ้าของเดิม/ผู้สร้าง จอมมารซือโยว มีลักษณะเป็นดาบด้ามยาว(ดาบใหญ่) ทำมาจากกระดูกสันหลังของเสือที่เป็นเพื่อนของจอมมารซือโหยว มีอานุภาพร้ายกาจ จนมาวันหนึ่งซือโยวได้พบกับสัตว์ประหลาดตนหนึ่งที่กินคนโดยบังเอิญ ซือโยวจึงเลี้ยงดูมันเพื่อนำมาเป็นอาวุธซือโยวจึงต้องจับคนมาเลี้ยงในทุกวัน ทุกมื้อและปริมาณมากขึ้นจนในที่สุดแม้แต่ลูกหลานเขาก็ไม่เว้น แต่กระนั้นเจ้าสัตว์ประหลาดก็ไม่เชื่อมันคิดจะกินซือโยวด้วย แต่พยัคฆ์ของซือโยวเห็นเช่นนั้นก็ปกป้องโดยการงับและกัดกินสัตว์ประหลาดนั้น เขาไป หลังจากนั้นซือโยวก็กระขากเอากระดูกสัตว์ประหลาดจากร่างของเสือ ซึงต่อมาซือโยวเรียกวอาวุธที่แลกมาด้วยชีวิตของเสือที่ภักดีว่า วิญญาณพยัคฆ์ ซึงให้ทั้งพละกำลังและความมั่นใจเพราะยิ่งสู้นานอาวุธก็จะแกร่งและเกรียว กร้าวขึ้นจนเป็นคู่ปรับกับผลึกฟ้า ในบางครั้งหากผู้ใช้มีวรยุทธด้อยกว่าที่วิญญาณพยัคฆ์ วิญญาณพยัคฆ์จะไม่พอใจและย้อนทำร้ายผู้ใช้นั้น",
"title": "ศึกเทพศาสตรา"
},
{
"docid": "629501#7",
"text": "นอกจากนั้น บางสูตรยังใส่รสชาติต่าง ๆ เพิ่มลงไปในชาไข่มุก ที่นิยมกันคือผลไม้ต่าง ๆ เช่น สตอเบอร์รี่ แอ๊ปเปิ้ลเขียว เสาวรส มะม่วง เลม่อน แตงโม องุ่น ลิ้นจี่ ลูกพีช สัปปะรด แคนตาลูป ฮั่นนี่ดิว กล้วย อโวคาโด มะพร้าว กีวี และ ขนุน ส่วนผสมอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ผลไม้ที่นิยม เช่น เผือก พุดดิ้ง ช็อคโกแลต กาแฟ มอคค่า บาร์เล่ย์ งา อัลมอนด์ ขิง ลาเวนเดอร์, กุหลาบ, คาราเมล และ ไวโอเล็ต ,ทุเรียน ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจะนิยมในเครื่องดื่มที่ไม่ใส่นมเท่านั้น เนื่องจากกรดในน้ำผลไม้จะทำให้นมแข็งตัวตกตะกอน",
"title": "ชานมไข่มุก"
},
{
"docid": "6106#10",
"text": "ในปี พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก ซึ่งแต่เดิมจารึกไว้ด้วย อักษรขอม ด้วยการจารลงในใบลาน การคัดลอกทำได้ช้า ทำให้ไม่เป็นที่แพร่หลาย ไม่พอใช้ในการศึกษาเล่าเรียน ไม่สะดวกในการเก็บรักษา และนำมาใช้อ่าน ทั้งตัวอักษรขอมก็มีผู้อ่านได้น้อยลงตามลำดับ การพิมพ์พระไตรปิฎก เป็นเล่มด้วยตัวอักษรไทย จะแก้ปัญหาข้อขัดข้องดังกล่าวได้ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้อาราธนาพระเถระนุเถระมาประชุม ร่วมกับราชบัณฑิตทั้งหลาย ตรวจชำระพระไตรปิฎกภาษาบาลี แล้วจัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือขึ้น (เรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับ ร.ศ. 112) สมเด็จพระสังฆราช (สา) ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ร่วมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ขณะทรงดำรงพระยศกรมหมื่น เป็นรองอธิบดี จัดการทั้งปวงในการสังคายนาครั้งนี้ พระไตรปิฎกที่จัดพิมพ์ครั้งนี้มีจำนวน 1000 จบ ๆ ละ 39 เล่ม ใช้เงิน 2,000 ชั่ง พิมพ์เสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2436 เป็นที่เลื่องลือแพร่หลายไปทั่วโลก",
"title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว)"
},
{
"docid": "39173#9",
"text": "ชาญชัยเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ได้มอบนโยบายว่า งานอันดับแรกที่จะเข้ามาสานต่อนโยบายเดิม คือ การเดินหน้าปราบปรามยาเสพติด ที่ผ่านมาเคยเป็นนโยบายที่เข้มงวดการกวาดล้างอย่างหนัก แต่ในระยะหลังเบาบางลงไป เพื่อปราบปรามยาเสพติดให้หมดไป รวมถึงการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับตัวเป็นคนดีในสังคม ตามด้วยมาตรการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้กับประชาชนในทุกภูมิภาค สำหรับปัญหาการอำนวยความยุติธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลทุกชุดพยายามแก้ไข เพื่อให้บ้านเมืองสงบสุข บทบาทของกระทรวงยุติธรรมต้องทำให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมอย่างเสมอภาค ในกรณีที่ประชาชนไม่ได้รับความยุติธรรมจากเจ้าหน้าที่รัฐ จะเข้าไปจัดการให้เกิดความยุติธรรม ผู้ต้องหาคนใดไม่มีทนายจะจัดหาทนายความให้ ในส่วนของประชาชนที่ให้ข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์ จะได้รับการคุ้มครองดูแลให้ปลอดภัย และชาญชัยยังได้เน้นย้ำในการดำเนินงานกองทุนยุติธรรม เพื่อความยุติธรรมโดยเสมอภาค \nวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2550 ชาญชัยได้สั่งการให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ จัดชุดปฏิบัติการ เข้าร่วมสอบสวนคลี่คลายคดีลอบวางระเบิดตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี โดยให้เข้าไปทำงานสนับสนุนตำรวจและหาข้อเท็จจริง ภายหลังจากที่เกิดเหตุการณ์วางระเบิดกรุงเทพมหานครและนนทบุรีในวันส่งท้ายปีเก่า(31 ธันวาคม 2549)",
"title": "ชาญชัย ลิขิตจิตถะ"
},
{
"docid": "669616#3",
"text": "มีสูตรดั้งเดิมสูตรหนึ่งที่ใช้ในการทำรูตเบียร์ โดยทำมาจากน้ำเชื่อมจากกากน้ำตาลและน้ำ โดยจะปล่อยให้น้ำเชื่อมเย็นเป็นเวลาสามชั่วโมง และนำไปผสมกับรากไม้ (รวมไปถึง \"Sassafras Root\" หรือรากของเทพทาโร, \"Sassafras Bark\" หรือเปลือกไม้ของเทพทาโรและระกำ) แล้วเพิ่มยีสต์ และทิ้งเครื่องดื่มไว้ให้หมักเป็นเวลา 12 ชั่วโมง",
"title": "รูตเบียร์"
}
] |
3341 | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อ ? | [
{
"docid": "6349#27",
"text": "ในปี พ.ศ. 2525 ทรงพระราชดำริให้ก่อตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับบุตรหลานข้าราชบริพารและประชาชนทั่วไป เปิดทำการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2525 โดยทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์ประธานกรรมการคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และทรงเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทุกครั้ง รวมถึงเสด็จพระราชดำเนินไปในงานปิดภาคเรียนของโรงเรียนทุกครั้ง เพื่อพระราชทานทุนพระราชทานส่งเสริมการเรียนดี และพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานจากสถานศึกษาต่าง ๆ คือ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ วิทยาลัยในวังชาย วิทยาลัยในวังหญิง โรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วิทยาลัยในวัง) กาญจนาภิเษกวิทยาลัย (ช่างทองหลวง)",
"title": "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี"
},
{
"docid": "7078#7",
"text": "ต่อมากรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก ได้ทรงดำริที่จะจัดตั้งโรงเรียนขึ้นแห่งหนึ่ง เพื่อฝึกหัดหม่อมเจ้า และหม่อมราชวงศ์โดยเฉพาะ ให้เป็นทหารมหาดเล็ก ทั้งนี้เนื่องจากฐานะทหารมหาดเล็กได้เสื่อมไปไม่เหมือนแต่ก่อน ประกอบกับสมัยนั้นราชการกระทรวงต่างๆ เปลี่ยนแปลงแบบแผนเป็นอย่างใหม่ เป็นที่นิยมของคนหนุ่มๆขึ้นมาก ไม่เหมือนสมัยก่อนซึ่งมีเพียงทหารมหาดเล็กอย่างเดียว ดังนั้นกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงคิดว่าควรจะจัดตั้งโรงเรียนจะได้มีผู้สมัครเข้ามามาก กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงนำความเห็น ขึ้นกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับความเห็นชอบด้วย พระองค์ดำรัสสั่งให้จัดตั้งโรงเรียน ตามที่คิดนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับจะทรงอุดหนุน ครั้นจะเลือกหาที่ตั้งโรงเรียนในโรงเรียน มหาดเล็กก็ไม่มีที่พอแก่การจัด จึงได้เลือก พระตำหนักสวนกุหลาบ ซึ่งตอนนั้นใช้เป็นคลังรุงรังรกอยู่ไม่เป็นประโยชน์นัก จึงกราบทูลฯขอ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นในที่นั้น อาศัย เหตุนั้นจึงได้เรียกชื่อว่า \"โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ\" เมื่อ พ.ศ. 2425 เป็นต้น",
"title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย"
}
] | [
{
"docid": "199432#2",
"text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยสระบุรี เดิมมีชื่อว่า โรงเรียนปากเพรียววิทยาคม สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 โดยเปิดสอนระดับมัธยม โดยเปิดเรียนวันแรก ในวันที่ 12 พฤษภาคมพ.ศ. 2537 มีนักเรียนจำนวน 109 คน ครูจำนวน 6 คน มีนายไพบูรย์ เพ็งพูล เป็นผู้บริหารคนแรกและบุกเบิกก่อตั้ง ในระยะแรกอาคารเรียนยังก่อตั้งไม่เสร็จ ได้ขออาศัยวัดสุวรรณคีรี ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามในปัจจุบันเป็นที่ทำการเรียนการสอนนักเรียนอยู่ประมาณ 2 ปีเศษ จึงได้ย้ายมาพื้นที่ปัจจบัน ตั้งแต่วันที่ 12 กันยนยน 2539 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนมีอาคารเรียน 3 อาคารต่อมาผู้อำนวยการ จตุรงค์ เกิดปั้น เป็นผู้นำสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาโรงเรียนครั้งสำคัญ จากโรงเรียนปากเพรียววิทยาคม\nจากมติที่ประชุมของโรงเรียน ซึ่งดำรงโดยผู้อำนวยการจตุรงค์ เกิดปั้น ได้ดำเนินการ สมาคมศิษย์เก่า และสมาคมครูผู้ปกครอง ในพระบรมราชูปถัมป์ พร้อมด้วยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มีมติให้โรงเรียนปากเพรียววิทยาคม เป็นเครือข่ายของโรงเรียน สวนกุหลาบวิทยาลัย ลำดับที่ 8 โดยให้ชื่อว่า \" โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี \" ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549ตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา โรงเรียนจึงเปลี่ยนชื่อย่างเป็นทางการว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี SuanKularb Wittayalai Saraburi โดยผู้อำนวยการ จตุรงค์ เกิดปั้น จนกระทั่งเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2552 ในปัจจุบันท่านที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี คือ ท่านผู้อำนวยการธนิต มูลสภา",
"title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี"
},
{
"docid": "390184#0",
"text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช () (อักษรย่อ: ส.ก.นศ., S.K.NS.) เดิมชื่อ \"โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์\" ก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช 2516 ต่อมาได้รับการยกฐานะโดยอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายชินวรณ์ บุญเกียรติ มีดำริจะให้มีโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยภาคใต้ และมองเห็นความพร้อมของโรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ในด้านต่างๆ จึงได้ออกประกาศลงวันที่ 3 มีนาคม 2554 ยกฐานะจากโรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ เป็นโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช หรือเรียกโดยย่อว่า “สวนนคร” เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ประเภทสหศึกษา ในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ลำดับที่สิบเอ็ด ให้การศึกษาในระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ รหัสสถานศึกษา 1080210784 มีเนื้อที่ 42 ไร่ 3 งาน 69 ตารางวา ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 109 หมู่ที่ 11 ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช",
"title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช"
},
{
"docid": "37324#48",
"text": "ชมรมครูเก่า สวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เพื่อเป็นหน่วยประสานงานกลาง ระหว่างอดีตครู-อาจารย์ของโรงเรียนฯ รวมทั้งจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกชมรมฯ ตลอดจนให้การสนับสนุน ส่งเสริมโดยประการต่างๆ แก่สมาชิก โรงเรียนฯ และชุมชน โดยมีการประสานงานจัดประชุมครูเก่าเป็นครั้งแรก เพื่อลงมติจัดตั้งชมรมฯ อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ กลุ่มอดีตคณาจารย์ จำนวน 18 ท่าน ลงความเห็นให้ นางกอบเกื้อ โคกสีอำนวย อดีตผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ทำหน้าที่รักษาการประธานชมรมฯ เป็นการชั่วคราว",
"title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี"
},
{
"docid": "37324#46",
"text": "สมาคมผู้ปกครองและครู สวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี () ก่อตั้งในนามชมรม เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2523 ตามมติของที่ประชุมร่วมกันระหว่าง นางอัมพา แสนทวีสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนฯ, ศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และผู้มีอุปการคุณต่อโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี เพื่อเป็นหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนในด้านต่างๆ ให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว เนื่องจากศักยภาพของภาครัฐมีจำกัด โดยมี นาวาอากาศเอก ยุทธพงศ์ กิตติขจร (ยศในขณะนั้น) เป็นประธานชมรม (และนายกสมาคมฯ คนแรก) ต่อมา คณะกรรมการชมรมฯ จึงยื่นคำขออนุญาตจดทะเบียนในรูปสมาคม เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ปัจจุบันมีนายวิชัย บรรดาศักดิ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครปากเกร็ด เป็นนายกสมาคมฯ",
"title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี"
},
{
"docid": "390184#2",
"text": "โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ ปัจจุบันชื่อ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2516 โดยระยะเริ่มแรกได้อาศัยสถานที่ชั่วคราว ที่อาคารเรียนของโรงเรียนวัดดินดอน และโรงฉันวัดดินดอน โดยมี นายสถิต ไชยรัตน์ ครูตรีจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศได้รับแต่งตั้งมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และขอครูประชาบาลมาช่วยสอนสองท่าน คือ นายภิรมณ์ รอดสรี และนายโสภณ จิราสิต ระยะแรกเปิดเรียนชั้น ม.ศ.1 มีนักเรียน 90 คน เปิดห้องเรียนและในปีเดียวกันนี้เองได้รับอัตราครูประจำการมาจำนวน 4 อัตรา",
"title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช"
},
{
"docid": "279703#1",
"text": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ประกาศจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2535 โดยเป็นโรงเรียน 1 ใน 9 โรงเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลสมัยที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมมายุ 60 พรรษา ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถว่า \"นวมินทราชินูทิศ\" และโดยที่กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้อยู่ในความดูแลของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในระยะเริ่มแรก กระทรวงศึกษาธิการจึงให้เติมต่อท้ายชื่อ ว่า \"โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี\" และได้รับมอบหมายให้นายผจง อุบลเลิศ ครูโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในขณะนั้นเป็นผู้ประสานการจัดตั้งและดูแล โดยต่อมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานีคนแรก",
"title": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี"
},
{
"docid": "37324#49",
"text": "สมาคมศิษย์เก่า สวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ก่อตั้งเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2544 ตามหนังสืออนุญาตจัดตั้งสมาคม โดยคณะศิษย์เก่าของโรงเรียนฯ จำนวน 18 คน มีมติร่วมกันก่อตั้งเป็นสมาคม โดยผู้อำนวยการโรงเรียนฯ อนุญาตให้ใช้สถานที่ของโรงเรียนฯ เป็นที่ทำการของสมาคมฯ รวมถึงขออนุญาตใช้ชื่อโรงเรียนเป็นชื่อสมาคมฯ จากสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดนนทบุรีด้วย",
"title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี"
},
{
"docid": "377926#2",
"text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยคุณวิกรม กรมดิษฐ์ เป็นผู้บริจาคพื้นที่ 25 ไร่ และเริ่มวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2542 โดยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้มอบหมายนายพูนทรัพย์ วัฒนไชย มาบริหารงานและต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคนแรก ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี\nปีการศึกษา 2542 เป็นการเปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังจากที่โรงเรียนอื่นๆเปิดไปแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ มีจำนวนนัก เรียนทั้งหมด22คน โดยใช้หลักสูตรการเรียนการสอนทุกอย่างเหมือน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และในปีแรกโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยส่งครูมาช่วสสอน3 วิชา และทางอมตะจ้างครูมาช่วยสอน สภาพโดยทั่วไปของโรงเรียน แห้งแล้ง เป็นป่าหญ้าคา ถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปา รวมถึงงบประมาณต่างๆก็ไม่มี ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากชุมชนบริเวณนี้ คอยอำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ\nปีการศึกษา 2543 เปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 100 คน ปีการศึกษานี้ได้รับ\nครูอัตราจ้างมาจำนวน 4 คน ส่วนอุปกรณ์การเรียนการสอนทั้งหมดจึงได้รับความอนุเคราะห์จากทางอมตะ และทางโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยรวมถึงชุมชนในบริเวณนี้ ทางอมตะและโรงงานช่วยสร้างโรงอาหารให้ 1 หลังปีการศึกษา 2544 เปิดรับนักเรียนชั้น ม. 1 จำนวน 160 คน ในปีการศึกษานี้ ได้ครูอัตราจ้างเพิ่มขึ้นอีก 8 อัตรา และทางโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ส่งครู มาช่วยสอน อีก 2 ท่าน และได้รับความร่วมมือจากท่านผู้ปกครองและชุมชนในการจัดทำห้องคอมพิวเตอร์ 1 ห้อง เพื่อใช้ในการเรียนการสอนให้กับนักเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักเรียน\nปีการศึกษา 2545 เปิดรับมัธยมศึกษา ปีที่ 1 จำนวน 4 ห้องเรียน และเป็นปีแรกที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 สายการเรียน คือ วิทย์-คณิต และสายศิลป์ – ภาษา ในปีการศึกษาได้มีอาคารชั่วคราวเพิ่มขึ้น อีก 1 หลัง จำนวน 6 ห้องเรียนอาคารห้องสมุด และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ 1 หลัง และห้องน้ำหญิง จำนวน 6 ห้องโดยท่านพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ บริจาคพร้อมโต๊ะ เก้าอี้ จากคุณสุรพล เตชะหรูวิจิตร\nปีการศึกษา 2546 ท่านพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มอบให้พลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์ พลโทเฉลียว อักษรดี พลโทเนาวรัตน์ ทองคำวงษ์ สร้างอาคารเรียน 4 ห้อง พร้อมสนามบาสเกตบอล 1 สนาม ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้น ม.5 จำนวน 2 แผนการเรียน คือ วิทย์ – คณิต และศิลป์ – ภาษา ม.4 จำนวน 3 แผนการเรียน คือวิทย์ – คณิต และศิลป์ – ภาษา และอังกฤษ- สังคม รับนักเรียนชั้น ม. 1 จำนวน 3 ห้องเรียน สร้างห้องดนตรีไทย 1 ห้อง และสนามวอลเลย์ 2 สนาม ในปีการศึกษา นี้มีครูจำนวน 24 คน และนักเรียนจำนวน 564 คน\nปีการศึกษา 2547 นายแพทย์ประสพ รัตนกร ได้มอบหมายให้ พลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ประสานงานกับ พลโทเนาวรัตน์ ทองคำวงษ์และนายพูนทรัพย์ วัฒนไชย ผู้บริหารโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี เรื่องพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษได้ให้ความอนุเคราะห์บริจาคเงินจำนวน 1,000,000 บาทเพื่อสร้างอาคารชั่วคราว 1 หลัง 5 ห้องเรียน และนายแพทย์ประสพ รัตนกร ได้ให้ชื่ออาคารเรียนนี้ว่า “อาคารศึกษาพัฒนามูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์” ต่อมาคณะผู้ปกครองนักเรียน ได้ให้ความอนุเคราะห์ร่วมจัดสร้างอาคารอเนกประสงค์ 1 เพื่ออำนวยความสะดวกทำกิจกรรมในร่มของนักเรียน พร้อมกันนี้ ได้จัดสร้างอ่างล้างหน้าจำนวน 24 อ่าง ให้กับนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี อีกด้วย\nปีการศึกษา 2548 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้รับความอนุเคราะห์จาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยการประสานงานของผู้อำนวยการสมหมาย วัฒนคีรี อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กับนายสิทธิรักษ์ จันทร์สว่าง ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเรื่องการสร้างอาคารอเนกประสงค์หลังเก่า ซึ่งโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้งบประมาณในการสร้างอาคารใหม่ จึงรื้ออาคารหลังเก่า แต่ด้วยความห่วงใย ที่ทราบว่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ยังไม่มีอาคารอเนกประสงค์เพียงพอที่จะรองรับการทำกิจกรรมให้กับนักเรียน จึงได้ขออาคารนี้ กับผู้รับเหมาให้กับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ซึ่งก่อนหน้านี้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ขายให้กับผู้รับเหมาไปแล้วทั้งนี้ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้รับความอนุเคราะห์เรื่องการขนย้าย โครงการอเนกประสงค์และอิฐตัวหนอน จากพลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์กับพลโทเนาวรัตน์ ทองคำวงศ์ ด้วยการนำทหารมาช่วยเหลือ ทำให้ภารกิจนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี\nปีการศึกษา 2551 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้รับงบในการสร้างอาคารเรียนถาวรจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 5,900,000 บาท ( ห้าล้านเก้าแสนบาทถ้วน)ในการสร้างอาคารเรียนถาวร 4 ชั้น 12 ห้องเรียน",
"title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี"
},
{
"docid": "37324#47",
"text": "มูลนิธิ สวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี (ชื่อย่อ: ม.สกน.; ) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2533 เพื่อส่งเสริมการศึกษาแก่นักเรียนของโรงเรียนฯ ด้วยการมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมถึงให้ความสนับสนุนช่วยเหลือโรงเรียนฯ ในกิจการส่งเสริมการศึกษา ทางการเงินและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนดำเนินงานสาธารณประโยชน์ โดยมูลนิธิฯ มีทรัพย์สินประกอบด้วย เงินสดจำนวน 314,432 บาท 66 สตางค์ เป็นทุนประเดิม พร้อมด้วยโฉนดที่ดิน 1 ฉบับ ซึ่งเป็นที่ตั้งของมูลนิธิฯ เลขที่ 77/20 หมู่ที่ 5 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีคณะกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 15 คน ประธานมูลนิธิฯ คนแรกคือ พลโท จันทรคุปต์ สิริสุทธิ์ ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2533-3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ปัจจุบัน (ตั้งแต่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541) มีนายไพโรจน์ นพทีปกังวาล เป็นประธาน",
"title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี"
},
{
"docid": "7078#9",
"text": "หลังจากออกย้ายจากพระบรมมหาราชวัง โรงเรียนสวนกุหลาบก็ได้เคลื่อนย้ายไปยังศาลา 4 หลัง ของวัดมหาธาตุด้านทิศเหนือเรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวัดมหาธาตุด้านทิศเหนือ เพื่อรอการก่อสร้างโรงเรียนแห่งใหม่ ซึ่งในช่วงนี้มีโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทยอยู่ 2 ที่ ซึ่งอีกที่หนึ่งอยู่ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงในพระบรมมหาราชวัง เรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบไทยในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งโรงเรียนนี้คาดว่าเกิดจากการเคลื่อนย้าย ไปยังวัดมหาธาตุนั้นเคลื่อนย้ายไปไม่หมด ต่อมากระทรวงธรรมการได้งบประมาณในการสร้างที่ว่าการกระทรวงใหม่ และกระทรวงต้องการให้โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบเป็นโรงเรียนสำหรับฝึกหัดทดลองวิธีสอนและตำราเรียน จึงยกตึกหลังแรกใน 3 หลัง ให้เป็นโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวังหน้า ซึ่งจริงๆ กระทรวงต้องการให้โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายอังกฤษมารวมกันที่นี่ แต่สถานที่คับแคบไป จึงนำมาเฉพาะโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทยเพียงฝ่ายเดียว ต่อมาในปี พ.ศ. 2452 กระทรวงธรรมการ ได้ย้ายสถานที่ใหม่ ดังนั้นโรงเรียนสวนกุหลาบจึงต้องย้ายด้วย ซึ่งได้ย้ายไปอาศัยอยู่ ณ บริเวณศาลาวัดมหาธาตุด้าน ใต้เป็นการชั่วคราว จนกระทั่งย้ายมาอยู่ที่โรงเลี้ยงเด็กริมคลองมหานาค (โรงเรียนสวนกุหลาบโรงเลี้ยงเด็กริมคลอง มหานาค) หลังจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทยได้ย้ายไปตามสถานที่ต่างๆ ถึง 5 แห่ง โรงเรียนสวนกุหลาบก็ได้กลับมารวมอีกครั้งที่ \"ตึกแถวหลังยาววัดราชบูรณะ\" โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมโยธาธิการออกแบบ แล้วใช้งบประมาณของวัดราชบูรณะเพื่อเช่าสถานที่ และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กำหนดเป็นโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษาพิเศษ แล้วให้ชื่อว่า \"โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย\" และการรวมตัวครั้งนี้เป็นการรวม \"สวนกุหลาบ\" ทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายอังกฤษด้วยหลังจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทย ย้ายออกจากพระบรมมหาราชวังไปแล้ว แต่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายอังกฤษยังคงอยู่ในพระบรมหาราชวัง โดยย้ายจากที่เดิมมาอยู่ที่ตึก 2 หลังริมพระที่นั่งสุทไธสวรรย เรียกว่า \"โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบริมพระที่นั่งสุทธัยสวรรค์\" ต่อมาได้ย้ายไปตั้งอยู่ ณ วังพระองค์เจ้าภานุมาศ ซึ่ง หมายถึง \"วังหน้า\" เดิมในสมัยรัชกาลที่ 4 เรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวังหน้า โดยอาศัยเก๋งจีนที่เป็นฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นที่สอน หลังจากอาศัยอยู่ที่นี่ช่วงหนึ่ง ก็ได้ย้ายมาตั้งอยู่ที่สตรีสวนสุนันทาลัย ( ปากคลองตลาด ) เนื่องจากโรงเรียนนี้มีนักเรียนน้อยลงเรื่อยๆ จำต้องปรับปรุง มีการพักการเรียนการสอนไว้ก่อน โรงเรียนสวนกุหลาบซึ่งยังไม่มีสถานที่แน่นอน จึงได้ย้ายมา เปิดการสอนเป็นชั่วคราว เรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษสุนันทาลัย จนกระทั่งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้มีหนังสือขอพระราชทานที่โรงเรียนสตรีสุนันทาลัยเพื่อปรับปรุงให้เป็น \"โรงเรียนราชินี\" โรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษสุนันทาลัยจึงได้ย้ายมารวมอยู่กับโรงเรียนเทพศิรินทร์ เพราะว่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ได้มีการปรับปรุงซ่อมแซมโรงเรียนครั้งใหญ่ ใช้งบประมาณในการสร้างโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบแห่งใหม่ โดยมีข้อตกลงในการก่อสร้าง \"ตึกแม้นนฤมิตร์\" เป็นตึกเรียนหลังใหม่ และให้ชื่อว่า โรงเรียนสวนกุหลาบตึกแม้นนฤมิตร์ ทั้งนี้โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการให้กรมศึกษาธิการเป็นผู้ดำเนินการทำสัญญาก่อสร้าง ต่อมาได้มีการเปลี่ยนนามโรงเรียนสวนกุหลาบเป็นโรงเรียนเทพศิรินทร์ตึกแม้นนฤมิตร์แทน โดยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าพระองค์ได้ออกเงินเพียงส่วนน้อยเท่านั้น",
"title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย"
},
{
"docid": "7078#8",
"text": "โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบได้จัดทั้งการฝึกหัดอย่างทหาร และเรียนแบบสามัญเหมือนโรงเรียนทั้งปวงด้วย ต่อมากิจการงานของโรงเรียนเจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ มีหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์และบุตรหลานของข้าราชการ สมัครเรียนมากขึ้นทุกที จนเกินจำนวนตำแหน่งนายทหารมหาดเล็ก ฉะนั้น ณ จุดนี้เอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงตัดสินพระทัยว่า ถ้าหากเปลี่ยนให้เป็นโรงเรียน สำหรับข้าราชการทั่วไป จะเป็นประโยชน์ แก่บ้านเมืองยิ่งกว่าเป็นโรงเรียนสำหรับนายทหารมหาดเล็กกรมเดียว และได้เปลี่ยนฐานะนักเรียนจากทหารมาเป็นนักเรียนพลเรือน นอกจากนั้นพระองค์ก็ได้โปรดฯให้สร้าง ตึกยาวทางพระราชวังด้านใต้ ใช้เป็นที่เล่าเรียนและที่อยู่นักเรียนอีกหลังหนึ่งด้วย การตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบจึงนับว่าสำเร็จบริบูรณ์เมื่อ ปี ระกา พ.ศ. 2427 นั่นเอง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบมีนักเรียนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2436 จึงขยายออกไปตั้งนอกพระบรมมหาราชวัง และจากเหตุนี้เองจึงเรียกชื่อเพียง \"โรงเรียนสวนกุหลาบ\" กับได้แยกเป็น 2 แห่ง คือ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทย และ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายอังกฤษ",
"title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย"
},
{
"docid": "7078#10",
"text": "ต่อมาการเดินทางอันยาวนานของ \"สวนกุหลาบ\" จึงได้สิ้นสุดลงเมื่อปี พ.ศ. 2454 โดยโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ได้รวมกับฝ่ายไทยและได้แหล่งที่พำนักถาวร พร้อมกับนามว่า \"โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย\" ถึงตรงนี้ โรงเรียนสวนกุหลาบทั้งสองฝ่ายก็ได้มารวมกันอีกครั้งโดยอยู่ในพื้นที่ของวัดราชบุรณะ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้สร้างตึกยาวขึ้นเพื่อดำเนินการสอน การที่พระองค์ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างตึกยาวนี้ ทรงมอบให้กรมโยธาธิการเป็นผู้ออกแบบโดยใช้งบประมาณของวัดราชบูรณะ ซึ่งในเวลานั้นเงินสร้างตึกให้ชาวบ้านเช่าโดยเปลี่ยนเป็นให้โรงเรียนเช่า เพื่อใช้เป็นโรงเรียนแผนใหม่ ทั้งนี้ด้วยความคิดของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) ศิษย์เก่าเลขประจำตัวหมายเลข 2 ของโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เสนาบดีกระทรวงธรรมการในขณะนั้น โดยมีการเซ็นสัญญาเช่ากับพระธรรมดิลก เจ้าอาวาสวัดราชบูรณะในสมัยนั้น โดยมีนายเอง เลียงหยง เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 10,150 บาท จึงได้เกิดตึกยาว รวมนักเรียนสวนกุหลาบจากที่ต่างๆ",
"title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย"
}
] |
3702 | โรคซึมเศร้ารักษาด้วยยาแผนปัจจุบันได้หรือไม่ ? | [
{
"docid": "242400#3",
"text": "โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล",
"title": "โรคซึมเศร้า"
}
] | [
{
"docid": "815703#31",
"text": "ยากลุ่มนี้ใช้อย่างสามัญในการรักษาโรควิตกกังวล โรคตื่นตระหนก การนอนไม่หลับ และเป็นสารที่ใช้เป็นยาเสพติดอย่างหนึ่ง บุคคลที่มีโรคเหล่านี้มักจะมีอารมณ์และความคิดเชิงลบ อารมณ์ซึมเศร้า ความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย และบ่อยครั้งจะมีโรคซึมเศร้าเป็นไปร่วม ดังนั้น จึงน่าเป็นห่วงว่า ความซึมเศร้าและความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเป็นผลที่ไม่พึงประสงค์ของยากลุ่มนี้[77] แม้ผลต่อความวิตกกังวลและผลช่วยให้นอนหลับจะหายไปเนื่องจากความชินยา แต่ว่า ความซึมเศร้าและความหุนหันพลันแล่นพร้อมกับโอกาสเสี่ยงฆ่าตัวตายสูง กลับคงยืน[78] เป็นเรื่องโชคร้ายว่า อาการเหล่านี้ “มักตีความว่า เป็นความแย่ลงหรือวิวัฒนาการตามธรรมชาติของโรคที่มีมาก่อน และจึงมองข้ามเหตุการใช้ยานอนหลับเป็นประจำไป”[78] ยากลุ่มนี้ไม่ช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า สามารถทำโรคที่มีอยู่ให้แย่ลง สามารถเป็นเหตุแห่งความซึมเศร้าในบุคคลที่ไม่มีประวัติมีโรค และสามารถนำไปสู่การพยายามฆ่าตัวตาย[78][79][80][81][82] ปัจจัยเสี่ยงต่อการพยายามและการฆ่าตัวตายสำเร็จเมื่อใช้ยารวมทั้ง การสั่งยาขนาดสูง (แม้ในบุคคลที่ไม่ได้ใช้เป็นสารเสพติด) ยาเป็นพิษ และโรคซึมเศร้า[76][83][84]",
"title": "คโลนะเซแพม"
},
{
"docid": "813101#0",
"text": "ยาแก้ซึมเศร้า\nเป็นยาเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าและโรคอื่น ๆ รวมทั้ง dysthymia, โรควิตกกังวล, โรคย้ำคิดย้ำทำ, ความผิดปกติในการรับประทาน (eating disorder), ความเจ็บปวดเรื้อรัง, ความเจ็บปวดเหตุประสาท (neuropathic pain), และในบางกรณี อาการปวดระดู การกรน โรคไมเกรน โรคสมาธิสั้น การติด การติดสารเสพติด และความผิดปกติในการนอน\nโดยสามารถใช้เดี่ยว ๆ หรือรวมกับยาชนิดอื่น ๆ ตามที่แพทย์สั่ง",
"title": "ยาแก้ซึมเศร้า"
},
{
"docid": "813101#14",
"text": "แต่ก็มีงานปี 2545 ในวารสาร \"JAMA\" ที่แสดงว่า แม้ว่าผลต่างของยาหลอกในการทดลองทางคลินิกของโรคซึมเศร้าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ว่าผลต่างของยาที่ใช้ทดลองกลับค่อนข้างจะสม่ำเสมอ\nผู้เขียนเสนอว่า คำอธิบายที่เป็นไปได้ว่าทำไมผลต่างของยาหลอกจึงเพิ่มขึ้นในการทดลองก็คือ การรวมผู้ร่วมการทดลองจำนวนมากที่มีโรคแบบสั้น ๆ ขั้นอ่อน หรือการหายเองเพราะตราบาปทางสังคมเหตุใช้ยาแก้ซึมเศร้าได้ลดลง\nผลยาหลอกในการทดลองทางคลินิกของการรักษาทางเลือก (CAM) ต่ำกว่าที่พบในการทดลองยาแก้ซึมเศร้าแผนปัจจุบันอย่างสำคัญ",
"title": "ยาแก้ซึมเศร้า"
},
{
"docid": "813101#82",
"text": "มีการใช้ Lithium เสริมยาแก้ซึมเศร้าในบุคคลที่ไม่ตอบสนองต่อยาแก้ซึมเศร้าอย่างเดียว\nนอกจากนั้นแล้ว lithium ยังสามารถลดความเสี่ยงฆ่าตัวตายอย่างยิ่งในโรคซึมเศร้าแบบเป็นซ้ำ ๆ\nมีหลักฐานให้ใช้ฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ คือ ไตรไอโอโดไทโรนีน เป็นยาเพิ่มสำหรับคนไข้ที่ต่อมไทรอยด์ปกติ\nนักวิชาการด้านจิตเภสัชวิทยาผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งอ้างว่า การใช้ยากระตุ้นทางจิต (psychostimulant) โดยเฉพาะ Dextroamphetamine (ซึ่งเป็นส่วนประกอบของยาบ้า) เป็น \"กลยุทธ์การเพิ่มยาแบบคลาสสิกสำหรับโรคซึมเศร้าที่ดื้อการรักษา\"\nแต่ว่า การใช้ยากระตุ้นสำหรับโรคซึมเศร้าที่ดื้อการรักษาก็เป็นเรื่องขัดแย้งยังไม่ยุติ\nงานทบทวนวรรณกรรมปี 2550 พบว่า ยากระตุ้นทางจิตอาจมีประสิทธิผลต่อโรคซึมเศร้าที่ดื้อการรักษาถ้าใช้กับยาแก้ซึมเศร้า แต่การสรุปที่ชัดเจนทำไม่ได้เนื่องจากไม่มีหลักฐานเพียงพอเพื่อใช้พิจารณา และผลที่ได้ในหลักฐานต่าง ๆ ก็ขัดแย้งกัน",
"title": "ยาแก้ซึมเศร้า"
},
{
"docid": "819814#15",
"text": "อารมณ์ซึมเศร้าอาจไม่ต้องรักษาโดยมืออาชีพ เพราะอาจเป็นปฏิกิริยาปกติต่อเหตุการณ์ในชีวิต เป็นอาการของโรคอื่น ๆ หรือเป็นผลข้างเคียงของยาหรือการรักษาทางแพทย์\nแต่ว่าอารมณ์ซึมเศร้าที่คงยืน โดยเฉพาะเมื่อมีกับอาการอื่น ๆ อาจจะเข้าเกณฑ์วินิจฉัยทางจิตเวชหรือทางแพทย์แบบต่าง ๆ ซึ่งสามารถได้ประโยชน์จากการรักษา\nโดยการรักษาโรคต่าง ๆ ในกลุ่มโรคซึมเศร้าจะแตกต่างกัน",
"title": "ความซึมเศร้า (อารมณ์)"
},
{
"docid": "813101#96",
"text": "นักวิชาการบางท่านเน้นความจำเป็นในการตรวจดูการใช้ยาแก้ซึมเศร้าและวิธีการรักษาโรคอื่น ๆ แบบข้ามวัฒนธรรมต่าง ๆ เพราะวัฒนธรรมต่าง ๆ มองการปรากฏ อาการ ความหมาย และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของโรคซึมเศร้าและของโรคอื่น ๆ แตกต่างกัน\nและความแตกต่างทางวัฒนธรรมเช่นนี้ มีผลต่อประสิทธิผลที่เห็นและต่อการใช้ยาแก้ซึมเศร้าและกลยุทธ์อื่น ๆ เพื่อรักษาโรคในวัฒนธรรมต่าง ๆ\nในประเทศอินเดีย ยาแก้ซึมเศร้ามองว่าเป็นตัวช่วยสู้การไม่มีส่วนในสังคม โดยให้สัญญากับคนไข้ว่าจะสามารถกลับคืนสู่สังคมด้วยการใช้ยา ซึ่งเป็นมุมมองที่ประเทศตะวันตกไม่มี",
"title": "ยาแก้ซึมเศร้า"
},
{
"docid": "827601#3",
"text": "มีงานศึกษาหลายงานที่พบระดับโฟเลตและวิตามินบี ที่ต่ำในคนไข้โรคซึมเศร้า\nนอกจากนั้นแล้ว งานศึกษาบางงานยังแสดงว่า การมีระดับโฟเลตต่ำทำให้รักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้าได้ไม่ดี และมีงานอื่นที่แสดงว่า การมีวิตามินบี สูงสัมพันธ์กับผลการรักษาที่ดีกว่า\nดังนั้น การได้วิตามินทั้งสองอย่างนี้เพียงพอไม่ใช่ช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าเท่านั้น แต่ยังช่วยบำบัดโรคเมื่อรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้าด้วย",
"title": "การขาดโฟเลต"
},
{
"docid": "806299#6",
"text": "NICE แนะนำให้รักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้าแบบ SSRI บวกกับการแทรกแทรงทางจิต-สังคมเป็นการรักษาลำดับสองสำหรับโรคซึมเศร้าขั้นอ่อนระยะสั้น และเป็นการรักษาลำดับแรกสำหรับโรคปานกลางหรือหนัก และสำหรับโรคเบาแต่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ หรือมีมานานแล้ว\nส่วนสมาคมจิตเวชอเมริกัน (APA) รวมการรักษาด้วยยาเป็นทางเลือกการรักษาลำดับแรกสำหรับโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะเมื่อ \"มีประวัติตอบสนองที่ดีต่อยาแก้ซึมเศร้า มีอาการระดับปานกลางจนถึงรุนแรง มีปัญหาสำคัญในการนอนหรือความอยากอาหาร มีกายใจไม่สงบ เป็นความต้องการของคนไข้ และคาดหวังว่าจะต้องรักษาเพื่อดำรงสภาพ (maintenance)\"",
"title": "ฟลูอ็อกเซทีน"
},
{
"docid": "813101#28",
"text": "ผลรักษาของยาแก้ซึมเศร้าปกติจะไม่ดำเนินต่อหลังจากการใช้ยาสักระยะหนึ่ง ทำให้อัตราโรคกลับอยู่ในระดับสูง\nงานวิเคราะห์อภิมานปี 2546 ในงานทดลองยาแก้ซึมเศร้าที่ควบคุมด้วยยาหลอก โดยมากจำกัดในงานที่มีระยะ 1 ปี พบว่า คนไข้ 18% ที่ตอบสนองต่อยาแก้ซึมเศร้าเกิดโรคอีกแม้ยังทานยาอยู่ เทียบกับ 41% ที่เกิดโรคอีกเมื่อเปลี่ยนจากยาแก้ซึมเศร้ามาเป็นยาหลอก",
"title": "ยาแก้ซึมเศร้า"
},
{
"docid": "242400#13",
"text": "แบบจำลองเชิงปฏิสัมพันธ์เหล่านี้มีหลักฐานสนับสนุน ยกตัวอย่างเช่น นักวิจัยในประเทศนิวซีแลนด์ได้ทำงานศึกษาตามรุ่นตามแผนในประเด็นว่า ความซึมเศร้าปรากฏในกลุ่มบุคคลที่ตอนแรกเป็นปกติได้อย่างไร แล้วสรุปว่า ความแตกต่างกันของยีน serotonin transporter (5-HTT) มีผลต่อคนที่ประสบกับเหตุการณ์เครียดว่าจะประสบกับความซึมเศร้าหรือไม่ โดยเฉพาะก็คือ ความซึมเศร้าอาจจะติดตามเหตุการณ์เช่นนั้น แต่ดูเหมือนจะมีโอกาสสูงกว่าในบุคคลที่มีอัลลีลสั้น ๆ 1-2 แบบของยีน 5-HTT[31] นอกจากนั้นแล้ว งานศึกษาประเทศสวีเดนได้ประเมินการสืบทอดกรรมพันธุ์ของความซึมเศร้า ซึ่งก็คือระดับความแตกต่างการเกิดขึ้นของความซึมเศร้าที่สัมพันธ์กับความแตกต่างทางกรรมพันธุ์ ว่าอยู่ประมาณ 40% สำหรับหญิงและ 30% ในชาย[37] นักจิตวิทยาวิวัฒนาการได้เสนอว่า มูลฐานทางกรรมพันธุ์ของโรคซึมเศร้าเกี่ยวเนื่องอย่างลึกซึ้งกับการปรับตัวที่คัดเลือกโดยธรรมชาติ นักวิจัยได้พบว่า ความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดจากสาร (Substance induced mood disorder) ที่คล้ายกับ MDD มีเหตุมาจากการเสพยาเสพติดระยะยาว หรือเกิดจากการขาด (withdrawal) ยาระงับประสาทหรือยานอนหลับบางประเภท[38][39]",
"title": "โรคซึมเศร้า"
},
{
"docid": "242400#63",
"text": "วิธีบำบัด 3 อย่างที่สามัญที่สุดต่อโรคซึมเศร้าในประเทศตะวันตกก็คือจิตบำบัด การให้ยา และการรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (electroconvulsive therapy) จิตบำบัดเป็นวิธีรักษาที่เลือกมากที่สุด (เหนือยา) สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี แนวทางรักษาประจำชาติของสหราชอาณาจักร (NICE) ปี 2004 แสดงว่า ไม่ควรใช้ยาในการรักษาความซึมเศร้าแบบอ่อนเป็นลำดับแรก เพราะว่า อัตราความเสี่ยง-ประโยชน์ที่ได้ไม่ดี และแนะนำให้พิจารณาใช้ยาแก้ซึมเศร้าบวกกับการแทรกแซงทางจิต-สังคมในกรณีดังต่อไปนี้ คือ",
"title": "โรคซึมเศร้า"
},
{
"docid": "815773#25",
"text": "ความผิดปกติทางอารมณ์รักษาได้หลายวิธี เช่น การบำบัดและการให้ยา\nพฤติกรรมบำบัด (Behaviour therapy) การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) และ interpersonal psychotherapy ล้วนอาจมีประโยชน์ในโรคซึมเศร้า\nยาสำหรับโรคซึมเศร้ารวมทั้งยาแก้ซึมเศร้า ส่วนโรคอารมณ์สองขั้วอาจรวมยาระงับอาการทางจิต ยาที่ทำอารมณ์ให้เสถียร (mood stabilizers) และ/หรือ lithium",
"title": "ความผิดปกติทางอารมณ์"
},
{
"docid": "819814#17",
"text": "แนวทางการรักษาปี 2552 ขององค์การสาธารณสุขแห่งสหราชอาณาจักร (NICE) ชี้ว่า ยาแก้ซึมเศร้าไม่ควรใช้เป็นปกติเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าขั้นอ่อน เพราะว่ามีอัตราความเสี่ยง-ประโยชน์ที่ไม่ดี\nการรักษาโรคจัดการได้ดีที่สุดโดยการเปลี่ยนรูปแบบชีวิต รวมทั้ง การทานอาหาร การหลับนอน และการออกกำลังกาย\nงานวิเคราะห์อภิมานปี 2559 แสดงว่า ยาแก้ซึมเศร้าโดยมากนอกจากฟลูอ๊อกซิติน ดูจะไม่มีประโยชน์ที่ชัดเจนเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่นแบบฉับพลัน",
"title": "ความซึมเศร้า (อารมณ์)"
},
{
"docid": "813101#72",
"text": "Norepinephrine reuptake inhibitors (NRIs หรือ NERIs) เป็นยามีฤทธิ์ยับยั้งการนำสารสื่อประสาทนอร์เอพิเนฟริน (noradrenaline) ไปใช้ใหม่ โดยหยุดการทำงานของโปรตีนขนส่ง norepinephrine transporter (NET) ซึ่งมีผลเพิ่มระดับนอร์เอพิเนฟรินนอกเซลล์ประสาท\nNRIs ใช้อย่างสามัญเพื่อรักษาโรคสมาธิสั้น (ADHD) กับภาวะง่วงเกิน (narcolepsy) เนื่องจากมีฤทธิ์กระตุ้น (psychostimulant) และรักษาโรคอ้วนเนื่องจากฤทธิ์ระงับความอยากอาหาร\nและก็บ่อยครั้งใช้เป็นยาแก้ซึมเศร้าสำหรับโรคซึมเศร้า (MDD) โรควิตกกังวล และโรคตื่นตระหนก\nนอกจากนั้นแล้ว ยาเสพติดหลายอย่าง เช่น โคเคนและ methylphenidate ก็มีฤทธิ์เป็น NRI ด้วย แม้ควรจะสังเกตว่า สาร NRI ที่ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งการนำโดพามีนไปใช้ใหม่ไม่ได้ทำให้เกิดความสุขอย่างสำคัญ และดังนั้น จึงพิจารณาว่ามีโอกาสใช้เป็นสารเสพติดน้อย\nแต่ว่า เมื่อยามีฤทธิ์ต่อสารสื่อประสาทคือนอร์เอพิเนฟรินและโดพามีนพร้อม ๆ กัน เช่น ยา norepinephrine-dopamine reuptake inhibitor (NDRI) ก็จะทำให้เกิดความสุขพอให้ใช้เป็นสารเสพติด",
"title": "ยาแก้ซึมเศร้า"
},
{
"docid": "242400#93",
"text": "การเกิดซ้ำมีโอกาสสูงขึ้นถ้าอาการไม่หายทั้งหมดหลังจากรักษา แนวทางการรักษาปัจจุบันแนะนำให้ให้ยาแก้ซึมเศร้าต่อ 4-6 เดือนหลังจากบรรเทาเพื่อป้องกันการเกิดโรคอีก (relapse) หลักฐานจากการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCT) แสดงว่า การให้ยาต่อไปหลังจากฟื้นสภาพสามารถลดโอกาสเกิดโรคอีกถึง 70% (41% เกิดโรคอีกถ้าใช้ยาหลอก เทียบกับ 18% ถ้าใช้ยาแก้ซึมเศร้า) ผลป้องกันอาจจะดำรงอยู่นานอย่างน้อย 36 เดือนที่ใช้ยาเพื่อดำรงสภาพ[258]",
"title": "โรคซึมเศร้า"
},
{
"docid": "926387#5",
"text": "ในกรณีของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการนอนไม่หลับและอ่อนเพลีย พบว่าบูโพรพิออนมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการเหล่านี้ได้มากกว่ายาต้านซึมเศร้ากลุ่มที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเก็บกลับเซโรโทนิน[21] และดูเหมือนว่ายากลุ่มที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเก็บกลับเซโรโทนินจะมีประสิทธิภาพเหนือกว่าบูโพรพิออนเล็กน้อยในการรักษาอาการวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (anxious depression)[22] มีข้อมูลที่ได้จากการสำรวจทางคลินิกพบว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักได้รับการสั่งจ่ายให้ใช้บูโพรพิออนเป็นยาร่วมในการรักษาในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองหรือตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากลุ่มที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเก็บกลับเซโรโทนินได้ไม่เต็มที่ ถึงแม้ว่าการใช้บูโพรพิออนสำหรับข้อบ่งใช้ดังกล่าวจะยังไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการก็ตาม[23] โดยการใช้บูโพรพิออนร่วมกับยากลุ่มที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเก็บกลับเซโรโทนินนี้ (ส่วนใหญ่มักเป็นฟลูอ็อกเซทีน หรือเซอร์ทราลีน) อาจช่วยให้อาการของผู้ป่วยซึมเศร้าที่รักษาด้วยยาทางเลือกแรกเพียงชนิดเดียวอย่างยากลุ่มที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเก็บกลับเซโรโทนินแล้วไม่ประสบผลสำเร็จนั้นดีขึ้นได้[23]",
"title": "บูโพรพิออน"
},
{
"docid": "242400#114",
"text": "เหมือนกับโรคหลายอย่างอื่น ๆ เป็นเรื่องธรรมดาในผู้สูงวัย ที่อาการซึมเศร้าจะไม่ปรากฏแบบคลาสสิก[319] ทั้งการวินิจฉัยและการรักษายากยิ่งขึ้นเพราะว่าคนสูงวัยมักจะทานยาเพื่อโรคอื่น ๆ และมักจะมีโรคที่เป็นไปด้วยกัน[319] การรักษาแตกต่างก็เพราะว่า งานศึกษาแสดงว่า ยาประเภท SSRI มีผลน้อยกว่า และบางครั้งไม่เพียงพอที่จะช่วยคนชรา ในขณะที่ยาอื่นที่มีผลชัดเจนกว่ามีผลข้างเคียงแบบไม่พึงประสงค์ที่คนชรารับไม่ได้[319] เช่น Duloxetine เป็นยาแบบ SNRI (Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitor) ที่มีหลักฐานว่ามีประสิทธิผลต่อความซึมเศร้าที่เกิดซ้ำ ๆ ในคนชรา แต่มีผลที่ไม่ต้องการคืออาการเวียนศีรษะ ปากแห้ง ท้องร่วง และท้องผูก[319]",
"title": "โรคซึมเศร้า"
},
{
"docid": "926387#4",
"text": "บูโพรพิออนเป็นยาต้านซึมเศร้าอีกชนิดหนึ่งที่มีการสั่งใช้ยากันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ที่มีในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่ายานี้มีประสิทธิภาพดีในการบรรเทาอาการแสดงทางคลินิกของโรคลงได้[17] — ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันในด้านประสิทธิภาพการรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับยาต้านซึมเศร้าอื่นที่มีการสั่งใช้ในปัจจุบัน อาทิ ฟลูอ็อกเซทีน (Prozac) และพาร็อกซีทีน (Paxil) เป็นต้น[18] อย่างไรก็ตาม เป็นที่สังเกตว่าแนวโน้มในการสั่งจ่ายยาเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าในปัจจุบันส่วนใหญ่มีแนวโน้มไปทางเอสซิตาโลแพรม (Lexapro), เซอร์ทราลีน (Zoloft) และเวนลาแฟกซีน (Effexor) มากกว่าการสั่งจ่ายบูโพรพิออน[18] นอกจากนี้ ผลการศึกษาทางคลินิกพบว่ายาใหม่อย่างเมอร์ทาซาปีน (Remeron) นั้นมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคซึมเศร้ามากกว่าบูโพรพิออนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ[18] เมื่อเปรียบเทียบบูโพรพิออนกับยาต้านซึมเศร้าชนิดอื่นแล้วพบว่า บูโพรพิออนมีคุณสมบัติหลายประการที่แตกต่างไปจากยาเหล่านั้น อาทิ ไม่ก่อให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่พบอุบัติการณ์การเกิดค่อนข้างสูงในกลุ่มผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านซึมเศร้าอื่นที่ไม่ใช่บูโพรพิออน[19] ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการรักษาด้วยบูโพรพิออนกับการเกิดอาการนอนไม่หลับหรือการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันจนถึงระดับที่มีนัยสำคัญแต่อย่างใด ซึ่งความผิดปกติข้างต้นที่กล่าวมานั้นมักถูกเหนี่ยวนำให้เกิดได้ค่อนข้างมากในผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านซึมเศร้าอื่น[20]",
"title": "บูโพรพิออน"
},
{
"docid": "926387#12",
"text": "นอกเหนือจากข้อบ่งใช้อื่นที่กล่าวมาดังข้างต้นแล้ว ยังมีการใช้บูโพรพิออนในอีกหลายวัตถุประสงค์ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาวิจัย เช่นในกรณีที่ใช้บูโพรพิออนเป็นยาเสริมในการรักษาโรคซึมเศร้าในผู้ที่กำลังใช้ยาต้านซึมเศร้าชนิดอื่นๆ อาทิ ใช้เสริมฤทธิ์ยาควบคุมอารมณ์ในผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้ว แต่การใช้บูโพรพิออนในกรณีดังกล่าวก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ อย่างไรก็ตาม การศึกษาล่าสุดได้ให้ผลสรุปออกมาว่า การใช้บูโพรพิออนเป็นยาเสริมในกรณีข้างต้นนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยจนถึงระดับที่มีนัยสำคัญและอาจก่อให้เกิดประโยชน์ในการรักษาอย่างมีนัยยะก็เป็นได้[42][43] ส่วนการใช้บูโพรพิออนเพื่อบำบัดรักษาการติดโคเคนนั้นพบว่าไม่มีประสิทธิภาพเป็นที่น่าพึงพอใจเท่าใดนัก ในกรณีของการรักษาการติดเมแทมเฟตามีนนั้นพบว่าอาจมีประโยชน์บ้าง แต่หลักฐานเชิงประจักษ์ที่รับรองการใช้ในข้อบ่งใช้นี้นั้นค่อนข้างอ่อน[44] นอกจากนี้ ข้อมูลจากการศึกษาหลายการศึกษาสามารถบ่งชี้ได้ว่าบูโพรพิออนสามารถลดระดับตัวสื่อให้เกิดการอักเสบ (inflammatory mediators) ชนิดทีเอ็นเอฟ-อัลฟาลงได้ ดังนั้นยานี้จึงอาจเป็นประโยชน์ในการรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel disease: IBD) หรือภาวะภูมิต้านตนเองอื่นๆ แต่การศึกษาทางคลินิกเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวในปัจจุบันนั้นมีจำนวนที่น้อยมาก[45] ทั้งนี้ บูโพรพิออนสามารถไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังเช่นเดียวกันกับยาต้านซึมเศร้าชนิดอื่น[46] ยกเว้นดูล็อกซีทีน (Cymbalta) ที่ได้รับการรับรองให้ใช้ในข้อบ่งใช้ดังกล่าวได้[47] อย่างไรก็ตาม บางการศึกษาพบว่า บูโพรพิออนนั้นมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดเหตุประสาท (Neuropathic pain) บางชนิดได้[48]",
"title": "บูโพรพิออน"
},
{
"docid": "242400#89",
"text": "การบำบัดด้วยแสงสว่าง (light therapy) ช่วยลดความรุนแรงของอาการซึมเศร้า ของคนไข้ทั้งแบบ seasonal affective disorder (ความผิดปกติทางอารมณ์เป็นฤดู) และไม่ใช่ โดยมีผลคล้ายกับของยาแก้ซึมเศร้าธรรมดา สำหรับความซึมเศร้าที่ไม่ได้เป็นไปตามฤดู การบำบัดด้วยแสงเพิ่มขึ้นจากการรักษาด้วยยาตามมาตรฐานไม่มีผล[243] แต่ถ้าใช้การรักษาด้วยแสงโดยมากบวกกับยาแก้ซึมเศร้าหรือการบำบัดด้วยการให้ตื่น (wake therapy) จะมีผลในระดับปานกลาง โดยมีผลดีกว่าการบำบัดควบคุมใน 3 กรณี คือ ในงานศึกษาที่มีคุณภาพสูง ในงานศึกษาที่ให้การรักษาด้วยแสงในตอนเช้า และในบุคคลที่ตอบสนองต่อการงดนอนแบบทั้งคืนหรือค่อนคืน[244] งานวิเคราะห์ที่อ้างทั้งสอง[243][244] ให้ข้อสังเกตถึงคุณภาพที่ไม่ดี ระยะการทดลองที่สั้น และขนาดตัวอย่างที่มีน้อยของงานศึกษาโดยมากที่งานทั้งสองทบทวน",
"title": "โรคซึมเศร้า"
},
{
"docid": "630840#14",
"text": "ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีหรือยาที่ใช้บำบัดรักษาอาการหลอนเสียงดนตรี\nแต่มีเค้สเดี่ยว ๆ ที่แพทย์สามารถลดหรือกำจัดอาการหลอนไปได้\nยาทีใช้ได้ผลเป็นยารักษาโรคจิต (neuroleptics) ยาแก้ซึมเศร้า (antidepressant) และยากันชัก (anticonvulsive) บางประเภท\nยกตัวอย่างเช่น มีคนไข้โรคซึมเศร้าที่มีอาการหลอนเสียงดนตรีลดลงเมื่อใช้ยาแก้ซึมเศร้า \nส่วนนักวิจัยซานเชสรายงานว่า นักวิจัยบางท่านเสนอว่า การใช้อุปกรณ์ช่วยฟัง (hearing aid) อาจช่วยอาการหลอนให้ดีขึ้น \nพวกเขาเชื่อว่า สิ่งแวดล้อมภายนอกมีผลต่ออาการหลอน\nคือที่เงียบทำให้เกิดอาการหลอนมากกว่าที่มีเสียง ",
"title": "ประสาทหลอนเสียงดนตรี"
},
{
"docid": "806299#4",
"text": "ประสิทธิผลของฟลูอ็อกเซทีนและยาแก้ซึมเศร้าอื่น ๆ ในการรักษาโรคซึมเศร้าหนักน้อยถึงปานกลางยังไม่มีข้อยุติ\nงานวิเคราะห์อภิมานปี 2551 เสนอว่า ในอาการจากเบาจนถึงปานกลาง ประสิทธิผลของฟลูอ็อกเซทีนและยา SSRI ไม่มีนัยสำคัญทางคลินิก\nงานวิเคราะห์อภิมานปี 2552 ที่วิเคราะห์ข้อมูลระดับคนไข้จากงานทดลองหกงานที่ใช้ยา SSRI คือ paroxetine และยา non-SSRI คือ imipramine เป็นหลักฐานอีกอย่างว่า ยาแก้ซึมเศร้ามีประสิทธิผลน้อยในกรณีที่เบาจนถึงปานกลาง\nส่วนงานวิเคราะห์อภิมานปี 2555 ที่วิเคราะห์ข้อมูลระดับคนไข้ของฟลูอ็อกเซทีนที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าสรุปว่า มีผลที่มีนัยสำคัญทั้งทางสถิติและทางคลินิกไม่ว่าโรคจะอยู่ในระดับไหน และความรุนแรงของโรคไม่มีผลที่สำคัญต่อประสิทธิผลของยา",
"title": "ฟลูอ็อกเซทีน"
},
{
"docid": "813101#35",
"text": "NICE แนะนำให้ใช้ยาแก้ซึมเศร้าเป็นการรักษาทางเลือกหรือการรักษาเพิ่มในขั้นแรก ที่ใช้โปรแกรมช่วยตัวเองในการรักษาโรคหิวไม่หายแบบทานแล้วอาเจียน (bulimia nervosa)\nยากลุ่ม SSRIs โดยเฉพาะฟลูอ๊อกซิตินเป็นยาที่นิยมมากกว่ายาแก้ซึมเศร้าแบบอื่น ๆ เนื่องจากการยอมรับได้ การอดทนได้ และการลดระดับอาการที่ดีกว่าในการทดลองระยะสั้น \nแม้ว่าประสิทธิผลระยะยาวยังไม่ชัดเจน\nBupropion ไม่แนะนำให้ใช้รักษาความผิดปกติในการรับประทาน เนื่องจากเสี่ยงต่อการชัก",
"title": "ยาแก้ซึมเศร้า"
},
{
"docid": "813101#76",
"text": "Monoamine oxidase inhibitors (MAOIs) เป็นสารเคมีที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ตระกูล monoamine oxidase\nเป็นยาที่มีประวัติยาวนานในการใช้รักษาโรคซึมเศร้า\nโดยมีประสิทธิผลอย่างพิเศษสำหรับโรคแบบ atypical\nและสามารถใช้รักษาโรคพาร์คินสันและโรคอื่น ๆ ได้อีกด้วย",
"title": "ยาแก้ซึมเศร้า"
},
{
"docid": "806364#2",
"text": "องค์การกระทรวงสาธารณสุขของสหราชอาณาจักร (NICE) แนะนำยาแก้ซึมเศร้าเป็นการรักษาลำดับต้นของโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรง และเป็นลำดับต่อไปหลังรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่นการบำบัดความคิด (cognitive therapy) ถ้าโรคคงยืนสำหรับโรคขั้นอ่อนถึงปานกลาง\nและแนะนำไม่ให้ใช้เป็นปกติในบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรังหรือมีโรคซึมเศร้าแบบอ่อน\nมีข้อขัดแย้งกันในเรื่องประสิทธิผลของยาในการรักษาโรคที่ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาที่เป็นโรค",
"title": "Selective serotonin re-uptake inhibitors"
},
{
"docid": "815773#11",
"text": "ยากลุ่มนี้ใช้อย่างสามัญในการรักษาโรควิตกกังวล โรคตื่นตระหนก การนอนไม่หลับ และเป็นสารที่ใช้เป็นยาเสพติดอย่างหนึ่ง\nบุคคลที่มีโรคเหล่านี้มักจะมีอารมณ์และความคิดเชิงลบ อารมณ์ซึมเศร้า ความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย และบ่อยครั้งจะมีโรคซึมเศร้าเป็นไปร่วม\nดังนั้น จึงน่าเป็นห่วงว่า ความซึมเศร้าและความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเป็นผลที่ไม่พึงประสงค์ของยากลุ่มนี้\nแม้ผลต่อความวิตกกังวลและผลช่วยให้นอนหลับจะหายไปเนื่องจากความชินยา แต่ว่า ความซึมเศร้าและความหุนหันพลันแล่นพร้อมกับโอกาสเสี่ยงฆ่าตัวตายสูง กลับคงยืน\nเป็นเรื่องโชคร้ายว่า อาการเหล่านี้ “มักตีความว่า เป็นความแย่ลงหรือวิวัฒนาการตามธรรมชาติของโรคที่มีมาก่อน และจึงมองข้ามเหตุการใช้ยานอนหลับเป็นประจำไป”\nยากลุ่มนี้ไม่ช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า สามารถทำโรคที่มีอยู่ให้แย่ลง สามารถเป็นเหตุแห่งความซึมเศร้าในบุคคลที่ไม่มีประวัติมีโรค และสามารถนำไปสู่การพยายามฆ่าตัวตาย\nปัจจัยเสี่ยงต่อการพยายามและการฆ่าตัวตายสำเร็จเมื่อใช้ยารวมทั้ง การสั่งยาขนาดสูง (แม้ในบุคคลที่ไม่ได้ใช้เป็นสารเสพติด) ยาเป็นพิษ และโรคซึมเศร้า",
"title": "ความผิดปกติทางอารมณ์"
},
{
"docid": "801596#1",
"text": "ความซึมเศร้าก่อทั้งปัญหาทางอารมณ์และปัญหาทางเศรษฐกิจ\nในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ค่าเสียหายที่สัมพันธ์กับโรคซึมเศร้าเทียบได้กับที่เกิดจากโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และปัญหาเกี่ยวกับเจ็บหลัง และเสียหายมากกว่าโรคความดันโลหิตสูง\nตามงานวิจัยหนึ่ง คราวซึมเศร้ามีสหสัมพันธ์โดยตรงกับความว่างงาน\nการรักษารวมทั้งการออกกำลังกาย จิตบำบัด และยาแก้ซึมเศร้า แม้ว่าในกรณีที่รุนแรง การเข้าโรงพยาบาลอาจจำเป็น",
"title": "คราวซึมเศร้า"
},
{
"docid": "801596#16",
"text": "ยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้ารวมทั้ง selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) เช่นฟลูอ๊อกซิติน, serotonin-norepinephrine reuptake inhibitor (SNRI), norepinephrine-dopamine reuptake inhibitor (NDRI), tricyclic antidepressant, monoamine oxidase inhibitor (MAOI) และ atypical antidepressants เช่น mirtazapine ซึ่งไม่สามารถรวมเข้าในประเภทอื่น\nยาแก้ซึมเศร้าได้ผลต่าง ๆ กันสำหรับบุคคลต่าง ๆ\nบ่อยครั้งจำเป็นต้องลองยาหลายอย่างก่อนที่จะเจอขนานที่ดีที่สุดสำหรับคนไข้คนหนึ่ง ๆ\nบางคนอาจจะต้องใช้หลายขนานรวมกัน ซึ่งอาจจะหมายถึงยาแก้ซึมเศร้าสองอย่าง บวกกับยารักษาโรคจิต (antipsychotic)\nถ้ามีญาติใกล้ชิดของคนไข้ที่ใช้ยาแบบหนึ่งดี ยาขนานนั้นก็น่าจะดีต่อคนไข้ด้วย\nบางครั้ง คนอาจจะเลิกทานยาแก้ซึมเศร้าเพราะผลข้างเคียง แม้ว่า ผลข้างเคียงบ่อยครั้งจะรุนแรงน้อยลงต่อ ๆ มา\nการเลิกทานยาแบบฉับพลัน หรือไม่ได้ทานยาหลายครั้ง อาจจะทำให้เกิดอาการขาดยา\nงานศึกษาบางงานพบว่า ยาแก้ซึมเศร้าอาจเพิ่มความคิดหรือการกระทำเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะในเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่วัยต้น ๆ แต่ว่า ยาแก้ซึมเศร้ามีโอกาสสูงกว่าที่จะลดระดับความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในระยะยาว",
"title": "คราวซึมเศร้า"
},
{
"docid": "813101#13",
"text": "งานทบทวนวรรณกรรมแบบคอเครนปี 2551 ของยาสมุนไพรจากพืชสปีชีส์ \"Hypericum perforatum\" (St John's wort) และงานวิเคราะห์อภิมานปี 2558 ที่ทำโดยผู้เขียนเดียวกันบางส่วน ทั้งสองสรุปว่ายามีประสิทธิผลที่ดีกว่ายาหลอกเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า\nและมีประสิทธิผลเท่ากับยาแก้ซึมเศร้ามาตรฐานทั่วไป\nโดยมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาอื่น ๆ \nแต่ก็ยังสรุปด้วยว่า ยากที่จะแสดงคุณค่าของสมุนไพรเพื่อรักษาโรคเนื่องจากข้อจำกัดทางหลักฐาน รวมทั้งความแตกต่างทางประสิทธิผลในงานทดลองที่ทำในประเทศที่พูดภาษาเยอรมันซึ่งมากกว่าเทียบกับที่ทำในประเทศอื่น ๆ \nส่วน Reversible monoamine oxidase A inhibitor (rMAO-A inhibitors) ก็มีหลักฐานแสดงว่ามีประสิทธิผลในการรักษาโดยคนไข้อดทนรับได้ดีกว่ายาแก้ซึมเศร้าอื่น ๆ\nถึงอย่างไรก็ดี มีหลักฐานแสดงประสิทธิผลของยากลุ่ม SSRIs, tricyclic และ tetracyclic เพื่อรักษาโรคซึมเศร้ามากกว่ามากเมื่อเทียบกับยาอื่น ๆ รวมทั้ง St John's wort, rMAO-A inhibitors, serotonin-norepinephrine reuptake inhibitor, serotonin antagonist and reuptake inhibitors, noradrenaline reuptake inhibitors, และ noradrenergic and specific serotonergic antidepressant",
"title": "ยาแก้ซึมเศร้า"
}
] |
2955 | สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เกิดเมื่อใด ? | [
{
"docid": "5513#0",
"text": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (English: Elizabeth II; พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469) เป็นพระประมุขของ 16 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"
}
] | [
{
"docid": "5513#37",
"text": "ในปีถัดมาในช่วงตึงเครียดที่สุดของวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญออสเตรเลีย พ.ศ. 2518 กอฟ วิทแลม นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ถูกผู้สำเร็จราชการ เซอร์ จอห์น เคอร์ ปลดออกจากตำแหน่ง หลังจากที่วุฒิสภาออสเตรเลียซึ่งฝ่ายค้านมีเสียงส่วนใหญ่ไม่ผ่านร่างงบประมาณที่เสนอโดยวิทแลม[94] และเนื่องจากวิทแลมมีเสียงส่วนมากในสภาผู้แทนราษฎรออสเตรเลีย โฆษกประจำสภาผู้แทนราษฎร กอร์ดอน สโคลส์ จึงทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาแด่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ให้ทรงเพิกถอนคำสั่งปลดของเซอร์ จอห์น เคอร์ แต่สมเด็จพระราชินีนาถทรงปฏิเสธฎีกาดังกล่าว โดยตรัสว่าจะมิทรงเข้าแทรกแซงอำนาจการตัดสินใจของผู้สำเร็จราชการแห่งออสเตรเลียซึ่งรับรองโดยรัฐธรรมนูญแห่งออสเตรเลีย[95] วิกฤตการณ์ในครั้งนี้จึงเท่ากับเป็นการเติมเชื้อไฟให้แก่แนวคิดสาธารณรัฐนิยมในออสเตรเลีย[94]",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "5513#62",
"text": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงดำรงพระราชอิสริยยศและตำแหน่งทางการทหารในประเทศเครือจักรภพมากมาย เป็นผู้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในประเทศของพระองค์ ทรงได้รับการถวายพระเกียรติและรางวัลมากมายจากทั่วโลก และมีพระราชอิสริยยศเป็นการเฉพาะในแต่ละประเทศ เช่น สมเด็จพระราชินีนาถแห่งจาเมกา, สมเด็จพระราชินีนาถแห่งออสเตรเลีย ฯลฯ เป็นต้น ทรงดำรงตำแหน่งลอร์ดแห่งแมนในเกาะแมน และดยุกแห่งนอร์ม็องดีในหมู่เกาะแชนเนล ซึ่งทั้งสองเป็นดินแดนปกครองตนเองของสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งอื่น ๆ เช่น อัครศาสนูปถัมภก และดยุกแห่งแลงแคสเตอร์ เมื่อพระราชินีนาถมีพระราชปฏิสันธานกับเรา ควรเริ่มเอ่ยถึงพระองค์ด้วยคำว่า \"ฝ่าพระบาท\" (Your Majesty) หลังจากนั้นจึงค่อยใช้คำว่า \"ท่าน\" (Ma'am) ในการกล่าวถึงพระองค์[205] ลำดับบรรณดาศักดิ์ที่ทรงได้รับตลอดช่วงพระชนม์ชีพมีดังต่อไปนี้:",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "5513#26",
"text": "ด้วยการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ มีความเป็นไปได้ว่าอาจมีการเปลี่ยนชื่อราชวงศ์ไปเป็น ราชวงศ์เมาท์แบตเตน ตามนามสกุลของดยุกแห่งเอดินบะระ และให้เจ้าหญิงทรงเปลี่ยนไปใช้นามสกุลของพระราชสวามี อย่างไรก็ตามสมเด็จพระราชินีแมรี พระอัยยิกา และนายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์ เห็นชอบที่จะให้มีการใช้ชื่อราชวงศ์เดิมต่อไป ดังนั้นราชวงศ์วินด์เซอร์จึงสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ดยุกแห่งเอดินบะระทรงบ่นว่า \"เป็นบุรุษเพียงคนเดียวในประเทศที่ไม่สามารถให้นามสกุลแก่โอรส-ธิดาของพระองค์ได้\"[57] ในปี พ.ศ. 2503 หลังจากที่พระราชินีแมรีสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2496 และวินสตัน เชอร์ชิลล์ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2498 นามสกุล เมาท์แบตเตน-วินด์เซอร์ จึงใช้แก่ดยุกฟิลิปและกับรัชทายาทบุรุษฝ่ายพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ไม่ได้ถือบรรดาศักดิ์ใด ๆ [58]",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "709810#6",
"text": "จากปี พ.ศ. 2144 ในช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพของพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 นักการเมืองอังกฤษจำนวนหนึ่ง เช่น เซอร์โรเบิร์ต เซซิล เอกรัฐมนตรีของพระนาง[4] ยังคงติดต่อเป็นการลับกับพระเจ้าเจมส์เพื่อให้การสืบราชสมบัติที่จะเกิดขึ้นเป็นไปอย่างราบรื่น เซซิลถวายคำชี้แนะแก่พระเจ้าเจมส์ว่ามิควรเร่งเร้าประเด็นการสืบราชบัติกับสมเด็จพระราชินีนาถ แต่ทรงควรที่จะถวายความเมตตาและความเคารพแด่สมเด็จพระราชินีนาถต่อไป[5] ท่าทีดังล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผล เมื่อพระนางเจ้าเอลิซาเบธทรงพระราชหัตถเลขาถึงพระเจ้าเจมส์ว่า \"ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระองค์มิได้เคลือบแคลงพระทัย หากแต่พระราชหัตถเลขาฉบับท้ายสุดของพระองค์ ข้าพเจ้ารับมันไว้ด้วยความปิติ จนข้าพเจ้ามิอาจเพิกเฉยต่อความรู้สึกขอบคุณเฉกเช่นเดิมได้อีกต่อไป\"[6] ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2146 เป็นที่ชัดเจนว่าพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 จวนที่จะเสด็จสวรรคตแล้ว เซซิลดำเนินการร่างคำประกาศอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์อังกฤษของพระเจ้าเจมส์ มีการยกระดับการเฝ้าระวังตามป้อมปราการสำคัญ ๆ ส่วนที่กรุงลอนดอนต่างเต็มไปด้วยทหารราชองครักษ์ พระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ 1 เสด็จสวรรคตไม่นานหลังจากล่วงเข้าสู่วันที่ 24 มีนาคม ภายในระยะเวลาแปดชั่วโมงนับจากนั้น พระเจ้าเจมส์ก็ได้รับการประกาศให้เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษพระองค์ใหม่ ณ กรุงลอนดอน ในขณะที่ข่าวสารการเสด็จขึ้นครองราชย์เผยแพร่ไปทั่วโดยปราศจากความวุ่นวายหรือการประท้วงต่อต้าน[7][8]",
"title": "การรวมราชบัลลังก์"
},
{
"docid": "556930#0",
"text": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรทรงมีพระอิสริยศและพระเกียรติยศทั้งก่อนและในระหว่างครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ของเครือจักรภพ",
"title": "รายชื่อพระอิสริยยศและพระเกียรติยศในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "5513#39",
"text": "ตามคำกล่าวอ้างของพอล มาร์ติน ซีเนียร์. ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 พระราชินีนาถทรงกังวลว่าสถาบันกษัตริย์ \"มีความหมายเพียงน้อยนิด\" สำหรับนายกรัฐมนตรีแคนาดา ปีแยร์ ตรูโด[100] โทนี เบนน์ กล่าวว่าในสายพระเนตรของพระองค์ ปีแยร์ ตรูโด \"ค่อนข้างน่าผิดหวัง\"[100] ซึ่งแนวคิดสาธารณรัฐนิยมของปีแยร์เป็นที่แน่ชัดขึ้นจากท่าทีแสดงการล้อเลียนของเขา เช่น การลื่นไถลตัวเขาเองไปตามราวบันใดในพระราชวังบักกิงแฮม และการเต้นบัลเลต์ท่าหมุนรอบตัวเองอยู่ด้านหลังของพระราชินีนาถในปี พ.ศ. 2520 รวมไปถึงการที่เขาถอดถอนสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์แคนาดาหลายประการตลอดช่วงที่ดำรงตำแหน่ง[100] ในปี พ.ศ. 2523 นักการเมืองแคนาดาหลายคนได้รับการส่งไปกรุงลอนดอนในกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งแคนาดา พวกเขาพบว่าพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรง \"มีความรู้ความเข้าใจ... มากกว่านักการเมืองหรือข้าราชการชาวอังกฤษเป็นไหน ๆ \"[100] ทรงให้ความสนพระราชหฤทัยกับการแก้ไขครั้งนี้โดยเฉพาะหลังจากที่ร่างพระราชบัญญัติซี-60 (Bill C-60) ไม่ผ่านรัฐสภา ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอาจมีผลต่อพระราชสถานะประมุขแห่งรัฐของพระองค์[100] การแก้ไขดังกล่าวเพิกถอนบทบาทของรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรที่มีต่อรัฐธรรมนูญแห่งแคนาดาแต่ยังคงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ปีแยร์กล่าวว่าในความทรงจำของเขาพระราชินีนาถทรงเห็นชอบกับความพยายามของเขาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและเขาประทับใจใน \"พระจริยวัตรอันสง่างามที่ทรงแสดงต่อสาธารณชน\" และ \"พระอัจฉริยะภาพอันปราดเปรื่องที่ทรงแสดงเป็นการส่วนพระองค์\"[101]",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "39175#4",
"text": "ในระหว่างที่ครองราชย์ก็เป็นที่หวังกันว่าพระองค์จะทรงเสกสมรส แต่แม้ว่ารัฐบาลจะยื่นคำร้องหลายครั้ง และ การทรงทำความรู้จักกับกับคู่หมายหลายคนพระราชินีนาถอลิซาเบธก็มิได้ทรงทำการเสกสมรสกับผู้ใด สาเหตุที่ไม่ทรงยอมเสกสมรสก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เมื่อมีพระชนมายุสูงขึ้นพระองค์ก็ทรงมีชื่อเสียงจากการเป็น “พระราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์” และเกิดลัทธินิยมของผู้ติดตามนโยบายดังว่าที่เฉลิมฉลองกันด้วยภาพเหมือน, เทศกาล และ วรรณกรรมร่วมสมัย",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "890995#9",
"text": "เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1953 มงกุฎแห่งสกอตแลนด์ได้ถูกเชิญมาภายหลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 โดยถือนำหน้าพระองค์ในขบวนประกอบพระบรมราชอิสริยยศ โดยร่วมในขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคจากพระราชวังฮอลีรูด ไปยังอาสนวิหารเซนต์กิลส์แห่งเอดินบะระ ซึ่งได้มีการทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสกอตแลนด์ให้กับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในระหว่างพิธีขอบคุณพระเจ้า",
"title": "มงกุฎแห่งสกอตแลนด์"
},
{
"docid": "427964#0",
"text": "พระราชพิธีพัชราภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 () เป็นการเฉลิมฉลองระหว่างประเทศตลอด พ.ศ. 2555 เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรสืบราชบัลลังก์อังกฤษครบ 60 ปี หลังพระราชชนก คือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 สวรรคต เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเป็นเพียงพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย และบรรดาเครือจักรภพบางส่วนที่ได้มีพระราชพิธีพัชราภิเษกเช่นกัน ตามประเพณีพระราชพิธีภิเษก (jubilee) ต่าง ๆ ในอดีต มีการมอบเหรียญพัชราภิเษกในหลายประเทศ ตลอดจนจะมีวันหยุดและจัดงานต่าง ๆ ขึ้นทั่วเครือจักรภพ แผนจัดงานมีการอภิปรายกันที่การประชุมประมุขรัฐบาลเครือจักรภพ พ.ศ. 2554",
"title": "พระราชพิธีพัชราภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2"
},
{
"docid": "5513#1",
"text": "เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและพระมหากษัตริย์แห่งเจ็ดรัฐเครือจักรภพ เจ็ดรัฐ ได้แก่ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ ปากีสถาน และ ซีลอน พิธีราชาภิเษกของพระองค์ในปีถัดมาเป็นพิธีราชาภิเษกครั้งแรกที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ระหว่าง พ.ศ. 2499 ถึง 2535 จำนวนราชอาณาจักรของพระองค์แปรผันเมื่อดินแดนต่าง ๆ ได้รับเอกราชและบ้างกลายเป็นสาธารณรัฐ ปัจจุบัน นอกจากสี่ประเทศแรกที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ยังเป็นพระราชินีนาถแห่งจาเมกา บาร์เบโดส หมู่เกาะบาฮามาส เกรนาดา ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน ตูวาลู เซนต์ลูเซีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ แอนติกาและบาร์บูดา เบลิซ และเซนต์คิตส์และเนวิส พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระชนมายุมากที่สุดของบริเตน เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558 พระองค์เป็นประมุขแห่งรัฐบริเตนที่ทรงราชย์นานที่สุด แซงหน้ารัชกาลของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ผู้เป็นพระมารดาของพระปัยกา (ทวด) ของพระองค์ และเป็นพระราชินีนาถที่ทรงราชย์นานที่สุดในประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นพระราชธิดาพระองค์แรกของดยุกและดัชเชสแห่งยอร์ก (ต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 และสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ) พระราชบิดาเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 กับสมเด็จพระราชินีแมรี พระราชบิดาของพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 พระราชโอรสองค์โตทรงสละราชสมบัติ พระองค์จึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัชทายาทโดยสันนิษฐานแห่งสหราชอาณาจักร",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "5513#53",
"text": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงครองราชย์ยาวนานแซงหน้าสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ผู้เป็นพระมารดาของพระปัยกา (ทวด) ของพระองค์ ทรงเป็นพระราชวงศ์อังกฤษที่มีพระชนมายุมากที่สุด เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558[165] พระองค์ได้รับการเฉลิมฉลองที่แคนาดาในฐานะ \"ประมุขที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในยุคสมัยใหม่ของแคนาดา\" [166] (พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ทรงเป็นพระประมุขของแคนาดายาวนานกว่าสมัยที่เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส)[167] พระองค์ยังเป็นพระราชินีนาถที่ทรงราชย์นานที่สุดในประวัติศาสตร์[168] และพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยังทรงราชย์ยาวนานที่สุดในโลก หลังจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559[169][170] วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร พระองค์แรกที่มีการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 65 ปี[171]",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "5513#65",
"text": "ตราอาร์มประจำพระองค์เจ้าหญิงเอลิซาเบธ (พ.ศ. 2487-2490)ตราอาร์มประจำพระองค์เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งเอดินบะระ (พ.ศ. 2490-2495) ตราอาร์มประจำพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในสหราอาณาจักร (ยกเว้นในสกอตแลนด์)ตราอาร์มประจำพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในสกอตแลนด์ ตราอาร์มประจำพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในแคนาดา (หนึ่งในสามแบบที่ใช้ในรัชกาลของพระองค์)[lower-alpha 1]",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "537822#0",
"text": "อิสลาห์ เอลิซาเบธ ฟิลลิปส์ () เป็นพระนัดดาในเจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี และเป็นพระราชปนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 อิสลาห์เป็นธิดาของปีเตอร์ ฟิลลิปส์กับออทูมน์ ฟิลลิปส์ บิดาของอิสลาห์เป็นโอรสในเจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารีกับมาร์ก ฟิลลิปส์ อิสลาห์เป็นพระราชปนัดดาคนที่สองของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 อิสลาห์มีพี่สาวอีกคนหนึ่งชื่อว่า ซาวันนาห์ ฟิลลิปส์",
"title": "อิสลาห์ ฟิลลิปส์"
},
{
"docid": "39175#0",
"text": "สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (English: Elizabeth I of England หรือ Virgin Queen หรือ Gloriana หรือ Good Queen Bess -- 7 กันยายน พ.ศ. 2076 -- 24 มีนาคม พ.ศ. 2146) และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 จนเสด็จสวรรคต บางครั้งพระองค์ก็ทรงได้รับพระฉายานามว่า \"ราชินีพรหมจารี\" (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตรีย์พระองค์ที่ 5 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "548947#2",
"text": "อัญมณีต่างๆส่วนใหญ่ของมงกุฎองค์นี้ถูกนำมาใช้ในปีค.ศ. 1937 ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระมเหสีของพระราชโอรสของพระองค์ ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งในระหว่างพระราชพิธีนั้น สมเด็จพระราชินีแมรี (พระราชชนนี) ทรงมงกุฎองค์นี้แบบไม่มียอดร่วมพระราชพิธีด้วย และต่อมาในรัชสมัยของพระราชนัดดาของพระองค์ คือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 สมเด็จพระราชินีแมรี (พระอัยยิกา)ก็ยังทรงมงกุฎองค์นี้แบบย่ออยู่อย่างเสมอในพระราชพิธีต่างๆ และหลังจากเสด็จสวรรคตในปีค.ศ. 1953 มงกุฎองค์นี้ก็ยังไม่ถูกทรงอีกเลย จนกระทั่งถูกสวมอีกครั้ง (อัญมณีสำคัญๆถูกแทนที่ด้วยคริสตัล) ในงานรัฐพิธีเลี้ยงพระกระยาหารค่ำโดยดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ ในพระบรมราชานุญาตเป็นกรณีพิเศษของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2",
"title": "มงกุฎพระราชินีแมรี"
},
{
"docid": "524887#5",
"text": "ในช่วงการของการเสด็จฯ เยือนหรือเยือนอย่างเป็นทางการของประมุขต่างประเทศ ประมุขต่างประเทศจะเดินทางสู่พระราชวังบักกิงแฮมเพื่อเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรผ่านถนนเดอะมอลล์ ซึ่งประดับตกแต่งด้วยธงชาติสหราชอาณาจักรและธงชาติของประมุขที่เสด็จฯ เยือนหรือเยือน ช่วงพระราชพิธีกาญจนาภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในปี พ.ศ. 2545 ประชาชนมากกว่าล้านคนออกมายังถนนเดอะมอลล์เพื่อเข้าเฝ้าพระบรมวงศานุวงศ์อังกฤษซึ่งปรากฏพระองค์จากบัญชรพระราชวังบักกิงแฮม ภาพการปรากฏพระองค์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกครั้งในพระราชพิธีเสกสมรสของเจ้าชายวิลเลียมและแคเธอริน มิดเดิลตัน พ.ศ. 2554, พระราชพิธีพัชราภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และงานคอนเสิร์ตพระราชพิธีพัชราภิเษก พ.ศ. 2555",
"title": "เดอะมอลล์ (ถนน)"
},
{
"docid": "5513#50",
"text": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ในวันที่ 27 กรกฎาคม และพาราลิมปิกฤดูร้อน 2012 ในวันที่ 29 สิงหาคม ที่จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังทรงร่วมแสดงคู่กับแดเนียล เคร็ก ผู้รับบทเป็นสายลับเจมส์ บอนด์ ในภาพยนตร์สั้นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2012[158] ด้านพระราชบิดา สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ทรงเคยเปิดการแข่งกันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1948 ส่วนพระปัยกา (ปู่ทวด) สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ก็ทรงเคยเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1908 ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงเคยเสด็จฯ ไปทรงเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1976 ที่นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดามาแล้วครั้งหนึ่ง ด้านพระราชสวามี เจ้าชายฟิลิป ก็เคยเสด็จฯ ไปทรงเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1956 ที่นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียด้วยเช่นกัน[159] ทำให้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขแห่งรัฐพระองค์แรกที่ได้ทรงเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2 ครั้งใน 2 ประเทศ[160]",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "520020#1",
"text": "ปีเตอร์เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 เวลา 10:40 ณ โรงพยาบาลเซนต์แมรี เป็นโอรสคนโตในเจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี กับมาร์ก ฟิลลิปส์ เป็นพระราชนัดดาคนแรกในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร กับเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ เมื่อเขาเกิด ได้มีการยิงสลุดขึ้นฟ้าแสดงความยินดี 41 นัด จากหอคอยลอนดอน (ปีเตอร์ถือเป็นสามัญชน แต่เป็นพระบรมราชโองการในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระอัยยิกา) ปีเตอร์ได้รับบัพติศมาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ปีเดียวกัน ณ ห้องดนตรีพระราชวังบักกิงแฮม",
"title": "ปีเตอร์ ฟิลลิปส์"
},
{
"docid": "5513#41",
"text": "ช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 เกิดความสนใจอย่างแรงกล้าของสื่อมวลชนในพระราชอัธยาศัยและพระราชกิจวัตรประจำวันของพระบรมวงศานุวงศ์ นำไปสู่การเผยแพร่เรื่องราวเหลือเชื่อมากมาย ซึ่งแต่ละเรื่องไม่ถูกต้องอย่างครบถ้วนสมบูรณ์[108] เช่นที่เคลวิน แมคเคนซี บรรณาธิการประจำหนังสือพิมพ์ เดอะซัน กล่าวกับลูกน้องของเขาว่า \"เอาข่าวสาดโคลนเกี่ยวกับราชวงศ์สำหรับตีพิมพ์วันจันทร์มาให้ฉันทีสิ ไม่ต้องห่วงถ้าข่าวนั้นจะไม่เป็นความจริง ตราบใดที่ช่วงหลังมานี้ยังคงไม่มีข่าวซุบซิบราชวงศ์ออกมา\"[109] ด้านบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ โดนัลด์ เทรลฟอร์ดเขียนในหนังสือพิมพ์ ดิออบเซิร์ฟเวอร์ ฉบับวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2529 ว่า \"ละครน้ำเน่าเกี่ยวกับพระราชวงศ์บัดนี้ได้มาถึงจุดที่เส้นแบ่งระหว่างข้อเท็จจริงกับนิยายถูกเลือนหาย... ไม่ใช่เพียงแค่บางหนังสือพิมพ์ไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือรับฟังข้อโต้แย้ง แต่พวกเขายังไม่สนใจว่าเรื่องดังกล่าวจะเป็นความจริงหรือไม่อีกด้วย\" ในหนังสือพิมพ์ เดอะซันเดย์ไทมส์ ฉบับวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 มีรายงานข่าวอันโด่งดังว่าพระราชินีนาถกังวลพระราชหฤทัยในนโยบายด้านเศรษฐกิจของนายกรัฐมตรีหญิง มาร์กาเรต แทตเชอร์ ว่าจะทำให้สังคมเกิดความแตกแยกซึ่งมีสัญญาณบ่งชี้หลายอย่างเช่น อัตราการว่างงานที่สูง การก่อจลาจลหลายระลอก ความรุนแรงจากกลุ่มคนงานเหมืองที่ประท้วงนัดหยุดงาน รวมไปถึงการที่มาร์กาเรตปฏิเสธการคว่ำบาตรต่อรัฐบาลถือผิวในประเทศแอฟริกาใต้ โดยข่าวลือนี้มีที่มาจากเสนาธิการประจำราชสำนัก ไมเคิล ชีอา และผู้สำเร็จราชการประจำเครือจักรภพ ไชร์ดาท แรมพัล แต่ไมเคิลอ้างว่าคำกล่าวของเขาผิดเพี้ยนไปจากบริบทและถูกเสริมแต่งจากการคาดการณ์ส่วนตัว[110] ต่อมาคำกล่าวของมาร์กาเรตก็เป็นที่โจทก์ขานกันไปทั่วเมื่อเธอกล่าวว่า \"สมเด็จพระราชินีนาถจะทรงลงคะแนนเสียงให้แก่พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย\" ซึ่งเป็นพรรคคู่แข่งของเธอ[111] นักชีวประวัติของมาร์กาเรต แทตเชอร์ จอห์น แคมป์เบล อ้างว่า \"รายงานชิ้นดังกล่าวเป็นเพียงการสร้างความเสื่อมเสียจากการสื่อสารมวลชน\"[112] ซึ่งเกิดจากการที่สื่อรายงานผิดเพี้ยนจากความจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ในภายหลังมาร์กาเรต แทตเชอร์จึงแสดงความชื่นชมของเธอที่มีต่อพระราชินีนาถออกมา[113] และหลังจากที่มาร์กาเรต แทตเชอร์ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยมีจอห์น เมเจอร์ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่แล้ว สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ก็ได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เมริตและเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์แด่มาร์กาเรต แทตเชอร์ เป็นของขวัญพระราชทาน[114] นอกจากนี้อดีตนายกรัฐมนตรีแคนาดา ไบรอัน มัลรอนีย์ กล่าวว่าพระองค์เป็น \"พลังขับเคลื่อนเบื่องหลัง\" ในการยุติการถือผิวในประเทศแอฟริกาใต้[115][116]",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "39175#1",
"text": "สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ผู้ประสูติที่พระราชวังกรีนิช เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ บุลิน พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงเกือบ 3 พรรษา จากนั้นพระองค์ก็ทรงถูกประกาศว่าเป็นพระราชธิดานอกกฎหมาย",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "5513#42",
"text": "ในปี พ.ศ. 2530 ในแคนาดา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 มีพระราชดำรัสว่าทรงสนับสนุนข้อตกลงมีชเลค (Meech Lake Accord) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่สร้างความแตกแยกทางการเมือง เป็นข้อตกลงที่โน้มน้าวให้รัฐควิเบกยอมรับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2525 และยังคงเป็นส่วนหนึ่งของแคนาดาต่อไป ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เช่น อดีตนายกรัฐมนตรีปีแยร์ ตรูโด[115] ในปีเดียวกันนั้นเองที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของฟิจิถูกรัฐประหารโดยกองทัพ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในฐานะที่เป็นพระมหากษัตริย์ฟิจิ ให้การสนับสนุนผู้สำเร็จราชการแห่งฟิจิ เพเนเอีย กานิเลา ในการพยายามเจรจาประนีประนอมและยันยันถึงสิทธิ์อันชอบธรรมของรัฐบาล แต่ผู้นำการปฏิวัติ ซิติเวนี ราบูกา กลับเนรเทศผู้สำเร็จราชการและประกาศให้ฟิจิเป็นสาธารณรัฐ[117] ต่อมาในช่วงต้นของปี พ.ศ. 2534 แนวคิดสาธารณรัฐนิยมในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นจากรายงานตัวเลขคาดการณ์พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนาถซึ่งถูกโต้แย้งโดยสำนักพระราชวัง รวมไปถึงข่าวชีวิตคู่ที่ล้มเหลวของพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์[118] นอกจากนี้ความเกี่ยวข้องกับเกมโชว์การกุศล อิตส์รอยัลน็อคเอาต์ ของราชนิกุลรุ่นเยาว์ได้รับการเย้ยหยัน[119] และสมเด็จพระราชินีนาถก็ทรงตกเป็นเป้าของการเสียดสีล้อเลียน[120]",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "145124#28",
"text": "พระราชินีแคทเธอรีนทรงพยายามสร้างเสริมความมั่นคงของราชวงศ์วาลัวร์โดยการจัดการเสกสมรสอันยิ่งใหญ่ในปี ค.ศ. 1570 ระหว่างพระเจ้าชาร์ลกับ อาร์ชดัชเชสเอลิซาเบธแห่งออสเตรีย (Elisabeth of Austria) ผู้เป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 2 นอกจากนั้นก็ยังมีพระประสงค์ที่จะจัดการเสกสมรสกับพระโอรสองค์องค์รองใดองค์หนึ่งกับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ [88]",
"title": "แคทเธอรีน เดอ เมดีชี"
},
{
"docid": "490496#5",
"text": "ในพระสถานะพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงได้รับการเฉลิมพระนามว่า \"โดยพระคุณของพระเป็นเจ้า เอลิซาเบธที่ 2 สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ตลอดทั้งราชอาณาจักรและดินแดนอื่น ๆ ของพระนาง พระประมุขแห่งเครือจักรภพ ผู้ปกป้องศรัทธา\" (Elizabeth the Second, by the Grace of God, of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland and of Her other Realms and Territories Queen, Head of the Commonwealth, Defender of the Faith)",
"title": "อัครศาสนูปถัมภก"
},
{
"docid": "64083#25",
"text": "พระเจ้าจอร์จที่ 5 (ครองราชย์ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 - 20 มกราคม พ.ศ. 2479) พระราชโอรสพระองค์ที่สองในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 และเจ้าหญิงอเล็กซานดรา เป็นพระบรมราชชนกในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 (ครองราชย์ 20 มกราคม - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2479) และ พระเจ้าจอร์จที่ 6 (ครองราชย์ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2479 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495) และพระอัยกาในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (เสวยราชสมบัติหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระชนกในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495) และ เจ้าหญิงมาร์กาเร็ต เคานเตสแห่งสโนว์ดอน (21 สิงหาคม พ.ศ. 2473 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545) ในฐานะพระราชธิดาในพระเจ้าจอร์จที่ 6 และสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระบรมราชชนนี (เดิมคือ เลดี้ เอลิซาเบธ โบวส์-ลีออน; 4 สิงหาคม พ.ศ. 2443 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2545) สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตจีงเป็นพระราชปนัดดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 และลื่อในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย รวมทั้งยังสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าจอร์จที่ 3 พระอัยกาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียด้วย",
"title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย"
},
{
"docid": "5513#29",
"text": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทอดพระเนตรเห็นการเปลี่ยนแปลงของจักรวรรดิอังกฤษไปสู่เครือจักรภพแห่งประชาชาติตลอดช่วงพระชนม์ชีพของพระองค์[67] ตั้งแต่การเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2495 ตำแหน่งพระประมุขของรัฐอธิปไตยหลากหลายรัฐก็สถาปนาขึ้นไว้แล้ว[68] ซึ่งตลอดช่วงปี พ.ศ. 2496 - 2497 พระองค์และพระราชสวามีได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ รอบโลกเป็นเวลาหกเดือน และยังเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์แห่งออสเตรเลียและพระมหากษัตริย์แห่งนิวซีแลนด์เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศของพระองค์ขณะทรงครองราชย์อยู่[69] ประมาณกันว่าสามในสี่ของประชาชนชาวออสเตรเลียได้พบเห็นสมเด็จพระราชินีนาถของตนระหว่างช่วงการเสด็จพระราชดำเนินเยือน[70] เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศทั้งที่ใช่และไม่ใช่ประเทศเครือจักรภพมากมายตลอดช่วงรัชสมัยของพระองค์ และเป็นพระประมุขแห่งรัฐที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศมากที่สุดในประวัติศาสตร์[71]",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "5513#45",
"text": "ปี พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นปีเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน พระขนิษฐา สิ้นพระชนม์ในเดือนกุมภาพันธ์ ตามมาด้วยการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี ในเดือนมีนาคม ทำให้สื่อตั้งคำถามว่าพระราชพิธีกาญจนาภิเษกในปีนี้จะประสบกับความสำเร็จหรือความล้มเหลว[139] และเป็นอีกครั้งที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเครือจักรภพ โดยเริ่มต้นขึ้นที่จาเมกาในเดือนกุมภาพันธ์ ที่ซึ่งตรัสเรียกการเสด็จฯ ครั้งนั้นว่า \"เป็นที่จดจำ\" หลังจากที่เกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้องจนมืดสนิทไปทั่วบริเวณงานเลี้ยงส่งเสด็จฯ ณ พระตำหนักคิงส์เฮาส์ ซึ่งเป็นที่พำนักอย่างเป็นทางการของผู้สำเร็จราชการแห่งจาเมกา[140] ในงานเฉลิมฉลองการครองราชสมบัติครบ 50 ปีในครั้งนี้ มีการเฉลิมฉลองและงานเลี้ยงสังสรรค์บนท้องถนนมากมายเช่นเดียวกับครั้งที่เฉลิมฉลองพระราชพิธีรัชดาภิเษกในปี พ.ศ. 2520 มีอนุสาวรีย์ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกการเฉลิมฉลองในครั้งนี้มากมาย และประชาชนกว่าล้านคนออกมาเฉลิมฉลองในงานเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการสามวันของกรุงลอนดอน[141] ซึ่งความสนใจของประชาชนต่อพระราชินีนาถและพระราชพิธีนี้มีมากกว่าที่สื่อส่วนมากคาดการณ์ไว้[142]",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "539638#0",
"text": "เดวิด อัลเบิร์ต ชาร์ลส์ อาร์มสตรอง-โจนส์, เอิร์ลที่ 2 แห่งสโนว์ดอน () พระโอรสในเจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน กับอันโทนี อาร์มสตรอง-โจนส์, เอิร์ลที่ 1 แห่งสโนว์ดอน เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 เขาเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร ทั้งยังเป็นพระภาคิไนยใน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เขาอยู่ในลำดับโปเจียมพระราชวงศ์ฝ่ายหน้าเป็นคนที่ 10 เขาคือผู้สืบทอดตำแหน่งเอิร์ลแห่งสโนว์ดอน<\nเดวิด อาร์มสตรอง-โจนส์, ไวเคานต์ลินลีย์ เป็นพระโอรสคนใหญ่ใน เจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน และ อันโทนี อาร์มสตรอง-โจนส์ เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 ณ โรงพยาบาลพอร์ตแลนด์ เดวิด เป็นพระภาคิไนยในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร และเป็นพระราชนัดดาใน สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร และถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 20 ในการสืบราชสันตติวงศ์แห่งราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร",
"title": "เดวิด อาร์มสตรอง-โจนส์, เอิร์ลที่ 2 แห่งสโนว์ดอน"
},
{
"docid": "5513#5",
"text": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 หลังจากที่พระราชบิดาเสด็จสวรรคต ขณะที่พระองค์กำลังประทับอยู่ที่ประเทศเคนยา ซึ่งเป็นประเทศแรกตามหมายกำหนดการเยือนประเทศในเครือจักรภพของพระองค์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจัดขึ้นที่มหาวิหารเวสมินสเตอร์ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2496 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พระราชพิธีได้ถ่ายทอดไปทั่วโลก",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "656339#5",
"text": "ในปีค.ศ. 2006 มหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชากฎหมายให้แก่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วันที่ 2 พฤษภาคมค.ศ. 2012 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พร้อมด้วยเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ ได้ทรงเสด็จเยือนเมืองเอ็กซิเตอร์ และมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีพัชราภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2และได้ทรงทำพิธีเปิดอาคารโครงการฟอรัม ศูนย์บริการนักศึกษาแห่งใหม่ของมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์",
"title": "มหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์"
}
] |
1483 | สงครามโลกครั้งที่สองใครคือผู้ชนะ ? | [
{
"docid": "516201#4",
"text": "ผู้ชนะฝ่ายสัมพันธมิตรหลักในสงครามโลกครั้งที่สอง ได้แก่ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ต่างตกลงว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นของฝรั่งเศส เมื่อฝรั่งเศสไม่มีวิธียึดอินโดจีนคืนทันที มหาอำนาจตกลงว่าบริเตนจะเข้าควบคุมและทหารจะยึดครองภาคใต้ ขณะที่กำลังจีนคณะชาติจะเคลื่อนเข้ามาจากทิศเหนือ กำลังจีนคณะชาติเข้าสู่ประเทศเพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นเหนือเส้นขนานที่ 16 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2488 เส้นขนานดังกล่าวแบ่งอินโดจีนออกเป็นเขตควบคุมจีนและบริเตน บริเตนขึ้นบกในภาคใต้ปลดอาวุธกำลังฝรั่งเศสที่ถูกกักตัวขนาดย่อม ตลอดจนบางส่วนของกำลังญี่ปุ่นที่ยอมจำนนเพื่อช่วยในการยึดเวียดนามภาคใต้คืน เนื่องจากไม่มีกำลังบริเตนเพียงพอในทันที",
"title": "สงครามจีน–เวียดนาม"
},
{
"docid": "5333#4",
"text": "สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม",
"title": "สงครามโลกครั้งที่สอง"
}
] | [
{
"docid": "110167#87",
"text": "ภายหลังสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้จัดเฉลิมฉลองชัยชนะที่ฝรั่งเศล ต่อมาได้มีการการประชุมสันติภาพปารีสของประเทศที่อยู่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงคราม ณ พระราชวังแวร์ซายโดยห้ามไม่ให้ฝ่ายมหาอำนาจผู้แพ้สงครามเข้าร่วมประชุม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ร่างสนธิสัญญาสันติภาพขึ้นโดยมีใจความว่า ให้จักรวรรดิเยอรมันต้องยินยอมรับผิดในฐานะผู้ก่อสงครามแต่เพียงผู้เดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้ข้อตกลงข้อ 231 (ในภายหลังรู้จักกันว่า \"อนุประโยคความรับผิดในอาชญากรรมสงคราม\") และในข้อ 232-248 เยอรมนีถูกปลดอาวุธ ถูกจำกัดอาณาเขตดินแดน รวมไปถึงต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่กลุ่มประเทศฝ่ายไตรภาคีเป็นจำนวนมหาศาล เมื่อปี ค.ศ. 1921 ได้ประเมินว่ามูลค่าของค่าปฏิกรรมสงครามที่เยอรมนีจะต้องจ่ายนั้นสูงถึง 132,000 ล้านมาร์ก (ราว 31,400 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือ 6,600 ล้านปอนด์) [1] อันเป็นจำนวนที่มากเกินกว่าจะยอมรับได้และไม่สร้างสรรค์ และเยอรมนีอาจต้องใช้เวลาชำระหนี้จนถึง ค.ศ. 1988 เนื่องจากประเทศทั้งสองคือฝรั่งเศลและอังกฤษต้องการจะให้เยอรมันอ่อนแอไม่ให้กลับแข็งแกร่งมาต่อกรอีก ยกเว้นสหรัฐอเมริกาไม่ได้เข้าร่วมทำให้กลายเป็นสนธิสัญญาที่ดูไม่เป็นธรรมเลย ในตอนแรกว่าตัวแทนทูตจากเยอรมนีได้เห็นสนธิสัญญาฉบับนี้ว่ารุนแรงและเป็นที่ยอมรับไม่ได้จึงไม่พอใจมาก แต่ต่อมาเยอรมนีได้จัดตั้งสาธารณรัฐขึ้นใหม่หลังจากจักรวรรดิล่มสลายไปคือ สาธารณรัฐไวมาร์ ได้ตกลงที่จะยอมรับปฏิบัติตามสนธิสัญญาแวร์ซายทันทีทำให้เยอรมนีต้องอยู่อย่างอัปยศอดสู แต่อย่างไรก็ตามสนธิสัญญาแวร์ซายนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในการสร้างสันติภาพแต่อย่างใดเลย หากเป็นบ่อนทำลายที่จะทำให้เกิดสงครามโลกปะทุอีกครั้งซึ่งได้กลายเป็นความจริงอย่างแน่นอน เพราะในอีกยี่สิบเอ็ดปีให้หลัง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซีได้ยึดอำนาจในสาธารณรัฐไวมาร์ได้สำเร็จ จากนั้นก็ได้ทำการฟื้นฟูทั้งการเมืองและกำลังทหารจนเข้มแข็งทำให้ละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายและรุกรานประเทศอื่นจนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สองในที่สุด",
"title": "สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง"
},
{
"docid": "165970#11",
"text": "โรมาเนีย ซึ่งเป็นฝ่ายพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และเป็นผู้ชนะสงคราม กลับรู้สึกว่าตนจะเป็นฝ่ายที่สูญเสียผลประโยชน์ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง จากผลของสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ทำให้โรมาเนียต้องสูญเสียดินแดนทางทิศเหนือให้แก่สหภาพโซเวียต คำตัดสินกรุงเวียนนาครั้งที่สอง ทำให้โรมาเนียต้องยกแคว้นทรานซิลวาเนียตอนบนให้แก่ฮังการี และสนธิสัญญาเมืองคราโจวา โรมาเนียต้องยกแคว้นโดบรูจากมห้แก่บัลแกเรีย ในโรมาเนียเองก็มีแนวคิดโรมาเนียอันยิ่งใหญ่ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะรวมตัวกับนาซีเยอรมนี",
"title": "สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "165970#25",
"text": "สนธิสัญญาแวร์ซายถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนาหูว่าเป็นมลทินของสงคราม เพราะเป็นการโยนความผิดให้แก่จักรวรรดิเยอรมนีและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเดิม และลงโทษอย่างหนักเพื่อเรียกร้องให้พวกเขารับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสงคราม โดยผู้ชนะสงครามได้หวังว่าสนธิสัญญานี้จะได้กลายเป็นสิ่งที่สามารถธำรงสันติภาพให้เกิดขึ้นในโลกได้ ผลที่ตามมมา คือ เยอรมนีจำเป็นต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนมหาศาล การสูญเสียดินแดนอาณานิคมทั้งหมด การจัดระเบียบทางเชื้อชาติขนานใหญ่ หลังจากนั้น เศรษฐกิจเยอรมันก็ร่วงดิ่งลงไปอย่างหนัก อัตราเงินเฟ้อสูงลิบ สาธารณรัฐไวมาร์จำเป็นต้องพิมพ์ธนบัตรกว่าล้านล้านฉบับออกมาและต้องกู้ยืมเงินจำนวนมหาศาลจากสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้หนี้แก่สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง",
"title": "สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "206923#2",
"text": "เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง วิหคไปเปรียบมวยที่ภาคเหนือ ชนะคู่ชกหลายคน เช่น วิม ชัยสงัด เชาว์ ชัยสงัด เสมา เมืองราช แล้วจึงลงมาชกกรุงเทพฯอีกครั้ง ช่วงนั้น เวทีราชดำเนินสร้างเสร็จแล้ว เขาขึ้นชกอีกหลายครั้ง เช่น ชนะคะแนน ลพ สุวมิตร ขึ้นชกชิงเสื้อสามารถ เข้าถึงรอบชิงแต่แพ้คะแนน วีระศักดิ์ เมืองสุรินทร์ แบบค้านสายตา การขึ้นชกที่กรุงเทพฯนี้เป็นช่วงท้ายของชีวิตการชกมวยของวิหคแล้วเพราะร่างกายไม่สมบูรณ์เหมือนเมื่อก่อน ช่วงหลังเขาแพ้แตก จำเริญ ทรงกิตรัตน์ ชิงแชมป์มวยไทยรุ่นเฟเธอร์เวทของเวทีราชดำเนินก็แพ้แตก สวง ใจมีบุญอีก เมื่อชกแก้มือชนะสวงได้แล้ว วิหคก็แขวนนวมไปเมื่อ พ.ศ. 2491",
"title": "วิหค เทียมกำแหง"
},
{
"docid": "221996#35",
"text": "สงครามอย่างเป็นทางการ (Pitched battle) เริ่มต่อสู้กันเป็นครั้งแรกในยุทธการเอ็ดจฮิลล์ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1642 ครั้งนี้ไม่มีใครแพ้ใครชนะแต่ทั้งสองฝ่ายต่างก็อ้างตนว่าเป็นผู้ชนะ การปะทะกันครั้งที่สองเกิดขึ้นที่ยุทธการเทอแนมกรีน ครั้งนี้พระเจ้าชาลส์ทรงถูกบังคับให้ถอยไปยังเมืองออกซฟอร์ด ซึ่งกลายเป็นที่ตั้งมั่นของพระองค์จนสงครามยุติลง",
"title": "สงครามกลางเมืองอังกฤษ"
},
{
"docid": "390615#1",
"text": "สงครามโลกครั้งที่สอง หลังการบุกหาดโอมาฮ่าเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 แล้ว กองทัพอเมริกันประสบความสูญเสียเป็นอย่างมาก ทหารหลายคนบาดเจ็บ พิการ และล้มตาย ร้อยเอก จอห์น มิลเลอร์ (ทอม แฮงค์) ผู้นำกองทหารกองหนึ่ง ก็พบกับความสูญเสียของผู้ใต้บังคับบัญชาในครั้งนี้ด้วย",
"title": "เซฟวิ่ง ไพรเวท ไรอัน ฝ่าสมรภูมินรก"
},
{
"docid": "5333#69",
"text": "ค่ายเชลยสงครามของญี่ปุ่นเองก็มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และยังมีการตั้งเป็นค่ายแรงงาน ภายหลังจากการตัดสินของศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกล (เดิมชื่อ \"ศาลพิเศษโตเกียว\") ได้ลงมติว่าอัตราการเสียชีวิตของเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรคิดเป็น 27.1% (ในจำนวนนี้เป็นทหารสหรัฐอเมริกา 37%) คิดเป็นเจ็ดเท่าของอัตราเดียวกันของค่ายแรงงานของนาซีเยอรมนีและอิตาลี แต่จำนวนดังกล่าวนั้นมีสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชลยศึกชาวจีน ซึ่งจากคำสั่งที่ได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1937 โดยจักรพรรดิฮิโรฮิโตได้ระบุว่า ชาวจีนไม่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายระหว่างประเทศ หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารสหราชอาณาจักรได้รับการปล่อยตัว 37,853 นาย ทหารเนเธอร์แลนด์ 28,500 นาย ทหารสหรัฐอเมริกา 14,473 นาย แต่พบว่าทหารจีนถูกพบว่าได้รับการปล่อยตัวเพียง 56 นาย",
"title": "สงครามโลกครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "10965#1",
"text": "แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ เป็นผู้นำของประเทศในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และแนวคิดของเขายังก่อให้เกิดองค์กรระหว่างประเทศ คือ สหประชาชาติ ถึงแม้ว่าเขาจะประสบปัญหาด้านสุขภาพในช่วงวิกฤตของประเทศก็ตาม โรสเวลต์เสียชีวิตขณะยังดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2488 โดยไม่ได้เห็นชัยชนะของสหรัฐฯ และฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง อายุรวม 62 ปี",
"title": "แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์"
},
{
"docid": "165970#24",
"text": "สนธิสัญญาแวร์ซายมิได้ประนีประนอมให้แก่เยอรมนีแต่อย่างใด ฝ่ายพันธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้เยอรมนีกลับขึ้นมาท้าทายอำนาจในทวีปยุโรปอีกครั้ง",
"title": "สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง"
}
] |
3562 | คริสเตียโน โรนัลโด เริ่มเล่นฟุตบอลครั้งแรกกับทีมอะไร ? | [
{
"docid": "40890#0",
"text": "โรนัลโด (English: Ronaldo) หรือชื่อเต็มว่า โรนัลโด้ ลูย นาซารีโอ เด ลิมา (Portuguese: Ronaldo Luíz Nazário de Lima) เกิดวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2519) เป็นนักฟุตบอลชาวบราซิล ปัจจุบันเลิกอาชีพค้าแข้งแล้ว ในปี ค.ศ. 1993 โรนัลโดเริ่มต้นเส้นทางการเป็นนักฟุตบอลอาชีพกับสโมสรกรูเซย์รู ในฤดูกาลแรกนั้น เขาทำได้ถึง 12 ประตูใน 14 เกม โดยโรนัลโดมีอายุเพียง 17 ปีเท่านั้น หลังจากนั้นก็ถูกแมวมองจากสโมสรยักษ์ใหญ่ เพเอสเวไอนด์โฮเวนจากเนเธอร์แลนด์ดึงไปร่วมเล่น นอกจากนี้ โรนัลโดก็ยังได้ร่วมทางกับสโมสรใหญ่ในยุโรปมากมาย อาทิ บาร์เซโลนา อินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโน (อินเตอร์ มิลาน) เรอัลมาดริด และเอซีมิลาน",
"title": "โรนัลโด"
}
] | [
{
"docid": "87726#2",
"text": "โรนัลโดลงเล่นในเกมของฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส ในระดับชาตินัดแรกคือตอนเจอกับคาซัคสถาน ในเดือนสิงหาคม 2003 และหลังจากนั้นเขาได้ลงเล่นมากขึ้นรวมทั้งหมดถึงห้าทัวร์นาเมนต์ ได้แก่ ยูโร 2004, ฟุตบอลโลก 2006, ยูโร 2008, ฟุตบอลโลก 2010 และยูโร 2012 เขาทำประตูแรกในนามทีมชาติโปรตุเกสได้ในการแข่งขันยูโร 2004 ในนัดเปิดการแข่งขันที่เจอกับกรีซ เขาเป็นคนสำคัญในการนำทีมชาติโปรตุเกสเข้าไปชิงชนะเลิศในปี 2004 และหลังจากนั้นโรนัลโดได้มีบทบาทและได้ลงตำแหน่งตัวจริงมากขึ้น ในปี 2008 โรนัลโดได้เป็นกัปตันทีมครั้งแรกของทีมชาติโปรตุเกสได้นำทีมเข้าแข่งขันยูโร 2008 สามารถเข้าไปถึงรอบรองชนะเลิศได้ เขาสามารถยิงได้สามประตูในการแข่งขันทัวร์นาเมนต์นี้ ในวันที่ 16 ตุลาคม 2012 โรนัลโดได้ลงเล่นครบ 100 นัดสำหรับทีมชาติโปรตุเกสในนัดที่เจอกับไอร์แลนด์เหนือ ทำให้เขาเป็นหนึ่งในสามนักเตะที่ลงเล่นให้กับทีมชาติโปรตุเกสเกิน 100 นัด[4] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012 เฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการของเขาได้มีคนติดตามถึง 50 ล้านคน[5]",
"title": "คริสเตียโน โรนัลโด"
},
{
"docid": "455611#0",
"text": "เอแดน มีกาแอล อาซาร์ () เกิดวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1991 ที่เมืองลาลูเวียร์ ประเทศเบลเยียม ปัจจุบันเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลเชลซี อาซาร์มีจุดเด่นด้านการเล่นแบบสร้างสรรค์ ความเร็ว และความสามารถพิเศษ และได้รับการกล่าวว่าเป็น \"กองกลางตัวรุกที่สามารถเปลี่ยนเกมด้วยการเลี้ยงลูกฟุตบอลโดยปัจจุบันผู้คนทั่วโลกได้ยอมรับและยกย่องอาซาร์ว่าเป็นนักเตะที่เก่งที่สุดในโลกเหนือโรนัลโด้และเมสซี่\" รวมไปถึงได้รับฉายาว่า \"นักฟุตบอลที่เป็นฝันร้ายของกองหลัง\" ซึ่งเขาได้รับการเปรียบเทียบความสามารถทักษะและลีลาการเล่น จากสื่อมวลชน และผู้จัดการทีม กับเลียวเนล เมสซี เจ้าของรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปี และคริสเตียโน โรนัลโด รวมถึงแกเร็ธ เบล อาซาร์เคยติดผู้เล่นยอดเยี่ยมในฤดูกาล 2014-2015 ",
"title": "เอแดน อาซาร์"
},
{
"docid": "87726#6",
"text": "ครอบครัวของโรนัลโดอาศัยอยู่ที่ย่านกิงตาดูฟัลเซา เขตซังตูอังตอนีอูของเมืองฟุงชาล ซึ่งเป็นเขตที่มีประชากรยากจนอาศัยอยู่มาก โรนัลโดเริ่มเล่นฟุตบอลที่นี่ ซึ่งในตอนเด็กเขาจะชอบเล่นฟุตบอลมาก บริเวณตามถนน พอตอนเขาอายุ 6 ขวบ เขาเริ่มต้นเล่นฟุตบอลอย่างจริงจังในทีมชุดใหญ่ของทีมอังดูริญญา (Andorinha) โดยการชักชวนของญาติเขาที่อยู่ในทีมนี้ พอถึงปี พ.ศ. 2538 โรนัลโดย้ายไปอยู่กับทีมนาซีอูนัล (Nacional) โดยมีการจ่ายค่าตัวเป็นชุดฟุตบอลและลูกบอล[10]",
"title": "คริสเตียโน โรนัลโด"
},
{
"docid": "120686#25",
"text": "ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 ตอร์เรสยิงประตูได้ 3 ประตู ในเกมที่ชนะทีมชาติไอร์แลนด์ 4-0 สองลูก และในนัดชิงชนะเลิศที่สเปนชนะอิตาลี 4-0 อีกหนึ่งลูก คว้าดาวซัลโวร่วมกับคริสเตียโน โรนัลโด, มารีโอ โกเมซ, มารีโอ บาโลเตลลี, อลัน ดซาโกเอฟ และมารีออ มันจูคิช แต่ตอร์เรสได้รับรางวัลดาวซัลโวรองเท้าทองคำ เนื่องจากยิงได้ 3 ประตู จ่ายให้เพื่อนยิง 1 ลูกและลงเล่นในเวลาที่น้อยกว่า 5คนที่เป็นดาวซัลโวร่วม เขาจึงได้รับรางวัลดาวซัลโวพร้อมแชมป์ยูโร 2012 กับสเปนไปครอง โดยก่อนหน้าที่จะมาทำศึกฟุตบอลยูโร 2012 เขายิงได้ในเกมอุ่นเครื่องกับทีมชาติเกาหลีใต้ได้อีก 1 ลูก",
"title": "เฟร์นันโด ตอร์เรส"
},
{
"docid": "87726#17",
"text": "พอเข้าสู่ฤดูกาลที่ 2 ของโรนัลโด เขาได้ถูกเปลี่ยนเบอร์ของเสื้อจากเบอร์ 9 เป็นเบอร์ 7 และได้เปลี่ยนผู้จัดการทีมมาเป็นโชเซ มูรีนโย ผู้จัดการทีมชาวโปรตุเกสที่รู้จักในตัวของโรนัลโดเป็นอย่างดี ในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2010 ในนัดที่เรอัลมาดริดเจอกับราซิงเดซานตันเดร์ โดยโรนัลโดทำประตูไปได้ถึง 4 ประตู ทำให้เรอัลมาดริดชนะไป 4-0 แล้วในนัดที่เจอกับ สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา โดยเรอัลมาดริดไปเยือนที่กัมนอว์ แพ้ไป 5-0 ซึ่งโรนัลโดก็ได้มีจังหวะยิงหลายครั้ง แล้วหลังจากในนัดนั้น เรอัลมาดริดได้เปิดบ้านพบกับแอทเลติกบิลบาโอ โดยในนัดนั้นโรนัลโดเกือบทำแฮตทริกได้โดยเขายิงไป 5 ประตู ในช่วงเวลาต่างกันไม่เกิน 6 นาที ทำให้ชนะไป 6-1 และในช่วงปลายปี ค.ศ. 2010 เขาได้ทำเกือบทำซูเปอร์แฮตทริกเป็นครั้งแรกในตัวของเขาโดยในถ้วยโกปาเดลเรย์กับเลบันเตอูเด โดยโรนัลโดทำไป 5 ประตู และแฮตทริกของการีม แบนเซมา ทำให้เรอัลมาดริดชนะไป 8-0",
"title": "คริสเตียโน โรนัลโด"
},
{
"docid": "422137#1",
"text": "รางวัลนี้เริ่มมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 หลังจากที่ได้รวมรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรป (บาลงดอร์) เข้ากับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปี (FIFA World Player of the Year award) ผู้ชนะในปี ค.ศ. 2010 , ค.ศ. 2011 และ ค.ศ. 2012 คือเลียวเนล เมสซี ส่วนใน ค.ศ. 2013 คือคริสเตียโน โรนัลโด โดยในปีล่าสุดคริสเตียโน โรนัลโด ได้ทำผลงานโดดเด่นเอาไว้คือ การยิงแฮตทริคในนัดที่พาทีมโปรตุเกสบุกไปเอาชนะทีมสวีเดน ที่มีซลาตัน อีบราฮีมอวิช เป็นผู้นำทัพไปได้ด้วยสกอร์ 3-2 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2013 ในเกมฟุตบอลโลก 2014 รอบเพลย์ออฟนัดสอง",
"title": "ฟีฟ่าบาลงดอร์"
},
{
"docid": "148107#18",
"text": "ในฤดูกาล 2011-12 เรอัลมาดริดสามารถคว้าแชมป์ลาลีกามาได้เป็นสมัยที่ 32 ของสโมสรในประวัติศาสตร์การแข่งขันลาลีกาและจบอันดับ 1 ของฤดูกาลด้วยการมีคะแนนทั้งหมด 100 คะแนน จากทั้งหมด 114 คะแนน ยิงประตูคู่แข่งได้มากถึง 121 ประตู และเสียประตูให้คู่แข่งไป 32 ประตู และผลต่างของลูกได้กับลูกเสียคือ 89 ประตู พร้อมกับชนะคู่แข่งทั้งหมด 32 นัด เสมอ 4 นัด และแพ้ 2 นัด และคริสเตียโน โรนัลโด กลายเป็นผู้เล่นที่เร็วที่สุดในการทำประตูมากกว่า 100 ลูก ในประวัติศาสตร์ลีกสเปนยังเป็นผู้เล่นที่ทำประตูได้ โดยโรนัลโดทำประตู 101 ประตู จากการลงเล่นแค่ 92 โดยทำให้โรนัลโดแซงสถิติของเฟเรนส์ ปุชคัช อดีตนักฟุตบอลชาวฮังการีของสโมสรที่ทำประตูที่ 100 จากการลงเล่น 105 นัด แล้วโรนัลโดยังเป็นผู้เล่นคนแรกของสโมสรที่ทำประตูสูงสุดในหนึ่งปี (60 ประตู) และโรนัลโดยังเป็นผู้เล่นคนแรกที่ยิงประตูคู่แข่งทั้ง 19 สโมสรในลาลีกาเพียงฤดูกาลเดียวอีกด้วย",
"title": "สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด"
},
{
"docid": "87726#16",
"text": "ในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2009 สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด ได้ซื้อตัวโรนัลโดมาด้วยค่าตัวถึง 80 ล้านปอนด์ ซึ่งเป็นสถิติการซื้อนักฟุตบอลที่แพงที่สุดในโลกจากสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในประเทศอังกฤษ เขาได้รับตำแหน่งสวมเสื้อหมายเลข 9 โดยในฤดูกาลนี้โรนัลโดทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมโดยได้ลงเล่นเป็นตังจริงทั้งหมด ถึง 35 นัด ทำประตูไปได้ 33 ประตู ซึ่งครองดาวซัลโวสูงสุดของลาลีกา ในฤดูกาลนี้ โดยโรนัลโดได้ถูกเล่นในตำแหน่งกองหน้า และบางครั้งเขาอาจจะเล่นในตำแหน่งปีกขวา โรนัลโดทำประตูแรกตั้งแต่มาอยู่กับเรอัลมาดริดคือในนัดที่เจอกับสโมสรฟุตบอลอัตเลตีโกมาดริด โดยเรอัลมาดริดชนะไป 2-0 และในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2009 โรนัลโดได้ยิงลูกฟรีคิกระยะใก้ลถึงสองครั้งในนัดที่เจอกับเอฟซี ซูริช โดยเรอัลมาดริดชนะไป 5-2 ในเกมยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบแบ่งกลุ่ม",
"title": "คริสเตียโน โรนัลโด"
},
{
"docid": "87726#20",
"text": "โรนัลโดได้ถูกเรียกตัวไปไปเล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004[15] ประตูแรกในนามทีมชาติชุดใหญ่ของเขาคือตอนที่โปรตุเกสชนะกรีซไป 2-1 ในรอบแบ่งกลุ่ม [16] และจากนั้นก็ยิงประตูต่อในนัดรอบก่อนรองชนะเลิศที่โปรตุเกสเจอกับเนเธอร์แลนด์ ซึ่งโปรตุเกสชนะไป 2-1[17] เขาได้เป็นหนึ่งในผู้เล่นคนสำคัญของทีมนักฟุตบอลยอดเยี่ยมประจำแห่งฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปของการแข่งขันแม้จะยิงได้เพียงแค่ 2 ประตู.[18]นอกจากนี้เขายังเป็นตัวแทนของทีมชาติโปรตุเกสในโอลิมปิกฤดูร้อน 2004[19][20]",
"title": "คริสเตียโน โรนัลโด"
},
{
"docid": "87726#1",
"text": "โรนัลโดได้ลงเล่นฟุตบอลในนามทีมเยาวชนของอังดูริญญา เมื่อเขาเล่นได้อยู่สองปี ก่อนที่จะย้ายไปอยู่กับนาซีอูนัลในปี 1997 เขาได้ทำสัญญาให้กับสโมสรยักษ์ใหญ่อย่างสปอร์ติงลิสบอน โรนัลโดได้ถูกพิจารณาย้ายตัวไปอยู่กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด โดยคนที่ซื้อเขาคือ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ซื้อตัวเขามาด้วยจำนวนเงิน 12.24 ล้านปอนด์ โรนัลโดได้แชมป์เอฟเอคัพ ซึ่งเป็นเกียรติประวัติแชมป์แรกของเขาในปี 2003",
"title": "คริสเตียโน โรนัลโด"
},
{
"docid": "87726#7",
"text": "ในช่วงที่โรนัลโดอายุ 8 ขวบ โรนัลโดได้เล่นให้กับสโมสรฟุตบอลอังดูริญญา ซึ่งพ่อของเขาเป็นผู้จัดการทีมของสโมสรแห่งนี้ ในปี ค.ศ. 1995 โรนัลโดได้ทำสัญญากับสโมสรฟุตบอลท้องถิ่นคือ สโมสรฟุตบอลนาซีอูนัล และได้เล่นให้กับสโมสรนี้เป็นเวลา 5 ปี แล้วได้ย้ายไปอยู่กับสปอร์ติกกลูบีดีปูร์ตูกาล (สปอร์ติงลิสบอน) ในช่วงปี ค.ศ. 1997 และได้สำเร็จการเล่นฟุตบอลเยาวชนให้กับในประเทศของตน",
"title": "คริสเตียโน โรนัลโด"
},
{
"docid": "49702#2",
"text": "ในการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2006 เป็นปีที่ไม่ค่อยดีของเวย์น รูนีย์เท่าใดนัก เพราะในรอบแรกรูนีย์ไม่สามารถลงเล่นได้เนื่องจากมีปัญหาเนื่องมาจากอาการบาดเจ็บ และในรอบ 8 ทีมสุดท้าย ทีมชาติอังกฤษได้พบกับทีมชาติโปรตุเกส รูนีย์โดนใบแดงไล่ออกจากสนาม และทีมชาติอังกฤษตกรอบจากการดวลจุดโทษ แฟนบอลและสื่อทีมชาติอังกฤษต่างเพ่งเล็งมาที่คริสเตียโน โรนัลโด เพื่อนร่วมทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดของเวย์น รูนีย์ ซึ่งถูกครหาว่าเป็นตัวการที่ทำให้รูนีย์โดนใบแดง ทำให้สื่อมวลชนกุข่าวว่าเวย์น รูนีย์ ตั้งตนเป็นศัตรูกับโรนัลโดซึ่งอาจส่งผลให้โรนัลโดย้ายทีม แต่อย่างไรก็ดี รูนีย์ได้สยบข่าวลือนั้น ในฤดูกาล 2006 โรนัลโดได้เล่นให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดต่อไป เขากับโรนัลโดเล่นได้เข้าขากันและยังเป็นกำลังหลักของยูไนเต็ดเหมือนเดิม และทั้งสองได้ร่วมกันคว้าแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ในปี 2007 และแชมป์พรีเมียร์ลีก 3 ครั้งติดต่อกันในปี 2007 - 2009 ก่อนที่โรนัลโดจะย้ายออกจากทีมไป ซึ่งในช่วงปี 2007 เวย์น รูนีย์ยังได้เปลี่ยนเสื้อเป็นหมายเลข 10 โดยมีดาวยิงผู้เป็นตำนานสโมสร เดนิส ลอว์ เป็นผู้มอบเสื้อหมายเลข 10 ให้กับรูนีย์อีกด้วย\nโดยเฟอร์กีได้ให้สัมภาษณ์ในงานแถลงข่าวเปิดตัวนักเตะว่า \"ผมตื่นเต้นมาก ผมคิดว่าเราได้ตัวนักเตะหนุ่มที่ยอดเยี่ยมที่สุดในประเทศนี้ในรอบ 30 ปี เลยทีเดียว เราทุกฝ่ายพอใจกับการเซ็นสัญญาครั้งนี้\" ในขณะที่ตัวนักเตะเองก็เปิดเผยว่าเขาต้องการเล่นให้กับทีมที่ได้เล่นในแชมเปียนส์ลีก และด้วยเหตุผลนี้เองเขาจึงตัดสินใจมาร่วมทีมทีมยิ่งใหญ่อย่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด",
"title": "เวย์น รูนีย์"
},
{
"docid": "87726#12",
"text": "ในศึกฟุตบอลโลก 2006 โรนัลโดถูกแฟนบอลอังกฤษรุมโห่ไล่หลังจากที่มีส่วนทำให้เวย์น รูนีย์ เพื่อนร่วมทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ต้องถูกไล่ออกในเกมที่อังกฤษพบกับโปรตุเกส โรนัลโดถูกสื่อในอังกฤษกดดันและต่อว่า อย่างไรก็ดีโรนัลโดยังคงเล่นให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[11]",
"title": "คริสเตียโน โรนัลโด"
},
{
"docid": "87726#13",
"text": "เมษายน 2007 คริสเตียโน โรนัลโด คว้ารางวัลผู้เล่นดาวรุ่งยอดเยี่ยมและผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำปี 2007 ของสมาคมนักฟุตบอลอาชีพอังกฤษหรือพีเอฟเอไปครอง โดยเป็นผู้เล่นรายที่ 2 ในประวัติศาสตร์ที่สามารถคว้ารางวัลเกียรติยศทั้งสองมาครอบครองในเวลาเดียวกัน หลังโชว์ฟอร์มสุดยอดมาตลอดฤดูกาลนี้โดยก่อนหน้านี้ แอนดี เกรย์ เคยทำได้เมื่อปี 1977 หรือ ราว 30 ปีก่อน[12]",
"title": "คริสเตียโน โรนัลโด"
},
{
"docid": "22432#22",
"text": "ในปี 2010 เนมานย่า วิดิช ได้รับตำแหน่งกัปตันหลังจากการประกาศเลิกเล่นของแกรี เนวิลล์ ผู้เล่นที่มีความโดดเด่นในช่วงนี้คือ ไมเคิล โอเวน อดีตกองหน้าลิเวอร์พูลที่สวมเสื้อหมายเลข 7 ต่อจากคริสเตียโน โรนัลโด, คาเบียร์ เอร์นันเดซ บัลกาซาร์ กองหน้าทีมชาติเม็กซิโก, และดาบิด เด เฆอา ผู้รักษาประตูทีมชาติสเปนผู้เป็นตัวแทนของฟัน เดอร์ซาร์ ยูไนเต็ดประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องโดยชนะเลิศในลีกได้อีกสองครั้งในรอบ 3 ปีคือฤดูกาล 2010-11 และแชมป์ลีกสมัยที่ 20 ฤดูกาล 2012-13 ก่อนจะปิดท้ายยุคสมัยของเซอร์อเล็กซ์ ซึ่งเป็นผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จสูงสุด ในประวัติศาสตร์ของสโมสร",
"title": "สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด"
},
{
"docid": "87726#18",
"text": "ความสำเร็จและการพัฒนาของโรนัลโดในช่วงอยู่กับเรอัลมาดริดเริ่มดีขึ้น โดยโรนัลโดซัดประตูในฤดูกาลนี้ไป 60 ประตู (รวมทุกรายการ) และได้เล่นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกไปจนถึงรอบรองชนะเลิศ แต่ก็แพ้ สโมสรฟุตบอลบาเยิร์นมิวนิก ไป 3-1 (ดวลจุดโทษ) แต่โรนัลโดก็สามารถนำทีมได้แชมป์ลาลีกา ได้เป็นครั้งที่ 32 ของสโมสร โดยในช่วงปลายฤดูกาล เรอัลมาดริดกับบาร์เซโลนาได้แข่งขันกันที่กัมนอว์ ในนัดที่ 2 ซึ่งโรนัลโดก็เป็นฮีโรโดยเขาได้ยิงประตูชัยสุดสำคัญในการนำทีมเรอัลมาดริดคว้าแชมป์ลาลีกาด้วยการชนะสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา ไป 2-1 ที่กัมนอว์ และจบอันดับ 1 ของตาราง และเป็นทีมแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลของโลกที่ทำคะแนนได้ 100 คะแนน",
"title": "คริสเตียโน โรนัลโด"
},
{
"docid": "87726#21",
"text": "โรนัลโดได้เป็นรองดาวซัลโวในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก ในโซนยุโรปด้วยการยิงไป 7 ประตู[18] และประตูแรกของเขาในฟุตบอลโลก คือนัดที่พบกับอิหร่าน ด้วยการยิงลูกโทษ[21] เมื่อมาถึงรอบคัดเลือกรอบสุดท้าย ได้พบกับอังกฤษในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 โรนัลโดได้พบเพื่อนร่วมทีมจากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ซึ่งก็คือ เวย์น รูนีย์ และรูนีย์ได้ไปทำฟาวล์ใส่กองหลังทีมชาติโปรตุเกสซึ่งคือ รีการ์ดู การ์วัลยู สื่ออังกฤษสันนิษฐานว่าโรนัลโดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ตัดสินโอราซีโอ เอลีซอนโด โดยอุกอาจบ่นหลังจากที่เขาได้เห็นตรงม้านั่งสำรองของทีมชาติโปรตุเกสหลังจากการไล่รูนีย์ออก หลังการแข่งขันโรนัลโดยืนยันว่ารูนีย์เป็นเพื่อนของเขาและว่าเขาไม่ได้เป็นคนที่เกี่ยวกับการไล่รูนีย์ออกจากสนาม[22] วันที่ 4 กรกฎาคม อริซอนโดได้บอกกับทางสื่อว่าการที่เขาแจกใบแดงให้รูนีย์เพราะเป็นการทำผิดของกฎฟุตบอลเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรนัลโดเลย[23]",
"title": "คริสเตียโน โรนัลโด"
},
{
"docid": "87726#22",
"text": "หนังสือพิมพ์ของประเทศอังกฤษ ได้ประกาศข่าวร้ายของโรนัลโดเนื่องจากในข่าวบอกว่าเขาจะออกจากสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดจากเหตุใบแดงของรูนีย์[24] และเขาได้ถูกกล่าวลงในหนังสือกีฬาประจำวันของประเทศสเปนว่าเขาจะย้ายไปอยู่กับเรอัลมาดริด[25]และเมื่อเฟอร์กูสันผู้จัดการทีมได้ทราบเขาเลยส่งผู้ช่วยการ์ลุช ไกรอช เพื่อมาพูดคุยกับโรนัลโดเพื่อเปลี่ยนความคิดของเขาในการย้ายจากสโมสรเพราะเหตุการณ์ของรูนีย์[26][27] โรนัลโดตัดสินใจอยู่กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และทำสัญญาใหม่ของเขาเป็นเวลา 5 ปี ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2007[28]",
"title": "คริสเตียโน โรนัลโด"
},
{
"docid": "87726#19",
"text": "โรนัลโดได้ลงเล่นให้กับฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส นัดแรกที่โปรตุเกสชนะคาซัคสถาน ไป 1-0 ในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 2003[14]",
"title": "คริสเตียโน โรนัลโด"
},
{
"docid": "87726#0",
"text": "กริชตียานู รูนัลดู ดุช ซังตุช อาไวรู (Portuguese: Cristiano Ronaldo dos Santos Aveiro; เกิด 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1985) หรือที่รู้จักกันในชื่อ คริสเตียโน โรนัลโด เป็นนักฟุตบอลชาวโปรตุเกส ปัจจุบันเล่นในตำแหน่งกองหน้าให้กับยูเวนตุสในเซเรียอา และเป็นกัปตันทีมชาติโปรตุเกสคนปัจจุบัน โรนัลโดเป็นผู้เล่นที่มีค่าตัวแพงที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ฟุตบอลรองจากแกเร็ธ เบล หลังย้ายจากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด มาอยู่กับเรอัลมาดริด ด้วยค่าตัว 80 ล้านปอนด์ โรนัลโดได้รับค่าจ้างในการลงเล่นให้กับเรอัลมาดริดจำนวน 12 ล้านปอนด์ต่อปี ทำให้เขาเป็นนักเตะที่มีค่าเหนื่อยมากที่สุดในโลก[3]",
"title": "คริสเตียโน โรนัลโด"
},
{
"docid": "910833#5",
"text": "ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนยุโรป เดนมาร์กถูกจับสลากให้อยู่ในกลุ่ม อี โดยมีทีมแข็งอย่างโปแลนด์และโรมาเนีย เอริกเซน เป็นผู้เล่นคนหนึ่งที่สำคัญ เขาทำได้ 8 ประตู ช่วยให้เดนมาร์กผ่านเข้ารอบเพลย์ออฟ พบกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ เขาทำแฮตทริก ในนัดที่สองของเพลย์ออฟ เอาชนะไอร์แลนด์ไปได้ 5–1 ช่วยให้เดนมาร์กได้ไปเล่นฟุตบอลโลกที่ประเทศรัสเซีย สรุปแล้ว เขาทำประตูทั้งสองรอบไปทั้งสิ้น 11 ประตู เป็นรองเพียงโรเบิร์ต เลวานดอฟสกี (16) และคริสเตียโน โรนัลโด (15) เขาได้รับการชื่นชมจากผู้จัดการทีม เอจ ฮาเรด ที่จัดให้เขาอยู่ใน 10 ผู้เล่นที่ยอดเยี่ยมที่สุดของโลก",
"title": "คริสเตียน เอริกเซน"
},
{
"docid": "87726#25",
"text": "พ่อของโรนัลโดเป็นผู้อำนวยการสโมสรฟุตบอลเล็ก ๆ ที่ชื่ออังดูริญญา และพ่อเขาขอให้กัปตันทีมที่ชื่อฟือร์เนา โซซา (Fernão de Sousa) เป็นพ่อทูนหัว ส่วนแม่ของเขามีอาชีพเป็นแม่ครัว โรนัลโดช่วยเหลือครอบครัวเป็นอย่างดี ช่วยพี่สาวคนโตเปิดร้านขายเสื้อผ้าที่เกาะมาเดรา ส่วนพี่สาวอีกคน กาเตีย เป็นนักร้อง มีวงดนตรีชื่อ \"Ronalda\"[10]",
"title": "คริสเตียโน โรนัลโด"
},
{
"docid": "87726#9",
"text": "โรนัลโดได้ย้ายมาอยู่กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดด้วยค่าตัว 12.24 ล้านปอนด์ ในฤดูกาล 2002–03 โรนัลโดใช้เวลาไม่นานนักในการปรับตัวให้เข้ากับพรีเมียร์ลีก และผลงาน 8 ประตู จากการลงสนาม 39 นัด ซึ่งรวมถึงประตูแรกในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอ คัพกับ มิลล์วอลล์ ก็ทำให้เขาได้รับรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปีของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (Sir Matt Busby Player of the Year) ประจำฤดูกาล 2003/04 โรนัลโดกับการพาทีมชาติโปรตุเกสผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศในศึกยูโร 2004 ก่อนพ่ายให้กับ กรีซ 0 - 1",
"title": "คริสเตียโน โรนัลโด"
},
{
"docid": "87726#35",
"text": "หมวดหมู่:นักฟุตบอลชาวโปรตุเกส หมวดหมู่:ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด หมวดหมู่:ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2006 หมวดหมู่:ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2010 หมวดหมู่:ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด หมวดหมู่:ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลยูเวนตุส หมวดหมู่:ผู้เล่นในพรีเมียร์ลีก หมวดหมู่:ผู้เล่นในลาลีกา หมวดหมู่:ผู้เล่นในเซเรียอา หมวดหมู่:ผู้เล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 หมวดหมู่:ผู้เล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 หมวดหมู่:ผู้เล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 หมวดหมู่:บุคคลจากมาเดรา หมวดหมู่:นักฟุตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 หมวดหมู่:กองหน้าฟุตบอล หมวดหมู่:นักฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส หมวดหมู่:ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2014 หมวดหมู่:ปีกฟุตบอล หมวดหมู่:ผู้เล่นสปอร์ติกกลูบีดีปูร์ตูกาล หมวดหมู่:ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2018",
"title": "คริสเตียโน โรนัลโด"
},
{
"docid": "87726#8",
"text": "ในปี ค.ศ. 2002 โรนัลโดในวัย 17 ปีได้ย้ายมาเล่นให้กับสปอร์ติกกลูบีดีปูร์ตูกาล (สปอร์ติงลิสบอน) เนื่องจากในช่วงนั้นสโมสรฟุตบอลชื่อดังในโปรตุเกสได้เห็นความสนใจของโรนัลโดมากแต่เขาเลือกที่จะมาอยู่กับ สปอร์ติงลิสบอน โดยโรนัลโดได้ลงเล่นเป็นตำแหน่งกองหน้า และได้มีโอกาสลงเล่นเป็นตัวจริงเยอะ โรนัลโดโชว์ฝีเท้าได้อย่างยอดเยี่ยมไม่ว่าจะเป็นการหลบหลีกคู่ต่อสู้ การแย่งชิงบอล การยิงจากระยะไกล และการทำประตูอย่างแม่นยำ ทำให้โรนัลโดในช่วงนั้นโด่งดังไปทั่วในทวีปยุโรป และโรนัลโดมีจุดเด่นที่มีทักษะในการครองบอลและมีความคล่องตัวสูง ด้วยจุดนี้เอง ทำให้เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ผู้จัดการทีมชื่อดังของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในพรีเมียร์ลีก ประเทศอังกฤษ ได้สนใจที่จะนำโรนัลโดมาร่วมทีม ซึ่งการเจรจาซื้อตัวโรนัลโดก็เป็นที่สำเร็จ โดยก่อนที่โรนัลโดจะออกจากประเทศโปรตุเกส โรนัลโดเล่นให้กับสปอร์ติกกลูบีดีปูร์ตูกาล ไปแล้วทั้งสิ้น 31 นัด ทำไป 5 ประตู",
"title": "คริสเตียโน โรนัลโด"
},
{
"docid": "91975#9",
"text": "ในฤดูกาล 2006-07 ผลงานของอาร์เซนอลและฟาเบรกัส ถึงแม้ว่าอาร์เซนอลจะพ่ายแพ้อีกครั้งให้กับสโมสรฟุตบอลเชลซี ในลีกคัพ[30] แต่อย่างไรก็ตาม ฟาเบรกัสก็ได้แจ้งเกิดในฐานะหนึ่งในผู้เล่นสำคัญที่มีความคิดสร้างสรรค์ให้กับทีม เขาได้ร่วมเล่นในทุกนัดของลีก[14][31] ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2006-07 เขาทำคะแนนให้กับอาร์เซนอล 3–0 ชนะสโมสรฟุตบอลดินาโมซาเกร็บในรอบคัดเลือก[32] ในพรีเมียร์ลีก เขาเป็นตัวจ่ายบอลทำประตู 13 ครั้ง ซึ่งถือว่ามากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในลีก[14][31] เมื่อจบฤดูกาลเขาได้รับรางวัลส่วนตัว อาทิ รางวัลโกลเดนบอย มอบโดยหนังสือพิมพ์อิตาลีที่ชื่อ TuttoSport จัดโดยแบบสำรวจของผู้อ่านจากทั่วยุโรป[33] เขายังได้รับรางวัล ทีมแห่งปีจากยูฟ่า ร่วมกับทีมในปี 2006[34] และยังเป็นผู้เล่นพรีเมียร์ลีกแห่งเดือนมกราคม ค.ศ. 2007[35] นอกจากนั้นเขายังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง ทั้งรางวัลนักฟุตบอลและนักฟุตบอลดาวรุ่งยอดเยี่ยมแห่งปีของสมาคมนักฟุตบอลอาชีพ แต่ทั้ง 2 รางวัล ผู้ได้รับไปในปีนั้นคือคริสเตียโน โรนัลโด จากสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[36] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 เขาได้เป็นผู้แหล่งอาร์เซนอลประจำฤดูกาล ด้วยคะแนน 60%[37]",
"title": "เซสก์ ฟาเบรกัส"
},
{
"docid": "87726#3",
"text": "ในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 มีการจัดอันดับตำแหน่งนักเตะรูปงามแห่งยูโร 2008 จัดทำโดยแอลจี บริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า คริสเตียโน โรนัลโดได้รับคะแนนโหวตครั้งนี้เป็นอันดับ 1[6] ในปี 2012 โรนัลโดได้รับรางวัลนักกีฬาไอบีเรีย-อเมริกา ประจำปี 2012 ประเภทนักฟุตบอลชาย[7]",
"title": "คริสเตียโน โรนัลโด"
},
{
"docid": "5390#1",
"text": "มีผู้เล่นแปดคนที่ได้รับรางวัลมากกว่าหนึ่งครั้ง คนล่าสุดคือคริสเตียโน โรนัลโด ที่ได้รับรางวัลครั้งที่สองของเขาในฤดูกาล 2007-08 ผู้ที่ได้รับรางวัลมากที่สุดคือเธียร์รี อองรี โดยได้รางวัลสามครั้งในสี่ฤดูกาล",
"title": "นักฟุตบอลแห่งปีของสมาคมผู้สื่อข่าวฟุตบอล"
},
{
"docid": "217858#62",
"text": "เมสซิได้รับรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมยุโรปของฟีฟ่าปี ค.ศ. 2011 โดยชนะเพื่อนร่วมทีม ชาบี และผู้เล่นจากเรอัลมาดริด คริสเตียโน โรนัลโด เมสซิยังได้รับรางวัลฟีฟ่าบาลงดอร์ 2011 อีกครั้ง โดยชนะชาบีและคริสเตียโน โรนัลโดเช่นกัน การได้รับรางวัลบาลงดอร์ครั้งนี้ ทำให้เมสซิเป็นผู้เล่นคนที่ 4 ที่ได้รับรางวัลบาลงดอร์ 3 ครั้ง ก่อนหน้านี้คือ โยฮัน ไกรฟฟ์, มีแชล ปลาตีนี และมาร์โก ฟัน บัสเติน ต่อมาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 เมสซิลงเล่นในลาลิกาเป็นนัดที่ 200 โดยเขายิงได้ 4 ประตู ในนัดแข่งกับบาเลนเซีย โดยผลคือทีมชนะ 5–1[171] ในวันที่ 7 มีนาคม เมสซิเป็นผู้เล่นคนแรกที่ยิงประตู 5 ประตูในแชมเปียนส์ลีก โดยได้ช่วยทีมป้องกันแชมป์ในนัดที่บาร์เซโลนาชนะไบเออร์เลเวอร์คูเซิน 7–1[172]",
"title": "ลิโอเนล เมสซิ"
},
{
"docid": "951666#1",
"text": "ประตูที่ทำได้จากการดวลลูกโทษจะไม่นำมานับ แต่ละนัดที่ตัดสินด้วยการยิงลูกโทษคือนับในฐานะเสมอการแข่งขันทั้งหมดมี 169 ประตูที่ทำได้ใน 64 นัด สำหรับค่าเฉลี่ย 169/64 round 2 ประตูต่อนัด ผู้เล่นที่อยู่ใน ตัวหนา คือยังอยู่ในระบบการแข่งขัน\nผู้เล่นที่อยู่ใน ตัวหนา คือยังอยู่ในระบบการแข่งขัน.\nเอดินซอน กาบานิ, เดนิส เชรืยเชฟ, เดียโก โกสตา, เอแดน อาซาร์, แฮร์รี เคน, โรเมลู ลูกากู (2), กีลียาน อึมบาเป, อาห์เมด มูซา, จอห์น สโตนส์\nแฮร์รี เคน, คริสเตียโน โรนัลโด\nซัลมาน อัลฟะร็อจญ์, แครีม แอนซอรีแฟร์ด, อาร์ตอม ดซูย์บา, อันเดรียอัส กรอนกวิสต์ (2), อ็องตวน กรีแยซมาน (3), เอแดน อาซาร์, มีเล เยดีนัก (2), ชินจิ คางาวะ, แฮร์รี เคน (3), ลูคา มอดริช, วิกเตอร์ โมซิส, คริสเตียโน โรนัลโด, มุฮัมมัด เศาะลาห์, ฟิรญานี ซาสซี, กิลวี ซีกืร์ดซอน, การ์โลส เบลา\nฟะฮัด อัลมุวัลลัด, กริสเตียน กูเอบา, ลิโอเนล เมสซิ, ลูคา มอดริช, คริสเตียโน โรนัลโด, บรายัน รุยซ์, กิลวี ซีกืร์ดซอน\nเอดซอน อัลบาเรซ, แอซิซ เบอิช, อะซีซ บูฮัดดูซ, เดนิส เชรืยเชฟ, เตียกอ ชอแนก, โอเกเนกาโร เอเตโบ, อะห์มัด ฟัตฮี, เฟร์นังจิญญู, เซียร์เกย์ อิกนาเชวิช, มารีออ มันจูคิช, ยาซีน มัรยาห์, ยัน ซ็อมเมอร์",
"title": "สถิติในฟุตบอลโลก 2018"
}
] |
3523 | เมืองหลวงของเกาลีเหนือมีชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "2519#0",
"text": "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี(English: Democratic People's Republic of Korea: DPRK; Korean:조선민주주의인민공화국;Hanja:朝鮮民主主義人民共和國) หรือชื่อโดยทั่วไปว่า เกาหลีเหนือ (English: North Korea; Korean:북한;Hanja:北韓) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก กินพื้นที่ครึ่งเหนือของคาบสมุทรเกาหลี เมืองหลวงและนครใหญ่สุดคือ เปียงยาง เขตปลอดทหารเกาหลีเป็นเขตกันชนระหว่างประเทศเกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ แม่น้ำอัมนกหรือยาลู่ และตูเมนเป็นพรมแดนระหว่างประเทศจีนกับเกาหลีเหนือ แม่น้ำตูเมนส่วนที่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพรมแดนกับประเทศรัสเซีย",
"title": "ประเทศเกาหลีเหนือ"
}
] | [
{
"docid": "228912#15",
"text": "เนื่องจากพระนางลฺหวี่มีสายสัมพันธ์แข็งแกร่งกับหมู่ขุนนาง การตัดสินพระทัยดังกล่าวของฮั่นเกาจู่จึงถูกขุนนางคัดค้าน แต่ฮั่นเกาจู่มิทรงฟัง และมีแนวโน้มว่า จะถอดหลิว อิ่ง จากตำแหน่งหฺวังไท่จื่อด้วย พระนางลฺหวี่จึงเรียกจาง เหลียง (張良) มาช่วยรับมือ จาง เหลียง เห็นว่า ฮั่นเกาจู่กำลังเปลี่ยนแปลงการสืบราชสมบัติตามพระทัย จึงเชิญกลุ่มบัณฑิตสันโดษที่เรียก \"สี่ปราชญ์แห่งเขาชาง\" (商山四皓) มาช่วยกราบทูลให้ฮั่นเกาจู่เปลี่ยนพระทัย สี่ปราชญ์รับรองต่อพระพักตร์ว่า จะอนุเคราะห์หลิว อิ่ง ในภายภาคหน้า ถ้าหลิว อิ่ง ได้ขึ้นครองราชย์ ทำให้ฮั่นเกาจู่ดีพระทัย และตรัสแก่สนมชีว่า \"ข้าอยากเปลี่ยนเขา แต่เขามีคนหนุนถึงสี่คน ก็เหมือนเขาติดปีก ยากจะโยกย้ายได้ มเหสีลฺหวี่มาเหนือจริง ๆ\" (我欲易之,彼四人輔之,羽翼已成,難動矣。呂后真而主矣!) หลิว อิ่ง จึงได้เป็นหฺวังไท่จื่อต่อไป",
"title": "จักรพรรดินีลฺหวี่"
},
{
"docid": "779686#1",
"text": "เกา ฉางกง เกิดเมื่อปี ค.ศ. 541 เป็นโอรสองค์ที่ 4 ของเกา เฉิง โอรสของจักรพรรดิฉีเซียนหวู่ตี้ หรือเกา ฮวน บิดาแห่งราชวงศ์ฉีเหนือ เกาฉางกง ได้ชื่อว่าเป็นบุรุษที่ใบหน้างดงามราวอิสตรี เป็นหนึ่งในสี่บุรุษรูปงามที่สุดที่ปรากฏในประวัติศาสตร์จีน แต่เกา ฉางกงกลับมีความสามารถในการสู้รบเป็นที่ประจักษ์ เกา ฉางกงมีชื่อเสียงเลื่องลือในด้านที่เป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียรในการเล่าเรียน, อุปนิสัยที่สุภาพและความสามารถในการทหาร แต่ด้วยใบหน้าที่งดงามราวอิสตรีทำให้เมื่อออกศึก จึงเกรงว่าศัตรูจะไม่เกรงกลัว รวมถึงทหารใต้บังคับบัญชาจะไม่เชื่อฟัง จึงทำให้ต้องสวมหน้ากากปีศาจทุกครั้งในการออกรบ ในการรบที่สร้างชื่อมากที่สุด คือ เมื่อปี ค.ศ. 564 เมื่อกองทัพของราชวงศ์โจวเหนือยกมารุกรานเมืองจินหยง (ใกล้กับเมืองลั่วหยางในปัจจุบัน) ของฉีเหนือ เกา ฉางกงเป็นแม่ทัพนำทหารออกรบ เกา ฉางกงนำทหารม้า 500 คน รักษาเมืองจินหยง ต่อต้านกองทัพโจวเหนือที่กำลังมากถึง 100,000 คน เกา ฉางกงรบด้วยความกล้าหาญบุกตะลุยเข้าไปในกองทัพข้าศึก ทำให้ทหารโจวเหนือที่เห็นต่างกลัวเกรงกลัว และทหารฝ่ายฉีเหนือฮึกเหิมได้กำลังใจ จนเมื่อกองทัพโจวเหนือแตกพ่ายไปแล้ว เกา ฉางกงได้นำทหารม้า 500 คนเข้าเมืองจินหยง แต่ทหารฉีเหนือที่รักษาเมืองไม่แน่ใจว่าเป็นตัวจริงหรือไม่ จึงไม่ยอมให้เข้าเมือง ทำให้เกา ฉางกงต้องถอดหมวกแม่ทัพรวมถึงหน้ากากปีศาจออก แสดงให้เห็นใบหน้าที่แท้จริง เหล่าทหารได้ไชโยโห่ร้อง และเปิดประตูเมืองต้อนรับเกา ฉางกงเยี่ยงวีรบุรุษ และได้มีการแต่งเพลงในชื่อ \"เจ้าชายหลานหลิงในสมรภูมิ\" (兰陵王入阵曲; Prince Lanling in Battle) เพื่อสดุดีเกียรติ โดยมีการเต้นรำด้วยการสวมใส่หน้ากากเหมือนเกา ฉางกง ในระยะแรกเชื่อว่าเป็นการการเต้นที่เน้นไปในทางดุเดือดหรือการต่อสู้ จนกระทั่งถึงยุคราชวงศ์ถังก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่ แต่มีการปรับเปลี่ยนมาเป็นการเต้นที่สวยงาม จนกระทั่งถึงรัชสมัยจักรพรรดิถังเสียนจง จึงได้มีการห้าม แต่กลับไปเผยแพร่และได้รับความนิยมในประเทศญี่ปุ่นแทน โดยเป็นการแสดงระดับราชสำนัก และยังคงมีการเต้นเช่นนี้อยู่จนถึงปัจจุบัน อีกทั้งเรื่องของการสวมหน้ากากนี้เชื่อว่าเป็นส่งอิทธิพลมาถึงการแสดงงิ้วด้วย จนเกิดเป็นการแต่งหน้าตัวละครงิ้วด้วยสีสันและลวดลายต่าง ๆ ",
"title": "เกา ฉางกง"
},
{
"docid": "10349#1",
"text": " \nกฎของเกาส์สำหรับสนามแม่เหล็ก (โดยความเป็นจริงเราไม่มีชื่อให้สำหรับกฎข้อนี้) : บอกได้ว่าในชีวิตประจำวันเราจะไม่พบแม่เหล็กซึ่งมีขั้วแยกจากกันโดยชัดเจน นั่นคือเราจะไม่พบแม่เหล็กที่มีขั้วเหนือเพียงขั้วเดียวหรือแม่เหล็กที่มีขั้วใต้เพียงขั้วเดียว",
"title": "สมการของแมกซ์เวลล์"
},
{
"docid": "186886#5",
"text": "โจโฉจึงสั่งการให้ทหารภายในค่ายระดมยิงลูกเกาฑัณฑ์จำนวนมากไปยังเรือดำที่มองไม่เห็น จูกัดเหลียงก็สั่งการให้ชักหุ่นฟางขึ้นรับลูกเกาฑัณฑ์ดั่งห่าฝนของทหารโจโฉที่ระดมยิงมาทุกทิศทุกทาง เมื่อได้ลูกเกาฑัณฑ์เต็มฝั่งด้านซ้ายแล้วก็ให้วกเรือกลับเพื่อรับลูกเกาฑัณฑ์ทางด้านขวาจนได้ลูกเกาฑัณฑ์เต็มเรือทั้งยี่สิบลำ ครั้นจูกัดเหลียงเห็นลูกเกาฑัณฑ์ติดที่หุ่นฟางมากพอกว่าจำนวนที่จิวยี่ต้องการ ก็ให้ทหารหยุดส่งเสียงตีกลองร้องป่าวและให้หันหัวเรือหลบหนี ก่อนจากไปจูกัดเหลียงได้ตะโกนเยาะเย้ยโจโฉให้เจ็บใจว่า \"\"ขอบใจมหาอุปราชให้ลูกเกาฑัณฑ์แก่เราเป็นอันมาก แลลูกเกาฑัณฑ์นี้ก็จะกลับมารบสนองคุณท่าน\"\"",
"title": "กลยุทธ์จูงแพะติดมือ"
},
{
"docid": "247198#97",
"text": "หลังจากที่พระนางบูเช็กเทียนทรงขึ้นครองราชย์เพื่อปกครองและบริหารราชการอย่างเต็มอำนาจในฐานะกษัตริย์ด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงได้พัฒนาพระพุทธศาสนาขึ้นเหนือลัทธิเต๋า ทรงสนับสนุนพระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการโดยการสร้างวัดต้าหยุน หรือวัดเมฆใหญ่ (อังกฤษ: Dayun Temple; จีน: 大雲寺; พินอิน: Dà yúnsì) ขึ้นในแต่ละจังหวัดที่อยู่ภายใต้อาณาเขตของเมืองหลวงทั้งสองแห่งคือ เมืองลั่วหยางและเมืองฉางอัน รวมถึงแต่งตั้งตำแหน่งพระภิกษุอาวุโสรวม 9 ตำแหน่ง และพระนางยังทรงตั้งแท่นบูชาบรรพบุรุษเจ็ดชั้นไว้ในวัดหลวง แต่พระนางก็ยังคงปฏิบัติพิธีบวงสรวงอดีตจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ถังทั้งสามพระองค์ คือ สมเด็จพระจักรพรรดิถังเกาจู่ สมเด็จพระจักรพรรดิถังไท่จง สมเด็จพระจักรพรรดิถังเกาจงเช่นเดิม[37]",
"title": "บูเช็กเทียน"
},
{
"docid": "2283#12",
"text": "เมืองหลวง: ไทเป (Taipei) เป็นศูนย์กลางการค้า เศรษฐกิจ และการเงิน เมืองท่า: เกาสง (Kaohsiung) เป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุด และเป็นเขตอุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมน้ำมัน อุตสาหกรรมต่อเรือ และอุตสาหกรรมประมง จีหลง (Keelung) เป็นท่าเรือสำคัญทางภาคเหนือ เมืองเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ: ไทจง (Taichung) เป็นศูนย์รวมสินค้าบริการ (สปา, ร้านอาหาร) สินค้าเครื่องจักรกล, และเป็นท่าเรือสำคัญทางภาคกลาง ซินจู๋ (Hsin Chu) เป็นเขตอุตสาหกรรมไฮเทค",
"title": "ภูมิศาสตร์ไต้หวัน"
},
{
"docid": "66807#3",
"text": "อนึ่ง เพลงชาติของเกาหลีเหนือก็มีชื่อว่าแอกุกกาเช่นกัน หากแต่การสังเกตว่าเพลงแอกุกกาเพลงใดเป็นของเกาหลีเหนือหรือเกาหลีใต้ ให้ดูที่การสะกดในอักษรโรมันเป็นหลัก เพราะการถ่ายเสียงเป็นอักษรโรมันของเกาหลีใต้กับเกาหลัเหนือเป็นคนละระบบกัน โดยเพลงชาติเกาหลีใต้จะเขียนว่า \"Aegukga\" ส่วนของเกาหลีเหนือจะเขียนว่า \"Aegukka\"",
"title": "แอกุกกา (ประเทศเกาหลีใต้)"
},
{
"docid": "222473#0",
"text": "เตียวเหลียง หรือ จางเหลียง (; ; พินอิน: \"Zhāng liàng อ่านว่า จางเลี่ยง\"; ? - 189 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นที่ปรึกษาและเสนาธิการคนสำคัญของจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก โดยรับใช้หลิวปัง (ฮั่นเกาจู่) มาตั้งแต่ช่วงปลายราชวงศ์ฉิน จนถึงสงครามฉู่-ฮั่น ระหว่างหลิวปังและเซี่ยงอวี่ (ฌ้อปาอ๋อง) จนเป็นที่มาของวรรณกรรมจีนอมตะเรื่องไซ่ฮั่น เมื่อหลิวปังได้ชัยชนะเหนือฌ้อป้าอ๋องแล้วและขึ้นครองราชย์เป็นฮั่นเกาจู่ ก็ทรงแต่งตั้งเตียวเหลียงเป็นที่ปรึกษาในพระองค์",
"title": "เตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก)"
},
{
"docid": "186886#3",
"text": "จูกัดเหลียงเมื่อรับคำสั่งให้คุมช่างทำลูกเกาฑัณฑ์สิบหมื่น ก็รู้เท่าทันความคิดของจิวยี่ที่คิดจะกำจัดตน จึงแสร้งเย้ยว่า \"\"ท่านจะเอาลูกเกาฑัณฑ์สิบหมื่นในสิบวันนั้นช้านัก ข้าพเจ้าจะทำลูกเกาทัณฑ์ให้เสร็จภายในสามวัน\"\" จิวยี่จึงคาดโทษจูกัดเหลียงไว้ด้วยการประหารชีวิตถ้าหากนำลูกเกาฑัณฑ์สิบหมื่นมาไม่ได้ภายในสามวันตามสัญญา โดยที่จิวยี่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่าจูกัดเหลียงจะต้องเสียหัวไม่พ้นตายเป็นแน่แท้หากปฏิบัติไม่ได้ตามวาจาที่ให้ไว้ จูกัดเหลียงเมื่อลั่นวาจาแก่จิวยี่แล้วก็วางตนตามปกติ ไม่ได้คุมช่างเตรียมทำลูกเกาฑัณฑ์สิบหมื่นแต่อย่างใด จนโลซกที่ปรึกษาซุนกวนเดือนเนื้อร้อนใจแทนจูกัดเหลียงในการทำลูกเกาฑัณฑ์สิบหมื่นในสามวัน",
"title": "กลยุทธ์จูงแพะติดมือ"
},
{
"docid": "17615#9",
"text": "แคว้นต่าง ๆ มีชื่อทางการทั้งเป็นชื่อเรียกและตัวเลขโรมัน (เช่น IV - เขตที่ 4) ลำดับตัวเลขเรียงตามที่ตั้งของแคว้นต่าง ๆ ตั้งแต่ทางตอนเหนือลงมาทางตอนใต้ ซึ่งโดยทั่วไป ตัวเลขโรมันจะถูกใช้มากกว่าชื่อของแคว้น ยกเว้นแคว้นอันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง ซึ่งเรียกว่า แคว้นเมืองหลวงซานเตียโก (Región Metropolitana de Santiago หรือ RM)",
"title": "ประเทศชิลี"
},
{
"docid": "424823#0",
"text": "บัลดิเบีย () เป็นเมืองทางตอนใต้ของประเทศชิลี เป็นเมืองหลวงของแคว้นโลสริโอส เมืองตั้งชื่อตามผู้ก่อตั้ง เปโดร เด บัลดิเบีย และตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกาเย-กาเย, แม่น้ำบัลดิเบีย และแม่น้ำเกา-เกา เมืองมีประชากร 140,559 คน โดยมี 127,750 คนอาศัยอยู่ในเขตเมือง จากการสำรวจประชากรในปี ค.ศ. 2002 เศรษฐกิจของเมืองได้แก่ การท่องเที่ยว ผลิตไม้แปรรูป ทำเยื่อกระดาษ การป่าไม้ โลหกรรม และผลิตภัณฑ์เบียร์",
"title": "บัลดิเบีย"
},
{
"docid": "126827#0",
"text": "อำเภอสิเกา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตรัง \nสิเกา อำเภอเล็กๆ อำเภอหนึ่ง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดตรัง เมืองแห่งความสงบและธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ที่มาของชื่อเมือง\"สิเกา\"นี้ หลายคนคงตีความไปต่างๆ นาๆ บ้างก็ว่ามีกงสี(บ้านพักชาวสวนยาง)เก่า เคยตั้งอยู่บริเวณนี้ บ้างก็ว่าคนจีนฮกเกี้ยนที่เคยอพยพมาจากสิงคโปร์และปีนังเข้ามาอยู่เรียกพื้นที่นี้ว่า\"สี่เก้า\" ต่อมาเพี้ยนเป็นสิเกา ซึ่งอย่างไรก็ตาม ที่มาของชื่อสิเกาที่น่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ คำว่า \"สิเกา\" เพี้ยนมาจากคำว่ากงสีเก่า เนื่องจากได้มีชาวจีนปีนัง ฮกเกี้ยน และประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาอาศัยประกอบอาชีพตัดไม้ขาย ต่อมาได้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ขึ้นที่ริมคลองสิเกา เพื่อนำไม้ คบ น้ำมันยาง ไม้ไผ่ และถ่านไม้โกงกางไปจำหน่ายยังต่างประเทศ และบรรทุกสินค้าอื่นๆ จากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในอำเภอสิเกา ในยุคนั้นจึงมีผู้คนอาศัยอย่างหนาแน่น ต่อมาปริมาณไม้ลดลง ชาวจีนจึงเลิกกิจการกลับประเทศจีน บ้างก็ย้ายไปตั้งรกรากใหม่ ในตลาดทับเที่ยง(เทศบาลนครตรัง) บ้างก็เปลี่ยนไปทำไร่พริกไทย สวนยางพารา สวนมะพร้าว บ้างก็มีลูกเมียตั้งรกรากอยู่ที่ตำบลบ่อหิน (ตัวอำเภอปัจจุบัน) แต่ตัวโรงงานแปรรูปไม้หรือสถานที่ตั้งโรงงานยังมีอยู่ ชาวบ้านพากันเรียกว่า \"กงสีเก่า\" ต่อมานานวันเข้าก็เพี้ยนเป็น\"สีเก่า\" ผลสุดท้ายด้วยความเคยชินของสำเนียงใต้จึงได้เรียกเป็น\"สิเกา หรืออีกแนวคิดหนึ่งก็คือที่ตั้งอำเภอนี้อยู่ใกล้ภูเขาสี่ลูก จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า \"บ้านสี่เขา\" ต่อมาเพี้ยนเป็น\"สีเกา\" และ \"สิเกา\" ตามลำดับ\nอำเภอสิเกา ได้รับการสถาปนาเป็นอำเภอ ขึ้นต่อจากเมืองกันตัง(เมืองตรังในขณะนั้น) เมื่อปี พ.ศ. 2430 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เหตุผลที่เลือกตั้งตัวอำเภอในที่ตั้งปัจจุบันบริเวณคลองสิเกาคือ เพื่อป้องกันข้าศึกในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (ญี่ปุ่นขึ้นเมือง) โดยเมื่อก่อน อำเภอสิเกามีพื้นที่กว้างขวางกว่าปัจจุบัน คือ พื้นที่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือทั้งหมดของจังหวัด นับตั้งแต่ชายเขตอำเภอห้วยยอด ต่อมา พ.ศ. 2536 ได้มีการปรับเขตการปกครองใหม่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็นกิ่งอำเภอวังวิเศษ ซึ่งแบ่งครึ่งพื้นที่เดิมอำเภอสิเกาไปทางด้านตะวันออกของปัจจุบัน ทำให้ขนาดของอำเภอสิเกามีขนาดเล็กลง กว่าเดิมไปมาก\nปัจจุบันอำเภอสิเกามี ทั้งหมด 5 ตำบล ประชากรส่วนใหญ่ 60% นับถือศาสนาพุทธ 39%นับถือศาสนาอิสลาม และ 1% นับถือศาสนาคริสต์ อาชีพส่วนใหญ่ของชาวสิเกา คือเกษตรกรรมทั้งกสิกรรม ส่วนใหญ่จะเป็นสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน และการประมงจับสัตว์น้ำ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้านการท่องเที่ยวทางทะเล และลูกจ้างโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรในพื้นที่ ชาวสิเกามีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายมีวิถีพอเพียงแบบชนบทมีความสงบ ทั้งทางธรรมชาติและสังคมทำให้เกิดความสุขอย่างยั่งยืน \nอำเภอสิเกาตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้",
"title": "อำเภอสิเกา"
},
{
"docid": "504811#0",
"text": "กาเกาเซีย หรือ จังหวัดปกครองตนเองกาเกาเซีย () เป็นหนึ่งในสองจังหวัดปกครองตนเองของสาธารณรัฐมอลโดวา กาเกาเซียตั้งอยู่ทางตอนใต้ของมอลโดวา มีพื้นที่ 1,832 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 160,700 คน โดยมีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดอยู่ที่คอมรัต (Comrat ) กาเกาเซียมีภาษาราชการ 3 ภาษา ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายเติร์ก และไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล จึงต้องการผลักดันให้ดินแดนกาเกาเซียเป็นเอกราชจากมอลโดวา",
"title": "กาเกาเซีย"
},
{
"docid": "797599#0",
"text": "ราชวงศ์ฮั่น (ปี 206 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 220) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนในยุคโบราณ ปรากฏช่วงเวลาที่เศรษฐกิจรุ่งเรืองและถดถอยที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา คือ ราชวงศ์ฮั่นเหนือ (ปี 206 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 9) ราชวงศ์ซิน (ปี ค.ศ. 9 – 23) และราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ปี ค.ศ. 25 – 220) ระบอบการปกครองของราชวงศ์ซินก่อตั้งโดยจักรพรรดิซินเกาจู่ (หวัง หมั่ง) เป็นระบอบการปกครองช่วงระหว่างภาวะสุญญากาศทางการเมืองคั่นกลางระหว่างการปกครองที่ยาวนานของราชวงศ์ฮั่น หลังจากที่การปกครองของจักรพรรดิซินเกาจู่ล่มสลายลง เมืองหลวงของราชวงศ์ฮั่นถูกย้ายไปทางทิศตะวันออกจากเมืองฉางอานไปยังเมืองลั่วหยาง ด้วยเหตุนี้นักประวัติศาสตร์จึงเรียกยุคก่อนและหลังว่าราชวงศ์ฮั่นตะวันตกและราชวงศ์ฮั่นตะวันออกตามลำดับ",
"title": "เศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่น"
},
{
"docid": "546366#0",
"text": "ป้อมแดง (, ) (ชื่อแปลตามศัพท์จากภาษาอินเดียจาก ลา คิลลาห์ (Lal Qil'ah) หรือ ลาล คิลา (Lal Qila) คือป้อมปราการในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในสมัยจักรวรรดิโมกุล โดยสมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮัน ซึ่งตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองของเดลีเก่า (Old Delhi) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเดลี ประเทศอินเดีย โดยป้อมปราการแห่งนี้ใช้เป็นที่ประทับของจักรพรรดิแห่งราชวงศ์โมกุล และยังเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงแห่งใหม่ในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮัน ที่มีชื่อว่า \"ชาห์ชะฮันนาบาด\" (Shahjahanabad) ซึ่งเป็นเมืองแห่งที่ 7 ที่ก่อตั้งภายในบริเวณเขตเดลี โดยพระองค์ทรงย้ายมาจากอัคราเพื่อที่จะสร้างความสวยงามและอลังการในรัชสมัยของพระองค์ โดยใช้โอกาสนี้ในการสร้างสรรค์สิ่งก่อสร้างและอาคารใหม่ๆได้ตามที่สนพระทัย ซึ่งเมืองหลวงแห่งใหม่นี้ตั้งอยู่ที่เดลีจนถึงปีค.ศ. 1857 เมื่อจักรพรรดิบาฮาดูร์ชาห์ซาฟาร์ เสด็จลี้ภัยจากรัฐบาลของบริติชอินเดีย ",
"title": "ป้อมแดง"
},
{
"docid": "6799#27",
"text": "ประเทศตองงาตั้งอยู่ในภูมิภาคพอลินีเชีย เหนือเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์นเล็กน้อย เมืองหลวงของประเทศคือนูกูอาโลฟา ห่างจากออกแลนด์ เมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศนิวซีแลนด์ ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1,770 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงซูวา เมืองหลวงของฟีจี ประมาณ 690 กิโลเมตร ตองงามีพื้นที่ 747 ตารางกิโลเมตร โดยที่ 30 ตารางกิโลเมตรเป็นพื้นน้ำ ประเทศตองงาประกอบด้วยเกาะ 169 เกาะ แต่มี 36 เกาะเท่านั้นที่มีประชากรอยู่อาศัย ตองงาประกอบด้วย 3 กลุ่มเกาะหลัก คือ โตงาตาปูซึ่งประชากรเกินครึ่งหนึ่งของประเทศอาศัยอยู่ วาวาอูซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือ และฮาอะไปซึ่งตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ภูมิอากาศของประเทศมีลักษณะแบบเขตร้อน ดินของตองงามีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก จุดสูงสุดของประเทศมีความสูง 1,033 เมตรตั้งอยู่บนเกาะเกา",
"title": "ประเทศตองงา"
},
{
"docid": "203087#2",
"text": "ยานโก มาตุสกา (Janko Matúška) กวีคนสำคัญของชาวสโลวัก ขณะมีอายุได้ 23 ปี ได้เขียนบทกวีที่มีชื่อว่า \"นาดทราโทรซาบลีซกา\" (Nad Tatrou sa blýska) หรือ \"สายฟ้าเหนือเขาทาทราส\" ขึ้น ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1844 โดยทำนองของเพลงได้มาจากเพลงพื้นเมืองสโลวักที่มีชื่อว่า \"โคปาลาสตูเดียนกู\" (Kopala studienku - ชื่อเพลงแปลได้ว่า \"เธอขุดดินได้ดี\") ซึ่งมาตุสกาได้รับคำแนะนำให้ใช้ทำนองนี้เพื่อนนักศึกษาคนหนึ่งผู้มีชื่อว่า โจเซฟ โปดราดสกี (Jozef Podhradský) (1823-1915) ซึ่งต่อมาเขาคนนี้จะเป็นนักการศาสนา ครู และนักเคลื่อนไหวในแนวความคิดพันธมิตรสลาฟ (Pan-Slavism|Pan-Slavic) หลังจากนั้นไม่นาน มาตุสกาและนักศึกษาคนอื่นๆ อีกประมาณ 24 คน ต้องออกจากเรียนที่วิทยาลัย (Lyceum) ของนิกายลูเธอรันในเมืองบราติสลาวา (เมืองหลวงของสโลวาเกีย ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกสุดของประเทศสโลวาเกียในปัจจุบัน) จากประท้วงการถอดถอนลูโดวิท สตูร์ (Ľudovít Štúr - ผู้นำทางความคิดในการพื้นฟูชาติและภาษาสโลวักในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1815 - 1856) ออกจากตำแหน่งครูโดยศาสนจักรนิกายลูเธอรัน ตามแรงกดดันของฝ่ายอำนาจรัฐ ทั้งนี้ สโลวาเกียในเวลานั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรฮังการี ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออสเตรีย",
"title": "นาดทาโทรซาบลีซกา"
},
{
"docid": "912715#0",
"text": "ชวังเกา () เป็นเมืองชนบทในรัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี เมืองชวังเกาตั้งอยู่ติดกับชายแดนประเทศออสเตรีย ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองอยู่ติดกับทะเลสาบฟอร์เกิน เมืองนี้เป็นที่ตั้งของปราสาทที่มีชื่อเสียงที่สุดของเยอรมันอย่างปราสาทนอยชวานชไตน์และปราสาทโฮเอินชวังเกา เมืองแห่งนี้ีไม่มีทางรถไฟผ่าน จึงสามารถเข้าถึงได้โดยรถยนต์เท่านั้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีรถบัสให้บริการจากเมืองฟึสเซินที่อยู่ห่างออกไป 4 กิโลเมตร",
"title": "ชวังเกา"
},
{
"docid": "168552#1",
"text": "แบกแดดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1305 โดยคอลีฟะห์อัล-มันซูร์ แห่งราชวงศ์อับบาสิยะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำไทกริสติดกับคลองที่เชื่อมแม่น้ำยูเฟรติส แบกแดดมีความรุ่งเรืองมากในสมัยคอลีฟะห์ฮารูน อัล-เราะชีด เมื่อแรกสร้างนั้น เมืองนี้สร้างขึ้นที่หมู่บ้านเก่าแก่ชื่อแบกแดด อยู่ทางเหนือของเทซิฟอน ที่เคยเป็นเมืองหลวงของเปอร์เซียโบราณ เมื่อสร้างแล้วได้ตั้งชื่อว่า มะดีนะห์ อัลซาเลม แปลว่าเมืองแห่งสันติ แต่คนทั่วไปยังนิยมเรียกว่าแบกแดดตามชื่อเดิม ความยิ่งใหญ่ของแบกแดดในสมับคอลีฟะห์นี้ปรากฏในวรรณคดีอาหรับที่มีชื่อเสียงคือพันหนึ่งราตรีหรืออาหรับราตรี ผู้แต้ช่งดั้งเดิมคืออัล-จาห์ชิยาร์ ในแบกแดดได้กลายเป็นศูนย์กลางทางด้านวิทยาการ โดยนำวิทยาการที่เป็นภาษากรีก ภาษาละติน ภาษาเปอร์เซีย ภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอาหรับ ทำให้แบกแดดมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านโคลงกลอนจากเปอร์เซีย ทางด้านดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์จากอินเดีย การแพทย์และวิทยาศาสตร์จากกรีก",
"title": "แบกแดด"
},
{
"docid": "143665#1",
"text": "บริษัทผลิตรถยนต์เฟียตมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นี่และบริษัทรถยนต์บางบริษัทก็เริ่มกิจการที่เมืองนี้ ฉะนั้นตูรินจึงมีชื่อเล่นว่าเป็นเมืองหลวงของการผลิตรถยนต์ในประเทศอิตาลี นอกจากนั้นตูรินยังเป็นเมืองหลวงเมืองแรกของสหรัฐอิตาลี",
"title": "ตูริน"
},
{
"docid": "321089#0",
"text": "ลียง (; ; ) เป็นเมืองอยู่ทางตะวันออกตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลวงของจังหวัดโรน และเมืองหลวงของแคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ตั้งอยู่ระหว่างปารีสกับมาร์แซย์ โดยอยู่ห่างจากปารีส 470 กิโลเมตร, ห่างจากมาร์แซย์ 320 กิโลเมตร, ห่างจากเจนีวา 160 กิโลเมตร, ห่างจากตูริน 280 กิโลเมตร และห่างจากมิลาน 450 กิโลเมตร ประชากรเมืองลียงมีชื่อว่า ลียงเน่ส์",
"title": "ลียง"
},
{
"docid": "64255#0",
"text": "เซียร์ราลีโอน () หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน () เป็นประเทศอยู่ในแอฟริกาตะวันตก เมืองหลวงชื่อว่าฟรีทาวน์ มีเนื้อที่โดยประมาณ 71,740 ตารางกิโลเมตร ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับสาธารณรัฐกินี ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดต่อกับประเทศไลบีเรีย ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก",
"title": "ประเทศเซียร์ราลีโอน"
},
{
"docid": "4554#20",
"text": "เมื่อเล่าปังเอาชนะเซี่ยงอี่สำเร็จ จึงสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฮั่นอันยิ่งใหญ่และยาวนาน มีพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู โดยตั้งเมืองหลวงที่ ฉางอาน (ใกล้บริเวณเมืองซีอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) แล้วเรียกชื่อประเทศว่า อาณาจักรฮั่น นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งยุคสมัยของราชวงศ์ฮั่นเป็นสองยุคตามที่ตั้งของเมืองหลวง คือ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (เริ่มต้นโดยพระเจ้าฮั่นเกาจู่) โดยมีราชวงศ์ซินของอองมังมาคั่นเป็นระยะสั้นๆ ก่อนที่จะเกิดการฟื้นฟู ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (เริ่มต้นที่พระเจ้าฮั่นกวงอู่) โดยย้ายนครหลวงไปที่เมืองลั่วหยาง",
"title": "ประวัติศาสตร์จีน"
},
{
"docid": "5333#73",
"text": "หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นไม่นาน เกิดเหตุการณ์เกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้ขึ้น[277] ระหว่างเกาหลีเหนือซึ่งได้รับการหนุนหลังโดยจีนและสหภาพโซเวียต กับเกาหลีใต้ภายใต้ความช่วยเหลือของสหประชาชาติ[278] ซึ่งทึ่สุดแล้วจบลงด้วยการเสมอกันและสัญญาหยุดยิง หลังจากนั้น ผู้นำเกาเหลีเหนือ คิม อิลซอง ได้สร้างรูปแบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางอย่างมาก รวมทั้งก่อให้เกิดลัทธิบูชาบุคคลอันน่าเกรงขาม[279][280]",
"title": "สงครามโลกครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "271916#0",
"text": "โอแซร์ () เป็นเมืองหลวงของจังหวัดอียอนในแคว้นบูร์กอญ ประเทศฝรั่งเศส เมืองโอแซร์ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของฝรั่งเศสระหว่างกรุงปารีสกับเมืองดีฌง โอแซร์เป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าและอุตสาหกรรมที่รวมทั้งการผลิตอาหาร การทำงานไม้ และแบตเตอรี นอกจากนั้นก็ยังมีความสำคัญในการผลิตเหล้าองุ่นที่มีชื่อเสียงที่รวมทั้งชาบลี",
"title": "โอแซร์"
},
{
"docid": "45475#0",
"text": "เปียงยาง () คือเมืองหลวงของประเทศเกาหลีเหนือ เป็นเขตแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของประเทศเกาหลีเหนือ ในอดีตนั้นเคยเป็นเมืองหลวงของหลายอาณาจักร เช่น ใน 2333 ปีก่อนคริสต์ศักราชนั้นเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโชซ็อนโบราณ ในสมัยนั้นมีชื่อว่าเมืองวังก็อมซ็อง ในปี ค.ศ. 427 ได้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโคกูรยอ มีชื่อว่าเมืองเปียงยาง จนถึงปี ค.ศ. 668 ที่อาณาจักรโคกูรยอล่มสลายลง",
"title": "เปียงยาง"
},
{
"docid": "364707#0",
"text": "ตริโปลี (ภาษาอาหรับมาตรฐาน: طرابلس ', และ ', \"Tripolis\")เป็นเมืองในเลบานอน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของบัตรูนและแหลมลิโทโพรโซปอน ตริโปลีเป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าเลบานอนเหนือและเขตตริโปลี (ในเลบานอน เขตผู้ว่าเป็นหน่วยการปกครองที่ใหญ่กว่าประกอบด้วยเขตเป็นหน่วยย่อย) เมืองตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเบรุต 85 กม. และเป็นท่าเรือทางทิศตะวันออกสุดของประเทศเลบานอน",
"title": "ตริโปลี (เลบานอน)"
},
{
"docid": "6152#4",
"text": "กรุงปักกิ่ง มีชื่อเมืองหลายชื่อ คำว่า ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง</b>หมายถึง เมืองหลวงทางทิศเหนือ (มาจากอักษรจีน 北 ที่แปลว่าเหนือ และ 京 ที่แปลว่าเมืองหลวง) กรุงปักกิ่ง ใช้ตัวย่อภาษาอังกฤษคือ BJ",
"title": "ปักกิ่ง"
},
{
"docid": "142478#1",
"text": "โตเลโดเคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรวิซิกอท (ในสเปนโบราณ) ตั้งแต่สมัยพระเจ้าลีอูวีกิลด์ และมีฐานะเป็นเมืองหลวงจนกระทั่งชาวมัวร์ (ชาวมุสลิมจากแอฟริกาเหนือ) ได้เข้ามายึดครองคาบสมุทรไอบีเรียเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 ภายใต้การปกครองของอาณาจักรกาหลิบแห่งกอร์โดบา โตเลโด (ซึ่งในขณะนั้นมีชื่อเรียกว่า \"ตุไลเตละห์\" طليطلة) ก็ได้เข้าสู่ยุคทอง ช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองอันยาวนานนี้รู้จักกันในชื่อ \"ลากอนบีเบนเซีย\" (\"La Convivencia\") หรือการอยู่ร่วมกัน (ของชาวคริสต์ ชาวยิว และชาวมุสลิม) ",
"title": "โตเลโด"
},
{
"docid": "155275#8",
"text": "หลังจากราชวงศ์ฉินยึดครองรัฐฉู่เป็นผลสำเร็จ จาง เอ่อร์ หนีไปซ่อนตัว หลิว ปัง ก็เดินทางกลับบ้านเดิม และได้รับแต่งตั้งเป็นมือปราบประจำหอซื่อฉุ่ย (泗水亭) ในเทศมณฑลเพ่ย์ ทำงานในการบังคับบัญชาของเซียว เหอ (蕭何) กับเฉา ชาน (曹參) ซึ่งเป็นสหายรักของเขา และมักช่วยปิดบังพฤติกรรมเกกมะเหรกของเขา หลิว ปัง ยังได้ผูกไมตรีกับข้าราชการท้องถิ่นอีกหลายคน ทำให้มีชื่อเสียงขึ้นในเขตนั้น ต่อมา หลิว ปัง ถูกส่งไปใช้แรงงานในเสียนหยาง (咸阳) เมืองหลวงของจักรวรรดิฉิน และได้พบกับฉินฉื่อหฺวังตี้ ปฐมกษัตริย์ฉิน ขณะเสด็จตรวจราชการ เขาเห็นขบวนเสด็จโอ่อ่าอลังการ ก็อุทานว่า \"แม่เจ้า ผู้ยิ่งใหญ่ต้องแบบนี้แหละ\" (嗟乎,大丈夫当如此也)",
"title": "จักรพรรดิฮั่นเกาจู่"
}
] |
2692 | ตัวเอกในเรื่องโปเกมอน มีชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "706928#33",
"text": "ในตอนแรก ๆ ของอะนิเมะโปเกมอน (ตอน \"โปเกมอน! ฉันเลือกนายนี่แหละ!\") ตัวเอก ซาโตชิ พยายามจับโอนิสุซุเมะตัวหนึ่งที่นอกเมืองมาซาระ บ้านเกิดของเขา โดยที่พิกะจูของเขาไม่ยอมช่วย เขาทำได้เพียงขว้างก้อนกรวดไปที่โอนิสุซุเมะ ทำให้มันโกรธ โอนิสุซุเมะเรียกฝูงพวกมันออกมา ไล่ตามซาโตชิและพิกะจู ในที่พิกะจูก็โจมตีด้วยท่าฟ้าผ่า (Thunder) ทำให้ฝูงหนีไปได้ โดยซาโตชิยอมเอาชีวิตตนเองเข้าเสี่ยงเพื่อให้พิกะจูปลอดภัย ซาโตชิต้องกลับมารับมือกับฝูงเดิมอีกครั้งเมื่อเขากลับมาเมืองมาซาระ และพบว่าโอนิสุซุเมะที่เขาเคยพยายามจะจับได้กลายเป็นโอนิดริลแล้ว ฝูงดังกล่าวปรากฏอีกครั้งในภาพนึก ซึ่งซาโตชินึกถึงในตอน \"\" ศาสตราจารย์โอคิโดะเคยมีโอนิสุซุเมะหนึ่งตัวในมังงะ\"โปเกมอนสเปเชียล\" เขาใช้มันต่อสู้กับกรีนในโปเกมอนลีก จากนั้นมันก็พัฒนาร่างเป็นโอนิดริล",
"title": "รายชื่อโปเกมอน (1–51)"
},
{
"docid": "226058#0",
"text": "ซาโตชิ () หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า แอช เคตชัม () เป็นตัวละครเอกของโปเกมอนฉบับอนิเมะและฉบับมังงะที่ชื่อ \"Electric Tale of Pikachu\" ตัวของซาโตชินั้นมาจากตัวละครหลักที่ชื่อ เรด ในเกมโปเกมอนภาคเรดและบลู ชื่อของเขาเป็นชื่อเดียวกับผู้สร้างแฟรนไชส์โปเกมอนที่ชื่อ ซะโตะชิ ทะจิริ โดยชื่อซาโตชินั้นอาจแปลได้ว่า \"ปัญญา\" หรือ \"เหตุผล\" ส่วนชื่อภาษาอังกฤษของเขานั้นมีหลายความหมาย ชื่อท้ายภาษาอังกฤษมาจากการเล่นคำจากคำว่า \"Gotta Catch 'em All!\" ซึ่งเป็นสโลแกนของโปเกมอนภาคแรก สำหรับชื่อแรกของเขานั้น แอช (Ash) มีตัวอักษรเหมือนกับชื่อ (Satoshi) ยังมีคนอีกกลุ่มที่บอกว่าต้นไม้ที่ชื่อ \"แอช\" (Ash Tree) อาจเป็นที่มาของชื่อนี้ก็ได้",
"title": "ซาโตชิ (โปเกมอน)"
}
] | [
{
"docid": "706928#35",
"text": "ในซีรีส์อะนิเมะ โอนิดริลที่โดดเด่นที่สุดคือหัวหน้าฝูงโอนิสุซุเมะในเมืองมาซาระ และพยายามจะขับไล่ป็อปโปะทุกตัวออกไปจากพื้นที่ ซาโตชิยืนหยัดสู้กับโอนิดริลและตระหนักว่ามันสะสมความแค้นต่อเขาไว้ มันคือโอนิสุซุเมะตัวที่ซาโตชิพยายามจะจับในตอนแรก ๆ พิเจียนของซาโตชิต่อสู้กับโอนิดริลจนชนะ และพัฒนาร่างเป็นพิจ็อต ในมังงะเรื่อง \"Electric Tale of Pikachu\" โอนิดริลเป็นโปเกมอนตัวแรกที่ซาโตชิจับได้ คล้ายกับตอนแรกในอะนิเมะ ซาโตชิและพิกะจูหนีจากฝูงโอนิสุซุเมะที่กำลังโกรธ และเมื่อซาโตชิปกป้องพิกะจูจากอันตราย พิกะจูโจมตีใส่ฝูงจนฝูงหนีไป ซาโตชิตัดสินใจถือโอกาสและจับหัวหน้าฝูงไว้ ศาสตราจารย์โอคิโดะมีโอนิสุซุเมะตัวหนึ่งในมังงะ \"โปเกมอนสเปเชียล\" ต่อมาได้พัฒนาร่างเป็นโอนิดริล",
"title": "รายชื่อโปเกมอน (1–51)"
},
{
"docid": "29820#0",
"text": "โนริมากิ อาราเล่ () เป็นตัวละครในการ์ตูนเรื่อง ดร.สลัมป์กับหนูน้อยอาราเล่ เป็นหุ่นยนต์ที่ดร. เซมเบ้ สร้างขึ้นมา ให้เป็นเด็กผู้หญิง ซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านแพนกวิน มีนิสัยร่าเริง และมีพลังอย่างมหาศาล ชื่ออาราเล่ตั้งมาจากชื่อขนมญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายขนมเซมเบะแต่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งเป็นนัยว่าเป็นลูกของ ดร.เซมเบ้ ส่วนคำว่า โนริมากิ แปลว่า \"ห่อด้วยสาหร่าย\"",
"title": "โนริมากิ อาราเล่"
},
{
"docid": "706928#11",
"text": "ในอะนิเมะ คาเมลปรากฏตัวครั้งแรกขณะที่คาเมลป่าตัวหนึ่งพบกับซาโตชิและเพื่อน ๆ บนเกาะซินนาบาร์ หรือเกาะกุเร็น ขณะกำลังหาความช่วยเหลือให้ฝูงเซนิกาเมะ คาเมล และคาเม็กซ์ ผู้นำ ต่างหลับใหลอย่างลึกลับ คาเมลอีกหลาย ๆ ตัวปรากฏว่าเป็นโปเกมอนดับเพลิง และเซนิกาเมะของซาโตชิที่เป็นนักดับเพลิงกิตติมศักดิ์จากบ้านเกิดของมัน กลายเป็นคู่ปรับกับผู้นำ สุดท้ายแล้ว ฮารุกะ เพื่อนอีกคนของซาโตชิ ได้รับเซนิกาเมะจากศาสตราจารย์โอคิโดะในตอน \"ศูนย์วิจัยโอคิโดะ รวมพลทุกคน!\" (The Right Place and the Right Mime) เซนิกาเมะของฮารุกะอายุน้อยและขี้ขลาด ในมังงะ\"โปเกมอนสเปเชียล\" กรีนมีคาเมลตัวหนึ่ง พัฒนาร่างจากเซนิกาเมะตัวที่เธอขโมยจากศาสตราจารย์โอคิโดะ คาเมลของกรีนมีนิสัยเจ้าเล่ห์เหมือนกรีน จากนั้นมันก็พัฒนาร่างเป็นคาเม็กซ์",
"title": "รายชื่อโปเกมอน (1–51)"
},
{
"docid": "747246#8",
"text": "การปรากฏตัวหลัก ๆ ของมิวในอะนิเมะโปเกมอนคือในภาพยนตร์เรื่อง\"โปเกมอน มูฟวี ตอน ความแค้นของมิวทู\" ซึ่งมิวรับบทเป็นหนึ่งในตัวละครหลัก เชื่อกันว่ามิวเป็นโปเกมอนในตำนานที่หายสาบสูญไปนาน และเป็นโปเกมอนหายากที่แข็งแกร่งที่สุด หลังจากการวิจัยหลายปี นักวิทยาศาสตร์ใช้ดีเอ็นเอของมิวมาผสมกันเพื่อสร้างมิวทู ซึ่งเป็นมิวในร่างโคลนที่ถูกปรับแต่งทางพันธุกรรมและกลายเป็นตัวเอกของภาพยนตร์ ภูมิหลังของภาพยนตร์เรื่อง\"โปเกมอน มูฟวี่ ตอน มิวและอัศวินคลื่นพลัง\" เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ลึกลับและที่มาของความแข็งแกร่งของมิว ในภาพยนตร์ แสดง \"แผนภูมิลำดับเครือญาติ\" ของโปเกมอน โดยโปเกมอนตัวแรกในแผนภูมิคือมิว และตัวสุดท้ายคือโฮโอ",
"title": "มิว (โปเกมอน)"
},
{
"docid": "706928#3",
"text": "ในเกม\"ซูเปอร์สแมชบราเธอส์ บรอล\" ฟุชิงิโซเป็นหนึ่งในตัวละครที่เล่นได้ ภายใต้คำสั่งของผู้ฝึกโปเกมอน หรือโปเกมอนเทรนเนอร์ เทรนเนอร์ยังสามารถครอบครองเซนิกาเมะ และลิซาร์ดอน ได้ โดยที่สามตัวนี้สามารถใช้สลับกันได้ แต่นักสู้คนอื่น ๆ โปเกมอนพวกนี้สามารถเหนื่อยล้าและอ่อนแอลงได้ และต้องถูกสลับตัวออกไปนานระยะหนึ่งเพื่อฟื้นพลัง ในอะนิเมะ ฟุชิงิโซปรากฏตัวครั้งแรกในตอนที่ 51 (\"ความลับของฟูชิกิดาเนะ\") ใน\"ซีรีส์ออริจินัล\" ฟุชิงิดาเนะหลายตัวพัฒนาร่างเป็นฟุชิงิโซ ยกเว้นฟุชิงิดาเนะของซาโตชิ ฮารุกะ เพื่อนของซาโตชิ มีฟุชิงิดาเนะเพศเมียพัฒนาร่างเป็นฟุชิงิโซ และเป็นฟุชิงิบานะ ในเวลาต่อมา",
"title": "รายชื่อโปเกมอน (1–51)"
},
{
"docid": "102845#52",
"text": "เป็นเรื่องราวการผจญภัยครั้งใหม่ใน เขตชินโอ โดยมีผู้ครอบครองสมุดภาพทั้ง 3 ซึ่งมีชื่อว่า 1.ไดมอน 2.เพิร์ล 3.แพตตินัม ซิ่งไดมอน - \nเพิร์ลนั้นต้องไปเป็นบอดี้การ์ดของ แพตตินัม ด้วยสาเหตุว่า ไดมอน - เพิร์ล ได้ไปแสดงรายการตลกของเขตชินโอและมุกแป้ก(โดยไดมอนได้ไปหยิบข้าวปั้นของทีมงานมากิน)จึงมีคนขำน้อยจึงตกรอบแหละขณะที่เดินออกมาโดยท้อใจก็มีคนออกมาบอกว่าได้รางวัลพิเศษและก็เอามาให้แล้วก็บอกกับ ไดมอน - เพิร์ล ว่าให้รีบขึ้นไปบนเวที ไดมอน - เพิร์ล ดีใจมากจึงรีบวิงขึ้นไปขณะนั้นเอง ไดมอน - เพิร์ล ได้ชนกับ ด็อกเตอร์นานาคามาโตะและของของรางวัลจึงสับเปลี่ยนกันจากนั้นด็อกเตอร์ นานาคามาโตะ ก็ได้คุยเกี่ยวกับตระกูลเบลลิลกับพ่อของ แพทตินัมว่าตระกูลนี้ผู้สืบทอดต้องนำวัตถุดิบจาก ภูเขาเทนกังมาทำเครื่องประดับและได้มอบใบคำสั่งที่พลัดเปลี่ยนกับ ไดมอน - เพิร์ล ให้บอดี้การ์ดตัวจริงแล้วก็ไป ตัดฉากมาที่ ไดมอน - เพิร์ล ได้รับรางวัลและเปิดดูปรากฏว่าในจดหมายเขียนไว้ว่าให้คุ้มกันโดยมีค่าตอบแทนสิบล้าน แล้วก็ตัดมาที่ แพตตินัมอยู่ที่สถานที่นัดเจอกันและได้เรียก 1 ใน 3 โปเกมอนของด็อกเตอร์นานาคามาโตะออกมาชื่อว่า พจจามะ แล้วก็เรียก นาเอโทรุ กับ ฮิโกะซารุ ออกมาต้อนรับบอดี้การ์ด ขณะนั้นเอง ไดมอน - เพิร์ล ก็ได้มาถึงพอดี ซารุฮิโกะ กับ นาเอโทรุก็ได้กระโดดมาเกาะหน้า ไดมอน - เพิร์ล โดย นาเอโทรุเลือก ไดมอน\nซารุฮิโกะเลือก เพิร์ล ทันใดนั้นฝูงมุกคุรุ ก็เข้ามาโจมตีและ แพทตินัมก็บอกให้ ไดมอน - เพิร์ล ไล่ไป จากนั้นก็ดิทางสู่เขาเทนกัง\nจากนั้นก็พักที่โรงแรม ไดมอน - เพิร์ล ก็ได้ตั้งชื่อให้กับโปเกมอนของตัวเอง โดย ไดมอน ตั้งชื่อให้ นาเอโทรุ ว่า รู และ เพิร์ล ตั้งให้ ฮิโกะซารุ \nว่า ซารุฮิโกะ จากนั้นก็มีกองทัพบิปป้าฟันยาวมาทำร้าย แพทตินัม ในห้อง ไดมอน - เพิร์ล จึงรีบตามไปช่วยจากนั้น ไดมอน จึงพาพวกบิบป้าไปแทะรูปปั้นทองคำจนฟันบิปป้าปกติและจึงเดินทางต่อ",
"title": "โปเกมอนสเปเชียล"
},
{
"docid": "747944#9",
"text": "หลังจากเสี่ยงเดินทางเข้าไปในกอหญ้าสูงคนเดียว มีเสียงเสียงหนึ่งเตือนผู้เล่นให้หยุด ซึ่งเผยว่าเป็นศาสตราจารย์ออคิดส์ หรือโอ๊ก (Professor Oak) นักวิจัยโปเกมอนชื่อดัง ศาสตราจารย์ออคิดส์อธิบายผู้เล่นว่าโปเกมอนป่าอาจอาศัยอยู่ในกอหญ้านั้น และหากเผชิญหน้าโปเกมอนตามลำพังอาจเป็นอันตราย เขาพาผู้เล่นไปที่ห้องปฏิบัติการ และเขาได้พบกับหลานชายของศาสตราจารย์ ซึ่งจะเป็นคู่แข่งของผู้เล่น ผู้เล่นและคู่แข่งจะได้เลือกโปเกมอนเริ่มต้นที่จะเดินทางไปกับเขา ได้แก่ ฟุชิงิดาเนะ เซนิกาเมะ และฮิโตะคาเงะ หลานชายของศาสตราจารย์จะเลือกโปเกมอนที่ได้เปรียบกว่าโปเกมอนของผู้เล่นเสมอ จากนั้นเขาจะท้าสู้กับผู้เล่นหลังได้รับโปเกมอนใหม่ และจะต่อสู้อีก ณ จุดที่กำหนดไว้ตลอดเกม",
"title": "โปเกมอน เรดและบลู"
},
{
"docid": "747246#9",
"text": "มิวปรากฏในมังงะ\"โปเกมอน\"ชุด\"โปเกมอนสเปเชียล\" มิวมีชื่อว่าเป็น \"โปเกมอนลวงตา\" (Phantom Pokémon) ในมังงะ ปรากฏในบทแรกเมื่อแก๊งร็อกเก็ต องค์กรอาชญากรรม พยายามจับมิว โปเกมอนเทรนเนอร์ชื่อเรดก็พยายามจับมิว แต่ถูกมิวเอาชนะอย่างง่ายดาย ในบทต่อมา มีการเปิดเผยว่าแก๊งร็อกเก็ตต้องการดีเอ็นเอของมิวเพื่อสร้างมิวทูให้สำเร็จ ส่วนเรดและโปเกมอนเทรนเนอร์ชื่อกรีน ร่วมมือกันปกป้องไม่ให้มิวถูกจับตัว",
"title": "มิว (โปเกมอน)"
},
{
"docid": "706928#30",
"text": "บนเรือเซนต์แอนน์ ซาโตชิแลกเปลี่ยนบัตเตอร์ฟรีของเขากับรัตตาตัวหนึ่ง และแลกเปลี่ยนกลับในท้ายตอน ยามาโตะมีรัตตาตัวหนึ่งซึ่งมีบทบาทในคติพจน์ (motto) ของเธอและโคซาบุโร เช่นเดียวกับเนียซที่มีบทบาทในคติพจน์ของมุซาชิและโคจิโร ในตอน \"ดวลเดือด! โปเกมอนยิม!\" รัตตาเป็นหนึ่งในโปเกมอนของหนึ่งในเทรนเนอร์ใน Kas Gym ตัวละครชื่อมิกะมีรัตตาตัวหนึ่ง เธอใช้ในรอบ appeal round ในการประกวดโปเกมอนในตอน \"อันดับที่ 1 ฮารุกะ ปะทะ ทาเคชิ\" โคซาบุโร จากแก๊งร็อกเก็ตใช้รัตตาในตอน \"แก๊งร็อกเก็ตสลาย มุ่งสู่เส้นทางของตนเอง\" ในมังงะ\"โปเกมอนสเปเชียล\" โครัตตาเป็นโปเกมอนตัวแรกของเยลโลว์ ต่อมามันพัฒนาร่างเป็นรัตตา",
"title": "รายชื่อโปเกมอน (1–51)"
}
] |
642 | การที่มนุษย์ตัดไม้ทำลายป่าการแบ่งป่าเป็นผืนเล็กผืนน้อย และทำให้ป่าเสื่อมสภาพลงใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "474756#0",
"text": "การทำลายป่า คือ สภาวะของป่าตามธรรมชาติที่ถูกทำลายโดยการตัดไม้และการเผาป่า เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การนำต้นไม้และถ่านไม้มาใช้หรือจำหน่ายเป็นโภคภัณฑ์ ในระหว่างที่ทำการเลี้ยงสัตว์ เพาะปลูก และตั้งถิ่นฐาน บนพื้นที่ว่าง การตัดไม้โดยไม่ปลูกทดแทนด้วยจำนวนที่เพียงพอ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อที่อยู่อาศัย ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และปัญหาความแห้งแล้ง ซึ่งส่งผลเสียต่อการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศโดยพืช พื้นที่ป่าที่ถูกทำลายโดยมากจะเกิดความเสียหายจากการพังทลายของหน้าดิน และพื้นที่มักด้อยคุณภาพลงจนกลายเป็นที่ดินที่ทำประโยชน์มิได้",
"title": "การทำลายป่า"
}
] | [
{
"docid": "109849#9",
"text": "ปังสุกูลิกังคะ ละเว้นใช้ผ้าที่ประณีตเหมือนที่คหบดีใช้ (พระป่านิยมใช้ผ้าท่อนเก่า) สมาทานถือใช้แต่ผ้าบังสุกุลที่เขาทิ้งแล้ว (ข้อนี้ตามคัมภีร์เมื่อเทียบกับวัดป่าไม่ต่างกัน) เตจีวริตังคะ ละเว้นการมีผ้าครอบครองและใช้สอยผ้าเกิน 3 ผืน (วัดป่าสมาทานการใช้สอยผ้าไตรจีวร ในความหมายว่าผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้าคลุมด้วย (ในทางปฏิบัติจะใช้ผ้าคลุมนุ่งเมื่อซักตากผ้านุ่งและผ้าห่มชั่วคราว) คือ ผ้าที่เป็นผืน ๆ ที่ไม่ได้ตัดเป็นชุด ตามหลักผ้าใช้นุ่งห่มเพื่อกันความร้อนความเย็นและปกปิดร่างกายกันความน่าอายเท่านั้น ปิณฑปาติกังคะ ละเว้นรับอดิเรกลาภ (คือรับนิมนต์ไปฉันที่ได้มานอกจากบิณฑบาตรเช่นไปฉันที่บ้านที่โยมจัดไว้ต้อนรับ) สมาทาน เที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ (ข้อนี้ตามคัมภีร์เมื่อเทียบกับวัดป่าไม่ต่างกัน) สปทานจาริปังคะ ละเว้นการโลเล (ยึดติด) เที่ยวจาริก (ภิกขาจาร) (เพื่อมิให้ผูกพันกับญาติโยม) สมาทานบิณฑบาตรตามลำดับ ลำดับบ้าน ไม่เลือกบ้านที่จะรับบิณฑบาต เดินแสวงหาบิณฑบาตไปตามลำดับ. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นบิณฑบาตซ้ำที่เดิม ถืออย่างเบาย้ายสายบิณฑบาตทุกวัน อย่างหนักออกเดินทางย้ายที่เที่ยวบิณฑบาตไม่ต่ำกว่าที่เดิมไม่เกินโยชน์ (16 กิโลเมตร) สมาทานบิณฑบาตตามลำดับบ้าน ลำดับอายุพรรษา ไม่เดินแซง (แย่งอาหาร) ซึ่งไม่ผิดจากพระไตรปิฎก-อรรถกถาแต่อย่างใด สามารถทำได้เช่นกัน. เอกาสนิกังคะ ละเว้นอาสนะที่สอง สมาทานอาสนะเดียว (ฉันมื้อเดียว). ปกติมักถือการนั่งฉันเมื่อเคลื่อนก้นจากฐานอาสนะที่นั่งเป็นอันยุติการฉันหรือรับประทานอาหารในวันนั้น ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ จะกำหนดเวลาฉันในแต่ละวัน เช่นกำหนดฉันเวลา 9 นาฬิกา ก็จะฉันในเวลานั้นทุกวัน (จะไม่ฉันก่อนเวลานั้น หรือ หลังเวลานั้น เช่นเวลา 8 นาฬิกา หรือ 10 นาฬิกา) จะไม่เปลี่ยนเวลาฉันตามความอยากฉัน หรือ ไม่อยากฉันตามอารมณ์ แต่ฉันตามสัจจะตามเวลาที่อธิษฐานไว้ ปัตตปิณฑิกังคะ ละเว้นฉันภาชนะที่ 2 ใส่อาหารรวมในภาชนะเดียวกันทั้งหมด สมาทาน ฉันเฉพาะในบาตร. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ จะต้องคนอาหารรวมกันด้วย ซึ่งแม้จะไม่มีในข้อธุดงค์ตามคัมภีร์แต่ก็ทำได้ไม่ผิดอะไร. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ละเว้นการรับประทานอาหารเหลือ สมาทานเมื่อเริ่มลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นฉันเหลือให้เป็นเดน (ฉันเหลือเนื่องจากไม่ประมาณในการบริโภค) ซึ่งก็ทำได้ไม่ผิด ทั้งยังเป็นมรรยาทที่ดีงามและพบตัวอย่างของพระสมัยพุทธกาลที่ทำเช่นนี้ด้วย. (อติริตต อาหารอันเป็นเดน) อารัญญิกังคะ ละเว้นการอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน สมาทานการอยู่ในป่าไกล 500 ชั่วคันธนู หรือ ราว 1 กิโลเมตร โดยจะต้องให้ตะวันขึ้นในป่า หากตัวอยู่ในบ้านตอนตะวันขึ้น เป็นอันธุดงค์แตก สมาทานถืออยู่ในป่า (วน - กลุ่มต้นไม้, อรัญญ - ป่าไกลบ้าน) รุกขมูลิกังคะ ละเว้นนอนในที่มีที่มุงที่บัง (เช่นบ้าน ถ้ำ กุฏิ) สมาทานอยู่โคนไม้ แต่ท่านอนุญาตให้ทำซุ้มจีวรได้ ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะต่างออกไปเล็กน้อย คือ จะใช้การปักกลดแทน ประเพณีนี้ไม่ทราบที่มาแน่ชัดนัก แต่ถ้าไม่เอาด้ามกลดปักดินก็ทำได้เพราะถึงอย่างไรกลดก็ไม่ใช่กุฏิ (ปักกลด คือการกางร่มกลด (ร่มที่พระใช้ขณะเดินทาง) ใต้ต้นไม้ เป็นวิธีการของพระสายวัดป่าไทยโดยเฉพาะแต่เดิมครั้งพุทธกาลไม่มีมาก่อน กลดมี 2 ลักษณะคือผูกเชือกแล้วแขวนกลด และใช้ด้ามกลดปักพื้น (มักทำพระอาบัติปาจิตตีย์กันบ่อยด้วยปฐวิขณนสิกขาบท เพราะจงใจขุดดินทั้งที่รู้ตัว) บางรูปวางกับพื้น เรียกว่ากางโลงศพเพราะได้แต่อิริยาบถนอนในกลดเท่านั้น ลุกมานั่งสมาธิไม่ได้ (แต่สามารถถือวางพาดบ่าก็ลุกนั่งได้) โดยปกติจะครอบคลุมด้วยผ้ามุงทรงกระบอกเพื่อกันยุง ในครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ใส่รองเท้าเมื่อเดินลุยในน้ำ ไม่ทรงอนุญาตให้ใส่ที่อื่น เนื่องจากเดินลุยน้ำเรามองไม่เห็นว่าในน้ำมีอะไรจึงต้องใส่รองเท้า แต่บนพื้นเรามองเห็นอยู่จะพลาดเหยียบหนามก็เพราะขาดสติ (ทรงอนุญาตให้ใส่รองเท้าในวัด หรือป่า เป็นต้นได้ แต่ห้ามใส่เข้าในเขตหมู่บ้าน[8]) อีกทั้งทรงอนุญาตให้ใช้ร่มเมื่อเข้าไปในใต้ต้นไม้เพื่อป้องกันการร่วงหล่นใส่ของกิ่งไม้แต่ในเบื้องต้นยังไม่อนุญาตให้กางนอกต้นไม้เพื่อใช้กันแดดกันฝน ในคัมภีร์ท่านไม่ได้อนุญาตให้กางร่มกลดไว้ แต่หากเอาตามอัพโภกาสิกังคธุดงค์แล้วก็ทรงอนุญาตให้ทำซุ้มจีวรได้ (สันนิษฐานว่าคงเป็นผ้ามุ้งหูเดียวที่ผูกแขวนใต้ต้นไม้เพราะข้อธุดงค์รุกขมูลที่กำหนดไว้ให้อยู่ใต้ต้นไม้ ไม่น่าจะเป็นการเอาไม้มาพาดแล้วคลุมด้วยผ้าคล้ายเต็นท์ เพราะเต็นท์จะอยู่นอกใต้ต้นไม้ได้) อย่างไรก็ตามการใช้กลดก็ไม่ผิด เพราะก็อยู่โคนไม้ไม่ใช่กุฏิเหมือนกัน). อัพโภกาสิกังคะ ละเว้นการเข้าในที่มีที่มุงที่บังและใต้ต้นไม้ สมาทานอยู่กลางแจ้ง คือการไม่เข้าไปพักในร่มไม้หรือชายคาหลังคาใด ๆ หรือแม้การกางร่มกลดเพื่อกันแดดกันฝนก็ไม่ได้ห้ามทั้งซุ้มจีวรและการใช้มุงใด ๆ.วัดป่าบางทีก็ถือการไม่ใช่อาสนะใด ๆ เลยเช่น เก้าอี้ เตียง ผ้าปูหรือ แม้แต่ผูกเปล รวมทั้งไม่นอนบนต้นไม้ โดยถือหลักการไม่อิงอาศัยสิ่งใดเกินจำเป็น แม้แต่รองเท้าก็ตาม โสสานิกังคะ ละเว้นการอยูในสถานที่ไม่เปลี่ยว สมาทานอยู่ป่าช้า ในคัมภึร์หมายถึงป่าช้าเผาศพ ซึ่งต้องเคยมีการเผาศพมาก่อนอย่างน้อยครั้งหนึ่ง แต่ไม่ใช่ป่าช้าฝังผี ข้อนี้ก็เหมือนกับ 2 ข้อ ก่อน ตรงที่ถ้าไม่ได้อยู่ในป่าช้าตอนตะวันขึ้นธุดงค์ก็แตกเช่นกัน.วัดป่ามักถือการไม่อยู่ในป่าช้าใกล้ ๆกับที่มีมนุษย์อยู่ในบริเวณใกล้ๆกับสถานที่ตนอยู่ เพราะการอยู่ในป่าช้าก็เพื่อการทดสอบจิตใจต่อการกลัวในความมืดและความเงียบ โดยการอยู่ในที่เปลี่ยวในป่าช้าห่างไกลผู้คนและหมายถึงป่าทั้งที่ฝังและเผา (สน สงัด สุสาน มีปกติสงัดดี) ยถาสันถติกังคะ ละเว้นการโลเล (ยึดติด) ในเสนาสนะ สมาทานอยู่ในที่ตามมีตามได้ เสนาสนคาหาปกะจัดให้อย่างไรก็อยู่ตามนั้น. ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นการนอนซ้ำที่เดิม (เพื่อไม่หวงแหนในติดในสถานที่) โดย ถืออย่างเบาคือนอนย้ายที่ในอาวาสทุกวัน ถืออย่างหนักคือออกเดินทางย้ายที่นอนทุกวัน ถ้านอกอาวาส ถ้าหลายรูปให้พรรษาที่สูงกว่าเลือกให้และให้พรรษาสูงกว่าเลือกก่อน (ข้อนี้เป็นสมาจาริกศีล ไม่ใช่ธุดงค์) และ อยู่บนกุฏิวิหารให้ทำให้สะอาด ถ้าตามโคนไม้ไม่กวาดหรือทำอะไรเพราะใบไม้มีประโยชน์เช่นทำให้เท้าไม่ เปื้อนก่อนเข้าอาสนะ และสัตว์หรือคนเข้ามาย่อมได้ยินเสียง. เนสัชชิกังคะ สมาทานถืออิริยาบถนั่ง-อิริยาบถยืน-อิริยาบถเดินเพียง 3 อิริยาบถไม่อยู่ในอิริยาบถนอน ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นการหลับ</i>ด้วย ซึ่งก็ทำได้ไม่ผิด (มักเรียกการประพฤตินี้ว่าเนสัชชิก)",
"title": "ธุดงค์"
},
{
"docid": "320577#1",
"text": "ในปี พ.ศ. 2543 มีการประมาณว่านกประจำถิ่น 159 ชนิดและนกอพยพ 23 ชนิดกำลังถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์หรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ซึ่งมีสาเหตุมาจากการถางป่า การลักลอบตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย การล่าสัตว์และการเสื่อมสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในที่ราบลุ่ม ชนิดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเป็นนกน้ำขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้กลายไปเป็นพื้นที่ทางการเกษตรและชนิดที่อาศัยอยู่ในป่าที่ซึ่งมีการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการเกษตรและการค้าทำให้พื้นที่ป่าสูญหายไปหรือกลายเป็นป่าเสื่อมโทรม\nนกในประเทศไทยเป็นนกชนิดหลักๆของเขตนิเวศอินโดมาลายาซึ่งสัมพันธ์กับอนุทวีปอินเดียในทางตะวันตก และโดยเฉพาะพื้นที่คาบสุมทรทางตอนใต้ถึงเขตชีวภาพซุนดาในทางตะวันออกเฉียงใต้ ภูเขาทางเหนือคือที่ราบสูงทิเบตที่ทอดตัวขวางไว้ซึ่งมีนกภูเขาหลายชนิดและในฤดูหนาวจะมีนกอพยพมาจากทางตะวันออกของเขตนิเวศพาลีอาร์กติกและเทือกเขาหิมาลัย",
"title": "รายชื่อนกที่พบในประเทศไทย"
},
{
"docid": "474756#9",
"text": "ดิน ป่าไม้ที่ยังไม่ถูกรุกราน มีอัตราการสูญเสียดินที่ต่ำ เพียงแค่ประมาณ 2 ตัน ต่อ ตารางกิโลเมตร โดยทั่วไปการทำลายป่าเพิ่มอัตราการพังทลายของหน้าดิน โดยการเพิ่มประมาณของน้ำผิวดินและลดการป้องกันหน้าดินของเศษซากของต้นไม้ รากต้นไม้ยึดดินเข้าไว้ด้วยกัน และหากผืนดินอยู่ตื้นพอ ผืนดินจะยึดดินไว้ให้อยู่กับหินดานที่อยู่ใต้ลึกลงไป การตัดไม้บนพื้นที่ลาดชัด ซึ่งที่ผืนดินอยู่ตื้น จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดดินถล่ม ซึ่งทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่โดยรอบตกอยู่ในอันตราย อย่างไรก็ตามการทำลายป่าส่วนใหญ่มีผลกระทบแค่กับลำต้นของต้นไม้ หากยังปล่อยให้รากยึดติดอยู่กับดิน ก็แก้ไขปัญหาดินถล่มได้",
"title": "การทำลายป่า"
},
{
"docid": "455169#16",
"text": "-ป่าเต็งรังผสมสน (pine deciduous dipterocarp forest) เป็นสังคมของป่าเต็งรังผสมกับสนพื้นเมืองสองชนิดคือ สนสองใบ และสนสามใบ โดยเกิดจากการซ้อนทับกัน (overlapping) ระหว่างป่าดิบเขาระดับต่ำสังคมสนเขา - ก่อ ซึ่งมีไม้สนสามใบ กับป่าเต็งรังผสมสนในพื้นที่สูงของภาคเหนือ อันเป็นผลมา จากไฟป่าในฤดูหนาวที่อากาศแห้ง (ธันวาคม – กุมภาพันธ์) โดยการกระทำของมนุษย์ ที่ระดับความสูงประมาณ 800 – 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล \nระดับความสูง : ความสูงที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดการกระจายตัวของที่อยู่อาศัยประเภทเดียวกับที่เส้นรุ้งที่เพิ่มขึ้น\n แนวปะการังในลีนีเซียฝรั่งเศส\nแนวปะการังอยู่รอบ ๆ เกาะใน French Polynesia\nเพราะเราแบ่งปันโลกที่มีสายพันธุ์อื่น ๆ อีกมากมายของพืชและสัตว์เราจะต้องพิจารณาผลของการกระทำของเรา ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมากิจกรรมของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นได้ทำลายอย่างรวดเร็ว\nหรือปนเปื้อนที่อยู่อาศัยในระบบนิเวศหลายทั่วโลก มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะรักษาทุกประเภทของ biomes เป็นบ้านแต่ละรูปแบบที่ไม่ซ้ำกันจำนวนมากของชีวิต อย่างไรก็ตามการใช้ประโยชน์หนักอย่างต่อเนื่องของ biomes บางอย่างเช่นป่าน้ำจืดและทะเลอาจมีผลกระทบที่รุนแรงมากขึ้น\nป่าไม้มีความสำคัญที่พวกเขาเป็นบ้านที่มีความหลากหลายทางชีววิทยา Communties มากที่สุดในโลก ซ่อนอยู่ภายใน biomes เหล่านี้เป็นยาที่มีศักยภาพและหลายพันคนของสปีชีส์ที่มองไม่เห็นและยังไม่ได้เปิด นอกจากนี้ป่ามีกำลังการผลิตสภาพภูมิอากาศบัฟเฟอร์ทั่วโลกดังนั้นการทำลายล้างของพวกเขาอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในสภาพภูมิอากาศโลก เข้าสู่ระบบได้หมดหลายเจริญเติบโตเก่าป่าไม้เมืองหนาว ต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับบ้านกระดาษและผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ ยังไม่ได้รับอนุญาตในการอนุรักษ์มาก เมื่อเร็ว ๆ นี้มีคนเริ่มตระหนักถึงการบันทึกว่าได้เคลียร์มากของป่าเหล่านี้ ใช้ฉลาดของป่าไม้และความพยายามที่จะปลูกต้นไม้ได้ช่วยในการชะลอการสูญเสียของชุมชนเหล่านี้",
"title": "ชีวนิเวศ"
},
{
"docid": "41841#12",
"text": "จำนวนรังนกที่เก็บได้ในแต่ละปีจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับจำนวนนกที่อาศัยอยู่ในเกาะแต่ละเกาะ ดังนั้นผู้รับสัมปทานจะพยายามเพิ่มปริมาณนกโดยการดูแลรักษาธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมของเกาะที่นกอาศัยอยู่ไม่ให้มีการเสื่อมสลายไป บนเกาะรังนก ต้นไม้ทุกต้นจะถูกอนุรักษ์ดูแลอย่างดี ไม่มีการตัดไม้ทำลายป่า ปลาทะเลต่างๆรอบเกาะก็จะมีชุกชุม เพราะจะไม่มีการระเบิดปลา หรือใช้แหจับปลาในบริเวณรอบๆเกาะ การที่ต้องดูแลสภาพแวดล้อมอย่างเข้มงวดเป็นเพราะเกรงกันว่าถ้าสภาพแวดล้อมเปลี่ยนอาจมีผลกระทบกับจำนวนนกนางแอ่นที่มาอาศัย การวางไข่และการฟักตัวของนกนางแอ่นก็เช่นกัน ผู้รับสัมปทานจะต้องดูแลไม่ให้มีการรบกวนนก เพราะหากมีการรบกวนนกในช่วงนกวางไข่ อาจทำให้นกวางไข่น้อยและมีการฟักตัวของลูกนกน้อยตามไปด้วย ซึ่งนั่นก็หมายถึงปริมาณรังนกที่จะน้อยลงในปีต่อๆไป",
"title": "รังนก (อาหาร)"
},
{
"docid": "11347#56",
"text": "เมื่อป่าผืนใหญ่หายไปมากขึ้นทุกที ระบบนิเวศจึงได้รับผลกระทบอย่างลึกซึ้ง ต้นไม้มีส่วนสำคัญในการยึดหน้าดินและดูดซับน้ำไหลบ่า อุทกภัยและการพังทลายของหน้าดินขนาดใหญ่เป็นผลกระทบโดยทั่วไปของการตัดไม้ทำลายป่า ช้างต้องการที่ดินผืนใหญ่ เนื่องจากพวกมันคุ้นชินกับการโค่นต้นไม้และไม้พุ่มเพื่อหาอาหาร เหมือนกับชาวไร่เลื่อนลอย แต่ช้างจะค่อยกลับมาในภายหลัง เมื่อพื้นที่ดังกล่าวมีต้นไม้เติบโตขึ้นดังเดิมแล้ว และเมื่อป่าไม้ลดขนาดลง ช้างจึงกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา ซึ่งจะทำลายพืชผลการเกษตรทั้งหมดในพื้นที่ และทำลายทรัพยากรทั้งหมดที่มีอยู่",
"title": "ช้าง"
},
{
"docid": "734832#0",
"text": "ระบบนิเวศป่าไม้ () ระบบนิเวศป่าไม้เป็นศูนย์รวมความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญที่สุดในโลก และเป็นปัจจัยหลักที่เกื้อกูลการดำรงชีวิตของประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในบริเวณป่า ทั้งยังช่วยควบคุมสภาพอากาศให้เหมาะสม เนื่องจากเป็นแหล่งดูดซับและกักเก็บคาร์บอน การที่มนุษย์ตัดไม้ทำลายป่าการแบ่งป่าเป็นผืนเล็กผืนน้อย และทำให้ป่าเสื่อมสภาพลง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในป่าเขตร้อนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุด",
"title": "ระบบนิเวศป่าไม้"
},
{
"docid": "407428#2",
"text": "องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติประเมินว่า โลกเสียพื้นที่ป่าไม้ 130,000 กม. ทุกปี จากการตัดไม้ทำลายป่า การเปลี่ยนป่าไม้เป็นพื้นที่การเกษตร, การตัดไม้อย่างไม่บันยะบันยัง, การปฏิบัติการจัดการที่ดินอย่างไม่สมเหตุสมผล และการตั้งถิ่นฐานมนุษย์เป็นสาเหตุทั่วไปที่สุดสำหรับการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้\nตามข้อมูลของธนาคารโลก การตัดไม้ทำลายป่าเป็นเหตุให้ปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกมากถึง 20% ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อน องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติประเมินว่าป่าไม้และดินป่าไม้ของโลกกักเก็บคาร์บอนมากกว่าหนึ่งล้านล้านตัน สองเท่าของปริมาณที่พบในบรรยากาศ ธนาคารโลกประเมินว่าป่าไม้เป็นที่อยู่อาศัยของสปีชีส์ราวสองในสามของโลกทั้งใบ และการตัดไม้ทำลายป่าฝนเขตร้อนปิดอาจเป็นเหตุให้สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพถึง 100 สปีชีส์ต่อวัน\nตามข้อมูลของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) และพันธมิตรระดับโลกว่าด้วยการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้ \"ทั่วโลกมีพื้นที่ป่าไม้ที่สูญเสียหรือคุณภาพเลวลงมากกว่าหนึ่งพันล้านเฮกตาร์ที่สามารถฟื้นฟูได้\"",
"title": "ปีสากลแห่งป่าไม้"
},
{
"docid": "475200#2",
"text": "เดิมทีเป็นผืนป่าที่ได้รับสัมปทานให้ตัดไม้ แต่กลับไม่เคยถูกบุกรุก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2508 จึงเริ่มมีการสำรวจทางวิชาการอย่างจริงจัง และได้รับการประกาศให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลำดับที่ 5 ของไทย ลักษณะภูมิประเทศมีทั้งเทือกเขาและที่ราบ โดยเป็นแนวเขาของเทือกเขาถนนธงชัยและตอนเหนือของเทือกเขาตะนาวศรี มีความหลากหลายทั้งภูมิประเทศ, ภูมิอากาศ และความชื้น อันเป็นที่มาของความหลากหลายทางชีวภาพ จนกล่าวได้ว่าที่นี่มีป่าเกือบทุกประเภท ยกเว้นป่าชายเลนและป่าชายหาด หรือป่าพรุน้ำจืด เท่านั้น โดยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งถือเป็นพื้นที่เงาฝน เนื่องจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรที่อยู่ทิศตะวันตกเป็นพื้นที่ ๆ สูงกว่าระดับน้ำทะเล ดังนั้นเมื่อฝนมาปะทะที่ด้านทิศตะวันตกรวมถึงตะวันตกเฉียงใต้ก็จะตกที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรโดยข้ามเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งไป จึงทำให้ป่าที่นี่ส่วนใหญ่ไม่ใช่ป่าดิบ แต่เป็นป่าเบญจพรรณ โดยเฉพาะป่าไผ่",
"title": "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง"
},
{
"docid": "103236#1",
"text": "สภาพป่าไม้ในพื้นที่สงวนชีวมณฑลห้วยทากเมื่อครั้งอดีตเริ่มก่อตั้ง (พ.ศ. 2520) ยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ขณะนั้นประชากรในพื้นที่ที่มีจำนวนน้อย และมีวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายไม่ฟุ้งเฟ้อ การทำมาหากินในสมัยนั้นก็ได้อาศัยทรัพยากรจากป่าไม้เพื่อการยังชีพเป็นหลักเรื่อยมา โดยไม่ได้ทำความเสียหายต่อผืนป่าแต่อย่างใด จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ทำให้ทราบว่า ในสมัยอดีตเมื่อยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ถนนพหลโยธินซึ่งเป็นถนนสายหลักของประเทศ ที่ทอดแนวยาวผ่านพื้นที่แห่งนี้ยังเป็นถนนแคบๆ คดโค้งไปตามขอบเขา ในแต่ละวันจะมีรถยนต์วิ่งผ่านเพียงไม่กี่คัน ชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้รถจักรยานสองล้อ (รถถีบ) เป็นยานพาหนะ และใช้เกวียนเทียมวัวหรือความเป็นยานพาหนะขนส่ง วิถีชีวิตของชาวบ้านมีการดำรงชีพอย่างเรียบง่าย แบบพอเพียง จัดหาเท่าที่พออยู่พอกิน สภาพภูมิอากาศมีฝนตกต้องตามฤดูกาลในลำห้วยสายสำคัญๆทุกสายจะมีน้ำไหลสม่ำเสมอทั้งปีมีสัตว์น้ำชุกชุม ในป่ามีต้นไม้ใหญ่น้อยหนาแน่น และต่างก็ได้ทำหน้าที่ดีที่สุดในระบบนิเวศของตนเอง ส่งผลให้สภาพแวดล้อมของพื้นที่อยู่ในสภาวะที่ดีตลอดมา ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ เช่นสัตว์ป่าก็มีมากมาย ผู้เฒ่าบางท่านยังจำได้ดีว่าในครั้งนั้นขณะนอนหลับอยู่ที่บ้านยังได้ยินเสียงของสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น เสือโคร่ง เก้ง มาปลุกให้ตื่นยามดึกถึงหน้าบ้าน",
"title": "พื้นที่สงวนชีวมณฑลสวนสัก-ห้วยทาก"
},
{
"docid": "40427#1",
"text": "เรื่องราวเกิดขึ้นในช่วง 1,000 ปีหลังจากเหตุการณ์ \"Seven Days of Fire\" เหตุการณ์ที่ทำลายอารยธรรมมนุษย์และระบบนิเวศของโลก กลุ่มผู้คนที่กระจัดกระจายถูกแบ่งแยกจากกลุ่มอื่นด้วย \"ทะเลเน่า (Sea of Decay)\" (\"fukai\" ในภาษาญี่ปุ่น) เกิดป่าของเชื้อรามีพิษ ที่เป็นศูนย์ของเหล่าแมลงขนาดยักษ์มากมาย มนุษย์จำเป็นต้องใส่หน้ากากเพื่อป้องกันไอพิษจากป่า\nนาอุซิกา (Nausicaä) เป็นชื่อของเจ้าหญิงในประเทศเล็กๆ แห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ ณ หุบผาสายลม ดำเนินชีวิตอยู่อย่างสงบสุขบนผืนดินที่ยังอุดมสมบูรณ์ผืนน้อยๆ นาอุซิกา พยายามที่จะค้นหาสาเหตุของปรากฏการณ์นี้ และหวังจะหาหนทางในการอยู่ร่วมกัน แต่ผู้คนในเมืองอื่นๆ กลับไม่เห็นด้วยและต้องการทำลายล้างป่าและ Sea of Decay จนเกิดเป็นสงครามครั้งใหญ่ กับภารกิจของเจ้าหญิงตัวน้อยๆ ที่มีภารกิจแห่งการประนีประนอม ",
"title": "มหาสงครามหุบเขาแห่งสายลม"
},
{
"docid": "441329#14",
"text": "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติที่สวยงามที่สุดในประเทศไทย มีการปกครองแบบหน่วยพิทักษ์ป่าย่อยๆดังนี้\nหรือ ตัดไม้ทำลายป่าให้เห็นอยู่บ้าง แต่ก็ยังสามารถปกปักรักษาผืนป่าแห่งนี้ให้คงสภาพมาได้ นานกว่าทศวรรษ ป่าทั้งผืนแห่งนี้ จัดได้ว่าอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในอิสานใต้ของประเทศไทย",
"title": "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ"
},
{
"docid": "83632#10",
"text": "อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานมีความโดดเด่น เป็นศูนย์รวมสภาพผืนป่าหลายแบบในบริเวณเดียวกัน คือ ผืนป่าภาคเหนือ ผืนป่าภาคตะวันออก และผืนป่า ภาคใต้ พันธุ์ไม้หายาก เช่น จำปีเพชร \"Magnolia mediocris\" (Dandy) Figlar โมลีสยาม \"Reevesia pubescens\" Mast. var. siamensis (Craib) Anthony แตงพะเนินทุ่ง และพบ กล้วยไม้รองเท้านารีสายพันธุ์ต่างๆ จำนวนมาก รวมทั้งการค้นพบพืชพันธุ์ใหม่ๆ ที่พบครั้งแรกในโลกอยู่บ่อยครั้ง ",
"title": "อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน"
},
{
"docid": "4600#12",
"text": "ในอดีต การปลูกต้นกาแฟจะทำในร่มเงาของต้นไม้ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์และแมลงทั้งหลาย ทฤษฎีนี้มักจะเป็นไปตามทฤษฎีเงาดั้งเดิม ในปัจจุบัน เกษตรกรจำนวนมากได้เปลี่ยนไปใช้วิธีการปลูกต้นกาแฟแบบทันสมัย โดยการใช้แสงอาทิตย์ในการปลูกต้นกาแฟ ซึ่งต้นกาแฟจะถูกปลูกเรียงกันเป็นแถวอยู่ใต้แสงอาทิตย์โดยมีปะรำป่าเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย การปลูกแบบใหม่นี้ทำให้เมล็ดกาแฟสุกเร็วขึ้นและให้ผลผลิตมากขึ้น แต่การปลูกแบบดังกล่าวจำเป็นต้องตัดต้นไม้ ใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงจำนวนมาก อีกด้านหนึ่ง การปลูกต้นกาแฟแบบดั้งเดิมจะทำให้เมล็ดกาแฟสุกช้ากว่าการปลูกต้นกาแฟแบบใหม่และให้ผลผลิตน้อยกว่า แต่จะให้เมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพสูงกว่า นอกเหนือจากนั้น ทฤษฎีเงาดั้งเดิมยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยในกับสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก นักวิจารณ์การปลูกกาแฟแบบใหม่กล่าวว่าปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น การตัดไม้ทำลายป่า มลภาวะที่เกิดจากยาฆ่าแมลง การทำลายที่อยอาศัยของสัตว์ป่า การเสื่อมคุณภาพของดินและน้ำ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผลข้างเคียงมาจากการปลูกต้นกาแฟแบบใหม่นี้ สมาคมดูนกอเมริกันเป็นผู้นำการรณรงค์ \"การปลูกในร่มเงา\" และ กาแฟอินทรีย์ ซึ่งพวกเขาสนับสนุนให้เปลี่ยนแปลงการปลูกกาแฟให้เป็นแบบดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ขณะที่การปลูกต้นกาแฟในร่มหลายแบบแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างทางชีวภาพมากกว่าระบบการปลูกต้นกาแฟกลางแจ้ง มันก็ยังเทียบไม่ได้กับป่าท้องถิ่นในแง่ของที่อยู่อาศัยของสัตว์",
"title": "กาแฟ"
},
{
"docid": "103236#5",
"text": "พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมป่าไม้ มีเนื้อที่ประมาณ 184,000 ไร่ (294.4 ตารางกิโลเมตร) ประกอบด้วยผืนป่าหลายสภาพ ได้แก่ ",
"title": "พื้นที่สงวนชีวมณฑลสวนสัก-ห้วยทาก"
},
{
"docid": "83597#4",
"text": "พืชพรรณของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน สามารถจำแนกออกได้เป็น\nป่าดงดิบ เป็นป่าผืนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติทะเลบันประกอบด้วยป่าดิบชื้นในพื้นที่ต่ำและป่าดิบชื้นเชิงเขา มีพืชพันธุ์ไม้หลายชนิดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น เช่น ยางปาย ยางแดง ตะเคียนทอง พะยอม ไข่เขียว กระบาก สยา มะคะ มะหาดรุม ทุ้งฟ้า มะม่วงป่า จวง แซะ เต่าร้าง หมากพน ไม้เถาและพืชชั้นล่างประกอบด้วย หวายเล็ก หวายกำพวน และเฟินแผง เป็นต้น\nพื้นป่าดงดิบของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน เป็นที่อยู่ของซาไกหรือเงาะป่า เจ้าของสมญา “ราชันย์แห่งพงไพร”เผ่าพันธุ์มนุษย์ซึ่งสัมผัสและรู้จักผืนป่าทุกตารางนิ้ว ชำนาญการใช้พื้นป่าในการดำรงชีวิตและรู้จักใช้ประโยชน์จากพืชในลักษณะของยารักษาโรค และอาหารเหนือเผ่าพันธุ์มนุษย์เผ่าใด ๆ การดำรงชีพจะอาศัยผลไม้พืชผักที่มีอยู่ในป่าเป็นอาหารไม่รู้จักการเพาะปลูก นิยมการล่าสัตว์โดยการใช้กระบอกตุดหรือบอเลาคู่กับลูกดอกอาบยางน่องหรือบิลา ชอบอาศัยอยู่ในป่าลึกมีอุปนิสัยชอบเร่ร่อนและรักสงบทำที่พักจากใบไม้ในป่าที่พักเรียกว่าทับ เมื่อใบไม้ที่มาทำทับเหี่ยวก็จะเร่ร่อนหาแหล่งที่อยู่ใหม่ต่อไป\nในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทะเลบัน มีซาไกอยู่กลุ่มเดียวมีสมาชิกจำนวน 9 คน ปัจจุบันวิธีชีวิตของซาไกได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเนื่องจากการได้สัมผัสกับสังคมของคนเมืองมากขึ้นและส่วนหนึ่งจากการดำรงชีวิตในป่าเริ่มฝืดเคืองขึ้น เนื่องจากป่าถูกบุกรุกและถูกทำลาย แต่อย่างไรก็ตามซาไกก็ยังเป็นชนเผ่าดั้งเดิมเผ่าสุดท้ายที่มีอยู่ในป่าทะเลบัน\nป่ารุ่นหรือป่าเหล่า อยู่บริเวณตอนกลางเขตอุทยานแห่งชาติทะเลบันแถบทุ่งหญ้าวังประ มีสภาพเป็นป่าโปร่งและมีหญ้าคาขึ้นอยู่หนาแน่น มีไม้เบิกนำขึ้นผสมกับพันธุ์ไม้ป่าดงดิบ พันธุ์พืชที่สำคัญได้แก่ กระโดน ตะแบก เปล้า ส้าน ปออีเก้ง โมกมัน มังตาน ผ่าเสี้ยน ยางมันหมู เสม็ดชุน กล้วยไม้ป่าชนิดต่าง ๆ และพืชชั้นล่าง เช่นไผ่ไร่ ไผ่หลอด และหญ้าชนิดต่าง ๆ เป็นต้น\nป่าชายเลน พบบริเวณชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน พันธุ์พืชที่พบได้แก่ โกงกาง ประสัก แสม โปรงขาว ตาตุ่มทะเล ถั่วขาว ตีนเป็ดทะเล เป้งทะเล ปรงทะเล และเหงือกปลาหมอ เป็นต้น ในบึงน้ำจืดทะเลบันพรรณไม้ที่พบส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุกได้แก่ เทียนนา บอน บากง ผักบุ้ง ขี้เหล็กย่าน บัวสาย กกกอ หญ้าคมบาง กูดขม แขม และสาคู เป็นต้น",
"title": "อุทยานแห่งชาติทะเลบัน"
},
{
"docid": "474756#10",
"text": "ทางด้านนิเวศวิทยา การทำลายป่าส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพเสื่อมถอย การตัดและทำลายพื้นที่ที่ป่าไม้ปกคลุมทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม และทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ป่าไม้เกื้อหนุนความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า นอกเหนือจากนั้นป่าไม้ยังเป็นแหล่งที่เอื้อต่อการอนุรักษ์พืชจำพวกยารักษาโรค ด้วยเหตุผลที่เขตชีวชาติในป่าเป็นแหล่งที่หาสิ่งอื่นมาทดแทนไม่ได้ของตัวยาแบบใหม่ ๆ (เช่น แท็กซอล) การทำลายป่าอาจเป็นการทำลายความหลากหลายทางพันธุกรรม (เช่น ภูมิต้านทานของพืชผล) โดยไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้",
"title": "การทำลายป่า"
},
{
"docid": "185392#25",
"text": "ลักษณะทางด้านสภาพแวดล้อมของชุมชนบ้านทุ่งมน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าที่มีภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “ปรีระเบาะ” แปลว่าป่าโคก พื้นดินมีหินและกรวดจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วไป ดินแห้งแล้งน้ำในหน้าร้อน หรือป่าเต็งรังในภาษากลางนั่นเอง ในอดีตที่นี่มีป่าที่อุดมสมบูรณ์เข้าลักษณะเป็นป่าโคกหรือป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ สลับทุ่งหญ้าธรรมชาติ และเป็นป่าดิบแล้งริมลำน้ำห้วยโอก็วล และลำน้ำชีว์น้อย ที่ปรากฏว่าเคยมีไม้ประเภทต้นยาง ไม้ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง กระบาก ตะแบก เหียงขนาดใหญ่มากมาย และป่าริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ (West land) “ปรีระเนียม หรือ ดบกุมพะเนง”หรือป่าทาม นอกจากนี้พื้นที่ป่า”ปรีระเบาะ”ยังมีสภาพเป็นดินลูกรัง และมีหินโผล่ ประเภทหินอัคนี หินปูน ที่เกิดจากการดันตัวของเปลือกโลก ด้านทิศใต้ลาดเอียงติดลำห้วยก็วล ทิศตะวันออกลาดเอียงไปมีลำห้วยตาแบน ตาปุด ทางด้านทิศเหนือมีร่องน้ำห้วยโคกเมืองไหลไปบรรจบที่บ้านตาอี ทิศตะวันตกมีลำห้วยลำน้ำชีว์น้อย เป็นแหล่งเกษตรน้ำฝน มีแหล่งน้ำไหลผ่านชุมชนทั้งสี่ด้านตลอดช่วงหน้าฝน และด้วยความเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ตามลักษณะภูมิประเทศนี้เอง การปรากฏของชื่อแหล่งน้ำ คือ ร่องน้ำ ลำห้วย เก่า ปัจจุบันพอเหลือร่องรอยพอสังเกตได้บ้าง เช่น อันโนงโฮ หรือ อันโนงจู๊บ ที่เป็นชื่อเรียกภาษาถิ่นแปลว่า บ่อน้ำไหล หรือบ่อน้ำซับ อยู่ทางทิศเหนือบ้านตาเจียด ปัจจุบันได้มีการสร้างถนนกั้นทางน้ำ และบริเวณที่เป็นแหล่งน้ำซับธรรมชาติได้ถูกขุดเป็นสระน้ำและยังมี ลำห้วย โอจรอก แปลว่า ลำธารไหล ตาน้ำ ที่เรียกอย่างนี้เพราะมีน้ำไหลเสียงจรอก ๆ ตลอดทั้งหน้าฝน อยู่ทางทิศตะวันตกบ้านตาเจียด กั้นกลางบ้านตาเจียดกับโคกหมอสุด ก่อนไหลลงลำห้วยโอก็วลและลำห้วยโอก็วลไหลไปบรรจบกับลำน้ำชีว์น้อยที่ป่าหนองกก ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของชุมชนบ้านทุ่งมน มีพืชสมุนไพรทุกประเภทอยู่เต็มผืนป่าโดยสมุนไพรแต่ละอย่างจะขึ้นอยู่ตามแต่สภาพลักษณะของแต่ละป่า ในพื้นป่าช่วงแรกจริง ๆ ยังมี แรด เสือ สิงโต กูปรี หมูป่า เก้ง กระต่าย แม่น ชะมด ลิง ค่าง ชะนี หมาจิ้งจอก นางอาย กระรอก กระแต งู เต่า ตะกวด หนู ฯลฯ นกทุกชนิดอาศัยอยู่มาก ช่วงปลาย ๆ สัตว์ใหญ่จะเริ่มอยู่ห่างชุมชนไปเรื่อย ๆ บางครั้งสัตว์ใหญ่บางตัวยังหลงเข้ามาเดินในหมู่บ้าน ในน้ำมีสัตว์น้ำหลากหลายพันธุ์ ปลาตัวโต ๆ ลำห้วยโอก็วลน้ำจะไหลแรงมากในช่วงมีฝนตก ห้วยจะลึก สองข้างฝั่งห้วยเป็นป่ากุมพะเนงรกทึบ ปลาชุกหน้าฝน หน้าแล้งน้ำจะขังอยู่ตรง”ละลวง”ตื้น ๆ น้ำขุ่นปลาจะหายากนิดหนึ่ง ส่วนห้วยชีว์น้อย”ละลวง” จะลึก น้ำใส ซึ่งอยู่เป็นช่วง ๆ ติดต่อกันตลอดของลำห้วย เป็นที่รวมของปลาต่าง ๆ เป็นแหล่งอาหารยามหน้าแล้ง ที่โล่งเป็นที่นาหรือไร่ปลูกข้าว บริเวณที่ตั้งชุมชนมีลักษณะเป็นเนินโคก พืชผลไม้ขึ้นอยู่กระจายเต็มหมู่บ้าน รอบ ๆ ชุมชนมีสภาพเป็นป่าเบญจพรรณเขตร้อน ป่าเต็งรังและมีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ บริเวณริมน้ำก็เป็นป่าบุ่ง ป่าทาม น้ำท่วมถึงในช่วงน้ำมากและมีป่าไผ่ (ป่าระไซร้) เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่า นก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์น้ำมากมาย แหล่งอาหารอยู่รอบชุมชน ในหน้าแล้งมีน้ำกิน น้ำใช้หาบเอาที่บ่อน้ำที่ขุดไว้ใกล้ลำห้วย\nในลักษณะทางเศรษฐกิจของชุมชนทุ่งมน เนื่องจากการอิงอาศัยฐานทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ แหล่งน้ำ ที่มีความเป็นธรรมชาติอุดมสมบูรณ์มากที่สุดและยังเป็นป่าทึบ ประชากรยังน้อย การเพาะปลูกมีแต่การปลูกข้าวเป็นหลัก ถึงจะมีพืชอื่นอยู่บ้างแต่ก็เล็กน้อยและจะปลูกไว้ใกล้บ้านเท่านั้น มีการจับจองพื้นที่ทำนาพอเหมาะแก่แต่ละครัวเรือน การเลือกพื้นที่ทำนาก็เลือกเอาที่ที่มีความเหมาะสมตามธรรมชาติ ที่นาส่วนมากจะเป็นแอ่ง เป็นหนองน้ำตื้น ๆ ที่ดอนหรือที่แปลงนาใหม่ในป่าทำนาไม่ค่อยได้ผล การทำนาข้าว ไร่ข้าว จะประสบปัญหาทางธรรมชาติและสัตว์ป่า นกลงกัดกินทำลายข้าวสูง ได้ข้าวไว้กินน้อยต้องนำเนื้อปลา พืชผลหมากรากไม้อื่นเป็นอาหารผสมให้มาก ของใช้สอยในครอบครัวทำขึ้นเองจากธรรมชาติ ชีวิตไม่จำเป็นต้องสะสมอาหารอื่นนอกจากข้าว ไม่ต้องรีบเร่งร้อนร้น หากินใกล้บ้าน ออกไปไกลบ้านจะกลัวสัตว์ป่าต่าง ๆ หรือหลงป่า ส่วนมากผู้ชายจะเป็นพรานเข้าหาอาหาร สมุนไพรและเครื่องเทศหาได้จากป่า พืชผลไม้ขึ้นอยู่กระจายเต็มหมู่บ้าน บางครอบครัวร่ำรวย มีข้าบริวาร เลี้ยงสัตว์ใช้งานทำนา เทียมเกวียน พักผ่อนหย่อนใจแสดงฐานะทางเศรษฐกิจ บางครอบครัวอยู่พิงพึงอาศัยระบบอุปถัมภ์ไม่ได้วางแผนไม่เห็นความสำคัญในการสร้างฐานะมีทรัพย์ส่วนตัวเพราะรวยโจรจะปล้น บางครอบครัวหาเลี้ยงชีวิตแบบเพียงมีของกิน มีเวลานอน มีที่พักผ่อน ทำงานเบา ทำกินเลี้ยงชีวิตวันต่อวัน ผ้านุ่งชุดเดียว อยู่บ้านเสาไม้ไผ่หลังคาหญ้าคาฝาใบไม้ หุงข้างหม้อดิน เชิงกรานเผาฟืน กะลาใส่แกง ฝาหอยกาบเป็นช้อน แสงไฟจากไต้จุดไว้เป็นแสงสว่างยามค่ำคืน ของกินของใช้แลกเปลี่ยนแจกจ่ายแบ่งกันในหมู่บ้านง่าย ๆ เกือบทุกคนที่ไม่เตะต้องเหล้าของมึนเมา อยู่ร่วมกันพบปะพูดคุยพึ่งพาอาศัยกันในชุมชนได้อย่างจริงใจ",
"title": "ตำบลทุ่งมน (อำเภอปราสาท)"
},
{
"docid": "34368#2",
"text": "แหล่งมรดกโลกผืนนี้ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งแต่ก่อนเป็นป่าดงดิบที่ทึบหนา มีสัตว์มากมาย เช่น เสือ กระทิง และช้าง ชุกชุมไปด้วยไข้มาเลเรีย ไม่มีถนนหนทางตัดฝ่าผืนป่าดั่งเช่นในปัจจุบัน การเดินทางจากกรุงเทพไปภาคอีสานจึงยากลำบาก หลายคนต้องเสียชีวิตด้วยไข้ป่าหรือสัตว์ป่า จนไม่ค่อยจะมีใครกล้าเข้ามาในดินแดนนี้ ผู้คนจึงตั้งชื่อให้ผืนป่าแห่งนี้ว่า ป่าดงพญาไฟ",
"title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่"
},
{
"docid": "127027#3",
"text": "ท้องที่อำเภอหนองบัวระเหวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่อุทยานแห่งชาติไทรทองมีพื้นที่หลักและทางเข้าอยู่ในเขตอำเภอหนองบัวระเหว มีอาณาเขตครอบคลุมอำเภอหนองบัวระเหว อำเภอเทพสถิต อำเภอภักดีชุมพล และอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่ประมาณ 199,375 ไร่ หรือ 319 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติป่าหินงามและอุทยานแห่งชาติภูแลนคา เป็นผืนป่าบนทิวเขาพังเหย ในช่วงต้นฤดูฝนนอกจากผืนป่าจะเขียวชอุ่มชุ่มชื้นไปด้วยพรรณไม้น้อยใหญ่แล้ว ที่นี่ยังงดงามโดดเด่นด้วยดอกกระเจียวที่ผลิบานอยู่เต็มท้องทุ่ง เรียกชื่อว่า \"ทุ่งบัวสวรรค์\" มีน้ำตกไทรทองที่สวยงาม",
"title": "อำเภอหนองบัวระเหว"
},
{
"docid": "18568#2",
"text": "ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พื้นที่ตอนในระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำท่าจีนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระนครยังคงเป็นป่าขนาดใหญ่ มีอาณาบริเวณครอบคลุมรอยต่อระหว่างอำเภอไทรน้อยของจังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้วของจังหวัดปทุมธานี อำเภอลาดบัวหลวงของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอบางเลนของจังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน สภาพพื้นที่ของป่าเป็นที่ราบลุ่ม บางแห่งเป็นหนองน้ำ และมีสัตว์ป่า เช่น ช้าง เสือ กวาง อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่ขึ้นปกคลุมพื้นที่แห่งนี้นอกจากจะมีต้นไทร ต้นยาง และต้นประดู่แล้ว ยังมีต้นกระทุ่มที่ขึ้นกันแน่นทึบจนแสงสว่างลอดผ่านลงพื้นดินได้น้อย ผืนป่าแห่งนี้จึงเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ป่ากระทุ่มมืด",
"title": "อำเภอไทรน้อย"
},
{
"docid": "83434#6",
"text": "ป่าน้ำหนาวเป็นป่าไม้ผืนใหญ่ติดต่อกัน ประกอบด้วยป่าหลายชนิด ป่าดิบชื้น พบบริเวณหุบเขาและริมลำห้วย ชนิดพันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยาง ตะเคียนทอง มะหาด ยมหอม ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นหวาย และปาล์ม เป็นต้น ป่าดิบเขา พบขึ้นบริเวณยอดเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป พันธุ์ไม้ที่ขึ้นบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นก่อสกุลต่างๆ เช่น ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อตาหมูน้อย ก่อตาหมูหลวง เป็นต้น ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นตามไหล่เขาต่อจากป่าดงดิบทางด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติ และกระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ ทางด้านตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ประดู่ แดง ตะแบก งิ้วป่า ยอป่า ชิงชัน ซ้อ เป็นต้น ป่าสนเขา พบในที่ประมาณ 700-900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ลักษณะเป็นป่าโปร่งมีสนสามใบขึ้นปะปนอยู่กับป่าเต็งรัง พืชพื้นล่างส่วนใหญ่เป็นหญ้าคา พบบริเวณสวนสนภูกุ่มข้าว ดงแปก และที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ป่าเต็งรัง เป็นป่าโปร่งขึ้นอยู่บริเวณที่แห้งแล้ง ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ หน้าดินตื้น เป็นกรวดหรือลูกรัง ทำให้ต้นไม้แคระแกร็น พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เต็ง รัง เหียง กราด รกฟ้า ฯลฯ พืชพื้นล่างส่วนใหญ่เป็นหญ้าเพ็ก และ<b data-parsoid='{\"dsr\":[5116,5130,3,3]}'>ทุ่งหญ้า ประกอบไปด้วยหญ้าคา หญ้าเพ็ก มีพันธุ์ไม้ใหญ่ปะปนอยู่บ้าง เช่น ติ้ว กระโดน และแต้ว เป็นต้น",
"title": "อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว"
},
{
"docid": "813901#4",
"text": "มีผู้ที่เชื่อว่ามนุษย์หญ้ามีจริง และพยายามออกตามหา โดยเชื่อว่าเป็นไปได้ว่าอาจจะอาศัยอยู่ในอุทยานแห่งรัฐซอลต์ฟอร์ก ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าผืนใหญ่ มีสัตว์ป่ามากมายอาศัยอยู่ในนั้น มีทั้งแหล่งอาหารและสถานที่ที่ใช้เป็นที่พักจำนวนมาก และยังพบหลักฐานที่เชื่อได้ถึงการมีอยู่ของมนุษย์หญ้า เช่น เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 มีการค้นพบรังในป่าของแอครอน ที่เหมือนที่หลบซ่อนหรือใช้เป็นที่หลับนอนที่ทำมาจากกิ่งไม้ใหญ่ และมีกิ่งไม้เล็กเชื่อมระหว่างกลางถักทอกันด้วยความละเอียดและมีเอกลักษณ์ ปกคลุมด้วยหญ้ายาวและวัสดุอื่น ๆ ที่หาได้ในป่า โดยเป็นการทอจากด้านใน รังนี้มีความยาว 10 ฟุต และกว้าง 3 ฟุต ภายในสามารถใช้เป็นที่หลับนอนของผู้ใหญ่ได้อย่างสบาย ๆ ถึง 3 คน โดยไม่น่าจะมีสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตใด ๆ แล้วที่จะสร้างรังแบบนี้ เมื่อเข้าไปสำรวจอีกครั้งในพื้นที่เดิมถึง 2 ครั้ง แต่ก็ไม่พบอีกแล้วเนื่องจากสภาพพื้นที่เปลี่ยนไป แต่ก็ได้มีการบันทึกภาพเอาไว้ และเพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้เป็นสิ่งที่สร้างโดยมนุษย์หรือเด็ก ๆ ผู้ค้นพบได้พยายามสร้างรังแบบนี้ขึ้นมาเลียนแบบอีก แต่ปรากฏว่าหลังจากใช้เวลาไปหนึ่งชั่วโมงก็ไม่สำเร็จ ได้เพียงแค่โครง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเรื่องพฤติกรรมของสัตว์หลังจากได้เห็นภาพรังนี้ ให้ข้อมูลว่าสัตว์จำพวกลิงใหญ่อย่างกอริลลาหรืออุรังอุตังที่มีพฤติกรรมสร้างรังลักษณะคล้ายกัน แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะมีตัวอะไรที่จะสร้างรังได้แบบนี้ รวมถึงมีการค้นพบถ้ำที่มีลักษณะเหมือนถ้ำน้ำแข็งซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้าง และมีผู้ที่บันทึกภาพวิดีโอของอะไรบางอย่างสีขาวที่เดินด้วยสองขาหลัง ตัวตรง บนทางเดินที่พื้นเป็นกรวด ในระยะที่ห่างจากผู้บันทึกประมาณ 100 หลา และหายไปในแนวต้นไม้ ในเวลา 18:28 น. ของวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1992 ในพื้นที่ซึ่งเป็นทะเลสาบ ที่ไม่ไกลจากอุทยานแห่งรัฐซอลต์ฟอร์ก หลังจากที่ได้รับรายงานมีผู้พบเห็นมนุษย์หญ้าแถบนั้น ด้วยการเปิดกล้องวิดีโอให้บันทึกไปเรื่อย ๆ เป็นเวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง ซึ่งเขาไม่รู้เลยว่าได้บันทึกสิ่งนี้ได้เป็นระยะเวลาถึงหนึ่งปีครึ่ง จนกระทั่งได้รื้อม้วนวิดีโอออกมาดูอีกครั้งด้วยความบังเอิญเพราะต้องการหารูปถ่ายอีกรูปหนึ่งในคืนวันหนึ่ง เขากล่าวว่าเขาแทบตกตะลึงและกรอเทปม้วนนั้นดูซ้ำไปมาเกือบร้อยครั้ง แต่เมื่อมีการนำภาพวิดีโอนั้นเข้าเครื่องขยายเพื่อดูให้ชัด แต่ทว่าภาพที่ได้ก็แตกพร่า เห็นเพียงไม่กี่พิกเซล และสีขาวนั้นอาจจะเกิดจากแสงแดดที่ตกกระทบกับตัวมัน แต่ก็พอเห็นได้ว่ามันเป็นสัตว์รูปร่างใหญ่ แต่เดินด้วยความเร็วและคล่องตัวพอสมควร และยังมีหลักฐานที่เป็นรูปพิมพ์รอยฝ่ามือที่มีรายละเอียดชัดเจน ที่ถูกหล่อขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002 ที่เบนตันวิลล์ ตอนใต้ของโคลัมบัส เมืองหลวงของโอไฮโอ เมื่อได้ผ่านการตรวจจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องรอยมือมนุษย์ รวมถึงรอยมือของสัตว์จำพวกลิง ซึ่งทำงานให้กับกรมตำรวจของโอไฮโอมาเป็นเวลานาน รอยมือนั้นมีรอยพับของฝ่ามือที่เป็นทางยาวไปจดฝ่ามือ ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า นี่เป็นรอยมือของจริง และไม่ใช่รอยมือของมนุษย์จากการพิจารณารอยพับ แกนนิ้วมืออยู่ต่ำมาก และมีความใกล้เคียงกับรอยมือของกอริลลามากกว่าชิมแปนซี เนื่องจากจุดเชื่อมของนิ้วมีความอวบอ้วนและสั้น ขณะที่ชิมแปนซีจะยาว",
"title": "มนุษย์หญ้า"
},
{
"docid": "92211#46",
"text": "การแปลงที่ดินคือการใช้ที่ดินเพื่อให้ผลผลิตเป็นสินค้าและบริการ เป็นวิธีการที่สำคญที่สุดที่มนุษย์ทำการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของโลก และถือว่าเป็นแรงผลักดันในการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ประมาณการของจำนวนแผ่นดินที่ถูกแปลงโดยมนุษย์แตกต่างกันจาก 39 ถึง 50%[71] การเสื่อมสลายของแผ่นดิน ที่ทำให้การทำงานและการผลิตของระบบนิเวศลดลงในระยะยาว คาดว่าจะเกิดขึ้นกับ 24% ของพื้นที่ทั่วโลกด้วยการใช้งานที่มากเกินไปของพื้นที่เพาะปลูก[72] รายงานสหประชาชาติ FAO อ้างอิงการจัดการที่ดินเป็นปัจจัยที่ผลักดันอยู่เบื้องหลังการเสื่อมสลายและรายงานที่ประชาชน 1.5 พันล้านคนพี่งพาที่ดินที่เสื่อมสลายนี้ การเสื่อมสลายสามารถเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า สภาพทะเลทราย พังทลายของดิน การสูญเสียแร่ธาตุ หรือการเสื่อมสลายจากสารเคมี (กรดและเกลือ)[29]",
"title": "เกษตรกรรม"
},
{
"docid": "34368#18",
"text": "ให้มีการจัดระบบการจัดผืนป่าทั้งหมดแบบบูรณาการ ไม่ใช่แยกจัดแบบต่างคนต่างดูแลเหมือนเช่นที่ผ่านมา รัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณ และทรัพยากรบุคคล เพื่อการบริหารจัดการพื้นป่าอย่างเต็มที่ ดูแลนโยบายและการปฏิบัติให้สอดคล้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน ต้องให้การส่งเสริมการสำรวจ และวิจัยสถานภาพของป่า และสัตว์ป่าอย่างจริงจัง จะต้องหาหนทางเชื่อมผืนป่าต่างๆเข้าด้วยกัน โดยการเชื่อมต่อกับป่าอนุรักษ์ในกัมพูชา ต้องหาทางแก้ปัญหาถนนที่ตัดแยกผืนป่าออกจากกัน โดยจะต้องศึกษา และหามาตรการให้ผืนป่าเชื่อมต่อกันภายในปี พ.ศ. 2550 ดำเนินกิจกรรมที่เสริมสร้างความร่วมมือจากชาวบ้าน และชุมชนในการอนุรักษ์ผืนป่า เพื่อเป็นหลักประกันในสถานภาพมรดกโลก",
"title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่"
},
{
"docid": "221582#1",
"text": "ป่ากุยบุรีมีความหลากหลายทางระบบนิเวศทางชีวภาพสูง ประกอบด้วย สังคมพืช ที่มีความโดดเด่นได้แก่ ป่าดิบแล้ง พบกระจายอยู่ทั่วไป ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ป่าดิบเขา พบกระจายเป็นพื้นที่เล็กๆตามสันเขา ยอดเขาสูงชันทางด้านทิศตะวันตก ป่าดิบชื้นพบตามริมลำห้วย ป่าผสมผลัดใบพบกระจายบางพื้นที่ทางด้านตะวันออก ส่วนตอนกลางของพื้นที่ของบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่กร.1 (ป่ายาง) เป็นพื้นที่ฟื้นฟูสภาพป่า ปลูกพืช อาหารสัตว์ และพื้นที่จัดการทุ่งหญ้าเพื่อเป็นอาหารสัตว์ป่า มีการสร้างแหล่งน้ำทั้งในรูปฝายเก็บน้ำ และฝายต้นน้ำเพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้ผืนป่าตามโครงงานการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริจากการที่เป็นผืนป่ารอยต่อระหว่างภาคใต้และภาคกลาง ทั้งยังอยู่ในเทือกเขาตะนาวศรีจึงมีความหลากหลายของพืชพรรณสูงมากแห่งหนึ่งอันเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่แห่งนี้ พบเหรียงหรือต้นกะเหรี่ยงไม้สกุลสะตอ ได้บริเวณป่าดิบแล้งไม้ภาคใต้ในป่าดิบชื้นทางตอนเหนือออกฝักช่วงฤดูฝน ถิ่นกำเนิดไม้หอมหลายชนิด เช่น ไม้จันทร์หอม ไม้หอมในพระราชพิธีสำคัญ ไม้มหาพรหมไม้ป่า ดอกไม้สวยงาม ไม้ยางนา ไม้ยางแดง มะด่าโมง ตะเคียนทอง มะปรางป่าตอนเหนือของอุทยานฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธ์หวายธรรมชาติ เช่นหวายตะเค้าทองกล้วยไม้กว่า 60 ชนิด ส่วนใหญ่พบออกดอกในช่วงเดือนกุมพาพันธ์ถึงมิถุนายน กล้วยเด่นหวายแดงประจวบคีรีขันธ์ เอื้องวนิลา ไม้ดอกหอมที่พบกระจายพันธุ์เฉพาะถิ่นใต้ กล้วยไม้หางช้าง หรือ ว่านเพชรหึง ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก",
"title": "อุทยานแห่งชาติกุยบุรี"
},
{
"docid": "7043#50",
"text": "แหล่งหินตัด แหล่งหินตัด จังหวัดบุรีรัมย์ห่างจากตัวอำเภอบ้านกรวด 7 กม. เป็นลานหินกว้างเกือบ 2,000 ไร่ ใกล้ชายแดนติดกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีร่องรอยการตัดหิน เพื่อนำไปสร้างปราสาทหินต่าง ๆ ในเขตอีสานใต้ รวมทั้งปราสาทพนมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ เตานายเจียน เป็นเตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี และได้พบเครื่องเคลือบโบราณจำนวนมาก คนโบราณใช้เผาเครื่องปั้นดินเผา หม้อ ไห ต่าง ๆ เตาสวาย เป็เตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี เป็นที่ผลิตเครื่องถ้วยศิลปะขอม ที่มีขนาดใหญ่ กรมศิลปากรได้เข้ามาบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นและสร้างอาคารครอบเตาไว้ ภายในมีนิทรรศการเครื่องเคลือบโบราณ และมีเศษเครื่องถ้วยที่ขุดพบบางส่วน ตั้งอยู่ที่บ้านโคกเมือง เทศบาลตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ จุดผ่อนปรนชายแดนช่องสายตะกู ตั้งอยู่ในเขต เทศบาลตำบลจันทบเพชร เป็นตลาดค้าขายติดชายแดนบนเทือกเขาพนมดงรัก ประชาชนสามารถเลือกซื้อสินค้าบริเวณชายแดนได้ สวนป่าบ้านกรวด เป็นผืนป่าที่มีการปลูกขึ้น เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ สามารถชมธรรมชาติได้ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติตาพระยา ส่วนหนึ่งของผืนป่ามรดกโลก ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เขื่อนห้วยเมฆา เป็นการพัฒนาพื้นที่แนวชายแดนชายไทย-กัมพูชา บริเวณช่องเขาเมฆาเพื่อใช้น้ำในทางการเกษตรกร โดยได้รับงบประมาณจากการสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2528 พิพิธภัณฑ์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ วัดป่าพระสบาย เป็นที่เก็บรวบรวมวัตถุโบราณในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในเขตตำบลบึงเจริญ ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวด ตั้งอยู่ในโรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร เป็นที่เก็บรักษาเครื่องเคลือบที่ขุดพบในเขตอำเภอบ้านกรวด ผึ้งร้อยรัง เป็นสถานที่ที่ผึ้งจะมาทำรังบนต้นไม้ขนาดใหญ่เป็นร้อยๆรัง ปราสาทถมอ ปราสาทหินเก่าแก่สันนิษฐานว่าเป็นธรรมศาลา สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ปราสาททอง ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังตลาดสดเทศบาลตำบลบ้านกรวด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 16 มีการขุดพบทับหลังในสภาพสมบูรณ์ ปราสาทละลมทม ตั้งอยู่ที่บ้านศรีสุข ตำบลเขาดินเหนือ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 ปราสาทบายแบก ตั้งอยู่ที่บ้านสายโท 5 เทศบาลตำบลจันทบเพชร เป็นปราสาทขอมที่ติดชายแดนที่สุดในจังหวัดบุรีรัมย์ มีลักษณะพิเศษคือ เป็นปราสาทที่หันหน้าทางทิศตะวันตก",
"title": "จังหวัดบุรีรัมย์"
},
{
"docid": "5358#18",
"text": "จังหวัดลพบุรีเคยปกคลุมด้วยป่าไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจค่อนข้างสมบูรณ์ เป็นป่าดิบแล้งผืนใหญ่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก ป่าเบญจพรรณ และป่าแดง หรือป่าเต็งรังในเขตเชิงเขา ทรัพยากรป่าไม้ในจังหวัดลพบุรีนับว่ามีสภาพเสื่อมโทรม และปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่ของจังหวัด มีการสำรวจทรัพยากรป่าไม้โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมปี พ.ศ. 2525 พบว่าสภาพป่าไม้มีเนื้อที่ร้อยละ 4.69 ของเนื้อที่จังหวัด ต่างกับภาพถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2504 ซึ่งมีเนื้อที่ป่าร้อยละ 33.95 จะเห็นว่าในช่วงเวลา 21 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ป่าไม้ลดลงร้อยละ 29.26 และมีสภาพเป็นป่าที่ถูกทำลายใน 2528 จังหวัดลพบุรีมีเนื้อที่ป่าไม้ 174,375 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 4.50 ของเนื้อที่จังหวัด และในปี 2540 มีการสำรวจพบว่าพื้นที่ป่าได้ถูกบุกรุกทำลายไป จนเหลือป่าที่สมบูรณ์เพียง 123,125 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 3.18 ของพื้นที่จังหวัดจากการที่ป่าไม้ในจังหวัดมีสภาพลดลง กรมป่าไม้จึงได้อนุรักษ์ป่าที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ไว้ ปัจจุบันมีป่าสงวนแห่งชาติอยู่ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี 4 แห่ง รวมเนื้อที่ 1,110,108.25 ไร่ (1,776.17 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน ได้แก่ ป่าซับลังกา ป่าวังเพลิง ป่าชัยบาดาล และป่าเขาเพนียด",
"title": "จังหวัดลพบุรี"
},
{
"docid": "410700#0",
"text": "ภูเข้ เป็นภูเขาในทิวเขาหลวงพระบางซึ่งแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว ในเขตอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน สูงจากระดับน้ำทะเล 2,079 เมตร โดยมีหลักเขตแดนหลักที่ 3-37 ตั้งอยู่บนยอด เป็นยอดเขาที่สูงเป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย และสูงที่สุดในจังหวัดน่าน โดยมีสภาพภูมิอากาศที่เย็นสบายตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวจะมีสภาพอากาศที่หนาวจัด ภูเข้มีสภาพธรรมชาติที่มีความแตกต่างกันระหว่างท้องทุ่งหญ้ากับผืนป่าดิบเขาที่ยังสมบูรณ์ ผสมผสานไปกับความงดงามของทิวเขาสลับซับซ้อนทั้งในเขตพื้นที่ประเทศไทย และประเทศลาว ชนิดพันธุ์ไม้ที่พบเห็นในป่าบริเวณนี้ เช่น ก่วมแดง เฟิร์นมหาสดำ ขนุนดิน กล้วยป่า เจ้าแตรวง เป็นต้น",
"title": "ภูเข้"
},
{
"docid": "474756#7",
"text": "อุทกวิทยา การทำลายป่ามีผลต่อวัฏจักรของน้ำ ต้นไม้สกัดน้ำบาดาลผ่านทางรากและปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ เมื่อใดที่พื้นที่ป่าบางส่วนถูกทำลาย ต้นไม้จะไม่คายน้ำอีกต่อไป มีผลทำให้สภาพอากาศแห้งมากขึ้น การทำลายป่าลดปริมาณของน้ำในดินและน้ำบาดาล เช่นเดียวกับความชื้นในชั้นบรรยากาศ การทำลายป่าลดการเกาะตัวของดิน ทำให้เกิดผลที่ตามมาคือหน้าดินพังทลาย น้ำท่วม และดินถล่ม ผืนป่าช่วยเพิ่มพูนการดูดซึมน้ำในชั้นหินอุ้มน้ำในบางพื้นที่ พื้นที่ป่าที่มีขนาดเล็กลงมีความสามารถน้อยลงในการดักจับ ดูดซับ และปลดปล่อยปริมาณน้ำฝน แทนที่สกัดกั้นปริมาณน้ำฝนซึ่งจะซึมผ่านไปยังระบบน้ำบาดาล พื้นที่ป่าที่ถูกทำลายจะเป็นตัวการให้เกิดน้ำผิวดิน ซึ่งจะเคลื่อนที่ได้ไวกว่าการไหลของน้ำบาดาล การเคลื่อนที่ที่เร็วกว่าของน้ำผิวดินอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและเกิดน้ำท่วมเฉพาะพื้นที่รุนแรงกว่าที่เกิดกับพื้นที่ที่มีผืนป่าปกคลุม",
"title": "การทำลายป่า"
}
] |
2644 | เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี คือใคร? | [
{
"docid": "18064#0",
"text": "พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนที่สมเด็จพระบรมชนกนาถจะเสด็จสวรรคตในวันต่อมา",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "393672#3",
"text": "ท่านผู้หญิงศรีนาถ สุริยะ เป็นทั้งคุณข้าหลวงในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และพระอาจารย์ในพระองค์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งทรงไว้วางพระทัยมาก ท่านผู้หญิงเคยตามเสด็จ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ประพาสสหรัฐอเมริกา",
"title": "ศรีนาถ สุริยะ"
},
{
"docid": "18064#1",
"text": "พระนาม \"เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี\" นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ โดยมีคำนำหน้าพระนามเป็นสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ (ลูกสาวของพี่ชาย) ในรัชกาลที่ 7 และเป็นพระภคินี (ลูกพี่ลูกน้อง) ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และโดยพระชนมายุพระองค์จึงเคยเป็นพระกุลเชษฐ์ในพระบรมราชจักรีวงศ์",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "18064#4",
"text": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เวลา 12 นาฬิกา 52 นาที ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร ภายในพระบรมมหาราชวัง พระองค์เป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ประสูติแต่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี โดยประสูติก่อนการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเพียงวันเดียว นอกจากนี้ เมื่อนับพระญาติทางฝ่ายพระมารดานั้น พระองค์นับเป็นพระญาติชั้นที่ 3 ของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ อดีตพระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชา และเป็นพระญาติชั้นที่ 4 กับพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดมสีหมุนี",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "18064#9",
"text": "พระนามของสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 นั้นได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2468 และมีคำนำพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ (ภาติกา หมายถึง หลานสาวที่เป็นลูกสาวของพี่ชาย) โดยก่อนหน้านี้มีการสมโภชได้มีการคิดพระนามไว้ 3 พระนาม ได้แก่ \n1. สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชอรสา สิริโสภาพัณณวดี\n2. สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนจุฬิน สิริโสภิณพัณณวดี \n3. สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ท้ายที่สุด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเลือกพระนามสุดท้ายพระราชทาน โดยพระนาม แปลว่า \"เจ้าฟ้าพระราชธิดาผู้มีพระชาติกำเนิดเป็นศรีดั่งดวงแก้ว เป็นพัชรแห่งมหาวชิราวุธ มีพระฉวีพรรณสิริโฉมงามพร้อม\"",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "18064#10",
"text": "ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้เสด็จผ่านพิภพขึ้นสืบสนองพระองค์ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีประกาศเปลี่ยนคำนำพระนามสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ผู้เป็นพระขนิษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
}
] | [
{
"docid": "18064#8",
"text": "พระนม (แม่นม) ของสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 คือ คุณบุปผา พนมวัน ณ อยุธยา ซึ่งเป็นพระนมโดยตำแหน่ง เพราะสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในรัชกาลที่ 6 เสวยพระกษิรธาราจากพระชนนี มีคณะพยาบาลจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ถวายอภิบาลในเบื้องต้น จากนั้นจึงมีคณะพระอภิบาลจำนวน 12 คน ซึ่งเป็นอดีตคุณพนักงานในรัชกาลที่ 6 โดยผลัดเปลี่ยนกันเฝ้าอภิบาลจนทรงเจริญพระวัยพอสมควร",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "18064#47",
"text": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชูปโภคสำหรับสมเด็จเจ้าฟ้า ซึ่งสร้างขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีรายการดังต่อไปนี้สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเรียงลำดับตามปีที่ได้รับพระราชทาน ดังนี้",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "18064#45",
"text": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี มีพระอัจฉริยภาพด้านเปียโน โดยทรงเรียนเปียโนกับพระอาจารย์ชาวต่างชาติที่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีทรงจ้างมาสอน ตั้งแต่เมื่อคราวที่ประทับ ณ พระตำหนักสวนรื่นฤดี จนเมื่อเสด็จไปประทับ ณ ประเทศอังกฤษ จนทรงสามารถบรรเลงเปียโนได้อย่างคล่องแคล่ว แม้จะทรงทอดพระเนตรโน้ตเพลงเพียงครั้งเดียว หรือทรงสดับเพลงนั้นเพียงครั้งเดียว ซึ่งพระอัจฉริยภาพนี้คล้ายคลึงกับพระบรมชนกนาถยิ่งนัก\nสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ ทรงพระอักษรภาษาอังกฤษจากครูที่พระนางเจ้าสุวัทนาฯ พระชนนีทรงจ้างมาสอน ตั้งแต่ประทับ ณ สวนรื่นฤดี จนทรงสามารถมีรับสั่งกับชาวต่างชาติได้อย่างคล่องแคล่ว และพระองค์ยังทรงสื่อสารภาษาฝรั่งเศสได้อย่างดี แต่มิทรงโปรดที่จะทรงภาษาต่างประเทศกับภาษาไทยอย่างเด็ดขาด ห้ามมิให้คนไทย ข้าราชบริพารพูดภาษาต่างประเทศปนภาษาไทย และไม่ทรงโปรดให้กราบทูลภาษาต่างประเทศโดยจะต้องสรรหาคำภาษาไทยมากราบทูลให้จงได้โดยจะทรงใช้คำที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ เช่น แบงก์ กราบทูลว่า ธนบัตร,ล็อกประตู กราบทูลว่า ลงกลอนประตู,เน็ตคลุมผม กราบทูลว่า ร่างแหคลุมผม หรือหากไม่มีก็จะทรงบัญญิติขึ้นเอง เช่น ฟาร์มจระเข้ กราบทูลว่า ที่เลี้ยงจระเข้ หากผู้ใดกราบทูลปะปนกันก็จะตรัสว่า\"เราเป็นคนไทย ต้องใช้ภาษาไทยนะจ๊ะ\"\nสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงมีพลังแห่งการสร้างสรรค์ เมื่อทรงพระเยาว์ทรงสนพระทัยและทรงเล่นกีฬาหลายประเภท อาทิ ขี่จักรยาน โคร์เกต ฯลฯ ตั้งแต่ประทับที่สวนดุสิต และ วังสระปทุม ต่อมาเมื่อเสด็จไปประทับ ณ สหราชอาณาจักร ก็ทรงโปรดที่จะทรงกอล์ฟ หรือจะทรงพระดำเนินเป็นระยะทางไกล แม้จะเสด็จกลับมานิวัติประเทศไทยก็ทรงพระดำเนินรอบพระตำหนักวันละ 6 รอบ หรือ ถ้าประทับ ณ ตำหนักพัชราลัน หัวหินก็จะทรงพระดำเนินไปกลับตามชายหาดเป็นระยะทางร่วม 4 กิโลเมตร และจะทรงแกว่งพระกรทุกเช้าวันละ 200 ครั้ง\nสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ มีพระอัจฉริยภาพด้านการคำนวณโดยทรงสามารถคำนวณเลขได้เพียงไม่กี่วินาที ทั้งยังทรงสามารถคำนวณปฏิทินร้อยปีได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ หรือแม้ผู้ที่มาเฝ้าเคยมาเฝ้านานแล้วเป็นสิบปีก็ทรงจำได้อย่างแม่นยำ ตามที่ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ ได้เล่าไว้ว่า \"คราวหนึ่งเมื่อเสด็จหัวเมือง ดิฉันทูลท่านว่าทรงจำชายคนนี้ได้ไหม ทรงตอบว่าชื่ออะไร ทูลว่าพัฒนพงศ์ ทรงตอบว่าไม่รู้จัก เลยทูลว่าเมื่อก่อนชื่อจุ้นเค็ง ตรัสกับชายคนนั้นว่ายินดีด้วยวันนี้เป็นวันเกิดครบ 50 ปีของจุ้นเค็ง\"",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "18064#32",
"text": "สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ มีพระจริยาวัตรที่บริสุทธิ์สะอาด ทรงได้รับการอบรมจากพระชนนี ไม่ทรงรู้จักคำหยาบคายเลยแม้แต่คำเดียว ถ้าจะทรงบริภาษผู้ใดอย่างรุนแรงจะรับสั่งว่า ซีด เท่านั้น แต่ส่วนมากเมื่อทรงกริ้วก็จะทรงสามารถระงับพระพิโรธไว้ได้ โดยทรงเคยแสดงธรรมประจำพระทัยแก่ท่านผู้หญิงดุษฎี มาลากุล ณ อยุธยา ความว่า \"โทสะก็เหมือนไฟในตะเกียง ถ้าแรงนักก็ค่อยๆ หรี่ลง แล้วโทสะจะดับหายไปเอง\"",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "18064#7",
"text": "แต่แล้วเมื่อใกล้มีพระประสูติกาล ความชื่นบานทั้งหลายกลับกลายเป็นความกังวล เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรหนักด้วยโรคพระอันตะ มีพระอาการรุนแรงขึ้นอย่างมิคาดฝัน ในยามนั้น พระองค์ประทับ ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประทับ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ซึ่งติดกับพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เพื่อทรงรอฟังข่าวพระประสูติการอย่างใกล้ชิด จนกระทั่ง พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี มีพระประสูติการเจ้าฟ้าหญิงในวันที่ 24 พฤศจิกายน จากนั้นในเวลาบ่าย เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ได้เข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ \"“สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ”\" เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว มีพระราชดำรัสว่า \"“ก็ดีเหมือนกัน”\" จนรุ่งขึ้นในวันพุธที่ 25 พฤศจิกายน เจ้าพระยารามราฆพ เชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์น้อยไปเฝ้าฯ สมเด็จพระบรมชนกนาถ ซึ่งกำลังทรงพระประชวรหนักบนพระแท่น เมื่อทอดพระเนตรแล้ว ทรงพยายามยกพระหัตถ์ขึ้นสัมผัสพระราชธิดา แต่ก็ทรงอ่อนพระกำลังมากจนไม่สามารถจะทรงยกพระหัตถ์ได้เนื่องจากขณะนั้นมีพระอาการประชวรอยู่ในขั้นวิกฤต เจ้าพระยารามราฆพจึงเชิญพระหัตถ์ขึ้นสัมผัสพระราชธิดา เมื่อจะเชิญเสด็จพระราชกุมารีกลับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงโบกพระหัตถ์แสดงพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรพระราชธิดาอีกครั้ง จึงเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกเธอมาเฝ้าฯ เป็นครั้งที่สอง และเป็นครั้งสุดท้ายแห่งพระชนมชีพจนกลางดึกคืนนั้นเองก็เสด็จสวรรคต",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
}
] |
4114 | อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 เกิดขึ้นเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "386369#0",
"text": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 หรือที่นิยมเรียกกันว่า มหาอุทกภัย เป็นอุทกภัยรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยา และลุ่ม แม่น้ำโขง เริ่มตั้งแต่ปลาย เดือนกรกฎาคม และสิ้นสุดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 มีราษฎรได้รับผลกระทบกว่า 12.8 ล้านคน ธนาคารโลกประเมินมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท [2]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
}
] | [
{
"docid": "366653#1",
"text": "เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ต่อศักดิ์ วานิชขจร อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวถึงสาเหตุของอุทกภัยในภาคใต้ว่า เป็นผลมาจากอิทธิพลของความกดอากาศต่ำจากประเทศจีนตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม ประกอบกับความกดอากาศต่ำในอ่าวไทย เมื่อวันที่ 24-25 มีนาคม การรวมตัวกันของความกดอากาศทั้งสองนี้เคลื่อนเข้าพื้นที่ภาคใต้ ทำให้เกิดพายุคล้ายพายุดีเปรสชัน ทำให้เกิดฝนตกหนักตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจนถึงจังหวัดพัทลุงมากกว่า 200 มิลลิเมตร",
"title": "อุทกภัยและดินถล่มในภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "366653#0",
"text": "อุทกภัยและดินถล่มในภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2554 เป็นเหตุการณ์เกิดน้ำท่วมและดินถล่มในภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 จนถึง31 มีนาคม พ.ศ. 2554 ในบางพื้นที่มีฝนตกหนักถึง 120 เซนติเมตร เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วรวม 53 คน สร้างความเสียหายมากกว่า 500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ",
"title": "อุทกภัยและดินถล่มในภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "16208#34",
"text": "นิสิตและนิสิตเก่าของคณะมีส่วนร่วมทางด้านการเมืองของประเทศ ในปี พ.ศ. 2505 นักศึกษาของคณะ (สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์) ก็มีส่วนร่วมในการเดินขบวนในกรณีข้อพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร[76] รวมถึงในเหตุการณ์ 14 ตุลาซึ่งมีนักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วม อาทิ เภสัชกรหญิง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิดา ถาวรเศรษฐและจิระนันท์ พิตรปรีชา ด้านวิชาชีพคณะเภสัชศาสตร์ยังร่วมมือกับสภาเภสัชกรรมในการดำเนินการหลายอย่าง อาทิ การผลักดันให้เกิดการประชุมสมัชชาเภสัชกรรมไทย ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองเภสัชกรรมในประเทศไทยครบรอบ 100 ปี ครบถ้วนทุกสาขาของวิชาชีพ ได้แก่ เภสัชอุตสาหกรรม เภสัชกรรมการตลาด เภสัชกรรมโรงพยาบาล เภสัชกรรมชุมชน และเภสัชกรรมคุ้มครองผู้บริโภค การจัดงาน \"สัปดาห์เภสัชจุฬาฯ ไม่แขวนป้าย\" เพื่อร่วมรณรงค์จรรยาบรรณเภสัชกรและกระตุ้นเตือนนิสิต[77] การจัดงานสัปดาห์เภสัชกรรม เป็นต้น และจากอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 นิสิตของคณะเภสัชศาสตร์ได้ผลิตยารักษาน้ำกัดเท้าและตะไคร้หอมไล่ยุงโดยมีคณาจารย์เภสัชกรเป็นที่ปรึกษาและผู้ควบคุมการผลิต ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2554 เพื่อบริจาคแก่ผู้ประสบอุทกภัยทั้งสิ้นจำนวนประมาณ 180,000 ชุด ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจากการบริจาคของภาคประชาชนและคณะ[78] และได้รับคัดเลือกให้เป็น \"โครงการดีเด่น\" ประจำปีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโครงการระดับ \"ดีเด่น\" ในการนำระบบประกันคุณภาพไปใช้ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาประจำปี พ.ศ. 2555 อีกด้วย[79]",
"title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "386369#14",
"text": "วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554 เกิดเหตุน้ำล้นเขื่อนแม่กวงเข้าท่วมอำเภอสันทราย ราษฎรได้รับผลกระทบกว่า 1,000 ครัวเรือน วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 น้ำได้เข้าท่วมเขตตัวเมืองเชียงใหม่ ทำให้โรงแรมกว่า 10 แห่งได้รับผลกระทบ โดยนักท่องเที่ยวบ้างขอย้ายโรงแรม และบ้างที่จองพักล่วงหน้าได้ขอเลื่อนเข้าพัก ด้านบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ประเมินมูลค่าความเสียหายจากอุทกภัยครั้งนี้ไว้ที่ 7-8 พันล้านบาท[22] สราวุฒิ แซ่เตี๋ยว นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ระบุว่า รายได้จากการท่องเที่ยวและค้าขายในจังหวัดเชียงใหม่สูญแล้วกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ยังคาดจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้น 20% จากปีที่แล้ว เพราะจังหวัดจะจัดกิจกรรมหลายอย่างในช่วงฤดูท่องเที่ยว[23]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "63252#23",
"text": "พ.ศ. 2554 ฤดูฝนในประเทศไทยมีระดับปริมาณน้ำฝนสูงที่สุดในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา[39] อุทกภัยเริ่มทางภาคเหนือของประเทศ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม หนึ่งสัปดาห์ก่อนที่ยิ่งลักษณ์จะเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[40] อุทกภัยลุกลามจากภาคเหนือ ไปยังที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทางภาคกลางอย่างรวดเร็ว และจนถึงต้นเดือนตุลาคม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาถูกน้ำท่วมเกือบทั้งหมด อุทกภัยในประเทศไทยครั้งนี้ นับว่าเลวร้ายที่สุดในรอบมากกว่า 50 ปี ยิ่งลักษณ์จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในส่วนกลาง ราวกลางเดือนตุลาคม และออกตรวจเยี่ยมจังหวัดที่ประสบภัย ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม[41] ยิ่งลักษณ์ยังให้สัญญาว่า จะลงทุนในโครงการป้องกันอุทกภัยระยะยาว รวมทั้งการก่อสร้างคลองระบายน้ำ มาตรการลดอุทกภัยถูกขัดขวาง โดยการพิพาทระหว่างประชาชน จากสองฝั่งของกำแพงกั้นน้ำ โดยฝั่งที่ถูกน้ำท่วมเข้าทำลายกำแพงกั้นน้ำในหลายกรณี และบางครั้งส่งผลให้เกิดการเผชิญหน้าด้วยอาวุธ[42][43] ผู้นำฝ่ายค้าน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และผู้นำทหาร เรียกร้องให้ยิ่งลักษณ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งให้อำนาจแก่ทหารมากขึ้น ในการรับมือกับปัญหาการทำลายกำแพงกั้นน้ำ[44] ยิ่งลักษณ์ปฏิเสธที่จะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยระบุว่าไม่ช่วยให้การจัดการอุทกภัยดีขึ้น เธอประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และออกประกาศให้พื้นที่ประสบอุทกภัยเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ ซึ่งให้อำนาจรัฐบาลมากขึ้น ในการจัดการการควบคุมอุทกภัยและการระบายน้ำแทน[45]อย่างไรก็ตามเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากเกี่ยวกับการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติเนื่องจากพื้นที่ใดเมื่อเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจะได้รับเงินและงบประมาณลงไปในการช่วยเหลือพื้นที่นั้น[46]",
"title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"
},
{
"docid": "386369#7",
"text": "ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน หลายภาคส่วนของประเทศจึงมักเกิด น้ำท่วมฉับพลัน ตามฤดูกาล อุทกภัยมักเริ่มขึ้นในภาคเหนือแล้วค่อยขยายวงลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านที่ราบภาคกลาง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตาม แม่น้ำชี และ แม่น้ำมูล ซึ่งไหลลง แม่น้ำโขง หรือในพื้นที่ลาดเขาชายฝั่งในภาคตะวันออกและภาคใต้ ส่วนที่เหลือของ พายุหมุนเขตร้อน ซึ่งพัดถล่ม เวียดนาม หรือคาบสมุทรทางใต้เพิ่มหยาดน้ำฟ้าโดยทั่วไป ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่ออุทกภัยมากขึ้นไปอีก ประเทศไทยมีระบบควบคุมการระบายน้ำ รวมถึงเขื่อนหลายแห่ง คลองชลประทานและแอ่งยับยั้งน้ำท่วม (แก้มลิง) (flood detention basin) [12] แต่ยังไม่เพียงพอต่อการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากอุทกภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท มีความพยายามอย่างมาก รวมทั้งระบบอุโมงค์ระบายน้ำซึ่งเริ่มใน พ.ศ. 2544 [13] ในการป้องกันอุทกภัยใน กรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ ณ ปาก แม่น้ำเจ้าพระยา และมักเกิดน้ำท่วม ผลของความพยายามดังกล่าวนับเป็นความสำเร็จสำคัญ โดย กรุงเทพมหานคร มักเกิดอุทกภัยเพียงเล็กน้อยและกินเวลาไม่นานนับตั้งแต่อุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2538 อย่างไรก็ดี ภูมิภาคอื่นยังเกิดอุทกภัยรุนแรง โดยครั้งล่าสุดใน พ.ศ. 2553",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "346198#6",
"text": "ในปี พ.ศ. 2552 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ และในปี พ.ศ. 2553 ได้โยกย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ในระหว่างนั้นเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ประสานราชการระหว่างกระทรวงมหาดไทย กับศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ต่อมาเขาถูกโยกย้ายให้ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร ตามลำดับ และปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช",
"title": "พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า"
},
{
"docid": "402924#0",
"text": "อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2554 เป็นเหตุการณ์อุทกภัยตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ที่เกิดขึ้นในภาคกลางและภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเกิดจากฝนตกหนักส่งผลให้มีน้ำท่วมใน 12 จังหวัด ในขณะที่จังหวัดอื่นๆยังคงประสบภัยแห้งแล้งเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ประชากรรวมกว่า 36 ล้านคนต่างได้รับผลกระทบ มีผู้สูญเสียชีวิตไปอย่างน้อย 355 ราย และเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยตรงเกือบ 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ",
"title": "อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#88",
"text": "วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 แวโรจน์ สายทองแท้ หัวหน้างานปกป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา กล่าวว่า ระยะนี้ เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก ทำให้น้ำในแม่น้ำปัตตานีและสายบุรีเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนที่อยู่ริมชายฝั่งและเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ราบลุ่มในเขตเทศบาลนครยะลา และในพื้นที่ หมู่ 3 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนเพิ่มเป็น 1,000 ครัวเรือน[125] วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาอุทกภัย จังหวัดยะลา สรุปมี 5 อำเภอประสบปัญหาน้ำท่วมแล้ว ขณะที่ประชาชนเดือดร้อนกว่า 2 หมื่นคน[126]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "956220#3",
"text": "ส่วนในปี พ.ศ. 2554 ได้เกิดเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 พลเรือตรีอาภากรพร้อมด้วยกำลังพลหน่วยซีล 27 นาย ได้ลงสู่พื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านในจุดที่ความช่วยเหลือทั่วไปไม่สามารถเข้าถึง",
"title": "อาภากร อยู่คงแก้ว"
},
{
"docid": "386369#4",
"text": "อุทกภัยครั้งนี้เริ่มขึ้นในระหว่างฤดูมรสุม เมื่อ พายุหมุนนกเตน ขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของ เวียดนาม ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย และทำให้เกิดอุทกภัยในหลายจังหวัดเริ่มตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม [6] ภายในสัปดาห์แรกของอุทกภัยก็มีรายงานผู้เสียชีวิตถึง 13 คน [7] อุทกภัยดำเนินต่อไปใน 16 จังหวัดขณะที่ฝนยังคงตกลงมาอย่างหนัก และภายในเวลาไม่นานอุทกภัยก็ลุกลามไปทางใต้เมื่อ แม่น้ำเจ้าพระยา ได้รับน้ำปริมาณมากจากแม่น้ำสาขา และส่งผลกระทบต่อหลายจังหวัดในภาคกลาง จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2554 จังหวัดยังได้รับผลกระทบ และเสี่ยงต่ออุทกภัยเพิ่มเติม เนื่องด้วยเขื่อนส่วนใหญ่มีระดับน้ำใกล้หรือเกินความจุ [8]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#8",
"text": "ขนาดและขอบเขตของอุทกภัยใน พ.ศ. 2554 บางส่วนอาจถือได้ว่าเกิดขึ้นจากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาน้อยในฤดูมรสุม พ.ศ. 2553 ระดับน้ำในเขื่อนทำสถิติต่ำสุดเมื่อ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 [14] หลักฐานแสดงว่า ตอนต้นฤดูฝน เขื่อนได้กักเก็บน้ำปริมาณมากเพื่อเป็นน้ำสำรองและป้องกันอุทกภัยในช่วงต้น [15] ปริมาณน้ำฝน พ.ศ. 2554 สามารถแสดงได้เห็นโดยปริมาณน้ำที่กักเก็บในเขื่อนภูมิพล น้ำมากกว่า 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตรถูกเก็บไว้ในเวลา 3 เดือน จนเขื่อนเต็มความจุ 100% [16] เมื่อถึงขีดกักเก็บน้ำแล้ว ฝนที่ยังตกลงมาบีบให้ทางการต้องเพิ่มการปล่อยน้ำออกจากเขื่อน แม้จะทำให้เกิดอุทกภัยเพิ่มขึ้น และนำไปสู่การกล่าวหาว่า การบริหารจัดการเขื่อนผิดพลาดในช่วงต้นของฤดูมรสุมนี้ [17] อย่างไรก็ดี การโต้แย้งกลับมีว่า หากฤดูมรสุม พ.ศ. 2554 สั้นและไม่มีการเก็บน้ำไว้ในเขื่อนแล้ว หากน้ำลดลงต่ำกว่าระดับเมื่อ พ.ศ. 2553 จะเป็นการบริหารจัดการผิดพลาดเช่นกัน",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#193",
"text": "พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ถูกย้ายให้ไปเป็นผู้ตรวจราชการโดยระบุในคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 522/2554 [272] ด้วยเหตุผลว่า จำเป็นและเพื่อประโยชน์ของทางราชการในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอันเนื่องมาจากสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม และมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในการประสานราชการระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2554",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#6",
"text": "โดยก่อนหน้านี้ได้เกิดอุทกภัยและดินถล่มทางภาคใต้ของ ประเทศไทย ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม แล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 53 คน [10] และสร้างความเสียหายมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[11]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#136",
"text": "วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ศูนย์ปฏิบัติการรองรับเหตุฉุกเฉิน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ศปฉ.ปภ.) [177] และศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์ อุทกภัยวาตภัยและดินโคลนถล่ม (ศอส.) [178] รายงานตรงกันเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันว่า ยังมีพื้นที่ประสบอุทกภัยประเทศไทยตอนบน 10 จังหวัด 83 อำเภอ 579 ตำบล 3,851 หมู่บ้าน เฉพาะกรุงเทพมหานคร 36 เขต ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,658,981 ครัวเรือน 4,425,047 ราย ฟื้นฟู 55 จังหวัด ประสบอุทกภัยรวม 65 จังหวัด และอ่างเก็บน้ำไม่สามารถรับน้ำเพิ่มได้อีกจำนวน 8 อ่างจาก 33 อ่างทั่วประเทศ นับตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 รายงานเสียชีวิตรวม 680 ราย สูญหาย 3 ราย มากที่สุดจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวน 139 ราย",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#207",
"text": "สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ สุลต่านและสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งประเทศบรูไน ทรงทราบข่าว จึงได้พระราชทานทรัพย์เป็นเงินจำนวน 100000 ดอลลาร์สหรัฐ(หรือประมาณ35,654,022.51บาทไทย) โดยมี ดาโต๊ะ ดาพูกา ฮัจญี คามิส บิน ฮัจญี ทามิน เป็นตัวแทนมอบผ่านทาง สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#81",
"text": "วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554 ได้เกิดน้ำท่วมในอำเภอปะเหลียนและอำเภอย่านตาขาว หลังฝนตกหนักติดต่อกันนาน 2-3 วัน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 337 ครัวเรือน[118]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "402924#2",
"text": "วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554 สำนักงานควบคุมอุทกภัยของจีนได้รายงานว่าพายุโซนร้อนสาริกาได้ขึ้นฝั่งที่ระหว่างซ่านเว่ยในมณฑลกวางตุ้ง และจางปู่ในพื้นที่ใกล้เคียงมณฑลฝูเจี้ยน เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ส่งผลให้เกิดอุทกภัยที่รุนแรงยิ่งกว่าเดิม",
"title": "อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#40",
"text": "วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554 จังหวัดนครนายก เกิดฝนตกติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ที่ หมู่ 8 ตำบลเขาพระ อำเภอเมืองนครนายก น้ำเข้าท่วมบ้านเรือนกว่า 100 หลัง",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "401187#0",
"text": "อุทกภัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2554 เกิดขึ้นในฤดูมรสุม พ.ศ. 2554 โดยเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์ในประเทศไทย กัมพูชา มาเลเซีย และน้ำท่วมใหญ่ในเวียดนาม เช่นเดียวกับลาว ส่วนประเทศฟิลิปปินส์ถูกไต้ฝุ่นเนสาดและไต้ฝุ่นนาลแกพัดถล่มในเดือนกันยายนในเวลาไล่เลี่ยกัน",
"title": "อุทกภัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#114",
"text": "วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาประกาศให้จังหวัดนครราชสีมา เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากเหตุอุทกภัย 18 อำเภอในเบื้องต้น จังหวัดนครราชสีมา ได้รับรายงานว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นในพื้นที่รวม 79 ตำบล 721 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือนร้อนกว่า 19,000 หลังคาเรือน ใน 18 อำเภอของจังหวัด พื้นที่การเกษตรซึ่งส่วนใหญ่เป็นนาข้าว ถูกน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมนับหมื่นไร่ ถนนมากกว่า 70 สายถูกตัดขาด[151]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#26",
"text": "วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานครมีประชาชนได้รับความเดือดร้อนแล้ว 73 ชุมชน 3,384 ครัวเรือน ทางกรุงเทพมหานครพยายามเร่งระบายน้ำออกทางประตูระบายน้ำ 3 แห่ง นอกจากนี้ ทางสำนักงานเขตได้เตรียมกระสอบทรายห้าแสนใบมอบให้กับประชาชนไปใช้ทำคันกันน้ำชั่วคราว[39] ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ทำให้เกิดน้ำท่วมขังหลายจุด[40]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "354506#0",
"text": "อุทกภัยในรัฐควีนส์แลนด์ ธันวาคม พ.ศ. 2553/มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นอุทกภัยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย โดยส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นในรัฐควีนส์แลนด์ อุทกภัยครั้งดังกล่าวส่งผลให้มีการอพยพประชาชนหลายพันคนออกจากเมืองและนครที่ได้รับผลกระทบ และมีอย่างน้อย 22 เมือง และประชาชนมากกว่า 200,000 คนได้รับผลกระทบ ความเสียหายเบื้องต้นประมาณไว้ที่ 1 พันล้านดอลล่าร์ออสเตรเลีย (650 ล้านปอนด์) พื้นที่กว้างใหญ่ทางตอนใต้และตอนกลางของรัฐควีนส์แลนด์ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ถนนกว่า 300 สายถูกปิด รวมทั้งทางหลวงสายหลัก 9 สาย เส้นทางรถไฟถ่านหินก็ได้ถูกปิดและบริเวณทำเหมืองหลายแห่งถูกน้ำท่วม ราคาของผักและผลไม้ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ด้านรัฐบาลรัฐและรัฐบาลกลางอนุมัติเงินช่วยเหลือครอบครัวละ 1 ล้านดอลล่าร์ออสเตรเลีย ยอดผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยอยู่ที่ 10 ศพ",
"title": "อุทกภัยในรัฐควีนส์แลนด์ พ.ศ. 2553-2554"
},
{
"docid": "397937#1",
"text": "โดยได้ออกฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554) และเข้าฉายในประเทศไทย วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554 โดยฉายไปได้ 5 สัปดาห์ รายได้รวมที่ฉายในประเทศไทย $163,995 (ซึ่งน้อยกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากอุทกภัยน้ำท่วมในประเทศไทย พ.ศ. 2554)",
"title": "โดราเอมอน เดอะ มูฟวี่ โนบิตะผจญกองทัพมนุษย์เหล็ก ~ปีกแห่งนางฟ้า~"
},
{
"docid": "386369#208",
"text": "หมวดหมู่:อุทกภัยในปี พ.ศ. 2554 หมวดหมู่:อุทกภัยในประเทศไทย หมวดหมู่:ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2554",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#149",
"text": "กระทรวงพาณิชย์แก้ไขปัญหาสินค้าแพงด้วยการจับกุมผู้ค้าสุกร[195] และผู้ค้าทรายที่ขึ้นราคาเกินกำหนด[196] วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 กระทรวงพาณิชย์ประกาศนำเข้าไข่ไก่ 7 ล้านฟอง ปลากระป๋อง 4 แสนกระป๋อง และน้ำดื่ม 1 ล้านขวดจากประเทศมาเลเซียและเขตบริหารพิเศษฮ่องกงอย่างเร่งด่วน[197] ข้อมูลจากกรมการค้าภายใน พบว่า เฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร ราคาไข่ไก่และไข่เป็ดเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 สูงสุดในปีนี้ ทั้งราคาขายปลีกและส่ง[198] และได้มีการลดราคาสินค้าจำนวนมากโดยอ้างเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย[199] การหยุดขายสินค้ายังมีอยู่แม้ในบางพื้นที่ซึ่งอุทกภัยผ่านพ้นไปแล้ว โดยร้านค้าต่างอ้างเหตุอุทกภัยทำให้โรงงานไม่สามารถส่งวัตถุดิบไปผลิตได้[200]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#139",
"text": "วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ตนได้เห็นชอบให้เลื่อนการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร และให้โรงเรียนจัดการเรียนการสอนชดเชยตามที่สำนักการศึกษาเสนอเพื่อความปลอดภัยของนักเรียนและลดปัญหาการเดินทางของนักเรียนและผู้ปกครอง รวมทั้งเกิดความพร้อมในการเรียนการสอนของโรงเรียน โดยในพื้นที่ที่ยังมีระดับน้ำท่วมสูง ใน 7 เขต[182]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#89",
"text": "วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ธนน เวชกรกานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่มจังหวัดนราธิวาส ได้ประกาศให้พื้นที่ทั้งจังหวัดเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อย่างไรก็ตาม ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ รายงานสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสว่า มีพื้นที่เดือดร้อน 63 ตำบล 221 หมู่บ้าน มีผู้ประสบภัย 48,583 คน รวม 13,473 ครัวเรือน เจ้าหน้าที่ได้อพยพชาวบ้าน 82 ครัวเรือน 388 คน นอกจากนี้ ในพื้นที่อำเภอจะแนะ มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากมีโรคประจำตัวและยืนแช่น้ำเป็นเวลานานอีก 1 ราย[127]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#204",
"text": "วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ฮิลลารี คลินตันได้แถลงผ่านทางเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศสหรัฐ แสดงความเสียใจและห่วงใยต่อเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในนามของประธานาธิบดีและประชาชนชาวสหรัฐ[290]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
}
] |
3118 | คู่สมรสของ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า คือใคร? | [
{
"docid": "37967#0",
"text": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระนามเดิม พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (10 กันยายน พ.ศ. 2405 — 17 ธันวาคม พ.ศ. 2498) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) เป็นพระเจ้าลูกเธอชั้นเล็ก ลำดับที่ 60 ในจำนวนทั้งหมด 82 พระองค์ โดยรับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว",
"title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า"
},
{
"docid": "37967#40",
"text": "เมื่อทรงพระเยาว์ในฐานะพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงประทับอยู่ภายในพระบรมมหาราชวังด้วยพระชนนีและพระเจ้าลูกเธอพระองค์อื่นๆ ครั้งทรงรับราชการในตำแหน่งพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในระยะแรกเสด็จประทับ ณ ตำหนักเดิมภายในพระบรมมหาราชวังร่วมกับพระพี่นาง พระน้องนาง และพระชนนี จนกระทั่งทรงประสูติพระราชโอรสพระองค์แรกแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงให้สร้างพระตำหนักพระราชทาน คือ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า",
"title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า"
}
] | [
{
"docid": "37967#13",
"text": "แต่พระองค์เจ้าทักษิณชามีพระสติวิปลาสไปมิอาจรับราชการสนองพระเดชพระคุณต่อไป พระภรรยาเจ้าสี่พระองค์หลังมีพระเกียรติยศเสมอกันทุกพระองค์ พระเกียรติยศที่จะเพิ่มพูนนั้นขึ้นอยู่กับการมีสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเป็นสำคัญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเดิมมีพระราชดำริที่จะสถาปนาพระองค์เจ้าสว่างวัฒนาขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าด้วยเป็นพระราชชนนีของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สมเด็จพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ 5 แต่ในปี พ.ศ. 2423 สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เสด็จสวรรคตพร้อมพระราชธิดาและพระราชโอรสในพระครรภ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ที่สวรรคตไปแล้ว ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี พร้อมกับสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีเสมอกัน ซึ่งสมภพ จันทรประภาสรุปคำบอกเล่าของนางข้าหลวงว่า สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาไม่เต็มพระทัยมีพระอิสริยยศสูงกว่าเพราะเป็นน้อง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงสถาปนาพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เป็นพระบรมราชเทวีด้วย",
"title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า"
},
{
"docid": "37967#29",
"text": "ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ พระตำหนักใหญ่ วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 เมื่อพระองค์ทรงเจิมหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรแล้ว มีรับสั่งว่า \"\"หันออกไปยิ้มกับผู้คนที่เข้ามาซิ เขาอุตส่าห์มากันเต็ม ๆ ออกไปให้เขาเห็นหน่อย\"\" ซึ่งสร้างความประหลาดใจแก่ผู้เข้าเฝ้า ณ ที่นั้นเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากพระองค์ทรงเลือนพระสัญญาด้วยทรงเจริญพระชนมพรรษาเกือบ 90 พรรษาแล้วในขณะนั้น และมักจะไม่มีพระราชเสาวนีย์แก่ผู้มาเฝ้าเท่าใดนัก",
"title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า"
},
{
"docid": "12226#13",
"text": "เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์จึงจัดขึ้น ณ วังสระปทุม โดยมีสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จฯ เป็นองค์ประธาน ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยในทะเบียนสมรสและโปรดให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรพร้อมทั้งสักขีพยานลงนามในทะเบียนนั้น หลังจากนั้น สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเสด็จออกในพระราชพิธีถวายน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและทรงรดน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสตามโบราณราชประเพณี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์อ่านประกาศสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรขึ้นเป็น \"สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์\" พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ในการนี้ด้วย",
"title": "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ"
},
{
"docid": "37967#33",
"text": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 10 พระองค์ เป็นพระราชโอรส 4 พระองค์ เป็นพระราชธิดา 4 พระองค์ ตกเสียก่อนเป็นพระองค์ 2 ดังต่อไปนี้นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับอภิบาลพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่กำพร้าพระมารดาอีก 4 พระองค์ นั่นคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง เช่นเดียวกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพร้อม",
"title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า"
},
{
"docid": "139154#4",
"text": "จิทัศสมรสกับเจสสิก้า มิกเคลิช สุภาพสตรีลูกครึ่งไทย-สวิตเซอร์แลนด์ อดีตนักแสดง บุตรสาวของอังคนา ลุลิตานนท์ นักธุรกิจด้านส่งออกผ้าไหมไทย ในการนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ในงานฉลองมงคลสมรส ณ ห้องออเธอร์เลานจ์ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553 พร้อมพระราชทานพรแก่คู่บ่าวสาวว่า \"ขอให้มีความสุขในการครองเรือน และมีชีวิตคู่ยืนยาว รักกันตลอดไป\" ทั้งสองมีบุตรด้วยกันหนึ่งคน",
"title": "จิทัศ ศรสงคราม"
},
{
"docid": "37967#1",
"text": "พระองค์เป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งเป็นสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของไทย เป็นสมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมเด็จพระอัยยิกาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช",
"title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า"
},
{
"docid": "37967#4",
"text": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 60 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นลำดับที่ 4 ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเปี่ยม ทรงพระราชสมภพในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันพุธ เดือน 10 แรม 2 ค่ำ ปีจอ จัตวาศก จ.ศ. 1224 ซึ่งตรงกับวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2405 โดยได้รับพระราชทานพระราชหัตถเลขาตั้งพระนามจากสมเด็จพระบรมชนกนาถเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2405 ซึ่งเป็นวันทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชเดือนว่า \"พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา\" พระราชหัตถเลขามีดังนี้",
"title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า"
},
{
"docid": "176257#9",
"text": "เมื่อสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จออก ณ ชั้น 2 ของพระตำหนักแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ฯ ทูลเกล้าฯ ถวายดอกไม้ธูปเทียนเครื่องราชสักการะ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประทานน้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และพระราชทานน้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์แก่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ตามโบราณราชประเพณี พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และบุคคลที่ได้รับเชิญมาร่วมในพระราชพิธี ทูลเกล้าฯ ถวายของขวัญ ในโอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานของที่ระลึกเป็นหีบบุหรี่เงินขนาดเล็ก ประดับอักษรพระนามาภิไธยย่อ ภ.อ. และ ส.ก",
"title": "พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
},
{
"docid": "42575#2",
"text": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงรับพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ไว้อุปการะพร้อมทั้งพระเชษฐภคินี คือ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท โดยทรงเลี้ยงดูพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ซึ่งมีพระชนมายุใกล้เคียงกับสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช เหมือนกับพระราชโอรสของพระองค์เอง",
"title": "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร"
}
] |
3219 | พระพุทธเจ้า เคยสมรสกับใคร? | [
{
"docid": "331591#1",
"text": "พระมหากัสสปะมีนามว่า ปิปผลิ เป็นบุตรของกปิลพราหมณ์ เกิดที่หมู่บ้านมหาติตถะ แคว้นมคธ เมื่ออายุเข้าย่างสู่ 20 ปี มารดาบิดาของท่านรบเร้าให้ท่านแต่งงาน ท่านปฏิเสธเพราะตั้งใจว่าเมื่อดูแลมารดาบิดาจนทั้งสองเสียชีวิตแล้วก็จะออกบวช แต่มารดาบิดาของท่านยังยืนยันให้ท่านแต่งงานเพื่อดำรงวงศ์ตระกูล ปิปผลิจึงจ้างช่างหล่อทองคำเป็นรูปหญิงสาว ประดับด้วยผ้านุ่งสีแดง ดอกไม้ และเครื่องประดับต่าง ๆ แล้วบอกมารดาว่าถ้าหาหญิงสาวลักษณะตามรูปปั้นนี้ได้จึงจะยอมแต่งงาน มารดาของท่านจึงให้พราหมณ์ ๘ คนนำรูปหล่อไปตามหาหญิงสาวที่มีลักษณะตามนั้น เมื่อได้พบนางภัททากาปิลานี จึงแจ้งให้กบิลพราหมณ์ทราบ ทั้งปิปผลิและภัททาต่างไม่อยากแต่งงานจึงแอบส่งจดหมายขอให้อีกฝ่ายหาคู่ครองใหม่ แต่คนถือจดหมายได้แปลงข้อความในจดหมาย ทั้งสองจึงได้แต่งงานกันในที่สุด[2]",
"title": "พระมหากัสสปะ"
}
] | [
{
"docid": "59540#5",
"text": "เมื่อมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันท่านมาเกิดเป็น บุตรพราหมณ์มหาศาลในหมู่บ้านพราหมณ์โทณวัตถุ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองกบิลพัสดุ์ ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนามาแต่อดีตชาติประกอบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันชาติ ที่ได้รู้แจ้งธรรมและบวชในพระพุทธศาสนาก่อนใคร พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู ดังกล่าวมาแล้ว ฝ่ายพระปัญจวัคคีย์ที่เหลือ คือ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะและพระอัสสชิ ซึ่งมีอดีตชาติร่วมกับพระอัญญาโกณฑัญญะ ตรงที่ตั้งจิตปรารถนาให้ได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมก่อนใคร และปรารถนาจะบรรลุอรหัตผลพร้อมกัน ก็ได้สิ่งที่ปรารถนาไว้คือ ได้ฟังพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมก่อนใครและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์พร้อมกันในที่สุด",
"title": "พระอัญญาโกณฑัญญเถระ"
},
{
"docid": "154177#3",
"text": "นอกจากนี้ ยังมีธรรมะอีกหมวดหนึ่งซึ่งคล้ายกัน คือได้มีการบรรยายถึง พระเจ้าจักรพรรดิว่าทรงประกอบด้วยองค์ 5 ประการ ย่อมทรงยังจักรให้เป็นไปโดยธรรม จักรนั้นย่อมเป็นจักรอันมนุษย์ผู้เป็นข้าศึกใดๆ จะต้านทานมิได้ และแม้พระพุทธเจ้าก็ทรงประกอบด้วยธรรม 5 ประการเหล่านี้ ย่อมทรงยังธรรมจักรชั้นเยี่ยมให้เป็นไปโดยธรรม ธรรมจักรนั้นย่อมเป็นจักรอันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร\nพรหม หรือใครๆ ในโลก จะคัดค้านไม่ได้ ธรรม 5 ประการนี้ได้แก่",
"title": "สัปปุริสธรรม"
},
{
"docid": "673#7",
"text": "พระโพธิสัตว์ หมายถึง ท่านผู้ที่กำลังบำเพ็ญ บารมี 10 (โดยยิ่งยวด 30 ทัศ) คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา และ จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า อังคีรส หมายถึง ท่านผู้มีรัศมีแผ่ออกมาจากพระกาย พระมหาบุรุษ เป็นคำที่ใช้เรียก พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ อีกความหมายหนึ่งคือ บุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ตถาคต เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงพระองค์เองมี ความหมาย 8 อย่างคือ พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น พระผู้ตรัสอย่างนั้น พระผู้ทำอย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า ตถาคตโพธิสัทธา หมายถึง การเชื่อถือปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต ธรรมราชา หมายถึง ท่านผู้เป็นราชาแห่งธรรม ธรรมสวามิศร, ธรรมสามิสร หมายถึง ท่านผู้เป็นใหญ่โดยเป็นเจ้าของธรรม ธรรมสามี หมายถึง ท่านผู้เป็นเจ้าของธรรม ธรรมิศราธิบดี หมายถึง ท่านผู้เป็นอธิปดีในธรรม เป็นคำกวีหมายถึงพระพุทธเจ้า บรมศาสดา, พระบรมศาสดา หมายถึง ท่านผู้เป็น ศาสดาอันยอดยิ่ง พระผู้เป็นครูสูงสุด พระบรมครู พระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าหมายถึง ท่านผู้รู้ดี รู้ชอบ ด้วยตนเองก่อนแล้ว สอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ พระศาสดา หมายถึง ท่านผู้ทรงสอนชนทั้งปวง พระสัมพุทธเจ้า, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ภควา หมายถึง ท่านผู้เป็นผู้มีโชค หรือ ท่านผู้จำแนกแจกธรรม มหาสมณะ โลกนาถ, พระโลกนาถ หมายถึง พระผู้เป็นที่พึ่งแห่งโลก สยัมภู, พระสัมภู หมายถึง ท่านผู้ตรัสรู้ได้โดยตนเอง ไม่มีใครมาสั่งสอน สัพพัญญู, พระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า หมายถึง ท่านผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง พระสุคต, พระสุคโต หมายถึง ท่านผู้เสด็จไปดีแล้ว",
"title": "พระพุทธเจ้า"
},
{
"docid": "49447#3",
"text": "ในความหมาย คือเล่าถึงการที่พระโพธิสัตว์เวียนว่ายตายเกิด ถือเอากำเนิดในชาติต่าง ๆ ได้พบปะผจญกับเหตุการณ์ดีบ้างชั่วบ้าง แต่ก็ได้พยายามทำความดีติดต่อกันมากบ้างน้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย กล่าวอีกอย่างหนึ่ง จะถือว่า เรื่องชาดก เป็นวิวัฒนาการแห่งการบำเพ็ญคุณงามความดีของพระโพธิสัตว์อยู่ก็ได้ ในอรรถกถาแสดงด้วยว่า ผู้นั้นผู้นี้กลับชาติมาเกิดเป็นใครในสมัยพระพุทธเจ้า แต่ในบาลีพระไตรปิฎกกล่าวถึงเพียงบางเรื่อง เพราะฉะนั้น สาระสำคัญจึงอยู่ที่คุณงามความดีและอยู่ที่คติธรรมในนิทานนั้น ๆ",
"title": "ชาดก"
},
{
"docid": "57659#1",
"text": "เมื่อพระพุทธเจ้าได้แสดงเวสสันดรชาดกโปรดพระประยูรญาติแล้ว พระประยูรญาติต่างถวายนมัสการทูลลากลับสู่พระราชสถานที่พักของตน แต่ไม่มีใครทูลนิมนต์พระพุทธองค์ให้รับภัตตาหารเช้าเลย โดยเข้าใจเอาเองว่า คงเสด็จไปเสวยภัตตาหารในพระราชนิเวศน์ ในวันรุ่งขึ้นพระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณว่าพระพุทธเจ้าในอดีตเมื่อเสด็จมาประทับ ณ พระนครของพุทธบิดา ตามพุทธประเพณีได้เสด็จบิณฑบาตเพื่อโปรดมหาชน พระพุทธองค์จึงเสด็จออกบิณฑบาตตามพุทธประเพณี และมีความปีตียินดีประณมหัตถ์นมัสการ นับเป็นครั้งแรกที่ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ได้เห็น พระบรมศาสดาทรงอุ้มบาตร เสด็จพระพุทธลีลาโปรดประชาสัตว์ เป็นการเพิ่มพูนความปีติ โสมนัส พระพุทธจริยาตอนนี้เป็นเหตุให้พุทธบริษัทสร้างพระพุทธรูป เรียกว่า ปางอุ้มบาตร\nสัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง ",
"title": "ปางอุ้มบาตร"
},
{
"docid": "41646#6",
"text": "พระมหากัสสปเถระได้ทราบข่าวปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วได้ 7 วัน ขณะที่ท่านกำลังเดินทางอยู่ ณ เมืองปาวาพร้อมด้วยหมู่ศิษย์จำนวนมาก เมื่อได้ทราบข่าวนั้น เหล่าศิษย์ของพระมหากัสสปะซึ่งยังเป็นปุถุชนอยู่ ได้ร้องไห้คร่ำครวญกัน ณ ที่นั้น จึงมีพระภิกษุบวชเมื่อแก่องค์หนึ่ง ชื่อว่า<b data-parsoid='{\"dsr\":[4312,4325,3,3]}'>สุภัททะ ได้กล่าวขึ้นว่า \"หยุดเถิด หยุดเถิด ท่านอย่าร่ำไรไปเลย พระสมณะ นั้นพ้น (ปรินิพพาน) แล้ว เราจะทำอะไรก็ได้ตามพอใจ ไม่ต้อง เกรงบัญชาใคร\" พระมหากัสสปะได้ฟังเช่นนั้น คิดจะทำนิคคหกรรม (ทำโทษ) แต่เห็นว่ายังมิควรก่อน และดำริขึ้นว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง 7 วัน ก็มีผู้คิดที่จะทำให้เกิดความแปรปรวน หรือประพฤติปฏิบัติให้วิปริตไปจากพระธรรมวินัยเช่นนี้ จึงควรจะทำการสังคายนาและจะชักชวนพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ทั้งหลาย ซึ่งล้วนทันเห็นพระพุทธเจ้า ได้ฟังคำสอนของพระองค์มาโดยตรง เป็นผู้รู้คำสอนของพระพุทธเจ้า และได้อยู่ในหมู่สาวกที่เคยสนทนาตรวจสอบกันอยู่เสมอ รู้ว่าสิ่งใดที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้มาประชุมกัน เพื่อช่วยกันแสดง ถ่ายทอด รวบรวม ประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วตกลงวางมติไว้[2] จากนั้นท่านจึงเดินทางไปยังเมืองกุสินาราเพื่อเป็นประธานในการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ",
"title": "สังคายนาในศาสนาพุทธ"
},
{
"docid": "111437#6",
"text": "พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนอยู่เป็นประจำ ณ นครสาวัตถี จนมีประชาชนจำนวนมากหันมาเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงเป็นเหตุทำให้เหล่าเดียรถีย์เสื่อมลง (เดียรถีย์ หมายถึง นักบวชประเภทหนึ่งมีมาก่อนพระพุทธศาสนาและเป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง มีพุทธบัญญัติว่า หากเดียรถีย์จะมาขอบวชในพระพุทธศาสนาต้องมารับการฝึก เพื่อตรวจสอบว่ามีความเลื่อมใสแน่นอนเสียก่อน เรียกว่า ติตถิยปริวาส) พวกเดียรถีย์เดือดร้อนจึงคิดหาวิธีที่จะทำลายพระพุทธศาสนาโดยการกล่าวร้ายพระพุทธเจ้า สาวก แต่ประชาชนก็ยังเลื่อมใสศรัทธาเหมือนเคย ในที่สุดเดียรถีย์จึงใช้อุบายทำลายพระพุทธศาสนาโดยการใช้พุทธบัญญัติที่ว่า “พระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกสิ้นท่าหมดอิทธิฤทธิ์ แล้วงดการแสดง ตรงข้ามกับเหล่าคณาจารย์เดียรถีย์ ซึ่งมีปาฏิหาริย์อบรมมั่นคงเต็มที่และมีความพร้อมที่จะแสดงให้เห็นได้ทุกเมื่อ ถ้าไม่เชื่อก็เชิญพระพุทธเจ้ามาแสดงปาฏิหาริย์แข่งกันก็ย่อมได้ เพื่อพิสูจน์ว่าใครจะเก่งกว่าใคร “",
"title": "ตักบาตรเทโว"
},
{
"docid": "80018#41",
"text": "ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นไทร พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้นั้นมีความละเอียดและลึกซึ้งมาก เป็นสิ่งที่เหล่าปุถุชนคนธรรมดาผู้มากไปด้วยกิเลสยากจะเข้าใจได้เมื่อได้ฟังธรรม แล้วจะมีใครสักคนที่จะเข้าใจธรรมของพระพุทธองค์ไม่ หากสอนไปแล้วเกิดไม่เข้าใจก็เปล่าประโยชน์ พระทัยหนึ่งจึงเกิดความมักน้อยว่าจะไม่แสดงธรรมเพื่อโปรดใครเลย ด้วยพระพุทธดำริของพระพุทธเจ้าได้ทราบไปถึงท้าวสหัมบดีพรหมในพรหมโลก ท้าวสหัมบดีพรหมจึงตกพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงเปล่งวาจาอันดังถึงสามครั้งว่า \"โลกจะฉิบหายในครั้งนี้\" ท้าวสหัมบดีพรหมพร้อมเทพบริษัทก็ได้ลงจากพรหมโลกมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรมโปรดชาวโลก โดยอธิบายว่า ในโลกนี้ยังมีสัตว์ในโลกทั้งหลายนี้ ที่มีกิเลสเบาบางพอที่จะฟังธรรมของพระองค์ได้นั้นยังมีอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงพระสัทธรรมเทศนาโปรดชาวโลกในครั้งนี้เทอญ พระพุทธองค์ทรงกล่าวตอบท้าวสหัมบดี \"เราตถาคตจะได้เปิดประตูอมตธรรมต้อนรับชนผู้ใคร่สดับซึ่งเราชำนาญดีในหมู่มนุษย์\" หลังจากพระพุทธองค์ทรงได้พิจารณาเห็นความแตกต่างของระดับสติปัญญาของบุคคลในโลกนี้เปรียบเสมือนบัว 4 เหล่า ดังนี้",
"title": "พระโคตมพุทธเจ้า"
},
{
"docid": "484074#5",
"text": "ครั้งนั้น สหายของท่านเกิดเป็นพรหมในชั้นสุทธาวาส เห็นท่านลำบากในการเจริญวิปัสสนา จึงผูกปัญหา 15 ข้อ แล้วบอกว่า นอกจากพระพุทธเจ้า ไม่มีใครสามารถแก้ปัญหานี้ได้ รุ่งขึ้นท่านเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลถามปัญหาเหล่านั้น พระพุทธเจ้าทรงแก้ให้ท่านจนถึงพระอรหัตผล พระเถระเรียนเองตามที่พระพุทธเจ้าตรัส เข้าไปยังป่าอัมพวัน เจริญวิปัสสนาไม่นานก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ที่จัดว่าเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ",
"title": "พระกุมารกัสสปะ"
},
{
"docid": "59336#1",
"text": "ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นไทร พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้นั้นมีความละเอียดและลึกซึ้งมาก เป็นสิ่งที่เหล่าปุถุชนคนธรรมดาผู้มากไปด้วยกิเลสยากจะเข้าใจได้เมื่อได้ฟังธรรม แล้วจะมีใครสักคนที่จะเข้าใจธรรมของพระพุทธองค์ไม่ หากสอนไปแล้วเกิดไม่เข้าใจก็เปล่าประโยชน์ พระทัยหนึ่งจึงเกิดความมักน้อยว่าจะไม่แสดงธรรมเพื่อโปรดใครเลย ด้วยพระพุทธดำริได้ทราบไปถึงท้าวสหัมบดีพรหมในพรหมโลก ท้าวสหัมบดีพรหมจึงตกพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงเปล่งวาจาอันดังถึงสามครั้งว่า \"โลกจะฉิบหายในครั้งนี้\" ท้าวสหัมบดีพรหมพร้อมเทพบริษัทก็ได้ลงจากพรหมโลกมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรมโปรดชาวโลก โดยอธิบายว่า ในโลกนี้ยังมีสัตว์ในโลกทั้งหลายนี้ ที่มีกิเลสเบาบางพอที่จะฟังธรรมของพระองค์ได้นั้นยังมีอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงพระสัทธรรมเทศนาโปรดชาวโลกในครั้งนี้เทอญ พระพุทธองค์ทรงกล่าวตอบท้าวสหัมบดี \"เราตถาคตจะได้เปิดประตูอมตธรรมต้อนรับชนผู้ใคร่สดับซึ่งเราชำนาญดีในหมู่มนุษย์\" หลังจากพระพุทธองค์ทรงได้พิจรณาเห็นความแตกต่างของระดับสติปัญญาของบุคคลในโลกนี้เปรียบเสมือนบัว 4 เหล่า ดังนี้",
"title": "ปางรำพึง"
},
{
"docid": "19018#2",
"text": "ในเรื่องกามนิต กล่าวถึงบุรุษผู้หนึ่งผู้ซึ่งมีนามว่า \"กามนิต\" ผู้ที่หวังจะได้เข้าพบสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อจะได้ขจัดความทุกข์ต่าง ๆ ที่ตนได้เผชิญมา และเพื่อจะได้พบกับความสุขอันเป็นนิรันดร์ ในระหว่างการเดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้านั้น กามนิตได้เข้าขอพักที่บ้านของช่างปั้นหม้อท่านหนึ่งเป็นการชั่วคราว และในวันเดียวกันนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้เสด็จมาขอพักอาศัยที่บ้านหลังนั้นด้วยพอดี กามนิตจึงได้มีโอกาสเล่าเรื่องของตนเองและสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้าโดยที่ไม่รู้เลยว่า สมณะที่สนทนาอยู่นั้นคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง เรื่องราวดำเนินส่วนแรกเป็นภาคพื้นดิน และต่อในส่วนหลังเป็นภาคสวรรค์ กามนิตได้เสียชีวิตระหว่างเดินทางเพื่อจะได้พบสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ไปเกิดเป็นเทวดาและพบกับวาสิฏฐี ทั้งสองได้เล่าเรื่องราวชีวิตหลังความรักในโลกมนุษย์ ประสบการณ์แห่งการไขว่คว้าหากันจนได้มาพบเจอพุทธศาสนา ตลอดจนการเห็น การเกิดดับของสรรพสิ่งที่แม้แต่สวรรค์และพรหมก็หลีกหนีไม่พ้นความเปลี่ยนแปลง มีแต่บรมสุขแห่งพระนิพพานที่เป็นทางออกแห่งการเดินทางอันยาวนานนี้ วาสิฏฐีได้เข้าถึงความจริงนี้ก่อน ทำให้กามนิตได้รู้ว่าบุคคลที่ตนพบในบ้านช่างปั้นหม้อและได้ให้สัจธรรมแห่งความจริงไว้พิจารณาคือใคร การไม่ต้องเวียนว่ายอีกต่อไปเป็นเช่นไรในที่สุด",
"title": "กามนิต"
},
{
"docid": "107590#5",
"text": "ประวัติความเป็นมาของหนังสือไทยใหญ่ที่เขียนโดยเจ้าหน่อคำ และนายบุญศรี นุชจิโนได้แปลไว้ กล่าวว่า เมื่อครั้งพุทธกาลในกรุงราชคฤห์ มีกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าพิมพิศาล ได้สร้างพระวิหารถวายพระพุทธเจ้าและปาวารณาตัวเป็ยทายกของพระพุทธเจ้าตลอดชีวิต พระเจ้าพิมพิศาล มีโอรสพระองค์หนึ่ง นามว่าอาชาตศัตรู วันหนึ่งเจ้าชายอาชาตศัตรูได้เสด็จมายังลานพระวิหารที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ได้พบกับพระเทวทัต พระเทวทัตจึงได้อัญเชิญเสด็จขึ้นไปบนกุฏิพร้อมทั้งยกย่องว่าเป็นผู้มีบุคลิกเฉลียวฉลาดปราดเปรื่อง สมควรเป็นกษัตริย์ปกครองบ้านเมืองโดยเร็ว พร้อมกับยุแหย่ว่าพระเจ้าพิมพิศาลนั้นแก่ชราแล้ว ไม่ควรเป็นกษัตริย์อีกต่อไป เพราะไม่สามารถนำทัพไปสู้รบกับใครได้ อาจสูญเสียแผ่นดินให้กับเมืองอื่น จึงแนะนำให้ฆ่าเสีย เจ้าชายอาชาตศัตรูเมื่อได้ฟังดังนั้นก็เกิดความขุ่นเคืองไม่พอพระทัย จึงตำหนิว่าใครจะฆ่าบิดาของตัวเองได้ลงคอแล้วรีบกลับไป ฝ่ายพระเจ้าเทวทัตไม่ลดละความพยายาม ได้หาโอกาสมาพบกับเจ้าชายอาชาตศัตรูอีกครั้ง พร้อมทั้งทูลกระซิบว่าให้พระองค์จับ พระบิดาขังไว้ไม่ให้เสวยอาหาร 7 วัน ก็จะสิ้นพระชนม์ไปเอง ซึ่งเราก็จะฆ่าพระพุทธเจ้าโดยงัดก้อนหินขนาดใหญ่ให้กลิ้งลงมาทับ แล้วเราก็จะได้เป็นพระพุทธเจ้าส่วนพระองค์ก็จะได้เป็นกษัตริย์และเป็นทายกเรา จากนั้นเราทั้งสองจะได้ช่วยกันพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นต่อไป เจ้าชายอาชาตศัตรูเมื่อได้ฟังดังนั้นก็หลงเชื่อและสั่งให้ทหารนำบิดาไปขังไว้และไม่ให้ผู้ใดนำอาหารไปให้เสวย ฝ่ายพระมเหสีด้วยความรักและความสงสาร ในพระสวามี จึงได้ทำขนมใส่เกล้าผม บางครั้งใส่รองเท้า และทาตามตัวเข้าไปเยี่ยมและให้เสวย จนครบ 7 วันพระเจ้าพิมพิศาลยังไม่สิ้นพระชนม์ แต่สามารถนั่งนอนและเดินออกกำลังกายได้ ในที่สุดเจ้าชายอาชาตศัตรู ได้สั่งให้ทหารเฉือนเนื้อฝ่าเท้าของพระบิดาแล้วเอาน้ำเกลือทา ไม่ให้เดินไปมาได้ ในขณะเดียวกันเจ้าชายอาชาตศัตรูได้พาพระโอรสไปเยี่ยมพระมารดา และตรัสว่าลูกชายคนนี้ข้ารักมาก แต่ตัวข้าเมื่อยังเล็ก พระบิดาจะรักเหมือนข้าหรือเปล่าไม่ทราบ พระมารดาจึงตรัสว่าเจ้ารักลูกเจ้ามากนั้นไม่จริง เพราะของเล่นต่างๆที่มีค่ามหาศาลที่ลูกเจ้าเล่นอยู่ขณะนี้ ล้วนเป็นของที่พ่อเจ้าซื้อให้ทั้งสิ้น เจ้าไม่ได้ซื้อหามาให้ลูกเจ้าแม้แต่ชิ้นเดียว เจ้าชายอาชาตศัตรูเมื่อได้ฟังดังนั้นจึงสำนึกผิดและรีบเสด็จไปยังที่คุมขังเพื่อนำพระบิดาออกมารักษาพยาบาล แต่พบว่าพระบิดาได้สิ้นพระชนม์ไปเสียแล้ว จึงรู้สึกเสียใจมากและรีบเสด็จไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับเล่าเรื่องให้ฟังดดยตลอด พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าเพราะคบคนผิดจึงได้ทำบาปมหันต์เช่นนี้ แต่เพื่อผ่อนหนักให้เป็นเบา ให้นำพระโอรสมาถวายเป็นทานในพระพุทธศาสนา โดยให้เขาสมัครใจ เมื่อทราบดังนั้น เจ้าชายอาชาตศัตรูจึงได้นำพระโอรสพร้อมด้วยพระสหายอีก 500 คน ที่มีความสมัครใจ และบิดามารดาอนุญาตแล้วไปถวาย โดยเริ่มแรกให้อาบน้ำขมิ้นส้มป่อย น้ำอบน้ำหอมที่แช่ด้วยเพชร พลอย ทองคำ และเงินไปรับศีล 5 จากพระพุทธเจ้า และแต่งกายด้วยเครื่องนุ่งห่มของส่างลอง นำไปแห่ตามถนนสายต่างๆในกรุงราชคฤห์ เมื่อครบ 7 วัน จึงนำส่างลองไปบรรพชาเป็นสามเณรต่อหน้าพระพุทธเจ้าและเหล่าพระสงฆ์สาวกทั้งหลาย พระพุทธเจ้าจึงให้นามพระโอรสองค์นี้ว่า “ จิตตะมเถรี “ จึงเป็นที่มาของปอยส่างลองที่คนไทยใหญ่ไดยึดถือสืบทอดกันมา[2]",
"title": "ประเพณีปอยส่างลอง"
},
{
"docid": "46050#5",
"text": "แต่ก่อนที่มู่เหลียนจะถูกลงโทษด้วยการนำร่างลงไปต้มในกระทะทองแดง พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงมาโปรดไว้ได้ทัน โดยกล่าวว่ากรรมใดใครก่อก็ย่อมจะเป็นกรรมของผู้นั้นและพระพุทธเจ้าได้มอบคัมภีร์อิ๋ว หลันเผิน ให้มู่เหลียนท่องเพื่อเรียกเซียนทุกทิศทุกทางมาช่วยผู้มีพระคุณให้หลุดพ้นจากการอดอยากและทุกข์ทรมานต่าง ๆ ได้ โดยที่มู่เหลียนจะต้องสวดคัมภีร์อิ๋ว หลันเผินและถวายอาหารทุกปีในเดือนที่ประตูนรกเปิดจึงจะสามารถช่วยมารดาของเขาให้พ้นโทษได้",
"title": "วันสารทจีน"
},
{
"docid": "266485#2",
"text": "วันหนึ่งท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ขอให้พระองค์แสดงธรรมย่อ ๆ ให้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสแสงว่า สิ่งใดเป็นมาร จงละสิ่งนั้นเสีย มารคือขันธ์ทั้ง 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ตั้งอยู่ได้ยาก ไม่มีตัวตนบังคับบัญชาไม่ได้ไม่มีใครเป็นเจ้าของ เหล่านี้ชื่อว่ามาร เธอจงละสิ่งเหล่านี้เสีย พระราธะรับพระโอวาทและออกจาริกไปกับพระสารีบุตร ในที่สุดท่านก็ได้บรรลุอรหันตผล เมื่อพระสารีบุตรมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า มีรับสั่งถามว่า พระราธะเป็นเช่นไรบ้าง พระสารีบุตรทูลว่า พระราธะว่าง่ายสอนง่ายเหลือเกิน จะแนะนำสั่งสอนเช่นไรไม่เคยโกรธเลย พระพุทธองค์จึงทรงให้ภิกษุอื่นถือเป็นแบบอย่าง ต่อมาทรงยกย่องว่าท่านเป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้าน ผู้มีปฏิภาณ คือมีญาณแจ่มแจ้งในพระธรรมเทศนา",
"title": "พระราธเถระ"
},
{
"docid": "560843#1",
"text": "ในสมัยพุทธกาล พระโมะกุเร็ง หรือพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเป็นพระผู้ยิ่งใหญ่เหนือใครในโลก เป็นผู้กำพร้ามารดา ต่อมาได้บวชเป็นพระภิกษุ และฝึกสมาธิตนเองจนสามารถเห็นนรกเห็นสวรรค์ ครั้นได้ท่องไปในเมืองนรกได้พบกับมารดาของตนเอง กำลังตกระกำลำบากต้องอดๆอยากๆน่าเวทนา เมื่อพระโมะกุเร็งมีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า จึงได้เล่าเรื่องราวที่ได้พบมารดาของตนให้แก่พระพุทธเจ้าเพื่อให้พระพุทธเจ้าได้ชี้ทางช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานของมารดา เมื่อได้ฟังเรื่องราวพระพุทธเจ้าได้กล่าวแก่พระโมะกุเร็งว่า \"ดูกรโมะกุเร็ง ไม่ใช่ว่าจะคิด ช่วยแต่เฉพาะคนคนเดียว ไม่ใช่ว่าจะคิดช่วยแต่แค่มารดาของตนแต่เพียงอย่างเดียว จงคิดช่วย ไปถึงบุคคลอื่นๆ ทุกคนที่ได้ตายไปครั้งก่อนๆ ที่ไม่ใช่ญาติของเราก็ตาม ท่านจงอุทิศส่วน กุศลและแผ่เมตตาให้กับเขาเหล่านั้นทุกคนเสียด้วย\"",
"title": "เทศกาลบง"
},
{
"docid": "59540#1",
"text": "พระอัญญาโกณฑัญญะตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นบุตรคหบดีมหาศาลชาวหงสวดี วันหนึ่งเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับพวกชาวเมืองเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู (แปลว่า ผู้รู้ราตรีนาน หมายถึงได้บวชก่อนใครได้รู้ได้ฟังมาก) แล้วเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง ท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกติดต่อกัน 7 วัน วันสุดท้ายได้สั่งให้เปิดเรือนคลังเก็บผ้า นำผ้าเนื้อดีเลิศมาวางถวายไว้แทบยุคลบาทของพระพุทธเจ้าและถวายพระสาวกแล้วกราบทูลว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นเหมือนภิกษุรูปที่พระองค์ทรงแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเมื่อ 7 วันก่อนจากนี้ด้วยเถิด นั่นคือขอให้ได้บวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าในอนาคตแล้วได้รู้แจ้งธรรมก่อนใครหมด” พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูความเป็นไปในอนาคตของท่านด้วยพระญาณแล้ว ทรงเห็นว่าความปรารถนาของท่านสำเร็จได้แน่จึงทรงพยากรณ์ว่า",
"title": "พระอัญญาโกณฑัญญเถระ"
},
{
"docid": "108273#7",
"text": "\"\"...พระพุทธเจ้าตรัสว่า ลัทธิที่สวนทางกับหลักพระพุทธศาสนามีอยู่สามลัทธิ คือ 1. ลัทธิแล้วแต่กรรมเก่า, 2. ลัทธิแล้วแต่พระเจ้าบันดาล, 3. ลัทธิแล้วแต่โชคชะตาจะพาให้เป็นไป...ลัทธิทั้งสามนี้พึงทราบว่าเป็นลัทธินอกพระพุทธศาสนา ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า ใครสมาทานเข้าก็มีแต่เสื่อมลง มองไม่เห็นทางว่าจะสร้างสรรค์พัฒนาชีวิตให้เจริญก้าวหน้าไปได้อย่างไร เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้ลัทธิทั้งสามจะไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่คนไทยก็เชื่อมั่นในลัทธิกรรมเก่ากันอย่างแน่นแฟ้น จนทุกวันนี้ ใครมีปัญหาชีวิตอะไร ก็พานยกให้เป็นเรื่องที่เนื่องมาแต่กรรมเก่าไปเสียทั้งหมด\"\"",
"title": "ทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม"
},
{
"docid": "37852#17",
"text": "ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ได้กล่าวยกย่องท่านพระอานนท์ไว้ว่าท่านขยันในการอุปัฏฐากมาก ในบรรดาพระภิกษุผู้เคยอุปัฏฐากพระพุทธเจ้ามาแล้ว ไม่มีใครทำได้เหมือนท่าน เพราะพระภิกษุเหล่านั้นไม่รู้พระทัยของพระพุทธองค์ดี แต่พระอานนท์ท่านรู้พระทัยของพระบรมศาสดาดี จึงอุปัฏฐากได้นาน ด้วยเหตุนี้ในคราวที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานพระองค์ได้ตรัสกับท่านว่า",
"title": "พระอานนท์"
},
{
"docid": "556997#2",
"text": "เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จเดินทางออกโปรดสัตว์ในดินแดนสุวรรณภูมิตามตำนานพระเจ้าเลียบโลก ได้เสด็จมาเมืองพะเยา ขณะนั้นมียักษ์ตนหนึ่งไม่ได้กินอะไรมา7วัน เห็นพระพุทธเจ้าจึงไล่เลยไปจนเหนื่อย พระพุทธเจ้าจึงประทับรอยพระบาทบนแผ่นหิน ยักษ์คิดในใจว่าชายผู้นี้มีแรงมากแท้ สามารถเหยียบหินให้มีรอยเท้าได้ พระพุทธเจ้าจึงโปรดและให้ยักษ์รับศีลห้าไว้ และตรัสกับพระอานนท์ว่า ยักษ์วื่งไล่เลย ภายหลังโจรจะมาอยู่ที่นี่และเรียกว่าเวียงเลย และได้พบกับตายายสองผัวเมีย ตายายสองผัวเมียไม่มีข้าวจึงถวายพลูและครกหินตำหมากพลู พระพุทธเจ้าจึงตรัสกับพระอานนท์ว่า ตายายสองผัวเมียได้ถวายพลูและครกหินตำหมากพลู ภายหน้าที่นี่จะเรียกว่าพลูปอ และเมืองนี้จะมีหินมากนัก พระพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นสู่จอมดอยและได้พบกับนายช่างทอง นายช่างทองได้ถวายข้าวปลาอาหารแด่พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าฉันเสร็จแล้วได้ลูบพระเศียรประทานพระเกศาให้แก่นายช่างทอง นายช่างทองรับใส่กระบอกไม้รวก ภายหลังคือพระธาตุจอมทอง (ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา) พระพุทธเจ้าทรงกระหายน้ำ รับสั่งให้พระอานนท์ไปตักน้ำตรงหนองตีนดอยมาถวาย พระอานนท์จะตักน้ำแต่พญานาคชื่อธุมมสิกขีขัดขวางและเนรมิตหงอนให้เป็นควันปิดหนองไว้ พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปประทับยืนข้างหนองน้ำ พญานาคจะพ่นควันแผ่พังพอนใส่ แต่ก็เห็นพระวรกายของพระพุทธเจ้าเต็มไปด้วยฉัพพรรณรังสี จึงทูลถามว่าเป็นใคร พระพุทธเจ้าได้แนะนำตัวและแสดงอภินิหารเนรมิตพระวรกายให้ใหญ่เท่ากับพระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า ประทับนั่ง พระวรกายสูง32ศอก และเหยียบพญานาคธุมมสิขีจมลงไปในหนอง พญานาคธุมมสิกขีจึงรีบไปนำก้อนหินที่พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้าเคยประทับนั่งฉันภัตตาหาร มาให้พระพุทธเจ้าประทับนั่งฉันน้ำ พระพุทธเจ้ามีพุทธทำนายว่า ภายหลัง ตายายสองผัวเมียที่ถวายหมากพลูจะได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่เท่าพระกกุสันธพุทธเจ้าและสั่งให้พญานาคธุมมสิกขีนำคำ (ภาษาเหนือเรียกทองคำว่า คำ) มามอบให้ตายายสองผัวเมีย ",
"title": "พระเจ้าตนหลวง"
},
{
"docid": "57347#24",
"text": "ท่านให้เหตุผลว่า แม้คำสอนทางพุทธ จะมีเรื่องสำคัญๆหลายเรื่อง เช่น เรื่อง อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุท้ย นิโรธ มรรค) เรื่อง ไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) เรื่องการไม่ทำความชั่ว ทำดี และ ทำจิตให้บริสุทธิ์ ฯลฯ และทุกเรื่องก็ล้วนถูกต้อง แต่ไม่ครอบคลุมทุกเรื่อง ท่านจึงมีความเห็นดังกล่าวว่า “สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น” เพราะมีที่มาจากข้อมูลในพระบาลี มัชฌิมนิกาย เรื่องหนึ่ง ที่มีผู้ถามพระพุทธเจ้าว่า พุทธวจนะทั้งหมดของพระองค์ ถ้าจะสรุปให้สั้นๆ เพียงประโยคเดียวได้หรือไม่ และพระพุทธเจ้าได้ตอบเป็นภาษาบาลี ว่า “สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น” (สัพเพ ธรรมา นาลัง อภินิวาสายะ) โดยพระพุทธเจ้าได้ย้ำว่า \"ถ้าใครได้ฟังข้อความข้อนี้ ก็คือได้ฟังทั้งหมดในพระพุทธศาสนา ถ้าได้ปฏิบัติตามข้อนี้ ก็คือ ได้ปฏิบัติทั้งหมดในพระพุทธศาสนา\" ถ้าได้รับผลจากการปฏิบัติตามข้อนี้ ก็คือได้รับผลทั้งหมดในพระพุทธศาสนา \"ทั้งนี้ท่านพุทธทาสเห็นว่าคำตอบของพระพุทธเจ้า ได้รวมทั้งเรื่องวิชา(ปริยัติ) ปฏิบัติ และ ผลของการปฏิบัติ(ปฏิเวธ) ไว้อย่างครบถ้วนแล้ว จึงถือได้ว่า เป็นหัวใจของพุทธศาสนา\"",
"title": "แก่นพุทธศาสน์"
},
{
"docid": "266486#11",
"text": "หลังจากที่พระปิณโฑลภารทวาชะบรรลุพระอรหัตแล้ว ท่านก็ได้สมาทานธุดงค์ เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัดไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร ผู้มีวาทะกำจัด หมั่นประกอบในอธิจิต ท่านเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง 3 คือ สติ, สมาธิ และปัญญา เวลาท่านไปที่ไหนแม้จะอยู่ต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าก็ตาม ท่านก็ชอบเปล่งสีหนาทอยู่เสมอ ๆ ว่า \"ใครมีความสงสัยในมรรคผล ผู้นั้นจงถามเราเถิด\" ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงยกย่องท่านว่า เป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้าน ผู้บันลือสีหนาท",
"title": "พระปิณโฑลภารทวาชเถระ"
},
{
"docid": "259720#4",
"text": "ชั้นที่ 1 เมื่อเดินขึ้นภายในพระธาตุบริเวณชั้นแรก เป็นหอประชุมมีพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานอยู่บนบุษบกและพระประธาน 3 องค์อยู่ตรงกลาง ท่านจะพบกับที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ส่วนอุรังคธาตุ (ส่วนอก) และพระธาตุของพระสาวกประมาณ ๑๐๐ องค์ ที่บรรจุอยู่ในโถแก้ว จะอยู่ในตู้กระจกด้านซ้ายมือของที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้า\nถัดจากโถงตรงกลางมาด้านซ้ายมือประมาณสองเมตร จะเป็นโต๊ะที่เตรียมไว้สำหรับตักบาตร ที่เรียกว่า “ ตักบาตร 108” โดยใช้เหรียญในการตักบาตรนั้น ทั้งนี้เชื่อว่าหากใครได้ตักบาตร ซึ่งสมมติว่าเป็นตัวแทนพระสาวกของพระพุทธเจ้า ทั้ง 108 องค์ และจะเกิดความเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว\nเมื่อเดินตรงไปจะเห็นพระประจำวันเกิดมี่ทางวัดนำมาประดิษฐานไว้ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวได้สักการะพระพุทธรูปประจำวันเกิดของตนเอง เพื่อความเป็น ศิริมงคลต่อตนเอง และเมื่อบูชาพระประจำวันเกิดเรียบร้อยแล้ว หากใครต้องการจะทำนายโชคชะตาด้วยตนเอง ก็สามารคเสี่ยงเซียมซีหรือยกช้างทองเหลือง เพื่อเสี่ยงทายว่าจะสมดังปรารถนาหรือไม่",
"title": "พระมหาธาตุแก่นนคร"
},
{
"docid": "266485#1",
"text": "พระราธเถระ เดิมเป็นพราหมณ์ในพระนครราชคฤห์ เมื่อแก่ตัวลง ภรรยาและบุตรไม่เลี้ยงดู ท่านต้องออกจากบ้านมาอาศัยอยู่ในวัดพระเวฬุวันมหาวิหาร ต่อมาท่านประสงค์จะออกผนวช แต่ไม่มีใครผนวชให้เพราะเกรงว่าคนผนวชเมื่อแก่จะว่ายากสอนยาก ท่านจึงมีร่างกายซูบผอมผิวพรรณเศร้าหมองด้วยความเสียใจ พระพุทธเจ้าทราบความจึงมีรับสั่งถามพระภิกษุทั้งหลายว่ามีใครระลึกถึงอุปการคุณของพราหมณ์ผู้นี้ได้บ้าง ในครั้งนั้นพระสารีบุตรระลึกได้ว่าเคยรับบิณฑบาตจากพรามหณ์ผู้นี้เป็นข้าวทัพพีหนึ่ง พระพุทธเจ้าสรรเสริญพระสารีบุตรว่ามีความกตัญญู จึงทรงอนุญาตให้พระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์ผนวชให้ โดยทรงยกเลิกการบวชด้วยวิธีรับไตรสรณคมน์แต่วันนั้นไป ให้ไปใช้วิธีญัตติจตุตถกรรมแทน (ให้อุปัชฌาย์เป็นผู้รับรองว่าจะดูแลภิกษุใหม่ โดยอนุมัติของคณะสงฆ์)",
"title": "พระราธเถระ"
},
{
"docid": "20838#82",
"text": "วันวิสาขบูชา เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าถึง 3 เหตุการณ์ คือ การประสูติ การตรัสรู้ และการปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเหตุการณ์เหล่านั้น คติธรรมหลักคือไตรลักษณ์ หรืออนิจจลักษณะ อันได้แก่ความเป็นธรรมดาของโลก 3 ประการ คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกขัง ความเป็นทุกข์คือตั้งอยู่ในสภาพเดิมมิได้ และอนัตตา ความที่สังขารทั้งหลายไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้ (เช่น บังคับไม่ให้แก่ไม่ได้ บังคับไม่ให้ตายไม่ได้) ซึ่งทุกสรรพสิ่งในโลก ล้วนตกอยู่ในสภาพ 3 ประการนี้ แม้พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดาของโลก ก็ยังต้องทรงตกอยู่ในกฎเหล่านี้ ไม่มีใครสามารถพ้นไปได้",
"title": "วันวิสาขบูชา"
},
{
"docid": "679689#20",
"text": "หลวงปู่ชาเคยกล่าวเกี่ยวกับข้อวัตรปฏิบัติไว้ในการบรรยายธรรมอบรมภิกษุสามเณรที่วัดหนองป่าพงความว่า \"ข้อวัตรปฏิบัติ กฎกติกาที่ตั้งไว้ คือทางแห่งมรรคผลนิพพาน ถ้าใครไปฝ่าฝืนข้อกติกานั้นแล้ว ก็ไม่ใช่พระ ไม่ใช่คนที่ตั้งใจมาปฏิบัติ เขาจะไม่ได้พบเห็นอะไรเลย ถึงแม้จะอยู่กับผมทุกคืนทุกวันก็ไม่เห็นผม จะอยู่กับพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้า\"[1][9]",
"title": "วัดหนองป่าพง"
},
{
"docid": "57347#33",
"text": "หลังจากนั้น ท่านได้ขยายความว่า พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึงวิธีการปฏิบัติเพื่อให้ว่างจากตัวกู ของกูไว้มากมาย เพื่อให้เหมาะสมแก่บุคคล เวลา และ สถานที่ ตามที่เคยได้ยินกันว่ามีถึง 84,000 เรื่อง ซึ่งหากพิจารณาตามตัวเลขแล้วจะทำให้ท้อถอย แต่จริงๆแล้ว หลักสำคัญ มีเพียงสั้นๆ ตามที่พระพุทธเจ้า ได้สรุปไว้ให้แล้ว คือ “สิ่งทั้งปวงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น” และ ทุกวิธีจะสามารถขจัดความรู้สึกยึดมั่นถือมั่นในตัวกูของกูได้เหมือนกันทั้งหมด แล้วแต่ว่าใครจะเลือกปฏิบัติตามวิธีใด",
"title": "แก่นพุทธศาสน์"
},
{
"docid": "178629#5",
"text": "พระศรีอริยเมตไตรยจะมาเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งมาในอนาคต โลกนี้จะมีความสงบสุข และพระศาสนาจะมีความรุ่งเรืองกว่า พระศาสนาของพระพุทธเจ้าในองค์ปัจจุบันนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าจะมีพระอริยบุคคลมากกว่า และประชาชนจะมีความสุขอย่างยิ่ง คือจะไม่มีเรื่องร้อนใจเลย ทุกคนพอใจในความเป็นอยู่ ไม่มีการเบียดเบียน ตอนนอนไม่ต้องปิดประตูก็ได้ บ้านเลยไม่ต้องทำประตูก็ได้ เรื่องคนร้าย หรือขโมยก็ไม่ต้องกลัว แล้วก็คนจะเป็นคนดีเหมือนกันหมด ไม่มีคนพาล จนกระทั่งลงจากบ้าน ก็ไม่มีใครจำได้ว่าใครเป็นใคร เพราะมันดีเหมือนกันหมด มันสุภาพเหมือนกันหมด มันสวยเหมือนกันหมด จนเมื่อกลับเข้าบ้าน จึงจะจำได้ว่า นี่คือภรรยาของเรา นี่คือสามีของเรา นี่คือลูกของเรา และต้องการอะไรก็ได้ มันมีต้นไม้พิเศษที่เรียกว่า ต้นกัลปพฤกษ์ อยู่ทุกทิศ อยากได้อะไรก็ไปขอที่ต้นไม้ จะสะดวกสบาย แม้แต่การคมนาคม การไปการมา จนว่าน้ำในแม่น้ำนั้น จะไหลลงข้างหนึ่ง จะไหลขึ้นข้างหนึ่ง เพื่อจะสะดวกต่อการใช้เรือ อยู่กันเป็นผาสุก ไม่มีอันธพาล ทุกอย่างได้อย่างใจ ",
"title": "พระศรีอริยเมตไตรย"
},
{
"docid": "245391#10",
"text": "สาเหตุที่พระเทวทัตฝักใฝ่ในการกระทำชั่วนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า จิตของพระเทวทัตได้ถูกครอบงำย่ำยีด้วยอสัทธรรม (ธรรมฝ่ายชั่ว) 8 ประการ คือ 1.ลาภ 2.เสื่อมลาภ 3.ยศ 4.เสื่อมยศ 5.สักการะ 6.เสื่อมสักการะ 7.ความปรารถนาอันต่ำทราม 8.ความเป็นมิตรชั่ว (แต่มีเพียง 3 อย่างที่ถูกครอบงำด้วยอสัทธรรมคือ 1.ความปรารถนาอันต่ำทราม 2.ความเป็นมิตรชั่ว 3.พอบรรลุคุณวิเศษก็หยุดอยู่เพียงแค่นั้น ทำให้พระเทวทัตต้องไปเกิดในอบายชั่วกัปหรือตกนรกชั่วกัป ไม่มีใครช่วยได้เลยแม้แต่พระพุทธเจ้า) หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็ได้สอนให้เหล่าภิกษุผู้ที่ถูกครอบงำย่ำยีด้วยอสัทธรรมให้เป็นฝ่ายครอบงำย่ำยีอสัทธรรมเพื่อไม่ให้เป็นแบบอย่างของเทวทัต",
"title": "พระเทวทัต"
},
{
"docid": "59343#1",
"text": "ในกรุงราชคฤห์ มีหญิงนครโสเภณีชั้นสูงชื่อนางสิริมา นางมีความงามมาก ใครปรารถนาจะได้ร่วมอภิรมย์กับนางจะต้องจ่ายทรัพย์ถึง 1,000 กหาปณะ ต่อ 1 คืน นางถึงแก่กรรมด้วยโรคปัจจุบัน พระพุทธเจ้ามีรับสั่งให้ระงับการเผาศพนางสิริมาไว้สามวัน แล้วจึงเสด็จไปทอดพระเนตรศพนางสิริมา พร้อมด้วยพุทธบริษัทเป็นจำนวนมาก มีพระดำรัสให้พระเจ้าพิมพิสาร ขายทอดตลาดศพนางสิริมา ในราคา 1,000 กหาปณะ และลดราคาลงมาตามลำดับ ก็ไม่มีใครซื้อ จนยกให้เปล่า ๆ ก็ไม่มีผู้ใดยอมรับ พระพุทธองค์จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาชี้ให้เห็นถึงความไม่เที่ยงแห่งสังขาร ยังผลให้มหาชนบรรลุอริยมรรค อริยผลเป็นจำนวนมาก รวมทั้งภิกษุหนุ่มผุ้หนึ่งซึ่งเคยลุ่มหลงในความงามของนางสิริมาก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน",
"title": "ปางชี้อสุภะ"
},
{
"docid": "226381#27",
"text": "ผู้ที่เกิดเป็นอรูปพรหมนั้นไม่มีรูปขันธ์ 1 มีเพียงนามขันธ์ 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ จึงไม่มีอวัยวะร่างกายใดๆ แต่มีความรู้สึกนึกคิดในฝ่ายนามธรรม (มีผู้บรรยายว่า สภาวะของอรูปภพ มีทั้งข้อดีกับข้อเสีย ข้อดีก็คือจะไม่มีอายตนะห้าประการคือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายมากระทบหรือไม่รับรู้อะไร มีแต่จิตเจตสิกที่รับอากาศเป็นอารมณ์รับรู้ ไม่ได้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่แต่อาศัยปลีกวิเวก และอยู่เสวยสุขได้นานหลายกัปจนนับประมาณไม่ได้ แต่ข้อเสียก็คือจะไม่สามารถสื่อสารกับใครหรือพบเห็นอะไรเลย นอกจากนั้นจะไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้เลยตอนที่ยังเป็นอรูปพรหมเพราะไม่มีอายตนะห้าประการเป็นตัวรับรู้ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน (แต่มีปรากฏในหลักฐานปริยัติว่า ผู้ที่ได้ถึงพระนิพพานในลำดับแรก คือ โสดาปัตติผล สามารถเจริญวิปัสสนาต่อในอรูปภพต่อจนถึงความเป็นพระอรหันตผลได้)) นอกจากนั้นเมื่อได้สิ้นกาลอายุขัยก็จะต้องลงไปเกิดในกามาวจรภูมิ ต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่จบไม่สิ้นอีกครั้งด้วยอำนาจกิเลส ในอรูปภพนี้ไม่มีปรากฏในหลักฐานทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทว่าพระพุทธเจ้าพระองค์ใดจะเสด็จขึ้นมาโปรดเหล่าอรูปพรหมที่อรูปาวจรภูมินี้เลย เรื่องนี้มีกล่าวไว้ในพุทธประวัติว่า อสิตดาบสได้ทำนายเจ้าชายสิทธัตถะกุมารว่าเมื่อเจริญวัยก็จะเสด็จออกผนวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ดีใจ แต่ก็คิดได้ว่าตัวเองชราภาพมากก็คงไม่ได้มีโอกาสได้อยู่ดูและฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า แม้จะละสังขารไปเกิดเป็นอรูปพหรมก็ไม่สามารถฟังธรรมได้เลยจึงร้องไห้ หรือหลังจากพระพุทธเจ้าได้ตัดสินพระทัยว่าจะแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ก็ทรงระลึกถึงอุทกดาบสและอาฬารดาบสผู้เคยเป็นพระอาจารย์สอนวิชาสมาบัติแก่พระพุทธองค์ ที่สามารถจะเข้าใจฟังธรรมได้แต่ก็น่าเสียดาย เพราะดาบสทั้งสองก็ได้ละสังขารไปเกิดเป็นอรูปพรหม พระพุทธองค์ก็ไม่สามารถไปโปรดดาบสทั้งสองได้เลย",
"title": "พรหมภูมิ"
}
] |
991 | อาณาจักรล้านนาหมายถึงอะไร? | [
{
"docid": "16978#0",
"text": "อาณาจักรล้านนา (Northern Thai: ) คือ ราชอาณาจักรของชาวไทยวนในอดีตที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ตลอดจนสิบสองปันนา เช่น เมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ภาคตะวันออกของพม่า ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีเมืองเชียงตุงเป็นเมืองเอก ฝั่งตะวันตกแม่นำสาละวิน มีเมืองนายเป็นเมืองเอก และ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน[1] โดยมีเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานี มีภาษา ตัวหนังสือ วัฒนธรรม และประเพณีเป็นของตนเอง ต่อมาถูกปกครองในฐานะรัฐบรรณาการของอาณาจักรตองอู อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรอังวะ จนสิ้นฐานะอาณาจักร กลายเป็นเมืองส่วนหนึ่งของอาณาจักรอังวะในราชวงศ์นยองยาน ไปในที่สุด",
"title": "อาณาจักรล้านนา"
}
] | [
{
"docid": "16978#5",
"text": "หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า ดินแดนล้านนานั้นหมายถึงดินแดนบางส่วนของอาณาเขตบริเวณ ลุ่มน้ำแม่โขง ลุ่มน้ำสาละวิน แม่น้าเจ้าพระยา ตลอดจนเมืองที่ตั้งตามลุ่มน้ำสาขาเช่นแม่นำกก แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำปาย แม่น้ำแตง แม่น้ำงัด ฯลฯโดยมีอาณาเขตทางทิศใต้จดเมืองตาก (อำเภอบ้านตากในปัจจุบัน) และจดเขตดินแดนด้านเหนือของอาณาจักรสุโขทัย ทิศตะวันตกเลยลึกเข้าไปในฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน ทิศตะวันออกจดฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง ทิศเหนือจดเมืองเชียงรุ่ง (หรือคนจีนเรียกในปัจจุบันว่า เมืองจิ่งหง) ซึ่งบริเวณชายขอบของล้านนา อาทิ เมืองเชียงตุง เชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองปุ เมืองสาด เมืองนาย เป็นบริเวณที่รัฐล้านนาแผ่อิทธิพล ไปถึงในเมืองนั้นๆ",
"title": "อาณาจักรล้านนา"
},
{
"docid": "143512#5",
"text": "ก่อนหน้านี้อาณาจักรล้านนามีความสัมพันธ์อันดีกับอาณาจักรล้านช้างและกลายเป็นรัฐเครือญาติกันผ่านการอภิเษกสมรสระหว่างนางยอดคำพระราชธิดาในพระเมืองเกษเกล้า กับพระยาโพธิสาลราชพระเจ้าล้านช้าง มีพระราชโอรสด้วยกันพระองค์หนึ่งคือเจ้าเชษฐวงษ์ ซึ่งต่อมาได้เป็นพระอุปโยวราช[17] เมื่อพระเมืองเกษเกล้าเสด็จสวรรคต ล้านนาเกิดกลียุคมีสงครามยาวนาน พระนางจิรประภาเทวีจึงเสวยราชย์ ช่วงนั้นได้เกิดกบฏชาวไทใหญ่และการรุกรานของอาณาจักรอยุธยา ทั้งขุนนางแห่งล้านนาเองก็มีอำนาจเหนือกษัตริย์เสียด้วย[4] ล้านช้างที่ขณะนั้นกำลังเจริญรุ่งเรืองสูงสุดจึงเข้าแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือล้านนาจนฝ่ายอยุธยาพ่ายแพ้ไป พระยาโพธิสาลราชในฐานะผู้ปกป้องล้านนาจึงมีความชอบยิ่งนัก ได้นำพระราชโอรสคือเจ้าเชษฐวงษ์ผู้เป็นหน่อเนื้อเชื้อไขของพญามังรายทางฝ่ายมารดาขึ้นครองล้านนา มหาเทวีจิรประภาจึงสละราชสมบัติให้พระอุปโยวราชครองราชย์ในปี พ.ศ. 2089[4] ทรงพระนาม<i data-parsoid='{\"dsr\":[6172,6198,2,2]}'>พระเป็นเจ้าอุปปโยวราชะ",
"title": "พระเมกุฏิสุทธิวงศ์"
},
{
"docid": "172729#0",
"text": "เจ้าราชบุตร เป็นชื่อตำแหน่งทางการปกครองในระบบอาญาสี่ ซึ่งใช้อยู่ในอาณาจักรล้านช้าง และระบบเจ้าขันห้าใบ ในดินแดนของล้านนาในอดีต สามารถหมายถึง",
"title": "เจ้าราชบุตร"
},
{
"docid": "72960#14",
"text": "ต่อมาเมื่อพระเมืองเกษเกล้าแห่งล้านนาเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2088 อาณาจักรล้านนาก็เกิดความวุ่นวายจากการสรรหาผู้เหมาะสมที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์ เหล่าขุนนางแห่งล้านนาจึงได้อัญเชิญพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระราชโอรสของพระเจ้าโพธิสารและเจ้าหญิงเชื้อสายล้านนา ให้เสวยราชสมบัติปกครองอาณาจักรล้านนาในปี พ.ศ. 2089 เพื่ออาศัยอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างคานอำนาจกับอาณาจักรตองอูที่นับวันจะกล้าแข็งขึ้นเรื่อย ๆ",
"title": "อาณาจักรล้านช้าง"
},
{
"docid": "48409#0",
"text": "เดอะบลิตซ์ () หมายถึงการทิ้งระเบิดเกือบทุกเมืองทั้งใหญ่และเล็กในสหราชอาณาจักรโดยนาซีเยอรมันอย่างหนักและต่อเนื่องในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2483 และวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 โดยกองทัพอากาศเยอรมัน (Luffwaffe) การเน้นหนักอยู่ที่นครลอนดอน เดอะบลิตซ์ ทำให้คนตาย 43,000 คน บ้านเรือนถูกทำลายมากกว่าหนึ่งล้านหลัง แต่ก็ไม่บรรลุเป้าหมายที่ต้องการให้สหราชอาณาจักรหมดความสามารถในการทำสงคราม หรือหมดขีดความสามารถในการต่อต้านการรุกรานของนาซี",
"title": "เดอะบลิตซ์"
},
{
"docid": "63483#0",
"text": "ลิลิตยวนพ่าย เป็นวรรณคดีประเภทสดุดีวีรกรรมของพระมหากษัตริย์ จัดเป็นวรรณคดีประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่สันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คำว่า \"ลิลิต\" หมายถึง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งซึ่งใช้โคลงและร่ายต่อสัมผัสกันเป็นเรื่องยาว ส่วน \"ยวน\" หมายถึง ไทยวน ชาติพันธ์หลักในอาณาจักรล้านนา เพี้ยนมาจาก โยน หรือ โยนก ดังนั้น ลิลิตยวนพ่ายจึงมีเนื้อหากล่าวถึงสงครามที่กรุงศรีอยุธยามีชัยเหนือล้านนานั่นเอง",
"title": "ลิลิตยวนพ่าย"
},
{
"docid": "16978#3",
"text": "คำว่าล้านนาน่าจะเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยพญากือนา เนื่องจากพระนาม \"กือนา\" หมายถึงจำนวนร้อยล้าน และต่อมาคำล้านนาได้ใช้เรียกกษัตริย์และประชาชน แพร่หลายมากในสมัยพระเจ้าติโลกราช[4]",
"title": "อาณาจักรล้านนา"
},
{
"docid": "552353#5",
"text": "การดำหัวแบบล้านนา จะไม่เหมือนการรดน้ำ ดำหัว แบบของภาคกลางหรืออื่นๆ กล่าวคือ การทำแบบล้านนาจะมีเอกลักษณ์เฉพาะที่สืบทอดกันมายาวนาน ตั้งแต่สมัยอาณาจักรล้านนา มานานแล้ว การดำหัว ในความหมายทั่วไปของชาวล้านนา หมายถึงการ สระผม แต่ในพิธีกรรมโดยในช่วงปีใหม่นี้ หมายถึงการชำระล้างสิ้งอันเป็นการอัปมงคล ในชีวิตไปจากร่างกายตน เพื่อพร้อมรับเตรียมในปีใหม่นั้น ด้วยการใช้ส้มป่อย เป้นการสระ ตลอดจนนำส้มป่อยไปมอบแก่คนที่ตนนับถือ เพื่อเป็นการขอขมา ขอบคุณหรือแสดงความเคารพ การดำหัวตนเอง คือหัวหน้าครอบครัวทำพิธีเสกเป่าน้ำขมิ้นส้มป่อย ด้วยคาถาที่สิริมงคล แล้วนำน้ำส้มป่อยมา ลูบศีรษะ การดำหัวผู้น้อย เช่นบุตรหลาน โดยจะนำน้ำขมิ้นส้มป่อย ลูบศีรษะ โดยทำหลังจากข้อที่ 1 เสร็จแล้ว การดำหัวผู้ใหญ่ เช่น พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ คนที่นับถือ โดยจะนำน้ำขมิ้นส้มป่อยพร้อมสิ่งของและเครื่องสักการะ ไปมอบแด่ที่ตนนับถือ เพื่อเป็นการขอขมาโทษที่ได้ล่วงเกิน เมื่อผู้ใหมญ่ได้รับแล้ว ท่านจะเอามือจุ่มน้ำขมิ้นส้มป่อยมาลูบศีรษะและอาจสลัดใส่ผู้ที่ไปดำหัวคลายการประพรมน้ำมนต์ พร้อมให้พร ซึ่งการกระทำในข้อนี้ จะ<b data-parsoid='{\"dsr\":[7919,7932,3,3]}'>แตกต่าง</b>กับ สงกรานต์แบบไทยที่ทำคือเอามามารดมือผู้ใหญ่ แต่แบบล้านนาจะกระทำอีกแบบหนึ่งดังข้างต้น[13]",
"title": "ปีใหม่เมือง"
},
{
"docid": "55844#1",
"text": "เมืองแม่สะเรียงมีชื่อในประวัติศาสตร์ว่า เมืองยวมใต้ หรือ เมืองยวม เคยเป็นที่ตั้งชุมชนมาไม่น้อยกว่า 600 ปี และเป็นเมืองหน้าด่านที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของอาณาจักรล้านนา เคยมีบุคคลสำคัญของเมืองยวมหลายคนที่มีบทบาทอยู่ในประวัติศาสตร์และเป็นมหาราชแห่งอาณาจักรล้านนา คือ \"ท้าวลก\" (เป็นภาษาบาลี มีความหมายว่าเป็นราชบุตรองค์ที่ 6 ของพระราชบิดา) ผู้ครองเมืองยวมใต้ในรัชกาลพญาสามฝั่งแกน กษัตริย์อาณาจักรล้านนา ต่อมาท้าวลกได้รับการสนับสนุนจากขุนนางเมืองเชียงใหม่ชื่อ นายสามเด็กย้อย (เป็นบุตรคนที่ 3 ของพ่อแม่ นามตัวว่า \"เด็กย้อย\") ลอบชิงราชบัลลังก์จากพระราชบิดา โดยเนรเทศพระราชบิดาไปอยู่เมืองสาด ซึ่งตั้งอยู่ทิศเหนือของอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ไปประมาณ 60 กิโลเมตร (ปัจจุบันอยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่า) ",
"title": "อำเภอแม่สะเรียง"
},
{
"docid": "75432#11",
"text": "ในช่วงเวลานี้ตำนานของขุนบรม ได้ถูกเขียนบันทึกต้นฉบับไว้บนใบลานและมหากาพย์สังข์ศิลป์ชัยก็ได้ถูกบันทึกขึ้นด้วยเช่นกัน พุทธศาสนาเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติและเวียงจันทน์กลายเป็นเมืองสำคัญทางพุทธศาสนา อิทธิพลทางวัฒนธรรมนอกเหนือจากนี้ก็มาจาก ชาวมอญ และ ชาวเขมร การรวมล้านนาไทยเข้ากับอาณาจักรล้านช้างเกิดช่วงสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช () (ค.ศ. 1548–1572) นำไปสู่การพัฒนาสถาปัตยกรรมและศิลปะจำนวนมาก ในด้านศิลปะได้เลียนแบบศิลปะของล้านนา การรับเอาวัฒนธรรมล้านนามาใช้ในอาณาจักรล้านช้างรวมไปถึงวัฒนธรรมทางปัญญาด้วย เช่น หอสมุดของล้านนาถูกคัดลอก รวมทั้งวรรณกรรมทางศาสนามาก นี้อาจนำไปสู่การยอมรับหรืออาจนำมาประยุกต์ใช้ใหม่ของตัวเมืองที่มาจากภาษามอญ นำมาใช้ในอาณาจักรล้านช้างสำหรับงานเขียนด้านศาสนา",
"title": "ลาว (กลุ่มชาติพันธุ์)"
},
{
"docid": "938#5",
"text": "ตามภาษามอญ เรียกคนไทยว่า \"หรั่ว เซม\" (หรั่ว ภาษามอญแปลว่าพวก) จนกระทั่งปัจจุบัน ชาวมลายูและผู้มีเชื้อสายมลายู (รวมถึงในประเทศไทย) ใช้คำเรียกไทยว่า \"สยาม\" (โดยในภาษามลายูปัตตานีจะออกเสียงว่า สิแย) มาจนถึงปัจจุบัน (ดังเช่นที่ปรากฏในเอกสารของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้) ในภาษาเขมร คำว่า \"สยาม\" หมายถึง \"ขโมย\" โดยออกเสียงว่า \"ซี-เอม\" เมืองเสียมราฐ ซึ่งอยู่ใกล้กับนครวัด จึงมีความหมายว่า \"พวกขโมยพ่ายแพ้\" ดังนั้น ความหมายของคำว่า \"สยาม\" ในภาษาเขมรจึงหมายถึง \"พวกขโมยป่าเถื่อน\" เนื่องจากในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ มีคนไทที่อพยพมาจากทางเหนือเข้าสู่ดินแดนภาคอีสานของเขมรซึ่งอาจเข้ามาโดยการกวาดต้อนของชาวเขมรเองเพื่อใช้เป็นแรงงานในการสร้างปราสาทหินต่างๆ คำว่า \"สยาม\" จึงเป็นคำเขมรที่ใช้เรียกกลุ่มคนไทซึ่งในเวลานั้นชาวเขมรยังมองว่าเป็นแค่คนป่า บนรูปสลักฝาผนัง ณ นครวัด ประเทศกัมพูชาที่แสดงถึงกำลังพลจากอาณาเขตต่าง ๆ ที่ได้เข้ามาร่วมกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีภาพกองกำลังกองหนึ่งที่มีคำบรรยายใต้ภาพว่า \"เนะ สยฺมกุก\" (เนะ สยำกุก) [6] ซึ่งแปลได้ความว่า \"นี่ เสียมกุก\" เป็นกองกำลังต่างหากจากกองกำลังจากอาณาจักรละโว้ ซึ่งรูปสลักฝาผนังได้สลักแยกไว้พร้อมคำบรรยายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน สันนิษฐานกันว่าอาจเป็นคนไท-ลาวกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดเป็นที่ยอมรับกัน ในภาษาพม่านั้น เรียกคนไทยว่า \"เซี้ยน\" ซึ่งถ้าดูจากการเขียน จะใช้ตัวสะกดเป็นตัว ม (ซย+ม) แต่ในภาษาพม่านั้นอ่านออกเสียงตัวสะกดตัว ม เป็นตัว น จึงทำให้เสียงเรียกคำว่า \"สยาม\" เพี๊ยนเป็น \"เซี้ยน\" ในปัจจุบัน คนในประเทศพม่ามักจะเรียกชนกลุ่มที่พูดภาษา ไท-กะได ต่างๆว่า \"เซี้ยน\" หรือ ชื่อประเทศหรือพื้นที่ตามด้วยเซี้ยน เช่นเรียกคนไทยว่า \"โย้ตะย้าเซี้ยน\" (คนสยามโยธยา ซึ่งเมื่อก่อน อยุธยาเป็นเมืองหลวง) หรือไท้เซี้ยน (คนสยามไทย), เรียกคนลาวว่า \"ล่าโอ่เซี้ยน\" (คนสยามลาว), เรียกคนชนกลุ่มไตในจีนว่า \"ตะโย่วเซี้ยน\" (คนสยามจีน ซึ่งคำว่า \"ตะโย่ว\" ในภาษาพม่าแปลว่า \"จีน\") และเรียกคนไทใหญ่ในรัฐฉานว่า ต่องจยี๊เซี้ยน (สยาม ต่องกี๊ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐฉานในปัจจุบัน และจริงๆแล้วคำว่า \"รัฐฉาน\" นั้นมันคือ \"รัฐสยาม\" แต่พม่าออกเสียงเพี้ยนเป็น \"เซี้ยน ปี่แหน่\" เขียนเป็นอังกฤษว่า Shan State แล้วคนไทยก็ออกเสียงเพี้ยนจากคำอังกฤษ \"Shan\" เป็น \"ฉาน\" จึงกลายเป็นรัฐฉานตามการเรียกของคนไทยในปัจจุบัน) และทางการรัฐบาลพม่ากำหนดให้ คนไทยพลัดถิ่นในเขตตะนาวศรี มีสัญชาติเป็น เซี้ยน เช่นเดียวกับคนไทใหญ่ในรัฐฉาน ตามจดหมายเหตุเก่าของจีน ในบริเวณประเทศไทยปัจจุบันนั้น แต่เดิมมีอาณาจักรอยู่ด้วยกัน 2 อาณาจักร คือ อาณาจักร \"เซียน\" (暹国; น่าจะหมายถึง สยาม หรือ สุโขทัย) ซึ่งอยู่ทางเหนือขึ้น แต่ยังอยู่ใต้ต่ออาณาจักร \"ร้อยสนม\" (มีผู้สันนิษฐานว่าคืออาณาจักรล้านนา-ไทใหญ่) และอาณาจักร \"หลัววอ\" (羅渦国; น่าจะหมายถึง อยุธยา ซึ่งจีนยังใช้ชื่อของ ละโว้ เรียกอยู่) ซึ่งอยู่ทางใต้ลงไป โดยอาณาจักร \"เซียน\" นั้นมักประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร ต้องนำเข้าข้าวจากอาณาจักร \"หลัววอ\" จนในที่สุด อาณาจักร \"เซียน\" และอาณาจักร \"หลัววอ\" ได้รวมกันเข้า ทางราชสำนักจีนจึงได้รวมเรียกชื่ออาณาจักรใหม่ที่เกิดจากการรวมกันดังกล่าวว่า อาณาจักร \"เซียนหลัว\" (暹罗国; ภาษาจีนกลางยุคปัจจุบัน=\"เซียนหลัวกว๋อ\" ภาษาจีนแต้จิ๋ว = \"เสี่ยมล้อก๊ก\") ซึ่งได้กลายเป็นนามเรียกอาณาจักรโดยชาวจีนมาจนกระทั่งมีการเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นประเทศไทย จึงได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น \"ไท่กว๋อ\" (泰国) นักนิรุกติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์บางคน ได้แสดงถึงความใกล้เคียงกันของคำว่า สยาม และ ฉาน (Shan) ซึ่งใช้เรียกอาณาจักรของคนไทบริเวณตอนใต้ของจีน ทางตอนเหนือของพม่า และทางรัฐอัสสัมของอินเดีย สยาม เป็นคำเรียกของชาวตะวันตก ที่มาทำการค้า การเดินทางมาทางเรือต้องผ่านพม่าก่อน ชาวพม่าบอกชาวตะวันตกว่า เซียม ชาวไท ออกเสียงเป็น เซียน ซึ่งปัจจุบันเป็น ฉานเนื่องจากชาวพม่าออกเสียง น.หนู ไม่ได้ จึงเพี้ยนเป็น ม.ม้า ฉานชาวพม่าหมายถึง รัฐฉาน ในประเทศพม่า, อาณาจักรล้านนา ในไทย, ลาว ,ภาคอีสานตอนเหนือ ในไทย, ตอนใต้ของยูนนาน ในจีน,ด้านตะวันตกของภาคเหนือในเวียดนาม ชาติไทยนั้นกลัว อินเดีย เพราะว่าอินเดียเคยล้มอาณาจักรไชยาได้ ซึ่งไทยสู้ไม่ได้ในยุคนั้น จึงมีภาษาของอินเดียปะปนอยู่มาก ทั้งในภาษาไทยและศาสนาพุทธด้วย",
"title": "สยาม"
},
{
"docid": "802918#1",
"text": "ภายหลังการกอบกู้เอกราชของล้านนาโดยการนำของพระเจ้ากาวิละ ได้ทรงสู้ขับไล่ข้าศึกพม่าให้พ้นแผ่นดินล้านนา ขยายขอบขัณฑสีมาอาณาจักรออกไปอย่างกว้างใหญ่ ได้กวาดต้อนผู้คนและสิ่งของจากหัวเมืองน้อยใหญ่ที่หนีภัยสงครามในช่วงที่พม่ายึดครอง และทรงสร้างบ้านแปงเมืองอาณาจักรล้านนาใหม่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระนามพระยากาวิละขึ้นเป็น พระบรมราชาธิบดี เป็นพระเจ้าประเทศราชปกครองเมืองเชียงใหม่และ 57 หัวเมืองล้านนา ถึงแม้ล้านนาในยุคนั้นจะแยกออกเป็น 5 นครประเทศราช อันประกอบด้วย นครเชียงใหม่ นครลำปาง นครลำพูน นครน่าน และนครแพร่ แต่ก็ถือว่านครเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางปกครองทั้ง 57 หัวเมือง",
"title": "ล้านนาไท 57 เมือง"
},
{
"docid": "33180#2",
"text": "ทฤษฎีนี้ หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) (ขณะดำรงบรรดาศักดิ์ ขุน) ให้การสนับสนุน ว่าชาวไทมาจากเทือกเขาอัลไต แล้วมาสร้างอาณาจักรน่านเจ้า แล้วจึงอพยพมาสร้างล้านนาและสุโขทัย โดยเชื่อว่าคำว่าไต ท้ายคำว่า อัลไต (Altai) หมายถึงชาวไท แต่ทฤษฎีนี้ต่อมาได้พิสูจน์แล้วว่าไม่จริง อีกทั้ง อัลไต เป็นภาษาอัลไตอิก ไม่ใช่ภาษาไท และน่านเจ้า ปัจจุบันได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นอาณาจักรของชาวไป๋",
"title": "ชาวไท"
},
{
"docid": "62232#0",
"text": "ขอม เป็นชื่อทางวัฒนธรรม ไม่ใช่ชื่อชนชาติ หมายถึงคนกลุ่มหนึ่งที่อยู่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา นับถือฮินดูหรือพุทธมหายาน ทางใต้ของแคว้นสุโขทัย อาจจะหมายถึงพวก ละโว้ (หรือ ลพบุรี) เอกสารทางล้านนา เช่น จารึกและตำนานต่างๆ ล้วนระบุสอดคล้องกันว่าขอมคือพวกที่อยู่ทางใต้ของล้านนา(ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย) เนื่องจากคำว่า ขอม สัญนิษฐานว่ามาจากคำว่า “เขมร”+”กรอม” (ที่แปลว่าใต้) พูดเร็วๆ กลายเป็น “ขอม” ",
"title": "ขอม"
},
{
"docid": "47958#0",
"text": "ศิลปะล้านนา หรือ ศิลปะเชียงแสน มีลักษณะเก่าแก่มาก คาดว่ามีการสืบทอดต่อเนื่องจากศิลปะทวารวดีและลพบุรีมาตั้งแต่สมัยหริภุญชัย ศูนย์กลางของศิลปะล้านนาเดิมอยู่ที่เชียงแสน เรียกว่าอาณาจักรโยนก ต่อมาเมื่อพญามังรายได้ย้ายมาสร้างเมืองเชียงใหม่ ศูนย์กลางของของอาณาจักรล้านนาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่",
"title": "ศิลปะล้านนา"
},
{
"docid": "16978#13",
"text": "ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช อาณาจักรล้านนา ยังได้ทำสงครามกับอาณาจักรอยุธยา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นานถึง 25 ปี โดยมีสาเหตุมาจากความต้องการในการแผ่อิทธิพลเข้าไปในสุโขทัยของทั้งสองอาณาจักร แต่ไม่มีฝ่ายไหนได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ทั้งสองอาณาจักรจึงผูกสัมพันธไมตรีต่อกัน จนกระทั่งอาณาจักรล้านนาตกเป็นประเทศราชของพม่าในปี พ.ศ. 2101",
"title": "อาณาจักรล้านนา"
},
{
"docid": "95717#0",
"text": "\"บทความนี้หมายถึงราชวงศ์ผู้ปกครองลาวเฉียง(หิรัญนครเงินยางเชียงลาว) สำหรับอาณาจักรล้านช้าง ดูที่ ราชวงศ์ล้านช้าง\"\nราชวงศ์ลาว หรือ ราชวงศ์ลาวจง ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 5 โดยลาวจังกราช (ลาวจง) ราชวงศ์นี้มีอายุยาวนานหลายร้อยปี ปกครองเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงลาว กษัตริย์ทุกพระองค์ใช้คำว่า ลาว นำหน้าชื่อทุกพระองค์ ยกเว้นพญามังราย ราชวงศ์ลาวสิ้นสุดลงเมื่อพญามังราย กษัตริย์หิรัญนครเงินยางเชียงลาวองค์สุดท้าย ได้สถาปนาอาณาจักรล้านนา และก่อตั้งราชวงศ์มังรายขึ้น",
"title": "ราชวงศ์ลาว"
},
{
"docid": "24294#3",
"text": "มีการสันนิษฐานว่า ที่พงศาวดารโยนกเรียก \"เม็งราย\" เป็นกุศโลบายทางการเมืองของรัฐบาลสยามในสมัยนั้น เพราะเมื่ออังกฤษได้พม่าเป็นอาณานิคมแล้ว ก็หมายจะยึดดินแดนล้านนาด้วย โดยใช้เหตุผลว่า ล้านนาเป็นเมืองขึ้นพม่า เมื่อพม่าเมืองแม่เป็นของอังกฤษแล้ว ล้านนาเมืองลูกย่อมเป็นของอังกฤษตามกันด้วย แม้ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนายังมีพระนามว่า \"มังราย\" ซึ่งน่าจะบ่งบอกว่าล้านนาเป็นของพม่ามาแต่เดิมแล้ว (\"มัง\" เป็นคำนำหน้าชื่อชายพม่าชนชั้นสูง ซึ่งภาษาพม่าปัจจุบันเรียกว่า \"มิน\" เช่น มังมหานรธา มังสามเกียด ฯลฯ) รัฐบาลสยามจึงแต่งประวัติศาสตร์ล้านนาโดยจงใจแก้ \"มังราย\" เป็น \"เม็งราย\" และประวัติศาสตร์ดังกล่าวก็ได้รับความนิยมจนมีการอ้างถึงสืบ ๆ มา",
"title": "พญามังราย"
},
{
"docid": "16978#16",
"text": "อาณาจักรล้านนาในฐานะเมืองขึ้นของพม่า มีการกบฏแก่งแย่งชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่แต่เชียงใหม่อย่างเดียว แต่เมืองอื่น ๆ ในล้านนาก็ด้วย จนกระทั่งราชวงศ์นยองยาน สถาปนาอาณาจักรรัตนปุระอังวะอีกครั้งจึงหันมาปกครองเชียงใหม่โดยตรง",
"title": "อาณาจักรล้านนา"
},
{
"docid": "490440#1",
"text": "วัดนี้เคยเป็นที่ประทับของปฐมสังฆราช (พระอภัยสารทะ) สังฆนายกองค์แรกของอาณาจักรล้านนา ส่วนจะสร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์ล้านนารัชกาลราชวงศ์มังรายพระองค์ใดนั้นไม่มี ปรากฏหลักฐานชัด แต่ที่มีการสันนิษฐานกันจากหลักฐานที่ปรากฏไว้ว่า ในสมัยพญามังรายมหาราช พระองค์ได้สร้างวัดคู่เมืองเชียงใหม่เป็นแห่งแรก คือ วัดเชียงมั่น หมายถึง “มั่นคง” ต่อมาสร้างวัดเชียงยืน หมายถึง “ยั่งยืน” ด้วยจะมีพระราชประสงค์ที่ว่าวัดเชียงมั่นตั้งอยู่เขตพระนครด้านใน เมื่อประตูเมืองปิดอาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ที่อยู่นอกกำแพงเมืองจะได้ อาศัยวัดเชียงยืน เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา",
"title": "วัดเชียงยืน"
},
{
"docid": "16978#9",
"text": "หลังจากพญามังรายรวบรวมอาณาจักรหริภุญชัยเข้ากับโยนกเชียงแสนเสร็จสิ้นแล้ว ได้ขนามนามราชอาณาจักรแห่งใหม่นี้ว่า \"อาณาจักรล้านนา\" พระองค์มีดำริจะสร้างราชธานีแห่งใหม่นี้ให้ใหญ่โตเพื่อให้สมกับเป็นศูนย์กลางการปกครองแห่งอาณาจักรล้านนาทั้งหมด พร้อมกันนั้นก็ ได้อัญเชิญพระสหายสนิทร่วมน้ำสาบานสองพระองค์ได้แก่ พญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา และ พ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย มาร่วมกันสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ในสมรภูมิบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งมหานทีแม่ระมิงค์ (แม่น้ำปิง) โดยตั้งชื่อราชธานีแห่งใหม่นี้ว่า \"นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่\" แต่ก่อนที่จะตั้งเมือง พระองค์ทรงได้สร้างราชธานีชั่วคราวขึ้นก่อนแล้ว ซึ่งก็เรียกว่า เวียงกุมกามแต่เนื่องจากเวียงกุมกามประสบภัยธรรมชาติใหญ่หลวงเกิดน้ำท่วมเมืองจนกลายเป็นเมืองบาดาล ดังนั้นพระองค์จึงได้ย้ายราชธานีมาอยู่ ณ นครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839 และได้เป็นศูนย์กลางการปกครองราชอาณาจักรล้านนานับแต่นั้น นครเชียงใหม่มีอาณาเขตบริเวณอยู่ระหว่างเชิงดอยอ้อยช้าง (ดอยสุเทพ) และ บริเวณที่ราบฝั่งขวาของแม่น้ำปิง (พิงคนที) นับเป็นสมรภูมิที่ดีและเหมาะแก่การเพาะปลูกเนื่องจากเป็นบริเวณที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่าน",
"title": "อาณาจักรล้านนา"
},
{
"docid": "94658#0",
"text": "เจ็ดพระธาตุ หมายถึงพระบรมธาตุเจดีย์ที่สำคัญในภาคเหนือ 7 แห่ง แต่ละแห่งเป็นที่เคารพบูชาอย่างสุงสุดของชาวล้านนา แต่ละพระบรมธาตุมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่สำคัญ มีอายุการก่อสร้างมากกว่าพันปี สะท้อนถึงความรุ่งเรืองทางอารยธรรมของอาณาจักรล้านนาได้อย่างเห็นได้ชัด แต่ละแห่งมีตำนานกล่าวว่าเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอัน ได้แก่",
"title": "เจ็ดพระธาตุ"
},
{
"docid": "16978#18",
"text": "แคว้นล้านนา แคว้นเชียงใหม่ อาณาจักรล้านช้าง",
"title": "อาณาจักรล้านนา"
},
{
"docid": "16978#1",
"text": "ล้านนา หมายถึง ดินแดนที่มีนานับล้าน หรือมีที่นาเป็นจำนวนมาก คู่กับล้านช้าง คือดินแดนที่มีช้างนับล้านตัว เมื่อปี พ.ศ. 2530 คำว่า \"ล้านนา\" กับ \"ลานนา\" เป็นหัวข้อโต้เถียงกัน ซึ่งคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งมี ดร. ประเสริฐ ณ นคร เป็นประธาน ได้ให้ข้อยุติว่า \"ล้านนา\" เป็นคำที่ถูกต้อง และเป็นคำที่ใช้กันในวงวิชาการ[2]",
"title": "อาณาจักรล้านนา"
},
{
"docid": "368906#1",
"text": "ปีพ.ศ. 2042 ราชวงศ์มังรายแห่งอาณาจักรล้านนาเกิดว่างกษัตริย์ พระนางจิระประภามหาเทวีผู้เป็นพระอัครมเหสีในพระเมืองเกษเกล้า ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์หญิงเพียง1ปี บ้านเมืองก็เกิดระส่ำระส่าย ถูกอาณาจักรรอบข้างรุกราน และในยุคที่บุเรงนองเป็นผู้ชนะ10ทิศ พระนางจิระประภาจึงเชื่อมสัมพันธ์กับอาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรล้านช้างให้แน่นแฟ้น แต่พระองค์ครองราชย์ได้เพียง1ปีจึงสละราชบัลลังก์ และทูลเชิญพระไชยเชษฐาจากเมืองหลวงพระบางแห่งอาณาจักรล้านช้างลงมาปกครองแทน เนื่องจากพระนางยอดคำทิพย์พระอัครมเหสีในพระเจ้าโพธิสารราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง หรือผู้เป็นแม่ของพระไชยเชษฐา พระราชธิดาของพระนางจิระประภา จึงเห็นว่าหลานชายของตนมีสายเลือดล้านนา จึงให้มาปกครองเชียงใหม่ แต่พระไชยเชษฐาปกครองได้เพียง1ปี พระราชบิดาเกิดสวรรคตกระทันหัน พระไชยเชษฐาจึงต้องกลับไปเถลิงราชสมบัติครองราชย์ล้านนา พระองค์จึงอัญเชิญพระแก้วมรกตกับพระพุทธสิหิงค์จากเชียงใหม่กลับไปหลวงพระบางด้วย หลังจากนั้นพระองค์ก็เริ่มสร้างวัดเชียงทองขึ้นในใจกลางกรุงหลวงพระบาง ",
"title": "วัดเชียงทอง"
},
{
"docid": "194384#1",
"text": "ล้านนา เดิมเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรศที่ 19 มีอาณาเขตกว้างขวาง ในยุคทองของอาณาจักรล้านนานั้น มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไปจนถึง รัฐไทใหญ่, สิบสองปันนา, ล้านช้าง, พม่า และ สุโขทัย การขยายอำนาจของอาณาจักรล้านนาทำให้เกิดความขัดแย้งกับอาณาจักรอยุธยา จนเกิดสงครามกันหลายครั้ง ถึงแม้ยามล้านนาอ่อนแอ ก็ไม่เคยตกเป็นประเทศราชของอยุธยาอย่างแท้จริง",
"title": "นครเชียงใหม่"
},
{
"docid": "5525#30",
"text": "การเกิดขึ้นของอาณาจักรล้านนานั้น ถือว่าเป็นรัฐที่เติบโตอยู่ท่ามกลางมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และการทางหาร ทางเหนือได้แก่ พม่า และทางใต้ คือ สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา เมื่อสุโขทัยถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา ทำให้ล้านนาถูกคุกคามจากทางใต้มากขึ้น นั่นหมายถึงว่า ในขณะนั้นตำแหน่งของหัวเมืองทางใต้มีความหมายและความสำคัญอย่างยิ่ง \"เวียงลคอร\" จึงมีฐานะเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่จะต้านทานกองทัพที่มารุกรานเสมอ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งทำให้ \"เวียงลคอร\" มีอำนาจต่อรองพอที่จะได้รับอานิสงส์ความมั่งคั่งด้วย [22]",
"title": "จังหวัดลำปาง"
},
{
"docid": "133223#3",
"text": "ในคัมภีร์อุรังคธาตุได้กล่าวถึงสถานะของเมืองพนมว่าเป็น พุทธศาสนานคร หรือ ศาสนานคร เรื่องราวเกี่ยวกับเมืองพนมจึงถูกเรียกว่า ศาสนานครนิทาน ดังนั้น ในจารึกเจ้าพระยาหลวงนครพิชิตราชธานีศรีโคตรบูรหลวงจึงออกนามเมืองนี้ว่า ศาสนาพระนม สถานะการเป็นพุทธนครของเมืองพนมนั้น หมายถึง เมืองศักดิ์สิทธิ์หรือเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางศาสนา จิตวิญญาณ ศรัทธาและความเชื่อของชาวลาวและชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในอาณาจักรล้านช้าง ถึงขนาดชาวต่างชาติขนานนามเมืองว่า เมืองเมกกะของลาว เนื่องจากเป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรศรีโคตรบูรโบราณ และพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างถวายเป็นเมืองกัลปนาแด่พระมหาธาตุเจ้าพระนม อีกนัยหนึ่งเรียกว่า เมืองข้าโอกาสหยาดทานหรือเมืองข้อยโอกาส เจ้าผู้ปกครองเมืองธาตุพนมมีสถานะพิเศษต่างจากเจ้าเมืองทั่วไป ในจารึกผูกพัทธสีมาวัดธาตุพนมของเจ้าเมืองมุกดาหารออกนามเจ้าผู้ปกครองธาตุพนมว่า ขุนโอกาส (ขุนเอากฺลาษฺ) ส่วนคัมภีร์อุรังคธาตุฉบับบ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี ทั้ง ๒ ฉบับบออกนามเจ้าผู้ปกครองธาตุพนมว่า เจ้าโอกาส (เจ้าโอกาด) หมายถึงเจ้าผู้เป็นใหญ่แห่งข้าโอกาสพระธาตุพนม คล้ายกับบรรดาศักดิ์ขุนสัจจพันธคีรีรัตนไพรวัน เจติยาสันคามวาสี นพคูหาพนมโขลน ขุนโขลน หรือเจ้าเมืองพระพุทธบาท (เมืองสุนาปรันตประเทศ) หัวเมืองกัลปนาชั้นจัตวาของฝ่ายสยาม และคล้ายกับบรรดาศักดิ์ โขลญพล (โขฺลญฺ วล กํมฺรเตงฺ อญฺ) เจ้าเมืองกัลปนาของเขมรโบราณ เช่น เมืองลวปุระหรือเมืองลพบุรี ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ลักษณะการปกครองเช่นนี้ยังพบว่าปรากฏอยู่ในอาณาจักรล้านช้างหลายแห่ง อาทิ กวานนาเรือเมืองนาขาม เมืองหินซน และเมืองชนู ซึ่งเป็นเมืองที่ถูกแบ่งเขตกัลปนาแก่พระพุทธศาสนาแถบถ้ำสุวรรณคูหาในจังหวัดหนองบัวลำภู สมัยรัชกาลสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เป็นต้น ในเอกสารบันทึกการเดินทางในลาวของเอเจียน เอมอนิเย กล่าวว่า ขุนโอกาสเป็นเครือญาติใกล้ชิดกันกับเจ้าเมืองมุกดาหารและเจ้าพระยาหลวงเมืองแสน อำนาจของขุนโอกาสในสมัยล้านช้างนั้นมีมากกว่าเจ้าเมืองในแถบลุ่มน้ำโขงหลายเมือง ",
"title": "อำเภอธาตุพนม"
},
{
"docid": "72960#13",
"text": "การที่ล้านช้างมีความสัมพันธ์กับล้านนาอย่างใกล้ชิดก็ด้วยเหตุผลด้านการเมืองเป็นหลัก กล่าวคือ ในขณะนั้นอาณาจักรล้านนาได้อ่อนแลลงจากการทำสงครามกับอาณาจักรอยุธยาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ภัยธรรมชาติ และความล้มเหลวในการรุกรานเมืองเชียงตุง เปิดช่องให้อาณาจักรข้างเคียงอย่างล้านนา ตองอู และอยุธยาสร้างอิทธิพลแทรกแซงภายในอาณาจักร โดยล้านช้างได้เข้าเกี่ยวดองกับล้านนาผ่านการเสกสมรสของเจ้านายในเครือญาติของทั้งสองฝ่าย",
"title": "อาณาจักรล้านช้าง"
},
{
"docid": "16978#2",
"text": "ปัญหาที่นำไปสู่การโต้เถียงกันนั้น สืบเนื่องมาจากในอดีตการเขียนมักไม่ค่อยเคร่งครัดในเรื่องวรรณยุกต์ แต่ก็เป็นที่เข้าใจกันว่า แม้จะเขียนโดยไม่มีรูปวรรณยุกต์โทกำกับ แต่ให้อ่านเหมือนมีวรรณยุกต์โท[2] สำหรับคำ \"ลานนา\" น่าจะมาจากพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ว่า \"ลานนาหมายถึงทำเลทำนา\" ซึ่งทำให้คำว่าลานนาใช้กันมาเป็นเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษ[2] ภายหลัง พ.ศ. 2510 นักวิชาการระดับสูงพบว่าล้านนาเป็นคำที่ถูกต้องแล้ว และชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อ ดร. ฮันส์ เพนธ์ ค้นพบคำว่า \"ล้านนา\" ในศิลาจารึกที่วัดเชียงสา ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2096[3] อย่างไรก็ดี การตรวจสอบคำว่า ล้านนา ได้อาศัยศัพท์ภาษาบาลี โดยพบว่าท้ายคัมภีร์ใบลานจากเมืองน่านและที่อื่นๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 50 แห่ง เขียนว่า ทสลกฺขเขตฺตนคร () /ทะสะลักขะเขตตะนะคอน/ แปลว่า เมืองสิบแสนนา เป็นคำคู่กับเมืองหลวงพระบางที่ชื่ออาณาจักร ศรีสตนาคนหุต หรือช้างร้อยหมื่น",
"title": "อาณาจักรล้านนา"
}
] |
669 | อนิเมชั่นเรื่อง เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว ออกอากาศตอนสุดท้ายเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "219542#1",
"text": "ในประเทศญี่ปุ่น เกียวโตแอนิเมชัน (Kyoto Animation) ผลิตมังงะดังกล่าวเป็นอนิเมะโทรทัศน์ ใช้ชื่อเดียวกัน ความยาวสิบสามตอน ฉายตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2552, โอวีเอความยาวหนึ่งตอน ขายในเดือนมกราคม 2553, อนิเมะโทรทัศน์ ฤดูกาลที่สอง ความยาวยี่สิบหกตอน ใช้ชื่อว่า เค-อง!! (K-On!!) ฉายตั้งแต่เดือนเมษายนถึงกันยายน 2554, โอวีเอ ความยาวหนึ่งตอน ขายในเดือนมีนาคม 2554, และอนิเมะโรง ฉายตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2554 ตามลำดับ เนื้อหาต่อเนื่องกัน",
"title": "เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
}
] | [
{
"docid": "227958#0",
"text": "\"เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว\" เป็นอนิเมะที่สร้างจากมังงะชื่อเรื่องเดียวกัน เขียนและวาดภาพโดย Kakifly ซึ่งผลิตโดยเกียวโตแอนิเมชัน กำกับโดยนาโอโกะ ยามาดะ เขียนบทโดยเรโกะ โยชิดะ และออกแบบตัวละครโดยยูกิโกะ โฮริงูจิ เนื้อเรื่องเป็นเรื่องราวของนักเรียนมัธยมปลาย 4 คน ซึ่งเข้าร่วมชมรมดนตรีของโรงเรียนที่กำลังจะถูกยุบ",
"title": "รายชื่อตอนในเค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "219542#4",
"text": "ชมรมเค-องมียามานากะ ซาวาโกะ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ซาวาโกะเองเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนซากุระงาโอกะ และเคยเป็นสมาชิกชมรมเค-องเช่นกัน สมัยนั้น เธอและเพื่อนตั้งวงดนตรีชื่อ \"เดธเดวิล\" (Death Devil) ต่อมา เธอตั้งชื่อให้วงดนตรีของยุยว่า \"เวลาน้ำชาหลังเลิกเรียน\"[3] (放課後ティータイム; ; Hokago Tea Time) เนื่องมาจากสมาชิกชมรมเค-อง รวมทั้งเธอเอง มักจิบน้ำชาลอยชายกันเมื่อเลิกเรียน มากกว่าจะซ้อมดนตรี",
"title": "เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "411818#0",
"text": "มินาโกะ โคโตบูกิ () เป็นนักพากย์และนักร้องจากจังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น เธอเป็นที่รู้จักจากผลงานการพากย์โคโตบุกิ สึมุกิ ใน \"เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว\"",
"title": "มินาโกะ โคโตบูกิ"
},
{
"docid": "219542#24",
"text": "ในคอนเสิร์ต Let's Go ที่ โยโกฮามะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2009 ได้มีการฉายขึ้นบนหน้าจอบนเวทีว่า \"ซีซั่น 2 กำลังอยู่ในขั้นตอนการสร้าง\" ด้วย[19] โดยใช้ชื่อว่า K-On!! โดยเริ่มฉายวันที่ 7 เมษายน 2010 ทางช่อง TBS ในญี่ปุ่น[20][21]",
"title": "เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "219542#18",
"text": "วาดะ อากิระ () มือกีตาร์ประจำวงอนนะกุมิ เรียนคณะครุศาสตร์เช่นเดียวกันกับยุย มีนิสัยค่อนไปในทางซึนเดเระเล็กน้อย ครั้งหนึ่งเธอเคยไว้ผมยาวแต่ตัดสินใจหั่นผมสั้นและแปลงโฉมตัวเองเป็นสาวห้าวเพื่อประชดรุ่นพี่ที่ตัวเองแอบชอบ",
"title": "เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "219542#35",
"text": "(in Japanese) ที่ เซก้า (in Japanese) ที่ แอนิแมกซ์ (manga) at Anime News Network's encyclopedia",
"title": "เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "391412#0",
"text": "อากิ โทโยซากิ () เป็นนักพากย์และนักร้องจากจังหวัดโทกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เธอมีผลงานพากย์ที่สำคัญครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 จากการพากย์นินะงะวะ อะมุโระ ใน \"เค็งโก เซ็นระเค ซุอิเอบุ อุมิโช\" และซู ใน \"คาแรคเตอร์ผู้พิทักษ์\" อากิได้รับรางวัล \"นักพากย์ใหม่ยอดเยี่ยม\" ในงานเซยูอวอร์ดสครั้งที่ 4 ในปี พ.ศ. 2553 จากการพากย์ฮิราซาว่า ยุย ใน \"เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว\" และนากามาชิ คานะ ใน \"คานะมีหนังสือพิมพ์มาส่ง\"",
"title": "อากิ โทโยซากิ"
},
{
"docid": "219542#0",
"text": "เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว[1] (; [K-On!]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help)) เป็นมังงะซึ่งแต่งเรื่องและเขียนภาพโดย คาคิฟลาย (Kakifly) ลงเป็นตอน ๆ ในนิตยสารแนวเซเน็ง มังงะไทม์คิราระ (Manga Time Kirara) และนิตยสาร มังงะไทม์คิราระกะรัต (Manga Time Kirara Carat) ของสำนักพิมพ์โฮบุนชะ (Houbunsha) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2550 ถึงเดือนตุลาคม 2553",
"title": "เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "219542#21",
"text": "โซงาเบะ เมกุมิ () ให้เสียงโดย อัตสึมิ โคดามะ เมกุมิเป็นประธานนักเรียนคนก่อนที่โนโดกะจะมาเป็นประธานนักเรียนในปีสาม นอกจากนั้นเธอก็ยังเป็นประธานแฟนคลับของมิโอะ (ปัจจุบันโนโดกะเป็นประธานแฟนคลับของมิโอะ) อีกด้วย ปรากฏอยู่ในตอนที่ 6 และ 8 ของอนิเมะ K-On! และตอนที่ 7 ของอนิเมะ K-On!! ปัจจุบันเธอเรียนต่อที่มหาวิทยาลัย",
"title": "เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "219542#17",
"text": "มานาเบะ โนโดกะ () ให้เสียงโดย: ชิกะ ฟูจิโต เพื่อนสมัยเด็กของยุย สนิทกับยุยมาตั้งแต่ชั้นอนุบาล เนื่องจากบ้านของโนโดกะกับบ้านของยุยอยู่ใกล้กัน ทำให้เมื่อทั้งสามคนยังเป็นเด็ก โนโดกะ ยุย และอุยมักมาจะเล่นด้วยกันบ่อย ๆ โนโดกะเป็นสมาชิกคณะกรรมการนักเรียน ในปี 3 เธอก็ได้สืบทอดทั้งตำแหน่งประธานนักเรียนและประธานมิโอะแฟนคลับ[12] แทนเมกุมิ",
"title": "เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "391412#1",
"text": "อากิเริ่มอาชีพนักร้องจากผลงานเพลงเปิดและเพลงปิดของอนิเมะชุด \"เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว\" เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 และในเดือนเดียวกันนั้น อากิและนักพากย์อีก 3 คนได้เปิดตัวกลุ่มดนตรีสเฟียร์ ด้วยซิงเกิล \"Future Stream\" ต่อมา เพลงปิดของ \"เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว\" ได้รับรางวัล \"เพลงยอดเยี่ยม\" จากแอนิเมชันโคเบะ อากิออกซิงเกิลเดี่ยวชุดแรกในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ชื่อว่า \"love your life\" เธอได้รับรางวัล \"การแสดงดนตรียอดเยี่ยม\" ในงานเซยูอวอร์ดสครั้งที่ 4 พร้อมกับศิลปินอีก 4 คน จากผลงานมินิอัลบั้ม \"โฮกะโงะ ที ไทม์\" ของ \"เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว\"",
"title": "อากิ โทโยซากิ"
},
{
"docid": "219542#23",
"text": "สำหรับอนิเมะเรื่องนี้ เกียวโตแอนิเมชันเป็นผู้ผลิต กำกับโดย นาโอโกะ ยามาดะ และ เขียนบทโดย เรโกะ โยชิดะ ซึ่งเริ่มฉายเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2009 ทางช่อง TBS ในญี่ปุ่น และช่องอื่นๆ เช่น BS-TBS, MBS, และ Chubu-Nippon Broadcasting โดยทางช่อง TBS นั้นจะฉายในภาพอัตราส่วน 4:3 และทางช่อง BS-TBS นั้นจะฉายในรูปแบบไวด์สกรีนในอัตราส่วน 16:9 เริ่มฉายเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2009 สำหรับการวางจำหน่าย ดีวีดี และ บลูเรย์ รวมทั้งหมด 7 แผ่น วางจำหน่ายโดย Pony Canyon ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม 2009 ถึง 20 มกราคม 2010 โดยในแผ่นสุดท้ายจะใส่ตอนพิเศษลงไปด้วย[18] ในวันที่ 20 ธันวาคม 2009 ได้มีการประกาศลิขสิทธิ์ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการโดยจัดทำตามต้นฉบับนั้นคือ 7 แผ่นจบพร้อมทั้งแผ่น un-ten ด้วย โดยชุด Box จะแยกขายและให้ผู้ที่สะสมซื้อแยกตามรายแผ่น",
"title": "เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "246468#13",
"text": "Gohan wa Okazu/U&I เป็นซิงเกิล ขับร้องโดยวง โฮคาโงะ ที ไทม์ เป็นเพลงประกอบอนิเมะ K-ON!! ตอนที่ 20 วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2010 ที่ญี่ปุ่น โดย Pony Canyon",
"title": "รายชื่ออัลบั้มในเค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "246468#0",
"text": "บทความนี้เป็นบทความที่รวมรายชื่ออัลบั้ม จากอนิเมะเรื่อง \"เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว\"",
"title": "รายชื่ออัลบั้มในเค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "219542#19",
"text": "ฮายาชิ ซาจิ () มือเบสประจำวงอนนะกุมิ เรียนคณะเดียวกันกับมิโอะ ซาจิมีรูปร่างสูงกว่าเพื่อนคนอื่น ๆ และค่อนข้างจะขี้อาย โดยเฉพาะเมื่อมีใครพูดถึงหรือทักเกี่ยวกับส่วนสูง นอกจากนี้เธอยังเป็นคนตั้งชื่อวงอนนะกุมิด้วย",
"title": "เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "219542#20",
"text": "โยชิดะ อายาเมะ () มือกลองประจำวงอนนะกุมิ เรียนอยู่คณะเดียวกับริทสึแถมยังมีนิสัยร่าเริงคล้ายกันอีกด้วย อายาเมะมีส่วนสูงน้อยที่สุดในวงและสนใจเกี่ยวกับแฟชั่นเครื่องแต่งกายเป็นอย่างมาก",
"title": "เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "219542#33",
"text": "เมื่อต้นเดือนกันยายน 2010 ทางจังหวัดเกียวโต ได้ใช้ K-On!! มาช่วยประชาสัมพันธ์ในการสำรวจสำมะโนครัวของจังหวัด[45]",
"title": "เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "246468#12",
"text": "LOVE เป็นซิงเกิล ขับร้องโดยวง DEATH DEVIL เป็นเพลงประกอบอนิเมะ K-ON!! ตอนที่ 10 วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2010 ที่ญี่ปุ่น โดย Pony Canyon",
"title": "รายชื่ออัลบั้มในเค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "411818#1",
"text": "มินาโกะเริ่มมีผลงานเพลงครั้งแรกจากเพลงเปิดและเพลงปิดของอนิเมะ \"เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว\" ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 และในเดือนเดียวกันนั้น เธอและนักร้องอีก 3 คนได้แก่อากิ โทโยซากิ, ฮารูกะ โทมัตสึ และอายาฮิ ทากางากิ ได้ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มดนตรีสเฟียร์ขึ้นด้วยซิงเกิลแรกคือ \"Future Stream\"",
"title": "มินาโกะ โคโตบูกิ"
},
{
"docid": "246468#11",
"text": "Pure Pure Heart เป็นซิงเกิล ขับร้องโดยวง โฮคาโงะ ที ไทม์ เป็นเพลงประกอบอนิเมะ K-ON!! ตอนที่ 7 วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2010 ที่ญี่ปุ่น โดย Pony Canyon",
"title": "รายชื่ออัลบั้มในเค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "219542#25",
"text": "K-ON! Movie ฉายวันที่ 3 ธันวาคม 2011 ผลิตโดย เกียวโตแอนิเมชั่น และกำกับโดย นาโอโกะ ยามาดะ โดย ผกก.ยามาดะได้กล่าวไว้ในคอนเสิร์ตครั้งที่ 2 Come with Me เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2011 ที่ผ่านมา[22]",
"title": "เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "219542#36",
"text": "หมวดหมู่:เกียวโตแอนิเมชัน หมวดหมู่:มังงะที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2550 หมวดหมู่:อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2552 หมวดหมู่:การ์ตูนญี่ปุ่นแนวเซเน็ง หมวดหมู่:การ์ตูนสี่ช่อง หมวดหมู่:เค-อง! หมวดหมู่:อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2553 หมวดหมู่:วิดีโอเกมที่ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2553 หมวดหมู่:ภาพยนตร์อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2554",
"title": "เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "391412#5",
"text": "อากิมีผลงานเพลงครั้งแรกร่วมกับเอริ คิตามูระ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2551 ในซีดีเพลงประจำตัวละคร \"มินะมิ-เกะ บิโยะริ\" () ต่อมา เธอได้มีผลงานเพลง \"Cagayake! Girls\" และ \"Don't say 'lazy'\" ซึ่งเป็นเพลงเปิดและเพลงปิดของอนิเมะ \"เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว\" ร่วมกับโยโกะ ฮิกาซะ ซาโตมิ ซาโต และมินาโกะ โคโตบูกิ ทั้งสองเพลงได้ออกเป็นซิงเกิลเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552 ซิงเกิล \"Cagayake! Girls\" มียอดจำหน่ายประมาณ 62,000 ชุดในสัปดาห์แรก ซึ่งเป็นอันดับสี่ในชาร์ตของโอริคอน ส่วนซิงเกิล \"Don't say 'lazy'\" มียอดจำหน่ายประมาณ 67,000 ชุดในสัปดาห์แรก ซึ่งเป็นอันดับสองในชาร์ต ในสัปดาห์ถัดมา ซิงเกิลทั้งสองได้ตกลงมาอยู่ในอันดับหกและห้า โดยมียอดจำหน่ายเพิ่ม 19,963 และ 22,094 ชุด ตามลำดับ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เพลง \"Don't say 'lazy'\" ได้รับรางวัล \"เพลงยอดเยี่ยม\" จากแอนิเมชันโคเบะ",
"title": "อากิ โทโยซากิ"
},
{
"docid": "272005#0",
"text": "บทความนี้เป็นบทความที่รวมรายชื่อ ซิงเกิลประจำตัวละคร จากอนิเมะเรื่อง \"เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว\"",
"title": "ซิงเกิลประจำตัวละครในเค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "219542#28",
"text": "วิดีโอเกมพัฒนาโดย Sega โดยมีชื่อว่า K-On! Hōkago Live!! () สำหรับเครื่อง เพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล วางจำหน่ายในวันที่ 30 กันยายน 2010 โดยรูปแบบการเล่นเป็นการกดปุ่มตามจังหวะโน้ตในเพลง ซึ่งตัวเกมนั้นสามารถเล่นโหมดผู้เล่นหลายคนได้มากที่สุดถึง 5 คน[28] ตัวเกมประกอบด้วยเพลงจากอนิเมะซีซันแรกและเพลงประจำตัวละครรวม 19 เพลง ผู้เล่นสามารถแต่งตัวตัวละคร ห้องชมรม และห้องนอนของยุย และยังสามารถสร้างเพลงได้ด้วย",
"title": "เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "219542#6",
"text": "นามสกุลตัวละครในเรื่อง K-On! นั้น มาจากนามสกุลของสมาชิกและอดีตสมาชิกวง P-Model และ The Pillows ในญี่ปุ่น[4]",
"title": "เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "219542#3",
"text": "ในตอนต้น ยุยเล่นดนตรีไม่เป็น แต่ภายหลัง ทั้งฝึกฝนเอง และเพื่อนร่วมชมรมช่วยฝึกฝนให้ จึงเรียนรู้ดนตรีจนสามารถเล่นกีตาร์ นับแต่นั้น ยุย พร้อมด้วยมิโอะ ซึ่งเล่นเบส, ริทสึ เล่นกลองชุด และสึมุกิ เล่นคีย์บอร์ด ก็ตั้งวงดนตรีประจำชมรมออกแสดงดนตรี และใช้ชีวิตร่วมกัน",
"title": "เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "219542#26",
"text": "เพลงเปิดของอนิเมะนี้คือเพลง \"Cagayake! Girls\" และเพลงปิดคือเพลง \"Don't say 'lazy'\" ทั้งสองเพลงนั้นขับร้องโดย อากิ โทโยซากิ, โยโกะ ฮิกาซะ, ซาโตมิ ซาโต และมินาโกะ โคโตบูกิ โดยทั้งสองซิงเกิลได้วางจำหน่ายไปเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2009 โดย Pony Canyon ซิงเกิลเพลงประกอบ เพลง \"Fuwa Fuwa Time\" () ซึ่งใช้ขึ้นแสดงในตอนที่ 6 วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2009 เพลงประจำตัวละคร 7 ซิงเกิล ได้แก่ ยุย (โดยโทโยซากิ) และ มิโอะ (โดยฮิกาซะ) วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2009 ซิงเกิลของ ริทสึ (โดยซาโต), สึมุกิ (โดยโคโตบูกิ) และอาซึสะ (โดยทาเกตัตสึ) วางจำหน่ายไปเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2009 และซิงเกิลของ อุย (โดยโยเนซาวะ) และ โนโดกะ (โดยฟูจิโต) จะวางจำหน่ายวันที่ 21 ตุลาคม 2009 ซาวด์แทร็คอนิเมะ โดย ฮาจิเมะ เฮียกโกคุ วางจำหน่ายในวันที่ 3 มิถุนายน 2009 และสี่เพลงที่ใช้ขึ้นแสดงในตอนที่ 8 ของอนิเมะนั้นจะวางจำหน่ายในรูปแบบมินิอัลบั้มชื่อ Hōkago Tea Time () ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2009 Maddy Candy ซิงเกิลของวง Death Devil วางจำหน่ายในวันที่ 12 สิงหาคม 2009[23] และอัลบั้มพิเศษ K-ON! Sakura Kou Keionbu Official Band Yarouyo!! Band Score Duke วางจำหน่ายวันที่ 2 กันยายน 2009",
"title": "เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
},
{
"docid": "219542#2",
"text": "เรื่องราวว่าด้วยเด็กสาวสี่คนซึ่งเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนซากุระงาโอกะ[2] (桜が丘高校; Sakuragaoka High School) ได้แก่ ฮิราซาวะ ยุย, อากิยามะ มิโอะ, ไทนากะ ริทสึ, และโคโตบุกิ สึมุกิ ตามลำดับ ทั้งสี่เป็นสมาชิกชมรมดนตรีของโรงเรียน ชื่อว่า ชมรม \"เค-อง\" (K-On) ย่อมาจาก \"คารุอิ-องงากุ\" หรือ \"เค-องงากุ\" (軽音楽) หมายถึง ดนตรีเบา (light music) ซึ่งเป็นดนตรีป๊อปแขนงหนึ่งของญี่ปุ่น",
"title": "เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว"
}
] |
203 | ภูเขาไฟฟูจิตั้งอยู่ประเทศญี่ปุ่นใช่หรือไม่ ? | [
{
"docid": "32420#0",
"text": "ภูเขาไฟฟูจิ (Fuji Mountain) เป็นภูเขาที่สูงที่สุดใน ประเทศญี่ปุ่น ราว 4,231 เมตร ตั้งอยู่บริเวณ จังหวัดชิซุโอะกะ และ จังหวัดยะมะนะชิ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของ โตเกียว พื้นที่โดยรอบ ประกอบด้วย ทะเลสาบฟูจิทั้งห้า อุทยานแห่งชาติฟุจิ-ฮะโกะเนะ-อิซุ และ น้ำตกชิระอิโตะ โดยในวันที่อากาศแจ่มใสสามารถมองเห็นจาก โตเกียว ได้ ในปัจจุบันภูเขาได้ถูกจัดโดยนักวิทยาศาสตร์อยู่ในลักษณะของภูเขาไฟที่มีโอกาสปะทุต่ำ ระเบิดครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2250 (ค.ศ. 1707) ยุคเอะโดะ",
"title": "ภูเขาฟูจิ"
},
{
"docid": "176757#0",
"text": "ลู่แข่งนานาชาติฟูจิ เป็นสนามแข่งรถ ตั้งอยู่เชิงภูเขาไฟฟูจิ ในเขตตำบลโอยามะ จังหวัดชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นของโตโยต้ามอเตอร์หลังจากซื้อมาจากมิตซูบิชิ ในปี พ.ศ. 2543 ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่แข่งขันรถสูตรหนึ่งเจแปนกรังปรีซ์ NASCAR และโมโตจีพี หลังจากว่างเว้นการจัดแข่งขันรายการใหญ่นานถึง 29 ปี และได้รับการปรับปรุงเส้นทาง และผลักดันจากโตโยต้า แย่งชิงสถานะการเป็นเจ้าภาพจากสนามซูซูกะเซอร์กิตของฮอนด้ามอเตอร์",
"title": "ฟูจิสปีดเวย์"
},
{
"docid": "32420#5",
"text": "ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 37 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา องค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้ภูเขาไฟฟูจิเป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2545 ภายใต้ชื่อ \"ฟูจิซัง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแหล่งที่มาของความบันดาลใจทางศิลปะ\" ทำให้ภูเขาไฟฟูจิเป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งที่ 13 และเป็น มรดกโลก แห่งที่ 17 ของ ประเทศญี่ปุ่น โดยผ่านหลักเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้",
"title": "ภูเขาฟูจิ"
},
{
"docid": "397415#0",
"text": "อุทยานแห่งชาติฟูจิ-ฮาโกเนะ-อิซุ () เป็นอุทยานแห่งชาติในประเทศญี่ปุ่น มีอาณาเขตครอบคลุมบริเวณจังหวัดยามานาชิ ชิซูโอกะ คานางาวะ และบริเวณตะวันตกของมหานครโตเกียว ประกอบไปด้วยสถานที่น่าสนใจ เช่น ภูเขาไฟฟูจิ ทะเลสาบฟูจิทั้งห้า ฮาโกเนะ คาบสมุทรอิซุ และเกาะอิซุ",
"title": "อุทยานแห่งชาติฟูจิ-ฮาโกเนะ-อิซุ"
},
{
"docid": "410150#0",
"text": "ทะเลสาบฟูจิทั้งห้า () เป็นชื่อเรียกพื้นที่บริเวณรอบฐานของภูเขาไฟฟูจิ ในจังหวัดยามานาชิ ประเทศญี่ปุ่น มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,000 เมตร เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติฟูจิฮาโกเนอิซุ",
"title": "ทะเลสาบฟูจิทั้งห้า"
},
{
"docid": "367483#0",
"text": "ทะเลสาบทานูกิ () เป็นทะเลสาบใกล้กับภูเขาไฟฟูจิ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ใกล้กับเมื่อฟูจิโนมิยะ จังหวัดชิซุโอะกะ เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติฟูจิ-ฮาโกเนะ-อิซุ",
"title": "ทะเลสาบทานูกิ"
}
] | [
{
"docid": "365720#40",
"text": "โรงไฟฟ้าตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งก็เหมือนส่วนที่เหลือของขอบมหาสมุทรแปซิฟิก ที่อยู่ในเขตแผ่นดินไหวที่ยังมีพลัง สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับความสามารถของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นที่จะทนต่อกิจกรรมแผ่นดินไหว ในการประชุมของกลุ่มรักษาความปลอดภัยและความปลอดภัยนิวเคลียร์ของ G8 ในกรุงโตเกียวปี 2008 ผู้เชี่ยวชาญ IAEA ได้เตือนว่าแผ่นดินไหวที่แข็งแกร่งที่มีแมกนิจูดมากกว่า 7.0 อาจก่อให้เกิด \"ปัญหาร้ายแรง\" สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น ภูมิภาคประสบกับแผ่นดินไหวที่มีแมกนิจูดมากกว่า 8 ถึงสามครั้ง ได้แก่แผ่นดินไหว Jogan Sanriku 869, แผ่นดินไหวเมจิ Sanriku 1896 และแผ่นดินไหว Sanriku 1933",
"title": "ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง"
},
{
"docid": "350973#1",
"text": "น้ำตกชิระอิโตะ ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน 1 ใน 100 น้ำตกในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจัดทำโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น ในปี 1990 \nน้ำตกชิราอิโตะได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกพร้อมกันกับภูเขาไฟฟูจิ อุทยานแห่งชาติฟูจิฮาโกเนอิซุ และทะเลสาบฟูจิทั้งห้าภายใต้ชื่อ \"ฟูจิซัง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแหล่งที่มาของความบันดาลใจทางศิลปะ\"เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา",
"title": "น้ำตกชิราอิโตะ"
},
{
"docid": "2417#11",
"text": "ประเทศญี่ปุ่นมีภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่ 108 ลูก ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีภูเขาไฟใหม่เกิดขึ้นหลายลูก รวมทั้งโชวะ-ชินซันบนฮกไกโดและเมียวจิน-โชนอกหินบายองเนสในมหาสมุทรแปซิฟิก เกิดแผ่นดินไหวทำลายล้างซึ่งมักทำให้เกิดคลื่นสึนามิตามมาหลายครั้งทุกศตวรรษ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต พ.ศ. 2466 ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 140,000 คน แผ่นดินไหวใหญ่ล่าสุด ได้แก่ แผ่นดินไหวใหญ่ฮันชิง พ.ศ. 2538 และแผ่นดินไหวในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ซึ่งมีขนาด 9.1 และทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ ดัชนีความเสี่ยงโลกปี 2556 จัดให้ประเทศญี่ปุ่นมีความเสี่ยงภัยธรรมชาติสูงสุดอันดับที่ 15",
"title": "ประเทศญี่ปุ่น"
},
{
"docid": "32420#1",
"text": "ภูเขาไฟฟูจิ มีชื่อในภาษาญี่ปุ่นว่า \"ฟูจิไกโซ",
"title": "ภูเขาฟูจิ"
}
] |
3429 | พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "4249#0",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า \"เจ้าฟ้ามงกุฎ\" เสด็จพระราชสมภพ ณ พระราชวังเดิม เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 43 และเป็นลำดับที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี",
"title": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "4249#2",
"text": "พระราชโอรสองค์ที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ฉศก จ.ศ. 1166 ซึ่งตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ณ พระราชวังเดิม ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระราชบิดา เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร โดยพระนามก่อนการมีพระราชพิธีลงสรงเฉลิมพระนามว่า \"ทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่\"",
"title": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
}
] | [
{
"docid": "289249#1",
"text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านงคราญอุดมดี ประสูติเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 เป็นพระราชธิดาลำดับที่ 58 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่แต่เจ้าจอมมารดาเพ็ง (นามเดิม: หุ่น) พระชนนีเป็นนางละครเชื้อสายจีน ธิดาหลวงราชภัตการ (จีนเอ็ง) เจ้ากรมเกาเหลาจีน โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียกว่า \"เมขลา\" หรือ \"เพ็งเมขลา\" ส่วนชาววังเรียกว่า \"หุ่นเมขลา\"",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านงคราญอุดมดี"
},
{
"docid": "274759#1",
"text": "เจ้าจอมเพิ่ม เกิดเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2400 เมื่ออายุ ๕ ขวบ ได้เข้าถวายตัวเป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาทในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้อยู่ในละครสำรับเล็ก ได้เป็นศิษย์ของคุณโต(แย้ม อิเหนา) ถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่ออายุ 17 ปี ทรงพระกรุณายกขึ้นเป็นเจ้าจอมอยู่งาน ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด ๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง และได้รับพระราชทานเงินกลางปีอีก 5 ชั่ง ต่อมาได้รับพระราชทานหีบหมากกะไหล่ทอง และหีบหมากตราจุลจอมเกล้า พ.ศ. ๒๔๕๔ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรให้เป็น ท้าวภัณฑสารนุรักษ์ ตำแหน่งพระคลังใน",
"title": "ท้าวภัณฑสารนุรักษ์ (เจ้าจอมเพิ่ม ในรัชกาลที่ 5)"
},
{
"docid": "4253#0",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระองค์ที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสวยราชสมบัติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2411 เสด็จสวรรคต เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ด้วยโรคพระวักกะ",
"title": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "73552#1",
"text": "เจ้าจอมมารดาเที่ยง เกิดเมื่อ พ.ศ. 2374 เป็นธิดาคนโตของ พระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ) และขรัวยายคล้าย มีน้องสาวที่เข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยกัน คือ เจ้าจอมมารดาชุ่ม และ เจ้าจอมมารดาทับทิม (ธิดาขรัวยายอิ่ม) และเจ้าจอมมารดาแส (ธิดาขรัวยายบาง) เจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว",
"title": "เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4"
},
{
"docid": "103456#3",
"text": "เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ เกิดวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2428 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดที่บ้านพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา ณ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นบุตรชายคนโตของพระอนันตสมบัติ (เอม ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา กับนางอนันตสมบัติ (เชื้อ วัชราภัย ณ สงขลา) ธิดาของหลวงอุปการโกษากร (เวท วัชราภัย) กับท่านปั้น ณ สงขลา เป็นหลานของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ลำดับที่ 6 นับจากทั้งฝ่ายบิดาและมารดา เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 9 คน ได้แก่\nเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2519 สิริอายุได้ 90 ปี 11 เดือน 8 วัน หลังจากรับราชการทั้งด้านตุลาการ บริหาร นิติบัญญัติ และองคมนตรี รวมทั้งสิ้นถึง 72 ปี",
"title": "เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)"
},
{
"docid": "852632#1",
"text": "อรุ่นเกิดเมื่อวันศุกร์ เดือนห้า ปีขาล พ.ศ. 2385 ในครอบครัวอำมาตย์ เป็นธิดาคนที่สองของหลวงมหามนเทียร (จุ้ย) กับภริยาชื่อนุ่ม เมื่อจำเริญวัยขึ้น นุ่มผู้มารดาจึงถวายตัวอรุ่นเป็นนางละครในราชสำนัก และมีชื่อเสียงมากจนรับสมญาว่า \"อรุ่นบุษบา\" รับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นเจ้าจอมอรุ่นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่มิได้ประสูติการพระราชบุตร ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2411 เจ้าจอมอรุ่นจึงถวายบังคมลาออกจากราชการ",
"title": "เจ้าจอมอรุ่น ในรัชกาลที่ 4"
},
{
"docid": "132258#1",
"text": "เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (แพ) เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) กับ ท่านผู้หญิงอิ่ม สุรวงศ์ไวยวัฒน์ (ท่านเจ้าพระยานั้นมีเอกภริยา 2 ท่านในเวลาเดียวกัน คือ ท่านผู้หญิงอ่วม พี่สาว และท่านผู้หญิงอิ่ม น้องสาว ท่านผู้หญิงทั้ง 2 เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน) พี่น้องร่วมมารดาของท่าน มีดังนี้",
"title": "เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 5)"
},
{
"docid": "4253#1",
"text": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ (ในรัชกาลที่ 6 ได้มีการสถาปนาพระบรมอัฐิเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร ซึ่งคำว่า \"จุฬาลงกรณ์\" นั้นแปลว่า เครื่องประดับผม อันหมายถึง \"พระเกี้ยว\" ที่มีรูปเป็นส่วนยอดของพระมหามงกุฎหรือยอดชฎา",
"title": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "111850#1",
"text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์ เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 49 ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสัมฤทธิ์ เมื่อวันอังคาร ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ตรงกับวันที่ 28 สิงหาคมพ.ศ. 2370 พระนามเดิม พระองค์เจ้าชมพูนุท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯสถาปนาเป็น\"กรมหมื่นเจริญผลพูลสวัสดิ์\" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ทรงกำกับมหาดเล็ก ช่างกระดาษ ช่างเขียนผู้หญิง และคลังพิมานอากาศ แล้วทรงเลื่อนเป็น\"กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์\"",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์"
}
] |
1755 | นาย เฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน เสียชีวิตหรือยัง ? | [
{
"docid": "638125#0",
"text": "นาย เฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน (, 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1926-2 ธันวาคม ค.ศ. 2008) หรือที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า \"H.M.\"\nเป็นคนไข้ความจำเสื่อมชาวอเมริกันผู้ได้รับการตัดสมองกลีบขมับด้านในออกทั้งสองข้าง \nคือในส่วน 2/3 ด้านหน้าของฮิปโปแคมปัส, parahippocampal cortex, entorhinal cortex, piriform cortex, และอะมิกดะลา\nเพื่อที่จะบำบัดโรคลมชัก (epilepsy)\nมีการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะอาการของเขาอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1957 จนกระทั่งถึงเขาเสียชีวิต\nเค้สของเขามีบทบาสำคัญในการพัฒนาทฤษฎีต่าง ๆ ที่อธิบายความสัมพันธ์กันของการทำงานในสมองและความจำ\nและในการพัฒนาของประสาทจิตวิทยาเชิงประชาน (cognitive neuropsychology) ซึ่งเป็นสาขาของจิตวิทยาที่มุ่งหมายเพื่อจะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและหน้าที่ของสมองกับกระบวนการทางจิตวิทยาเฉพาะอย่าง ๆ \nเขาได้อาศัยอยู่ในสถานพยาบาลในเมืองวินด์เซอร์ล็อกส์ รัฐคอนเน็กติกัต ซึ่งเป็นที่ที่มีการศึกษาประเด็นเรื่องของเขาอย่างมากมาย",
"title": "เฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน"
}
] | [
{
"docid": "638125#14",
"text": "แม้ว่าจะมีภาวะเสียความจำ นายโมไลสันสามารถผ่านการทดสอบทางเชาวน์ปัญญาได้ในระดับปกติ\nซึ่งแสดงว่า หน้าที่เกี่ยวกับความจำบางอย่าง (เป็นต้นว่าความจำระยะสั้น ความจำเกี่ยวกับคำศัพท์ และความจำเกี่ยวกับพยางค์) ไม่เกิดความเสียหายเพราะการผ่าตัด \nแต่ว่า ในการทำความเข้าใจและการใช้ภาษาในระดับประโยค นายโมไลสันมีความบกพร่องโดยความสามารถที่คงเหลือมีความบกพร่องคล้ายกับในระบบความจำ\nนายโมไลสันสามารถที่จะจำข้อมูลต่าง ๆ เป็นระยะเวลาสั้น ๆ\nตรวจสอบได้โดยการทดสอบความจำใช้งานที่จะต้องระลึกถึงตัวเลขที่แสดงให้ดูมาแล้ว\nซึ่งคะแนนของเขาก็ไม่ได้แย่กว่ากลุ่มควบคุม\nผลงานวิจัยนี้ให้หลักฐานว่า ความจำใช้งานไม่ต้องอาศัยโครงสร้างในสมองกลีบขมับด้านใน\nซึ่งก็สนับสนุนความแตกต่างโดยทั่ว ๆ ไปของที่เก็บความจำระยะสั้นและความจำระยะยาว \nการระลึกถึงศัพท์ต่าง ๆ ได้ของนายโมไลสันอย่างไม่มีปัญหาแสดงหลักฐานว่า ความจำเกี่ยวกับศัพท์ (lexical memory) ไม่ต้องอาศัยโครงสร้างในสมองกลีบขมับด้านใน",
"title": "เฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน"
},
{
"docid": "638125#4",
"text": "หลังจากการผ่าตัด แม้ว่าจะจัดว่าสำเร็จตามแผนเพื่อระงับอาการชัก เขาได้เกิดภาวะเสียความจำส่วนอนาคต (anterograde amnesia) อย่างรุนแรง\nและแม้ว่าความจำใช้งาน (working memory) และความจำเชิงกระบวนวิธี (procedural memory) ของเขาไม่เกิดความเสียหาย เขาไม่สามารถจำเหตุการณ์ใหม่ ๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งของความจำชัดแจ้ง (explicit memory) ได้\nตามนักวิทยาศาสตร์บางท่าน นายโมไลสันไม่สามารถเกิดความรู้โดยความหมาย (semantic knowledge) ใหม่ ๆ \nแต่ก็มีนักวิจัยอื่น ๆ ที่ถกเถียงกันถึงขนาดขอบเขตของความพิการนี้\nเขายังประสบปัญหาภาวะเสียความจำส่วนอดีต (retrograde amnesia) แบบเบา ๆ อีกด้วย คือเขาไม่สามารถจำเหตุการณ์โดยมากในช่วง 1-2 ปีก่อนการผ่าตัด\nและไม่สามารจำเหตุการณ์บางอย่างไปจนถึง 11 ปีก่อนการผ่าตัด ซึ่งแสดงว่าภาวะเสียความจำย้อนหลังของเขาเป็นไปตามลำดับเวลา\nแต่ว่า ความจำเชิงกระบวนวิธีระยะยาว (long-term procedural memory) ไม่เกิดความเสียหาย\nดังนั้น เขาจึงสามารถเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหว (motor skill) ใหม่ ๆ ได้ แม้ว่าจะจำไม่ได้ว่าได้เรียนมาเมื่อไรที่ไหน",
"title": "เฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน"
},
{
"docid": "638125#11",
"text": "สมองที่รักษาของนายโมไลสันได้กลายเป็นเป้าหมายการศึกษาทางกายวิภาคอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนโดยได้รับทุนมาจากมูลนิธิดานาและจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา\nโปรเจ็กต์ที่มี ดร. จาโคโป แอนนีส (ซึ่งเป็นผู้อำนวยการของ The Brain Observatory ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก) เป็นหัวหน้านี้\nจะทำการสำรวจในระดับจุลทรรศน์ของสมองนายโมไลสันทั้งหมด\nเพื่อที่จะแสดงมูลฐานทางประสาทของความเสียหายทางความทรงจำที่ปรากฏในประวัติของนายโมไลสันในระดับเซลล์\nในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2009 คณะของ ดร. แอนนีสได้ผ่าตัดสมองของนายโมไลสันออกเป็น 2,401 แผ่นเป็นแผ่นบาง ๆ โดยมีแผ่นที่เสียหายเพียงแค่สองแผ่น และแผ่นที่อาจจะมีปัญหาอีก 16 แผ่น\nและการสร้างสมองจำลอง 3-มิติ ก็ได้เสร็จสิ้นแล้วในต้นปี ค.ศ. 2014\nในปัจจุบันกลุ่มงานวิจัยกำลังทำงานระยะที่สองต่อ",
"title": "เฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน"
},
{
"docid": "638125#12",
"text": "อาการทั่ว ๆ ไปของนายโมไลสันสามารถกำหนดได้ว่า เป็นภาวะเสียความจำส่วนอนาคต (anterograde amnesia) ที่รุนแรง และมีภาวะเสียความจำส่วนอดีตที่มีระดับต่าง ๆ กันตามกาลเวลา (temporally graded retrograde amnesia)\nนายโมไลสันไม่สามารถสร้างความจำระยะยาวสำหรับเหตุการณ์หรือความรู้โดยความหมาย (semantic knowledge) ใหม่ ๆ \nคือเขาได้แต่ใช้ชีวิตที่เป็นไปในปัจจุบันเท่านั้น",
"title": "เฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน"
},
{
"docid": "638125#21",
"text": "ความรู้อีกอย่างหนึ่งที่นายโมไลสันได้ช่วยก็คือโครงสร้างทางประสาทของกระบวนการทำความจำให้มั่นคง (memory consolidation) ในมนุษย์\nซึ่งมีหน้าที่ในการสร้างความจำระยะยาวที่มีเสถียรภาพ \nคือนายโมไลสันมีภาวะเสียความจำส่วนอดีต (retrograde amnesia) ที่เป็นไปตามลำดับกาลเวลา ที่เขา “ยังสามารถระลึกถึงความจำในวัยเด็กได้\nแต่มีปัญหาในการระลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปีก่อน ๆ การผ่าตัด” \nคือ ความจำเก่า ๆ ของเขาไม่มีความเสียหาย แต่ว่า ความจำของปีใกล้ ๆ ก่อนการผ่าตัดมีความเสียหาย\nนี้เป็นหลักฐานที่แสดงว่า ความจำเก่า ๆ ในวัยเด็กไม่ได้อาศัยสมองกลีบขมับส่วนใน (medial temporal lobe)\nเปรียบเทียบกับความจำหลังจากนั้นที่ปรากฏว่าต้องอาศัย \nโครงสร้างต่าง ๆ ในสมองกลีบขมับส่วนในที่ถูกตัดออก\nได้รับสมมติว่ามีบทบาทในการทำความจำให้มั่นคงโดยวิธีที่\n“การปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมองกลีบขมับส่วนในและเขตเปลือกสมองด้านข้างต่าง ๆ \nได้รับการพิจารณาว่า เป็นการบันทึกความจำนอกสมองกลีบขมับส่วนใน\nโดยการสร้างอย่างช้า ๆ ซึ่งการเชื่อมต่อโดยตรง (โดยไม่ผ่านฮิปโปแคมปัส) ระหว่างเขตเปลือกสมองต่าง ๆ ที่เป็นตัวแทน (คือเป็นที่บันทึก) ของประสบการณ์”",
"title": "เฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน"
},
{
"docid": "638125#2",
"text": "นายเฮ็นรี่ โมไลสันเกิดวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1926 (พ.ศ. 2469)\nและมีโรคลมชักที่แก้ไม่ได้ (intractable epilepsy) ที่บางครั้งโทษว่า เกิดขึ้นเพราะอุบัติเหตุจักรยานเมื่อเขาอายุ 7 ขวบ\n(ตอนแรก ๆ อุบัติเหตุนี้บอกว่าเกิดขึ้นที่อายุ 9 ขวบ แต่ต่อมาภายหลังได้รับการแก้โดยมารดาของคนไข้) \nเขาประสบปัญหาการชักเฉพาะส่วน (focal seizures) เป็นเวลาหลายปี\nและได้เกิด tonic-clonic seizure หลายครั้งหลายคราวหลังจากครบอายุ 16 ปี\nในปี ค.ศ. 1953 หมอได้ส่งให้เขาไปหาประสาทแพทย์ วิลเลียมส์ บีชเชอร์ สโกวิลล์ ที่โรงพยาบาลฮาร์ตฟอร์ดเพื่อการรักษา",
"title": "เฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน"
},
{
"docid": "638125#20",
"text": "นอกจากนั้นแล้ว คอร์กิน ยังยืนยันอีกด้วยว่า แม้ว่าโมไลสันจะไม่สามารถสร้างความจำเชิงประกาศใหม่โดยทั่ว ๆ ไป\nแต่เขายังดูเหมือนกับสามารถสร้างข้อมูลบางอย่างบ้างเล็กน้อยที่ไม่สมบูรณ์เกี่ยวกับบุคคลสาธารณะ (เช่นสามารถค้นคืนชื่อของคนมีชื่อเสียงเมื่อให้ตัวช่วย)\nผลงานวิจัยเหล่านี้แสดงถึงความสำคัญของสมองส่วนรอบ ๆ ฮิปโปแคมปัส (extrahippocampal) ที่ไม่เสียหายต่อความจำเชิงความหมาย (semantic) และความจำเพื่อการรู้จำ (recognition)\nและช่วยเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับความปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างต่าง ๆ ในสมองกลีบขมับด้านใน\nส่วนความเสียหายอย่างรุนแรงของโมไลสันเกี่ยวกับงานทางพื้นที่บางอย่างให้หลักฐานที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างฮิปโปแคมปัสกับความจำโดยพื้นที่ (spatial memory)",
"title": "เฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน"
},
{
"docid": "638125#15",
"text": "นอกจากความจำใช้งานและเชาวน์ปัญญาที่ไม่เสียหายของเขาแล้ว งานวิจัยเกี่ยวกับความสามารถในการได้มาซึ่งทักษะการเคลื่อนไหวใหม่ ๆ แสดงว่าการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ นั้นไม่เสียหาย \nในงานวิจัยหนึ่งของมิลเนอร์ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 นายโมไลสันเรียนรู้ทักษะการวาดรูปโดยมองเงาสะท้อนในกระจก \nงานวิจัยของคอร์กินในปี ค.ศ. 1968 เพิ่มพูนหลักฐานที่แสดงความไม่เสียหายของการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ\nในงานวิจัยนี้ มีการทดสอบนายโมไลสันในงานเกี่ยวกับการเรียนรู้ทักษะ 3 อย่าง ผู้แสดงความสามารถในการเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวอย่างสมบูรณ์ในงานทั้ง 3 อย่าง",
"title": "เฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน"
},
{
"docid": "638125#18",
"text": "ตามคำของคอร์กิน งานวิจัยเกี่ยวกับสมรรถภาพความจำของโมไลสันได้ให้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างทางประสาทของความจำทางพื้นที่ (spatial memory) และการประมวลข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่\nแม้เขาไม่สามารถที่จะสร้างความจำอาศัยเหตุการณ์หรือความจำเกี่ยวกับความจริงใหม่ ๆ โดยระยะยาว\nและปรากฏความบกพร่องในการทดสอบความจำทางพื้นที่บางอย่าง\nนายโมไลสันก็ยังสามารถที่จะวาดแผนผังที่ละเอียดของที่อยู่ของเขา\nสิ่งที่พบนี้น่าสนใจเพราะว่าโมไลสันได้ย้ายเข้าไปอยู่ในบ้านนั้น 5 ปีหลังจากการผ่าตัด และดังนั้น\nเพราะเหตุภาวะเสียความจำส่วนอนาคต (anterograde amnesia) ที่รุนแรงของเขา และเพราะความเข้าใจของระบบความจำที่ได้ในเค้สอื่น ๆ \nสิ่งที่คาดหมายก็คือว่า การสร้างความจำเชิงแผนที่ภูมิลักษณ์ของนายโมไลสันควรจจะเกิดความเสียหายไปด้วย\nคอร์กินได้คาดว่า \nโมไลสัน \"สามารถสร้างแผนที่เชิงประชานของแผนใช้พื้นที่ของบ้านของเขาเพราะมีการไปจากห้องสู่ห้องทุก ๆ วัน\"\nส่วนในประเด็นเรื่องโครงสร้างทางประสาท คอร์กิน อ้างว่า ความสามารถของนายโมไลสันในการสร้างแผนใช้พื้นที่\nเป็นไปได้เพราะว่า โครงสร้างของเครือข่ายประสาทในการประมวลพื้นที่โดยส่วนหนึ่งของเขาไม่มีความเสียหาย (เช่น ส่วนหลังของ parahippocampal gyrus)",
"title": "เฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน"
}
] |
700 | ภาษาไทยมีอักษรกี่ตัว ? | [
{
"docid": "2090#0",
"text": "อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ",
"title": "อักษรไทย"
}
] | [
{
"docid": "35404#2",
"text": "ในภาษาไทย เนื่องจากไม่มีเสียงอักษรไทยที่ใกล้เคียงกับ และ ตามกฎของราชบัณฑิตยสถานที่ใช้ในเอกสารของทางราชการไทย กำหนดให้ การถอดเสียงภาษาอังกฤษ มาเป็นภาษาไทย ให้ถอดตัวอักษร th มาเป็นตัวอักษร ด หรือ ท ขึ้นอยู่กับการออกเสียง (ซึ่งออกเสียง และ ใกล้เคียงกับเสียง และ ตามลำดับ) ในบางครั้งจะเกิดปัญหาที่คำทับศัพท์มีการซ้ำซ้อน เช่นคำว่า \"thank\" และ \"tank\" เมื่อทับศัพท์ออกมาตามหลัก แล้วรูปจะเหมือนกัน คือ \"แทงก์\" แต่การออกเสียงแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีบางกลุ่มที่ถอดเสียง เป็น ธ.ธง เพื่อเปรียบต่างกับเสียง ที่เป็น ท.ทหาร เช่นในคำว่า มาราธอน (marathon) โดย ธ.ธง สำหรับในคำทับศัพท์นี้แสดงถึงเสียง ",
"title": "Th (ทวิอักษร)"
},
{
"docid": "359521#1",
"text": "ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 25 นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวแปรแสงเพียงไม่กี่ดวง จึงดูมีเหตุผลที่จะใช้อักษรโรมัน โดยการเริ่มจากตัวอาร์เพื่อไม่ให้สับสนกับการตั้งชื่อดาวตามสเปกตรัมดาวฤกษ์ (ณ ตอนนี้ถูกใช้ไม่บ่อยนัก) หรือการตั้งชื่อดาวแบบเบเยอร์โดยใช้อักษรละติน เกณฑ์การตั้งชื่อนี้ถูกพัฒนาโดยเฟดริช วี. อาร์จแลนเดอร์ เชื่อกันว่าอาร์จแลนเดอร์เลือกใช้อักษรอาร์เพราะคำว่า\"รูจ\" () ในภาษาฝรั่งเศส และ\"รอต\" () ในภาษาเยอรมันล้วนหมายถึงสีแดง แต่ว่าคำพูดของอาร์จแลนเดอร์พิสูจน์ให้เห็นว่าความคิดนี้ผิด",
"title": "การตั้งชื่อดาวแปรแสง"
},
{
"docid": "71497#0",
"text": "Short I (Й, й) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก อักษรตัวนี้ประดิษฐ์ขึ้นจากอักษร И และเครื่องหมายเสริมอักษร breve ใช้แทนเสียงพยัญชนะกึ่งสระ // เหมือน y ในคำว่า yellow ของภาษาอังกฤษหรือ ย ในภาษาไทย",
"title": "Й"
},
{
"docid": "11292#7",
"text": "ภาษาสันสกฤตมีรูปอักษร 48 ตัว แบ่งเป็นพยัญชนะ 34 ตัว สระ 14 ตัว การศึกษาภาษาสันสกฤตในประเทศไทย นิยมใช้อักษร 3 ชนิด คือ อักษรไทย อักษรเทวนาครี และอักษรโรมัน ในที่นี้จะแสดงสระและพยัญชนะด้วยอักษรไทย",
"title": "ภาษาสันสกฤต"
},
{
"docid": "35921#5",
"text": "ในภาษาไทย ระบบการทับศัพท์ตามระบบของราชบัณฑิตยสถานเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้สำหรับเอกสารทางราชการในประเทศไทย และยังคมนิยมใช้เป็นมาตรฐานหลักในประเทศไทย โดยมีระบบสำหรับการทับศัพท์ในภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษามลายู ภาษาเยอรมัน ภาษารัสเซีย ภาษาสเปน ภาษาอาหรับ ภาษาอิตาลี นอกจากนี้การทับศัพท์จากภาษาไทยเป็นตัวอักษรละติน ในระบบ ALA-LC โดย The Library of Congress และ มาตรฐาน ISO 11940 (ค.ศ. 1998) แบบถ่ายถ่ายทอดตัวอักษรโดยระบบของแอนซี",
"title": "การถอดเสียง"
},
{
"docid": "936864#6",
"text": "5. พยัญชนะในภาษาอินโดนีเซียหลายตัวไม่มีเสียงในภาษาไทย จำเป็นจะต้องเลือกอักษรไทยที่มีเสียงใกล้เคียง และหลายเสียงต้องใช้อักษรไทยตัวเดียวกันแทนเสียงพยัญชนะที่มีเสียงต่างกันในภาษาอินโดนีเซีย ดังนี้",
"title": "การทับศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย"
},
{
"docid": "28408#1",
"text": "ในภาษาไทย เมื่ออักษรย่อมีตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป จะใส่จุดที่ตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว (ไม่ใส่ทีละอักษร) ยกเว้นบางตัวที่เคยมีใช้กันมาก่อนจนเป็นที่ยอมรับแล้ว เช่น น.ส. ร.ร. พ.ศ. เป็นต้น ส่วนภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาที่ใช้อักษรละติน ส่วนใหญ่จะไม่มีจุด",
"title": "อักษรย่อ"
},
{
"docid": "62132#4",
"text": "นักวิชาการไทยบางกลุ่มเห็นว่า อักษรลาวนั้นมีวิวัฒนาการไม่ต่างจากอักษรไทยและเขมร คือล้วนมีรากฐานมาจากตัวอักษรอินเดียใต้ของราชวงศ์ปัลลวะ หาใช่อักษรอินเดียฝ่ายเหนืออย่างเทวนาครีไม่ แต่แนวคิดนี้ได้ถูกลบล้างไปด้วยปรากฏว่า อักษรที่ปรากฏอยู่ในจารึกของลาวนั้นมีความเก่าแก่กว่าอักษรที่ปรากฏอยู่ในจารึกของไทย และเก่าแก่กว่าอักษรสมัยพ่อขุนรามคำแหงของไทย อักษรลาวและอักษรไทยจึงไม่น่าจะพัฒนามาพร้อมกัน หากแต่อักษรไทยน่าจะวิวัฒนาการมาจากอักษรลาว โดยเป็นการพัฒนาจนสมบูรณ์แบบขึ้น เพื่อให้มีตัวอักษรเพิ่มขึ้นจนทำให้สามารถถอดคำภาษาบาลีและสันสกฤตมาไว้ในภาษาไทยได้ เนื่องจากอักษรไทน้อยแต่เดิมมีอักษรไม่เพียงพอที่จะใช้เขียนถ่ายคำจากภาษาบาลี",
"title": "อักษรลาว"
},
{
"docid": "2289#12",
"text": "ภาษาเขมรเขียนด้วยอักษรเขมร และเลขเขมร (มีลักษณะเหมือนเลขไทย) ใช้กันทั่วไปมากกว่าเลขอารบิก ชาวเขมรได้รับตัวอักษรและตัวเลขจากอินเดียฝ่ายใต้ อักษรเขมรนั้นมีด้วยกัน 2แบบ ในสมัยก่อน มีผู้นิยมใช้อักษรเขมรเขียนภาษาไทย หรือภาษาบาลี ด้วย เรียกอักษรอย่างนี้ว่า อักษรขอมไทย",
"title": "ภาษาเขมร"
},
{
"docid": "115167#5",
"text": "แสดงถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างชัดเจน ในประเด็นการปรับแผนการศึกษา ของชาติที่เด่นชัด โดยพัฒนาจากระบบ บ้าน วัด วัง และโรงเรียน โดยเฉพาะเมื่อโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ขึ้นเป็นครั้งแรก ทรงใช้กระบวนการทางปัญญาแก้ปัญหาระบบการพัฒนาประเทศ ตัวอักษรจึงเป็นประเด็นสำคัญในการจัดวางรูปแบบ ดังนั้น ตัวอักษรไทยในราชภัฏสัญลักษณ์ จึงมีโครงสร้างในลักษณะใกล้เคียงระบบสากล คือใช้อักษรโรมันแบบ Gothic หรือตัวอักษรอังกฤษแบบ Old English และอักษรขอม เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบตัวอักษร ให้สามารถแทนค่าความรู้สึกในการสื่อสารร่วมสมัย และแสดงความสูงส่งแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ตราสัญลักษณ์โรงเรียน เป็นรูปวงรีสองวงล้อมตราพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายในวงรีด้านบนเป็นอักษรภาษาไทยเขียนว่า \"มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี\" ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษเขียนว่า \" THEPSATRI RAJABHAT UNIVERSITY\" (เดิมตราสัญลักษณ์ของโรงเรียนด้านล่างเป็นอักษรภาษาไทยเขียนว่า \"โรงเรียนสาธิต\")",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี"
},
{
"docid": "37035#0",
"text": "ภาษามอญ ( \"เพียซาโหม่น\") เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษามอญ-เขมร ซึ่งเป็นสายหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร 12 สาย พูดโดยชาวมอญ ที่อาศัยอยู่ในพม่า และไทย ภาษาตระกูลมอญ-เขมรมีการใช้มานานประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว มีผู้ใช้ภาษานี้อยู่ประมาณ 5,000,000 คน อักษรมอญ ที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบในประเทศไทย หลักฐานที่พบคือ จารึกวัดโพธิ์ร้าง พ.ศ. 1143 เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบเอเซียอาคเนย์ เป็นจารึกที่เขียนด้วยตัวอักษรปัลลวะ ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น อักษรมอญ และได้พบอักษรที่มอญประดิษฐ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงในภาษามอญ ในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมืองลพบุรี ข้อความที่จารึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สันนิษฐานว่า จารึกในพุทธศตวรรษที่ 14 ราว พ.ศ. 1314 อักษรจารึกในศิลาหลักนี้ เรียกว่า ตัวอักษรหลังปัลลวะ",
"title": "ภาษามอญ"
},
{
"docid": "482708#5",
"text": "ในแง่ของการอ่าน นอกจากชุดอักษรที่ไม่เหมือนกันดังที่กล่าวแล้ว เสียงอ่านของตัวอักษรแต่ละตัวก็มีฐานกรณ์ต่างกัน และรูปอักษรแทนเสียงก็มีไม่เพียงพอต่อการถ่ายทอดให้ออกมาได้ครบถ้วน เสียงอ่านจึงแปรเปลี่ยนไปตามภาษาของผู้รับ ตัวอย่าง คำอังกฤษ volleyball ในขณะที่คำไทยเขียนว่า \"วอลเลย์บอล\" คำญี่ปุ่นเขียนว่า バレーボール (บะเรโบรุ) จะเห็นว่าเสียง v ของภาษาอังกฤษไม่มีในภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่น ภาษาไทยจึงใช้ ว ซึ่งเป็นเสียงที่ใกล้เคียงที่สุด และภาษาญี่ปุ่นนิยมใช้คะนะกลุ่ม \"บ\" มากกว่า ถึงแม้ว่าจะสามารถใช้ ヴォ แทนเสียง vo ได้",
"title": "คำยืม"
},
{
"docid": "12910#5",
"text": "ในการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย อักษรโรมันหลายตัวสามารถถอดด้วยอักษรไทยแบบหนึ่งต่อหนึ่ง เช่น d=ด, r=ร, l=ล, f=ฟ เป็นต้น และสามารถแปลงกลับได้ตัวเดิม แต่ก็มีอักษรโรมันบางตัวที่สามารถอ่านได้หลายเสียงในภาษาอังกฤษ หรือไม่มีเสียงที่เหมือนกันในอักษรไทย ส่วนนี้จึงต้องใช้การถอดเสียงเข้าช่วย โดยเฉพาะกับอักษรที่เป็นสระ เช่น a อาจเทียบเท่ากับเสียง เออะ อะ อา เอ แอ ออ หรือทวิอักษร th ที่ออกเสียงเป็น ก็ต้องดูว่าต้นฉบับอ่านอย่างไรจึงจะสามารถทับศัพท์ได้ใกล้เคียงที่สุด ส่วนนี้จึงมักจะเป็นปัญหาอันเนื่องจากแต่ละคนอ่านไม่เหมือนกันหรืออ่านด้วยต่างสำเนียง ตัวอย่างเช่น \"tube\" ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันอ่านว่า จึงทับศัพท์ว่า \"ทูบ\" ส่วนภาษาอังกฤษแบบบริเตนอ่านว่า จึงทับศัพท์ว่า \"ทิวบ์\" หรือในกรณีที่ยึดถือหลักการทับศัพท์ต่างกัน เช่น \"theta\" อาจทับศัพท์เป็น \"ทีตา, ธีตา, เธตา, ซีตา, เซตา\" ซึ่งเป็นการทับศัพท์ตามใจและไม่มีหลักที่แน่นอน อย่างไรก็ตาม คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษบางคำก็ได้รับการบรรจุลงในพจนานุกรมภาษาไทย เพื่อกำหนดการสะกดคำในภาษาให้ตรงตามพจนานุกรมอย่างถาวร และถือว่าเป็นคำยืมในภาษาไทย",
"title": "การทับศัพท์"
},
{
"docid": "92403#11",
"text": "สำหรับพระไตรปิฎกที่พระสงฆ์ใช้ศึกษานั้นนำมาจากลังกา เป็นตัวอักษรสิงหล และได้ปริวรรตเป็นตัวอักษรขอม ถึงแม้ว่าจะมีการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นมาในสมัยนี้แล้วก็ตามเพราะในสมัยนั้นคนไทยรับอิทธิพลของขอมไว้ทุกด้าน ตัวอักษรขอมก็มีมาก ส่วนตัวอักษรไทนที่พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์ขึ้นไม่พอที่จะเขียนภาษาบาลี จึงใช้อักษรขอมไปก่อนและก็ใช้กันมาเรือยๆ จนเข้าใจผิดกันต่อมาว่า อักษรขอมเป็นอักษรจารึกพระไตรปิฎก เป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ จนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯ ให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกขึ้นเป็นอักษรไทย เพื่อลบล้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอักษรขอม",
"title": "การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย"
},
{
"docid": "10422#4",
"text": "ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น \"เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ\" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน",
"title": "พินอิน"
},
{
"docid": "254174#8",
"text": "ในข้อเขียนวอยนิชปรากฏคำซึ่งเขียนในแบบของภาษาละตินเพียงไม่กี่คำเท่านั้น โดยในหน้าสุดท้ายมีข้อความสี่บรรทัดซึ่งเขียนเป็นอักษรละตินที่บิดเบี้ยว ตัวอักษรนี้มีลักษณะคล้ายตัวอักษรในช่วงคริสตร์ศตวรรษที่ 15 แต่คำเหล่านั้นก็ดูจะไม่มีความหมายในภาษาใด ๆ[6] แผนผังในส่วนดาราศาสตร์ยังมีชื่อเดือนทั้งสิบ (ตั้งแต่มีนาคมถึงธันวาคม) ซึ่งเขียนเป็นภาษาละติน ซึ่งการสะกดนั้นคล้ายกับภาษาฝรั่งเศสโบราณหรือภาษาของคาบสมุทรไอบีเรีย.[7] ทั้งนี้ ยังไม่ปรากฏชัดว่าข้อความละตินเหล่านี้ถูกเขียนเพิ่มเติมในภายหลังหรือไม่",
"title": "ข้อเขียนวอยนิช"
},
{
"docid": "97959#2",
"text": "ส่วนภาษาเขียนในอดีตใช้อักษรธรรมล้านช้างหรือตัวธรรม สำหรับบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมะหรือพระพุทธศาสนา และเขียนด้วยอักษรไทน้อยหรือตัวลาวเดิม (เป็นอักษรลาวล้านช้างโบราณ มีความแตกต่างกับอักษรลาวในประเทศลาวในปัจจุบันเล็กน้อย) สำหรับเรื่องราวทางโลก อักษรลาวล้านช้าง (ตัวลาวหรืออักษรไทน้อย) มีพยัญชนะ 20 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 2-3 เสียง บางท้องถิ่นไม่มีเสียงสระเอือ ในปัจจุบันนิยมใช้อักษรไทยสำหรับเขียนบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งในทางโลกและทางธรรม เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ไม่สามารถอ่านตัวอักษรธรรมและอักษรลาวออก แต่ความนิยมในการเขียนบันทึกเป็นภาษาถิ่นไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก โดยส่วนใหญ่ภาษาเขียนในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยจะใช้อักษรไทยและบันทึกเป็นภาษาไทยกลางเป็นหลักแทน",
"title": "ภาษาไทยถิ่นอีสาน"
},
{
"docid": "213943#1",
"text": "เทเลเท็กซ์หรือหนังสือพิมพ์ทางโทรทัศน์เป็นการส่งข้อมูลและข่าวสารแบบหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ตจะพัฒนาขึ้น ประมาณปี ค.ศ.1970(พ.ศ. ๒๕๑๓)ในประเทศอังกฤษ ซึ่งการส่งข้อมูลเทเลเท็กซ์จะส่งออกไปพร้อมกับการส่งคลื่นสัญญาณโทรทัศน์ ดังนั้นผู้รับชมโทรทัศน์สามารถรับชมได้ด้วยเครื่องรับที่มีวงจรถอดรหัสสัญญาณเทเลเท็กซ์หรืออาจจะใช้อุปกรณ์ถอดรหัสภายนอก ได้แก่ ชุดควบคุมอุปกรณ์ (SET-TOP BOX) ข้อมูลเทเลเท็กซ์มีหลายประเภทเช่น ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ พยากรณ์อากาศ ตารางเวลาการเดินรถไฟสายต่างๆ ตารางเวลาเครื่องบินโดยสาร ข่าวสารต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะมีอยู่ในหนังสือพิมพ์ทั่วไปแต่การรับข้อมูลจากระบบเทเลเท็กซ์จะสะดวกรวดเร็วและข้อมูลมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลาโดยผู้รับชมสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ที่สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ได้แต่ระบบนี้ ได้รับความนิยมลดน้อยลง เมื่อมีระบบเครือข่ายสื่อสารอื่นๆ เข้ามาใช้งาน เช่น ข้อความสั้น (SMS) ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น\nสำหรับประเทศไทยนั้น ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานการส่งเทเลเท็กซ์ในประเทศไทย แต่หากจะให้ระบบเทเลเท็กซ์สามารถแสดงตัวอักษรภาษาไทยได้ต้องมีการกำหนดมาตรฐานขึ้นมาใหม่เนื่องจากภาษาไทยมีลักษณะพิเศษไม่เหมือนภาษาอังกฤษเนื่องจากมีรายละเอียดหลายประการ ที่ต้องพิจารณาเช่น แต่ละจอจะให้มีกี่บรรทัด โดยการแปลงจากสามบรรทัดภาษาอังกฤษ ให้เป็นหนึ่งบรรทัดภาษาไทย เป็นต้น แต่ในประเทศไทยเคยออกอากาศเทเลเท็กซ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ถึงปี พ.ศ. 2551ทางช่อง 3 และ 9 โดยในช่อง 3 ใช้ชื่อว่า \"Infonet\" และช่อง 9 ใช้ชื่อว่า \"ข่าวเขียน\" หรือ \"ข่าวสารอิเล็คโทรนิกส์\" โดยช่อง 3 ออกอากาศในช่วงระหว่างปี 2528-2551 และช่อง 9 ในปี 2535-2543.",
"title": "เทเลเท็กซ์"
},
{
"docid": "82026#4",
"text": "การใช้อักษรเขียนภาษาเคิร์ดยังไม่ได้รับการยอมรับในตุรกี และการใช้อักษรเฉพาะสำหรับภาษาเคิร์ด X W Q ที่ไม่มีใช้ในภาษาตุรกีถูกห้ามจนถึง พ.ศ. 2551 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา นักกิจกรรมทางสิทธิมนุษยชนและนักการเมืองต้องขึ้นศาลเพราะใช้ภาษาเคิร์ดแม้จะเป็นส่วนน้อยเพียงไม่กี่คำ เช่นการส่งบัตรอวยพรที่มีคำว่า “สวัสดีปีใหม่” เป็นภาษาเคิร์ด การจำแนกใช้การปรากฏของอักษร X W Q ที่ไม่มีใช้ในภาษาตุรกีเป็นสำคัญ ",
"title": "ภาษาเคิร์ด"
},
{
"docid": "62607#3",
"text": "อักษรเขมรมีพยัญชนะ 35 ตัว เลิกใช้ไป 2 ตัว พยัญชนะแบ่งเป็น 2 ชุดคือ พยัญชนะเสียงไม่ก้อง (อโฆษะ) พื้นเสียงเป็น ออ-อา พยัญชนะเสียงก้อง (โฆษะ) พื้นเสียงเป็น ออ-โอ เมื่อประสมสระ พยัญชนะต่างชุดกันออกเสียงต่างกัน อักษรเขมรมีทั้งพยัญชนะธรรมดา และพยัญชนะซ้อนที่ใส่ไว้ใต้พยัญชนะตัวอื่น พยัญชนะซ้อนจะใช้เมื่อต้องการตัดพื้นเสียงของพยัญชนะตัวก่อนหน้า อักษรไทยที่กำกับไว้คือการปริวรรตอักษรเขมรมาเป็นอักษรไทย ส่วนเสียงอ่านจะแสดงด้วยสัทอักษรสากลนอกจากนี้ยังมีพยัญชนะพิเศษซึ่งประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแทนเสียงคำยืมหรือคำทับศัพท์จากภาษาอื่น เช่นภาษาไทยหรือภาษาฝรั่งเศส ส่วนใหญ่สร้างโดยการซ้อนพยัญชนะไว้ใต้ (ห)",
"title": "อักษรเขมร"
},
{
"docid": "2088#12",
"text": "ภาษาไทยมีกลุ่มพยัญชนะเพียงไม่กี่กลุ่ม ประมวลคำศัพท์ภาษาไทยดั้งเดิมระบุว่ามีกลุ่มพยัญชนะ (ที่ออกเสียงรวมกันโดยไม่มีสระอะ) เพียง 11 แบบเท่านั้น เรียกว่า \"พยัญชนะควบกล้ำ\" หรือ \"อักษรควบกล้ำ\" อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน\nพยัญชนะควบกล้ำมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยจากคำยืมภาษาต่างประเทศ อาทิ \"จันทรา\" จากภาษาสันสกฤต มีเสียง ทร , \"ฟรี\" จากภาษาอังกฤษ มีเสียง ฟร เป็นต้น เราสามารถสังเกตได้ว่า กลุ่มพยัญชนะเหล่านี้ถูกใช้เป็นพยัญชนะต้นเท่านั้น ซึ่งมีเสียงพยัญชนะตัวที่สองเป็น ร ล หรือ ว และกลุ่มพยัญชนะจะมีเสียงไม่เกินสองเสียงในคราวเดียว การผันวรรณยุกต์ของคำขึ้นอยู่กับไตรยางศ์ของพยัญชนะตัวแรก",
"title": "ภาษาไทย"
},
{
"docid": "6012#0",
"text": "ตัวเลขไทย เป็นอักษรตัวเลขที่ใช้แสดงจำนวนนับในภาษาไทย ประดิษฐ์ขึ้นโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยดัดแปลงมาจากตัวอักษรขอม และมีต้นตอมาจากอักษรเทวนาครีของอินเดีย เช่นเดียวกับเลขอารบิก เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่ใช้ระบบจำนวนนับเป็นเลขฐานสิบ และมีการเปลี่ยนแปลงสัณฐาน จากอดีตสู่ปัจจุบันน้อยมาก\nเลข ๑๓๒ อ่านว่า หนึ่งร้อยสามสิบสอง คำว่า ร้อย, พัน ฯลฯ ซึ่งเป็นค่าประจำหลัก จะต้องอ่านออกเสียงหลังเลขในหลักนั้นๆ และในหลักภาษา จะต้องอ่านออกเสียง ๑๐๐ ว่า หนึ่งร้อย ไม่ใช่ ร้อย\nในภาษาพูดทั่วไป คำว่า หนึ่ง มีออกเสียงเพี้ยนเป็น \"นึง\" ซึ่งทำให้ความหมายของ 100 (ร้อยนึง) กับ 101 (ร้อยหนึ่ง : ตามหลักภาษา อ่านว่า หนึ่งร้อยเอ็ด) แตกต่างกัน",
"title": "ตัวเลขไทย"
},
{
"docid": "101966#0",
"text": "อักษรลิเชีย (Lycian ออกเสียง) พัฒนามาจากอักษรกรีกรูปโค้ง มีอักษรที่ประดิษฐ์เองเพียงไม่กี่ตัวหรืออาจจะยืมมาจากอักษรอื่น พบจารึกอักษรนี้ราว 180 ชิ้นเมื่อราว พ.ศ. 43 – 143 เขียนด้วยภาษาลิเชีย ความรู้เกี่ยวกับภาษานี้ในด้านไวยากรณ์ยังน้อย จารึกส่วนใหญ่จึงยังอ่านไม่ได้โดยสมบูรณ์ เขียนจากซ้ายไปขวา แนวนอน มีพยัญชนะ 23 ตัว สระ 6 ตัว แยกคำด้วยเรื่องหมายคล้าย :",
"title": "อักษรลิเชีย"
},
{
"docid": "11140#30",
"text": "ยังเป็นที่โต้เถียงว่า จำนวนอักษรจีนหรืออักษรคันจิมีทั้งหมดกี่ตัว พจนานุกรมไดคันวะ จิเตน (大漢和辞典 Dai Kan-Wa jiten แปลว่า มหาพจนานุกรมจีนญี่ปุ่น) ได้รวบรวมอักษรคันจิไว้ประมาณ 50,000 ตัว ซึ่งถือว่าครอบคลุมมาก ส่วนในประเทศจีน มีพจนานุกรมภาษาจีนเล่มหนึ่งรวมรวมไว้ถึง 100,000 ตัว ซึ่งรวมถึงอักษรที่มีรูปแบบคลุมเครือด้วย แต่อักษรคันจิที่ใช้กันจริงในประเทศญี่ปุ่นมีอยู่เพียงประมาณ 2,000-3,000 ตัวเท่านั้น",
"title": "คันจิ"
},
{
"docid": "2088#8",
"text": "เสียงพยัญชนะต้นโดยรวมแบ่งเป็น 21 เสียง ตารางด้านล่างนี้บรรทัดบนคือสัทอักษรสากล บรรทัดล่างคืออักษรไทยในตำแหน่งพยัญชนะต้น (อักษรหลายตัวที่ปรากฏในช่องให้เสียงเดียวกัน) อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน\n* ฃ และ ฅ เลิกใช้แล้ว ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าภาษาไทยสมัยใหม่มีพยัญชนะเพียง 42 ตัวอักษร",
"title": "ภาษาไทย"
},
{
"docid": "19924#2",
"text": "การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน มีจุดประสงค์เขียนไว้ในประกาศว่า เพื่อให้อ่านคำไทยในตัวอักษรโรมันได้ใกล้เคียงกับคำเดิม แต่ก็ได้รับการวิพากษ์ว่ายังไม่ดีเพียงพอสำหรับชาวต่างชาติในการอ่านภาษาไทย เนื่องจากนอกจากนี้ ถึงแม้ระบบของราชบัณฑิตยสถานจะที่ใช้ในเอกสารราชการเกือบทั้งหมด แต่ก็มีการเขียนคำทับศัพท์ในรูปแบบอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงเสียงที่เพี้ยนไปจากเสียงภาษาไทย และเลี่ยงความหมายที่ไม่ดีในภาษาอังกฤษและภาษาอื่น เช่นคำว่า \"ธง\" หรือ \"ทอง\" เมื่อทับศัพท์ตามระบบราชบัณฑิตทั้งสองคำจะสะกดได้คำว่า \"thong\" ซึ่งในภาษาอังกฤษหมายถึง ธอง (กางเกงชั้นในประเภทหนึ่ง) จึงเลี่ยงไปใช้คำว่า \"tong\" แทน",
"title": "การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน"
},
{
"docid": "15692#11",
"text": "ภาษาตุรกีปัจจุบันใช้อักษรละตินที่ดัดแปลงเป็นแบบของตนเอง โดยอักษรรูปแบบดังกล่าวได้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2471 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปวัฒนธรรมของอตาเติร์ก เดิมภาษาตุรกีเขียนด้วยอักษรอาหรับแบบตุรกี แต่อักษรแบบดังกล่าวมีรูปเขียนสำหรับเสียงสระยาวเพียงแค่สามรูป ทั้ง ๆ ที่ภาษาตุรกีมีเสียงสระถึงแปดเสียง และยังมีอักษรบางตัวที่แทนเสียงที่ซ้ำกันในภาษาตุรกี (แต่ไม่ซ้ำกันในภาษาอาหรับ คล้ายกับอักษรไทยที่มีทั้ง ศ ษ และ ส ซึ่งมาจากอักษรที่แทนเสียงที่แตกต่างกันในภาษาสันสกฤต) การปฏิรูปดังกล่าวจึงทำให้ได้ตัวเขียนที่เหมาะสมกับภาษาตุรกีมากกว่าอักษรแบบเดิม",
"title": "ภาษาตุรกี"
},
{
"docid": "46582#7",
"text": "6. พยัญชนะในภาษามลายูหลายตัวไม่มีเสียงในภาษาไทย จำเป็นจะต้องเลือกอักษรไทยที่มีเสียงใกล้เคียง และหลายเสียงต้องใช้อักษรไทยตัวเดียวกันแทนเสียงพยัญชนะที่มีเสียงต่างกันในภาษามลายู ดังนี้",
"title": "การทับศัพท์ภาษามลายู"
},
{
"docid": "831782#3",
"text": "โดยลักษณะของคำหรือประโยคปริศนาที่ใช้เป็นคำถามในรายการ จะเป็นช่องเว้นว่างที่มีเครื่องหมายขีดเส้นใต้ที่กำหนดลักษณะของตัวอักษรในภาษาไทยที่ประสมกันเป็นคำหรือประโยคนั้น ๆ ไว้ ซึ่งในขณะที่ให้ผู้เข้าแข่งขันเริ่มทายคำหรือประโยคปริศนา จะปรากฏตัวอักษรภาษาไทย นั่นคือ พยัญชนะ, สระ และวรรณยุกต์ ซึ่งจะค่อยๆ ปรากฏทีละตัวอักษร ตัวละ 1.5 วินาทีโดยประมาณ และจะเป็นเช่นนี้ไปตลอดจนกว่าผู้เข้าแข่งขันจะกดปุ่มสัญญาณไฟ",
"title": "อักษรล่าแสน The Alphabet Thailand"
},
{
"docid": "70489#1",
"text": "เดิมทีภาษาชองไม่มีตัวอักษรสำหรับเขียน เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้พูดเท่านั้น แต่ในภายหลังก็มีการกำหนดให้ใช้อักษรไทยบางตัวเขียนภาษาชอง ซึ่งกำหนดโดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล แล้วสะกดตามอักขรวิธีของภาษาไทย (การอ่านตามที่เขียนอาจไม่ถูกสำเนียงตามต้นฉบับ) ",
"title": "ภาษาชอง"
}
] |
1322 | อิรัก มีพื้นที่ประเทศเท่าไหร่? | [
{
"docid": "2890#4",
"text": "อิรักมีพื้นที่ทั้งหมด 437,072 ตารางกิโลเมตร ทิศตะวันออกติดกับ อิหร่าน ทิศเหนือ ติดกับตุรกี ทิศใต้ติดกับคูเวต ทิศตะวันตกติดกับ ซีเรีย และจอร์แดน สภาพทางภูมิศาสตร์ของอิรัก เป็นทะเลทรายร้ออิรักยละ 40 ที่ราบสูง ยากแต่การทำการเกษตรทำให้อิรักต้องนำเข้าสินค้าภาคการเกษตรเช่น ข้าวสาลี ข้าวจ้าว ธัญพืช แต่อย่างไรก็ดี อิรักก็มีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ ไทรกิส ยูเฟรตีส ทำให้ยังพอมีความอุดมสมบูรณ์อยู่บ้าง",
"title": "ประเทศอิรัก"
}
] | [
{
"docid": "342282#1",
"text": "ในเขตพรมแดนระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ที่เรียกว่า DMZ หรือ JSA มีการพบศพทหารเกาหลีเหนือ 2 นายเสียชีวิต และเพื่อสอบสวนหาข้อเท็จจริง ทางการของทั้ง 2 ประเทศได้ส่ง พันตรีหญิง โซฟี อี.จีน (ลี ยองเอ) นายทหารหญิงลูกครึ่งเกาหลี-สวิสเซอร์แลนด์ มาสอบสวน โดยเน้นย้ำว่าต้องให้เป็นกลางอย่างแท้จริง แต่ทั้ง 2 ประเทศให้ข้อมูลพาดพิงกัน เมื่อเธอสืบจนพบความจริงบางอย่าง ซึ่งทำให้นายทหารที่เกี่ยวข้องต้องฆ่าตัวตาย และเมื่อยิ่งสืบสาวราวเรื่องเท่าไหร่ ก็พบเรื่องความราวมิตรภาพของคนจาก 2 สัญชาติที่ลึก ๆ แล้วเขาก็คือพี่น้องร่วมชาติกันมาก่อน",
"title": "สงครามเกียรติยศ มิตรภาพเหนือพรมแดน"
},
{
"docid": "3176#5",
"text": "การเจรจาทำสนธิสัญญาแบ่งเส้นเขตแดนระหว่างซาอุดีอาระเบียกับจอร์แดน อิรัก และคูเวต มีขึ้นช่วงทศวรรษ 1920 และได้มีการจัดตั้ง \"เขตเป็นกลาง\" ขึ้นด้วยกัน 2 แห่ง คือระหว่างซาอุดีอาระเบียกับอิรัก และซาอุดีอาระเบียกับคูเวต ในปี 1971 ได้มีการแบ่งเขตเป็นกลางระหว่างซาอุดีอาระเบียกับคูเวต โดยให้แต่ละฝ่ายแบ่งทรัพยากรน้ำมันกันอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนการแบ่งขตเป็นกลางระหว่างซาอุดีอาระเบียกับอิรักได้เสร็จสิ้นลงในปี 1983 ทางด้านเขตแดนตอนใต้ที่ติดกับเยเมนนั้น มีการเจรจาแบ่งเขตแดนโดยสนธิสัญญาฏออิฟ ในปี 1934 (พ.ศ. 2477) แต่ก็สิ้นสุดลงด้วยการสู้รบระหว่างสองประเทศ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ เขตแดนระหว่างซาอุดีอาระเบียกับเยเมนในบางพื้นที่ก็ยังมิได้แบ่งลงไปอย่างแน่ชัด ส่วนเขตแดนที่ติดกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นสามารถตกลงกันได้ในปี 1974 สำหรับเขตแดนกับกาตาร์นั้นยังเป็นปัญหาอยู่",
"title": "ประเทศซาอุดีอาระเบีย"
},
{
"docid": "432612#2",
"text": "ฝ่ายค้านมีอาวุธประกอบด้วยหลายกลุ่มซึ่งก่อตั้งในห้วงความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทัพซีเรียเสรี (FSA) ซึ่งเป็นผู้แรกที่หยิบอาวุธในปี 2554 และแนวร่วมอิสลามซึ่งก่อตั้งในปี 2556 ฝ่ายทางตะวันออก รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ (ISIL) กลุ่มนักรบญิฮัดซึ่งกำเนิดในประเทศอิรัก ได้ชัยชนะทางทหารอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศซีเรียและอิรัก จนลงเอยด้วยพิพาทกับกบฏอื่น ฝ่ายแนวร่วมนานาชาติที่มีสหรัฐเป็นผู้นำมีการสถาปนาขึ้นในปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ประกาศไว้ว่าเพื่อตอบโต้ ISIL และได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อ ISIL ในซีเรีย ตลอดจนเป้าหมายบะอัธซีเรียและให้การสนับสนุนต่อสหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือ สหรัฐเลิกให้การสนับสนุนด้านอาวุธโดยตรงต่อ FSA ในปี 2560; ปลายปี 2560 อิทธิพลและดินแดนควบคุมของ ISIL เสื่อมลง จนซีเรียประกาศว่าประเทศได้รับการปลดปล่อยจาก ISIL แล้ว ด้านตุรกีมีความเกี่ยวข้องในสงครามตั้งแต่ปี 2559 และสนับสนุนฝ่ายค้านซีเรียอย่างแข็งขันและยึดพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้างทางภาคเหนือของประเทศซีเรีย",
"title": "สงครามกลางเมืองซีเรีย"
},
{
"docid": "311994#1",
"text": "โทนี่ อาศัยอยู่ที่เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย มาตั้งแต่อายุ 12 ปี เพราะพ่อแม่แยกทางกัน เดิมที โทนี่ เป็นคนที่ค่อนข้างเกเร ไม่สนใจเรียนเท่าไหร่ แต่ได้เพื่อนรุ่นน้องช่วยเตือน ทำให้เขากลับตัวได้ และด้วยความที่ โทนี่ ชอบวาดรูป จึงเลือกเรียนต่อมหาวิทยาลัย ด้านครีเอทีฟโฆษณา และยังได้เรียนรู้ประสบการณ์หลายๆ อย่าง ทั้งภาษา กีฬา ดนตรี แฟชั่น รวมไปถึงการทำผม",
"title": "โทนี่ รากแก่น"
},
{
"docid": "137699#0",
"text": "ธงชาติอิรัก (อาหรับ: علم العراق) มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วหลายครั้ง จากความผันผวนทางการเมืองในประเทศ นับตั้งแต่การก่อตั้งประเทศใน พ.ศ. 2464 เป็นต้นมา ธงชาติแบบที่เปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดนี้ ได้ดัดแปลงจากธงชาติอิรัก พ.ศ. 2457-2551 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีแดง-ขาว-ดำ แบ่งตามแนวนอน มีความกว้างแต่ละแถบเท่ากัน กลางแถบสีขาวมีอักษรคูฟิก เขียนเป็นข้อความภาษาอาหรับว่า \"อัลลอหุ อักบัร\" แปลว่า พระอัลเลาะห์เจ้าทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด ทั้งนี้ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมโดยยกเอารูปดาวห้าแฉกสีเขียว 3 ดวงออกจากธงเดิมไป ธงดังกล่าวนี้จะใช้เป็นธงชาติอิรักเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการรับรองแบบธงชาติใหม่ใน พ.ศ. 2552",
"title": "ธงชาติอิรัก"
},
{
"docid": "718495#18",
"text": "กระนั้น ก็ยังถูกมองว่ายังขาดความคงเส้นคงวา ในการก้าวขึ้นมารับช่วงต่อจาก บุญศักดิ์ ในฐานะนักแบดมินตันชายเดี่ยวเบอร์หนึ่งของไทย“สอง เป็นนักแบดมินตันที่มีฝีมือดี แต่ผลงานที่ผ่านมายังไม่คงเส้นคงวา ทำให้ไม่เป็นที่สนใจเท่าไหร่ แต่ระยะหลังมานี้ สอง พัฒนาฝีมือขึ้น โอกาสที่จะก้าวเป็นมือหนึ่งของประเทศไทยก็ไม่น่าจะยาก หากยังคงการเล่นที่ยอดเยี่ยมอย่างนี้ต่อไป” คือความเห็นของ บุญศักดิ์ ถึงรุ่นน้องรายนี้ เมื่อหลายปีก่อน",
"title": "ทนงศักดิ์ แสนสมบูรณ์สุข"
},
{
"docid": "569316#11",
"text": "อย่างไรก็ตาม ในสมัยก่อน สโมสรเจลีกไม่ค่อยจะจริงจังกับการแข่งชันเอเชียนแชมเปียนส์ลีกเท่าไหร่นักเนื่องจากต้องเดินทางไกลและคุณภาพของทีมที่ต้องแข่งด้วยนั้นยังไม่น่าสนใจเท่าไหร่ แต่ในปี 2008 มีทีมญี่ปุ่นผ่านเข้าไปสู่รอบก่อนรองชนะเลิศถึง 3 ทีมด้วยกัน",
"title": "เจลีก ดิวิชัน 1"
},
{
"docid": "17455#7",
"text": "มีผมที่ยาวขึ้น ไม่มีคิ้ว มีนัยน์ตาเป็นสีฟ้า และมีสายฟ้ารอบตัว เป็นร่างที่พัฒนามาจากซุปเปอร์ไซย่า 2 โดยร่างนี้เกิดจากการฝึกฝนอย่างหนัก โดยจะมีพลังและความเร็วเพิ่มขึ้นจากเดิม 400 เท่า เป็นร่างที่ใช้พลังงานมากและร่างกายจะได้รับภาระอย่างหนัก จึงไม่ค่อยได้ใช้สักเท่าไหร่ โดยจะปรากฏตัวครั้งแรกในช่วงที่สู้กับจอมมารบู",
"title": "ซง โกคู"
},
{
"docid": "5256#37",
"text": "ประเทศไทยประสบกับปัญหากองโจรคอมมิวนิสต์ในประเทศระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ค่อยจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศสักเท่าไหร่ และกองโจรก็หมดไปในที่สุด",
"title": "ประวัติศาสตร์ไทย"
},
{
"docid": "901764#4",
"text": "ไม่ว่าระยะจะห่างไปเท่าไหร่ แต่ความสว่างของแสงรวมจะยังคงมีค่าเท่าเดิมตามระยะทาง ซึ่งหมายความว่า แสงแต่ละชั้นจะมีการเพิ่มความสว่างขึ้นมาเรื่อย ๆ และยิ่งมีชั้นเป็นอนันต์ ท้องฟ้ายามค่ำคืนจึงควรที่จะสว่าง",
"title": "ปฏิทรรศน์ของออลเบอร์"
},
{
"docid": "28224#1",
"text": "จีดีพีแบบความเสมอภาคของอำนาจซื้อ จะสะท้อนว่าประเทศนั้นๆได้ผลิตสินค้าและบริการรวมกันมากน้อยแค่ไหนหากใช้ราคาสินค้าและบริการในสหรัฐอเมริกาเป็นฐานในการคำนวณ อาทิ ประเทศไทยผลิตน้ำตาลในหนึ่งปีได้หนึ่งแสนตัน การคำนวณแบบ PPP จะไม่สนว่าหนึ่งแสนตันนี้จะจำหน่ายในประเทศและส่งออกได้เงินเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ แต่เราจะสนว่าราคาน้ำตาลในสหรัฐอเมริกาเป็นเท่าไหร่แล้วจึงนำราคานั้นมาคำนวณมูลค่า ก็จะได้เป็น PPP จากภาคอุตสาหกรรมน้ำตาลของไทย",
"title": "ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ"
},
{
"docid": "930988#1",
"text": "เหตุการณ์สุดพลิกผันกลางท้องฟ้าจากความระทึกสุดขั้วสู่ความกลัวสุดขีดตลอดเที่ยวบินเมื่อกลุ่มผู้โดยสารที่นำโดย “แบรด มาร์ติน” และ แอร์โฮสเตสสาว ต้องเผชิญหน้ากับอุบัติเหตุเหนือคาดฝันที่ส่งผลให้มีผู้โดยสารเสียชีวิต ก่อนที่ผู้โดยสารและลูกเรือแต่ละคนต้องประสบกับการจู่โจมของแรงอาฆาตเร้นลับซึ่งซ่อนตัวอยู่ในทุกพื้นที่ของเครื่องบินลำนี้ ยิ่งเครื่องบินทะยานใกล้โตเกียวมากขึ้นเท่าไหร่ ชีวิตของทุกคนในไฟลท์ “7500” ก็ยิ่งตกอยู่ในความหวาดผวามากขึ้นเท่านั้น ไร้ทางหนี ไม่ทีทางรอด หรือสุดท้ายเครื่องบินลำนี้กำลังจะต้องกลายเป็นสุสานบนน่านฟ้า!",
"title": "7500 ไม่ตกก็ตาย"
},
{
"docid": "728260#3",
"text": "Pกองกำลังของโปแลนด์ได้เข้าร่วมปฏิบัติการในสงครามอิรัก. ตั้งแต่ ค.ศ. 2003 ถึง ค.ศ. 2008, ภายใต้ปฏิบัติการของ(MND-CS) ตั้งฐานปฏิบัติการทางภาคกลางตอนใต้ของอิรัก. มีกองกำลังของอิรักที่ประจำการทั้งหมด 5 ล้านนาย, พื้นที่ 65,632 ตร.กม. มีประเทศเข้าร่วมปฏิบัติการทั้งหมด 23 ประเทศ จำนวน 8,500 นาย.",
"title": "กองทัพโปแลนด์"
},
{
"docid": "825041#0",
"text": "สงครามกลางเมืองอิรักเป็นการขัดกันด้วยอาวุธที่กำลังดำเนินอยู่ในตะวันออกกลาง ในปี 2557 การก่อการกำเริบอิรักบานปลายเป็นสงครามกลางเมืองด้วยรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์พิชิตฟัลลูจาห์ (Fallujah) และโมซูลและพื้นที่สำคัญในภาคเหนือของประเทศอิรัก ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีนูรี อัล-มาลิกี (Nouri al-Maliki) ลาออก สหรัฐ อิหร่าน ซีเรียและประเทศอื่นอีกกว่าสิบสองประเทศโจมตีทางอากาศ ทหารอิหร่านเข้าร่วมรบภาคพื้นดิน และรัสเซียช่วยเหลือทางทหารต่ออิรัก",
"title": "สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)"
},
{
"docid": "383197#0",
"text": "เขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถานแห่งอิรัก (; หรือเคอร์ดิสถานใต้) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศอิรัก มีชายแดนติดต่อกับประเทศซีเรีย ตุรกีและอิหร่าน มีพื้นที่ 40,000 ตารางกิโลเมตร (ขนาดเทียบเท่ากับประเทศเนเธอร์แลนด์) ประกอบด้วยเขตปกครองตนเอง 3 เขต ได้แก่เมืองเอร์บีล (Erbil), โดฮูก (Dohuk) และ สุลัยมานียะฮ์ (Suleimaniah) มีเอร์บีล (Erbil) เป็นเมืองหลวง",
"title": "เคอร์ดิสถานอิรัก"
},
{
"docid": "413288#5",
"text": "ทัพผสมหลักเคลื่อนตัวต่อไปยังใจกลางอิรักและพบกับการต้านทานเพียงเล็กน้อย ทหารอิรักส่วนใหญ่พ่ายแพ้อย่างรวดเร็วและกรุงแบกแดดถูกยึดครองเมื่อวันที่ 9 เมษายน ปฏิบัติการอื่นเกิดขึ้นต่อวงล้อมกองทัพอิรักรวมทั้งการยึดคีร์คูกเมื่อวันที่ 10 เมษายน และการโจมตีและยึดทิกริตเมื่อวันที่ 15 เมษายน ประธานาธิบดีอิรัก ซัดดัม ฮุสเซน และผู้นำส่วนกลางหลบซ่อนตัวหลังกำลังผสมสำเร็จการยึดครองประเทศ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม มีการประกาศยุติปฏิบัติการรบหลัก อันเป็นการยุติของขั้นบุกครองและการเริ่มต้นของขั้นการยึดครองทางทหาร จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 มีรายงานว่า ยอดพลเรือนเสียชีวิตอยู่ที่ 36,533 คน และการศึกษาดังกล่าวศึกษาเฉพาะพื้นที่อิรักส่วนที่มิใช่ของชาวเคิร์ด",
"title": "การบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546"
},
{
"docid": "306151#43",
"text": "จากสงครามอิรัก กองทัพบกสหรัฐจึงเริ่มมองหาเครื่องยนต์มาแทนที่เอจีที-1500 เพราะปัญหาการใช้เชื้อเพลิง เครื่องยนต์เทอร์ไบน์นั้นให้การเร่งกำลังที่ดีกว่า แต่ใช้เชื้อเพลิงมากกว่าเครื่องยนต์ดีเซลถึงสองเท่า เครื่องยนต์เทอร์ไบน์นั้นมีน้ำหนักเบากว่าเครื่องยนต์ดีเซล แต่ก็ใช้พื้นที่และถังเชื้อเพลิงที่ใหญ่กว่า ",
"title": "เอ็ม1 เอบรามส์"
},
{
"docid": "413288#4",
"text": "ก่อนหน้าการบุกครองมีการโจมตีทางอากาศต่อทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงแบกแดดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2546 วันรุ่งขึ้น กำลังผสมได้เริ่มบุกครองเข้าสู่จังหวัดบาสราจากจุดระดมพลใกล้กับพรมแดนอิรัก-คูเวต ขณะที่กองกำลังพิเศษโจมตีแบบสะเทินน้ำสะเทินบกจากอ่าวเปอร์เซียเพื่อยึดบาสรา และบ่อปิโตรเลียมที่อยู่โดยรอบ กองทัพบุกครองหลักเคลื่อนเข้าไปในอิรักตอนใต้ ยึดครองพื้นที่นั้นและรบในยุทธการนาซิริยาห์เมื่อวันที่ 23 มีนาคม การโจมตีทางอากาศขนานใหญ่ทั่วประเทศและต่อระบบบัญชาการและควบคุมของอิรักทำให้กองทัพฝ่ายป้องกันโกลาหลและไม่อาจต้านทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ วันที่ 26 มีนาคม กองพลน้อยพลร่มที่ 173 โดดร่มลงใกล้กับนครคีร์คูกทางเหนือ ซึ่งพวกเขาเข้าร่วมกับกำลังกบฏชาวเคิร์ดและดำเนินการปฏิบัติหลายครั้งต่อกองทัพอิรักเพื่อยึดครองส่วนเหนือของประเทศ",
"title": "การบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546"
},
{
"docid": "145088#6",
"text": "นอกจากนี้ยังมีปัญหาชนกลุ่มน้อยที่เรียกว่า \"ชาวเคิร์ด\" เป็นชนกลุ่มน้อยเชื้อสายอารยัน ไม่มีประเทศเป็นของตนเองแต่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของอิรัก, อิหร่าน, ตุรกี และสหภาพโซเวียต ชาวเคิร์ดได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งรัฐอิสระของตนเองขึ้นในอิหร่าน ชาวเคิร์ดได้ก่อจลาจลขึ้นในอิหร่านในปี 1930 และถูกรัฐบาลอิหร่านปราบปรามอย่างรุนแรง ชาวเคิร์ดจำนวนมากหลบหนีเข้าไปยังอิรัก การปราบปราบอย่างรุนแรงทำให้ชาวเคิร์ดหมดหวังที่จะตั้งรัฐอิสระของตนในอิหร่าน และตั้งเป้าหมายที่จะตั้งรัฐอิสระขึ้นในอิรักแทน จนกระทั่งในปี 1969 ชาวเคิร์ดในอิรักกลายเป็นปัญหามากขึ้นเมื่อพระเจ้าชาห์แห่งอิหร่านได้ให้ความช่วยเหลือทั้งด้านการเงิน, การทูต และด้านอื่นๆแก่ชาวเคิร์ดในอิรัก ต่อมาในปี 1974 รัฐบาลอิรักเข้าประนีประนอมกับรัฐบาลอิหร่านเนื่องจากเห็นว่าขณะนั้นอิหร่านเป็นชาติแข็งแกร่งและยังเป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกา การเจรจาดังกล่าวกลายเป็น \"สนธิสัญญาแอลเจียร์ ค.ศ. 1975\" ที่ทางอิหร่านจะยุติให้การสนับสนุนแก่ชาวเคิร์ดแลกกับการที่อิรักเสียส่วนหนึ่งของปากแม่น้ำชัฏฏุลอะร็อบแก่อิหร่าน ",
"title": "สงครามอิรัก–อิหร่าน"
},
{
"docid": "10947#3",
"text": "ความขัดแย้งระยะแรกเพื่อขับกองทัพอิรักออกจากคูเวตเริ่มด้วยทางระดมทิ้งระเบิดทางอากาศและทางเรือเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2534 และดำเนินไปห้าสัปดาห์ ตามด้วยการโจมตีภาคพื้นดินเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ สงครามสิ้นสุดด้วยชัยชนะอย่างขาดลอยของกำลังผสม ซึ่งขับกองทัพอิรักออกจากคูเวตและรุกเข้าดินแดนอิรัก กำลังผสมยุติการบุกและประกาศหยุดยิงหลังการทัพภาคพื้นเริ่ม 100 ชั่วโมง การสู้รบทางอากาศและทางบกจำกัดอยู่ในประเทศอิรัก คูเวตและบางพื้นที่ตรงพรมแดนซาอุดีอาระเบีย ประเทศอิรักปล่อยขีปนาวุธสกั๊ดต่อเป้าหมายทางทหารของกำลังผสมและต่ออิสราเอล",
"title": "สงครามอ่าวเปอร์เซีย"
},
{
"docid": "37614#0",
"text": "มิซุโนะ อามิ () เป็นตัวละครการ์ตูนจากเรื่อง เซเลอร์มูนสาวน้อยผู้แปลงร่างเป็น เซเลอร์เมอร์คิวรี่ (セーラーマーキュリー) อามิเรียนอยู่ที่โรงเรียนจูบัง เหมือนกับอุซางิ เธอมีไอคิวถึง 300 ผลการเรียนจัดได้ว่าอยู่ในระดับท็อปของประเทศจนถูกขนานนามว่าเป็น \"สาวน้อยอัจฉริยะ\" แต่อามิไม่ค่อยจะมีเพื่อนเท่าไหร่นัก เพราะนักเรียนหลายๆ คนต่างมองเธอเป็นศัตรูคู่แข่งทางการเรียน แถมพ่อแม่ของเธอก็แยกทางกัน แม้ปัจจุบัน อามิจะอาศัยอยู่กับแม่ แต่แม่ของเธอซึ่งเป็นหมอ ก็มักจะติดงานจนไม่ค่อยได้กลับบ้านเท่าไหร่ อามิจึงต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวมาตลอด แต่เมื่อได้พบกับอุซางิ และเพื่อนๆ เซเลอร์คนอื่น เธอก็เริ่มร่าเริง มีชีวิตชีวา และเปิดใจให้กับผู้อื่นมากขึ้น ",
"title": "มิซุโนะ อามิ"
},
{
"docid": "304130#45",
"text": "เป็นการแข่งขันเล่นท่าทางต่างๆที่กรรมการกำหนดให้ทั้งหมด 25ท่าในประเภทของ Single A ซึ่งจะไล่ระดับความยากของท่าเล่นขึ้นไป โดยจะมีจุดหรือกรอบพื้นที่ เพื่อสำหรับแสดงท่าเล่นต่อกรรมการ ซึ่งผู็เล่นจะต้องเล่นท่าทางที่กรรมการกำหนดให้ในพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้นไม่สามารถซ้อมท่าได้ หากต้องการจะตรวจสอบลูกหรือเชือกจะต้องออกจากจุดแสดงท่า โดยในการแข่งขัน ผู้เล่นจะต้องเล่นท่าที่กำหนดให้และเก็บเข้ามือให้สมบูรณ์ มีโอกาสพลาดได้เพียง 2ครั้งเท่านั้นตลอดการเล่น 25ท่า หากพลาดครั้งแรกที่ท่าใหนก็จะข้ามท่านั้นๆไป และพลาดครั้งที่สอง ก็จะจบการแข่งขัน ผู้ที่สามารถเล่นท่าได้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ ถ้ามีผู้ที่สามารถเล่นได้ถึง25ท่า จะวัดกันที่การพลาดครั้งแรกว่าพลาดก่อนในท่าลำดับที่เท่าไหร่ ผู้ที่พลาดในลำดับหลังจะเป็นผู้ชนะ แต่ถ้าหากเล่นได้ครบ25ท่าโดยไม่พลาดหลายคน กรรมการจะมีท่าตัดสินโดยนับจำนวนครั้งในการทำท่า ผู้ที่ทำท่าได้จำนวนครั้งมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ",
"title": "โยโย่"
},
{
"docid": "37703#3",
"text": "หลังจากที่เข้าร่วมอย่างไม่ค่อยเต็มในเท่าไหร่ เธอก็ค่อยๆเปลี่ยนไปและเต็มใจจะอยู่กับฝ่ายนี้ในท้ายที่สุด เธอประมือกับทีม X-Men เธอเคยลอบสังหาร วุฒิสมาชิกเคลลี่ ด้วยแต่ก็ถูกขัดขวางไว้โดยมนุษย์กลายพันธุ์ฝ่ายดีทุกครั้ง แต่ยิ่งเธอใช้พลังมากเท่าไหร่ จิตใจของโร้คก็ยิ่งแตกสลายมากขึ้นเท่านั้น จนถึงขั้นที่เธอต้องเข้าพบจิตแพทย์ ฟางเส้นสุดท้ายของเธอกับมิสทีคขาดสะบั้นลง เมื่อโร้คตาสว่างพบว่าแท้จริงแล้วนี่คือแผนร้าย ที่อีกฝ่ายตั้งใจหลอกใช้กันมาตลอด เธอจึงหันหน้าเข้าหาศาสตราจารย์ทเอ็กซ์ และพลพรรคเอ็กซ์ทีม ขอร้องให้เธอควบคุมพลังให้ได้เสียที",
"title": "โร้ค"
},
{
"docid": "628869#0",
"text": "โมซูล () หรือ อัลเมาศิล () เป็นนครในภาคเหนือของประเทศอิรัก และเมืองหลวงของจังหวัดนีนะวา ห่างจากกรุงแบกแดด เมืองหลวงของประเทศ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 400 กิโลเมตร นครเดิมตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำไทกริส ตรงข้ามกับนครนีนะวาของอัสซีเรียโบราณที่อยู่ฝั่งตะวันออก แต่ปัจจุบันพื้นที่มหานครได้เติบโตขึ้นครอบคลุมพื้นที่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ โดยมีสะพานห้าแห่งเชื่อมระหว่างสองฝั่ง ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับ (โดยมีชนกลุ่มน้อยอัสซีเรีย เติร์กเมนอิรัก และเคิร์ด) เป็นนครขนาดใหญ่อันดับสองของประเทศ รองจากกรุงแบกแดด",
"title": "โมซูล"
},
{
"docid": "10947#36",
"text": "กองทัพเรือสหรัฐได้ส่งกองเรือรบสองกลุ่มเข้าสู่อ่าวเปอร์เซีย โดยมีเรือบรรทุกอากาศยานยูเอสเอส \"ดไวท์ ดี. ไอเซนฮาว\"และยูเอสเอส \"อินดีเพนเดนซ์\"เป็นหลักและพร้อมรบในวันที่ 8 สิงหาคม นอกจากนี้ยังมีเรือประจัญบานยูเอสเอส \"มิสซูรี\"และยูเอสเอส \"วิสคอนซิน\"ที่ถูกส่งเข้าไปในพื้นที่อีกด้วย มีเอฟ-15 ทั้งหมด 48 ลำจากฝูงบินขับไล่ที่ 1 จากฐานทัพอากาศแลงลีย์ของสหรัฐ โดยมาลงจอดที่ซาอุดิอาระเบียและออกปฏิบัติหน้าที่บินลาดตระเวนบริเวณชายแดนซาอุ คูเวต อิรักในทันทีเพื่อเป็นการข่มขวัญทหารอิรักที่กำลังรุกคืบ นอกจากนี้ยังมีกองเสริมเป็นเอฟ-15เอ-ดี 36 ลำจากฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 36 จากเยอรมนี กองบินดังกล่าวเข้าประจำการที่ฐานบินอัล คาร์จ ซึ่งห่างจากกรุงริยาดห์ประมาณ 1 ชั่วโมงจากทางตะวันออกเฉียงใต้ ในการรบฝูงบินที่ 36 สามารถยิงเครื่องบินของอิรักตกได้ 11 ลำ นอกจากนี้ยังมีหน่วยบินสองหน่วยจากกองกำลังป้องกันทางอากาศแห่งชาติเข้ามาประจำการที่ฐานบินอัล คาร์จ ฝูงบินขับไล่ที่ 169 ของสหรัฐจากเซาท์แคโรไลนาได้เข้าทำภารกิจทิ้งระเบิดร่วมกับเอฟ-16 จำนวน 24 ลำ โดยทำภารกิจทั้งหมด 2,000 เที่ยวและทิ้งระเบิดไป 4 ล้านปอนด์ เอฟ-16 อีก 24 ลำจากฝูงบินที่ 24 จากนิวยอร์กก็ร่วมทำภารกิจทิ้งระเบิดเช่นกัน นั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการสั่งสมกองกำลังทหารจนในที่สุดมีทหารมากถึง 543,000 นาย เป็นสองเท่าของจำนวนทหารที่ใข้ในการรุกรานอิรัก พ.ศ. 2546 อุปกรณ์มากมายถูกส่งมาทางเครื่องบินหรือเรือ เป็นเหตุผลที่พวกเขาสามารถระดมพลได้รวดเร็วมาก",
"title": "สงครามอ่าวเปอร์เซีย"
},
{
"docid": "139528#4",
"text": "ปี 2525 อัลบั้มชุดแรก \"รักปักใจ\" ในนามวง \"สาว สาว สาว\" กับสังกัดรถไฟดนตรีและจัดจำหน่ายโดยอีเอ็มไอ (ประเทศไทย) ซึ่งมีเพลงแนะนำคือ “แพะยิ้ม” อัลบั้มชุดนี้เป็นการนำเอาเพลงเก่ามาทำใหม่ และไม่เหมาะกับวัยของ 3 สาวเท่าไหร่นัก ชื่อเสียงของ “สาว สาว สาว” เลยไม่เป็นที่รู้จักเท่าไหร่ ระบบในสมัยนั้นตัวเพลงจะทำหน้าที่ขายตัวเองมากที่สุดโดยไม่มีปัจจัยอื่นมาสนับสนุน ประกอบกับภาพลักษณ์ของทางวงไม่ชัดเจน",
"title": "เสาวลักษณ์ ลีละบุตร"
},
{
"docid": "824091#0",
"text": "รักนิด ๆ คิดเท่าไหร่ เป็นละครโทรทัศน์แนวโรแมนติก-คอมเมดี้ บทประพันธ์ของ นุกูล บุญเอี่ยม, วัชระ ปานเอี่ยม บทโทรทัศน์โดย พิสุทธิ์ แพร่แสงเอี่ยม กำกับการแสดงโดย นุกูล บุญเอี่ยม ผลิตโดย บริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัดออกอากาศทุกวันเสาร์–อาทิตย์ เวลา 11.00–11.45 น. ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 นำแสดงโดย เคลลี่ ธนะพัฒน์, น้ำฝน โกมลฐิติ และนักแสดงชั้นนำอีกมากมาย",
"title": "รักนิด ๆ คิดเท่าไหร่"
},
{
"docid": "80399#3",
"text": "แม้จะเป็นเพียงแชมป์ของสถาบันที่ไม่มีได้รับการยอมรับมากเท่าไหร่ แต่แซมซั่นก็ได้สร้างประวัติศาสตร์หลายอย่างให้เกิดขึ้นกับวงการมวยไทยและวงการมวยโลก โดยสามารถป้องกันตำแหน่งไว้ได้ถึง 38 ครั้ง มากกว่านักมวยคนใด ๆ ในโลก ได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมายจากหลายหน่วยงานในประเทศไทย นับเป็นนักมวยที่ขึ้นป้องกันตำแหน่งเดือนต่อเดือน ในแบบที่ไม่มีนักมวยคนใดทำมาก่อน แม้จะเป็นการชกในเมืองไทยเท่านั้น แต่ก็มีบรรดาผู้ให้การสนับสนุนมากมาย ไม่ว่าจะเป็น นักการเมืองท้องถิ่นหรือนักการเมืองระดับประเทศก็ตาม หรือสินค้าประเภทต่าง ๆ อย่างชนิดที่นักมวยแชมป์โลกชาวไทยในสถาบันที่มีมาตรฐานกว่ายังไม่อาจจะทำได้ และเป็นนักมวยคนหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากแฟนมวย ในการชกแต่ละครั้งจะมีผู้ชมจำนวนมาก",
"title": "แซมซั่น กระทิงแดงยิม"
},
{
"docid": "578978#4",
"text": "เริ่มมีผลงานเพลงตั้งแต่ปี 2538 โดยวงที-สเกิ๊ตนั้น ประกอบสมาชิก 3 คนด้วยกัน คือ อัสมา กฮาร (มาร์) ดวงพร สนธิขันธ์ (จอย) และ ธิติยา นพพงษากิจ (กิ๊ฟท์) มีผลงาน 2 อัลบั้มเต็ม และ 1 อัลบั้มพิเศษก่อนที่ทางค่ายคีตา เรคคอร์ดส จะปิดตัวลงไปเมื่อปี 2539 ผลงานเด่นคือเพลง ไม่เท่าไหร่, เจ็บแทนได้ไหม, ฟ้องท่านเปา, เรื่องมันเศร้า และเพลง ทักคนผิด เป็นต้น ผลงานอัลบั้มชุดแรกชื่อว่า \"T-Skirt\" ออกวางจำหน่ายกลางปี 2538 โดยรายชื่อเพลงมีดังนี้ 1.ไม่เท่าไหร่ 2.เจ็บแทนได้ไหม 3.เรื่องมันเศร้า 4.อย่าเล่นอย่างนี้ 5.ทักคนผิด 6.ฟ้องท่านเปา 7.วันที่ไม่เหงา 8.ทำให้เสร็จ 9.ซึ้ง ๆ หน่อย 10. เพื่อนกัน",
"title": "อัสมา กฮาร"
}
] |
1331 | จอห์น โลรีนายติส เริ่มอาชีพมวยปล้ำเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "393979#1",
"text": "โลรีนายติส เข้าวงการในปี 1986 ในนามของ จอห์นนี เอจ และขึ้นสังเวียนในฟลอริดาเป็นส่วนใหญ่เขาเป็นน้องชายของ โจ โลรีนายติส หรือ โรดวอร์ริเออร์ แอนิมอล เขาประสบความสำเร็จเมื่อจับคู่กับน้องเล็กอย่าง มาร์คัส โลรีนายติส หรือ เดอะ เทอร์มินาเตอร์ คว้าแชมป์แทคทีม FCW มาครอง 1 สมัย และย้ายไปอยู่สมาคม จิม คร็อกเก็ต จับคู่กับ เชน ดักลาส ในนาม ไดนามิค ดูดส์ จนในปี 1990 เขาเดินทางไปซิวเงินเยนที่ญี่ปุ่นซึ่งประสบความสำเร็จคว้าแชมป์ AJPW จับคู่กับ เคนตะ โคะบะชิ 2 สมัย และแชมป์แทคทีมยูนิฟายด์ 4 สมัย คู่กับ เคนตะ โคะบะชิ (2), ไมค์ บาร์ตัน (1) และ สตีฟ วิลเลยมส์ (1) และเป็นผู้ชนะในแมตช์การปล้ำแบทเทิลรอยัล ในวันที่ 2 มกราคม 1991",
"title": "จอห์น โลรีนายติส"
}
] | [
{
"docid": "393979#0",
"text": "จอห์น โลรีนายติส () เกิดวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1962 เป็นโปรดิวเซอร์อาวุโสและนักมวยปล้ำอาชีพที่เกษียณอายุชาวอเมริกัน ใช้ชื่อว่า จอห์นนี เอจ () ทำงานอยู่กับดับเบิลยูดับเบิลยูอี(WWE) เป็นอดีตรองประธานฝ่ายบุคลากรของ WWE เป็นน้องชายของโจ โลรีนายติส (โรดวอร์ริเออร์ แอนิมอล) อดีตนักมวยปล้ำ WWE พี่ชายของมาร์คัส โลรีนายติส (เดอะเทอร์มิเนเตอร์) และมีหลานชาย เจมส์ โลรีนายติส ซึ่งยังอยู่วงการอเมริกันฟุตบอลโดยเล่นในตำแหน่งไลน์ให้กับทีม St.Louis Ram",
"title": "จอห์น โลรีนายติส"
},
{
"docid": "220668#4",
"text": "ในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2012) คริสเตียนได้ออกมาสนับสนุนจอห์น โลรีนายติส ให้เป็นผู้จัดการทั้งรอว์ และสแมคดาวน์ พร้อมกับ อัลเบร์โต เดล รีโอ และมาร์ก เฮนรี ที่ออกมาสนับสนุนให้กับโลรีนายติส ด้วยเช่นกัน คริสเตียนบอกว่าเขาถูกเชมัสกข้อเท้า และยังถูกบิ๊กโชว์อัดจนคอแทบหักแต่ ทีโอดอร์ ลอง ก็ยังบังคับให้เขาออกไปปล้ำจนต้องเจ็บซ้ำอีก ดังนั้นเขาจึงขอสนับสนุนให้โลรีนายติสมาเป็นผู้จัดการแทน จากนั้นทุกคนก็ร่วมถ่ายรูปหมู่กันเพื่อประสานความสัมพันธ์ที่ดี ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28 คริสเตียนได้เข้าร่วมทีมของโลรีนายติส เจอกับทีมของทีโอดอร์ ลอง ในแมตช์แทกทีม 12 คน แต่ว่าคริสเตียนได้รับบาดเจ็บจากการถูกซีเอ็ม พังก์ เล่นงานในรอว์สุดท้ายก่อนเรสเซิลเมเนีย 26 มีนาคม จนต้องหมดสิทธิ์ ซึ่งแท้จริงแล้วอาการบาดเจ็บของคริสเตียนนั้นยังไม่หายดี ในโอเวอร์เดอะลิมิต (2012) คริสเตียนได้กลับมาเป็นฝ่ายธรรมะอีกครั้ง และได้เข้าร่วม \"People Power\" แบทเทิลรอยัล 20 คน ผู้ชนะจะได้สิทธิ์เลือกในการชิงแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัลหรือแชมป์ยูเอส และคริสเตียนก็ได้เป็นผู้ชนะและได้เลือกที่จะชิงแชมป์อินเตอร์กับเจ้าของแชมป์ โคดี โรดส์ คืนเดียวกันคริสเตียนก็คว้าแชมป์จากโคดีมาได้ ก่อนเสียแชมป์ให้กับเดอะมิซในรอว์ ตอนที่ 1000",
"title": "คริสเตียน (นักมวยปล้ำ)"
},
{
"docid": "402588#0",
"text": "จอห์จ อารอน \"โจ\" โลรีนายติส () เกิดวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1960 อดีตนักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน เป็นอดีตนักมวยปล้ำของ WWF/E โรดวอร์ริเออร์ แอนิมอล () เคยจับคู่แทกทีมกับโรดวอริเออร์ฮอว์ก ในนามของเดอะโรดวอร์ริเออส์ หรือเลเจียนออฟดูม เป็นพี่ชายของจอห์น โลรีนายติส อดีตรองประธานของสมาคม WWE ปัจจุบันแอนิมอลได้เข้าสู่หอเกียรติยศดับเบิลยูดับเบิลยูอี ประจำปี 2011 ในนามโรดวอร์ริเออส์",
"title": "โรดวอริเออร์แอนิมอล"
},
{
"docid": "219516#2",
"text": "ชีวิตมวยปล้ำในตอนเริ่มแรกชอว์นได้รับการฝึกฝนกับสุดยอดนักมวยปล้ำเม็กซิโกชื่อดังอย่าง โฮเซ โลทารีโอ และไม่นานก็ขึ้นปล้ำในชื่อ “ชอว์น ไมเคิลส์” โดยการขึ้นปล้ำครั้งแรกในสังกัดของ มิด-เซาท์ เรสต์ลิง และ เทกซัส ออล-สตาร์ เรสต์ลิง ในปี 1984 ในตอนนั้นอายุเขาเพียง 19 ปีเท่านั้น พอเข้าไปอยู่ไม่นานก็ได้เข้าไปแทนที่ นิก กินิสกี ในนาม สายพันธุ์แทคทีมอเมริกัน ร่วมกับ พอล ไดมอนด์ จนได้แชมป์แทคทีม ของสมาคม จาก ชาโว เกอร์เรโร ซีเนียร์ จากนั้นก็เปลี่ยนชื่อทีมมาเป็น กองทัพอเมริกัน ต่อมาเขาก็ได้ย้ายไปที่ เซนทรัลสเตสเรสต์ลิง ในฐานะคู่แท็กทีมของ มาร์ตี เจนเนตตี ไม่นานก็ได้แชมป์ของสมาคมมาครองอีกเส้น ก่อนจะเสียแชมป์คืนกลับไปให้กับเจ้าของเดิมอย่าง เดอะแบทเทนทวินส์ หลังจากเสียแชมป์เขาก็ไปปรากฏตัวที่ ดัลลัส, รัฐเทกซัส กับสมาคม เวิลด์คลาสแชมเปียนชิปเรสต์ลิง ในปี 1985",
"title": "ชอว์น ไมเคิลส์"
},
{
"docid": "290977#1",
"text": "เขาเริ่มอาชีพมวยปล้ำโดยการเข้าร่วมประกวดทัฟ อีนัฟ ซีซั่น3 ซึ่งกฏกติกาบอกว่าถ้าผู้เข้าแข่งขันคนไหนชนะก็จะได้เซ็นสัญญากับWWE แล้วเขาก็ได้เป็นหนึ่งในผู้ชนะ และได้เข้าไปปล้ำในค่ายพัฒนาทักษะ OVW แล้วเขาก็ได้แชมป์แท็กทีมร่วมกับโจอี เมอร์คิวรี และก็มีผู้จัดการส่วนตัวของทีมคือเมลินา ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามกลุ่มเอ็มเอ็นเอ็ม เขาได้เปิดตัวกับWWE โดยใช้นาม จอห์นนี ไนโตร และปรากฏตัวในสแมคดาวน์พร้อมกับเมอร์คิวรีและเมลินา ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานพวกเขาก็คว้าแชมป์แท็กทีม WWEได้จากเรย์ มิสเตริโอและเอ็ดดี เกอร์เรโร จนเมอร์คิวรีได้ถูกพักงานในเดือนพฤษภาคม 2006 ไนโตรและเมลินาได้ย้ายไปอยู่รอว์ เขาก็ยังโชว์ฟอร์มได้ดีในฐานะศิลปินเดี่ยวโดยการคว้าแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล 2สมัย",
"title": "จอห์น มอร์ริสัน"
},
{
"docid": "438445#1",
"text": "ในรอว์ (21 พฤษภาคม 2012) จอห์น ซีนา ออกมายอมรับว่า จอห์น โลรีนายติส ชนะเขา แต่ก็โมโหกับสิ่งที่เกิดขึ้นเขาเกือบจะต้องไปจาก WWE อยู่แล้ว แต่ บิ๊กโชว์ กลับพาเขากลับมา บิ๊กโชว์ มาช่วยคนที่เพิ่งจะไล่เขาออก บิ๊กโชว์ เคยเป็นเพื่อนเขา แต่กลับมาชกหน้าเขา บิ๊กโชว์ ยอมขายวิญญาณไปแล้ว บิ๊กโชว์ ไม่น่าทำแบบนั้นเลย เพราะถ้า จอห์น โลรีนายติส ถูกไล่ออกไป ผู้จัดการคนต่อไปก็น่าจะจ้าง บิ๊กโชว์ กลับมาอยู่ดี แต่เขากลับเลือกที่จะไปเข้าข้าง จอห์น โลรีนายติส และ อีฟ ทอร์เรส ออกมาเพื่อประกาศแนะนำตัว จอห์น โลรีนายติส ซึ่งออกมาด้วยรถสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า และต้องใช้ไม้ค้ำเดิน จอห์น โลรีนายติส บอกว่าเขาได้รับบาดเจ็บหนักจนร่างกายซีกซ้ายขยับไม่ได้แต่ไม่เป็นไรหรอก เพราะชั้นชนะนายแล้ว และจากการบาดเจ็บนี้ชั้นขอประกาศเลยว่านับจากนี้ไปห้ามซูเปอร์สตาร์คนไหนมาทำร้ายเขาอีก ไม่อย่างนั้นจะถูกไล่ออกทันที และขอแนะนำคู่ต่อสู้คนต่อไปของซีนาในโนเวย์เอาท์นั่นคือบิ๊กโชว์ คืนเดียวกัน ซีนาต้องปล้ำแฮนดิแคป โดยจับคู่กับ เชมัส เจอกับ ดอล์ฟ ซิกก์เลอร์, แจ็ก สแวกเกอร์ และ เทนไซ และมีนักมวยปล้ำฝ่ายอธรรมอยู่ข้างเวทีเป็นลัมเบอร์แจ็ค สุดท้ายแมตช์จบลงโดยไม่มีผลการตัดสินเพราะนักมวยปล้ำข้างเวทีขึ้นมารุม หลังแมตช์ บรรดาฝ่ายธรรมะก็รีบวิ่งออกมาช่วย จอห์น ซีนา รีบวิ่งไปหลังเวทีเพื่อไปตามหา บิ๊กโชว์ แต่กลายเป็นเจอหมัดน็อคไป",
"title": "โนเวย์เอาท์ (2012)"
},
{
"docid": "393979#2",
"text": "จอห์นยังคงขึ้นปล้ำจนในช่วงปี 1995 - 1996 เขาได้รับโหวตเสียงในฐานะแมตช์ 5 ดาว โดยปี 1995 จับคู่กับ สตีฟ วิลเลยมส์ เจอกับ มิตสึฮะรุ มิซะวะ และ เคนตะ โคะบะชิ ในวันที่ 4 มีนาคม 1995 และวันที่ 7 มิถุนายน 1996 มิตสึฮะรุ มิซะวะ และ จุน อะกิยะมะ ซึ่งยังได้รางวัลแมตช์แห่งปีอีกด้วย จนถึงปี 2000 เขาประกาศอำลาบนสังเวียนและบินกลับมาอเมริกาโดยไปรับตำแหน่งบูเกอร์ที่ WCW จนเจ๊งเลยย้ายมา WWE ในตำแหน่ง road agent ทำหน้าที่ตรงนี้จนในปี 2004 เขามารับหน้าที่ในฝ่ายบุคลากรจนในปี 2007 ได้เลื่อนตำแหน่งในฐานะหัวหน้าฝ่ายบุคลากรจนถึงปัจจุบัน",
"title": "จอห์น โลรีนายติส"
},
{
"docid": "393979#4",
"text": "ในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2012) โลรีนายติสออกมาพร้อมกับเดวิด โอทังกา โดยออกมาประกาศเรื่องสำคัญว่าเขาต้องการจะเป็นผู้จัดการควบทั้งรอว์และสแมคดาวน์ โดยอัลเบร์โต เดล รีโอออกมาและสนับสนุนโลรีนายติส จากนั้นมาร์ก เฮนรีออกมาสนับสนุนอีกคน และบอกว่าทีโอดอร์ ลองเป็นอันธพาล สองสัปดาห์ก่อนเขาทำร้ายฉันและยังสั่งแบนอีกด้วย เฮนรีบอกกับโลรีนายติสว่าเราไม่เคยเจอกันแต่นายไม่ใช่คนที่ชอบรังแกคนอื่น ดังนั้นฉันคิดว่านายควรจะได้เป็นผู้จัดการทั้งรอว์และสแมคดาวน์ จากนั้นคริสเตียนก็ออกมาสนับสนุนอีกคน และบอกว่าเขาโดนเชมัสเล่นงานข้อเท้า และยังโดนบิ๊กโชว์อัดจนคอแทบหัก แต่ลองก็ยังบังคับให้ฉันออกไปปล้ำจนต้องเจ็บซ้ำอีก ดังนั้นจึงขอสนับสนุนให้โลรีนายติสมาเป็นผู้จัดการแทน จากนั้นทุกคนก็ร่วมถ่ายรูปหมู่กันเพื่อประสานความสัมพันธ์อันดี ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28 ทีมของโลรีนายติสเอาชนะทีมของทีโอดอร์ ลองไปได้ทำให้ได้เป็นผู้จัดการควบทั้งรอว์ และสแมคดาวน์ และได้ตั้งสโลแกนว่า \"People Power\"",
"title": "จอห์น โลรีนายติส"
},
{
"docid": "957971#1",
"text": "ครอมมีดาสสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอาริสโตเติลแห่งเทสซาโลนีกีด้วยคุณวุฒิทางด้านพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา เขาเริ่มอาชีพการแข่งขันของเขาในฐานะนักว่ายน้ำตอนอายุสิบขวบ และต่อมาได้กลายเป็นสมาชิกคนหนึ่งของทีมว่ายน้ำแห่งชาติกรีก แล้วเอาดีด้านไตรกีฬาในปี ค.ศ. 1989 ตลอดการแข่งเขา ได้สร้างผลงานระดับท็อปจากการสู่เส้นชัยในการแข่งระยะทางต่าง ๆ หลายรายการ เขาเป็นสมาชิกคนหนึ่งของทีมไตรกีฬาแห่งชาติกรีกเป็นเวลาหลายปี และชนะการแข่งไตรกีฬาชิงแชมป์ประเทศกรีซด้วยสถิติสิบเอ็ดสมัย",
"title": "วาสซิลลิส ครอมมีดาส"
}
] |
2991 | เอ็ดเวิร์ด มุงค์มีมารดาชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "485334#2",
"text": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ 1863 ใน Loten แคว้นชนบทแห่งหนึ่งในนอร์เวย์ บ้านของเขาเป็นฟาร์มตั้งอยู่ในหมู่บ้านÅdalsbruk มุงค์เป็นบุตรชายคนที่สองของนาง Laura Catherine Bjølstad กับ Christian Munch นายแพทย์ประจำกองทหาร เขาเป็นลูกหลานตระกูลเก่าแก่แห่งนอร์เวย์ บรรพบุรุษของเขามีชื่อเสียงโด่งดังจากความสามารถแขนงต่างๆ อย่าง Jacob munch จิตรกร, Johan Storm Munch หัวหน้าบาทหลวง, Andreas Munch นักกวีและ Peter Andreas Munch นักประวัติศาสตร์และนักเขียนแนววิทยาศาสตร์ เอ็ดเวิร์ดมีพี่น้องทั้งหมด 5 คน คือ Johanne Sophie (1862) พี่สาวคนโต และน้องของมุงค์อีกสามคนคือPeter Andreas (1865), Laura Catherine (1867), และ Inger Marie (1868). ทั้งโซฟีพี่สาวและเอ็ดเวิร์ดมีพรสวรรค์ทางด้านศิลปะ น้องสาวของพวกเขาคนหนึ่งเป็นจิตเพศตั้งแต่ยังเด็กและในบรรดาพี่น้องทั้งห้าคนนี้มีเพียงคนเดียวที่ได้แต่งงาน แต่ก็เสียชีวิตหลังจากงานแต่งของเธอเพียงไม่กี่เดือน ครอบครัวของมุงค์ต้องย้ายที่อยู่ไปตามเมืองต่างๆตามหน้าที่การงานของพ่อ ในปี1864 พวกเขาย้ายไปเมือง Christiania (Oslo ในปัจจุบัน) ที่นี้เป็นที่ที่เอ็ดเวิร์ดได้ฝึกฝนทักษะทางศิลปะของเขา แต่หลังจากที่ย้ายมาอยู่ที่นี่ได้เพียง 4 ปี แม่ของเอ็ดเวิร์ดก็เสียชีวิตด้วยโรควัณโรค ตามมาด้วยพี่สาว โซฟีในปี1887ในขณะที่เธออายุได้เพียง15ปี ภาระเลี้ยงดูลูกๆทุกคนตกเป็นของคริสเตียนผู้เป็นพ่อและ Karen Bjolstad ป้าของเอ็ดเวิร์ด แม้ว่าคริสเตียนจะเป็นแพทย์ประจำกองทหารแต่ก็มีรายได้ไม่มากนัก ภาวะทางเศรษฐกิจในครอบครัวไม่สู้ดีนัก มีความเป็นอยู่อย่างขัดสนแต่คริสตียนยังคงให้ลูกๆรับฟังคำสั่งสอนของเขา และด้วยความที่คริสเตียนเป็นลูกที่กตัญญูเขาจึงได้สอนลูกๆให้มีความกตัญญูเช่นกัน เมื่อเขาจะตำหนิลูก เขาจะกล่าวถึงแม่บนสรวงสวรรค์",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
}
] | [
{
"docid": "485334#14",
"text": "ช่วงต้นของศตวรรษใหม่มุงค์โด่งดังและมีชื่อเสียงจากผลงานของเขา ในปี 1902 มุงค์ผิดหวังจากความรัก เขายิงปืนใส่นิ้วมือข้างซ้ายและเสียมันไป แต่ในปีนั้นเองมุงค์ได้พบกับ Dr. Max Linde ชายที่ซื้อผลงานของเขาและเขียนหนังสือเกี่ยวกับตัวเอ็ดเวิร์ด มุงค์ ในปีนั้นถือเป็นปีที่มุงค์มีงานและชีวิตวุ่นวายมากที่สุดปีหนึ่ง จากงานชุด “The Frieze of Life” ที่เคยถูกต่อต้านในเบอร์ลิน แต่กลับมาจัดแสดงอีกครั้งพร้อมกับความสำเร็จ และในปีนั้นมีการจัดแสดงนิทรรศการภาพของมุงค์อีกถึง 22ครั้ง สองปีถัดมาเป็นปีที่มุงค์ เลือกเดินทางสำคัญทางหนึ่ง เอ็ดเวิร์ด มุงค์ได้เซ็นสัญญากับชาวเบอร์ลิน Bruno Casirer เป็นสัญญาที่ทำให้เขาสามารถขายผลงานในเยอรมันได้ จากสองภาพ“The Fight” และ“The Uninvited Guest” ที่มุงค์ได้วาดในปี 1905 แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งของเขาและเพื่อน Ludvig Karsten พวกเขาทะเลาะกันรุนแรง ปี 1908 จากภาวะความเครียดและผลจากพิษสุรา เอ็ดเวิร์ด มุงค์กลายเป็นคนวิกลจริตจนถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลด้วยอาการทางประสาท ต้องรักษาโดยการช๊อดไฟฟ้าและกลับมาหายดี แต่บุคลิกภาพของมุงค์กลับเปลี่ยนไป หลังจากกลับมาที่นอร์เวย์ในปี 1909 ผลงานทางศิลปะของเขาเปลี่ยนแนวทางไปอย่างมาก มุงค์สนใจหัวข้อเรื่องธรรมชาติ ภาพวาดขาดความรู้สึกลึกซึ้ง เป็นเพียงภาพภาพหนึ่งที่ขาดชีวิตและความรู้สึก แต่ด้วยความกดดันที่น้อยลงงานของเขามีสีสันมากขึ้น",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "485334#22",
"text": "หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2406 หมวดหมู่:นวศิลป์ หมวดหมู่:จิตรกรลัทธิสัญลักษณ์นิยม",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "156409#4",
"text": "ริชาร์ดดยุคแห่งกลอสเตอร์เดินทางไปพบกับขบวนของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 ระหว่างการเดินทางกลับลอนดอนและร่วมเดินทางกลับมาลอนดอนกับพระองค์ ไม่ถึงสามเดือนต่อมาริชาร์ดดยุคแห่งกลอสเตอร์ก็ยึดราชบัลลังก์จากพระนัดดา เมื่อวันที่ 25 มิถุนายนรัฐสภาประกาศว่าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 เป็นกษัตริย์ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเพราะพระราชบิดาของพระองค์ยังมีพระชายาเมื่อมาเสกสมรสกับพระมารดาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 ฉะนั้นการแต่งงานครั้งหลังจึงไม่ถูกต้อง การกล่าวอ้างนี้มาจากบาทหลวงราล์ฟ ชาผู้ให้การว่าเป็นผู้ทำการสมรสระหว่างพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 กับเลดี้เอเลเนอร์ ทาลบอทผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมาสมรสกับเอลิซาเบธ วูดวิลล์ผู้ต่อมาเป็นพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ และผู้ที่มีสิทธิถูกต้องในราชบัลลังก์จึงเป็นริชาร์ด",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "485334#3",
"text": "หลังจากการจากไปของแม่ เอ็ดเวิร์ด มุงค์และพี่น้องได้รับการเลี้ยงดูจากป้า ป้าของมุงค์มองเห็นพรสวรรค์ทางด้านศิลปะในตัวเขา เธอสนับสนุนให้เขาเป็นศิลปิน และเป็นคนซื้ออุปกรณ์ต่างๆในการวาดรูปให้ เอ็ดเวิร์ด มุงค์เริ่มวาดภาพสิ่งที่เขาสนใจ เมื่ออายุได้13 ปี เขาเริ่มรู้จักกลุ่มศิลปินในสมาคมศิลปะที่พึ่งจัดตั้งใหม่ ที่นั้นเองเขาได้เห็นผลงานมากมายโดยเฉพาะภาพทิวทัศน์ (Landscape) เอ็ดเวิร์ดเริ่มจากการวาดภาพเลียนแบบและเริ่มใช้สีน้ำมัน",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "485334#17",
"text": "ระยะเวลาช่วงยี่สิบปีสุดท้ายของชีวิตอันโดดเดี่ยว มุงค์อาศัยอยู่อย่างง่ายในที่พักของเขาเองใน Ekely ใกล้เมืองOslo ผลงานในช่วงนี้มักเกี่ยวกับชีวิตในชนบท ท้องทุ่ง และฟาร์ม ในการแสดงงานที่พิพิธภัณฑ์แห่งเยอรมัน ภาพของเอ็ดเวิร์ด มุงค์ได้แสดงทั้งหมด 8 ภาพ แต่สองภาพในนั้นถูกวิถาควิจารณ์อย่างแรง ภาพถูกยึดและขายไป โดยเฉพาะระหว่างช่วงปี 1930 ถึง1940 พวกนาซีตีตราผลงานของมุงค์ว่าเป็นงานศิลปะที่เสื่อมเสียและย้ายผลงานของมุงค์ออกจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเยอรมนีไปถึง 82 ชิ้น ช่วงปี1940 นอร์เวย์ถูกโจมตีโดยกลุ่มนาซีของเยอรมัน มุงค์ต้องใช้ชีวิตอย่างหวาดระแวง ขณะนั้นเขาอายุได้ 76 ปี และวาดภาพเก็บสะสมไว้จนแทบจะเต็มถึงชั้นสองของบ้าน แต่ถูกนาซียึดไปถึง 71 ภาพ อย่างไรก็ตามเมื่อสิ้นสุดสงครามภาพเหล่านั้นก็ค่อยๆกลับคืนสู่นอร์เวย์ด้วยการซื้อของเหล่านักสะสม แต่มี 7 ภาพหายสาบสูญไป ในจำนวนที่พบเจอและถูกเก็บไว้อย่างดีคือภาพ “The Scream” และ “The Sick Chile” 23 มกราคม1944 เพียงไม่ถึงครึ่งเดือนหลังจากวันครบรอบวันเกิดของเขา เอ็ดเวิร์ด มุงค์จากไปอย่างสงบ เขาได้ทำพินัยกรรมมอบผลงานของเขาทั้งหมดแก่เมืองออสโล มีจำนวน ภาพวาดสีน้ำมันทั้งหมด 1,008 ภาพ, ผลงานภาพพิมพ์รวม 15,391 ภาพ, ภาพร่างและภาพสีน้ำรวม 4,443 ภาพและงานประติมากรรมของเขาอีก 6 ชิ้น แม้ว่าร่างของเขาเอ็ดเวิร์ด มุงค์จะจากไปแล้ว แต่จิตวิญญาณของเขายังคงฝังรากลึกอยู่ในงานศิลปะและผลงานจำนวนมากที่มุงค์ได้ทิ้งไว้ ในปี 1963 มีการเปิดพิพิธภัณฑ์ที่แสดงงานชิ้นยอดเยี่ยมของเขาทั้งหมด รวมอยู่ในพิพิธภัณฑ์ชื่อ “The Munch-Museet”",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "485334#16",
"text": "น้องสาวของเขาเสียชีวิต จากเขาไปอีกคนในปี1926 ช่วงปี 1930 ผู้อุปถัมป์มุงค์ชาวเยอรมันหลายคนจบชีวิตจากความโหดเหี่ยมของพรรคนาซี ในปีนั้นเองความโชคร้ายได้เข้ามาถึงตัวเขาเช่นกัน สิ่งเลวร้ายที่สุดทำดวงตาของเขามีปัญหา และอาการยังกำเริบเรื่อยๆตลอดช่วงชีวิตที่เหลือของเขา เพียงหนึ่งปีถัดมา เขาต้องรับมือกับความเหงาที่มาหาเขาไม่หยุดหย่อน การจากไปของป้าที่เคยเลี้ยงดูเขาหลังจากแม่ของเขาตายและสนับสนุนเขาให้เป็นศิลปินตั้งแต่นั้นมา ได้ซ้ำเติมความทุกข์แก่เขามากขึ้นไปอีก",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "142094#1",
"text": "ภาพยนตร์ชีวประวัติที่มีชื่อเสียงเช่น \"Edvard Munch\" (พ.ศ. 2537) เล่าชีวิตของ เอ็ดเวิร์ด มุงค์ ศิลปินชาวนอร์เวย์, \"American Spendor\" (พ.ศ. 2546) เล่าชีวิตของ ฮาร์วีย์ เพ็กการ์ นักวาดการ์ตูน, \"La Vie en Rose\" (พ.ศ. 2550) เล่าชีวิตของ อีดิธ เพียฟ นักร้องชื่อดังชาวฝรั่งเศส, \"Nightwatching\" (พ.ศ. 2550) เล่าเรื่องของจิตรกรชาวเนเธอร์แลนด์ แรมบรังด์",
"title": "ภาพยนตร์ชีวประวัติ"
},
{
"docid": "485334#8",
"text": "ระหว่างปี1889-1892 เอ็ดเวิร์ด มุงค์ได้รับทุนของรัฐทำให้เขาสามารถใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส มุงค์มาถึงปารีสในช่วงเทศกาลexposition Universelle เขาอยู่ร่วมกับศิลปินชาวนอร์เวย์อีกสองคนและจะกลับไปนอร์เวย์เฉพาะในช่วงฤดูร้อน",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "216942#6",
"text": "แม้จะมีข้อแตกต่างทางด้านอายุ แต่การอภิเษกสมรสเป็นการอภิเษกสมรสที่มีความสุข พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดกล่าวถึงพระราชินีมาร์กาเร็ตว่าทรงเป็น \"ไข่มุกที่ล้ำค่า\" ใน ค.ศ. 1305 พระราชินีมาร์กาเร็ตให้กำเนิดเด็กหญิง เอเลนอร์ ที่ตั้งชื่อตามพระราชินีคนแรกของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังสาวใน ค.ศ. 1310 พระราชินีมาร์กาเร็ตกับพระโอรสเลี้ยง เอ็ดเวิร์ดแห่งคาร์นาร์ฟอน อนาคตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 ยังรักใคร่กันดีอีกด้วย ทั้งคู่มีพระชนมายุใกล้เคียงกัน เอ็ดเวิร์ดอ่อนกว่าพระองค์สองปี พระองค์เคยมอบของขวัญเป็นทับทิมราคาแพงกับแหวนทองคำให้พระราชินีมาร์กาเร็ต ใน ค.ศ. 1305 พระราชินีสาวทำหน้าที่เป็นคนกลางไกล่เกลี่ยระหว่างพระโอรสเลี้ยงกับพระสวามี กล่อมให้เอ็ดเวิร์ดคืนดีกับพระบิดาที่สูงวัย และทำให้ความโกรธเคืองของพระสวามีที่ฉุนเฉียวสงบลง เอ็ดเวิร์ดผู้ลูกเขียนจดหมายถึงพระองค์เมื่อ 1 กันยายน ค.ศ. 1305 แสดงความขอบคุณ \"เราขอบคุณในความรักที่ท่านมีให้กับเราพอๆ กับปวดหัวในสิ่งที่ท่านต้องอดทนเพื่อเรา และในความประสงค์ดีที่ท่านทำให้เราซาบซิ้งใจ\" จดหมายของเอ็ดเวิร์ดหลายฉบับเหลือรอดอยู่ มีแปดฉบับที่เขียนถึงพระราชินีมาร์กาเร็ต ซึ่งเรียกพระองค์ว่าเป็น \"เลดี้และมารดาผู้เป็นที่รักยิ่งของข้า\"",
"title": "มาร์เกอรีตแห่งฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "485334#12",
"text": "จากเรื่องอื้อฉาว มุงค์กลับมีชื่อเสียงโด่งดังในเบอร์ลิน เขาจึงตัดสินใจที่จะพำนักจะอยู่ที่นี้ซักระยะหนึ่ง เขาเข้าร่วมกลุ่ม “Literati” การรวมตัวของกลุ่มศิลปินและปัญญาชนในสแกนดิเวเนีย ในเดือนธันวาคมปี 1893 มุงค์ได้แสดงผลงาน 6 ภาพ ซึ่งต่อมาภาพทั้งหกได้ถูกขนานนามว่าภาพชุด “The Frieze of Life” มุงค์ได้ถ่ายทอดความรู้สึกเสียใจ ความเครียด ความเศร้าและความเจ็บปวดลงในงานเขาเช่นเดิม ภาพชุดนี้เป็นดั่งบทกวีเกี่ยวกับชีวิต ความรักและความตาย เนื้อหาของภาพบรรยายบรรยากาศที่แสดงอารมณ์เศร้าและเจ็บปวด เช่นภาพ “The Strom” “Moonlight” และ“Starry Night” เรื่องความรักอย่าง “Rose and Amelie” “Vampire” และเรื่องความตาย “Death in the Sickroom”",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "485334#5",
"text": "หลังจากปีที่เอ็ดเวิร์ด มุงค์ลาออกจาก Technical collage เอ็ดเวิร์ด มุงค์สมัครเข้าเรียนที่โรงเรียนศิลปะและการออกแบบแห่งเมืองคริสเตียนเนีย (the Royal school of Art and Designe of Christiania) ในปี 1881 เป็นสถาบันที่จาคอบ มุงค์ (Jacob munch) บรรพบุรุษของเขาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมจัดตั้งโรงเรียนแห่งนี้ ที่นั้นเองเอ็ดเวิร์ด มุงค์ได้เรียนเทคนิคทางด้านศิลปะแขนงต่างๆกับศิลปินชาวนอร์เวย์คนสำคัญๆ เขาได้เรียนวิชาประติมากรรมกับ Julius Middelthun และวาดภาพแนวธรรมชาตินิยม (naturalism) กับ Christian krohg ในปี1882 มุงค์และเพื่อนอีกหกคนรวมเงินกันเช่าสตูดิโอเล็กๆแห่งหนึ่ง และผู้ที่ให้คำปรึกษาพวกเขาคือ Christian krohgอาจารย์ของพวกเขา ผู้ถนัดวาดภาพแนวธรรมชาตินิยม งานเขียนของมุงค์ช่วงต้นๆจึงได้แรงบัลดาลใจจากเขาและได้รับอิทธิพลจากลัทธิธรรมชาตินิยมเป็นอย่างมาก",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "215127#0",
"text": "เอ็ดเวิร์ด ไฮด์ เอิร์ลแห่งแคลเร็นดอนที่ 1 (ภาษาอังกฤษ: Edward Hyde, 1st Earl of Clarendon) (18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1609 - 9 ธันวาคม ค.ศ. 1674) เอ็ดเวิร์ด ไฮด์ เอิร์ลแห่งแคลเร็นดอนที่ 1 เป็นรัฐบุรุษคนสำคัญของอังกฤษผู้มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1609 เป็นบุตรของ เฮนรีไฮด์แห่งดิลตัน เอ็ดเวิร์ดสมรสครั้งแรกกับแอนน์ผู้มีชีวิตอยู่เพียงหกเดือนหลังจากแต่งงาน และครั้งที่สองกับฟรานซ ไฮด์ เคานทเตสแห่งแคลเร็นดอน (Frances Hyde, Countess of Clarendon) ผู้เป็นแม่ของแอนน์ ไฮด์ผู้เป็นชายาของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แอนน์ ไฮด์เป็นพระมารดาของพระราชินีนาถแมรีที่ 2 และพระราชินีนาถแอนน์ ฉะนั้นเอ็ดเวิร์ด ไฮด์จึงเป็นปู่ของพระมหากษัตรีย์ของอังกฤษสองพระองค์ เอ็ดเวิร์ดเสียชีวิตเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1674 ขณะที่ลี้ภัยอยู่ในฝรั่งเศส",
"title": "เอ็ดเวิร์ด ไฮด์ เอิร์ลที่ 1 แห่งแคลเรนดัน"
},
{
"docid": "775024#1",
"text": "เอ็ดเวิร์ดเกิดในหมู่บ้านในชนบทที่ชื่อรีเซ็มบูล เขาอาศัยอยู่กับน้องชายพร้อมกับมารดา \"ทริชา\" และบิดา \"โฮเฮ็นไฮม์\" ต่อมาหลังจากเมื่อบิดาของเขาทอดทิ้งครอบครัวและออกจากบ้านไปตั้งแต่สองพี่น้องยังเล็กและมารดาก็เสียชีวิตด้วยโรคเรื้อรัง ทั้งสองก็มุ่งมั่นศึกษาวิชาเล่นแร่แปรธาตุเพื่อหวังจะชุบชีวิตมารดาขึ้นมา โดยการไปฝึกฝนกับอาจารย์ที่ชื่อ \"อิซูมิ เคอร์ทิส\" ภายหลังจากการชุบชีวิตมารดาล้มเหลวและน้องชายกลายเป็นชุดเกราะ เอ็ดได้รับออโต้เมลล์จากครอบครัวร็อกเบล ซึ่งเป็นครอบครัวที่สนิทที่สุด และสองพี่น้องก็กลายเป็นนักเล่นแร่แปรธาตุที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับการคัดเลือกจากทางการให้บรรจุเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และได้รับฉายา \"นักเล่นแร่แปรธาตุเหล็กไหล\" จาก\"คิง แบร็ดลี\" ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ และจากอุบัติเหตุในครั้งนั้น ทำให้เอ็ดเป็นคนที่เชื่อในกฎ \"การแลกเปลี่ยนอย่างเท่าเที่ยม\" อย่างหนักแน่น",
"title": "เอ็ดเวิร์ด เอลริค"
},
{
"docid": "485334#6",
"text": "ปี1885 มุงค์ได้รับทุนการศึกษาจาก Frits Thaulow ได้เดินทางไปปารีส ในช่วงเวลาสามสัปดาห์สั้นๆเขาจึงได้ไปเห็นผลงานอันน่าประทับใจและเป็นแรงบันดาลใจแกเขา หลังจากกลับมาออสโลเขาก็เริ่มต้นทำงานชุดหลักของเขา ในปีเดียวกันนั้นมุงค์วาดภาพ โซฟีพี่สาวของเขา ช่วงเวลานั้นผลงานของเขาก็เริ่มเป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "485334#18",
"text": "“The Scream” ผลงานที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของเอ็ดเวิร์ด มุงค์และเป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่คนจดจำมากที่สุดรูปหนึ่งในกระแสศิลปะเอ็กเพรสชันนิสม์ มุงค์วาดภาพด้วยสีสันที่ฉูดฉาดและรูปแบบง่ายๆ แต่สื่อได้ถึงจิตวิญญาณ แสดงอารมณ์ด้วยภาพใบหน้าที่เจ็บปวด มุงค์ได้เขียนคำอธิบายของรูปนี้ไว้ว่า “ขณะที่ฉันเดินอยู่บนท้องถนนกับเพื่อนทั้งสองในตอนพระอาทิตย์อัสดง ทันใดนั้นท้องฟ้าเปลี่ยนเป็นสีแดงดุจเลือด ฉันหยุดนิ่งและโน้มตัวไปยังขอบรั้ว รู้สึกถึงความเหน็ดเหนื่อยที่ไม่อาจบรรยายได้ เปรวเพลิงสีเลือดทอดข้ามฟยอร์สสีดำ เพื่อนของฉันยังคงเดินต่อไป ฉันยังคงอยู่เบื้องหลัง สั่นสะท้านด้วยความกลัว ทันใดนั้นฉันก็ได้ยินเสียงกรีดร้องอันไม่มีที่สิ้นสุดของธรรมชาติ” “The Scream” (1893)",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "485334#13",
"text": "ระหว่างปี1892-1908 มุงค์เดินทางไปมาระว่างปารีสและเบอร์ลินอยู่เสมอ ที่เบอร์ลินมุงค์เริ่มต้นเรียนรู้และทำงานภาพพิมพ์ จาก Auguste Clot เพื่อนช่างพิมพ์ผู้มีชื่อเสียง เอ็ดเวิร์ดเริ่มเป็นที่รู้จักในผลงานรูปแบบใหม่ของเขาทั้งเอชชิ่ง ลิโทกราฟ และภาพพิมพ์ไม้ มุงค์ทำงานรวาดภาพพิมพ์ชื่อ “The Mirror” และยังทำงานภาพพิมพ์ลอกแบบผลงานจิตรกรรมเดิมที่เคยวาดไว้ เช่นภาพชุด “The Frieze of Life” ปี1895 น้องชายของเขาก็ได้จากไปอีก มุงค์ต้องประสบกับความสูญเสียอีกครั้ง เมื่อเขารู้สึกโดดเดี่ยว เขาจึงออกเดินทางไปเรื่อยๆแต่ก็อยู่ในออสโล, นอร์เวย์, เยอรมัน, และปารีสเป็นหลัก",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "156222#4",
"text": "เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1327 เมื่อเอ็ดเวิร์ดแห่งวินด์เซอร์มีพระชนมายุได้ราว 14 พรรษา พระนางอิสซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษพระราชมารดาและโรเจอร์ มอร์ติเมอร์และรัฐสภาก็ปลดพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 จากราชบัลลังก์ และยกเอ็ดเวิร์ดแห่งวินด์เซอร์ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ โดยทรงเข้าพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1327 โดยมีสมเด็จพระราชินีอิสซาเบลลาและโรเจอร์ มอร์ติเมอร์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มอร์ติเมอร์ถือได้ว่าเป็นผู้ปกครองอังกฤษโดยพฤตินัย อีกทั้งยังข่มเหงน้ำพระทัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดโดยไม่ให้ความนับถือต่อพระองค์และทำให้ทรงเสียพระพักตร์โดยตลอด เมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1328 ในขณะมีพระชนมายุได้ 15 พรรษา ก็ได้ทรงเสกสมรสกับฟิลิปปาแห่งเฮนอลต์ วัย 16 พรรษา ณ ยอร์กมินสเตอร์[3]",
"title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ"
},
{
"docid": "485334#1",
"text": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์โด่งดังในเยอรมนีทันทีที่ผลงานของเขาร่วมแสดงในนิทรรศการ Verein Berliner Künstler ในปี ค.ศ. 1892 เพราะภาพของเขาถูกวิพากษ์วิจารณ์และถูกคัดค้าน อย่างไรก็ตามเขาใช้ชีวิตและทำงานในประเทศเยอรมนีเป็นเวลาหลายปีเขาจึงมีชื่อเสียงและอิทธิพลเป็นอย่างมากในวงการศิลปินชาวเยอรมัน",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "485334#0",
"text": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์ (Norwegian: Edvard Munch; 12 ธันวาคม ค.ศ. 1863 – 23 มกราคม ค.ศ. 1944) ศิลปินชาวนอร์เวย์ที่โด่งดังมากที่สุดคนหนึ่ง เป็นทั้งจิตรกรและช่างภาพพิมพ์ไม้ หินและเอ็ชชิ่ง เขาเป็นหนึ่งในศิลปินลัทธิสัญลักษณ์นิยม และได้รับการกย่องให้เป็นคนสำคัญในการพัฒนาลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ (Expressionism) ในเยอรมันและยุโรปกลาง ผลงานของมุงค์สะท้อนความทุกข์ยากและความขัดแย้งต่าง ๆ ในชีวิต ความทรงจำที่โหดร้ายในวัยเด็กและแผลในจิตใจทำให้เขาแสดงทัศนคติเรื่องความรัก สุราและความเลวร้ายของชีวิตลงในผลงาน ภาพของเขามักแสดงปัญหาสังคมและความกังวลของมนุษย์",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "485334#11",
"text": "ฤดูใบไม้ร่วงปี 1892 มุงค์ออกแสดงงานในที่ต่างๆ งานนิทรรศการครั้งหนึ่งมุงค์ได้รับเชิญไปแสดงงานร่วมกับศิลปินในสมาคมศิลปะแห่งเบอร์ลินที่จัดขึ้นที่นั่น ผู้เข้าชมและศิลปินหัวเก่าต่างวิภาควิจารณ์งานของเอ็ดเวิร์ด มุงค์จนกลายเป็นเรื่องอื้อฉาว ผลงานของเขาถูกต่อต้านจากกลุ่มผู้ชมและกรรมการ ในที่สุดก็ถูกเรียกร้องให้ยกเลิกการแสดงภาพครั้งนั้นหลังจากจัดแสดงมาได้เพียงหนึ่งอาทิตย์ เพราะผู้คนในยุคที่ศิลปะแนวอิมเพรสชันนิสม์กำลังเฟื่องฟูไม่เข้าใจความจริงในมุมด้านมืดของชีวิต พวกเขาเห็นว่าภาพของมุงค์เป็นภาพที่น่ากลัว ไม่เจริญหูเจริญตา และมีความรุนแรง ซึ่งอันที่จริงมุงค์ต้องการปลดปล่อยความรู้สึกเจ็บปวดของเขาออกมาทางงานศิลปะ กลุ่มคนที่เข้าใจงานของเขาจะเห็นว่างานของมุงค์ไม่ใด้เป็นเพียงงานศิลปะแต่เป็นความรู้สึกของชายคนหนึ่ง เอ็ดเวิร์ด มุงค์จึงเรียกได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญต่อ โมเดิร์นเยอรมันเอ็กเพรสชันนิสม์ เขาเข้าร่วมกลุ่ม “Der Blaue Reiter” ในภาษาอังกฤษเรียกกลุ่มนี้ว่า “The Blue Rider” กลุ่มศิลปินที่มักถ่ายทอดงานศิลปะด้วยอารมณ์เศร้าหมอง",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "485334#4",
"text": "พ่อของเอ็ดเวิร์ดต้องการให้เขาเป็นวิศวกร ดังนั้นเขาจึงจำเป็นต้องสมัครเข้าเรียนที่ Technical collage ในปี1879 สุขภาพร่างกายของเอ็ดเวิร์ดได้กลายมาเป็นอุปสรรคในการเรียนด้วยความต้องการจะอยากเป็นจิตรกร เขาจึงตัดสินใจลาออกแม้ว่าพ่อของเขาจะรู้สึกไม่พอใจนักก็ตาม คริสเตียนไม่ต้องการให้ลูกของเขาเป็นจิตรกรเพราะพวกจิตรกรชนชั้นกลางสมัยนั้นเป็นจิตรกรไส้แห้ง อีกทั้งผลงานยังไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนัก เอ็ดเวิร์ดลาออกในปีถัดมาและเริ่มศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะอย่างจริงจัง พ่อของเขาแม้จะตำหนิเขาอยู่เสมอ แต่กระนั้นก็ยังให้เงินค่ากินอยู่แก่เขาไม่ขาด จนกระทั่งคริสเตียนได้ฟังคำวิภาควิจารณ์เรื่องรูปภาพของเอ็ดเวิร์ด จากคำบอกเล่าของญาติคนหนึ่ง Edvard Diriks ที่เป็นจิตรกรแนวประเพณีนิยม คริสเตียนทำลายภาพชิ้นหนึ่งที่เป็นภาพเปลือยและชี้คำขาดว่าจะไม่สนับสนุนเงินที่ใช้ในการทำงานศิลปะแกเอ็ดเวิร์ด มุงค์อีกต่อไป พ่อของเขายิ่งโกรธมากขึ้นหลังจากทราบว่าเขาคบกับ Hans jaeger หนึ่งในพวกอนาธิปไตยอย่างสุดโต่ง เขาเชื่อในลัทธิทำลายล้างและคิดว่าความตายคือการปลดปล่อยอิสระสูงสุด ความคิดเหล่านั้นส่งผลต่อทัศนะของมุงค์มาก",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "485334#19",
"text": "“The Scream” มีผลงานทั้งหมด 4 ชิ้น เป็นงานจิตรกรรม (เขียนในปี 1893, 1895 และ1910) และภาพพิมพ์ลิโทรกราฟ (ปี 1895) ฉบับที่วาดในปี 1910 ถูกลักลอบขโมยไปในปี 2004 และพบอีกครั้งในปี 2006 ภาพยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ภาพวาดฉบับปี1895 ขายไปในงานประมูลภาพเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2012 ที่ผ่านมา ด้วยราคา 119,922,500 ดอลลาร์สหรัฐ",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "485334#10",
"text": "ระหว่างช่วงที่อยู่ในฝรั่งเศส ในเดือนพฤศจิกายนปี1890 มุงค์ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเป็นเวลาสองเดือน เพราะต้องพักรักษาตัวจากไข้รูห์มาติก ในช่วงเวลานั้นภาพวาดของเขา 5 ภาพในออสโลถูกทำลายเพราะไฟไหม ช่วงเวลาในฝรั่งเศส มุงค์ได้สร้างผลงานไว้มากมาย เป็นช่วงเริ่มร่างภาพ “The Scream” และสร้างผลงานอีกหลายๆภาพแบบอิมเพรสชันนิสม์แต่ใช้ความประทับใจภายในจิตใจไม่ใช่เพียงทางสายตา",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "485334#21",
"text": "}}]] [[Category:{{subst:#switch:{{subst:uc:1944}}",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "159221#4",
"text": "หลักฐานแรกที่กล่าวถึงเอ็ดเวิร์ดพบในหลักฐานที่เขียนในปี ค.ศ. 892 ที่เรียกพระองค์ว่า “filius regis” ที่หมายถึงพระโอรสของกษัตริย์ในเอกสารมอบที่ดินที่นอร์ธ นิวน์ตันใกล้พิวซีย์ในวิลท์เชอร์ให้แก่เอิร์ลเอเธลเฮลม (Æthelhelm) แม้ว่าเอ็ดเวิร์ดจะเป็นพระโอรสองค์โตของกษัตริย์แต่มิได้หมายความว่าจะทรงเป็นมกุฏราชกุมาร จนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 890 ผู้ที่น่าจะได้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าอัลเฟรดในขณะนั้นคือพระภาคิไนยของเอ็ดเวิร์ด เอเธลโวลด์แห่งเวสเซ็กส์ (Æthelwold of Wessex) และ เอเธลเฮลม พระราชโอรสของเอเธลเรดแห่งเวสเซ็กส์ (Æthelred of Wessex) พระเชษฐาของพระเจ้าอัลเฟรดผู้เป็นกษัตริย์ก่อนพระองค์ เอเธลโวลด์และเอเธลเฮลมมีพระชนมายุแก่กว่าเอ็ดเวิร์ดราวสิบปี หลักฐานเกี่ยวกับเอเธลเฮลมหายไปราวคริสต์ทศวรรษ 890 คงจะเป็นเพราะเสียชีวิต แต่ใบประกาศ (charter) จากช่วงเวลานั้นแสดงหลักฐานว่าเอเธลโวลด์เป็นพยานต่อหน้าเอ็ดเวิร์ด ซึ่งเชื่อกันว่าอาจจะเกี่ยวกับตำแหน่งฐานะของทั้งสองคน เมื่อกล่าวถึงความเหมาะสมในการขึ้นครองราชย์แล้วเอเธลโวลด์ก็มีภาษีดีกว่าเอ็ดเวิร์ดตรงที่ว่ามีอายุมากกว่าและมีประสบการณ์มากกว่า และขณะที่พระมเหสีของพระเจ้าอัลเฟรดมิได้ถูกเรียกว่าพระราชินีและไม่เคยได้รับการราชาภิเษก แต่พระมารดาของเอเธลโวลด์และเอเธลเฮลมถูกเรียกว่าพระราชินี",
"title": "เอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส"
},
{
"docid": "485334#15",
"text": "แม้กระนั้นในปีถัดมา มุงค์จัดนิทรรศการสำคัญ ซึ่งแสดงงานจิตรกรรมจำนวนนับร้อยและภาพพิมพ์อีกกว่าสองร้อยภาพ รวมถึงภาพวิวทิวทัศน์และภาพคนขนาดเท่าจริง ในปี1915 เป็นครั้งที่สามของมุงค์ที่ได้ร่วมแสดงผลงานในงานนิทรรศการศิลปะในอเมริกา ครั้งนั้นงานนิทรรศการจัดขึ้นที่ซานฟรานซิสโก เอ็ดเวิร์ด มุงค์ได้รับรางวัลเหรียญทองสำหรับงานประเภทภาพพิมพ์ ความสำเร็จในครั้งนั้นเพียงพอที่จะแก้ปัญหาทางการเงินของเขาได้ ณ กรุงเบอร์ลิน ปี 1917 หนังสือชื่อ “Edvard Munch” ได้ตีพิมพ์ส่งท้องตลาด รวบรวมเอาผลงานระหว่างการเดินทางไปที่ต่างๆของมุงค์ แม้จะกระจายไปทั่วโลก มีงานนิทรรศการหลายๆครั้งและครั้งที่รวบรวมผลงานครอบคลุมมากที่สุด ได้จัดขึ้นที่หอศิลป์แห่งชาติประจำกรุงเบอร์ลิน รวมภาพวาดสีน้ำมันกว่า 223 ภาพ",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "485334#7",
"text": "ในปี 1886 เขาวาดภาพ ชุด “The Sick Child” ในภาพแสดงความคิดของมุงค์เรื่องความตายของน้องสาวของเขา ในปีนั้นเอง มุงค์ทำงานชุดนั้นเสร็จสิ้น ฤดูใบไม้ร่วงปี1889 มุงค์จัดนิทรรศการขนาดใหญ่เพื่อแสดงงานเดี่ยวของเขา ที่เมืองคริสเตียนเนีย จากงานนี้เขาได้รับรางวัลส่งผลให้เขามีโอกาสได้รับทุน",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "485334#20",
"text": "{{subst:#if:|}} [[Category:{{subst:#switch:{{subst:uc:1863}}",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
},
{
"docid": "485334#9",
"text": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์ได้ศึกษางานกับ Léon Bonnat จิตรกรชาวฝรั่งเศส ที่มีความชำนาญด้านการวาดภาพบุคคลแม้จะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แต่เขากลายมาเป็นแรงผลักดันอย่างมากให้แก่งานศิลปะของมุงค์ ในเวลานั้นเป็นช่วงเฟื่องฟูของศิลปะแนวใหม่ที่ต่อต้านลัทธิสัจจะนิยม มุงค์แสดงให้เห็นถึงการต่อต้านนี้จากคำพูดที่ว่า “กล้องถ่ายภาพไม่สามารถเทียบได้กับแปรงและผ้าใบได้” มุงค์รับเอาแนวทางวิธีการและเทคนิคการสร้างผลงานรูปแบบใหม่ของเขาจากแรงบันดาลที่ได้จากศิลปินที่มีชื่อเสียงในฝรั่งเศสอย่าง Paul Gauguin, Vincent van Gogh, Henri de Toulouse-Lautrec ทั้งจากลัทธิอิมเพรสชันนิสม์, โพสอิมเพรสชันนิสม์หลังจากนั้นก็สนในงานศิลปะแนวใหม่และการออกแบบ แม้ผลงานของเขาจะบรรยายบรรยากาศและสถานที่ทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามมุงค์ตั้งใจที่จะเน้นศิลปะที่สื่อความน่ากลัวของอารมณ์ ฤดูใบไม้ร่วงแรกหลังจากมาถึงปารีส มุงค์ได้รับแจ้งข่าวการตายของพ่อ ความเหงา ความเศร้าโศกครั้งนั้นถูกถ่ายทอดลงในภาพ “Night” (1890) ภาพคนที่โดดเดี่ยวในเงามืดภายในห้องอันมืดมิด มุงค์เดินทางกลับนอร์เวย์และกู้เงินก้อนหนึ่งได้จากนักสะสมงานศิลปะชาวนอร์เวย์ แต่ความหดหู่ ท้อแท้ โดดเดี่ยวและกดดันถาโถมมาที่เขาจนเขาเองไม่อยากจะมีชีวิตอยู่อีกต่อไปแล้ว",
"title": "เอ็ดเวิร์ด มุงค์"
}
] |
1675 | ความกลัวในสมอง เกิดขึ้นที่สมองส่วนไหน? | [
{
"docid": "593770#1",
"text": "มีการทดลองที่ได้ทำแล้วหลายอย่างเพื่อจะสืบหาว่า สมองแปลผลจากสิ่งเร้าได้อย่างไร และสัตว์มี การตอบสนองประกอบด้วยความกลัว</i>ที่เกิดขึ้นได้อย่างไร จริง ๆ แล้ว ความรู้สึกหวาดกลัว เป็นสิ่งที่กำหนดไว้กระทั่งในยีนของมนุษย์ เพราะความกลัวนั้นจำเป็นต่อการมีชีวิตรอดอยู่ได้ของแต่ละคน นอกจากนั้นแล้ว นักวิจัยยังพบว่า ความกลัวก่อร่างสร้างตัวอย่างไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ และเขตสมองชื่อว่า อะมิกดะลา มีบทบาทในการปรับสภาวะให้เกิดความกลัว (fear conditioning)",
"title": "การประมวลผลให้เป็นความกลัวในสมอง"
}
] | [
{
"docid": "211700#0",
"text": "ความกลัว เป็นอารมณ์ที่เกิดจากการรับรู้ภัยคุกคามของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสมองและการทำงานของอวัยวะ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในที่สุด เช่น การวิ่งหนี การหลบซ่อน หรือการช็อคจากเหตุการณ์ที่ทำร้ายจิตใจ ความกลัวอาจเป็นการตอบสนองต่อตัวกระตุ้นที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน หรือในอนาคต ซึ่งรับรู้ว่าเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือชีวิต สถานภาพ อำนาจ ความปลอดภัย หรือความมั่งคั่ง หรือสิ่งมีค่าใด ๆ การตอบสนองความกลัวเกิดขึ้นได้จากการรับรู้อันตรายที่นำไปสู่การเผชิญหน้าหรือการหลบหนีจากภัยคุกคาม ซึ่งในกรณีความกลัวสุดโต่ง อาจทำให้ช็อคหรือชาได้",
"title": "ความกลัว"
},
{
"docid": "645979#50",
"text": "ส่วนของสมองที่ขาดไม่ได้ในการสร้างอารมณ์ก็คืออะมิกดะลา\nซึ่งเปิดโอกาสให้ฮอร์โมนความเครียดสามารถเพิ่มกำลังของการสื่อสารระหว่างนิวรอนต่าง ๆ \nคือ สารเคมี cortisone และอะดรีนาลีนจะเกิดการปล่อยในสมองเมื่อเกิดการทำงานในอะมิกดะลาไม่ว่าจะเป็นเพราะความตื่นเต้นทั้งทางบวกหรือทางลบ\nวิธีที่ได้ผลที่สุดในการเริ่มการทำงานของอะมิกดะลาก็คือความกลัว เพราะความกลัวเป็นกลไกป้องกันตนเองที่มีอยู่ตามสัญชาตญาณ เป็นสิ่งที่มีกำลังจึงทำให้จำเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย\nแต่ว่า บางครั้งความรู้สึกอาจจะมีอย่างท่วมท้น\nซึ่งทำให้ความจำแม้คลุมเครือแต่ก็ยังรู้สึกเหมือนชัด หรือว่าอาจจะทำให้คิดถึงบ่อย ๆ และมีความชัดเจนอย่างยิ่ง\nการค้นพบเช่นนี้ได้นำไปสู่การพัฒนายาเพื่อช่วยความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD)\nเมื่อเราอยู่ในภาวะที่เกิดอารมณ์สูง เหตุการณ์ต่าง ๆ อาจจะทำให้เกิดความจำที่มีกำลังและทำให้คิดถึงบ่อย ๆ โดยที่ไม่ต้องการ ทำให้กลายเป็นปัญหาอย่างหนึ่งในชีวิตเป็นเวลาหลาย ๆ ปี",
"title": "ความจำ"
},
{
"docid": "568294#33",
"text": "อะมิกดะลาในสมองซีกซ้ายและซีกขวามีการทำงานแตกต่างกัน ในงานวิจัยหนึ่ง การกระตุ้นอะมิกดะลาซีกขวาด้วยไฟฟ้าก่อให้เกิดอารมณ์เชิงลบ โดยเฉพาะความหวาดกลัวและความเสียใจ ส่วนการกระตุ้นอะมิกดะลาซีกซ้ายก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกที่น่าปรารถนา เช่นความสุขใจ หรือที่ไม่น่าปรารถนา เช่นความกลัว ความวิตกกังวล และความเสียใจ \nหลักฐานอื่น ๆ ยังบอกเป็นนัยว่า อะมิกดะลาซีกซ้ายมีบทบาทในระบบรางวัล (reward system) ของสมอง",
"title": "อะมิกดะลา"
},
{
"docid": "560106#0",
"text": "เซจิ โองาวะ (, เกิด 19 มกราคม 2477) เป็นนักค้นคว้าชาวญี่ปุ่น ที่รู้จักกันว่าเป็นผู้ค้นพบเทคนิคที่ใช้ใน fMRI (Functional Magnetic Resonance Imaging) ผู้ได้รับการนับถือว่า เป็นบิดาของการสร้างภาพสมองโดยกิจยุคสมัยใหม่ ผู้ได้ชี้ว่า ความเปลี่ยนแปลงของระดับออกซิเจนในโลหิต ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก จึงทำให้สามารถสร้างแผนภาพของโลหิต และเพราะเหตุนั้น ของเขตในสมองที่กำลังทำงาน แผนภาพนี้ส่องให้เห็นว่า เซลล์ประสาทกลุ่มไหนในสมองตอบสนองด้วยสัญญาณเคมีไฟฟ้า ในการทำงานของจิตใจ ดร. โองาวะ เป็นนักวิทยาศาสคร์คนแรกที่แสดงว่า การสร้างภาพสมองโดยกิจ ขึ้นอยู่กับสถานะออกซิเจนของโลหิตที่เรียกว่า ผลอาศัยระดับออกซิเจนในเลือด (Blood-oxygen-level dependent effect หรือ BOLD effect) วิธีนี้ต่อมาจึงเรียกว่า ค่าความต่างโบลด์ (BOLD contrast) fMRI ได้ถูกใช้เพื่อทำแผนผังของเขตสายตา เขตการได้ยิน เขตประสาทรับรู้ความรู้สึกในสมอง และเขตอื่น ๆ ที่มีหน้าที่ระดับสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป เช่นเขตที่รับรู้อารมณ์",
"title": "เซจิ โองาวะ"
},
{
"docid": "568270#23",
"text": "ภาวะบอดใบหน้าที่เกิดขึ้นภายหลัง สามารถเกิดขึ้นได้เพราะความเสียหายทางประสาท ที่มีเหตุเกี่ยวเนื่องกับโรคหลอดเลือดสมองหลายๆ อย่าง รวมทั้งเนื้อตายเพราะหลอดเลือดในสมองด้านหลัง (posterior cerebral artery infarct) และการตกเลือดในด้านล่างด้านใน (infero-medial) ของรอยต่อสมองกลีบขมับและสมองกลีบท้ายทอย (temporo-occipital junction) เหตุเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นทั้งสองซีกสมอง หรือเพียงสมองซีกเดียวก็ได้ แต่ถ้าเกิดที่ซีกสมองเดียว ก็มักจะเกิดขึ้นในซีกขวาเกือบทุกกรณี[3] ภาวะบอดใบหน้าที่เกิดขึ้นภายหลัง สามารถเกิดขึ้นได้เพราะความเสียหายทางประสาท ที่มีเหตุเกี่ยวเนื่องกับโรคหลอดเลือดสมองหลายๆ อย่าง รวมทั้งเนื้อตายเพราะหลอดเลือดในสมองด้านหลัง (posterior cerebral artery infarct) และการตกเลือดในด้านล่างด้านใน (infero-medial) ของรอยต่อสมองกลีบขมับและสมองกลีบท้ายทอย (temporo-occipital junction) เหตุเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นทั้งสองซีกสมอง หรือเพียงสมองซีกเดียวก็ได้ แต่ถ้าเกิดที่ซีกสมองเดียว ก็มักจะเกิดขึ้นในซีกขวาเกือบทุกกรณี[3]",
"title": "ภาวะไม่รู้ใบหน้า"
},
{
"docid": "771386#2",
"text": "\"วิฬารี\" ลูกพี่ลูกน้องของปิลันธากลับมาจากต่างประเทศพร้อมคู่หมั้น \"สักการ” ปิลันธาเมื่อเห็นสักการก็นึกรักและท้าทายมาก เธอทำการทดลองต่อศีรษะกับร่างหญิงสาวจนสำเร็จแต่แล้วน้ำกรดก็หกรดตัวเธอ จนเธอเหลือแค่ก้อนสมองที่มีพลังจิตเท่านั้น ก้อนสมองนั้นลอยไปลอยมาได้และไปดูดเลือดคนมาเลี้ยงสมองได้อีกด้วย เธอคิดที่จะนำร่างของวิฬารีมาใช้ทำการทดลอง แต่ในอีกใจหนึ่งเธออยากเป็นคนรักของสักการ ก้อนสมองทำร้ายวิฬารีจนเกือบตาย สักการเข้ามาช่วยไว้ และยืนยันว่าจะขอกอดศพของวิฬารีดีกว่าจะต้องเอาสมองของคนอื่นมาใส่ในร่างวิฬารี สุดท้ายแล้วเจ้าก้อนสมองลอยได้นั้นถูกทำลายแต่ทว่าดวงจิตของปิลันธายังคงอยู่ในห้องทดลองแห่งนั้นไม่เคยไปไหน",
"title": "ศีรษะมาร"
},
{
"docid": "837390#8",
"text": "งานศึกษาปี 2552 แสดงว่า GAD สัมพันธ์กับการทำหน้าที่ผิดปกติของอะมิกดะลาในการประมวลความกลัวและความวิตกกังวล[22] คือ ข้อมูลประสาทสัมผัสจะเข้าสู่อะมิกดะลาผ่านนิวเคลียส basolateral complex (รวมทั้ง lateral, basal และ accessory basal nuclei) โดย basolateral complex มีหน้าที่ประมวลความทรงจำเกี่ยวกับความกลัวสัมพันธ์กับประสาทสัมผัส และสื่อความอันตรายของข้อมูลไปยังระบบที่ประมวลความจำและประสาทสัมผัสอื่น ๆ ในสมอง เช่น medial prefrontal cortex และคอร์เทกซ์ประสาทสัมผัส (sensory cortices) ต่าง ๆ เขตสำคัญอีกเขตหนึ่งก็คือ central nucleus ของอะมิกดะลาที่อยู่ข้าง ๆ เป็นตัวควบคุมการตอบสนองโดยความกลัวของสัตว์แต่ละสปีชีส์ ๆ ผ่านการเชื่อมต่อทางก้านสมอง ไฮโปทาลามัส และสมองน้อย",
"title": "โรควิตกกังวลไปทั่ว"
},
{
"docid": "568294#31",
"text": "มีกรณีคนไข้ที่มีรอยโรคในอะมิกดะลาทั้งสองซีกสมอง เนื่องจากเหตุพันธุกรรมที่เรียกว่า Urbach-Wiethe disease \nคนไข้เช่นนี้ไม่มีพฤติกรรมที่ประกอบด้วยความหวาดกลัว ข้อมูลนี้สนับสนุนผลสรุปที่กล่าวว่า \"อะมิกดะลาเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ในการก่อให้เกิดความกลัว\"",
"title": "อะมิกดะลา"
},
{
"docid": "84883#1",
"text": "ยกตัวอย่างเช่นความรู้สึกกลัว แปลอย่างกว้างๆ ความกลัวเป็นการคาดการณ์ถึงอันตรายหรือความเจ็บปวด ความกลัวเพิ่มสารเคมีในสมองเช่น adrenalin และ cortisol ความกลัวนั้นมีประโยชน์ เพราะมันเกิดจากสิ่งรอบกายซึ่งบ่งบอกถึงความเสี่ยงต่ออันตรายหรือ การประเชิญกับอันตรายโดยตรง ถึงกระนั้นก็ดี บางครั้งในสถานการณ์ที่ไม่มีภัย ความนึกคิด จิตใต้สำนึก และ จินตนาการ ก็สามารถก็ให้เกิดความกลัวได้",
"title": "ความรู้สึก"
},
{
"docid": "597312#5",
"text": "โจเซ็ฟ เลอดูซ์ นักประสาทวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน พบวิถีประสาทสองทางในอะมิกดะลาในสมองของหนูทดลองที่ทำการทดลองโดยการปรับภาวะให้เกิดความกลัวและโดยทำรอยโรค\nเลอดูซ์เรียกวิถีประสาทเหล่านั้นว่า ทางบน (high road) และทางล่าง (low road)\nทางล่างเป็นวิถีประสาทที่ส่งสัญญาณจากตัวกระตุ้นไปยังทาลามัส ต่อจากนั้นไปยังอะมิกดะลาซึ่งเริ่มการตอบสนองด้วยความกลัวในร่างกาย\nลำดับการทำงานนี้เกิดขึ้นนอกอำนาจจิตใจไม่ประกอบด้วยการรับรู้ตัวกระตุ้น (เช่นสัตว์ยังไม่ทันมีความรู้สึกว่าเห็นตัวกระตุ้น แต่ก็เกิดความกลัวแล้ว) นึ่เป็นทางประสาทที่เร็วที่สุดที่จะให้เกิดการตอบสนองทางกาย\nแต่ว่า ทางบนนั้นก็เริ่มทำงานไปพร้อม ๆ กันกับทางล่าง\nแต่ว่าเป็นทางที่ช้ากว่าซึ่งเกี่ยวข้องกับเปลือกสมองเขตต่าง ๆ ที่ในที่สุดนำไปสู่การรับรู้ว่าตัวกระตุ้น (ที่ทำให้เกิดความกลัว) นั้นคืออะไร\nทางล่างเป็นระบบใต้เปลือกสมอง (subcortical) เท่านั้น ดังนั้น เป็นทางที่พิจารณาว่าเป็นกลไกการป้องกันตัวแบบดั้งเดิมที่ไม่ซับซ้อน และมีอยู่ตามลำพังในสัตว์ที่มีวิวัฒนาการที่ต่ำกว่า ที่ยังไม่มีการพัฒนาส่วนที่ซับซ้อนกว่าของสมอง\nส่วนในสัตว์ที่มีวิวัฒนาการที่สูงกว่า ทั้งทางบนทางล่างทำงานไปพร้อม ๆ กันเพื่อก่อให้เกิดทั้งการตอบสนองด้วยความกลัวและทั้งข้อมูลป้อนกลับคือการรับรู้ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดความกลัว",
"title": "การปรับภาวะให้เกิดความกลัว"
},
{
"docid": "597312#2",
"text": "การปรับภาวะให้เกิดความกลัวเชื่อกันว่า อาศัยเขตในสมองที่เรียกว่า อะมิกดะลา (amygdala)\nการตัดออกหรือการยับยั้งการทำงานของอะมิกดะลาสามารถยับยั้งทั้งการเรียนรู้และการแสดงออกของความกลัว\nการปรับภาวะให้เกิดความกลัวบางประเภท (แบบ contextual และ trace) ก็อาศัยเขตฮิปโปแคมปัสด้วย ซึ่งเป็นเขตสมองเชื่อกันว่ารับพลังประสาทนำเข้าจากอะมิกดะลาและประสานสัญญาณนั้นกับข้อมูลประสบการณ์ที่เคยมีมาก่อนที่ทำให้ตัวกระตุ้นนั้นมีความหมาย",
"title": "การปรับภาวะให้เกิดความกลัว"
},
{
"docid": "593770#11",
"text": "สมมุติฐานนี้ให้คำอธิบายเป็นที่พอใจเกี่ยวกับความเป็นไปของกระบวนการของการเรียนรู้แบบสัมพันธ์ง่าย ๆ เช่นในการปรับสภาวะให้เกิดความกลัว (fear conditioning) คือ ทฤษฎีนี้สามารถใช้อธิบายการปรับสภาวะให้เกิดความกลัวว่า เมื่อมีการกระตุ้นวงจรประสาทด้วยตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข (conditioned stimuli[1]) และตัวกระตุ้นไร้เงื่อนไข (unconditioned stimuli[1]) พร้อม ๆ กัน และตัวกระตุ้นไร้เงื่อนไขนั้นมีผลให้เกิดความกลัวโดยธรรมชาติคือก่อให้เกิดการลดขั้ว (depolarization) ที่มีกำลังในอะมิกดะลาด้านข้าง ความเป็นไปอย่างนี้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในไซแนปส์ที่เชื่อมต่อกันระหว่างวงจรประสาทที่แปลผลตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข กับอะมิกดะลาด้านข้าง จนในที่สุด การกระตุ้นวงจรประสาทด้วยตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข ก็ส่งผลให้มีการตอบสนองในอะมิกดะลาด้านข้างซึ่งตอนแรกตอบสนองต่อตัวกระตุ้นไร้เงื่อนไขเท่านั้น ส่งผลให้เกิดความกลัวเนื่องมาจากตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข[4]",
"title": "การประมวลผลให้เป็นความกลัวในสมอง"
},
{
"docid": "815796#11",
"text": "เทคนิคที่เรียกว่าการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (Computed tomography ตัวย่อ CT) หรือ Computed Axial Tomography (CAT) ใช้ชุดภาพเอกซ์เรย์ของศีรษะที่ถ่ายจากมุมต่าง ๆ ปกติใช้เพื่อดูความบาดเจ็บในสมองอย่างเร็ว ๆ CT ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณเลขโดยปริพันธ์ (คือ inverse Radon transform) ของข้อมูลที่ได้ทางเอกซ์เรย์เพื่อประมาณว่า ปริมาตรเล็ก ๆ ในสมองดูดซึมแสงเอกซ์เรย์แค่ไหน แล้วก็จะแสดงข้อมูลเป็นชุดภาพตัดขวางของสมอง[11]",
"title": "การสร้างภาพประสาท"
},
{
"docid": "593770#17",
"text": "มีงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข (conditioned stimuli[1]) ที่มีการจับคู่ตัวกระตุ้นที่เป็นกลาง ๆ เช่นไฟที่โพลงวาบขึ้นมา กับตัวกระตุ้นไร้เงื่อนไข (unconditioned stimuli[1]) ที่ทำให้เกิดความกลัว เช่นถูกไฟดูด ในการทดลองกับหนู ผลที่ต้องการในการจับคู่อย่างนี้ก็คือ เพื่อให้ตัวกระตุ้นที่เป็นกลาง ๆ (คือตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข) ก่อให้เกิดการตอบสนองไร้เงื่อนไข คือความกลัว หลังจากการปรับสภาวะโดยวิธีนี้ ก็จะให้ตัวกระตุ้นกลาง ๆ กับหนูอีกครั้งหนึ่งเพื่อที่จะดูว่า จะมีการตอบสนองด้วยความกลัวด้วยหรือไม่ แต่เพราะว่า การตอบสนองโดยความกลัวอาจจะรวมถึงพฤติกรรมหลาย ๆ อย่าง ดังนั้น จึงสำคัญที่จะสังเกตว่าหนูแสดงพฤติกรรมใดเมื่อให้ตัวกระตุ้นมีเงื่อนไขแก่หนู[5]",
"title": "การประมวลผลให้เป็นความกลัวในสมอง"
},
{
"docid": "593770#19",
"text": "นอกจากนั้นแล้ว มีการพบว่า ตัวกระตุ้นกลาง ๆ ที่ปรากฏทางตา เพิ่มความรู้สึกกลัวหรือความรู้สึกไม่แน่ใจที่เกิดขึ้นก่อนเพราะข้อมูลทางประสาทอื่นเช่นทางหู[27] จากงานวิจัยของเลอดูซ์ พบว่า ทาลามัสเขตได้ยินไม่ได้ส่งตัวกระตุ้นคือเสียงโดยตรงไปยังนิวเคลียสกลางของอะมิกดะลา[22]",
"title": "การประมวลผลให้เป็นความกลัวในสมอง"
},
{
"docid": "269115#1",
"text": "ชานมีลักษณะคล้ายแมลง มีขาสิบขาซึ่งคล้ายกับหนวดรยางค์และปากสามปาก ปีกที่ใช้บินมีลักษณะเหมือนแผ่นหนังและมีปีกใหญ่เป็นเกล็ด ขนาดใกล้เคียงกับนกพิราบของโลก ดาวแชกไกซึ่งเป็นบ้านเดิมของชานนั้นเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะแฝด โดยชานนั้นเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีความเจริญก้าวหน้าและอาศัยอยู่รวมกันในเมืองขนาดใหญ่ ชานมีสมองหกส่วนและสามารถคิดเรื่องต่างๆได้สามเรื่องในเวลาเดียวกัน เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของดวงอาทิตย์นั้นมีผลกับเมแทบอลิซึมของชาน ชานจึงกลัวแสงอาทิตย์อย่างมาก ชานมีความสามารถพิเศษในการฝังตัวผ่านกะโหลกศีรษะและสมองของสิ่งมีชีวิตได้ เมื่อทำการฝังตัวเสร็จแล้ว ชานก็จะใช้โทรจิตทำการควบคุมร่างนั้นได้ ยิ่งชานฝังตัวอยู่นานแค่ไหนก็จะยิ่งทำการควบคุมร่างได้มากขึ้นเท่านั้น โดยในตอนแรกจะทำได้เพียงดลใจแต่ในที่สุดก็จะสามารถควบคุมได้เหมือนเป็นหุ่นเชิด",
"title": "ชาน"
},
{
"docid": "593770#16",
"text": "แม้ว่า อะมิกดะลาจะมีบทบาทสำคัญในการรู้จำความกลัว งานวิจัยต่อ ๆ มากลับแสดงว่า มีวิถีประสาทอื่น ๆ ที่สามารถรับรองการเรียนรู้ให้เกิดความกลัวแม้ว่าจะปราศจากอะมิกดะลาที่ใช้การได้[25] นอกจากนั้น งานวิจัยโดยแอนดี้ คาซามา ยังแสดงด้วยว่า แม้ว่าอะมิกดะลาจะมีความเสียหาย แต่เป็นไปได้ที่คนไข้จะสามารถแยกแยะตัวกระตุ้นที่เป็นตัวช่วยอย่างอื่น ๆ ที่บอกถึงความปลอดภัยหรืออันตราย[26]",
"title": "การประมวลผลให้เป็นความกลัวในสมอง"
},
{
"docid": "78009#2",
"text": "นวมชกมวยยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บของนักกีฬาได้จริงหรือไม่ แต่โดยทั่วไปเป็นที่ยอมรับกันว่าสามารถลดการบาดเจ็บประเภทแผลแตกจากการถูกชกบริเวณที่มีสันกระดูกได้ดี ช่วยป้องกันดั้งจมูกหักโดยช่วยดูดซับระยะห่างจากสันหมัด อย่างไรก็ตามอาการเลือดกำเดาไหลจากหลอดเลือดฝอยบริเวณปลายจมูกยังคงเกิดได้บ่อยในกรณีถูกนวมต่อยอัดเข้ากลางใบหน้าเป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยที่สุดในนักมวยสมัครเล่น นอกจากนี้นวมชกมวยยังอาจช่วยลดการบาดเจ็บบริเวณดวงตาได้ เช่น อาการฉีกขาดของเรติน่าหรืออาการเลือดออกบริเวณเลนส์ตา แม้จะยังมีโอกาสเขียวช้ำบริเวณเบ้าตา สำหรับประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงกันมากก็คือผลของนวมชกมวยต่ออาการบาดเจ็บทางสมอง งานวิจัยหลายชิ้นและคำแนะนำจาก British Medical Association ยืนยันว่านวมชกมวยไม่อาจลดอาการบาดเจ็บทางสมองได้และยังอาจส่งผลกระทบรุนแรงมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากนักมวยสามารถออกแรงชกคู่ต่อสู้ได้เต็มที่โดยไม่ต้องกลัวกระดูกมือแตกดังเช่นการต่อสู้ด้วยหมัดเปล่าแบบในอดีต โดยผลต่อการบาดเจ็บทางสมองอาจไม่ปรากฏโดยทันที แต่จะส่งผลในระยะยาวทำให้เกิดโรคหลายชนิดที่มีการเสื่อมของสมองและเนื้อเยื่อเซลล์ประสาท อย่างไรก็ตามงานวิจัยหลายชิ้นก็พบว่านวมชกมวยสามารถลดอัตราตายอย่างเฉียบพลันบนสังเวียนได้เมื่อเทียบกับการต่อสู้ด้วยหมัดเปล่า",
"title": "นวม"
},
{
"docid": "593770#6",
"text": "มีหลักฐานว่าความหวาดกลัวมีส่วนทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม[5] วิธีหนึ่งที่ปรากฏการณ์นี้ได้รับการวิจัยก็โดยใช้การทดลองแบบฉบับแบบสร้างความเครียดซ้ำ ๆ (repeated stress) เป็นฐาน เช่นในงานวิจัยของโรเบิรต์ แคมป์[6] งานวิจัยนี้ เป็นการสืบสวนทฤษฎีว่า การปรับสภาวะให้เกิดความกลัว (fear conditioning) อาจจะเป็นเหตุสำคัญยิ่งในการเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์ที่เกิดความเครียดแบบซ้ำ ๆ",
"title": "การประมวลผลให้เป็นความกลัวในสมอง"
},
{
"docid": "815796#15",
"text": "ส่วนการสร้างภาพโดยกิจด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็ก (fMRI) และเทคนิค arterial spin labeling (ASL) อาศัยคุณสมบัติพาราแมกเนติกของเฮโมโกลบินที่เติมออกซิเจนหรือขาดออกซิเจนเพื่อแสดงความเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนของเลือดในสมองที่สัมพันธ์กับการทำงานของระบบประสาท ทำให้สามารถสร้างภาพแสดงว่า โครงสร้างทางสมองไหนกำลังทำงานแค่ไหนเมื่อผู้รับการสแกนทำงานต่าง ๆ หรืออยู่เฉย ๆ ตามสมมติฐานการเติมออกซิเจน (oxygenation hypothesis) ความเปลี่ยนแปลงของการใช้ออกซิเจนในเลือดของบริเวณสมองในช่วงที่มีกิจกรรมทางการรู้คิดหรือพฤติกรรม อาจสัมพันธ์กับเซลล์ประสาทในเขตที่สัมพันธ์โดยตรงกับงานที่กำลังทำอยู่ เครื่อง fMRI โดยมากมีที่ให้แสดงภาพ เสียง และความรู้สึกสัมผัสต่าง ๆ แก่คนที่อยู่ในเครื่อง แล้วให้ทำการตอบสนองเช่นกดปุ่มหรือขยับก้านควบคุม และดังนั้น fMRI จึงสามารถใช้แสดงโครงสร้างและกระบวนการทางสมองที่สัมพันธ์กับการรับรู้ ความคิด และการกระทำ",
"title": "การสร้างภาพประสาท"
},
{
"docid": "759478#11",
"text": "อคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่างอาจส่งผลกระทบต่อผลที่ถูกตีพิมพ์ ซึ่งแปลว่าผลที่แสดงความแตกต่างระหว่างสมองของไอนสไตน์และสมองของคนปกติ มีแนวโน้มที่จะถูกตีพิมพ์มากกว่า ขณะที่ผลที่แสดงว่าหลายๆส่วนของสมองไอนสไตน์นั้นไม่ได้แตกต่างจากสมองอื่นๆนั้นอาจถูกละเลย นอกจากนี้เวลาทำการทดลอง นักวิจัยยังรู้อยู่ตลอดว่าสมองชิ้นไหนเป็นของไอนสไตน์และสมองชิ้นไหนเป็นกลุ่มควบคุม จึงเกิดความเป็นไปได้ที่จะมีอคติทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว และเป็นอุปสรรคต่อการทดลองแบบอำพราง",
"title": "สมองของอัลเบิร์ต ไอนสไตน์"
},
{
"docid": "593770#3",
"text": "ในกระบวนการปรับสภาวะให้เกิดความกลัว (fear conditioning) วงจรประสาทที่เกี่ยวข้องก็คือ",
"title": "การประมวลผลให้เป็นความกลัวในสมอง"
},
{
"docid": "593770#2",
"text": "ถ้าเข้าใจว่า ความหวาดกลัวเกิดขึ้นได้อย่างไรในบุคคลหนึ่ง ๆ ก็อาจสามารถที่จะรักษาความผิดปกติทางจิตประเภทต่าง ๆ เช่น ความวิตกกังวล โรคกลัว และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจได้",
"title": "การประมวลผลให้เป็นความกลัวในสมอง"
},
{
"docid": "597315#6",
"text": "แผนที่ตัวแทนที่สอง (Second-order representation) หรือเรียกว่า field discontinuity map เป็นแผนที่มีระเบียบที่ดูเหมือนว่า มีช่องหรือความไม่ต่อเนื่องกัน (discontinuity) ในลานสายตา (visual field) หรือในเรตินา\nแผนที่ในเขตสายตา V2 และคอร์เทกซ์นอกคอร์เทกซ์ลาย (extrastriate cortex) อื่น ๆ (คือเขตคอร์เทกซ์ที่มีระดับสูงกว่า V1) จัดเป็นแผนที่ตัวแทนที่สอง\nระบบการได้ยินเป็นระบบรับความรู้สึกสำหรับการได้ยิน เป็นที่ที่สมองแปลข้อมูลจากความถี่คลื่นเสียง เป็นการรับรู้เสียง\nคลื่นเสียงเดินทางเข้าไปในหูผ่านรูหู\nไปถึงแก้วหู เป็นที่ที่มีการถ่ายโอนคลื่นเสียงไปเป็นความสั่นสะเทือน\nซึ่งเดินทางไปตามกระดูกของหูชั้นใน จนถึงอวัยวะรูปหอยโข่ง (cochlea) ในหูชั้นใน\nซึ่งเป็นที่มีการถ่ายโอนความสั่นสะเทือน (คือข้อมูลเสียง) ไปเป็นข้อมูลไฟฟ้า โดยการยิงสัญญาณของเซลล์ขนใน organ of Corti ซึ่งเป็นส่วนของอวัยวะรูปหอยโข่ง\nและ organ of Corti ก็ส่งแอกซอนอย่างเป็นระเบียบไปยังโครงสร้างต่าง ๆ ในก้านสมอง คือ cochlear nuclei และ inferior colliculus\nต่อจากนั้น วิถีประสาทก็ดำเนินต่อไปยัง medial geniculate nucleus ในทาลามัส และไปยังคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ (primary auditory cortex)\nจุดที่อยู่ใกล้ ๆ กันบน organ of Corti ซึ่งรองรับเสียงที่มีความถี่ที่เฉพาะเจาะจง มีตัวแทนเป็นนิวรอนที่อยู่ใกล้ ๆ กันในโครงสร้างต่าง ๆ ที่พึ่งกล่าวถึงในระบบประสาทกลาง ระเบียบการส่งสัญญาณเช่นนี้เรียกว่า tonotopy \nระเบียบแบบ tonotopy นี้เริ่มใน cochlear ซึ่งเป็นที่ที่เยื่อ basilar membrane สั่นสะเทือนในตำแหน่งต่าง ๆ กันในด้านยาวขึ้นอยู่กับความถี่เสียง\nถ้า cochlea ที่ขดอยู่คลี่ออก ตำแหน่งของเสียงความถี่สูงจะอยู่ที่ฐาน และตำแหน่งของเสียงความถี่ต่ำจะอยู่ที่ปลาย\nการจัดระเบียบแบบนี้ก็พบได้ในคอร์เทกซ์การได้ยิน (auditory cortex) ในสมองกลีบขมับด้วย\nในเขตสมองที่มีการจัดระเบียบแบบนี้ ความถี่เสียงเพิ่มขึ้นตามลำดับจากต่ำไปถึงสูงตามผิวคอร์เทกซ์ แต่ว่าจะเป็นความถี่เดียวกันสำหรับเซลล์ในแนวตั้งฉาก (ที่เรียกว่าคอลัมน์ในคอร์เทกซ์) กับผิวของคอร์เทกซ์\nโดยทั่ว ๆ ไปสัตว์หนึ่ง ๆ มีแผนที่ tonotopic อย่างนี้หลายแผนที่กระจายไปตามผิวคอร์เทกซ์\nระบบรับความรู้สึกทางกายประกอบด้วยตัวรับความรู้สึกและศูนย์ประมวลข้อมูลมากมายหลายแบบ เพื่อจะก่อให้เกิดความรู้สึกเกี่ยวกับสัมผัส อุณหภูมิ อากัปกิริยา และโนซิเซ็ปชั่น\nตัวรับความรู้สึกอยู่ที่ทั่วร่างกายรวมทั้งผิวหนัง เนื้อเยื่อบุผิว อวัยวะภายใน กล้ามเนื้อโครงร่าง กระดูก และข้อต่อ\nตัวรับความรู้สึกที่หนัง (cutaneous receptors) ส่งแอกซอนอย่างเป็นระเบียบไปสู่ไขสันหลัง\nและจากไขสันหลัง โดยผ่านวิถีประสาทนำเข้าคือ dorsal column-medial lemniscus pathway และ spinothalamic tract ไปยังทาลามัสและคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex)\nและในที่นี้ก็เช่นกัน ที่จุดใกล้ ๆ กันที่ผิวหนังมีนิวรอนที่อยู่ใกล้ ๆ กันในโครงสร้างสมองที่พึ่งกล่าวถึง เป็นตัวแทน ระเบียบการส่งสัญญาณเช่นนี้เรียกว่า somatotopy \nแผนผังสามัญที่แสดงแผนที่แบบ somatotopic อย่างหนึ่งเรียกว่า cortical homunculus\nภาพในผังแสดงขนาดของคอร์เทกซ์ที่อุทิศกับเขตความรู้สึกต่าง ๆ ในร่างกายอย่างค่อนข้างจะแม่นยำ\nนอกจากนั้นก็ยังแสดงด้วยว่า คอร์เทกซ์ส่วนไหนเป็นตัวแทนของส่วนไหนในร่างกาย",
"title": "แผนที่ภูมิลักษณ์"
},
{
"docid": "593770#20",
"text": "ความกลัวเกิดขึ้นเนื่องจากตัวกระตุ้นต่าง ๆ กัน และมีกระบวนการทางชีวเคมีดังที่กล่าวไปแล้ว วิลเลียม อาร์เอ็ม และคณะ ศึกษาเรื่องสหสัมพันธ์ทางประสาท (Neural correlate) ของการทำงานร่วมกันระหว่างข้อมูลทางภาษาและข้อมูลทางตา งานวิจัยนั้นตรวจสอบดูว่า ข้อมูลทางภาษาและทางตาทำงานร่วมกันอย่างไรเพื่อก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก โดยใช้ปรากฏการณ์สามัญในการถ่ายหนังอย่างหนึ่งว่า การแสดงภาพทางตาที่เป็นกลาง ๆ ปรากฏว่า เพิ่มความรู้สึกกลัวหรือความไม่แน่ใจซึ่งเริ่มขึ้นจากข้อมูลทางประสาทอื่นเช่นทางภาษา ได้มีการใช้หลักการนี้เพื่อเพิ่มความกลัวโดยแสดงตัวกระตุ้นทางตาที่เป็นกลาง ๆ ไอเดียของหลักการก็คือ ข้อมูลทางตาเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้น (ซึ่งในที่นี้คือภาษา) ที่ทำให้เกิดความกลัว โดยทำสิ่งที่เพียงกล่าวไว้ในประโยคคำพูดที่เป็นนามธรรมให้เกิดเป็นรูปธรรมขึ้นมา เชื่อกันว่า การทำงานที่เกิดขึ้นที่ temporal pole ด้านหน้าโดยเฉพาะ ทำหน้าที่เชื่อมข้อมูลความรู้สึกที่มาจากวิถีประสาทหลาย ๆ ทางเช่นข้อมูลทางตาและข้อมูลทางภาษา[28]",
"title": "การประมวลผลให้เป็นความกลัวในสมอง"
},
{
"docid": "593770#0",
"text": "การประมวลผลให้เป็นความกลัวในสมอง (English: Fear processing in the brain) เป็นกระบวนการที่สมองแปลผลจากสิ่งเร้า ไปเป็นพฤติกรรมในสัตว์โดยเป็น \"การตอบสนองประกอบด้วยความกลัว (fear response)\"",
"title": "การประมวลผลให้เป็นความกลัวในสมอง"
},
{
"docid": "530225#0",
"text": "ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ (English: neural correlates of consciousness, ตัวย่อ NCC) คือเซตที่เล็กที่สุดของปรากฏการณ์ในเซลล์ประสาท และการประกอบกันของเซลล์ประสาทพอที่จะให้เกิดอารมณ์[2]ที่รับรู้ (conscious percept)[3] นักวิทยาศาสตร์ประสาทใช้วิธีการทดลองเป็นหลักเพื่อที่จะค้นพบประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ เซตได้รับการกำหนดให้เล็กที่สุดเพราะว่า ถ้าสมองเป็นเพียงธรรมชาติเดียวที่ก่อให้เกิดการรับรู้อารมณ์ สิ่งที่จะต้องสืบหาก็คือ ส่วนไหนของสมองเป็นส่วนสำคัญให้เกิดการรู้อารมณ์",
"title": "ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์"
},
{
"docid": "593770#5",
"text": "เนื่องจากว่า วิถีประสาทเหล่านี้ ไปรวมตัวลงที่อะมิกดะลาด้านข้าง และเพราะว่า กระบวน<b data-parsoid='{\"dsr\":[2224,2264,3,3]}'>การเสริมกำลังการส่งสัญญาณในระยะยาว (long-term potentiation, ตัวย่อ LTP[2]) และสภาพพลาสติกของไซแนปส์ที่เพิ่มระดับการตอบสนองของนิวรอนที่อะมิกดะลาด้านข้างต่อตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข เกิดขึ้นที่อะมิกดะลาด้านข้าง ดังนั้น ข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นมีเงื่อนไขจึงสามารถจะเดินทางไปจากอะมิกดะลาด้านข้าง ไปถึงนิวเคลียสกลางของอะมิกดะลา คือ ส่วนฐาน (basal) และ Intercalated cells[3] ของอะมิกดะลาเชื่อมอะมิกดะลาส่วนข้างไปยังนิวเคลียสกลางทั้งโดยตรงและโดยอ้อม วิถีประสาทจากนิวเคลียสกลางของอะมิกดะลาที่ดำเนินไปยังเขตต่อไปนั่นแหละ เป็นส่วนในสมองที่ควบคุมพฤติกรรมเพื่อป้องกันตน (เช่นการมีตัวแข็ง) ควบคุมการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนวัติ (autonomic nervous system) และควบคุมการตอบสนองของระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งล้วนแต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเนื่องด้วยความกลัว นอกจากนี้แล้ว งานวิจัยเร็ว ๆ นี้ยังแสดงว่า เขตคอร์เทกซ์ก่อนระบบลิมบิกมีบทบาทในการแสดงออกความกลัวเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจจะเป็นเพราะมีการเชื่อมต่อกับส่วนฐานและนิวเคลียสกลางของอะมิกดะลา[4]",
"title": "การประมวลผลให้เป็นความกลัวในสมอง"
},
{
"docid": "610775#18",
"text": "โดยทั่วไปแล้ว คนไข้ภาวะนี้มีพฤติกรรมที่ประสานคล้องจองกัน มีเป้าหมาย และสม่ำเสมอ\nแม้ว่าบางครั้งจะมีการแปลผลในซีกสมองทั้งสองข้าง ที่เป็นอิสระต่อกันและกัน เป็นไปพร้อม ๆ กัน แตกต่างกัน และบางครั้งขัดแย้งกัน ที่เป็นการตอบสนองต่อข้อมูลสิ่งแวดล้อม\nแต่ถ้าซีกสมองแต่ละข้างรับข้อมูลตัวกระตุ้นที่ไม่เหมือนกันพร้อม ๆ กัน\nวิธีการตอบสนองของคนไข้มักจะเป็นตัวตัดสินว่าซีกสมองซีกไหนเป็นซีกที่ควบคุมพฤติกรรม",
"title": "Split-brain"
}
] |
3053 | ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่10ของประเทศไทย? | [
{
"docid": "409956#0",
"text": "ท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร (สกุลเดิม ถนัดรบ; 14 มกราคม พ.ศ. 2457 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555) เป็นภริยาของจอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของไทย",
"title": "จงกล กิตติขจร"
},
{
"docid": "78165#0",
"text": "พันเอก ณรงค์ กิตติขจร (21 ตุลาคม พ.ศ. 2476 —) เป็นบุตรชายของอดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 10 จอมพลถนอม กิตติขจร อีกทั้งยังเป็นบุตรเขยของ จอมพลประภาส จารุเสถียร เป็นหนึ่งใน 3 บุคคลของฝ่ายรัฐบาลที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด ในเหตุการณ์ 14 ตุลา ปี 2516 ที่มีผู้เสียชีวิตถึง 77 ราย ส่งผลให้ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร, จอมพล ถนอม กิตติขจร และ จอมพลประภาส ต้องออกจากประเทศ ภายหลังเหตุการณ์สงบลง พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ก็ได้เดินทางกลับประเทศไทย และได้ลงเล่นการเมือง โดยก่อตั้งพรรคขึ้นมาใหม่ ชื่อว่า \"พรรคเสรีนิยม\" โดย พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ได้รับเลือกเป็น ส.ส. ด้วยกัน 2 สมัย นอกจากนี้แล้วพ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ยังถูกสงสัยว่าอยู่เบื้องหลังการบงการสั่งฆาตกรรมนักธุรกิจและศรัตรูทางการเมืองอีกมากมาย โดยอาศัยอำนาจที่มีอยู่ในสมัยที่รุ่งเรือง ปิดคดีความต่างๆ และไม่ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงอีกเลย",
"title": "ณรงค์ กิตติขจร"
},
{
"docid": "27907#0",
"text": "จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ ถนอม กิตติขจร (11 สิงหาคม พ.ศ. 2454—16 มีนาคม พ.ศ. 2547) เป็น อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทย ผู้บัญชาการทหารบก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลในเหตุการณ์ 14 ตุลา ปี 2516 ซึ่งเป็นเหตุการณ์การประท้วงของ นิสิต นักศึกษา และประชาชน โดยในเหตุการณ์ ทหารได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้ จอมพล ถนอม กิตติขจร ต้องประกาศลาออกจากตำแหน่ง และเดินทางออกจากประเทศ พร้อมกับ จอมพล ประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ภายหลังเหตุการณ์ จอมพล ถนอม กิตติขจร ก็ได้เดินทางกลับ แล้วบวชเป็นพระสามเณร เป็นชนวนไปสู่การ ขับไล่ ของนักศึกษาธรรมศาสตร์ จนโยงไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา ปี 2519 ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก",
"title": "ถนอม กิตติขจร"
},
{
"docid": "99194#17",
"text": "ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 พลโทถนอม กิตติขจร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของราชอาณาจักรไทย ตามมติสภาผู้แทนราษฎร",
"title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500"
}
] | [
{
"docid": "63252#0",
"text": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (; เกิดวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2510) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28, นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคเพื่อไทย ด้วยวัย 44 ปี จัดว่าเป็นนายกรัฐมนตรีไทยซึ่งอายุน้อยที่สุดในรอบกว่า 60 ปี, กรรมการและเลขานุการมูลนิธิไทยคม และ เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนยศนายกองใหญ่",
"title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"
},
{
"docid": "263443#8",
"text": "17 กันยายน 2551 ได้รับการเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย โดยผลการลงคะแนนปรากฏว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ 298 เสียง ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ 163 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ทำให้นายสมชาย ได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ จึงได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย",
"title": "สมชาย วงศ์สวัสดิ์"
},
{
"docid": "641817#4",
"text": "การประชุมเริ่มเมื่อเวลา 10 นาฬิกา ตวง อันทะไชย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งได้รับมอบหมายจากมติวิปสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้เป็นผู้เสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และผู้บัญชาการทหารบก เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 โดยมีผู้รับรอง 188 คน และไม่ลงคะแนน 1 คน หลังจากใช้เวลาประมาณ 30 นาที การออกเสียงจึงเสร็จสิ้น ประธานสภานิติบัญัติแห่งชาติ(พรเพชร)ได้ประกาศผลการลงคะแนนออกเสียงมีผู้เห็นชอบให้ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี 191 เสียง เท่ากับว่า พล.อ.ประยุทธ์ได้เป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย โดยมีสมาชิกงดออกเสียง 3 เสียง คือ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย และพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นอกจากนี้มีสมาชิกลาป่วย 3 คน ประกอบด้วย กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์, คุณพรทิพย์ จาละ และ พลเอก สุรวัช บุตรวงษ์",
"title": "การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2557"
},
{
"docid": "56036#6",
"text": "ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 องอาจ คล้ามไพบูลย์ เป็น ผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพฯ เขต 12 (บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชัน และทวีวัฒนา) หมายเลข 10 สามารถชนะการเลือกตั้งเป็นอันดับ 1 ด้วยคะแนนเสียง 107,695 เสียง และสามารถนำพาเพื่อนร่วมทีมที่ลงสมัคร ส.ส. เป็นครั้งแรก คือ ชนินทร์ รุ่งแสง อดีต ส.ก.เขตบางกอกน้อย และผศ.ดร. รัชดา ธนาดิเรก อาจารย์จาก ม.มหิดล โดยชนะเลือกตั้งแบบยกทีม",
"title": "องอาจ คล้ามไพบูลย์"
},
{
"docid": "50621#4",
"text": "นายมีชัย ได้รับการดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี ในระหว่างวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ถึง 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย และ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีนานที่สุดของประเทศไทย",
"title": "มีชัย ฤชุพันธุ์"
},
{
"docid": "206982#22",
"text": "และเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายควินตัน เควลย์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย กล่าวหลังเข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที ที่พรรคประชาธิปัตย์ว่า นายอภิสิทธิ์ มีคุณสมบัติและความ สามารถที่ดีเยี่ยม เพราะเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนอีตัน อีกทั้งจบมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ\nพร้อมแสดงความเห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรี ว่า รัฐบาลชุดนี้มีภารกิจใหญ่ 4 ประการคือการฟื้นความมั่นใจของนานาชาติในประเทศไทย สร้างความสมานฉันท์ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งอีกครั้ง โดยยึดหลักนิติธรรม รักษาความปลอดภัยของสนามบิน ซึ่งถือเป็นประตูในการท่องเที่ยวของไทย สร้างความมั่นใจแก่นักธุรกิจทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ซึ่งจะดึงให้มีการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ในการเข้าพบครั้งนี้ ในฐานะที่นายกรัฐมนตรีเป็นแฟนฟุตบอลอังกฤษ จึงได้มอบของขวัญเป็นเสื้อยืดนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด โดยด้านหลังมีชื่อ นายอภิสิทธิ์ และหมายเลข 27 ซึ่งหมายถึงนายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ของประเทศไทย",
"title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59"
},
{
"docid": "27907#10",
"text": "จอมพล ถนอม กิตติขจร พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 รัฐบาลได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จากเหตุการณ์นี้ ทำให้พลังทางการเมืองหลายฝ่ายกดดันให้จอมพลถนอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยการยึดอำนาจและรัฐประหารทั้งสิ้น 10 ปี 6 เดือนเศษ หลังจากนั้น ได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของจอมพลถนอม จนนำไปสู่การยึดทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สุจริตต้องเป็นจำนวนมาก",
"title": "ถนอม กิตติขจร"
}
] |
1769 | ทางชีวภาพ หมายถึงอะไร ? | [
{
"docid": "205680#0",
"text": "ความหลากหลายทางชีวภาพ (English: biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตน้อยนิด พันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่าย ๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (species) สายพันธุ์ (genetics) และระบบนิเวศ (ecosystem) ที่แตกต่างหลากหลายบนจักรวาล",
"title": "ความหลากหลายทางชีวภาพ"
}
] | [
{
"docid": "3103#13",
"text": "อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นสำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพคาดว่าจะเป็นข่าวดีสำหรับภาคเทคโนโลยีชีวภาพ, กับการประเมินของกระทรวงพลังงานของการใช้เอทานอลอาจช่วยลดการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงที่สกัดจากปิโตรเลียมลงได้ถึง 30% ภายในปี 2030. ภาคเทคโนโลยีชีวภาพได้ยอมให้อุตสาหกรรมการเกษตรของสหรัฐได้เพิ่มอุปทานอย่างรวดเร็วของข้าวโพดและถั่วเหลือง-เนื่องจากเป็นที่ปัจจัยการผลิตหลักของเชื้อเพลิงชีวภาพ-โดยการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรมที่มีความทนทานต่อศัตรูพืชและภัยแล้ง. โดยการเพิ่มกำลังการผลิตในฟาร์ม, เทคโนโลยีชีวภาพมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นใจว่าเป้าหมายการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจะประสบความสำเร็จ",
"title": "เทคโนโลยีชีวภาพ"
},
{
"docid": "4868#2",
"text": "ควบคู่ไปกับการความหมายแบบดั้งเดิม ปัจจุบันคำว่า \"วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ\" ถูกใช้ในความหมายใกล้เคียงกับความหมายตามรูปศัพท์มากขึ้น ในความหมายนี้ \"วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ\" จะถูกใช้แทนคำว่าวิทยาศาสตร์ชีวภาพซึ่งสนใจกระบวนการทางชีวภาพ ในลักษณะที่แตกต่างจากวิทยาศาสตร์กายภาพที่พิจารณากฎเกณฑ์พื้นฐานของธรรมชาติทางฟิสิกส์และเคมี",
"title": "วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ"
},
{
"docid": "188997#5",
"text": "ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสิ่งมีชีวิตเช่น วิศวกรรมชีวเวชใช้แนวความคิดหลายอย่างของทฤษฎีวงจรไฟฟ้า อณูชีววิทยา เภสัชวิทยา และไฟฟ้าชีวภาพ แม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพนั้นยังเกี่ยวข้องกับจังหวะชีวภาพ (biorhythm) และกลไกเวลาทางชีวภาพ (chronobiology) ด้วย การฝึกประสาทการรับรู้ (biofeedback) ถูกใช้ในสรีรวิทยาและจิตวิทยาเพื่อชี้วัดรอบจังหวะของสมบัติเฉพาะทางกายภาพ ทางจิตใจ หรือทางอารมณ์ และเพื่อเป็นเทคนิคของการสอนการควบคุมการทำงานของไฟฟ้าชีวภาพ",
"title": "แม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพ"
},
{
"docid": "4208#64",
"text": "ระบบนิเวศกำลังเผชิญหน้าอย่างสม่ำเสมอกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและการปั่นป่วนทั้งหลายตลอดเวลาและตลอดพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ การปั่นป่วนหมายถึงกระบวนการใดๆที่เอาชีวมวลออกจากชุมชน เช่นไฟไหม้ น้ำท่วม ภัยแล้ง หรือการปล้นสะดม การปั่นป่วนเกิดขึ้นในช่วงที่แตกต่างกันอย่างมากมายในแง่ของขนาด ระยะทางที่ห่างไกลและระยะเวลา และเป็นทั้งสาเหตุและผลิตภัณฑ์จากความผันผวนของธรรมชาติในอัตราการตาย, การวมกลุ่มกันของหลายสายพันธ์ และความหนาแน่นของมวลชีวภาพภายในชุมชนของระบบนิเวศ การปั่นป่วนเหล่านี้สร้างสถานที่ขึ้นมาใหม่ในที่ซึ่งทิศทางใหม่เกิดขึ้นจากการปะติดปะต่อกันของการทดลองและโอกาสทางธรรมชาติ การกลับคืนสู่ปกติในระบบนิเวศเป็นทฤษฎีรากฐานที่สำคัญในการบริหารจัดการระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพช่วยขับเคลื่อนการกลับคืนสู่ปกติของระบบนิเวศที่ทำหน้าที่เป็นชนิดหนึ่งของการประกันในสิ่งที่จะเกิดขึ้นใหม่",
"title": "นิเวศวิทยา"
},
{
"docid": "97965#10",
"text": "สำหรับผู้ที่ทานอาหารแบบวีแกนที่มีวิตามินบี12 น้อยมาก และบุคคลอื่นที่ต้องการวิตามินจากอาหารนอกจากผลิตภัณฑ์สัตว์ การทานอาหารที่ไม่มีวิตามินเทียม (pseudovitamin-B12) แต่มีวิตามินแบบมีฤทธิ์ทางชีวภาพเป็นเรื่องสำคัญ โดยวิตามินบี12 เทียมหมายถึงสารประกอบที่คล้ายกับวิตามิน แต่ไม่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ และก็พบพร้อมกับวิตามินที่มีฤทธิ์ ทั้งในตัวมนุษย์เอง[11] ในอาหารหลายอย่าง (แม้แต่ผลิตภัณฑ์สัตว์[12]) และอาจจากวิตามินเสริมและอาหารที่เสริมวิตามิน[13] ในไซยาโนแบคทีเรียรวมทั้งสาหร่ายเกลียวทอง สาหร่ายอื่น ๆ และสาหร่ายญี่ปุ่น (Porphyra tenera หรือ Asakusa-nori) จะพบวิตามินเทียมเช่นนี้โดยมาก[14]",
"title": "วิตามินบี12"
},
{
"docid": "3103#0",
"text": "เทคโนโลยีชีวภาพ () คือ การใช้ระบบและสิ่งที่มีชีวิตเพื่อพัฒนาหรือสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์, หรือ \"การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใดๆ ที่ใช้ระบบชีวภาพ, สิ่งที่มีชีวิตหรืออนุพันธ์ของสิ่งที่มีชีวิตนั้น, เพื่อสร้างหรือปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการสำหรับการใช้งานเฉพาะอย่าง\" (อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ, ศิลปะ. 2) . ขึ้นอยู่กับเครื่องมือและการประยุกต์ใช้งาน, มันมักจะคาบเกี่ยวกับสาขา (ที่เกี่ยวข้องกับ) วิศวกรรมชีวภาพและวิศวกรรมชีวการแพทย์.",
"title": "เทคโนโลยีชีวภาพ"
},
{
"docid": "27487#6",
"text": "ปี พ.ศ. 2534 ได้มีการจัดตั้งหน่วยบริการก๊าซชีวภาพ สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อดำเนินการส่งเสริมเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ ต่อเนื่องจากโครงการก๊าซชีวภาพไทย-เยอรมัน รวมทั้งเพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถประยุกต์ใช้ในฟาร์ม เลี้ยงสัตว์ได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น และในปลายปี พ.ศ. 2538 กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ สพช. (ปัจจุบัน คือ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรือ สนพ. กระทรวงพลังงาน) ได้ให้การสนับสนุนแก่หน่วยบริการก๊าซชีวภาพ ดำเนินงาน \"โครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ระยะที่ 1\" จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2551 หน่วยบริการก๊าซชีวภาพได้รับการจัดตั้งเป็น \"สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่\" และต่อมา ในปี พ.ศ. 2553 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้พระราชทานชื่อหน่วยงานใหม่ เป็น \"สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่\" ซึ่งได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพต่อเนื่องมาจวบจนปัจจุบัน",
"title": "ก๊าซชีวภาพ"
},
{
"docid": "27487#0",
"text": "ก๊าซชีวภาพ () หรือ ไบโอก๊าซ คือ ก๊าซที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการหมักย่อยสลายของสารอินทรีย์ภายใต้สภาวะที่ปราศจากออกซิเจน(anaerobic digestion) โดยทั่วไปจะหมายถึง ก๊าซ มีเทน ที่เกิดจาก การหมัก (fermentation) ของ สารอินทรีย์ โดยกระบวนการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในหลุมขยะ กองมูลสัตว์ และก้นบ่อแหล่งน้ำนิ่ง กล่าวคือเมื่อไหร่ก็ตามที่มีสารอินทรีย์หมักหมมกันเป็นเวลานานก็อาจเกิดก๊าซชีวภาพ แต่นี่เป็นเพียงแค่หลักการทางทฤษฏี\nองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สมีเทน(CH) ประมาณ 50-70% และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO)ประมาณ 30-40% ส่วนที่เหลือเป็นแก๊สชนิดอื่น ๆ เช่น ไฮโดเจน(H) ออกซิเจน(O) ไฮโดรเจนซัลไฟด์(HS) ไนโตรเจน(N) และไอน้ำ",
"title": "ก๊าซชีวภาพ"
},
{
"docid": "3103#15",
"text": "ตัวอย่างเช่น, การประยุกต์ใช้แบบหนึ่งของเทคโนโลยีชีวภาพคือการใช้ควบคุมสิ่งมีชีวิตเพื่อผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ (เช่นเบียร์และผลิตภัณฑ์นม). อีกตัวอย่างหนึ่งคือการใช้เชื้อแบคทีเรียที่ปรากฏตามธรรมชาติโดยอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในการชะล้างด้วยวิธีชีวภาพ (). เทคโนโลยีชีวภาพนอกจากนี้ยังใช้ในการรีไซเคิล, การบำบัดของเสีย, การทำความสะอาดสถานที่ปนเปื้อนจากกิจกรรมอุตสาหกรรม (bioremediation) และการผลิตอาวุธชีวภาพอีกด้วย.",
"title": "เทคโนโลยีชีวภาพ"
},
{
"docid": "3103#3",
"text": "ในทางตรงกันข้าม, ชีววิศวกรรมทั่วไปถูกมองว่าเป็นสาขาที่เน้นมากขึ้นสำหรับวิธีการระบบที่สูงขึ้น (ไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีการใช้วัสดุชีวภาพ\"โดยตรง\") สำหรับการเชื่อมต่อกับสิ่งมีชีวิตและการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตนั้น. วิศวกรรมชีวภาพคือการประยุกต์ใช้หลักการของวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ธรรมชาติกับเนื้อเยื่อ, เซลล์และโมเลกุล. แบบนี้ถือได้ว่าเป็นการใช้ความรู้จากการทำงานกับชีววิทยาที่มีการจัดการเพื่อให้บรรลุผลที่สามารถปรับปรุงฟังก์ชันในพืชและสัตว์. เกี่ยวเนื่องกัน, วิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นสาขาที่ทับซ้อนกันสาขาหนึ่งที่มักจะดึงออกมาและประยุกต์ใช้\"เทคโนโลยีชีวภาพ\" (ตามคำนิยามที่หลากหลาย), โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาย่อยของชีวการแพทย์และ/หรือวิศวกรรมเคมีเช่นวิศวกรรมเนื้อเยื่อ, วิศวกรรมชีวเวชภัณฑ์, และพันธุวิศวกรรม.",
"title": "เทคโนโลยีชีวภาพ"
},
{
"docid": "242400#45",
"text": "ยังไม่มีการตรวจสอบทางชีววิทยาที่สามารถยืนยันโรคซึมเศร้า[128] แม้ว่าจะได้สืบหาตัวชี้ทางชีวภาพ (Biomarker) เพื่อหาวิธีวินิจฉัยโรคที่เป็นกลาง (คือวัดได้อย่างเป็นปรวิสัย) มีตัวชี้ทางชีวภาพบางอย่างที่เป็นไปได้ รวมทั้ง Brain-Derived Neurotrophic Factor และเทคนิคทาง fMRI ต่าง ๆ งานศึกษาหนึ่งได้พัฒนาแผนภูมิทางเลือกตัดสินใจ (decision tree) ที่แปลความหมายของรูป fMRI ที่ถ่ายในขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ในบุคคลที่ทดลองด้วย ผู้เขียนงานศึกษาได้ถึงระดับความไว (sensitivity) ที่ 80% และความจำเพาะ (specificity) ที่ 87% ซึ่งเท่ากับค่าทำนายผลลบ (negative predictive value) ที่ 98% และค่าทำนายผลบวกที่ 32% แต่ว่า ต้องมีงานวิจัยเพิ่มขึ้นเพื่อที่จะใช้วิธีการทดสอบเหล่านี้ในการรักษาจริง ๆ[129]",
"title": "โรคซึมเศร้า"
},
{
"docid": "4208#36",
"text": "ระดับชั้นของโภชนาการ () (มาจากภาษากรีก \"troph\" τροφή trophē หมายถึง \"อาหาร\" หรือ \"การให้อาหาร\") เป็น \"กลุ่มหนึ่งของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับส่วนใหญ่ของพลังงานของมันจากระดับที่อยู่ติดกันใกล้กับแหล่งอชีวนะ\" โยงใยของเครือข่ายอาหารส่วนใหญ่จะเชื่อมต่อความสัมพันธ์กับอาหารหรือ trophism ในหมู่สายพันธ์ทั้งหลาย ความหลากหลายทางชีวภาพภายในระบบนิเวศสามารถจัดรูปขึ้นเป็นปิรามิดโภชนาการ ในที่ซึ่งมิติในแนวตั้งแสดงถึงความสัมพันธ์ของอาหารที่เป็นต่อไปจะถูกลบออกจากฐานของห่วงโซ่อาหารขึ้นไปสู่นักล่าบนสุดและมิติในแนวนอนหมายถึงความอุดมสมบูรณ์หรือชีวมวลในแต่ละระดับ เมื่อความอุดมสมบูรณ์หรือมวลชีวภาพสัมพันธ์ของแต่ละสายพันธุ์ถูกจัดเรียงให้เป็นระดับชั้นของโภชนาการตามลำดับ พวกมันจะจัดเรียงโดยธรรมชาติให้เป็น 'ปิรามิดของจำนวน'",
"title": "นิเวศวิทยา"
},
{
"docid": "307708#0",
"text": "เพศสภาพของมนุษย์ () เป็นประสบการณ์ซึ่งกระตุ้นความรู้สึกทางเพศและการปลดปล่อยด้านเพศของมนุษย์ โดยมากเป็นแรงผลักดันโดยความต้องการมีความสุขความพึงพอใจด้านเพศ เพศสภาพของมนุษย์เป็นลักษณะทางชีวภาพ กายภาพและอารมณ์ มีความหมายถึงกลไกเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ เช่นเดียวกับแรงผลักดันทางชีวภาพพื้นฐานที่เกิดขึ้นในทุกสปีชีส์และรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์และพฤติกรรมทางเพศทุกรูปแบบ ลักษณะทางด้านอารมณ์มีความเกี่ยวข้องกับอารมณ์สุดขีดที่เกี่ยวข้องกับท่วงทางเพศสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับพันธะด้านสังคม ส่วนประเด็นด้านกายภาพของเพศสภาพมีช่วงกว้างตั้งแต่ ความคิดที่จะไม่มีด้านการแพทย์มาเกี่ยวข้องที่มุ่งความสนใจไปที่ด้านสรีรวิทยาหรือแม้แต่ด้านจิตวิทยาและลักษณะทาทงสังคมของพฤติกรรมทางเพศ",
"title": "เพศสภาพของมนุษย์"
},
{
"docid": "3103#5",
"text": "แม้ว่าจะไม่ปกติในสิ่งแรกที่อยู่ในใจ, หลายรูปแบบการเกษตรแบบมนุษย์สร้างมาจะฟิตพอดีอย่างชัดเจนกับความหมายในวงกว้างของ \"การใช้ระบบเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์\". อันที่จริงการเพาะปลูกพืชอาจถูกมองว่าเป็นองค์กรเทคโนโลยีชีวภาพที่เก่าแก่ที่สุด.",
"title": "เทคโนโลยีชีวภาพ"
},
{
"docid": "474094#0",
"text": "การย่อยสลายทางชีวภาพ () หรือการสลายตัวทางชีวภาพ คือสารเคมีที่สลายตัวของวัสดุจากเชื้อแบคทีเรียหรือทางชีวภาพอื่นๆ\nโดยมีความสัมพันธ์กับระบบนิเวศ การจัดการขยะ ชีวการแพทย์ และสภาพแวดล้อมทางชีวภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถย่อยสลายกลับไปเป็นธาตุตามธรรมชาติ สารอินทรีย์จะถูกย่อยสลายด้วยออกซิเจน หรือไม่ใช้ออกซิเจน",
"title": "การย่อยสลายทางชีวภาพ"
},
{
"docid": "4208#15",
"text": "ความหลากหลายทางชีวภาพใช้อธิบายความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ยีนจนถึงระบบนิเวศและครอบคลุมทุกระดับขององค์กรทางชีวภาพ คำนี้มีการตีความไปหลายอย่างและมีหลายวิธีที่จะชี้ ใช้วัด ใช้บอกลักษณะ และใช้แทนความหมายขององค์กรที่ซับซ้อนของมัน ความหลากหลายทางชีวภาพจะรวมถึงความหลากหลายของสายพันธุ์ ความหลากหลายของระบบนิเวศ และความหลากหลายทางพันธุกรรมและนักวิทยาศาสตร์มีความสนใจในวิธีการที่ความหลากหลายนี้ส่งผลกระทบต่อกระบวนการทางนิเวศวิทยาที่ซับซ้อนในการดำเนินงานในระดับที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ได้อย่างไร ความหลากหลายทางชีวภาพมีบทบาทสำคัญใน'การบริการของระบบนิเวศ' ซึ่งโดยความหมายแล้วหมายถึงการรักษาระดับและการปรับปรุงคุณภาพของชีวิต การป้องกันการสูญพันธุ์ของสายพันธุ์เป็นวิธีหนึ่งที่จะรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและเป้าหมายนั้นวางอยู่บนหลายเทคนิคที่รักษาความหลากหลายทางพันธุกรรม ที่อยู่อาศัย และความสามารถในสายพันธุ์ที่จะโยกย้ายถิ่น ลำดับความสำคัญและเทคนิคการจัดการของการอนุรักษ์จำเป็นต้องใช้วิธีการและการพิจารณาที่แตกต่างกันเพื่อแสดงถึงขอบเขตของระบบนิเวศอย่างเต็มที่ของความหลากหลายทางชีวภาพ 'ทุนธรรมชาติ'ที่รองรับประชากรมีความสำคัญในการรักษาระดับของ'การบริการแบบระบบนิเวศ' และการย้ายถิ่นของหลายๆสายพันธุ์ (เช่นการวิ่งของปลาแม่น้ำและการควบคุมแมลงนก) ได้รับการระบุว่าเป็นหนึ่งในกลไกที่การเสียหายจากการให้บริการพวกนั้นได้ประสบมา ความเข้าใจในความหลากหลายทางชีวภาพมีการใช้งานในทางปฏิบัติสำหรับสายพันธุ์และการวางแผนการอนุรักษ์ในระดับระบบนิเวศเมื่อพวกเขาให้คำแนะนำการจัดการแก่บริษัทที่ปรึกษา รัฐบาล และอุตสาหกรรม\nที่อยู่อาศัยของสายพันธุ์หนึ่งสามารถอธิบายสภาพแวดล้อมที่สายพันธุ์นั้นเกิดและชนิดของชุมชนที่จะเกิดเป็นผลตามมา เพื่อให้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น \"ที่อยู่อาศัยที่สามารถกำหนดได้ว่าเป็นภูมิภาคในพื้นที่สิ่งแวดล้อมที่จะประกอบด้วยหลายมิติซ้อนกัน แต่ละมิติเป็นตัวแทนของตัวแปรสิ่งแวดล้อมแบบชีวนะหรืออชีวนะ นั่นคือ องค์ประกอบหรือลักษณะของสภาพแวดล้อมใดๆที่เกี่ยวข้องโดยตรง (เช่นอาหารสัตว์ ชีวมวลและคุณภาพ) หรือโดยอ้อม (เช่นระดับความสูง) กับการใช้สถานที่โดยสัตว์\" ยกตัวอย่างเช่นที่อยู่อาศัยอาจจะเป็นสภาวะแวดล้อมที่อยู่ในน้ำหรือบนบกที่สามารถแบ่งประเภทต่อไปว่าเป็นระบบนิเวศแบบภูเขาหรือภูมิอากาศแบบอัลไพน์ การเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยจะให้หลักฐานที่สำคัญของการแข่งขันในธรรมชาติที่ประชากรหนึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับแหล่งที่อยู่อาศัยที่สมาชิกส่วนใหญ่ของสายพันธุ์อื่นครอบครองอยู่ ตัวอย่างเช่น ประชากรของสายพันธุ์หนึ่งของสัตว์เลื้อยคลานเขตร้อน (Tropidurus hispidus) มีลำตัวแบนเมื่อเทียบกับประชากรหลักที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าเปิด ประชากรนี้อาศัยอยู่ในหินโผล่แยกต่างหากที่ซ่อนอยู่ในหุบเขาที่ร่างกายแบนของมันทำให้มันมีความได้เปรียบในการคัดเลือก การเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยยังเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การพัฒนาชีวิตของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและในแมลงที่เปลี่ยนจากสัตว์ที่มีที่อยู่อาศัยในน้ำมาเป็นสัตว์ที่อยู่บนบก คำว่าเขตชีวชาติ () และเขตที่อยู่อาศัยบางครั้งใช้แทนกันได้ แต่เขตชีวชาติหมายถึงสภาพแวดล้อมของชุมชน ในขณะที่เขตที่อยู่อาศัยหมายถึงสภาพแวดล้อมของสายพันธุ์",
"title": "นิเวศวิทยา"
},
{
"docid": "3103#28",
"text": "เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม (ที่รู้จักกันส่วนใหญ่ในยุโรปเป็นเทคโนโลยีชีวภาพสีขาว) เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการอุตสาหกรรม, รวมถึงอุตสาหกรรมการหมัก. มันจะรวมถึงการปฏิบัติในการใช้เซลล์เช่นจุลินทรีย์, หรือส่วนประกอบของเซลล์เช่นเอนไซม์, เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมเช่นสารเคมี, อาหารและอาหารสัตว์, ผงซักฟอก, กระดาษและเยื่อกระดาษ, สิ่งทอและเชื้อเพลิงชีวภาพ. ในการทำเช่นนั้น, เทคโนโลยีชีวภาพใช้วัตถุดิบหมุนเวียนและอาจช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและย้ายออกจากเศรษฐกิจที่มีฐานมาจากปิโตรเคมี.",
"title": "เทคโนโลยีชีวภาพ"
},
{
"docid": "984532#0",
"text": "อันตรายทางชีวภาพ () คือ อันตรายที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยทางชีวภาพ โดยทั่วไปหมายถึงสารหรือสิ่งซึ่งมาจากสิ่งมีชีวิต เช่น พืช หรือสัตว์ ส่วนมากมักจะสื่อถึงอันตรายในอาหารที่เกิดจากจุลินทรีย์ ชึ่งได้แก่ แบคทีเรีย, โปรโตซัว, หนอนพยาธิ และไวรัส อันตรายทางชีวภาพมีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมอาหาร เพราะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ จุลินทรีย์เหล่านี้จึงอาจติดมากับวัตถุดิบ, อุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิต, สิ่งแวดล้อมการผลิต และผู้ปฏิบัติต่ออาหาร ซึ่งสามารถถูกทำลาย หรือลดปริมาณโดยการใช้มาตรการควบคุมการผลิตที่เหมาะสม",
"title": "อันตรายทางชีวภาพ"
},
{
"docid": "3103#1",
"text": "เป็นพัน ๆ ปีมาแล้วที่มนุษย์ได้ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการเกษตร, การผลิตอาหาร, และการทำยารักษาโรค. คำนี้ส่วนใหญ่เชื่อว่าจะถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1919 โดยวิศวกรฮังการี Károly Ereky. ในช่วงปลายทศวรรษที่ 20 และต้นศตวรรษที่ 21, เทคโนโลยีชีวภาพได้ขยายไปรวมถึงวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ และหลากหลายเช่น genomics, เทคโนโลยียีน recombinant, ภูมิคุ้มกันประยุกต์ (), และการพัฒนาวิธีการรักษาและการตรวจวินิจฉัยทางเภสัชกรรม\"\nแนวคิดกว้างของ \"เทคโนชีวภาพ\" หรือ \"เทคโนโลยีชีวภาพ\" ครอบคลุมหลากหลายของวิธีการสำหรับการปรับเปลี่ยนสิ่งที่มีชีวิตตามวัตถุประสงค์ของมนุษย์, การกลับไปที่การเพาะพันธ์ () สัตว์, การเพาะปลูกของพืช, และ \"การปรับปรุง\" พวกเหล่านี้ผ่านโปรแกรมการปรับปรุงพันธุ์ที่ใช้ตัวเลือกประดิษฐ์ () และการผสมข้ามพันธุ์. การใช้งานที่ทันสมัยยังรวมถึงพันธุวิศวกรรมเช่นเดียวกับเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อ. สมาคมเคมีอเมริกันกำหนดเทคโนโลยีชีวภาพเป็นการประยุกต์ใช้สิ่งมีชีวิต, ระบบ, หรือกระบวนการทางชีวภาพโดยอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของชีวิตและการปรับปรุงมูลค่าของวัสดุและสิ่งมีชีวิตเช่นยา, พืช, และปศุสัตว์. เทคโนโลยีชีวภาพยังเขียนในทางชีววิทยาศาสตร์ล้วน ๆ (การเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์, ชีวเคมี, ชีววิทยาของเซลล์, ตัวอ่อน, พันธุศาสตร์, จุลชีววิทยา, และชีววิทยาโมเลกุล). ในหลายกรณีมันยังขึ้นอยู่กับความรู้และวิธีการจากภายนอกทรงกลมของชีววิทยาอีกด้วย ซึ่งรวมถึง:",
"title": "เทคโนโลยีชีวภาพ"
},
{
"docid": "474094#2",
"text": "นวัตกรรมวิธีการที่สำคัญในการย่อยสลายของจุลินทรีย์ได้เปิดเผยรายละเอียดด้านข้อมูลทางพันธุกรรม การศึกษาสารพันธุกรรมทั้งหมดของจุลินทรีย์ การศึกษาด้านโปรตีนทั้งหมดที่มีในรหัสพันธุกรรม\nชีวสารสนเทศ การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมของจุลินทรีย์ระดับสูง เพื่อนำไปสู่กระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ และความสามารถของจุลินทรีย์เพื่อปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ผลิตภัณฑ์ที่มีสารย่อยสลายชีวภาพได้ และสารย่อยสลายทางชีวภาพไม่ได้ ในการตลาดมักบอกว่าสลายได้ทางชีวภาพได้",
"title": "การย่อยสลายทางชีวภาพ"
},
{
"docid": "723424#0",
"text": "ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศอินเดีย ประกอบด้วยส่วนผสมของสายพันธุ์ที่แตกต่างกันของสิ่งมีชีวิต นอกเหนือจากสัตว์เลี้ยงเพื่อการปศุสัตว์ที่สำคัญ อย่างเช่น วัว, ควาย, แพะ, สัตว์ปีก และอูฐ ประเทศอินเดียยังมีความหลากหลายที่น่าอัศจรรย์ของสัตว์พื้นเมืองภายในประเทศ โดยเป็นบ้านของเสือโคร่งเบงกอล, สิงโตอินเดีย, งูเหลือม, หมาป่า, หมาจิ้งจอก, หมี, จระเข้, หมาใน, ลิง, งู, สายพันธุ์แอนทิโลป, สายพันธุ์กระทิง และช้างเอเชีย ความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ของภูมิภาคมีอยู่ในอุทยานแห่งชาติกว่า 120 แห่ง, เขตสงวนชีวมณฑล 18 แห่ง, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากว่า 500 แห่งทั่วประเทศ ประเทศอินเดียมีความหลากหลายทางชีวภาพในภูมิภาคมากที่สุดในบางส่วน และมีพื้นที่ที่มีความสำคัญเป็นพิเศษด้านความหลากหลายทางชีวภาพสามแห่งจากทั้งหมดที่มีอยู่ 34 แห่งในโลก – หรือเป็นที่ให้พัก – ซึ่งได้แก่แนวเทือกเขากาตตะวันตก, เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก และเขตอินเดียและพม่า เนื่องจากประเทศอินเดียเป็นบ้านของสายพันธุ์สัตว์ที่หายากและถูกคุกคามเป็นจำนวนมาก การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพภายในประเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรักษาสายพันธุ์เหล่านี้ ประเทศอินเดียเป็นหนึ่งในสิบเจ็ดประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอุดมสมบูรณ์ โดยอ้างถึงกรณีศึกษาหนึ่ง ประเทศอินเดียกับสิบหกประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอุดมสมบูรณ์ เป็นบ้านพักอาศัยสำหรับความหลากหลายทางชีวภาพของโลกประมาณ 60 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์",
"title": "ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศอินเดีย"
},
{
"docid": "50822#0",
"text": "โมเลกุลชีวภาพ หรือ ชีวโมเลกุล () หมายถึง โมเลกุลใด ๆ ที่สิ่งมีชีวิตสังเคราะห์ขึ้น รวมทั้ง มหโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น โปรตีน พอลิแซคคาไรด์ ลิพิด และกรดนิวคลีอิก และโมเลกุลขนาดเล็ก เช่น เมทาบอไลต์ (metabolite) จัดเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีโมเลกุลตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่มาก มีธาตุไฮโดรเจนและคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลักแต่ละชนิดมีโครงสร้าง สมบัติและปฏิกิริยาที่ต่างกัน ทำให้มีหน้าทีและประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกันไป",
"title": "โมเลกุลชีวภาพ"
},
{
"docid": "25292#0",
"text": "พลังงานทดแทน โดยทั่วไปหมายถึงพลังงานที่ใช้ทดแทนพลังงานจากฟอสซิล เช่น ถ่านหิน, ปิโตรเลียม และ แก๊สธรรมชาติซึ่งปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มหาศาลอันเป็นสาเหตุโลกร้อน[1] ตัวอย่างพลังงานทดแทนที่สำคัญเช่น พลังงานลม, พลังงานน้ำ, พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง, พลังงานคลื่น, พลังงานความร้อนใต้พิภพ, เชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นต้น ในปี 2555 ประเทศไทยใช้พลังงานทดแทนเพียง 18.2% ของพลังงานทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า เพียง 1.8% โดยที่พลังงานแสงอาทิตย์ และเชื้อเพลิงชีวภาพ เพิ่มขึ้น 23% แต่พลังงานจาก ฟืน ถ่าน แกลบ และวัสดุเหลือใช้ทางเกษตร โดยนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงดั้งเดิม มีอัตราลดลง 10%[2] (อาจเป็นเพราะมวลชีวภาพดังกล่าวถูกแปรรูปไปเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพไปแล้ว)",
"title": "พลังงานทดแทน"
},
{
"docid": "474091#8",
"text": "การใช้ฟังไจเพื่อกำจัดของเสียหมายถึง ลักษณะเฉพาะในการใช้เห็ดรา mycelia ในการบำบัดสารมลพิษทางชีวภาพ\nสิ่งหนึ่งที่เป็นหลักพื้นฐานของฟังไจในระบบนิเวศ คือการย่อยสลายที่ดำเนินการโดย mycelium ซึ่งจะหลั่งเอนไซม์และกรดออกมาภายนอกเซลล์เพื่อย่อยสลายลิกนิน\nและเซลลูโลสซึ่งเป็นสองส่วนประกอบหลักในเส้นใยพืช สารประกอบอินทรีย์เหล่านี้เป็นสายโซ่ยาวของคาร์บอน และไฮโดรเจนซึ่งโครงสร้างคล้ายสารประกอบอินทรีย์\nที่เป็นสารมลพิษอื่นๆ",
"title": "การบำบัดสารมลพิษทางชีวภาพ"
},
{
"docid": "175627#36",
"text": "เชื้อเพลิงชีวภาพ (biofuel) สามารถเป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ประกอบขึ้นหรือแปรเปลี่ยนมาจากมวลชีวภาพ (biomass) มวลชีวภาพสามารถนำมาใช้ได้โดยตรงผ่านการให้ความร้อนหรือการส่งกำลัง ซึ่งรู้จักกันในชื่อ \"เชื้อเพลิงมวลชีวภาพ\" (biomass fuel) เชื้อเพลิงชีวภาพสามารถผลิตขึ้นได้จากแหล่งคาร์บอนที่สามารถเติมเต็มได้อย่างรวดเร็วเช่นพืช พืชหลายชนิดและวัสดุที่ได้จากพืชถูกใช้สำหรับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพในโรงงาน",
"title": "เชื้อเพลิง"
},
{
"docid": "188997#0",
"text": "แม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพ () หรือ ไฟฟ้าชีวภาพ () หมายถึงพลังงานไฟฟ้า พลังงานแม่เหล็ก หรือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากเซลล์ เนื้อเยื่อ หรือสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตัวอย่างนี้รวมไปถึง ศักย์ไฟฟ้าเยื่อหุ้มเซลล์ (membrane potential) และกระแสไฟฟ้าที่ไหลอยู่ในเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ซึ่งก่อให้เกิดศักยะงาน (action potential)",
"title": "แม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพ"
},
{
"docid": "946631#50",
"text": "การค้นพบ nerve growth factor ของนักประสาทวิทยาชาวอิตาลี (Rita Levi-Montalcini) ในปี 1954 และ epidermal growth factor ของนักเคมีชีวภาพชาวอเมริกัน (Stanley Cohen) ในปี 1962 ทำให้เข้าใจพื้นฐานในระดับโมเลกุลของการถ่ายโอนสัญญาณมากขึ้น โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ growth factor\nพร้อมกับงานค้นพบ cyclic AMP ของนักเคมีชีวภาพชาวอเมริกัน (Earl Wilbur Sutherland) ในปี 1956 งานเหล่านี้ทำให้ต้องนิยามความหมายของคำว่า endocrine signaling ใหม่โดยรวมแต่การส่งสัญญาณจากต่อมต่าง ๆ แล้วเริ่มการใช้คำว่า autocrine (การส่งสัญญาณให้ตัวเอง) และ paracrine (การส่งสัญญาณให้เซลล์ข้าง ๆ)\nเพราะงานเหล่านี้ นักวิชาการพวกนี้จึงได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี 1971 (คนหลังสุด) และ 1986 (สองคนแรก)",
"title": "การถ่ายโอนสัญญาณ"
},
{
"docid": "102420#0",
"text": "ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ () หรือ ไบโอเทค เป็นศูนย์วิจัยด้านพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีพันธกิจหลักในการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม, การพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีชีวภาพ, การถ่ายทอดเทคโนโลยี, และการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีชีวภาพ",
"title": "ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ"
},
{
"docid": "220114#43",
"text": "สาวกของลัทธินี้ใช้อาวุธชีวภาพหลายชนิดก่อการร้ายหลายครั้งท่ามกลางฝูงชน ที่ก่อความเสียหายมากที่สุดคือการปล่อยของเหลวที่เรียกว่าซารินในรถไปใต้ดินโตเกียว 5 ขบวนในช่วงเวลาเร่งรีบในปี 1995 มีคนเสียชีวิต 12 คน บาดเจ็บอีกมากกว่า 5,000 คนในเหตุการณ์นั้น ภายหลังตำรวจพบว่าลัทธิสามารถผลิตซารินในจำนวนที่สามารถฆ่าได้หลายล้านคน ก่อนหน้านี้ลัทธินี้ได้วางกระเป๋าเดินทางสามใบที่อ้างว่าบรรจุสาร botulinum neurotoxin ไว้ในทางเดินใต้ดินแต่ก็ถูกตำรวจพบก่อน และยังมีความพยายามใช้ botulinum neurotoxin แบบละอองกระจายในอากาศเพื่อจุดประสงค์ทางการเมืองตามมาอีกสองครั้งในช่วงปี 1990-1995 เป้าหมายคือฐานทัพทหารสหรัฐฯ ในญี่ปุ่น แต่ความพยายามไม่เป็นผลสำเร็จเพราะความผิดพลาดทางเทคนิคจุลชีววิทยา โดยผลิตแบคทีเรีย Clostridium botulinum จากดินจากภาคเหนือของประเทศญี่ปุ่นมีระเบียบระดับนานาชาติ เพื่อป้องกันการนำอาวุธชีวภาพมาใช้ ได้แก่ พิธีสารเจนีวา พ.ศ. 2478 ซึ่งมีสาระสำคัญในการห้ามใช้อาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพ หรืออนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพซึ่งห้ามการพัฒนา สะสม และผลิตอาวุธชีวภาพ การตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันการก่อการร้ายทางชีวภาพในปัจจุบันไม่จำกัดเพียงในกลุ่มผู้กำหนดนโยบายเท่านั้น แต่ยังได้ขยายไปยังกลุ่มประชาคมวิจัยด้วย โดยมีความพยายามในการป้องกันมิให้ผู้ประสงค์ร้ายมีโอกาสเข้าถึงเชื้อโรคที่มีศักยภาพในการนำไปใช้เป็นอาวุธชีวภาพ ซึ่งปกติประชาคมวิจัยจะใช้ในการวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ผ่านการปฏิบัติงานภายใต้ระเบียบ กฎเกณฑ์ ของระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และความมั่นคงทางชีวภาพ (Biosecurity) เป็นมาตรการหลักในการป้องกัน",
"title": "ชีวพิษโบทูลินัม"
}
] |
2623 | ประเทศกัมพูชาเคยตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศอะไร? | [
{
"docid": "1937#24",
"text": "ยุคมืดของกัมพูชา เริ่มตั้งแต่อาณาจักรอยุธยาได้โจมตีอาณาจักรเขมร และ ได้เผา พระนคร เมืองหลวงของอาณาจักรเขมร ราบเป็นหน้ากลอง ทำให้อาณาจักรเขมรเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศตั้งแต่บัดนั้นมา เขมรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในฐานะดินแดนประเทศราช อาณาจักรอยุธยาปกครองเขมรเป็นเวลาเกือบ 400 ปี ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เขมรตกอยู่ภายใต้การควบคุมของจักรวรรดิสยามอย่างเข้มงวด ในสมัยรัชกาลที่3 ได้เกิด สงครามอานามสยามยุทธทำให้กัมพูชาเป็นรัฐอารักขาระหว่างสยามกับญวณ ก่อนที่จะตกเป็นของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา",
"title": "ประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "765205#7",
"text": "พุทธศตวรรษที่ 24 ฝรั่งเศสเริ่มเข้ามามีบทบาทในอินโดจีน และใน พ.ศ. 2410 กัมพูชาก็ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส จนถึงปี พ.ศ. 2497 จึงได้อิสรภาพคืนมา และเรียกชื่อประเทศว่า พระราชอาณาจักรกัมพูชา มีเมืองหลวงชื่อ พนมเปญ มีกษัตริย์ครองราชย์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2483 พระนามว่า พระเจ้านโรดมสีหนุ พระเจ้านโรดมสีหนุสละราชสมบัติให้พระเจ้านโรดมสุรามฤตพระบิดาขึ้นครองราชแทน พระองค์มาตั้งพรรคการเมืองชื่อ สังคมราษฎร์นิยม และได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อพระบิดาสวรรคต จึงทรงเป็นประมุขรัฐโดยไม่ได้ครองราชย์ พระเจ้านโรดมสีหนุ ทรงคิดตั้งทฤษฎี พุทธสังคมนิยม โดยการปกครองที่ยึดหลักพุทธธรรมเป็นหลักในการบริหารประเทศ ในช่วงนี้ประเทศแถบเอเซียอาคเนย์กำลังอยู่ในภาวะการต่อสู้ ระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์ กับลัทธิประชาธิปไตย",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "1937#3",
"text": "ใน พ.ศ. 1345 พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ปราบดาภิเษกตนเป็นพระมหากษัตริย์ อันเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิขะแมร์ อำนาจและความมั่งคังมหาศาลของจักรวรรดิขะแมร์ที่มีพระมหากษัตริย์ครองราชสมบัติสืบต่อกันมานั้นได้มีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเวลากว่า 600 ปี กัมพูชาถูกปกครองเป็นเมืองขึ้นของประเทศเพื่อนบ้าน กระทั่งถูกฝรั่งเศสยึดเป็นอาณานิคมในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 กัมพูชาได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2496 สงครามเวียดนามได้ขยายเข้าสู่กัมพูชา ทำให้เขมรแดงขึ้นสู่อำนาจ ซึ่งยึดกรุงพนมเปญได้ใน พ.ศ. 2518 กัมพูชาผงาดขึ้นอีกหลายปีให้หลังภายในเขตอิทธิพลสังคมนิยมเป็นสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชากระทั่ง พ.ศ. 2536 หลังจากหลายปีแห่งการโดดดี่ยว ชาติซึ่งเสียหายจากสงครามก็ได้รวมเข้าด้วยกันอีกครั้งภายใต้ระบอบราชาธิปไตยในปีเดียวกันนั้นเอง",
"title": "ประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "70992#20",
"text": "ยุคมืดของกัมพูชา เริ่มตั้งแต่อาณาจักรอยุธยาได้โจมตีอาณาจักรเขมร และ ได้เผา พระนคร เมืองหลวงของอาณาจักรเขมร ราบเป็นหน้ากลอง ทำให้อาณาจักรเขมรเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศตั้งแต่บัดนั้นมา เขมรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในฐานะดินแดนประเทศราช อาณาจักรอยุธยาปกครองเขมรเป็นเวลาเกือบ 400 ปี ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เขมรตกอยู่ภายใต้การควบคุมของจักรวรรดิสยามอย่างเข้มงวด ในสมัยรัชกาลที่3 ได้เกิด สงครามอานามสยามยุทธทำให้กัมพูชาเป็นรัฐอารักขาระหว่างสยามกับญวณ ก่อนที่จะตกเป็นของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา",
"title": "ประวัติศาสตร์กัมพูชา"
},
{
"docid": "22895#4",
"text": "กัมพูชาเป็นเมืองขึ้นของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก กัมพูชาก็ตั้งตนเป็นอิสระ แต่ครั้นเวลาล่วงมา 2 ปี กัมพูชาก็เกิดจลาจลขึ้น สมเด็จพระนารายณ์ราชา (นักองตน) กษัตริย์กัมพูชาในขณะนั้นเกิดการแย่งอำนาจกันขึ้นกับ สมเด็จพระรามราชา (นักองนน) พระมหาอุปราช พระนารายณ์ราชาขอกำลังจากญวนมาช่วยปราบ สมเด็จพระรามราชาสู้ไม่ได้ จึงหนีมาขอความช่วยเหลือจากไทย",
"title": "ความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยกรุงธนบุรี"
},
{
"docid": "765205#6",
"text": "กษัตริย์กัมพูชาได้ละทิ้งราชธานีมหานคร ไปสร้างราชธานีใหม่ที่เมือง สรีสันธอร์ ต่อมา พ.ศ. 1975 ได้ย้ายไปสร้างราชธานีใหม่ที่พนมเปญ จนถึงในปัจจุบัน ตั้งแต่การสร้างราชธานีใหม่ เป็นต้นมา เป็นเวลา 400 ปี ประเทศกัมพูชาตกอยู่ในภาวะวิกฤต ทางสังคมอย่างรุนแรง ประชาชนทุกข์ยากมาก บ้านเมืองยับเยิน พระศาสนาเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากเกิดเรื่องภายใน มีการแย่งชิงราชสมบัติกัน ผู้คนล้มตายกันมากนครวัต นครธม ถูกปล่อยรกร้างอยู่ในป่า จนมี ชาวฝรั่งเศสไปพบเข้า ในปี พ.ศ. 2404 จึงได้ทำนุบำรุงรักษาอนุรักษ์ไว้ปี พ.ศ. 2384 พระเจ้าหริรักษ์รามาธิบดี ทรงเสวยราชย์ในกรุงอุดรเมียรชัย พระพุทธศาสนา กลับเจริญรุ่งเรืองอีก มีพระสงฆ์ชาวกัมพูชา เดินทางมาศึกษายัง กรุงเทพฯ กลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเขมร พระมหาวิมลธรรม (ทอง) ได้จัดการศึกษาของสงฆ์ไทยตั้ง “ศาลาบาลีชั้นสูง” ในกรุงพนมเปญ ได้แก่พุทธิกวิทยาลัยในปัจจุบัน จากนั้นเขมรก็ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเกือบ 100 ปี การศาสนาก็ไม่เจริญรุ่งเรือง ในปี พ.ศ. 2497 จึงได้เอกราชคืนมา และเรียกชื่อประเทศว่าอาณาจักรกัมพูชาพ.ศ. 2498",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชา"
},
{
"docid": "1937#25",
"text": "กัมพูชาตกเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาอารักขาระหว่างฝรั่งเศส-กัมพูชาเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2406 ในสมัยพระนโรดม โดยสยามพยามยามคัดค้านแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ในช่วงแรก ฝรั่งเศสปกครองกัมพูชาโดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการภายในมากนัก และช่วยค้ำจุนราชบัลลังก์ของกัมพูชา โดยช่วยปราบกบฏต่าง ๆ จน พ.ศ. 2426 - 2427 หลังจากยึดครองเวียดนามได้ทั้งหมด โดยพยายามลิดรอนอำนาจของกษัตริย์และยกเลิกระบบไพร่ทาส ทำให้เกิดการต่อต้านจากประชาชนอย่างรุนแรง จนต้องเจรจากับพระนโรดม กษัตริย์ในขณะนั้น ให้ประกาศสันติภาพ และระงับการแทรกแซงกัมพูชา จนกระทั่งพระนโรดมสวรรคต ฝรั่งเศสได้สนับสนุนให้พระสีสุวัตถ์ขึ้นเป็นกษัตริย์ พร้อมทั้งมอบอำนาจการปกครองทั้งหมดให้ฝรั่งเศส หลังจากฝรั่งเศสเข้าปกครองกัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2406 ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจในเวียดนาม โดยปรับปรุงการเก็บภาษี ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ชาวกัมพูชา และยังนำชาวเวียดนามเข้ามาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ในระบบราชการของฝรั่งเศส และเป็นแรงงานทางด้านเกษตรกรรม",
"title": "ประเทศกัมพูชา"
}
] | [
{
"docid": "105582#1",
"text": "หลังสงครามโลกครั้งที่สองได้ยุติลงในปี พ.ศ. 2488 ประเทศอาณานิคมที่เคยเป็นเมืองขึ้นมาเป็นเวลานานหลายประเทศ ก็ได้รับเอกราชคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบก็ได้รับเอกราชใหม่ทุกประเทศได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย แม้ประเทศเหล่านี้จะได้รับเอกราชสมบูรณ์ แล้วก็ตาม แต่ความสงบสุขของบ้านเมืองในแถบนี้ยังห่างไกลจากความเป็นจริง ทั้งนี้เกิดจากความยุ่งยากทางการเมืองภายในจาก การชิงอำนาจของนักการเมืองที่มีความคิดเห็นยุ่งยากทางการเมืองภายใน จากการชิงอำนาจของนักการเมืองที่มีความคิดเห็นในนโยบายการปกครองแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยุ่งยากอันเกิดจากการเมืองภายนอกที่ประเทศคอมมิวนิสต์ และบริวารพยายามแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาสู่ภูมิภาคของโลกส่วนนี้ให้อยู่ในอุ้งมือให้จึงได้ ทั้งได้พยายามดำเนินการทั้งมวลที่จะให้ประชาชนของประเทศเหล่านั้นจับอาวุธเข้าต่อสู้รัฐบาลของตนและประชาชนที่เป็นชาติเดียวกันเองหนักมือยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นชนวนแห่งความยุ่งยาก และก่อให้เกิดเหตุร้ายในส่วนนี้ของโลกตราบเท่าทุกวันนี้",
"title": "ตำรวจตระเวนชายแดน"
},
{
"docid": "537724#1",
"text": "นครรัฐน่านได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรล้านนา ในปี พ.ศ. 1993 อินทแก่นท้าวกษัตริย์น่านหนีไปพึ่งพระยาเชลียง พระเจ้าติโลกราชจึงได้แต่งตั้งท้าวผาแสงบุตรท้าวแพงเชื้อสายราชวงศ์ภูคาปกครองน่าน และเป็นเจ้านายราชวงศ์ภูคาพระองค์สุดท้าย เพราะหลังจากการสิ้นพระชนม์ของท้าวผาแสงขุนนางก็เข้ามากินเมืองแทน ดังปรากฏใน \"พื้นเมืองน่าน\" ความว่า \"...แต่นั้นมาชื่อว่าพระญาบ่มีแลย่อมว่าเจ้าเมืองว่าอั้นมาแล...\"",
"title": "ราชวงศ์ภูคา"
},
{
"docid": "170711#2",
"text": "และเมื่อถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตระกูลอภัยวงศ์ต่อว่า ได้ปกครองเมืองในประเทศกัมพูชาเรื่อยมา โดยมีเจ้าเมืองผู้ปกครองพระตะบองคนสุดท้าย คือ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ตอนนั้นยังไม่มีนามสกุล โดยในช่วงกลางสมัยรัชกาล ฝรั่งเศสได้เข้ามายึดประเทศกัมพูชา แล้วเรียกร้องให้ไทยคืนดินแดนที่ไทยได้มาจากกัมพูชาให้แก่กัมพูชาเสีย ซึ่งความจริง คือ ให้แก่ฝรั่งเศสเพราะฝรั่งเศสเข้ามาปกครองกัมพูชา",
"title": "เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน)"
},
{
"docid": "1937#23",
"text": "จักรวรรดิขแมร์ หรือ อาณาจักรเขมร หรือบางแหล่งเรียกว่า อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ ประเทศไทย ลาว และบางส่วนของเวียดนามในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้อ่อนกำลังลงจนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักรสุโขทัยและแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา\nอาณาจักรเขมรสืบทอดอำนาจจากอาณาจักรเจนฬา มีสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะกับอาณาจักรข้างเคียง เช่น อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรจามปา มรดกที่สำคัญที่สุดของอาณาจักรเขมรคือ นครวัด และ นครธม ซึ่งเคยเป็นนครหลวงเมื่อครั้งอาณาจักรแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด และยังมีลัทธิความเชื่อต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ศาสนาหลักของอาณาจักรนี้ได้แก่ ศาสนาฮินดู พุทธศาสนามหายาน และพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งได้รับจากศรีลังกา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13",
"title": "ประเทศกัมพูชา"
}
] |
3864 | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกคนที่เท่าไหร่ของประเทศไทย ? | [
{
"docid": "220726#0",
"text": "พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ชื่อเล่น: ตู่, เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2497) เป็นนายทหารเกษียณอายุราชการชาวไทย ปัจจุบันเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองในรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 29 และผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่ปีนั้น เขายังเป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งดังกล่าว 3 เดือน 2 วัน ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่มีรักษาการนายกรัฐมนตรี",
"title": "ประยุทธ์ จันทร์โอชา"
}
] | [
{
"docid": "292465#0",
"text": "สนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคนแรก อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี(ดร.ทักษิณ ชินวัตร) และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรีหลายสมัย",
"title": "สนธยา คุณปลื้ม"
},
{
"docid": "828130#8",
"text": "วีระศักดิ์ ฟูตระกูล อดีตผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.)ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552 ในเหตุการณ์ ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 เช่นเดียวกับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ในปี พ.ศ. 2557 เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2558 - 2559 และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559",
"title": "วีระศักดิ์ ฟูตระกูล"
},
{
"docid": "622642#12",
"text": "วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ในประชุมร่วม 7 ฝ่าย เพื่อหาทางออกของประเทศครั้งที่ 2 ตามประกาศกอ.รส. ฉบับที่ 8/2557 โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานในที่ประชุม ระหว่างการประชุม พลเอก ประยุทธ์ เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้เสนอแนวทางที่เห็นว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดของประเทศ หลังจากเวลาผ่านไปสองชั่วโมงก็ไม่มีข้อยุติ ต่อมา สุเทพ เทือกสุบรรณ กับ จตุพร พรหมพันธุ์ แยกไปหารือเป็นการส่วนตัว ขณะเดียวกัน พลเอก ประยุทธ์ก็ได้หารือกับผู้บัญชาการเหล่าทัพไปพร้อม ๆ กัน[28] เมื่อกลับมาหารือกันต่อ ประยุทธ์ได้สอบถาม ชัยเกษม นิติสิริ ในฐานะหัวหน้าตัวแทนฝ่ายรัฐบาล ว่ารัฐบาลยืนยันไม่ลาออก ทั้งรายบุคคลและทั้งคณะใช่หรือไม่ ซึ่งชัยเกษม ระบุว่า นาทีนี้ไม่ลาออก และต้องการดำเนินการต่อจนกว่าจะครบวาระตามกฎหมาย [29]ประยุทธ์จึงตอบกลับว่าจะยึดอำนาจการปกครองด้วยประโยคที่ว่า \"หากเป็นแบบนี้ ผมขอโทษด้วยนะที่ต้องยึดอำนาจ\"[30] และสั่งจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรี ตลอดจนแกนนำ กปปส., นปช. และพรรคการเมืองที่เข้าร่วมเจรจา ทั้งหมดถูกนำไปกักขัง[31] ที่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[32] ต่อมา เวลา 16:30 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศตั้ง \"คณะรักษาความสงบแห่งชาติ\" (คสช.) ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการทันที รวมถึงให้กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) หมดอำนาจ แต่คำสั่งต่าง ๆ ยังมีผลต่อเนื่องอยู่[33]",
"title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557"
},
{
"docid": "220726#44",
"text": "พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาสมรสกับรองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา รองประธานมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มีธิดาฝาแฝด 2 คน คือ ธัญญาและนิฏฐา จันทร์โอชา ซึ่งทั้งสองสำเร็จการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย(โดยใช้เวลาเรียน 3 ปีครึ่ง) และทั้งคู่เคยออกอัลบั้มเพลงร่วมกับ นิค นิติญา อ่ำสกุล เป็นวงดนตรีทริโอหญิงในนามวง BADZ วงดนตรีแนวพังก์ในสังกัดย่อยจีโนม เรคคอร์ด สังกัดอาร์เอส[106][107]",
"title": "ประยุทธ์ จันทร์โอชา"
},
{
"docid": "644214#66",
"text": "มีรายชื่อรัฐมนตรีหลายคนที่เคยดำรงตำแหน่งในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและ กองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน อาทิ วันที่ 30 สิงหาคม 2557 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ปรากฏว่า ดร.พรชัย รุจิประภา สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ กรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[87] ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี วันที่ 15 ธันวาคม 2559 รัฐบาลแต่งตั้งวีระศักดิ์ ฟูตระกูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย วีระศักดิ์ เป็นผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552 ในเหตุการณ์ ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 เช่นเดียวกับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 รัฐบาลแต่งตั้ง นายกองเอก วิเชียร ชวลิต เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เขาเคยดำรงตำแหน่ง กรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน",
"title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61"
},
{
"docid": "623865#1",
"text": "พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา เกิดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของ พันเอก ประพัฒน์ กับนางเข็มเพชร จันทร์โอชา มีชื่อเล่นว่า \"ติ๊ก\" สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า \"บิ๊กติ๊ก\" เป็นน้องชายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา สมรส กับ นางผ่องพรรณ จันทร์โอชา มีบุตร ชื่อ ว่าที่ ร.ต.ปฏิพัทธ์ จันทร์โอชา นายทหารสังกัดกองทัพภาคที่ 3 โรงเรียนเตรียมทหารได้มอบรางวัลเกียรติยศจักรดาว ให้พลเอกปรีชา ในปี 2559 และ ในปี พ.ศ. 2560 องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกได้มอบ เหรียญเกียรติคุณชั้นที่ 1 ให้แก่ พลเอก ปรีชา ",
"title": "ปรีชา จันทร์โอชา"
},
{
"docid": "220726#5",
"text": "พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2497 ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายของพันเอก(พิเศษ) ประพัฒน์ จันทร์โอชา และเข็มเพชร จันทร์โอชา มารดาซึ่งรับราชการครู[10][11] พลเอก ประยุทธ์มีชื่อเล่นว่า \"ตู่\" หรือที่สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า \"บิ๊กตู่\" เป็นบุตรชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมดสี่คน[12] ได้แก่ พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ,ประคัลภ์ จันทร์โอชา และพลอากาศโทหญิงประกายเพชร จันทร์โอชา ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ [13][14]",
"title": "ประยุทธ์ จันทร์โอชา"
},
{
"docid": "206205#97",
"text": "พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของ ประเทศไทย, ผู้นำรัฐบาลเผด็จการทหาร, หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและอดีต ผู้บัญชาการทหารบก",
"title": "โรงเรียนวัดนวลนรดิศ"
},
{
"docid": "46542#0",
"text": "หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนที่ 17 อดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์และประยุทธ์ จันทร์โอชา และอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง",
"title": "หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล"
},
{
"docid": "220726#16",
"text": "หลังรัฐประหาร พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้นำคณะยึดอำนาจที่มีภาพลักษณ์ไม่เหมือนผู้นำคณะยึดอำนาจ คนอื่นๆ กล่าวคือ สื่อมวลชนมักเรียกพลเอกประยุทธ์ อย่างน่ารักน่าเอ็นดูว่า \"ลูงตู่\" และดารานักร้อง ฯลฯ มักชมว่าเป็น \"คนน่ารัก ตลก\" ซึ่งผิดกับภาพลักษณ์ผู้นำคณะยึดอำนาจที่เป็นทหารที่เคยผ่านๆมา",
"title": "ประยุทธ์ จันทร์โอชา"
},
{
"docid": "1000228#0",
"text": "ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร เกิดวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2500 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นทหารคนแรกที่ได้รับตำแหน่งนายกสภาทนายความ (ประเทศไทย) ได้รับการแต่งตั้งเป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสยาม อดีตกรรมการบริหารสภาทนายความ",
"title": "ถวัลย์ รุยาพร"
},
{
"docid": "643126#0",
"text": "รองศาสตราจารย์ นราพร จันทร์โอชา (สกุลเดิม: โรจนจันทร์; เกิด: 20 มิถุนายน พ.ศ. 2497) รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 3 ในคณะกรรมการมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ตามพระราชโองการ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร\nอดีตนายกสมาคมแม่บ้านทหารบก อดีตอาจารย์ประจำสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นภรรยาของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 29 และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ",
"title": "นราพร จันทร์โอชา"
},
{
"docid": "131412#0",
"text": "นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพิงคนคร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประธานคณะกรรมการควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาและประธานกรรมการกีฬาอาชีพ รองประธานกรรมการคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในคณะรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตประธานกรรมการบริหารบริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด",
"title": "กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร"
},
{
"docid": "830829#0",
"text": "นายกองเอก วิเชียร ชวลิต นักการเมืองไทย สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตสมาชิก สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ กรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เลขาธิการคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน อดีตประธานกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค",
"title": "วิเชียร ชวลิต"
},
{
"docid": "220726#4",
"text": "ใน วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีของราชอาณาจักรไทยคนแรกที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะที่ประเทศไทยเป็นประธานสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในสมัยแรก",
"title": "ประยุทธ์ จันทร์โอชา"
},
{
"docid": "334868#0",
"text": "ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และนายกสมาคมอัสสัมชัญ (สมาคมศิษย์เก่า) คนปัจจุบัน ประธานกรรมการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประธานอำนวยการและรองประธานกรรมการสถาบันคีนันแห่งเอเซีย",
"title": "ปิยะบุตร ชลวิจารณ์"
},
{
"docid": "364627#0",
"text": "ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ เกิด 19 กันยายน พ.ศ. 2489 กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคนที่ 16 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (รักษาการรัฐมนตรีว่าการฯ) และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย",
"title": "ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์"
},
{
"docid": "644214#2",
"text": "เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557 เวลา 18:03 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จออก ณ ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่[2]ในการนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี กล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณว่า “ข้าพระพุทธเจ้า จะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อ ประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”[3]",
"title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61"
},
{
"docid": "220726#2",
"text": "ระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มในเดือนพฤศจิกายน 2556 และเกี่ยวข้องกับการประท้วงต่อรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ พลเอกประยุทธ์อ้างว่ากองทัพเป็นกลาง[4] และจะไม่รัฐประหาร ทว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 พลเอกประยุทธ์รัฐประหารต่อรัฐบาลและควบคุมประเทศในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาตินับแต่นั้น[5] สุเทพ เทือกสุบรรณเปิดเผยว่า ตนกับพลเอกประยุทธ์วางแผนโค่นพันตำรวจโททักษิณตั้งแต่ปี 2553[6] ซึ่งพลเอกประยุทธ์ปฏิเสธข่าวนี้ ต่อมา เขาออกรัฐธรรมนูญชั่วคราวซึ่งให้อำนาจครอบคลุมแก่คณะผู้ก่อการ[7] และนิรโทษกรรมคณะฯ สำหรับรัฐประหาร วันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเอกฉันท์เลือกพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสมาชิกสภานั้นถูกเลือกมา และส่วนใหญ่เป็นนายทหาร[8]",
"title": "ประยุทธ์ จันทร์โอชา"
},
{
"docid": "220726#36",
"text": "วันที่ 29 มีนาคม 2559 พลเอกประยุทธ์กล่าวว่า \"จะมาบอกว่าเป็นนายกฯแล้วต้องอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าพวกคุณเลือกผมมา คุณจะสั่งผมอย่างไรผมจะทำให้ แต่นี่ไม่ได้เลือกผมสักคน\"[90]",
"title": "ประยุทธ์ จันทร์โอชา"
},
{
"docid": "622642#8",
"text": "วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 เวลา 03:30 น. กำลังทหารพร้อมอาวุธ เข้าควบคุมสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ทั้งภาคพื้นดินและผ่านดาวเทียมหลายช่อง ตามคำสั่งประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ขอให้เชื่อมสัญญาณออกอากาศจากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5[20] ต่อมา เวลา 06:30 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ออกประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ กอ.รส. และออกคำสั่ง 12 ฉบับ (ยกเลิก 1 ฉบับ) [20][21]",
"title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557"
},
{
"docid": "644214#67",
"text": "ภายใต้รัฐบาลนี้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาแย่ลงกว่ารัฐบาลก่อน อาทิ กรณีการประท้วงนายกลิน ที. เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย [88]รัฐบาลเลือกที่จะเพิกเฉยมากกว่าใช้กฎหมายการชุมนุมทางการเมืองมากกว่า 5 คน รัฐบาลเลือกที่จะเพิกเฉยต่อบุคคลชาวอเมริกาที่ได้รับข้อกล่าวหาร้ายแรงจากชาวไทยเช่น กรณีกล่าวหา จอร์จ โซรอส ว่าแทรกแซงการเมืองไทย สื่อสารมวลชนไทย โดยให้เงินบริจาคสื่อ ประชาไท ที่รับทราบว่าเป็นสื่อตรงข้ามรัฐบาล[89] ประชาชนชาวไทยรับทราบผ่านสื่อต่างๆ ว่าคณะรัฐมนตรีมีการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศจีนและประเทศรัสเซีย[90]ตัวอย่างเช่นการเยือนทางมาไทยของนายกรัฐมนตรีรัสเซีย ดมีตรี เมดเวเดฟ ซึ่งเป็นการเดินทางระดับนายกรัฐมนตรีรัสเซียในรอบ 25 ปี[91]และการบินไทยได้เปิดเส้นทางบินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติโดโมเดโดโวรัสเซียอีกครั้งในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ด้าน สาธารณรัฐประชาชนจีน ส่งรองประธานาธิบดี นาย หลี่ หยวนเฉา เข้าพบ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นการเยือนระดับ รองประธานาธิบดีในรอบ 5 ปี[92]เขาเดินทางมาอีกครั้งในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พลเอก ประยุทธ์ เข้าพบ นาย ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา[93] ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกัมพูชา นายฮุน มานี สมาชิกสภาแห่งชาติกัมพูชา[94]มาเยือน ประเทศไทยและเข้าพบ พลเอก ประยุทธ์ ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559",
"title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61"
},
{
"docid": "490434#0",
"text": "ศาสตราจารย์ ดุสิต เครืองาม (เกิด 5 กันยายน พ.ศ. 2501) เป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ นักธุรกิจออกแบบและก่อสร้างโซลาร์ฟาร์ม โซลาร์รูฟ หลายสิบเมกะวัตต์ มีผลงานมากมายทั้งด้านวิชาการและด้านอุตสาหกรรม ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยโซลาร์ฟืวเจอร์ จำกัดนายกสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย ",
"title": "ดุสิต เครืองาม"
},
{
"docid": "703969#0",
"text": "อิทธิพล คุณปลื้ม ชื่อเล่น: ติ๊ก (15 ธันวาคม พ.ศ. 2516 — ) กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี อยู่ในบังคับบัญชา รมว.ท่องเที่ยวและกีฬาในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นักการเมืองชาวไทย อดีตนายกเมืองพัทยา เกิดที่จังหวัดชลบุรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 2 สมัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2551 สังกัดพรรคชาติไทย, พรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน ",
"title": "อิทธิพล คุณปลื้ม"
},
{
"docid": "925904#12",
"text": "เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561 เฌอปรางได้รับเชิญจากรัฐบาลให้เป็นพิธีกรรับเชิญในรายการเดินหน้าประเทศไทย พร้อมกับดาราศิลปินอีกหลายคน โดยเธอได้เดินทางเข้าพบกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบประกาศนียบัตรเพื่อเป็นการขอบคุณแด่เฌอปราง และดาราศิลปินคนอื่นที่ได้เข้าพบ[23] ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เธอได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมากทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการร่วมทำงานกับรัฐบาล เพราะการตัดสินใจร่วมงานครั้งนี้ของเธอ อาจเป็นการเลือกข้างทางการเมือง ซึ่งก่อนหน้านี้เฌอปรางและสมาชิก BNK48 บางส่วน ได้เข้าพบพลเอกประยุทธ์ ที่ทำเนียบรัฐบาลมาแล้ว เพื่อร่วมประชาสัมพันธ์สถานีวิทยุเพื่อครอบครัวของรัฐบาลด้วย อย่างไรก็ตาม ภายหลังต้นสังกัดได้ออกมาชี้แจงว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด[24] ด้านเฌอปรางได้ให้สัมภาษณ์ว่าการวิจารณ์เหล่านั้นเป็นสิทธิ์ของแต่ละบุคคล เพราะตนก็มีจุดยืนของตัวเอง และการรับงานนั้นก็ปรึกษาผู้ใหญ่อยู่ตลอดเวลา ส่วนกระแสที่เข้ามานั้นก็มีความกังวลบ้าง แต่ก็ยังมีการให้กำลังใจจากทุกคนอยู่[25]",
"title": "เฌอปราง อารีย์กุล"
},
{
"docid": "106662#0",
"text": "ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา เป็นข้าราชการชาวไทย ประธานกรรมการคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอดีตนายกสภาและอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ",
"title": "จรัส สุวรรณเวลา"
},
{
"docid": "220726#32",
"text": "วันที่ 8 ตุลาคม 2557 เว็บไซต์ประชาไทรายงานว่า พลเอกประยุทธ์กล่าวตอนหนึ่งว่า จะส่งเสริมให้คนทั้งโลกกินข้าว ขนมจีน กินขนมปังแล้วจะอ้วน[83] วันเดียวกัน เว็บไซต์รัฐบาลไทยรายงานว่า พลเอกประยุทธ์ว่า อุทกภัยในภาคใต้เป็นเรื่องปกติ ปีหนึ่งเกิดสี่ครั้ง เกิดจากน้ำเหนือไหลผ่านภาคกลางลงสู่ภาคใต้[84] ในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ วันที่ 10 ตุลาคม 2557 เขากล่าวตอนหนึ่งว่า ถ้าอยากมีรถไฟทางคู่ มีรถใหม่ มีรถความเร็วสูงเหมือนต่างประเทศ ให้หาเงินมา[85]",
"title": "ประยุทธ์ จันทร์โอชา"
},
{
"docid": "711112#3",
"text": "แบดซ์ (Badz) ประกอบสมาชิกทั้งหมด 3 คนด้วยกันคือ นิค - นิติญา อ่ำสกุล (ร้องนำ) ซึ่งผ่านการประกวดร้องเพลงและได้รับรางวัลจากเวที สตาร์ ชาเลนจ์ ปี 2003, พลอย - ธัญญา จันทร์โอชา (กีตาร์) และ เพลิน - นิฏฐา จันทร์โอชา (เบส) สองพี่น้องฝาแฝดลูกสาวของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย",
"title": "แบดซ์ (วงดนตรี)"
},
{
"docid": "22364#16",
"text": "ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เขากล่าวให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ระวังเกิดปฏิวัติซ้ำ [14] ต่อมาในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เขากล่าวตอนนึงว่า การบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้ทำให้เศรษฐกิจดีหรือไม่นั้นต้องไปถามประชาชนว่ากินอิ่ม นอนหลับหรือไม่ ถ้าหากประชาชนยังไม่มีกินก็ต้องไปแก้ปัญหาตรงนี้ [15] ซึ่งนับเป็นปัญหาของทุกรัฐบาล ในขณะที่ คุณหญิง พันธุ์เครือ ยงใจยุทธ แสดงความเห็นว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่มีความเคารพ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ต่อมาวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 พลเอก ชวลิต เสนอให้มีการถวายคืนพระราชอำนาจเพื่อเป็นทางออกของประเทศ[16]",
"title": "ชวลิต ยงใจยุทธ"
}
] |
2783 | อีเลียต ลอเรนซ์ สปิตเซอร์มีบิดาชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "154595#6",
"text": "สปิตเซอร์เกิดในเขตบรองซ์ เป็นลูกคนเล็กสุดในจำนวน 3 คนของแอนน์ สเปนเซอร์ (นามสกุลก่อนแต่งงานคือ โกลด์ฮาเบอร์) อดีตศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ และเบอร์นาร์ด สเปนเซอร์ มหาเศรษฐีอสังหาริมทรัพย์ เขาสืบเชื้อสายมาจากชาวยิวซึ่งอพยพมาจากออสเตรีย",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
},
{
"docid": "154595#1",
"text": "สปิตเซอร์เกิดและเติบโตในเขตบรองซ์ (The Bronx) ของเมืองนิวยอร์กซิตี้ เป็นบุตรชายของเจ้าสัวอสังหาริมทรัพย์ เบอร์นาร์ด สปิตเซอร์ (Bernard Spitzer) และแอนน์ สปิตเซอร์ (Anne Spitzer) ศาสตราจารย์วิชาวรรณกรรมอังกฤษ เขาเข้าศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University) และเข้าศึกษากฎหมายจากโรงเรียนกฎหมายฮาร์วาร์ด (Harward Law School) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ที่ซึ่งเขาได้พบภรรยาในอนาคต ซิลด้า วอลล์ (Silda Wall) ผู้ซึ่งในเวลาต่อมาเป็นผู้ก่อตั้งองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร Children for Children (เด็กเพื่อเด็ก) หลังจากได้รับปริญญากฎหมายหลักสูตร Juris Doctor สปิตเซอร์จึงเข้าทำงานในบริษัทกฎหมาย พอลล์, เวสส์, ริฟคินด์, วอร์ตัน แอนด์ แกร์ริสัน (Paul, Weiss, Rifkind, Wharton & Garrison)",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
}
] | [
{
"docid": "154595#0",
"text": "อีเลียต ลอเรนซ์ สปิตเซอร์ (Eliot Laurence Spitzer) (เกิดเมื่อ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2502) เป็นทนายความชาวอเมริกัน และอดีตนักการเมืองพรรคเดโมแครต (Democratic Party) เขารับตำแหน่งผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 จนกระทั่งเขาลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551 ก่อนจะได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ สปิตเซอร์รับตำแหน่งเป็นอัยการรัฐนิวยอร์ก",
"title": "อีเลียต สปิตเซอร์"
},
{
"docid": "11938#1",
"text": "บิดาของเขาชื่ออาดัม ลิสท์ เป็นนักเชลโลในวงดนตรีท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นเลขานุการของเจ้าชายเอสเตอร์ฮาซี บิดาได้สอนให้ลิสท์เล่นเปียโนตั้งแต่เด็ก ให้หัดเล่นบทเพลงของลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน, โยเซ็ฟ ไฮเดิน และว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท เขาได้เผยให้เด่นความสามารถที่โดดเด่นเกินวัย ตั้งแต่อายุ 10 ชวบ เขาเดินทางไปที่กรุงเวียนนา (ประเทศออสเตรีย) เพื่อศึกษาเรื่องเสียงประสานกับซาลีเอรี และเรียนเปียโนกับคาร์ล แชร์นี เป็นเวลาสองปี ในขณะที่ได้เดินทางไปแสดงที่กรุงปารีส โดยมีบิดาไปด้วย เขาได้พยายามสมัครเข้าเรียนที่วิทยาลัยดนตรีและนาฏศิลป์แห่งชาติ ณ กรุงปารีส (เมื่อก่อนใช้ชื่อว่า \"โรงเรียนดนตรีและการแสดงแห่งราชสำนัก\") แต่พ่ายต่อเกรูบีนี ในการสอบเข้า ด้วยเหตุผลที่ว่าลิสท์เป็นชาวต่างชาติ ในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) เขาได้กลายมาเป็นศิษย์ของแฟร์ดีนันโด ปาแอร์ และได้ประพันธ์อุปรากรเรื่อง \"ปราสาทแห่งรัก\" เมื่อมีอายุได้ 14 ปี ลิสท์ประสบปัญหาซึมเศร้าหลังการตายของบิดาในปี พ.ศ. 2370 (ค.ศ. 1827) หลังจากเดินทางไปประเทศอังกฤษ เขาก็ได้เดินทางกลับมายังกรุงปารีสอีกครั้งเพื่อหาเลี้ยงชีพด้วยการสอนเปียโน",
"title": "ฟรันทซ์ ลิสท์"
},
{
"docid": "836291#1",
"text": "มีเตอนาร์เกิดที่เมืองลีล ประเทศฝรั่งเศส เธอเป็นลูกสาวของอีฟว์ มีเตอนาร์ (บิดา) เป็นศาสตราจารย์ด้านวิชาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ และลอเรนซ์ ดรูอาร์ต (มารดา) เป็นครูและวิทยากร เธอมีพี่ชาย พี่สาวและน้องสาว พ่อแม่ของเธอหย่ากันเมื่อเธออายุได้ 3 ขวบ",
"title": "อีริส มีเตอนาร์"
},
{
"docid": "41319#2",
"text": "อะมีเลีย แอร์ฮาร์ต เกิดที่เมืองแอตชิสัน รัฐแคนซัส ที่บ้านของอัลเฟรด โอตีสผู้เป็นปู่ ซึ่งเป็นผู้พิพากษาของรัฐบาลกลางและเป็นผู้ได้รับการนับหน้าถือตาในเมืองนี้ ปู่ของอะมีเลียไม่พอใจในตัวบุตรชายชื่อเอดวินซึ่งเป็นบิดาของเธอ กล่าวกันว่าการไม่ลงรอยกันแทบทุกเรื่อง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ครอบครัวของอะมีเลียแตกแยก และน่าจะมีผลต่อจิตใจในวัยเยาว์จนทำให้เธอกลายเป็น \"ทอมบอย\" เล่นซนอย่างเด็กผู้ชายและหันมาสนใจในการบินเมื่อเติบโตขึ้น",
"title": "อะมีเลีย แอร์ฮาร์ต"
},
{
"docid": "293636#6",
"text": "ต่อจากลอร์เรนซ์ ฮิลเลียร์ดก็เป็นไอแซ็ค ออลิเวอร์ และบุตรชาย ปีเตอร์ ออลิเวอร์ ไอแซ็ค ออลิเวอร์ เป็นลูกศิษย์ของฮิลเลียร์ด จิตรกรสองคนหลังนี้เพิ่มความอวบอิ่มบนใบหน้าให้แก่ผู้เป็นแบบ การลงชื่อจิตรกรใช้อักษรย่อ และไม่แต่จะเขียนภาพขนาดเล็กแต่ยังเขียนภาพที่ขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกที่อาจจะมีขนาดถึง 250 × 230 มิลิเมตร นอกจากจะเขียนภาพเหมือนแล้วก็ยังสร้างงานก็อปปีที่ย่อส่วนจากงานของจิตรกรชั้นครูด้วย\nจิตรกรผู้อื่นที่เขียนจุลจิตรกรรมภาพเหมือนในช่วงเดียวกันก็ได้แก่บาลทาซาร์ แฌร์บิเยร์, จอร์จ เจมสัน, เพเนโลพี เคลน และพี่น้อง ต่อมาก็มีจอห์น ฮอสคินส์ ที่ตามด้วยบุตรชายชื่อเดียวกัน",
"title": "จุลจิตรกรรมภาพเหมือน"
},
{
"docid": "677657#3",
"text": "แอ็กเซิล โรส มีชื่อเกิดว่า วิลเลียม บรูซ โรส จูเนียร์ ในลาฟาแยต , อินเดียน่า เป็นลูกคนแรกของ ชารอน อี (née Lintner), ขณะนั้นชารอนอียังอายุสิบหก ซึ่งเธอกำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา และพ่อของเขา วิลเลียม บรูซ โรสขณะนั้นอายุยี่สิบ . พ่อของแอกโซลกล่าวว่า \"เธอเป็นตัวปัญหาในชุมชน\" และการตั้งครรภ์โดยไม่วางแผน. พ่อแม่ของเขาแยกทางกันเมื่อเขาอายุได้เพียงสองขวบ , พ่อของเขายังถูกกล่าวหาว่า ลักพาตัวและทำร้ายร่างกาย ก่อนที่จะหนีไปจากเมืองลาฟาแยต แม่ของเขาแต่งงานใหม่กับ สตีเฟ่น เอล เบลีย์ และเปลี่ยนชื่อลูกชายเป็น วิลเลียม บรูซ เบลีย์. เขามีสองพี่น้องที่อายุน้อยกว่า - น้องสาว เอมี่ และลูกพี่ลูกน้อง , จวร์ตส จนอายุได้ 17 , โรสเชื่อว่าไบลีย์เป็นพ่อแม่บุญธรรม เขายังไม่เคยพบพ่อแม่แท้ๆจนโตเป็นผู้ใหญ่ , วิลเลียม บรูซ , ซีเนียร์ เขายังไม่เคยพบพ่อแม่แท้ๆจนโตเป็นผู้ใหญ่ , วิลเลียม บรูซ ซีเนียร์พ่อแท้ๆของแอกแซล โรสถูกฆาตกรรมที่เมืองมาริออน , รัฐอิลลินอยส์ ในปี 1984 โดยถูกฆาตกรรมจากคนใกล้ตัวเองและถูกตัดสินลงโทษ โรซยังไม่ได้ทราบเรื่องคดีฆาตกรรมจนกระทั่งปีถัดมา",
"title": "แอกเซล โรส"
},
{
"docid": "216290#3",
"text": "ไมลีย์เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2535 ที่เมืองแฟรงคลิน รัฐเทนเนสซี เป็นธิดาของบิลลี เรย์ ไซรัส นักร้อง กับเลทีเชีย จีน \"ทีช\" ไซรัส (สกุลเดิม ฟินลีย์) มารดา เมื่อแรกเกิดเธอมีปัญหาภาวะภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็วที่สม่ำเสมอ (supraventricular tachycardia) เธอมีชื่อเดิมว่า เดสทินี โฮป ไซรัส (Destiny Hope Cyrus) ที่บิดามารดาตั้ง เพราะเชื่อว่าชีวิตเธอจะมีแต่สิ่งดี ๆ และตั้งชื่อเล่นให้ว่า สไมลีย์ (Smiley) ที่แปลว่ายิ้มแย้ม เพราะขณะที่เธอยังเป็นทารกเธอมักยิ้มอยู่เนืองนิจ ในปี 2551 เธอเปลี่ยนชื่อเป็น ไมลีย์ เรย์ ไซรัส (Miley Ray Cyrus) โดยชื่อกลางมาจากชื่อของรอนัลด์ เรย์ ไซรัส (Ronald Ray Cyrus) ปู่ที่เป็นนักการเมืองซึ่งเสียชีวิตไปก่อนหน้า",
"title": "ไมลีย์ ไซรัส"
},
{
"docid": "775024#1",
"text": "เอ็ดเวิร์ดเกิดในหมู่บ้านในชนบทที่ชื่อรีเซ็มบูล เขาอาศัยอยู่กับน้องชายพร้อมกับมารดา \"ทริชา\" และบิดา \"โฮเฮ็นไฮม์\" ต่อมาหลังจากเมื่อบิดาของเขาทอดทิ้งครอบครัวและออกจากบ้านไปตั้งแต่สองพี่น้องยังเล็กและมารดาก็เสียชีวิตด้วยโรคเรื้อรัง ทั้งสองก็มุ่งมั่นศึกษาวิชาเล่นแร่แปรธาตุเพื่อหวังจะชุบชีวิตมารดาขึ้นมา โดยการไปฝึกฝนกับอาจารย์ที่ชื่อ \"อิซูมิ เคอร์ทิส\" ภายหลังจากการชุบชีวิตมารดาล้มเหลวและน้องชายกลายเป็นชุดเกราะ เอ็ดได้รับออโต้เมลล์จากครอบครัวร็อกเบล ซึ่งเป็นครอบครัวที่สนิทที่สุด และสองพี่น้องก็กลายเป็นนักเล่นแร่แปรธาตุที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับการคัดเลือกจากทางการให้บรรจุเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และได้รับฉายา \"นักเล่นแร่แปรธาตุเหล็กไหล\" จาก\"คิง แบร็ดลี\" ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ และจากอุบัติเหตุในครั้งนั้น ทำให้เอ็ดเป็นคนที่เชื่อในกฎ \"การแลกเปลี่ยนอย่างเท่าเที่ยม\" อย่างหนักแน่น",
"title": "เอ็ดเวิร์ด เอลริค"
}
] |
511 | กฎหมายตราสามดวงถูกใช้ในยุคสมัยไหน? | [
{
"docid": "103362#0",
"text": "กฎหมายตราสามดวง คือ ประมวลกฎหมายในรัชกาลที่ 1 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมายเก่าที่มีมาแต่ครั้งโบราณ แล้วรวบรวมเป็นประมวลกฎหมายขึ้นเมื่อจุลศักราช 1166 ตรงกับ พ.ศ. 2347 โปรดให้เรียกว่า “กฎหมายตราสามดวง” ให้อาลักษณ์ชุบเส้นหมึกสามชุด แต่ละชุดประทับตรา 3 ดวง คือ ตราพระราชสีห์ (สำหรับตำแหน่งสมุหนายก) 1 ตราพระคชสีห์ (สำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม) 1 และตราบัวแก้ว (สำหรับตำแหน่งโกษาธิบดี หมายถึงพระคลัง ซึ่งดูแลรวมทั้งกิจการด้านต่างประเทศ) ไว้ทุกเล่มเก็บไว้ ณ ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง และศาลหลวงอีกชุดหนึ่ง",
"title": "กฎหมายตราสามดวง"
}
] | [
{
"docid": "853774#3",
"text": "พัฒนาการของกฎหมายปกครองในประเทศไทย เริ่มต้นในสมัยกรุงสุโขทัย(พ.ศ.1781-1893) ไม่มีกฎเกณฑ์และกฎหมายเนื่องจากมีประชากรน้อย มีขนาดเล็กจึงใช้หลักการปกครองแบบบิดากับบุตร ด้านกฎหมายได้นำเอา\"หลักพระธรรมศาสตร์\"มาใช้กับ\"หลักพระราชศาสตร์\" กฎหมายที่ค้นพบในสมัยกรุงสุโขทัย ได้แก่กฎหมายเกี่ยวกับภาษี กฎหมายเกี่ยวกบการจับจองทรัพย์สิน กฎหมายเกี่ยวกับมรดก เป็นต้น ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาในสมัยของพระเจ้าอู่ทอง(พ.ศ.1893-1912) ทีการตรากฎหมาย 8 ฉบับ กฎหมายฉบับหนึ่งคือ พระอัยการอาญาหลวง พ.ศ.1895ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับลักษณะความผิดและโทษของข้าราชการที่กระทำผิดต่อหน้าที่และวินัย กฎหมายลักาณะพยาน กฎหมายลักษณะลักพา กฎหมายลักษณะผัวเมีย ในส่วนของสมัยกรุงธนบุรี(พ.ศ.2310-2325)มีระยะเวลาสั้นเพียง 15 ปีจึงไม่ปรากฏการปรับปรุงกฎหมาย ในส่วนสุดท้ายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในปีพ.ศ.2348 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้มีการจัดหมวดหมู่และปรับปรุงงกฎหมายให้สอดคล้องกับความยุติธรรม พระราชกำหนด\nกฎหมายที่ชำระสะสางเสร็จแล้วนี้เรียกกันว่า\"กฎหมายตราสามดวง\" จนกระทั่งในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปฎิรูปกฎหมายให้เป็นแบบตะวันตกเพื่อที่จะปรับปรุงสัมพันธ์กับปรเทศตะวันตก",
"title": "กฎหมายปกครองท้องถิ่น"
},
{
"docid": "216600#5",
"text": "กฎหมายโรมันโบราณ และกฎหมายจีนโบราณ ยอมรับสถานะทางกฎหมายของภริยาน้อย แต่ไม่ได้เท่าเทียมกับสถานะทางกฎหมายของภริยาหลวง กฎหมายไทยเองก็ยอมรับเช่นกัน โดยปรากฏในพระอัยการหรือรัฐธรรมนูญของโบราณซึ่งต่อมาในรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์มีการชำระและรู้จักกันในชื่อ \"กฎหมายตราสามดวง\" แบ่งภริยาออกเป็นสามประเภท คือ",
"title": "การอยู่กินด้วยกันโดยไม่ได้สมรส"
},
{
"docid": "346424#5",
"text": "ประเทศสยามจึงเริ่มรับหลักกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์ของประเทศอังกฤษเข้ามาใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดอรรถคดีในกรณีที่กฎหมายตราสามดวงไม่ครอบคลุมหรือไม่เหมาะสม กับทั้งมีการจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายที่สอนกฎหมายระบบคอมมอนลอว์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งวิวัฒนามาเป็นคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ครั้งนั้นกฎหมายตรามสามดวงก็ยังคงเป็นระบิลเมืองอยู่[5]",
"title": "ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "6835#5",
"text": "ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ตราสำคัญในราชการไทยมีสามดวง คือตราพระคชสีห์สำหรับสมุหพระกลาโหม ซึ่งใช้ในราชการด้านการทหารทั่วไป ตราพระราชสีห์สำหรับสมุหนายก ใช้ในราชการด้านมหาดไทย และตราบัวแก้วประจำตำแหน่งพระคลัง กฎหมายไทยที่เรียกว่า \"กฎหมายตราสามดวง\" ก็เป็นเพราะมีการประทับตราทั้งสามดวงนี้ ซึ่งมีตราบัวแก้วรวมอยู่ด้วยดวงหนึ่ง",
"title": "กระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "4226#10",
"text": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร (หรือกรุงรัตนโกสินทร์) เป็นราชธานี และทรงสถาปนาราชวงศ์จักรีปกครองราชอาณาจักรไทยเมื่อ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 (วันจักรี)ภายหลังการเสด็จเสวยราชย์แล้ว พระองค์ทรงมีพระราชกรณีกิจที่สำคัญยิ่ง คือ การป้องกันราชอาณาจักรให้ปลอดภัยและทรงฟื้นฟูวัฒนธรรมไทยอันเป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและอยุธยา การที่ไทยสามารถปกป้องการรุกรานของข้าศึกจนประสบชัยชนะทุกครั้ง แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของพระองค์ในการบัญชาการรบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามกับพม่าใน พ.ศ. 2328 ที่เรียกว่า \"สงครามเก้าทัพ\" นอกจากนี้พระองค์ยังพบว่ากฎหมายบางฉบับที่ใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยาไม่มีความยุติธรรม จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการตรวจสอบกฎหมายที่มีอยู่ทั้งหมด เสร็จแล้วให้เขียนเป็นฉบับหลวง 3 ฉบับ ประทับตราราชสีห์ คชสีห์ และบัวแก้วไว้ทุกฉบับ เรียกว่า \"กฎหมายตราสามดวง\" สำหรับใช้เป็นหลักในการปกครองบ้านเมือง",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"
},
{
"docid": "63904#26",
"text": "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงได้ทรงปรับปรุงกิจการทหารให้เข้มแข็ง ด้วยการวางมาตรการต่าง ๆ คือ กิจการทหารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช คงดำเนินตามแบบอย่างในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการรวบรวมตำราพิชัยสงคราม ที่หลงเหลือจากการถูกทำลายจากพม่า มาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นแบบแผน ซึ่งก็ได้ใช้ต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระเบียบแบบแผนในการแบ่งเหล่า และการจัดหน่วยทหาร การเตรียมกำลังพล การเกณฑ์ทหาร และกิจการด้านทหารอื่น ๆ คงดำเนินการตามแบบแผนของกรุงศรีอยุธยาเป็นส่วนใหญ่ มีการปรับปรุงในส่วนปลีกย่อย เช่น ให้รับราชการทหารเพียงปีละ 4 เดือน โดยหมุนเวียนเป็นวงรอบ 4 รอบ ๆ ละ 1 เดือน ดังที่ปรากฏในกฎหมายตราสามดวง เมื่อปี พ.ศ. 2327 ",
"title": "กองทัพบกไทย"
},
{
"docid": "346424#10",
"text": "เมื่อเล็งเห็นว่า การร่างประมวลกฎหมายดังตั้งความประสงค์ไว้นี้ จักต้องใช้ระยะเวลาอันยาวนาน เพื่อจัดการกับสถานการณ์ระหว่างนั้น รัฐบาลสยามก็ตรากฎหมายเป็นเรื่อง ๆ เพื่อใช้แทนกฎหมายตราสามดวงในส่วนที่ไม่เหมาะสม จนกว่างานจัดทำประมวลกฎหมายจะแล้วสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับกฎหมายวิธีสบัญญัติ ในกฎหมายตราสามดวงนั้น ได้ถูกแทนที่โดย พระราชบัญญัติลักษณะพยาน รัตนโกสินทรศก 113, พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความมีโทษสำหรับใช้ไปพลางก่อน รัตนโกสินทร์ศก 115, พระราชบัญญัติกระบวนพิจารณาความแพ่ง รัตนโกสินทรศก 115 และ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พุทธศักราช 2477 ตามลำดับ[8]",
"title": "ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "27492#5",
"text": "ในกฎหมายตราสามดวง บันทึกการเขียนไว้ว่า \"กะเทย\" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 และ 2542 ว่ามาจากคำในภาษาอาหมว่า \"เทย\" ส่วนภาษาเขมรก็มีคำว่า (\"ขฺเทิย\") อ่านว่า \"ขฺเตย\" ใช้แทนความหมายเดียวกัน ",
"title": "กะเทย"
},
{
"docid": "103362#8",
"text": "กฎหมายตราสามดวงได้เป็นกฎหมายหลักของประเทศที่ใช้บังคับมาตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจนถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นระยะเวลานานถึง 103 ปี จนกระทั่งมีการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลตามแบบประเทศมหาอำนาจยุโรป จึงได้เลิกใช้กฎหมายตราสามดวง",
"title": "กฎหมายตราสามดวง"
},
{
"docid": "7137#1",
"text": "ใน พ.ศ. 1997 รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่า เมืองชุมพรเป็นเมืองตรี อาณาจักรฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในช่วงนี้ชนชาติจาม แห่งราชอาณาจักรจามปา ถูกชาวเวียดนามรุกราน ชาวจามกลุ่มนี้อพยพเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาครั้งแรก ปรากฏว่ามี \"อาสาจาม\" ในแผ่นดินนี้ เพื่อการขยายอาณานิคมของกรุงศรีอยุธยา ส่วนหนึ่งต้องมารักษาด่านเมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองตรี และตั้งชาวจาม เป็นเจ้าเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วย ชาวจาม มีความสามารถในการรบ ที่มีชื่อเสียง เช่น กองอาสาจาม เป็นทหารชั้นดี มีวินัย เชี่ยวชาญการเดินเรือ รับใช้ราชสำนักมานาน และเก่งการค้ามาหลายพันปี",
"title": "จังหวัดชุมพร"
},
{
"docid": "103362#3",
"text": "เมื่อผลของคดีเป็นเช่นนี้ นายบุญศรีจึงได้นำเรื่องขึ้นทูลเกล้าถวายฎีกา ต่อพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงเห็นด้วยกับฎีกาว่าคำพิพากษาของศาลนั้น ขัดหลักความยุติธรรม ทรงสงสัยว่าการพิจารณาพิพากษาคดีจะถูกต้องตรงตามตัวฉบับกฎหมายหรือไม่ จึงมีพระบรมราชโองการ ให้เทียบกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ศาลใช้กับฉบับที่หอหลวงและที่ห้องเครื่อง แต่ก็ปรากฏ ข้อความที่ตรงกัน เมื่อเป็นดังนี้ จึงมีพระราชดำริว่ากฎหมายนั้นไม่เหมาะสม อาจมีความคลาดเคลื่อนจากการคัดลอก สมควรที่จะจัดให้มีการชำระสะสางกฎหมายใหม่ เหมือนการสังคายนา พระไตรปิฎกจากคดีอำแดงป้อมดังกล่าวข้างต้น ได้แสดงให้เห็นหลักกฎหมายสำคัญประการหนึ่งเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายที่ว่าแม้แต่พระมหากษัตริย์ก็ต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามไม่มีพระราชอำนาจที่จะแก้ไข เปลี่ยนแปลงกฎหมาย ตามอำเภอใจ",
"title": "กฎหมายตราสามดวง"
},
{
"docid": "103362#2",
"text": "กฎหมายที่ใช้กันอยู่ในระยะแรกของกรุงรัตนโกสินทร์นั้นก็คือกฎหมายที่ใช้อยู่เมื่อครั้ง กรุงศรีอยุธยา โดยอาศัยความจำ และการคัดลอกมาตามเอกสารที่หลงเหลือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงทำการวินิจฉัยเรื่องต่างๆ โดยอาศัยมูลอำนาจอธิปไตยของ พระองค์เองบ้าง อาศัยหลักฐานที่ได้จากการสืบสวน ฟังคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บ้างจนกระทั่งได้เกิดคดีขึ้นคดีหนึ่งและมีการทูลเกล้าฯถวายฎีกา คดีที่เกิดขึ้นนี้แม้เป็นคดีฟ้องหย่าของชาวบ้านธรรมดา แต่ที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์กฎหมาย ก็คือผลจากคดีนี้เป็นต้นเหตุให้นำมา ซึ่งการชำระสะสางกฎหมายในสมัยนั้น เป็นคดีที่อำแดงป้อม ฟ้องหย่านายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ทั้งๆ ที่ตนได้ทำชู้ กับ นายราชาอรรถ และศาลได้พิพากษาให้หย่าได้ตามที่อำแดงป้อมฟ้อง โดยอาศัยการพิจารณาคดีตามบทกฎหมาย ที่มีความว่า “ชายหาผิดมิได้ หญิงขอหย่า ท่านว่าเป็นหญิงหย่าชาย หย่าได้”",
"title": "กฎหมายตราสามดวง"
},
{
"docid": "5240#43",
"text": "ตั้งอยู่ที่ถนนจะนะ ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งบ้านพักเดิมของรองอำมาตย์โทขุนวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) บิดาของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ พิพิธภัณฑ์เป็นสถาปัตยกรรมแบบเรือนไทยที่สร้างขึ้นเพื่อจำลองสถานที่เกิดของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษซึ่งเป็นชาวจังหวัดสงขลา จากคำบอกเล่าความทรงจำในอดีตสมัยที่บิดาของท่านดำรงตำแหน่งพัสดีเรือนจำสงขลา \"พะทำมะรง\" เป็นตำแหน่งเก่าของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีควบคู่กับตำแหน่งพัสดีปรากฏหลักฐานอยู่ในกฎหมายตราสามดวง และอัยการลักษณะต่าง ๆ ตำแหน่งพะทำมะรงได้ใช้ติดต่อกันมาตลอดจนได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ตำแหน่งพะทำมะรงจึงได้ถูกยกเลิกไป พิพิธภัณฑ์ฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30-16.00 น.",
"title": "จังหวัดสงขลา"
},
{
"docid": "283925#36",
"text": "ดังนั้น ในการจัดทำประมวลกฎหมายในครั้งนั้น คณะกรรมการร่างกฎหมายจึงคำนึงเสมอว่าบทบัญญัติแต่ละเรื่องเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยหรือไม่ โดยเฉพาะในการร่างบรรพ 4 ว่าด้วยครอบครัว และบรรพ 5 ว่าด้วยมรดก ต้องใคร่ครวญกันอย่างหนักทีเดียวเพราะครอบครัวตะวันตกและครอบครัวไทยนั้นต่างกันราวกับหน้ามือหลังมือ หลาย ๆ เรื่องจำต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนไทยไปจากเดิมก็ได้พยายามให้กระทบกระเทือนน้อยที่สุด เช่น การรับหลักการเรื่องผัวเดียวเมียเดียว (monogamy) เข้ามา ก็เพียงกำหนดว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อน (bigamy) เป็นโมฆะ แต่ไม่ถึงกับเป็นความผิดอาญาเช่นในหลาย ๆ ประเทศ[31] และหลาย ๆ เรื่องก็รับเอาคุณธรรมของมนุษย์มาจากกฎหมายตราสามดวงมาโดยตรงทีเดียว ซึ่งไม่ปรากฏในกฎหมายของชาติใดอีกแล้ว เป็นต้นว่า ในเรื่องคดีอุทลุม ที่เป็นหลักการของความกตัญญูต่อบุพการีและผู้มีพระคุณ โดยกฎหมายตราสามดวง พระไอยการลักษณะรับฟ้อง มาตรา 25 บัญญัติว่า[32]",
"title": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์"
},
{
"docid": "264109#4",
"text": "จากหนังสือกฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นหนังสือกฎหมายที่รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้รวบรวมกฎหมายโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีมาประมวลไว้ด้วยกัน ได้กล่าวถึงการประหารชีวิต และเครื่องมือต่าง ๆ เช่น",
"title": "โทษประหารชีวิตในประเทศไทย"
},
{
"docid": "286257#1",
"text": "คำ \"อุทลุม\" นี้ใช้เรียกบุคคลและสิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่กระทำผิดธรรมะบังอาจฟ้องร้องบุพการีผู้มีพระคุณ เรียกว่า \"คนอุทลุม\" และเรียกคดีในกรณีนี้ว่า \"คดีอุทลุม\" ดังที่ปรากฏในประชุมกฎหมายรัชกาลที่ 1 (กฎหมายตราสามดวง) พระไอยการลักษณะรับฟ้อง",
"title": "อุทลุม"
},
{
"docid": "820662#6",
"text": "ตราแผ่นดินได้ผ่านมือกษัตริย์ยุคเว่ย์ (魏), จิ้น (晉), สิบหกแคว้น (十六國), สุย (隋), และถัง (唐) แต่สูญหายไปในสมัยต่อมา คือ ยุคห้าวงศ์สิบแคว้น (五代十國) ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 907–960 เชื่อกันว่า ราชวงศ์ยฺเหวียน (元) ของมองโกลได้ไป ฉะนั้น ใน ค.ศ. 1370 กองทัพราชวงศ์หมิง (明) บุกมองโกลไปกู้พระราชสมบัติที่ถูกขนถ่ายไป แต่ก็ไม่พบดวงตรา ด้วยเหตุนี้ กษัตริย์ราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ต่อมา คือ ชิง (清) จึงไม่เคยมีตราโบราณนี้อยู่ในครอบครอง แต่ได้สร้างตราดวงอื่นขึ้นใช้ถึงยี่สิบห้าดวง เพื่อลดทอนความสำคัญของตราแผ่นดินตกทอดนี้ลง",
"title": "ราชลัญจกรจีน"
},
{
"docid": "8013#4",
"text": "ในสมัยพระเจ้าทรงธรรมได้มีการตรากฎหมายวิธีสบัญญัติเกี่ยวกับพระธรรมนูญศาลยุติธรรมขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2165 ซึ่งในกฎหมายตราสามดวงเรียกกฎหมายดังกล่าวว่า “พระธรรมนูญ” จากกฎหมายฉบับนี้ทำให้ทราบได้ว่า สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งนับแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรมเป็นต้นมา มีศาลที่พิจารณาอรรถคดีต่าง ๆ กัน 14 ประเภท ดังนี้ตามระบบการศาลสมัยกรุงศรีอยุธยาถือว่าเมื่อมีคำพิพากษาของศาลแล้ว คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดเลย ไม่มีการฟ้องร้องระหว่างคู่ความเดิมในศาลชั้นสูงอีก ยกเว้นกรณีคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่าตระลาการ ผู้ถามความ ผู้ถือสำนวน พยานซึ่งเกี่ยวข้องกับคดีของตนกระทำมิชอบหรือไม่ให้ความยุติธรรมแก่ตนก็อาจฟ้องร้องกล่าวหาตระลาการ ผู้ถามความ ผู้ถือสำนวน พยานนั้น ๆ ต่อศาลหลวง คดีในลักษณะเช่นนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยานับว่าเป็นความอุทธรณ์ และศาลหลวงก็คือศาลอุทธรณ์ในสมัยนั้น ส่วนศาลฎีกานั้นยังไม่มี แต่อาจมีราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์บ้าง\nเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีนั้น แม้จะมีการชำระกฎหมายตราสามดวง แต่ระบบการศาลก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ",
"title": "ศาลชั้นต้น (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "103362#9",
"text": "โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์ กำธร เลี้ยงสัจธรรม (บรรณาธิการ), กฎหมายตรา 3 ดวง: ฉบับพิมพ์มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง แก้ไขปรับปรุงใหม่, สถาบันปรีดี พนมยงค์, 2548 เล่ม1 - ISBN 9744096527 เล่ม2 - ISBN 9744096535 เล่ม3 - ISBN 9744096543",
"title": "กฎหมายตราสามดวง"
},
{
"docid": "286257#4",
"text": "ในการร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้น คณะกรรมการร่างได้รับเอาหลักการว่าด้วยคุณธรรมของมนุษย์หลายเรื่องจากกฎหมายตราสามดวงมาโดยตรงทีเดียว ซึ่งไม่ปรากฏในกฎหมายของชาติใดอีกแล้ว อันรวมถึงเรื่องคดีอุทลุมด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว, ลักษณะ 2 บิดามารดากับบุตร, หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร ที่ยังใช้บังคับอยู่จนปัจจุบัน ห้ามผู้สืบสันดาน () ฟ้องบุพการี () ของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา โดยบัญญัติว่า",
"title": "อุทลุม"
},
{
"docid": "103362#7",
"text": "พิมพ์ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 ปีระกา จุลศักราช 1211 พ.ศ. 2392 พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) ได้นำตีพิมพ์ไว้เพียงเล่ม 1 ยังไม่จบ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรด กริ้วว่า นำกฎหมายหลวงมาพิมพ์เผยแพร่ จึงยึดไปเผาทำลายเกือบทั้งหมด (อาจมีเหตุผลว่าในสมัยโบราณถือว่าบรรดาความรู้คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นของหลวงหวงห้าม จะรู้ได้เฉพาะชนชั้นปกครองเท่านั้น) พิมพ์ครั้งที่สอง ในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2406 หมอบรัดเลย์ได้ตีพิมพ์จำหน่ายรวม 2 เล่ม เรียกชื่อว่า กฎหมายเมืองไทย 2 เล่ม หรือ กฎหมายหมอบรัดเลย์ พิมพ์ครั้งที่สาม พิมพ์ก่อนปี พ.ศ. 2444 แต่ไม่ระบุว่าเป็นปี พ.ศ.ใด หลวงดำรงธรรมสาร ผู้พิพากษาศาลอาญาจัดพิมพ์ขึ้น เรียกชื่อว่า กฎหมายเก่าใหม่ พิมพ์ครั้งที่สี่ ใน ร.ศ. 120 พ.ศ. 2444 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงจัดบทใหม่ อธิบายเหตุผลในหัวข้อกฎหมายให้เข้าใจง่ายขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับผู้พิพากษา และเป็นคู่มือทนายว่าความเรียกว่ากฎหมายราชบุรี มี 2 เล่ม พิมพ์ครั้งที่ห้า พ.ศ. 2473 โรงพิมพ์นิติสาสน์ ได้ถ่ายทำแม่พิมพ์จากสมุดไทย พิมพ์เผยแพร่ไว้ในชุด \"ประชุมกฎหมายไทย\" พิมพ์ครั้งที่หก พ.ศ. 2474 ราชบัณฑิตยสภาจัดพิมพ์ เฉพาะลักษณ์อาชญาหลวงและลักษณะอาชญาราษฎร์ ในงานพระราชทานเพลิงศพมหาอำมาตย์ตรี พระยาลพะนรินทร์ เรืองศักดิ์ พิมพ์ครั้งที่เจ็ด ระหว่าง พ.ศ. 2481–2482 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองได้ให้ ร.แลงกาต์ ดอกเตอร์กฎหมายฝรั่งเศสเป็นผู้ชำระใหม่และจัดพิมพ์เป็นหนังสือ 3 เล่ม เรียกว่า ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166 พิมพ์ตามฉบับหลวงตรา 3 ดวง พิมพ์ครั้งที่แปด หลังจากการพิมพ์ครั้งที่เจ็ดเล็กน้อย นายร้อยตำรวจโทเสถียร ลายลักษณ์ ได้พิมพ์บทกฎหมายตราสามดวงในหนังสือ ประชุมกฎหมายประจำศก ซึ่งมีจำนวน 69 เล่ม โดยกฎหมายตราสามดวงอยู่ในเล่มที่ 3 และ 4 ในยุคปัจจุบันนี้ มีการจัดพิมพ์กฎหมายตราสามดวงอีกสามครั้ง คือ องค์การค้าของคุรุสภา 2 ครั้ง ใน พ.ศ. 2505 และ พ.ศ. 2515 และของกรมศิลปากร 1 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2521 โดยในการพิมพ์ยุคปัจจุบันได้ยึดต้นฉบับของ ร.แลงกาต์ ซึ่งถือว่าสมบูรณ์ที่สุดเป็นบรรทัดฐาน ล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2548 สถาบันปรีดี พนมยงค์ ได้ จัดพิมพ์ กฎหมายตราสามดวง โดยใช้ชื่อหนังสือชุดนี้ว่า \"กฎหมายตรา 3 ดวง: ฉบับพิมพ์มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง แก้ไขปรับปรุงใหม่\" ซึ่งมี 3 เล่ม ใน 1 ชุด โดยยึดเอา \"ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166\" ฉบับปี พ.ศ. 2481 เป็นหลัก เพราะ ถือว่าเป็นกฎหมายตราสามดวงฉบับพิมพ์ที่ดีที่สุดแล้ว",
"title": "กฎหมายตราสามดวง"
},
{
"docid": "103362#5",
"text": "กฎหมายตราสามดวงมีลักษณะเป็นกฎหมายของนักกฎหมาย (Juristenrecht) กล่าวคือ กฎเกณฑ์ส่วนใหญ่ของกฎหมายตราสามดวงโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นพระธรรมศาสตร์ ที่มีลักษณะทั่วไปและมีฐานะสูงกว่าจารีตประเพณี มีการจัดระบบกฎหมายที่เป็นระบบและมีการใช้เหตุผลของนักกฎหมายปรุงแต่ง กฎหมายตราสามดวงมีลักษณะที่เป็นกฎหมายธรรมชาติ ทุกคนแม้แต่พระมหากษัตริย์ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ไม่มีการบัญญัติโดยแท้ บทกฎหมายใหม่นี้จึงเป็นผลงานของ นักกฎหมาย อันได้แก่ ศาลและพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงเป็นนักกฎหมายด้วย ไม่ใช่กฎหมาย ที่บัญญัติขึ้นด้วยเหตุผลทางเทคนิค โดยกระบวนการนิติบัญญัติอย่างปัจจุบัน มีความนับถือตัวบทกฎหมาย เชื่อว่าไม่มีใครสามารถแก้กฎหมายได้เพราะกฎหมายไม่ใช่สิ่งที่คนสร้างขึ้น แม้แต่กษัตริย์ก็แก้ไม่ได้ หากเห็นว่ากฎหมายนั้นไม่เหมาะสมจะใช้การชำระสะสางไม่ใช่ยกร่างขึ้นใหม่หรือแก้ไขกฎหมายเดิม ไม่ใช่ประมวลกฎหมายที่มีเนื้อหาครอบคลุมทุกด้านเพราะเป็นที่รวมของบทกฎหมายที่ปรุงแต่งโดยนักกฎหมายและจารีตประเพณีที่สำคัญเท่านั้น การเรียกว่าประมวลกฎหมายตราสามดวงนั้นเป็นเพียงการใช้คำว่าประมวลเพื่อยกย่องเท่านั้น เป็นกฎหมายที่ใช้เป็นคู่มือในการชี้ขาดตัดสินคดีเพราะเป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาพิพากษาคดี และใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีเป็นหลัก ไม่ใช่กฎหมายที่เขียนขึ้นในลักษณะตำรากฎหมาย",
"title": "กฎหมายตราสามดวง"
},
{
"docid": "283925#4",
"text": "ประเทศสยามจึงเริ่มรับหลักกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์ของประเทศอังกฤษเข้ามาใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดอรรถคดีในกรณีที่กฎหมายตราสามดวงไม่ครอบคลุมหรือไม่เหมาะสม กับทั้งมีการจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายที่สอนกฎหมายระบบคอมมอนลอว์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งวิวัฒนามาเป็นคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ครั้งนั้นกฎหมายตรามสามดวงก็ยังคงเป็นระบิลเมืองอยู่[3]",
"title": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์"
},
{
"docid": "283925#56",
"text": "กฎหมายไทยแต่โบร่ำโบราณ โดยเฉพาะกฎหมายตราสามดวงนั้น มักระบุเหตุผลที่ตราบทบัญญัตินั้น ๆ ไว้ในบทบัญญัติด้วย เช่น กฎหมายตราสามดวง กฎหมายลักษณะผัวเมีย มาตรา 67 ว่า \"ภรรยาสามีมิชอบเนื้อพึงใจกัน จะหย่ากันไซร้ ตามน้ำใจเขา เหตุว่าเขาทั้งสองสิ้นบุญกันแล้ว จะจำใจให้อยู่ด้วยกันนั้นมิได้\"[40] ซึ่งการให้เหตุผลในตัวบทกฎหมายด้วยเช่นนี้ยังเป็นที่นิยมมาถึงในสมัยร่างกฎหมายลักษณะอาญาและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย ขณะที่การบัญญัติกฎหมายในปัจจุบันจะไม่พึงกระทำเช่นนั้นเด็ดขาด ดังที่ ชาร์ล-ลูอี เดอ เซอกงดา ผู้เป็นบารงแห่งแบรดและมงแตสกีเยอ (Charles-Louis de Secondat, baron de La Brède et de Montesquieu) หรือที่รู้จักกันในชื่อ \"มงแตสกีเยอ\" (Montesquieu) นักคิดนักเขียนทางการเมืองชาวฝรั่งเศส ว่า[41] [42]",
"title": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์"
},
{
"docid": "287080#0",
"text": "ลูกครึ่ง หมายถึงลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นคนต่างชาติกัน คำว่าลูกครึ่งในประเทศไทย ไม่แน่ชัดว่าใช้ครั้งแรกเมื่อไหร่ ไม่พบในกฎหมายตราสามดวง และคาดว่าคงเริ่มใช้หลังรัชกาลที่ 4 ในสมัยอยุธยา ลูกครึ่งเกิดจากพ่อค้าฝรั่งในเมืองไทย และที่อพยพมาจากต่างประเทศ มีลูกหลานที่เป็นไพร่ในกรม เช่น กรมฝรั่งแม่นปืน เป็นต้น คนไทยสมัยนั้นไม่รู้สึกว่าลูกครึ่งแตกต่างจากไพร่ฟ้าทั่วไป จึงยังไม่เรียกคนเหล่านั้นว่าลูกครึ่ง จนเมื่อลูกครึ่งฝรั่งมีความแตกต่างขึ้นมา คือไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน หรือไม่ใช่ไพร่เพราะมีกฎหมายฝรั่งคุ้มครองตามสิทธิสภาพนอกอาณาเขต อีกทั้งยังแต่งกายและมีวิถีชีวิตแบบฝรั่ง แต่จำนวนลูกครึ่งก็ยังมีไม่มากนัก มีลูกครึ่งฝรั่งที่มีบันทึกในอัตชีวประวัติที่ชื่อ เออิจิอะไร ตีพิมพ์เป็นหนังสือ",
"title": "ลูกครึ่ง"
},
{
"docid": "938#4",
"text": "ปรีดี พนมยงค์ เคยเขียนไว้ว่า มีการใช้ชื่อสยามมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงนำกฎหมายเก่ามาชำระและรวบรวมเป็นกฎหมายตราสามดวง ชื่อประเทศได้รับการบันทึกเป็นภาษาบาลีว่า \"สามปเทส\" สาม หรือ สามะ แปลว่าความเสมอภาค ส่วน ปเทส แปลว่า ประเทศ แต่ฝรั่งออกเสียงเพี้ยน เป็นเซียมหรือไซแอม[5]",
"title": "สยาม"
},
{
"docid": "103362#1",
"text": "กฎหมายตราสามดวงนี้ ได้ใช้อาลักษณ์หลายท่านเขียนขึ้น โดยแยกเป็น “ฉบับหลวง” และ “ฉบับรองทรง” โดยสันนิษฐานว่า สำหรับฉบับหลวง ชุดหนึ่งเป็นสมุดไทย 41 เล่ม เมื่อรวม 3 ชุด จึงมีทั้งสิ้น 123 เล่ม แต่เท่าที่พบ ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 79 เล่ม โดยเก็บไว้ที่กระทรวงยุติธรรม 37 เล่ม และที่หอสมุดแห่งชาติ 41 เล่ม ส่วนอีก 44 เล่ม ไม่ทราบว่าขาดหายไปด้วยประการใด ส่วน ฉบับรองทรง นั้น ก็คือ กฎหมายตราสามดวงที่อาลักษณ์ชุดเดียวกับที่เขียนฉบับหลวง ได้เขียนขึ้น โดยเขียนในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยฉบับหลวง เขียนในปีฉลู จ.ศ.1167 (พ.ศ. 2348) ส่วนฉบับรองทรงเขียนขึ้นในปีเถาะ จ.ศ. 1169 (พ.ศ. 2350) ข้อแตกต่างระหว่าง ฉบับหลวง และฉบับรองทรง ก็คือ ฉบับรองทรงจะไม่มีตราสามดวงประทับไว้ และฉบับหลวงจะมีอาลักษณ์สอบทาน 3 คนส่วนฉบับรองทรงมีอาลักษณ์สอบทานเพียง 2 คน สำหรับกฎหมายตราสามดวง ฉบับรองทรงนี้ ปัจจุบันนี้พบเพียง 18 เล่ม โดยเก็บรักษาไว้ที่ หอสมุดแห่งชาติ 17 เล่มและที่พิพิธภัณฑ์อัยการไทย สำนักงานอัยการสูงสุด 1 เล่ม",
"title": "กฎหมายตราสามดวง"
},
{
"docid": "103362#6",
"text": "จากอดีตจนถึงปัจจุบัน กฎหมายตราสามดวงได้เคยถูกพิมพ์เผยแพร่มาแล้วอย่างน้อย 10 ครั้งดังนี้",
"title": "กฎหมายตราสามดวง"
},
{
"docid": "190503#9",
"text": "บรรดากฎหมายเก่าที่มีคำว่า \"ตระลาการ\" นี้ แม้เมื่อสิ้นกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีแล้วก็ยังมีผลใช้บังคับต่อมา จนกระทั่งในสมัยรัตนโกสินทร์ ในจุลศักราช 1166 (พ.ศ. 2347-2348) ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการที่มีสติปัญญาจำนวนสิบเอ็ดนายเป็นคณะกรรมการชำระกฎหมายทั้งปวงที่มีอยู่ในหอหลวง แล้วให้อาลักษณ์จัดทำไว้เป็นสามฉบับประทำตราสามตรา ดังที่เรียกติดปากกันจนทุกวันนี้ว่า \"กฎหมายตราสามดวง\" กระนั้น คำว่า \"ตระลาการ\" ก็ยังปรากฏอยู่",
"title": "ข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ประเทศไทย)"
}
] |
706 | ฆาตกรรม คืออะไร ? | [
{
"docid": "106652#2",
"text": "ส่วน \"ฆาตกรรม\" มีความหมายตามพจนานุกรมมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ว่า \"การฆ่าคน\" แต่มิใช่ศัพท์บัญญัติที่ทางราชการมุ่งหมายให้ใช้อย่างเป็นทางการ[2] ทั้งนี้ \"ฆาตกรรม\" เป็นคำสมาสระหว่างคำ \"ฆาต\" (บาลี. ตี, ฟาด, ฟัน, ฆ่า, ทำลาย) + \"กรรม\" มีความหมายตามอักษรว่า การตี, การฟาด, การฟัน, การฆ่า, การทำลาย ผู้กระทำฆาตกรรมเรียกว่า \"ฆาตกร\"",
"title": "การฆ่าคน"
}
] | [
{
"docid": "52784#26",
"text": "คดีฆาตกรรมโรงพยาบาลมัจจุราช",
"title": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา"
},
{
"docid": "52784#28",
"text": "ฟุมิยะ ซาโต้ ผู้วาดภาพนั้นเป็นผู้หญิง เรื่องชุด \"คินดะอิจิกับคดีฆาตกรรมปริศนา\" เคยได้รับรางวัลการ์ตูนเด็กผู้ชายยอดเยี่ยม แรกเริ่มเดิมที เซย์มารุ อามางิ นั้น ทำหน้าที่อยู่เบื้องหลัง คิดทริกและพล็อตให้ โดย โยซาบุโร่ คานาริ จะนำพล็อตที่อามางิคิดได้มาขยายเป็นโครงเรื่อง จึงไม่มีชื่อของอามางิในเครดิต แต่ภายหลังชื่ออามางิเริ่มโผล่มาให้เห็นมาถึงปัจจุบัน อามางิรับหน้าที่ของโครงเรื่องทั้งหมดไปโดยปริยาย ปู่ของคินดะอิจิเป็นนักสืบดังชื่อ คินดะอิจิ โคสุเกะ จากนิยายชุด คินดะอิจิยอดนักสืบ ของ โยโคมิโซะ เซชิ ผู้เขียนการ์ตูนคินดะอิจิ ขอยืมตัวละครหลานชายโคสุเกะมาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทายาทของผู้เขียนแต่ก็ไม่มีการฟ้องร้อง เพราะเรื่องของรุ่นปู่เขียนมาเกิน 60 ปีแล้ว ถ้าไม่มีการเขียนการ์ตูนรุ่นหลานก็อาจจะไม่มีใครจดจำคินดะอิจิ โคสุเกะได้อีกเลย ในชุดไฟล์ (File) เล่ม2-3 ตอน \"คดีฆาตกรรมหมู่บ้านอาถรรพณ์\" นั้นได้รับอิทธิพลจากนิยายสืบสวนเรื่อง \"จักรราศีฆาตกรรม\" (สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์) ของ โซจิ ชิมาดะ (ฉบับแปลภาษาอังกฤษชื่อ The Tokyo zodiac murders)",
"title": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา"
},
{
"docid": "246317#26",
"text": "ฉากสุดท้ายของ คดีฆาตกรรมหมู่บ้านอาถรรพ์",
"title": "คดีฆาตกรรมหมู่บ้านอาถรรพ์"
},
{
"docid": "779666#57",
"text": "เดวิด มิลเลอร์ และ ฮานนาห์ วิทเธอร์ริดจ์ นักท่องเที่ยวคู่รักชาวอังกฤษถูกฆาตกรรมบนเกาะเต่าใน พ.ศ. 2557 ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 ผู้ต้องสงสัยถูกตัดสินว่าผิดจริง และถูกประหารชีวิตโดยการฉีดยา นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่เคยถูกฆาตกรรมได้แก่ (ถูกพบว่าเสียชีวิตในโรงแรมที่กรุงเทพมหานคร) และอีกคดีหนึ่งที่นักท่องเที่ยว คริสตี้ โจนส์ ถูกข่มขืนและฆาตกรรมในจังหวัดเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2556 ผู้อยู่อาศัยชาวอเมริกันถูกฟันจนเสียชีวิตด้วยดาบโดยคนขับแท็กซี่ การฆาตกรรมเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนมีนักเขียนคนหนึ่งเขียนหนังสือที่ชื่อว่า \"ทำอย่างไรจึงจะไม่ถูกฆาตกรรมในประเทศไทย\" ผู้เขียนกล่าวถึงคดีการฆาตกรรมชาวอเมริกันที่ชื่อว่า ทรอย พิลคิงตัน รวมถึงบันทึกเกี่ยวกับอันตรายของคนขับแท็กซี่และรถสาธารณะ หลายครั้งที่การตายมีสาเหตุที่ไม่ชัดเจน ทว่าประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่ได้รับความนิยมในการท่องเที่ยว ศพของสาวชาวอังกฤษ คริสติน่า แอนเนสลีถูกพบบนเกาะเต่า นักดนตรีในร้านอาหารที่ประเทศไทยแทงนักธุรกิจชาวอเมริกันจนเสียชีวิตต่อหน้าลูกชาย ขณะกำลังฉลองวันเกิดกับครอบครัว ตำรวจไทยจับตัวนักดนตรี 3 คนที่ก่ออาชญากรรมนี้",
"title": "อาชญากรรมในประเทศไทย"
},
{
"docid": "724501#5",
"text": "ต่ำกี่กลับมา 7 พฤษภาคม 2005 และทันทีที่โจมตีเจตายและโจซามัวที่แมนฮัตตันประทุษร้ายกับเพื่อนของเขา Rottweilers ฆาตกรรมจูเลียสสูบบุหรี่, Monsta แม็คและร็อคกี้โรเมโร แท็กทีมแข่งขันอย่างกะทันหันถูกสร้างขึ้นมา:. โดยเทียบกับ Rottweilers ซามัวโจและเจตาย Ki ต่ำและฆาตกรรมชนะการแข่งขันได้รับบาดเจ็บและตายด้วยสลัมเหยียบ / ตำรวจคิลลารวมกัน ความบาดหมางอย่างต่อเนื่องเมื่อวันที่ 18 มิถุนายนที่ตายก่อนที่ความอัปยศที่สามที่เขาและตายเผชิญหน้ากันในซิงเกิ้ลตรง แต่มันจบลง ไม่มีการแข่งขัน พวกเขามีการแข่งขันในวันที่ 12 สิงหาคมที่รับซื้อคืน แต่ตอนจบได้เหมือนกันและ Rottweilers ชนะตายลงหลังจากที่การแข่งขัน ในที่สุดวันที่ 17 กันยายนที่รุ่งโรจน์โดยเกียรติยศ IV เป็น \"การต่อสู้โดยไม่ต้อง เกียรติยศ \"ระหว่างสองจบลงด้วยการต่ำกี่ได้รับชัยชนะฟอลล์มากกว่าตาย หลังจากที่ซามัวโจไปในการบันทึกคาบาน่าหนุ่มจาก Beatdown โดย Rottweilers ที่ตายออกมาจะได้ราคาและบอกว่าเขาต้องการที่ยังแข่งขันอีก กับต่ำกี่ซึ่งตายได้รับรางวัลในครั้งนี้สิ้นสุดอาฆาต ต่อมาในปีที่ต่ำกี่ช่วยฆาตกรรมในความบาดหมางกับหนุ่มบา ที่ 17 ธันวาคม 2005 ในการรบครั้งสุดท้ายปี 2005 เขาท้าทายเคนตา สำหรับ GHC รุ่นจูเนียร์แชมเปี้ยนชิพของเขา แต่สั้นขึ้นมา ต่ำกี่ซ้ายต้าอีกครั้งในมกราคม 2006 เพราะ \"ความไม่เห็นด้วยในการจัดธุรกิจ\" เขาชนะการแข่งขันครั้งสุดท้ายของเขาในวันที่ 28 มกราคมกับแจ็คอีแวนส์ ต้าปกคลุมทิ้งของเขาโดยมีต้าข้าราชการจิม Cornette ห้ามกิต่ำจากแหวนแห่งเกียรติยศสำหรับชีวิตหลังจากที่มันถูกค้นพบว่าเขาเป็นหนึ่งในผู้ที่เคาะฟัน Cornette ออกที่แสดงว่า เขายังใช้เป็นความสำคัญ จุด (ในชื่อเท่านั้น) ใน Cornette / บาดหมางฆาตกรรมในช่วงฤดูร้อนของปี 2006 ที่มี Cornette ปฏิเสธที่จะกลับไป Ki ต่ำเป็นคดีฆาตกรรมของ \"ความปรารถนาที่สาม\"",
"title": "โลว์ กิ"
},
{
"docid": "160186#4",
"text": "ในวันที่ 5 ตุลาคมช่วงเช้า พายุไต้ฝุ่นยังคงเข้าถล่มเกาะรคเค็นจิมะ แต่แล้วบรรดาคนบนเกาะต่างก็ต้องช็อคกับการฆาตกรรมอันน่าขนลุกขนพอง เมื่อมีเหยื่อเสียชีวิตถึง 6 ศพภายในคืนเดียว การฆาตกรรมที่แสดงถึงความโหดร้ายทารุณ เรือ , โทรศัพท์ หรือแม้กระทั่งสัญญาณวิทยุถูกตัดขาดจากโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง คนบนเกาะไม่สามารถออกจากเกาะรคเค็นจิมะได้ และในขณะเดียวกันฆาตกรที่อ้างว่าเป็นแม่มดก็ไม่สามารถหนีจากเกาะได้เช่นกัน พูดง่ายๆก็คือ มันเป็นการฆาตกรรมต่อเนื่องระทึกขวัญบนเกาะปิดตายนั่นเอง ",
"title": "อุมิเนะโกะโนะนะกุโคะโระนิ"
},
{
"docid": "52784#22",
"text": "ทาคาโต้กับคดีฆาตกรรมปริศนา (1 เล่ม) คินดะอิจิกับทริปปั่นป่วน (3 เล่ม) คินดะอิจิ 37 กับคดีฆาตกรรมปริศนา (ยังไม่รวมเล่ม)",
"title": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา"
},
{
"docid": "778504#0",
"text": "การเดินละเมอฆาตกรรม เรียกอีกอย่างว่า ฆาตกรรมเดินละเมอ คือ การฆ่าใครสักคนขณะกำลังเดินละเมอ ส่วนมากเหยื่อเป็นคนในครอบครัว และฆาตกรมักอ้างว่าทำการฆาตกรรมขณะอยู่ในสภาวะเดินละเมอ คดีเช่นนี้หายากและมีจำนวนไม่มาก ผู้กล่าวหาหลักถูกต้องสงสัยว่าอาจทำการฆาตกรรมในระหว่างเดินละเมอ ความน่าเชื่อถือของคดีที่ถูกบันทึกไว้ยังเป็นที่ถกเถียงกัน จนถึงพ.ศ. 2548 มีคดีที่ถูกบันทึกไว้ในวรรณกรรมประมาณ 68 คดี",
"title": "การเดินละเมอฆาตกรรม"
},
{
"docid": "686437#2",
"text": "เนื้อเรื่องกล่าวถึงความกดดันและสภาพที่ถูกบีบคั้นทางจิตใจของ\"โรดิโอน โรมาโนวิช ราสโคลนิคอฟ\" นักศึกษาหนุ่มผู้ยากจนที่เช่าห้องอยู่ในกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เขาก่อเหตุฆาตกรรมถึง 2 ศพ โดยฆาตกรรมครั้งแรกเป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองและวางแผนไว้ล่วงหน้า โดยเขาฆาตกรรมหญิงสูงวัยที่เป็นเจ้าของโรงรับจำนำที่เขานำทรัพย์สินไปจำนำไว้ ด้วยการใช้ขวานสับ ส่วนฆาตกรรมครั้งหลัง เป็นการฆ่าปิดปากผู้ที่ผ่านมาเห็นเหตุการณ์เข้าโดยบังเอิญโดยที่เขาไม่ได้คาดคิดมาก่อน",
"title": "อาชญากรรมกับการลงทัณฑ์"
},
{
"docid": "135360#5",
"text": "ซายาโกะ บุตรสาวของทาเคโกะ ช็อกกับการเสียชีวิตของสุเกะทาโมซึ่งเป็นคนรัก พร้อมกับเปิดเผยเรื่องการตั้งครรภ์ของซายาโกะ คินดะอิจิพบร่องรอยของเชือกที่ใช้มัดตามลำตัวของสุเกะทาโม และเริ่มมองเห็นการฆาตกรรมต่อเนื่อง สุเกะทาเค และ สุเกะทาโม ถูกฆ่าตายตามสิ่งประจำตระกูลอินุงามิ โดย คิขุ หรือดอกเบญจมาศถูกนำมาใช้กับสุเกะทาเค ส่วน โตโค ถูกนำมาใช้กับสุเกะทาโม และสิ่งที่เหลือคือ โยคิ และผู้ที่เป็นตัวเลือกคนสุดท้ายของทามาโยะ คือ สุเกะคิโย และสิ่งที่คินดะอิจิคาดการณ์ไว้ก็เกิดขึ้น เมื่อสุเกะคิโยถูกฆาตกรรมเป็นศพที่สาม โดยศีรษะปักทิ่มลงไปในผิวน้ำแข็ง ขาทั้งสองข้างกางเป็นรูปตัววี ทามาโยะร้องขอให้เจ้าหน้าที่ชันสูตรศพ พิมพ์ลายนิ้วมือของสุเกะคิโยที่เสียชีวิต เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับลายพิมพ์นิ้วมือที่เก็บรักษาไว้ที่วัดนาสุ แต่เหตุการณ์กลับกลายเป็นลายนิ้วมือของสุเกะคิโยไม่ตรงกับลายพิมพ์นิ้วมือในม้วนกระดาษ คินดะอิจิมองเห็นตัวตนที่แท้จริงของฆาตกรที่ก่อคดีฆาตกรรมในตระกูลอินุงามิทั้งสามศพ รวมทั้งแรงจูงใจของฆาตกรที่ทำให้ก่อเหตุลงมือฆาตกรรม พร้อมกับรับรู้เรื่องราวเหนือความคาดหมายของซาเฮจากเจ้าอาวาสวัดนาสุ ที่เปิดเผยชาติกำเนิดของทามาโยะ",
"title": "ฆาตกรรมในตระกูลอินุงามิ"
},
{
"docid": "248236#2",
"text": "Rex Fortescue เสียชีวิตขณะดื่มชาตอนเช้าที่สำนักงานของเขา เบาะแสเดียวที่มีคือข้าวไรย์ที่พบในกระเป๋ากางเกง ต่อมาเกิดฆาตกรรมขึ้นอีกสองราย มีเพียง Jane Marple ที่มองเห็นรูปแบบของฆาตกรรม ซึ่งเชื่อมโยงบทเพลงกล่อมเด็กกับเหยื่อฆาตกรรม",
"title": "ปริศนาข้าวไรย์"
},
{
"docid": "778504#12",
"text": "เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดข้อหาฆาตกรรม และถูกแขวนคอเมื่อวันที่ 27 มกราคม ปีพ.ศ. 2504",
"title": "การเดินละเมอฆาตกรรม"
},
{
"docid": "246317#28",
"text": "- คินดะอิจิ กับ คดีฆาตกรรมปริศนา คดีฆาตกรรมหมู่บ้านอาถรรพ์ได้รับอิทธิพลจากนวนิยาย ไสย์ศาสตร์ฆาตกรรม ( ยังไม่แปลไทย )",
"title": "คดีฆาตกรรมหมู่บ้านอาถรรพ์"
},
{
"docid": "52784#10",
"text": "ต่อมาภายหลังเกิดคดีฆาตกรรมขึ้น ณ สถานที่แห่งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นนักสืบของคินดะอิจิและได้พบกับสารวัติอาเคจิและผู้หมวดเคนโมจิครั้งแรก หลายต่อหลายครั้งที่เกิดคดีฆาตกรรม คินดะอิจิและมิยูกิจะร่วมอยู่ในเหตุการณ์ด้วยเสมอ ทั้งสารวัตรอาเคจิและหมวดเคนโมจิ ต่างยอมรับในฝีมือด้านการสืบสวนของคินดะอิจิที่ไม่ทิ้งเชื้อสายจากคินดะอิจิ โคสุเกะ ที่ช่วยสามารถคลี่คลายคดีที่เกิดขึ้นได้สำเร็จ",
"title": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา"
},
{
"docid": "442667#53",
"text": "ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2539 การไต่สวนต่อสาธารณชนก็เริ่มต้นขึ้น วันที่ 26 สิงหาคม ศาลเขตกรุงโซลก็มีคำพิพากษาประหารชีวิต ต่อมาในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ศาลสูงเขตกรุงโซลได้ออกคำพิพากษาให้จำคุกและจ่ายค่าปรับคำนวณ 220,500,000,000 วอน ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2540 การตัดสินคดีได้มาถึงที่ศาลสูง ชอนได้ถูกพิพากษาว่ามีความผิด เป็นผู้นำในการก่อการจลาจล,สมคบคิดในการก่อจลาจล,เข้าไปมีส่วนร่วมในการจลาจล,ออกคำสั่งเคลื่อนย้ายกำลังพลโดยมิชอบ,ละทิ้งหน้าที่ระหว่างกฎอัยการศึก,ฆาตกรรมข้าราชการระดับสูง,พยายามฆาตกรรมข้าราชการระดับสูง,ฆาตกรรมนายทหารผู้ใต้บังคับบัญชา,เป็นผู้นำในการก่อการกบฏ,สมคบคิดในการก่อกบฏ,เข้าไปมีส่วนร่วมในการกบฏ,ฆาตกรรมโดยมีเหตุจูงใจเพื่อก่อกบฏและอาชญากรรมอย่างหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการรับสินบน",
"title": "ช็อน ดู-ฮวัน"
},
{
"docid": "52784#6",
"text": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนาถูกดัดแปลงเป็นการ์ตูนโทรทัศน์ภาคแรก 148 ตอน ในปี พ.ศ. 2540-พ.ศ. 2543 และกลับมาออกอากาศอีกครั้งในปี พ.ศ. 2557 หลังผ่านไป 14 ปี ในชื่อภาครีเทิร์น ซึ่งปัจจุบันออกอากาศไปแล้ว 47 ตอน นอกจากนี้ยังถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนในปี พ.ศ. 2539 คดีพิศวง Phantom of The Opera และพ.ศ. 2542 ฆาตกรรมหมู่ในมหาสมุทร",
"title": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา"
},
{
"docid": "204595#0",
"text": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมผีดูดเลือด เป็นละครพิเศษ 1 ตอนจบ ออกฉายทางสถานี Nippon Television Network เป็นละครแนวสืบสวนที่ดัดแปลงมาจากต้นฉบับซึ่งเป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยมสูงทั้งในประเทศญี่ปุ่น และต่างประเทศ",
"title": "คินดะอิจิกับคดีฆาตกรรมปริศนา ตอน คดีฆาตกรรมผีดูดเลือด"
},
{
"docid": "52784#17",
"text": "ซากิ ริวตะ (佐木 竜太)หรือซากิเบอร์1 ตามที่คินดะอิจิเรียก ทึ่งในความเก่งของคินดะอิจิจากคดีฆาตกรรมโรงเรียนสยองขวัญ จึงต้องการติดตามคินดะอิจิในฐานะผู้ช่วย เขาจับพิรุธฆาตกรคนหนึ่งได้และถูกฆ่าตายในตอนคดีฆาตกรรมโรงแรมต่างชาติ ภายหลังเป็นวิญญาณตามตัวคินดะอิจิ คอยมาเตือนเรื่องร้ายให้",
"title": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา"
},
{
"docid": "52784#25",
"text": "คดีฆาตกรรมรำลึก โรงละครโอเปร่า คดีฆาตกรรมเรือสำราญผีสิง คดีฆาตกรรมบ้านพักภูเขาคอมพิวเตอร์ คดีฆาตกรรมเกาะลูกไฟวิญญาณ คดีฆาตกรรมตำนานเงือกเซี่ยงไฮ้ คดีฆาตกรรมเทศกาลสายฟ้า คดีสังหารหมู่ Deep Blue (ภาคต้น/ภาคจบ) คดีฆาตกรรมคฤหาสน์นอกรีต",
"title": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา"
},
{
"docid": "52784#8",
"text": "คดีในคินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา ส่วนใหญ่ดำเนินเรื่องตามรอยวรรณกรรมตระกูลรหัสคดีประเภท whodunnit (ใครเป็นคนทำ), puzzle (ปริศนา) และ cozy (รหัสคดีบุ๋น) กล่าวคือ มีการฆาตกรรม มีปริศนาระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน และมักเกี่ยวพันกับเรื่องราวเหนือธรรมชาติ ส่วนมาเดินตามขนบนิยายของ อกาธา คริสตี้, กัสตง เลอรู, เอส. เอส. แวนไดน์ และจอห์น ดิกสัน คารร์ มีการใช้อุบายแบบ locked room murder (ฆาตกรรมในห้องปิดตาย) อยู่บ่อยครั้ง ในขณะที่ฆาตกรในเรื่องก่อการฆาตกรรมอย่างเลือดเย็นและเหี้ยมโหด มักพบว่าสาเหตุเบื้องหลังการฆาตกรรมบ่อยครั้งเกิดจากการสูญเสียอย่างร้ายกาจที่เกิดกับฆาตกร ที่หลายครั้งทำให้ผู้อ่านสะเทือนใจไปกับฆาตกรมากกว่าผู้ถูกฆาตกรรมเสียอีก ด้วยความยอดเยี่ยมของโครงเรื่อง ทำให้นักวิจารณ์ส่วนใหญ่ ถือว่า คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา เป็นการ์ตูนแนวสืบสวนที่ดีที่สุดในญี่ปุ่น และ ในโลกปัจจุบัน",
"title": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา"
},
{
"docid": "71477#0",
"text": "คดีฆาตกรรมครั้งที่ 3 แห่งโรงละครโอเปร่า เป็นชื่อตอนของการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องคินดะอิจิกับคดีฆาตกรรมปริศนา คดีนี้เป็นคดีฆาตกรรมตอนยาวลำดับที่ 28 ของการ์ตูนชุดนี้",
"title": "คดีฆาตกรรมครั้งที่ 3 แห่งโรงละครโอเปร่า"
},
{
"docid": "52784#12",
"text": "คินดะอิจิ ฮาจิเมะ (金田一 一)เด็กนักเรียนชั้นมัธยมปลาย เรียนอยู่โรงเรียนฟุโด หลานชายของยอดนักสืบชื่อดัง คินดะอิจิ โคสุเกะ คินดะอิจิมีความสามารถในด้านการสืบสวนสอบสวน ไขปมปริศนา พิจารณาร่องรอยในสถานที่เกิดเหตุการฆาตกรรมได้อย่างดีเยี่ยม นิสัยซุ่มซ่าม เจ้าชู้และทะลึ่ง มีเพื่อนสนิทในวัยเด็กคือนานาเสะ มิยูกิ คิดะอิจิก็แอบชอบแต่ไม่เปิดเผย ที่คอยช่วยเหลือคินดะอิจิยามมีปัญหา และเป็นกำลังใจสำคัญแก่คินดะอิจิในการไขคดีฆาตกรรม ในภาคอนิเมะคินดะอิจิ ได้เปิดเผยว่าเขามีความสามารถในการเล่นกีฬาปิงปอง",
"title": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา"
},
{
"docid": "52784#13",
"text": "นานาเสะ มิยูกิ (七瀬 美雪)เกิดวันที่ 24 พฤศจิกายน (ภาคอนิเมะ คดีฆาตกรรมบนจอภาพสีเงิน)เพื่อนในวัยเด็กของคินดะอิจิ นิสัยร่าเริง แอบชอบคินดะอิจิแต่ไม่เปิดเผย เรียนเก่งและคอยดูแลช่วยเหลือคินดะอิจิในหลาย ๆ เรื่อง มิยูกิมักติดตามคินดะอิจิไปทุก ๆ ที่และมักพบเห็นเหตุการณ์ฆาตกรรมด้วยกันบ่อยครั้ง หลายครั้งฆาตกรจ้องจะเล่นงานมิยูกิเพราะเป็นจุดอ่อนที่สามารถเอาชนะคินดะอิจิได้ เพราะมิยูกิพูดบางสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคดี ซึ่งสามารถทำให้คินดะอิจิไขคดีได้ง่ายขึ้นหลายครั้ง",
"title": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา"
},
{
"docid": "778504#1",
"text": "จ่า วิลลิส โบเชียร์ส์ (Willis Boshears) เป็นเจ้าหน้าที่ชาวอเมริกันที่เคยทำงานอยูที่ฐานในสหราชอาณาจักร เขาสารภาพว่าได้บีบคอผู้หญิงพื้นเมืองที่ชื่อว่า Jean Constable ในเช้าของวันปีใหม่เมื่อพ.ศ. 2504 เขาอ้างว่า เขาแค่นอนหลับไป และตื่นขึ้นมาพบว่าเธอเสียชีวิตด้วยฝีมือของเขา วันต่อมาโบเชียร์ส์นำศพไปทิ้งในซอกเปลี่ยว จากนั้นไม่กี่วันเขาก็ถูกคุมตัวในข้อหาฆาตกรรม ในการตัดสินคดีของเขา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 ณ ศาลเอสเซกซ์ เขาพ้นข้อกล่าวหาและถูกตัดสินว่าเขากระทำการฆาตกรรมในขณะที่หลับอยู่ และถูกปล่อยตัว",
"title": "การเดินละเมอฆาตกรรม"
},
{
"docid": "52784#27",
"text": "คดีฆาตกรรมสวนสนุกโลกันตร์ คดีฆาตกรรมโรงแรมมังกรสีคราม",
"title": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา"
},
{
"docid": "52784#11",
"text": "ไหวพริบปฏิภาณ สติปัญญาอันเฉียบแหลมที่สามารถมองทะลุถึงแผนการฆาตกรรมของคนร้าย ทำให้คินดะอิจิมีชื่อเสียงในแวดวงตำรวจ และสะดุดตาของนักอาชญากรรมตัวร้ายอย่าง ทากาโต้ โยจิอิ หรือ \"นักมายากลจากนรก\" ผู้อยู่เบื้องหลังการก่อคดีอาชญากรรมที่เต็มไปด้วยความสวยงาม คินดะอิจิถูกทากาโต้ใช้แผนซ้อนแผนและมายากล หลอกจนหัวปั่นและก่อคดีฆาตกรรมได้สำเร็จ และกลายเป็นศัตรูคู่ปรับในการไขคดีปริศนาฆาตกรรมหลายต่อหลายครั้ง",
"title": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา"
},
{
"docid": "154560#12",
"text": "การสืบสวนคดีฆาตกรรมในช่วงแรกเริ่มของหน่วยงานใหม่นั้นรวมถึง คดีฆาตกรรมโอเซจอินเดียนด้วย (อังกฤษ: Osage Indian murders) ในช่วงสงครามอาชญากรรมตั้งแต่ปี 2473 เจ้าหน้าที่เอฟบีไอจับกุมและวิสามัญอาชญากรฉาวโฉ่ได้เป็นจำนวนมาก ทั้งจากการลักพาตัว โจรกรรม และฆาตกรรมจากทั่วทั้งประเทศ โดยรวมถึง จอห์น ดิลลิงเจอร์ ด้วย",
"title": "สำนักงานสอบสวนกลาง"
},
{
"docid": "135360#7",
"text": "ตระกูลอินุงามิ\nคดีฆาตกรรมในตระกูลอินุงามิ เป็นฆาตกรรมสยองขวัญแก่ผู้พบเห็นโดยเฉพาะศพของผู้ที่ถูกฆาตกรรม อินุงามิ สุเกะทาเค เป็นศพแรกที่ฆาตกรรม ถูกพบศพโดยเจ้าลิงภายในสวนดอกเบญจมาศ ที่ประดับด้วยตุ๊กตาดอกเบญจมาศซึ่งจัดเป็นฉากหนึ่งของละครบาบูกิ สุเกะทาเคถูกตัดศีรษะและนำมาประดับแทนศีรษะของตุ๊กตาดอกเบญจมาศ แต่ท่อนล่างของศพหายไปและถูกพบในแม่น้ำในวันต่อมา ศพที่สองเป็น อินุงามิ สุเกะโทโม ที่ถูกพบศพโดยเจ้าลิงเช่นเคย สุเกะโทโมถูกพบศพภายในบ้านร้างของหมู่บ้านโทโยฮาตะ ภายหลังจากลักพาตัว โนโนมิยา ทามาโยะ มายังบ้านร้างเพื่อหวังล่วงเกิน",
"title": "ฆาตกรรมในตระกูลอินุงามิ"
},
{
"docid": "368838#4",
"text": "\"\"การชันสูตรพลิกศพผู้ถูกฆาตกรรม กำหนดตามพระราชบัญญัตินี้เป็น 2 ชั้น คือ สามัญ ชั้น 1 วิสามัญ ชั้น 1 ผิดกันดังอธิบายต่อไปนี้ คือ\"\n\"\"ข้อ 1 ฆาตกรรมอันเป็นวิสามัญนั้น คือ ผู้ตายตายด้วยเจ้าพนักงานฆ่าตาย ในเวลากระทำการตามหน้าที่ ยกตัวอย่างดังเช่น เจ้าพนักงานไปจับผู้ต้องหาว่าเป็นโจรเป็นผู้ร้าย แลฆ่าผู้ต้องหาว่าเป็นโจรเป็นผู้ร้ายนั้นตายในเวลาจับ ดังนี้เป็นต้น เรียกว่าเป็นเหตุวิสามัญ\"\n\"\"ข้อ 2 ฆาตกรรมอันเป็นสามัญนี้ ผู้อื่นแม้เป็นข้าราชการหรือเป็นเจ้าพนักงานกระทำให้ตาย โดยมิได้เกี่ยวแก่กระทำการตามหน้าที่ ให้ถือว่า เป็นฆาตกรรมอย่างสามัญ\"\"",
"title": "วิสามัญฆาตกรรม"
}
] |
2253 | โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ ตอนสุดท้ายออกอากาศเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "122345#0",
"text": "โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ () เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น 1 ในซีรีส์ กันดั้ม เริ่มออกอากาศครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ถึง 29 มีนาคม พ.ศ. 2551 มีความยาวทั้งหมด 25 ตอน และมีกำหนดการที่จะออกอากาศซีซันที่ 2 ต่อ หลังจากเว้นระยะเวลาไปช่วงหนึ่ง[1] ส่วนในประเทศไทย โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ วางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี-ดีวีดีลิขสิทธิ์ โดย DEXโดยกันดั้มภาคนี้เป็นกันดั้มภาคสุดท้ายที่ทางDEXจัดจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี",
"title": "กันดั้มดับเบิลโอ"
}
] | [
{
"docid": "274633#7",
"text": "ในภาคภาพยนตร์ โมบิลสูทกันดั้มดับเบิ้ลโอ อเวคเคนนิงออฟเดอะเทรลเบลซเซอร์ ดับเบิลโอไรเซอร์ได้รับการปรับปรุงเป็น GN-0000RE+GNR-010 โดยใช้ถังประจุอนุภาคGNแทนGNไดรฟ์ทั้งสองเตา ซึ่งดับเบิลโอไรเซอร์ที่ใช้ถังประจุอนุภาคGNนี้จะใช้ระบบทรานแซมได้เป็นเวลาจำกัด ในที่สุดนั้น ดับเบิลโอไรเซอร์ก็ถูกกลุ่มสิ่งมีชีวิตโลหะเปลี่ยนรูปจากต่างดาวกลืนเข้าไป",
"title": "ดับเบิลโอกันดั้ม"
},
{
"docid": "325424#6",
"text": "GNMS-XCVII อัลวารอน (;) เป็นโมบิลสูทตัวร้ายใน \"โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ\" ฤดูกาลแรก",
"title": "รีบอนส์กันดั้ม"
},
{
"docid": "302886#0",
"text": "เที่ยเหรินหรืออ่านแบบญี่ปุ่นว่าเทียเรน( ;) เป็นกลุ่มของโมบิลสูทซึ่งมีบทบาทสำคัญในการ์ตูนญี่ปุ่น อะนิเมะ โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ เที่ยเหรินทั้งหมดได้รับการออกแบบโดยเคนจิ เทราโอกะและมีลักษณคล้ายกับซาคุทูว์ในโมบิลสูทกันดั้ม ชื่อเที่ยเหรินนั้นเป็นอักษรจีน 铁人 หมายถึง \"มนุษย์เหล็ก\"",
"title": "เที่ยเหริน"
},
{
"docid": "194208#41",
"text": "เขาเสียชีวิตจากการถูกอเลฮานโดรยิงใส่ร่างโคลด์สลีป ทำให้ระบบฉุกเฉินของเวด้าทำงาน จนบุคลิกภาพของเวด้าที่ได้จากอิโอเลียได้เริ่มแสดงออกมาและได้ปลดล็อกระบบการทำงาน Trans-Am ใน GN Drive ของเครื่องเอ็กเซียและ GN Drive โมบิลสูททุกเครื่องเพื่อการช่วยเหลือครั้งสุดท้าย",
"title": "รายชื่อตัวละครในกันดั้มดับเบิลโอ"
},
{
"docid": "480118#1",
"text": "ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายรอบปฐมทัศน์ที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศสิงคโปร์เมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 2010 ออกฉายในงาน New York Anime Festival เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม และในงาน Anime Festival Asia ในวันที่ 13 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ทั้งนี้ ซันไรส์ได้ตัดสินใจทำคำบรรยายบทภาพยนตร์เป็นภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการสำหรับอนิเมะชุดกันดั้ม โดยนำร่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้ในรอบการออกฉายที่ประเทศสิงคโปร์ หลังจากนั้นจึงได้มีการจัดจำหน่ายในรูปแบบ Blu-ray และ DVD ที่ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 2010",
"title": "โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ เดอะมูฟวี่: การตื่นของผู้บุกเบิก"
},
{
"docid": "194208#43",
"text": "หน่วยพิเศษเฉพาะกิจที่ถูกก่อตั้งขึ้นภายหลังเหตุการณ์โจมตี[[ประเทศศรีลังกา|เกาะซีลอน]]ของ เซเลสเชียลบีอิงก์ สังกัดหน่วย MSWΛD (เอ็มสวาท) ของยูเนี่ยน มีหน้าที่ในการสืบสวนและพัฒนารูปแบบในการรับมือกันดั้ม พร้อมทั้งรวบรวมนักบินฝีมือเยี่ยมจำนวนมากเข้ามาในหน่วยเพื่อการต่อสู้กับกันดั้ม โดยมีแฟล็กคัสตอมเป็นโมบิลสูทหลักประจำหน่วยนักบิน[[โมบิลสูท]]ฝีมือระดับสูงของยูเนี่ยน เป็นคนที่ยึดติดกับเอ็กเซียที่ปรากฏต่อหน้าเขาเป็นอย่างมาก ก่อนที่จะได้ย้ายเข้ามาในหน่วยเฉพาะกิจพิเศษเพื่อการต่อต้านกันดั้มของกองกำลังยูเนี่ยน จนได้ประมือกับเครื่องเอ็กเซียและดิวนาเมส รวมทั้งได้พบกับเซ็ตสึนะและคาดเดาได้ว่าเป็นกันดั้มไมสเตอร์ จนในที่สุดเขาก็ได้เข้าร่วมแผนการจับกุมกันดั้มครั้งใหญ่ร่วมกับสองขั้วอำนาจที่เหลือ และพลาดไปจากการปรากฏตัวของกันดั้มโทรเน่ทั้งสามพร้อมกับเสียลูกทีมของตนให้กับการกระทำอันรุนแรงของพวกนั้น จนเขาต้องตั้งปณิธานว่าจะจัดการศัตรูของพวกเขาด้วยแฟล็กคัสตอม จนทำให้เขาไม่ยอมรับที่จะขึ้นขับโมบิลสูทเครื่องอื่นนอกจากแฟล็กคัสตอม มีอุปนิสัยค่อนข้างมีระเบียบ แต่ก็แสดงการร้อนรนในหลายสถานการณ์ หากแต่ยังแฝงซึ่งความสุขุมและได้ในหลายครั้ง รวมทั้งมีการยึดมั่นในปณิธานของตนเองอย่างแน่วแน่มั่นคง ในตอนที่25 เขาได้นำ GN แฟล็ก ต่อสู้กับเอ็กเซียของเซ็ตสึนะ และสามารถสร้างความเสียหายอย่างมากให้กับเอ็กเซีย แต่เขาต้องเสียแขนซ้าย และใบหน้าของเขา จากการโจมตีของเอ็กเซียเช่นกัน จนเขาต้องใส่หน้ากากอยู่ตลอดเวลาในนาม มิสเตอร์ บูชินโด (Mr. Bushido)",
"title": "รายชื่อตัวละครในกันดั้มดับเบิลโอ"
},
{
"docid": "274633#8",
"text": "ปรากฏตัวในภาคภาพยนตร์ โมบิลสูทกันดั้มดับเบิ้ลโอ อเวคเคนนิงออฟเดอะเทรลเบลซเซอร์ และเป็นกันดั้มที่เซ็ตสึนะใช้แทนดับเบิลโอไรเซอร์ ชื่อ \"ควอนตา\" นั้นมาจากระบบควอนตัมซิสเต็มซึ่งเป็นระบบพิเศษเฉพาะดับเบิลโอควอนตา",
"title": "ดับเบิลโอกันดั้ม"
},
{
"docid": "276935#0",
"text": "GN-003 กันดั้มคิวริออส( ;) เป็นโมบิลสูทซึ่งมีบทบาทสำคัญในการ์ตูนญี่ปุ่น อะนิเมะ โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ ออกแบบโดยทาคายูกิ ยานาเซะ",
"title": "กันดั้มคิวริออส"
},
{
"docid": "274633#0",
"text": "GN-0000 ดับเบิลโอกันดั้ม( ;) เป็นโมบิลสูทตัวเอกเครื่องที่สองในการ์ตูนญี่ปุ่น อะนิเมะ โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ ออกแบบโดยคาเนทาเกะ เอบิคาวะ",
"title": "ดับเบิลโอกันดั้ม"
},
{
"docid": "122345#1",
"text": "โมบิลสูท กันดั้ม ดับเบิลโอ ซึ่งเป็นภาคใหม่ของซีรีส์กันดั้มนี้ ได้รับความเห็นว่าเป็นภาคที่แตกต่างไปจากภาคอื่นๆ เนื่องจากการดำเนินเรื่องที่เข้มข้นและหม่นหมอง ต่างกับภาคอื่นที่แทรกความหวังและความสดใส เนื่องจากตัวหลักของภาคนี้แทบทุกคนล้วนประสบกับอดีตที่มีแต่ความเป็นความตาย เช่น เซ็ตซึนะ เอฟ เซเอ ที่ต้องทำสงครามแต่ยังเด็ก ดังนั้นอารมณณ์ที่ตัวละครแสดงออกมาจึงเป็นแบบผู้ใหญ่ ไม่แสดงท่าทีอ่อนประสบการณ์หรือความลังเลที่จะสังหารคนในสงคราม รวมทั้งทัศนคติที่ตัวหลักมีต่อคนที่ไม่อยากทำสงครามด้วย เช่น การที่เซ็ตซึนะกล่าวกับซาจิ ครอสโร้ดว่า หากต้องการความสงบสุข จะต้องต่อสู้และฆ่าคนต่อไปเพื่อจบสงคราม ไม่ใช่เลือกวิธีสันติหรือการปรองดองเพื่อสันติภาพ",
"title": "กันดั้มดับเบิลโอ"
},
{
"docid": "276726#0",
"text": "GN-002 กันดั้มดิวนาเมส( ;) เป็นโมบิลสูทซึ่งมีบทบาทสำคัญในการ์ตูนญี่ปุ่น อะนิเมะ โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ ออกแบบโดยทาคายูกิ ยานาเซะ",
"title": "กันดั้มดิวนาเมส"
},
{
"docid": "179754#3",
"text": "ในโมบิลสูทเซต้ากันดั้ม ไฮแซ็คเป็นโมบิลสูทซึ่งเป็นกำลังหลักของสหพันธ์โลกและกองกำลังพิเศษ ทิทานส์ ซึ่งไฮแซ็คของสหพันธ์โลกจะเป็นโทนสีน้ำเงินเข้ม ส่วนของทิทานส์จะเป็นสีเขียวเข้มแบบซาคุทูว์ ในช่วงหลังของเรื่อง บทบาทของไฮแซ็คถูกแทนที่ด้วยโมบิลสูทรุ่นใหม่คือ RMS-108 มาราไซและ RMS-154 บาซัม แต่ฉากการต่อสู้ที่ดาคาร์ในภาคโมบิลสูทกันดั้มดับเบิ้ลเซต้าก็ยังมีไฮแซ็คปรากฏให้เห็นอยู่",
"title": "ไฮแซ็ค"
},
{
"docid": "325424#0",
"text": "CB-0000G/C รีบอนส์กันดั้ม( ;) เป็นโมบิลสูทตัวร้ายในการ์ตูนญี่ปุ่น อนิเมะ โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ ออกแบบโดยคาเนทาเกะ เอบิคาวะ และรูปแบบต่างๆของรีบอนส์กันดั้มยังมักมีบทบาทสำคัญในภาคที่ปรากฏตัวด้วยเช่นกัน",
"title": "รีบอนส์กันดั้ม"
},
{
"docid": "480118#2",
"text": "สำหรับในประเทศไทย ลิขสิทธิ์ในการจำหน่ายภาพยนตร์ \"โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ เดอะมูฟวี่: การตื่นของผู้บุกเบิก\" เป็นของบริษัท DEX เช่นเดียวกับแอนิเมชั่นทางโทรทัศน์ชุดโมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ",
"title": "โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ เดอะมูฟวี่: การตื่นของผู้บุกเบิก"
},
{
"docid": "272639#0",
"text": "GN-000 โอกันดั้ม(ญี่ปุ่น: 0ガンダム ;อังกฤษ:0 Gundam) เป็นโมบิลสูทที่มีบทบาทสำคัญในการ์ตูนญี่ปุ่น อะนิเมะ โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ และเป็นหุ่นยนต์เครื่องเดียวในภาคนี้ที่ได้รับการออกแบบโดยคุนิโอะ โอคาวาระ รูปร่างของโอกันดั้มนั้นดัดแปลงมาจากกันดั้มจากโมบิลสูทกันดั้ม",
"title": "โอกันดั้ม"
},
{
"docid": "77468#0",
"text": "RX-178 กันดั้มมาร์คทูว์ () () เป็นโมบิลสูทตัวเอกเครื่องแรกของการ์ตูนญี่ปุ่น อะนิเมะซีรีส์โมบิลสูท เซต้ากันดั้มและมีบทบาทในฐานะโมบิลสูทตัวประกอบในโมบิลสูทกันดั้มดับเบิ้ลเซต้า ออกแบบโดยคุนิโอะ โอคาวาระ, มาโมรุ นากาโนะและคาซึมิ ฟุจิตะ",
"title": "กันดั้มมาร์คทูว์"
},
{
"docid": "275856#0",
"text": "GN-005 กันดั้มเวอร์เชีย( ;) เป็นโมบิลสูทซึ่งมีบทบาทสำคัญในการ์ตูนญี่ปุ่น อะนิเมะ โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ ออกแบบโดยทาคายูกิ ยานาเซะ",
"title": "กันดั้มเวอร์เชีย"
},
{
"docid": "272691#0",
"text": "GN-001 กันดั้มเอ็กเซีย [ Gundam EXIA ]( ;) เป็นโมบิลสูทตัวเอกเครื่องแรกในการ์ตูนญี่ปุ่น อะนิเมะ โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ ออกแบบโดยคาเนทาเกะ เอบิคาวะ",
"title": "กันดั้มเอกเซีย"
},
{
"docid": "178088#0",
"text": "AMX-004 คิวเบเลย์ หรือ คิวเบเรย์ ( ; ) เป็นโมบิลสูทฝ่ายเนโอซีออนที่มีบทบาทสำคัญในการ์ตูนญี่ปุ่น อะนิเมะซีรีส์โมบิลสูทเซต้ากันดั้มและโมบิลสูทกันดั้มดับเบิ้ลเซต้า ออกแบบโดย มาโมรุ นากาโนะ นอกจากนั้นยังมีรหัสเครื่องอีกแบบว่า MMS-3",
"title": "คิวเบเลย์"
},
{
"docid": "194208#44",
"text": "ในภาคภาพยนตร์ เกรย์แฮมเสียชีวิตจากการใช้โมบิลสูทพุ่งชนศัตรูเพื่อเบิกทางให้เซ็ตสึนะเข้าไปสื่อสารกับศัตรูได้เจ้าหน้าที่ข่าวกรองคนสำคัญคนหนึ่งของยูเนี่ยน และเป็นหนึ่งในทีมพัฒนาโมบิลสูทของหน่วยโอเวอร์แฟล็ก โดยเขาได้ถูกย้ายไปกองกำลังสืบสวนพิเศษเพื่อต่อต้านกันดั้มในช่วงแรกๆ และทำงานร่วมกับศาสตราจารย์เอฟแมนซึ่งมีฐานะเป็นอาจารย์ของเขา ทำให้เขาได้ติดต่อหาสุราเมกิอีกหลายต่อหลายครั้งโดยอ้างเหตุในการขอคำปรึกษา ต่อมาเมื่อศาสตราจารย์เอฟแมนเสียชีวิตจากการโจมตีของเหล่ากันดั้มโทรเน่ เขาก็ได้รับช่วงต่อในการพัฒนาโมบิลสูทของทางหน่วย และแนะนำให้เกรแฮมเปลี่ยนมาใช้ GN-X ในการต่อสู้ก่อนจะยอมติดตั้ง GN Drive กับเครื่องแฟล็กคัสตอมของเกรแฮมแทน เมื่อเล็งเห็นว่าเขาไม่คิดจะใช้โมบิลสูทเครื่องอื่นอีกนอกจากแฟล็ก บิลลี่เป็นเพื่อนกับสุราเมกิตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย เป็นคนที่มีอัธยาศัยดี และมีความรู้สึกแน่วแน่ต่อคนที่เขาต้องการผูกสัมพันธ์ด้วยศาสตราจารย์คนสำคัญแห่งยูเนี่ยน เป็นหัวหน้าฝ่ายวิจัยเทคนิคของหน่วยสอบสวนและต่อต้านกันดั้ม ซึ่งให้ความสนใจกับระบบเตาพลังงานขับเคลื่อนของกันดั้มเป็นอย่างมาก โดยเขาเป็นอาจารย์ของสุราเมกิกับบิลลี่สมัยที่ทั้งคู่ยังเรียนอยู่มหาวิทยาลัย ",
"title": "รายชื่อตัวละครในกันดั้มดับเบิลโอ"
},
{
"docid": "195709#0",
"text": "รายละเอียดข้อมูลโมบิลสูทและโมบิลอาเมอร์จากภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องกันดั้มดับเบิลโอ ผลงานของบริษัทซันไรส์เป็นกันดั้มลึกลับชุดใหม่ที่ปรากฏตัวขึ้นถัดจากกันดั้มทั้งสี่เครื่อง และยังไม่มีความแน่ชัดว่าถูกสร้างขึ้นโดยเซเลสเชียลบีอิงหรือไม่ แต่ก็เป็นกลุ่มที่ถูกส่งมาเพื่อรับช่วงต่อการดำเนินแผนการณ์ของเหล่ากันดั้มไมสเตอร์ที่ปฏิบัติภารกิจอยู่บนโลก กันดั้มทั้งสามเครื่องนี้มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากกันดั้มเครื่องก่อนๆ ด้วยเตาพลังงานนาม \"GN Drive Tau\" ที่ปลดปล่อยอนุภาคสีดำอมแดงออกมา (ซึ่งแตกต่างจากสี่เครื่องแรกที่อนุภาคเป็นสีเขียวอมฟ้า) ซึ่งให้พลังงานได้มหาศาลเทียบเท่ากับ GN Drive ปกติ หากแต่มีอายุการใช้งานจำกัดกว่าเตาพลังงานรุ่นต้นแบบของกันดั้มชุดแรก และรูปร่างที่แตกต่างจากสี่กันดั้มก่อนหน้านี้ค่อนข้างมากในหลายๆ ส่วน รวมทั้งอาวุธหลายๆ แบบที่น่าจะพัฒนาขึ้นมาโดยมีต้นแบบมาจากอาวุธของกันดั้มทั้งสี่ โดยชื่อ \"Throne\" (โทรน) นั้นเป็นภาษาอังกฤษ แปลว่า \"บัลลังก์\" หรือ \"ผู้ครองบัลลังก์\" แต่คาดว่าชื่อนี้น่าจะมาจากชื่อของเทวทูตชั้น \"Throne\" ที่มีหน้าที่พิทักษ์บัลลังก์ของพระเจ้าตามความเชื่อของศาสนาคริสต์\nเดิมมีชื่อว่า Ahead Close Combat Type โดยชื่อ Sakigake เป็นชื่อเล่นในภาษาญี่ปุ่นซึ่งถูกตั้งขึ้นภายหลัง แปลตรงตัวในภาษาอังกฤษว่า \"Ahead\"\nMasurao มีความสามารถพิเศษคือ สามารถใช้ระบบ Trans-Amได้ แต่จะส่งผลเรื่องแรง G เช่นเดี่ยวกับ Flag costom",
"title": "หุ่นยนต์ในกันดั้มดับเบิลโอ"
},
{
"docid": "179754#0",
"text": "RMS-106 ไฮแซ็ค(ญี่ปุ่น:\"ハイザック\" ;อังกฤษ:Hi-Zack)เป็นโมบิลสูทตัวประกอบที่มีบทบาทในการ์ตูนญี่ปุ่น อะนิเมะซีรีส์โมบิลสูทเซต้ากันดั้มและโมบิลสูทกันดั้มดับเบิ้ลเซต้า ออกแบบโดย คุนิโอะ โอคาวาระ",
"title": "ไฮแซ็ค"
},
{
"docid": "183655#0",
"text": "AMX-011 ซาคุทรี หรือ แซ็คทรี ( ; ) เป็นโมบิลสูทตัวประกอบที่มีบทบาทในการ์ตูนญี่ปุ่น อะนิเมะซีรีส์โมบิลสูทกันดั้มดับเบิ้ลเซต้า ออกแบบโดย โอดะ มาสะฮิโระ ชื่อซาคุทรียังเป็นชื่อเล่นของเกลกุ๊กรุ่นทดลองที่ปรากฏในดีไซน์ต้นฉบับชุด \"โมบิลสูทคอลเลคชันของคุนิโอะ โอคาวาระ\" แต่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันนอกจากเป็นโมบิลสูทที่พัฒนาต่อมาจากซาคุทูว์",
"title": "ซาคุทรี"
},
{
"docid": "194208#9",
"text": "ในเนื้อหา season 2 นั้น ปรากฏว่าเขารอดชีวิตและเก็บตัวเฝ้ามองการเคลื่อนไหวของสหพันธ์โลกอยู่อย่างเงียบๆ จนกระทั่งปรากฏตัวขึ้นที่พราวด์เพื่อขัดขวางแผนการของA-Laws และได้ช่วยเหลือซาจิ ครอสโร้ดจากกลุ่ม A-Laws แต่กองกำลังที่ขัดขวางเขานั้นเป็นโมบิลสูท Ahead และ GN-XIII ซึ่งเป็นโมบิลสูทรุ่นใหม่ ทำให้ต่อสู้ได้อย่างยากลำบาก แต่สุดท้ายได้รับการช่วยเหลือจากกันดั้มเซราวีของทีเอเรียที่มาตามพิกัดจากยานปโตเลไมออสที่ตรวจหาเซ็ตซึนะพบ และทีเอเรียได้รับตัวเขากลับไปปโตเลไมออส2 เขานำ GN-Drive ของเอ็กเซียไปติดตั้งที่กันดั้มOO(ดับเบิลโอ) ทำให้กันดั้มOO ทำงานได้ และเซ็ตสึนะได้กลายมาเป็นนักบินของ OO ",
"title": "รายชื่อตัวละครในกันดั้มดับเบิลโอ"
},
{
"docid": "277069#0",
"text": "กันดั้มโธรน( ;) เป็นกลุ่มของโมบิลสูทซึ่งมีบทบาทสำคัญในการ์ตูนญี่ปุ่น อะนิเมะ โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ ซึ่งกันดั้มโธรนทั้งหมดได้รับการออกแบบโดยนาโอฮิโระ วาชิโอะ ชื่อของกันดั้มโธรนแปลว่าบัลลังก์ ซึ่งหมายถึงเทวทูตคณะหนึ่งในศาสนาคริสต์ที่ทำหน้าที่แบกบัลลังก์ของพระเจ้า กันดั้มโธรนรุ่นแรกนั้นจะมีชื่อเป็นตัวเลขในภาษาเยอรมัน",
"title": "กันดั้มโธรน"
},
{
"docid": "480118#0",
"text": "โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ เดอะมูฟวี่: การตื่นของผู้บุกเบิก (, ) เป็นภาพยนตร์อนิเมะซึ่งมีเนื้อหาต่อเนื่องจากอนิเมะทางโทรทัศน์ชุดโมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อสู้ของกลุ่มองค์กรติดอาวุธเอกชน \"เซเลสเชี่ยล บีอิ้ง\" ในช่วง 2 ปีหลังจากจบเหตุการณ์ในภาคโทรทัศน์ โดยเป็นการต่อสู้กับสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่ไม่มีใครรู้จักมาก่อน ซึ่งถูกเรียกชื่อว่า \"ELS\" นับได้ว่าเป็นซีรีส์กันดั้มชุดแรกที่มีเนื้อหากล่าวถึงสิ่งมีชีวิตจากต่างดาว",
"title": "โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ เดอะมูฟวี่: การตื่นของผู้บุกเบิก"
},
{
"docid": "195709#2",
"text": "หลังจากการต่อสู้กับ ดับเบิ้ลโอกันดั้ม เกราะของSusanowo แตกออก ทำให้เห็นว่า โมบิลสูท Masurao Susanowo\nคือ โมบิลสูท Flag ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษโดย บิลลี่ คาตางิริ",
"title": "หุ่นยนต์ในกันดั้มดับเบิลโอ"
},
{
"docid": "106271#0",
"text": "MSN-00100 เฮียะกุชิกิ(ญี่ปุ่น:\"百式\" ;อังกฤษ:Hyaku Shiki)เป็นโมบิลสูทที่มีบทบาทสำคัญในการ์ตูนญี่ปุ่น อะนิเมะซีรีส์โมบิลสูทเซต้ากันดั้มและโมบิลสูทกันดั้มดับเบิ้ลเซต้า ออกแบบโดย มาโมรุ นากาโนะ ชื่อเฮียะกุชิกิแปลว่า \"แบบที่100\"",
"title": "เฮียะกุชิกิ"
},
{
"docid": "122345#20",
"text": "GNR-101A GN อาร์เชอร์ (GN Archer) ยานรบที่คอยสนับสนุนอาริออส กันดั้ม สามารถเชื่อมต่อกับอาริออสร่างโมบิลอาร์มเมอร์เพื่อสนับสนุนการโจมตีและยังเปลี่ยนเป็นร่างโมบิลสูทเองได้อีกด้วย นักบินคือ โซม่า พีริส หรือ มารี พาร์ฟาซี่",
"title": "กันดั้มดับเบิลโอ"
}
] |
3442 | ภาพยนตร์ เรื่องพระเจ้าช้างเผือก ส่งไปประกวดที่ไหน? | [
{
"docid": "101759#0",
"text": "พระเจ้าช้างเผือก () เป็นภาพยนตร์ไทยขาวดำ ในระบบ 35 มม. บันทึกเสียงขณะถ่ายทำ ให้เสียงเป็นภาษาอังกฤษทั้งเรื่อง สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2483 เพื่อส่งไปประกวดรางวัลสันติภาพเพื่อรางวัลโนเบิล (Noble Prize for Peace) ที่สหรัฐอเมริกา ออกฉายเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2484 โดยฉายรอบปฐมทัศน์พร้อมกันที่ ศาลาเฉลิมกรุง สิงคโปร์ และ นิวยอร์ก อำนวยการสร้างและเขียนบทโดย ปรีดี พนมยงค์ กำกับโดย สันธ์ วสุธาร กำกับภาพโดย ประสาท สุขุม",
"title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)"
}
] | [
{
"docid": "101759#25",
"text": "ภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือกหลังจากการออกฉายในครั้งแรก ถูกวิจารณ์อย่างแรงจากผู้ชมบางส่วน รวมถึงนักวิจารณ์ชาวตะวันตกว่า \"เป็นผลงานของนักทำหนังสมัครเล่นที่พยายามจะพูดถึงเรื่องราวระดับมนุษยชาติ การถ่ายทำก็เลียนแบบหนังมหากาพย์ของอเมริกัน\" แต่ต่อมาหลังการศึกษาอย่างละเอียดพบว่า เปี่ยมไปด้วยคุณค่าอย่างหลากหลายทางด้านศิลปะ ประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรมและคุณธรรม และต่อมาในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2550 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) สำนักงานใหญ่ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีมติมอบรางวัลเฟลลินี (The Fellini Silver Medal Award) เหรียญเงินเพื่อเชิดชูเกียรติผู้กำกับและองค์กรสร้างสรรค์ผลงานอนุรักษ์ศิลปะภาพยนตร์ให้แก่หอภาพยนตร์แห่งชาติ กรมศิลปากร",
"title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "101759#1",
"text": "เรื่องของสงครามระหว่างเจ้ากรุงอโยธยา กับ เจ้ากรุงหงสาวดี ที่เกิดขึ้นจากความโลภของกษัตริย์เพียงองค์เดียวทำให้เดือดร้อนไพร่ฟ้าทั้งแผ่นดิน ซึ่งเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องยาวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพียงเรื่องเดียวที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ ถือได้ว่าเป็นช้างเผือกด้วยความที่หามาได้ยากเย็นแสนเข็ญ และคุณค่าความศักดิ์สิทธิ์ในตัวมันเอง สร้างสรรค์โดยบุคคลสำคัญระดับผู้นำของชาติคือ นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีหลวงพิบูลสงคราม ร่วมด้วยบุคลากรชั้นยอดของวงการภาพยนตร์ไทย",
"title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "101759#27",
"text": "ในปี พ.ศ. 2550 มูลนิธิหนังไทย ร่วมกับ เทคนิคคัลเลอร์ (ประเทศไทย) และหอภาพยนตร์แห่งชาติ ได้บูรณะฟิล์มภาพยนตร์โดยใช้เทคโนโลยีดิจิตัล พร้อมกับภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือก โดยใช้เทคโนโลยีดิจิตัล พร้อมกับภาพยนตร์เรื่อง เรือนแพ ปี พ.ศ. 2504 ด้วยการสนับสนุนของ บริษัท เทคนิคคัลเลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2548 ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ ได้เลือกให้บูรณะฟิล์มใหม่อีกครั้ง เมื่อบูรณะฟิล์มภาพยนตร์สำเร็จ พร้อมที่จะส่งมอบคืนแก่หอภาพยนตร์แห่งชาติแล้วทำพิธีส่งมอบฟิล์มคืนแก่หอภาพยนตร์แห่งชาติ ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่จังหวัดภูเก็ต แล้วนำมาผลิตเป็นวีซีดีและดีวีดี ในปัจจุบัน",
"title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "101759#8",
"text": "พระเจ้าจักราทรงมีพระราชจริยาวัตรตื่นแต่เช้าตรู่ และเสด็จไปในอุทยานแห่งวิหารเทพีธรรมเพื่อทรงรับอากาศบริสุทธิ์ วันหนึ่งพระองค์ทรงไม่พอพระทัยอย่างยิ่งเมื่อเด็กๆ ที่รอเรียนหนังสือในวัดนั้นเล่นส่งเสียงดังน่ารำคาญ พระเจ้าจักราเกือบจะทรงตักเตือนเด็กเหล่านี้ด้วยพระองค์เอง แต่ก็มีสตรีนางหนึ่งเข้ามาตักเตือนเสียก่อน พระเจ้าจักราจึงแฝงพระองค์แอบฟัง สตรีนางนั้นได้ยกชาดกเรื่องเต่าช่างพูดมาตักเตือน เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าจักราเป็นอันมาก และทรงระลึกได้ว่าสตรีนางนั้นก็คือ เรณู บุตรีของสมุหราชมณเฑียร",
"title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "101759#2",
"text": "ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างขึ้นโดยบุคคลสำคัญของบ้านเมือง คือ นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีหลวงพิบูลสงคราม คุณค่าในนวนิยายและภาพยนตร์เรื่องนี้มีมากมาย นอกจากจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญของไทย ในวงวรรณกรรม และภาพยนตร์ที่ชูประเด็นสันติภาพ ซึ่งเป็นหลักใหญ่ของมนุษยชาติแล้ว ในแง่ความเป็นศิลปะภาพยนตร์ ได้ก้าวข้ามพรมแดนแห่งความสมจริงไปสู่แก่นแกนความคิด ผสานจินตนการของผู้ประพันธ์ และอำนวยการสร้าง กล่าวได้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้คือ \"มรดกทางศิลปวัฒนธรรมชิ้นสำคัญที่ชูหลักสันติธรรมให้สูง ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์\"",
"title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "101759#22",
"text": "ปี พ.ศ. 2554 หอภาพยนตร์ฉลองครบรอบ 70 ปี พระเจ้าช้างเผือก การออกฉายภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือก หอภาพยนตร์ฯ จึงเลือกวันสวนสนามเสรีไทย ในการเฉลิมฉลองความยิ่งใหญ่และความสำคัญของภาพยนตร์เรื่องนี้ รวมทั้งเปิดฉายภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือกเวอร์ชันพากย์ไทยเป็นครั้งแรก วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา หอภาพยนตร์",
"title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "101759#26",
"text": "ในเนื้อเรื่องมีคำพูด การแสดงออก และการกระทำของตัวละครที่อาจไม่เป็นไปตามระเบียบแบบแผนไทยหรือไม่ถูกต้องตรงตามข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์หลายประการ เช่น การยึดถือปฏิทินสุริยคติให้ปีหนึ่งมี 365 วัน สนธิสัญญาและพิธีการทูตระหว่างประเทศเกี่ยวกับสงคราม การกล่าวถึงเส้นเขตแดนที่แน่นอนระหว่างอยุธยาและหงสา การดำเนินเรื่องโดยสมุหราชมณเฑียรเป็นตัวละครสำคัญ การยืนเข้าเฝ้า การประท้วง (หรือ strike ตามต้นฉบับภาษาอังกฤษ) รวมถึงทฤษฎีที่ว่าคนไทยมาจากเทือกเขายูนนาน ฯลฯ ด้วยเหตุที่ว่าต้นฉบับเรื่องนี้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อสื่อสารแก่ชาวต่างชาติเป็นสำคัญ โดยมีผู้เขียนประพันธ์เรื่องนี้ขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง",
"title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "101759#4",
"text": "เรื่องเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2083 ในอโยธยา อันเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรไทย อโยธยาเป็นคำในภาษาบาลีโบราณ แปลว่าปราศจากสงคราม หรือ สันติภาพ นั่นเอง ยุวกษัตริย์พระนามว่า \"จักรา\" ทรงขึ้นครองราชบัลลังก์สืบเนื่องจากการเสด็จสวรรคตอย่างกระทันหันของพระราชบิดา พระเจ้าจักราถูกเลี้ยงดูมาโดยภิกษุรูปหนึ่ง จึงไม่ทรงโปรดความโอ่อ่าในราชนำนัก ในการเถลิงถวัลย์ราชสมบัตินี้ทรงมีพระบัญชาให้งดเว้นการเฉลิมฉลองทั้งปวง",
"title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "101759#9",
"text": "การคล้องช้างสำเร็จลุล่วงด้วยดี ได้ช้างเผือกมาด้วยเชือกหนึ่ง ซึ่งเป็นมหามงคลยิ่งในรัชสมัยของพระเจ้าจักรา จึงจัดให้ทำธงแดงมีช้างเผือกอยู่บนธงใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งพระราชอาณาจักรสืบไป ข่าวลุไปถึงพระกรรณพระเจ้าหงสา พระเจ้าหงสาจึงได้ฉีก \"สนธิสัญญาว่าด้วยการยุติความขัดแย้งโดยมีผู้ไกล่เกลี่ยอย่างสันติระหว่างหงสากับอโยธยา\" ทิ้ง และเรียกร้องอโยธยาให้มอบช้างเผือกให้ แต่อโยธยาไม่ยอม จึงใช้เป็นข้ออ้างในการทำสงคราม",
"title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)"
}
] |
704 | สไปเดอร์แมน ปรากฎตัวครั้งแรกเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "96522#0",
"text": "สไปเดอร์-แมน (English: Spider-Man) เป็นตัวการ์ตูนยอดมนุษย์สัญชาติอเมริกัน สร้างโดย สแตน ลี และ สตีฟ ดิตโก ของสังกัดมาร์เวลคอมิกส์ (Marvel Comics) ปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในอแมซซิงแฟนตาซี ฉบับที่ 15 (สิงหาคม 2505) ในปัจจุบันนี้ ไอ้แมงมุมถือเป็นหนึ่งในตัวละครยอดมนุษย์ที่โด่งดังที่สุดในโลก และยังคงประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์",
"title": "สไปเดอร์-แมน"
}
] | [
{
"docid": "971119#7",
"text": "การเปิดการ์ดในภาคนี้จะแตกต่างจากออนไลน์ 3 ตรงที่ว่าจะมีโมเดลนักฟุตบอลปรากฎตอนเปิดการ์ดซึ่งถ้าเปิดได้ผู้เล่นที่มีพลังมากกว่า 80 จะมีแอนิเมชั่นเปิดตัวของการ์ด(Walkout)ปรากฎขึ้นมาโดยจะปรากฎเสื้อทีม,เบอร์เสื้อ,ส่วนใบหน้าของนักเตะ เพื่อให้มีความลุ้นมากขึ้น ซึ่งการ์ดต่าง ๆ จะมีแตกต่างกันออกไปตามแพ็คต่าง ๆ",
"title": "ฟีฟ่าออนไลน์ 4"
},
{
"docid": "103145#8",
"text": "สไปเดอร์แมน 2211 (Spider-Man 2211) หรือดร.แม็กซ์ บอร์น (Dr. Max Borne) เป็นเรื่องราวของไอ้แมงมุมอีกตัวหนึ่งที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2754 (ตรงกับ ค.ศ. 2211) ซึ่งตัวการ์ตูนตัวนี้ที่จริงได้ปรากฏตัวครั้งแรกในการ์ตูนชุด “สไปเดอร์แมน/สไปเดอร์แมน 2099” ไปแล้ว ในเรื่องนี้ โรบิน (Robin) ลูกสาวของดร.บอร์นมีบทบาทเป็นฮ็อบกอบลิน (Hobgblin) ในตอนท้าย ดร.บอร์นก็ถูกยิงโดยเบน ปาร์คเกอร์ (Ben Parker, หรือลุงเบน) ในรูปแบบใหม่ที่ภายหลังได้เปิดเผยตัวว่าเป็นแคเมเลียน (Chameleon) ปลอมตัวมา",
"title": "ไอ้แมงมุมในรูปแบบอื่น"
},
{
"docid": "333730#0",
"text": "แซนด์แมน () หรือ ฟลินต์ มาร์โก () เป็นตัวละครจากเรื่องสไปเดอร์แมน ซึ่งจัดพิมพ์โดยมาร์เวลคอมิกส์ โดยแซนด์แมนมีความสามารถในการแปรสภาพเป็นทรายในรูปทรงต่าง ๆ ได้ ซึ่งเป็นความสามารถพิเศษที่ได้รับภายหลังจากได้รับอุบัติเหตุ ในเหตุการณ์ปัจจุบัน เขาได้กลายจากศัตรูมาเป็นมิตรกับสไปเดอร์แมน ซึ่งแซนด์แมนถือเป็นตัวละครที่ได้รับการดัดแปลงในสื่ออื่นหลายรูปแบบ รวมทั้งการ์ตูนแอนิเมชัน และภาพยนตร์เรื่องสไปเดอร์แมน 3 โดยมีโธมัส ฮาร์เดน ครัชรับแสดงเป็นแซนด์แมน",
"title": "แซนด์แมน"
},
{
"docid": "793501#0",
"text": "ซินนิสเตอร์ซิกซ์ () เป็นกลุ่มตัวร้ายในการ์ตูนเรื่องสไปเดอร์แมน โดยสาเหตุที่ด็อกเตอร์ออกโตปุสได้แพ้สไปเดอร์แมน 3 ครั้งติดต่อกันจึงเกิดควานแค้นและก่อตั้งกลุ่มเพื่อที่ว่าถ้าวายร้ายคนใดต้องการที่จะล้มสไปเดอร์แมนให้ได้ก็จะมาร่วมกลุ่มเพื่อที่จะรวมพลังกันโค่นล้มสไปเดอร์แมนให้จงได้ วึ่งกลุ่มนี้มีสมาชิกหลักทั้งหมด 6 คนแต่จะเปลี่ยนสมาชิกและจำนวนสมาชิกไปเรื่อยๆ เพราะด้วยเหตุที่ว่ามีวายร้ายอยู่หลายคนที่ต้องการจะโค่นล้มสไปเดอร์แมนให้ได้จึงพากันรวมกลุ่มจนต้องเพิ่มจำนวนสมาชิกไปในบางครั้ง ซึ่งมีจำนวนสมาชิก 5 แบบคือ 6 คน 7 คน 12 คน 16 คน และ 66 คน ด็อกเตอร์ออกโตปุส (หัวหน้าทีม)",
"title": "ซินนิสเตอร์ซิกซ์"
},
{
"docid": "892619#0",
"text": "มหาศึกฮีโร่ประจัญบาน GP ปะทะ มาสค์ไรเดอร์ หมายเลข 3 () เป็นภาพยนตร์ในปี 2015 ในชุดของ ซูเปอร์ฮีโร่ไทเซนซีรีส์ ที่มี มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ์ มาปรากฎตัวในเรื่อง และเป็นการปรากฎตัวของ มาสค์ไรเดอร์ หมายเลข 3 โดยเนื้อเรื่องดั้งเดิมถูกสร้างสรรค์โดย โชทาโร่ อิชิโนะโมริ มีฉากสั้นในการ์ตูนมังงะในปี 1972 ตอน Rider #3 VS. General Black มี Tetsuo Kurata, (มาสค์ไรเดอร์แบล็ค, มาสค์ไรเดอร์แบล็ค RX), Yuichi Nakamura (มาสค์ไรเดอร์เด็นโอ), Kousei Amano, Takayuki Tsubaki, Ryoji Morimoto และ Takahiro Hojo (มาสค์ไรเดอร์เบรด), และ Kento Handa (มาสค์ไรเดอร์ 555) เข้ามามีบทบาทในภาพยนตร์นี้ด้วย ออกฉายครั้งแรกในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558",
"title": "มหาศึกฮีโร่ประจัญบาน GP ปะทะ มาสค์ไรเดอร์ หมายเลข 3"
},
{
"docid": "132776#0",
"text": "กอลลัม (Gollum) เป็นตัวละครเอกในจินตนิยายเรื่อง เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นชนเผ่าฮอบบิท มีชื่อเดิมว่า สมีโกล ปรากฎตัวครั้งแรกในเดอะฮอบบิท และปรากฎตัวในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอนหอคอยคู่พิฆาต",
"title": "กอลลัม"
},
{
"docid": "524572#0",
"text": "ดิ อะเมซิ่ง สไปเดอร์แมน 2 () หรือบางตลาดเรียกว่า ดิ อะเมซิ่ง สไปเดอร์แมน 2 ผงาดจอมอสุรกายสายฟ้า () เป็นภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ มีต้นฉบับมาจากตัวละครมาร์เวลคอมิกส์ ชื่อ สไปเดอร์แมน เข้าฉายในในสหรัฐอเมริกา วันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 ซึ่งเป็นภาคต่อจากดิ อะเมซิ่ง สไปเดอร์แมนในปี ค.ศ. 2012 โดยภาพยนตร์เข้าฉายในระบบ 2 มิติ และ 3 มิติ",
"title": "ดิ อะเมซิ่ง สไปเดอร์-แมน: ผงาดอสูรกายสายฟ้า"
},
{
"docid": "780309#2",
"text": "แรกเริ่มตัวละครนี้ปรากฎ โดยไม่มีชื่อ ในสงครามโลกครั้งที่สองและพบรักกับกัปตันอเมริกา Tales of Suspense #75 และ เล่ม 77 (พฤษภาคม 1966) โดยนักเขียน สแตน ลี และจิตรกร แจ็ก เคอร์บี . เธอปรากฎตัวอีกครั้งในฐานะพี่สาวของ ชารอน คาร์เตอร์ใน Captain America #161 (พฤษภาคม 1973)",
"title": "เพ็กกี คาร์เตอร์"
},
{
"docid": "944511#5",
"text": "ตามตำนานกรีก มหาเทพซุสไดตกหลุมรักนางยูโรปา บุตรีของกษัตริย์ฟีนิเชียน อะเกนอร์ (Agenor) กับราชินีเทเลแฟซซา (Telephassa) เพื่อหนีความริษยาของเฮรามเหสีของพระองค์ ซุสจึงแปลงกลายเป็นโคตัวผู้มีสีขาวตลอดทั้งกาย แล้วก็ลักพานางยูโรปาไปจนถึงเกาะครีต อเกนอร์สั่งให้เหล่าบุตรชายของตนออกตามหายูโรปา โดยมีเทเลแฟซซาผู้เป็นแม่ติดตามไปด้วย คณะติดตามเดินทางผ่านทั้งโรดส์ และเทรเซีย (Thrace) แต่ก็ยังไม่ได้อะไร แคดมอสหนึ่งในกลุ่มพี่น้องก็เดินทางมาถึงเมืองโฟซิส (Phocis) แล้วขึ้นไปยังเดลฟีเพื่อขอคำแนะนำจากพิเธีย (Pythia) ผู้นำนักบวชหญิงแห่งวิหารอะพอลโล พิเธียบอกให้แคดมอสเลิกค้นหา แล้วให้ตามวัวตัวแรกที่ตนพบไปรื่อยๆจนกระทั่งมันหยุด แล้วให้ตั้งเมืองขึ้น ณ ที่นั้น แคดมอสปฏิบัติตามคำแนะนำ แล้วติดตามวัวตัวหนึ่งไปจนถึงบีโอเชีย จากนั้นก็ตั้งใจจะสังเวยวัวให้เป็นของขวัญแด่อะธีน่า แต่ไม่อาจหาน้ำมาทำการหลั่งทักษิโณทกได้ เพราะมีมังกรตัวหนึ่งขวางทางไปเอาน้ำไว้ แคดมอสจึงสู้กับมังกรนั้นอย่างดุเดือดแล้วฆ่ามังกรเสีย ทันใดนั้นอะธีนาก็ปรากฎตัวขึ้นและแนะนำเอาเขี้ยวมังกรไปฝังดินไว้ เมื่อแคดมอสปฏิบัติตามก็ปรากฎมีมนุษย์ที่ติดอาวุธผุดขึ้นมากลุ่มหนึ่ง แคดมอสจึงเรียกคนพวกนั้นว่า \"สปาร์ตอย\" (; ) เพราะความที่เป็น \"คนที่หว่านเพาะลง(ในดิน)\" จากนั้นคนกลุ่มนั้นก็เริ่มฆ่าฟันกันเองจนเหลื่อ ๕ คน คือ Echion, Udeos, Chthonios, Hyperenor, และ Peloros แคดมอสจึงร่วมกับพวกนี้ตั้งเมืองขึ้น ชื่ว่า แคดเมีย (Cadmea) ",
"title": "ธีบส์ (กรีซ)"
},
{
"docid": "890138#0",
"text": "รวมพล 5 มาสค์ไรเดอร์ ปะทะ ดร. แพ็คแมน () เป็นภาพยนตร์แนวโทคุซัทสึข้ามฝั่ง ที่เป็นการเจอกันระหว่าง มาสค์ไรเดอร์เอ็กเซด และมาสค์ไรเดอร์โกสต์ ซึ่งเป็นตัวละครหลักของภาพยนตร์เรื่องนี้ และเป็นการปรากฎตัวของไรเดอร์รุ่นพี่ ได้แก่ มาสค์ไรเดอร์วิซาร์ด ,มาสค์ไรเดอร์ไกมุ และมาสค์ไรเดอร์ไดรฟ์ ซึ่งต่อสู้กับพวกวายร้ายของ ดร.แพ็ก-แมน ออกฉายครั้งแรกในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2016 โดยภาพยนตร์นี้ทำรายได้ถึง 723 ล้านเยน (6.3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ)",
"title": "รวมพล 5 มาสค์ไรเดอร์ ปะทะ ดร. แพ็คแมน"
},
{
"docid": "677909#3",
"text": "ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2010 Jeremy ปรากฎตัวใน The Young and the Restless ด้วยตัวเขาเอง เขาเป็นที่รู้จักในฐานะเพื่อนสนิทของ CL หัวหน้า งวงของเกิร์ลกรุ๊ปเกาหลี 2ne1 เขาให้เสื้อผ้าเป็นของขวัญแก่เธอและผู้หญิงอื่นๆด้วย เขาปรากฎตัวใน 2NE1 TV Season 2 (เรียลริตี้โชว์ของชีวิต 2ne1 ระหว่างออกอัลบั้มใหม่ล่าสุดของพกเขา) กับ Will.i.am แห่ง The Black Eyed Peas ปรากฎตัวกับ 2ne1 เช่นกัน ในพฤศจิกายน 2010 O'live OnStyle Sytle Icon Awards ซึ่ง Scott จะปรากฎตัวในงานเพื่อมอบรางวัลให้ 2ne1 วงผู้หญิงที่ทันสมัยที่สุด",
"title": "เจเรมี สก็อตต์"
},
{
"docid": "890995#0",
"text": "มงกุฎแห่งสกอตแลนด์ () เป็นมงกุฎที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ โดยได้ทำการจัดสร้างขึ้นใหม่เลียนแบบของเดิมที่ทรงโดยพระเจ้าเจมส์ที่ 5 แห่งสกอตแลนด์เมื่อปีค.ศ. 1540 มงกุฎองค์นี้ถือเป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสกอตแลนด์ และยังเป็นถือเป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุด โดยปรากฎหลักฐานจากพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระเจ้าเจมส์ที่ 4 แห่งสกอตแลนด์ ซึ่งปรากฎในหนังสือกำหนดเทศกาล (Book of Hours) เพื่อใช้ในงานพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับมาร์กาเร็ต ทิวดอร์",
"title": "มงกุฎแห่งสกอตแลนด์"
},
{
"docid": "684401#1",
"text": "ดองกีคองได้ปรากฎตัวในเกมดองกีคองเป็นเกมอาร์เคดที่โด่งดังเป็นเกมที่แสดงการปรากฎตัวของมาริโอ และ ดองกีคองก์ในเกมนั้นมาริโอจะเป็นตัวละครฝ่ายดีและดองกีคองก์จะเป็นตัวละครฝ่ายร้ายแต่ว่าสุดท้ายดองกีคองก์ก็เป็นฝ่ายแพ้และถูกมาริโอลักพาตัวแทนดังนั้นมาริโอจึงได้เป็นตัวละครฝ่ายร้ายแทนส่วนตัวละครฝ่ายดีคือดองกีคองก์จูเนียร์ในเกมดองกีคองก์จูเนียร์\nแรก็ได้เป็นบริษัทที่พัฒนาเกมดองกีคองทำให้เกิดเกมที่มีชื่อว่าดองกีคองคันทรีเป็นเกมที่ได้แสดงการปรากฎตัวของคิง เครู\nเกมดองกีคองทำให้เกิดเกมที่มีชื่อว่าดองกีคองคันทรีรีเทิร์น",
"title": "ดองกีคอง (ตัวละคร)"
},
{
"docid": "979507#2",
"text": "บาวเซอร์ จูเนียร์ปรากฎตัวครั้งแรกในเกม\"ซูเปอร์มาริโอซันไชน์\" โดยเขาได้ทำลายวันพักผ่อนของมาริโอโดยการทาสีทั้งเกาะไอล์ เดลฟิโน และปลอมตัวเป็นมาริโอแล้วลักพาตัวเจ้าหญิงพีชหลังจากที่พ่อได้หลอกเขาว่าเจ้าหญิงพืชคือแม่ของเขา แล้วหลังจากนั้นเขาจึงรู้ว่าเธอไม่ใช่แม่ของเขา แต่ยังคงต้องการแก้แค้นมาริโอ\nบาวเซอร์ จูเนียร์ได้ปรากฎตัวกับพ่อของเขาในโฆษณา \"นินเทนโดสวิทช์\" \"แพเรนทัล คอนโทรล\" แอป",
"title": "บาวเซอร์ จูเนียร์"
},
{
"docid": "96522#20",
"text": "เมื่อดิอแมซซิงสไปเดอร์แมนวางจำหน่ายถึงฉบับที่ 441 (พ.ย. 2541) นักประพันธ์และศิลปิน จอห์น ไบร์น (John Byrne) ก็ได้นำเอาต้นกำเนิดของไอ้แมงมุมมาปรับปรุงใหม่ และนำไปสร้างเป็นหนังสือการ์ตูนชุดพิเศษที่ชื่อ “สไปเดอร์แมน: แชปเตอร์วัน” (Spider-Man: Chapter One, ธ.ค. 2541 – ต.ค. 2542)",
"title": "สไปเดอร์-แมน"
},
{
"docid": "93999#39",
"text": "วันเดอร์แมนมีอาชีพตามชื่อคือวันเดอร์แมนซึ่งไม่สามารถระบุสายได้ ความสามารถของวันเดอร์แมนนั้นเข้าขั้นที่เรียกได้ว่าไร้ประโยชน์อย่างแท้ จริง เพราะมีแต่สกิลไร้สาระที่หาประโยชน์ไม่ได้ แต่ในบางครั้งทักษะของวันเดอร์ก็สามารถปราบมอนเตอร์ระดับสูงด้วยการโจมตีเพียงครั้งเดียว อาวุธประจำตัวของวันเดอร์แมนคือ ปืนยิงเคริส์ทรานคอนดิชั่น อาวุธระดับสามดาวที่สามารถทำให้เป้าหมายเปลี่ยนเพศและค่าคุณสมบัติได้โดยอัตราสำเร็จขึ้นอยู่กับระยะห่างของเลเวล ซึ่งเหมาะสมกับวันเดอร์แมนเพราะเขามีเลเวลสูงสุดในกลุ่มนั่นเองและอาวุธอีกอย่างคือลูกดอกยาชา(รวมเล่ม 9 ตอน 73 หน้า 14)ใช้ตอนหยุดกานดาที่จะออกจากหมู่บ้านคัลไซล์โดยไม่ยอมเตรียมตัว",
"title": "รายชื่อตัวละครในเอ็กซีคิวชั่นแนล"
},
{
"docid": "202377#1",
"text": "ประเทศจีนเป็นชาติแรกที่ประดิษฐ์ดินปืนขึ้นใช้ได้ และแนวคิดปืนใหญ่เริ่มปรากฎขึ้นในแผ่นดินจีน ในช่วงราชวงศ์ซ่ง หรือราวศตวรรษที่ 12 โดยปรากฎหลักฐานเป็นหนึ่งในรูปปั้นของงานแกะสลักหินแห่งต้าจู๋. อย่างไรก็ดี ปืนใหญ่ไม่ได้รับการผลิตขึ้นใช้จริงจนกระทั่งศตวรรษที่ 13. ในปีคริสต์ศักราช 1288 มีการบันทึกว่า กองทัพของราชวงศ์หยวนมีปืนใหญ่มือไว้ใช้ในการรบ. หลังจากนั้นเทคโนโลยีปืนใหญ่ก็เริ่มปรากฎตัวขึ้นในยุโรปในราวต้นศตวรรษที่ 14.",
"title": "ปืนใหญ่"
},
{
"docid": "44079#3",
"text": "ในขณะที่สไปเดอร์-แมนกำลังต่อสู้บนดาวประหลาด (เนื้อเรื่องย่อยภาคซีเคร็ท วอร์ส) เขาต้องยอมเสียสละเครื่องยิงใยแมงมุมอาวุธหลักของเขาไปในการช่วยเหลือเพื่อนพ้องจากการโดนหินทับที่โมเลกุล-แมนทุ่มใส่ ทำให้สไปเดอร์-แมนต้องหาอาวุธใหม่มาทดแทน โดยได้ข่าวจากฮีโร่คนอื่นๆมาว่ามีเครื่องยนต์ประหลาดในห้องแลปทดลองใกล้ๆซึ่งสามารถซ่อมชุดของเขาได้ สไปเดอร์แมน จึงเริ่มตามหาเครื่องที่ว่านี้ แต่ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้ไปเปิดผิดเครื่อง และปลดปล่อย“สสารเอเลี่ยนประหลาด” หลุดออกมาจากที่กักขังโง่ๆ\nด้วยความประมาทของสไปเดอร์แมน ทำให้สสารเอเลี่ยนนั้นครอบคลุมร่างกายของเขา ทำให้ชุดสไปเดอร์แมนกลายเป็นร่างใหม่สีดำ ซึ่งค้นพบภายหลังว่ามันตอบสนองต่อสมองของเขา ซึ่งสามารถพรางกายให้เป็นชุดคนธรรมดา และสามารถพ่นใยแมงมุมอาวุธหลักได้อย่างไม่จำกัด",
"title": "เวนอม"
},
{
"docid": "979809#1",
"text": "กูปปะลิงส์ปรากฎตัวครั้งแรกในเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 3 โดยรับบทเป็นบอสในแต่ละด่านโดยมีคฑาที่ขโมยมาจากพระราชาและสาปเขาให้เป็นสัตว์ต่างๆ หลังจากนั้นจึงปรากฎตัวในเกมซูเปอร์มาริโอเวิลด์ในปี 1990 โดยเก็บไข่ของโยชิไว้ในปราสาทบนดินแดนไดโนเสาร์ (Dinosaur Land)",
"title": "กูปปะลิงส์"
},
{
"docid": "96522#22",
"text": "ในปี พ.ศ. 2550 ไอ้แมงมุมได้ปรากฏตัวอยู่ในหนังสือการ์ตูนชุดต่าง ๆ ของมาร์เวลมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ดิอแมซซิงสไปเดอร์แมน, นิวอเวนเจอร์ส (New Avengers) , เดอะเซนเซชันแนลสไปเดอร์แมน (The Sensational Spider-Man) , เฟรนลีเนเบอร์ฮูดสไปเดอร์แมน (Friendly Neighborhood Spider-Man) , สไปเดอร์แมนแฟมิลี (Spider-Man Family) , ดิอแมซซิงสไปเดอร์เกิร์ล (The Amazing Spider-Girl) , อัลทิเมต สไปเดอร์-แมน (Ultimate Spider-Man) , สไปเดอร์แมนเลิฟส์แมรี เจน (Spider-Man Loves Mary Jane) , มาร์เวลแอดเวนเจอรส์สไปเดอร์แมน (Marvel Adventures Spider-Man) , และมาร์เวลแอดเวนเจอรส์: ดิอเวนเจอรส์ (Marvel Adventures: The Avengers) นอกจากนั้น ยังรวมไปถึงหนังสือการ์ตูนชุดอื่น ๆ ที่ขายอย่างจำกัดจำนวนของมาร์เวลอีกด้วย",
"title": "สไปเดอร์-แมน"
},
{
"docid": "402618#0",
"text": "ดิ อะเมซิ่ง สไปเดอร์แมน () เป็นภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร มีต้นฉบับมาจากตัวละครมาร์เวลคอมิกส์ ชื่อ สไปเดอร์แมน เข้าฉายในสหรัฐอเมริกา วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ในระบบ 3 มิติ และ ไอแมกซ์ 3 มิติ",
"title": "ดิ อะเมซิ่ง สไปเดอร์แมน"
},
{
"docid": "576404#0",
"text": "เดอะแบล็กแคต () หรือ เฟลิเซีย ฮาร์ดี () เป็นตัวละครจากเรื่องสไปเดอร์แมน ซึ่งจัดพิมพ์โดยมาร์เวลคอมิกส์ สร้างขึ้นมาโดยนักเขียน มาร์ฟ วูลฟ์แมน และนักวาด ไคธ์ พอลลาร์ด ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน ดิอแมซซิงสไปเดอร์แมน ฉบับที่ 194 (กรกฎาคม ค.ศ. 1979)",
"title": "แบล็กแคต (ตัวละคร)"
},
{
"docid": "374104#0",
"text": "ร็อค ฮาวเวิร์ด (; ) เป็นตัวละครในเกมต่อสู้ของ \"SNK Playmore\" ปรากฏตัวครั้งแรกในเกมต่อสู้ \"กาโร่ มาร์คออฟเดอะวูลฟ์ส\" และเกมต่อสู้ข้ามฝั่งของ SNK นอกจากนี้ร็อคได้ปรากฎตัวให้ได้เล่นเป็นครั้งแรกในซีรี่ส์เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส โดยที่ปรากฎตัวในภาค เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส XIV ให้เสียงพากย์โดย เอจิ ทาเคโมโตะ ส่วนเวอร์ชันภาษาอังกฤษตั้งแต่ภาค \"KOF: Maximum Impact\" รวมถึงภาคต่อมาให้เสียงโดย ไมค์ เลน",
"title": "ร็อค ฮาวเวิร์ด"
},
{
"docid": "910773#0",
"text": "สกอตต์ แลง () เป็นตัวละครซุเปอร์ฮีโรของมาร์เวลคอมิกส์ เป็นตัวละครที่สองที่ใช้ชื่อแอนต์-แมน เขาปรากฎตัวครั้งแรกใน\"The Avengers\" #181 (March 1979) และใน\"Marvel Premiere\" #47 (April 1979) และสร้างสรรค์โดย David Michelinie และJohn Byrne",
"title": "แอนต์-แมน (สกอตต์ แลง)"
},
{
"docid": "906773#1",
"text": "ปรากฎการณ์ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากของจำนวนการฆ่าตัวตาย ซึ่งเกิดตามหลังการฆ่าตัวตายที่เป็นข่าวในวงกว้าง มักถูกเรียกว่า ปรากฎการณ์แวเธ่อร์ (Werther effect) ซึ่งตั้งตามนิยายของเกอเธ่เรื่อง \"แวเธ่อร์ระทม\"",
"title": "การฆ่าตัวตายเลียนแบบ"
},
{
"docid": "44079#8",
"text": "\"มัน\"โดยแท้จริงนั้นตกหลุมรักกับปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ในการ์ตูนสไปเดอร์แมน เล่มที่ 371 สไปเดอร์แมนได้ปราบ\"มัน\"ด้วยการถอดชุดสไปเดอร์แมนออก แล้วเสนอร่างให้ครอบงำแต่อีกทางนึง ตัวเอ็ดดี้ บร็อก กลับคิดว่า\"มัน\"ก็เกลียดชังในตัวสไปเดอร์แมนพอๆกับเขา เมื่อยามที่ทั้งสองปะทะกัน\"มัน\" ได้พยายามอย่างมากที่จะแยกร่างออกจากเอ็ดดี้ เพื่อจะกลับไปรวมร่างกับสไปเดอร์-แมนอีกครั้ง\nแต่ทว่าการแยกร่างหลังจากการรวมตัวที่สมบูรณ์นั้นเป็นเรื่องที่\"ทรมาน\"มาก ตัวของเอ็ดดี้ บร็อกนั้นถึงกับช็อคจนสลบ ซึ่งเนื้อเรื่องต่อมาผู้เขียนตัดสินใจให้\"มัน\"สามารถเคลื่อนย้ายร่างตนได้อย่างอิสระ โดยนิสัยของ\"มัน\"ก็ได้ถูกเปลี่ยนไปด้วยครับ โดยตอนแรกมันรวมร่างกับเอ็ดดี้เพราะความเกลียดชังในตัวสไปเดอร์-แมน แต่ในเนื้อเรื่องใหม่ระบุให้มันกินสาร\"อะดรีนาลีน\"ในร่างกายมนุษย์เป็นอาหาร ซึ่งระหว่างครอบงำร่างของเอ็ดดี้นั้นเอง\"มัน\"ก็ผลิตสารขึ้นมาทำลายโรคมะเร็งจนสิ้น",
"title": "เวนอม"
},
{
"docid": "940428#2",
"text": "ปรากฎการณ์ \"ไฟของนักบุญเอลโม\" เป็นที่รู้จักกันมาแต่สมัยกรีกโบราณ โดยนักเดินเรือชาวกรีกเรียกแสงประเภทนี้ว่า \"เฮเลแน\" () หากปรากฎเป็นแสงเดี่ยว ๆ แต่จะเรียกว่า คาสตอร์กับโพลีเดวเคส (Kastor and Polydeukes) หากเกิดขึ้นเป็นปรากฎการณ์แสงคู่ (ซึ่งเป็นชื่อของฝาแฝดผู้เป็นพี่น้องกับเฮเลน ราชินีของชาวสปาร์ตา)",
"title": "ไฟของนักบุญเอลโม"
},
{
"docid": "765127#0",
"text": "ดร.เฮนรี \"แฮงก์\" พิม () ปรากฎตัวครั้งแรกในTales to Astonish เล่มที่ 27 แฮงก์ พิม ปรากฎตัวครั้งแรกไม่ใช่ในฐานะซูเปอร์ฮีโรแต่เป็นตัวละครในการ์ตูนไซไฟที่ชื่อว่า The Man in Ant Hill โดยนอกจากจะเป็นแอนต์-แมนเขายังเป็นไจอันต์-แมน, โกไลอัท และวอสป์ซึ่งได้เปลี่ยนเป็นชุดนี้เพื่อให้เกียรติภรรยาเขาอีกด้วย",
"title": "แฮงก์ พิม"
},
{
"docid": "464253#0",
"text": "ดอกเตอร์ออกโทปุส () หรือชื่อเดิมออตโต กุนเธอร์ ออกเทเวียส () เป็นตัวละครตัวร้ายที่มีพลังพิเศษในหนังสือการ์ตูนของสำนักพิมพ์มาร์เวลคอมิกส์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1963 มีบทบาทหลักเป็นศัตรูของสไปเดอร์แมน เป็นนักวิทยาศาสตร์เสียสติ และเป็นศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดคนหนึ่งของสไปเดอร์แมน ส่วนใหญ่ถูกวาดในลักษณะเป็นชายร่างเล็ก สายตาสั้น ใช้แขนกลทรงพลังสี่อันในการก่อการต่างๆ มีความฝังใจเกี่ยวกับการพิสูจน์ความเป็นอัจฉริยะของตัวเอง และการเอาชนะสไปเดอร์แมน ในช่วงแรกๆ ผู้เขียนมักสะกดนามสกุลเป็นภาษาอังกฤษว่า Octavious ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็น Octavius ในภายหลัง ในเรื่องนั้นสไปเดอร์แมนได้ให้ชื่อเล่นกับเขาเอาไว้ว่าด็อก อ็อค () มีบทบาทในสื่อที่เกี่ยวกับสไปเดอร์แมนหลายเรื่อง รวมถึงภาพยนตร์\"สไปเดอร์แมน 2\" ปี ค.ศ. 2004 รับบทโดยอัลเฟรด โมลินา ได้รับการจัดอันดับจาก IGN ให้เป็นสุดยอดตัวร้ายจากหนังสือการ์ตูนตลอดกาลอันดับที่ 28",
"title": "ดอกเตอร์ออกโทปุส"
},
{
"docid": "44079#12",
"text": "ด้วยความประมาท\"มัน\"ได้ฟื้นสภาพและออกตามหาตัวเอ็ดดี้ บร็อก เพื่อกลายร่างเป็นเวนอมอีกครั้ง มันได้รวมร่างกับตัวอ่อนของเคลตัส คาซาดี้(ซึ่งก็คืออดีตคาร์เนจ) และเข้าร่วมกับกลุ่มซินิสเตอร์ซิกส์(ขบวนการวายร้ายที่มีความแค้นต่อสไปเดอร์แมน) แต่ก็ได้สำนึกตนและพยายามฆ่าคนในทีม เวนอม ต่อสู้กับ แซนด์แมน และ อิเล็คโทร และทิ้งไว้ให้ตาย ซึ่งในตอนนั้นเอง เวนอม ก็ได้จับมือญาติดีกับ สไปเดอร์แมน อีกครั้ง แต่ความแค้นก็ยังไม่จบสิ้น ถาโถมขึ้นมาใหม่เมื่อภรรยาของ เอ็ดดี้ บร็อก ฆ่าตัวตาย (ที่แท้จริงแล้วก็เพราะ เอ็ดดี้ แปลงร่างเป็น เวนอม กระโดดไล่ตาม สไปเดอร์แมน ต่อหน้าต่อหน้าต่อตา เธอเลยช็อคกระโดดตึกตาย) ",
"title": "เวนอม"
}
] |
294 | สุจิตต์ วงษ์เทศ เกิดเมื่อใด ? | [
{
"docid": "611413#0",
"text": "สุจิตต์ วงษ์เทศ (20 เมษายน พ.ศ. 2488 - ปัจจุบัน) นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2536 ปัจจุบันเป็นนักเขียนประจำในเครือมติชน เขียนเป็นประจำในคอลัมน์ \"สยามประเทศไทย\" ในหนังสือพิมพ์มติชน และผู้บรรยาย องค์ปาฐกถาพิเศษด้านศิลปะวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี\nนอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) ประจำปี พ.ศ. 2545 (แต่ได้ขอปฏิเสธรางวัลและค่าตอบแทน)\nสุจิตต์ วงษ์เทศ เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2488 ที่บ้านด่าน ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ (โคกปีบ) จังหวัดปราจีนบุรี บิดาชื่อ สำเภา วงษ์เทศ เป็นอดีตผู้ใหญ่บ้านบ้านด่าน มารดาชื่อลิ้นจี่ วงษ์เทศ",
"title": "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
}
] | [
{
"docid": "611413#2",
"text": "สุจิตต์ วงษ์เทศ เริ่มเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดต้นโพธิ์ อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี จนจบชั้นประถมปีที่ 4 จากนั้นได้ย้ายตามลูกของลุงที่บวชเป็นพระมาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร แล้วเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ที่โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์ กรุงเทพมหานคร แล้วไปเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 แผนกวิทยาศาสตร์ ที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ต่อมาได้ย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากนั้นได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร จนสำเร็จปริญญาตรีใน พ.ศ. 2513 โดยใช้เวลาศึกษาถึง 7 ปี จากระยะเวลา 4 ปี ของหลักสูตรการศึกษา ซึ่งสุจิตต์เล่าว่าตนเองนั้นสอบตกซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกระทั่งอาจารย์ถึงกับเบื่อหน่าย และนั่นเองเป็นเหตุที่ทำให้สุจิตต์มีความรู้แน่นและลึกมากๆเกียวกับประวัติศาสตร์ไทย โบราณคดี ถึงแม้จะศึกษาถึงเพียงแค่ปริญญาตรีเท่านั้น",
"title": "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
},
{
"docid": "611413#1",
"text": "สุจิตต์ เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 6 คน สมรสกับศาสตราจารย์ ปรานี วงษ์เทศ (สกุลเดิม: เจียรดิษฐ์อาภรณ์) เมื่อ พ.ศ. 2514 มีบุตร 2 คน",
"title": "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
},
{
"docid": "639724#1",
"text": "นางสุดจิตต์ อนันตกุล มีนามเดิมว่า สุดจิตต์ ดุริยประณีต เกิดเมื่อวันจันทร์ แรม 15 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 ที่บ้านบางลำพู พระนคร เป็นธิดาของ นายศุข ดุริยประณีต และนางแถม ดุริยประณีต แห่งสำนักดนตรีบ้านบางลำภู ปัจจุบันตั้งอยู่บ้านเลขที่ 83 ซอยลำพู (หรือซอยข้างวัดสังเวชวิศยาราม) ถนนสามเสน 1 แขวงบางลำภูบน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีพี่น้องร่วมบิดามารดา จำนวน 10 คน คือในจำนวนพี่น้อง 10 คน ได้สืบทอดวิชาชีพด้านดนตรีไทยจากบิดามารดา และมีลูกหลานว่านเครือเป็นนักดนตรีไทยอยู่ในปัจจุบันจำนวนมาก",
"title": "สุดจิตต์ อนันตกุล"
},
{
"docid": "611413#5",
"text": "เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2515 เดินทางกลับมาทำงานที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวันตามเดิม แล้วออกมาพร้อมกับนายขรรค์ชัย บุนปาน และนายเสถียร จันทิมาธร ไปทำงานที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐรายวันระยะหนึ่ง แล้วร่วมกับนายขรรค์ชัย บุนปาน ก่อตั้งโรงพิมพ์พิฆเนศ กระทั่งหลัง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จึงเริ่มออกหนังสือพิมพ์ประชาชาติรายสัปดาห์ ซึ่งต่อมาเป็นประชาชาติรายวัน โดยนายสุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นบรรณาธิการในระยะแรก แต่ถูกสั่งปิดในระยะต่อมา จึงไปช่วยก่อตั้งสำนักพิมพ์การเวกจัดพิมพ์หนังสือต่าง ๆ ออกจำหน่าย จากนั้นได้ก่อตั้งโรงพิมพ์เรือนแก้วเป็นของตัวเอง ออกหนังสือการะเกดรายสัปดาห์ ก็เลิกล้มไปอีก จนกระทั่ง พ.ศ. 2522 ริเริ่มทำนิตยสารศิลปวัฒนธรรมรายเดือน ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากผู้อ่านกว้างขวาง จึงรับหน้าที่บรรณาธิการเรื่อยมา จนภายหลังได้มอบหมายให้นายฐากูร บุนปาน ทำหน้าที่นี้แทน ขณะเดียวกันก็เขียนบทความแนวประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมในนามจริง สุจิตต์ วงษ์เทศ และใช้นามปากกา \"ทองเบิ้ม บ้านด่าน\" ไปพร้อม ๆ กับงานร้อยกรอง ด้วยความรักในกาพย์ กลอน นายสุจิตต์ วงษ์เทศ ยังคงสร้างผลงานกวีนิพนธ์ร่วมสมัยสะท้อนสภาพสังคมเหตุการณ์บ้านเมืองเป็นบทกลอนสั้น ๆ ลงในหนังสือพิมพ์มติชนรายวันประจำทุกวันอาทิตย์จนถึงปัจจุบัน",
"title": "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
},
{
"docid": "611413#3",
"text": "สุจิตต์ วงษ์เทศ เริ่มสนใจงานเขียนมาตั้งแต่เรียนที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ด้วยการชักชวนของนายขรรค์ชัย บุนปาน เพื่อนร่วมห้องซึ่งทำหนังสือประจำห้องอยู่ก่อนแล้วด้วยใจรักและด้วยความสนุกร่วมกับนายเรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ เพื่อนในชั้นเรียนอีกคนหนึ่ง ชักชวนกันเขียนกลอน ช่วงนั้นได้อ่านหนังสือของไม้ เมืองเดิม เกิดความชอบใจสำนวนโวหาร จึงคิดเขียนกลอนที่แตกต่างจากกลอนรักที่นิยมเขียนกันทั่วไป คือ เขียนกลอนแนวลูกทุ่งสะท้อนสภาพสังคมวัฒนธรรมในขณะนั้น จนมีผลงานรวมพิมพ์เป็นเล่ม ร่วมกับผลงานของนายขรรค์ชัย บุนปาน ชื่อ นิราศ เมื่อ พ.ศ. 2507 โดยสุจิตต์ เขียนนิราศเมืองนนท์ ส่วนกลอนลูกทุ่ง เขียนร่วมกัน ต่อมา พ.ศ. 2508 เขียนเรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ คนบาป ซึ่งเป็นปฐมบทของพฤติกรรม \"ขุนเดช\" ผู้หวงแหนโบราณวัตถุและโบราณสถาน ลงพิมพ์ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2509 ทำให้มีกำลังใจเขียนเรื่องสั้นต่ออีกมาก จน พ.ศ. 2511 มีรวมเรื่องสั้นเล่มแรกร่วมกับนายขรรค์ชัย บุนปาน ชื่อ ครึ่งรักครึ่งใคร่ และโด่งดังมากใน พ.ศ. 2512 จากผลงานร้อยกรองร่วมกับนายขรรค์ชัย บุนปาน ชื่อ กูเป็นนิสิตนักศึกษา และรวมเรื่องสั้นของตนเอง ชื่อ ขุนเดช กับนวนิยายขนาดสั้น หนุ่มหน่ายคัมภีร์ ทำให้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกว้างขวาง โดยเฉพาะรวมเรื่องสั้นชุดขุนเดช มีผู้นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อีกด้วย ในช่วงที่เรียนคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร นอกจากจะประพันธ์ร้อยกรองและเรื่องสั้นกับเพื่อนๆ นักเขียนกลุ่ม \"หนุ่มเหน้าสาวสวย\" จนโด่งดังแล้ว ยังได้ไปทำนิตยสารช่อฟ้า ที่มีนายสำราญ ทรัพย์นิรันดร์ เป็นบรรณาธิการ นายสุจิตต์ วงษ์เทศ เคยรับหน้าที่บรรณาธิการวารสารโบราณคดี และได้ทำงานที่โรงพิมพ์กรุงสยาม รับจ้างพิสูจน์อักษร ออกแบบปก จัดทำรูปเล่มและทำงานการพิมพ์อื่น ๆ เกือบทุกอย่าง ทำให้รอบรู้และมีรายได้ส่งเสียตัวเองและน้องสาวที่เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ด้วย เนื่องจากนายสุจิตต์ วงษ์เทศ เคยอ่านวรรณคดีโบราณ เช่น ทวาทศมาส ยวนพ่าย กำสรวลโคลงดั้น ฯลฯ มามาก จึงได้รับการขอร้องจากอาจารย์ให้เป็นผู้สอนวิชาภาษาและวรรณคดีไทยในคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นปีที่ 2 และสอนต่อเนื่องมาจนจบการศึกษาแล้วก็ยังกลับไปสอนอีกระยะหนึ่ง",
"title": "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
},
{
"docid": "786274#1",
"text": "พระครูวิจิตรนวการโกศล (สมจิต จิตฺตคุตฺโต) หรือ ครูบาสมจิต นามเดิม สมจิต วงศ์แสนศรี เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดี ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2484 หมู่ 7 ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็นบุตรของนายชื่น กับนางคำมูล วงศ์แสนศรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน คือ\nครูบาสมจิตท่านสืบเชื้อสายมาจากเจ้าน้อยการินตา บุตรชายคนหนึ่งของพญาไชยชนะชุมพู เจ้าเมืองลองคนที่ 17 ในสกุลวงศ์เจ้าช้างปาน และเป็นน้องชายของพญาขัณฑสีมาโลหะกิจ เจ้าเมืองลองคนที่ 18",
"title": "พระครูวิจิตรนวการโกศล (สมจิต จิตฺตคุตฺโต)"
},
{
"docid": "649288#1",
"text": "ศรวณี โพธิเทศ มีชื่อจริงว่าสารนิตย์ โพธิเทศ มีชื่อเล่นว่านิตย์ เกิดที่จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2486 เข้าศึกษาที่โรงเรียนสุรินทรศึกษาจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ มาศึกษาที่ต่อที่โรงเรียนการช่างสตรีพระนครใต้ (ปัจจุบันคือคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ พระนครใต้) เริ่มต้นเข้าวงการบันเทิง เมื่อปี พ.ศ. 2504 ผลงานที่สร้างชื่อเสียง เพลง \"เธอเท่านั้น\" โดยได้บันทึกแผ่นเสียงเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2511",
"title": "ศรวณี โพธิเทศ"
},
{
"docid": "34138#1",
"text": "พลอากาศเอก สิทธิ เกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2462 ที่จังหวัดพระนคร ในบ้านหลังวัดชนะสงคราม เป็นบุตรของมหาอำมาตย์ตรี พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา) และคุณหญิงขลิบ วันพฤกษ์พิจารณ์ (สกุลเดิม บุนนาค) เป็นหลานปู่ของนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ หลานตาของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) และเหลนของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) มีพี่น้อง ดังนี้",
"title": "สิทธิ เศวตศิลา"
},
{
"docid": "34047#0",
"text": "วสันต์ สิทธิเขตต์ (เกิด 7 ตุลาคม พ.ศ. 2500) ศิลปินและนักเคลื่อนไหวทางสังคม เกิดที่อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นพี่ชายของวิสามัญเมือง สิทธิเขตต์ นักวาดและช่างถ่ายภาพเปลือย เรียนศิลปะที่วิทยาลัยช่างศิลป์ กรุงเทพฯ ระหว่าง พ.ศ. 2518 – 2524",
"title": "วสันต์ สิทธิเขตต์"
}
] |
1633 | ปฏิญญาอาเซียน ซึ่งรู้จักกันมากกว่าในชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "386360#5",
"text": "อาเซียนถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 เมื่อรัฐมนตรีต่างประเทศของห้าประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ประชุมกันที่อาคารกระทรวงการต่างประเทศของไทยในกรุงเทพมหานคร และลงนามปฏิญญาอาเซียน ซึ่งรู้จักกันมากกว่าในชื่อ ปฏิญญากรุงเทพ รัฐมนตรีทั้งห้า อันประกอบด้วย อดัม มาลิก แห่ง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย นาร์ซิโซ รามอส แห่ง สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ อับดุล ราซัค แห่ง สหพันธรัฐมาเลเซีย เอส. ราชารัตนัม แห่ง สาธารณรัฐสิงคโปร์ ถนัด คอมันตร์ แห่ง ราชอาณาจักรไทย ซึ่งถูกพิจารณาว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งองค์กร[8]",
"title": "การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
}
] | [
{
"docid": "2069#9",
"text": "หลังจากปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่สอง (English: Bali Concord II) ในปี พ.ศ. 2546 กลุ่มประเทศอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยทฤษฎีสันติภาพประชาธิปไตย ซึ่งหมายความว่า ประเทศสมาชิกทุกประเทศมีความเชื่อว่ากระบวนการตามหลักการประชาธิปไตยจะทำให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค นอกจากนั้น ประเทศอื่นที่มิได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันต่างก็เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ควรใฝ่หา[20]",
"title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
},
{
"docid": "445018#2",
"text": "แม้อาเซียนจะมิได้มีสนธิสัญญาหรือกฎบัตรมาตั้งแต่ต้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาเซียนก็ได้พัฒนาความร่วมมือโดยอาศัยฐานในทางกฎหมายระหว่างประเทศมากขึ้น เช่น การที่สมาชิกอาเซียนได้จัดทำสนธิสัญญาไมตรี และความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia 1976 หรือ TAC) ซึ่งก็เป็นการนำหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่เดิมแล้วมาเน้นย้ำระหว่างรัฐในภูมิภาค เช่น หลักการเคารพอำนาจอธิปไตยของรัฐ หลักการไม่แทรกแซงกิจการอันเป็นการภายในของแต่ละรัฐ ซึ่งปรากฏอยู่ในกฏบัตรสหประชาชาติอยู่แล้ว เป็นต้น และอาเซียนก็ได้อาศัยหลักในสนธิสัญญาดังกล่าวมาเป็นหลักการที่อาเซียนยึดถือ และเป็นข้อแม้ในการต่อรองกับรัฐที่ไม่ใช่สมาชิกให้ลงนามเป็นภาคีก่อนจะได้รับให้เข้าร่วมประชุมกับอาเซียนนั่นเอง ข้อพิจารณาสำคัญคือสนธิสัญญาดังกล่าวมิได้เกี่ยวข้องหรือทำขึ้นกับอาเซียนโดยตรง และอาเซียนก็มิได้มีความสามารถในการทำสนธิสัญญาโดยตนเอง เพียงแต่รัฐที่อยู่ในบริเวณเอเชียอาคเนย์ได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาดังกล่าวเพื่อประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาคและอาศัยอาเซียนเป็นเครื่องมือในการดำเนินความร่วมมือและพันธกรณีหรือหน้าที่ตามสนธิสัญญานั้นย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียนโดยปริยาย นอกจากนี้ อาเซียนยังได้เป็นเวทีที่ทำให้เกิดสนธิสัญญาในเรื่องอื่น ๆ เช่น การทำให้ภูมิภาคปลอดจากอาวุธนิวเคลียร์ หรือล่าสุดในด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ตลอดจนความตกลงเรื่องเศรษฐกิจและความร่วมมือเฉพาะด้าน เช่น ด้านการส่งเสริมสวัสดิการสังคม การศึกษา การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติสิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ ฯลฯ ซึ่งล้วนอาศัยอาเซียนเป็นกลไกสำคัญทั้งสิ้น ดังนั้น แม้ในทางรูปแบบแล้วจะไม่ถือว่าอาเซียนได้ตั้งอยู่บนฐานกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ในทางเนื้อหากฎหมายระหว่างประเทศและความตกลงเหล่านี้ก็จะได้มีอิทธิพลต่อการดำเนินของอาเซียนในช่วงเวลาที่ผ่านมา\nเชื่อถือได้...",
"title": "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน"
},
{
"docid": "386360#14",
"text": "ใน พ.ศ. 2535 แผนอัตราศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff - CEPT) มีการลงนามเป็นกำหนดการภาษีศุลกากรและมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันของภูมิภาคเป็นฐานการผลิตที่ขับเคลื่อนตลาดโลก กฎหมายดังกล่าวอาจเป็นเสมือนกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียน หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 มาเลเซียก็รื้อฟื้นข้อเสนอขึ้นมาอีกครั้ง รู้จักกันในชื่อ การริเริ่มเชียงใหม่ ซึ่งเรียกร้องบูรณาการที่ดียิ่งขึ้นระหว่างเศรษฐกิจอาเซียนเช่นเดียวกับประเทศอาเซียนบวกสาม[18]",
"title": "การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
},
{
"docid": "2069#46",
"text": "ในขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ผลักดันให้จัดตั้งเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน เกาหลีใต้ก็ได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก ด้วยการผนึกสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เข้ากับกลุ่มประเทศอาเซียนที่เรียกชื่อว่า \"อาเซียนบวกสาม\" (APT) แต่สาธารณรัฐประชาชนจีน เดินหน้าจัดตั้งเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน โดยกีดกันญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ด้วยความจงใจ แม้ว่าตามข้อตกลงในการจัดซื้อเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน จะมีแผนที่จะผนวกเกาหลีใต้และญี่ปุ่นเข้ามาในภายหลังเพื่อเป็นอาเซียนบวกสาม แต่มิได้กำหนดเงื่อนเวลาอันแน่นอน อันทำให้เขตการค้าเสรีอาเซียนบวกสาม",
"title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
},
{
"docid": "374469#0",
"text": "ตลาดหลักทรัพย์อาเซียน () เป็นตลาดในกลุ่มอาเซียน 7 แห่ง ประกอบด้วยตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ , สิงคโปร์, ไทย, โฮจิมินห์, และฮานอย โดยจะร่วมกันยกระดับหุ้นในอาเซียนให้เป็นหลักทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับจากนักลงทุนทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียน โดยมีเป้าหมายร่วมกันที่จะเพิ่มสภาพคล่องของกลุ่มตลาดหลักทรัพย์อาเซียน ด้วยการส่งเสริมธุรกรรมข้ามตลาด การเพิ่มประสิทธิภาพช่องทางการเข้าถึงตลาดหลักทรัพย์อาเซียนให้สะดวกและง่ายขึ้น และการออกผลิตภัณฑ์ที่อ้างอิงหลักทรัพย์ในอาเซียน ซึ่งความร่วมมือของตลาดหลักทรัพย์อาเซียนจะเพิ่มความน่าสนใจและดึงดูดการลงทุนมายังภูมิภาค",
"title": "ตลาดหลักทรัพย์อาเซียน"
},
{
"docid": "386360#1",
"text": "หนึ่งในเกณฑ์สมาชิกภาพ คือ สมาชิกตามที่มุ่งหวังนั้นจะต้องตกลงลงนามหรือเข้าร่วมกับสนธิสัญญา แถลงการณ์และความตกลงทั้งหมดในอาเซียน เริ่มตั้งแต่ที่ระบุไว้ในปฏิญญากรุงเทพเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 และที่เพิ่มเติมและพัฒนาขึ้นในสนธิสัญญา แถลงการณ์และความตกลงของอาเซียนในกาลต่อมา ความกังวลร่วมกันอย่างหนึ่งซึ่งจะต้องหยิบยกขึ้นผ่านการเจรจา คือ ความสามารถของสมาชิกที่คาดหวังในการเข้าร่วมกับเขตการค้าเสรีอาเซียน และการจัดการความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่นทั้งหมด อีกหนึ่งวิธีกำหนดเป้าหมายของสมาชิกที่มุ่งหวังที่สำคัญคือ การเข้าร่วมในการประชุมอาเซียนและการมีส่วนร่วมในโครงการความร่วมมือต่าง ๆ[4]",
"title": "การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
},
{
"docid": "2069#49",
"text": "การประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน (English: ASEAN Navy Chiefs' Meeting หรือ ANCM) เป็นกิจกรรมทางทหารของประเทศสมาชิกอาเซียน เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2544 โดยกองทัพเรือไทยเป็นเจ้าภาพ ใช้ชื่อว่า ASEAN Navy Interaction (ANI) หลังการประชุมครั้งที่ 3 ได้เว้นช่วงไประยะหนึ่ง จึงดำเนินการจัดการประชุมต่อในครั้งที่ 4 ที่อินโดนีเซีย และในการประชุมครั้งที่ 5 ได้เปลี่ยนชื่อการประชุมเป็น ASEAN Navy Chiefs' Meeting",
"title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
},
{
"docid": "2069#31",
"text": "เมื่อก้าวเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21 ประเด็นปัญหาเริ่มมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยกลุ่มประเทศสมาชิกได้เริ่มเจรจากันถึงข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึง การลงนามในความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน ในปี พ.ศ. 2545 ในความพยายามที่จะจำกัดขอบเขตของมลภาวะฟ้าหลัวในเขตพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้[59] แต่ทว่าในพื้นที่ก็ยังเกิดปัญหาฟ้าหลัวในประเทศมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2548 และปัญหาฟ้าหลัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2549 ส่วนสนธิสัญญาฉบับอื่นที่ได้รับการลงนามโดยสมาชิกอาเซียนได้แก่ ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก[60] เครือข่ายกำกับดูแลสัตว์ป่าอาเซียนในปี พ.ศ. 2549[61] และ หุ้นส่วนเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยการพัฒนาความสะอาดและสภาพอากาศ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อปรากฏการณ์โลกร้อน และผลกระทบทางด้านลบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ใน พ.ศ. 2550 ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก ซึ่งลงนามในกลุ่มอาเซียน ร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานด้วยการหาพลังงานทางเลือกเพื่อใช้ทดแทนเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์",
"title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
},
{
"docid": "1961#49",
"text": "การสนับสนุนและความช่วยเหลือในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของเวียดนาม ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมจากประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งเวียดนามมองว่าเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับการปรับสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์และการปรับนโยบายต่างประเทศ การเข้ารวมกลุ่มอาเซียนจะทำให้เวียดนามมีโอกาสได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศจากสมาชิกต่างๆ อันจะมีส่วนเอื้ออำนวยและเร่งการพัฒนาของตนไปสู่ระบบเศรษฐกิจการตลาดซึ่งตั้งอยู่บนหลักการของการแข่งขันได้ในที่สุด เวียดนามให้ความสำคัญสูงสุดต่อการเข้าร่วมในระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและระบบเศรษฐกิจของโลก การเป็นสมาชิกของอาเซียนจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในเขตการค้าเสรีอาเซียน และนำเวียดนามไปสู่ความคุ้นเคยกับแนวทางปฏิบัติในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับโลก อันจะมีผลดีและเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่จะผลักดันเวียดนามให้ก้าวไปสู้การเป็นสมาชิกของ APEC และ WTO ได้ในที่สุด ในฐานะของสมาชิกอาเซียน เวียดนามหวังที่จะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของการค้าและการลงทุนกับประเทศอาเซียนทั้งหลาย ขณะเดียวกันในขณะที่การค้าภายในกลุ่มอาเซียนกำลังขยายตัว เวียดนามก็ได้ตระเตรียมและปรับทิศทางการส่งออกของตนที่จะไปสู่ตลาดอาเซียนนี้อย่างจริงจังมากขึ้น การนำเข้าของเวียดนามจากอาเซียนในขณะนี้เป็นครึ่งหนึ่งของการนำเข้าทั้งหมดของทั้งหมดของเวียดนาม และประมาณร้อยละ 30 ของการค้าทั้งหมดของเวียดนามที่มีกับอาเซียนนอกจากนี้ เวียดนามยังหวังว่าตนจะได้รับสิทธิพิเศษ GSP อย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป และเวียดนามยังจะเป็นจุดส่งออกที่สำคัญสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ",
"title": "ประเทศเวียดนาม"
},
{
"docid": "103462#1",
"text": "อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยตราสารที่เรียกว่า ปฏิญญาอาเซียน หรือที่รู้จักในชื่อ ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) โดยหากพิจารณาจากเนื้อหาของตราสารและสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในช่วง พ.ศ. 2510 พิจารณาได้ว่าอาเซียนจำต้องอาศัยรูปแบบความร่วมมือเชิงมิตรภาพในภูมิภาคและเลี่ยงการกำหนดสิทธิหน้าที่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ตลอดเวลาที่ผ่านมา ผู้นำในภูมิภาคได้อาศัยอาเซียนเป็นเวทีดำเนินความร่วมมือบนพื้นฐานของความยินยอมและความสมัครใจของสมาชิกเป็นหลัก การดำเนินการอยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือหรือการอาศัยฉันทามติ โดยเลี่ยงการอ้างสิทธิหน้าที่และการแทรกแซงทางการเมืองระหว่างสมาชิก (non intervention) ซึ่งแนวปฏิบัตินี้ที่เรียกว่า “The ASEAN Way” ได้ช่วยให้ความร่วมมือดำเนินมาได้โดยปราศจากความขัดแย้งรุนแรงแม้ว่าสมาชิกแต่ละประเทศจะมีระบบกฎหมายและนโยบายทางการเมืองที่แตกต่างกัน ดังนั้น เมื่ออาเซียนมิได้มุ่งที่จะนำกฎหมายระหว่างประเทศมาเป็นฐานในการดำเนินการ จึงมิได้มีการจัดทำสนธิสัญญาหรือกฎบัตรอาเซียนมาตั้งแต่ต้น",
"title": "กฎบัตรอาเซียน"
},
{
"docid": "220118#0",
"text": "ปฏิญญาอาเซียน (English: ASEAN Declaration) หรือ ปฏิญญากรุงเทพฯ (English: Bangkok Declaration) เป็นเอกสารในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รับการลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยในขณะนั้นมีสมาชิกผู้ก่อตั้งจำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซียและฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสกัดการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม โดยกำหนดหลักการเบื้องต้นของอาเซียน อย่างเช่น การร่วมมือกัน มิตรภาพและการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวต่อสถานการณ์ภายในประเทศสมาชิกทั้งหมด[1] วันดังกล่าวมีการจัดการเฉลิมฉลองเป็น วันอาเซียน[2]",
"title": "ปฏิญญากรุงเทพฯ"
},
{
"docid": "2069#7",
"text": "ใน พ.ศ. 2535 มีการลงนามใช้แผนอัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี โดยกฎหมายดังกล่าวเป็นโครงร่างสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย ในปี พ.ศ. 2540 ข้อเสนอของมาเลเซียถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งในจังหวัดเชียงใหม่ หรือที่รู้จักกันว่า การริเริ่มเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มระหว่างกลุ่มสมาคมอาเซียนและประเทศในเอเชียอีกสามประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้[18]",
"title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
},
{
"docid": "103462#3",
"text": "เมื่อเดือนธันวาคม 2540 ในการประชุม ณ กัวลาลัมเปอร์ บรรดาผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมประกาศ “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” (ASEAN Vision 2020) โดยกำหนดเป้าหมายว่าภายในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) อาเซียนจะมีรูปแบบความร่วมมือที่พัฒนาใกล้ชิดมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม ต่อมาในการประชุมผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 9 ในเดือนตุลาคม 2546 ที่บาหลี ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) โดยจะประกอบด้วย 3 เสาหลัก (pillars) ได้แก่ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community–ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC)",
"title": "กฎบัตรอาเซียน"
},
{
"docid": "59938#5",
"text": "ในยุคที่วังสราญรมย์ยังเป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศอยู่ สถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่ที่ชาติสมาชิกก่อตั้งอาเซียน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (หรือปฏิญญาอาเซียน) ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ก่อตั้งสมาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ โดยผู้ลงนามฝ่ายไทย คือ พ.อ. ถนัด คอมันตร์",
"title": "พระราชวังสราญรมย์"
},
{
"docid": "374469#1",
"text": "ตามแผนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) สมาชิกในกลุ่มตลาดหลักทรัพย์อาเซียนจะร่วมกันยกระดับหุ้นในอาเซียนให้เป็นหลักทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับ (Asset Class) จากผู้ลงทุนทั่วโลก โดยตลาดหลักทรัพย์สมาชิกมีเป้าหมายร่วมกันที่จะเพิ่มสภาพคล่องของกลุ่มตลาดหลักทรัพย์สมาชิก ด้วยการส่งเสริมธุรกรรมข้ามตลาด การเพิ่มประสิทธิภาพช่องทางเข้าถึงตลาดหลักทรัพย์อาเซียนให้สะดวกและง่ายขึ้น และการออกผลิตภัณฑ์ที่อ้างอิงหลักทรัพย์ในอาเซียน ทั้งนี้การจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์อาเซียนในครั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์สมาชิกได้ทำงานร่วมกับ ASEAN Capital Markets Forum: ACMF ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานกำกับดูแลของตลาดหลักทรัพย์ในประเทศอาเซียนมาอย่างต่อเนื่อง และในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554 กลุ่มตลาดหลักทรัพย์อาเซียนได้เปิดตัวเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมข้อมูลให้นักลงทุนทั้งในกลุ่มอาเซียนและทั่วโลกได้ทราบเกี่ยวกับความร่วมมือครั้งนี้ โดยมีกำหนดการดำเนินการร่วมกันของตลาดหลักทรัพย์อาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558มูลค่าทางการตลาดของตลาดหลักทรัพย์อาเซียนอยู่ที่ประมาณ 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีบริษัทรวมทั้งหมดกว่า 3,000 บริษัททั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน",
"title": "ตลาดหลักทรัพย์อาเซียน"
},
{
"docid": "386360#0",
"text": "การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นกระบวนการซึ่งขยายสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการรับรัฐสมาชิกใหม่เข้ามา กระบวนการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นเมื่อสมาชิกก่อตั้งห้าประเทศ ที่ได้ลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ใน พ.ศ. 2510 นับตั้งแต่นั้น ประเทศสมาชิกอาเซียนได้เพิ่มเป็นสิบประเทศ โดยประเทศล่าสุดที่เข้าร่วมกับอาเซียนคือ กัมพูชา ใน พ.ศ. 2542 ปัจจุบัน การเจรจารับเข้าเป็นสมาชิกกำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนกับสองรัฐ ได้แก่ ปาปัวนิวกินี[1][2] กับติมอร์-เลสเต[3]",
"title": "การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
},
{
"docid": "335740#1",
"text": "ความร่วมมือทางเขตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเป็นการคตอบโตการรวมเอาเซียนเข้าสู่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก โดยมหาเธร์ ที่เป็นที่รู้จักกันดีในจุดยืนอันหนักแน่นของเขา ข้อเสนอของเขา ข้อเสนอของเขามีลักษณะไม่พอใจอย่างชัดเจนที่อาเซียนเข้าร่วมกับเอเแฟ ซึ่งรวมไปถึงชาติตะวันตก ดังนั้น อีเออีซีจึงเน้นความเป็นเอเปกที่ปราศจากอเมริกาเหนือและออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือดังกล่าวไม่เคยมีผลบังคับใช้",
"title": "ความร่วมมือทางเขตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก"
},
{
"docid": "219414#0",
"text": "ลิ้มเซียนยี้ เป็นตัวละครในนิยายเรื่องฤทธิ์มีดสั้น ซึ่งแต่งโดยโกวเล้ง\nลิ้มเซียนยี้เป็นม่วยม่วยบุญธรรมของลิ้มซีอิม นางงดงามหยาดเยิ้มราวเทพธิดาจำแลงลงมา ไดชื่อว่าหญิงงามสะคราญอันดับหนึ่งแห่งแผ่นดิน\nแต่เป็นความงามที่เปี่ยมด้วยยาพิษ ล่อคนหลงให้ยอมมอบชีวิตได้เลย\nลิ้มเซียนยี้ได้หลอกล่ออาฮุยตัวเอกของเรื่องให้รักอย่างลุ่มหลงงมงาย ซึ่งทำให้เกิดเป็นที่มาของชื่อเรื่อง \"มือกระบี่มากรัก กระบี่ไร้น้ำใจ\" นั่นเอง\nลิ้มเซียนยี้หลอกใช้งานอาฮุย แต่กลับมีสัมพันธ์สวาทกับผู้ชายอีกหลายคนเพื่อผลประโยชน์ ยกเว้นก็เพียงอาฮุยทีไม่ได้แตะต้องนางเลย \nเนื่องเพราะอาฮุยรักลิ้มเซียนยี้อย่างจริงใจ ความรักไม่ได้ผิดเพียงแต่อาฮุยรักคนผิด แม้แต่ลี้คิมฮวงก็ไม่อาจดึงอาฮุยออกมาจากขื่อคานี้ได้\nแต่ต่อมาอาฮุยก็ได้คิดเอง และกลับไปสู่สุดยอดมือกระบี่ดังเดิม ส่วนบั้นปลายลิ้มเซียนยี้นั้นได้รับผลกรรมกลายเป็นนางคณิกาในซ่องที่ทรุดโทรม\nถึงแม้ในท้ายที่สุดลิ้มเซียนจะบังเกิดรักแท้ต่ออาฮุยก็ตาม แต่สายเกินไป",
"title": "ลิ้มเซียนยี้"
},
{
"docid": "187310#5",
"text": "ในเดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ. 2541 โครงการ SchoolNet Thailand ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีให้ใช้ระบบเครือข่ายกาญจนาภิเษก และได้รับการสนับสนุนจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำให้เครือข่าย SchoolNet Thailand เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์แห่งแรกในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่เปิดโอกาสให้โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านเลขหมายพระราชทาน 1509 ซึ่งโรงเรียนเสียค่าโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อเพียงครั้งละ 3 บาททั่วประเทศ และเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในชื่อว่า “SchoolNet@1509” ",
"title": "เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย"
},
{
"docid": "12339#205",
"text": "(๖) การประชุมการประชุมผู้นำศาสนาเพื่อสันติภาพในประชาคมอาเซียน ครั้งที่ ๑ เรื่อง ขันติธรรมทางศาสนา ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผู้นำศาสนา ๕ ศาสนาจาก ๑๐ ประเทศในประชาคมอาเซียน ๘๐ คน รวมถึงคนไทยร่วมงานประมาณ ๕๐๐ คน ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ภายใต้การดำเนินการของโครงการปริญญาโทหลักสูตรสันติศึกษา มจร. โดยเริ่มอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ที่ มจร.วังน้อย โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธาน การประชุมครั้งนี้ผู้นำทั้ง ๕ ศาสนาเห็นชอบในปฏิญญาที่ตกลงร่วมกัน ดังนี้ คือ ๑.ส่งเสริมขันติทางศาสนาตามประกาศของยูเนสโก ปี ค.ศ.๑๙๙๕ ๒.จะดำเนินการเสวนาต่อไปและเสริมสร้างเครือข่ายของผู้นำศาสนา ส่งเสริมกันและกัน ๓.เพื่อให้ประชาคมอาเซียนมีความรู้ในศาสนาของตนเองและศาสนา อื่นๆ ๔.เพื่อดำเนินแบบต่อเนื่องไม่เหน็ดเหนื่อยเพื่อสันติภาพ เข้าใจถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ๕.จะกระทำให้เกิดความคุ้นเคยระหว่างกันเพื่อความเป็นเอกภาพของผู้นำศาสนา และ ๖.เพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี ไม่ให้ศาสนาตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองและสื่อมวลชน",
"title": "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย"
},
{
"docid": "198710#13",
"text": "ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน - ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ ที่จัดขึ้นที่กรุงโตเกียว ระหว่าง 11 - 12 ธันวาคม 2546 ญี่ปุ่นได้ประกาศจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแบ่งครึ่งกันระหว่างอาเซียนกับการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง ผู้นำอาเซียนและญี่ปุ่นได้ลงนามปฏิญญาโตเกียวว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนที่มีพลวัตและยั่งยืนระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่นในสหัสวรรษใหม่",
"title": "ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ไทย"
},
{
"docid": "386360#2",
"text": "ปฏิญญากรุงเทพมิได้วางเงื่อนไขสมาชิกภาพใด นอกเหนือไปจากว่าประเทศนั้นจะต้องตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหลักความสัมพันธ์ระหว่างรัฐทั่วไป อาเซียนไม่มีเกณฑ์สมาชิกภาพที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของรัฐบาล ระบบและทิศทางของอุดมการณ์ นโยบายเศรษฐกิจหรือระดับการพัฒนา หากมีเกณฑ์ดังกล่าวมากำหนดสมาชิกภาพแล้ว องค์การความร่วมมือในภูมิภาคจะไม่อาจเกิดขึ้นได้เลยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทำให้องค์การดังกล่าวมีความหลากหลาย[5] และเพื่อจะได้รับการยอมรับเป็นรัฐสมาชิกอาเซียน รัฐนั้นจะต้องมีสถานเอกอัครราชทูตอยู่ในทุกประเทศสมาชิกในปัจจุบันของกลุ่ม[6]",
"title": "การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
},
{
"docid": "217024#2",
"text": "ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 29 ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2540 ที่ประเทศมาเลเซีย ได้มีการพิจารณาเพลงประจำอาเซียนที่เข้าประกวดในรอบสุดท้าย โดยเพลงที่เข้ารอบในครั้งนั้นเป็นเพลงจากประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งบทเพลงที่ได้รับรางวัลชนะเลิศคือเพลง ASEAN Song of Unity จากประเทศฟิลิปปินส์ แต่เพลงดังกล่าวนี้ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศสมาชิก เนื่องจากได้ใช้เปิดเฉพาะในการประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ทำให้การประชุมสุดยอดอาเซียนช่วงต่อมามีการแต่งเพลงเพื่อใช้เปิดในที่ประชุมเป็นคราวๆ ไป",
"title": "ดิอาเซียนเวย์"
},
{
"docid": "103462#2",
"text": "แม้อาเซียนจะมิได้มีสนธิสัญญาหรือกฎบัตรมาตั้งแต่ต้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาเซียนก็ได้พัฒนาความร่วมมือโดยอาศัยฐานในทางกฎหมายระหว่างประเทศมากขึ้น เช่น การที่สมาชิกอาเซียนได้จัดทำสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia 1976 หรือ TAC) ซึ่งก็เป็นการนำหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่เดิมแล้วมาเน้นย้ำระหว่างรัฐในภูมิภาค เช่น หลักการเคารพอำนาจอธิปไตยของรัฐ หลักการไม่แทรกแซงกิจการอันเป็นการภายในของแต่ละรัฐ ซึ่งปรากฏอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติอยู่แล้ว เป็นต้น และอาเซียนก็ได้อาศัยหลักในสนธิสัญญาดังกล่าวมาเป็นหลักการที่อาเซียนยึดถือ และเป็นข้อแม้ในการต่อรองกับรัฐที่ไม่ใช่สมาชิกให้ลงนามเป็นภาคีก่อนจะได้รับให้เข้าร่วมประชุมกับอาเซียนนั่นเอง ข้อพิจารณาสำคัญคือสนธิสัญญาดังกล่าวมิได้เกี่ยวข้องหรือทำขึ้นกับอาเซียนโดยตรง และอาเซียนก็มิได้มีความสามารถในการทำสนธิสัญญาโดยตนเอง เพียงแต่รัฐที่อยู่ในบริเวณเอเชียอาคเนย์ได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาดังกล่าวเพื่อประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาคและอาศัยอาเซียนเป็นเครื่องมือในการดำเนินความร่วมมือ และพันธกรณีหรือหน้าที่ตามสนธิสัญญานั้นย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียนโดยปริยาย นอกจากนี้อาเซียนยังได้เป็นเวทีที่ทำให้เกิดสนธิสัญญาในเรื่องอื่น ๆ เช่น การทำให้ภูมิภาคปลอดจากอาวุธนิวเคลียร์ หรือล่าสุดในด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ตลอดจนความตกลงเรื่องเศรษฐกิจและความร่วมมือเฉพาะด้าน เช่น ด้านการส่งเสริมสวัสดิการสังคม การศึกษา การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ สิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ ฯลฯ ซึ่งล้วนอาศัยอาเซียนเป็นกลไกสำคัญทั้งสิ้น ดังนั้น แม้ในทางรูปแบบแล้วจะไม่ถือว่าอาเซียนได้ตั้งอยู่บนฐานกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ในทางเนื้อหากฎหมายระหว่างประเทศและความตกลงเหล่านี้ก็จะได้มีอิทธิพลต่อการดำเนินการของอาเซียนในช่วงเวลาที่ผ่านมา",
"title": "กฎบัตรอาเซียน"
},
{
"docid": "103462#36",
"text": "การบริหารงาน ประธานอาเซียนดำรงตำแหน่งวาระ 1 ปี และประเทศที่เป็นประธานอาเซียนจะรับตำแหน่งประธานของกลไกของอาเซียนทุกตำแหน่ง อาทิ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน มนตรีประสานงานอาเซียน มนตรีประชาคมอาเซียนคณะต่าง ๆ ประธานผู้แทนถาวรประจำอาเซียน",
"title": "กฎบัตรอาเซียน"
},
{
"docid": "34839#14",
"text": "พ.ศ. 2508 ตั้งสำนักพิมพ์เพื่อพิมพ์เรื่องสั้นของตนเอง โดยเริ่มระบบเขียนเอง – พิมพ์เอง – ขายเอง ในราคาเล่มละ 5 บาท เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า โอเลี้ยง 5 แก้ว\nขณะที่รวมเรื่องสั้นชุดแรก \"ตะลุยเหมืองแร่\" ได้รับเลือกให้ไปประชุมนักเขียนเรื่องสั้น “แอฟโฟร อาเซียน” F4 Asian ที่ประเทศสหภาพโซเวียต 1 เดือน เมื่อกลับมากรุงเทพมหานคร ปรากฏว่ารวมเรื่องสั้นชุดแรกได้จำหน่ายหมดแล้ว จึงได้พิมพ์ \"ธุรกิจบนขาอ่อน\" และเรื่องเกี่ยวกับเหมืองแร่ก็ยังคงทยอยออกมาเป็นระยะคือ \"เหมืองน้ำหมึก\" \"เสียงเรียกจากเหมืองแร่\" และ \"สวัสดีเหมืองแร่\" ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังตั้งคณะละครโทรทัศน์ของตนเอง",
"title": "อาจินต์ ปัญจพรรค์"
},
{
"docid": "103462#35",
"text": "กลไกของอาเซียน ให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเป็นองค์สูงสุดในกำหนดนโยบายของอาเซียน โดยมีการประชุมสุดยอดปีละ 2 ครั้ง มีคณะมนตรีประสานงานอาเซียนที่มาจากรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นผู้บริหารงานทั่วไป และคณะมนตรีประชาคมอาเซียนดำเนินการตามพันธะกรณีในแต่ละสาขา เลขาธิการเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสำหรับการติดตามความคืบหน้าในกิจการต่าง ๆ ของอาเซียน รวมทั้งมีคณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียนเพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียน",
"title": "กฎบัตรอาเซียน"
},
{
"docid": "2069#1",
"text": "อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน ปฏิญญากรุงเทพฯ อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ[4] หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น[5] เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558[6]",
"title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
},
{
"docid": "23258#33",
"text": "ในปี พ.ศ. 2556 ธงไชยได้รับเชิญเป็น \"ทูตมิตรภาพ\" (International Friendship Ambassador) จากประเทศไทยไปร่วมงานเทศกาล \"Sapporo Snow Festival ครั้งที่ 64\" ณ เมืองซับโปโร เกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ภายในงานมีรูปปั้นหิมะขนาดเท่าตัวจริงของเขา เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพที่ดีของทั้งสองประเทศ และจากการรวบรวมข้อมูลในญี่ปุ่น พบว่านอกเหนือจากสถานที่ท่องเที่ยวที่ชาวญี่ปุ่นชื่นชอบแล้ว ศิลปินซึ่งเป็นที่รู้จักของชาวญี่ปุ่นมากที่สุดคือเบิร์ด[77] และในปีเดียวกัน ธงไชยได้รับเชิญร่วมงานเทศกาลดนตรีอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Music Fair) ในโอกาสครบรอบ 40 ปีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศสมาชิกอาเซียน ณ กรุงโตเกียว จากการโหวตความนิยมศิลปินใน 10 ประเทศอาเซียน ธงไชยเป็นศิลปินไทยซึ่งชาวญี่ปุ่นชื่นชอบมากที่สุด[78][79] นอกจากนี้องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวญี่ปุ่น ได้เชิญธงไชยไปถ่ายแบบที่โอกินาวา โยโกฮามา และฟุคุโอกะ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวญี่ปุ่น[80][81] ในปี พ.ศ. 2557 ธงไชยได้รับรางวัล Special Award from JNTO จากงานมอบรางวัล Japan Tourism Award in Thailand 2013 สำหรับบุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่อภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวญี่ปุ่น[82][83] และปีดังกล่าวเขาถ่ายทำละครกลกิโมโน[84][85]",
"title": "ธงไชย แมคอินไตย์"
}
] |
2142 | อังกฤษยึดครองสิงคโปร์เป็นอาณานิคม เมื่อไหร่? | [
{
"docid": "746761#3",
"text": "ประเทศแรกที่มายึดสิงคโปร์ไว้ได้คือโปรตุเกส เมื่อปี ค.ศ. 1511 แล้วก็ถูกชาวดัตช์มาแย่งไป เมื่ออังกฤษขยายอิทธิพลเข้ามาบริเวณแหลมมลายูในกลางศตวรรษที่ 18 แต่ประมาณปี ค.ศ. 1817 อังกฤษได้แข่งขันกับดัตช์ในเรื่องอาณานิคม อังกฤษได้ส่งเซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ มาสำรวจดินแดนแถบสิงคโปร์ ตอนนั้นสิงคโปร์ยังมีสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ปกครองอยู่ แรฟเฟิลส์ได้ตกลงกับสุลต่านฮุสเซียน ชาห์ว่า จะตั้งสถานีการค้าของอังกฤษที่นี่ แต่สุดท้ายอังกฤษยึดสิงคโปร์ไว้เป็นเมืองขึ้นได้และก่อตั้งประเทศในปี ค.ศ. 1819 โดยอังกฤษได้ขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากจักรวรรดิ์ยะโฮร์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา ในปี ค.ศ. 1824 อังกฤษมีสิทธิครอบครองสิงคโปร์ตามข้อตกลงที่ทำกับฮอลันดา ต่อมาในปี ค.ศ. 1826 สิงคโปร์ถูกปกครองภายใต้ระบบสเตรตส์เซตเทิลเมนต์ (Straits Settlement) ซึ่งบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษควบคุมดูแลสิงคโปร์ รวมทั้งปีนังและมะละกาด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1857 รัฐบาลอังกฤษได้เข้ามาดูแลระบบนี้เอง ในปี ค.ศ. 1867 สิงคโปร์กลายเป็นอาณานิคม (Crown Colony) อย่างสมบูรณ์จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นจึงได้ขับไล่อังกฤษออกจากสิงคโปร์และเข้าไปยึดครองแทน",
"title": "ประวัติศาสตร์สิงคโปร์"
}
] | [
{
"docid": "3090#2",
"text": "ใน พ.ศ. 2435 หมู่เกาะเอลลิซกลายเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษ หลังจากนั้นก็ถูกรวมเข้ากับหมู่เกาะกิลเบิร์ต (ปัจจุบันคือคิริบาส) เป็นอาณานิคมของอังกฤษ กองทัพสหรัฐอเมริกาเข้ายึดครองหมู่เกาะเอลลิซในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อเป็นที่มั่นสำหรับต่อต้านทหารญี่ปุ่นที่ยึดครองหมู่เกาะกิลเบิร์ต หลังสงครามเกิดความตึงเครียดระหว่างประชากรของหมู่เกาะกิลเบิร์ตกับประชากรของหมู่เกาะเอลลิซ หมู่เกาะเอลลิซจึงได้แยกตัวออกมา และเป็นประเทศเอกราชในเครือจักรภพอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2521",
"title": "ประเทศตูวาลู"
},
{
"docid": "324194#3",
"text": "อังกฤษได้ใช้ทวีปอเมริกาเหนือเป็นทัณฑนิคมผ่านทางระบบของคนงานขึ้นบัญชี ผู้ต้องโทษจะถูกส่งตัวโดนพ่อค้าและขายทอดตลาดไปยังเจ้าของที่ดินเมื่อไปถึงอาณานิคม มีการประมาณกันว่ามีผู้ต้องโทษชาวอังกฤษกว่า 50,000 คนถูกส่งตัวไปยังอาณานิคมอเมริกา ซึ่งอาจคิดเป็นหนึ่งในสี่ของจำนวนผู้อพยพออกนอกอังกฤษระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่ออังกฤษไม่สามารถส่งนักโทษไปยังทวีปอเมริกาเหนือได้อีกหลังจากการปฏิวัติอเมริกาในคริสต์ทศวรรษ 1780 อังกฤษจึงได้หันไปเริ่มใช้ออสเตรเลียเป็นทัณฑนิคมแทน ซึ่งรวมไปถึงเกาะนอร์ฟอล์ก แทสมาเนีย และนิวเซาท์เวลส์ หากปราศจากการจัดสรรของแรงงานผู้ต้องโทษไปยังเกษตรกร ผู้ครอบครองที่ดินเพาะปลูก และโครงการของรัฐบาล อย่างเช่น การสร้างถนน ไปเสียแล้ว การยึดครองออสเตรเลียเป็นอาณานิคมก็คงจะไม่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาจากการสิ้นเปลืองไปกับแรงงานซึ่งมิใช่ผู้ต้องโทษอันเกิดจากนักขุดทองจำนวนมากซึ่งเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1800",
"title": "ทัณฑนิคม"
},
{
"docid": "619191#0",
"text": "การสังหารหมู่ในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2485 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นยกทัพเข้ายึดครองพม่าซึ่งในขณะนั้นเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ช่วงเวลาดังกล่าวในพม่า เป็นช่วงเวลาที่เกิดความรุนแรงขึ้นระหว่างกลุ่มที่จงรักภักดีกับอังกฤษและกลุ่มชาตินิยมพม่า กองทัพอังกฤษมีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้งระหว่างชาวยะไข่ที่นับถือศาสนาพุทธกับชาวโรฮีนจาที่เป็นมุสลิม กองทัพอังกฤษได้ติดอาวุธให้ชาวโรฮีนจาในภาคเหนือของรัฐยะไข่เพื่อสร้างเขตกันชนหลังจากที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองพม่า ",
"title": "การสังหารหมู่ในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2485"
},
{
"docid": "443305#1",
"text": "ในปี ค.ศ. 1819 เซอร์ โทมัส แรฟเฟิลส์ ขุนนางชาวอังกฤษได้เลือกสิงคโปร์เพื่อสร้างอาณานิคมใหม่ที่มีความปลอดภัยต่อของผลประโยชน์ของอังกฤษในเอเชียตะวันออกกับชาวดัตช์ ดังนั้น เมืองสิงคโปร์จึงได้กลายเป็นที่ตั้งของกองทัพอังกฤษโพ้นทะเลนานนับหลายทศวรรษ",
"title": "กองทัพสิงคโปร์"
},
{
"docid": "3900#4",
"text": "ในปี พ.ศ. 2042 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางด้วยเรือมายังรอยต่อของอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ซึ่งชื่อของเขาก็เป็นที่มาของประเทศโคลอมเบียในปัจจุบัน กระทั่ง พ.ศ. 2043 ประเทศต่างๆในยุโรปโดยเฉพาะประเทศสเปน อิตาลี โปรตุเกส อังกฤษ และฝรั่งเศส ได้เข้ามาสำรวจ และยึดครองดินแดนเป็นอาณานิคมเป็นจำนวนมาก ประเทศเจ้าของอาณานิคมจากยุโรปยึดครองและได้ผลประโยชน์จากดินแดนในทวีปอเมริกาใต้มานานหลายร้อยปี จนกระทั่งใน พ.ศ. 2261 โฮเซ เดอ ซาน มาร์ติน ปลดปล่อยประเทศอาร์เจนตินา ชิลี โคลอมเบีย เอกวาดอร์ เวเนซุเอล่า ให้เป็นอิสระจากสเปนและปลดปล่อยประเทศบราซิลให้เป็นอิสระจากประเทศโปรตุเกสในลำดับถัดมา\nแลนด์จนกระทั่งปัจจุบัน เช่นเดียวกับประเทศฝรั่งเศสที่ยังคงยึดครองดินแดนเฟรนช์เกียนาทางตอนเหนือของทวีปเอาไว้",
"title": "ทวีปอเมริกาใต้"
},
{
"docid": "1989#1",
"text": "หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1819 โดยเซอร์สแตมฟอร์ด รัฟเฟิลส์ (Stamford Raffles) เป็นสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกโดยการอนุญาตจากรัฐสุลต่านยะฮอร์ อังกฤษได้อธิปไตยเหนือเกาะใน ค.ศ. 1824 และสิงคโปร์กลายเป็นหนึ่งในนิคมช่องแคบอังกฤษใน ค.ศ. 1826 หลังถูกญี่ปุ่นยึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1963 และเข้าร่วมกับอดีตดินแดนของอังกฤษอื่นเพื่อตั้งประเทศมาเลเซีย แต่ถูกขับอีกสองปีต่อมาผ่านพระราชบัญญัติโดยเอกฉันท์ นับแต่นั้น ประเทศสิงคโปร์พัฒนาอย่างรวดเร็ว จนได้รับการรับรองว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย",
"title": "ประเทศสิงคโปร์"
},
{
"docid": "607035#1",
"text": "ประวัติของมหาวิทยาลัยมาลายานั้นเริ่มตั้งแต่ครั้งเป็นวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และวิทยาลัยราฟเฟิลส์ ในสมัยเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ โดยในช่วงปี ค.ศ.1900 มีการจัดตั้งโรงพยาบาลแพทย์แผนฝรั่งหลายแห่งในปีนังและสิงคโปร์ และเริ่มมีการเปิดโรงเรียนการแพทย์ในเวลาต่อมาเพื่อรองรับการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และการขยายตัวของประเทศจนพัฒนาเป็นวิทยาลัยแพทย์ (King Edward VII Medical College of Medicine) ในปี ค.ศ.1905 ส่วนวิทยาลัยราฟเฟิลส์ (Raffles College) เป็นวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นั้น ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1928 เพื่อเปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาทางภาษาและมีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยจากประเทศอังกฤษอีกด้วย ระหว่างช่วงปีค.ศ.1938-1949 เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อจากภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางรัฐบาลอังกฤษ British Malaya Government ได้มีการริเริ่มที่จะสร้างมหาวิทยาลัยของชาวมาเลเซียขึ้นมา โดยมีการส่งนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเบอมิงแฮมของอังกฤษ และอีกหลายท่านมาศึกษากระบวนการพัฒนาและความเป็นไปได้ จนกระทั่งในปีค.ศ.1949 ได้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยมาลายาขึ้นมาเป็นผลสำเร็จจากการรวม วิทยาลัยแพทยศาสตร์ (King Edward VII Medical College of Medicine) และ วิทยาลัยราฟเฟิลส์ (Raffles College) ในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ.1949 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในปีค.ศ.1959 มหาวิทยาลัยถูกแบ่งออกเป็น 2 มหาวิทยาลัยอันเนื่องจากมีวิทยาเขตหนึ่งอยู่ในกัวลาลัมเปอร์และสิงคโปร์ และมติเป็นเอกฉันท์ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1962 มหาวิทยาลัยที่กัวลาลัมเปอร์จะชื่อ มหาวิทยาลัยมาลายา ส่วนมหาวิทยาลัยในสิงคโปร์จะใช้ชื่อมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ National University of Singapore)",
"title": "มหาวิทยาลัยมาลายา"
},
{
"docid": "70834#4",
"text": "ใน ปี พ.ศ. 2362 แรฟเฟิลส์ได้แล่นเรือมาขึ้นเกาะ และได้มองเห็นศักยภาพและโอกาสเป็นอย่างมากที่จะใช้เป็นฐานที่ตั้งทางการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ แรฟเฟิลส์ได้ทำความตกลงและเซ็นสัญญากับสุลต่านฮุสเซน ชาร์ ในนามของบริษัทอีสต์อินเดียเพื่อสร้างเป็นฐานที่ทำการค้าและการตั้งถิ่นฐาน แรฟเฟิลส์ได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสิงคโปร์เมื่อ พ.ศ. 2366 เพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย สร้างศีลธรรม ห้ามการพนัน และการค้าทาส ซึ่งต่อมามีผู้คนหลายเชื้อชาติค่อย ๆ อพยพเข้ามาทำงานในสิงคโปร์และเริ่มทะลักมากขึ้น สิงคโปร์กลายเป็นส่วนในอาณัติของอาณานิคมอังกฤษโดยการบริหารจัดการโดยบริษัทอีสต์อินเดียเมื่อ พ.ศ. 2401 และกลายเป็นอาณานิคมของจักวรรดิอังกฤษอย่างเป็นทางการในเวลาต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2410 เมื่อถึง พ.ศ. 2412 ปรากฏว่าสิงคโปร์มีประชากรมากถึง 100,000 คน",
"title": "โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์"
},
{
"docid": "373227#1",
"text": "คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางมาพบเกาะนี้ใน ค.ศ. 1502 ต่อมาชาวฝรั่งเศสเข้ามาตั้งถิ่นฐานใน ค.ศ. 1635 และเป็นอาณานิคมฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1674 ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ชาวดัตช์และชาวอังกฤษเข้าโจมตี ใน ค.ศ. 1762 อังกฤษเข้ายึดครองแต่ฝรั่งเศสยึดกลับคืนมาได้ อังกฤษยึดครองอีกครั้งระหว่าง ค.ศ. 1794-1802 และ ค.ศ. 1809-1814 จน ค.ศ. 1946 ฝรั่งเศสประกาศเกาะนี้เป็นจังหวัดโพ้นทะเลของฝรั่งเศส",
"title": "มาร์ตีนิก"
},
{
"docid": "746761#5",
"text": "ค.ศ. 1946 จึงได้รับการยกฐานะให้เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศ (Separate Crown colony) เมื่ออังกฤษกลับมาควบคุมสิงคโปร์อีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากที่สิงคโปร์อยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1942-1946)",
"title": "ประวัติศาสตร์สิงคโปร์"
},
{
"docid": "138976#0",
"text": "นี้คือรายการภาพธงที่เคยใช้ในเซาเทิร์นโรดีเชีย ระหว่างปี พ.ศ. 2439 - พ.ศ. 2507 และ โรดีเชีย ระหว่าง พ.ศ. 2507 - 2522 ประเทศนี้มีจุดกำเนิดจากการเข้ามาในแอฟริกา ของบริษัทแอฟริกาใต้ของอังกฤษ ซึ่งก่อตั้งโดย เซซิล โรดส์ (Cecil Rhodes) นักล่าอาณานิคมคนสำคัญของอังกฤษในทวีปแอฟริกา และการเข้ายึดครองดินแดนที่กลายเป็นประเทศซิมบับเวในปัจจุบันโดยบริษัทดังกล่าว และได้ชื่อว่าประเทศโรดีเชีย ตามชื่อของเซซิล โรดส์ ต่อมาดินแดนนี้ได้ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และเป็นประเทศสมาชิกของสหพันธรัฐแอฟริกากลาง ซึ่งในที่สุดก็ได้ประกาศเอกราชจากอังกฤษและมีพัฒนาการต่อมาเป็นประเทศซิมบับเวในปัจจุบัน ",
"title": "รายชื่อธงในประเทศโรดีเชีย"
},
{
"docid": "938609#2",
"text": "ใน ค.ศ 1850 จักรวรรดิบริติช มีอาณานิคมอยู่ทางใต้ของแอฟริกามีอาณาเขตติดต่อกับนิคมที่ดินต่างๆของชาวโบเออร์, อาณาจักรของชาวแอฟริกันต่างๆเช่น อาณาจักรซูลู, และเขตรัฐของชนเผ่าต่างๆ และมีปฏิสัมพันธ์กันและต่อมาด้วยนโยบายการขยายตัวและอาณานิคมเคปได้ก่อตัวขึ้นหลังจากสนธิสัญญา อังกฤษ-ดัตช์ แห่งปี ค.ศ 1814 ได้ยกให้ อาณานิคมดัตช์ของเคปทาวน์ให้กับบริติชและอาณาเขตของมันได้ขยายตัวอย่างมากมายในศตวรรษที่ 19 นาเทาร์ในทางตะวันออกใต้ได้ประกาศเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิบริติซในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ ·1843หลังจากรัฐบาลบริติชได้ยึดครองสาธารณะโบเออร์แห่งนาเทาร์นำมาซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเมื่อบุตรทั้งสามคนและพี่ชายของหัวหน้าเผ่าซูลู ซิราโยได้จัดรวบรวมเข้าปล้นนาเทาร์และได้นำพาผู้หญิงสองคนซึงอยู่ภายใต้การอารักขาบริติช",
"title": "สงครามอังกฤษ–ซูลู"
},
{
"docid": "263626#2",
"text": "อาณานิคมแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับเนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2367 ซึ่งเป็นข้อตกลงในการแบ่งเขตอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งเขตของอังกฤษจะอยู่ทางเหนือ และเขตของเนเธอร์แลนด์จะอยู่ทางใต้ โดยมีการและเปลี่ยนดินแดนระหว่างกัน คืออังกฤษจะต้องยกนิคมในเบงคูเลน (Bencoolen) ทางภาคตะวันตกของเกาะสุมาตราให้กับเนเธอร์แลนด์ โดยแลกกับมะละกาและสิงคโปร์ ทำให้เมืองหลวงของอาณานิคมย้ายจากเกาะปีนังมาสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2375",
"title": "นิคมช่องแคบ"
},
{
"docid": "577475#0",
"text": "อาณานิคมสิงคโปร์ หมายถึง ประวัติศาสตร์สิงคโปร์หลังปี พ.ศ. 2489 จักรวรรดิญี่ปุ่นยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติ จนถึงปี พ.ศ. 2499 เมื่อสิงคโปร์ได้รับสิทธิปกครองตนเองภายในบางส่วน ในปี พ.ศ. 2502 อังกฤษได้ยกเลิกตำแหน่งผู้ว่าราชการอาณานิคมสิงคโปร์ เพื่อให้สิงคโปร์ ปกครองตนเองได้มากขึ้น และจนกระทั่งในปี 2506 สิงคโปร์ได้รวมดินแดนกับมลายา กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2506 จึงทำให้การปกครองสิงคโปร์ของสหราชอาณาจักร สิ้นสุดลงเป็นการถาวรในวันดังกล่าว",
"title": "อาณานิคมสิงคโปร์"
},
{
"docid": "273027#2",
"text": "ต่อมาในปี ค.ศ. 1700 จักรวรรดิอังกฤษได้เข้ามามีอิทธิพลในอินเดีย เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการค้าขายในภูมิภาค พร้อมกับการยึดครองอินเดียมาเป็นอาณานิคม จนกระทั่งสามารถยึดครองได้สำเร็จ ในปี ค.ศ. 1877 อังกฤษได้สถาปนาเมืองเดลีเป็นศูนย์กลางการปกครองของประเทศอินเดีย โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย ดำรงตำแหน่งประมุขสูงสุดของอินเดีย ",
"title": "เดลี"
},
{
"docid": "858386#7",
"text": "ชาวกะเหรี่ยงในแถบภูเขาไม่เคยพัฒนาอาณาจักรของตนเองและไม่เคยมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ การติดต่อกับอังกฤษจึงเป็นโอกาสในการปรับปรุงชีวิตของตน การปกครองของพม่าในช่วงก่อนเป็นอาณานิคม ได้ผลักให้ชาวกะเหรี่ยงเข้าหาอังกฤษมากขึ้น ในช่วงที่อังกฤษยังไม่ได้ยึดครองดินแดนพม่าทั้งหมด ชาวกะเหรี่ยงที่อยู่ในดินแดนของพม่าไม่ได้รับการศึกษา ชาวกะเหรี่ยงได้หนีมายังเขตที่อังกฤษปกครองและช่วยให้อังกฤษยึดครองพม่า การที่รู้ภาษาอังกฤษและได้รับการศึกษาแบบคริสต์ทำให้กะเหรี่ยงสะกอก้าวหน้ากว่าชาวกะเหรี่ยงกลุ่มอื่น ๆ ที่เป็นกะเหรี่ยงพุทธ และทำให้กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มแรกที่เกิดความคิดเกี่ยวกับความเป็นชาติกะเหรี่ยง และเป็นกลุ่มแรกที่สร้างองค์กรทางการเมืองของกะเหรี่ยง และเป็นกลุ่มที่เด่นในบรรดาขบวนการของชาวกะเหรี่ยงทั้งหมด",
"title": "ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยง"
},
{
"docid": "34367#12",
"text": "ต่อมาอังกฤษได้เข้ายึดครองพื้นที่บนเกาะ และประกาศให้เป็นอาณานิคมแห่งแรกในแถบทะเลแคริบเบียนของราชอาณาจักรอังกฤษในปี ค.ศ. 1623 และในปี ค.ศ. 1625 ดินแดนบางส่วนถูกยึดครองโดยราชอาณาจักรฝรั่งเศส ",
"title": "ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส"
},
{
"docid": "562175#5",
"text": "การปกครองของอังกฤษทำให้เกิดกลุ่มชนลูกผสมระหว่างชาวยุโรปและชาวพม่า ซึ่งมีความโดดเด่นในสังคมยุคอาณานิคม สภาพทางเศรษฐกิจค่อยๆเปลี่ยนแปลง หลังจากมีการเปิดคลองสุเอซ ความต้องการข้าวจากพม่าเพิ่มมากขึ้น มีการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น ในการเตรียมที่ดินเพื่อการปลูกข้าว ชาวนาพม่ามักจะยืมเงินจากพ่อค้าอินเดียในอัตราดอกเบี้ยที่สูง เกิดการขูดรีด มีการนำแรงงานชาวอินเดียเข้ามาเป็นปัจจัยการผลิตเนื่องจากได้ค่าแรงต่ำ และได้เข้ามาแทนที่ชาวนาพม่า มีการพัฒนาอุตสาหกรรมมากขึ้น มีการสร้างทางรถไฟผ่านที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี และมีเรือเครื่องจักรไอน้ำแล่นขึ้นล่องระหว่างแม่น้ำ บริการสาธารณะจัดขึ้นเพื่อชาวพม่าเชื้อสายอังกฤษและชาวอินเดีย สิ่งเหล่านี้มีอังกฤษเป็นเจ้าของ และชาวพม่าต้องจ่ายเงินจำนวนมากในการใช้บริการเหล่านี้ หลายหมู่บ้านกลายเป็นหมู่บ้านนอกกฎหมายเนื่องจากมีกองโจรติดอาวุธ เศรษฐกิจของพม่าเติบโตขึ้นโดยอำนาจทั้งหมดอยู่ในมือหุ้นส่วนชาวอังกฤษและผู้อพยพจากอินเดีย การเติบโตทางเศรษฐกิจในสมัยอาณานิคมส่งผลร้ายต่อพม่า เพราะได้ใช้ทรัพยากรของพม่าไปเพื่อผลกำไรของอังกฤษ ชาวพม่าถูกห้ามเป็นทหาร โดยทหารส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดีย ชาวพม่าเชื้อสายอังกฤษ ชาวกะเหรี่ยง และชนกลุ่มน้อยอื่นๆในพม่า หลังจากที่อังกฤษยึดครองพม่า พม่ายังคงส่งบรรณาการไปปักกิ่งซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงในการประชุมเรื่องพม่า พ.ศ. 2429 ที่จีนยอมรับการยึดครองพม่าของอังกฤษ แต่อังกฤษต้องยอมให้พม่าส่งบรรณาการให้จีนทุกสิบปี",
"title": "พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "854541#5",
"text": "การปฏิรูปของพระเจ้ามินดงและเจ้าชายกะนองกลับสร้างความไม่พอใจแก่อังกฤษ ที่ต้องการผนวกพม่าเข้าเป็นส่วนหนึ่งในอาณานิคม ในรัชกาลพระเจ้ามินดง รัฐบาลอังกฤษและพม่าไม่ได้มีปัญหากันอย่างเป็นทางการ แต่รัฐบาลอังกฤษหวั่นเกรงและระแวงต่อการปฏิรูปกองทัพ เนื่องจากเจ้าชายกะนองได้ส่งนักเรียนจำนวน 90 คน ไปเรียนวิชาด้านอาวุธยุทโธปกรณ์และการทหาร จากประเทศอิตาลี ฝรั่งเศสและเยอรมนี นอกจากนี้โปรดให้สร้างโรงงานผลิตอาวุธขึ้นในพม่าถึง 3 แห่ง[7] ทำให้รัฐบาลอังกฤษเกรงว่าจะกลายเป็นเรื่องยากในการยึดครองอาณานิคม",
"title": "รัฐประหารวังหลวงพม่า พ.ศ. 2421–2422"
},
{
"docid": "1989#7",
"text": "ประเทศแรกที่มายึดสิงคโปร์ไว้ได้คือโปรตุเกส เมื่อปี ค.ศ. 1511 แล้วก็ถูกชาวดัตช์มาแย่งไป เมื่ออังกฤษขยายอิทธิพลเข้ามาบริเวณแหลมมลายูในกลางศตวรรษที่ 18 แต่ประมาณปี ค.ศ. 1817 อังกฤษได้แข่งขันกับดัตช์ในเรื่องอาณานิคม อังกฤษได้ส่งเซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ มาสำรวจดินแดนแถบสิงคโปร์ ตอนนั้นสิงคโปร์ยังมีสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ปกครองอยู่ แรฟเฟิลส์ได้ตกลงกับสุลต่านฮุสเซียน ชาห์ว่า จะตั้งสถานีการค้าของอังกฤษที่นี่ แต่สุดท้ายอังกฤษยึดสิงคโปร์ไว้เป็นเมืองขึ้นได้และก่อตั้งประเทศในปี ค.ศ. 1819 โดยอังกฤษได้ขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากจักรวรรดิ์ยะโฮร์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา ในปี ค.ศ. 1824 อังกฤษมีสิทธิครอบครองสิงคโปร์ตามข้อตกลงที่ทำกับฮอลันดา ต่อมาในปี ค.ศ. 1826 สิงคโปร์ถูกปกครองภายใต้ระบบสเตรตส์เซตเทิลเมนต์ (Straits Settlement) ซึ่งบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษควบคุมดูแลสิงคโปร์ รวมทั้งปีนังและมะละกาด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1857 รัฐบาลอังกฤษได้เข้ามาดูแลระบบนี้เอง ในปี ค.ศ. 1867 สิงคโปร์กลายเป็นอาณานิคม (Crown Colony) อย่างสมบูรณ์จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นจึงได้ขับไล่อังกฤษออกจากสิงคโปร์และเข้าไปยึดครองแทน",
"title": "ประเทศสิงคโปร์"
},
{
"docid": "900162#32",
"text": "มลายาและสิงคโปร์อยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่นระหว่าง พ.ศ. 2485 – 2488 ญี่ปุ่นได้ให้รางวัลแก่ประเทศไทยโดยมอบสี่รัฐมาลัยคืนให้ เมื่อสงครามโลกยุติลง มลายาและสิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของกองทัพอังกฤษ",
"title": "บริติชมาลายา"
},
{
"docid": "760271#1",
"text": "มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ก่อตั้งในสมัยที่สิงคโปร์ยังเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมอังกฤษ (British Malaya) โดยในช่วงปี ค.ศ.1900 มีการจัดตั้งโรงพยาบาลแพทย์แผนฝรั่งหลายแห่งในปีนังและสิงคโปร์ และเริ่มมีการเปิดโรงเรียนการแพทย์ในเวลาต่อมาเพื่อรองรับการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และการขยายตัวของประเทศจนพัฒนาเป็นวิทยาลัยแพทย์ (King Edward VII Medical College of Medicine) ในปี ค.ศ.1905 ส่วนวิทยาลัยราฟเฟิลส์ (Raffles College) เป็นวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นั้น ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1928 เพื่อเปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาทางภาษาและมีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยจากประเทศอังกฤษอีกด้วย ระหว่างช่วงปีค.ศ.1938-1949 เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อจากภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางรัฐบาลอังกฤษ British Malaya Government ได้มีการริเริ่มที่จะสร้างมหาวิทยาลัยของชาวมาเลเซียขึ้นมา โดยมีการส่งนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเบอมิงแฮมของอังกฤษ และอีกหลายท่านมาศึกษากระบวนการพัฒนาและความเป็นไปได้ จนกระทั่งในปีค.ศ.1949 ได้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยมาลายาขึ้นมาเป็นผลสำเร็จจากการรวม วิทยาลัยแพทยศาสตร์ (King Edward VII Medical College of Medicine) และ วิทยาลัยราฟเฟิลส์ (Raffles College) ในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ.1949 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในปีค.ศ.1959 มหาวิทยาลัยถูกแบ่งออกเป็น 2 มหาวิทยาลัยอันเนื่องจากมีวิทยาเขตหนึ่งอยู่ในกัวลาลัมเปอร์และสิงคโปร์ และมติเป็นเอกฉันท์ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1962 มหาวิทยาลัยที่กัวลาลัมเปอร์จะชื่อ มหาวิทยาลัยมาลายา ส่วนมหาวิทยาลัยในสิงคโปร์จะใช้ชื่อมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์",
"title": "มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์"
},
{
"docid": "3656#51",
"text": "ประเทศอัฟกานิสถาน - ก่อตั้งโดยสนธิสัญญาอังกฤษ-อัฟกัน ค.ศ. 1919 จากสหราชอาณาจักร เป็นเอกราชและเป็นที่ยอมรับในปี 1919 ประเทศจีน - ในอดีตคือ จักรวรรดิชิง ประเทศภูฏาน - ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใดในทางปฏิบัติ ประเทศอิหร่าน - ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใดในทางปฏิบัติ แต่ก็ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลครอบงำของอังกฤษและรัสเซีย ประเทศอิรัก - ก่อตั้งโดยสนธิสัญญาอังกฤษ-อิรัก (1930) จากสหราชอาณาจักรในปี 1930 เป็นเอกราชและเป็นที่ยอมรับในปี 1932 ประเทศญี่ปุ่น - เป็นประเทศมหาอำนาจ ประเทศเกาหลี - เป็นรัฐเอกราช แต่ถูกบุกยึดครองโดยญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) ประเทศมองโกเลีย - ประกาศเอกราชจากจีน ในปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) ประเทศเนปาล - ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใดในทางปฏิบัติ ประเทศไทย - ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใดในทางปฏิบัติ แต่ก็ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลครอบงำของอังกฤษและฝรั่งเศส ประเทศซาอุดิอาระเบีย - ก่อตั้งขึ้นในปี 1932 จากการรวมอาณาจักรและดินแดนต่างๆในพื้นที่ของประเทศในปัจจุบันและดินแดนที่ใกล้เคียงในระหว่างปี 1902 ถึง 1916 ประเทศตุรกี - สืบทอดจักรวรรดิออตโตมันในปี 1923",
"title": "จักรวรรดินิยมในเอเชีย"
},
{
"docid": "852641#0",
"text": "ยุทธการที่สิงคโปร์ () เป็นเหตุการณ์สู้รบในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังญี่ปุ่นได้รับชัยชนะในการทัพมาลายาเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 แล้ว ญี่ปุ่นก็เริ่มรุกรานเกาะสิงคโปร์ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 ซึ่งถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ของอังกฤษ สิงคโปร์ในขณะนั้นมีฉายาว่า \"ยิบรอลตาแห่งตะวันออก\" ถือเป็นฐานที่มั่นหลักของกองทัพอังกฤษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และถือเป็นหน้าด่านสำคัญที่จะป้องกันไม่ให้ข้าศึกรุกรานเข้ามาในมหาสมุทรอินเดียอันเป็นที่ตั้งของอาณานิคมต่างๆจำนวนมากของอังกฤษ",
"title": "ยุทธการที่สิงคโปร์"
},
{
"docid": "8009#6",
"text": "ค.ศ. 1614 ชาวยุโรปได้เข้ามาตั้งรกรากอย่างจริงจัง โดยเริ่มก่อตั้งชุมชนค้าผ้าขนสัตว์ของชาวดัตช์ และเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า \"นิว นีเดอร์แลนด์\" (“Nieuw Nederland” ในภาษาดัตช์) เรียกท่าเรือและเมืองในตอนใต้ของเกาะแมนแฮตตันว่า “นิวอัมสเตอร์ดัม” (Nieuw Amsterdam ในภาษาดัตซ์) มี Peter Minuit เป็นผู้ปกครองอาณานิคมนี้ ซึ่งต่อมาเขาได้ซื้อเกาะแมนแฮตตันทั้งหมดจากชนพื้นเมือง ใน ค.ศ. 1626 มูลค่าทั้งหมด 60 กิลเดอร์ (Guilders) หรือประมาณ $1,000 ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2006) [16] แต่ต่อมามีข้อพิสูจน์ว่าไม่จริง กล่าวคือ เกาะแมนฮัตตันถูกซื้อไปด้วยลูกปัดที่ทำจากแก้วในราคา $24[17] ก่อนที่อังกฤษจะเข้ายึดครองเป็นอาณานิคมของตนใน ค.ศ. 1664 และเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่า “นิวยอร์ก” เพื่อเกียรติให้กับ \"ดยุคแห่งยอร์คและอัลแบนี\" (English Duke of York and Albany) ขณะนั้นคือสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ[18] ในช่วงปลายสงครามแองโกล-ดัตช์ครั้งที่ 2 ชาวเนเธอร์แลนด์ได้ยึดครองเกาะรัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน และเป็นสิ่งที่มีค่ามากในขณะนั้น แลกกับการให้อังกฤษยึดครองนิวอัมสเตอร์ดัม หรือนิวยอร์กในดินแดนอเมริกาเหนือ ส่งผลให้ต่อมาใน ค.ศ. 1700 ประชากรชาวเลนาเปลดลงเหลือเพียง 200 คน[19]",
"title": "นครนิวยอร์ก"
},
{
"docid": "3656#50",
"text": "อินเดีย - ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ แก่งแย่งกันในการแผ่อิทธิพลเข้ายึดครองอินเดีย แต่ในที่สุดอังกฤษก็สามารถขยายอำนาจยึดครองอินเดียทั้งหมดได้ในปี พ.ศ. 2300 (ค.ศ. 1757) จนถึงปีที่ประกาศเอกราช เมื่อปี พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) และบางส่วนแยกไปเป็นประเทศปากีสถาน และปากีสถานตะวันออก (ที่ต่อมากลายเป็นประเทศบังคลาเทศ ในปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971)) ศรีลังกา - ตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ในปี พ.ศ. 2048 (ค.ศ. 1505) แล้วเปลี่ยนมือไปเป็นดินแดนใต้ปกครองของเนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2199 (ค.ศ. 1656) แต่ท้ายสุดถูกอังกฤษเข้ายึดครองเป็นอาณานิคมในปี พ.ศ. 2339 (ค.ศ. 1796) จนถึงปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ศรีลังกามีทรัพยากรสำคัญคือชาและยางพารา มาเก๊า - อาณานิคมของโปรตุเกส นับเป็นอาณานิคมแห่งแรกในจีนของชาวยุโรป (พ.ศ. 2100 - พ.ศ. 2542) ฮ่องกง - ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2384 (ค.ศ. 1841) จนถึงปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) อังกฤษจึงส่งมอบคืนจีน เกาะฟอร์โมซา - มีอีกชื่อหนึ่งคือเกาะไต้หวัน แต่เกาะอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองจากชาติตะวันตกอยู่ 2 ส่วน ซึ่งไม่ได้ถูกยึดครองทั้งหมด เช่น ทางตอนเหนือเป็นดินแดนอธิปไตยของสเปน ที่ปัจจุบันอาจกล่าวถึงเมืองไทเปไปด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2167 (ค.ศ. 1624) จนถึงปี พ.ศ. 2205 (ค.ศ. 1662) และทางตอนใต้เป็นดินแดนอธิปไตยของเนเธอร์แลด์ ที่ปัจจุบันอาจกล่าวไปถึงเมืองไถหนัน และเมืองเกาสยงไปด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2169 (ค.ศ. 1626) จนถึงปี พ.ศ. 2189 (ค.ศ. 1642) ภายหลัง จีนในสมัยราชวงศ์ชิงเข้ามามีอำนาจปกครองเกาะฟอร์โมซานั้น เกาะฟอร์โมซาก็หลุดพ้นและไม่เคยมีประวัติการตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของชาติตะวันตกอีกเลย มลายู - ตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส จากนั้นถูกเนเธอร์แลนด์เข้ายึดครอง และสุดท้ายตกเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของอังกฤษทั่วทั้งอาณาเขต เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติคือดีบุกและยางพารา จนกระทั่งประกาศเอกราช โดยใช้ชื่อประเทศว่า มลายา ปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) อนึ่ง ได้มีการรวมดินแดนกับสิงคโปร์ ซาราวะก์ บอร์เนียวเหนือ (ซึ่งหมายถึงซาบะฮ์) และลาบวน ในปี พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) จึงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น มาเลเซีย และในปี พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) การปกครองสิงคโปร์ของมาเลเซียสิ้นสุดลง เนื่องจากสิงคโปร์ ได้ประกาศเอกราชออกจากมาเลเซียออกไป สิงคโปร์ - ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2362 (ค.ศ. 1819) จนถึงปี พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) ซึ่งได้มีการรวมดินแดนกับมลายา เป็นมาเลเซียได้แค่ 2 ปี จนกระทั่งประกาศเอกราชในปี พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) บรูไน - ตกเป็นอาณานิคมในรูปแบบรัฐในอารักขาของอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) จนถึงปี พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) โดยเป็นประเทศสุดท้ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ประกาศเอกราชจากประเทศเจ้าอาณานิคมตะวันตก พม่า - ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษและถูกผนวกดินแดนรวมเข้ากับอินเดียตั้งปี พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) ถึงปี พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) ในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) ฝรั่งเศสสร้างทางรถไฟจากตังเกี๋ย ไปยังเมืองมัณฑะเลย์ในพม่า อังกฤษเกรงพม่าจะเอาใจออกห่างไปสวามิภักดิ์ต่อฝรั่งเศสจึงทำสงครามกับพม่า. หลังสงคราม กษัตริย์พม่าถูกส่งตัวไปอยู่ในอินเดีย และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ถึงปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) เนื่องจากกองทัพฝ่ายอักษะซึ่งนำโดยญี่ปุ่นเข้ายึดครอง เป็นฝ่ายแพ้สงครามให้แก่กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งมีอังกฤษ เป็นประเทศสมาชิกของกองทัพดังกล่าว ทำให้อังกฤษ กลับมาปกครองพม่าในฐานะอาณานิคมอีกครั้งหนึ่ง แต่ปกครองได้แค่ 3 ปีเศษเท่านั้น อินโดนีเซียและหมู่เกาะใกล้เคียง - ตกเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1800) (ก่อนหน้านี้ดัตซ์ได้ยึดครองดินแดนบางส่วน ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782)) จนถึงปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ติมอร์-เลสเต - ตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2245 (ค.ศ. 1702) จนถึงปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) โดยมีอินโดนีเซียเข้ามาปกครองดินแดนดังกล่าวสืบต่อจากโปรตุเกส จนกระทั่งประกาศเอกราชในปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) อินโดจีน - ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ประกอบด้วยลาว (ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893)) กัมพูชา (ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863)) และเวียดนาม (ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883)) ชนท้องถิ่นได้ก่อกบฏขึ้นติดต่อกันหลายครั้ง แต่ก็ถูกฝรั่งเศสปราบปรามราบคาบ และสุดท้ายฝรั่งเศสจึงได้ให้เอกราชแก่ทั้ง 3 ประเทศจนแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) ฟิลิปปินส์ - ตกเป็นอาณานิคมของสเปน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2064 (ค.ศ. 1521) (ในปีพ.ศ. 2305 จนถึงปีพ.ศ. 2307 เป็นช่วงเวลาที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ เฉพาะเมืองมะนิลาและเมืองท่ากาบีเต ในชื่อ British Manila)จนเกิดการกบฏขึ้นในปี พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) จากนั้นตกเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา หลังจากที่สหรัฐจ่ายเงิน 20 ล้านดอลลาร์ซื้อฟิลิปปินส์จากสเปน หลังยุติสงครามสเปน-อเมริกา (The Spanish-American War) ในปี พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) จนกระทั่งประกาศเอกราชและเป็นที่ยอมรับในปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946)",
"title": "จักรวรรดินิยมในเอเชีย"
},
{
"docid": "900162#2",
"text": "อังกฤษเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองมาเลย์ใน พ.ศ. 2314 โดยสหราชอาณาจักรพยายามเข้ามาจัดตั้งท่าเรือการค้าในปีนัง ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของเกดะห์ อังกฤษยึดครองสิงคโปร์เป็นอาณานิคมใน พ.ศ. 2362",
"title": "บริติชมาลายา"
},
{
"docid": "1989#8",
"text": "ค.ศ. 1946 จึงได้รับการยกฐานะให้เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศ (Separate Crown colony) เมื่ออังกฤษกลับมาควบคุมสิงคโปร์อีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากที่สิงคโปร์อยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1942-1946)",
"title": "ประเทศสิงคโปร์"
},
{
"docid": "900162#10",
"text": "หลังจากที่อังกฤษได้สิงคโปร์มาตามสนธิสัญญาแองโกล-ดัตช์ พ.ศ. 2367 อังกฤษพยายามรวมศูนย์การบริหารปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ ใน พ.ศ. 2369 ได้สร้างกรอบสำหรับนิคมช่องแคบโดยมีปีนังเป็นเมืองหลวง ต่อมาใน พ.ศ. 2375 ได้ย้ายเมืองหลวงไปสิงคโปร์ ต่อมา เกาะคริสต์มาส หมู่เกาะโคโคส ลาบวน และดินดิงในเประได้รวมเข้ามาในนิคมช่องแคบ แต่เดิม นิคมช่องแคบอยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทอินเดียตะวันออกที่กัลกัตตา จนบริษัทสลายตัวใน พ.ศ. 2401 และบริติชอินเดียจนถึง พ.ศ. 2410 แต่ต่อมา ได้เกิดความขัดแย้งในการบริหารงาน ใน พ.ศ. 2410 ได้เปลี่ยนมาขึ้นกับสำนักงานอาณานิคมในลอนดอนโดยตรง ซึ่งแสดงถึงความเป็นอิสระและอิทธิพลภายในจักรวรรดิอังกฤษ",
"title": "บริติชมาลายา"
}
] |
1318 | เรียลลิตีโชว์โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่3 เริ่มออกอากาศเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "730111#0",
"text": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3 เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ค้นหานักออกแบบแฟชั่นของสหรัฐอเมริกา ในฤดูกาลที่ 3 นี้ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ทางช่องบราโว่ ในฤดูกาลนี้มีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 15 คน และได้นางแบบชื่อดัง ไฮดี คลูม รับหน้าที่เป็นพิธีกรและกรรมการตัดสินในฤดูกาลนี้ ร่วมกับ ไมเคิล คอร์ส นักออกแบบแฟชั่นชื่อดัง และ นีน่า การ์เซีย บรรณาธิการนิตยสาร แอล (Elle) โดยมี ทิม กันน์ มาเป็นที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำกับผู้เข้าแข่งขันอีกด้วย",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3"
}
] | [
{
"docid": "21299#5",
"text": "เกมชีวิต ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยการผลิตของ กันตนา เมื่อต้นปี พ.ศ. 2543 (วันอาทิตย์ เวลา 17.00 น.) ซึ่งตอนนั้นได้ใช้รูปแบบรายการของเซอร์ไวเวอร์ (Survivor) แต่รูปแบบของของการเล่นเกมส์จะเปลี่ยนทุกซีซั่น ในซีซั่นที่ 3 จึงได้เสียงตอบรับที่ไม่ดีในด้านการดำเนินเกมส์ที่ใช้วิธีของทางทหาร สร้างความกดดันทั้งผู้เล่นเกมส์และคนดู จนคนดูไม่สามารถรับได้ จึงได้ยุติลงในที่สุด Survivor ในประเทศไทย ได้ออกอากาศทางฟรีทีวีและทางเคเบิลทีวี โดยลิขสิทธิ์ทางฟรีทีวี เป็นลิขสิทธิ์ของกันตนา (ฉายฤดูกาลที่ 1-3 ทางช่อง 5 เวลา 19.30 น.- 20.00 น. และฤดูกาลที่ 4-5 ทางช่อง 9 เวลา 22.00 น.-23.00 น. เมื่อต้นปี พ.ศ. 2546) ส่วนลิขสิทธิ์ทางเคเบิลทีวี คือ ทรูวิชั่นส์ โดยฉายฤดูกาลที่ 1-3 ตามหลังอเมริกาประมาณ 3 เดือนทางช่อง AXN และฉายฤดุกาลที่ 5-ฤดูกาลล่าสุด ตามหลังอเมริกาประมาณ 7 ชั่วโมง ทางช่อง True Series พร้อมทั้งยังมีการออกอากาศซ้ำหลายรอบ (ฤดูกาลที่ 4 เป็นฤดูกาลเดียวที่ไม่ได้ฉายทาง ทรูวิชั่นส์) เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ออกอากาศทางสถานีโมเดิร์นไนน์ทีวี (ช่อง 9) ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา รักแท้บทที่ 1 ออกอากาศทางสถานีกองทัพบกช่อง5 ในปี พ.ศ. 2548 (วันศุกร์ เวลา 20.30 น.) ผลิตรายการโดย แกรมมี่ เทเลวิชั่น เป็นเรียลลิตีประเภทนัดบอด แต่เนื่องด้วยจากกระแสวิจารณ์ทางสังคม ที่ตีความเนื้อหาของรายการผิดเพี้ยนไปจากเดิม จึงถูกยุติบทบาทลงไปในไม่กี่เดือน ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ออกอากาศทางเคเบิลทีวี ทาง ทรูวิชั่นส์ ซึ่งทรูได้ซื้อลิขสิทธิ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และได้ออกอากาศทางฟรีทีวีตั้งแต่ ซีซั่น 2 โดย ซีซั่น 2 ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในปี พ.ศ. 2548 และเมื่อขึ้นซีซั่นที่ 3 ได้ออกกาศทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ในปี พ.ศ. 2549 โดยโมเดิร์นไนน์ทีวีได้ออกอากาศซีซั่นที่ 3 ถึงซีซั่นที่ 10 (พ.ศ. 2549 - 2556) และเปลี่ยนไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ดิจิตอลทรูโฟร์ยูในซีซั่นที่ 11 (พ.ศ. 2557) จนถึงปัจจุบัน เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทยและเป็นรายการเรียลลิตีโชว์รายการแรกของไทยที่ถ่ายทอดสดการใช้ชีวิตของผู้เข้าแข่งขันในบ้านตลอด 24 ชั่วโมงตั้งแต่ต้นจนจบฤดูกาล UBC Human Resource เป็นรายการประเภทหางาน จัดโดยทรูวิชั่นเองทั้งหมด รูปแบบรายการไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ไม่ตื่นเต้น ไม่สนุกสนาน ไม่สามารถดึงดูดผู้ชมไม่ว่าจะทางด้านใดๆ ได้เลย อีกทั้งยังออกอากาศเฉพาะในทรูเท่านั้น ทำให้รายการไม่เป็นที่รู้จักแต่อย่างใด บิ๊ก บราเธอร์ โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรก วันที่ 2 เมษายน 2548 ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และทางเคเบิล ทางUBC ช่อง 16 (ตลอด 24 ชม.) จนรายการจบ",
"title": "เรียลลิตีโชว์"
},
{
"docid": "42175#0",
"text": "โปรเจกต์รันเวย์ (Project Runway) เป็นรายการรีอัลลิตีโชว์ ของสหรัฐอเมริกา เน้นการแข่งขันในด้านการออกแบบเสื้อผ้า ฉายทางช่อง บราโว การแข่งขันดำเนินโดยให้ผู้ร่วมแข่งขันออกแบบเสื้อผ้าตามเงื่อนไขที่กำหนด และเมื่อสิ้นสุดรายการในแต่ละอาทิตย์ ผู้ออกแบบจะถูกคัดออกอาทิตย์ละหนึ่งคนโดยกรรมการ โปรเจ็คต์รันเวย์เริ่มออกฉายครั้งแรกเมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2547 รายการดำเนินงานโดยนางแบบไฮดี คลุม ในประเทศไทย โปรเจกต์รันเวย์ ออกอากาศทางช่อง ทรูอินไซด์ ของสถานีเคเบิลโทรทัศน์ ทรูวิชั่นส์",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์"
},
{
"docid": "730111#27",
"text": "กรรมการ: ไฮดี คลูม, นีน่า การ์เซีย, ไมเคิล คอร์ส กรรมการรับเชิญ: แซค โพเซ่น ผู้ชนะ: ลอรา ผู้ถูกคัดออก: แองเจลา, วินเซนต์, และ เคย์น ออกอากาศ: 13 กันยายน พ.ศ. 2549",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "730111#25",
"text": "กรรมการ: ไฮดี คลูม, นีน่า การ์เซีย, ไมเคิล คอร์ส กรรมการรับเชิญ: แคทเธอรีน มาลานดรีโน, ริชาร์ด ไทเลอร์ ผู้ชนะ: เจฟฟรีย์ ผู้ถูกคัดออก: วินเซนต์ ออกอากาศ: 6 กันยายน พ.ศ. 2549 เจฟฟรีย์ เป็นนักออกแบบคนที่ 4 ที่ชนะการแข่งขัน 2 ครั้งติดกัน ต่อจาก คารา (ฤดูกาลที่ 1), แดเนียล วี. (ฤดูกาลที่ 2), และ ไมเคิล (ฤดูกาลที่ 3)",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "730111#35",
"text": "กรรมการ: ไฮดี คลูม, นีน่า การ์เซีย, ไมเคิล คอร์ส กรรมการรับเชิญ: เฟิร์น มอลลิส ผู้ก่อตั้งนิวยอร์กแฟชั่นวีค ผู้ชนะ โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3: เจฟฟรีย์ ซีบีเลีย ผู้ถูกคัดออก: อูลี เฮิร์ซเนอร์ (รองชนะเลิศอันดับ 1), ลอรา เบนเนตต์ (รองชนะเลิศอันดับ 2), ไมเคิล ไนท์ (รองชนะเลิศอันดับ 3) ออกอากาศ: 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "730111#31",
"text": "พิธีกร: ไฮดี คลูม, ทิม กันน์ แขกรับเชิญพิเศษ: นีน่า การ์เซีย, ไมเคิล คอร์ส ขวัญใจผู้ชม (Fan Favorite): ไมเคิล ผู้ถูกคัดออก: ไม่มี ออกอากาศ: 4 ตุลาคม พ.ศ. 2549",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "730111#17",
"text": "กรรมการ: ไฮดี คลูม, นีน่า การ์เซีย, ไมเคิล คอร์ส กรรมการรับเชิญ: ไดแอน วอน เฟิร์สเตนเบิร์ก ผู้ชนะ: ไมเคิล ผู้ถูกคัดออก: แบรดลีย์ ออกอากาศ: 9 สิงหาคม พ.ศ. 2549",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "730111#3",
"text": "ในตอนที่ 0 นี้ ได้เริ่มต้นฤดูกาลที่ 3 ด้วยการออดิชั่นหาผู้เข้าแข่งขัน จากเหล่าดีไซเนอร์มากความสามารถร่วมพันคน ผ่านการสัมภาษณ์และคัดเลือกจาก ทิม กันน์ และเหล่าแฟชั่นดีไซเนอร์ รวมไปถึงผู้เข้าแข่งขันในฤดูกาลที่ผ่านมา จนได้ 15 ดีไซเนอร์ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่โปรเจกต์รันเวย์ ในฤดูกาลที่ 3",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "730111#19",
"text": "กรรมการ: ไฮดี คลูม, นีน่า การ์เซีย, ไมเคิล คอร์ส กรรมการรับเชิญ: ราเชล โซอี ผู้ชนะ: ไมเคิล ผู้ถูกคัดออก: เอลลิสัน ออกอากาศ: 16 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ไมเคิล เป็นนักออกแบบคนที่ 3 ที่ชนะการแข่งขัน 2 ครั้งติดกัน ต่อจาก คารา (ฤดูกาลที่ 1), และ แดเนียล วี. (ฤดูกาลที่ 2)",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "591622#14",
"text": "จากบทสัมภาษณ์ของคอลลินส์ ได้มีการตั้งข้อสังเกตกันว่า\"เกมล่าชีวิต\" นั้น \"โจมตีปัญหาต่าง ๆ เช่น ความยากจนข้นแค้น ความอดอยาก การปกครองแบบกดขี่ และผลกระทบของสงครามต่อบุคคลอื่น\" นวนิยายเล่าถึงความยากลำบากในการพึ่งตัวเองที่ชาวพาเน็มในแต่ละเขตต้องเผชิญ และพูดถึงเกมล่าชีวิตที่พวกเขาต้องเข้าแข่งขัน ความอดอยากของประชาชนและความต้องการที่จะได้มาซึ่งทรัพยากรไม่ว่าจะทั้งในและนอกสนามประลองได้สร้างบรรยากาศของความรู้สึกไร้ทางสู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตัวละครหลักพยายามจะก้าวผ่านในการต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด การที่แคตนิสต้องออกล่าสัตว์เพื่อหาอาหารให้แก่ครอบครัวของเธอได้ส่งผลในการพัฒนาทักษะที่กลายเป็นประโยชน์ต่อเธอในการแข่งขัน (อาทิเช่น ทักษะการใช้ธนูที่ยอดเยี่ยม) และในสถานการณ์ที่ต้องเอาชีวิตรอด แคตนิสยังได้แสดงถึงการขัดขืนต่อกฎระเบียบของแคปิตอลอีกด้วย ส่วนในเรื่องของการเปรียบเทียบของเกมกับวัฒนธรรมป๊อปนั้น ดาเร็น ฟรานิช จากนิตยสาร\"เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี\" ได้เขียนเอาไว้ว่า หนังสือเล่มนี้คือ \"การเสียดสีรายการเรียลลิตีโชว์อย่างหลักแหลม\" และตัวละครอย่าง ซินน่า นั้นก็ \"แทบจะดูเหมือนกับผู้เข้าแข่งขันในเรื่อง \"โปรเจกต์รันเวย์\" ฉบับฟาสซิสต์ ผู้ที่ใช้ชุดของแคตนิสเป็นตัวส่งผ่านความคิดที่อันตรายออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ\"",
"title": "เกมล่าชีวิต"
},
{
"docid": "730111#21",
"text": "กรรมการ: ไฮดี คลูม, นีน่า การ์เซีย, ไมเคิล คอร์ส กรรมการรับเชิญ: โจน คอร์ส (แม่ของไมเคิล คอร์ส) ผู้ชนะ: วินเซนต์ ผู้ถูกคัดออก: โรเบิร์ต ออกอากาศ: 23 สิงหาคม พ.ศ. 2549",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "730111#12",
"text": "กรรมการ: ไฮดี คลูม, นีน่า การ์เซีย กรรมการรับเชิญ: เวรา หวัง, อิวังกา ทรัมพ์ ผู้ชนะ: อูลี ผู้ถูกคัดออก: แคทเธอรีน ออกอากาศ: 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2549",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "620028#0",
"text": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 1 เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ค้นหานักออกแบบแฟชั่นของสหรัฐอเมริกา ออกอากาศครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาทางช่องบราโว่ ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ในฤดูกาลแรกของรายการนี้มีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 12 คน และได้นางแบบชื่อดัง ไฮดี คลูม รับหน้าที่เป็นพิธีกรและกรรมการตัดสินในฤดูกาลนี้ ร่วมกับ ไมเคิล คอร์ส นักออกแบบแฟชั่นชื่อดัง และ นีน่า การ์เซีย บรรณาธิการนิตยสาร แอล (Elle) นอกจากนี้ยังมี ทิม กันน์ มาเป็นที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำกับผู้เข้าแข่งขันอีกด้วย",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 1"
},
{
"docid": "730111#33",
"text": "ผู้ถูกคัดออก: ไม่มี ออกอากาศ: 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "21299#7",
"text": "ไฮโซบ้านนอก ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2548 เป็นที่กล่าวถึงกันอย่างมาก เนื่องจากพฤติกรรมของ คชาภา ตันเจริญ (มดดำ) ซึ่งเป็นคนเปิดเผยและค่อนข้างตรง ทำให้บางครั้งเรื่องราวเกิดขึ้นเพียงคนๆ เดียว เช่น เกือบเผาบ้าน หรือแม้แต่วีนใส่ทีมงาน และอีกอย่าง เนื่องด้วยไฮโซบ้านนอก เป็น เรียลลิตีโชว์แบบเฟค (ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตจริง แต่ทีมงานกับผู้เข้าแข่งขัน ต่างรู้เรื่องราวกันเป็นอย่างดีโดยที่ผู้ชมทางบ้านไม่รู้ว่า นี่คือ การสมรู้ร่วมคิดกันของทีมงานกับผู้เข้าแข่งขัน) ทำให้ถูกวิจารณ์และทำให้ความหมายของคำว่า เรียลลิตีโชว์ ในไทย แปลความหมายผิดเพี้ยนไปจากเดิม รายการตัวจริง ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2549 ค้นหาพิธีกรโทรทัศน์ The Arsenal Dream ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2549 (วันอาทิตย์ เวลา 13.00 น.โดยประมาณ) เนื่องจากได้เวลาในช่วงบ่าย ประกอบกับการขาดเรื่องประชาสัมพันธ์ ทำให้เรตติ้งรายการไม่กระเตื้องขึ้น Thailand Next Top Model ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2548 ผู้ที่ซื้อลิขสิทธิ์ก็คือ ซอนญ่า คูลลิ่ง มีการกล่าวถึงเรื่องการดำเนินเกมส์ที่ขาดสีสัน ด้านอารมณ์ ทำให้ผู้เข้าแข่งขันมีลักษณะไปในทางเดียวกัน กล่าวคือ ไม่มีความริษยาหรือโกรธแค้นกลั่นแกล้งกัน ทำให้ความนิยมของรายการไม่กระเตื้องขึ้น ส่วนในด้านผลงานของผู้แข่งขันหลังจบเกมส์ ทาง BEC Tero ไม่ได้ประชาสัมพันธ์หรือป้อนงานให้ ทำให้ไม่สามารถติดตามผลงานได้ว่าพวกเธอมีผลงานในวงการบันเทิงในด้านใดบ้าง M Thailand ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปลายปี พ.ศ. 2548 ถึง ต้นปี พ.ศ. 2549 (วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 22.00 น. โดยประมาณ) มีการกล่าวถึงกันมาก เนื่องจากว่ากันว่ารูปแบบรายการได้ลอกเนื้อหามาจาก Thailand's Perfect Man โดยทาง BEC Tero ได้ชิงตัดหน้าขโมยความคิด นำมาทำเป็นรูปแบบเกมส์เรียลลิตีโชว์ก่อน และอีกสาเหตุหนึ่งมาจาก การวิจารณ์ผู้เข้าแข่งขันในรอบคัดเลือก จนไปสร้างความกดดันให้คนดูและผู้เข้าแข่งขัน รวมไปถึง การใช้ไอเดียของรายการ Manhunt ในการซ่อนทีมงานไปปะปนในหมู่ผู้เข้าแข่งขัน ทำให้ถูกพูดถึงในแง่การวิจารณ์เป็นอย่างมากและด้วยการดำเนินรายการของ BEC Tero ที่ไม่มีการโต้แย้งของผู้เข้าแข่งขัน ทำให้เรตติ้งรายการค่อนข้างทรงตัวจนจบการแข่งขัน ส่วนในด้านผลงานของผู้แข่งขันหลังจบเกมส์ เนื่องด้วยทาง BEC Tero ไม่ได้ประชาสัมพันธ์หรือป้อนงานให้กับผู้เข้าแข่งขันคนอื่นๆ นอกจากผู้ชนะเลิศของรายการ ทำให้ไม่สามารถติดตามผลงานของผู้เข้าแข่งขันคนอื่นๆ ได้ว่าใครไปมีอาชีพในวงการบันเทิงในด้านใดบ้าง Thailand's Perfect Man ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในปี พ.ศ. 2549 (ต้นเดือนกุมภาพันธ์-ปลายเดือนมิถุนายน ทุกวันอังคาร เวลา 23.00 น.) และทาง Chic Channel ของ UBC หลังจากที่ M Thailand ได้ชิงตัดหน้าออกอากาศไปก่อน ทำให้ Thailand's Perfect Man (TPM) ที่ดำเนินบริหารงานโดย เมทินี กิ่งพโยม ได้นำรายการไปเสนอทางไอทีวี และได้ปรับเนื้อหาของเกมส์ จนมีความลงตัวในหลายด้านๆ และไม่มีการสร้างความกดดันให้กับคนดูมากเกินไป แต่ถึงกระนั้นเรตติ้งของรายการก็ไม่ได้กระเตื้องขึ้น จนกระทั่งได้นำการเดินแบบในชุดว่ายน้ำมานำเสนอ จนทำให้เรตติ้งของรายการเพิ่มขึ้นประกอบกับความขัดแย้งของผู้เข้าแข่งขันในช่วงการแข่งขัน ทำให้เนื้อหามีความน่าติดตามมากยิ่งขึ้น ส่วนในด้านผลงานของผู้แข่งขันหลังจบเกมส์ ได้มีการประชาสัมพันธ์ติดต่อจากสปอนเซอร์หลัก (ธนาคารไทยพาณิชย์, ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล, กันตนา ฯลฯ) ทำให้มีงานป้อนเข้ามาเป็นระยะ ซึ่งเป็นการดำเนินงานของ เมทินี กิ่งพโยม อัจฉริยะข้ามคืน ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มออกอากาศในปี พ.ศ. 2549 จนถึงต้นปี พ.ศ. 2551 Eco Challenge คนเก่ง เกมนักขับ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในปี พ.ศ. 2549 ดำเนินการผลิตโดย กันตนา (ออกอากาศต่อจาก Thailand's Perfect Man ประมาณ 1 เดือน ทุกวันอังคาร เวลา 23.00 น.) รูปแบบของรายการได้ใช้รูปแบบของรายการเซอร์ไวเวอร์ ผสมกับเทคนิคการขับรถยนต์ในสถานการณ์ทุกรูปแบบ แต่เนื่องจากรูปแบบรายการที่ไม่ชัดเจนและใช้รูปแบบของเซอร์ไวเวอร์ มากถึง 70% ทำให้เรตติ้งรายการไม่กระเตื้องขึ้น ซึ่งผู้ชนะได้รับรถยนต์มิตซูบิชิ และเงินรางวัล 1 ล้านบาท (รายการเป็นรูปแบบเดียวกับทางฝั่งอเมริกาที่เป็นคนเดียวกันกับที่ทำรายการ Survivor และ Eco Challenge) ซีซ่า ทางสายฝันสู่ดวงดาว ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2549 โดยมี มณีนุช เสมรสุต (ครูอ้วน) เป็นผู้บริหารรายการ รายการเป็นรูปแบบแข่งขันร้องเพลงสำหรับเด็ก ทำดีให้พ่อดู เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ ตามติดชีวิตนักล่าฝันจากรายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ในซีซั่นที่ 1 ถึง 3 ในการปฏิบัติภารกิจเพื่อสังคม 12 โครงการ โดยแบ่งผู้ปฏิบัติภารกิจตามสายรหัส V1-V12 ของแต่ละซีซั่น พร้อมทั้งอาสาสมัครบุคคลทั่วไปที่จะร่วมกันสร้างสรรค์ความดี เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา ออกอากาศซีซี่นที่ 1 พ.ศ. 2550 ในตอน 12 V 12 ความดีเพื่อพ่อ และออกอากาศซีซั่นที่ 2 พ.ศ. 2552 ในชื่อตอน เรียนรู้ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยนักล่าฝันจากรายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ในซีซั่นที่ 4 ถึง 6 โดยแบ่งนักล่าฝันเป็นรุ่น 3 รุ่น เพื่อเดินทางไปเรียนรู้งานในทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง 4 วัน 3 คืน ณ สถานที่ๆทีมงานกำหนด The Singer ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2550 เป็นรายการรูปแบบแข่งขันร้องเพลง โดยมี พุทธธิดา ศิระฉายา เป็นผู้บริหารรายการ อัจฉริยะยกบ้าน ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2551 ซูเปอร์สตาร์ ที่สุดแห่งดาว เป็นรายการเรียลลิตีฟอร์มยักษ์ เป็นการแข่งขันของเหล่าดารา เปิดเผยเบื้องหลังที่มาของการแสดงทุกรูปแบบ ดาราที่เข้าแข่งขันจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ทีม เพื่อแข่งขันใน 10 หัวข้อการแสดง โดยการฝึกสอนจากเทรนเนอร์ที่เป็นที่สุดของทุกแขนง ออกอากาศซีซั่นแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 The Master ออกอากาศ 24 ชั่วโมงทาง ทรูวิชั่นส์ ช่อง 18 และมีรายการไฮไลท์ประจำวัน และคอนเสิร์ตทุกวันเสาร์ที่ช่อง 19 ทรูอินไซด์ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2552 เป็นเวลา 1 เดือน รูปแบบรายการเป็นการแข่งขันร้องเพลงและแสดงโชว์ แข่งขันเป็นทีม ทีมละ 5 คน โดยผู้เข้าแข่งขันมาจากตำแหน่งผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศอันดับหนึ่งของรายการ ทรู อคาเดมี่ แฟนเทเชีย ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 1-5 และได้มีการโหวตคัดเลือกผู้แข่งขันนักล่าฝันคนอื่นๆเพิ่มเติมผ่านระบบ SMS รายการนี้จะเน้นการทำงานเบื้องหลังของศิลปิน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้ประสบการณ์ในการทำงาน คิดและวางแผนโชว์ที่จะเกิดขึ้นในทุกคืนวันเสาร์ด้วยตนเอง ร่วมกับสมาชิกในทีม และทีมเบื้องหลัง และผู้ชนะรายการเพียงหนึ่งเดียวจากผล Popular Vote จะได้ตำแหน่ง สุดยอดเดอะมาสเตอร์ สุภาพบุรุษบอยแบนด์ ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 กลางเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 The Trainer ปั้นฝันสนั่นเวที รายการเรียลลิตีโชว์สำหรับเด็ก ออกอากาศทาง ช่อง 9 เดือนพฤษภาคม ปี 2552 - ปัจจุบัน ล้านฝันสนั่นโลก ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 The Voyager เกมเดินทางในต่างแดน</b>ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 Teen Superstar เกิดมาเป็นดาว คือรายการ ซุปเปอร์สตาร์ ที่สุดแห่งดาว แต่ได้เปลี่ยนรูปแบบรายการใหม่ ค้นหาเยาวชน ผู้ชนะ ชาย 2 หญิง2 จะมาจากการโหวดของประชาชน ซึ่งก็คือ ชายและหญิง 2 คนแรก จะได้มีโอกาสไปเป็นศิลปินในประเทศเกาหลี และอีกสองคนจะได้เป็นศิลปินในประเทศไทย ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ประมาณเดือนธันวาคม ปี 2553 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต ออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 9 กันยายน พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน เดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์ ซีซั่นที่ 1 เดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์ (English: The Comedian Thailand) เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ มีจุดประสงค์เพื่อค้นหา \"เอนเตอร์เทนเนอร์\" เป็นตัวแทนถ่ายทอดศาสตร์ตลกและศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อรับรางวัลมากมายพร้อมกับโอกาสที่จะได้ก้าวเข้าสู่วงการบันเทิง ออกอากาศ ช่อง ทรูวิชั่นส์ (ถ่ายทอดสดตลอด 24 ชั่วโมง) ถ่ายทอดสดการประกวด ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 – 21 เมษายน 2556 เดอะวอยซ์ คิดส์ ไทยแลนด์ ออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 27 เมษายน พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน เดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์ ซีซั่นที่ 2 เดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์ (English: The Comedian Thailand) เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ มีจุดประสงค์เพื่อค้นหา \"เอนเตอร์เทนเนอร์\" เป็นตัวแทนถ่ายทอดศาสตร์ตลกและศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อรับรางวัลมากมายพร้อมกับโอกาสที่จะได้ก้าวเข้าสู่วงการบันเทิง ออกอากาศ ช่อง ทรูวิชั่นส์ (ถ่ายทอดสดตลอด 24 ชั่วโมง) ถ่ายทอดสดการประกวด ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 26 มกราคม พ.ศ. 2557 - 13 เมษายน พ.ศ. 2557 เดอะวินเนอร์อีส ไทยแลนด์ ออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน เดอะเฟซไทยแลนด์(4 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน) เรียลลิตี้โชว์รายการเรียลลิตีเพื่อค้นหาสุดยอดนางแบบ โดยจะมีการแบ่งนางแบบออกเป็น 3 ทีมตามทีมของเมนเทอร์ของตนเอง เนลท์ให้โอกาสประเทศไทยเป็นครั้งแรกในเอเชีย ผลิตรายการโดย บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เดอะเฟซเมนไทยแลนด์(29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน) เรียลลิตี้โชว์รายการเรียลลิตีเพื่อค้นหาสุดยอดนายแบบ โดยจะมีการแบ่งนายแบบออกเป็น 3 ทีมตามทีมของเมนเทอร์ของตนเอง ซึ่งเป็นการต่อยอดจากรายการเดอะเฟซไทยแลนด์ ผลิตรายการโดย บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) The Mask Singer หน้ากากนักร้อง (6 ตุลาคม พ.ศ.2559 - ปัจจุบัน) เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์เพื่อค้นหาบุคคลในวงการบันเทิงที่มีความสามารถในการร้องเพลงมาเข้าร่วมประกวด โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องใส่ชุดหน้ากากเพื่อปิดบังตัวตนของตัวเองไว้ ซึ่งเป็นรายการที่ซื้อลิขสิทธิ์มาจาก ประเทศเกาหลีใต้ ผลิตรายการโดย เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ซูเปอร์เท็น (7 มกราคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน) เป็นรายการประกวดในรูปแบบที่จะค้นหา<b data-parsoid='{\"dsr\":[16130,16154,3,3]}'>อัจฉริยะพันธุ์จิ๋ว ผลิตรายการโดย บริษัท ซูเปอร์จิ๋ว จำกัด มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ (4 มิถุนายน พ.ศ.2560 - ปัจจุบัน) เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์เพื่อค้นหาผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพเชฟ แต่มีใจรักที่จะทำอาหารและมีความสามารถที่จะไปเป็นเชฟได้ โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องผ่านโจทย์การทำอาหารทั้งแบบเดี่ยวและแบบทีมในแต่ละสัปดาห์ รายการ Topchef รายการแข่งทำอาหารของ Chef ชื่อดัง",
"title": "เรียลลิตีโชว์"
},
{
"docid": "730111#10",
"text": "กรรมการ: ไฮดี คลูม, นีน่า การ์เซีย กรรมการรับเชิญ: เวรา หวัง, ทาร่า คอนเนอร์ ผู้ชนะ: เคย์น ผู้ถูกคัดออก: มาลาน ออกอากาศ: 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2549",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "730111#29",
"text": "กรรมการ: ไฮดี คลูม, นีน่า การ์เซีย, ไมเคิล คอร์ส กรรมการรับเชิญ: เทริ เอกินส์ ผู้ชนะ: อูลี ผู้ถูกคัดออก: ไม่มี ออกอากาศ: 27 กันยายน พ.ศ. 2549",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "623278#0",
"text": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 2 เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ค้นหานักออกแบบแฟชั่นของสหรัฐอเมริกา ในฤดูกาลที่ 2 นี้ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ทางช่องบราโว่ ในฤดูกาลนี้มีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 16 คน และได้นางแบบชื่อดัง ไฮดี คลูม รับหน้าที่เป็นพิธีกรและกรรมการตัดสินในฤดูกาลนี้ ร่วมกับ ไมเคิล คอร์ส นักออกแบบแฟชั่นชื่อดัง และ นีน่า การ์เซีย บรรณาธิการนิตยสาร แอล (Elle) นอกจากนี้ยังมี ทิม กันน์ มาเป็นที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำกับผู้เข้าแข่งขันอีกด้วย",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 2"
},
{
"docid": "730111#15",
"text": "กรรมการ: ไฮดี คลูม, นีน่า การ์เซีย กรรมการรับเชิญ: เวรา หวัง, เมห์เมต แทงโกเรน ผู้ชนะ: แองเจลา ผู้ถูกคัดออก: บอนนี ผู้ถูกตัดสิทธิ์: คีธ ออกอากาศ: 2 สิงหาคม พ.ศ. 2549",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "196467#7",
"text": "นักออกแบบและแนวเพลง:ในตอนนี้ ทิม กันน์ ได้พานักออกแบบที่เหลือทั้ง 4 คน ไปยังสวนพฤกษศาสตร์นิวยอร์ก (The New York Botanical Garden) ที่นั่นพวกเขาได้พบกับ โคลลิเออร์ สตรอง ผู้ให้คำปรึกษาทางด้านการแต่งหน้าของ ลอรีอัล ปารีส ซึ่งได้มามอบโจทย์สำหรับการแข่งขันในครั้งนี้แก่พวกเขา นั่นคือการสร้างสรรค์ชุดราตรียาว โดยให้มีแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ นักออกแบบมีเวลาคนละ 30 นาทีในการค้นหาและถ่ายภาพธรรมชาติที่เป็นแรงบันดาลใจในการทำชุดของพวกเขา ในตอนท้ายที่ห้องตัดสิน ไฮดีได้แจ้งกับนักออกแบบทั้ง 4 คนว่า ในครั้งนี้จะไม่มีใครถูกคัดออก แต่นักออกแบบทุกคนจะต้องสร้างสรรค์คอลเล็คชั่นสำหรับสัปดาห์แฟชั่นนิวยอร์ก (New York Fashion Week) ของตนเอง พวกเขาทุกคนจะได้กลับบ้าน และเมื่อกลับมาที่นิวยอร์ก จะมีนักออกแบบเพียง 3 คนเท่านั้นที่จะได้ผ่านเข้าสู่รอบตัดสินในตอนนี้นักออกแบบที่เหลือทั้ง 4 คนได้รับโจทย์ให้สร้างสรรค์คอลเล็คชันสำหรับสัปดาห์แฟชั่นนิวยอร์ก (จากสัปดาห์ที่แล้ว) และโจทย์พิเศษอีกหนึ่งโจทย์ นั่นคือการสร้างสรรค์ชุดเจ้าสาว โดยทั้งคอลเลคชั่นและชุดเจ้าสาวของนักออกแบบทุกคนนั้นจะต้องแสดงถึงความเป็นตัวตนของพวกเขาออกมาให้มากที่สุด นักออกแบบจะได้รับเงินทุนคนละ 8,000 ดอลลาร์ ในการสร้างสรรค์ชุดในคอลเล็คชันทั้งหมด 10 ชุด รวมถึงชุดเจ้าสาว และมีเวลา 2 เดือนในการสร้างสรรค์ชุดทั้งหมดให้เสร็จ โดยนักออกแบบทุกคนจะได้กลับไปพักผ่อนและทำงานที่บ้าน จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไป 1 เดือน ทิม กันน์ ที่ปรึกษาได้ไปเยี่ยมนักออกแบบแต่ละคนที่บ้านเพื่อให้คำปรึกษาและพูดคุยเรื่องราวต่างๆกับนักออกแบบ เมื่อครบกำหนดนักออกแบบทุกคนกลับมายังนครนิวยอร์ก จากนั้น ทิม กันน์ ได้เรียกทุกคนมาพบและแจ้งให้นักออกแบบทุกคนทราบว่า ทุกคนจะได้รับโจทย์พิเศษอีก 1 โจทย์ นั่นคือการสร้างสรรค์ชุดเพื่อนเจ้าสาว โดยในครั้งนี้ กรรมการจะตัดสินจาก 2 ชุด นั่นคือชุดเจ้าสาวและชุดเพื่อนเจ้าสาว ซึ่งจะมีเพียง 3 คนเท่านั้นที่จะผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายที่สัปดาห์แฟชั่นนิวยอร์กในตอนสุดท้ายของฤดูกาลนี้ นักออกแบบที่เหลืออยู่ทั้ง 3 คนจะได้แสดงผลงานการออกแบบคอลเลคชั่นของตนเองในสัปดาห์แฟชั่นนิวยอร์ก โดยนักออกแบบจะต้องเลือก 10 จาก 12 ชุดของพวกเขาเพื่อโชว์ในครั้งนี้ จากนั้นนักออกแบบก็ได้ทำการคัดเลือกนางแบบที่จะมาเดินในคอลเล็คชันของแต่ละคน และเมื่อถึงวันแสดงจริง ไฮดีได้แจ้งให้ทุกคนในงานทราบว่า ในตอนแรกนั้นผู้ที่จะมาเป็นกรรมการรับเชิญให้กับตอนสุดท้ายนี้คือ เจนนิเฟอร์ โลเปซ แต่เนื่องจากมีอาการบาดเจ็บที่เท้าทำให้เธอไม่สามารถมาร่วมงานได้ ทิม กันน์ จึงได้มาเป็นกรรมการรับเชิญแทน และหลังจากที่กรรมการได้ชมการแสดงคอลเลคชันของนักออกแบบทั้ง 3 คนครบแล้ว ก็ได้ตัดสินให้ ลีแอน มาร์แชล เป็นผู้ชนะของ \"โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 5\"",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 5"
},
{
"docid": "613999#0",
"text": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 4 เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ค้นหานักออกแบบแฟชั่นของสหรัฐอเมริกา ออกอากาศครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาทางช่องบราโว่ ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ในฤดูกาลนี้มีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 15 คน และได้นางแบบชื่อดัง ไฮดี คลูม รับหน้าที่เป็นพิธีกรและกรรมการตัดสินในฤดูกาลนี้ ร่วมกับ ไมเคิล คอร์ส นักออกแบบแฟชั่นชื่อดัง และ นีน่า การ์เซีย บรรณาธิการนิตยสาร แอล (Elle) นอกจากนี้ยังมี ทิม กันน์ มาเป็นที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำกับผู้เข้าแข่งขันอีกด้วย",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 4"
},
{
"docid": "21299#3",
"text": "เรียลลิตีโชว์ประเภทกึ่งสารคดีจะมีลักษณะนำเสนอชีวิตส่วนต่างๆ ไม่มีบทพูด ไม่ใช่ลักษณะของเกม ตัวอย่างรายการดังเช่น MTV's Laguna Beach: The Real Housewives of Orange County เรียลลิตีโชว์ประเภทอยู่ในสภาพแวดล้อมพิเศษจะมีลักษณะการสร้างสภาพแวดล้อมพิเศษให้คนมาอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนั้นด้วยกัน เช่น Temptation Island, The Real World และ Solitary เรียลลิตีโชว์ของดารา คนดังจะเผยชีวิตของดาราดัง ชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น The Osbournes (ครอบครัวออสบอร์น), Newlyweds (เจสสิก้า ซิมพ์สัน และ นิค ลาเช่), Keeping Up With The Kardashian (ครอบครัวคาร์เดเชียน) ในที่นี่รวมถึงลักษณะรายการที่อยู่ในสภาพแวดล้อมเฉพาะ เช่น ไฮโซบ้านนอก,ด้ายใจ(เป็นรายการ Reality Variety ซึ่งมีครอบครัวหนึ่งมาขอเล่น Reality โดยการพาคุณแม่ของบ้านไปพักร้อน แล้วคุณพ่อและคุณลูกต้องอยู่กันเอง) เป็นต้น เรียลลิตีโชว์ของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะเผยลักษณะการทำงานต่างๆ ของผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆเช่น COPS และ The Restaurant เป็นต้น เรียลลิตีเกมโชว์เป็นการแข่งขันเพื่อชิงรางวัล โดยมีโจทย์ต่างๆ ตามคอนเซ็บต์ของรายการ เช่น บิ๊ก บราเธอร์, ทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย, เซอร์ไวเวอร์, ดิ อะเมซิ่ง เรซ, อัจฉริยะยกบ้าน, So You Think You Can Dance และ อเมริกันไอดอล,อัจฉริยะข้ามคืน เป็นต้น เรียลลิตีโชว์ประเภทหางานมีรางวัลเป็นงานที่ต้องการ เช่น The Apprentice, เดอะเฟซไทยแลนด์, อเมริกาส์ เน็กซ์ ท็อป โมเดล และ Hell's Kitchen เป็นต้น เรียลลิตีโชว์ประเภทกีฬานำส่วนประกอบกีฬามาเป็นคอนเซ็บต์หลัก เช่น The Contender (รายการนี้ผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบคนนึงฆ่าตัวตายหลังถูกคัดออก) เรียลลิตีโชว์ประเภทปรับปรุงตัวเอง /แปลงโฉมมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงตัวเอง เช่นการผ่าตัด การลดน้ำหนัก ให้ตัวเองดีขึ้น เช่น Extreme Makeover, Queer Eye For The Straight Guy, The Swan, The Biggest Loser และ Celebrity Fit Club เป็นต้น เรียลลิตีโชว์ประเภทนัดบอดจะนำผู้เข้าแข่งขันที่ไม่รู้จักกัน มานัดบอด ตามเงื่อนไขต่างๆ รายการประเภทนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในช่องเอ็มทีวี เช่น Dis-missed Wanna Comein และ พรหมลิขิต บทที่ 1 (รายการนี้ก่อนตอนจบจะออกอากาศได้ถูกทางช่องแบนเพราะมีเนื้อหาไม่เหมาะสมแก่เด็กและเยาวชน)[รายการนี้ตอนออกอากาศยังไม่มีการจัดประเภทรายการจากกรมประชาสัมพันธ์] เรียลลิตีโชว์ประเภททอล์คโชว์อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของรายการ โดยนำผู้ร่วมรายการมาสัมภาษณ์ เช่น The Jerry Springer Show เรียลลิตีโชว์ประเภทซ่อนกล้อง (Hidden Camera)จะซ่อนกล้องไม่ให้ผู้ร่วมรายการรู้ตัว โดยอาจสร้างสถานการณ์ต่างๆ เช่น Candid Camera หรือ อาจจะรวมถึง MTV Punk'd เรียลลิตีโชว์ประเภทคนหาตัวจริงจะมีผู้เข้าแข่งขัน 1 คน และที่เหลือจะมีนักแสดงที่คัดเลือกมา ให้ผู้เข้าแข่งขันได้ใช้ชีวิตกับคนเหล่านั้นและหาตัวจริงตามลักษณะคอนเซ็บต์รายการ ตัวอย่างเช่น Boy Meets Boy และ Joe Millionaire เป็นต้น",
"title": "เรียลลิตีโชว์"
},
{
"docid": "730111#23",
"text": "กรรมการ: ไฮดี คลูม, นีน่า การ์เซีย, ไมเคิล คอร์ส กรรมการรับเชิญ: ฟรานซิสโก คอสตา, แคทเธอรีน มาลานดรีโน ผู้ชนะ: เจฟฟรีย์ ผู้ถูกคัดออก: แองเจลา ออกอากาศ: 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "730111#4",
"text": "ออกอากาศ: 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2549",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "613999#8",
"text": "นักออกแบบกับผลงานศิลปะที่เป็นแรงบันดาลใจ:\nในตอนนี้เป็นตอนพิเศษที่นักออกแบบทั้ง 15 คนได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งและพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในการแข่งขันฤดูกาลนี้ กระแสตอบรับหลังจากรายการได้ออกอากาศไปของนักออกแบบแต่ละคน รวมถึงตอบคำถามที่มีผู้ชมได้ถามเข้ามา และในตอนท้ายได้มีการประกาศผลรางวัลขวัญใจผู้ชม (Fan Favorite) ซึ่งผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัล 10,000 ดอลลาร์อีกด้วยในตอนนี้นักออกแบบที่เหลือทั้ง 4 คน ได้รับโจทย์สำหรับการแข่งขันครั้งสุดท้าย นั่นคือการสร้างสรรค์คอลเลคชั่นของพวกเขาเอง สำหรับงานนิวยอร์กแฟชั่นวีคที่กำลังจะมาถึง โดยนักออกแบบจะต้องสร้างสรรค์ชุดในคอลเลคชั่นทั้งหมด 12 ชุด นักออกแบบทุกคนจะได้รับเงินทุนคนละ 8,000 ดอลลาร์ และมีเวลา 5 เดือนในการสร้างสรรค์ชุดให้เสร็จสมบูรณ์ โดยนักออกแบบทุกคนจะได้กลับไปพักผ่อนและทำงานที่บ้าน จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือนครึ่ง ทิม กันน์ ที่ปรึกษาได้ไปเยี่ยมนักออกแบบแต่ละคนที่บ้านเพื่อให้คำปรึกษาและพูดคุยเรื่องราวต่างๆกับนักออกแบบ เมื่อครบกำหนดนักออกแบบทุกคนกลับมายังนครนิวยอร์ก แต่ก่อนที่จะถึงสัปดาห์นิวยอร์กแฟชั่นวีค รามีและคริส นักออกแบบผู้ซึ่งตกเป็นสองคนสุดท้ายในครั้งก่อนและได้รับโอกาสให้พิสูจน์ตัวเอง จะต้องเลือก 3 ชุดในคอลเลคชั่นของพวกเขาที่คิดว่าดีที่สุด เพื่อโชว์ให้คณะกรรมการได้เห็น และกรรมการจะเลือกเพียงคนเดียวเท่านั้น ที่จะผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายไปสู่การโชว์ผลงานที่ไบรอันปาร์ค ร่วมกับคริสเตียนและจิลเลียนที่ผ่านเข้ารอบไปก่อนหน้านี้แล้ว",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 4"
},
{
"docid": "730111#8",
"text": "กรรมการ: ไฮดี คลูม, นีน่า การ์เซีย, ไมเคิล คอร์ส กรรมการรับเชิญ: เคท สเปด ผู้ชนะ: คีธ ผู้ถูกคัดออก: สเตซีย์ ออกอากาศ: 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2549",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "620028#3",
"text": "การค้นหาสุดยอดนักออกแบบแห่งอเมริกาได้เริ่มต้นขึ้นแล้วกับรายการโปรเจกต์รันเวย์ ในฤดูกาลแรกของรายการนี้ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านแฟชั่นได้ออกค้นหานักออกแบบผู้มีความสามารถ โดยได้จัดการออดิชั่นขึ้นที่ 4 เมืองใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ลอสแอนเจลิส, ชิคาโก, นิวยอร์กซิตี, และ ไมแอมี จนได้นักออกแบบผู้ผ่านเข้ารอบ 12 คนสุดท้าย นักออกแบบทั้ง 12 คนเดินทางมายัง แอตลาส อพาร์ทเมนท์ในนิวยอร์กซิตี ที่นั่นทุกคนได้พบกับ ไฮดี คลูม สุดยอดนางแบบซึ่งทำหน้าที่เป็นพิธีกรของรายการนี้ เธอได้แจ้งให้ทุกคนทราบว่า อพาร์ทเมนท์แห่งนี้จะเป็นที่พักของนักออกแบบทุกคนตลอดการแข่งขันนี้จนกว่าจะถูกคัดออก จากนั้นนักออกแบบทั้ง 12 คนได้เดินทางไปยัง โรงเรียนการออกแบบพาร์สัน ที่นั่นทุกคนได้พบกับไฮดีและ ทิม กันน์ ผู้อำนวยการแฟชั่นโรงเรียนพาร์สัน ไฮดีได้แจ้งให้นักออกแบบทุกคนทราบว่า โรงเรียนพาร์สันแห่งนี้จะเป็นสถานที่นักออกแบบทุกคนจะใช้ทำงานออกแบบและใช้ในการตัดสินในแต่ละสัปดาห์ด้วย โดยจะมี ทิม กันน์ เป็นผู้ให้คำปรึกษาตลอดการแข่งขัน จากนั้นไฮดีได้แจ้งโจทย์สำหรับการแข่งขันแรกของฤดูกาลนี้ นั่นคือการสร้างสรรค์ชุดที่เซ็กซี่ สวยงาม และเลิศหรู สำหรับออกงานกลางคืน แต่ทุกคนจะได้เริ่มการแข่งขันในวันพรุ่งนี้ โดยนักออกแบบทุกคนได้เลือกนางแบบสำหรับสวมใส่ชุดของพวกเขาเดินลงบนรันเวย์ ก่อนที่ทุกคนจะได้ไปรวมตัวกันสำหรับงานเลี้ยงบนดาดฟ้า ในวันต่อมา ทิม กันน์ ได้พานักออกแบบทุกคนไปยังซุปเปอร์มาร์เก็ต และได้แจ้งให้ทุกคนทราบว่า สำหรับโจทย์ในครั้งนี้ทุกคนจะต้องใช้วัสดุจากในซุปเปอร์มาร์เก็ตแห่งนี้เท่านั้น โดยทุกคนจะได้เงินทุนคนละ 50 ดอลลาร์ และมีเวลา 1 ชั่วโมงในการหาซื้อวัสดุ นักออกแบบทุกคนมีเวลา 1 วันที่จะทำชุดให้เสร็จ นักออกแบบที่ชนะการแข่งขันในครั้งนี้จะได้รับสิทธิคุ้มกันไม่ถูกคัดออกในครั้งต่อไป",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 1"
},
{
"docid": "730111#6",
"text": "นักออกแบบกับวัสดุที่เลือกใช้:",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "196467#0",
"text": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 5 เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ค้นหานักออกแบบแฟชั่นของสหรัฐอเมริกา โดยได้เริ่มถ่ายทำกันในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 และออกอากาศครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาทางช่องบราโว่ ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ในเวลาใหม่ 3 ทุ่ม ในฤดูกาลนี้มีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 16 คน และได้นางแบบชื่อดัง ไฮดี คลูม รับหน้าที่เป็นพิธีกรและกรรมการตัดสินในฤดูกาลนี้ ร่วมกับ ไมเคิล คอร์ส นักออกแบบแฟชั่นชื่อดัง และ นีน่า การ์เซีย บรรณาธิการนิตยสาร แอล (Elle) นอกจากนี้ยังมี ทิม กันน์ มาเป็นที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำกับผู้เข้าแข่งขันอีกด้วย",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 5"
}
] |
4103 | ใครเป็นผลิตดาวเทียมดวงแรกของไทย? | [
{
"docid": "74481#3",
"text": "ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)",
"title": "ดาวเทียมไทยคม"
}
] | [
{
"docid": "788843#0",
"text": "ไทยคม 6 () เป็นดาวเทียมสื่อสารสัญชาติไทยของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และถือเป็นดาวเทียมไทยคมดวงที่ 6 โดยถูกยิงขึ้นจากฐาน ณ แหลมคะแนเวอรัล ในรัฐฟลอริดา เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2557 โดยบริษัทสเปซเอ็กซ์ ดาวเทียมไทยคม 6 โคจรอยู่ในวงโคจรค้างฟ้า ตำแหน่งเดียวกับดาวเทียมไทยคม 5 ที่ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก มีจานรับส่งสัญญาณ ซี-แบนด์ (C-Band) จำนวน 18 ช่องรับส่ง และเคยู-แบนด์ (Ku-Band) จำนวน 6 ช่องรับส่ง ซึ่งครอบคลุมการแพร่สัญญาณในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด",
"title": "ไทยคม 6"
},
{
"docid": "74481#19",
"text": "การส่งดาวเทียมไทยคม 7 ขึ้นสู่วงโคจร เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับ ให้ไทยคมมีช่องสัญญาณเพียงพอต่อการรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมบรอดคาสต์ของไทย โดยเฉพาะทีวีดิจิตอล โดยเสริมช่องสัญญาณบนดาวเทียมไทยคม 5 และ 6 ที่ให้บริการเต็มในปัจจุบัน การมีดาวเทียมเพิ่มเติมอีกดวงหนึ่งนี้ จะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพการให้บริการและช่วยขยายตลาดของไทยคมในต่างประเทศด้วย",
"title": "ดาวเทียมไทยคม"
},
{
"docid": "74481#2",
"text": "ปัจจุบัน ดาวเทียมสื่อสารภายใต้ชื่อ ดาวเทียมไทยคม มีทั้งสิ้น 8 ดวง ใช้งานได้จริง 5 ดวง ดังนี้",
"title": "ดาวเทียมไทยคม"
},
{
"docid": "618657#139",
"text": "ดาวเทียมสภาพอากาศเป็นดาวเทียมประเภทหนึ่งที่ใช้เป็นหลักในการเฝ้าดูสภาพอากาศและ สภาพภูมิอากาศของโลก. ดาวเทียมสภาพอากาศดวงแรก, Vanguard 2, ถูกยิงขึ้นในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1959, แม้ว่าดาวเทียมสภาพอากาศดวงแรกที่จะได้รับการพิจารณาว่าเป็นความสำเร็จจะเป็น TIROS-1 ซึ่งยิงขึ้นโดยองค์การนาซ่า เมื่อวันที่ 1 เมษายน 1960.[124]",
"title": "ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)"
},
{
"docid": "108249#0",
"text": "ไทยทีวีโกลบอลเน็ทเวิร์ค () เป็นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 โดยได้แพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ เพื่อคนไทยที่อาศัยอยู่ทั่วโลก 170 ประเทศ และต่างชาติที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับประเทศไทย ก่อนมีพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 จึงเป็นโทรทัศน์ดาวเทียมแห่งเดียวที่ ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้ ความบันเทิงออกไปสู่สายตาของผู้ชมทั่วโลกโดย ออกอากาศ 24 ชั่วโมงต่อวัน ส่งสัญญาณ รายการผ่านดาวเทียมถึง 5 ดวง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 177 ประเทศทั่วโลก ผังรายการ TGN เป็นผังรายการที่จัดขึ้นใหม่ แยกจากผังรายการของ ททบ.5 แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ เป็นรายการที่ TGN เป็นผู้ผลิตเอง, ผู้จัดรายการผลิตรายการขึ้นใหม่เพื่อเช่าเวลา ส่วนที่เหลือเป็นรายการที่เช่าเวลากับ ททบ.5 นำมาเช่าเวลาเพื่อออกอีกรอบทาง TGN รวมถึงรายการถ่ายทอดสดที่รับสัญญาณจากททบ.5 ลและจากสถานีอื่นที่ไม่ใช่ ททบ.5 (เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย,เอ็นบีทีเวิลด์ ฯลฯ)ดังนั้น ผังรายการ TGN จึงมีรายการที่มีความหลากหลายน่าสนใจ\nสามารถรับชม TGN ได้ 170 ประเทศ ทั่วโลก ได้แก่สถานีโทรทัศน์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ดำเนินการโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย\nสถานีโทรทัศน์เพื่อเศรษฐกิจและการลงทุน ดำเนินการโดย บริษัท แฟมมิลี่โนฮาว จำกัด\nช้อป แชนแนล ทีวีช้อปปิ้งอันดับ 1 ของญี่ปุ่น ดำเนินการโดย บริษัท ช้อป โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด",
"title": "ไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก"
},
{
"docid": "2795#12",
"text": "ดวงตา 1 ล้านโวลต์ พอคุณแปะก็จะทำให้คนอื่นหลงรัก ดอกไม้ลบความจำ ถ้าใครดมดอกไม้นี้เข้าไป จะทำให้ลืมทุกสิ่งทุกอย่างที่จะทำแค่ชั่วคราว โดยที่ปรากฏในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ตอน โนบิตะและอัศวินแดนวิหค ได้ถูกใช้เพื่อให้ยามที่เฝ้าซูเนะโอะและไจแอนท์ภายในห้องขังลืมเรื่องกฎหมายของเบิร์ดโดเปีย (คิบิ) ดังโงะ (ตรา) โมโมทาโร่ [16,พิเศษ 1] ดูรายละเอียดที่ ดังโงะโมโมทาโร่(ตอน ทาร์ซานอวกาศ) ดาบแบ่งครึ่ง [42] ใช้ดาบนี้แบ่งหนึ่งกล่องใบก็จะกลายเป็นกล่องสองใบขนาดลดลงครึ่งนึงถ้าผ่าทีวีก็จะดูได้เหมือนเดิมแต่มีทีวีสองเครื่องขนาดลดลงครึ่งหนึ่ง(ตอน ครึ่งของครึ่งของครึ่ง) ด้ายผูกมัด [31] เมื่อเอาไปมัดตรงใดตรงหนึ่งตัวเราจะมีอาการเคลื่อนไหวคล้อยตามสิ่งนั้นๆ (ตอน ด้ายผูกมัดกระชับร่าง) ดวงดาวภาวนา ถ้าขอสิ่งใดจะทำให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา แต่ดาวขอพรนั้น เพราะด้วยความชำรุดทำให้หูฟังไม่ชัดและเข้าใจผิด ทำให้ในบางครั้งอาจจะส่งอย่างอื่นให้เราแทน เพราะสิ่งที่เราต้องการ (ในภาษาญี่ปุ่น) นั้น เป็นคำพ้องเสียงกับของที่ส่งมา จึงควรระมัดระวัง(ตอน ดาวขอพร) ดาวเทียมถ่ายทอดอากาศ [26] ไม่มีข้อมูล(ตอน ดาวเทียมถ่ายทอดอากาศ) ดาวเทียมส่วนบุคคล [พิเศษ 3] ดาวเทียมจะโคจรไปรอบโลกแล้วส่งภาพถ่ายมาที่เครื่องควบคุม สามารถเปลี่ยนวงโคจรได้ ดินสอเขียนเงิน [25] เมื่อเขียนจำนวนเงินลงบนกระดาษแล้ว กระดาษแผ่นนั้นจะกลายเป็นเงินได้(ตอน ร่ำรวยด้วยดินสอ) ดินสอคอมพิวเตอร์ [1] เมื่อใช้ดินสอนี้จะสามารถเขียนคำตอบให้กับคำถามได้โดยอัตโนมัติ เหมาะกับใช้ในการทำการบ้าน หรือในการสอบ(ตอน ขอให้ได้ร้อยคะแนนสักครั้งในชีวิต) ดินแห่งจิตใจ [26] ถ้าโปรยรอบๆ สถานที่ๆ มีต้นไม้ ก็จะมีชีวิตขึ้นมาเอง(ตอน ป่าไม้มีชีวิต) โดราโบรท ถึงเป็นเพียงแค่เรือคายัคธรรมดา แต่สามารถนั่งได้ถึง 5 คน ดวงอาทิตย์มินิ ให้แสงสว่างได้เวลาอยู่ในที่มืด",
"title": "รายชื่อของวิเศษของโดราเอมอน"
},
{
"docid": "82735#5",
"text": "1. เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของประเทศไทย ที่มีชื่อว่า ดาวเทียมไทยโชต ",
"title": "สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)"
},
{
"docid": "320837#0",
"text": "มูลนิธิโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติผ่านดาวเทียม จัดตั้งขึ้นด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยทุกคน โดยมุ่งผลิตและเผยแพร่รายการสารคดีเฉลิมพระเกียรติต่างๆ ตลอดจนข่าวพระราชกรณียกิจของทุกพระองค์ผ่านทางสถานีโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติผ่านดาวเทียม ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ผลิตและเผยแพร่สารคดีเฉลิมพระเกียรติต่างๆ ของทุกพระองค์ โดยออกอากาศในระบบดาวเทียม (DSTV) (KU-BAND), ระบบเคเบิลใยแก้ว (CATV) และระบบเคเบิลทีวี (True Visions 163) เป็นประจำทุกวัน จันทร์-ศุกร์ เวลา 06.00 น.-12.00 น. และ 24.00 น.-02.00 น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 06.00 น.-09.00 น. และ 24.00 น.-02.00 น.เพื่อปลูกจิตสำนึกของเด็ก, เยาวชน และประชาชนชาวไทยให้มีความจงรักภักดี ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นสถาบันสูงสุดของประชาชนชาวไทยทุกคน (ปัจจุบันยุติการออกอากาศแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553)",
"title": "สถานีโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติผ่านดาวเทียม"
},
{
"docid": "485694#6",
"text": "โทรศัพท์ถูกติดตั้งขึ้นมาแทนที่ โดยเชื่อมต่อดาวเทียมหลายดวงเข้าด้วยกัน โดยมีดาวเทียม Intelsat ของสหรัฐฯ 2 ดวง และดาวเทียม Molniya II ของโซเวียตอีก 2 ดวง เชื่อมต่อกัน การปรับปรุงครั้งนี้ใช้เวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 ถึง 1978 ในระหว่างการปรับปรุง มีการเลิกใช้สายส่งสัญญาณวิทยุ Washington-Tangier-Moscow",
"title": "สายตรงมอสโก–วอชิงตัน"
},
{
"docid": "60933#3",
"text": "โครงสร้างดาวเทียม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก โครงจะมีน้ำหนักประมาณ 15 - 25% ของน้ำหนักรวม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเลือกวัสดุที่มีน้ำหนักเบา และต้องไม่เกิดการสั่นมากเกินที่กำหนด หากได้รับสัญญาณที่มีความถี่ หรือความสูงของคลื่นมากๆ (amptitude) ระบบเครื่องยนต์ ซึ่งเรียกว่า \"aerospike\" อาศัยหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องอัดอากาศ และปล่อยออกทางปลายท่อ ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำงานได้ดีในสภาพสุญญากาศ ซึ่งต้องพิจารณาถึงน้ำหนักบรรทุกของดาวเทียมด้วย ระบบพลังงาน ทำหน้าที่ผลิตพลังงาน และกักเก็บไว้เพื่อแจกจ่ายไปยังระบบไฟฟ้าของดาวเทียม โดยมีแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ไว้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ให้ดาวเทียม แต่ในบางกรณีอาจใช้พลังงานนิวเคลียร์แทน ระบบควบคุมและบังคับ ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ที่เก็บรวมรวมข้อมูล และประมวลผลคำสั่งต่างๆ ที่ได้รับจากส่วนควบคุมบนโลก โดยมีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ (Radar System) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร ระบบสื่อสารและนำทาง มีอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ซึ่งจะทำงาน โดยแผงวงจรควบคุมอัตโนมัติ อุปกรณ์ควบคุมระดับความสูง เพื่อรักษาระดับความสูงให้สัมพันธ์กันระหว่างพื้นโลก และดวงอาทิตย์ หรือเพื่อรักษาระดับให้ดาวเทียมสามารถโคจรอยู่ได้ เครื่องมือบอกตำแหน่ง เพื่อกำหนดการเคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังมีส่วนย่อยๆ อีกบางส่วนที่จะทำงานหลังจาก ได้รับการกระตุ้นบางอย่าง เช่น ทำงานเมื่อได้รับสัญญาณ สะท้อนจากวัตถุบางชนิด หรือทำงานเมื่อได้รับลำแสงรังสี ฯลฯ",
"title": "ดาวเทียม"
},
{
"docid": "121130#0",
"text": "sun outage เป็นปรากฏการที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เมื่อโลก ดาวเทียม และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน ทำให้จานสายอากาศของสถานีภาคพื้นดิน รับสัญญาณจากดวงอาทิตย์(ที่เป็นแหล่งกำเหนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีกำลังงานขนาดมหาศาล) ซึ่งจะผลิตสัญญาณทุกย่านความถี่ เกิดขึ้นเป็นสัญญาณรบกวน ปะปนเข้ามากับสัญญาณสื่อสารข้อมูล ที่สถานีภาคพื้นดินนั้นๆรับจากดาวเทียม ทำให้สถานีสื่อสารภาคพื้นดิน ไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเหตุการณ์ sun outage จะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง แต่ละครั้งจะใช้เวลานาน 5-10 วัน วันละประมาณ 15 นาที และการเกิดปรากฏการ sun outage นี้จะเกิดกับสถานีดาวเทียมที่ติดตั้งในพื้นที่ต่างๆ ไม่พร้อมกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสถานีภาคพื้นดินบนพื้นโลก ",
"title": "ซันเอาท์เทจ"
},
{
"docid": "74435#0",
"text": "ดาวเทียมไทยโชต (Thaichote) หรือ ดาวเทียมธีออส (THEOS: Thailand Earth Observation Satellite) เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย \nโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส ดำเนินงานโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ. หรือ GISTDA) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี \nร่วมกับ บริษัท อี เอ ดี เอส แอสเตรียม (EADS Astrium) ประเทศฝรั่งเศส ด้วยงบประมาณ 6,000 ล้านบาท \nนับเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้",
"title": "ดาวเทียมไทยโชต"
},
{
"docid": "458406#1",
"text": "สถานีภาคพื้นดินรับสัญญาณดาวเทียม SMMS (Small Multi Mission Satellite) “HJ-1A” กับ Mr.Zhang Xiaodong, Vice President, China Great Wall Industry Company และ Mr.Xu Wen, General Director, China Center for Resource Satellite Data and Applications (CRESDA) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยสภาเทคโนโลยีอวกาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (China Academy Space Technology: CAST) ผู้ผลิตและส่งมอบ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 โดยมก.ได้จัดสร้างสถานีรับสัญญาณดาวเทียม SMMS “HJ-1A) ร่วมกับศูนย์ประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมสำรวจโลกแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (CRESDA) ภายใต้การสนับสนุนจากกระทรวงไอซีที ดาวเทียม SMMS ได้ติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพสีแบบ CCD ที่สามารถถ่ายภาพได้กว้างถึง 720 กิโลเมตร และอุปกรณ์ถ่ายภาพ Hyperspectrum แบบ 115 แถบความถี่ โดยสามารถรับข้อมูลจากดาวเทียม SMMS โดยตรงวันละ 1-2 รอบ เพื่อให้นักวิจัยของไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลดาวเทียมได้มากขึ้นและเสริมสร้างศักยภาพในการประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมในกิจการสำคัญ ๆ เช่น ภัยพิบัติดินถล่ม น้ำท่วม ภัยแล้ง การวางแผนทางการเกษตร การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการประเมินผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น ทั้งนี้ได้ทำการทดสอบการรับสัญญาณข้อมูลดาวเทียม SMMS ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 และทดสอบการดำเนินการระบบในภาพรวม (operational test run)",
"title": "สถานีรับสัญญาณดาวเทียมจุฬาภรณ์"
},
{
"docid": "128991#7",
"text": "ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)",
"title": "ดาวเทียมสื่อสาร"
},
{
"docid": "128991#5",
"text": "วันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1965 COMSAT ส่งดาวเทียม “TELSAT 1” หรือในชื่อว่า EARLY BIRD ส่งขึ้นเหนือมหาสมุทรแอตแลนติก ถือว่าเป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร เพื่อการพานิชย์ดวงแรกของโลก ในระยะหลังมี่่อินโดนีเซีย ดาวเทียมไทยคม เป็นโครงการ ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม ซึ่งกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) ต้องการจัดหาดาวเทียมเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการสื่อสารของประเทศอย่างรวดเร็ว แต่ในเวลานั้นประเทศไทยยังไม่มีดาวเทียมเป็นของตนเอง และต้องทำการเช่าวงจรสื่อสารจากดาวเทียมของประเทศต่างๆ ทำให้ให้เกิดความไม่สะดวกและสูญเสียเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากการจัดสร้างดาวเทียมต้องใช้เงินลงทุนสูงมากจึงได้มีการเปิดประมูลเพื่อให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนการใช้งบประมาณจากภาครัฐ และ บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาโอนไปที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ชื่อ \"ไทยคม\" (Thaicom) เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจาก Thai Communications ในภาษาอังกฤษ ปัจจุบัน ดาวเทียมสื่อสารภายใต้ชื่อ ดาวเทียมไทยคม มีทั้งสิ้น 7 ดวง ใช้งานได้จริง 4 ดวง ดังนี้",
"title": "ดาวเทียมสื่อสาร"
},
{
"docid": "784747#0",
"text": "ไทยคม 8 () เป็นดาวเทียมสื่อสารสัญชาติไทยจากดาวเทียมไทยคมซีรีส์ ประกอบการโดยบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน), บริษัทสาขาของบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และถือเป็นดาวเทียมไทยคมดวงที่ 8 ",
"title": "ไทยคม 8"
},
{
"docid": "46151#34",
"text": "ความจริงเหตุการณ์ครั้งนั้นได้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 11 ปีมาแล้ว แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์รู้อีกว่า ทุกๆ 11 ปีจะเกิดเหตุการณ์พายุสุริยะ ที่รุนแรงบนดวงอาทิตย์อีก ดังนั้นปี พ.ศ. 2543 จึงเป็นปีที่นักวิทยาศาสตร์คาดหวังจะเห็นโลกถูกดวงอาทิตย์คุกคามอย่างหนักอีก ครั้งหนึ่ง และเมื่อขณะนี้โลกมีดาวเทียมที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ประมาณ 800 ดวงและสหรัฐอเมริกาเองก็มีโครงการจะส่งนักบินอวกาศ ขึ้นไปสร้างสถานีอวกาศนานาชาติในปีนั้นอีกเช่นกัน บุคลากรและดาวเทียมเหล่านี้จึงมีโอกาสถูกพายุสุริยะจากดวงอาทิตย์พัดกระหน่ำ จนเป็นอันตรายได้ ก็ในเมื่อเวลาพายุไต้ฝุ่นหรือทอร์นาโดจะพัด เรามีสัญญาณเตือนภัยห้ามเรือเดินทะเลและให้ทุกคนหลบลงไปอยู่ห้อง ใต้ดิน จนกระทั่งพายุพัดผ่านไป การเตือนภัยพายุสุริยะก็เป็นเรื่องที่จำเป็นเช่นกัน เพราะถ้าเรารู้ว่าพายุสุริยะกำลังจะมาถึงโลก โรงไฟฟ้า ก็ต้องลดการผลิตกระแสไฟฟ้า คือไม่ปล่อยกระแสไฟฟ้าออกจากเครื่องเต็มกำลังเพราะถ้าไฟฟ้าเกิดช็อต ภัยเสียหายก็จะไม่มาก ดังนั้น การแก้ไขล่วงหน้าก็จะสามารถทำให้ความหายนะลดน้อยลง แต่ความสามารถของผู้เชี่ยวชาญสภาวะของอวกาศ วันนี้ก็ดีพอๆ ความสามารถของนักอุตุนิยมวิทยาที่สามารถทำนายสภาพของอากาศ บนโลก เมื่อ 40 ปีมาแล้ว ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐฯ จึงได้จัดตั้งศูนย์สภาวะแวดล้อมของอวกาศ (Space Environment Center) ขึ้นมา โดยให้นักวิทยาศาสตร์มีหน้าที่ทำนายสภาพของอวกาศล่วงหน้า และผลงานการพยากรณ์เท่าที่ผ่านมาได้ทำให้เรารู้ว่า คำพยากรณ์นี้มี เปอร์เซ็นต์ถูกถึง 90% ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดในหนึ่งชั่วโมง แต่เปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดก็จะสูง ถ้าเป็นกรณีการทำนายล่วงหน้า หลายวัน",
"title": "ออโรรา (ดาราศาสตร์)"
},
{
"docid": "4817#26",
"text": "ดาวเทียมเทลสตาเป็นดาวเทียมดวงแรกที่ใช้งานถ่ายทอดโดยตรงในเชิงพาณิชย์ เป็นของ AT & T ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงระหว่างชาติ ระหว่าง AT & T, Bell Telephone Laboratories, นาซ่า, การไปรษณีย์อังกฤษ และการไปรษณีย์แห่งชาติฝรั่งเศส เพื่อพัฒนาการสื่อสารดาวเทียม Relay 1 ถูกส่งขึ้นไปเมื่อ 13 ธันวาคม 1962 และกลายเป็นดาวเทียมดวงแรก ที่จะส่งสัญญาณออกอากาศข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อ 22 พฤศจิกายน 1963 .",
"title": "โทรคมนาคม"
},
{
"docid": "52640#22",
"text": "Explorer 1 – ดาวเทียมดวงแรกของสหรัฐ Project SCORE – ดาวเทียมสื่อสารดวงแรก Solar and Heliospheric Observatory (SOHO) - โคจรรอบดวงอาทิตย์ใกล้ L1 Sputnik 1 – ดาวเทียมดวงแรกของโลก Sputnik 2 – สัตว์ตัวแรกในวงโคจร (ไลก้า) Sputnik 5 – แคปซูลตัวแรกที่กู้ได้จากวงโคจร (ตัวที่มาก่อน Vostok ) – สัตว์รอดชีวิต Syncom – ดาวเทียมสื่อสารแบบ geosynchronous ดวงแรก Hubble Space Telescope – การสำรวจวงโคจรที่ใหญ่ที่สุด Boeing X-37]] – spaceplane",
"title": "ยานอวกาศ"
},
{
"docid": "618657#146",
"text": "การนำวิถีทั่วโลกด้วยระบบดาวเทียม (English: global navigation satellite system (GNSS)) ให้ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่ครอบคลุมทั่วโลก. GNSS ยอมให้เครื่องรับอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กสามารถกำหนดตำแหน่งของตัวเอง เช่น ลองจิจูด, ละติจูด และระดับความสูงให้ภายในระยะไม่กี่เมตรโดยใช้สัญญาณเวลาที่ส่งไปตามเส้นสายตา(English: line of sight)โดยสัญญาณวิทยุจากดาวเทียมในอวกาศ. เครื่องรับบนพื้นดินที่มีตำแหน่งคงที่ยังสามารถถูกนำมาใช้ในการคำนวณเวลาที่แม่นยำเป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการทดลองทางวิทยาศาสตร์. ระบบแรกดังกล่าวคือ\"Transit\", ถูกพัฒนาโดยห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์ของ Johns Hopkins University ภายใต้การนำของ ริชาร์ด Kershner. การพัฒนาระบบสำหรับกองทัพเรือสหรัฐฯเริ่มต้นขึ้นในปี 1958 และดาวเทียมต้นแบบ Transit 1A, ถูกยิงขึ้นในเดือน กันยายน 1959. ดาวเทียมดวงนี้ล้มเหลวในการที่จะไปถึงวงโคจร. ดาวเทียมดวงที่สอง, Transit 1B, ถูกยิงขึ้นประสบความสำเร็จในวันที่ 13 เมษายน 1960 โดยจรวด Thor-Ablestar. การส่งดาวเทียมTransitดวงสุดท้ายเกิดขึ้นในเดือน สิงหาคม 1988.[129]",
"title": "ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)"
},
{
"docid": "74481#5",
"text": "ไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2552)",
"title": "ดาวเทียมไทยคม"
},
{
"docid": "11586#0",
"text": "ไทยคม 4 (THAICOM 4) หรือ ไอพีสตาร์-วัน (IPStar-1) เป็นดาวเทียมสื่อสารสัญชาติไทยของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และเป็นดาวเทียมไทยคมดวงที่ 4 ดาวเทียมไทยคม 4 เคยเป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่และมีน้ำหนักมากที่สุดในโลก ณ วันที่ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจร",
"title": "ไทยคม 4"
},
{
"docid": "396744#0",
"text": "NOAA เป็นชื่อที่ใช้เรียกดาวเทียมขององค์กร NOAA ของสหรัฐ (ชื่อดาวเทียมคือ Advanced Television Infrared Observation Satellite ย่อเป็น TIROS-N หรือ ATN) ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจอุตุนิยมวิทยา ที่มีวงโคจรในแนวเหนือใต้ ดาวเทียมในชุดนี้จะทำงานพร้อมกัน 2 ดวง เพื่อให้ได้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในบริเวณต่างๆ ทุก 6 ชั่วโมง ดวงหนึ่งจะตัดแนวเส้นศูนย์สูตรจากเหนือลงใต้เวลา 7.30 น. (เรียก morining orbit มีระดับวงโคจรที่ 830 กม.) อีกดวงจะตัดแนวเส้นศูนย์สูตรจากเหนือลงใต้เวลา 13.40 น.(เรียก afternoon orbit มีระดับวงโคจรที่ 870 กม.)",
"title": "NOAA"
},
{
"docid": "194871#0",
"text": "โอสุมิ (ภาษาญี่ปุ่น おおすみ, \"Ōsumi\" ) \nเป็น ดาวเทียมดวงแรกของญี่ปุ่น \nและเป็นดวงแรกของเอเชีย \nทำให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ 4 (ถัดจากฝรั่งเศส) ที่ส่งดาวเทียมสู่วงโคจรด้วยตนเอง ",
"title": "ดาวเทียมโอซุมิ"
},
{
"docid": "52271#3",
"text": "ดาวเทียมของจีพีเอสเป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรระดับกลาง (Medium Earth Orbit: MEO) ที่ระดับความสูงประมาณ 20,000 กิโลเมตร จากพื้นโลก ใช้การยืนยันตำแหน่งโดยอาศัยพิกัดจากดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง ดาวเทียมจะโคจรรอบโลกเป็นเวลา 4-8 ชั่วโมงต่อหนึ่งรอบ ที่ความเร็ว 4 กิโลเมตร/วินาที การโคจรแต่ละรอบนั้นสามารถได้เป็น 6 ระนาบ ระนาบละ 4 ดวง ทำมุม 55 องศา โดยทั้งระบบจะต้องมีดาวเทียม 24 ดวง หรือมากกว่า เพื่อให้สามารถยืนยันตำแหน่งได้ครอบคลุมทุกจุดบนผิวโลก ปัจจุบัน เป็นดาวเทียม GPS Block-II มีดาวเทียมสำรองประมาณ 4-61 ดวง",
"title": "ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก"
},
{
"docid": "804147#45",
"text": "ค.ศ. 1957 ขีปนาวุธอาร์-7 เป็นขีปนาวุธข้ามทวีปลูกแรก[21] ค.ศ. 1957 สปุตนิก 1 เป็นดาวเทียมดวงแรก ค.ศ. 1957 ไลก้า เป็นสิ่งมีชีวิตตัวแรกที่เดินทางไปอวกาศในสปุตนิก 2 ค.ศ. 1959 ลูนา 1 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ไปถึงดวงจันทร์[22] ค.ศ. 1959 ลูนา 2 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่กระแทกลงดวงจันทร์ [23] ค.ศ. 1959 ลูนา 3 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ถ่ายภาพแรกของอีกฟากหนึ่งของดวงจันทร์ [24] ค.ศ. 1960 เบลก้า (Belka) และ สเตรลก้า (Strelka) ในสปุตนิก 5 เป็นสิ่งมีชีวิตเดินทางไปอวกาศและกลับมาอย่างปลอดภัย ค.ศ. 1961 เวเนรา 1 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ไปถึงดาวศุกร์ [25] ค.ศ. 1961 ยูริ กาการินเป็นมนุษย์คนแรกในอวกาศ ใน วอสตอค 1 ค.ศ. 1961 คนแรกที่จะใช้เวลาในอวกาศ 24 ชั่วโมงคือ Gherman Titov ใน วอสตอค 2[17] ค.ศ. 1962 วอสตอค 3และวอสตอค 4 เป็นการปล่อยยานคู่กันเป็นครั้งแรก [26] ค.ศ. 1962 มาร์ส 1 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ไปถึงดาวอังคาร ค.ศ. 1963 วาเลนตีนา เตเรชโควา เป็นผู้หญิงคนแรกในอวกาศใน วอสตอค 6 [27] ค.ศ. 1964 วอสฮอด 1 เป็นยานที่สามารถบรรทุกลูกเรือได้3 คนลำแรก ค.ศ. 1965 อเล็กซี ลีโอนอฟ เป็นมนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศ ใน วอสฮอด 2[28] ค.ศ. 1965 เวเนรา 3 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่กระแทกลงดาวศุกร์ ค.ศ. 1966 ลูนา 9 เป็นดาวเทียมดวงแรกลงจอดบนดวงจันทร์ ค.ศ. 1966 ลูนา 10 เป็นยานที่ลงจอดบนดวงจันทร์ลำแรก ค.ศ. 1967 คอสมอส186 กับ คอสมอส188 เป็นการนัดพบและเทียบท่าไร้คนขับครั้งแรก ค.ศ. 1968 สิ่งมีชีวิตตัวแรกที่โครงจรรอบดวงจันทร์และกลับมาอย่างปลอดภัย เต่ารัสเซีย ในซอนด์ 5 ค.ศ. 1969 โซยุซ 4และโซยุซ 5 เป็นการนัดพบและเทียบท่าแบบมีคนขับครั้งแรก ค.ศ. 1970 ลูนา 16 เป็นยานที่มีการเก็บตัวอย่างหินดวงจันทร์โดยใช้ยานระบบอัตโนมัติครั้งแรก[29] ค.ศ. 1970 ลูโนฮอด 1 การนำหุ่นสำรวจอัตโนมัติมาใช้บนดวงจันทร์ครั้งแรก ค.ศ. 1970 เวเนรา 7 เป็นยานอวกาศที่ลงจอดและสำรวจดาวศุกร์ยานแรก [30] ค.ศ. 1971 ซัสยุส 1 เป็นสถานีอวกาศลำแรก ค.ศ. 1971 มาร์ส 2 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่กระแทกลงดาวอังคาร ค.ศ. 1971 มาร์ส 3 เป็นยานอวกาศลำแรกที่จะลงจอดบนดาวอังคาร ค.ศ. 1975 เวเนรา 9 ถ่ายภาพพื้นผิวของดาวศุกร์เป็นภาพแรก [31] ค.ศ. 1980 Arnaldo Tamayo Méndez (คิวบา) เป็นชาวลาตินและผิวสีคนแรกในอวกาศ โซยุซ 28[32][33] ค.ศ. 1984 Svetlana Savitskaya เป็นผู้หญิงคนแรกที่เดินในอวกาศ ในสถานีอวกาศซัสยุส 7 ค.ศ. 1986 ลูกเรือใน สถานีอวกาศซัสยุส 7กับสถานีอวกาศเมียร์ เป็นลูกเรือชุดแรกที่เยือนสถานีอวกาศสองที่ ในภารกิจเดี่ยวกัน ค.ศ. 1986 เวกา 1 และ เวกา 2 เป็นยานแรกที่ใช้บอลลูนบังคับในการสำรวจดาวศุกร์ และการถ่ายภาพระยะใกล้ของดาวหางครั้งแรก ค.ศ. 1986 สถานีอวกาศเมียร์ เป็นสถานีอวกาศแบบประกอบลำแรก ค.ศ. 1987 Vladimir Titov และ Musa Manarov เป็นลูกเรือชุดแรกที่จะใช้เวลาในอวกาศ มากกว่า1ปี[34] ในโซยุซทีเอ็ม-4",
"title": "โครงการอวกาศโซเวียต"
},
{
"docid": "128991#2",
"text": "ในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 ข้อคิดในบทความของอาร์เธอร์ ซี คลาร์ก เริ่มเป็นจริงขึ้นมาเมื่อสหภาพโซเวียตได้ส่งดาวเทียมสปุตนิก ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1958 สหรัฐอเมริกาได้ส่งดาวเทียมเพื่อการสื่อสารดวงแรกที่ชื่อว่า สกอร์ (SCORE) ขึ้นสู่อวกาศ และได้บันทึกเสียงสัญญาณที่เป็นคำกล่าวอวยพรของดไวต์ ดี. โอเซนฮาวร์ ประธานาธิบดีสหรัฐ เนื่องเทศกาลคริสต์มาสจากสถานีภาคพื้นดินแล้วถ่ายทอดสัญญาณจากดาวเทียมลงมาสู่ชาวโลก นับเป็นการส่งวิทยุกระจายเสียงจากดาวเทียมภาคพื้นโลกได้เป็นครั้งแรก",
"title": "ดาวเทียมสื่อสาร"
},
{
"docid": "3841#19",
"text": "วันที่ 9 ตุลาคม 2009 ครบ 100 วันการส่ง LCROSS ไปโคจรรอบดวงจันทร์ ทางนาซ่าก็ยิงจรวดที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียมพร้อมกับปล่อยให้ตัว ดาวเทียมตกกระทบพื้นดวงจันทร์ นาซ่าก็แถลงผลวิเคราะห์ข้อมูลจากเซ็นเซอร์บนดาวเทียมว่า ฝุ่นที่กระจายขึ้นมานั้นมีน้ำประมาณ 90 ลิตร",
"title": "ดวงจันทร์"
},
{
"docid": "204997#0",
"text": "โครงการแวนการ์ด () เป็นโครงการของ \"หน่วยวิจัยกองทัพเรืออเมริกา\" () ที่มีแผนจะปล่อยดาวเทียมดวงแรกของประเทศอเมริกาโดยใช้จรวดแวนการ์ด เนื่องจากการล้ำหน้าของสหภาพโซเวียตที่ปล่อยดาวเทียม Sputnik 1 เมื่อ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 ทำให้อเมริกาต้องรื้อฟื้นโครงการ Explorer ที่ถูกยกเลิกไป ก่อนที่โครงการทั้ง 2 ของอเมริกาจะเสร็จสิ้น โซเวียตได้ล้ำหน้าไปอีกด้วยการปล่อยดาวเทียมดวงที่ 2 คือ Sputnik 2 เมื่อ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1957 และการปล่อยจรวด Vanguard TV3 เมื่อ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1957 ที่มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ แต่จรวดกลับพุ่งขึ้นจากแท่นยิงได้เพียง 4 ฟุต (1.2 เมตร) หรือเพียง 2 วินาที ก็ตกลงมา และระเบิด โชคดีที่ดาวเทียมที่อยู่ส่วนบนเสียหายไม่มาก ยังคงซ่อมแซมได้ สุดท้ายเมื่อ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 ดาวเทียม Vanguard 1 ได้กลายเป็นดาวเทียมดวงที่ 2 ของประเทศอเมริกา ส่วนดวงแรกก็คือ Explorer 1 ที่ปล่อยเมื่อ 31 มกราคม ค.ศ. 1958",
"title": "โครงการแวนการ์ด"
}
] |
1666 | บ้าน คือ เอกภพ จะถูกเรียกว่าอะไร? | [
{
"docid": "144889#0",
"text": "บ้าน เป็นขอบเขตพิภพซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวาลในวรรณกรรมชุด \"อาณาจักรแห่งกาลเวลา\" งานประพันธ์ของการ์ธ นิกซ์ นักเขียนชาวออสเตรเลีย สิ่งอื่นใดที่อยู่นอกเหนือจากบ้าน คือ เอกภพ จะถูกเรียกว่า \"อาณาจักรชั้นที่สอง\" บ้านประกอบด้วยเจ็ดเขตแดน ได้แก่ บ้านเบื้องล่าง ผืนดินไกล ทะเลกั้นอาณาเขต วงกตยิ่งใหญ่ บ้านเบื้องกลาง บ้านเบื้องบน และสวนไร้ที่เปรียบ",
"title": "บ้าน (อาณาจักรแห่งกาลเวลา)"
}
] | [
{
"docid": "171684#0",
"text": "ตามทฤษฎีบิกแบง เอกภพที่สังเกตได้ () คือขอบเขตห้วงอวกาศในกรอบทรงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่ผู้สังเกตการณ์ ที่มีขนาดเล็กพอที่เราจะสังเกตวัตถุต่างๆ ภายในได้ เช่น ระยะเวลาที่นานพอสำหรับการแพร่สัญญาณจากวัตถุ ณ เวลาใดๆ หลังเหตุการณ์บิกแบง มีการเคลื่อนที่เท่าความเร็วแสง และเดินทางมาถึงผู้สังเกตการณ์ ณ เวลาปัจจุบัน ทุกๆ ตำแหน่งมีเอกภพที่สังเกตได้ของจุดนั้นๆ ซึ่งอาจพอดีหรือเหลื่อมกันกับเอกภพที่สังเกตได้จากโลก ในทางทฤษฎีเอกภพที่สังเกตได้อาจมีขนาดเล็กกว่าหรือใหญ่กว่าขนาดของเอกภพจริง",
"title": "เอกภพที่สังเกตได้"
},
{
"docid": "284902#1",
"text": "เมื่อประมาณ 1,000 กว่าปีก่อน ชาวบ้านเรือนที่อยู่ที่ตีนเขาเรียกว่า “บ้านใน” ซึ่งมีบ้านเรือนมากพอสมควร (ใกล้กับบ้านบ่อสอม ในปัจจุบัน) สมัยนั้นยังไม่มีการปลูกยางพาราและการปลูกสับปะรดแดง ต่อมาชาวบ้านเกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น เชื่อกันว่าสาเหตุที่เจ็บไข้นั้นเพราะเงาของภูเขามาบังทับบ้านเรือน ดังนั้นชาวบ้านจึงย้ายมาอยู่บริเวณชายทะเลฝั่งตะวันตกของทะเลอันดามัน เรียกว่าบ้านหัวนอน และ บ้านใต้ตีน ในสมัยนั้น พื้นที่นี้มีลักษณะเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามบริเวณนี้มีคนจีนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว 5-6 ครัวเรือน หลังจากนั้นมีการขยายบ้านเรือนเพื่อมากขึ้น ซึ่งในป่าทึบดังกล่าวมีต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ต้นไม้ต้นใหญ่นี้มีลักษณะสีขาวทั้งต้น ดังนั้นชาวบ้านจึงได้ตั้งซื้อหมู่บ้านนี้ว่า “หมู่บ้านไม้ขาว” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา",
"title": "ตำบลไม้ขาว"
},
{
"docid": "3862#54",
"text": "ก่อนจะสังเกตพบพลังงานมืด นักจักรวาลวิทยาคาดการณ์สภาวะอนาคตของเอกภพที่เป็นไปได้อยู่ 2 แบบ ถ้าความหนาแน่นมวลของเอกภพมีค่ามากกว่าความหนาแน่นวิกฤต เอกภพจะถึงจุดที่มีขนาดสูงสุดและเริ่มแตกสลาย จากนั้นจะเริ่มหนาแน่นขึ้นและร้อนขึ้นอีก และจบลงด้วยสภาวะที่ใกล้เคียงกับสภาวะเริ่มต้น เรียกว่า \"บิกครันช์\" (Big Crunch) หรืออีกแบบหนึ่ง ถ้าความหนาแน่นของเอกภพเท่ากับหรือต่ำกว่าความหนาแน่นวิกฤต การขยายตัวจะช้าลง แต่ไม่ได้หยุด ไม่มีการก่อตัวของดาวฤกษ์ใหม่อีกเพราะแก๊สระหว่างดวงดาวถูกใช้ไปจนหมดแล้ว ดาวฤกษ์จะเผาผลาญตัวเองจนเหลือแต่ดาวแคระขาว ดาวนิวตรอน และหลุมดำ การปะทะระหว่างวัตถุเหล่านี้จะค่อยๆ ทำให้มวลรวมตัวกันเป็นหลุมดำที่ใหญ่ขึ้นและใหญ่ขึ้น อุณหภูมิเฉลี่ยของเอกภพจะลดลงเรื่อยๆ จนเข้าใกล้ศูนย์องศาสัมบูรณ์ เป็นสภาวะ \"บิกฟรีซ\" (Big Freeze) ยิ่งกว่านั้น หากโปรตอนไม่เสถียร สสารแบริออนจะหายไป เหลือแต่รังสีและหลุมดำ ผลต่อเนื่องคือหลุมดำจะระเหยไปด้วยการเปล่งรังสีฮอว์กิง เอนโทรปีของเอกภพจะเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่ไม่มีพลังงานรูปแบบใดสามารถแยกตัวออกมาได้ สภาวการณ์นี้เรียกว่า \"ฮีทเดธ\" (Heat Death)",
"title": "บิกแบง"
},
{
"docid": "291677#0",
"text": "ไข่จักรวาล เป็นแนวคิดปรัมปราที่ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่โดยวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 และนำมาช่วยสร้างทฤษฎีมากมายในช่วง 2 ทศวรรษถัดมา แนวคิดนี้เกิดมาจากการค้นพบผลสังเกตการณ์ของเอ็ดวิน ฮับเบิลว่า เอกภพกำลังขยายตัว (ซึ่งเคยมีการทำนายมาก่อนหน้านี้แล้วจากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์) พร้อมกับข้อสังเกตว่าเอกภพมีอายุเก่าแก่ไม่มีสิ้นสุด ปี ค.ศ. 1927 ฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ เสนอแนวคิดว่า จักรวาลมีกำเนิดมาจากสิ่งที่เรียกว่า \"อะตอมแรกเริ่ม\"",
"title": "ไข่จักรวาล"
},
{
"docid": "75848#2",
"text": "ส่วนชาวไทอ่ายตนที่ขริกะเตีย มีอยู่ 3 หมู่บ้าน คือ นานคาว ภลีชัน และเภชเภรี รวมเรียกว่า \"สยามคาว\" (\"หมู่บ้านสยาม\") แต่ภาษาไทที่นี่นั่นสูญหายไปนานแล้ว แม้พ่อเฒ่าอายุ 70 ปีก็ยังจำไม่ได้ แม้ชาวไทอ่ายตนที่นี่ จะสูญเสียภาษาแล้ว แต่ก็ยังมีการผูกข้อมือรับขวัญ อาหารการกินก็คล้ายๆกับหมู่บ้านชาวไทอื่น ๆ รวมทั้งหนังสือ \"ปู่สอนหลาน\"ก็ยังเป็นคัมภีร์สำคัญของที่นี่ ถึงแม้จะไม่มีใครเข้าใจแล้ว",
"title": "อ่ายตน"
},
{
"docid": "25147#7",
"text": "เมื่อหนุมานได้สาปไว้ ตอนแรกชาวบ้านก็เรียกว่า \"เขาสาปยา\" แต่ภายหลังเรียกแก้เคล็ดเป็นเขาสรรพยา (สับ-พะ-ยา) ส่วนบึงที่หนุมานวักน้ำดื่มก็เรียกบึงสรรพยา เนื่องจากบริเวณนี้เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงมีตะกอนมาทับถม บึงจึงตื้นเขินเป็นที่นาไปแล้วมาก เหลือบางส่วนปัจจุบันเรียกบึงอรพิม (แต่ก็ตื้นเขินเป็นที่นาเป็นส่วนใหญ่ บางท่านจึงเรียกว่า \"หนองอรพิม\") บางท่านว่าบึงอรพิมนี้เกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนที่พม่ามาท้าสร้างพระพุทธรูปที่งดงามและใหญ่ที่สุด ทางกรุงศรีอยุธยารับท้าและได้มอบให้ศรีธนชัยรับผิดชอบ แต่ศรีธนชัยใช้ไม้ไผ่สานเอาดินพอกแล้วลงรักปิดทองลวงพม่า ฝ่ายพม่าให้คนมาสอดแนมเห็นเช่นนั้นจึงรีบกลับไปบอกพวกของตน และพบขณะนำพระพุทธรูปล่องแพมาตามลำน้ำ พอพม่าได้ทราบเช่นนั้นก็คิดหนี จะนำพระพุทธรูปกลับไปด้วยก็ลำบากและชักช้า จึงได้ทำลายแพทิ้งพระพุทธรูป ด้วยความใหญ่และหนักของพระพุทธรูป (เล่ากันว่า ปลาช่อนขนาดปลาสี่ปลาห้า หรือขนาดลำแขนผู้ชายหนักประมาณ 1 ก.ก. อยู่ในรูพระนาสิก (จมูก) ได้) จึงเกิดห้วงน้ำเป็น \"บึงอรพิม\" เชื่อกันว่าพระพุทธรูปยังคงจมอยู่ในบึงอรพิม แต่จะปรากฏหรือไม่ให้ผู้ใดพบเห็นก็ได้",
"title": "อำเภอสรรพยา"
},
{
"docid": "78105#1",
"text": "การสังเกตเอกภพทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเชื่อกันว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 9,999 ล้านปีแสง นำไปสู่อนุมานขั้นแรกเริ่มของเอกภพ การสังเกตเหล่านี้แนะว่า เอกภพถูกควบคุมด้วยกฎทางฟิสิกส์และค่าคงที่เดียวกันตลอดขนาดและประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ทฤษฎีบิกแบงเป็นแบบจำลองจักรวาลวิทยาทั่วไปซึ่งอธิบายพัฒนาการแรกเริ่มของเอกภพ ซึ่งในจักรวาลวิทยากายภาพเชื่อว่าเกิดขึ้นเมื่อราว 13,700 ล้านปีมก่อน",
"title": "เอกภพ"
},
{
"docid": "96221#0",
"text": "บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทานพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พญาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ โดยทั้งนี้การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของ จังหวัดยโสธร ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการประชาสัมพันธ์งานประเพณี เป็นที่รู้จักแก่ชาวไทย และต่างประเทศ นับแต่ ปี 2523 ซึ่ง งานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร จะจัดขึ้นในวันเสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์ที่สอง ของเดือนพฤษภาคม ในทุกปี โดยทั้งนี้ ในงานที่จัดของจังหวัดยโสธร ยังมีความโดดเด่น ในวันก่อนแห่ มีการประกวดกองเชียร์ จำนวนมาก รวมทั้ง วันแห่บั้งไฟ จะมีขบวนบั้งไฟแบบโบราณ และการรำเซิ้งแบบโบราณ จาก ทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดยโสธร เข้าร่วมด้วย นอกจากนี้ ยังพบว่า การจัดงานบั้งไฟในอดีต และปัจจุบัน ในพื้นที่ จังหวัดร้อยเอ็ด มีความโดดเด่น และเก่าแก่ มานาน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะ ที่ อำเภอสุวรรณภูมิ ที่มีการจัดงาน ในทุกวันเสาร์ อาทิตย์ ในสัปดาห์แรก ของเดือนมิถุนายนในทุกปี ซึ่งเป็นงานที่มี บั้งไฟเอ้สวยงามขนาดใหญ่มากที่สุด (ลายศรีภูมิ หรือ ลายกรรไกรตัด) รวมทั้งขบวนรำสวยงามมากที่สุดของประเทศ , อำเภอพนมไพร ที่ มีการจัดงาน ในทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ของทุกปี ตามรูปแบบประเพณีดั้งเดิม ตาม ฮีตสองสอง คองสิบสี่ โดยมีการจุดบั้งไฟถวาย มากที่สุดในประเทศ โดยในแต่ละปี จะมีบั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน บั้งไฟล้าน รวมกันกว่า 1,000 บั้ง",
"title": "บุญบั้งไฟ"
},
{
"docid": "3862#10",
"text": "มีการคาดเดาถึงสภาวะเริ่มแรกของบิกแบงไปต่างๆ นานา แต่แบบจำลองที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดคือ เอกภพทั้งหมดเป็นเนื้อเดียวกันและมีสมบัติเหมือนๆ กันในทุกทิศทางโดยมีความหนาแน่นของพลังงานที่สูงมาก มีอุณหภูมิและความดันสูงมาก ต่อมาจึงขยายตัวออกในทันทีทันใดและมีอุณหภูมิลดลง ประมาณว่าใน 10 วินาทีของการขยายตัวเป็นสภาวะการพองตัวของเอกภพซึ่งเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วแบบเอ็กโปเนนเชียล หลังจากสิ้นสุดสภาวะการพองตัว เอกภพประกอบด้วยพลาสมาควาร์ก-กลูออนและอนุภาคมูลฐานทั้งหมด อุณหภูมิยังคงสูงมากทำให้การเคลื่อนที่ของอนุภาคต่างๆ มีความเร็วสัมพัทธ์สูง คู่อนุภาคและปฏิยานุภาคทั้งหมดยังมีการเกิดใหม่และแตกดับลงไปในการปะทะ ต่อมาจึงเกิดปฏิกิริยาบางอย่างที่เรียกว่า แบริโอเจเนซิส ทำลายภาวะสมดุลในการรักษาจำนวนแบริออน เกิดเป็นควาร์กและเลปตอนขึ้นมาจำนวนหนึ่งที่มากกว่าแอนติควาร์กและแอนติเลปตอนประมาณ 1 ใน 30 ล้านส่วน ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้มีสสารมากกว่าปฏิสสารในเอกภพปัจจุบัน",
"title": "บิกแบง"
}
] |
862 | พระญาณวิสาลเถร เข้ารับการอุปสมบทเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "615594#3",
"text": "ท่านอุปสมบท เมื่ออายุย่างเข้า ๒๑ ปี ที่สิมน้ำ ณ วัดสว่างนิวรณ์นาแก ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีหลวงปู่ลือ เป็นพระอุปัชฌาย์ สังกัดมหานิกาย เมื่อท่านบวชแล้วก็มาอยู่ที่วัดสุวรรณชัยศรี ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ขณะนั้นที่นั่นการปกครองในคณะสงฆ์ยังไม่ทั่วถึงมากนัก การบวชของคณะธรรมยุตและคณะมหานิกายยังไม่มีการแยกจากกัน ยังคงใช้พระอุปัชฌาย์องค์เดียวกัน ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ทางคณะสงฆ์ได้ประกาศว่า พระอุปัชฌาย์สังกัดนิกายอะไรผู้บวชก็ต้องสังกัดนิกายนั้น พระครูประสิทธิ์สมณญาณ จนฺโทปโม เจ้าอาวาสวัดสุวรรณชัยศรี (ศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต สมัยท่านจำพรรษาอยู่แถบจังหวัดเชียงใหม่) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่านจึงได้ขึ้นไปอบรมการเป็นพระอุปัชฌาย์ของคณะธรรมยุต ต่อมาเมื่อท่านอายุ ๒๒ ปี ท่านได้ญัติติเป็นธรรมยุต ที่สิมน้ำ ณ วัดบ้านหนองโจด (ปัจจุบันเป็นที่นาชาวบ้าน) ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อ วันที่ ๒๑ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ เวลา ๑๓.๐๐ น. โดยมีพระครูประสิทธิ์สมณญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครูปลัดอ่อน ขนฺติโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระใบฎีกาทองสุข สุจิตฺโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายา ว่า “สุภโร” แปลว่า “ผู้เลี้ยงง่าย”",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
}
] | [
{
"docid": "615594#12",
"text": "พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับพระราชทานรางวัลบุคคลผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อพระพุทธศาสนาดีเด่น “เสมาธรรมจักรทองคำ” จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พ.ศ. ๒๕๓๗ วัดสักกะวัน ภูกุ้มข้าว ได้โล่รางวัล วัดพัฒนาตัวอย่างจากสมเด็จพระสังฆราช พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับการถวายโล่การพบเห็นวิญญาณไดโนเสาร์จากอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
},
{
"docid": "615594#15",
"text": "หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดกาฬสินธุ์ พระญาณวิสาลเถร ห หมวดหมู่:พระภิกษุในนิกายเถรวาท (ธรรมยุติกนิกาย)",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
},
{
"docid": "615594#9",
"text": "พ.ศ. ๒๔๙๘ – ๒๕๐๙ เปิดสอนนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก เปิดสำนักสอบธรรมสนามหลวง จำนวน ๑๓ พรรษา ณ วัดสักกะวัน (วัดเดิม) ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. ๒๕๑๐ – ๒๕๒๗ เปิดสำนักสอบธรรมสนามหลวง ณ วัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว) ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
},
{
"docid": "615594#14",
"text": "ในขณะที่ท่านกำลังดำเนินการก่อสร้างวัดสั่งสอนผู้คนพุทธศาสนิกชน สอนปริยัติธรรมแก่พระภิกษุ-สามเณรบริหารการปกครองคณะสงฆ์อยู่นั้นท่านก็ไม่ทิ้งการปฏิบัติในทางการอบรมจิตทำสมาธิภาวนา เมื่อมีเวลาว่างท่านจะขึ้นบนยอดภูกุ้มข้าวกางกลดนั่งสมาธิครั้งละ ๑๕ วัน โดยไม่ฉันอาหารไม่เข้าห้องน้ำ อบรมจิตใจตนเองอย่างนี้โดยวิธีนี้เรียกว่าการเข้า “ปฏิสลี” มีเพียงบางวันที่สามเณรจะเอายาต้มไปส่งแต่ถ้าเห็นหลวงปู่ไม่เปิดกลดก็จะกลับลงมาโดยไม่ได้ถวายยาต้มนั้นในบางปีท่านฉันภัตตาหารเพียงวันเข้าพรรษาและวันออกพรรษาเท่านั้น ประมาณปี ๒๕๓๔ ท่านได้พบนิมิตโอภาส คือพบแสงสว่างที่ใสมากเป็นแสงที่ท่านไม่เคยพบในโลกนี้สว่างไปทั่วโลกธาตุ สว่างทั้งจักรวาล มองทะลุภูเขา มองทะลุต้นไม้มองเห็นทุกอย่างอยากเห็นสิ่งใดก็เห็นไปหมด แล้วก็ปรากฏสัตว์ชนิดหนึ่ง คอยาว ตัวใหญ่กว่าช้างเท้าใหญ่เท่ากระบุง เดินไปเดินมาในบริเวณภูกุ้มข้าว กินยอดไม้ เล่นน้ำ และล้มลงตายขณะที่เห็นมีลักษณะเป็นเหมือนฟีมล์หนังกลางแปลงในสมัยก่อนพอสัตว์นั้นตายลงก็หมดม้วนพอดี เป็นอย่างนี้อยู่ ๒-๓ ครั้ง ในปี ๒๕๓๖ และปี๒๕๓๗ก็มีลักษณะเดียวกัน ครั้งสุดท้าย พอเห็นจบแล้วก็มีเสียงมาบอกว่า จะมาขออยู่ด้วยเตรียมตัวไว้พรุ่งนี้จะมีฝนมาจากทิศอุดรห่าใหญ่ผมจะมากับฝน ครั้งล่าสุดท่านเข้าปฏิสลีได้เพียง ๓ วันเท่านั้น ท่านจึงเก็บบาตรและกลดลงจากยอดเขาสั่งให้พระเณรเก็บสิ่งของไปไว้บนกุฏิเวลาประมาณเที่ยงวันฝนก็เริ่มตั้งเคาและตกลงมาอย่างไม่ลืมหูลืมตาหลวงปู่ท่านได้กางร่มเดินออกมาตรวจบริเวณวัดขณะฝนตก ร่มที่กางโดนลมพัดจนหักและปลิวไปกับลมเหลือเพียงด้ามร่มเท่านั้น บริเวณทั้งหมดมืดไปหมดมองสิ่งใดไม่เห็นท่านจึงนั่งลงตรงที่เห็นสัตว์นั้นตายในนิมิต ฝนตกกว่า ๓ ชั่วโมงจึงเริ่มซาและหายไปในที่สุด จากฟ้าที่มืดก็ปรากฏแสงสว่างขึ้นมาแผ่นดินที่เคยสูงโดนน้ำเซาะจนเห็นเป็นกระดูกชิ้นใหญ่ หลายสิบชิ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณที่ท่านนั่ง ท่านก็สั่งให้คนเก็บกระดูกนั้นไว้และส่งข่าวไปยังนายอำเภอเพื่อมาตรวจสอบ ทางอำเภอจึงส่งข่าวไปยังศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เจ้าหน้าที่ก็ได้มาตรวจสอบปรากฏว่าเป็นไดโนเสาร์พันธ์กินพืชที่ใหญ่เก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบมา (ภายหลังให้ชื่อว่า อีสานโนซอรัสสิรินธรเน่) ต่อมามีการแจ้งว่าจะมีการจะขอทำการขุดค้นเพิ่มเติมจึงกราบเรียนถามองค์หลวงปู่เพื่อชี้จุดที่เห็นในนิมิตเพิ่มเติมท่านจึงได้ชี้ใต้ต้นไม้ทางทิศเหนือของวัดก็พบฟอสซิลไดโนเสาร์อีกหลายตัว(ปัจจุบันคือ “อาคารหลุมขุดค้นไดโนเสาร์พระญาณวิสาลเถร” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ค้นพบครั้งแรก)อีกทั้งยังมีการรวบรวมฟอสซิลไดโนเสาร์จากทั่วสาระทิศมารวมที่วัดสักกะวันและก่อสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสัตว์โลกล้านปีได้รับพระราชทานนามว่า“พิพิธภัณฑ์สิรินธร” คณะศิษย์ยานุศิษย์ ลูกหลาน จึงถวายฉายานามหลวงปู่ว่า“หลวงปู่ไดโนเสาร์” (แต่เดิมท่านชื่อพระหา ภายหลังได้รับถวายตำแหน่งพระฐานานุกรมในตำแหน่งพระสมุห์ชาวบ้านจึงให้ชื่อว่าพระอาจารย์สมุห์หาภายหลังเมื่อมีการถวายสัญญาบัตรพัดยศเป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูวิจิตรสหัสคุณชาวบ้านก็เรียกหลวงตาวิจิตร เมื่อท่านค้นพบไดโนเสาร์ชาวบ้านจึงนิยมเรียกท่านว่าหลวงตาวัดไดโนเสาร์ เมื่อเรียกบ่อยๆจึงเหลือแต่หลวงตากับไดโนเสาร์ แต่คณะศิษย์ในภายหลังไม่อาจเรียกท่านว่าหลวงตาได้(เพราะคำว่าหลวงตาคือคนที่มีครอบครัวแล้วมาอุปสมบท)จึงเรียกท่านว่าหลวงปู่ไดโนเสาร์จวบจนปัจจุบัน)",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
},
{
"docid": "353872#3",
"text": "ต่อมาได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 โดยมีพระธรรมธัชมุนี (เอื้อน ชินทตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยวงศาจารย์ (นาค อิสินาโค) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูวิมลญาณโสภณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ แล้วอยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นเอก และในปี พ.ศ. 2516 สอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค\nนอกเหนือจากตำแหน่งหน้าที่ในการปกครองคณะสงฆ์ตามที่ได้รับมอบหมายจากมหาเถรสมาคมแล้ว สมเด็จพระธีรญาณมุนี ยังได้บำเพ็ญคุณประโยชน์ไว้มากมาย เช่น การบูรณะถาวรวัตถุและเสนาสนะต่างๆ ของวัดเทพศิรินทราวาส เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังได้ส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ โดยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งวัดพุทธดัลลัส สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 83 พรรษา ในปี พ.ศ. 2553 สมเด็จพระธีรญาณมุนี ได้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจที่ยากไร้และขาดโอกาสเข้าถึงยา ให้แก่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลอีกด้วยนอกจากนี้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังมีตำแหน่งพิเศษหลักๆ ดังนี้",
"title": "สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย)"
},
{
"docid": "67944#2",
"text": "พระอธิการดำ (จุลฺลโก) (พ.ศ. 2471–2481) ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านช่วยสืบสานงานสร้างวัดต่อมาอีก 10 ปี\nพระครูนิวาตวรคุณ (เกลื่อน มินินฺทโล ทองนพคุณ) (พ.ศ. 2481–2405) ระหว่างนี้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสได้มาเป็นพระอุปัชฌาย์ให้การบรรพชาอุปสมบทกุลบุตรปีละ 20–30 รูป ปีพ.ศ. 2483 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) ได้มาสร้างอาคารเรียนประถมศึกษาชื่อว่าโรงเรียนอุทกวิทยากร เป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ตั้งอยู่ภายในวัด ประชาชนทั่วไปเรียกว่า ตึกขาว ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เป็นตึกหลังแรกในอำเภอพนัสนิคม\nพระครูวินัยวาที (เจริญ อติวุฑฺโฒ / ธรรมรักษ์ น.ธ.เอก) (พ.ศ. 2505–2544) ได้ทำการรื้อถอนศาลาการเปรียญหลังเก่าและสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ขึ้นแทนในปี พ.ศ. 2520 ได้ร่วมกันกับพระราชสังวรญาณ (สนิท ถิรสินิทฺโธ) วัดศิลขันธ์ จังหวัดอ่างทอง และพระเขมสารโสภณ (ธรรมนูญ ธุวสีลเถร) วัดเขาบางทราย ซื้อที่ดินติดกับวัดตั้งโรงเรียนมัธยมประจำตำบลขึ้นชื่อว่า โรงเรียนอุทกวิทยาคม เริ่มเปิดสอนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2522 จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังสร้างฌาปนสถานในปี พ.ศ. 2527 และในปีพ.ศ. 2536 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2542 กำหนดเขตกว้าง 28 เมตร ยาว 46 เมตร และทำการรื้อถอนอุโบสถหลังเก่าออก มีงานยกช่อฟ้าวันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 และท่านได้มรณภาพ เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2544 ก่อนงานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตเมื่อวันที่ 9-17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545",
"title": "วัดอุทกเขปสีมาราม"
},
{
"docid": "28430#4",
"text": "ท่านได้ทำการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดศรีโพนเมือง จ.สกลนคร เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2489 โดยมี ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ครูบาอาจารย์ที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนแต่เป็นลูกศิษย์ของ หลวงปู่มั่นทั้งสิ้น โดยเฉพาะท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์นั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโรอีกด้วย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย เป็นทั้งลูกศิษย์ หลานศิษย์และเหลนศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภายหลังจากได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว หลังจากประพฤติปฏิบัติธรรม จนเกิดซาบซึ้งในพระศาสนาพอสมควรแล้ว ท่านได้นำเอาธรรมะไปอบรมสั่ง สอนประชาชนในท้องถิ่นเดิมของท่าน ปัจจุบันหันมานับถือพุทธศาสนาจนหมดสิ้นพระวิสุทธิญาณเถร (สมชาย ฐิตวิริโย) เข้ารับการรักษาโรคไตวายเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ จนกระทั่งวันที่ 18 มิถุนายน 2548 เวลา 10.40 น. ได้มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดในปอดสิริอายุ 80 ปี 72 วัน 60 พรรษา",
"title": "พระวิสุทธิญาณเถร (สมชาย ฐิตวิริโย)"
},
{
"docid": "615594#13",
"text": "พระครูประสิทธิ์สมณญาณ จนฺโทปโม(สม) เจ้าอาวาสวัดสุวรรณชัยศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต สมัยท่านจำพรรษาอยู่แถบจังหวัดเชียงใหม่ พระสุธรรมคณาจารย์ (แดง ธมฺมรกฺขิโต) ผู้ก่อตั้งวัดประชานิยม จังหวัดกาฬสินธุ์ ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต สมัยก่อนที่ท่านจะเดินทางไปเชียงใหม่ เป็นศิษย์ร่วมสมัยหลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ขาว พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ลี ธมฺมธโร) วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร) วัดธรรมมงคล จังหวัดกรุงเทพมหานคร หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสรังสี) วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดถ้ำขาม จังหวัดสกลนคร หลวงปู่ทองมา ถาวโร วัดสว่างท่าสี จังหวัดร้อยเอ็ด พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) วัดรังสีปาลิวัน จังหวัดกาฬสินธุ์",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
},
{
"docid": "60494#5",
"text": "ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2484 ท่านมีอายุ 21 ปี ได้อุปสมบท ณ วัดทรายงาม บ้านหนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี โดยพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาทองสุข สุจิตโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงพ่อได้เดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์กงมาไปในที่ต่าง ๆ เป็นเวลา 8 ปี วันหนึ่ง พระอาจารย์กงมาก็พาท่านเดินธุดงค์จากจังหวัดจันทรบุรีไปจังหวัดสกลนคร เพื่อไปพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงพ่อวิริยังค์ได้รับเลือกให้เป็นอุปัฎฐากอยู่ 4 ปี ได้เดินธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์มั่น เรียนธรรมะ อันลึกซึ้ง ได้จดคำสอนของหลวงปู่มั่นบางตอนไว้ (ปกติท่านห้ามผู้ใดจดเด็ดขาด เมื่ออ่านให้ท่านฟังภายหลังท่าน กลับรับรองว่าใช้ได้) ต่อมาท่านได้เผยแพร่คำสอนนี้แก่สาธารณชน ในหนังสือที่ชื่อว่า \"มุตโตทัย\"",
"title": "พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร)"
},
{
"docid": "615594#0",
"text": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร) หรือ หลวงปู่ไดโนเสาร์ พระภิกษุในพุทธศาสนานิกายเถรวาท คณะธรรมยุตินิกาย ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามตามสัญญาบัตรว่า พระญาณวิสาลเถร เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ และอดีตรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นพระเถราจารย์ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นที่น่าเคารพสักการบูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า และได้ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ ทำให้มีการขุดค้น โดยเป็นแหล่งไดโนเสาร์กินพืชที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย[1] และยังมีการสร้างพิพิธภัณฑ์สิรินธร บริเวณที่ขุดค้นพบอีกด้วย[2]",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
},
{
"docid": "615594#1",
"text": "พระญาณวิสาลเถร (หลวงปู่หา สุภโร) ท่านมีนามเดิมว่า หา ภูบุตตะ เกิดวันศุกร์ที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีฉลู ที่บ้านนาเชือก ตำบลเว่อ (ปัจจุบันเป็นตำบลนาเชือก) อำเภอยางตลาด (ปัจจุบันเป็นอำเภอเมือง) จังหวัดกาฬสินธุ์ บิดาชื่อ นายสอ ภูบุตตะ มารดาชื่อ นางบัวลา ภูบุตตะ มีพี่น้องรวมกัน ๗ ท่าน",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
},
{
"docid": "842063#0",
"text": "พระภาวนาวิสุทธิญาณเถร หรือ หลวงปู่แบน ธนากโรเป็นพระสายกรรมฐานรูปหนึ่ง ผู้เป็นสหธรรมิกผู้ใกล้ชิดกับพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)และรับการวางใจจากหลวงตามหาบัว ให้เป็นเสาหลักของคณะพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น",
"title": "พระภาวนาวิสุทธิญาณเถร (แบน ธนากโร)"
},
{
"docid": "615594#4",
"text": "เมื่อท่านยังเป็นพระนวกะ (ผู้บวชใหม่) ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้จำพรรษาที่วัดสุวรรณชัยศรี จนสอบได้นักธรรมชั้นตรี และ ในปีพ.ศ. ๒๔๙๕ สอบได้นักธรรมชั้นโทที่วัดขวัญเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ และในปีพ.ศ. ๒๔๙๗ ได้มีโอกาสศึกษาต่อที่วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพมหานคร จนสำเร็จนักธรรมชั้นเอก ท่านได้มีโอกาสอุปัฏฐากท่านเจ้าประคุณสมเด็จมหามุนีวงศ์ (สนั่น จนฺทปชฺโชโต) และด้วยความที่ท่านมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ ท่านจะเรียนบาลีเป็นประจำทุกวัน เมื่อเว้นว่างจากการเรียนบาลีแล้ว ท่านก็จะเดินทางด้วยเท้าเปล่าเพื่อไปเรียนกรรมฐานจากพระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินธโร) วัดธรรมมงคล และพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ลี ธมฺมธโร) ที่วัดบรมนิวาส",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
},
{
"docid": "455870#2",
"text": "พระอาจารย์ภูสิต (จันทร์) ขันติธโร เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2494 ภูมิหลังก่อนที่จะบวช ท่านได้ป่วยเป็นโรคมะเร็งในเม็ดเลือด จึงรู้สึกสิ้นหวังในชีวิต และขณะนั้นได้มีโอกาสอ่านหนังสือ\"ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ\" ซึ่งหลวงตามหาบัว เป็นผู้เขียน จึงเกิดศรัทธาอันแรงกล้าที่จะขอบวชในพระพุทธศาสนา แต่ในขณะนั้นได้ทราบว่าหลวงปู่มั่นได้มรณภาพแล้ว และเหลือแต่ศิษย์ของท่านคือหลวงตามหาบัว \nพ.ศ. 2524:อุปสมบทสายพระธรรมยุตที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพ เนื่องจากเป็นโรคมะเร็งในเม็ดเลือดในขั้นสุดท้าย จึงตัดสินใจบวชเพื่อเตรียมตัวตายในเพศบรรพชิต\nพ.ศ. 2524 - 2531 : หลังจากได้รับการอุปสมบทเป็นที่เรียบร้อย จึงได้เดินทางมาอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ได้รับการอบรมอย่างใกล้ชิดโดยพ่อแม่ครูอาจารย์ที่เคร่งครัดตามแนวทางปฏิบัติของพระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต คือ ท่านพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) และได้เป็นพระอุปัฏฐากหรือพระเลขาของท่านอาจารย์หลวงตาพระมหาบัวฯในเวลาต่อมา",
"title": "พระวิสุทธิสารเถร (ภูสิต ขนฺติธโร)"
},
{
"docid": "615594#8",
"text": "ได้รับการแต่งตั้งพระฐานานุกรมในพระสุธรรมคณาจารย์ที่ พระสมุห์หา สุภโร พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นตรี ที่ พระครูวิจิตรสหัสคุณ พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นโท ที่ พระครูวิจิตรสหัสคุณ พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นเอก ที่ พระครูวิจิตรสหัสคุณ พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระญาณวิสาลเถร",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
},
{
"docid": "6117#15",
"text": "ช่วงปี พ.ศ. 2547 หลังจากที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ประชวร และประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เข้าร่วมงานพระศาสนาไม่สะดวก มหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรปกครองคณะสงฆ์ ได้แต่งตั้งให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้มีพระบัญชาว่า “ทราบและเห็นชอบ” เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2547 ต่อมา การแต่งตั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเพราะครบระยะเวลาที่กำหนด มหาเถรสมาคมจึงได้แต่งตั้ง คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อบริหารกิจการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช โดยประกอบด้วยพระราชาคณะ รวม 7 รูป จากพระอาราม 7 วัด โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ในฐานะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ทำหน้าที่ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช",
"title": "สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)"
},
{
"docid": "481979#2",
"text": "กระทั่งอายุได้ 16 ปี ได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2479 ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) ครั้งดำรงพระสมณศักดิ์ที่พระธรรมโกศาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม อุปสมบทในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (ปลด กิตฺติโสภโณ) ครั้งดำรงพระสมณศักดิ์ที่พระพรหมมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมงคลวัตรกวี (คอน นนฺทิโย ป.ธ.3) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระสรภาณกวี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระราชเวที (ดอกไม้ อุตฺตรภทฺโท ป.ธ.6) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “รชตวณฺโณ” \nพระพรหมจริยาจารย์ (สมุท รชตวณฺโณ) ฉายแววอัจฉริยะในด้านกวีนิพนธ์ จนได้รับการยกย่องเป็น“รัตนกวี” รูปหนึ่งของวงการคณะสงฆ์ไทยและชาวพุทธทั่วไป ด้วยมีผลงานร้อยกรอง กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ที่รวมบทกวีตีพิมพ์ออกมา อาทิ คาถาพระธรรมบทคำกลอน เบญจมราชาสดุดี เบญจวรรณ (รวมบทกวี กาพย์เห่เรือ กลอน โคลง และฉันท์) เป็นต้น ในโอกาสสำคัญต่างๆ ท่านได้รับมอบหมายจากมหาเถรสมาคมให้เป็นผู้แต่งคำฉันท์ต่าง ๆ อาทิ \nอนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2533 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดท่าสุทธาวาส บ้านบางเสด็จ ต.บางเสด็จ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง พระพรหมจริยาจารย์ได้แต่งคำประพันธ์กาพย์เห่เรือ และจัดแห่เรือถวาย",
"title": "พระพรหมจริยาจารย์ (สมุท รชตวณฺโณ)"
},
{
"docid": "615594#5",
"text": "เมื่อเรียนไปได้สักระยะหนึ่ง ท่านเริ่มอาพาธด้วยโรคดีซ่าน การเรียนทั้งปริยัติและปฏิบัติจึงได้ระงับไว้ก่อน เมื่ออาการหนักมากจนถึงขั้นต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสงฆ์ถึง ๓ เดือน โดยไม่มีท่าทีว่าจะหาย หรือดีขึ้นเลย ท่านจึงทอดอาลัยในชีวิต แล้วตั้งความปรารถนาขอใช้ชีวิตที่เหลือในการรับใช้พระศาสนาให้สมกับที่เป็นผู้อุทิศตนต่อชาวโลก โดยท่านได้ตั้งสัตยาธิษฐาน ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้วมรกต) ว่า “หากข้าพเจ้าจะมีชีวิตในการบวช ขอให้โรคหาย ถ้าหากจะไม่มีชีวิตแล้ว ขอให้ตายกับผ้าเหลือง” ท่านมีความคิดว่าหากได้บวชอยู่นานๆ จะได้ทำประโยชน์ในพระศาสนาให้สมกับที่เป็นผู้อุทิศตนต่อชาวโลก จากนั้นท่านจึงเดินทางกลับมาที่บ้านเกิดเพื่อตั้งต้นดำเนินภารกิจดังที่ตั้งปณิธานไว้ และได้ตั้งสัตยาธิษฐานอีกครั้งหนึ่งว่า “ขอให้ได้อยู่ป่าทำความสงบสบายทางจิต”",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
},
{
"docid": "615594#7",
"text": "เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ชั้น เอก โท ตรี เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวงในคณะธรรมยุติภาคอีสาน พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นเจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นเจ้าคณะตำบล (ธ) ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. ๒๕๐๒ เป็นเจ้าคณะอำเภอ (ธ) ปกครอง ๓ อำเภอ ได้แก่ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ และอำเภอท่าคันโท พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธ) พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธ)",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
},
{
"docid": "776098#2",
"text": "วัดพลับ เป็นวัดอรัญญวาสี (วัดป่า) เก่าแก่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เริ่มมีความสำคัญขึ้นมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดให้สร้างพระอารามหลวงใหม่ติดกับวัดพลับ แล้วโปรดให้รวมเป็นวัดเดียวกัน เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระญาณสังวรเถร (สุก) พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ทรงเคารพเลื่อมใส และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์มาศึกษากรรมฐานกับพระญาณสังวรเถร ทำให้วัดราชสิทธารามเป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่สำคัญมาแต่ครั้งนั้น แม้ต่อมาพระญาณสังวรเถรจะได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช ย้ายไปประทับ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ศิษย์ของพระองค์ยังคงสืบทอดกรรมฐานต่อมา",
"title": "วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร"
},
{
"docid": "615594#6",
"text": "ด้วยอานิสงส์แห่งการอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา ในขณะนั้นท่านก็ได้รับการรักษาจากหมอพื้นบ้าน และการอบรมทางใจจากการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานเข้าช่วยเหลือ จึงเป็นผลให้อาการของโรคทุเลาลงจนหายขาดในที่สุด เมื่อหายเป็นปกติแล้วท่านจึงออกเที่ยวปฏิบัติรุกขมูล หาความวิเวกทางกายและใจออกธุดงค์ไปยังภาคต่างๆ ในประเทศไทยแทบทุกจังหวัด ไปทุกมุมเมืองในภาคอีสาน และข้ามไปยังฝั่งลาว ไปถึงนครเวียงจันทน์ถึงสองครั้ง เข้ากัมพูชา จนเห็นผลทางจิตอันแน่นอนแล้ว ท่านจึงกลับมาช่วยงานพระศาสนาดังปฐมปณิธาน",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
},
{
"docid": "5331#28",
"text": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จสถิต ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จสถิต ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ปัจจุบันทรงดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการมหาเถรสมาคมกรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต แม่กองงานพระธรรมทูต เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ที่ปรึกษา เจ้าคณะภาค 14-15 (ธรรมยุต) และนายกสภา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตรักษาการ เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตประธานอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย อดีตเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิธ เขมจารี) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าคณะภาค๑-๑๕ อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตเจ้าอาวาสวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร อดีตเจ้าอาวาสวัดเพชรสมุทรวรวิหาร สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร พระครูโพธิรัตนาธร เจ้าอาวาสวัดโพธิ์รัตนารามองค์ปัจจุบัน มีชื่อเสียงด้านวิปัสสนาญาณ",
"title": "จังหวัดราชบุรี"
},
{
"docid": "615594#11",
"text": "เป็นหัวหน้าพระธรรมทูต (ธรรมยุต) สายที่ ๕ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยมีพระสงฆ์ในสาย จำนวน ๒๕ รูป มีพื้นที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในจังหวัดกาฬสินธุ์ และต่างจังหวัด",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
},
{
"docid": "615594#10",
"text": "ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้ย้ายวัดสักกะวัน จากตำบลโนนศิลา มาอยู่ที่ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้พัฒนาวัดสักกะวัน โดยการสร้างโบสถ์ วิหาร และตัดถนนรอบวัดจำนวน ๕ สาย เพื่อใช้ในการเดินจงกรม ได้ตัดถนนสายหน้าวัดสักกะวัน - วัดตาดแม่นาย ได้ก่อสร้างเมรุเผาศพ ได้ช่วยวัดต่างๆ สร้างโบสถ์จำนวน ๙ หลัง ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้มอบพื้นที่บริเวณลานจอดรถให้กับหน่วยงานราชการทำประโยชน์ ได้สนับสนุนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอุทยานโลกไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
},
{
"docid": "28430#0",
"text": "พระวิสุทธิญาณเถร (หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย) พระกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ อดีตประธานสงฆ์วัดเขาสุกิม เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2468 ณ หมู่บ้านเหล่างิ้ว ตำบลจังหาร อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด",
"title": "พระวิสุทธิญาณเถร (สมชาย ฐิตวิริโย)"
},
{
"docid": "7204#35",
"text": "พระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย (หลวงพ่อองค์ดำ) วัดกลาง (พระอารามหลวง ชั้นตรีชนิดสามัญ) อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ พระธรรมวงศาจารย์ (สุข สุขโณ) อดีตเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์และอดีตเจ้าอาวาสวัดกลาง พระอารามหลวง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ พระเทพปัญญาเมธี (ปราชญ์ อกฺกโชโต) เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ม) และเจ้าอาวาสวัดกลาง พระอารามหลวง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ พระเทพสารเมธี (บัวศรี ชุตินฺธโร) เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธ) และเจ้าอาวาสวัดประชานิยม อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ พระราชศีลโสภิต (หนูอินทร์ กิตฺติสาโร) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ม) และเจ้าอาวาสวัดป่าพุทธมงคล อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ พระราชธรรมเมธี (ทองใส กิตฺติโก) อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ม) และอดีตเจ้าอาวาสวัดป่ามหานิกาย อำเภอนามน พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา (ธ) อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาวรวิหาร จังหวัดนครราชสีมา และอดีตเจ้าอาวาสวัดรังสีปาลิวัน อำเภอคำม่วง พระโพธิญาณมุนี (เมือง พลวฑฺโฒ) พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดป่ามัชฌิมาวาส อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ศิษย์ หลวงตามหาบัว พระญาณรักขิต (แผน โสภโณ) รองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธ) และเจ้าอาวาสวัดวีระวงศาวาส อำเภอสมเด็จ พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร) (หลวงปู่ไดโนเสาร์) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธ) และเจ้าอาวาสวัดสักกะวัน อำเภอสหัสขันธ์ พระมงคลสิทธิ (นิน ฐิตธมฺโม) อดีตเจ้าคณะอำเภอห้วยเม็ก (ม) และอดีตเจ้าอาวาสวัดนางนวล อำเภอห้วยเม็ก พระวิสุทธิบุญญาคม (บุญสม ฐิตปุญฺโญ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกลาง พระอารามหลวง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ พระสุนทรธรรมประพุทธ์ (เกษร ฐานิสฺสโร) รองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ม) และเจ้าอาวาสวัดเหนือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์",
"title": "จังหวัดกาฬสินธุ์"
},
{
"docid": "6117#5",
"text": "ภายหลังบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม 1 พรรษา และได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม หลังจากนั้น พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) พระอุปัชฌาย์ได้พาพระองค์ไปยังวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และนำพระองค์ขึ้นเฝ้าถวายตัวต่อสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (ต่อมาคือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) เพื่ออยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงได้รับประทานนามฉายาจากสมเด็จพระสังฆราชว่า “สุวฑฺฒโน” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เจริญดี” จนกระทั่งพระชันษาครบอุปสมบทจึงทรงเดินทางกลับไปอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามเมื่อ พ.ศ. 2476 ภายหลังจึงได้เดินทางเข้ามาจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อทรงศึกษาพระธรรมวินัยและที่วัดบวรนิเวศวิหารนี่เอง พระองค์ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทซ้ำในธรรมยุติกนิกายเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2477) โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพเมธี (จู อิสฺสรญาโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์",
"title": "สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)"
},
{
"docid": "842063#2",
"text": "หลวงปู่แบนได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ณ วัดเกาะตะเคียน ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยมีพระอมรโมลี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิพัฒน์พิหารการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ",
"title": "พระภาวนาวิสุทธิญาณเถร (แบน ธนากโร)"
},
{
"docid": "615594#2",
"text": "ท่านถือกำเนิดในตระกูลที่มีฐานะดีในหมู่บ้านนาเชือก ซึ่งอพยพมาจากจังหวัดอุบลราชธานี มีฝูงวัวมากกว่า ๓๐ ตัว มีที่นากว่า ๖๐ ไร่ มารดาเลี้ยงหม่อนเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นครอบครัวที่มีฐานะมั่นคงที่สุดในแถบนั้น เมื่อท่านเป็นฆราวาส ท่านมีความขยันหมั่นเพียร และความอุตสาหะ ท่านช่วยโยมบิดามารดาทำงานทุกอย่าง ท่านได้สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนวัดบ้านนาเชือกเหนือ ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ท่านก็ได้รับการคัดเลือกให้เป็นทหารอาสาเพื่อไปร่วมรบในสงคราม และท่านได้เข้ารับการฝึกซ้อมรบ ภายหลังก่อนที่ท่านจะไปในสงครามจริงๆ สงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็ได้ยุติลงก่อนในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ครั้งนึงท่านชอบการต่อยมวยมาก ท่านชอบไปต่อยมวยตามงานวัดต่างๆ ในเวลาว่างจากการทำนาและงานอื่น แต่โยมบิดาของท่านไม่ชอบที่ท่านเป็นนักมวยนัก พอช่วงอายุประมาณ ๒๐ ปี คุณยายของท่านก็ได้ปรารภกับท่านว่าอยากจะให้ท่านบวชให้คุณยายของท่านหน่อย อันเป็นที่มาของการออกบวชภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ในบวรพระพุทธศาสนา",
"title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)"
}
] |
645 | มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "12289#0",
"text": "มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1 ใน 5 แห่งแรกในประเทศไทยถูกสถาปนาขึ้นพร้อมกับ วิทยาลัยเกริก วิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาลัยไทยสุริยะ และวิทยาลัยพัฒนา ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2511 ปัจจุบัน เปิดการเรียนการสอนใน 6 คณะ 6 วิทยาลัย",
"title": "มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์"
}
] | [
{
"docid": "12289#4",
"text": "วิทยาลัยนานาชาติจีน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดดำเนินการในปีการศึกษา 2553 เป็นวิทยาลัยนานาชาติจีนที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมทุน เพื่อทำการศึกษาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศจีนคือมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคุนหมิงกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์\nวิทยาลัยนานาชาติจีน เปิดโอกาสให้ทั้งนักศึกษาไทย นักศึกษาจากประเทศจีน และนักศึกษาจากนานาชาติ เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระดับปริญญาตรีในหลักสูตรนานาชาติโดยใช้ภาษาจีนเป็นสื่อการสอน โดยวิทยาลัยนานาชาติจีน ทำหน้าที่ในการสร้างและพัฒนาความร่วมมือด้านต่าง ๆ ระหว่างมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์กับสถาบันเครือข่ายในประเทศจีน\nสมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 โดยการรวมตัวของนักศึกษาจากทุกคณะ ภายใต้การสนับสนุนของ ท่านอดีตอธิการบดี ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ที่ ต้องการให้องค์กรนี้เป็นศูนย์รวมของศิษย์เก่า ไม่ว่าจะเป็นยุคของสถาบัน หรือวิทยาลัย เพื่อร่วมกันทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งในคณะก่อตั้งดังกล่าว ได้รับแนวทางมาปฏิบัติ และมีการยื่นจดทะเบียนขอจัดตั้งเป็น “สมาคมนักศึกษาเก่าวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์” อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2524 โดยมี คุณธารา รัตนพิภพ (ศิษย์เก่าคณะเศรษฐศาสตร์) เป็นนายกสมาคมคนแรก (พ.ศ. 2524 - 2526) มีเงินทุนในการดำเนินงานของสมาคมฯ จำนวน 50,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่เกิดขึ้นจากรายได้ในการฉลองปริญญาบัตร ที่สำเร็จการศึกษา โดยมีที่ทำการของสมาคมฯ อยู่ที่ 73 ถนนพระรามที่ 6 เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร\nต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2538 ในสมัยที่ท่าน ศาสตราจารย์ไพฑูรย์ พงศะบุตร ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ได้มีการยื่นขอเปลี่ยนแปลงชื่อและข้อบังคับสมาคมฯใหม่เป็น “สมาคมนักศึกษาเก่า มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์” เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานะภาพของมหาวิทยาลัย ซึ่งคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ในแต่ละยุคได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับความกรุณาอย่างยิ่งจากท่านผู้บริหารมหาวิทยาลัย ในการอนุญาตให้ใช้สถานที่บริเวณชั้นล่างของอาคารสำนักอธิการบดี เป็นสถานที่ตั้งและทำงานของสมาคมฯ\nปัจจุบันสมาคมฯ มีสมาชิก ประมาณ 25,000 คน และจะยังคงมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี จากบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกไป รับใช้สังคม และสมาคมฯ มีนโยบายที่ต้องการจะขยายส่วนงานของศิษย์เก่าและสมาชิกออกไปในภาคต่าง ๆ เพื่อ ประสานความดีงามและเป็นประโยชน์ให้กับสังคมต่อไป",
"title": "มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์"
}
] |
1095 | เทิร์นเทเบิล คืออะไร ? | [
{
"docid": "237570#0",
"text": "เทิร์นเทเบิล เป็นเครื่องดนตรีประยุกต์ เดิมเป็นเครื่องเล่นแผ่นเสียง แล้วก็พัฒนามาใหม่มาเป็นเล่นแผ่นเสียงที่ทันสมัย ไว้ใช้สำหรับเพื่อดัดดัดแปลงให้ได้เสียงที่แปลกใหม่ไปจากเดิม เป็นเครื่องดนตรีที่เปิดเพลงตามไนต์คลับ หรือตามงานบันเทิงต่าง ๆ และ กิจกรรมตามงานต่าง ๆ เทิร์นเทเบิ้ล ยังเป็นเครื่องดนตรีใช้สำหรับแต่งเพลง และ รีมิกซ์ จากแผ่นเสียง ส่วนใหญ่ มักจะเป็เพลงแนว ฮิปฮอป, บอลทิมอร์คลับ, แดนซ์ และ อี่น ๆ ใช้สำหรับ ดีเจ และ นักดนตรี",
"title": "เทิร์นเทเบิล"
}
] | [
{
"docid": "889479#0",
"text": "ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2017) (TLC: Tables, Ladders & Chairs (2017)) เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิวมวยปล้ำอาชีพของWWE ซึ่งจัดเป็นปีที่9 แล้ว จัดเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2017 สถานที่จัดคือ Target Center ในเมืองMinneapolis, Minnesota",
"title": "ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2017)"
},
{
"docid": "224626#67",
"text": "ในภาคพอเทเบิล เคนจะเป็นตัวละครโซเชียลลิงก์ จัสติส เมื่อผู้เล่นเลือกตัวเอกเพศหญิง",
"title": "เพอร์โซนา 3"
},
{
"docid": "258087#0",
"text": "แซมเพลอร์ () เป็นเครื่องดนตรีอีเลคทรอนิกส์ มีความใกล้เคียงกับเครื่องสังเคราะห์เสียง แทนที่จะใช้เสียงที่ได้จากการถูบนเทิร์นเทเบิล แซมเพลอร์เริ่มจากการนำหลาย ๆ เพลง (หรือเรียกว่า แซมเพิล) จากเสียงหลาย ๆ เสียงนำมาใส่โดยผู้ใช้ และเล่นกลับไปมาโดยขึ้นอยู่กับการปรับแต่งเครื่องดนตรี และเพราะว่าแซมเพิลมักจะเก็บไว้ใน RAM ทำให้การเข้าถึงข้อมูลจึงเร็ว",
"title": "แซมเพลอร์"
},
{
"docid": "344402#0",
"text": "โจเซฟ ฮาห์น (, , เกิด 15 มีนาคม ค.ศ. 1977) หรือที่รู้จักในนาม โจ ฮาห์น และมิสเตอร์ฮาห์น นักเทิร์นเทเบิล และผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน และมีชื่อเสียงจากการเป็นดีเจ และสมาชิกวงลิงคินพาร์ก",
"title": "โจ ฮาห์น"
},
{
"docid": "224626#71",
"text": "ในภาคพอเทเบิล โคโระมารุจะเป็นตัวละครโซเชียลลิงก์ สเตรนท์ เมื่อผู้เล่นเลือกตัวเอกเพศหญิง",
"title": "เพอร์โซนา 3"
},
{
"docid": "353976#1",
"text": "สำหรับประเทศไทย ศึกทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2010) มีออกอากาศทาง ทรูวิชั่นส์ ช่อง ทรูสปอร์ต ในวันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม 2011 ซึ่งช้ากว่าสหรัฐอเมริกาถึง 2 สัปดาห์",
"title": "ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2010)"
},
{
"docid": "261508#0",
"text": "\"เทิร์น! เทิร์น! เทิร์น! (ทูเอฟรีติงแดร์อีสอะซีซัน)\" () หรือเรียกสั้น ๆ ว่า \"เทิร์น! เทิร์น! เทิร์น!\" เป็นเพลงที่ดัดแปลงมาจากปัญญาจารย์ในไบเบิล (ยกเว้นท่อนสุดท้าย) แต่งและประพันธ์ดนตรีโดยพีต ซีเกอร์ ในปี 1959 โดยซีกเกอร์ได้รอจนถึงปี 1962 จึงบันทึกเสียง เพลงนี้เป็นเพลงที่อยู่ในอัลบั้ม \"The Bitter\" และ \"The Sweet\" สังกัดโคลัมเบีย",
"title": "เทิร์น! เทิร์น! เทิร์น!"
},
{
"docid": "588854#0",
"text": "ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2013) เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิวมวยปล้ำอาชีพของ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี ในปี 2013 ซึ่งจัดเป็นปีที่ 5 แล้ว สถานที่จัดคือ โตโยตา เซ็นเตอร์ ในเมือง ฮูสตัน, รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2013",
"title": "ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2013)"
},
{
"docid": "662523#0",
"text": "ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2014) เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิวมวยปล้ำอาชีพของ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี ในปี 2014 ซึ่งจัดเป็นปีที่ 6 แล้ว สถานที่จัดคือ ควิกเคน โลนส์ อะรีนา ในเมือง คลีฟแลนด์, รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2014",
"title": "ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2014)"
},
{
"docid": "628655#3",
"text": "ลิงคินพาร์กก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2539 เป็นวงดนตรีแนวแร็ปร็อกในชื่อ ซีโร สมากชิกในวงขณะก่อตั้งวง ได้แก่ กีตาร์นำ แบรด เดลสัน, นักร้องนำและจังหวะกีตาร์ ไมค์ ชิโนะดะ, มือกลอง รอบ บัวร์ดอน, นักเทิร์นเทเบิล โจ ฮาห์น, นักร้องนำ มาร์ก เวกฟิลด์ และกีตาร์เบส เดฟ ฟาร์เรล หลังจากที่มาร์กได้ออกจากวงในปี พ.ศ. 2542 นักร้องนำคนใหม่ เชสเตอร์ เบนนิงตัน ได้เข้าร่วมมาเป็นสมาชิกวงซีโร โดยเรื่องเริ่มต้นที่วงดนตรีเก่าที่เชสเตอร์ได้เคยทำหน้าที่เป็นนักร้องนำนั้นได้ประกาศยุบวง ทนายของเขาจึงได้แนะนำให้เขาไปหา เจฟฟ์ บลู รองประธานผู้ประสานงานฝ่ายคัดสรรและพัฒนาศิลปินแห่งซอมบามิวสิกกรุ๊ป ซึ่งในขณะนั้นเจฟฟ์กำลังมองหาสมาชิกใหม่เพิ่มในตำแหน่งนักร้องนำให้กับวงซีโร จึงให้เทปตัวอย่างของซีโรให้กับเชสเตอร์ ในเทปประกอบไปด้วยเพลงที่มีเสียงร้องของอดีตนักร้องนำของซีโร และเพลงที่มีแต่ดนตรีบรรเลง[6] แล้วเขาจึงได้แต่งคำร้องและบันทึกเสียงร้องใหม่บนเสียงดนตรีเดิมที่มีอยู่ลงเทปตัวอย่างและส่งกลับไปให้เจฟฟ์[7][8] หลังจากที่เชสเตอร์ได้เข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิกในวง ซีโรก็ได้เปลี่ยนชื่อวงเป็น ไฮบริดทีโอรี และออกจำหน่ายอีพีที่มีชื่อเดียวกันกับชื่อวง ไฮบริดทีโอรี แต่ไปซ้ำกับชื่อวงดนตรีของกลุ่มศิลปินดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ชาวเวลส์ ทำให้ต้องตัดสินใจเปลี่ยนชื่อวงมาเป็น \"ลิงคินพาร์ก\"[6][9] หลังจากนั้นตลอดปี พ.ศ. 2542 ลิงคินพาร์กได้ทำการแสดงที่วิสกีอะโกโก คลับในลอสแอนเจลิสเป็นประจำ[10]",
"title": "ไฮบริดทีโอรี"
},
{
"docid": "522423#1",
"text": "ดร. อัลบัน มีชื่อเต็มคือ อัลบัน อุโซมา นาวาปา (Alban Uzoma Nwapa) โตอยู่ในครอบครัวชนชั้นกลางพร้อมกับเด็ก 10 คน ที่เมื่อง โอกุตา ในรัฐอิโม ประเทศไนจีเรีย เขามีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาของเขาในวิทยาลัยไครสต์เดอะคิง (Christ The King) ที่เมื่องอบา (Aba) และ และการใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในวัยหนุ่มของเขาอยู่ในบ้านเกิดที่เรื่องโอกุตา ตอนอายุ 23 เขาได้เดินทางไปสวีเดนเพื่อศึกษาวิชาทำฟัน เพื่อที่สามารถจะเป็นทุนการศึกษาของเขาได้ ดร. อัลบัน ได้ทำงานเป็นดีเจที่คลับ อัลฟาเบทสตรีท (Alphabet Street) ชื่อของเขากลายเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ ดร. อัลบัน มักจะร้องเพลงบนบันทึกเสียงโดยเร่งความเร็วบนเทิร์นเทเบิล เมื่อดีเจเรเนไม่สามารถช่วยอะไรได้ แต่เขาพึงสังเกตได้ว่าค้นพบตัวเอง อัลบัน จบการศึกษาของเขาพอดีได้เปิดการทำฟันฝึกหัดของเขาเอง และการเฝ้าดูกับการเป็นดีเจซึ่งเป็นงานอดิเรกที่ให้ทำให้เขาร่ำรวย",
"title": "ดร. อัลบัน"
},
{
"docid": "700525#0",
"text": "ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2015) () เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิวมวยปล้ำอาชีพของ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี ซึ่งจัดเป็นปีที่ 7 แล้ว จัดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2015 สถานที่จัดคือ ทีดีการ์เดน ในเมือง บอสตัน, รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา",
"title": "ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2015)"
},
{
"docid": "402323#0",
"text": "ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2011) เป็นรายการ เพย์-เพอร์-วิว ของ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี ในปี 2011 ซึ่งจะจัดเป็นปีที่ 3 แล้ว ในชื่อทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ สถานที่จัดคือ 1st Mariner Arena ในเมือง บอลทิมอร์, รัฐแมริแลนด์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งจัดหลังจากศึก เซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2011)",
"title": "ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2011)"
},
{
"docid": "224626#129",
"text": "ฟูล สมาชิกของ SEES เป็นโซเชียลลิงก์ที่พัฒนาไปเองตามเรื่อง เพอร์โซนาสูงสุดคือซุซะโนะโอะ แมจิกเชียน เคนจิ โทโมชิกะ เพื่อนร่วมชั้นของตัวเอก เคนจินั้นชอบผู้หญิงที่มีอายุมากกว่าและพยายามจีบอาจารย์คนหนึ่งอยู่โดยไม่รู้ว่าเขาเป็นคนคิดไปเองฝ่ายเดียวทั้งนั้น เพอร์โซนาสูงสุดคือ เซิร์ท ยักษ์เพลิงในตำนานเทพเจ้าสแกนดิเนเวีย จุนเปย์ อิโอริ จะเป็นโซเชียลลิงก์แมจิกเชียนแทน เมื่อเล่นตัวเอกหญิงในภาคพอเทเบิล พริสเทส ฟูกะ ยามากิชิ เพอร์โซนาสูงสุดคือสคาแทค ราชินีแห่งแดนเงาในตำนานของเคลต์ เอมเพรส มิตซึรุ คิริโจ เพอร์โซนาสูงสุดคืออาลิลัต ราชินีแห่งยมโลกในตำนานของสุเมเรียนและเซมิติก เอมเพอเรอ ฮิเดโทชิ โอดะกิกริ รองประธานนักเรียนของเกคโคคัน เป็นคนเจ้าระเบียบ เถรตรง และไม่ค่อยสนใจความรู้สึกคนอื่นนัก แต่การคบหากับตัวเอกทำให้เขาเริ่มเปลี่ยนความคิด เพอร์โซนาสูงสุดคือโอดิน ไฮโรแฟนท์ มิตสึโกะ กับ บุงคิจิ สามีภรรยาวัยชราซึ่งเปิดร้านหนังสือมือสอง ทั้งสองเคยมีลูกชายเป็นอาจารย์ที่เกคโคคัน แต่ต่อมาได้ประสพอุบัติเหตุเสียชีวิต ทั้งคู่มีต้นพลับซึ่งลูกชายเคยปลูกที่โรงเรียนพร้อมกับลูกศิษย์เป็นตัวแทน เพอร์โซนาสูงสุดคือโอริว เลิฟเวอร์ ยูคาริ ทาเคบะ เพอร์โซนาสูงสุดคือคิวเบเล พระแม่ธรณีในตำนานของฟริเจีย แชเรียส คาซึชิ มิยาโมโตะ เพื่อนร่วมชั้นของตัวเอกซึ่งอยู่ชมรมกีฬาเดียวกัน คาซึชิเป็นพวกทุ่มเทและหักโหมกับการฝึกซ้อมเต็มที่ จนกระทั่งเขามีปัญหาบาดเจ็บที่เข่า แต่คาซึชิก็ยืนกรานที่จะฝึกต่อไปเพื่อร่วมในการแข่งครั้งใหญ่ เพอร์โซนาสูงสุดคือ ธอร์ เทพแห่งสายฟ้าในตำนานเทพเจ้าสแกนดิเนเวีย ริโอะ อิวาซากิ จะเป็นโซเชียลลิงก์แชริออตแทน เมื่อเล่นตัวเอกหญิงในภาคพอเทเบิล ริโอะเป็นรุ่นพี่ผู้ดูแลฝ่ายกีฬาของโรงเรียนและเอาจริงเอาจังกับเรื่องกีฬาอย่างมาก เธอเป็นเพื่อนสมัยเด็กของเคนจิและแอบชอบเขาอยู่ แต่เนื่องจากเคนจินั้นสนใจแต่ผู้หญิงที่อายุมากกว่าจึงไม่ได้รู้สึกตัวเลยสักนิด จัสติส จิฮิโระ ฟุชิมิ เหรัญญิกของสมาคมนักเรียน เธอเป็นคนไม่สู้คน แต่การคบหากับตัวเอกทำให้เธอเข้มแข็งขึ้น ชอบอ่านการ์ตูนแนวโชโจะ เพอร์โซนาสูงสุดคือ เมลชิเซเดค ราชาผู้เที่ยงธรรมในพันธสัญญาเดิม จิฮิโระยังได้ปรากฏตัวในเพอร์โซนา 4โดยเป็นตัวแทนของโรงเรียนเกคโคคันกล่าวต้อนรับพวกตัวเอกระหว่างการทัศนศึกษา เคน อามาดะ จะเป็นโซเชียลลิงก์จัสติสแทน เมื่อเล่นตัวเอกหญิงในภาคพอเทเบิล เฮอร์มิท Yโกะ เกมเมอร์คนแรกซึ่งตัวเอกรู้จักระหว่างเล่นเกม เดวิลบัสเตอร์ออนไลน์ เธอตั้งชื่อให้ตัวเอกว่า Nจิมะ และเปลี่ยนชื่อตัวเองให้เข้ากัน ปกติแล้ว Yโกะจะบ่นเรื่องต่างๆในชีวิตจริงให้ตัวเอกฟัง ตัวจริงของเธอก็คือ อาจารย์โทริอุมิ ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำชั้นของตัวเอกนั่นเอง เพอร์โซนาสูงสุดคืออาราฮาบากิ เทพโบราณของญี่ปุ่น ชื่อ Yโกะ และ Nจิมะ นั้น หมายถึง ยูมิโกะ ชิระซากิ และ อาเคมิ นาคาจิมะ ซึ่งเป็นตัวเอกในเมกามิเทนเซย์ฉบับนิยายภาคแรกนั่นเอง ภาคภาษาอังกฤษ ได้เปลี่ยนชื่อเกม เดวิลบัสเตอร์ออนไลน์ เป็น อินโนเซนต์ซินออนไลน์ ตามชื่อภาคหนึ่งของเพอร์โซนา 2 และเปลี่ยนชื่อตัวละครเป็น มายะ และ ทัตสึยะ ตามตัวเอกของเพอร์โซนา 2 ซาโอริ ฮาเซกาวะ จะเป็นโซเชียลลิงก์เฮอร์มิทแทน เมื่อเล่นตัวเอกหญิงในภาคพอเทเบิล ซาโอริเป็นรุ่นพี่และสมาชิกฝ่ายกิจกรรมเดียวกับตัวเอก เนื่องจากเธอใช้ชีวิตในต่างประเทศมาก่อนทำให้คนอื่นๆไม่ค่อยเข้าใจเธอนัก ซาโอริจึงค่อนข้างจะห่างเหินจากคนอื่นๆและถูกกลั่นแกล้งบ่อยครั้ง ฟอร์จูน เคย์สุเกะ ฮิรากะ หัวหน้าชมรมนันทนาการที่ตัวเอกและฟูกะเป็นสมาชิก เคย์สุเกะนั้นพยายามเรียนด้านศิลปะเนื่องจากไม่ชอบใจที่พ่อของเขาอยากให้เป็นหมอ แม้ว่าจริงๆแล้วเขาจะชอบช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือไม่สบายก็ตาม เมื่อเคย์สุเกะได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดและได้การสนับสนุนจากพ่อ เขาจึงเริ่มสงสัยว่าใจจริงแล้วเขาต้องการอะไรกันแน่ เพอร์โซนาสูงสุดคือนอร์น สามพี่น้องแห่งชะตากรรมในตำนานเทพเจ้าสแกนดิเนเวีย เรียวจิ โมจิซุกิ จะเป็นโซเชียลลิงก์ฟอร์จูนแทน เมื่อเล่นตัวเอกหญิงในภาคพอเทเบิล สเตรนท์ ยูโกะ นิชิวากิ ผู้จัดการชมรมกีฬาที่ตัวเอกเป็นสมาชิก เธอชื่นชอบกีฬาแต่ไม่แน่ใจว่าชีวิตเธอต้องการอะไรกันแน่ เธอกับตัวเอกได้ช่วยกันฝึกการวิ่งแข่งให้เด็กๆกลุ่มหนึ่งซึ่งถูกเด็กโตแย่งสนามเด็กเล่นไป เพอร์โซนาสูงสุดคือ ซิกฟรีด วีรบุรุษจากมหากาพย์เยอรมันเรื่อง Nibelungenlied โคโระมารุ จะเป็นโซเชียลลิงก์สเตรนท์แทน เมื่อเล่นตัวเอกหญิงในภาคพอเทเบิล แฮงด์แมน ไมโกะ เด็กประถมซึ่งมักเล่นคนเดียวที่สนามเด็กเล่นในศาลเจ้า พ่อแม่ของไมโกะนั้นกำลังจะหย่าร้างกันและทำให้สภาพจิตใจของเธอแย่ลงเรื่อยๆ เพอร์โซนาสูงสุดคือ แอตติส คู่ของพระแม่ธรณีในตำนานของฟริเจีย เดธ ฟารอส เป็นเป็นโซเชียลลิงก์ที่พัฒนาไปเองตามเรื่อง เพอร์โซนาสูงสุดคือทานาทอส เทมเพอแรนซ์ เบเบะ ชื่อจริงคือ อังเดร โรแลนด์ ฌอน เกราร์ด แต่เพื่อนร่วมชั้นเรียกเขาว่าเบเบะ เบเบะเป็นชาวฝรั่งเศสซึ่งมาศึกษาที่ญี่ปุ่นและคลั่งไคล้วัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่างมาก เมื่อป้าซึ่งเป็นผู้อุปถัมป์เสียชีวิต เบเบะจึงหาทางอยู่ที่ญี่ปุ่นต่อ เพอร์โซนาสูงสุดคือเปียกโกะ แต่ในภาค FES เปลี่ยนเป็นยูรลุงกูร งูสีรุ้งในตำนานของชาวอะบอริจิน เดวิล ทานากะ ประธานบริษัทซึ่งดำเนินรายการขายสินค้าทางโทรทัศน์ด้วย ทานากะนั้นดำเนินธุรกิจด้วยการขายสินค้าหลอกลวงและเป็นคนที่งกเงินอย่างรุนแรง ทานากะได้สอนบทเรียนทางธุรกิจให้ตัวเอก และเปิดเผยว่าเมื่อก่อนนั้นเขาเป็นเด็กที่ยากจนและถูกดูถูกมาตลอด การพูดคุยกับตัวเอกทำให้เขาเริ่มเปลี่ยนความคิดและตัดสินใจช่วยเหลือคนอื่นบ้าง เพอร์โซนาสูงสุดคือ เบลเซบับ ทาวเวอร์ มุทัตสุ ภิกษุนิกายมหายานผู้ดื่มสุราและสูบบุหรี่ในไนท์คลับ มุทัตสุนั้นเดิมเป็นพนักงานบริษัทที่แยกทางกับลูกเมีย การพูดคุยกับตัวเอกทำให้เขารู้สึกว่าตนกำลังหนีปัญหาและตัดสินใจที่จะหาทางคืนดีกับครอบครัว เพอร์โซนาสูงสุดคือ ซือโหยว ผู้เป็นศัตรูกับหวงตี้ในตำนานของจีน สตาร์ มาโมรุ ฮายาเสะ นักกีฬาผู้เปี่ยมด้วยฝีมือซึ่งเอาชนะตัวเอกได้ในการแข่งระดับชาติ มาโมรุเกิดถูกใจตัวเอกจึงเริ่มคบหาเป็นเพื่อน ทำให้ตัวเอกทราบว่าแม้จะมีความสามารถด้านกีฬา แต่ครอบครัวของมาโมรุก็ลำบากมาก เพอร์โซนาสูงสุดคือร่างเทวทูตของลูซิเฟอร์ (ในภาค FESนั้นเปลี่ยนชื่อเป็น เฮเลล ซึ่งเป็นชื่อของลูซิเฟอร์ในภาษาฮีบรู ส่วนชื่อลูซิเฟอร์นั้นเป็นร่างมาร) อากิฮิโกะ ซานาดะ จะเป็นโซเชียลลิงก์สตาร์แทน เมื่อเล่นตัวเอกหญิงในภาคพอเทเบิล มูน โนโซมิ สุเอมิตสึ รุ่นพี่ของตัวเอกผู้มีฉายาว่า ราชานักชิม โนโซมินั้นเคยมีน้องชายผู้เหนือกว่าเขาทุกด้านแต่ได้เสียชีวิตไปแล้ว โนโซมิกินอาหารเพื่อจะได้ไม่ต้องคิดเปรียบเทียบตัวเองกับน้องชายและเข้าร่วมกับลัทธิหลอกลวงซึ่งต้มตุ๋นผู้คนเพราะเชื่อว่าตนจะเกิดใหม่เป็นคนที่หล่อกว่าเดิม แต่การที่เขาพบตัวเอกซึ่งมีลักษณะคล้ายน้องชายที่ตายไปทำให้เขาต้องเผชิญหน้ากับความจริง เพอร์โซนาสูงสุดคือ เทวทูตซันดาลฟอนของศาสนายูดาย ชินจิโร่ อาระงาคิ จะเป็นโซเชียลลิงก์มูนแทน เมื่อเล่นตัวเอกหญิงในภาคพอเทเบิล ซัน อาคินาริ คามิคิ ชายหนุ่มผู้ป่วยด้วยโรคร้ายที่ไม่มีทางรักษา อาคินารินั้นเอาแต่โทษชะตากรรมและสงสัยว่าชีวิตของเขามีค่าอะไรบ้าง เพอร์โซนาสูงสุดคือ อสูรในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จัดจ์เมนท์ สมาชิกของ SEES เป็นโซเชียลลิงก์ที่จะพัฒนาหลังจากที่โซเชียลลิงก์ ฟูล ขึ้นถึงขั้นสูงสุดหลังจากที่ตัวเอกตัดสินใจไม่ฆ่าเรียวจิ โซเชียลลิงก์จัดเมนท์จะพัฒนาไปตามชั้นของทาร์ทารัสที่ตัวเอกสำรวจได้ เพอร์โซนาสูงสุดคือ เมสไซยาห์ อีออน ไอกิส เป็นโซเชียลลิงก์ที่เพิ่มเข้ามาในภาค FES เพอร์โซนาสูงสุดคือ เทวทูตเมทาตรอนของศาสนายูดาย",
"title": "เพอร์โซนา 3"
},
{
"docid": "818918#0",
"text": "ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2016) (TLC: Tables, Ladders & Chairs (2016)) เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิวมวยปล้ำอาชีพของดับเบิลยูดับเบิลยูอี(WWE) ซึ่งจัดเป็นปีที่8 แล้ว จัดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2016 สถานที่จัดคือ American Airlines Center ในเมืองแดลลัส รัฐเทกซัส โดยเป็นศึกใหญ่ของค่ายสแมคดาวน์",
"title": "ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2016)"
},
{
"docid": "224626#59",
"text": "ในภาคพอเทเบิล ชินจิโร่จะเป็นตัวละครโซเชียลลิงก์ มูน เมื่อผู้เล่นเลือกตัวเอกเพศหญิง",
"title": "เพอร์โซนา 3"
},
{
"docid": "347280#0",
"text": "ทีแอลซี:เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ () เป็นรายการมวยปล้ำของดับเบิลยูดับเบิลยูอี จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2552 ที่ แซนแอนโทนีโอ รัฐเทกซัสโดยเป็นการรวมค่ายระหว่าง รอว์ ,สแมคดาวน์ และ อีซีดับเบิลยู",
"title": "ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2009)"
},
{
"docid": "991373#0",
"text": "ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2018) (TLC: Tables, Ladders & Chairs (2018)) เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิวมวยปล้ำอาชีพของWWE ซึ่งจัดขึ้นวันที่ 16 ธันวาคม 2018 ณ สนาม SAP Center ในเมือง San Jose, California",
"title": "ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2018)"
},
{
"docid": "224626#99",
"text": "ในภาคพอเทเบิล เรียวจิจะเป็นโซเชียลลิงก์ของอาร์คานา ฟอร์จูน เมื่อผู้เล่นเลือกตัวเอกหญิง",
"title": "เพอร์โซนา 3"
},
{
"docid": "224626#45",
"text": "ในภาคพอเทเบิล อากิฮิโกะจะเป็นตัวละครโซเชียลลิงก์ สตาร์ เมื่อผู้เล่นเลือกตัวเอกเพศหญิง",
"title": "เพอร์โซนา 3"
},
{
"docid": "494646#0",
"text": "ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2012) เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิวมวยปล้ำอาชีพของ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี ในปี 2012 ซึ่งจัดเป็นปีที่ 4 แล้ว สถานที่จัดคือ Barclays Center ในเมือง บรุกลิน, รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2012",
"title": "ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2012)"
},
{
"docid": "198452#0",
"text": "ลิมป์ บิซกิต () เป็นวงนูเมทัลสัญชาติอเมริกัน จากเมืองแจ็กสันวิลล์ ฟลอริดา สมาชิกปัจจุบันคือ เฟร็ด เดิสต์ นักร้องนำ, แซม ริเวอร์ส มือเบส , จอห์น อ็อตโต มือกลอง เทอร์รี บัลซาโม มือกีตาร์และเทิร์นเทเบิล ส่วนมือกีตาร์เดิม เวส บอร์แลนด์ ออกจากวงในปี 2001 หลังจากออกอัลบั้ม 3 ชุด และแทนโดยไมค์ สมิธ ในการออกผลงานชุดที่ 4 \"Results May Vary\" แล้วบอร์แลนด์เข้ามาร่วมวงอีกครั้งในชุด \"The Unquestionable Truth (Part 1) \" และออกอีกครั้งในปี 2006 เพื่อทำงานร่วมกับวงอื่น วงมียอดขายอัลบั้ม 33 ล้านชุดทั่วโลก ",
"title": "ลิมป์บิซกิต"
},
{
"docid": "669330#2",
"text": "อัลบั้มนี้ประกอบด้วยเดโมที่ไม่เคยได้ออกจำหน่ายในสตูดิโออัลบั้มใด ๆ ของลิงคินพาร์ก ได้แก่ เดโมเดิมปี 2545 ของเพลง \"เบรกกิงเดอะแฮบิต\" โดยมีไมค์ ชิโนะดะ (คนที่เป็นโปรดิวเซอร์ให้กับอัลบั้มนี้) เป็นผู้ให้เสียงร้องในฤดูกาลบันทึกเสียงของอัลบั้ม \"เมทีโอรา\" และเพลง \"Dave Sbeat feat. Joe\" ประพันธ์โดย เดฟ ฟาร์เรล มือกีตาร์เบสของวง และโจ ฮาห์น นักเทิร์นเทเบิล ในฤดูกาลบันทึกเสียงของอัลบั้ม \"อะเทาซันด์ซันส์\" ส่วนเพลงเดโมอื่น ๆ ได้บันทึกในช่วงสตูดิโออัลบั้มต่าง ๆ ของลิงคินพาร์ก เช่น \"มินิตส์ทูมิดไนต์\"",
"title": "ลิงคินพาร์กอันเดอร์กราวด์ XIV"
},
{
"docid": "361426#0",
"text": "เดฟโทนส์ () เป็นวงอัลเทอร์เนทีฟเมทัลอเมริกัน จากเมืองแซคราเมนโต รัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อตั้งวงในปี ค.ศ. 1989 วงประกอบด้วยสมาชิกคือ ชิโน โมเรโน (ร้องนำและกีตาร์), สตีเฟน คาร์เพนเตอร์ (กีตาร์), ชิ เช็ง (เบส), แฟรงก์ เดลกาโด (คีย์บอร์ดและเทิร์นเทเบิล) และอาเบ คันนิงแฮม (กลองและเพอร์คัชชัน) วงออกผลงานอัลบั้มมา 6 ชุด โดยมี 2 อัลบั้มแผ่นเสียงทองคำขาว (\"Adrenaline\", \"White Pony\") และ 2 อัลบั้มแผ่นเสียงทองคำ (\"Around the Fur\", \"Deftones\") และสตูดิโออัลบั้มล่าสุดของวงคือชุด \"Diamond Eyes\" ออกขายในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 2010",
"title": "เดฟโทนส์"
},
{
"docid": "628655#33",
"text": "ลิงคินพาร์ก เชสเตอร์ เบนนิงตัน – ร้องนำ ไมค์ ชิโนะดะ – เสียงร้อง, จังหวะกีตาร์, คีย์บอร์ด, เปียโน แบรด เดลสัน – กีตาร์, กีตาร์เบส โจ ฮาห์น – เทิร์นเทเบิล, แซมพลิง, โปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่งเสียง เดฟ \"ฟีนิกซ์\" ฟาร์เรล – กีตาร์เบส (ปรากฏชื่อในอัลบั้ม) รอบ บัวร์ดอน – กลอง, เพอร์คัชชัน ศิลปินเพิ่มเติม เอียน ฮอร์นเบ็ก – กีตาร์เบสเพิ่มเติม (ในแทร็ก 1, 9 และ 10) สกอตต์ โคซิโอล – กีตาร์เบสเพิ่มเติม (ในเพลง \"วันสเต็ปโคลสเซอร์\") มาร์ก เวกฟิลด์ – ร้องนำ (ปรากฏชื่อในแทร็ก 6, 9 และ 10) เดอะดัสต์บราเธอร์ส – แซมพลิง (ในแทร็ก 3) งานศิลปะ แฟรงก์ แมดด็อกส์ – กราฟิกดีไซน์ เจมส์ มินชิน ที่สาม – ช่างภาพ ไมค์ ชิโนะดะ – วาดภาพ, สเก็ตช์เส้น โจ ฮาห์น – วาดภาพ, สเก็ตช์เส้น การผลิต ดอน กิลมอร์ – โปรดิวเซอร์เพลง, วิศวกรเสียง สตีฟ ซิสโก – วิศวกรเสียง จอห์น อีวิง จูเนียร์ – วิศวกรเสียงสมทบ, โปรทูลส์ แมตต์ กริฟฟิน – ผู้ช่วยวิศวกรเสียง แอนดี วอลเลซ – ผสมเสียง ไบรอัน การ์ดเนอร์ – ควบคุมเสียง, ตัดต่อดิจิทัล การจัดการ เจฟฟ์ บลู – ฝ่ายคัดสรรและพัฒนาศิลปิน, ผู้อำนวยการผลิต นาตาลี เพรสตัน และ อาร์เรียนา เมอร์เรย์ – ประสานงานฝ่ายคัดสรรและพัฒนาศิลปิน ไมเคิล อาร์ฟิน – ตัวแทนจองสำหรับกลุ่มศิลปิน ไมเคิล ออปเพนไฮน์ และ โจนาธาน ชวอร์ต – ผู้จัดการธุรกิจสำหรับ Gudvi, Chapnik และ Oppenhein แดนนี เฮย์ส – กฎหมายสำหรับ Selverne, Mandelbaum และ Mintz เพตเตอร์ สแตนดิช – ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ร็อบ แม็กเดอร์มอตต์ – ผู้แทนของบริษัทเดอะเฟิร์ม (The Firm)",
"title": "ไฮบริดทีโอรี"
},
{
"docid": "237570#1",
"text": "หมวดหมู่:เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ หมวดหมู่:เครื่องดนตรี หมวดหมู่:แผ่นเสียง",
"title": "เทิร์นเทเบิล"
},
{
"docid": "91166#18",
"text": "ในช่วงเริ่มทัวร์ โอเวอร์เอ็กซ์โพสต์เวิลด์ทัวร์ ในอเมริกาใต้ มารูนไฟฟ์ได้แนะนำให้ผู้ชมรู้จักแซม ฟาร์ราร์ เพื่อนเก่าและเป็นเพื่อนสนิท ซึ่งเล่นตำแหน่งกีตาร์ ร้องเบื้องหลัง เล่นกีตาร์เบส เครื่องประกอบจังหวะ เทิร์นเทเบิล และหาแซมเปิลเพลง หาเสียงสเปเชียลเอฟเฟกต์อื่น ๆ (โดยใช้เครื่องผลิตเสียงดนตรี (Music Production Center)) ฟาร์ราร์ยังได้ร่วมเขียนและผลิตเพลงจำนวนหนึ่งให้กับมารูนไฟฟ์ในเกือบทุกอัลบั้ม และทำการรีมิกซ์เพลง \"วูแมน\" (จากอัลบั้ม \"ไอ้แมงมุม 2\") ลงอัลบั้ม \"\" วางจำหน่ายใน ค.ศ. 2008",
"title": "มารูนไฟฟ์"
},
{
"docid": "353976#0",
"text": "ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2010) เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิวมวยปล้ำอาชีพของเวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ หรือ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี จัดขึ้นหลังศึกเซอร์ไวเวอร์ ซีรีส์ (2010) เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2010 ในสนามโตโยต้า เซ็นเตอร์ ในเมืองฮิวสตัน, รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา โดยแมทช์การปล้ำเป็นแบบ โต๊ะ, บันได และ เก้าอี้ และรวมนักมวยปล้ำจาก รอว์ และ สแมคดาวน์",
"title": "ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2010)"
},
{
"docid": "737974#1",
"text": "ในอดีตของประวัติศาสตร์มืดนั้น เทิร์นเอกันดั้ม เป็นMSที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ต่อสู้กับศัตรูจากนอกระบบ สุริยะจักรวาล เครื่องกำเนิดพลังงานของเทิร์นเอเป็นแบบ Discontinuous Hyperoscillation Gauge Collapsing Pile (DHGCP เท่าที่ค้นดูก็คือ แบล็คโฮลเอนจิน) ใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยIฟิลด์บีมไดรฟ์ ซึ่งทำให้ใต้เกราะของเทิร์นเอก็คือพื้นที่กลวงๆและโครงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้เทิร์นเอมีน้ำหนักเบามากและเมื่อเดินเครื่องจะทำให้น้ำหนักลดลงไปอีก (ไอเดียนี้ถูกนำไปใช้ในภายหลังเป็นGNไดรฟ์) จึงสามารถติดอุปกรณ์ต่างๆเสริมเข้าไปได้โดยไม่เสียความคล่องแคล่วไป Iฟิลด์บาเรียร์ของเทิร์นเอมีกำลังพอที่จะใช้ต้านแรงกระแทกของระเบิด นิวเคลียร์หรือเบี่ยงวิถีของบาซูก้าได้ เทิร์นเอยังมีมีนาโนเทคโนโลยีทำให้เทิร์นเอสามารถซ่อมแซมความเสียหายได้เอง เทิร์นเอกันดั้มสามารถคืนสภาพจากการถูกทำลายได้ถ้าเหลือชิ้นส่วนสำคัญไว้แต่ ต้องใช้เวลานับพันปี ซึ่งพลังฟื้นสภาพของเทิร์นเอกันดั้มนี้สามารถช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของนัก บินซึ่งควบคุมจากคอร์ไฟเตอร์ที่บริเวณหัวเข็มขัดได้ด้วย เทิร์นเอยังมีความสามารถในการเทเลพอร์ตได้ ในยุคประวัติศาสตร์มืดนั้น เทิร์นเอกันดั้มได้สร้าง\"ผีเสื้อแสงจันทร์\"ซึ่งเป็นการปล่อยนาโนแมชชีนออกมาทำลายเป้าหมายเป็นบริเวณ กว้าง ซึ่งครั้งหนึ่งเทิร์นเอเคยใช้มันทำลายอารยธรรมบนโลกไปจนหมดสิ้น เทิร์นเอกันดั้มหลับไหลอยู่ในรูปปั้นที่เรียกว่าตุ๊กตาสีขาว(ไวท์ดอล) ซึ่งทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ ก่อนหยุดทำงานและได้โลรัน แซ็คขึ้นควบคุม จริงๆแล้วเทิร์นเอเครื่องนี้เป็นเพียงรุ่นสาธิตการทำงานในอดีตซึ่งมีอุปกรณ์ ต่างจากรุ่นใช้งานจริง (ในยุคประวัติศาสตร์มืดมีเทิร์นเอรุ่นผลิตจำนวนมากที่ใช้ตาแบบจิมด้วย และยังมีเทิร์นเอรุ่นติดอุปกรร์ครบซึ่งยังไม่มีข้อมูล) ในภายหลังโลรันได้ไปเจอDOCเบสที่หมดสภาพเพราะผีเสื้อแสงจันทร์ถูกฝังอยู่ใต้ดิน เทิร์นเอกันดั้มเครื่องนี้ยังดูเหมือนมีชีวิตจิตใจของตัวเองด้วย",
"title": "∀กันดั้ม"
}
] |
39 | จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีกี่อำเภอ ? | [
{
"docid": "4475#17",
"text": "จังหวัดสุราษฎร์ธานีแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 19 อำเภอ 131 ตำบล 1,074 หมู่บ้าน มีรายชื่ออำเภอดังนี้",
"title": "จังหวัดสุราษฎร์ธานี"
}
] | [
{
"docid": "419873#0",
"text": "แม่น้ำพุมดวง หรือ แม่น้ำคีรีรัฐ เป็นแม่น้ำสายสำคัญทางด้านตะวันตกของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย มีต้นกำเนิดจากต้นน้ำเกิดจากเทือกเขา ระหว่างจังหวัดพังงากับจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่อำเภอพนม และไหลมาบรรจบกับแม่น้ำตาปี อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี",
"title": "แม่น้ำพุมดวง"
},
{
"docid": "165500#0",
"text": "สหไทย สรรพสินค้า เป็นกลุ่มธุรกิจห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ที่มีต้นกำเนิดในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้ขยายสาขาไปที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดเพชรบุรี ปัจจุบันห้างค้าปลีกในเครือสหไทยที่เปิดดำเนินการแล้วมี 6 สาขา (โดยใช้ชื่อ \"สหไทย\" 5 สาขา และ \"เซฟ ซุปเปอร์มาร์เก็ต\" 1 สาขา) สาขาที่ 7 (สหไทย การ์เดนพลาซ่า สุราษฎร์ธานี) เปิดให้บริการที่ตำบลตลาดใหม่ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี",
"title": "สหไทย สรรพสินค้า"
},
{
"docid": "33555#2",
"text": "อำเภอพระแสง ได้รับอารยธรรมก่อนสมัยประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มีพื้นที่อาณาเขตกว้างใหญ่อยู่ในเขตการปกครองของอาณาจักรไชยา เมืองนครศรีธรรมราช มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพร มณฑลสุราษฎร์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามลำดับจนถึงปี พ.ศ. 2447 กระทรวงมหาดไทยได้โอนมาขึ้นกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นจังหวัดขนาดใหญ่สุดของภาคใต้ มีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเป็นศูนย์กลางของภาคใต้ตอนบนทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง สังคม ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม จากอดีตถึงสมัยปัจจุบัน อำเภอเคียนซามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีความสำคัญ ซึ่งนายเทพ รักบำรุง ครูชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นอำเภอบ้านนาเดิม อำเภอบ้านนาสาร อำเภอเวียงสระ อำเภอเคียนซา อำเภอพระแสง และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้บันทึกเรื่องราว จัดพิมพ์เป็นหนังสือและเอกสารเผยแพร่เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาท้องถิ่นของเรา และผู้สนใจได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของอำเภอพระแสง มีรายละเอียดดังนี้",
"title": "อำเภอพระแสง"
},
{
"docid": "4475#24",
"text": "อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะเป็นอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากผลผลิตทางเกษตรกรรม เช่น อุตสาหกรรมปลาป่น อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง น้ำมันปาล์มดิบ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ซึ่งในจังหวัดมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 730 โรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีมากที่สุด[18] นอกจากนี้ ยังมีการให้สัมปทานเหมืองแร่ โดยแร่ที่สำคัญในจังหวัด ได้แก่ ยิปซัม โดโลไมต์ แอนไฮโครต์ หินปูน ดินขาว และบอลเคลย์[18] สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่ได้รวมอยู่ในบริเวณศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่จะตั้งอยู่บริเวณถนนตลาดใหม่ ระหว่างซอย 7 และซอย 9 ในตำบลตลาดถัดไปจากที่ว่าการอำเภอเมืองฯ เพียงเล็กน้อย",
"title": "จังหวัดสุราษฎร์ธานี"
},
{
"docid": "6303#28",
"text": "นอกจากนี้ ยังพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สมทบเป็นค่าก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ตั้งอยู่ในชนบทห่างไกลคมนาคมไม่สะดวก กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)ได้สนองพระราชประสงค์ด้วยการน้อมเกล้าฯ ถวายโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาจำนวน 6 โรงเรียน เป็นโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ ได้แก่ (1) โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๑ นครพนม), (2) โรงเรียนมัธยมจุฑาวัชร อำเภอลานกระลือ จังหวัดกำแพงเพชร (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๒ กำแพงเพชร), (3) โรงเรียนมัธยมวัชเรศร อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 3 สุราษฎร์ธานี), (4) โรงเรียนมัธยมจักรีวัชร อำเภอรัตนภูมิ จังหวัดสงขลา (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา), (5) โรงเรียนมัธยมวัชรวีร์ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๓ ฉะเชิงเทรา) และ (6) โรงเรียนมัธยมบุษย์น้ำเพชร อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๑ อุดรธานี)",
"title": "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร"
},
{
"docid": "4475#12",
"text": "ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้เมืองเมืองกาญจนดิษฐ์, เมืองคีรีรัฐนิคมและเมืองไชยารวมตัวเป็นจังหวัดไชยา ขึ้นตรงต่อมณฑลชุมพร เมื่อเมืองขยายใหญ่ขึ้น จึงมีการปรับเปลี่ยนการปกครองและขยายเมืองออกไป มีการแยกเมืองกาญจนดิษฐ์เป็นอำเภอกาญจนดิษฐ์และอำเภอบ้านดอน กระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการย้ายอำเภอเมืองมาที่อำเภอบ้านดอนและโอนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอไชยา และให้เชื่อเมืองเก่าว่า \"อำเภอพุมเรียง\" ทว่าประชาชนยังติดเรียกชื่อเมืองเก่าว่า \"อำเภอไชยา\" ทั้งตัวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรดปรานชื่อบ้านดอน จึงพระราชทานนามอำเภอบ้านดอนว่า \"สุราษฎร์ธานี\" และยังคงชื่ออำเภอพุมเรียงว่าอำเภอไชยาเช่นเดิม รวมถึงเปลี่ยนชื่อจังหวัดเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานี[6] และพระราชทานนามแม่น้ำตาปี ให้ในคราวเดียวกันนั้นเอง ซึ่งเป็นการตั้งชื่อตามแบบเมืองและแม่น้ำในประเทศอินเดียที่มีแม่น้ำทัปตีไหลลงสู่ทะเลออกผ่านปากอ่าวที่เมืองสุรัต[4]",
"title": "จังหวัดสุราษฎร์ธานี"
},
{
"docid": "17801#2",
"text": "อำเภอเคียนซา ได้รับอารยธรรมก่อนสมัยประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มีพื้นที่อาณาเขตกว้างใหญ่อยู่ในเขตการปกครองของอาณาจักรไชยา เมืองนครศรีธรรมราช มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพร มณฑลสุราษฎร์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามลำดับจนถึงปี พ.ศ. 2447 กระทรวงมหาดไทยได้โอนมาขึ้นกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นจังหวัดขนาดใหญ่สุดของภาคใต้ มีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเป็นศูนย์กลางของภาคใต้ตอนบนทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง สังคม ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม จากอดีตถึงสมัยปัจจุบัน อำเภอเคียนซามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีความสำคัญ ซึ่งนายเทพ รักบำรุง ครูชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นอำเภอบ้านนาเดิม อำเภอบ้านนาสาร อำเภอเวียงสระ อำเภอพระแสง อำเภอเคียนซาและจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้บันทึกเรื่องราว จัดพิมพ์เป็นหนังสือและเอกสารเผยแพร่เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาท้องถิ่นของเรา และผู้สนใจได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของอำเภอเคียนซา มีรายละเอียดดังนี้",
"title": "อำเภอเคียนซา"
},
{
"docid": "4475#26",
"text": "ผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ เงาะโรงเรียน เงาะมีความแตกต่างจากเงาะที่อื่น คือ หวาน และกรอบ ซึ่งนับเป็นความภูมิใจหนึ่งของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังนั้น เพื่อเป็นการแสดงถึงความภาคภูมิใจดังกล่าวจังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงจัดให้มีการนำผลผลิตจากเงาะโรงเรียนและผลผลิตอื่น ๆ มาจำหน่ายและตั้งชื่อว่า งานวันเงาะโรงเรียน โดยจะจัดขึ้นประมาณต้นเดือนสิงหาคมหรือกลางเดือนกรกฎาคมของทุกปีในตัวอำเภอบ้านนาสาร",
"title": "จังหวัดสุราษฎร์ธานี"
},
{
"docid": "36426#2",
"text": "\"อำเภอเวียงสระ\" ได้รับอารยธรรมก่อนสมัยประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มีพื้นที่อาณาเขตกว้างใหญ่อยู่ในเขตการปกครองของเมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพร มณฑลสุราษฎร์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามลำดับจนถึงปี พ.ศ. 2447 กระทรวงมหาดไทยได้โอนมาขึ้นกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นจังหวัดขนาดใหญ่สุดของภาคใต้ มีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเป็นศูนย์กลางของภาคใต้ตอนบนทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง สังคม ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม จากอดีตถึงสมัยปัจจุบันอำเภอบ้านนาสารมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีความสำคัญ ซึ่งนายเทพ รักบำรุง ครูชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นอำเภอบ้านนาสาร อำเภอบ้านนาเดิมอำเภอเวียงสระ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้บันทึกเรื่องราว จัดพิมพ์เป็นหนังสือและเอกสารเผยแพร่เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาท้องถิ่นของเรา และผู้สนใจได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของอำเภอบ้านนาเดิม อำเภอบ้านนาสาร อำเภอเวียงสระ มีรายละเอียดดังนี้",
"title": "อำเภอเวียงสระ"
},
{
"docid": "288253#10",
"text": "ทางรถยนต์ โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4009 ไปอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอเวียงสระ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 (ถนนสายเอเชีย) ไปอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร",
"title": "เทศบาลเมืองนาสาร"
},
{
"docid": "52514#0",
"text": "นายไชยวัฒน์ วรรณานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นศิลปินชาวไทย บุตรคนที่ 2 ของนายสมชายและนางเตื้อม วรรณานนท์ ภูมิลำเนาอยู่ที่ตำบลท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชีวิตในวัยต้น ได้เริ่มเรียนชั้นประถมปีที่ 1 - 3 ที่โรงเรียนวัดอินทารามตำบลท่าฉาง แล้วไปเรียนต่อที่โรงเรียนหาดเสี้ยว จังหวัดระนอง และจบชั้นประถมปีที่ 4 ที่นั่นเมื่อปี พ.ศ. 2501 ต่อมาได้กลับมาอยู่ที่บ้านและเรียนจบ ชั้นมัธยมปีที่ 1-3 ที่โรงเรียนท่าฉางวิทยา ตำบลท่าฉาง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเรียนชั้นมัธยมปี ที่ 4 ที่โรงเรียนเวียงไชยศึกษา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี หลังจากนั้นได้เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 ที่โรงเรียนบ้านนาสาร อำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่นั่นในปี พ.ศ. 2506",
"title": "ไชยวัฒน์ วรรณานนท์"
},
{
"docid": "56082#0",
"text": "สนามกีฬากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสนามกีฬาหลักของจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีขนาดพื้นที่ 81 ไร่ ตั้งอยู่ที่ถนนดอนนก ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดูแลโดยศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดสุราษฎร์ธานี",
"title": "สนามกีฬากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี"
},
{
"docid": "665173#2",
"text": "พระพรหมเสนาบดีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 ตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8-8 ปีมะเมีย ณ วัดนาสาร ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีพระเทพรัตนกวี (เกตุ ธมฺมวโร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี วัดไตรธรรมาราม อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูโสภิตคุณานันท์ อดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านนาสาร วัดนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูพิศาลคุณาภรณ์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอบ้านนาสาร วัดอภัยเขตตาราม อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า \"ญาณวีโร\"",
"title": "พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ญาณวีโร)"
},
{
"docid": "53910#2",
"text": "ในจังหวัดชุมพร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ได้เริ่มจาก อำเภอเมืองชุมพร และวิ่งไปยังทิศใต้ผ่านอำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก อำเภอหลังสวน และอำเภอละแม รวมระยะทางในจังหวัดชุมพร 95.163 กิโลเมตร จากนั้นก็ได้เข้าสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานีที่อำเภอท่าชนะ ผ่านอำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง อำเภอพุนพิน อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอบ้านนาสาร และอำเภอเวียงสระ รวมระยะทางในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 154.563 กิโลเมตร จากนั้นก็เข้าสู่จังหวัดนครศรีธรรมราชที่อำเภอถ้ำพรรณรา และผ่านไปยัง อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอนาบอน อำเภอทุ่งสง อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอจุฬาภรณ์ และอำเภอชะอวด รวมระยะทางอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช 99.8 กิโลเมตร จากนั้นเข้าสู่จังหวัดพัทลุงที่อำเภอป่าพะยอม ผ่านอำเภอควนขนุน และสิ้นสุดที่อำเภอเมืองพัทลุง รวมระยะทางในจังหวัดพัทลุง 33.09 กิโลเมตร",
"title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41"
},
{
"docid": "350580#0",
"text": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4009 สายสุราษฎร์ธานี - บรรจบทางหลวงหมายเลข 4 (อ่าวลึก) มีจุดเริ่มต้นแยกจาก สี่แยกแสงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตัดขึ้นไปทางใต้ผ่าน อำเภอบ้านนาสาร อำเภอเวียงสระ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอปลายพระยา และอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่สิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 มีความยาวประมาณ 145 กิโลเมตร อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 114 กิโลเมตร อยู่ในจังหวัดกระบี่ประมาณ 31 กิโลเมตร ทางหลวงสายนี้ถูกตัดขาดเมือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44ได้สร้างเสร็จ แต่ในขณะนี้ กำลังมีการก่อสร้างสะพานข้ามทางหลวงหมายเลข 44 อยู่ ซึ่งสร้างเสร็จแล้ว",
"title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4009"
},
{
"docid": "65806#1",
"text": "ทางหลวงสายนี้มีจุดเริ่มต้นแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 บริเวณกิโลเมตรที่ 944+200 ตำบลคลองหิน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ตัดขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านอำเภอปลายพระยา เข้าสู่เขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผ่านอำเภอพระแสง อำเภอเคียนซา อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอพุนพิน อำเภอเมือง สิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 บริเวณตำบลพลายวาส อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมระยะทาง 133.172 กิโลเมตร ",
"title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44"
},
{
"docid": "7924#2",
"text": "เดิมมีชื่อว่า \"แม่น้ำหลวง\" เพราะมีต้นกำเนิดอยู่ที่ภูเขาหลวงซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของเทือกเขานครศรีธรรมราช อยู่ในเขตพื้นที่ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ไหลผ่านอำเภอฉวาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่าน อำเภอพระแสง อำเภอเวียงสระ อำเภอเคียนซา อำเภอพุนพิน และไหลออกสู่อ่าวไทยที่อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดของภาคใต้",
"title": "แม่น้ำตาปี"
},
{
"docid": "65806#7",
"text": "ทางหลวงสายนี้เริ่มต้นที่อำเภออ่าวลึก และตัดผ่านอำเภอปลายพระยา จากนั้นเข้าสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานีที่อำเภอพระแสง และผ่านอำเภอเคียนซา อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และสิ้นสุดที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ มีความยาวทั้งสิ้น 133.172 กิโลเมตร โดยอยู่ในจังหวัดกระบี่ 37.2 กิโลเมตร และอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 95.972 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางเป็นถนนลาดยาง มีช่องจราจร 4 ช่องทาง ทิศทางละ 2 ช่องทาง คั่นด้วยคูกลางซึ่งมีความกว้าง 150 เมตร และมีเขตทางกว้าง 200 เมตรใน ปี พ.ศ. 2560 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้มีการศึกษาเพื่อเตรียมการก่อสร้างทางรถไฟ จากสถานีสุราษฎร์ธานี ถึงอำเภอดอนสัก โดยมีเส้นทางคู่ขนานไปกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44 จากอำเภอบ้านนาเดิม ถึงท่าเรือดอนสัก เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางข้ามฟากไปยังเกาะสมุย เกาะพะงัน และบริเวณใกล้เคียงต่อไป",
"title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44"
},
{
"docid": "38419#0",
"text": "อำเภอบ้านนาเดิม เป็นอำเภออยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอบ้านนาเดิมมีการพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานีและภาคใต้เพื่อรองรับความเจริญของการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก ด้านอ่าวไทย ซึ่งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ระหว่างจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ต สงขลา กรุงเทพมหานคร จังหวัดสำคัญและประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากพื้นที่อำเภอใกล้เคียงมีทรัพยากรธรรมชาติหลายชนิดสมบูรณ์เพียงพอ เป็นปัจจัยพื้นฐานที่เอื้อในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจอำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานีและภาคใต้ทั้งภายในภายนอกของภูมิภาคได้อย่างเต็มที่และมีศักยภาพ",
"title": "อำเภอบ้านนาเดิม"
},
{
"docid": "193759#0",
"text": "สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี (Suratthani Children and Youth Council) เป็นองค์กรเด็กและเยาวชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่มีการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ เพื่อแสวงหาแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนภายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้หลักการ “เด็กนำผู้ใหญ่หนุน” ซึ่งในปัจจุบันนี้สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับการสันบสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พุทธศักราช 2550 โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซอยพิเศษ ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ",
"title": "สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี"
},
{
"docid": "33755#0",
"text": "อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี (ชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า อำเภอบ้านดอน) เป็นอำเภอที่ตั้งของตัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเมืองศูนย์กลางระบบราชการ ศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง และเศรษฐกิจของจังหวัดสุราษฎร์ธานี \nอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้",
"title": "อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี"
},
{
"docid": "571061#33",
"text": "อุปสมบท วันอังคารที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ตรงกับวันแรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุน ณ วัดบางน้ำจืด ตำบลเขาถ่าน อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระอุปัชฌาย์ พระครูยุตตโกฐยติกิจ(เนียม) วัดบางน้ำจืด ตำบลเขาถ่าน อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระกรรมวาจาจารย์ พระครูรัตนวิมล(แบน) วัดอินทาราม ตำบลท่าเคย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎฺร์ธานี พระอนุสาวนาจารย์พระอธิการชู ฉนฺทเสวี วัดอัมพวา ตำบลคลองไทร อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี",
"title": "วัดดุสิดารามวรวิหาร"
},
{
"docid": "35038#5",
"text": "จนถึง พ.ศ. 2504 รัฐบาลสมัยนั้นเห็นว่า ชื่ออำเภอที่ใช้อยู่นี้ไม่ถูกต้องตามสภาพพื้นที่ เพื่อให้ถูกต้องตามความเหมาะสมกับสภาพท้องที่และเพื่อรักษาไว้ซึ่งประวัติแห่งท้องที่จึงประกาศใช้ชื่ออำเภอว่า อำเภอคีรีรัฐนิคม ในรัชสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ยุบมณฑลสุราษฎร์และให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดอื่น ๆ ที่เคยขึ้นกับมณฑลสุราษฎร์ไปขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราช ต่อมาราชการได้ยุบมณฑลทั่วราชอาณาจักร จังหวัดสุราษฎร์ธานีนี้ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย อำเภอคีรีรัฐนิคมจึงขึ้นต่อจังหวัดสุราษฎร์ธานีจนถึงปัจจุบัน",
"title": "อำเภอคีรีรัฐนิคม"
},
{
"docid": "52036#1",
"text": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 เป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมระหว่างจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีเส้นทางเริ่มจากใกล้ ๆ อำเภอตะกั่วป่า ในช่วงแรกเป็นถนน 2 ช่องจราจร จากนั้นวิ่งไปทางตะวันออก เข้าสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยผ่านอำเภอพนมอำเภอบ้านตาขุน อำเภอคีรีรัฐนิคมจากนั้นได้ขยายเป็น 4 ช่องจราจรไปยังอำเภอพุนพิน และต่อไปยังตัวเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอกาญจนดิษฐ์ จากนั้นก็เข้าสู่เขตจังหวัดนครศรีธรรมราชที่อำเภอขนอม แต่ไม่ได้ผ่านตัวอำเภอขนอม จากนั้นก็วิ่งลงใต้ผ่านอำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา และสิ้นสุดที่บ้านท่าแพ ประมาณ 10 กิโลเมตร ทางเหนือของตัวเมืองนครศรีธรรมราช ระยะทางทั้งหมดประมาณ 290 กิโลเมตร อยู่ในจังหวัดพังงาประมาณ 25 กิโลเมตร อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 175 กิโลเมตร และอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราชประมาณ 90 กิโลเมตร",
"title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401"
},
{
"docid": "19143#0",
"text": "ท่าชนะ เป็นอำเภอขนาดเล็กในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นับเป็นประตูสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เมื่อเดินทางมาจากด้านเหนือ) ",
"title": "อำเภอท่าชนะ"
},
{
"docid": "57210#9",
"text": "พบโดยทั่วไปตามบริเวณน้ำตื้นชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำลำคลอง ที่สุราษฎร์ธานี แหล่งที่เลี้ยง\nหอยนางรมใหญ่ที่สุด คือบริเวณอ่าวที่ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นอกจากนี้ก็มีการเลี้ยงที่บริเวณ\nแหลมซุย อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันมีผู้เลี้ยงหอยนางรมในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 741 ราย เนื้อที่ ประมาณ 4,866 ไร่",
"title": "หอยนางรม"
},
{
"docid": "38419#1",
"text": "อำเภอบ้านนาเดิมตั้งอยู่ทางตอนกลาง ค่อนไปทางทิศตะวันออกของจังหวัดมีแม่น้ำสายสำคัญคือแม่น้ำตาปี คลองยา และคลองลำพูนไหลผ่านนำความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุสำคัญต่อเศรษฐกิจและด้านการเกษตร อำเภอบ้านนาเดิม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งสามารถพัฒนาได้ดีเนื่องจากมีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอต่างๆและจังหวัดสำคัญของภาคใต้มีความสะดวกด้านคมนาคมทั้งทางเรือ ทางอากาศ ทางรถไฟ ทางบกมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 (ทางหลวงสายเอเซีย A–2) จากชุมพรถึงสุไหงโก-ลกต่อไปยังมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มีถนนที่ทันสมัยคือทางหลวงสายเลขที่ 44 เรียกว่าสะพานเศรษฐกิจโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Sea Board) เป็นถนนเชื่อมระหว่างชายฝั่งทะเลตะวันออกอ่าวไทยกับชายฝั่งตะวันตกทะเลอันดามัน เริ่มจากจังหวัดกระบี่ผ่านอำเภออ่าวลึก อำเภอปลายพระยาเข้าเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ตำบลบางสวรรค์ อำเภอพระแสง อำเภอเคียนซา อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอกาญจนดิษฐ์ มีจุดตัดกับถนนทางหลวงสายเลขที่ 41 (ทางหลวงสายเอเซีย A–18) ถนนเชื่อมกันติดต่อได้ ทั้งคาบสมุทรภาคใต้ จุดตัดอยู่ในตำบลท่าเรือ จุดตัดกับเส้นทางรถไฟสายใต้ที่บ้านเขาพลู ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิมได้รับอารยธรรมก่อนสมัยประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มีพื้นที่อาณาเขตกว้างใหญ่อยู่ในเขตการปกครองของอาณาจักรไชยา เมืองนครศรีธรรมราช มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพร มณฑลสุราษฎร์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามลำดับจนถึงปี พ.ศ. 2447 กระทรวงมหาดไทยได้โอนมาขึ้นกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นจังหวัดขนาดใหญ่สุดของภาคใต้ มีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเป็นศูนย์กลางของภาคใต้ตอนบนทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง สังคม ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม จากอดีตถึงสมัยปัจจุบันอำเภอบ้านนาเดิมมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีความสำคัญ ซึ่งนายเทพ รักบำรุง ครูชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นอำเภอบ้านนาเดิมและจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้บันทึกเรื่องราว จัดพิมพ์เป็นหนังสือและเอกสารเผยแพร่เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาท้องถิ่นของเรา และได้มอบให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของอำเภอบ้านนาเดิม มีรายละเอียดดังนี้",
"title": "อำเภอบ้านนาเดิม"
},
{
"docid": "38466#2",
"text": "\"อำเภอบ้านนาสาร\" ได้รับอารยธรรมก่อนสมัยประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มีพื้นที่อาณาเขตกว้างใหญ่อยู่ในเขตการปกครองของเมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพร มณฑลสุราษฎร์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามลำดับจนถึงปี พ.ศ. 2447 กระทรวงมหาดไทยได้โอนมาขึ้นกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นจังหวัดขนาดใหญ่สุดของภาคใต้ มีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเป็นศูนย์กลางของภาคใต้ตอนบนทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง สังคม ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม จากอดีตถึงสมัยปัจจุบันอำเภอบ้านนาสารมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีความสำคัญ ซึ่งนายเทพ รักบำรุง ครูชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นอำเภอบ้านนาสาร อำเภอบ้านนาเดิมและจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้บันทึกเรื่องราว จัดพิมพ์เป็นหนังสือและเอกสารเผยแพร่เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาท้องถิ่นของเรา และผู้สนใจได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของอำเภอบ้านนาเดิมและอำเภอบ้านนาสาร มีรายละเอียดดังนี้",
"title": "อำเภอบ้านนาสาร"
},
{
"docid": "61640#0",
"text": "สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี หรือเดิมชื่อ สถานีรถไฟพุนพิน เปิดเมื่อปี 2458 แต่ได้เปลี่ยนชื่อในราวๆ ปี 25xx เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อจังหวัด เป็นสถานีรถไฟประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำตาปี ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากตัวอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายใต้",
"title": "สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี"
}
] |
2007 | เวียงกุมกาม ล่มสลายเมื่อใด ? | [
{
"docid": "6830#2",
"text": "เวียงกุมกามล่มสลายลงเพราะเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ โดยช่วงเวลานี้อยู่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2101 - 2317 ซึ่งตรงกับสมัยพม่าปกครองล้านนา พม่าปกครองล้านนาเป็นเวลาสองร้อยกว่าปี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่กล่าวถึงเวียงกุมกามทั้งๆที่เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่นี้เป็นเรื่องร้ายแรงมากและสมควรที่จะบันทึกไว้ แต่ก็ไม่มีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ใดเลย ผลของการเกิดน้ำท่วมนี้ทำให้เวียงกุมกามถูกฝังจมลงอยู่ใต้ตะกอนดินจนยากที่จะฟื้นฟูกลับมา สภาพวัดต่างๆ และโบราณสถานที่สำคัญเหลือเพียงซากวิหารและเจดีย์ร้างที่จมอยู่ดินในระดับความลึกจากพื้นดินลงไปประมาณ 1.50 -2.00 เมตร โดยวัดที่จมดินลึกที่สุดคือวัดอีค่าง รองลงมาคือ วัดปู่เปี้ย และวัดกู่ป่าด้อม",
"title": "เวียงกุมกาม"
}
] | [
{
"docid": "6830#1",
"text": "หลังจากที่พญามังรายได้ปกครองและพำนักอยู่ในนครหริภุญชัย (ลำพูน) อยู่ 2 ปี พระองค์ทรงศึกษาสิ่งหลายๆอย่าง และมีพระราชดำริที่จะลองสร้างเมืองขึ้น เมืองนั้นก็คือ เวียงกุมกาม แต่พระองค์ก็ทรงสร้างไม่สำเร็จ เพราะเวียงนั้นมีน้ำท่วมอยู่ทุกปี จนพญามังรายจึงทรงต้องไปปรึกษาพระสหาย คือพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย และพญางำเมืองแห่งอาณาจักรพะเยา หลังจากทรงปรึกษากันแล้วจึงทรงตัดสินใจไปหาที่สร้างเมืองใหม่ ในที่สุดจึงได้พื้นที่นครพิงค์เชียงใหม่เป็นเมืองใหม่ และ เป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านนาต่อมา จึงสรุปได้ว่าเวียงกุมกามนั้น เป็นเมืองที่ทดลองสร้าง",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "6830#22",
"text": "วัดกู่ป่าด้อม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้นอกเวียงกุมกาม ชื่อของวัดนี้ได้ตั้งชื่อตามเจ้าของที่ดิน โบราณสถานของวัดมีขนาดใหญ่ประกอบด้วย วิหารฐานใหญ่ มีบันไดทางขึ้นวิหาร มีราวบันไดด้านปลายเป็นรูปตัวเหงา ส่วนเจดีย์เหลือเพียงฐานเท่านั้น มีกำแพงแก้วก่อล้อมรอบโบราณสถาน กำแพงแก้วด้านหน้าทางเข้าวิหารมีซุ้มโขง วัดแห่งนี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21-22",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "6830#23",
"text": "วัดโบสถ์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกนอกเวียงกุมกาม โบราณสถานประกอบด้วยวิหารซึ่งเหลือเพียงฐาน และเจดีย์มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "6830#34",
"text": "วัดพันเลา อยู่ในท้องที่ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดร้างขื่อดั้งเดิมที่ชุมชนเรียกสืบทอดต่อกันมา คาดว่ามาจากชื่อวัดที่มีคำนำหน้าว่า “พัน” นำหน้านั้น น่าจะหมายถึง ยศทางทหาร หรือขุนนาง ที่เดิมวัดนี้อาจเป็นวัดอุปถัมภ์ของนายทหารหรือขุนนางชื่อ “เลา” ตั้งอยู่ริมถนนท่าวังตาลซึ่งอยู่นอกเวียงกุมกามทางด้านทิศเหนือ สภาพโบราณสถานมีการก่ออิฐกระจายหลายแห่ง พบชิ้นส่วนของพระพุทธรูป และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นอะไร และยังคงคาดว่ามีอีกหลายวัดที่จมอยู่ใต้พื้นดิน และบ้านเรือนของชาวบ้านที่กำลังรอการบูรณะขึ้นมา",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "6830#3",
"text": "ในปี พ.ศ. 2527 เรื่องราวของเวียงกุมกามก็เริ่มเป็นที่สนใจของนักวิชาการ และประชาชนทั่วไป ทำให้หน่วยศิลปากรที่ 4 ขุดแต่งบูรณะวัดร้าง (ขุดแต่งวิหารกานโถม ณ วัดช้างค้ำ) และบริเวณโดยรอบเวียงกุมกามอย่างต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. 2545 ปัจจุบันเวียงกุมกามก็ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เพราะเห็นว่าเวียงกุมกามมีความสมบูรณ์ และเป็นแหล่งความรู้การศึกษาในแบบของเรื่องราวทางสถาปัตยกรรมและ ศิลปกรรมตลอดจนวัฒนธรรมล้านนาต่าง ๆ โดยศูนย์กลางของการนำเที่ยวชมโบราณสถานต่างๆ ในเขตเวียงกุมกามอยู่ที่วัดช้างค้ำ",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "6830#31",
"text": "วัดหนองผึ้ง ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกถนนเชียงใหม่-ลำพูน ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เดิมเป็นวัดในสมัยเวียงกุมกาม-เชียงใหม่ หรือบางทีอาจจะมีสภาพเป็นวัดดั้งเดิมอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่สมัยหริภุญไชย มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณวัตถุประเภทพิมพ์แบบลำพูน สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของวัดนี้คือ วิหารพระนอน เป็นองค์พระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ขนาดยาว 38 ศอก (39 เมตร)",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "6830#4",
"text": "เวียงกุมกามมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวประมาณ 850 เมตร ไปตามแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และกว้างประมาณ 600 เมตร ตัวเมืองยาวไปตามลำน้ำปิงสายเดิมที่เคยไหลไปทางด้านทิศตะวันออกของเมือง ดังนั้นในสมัยโบราณตัวเวียงกุมกามจะตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันตกหรือฝั่งเดียวกับเมืองเชียงใหม่ แต่เชื่อกันว่าเนื่องจากกระแสของแม่น้ำปิงเปลี่ยนทิศทาง จึงทำให้เวียงกุมกามเปลี่ยนมาตั้งอยู่ทางฝั่งด้านตะวันออกของแม่น้ำดั่งเช่นปัจจุบัน",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "6830#33",
"text": "วัดข่อยสามต้น อยู่ในบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเวียงกุมกาม ชื่อวัดนี้ตั้งตามจุดสังเกตที่เป็นต้นข่อยจำนวน 3 ต้น ที่ขึ้นเจริญเติบโตในพื้นที่บริเวณวัด และไม่ปรากฏความเป็นมาในเอกสารและตัวแทนทางประวัติศาสตร์",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "6830#18",
"text": "วัดกุมกาม ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามด้านทิศเหนือของวัดกานโถม สิ่งก่อสร้างภายในวัดประกอบด้วยวิหารพร้อมห้องมูลคันธกุฏี และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "61536#26",
"text": "สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 1 (ช้างเผือก) เดินทางได้โดยรถสองแถว สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 2 (อาเขต) เดินทางได้โดยรถประจำทางสาย 11 (อาเขต-ไนท์ซาฟารี) ขึ้นรถที่สถานีขนส่งอาเขต-ลงที่บริเวณข่วงประตูท่าแพ จากนั้นต่อสาย 12 (เวียงกุมกาม-สวนสัตว์เชียงใหม่) ขึ้นรถที่ข่วงประตูท่าแพ-ลงที่หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สถานีรถไฟเชียงใหม่ โดยรถประจำทางสาย 13 (สถานีรถไฟ-ไนท์ซาฟารี) ขึ้นที่สถานีรถไฟเชียงใหม่-ลงที่บริเวณข่วงประตูท่าแพ จากนั้นต่อสาย 12 (เวียงกุมกาม-สวนสัตว์) ขึ้นที่ข่วงประตูท่าแพ-ลงที่หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ โดยรถประจำทางสาย 11 (ไนท์ซาฟารี-อาเขต) ขึ้นที่ท่าอากาศยานฯ-ลงที่ตลาดสมเพชร จากนั้นต่อสาย 12 (เวียงกุมกาม-สวนสัตว์เชียงใหม่) ขึ้นที่ตลาดสมเพชร-ลงที่หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
},
{
"docid": "6830#6",
"text": "ปัจจุบันเวียงกุมกามอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณ ก.ม. 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ด้านขวามือ ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี และอยู่ใกล้ฝั่งด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำปิง",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "6830#11",
"text": "วัดปู่เปี้ย ถือเป็นวัดที่มีความงดงามแห่งหนึ่งในเวียงกุมกาม รูปแบบผังการสร้างวัด และ รูปแบบเจดีย์ประธานมณฑปมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ โบราณสถานประกอบด้วยวิหารสร้างยกพื้นสูง เจดีย์ อุโบสถ ศาลผีเสื้อ และแท่นบูชา พร้อมทั้งมีลวดลายปูนปั้นประดับเจดีย์ที่สวยงามมาก",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "6830#20",
"text": "วัดไม้ซ้ง ตั้งอยู่มุมตะวันออกเฉียงใต้ภายในเวียงกุมกาม บริเวณรอบวัดเป็นทุ่งนา สถาพก่อนการขุดแต่งเป็นเนินดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีต้นไม้ใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่าไม้ซ้งอยู่ (เป็นที่มาของชื่อวัด) โบราณสถาน ประกอบด้วยวิหารเจดีย์แปดเหลี่ยม และฐานซุ้มประตูโขงพร้อมกำแพง",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "6830#15",
"text": "วัดพระเจ้าองค์ดำ ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกาม โดยอยู่ใกล้กับกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อนมีการขุดแต่งนั้นเป็นสวนลำไย มีพื้นที่เป็นเนินดิน 2 แห่ง ชาวบ้านเรียกว่า เนินพญามังราย และเนินพระเจ้าดำ และสันนิษฐานว่าที่เรียกวัดพระเจ้าองค์ดำนี้ เพราะวัดแห่งนี้เคยมีพระพุทธรูปสีดำประดิษฐานอยู่ โบราณสถานที่พบส่วนใหญ่เป็นวิหารหลายหลัง มีซุ้มประตูโขงและแนวกำแพง ถัดจากซุ้มโขงเข้ามามีวิหารและเจดีย์",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "6830#5",
"text": "ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงกระแสน้ำดังกล่าวคาดว่าน่าจะอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 23 การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำครั้งนั้น ทำให้เกิดน้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งใหญ่จนเวียงกุมกามล่มสลาย และวัดวาอารามจมอยู่ใต้ดินทราย จนกลายเป็นเมืองร้างไปในที่สุด อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่า อีกหนึ่งสมมติฐานที่เวียงกุมกามถูกทิ้งร้างนั้นอาจเป็นได้ว่าเกิดสงครามระหว่างไทยกับพม่าทำให้ผู้คนหลบหนีออกจากเมืองไปก็เป็นได้",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "231196#3",
"text": "ในราว พ.ศ. 2101 สมัยท้าวแม่กุ (พระเจ้าเมกุฏิ) แม่น้ำปิงยังไหลผ่านทางทิศตะวันออกของเวียงกุมกาม และตัวเมืองหริภุญชัยอยู่ ในระหว่างปี พ.ศ. 2101-2317 อาณาจักรบริเวณนี้อยู่ภายใต้การปกครองของพม่า จนถึงราวปี พ.ศ. 2317 มีบันทึกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ยกทัพตามแม่น้ำปิง (สายปัจจุบัน) ที่ไหลผ่านทิศตะวันตกของเวียงกุมกามและเมืองหริภุญชัย ซึ่งแสดงว่าแม่น้ำปิง เกิดการเปลี่ยนร่องน้ำ ในระหว่างที่พม่าปกครองพื้นที่ดังกล่าว",
"title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106"
},
{
"docid": "6830#35",
"text": "สรัสวดี อ๋องสกุล, เวียงกุมกาม: การศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนโบราณในล้านนา, WITHIN DESIGN CO., LTD, 2548 นพคุณ ตันติกุล, เวียงกุมกาม ,Lanna computer , 2547 จักรกริช พิสูจน์, เวียงกุมกาม ,Jakkrit Publishing , 2548 ชาญณรงค์ ศรีสุวรรณ, สถาปัตยกรรมในพื้นที่ประวัติศาสตร์เวียงกุมกาม: กรณีศึกษา วัดกานโถม, 2545, งานวิจัย",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "6830#12",
"text": "วัดเจดีย์เหลี่ยม (วัดกู่คำ) แต่เดิมวัดนี้ชื่อวัดกู่คำ กู่ หมายถึง พระเจดีย์ คำ หมายถึง ทองคำ พญามังรายโปรดให้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1831 โบราณวัตถุที่สำคัญของวัดคือ องค์พระเจดีย์ประธานรูปทรงมณฑปปลด 5 ชั้น วัดนี้มีความโดดเด่นคือ เป็นวัดที่กษัตริย์สร้าง และมีรูปแบบเจดีย์ที่แสดงถึงอิทธิพลรูปแบบของรัฐหริภุญไชย โดยที่พญามังรายโปรดให้เอามาก่อสร้างไว้ในเวียงกุมกามระยะแรกๆ",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "6830#0",
"text": "เวียงกุมกาม (Northern Thai: เวียงกุ๋มก๋าม) เป็นอดีตเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา ที่พญามังรายโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 โดยโปรดให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน ไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ ในคูเมืองโบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในเวียงกุมกามและใกล้เคียง เป็นเวียง (เมือง) ทดลองที่สร้างขึ้น ก่อนที่จะมาเป็นเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีระยะห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "6830#28",
"text": "วัดกู่จ๊อกป๊อก ตั้งอยู่นอกกำแพงเวียงกุมกามทางทิศตะวันออกฉียงใต้ โบราณสถานประกอบด้วยวิหารและเจดีย์ ซึ่งเหลือเพียงฐาน",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "6830#36",
"text": "หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์เชียงใหม่ หมวดหมู่:เมืองหลวงเก่า กุมกาม หมวดหมู่:โบราณสถานในจังหวัดเชียงใหม่",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "6830#17",
"text": "วัดหัวหนอง ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามใกล้กับกำแพงเมืองทางด้านเหนือ ภายในประกอบด้วยซุ้มโขงประตูใหญ่ อุโบสถ มณฑป วิหารและเจดีย์ มีลวดลายปูนปั้นประดับซุ้มประตูวัดเป็นรูปกิเลน สิงห์ หงส์ที่มีความงดงาม",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "6830#26",
"text": "วัดกู่มะเกลือ ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามด้านทิศตะวันออก เรียกชื่อวัดตามชื่อต้นไม้ที่ขึ้นบนโบราณสถาน หลังจากทำการขุดลอกดินออกแล้ว พบเจดีย์และวิหารตั้งอยู่บนฐานเดียวกันและหันหน้าไปทางทิศตะวันออก",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "231196#2",
"text": "ถนนช่วงเชียงใหม่-ลำพูน เป็นเส้นทางที่ผูกพันกับปิงห่าง ต้นยาง และต้นขี้เหล็ก ในอดีตแม่น้ำปิงจะไหลผ่านทางทิศตะวันออกของเวียงกุมกาม เมืองหริภุญชัย และวัดอรัญญิกรัมการาม (วัดดอนแก้ว) ซึ่งเป็นสี่มุมเมืองในสมัยพระนางจามเทวี เมื่อคราวที่พญามังรายยึดครองเมืองหริภุญชัย และสร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหริภุญชัย ชื่อว่า เมืองชะแว ได้เกิดน้ำท่วม จึงย้ายไปสร้างเมืองแห่งใหม่ คอื เวียงกุมกาม ทำให้แม่น้ำปิง เกิดการเปลี่ยนทางไหลผ่านเข้าในตัวเมืองหริภุญชัย และไหลผ่านหน้าวัดพระธาตุหริภุญชัยในสมัยพญามังราย",
"title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106"
},
{
"docid": "6830#7",
"text": "สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์ของเวียงกุมกามตั้งอยู่บริเวณแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน มีแม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสายสำคัญ โดยมีต้นน้ำอยู่ที่ดอยถ้วย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณแอ่งที่ราบแห่งนี้ซึ่งเป็นที่ราบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือตอนบน เป็นที่ราบระหว่างภูเขา มีอาณาบริเวณครอบคลุมเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูนรวม 13 อำเภอ (โดย 10 อำเภออยู่ในจังหวัดเชียงใหม่คือ แม่แตง แม่ริม สันทราย ดอยสะเก็ด สันกำแพง เมือง สารภี หางดง สันป่าตอง และจอมทอง และอีก 3 อำเภออยู่ในจังหวัดลำพูนคือ เมือง (ลำพูน) ป่าซาง และบ้านโฮ่ง) โดยมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 940,000 ไร่",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "99839#12",
"text": "เวียงเจ็ดลินที่เห็นในปัจจุบันนี้ สร้างในสมัยของพญาสามฝั่งแกน ในปี พ.ศ. 1954 เพื่อเป็นป้อมปราการป้องกันเมืองเชียงใหม่ ในคราวที่ท้าวยี่กุมกามพี่ชาย ได้ชักชวนพญาไสลือไทแห่งสุโขทัย ยกทัพมาตีเชียงใหม่ และมาตั้งทัพอยู่บริเวณเชิงดอยเจ็ดลิน อันเป็นบริเวณเวียงเจ็ดลิน ",
"title": "เวียงเจ็ดลิน"
},
{
"docid": "6830#27",
"text": "วัดกู่ลิดไม้ ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามด้านใต้ วัดนี้เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรีกกันเนื่องจากมีต้นเพกา (ต้นลิดไม้) ขึ้นอยู่บนเนินวัด โบราณสถานประกอบด้วยวิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เจดีย์ด้านหลังวิหารเหลือเพียงฐาน และเจดีย์รูปแปดเหลี่ยม มีซุ้มประตูโขงและกำแพงแก้ว",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "6830#24",
"text": "วัดกู่อ้ายหลาน เป็นวัดขนาดเล็กตั้งอยู่ทางด้านเหนือของเวียงกุมกาม ชื่อวัดเรียกตามเจ้าของที่ที่ชื่ออ้ายหลาน โบราณาสถานประกอบด้วยวิหารที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เจดีย์ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แท่นบูชา กำแพงแก้ว และซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก",
"title": "เวียงกุมกาม"
},
{
"docid": "115974#10",
"text": "ตกวันเสาร์ก็เดินทางมาถึงเมืองเชียงใหม่ ตั้งกองทัพอยู่ ณ ตำบลหนองหลวง ใช้คนถือหนังสือเข้าไปในเมืองเชียงใหม่เป็นใจความว่า ท้าวยี่กุมกามเป็นพี่ควรจะได้สืบราชสมบัติแทนบิดา ถ้าไม่ให้ท้าวยี่กุมกามเป็นเจ้านครพิงค์เชียงใหม่แล้ว พระมหาธรรมราชาที่ 3ก็จะให้พลโยธาเข้าหักเอาเมืองเชียงใหม่ให้จงได้ ท้าวขุนเสนาในนครพิงค์เชียงใหม่มีหนังสือตอบไปว่า ท้าวยี่กุมกามไม่สมควรจะได้เป็นเจ้านครพิงค์เชียงใหม่ ถึงแม้เป็นพี่ก็หาสติปัญญาและบุญญาภิสมภารมิได้ เพราะเหตุฉะนั้น การที่จะรบกันด้วยกำลังพลโยธา ไพร่พลก็คงจะล้มตายลงมากด้วยกันทั้งสองฝ่าย ถ้าจะให้รู้ว่าเจ้าท้าวยี่กุมกามกับเจ้าท้าวสามฝั่งแกน ใครจะมีบุญญาภิสมภารยิ่งกว่ากัน ขอให้จัดสรรทหารที่มีฝีมือเพลงอาวุธอย่างดีฝ่ายละคนให้ต่อสู้กันตัวต่อตัว ถ้าคนทั้งสองที่สู้กันนั้น ฝ่ายใดแพ้และชนะ กองทัพฝ่ายนั้นก็เป็นแพ้ด้วยชนะด้วย เป็นการเสี่ยงบุญวาสนาแห่งเจ้าทั้งสองนั้น พระมหาธรรมราชาที่ 3ได้ฟังตอบเช่นนั้นก็ทรงเห็นชอบด้วย จึงให้เลือกสรรได้คนไทยผู้หนึ่ง เป็นผู้ชำนาญเพลงดาบสองมือหาผู้ใดเสมอมิได้ ฝ่ายข้างชาวเชียงใหม่เลือกได้หาญยอดใจเพชรชำนาญดาบเขน ทั้งสองฝ่ายจึงประชุมกันตั้งสนามที่ตำบลเชียงขวาง ครั้นคนทั้งสองเข้าสู้รบกัน ถ้อยทีมีฝีมือปัดป้องว่องไวด้วยกันทั้งสองข้าง แต่ต่อสู้กันอยู่ช้านาน ประหารกันและกันมิได้ ในที่สุดหาญยอดใจเพชรได้ท่วงที ก็ฟันถูกนิ้วแม่เท้าทหารไทยผู้นั้นเพิกไปนิดหนึ่ง ฝ่ายไทยก็เป็นแพ้แก่ชาวเชียงใหม่",
"title": "พญาสามฝั่งแกน"
}
] |
2590 | ตู้เย็นถูกประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่สมัยไหน? | [
{
"docid": "201704#5",
"text": "วิลเลียม คัลเลน (William Cullen) ประดิษฐ์ตู้เย็นเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว (University of Glasgow) ในปี 1748 หลังจากนั้นในปี 1805 เมื่อโอลิเวอร์ อีวาน (Oliver Evans) ได้ประดิษฐ์ตู้เย็นที่ใช้ไอทำความเย็น ต่อมาในปี 1902 วิลลิส ฮาวิแลนด์ คาริเออร์ (Willis Haviland Carrier) ได้ประดิษฐ์เครื่องปรับอากาศ ในปี 1850 ถึง ปี 1851, ดร. จอห์น โกรี (John Gorrie) ประดิษฐ์เครื่องทำน้ำแข็ง ในปี 1857 เจมส์ แฮริสัน (James Harrison) วิศวกรชาวออสเตรเลียได้ประดิษฐ์ตู้เย็นที่ทำความเย็นด้วยการอัดไอเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเนื้อแช่แข็ง ต่อมาเฟอร์ดินานด์ คารี่ (Ferdinand Carré) ชาวฝรั่งเศสได้พัฒนาระบบให้ซับซ้อนในปี 1859 โดยใช้แก๊สแอมโมเนียซี่งระเหยเร็วเป็นตัวระบายความร้อนแทนอากาศ jojo",
"title": "ตู้เย็น"
}
] | [
{
"docid": "201704#20",
"text": "ปุ่มปรับความเย็นของตู้เย็นมักเป็นตัวเลข (เช่น 1 ถึง 9 จากเย็นน้อยไปเย็นสุด) โดยต่างกันไปแล้วแต่ผู้ผลิต แต่มักอยู่ในช่วง 2 ถึง 8°C (36 ถึง 46°F) และอุณหภูมิประมาณ -18°C (0°F) ในช่องแช่แข็ง",
"title": "ตู้เย็น"
},
{
"docid": "201704#12",
"text": "ตู้เย็นที่กินไฟมากสุดคือแบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ เพราะต้องมีตัวเป่าความชื้นออกจากใบของพัดลมในตู้เย็น และยังต้องมีการเพิ่มอุณหภูมิเป็นพัก ๆ แบบที่รองลงมาได้แก่แบบไม่มีระบบละลายน้ำแข็งเลย แต่ว่าน้ำแข็งที่เกาะในตู้เย็นก็ทำให้กินไฟมากขึ้น ผู้ใช้ควรหมั่นละลายน้ำแข็ง และแบบที่มีปุ่มกดละลายน้ำแข็งกินไฟที่สุด แต่ผู้ใช้มักไม่ซื้อตู้เย็นประหยัดไฟเนื่องจากมีราคาแพง[5]",
"title": "ตู้เย็น"
},
{
"docid": "201704#28",
"text": "3.แบบส่วนแช่เย็นอยู่ด้านบน ช่องแช่แข็งอยู่ด้านล่าง: ตู้เย็นแบบนี้ถูกวางขายครั้งแรกในช่วงกลางยุคคริสต์ทศวรรษ 1950 โดยแนวความคิดของการออกแบบตู้เย็นลักษณะนี้น่าจะมาจากเหตุผลที่ว่า คนเราเปิดใช้ส่วนแช่เย็นบ่อยกว่าช่องแช่แข็ง จึงย้ายช่องแช่แข็งไปไว้ล่างสุด เพื่อที่เวลาเปิดหาของในช่องแช่เย็น จะได้ไม่ต้องก้มตัวให้มากนัก",
"title": "ตู้เย็น"
},
{
"docid": "663576#9",
"text": "รูปร่างของ evaporator ในสมัยนี้รูปร่างกะทัดรัด สามารถซ่อนและติดตั้งได้มิดชิด (ช่องเย็นด้านหน้า) ถ้าจะกล่าวถึงจุดของตัวให้ความเย็น (Evaporator Unit) จะมีอุปกรณ์ต่างๆปกติจะมีติดมาเป็นชุด คือ\nส่วนประกอบทั้ง 5 รายการ ปกติจะจัดไว้เป็นชุดแต่หากเกิดชำรุดขึ้นมาในบางชิ้นก็สามารถแยกชิ้นเพื่อเปลี่ยนได้ ดังนั้น Evaporator เป็นสถานที่ที่ให้น้ำยาเหลวมาเดือดส่วนที่รองรับหรือท่อทางนั้นก็คือ ทองแดงหรืออลูมิเนียมผสม (แข็งกว่าอลูมิเนียม) ช่องเย็นทุกแบบก็สร้างโดยอาศัยท่อทองแดงหรือลูมิเนียม การที่เครื่องจะเย็นจัด ทน ไม่ใช่เพราะช่องเย็นมีปัจจัยมากมาย เช่น ขึ้นอยู่กับการทำงานของเอ็กเพ็นชั่นวาล์ว\nคอยล์เย็นจะเป็นตัวลดอุณหภูมิของอากาศที่ผ่านและปรับระดับความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศที่ผ่านคอยล์เย็นออกมา อุณหภูมิของอากาศที่ผ่านคอยล์เย็นออกมา ควรอยู่ที่ประมาณ 70 องศาฟาเรนไฮต์ หรือประมาณ 21.11องศาเซลเซียส มีความชื้นสัมพัทธ์ 50% การที่จะให้ได้ตามความต้องการมีการเลือกตัวคอยล์เย็นมักจะฝังอยู่ภายในตู้เย็นแอร์เลย เมื่ออากาศผ่านคอยล์เย็นถ้าอุณหภูมิต่ำลงมากจนถึงจุดน้ำค้าง (ความชื้นสัมพัทธ์ถึง100%) ไอน้ำอากาศจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ดังนั้นตัวตู้แอร์เองจะต้องมีท่อน้ำทิ้งต่อออกไปทิ้งนอกรถและยังต้องยากันรั่วที่บริเวณตู้แอร์เพื่อกันไม่ให้น้ำหยดเข้ามาในรถได้",
"title": "การปรับอากาศรถยนต์"
},
{
"docid": "201704#15",
"text": "ตู้เย็นที่มีประสิทธิภาพมากสุดตามทฤษฎีคือตู้เย็นคาร์โนต์ซึ่งไม่สามารถผลิตได้จริง",
"title": "ตู้เย็น"
},
{
"docid": "201704#21",
"text": "ผู้ใช้ควรวางตู้เย็นไว้ในที่ ๆ อากาศถ่ายเทเพื่อให้ตู้เย็นทำงานสะดวกและลดการกินไฟ",
"title": "ตู้เย็น"
},
{
"docid": "311557#5",
"text": "ในช่วงแรกที่มีโครงการเบอร์ 5 ของตู้เย็น (พ.ศ. 2537) มีตู้เย็นไม่กี่รุ่นเท่านั้นที่ได้มาตรฐานเบอร์ 5 โดยที่ตู้เย็นที่ซื้อขายกันทั่วไปจะสิ้นเปลืองไฟฟ้าเป็น 2 เท่าของตู้เย็นที่ได้มาตรฐาน(หากมี AV เท่ากัน) แต่ด้วยการประชาสัมพันธ์ของกฟผ. ทำให้ประชาชนหันไปซื้อเฉพาะตู้เย็นที่ได้มาตรฐานเบอร์ 5 จึงเกิดการแข่งขันของแต่ละบริษัทเพื่อให้ตู้เย็นของตนประหยัดไฟฟ้าเข้าเกณฑ์เบอร์ 5 ให้มากที่สุด ภายใน 1 ปีหลังการออกเกณฑ์เบอร์ 5 (พ.ศ. 2538) ตู้เย็นที่ไม่ได้มาตรฐานเบอร์5 จากที่เคยครองพื้นที่ได้กว่า 90% ก็แทบจะไม่เหลือในท้องตลาดอีกต่อไป (ตู้เย็นที่ผลิตในปี พ.ศ. 2553 ประหยัดไฟฟ้ากว่าตู้เย็นใน พ.ศ. 2538 ประมาณ 30% แต่ตู้เย็นที่ผลิตในปี พ.ศ. 2538 ประหยัดไฟฟ้ากว่าตู้เย็นใน พ.ศ. 2537 ประมาณ 50%)",
"title": "โครงการประชาร่วมใจ ประหยัดไฟฟ้า"
},
{
"docid": "201704#14",
"text": "ตู้เย็นที่มีช่องแช่แข็งอยู่ด้านบนจะกินไฟน้อยกว่าแบบที่มีช่องแช่แข็งอยู่ด้านล่างในความจุที่เท่ากัน ส่วนแบบที่มีช่องแช่แข็งอยู่ด้านข้าง จะกินไฟมากที่สุด [6] นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ได้ผลิตตู้เย็นตามแบบของไอสไตน์ ที่ประดิษฐ์ครั้งแรกในปี 1930 โดยตู้เย็นนี้ไม่ใช้ไฟฟ้า และไม่มีส่วนของก๊าซที่ทำลายชั้นบรรยากาศ[7]",
"title": "ตู้เย็น"
},
{
"docid": "219271#5",
"text": "แม้ว่าจะไม่ใช่วิธีการดั้งเดิมในการดื่มชา ชาเย็นได้แพร่หลายเป็นอย่างมากในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศจีน ตั้งแต่ช่วงปลายยุค ค.ศ. 1980 ด้วยชาแบบขวดและแบบกระป๋อง มีชาหลากหลายรูปแบบที่ขายในจีน เช่น ชาเขียว ซึ่งวางขายตามร้านค้าทั่วไป หลายครอบครัวชงชาเย็นดื่มเองจากการที่ใส่น้ำแข็งจำนวนมากลงในชาร้อน หรือ นำชาร้อนไปแช่เย็น โดยปกติแล้วชาเย็นจะมีสีดำ, สีเขียว, ชาอูหลง(乌龙茶)และในรูปแบบของชาสมุนไพร ชาสมุนไพรเย็นเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงฤดูร้อน โดย หยิน (阴) หรือสมุนไพรเย็น ใช้สำหรับการชงชา เช่น เก๊กฮวย, ชากูดิง(苦丁茶)ชาเย็นที่ยังมีความอุ่นอยู่เป็นที่นิยมในสมัยโบราณ แต่ชาที่นำไปแช่เย็นใช้สำหรับการพบปะผู้คนในยุคของพรรคคอมมิวนิสต์ เกิดเปิดประเทศทุนนิยมและการเปิดตลาดค้าขายในช่วงปี ค.ศ. 1990 ทำให้ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้สำคัญในบ้าน ตู้เย็นในครัวเรือนชาวจีนมีเพิ่มเป็นร้อยละ 95 จากร้อยละ 7 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ถึง พ.ศ. 2552",
"title": "ชาเย็น"
},
{
"docid": "91758#1",
"text": "ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 9 ท่าน จะมาใช้ชีวิตใน Solitary Pod ตามหมายเลขผู้เข้าแข่งขันซึ่งจะมี Pod หมายเลข 1 ถึงหมายเลข 9 ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะต้องอยู่คนเดียว ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอกได้ โดยจะมีคอมพิวเตอร์ปัญญาประดิษฐ์ ชื่อ Val เป็นผู้ดูแลการแข่งขันตลอดทั้งฤดูกาล ซึ่ง Val นี้จะเป็นกล้องและติดต่อสื่อสารกับผู้ที่อยู่ใน Pod แต่ละหมายเลข ผู้เข้าแข่งขันต้องอยู่ในสถาวะที่ไม่ปกติให้ได้นานที่สุดที่จะทำได้ ซึ่งจะมีแบบทดสอบให้ ซึ่งผู้ที่ชนะแบบทดสอบที่ Val เป็นผู้กำหนดเป็นคนแรก จะเป็นคนที่อยู่รอดต่อไปใน Solitary ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่เหลือต้องมาทดสอบความอดทน ผู้ที่ทนความอดทนไม่ได้เป็นคนแรกต้องก้าวออกจาก Solitary Pod ออกไป จนเหลือผู้เข้าแข่งขัน 2 คนสุดท้าย ซึ่งจะเป็นแบบทดสอบความอดทนที่ยากที่สุด เช่น การอยู่ในตู้ที่มีหมุดไม้ปลายตอกแหลมรอบด้าน ไม่สามารถไปไหนได้ทั้งนั้น ซึ่งตู้จะเล็กลงเรื่อย ๆ เป็นต้น ผู้ที่ชนะนี้จะเป็นผู้ชนะของ Solitary และจะได้รับเงินรางวัล $50,000 ดอลลาร์สหรัฐTitle: The Road to Solitary",
"title": "เกมส์คนอึด"
},
{
"docid": "201704#0",
"text": "ตู้เย็น เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำความเย็นโดยประกอบด้วยสองส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนฉนวนป้องกันความร้อน (ป้องกันไม่ให้ความร้อนไหลเข้ามา) และ ส่วนทำความเย็น (ปั๊มที่นำความร้อนออกไปสู่ภายนอกซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า) คนส่วนใหญ่ใช้ตู้เย็นเก็บอาหาร เพื่อป้องกันการเน่าเสีย เนื่องจากแบคทีเรียเติบโตช้ากว่าในอุณหภูมิต่ำ ตู้เย็นมีหลายประเภทตั้งแต่แบบที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็ง (ช่องธรรมดา) แบบที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อย (ช่องแช่แข็ง, ช่องฟรีซ) ก่อนที่จะมีตู้เย็นประเทศในเขตหนาวใช้กล่องน้ำแข็ง (icebox) ในการรักษาอาหาร",
"title": "ตู้เย็น"
},
{
"docid": "618288#30",
"text": "Slingshot เป็นอุปกรณ์กรองน้ำแบบพกพาที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์แบบสเตอร์ลิงที่ทำงาน ด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงที่เผาไหม้ได้. ขนาดเท่าช่องฟรีสของตู้เย็น, Slingshot อ้างว่าสามารถเปลี่ยนน้ำจากแหล่งใดๆก็ได้ เช่น ปัสสาวะ, น้ำเค็ม, และสารหนู ในเป็นน้ำดื่ม. Dean Kamen คิดค้น Slingshot,[35] และยื่นขอสิทธิบัตร สหรัฐอเมริกา # 7340879 เมื่อวัน13 พฤศจิกายน 2003 ซึ่งได้รับอนุมัติ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2008.[36]",
"title": "ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (หลัง ค.ศ. 1991)"
},
{
"docid": "640129#2",
"text": "ในภาษาไทย เมื่อผู้ถูกกระทำเป็นชาย กิจกรรมนี้มักเรียกโดยภาษาปากว่า เลียตูดดูดไข่ หรือ ล้างตู้เย็น เพราะตู้เย็นเป็นที่ไว้ไข่ และไข่เปรียบถึงอัณฑะหรืออวัยวะเพศชาย เมื่อทวารหนักเป็นที่อยู่ของอวัยวะเพศชาย ทวารหนักจึงได้ชื่อว่า ตู้เย็น",
"title": "เอนิลิงกัส"
},
{
"docid": "764#29",
"text": "พ.ศ. 2469 ไอน์ชไตน์กับลูกศิษย์เก่าคนหนึ่งคือ ลีโอ ซีลาร์ด นักฟิสิกส์ชาวฮังการีผู้ต่อมาได้ร่วมในโครงการแมนฮัตตัน และได้รับยกย่องในฐานะผู้ค้นพบห่วงโซ่ปฏิกิริยา ทั้งสองได้ร่วมกันประดิษฐ์ ตู้เย็นไอน์ชไตน์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีชิ้นส่วนเคลื่อนไหวเลย และใช้พลังงานนำเข้าเพียงอย่างเดียวคือพลังงานความร้อน สิ่งประดิษฐ์นี้ได้จดสิทธิบัตรในปี พ.ศ. 2473[22][23]",
"title": "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์"
},
{
"docid": "359670#18",
"text": "ในเล่มที่ 27 ครอบครัวตึ๋งหนืดมีปัญหาเรื่องตู้เย็นเก่าจนโทรุทำพัง แต่ก็ได้ตู้เย็นใหม่จากการชนะเกมแก้เครียด แต่โรสก็ขายแล้วซื้อตู้เย็นมือสองมาแทน",
"title": "ครอบครัวตึ๋งหนืด"
},
{
"docid": "644105#12",
"text": "การพัฒนานมปั่นแบบอัตโนมัติในปี 1930. หลังจากการประดิษฐ์สารฟรีออนสำหรับทำความเย็นตู้เย็นเพื่อทำให้อาหารเก็บได้, ซึ่งการทำแบบอัตโนมัตินี้น่าเชื่อถือ และสามารถผลิตไอศกรีมได้. ในปี 1936 นักประดิษฐ์เอิร์ล ปรินซ์ ใช้หลักการพื้นฐานนี้เบื้องหลังการให้ความเย็นในรูปแบบของเครื่องผลิตไอศกรีม และพัฒนามาเป็นเครื่องผสมเครื่องดื่ม. \"การผสมใส่แกนแบบ 5 แกนสามารถผลิตนมปั่นได้ 5 แบบในครั้งเดียว\" การผลิตอัตโนมัติแบบนี้ สามารถจ่ายไอศกรีม โดยการดึงคันโยกและเปลี่ยนถ้วยกระดาษที่รอ และนมปั่นได้ต่อกัน.",
"title": "นมปั่น"
},
{
"docid": "201704#3",
"text": "ก่อนการประดิษฐ์ตู้เย็นประเทศในเขตหนาวได้มีการตัดน้ำแข็งก้อนใหญ่จากทะเลสาบในฤดูหนาวมาเก็บในขี้เลื่อยไว้ใช้ตลอดปี ในประเทศไทยคนส่วนมากเก็บอาหารไว้ในตู้กับข้าวซึ่งป้องกันแมลงและหนูมารบกวนเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันการเน่าเสีย คนไทยมีวิธีอื่น ๆ อีกมากเพื่อถนอมอาหาร เช่น หมัก ดอง แช่อิ่ม ตากแห้ง รมควัน นอกจากนี้คนไทยยังเก็บน้ำฝนไว้ในโอ่งดินซึ่งทำให้น้ำเย็นตามธรรมชาติ",
"title": "ตู้เย็น"
},
{
"docid": "201704#30",
"text": "การทำความเย็นเป็นการถ่ายเทความร้อนภายในตู้เย็นออกไป ซึ่งเกิดจากเครื่องอัดไอ (compressor) ทำหน้าที่อัดแก๊สของสารทำความเย็น (Refrigerant substant) ให้เป็นของเหลวในคอยล์ร้อนหรือเครื่องควบแน่น(Conderser) จากนั้นส่งผ่านไปยังหลอดรูเล็ก (Capillary tube) และไปยังคอยล์ร้อนหรือเครื่องระเหย (evaporator) ทำให้ความดันของของเหลวลดลงจนเปลี่ยนสถานะจากแก็สกลายเป็นไอ ซึ่งของเหลวได้รับความร้อนแฝงจากวัตถุต่างๆที่อยู่ใกล้เครื่องระเหย โดยวิธี การนำความร้อน การพาความร้อน หรือการแผ่รังสี เพื่อทำให้อุณหภูมภายในตู้เย็นเย็นลง จากนั้นแก๊สความดันต่ำของสารทำความเย็นจะถูกดูดโดยเครื่องอัดไอและอัดออกไปยังเครื่องควบแน่น เพื่อถ่ายเทความร้อนออกไปจากระบบ ทำให้สารทำความเย็นจะเข้าไปรับความร้อนที่เครื่องระเหยใหม่อีกครั้ง อีกทั้งความเย็นจากสารทำความเย็นที่ดูดกลับมาบางส่วนสามารถนำมาช่วยในการระบายความร้อนให้กับเครื่องอัดไอ(compressor)การทำงานของระบบทำความเย็นนี้จะวนซ้ำไปเรื่อยเสมอ[8]",
"title": "ตู้เย็น"
},
{
"docid": "201704#13",
"text": "ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่กินไฟมาก (เกือบจะมากที่สุด รองจากเครื่องปรับอากาศ) ในช่วงยี่สิบปีมานี้มีการแข่งขันของผู้ผลิตในการพัฒนาตู้เย็นประหยัดไฟมากขึ้น ตู้เย็นที่มีคุณภาพดีในปัจจุบันกินไฟประมาณ 1 ยูนิต (กิโลวัตต์-ชั่วโมง) ต่อวัน สำหรับตู้เย็นหรือเครื่องทำน้ำแข็งขนาดใหญ่อาจกินไฟถึง 4 ยูนิตต่อวัน",
"title": "ตู้เย็น"
},
{
"docid": "201704#4",
"text": "ในศตวรรษที่ 11 มุสลิมนักฟิสิกส์และเคมีชาวเปอร์เซีย, อวิเซ็นน่า หรือ อิบนูซีนา (Ibn Sina หรือ Avicenna) ประดิษฐ์เครื่องควบแน่น (refrigerated coil) เพื่อใช้ในการกลั่นน้ำมันหอม[1][2] นี่เป็นการพัฒนาการกลั่น โดยอวิเซ็นน่าเป็นคนแรกที่ใช้การกลั่นด้วยไอน้ำ ซึ่งต้องใช้เครื่องควบแน่นในการทำให้ไอกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในระยะทางสั้นเพื่อผลิตน้ำมันหอม[3] กระบวนการกลั่นนี้ได้ใช้มาถึงปัจจุบัน โดยในประเทศไทยได้ใช้ในการผลิตน้ำมันหอมระเหย",
"title": "ตู้เย็น"
},
{
"docid": "201704#1",
"text": "ช่องแช่แข็งของตู้เย็นที่ขายอยู่ทั่วไปมีอุณหภูมิประมาณ -18°C (ประมาณ 0°F) สำหรับตู้เย็นที่ใช้ในบ้านมักมีช่องธรรมดาและช่องแช่แข็งรวมกัน และมักใช้เครื่องทำความเย็นร่วมกัน (บางครั้งก็แยกกัน) ตู้เย็นรุ่นใหม่ ๆ มักมีเครื่องทำน้ำแข็งติดตั้งมาพร้อมกัน",
"title": "ตู้เย็น"
},
{
"docid": "551466#6",
"text": "1. ใช้ติดที่ประตูตู้เย็น แม่เหล็กจะถูกใส่ไว้ที่ประตูโดยมีแผ่นยางหุ้มเพื่อทำให้ประตูตู้เย็นปิดสนิท ป้องกันไม่ให้ความเย็นออกมาจากตู้\n2. ใช้ติดที่ฝากล่องดินสอและฝากระเป๋า เพื่อให้ฝากล่องดินสอ และฝากระป๋องสามารถดูดติดกับตัวกล่องดินสอและตัวกระเป๋าได้\n3. ใช้ติดป้องกันประตูกระแทก แม่เหล็กจะถูกติดไว้กับผนังและที่ประตูจะติดสารแม่เหล็ก เมื่อเปิดประตู แม่เหล็กที่ผนังจะดูดสารแม่เหล็กที่บานประตูไว้ จึงทำให้บานประตูไม่ปิดกระแทกเมื่อมีลมพัด",
"title": "พลังงานแม่เหล็ก"
},
{
"docid": "201704#22",
"text": "ไม่ควรวางตู้เย็นใกล้ผนังเกินไป เพราะทำให้ระบายความร้อนได้ไม่ดี ไม่ควรวางตู้เย็นหรือเครื่องทำน้ำเย็นไว้ในห้องปรับอากาศ เพราะทำให้เสียค่าไฟสองต่อ โดยตู้เย็นดูดความร้อนเป่าออกมาหลังเครื่องทำให้ห้องร้อนขึ้น]]",
"title": "ตู้เย็น"
},
{
"docid": "201704#10",
"text": "ตู้เย็นรุ่นแรก ๆ จะมีน้ำแข็งเกาะตามตู้ของช่องแช่แข็ง เกิดจากความชื้นตอนเปิดประตูตู้ โดยน้ำแข็งจะหนาขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้ใช้ต้องละลายน้ำแข็งเอง เช่น ถอดปลั๊กออกจนกว่าน้ำแข็งข้าง ๆ ตู้จะละลายหมด ต่อมา จึงพัฒนาเป็นแบบกดปุ่มละลายน้ำแข็ง และละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ ผู้ใช้ควรหมั่นละลายน้ำแข็งเพื่อประหยัดไฟ[4]",
"title": "ตู้เย็น"
},
{
"docid": "201704#11",
"text": "ในปัจจุบันประชาชนหันมาสนใจการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น แก๊สฟรีออน (freon) โดยมีส่วนของซีเอฟซี (chlorofluorocarbons, CFCs) ที่ทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ ตู้เย็นรุ่นเก่าส่วนใหญ่ใช้แก๊สฟรีออนซึ่งมักรั่วออกสู่บรรยากาศ (สังเกตง่าย ๆ ได้จากการที่ต้องเติมน้ำยาทำความเย็นของตู้เย็น หรือน้ำยาแอร์ในเครื่องปรับอากาศ) ตู้เย็นรุ่นใหม่มักใช้สารทำความเย็นที่ไม่มีส่วนของซีเอฟซี เช่น HFC-134a (1,2,2,2-tetrafluoroethane) ซึ่งไม่ทำลายชั้นโอโซน",
"title": "ตู้เย็น"
},
{
"docid": "311557#6",
"text": "หลังจากการพัฒนาการแบบก้าวกระโดดของประสิทธิภาพตู้เย็นใน พ.ศ. 2537 กฟผ. ได้เคยมีการปรับเกณฑ์ประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของตู้เย็นอย่างไม่หยุดยั้ง โดยในอดีตเคยมีการปรับเกณฑ์ครั้งใหญ่มาแล้ว 2 ครั้ง คือในปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2549 โดยเกณฑ์เบอร์ 5 ของตู้เย็นในปัจจุบันเป็นดังนี้",
"title": "โครงการประชาร่วมใจ ประหยัดไฟฟ้า"
},
{
"docid": "201704#16",
"text": "ตู้เย็นสามารถถนอมอาหารให้สดใหม่ได้นาน ทำให้ครอบครัวส่วนใหญ่สามารถซื้ออาหารมาเก็บไว้ได้ทีละมาก ๆ นอกจากนี้ยังนำไปสู่การสร้างห้างสรรพสินค้าซึ่งมีอาหารหลากหลายชนิด ส่งผลให้โภชนาการของประชาชนทั่วไปดีขึ้น การขาดสารอาหารลดลง ผลิตภัณท์นม เนื้อสัตว์ ปลา เป็ดไก่ ผัก และอาหารทะเลสามารถเก็บในตู้เย็นที่อยู่ในห้องครัวได้ (ควรเก็บเนื้อดิบ ๆ แยกต่างหากเพื่อความสะอาด)",
"title": "ตู้เย็น"
},
{
"docid": "201704#6",
"text": "ตู้เย็นทำความเย็นโดยปั๊มความร้อนในการทำความเย็น โดยในแต่ละรอบของการทำความเย็น สารทำความเย็นเช่น R134a เข้าไปในเครื่องอัดความดันหรือที่เรียกกันว่าคอมเพรสเซอร์ (compressor) ที่มีความดันต่ำอุณหภูมิที่จุดเดือด แล้วอัดไอนั้น พออัดจนมีความดันสูงไอก็จะร้อน (สังเกตจากเวลาสูบลมจักรยาน) ไอร้อนความดันสูงเข้าไปในเครื่องควบแน่น (condenser) แล้วออกมาเป็นของเหลวความดันสูงที่จุดเดือด หลังจากนั้นก็ไปที่แผงระบายความร้อน สารทำความเย็นที่เป็นของเหลวอุณหภูมิเย็นลงแล้วไหลไปที่ใกล้กับส่วนที่ต้องการให้เย็น ความดันลดลงอย่างรวดเร็ว กลายเป็นก๊าซอุณหภูมิต่ำ (เหมือนเวลาปล่อยลมออกจากล้อจักรยาน แล้วก็ไหลไปเป็นวงจรเรื่อย ๆ",
"title": "ตู้เย็น"
},
{
"docid": "3648#22",
"text": "สินค้าออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ทองแดงและของที่ทำด้วยทองแดง กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ",
"title": "ประเทศอียิปต์"
}
] |
448 | ระบบประสาทกลาง ของมนุษย์อยู่ที่ใด? | [
{
"docid": "137370#0",
"text": "ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (English: central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน",
"title": "ระบบประสาทกลาง"
}
] | [
{
"docid": "654635#17",
"text": "การเจริญของประสาทในระบบประสาทของผู้ใหญ่มีกลไกอย่างการสร้างไมอีลินใหม่ (remyelination) การสร้างเซลล์ประสาท เซลล์เกลีย แกนประสาท ไมอีลินหรือจุดประสานประสาทใหม่ การสร้างใหม่ของประสาทแตกต่างระหว่างระบบประสาทนอกส่วนกลางและระบบประสาทส่วนกลาง โดยกลไกการทำหน้าที่และโดยเฉพาะขอบเขตและความเร็ว",
"title": "การเจริญของประสาทในมนุษย์"
},
{
"docid": "568257#19",
"text": "ส่วนบทบาทเกี่ยวกับแรงจูงใจของ basal ganglia ที่เป็นส่วนของระบบลิมบิก ซึ่งก็คือส่วน nucleus accumbens (NA), ventral pallidum, และ ventral tegmental area (VTA) เป็นสิ่งที่ชัดเจน งานวิจัยเป็นพันรวม ๆ กันแสดงว่า การส่งสัญญาณโดยใช้สารสื่อประสาทโดพามีนจาก VTA ไปยัง NA มีบทบาทสำคัญในระบบรางวัล (reward system) ของสมอง ในการทดลอง สัตว์ที่มีอิเล็คโทรดแบบกระตุ้นฝังอยู่ในวิถีประสาทนี้ จะกดปุ่มอย่างกระตือรือร้นถ้าการกดแต่ละครั้ง มีการติดตามด้วยกระแสไฟฟ้าในวิถีประสาทนี้อย่างสั้น ๆ สิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์ถือเอาเป็นรางวัล (คือชอบใจ) รวมทั้งยาเสพติด อาหารรสอร่อย และการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งหมดปรากกฏว่าก่อให้เกิดการทำงานของระบบโดพามีนใน VTA ดังนั้น ถ้ามีความเสียหายต่อระบบ NA หรือ VTA อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะก่อให้เกิดภาวะเฉื่อยชาไม่มีแรงจูงใจอย่างรุนแรง",
"title": "ปมประสาทฐาน"
},
{
"docid": "586043#12",
"text": "การได้กลิ่นเป็นทางประสาทสัมผัสเชิงเคมีอย่างหนึ่ง และไม่เหมือนการลิ้มรส มีตัวรับกลิ่น (olfactory receptor) เป็นร้อยชนิด (388 ชนิดโดยแหล่งข้อมูลหนึ่ง[10]) แต่ละตัวทำปฏิกิริยาต่อโมเลกุลที่มีลักษณะเฉพาะ โมเลกุลมีกลิ่นมีลักษณะต่าง ๆ มากมายและกระตุ้นตัวรับกลิ่นเฉพาะอย่างในระดับต่าง ๆ สัญญาณตอบสนองจากตัวรับกลิ่นหลาย ๆ ตัวที่มารวมกัน เป็นสิ่งที่นำไปสู่การรับรู้ว่าเป็นกลิ่นใดกลิ่นหนึ่ง ในสมอง ส่วนการแปลผลข้อมูลกลิ่นเกิดขึ้นในระบบรับกลิ่น (olfactory system) เซลล์ประสาทรับกลิ่นในจมูกมนุษย์ต่างจากเซลล์ประสาทในที่อื่น ๆ เพราะว่าเซลล์ประสาทรับกลิ่นมีอายุจำกัดและต้องมีการสร้างทดแทนใหม่เสมอ ๆ ความไม่สามารถในการรับกลิ่นเรียกว่า ภาวะเสียการรู้กลิ่น (anosmia) มีเซลล์ประสาทในจมูกบางส่วนที่ทำหน้าที่รับรู้ pheromone[11] โดยเฉพาะ[12]",
"title": "ประสาทสัมผัส"
},
{
"docid": "922748#24",
"text": "ยังมีหลักฐานด้วยว่าสารสื่อประสาท acetylcholine ซึ่งมาจากเซลล์ประสาทแบบ cholinergic ในระบบประสาทกลางระดับสูงขึ้น มีผลเพิ่มการลดขั้วของ granule cell ทำให้มันเร้าได้ง่ายขึ้น ซึ่งก็มีผลยับยั้งเซลล์รีเลย์มากขึ้น\nซึ่งทำให้ข้อมูลกลิ่นจากป่องรับกลิ่นเฉพาะเจาะจงมากขึ้นและสามารถแยกแยะได้ดีขึ้น\nป่องรับกลิ่นเสริม (accessory olfactory bulb, ตัวย่อ AOB) ซึ่งอยู่ที่ส่วนบนด้านหลัง (dorsal-posterior) ของป่องรับกลิ่นหลัก เป็นวิถีประสาทที่ขนานและเป็นอิสระจากป่องรับกลิ่นหลัก\nvomeronasal organ (VNO)\n(ที่มนุษย์ผู้ใหญ่เพียงแค่ 8% มี) \nเป็นอวัยวะรับความรู้สึกในจมูกที่ส่งกระแสประสาทไปยังป่องรับกลิ่นเสริม\nจึงทำให้มันเป็นตัวแปลผลทุติยภูมิของระบบรับกลิ่นเสริม (accessory olfactory system)",
"title": "ป่องรู้กลิ่น"
},
{
"docid": "571376#4",
"text": "ตัวเซลล์ของใยประสาทรับรู้ความรู้สึกทางกายแบบนำเข้า (afferent fiber) อยู่ที่ปมประสาทรากหลัง (dorsal root ganglion) ทั่วลำกระดูกสันหลัง เซลล์ประสาทเหล่านี้มีหน้าที่ส่งข้อมูลเกี่ยวกับกายไปยังระบบประสาทกลาง เซลล์ประสาทในปมประสาทที่อยู่ในศีรษะและในร่างกาย ส่งไปยังระบบประสาทกลางข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นภายนอกที่กล่าวมาแล้วที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย เซลล์ประสาทขั้วเดียวเทียม (pseudounipolar neuron) ซึ่งเป็นเซลล์ที่ส่งศักยะงานไปยังระบบประสาทกลาง อยู่ในปมประสาทรากหลัง (dorsal root ganglia)",
"title": "เซลล์ประสาทรับความรู้สึก"
},
{
"docid": "844951#1",
"text": "กำเนิดประสาทจะเกิดในช่วงการเกิดเอ็มบริโอในสัตว์ทั้งหมด และเป็นกระบวนการสร้างนิวรอนทั้งหมดในสัตว์\nโดยก่อนช่วงกำเนิดประสาท เซลล์ประสาทต้นกำเนิดจะแบ่งตัวจนมีจำนวน progenitor cell ที่พอเพียง\nยกตัวอย่างเช่น เซลล์ประสาทต้นกำเนิดหลักของสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่เรียกว่า radial glial cell จะอยู่ในเขตเริ่มก่อตัวที่เรียกว่า ventricular zone ซึ่งอยู่ข้างโพรงสมองที่กำลังพัฒนาขึ้น\nเซลล์ต้นกำเนิดจะแบ่งตัวจนกระทั่งกลายเป็นนิวรอนลูก (daughter neuron) ที่ไม่แบ่งตัวอีก\nและดังนั้น นิวรอนทั้งหมดจะอยู่ในสภาพ post-mitotic (คือจะไม่แบ่งตัวอีก) และนิวรอนในระบบประสาทกลางมนุษย์โดยมากจะดำรงอยู่ตลอดชีวิตของบุคคล",
"title": "กำเนิดประสาท"
},
{
"docid": "12074#4",
"text": "ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังสามารถแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ ระบบประสาทกลาง หรือ ซีเอ็นเอส(central nervous system - CNS) และ ระบบประสาทนอกส่วนกลาง หรือ พีเอ็นเอส (peripheral nervous system - PNS) ระบบประสาทกลางประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ระบบประสาทนอกส่วนกลางประกอบด้วยเส้นประสาทและนิวรอนที่ไม่ได้อยู่ในระบบประสาทกลาง โดยทั่วไปเรียกส่วนหลักของระบบประสาทนอกส่วนกลางว่า เส้นประสาท (ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็น แกนประสาท หรือ แอกซอน (axon) ของเซลล์ประสาท) ระบบประสาทนอกส่วนกลางยังสามารถแบ่งออกเป็นระบบประสาทกาย (somatic nervous system) และระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system)",
"title": "ระบบประสาท"
},
{
"docid": "39688#13",
"text": "ใยประสาทนำเข้า (Afferent nerve fiber) ของระบบประสาทนอกส่วนกลางทำหน้าที่นำกระแสประสาทรับความรู้สึกไปยังสมอง โดยมักมาจากอวัยวะรับสัมผัส เช่น ผิวหนัง ภายในกล้ามเนื้อจะมีส่วนที่เรียกว่า muscle spindle ที่รับรู้ความตึงและความยาวของกล้ามเนื้อ และส่งสัญญาณดังกล่าวไปยังระบบประสาทกลาง (central nervous system) เพื่อช่วยในการคงรูปร่างท่าทางของร่างกายและตำแหน่งของข้อต่อ ความรู้สึกของตำแหน่งร่างกายที่วางตัวในที่ว่างเรียกว่า การรับรู้อากัปกิริยา (proprioception) การรับรู้อากัปกิริยาเป็นความตระหนักของร่างกายที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวว่าตำแหน่งต่างๆ ของร่างกายตั้งอยู่ที่บริเวณใด ณ ขณะนั้น ซึ่งสามารถสาธิตให้เห็นได้โดยการให้ผู้ถูกทดสอบยืนหรือนั่งนิ่งๆ ให้ผู้อื่นปิดตาของผู้ถูกทดสอบและยกแขนของผู้ถูกทดสอบขึ้นและหมุนรอบตัว หากผู้ถูกทดสอบมีการรับรู้อากัปกิริยาที่เป็นปกติ เขาจะทราบได้ว่าขณะนั้นมือของเขาอยู่ที่ตำแหน่งใด ตำแหน่งต่างๆ ภายในสมองมีความเชื่อมโยงการเคลื่อนไหวและตำแหน่งร่างกายกับการรับรู้อากัปกิริยา",
"title": "กล้ามเนื้อ"
},
{
"docid": "137276#1",
"text": "ระบบประสาทของมนุษย์แบ่งออกได้เป็นระบบประสาทกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system) และระบบประสาทนอกส่วนกลาง หรือ พีเอ็นเอส (peripheral nervous system) ระบบประสาทกลางประกอบด้วยสมอง (brain) และไขสันหลัง (spinal cord) ซึ่งมีหน้าที่หลักในการควบคุมพฤติกรรม ส่วนระบบประสาทนอกส่วนกลางประกอบด้วยเซลล์ประสาททั้งหมดที่อยู่นอกระบบประสาทกลาง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นระบบประสาทกาย (somatic nervous system) และระบบประสาทอิสระ หรือ เอเอ็นเอส (autonomic nervous system) \nระบบประสาทกายประกอบด้วยเซลล์ประสาทนำเข้า (afferent neuron) ที่ส่งข้อมูลการรับความรู้สึกจากอวัยวะรับความรู้สึกมายังสมองและไขสันหลัง และเซลล์ประสาทนำออกที่ขนส่งข้อมูลสั่งการออกไปยังกล้ามเนื้อหรืออวัยวะที่ตอบสนองอื่นๆ ระบบประสาทอิสระแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system) ซึ่งเป็นชุดของเส้นประสาทที่กระตุ้นการตอบสนองแบบ \"สู้หรือหนี\" (\"fight-or-flight\" response) ส่วนระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous system) ตรงกันข้ามกันคือเตรียมความพร้อมร่างกายให้พักผ่อนและเก็บพลังงานเอาไว้",
"title": "ประสาทกายวิภาคศาสตร์"
},
{
"docid": "597315#17",
"text": "ระบบรับรสส่วนปลายน่าจะรักษาความสัมพันธ์โดยเฉพาะระหว่างเซลล์ปุ่มรับรสที่ตอบสนองโดยเฉพาะต่อรสชาติหนึ่ง ๆ กับ ganglion cells ที่ส่งข้อมูลเกี่ยวกับรสนั้น\nความสัมพันธ์อย่างนี้สามารถอธิบายความเฉพาะเจาะจงของการตอบสนองในเส้นประสาทรับรสแต่ละเส้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพราะว่า ตัวรับรสหวาน รส[[อุมามิ]] และรสขม ปรากฏในเซลล์รับรสที่ต่างพวกกัน\nแม้ว่าหลักฐานทางกายวิภาคสำหรับความสัมพันธ์โดยเฉพาะอย่างนี้จะยังไม่มีในระดับของเซลล์รับรสหนึ่ง ๆ และ ganglion cell แต่ว่าความสัมพันธ์ระดับปุ่มรับรสหนึ่ง ๆ กับ ganglion cell ที่เชื่อมต่อกับปุ่มรับรสนั้น สามารถแยกแยะได้ง่ายทางประสาทกายวิภาค\nอย่างไรก็ดี สำหรับรสชาติ งานวิจัยที่พยายามระบุแผนที่ของเซลล์รับรสหรือรส พบแต่ภูมิลักษณ์ที่คลุมเครือในสมอง\nแต่ถึงอย่างนั้น ganglion cell ก็ยังต้องมีใยประสาทส่งไปที่เซลล์รับรสประเภทต่าง ๆ และส่งพลังประสาทไปยัง[[ระบบประสาทกลาง]]ที่จัดเป็นระเบียบอย่างใดอย่างหนึ่ง",
"title": "แผนที่ภูมิลักษณ์"
},
{
"docid": "654635#7",
"text": "ส่วนด้านหน้าของชั้นแมนเทิล (แผ่นฐาน) เกิดเป็นพื้นที่สั่งการของไขสันหลัง ขณะที่ส่วนด้านหลัง (แผ่นปีก) เกิดเป็นพื้นที่รับความรู้สึก ระหว่างแผ่นฐานและปีกเป็นชั้นกลาง (intermediate layer) ที่มีเซลล์ประสาทของระบบประสาทอิสระ",
"title": "การเจริญของประสาทในมนุษย์"
},
{
"docid": "935716#8",
"text": "นอกจากเนื้อเยื่อตับแล้ว ยังมีการแสดงออกของ CYP2B6 ในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหารด้วย อย่างปอดและเยื่อบุโพรงจมูก รวมถึงผิวหนังและไต แต่ความสำคัญของ CYP2B6 ในเนื้อเยื่ออื่นนอกเหนือจากตับนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตาม CYP2B6 ก็ยังถือเป็นอีกเอนไซม์หนึ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดในการต้านท็อกซินหลายชนิดจากสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ การกระจายของ CYP2B6 ในเนื้อเยื่อต่างๆนี้อาจเป็นปราการสำคัญที่มีส่วนช่วยป้องกันร่างกายจากสารเคมีดังกล่าว ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบ CYP2B6 ในตัวอย่างเนื้อเยื่อสมองของมนุษย์และไพรเมต โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความแปรผันได้ของการแสดงออกของ CYP2B6 ในสมอง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และความแปรผันหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic polymorphism) โดยทั่วไปแล้ว CYP2B6 ในเนื้อเยื่ออื่นนอกเหนือจากตับจะมีปริมาณที่ต่ำกว่าที่พบในตับเป็นอย่างมาก แต่ปริมาณ CYP2B6 ที่พบปริมาณเพียงเล็กน้อยในสมองนี้อาจมีประโยชน์ต่อการเปลี่ยนแปลงยาที่ใช้ในระบบประสาทส่วนกลางและยาสำหรับระบบประสาทบางชนิดให้อยู่ในรูปแบบที่ออกฤทธิ์หรือไม่มีฤทธิ์ หรือช่วยลดอาการไม่พึงประสงค์ทางระบบประสาทจากยาและยาเสพติด เช่น ยาอี (1-methyl-4-phenyl-1,2,3,6-tetrahydropyridine; MPTP) เป็นต้น ซึ่งสาเหตุดังข้างต้นอาจช่วยอธิบายได้ว่าเหตุใดประสิทธิภาพของยาที่ใช้ในระบบประสาทส่วนกลางบางชนิดจึงไม่มีความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของยาในกระแสเลือด",
"title": "CYP2B6"
},
{
"docid": "586043#19",
"text": "การรับรู้เวลา (time perception) หมายถึงกระบวนการรับรู้และประสบการณ์ของการรับรู้เวลาที่ผ่านไป แม้ว่า ความรู้สึกเกี่ยวกับเวลา (sense of time) จะไม่เป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง งานวิจัยของนักจิตวิทยาและนักวิทยาศาสตร์ประสาทแสดงว่า สมองมนุษย์มีระบบควบคุมกลไกการรับรู้เวลา[16][17] ประกอบด้วยระบบต่าง ๆ ที่กระจายไปในสมองรวมทั้งในเปลือกสมอง (cerebral cortex) ซีรีเบลลัม และ basal ganglia องค์ประกอบอย่างหนึ่งก็คือ suprachiasmatic nucleus ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับจังหวะรอบวัน (circadian rhythm[18])",
"title": "ประสาทสัมผัส"
},
{
"docid": "994753#0",
"text": "เซลล์เบ็ตซ์ () เป็นเซลล์ประสาทพีระมิดขนาดยักษ์ในชั้นที่ 5 ของเนื้อเทาในเปลือกสมองสั่งการปฐมภูมิ (primary motor cortex)\nมีชื่อตามนักวิทยาศาสตร์ชาวยูเครน วลาดิเมียร์ เบ็ตซ์ (Vladimir Betz) ผู้ระบุลักษณะของเซลล์ในงานที่ตีพิมพ์ปี 1874\nเป็นเซลล์ประสาทที่ใหญ่สุดในระบบประสาทกลาง บางครั้งมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 100 ไมโครเมตร (μm)\nเซลล์เบ็ตซ์เป็นเซลล์ประสาทสั่งการบน (upper motor neuron, UMN) ที่ส่งแอกซอนลงไปยังไขสันหลังผ่านลำเส้นใยประสาทเปลือกสมอง-ไขสันหลัง (corticospinal tract) ในมนุษย์แอกซอนไปยุติที่ไซแนปส์กับเซลล์ประสาทในไขสันหลังปีกหน้า (anterior horn) ซึ่งก็ส่งแอกซอนไปยังกล้ามเนื้อที่เป็นเป้าหมาย\nแม้เซลล์จะมีเดนไดรต์ที่เป็นยอดหนึ่งอันเหมือนกับเซลล์ประสาทพีระมิดทั่วไป แต่ก็มีก้านเดนไดรต์หลัก (primary dendritic shaft) หลายอัน ซึ่งสามารถงอกออกจากตัวเซลล์ (soma) เกือบได้ทุกจุด\nเดนไดรต์รอบตัวเซลล์เช่นนี้บวกกับเดนไดรต์ที่ฐาน (basal dendrite) ส่งไปยังชั้นทุกชั้นในเปลือกสมอง แต่สาขาในแนวนอนจะส่งไปยังชั้นที่ 5 และ 6 โดยมีบางส่วนที่ส่งลงไปถึงเนื้อขาว\nงานศึกษาหนึ่งแสดงว่า เปลือกสมองสั่งการปฐมภูมิของมนุษย์ชั้น 5b (Vb) เป็นเซลล์เบ็ตซ์ 10% ในบรรดาเซลล์พีระมิดทั้งหมด",
"title": "เซลล์เบ็ตซ์"
},
{
"docid": "813118#15",
"text": "เซโรโทนินเป็นสารสื่อประสาทที่มีบทบาทหลายอย่างรวมทั้งความก้าวร้าว ความเจ็บปวด การนอนหลับ ความอยากอาหาร ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า ไมเกรน และการอาเจียน[8] ในมนุษย์ ผลของการมีเซโรโทนินเกินพบเป็นครั้งแรกในปี 2503 ในคนไข้ที่ได้รับยา monoamine oxidase inhibitor (MAOI) ร่วมกับทริปโตเฟน[41] เป็นผลของการมีเซโรโทนินเกินในระบบประสาทกลาง[4] ในตอนแรก สงสัยกันว่าเป็นการทำการ (agonism) ของ ตัวรับ 5-HT1A ของเซลล์ประสาทในเขต central grey nuclei และ medulla ที่เป็นเหตุของความเป็นพิษ[42]",
"title": "กลุ่มอาการเซโรโทนิน"
},
{
"docid": "568257#7",
"text": "คำว่า \"basal (ฐาน) \" นั้น มาจากความที่องค์ประกอบโดยมากของ basal ganglia อยู่ในส่วนฐานของสมองส่วนหน้า ส่วนคำว่า \"ganglia\" นั้นเป็นการใช้ชื่อที่ไม่เหมาะสม เพราะว่า ในปัจจุบัน กลุ่มเซลล์ประสาทจะเรียกว่า \"ganglia (ปมประสาท) \" ก็ต่อเมื่ออยู่ในระบบประสาทส่วนปลาย แต่เมื่ออยู่ในระบบประสาทกลาง ก็จะเรียกว่า \"นิวเคลียส (nucleus) \" ดังนั้น basal ganglia บางครั้งจึงรู้จักกันว่า \"basal nuclei\" Terminologia anatomica (เผยแพร่ในปี ค.ศ. 1998) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลเกี่ยวกับการตั้งชื่อส่วนต่าง ๆ ของกายมนุษย์ ใช้คำว่า \"nuclei basales\" แต่คำนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้",
"title": "ปมประสาทฐาน"
},
{
"docid": "58892#33",
"text": "เซลล์ประสาทนำเข้า (Afferent neuron) ส่งข้อมูลจากเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ไปยังระบบประสาทกลาง โดยบางครั้งเรียกว่า เซลล์ประสาทรับความรู้สึก (sensory neurons) เซลล์ประสาทส่งออก (Efferent neuron) ส่งสัญญาณจากระบบประสาทกลางไปยังเซลล์ปฏิบัติงาน (effector cell) โดยบางครั้งเรียกว่า เซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron) เซลล์ประสาทต่อประสาน (interneuron) เชื่อมนิวรอนภายในเขตโดยเฉพาะ ๆ ของระบบประสาทกลาง",
"title": "เซลล์ประสาท"
},
{
"docid": "563366#20",
"text": "หน่วยรับความรู้สึกบนผิวของเซลล์ เป็นส่วนประกอบของเซลล์ที่สอดส่องดูตัวกระตุ้น และตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อม โดยส่งสัญญาณไปยังศูนย์ควบคุมในร่างกายเพื่อการประมวลผลและการตอบสนอง คือ เซลล์จะแปรตัวกระตุ้นโดยกระบวนการการถ่ายโอนความรู้สึกเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่รู้จักกันว่า ศักย์ตัวรับความรู้สึก แล้วส่งสัญญาณเดินทางผ่านวิถีประสาทเฉพาะของตนไปยังระบบประสาทกลาง เพื่อจะให้เกิดการตอบสนองของทั้งระบบ หน่วยรับความรู้สึกแต่ละอย่างตอบสนองต่อพลังงานของตัวกระตุ้นแบบเดียวเท่านั้นที่เป็น การกระตุ้นที่เหมาะสม (adequate stimulus) ของหน่วยรับความรู้สึก และตอบสนองต่อตัวกระตุ้นที่อยู่ในเขตระดับจำกัด (เช่นมนุษย์ได้ยินเสียงในระดับความถี่ที่จำกัด) ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของสัตว์นั้น ๆ ข้อมูลตัวกระตุ้นสามารถแพร่ไปทั่วทั้งร่างกาย เบื้องต้นโดย ผ่านการถ่ายโอนเชิงกล (mechanotransduction) หรือการถ่ายโอนเชิงเคมี (chemotransduction) อย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของตัวกระตุ้น",
"title": "ตัวกระตุ้น"
},
{
"docid": "801577#0",
"text": "ระบบรางวัล หรือ ระบบการให้รางวัล\n() เป็นโครงสร้างทางประสาทที่จำเป็นเพื่ออำนวยผลของการเสริมแรง (reinforcement) พฤติกรรม คือเพิ่มความถี่ของพฤติกรรมนั้น ๆ\nส่วนรางวัล (reward) เป็นสิ่งเร้าที่สร้างความหิวกระหายให้กับมนุษย์หรือสัตว์อื่น ๆ เพื่อให้เปลี่ยนพฤติกรรม\nโดยปกติทำงานเป็นตัวเสริมแรง (reinforcer)\nซึ่งเป็นสิ่งที่เมื่อให้หลังจากมีพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง จะทำให้พฤติกรรมนั้นมีโอกาสการเกิดเพิ่มขึ้น\nให้สังเกตว่า แม้ว่าสิ่งหนึ่ง ๆ อาจจะเรียกว่ารางวัล แต่ไม่จำเป็นที่มันจะเป็นตัวเสริมแรง\nเพราะว่ารางวัลจะเป็นตัวเสริมแรงได้ก็ต่อเมื่อถ้าให้แล้วเพิ่มความน่าจะเป็นของพฤติกรรมนั้น ๆ",
"title": "ระบบรางวัล"
},
{
"docid": "936852#16",
"text": "ระบบประสาทประกอบด้วยระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) และระบบประสาทนอกส่วนกลางประกอบด้วยเส้นประสาทและปมประสาทนอกสมองและไขสันหลัง สมองเป็นอวัยวะแห่งความคิด อารมณ์ ความทรงจำ และการประมวนทางประสาทสัมผัส และทำหน้าที่ในหลายมุมมองของการสื่อสารและควบคุมระบบและหน้าที่ต่าง ๆ ความรู้สึกพิเศษประกอบด้วย การมองเห็น การได้ยิน การรับรู้รส และการดมกลิ่น ซึ่ง ตา,หู, ลิ้น, และจมูกรวบรวมข้อมูลจากสิ่งรอบตัว",
"title": "ร่างกายมนุษย์"
},
{
"docid": "365342#1",
"text": "การติดเชื้อโปลิโอกว่า 90% จะไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ โดยผู้ติดเชื้ออาจมีอาการได้หลายอย่างหากได้รับไวรัสเข้ากระแสเลือด ผู้ป่วย 1% จะมีการติดเชื้อไวรัสเข้าสู่ระบบประสาทกลาง ทำให้เซลล์ประสาทสั่งการถูกทำลาย ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงและอัมพาตอ่อนเปียก ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนแรงได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับเส้นประสาทที่ถูกทำลาย รูปแบบที่พบบ่อยที่สุดคือโปลิโอไขสันหลัง ซึ่งทำให้มีอาการอ่อนแรงแบบไม่สมมาตรมักเป็นที่ขา โปลิโอก้านสมองส่วนท้ายทำให้เกิดการอัมพาตของกล้ามเนื้อที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทสมอง โปลิโอไขสันหลังและก้านสมองส่วนท้ายจะทำให้มีอาการร่วมกันทั้งการอัมพาตก้านสมองส่วนท้ายและไขสันหลัง",
"title": "โรคโปลิโอ"
},
{
"docid": "946631#7",
"text": "การจัดหมู่โมเลกุลส่งสัญญาณไม่ใช่ว่า จะเป็นไปตามธรรมชาติอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้นของสมาชิกในหมู่\nยกตัวอย่างเช่น โมเลกุลมีกลิ่น (odorant) จัดอยู่ในหมวดหมู่ต่าง ๆ มากมาย\nสารสื่อประสาทก็เหมือนกัน ซึ่งเริ่มตั้งแต่โมเลกุลเล็ก ๆ เช่น โดพามีน\nไปจนถึง neuropeptide เช่น เอ็นดอร์ฟิน\nนอกจากนั้น โมเลกุลบางอย่างอาจอยู่ในหมู่มากกว่าหนึ่ง\nเช่น เอพิเนฟรีนเป็นทั้งสารสื่อประสาทเมื่อหลั่งออกโดยระบบประสาทกลาง \nและเป็นฮอร์โมนเมื่อหลั่งออกโดยต่อมหมวกไตส่วนใน (adrenal medulla)",
"title": "การถ่ายโอนสัญญาณ"
},
{
"docid": "730814#1",
"text": "แนวคิดนี้จัดได้ว่าเป็นแนวคิดสุดขั้ว นักวิทยาศาสตร์บางคนมองว่าเป็นเทคโนโลยีการต่ออายุของคน เป้าหมายอีกอย่างของแนวคิดนี้คือการจัดเก็บจิตใจของคนไว้ในรูปแบบไฟล์ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการอยู่รอดของมนุษยชาติในยามเกิดภัยพิบัติทั่วโลกหรือต้องเดินทางข้ามดวงดาว นักอนาคตศาสตร์หลายคนเชื่อว่าแนวคิดนี้จะเป็นจุดที่สาขาวิชาประสาทวิทยาคำนวณและประสาทสารสนเทศมาพบกัน สามารถนำไปใช้ในงานวิจัยทางการแพทย์ได้ นอกจากนี้ นักวิจัยสายปัญญาประดิษฐ์หลายคนก็เชื่อว่าแนวคิดนี้นำไปสู่ปัญญาประดิษฐ์ทั่วไปที่หมายถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความฉลาดเทียบเท่ากับมนุษย์ไม่เฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และอาจนำไปสู่ภาวะเอกฐานทางเทคโนโลยี อันหมายถึงพัฒนาการของอารยธรรมที่เทคโนโลยีสามารถทำงานได้ระดับเดียวหรือเหนือกว่ามนุษย์",
"title": "การจำลองสมองทั้งหมด"
},
{
"docid": "586043#38",
"text": "การตรวจจับความดัน - สัตว์มีกระดูกสันหลังบางประเภทใช้ organ of Weber ซึ่งเป็นส่วนปลายของระบบประสาทที่มีรยางค์ (appendage) 3 ชิ้นซึ่งส่งข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของรูปร่างถุงอากาศ (gas bladder) ไปยังหูชั้นกลาง ปลาใช้ประสาทสัมผัสนี้ในการควบคุมการลอยตัว แต่ว่า ปลาในสกุล Miscurnus และปลาอันดับปลาตะเพียนปรากฏว่า มีการตอบสนองในบริเวณน้ำที่มีความดันต่ำแม้ว่าจะไม่มีถุงอากาศ การตรวจจับกระแสน้ำ เส้นข้าง ๆ (lateral line) ของปลาและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เป็นระบบตรวจจับกระแสน้ำ ซึ่งโดยมากเป็นกระแสวนที่เกิดขึ้นจากสัตว์น้ำอื่นที่อาจจะเป็นเหยื่อของตน นอกจากนั้นแล้ว ระบบ lateral line ยังมีความไวต่อความสั่นสะเทือนมีความถี่ต่ำด้วย ตัวรับแรงกล (mechanoreceptor) ในระบบเป็นเซลล์ขน เป็นประเภทเดียวกันกับในระบบการทรงตัวและความเร่ง (vestibular sense) และระบบการได้ยิน เป็นระบบที่โดยหลักใช้เพื่อหาทิศทาง เพื่อล่าเหยื่อ และเพื่อว่ายน้ำตามฝูง (schooling) ตัวรับความรู้สึกของการรับรู้สนามไฟฟ้ามีวิวัฒนาการมาจากเซลล์ขนของระบบ lateral line การรับรู้ทิศทางของแสงโพลาไรส์ หรือ การตรวจจับแสงโพลาไรส์ เป็นประสาทสัมผัสที่ผึ้งใช้เพื่อหาทิศทางของตน โดยเฉพาะในวันที่เมฆครึ้ม และหมึกกระดองก็สามารถรับรู้แสงโพลาไรส์ได้ด้วย มนุษย์ที่มีตาปกติโดยมากสามารถเรียนรู้การตรวจจับพื้นที่เขตใหญ่ที่มีแสงโพลาไรส์โดยใช้ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เรียกว่า Haidinger's brush[43] แต่ว่า นี่เป็นปรากฏการณ์ในระบบการเห็น ไม่ใช่เป็นประสาทสัมผัสอีกทางหนึ่ง อวัยวะคือ slit sensilla ของแมงมุม ซึ่งสามารถตรวจจับแรงกลที่โครงสร้างแข็งภายนอก (exoskeleton) และให้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงและความสั่นสะเทือน",
"title": "ประสาทสัมผัส"
},
{
"docid": "58892#20",
"text": "ทั้งเดนไดรต์และแอกซอนในระบบประสาทกลาง (CNS) โดยทั่วไปจะหนาประมาณ 1 ไมโครเมตร แต่ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) จะหนากว่า ส่วนตัวเซลล์มีขนาดประมาณ 10-25 ไมโครเมตรและมักจะไม่ใหญ่กว่านิวเคลียสของเซลล์ที่อยู่ในมันมากนัก แอกซอนของเซลล์ประสาทสั่งการของมนุษย์ที่ยาวที่สุดอาจจะยาวกว่า 1 เมตร โดยวิ่งจากกระดูกสันหลังไปยังนิ้วเท้า ส่วนแอกซอนของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกอาจวิ่งจากนิ้วเท้าไปถึง posterior column ของไขสันหลัง ซึ่งยาวกว่า 1.5 เมตรในผู้ใหญ่ ส่วนยีราฟอาจมีแอกซอนยาวหลายเมตรวิ่งไปตามคอของมันทั้งหมด",
"title": "เซลล์ประสาท"
},
{
"docid": "601925#2",
"text": "ความเจ็บปวดและความรู้สึกอื่น ๆ ในอวัยวะที่ไม่มี เกิดจากความเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทกลางที่เกิดขึ้นเนื่องจากการตัดประสาท (denervation) จากอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง \nแต่ว่า ความเจ็บปวดในตาที่ไม่มีเกิดขึ้นน้อยกว่าการเจ็บปวดในอวัยวะอื่นเช่นแขนขาเป็นต้นที่ไม่มี\nความเจ็บปวดในแขนขาที่ตัดออกมีอัตราความชุกประมาณ 50% ถึง 78% เปรียบเทียบกับความเจ็บปวดในลูกตาที่เอาออกประมาณ 30%",
"title": "กลุ่มอาการหลงผิดว่าตายังคงอยู่"
},
{
"docid": "308056#38",
"text": "อาการทางระบบประสาทชั้นสูง เช่น ความรู้สึกเปลี้ย อารมณ์แปรปรวน และอาการอื่นๆ เป็นผลตามมาที่พบได้ทั่วไป แม้ในผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบประสาทฟื้นตัวอย่างดีก็ยังพบมีภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) และการเสื่อมถอยของสติปัญญาได้บ่อย ผู้ป่วยเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางถึง 46% จะมีความบกพร่องของภาวะการรับรู้ที่รุนแรงถึงขั้นส่งผลต่อคุณภาพชีวิต[3] ผู้ป่วยถึง 60% มีอาการปวดศีรษะ[49] เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางที่เกิดจากหลอดเลือดโป่งพองอาจทำให้มีความเสียหายต่อไฮโปทาลามัสและต่อมใต้สมอง ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมและผลิตฮอร์โมนของร่างกาย ผู้ป่วยที่เคยมีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางถึงกว่าหนึ่งในสี่มีภาวะต่อมใต้สมองทำงานน้อย ทำให้มีฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดน้อยกว่าปกติ ฮอร์โมนเหล่านี้ เช่น โกรธฮอร์โมน (Growth hormone) เฟชเอสเอช (Follicle-stumulating hormone) แอลเอช (luteinizing hormone) เป็นต้น[50]",
"title": "เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง"
},
{
"docid": "137370#5",
"text": "โครงสร้างพื้นฐานของซีเอ็นเอสมีการเก็บรักษาเอาไว้ในระหว่างวิวัฒนาการของสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด วิวัฒนาการของสมองที่เห็นได้ชัดเจนคือการเจริญเป็นเทเลนเซฟาลอน ในสมองของสัตว์เลื้อยคลานโครงสร้างดังกล่าวเป็นเพียงแค่ติ่งเมื่อเทียบกับออลแฟคทอรี บัลบ์ (olfactory bulb) ที่มีขนาดใหญ่ ในขณะที่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลับมีขนาดใหญ่จนเป็นโครงสร้างส่วนใหญ่ของระบบประสาทส่วนกลาง ในสมองของมนุษย์ส่วนเทเลนเซฟาลอนจะใหญ่จนคลุมส่วนไดเอนเซฟาลอนและสมองส่วนกลาง ในการศึกษาการเจริญเติบโตของสมองที่สัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต (allometric study) ในระหว่างสัตว์แต่ละชนิดแสดงให้เห็นความต่อเนื่องที่โดดเด่นระหว่างหนูถึงปลาวาฬ และทำให้ทราบเกี่ยวกับความรู้ด้านวิวัฒนาการของระบบประสาทกลางจากการศึกษารอยบนกะโหลกที่เกิดจากสมอง",
"title": "ระบบประสาทกลาง"
},
{
"docid": "352281#2",
"text": "จอร์จ เลคอฟ (George Lakoff) และ มาร์ค จอห์นสัน (Mark Johnson) ผู้ริเริ่มทฤษฎีอุปลักษณ์มโนทัศนี้ทำให้การศึกษาอุปลักษณ์เชิงปริชานกลายเป็นการศึกษาที่มีความสำคัญ ไม่เฉพาะต่อการศึกษาวิจัยด้านภาษาศาสตร์ แต่ยังรวมถึงการศึกษาด้านปรากฏการณ์ทางสังคม โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาในชีวิตประจำวันของมนุษย์ เลคอฟอธิบายเกี่ยวกับอุปลักษณ์ว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน และไม่ใช่อยู่แค่ในภาษา แต่ยังอยู่ในทั้งความคิดและการกระทำ ระบบมโนทัศน์ (conceptual system) ที่ทำให้มนุษย์เราสามารถคิดและทำสิ่งต่างๆ ได้ล้วนมีพื้นฐานมาจากอุปลักษณ์ทั้งสิ้น มโนทัศน์ (concepts) ที่มีผลต่อความคิดของมนุษย์เรานั้นแท้จริงแล้วมิได้เป็นระบบที่ปราดเปรื่องแต่อย่างใด มโนทัศน์เพียงทำหน้าที่รวบรวมรายละเอียดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกิจกรรมที่เราทำทุกๆ วัน และประกอบโครงสร้างของสิ่งที่เรารับรู้ผ่านประสาทสัมผัส วิธีปฏิบัติของเราที่มีต่อสิ่งรอบตัว รวมทั้งการที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทั้งหมดนี้คือบทบาทของระบบการสร้างมโนทัศน์ของมนุษย์เรา",
"title": "อุปลักษณ์"
}
] |
480 | ใครคือปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี? | [
{
"docid": "4219#0",
"text": "ราชวงศ์จักรี เป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรสยามต่อจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจนถึงปัจจุบัน โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระนามเดิม ทองด้วง ทรงสืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา) ทรงสถาปนาราชวงศ์โดยการปราบดาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2325 ยุคของราชวงศ์นี้ เรียกว่า \"ยุครัตนโกสินทร์\"",
"title": "ราชวงศ์จักรี"
}
] | [
{
"docid": "476288#2",
"text": "ท่านได้รับราชการมาตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีบรรดาศักดิ์เป็นพระแม่กลอง เจ้าเมืองสมุทรสงครามคนแรก จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ในปี พ.ศ. 2325 ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาราชบุรี เป็นเจ้าเมืองราชบุรีคนแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์",
"title": "เจ้าพระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์)"
},
{
"docid": "16485#0",
"text": "ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325",
"title": "อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)"
},
{
"docid": "37776#33",
"text": "ราชวงศ์จักรี ณ อยุธยา พระราชสกุลวงศ์ในรัชกาลปัจจุบัน ลำดับพระปฐมวงศ์ในพระบรมราชวงศ์จักรี นามสกุลพระราชทาน",
"title": "ราชสกุล"
},
{
"docid": "17119#10",
"text": "สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และโปรดเกล้าให้ย้ายราชธานีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และในต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า กรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระราชโอรสพระองค์โตในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์เช่นกัน",
"title": "อาณาจักรธนบุรี"
},
{
"docid": "861445#2",
"text": "หลังจากที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ในฐานะพระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงได้เลื่อนขึ้นเป็น \"พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าลำดวน\"",
"title": "หม่อมลำดวน"
},
{
"docid": "4219#2",
"text": "สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก \"จะกล่าวถึงเจ้านายจำพวกซึ่งเป็นปฐมเป็นต้นแซ่ต้นสกุลเจ้าฟ้าแลพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์แลเจ้าราชินิกุลที่เรียกนามว่า คุณ ว่า หม่อม มีบรรดาศักดิ์เนื่องในพระบรมราชวงศ์นี้ ซึ่งบัดนี้เป็นจำพวกต่างๆอยู่ จะให้รู้แจ้งว่าเนื่องมาแต่ท่านผู้ใด พระองค์ใด เป็นเดิมแต่แรกตั้งกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยานี้มา พึงรู้โดยสังเขปว่าบุรุษนารีมีบรรดาศักดิ์ ซึ่งเรียกว่าเป็นจำพวกเจ้า คือเจ้าฟ้าแลพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ทั้งปวงนั้น ล้วนปฏิพัทธ์พัวพันสืบต่อลงมาแต่องค์<b data-parsoid='{\"dsr\":[2386,2414,3,3]}'>สมเด็จพระมหาไปยกาธิบดี คือ องค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ พระเจ้าหลวงของพระบาทสมเด็จพระปรโมรุถชามหาจักรีบรมนาถ ซึ่งปรากฏพระนามในบัดนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งเป็นปฐมบรมอัครมหาราชาธิราชในพระบรมมหาราชวัง\"",
"title": "ราชวงศ์จักรี"
},
{
"docid": "77423#3",
"text": "เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์นั้นมีความเป็นมาสืบเนื่องมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สร้างและตั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ โดยมีลักษณะเป็นสายสร้อยพระสังวาลย์ประดับเนาวรัตน์ ใช้เป็นเครื่องสำหรับพิชัยสงครามและสำหรับพระมหากษัตริย์ทรงเมื่อพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ก็ทรงได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มา และทรงสร้าง \"พระสังวาลย์นพรัตน์ราชวราภรณ์\" ขึ้นใหม่ เป็นสังวาลย์แฝดประดับเนาวรัตน์ ประกอบด้วย เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย ไพฑูรย์ มีลักษณะเป็นดอก ๆ วางสลับกันตลอดสาย[1]",
"title": "เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์"
},
{
"docid": "4232#36",
"text": "รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย พระปฐมวงศ์ในพระบรมราชวงศ์จักรี",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย"
},
{
"docid": "83335#0",
"text": "พระปฐมวงศ์ใน พระบรมราชวงศ์จักรี",
"title": "พระปฐมวงศ์ในราชวงศ์จักรี"
},
{
"docid": "45706#13",
"text": "เบื้องบนมีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ป.ร.ร. 4 ไขว้กัน โดยย่อมาจากคำว่า \"บรมราชาธิราชรามาธิบดีที่ 4\" อันหมายถึง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์[6] และมีพระมหามงกุฎทองรัศมีเงิน ด้านหลังเป็นรูปครุฑ ปราสาท มหามงกุฏ และจุลมงกุฏทำด้วยทอง พื้นลงยาสีเขียว ขอบรอบลงยาสีแดง และมีอักษรทองว่า \"ปีมะเมีย จัตวาศก ศักราช ๑๒๔๔\" และ “ปฐมรัชกาลเป็นปีที่ครบร้อย” โดยตรามหาจักรีสำหรับพระราชทานฝ่ายในนั้นจะมีลักษณะเช่นเดียวกับที่พระราชทานสำหรับฝ่ายหน้า แต่ขนาดย่อมกว่า สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมราชินีดวงตราจะประดับเพชรทั้งดวง",
"title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์"
},
{
"docid": "6523#27",
"text": "สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เป็นพระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมชื่อ \"ทองดี\" เป็นบุตรชายของพระยาราชนิกูล (ทองคำ) ประสูติที่บ้านสะแกกรัง ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมืองอุทัยธานี ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (พ.ศ. 2251-2275) ได้รับราชการเป็นพระพินิจอักษร และต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระอักษรสุนทรสาสน์ มีหน้าที่แต่งราชสาสน์และท้องตราที่ไปมากับหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งเป็นผู้เก็บรักษาตราพระราชลัญจกรอันเป็นตราของแผ่นดิน พระอักษรสุนทรสาสน์ได้แต่งงานกับสตรีงามชื่อ \"หยก\" (บางแห่งเรียกดาวเรือง) มีบุตร-ธิดา 5 คนคือ",
"title": "จังหวัดอุทัยธานี"
},
{
"docid": "11654#4",
"text": "หลวงสรวิชิต (ในเวลานั้น) ออกไปรับสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกถึง ทุ่งแสนแสบ แล้วบอกข้าราชการต่าง ๆ จากนั้นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้เข้ามาปราบเหตุจลาจลในพระนครแล้วปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์จักรี",
"title": "เจ้าพระยาพระคลัง (หน)"
},
{
"docid": "45706#0",
"text": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (English: The Most Illustrious Order of the Royal House of Chakri) มีอักษรย่อว่า ม.จ.ก. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี[1] ซึ่งพระมหากษัตริย์จะพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ที่สืบเนื่องโดยตรงในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกหรือผู้ซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ดังกล่าวได้เสกสมรส นอกจากนี้ ยังสามารถพระราชทานแก่ประมุขของต่างประเทศด้วย[2]",
"title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์"
},
{
"docid": "63575#0",
"text": "สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระนามเดิม ทองดี เป็นสมเด็จพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เนื่องด้วยทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์",
"title": "สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก"
},
{
"docid": "4226#60",
"text": "รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย พระปฐมวงศ์ในราชวงศ์จักรี",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"
},
{
"docid": "45706#2",
"text": "เมื่อปี พ.ศ. 2425 ในโอกาสครบรอบการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีมาเป็นเวลาครบ 100 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระราชทานนามเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ว่า \"เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์\" หรือเรียกอย่างย่อว่า \"ตรามหาจักรีบรมราชวงศ์\" สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ที่สืบเนื่องโดยตรงในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก",
"title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์"
},
{
"docid": "861503#2",
"text": "หลังจากที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ในฐานะพระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงได้เลื่อนขึ้นเป็น \"พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอินทปัต\"",
"title": "หม่อมอินทปัต"
},
{
"docid": "4219#15",
"text": "พระบรมราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาล พระราชลัญจกรประจำรัชกาล ลำดับพระปฐมวงศ์ในพระบรมราชวงศ์จักรี ราชสกุลวงศ์ในราชวงศ์จักรี กรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข พระยศเจ้านายไทย",
"title": "ราชวงศ์จักรี"
},
{
"docid": "4219#3",
"text": "จึงนับได้ว่า สมเด็จพระมหาไปยกาธิบดี หรือ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เป็นพระมหาชนกพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี และเป็นเจ้านายแห่งราชวงศ์จักรีพระองค์แรกอย่างแท้จริง โดย พระมหาสังข์เดิม ซึ่งเป็นพระมหาสังข์ที่ใช้บรรจุพระบรมอัฐของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งปัจจุบันใช้รดน้ำในพระราชพิธีมงคลให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้น",
"title": "ราชวงศ์จักรี"
},
{
"docid": "19985#3",
"text": "เจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครลำปาง พระโอรสพระองค์ใหญ่ของเจ้าฟ้าชายแก้ว ได้ร่วมกับพระอนุชาทั้ง 6 พระองค์ และ \"พระยาจ่าบ้าน\" เจ้านครเชียงใหม่ กอบกู้ล้านนาภายใต้การสนับสนุนจากทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ในปี พ.ศ. 2317 ซึ่งในครั้งนั้นได้โปรดฯ ให้ \"เจ้าพระยาจักรี\"และ \"เจ้าพระยาสุรสีห์\" ยกกองทัพไปช่วยปราบพม่า เมื่อยึดนครเชียงใหม่และนครลำปางได้แล้ว จึงโปรดฯ ให้พระยาจ่าบ้านเป็นพระยาวิเชียรปราการครองนครเชียงใหม่ และเจ้ากาวิละเป็นพระยานครลำปาง ในการรบครั้งนั้น เจ้าพระยาสุรสีห์ได้พบรักกับเจ้าศรีอโนชา พระขนิษฐาของพระยากาวิละ และได้ทูลขอจากเจ้าฟ้าชายแก้ว ซึ่งต่อมาเจ้าหญิงศรีอโนชาได้สร้างวีรกรรมสำคัญยิ่งในการปกป้องพระนครจากพระยาสรรค์ ซึ่งก่อการกบฏต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งขณะนั้นเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ พระสวามีติดการสงครามที่เขมร หลังจากปกป้องพระนครเสร็จ ได้เชิญเจ้าพระยาจักรีกลับพระนครและปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์",
"title": "ราชวงศ์ทิพย์จักร"
},
{
"docid": "4226#0",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ขณะมีพระชนมายุได้ 46 พรรษา และทรงย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ",
"title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"
},
{
"docid": "6523#6",
"text": "ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (พ.ศ. 2251-2275) นั้น จมื่นมหาสนิท (ทองคำ) ซึ่งย้ายมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสะแกกรังนั้น ได้รับแต่งตั้งเป็นพระยาราชนิกูล และต่อมาได้กำเนิดบุตรชายคนโตชื่อ \"ทองดี \" เกิดที่สะแกกรัง สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกฯ พระนามเดิม ทองดี เดิมทรงรับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระเจ้าบรมโกศ) ได้ดำรงตำแหน่งพระอักษรสุนทร เสมียนตรากรมมหาดไทย ถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระเจ้าเอกทัศ) พม่ายกกองทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา เกิดการระส่ำระสายแตกสามัคคีในพระนคร จึงทรงอพยพครอบครัวไปรับราชการกับเจ้าเมืองพิษณุโลก ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายกอัครมหาเสนาบดี อภัยพิริยปรากรมพาหุ ต่อมาทรงพระประชวร สิ้นพระชนม์ในเมืองพิษณุโลก บุตรชายชื่อ \"ทองด้วง\" ภายหลังได้รับราชการเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และสถาปนาเป็นกษัตริย์ราชวงศ์จักรีปกครองแผ่นดินทรงพระนามว่า \"พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก\" ทรงอัญเชิญพระอัฐิส่วนหนึ่งประดิษฐาน ณ หอพระในพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการถวายบังคมในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาในฐานะสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกแห่งราชวงศ์จักรี พระอัฐิอีกส่วนหนึ่ง กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท อัญเชิญเข้าประดิษฐานในพระเจดีย์ทองในพระมณฑปวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ มีประเพณีที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งเครื่องทองน้อย เพื่อสักการบูชาทุกครั้งที่เสด็จพระราชดำเนิน",
"title": "จังหวัดอุทัยธานี"
},
{
"docid": "4249#52",
"text": "รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย พระปฐมวงศ์ในพระบรมราชวงศ์จักรี",
"title": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "754626#0",
"text": "มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม หรือ สุเหร่าเขียว ได้รับการขึ้นทะเบียนมัสยิดเลขหมายทะเบียน 5 มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลละหาร อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ณ ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492) โดยมีนายกาเซ็ม เจริญสุข เป็นอิหม่าม และเป็นมัสยิดสายซุนนี ที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี เรื่องราวของชุมชนมลายูมุสลิมบ้านสุเหร่าเขียว เป็นชุมชนที่เกิดต่อจากชุมชนมุสลิมบ้านปากลัด จังหวัดสมุทรปราการ และชุมชนบ้านท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ที่เกิดขึ้นตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกในราชวงศ์จักรี เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์",
"title": "มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม"
},
{
"docid": "55138#12",
"text": "หลังจากท่านได้ถูกสำเร็จโทษ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีเฉลิมพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์จึงได้มีรับสั่งให้สร้างพระปรางค์นำอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ ณ วัดราชคฤห์วรวิหาร ซึ่งพระปรางค์นี้ก็ยังปรากฏสืบมาจนปัจจุบัน",
"title": "พระยาพิชัยดาบหัก"
},
{
"docid": "174845#25",
"text": "ส่วนนายฉลองไนยนารถ (บุนนาค) บุตรคนที่ห้าของเจ้าพระยามหาเสนา (เสน) ได้แต่งงานกับท่านลิ้ม ธิดาพระยาธิเบศร์บดีจางวางมหาดเล็ก มีธิดาคนหนึ่งชื่อ ตานี เมื่อกรุงเก่าจวนจะเสียแก่พม่า นายฉลองไนยนารถได้พาภรรยา ธิดา และนายก้อนแก้ว ซึ่งเป็นบุตรของลุง ออกไปอยู่กับหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี (คือ นายทองด้วง ซึ่งต่อมาปราบดาภิเษกเป็นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี)",
"title": "สกุลบุนนาค"
},
{
"docid": "70371#1",
"text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีในปี พ.ศ. 2325 โปรดให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์ใหญ่เป็น\"กรมพระเทพสุดาวดี\" ตั้งเจ้ากรมเป็นพระยาเป็นกรณีพิเศษ จึงนิยมออกพระนามว่า\"กรมพระยาเทพสุดาวดี\"",
"title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี"
},
{
"docid": "194384#4",
"text": "หลังจากสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว ด้วยความสัมพันธ์ในฐานะพระญาติระหว่างราชวงศ์จักรีและราชวงศ์ทิพย์จักร เนื่องด้วยเจ้าศรีอโนชา พระขนิษฐาในพระเจ้ากาวิละ ได้เป็นพระอัครชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กอปรกับพระเจ้ากาวิละและเจ้านายฝ่ายเหนือได้ถวายความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรีมาแต่ก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงสู้ขับไล่ข้าศึกพม่าให้พ้นแผ่นดินล้านนา ขยายขอบขัณฑสีมาอาณาจักรออกไปอย่างกว้างใหญ่ ได้กวาดต้อนผู้คนและสิ่งของจากหัวเมืองน้อยใหญ่ที่หนีภัยสงครามในช่วงที่พม่ายึดครอง และทรงสร้างบ้านแปงเมืองอาณาจักรล้านนาใหม่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระนามพระยากาวิละขึ้นเป็น \"พระบรมราชาธิบดี\" เป็นพระเจ้าประเทศราชปกครองเมืองเชียงใหม่และ 57 หัวเมืองล้านนา",
"title": "นครเชียงใหม่"
},
{
"docid": "44512#2",
"text": "หลังจากที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกที่พระราชทานพระฐานันดรศักดิ์เป็น \"เจ้าฟ้าทรงกรม\" เป็นกรณีพิเศษเพียงพระองค์เดียวในจำนวนพระราชโอรสธิดาในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท และเป็น \"เจ้าฟ้าวังหน้า\" พระองค์แรก (ส่วนพระองค์ที่สุดท้ายคือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์)",
"title": "สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าพิกุลทอง กรมขุนศรีสุนทร"
},
{
"docid": "18639#12",
"text": "เมื่อพระยากาวิละตีเชียงแสนได้แล้ว เป็นช่วงเวลาที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระยากาวิละที่นำไพร่พลและเชลยลงไปเฝ้า ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น \"พระยาวชิรปราการ\" เจ้านครเชียงใหม่ พร้อมกันนี้โปรดเกล้าให้ เจ้าหนานธัมลังกาเป็นพระยาอุปราชนครเชียงใหม่ และให้เจ้าคำสม เป็นพระยานครลำปาง และเจ้าดวงทิพ เป็นพระยาอุปราชนครลำปาง",
"title": "พระเจ้ากาวิละ"
}
] |
609 | ใครคือศาสดาของศาสนาอิสลาม? | [
{
"docid": "3832#0",
"text": "ศาสนาอิสลาม (English: Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม",
"title": "ศาสนาอิสลาม"
}
] | [
{
"docid": "17466#2",
"text": "ชีอะฮ์มีความเชื่อว่า พระองค์อัลลอฮ์ คือพระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน คือพระผู้ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง ศาสนาของพระองค์ก็เป็นศาสนาที่บริสุทธิ์ ศาสดามุฮัมมัด (ศ) ศาสนทูตของพระองค์ก็ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และผู้สืบทอดตำแหน่งของศาสดาของพระองค์ก็จำเป็นจะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์เท่านั้น\nและเมื่อศาสนทูตของพระองค์ พระองค์เป็นผู้ทรงแต่งตั้ง ดังนั้นตัวแทนของศาสนทูตของพระองค์ พระองค์ก็จะต้องเป็นผู้แต่งตั้งเช่นเดียวกัน มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระองค์ มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาแต่งตั้งผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระองค์",
"title": "ชีอะฮ์"
},
{
"docid": "963213#2",
"text": " ฮะดีษบทหนึ่งจากท่านศาสดาอิสลาม (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึงบรรดาชะฮีดว่าชะฮีดกลุ่มที่ ๕ ถือเป็นชะฮีดกลุ่มแรกในศาสนาอิสลาม โดยบุคคลแรกที่ได้รับสถานภาพชะฮีดคือ สุมัยยะฮ์ มารดาของอัมมารยาซีร หลังจากนั้นคือท่านฮัมซะ (ลุงศาสดาแห่งอิสลาม) และท่านฮุเซนบินอาลี (หลานท่านศาสดาแห่งอิสลาม) โดยได้รับสมญานามว่า “หัวหน้าบรรดาชะฮีด”.",
"title": "ชะฮีด"
},
{
"docid": "963213#4",
"text": " นิยามของ “ชะฮาดัต” ในหลักการศาสนาอิสลาม คือ การถูกสังหารในหนทางของพระเจ้า. ในศาสนาอิสลามเรียกบุคคลที่เสียสละชีวิตของตนเองในหนทางแห่งพระเจ้าว่า “ชะฮีด”. ตามศาสนบัญญัติของอิสลาม ผู้ที่เป็นชะฮาดัตไม่จำเป็นต้องทำฆุซุล (อาบน้ำศพ) และทำกะฟัน (ห่อศพ). โดยในหลักฐานบางส่วนได้รับจากวัจนะของศาสดาอิสลามได้บันทึกว่า บุคคลที่ได้รับตำแหน่งชะฮีด เขาจะได้เข้าสรวงสวรรค์โดยไม่มีการสอบสวนและคิดบัญชีใดๆ ทั้งนั้นสิ้น แม้กระทั่งการสอบสวนนั้นจะเป็นเรื่องราวของฮักกุลนาส (การลิดรอนสิทธิเพื่อนมนุษย) ก็ตาม. ",
"title": "ชะฮีด"
},
{
"docid": "16796#0",
"text": "มุสลิม (Arabic: مُسلِم) เป็นบุคคลที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยมีคำภีร์อัลกุรอานเป็นคำภีร์ของศาสนานี้ และเชื่อมั่นว่าอัลลอฮ์ได้ส่งญิบรีลเพื่อให้มุฮัมหมัดเป็นศาสดาคนสุดท้ายของศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ปฏิบัติตามการกระทำของมุฮัมหมัด (ซุนนะฮ์) ตามที่มีการจดบันทึกในรายงานต่างๆ (ฮะดีษ)[26] \"มุสลิม\" เป็นคำศัพท์ภาษาอาหรับหมายถึง \"ผู้เคารพ\" (ต่อพระเจ้า)[27]",
"title": "มุสลิม"
},
{
"docid": "111134#5",
"text": "อย่างไรก็ตามศาสนาอิสลามจะเกาะเกี่ยวกับความเป็นมลายูตลอด เมื่อใครเข้ารับศาสนาอิสลามหรือเข้าอิสลามก็จะเรียกว่าเข้ามลายู (มาโซะ มลายู หรือมะโซะยาวี) หรือ เป็นมลายูซึ่งประเด็นนี้น่าสนใจเพราะเขาจะเรียกว่า\"เข้าไทย\"(มาโซะ ซีแย) เมื่อมีใครเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธในทำนองเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ขณะเดียวกันชีวิตวัฒนธรรม โดยเฉพาะภาษามลายูก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง ถึงกับมีคำกล่าวว่า “ฮีลัง บาฮาซา ฮีลัง บังซา” แปลเป็นไทยได้ว่า “ถ้าภาษา (มลายู) หาย ชาติ (หรือความเป็นมลายู) ก็จะหายด้วย” ดังนั้นเขาจึงต้องต่อสู้เพื่อปกป้องชาติหรือความเป็นมลายูของตัวเองไม่ให้สูญสลายหายไป รวมทั้งพยายามยืนหยัดที่จะใช้ภาษามลายูสืบไป",
"title": "ไทยเชื้อสายมลายู"
},
{
"docid": "17004#43",
"text": "นบี (อาหรับ)แปลว่า ผู้พยากรณ์, ศาสดาพยากรณ์ คือ บุรุษที่อัลลอหฺทรงติดต่อด้วยเพื่อให้ทราบเรื่องศาสนาของพระองค์",
"title": "อภิธานศัพท์ศาสนาอิสลาม"
},
{
"docid": "590531#2",
"text": "สำหรับศาสนาอิสลามนั้น เบอร์นาร์ด ลิวอิส (Bernard Lewis) นักวิชาการ กล่าวว่า มีหลายจุดในคัมภีร์กุรอ่านที่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิปฏิวัติในศาสนาอิสลาม คัมภีร์ระบุไว้ชัดเจนว่า หน้าที่ต้องเชื่อฟังนั้นมีอยู่ กล่าวกันว่า มุฮัมมัดเคยเอ่ยว่า \"จงเชื่อฟังพระเจ้า จงเชื่อฟังศาสดา จงเชื่อฟังบรรดาผู้มีอำนาจเหนือเจ้า\" (\"Obey God, obey the Prophet, obey those who hold authority over you.\") แต่ก็มีถ้อยคำที่สร้างข้อจำกัดแก่หน้าที่ต้องเชื่อฟังนั้นอยู่เช่นกัน ในการนี้ มีดำรัสศาสดาอยู่สองข้อซึ่งยอมรับนับถือทั่วกันว่า ถูกต้องแท้จริง ข้อหนึ่งว่า \"อย่าหัวอ่อนต่อบาป\" (\"there is no obedience in sin\") กล่าวคือ ถ้าผู้ปกครองสั่งการอันใดอันขัดต่อเทวบัญญัติ ก็ไม่มีหน้าที่ต้องเชื่อฟัง อีกข้อหนึ่งว่า \"อย่าศิโรราบต่อสัตว์ซึ่งขัดต่อพระผู้สร้าง\" (\"do not obey a creature against his Creator\") ข้อนี้สร้างกรอบสำหรับการใช้อำนาจของผู้ปกครอง ไม่ว่าผู้ปกครองนั้นจะเป็นผู้ใดในสายพระเนตรพระเจ้า",
"title": "สิทธิปฏิวัติ"
},
{
"docid": "36602#6",
"text": "มีรายงานจากชาวซุนนี ความว่าในขณะที่มุฮัมหมัดได้รับพระวจนะครั้งแรกกับเทวทูตญิบรีลในถ้ำฮิรอ เขากลับมาที่บ้านในสภาพที่กำลังกลัวแล้วบอกเธอว่าให้ห่มเขาด้วยผ้าห่ม หลังจากที่ใจเย็นแล้ว เคาะดีญะฮ์ได้พูดกับมุฮัมหมัดว่า: \"อัลลอฮ์จะกป้องเจ้าจากอันตรายทั้งปวง และจะไม่ให้ใครที่จะต่อว่าเขา ทั้งๆที่เขาเป็นคนที่นำมาซึ่งสันติภาพ...และมิตรภาพ\" เคาะดีญะฮ์จึงเป็นคนแรกที่นับถือศาสนาอิสลาม บางรายงานเขียนว่า วารอกะฮ์ อิบน์ เนาฟัลได้ยอมรับการเป็นศาสดาของมุฮัมหมัดทีหลัง",
"title": "เคาะดีญะฮ์ บินต์ คุวัยลิด"
},
{
"docid": "79741#0",
"text": "โมเสส (ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ มูซา (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (English: Moses; Hebrew: מֹשֶׁה; Arabic: موسى มูซา) เป็นผู้บัญญัติกฎและผู้เผยพระวจนะแก่วงศ์วานอิสราเอล ซึ่งเป็นที่มาของคัมภีร์โทราห์ในศาสนายูดาห์ หรือคัมภีร์เบญจบรรณในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ อีกทั้งยังเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ตามคติของศาสนาอิสลาม และเป็นศาสดาตามคติของศาสนาบาไฮ",
"title": "โมเสส"
},
{
"docid": "895267#4",
"text": "ตามสาระธรรมคำสอนของศาสนาอิสลามถือว่า ผู้ที่ทำบาปใหญ่แล้วไม่กลับตัวกลับใจ เขาคือคนชั่ว ซึ่งไม่อาจนมาซตามได้ การเป็นพยานของเขาจะไม่ถูกตอบรับ และภายหลังจากเสียชีวิตเขาคือผู้ที่ตัองได้รับการลงทัณฑ์จากพระผู้เป็นเจ้า นอกเสียจากว่าพระผู้เป็นเจ้าจะโปรดปรานแก่เขา โดยผ่านการได้รับการอนุเคราะห์จากท่านศาสดาแห่งอิสลามและลูกหลานผู้บริสุทธิ์ของท่าน ท่านศาสดาแห่งอิสลามได้ดำรัสไว้เกี่ยวกับการให้การอนุเคราะห์ว่า ฉันเก็บการอนุเคราะห์ของฉันไว้ให้แก่ประชาชาติของฉันที่ทำบาปใหญ่ การอนุเคราะห์ของฉันมีไว้สำหรับประชาชาติของฉันที่ทำบาปใหญ่ ส่วนผู้ทำความดี กล่าวคือละเว้นจากการทำบาปใหญ่พวกเขาย่อมไม่ได้รับการลงโทษ",
"title": "บาปใหญ่ (ในอิสลาม)"
},
{
"docid": "17004#5",
"text": "กุรอาน, อัลกุรอาน หรือ อัลกุรอานุลกะรีม (อาหรับ แปลว่า การรวบรวม หรือการอ่าน) หมายถึงคัมภีร์ของอิสลามซึ่งถือว่าเป็น ธรรมนูญแห่งชีวิต เป็นคัมภีร์ที่อัลลอหฺที่ได้ทรงประทานให้ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) เพื่อเป็นทางนำ แก่มนุษยชาติ",
"title": "อภิธานศัพท์ศาสนาอิสลาม"
},
{
"docid": "999138#0",
"text": "มัสยิดอันนะบะวี (, \"มัสยิดของท่านศาสดา\") เป็นมัสยิดที่สร้างโดยท่านศาสดามุฮัมมัด โดยสร้างที่บริเวณเมืองมะดีนะฮ์ แคว้นฮิญาซ ประเทศซาอุดีอาระเบีย นี่เป็นมัสยิดที่สามที่ถูกสร้างในประวัติศาสตร์อิสลาม และเป็นหนึ่งในมัสยิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์รองจากมัสยิดใหญ่แห่งมักกะฮ์ในศาสนาอิสลาม โดยเปิดตลอดเวลา ไม่เว้นวันหยุด",
"title": "มัสยิดอันนะบะวี"
},
{
"docid": "912108#15",
"text": "«หลักศรัทธา และ ปฏิบัติศาสนกิจของผู้ตามแนวทางชัยคียะฮ์มาจากอัลกุรอาน และ ซุนนะฮ์ของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) กล่าวโดยรวมคือ กลุ่มชัยคียะฮ์คือชีอะฮ์ ที่พยายามตามแนวทางและคำสอนสั่งของบรรดาอิมามซึ่งเชื่อว่าอิมามนำมาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์ของท่านศาสดา(ศ็อลฯ )อย่างแน่นอน แต่พวกเขาไม่เชื่อในการวินิจฉัยด้วยสติปัญญาและตรรกะโดยมีทัศนะว่า ไม่ควรไว้วางใจต่อเหตุผลที่ถูกยืนยันด้วยสติปัญญา กิยาส หรือ ตรรกะซึ่งเป็นผลผลิตจากสติปัญญาที่บกพร่อง พวกเขาพยายามที่จะอรรถาธิบายถึงความประเสริฐของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)และลูกหลานของท่าน และ กล่าวว่าเราไม่ควรคิดว่า คำสั่งสอนของอิสลามมีเพียงแค่บทบัญญัติ ในเรื่อง อิบาดะฮ์ หรือ มุอามิละฮ์ เพียงอย่างเดียว และกลุ่มใดที่มีความเชื่อเช่นนี้จะถูกตัดสินให้เป็นผู้กระทำผิดด้วยตนเอง เช่นเดียวกันพวกเขามีความเชื่อว่าแนวทางของเหล่าซูฟีที่มองว่าศาสนาอิสลามมีเพียงแต่เรื่องภายใน และละทิ้งภายนอกของการทำอิบาดะฮ์เป็นแนวทางที่ผิดเช่นกันพวกเขาเชื่อว่าแนวทางภายในเพียงอย่างเดียวไม่สามารถนำมนุษย์สู่พระองค์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และความเป็นจริงคือ มนุษย์จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอนของอิสลามในภายนอกให้ครบถ้วน และแสวงหาความเข้าใจเรื่องภายในเท่าที่ตนสามารถจะทำได้ ในความเป็นจริงแล้ว ชัยคียะฮ์คือกลุ่มชีอะฮ์ สิบสองอิมาม ตามแนวทางปฏิบัติ ญะอ์ฟะรียะฮ์ พวกเขาไม่ได้เพิ่มเติมสิ่งใดเพียงแต่พวกเขาเชื่อ ไม่ควรตัดสิ่งใด หรือ เพิ่มสิ่งใดในศาสนาของพระองค์",
"title": "ชัยคียะฮ์"
},
{
"docid": "3832#1",
"text": "มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า[1][2] มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู[3] พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาล[4] แต่มองว่าอัลกุรอานภาษาอาหรับเป็นทั้งวิวรณ์สุดท้ายและไม่เปลี่ยนแปลงของพระเป็นเจ้า[5] มโนทัศน์และหลักศาสนามีเสาหลักทั้งห้าของอิสลาม ซึ่งเป็นมโนทัศน์พื้นฐานและการปฏิบัติตนนมัสการที่ต้องปฏิบัติตาม และกฎหมายอิสลามที่ตามมา ซึ่งครอบคลุมแทบทุกมุมของชีวิตและสังคม โดยกำหนดแนวทางในหัวเรื่องหลายหลาก ตั้งแต่การธนาคารไปจนถึงสวัสดิการ ชีวิตครอบครัวและสิ่งแวดล้อม[6][7]",
"title": "ศาสนาอิสลาม"
},
{
"docid": "16720#5",
"text": "ตั้งแต่นั้นมามุฮัมมัดก็ได้กลายเป็นศาสนทูตของพระเจ้า ที่ต้องรับหน้าที่ประกาศศาสนาของพระเจ้า นั่นคือศาสนาอิสลาม ที่ตั้งอยู่บนหลักการไม่บูชาสิ่งอื่นใดนอกจากพระเจ้าองค์เดียว การวิวรณ์ การรับสาส์น หรือโองการจากพระเจ้านั้นเรียกในภาษาอาหรับว่าวะฮีย์ ศาสดามุฮัมมัดได้รับวะฮีย์เป็นคราวๆทะยอยลงมาเรื่อยๆ จากวะฮีย์แรกถึงวะฮีย์สุดท้ายใช้เวลา 23 ปี ทุกครั้งที่วะฮีย์ลงมา ท่านศาสนทูตจะประกาศให้สาวกของท่านทราบ เพื่อจะได้ไปประกาศให้คนอื่นทราบอีกต่อไป สาวกจะพยายามท่องจำวะฮีย์ที่ลงมานั้นจนขึ้นใจ และท่านศาสดาจะสั่งให้อาลักษณ์ของท่านบันทึกลงในสมุดที่ทำด้วยหนังสัตว์ กระดูก หรือสิ่งอื่นๆที่สามารถเก็บรักษาไว้ได้",
"title": "อัลกุรอาน"
},
{
"docid": "892663#0",
"text": "โลกอิสลาม เป็นศัพท์เชิงวิชาการที่ใช้เรียกผืนแผ่นดินที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ผู้นับถือศาสนาอิสลามมีประมาณหนึ่งพันล้านคน ที่ปฏิบัติตามศาสนาของ\nมุฮัมหมัด บุตรของอับดุลลอฮ์ (ศาสดาของบรรดามุสลิม) เป็นชาวฮิญาซ และเป็นศาสนาที่มีมากว่า 1400 ปี (ปีจันทรคติ) บรรดามุสลิมมีความเชื่อเหมือนกันว่า ศาสดามุฮัมหมัด บุตรของอับดุลลอฮ์ คือศาสดาองค์สุดท้าย (คอตะมุลอันบิยา) เชื่อในกุรอาน ( คัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลาม) กิบลัตและบทบัญญัติหลักปฏิบัติศาสนกิจ",
"title": "โลกอิสลาม"
},
{
"docid": "362520#7",
"text": "งานเมาลิดเป็นงานฉลองการเกิดของศาสดามุฮัมมัด ซึ่งตรงกับวันที่ 12 เดือนรอบิอุลเอาวัล ตามปฏิทินอิสลามซึ่งนับตามจันทรคติ โดยงานเมาลิดนั้นมักจะจัดในประเทศอียิปต์ และประเทศมุสลิมอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย เป็นต้น โดยในส่วนของประเทศไทยนั้นมีการจัดงานนี้มาอย่างช้านาน แต่เริ่มเป็นกิจลักษณะในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยใช้ชื่อว่า งานเมาลิดสนามหลวง ซึ่งจัดงานฉลองดังกล่าวที่ท้องสนามหลวง เพื่อสนับสนุนกิจการศาสนาอิสลามในราชอาณาจักรและได้พระราชทานเสื้อคลุมให้กับอิหม่ามในการประกอบศาสนกิจ",
"title": "ศาสนาอิสลามในประเทศไทย"
},
{
"docid": "270100#1",
"text": "ดิเกร์ ฮูลูเริ่มมาจากเพลงพื้นบ้านที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ในสมัยที่นับถือศาสนาฮินดู-พุทธ และได้พัฒนาเป็นการละเล่นเพื่อความสนุกสนานเมื่อเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม โดยนำการสวดหรือกล่าวสรรเสริญศาสดาในศาสนาอิสลามเข้าผสมในการประกอบพิธีกรรม แล้วตั้งเป็นวงหรือคณะขึ้น นำดนตรีมาประกอบ นิยมละเล่นในงานแก้บน สะเดาะเคราะห์ งานแต่งงานและงานเข้าสุหนัต เรียกการละเล่นที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ว่าดิเกร์ฮูลู ",
"title": "ดิเกร์ ฮูลู"
},
{
"docid": "894977#5",
"text": "Laura Veccia Vaglieri ได้เขียนในสารานุกรมอิสลามว่า โองการก่อนหน้านี้ได้มีคำสั่งบางประการต่อบรรดาภรรยาของท่านศาสดา และมีการใช้คำกิริยา รวมถึง สรรพนามเป็นพหูพจน์ที่บ่งชี้ถึงผู้หญิงแต่เมื่อถึงโองการที่กล่าวถึง อะฮ์ลุลบัยต์ นั้นได้ใช้ สรรพนามเป็นพหูพจน์ที่บ่งชี้ถึงผู้ชาย ดังนั้นโองการจึงไม่เกี่ยวข้องกับภรรยาของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) หรืออย่างน้อยก็ไม่ได้หมายถึงพวกนางเพียงอย่างเดียว ฉะนั้นโองการนี้กล่าวถึงใครกัน? คำว่า อะฮ์ลุลบัยต์สามารถสื่อความหมายถึงครอบครัวของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)เพียงเท่านั้น ซึ่งตามปกติแล้วจะต้องหมายรวมถึงเครือญาติของท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ไม่ว่าผู้ที่อยู่ในเผ่าของท่าน หรือ จะเป็นกลุ่มอันศอร หรือ สังคมอื่น ๆ แต่กลับมีเรื่องราวที่ถูกกล่าวไว้ในวจนะต่างๆมากมาย ดังนั้นรายงานที่กล่าวว่า มุฮัมหมัด ได้เปิดอะบา (ผ้าคลุมผืนนอก)ออกและนำมาคลุมหลานของท่านทั้งสองคือฮาซัน และ ฮุเซน บุตรสาวของท่านคือฟาติมะฮ์ และลูกเขยของท่านคือ อาลี ในหลายต่อหลายครั้ง (ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเหตุการณ์มุบาฮิละฮ์) และห้าท่านนี้ถูกขนานนามว่า “ชาวผ้าคลุมกิซา” แม้ว่ามีบางท่านพยายามที่จะนำบรรดาภรรยาของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่อย่างไรก็ตามจำนวนของบุคคลที่ได้รับความประเสริฐเช่นนี้มีเพียงแค่ห้าท่านเท่านั้น",
"title": "อะฮ์ลุลบัยต์"
},
{
"docid": "64267#0",
"text": "คุรุนานักเทพ (15 เมษายน พ.ศ. 2012 - 22 กันยายน พ.ศ. 2082) ศาสดาผู้ประกาศศาสนาสิกข์ในแคว้นปัญจาบ ประเทศอินเดียเกิดที่แคว้นปัญจาบ เดิมนับถือศาสนาฮินดู แต่ได้รับการศึกษาในสำนักของศาสนาอิสลามจึงมีความรู้ทั้ง 2 ศาสนา",
"title": "คุรุนานักเทพ"
},
{
"docid": "111134#4",
"text": "ความเป็นมลายู นั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญได้แก่ ภาษามลายู ศาสนาอิสลาม และวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่พูดภาษามลายูได้ เลือกวิถีวัฒนธรรมมลายู โดยเฉพาะต้องนับถือศาสนาอิสลามถือว่าเป็นชาวมลายู ถ้าสักแต่พูดภาษามลายู มีชีวิตในวิถีวัฒนธรรมมลายู แต่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม ก็ไม่ถือว่าเป็นมลายู",
"title": "ไทยเชื้อสายมลายู"
},
{
"docid": "68020#0",
"text": "อีซา อิบนุ มัรยัม ( \"อีซาบุตรนางมัรยัม\") คือบุคคลเดียวกันกับ พระเยซู ศาสดาของศาสนาคริสต์ แต่ในคติของศาสนาอิสลาม ถือเป็นเพียงศาสนทูตท่านหนึ่งของอัลลอฮ์ ",
"title": "อีซา"
},
{
"docid": "957547#3",
"text": "สนธิสัญญาฮุดัยบิยะฮ์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับศาสนาอิสลาม เพราะเผ่ากุเรชจากมักกะฮ์จะไม่คิดว่ามุฮัมหมัดเป็นกบฎหรือผู้ลี้ภัย ก่อตั้งศาสนาอิสลามในมะดีนะฮ์ อนุญาตให้คนมุสลิมในมักกะฮ์เผยแพร่ศาสนาตามสาธารณะได้ สัญญานี้ทำให้ลดความขัดแย้งระหว่างคนมุสลิมและพหุเทวนิยม มีหลายคนเริ่มเห็นอิสลามเป็นแนวทางใหม่ซึ่งทำให้ผู้คนเข้าศาสนาอิสลามมากขึ้น และสัญญานี้จะเป็นพรมที่ทำให้เผ่าอื่นทำสนธิสัญญากับมุสลิม สนธิสัญญานี้เป็นตัวอย่างว่า อิสลามไม่ได้เผยแพร่ด้วยดาบ ถึงแม้ว่าศาสดามุฮัมหมัดมีทหารมากพอที่จะสู้กับชาวมักกะฮ์ แต่ท่านเลือกที่จะทำสนธิสัญญาแทนการสู้รบ",
"title": "สนธิสัญญาฮุดัยบิยะฮ์"
},
{
"docid": "919642#2",
"text": "จากบทสรุปของการค้นคว้าสามารถกล่าวได้ว่า การไม่ได้ระบุชื่อและตำแหน่งการเป็นศาสดาไว้ในคัมภีรือัลกุรอานก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลนั้นจะไม่ได้เป็นศาสดาเสมอไป",
"title": "ศาสดาในศาสนาอิสลาม"
},
{
"docid": "919642#0",
"text": "บรรดาศาสดาจะได้รัการนับถือและให้เกียรติยกย่องจากชาวมุสลิมเนื่องจากพวกท่านเป็นผู้ที่ได้รับวิวรณ์ (วะฮีย์)จากพระผู้เป็นเจ้า,ชาวมุสลิมจะเรียกพวกท่านว่า (นบี-ศาสดา)หรือ (ระซูล-ศาสนทูต)",
"title": "ศาสดาในศาสนาอิสลาม"
},
{
"docid": "919642#1",
"text": "รายชื่อในตารางนี้อ้างอิงจากโองการต่างๆจากพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน โดยยกรายชื่อที่ระบุตำแหน่งการเป็นศาสดา,ศาสนทูตหรือผู้ที่มีตำแหน่งอิมามัต-ผู้นำและผู้ที่มีคัมภีร์,หรือกลุ่มชนที่มีการกล่าวถึงการมีบทบัญญัติทางศาสนาจากพระผู้เป็นเจ้าไว้แก่พวกเขา,ซึ่งอาจมีบางรายชื่อที่ตกหล่นไปบ้าง.",
"title": "ศาสดาในศาสนาอิสลาม"
},
{
"docid": "919589#1",
"text": "ท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ)ได้เขียนจดหมายถึงอัครมุขนายกของศาสนาคริสต์ในปีที่สิบปีของฮิจเราะห์สศักราช และเรียกร้องเชิญชวนประชาชนชาวคริสต์ทั้งหมดเข้าสู่ศาสนาอิสลาม.\nบรรดาตัวแทนของท่านศาสดา(ศ)อาทิ ท่าน อุตบะฮ์ บิน กอซวาน , อับดุลลอฮ์ อิบนิ อบี อุมัยยะฮ์,ฮะดีร อิบนิ อับดุลลอฮ์,และ ศอฮีบ อิบนิ ซินานเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งจดหมายถึงผู้นำศาสนาคริสต์,หลังจากที่เขาได้อ่านจดหมายได้จัดตั้งการประชุมโดยการเข้าร่วมของนักการศาสนาและบุคคลสำคัญอื่นๆและได้บทสรุปว่าจะต้องะเดินทางไปพบกับ มุฮัมหมัด (ศ)ณ นครมะดีนะฮ์ และรับฟังการชี้แจงหลักฐานยืนยันการเป็นศาสนทูตของศาสดามุฮัมหมัดโดยพร้อมกัน.",
"title": "โองการมุบาฮะละฮ์"
},
{
"docid": "406895#0",
"text": "นบี ( หมายถึง ศาสดาในศาสนาอิสลาม คำว่า นบี มาจากคำว่า \"นับบะอะ\" หรือ \"อัมบะอะ\" แปลว่า แจ้งข่าว ใช้หมายถึงการนำวจนะของพระเจ้ามาประกาศแก่มวลมนุษย์ คำว่านบีในศาสนาอิสลามจึงหมายถึงผู้เผยพระวจนะในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์",
"title": "นบี"
},
{
"docid": "270100#2",
"text": "ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2043-2328 ศาสนาอิสลามได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวาง จนปัตตานีเป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านศาสนาอิสลามของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการศึกษาศาสนาในปอเนาะ นักปราชญ์และผู้รู้ศาสนาอิสลาม มองว่าการละเล่นดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม จึงเกิดการละเล่นอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า ดิเกร์ปายะซึ่งคล้ายกับดิเกร์ฮูลู แต่ได้ตัดส่วนที่เห็นว่าขัดกับหลักศาสนาอิสลามออกไป คือเริ่มต้นด้วยการร้องสรรเสริญศาสดาในศาสนาอิสลาม ใช้การตบมือแทนเครื่องดนตรี นั่งล้อมเป็นวงกลมโยกตัวตามจังหวะ เนื้อหาของเพลงเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามแบบอย่างมุสลิมที่ดี ลักษณะคำประพันธ์เป็นแบบปันตุนหรือปาตงเช่นเดียวกับดิเกร์ฮูลู นิยมร้องเล่นในปอเนาะ และละเล่นเพื่อความเป็นสิริมงคลในงานแต่งงาน งานเข้าสุหนัต งานเมาลิด งานวันฮารีรายอ ร้องเล่นในขบวนแห่บนบ้านและเวที ต่อมาดิเกร์ปายะได้ตั้งเป็นวงหรือคณะขึ้นเช่นเดียวกับดิเกร์ฮูลู ต่อมาทั้งดิเกร์ปายะและดิเกร์ฮูลูจึงผสมผสานกัน และมักเรียกว่าดิเกร์ฮูลู",
"title": "ดิเกร์ ฮูลู"
}
] |