query_id
stringlengths
1
4
query
stringlengths
11
185
positive_passages
listlengths
1
9
negative_passages
listlengths
1
30
1948
บรรหาร ศิลปอาชา เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "6131#0", "text": "บรรหาร ศิลปอาชา (19 สิงหาคม พ.ศ. 2475 – 23 เมษายน พ.ศ. 2559) เป็นนักการเมืองชาวไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 21 ประธานกรรมการมูลนิธิบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา[1] ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี 11 สมัย อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา[2] อดีตนายกสภาสถาบันการพลศึกษา[3] อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท สหศรีชัยก่อสร้าง จำกัด[4] และอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ทั้งเป็นพี่ชายของชุมพล ศิลปอาชา อดีตรองนายกรัฐมนตรี", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" } ]
[ { "docid": "168608#55", "text": "อาคารบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา 2-3-5 ชั้นเป็นตึกพิเศษ (อาคารบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา 2 เป็นหอผู้ป่วยแยกโรค), อาคารหอพักนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, อาคารจอดรถ 7 ชั้น, อาคาร 100 เตียง, บ้านพักเจ้าหน้าที่ (แยกอยู่บริเวณหน้าโรงเรียนสุพรรณภูมิ)", "title": "โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช" }, { "docid": "168608#7", "text": "ปี พ.ศ. 2542 การสร้างอาคารพิเศษ 5 ชั้นเสร็จสิ้น โดยกำลังสร้างอาคารอำนวยการแห่งใหม่สูง 11 ชั้น และ อาคารเฉลิมพระบารมี 7 ชั้นโดยงบประมาณจากฯพณฯท่าน บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมตรีคนที่ 21 รวมทั้งการสร้างอาคารบรรหาร แจ่มใสที่ 1-3 เสร็จสิ้น ", "title": "โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช" }, { "docid": "193882#1", "text": "นายวราวุธ ศิลปอาชา เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 ที่แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นลูกชายคนสุดท้องของนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทยและอดีตนายกรัฐมนตรี กับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางสุวรรณา ศิลปอาชา (สกุลเดิม ไรวินท์) มีบุตรด้วยกัน 3 คน", "title": "วราวุธ ศิลปอาชา" }, { "docid": "6131#15", "text": "ต่อมาใน พ.ศ. 2537 บรรหารได้ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติไทย และเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "6131#19", "text": "ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 บรรหาร ศิลปอาชา ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกของพรรคได้รับเลือกตั้งมากที่สุด ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ทำให้บรรหาร ได้ดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของประเทศไทย พร้อมควบตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อีกตำแหน่งหนึ่งระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2539", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "6131#5", "text": "บรรหารจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่จังหวัดสุพรรณบุรี เข้ากรุงเทพฯ มาเรียนหนังสือชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัฒนศิลป์วิทยาลัย แต่ต้องหยุดเรียนไป เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง หันไปทำงานกับพี่ชาย และก่อตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นของตัวเองชื่อ บริษัท สหศรีชัยก่อสร้าง เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2505 ก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด นทีทอง และ พ.ศ. 2508 ก่อตั้งบริษัทวารทิพย์ จำกัด[8]", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "194228#0", "text": "โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 ตั้งอยู่ที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี มีสถานะเป็นโรงเรียนประจำอำเภอด่านช้าง เปิดทำการเรียนการสอนแบบสหศึกษา มีเนื้อที่ 180 ไร่ 1 งาน เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ ในปีการศึกษา 2517 และได้เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 และต่อมาได้เปิดทำการเรียนการสอนนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ถึง มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 ก่อตั้งขึ้นโดยดำริของ ศ.ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ อธิบดีกรมสามัญศึกษา (กรมวิสามัญเดิม) เมื่อครั้งเดินทางมาตรวจเยี่ยม โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2513 นาย เมี้ยน เครือสินธุ์ ศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี ในขณะนั้นได้พาคณะมาตรวจสภาพพื้นที่บริเวณที่จะตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ กิ่งอำเภอด่านช้าง ซึ่งมีสภาพเป็นป่าไผ่ ใกล้บริเวณโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำกระเสียว (เขื่อนกระเสียว) และอยู่ติดกับโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ท่านอธิบดีกรมสามัญศึกษาเห็นว่าเหมาะสมที่จะก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อให้เป็นโรงเรียนประจำอำเภอได้ จึงให้หน่วยงานช่างกรมวิสามัญศึกษา ทำการสำรวจออกแบบและวางผังบริเวณโรงเรียน แต่ในขณะนั้นกระทรวงศึกษาธิการยังขาดแคลนงบประมาณ ในการก่อสร้างอาคารเรียนจึงทำการก่อสร้างไม่ได้ ท่านอธิบดีกรมสามัญศึกษา จึงได้ติดต่อ คุณ บรรหาร ศิลปอาชา ผู้ซึ่งเคยบริจาคเงินก่อสร้างอาคารโรงเรียนมัธยมศึกษา และโรงเรียนประถมศึกษามาแล้ว 2 แห่ง ขอให้ช่วยบริจาคเงิน ก่อสร้างอาคารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่กิ่งอำเภอด่านช้างอีก 1 แห่ง คุณ บรรหาร ศิลปอาชา ก็มีความยินดีบริจาคเงินเป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบให้ตามความประสงค์ของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้\nรวมบริจาคค่าก่อสร้างทั้งสิ้น เป็นเงิน 1,000,000 บาท โดยทางกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ชื่อว่า โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้บริจาคทรัพย์ก่อสร้างโรงเรียนคือ คุณบรรหาร ศิลปอาชา และ คุณแจ่มใส ศิลปอาชา ภริยาจึงเป็นที่มาของชื่อ \"บรรหาร-แจ่มใส\" ต่อด้วย \"วิทยา 3\" อันหมายถึง โรงเรียนที่คุณ บรรหาร คุณ แจ่มใส ศิลปอาชา บริจาคทรัพย์สร้างขึ้นเป็นแห่งที่สาม โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 ได้ทำการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2516 โดยการเรียนเชิญ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นาย อภัย จันทวิมล เป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์โดยมี นาย สวัสดิ์ มีเพียร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ในขณะนั้นเป็นผู้เสนอรายงาน เวลาต่อมาวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเปิดป้ายอาคารเรียน โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 และมีพระราชดำรัสกับนักเรียนที่เฝ้ารับเสด็จ ความว่าเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 เมื่อครั้งทรงเสด็จประกอบพิธีกรรมเปิดป้ายอาคารเรียน \"โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3\" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงมีพระราชดำรัสกับนักเรียนที่เฝ้ารับเสด็จ ความว่า โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 มีการจัดการแข่งขัน กีฬาภายใน หรือ กีฬาสี เป็นประจำทุกปี ภายใต้ชื่อ \"พิกุลเกมส์\" (ปีการศึกษา 2561 ครั้งที่ 39) จัดแบ่งจำนวนนักเรียนโดยการจับฉลากเป็นรายห้องเรียน เฉลี่ยคณะสีละ 12-13 ห้องเรียน จัดแบ่งออกทั้งหมดเป็น 4 คณะสี ได้แก่", "title": "โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3" }, { "docid": "6131#13", "text": "ใน พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ได้มอบปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้แก่บรรหารอีกด้วย[16] ระหว่างที่บรรหารเรียนที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงอยู่นั้น บรรหารเคยเรียนกับนายวิษณุ เครืองามด้วย", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "6131#24", "text": "ก่อนการเลือกตั้งในปลาย พ.ศ. 2550 ไม่นาน ผู้สื่อข่าวถามว่า จะไปร่วมกับพรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มอำนาจเก่าจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่ บรรหารตอบว่า \"จะไม่ทำให้ผู้ใหญ่ที่นับถือมา 30 ปี ผิดหวัง\" ซึ่งบรรหารไม่ได้บอกว่าเป็นใคร แต่สาธารณชนก็ตีความว่า หมายถึง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ หลังการเลือกตั้งปรากฏว่า บรรหารและพรรคชาติไทยก็ไปเข้าร่วมกับพรรคพลังประชาชนจัดตั้งรัฐบาล ทำให้ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ รองหัวหน้าพรรค ได้ออกมาโจมตีและแฉพฤติกรรมบรรหารเป็นการใหญ่", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "6131#4", "text": "บุตรชาย 1 คน คือ วราวุธ ศิลปอาชา สมรสกับสุวรรณา ไรวินท์ บุตรหญิง 2 คน คือ กัญจนา ศิลปอาชา และภัคณีรัศ ศิลปอาชา (เดิมชื่อปาริชาติ)", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "6131#25", "text": "บรรหารรวมทั้งวราวุธและกัญจนาถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นระยะเวลาทั้งหมด 5 ปี เนื่องจากการยุบพรรคชาติไทย ซึ่งขณะนั้นบรรหารดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "546863#2", "text": "สุคนธ์ กาญจนาลัย รับราชการในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมพาณิชย์สัมพันธ์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า และอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นายบรรหาร ศิลปอาชา) ในปี พ.ศ. 2538 และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา", "title": "สุคนธ์ กาญจนาลัย" }, { "docid": "6131#20", "text": "รัฐบาลบรรหาร มีผลงานที่โดดเด่นคือ การริเริ่มให้มีร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "6131#27", "text": "ใน พ.ศ. 2554 พรรคชาติไทยพัฒนา ร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเนื่องจากทั้งสองพรรคมีความเป็นศัตรูกันอย่างชัดเจนโดยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่างประกาศพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อใช้กับนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามส่งผลให้เกิดคดี นักการเมืองจากทั้งสองพรรค ถูกศาลออกหมายจับ ในข้อหาทำผิดกฎหมายดังกล่าวจำนวนมาก ในขณะที่พรรคชาติไทยพัฒนาได้ผลประโยชน์จากการร่วมงานกับทั้งสองพรรคกล่าวคือ ชุมพล ศิลปอาชาได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาและธีระ วงศ์สมุทรเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและยิ่งลักษณ์ ชินวัตร", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "76607#1", "text": "\"กลุ่มวังน้ำเย็น\" เดิมเป็นสมาชิก พรรคชาติไทย ซึ่งมี นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นหัวหน้าพรรค เนื่องจากมีจำนวน ส.ส. ในสังกัดเป็นจำนวนมาก ทำให้มีส่วนสำคัญในการครองเสียงข้างมากใน สภาผู้แทนราษฎร ของ พรรคชาติไทย ซึ่งทำให้ นายบรรหาร สามารถขึ้นสู่ตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี และทำให้ นายเสนาะ มีความสำคัญอย่างมากในพรรคชาติไทยโดยดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรค แต่ต่อมากลุ่มวังน้ำเย็นกลับเปลี่ยนมากดดันให้ นายบรรหาร ลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เมื่อ พ.ศ. 2539 โดยสนับสนุนให้ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ ซึ่งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน ในครั้งนั้นนายบรรหารถูกกดดัน จนจำใจยอมประกาศว่าจะลาออก", "title": "กลุ่มวังน้ำเย็น" }, { "docid": "6131#1", "text": "ตามทะเบียนราษฎร บรรหารเกิดวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2475[5] แต่บางแหล่งว่าเกิดวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[6]", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "125943#0", "text": "นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา นักการเมืองสตรีชาวไทย หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี หลายสมัย เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 เป็นบุตรีของบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา", "title": "กัญจนา ศิลปอาชา" }, { "docid": "6131#3", "text": "บรรหารสมรสกับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา มีบุตร 3 คน", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "6131#22", "text": "บรรหารมีสมญานามมากมาย จากลักษณะเด่นหลายประการ เช่น มีฐานเสียงหนาแน่นอย่างที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี มีสถานะเป็นเจ้าถิ่นจนได้สมญาว่า \"มังกรสุพรรณ\" หรือ \"มังกรการเมือง\" และเนื่องจากมีลักษณะคล้าย เติ้งเสี่ยวผิง อดีตผู้นำจีน สื่อมวลชนจึงนิยมเรียกบรรหารสั้น ๆ ว่า \"เติ้ง\" หรือ \"เติ้งเสี่ยวหาร\" และ\"ปลาไหล\" เนื่องจากเป็นคนกลับกลอกไปมาไม่แน่นอน", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "6131#31", "text": "วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559 เกิดภาวะภูมิแพ้และหอบหืดกำเริบ จึงนำส่งโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ อาการวิกฤติตั้งแต่วันแรกที่เข้ารักษา จนถึงแก่อนิจกรรมด้วยภาวะดังกล่าวเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลา 04:42 นาฬิกา[29][30]", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "190129#3", "text": "เนื้อหาในอัลบั้มส่วนหนึ่ง กล่าวถึงคนไข้จากโรงพยาบาลบ้า ชื่อ Jamsai Gang (มาจากชื่อล้อเลียน คุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา ภริยานายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) ที่พลัดหลงเข้าไปในศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ที่เพิ่งเปิดดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2537 และเกิดความโกลาหลอลหม่าน ภายในศูนย์การค้านั้น", "title": "เดอะพรอมิส (อัลบั้มตาวัน)" }, { "docid": "6131#2", "text": "บรรหารเป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เดิมมีชื่อว่า เต็กเซียง แซ่เบ๊ (馬德祥) บิดาของบรรหาร คือ เซ่งกิม แซ่เบ๊ ส่วนมารดาของบรรหาร คือ สายเอ็ง แซ่เบ๊ เป็นเจ้าของร้านสิ่งทอชื่อ ย่งหยูฮง[7] ทั้งคู่มีบุตร 6 คน ดังนี้ตามลำดับ สมบูรณ์ ศิลปอาชา, สายใจ ศิลปอาชา, อุดม ศิลปอาชา, บรรหาร ศิลปอาชา, ดรุณี วายากุล, และชุมพล ศิลปอาชา", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "207325#1", "text": "นายชุมพล ศิลปอาชา เกิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ที่ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของเซ่งกิม และสายเอ็ง แซ่เบ๊ เป็นน้องชายของบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 21 จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท (M.P.A.) มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ สหรัฐอเมริกา ด้านชีวิตครอบครัว ได้สมรสกับดวงมาลย์ ศิลปอาชา (สกุลเดิม เจียรสวัสดิ์วัฒนา) ผู้พิพากษาอาวุโส ศาลคดีเด็กสมุทรปราการ มีบุตร 2 คน คือ สลิลดา ศิลปอาชา กับรัฐพล ศิลปอาชา", "title": "ชุมพล ศิลปอาชา" }, { "docid": "765524#13", "text": "13 เมษายน – หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ตุลาการศาลปกครองและนักวิชาการชาวไทย (เกิด 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2491) 23 เมษายน – บรรหาร ศิลปอาชา นักการเมืองและนายกรัฐมนตรีไทย (เกิด 19 สิงหาคม พ.ศ. 2475) 30 เมษายน – แดง จิตกร นักร้องลูกทุ่งชาวไทย (เกิด 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513)", "title": "ประเทศไทยใน พ.ศ. 2559" }, { "docid": "6131#7", "text": "ก่อนบรรหารจะทำงานการเมือง เขาตีสนิทข้าราชการด้วยการซื้อเครื่องดื่มไปฝาก จนเป็นที่รู้จักของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ อาทิ ดำรง ชลวิจารณ์ อดีตอธิบดีกรมโยธาธิการ และผู้ว่าการประปานครหลวงคนแรกของประเทศไทย[9]", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "6131#18", "text": "ก่อนเกิดเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ บรรหาร ศิลปอาชา เลขาธิการพรรคชาติไทย เป็นตัวแทนพรรคชาติไทย ในฐานะ พรรคร่วมรัฐบาลให้สัญญาว่าจะแถลงถึงเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต่อมาบรรหาร และตัวแทนพรรคร่วมรัฐบาล ออกโทรทัศน์ ปฏิเสธ เรื่องดังกล่าว ทำให้เกิดการชุมนุมเพื่อต่อต้านรัฐบาลและนำไปสู่เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ในที่สุด", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "125860#1", "text": "สมรสกับนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย มีบุตร-ธิดารวม 3 คน เป็นชาย 1 คน คือ นายวราวุธ ศิลปอาชา (สมรสกับ เก๋ - สุวรรณา ไรวินท์ ทายาทตระกูลไรวินท์ เจ้าของธุรกิจ ซุปไก่ก้อนรีวอง) และเป็นหญิง 2 คน คือ น.ส. กัญจนา ศิลปอาชา และ น.ส. ปาริชาติ ศิลปอาชา", "title": "แจ่มใส ศิลปอาชา" }, { "docid": "35011#16", "text": "12 ธันวาคม 2555 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องคดีที่บรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ฟ้องร้องชูวิทย์ข้อหาหมิ่นประมาท จากเหตุการณ์ที่พรรคชาติไทยเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน และชูวิทย์ ซึ่งขณะนั้นเป็นรองหัวหน้าพรรคชาติไทย ตั้งโต๊ะแถลงข่าววิจารณ์บรรหารว่า เคยให้สัมภาษณ์ก่อนการเลือกตั้งว่าจะไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน แต่กลับเข้าร่วม และว่าบรรหารไร้สัจจะ ไร้จุดยืน นอกจากนี้ ยังชูวิทย์ยังติดป้ายประจานบรรหารทั่วกรุงเทพมหานคร โดยศาลอุทธรณ์เห็นว่า จำเลยวิจารณ์การทำงานและความประพฤติของโจทก์ในฐานะบุคคลสาธารณะ เป็นการติชมโดยสุจริต มิได้หาประโยชน์ส่วนตน ซึ่งก่อนหน้านี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องไปแล้วเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2552", "title": "ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์" }, { "docid": "6131#32", "text": "บรรหาร ศิลปอาชา ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่บรรหาร ศิลปอาชา เมื่อ พ.ศ. 2533[31]", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" } ]
510
ใครป็นผู้แต่งเรื่องโดราเอมอน ?
[ { "docid": "768#0", "text": "โดราเอมอน หรือ โดเรมอน (Doraemon) เป็น การ์ตูนญี่ปุ่น แต่งโดย ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ เรื่องราวของหุ่นยนต์แมวชื่อโดราเอมอน โดยฟุจิโกะ ฟุจิโอะได้กล่าวว่าโดราเอมอนเกิดวันที่ 3 กันยายน มาจากอนาคตเพื่อกลับมาช่วยเหลือ โนบิตะ เด็กประถมจอมขี้เกียจด้วย ของวิเศษ จากอนาคต โดราเอมอนเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2512 โดย สำนักพิมพ์โชงะกุกัง [1][2] โดยมีจำนวนตอนทั้งหมด 1,344 ตอน [3] ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับรางวัลเทะซุกะ โอซามุ ครั้งที่ 1 ในสาขาการ์ตูนดีเด่น [4] อีกทั้งยังได้รับเลือกจาก นิตยสารไทม์เอเชีย ให้เป็น 1 ในวีรบุรุษของ ทวีปเอเชีย จาก ประเทศญี่ปุ่น [5] จากนั้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดราเอมอนก็ได้รับเลือกให้เป็นทูตสันถวไมตรี เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของ ประเทศญี่ปุ่น [6] นอกจากนี้บริษัท บันได ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ยังได้ผลิต หุ่นยนต์ โดราเอมอนของจริงขึ้นมาในชื่อว่า \"My Doraemon\" โดยออกวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552 [7]", "title": "โดราเอมอน" } ]
[ { "docid": "126552#0", "text": "โดราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ () เป็นโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว ผลงานของ ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ มีความยาวทั้งสิ้น 92 นาที ภาพยนตร์ชุดนี้ถือเป็นตอนแรกของโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ออกฉายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1980 และเข้าฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525) โดยใช้ชื่อตอนว่า \"โดเรม่อนผจญไดโนเสา\" \"(สะกดตามต้นฉบับ)\" โดยผู้นำเข้ามาฉาย คือ สมโพธิ แสงเดือนฉาย โดยเข้าฉายใน 2 โรงภาพยนตร์ คือ เมโทร และ สามย่าน นับเป็นโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์เรื่องยาวที่เข้ามาฉายในประเทศไทยเป็นเรื่องแรก ได้รับความนิยมมากเมื่อเข้าฉาย ด้วยการทำรายได้มากถึง 2 ล้านบาท และในส่วนฉบับหนังสือการ์ตูน ได้ลิขสิทธิ์จัดพิมพ์โดยเนชั่นเอ็ดดูเทนเมนท์", "title": "โดราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ" }, { "docid": "768#48", "text": "โดราเอมอนถูกนักวาดการ์ตูนคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผู้แต่งแท้จริงเขียนซ้ำ หรือที่เรียกว่า โดจินชิ ออกมามากมาย โดจินชิที่ถูกกล่าวขวัญถึงมากที่สุดก็คือ ผลงานของนักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น ยาสุเอะ ทาจิมะ [27] ซึ่งเป็นโดจินชิตอนจบของโดราเอมอน โดยนำเค้าโครงเรื่องมาจากตอนจบของโดราเอมอนหลายๆ แบบที่ถูกเล่าลือตามเมลลูกโซ่มานาน [27][28] งานโดจินชิเล่มนี้ ได้ออกวางขายครั้งแรกในงานคอมมิกมาร์เก็ต ฤดูร้อน ปี 2548 (ครั้งที่ 68) และครั้งต่อมาในฤดูหนาว (ครั้งที่ 69) ปีเดียวกัน[27] ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากจนหนังสือถึงกับขาดตลาด และถูกนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง", "title": "โดราเอมอน" }, { "docid": "126552#3", "text": "ในปี 1983 \"โดราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ\" แบบเรื่องยาวที่ได้รับการปรับปรุงเนื้อหาใหม่ ก็ออกวางจำหน่ายในรูปแบบหนังสือการ์ตูนฉบับรวมเล่มของเทงโทมุชิคอมิกส์ ในเครือสำนักพิมพ์โชงะกุกัง และจากนั้นอีก 23 ปีให้หลัง \"โดราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ\" ก็ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเพื่อออกฉายในโรงภาพยนตร์อีกครั้ง โดยใช้ชื่อตอนว่า \"โดราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ เดอะมูฟวี่\" ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงลายเส้นการวาดให้ใกล้เคียงกับต้นฉบับเดิมของ ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ มากขึ้น และเปลี่ยนตัวนักพากย์ผู้ให้เสียงตัวละครทั้งหมด", "title": "โดราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ" }, { "docid": "13714#0", "text": "โดราเอมอน (Doraemon) เป็นตัวละครจากการ์ตูนเรื่อง โดราเอมอน หรือ โดเรม่อน เป็นหุ่นยนต์แมวจากโลกอนาคตในยุค คริสต์ศตวรรษที่ 21 เกิดวันที่ 3 กันยายน ลักษณะตัวอ้วนกลมสีฟ้า (เมื่อแรกเกิดมามีสีเหลือง) ไม่มีใบหู เนื่องจากถูกหนูแทะ มีหน้าที่เป็นหุ่นยนต์พี่เลี้ยงซึ่งคนที่ซื้อโดราเอมอนมาคือ เซวาชิ เหลนของ โนบิตะ วันหนึ่งเซวาชิเกิดอยากรู้สาเหตุที่ฐานะทางบ้านยากจนจึงได้กลับไปในอดีตด้วยไทม์แมชชีนจึงได้รู้ว่าโนบิตะ (ผู้เป็นเทียด) เป็นตัวต้นเหตุ เซวาชิจึงได้ตัดสินใจให้โดราเอมอนย้อนเวลาไปคอยช่วยเหลือดูแลเวลาโนบิตะโดนแกล้งโดยใช้ของวิเศษที่หยิบจากกระเป๋า 4 มิติ", "title": "โดราเอมอน (ตัวละคร)" }, { "docid": "2795#24", "text": "มินิโดราเอมอน (ミニドラえもん) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า \"มินิโดรา\" จริงๆ แล้วเป็นหนึ่งในของวิเศษของโดราเอมอน ซึ่งก็คือโดราเอมอนรุ่นจิ๋วนั่นเอง แต่ละตัวจะมีสีต่างกัน มีความคิดอ่านเป็นของตัวเอง จะพูดคุยกับโดราเอมอนผ่านภาษาของมินิโดราเอง หน้าที่หลักก็คอยช่วยเหลืองานทุกอย่างของโดราเอมอน มอนิเตอร์ความรู้สึก [37] ไม่มีข้อมูล มันเผาดนตรี [4] เมื่อทานมันเผานี้เข้าไป จะทำให้ผายลมออกมาเป็นเสียงเพลงที่ไพเราะ แต่ถ้าทานมากเกินไป จะไม่สามารถบังคับแรงลมที่ผายออกมาได้ ม้าชี้ชะตา [44] หากถูกม้าตัวนี้เตะ ก็จะทำให้เกิดเรื่องดีขึ้นหลังจากที่เจอเรื่องร้ายมา แต่ถ้าเจอเรื่องดีมาแล้วถูกเตะ ก็จะต้องเจอกับเรื่องร้ายทันที ในกรณีที่ถูกเตะครั้งแรกแล้วได้เจอเรื่องดี หากถูกเตะเข้าอีกครั้งก็จะเจอเรื่องร้ายทันทีเช่นกัน แต่ถ้าจับม้าไว้ไม่ให้เตะเป็นระยะเวลา 10 นาทีได้ก็จะปลอดภัย ม้าไม้ไผ่ [1] เป็นสัตว์ในโลกอนาคตเป็นการผสมกันระหว่างม้าและต้นไม้ไผ่ในศตวรรษที่ 21 วิ่งได้เร็วมาก มาร์คเกอร์แมลง [41] ไม่มีข้อมูล มิเตอร์ความรู้สึกหนักเบา [41] มันจะสามารถปรับร่างกายของคนได้ (ปรากฏครั้งแรกในตอน มิเตอร์ความรู้สึกหนักเบา) มือควบคุมเมทริกซ์ เพียงแค่สวมมือควบคุมนี้ คุณจะสามารถควมคุมการเคลื่อนไหวของคนอื่นได้โดยเส้นด้ายที่มองไม่เห็น มือมายากล [13] เพียงแค่สวมมือมายากลเท่านั้น คุณจะสามารถควมคุมการเคลื่อนไหวของคนอื่นได้แม้ว่าตัวจะอยู่ห่างกัน เมกาเมกเกอร์ เพียงแค่ใส่แบบแปลนและวัตถุดิบเข้าไปในเครื่อง เท่านี้ เราก็จะได้สิ่งที่เราต้องการ เมฆฟ้าร้อง เมฆดำขนาดเล็ก เมื่อดึงเชือกจะเกิดไฟฟ้าแรงสูงเป็นเสียงฟ้าร้อง เมล็ดต้นคริสต์มาสสำเร็จรูป เพียงเพาะเมล็ดนี้ลงไปในดิน ต้นคริสต์มาสที่เต็มไปด้วยของขวัญจะงอกออกมา แมลงโค้งคำนับ [1] (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นใหม่ๆ นั้น เรียกว่า \"ตั๊กแตนโค้งคำนับ\") แมลงจะเข้าไปในจมูกแล้วทำให้รู้สึกสำนึกผิดในสิ่งที่ตัวเองทำ และต้องโค้งคำนับขอโทษ วิธีแก้คือใช้้พริกไทยทำให้จามไล่แมลงออกจากจมูก แมลงลางสังหรณ์ [12] ถ้าเกิดลางสังหรณ์ขึ้นมา มันจะไปเกาะที่หัว แล้วลางสังหรณ์ก็จะกลายเป็นจริง แม่เหล็กดูดเครื่องทำหุ่นยนต์กลับ ถ้าไม่ต้องการให้สิ่งที่เราติดเครื่องทำหุ่นไว้ไม่ขยับอีก สามารถทำได้โดยนำแม่เหล็กนี้ไปดูดเครื่องทำหุ่นยนต์ แม่เหล็กดูดสารพัดสิ่ง เพียงเล็งไปที่สิ่งที่ต้องการแล้วกดปุ่มเพื่อดูด ถ้าจะคลายก็กดปุ่มเดียวกับตอนดูดเข้ามา ไม้กระดานเจาะรูแอบดู [29] เมื่อเอานิ้วเจาะไม้กระดานนี้แล้วก็สามารถแอบดูในสถานที่ที่เราต้องการแอบดูได้ ไมค์กลับตาลปัตร [38] ไม่มีข้อมูล ไมค์บันทึกกระแสจิต [14] ให้คุณวางไว้บนลิ้น จะสามารถส่งกระแสจิตอัดข้อความลงเทปได้ ไมค์แปล็บๆ [9] ถ้าพูดอะไรลงไปในไมค์นี้ คนที่ฟังอยู่ก็จะรู้สึกซาบซึ้งทันที ไม้เท้าคนขี้ลืม [37] เมื่อนำไปแตะที่หัวแล้ว จะทำให้หลงลืมเรื่องต่างๆ ได้ ไม้เท้ายุคหิน ถ้ากดสวิตซ์ที่ไม้นี้แล้ว ร่างกายจะอุ่นขึ้นทันที ไม้เท้าโมเสส [31] ถ้ากดสวิตซ์ที่ไม้นี้ น้ำจะแยกเป็น 2 ฝั่ง ตรงกลางน้ำจะแห้ง ดั่งในตำนานของโมเสสที่แยกน้ำได้ ไม้เท้าสกีลิฟท์ [37] ไม่มีข้อมูล ไม้เท้าหมูโปร่งใส เพียงกดปุ่มตรงกลางหน้า จะสามารถส่องหาสิ่งของได้ แต่ต้องระวังการใช้ให้มาก เพราะถ้าหากเผลอไปส่องตรงหน้าอกผู้หญิง อวัยวะเพศชายและหญิง หรือก้นจะเป็นปัญหาทันที ไม้พลองซ่อนหา [42]เมื่อกดปุ่มบนไม้พลองแล้วถือไว้จะทำให้ไม่มีใครมองเห็นเรา", "title": "รายชื่อของวิเศษของโดราเอมอน" }, { "docid": "768573#1", "text": "โนบิตะและเพื่อนๆ เตรียมซ้อมละครซึ่งแสดงเรื่องไซอิ๋ว โดยระหว่างการซ้อมโนบิตะนึกถึงเกี่ยวกับหากตัวเองเล่นเป็นหงอคง แต่เพื่อนๆ ไม่ให้เขารับบทนั้น โนบิตะเซ็งที่ตัวเองไม่ได้เล่นบทหงอคงทั้งๆ ที่ต้นคิดคือเขา (เดคิสุงิเป็นหงอคง) ไจแอนท์ที่รับบทโป๊ยก่ายก็ไม่พอใจที่ซึเนะโอะไปว่าว่าเป็นปีศาจหมู ทำให้เล่นผิดบทเพราะอารมณ์ (ใครๆ ก็อยากเป็นหงอคง) เมื่อไจแอนท์บอกว่าซึเนะโอะก็เหมาะที่จะเป็นพรายน้ำก็โมโหไจแอนท์ สุดท้ายโนบิตะบอกว่าเขาจะพิสูจน์ให้ดูว่าหงอคงมีจริง ถ้ามีต้องให้เขาเป็นหงอคง เขาเลยกลับบ้านไปหาโดราเอมอนเพื่อที่จะใช้ไทม์แมชชีนไปในประเทศจีนสมัยที่พระถังซำจั๋ง แต่โดราเอมอนยังเล่นเกมในฮีโร่แมชชีน โนบิตะเลยไปคนเดียว เขาพบหงอคงหน้าเหมือนเขาเปี๊ยบบินผ่านไป และพบกับเด็กหนุ่มคนหนึ่งซึ่งเป็นลมหมดสติจากการขาดน้ำ โนบิตะเลยเอาน้ำมาให้เพื่อช่วยชีวิตไว้", "title": "โดราเอมอน ตอน ตำนานเทพนิยายไซอิ๋ว" }, { "docid": "922228#0", "text": "โดราเอมอน ตอน เกาะมหาสมบัติของโนบิตะ () เป็นโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว และภาพยนตร์ชุดนี้ถือเป็นตอนที่ 38 ของโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ภาพยนตร์ได้เค้าโครงจากนวนิยายของโรเบิร์ต หลุยส์ สตีเวนสัน เรื่อง \"\" โดยผู้เขียนบทภาพยนตร์คือ Genki Kawamura ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง \"หลับตาฝัน ถึงชื่อเธอ\" และ \"ศิษย์มหัศจรรย์กับอาจารย์พันธุ์อสูร\" และ Kazuaki Imai ผู้กำกับ \"โดราเอมอน\" ฉบับอนิเมะโทรทัศน์ เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ซึ่งเป็นการกำกับ \"โดราเอมอน\" ฉบับภาพยนตร์เป็นครั้งแรก ภาพยนตร์เข้าฉายในประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 3 มีนาคม 2018 สำหรับประเทศไทย ทางเอ็ม พิคเจอร์ และผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ ได้ยืนยันกำหนดการฉายไว้วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2561 นี้", "title": "โดราเอมอน ตอน เกาะมหาสมบัติของโนบิตะ" }, { "docid": "702987#0", "text": "โดราเอมอน เดอะ มูฟวี่ ตอน โนบิตะผู้กล้าแห่งอวกาศ () เป็นโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว ผลงานของ ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ และเป็นภาพยนตร์ชุดนี้ถือเป็นตอนที่ 35 ของโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ และภาพยนตร์ชุดนี้เป็นการฉลองครบรอบ 35 ปีของโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ และครบรอบ 10 ปีของโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี โดยได้ออกฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ภาพยนตร์ชุดนี้เปิดตัวได้แค่หนึ่งสัปดาห์ ก็ขึ้น Box office อันดับหนึ่ง ทำลายสถิติของเรื่อง \"บิ๊กฮีโร่ 6\" ในญี่ปุ่นได้สำเร็จ", "title": "โดราเอมอน ตอน โนบิตะผู้กล้าแห่งอวกาศ" }, { "docid": "2795#1", "text": "ของวิเศษของโดราเอมอน () เป็นอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบที่โดราเอมอน หยิบนำมาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในกระเป๋า 4 มิติที่อยู่ที่หน้าท้องของโดราเอมอน ของวิเศษส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ในนิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งบางอย่างก็จะเป็นการดัดแปลงจากข้าวของเครื่องใช้ในบ้านของชาวญี่ปุ่นเอง และยังมีของวิเศษบางชิ้นก็อ้างถึงความเชื่อทางศาสนาของประเทศญี่ปุ่น ของวิเศษในเรื่องโดราเอมอนนั้นมีประมาณ 4,500 ชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะปรากฏออกมาให้เห็นเพียงตอนเดียว แต่ก็ยังมีของวิเศษบางชิ้นที่โดราเอมอนหยิบออกจากกระเป๋านำมาใช้บ่อยครั้ง", "title": "รายชื่อของวิเศษของโดราเอมอน" }, { "docid": "13714#10", "text": "พอเมื่อมาอยู่กับโนบิตะนั้น โดราเอมอนใช้ชีวิตในฐานะหุ่นยนต์แมวตัวสีฟ้าที่พูดได้ ต่อครอบครัวโนบิ แต่ต่อคนในยุคอดีตนั้นเป็นแรคคูนตัวเท่าคนตัวสีฟ้า ยืน 2 ขาพูดได้ หรือคนใส่ชุดประหลาด โดยโดราเอมอนเมื่อโดนเรียกว่าทานุกิหรือแรคคูนจะโกรธเอามากๆ โดยใช้ชีวิตร่วมกับโนบิตะกับให้ยืมใช้ของวิเศษต่างๆ แม้จะเกิดเรื่องโกลาหลกว่าตลอดก็ตาม กับนอนในห้องเก็บของที่อยู่ในห้องนอนโนบิตะกับซ่อนไทม์แมชชีนไว้ในลิ้นชักที่ใต้โต๊ะของโนบิตะ โดยให้โนบิตะ, ชิสุกะ, ไจแอนท์และซูเนโอะ เท่านั้นที่รู้กับปิดเอาไว้ไม่ให้ใครรู้", "title": "โดราเอมอน (ตัวละคร)" }, { "docid": "14808#5", "text": "หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2513 ซึ่งเป็นปีเริ่มต้นของการ์ตูนที่โด่งดังที่สุดในชีวิตของเขาทั้งสองคือเรื่อง โดราเอมอน ลงใน\"โชกักอิจิเน็นเซย์-โยะเน็นเซย์\" โดยเน้นไปที่กลุ่มผู้อ่านวัยเด็ก ในช่วงแรกนั้นโดราเอมอนยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่ต่อมาใน 3 ปีให้หลัง โดราเอมอนได้ผลิตเป็นการ์ตูนแอนิเมชันฉายทางโทรทัศน์ ซึ่งทำให้ได้รับความสนใจและนิยมไปอย่างแพร่หลาย ทำให้ฮิโรชิได้รับรางวัล Nihon Mangaka จากโดราเอมอน ในปี พ.ศ. 2516 ส่วนอะบิโคะที่มุ่งออกผลงานสำหรับวัยรุ่นก็ได้มีผลงานเอง Black Salesman (ภายหลังเปลี่ยนเป็น Warau Salesman) อัตชีวประวัติ Manga-michi", "title": "ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ" }, { "docid": "669598#0", "text": "สแตนด์บายมี โดราเอมอน เพื่อนกันตลอดไป () เป็นภาพยนตร์การ์ตูนโดราเอมอนเรื่องยาว เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบสามมิติเป็นครั้งแรกของโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ โดยได้หยิบยกโดราเอมอนตอนปกติจากหนังสือการ์ตูนนำมาสร้าง เพื่อฉลองในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 80 ปี ของ ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ กำกับและประพันธ์บทภาพยนตร์โดย ทะกะชิ ยะมะซะกิ ผู้กำกับภาพยนตร์ซึ่งมีประสบการณ์ทางด้านสเปเชียลเอฟเฟคต์และการสร้างภาพเสมือนจริงที่ประสบความสำเร็จจากภาพยนตร์เรื่อง \"ถนนสายนี้ หัวใจไม่เคยลืม\" (Always: Sunset on Third Street, พ.ศ. 2548) และกำกับภาพยนตร์ร่วมกับ ริวอิจิ ยางิ", "title": "สแตนด์บายมี โดราเอมอน เพื่อนกันตลอดไป" }, { "docid": "60264#1", "text": "โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวีในประเทศไทยเริ่มออกอากาศครั้งแรกทาง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. หรือโมเดิร์นไนน์ทีวีในปัจจุบัน เริ่มออกอากาศวันแรกเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2525 ช่วงเวลาประมาณ 10.00 น. ในวันเสาร์ และอาทิตย์ โดยฉายต่อจากการ์ตูนทีวีเรื่อง หน้ากากเสือ หลังจากได้ออกอากาศก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เป็นการสร้างชื่อให้กับช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ให้เป็นที่ยอมรับในเรื่องการ์ตูนทีวี หลังจากนั้นทางช่อง 9 ก็นำกลับมาฉายใหม่หลายครั้ง แต่ในฉบับการ์ตูนทีวีที่ออกกาศทางช่อง 9 จะเรียกโดราเอมอน ว่า \"โดเรม่อน\" ตามชื่อที่ใช้โดย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ผู้พิมพ์โดราเอมอนฉบับการ์ตูนในสมัยนั้น และไชโยภาพยนตร์ ผู้จัดฉายโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) ทางโมเดิร์นไนน์ทีวีได้นำโดราเอมอน มาออกอากาศอีกครั้งทุกวันศุกร์ เวลา 16.40-17.05 และต่อมาในวันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม โดราเอมอนก็้เปลี่ยนเวลาฉายมาเป็นทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 8.05-8.30 น. และเมื่อปี 2555 ได้ฉายใหม่อีกรอบหนึ่ง แต่ปรับเวลาเป็น 08.15-08.30 น.", "title": "โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี" }, { "docid": "768573#2", "text": "เมื่อโดราเอมอนเล่นเกมเสร็จก็ออกมาจากฮีโร่แมชชีน และเมื่อโนบิตะกลับมาก็จะชวนเล่นเกมด้วย เมื่อโนบิตะกลับมาก็ไปบอกทุกคนว่าหงอคงมีตัวตนอยู่จริง และพาทุกคนรวมถึงโดราเอมอนไปดูด้วย ทว่าเพราะไทม์แมชชีนที่ไปเมื่อกี้เป็นการคาดเดาเวลาและสถานที่ ดังนั้นที่ที่ออกมาเลยต่างจากเมื่อกี้นี้ แต่ทว่า ทุกคนถูกโจรภูเขาไล่ตามมา เมื่อหลบได้แล้วโนบิตะบอกความจริงโดราเอมอนว่าโนบิตะเห็นหงอคงจริงๆ และไปเจอเด็กผู้ชายคนนั้นซึ่งเขาเรียกโนบิตะว่าหงอคงด้วย ทั้งๆ ที่ไม่มีวุ้นแปลภาษา โดราเอมอนเริ่มสงสัยแล้วว่าใช้ของวิเศษของเขาไปหรือเปล่า ต่อมาไจแอนท์เริ่มยัวะที่ไม่เห็นหงอคง แต่เห็นกลุ่มคนจากระยะไกลโดราเอมอนเลยใช้ดาวเทียมสอดแนมเพื่อดูว่าเป็นใคร แล้วก็พบว่าเป็นพระถังซำจั๋ง ซึ่งมีตัวตนอยู่จริง แต่ผู้ติดตามตัวอื่นๆ (หงอคง, โป๊ยก่าย, และซัวเจ๋ง) ไม่มีตัวตนอยู่จริง โนบิตะต้องรักษาสัญญาที่ไว้ให้กับไจแอนท์โดราเอมอนเลยพาโนบิตะไปหลบแล้วเอาฮีโร่แมชชีนออกมาเพื่อให้โนบิตะแต่งกายเป็นหงอคง เมื่อเกมเริ่มแล้วโดราเอมอนให้โนบิตะออกมาจากเกมแล้วให้เพื่อนๆ ได้เห็น แต่ระหว่างนั้นราชาปีศาจวัวและลูกสมุนต่างๆ ในฮีโร่แมชชีนได้ออกมาจากเกมแล้ว! และหงอคงโนบิตะก็หลุดปากไปตอนที่ไจแอนท์เรียกโนบิตะ ทำให้ต้องเปิดเผยความลับ ซึ่งก็คือฮีโร่แมชชีน จากนั้นทุกคนกลับไปยังปัจจุบันแล้วไจแอนท์ให้โดราเอมอนเอาฮีโร่แมชชีนออกมาให้เล่นเพื่อเล่นไซอิ๋ว ไจแอนท์และซึเนะโอะอยากเป็นหงอคง โดราเอมอนเลยบอกให้ทำตามที่คอมพิวเตอร์สั่ง เมื่อทุกคนเข้าไปแล้วโดราเอมอนเห็นท้องฟ้าผิดปกติและน่ากลัว ในฮีโร่แมชชีนคอมพิวเตอร์เลือกบทให้โดยไจแอนท์เป็นโป๊ยก่าย ซึเนะโอะเป็นซัวเจ๋ง ชิซุกะเป็นพระถังซำจั๋ง และโนบิตะเป็นหงอคง ไจแอนท์โมโหที่ไม่ได้เล่นเป็นหงอคง จากนั้นเกมก็เริ่มขึ้น แต่มันก็จบลงอย่างง่ายดายโดยที่ไม่มีปีศาจออกมาสักตนเดียว ทุกคนรู้สึกไม่สนุกเลยเลยบอกว่าไม่มีปีศาจเลย โดราเอมอนก็รู้สึกแปลกๆ ว่าทำไม จากนั้นทุกคนก็กลับบ้าน โดราเอมอนและโนบิตะโกรธกัน คืนนั้นคุณแม่เรียกทั้งสองลงมากินข้าว โนบิตะรู้สึกแปลกๆ เพราะเงาคุณพ่อเหมือนปีศาจเปี๊ยบเลย แต่ตัวจริงยังเหมือนเดิม และที่อาหารวันนี้อร่ิยผิดปกติเพราะเป็นงูชุบแป้งทอด โดราเอมอนและโนบิตะช็อกที่กินอะไรไป และคุณแม่ก็เอาซุบตุ๊กแกมาเสิร์ฟ ทั้งสองเลยขอตัวขึ้นไปนอนก่อน ระหว่างที่ทั้งสองนอนอยู่ก็รู้สึกผิดปกติ และมาหงุดหงิดใส่กัน ส่วนนอกบ้านมีค้างคาวเกาะอยู่เต็มไปหมด", "title": "โดราเอมอน ตอน ตำนานเทพนิยายไซอิ๋ว" }, { "docid": "13731#6", "text": "หลังการ์ตูนเรื่อง \"โดเรมีจัง\" จบไปแล้วสี่ปี โดเรมีมีบทบาทจากการเป็นตัวละครพิเศษรับเชิญในเรื่อง \"โดราเอมอน\" เพียงครั้งเดียว แต่หลังจากที่เธอห่างหายไปและหวนกลับมามีบทบาทอีกครั้งในนิตยสารและสื่อโทรทัศน์ในฐานะน้องสาวของโดราเอมอน โดยมีบทบาทในการดูแลโนบิตะช่วงที่โดราเอมอนไม่อยู่ หรือหาวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างโดราเอมอนกับโนบิตะอยู่เสมอ ด้วยความที่เธอมีความสามารถด้านการบ้านการเรือนกอปรกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี เซวาชิจึงให้โดเรมีมาอยู่บ้านโนบิตะแทนโดราเอมอน ซึ่งโดราเอมอนก็เห็นดีด้วย แต่โนบิตะไม่ยอม", "title": "โดเรมี" }, { "docid": "126552#1", "text": "ในปี 1975 ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ ได้วาด \"โดราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ\" เป็นการ์ตูนเรื่องสั้น ความยาว 25 หน้า ลงในนิตยสารโชเน็งซันเดย์ ฉบับพิเศษ และในภายหลังก็ได้ลงตีพิมพ์ใน โดราเอมอน ฉบับรวมเล่มของเทงโทมุชิคอมิกส์ ฉบับที่ 10 ด้วย ซึ่ง ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ เขียนโดราเอมอนตอนนี้ขึ้นมาโดยได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่อง \"Born Free\" ที่เป็นผลงานการประพันธ์ของจอย อดัมสัน ต่อมาในเดือนตุลาคม ปี 1979 นิตยสารโคโรโคโรคอมิกก็ลงประกาศในเล่มว่า โดราเอมอนตอนนี้ จะได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว จากนั้นในเดือนธันวาคม ปีเดียวกัน ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ ก็เขียนโดราเอมอนตอนนี้เป็นแบบเรื่องยาว ลงในนิตยสารโคโรโคโรคอมิกรายเดือน โดยแบ่งเป็น 3 ตอนใหญ่ๆ ลงตีพิมพ์เดือนละตอน เป็นเวลา 3 เดือนด้วยกัน ", "title": "โดราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ" }, { "docid": "730032#2", "text": "ทั้ง 7 เป็นเพื่อนตั้งแต่สมัยตอนที่โดราเอมอนยังมีหูตัวสีเหลือง (ในตอนนั้นมีหน้าตาเหมือนโดราเดอะคิดตอนที่ไม่ใส่เสื้อผ้า) และทุกคนมี การ์ดมิตรภาพ () เผื่อเอาไว้ใช้เรียกรวมตัวเวลามีภัย\n=ตัวละคร=\nกลุ่มโดราเอมอน 7 ตัว ที่มีสีตัวเสื้อผ้ากับสัญชาติที่แตกต่างกันไป โดยทั้ง 7 ตัวมีอาวุธเหมือนกัน คือกระเป๋า 4 มิติที่หยิบของวิเศษออกมา แต่ของบางคนจะเป็นแบบอื่นเช่นหมวก ผ้าพันคอ แขนเสื้อ 4 กับมีอาวุธสุดท้ายคือหัวที่แข็งเหมือนกันในการใช้พุ่งชนทะลุทุกสิ่ง โดยทั้ง 7 ใช้บัตรโทรศัท์มิตรภาพ เรียกหากันข้ามผ่านแต่ละยุค ด้วยพลังมิตรภาพจาก เมื่อคนไหนมีภัยร้ายจะเรียกทุกคนให้มา เมื่อใช้พลังมิตรภาพของทั้ง 7 ในที่เดียวกัน จะแสดงพลังมิตรภาพเป็นไพ่ตาย เพิ่มพลังให้ของวิเศษ หรือ เพิ่มพลังให้กับอะไรก็ได้ให้มีพลังรุนแรงมากกว่าเดิม และในยุคสมัยอดีตแต่ละยุคที่พวกตนอาศัยอยู่ ใช้ชีวิตในฐานะทานุกิพูดได้ ซึ่งทุกคนพอโดนทักแบบนี้ จะโกรธกันมากๆ\n\"นี่เป็นแค่ข้อมูลในเรื่องแก๊งป่วนก๊วนโดราเอมอนเท่านั้น หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติมดู โดราเอมอน\"\nโดราเอมอน ()หัวหน้าแก๊ง ชอบกินโดรายากิแบบสูตรต้นตำหรับ ตะกละมากที่สุด แต่กลัวหนูเป็นที่สุด มีกระเป๋า 4 มิติอยู่ที่หน้าท้อง มีความเป็นผู้นำมากที่สุด ถึงแม้ว่าพลังจะอ่อนแอสุดก็ตาม โดยร่างตอนอยู่โรงเรียนหุ่นยนต์ในสมัยก่อนเป็นตัวสีเหลืองเหมือนโดราเดอะคิด แต่ไม่ใส่เสื้อผ้า กับมีหู แต่ปัจจุบันตัวสีฟ้ากับไร้หู\nโดรา เดอะ คิด (;)หุ่นยนต์แมวตัวสีเหลืองใส่ชุดคาวบอย มีนิสัยใจร้อน ขี้โมโห พอโกรธยิงมั่วไปหมดถึงกับพังยานอวกาศได้สบาย โดยยิงปืนแม่นที่สุด เก่งพอๆกับโนบิตะ แต่ตนใช้ปืนใหญ่อากาศ กับเป็นโรคกลัวความสูง ขนาดสูงแค่ 1 ชั้นมองลงล่างยังกลัวมาก ตอนใช้คอปเตอร์ไม้ไผ่ต้องให้คนช่วยจับพาบิน เพราะกลัวตกเป็นที่สุด มีอาชีพคือตำรวจกาลเวลาเพราะถูกรับเลี้ยงมา โดยอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริการัฐนิวยอร์ก เวลากินโดะระยะกิมักจะราดมัสตาร์ดและเค็ดชัพ เป็นแฟนกับโดเรมี(น้องสาวโดราเอมอน) หยิบของวิเศษออกมาจากหมวก 4 มิติ\nโดราเหม็ด รุ่นที่ 3 (;;;)หุ่นยนต์แมวตัวสีชมพูใส่ชุดอาบังสีเขียวผู้ชอบใช้เวทมนตร์คาถา มีคาถาประจำตัว คือ \"โอม โรตีมะตะบะ\" สัญชาติซาอุดีอาระเบียในอาหรับ กับควบคุมให้ของวิเศษลอย กลัวน้ำสุดๆ เพราะว่ายน้ำไม่เป็น ไม่ค่อยชอบวิชาพลศึกษา เพราะบางครั้งจะได้เรียนว่ายน้ำ แบบแค่โดนปืนฉีดน้ำยิงใส่ยังกลัว หรือถ้ามีเรื่องจวนตัวแบบมีใครจมน้ำจริงๆ จะโดดลงไปช่วยโดยไม่คิดชีวิต จนว่ายน้ำได้ดีมากแค่เฉพาะตอนจวนตัวเท่านั้น คือโดราเอมอนตัวเดียวที่ไม่มีระบบหายใจในน้ำ ปกติเป็นคนใจดี แต่ถ้าโกรธจะขยายร่างเป็นยักษ์ กับต่อสู้ หยิบของวิเศษออกมาจากกระเป๋าวิเศษ 4 มิติ ตรงหน้าท้อง ถูกรับเลี้ยงโดยลูกหลานของเศรษฐีในทะเลทรายกับย้อนอดีตมาดูแลอาละดินที่เป็นบรรพบุรุษของเจ้าของ\nหวังโดรา(;) หุ่นยนต์แมวตัวสีส้ม ใส่ชุดกังฟูสีแดง ฉลาดล้ำเลิศที่สุดในกลุ่ม ร่ำเรียนวิชาแพทย์ที่เมืองจีนมารยาทงาม แถมยังเป็นยอดฝีมือกังฟู ใช้อาวุธเป็นกระบอง 2 ท่อน กับชอบออกเดินทางฝึกวิชา เป็นคนที่เพอร์เฟ็กต์ทุกอย่าง แต่แพ้ผู้หญิง พบผู้หญิงตัวหญิง สวยน่ารักทีไรจะเขินอายจนเป็นบ้าทำอะไรไม่ถูกทันที กับมีปมเรื่องขาสั้น ทั้งที่จริงขนาดตัวตัวเท่ากับแก๊งป่วนทุกคน ตอนสู้จึงไม่เน้นลูกเตะ เป็นแฟนของมิมิโกะจัง (หุ่นพยาบาลโดยหวังโดราไม่กล้าคุยด้วย) โดะระยะกิสูตรโปรดจะใส่น้ำส้มสายชูและโชยุ หยิบของวิเศษออกมาจากแขนเสื้อ 4 มิติ มีเอล มาตาโดราเป็นไม้เบื่อไม้เมากันตลอด แต่ก็สนิทกันเป็นเหมือนคู่หู ถูกเลี้ยงโดยโรงฝึกกังฟู\nโดรานิญโญ่() หรือ โดรารีเนียล หุ่นยนต์แมวตัวสีเขียวใส่ชุดนักบอลสีเหลือง เตะบอลเก่งมาก ยกเว้นตำแหน่งโกลด์เท่านั้น มีมินิโดราเป็นลูกทีม โดยตนวิ่งเร็วที่สุดในกลุ่ม ขนาดโดราเอมอนตอนกลัวหนูยังวิ่งตามไม่ทัน มีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่งคือ นิสัยขี้ลืมตลอด อาศัยอยู่ในบราซิล และมีเพื่อนที่บราซิลชื่อว่า โนบีนิญโญ่ โดยเป็นครูฝึกกับนักกีฬาของทีม เวลากินโดรายากิมักจะราดทาบาสโก้ชุ่มๆ หยิบของวิเศษออกมาจากกระเป๋า 4 มิติ ที่อยู่ใต้ชุด ถูกรับเลี้ยงโดยเจ้าของสมาคมฟุตบอลหุ่นยนตร์บราซิลในโปรลีค\nโดรานิคอฟ() หุ่นยนต์แมวตัวสีน้ำตาล แต่งตัวเหมือนคนรัสเซียตอนฤดูหนาว มีทักษะดมกลิ่นที่ดีที่สุด อาศัยอยู่ในรัสเซียที่หนาวเหน็บ แต่เจ้าตัวกลับกลัวความหนาว เขาเป็นคนเงียบๆ พูดไม่ได้จึงได้แต่ร้องเหมือนหมา โดยคนที่ฟังออกมีแต่พวกหุ่นพี่เลี้ยงเหมือนกันเท่านั้น ใช้ผ้าพันคอปิดปากไว้ตลอดเวลา เวลามองพระจันทร์เต็มตัว หรืออะไรที่กลท เช่นลูกบอล แต่ต้องมีขนาดที่มองเห็นได้ จะถอดผ้าพันคอออก หน้ากลายเป็นมนุษย์หมาป่า โจมตีด้วยการวิ่งไล่กัด หรือตอนกินของเผ็ดก็เปลี่ยนร่างได้แถมพ่นไฟได้ด้วย แต่ถ้ามองของกลมที่มีขนาดเล็กที่มือไร้นิ้วหรือจมูกกับหางจะไม่แปลงร่าง หยิบของวิเศษออกมาจากผ้าพันคอ 4 มิติ ทำงานถ่ายสตูดิโอภาพยนตร์ เพราะถูกรับเลี้ยงมา\nเอล มาตาโดราหุ่นยนต์แมวตัวสีแดงใส่ชุดมาทาดอร์ กับมีเขาบนหัวแทนที่จะเป็นหูเหมือนหุ่นทุกตัว จอมพลังที่สุดในกลุ่ม ใฝ่ฝันอยากจะเป็นมาทาดอร์ผู้เก่งกาจ สู้วัวกระทิงซึ่งเป็นกีฬาที่สืบทอดมากกว่า 300 ปีของสเปน จุดอ่อนคือ ขี้เกียจ มักนอนหลับทันที หรือเห็นที่พัก แค่ป้ายพักไม่ก็ที่โล่งๆ ก็นอนพัก เหมือนโนบิตะ ทำงานอยู่ในร้านอาหารคารูมิน เพราถูกรับเลี้ยงมาโดยลูกหลาน แต่ตนเป็นคนส่งอาหารกับปลอมเป็นไดเค็ทสึโดราได้ ฮีโร่ผดุงคุณธรรม คอยปราบเหล่าร้ายกับแข่งสู้วัวกระทิง กับปกปิดไม่ให้ใครรู้ คนที่รู้มีแค่ลูกสาวเจ้าองร้าน กับพวกแก๊งป่วนกับโนบิตะเท่านั้น (ในโดราเอมอนแอนด์เดอะแกงค์ฉบับภาษาไทยได้กำหนดให้มาตาโดราพูดภาษาถิ่นอีสาน) หยิบของวิเศษออกมาจากกระเป๋า 4 มิติ ชอบเป็นไม้เบื่อไม้เมากับหวังโดรา แต่เวลาร่วมมือกันจะสนิทกันมาก", "title": "แก๊งป่วนก๊วนโดราเอมอน" }, { "docid": "768#10", "text": "โดราเอมอนหรือโดเรมอน เป็นหุ่นยนต์แมวจากโลกอนาคตกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ โดยเซวาชิผู้เป็นเหลนของโนบิตะเป็นผู้ส่งมา โดเรมอนกลัวหนูมากเพราะเคยโดนหนูกัดหูจนต้องตัดหูทิ้ง ชอบกินโดรายากิเนื่องจากตอนที่อยู่โลกอนาคตยังไม่มาหาโนบิตะ โดเรมอนได้รับโดรายากิกับแมวผู้หญิงตัวหนึ่งซึ่งน่ารักมาก โดเรมอนจึงชอบเป็นพิเศษและเขาจะมีอารมณ์โกรธทันทีเมื่อมีใครเรียกเขาว่า \"แรคคูน\" หรือ \"ทานุกิ\"", "title": "โดราเอมอน" }, { "docid": "768573#4", "text": "ที่เมืองจีนปี 630 พระถังซำจั๋งออกเดินทางจากซีอานมาได้หนึ่งปีแล้ว และร่วมเดินทางกับรินเร เด็กที่โนบิตะช่วยเ้หลือเอาไว้ มาสิบวันแล้ว ระหว่างที่เดินทางอยู่ปีศาจน้ำเต้าทองและปีศาจน้ำเต้าเงิน ปีศาจฝาแฝดเห๋นพระถังซำจั๋งแล้วจะกิน ทางโดราเอมอนและเพื่อนๆ โดราเอมอนใช้เครื่องส่งสัญญาณเตือนภัยเพื่อเตือนเรื่องอันตรายร้ายแรง เมื่อมาถึงแล้วโดราเอมอนให้ทุกคนกินวุ้นแปลภาษาเพื่อให้ทุกคนพูดภาษาจีนได้ ทุกคนเห็นพระถังซำจั๋งและลูกศิษย์คนหนึ่ง และปีศาจน้ำเต้าทองและปีศาจน้ำเต้าเงินก็โผล่ออกมา ทุกคนเลยแนะนำตัวเองแก่ปีศาจแล้วใช้ลูกสมุนค้างคาวโจมตี ชิซุกะปกป้องระถังซำจั๋งตัวจริงเอาไว้ส่วนโดราเอมอนไปขานรับปีศาจน้ำเต้าทองทำให้ถูกดูดเข้าไปในน้ำเต้า แต่ก็ใช้ประตูไปที่ไหนก็ได้ออกมา จากนั้นโดราเอมอนเรียกปีศาจน้ำเต้าทอง และมันก็ขานรับทำให้ดูกดูดเข้าไปในฮีโร่แมชชีน และปีศาจน้ำเต้าเงินผู้น้องเมื่อพบหงอคงโนบิตะก็หนีไป โนบิตะพบกับรินเรซึ่งเขาเคยช่วยเหลือเอาไว้ เป็นลูกศิษย์ของพระถังซำจั๋ง เมื่อรอดพ้นอันตรายแล้วพระถังซำจั๋งและรินเรบอกลาเพื่อเดินทางต่อ แต่โดราเอมอนเปิดเครื่องฮีโร่แมชชีนทิ้งไว้", "title": "โดราเอมอน ตอน ตำนานเทพนิยายไซอิ๋ว" }, { "docid": "478190#2", "text": "ที่พิพิธภัณฑ์ของวิเศษในโลกอนาคตแห่งนี้เป็นสถานที่ซึ่งเก็บรวบรวมของวิเคษตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันไว้หมดทุกอย่างและจอมโจรดีลักซ์ก็หมายตาของวิเศษของที่นี่อยู่เหมือนกัน พวกโนบิตะจึงได้ร่วมมือกับ สารวัตมัสตาร์ด เพื่อค้นหากระดิ่งห้อยคอของโดราเอมอนโดยมี เคิร์ต เด็กหนุ่มผู้มีความมุ่งมั่นอยากเป็นช่างฝีมือทำของวิเศษ เป็นคนนำทางสำรวจตรวจสอบดูในพิพิธภัณฑ์ พวกโนบิตะจะได้กระดิ่งห้อยคอของโดราเอมอนกลับคืนมาหรือไม่ และตัวจริงของจอมโจรดีลักซ์เป็นใคร แล้วเขามีจุดประสงค์อะไรถึงได้ขโมยกระดิ่งห้อยคอของโดราเอมอนกันแน่", "title": "โดราเอมอน ตอน โนบิตะล่าโจรปริศนาในพิพิธภัณฑ์ของวิเศษ" }, { "docid": "14808#6", "text": "ในปี พ.ศ. 2530 ทั้งคู่ถึงจุดอิ่มตัวในวัย 54 ปีจึงได้ตัดสินใจแยกกันใช้นามปากกาจาก \"ฟุจิโอะ ฟุจิโกะ\" สำหรับฮิโรชิเป็น \"ฟุจิโกะ เอฟ. ฟุจิโอะ\" ส่วนของอะบิโคะเป็น \"ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ (เอ.)\" เพื่อแยกตัวทำผลงานของตัวเอง ฮิโรชิได้เขียนการ์ตูนเรื่อง โดราเอมอนต่อเรื่อยมา โดยเขาจะเป็นผู้วาดและแต่งเรื่องโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ เป็นประจำทุกปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2539 ฮิโรชิก็ได้ถึงแก่กรรมลงด้วยวัย 62 ปี ส่วนอะบิโคะมีผลงานเรื่องนินจาฮัตโตริ และโปรกอล์ฟซารุจัดฉายในโรงภาพยนตร์\nผลงานของฮิโรชิ และอะบิโคะมีไม่น้อยกว่า 29 เรื่องด้วยกัน บางเรื่องได้รับการตีพิมพ์เป็นฉบับรวมเล่ม ส่วนบางเรื่องนั้นอาจจะตีพิมพ์ลงในนิตยสารการ์ตูน โดยอาจจะแบ่งตามนามปากกา (ไม่ครบทุกเรื่อง) ได้ดังนี้", "title": "ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ" }, { "docid": "768#39", "text": "สำนักพิมพ์สุดท้ายที่ตีพิมพ์โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนในยุคนั้นคือ สยามสปอร์ตพับลิชชิง หรือ สยามอินเตอร์คอมิกส์ ในปัจจุบันและใช้ชื่อตามหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แต่มีการแถมรูปลอกมาพร้อมในเล่ม อีกทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์ที่ใหญ่โตที่ แดนเนรมิต ใช้ชื่องานว่า \"โลกของโดรามอน\" จัดให้มีกิจกรรมมากมายเช่น การประกวดร้องเพลงโดราเอมอนภาษาไทย ซึ่งร่วมมือกับค่ายเพลง อโซน่า ถึง 6 เพลง อีกทั้งยังมีนำเข้าสินค้าตัวละครโดราเอมอนจาก ประเทศฮ่องกง มาจำหน่ายในงานอีกด้วย จนในปัจจุบันการ์ตูนเรื่องนี้ได้รับการซื้อลิขสิทธิ์ฉบับหนังสือการ์ตูนอย่างถูกต้อง โดยสำนักพิมพ์ เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ ซึ่งมีการตีพิมพ์ 45 เล่ม และมีการรวมเล่มพิเศษอีกหลายฉบับเช่น โดราเอมอนชุดพิเศษ โดราเอมอนพลัส และโดราเอมอนบิ๊กบุคส์ อีกทั้งยังมีตีพิมพ์ซ้ำแล้วหลายรอบ[16]", "title": "โดราเอมอน" }, { "docid": "768#45", "text": "โดราเอมอนนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นแม่อย่างหนึ่งก็ได้ จากเรื่องจะเห็นได้ว่า โดราเอมอนมักออกมาช่วยเหลือ ปกป้อง แก้ปัญหาให้โนบิตะ ในยามคับขันหรือเดือดร้อนเสมอๆ เป็นบทบาทของ \"แม่ผู้ใจดี\" ซึ่งก็คือสิ่งที่มนุษย์เราต้องการอยู่ลึกๆ และในบางตอนโดราเอมอนก็แสดงบท \"แม่ใจร้าย\" คือการแก้เผ็ดหรือปล่อยให้โนบิตะผจญกับความยากลำบากที่มักเป็นผู้ก่อขึ้นเองจากความรู้สึกในด้านชั่วร้าย เช่น การอิจฉาริษยาผู้อื่น การเกลียดชังผู้อื่น การโกหก เพื่อเป็นการสั่งสอนโนบิตะให้รู้จักความผิดชอบชั่วดี[20]", "title": "โดราเอมอน" }, { "docid": "768#42", "text": "ของวิเศษของโดราเอมอน เป็นอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบที่โดราเอมอน หยิบนำมาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในกระเป๋า 4 มิติ ที่อยู่ที่หน้าท้องของโดราเอมอน ของวิเศษส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ในนิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งบางอย่างก็จะเป็นการดัดแปลงจากข้าวของเครื่องใช้ในบ้านของชาวญี่ปุ่นเอง และยังมีของวิเศษบางชิ้นก็อ้างถึงความเชื่อทางศาสนาของประเทศญี่ปุ่น ของวิเศษในเรื่องโดราเอมอนนั้นมีประมาณ 4,500 ชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะปรากฏออกมาให้เห็นเพียงตอนเดียว แต่ก็ยังมีของวิเศษบางชิ้นที่โดราเอมอนหยิบออกจากกระเป๋านำมาใช้บ่อยครั้ง ศาตราจารย์ยาสึยูกิ โยโกยามะ แห่งมหาวิทยาลัยโทยามะ ได้ทำการวิจัยผลงานเรื่องโดราเอมอน และเปิดเผยว่าของวิเศษที่โดราเอมอนหยิบออกมาจากกระเป๋า 4 มิติ มีทั้งหมด 1,963 ชิ้น ในขณะที่เว็บไซต์ Doraemon Fanclub บันทึกจำนวนของวิเศษเอาไว้ทั้งหมด 1,812 ชิ้น", "title": "โดราเอมอน" }, { "docid": "13726#0", "text": "โฮเนะกาว่า ซึเนะโอะ หรือ โฮะเนะกะวะ ซูเนโอะ (; ราชบัณฑิตยสภา: โฮเนกาวะ ซูเนโอะ) หรือชื่อในฉบับอังกฤษว่า สนีช () เป็นตัวละครการ์ตูนจากเรื่องโดราเอมอน เกิดในเดือนกุมภาพันธ์ไม่ปรากฏวัน แต่จากข้อมูลใน \"สารานุกรมโดราเอมอน\" (ドラえもん百科) ที่แต่งโดยโยจิ คาตาคุระ ได้บอกไว้ว่าเกิดวันที่ 28 มีนาคม", "title": "โฮเนะกาว่า ซึเนะโอะ" }, { "docid": "768#47", "text": "หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนเป็นหนึ่งในการ์ตูนญี่ปุ่นที่ขายได้มากกว่า 75,000,000 เล่ม[21] ประเทศแรกที่ฉายโดราเอมอนต่อจากญี่ปุ่น คือฮ่องกง ใน พ.ศ. 2524[22] หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนมีหลายภาษาด้วยกัน ไม่ต่ำกว่า 9 ภาษาทั่วโลก ตีพิมพ์ในประเทศ เช่น ประเทศเกาหลีใต้ สเปน จีน เวียดนาม ประเทศเวียดนาม นิยมการ์ตูนโดราเอมอนเป็นอย่างมาก ถึงขนาดมีมูลนิธิเพื่อการศึกษาโดราเอมอน เริ่มตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2536 แบบไม่ถูกลิขสิทธิ์ และใน พ.ศ. 2541 จึงมีการตีพิมพ์ฉบับลิขสิทธิ์ ก็ยังได้รับความนิยมเสมอมา พ.ศ. 2525 หนึ่งในผู้ให้กำเนิดโดราเอมอน ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ ได้เดินทางมาประชาสัมพันธ์โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ให้กับทางไชโยภาพยนตร์ และออกรายการ \"อาทิตย์ยิ้ม\" ของดำรง พุฒตาล ทางช่อง 9 พ.ศ. 2531 โดราเอมอนได้รับเกียรตินำไปสร้างเป็นบอลลูนขนาดยักษ์ชื่อ \"โดราบารุคุง\" โดยปล่อยให้ลอยอยู่บนท้องฟ้ามาเป็นเวลานาน 12 ปี และจากนั้นในปี พ.ศ. 2543 ก็ได้มีการสร้างบอลลูนลูกใหม่ขึ้นมาในชื่อว่า \"โดราเน็ตสึคิคิว นิโกคิ\" [23] พ.ศ. 2535 ในการประกวดแข่งขันรถพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการรณรงค์ประหยัดพลังงาน ได้มีการผลิตรถพลังแสงอาทิตย์ตามตัวละครโดราเอมอนขึ้นมา เรียกว่า \"โซราเอมอน\" [24] พ.ศ. 2540 ในวันที่ 2 พฤษภาคม สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานข่าวการวางจำหน่ายแสตมป์โดราเอมอนที่ประเทศญี่ปุ่น มีสีเขียว ส้ม ชมพู และสีน้ำเงิน โดยมีการต่อแถวรอซื้อตั้งแต่เช้า [25] ในประเทศญี่ปุ่น มีรถไฟโดราเอมอนอยู่ด้วย โดยเป็นเส้นทางจากอาโอโมริไปฮาโกดาเตะ ตัวโบกี้มีการตกแต่งด้วยตัวละครจากโดราเอมอนทั้งภายนอกและภายใน และมีโบกี้พิเศษสำหรับแฟนคลับโดราเอมอน โดยมีภาพยนตร์การ์ตูน ของที่ระลึกจัดจำหน่าย รวมไปถึงพนักงานต้อนรับสวมหัวโดราเอมอนซึ่งคอยบริการอยู่บนรถไฟ[26]", "title": "โดราเอมอน" }, { "docid": "768#50", "text": "การ์ตูนเรื่อง โดราเอมอน เป็นการ์ตูนที่ไม่สมบูรณ์คือไม่มีตอนจบ เนื่องจากผู้เขียนได้เสียชีวิตไปก่อน [30] แต่ก็มีหลายกระแสที่ออกมาบอกว่าผู้แต่งได้วางโครงเรื่องไว้ในตอนจบ ซึ่งต่างกันหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่ที่นักอ่านชาวไทยรู้กันดีคือ โดราเอมอนและตัวละครเสริมอื่นๆ นั้นไม่มีจริง มีแค่ โนบิ โนบิตะ เพียงคนเดียว ซึ่งโนบิตะในตอนจบนั้นที่จริงแล้วเป็นเด็กที่ไม่สบายใกล้เสียชีวิต อยู่ใน โรงพยาบาล และเพื่อนๆ ยืนอยู่ข้างเตียงของโนบิตะที่ใกล้ตายอยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งตอนจบนี้มีความสะเทือนใจอย่างมาก ผิดไปจากการ์ตูนหลายๆ เรื่องที่ผู้เขียนเคยแต่งมา ซึ่งส่วนใหญ่จะจบลงด้วยดีมาตลอด [31]", "title": "โดราเอมอน" }, { "docid": "768#51", "text": "ส่วนตอนจบอีกแบบหนึ่งคือ อยู่ดีๆ วันหนึ่งโดราเอมอนก็เกิด แบตเตอรี่ หมด แล้วหยุดทำงานเสียเฉยๆ โนบิตะจึงปรึกษากับโดเรมี น้องสาวของโดราเอมอน โดเรมีบอกโนบิตะว่า ถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ของโดราเอมอน ความจำทั้งหลายจะหายหมด เนื่องจากแบตเตอรี่สำรองไฟที่เก็บความจำของหุ่นยนต์รูปแมวนั้นเก็บไว้ที่หู และอย่างที่ทราบกันว่าโดราเอมอนไม่มีหู ดังนั้นถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ เขาจะต้องสูญเสียความจำ ต้องนำไปซ่อมที่โลกอนาคต แต่การใช้ ไทม์แมชชีน นั้นผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายใหม่ของโลกอนาคต ถ้าส่งโดราเอมอนกลับ โดราเอมอนจะมาหาโนบิตะอีกไม่ได้ ทำให้โนบิตะตัดสินใจไม่เปลี่ยนแบตเตอรี่ แล้วโนบิตะจึงตัดสินใจตั้งใจเรียนจนเป็น นักวิทยาศาสตร์ ระดับโลก โดยเอาเรื่องโดราเอมอนที่แบตหมดมาเป็นแรงผลักดันขยันทุนเทหารักษาให้โดราเอมอนกลับมา โดยเอาตัวโดราเอมอนไปซ่อนไม่ให้มีใครรู้เรื่องนอกจากตนเพียงคนเดียวเท่านั้น แล้วก็แต่งงานกับชิซุกะและสามารถซ่อมโดราเอมอนกับสร้างหูกับทำให้ร่างของโดราเอมอนเป็นตัวสีเหลืองก่อนถูกซื้อ กับเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้สำเร็จ โดยที่ความทรงจำไม่หายไป (โดยก่อนที่โนบิตะจะเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้เรียกชิซุกะมาดูโดราเอมอน) และเขาก็มีลูกชายชื่อโนบิสุเกะ และอยู่ด้วยกันอย่างมีสุข [31]", "title": "โดราเอมอน" }, { "docid": "13714#9", "text": "โดราเอมอนมีหุ่นผู้ช่วยคือมินิโดรา เป็นหุ่นโดราเอมอนขนาดเล็กจำนวนมาก โดยทุกตัวจะไม่มีหูกับมีสีที่แตกต่างกันไป จะพูดแต่คำว่า \"โดราโดรา\" เท่านั้น เป็นภาษาที่มีแต่หุ่นยนต์รุ่นโดรา อย่างโดราเอมอน,โดเรเท่านั้นที่เข้าใจ มินิโดราจะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยแทนตอนโดราเอมอนไม่อยู่หรือมาช่วยซ่อมโดราเอมอนพัง จะมาช่วยซ่อมให้ เพราะถูกสร้างขึ้นมาโดยใช้โดราเอมอนเป็นต้นแบบ จึงถูกเก็บอยู่ในกระเป๋าพร้อมกับของวิเศษ ในโหมดปิดตัวตลอด", "title": "โดราเอมอน (ตัวละคร)" } ]
1927
เมืองเวียงจันทน์ตั้งอยู่ประเทศอะไร ?
[ { "docid": "93078#0", "text": "นครหลวงเวียงจันทน์ (Lao: ນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ, นะคอนหลวงเวียงจัน) เป็นเขตที่ตั้งของกรุงเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นทั้งเมืองหลวงของประเทศลาวและเป็นเขตการปกครองพิเศษนครหลวงเวียงจันทน์ ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ มีอาณาเขตตรงข้ามอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายของประเทศไทย เชื่อมต่อคมนาคมด้วยสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 นครหลวงเวียงจันทน์เป็นเขตปกครองที่มีความเจริญของเมืองมากที่สุดในบรรดาเขตการปกครองระดับบนสุด 18 แห่งของประเทศลาว ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2532 โดยแยกออกมาจากแขวงเวียงจันทน์[1] เดิมชื่อ \"กำแพงนครเวียงจันทน์\" (ກຳແພງນະຄອນວຽງຈັນ) และเปลี่ยนชื่อเป็น \"นครหลวงเวียงจันทน์\"", "title": "นครหลวงเวียงจันทน์" } ]
[ { "docid": "480013#0", "text": "อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ เป็นอาณาจักรทางตอนกลางของประเทศลาว และ ภาคอีสานตอนบนของประเทศไทยในปัจจุบัน อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ครอบคลุม ภาคอีสานตอนบน แขวงเวียงจันทน์ นครหลวงเวียงจันทน์ กรุงเวียงจันทน์ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของประเทศและบริเวณใกล้เคียง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ติดกับอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ เมื่อถึง พ.ศ. 2436 อาณาจักรล้านช้างทั้ง 3 ส่วนจึงได้ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเป็นพระราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2496 รวมลาวอยู่ภายใต้อาณานิคมของฝรั่งเศสเป็นเวลา 60 ปี", "title": "อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์" }, { "docid": "352980#1", "text": "พวน (Phuen, Puen) เป็นคำที่เรียกกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคว้นเชียงขวางหรือบริเวณที่ราบสูง ในประเทศสาธารณรัฐธิปไตยประชาชนลาว มีอาณาเขตติดต่อกับญวน ได้ชื่อว่าพวน เพราะเชียงขวางมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านพื้นที่ ชื่อแม่น้ำพวน ชาวพวนนิยมตั้งถิ่นฐานสร้างที่ทำกิน บริเวณลุ่มแม่น้ำ ด้วยมีอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ไถนา ชาวพวนได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยหลายครั้งด้วยกัน คือ สมัยกรุงธนบุรีตอนปลาย สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ไทยยกทัพไปปราบฮ่อ เมื่ออพยพมาอยู่ในประเทศไทย จึงเลือกสถานที่สร้างบ้านเรือนอยู่ตามแม่น้ำลำคลอง สังเกตได้จากชาวไทยพวนอำเภอปากพลี จะสร้างบ้านอยู่ตามลำคลองตลอดแนว ตั้งแต่ตำบลหนองแสง ตำบลเกาะหวาย ตำบลเกาะโพธิ์ จนถึงตำบลท่าเรือ เป็นต้น ที่อำเภอเมืองนครนายก จะมีชาวไทยพวนอาศัยอยู่ที่ตำบลสาริกาและตำบลเขาพระชาวไทยพวนในจังหวัดนครนายก เชื่อกันว่า อพยพเข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ประมาณ ปี พ.ศ. 2322 เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงโปรดเกล้าให้ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์และหัวเมืองต่างๆ ซึ่งมีชื่อเรียกรวมกันว่า หัวพันทั้งห้าทั้งหก ประกอบด้วย เมืองคำม่วน เมืองคำเกิด เมืองเวียงไชย เมืองไพศาลลี เมืองซำเหนือ และเมืองเชียงขวาง ได้กวาดต้อนเอาลาวเวียง(ลาวเวียงจันทน์) ลาวพวนและไทดำ(ปัจจุบันนิยมเรียกว่าไทยทรงดำ หรือ ลาวโซ่ง) มาไว้ที่เมืองร้าง (เพราะถูกพม่ากวาดต้อนราษฎรไปตั้งแต่สมัยกรุงศรัอยุธยาเสียแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310) เช่นเมืองสระบุรี ลพบุรี นครนายก และฉะเชิงเทรา ระยะที่สอง ในราวปี พ.ศ. 2335 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมืองแถงและเมืองพวนแข็งข้อต่อเมืองเวียงจันทน์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์จึงได้ยกทัพไปปราบ และกวาดต้อนครอบครัวไทดำและลาวพวนส่งมากรุงเทพฯ ลาวทรงดำถูกส่งไปอยู่ที่เพชรบุรี ลาวพวนถูกส่งมาที่เมืองลพบุรี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ราชบุรีและจันทบุรี ด้วย ระยะที่สาม ในราวปี พ.ศ. 2370 เจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ ก่อกบฏต่อกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าให้พระยาราชสุภาวดี(เจ้าพระยาบดินทรเดชา) เป็นแม่ทัพ ขึ้นไปปราบกบฏ และได้กวาดต้อนครอบครัวลาวพวนมาไว้ที่อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดลพบุรี และจังหวัดพิจิตร เป็นต้น ชาวไทยพวน มีอุปนิสัยยิ้มแย้มแจ่มใส โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และรักสงบ ยึดมั่นใน ขนบธรรมเนียมประเพณี มีวัฒนธรรม มีภาษา มีความผูกพันในระบบเครือญาติ เผ่าพันธุ์ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองมาช้านาน ชาวไทยพวนจะพูดได้ทั้งภาษาไทยกลาง และภาษาไทยพวน โดยจะใช้ภาษาไทยกลางพูดกับคนต่างถิ่น แต่จะพูดภาษาไทยพวนกับกลุ่มชนเดียวกัน ภาษาพูดของไทยพวนมีสำเนียงไพเราะ ซึ่งจะแตกต่างจากภาษาพูดของลาวเวียง ที่มีสำเนียงสั้นๆห้วนๆ", "title": "ชาวไทพวน" }, { "docid": "554881#0", "text": "พระอาชญาเจ้าขุนรามราชรามางกูร (ลาว : ພຣະອາດຊະຢາເຈົ້າຂຸນຣາມມະຣາຊຣາມາງກູຣ, ราว พ.ศ. ๒๓๐๐-๒๔๐๐) ทรงเป็นเจ้าเมืองพนม (เมืองธาตุพนม) อันเป็นเมืองกัลปนาหรือเมืองพุทธศาสนานครพระองค์แรกจากราชวงศ์เวียงจันทน์ เมื่อครั้งธาตุพนมยังเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ ก่อนตกเป็นประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม และทรงเป็นเจ้าขุนโอกาส (ขุนโอกลาษ) ผู้รักษากองข้าอุปัฏฐากพระบรมมหาธาตุเจ้าเจดีย์พระนม (พระธาตุพนม วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร) พระองค์แรกแห่งราชวงศ์เวียงจันทน์ ระหว่างราวปี พ.ศ. ๒๓๓๐-๒๓๕๐ ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๓ (สมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร) ถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๕ (สมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์) แห่งราชอาณาจักรเวียงจันทน์ ทรงเป็นต้นตระกูล รามางกูร (Ramangkura) แห่งอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ในภาคอีสานของประเทศไทย และทรงเป็นต้นตระกูล ลามางกูน (ລາມາງກູນ) หรือ รามางกูร (ຣາມາງກູຣ) แห่งนครเวียงจันทน์ ในประเทศลาว อีกทั้งทรงเป็นผู้บูรณะและสถาปนาวัดหัวเวียงรังษีร้าง (วัดสวนสั่ง) ซึ่งเป็นวัดสำคัญอันเก่าแก่ของทิศหัวเวียงพระธาตุพนม ", "title": "เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)" }, { "docid": "769276#0", "text": "ทางหลวงหมายเลข 13 เป็นทางหลวงสายหลักในประเทศลาว เริ่มต้นที่เมืองบ่อเต็นทางเหนือของลาวที่พรมแดนประเทศจีน เชื่อมต่อนครหลวงเวียงจันทน์กับหลวงพระบางในทางเหนือ และลงไปตามแม่น้ำโขงจนสิ้นสุดที่พรมแดนประเทศกัมพูชา เชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 7 ในประเทศกัมพูชา นอกจากนี้ ทางหลวงเส้นนี้มีเส้นทางผ่านท่าอากาศยานนานาชาติทั้งสามแห่งของลาว ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติวัตไต ท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง และท่าอากาศยานนานาชาติปากเซ เส้นทางระหว่างบ่อเต็นกับนาเตย ระยะทาง 20 กิโลเมตร เป็นส่วนหนึ่งของทางพิเศษคุนหมิง–กรุงเทพ ซึ่งยังเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 3 อีกด้วย เส้นทางจากนาเตยถึงเวียงจันทน์ ทางหลวงหมายเลข 13 เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 12 และจากเวียงจันทน์ถึงพรมแดนประเทศกัมพูชาเป็นทางหลวงเอเชียสาย 11\nทางหลวงหมายเลข 13 ผ่านเมืองต่าง ๆ ได้แก่ เวียงจันทน์ วังเวียง และหลวงพระบาง ถนนส่วนใหญ่ลาดยางแล้ว แต่ในบางจุดยังชำรุดทรุมโทรม ถนนยังค่อนข้างแคบ โค้งหักศอก ไม่มีเส้นจราจรและแสงสะท้อนบนถนน รถประจำทางที่ผ่านจากเวียงจันทน์ไปหลวงพระบาง จะใช้เวลาเดินทางถึง 8-10 ชั่วโมง", "title": "ทางหลวงหมายเลข 13 (ประเทศลาว)" }, { "docid": "129415#4", "text": "ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ยกทัพมายึดเมืองนครราชสีมาและได้กวาดต้อนชาวเมืองไป แต่ถูกคุณหญิงโมและชาวเมืองนครราชสีมาต่อสู้กับทหารเวียงจันทน์จนได้รับชัยชนะและได้พระราชทานนามว่า “ ท้าวสุรนารี ” การกวาดต้อนเชลยคราวนั้น ทหารเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ ได้มากวาดต้อนชาวเมืองปักทั้งชาวไทยโคราช และ ชาวเวียงจันทน์ ซึ่งชาวเวียงจันทร์ได้อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ต่างก็มีที่ทำมาหากินสุขสบายมาเป็นเวลา 47 ปี จึงพร้อมใจกันจับอาวุธต่อสู้ขับไล่ทหารของเจ้าอนุวงศ์พ่ายแพ้กลับไป (ปัจจุบันชาวเวียงจันทน์เป็นบรรพบุรุษ ของชาวตำบลตะคุทั้งตำบล ตำบลเมืองปักบางหมู่บ้าน ตำบลธงชัยเหนือบางหมู่บ้าน ตำบลบลสะแกราชบางหมู่บ้าน ตำบลตะขบบางหมู่บ้าน)\nอำเภอปักธงชัยตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้", "title": "อำเภอปักธงชัย" }, { "docid": "104747#0", "text": "วังเวียง เป็นเมืองท่องเที่ยวในแขวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ห่างจากเวียงจันทน์ ประมาณ 160 กิโลเมตร สภาพทางภูมิศาสตร์เป็นที่ราบระหว่างภูเขาหินปูน ป่าไม้สมบูรณ์ ได้ฉายาว่า เมืองกุ้ยหลินแห่งเมืองลาว", "title": "วังเวียง" }, { "docid": "36009#2", "text": "เวียงจันทน์เป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรเรืองอำนาจ โดยร่วมยุคสมัยกันกับทวารวดีของไทย เดิมชื่อเมืองจันทปุระหรือเมืองจันทบุรี มีนักปราชญ์ลาว-อีสานหลายกลุ่มได้เขียนประวัติของเมืองเวียงจันทน์ในแต่ละยุคไว้หลากหลายสำนวน เช่น ตำนานเวียงจันทน์พันพร้าว ตำนานพระรัสสีสองพี่น้องสร้างเวียง ตำนานพระลัก-พระลามครองกรุงศรีสัตนาค ตำนานท้าวหูดสามเปาสร้างเวียง ตำนานท้าวคัทธนาม ตำนานพระยาบุรีจันประสิทธิสักกะเทวะ ตำนานท้าวคำพอง-นางบัวเคือ ตำนานอุรังคธาตุ ตำนานพระยาศรีสัตนาคแปงเวียง ตำนานท้าวเซียงเมี่ยง ตำนานศรีโคตรสาปเวียง ตำนานพระยาจวงขาว ตลอดจนเอกสารพื้นเวียงสำนวนต่างๆ ในครั้งหลวงพระบางเป็นราชธานี เวียงจันทน์มีสถานะเป็นเมืองลูกหลวงหรือเมืองเจ้าหัวเศิกพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เท่านั้นที่มักถูกส่งลงมาปกครองเวียงจันทน์ เวียงจันทน์เริ่มเป็นเมืองหลวงแทนหลวงพระบางตั้งแต่ พ.ศ. 2078 ในสมัยพระเจ้าโพธิสารราช จน พ.ศ. 2103 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 1 มหาราช ถอยหนีพม่ามาตั้งหลักที่เวียงจันทน์จึงถือเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการโดยมีนามเต็มว่า พระนครจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตอุตมราชธานีบุรีรมย์ หรือเมืองล้านช้างเวียงจันทน์ เวียงจันทน์เจริญขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง พ.ศ. 2237 สมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชก็เสื่อมลง พระองค์มีสนมเอกชื่อนางเขียวค้อม ", "title": "แขวงเวียงจันทน์" }, { "docid": "807044#0", "text": "มัสยิดยามิอา นครหลวงเวียงจันทน์ () เป็นมัสยิดกลางของนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ถือเป็นมัสยิดหนึ่งในสองแห่งที่ตั้งอยู่ในเมืองหลวง สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2513 โดยสมาคมมุสลิมลาว (The Muslim Association of Laos) ณ บ้านเชียงยืน เมืองจันทบุรี สัปบุรุษส่วนใหญ่ของมัสยิดนี้มีเชื้อสายเอเชียใต้ คือ ปาทานและทมิฬ ส่วนมัสยิดอีกแห่งในเวียงจันทน์คือมัสยิดอาสาฮาร () บ้านโพนสะหวาดใต้ เมืองศรีโคตรบอง ที่สัปบุรุษส่วนใหญ่เป็นชาวจามจากกัมพูชา", "title": "มัสยิดยามิอา นครหลวงเวียงจันทน์" }, { "docid": "5114#123", "text": "เดินทางระหว่างประเทศ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา - นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (กรุงเทพฯ-เวียงจันทน์ 900 บาท, นครราชสีมา-เวียงจันทน์ 540 บาท) เวลา 21.00 น. จากสถานีต้นทาง กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) ถึง บขส. นครราชสีมา แห่งที่ 2 ประมาณ 23.50 น. เวลา 18.00 น. จากสถานีต้นทาง นครหลวงเวียงจันทน์ ถึง บขส. นครราชสีมา แห่งที่ 2 ประมาณ 1 นาฬิกา หรือ 01.00 น. เที่ยววิ่งนอกวันและเวลาราชการ เก็บค่าทำการล่วงเวลา ของด่านตรวจคนเข้าเมืองคนละ 5 บาท โดยจัดเก็บที่สถานีเดินรถ เดินทางด้วยรถปรับอากาศ 2 ชั้น 32 ที่นั่ง มีสุขภัณฑ์ พนักงานต้อนรับ และอาหารว่าง ติดต่อสถานีเดินรถนครราชสีมา โทรศัพท์ 044-254964 หรือ 1490 เรียก บขส.", "title": "จังหวัดนครราชสีมา" }, { "docid": "134139#2", "text": "ในปี พ.ศ. 2311 เจ้าพระตากับเจ้าพระวอ เกิดผิดพระทัยกันกับสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๓ หรือสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารแห่งนครเวียงจันทน์ จึงอพยพไพร่พลมาตั้งแข็งข้ออยู่เมืองหนองบัวลุ่มภูซึ่งพระบิดาของตนเคยปกครองมาก่อน อันมีสาเหตุมาจากเจ้าพระตาปรารถนาจะเป็นเจ้ามหาอุปราชแห่งนครเวียงจันทน์ โดยที่ตนมิใช่เชื้อสายของพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อน ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารก็ปรารถนาจะประนีประนอมด้วยการขอให้พระธิดาของเจ้าพระตาไปเป็นหม่อมห้ามของพระองค์ เพื่อสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างเจ้านายราชวงศ์เวียงจันทน์และเจ้านายราชวงศ์เชียงรุ้งซึ่งเคยมีมาแต่ครั้งพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช เจ้าพระตาและเจ้าพระวอไม่พอพระทัยจึงยกไพร่พลมาสร้างค่ายคูประตูหอรบที่เมืองหนองบัวลุ่มภูแล้วยกขึ้นเป็นเมืองเอกราชนามว่า นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน สถาปนาพระองค์เป็นกษัตริย์ไม่ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการถวายกรุงเวียงจันทน์ พร้อมทั้งส่งเจ้านายกรมการเมืองจำนวนมากออกไปตั้งเมืองใหม่ อาทิ เมืองผ้าขาว เมืองพันนา เมืองภูเขียว เมืองภูเวียง เป็นต้น ฝ่ายนครเวียงจันทน์ได้ยกทัพมาตีเมืองหนองบัวลุ่มภูซึ่งแต่เดิมเป็นเมืองขอบด่านขึ้นแก่นครเวียงจันทน์มาแต่โบราณ การต่อสู้นั้นใช้ระยะเวลายาวนานอยู่ถึง 3 ปี ฝ่ายเมืองหนองบัวลุ่มภูเห็นว่านานไปจะสู้ฝ่ายนครเวียงจันทน์ไม่ได้ จึงส่งทูตไปขอกองทัพจากพม่าที่นครเชียงใหม่มาช่วยรบ แต่กองทัพพม่าได้ยกมาสมทบกับกองทัพนครเวียงจันทน์ตีเมืองหนองบัวลุ่มภูแตก เป็นเหตุให้เจ้าพระตาสิ้นพระชนม์ในสนามรบ ฝ่ายเจ้าพระวอกับเจ้าคำผงและพวกจึงต้องทิ้งเมืองหนีไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนได้ไปพึ่งพระราชบารมีในสมเด็จพระพุทธเจ้าองค์หลวงไชยกุมารแห่งนครจำปาศักดิ์ โดยตั้งค่ายอยู่บ้านดู่บ้านแก แขวงเมืองจำปาศักดิ์ ฝ่ายสมเด็จพระพุทธเจ้าองค์หลวงไชยกุมารทรงแบ่งรับแบ่งสู้ด้วยทรงเห็นว่าอาจเป็นการทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนครเวียงจันทน์กับนครจำปาศักดิ์ร้าวฉานได้ แต่ก็ทรงพระเมตตาขอเอาเจ้านางตุ่ย พระธิดาในเจ้ามหาอุปฮาชธรรมเทโว อุปราชนครจำปาศักดิ์ ให้เป็นพระชายาของเจ้าคำผง และทรงแต่งตั้งให้เจ้าคำผงเป็นที่ พระปทุมสุรราช ผู้ช่วยเจ้าพระวอ นายกองนอก ต่อมาพระปทุมสุรรราช (เจ้าคำผง) จึงขออพยพไพร่พลมาอยู่ดอนมดแดง และสถาปนาเมืองขึ้นชั่วคราว คนทั่วไปเรียกว่า เมืองดอนมดแดง (ปัจจุบันคืออำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี)", "title": "เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง ณ อุบล)" }, { "docid": "127230#2", "text": "ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ราว ร.ศ.28 (พ.ศ. 2352) ในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมืองเกษตรสมบูรณ์มีเจ้าเมืองปกครองชื่อว่า “หลวงไกรสิงหนาท” เมืองนี้ขึ้นตรงต่อกรุงรัตนโกสินทร์ ไม่ขึ้นต่อเมืองชัยภูมิ หรือเมืองโคราช\nการส่งส่วยเครื่องราชบรรณาการนั้น หลวงไกรสิงหนาทจัดส่งเป็น 2 ทาง คือส่งส่วยผ้าขาวไปยังเวียงจันทน์ ส่งดอกไม้ธูปเทียนเงินทอง ไปยังพระเจ้ากรุงสยาม (กรุงเทพฯ) ด้วยสาเหตุที่มีการส่งส่วยผ้าขาวไปยังลาวเวียงจันทน์นี้เอง เจ้าเมืองและราษฎรในถิ่นนี้จึงได้ถูกเรียกว่า “ส่วยผ้าขาวลาวเวียงจันทน์” ติดปากมาจนเท่าทุกวันนี้ จึงเป็นข้ออ้างอิง เป็นหลักฐานไว้ว่า “หลวงไกรสิงหนาท” เป็นคนที่มาจากลาวเวียงจันทน์ คนเฒ่าคนแก่ได้เล่าต่อกันมาว่า ท่านเป็นลูกเจ้าเวียงจันทน์ เข้ามาในประเทศพร้อมกับเจ้าพระยาแลอดีตเจ้าเมืองชัยภูมิ", "title": "อำเภอเกษตรสมบูรณ์" }, { "docid": "1942#5", "text": "สยามได้ปกครองดินแดนลาวทั้งสามส่วนในฐานะประเทศราชรวม 114 ปี ในระยะเวลาดังกล่าวอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ได้ล่มสลายลงในปี พ.ศ. 2371 เนื่องจากในปี พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ได้พยายามทำสงครามเพื่อตั้งตนเป็นอิสระจากสยาม ทว่าหลังการปราบปรามของกองทัพไทยอย่างหนัก พระองค์เห็นว่าจะทำการไม่สำเร็จจึงตัดสินพระทัยหลบหนีไปพึ่งจักรวรรดิเวียดนามจนถึง พ.ศ. 2371 พระองค์จึงได้กลับมายังกรุงเวียงจันทน์พร้อมกับขบวนราชทูตเวียดนาม เพื่อขอสวามิภักดิ์สยามอีกครั้ง แต่พอสบโอกาสพระองค์จึงนำทหารของตนฆ่าทหารไทยที่รักษาเมืองจนเกือบหมดและยึดกรุงเวียงจันทน์คืน กองทัพสยามรวบรวมกำลังพลและยกทัพมาปราบปรามเจ้าอนุวงศ์อีกครั้งจนราบคาบ จนเจ้าอนุวงศ์ต้องหลบหนีไปยังเวียดนามและในคราวนี้เองที่พระองค์ทรงถูกเจ้าเมืองพวนจับกุมตัวและส่งลงมากรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธเจ้าอนุวงศ์มากจึงทรงให้คุมขังเจ้าอนุวงศ์ประจานกลางพระนครจนสิ้นพระชนม์ ส่วนกรุงเวียงจันทน์ก็มีพระบรมราชโองการให้เผาทำลายจนไม่เหลือสภาพความเป็นเมือง และตั้งศูนย์กลางการปกครองฝ่ายไทยเพื่อดูแลอาณาเขตของอาณาจักรเวียงจันทน์ที่เมืองหนองคายแทน", "title": "ประเทศลาว" }, { "docid": "94749#1", "text": "ตามตำนานอุรังคนิทานได้กล่าวไว้ว่า พระธาตุหลวงสร้างขึ้นคราวเดียวกับการสร้างเมืองนครเวียงจันทน์ หลังจากก่อสร้างพระธาตุพนมแล้ว ผู้สร้างคือ บุรีจันอ้วยล้วย หรือ พระเจ้าจันทบุรีประสิทธิศักดิ์ เจ้าเหนือหัวผู้ครองนครเวียงจันทน์พระองค์แรก พร้อมกับพระอรหันต์ 5 องค์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนหัวเหน่า 27 พระองค์ ซึ่งได้อัญเชิญมาจากเมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดีย โดยก่อเป็นอุโมงค์หินคร่อมไว้ อุโมงค์นั้นกว้างด้านละ 5 วา ผนังหนา 2 วา และสูงได้ 4 วา 3 ศอก เมื่อได้ทำการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว พระเจ้าจันทบุรี จึงได้มีพระราชดำรัสให้เสนาอำมาตย์สร้างวิหารขึ้นในเมืองจันทบุรีหรือนครเวียงจันทน์ 5 หลัง เพื่อให้เป็นที่อยู่จำพรรษาของ พระอรหันต์ทั้ง 5 องค์นั้นด้วย ตามตำนานดังกล่าวระบุศักราชการสร้างว่าอยู่ในช่วง พ.ศ. 238 \nในระยะต่อมาแม้ว่าชื่อของเวียงจันทน์จะไม่ได้ปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์ใดเลย แต่อย่างไรก็ดี นครเวียงจันทน์ก็ยังคงเป็นเมืองสำคัญอยู่ตลอดมา ดังปรากฏการอ้างถึงชื่อเมืองเวียงจันทน์ในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง และในพงศาวดาวลาวฉบับต่างๆ ก็ระบุด้วยว่านับตั้งแต่พระเจ้าฟ้างุ้มเสวยราชสมบัติที่เมืองหลวงพระบางแล้ว ก็ได้มีการส่งเชื้อพระวงศ์และขุนนางสำคัญมาปกครองเมืองนี้โดยตลอด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2109 หลังจาก พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช วีรกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรล้านช้าง ได้ทรงย้ายราชธานีเมืองเชียงทองหลวงพระบาง ลงมายังนครเวียงจันทน์ได้ 6 ปีแล้ว พระองค์จึงได้มีพระบรมราชโองการให้สร้างองค์พระธาตุหลวงขึ้นมาใหม่ ในเขตพระราชอุทยานทางด้านทิศตะวันออกของกรุงเวียงจันทน์ โดยสร้างครอบพระธาตุองค์เก่าที่มีมาแต่โบราณกาล เมื่อสร้างพระธาตุหลวงเสร็จแล้ว จึงทรงขนานนามพระธาตุนี้ว่า \"พระธาตุเจดีย์โลกจุฬามณี” หรือ “พระธาตุใหญ่” (แต่คนส่วนมากมักเรียกว่า “พระธาตุหลวง”) และมีพระราชโองการให้อุทิศข้าพระธาตุจำนวน 35 ครอบครัว อยู่เฝ้ารักษาพระธาตุนี้ พร้อมทั้งที่ดินสำหรับให้ครอบครัวของข้าพระธาตุทำกิน", "title": "พระธาตุหลวง" }, { "docid": "124574#1", "text": "ประวัติความเป็นมาเมืองเชียงคานเดิมตั้งอยู่ที่เมืองชะนะคาม ประเทศลาว ซึ่งสร้างโดยขุนคาน โอรสของขุนคัวแห่งอาณาจักรล้านช้าง เมื่อประมาณ พ.ศ. 1400 ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2250 อาณาจักรล้านช้างแยกออกเป็นสองอาณาจักรคือ อาณาจักรหลวงพระบาง ซึ่งมีพระเจ้ากีสราชเป็นกษัตริย์ และอาณาจักรเวียงจันทน์ ซึ่งมีพระเจ้าไชยองค์เว้เป็นกษัตริย์ โดยกำหนดอาณาเขตให้ดินแดนเหนือแม่น้ำเหืองขึ้นไปเป็นอาณาเขตหลวงพระบาง และใต้แม่น้ำเหืองลงมาเป็นอาณาเขตเวียงจันทน์ ต่อมาทางหลวงพระบางได้สร้างเมืองปากเหืองซึ่งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงเป็นเมืองหน้าด่านและทางเวียงจันทน์ได้ตั้งเมืองเชียงคาน", "title": "อำเภอเชียงคาน" }, { "docid": "420004#3", "text": "หลังสร้างเสร็จพระสุก พระเสริม และพระใส ได้ประดิษฐานไว้ที่อาณาจักรล้านช้าง ณ นครหลวงเวียงจันทน์มาช้านาน คราใดที่เกิดสงครามบ้านเมืองไม่สงบสุขชาวเมืองก็จะนำพระพุทธรูปทั้งสามไปซ่อนไว้ที่ภูเขาควาย หากเหตุการสงบแล้วจึงนำกลับมาประดิษฐานไว้ที่เดิม ส่วนหลักฐานที่ว่าประดิษฐานอยู่ ณ เมืองนครเวียงจันทน์ตั้งแต่เมื่อใดนั้นยังไม่มีปรากฏแน่ชัด ทราบเพียงว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดเหตุการณ์การกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ขึ้นที่เมืองนครหลวงเวียงจันทน์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ทำลายเมืองเวียงจันทน์เสียสิ้น จึงให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ได้เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ เมื่อเมืองเวียงจันทน์สงบแล้วจึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใสมาที่จังหวัดหนองคาย ตามหลักฐานทางเอกสารของลาวและอีสานเห็นว่าเป็นการปล้นชิงพระพุทธรูปทั้ง 3 โดยฝ่ายสยาม", "title": "พระเสริม" }, { "docid": "782764#0", "text": "พระบรมราชา (มัง) (พ.ศ. 2348 - 2369) ทรงมีพระนามเต็มว่า พระบรมราชากิตติศัพท์เทพฤๅยศ ทศบุรีศรีโคตรบูรหลวง ทรงเป็นเจ้าผู้ปกครองเมืองนครบุรีราชธานีศรีโคตรบูรหลวง หรือเมืองนครพนมในอดีต และทรงเป็นเจ้าผู้ปกครองเมืองนครราชสีมาอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่เมื่อครั้งนครพนมยังเป็นเมืองเจ้าหัวเศิกหรือนครประเทศราชของราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ในสมัยของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ (พ.ศ. 2348 - 2371) แห่งเวียงจันทน์ ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367 - 2394) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงเป็นผู้สร้างเวียงท่าแขกหรือเมืองท่าแขกของแขวงคำม่วนในประเทศลาวปัจจุบัน เมื่อครั้งสงครามสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ พระบรมราชา (มัง) ทรงเป็นแม่ทัพองค์สำคัญของฝ่ายนครเวียงจันทน์เช่นเดียวกันกับพระยานรินทร์สงคราม (ทองคำ) อนึ่ง พระบรมราชา (มัง) ทรงเป็นต้นสกุลพระราชทาน มังคลคีรี แห่งจังหวัดนครพนมในภาคอีสานของประเทศไทย อีกทั้งทรงเป็นเจ้าประเทศราชแห่งเมืองนครพนมองค์สุดท้ายที่ขึ้นกับนครเวียงจันทน์และได้รับพระราชทานพระนามเป็นที่ พระบรมราชา เป็นองค์สุดท้ายก่อนที่นครพนมจะตกเป็นประเทศราชของสยาม จากนั้นสยามจึงเปลี่ยนราชทินนามของเจ้าเมืองนครพนมเป็น พระยาพนมนครนุรักษ์ แทน", "title": "พระบรมราชา (มัง)" }, { "docid": "35575#4", "text": "เดิมเชื่อกันว่าแท้จริงแล้วชาวอรัญประเทศเป็นกลุ่มไทยย้อชาวเวียงจันทน์หรือท่าอุเทนที่อพยพมา หลังจากเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์เพื่อปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชาวย้อได้อพยพมาอยู่ที่ดงอรัญ เขตบ้านสวาย (ต่อมายกขึ้นเป็นเมืองศรีโสภณ) ขณะนั้นกัมพูชาเป็นประเทศราชของสยาม ภายหลังโยกย้ายเข้ามาในเขตอำเภออรัญประเทศ ที่ตั้งถิ่นฐานส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตตำบลคลองน้ำใส ตำบลเมืองไผ่ ตำบลท่าข้าม ตำบลผ่านศึก และในเขตเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ ยกเว้นในตลาดอำเภออรัญประเทศ", "title": "อำเภออรัญประเทศ" }, { "docid": "13974#3", "text": "พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์แห่งเวียงจันทน์องค์สุดท้ายพยายามรวบรวมกำลังเพื่อก่อการกบฏและกู้ชาติจากสยาม สยามจึงส่งกองทัพยกขึ้นมาปราบปรามเมืองเวียงจันทน์ และจับเจ้าอนุวงศ์ไปลงโทษที่กรุงเทพมหานคร ส่วนเมืองเวียงจันทน์นั้นถูกทำลายย่อยยับ เหลือรอดเพียงแต่พระอารามสำคัญไม่กี่แห่ง เช่น หอพระแก้ว วัดสีสะเกด เท่านั้น", "title": "เวียงจันทน์" }, { "docid": "939796#3", "text": "การอพยพระลอกใหญ่หลายครั้งจากเมืองเพวิง เมืองสามมิ่น เมืองเลย เมืองแก่นท้าว ครัวลาวหลวงพระบาง เมืองลม เมืองปากลาย เมืองเวียงจันทน์ เมืองภูเวียง เมืองภูครัง ซึ่งลาวทางฝ่ายเมืองหลวงพระบางรับผิดชอบชำระส่งมา มายังประเทศไทยที่พิษณุโลกและพิชัย ลาวแง้วน่าจะเป็นกลุ่มลาวที่อพยพมาจากหัวเมืองแถบรอบ ๆ เมืองหลวงพระบางมากกว่าจะเป็นกลุ่มลาวเวียงจันทน์ หรือบ้านเมืองที่อยู่ใกล้เคียงเวียงจันทร์ ต่อมาให้ไปอยู่ที่เมืองพรหมบุรี ในเขตสิงห์บุรีและที่อื่น ๆ ที่สิงห์บุรี ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่วัดสาธุการาม บ้านสิงห์ ตำบลโพงพางเสือ อำเภอบางระจัน ต่อบางบางส่วนอพยพย้ายลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภออินทร์บุรี แถบวัดม่วงและวัดโพธิ์ศรี แล้วขยับขยายมาที่วัดทองเอนใน", "title": "แง้ว" }, { "docid": "481145#2", "text": "เนื่องจากการรบราฆ่าฟันกันพระพุทธรูปจึงได้ตกมาอยู่เมืองเวียงจันทน์ เมื่อ พ.ศ. 2321 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กองทัพไทยได้ยกทัพไปตีนครเวียงจันทน์ พระเจ้าธรรมวงศ์แห่งเวียงจันทน์ นำเอาพระเสี่ยงไปไว้ที่เมืองเชียงคำ ต่อมาได้นำไปไว้ที่วัดโพนชัยเมืองเวียงจันทน์อีก และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2369 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์เป็นกบฏ ทางกรุงเทพฯ ได้ส่งกองทัพไปปราบ ฝ่ายลาวรู้ว่ากองทัพไทยเข้ามาตีเวียงจันทน์ จึงมีผู้นำเอาพระเสี่ยงไปหลบซ่อนไว้ในถ้ำภูเขาควายใกล้เมืองมหาชัยเสียก่อน", "title": "พระเสี่ยง" }, { "docid": "718510#3", "text": "ในปี พ.ศ. ๒๓๗๐ เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ได้ยกทัพลงมาตีเมืองนครราชสีมา เจ้าเมืองนครราชสีมาขอกำลังจากกองทัพฝ่ายสยามเข้าไปช่วย กองทัพของเจ้าอนุวงศ์พ่ายกองทัพสยามจึงหนีไปพึ่งญวน โดยครั้งนั้นกองทัพสยามยังไม่ได้รื้อทำลายเมืองเวียงจันทน์ลง สยามเกรงว่าเจ้าอนุวงศ์จะนำทัพญวนกลับเข้ามาตั้งตัวได้อีกครั้ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) จึงเกณฑ์ไพร่พลหัวเมืองลาวอีสานไปตีเมืองเวียงจันทน์อีกครั้ง โดยครั้งนั้นพระสุนทรราชวงศาเจ้าเมืองยโสธร สั่งให้พระอุปฮาด (บุญมา) และราชบุตร (เคน) บุตรชายของพระอุปฮาด คุมกำลังพลเมืองยโสธรเข้าร่วมกองทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดีด้วย แต่เมื่อกองทัพสยามยกไปถึงเมืองเวียงจันทน์ได้ต้องกลอุบายศึกของเจ้าอนุวงศ์ เป็นเหตุให้สยามเข้าใจว่าพระองค์จะเข้ามาสวามิภักดิ์ รุ่งขึ้นเจ้าราชวงศ์ (เหง้า) พระราชโอรสในเจ้าอนุวงศ์ได้ยกกำลังเข้าโจมตีกองข้าหลวงของพระพิชัยสงครามและทหารไทยล้มตายเป็นอันมาก เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) ซึ่งตั้งทัพอยู่เมืองพานพร้าว (เมืองพันพร้าว) ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขงยังไม่ข้ามไปเวียงจันทน์เห็นกำลังทัพเมืองเวียงจันทน์ตามมาไล่ฆ่าฟันถึงชายหาดหน้าเมืองก็ทราบว่าเกิดเหตุร้าย และพิจารณาเห็นว่าทัพเมืองเวียงจันทน์และญวนมีมากกว่าทัพสยามจึงถอนกำลังกลับลงไปยังเมืองยโสธร", "title": "พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย)" }, { "docid": "863635#0", "text": "เจ้าจอมนรินทร์ หรือ พระยานรินทรสงคราม (ทองคำ ลาวัณบุตร) เจ้าเมืองสี่มุมหรือเจ้าเมืองจัตุรัสองค์ที่ ๒ (ปัจจุบันคืออำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ในภาคอีสานของประเทศไทย) และเป็นเจ้าเมืองหนองบัวลุ่มภูอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง (ปัจจุบันคือจังหวัดหนองบัวลำภู ในภาคอีสานของประเทศไทย)[1] คนทั่วไปนิยมออกพระนามว่า พระยานรินทร์ หรือ เจ้าจอมปากช่องภูเวียง หรือ พระยาโนลิน เป็นเจ้านายเชื้อสายลาวเวียงจันทน์องค์หนึ่งที่ร่วมมือกับสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ในสงครามเจ้าอนุวงศ์ ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ใน สปป.ลาว ยกย่องว่า ทรงเป็นวีรบุรุษองค์หนึ่งที่มีส่วนในการกอบกู้เอกราชของชาติเช่นเดียวกันกับสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ และพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นของนครหลวงเวียงจันทน์", "title": "เจ้าจอมนรินทร์" }, { "docid": "5114#75", "text": "อพยพเข้ามาอยู่สมัยสงครามปราบปรามเมืองเวียงจันทน์ในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยปราบเจ้าอนุวงศ์ในรัชกาลที่3 มีการกวาดต้อนครอบครัวลาวเข้ามาอยู่ในหัวเมืองชั้นในหลายครั้ง และมีการอพยพเข้ามาโดยสมัครใจเพิ่มขึ้นในระยะหลัง คนกลุ่มที่นี้มักเรียกกันว่า \"ลาวเวียง\" มีการใช้ภาษาลาวสำเนียงเวียงจันทน์ซึ่งต่างกับภาษาอีสานสำเนียงท้องถิ่นอย่างสิ้นเชิง กระจายอาศัยกันอยู่ทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันสืบหาแทบไม่ได้แล้วเนื่อจากการเทครัวมีมานับ200ปีและมีการแต่งงานกับคนพื้นเมือง มีจำนวนน้อยที่สืบหาได้ว่ามีเชื้อสาวลาวเวียงจันทน์ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ เช่น การเก็บรักษาผ้าซิ่นแต่เดิมไว้ และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เนื่องจากชาวลาวเวียงจันทน์อพยพมาจากเมืองที่มีวัฒนธรรมสูง มักจะมีของมีค่าติดตัวมาด้วย เช่น ผ้าซิ่น ข้าวของเครื่องใช้ รวมถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบชาวเวียงจันทน์ที่ยังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ชาลาวเวียงจันทน์อพยพมากที่สุดในสมัยรัชกาลที่3เนื่องจากมีการทำสงครามกับเวียงจันทน์หลายครั้ง และเป็นครั้งใหญ่ที่ทำลายนครเวียงจันทน์อย่างราบคราบ จึงทำให้ชาวลาวเวียงจันทน์ถูกเกณฑ์เป็นเชลยจำนวนมาก โดยหัวเมืองใหญ่อย่างนครราชสีมารับชาวเชลยไว้เป็นจำหนึ่ง ส่วนที่เหลือกระจายไปตามหัวเมืองต่างๆในภาคกลาง", "title": "จังหวัดนครราชสีมา" }, { "docid": "13974#0", "text": "เวียงจันทน์ (, ) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศลาว อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขง ในพิกัด 17°58' เหนือ, 102°36' ตะวันออก (17.9667, 102.6) ประชากรในตัวเมืองมีประมาณ 200,000 คน (ค.ศ. 2005) แต่ประชากรทั้งหมดที่อาศัยในนครหลวงเวียงจันทน์ เชื่อว่ามีอยู่ถึงกว่า 730,000 คน", "title": "เวียงจันทน์" }, { "docid": "710815#3", "text": "ใน พ.ศ. 2165 พระเจ้าวรวงศาเสด็จไปหลวงพระบางมอบหมายให้พระอุปยุวราชรักษาเมือง พระยาเมืองจัน นามเดิมว่าเวียง ได้ถือโอกาสนี้ก่อกบฏ ยึดเมืองเวียงจันทน์และยกพระอุปยุวราชขึ้นเป็นกษัตริย์ พระเจ้าวรวงศาได้ให้เจ้าหม่อมไชยและพระยาอนุชิตยกทัพลงมายึดเมืองเวียงจันทน์คืนได้ พระยาเมืองจัน (เวียง) ไปตั้งมั่นที่เวียงคุก ฝั่งเดียวกับหนองคาย เมื่อพระเจ้าวรวงศาเสด็จกลับมาแล้ว บ้านเมืองยังคงวุ่นวายอยู่ พระยาเมืองจัน (เวียง) ได้ยกทัพเข้ามาตีเวียงจันทน์แตก พระเจ้าวรวงศาแตกพ่ายหนีไปทางเมืองเชียงแดง พระยาเมืองจันยกทัพตามไปทัน สังหารพระเจ้าวรวงศาและครอบครัวที่ตามไปด้วยจนหมดสิ้นแล้วยกพระอุปยุวราชขึ้นครองราชย์ต่อไป", "title": "พระเจ้าวรวงศาธรรมิกราช" }, { "docid": "36009#1", "text": "เมื่อปี พ.ศ. 2532 แขวงเวียงจันทน์เดิมได้แบ่งออกเป็น 2 แขวง คือ แขวงเวียงจันทน์ปัจจุบันและนครหลวงเวียงจันทน์ที่มีเขตตัวเมืองเวียงจันทน์ซึ่งเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ หลังจากแบ่งออกเป็นสองแขวงแล้ว พื้นที่ส่วนที่เหลือยังคงเรียกว่าแขวงเวียงจันทน์ และได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองของแขวงมาอยู่ที่เมืองโพนโฮง แทนตัวเมืองเวียงจันทน์ชั้นในซึ่งอยู่ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์", "title": "แขวงเวียงจันทน์" }, { "docid": "938160#0", "text": "โพนโฮง (ลาว: ໂພນໂຮງ) เป็นเมืองหลักของแขวงเวียงจันทน์ ประเทศลาวอยู่ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ประมาณ 55 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนถนนหลายเลข 10 และถนนหมายเลข 13 ยังเป็นเส้นทางไปเขื่อนน้ำงึม", "title": "เมืองโพนโฮง" }, { "docid": "718510#5", "text": "บริเวณที่ตั้งของตัวอำเภอเมืองหนองคายในปัจจุบัน ครั้งอดีตเป็นชุมชนโบราณและเป็นหมู่บ้านขนาดเล็กนามว่า บ้านไผ่ สันนิษฐานว่าเป็นชุมชนในเขตการปกครองของเมืองเวียงคุกหรือเวียงคุคำซึ่งเป็นหัวเมืองสำคัญขนาดใหญ่ของราชอาณาจักรล้านช้างในทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง เมื่อกองทัพสยามยกทัพมาต่อสู้กับกองทัพของเจ้าอนุวงศ์ในปี พ.ศ. ๒๓๖๙-๒๔๗๑ และตั้งมั่นอยู่ที่ค่ายพานพร้าว เขตเมืองพันพร้าว ฝั่งตรงข้ามกับนครเวียงจันทน์ ภายหลังจากสยามหลงกลทัพของเจ้าอนุวงศ์จึงละทิ้งค่ายพานพร้าวมาตั้งมั่นที่ ค่ายบกหวาน ซึ่งห่างจากค่ายพานพร้าวมาทางใต้ประมาณ ๕๐ กิโลเมตร ภายหลังเมื่อสยามรบชนะทัพเจ้าอนุวงศ์จึงมีการตั้งเมืองใหม่บริเวณค่ายบกหวานแทนที่เมืองเวียงจันทน์เดิม ซี่งกองทัพไทยได้ทำลายจนไม่เหลือสภาพให้เป็นที่ตั้งมั่นของชาวลาวล้านช้างได้อีกต่อไป สยามเห็นว่าค่ายบกหวานเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมในการย้ายฐานการปกครองจากเมืองเวียงจันทน์มายังชัยภูมิแห่งใหม่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำลายราชวงศ์เวียงจันทน์และทำลายเมืองเวียงจันทน์ลงแล้ว พระองค์ทรงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) ว่าที่สมุหนายกมาตั้งเมืองใหม่ขึ้นแทนที่เมืองเวียงจันทน์ในคราวนั้นด้วย สันนิษฐานว่า โหราจารย์ฝ่ายสยามได้ผูกศัพท์นามเมืองเป็นฤกษ์ชัยโดยใช้ชื่อค่ายบกหวานใกล้บ้านไผ่เป็นนิมิตนามเมือง ค่ายบกหวานเป็นสถานที่ไม่ติดแม่น้ำ ทหารจึงต้องอาศัยน้ำจากหนองบึงค่ายมาอุปโภคบริโภค สันนิษฐานว่าหนองบึงนั้นคงเรียกกันในคราวนั้นว่า บึงค่าย หรือ หนองค่าย ด้วยเป็นสถานที่ตั้งค่ายของกองทัพสยามวึ่งใช้รบชนะทัพเวียงจันทน์ถึงสองครั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๑ และ พ.ศ. ๒๓๗๑ สยามจึงตั้งนามเมืองใหม่แห่งนี้ว่า เมืองหนองค่าย ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น เมืองหนองคาย สยามได้ใช้รูปดอกบัวซึ่งเป็นไม้พุทธอาสน์หรืออาสนะพระพุทธเจ้าและเป็นไม้น้ำตามนิมิตชื่อเมืองหนองค่ายมาเป็นตราประจำเมือง ส่วนราชทินนามของเจ้าเมืองที่ พระปทุมเทวาภิบาล นั้นแปลว่า ดอกบัวที่มีเทวดารักษาอยู่ สันนิษฐานว่า เป็นราชทินนามที่ตั้งให้พ้องกับราชทินนามเจ้าเมืองอุบลราชธานี และให้พ้องกับนามเมืองหนองบัวลุ่มภูซึ่งเป็นเมืองบรรพบุรุษของพระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา)", "title": "พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย)" }, { "docid": "7858#2", "text": "เมื่อ พ.ศ. 2322 กองทัพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ชัยชนะกรุงศรีสัตนาคนหุตเวียงจันทน์แล้ว หัวเมืองหนองคายยังอยู่ใต้ความควบคุมของเวียงจันทน์เช่นเดิมหลังกรณีเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. 2369 – 2370 ฝ่ายกรุงเทพฯ มีนโยบายอพยพผู้คนมาฝั่งภาคอีสานจึงยุบเมืองเวียงจันทน์ปล่อยให้เป็นเมืองร้าง ชาวเมืองเวียงจันทน์บางส่วนก็อพยพมาภาคกลางและบางส่วนก็อยู่ที่บริเวณเมืองเวียงคุก เมืองปะโค (อำเภอเมืองหนองคายในปัจจุบัน) เมื่อจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยแล้ว เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) อัครมหาเสนาบดีสมุหนายก จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ท้าวสุวอ (บุญมา) เป็นเจ้าเมือง ยกบ้านไผ่ (ละแวกเดียวกับเมืองปะโคเมืองเวียงคุก) เป็นเมืองหนองคาย ท้าวสุวอเป็น \"พระปทุมเทวาภิบาล\" เจ้าเมืองคนแรก มีเจ้าเมืองต่อมาอีก 2 คน คือ พระปทุมเทวาภิบาล (เคน ณ หนองคาย) ผู้เป็นบุตรและพระยาปทุมเทวาภิบาล (เสือ ณ หนองคาย) ผู้เป็นหลาน", "title": "จังหวัดหนองคาย" } ]
239
สีประจำของ มหาวิทยาลัยศิลปากรคือสีอะไร?
[ { "docid": "11674#13", "text": "\"สีเขียวเวอร์ริเดียน\" หรือที่เรียกตามสีไทยโทนว่า \"สีเขียวตั้งแช\"[7] เป็นสีของน้ำทะเลระดับลึกที่สุด แต่ในระยะแรกก่อตั้งมหาวิทยาลัยได้กำหนดใช้สีเขียว ซึ่งเป็นสีพื้นป้ายมหาวิทยาลัยป้ายแรก แต่ช่วงนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ใช้สีเขียวเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเช่นกัน จึงมีแนวคิดที่จะสร้างความแตกต่าง และเนื่องจากนักศึกษาคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ นิยมพารุ่นน้องปี 1 ไปทำกิจกรรมรับน้องที่เกาะเสม็ด จึงได้มีโอกาสชื่นชมสีของน้ำทะเลใส และได้นำมาเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสีที่บ่งบอกถึงความสร้างสรรค์ของชาวศิลปากร", "title": "มหาวิทยาลัยศิลปากร" } ]
[ { "docid": "50748#18", "text": "เสื้อครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเป็นเสื้อคลุม ผ้าโปร่งสีขาว ผ่าอกตลอดรอบขอบและที่ต้นแขนกับปลายแขน มีแถบสีทองและฟ้าเข้มทาบทับด้วยแถบทองบริเวณอกเสื้อทั้งสองข้างมีวงมีตรามหาวิทยาลัย ปริญญาตรี และเส้นมีการจัดสีพื้นกับสีประจำคณะ สีของเส้นที่แสดงระดับของวุฒิคือ ปริญญาตรี 1 เส้น ปริญญาโทและเอกใช้ 2 และ 3 เส้น ตามลำดับนั้นเนื่องจากมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. 2548 แต่ยังไม่ได้มีการกำหนดตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้เสนอว่าควรกำหนดให้มีตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นรูปมงกุฎสีทองซึ่งเป็นตราพระสัญลักษณ์ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ส่วนบนเป็นมงกุฎสีทอง ส่วนกลางมีอักษรย่อพระนาม กว.สีฟ้าน้ำทะเล ส่วนล่างเป็นโบว์สีทองวงซ้อนพับกัน ภายในแถบโบว์มีชื่อ\"มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์\"สีฟ้าน้ำทะเล ซึ่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีพระวินิจฉัยและพระราชทานอนุญาต เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549 และสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการและต่อมาจึงได้ประกาศ \"พระราชกฤษฎีกากำหนดตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. 2551\" โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายโดยสมบูรณ์", "title": "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "12100#19", "text": "ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นมะพร้าว สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเทา - ทอง", "title": "มหาวิทยาลัยบูรพา" }, { "docid": "13390#3", "text": "สีประจำมหาวิทยาลัยคือ สีน้ำเงินและสีส้ม โดยมีสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยคือชาวอินเดียนแดง", "title": "มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์" }, { "docid": "69376#2", "text": "ต่อมา ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” แทนชื่อ \"วิทยาลัยครู\" มีผลให้ \"วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี\" เปลี่ยนชื่อเป็น\"สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี\" และยกฐานะเป็น \"มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี\" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา และเคยมีโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน โดยเป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีเข้าด้วยกัน แต่ก็มีการยกเลิกโครงการไป\nพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนาม “ราชภัฏ” ซึ่งหมายความว่าปราชญ์ของพระราชาและพระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้สถาบันราชภัฏได้อัญเชิญมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย\nตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี\nมีลักษณะเป็นวงรีสองวงซ้อนกัน โดยวงรีวงนอกเป็นเส้นเดี่ยว ส่วนวงรีวงในเป็นเส้นคู่ ภายใต้วงรีด้านในมีตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็นอุหรือเลข ๙ รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้น ตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่าทรงมีพระบรม เดชานุภาพในแผ่นดิน ระหว่างวงรีทั้งสองด้านบนเป็นอักษรภาษาไทยมีรูปทรงอักษรเป็นแบบล้านนาและอักษรขอมว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษ รูปทรงเป็นแบบอักษรโรมัน แบบ Gothic หรือตัวอักษรแบบ Old English ความว่า SURATTHANI RAJABHAT UNIVERSITY ความหมายของชุดอักษรไทยและอังกฤษดังกล่าวแทนค่าถึงความรู้สึกในการสื่อสารร่วมสมัยและแสดงความสูงส่งแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ สีของตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมี 5 สี โดยมีความหมาย ดังนี้\nสีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม “มหาวิทยาลัยราชภัฏ”\nสีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งอยู่ในแหล่งธรรมชาติและมีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม\nสีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา\nสีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกลในมหาวิทยาลัยราชภัฏ\nสีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช", "title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี" }, { "docid": "167609#0", "text": "กลิ่นสีและกาวแป้ง เป็นภาพยนตร์ไทย จากบทประพันธ์ของ พิษณุ ศุภนิมิตร เกี่ยวกับชีวิตนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร กำกับภาพยนตร์โดย เปี๊ยก โปสเตอร์ ออกฉายเมื่อวันที่ 2 เมษายน ปี พ.ศ. 2531 ปัจจุบันเรื่อง\"กลิ่นสีและกาวแป้ง\" เป็นหนังอีกหนึ่งเรื่องที่อยู่ในโปรเจกต์ The Legend Collection ที่รีมาสเตอร์ภายใต้การดูแลของบริษัท BKP", "title": "กลิ่นสีและกาวแป้ง" }, { "docid": "291254#4", "text": "สัตว์นำโชค คือ แมวโคราช อยู่ในท่าวิ่งชูคบเพลิงแสดงถึงการเตรียมพร้อมของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและชาวจังหวัดนครราชสีมา ในการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาครั้งนี้ ตัวแมวสวมเสื้อกีฬาสีแสด ซึ่งเป็นสีประจำจังหวัดนครราชสีมาและสีประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีตัวอักษร “SUT” ซึ่งเป็นอักษรย่อของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ขนแมวสีเทาเงินและดวงตาเป็นประกายสีเขียวสุกใส สื่อถึงความมีเชาวน์ปัญญาและสุขภาพที่ดี อันแทนความหมายได้กับการแข่งขันกีฬาของปัญญาชน", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 32" }, { "docid": "297525#3", "text": "\"เพลงเลือดนก\" เป็นเพลงที่มีชื่อเดียวกันกับสีประจำคณะ โดยได้ถูกแต่งเนื้อร้องและทำนองขึ้นตั้งแต่เริ่มก่อตั้งคณะของนักศึกษาในสมัยนั้น และด้วยความช่วยเหลือของนักศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จึงทำให้เป็นเพลงที่มีความไพเราะ แสดงถึงความมุ่งมั่นในจุดหมาย ความสมานสามัคคีได้อย่างดี อีกทั้งยังมีท่าประกอบการร้องที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้เป็นที่จดจำได้ดียิ่งขึ้นถึงแม้เนื้อเพลงยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง และชื่อคณะในเพลงยังคงเป็น \"เทคโนโลยีอุตสาหกรรม\" เช่นเดิม แต่นักศึกษาก็ยังคงนำเพลงนี้เป็นเพลงประจำคณะ ด้วยเข้าใจว่าชื่อนั้นไม่สำคัญเท่าความหมายและอุดมการณ์ที่มีมา ถึงแม้จะมีเพลงอีกจำนวนมากมายที่เกิดขึ้น แต่เพลงประจำคณะก็ย่อมมีเพียงเพลงเดียว", "title": "คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร" }, { "docid": "11905#20", "text": "มหาวิทยาลัยกำหนดให้ ต้นปาริชาตหรือต้นทองหลางลายเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย เนื่องจากมีใบเป็นสีเขียวและเส้นใบเป็นสีทอง ตรงกับสีเขียว-ทองซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย", "title": "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" }, { "docid": "11746#10", "text": "ต้นประดู่แดง เป็นไม้เนื้อแข็งซึ่งแสดงถึงความแข็งแกร่งของสถาบัน กิ่งมีลักษณะโน้มลงแสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นไม้ป่าแสดงถึงความสามารถของบัณฑิตที่สามารถดำรงคงอยู่ได้อย่างอดทนแม้อยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก ดอกมีสีแดงเข้มเหมือนหมากสุก ซึ่งตรงกับสีประจำมหาวิทยาลัย และจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันสถาปนาสถาบันคือ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ของทุกปี\nเปรียบคล้ายกับนักศึกษาในชั้นปีสุดท้ายที่ใกล้จะสำเร็จการซึ่งตรงกับต้นประดู่แดงที่กำลังจะออกดอก เป็นดอกประดู่แดงทีมีความสวยงามและทน\nสีแดงหมากสุก : สีแสดเป็นสีประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่สถาบันอัญเชิญมาเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย และสีดำ", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ" }, { "docid": "171794#1", "text": "เป็นเรื่องราวชีวิตสนุกๆของนักศึกษา ภายในคณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร สร้างจากบทประพันธ์ ตอนต่อมา ของ พิษณุ ศุภนิมิตร ในชื่อ \"กลิ่นสีและทีแปรง\"", "title": "กลิ่นสีและทีแปรง" }, { "docid": "113766#4", "text": "ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีสัญลักษณ์ คือ สิงห์ม่วงในโล่กลมโบราณ ซึ่งสื่อความหมายถึง โล่กลมโบราณ อันหมายถึง สัญลักษณ์ที่นำมาจากตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร สื่อถึงการเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยนเรศวรและสีม่วง คือ สีประจำวันพระบรมราชสมภพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และยังเป็นสีประจำวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกทั้งยังเป็นสีประจำจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนเรศวรอีกด้วย", "title": "ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร" }, { "docid": "889956#9", "text": "มหาวิทยาลัยที่ใช้ครุยดุษฎีบัณฑิตตามแบบของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยลีดส์ (เสื้อด้านนอกสีเขียวแก่ ด้านในสีเขียวอ่อน ตามรอยเย็บประดับแถบสีแดงชาด) มหาวิทยาลัยแองเกลียรัสกิน (เสื้อสีน้ำเงิน สาบหน้าและด้านในสีเหลืองทอง) มหาวิทยาลัยบรูเนลลอนดอน (เสื้อสีแดงด้านในสีขาบ ผ้าคล้องคอด้านนอกสีแดงด้านในสีขาบ ตะเข็บเป็นแถบสีขาว) และมหาวิทยาลัยบอร์นมัท (เสื้อสีน้ำเงิน สาบหน้าสีเหลืองทอง ผ้าคล้องคอขอบนอกสีขาว)\nมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดกำหนดให้มีเสื้อประจำวิทยฐานะสำหรับนักศึกษาที่กำลังเรียน และนักศึกษาที่สำเร็จหลักสูตรแล้วแยกกัน ", "title": "ครุยวิทยฐานะในสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "120602#9", "text": "ทำด้วยผ้าโปร่งสีขาว มีสำรดรอบขอบและที่ปลายแขน พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีขาว มีแถบทองขนาด 1 เซนติเมตร ทับบนริมทั้งสองข้าง เว้นระยะ 0.5 เซนติเมตร มีแถบสักหลาดสี ตามสีประจำมหาวิทยาลัย ขนาด 0.5 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง เว้นระยะอีก 0.5 เซนติเมตร มีแถบทอง ขนาด 1 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง ตอนกลางมีพื้นสักหลาดสีดำขนาด 2 เซนติเมตร ตรงกึ่งกลางติดทับด้วยสักหลาดสีตามสีประจำมหาวิทยาลัย ขนาด 1 เซนติเมตร และมีตรามหาวิทยาลัยทำด้วยโลหะสีเงิน ขนาดสูง 4 เซนติเมตร ติดตามทางดิ่งกลางสำรดบนสักหลาด ตอนหน้าอกทั้งสองข้าง สำรดที่ต้นแขน เช่นเดียวกับสำรดรอบขอบ แต่ตอนกลางมีพื้นสักหลาดสีดำ ตรงกึ่งกลาง ห่างจากขอบ 0.5 เซนติเมตร ติดทับด้วยสักหลาดสีตามสีประจำมหาวิทยาลัย จำนวน 3 เส้น แต่ละเส้นคั่นด้วยแถบทองขนาด 1 เซนติเมตร โดยเว้นระยะระหว่างแถบ 0.5 เซนตเมตร", "title": "มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย" }, { "docid": "6858#7", "text": "มหาวิทยาลัยทักษิณมีตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเป็นรูปตำราการศึกษา 3 เล่ม สีเทา (สีประจำมหาวิทยาลัย) สะท้อนปรัชญาของมหาวิทยาลัย “ปัญญา จริยธรรม และการพัฒนา” ล้อมรอบด้วยอักษรสีฟ้า (สีประจำมหาวิทยาลัย) เป็นภาษาไทย “มหาวิทยาลัยทักษิณ” และภาษาอังกฤษ “THAKSIN UNIVERSITY” ซึ่งหมายถึงมหาวิทยาลัยแห่งภาคใต้ ด้านบนเหนือรูปตำราการศึกษาเป็นมงกุฎเปล่งรัศมีสีฟ้า ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นเลิศและเกียรติยศ ด้วยในปีพุทธศักราช 2539 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตภาคใต้ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณ ตรงกับวโรกาสอันเป็นมหามงคลสมัยปีกาญจนาภิเษก ในศุภวาระที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 50 ปี", "title": "มหาวิทยาลัยทักษิณ" }, { "docid": "12104#3", "text": "ตราประจำมหาวิทยาลัย ใช้สัญลักษณ์ เจดีย์ทรงล้านช้าง หมายถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภายในมีดอกบัวหลวงประดิษฐานอยู่บนแท่นรองรับของเส้น 3 เส้น ดอกบัวมีสีกลีบบัว อันหมายถึงสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี และเส้น 3 เส้นที่เป็นฐานรองรับดอกบัวนั้น หมายถึงแม่น้ำสายสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ แม่น้ำโขง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล ลักษณะของดอกบัวเป็นประเภทบัวเหนือน้ำที่พร้อมจะ เบ่งบาน ให้ความดีงามแก่มหาชนได้ชื่นชม ส่วนกลีบดอกบัวด้านล่างสองกลีบ หมายถึง คุณธรรมและปัญญาอันเป็นเปลือกหุ้มสถาบันสำหรับดอกตูมสามกลีบหมายถึง องค์พระรัตนตรัย สีน้ำเงิน ที่เป็นขอบเส้นของตรามหาวิทยาลัยนั้นมีความ หมายถึง ความมั่นคงแข็งแรงและสีเหลืองสดที่เป็นพื้น หมายถึง สีประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ต้นกันเกรา เป็นไม้สูงประมาณ 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึก ใบดกหนาทึบ สีเขียวแก่เป็นมัน ดอกสีเหลืองอมแสด ออกดอกที่ช่อปลายกิ่ง มีกลิ่นหอมเย็นระรื่นอยู่ 7 วัน จากนั้นจะมีกลิ่นเหม็น ไม้กันเกราสื่อความหมายถึงเครื่องป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ และทำให้เสาเรือนมั่นคง ต้นกันเกราเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยอุบล ราชธานี เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่พบมากใน บริเวณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก “มันปลา” ภาคใต้ เรียก“ตำเสา”ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเหลือง อักษรย่อ คือ ม.อบ.", "title": "มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี" }, { "docid": "295810#14", "text": "ตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ ออกแบบโดยปิติ ประวิชไพบูลย์ นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับแรงบันดาลใจมาจากดอกจามจุรีซึ่งเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย โดยนำแฉกรัศมีของพระเกี้ยวมาเรียงเป็นดอกจามจุรี 3 ดอกในแนวตั้งจากใหญ่ขึ้นไปเล็กมีลักษณะคล้ายกับพระเกี้ยวอันสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย และยังสามารถอ่านได้เป็นตัวเลข 38 อันเป็นครั้งของการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ โดยเลือกใช้สีชมพูอันเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยไล่เฉดสีจากอ่อนขึ้นไปเข้มสื่อความหมายถึงความรุ่งเรืองของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่พร้อมจะต้อนรับนักกีฬาทุกสถาบันในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย และดอกจามจุรีทั้ง 3 ยังสื่อถึงการรู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย ซึ่งเป็นคุณสมบัติของน้ำใจนักกีฬาด้วย[18] นอกจากนี้ บริเวณปลายดอกบนสุด จะแทรกด้วย สีฟ้า เขียว เหลือง แดง และชมพู โดยมีความหมายรวมกันเป็นคำว่า SPORT ซึ่งมีความหมายดังนี้ S</u>uccess (ความสำเร็จ) แทนด้วย สีเขียว, P</u>eace (ความสันติ) แทนด้วย สีฟ้า, O</u>riginal (ความเป็นต้นแบบ) แทนด้วย สีเหลือง, R</u>elationship (ความสัมพันธ์) แทนด้วย สีชมพู และ T</u>eamwork (การทำงานเป็นหมู่คณะ) แทนด้วย สีแดง[19]", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38" }, { "docid": "312134#2", "text": "สีเลือดหมู เป็นสีประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และใช้เป็นสีประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ทุกสถาบัน เพลงแรงเลือดหมู เป็นเพลงประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ธงประจำคณะ เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีเลือดหมู ตรงกลางมีดวงตราพระสิทธิธาดา (ตรามหาวิทยาลัย) ใต้ดวงตรามีชื่อคณะตามแนวโค้งของดวงตรา ขอบธงประดับด้วยพู่สีเหลือง ต้นไผ่ ต้นไม้ประจำคณะ และต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์", "title": "คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์" }, { "docid": "22740#11", "text": "เพลงของคณะโบราณคดีนั้นถูกแต่งไว้มากกว่า 20 เพลง เพื่อใช้ในกิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ เช่น การชนช้างหรือการเข้าค่ายคณะ เป็นต้น แต่เพลงที่ได้รับการยอมรับและถือเป็นเพลงประจำคณะคือเพลง \"แววมยุรา\" ซึ่งถูกแต่งโดย พิเศษ สังข์สุวรรณ ศิษย์เก่าคณะโบราณคดี เพลงแววมยุราถูกแต่งขึ้นในช่วงที่เรียกว่าเป็นช่วงวิกฤตของคณะก็ว่าได้ เนื่องจากในช่วง พ.ศ. 2513 มีแนวโน้มจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยศิลปากรว่าต้องการให้คณะโบราณคดีถูกยุบไปรวมกับ คณะอักษรศาสตร์ ซึ่งก็ถูกหลายฝ่ายค้านไว้ โดยเฉพาะนักศึกษาคณะโบราณคดีที่ได้ออกมาคัดค้านอย่างชัดเจน จึงเป็นที่มาของเพลงแววมยุราที่ในเพลงมีการแสดงความน้อยเนื้อต่ำใจ ที่คณะโบราณคดีถูกมองข้ามและไม่ได้รับการเหลียวแลหรือเห็นค่าพิเศษ สังข์สุวรรณยังได้เปรียบเปรยดอกแววมยุราซึ่งเป็นดอกของผักตบชวา ที่แม้ผักตบชวาจะล่องลอยไปตามน้ำอย่างไร้ค่าแต่เมื่อผลิดอกสีม่วงและอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ทุกคนก็จะเห็นค่าของมัน เฉกเช่นเดียวกับชาวคณะโบราณคดีที่ในตอนนั้นไม่ได้รับความเห็นค่า แต่หากสามัคคีและช่วยกันผ่านวิกฤตไปด้วยกันก็จะเป็นดอกแววมยุราที่งดงาม และดอกแววมยุรายังมีสีม่วงเฉกเช่นเดียวกับสีคณะโบราณคดีอีกด้วย", "title": "คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร" }, { "docid": "12279#5", "text": "ที่มาของสีสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยนั้น จากหลักฐานและบันทึกทางประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย แต่เดิมมหาวิทยาลัยใช้ \"สีเขียวอมฟ้า\" เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย ดังจะเห็นได้จาก ปกเสื้อครุยของบัณฑิตรุ่นแรก ๆ ที่เป็นสีเขียวอมฟ้า และจากเพลงมาร์ชของมหาวิทยาลัย ที่ยังคงมีเนื้อร้องว่า \"ธงเขียวเชิดให้เด่นไกลนานเนาว์\" มาจนถึงปัจจุบัน", "title": "มหาวิทยาลัยกรุงเทพ" }, { "docid": "335320#2", "text": "สีประจำมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ คือ สีฟ้าสีทอง ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือดอกพิกุล", "title": "วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "6858#9", "text": "สีประจำมหาวิทยาลัยทักษิณ สืบเนื่องมาจากสีประจำวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา คือสีเทา-ฟ้า", "title": "มหาวิทยาลัยทักษิณ" }, { "docid": "1847#21", "text": "สีน้ำเงิน ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สีเขียว ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ สีม่วง ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร สีแดงเลือดนก ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ สีน้ำเงินเทอร์ควอยส์ (น้ำเงินทะเล) ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก สีทอง ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ สีน้ำตาลทอง ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สีเหลือง ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สีแสด ( )เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล" }, { "docid": "5519#18", "text": "จามจุรี เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมพระราชทานต้นจามจุรีแก่มหาวิทยาลัย จำนวน 5 ต้น ซึ่งพระองค์ทรงนำมาจากวังไกลกังวล ทรงปลูกด้วยพระองค์เอง บริเวณด้านหน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในครั้งนั้น พระองค์ท่านได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรี ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ ทรงเล่าว่าทรงปลูกต้นไม้ที่พระตำหนักไกลกังวล จามจุรีงอกขึ้นที่บริเวณต้นไม้ซึ่งทรงปลูกไว้ จึงทรงถือว่าทรงปลูกจามจุรีเหล่านั้นด้วย เมื่อจามจุรีโตขึ้นแล้วเห็นว่าควรเข้ามหาวิทยาลัยเสียที สถานที่เรียนนั้นไม่มีที่ใดเหมาะเท่าจุฬาฯ[59] สีชมพู เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย โดยศาสตราจารย์ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล ได้เสนอว่าชื่อของมหาวิทยาลัย คือ พระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมราชสมภพในวันอังคารและโปรดเกล้าฯ ให้ใช้สีชมพูเป็นสีประจำพระองค์ จึงสมควรอัญเชิญสีประจำพระองค์เป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นเกียรติและสิริมงคล[60][61]", "title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "12279#6", "text": "ปัจจุบัน ได้เปลี่ยนมาใช้ \"สีม่วง\" และ \"สีแสด\" เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย โดยการเปลี่ยนแปลงสีประจำมหาวิทยาลัยนั้น เพื่อเป็นเกียรติกับสองบูรพาจารย์ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย เนื่องจากสีม่วงเป็นสีประจำวันเสาร์ และสีแสดเป็นสีประจำวันพฤหัสบดี", "title": "มหาวิทยาลัยกรุงเทพ" }, { "docid": "11719#111", "text": "เป็นครุยพื้นผ้าโปร่งสีขาว มีสำรดรอบขอบและที่ต้นแขนกับปลายแขน พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีขาว มีแถบทองขนาด 1 เซนติเมตร ทับบนริมทั้งสองข้าง เว้นระยะ 0.5 เซนติเมตร มีแถบสักหลาดสีตามสีประจำ มหาวิทยาลัย ขนาด 1 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง เว้นระยะอีก 0.5 เซนติเมตร มีแถบทอง ขนาด 1 เซนติเมตร ตอนกลางมีพื้นสักหลาดสีแดงชาด ติดแถบสักหลาดสีตามสีประจำมหาวิทยาลัย ขนาด 3 เซนติเมตร ทั้งสองข้างโดยติดห่างจากขอบสักหลาดสีแดงชาด 0.5 เซนติเมตร และมีตรามหาวิทยาลัยทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง 4 เซนติเมตร ติดตามทางดิ่งกลางสำรดบนสักหลาดตอนหน้าอกทั้งสองข้าง และมีสร้อยทำด้วยโลหะสีทองพร้อมด้วยเครื่องหมายของมหาวิทยาลัยตามแบบที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดระหว่างตรามหาวิทยาลัยทั้งสองข้าง ยึดติดกับครุยประมาณร่องหัวไหล", "title": "มหาวิทยาลัยขอนแก่น" }, { "docid": "11719#104", "text": "ทำด้วยผ้าโปร่งสีขาว มีสำรดรอบขอบและที่ปลายแขน พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีขาว มีแถบทองขนาด 1 เซนติเมตร ทับบนริมทั้งสองข้าง เว้นระยะ 0.5 เซนติเมตร มีแถบสักหลาดสี ตามสีประจำมหาวิทยาลัย ขนาด 0.5 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง เว้นระยะอีก 0.5 เซนติเมตร มีแถบทอง ขนาด 1 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง ตอนกลางมีพื้นสักหลาดสีดำขนาด 2 เซนติเมตร ตรงกึ่งกลางติดทับด้วยสักหลาดสีตามสีประจำมหาวิทยาลัย ขนาด 1 เซนติเมตร และมีตรามหาวิทยาลัยทำด้วยโลหะสีเงิน ขนาดสูง 4 เซนติเมตร ติดตามทางดิ่งกลางสำรดบนสักหลาด ตอนหน้าอกทั้งสองข้าง สำรดที่ต้นแขน เช่นเดียวกับสำรดรอบขอบ แต่ตอนกลางมีพื้นสักหลาดสีดำ ตรงกึ่งกลาง ห่างจากขอบ 0.5 เซนติเมตร ติดทับด้วยสักหลาดสีตามสีประจำมหาวิทยาลัย จำนวน 3 เส้น แต่ละเส้นคั่นด้วยแถบทองขนาด 1 เซนติเมตร โดยเว้นระยะระหว่างแถบ 0.5 เซนตเมตร", "title": "มหาวิทยาลัยขอนแก่น" }, { "docid": "120602#14", "text": "เป็นครุยพื้นผ้าโปร่งสีขาว มีสำรดรอบขอบและที่ต้นแขนกับปลายแขน พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีขาว มีแถบทองขนาด 1 เซนติเมตร ทับบนริมทั้งสองข้าง เว้นระยะ 0.5 เซนติเมตร มีแถบสักหลาดสีตามสีประจำ\nมหาวิทยาลัย ขนาด 1 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง เว้นระยะอีก 0.5 เซนติเมตร มีแถบทอง ขนาด 1 เซนติเมตร ตอนกลางมีพื้นสักหลาดสีแดงชาด ติดแถบสักหลาดสีตามสีประจำมหาวิทยาลัย ขนาด 3 เซนติเมตร ทั้งสองข้างโดยติดห่างจากขอบสักหลาดสีแดงชาด 0.5 เซนติเมตร และมีตรามหาวิทยาลัยทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง 4 เซนติเมตร ติดตามทางดิ่งกลางสำรดบนสักหลาดตอนหน้าอกทั้งสองข้าง และมีสร้อยทำด้วยโลหะสีทองพร้อมด้วยเครื่องหมายของมหาวิทยาลัยตามแบบที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดระหว่างตรามหาวิทยาลัยทั้งสองข้าง ยึดติดกับครุยประมาณร่องหัวไหล\nเช่นเดียวกับครุยประจำตำแหน่งของนายกสภามหาวิทยาลัย แต่ไม่มีสร้อย", "title": "มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย" }, { "docid": "437820#6", "text": "ปัจจุบันการทอซิ่นทิวมุกจกดาว ได้รับการรื้อฟื้นขึ้นใหม่โดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และในภาคเอกชนคือ บ้านคำปุน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตผ้าไหมชั้นดีของเมืองอุบล ได้มีการทอขึ้นมาเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษชาวอุบลอย่างต่อเนื่อง โดยการเลือกสรร วัสดุชั้นดี เช่น ไหมคำจากฝรั่งเศส เป็นต้น ในปีพ.ศ. 2553 อาจารย์ ดร.คำล่า มุสิกา อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และผศ.ดร.วิศปัตย์ ชัยช่วย อาจารย์ประจำคณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ร่วมกันรื้อฟื้นการทอซิ่นทิวมุกจกดาวแบบโบราณขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และในครั้งนั้นได้ทดลองทอซิ่นทิวมุกจกดาวสีม่วงขึ้นอีกจำนวนหนึ่งด้วย", "title": "ผ้าซิ่นทิวมุก" }, { "docid": "169627#0", "text": "ติ๊ก กลิ่นสี มีชื่อจริงว่า ชาญณรงค์ ขันฑีท้าว (เกิด 17 กันยายน พ.ศ. 2504) เป็นนักแสดง เริ่มเป็นที่รู้จัก จากภาพยนตร์เรื่อง \"กลิ่นสีและกาวแป้ง\" (2531) จบการศึกษาจาก คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร", "title": "ติ๊ก กลิ่นสี" } ]
668
เนอร์วานา มีอัลบั้มเพลงแรกชื่อเพลงอะไร?
[ { "docid": "103205#1", "text": "ในช่วงปลายยุค 1980 เนอร์วานา ได้ร่วมก่อกำเนิดแนวเพลงใหม่ซึ่งเป็นหนึ่งในคลื่นเพลงซีแอตเทิล กรันจ์ วงได้เริ่มงานดนตรีด้วยการออกอัลบั้มแรก Bleach ภายใต้ค่ายเพลงซัปป็อป (Sub Pop) ซึ่งเป็นค่ายเพลงอิสระ ในปี ค.ศ. 1989 วงได้กลับมาพัฒนาเสียงให้มีชีวิตชีวาขึ้น รวมถึงใช้ความต่างในดนตรี ทั้งการเล่นเสียงเบาและสูง ใส่อารมณ์ในท่อนคอรัส ภายหลังวงได้เซ็นต์สัญญากับค่ายดีจีซีเรเคิดส์แล้ว เนอร์วานาก็ได้ประสบความสำเร็จกับ \"Smells Like Teen Spirit\" ซึ่งเป็นซิงเกิลแรกจากอัลบั้ม Nevermind (1991) อย่างไม่คาดคิด วงได้ประสบความสำเร็จทั่วโลกเพียงข้ามคืน จนแฟนเพลงถึงกับยกย่องให้โคเบนเป็น \"นักพูดแห่งเจเนอเรชัน\" และสำหรับเนอร์วานาแล้วถือเป็น \"วงหลักแห่งเจเนอเรชันเอกซ์\"[1] ในอัลบั้มที่สามหรือสุดท้ายของวง In Utero (1993) ที่ประสบความสำเร็จด้วยการขึ้นอันดับ 1 บนบิลบอร์ด 200", "title": "เนอร์วานา" } ]
[ { "docid": "639875#4", "text": "ในความพยายามที่จะตั้งตัวตนของเขา , Dave Grohl วางแผนปล่อยเพลงภายใต้ชื่อ ฟู ไฟสเตอร์. มันค่อนข้างจะได้ผลรับที่ค่อนข้างแย่สำหรับ 100 ตลับ LP Record ซึ่งถูกกดดันหลังจากการประชุมเสร็จสิ้น Dave Grohl ต้องการที่จะสร้างแล็บเทปคาสเซ็ตที่[[ซีแอตเทิล]] ที่จะสร้าง 100 ตลับเทปคาสเซ็ต ได้ทำสำเนาต้นฉบับสำหรับการประชุม และเริ่มส่งให้ถึงมือของเพื่อนเพื่อดูความคิดเห็นและ \"ผมจะให้แจกเทปให้ทุกคน เด็กๆมาหาผมและพูดว่า [[เนอร์วานา]]เป็นวงโปรดของฉันเลยและผมก็ว่า ฮ่าเยี่ยมไปเลย , แต่รับเทปไปซะไอ้หนู Eddie Vedder ได้ทำการเปิดเพลง 2 เพลง จากที่อัดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1995 เป็นที่แรกผ่านทางวิทยุกระจายเสียง Self-Pollution Radio การบันทึกเป็นไปอย่างแพร่กระจ่าย ในเหล่าวงการเพลง , ซึ่งสร้างความน่าสนใจให้กับเรเคิดส์ ลาเบล (Record Label) ในท้ายที่สุดก็เซ็๋นสัญญากับค่าย [[แคปิตอลเรเคิดส์]] โดยประธานบริษัทแคปิตอลเรเคิดส์ซี่งเป็นเพื่อนสนิทของ Dave Grohl ตั้งแต่เมื่อเขาอยู่กับวงเนอร์วานากับค่าย Geffen Records", "title": "ฟูไฟเตอส์ (อัลบั้ม)" }, { "docid": "98119#60", "text": "วงออลเทอร์นาทิฟอย่าง โซนิกยูท (Sonic Youth) ที่ได้โตขึ้นจากแนวโนเวฟ และวงจากบอสตันอย่างพิกซี่ ได้เริ่มมีกลุ่มคนฟังที่กว้างขวางขึ้น[86] ในปี 1991 วงเนอร์วานา (Nirvana) ได้เกิดขึ้นในกระแสของเพลงแนวกรันจ์ และได้ประสบความสำเร็จทางด้านธุรกิจกับอัลบั้มที่ 2 ของพวกเขา Nevermind เนอร์วาน่าได้สดุดีว่าพังก์เป็นอิทธิพลสำคัญของดนตรีพวกเขา[87] เคิร์ต โคเบนนักร้องนำวงเนอร์วาน่าได้เขียนไว้ว่า \"พังก์คือดนตรีที่อิสระ มันพูด กระทำ และเล่นในสิ่งที่คุณต้องการ\"[88] การประสบความสำเร็จขอวงเนอร์วาน่าได้เป็นตัวกระตุ้นให้กระแสอัลเทอร์เนทีฟร็อกดังขึ้นมา และได้เป็นส่วนหนึ่งของแนวดนตรีที่ได้รับความนิยมในทศวรรษที่ 1990 ด้วย[89]", "title": "พังก์ร็อก" }, { "docid": "103205#18", "text": "แม้เพลงของ เนอร์วานา น่าจะฟังดูคล้ายส่วนผสม ระหว่าง เพลงของ แบล็กแซ็บบาธ กับ Cheap Trick แต่เพลงของ เนอร์วานา เป็นอินดี้ร็อกขนานแท้ เนอร์วานา นำเพลงของ Vaselines มาร้อง และยังปลุกกระแส นิวเวฟด้วย เคิร์ท โคเบน หัวหน้าวง เนอร์วานา ผลักดัน วงดนตรีที่เขาชื่นชอบอย่างไม่ลดละ ไม่ว่าจะเป็นวงดนตรี แนวอาร์ตพังค์อย่าง Raincoats หรือวงแนวฮาร์ดคอร์ อย่าง The Meat Puppets จนดูเหมือนว่า เพลงในดวงใจของเคิร์ท สำคัญกว่าเพลงของตัวเขาเอง เนื่องจาก เนอร์วานา มีพื้นฐานจากแนวอินดี้ แต่ชอบเพลงป็อป แนวเพลงของวง ที่ออกมาระหว่าง การเดินทางไปสู่ความสำเร็จ จึงแปรผันไปตามเวลา จนกระทั่ง เนอร์วานา กลายเป็นวงแอนตี้ร็อก ที่อื้อฉาวที่สุดวงหนึ่ง ในประวัติศาสตร์วงการเพลง", "title": "เนอร์วานา" }, { "docid": "238526#0", "text": "ฟูไฟเตอส์ () เป็นวงดนตรีร็อคสัญชาติอเมริกัน จาก ซีแอตเทิล เมื่อปี ค.ศ. 1994 ก่อตั้งโดยมือกลองวงกรัจน์ เดฟ โกรล จาก เนอร์วานา โดยเป็นกลุ่มดนตรีเขาสานฝันไว้หลังการเสียชีวิตของ เคิร์ต โคเบน ซึ่งส่งผลให้เนอร์วานาได้แยกตัวไป ชื่อวงดนตรีนั้นนำมาจากเหตุการณ์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีลูกไฟลึกลับที่ปรากฏต่อหน้าเครื่องบินของฝ่ายพันธมิตร บนท้องฟ้าเหนือบริเวณยุโรปและแปซิฟิก โดยสันนิฐานเป็น ยูเอฟโอ ส่วนที่เรียกว่าฟูไฟเตอร์นั้นมาจากการปรากฏต่อหน้าในช่วงต่อสู้เครื่องบินขับไล่ โดยรายงานจากนักบินของฝ่ายกลุ่มพันธมิตร ", "title": "ฟูไฟเตอส์" }, { "docid": "332785#0", "text": "\"สเมลส์ไลก์ทีนสปิริต\" () เป็นเพลงของวงร็อกอเมริกันที่ชื่อ เนอร์วานา เป็นเพลงเปิดตัวของวงในอัลบั้มชุดที่ 2 ที่ชื่อ \"Nevermind\" (1991) ออกภายใต้สังกัดดีจีซีเรเคิดส์ เขียนโดยเคิร์ต โคเบน, คริสต์ โนโซเซลิก และเดฟ โกรห์ล และโปรดิวซ์โดยบุตช์ วิก ", "title": "สเมลส์ไลก์ทีนสปิริต" }, { "docid": "103205#5", "text": "ในปี 1987 เนอร์วานา ทำเดโมเทป 10 ม้วน กับโปรดิวเซอร์ แจ็ค เอ็นดิโน่ ซึ่งได้นำเทปตัวอย่างไปเสนอ โจนาธาน โพนแมน หนึ่งในผู้ก่อตั้ง บริษัทแผ่นเสียงอิสระ ในซีแอ็ทเทิล ชื่อ Sub Pop ในที่สุดเนอร์วานา ก็ได้เซ็นสัญญาบริษัท และเดือนธันวาคม ปี 1988 เนอร์วานา ก็ออกซิงเกิลแรก เป็นเพลงเก่าของวง Shocking Blue ชื่อ Love Buzz", "title": "เนอร์วานา" }, { "docid": "103205#6", "text": "ค่าย Sub Pop วางแผนการตลาด โดยให้สร้างภาพให้ เนอร์วานา เป็นวงหลังเขาจากเมืองอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งทำให้เคิร์ท กับคริสไม่พอใจ เพลง Love Buzz ได้รับการยอมรับพอสมควร แต่ผลงานที่ทำให้ เนอร์วานา เป็นที่รู้จักคืออัลบั้ม Bleach ซึ่งใช้เงินในการบันทึกเสียงกว่า 600 เหรียญเท่านั้น แต่เมื่อออกขายในฤดูใบไม้ผลิ ปี 1989 Bleach ก็ค่อย ๆ ฮิตตามสถานีวิทยุมหาวิทยาลัย เนื่องจาก เนอร์วานา ออกทัวร์คอนเสิร์ตสม่ำเสมอ แม้ในปกอัลบั้ม Bleach จะระบุชื่อมือกีต้าร์คนที่ 2 ไว้ว่าเป็น เจสัน เอฟเวอร์แมน แต่เขาไม่ได้ร่วมบันทึกเสียงด้วยเลย เจสัน เพียงแต่ออกทัวร์คอนเสิร์ตเท่านั้น ก่อนจะออกจากวงไปในช่วงปลายปี เพื่อไปอยู่กับวง Soundgarden และ Mindfunk", "title": "เนอร์วานา" }, { "docid": "103205#11", "text": "อัลบั้ม In Utero ซึ่งเป็นอัลบั้มที่ 3 ของ เนอร์วานา ออกมาในฤดูใบไม้ผลิ 1993 หลังทำอัลบั้มนี้เสร็จ เนอร์วานา ก็ตกเป็นข่าวอื้อฉาวอีกครั้ง เคิร์ทเสพย์เฮโรอีนเกินขนาด ในวันที่ 2 พฤษภาคม แต่ข่าวนี้ถูกปิดไว้ เดือนต่อมา คอร์ทนีย์เรียกตำรวจไปที่บ้านในซีแอ็ทเทิ่ล หลังจากเคิร์ท ขังตัวเองอยู่ในห้องน้ำ และขู่จะฆ่าตัวตาย ก่อนออกอัลบั้ม In Utero เคิร์ทเคยเสพย์ยาเกินขนาดมาแล้วครั้งหนึ่ง ใน งานสัมมนาดนตรีแนวใหม่ที่ห้องโรสแลนด์บอลรูมในนิวยอร์ก ในเดือนกรกฎาคม ช่วงนั้นเอง เริ่มมีข่าวในนิวสวีค และสื่ออื่น ๆ ว่าดีจีซีไม่พอใจอัลบั้มใหม่ ทั้งยังกล่าวหา เนอร์วานา ว่าตั้งใจออกอัลบั้ม ไม่ให้ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ ทางวง และต้นสังกัดปฏิเสธข่าวดังกล่าว", "title": "เนอร์วานา" }, { "docid": "639875#2", "text": "[[ไฟล์:David Grohl.jpg|thumb|left|Dave Grohl เขียนและอัดเพลงในวงโดยตัวของเขาเอง.|alt=Dave Grohl sings and plays the guitar atop a stage.]]\nหลังการเสียชีวิตของ [[เคิร์ต โคเบน]] นักร้องนำวง[[เนอร์วานา]] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1994, [[เดฟ โกรล]] มือกลองแห่งเนอร์วานา ระบุอาจมาจากภาวะความซึมเศร้า, ซึ่งทำให้โกรลไม่มีกระจิตใจในการเล่นดนตรีต่อ ซึ่งเขายังลังเลว่าจะทำอะไรต่อไป ซึ่งเขามีความคิดที่จะล้มเลิกการเล่นดนตรีแล้วด้วยซ้ำ ,อย่างไรก็ตามมีคำเชิญชวนจากวงต่างๆเช่น Danzig และ Tom Petty and The Heartbreakers ในการเข้ามาเป็นมือกลอง, \"มันเป็นการเตือนตัวผมว่าผมยังอยู่ในเนอร์วานาเสมอ; ทุกครั้งที่ผมนั่งลงบนกลองชุด ผมจะคิดอยู่แบบนี้เสมอ\"\nการแสดงสดของ เดฟ โกรล เกิดขึ้นจากการเสียชีวิตของเคิร์ต โคเบน แสดงร่วมกับวง [[The Backbeat Band]] ในงานประกาศรางวัล 1994 เอ็มทีวีมูฟวี่อะวอร์ด 1994 MTV Movie Awards ในเดือนมิถุนายน , เขาถูกชักชวนโดย ไมค์ วัตต์ เพื่อมาเป็นส่วนหนึ่งกับอัลบั้มของเขา Ball-Hog or Tugboat? หลังจากแสดงคอนเสริ์ตเสร็จแล้ว , เดฟ โกรล มีความคิดที่จะตั้งโครงการดนตรีของเขาขึ้นมาเอง เป็นการระบายความเศร้าหม่นหมอง จากการเสียชีวิตของโคเบน โกรลเปรียบอัลบั้มนี้ว่า \"ยาบำบัด\" ซึ่งเขาอัดเพลงและแต่งเนื้อเพลงโดยตัวของเขาเอง หลังจากนั้น เดฟ โกรล ได้จองสคูดิโอ Robert Lang Studio ไว้ประมาณหกวัน ซึ่งสตูดิโอดังกล่าวอยู่ใกล้บ้านของเขา , เมื่อเขาได้อัดเพลง \"เพลงโปรดของผม ผมเขียนมามันขึ้นเมื่อ 4-5 ปีซึ่งไม่มีใครฟัง\" ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายโปรดิวเซอร์ บาเร็ต โจนส์ , เมื่อครั้นที่เขายังส่งเทปเดโม่ไปให้ , \"Pocketwatch\" ปี 1992 ทำให้เดฟ โกรลมีความคิดในการเล่นดนตรีอีกครั้ง และวางจำหน่ายมันให้ภายใต้ชื่อดังกล่าว แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มบอกว่าวงมีลักษณะคล้ายคลึงกับอัลบั้ม Klark Kent ของสจ๊วต ค็อปแลนด์\nDave Grohl และ Barret Jones อัดเพลงในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์เต็มในเดือนตุลาคม ปีค.ศ. 1994 , โดย Dave Grohl เล่นเครื่องดนตรีเองทั้งหมด (ไม่ว่าจะเป็นการร้อง กีตาร์ เบส และกลอง) รุ่งเช้าพวกเขาทั้งสองมายังสตูดิโอ Robert Lang Studios , พวกเขาเริ่มอัดเพลงจนกระทั่งบ่ายโมงและอัดไปสี่เพลง \"ขณะที่เขาอัดเขาต้องเล่นเป็นมือกองและสลับมาเป็นกีตาร์ และไปอัดเพลง , สักพักก็ไปนั่งพักโดยการจิบกาแฟแล้วกลับไปทำเพลงต่อ\"", "title": "ฟูไฟเตอส์ (อัลบั้ม)" }, { "docid": "235948#0", "text": "เคิร์ต โดนัลด์ โคเบน (English: Kurt Donald Cobain) (20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1967 - 5 เมษายน ค.ศ. 1994) เป็นนักดนตรีชาวอเมริกันในฐานะนักร้องนำ นักกีตาร์และนักแต่งเพลงให้กับวงเนอร์วานา", "title": "เคิร์ต โคเบน" }, { "docid": "332786#1", "text": "อัลบั้มบลีชได้รับการวิจารณ์ในเชิงบวก แต่อัลบั้มก็ไม่ได้ขึ้นชาร์จในอเมริกา อัลบั้มได้ถูกวางจำหน่ายในระดับนานาชาติโดยค่ายเพลง Geffen Record เมื่อปี 1992 หลังจากที่อัลบั้มสตูดิโอชุดที่สองของเนอร์วานาประสบความสำเร็จ \"Nevermind\" (ค.ศ. 1991) โดยเพิ่มเพลง Big Cheese และ Downer การวางจำหน่ายอีกครั้งส่งผลให้อัลบั้มขึ้นอยู่ในลำดับที่ 89 ในบิลบอร์ด 200 , และติดลำดับที่ 33 ในชาร์จอัลบั้มอังกฤษ และติดลำดับที่ 34 ในชาร์จอัลบั้มออสเตเลีย ในปี 2009 ค่ายเพลง Sub Pop ได้วางจำหน่ายฉลองครบรอบ 20 ปีของอัลบั้มบลีช อีกทั้งในครบรอบ 20 ปี นี้ยังมีบันทึกการแสดงสดของเนอร์วานาในพอร์ตแลนด์, รัฐออริกอน ในช่วงประมาณปี 1990 หลังจากที่อัลบั้มบลีชได้วางจำหน่ายเมื่อช่วงปี 1989 , บลีชได้ขายได้ 1.7 ล้านอัลบั้มในอเมริกาเพียงเดียว ", "title": "บลีช (อัลบั้ม)" }, { "docid": "235948#1", "text": "จากซิงเกิล \"Smells Like Teen Spirit\" ในอัลบั้มที่สองของเนอร์วานาชุด Nevermind (1991) ทำให้เนอร์วานาได้ก้าวเข้าสู่กระแสนิยม ทำให้เกิดความนิยมในแนวเพลงย่อยของอัลเทอร์เนทีฟร็อกที่เรียกว่า กรันจ์ และยังทำให้วงดนตรีซีแอตเทิลกรันจ์ อย่างเช่น อลิซอินเชนส์, เพิร์ลแจม และซาวด์การ์เดน มีกลุ่มคนฟังเพิ่มมากขึ้น และจากที่อัลเทอร์เนทีฟร็อกกลายเป็นแนวเพลงอันโดดเด่นทั้งในสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ดนตรี ในสหรัฐอเมริกาช่วงต้นถึงกลางทศวรรษ 1990 เนอร์วานาถือเป็นหัวเรือใหญ่ของ เจเนเรชันเอกซ์ และโคเบนในฐานะหัวหน้าวง ก็ถูกแต่งตั้งโดยสื่อในฐานะผู้แถลงให้กับเจเนเรชันเอกซ์[1] โคเบนรู้สึกไม่สะดวกในการถูกเพ่งเล็งเกี่ยวกับดนตรีพวกเขา โดยชื่อวงข้อความจากวงและมุมมองความเป็นศิลปิน อาจถูกตีความไปในทางที่ผิด เขายังท้าทายคนฟังกับผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดที่สามที่ชื่อ In Utero (1993) [2][3]", "title": "เคิร์ต โคเบน" }, { "docid": "44301#2", "text": "การประกาศความเป็นเอกราชของสาธารณรัฐมิเนอร์วา ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2515 ยังผลให้เกิดความสงสัยอย่างมากของประเทศเพื่อนบ้าน การประชุมของประเทศเพื่อนบ้านต่าง ๆ (ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศตองงา ประเทศฟีจี ประเทศนาอูรู ประเทศซามัว หมู่เกาะคุก) ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ซึ่งตองงาได้อ้างสิทธิเหนือดินแดนแนวปะการังมิเนอร์วา", "title": "สาธารณรัฐมิเนอร์วา" }, { "docid": "107334#2", "text": "โดยวงกรันจ์ร็อกในยุคแรก เช่น กรีนริเวอร์ มัดฮันนี่ ซาวด์การ์เดน ซึ่งหนักหน่วงกว่ากรันจ์ร็อกในยุคต่อมาอย่างเนอร์วานา ซึ่งความแตกต่างที่สังเกตได้อย่างชัดเจน คือเพลงของเนอร์วานามีความชัดเจนในเรื่องของทำนองที่ติดหูมากกว่า กรันจ์ร็อกได้เข้าสู่กระแสหลักกลางคริสต์ทศวรรษ 1990", "title": "กรันจ์" }, { "docid": "103205#7", "text": "อัลบั้ม Bleach ขายได้ถึง 35,000 ชุด และ เนอร์วานา ก็ได้รับความนิยมจากสถานีวิทยุตามมหาวิทยาลัย และ นิตยสารดนตรีในอังกฤษ นอกจากนี้ วง Sonic Youth Mudhoney และ Dinosaur Jr. ก็ชื่นชม เนอร์วานา ด้วย ทำให้ค่ายเทปใหญ่ ๆ หันมาสนใจ เนอร์วานา ในช่วงฤดูร้อน เนอร์วานา ออกซิงเกิล Sliver กับ Dive ซึ่งมีแดน ปีเตอร์สจากวง Mudhoneyมาเล่นกลองให้ ส่วนโปรดิวเซอร์คือ บุช วิค นอกจากจะบันทึกเสียง เพลงทั้งสองกับวิคแล้ว เนอร์วานายังทำเดโมเทปอีก 6 เพลงกับวิคด้วย เดโมชุดนี้ ไปถึงมือค่ายยักษ์ซึ่งแย่งกัน เซ็นสัญญากับ เนอร์วานา", "title": "เนอร์วานา" }, { "docid": "238526#5", "text": "หลังการเสียชีวิตของเคริ์ต โคเบน หัวหอกแห่งวงเนอร์วานา ในบ้านเกิดของเขาเมื่อวันที่ 8 เมษายน 1994 , ทำให้ในเวลาต่อมาเนอร์วานาต้องยุบตัวลง โกรลได้รับคำชักชวนให้มาร่วมงานกับศิลปินมากมาย ; อีกทั้งมีข่าวลือที่ระบุว่าเขาอาจร่วมงานกับ เพิร์ลแจม และเขาเกือบจะตกลงปลงใจรับตำแหน่งมือกลองอย่างถาวรในวง Tom Petty and the Heartbreakers จนแล้วจนรอด โกรลปฏิเสธกลายเป็นมือกลองแต่เขาเลือกที่จะเข้าห้องอัด Robert Lang Studio ในเดือนตุลาคม 1994 เพื่อเดินหน้าอัดสิบห้าเพลงจากสี่สิบเพลงที่เขาแต่งขึ้น และยังได้มือกีตาร์อย่าง เกรก ดัลลี จากวง Afghan Whigs มารับเชิญร่วมเล่นในเพลง \"X-Static\" , เดฟ โกรล เล่นเครื่องดนตรีทั้งหมดทุกอย่างและร้องเพลงทุกเพลงในอัลบั้ม.\"ผมมักจะจิตนาการบ่อยๆว่าได้เป็นมือกลองของวง และมันคือความฝันสูงสุดและผมก็จะเป็นตลอดไป\" โกรลกล่าวภายหลังว่า \"มันเป็นสิ่งที่ผมอยากทำ อย่าตั้ความหวังกับตัวผมไว้มากนักหรอก , ผมมีความสุขกับการแต่งเพลงและสนุกกับการร้อง และไม่มีใครกีดกั้นผมได้\" โกรลอัดอัลบั้มเสร็จสิ้นเรียบร้อย โดยถือเป็นอัลบั้มที่ใช้วัตถุดิบต่างๆได้อย่างคุ้มค่าในห้าวันการอัด จากนั้นเขาก็ส่งเทปดังกล่าวไปยังกลุ่มหมู่เพื่อนๆเพื่อรอฟังผลตอบรับของอัลบั้ม โกรลใช้ชื่อนามแฝงเพื่อปิดบังตัวและวางจำหน่ายอย่างจำกัด ภายใต้ชื่อ \"ฟูไฟเดอร์ส\" โดยชื่อนำมาจากช่วง สงครามโลกครั้งที่สอง มักจะเรียกว่า \"foo fighter\" โดยมาจากเหตุการณ์ลูกไฟลึกลับที่ปรากฏต่อหน้าเครื่องบินของฝ่ายพันธมิตร บนท้องฟ้าเหนือบริเวณยุโรปและแปซิฟิก โดยเชื่อกันว่าเป็น ยูเอฟโอ อย่างไรก็ตาม , เทปเดโม่ชุดนั้นได้รับความสนใจจากกลุ่มค่ายเพลงมากมาย ในขั้นต้น เขาได้ถามไถ่ถึงอดีตมือเบสจากเนอร์วานา คริส โนโวเซลิก ในการมาร่วมกลุ่มของเขา แต่ทั้งคู่ก็ตัดสินใจที่จะไม่เข้าร่วม \"คริสและผม , รู้สึกว่าแนวเพลงมันธรรมชาติไปแต่ก็ยังดี\", โกรล อธิบาย \"แต่สำหรับทุกคน , มองว่ามันแปลก แต่หากขาดผมไปมันคงจะแย่เอามากๆ\" วงอัลเทอร์เนทีฟจากซีแอเทิลอย่าง Sunny Day Real Estate กำลังจะยุบวง , โกรลจึงนำมือเบสอย่าง เนต เมนเดล และ มือกลอง วิลเลียม โกลด์สมิธ เข้าเป็นสมาชิก โกรลถาม แพ็ท สเมียร์ , มือกีตาร์ผู้เคยออกทัวร์กับเนอร์วานาจนกระทั่งอัลบั้ม In Ultero ปี 1993 ก็ได้กลายเป็นมือกีตาร์คนที่สองของวง ท้ายที่สุดโกรลเซ็นสัญญากับ แคปิตอลเรเคิดส์, และวางจำหน่ายในสังกัดค่ายของเขา , รอสเวล เรดคอร์ด.", "title": "ฟูไฟเตอส์" }, { "docid": "103205#13", "text": "หลังจากคอนเสิร์ตของเอ็มทีวีครั้งนี้ ออกอากาศในเดือนธันวาคม ยอดขาย In Utero ก็สูงขึ้น หลังจบการทัวร์คอนเสิร์ตในอเมริกา เมื่อวันที่ 8 มกราคม 1994 ที่เซ็นเตอร์ อารีน่าในซีแอ็ทเทิ่ล เนอร์วานา ก็เริ่มทัวร์คอนเสิร์ตในยุโรปในเดือน กุมภาพันธ์ หลังจากแสดงคอนเสิร์ตในมิวนิควันที่ 29 กุมภาพันธ์ เคิร์ทก็อยู่ที่กรุงโรมกับคอร์ทนีย์ต่อ เพื่อพักผ่อน วันที่ 4 มีนาคม เมื่อคอร์ทนีย์ตื่นมาก็พบว่า เคิร์ทพยายามฆ่าตัวตาย โดยทานยาโรฟีนอล ซึ่งเป็นยานอนหลับพร้อมกับแชมเปญ แม้ข่าวจะออกมาว่า เคิร์ทไม่ได้ตั้งใจฆ่าตัวตาย แต่สมาชิกวง เนอร์วานา ทราบดีว่า เคิร์ททิ้งจดหมายลาตายไว้", "title": "เนอร์วานา" }, { "docid": "332786#3", "text": "เนอร์วานาเริ่มอัดเพลงเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1988 ประมาณห้าชั่วโมง และทางวงก็ได้อัดเพลงอีกครั้งเมื่อวันที่ 29 - 31 ธันวาคม , และอัดอีกครั้ง 14 - 24 มกราคม ", "title": "บลีช (อัลบั้ม)" }, { "docid": "103205#9", "text": "เพลงที่ช่วยให้อัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จคือ Smells Like Teen Spirit เพลงร็อก 4 คอร์ดที่มีการนำ มิวสิก วิดีโอ ออกกระหน่ำฉายทางเอ็มทีวี ต้นปี 1992 เพลง Smells Like Teen Spirit ก็ขึ้นถึงท็อป 10 ในอเมริกา และ Nevermind ก็ทำให้อัลบั้ม Dangerous ที่สร้างชื่อให้ ไมเคิล แจ็คสัน อีกครั้ง ต้องตกจากอันดับที่ 1 นอกจากนี้ Nevermind ยังติดท็อป 10 ที่อังกฤษหลังจากนั้นไม่นานด้วย ในเดือนกุมภาพันธ์ Nevermind ก็ได้แผ่นเสียงทองคำขาวถึงสามแผ่น ความสำเร็จของ เนอร์วานา เป็นเรื่องน่าประหลาดใจในวงการเพลง พวกเขาเองก็แปลกใจเช่นกัน", "title": "เนอร์วานา" }, { "docid": "979794#0", "text": "คริสต์ แอนโทนี โนโวเซลิช (; ; หรืออาจเขียนว่า Chris Novoselic) เกิด 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1965 เป็นนักดนตรี และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวอเมริกัน เป็นอดีตมือเบสและสมาชิกผู้ก่อตั้งวงกรันจ์ เนอร์วานา ร่วมกับมือกีตาร์และนักร้องนำ เคิร์ต โคเบน วงเนอร์วานาประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ได้รับรางวัลระดับแผ่นเสียงทองคำและทองคำขาวหลายครั้ง และยังออกทัวร์ไปทั่วโลกโดยทุกโชว์สามารถขายบัตรได้หมด เมื่อเนอร์วานาแยกกันไปภายหลังการเสียชีวิตของเคิร์ต โคเบนในปี 1994 โนโวเซลิชได้ก่อตั้งวงที่ชื่อ สวีตเซเวนตีไฟฟ์ (Sweet 75) หลังจากนั้นหลายปีกับวง อายส์อะดริฟต์ (Eyes Adrift) เมื่อปี 2002 ได้ออกอัลบัม 1 ชุดกับแต่ละวง ตั้งแต่ปี 2006 ถึง 2009 เขาเล่นอยู่ในวงพังก์ที่ชื่อ ฟลิปเปอร์ และในปี 2011 เขาได้เล่นเบสและแอกคอร์เดียนในเพลง \"I Should Have Known\" ให้กับวงฟูไฟเตอส์ ในอัลบัมชุด \"Wasting Light\" เขายังกีตาร์เบสและแอกคอร์เดียนกับวงล่าสุด ไจแอนส์อินเดอะทรีส์ (Giants in the Trees) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2016", "title": "คริสต์ โนโวเซลิช" }, { "docid": "103205#19", "text": "ช่วงที่ออกอัลบั้ม Nevermind เนอร์วานา มักยั่วยุกลุ่มแฟนเพลง เช่น เมื่อ เคิร์ท โคเบน ไปออกรายการ Headbanger's Ball ของเอ็มทีวี โดยแต่งตัวเป็นผู้หญิง นอกจากนี้ สมาชิกวงยังล้อเลียนรายการ Top Of The Pops ของสถานีโทรทัศน์บีบีซีด้วย โดยคริส โนโวเซลิก โยนเบสขึ้นลงตลอดเวลา และเคิร์ทก็ร้องเพลงแบบ เอียน เคอร์ทิส เวลาแสดงสด การทำลายเครื่องดนตรีของ เนอร์วานา ก็มีให้เห็นกันประจำ ภาพเช่นนั้น กลายเป็นภาพติดตาเมื่อ เนอร์วานา ทำลายเครื่องดนตรี ในรายการ Saturday Night Live แล้วลงเอยด้วยการที่ คริส โนโวเซลิก กับ เดฟ โกรลห์ จูบกัน", "title": "เนอร์วานา" }, { "docid": "103205#2", "text": "เส้นทางดนตรีของเนอร์วานาได้ยุติลงเมื่อ เคิร์ท โคเบน เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1994 ด้วยอายุเพียง 27 ปี นับตั้งแต่เปิดตัวอัลบั้มแรก วงทำยอดจำหน่ายไปแล้วกว่า 25 ล้านชุดในสหรัฐอเมริกาที่เดียว และกว่า 75 ล้านชุดทั่วโลก[2] ทำให้เนอร์วานา กลายเป็นหนึ่งในศิลปินที่มียอดจำหน่ายสูงสุดตลอดกาล วงได้รับการจัดอันดับที่ 27 จากนิตยสารโรลลิงสโตน บนหัวข้อ \"100 ศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล\" ในปี ค.ศ. 2004[3] นอกจากนี้วงยังได้รับการบรรจุเข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล ในปี ค.ศ. 2014 ซึ่งเป็นวงแรกของปีนั้นที่ได้รับคัดเลือกอีกด้วย[4]", "title": "เนอร์วานา" }, { "docid": "159070#3", "text": "จุดกำเนิดของ ซิลเวอร์แชร์ เริ่มตั้งแต่ปี 1992 โดยดาเนียล จอห์นส (ร้องนำและกีตาร์) และเบน จิลลีส์ (กลอง) เริ่มเล่นดนตรีด้วยกันมาตั้งแต่สมัยชั้นประถมศึกษา จนเมื่อขึ้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนนิวคาสเซิลไฮสคูล ก็ได้ชักชวนคริส โจนนาว (กีตาร์เบส) เข้ามาเล่นดนตรีด้วยกัน ในนาม ชอร์ตเอลวิส (Short Elvis) จากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็น อินโนเซนต์คริมินอลส์ (Innocent Criminals) พวกเขาได้แสดงโชว์อยู่หลายครั้งในแถบฮันเตอร์วัลเลย์ ในช่วงวัยรุ่นของพวกเขา ซึ่งพวกเขาก็ได้ลงแข่งขันในงานยูธร็อกในปี 1994 (ซึ่งตอนนั้นยังไม่โด่งดัง) เป็นการแข่งขันวงดนตรีที่มาจากโรงเรียน จนกระทั่งวงได้มีชื่อเสียงจากการเป็นวงชนะเลิศการแข่งขันระดับประเทศที่ชื่อ \"Pick Me\" เป็นรายการทางสถานีโทรทัศน์เอสบีเอสร่วมกับสถานีวิทยุแนวอัลเทอร์เนทีฟที่ชื่อ ทริปเปิลเจ กับเพลงของเขาเองที่ชื่อ \"Tomorrow\" และส่วนหนึ่งของรางวัลก็คือ สังกัดเพลงทริปเปิลเจ ได้ช่วยบันทึกเพลงและเอสบีเอสทำมิวสิกวิดีโอให้พวกเขา วงอินโนเซนต์คริมินอลส์ในขณะนั้นก็ได้โอกาสเปลี่ยนชื่อวงก่อนที่จะออกซิงเกิลแรกในชีวิต \"Tomorrow\" โดยทางวงได้เลือกชื่อว่า ซิลเวอร์แชร์ ซึ่งมาจากการเพี้ยนคำของเพลงหนึ่งของวงเนอร์วานาที่ชื่อว่า \"Sliver\" กับชื่อของวงเบอร์ลินแชร์", "title": "ซิลเวอร์แชร์" }, { "docid": "103205#8", "text": "ปลายฤดูร้อน เดฟ โกรลห์ อดีตสมาชิกวง Scream วงแนวฮาร์ดคอร์จากวอชิงตันดีซี ก็เข้ามาเป็นมือกลองของ เนอร์วานา หลังจากนั้นก็เซ็นสัญญากับค่ายดีจีซีด้วยค่าตัว 287,000 เหรียญ เนอร์วานา บันทึกเสียงอัลบั้มที่ 2 กับวิค จนเสร็จในฤดูร้อนปีนั้นเอง ช่วงปลายฤดูร้อน หลังจาก เนอร์วานา ออกทัวร์คอนเสิร์ตกับ Sonic Youth พวกเขา ออกอัลบั้มชุดที่ 2 ในเดือนกันยายน ชื่อ Nevermind หลังออกอัลบั้ม เนอร์วานา ก็ออกทัวร์คอนเสิร์ตในสหรัฐอเมริกาทันที ค่ายดีจีซี ต้นสังกัดของ เนอร์วานา ตั้งเป้าว่า Nevermind จะขายได้ประมาณ 100,000 ชุด แต่ปรากฏว่า Nevermind ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และขายชุดแรกจำนวน 50,000 แผ่นได้ในเวลาไม่นาน จนขาดตลาดทั่วอเมริกา", "title": "เนอร์วานา" }, { "docid": "103205#4", "text": "บัซซ์ ออสบอร์น หัวหน้าวง The Melvins แนะนำให้เคิร์ท รู้จักกับคริส โนโวเซลิก ซึ่งสนใจดนตรีพังค์เช่นกัน การสนใจแนวเพลงพังค์ ทำให้ทั้งเคิร์ทกับคริสรู้สึกแปลกแยก จากคนส่วนใหญ่ในอาเบอร์ดีน ที่เป็นคนงาน ทั้งคู่จึงตัดสินใจ ตั้งวงชื่อว่า The Stiff Woodies โดยเคิร์ท เป็นมือกลอง คริสเป็นมือเบส ส่วนตำแหน่งกีต้าร์ กับร้องนำนั้น มีหลายคนสลับสับเปลี่ยนกันไป จนในที่สุดเคิร์ทก็เล่นกีต้าร์และร้องเอง หลังจากเปลี่ยนชื่อวงเป็น Skid Row วงของเคิร์ท ก็มีสมาชิกทั้งหมดเป็น 3 คน ผู้ที่มาเพิ่มคือ แอรอน เบิร์คฮาร์ท มือกลอง แต่พอถึงปี 1986 แอรอนก็ออกจากวง ผู้ที่มาแทนคือแช้ด แชนนิ่ง ต่อมาในปี 1987 Skid Row ก็เปลี่ยนชื่อเป็น เนอร์วานา เนอร์วานา เริ่มจากการเล่นดนตรี ตามงานเลี้ยง ในเมืองโอลิมเปีย จนมีแฟนเพลงกลุ่มใหญ่พอควร", "title": "เนอร์วานา" }, { "docid": "103205#0", "text": "เนอร์วานา (English: Nirvana) เป็นวงกรันจ์ และอัลเทอร์เนทีฟ ร็อก สัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งขึ้นโดยมือกีตาร์และร้องนำ เคิร์ท โคเบน และมือเบส คริสต์ โนโวเซลิช เมื่อปี ค.ศ. 1987 ที่เมืองอาเบอร์ดีน รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา วงได้ตัวมือกลอง เดฟ โกรล ซึ่งเข้ามาในปี ค.ศ. 1990 และได้อยู่ร่วมกับยาวนานที่สุดจวบจนวงแตก แม้ว่าเนอร์วานาจะออกสตูดิโออัลบั้มเพียง 3 อัลบั้ม ในช่วงเวลาสั้น ๆ 7 ปี แต่วงก็ได้รับการยอมรับอย่างสูงให้เป็นหนึ่งในวงที่ทรงอิทธิพลและสำคัญที่สุดในยุคสมัยใหม่นี้ แม้ว่าดนตรีของวงได้หายในช่วงปี ค.ศ. 1994 แต่งานเพลงของพวกเขาก็ยังคงได้รับกระแสนิยมต่อแรงบันดาลใจและอิทธิพลวัฒนธรรมร็อกแอนด์โรลสมัยใหม่จวบจนถึงปัจจุบัน", "title": "เนอร์วานา" }, { "docid": "103205#10", "text": "เนื่องจากปัญหาส่วนตัวของ เคิร์ท โคเบน ตกเป็นข่าวไปทั่ว เนอร์วานา จึงบันทึกเสียงอัลบั้มต่อจาก Nevermind ไม่ได้จนกระทั่งฤดูใบไม้ผลิปี 1993 ในช่วงที่หยุดไป ดีจีซี ได้ออกอัลบั้มรวมเพลงของ เนอร์วานา ชื่อว่า Incesticide ในช่วงปลายปี 1992 อัลบั้มนี้ ขึ้นถึงอันดับ 39 ในอเมริกา และอันดับ 14 ในอังกฤษ ผลงานอีกชิ้นที่ออกมาก่อนออกอัลบั้มที่ 3 คือซิงเกิลที่ เนอร์วานา ร่วมทำกับวง The Jesus Lizard ที่ชื่อ Oh, The Guilt โดยซิงเกิลนี้ มีค่าย ทัชแอนด์โก เป็นต้นสังกัด ในอัลบั้มที่ 3 เนอร์วานา เลือกสตีฟ อัลบินี่ โปรดิวเซอร์ที่เคยทำงานกับ Pixies Breeders Big Black และ Jesus Lizard มาเป็นโปรดิวเซอร์", "title": "เนอร์วานา" }, { "docid": "671509#0", "text": "พังก์โกส์ไนน์ตีส์ () เป็นอัลบั้มรวมเพลงในซีรีส์อัลบั้มเพลงคัฟเวอร์ \"พังก์โกส์...\" สร้างโดยค่ายเพลงเฟียร์เลสเรเคิดส์ อัลบั้มนี้ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เป็นการรวมเพลงคัฟเวอร์จากเพลงที่เป็นที่นิยมในคริสต์ทศวรรษ 1980 ภาพหน้าปกอัลบั้มนี้อ้างถึงภาพของอัลบั้ม \"เนเวอร์ไมนด์\" ของวงเนอร์วานา ซึ่งมีเพลง \"อินบลูม\" ของวงนี้ที่คัฟเวอร์โดยโซเดย์เซย์ (So They Say) ปรากฏอยู่ในอัลบั้ม", "title": "พังก์โกส์ไนน์ตีส์" }, { "docid": "103205#12", "text": "แต่ต่อมา เนอร์วานา ตัดสินใจปลด สตีฟ อัลบินี่ เพราะเห็นว่า ผลงานของสตีฟเรียบเกินไป และดึง สก็อต ลิทท์ โปรดิวเซอร์ของ R.E.M.มาปรับปรุงเพลง In Utero ออกวางจำหน่ายในเดือนกุมภาพันธ์ 1993 และได้รับคำชมจากนักวิจารณ์ ทั้งยังทำยอดขายช่วงแรกได้ดี ทำให้เข้าอันดับเป็นอันดับ 1 ทั้งในอังกฤษ และอเมริกา เนอร์วานา ออกคอนเสิร์ตในอเมริกา เพื่อโปรโมตอัลบั้มชุดนี้ โดยได้จ้าง แพ็ท สเมียร์ อดีตมือกีต้าร์วง Germs มาช่วยเล่นกีต้าร์เสริม แม้ตัวอัลบั้ม กับการแสดงคอนเสิร์ต จะประสบความสำเร็จ แต่ยอดขายกลับไม่สูงอย่างที่คาดไว้ การแสดงสดหลายครั้งขายบัตรได้ไม่มาก ต้องรอจนถึงสัปดาห์ที่มีการแสดง จึงขายหมด ด้วยเหตุนี้ เนอร์วานา จึงยอมรับปากเล่นคอนเสิร์ตแบบอะคูสติกที่ชื่อ Unplugged ของเอ็มทีวีตอนปลายปี", "title": "เนอร์วานา" } ]
2275
วงชายนี มีสมาชิกทั้งหมดกี่คน?
[ { "docid": "178936#0", "text": "ชายนี (Korean: 샤이니; ; เขียนเป็น SHINee) เป็นวงดนตรีบอยแบนด์สัญชาติเกาหลีใต้ ก่อตั้งขึ้นที่โซล ภายใต้สังกัด SM เอนเตอร์เทนเมนต์ เดิมเปิดตัวในปี ค.ศ. 2008 ด้วยเพลง Replay ที่วางแผงครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 พร้อมสมาชิกทั้งหมด 5 คน สมาชิกปัจจุบันซึ่งยังดำรงกิจกรรมอยู่ได้แก่ อนยู, Key, มินโฮ และ แทมิน โดยสมาชิกอีกหนึ่งคน จงฮย็อน ได้เสียชีวิตลงแล้วในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2017", "title": "ชายนี" } ]
[ { "docid": "76701#28", "text": "จำนวนสมาชิกของวงมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งเนื่องจากการออดิชัน การจบการศึกษา การย้ายทีม และการย้ายวงระหว่างวงในเครือ 48 กรุ๊ป เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2017 วงมีสมาชิกทั้งหมด 136 คน แบ่งออกเป็นทีมเอ (Team A) 16 คน, ทีมเค (Team K) 17 คน, ทีมบี (Team B) 15 คน, ทีมโฟร์ (Team 4) 19 คน, และทีมเอต (Team 8) 47 คน โดยในทีม 8 นั้นมีสมาชิก 3 คนที่กำลังควบวงน้องสาววงอื่นอยู่ นอกจากนี้ยังมีสมาชิกเค็งคิวเซย์ 25 คน แบ่งออกเป็นเค็งคิวเซย์ที่เป็นตัวสำรองให้กับทีมหลัก 6 คน และที่เป็นตัวสำรองให้กับวงโดยรวม 19 คน มียุย โยะโกะยะมะ เป็นสมาชิก หัวหน้าวง และผู้จัดการวงในเครือ 48 กรุ๊ป", "title": "เอเคบีโฟร์ตีเอต" }, { "docid": "101256#1", "text": "ประวัติของเพลงนี้ตามที่กล่าวในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของวงคาราวานระบุว่า เมื่อสมาชิกของวงทุกคนเดินทางเข้าป่าที่จังหวัดเลย หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาแล้ว ทุกคนก็ได้เข้ารับการอบรมทฤษฎีปฏิวัติจากพรรค จากนั้นไม่กี่วันต่อมาก็เดินทางเข้าสู่เขตจรยุทธ์ภูซาง ที่จังหวัดอุดรธานี", "title": "ถั่งโถมโหมแรงไฟ" }, { "docid": "911473#0", "text": "สมาชิกวงเอเคบีโฟร์ตีเอตอาจการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งเนื่องจากการออดิชัน การจบการศึกษา การย้ายทีม และการย้ายวงระหว่างวง AKB48 กับวงน้องสาว วงเอเคบีโฟร์ตีเอตมีสมาชิกทั้งหมด 125 คน แบ่งออกเป็นทีมเอ (Team A) 21 คน, ทีมเค (Team K) 26 คน, ทีมบี (Team B) 25 คน, ทีมโฟร์ (Team 4) 25 คน, และทีมเอต (Team 8) 46 คน โดยในทีม 8 นั้น สมาชิกทุกคนควบทีมกับทีมเอ เค บี และโฟร์อยู่ นอกจากนี้ยังมีสมาชิกเค็งคิวเซย์ 18 คน แบ่งออกเป็นเค็งคิวเซย์ที่เป็นตัวสำรองให้กับทีมหลัก 13 คน และที่เป็นตัวสำรองให้กับวงโดยรวม 5 คน มี ยุย โยะโกะยะมะ เป็นหัวหน้าวงโดยรวม", "title": "รายชื่อสมาชิกเอเคบีโฟร์ตีเอต" }, { "docid": "178936#8", "text": "อัลบั้มที่ 2 ได้ถูกปล่อยออกมา โดยชื่อว่า \"Lucifer\" เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2010 ได้ปล่อยมิวสิควีดีโอโปรโมทด้วยเพลง Lucifer ในวันเดียวกัน ภายในไม่กี่ชั่วโมงของการวางขายอัลบั้ม ยอดขายและยอดดาวน์โหลดอยู่ในอันดับต้นๆ ของเกาหลีใต้ เพลงในอัลบั้มของพวกเขา ได้มีการคัดสรรออกมาอย่างรอบคอบมากกว่าเดิมและมีการกล่าวถึงกับผู้ฟังว่า เป็นผลงานเพลงที่หลากหลายและโตขึ้นของสมาชิกในวง และในวันที่ 23 กรกฎาคม 2010 ชายนีได้กลับมาอีกครั้งและได้ปรากฏตัวในรายการ KBS Music Bank เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2010 ชายนีได้ปล่อยอัลบั้มรีแพคเกตชื่อ \"Hello\" โดยได้ปล่อยมิวสิควีดีโอ Hello ออกมาเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2010 โดยอัลบั้มนี้ได้เพิ่ม 3 เพลงใหม่อย่าง \"Hello\", \"One\" และ \"Get It\"", "title": "ชายนี" }, { "docid": "840008#24", "text": "จำนวนสมาชิกของวงมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งเนื่องจากมีการเปิดรับสมาชิกรุ่นใหม่ การจบการศึกษา และการแลกเปลี่ยนสมาชิกกับวงพี่น้อง ปัจจุบันวงมีสมาชิกทั้งหมด 51 คน แบ่งออกเป็นสมาชิกทีมบีทรี (BⅢ) 22 คน และสมาชิกฝึกหัด 29 คน โดยมีเฌอปราง อารีย์กุล เป็นหัวหน้าวง และปัญสิกรณ์ ติยะกร เป็นหัวหน้าทีมบีทรี[80][81]", "title": "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต" }, { "docid": "414967#1", "text": "พิธีกรหลักคนล่าสุดของรายการคือ คีย์ ชายนี และจะมีพิธีกรสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นมาเป็นพิธีกรร่วมเรื่อย ๆ โดยมาจากสมาชิกของวงต่าง ๆ ปัจจุบันไม่มีพิธีกรหลัก แต่จะเลือกพิธีกรเป็นสมาชิกจากวงต่าง ๆ (ไม่จำเป็นต้องคัมแบ็กในสัปดาห์นั้น ๆ)", "title": "เอ็ม เคานต์ดาวน์" }, { "docid": "894563#3", "text": "ในปี 2014 เฉินได้เข้าร่วมกับกลุ่มนักร้องบัลลาดของค่าย SM เอนเตอร์เทนเมนต์ นั่นก็คือ S.M. THE BALLAD ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2010 ในอัลบั้มชุดที่ 2 เขาได้ร้องเพลงโปรโมทหลักของอัลบั้มเวอร์ชันภาษาจีน \"Breath\" ร่วมกับ จาง ลี่อิ่น, เพลง \"When I Was... When U Were...\" คู่กับ คริสตัล วง f(x) และยังได้ร้องเพลง \"A Day Without You\" ร่วมกับ จงฮย็อน รุ่นพี่ในค่ายเดียวกันซึ่งเป็นอดีตสมาชิกวงชายนี ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นพี่ในวงการคนหนึ่งที่เขาเอ่ยว่าตัวเองนั้นชื่นชม\nโดยเฉินก็ยังได้แสดงการร้องเพลงพร้อมวงดนตรีสดร่วมกับคริสตัลและจงฮย็อนที่งาน \"S.M. The Ballad Joint Recital\" ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ อีกด้วย", "title": "เฉิน (นักร้อง)" }, { "docid": "331616#0", "text": "คีย์ () หรือชื่อจริงว่า คิม คีบ็อม (; ; 23 กันยายน 2534 — ) เป็นสมาชิกวงชายนี สำเร็จการศึกษาที่โรงเรียนประถมจีมโย โรงเรียนมัธยมยองจิน (แดกู) และเคยเรียนที่ลอสแอนเจลิสหนึ่งปี", "title": "คีย์ (นักร้อง)" }, { "docid": "322691#5", "text": "จี-ย็อนแสดงออกว่าเธอมีความสนใจงานนางแบบและถ่ายแบบ (modelling) มาโดยตลอด ซึ่งในปี ค.ศ. 2008 ในขณะที่เธออายุ 15 ปี เธอมีผลงานหลายชิ้นด้านการถ่ายแบบและโฆษณาให้กับสมาร์ต (SMART) โดยร่วมกับวงชายนี บอยแบนด์เกาหลี เธอได้ร่วมงานกับดาวีชี (Davichi) และซียา (SeeYa) ในผลงานเพลงชื่อ \"ฟีเมลเจเนอเรชัน\" (Female Generation) และ \"ฟอร์เอเวอร์เลิฟ\" (Forever Love) ซึ่งเป็นดิจิทัลซิงเกิล โดยเผยแพร่ผลงานดังกล่าวออกสู่ตลาดในเดือน พฤษภาคม ค.ศ. 2009 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เธอเป็นสมาชิกคนแรกของวงที-อาราที่มีผลงานออกสู่สาธารณะ เธอปรากฏตัวอีกครั้งในมิวสิกวิดีโอเพลง \"ซารังแฮ\" (Saranghae) และ \"มายเลิฟอิสครายอิง\" (My Love is Crying) ในอัลบั้ม \"กิฟต์ฟรอมเอสจีวอนนาบี\" (Gift From SG WANNABE) ในปี ค.ศ. 2009 หลังจากนั้นไม่นาน สื่อภายในประเทศเกาหลีต่างตั้งฉายาให้เธอว่า \"คิม แท-ฮี น้อย\" เนื่องจากเธอมีหน้าตาคล้ายคลึงกับนักแสดงรุ่นพี่ คิม แท-ฮี นั่นเอง", "title": "พัก จี-ย็อน" }, { "docid": "346791#8", "text": "ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2010 มินโฮได้รับบาดเจ็บในการถ่ายทำ \"ดรีมทีมซีซั่น 2\" จนเขาต้องถอนตัวออกจากกิจกรรมของเขา ในขณะที่เพื่อนสมาชิกวงชายนี อย่างแทมิน ได้ทำหน้าที่แทนในช่วงที่เขาหายไป หลังจากการฟื้นตัวของ ชเว มินโฮ เขาก็สามารถกลับมาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2010 ได้ในที่สุด เพื่อดำเนินการต่อในกิจกรรมโปรโมชันของสตูดิโออัลบั้มเต็มของชายนีที่มีชื่อว่า \"ลูซิเฟอร์\"", "title": "ชเว มิน-โฮ (นักร้อง)" }, { "docid": "179405#2", "text": "อุ้ยและนันเป็นสมาชิกของวงดนตรีวงหนึ่งในสมัยมัธยมต้น ภายหลังทั้งสองคนตัดสินใจลาออกจากวงนั้น เพื่อมาตั้งวงใหม่เพื่อเล่นเพลงแนว Nu-metal เมื่อปี 2542 โดยมีสมาชิกทั้งหมด 4 คน รวมวงกันมาได้ระยะหนึ่งจนถึงปี 2545 ได้มีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกของวง 1 คน คือ มือกลอง เนื่องจากมือกลองคนเก่าประสบอุบัติเหตุเอ็นข้อมือขาด ทำให้ไม่สามารถตีกลองได้อีกต่อไป โดยมือกลองที่เข้ามาแทนที่มือกลองคนเก่า คือ ตั้ว มือกลองคนปัจจุบัน ทางวงได้ทำเพลงของตัวเองพร้อมกับเล่นคัพเวอร์วงดนตรีต่างประเทศ ในงานคอนเสริต์ใต้ดินต่างๆ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร อีกทั้งมีปัญหามากมายที่เกิดขึ้นกับทางวง ทั้งปัญหาทางด้านการเงิน และ การซ้อมดนตรีแต่ก็ผ่านพ้นมาได้ เนื่องจากความช่วยเหลือของ คุณพ่อและคุณแม่ของอุ้ย ", "title": "อีเทิร์นนิตี้บ็อกซ์" }, { "docid": "178936#32", "text": "ในวันที่ 15 พฤษภาคม ทาง SM เอนเตอร์เทนเมนต์ได้ปล่อยตัวอย่างอัลบั้มชุดใหม่ชื่อว่า The Story of Light โดยได้แบ่งออกเป็นสามพาร์ทด้วยกัน โดยอัลบั้มย่อยชุดแรกนั้นถูกปล่อยออกมาในวันที่ 28 พฤษภาคม พร้อมกับซิงเกิลโปรโมทหลักที่ชื่อว่า \"데리러 가 (Good Evening)\" เช่นเดียวกับกับอัลบั้มย่อยชุดที่สอง กับเพลงโปรโมทหลักที่ชื่อว่า \"I Want You\" ที่ถูกปล่อยออกมาในวันที่ 11 มิถุนายน โดยอัลบั้มชุดนี้ถูกเขียนขึ้นโดยสมาชิกภายในวงด้วยมุมมองจากตัวสมาชิกที่มองตนเอง วง และเพื่อนสมาชิกด้วยกัน และในอัลบั้มชุดที่สามซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายของอัลบั้ม The Story of Light นี้ สมาชิกชายนีได้มีส่วนร่วมในการเขียนเพลงโปรโมทหลักอย่าง \"Our Page\" ขึ้นโดยมีจุดประสงค์ในการเขียนนั้นเพื่อสื่อไปถึงสมาชิกที่ล่วงลับไปแล้วอย่างจงฮย็อนร่วมด้วย โดยอัลบั้มชุดนี้ได้ถูกปล่อยออกมาในวันที่ 25 มิถุนายน", "title": "ชายนี" }, { "docid": "486425#0", "text": "เฟลเวอร์ () เป็นวงดนตรีอัลเทอร์เนทีฟแดนซ์ร็อค ค่าย เยสมิวสิค(อาร์เอส) อดีตเคยเป็นวงดนตรีแนวสกาป๊อปชื่อวง Chocolate Kit (2546-2549) สังกัด Godunk Gmm Grammy ซึ่งมีเพลงเด่นๆที่หลายคนรู้จักคือ \"จำฉันได้หรือเปล่า\" และ \"โรตี\" ปัจจุบันได้ย้ายมาอยู่สังกัด อาร์เอส มีสมาชิกด้วยกันทั้งหมด 3 คน ประกอบด้วย ณิชาภา มีศีลธรรม (ก้อย) ร้องนำ,เปียโน แสงแดด พลพิทักษ์ (เจน) ซินธิไซเซอร์,ดีเจ ซึ่งเคยรับหน้าที่เป็นมือกีต้าร์ในอัลบั้มที่1-2 และอาชวิน อยู่ลือชา (เอ็กซ์) เบส ทั้ง3คนเป็นอดีตสมาชิกวง Chocolate Kit ซึ่งเอ็กซ์ มือเบสได้เข้ามาร่วมวงในช่วงหลังการทำงานของ Chocolate Kit ในอัลบั้ม Compilation \"Noise Project\" เฟลเวอร์เป็นวงดนตรีที่ผลิตผลงานเองทั้งหมดในทุกขั้นตอน โดยก้อย ร้องนำจะเป็นผู้เขียนเนื้อร้อง ทำนอง และมีเจน เป็นผู้เรียบเรียงดนตรี รวมถึงรับตำแหน่งโปรดิวเซอร์หลังจากสมาชิกวง Chocolate Kit ซึ่งประกอบด้วย ณิชาภา มีศีลธรรม (ก้อย) ร้องนำ แสงแดด พลพิทักษ์ (เจน) กีต้าร์ สัมภาษณ์ เพชรคุ้ม (ภาษ) ร้องนำ,กีต้าร์ และ อาชวิน อยู่ลือชา (เอ็กซ์) เบส ได้แยกย้ายกันไปทำภารกิจส่วนตัว จนได้มีการรวมตัวกันขึ้นใหม่ในปี2550 ในชื่อวง Flavour โดยมีสมาชิกเก่า3คนคือ ก้อย เจน เอ็กซ์ และมีการเพิ่มสมาชิกใหม่1คนคือ ณัฐวุฒิ ศรีรักสูงเนิน (เจ๋ง) กลอง จนเกิดเป็นอัลบั้มแรก Stylesimo โดยมีเพลงทั้งหมดคืออัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มเปิดตัว มีเพลงที่ทำให้หลายคนเริ่มรู้จักเฟลเวอร์ คือ \"คนเคยรักที่ยังผูกพัน\" ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนเป้าหมายในการทำงาน จากที่วงเคยทำแต่เพลงแนวแปลกใหม่หริอแนวอินดี้ตอนเป็น Chocolate Kit พอมาเป็นFlavour จึงเป็นความตั้งใจของทางวงซึ่งอยากทำสิ่งที่ท้าทายมากขึ้น เลยทดลองริเริ่มทำเพลงแนวpop rock ที่หลากหลายขึ้น เน้นความลึกซึ้งกินใจของเนื้อหา ท่วงทำนอง และดนตรีที่มีความละมุนละไม มีการผสมผสานเสียงเปียโนและเครื่องสายทำให้เพลงมีความไพเราะ สามารถเจาะกลุ่มคนฟังได้กว้างขึ้น ไม่มีข้อจำกัดเฉพาะแนวเหมือนที่เคยทำมา", "title": "เฟลเวอร์" }, { "docid": "961739#3", "text": "เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2016 ผู้กำกับศิลป์ Valery Khalilov และสมาชิกคนอื่น ๆ ในวงทั้งหมด 63 คนเสียชีวิตในอุบัติเหตุเครื่องบินของกระทรวงกลาโหมรัสเซียตูโปเลฟ ตู-154ตกในทะเลดำ เพียงไม่กี่นาทีหลังขึ่นบินจากสนามบินโซชิทางตอนใต้ของรัสเซีย ซึ่งกำลังออกเดินทางไปยังฐานทัพรัสเซียในจังหวัดลาตาเกียของซีเรีย เพื่อจัดการแสดงดนตรีปลอบขวัญทหารรัสเซีย ในงานเฉลิมฉลองคริสต์มาสของชาวออร์โธดอกซ์", "title": "อะเลคซันดรอฟ เอนเซมเบิล" }, { "docid": "42702#0", "text": "ซาร์ด () เป็นกลุ่มนักร้องเจ-ป็อปที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2534 ในสังกัดค่ายเพลง บี-แกรมเรคอร์ด เดิมประกอบด้วยสมาชิก 5 คน นำโดยนักร้องอิซุมิ ซะกะอิ ซึ่งเธอเป็นสมาชิกคนเดียวในกลุ่มที่ยังคงอยู่ในวงตั้งแต่เริ่มก่อตั้งและเป็นผู้แต่งเพลงทั้งหมดให้กับวงซาร์ด รวมถึงวงอื่น ๆ ด้วย ในขณะที่สมาชิกอื่นเปลี่ยนตัวตลอดเวลา และหลังจากอัลบั้มโฮลด์มี (HOLD ME) ออกจำหน่าย สมาชิกทั้งหมดก็ออกจากวงไป ทำให้เมื่อกล่าวถึงซาร์ด ก็มักจะหมายถึงอิซุมิ ในขณะเดียวกันเมื่อกล่าวถึงอิซุมิ ก็สามารถหมายถึงซาร์ดได้เช่นกัน ซาร์ดมีเพลงที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงอยู่หลายเพลง เช่น มะเกะไนเดะ () , ยุเระรุโอะโมะอิ () (พ.ศ. 2536) และ มายเฟรนด์ () (พ.ศ. 2539)", "title": "ซาร์ด" }, { "docid": "178936#30", "text": "เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2017 จงฮย็อน เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย[5][6] งานศพของเขาถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคมโดยมีสมาชิกที่เหลืออยู่ในวงรับผิดชอบเป็นเจ้าภาพงาน มีศิลปินมากมายได้เข้าร่วมไว้อาลัยการจากไปครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น โซนยอชีแด, ไอยู, ซูเปอร์จูเนียร์ รวมทั้งศิลปินกลุ่มอื่น ๆ [7][8][9] ชายนีมีกำหนดจะจัดคอนเสิร์ตในญี่ปุ่นในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2018 และหลังจากได้เข้าร่วมการอภิปรายว่าจะเลื่อนออกไปหรือไม่[10] พวกเขาตัดสินใจที่จะโปรโมตในฐานะสมาชิกสี่คนและดำเนินการทัวร์ญี่ปุ่นตามกำหนดการเดิมที่ได้ตั้งใจไว้[11]", "title": "ชายนี" }, { "docid": "910618#0", "text": "คิม จง-ฮย็อน (มักรู้จักกันในชื่อที่ใช้ในวงการคือ จงฮย็อน) เป็นนักร้องนักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์ชาวเกาหลีใต้ เขาได้เริ่มเส้นทางสายดนตรีนี้โดยเป็นหนึ่งในสมาชิกและเป็นนักร้องเสียงหลักของวงบอยแบนด์เกาหลีใต้วง ชายนี ในปี ค.ศ. 2008 อีกทั้งยังได้เข้าร่วมกับโปรเจกต์กลุ่มนักร้องบัลลาด S.M. THE BALLAD และยังได้เดบิวต์เป็นศิลปินเดี่ยวภายใต้ค่าย SM เอนเตอร์เทนเมนต์ อีกด้วย ", "title": "รายชื่อเพลงที่เขียนโดย คิม จง-ฮย็อน" }, { "docid": "178936#12", "text": "ในเดือนพฤศจิกายนปี 2011 Shinee ได้รับเชิญให้ไปแสดงเป็นพิธีเปิดงานเทศกาลภาพยนตร์เกาหลีกรุงลอนดอนครั้งที่ 6 ซึ่งจัดขึ้นที่ Odeon West End Theatre ชายนี่ได้แสดงในงานกาล่าดินเนอร์นาน 1 ชั่วโมงเพื่อเปิดเทศกาล และ ตั่วขายหมดพายในไม่กี่นาที นี่เป็นครั้งแรกที่ศิลปินเกาหลีคนใดคนหนึ่งได้จัดคอนเสิร์ตอิสระในลอนดอนเพื่อเปิดคอนเสิร์ตฉลองเทศกาลดนตรีขายตั๋วภายในไม่กี่นาที นี่เป็นครั้งแรกที่ศิลปินเกาหลีคนใดคนหนึ่งได้จัดคอนเสิร์ตอิสระในลอนดอน", "title": "ชายนี" }, { "docid": "235537#0", "text": "วงเพื่อน เป็นวงดนตรีสตริงสัญชาติไทย ในยุคทศวรรษที่ 80 สังกัดนิธิทัศน์ โปรโมชั่น ถือกำเนิดจากอดีตสมาชิกวงแกรนด์เอกซ์ 4 คน คือ ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ, พนัส หิรัญกสิ, เสน่ห์ ศุภรัตน์ และ วสันต์ แต้สกุล ซึ่งแยกตัวออกมา แล้วรวบรวมนักดนตรีอีก 3 คน เพื่อจัดตั้งเป็นวงดนตรีขึ้นใหม่ ออกอัลบั้มแรกในปี พ.ศ. 2527 และอัลบั้มชุดต่อมาคือ จากดวงใจ ซึ่งวางแผงในปีพ.ศ. 2528ได้ต้อนรับสมาชิกใหม่คือ กุ้ง ตวงสิทธิ์ เรียมจินดาจากวง 18 กะรัต เข้ามาในตำแหน่งคีย์บอร์ดและร้องนำ หลังจากนั้นวงเพื่อนออกอัลบั้มอีก 3 ชุด ก่อนจะแยกวงไปในปี พ.ศ. 2531วงเพื่อน ออกอัลบั้มแรก \"อะโหชีวิต\" เมื่อปี พ.ศ. 2528 ซึ่งประสบความสำเร็จพอสมควร และในปีเดียวกัน หลังจากผลงานชุดแรก เพียงไม่กี่เดือนก็วางจำหน่ายอัลบั้มที่สอง จากดวงใจ โดยมี กุ้ง-ตวงสิทธิ์ เรียมจินดา เข้ามาเป็นนักร้องนำ และเล่นคีย์บอร์ด ซึ่งอัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก มีเพลงซึ่งเป็นที่นิยมหลายเพลง เช่น \"ใจคนคอย\", \"รักบึงเก่า\", \"งานวัด\", \"ตี๋ดอยตุง\" เป็นต้น", "title": "เพื่อน (วงดนตรีไทย)" }, { "docid": "292668#0", "text": "อี จิน-กี (ฮันกึล: ; ฮันจา: ; เกิด 14 ธันวาคม 2532) หรือชื่อที่ใช้ในการแสดงว่า อนยูเป็นนักร้อง นักแสดง พิธีกร นักแต่งเพลง นักจัดรายการวิทยุ ไอดอลชาวเกาหลีใต้ รู้จักในสถานะสมาชิกวงชายนี ", "title": "อนยู" }, { "docid": "933953#0", "text": "เอ็น.ฟลายอิ้ง (, เกาหลี: 엔플라이잉) เป็นวงดนตรีชายสัญชาติเกาหลีใต้ ภายใต้สังกัด FNC Entertainment ในปี 2015 และมีสมาชิกทั้งหมด 5 คน ได้แก่ ซึงฮยอบ, กวังจิน, ชาฮุน, แจฮยอน และฮเวซึง โดย N.Flying ย่อมาจาก New Flying\nN.Flying เป็นวงดนตรีชายสัญชาติเกาหลีใต้ ภายใต้สังกัด FNC Entertainment และเดบิวต์เมื่อปี 2015 ด้วยสมาชิกทั้งหมด 4 คน ได้แก่ ซึงฮยอบ, กวังจิน, ชาฮุน และแจฮยอน ต่อมาเมื่อปี 2017 ทางต้นสังกัดได้ทำการเพิ่มสมาชิกคนใหม่ที่ผ่านจากรายการชื่อดังอย่าง Produce101 Season2 เข้ามาอีก 1 คน คือ ยู ฮเวซึง ทำให้ปัจจุบัน N.Flying มีสมาชิกทั้งหมด 5 คน ได้แก่ ซึงฮยอบ, กวังจิน, ชาฮุน, แจฮยอน และฮเวซึง", "title": "เอ็น.ฟลายอิง" }, { "docid": "925904#4", "text": "เฌอปรางมีความสนใจและชื่นชอบวงไอดอลญี่ปุ่น AKB48 และ 48 Group จากการที่เธอชื่นชอบอนิเมะ เรื่อง AKB0048 ที่อ้างอิงถึงกลุ่มไอดอล AKB48[9] จนทำให้เฌอปรางได้ก้าวเข้าสู่วงการไอดอลด้วยการเข้าร่วมออดิชันสมาชิกวง BNK48 ซึ่งเป็นวงน้องสาวใหม่ของ AKB48 ในประเทศไทย เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 โดยเธอได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 29 คนในสมาชิกรุ่นแรก จากผู้สมัครทั้งหมด 1,500 คน และเปิดตัวสมาชิกทั้งหมดเป็นครั้งแรกในงาน Japan Expo 2017 เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 โดยขณะนั้นเฌอปรางและสมาชิกทั้งหมดอยู่ในสถานะเด็กฝึกหัด (เค็งกีวเซ)[10] และเปิดตัวอย่างเป็นทางการอีกครั้งในงาน BNK48 The debut เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560[11] โดยเฌอปรางได้รับการคัดเลือกให้เป็นเซ็มบัตสึ 1 ใน 16 คนของซิงเกิ้ลแรก อยากจะได้พบเธอ และเธอยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าวงหรือกัปตันวง BNK48 คนแรกอีกด้วย", "title": "เฌอปราง อารีย์กุล" }, { "docid": "307097#5", "text": "ต่อมา เควิน ประกาศในไซเวิลด์ว่า \"ตอนนี้เขาไม่ใช่สมาชิกในวง Xing อีกต่อไป\" ทำให้สมาชิก วงซิงเหลือเพียง 6 คน จากนั้นทางต้นสังได้เพิ่มสมาชิกเข้าไปอีก 2 คน คือ ไรท์ซิ่ง (ปัก ฮย็อนชอล) และ โซล (ลี อินจุน) รวมเป็น 8 คน และได้ออกซิงเกิล Memorize จากนั้น เซน หัวหน้าวง ก็ได้ขอแยกตัวออกมา เพราะต้องไปศึกษาต่อต่างประเทศ ทำให้สมาชิกวงซิงเหลือเพียง 7 คน จากนั้นในต้นปี 2010 ก็มีการเปลี่ยนเปลงโดยสมาชิกเดิม 5 คน ได้แก่ ฮย็อนมิน, อินจุน, คารัม, เจย์ และ มิกะ ตั้งเป็นบอยแบนด์วงใหม่ในชื่อ เดอะบอส ส่วนสมาชิกที่เหลืออีก 2 คน ก็มีการเปลี่ยนแปลงโดยเป็นสมาชิกใหม่อีก 5 คน แทนที่ทั้งสองคนที่เหลืออยู่ ปัจจุบันวงซิงจึงมีสมาชิกทั้งหมด 5 คน คือ Kim Dong Geun, Kim Jin Wan, Hwang Doo Hwan, Jin Hyeon Jin and Kim Wan Chul", "title": "ซิง" }, { "docid": "292668#2", "text": "ในปี 2008 อนยูได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของวง ชายนี และเดบิวในรายการ SBS 's Inkigayo", "title": "อนยู" }, { "docid": "531255#3", "text": "หลังจากใช้ชีวิตเป็นเด็กฝึกในค่ายอยู่ตั้งแต่อายุ 13 ปี จงฮย็อนได้เข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิกของวงเคป็อปชื่อดังอย่าง ชายนี (SHINee) ซึ่งมีสมาชิกอยู่ทั้งหมด 5 คนได้แก่ จงฮย็อน, อนยู, คีย์, มินโฮ และ แทมิน พวกเขาได้รับการเปิดตัวเป็นศิลปินใหม่ของค่ายเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ในปี ค.ศ. 2008[3] ด้วยเพลงโปรโมทที่มีเนื้อหาน่ารักสมวัยอย่างเพลง “Replay“ ที่ถูกปล่อยสู่สายตาสาธารณชนในวันที่ 23 พฤษภาคมภายในปีเดียวกัน หลังจากได้เดบิวต์ในนามวงชายนีแล้ว จงฮย็อนได้มีส่วนร่วมในการเขียนเนื้อร้องและทำนองเพลงมากมาย หากพูดถึงอุตสาหกรรมบันเทิงของเกาหลีที่มีศิลปินและกลุ่มนักร้องไอดอลเพิ่มขึ้นอย่างนับไม่ถ้วนตั้งแต่ช่วงแรกที่ชายนีเดบิวต์จนถึงปัจจุบันแล้วนั้นก็ถือได้ว่า จงฮย็อน คือศิลปินที่มีความสามารถในด้านดนตรีรอบด้านและได้รับการยอมรับจากคนมากมาย เป็นกำลังหลักสำคัญให้กับวงจนประสบความสำเร็จ", "title": "คิม จง-ฮย็อน" }, { "docid": "81681#1", "text": "ชื่อวง \"ลักอ็องเซียล\" (L'Arc~en~Ciel) เป็นภาษาฝรั่งเศส มีความหมายว่า \"รุ้ง\" มีประวัติอันยาวนานเริ่มตั้งแต่ก่อตั้งวงในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1991 จนถึงปัจจุบัน มีสมาชิกทั้งหมด 4 คน ได้แก่ tetsu hyde ken และ yukihiro ซึ่งชื่อสมาชิกที่ใช้ในวงจะเป็นตัวอักษรพิมพ์เล็กทั้งหมด\nลักอ็องเซียล เป็นวงดนตรีร็อกที่มีแนวทางในการเล่นดนตรีที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่แนวเดียว สมาชิกทุกคนในวงสามารถแต่งทำนองเพลงและเนื้อร้องได้ด้วยตัวเอง เพื่อใช้ในวงของตัวเอง โดยจะนำเพลงมาเรียบเรียงเสียงด้วยกันเมื่อต้องการทำอัลบั้ม ดังนั้น แนวเพลงจะเป็นในรูปแบบเฉพาะขึ้นอยู่กับสมาชิกแต่ละคน และ เอกลักษณ์ของวง คือ มีความผสมผสานของเสียงดนตรีมากมายนอกเหนือจากเครื่องดนตรี 3 ชิ้น (กีตาร์ กีตาร์เบส กลองชุด) เสียงดนตรีจะมีความแตกต่างของตัวโน้ตในหนึ่งท่อนอยู่มาก และ จะหลากหลายไปตามแนวเพลงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันตามแบบที่สมาชิกอยากให้เป็น เปรียบเสมือนชื่อของวง ที่หมายถึงสายรุ้งที่พาดผ่านท้องฟ้า", "title": "ลักอ็องเซียล" }, { "docid": "776507#0", "text": "ดีเวาร์เมนต์ () เป็นวงบรูทัลเดทเมทัลจากแดลลัส, เท็กซัส, สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นในปี 1995 วงได้แตกออกเป็น 3 ครั้ง โดยมีแบรด \"ฟินเซอร์\" (Brad Fincher) เป็นสมาชิกเพียงคนเดียวที่ยังคงอยู่ ปัจจุบันสมาชิกประกอบด้วย \"รูเบน โรซัส\" (Ruben Rosas) \"คริส แอนดรูส์\" (Chris Andrews) \"เดฟ สเปนเซอร์\" (Dave Spencer) และ\"ฟินเซอร์\" ดีเวาร์เมนต์นับว่าเป็นวงบรูทัลเดทเมทัลไม่กี่วงที่มีค่ายทั้ง \"บรูทัลแบรนด์ส\", \"ยูไนเตดกัทเทอรัล\", \"คอร์ฟส์กริสเติล\" และล่าสุดคือ \"รีแลพส์เรคเคิร์ดส์\" (Relapse Records) นอกจากนี้วงยังอัดเสียงกับค่ายเพลงอื่นอีกด้วย", "title": "ดีเวาร์เมนต์" }, { "docid": "531255#0", "text": "คิม จง-ฮย็อน (8 เมษายน ค.ศ. 1990 – 18 ธันวาคม ค.ศ. 2017[2]) รู้จักกันในชื่อที่ใช้ในวงการคือ จงฮยอน เป็นนักร้องนักแต่งเพลงชาวเกาหลีใต้ นักจัดรายการวิทยุ และนักเขียน เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกและนักร้องเสียงหลักของวงบอยแบนด์เกาหลีใต้วง ชายนี ที่ได้เข้าร่วมกับโปรเจกต์กลุ่มนักร้องบัลลาด S.M. THE BALLAD และยังได้เดบิวต์เป็นศิลปินเดี่ยวภายใต้ค่าย SM เอนเตอร์เทนเมนต์", "title": "คิม จง-ฮย็อน" }, { "docid": "178936#1", "text": "ในระยะแรกนั้นชายนีถือว่าเป็นวงที่ทำดนตรีแนวอาร์แอนด์บีร่วมสมัย โดยทางค่ายได้มีแนวคิดที่ต้องการให้ชายนีกลายเป็นวงที่นำเทรนด์ หรือกระแสนิยมในช่วงนั้น ๆ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ดนตรี, แฟชั่น, การเต้น และอื่น ๆ พวกเขาเดบิวต์หรือปรากฏตัวครั้งแรกภายในปี ค.ศ. 2008 ด้วยอีพีแรกที่มีชื่อว่า Replay ในรายการเพลงอินกีกาโยที่ฉายโดยสถานีโทรทัศน์ SBS ด้วยซิงเกิลเพลง \"Replay\" ชายนีได้มีกระแสมากขึ้นจากการสร้างเทรนด์ฮิตในหมู่นักเรียน โดยสื่อทั้งหลายได้ขนานนามพวกเขาด้วยวลีที่ว่า \"เทรนด์แบบชายนี\" ในเดือนสิงหาคม ปี 2008 ชายนีได้ปล่อยสตูดิโออัลบั้มชุดแรกในชื่อ The SHINee World ที่ได้ชนะรางวัลหน้าใหม่ในสาขาอัลบั้มแห่งปีที่งาน Golden Disk Award ครั้งที่ 23 ชายนีได้สร้างชื่อเสียงให้วงและทำให้เพลงเกาหลีเป็นที่รู้จักในวงกว้างได้อย่างมากมายด้วยผลงานเพลง \"Ring Ding Dong\" และ \"Lucifer\" โดยเพลง \"Ring Ding Dong\" นั้นได้ขึ้นสู่อันดับต้น ๆ ในชาร์ตเพลงเกาหลีทั่วประเทศถึง 7 ชาร์ตด้วยกัน และตัวซิงเกิลนั้นก็ได้รับความนิยมอย่างมากมายไปทั่วทวีปเอเชีย เพลง \"Lucifer\" ถูกเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลในสาขา Best Dance Performance (การแสดงเวทีเต้นที่ดีที่สุด) ที่งาน Mnet Asian Music Awards ในปี 2010 ด้วยท่าเต้นที่ดึงดูดใจ และในปี 2012 ทางกลุ่มก็ได้ปล่อยอัลบั้ม Sherlock ซึ่งเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดอันดับที่ห้าของปีโดยมียอดขายกว่า 180,000 ชุดในขณะนั้นเอง อีกทั้งพวกเขายังถูกจัดอันดับให้เป็นที่สุดของกลุ่มคนผู้มีชื่อเสียงในการจัดอันดับผู้ทรงอิทธิพลในเกาหลีโดยนิตยสารฟอบส์ ในปี 2014 และปี 2016", "title": "ชายนี" } ]
219
เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553สโมสรฟุตบอลนครปฐมเตะกับสโมสรอะไร?
[ { "docid": "353947#0", "text": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553 เป็นเหตุการณ์ที่แฟนบอลสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน ในการแข่งขันฟุตบอลในนัดที่รับการมาเยือนของสโมสรฟุตบอลจังหวัดศรีสะเกษระหว่างการแข่งขันเพลย์ออฟขึ้นไทยพรีเมียร์ลีก ผลปรากฏว่าเสมอกัน 0-0 ประตู เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ทางสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครปฐมถูกลงโทษปรับ 160,000 บาท และห้ามเข้าร่วมการแข่งขันของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นเวลา 2 ปี[1]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" } ]
[ { "docid": "277559#5", "text": " สโมสรนครปฐม ถูกสั่งห้ามลงแข่งขันทุกรายการของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย เป็นเวลา 2 ปี จาก เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553", "title": "ไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2553" }, { "docid": "353947#17", "text": "วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553 คณะพิจารณามารยาทและข้อประท้วง ที่มีพลตำรวจโทวรพงษ์ ชิวปรีชาเป็นประธาน ได้มีมติลงโทษสโมสรนครปฐม ตัดสิทธิ์ไม่ให้เข้าร่วมการแข่งขันที่สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยจัดขึ้นทุกรายการเป็นเวลา 2 ปี ปรับรวมเป็นเงิน 160,000 บาท พร้อมทั้งห้ามธนากร ขำโขมะ กองหลังทีมนครปฐม ลงเล่น 1 นัด จากพฤติกรรมด่าทอผู้ตัดสินอย่างหยาบคาย[1] ด้านพรีเมียร์ลีกพร้อมในกรณีที่ต้องจัดโปรแกรมแข่งขันโดยมี 17 ทีม หากนครปฐมผ่านเข้าเล่นในพรีเมียร์ลีกฤดูกาลหน้า และหากพ้นกำหนดโทษแล้ว ยังมีพฤติกรรมเช่นนี้อีก อาจลงโทษยุบทีมเพราะกระทำความผิดซ้ำซากได้[1]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "488611#3", "text": "ในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ในการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก 2553 รอบเพลย์ออฟระหว่างสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครปฐมกับสโมสรฟุตบอลจังหวัดศรีสะเกษ ได้เกิดเหตุแฟนบอลทำร้ายผู้ตัดสิน ซึ่งอภิสิทธิ์ได้รับบาดเจ็บและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยเขาได้ถูกกล่าวหาว่ารับเงินจากสโมสรฟุตบอลจังหวัดศรีสะเกษ แต่ทางอภิสิทธิ์ก็ปฏิเสธว่าไม่ได้รับสินบนจากทีมดังกล่าว ในขณะที่แฟนบอลที่ได้รับการตั้งข้อหาร่วมกันทำร้ายผู้ตัดสินที่มามอบตัวก็ปฏิเสธว่ามิได้ทำร้ายอภิสิทธิ์แต่อย่างใด ทั้งนี้ อภิสิทธิ์ได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายเคารพกฎกติกาการแข่งขัน หากการตัดสินผิดพลาดจริง ก็ยินดีให้ตรวจสอบตามขั้นตอนที่วางไว้ เพื่อเป็นการยกมาตรฐานวงการฟุตบอลให้สูงขึ้น", "title": "อภิสิทธิ์ อ้นรักษ์" }, { "docid": "353947#27", "text": "เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้ตัดสินกว่า 300 คนตามทะเบียนสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย เรียกร้องให้กำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยแก่ผู้ตัดสินทุกนัด โดยหากเห็นว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือรู้สึกไม่ปลอดภัยจะไม่เดินทางไปทำหน้าที่[16]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#2", "text": "ก่อนการแข่งขันจะเริ่มขึ้น ไชยา สะสมทรัพย์ ประธานสโมสรนครปฐม ประกาศอัดฉีด 1 ล้านบาท[2]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#14", "text": "วันที่ 28 ธันวาคม วิชิต แย้มบุญเรือง ประธานบริหารไทยพรีเมียร์ลีก กล่าวถึงการพิจารณาบทลงโทษทีมนครปฐมว่า ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณามารยาทและวินัย โดยจะมีการประชุมสรุปหลักฐาน[13] วิชิตได้เปิดเผยถึงข้อสรุปที่จะเสนอแก่คณะกรรมการ โดยพบว่ามีการทำผิดหลายกรณี ได้แก่ นักฟุตบอลใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมกับผู้ตัดสิน และทำร้ายผู้ตัดสิน บทลงโทษเบื้องต้นคือ ปรับเจ้าหน้าที่ที่ทำร้ายผู้ตัดสิน 100,000 บาท และกองเชียร์ที่ก่อเหตุอีก 50,000 บาท[14]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#10", "text": "ส่วนในกรณีที่มีนักการเมืองอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าวหรือไปตบกรรมการผู้ตัดสิน สาธิตให้สัมภาษณ์ว่าเป็นเรื่องที่ต้องตรวจสอบความจริงกันต่อไป[7]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#9", "text": "“ผมหวังว่าจะเห็นพนักงานสอบสวน จะได้ชื่อผู้ทำกระทำความผิดทั้งหมด พร้อมกับต้องแจ้งความดำเนินคดีด้วย และหากต้องการให้มีการกล่าวโทษก่อน ผมก็จะขอกล่าวโทษในตอนนี้เลยเกี่ยวกับผู้กระทำความผิด และผมตนจะเดินทางไปตรวจสอบในสถานีตำรวจที่รับผิดชอบสนามกีฬามหาวิทยาเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตนครปฐม ซึ่งเป็นสถานที่แข่งขันด้วย[7]”", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#18", "text": "ไชยา สะสมทรัพย์ ระบุถึงกรณีดังกล่าวว่าจะยุบทีม และหันไปทำทีมฟุตซอลลีกแทน และอาจให้ความสนใจกับฟุตบอล \"ลาวลีก\"[15] ส่วนทางวิชิต แย้มบุญเรือง ออกมาระบุว่า ทีมที่มีชื่อ \"นครปฐม\" ในชื่อสโมสร ไม่สามารถส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันฟุตซอลได้ เพราะเป็นการแข่งขันที่สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยรับรอง[15] ผลจากบทลงโทษดังกล่าวทำให้ลีกดิวิชั่น 1 เหลือเพียง 17 ทีม[15]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#29", "text": "พรชัย โควสุรัตน์ อดีตประธานสโมสรฟุตบอลอุบลยูไนเต็ดไม่อยากโทษให้เป็นความผิดของใคร แต่เชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากความไม่เชื่อมั่นในการบริหารงานของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย จึงไม่ยอมร้องเรียนการกระทำของผู้ตัดสินตามกระบวนการ เรียกร้องให้แฟนบอลไม่ซื้อสินค้าของบริษัทที่ให้การสนับสนุนสมาคม เพื่อให้ทบทวนบทบาทของตนเอง หรือแสดงความรับผิดชอบต่อความตกต่ำของฟุตบอลไทย[21]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#8", "text": "วันที่ 26 ธันวาคม สาธิต ปิตุเตชะ ประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวได้ทำลายความนิยมในวงการฟุตบอล และแสดงความคิดเห็นว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่พบเห็นเหตุการณ์จะต้องดำเนินคดีอาญากับผู้ที่ทำความผิดโดยไม่ต้องรอแจ้งความ ส่วนประเด็นที่ว่ากรรมการตัดสินด้วยความยุติธรรมหรือไม่ให้สมาคมฟุตบอลจัดการ[7]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "410145#0", "text": "ไทยลีกดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2554 เป็นการแข่งขันฟุตบอล ดิวิชั่น 1 เป็นครั้งที่ 14 นับตั้งแต่เริ่ม ฤดูกาล 2540 โดยเป็นลีกระดับที่สองรองจาก ไทยพรีเมียร์ลีก มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 16 ทีม โดยหา 3 ทีมเลื่อนชั้นขึ้น ไทยพรีเมียร์ลีก และ 4 ทีมตกชั้นลงไป ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2\nโดยหลังจากการที่ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด ได้ประกาศที่จะเพิ่มจำนวนสโมสรที่เข้าร่วมแข่งขัน ทั้งในระดับ ไทยพรีเมียร์ลีก และ ดิวิชั่น 1 เป็น 18 ทีม และให้จัดการแข่งขันเพลย์ออฟเลื่อนชั้น ไปแล้วนั้น ซึ่งก็ได้จำนวนสโมสรครบ 18 ทีม แต่ว่าการที่ นครปฐม เอฟซี ถูกสั่งห้ามลงแข่งขันทุกรายการของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย เป็นเวลา 2 ปี จาก เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553 ทำให้ลีกมีเพียง 17 สโมสร ทำให้ฝ่ายจัดการแข่งขันตัดสินใจให้มีการเพลย์ออฟ เพื่อหาสโมสรเล่นแทน สโมสรนครปฐม\nโดยผลการแข่งขันเป็น สระบุรี เอฟซี ที่สามารถเอาชนะ ระยอง เอฟซี 1 ประตูต่อ 0 ทำให้ สโมสรฯ เป็นทีมลำดับสุดท้าย และได้เลื่อนชั้นมาเล่นใน ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2554", "title": "ไทยลีกดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2554" }, { "docid": "353947#12", "text": "ต่อมา ได้มีแฟนบอลนครปฐมที่มีส่วนในเหตุการณ์จำนวน 6 คนเข้าให้ปากคำกับทางตำรวจ ประกอบด้วย ฐานุพงษ์ รังสิไตรพงษ์, ชัยศิริ สกลพันธุ์, กิตติศักดิ์ ศรีมนทก, ยุมมาคาร คเกเคล, นิคม ทองหอม และวิศาล ลักษณ์ในธรรม เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจโดยยังไม่ได้รับหมายเรียกจากตำรวจ และพร้อมให้การในชั้นศาล[11] ซึ่งทั้งหกคนให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ทำร้ายร่างกายกรรมการอย่างที่ถูกกล่าหา โดยถูกตั้งข้อหาร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่ร่างกายและจิตใจ[12] ทำให้จนถึงขณะนี้มีผู้เข้ามาพบตำรวจแล้ว 7 ราย คงเหลือผู้ที่ถูกออกหมายเรียกอีก 3 ราย[11]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#21", "text": "ด้านไชยา สะสมทรัพย์ ที่เตรียมแถลงข่าวที่บ้านพักในช่วงบ่ายของวันที่ 27 ธันวาคม ได้ตัดสินใจเลื่อนแถลงข่าว โดยส่งตัวแทนออกมาให้เหตุผลว่า ยังทำใจไม่ได้ และยังไม่พร้อมที่จะให้ข่าว[6] ต่อมา ได้มีการแถลงข่าว ยืนยันจะไม่ขอโทษผู้ตัดสินในเหตุการณ์ เพราะเห็นว่าไม่มีความจำเป็น และผู้ตัดสินรายดังกล่าวตัดสินผิดพลาด อันนำไปสู่เหตุการณ์[12] โดยยืนยันว่าบริษัทไทยพรีเมียร์ลีกและสมาคมผู้ตัดสินไม่เคยพัฒนาตัวเอง เพราะก่อนหน้านี้เคยแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นในนัดที่นครปฐมเยือนศรีสะเกษแก่สมาคมผู้ตัดสินแล้ว ก็ไม่ได้รับการตอบสนองแต่อย่างใด[17]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#1", "text": "ทั้งสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครปฐมและสโมสรฟุตบอลจังหวัดศรีสะเกษอยู่ในระหว่างการแข่งขันฟุตบอลรอบเพลย์ออฟขึ้นไทยพรีเมียร์ลีก กลุ่ม เอ โดยทีมนครปฐม แข่งแล้ว 3 นัด มี 6 แต้ม และศรีสะเกษ แข่ง 2 นัด มี 4 แต้ม[2] ผลจากการแข่งขันรอบเพลย์ออฟ หากทีมใดเป็นผู้นำของกลุ่มก็จะได้สิทธิ์แข่งขันในไทยพรีเมียร์ลีกฤดูกาลหน้า ซึ่งทางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยมีมติให้เพิ่มจำนวนทีมในการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีกจาก 16 ทีม เป็น 18 ทีม จึงมีการจัดการแข่งขันเพื่อหาอีก 2 ทีม โดยทีมแรกที่ได้รับสิทธิ์คือ สโมสรฟุตบอลทหารบก[3]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#24", "text": "หลังจากที่มีบทลงโทษสโมสรฟุตบอลนครปฐมออกมาแล้ว ทำให้ผู้เล่นทีมนครปฐมหาทีมใหม่ต่อไป โดยธนากร ขำโขมะ ที่ได้รับบทลงโทษไปด้วยนั้น ได้เซ็นสัญญากับสโมสรฟุตบอลชัยนาท ร่วมกับภูวดล สุวรรณชาติด้วยแล้ว ส่วนผู้เล่นคนอื่นในทีม หลายคนยังตกงานอยู่[15] ส่วน วิมล จันทร์คำ โค้ชของทีมนครปฐม กล่าวว่าตนจะหยุดงานโค้ชไปเรียนต่อบี และเอ ไลเซนส์ เพื่อกลับมาทำหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น[15]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "151060#8", "text": "ใน พ.ศ. 2553 เกิดเหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553 ไชยาได้ให้สัมภาษณ์ในกรณีดังกล่าวว่า จะไม่ขอโทษผู้ตัดสินในเหตุการณ์ เพราะเห็นว่าไม่มีความจำเป็น และผู้ตัดสินรายดังกล่าวตัดสินผิดพลาด อันนำไปสู่เหตุการณ์ โดยยืนยันว่าบริษัทไทยพรีเมียร์ลีกและสมาคมผู้ตัดสินไม่เคยพัฒนาตัวเอง เพราะในนัดที่นครปฐมเยือนศรีสะเกษก็ได้นำปัญหาในการแข่งขันนั้นแจ้งสมาคมผู้ตัดสินแล้วไม่มีท่าทีตอบสนองแต่อย่างใด ", "title": "ไชยา สะสมทรัพย์" }, { "docid": "353947#28", "text": "สโมสรศรีสะเกษจากข้อครหาว่าทีมศรีสะเกษซื้อตัวผู้ตัดสินฟุตบอลนัดดังกล่าว สมบัติ เกียรติสุรนนท์ ผู้จัดการทั่วไปของสโมสรศรีสะเกษ ได้ออกมายืนยันและกล้าสาบานว่าไม่มีการซื้อตัวผู้ตัดสินแต่อย่างใด และไม่ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากกรณีดังกล่าว แต่ได้แจ้งความกับสถานีตำรวจภูธรกำแพงแสนจากกรณีที่มีแฟนบอลได้รับบาดเจ็บ รถ และอุปกรณ์เชียร์ได้รับความเสียหาย[20]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#6", "text": "หลังจบการแข่งขัน กองเชียร์นครปฐมนับร้อยคนได้เข้าไปรุมทำร้าย อภิสิทธิ์ อ้นรักษ์ ผู้ตัดสิน รวมทั้งผู้ช่วยผู้ตัดสินและผู้ประเมินการแข่งขัน โดยมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเป็นสารวัตรทหาร 10 นาย และตำรวจอีก 10 นายเท่านั้น เจ้าหน้าที่ต้องนำผู้ตัดสินหนีออกจากสนามทางฝั่งกองเชียร์ทีมศรีสะเกษ ผู้ตัดสินรายดังกล่าวได้รับบาดเจ็บตาขวาแตก ตาซ้ายบวม ใบหน้าช้ำ ได้นำตัวส่งโรงพยาบาล แพทย์ให้เย็บประมาณ 10 เข็ม[2] แฟนบอลและเจ้าหน้าที่ทีมนครปฐมที่ไม่พอใจผลการตัดสินได้ไล่ทำร้ายร่างกายผู้ตัดสินและผู้เล่นทีมศรีสะเกษ ตลอดจนเข้าไปตะลุมบอนกับกองเชียร์ศรีสะเกษนานถึง 20 นาที[2] ทำให้แฟนบอลทั้งสองฝ่ายได้รับบาดเจ็บรวมกว่า 50 คน[4] กองเชียร์ศรีสะเกษติดค้างอยู่ในสนามกีฬากว่าชั่วโมง[2] นอกจากนี้ยังมีชายคนหนึ่งชักปืนออกมากลางสนามอีกด้วย[6]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "52862#0", "text": "สโมสรฟุตบอลนครปฐม ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากจังหวัดนครปฐม ปัจจุบันเล่นอยู่ในระดับไทยลีก 4 เนื่องจากในการแข่งขันไทยลีก 2 ฤดูกาล 2560 ทางสโมสรถูกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยปรับตกชั้นไปสู่ไทยลีก 4 เนื่องจากไม่สามารถส่งเอกสารเกี่ยวกับคลับไลเซนซิงได้ตามเวลาที่กำหนด สนามเหย้า คือ สนามกีฬาโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครปฐม เคยแข่งขันในไทยพรีเมียร์ลีก 2551 ซึ่งจบฤดูกาลในอันดับ 9 (สูงสุดในประวัติศาสตร์สโมสร) ใน พ.ศ. 2553 เกิดเหตุอื้อฉาวเกี่ยวกับแฟนบอลทำร้ายผู้ตัดสิน", "title": "สโมสรฟุตบอลนครปฐม ยูไนเต็ด" }, { "docid": "310238#6", "text": " สโมสรนครปฐม ถูกสั่งห้ามลงแข่งขันทุกรายการของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย เป็นเวลา 2 ปี จาก เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553", "title": "ไทยลีกดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2553" }, { "docid": "353947#16", "text": "วิชิตระบุว่าบทลงโทษสูงสุด คือ การถอนสมาชิกภาพของสโมสร ซึ่งได้ส่งเป็นข้อเสนอให้สภากรรมการบริหารสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยได้พิจารณา พร้อมยืนยันว่าในฤดูกาลหน้า จะมีการแก้ไขระเบียบบทลงโทษให้รุนแรงยิ่งขึ้น โดยจะมีการเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรนำเสนอต่อสาธารณชนในช่วงงานฟุตบอล เอ็กซ์โป ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-15 มกราคมปีหน้า[14] ในภายหลังมีกลุ่มแฟนบอลศรีสะเกษมายื่นหนังสือและซีดีบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าว[14]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#7", "text": "ด้านผู้ตัดสินได้แจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจภูธรกำแพงแสน โดยอภิสิทธิ์ กล่าวว่า \"หนนี้ถือว่ารอดตายได้อย่างปาฏิหาริย์ เพราะคิดว่าตายแน่ ต้องขอบคุณกองเชียร์ศรีสะเกษที่เข้ามาช่วยไว้\"[2] ยืนยันว่าตนทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#25", "text": "ต่อมา ใน พ.ศ. 2554 สโมสรฟุตบอลนครปฐมได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์โทษจาก 2 ปี เหลือ 1 ปี ซึ่งจนถึงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ทางสโมสรได้ยื่นหนังสือไปยังสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นครั้งที่สองแล้ว[19]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#19", "text": "นอกจากนั้น วิชิต แย้มบุญเรือง ยังได้ออกกฎใหม่เพื่อความปลอดภัย คือ หากเกิดเหตุการณ์ที่แฟนบอลทำร้ายผู้ตัดสินหรือผู้เล่นคนใด จะโดนตัดสิทธิ์ถอนทีมทันที โดยไม่ต้องรอการประชุม[15]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#20", "text": "วันที่ 26 ธันวาคม แฟนคลับสโมสรนครปฐมได้ออกแถลงการณ์ขอโทษแฟนบอลทีมศรีสะเกษผ่านเว็บไซต์ของสโมสร มีใจความว่า ปัญหาเกิดขึ้นจากการทำหน้าที่ของผู้ตัดสิน ขอให้แฟนบอลทีมศรีสะเกษและทุกทีมเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รู้สึกเสียใจและอยากกล่าวคำว่า \"ขอโทษจากใจ ให้แฟนบอลศรีสะเกษ ทุกท่าน\"[16] วันที่ 27 ธันวาคม แฟนสโมสรนครปฐมได้ออกรายการเจาะข่าวเด่นทางช่อง 3 กล่าวขอโทษถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น[6] พร้อมยืนยันว่าผู้ที่ก่อเรื่องเป็นแฟนบอลพลัดถิ่น ไม่ใช่แฟนบอลนครปฐม ส่วนทางด้านไชยา สะสมทรัพย์และการ์ดไม่มีเจตนาอื่นนอกจากต้องการเข้าไปยุติเหตุการณ์เท่านั้น[10]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#3", "text": "การแข่งขันนัดดังกล่าว จัดขึ้นที่สนามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553 โดยสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครปฐมรับการมาเยือนของสโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ มีผู้เข้าชมการแข่งขันจำนวนหลายพันคน[3]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#30", "text": "หมวดหมู่:ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2553 หมวดหมู่:ฟุตบอลในประเทศไทย", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353947#23", "text": "ส่วนเฉลิมศักดิ์ แก้วสุขแท้ กองหลังทีมนครปฐม ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก แสดงความสะใจจากเหตุทำร้ายอภิสิทธิ์ อ้นรักษ์ ทั้งนี้ได้ประกาศว่า ตนและเพื่อนร่วมทีมไม่ผิด และผู้ตัดสินตัดสินไม่เป็นธรรม ซึ่งก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ตามมา[18] โดยมีข้อความบางตอนว่า \"สะใจสุด ๆ สมควรโดนมานานและ อุตส่าออกสื่อไปนานแล้วนะ ว่านครปฐมมือปืนเยอะ …… ยังไม่ฟังอีก สะจัยสาตตตต\" และ \"ไม่รู้สึกต่อเหตุการณ์แต่อย่างใด และถ้าหากว่าถูกลงโทษ ก็จะย้ายทีม\"[8]", "title": "เหตุแฟนบอลสโมสรฟุตบอลนครปฐมทำร้ายผู้ตัดสิน พ.ศ. 2553" } ]
849
นางสนองพระโอษฐ์ สามารถแต่งงานได้หรือไม่ ?
[ { "docid": "235350#3", "text": "นางสนองพระโอษฐ์เป็นตำแหน่งของสุภาพสตรีสูงศักดิ์ที่เกี่ยวข้องกับราชสำนัก จากความหมายของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ระบุว่า คุณพนักงานหญิงที่แต่งงานแล้ว มีหน้าที่รับพระราชเสาวนีย์ ไปปฏิบัติหรือเชิญพระราชเสาวนีย์ไปติดต่อข้อราชการตามพระราชประสงค์ของพระราชินี[1]", "title": "นางสนองพระโอษฐ์" } ]
[ { "docid": "247198#104", "text": "ในปี ค.ศ. 693 พระนางบูเช็กเทียนทรงเชื่อคำกราบทูลของนางสนองพระโอษฐ์เหวยทวนเอ่อร์ (อังกฤษ: Wei Tuan'er; จีน: 韋團兒; พินอิน: Wéi tuán er) ผู้เป็นปฏิปักษ์กับเจ้าชายหลี่ตั้น (ไม่มีข้อมูลหลักฐานว่าเหตุใดนางจึงรู้สึกเช่นนั้น) ซึ่งกล่าวข้อความใส่ร้ายเจ้าหญิงหลิว พระมเหสีของเจ้าชายหลี่ตั้น (อังกฤษ: Crown Princess Liu; จีน: 劉皇后; พินอิน: Liú huánghòu) และนางสนมโตวว่าใช้คาถาอาคม พระนางบูเช็กเทียนจึงทรงสั่งให้ประหารชีวิตเมหสีหลิวและนางสนมโตว เจ้าชายหลี่ตั้นทรงเกรงพระทัยว่าพระองค์จะถูกลงโทษโดยการประหารเช่นกันเป็นรายต่อไปจึงไม่กล้าที่จะทักทานใด ๆ นางสนองพระโอษฐ์เหวยทวนเอ่อร์จึงวางแผนใส่ร้ายและกำจัดเจ้าชายหลี่ตั้นด้วยอีกพระองค์หนึ่ง อย่างไรก็ตามมีบางคนได้กราบบังคมทูลความจริงเกี่ยวกับนางสนองพระโอษฐ์เหวยทวนเอ่อร์ ทำให้พระนางบูเช็กเทียนทรงสั่งประหารนางสนองพระโอษฐ์เหวยทวนเอ่อร์ แต่พระนางก็ยังทรงลงโทษเจ้าชายหลี่ตั้นโดยการลดพระอิสริยยศของพระโอรสของเจ้าชายหลี่ตั้น", "title": "บูเช็กเทียน" }, { "docid": "984247#5", "text": "ในแง่มุมสังคมของ \"ฮาร์เวสต์มูน: เฟรนด์ออฟมิเนอร์รัลทาวน์\" เป็นส่วนหลักของเกม ซึ่งมีชาวบ้านหลายคนที่สามารถตีสนิทได้และสาวโสดหกคนที่สามารถแต่งงานได้ โดยการตีสนิทชาวบ้านนั้นทำให้ตัวละครสามารถเรียนรู้ถึงสูตรการทำอาหารและค้นพบประวัติของชาวบ้าน และการแต่งงานทำให้ตัวละครสามารถมีบุตรชายได้", "title": "ฮาร์เวสต์มูน: เฟรนด์ออฟมิเนอร์รัลทาวน์" }, { "docid": "144459#48", "text": "ตัวละครสามารถแต่งงานกันได้ ก็ต่อเมื่อตัวละครของผู้เล่นทั้งสองฝ่ายมีเลเวลมากกว่า 10 และมีค่าหัวใจ (Charm) ที่ได้รับจากการเต้นในโหมดคู่รัก มากกว่า 2 ดวงขึ้นไป และต้องมีไอเทมแหวนแต่งงานชนิดเดียวกัน (ซื้อได้ที่ Item Shop) อยู่ในช่องเก็บของของทั้งคู่ โดยจะต้องไปหาตัวละครที่ชื่อ Papa ซึ่งอยู่ในตึก Wedding ใน Community Street และฝ่ายหนึ่งจะต้องยื่นคำร้องไปให้อีกฝ่ายหนึ่ง พอยื่นคำร้องและรออีกฝ่ายตอบตกลง การแต่งงานจะถูกดำเนินการ ภายใน 7 วัน เมื่อแต่งงานได้สำเร็จแล้ว จะมีรูปคู่รักอีกคนของผู้เล่นแสดงท่าทางเป็นคู่รักอยู่ในช่องรายละเอียดตัวละคร (Profile) และมีเอฟเฟกต์รูปหัวใจอยู่หลังทั้งคู่ตามชนิดของแหวนที่ใช้แต่งงาน ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนแหวนแต่งงานได้เช่นกัน โดยไปเลือกขอเปลี่ยนแหวนกับตัวละครชื่อ Papa และรอการยืนยันจากผู้เล่นอีกฝ่าย แต่ต้องเปลี่ยนแหวนให้เหมือนกันด้วย", "title": "ซูเปอร์แดนเซอร์ออนไลน์" }, { "docid": "211401#2", "text": "เอลิซาเบธเป็นนางสนองพระโอษฐ์ในพระราชินีมาร์กาเร็ตในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ในปี ค.ศ. 1445 เมื่อมีพระชนมายุได้ 10 พรรษา ราวปี ค.ศ. 1452 เอลิซาเบธก็แต่งงานครั้งแรกกับเซอร์จอห์น เกรย์แห่งโกรบี เกรย์เสียชีวิตในการต่อสู้กับฝ่ายแลงคาสเตอร์ในยุทธการเซนต์อัลบันส์ครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1461 เอลิซาเบธกับเกรย์มีบุตรด้วยกันสองคนทอมัส เกรย์ มาร์ควิสแห่งดอร์เซ็ทที่ 1 (Thomas Grey, 1st Marquess of Dorset) และริชาร์ด เกรย์", "title": "เอลิซาเบธ วูดวิลล์" }, { "docid": "235350#7", "text": "หมวดหมู่:ราชสำนัก", "title": "นางสนองพระโอษฐ์" }, { "docid": "213805#2", "text": "ระหว่างต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1900 การแต่งงานโดยฉันทะเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นอันมากเช่นการแต่งงานของผู้ไปตั้งหลักแหล่งในสหรัฐอเมริกาจากญี่ปุ่นและเจ้าสาวที่ยังอยู่ในญี่ปุ่น ตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษที่ 20 การแต่งงานโดยฉันทะมักจะใช้กันมากในบรรดาทหารผู้ออกไปประจำการไกลจากบ้านเมือง เว็บไซต์หลายแห่งก็บริการทั้ง “การแต่งงานโดยฉันทะ” และ “การแต่งงานโดยฉันทะซ้อน” โดยมีค่าบริการแต่การแต่งงานเช่นนี้ก็สามารถทำได้โดยทนายความภายในบริเวณที่ให้บริการที่ว่า", "title": "การแต่งงานโดยฉันทะ" }, { "docid": "687022#26", "text": "พระตำหนักฤดูร้อนที่พระนางทรงโปรดคือ พระราชวังโรเซอส์เบิร์ก ที่ซึ่งพระนางทรงเลี้ยงไก่เป็นสัตว์ทรงเลี้ยง แต่เนื่องจากพระราชวังโรเซอสืเบิร์กอยู่ห่างไกลมาก พระนางจึงมักจะประทับที่พระราชวังดรอทนิงโฮล์ม หรือ พระราชวังฮากา พระนางมักจะเสด็จเยือนสปาของสวีเดน เช่น สปารามโลซา พระนางทรงมีนางสนองพระโอษฐ์ชาวนอร์เวย์ อาทิเช่น คาทินกา ฟัลเบ และจานา ฟัลเบ เนื่องจากพระนางเดซีเรทรงมีพระอุปนิสัยที่ประหลาด ทำให้เป็นที่รู้จักในนามว่า \"Strapatsfröknarna\" (มีความหมายประมาณว่า \"มาดมัวแซลภัยพิบัติ\") ระหว่างที่ทรงประทับที่โรเซอส์เบิร์กและทั้งๆที่พระนางทรงเป็นคนกลัวความมืด แต่พระนางมักจะทรงพระดำเนินเล่นในสวนตอนกลางคืนและมักจะทรงสั่งให้นางสนองพระโอษฐ์คนหนึ่งเดินนำหน้าพระนางซึ่งทรงฉลองพระองค์ชุดขาว เพื่อทำการไล่ค้างคาวออกไป", "title": "สมเด็จพระราชินีเดซีเดอเรียแห่งสวีเดน" }, { "docid": "933817#3", "text": "อิซาเบลเป็นม่ายตั้งแต่ยังสาว อายุเพียง 30 ปี เธอพิสูจน์ให้เห็นแล้วถึงความสามารถในการตั้งครรภ์และความสามารถในการมีลูกชายที่สุขภาพดี หลักฐานคือลูกน้อยหกคนของเธอที่มีสามคนเป็นผู้ชาย เป็นไปได้อย่างมากว่านั่นคือเหตุผลที่ทำให้ริชาร์ด เอิร์ลแห่งคอร์นวอลล์คนที่ 1 ขอเธอแต่งงาน และอิซาเบลตอบตกลง แม้สามีของเธอเพิ่งตายไปเพียงห้าเดือน ทั้งสองแต่งงานกันเมื่อ 30 มีนาคม ค.ศ.1231 ที่โบสถ์ฟาวลีย์ สร้างความไม่พอใจเป็นอย่างมากให้แก่พระเชษฐาของริชาร์ด พระเจ้าเฮนรี่ ที่ได้จัดเตรียมการแต่งงานที่สร้างประโยชน์มากกว่าไว้ให้ริชาร์ด อิซาเบลกับริชาร์ดเข้ากันได้ดีพอควร แม้ริชาร์ดจะมีชื่อเสียงเรื่องความเป็นเสือผู้หญิงและเป็นที่รู้กันว่ามีภรรยาลับในช่วงหลังจากที่แต่งงานกันแล้ว ทั้งคู่เป็นพ่อแม่ของลูกสี่คนที่มีสามคนตายในวัยทารกอิซาเบลตายด้วยอาการตับล้มเหลวที่มีการหดตัวในขณะคลอดลูก เมื่อ 17 มกราคม ค.ศ.1240 ที่ปราสาทเบอร์เคมสเต็ด อายุ 39 ปี", "title": "อิซาเบล มาร์แชล" }, { "docid": "235350#1", "text": "นางสนองพระโอษฐ์ ยังหมายถึงกลุ่มของสตรีผู้มีฐานะครอบครัว บรรดาศักดิ์ และตำแหน่งหน้าที่ทางการที่หลากหลาย ซึ่งความแตกต่างกันในฐานะ บรรดาศักดิ์ และตำแหน่งหน้าที่เหล่านี้มักจะมีเกียรติศักดิ์สูง พระบรมวงศานุวงศ์หญิงหรือสตรีผู้สูงศักดิ์อาจทรงสามารถเลือกนางสนองพระโอษฐ์ได้ด้วยพระองค์เองหรือไม่ก็ได้ แต่แม้ว่าจะทรงมีสิทธิในการเลือกนางสนองพระโอษฐ์ได้อย่างเสรี หากตามประวัติศาสตร์แล้ว การตัดสินใจดังกล่าวมักจะได้รับอิทธิพลจากองค์พระมหากษัตริย์ พระราชบิดา-พระราชมารดา พระราชสวามี หรือเหล่าเสนาบดีของพระมหากษัตริย์", "title": "นางสนองพระโอษฐ์" }, { "docid": "154808#6", "text": "ในปี ค.ศ. 1673 การเปลี่ยนไปนับถือนิกายโรมันคาทอลิกของพระราชบิดาของเจ้าหญิงแอนน์ได้เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป แต่ยังมีพระราชโองการให้พระธิดาทั้งสองให้คงถูกเลี้ยงอย่างเคร่งครัดในนิกายโปรเตสแทนต์ดั้งเดิม เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1683 เจ้าหญิงแอนน์ได้เข้าอภิเษกสมรสกับ เจ้าชายจอร์จแห่งเดนมาร์กผู้เป็นโปรเตสแทนต์ และพระอนุชาของพระเจ้าแผ่นดินเดนมาร์ก (พระเจ้าคริสเตียนที่ 5) ซึ่งการแต่งงานนี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นที่นิยมของประชาชนแต่เป็นเป็นการที่ถูกต้องในทางส่วนพระองค์ ซาราห์ เชอร์ชิลกลายมาเป็นนางสนองพระโอษฐ์ (Lady of the Bedchamber) ซาราห์กับเจ้าหญิงแอนน์ทรงเป็นเพื่อนที่สนิทกันมาก และไม่ทรงถือพระองค์ว่าเป็นเจ้านายกับซาราห์โดยจะเห็นได้จากการที่สตรีสองคนนี้มีชื่อเล่นให้แก่กันว่า มิสซิสมอร์ลีย์ และ มิสซิสฟรีแมน", "title": "แอนน์ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งบริเตนใหญ่" }, { "docid": "235350#2", "text": "ภาระหน้าที่ของนางสนองพระโอษฐ์มีความหลากหลาย แต่ภาระหน้าที่ตามประวัติศาสตร์ของนางสนองพระโอษฐ์มักถูกมอบหมายตามความชำนาญส่วนตัว เช่น ความชำนาญในการวางตนเหมาะสมกับมารยาท ภาษา การเต้นรำซึ่งเป็นที่นิยมในราชสำนักขณะนั้น การรับผิดชอบงานด้านเลขานุการ การมอบหมายงานตามกระแสรับสั่งแก่ข้าราชบริพารคนอื่นๆ และการร่างกระแสพระราชเสาว์นีย์ การเย็บปักถักร้อย การวาดภาพ การขี่ม้า การเล่นดนตรี การดูแลงานด้านฉลองพระองค์ (เสื้อผ้า) การควบคุมเหล่าข้าราชบริพารผู้มีตำแหน่งต่ำกว่า การดูแลพระชายาหรือพระสนมพระองค์อื่น เป็นต้น", "title": "นางสนองพระโอษฐ์" }, { "docid": "248379#7", "text": "ณ เดือนพฤษภาคม 2009, ผู้ผลิตประกาศเปลี่ยนแปลงครั้งในรูปแบบที่มีทั้งหมดสี่คู่แยกย้ายกันตัดลงไปเพียงหนึ่งคู่และตัดทอนแสดงเพียง 60 นาที แสดงในขณะนี้จะพรรณนาด้านสมจริงมากขึ้นกับสิ่งที่แต่งงานคือแทนที่จะ \"ภาพวาดของการแต่งงานขึ้นอยู่กับความโรแมนติก\" เป็นครั้งแรกเป็นคู่ที่แท้จริงคือการโยนในการแสดง ดารารับเชิญบุคคลที่จะแสดงความเห็นการแสดงของสำหรับแต่ละครั้งเพื่อให้พวกเขาสามารถแบ่งปันความคิดเห็นของพวกเขาเกี่ยวกับการแต่งงานในนามของกลุ่มอายุของพวกเขา คิมยองจุนและ ฮวัง จองอึม ยังทำห้องสัมภาษณ์แต่งตัวกันในชุดแต่งงาน", "title": "มาแต่งงานกันเถอะ" }, { "docid": "247198#35", "text": "อย่างไรก็ตามพระนางบูเช็กเทียนมิได้เป็นที่โปรดปรานขององค์จักรพรรดิไท่จงนัก แม้ว่าพระนางจะเคยได้เข้ารับใช้พระองค์ในฐานะนางสนม (มีความสัมพันธ์ทางเพศ)[19] ในช่วงที่พระนางบูเช็กเทียนเป็นนางสนมอยู่นั้น ได้แสดงนิสัยอันเด็ดเดี่ยวกล้าหาญจนทำให้จักรพรรดิไท่จงเกิดความประทับใจ ในเวลานั้นจักรพรรดิถังไท่จงทรงมีม้าชื่อ \"สิงโตป่า (Lion Stallion)\" ที่มีลักษณะดุดันและแข็งแรงมาก ไม่มีผู้ใดสามารถขึ้นนั่งฝึกม้าตัวนี้ได้ พระนางบูเช็กเทียนซึ่งเข้ารับใช้เป็นนางสนองพระโอษฐ์อยู่ได้เสนอกับจักรพรรดิถังไท่จงว่าตนสามารถปราบม้าตัวนี้ได้ โดยใช้ของสามสิ่ง คือ แส้เหล็ก ค้อน และกริช โดยจะใช้แส้เหล็กเฆี่ยนมันก่อน ถ้าม้านั้นไม่ยอมเชื่อฟัง ก็จะใช้ค้อนตีหัวม้า หากยังไม่ยอมอีก ก็จะเอากริชเชือกคอมันให้ตายลงเสีย[20] องค์จักรพรรดิถังไท่จงได้สดับฟังคำแนะนำของพระนางแล้วชื่นชมในความเด็ดเดี่ยวของบูเช็กเทียนมาก[20] หากแต่พระองค์ก็รู้สึกตกใจมาก และมีความรู้สึกลึก ๆ กว่านางสนมที่เคร่งครัดถือตัวไม่ควรพูดจาแบบนี้ แต่เจ้าชายหลี่จื้อ (อังกฤษ: Li Zhi; จีน: 李治; พินอิน: Lǐ zhì) ซึ่งเป็นองค์รัชทายาทในขณะนั้นกลับติดใจและหลงรักบูเช็กเทียนที่มีอายุมากกว่าเขา 4 ปี", "title": "บูเช็กเทียน" }, { "docid": "338111#0", "text": "ทริกสเตอร์ ออนไลน์ (; ) เกมออนไลน์ MMORPG แบบ 2 มิติ ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Ntreev Soft ของประเทศเกาหลีใต้ จุดเด่นของเกมนี้อยู่ที่ความน่ารักของตัวละครและมอนสเตอร์ รวมไปถึงสีสันของตัวเกมที่เรียกว่าสดใสสบายตา และยังมีระบบพิเศษที่แตกต่างจากเกมอื่นๆ คือ ระบบการขุด ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของเกมนี้ก็ว่าได้ นอกจากระบบการขุดแล้ว ยังมีระบบอื่นๆมากมายที่ช่วยสร้างสีสัน เช่น ระบบ My Camp ที่ผู้เล่นสามารถสร้างบ้านของตัวเองขึ้นมา และสามารถตกแต่งภายในบ้านให้มีความสวยงามเพื่อต้อนรับผู้มาเยือน ระบบ Card Battle ที่ผู้เล่นสามารถนำการ์ดต่างๆที่ได้จากมอนสเตอร์หรือการทำเควสมาแข่งขัน ระบบ PvP ที่ผู้เล่นสามารถแข่งขันกับผู้เล่นในเกมด้วยกันเอง ระบบแต่งงาน เพื่อให้คู่รักที่แต่งงานสามารถใช้สกิลพิเศษสำหรับคู่แต่งงานเท่านั้น หรือ แหวนแต่งงาน เป็นต้น", "title": "ทริกสเตอร์ออนไลน์" }, { "docid": "871403#0", "text": "ไทระ โนะ มุเนะโกะ ( ; ? – 7 พฤศจิกายน 1851) นางสนองพระโอษฐ์ และพระสนมในจักรพรรดิญี่ปุ่นจาก ตระกูลไทระ ตระกูลซะมุไรที่เคยก้าวขึ้นมามีอำนาจในราชสำนักโดยเป็นนางสนองพระโอษฐ์และพระสนมใน จักรพรรดิโกะ-ซะงะ จักรพรรดิองค์ที่ 87 และเป็นพระมารดาใน เจ้าชายมุเนะตะกะ พระราชโอรสองค์ที่ 3 และโชกุนลำดับที่ 6 แห่งรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ", "title": "ไทระ โนะ มุเนะโกะ" }, { "docid": "213805#0", "text": "การแต่งงานโดยฉันทะ (ภาษาอังกฤษ: Proxy marriage หรือ Proxy wedding) เป็นการแต่งงานโดยที่เจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวมิได้ปรากฏตัวในพิธีการแต่งงาน แต่ในพิธีจะให้ผู้มีอำนาจแทนทางกฎหมาย, ผู้แทน, ผู้รับฉันทะแสดงตัวเป็นตัวแทนผู้ที่ไม่สามารถปรากฏตัวได้ ถ้าทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวไม่สามารถปรากฏตัวได้ก็จะเรียกการแต่งงานว่าเป็นแบบ “การแต่งงานโดยฉันทะซ้อน” (Double-proxy Marriage)", "title": "การแต่งงานโดยฉันทะ" }, { "docid": "700431#1", "text": "จักรพรรดินีฮั่นเหวินทรงประสูติในครอบครัวยากจนที่ มณฑลเหอเป่ย เมื่อปี 341 โดยทรงเป็นธิดาของ โต้วชง มีพระนามเดิมว่า โต้วอี้ฟาง ต่อมาทรงถูกเรียกตัวเข้าวังไปเป็น นางสนองพระโอษฐ์ ในรัชสมัย จักรพรรดิฮั่นฮุ่ย ในเวลานั้น จักรพรรดินีฮั่นเกา พระราชมารดาขององค์จักรพรรดิต้องการพระราชทานนางสนองพระโอษฐ์\nเป็นรางวัลแก่บรรดาองค์ชายโดยหนึ่งในนั้นคือองค์ชายไต้ หลิวเหิง พระราชอนุชาต่างพระราชมารดาขององค์จักรพรรดิเกิดถูกพระทัยนางสนองพระโอษฐ์แซ่โต้วจึงทูลขอพระราชทานนางสนองพระโอษฐ์แซ่โต้วมาเป็นพระชายาในพระองค์", "title": "จักรพรรดินีฮั่นเหวิน" }, { "docid": "248379#10", "text": "ณ เดือนพฤษภาคม 2009, ผู้ผลิตประกาศเปลี่ยนแปลงครั้งในรูปแบบที่มีทั้งหมดสี่คู่แยกย้ายกันตัดลงไปเพียงหนึ่งคู่และตัดทอนแสดงเพียง 60 นาที แสดงในขณะนี้จะพรรณนาด้านสมจริงมากขึ้นกับสิ่งที่แต่งงานคือแทนที่จะ \"ภาพวาดของการแต่งงานขึ้นอยู่กับความโรแมนติก\" เป็นครั้งแรกเป็นคู่ที่แท้จริงคือการโยนในการแสดง ดารารับเชิญบุคคลที่จะแสดงความเห็นการแสดงของสำหรับแต่ละครั้งเพื่อให้พวกเขาสามารถแบ่งปันความคิดเห็นของพวกเขาเกี่ยวกับการแต่งงานในนามของกลุ่มอายุของพวกเขา คิมยองจุนและ Hwang Jung Eum ยังทำห้องสัมภาษณ์แต่งตัวกันในชุดแต่งงาน", "title": "มาแต่งงานกันเถอะ" }, { "docid": "310527#43", "text": "ด้วยประเพณีที่สามารถมีภรรยาได้หลายคน อีดี อามินแต่งงานอย่างน้อย 6 ครั้ง ภรรยา 3 คนหย่าร้าง ภรรยาคนแรกมัลยามูและเคย์ ภรรยาคนที่สองแต่งงานกับอามินในปี พ.ศ. 2509 แต่งงานกับนอราในปีถัดมาและแต่งงานกับมาดินา พ.ศ. 2515 ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2517 เขาประกาศทางวิทยุประเทศยูกันดาว่าได้ทำการหย่ากับมัลยามู, นอราและเคย์ ในเดือนเมษายนปีเดียวกัน มัลยามูถูกจับขังไว้ที่เมืองโตโรโร่ชายแดนติดกับประเทศเคนยา ในข้อหาพยายามปล้นกระชอนผ้าในเคนยา ภายหลังเธอย้ายไปอยู่ที่กรุงลอนดอน เคย์ อามินเสียชีวิตในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2517 ตามรายงานเธอเสียชีวิตเนื่องจากพยายามทำแท้งโดยนายแพทย์มบาลู มุกาซา คนรักของเธอ (เขาได้ฆ่าตัวตายในเวลาต่อมา) ร่างของเธอถูกพบในสภาพฉีกขาด ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2518 ขณะที่องค์การเอกภาพแอฟริกา (Organisation of African Unity : OAU) จัดการประชุมกลุ่มผู้นำในกรุงกัมปาลา อามินได้แต่งงานกับซาราห์ เกียวลาบา คนรักของซาร่าห์ที่อยู่ด้วยกันก่อนที่ซาราห์จะพบกับอามินได้หายตัวไปและไม่สามารถติดต่อได้อีกเลย มีรายงานว่าในปี พ.ศ. 2546 อามินได้แต่งงานอีกครั้งก่อนที่จะเสียชีวิตเพียงไม่กี่เดือน", "title": "อีดี อามิน" }, { "docid": "161502#4", "text": "เจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียทรงเสกสมรสด้วยพระองค์เองกับพระเจ้าชาลส์ที่ 1 เมื่อวันที่ 13 มืถุนายน ค.ศ. 1625 แต่การที่ทรงเป็นโรมันคาทอลิกทำให้ไม่สามารถที่จะได้รับการราชาภิเษกกับพระสวามีได้ในพิธีแองกลิคัน ความสัมพันธ์ระหว่างสองพระองค์เมื่อเริ่มแรกเป็นไปอย่างเย็นชา พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียทรงนำผู้ติดตามจำนวนหลายคนมาจากฝรั่งเศสซึ่งล้วนแต่เป็นโรมันคาทอลิกและแต่ละคนต่างก็ใช้เงินเก่งจนต้องพระราชทรัพย์จำนวนมากในการบำรุงรักษาสตรีเหล่านั้น กล่าวกันว่าในที่สุดพระเจ้าชาลส์ก็ทรงทนไม่ได้ จึงทรงส่งข้าราชบริพารของพระราชินีกลับฝรั่งเศส เหลือไว้แต่เพียงอนุศาสนาจารย์ และนางสนองพระโอษฐ์อีกสองคน", "title": "เฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส" }, { "docid": "235350#4", "text": "ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร นางสนองพระโอษฐ์โดยมากจะเป็นราชสกุล เป็นบุคคลที่มีทรัพย์สินและความรู้อยู่พอสมควร แต่เดิมมีความผาสุขและมีผู้รับใช้ช่วยเหลือให้สะดวกสบาย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙จะทรงนำบุคคลเหล่านี้มาทรงอบรมและให้มารู้จักความยากลำบาก ทรงนำนางสนองพระโอษฐ์ตามการเสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ห่างไกลความเจริญ เพื่อให้ได้พบเห็นชีวิตประจำวันที่แท้จริงของประชาชนทั่วไป[2]", "title": "นางสนองพระโอษฐ์" }, { "docid": "871982#0", "text": "ฟุจิวะระ โนะ ชิเงะโกะ ( ; 1825 – 20 กันยายน 1907) นางสนองพระโอษฐ์และพระราชมารดาในจักรพรรดิญี่ปุ่นโดยเป็นนางสนองพระโอษฐ์ใน จักรพรรดิโกะ-โทะบะ จักรพรรดิองค์ที่ 82 และเป็นพระราชมารดาใน จักรพรรดิจุนโตะกุ จักรพรรดิองค์ที่ 84", "title": "ฟุจิวะระ โนะ ชิเงะโกะ (จักรพรรดิโกะ-โทะบะ)" }, { "docid": "247900#16", "text": "ใน ค.ศ. 1780 อานน์ นอมปาร์ เดอ เคามองต์ เคานต์เตสแห่งบัลบี เป็นนางสนองพระโอษฐ์ของเจ้าหญิงมารี โฌเซฟีน เจ้าชายหลุยส์ สตานิสลาสทรงตกหลุมรักนางสนองพระโอษฐ์คนใหม่ของพระชายาและตั้งเธอให้เป็นพระสนม ส่งผลให้ความรักที่มีอยู่น้อยอยู่แล้วของทั้งสองหมดลงโดยสิ้นเชิง เจ้าชายหลุยส์ สตานิสลาสได้ตั้งศาลาสำหรับพระสนมบนที่ดินซึ่งจะเป็นที่รู้จักในนามว่า \"Parc Balbi\" ที่แวร์ซาย", "title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส" }, { "docid": "979233#0", "text": "เอ็บบา เบอร์นาดอตต์ () เกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2401 ณ สวีเดน เป็นธิดาของ พันเอกคาร์ล จาคอป มูนิก อัฟ ฟูลกิล กับ บารอนเนสเฮนริกา เคเดสตรอม ทั้งนี้เธอยังเป็นพระสหายคนสนิทของ วิกตอเรียแห่งบาเดิน สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน และโตมาด้วยกัน โดยในวันที่ วิกตอเรียแห่งบาเดิน สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน ทรงเข้าพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับ สมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 5 แห่งสวีเดน เธอยังได้เป็นเพื่อนเจ้าสาวอีกด้วย และเมื่อเวลาต่อมา วิกตอเรียกลายเป็นพระราชินีแห่งสวีเดน ทรงมีพระราชปรารภถึงเอ็บบาบ่อยๆ ดังคำกล่าวของนางสนองพระโอษฐ์\nเมื่อโตขึ้น เธอมีหนุ่มๆมาเกี่ยวพันเป็นจำนวนมาก ด้วยความงดงามและความสวยของเธอ ความทราบถึงฝ่าละอองพระบาทสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ก็ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ครอบครัวของเธอย้ายกลับมาที่สวีเดน และเมื่อเธอย้ายกลับมาไม่นาน ก็ได้พบกับ เจ้าชายออสการ์ เบอร์นาดอตต์ เคานต์แห่งวิสบอร์ก พระสวามีในอนาคต ซึ่งทั้ง 2 ตกหลุมรักกันแทบจะทันทีที่พบ เจ้าชายออสการ์เสด็จกลับพระราชวังและนำความกราบทูลพระราชบิดาและพระราชมารดา แต่ทั้ง 2 ทรงมิเห็นชอบด้วย และโต้แย้งอย่างรุนแรง แต่ถึงกระนั้นก็มิทำให้พระองคืเปลี่ยนพระทัยจากนางสาวเอ็มบาได้เลย ต่อมาเมื่อปี 2431 งานเสกสมรสถูกจัดขึ้น ซึ่งการสมรสนี้เองทำให้พระองค์ค้องสละฐานันดรและทายาทในการสืบราชบัลลังก์แห่งสวีเดนไปโดยปริยาย และใช้พระนามลำลองอย่างไม่เป็นทางการว่า ออสการ์ เบอร์นาดอตต์ ต่อมา ได้รับการสถาปนาเป็น เจ้าชายออสการ์ เบอร์นาดอตต์ เคานต์แห่งวิสบอร์ก ในวันแต่งงานจากพระอัยกา ทำให้เอ็มบาเป็น เจ้าหญิงเอ็มบา เบอร์นาดอตต์ ทั้ง 2 มีพระบุตรดังนี้", "title": "เอ็บบา เบอร์นาดอตต์" }, { "docid": "867526#0", "text": "คะจุจิ ทะดะโกะ ( ; 1 ธันวาคม 2323 – 20 เมษายน 2386) หรือ ฮิงะชิเคียวโงะกุ-อิง (\"Higashikyogoku-in\") นางสนองพระโอษฐ์และพระสนมในจักรพรรดิญี่ปุ่นโดยเป็นนางสนองพระโอษฐ์และพระสนมใน จักรพรรดิโคกะกุ จักรพรรดิองค์ที่ 119 และเป็นพระราชมารดาใน จักรพรรดินินโก จักรพรรดิองค์ที่ 120", "title": "คะจุจิ ทะดะโกะ" }, { "docid": "235350#0", "text": "นางสนองพระโอษฐ์ (English: lady-in-waiting) หมายถึงสตรีผู้ช่วยส่วนพระองค์ในราชสำนัก ซึ่งถวายการรับใช้แด่สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี เจ้าฟ้าหญิง หรือสตรีสูงศักดิ์ นางสนองพระโอษฐ์มักจะมีพื้นหลังมากจากครอบครัวที่มีฐานะทางสังคมสูงแต่มีฐานันดรต่ำกว่าสตรีที่ตนรับใช้ ซึ่งแม้ว่านางสนองพระโอษฐ์คนใดจะรับค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม มักจะไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นคนรับใช้หรือข้าราชบริพาร", "title": "นางสนองพระโอษฐ์" }, { "docid": "154808#9", "text": "เจ้าหญิงแอนน์ทรงถูกพระเจ้าเจมส์ที่ 2 สั่งห้ามไม่ให้เสด็จไปเยี่ยมเจ้าหญิงแมรีที่เนเธอร์แลนด์ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1688 แต่ทั้งสองยังคงทรงเขียนจดหมายติดต่อกันและเจ้าหญิงแอนน์เองคงจะทรงทราบถึงแผนการการรุกรานของพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 เป็นที่เชื่อกันว่าพระกรณียกิจของแอนน์ระหว่างช่วงเวลานี้มีอิทธิพลมาจากคำแนะนำที่ถวายโดยซาราห์และจอห์น เชอร์ชิล—แอนน์ไม่ทรงแสดงความสนับสนุนพระเจ้าเจมส์ที่ 2 เมื่อเจ้าชายวิลเลียมเสด็จขึ้นฝั่งอังกฤษในเดือนพฤศจิกายน 1688 แต่กลับทรงเขียนถึงเจ้าชายวิลเลียมประกาศสนับสนุนการรุกรานของพระองค์ เชอร์ชิลลาออกจากการเป็นข้าราชสำนักของพระเจ้าเจมส์เมื่อวันที่ 24 ในเดือนเดียวกัน, เจ้าชายจอร์จแห่งเดนมาร์กพระสวามีของแอนน์ทรงลาออกวันรุ่งขึ้น เมื่อพระเจ้าเจมส์เสด็จกลับลอนดอนในวันที่ 26 ก็ทรงพบแอนน์และนางสนองพระโอษฐ์ทรงทำเช่นเดียวกันในคืนวันที่ 25 พระเจ้าเจมส์จึงทรงสั่งให้กักแอนน์และนางสนองพระโอษฐ์ไว้ในพระราชวังไวท์ฮอล แต่แอนน์และนางสนองพระโอษฐ์ก็หนีออกทางบันไดหลังไปพักที่บ้านบาทหลวงแห่งลอนดอนอยู่คืนหนี่งก่อนที่จะไปถึงนอตติงแฮมเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมก่อนที่จะทรงประกาศอย่างเป็นทางการว่าไปถึงที่นั่นแล้ว และทรงแต่งตั้งคณะมนตรี จากนั้นก็เสด็จไปเฝ้าเจ้าชายวิลเลียมและกองกำลังติดตามมาที่ออกซฟอร์ด แอนน์ก็เช่นเดียวกับแมรีทรงถูกตำหนิว่าไม่ทรงแสดงความกังวลต่อการหลบหนีของพระเจ้าเจมส์แต่ก็ให้เหตุผลในการกระทำของพระองค์ว่าไม่ทรงชอบการแสดงว่ามีปัญหา แอนน์เสด็จกลับลอนดอนเมื่อวันที่ 19 ธันวาคมเพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าวิลเลียมที่ 3", "title": "แอนน์ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งบริเตนใหญ่" }, { "docid": "422132#6", "text": "ตามหลักการแล้ว คำที่มีความหมายแยกกันไม่สามารถใช้โดโนจิเต็ง เช่นวลี (\"ไคชาชาโจ\" ประธานบริษัท) และ (\"มินชาชางิ\" ประชาธิปไตย) ในขณะที่ (\"โคเอ็งไกไกโจ\" สถานที่จัดงาน) สามารถใช้ได้ นอกจากนี้ งานแต่งงานและงานศพในวัฒนธรรมญี่ปุ่น การเขียนคันจิซ้ำกันโดยตรงถือว่าไม่เป็นมงคล เนื่องจากหมายถึงการแต่งงานซ้ำอีก หรือความโชคร้ายซ้ำซาก ดังนั้นวลี (\"เค็กกนชิกิชิกิโจ\" สถานที่จัดงานแต่งงาน) และ (\"โคกูเบ็ตสึชิกิชิกิโจ\" สถานที่จัดงานศพ) จึงมักเขียนด้วยโดโนจิเต็ง", "title": "โอโดริจิ" }, { "docid": "213805#4", "text": "การแต่งงานโดยฉันทะเป็นการแต่งงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายในทุกรัฐในสหรัฐอเมริกายกเว้นรัฐแคลิฟอร์เนีย, รัฐโคโลราโด, รัฐเทกซัส และ รัฐมอนแทนา ในรัฐแคลิฟอร์เนียการแต่งงานโดยฉันทะเพิ่งถูกกฎหมายเมื่อปี ค.ศ. 2004 แต่เฉพาะผู้เป็นทหารที่ประจำการอยู่ในสถานที่ที่ไม่สามารถเข้าร่วมพิธีแต่งงานได้ รัฐมอนแทนาเป็นรัฐเดียวที่อนุญาตการแต่งงานโดยฉันทะซ้อน ไม่ทุกรัฐที่ยอมรับการแต่งงานโดยฉันทะในทุกกรณีแต่คดีความที่เกิดขึ้นเอนเอียงไปในการยอมรับว่าการแต่งงานโดยฉันทะเป็นการแต่งงานโดยพฤตินัย (Common law marriage) วิธีหนึ่ง", "title": "การแต่งงานโดยฉันทะ" } ]
1710
กระบี่แสง ดาบเลเซอร์ ใบดาบของกระบี่แสงจะเป็นเลเซอร์พลังสูง ซึ่งสามารถทะลุทะลวงโลหะแข็งได้โดยไม่ต้องออกแรงมากนักใช่หรือไม่?
[ { "docid": "11387#0", "text": "กระบี่แสง ดาบเลเซอร์ หรือ ไลท์เซเบอร์ (English: Lightsaber) เป็นอาวุธในเนื้อเรื่องที่แต่งขึ้นและทรงอานุภาพของอัศวินเจไดในจักรวาล สตาร์ วอร์ส มีลักษณะเป็นดาบ (แต่ตามชื่อภาษาอังกฤษ เซเบอร์ แปลว่า กระบี่หรือดาบโค้ง ซึ่งสะพายโดยทหารสมัยก่อนในยุโรปและอเมริกา) แต่แทนที่จะมีใบเป็นโลหะอย่างทั่วไป ใบดาบของกระบี่แสงจะเป็นเลเซอร์พลังสูง ซึ่งสามารถทะลุทะลวงโลหะแข็งได้โดยไม่ต้องออกแรงมากนัก กระบี่แสงมีบทบาทสำคัญมากใน สตาร์ วอร์ส ทุกภาค ทั้งในภาพยนตร์ เกม และนวนิยาย", "title": "กระบี่แสง" } ]
[ { "docid": "71258#5", "text": "เมื่ออายุได้ 14 ปีสภาเจไดคำนึงถึงเมซเพราะว่าแม้ว่าเขาเป็นเลิศในสายของเขา เขายังไม่สามารถสร้างกระบี่แสงที่มาจากนิมิตของเขาได้ เขารายงานสภาว่าเขาต้องการความท้ายทายที่แท้จริงเพื่อที่จะหาชิ้นส่วนที่ดีที่สุดต่อกระบี่แสงของเขา หลังจากทำการพิจารณาสภาได้ส่งเมซไปที่ดาวเฮอร์ริเคนโดยลำพัง ขณะปฏบัติภารกิจเมซถูกไล่โดยชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ที่นั่น แต่ก็ต้านพวกเขาไว้ได้โดยใช้พลัง เมื่อเขาทำให้ชาวพื้นเมืองคนหนึ่งบาดเจ็บเขาก็เสียใจและพยายามที่จะรักษาด้วยพลัง เขาได้เรียนรู้บทเรียนสำคัญในการเป็นเจได ชาวพื้นเมืองได้มอบรางวัลให้กับเขาเป็นคริสตัลสีม่วง เขาใช้คริสตัลนั้นสร้างกระบี่แสงของเขาตามที่เขาเห็นในนิมิตและมันก็ให้ใบมีดสีม่วงที่ไม่เหมือนใครออกมา เขายังมีอาวุธเป็นกระบี่แสงสีฟ้าอีกเล่มหนึ่งที่เขาสร้างขึ้นมาเอง เขายังใช้กระบี่แสงของเอธ คอธ ซึ่งเขาได้มันมาเมื่ออาจารย์เจไดทั้งสองทำการแลกเปลี่ยนกันในพิธีกรรมแห่งความภักดี", "title": "เมซ วินดู" }, { "docid": "11387#52", "text": "ศาสตร์เล่นแร่แปรธาตุของซิธ เป็นสิ่งที่ใช้กันในสมัยจักรวรรดิซิธด้วยการเพิ่มพลังให้กับเหล็กจนมันสามารถปะทะกับกระบี่แสงได้ ซิธยังใช้ธาตุอย่างคอร์โตซิสในการหลอมดาบซิธขึ้นมา หลังจากจักรวรรดิซิธเดิมการใช้วิธีนี้ก็ถูกนำไปใช้ในการสร้างเกราะของดาร์ธ เวเดอร์", "title": "กระบี่แสง" }, { "docid": "11387#25", "text": "กระบี่แสงโบราณ หรือ โปรโตเซเบอร์ (protosabers) เป็นแบบเก่าสุดของกระบี่แสง มันประกอบด้วยด้ามจับที่มักเป็นดูเรเนียมแข็ง มันคือคริสตัลที่อยู่ในด้ามจับ แพ็คพลังงานที่รัดด้วยเข็มขัด มันเหมือนกับกระบี่แสงในเวลาต่อมาที่คริสตัลของพวกมันอยู่ข้างในด้ามซึ่งเป็นแหล่งของพลังงาน ความแตกต่างระหว่างกระบี่แสงเก่าและใหม่คือด้ามจะเชื่อมติดกับสายของแพ็คพลังงานด้านนอกที่จะหิ้วโดยผู้ใช้ไว้ที่หลังของพวกเขา การนำเซลล์พลังงานที่มีขนาดเล็กกว่ามาใช้ทำให้มันสามารถใส่เข้าไปในด้ามดาบได้และให้อิสระมากกว่าและทำให้กระบี่แสงแบบเก่าตกยุคไป ผู้ใช้ส่วนมากจะอยู่ในช่วงสงครามซิธครั้งใหญ่", "title": "กระบี่แสง" }, { "docid": "11387#45", "text": "เมื่อตัดผ่านสิ่งที่อัดแน่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นโดยการสร้างแนวโค้งทำให้จะทำเกิดแรงต้านทาน สิ่งนี้ทำให้ใบมีดรู้สึกเหมือนเป็นของแข็งเมื่อกระทบกับวัตถุที่อัดแน่น น้อยครั้งมากที่วัตถุแข็งจะผ่านทะลุสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและทำให้แนวโค้งขาด สนามพลังแม่เหล็กไฟฟ้าและพลังงานที่พุ่งออกมายังสามารถปัดป้องได้โดยแนวโค้งของกระบี่แสง สิ่งเหล่านี้ยังรวมทั้งสนามพลัง กระสุนบลาสเตอร์ และใบมีดของกระบี่แสงด้วยกัน", "title": "กระบี่แสง" }, { "docid": "11387#20", "text": "สี ชนิด และจำนวนของคริสตัลมีมากมายในกระบี่แสง สีของคริสตัลใช้เป็นสีของใบมีด คริสตัลอดีแกนยังมีอีกชื่อหนึ่งว่าคริสตัลอิลัม มันเป็นคริสตัลอย่างหนึ่งที่นิยมกันมากในกระบี่แสง คริสตัลเหล่านี้สามารถดูดซับพลัง ช่วยให้เจไดกลายเป็นหนึ่งกับกระบี่แสง สัญญาณพลังอ่อน ๆ จากคริสตัลชนิดนี้สามารถรับรู้ได้โดยเจไดแม้ว่ามันจะอยู่ห่างออกไป", "title": "กระบี่แสง" }, { "docid": "11387#68", "text": "บางครั้งมีการตั้งสันนิษฐานว่ากระบี่แสงไม่ส่งความร้อนออกมา การอยู่ใกล้ใบมีดจะไม่ส่งผลใด ๆ จนกระทั่งไปสัมผัสมันเข้าซึ่งเป็นส่วนที่มีพลังงานและความร้อนสูง นวนิยายลีเจซี่ ออฟ เดอะ ฟอร์ซทั้งสามเล่มกล่าวว่ากระบี่แสงมีความร้อนออกมาจากใบมีด แต่ในนวนิยายเฟท ออฟ เดอะ เจไดได้กล่าวว่ากระบี่แสงมีสนามพลังรอบ ๆ ใบมีดทำให้ความร้อนไม่สามารถแผ่ออกมาได้ เพราะว่าผู้แต่งสตาร์ วอร์สฉบับแรก ๆ บอกว่ากระบี่แสงนั้นมีการแผ่ความร้อน นี่จึงอาจเป็นได้ว่ามันคือการพยายามที่จะใช้เหตุผลเดียวกันนี้ต่อไป", "title": "กระบี่แสง" }, { "docid": "286016#7", "text": "เทนโซเดอร์ อุปกรณ์แปลงร่างขนาดเท่าฝ่ามือของโกเซย์เจอร์ มีลักษณะคล้ายรูปปั้นโมอายส์ ใช้ควบคู่กับโกเซย์การ์ดในการแปลงร่าง เลออนเซลลูลาร์ อุปกรณ์แปลงร่างรูปแบบโทรศัพท์มือถือแบบบานพับของไนท์ ใช้ร่วมกับโกเซย์การ์ดใช้ในการเรียกอาวุธหรือต่อสู้ 535 - ใช้ในการแปลงร่างเป็น โกเซย์ไนท์ 202 - ใช้ในการเรียกก้อนหินขนาดยักษ์ ร็อกรัช 303 - ใช้ในการเรียกอัสนีบาตสีแดง คอมเพล็กธันเดอร์ 404 - ใช้ในการเรียกพายุเกรียวคลื่น เพรชชาวเวอร์ 848 - ใช้ในการเรียก วัลคันเฮดเดอร์ 474 - ใช้ในการโจมตีท่าไม้ตาย ไนท์ไดนามิค 717 - ใช้ในการเปลี่ยนร่าง กราวเดียนเฮดเดอร์ 262 - ใช้ในการเรียก ไนท์บราเธอร์ 353 - ใช้ในการรวมร่าง โกเซย์กราวด์ 525 - ใช้ในการรวมร่าง กราวด์ โกเซย์เกรท 919 - ใช้ในการชาร์จ วิกตอรี่ชาร์จ (โกเซย์กราวด์,กราวด์ โกเซย์เกรท) โกเซย์บัสเตอร์ ปืนพกประจำตัวของโกเซย์เจอร์ เมื่อสวมโกเซย์เฮดเดอร์ที่ปากกระบอกปืน ศูนย์เล็งกล้องจะปรากฏขึ้น ทำให้มีประสิทธิภาพและอัตราในการยิงเพิ่มสูงขึ้น เมื่อโกเซย์เจอร์ถือโกเซย์บัสเตอร์ ลำแสงที่ปล่อยออกมาจะเป็นสำแสงสีเดียวกับสีชุดประจำตัวของโกเซย์เจอร์ ไม่ว่าจะใช้ปืนกระบอกเดียวหรือใช้ปืน 2 กระบอกพร้อมกัน (ในกรณีที่หยิบยืมโกเซย์บัสเตอร์จากสมาชิกในกลุ่ม) สกายอิค ซอร์ด อาวุธประจำตัวของโกเซย์เรด เป็นอาวุธประเภทดาบขนาดกลาง มีลักษณะพิเศษที่โล่ติดโคร่งดาบขนาดใหญ่ สกายอิค ช็อต อาวุธประจำตัวของโกเซย์พิงค์ เป็นอาวุธประเภทปืนขนาดกลาง มีลักษณะเด่นที่ด้ามปืนมีขนาดใหญ่ สามารถยิงลำแสงได้ครั้งละ2นัดต่อวินาที แลนดิค แอ็กซ์ อาวุธประจำตัวของโกเซย์แบล็ค เป็นอาวุธประเภทขวานทรงโบราณ แลนดิค ครอว์ อาวุธประจำตัวของโกเซย์เยลโล่ เป็นอาวุธประเภทกงเล็บขนาดใหญ่ ซีอิค โบวกัน อาวุธประจำตัวของโกเซย์บลู เป็นอาวุธประเภทหน้าไม้ มีลักษณะเด่นที่หน้าไม้มีขนาดใหญ่ สกายอิค บัสเตอร์ บาซูก้าขนาดย่อมที่เกิดจาการรวมของสกายอิค ซอร์ด และ สกายอิค ช็อต โดยช็อต ประกอบเข้ากับส่วนโล่และด้ามของซอร์ด แลนด์ซี บัสเตอร์ บาซูก้าขนาดย่อมที่เกิดจากการรวมของแลนดิค แอ็กซ์ ,แลนดิค ครอว์ และ ซีอิค โบวกันโดยส่วนของโบวกันเป็นแกนกลาง แอ็กซ์ประกอบเป็นส่วนขวา ครอว์ประกอบเป็นส่วนซ้าย โกเซย์บัสเตอร์ บาซูก้าที่เกิดจากการรวมของสกายอิค บัสเตอร์ และ แลนด์ซี บัสเตอร์ เข้าไว้ด้วยกัน โกเซย์ไมค์ ไมโครโฟนที่ใช้ในการร้องเพลง เลออน เลเซอร์ อาวุธประจำตัวของไนท์ รูปทรงคล้ายกับสิงโตกับกำลังอ้าปาก สามารถปรับรูปแบบการโจมตีได้ 2 รูปแบบคือ เลออน เลเซอร์ กัน รูปแบหลักของเลออน เลเซอร์ เมื่อสวมเฮดเดอร์แบบกระสุนเข้ากับปากประบอกปืนจะสามารถยิงกระสุนได้มากถึง 10 นัดต่อครั้ง เลออน เลเซอร์ ซอร์ด รูปแบบดาบของเลออน เลเซอร์ ใบมีดเป็นใบมีดสีแดงเข้ม ไดนามิค เลออน เลเซอร์ อาวุธโจมตีที่เกิดจากการรวมของเลออน เลเซอร์ กัน และ เลออนเซลลูลาร์ เข้าไว้ด้วยกัน โดยเลออนเซลลูลาร์ เชื่อมต่อกับส่วนรังปืน ทำหน้าที่เป็นศูนย์เล็งเป้า โกเซย์เทนซอร์ด[1] คฑาที่ใช้ในการเปลี่ยนร่างเป็น<i data-parsoid='{\"dsr\":[8552,8575,2,2]}'>ซูเปอร์ โกเซย์เจอร์ โดยปกติจะถูกเก็บไว้ใน<i data-parsoid='{\"dsr\":[8597,8618,2,2]}'>มิราเคิล เฮดเดอร์ เพื่อค้นหาโกเซย์เทนจิที่คู่ควรกับพลังมิราเคิล เมื่อนำ<i data-parsoid='{\"dsr\":[8672,8693,2,2]}'>มิราเคิล เฮดเดอร์</i>มาเชื่อมต่อกับโกเซย์เทนซอร์ด ภายในโดมลูกแก้วจะทำให้โกเซย์เจอร์เปลี่ยนร่างเป็น<i data-parsoid='{\"dsr\":[8770,8793,2,2]}'>ซูเปอร์ โกเซย์เจอร์ ปลายด้ามคฑาเป็นใบมีดแบบดาบ สามารถยืดออกเพื่อโจมตีในระยะไกลได้ มิราเคิล โกเซย์เทคเตอร์ เกราะสีทองที่ติดเข้ากับลำตัว,หัวไหล่,ข้อแขน และข้อเท้าของโกเซย์เจอร์ มีพลังในการโจมตีและป้องกันสูง มิราเคิล โกเซย์เฮดเดอร์ โปรเทคเตอร์ (เกราะส่วนหน้าอก) สามารถโจมตีและทำลายคำสาปหรือสร้างความเสียหายให้กับศัตรูด้วยทักษะการโจมตีจากสัตว์ประจำตัวของโกเซย์เจอร์แต่ละคน เช่น ซูเปอร์โกเซย์แบล็ค สามารถลอบคราบได้อย่างรวดเร็ว , ซูเปอร์โกเซย์พิงค์ สามารถปล่อยเปลวเพลิงความร้อนสูงออกมา , ซูเปอร์โกเซย์เยลโล่ สามารถโจมตีด้วยการกัดและเหวี่ยงศัตรูให้กระเด็น ที่ด้านหลังของเกราะหน้าอกจะมีจุดเชื่อมต่อเฮดเดอร์แบบเดียวกับโกเซย์ไนท์ มิราเคิล โซลเดอร์ เทคเตอร์ (เกราะส่วนหัวไหล่)สามารถปล่อยปีกออกมาจากส่วนหัวไหล่เพื่อใช้ในการป้องกันการโจมตีจากศัตรู มิราเคิล แองเกิล เทคเตอร์ (เกราะสนับแข้ง)สามารถเพิ่มพลังในส่วนขาทั้งแรงกระโดดและแรงเตะให้มีพลังการโจมตีที่รุนแรงขึ้นถึง10เท่า ซูเปอร์เทนซอร์ด อาวุธที่เกิดจากการรวมเทนโซเดอร์ และ โกเซย์เทนซอร์ด เข้าไว้ด้วยกัน", "title": "ขบวนการเทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์" }, { "docid": "11387#48", "text": "ฟอยล์แสง (Lightfoil) เป็นดาบพลังงานขนาดเล็กที่มีพื้นฐานมาจากกระบี่แสง พวกมันเป็นที่นิยมกันมากในเขตทาพานี ฟอยล์แสงอ่อนแอกว่ากระบี่แสงเพราะว่าคริสตัลที่ไร้คุณภาพของพวกมันที่ใช้ในการผลิตและทักษะของผู้สร้างที่ต่ำเมื่อเทียบกับเจได พวกมันไม่ต้องการการเชื่อมโยงกับพลังเพื่อที่จะสร้างมันขึ้นมา และใช้ได้ง่ายโดยผู้ที่ไม่มีสัมผัสถึงพลัง", "title": "กระบี่แสง" }, { "docid": "11387#4", "text": "ปัญหาเรื่องความเสถียรของแบบแรก ๆ นั้นเริ่มถูกแก้ไขตลอดหลายปี ดังนั้นในช่วงร้อยปีแห่งความมืดมนในปีที่ 7,000 ก่อนยุทธการยาวิน อาวุธที่อุ้ยอ้ายนั้นก็ต้องหลีกทางให้กับกระบี่แสงที่ดีกว่า แม้ว่าความเสถียรของพวกมัน อย่างไรก็ตามพลังที่ออกมานั้นคือสิ่งที่สำคัญ พวกมันยังคงต้องการสายพลังงานเพื่อการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง สายพลังงานที่เชื่อมต่อกับใบมีดทำให้เจไดเคลื่อนที่ได้ลำบากและไม่สามารถทำการขว้างดาบได้ อย่างไรก็ตามใบมีดแบบใหม่ทำให้พวกมันได้เปรียบกว่าในการต่อสู้แบบตัวต่อตัวกับศัตรูที่สวมเกราะหนัก", "title": "กระบี่แสง" }, { "docid": "11387#3", "text": "ในช่วงการขัดแย้งดุยนวกวูน (Duinuogwuin Contention) เมื่อประมาณ 15,500 ปีก่อนยุทธการยาวิน การศึกษาของนิกายเจไดเริ่มนำไปสู่ความสำเร็จของเทคโนโนยีดังกล่าว พวกเขาได้สร้างการเน้นลำแสงพลังงานซึ่งเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งตามเส้นรอบลงกลับไปที่แหล่งกำเนิดของมัน เป็นการสร้างใบมีดพลังงานสูงครั้งแรก กระบี่แสงขั้นต้นเหล่านี้ไม่เสถียรอย่างมากและใช้พลังอย่างไม่มีประสิทธิภาพ พวกมันสามารถใช้ได้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้นก่อนที่จะมันจะร้อนเกินไป ด้วยข้อด้อยเหล่านี้กระบี่แสงในช่วงแรกจึงไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าสิ่งของทางพิธีกรรม", "title": "กระบี่แสง" }, { "docid": "205440#0", "text": "อาญาสิทธิ์ หรือ อาชญาสิทธิ์ หมายความว่า อำนาจเด็ดขาด คือ สิทธิที่แม่ทัพได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินในเวลาไปสงคราม หรือที่ข้าราชการชั้นสูงได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินให้กระทำการบางอย่างเป็นต้น โดยมีสิ่งสำคัญคือพระแสงดาบเป็นเครื่องหมาย เรียกว่า พระแสงอาญาสิทธิ์ พระแสงอาชญาสิทธิ์ พระแสงกระบี่อาญาสิทธิ์ หรือ กระบี่อาญาสิทธิ์ ก็มี ", "title": "กระบี่อาญาสิทธิ์" }, { "docid": "70819#161", "text": "แต่ในภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง กระบี่แสงของอนาคินที่ได้หายสาบสูญไปในการประลองที่นครเมฆาได้ปรากฏตัวอีกครั้งที่ห้องใต้ดินของบาร์แห่งหนึ่งของมาส คานาต้าบนดาวทักโคดานาโดยไม่ทราบเลยว่ามาอยู่ที่นั้นได้อย่างไรนับเป็นเวลา 30 ปีแล้ว ภายหลังจากที่กองทัพปฐมภาคีได้เข้ารุกรานดาวทักโคดานา มาส คานาต้าได้ส่งมอบกระบี่แสงให้แก่ฟินน์(สตอร์มทรูปเปอร์ปฐมภาคีทีแปร์พักตร์ต่อต้านปฐมภาคี)เพื่อนำไปมอบให้กับเรย์ (หญิงสาวคนเก็บขยะบนดาวจัคคู) ในขณะที่กำลังสู้รบกับเหล่าสตอร์มทรูปเปอร์ปฐมภาคี กระบี่แสงนี้ได้ถูกใช้งานโดยฟินน์ และเวลาต่อมาฟินน์ได้ประลองกระบี่แสงกับไคโล เร็นที่ฐานปฏิบัติการสตาร์คิลเลอร์จนพ่ายแพ้ กระบี่แสงได้ตกลงพื้น เร็นได้ใช้พลังดึงเพื่อที่จะหยิบเอาไว้เป็นของตนเอง แต่เรย์ได้ใช้พลังดึงกระบี่แสงอย่างไม่รู้ตัวและประลองกับเร็นจนสามารถเอาชนะมาได้ หลังจากนั้นเป็นต้นมากระบี่แสงก็ได้กลายเป็นของเรย์ ต่อมาหลังจากนั้นกระบี่แสงนี้ได้ถูกทำลายลงในขณะที่เร็นและเรย์ได้ใช้พลังดึงแย่งชิงกระบี่แสงบนเซอเพอร์เมซี่ (Supremacy) ยานพิฆาตดาราของปฐมภาคีระดับสูงสุดของผู้นำสูงสุดสโน๊ค", "title": "อนาคิน สกายวอล์คเกอร์" }, { "docid": "11387#12", "text": "ด้ามกระบี่แสงประกอบด้วยกระบอกอัลลอยที่โดยทั่วไปจะยาว 25-30 เซนติเมตร อย่างไรก็ดีการออกแบบและเส้นผ่านศูนย์กลางของด้ามดาบจะแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ที่สร้างมันขึ้นมา ด้ามดาบจะบรรจุชิ้นส่วนที่ซับซ้อนซึ่งสร้างและทำให้เกิดใบมีดที่แตกต่างกันไป พลังงานระดับสูงจะถูกปล่อยออกมาผ่านทางขั้วบวกที่เป็นเลนส์เน้นแสงและตัวสร้างพลังงาน มันจะแสดงลำแสงพลังงานที่ขยายออกมาจากฐานไปตามความยาว จากนั้นจะเคลื่อนที่โค้งกลับไปที่ขั้วลบ ตัวนำไฟฟ้าจะทำให้ห่วงพลังสมบูรณ์ด้วยการป้อนพลังงานกลับไปที่เซลล์พลังงานภายใน ที่ที่ซึ่งห่วงพลังงานจะเริ่มก่อตัวใหม่อีกครั้ง", "title": "กระบี่แสง" }, { "docid": "11387#29", "text": "กระบี่แสงสำหรับฝึกหัด เป็นกระบี่แสงที่ใช้โดยเจไดเด็กเพื่อซ้อมการต่อสู้ด้วยกระบี่แสง ในขณะที่มันไม่ทรงพลังนักแต่การสัมผัสคมดาบก็สามารถทำให้เกิดรอยไหม้ได้ กระบี่แสงชนิดนี้มักใช้ร่วมกับรูปแบบที่ 1 อันเป็นพื้นฐานของการใช้กระบี่แสง มันยังถูกใช้โดยพาดาวันและดรอยด์ฝึกในเจไดแพรกซุมของนิกายเจไดใหม่อีกด้วย [3]", "title": "กระบี่แสง" }, { "docid": "11387#33", "text": "กระบี่แสงใต้น้ำ ในขณะที่กระบี่แสงส่วนมากจะสั้นลงเมื่อสัมผัสกับน้ำ กระบี่แสงชนิดนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำงานใต้น้ำได้เพราะมันมีคริสตัลสองอันที่ใช้การจุดติดแบบพิเศษ[7] โดยทั่วไปแล้วมีเพียงเจไดที่มาจากดาวที่เป็นน้ำเท่านั้นที่จะใช้ดาบชนิดนี้ อย่างไรก็ตามมีผู้ใช้หลายคนที่ไม่ใช่เผ่าพันธุ์ในน้ำด้วยการดัดแปลงอาวุธของพวกเขา", "title": "กระบี่แสง" }, { "docid": "11387#69", "text": "ช่องฮิสตอรี่ แชนแนลได้มีภาคพิเศษของรายการโมเดิร์น มาเวลส์โดยใช้ชื่อว่าเทคโนโลยีของสตาร์ วอร์ส ในภาคนี้นักวิทยาศาสตร์เห็นด้วยว่าใบมีดของกระบี่แสงหากสร้างได้ขึ้นจริง มันคนเป็นการผสมพลาสม่าเข้าไปภายในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ก็ไม่เห็นด้วยที่ว่ากระบี่แสงนั้นไม่แผ่ความร้อนทั้ง ๆ ที่มันสามารถตัดผ่านวัตถุต่าง ๆ ได้ นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าเพื่อที่จะให้พลาสม่าตัดผ่านวัตถุที่เป็นเหล็กหรือเนื้อนั้น อย่างที่ใบมีดของกระบี่แสงทำได้ พลาสม่าจะต้องร้อนเป็นสิบเท่าของทุกสิ่งที่อยู่บนโลก หรือประมาณ 2 ล้านองศา สิ่งนี้อาจทำให้กระบี่แสงเป็นอาวุธที่ไม่สามารถนำมาใช้งานได้โดยบุคคล[11].", "title": "กระบี่แสง" }, { "docid": "532367#0", "text": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน (English: Confocal laser scanning microscope ; Confocal laser scanning microscopy ; CLSM ; LSCM) เป็นกล้องจุลทรรน์แบบคอนโฟคอลที่ใช้สำหรับงานที่ต้องการภาพความละเอียดสูงและสามารถเลือกชั้นความลึกที่ต้องการเก็บภาพ[1] ซึ่งคุณสมบัติหลักของกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนคือ มันมีความสามารถที่จะเก็บภาพเฉพาะบริเวณจุดโฟกัสโดยสามารถเลือกระดับความลึกได้ ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า การตัดด้วยแสง (English: optical sectioning) การบันทึกภาพของกล้องชนิดนี้เป็นการเก็บสัญญาณแสงจากจุดโฟกัสทีละจุดแล้วนำสัญญาณทั้งหมดมาสร้างเป็นภาพด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยกระบวนการดังกล่าวทำให้สามารถสร้างภาพ 3 มิติ ของวัตถุที่ซับซ้อนขึ้นมาได้ โดยสำหรับวัตถุทึบแสงสามารถใช้กล้องชนิดนี้ศึกษาลักษณะของพื้นผิวใด้ ในกรณีที่เป็นวัตถุโปร่งแสงเราสามารถถ่ายภาพโครงสร้างภายในของวัตถุได้โดยใช้กล้องชนิดนี้ ซึ่งภาพที่ได้จะมีคุณภาพดีกว่าใช้กล้องทั่วไป เพราะภาพที่ได้จากระดับวามลึกที่เราต้องการนั้นจะไม่ถูกซ้อนทับโดยภาพที่ระดับความลึกอื่น ในขณะที่ภาพที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์แบบธรรมดาจะเป็นภาพของแสงสะท้อนทั้งหมดจากทุกชั้นความลึกที่แสงสามารถทะลุผ่านลงไปได้", "title": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน" }, { "docid": "70819#158", "text": "19 ปีก่อนยุทธการยาวิน หลังจากที่ดวลของเขากับโอบีวัน เคโนบีบนมุสตาฟาร์ กระบี่แสงนี้ถูกเอาไปโดยอดีตอาจารย์ของอนาคิน ซึ่งเขาได้เก็บมันไว้บนทาทูอีน ในปียุทธการยาวิน โอบีวันมอบกระบี่แสงของอนาคินที่เขาเก็บมาจากมุสตาฟาร์ให้กับลุค ลูกชายของอนาคิน ผู้ที่ซึ่งโอบีวันได้เฝ้ามองมานาน โอบีวันได้ดัดแปลงกระบี่ตอนที่เขาอยู่บนทาทูอีนเพราะมันแตกต่างออกไป เมื่ออยู่ในมือของลุค สกายวอล์คเกอร์ ใบดาบของอนาคินได้กวัดแกว่งใส่ศัตรูอีกครั้ง แม้แต่กับตัวเขาเองในฐานะลอร์ดมืดแห่งซิธ ดาร์ธ เวเดอร์ ในการดวลกับลูกชายของเขาบนเบสพิน เวเดอร์ได้ตัดมือขวาของลุค ทำให้ทั้งมือของลุคและกระบี่แสงตกลงไปในส่วนลึกของนครลอยฟ้า กระบี่แสงและมือของลุคถูกพบในเวลาต่อมา", "title": "อนาคิน สกายวอล์คเกอร์" }, { "docid": "70819#163", "text": "หลังจากที่เขาบาดเจ็บสาหัสบนมุสตาฟาร์ เวเดอร์ได้สร้างกระบี่แสงเล่มใหม่ เวเดอร์ดัดแปลงกระบี่แสงเล่มนี้ตลอดเวลา อาวุธของเขา แม้ว่าจะคล้ายคลึงกับดาบที่เขาใช้ตอนที่เป็นอนาคิน สกายวอล์คเกอร์ มันก็มีข้อแตกต่าง มันแข็งแกร่งกว่า วัสดุเป็นอัลลอยสีดำ และดูเกรี้ยวกราดกว่า เหมาะกับตัวตนใหม่ของเขา ใบดาบเกิดจากคริสตัลสังเคราะห์แสงที่อาจารย์ของเขาให้มา", "title": "อนาคิน สกายวอล์คเกอร์" }, { "docid": "11387#2", "text": "ตั้งแต่การก่อตัวของไทธอน เจไดหลังจากสงครามพลังในช่วง 25,000 ปีก่อนยุทธการยาวินได้มีการสร้างอาวุธทางพิธีกรรมขึ้นมาในนิกาย ต่อมาด้วยการผสมผสานของเทคโนโลยีจากต่างดาวและพิธีกรรมเจไดได้เรียนรู้ที่จะทำการ \"แช่แข็ง\" ลำแสงเลเซอร์ มันเป็นเทคโนโลยีที่ต่อมาจะนำเจไดสู่การออกแบบกระบี่แสง", "title": "กระบี่แสง" }, { "docid": "11387#11", "text": "ตามธรรมเนียมแล้วการสร้างกระบี่แสงจะใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน[1] สิ่งนี้ยังรวมทั้งการประกอบชิ้นส่วนด้วยมือและพลัง และการนั่งสมาธิเพื่อหาคริสตัล เจไดมักใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการรวมมันเข้าด้วยกัน ทำให้แน่ใจว่าทุกชิ้นส่วนทำงานได้สมบูรณ์ และยังรวมทั้งการเลือกความยาว สี ความถี่ของดาบ ถึงกระนั้นในช่วงที่สงครามโคลนดุเดือดมีการรายงานว่ามีคนที่สามารถสร้างกระบี่แสงได้ภายในสองวันเท่านั้น", "title": "กระบี่แสง" }, { "docid": "11387#60", "text": "ในแบบร่างของสตาร์ วอร์สเมื่อปีพ.ศ. 2517 กระบี่แสงถูกเรียกว่า\"ดาบเลเซอร์\" (lasersword)", "title": "กระบี่แสง" }, { "docid": "70819#155", "text": "อนาคินได้สร้างและใช้กระบี่แสงอย่างน้อยสองเล่มในตอนที่เขาเป็นเจได ในปีที่ 28 ก่อนยุทธการยาวิน ในฐานะพาดาวันหนุ่ม อนาคินได้เดินทางไปที่อิลัมเพื่อการทดสอบทักษะในการสร้างกระบี่แสงเล่มแรก ขณะที่สร้างกระบี่แสงของเขาในถ้ำลึกแห่งหนึ่ง อนาคินได้เห็นดาร์ธ มอลในนิมิตของเขา หลังจากการพยายาม อนาคินก็สามารถเอาชนะตัวตนของความมืดนี้ได้ และตื่นขึ้นมา อนาคินพบว่าเขาได้สร้างกระบี่แสงที่มีคริสตัลอดีแกนอยู่ข้างใน ซึ่งมีที่มาจากถ้ำบนอิลัม ทำให้ใบดาบมีแสงสีน้ำเงิน การออกแบบด้ามจับก็ออกแบบเพื่อให้เหมาะกับการฝึกรูปแบบที่ 5 ของเขา เขาทำในสิ่งที่พาดาวันคนอื่นไม่ทำกันคือการสร้างกระบี่แสงที่เหมือนกับของอาจารย์ เขากลับสร้างกระบี่แสงที่มีพลังสูงสุดแทน", "title": "อนาคิน สกายวอล์คเกอร์" }, { "docid": "11387#50", "text": "ดาบมืด เป็นดาบโบราณจากวัสดุพิเศษซึ่งสามารถปัดป้องกระบี่แสงได้ ไม่เหมือนกันคอร์โตซิสที่มันไม่สามารถหยุดการทำงานของกระบี่แสงเมื่อทำการสัมผัส", "title": "กระบี่แสง" }, { "docid": "236137#15", "text": "พันเชอร์ (パンチャー) (ตอนที่25) นิวมนุษย์จักรกลต่อสู้ตัวแรกที่จักรพรรดิ์กิโยตินประกอบขึ้นมีรูปร่างคล้ายกับปูตัวใหญ่ที่มีแขนขวาเป็นก้ามปูขนาดมหึมาที่สามารถถอดแยกออกจากตัวได้อีกทั้งยังมีแรงหนีบมหาศาลจับยึดสปิลบันได้อย่างเหนียวแน่นอีกทั้งยังมีพลังในการต่อสู้ที่แข็งแกร่งมากจนสปิลบันและไดอาน่าต่อสู้ได้อย่างยากลำบากกว่าจะปราบลงได้ด้วย \"อาร์ค อิมพัลส์\" ก็ถึงกับทำให้สปิลบันพลังงานแทบจะหมดเลยทีเดียวแต่นั่นก็คือจุดประสงค์ของแผนนี้โดยกิโยตินให้พันเชอร์เป็นนกต่อสู้กับสปิลบันจนสปิลบันพลังงานหมดแล้วให้ชาโดว์กับกาเชอร์ที่ได้รับมีดสั้นแบบใหม่ที่สามารถแทงทะลุ \"ไฮเทค คริสตัลสูท\" ได้หวังให้ทั้งสองคอยแทงซ้ำแต่ก็ลืมไปว่าสปิลบันยังมีแรงเหลือจะสู้อยู่ ชาโดว์และกาเชอร์จึงถูกสปิลบันจัดการด้วยทวินเบลดจนเสียชีวิตทั้งคู่ เมโด้ (メドー) (ตอนที่26) นิวมนุษย์จักรกลต่อสู้รูปร่างมนุษย์งูที่กิโยตินสร้างขึ้นโดยให้มีรูปลักษณ์เหมือนกับผู้หญิงและมีเสียงของเฮเลนมาใช้ในการกำจัดสปิลบันร่วมกับแอนดรอยด์ฝาแฝดของเฮเลนที่กิโยตินสร้างให้มีรูปร่างเหมือนกับเฮเลนอีกตัวมาคอยช่วยโดยแอนดรอยด์ตัวนี้แม้แต่ \"เซิร์ช อนาไลเซอร์\" ของสปิลบันก็ยังตรวจสอบแยกแยะไม่ได้หวังให้สปิลบันสับสนว่าทั้งแอนดรอยด์และเมโดคือเฮเลนที่ถูกดัดแปลงมา เมโดนั้นถึงไม่ใช้เสียงของเฮเลนมาลวงก็มีความคล่องแคล่วเคลื่อนไหวไปมาได้รวดเร็วราวกับงูและมีหน้าไม้ที่ยิงลูกศรระเบิดอันรุนแรงเป็นอาวุธแล้วยังใช้หางงูของลำตัวท่อนล่างฟาดใส่ได้ราวกับแส้ กว่าที่สปิลบันจะตัดใจวัดดวงจัดการด้วย \"อาร์ค อิมพัลส์\" ก็เล่นเอาอ่วมไปไม่น้อยเลยทีเดียว คามิล่า (カーミラー) (ตอนที่27) นิวมนุษย์จักรกลต่อสู้รูปแบบค้างคาวยักษ์สีแดง รับคำสั่งให้ออกตามล่าคู่รักมนุษย์ดาวฟอกก์เพื่อดูดเลือดซึ่งมีสีน้ำเงินแล้วกลั่นตัวเพื่อเป็นอัญมณีที่สามารถต่อชีวิตให้กับวาร่าได้ โดยคามิล่าสามารถบินไปมาด้วยปีกอันใหญ่และยังสามารถแลบลิ้นยาวๆมาใช้เพื่อดูดเลือดหรือโจมตีได้ด้วย ร่วมมือกับเดธซีโร่ในการตามล่าคู่รักต่างดาวและในการต่อสู้กับสปิลบันแต่ก็ถูกเล่นงานด้วย \"อาร์ค อิมพัลส์\" ในตอนท้าย ดิสก์ (ディスク) (ตอนที่28) นิวมนุษย์จักรกลต่อสู้ที่ร่วมในแผนการสะกดจิตโดยใช้แผ่นดิสก์ที่บันทึกเสียงของแพนโดร่าซึ่งเล่านิทานเกี่ยวกับตำนานกรีกโบราณให้แก่แม่ที่กำลังตั้งครรภ์ฟังแต่การสะกดจิตไม่ได้พุ่งเป้าไปที่ตัวแม่แม้จะฟังเพลินจนไม่สนอะไรก็ตามแต่เป้าหมายคือการล้างสมองเด็กที่อยู่ในท้องเพื่อปลูกฝังสิ่งชั่วร้ายให้เด็กๆเหล่านั้นกลายเป็นเครื่องมือของวาร่าในอนาคต ดิสก์สามารถยิงแผ่นดิสก์ออกไปโจมตีได้อีกทั้งยังใช้แผ่นดิสก์ขนาดใหญ่ที่มือขวาเป็นอาวุธ สามารถใช้ดิสก์นี้สะท้อนแสงให้ตาพร่าหรือสะท้อนแสงเลเซอร์ก็ได้แต่ก็ถูกสปิลบันจัดการด้วย \"อาร์ค อิมพัลส์\" ในที่สุด ออฟไซด์ (オフサイド) (ตอนที่29) นิวมนุษย์จักรกลต่อสู้รูปแบบนักอเมริกันฟุตบอลที่ร่วมมือกับเฮลไบร่ารุมเล่นงานไดอาน่าที่ได้รับบาดเจ็บ สามารถถอดลูกบอลบนหัวมาใช้เป็นลูกระเบิดได้และยังใช้ร่างกายอันแข็งแกร่งพุ่งเข้าแทคแบบนักอเมริกันฟุตบอลได้ด้วย สามารถเล่นงานไดอาน่าจนบาดเจ็บสาหัสแต่สปิลบันก็ตามมาช่วยได้ทันพอดีและสู้กับออฟไซด์จนได้จังหวะยิง \"เลเซอร์ สไนเปอร์\" ใส่หัวของมันอย่างจังจนมันปล่อยลูกบอลระเบิดออกมาไม่ได้อีกและถูกจัดการด้วย \"อาร์ค อิมพัลส์\" คุรุแมน (クルマン) (ตอนที่30) นิวมนุษย์จักรกลต่อสู้รูปแบบรถตู้สีดำที่คอยติดตามเฮเลนที่ถูกล้างสมองให้ไปลอบสังหารสปิลบันเมื่อแผนนั้นล้มเหลวจากความช่วยเหลือของดอกเตอร์ไบโอทำให้เฮเลนได้สติและหนีไปหาสปิลบันได้ คุรุแมนในร่างรถตู้ก็ได้รับคำสั่งให้ตามจับเฮเลนกลับมาโดยไล่ล่าไปตามที่ต่างๆโดยคุรุแมนในร่างต่อสู้ก็เหมือนจับรถตู้ยกตั้งขึ้นแล้วมีแขนขางอกออกมาเท่านั้น แม้จะมีรูปร่างเหมือนรถตู้ที่ดูอุ้ยอ้ายแต่สามารถไล่ล่าเฮเลนไปได้แม้อยู่ในตึกหรือแม้แต่ในลิฟท์ ในร่งรถตู้นั้นมีเกราะที่แข็งแกร่งแม้ \"เลเซอร์ สไนเปอร์\" ก็ยังยิงไม่เข้าและสามารถจับสปิลบันลากไปกับพื้นแต่ก็ถูกสปิลบันยิง \"เลเซอร์ สไนเปอร์\" เข้าไปใต้ท้องรถซึ่งเป็นจุดสำคัญก่อนจะถูกจัดการด้วยการขี่โฮเวอเลี่ยนแล้วใช้ \"อาร์ค อิมพัลส์\" กำจัด แอนท่อม (アントム) (ตอนที่31) นิวมนุษย์จักรกลต่อสู้รูปแบบผึ้งสีขาวร่วมดำเนินแผนการสร้างแผ่นดินไหวโดยแอนท่อมจะใช้เข็มที่ซ่อนในปากเจาะโครงสร้างพื้นฐานใต้ดินแล้วปล่อยสารกัดกร่อนที่มีฤทธิ์รุนแรงทำลายฐานรากของอาคารบ้านเรือนแล้วใช้เครื่องส่งแรงสั่นสะเทือนของกิโยตินสร้างแผ่นดินไหวรุนแรงเพื่อไล่คนออกจากพื้นที่เพื่อนำไปสร้างฐานของวาร่าแต่ถูกขัดขวางโดยพวกสปิลบันที่ได้เฮเลนเลดี้มาช่วยต่อสู้แผนจึงล้มเหลว แอนท่อมสามารถปล่อยโดรนผึ้งตัวเล็กมาช่วยโจมตีได้แต่ก็พลาดท่าถูกกำจัดด้วย \"อาร์ค อิมพัลส์\" ไปจนได้ ซึตาร่า (ツターラ) (ตอนที่32) นิวมนุษย์จักรกลต่อสู้รูปแบบไม้เลื้อยเถาวัลย์ที่สามารถเปลี่ยนสิ่งมีชีวิตให้กลายเป็นต้นไม้ด้วยคลื่นชนิดพิเศษเพื่อวางแผนเปลี่ยนประชากรมนุษย์ให้เป็นต้นไม้ สามารถปล่อยเถาวัลย์จากปากและปลายนิ้วเข้าไปรัดร่างศัตรูและสามารถปล่อยกระแสไฟช๊อตได้แต่ก็ถูกปราบด้วยความร่วมมือกันของพวกสปิลบันจนถูกทำลายด้วย \"อาร์ค อิมพัลส์\" ไปอีกราย ไบเคอร์ (バイカー) (ตอนที่33) นิวมนุษย์จักรกลต่อสู้รูปแบบมอเตอร์ไซด์ที่แปลงร่างเป็นมอเตอร์ไซด์ฮาร์เล่ย์ให้กิโยตินขับขี่เพื่อดำเนินแผนการชักชวนแก็งก์มอเตอร์ไซด์มาเป็นพวก ไบเคอร์มีร่างกายที่แข็งแกร่งสามารถทน \"เลดี้ สไนเปอร์\" ของไดอาน่าเลดี้ได้ สามารถยิงกระสุนออกมาได้ในสภาพมอเตอร์ไซด์ ในร่างต่อสู้ก็ยิงแสงทำลายจากปืนที่แขนซ้ายและพุ่งชนด้วยความเร็วก็ได้แต่ก็พ่ายแพ้ให้แก่โฮเวอเลี่ยนจนถูก \"อาร์ค อิมพัลส์\" จัดการลงในที่สุด ยูเมะปัคคุน (ユメパックン) (ตอนที่34) นิวมนุษย์จักรกลต่อสู้ตัวอ้วนกลมที่ปรากฏตัวในช่วงคริสมาสต์ออกดำเนินแผนการดักจับความฝันของเด็กได้ตามชื่อ \"ตัวเก็บฝัน\" ส่งผลให้เด็กๆเหล่านั้นหมดอาลัยตายอยากไม่อยากใช้ชีวิตต่อไป ยูเมะปัคคุนมีร่างกายที่ทนทานพอสมควรซึ่งทน \"เลเซอร์ สไนเปอร์\" ได้และสามารถปล่อยบอลลูนระเบิดออกมาได้แต่ก็ถูกเล่นงานด้วยการโจมตีประสาน \"ทริปเปิ้ลบอมเบอร์\" ของพวกสปิลบันจนถูกกำจัดลงด้วย \"อาร์ค อิมพัลส์\" ชิชิด้อน (シシドン) (ตอนที่35) นิวมนุษย์จักรกลต่อสู้รูปแบบสิงโตเชิดของญี่ปุ่นปรากฏตัวช่วงปีใหม่เพื่อดำเนินแผนการแจกจ่ายกระจกต้องสาปที่ทำให้ผู้ที่รับไปส่องหน้าจะเห็นว่าหน้าตัวเองนั้นดูสวยดูดีและหลงไหลกับภาพลวงตานั้นแต่ในความจริงจะกลายเป็นมัมมี่ไปด้วยผลของผงยาหลอนประสาทที่ใส่ไว้ในกระจก ชิชิด้อนนั้นสามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็วด้วยโรลเลอร์สเก็ตและสามารถปล่อยระเบิดออกมาจากปากในรูปสิ่งของที่เกี่ยวกับปีใหม่ และยังสามารถยืดคอและแขนออกไปรัดพวกสปิลบันได้พร้อมกันทั้งสามคนจัดเป็นศัตรูที่ร้ายกาจทีเดียวสำหรับรูปลักษณ์และท่าทางที่ขบขันแต่ก็ถูกเล่นงานด้วย \"ทริปเปิ้ลบอมเบอร์\" และถูกกำจัดด้วย \"อาร์ค อิมพัลส์\" ไปในที่สุด วัลเซอร์ (ワルサー) (ตอนที่36) นิวมนุษย์จักรกลต่อสู้ที่ติดตั้งปืนใหญ่เอาไว้ที่หัวไหล่ถูกส่งมาเสริมในแผนการของโยคิและพวกลัทธิมูมูมูโดยพลการเนื่องจากริกกี้นั้นไม่ไว้ใจในตัวโยคิจึงยุยงให้เดธซีโร่ส่งวัลเซอร์เข้าไปสู้ เมื่อวัลเซอร์ปรากฏตัวโยคิกับพวกสมุนก็ล่าถอยไปให้วัลเซอร์สู้กับพวกสปิลบันตามลำพัง วัลเซอร์ใช้ปืนใหญ่ยิงถล่มพวกไดอาน่าจนย่ำแย่แต่วัลเซอร์ไม่ถนัดการต่อสู้ระยะประชิดเอาเสียเลยจึงถูกเล่นงานได้ง่ายๆด้วย \"ทวินเบลด\" ก่อนจะโดน \"ดับเบิล สไนเปอร์\" เข้าไปอีกและถูกกำจัดด้วย \"อาร์ค อิมพัลส์\" เบรนเดอร์ (ブレンダー) (ตอนที่38) นิวมนุษย์จักรกลต่อสู้ที่มีสมองของสองสามีภรรยานักวิจัยที่ถูกถ่ายโอนมาใส่ไว้ในตัว ซึ่งคู่สามาภรรยานี้ได้สร้างอุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีระดับสูงอันเป็นที่ต้องการของวาร่า สมองเทียมที่ใส่ไว้ในตัวเบรนเดอร์นั้นมีเสียงพูดของสามีภรรยาดังออกมาด้วยทำให้พวกสปิลบันลังเลอยู่ไม่น้อยเพราะถูกหลอกว่าสมองนั้นเป็นสมองของคู่สามีภรรยานักวิจัยจริงแต่เมื่อสมองเทียมนั้นถูกทำลายคู่สามีภรรยาจึงได้สติกลับคืนมาด้วย แม้ไม่ใช้เทคนิคนี้เบรนเดอร์ก็มีความสามารถในการต่อสู้สูงสามารถปล่อยหนวดสองเส้นที่ปล่อยระเบิดไฟฟ้าออกมาได้รอบทิศเป็นอาวุธแต่ก็ถูกจัดการด้วย\"ดับเบิล สไนเปอร์\" เข้าและ \"อาร์ค อิมพัลส์\" ในที่สุด มนุษย์จักรกลต่อสู้ของโยคิ (ヨウキ戦闘機械人) (ตอนที่39) หรืออาจจะเรียกว่ามนุษย์จักรกลวิญญาณถูกโยคิสร้างขึ้นมาจากเศษซากของเหล่ามนุษย์จักรกลที่ถูกกำจัดมาประกอบเข้าด้วยกันแบบปนๆกันไป ทั้งหัวของบล็อกเคอร์ ลำตัวและขาของโกโดร่า แขนซ้ายที่เอาแขนขวาของพันเชอร์มาใส่ แขนขวาของชารินเดอร์ เท้าซ้ายของเมก้าพิวเตอร์และเท้าขวาของยูเมะปัคคุนเข้าเล่นงานเดธซีโร่ทีเผลอจนสลบและเข้าสู่ห้องโถงพร้อมกับโยคิเพื่อยึดอำนาจแต่จักรพรรดิ์กิโยตินก็คาดไว้แล้วว่าโยคิจะทรยศจึงเรียกนิวมนุษย์จักรกลต่อสู้ \"แวคิวเมอร์\" ออกมาร่วมกับเดธซีโร่ที่ตามมาสมทบจับคู่แทคทีมสู้กับโยคิและสมุนจักรกล จนในที่สุดก็ถูกแวคิวเมอร์ใช้พัดลมดูดและบดขยี้จนไม่เหลือซาก แวคิวเมอร์ (バキューマー) (ตอนที่39) นิวมนุษย์จักรกลต่อสู้ที่เป็นอาวุธลับของจักรพรรดิ์กิโยตินที่สร้างเตรียมเอาไว้เผื่อโยคิจะทรยศ เข้าแทคทีมกับเดธซีโร่เพื่อสู้กับโยคิและมนุษย์จักรกลวิญญาณ โดยแวคิวเมอร์นั้นมีพัดลมดูดตัวใหญ่ที่กลางลำตัวนอกจากจะมีแรงดูดสูงมากแล้วยังมีใบพัดที่แข็งแกร่งสามารถบดขยี้ทุกสิ่งที่ดูดเข้ามาและทำลายได้ในทันที แรงดูดนั้นสามารถทำลายมนุษย์จักรกลวิญญาณของโยคิเป็นชิ้นๆอีกทั้งยังสามารถดูดพลังวิญญาณของโยคิเข้าไปจนโยคิไม่สามารถคงสภาพเป็นวิญญาณได้และถูกแพนโดร่าเล่นงานด้วยแสงจากคฑาในที่สุด หลังกำจัดโยคิได้ก็ติดตามเดธซีโร่รีบไปจับตัวพวกลัทธิมูมูมูที่หลุดจากการครอบงำของโยคิเพื่อใช้เป็นตัวประกันแต่ก็ถูกสปิลบันเข้าขัดขวางจนต่อสู้กัน แวคิวเมอร์สามารถใช้พัดลมดูดของมันดูดพลังงานเลเซอร์เข้าไปจนเลเซอร์ทำอะไรไม่ได้และหวังจะดูดพวกสปิลบันเข้ามาเพื่อบดขยี้แต่ถูกสปิลบันเสียบทะลุด้วยทวินเบลดก่อนจะถูกจัดการด้วย \"อาร์ค อิมพัลส์\" คุมาซอน (クマソン) (ตอนที่40) นิวมนุษย์จักรกลต่อสู้รูปแบบซามูไรที่กิโยตินสร้างขึ้นเพื่อสังหารสปิลบันโดยเฉพาะแต่ก่อนอื่นจะต้องตามหาดาบที่ทรงพลังคู่ควรแก่คุมาซอนเพื่อให้มีพลังที่แกร่งกว่าสปิลบันโดยดาบเล่มนั้นมีชื่อว่า \"อิคาซึจิ\" ที่ถูกซ่อนในวัดแห่งนึง ในตอนแรกเป็นเพียงดาบขึ้นสนิมที่ดูไร้ประโยชน์แต่เมื่อคุมาซอนอัดพลังกระแสไฟฟ้าเข้าไปก็กลับคืนสภาพเป็นดาบที่ทรงพลังเหนือกว่าทวินเบลดของสปิลบันซะอีกทำให้พวกสปิลบันถูกเล่นงานอย่างหนักหน่วงแต่ด้วยพลังของเด็กหญิงของตระกูลที่ดูแลศาลเจ้าชื่อ \"มายูมิ\" มีพลังที่สามารถสะกดพลังของดาบอิคาซึจิลงให้กลับไปอยู่ในสภาพของดาบขึ้นสนิมได้เปิดโอกาสให้สปิลบันจัดการคุมาซอนลงด้วย \"อาร์ค อิมพัลส์\" ในที่สุด มูฟแมน (ムーブマン) (ตอนที่41) นิวมนุษย์จักรกลต่อสู้รูปแบบกล้องถ่ายภาพยนตร์ที่ติดตามเดธซีโร่ในแผนลักพาตัวเพื่อตามจีบไดอาน่า โดยวางแผนสร้างหนังรักโรแมนติกที่เดธซีโร่แต่งงานกับไดอาน่าและปราบสปิลบันลงได้ แน่นอนว่าต้องไม่ได้รับความยินยอมจากไดอาน่าอยู่แล้ว มูฟแมนสามารถยิงแสงทำลายจากกล้องบนหัวและสามารถหายตัวไปกับแสงไฟได้ อีกทั้งยังสร้างลวงตาของตัวเองออกมาลวงศัตรูได้แต่ก็ถูกจัดการด้วย \"ดับเบิล สไนเปอร์\" และ \"อาร์ค อิมพัลส์\" จนได้ บรีซเซอร์ (ブリザー) (ตอนที่42) นิวมนุษย์จักรกลต่อสู้ตัวสุดท้ายมีรูปร่างคล้ายช้างน้ำสามารถปล่อยแก๊สแช่แข็งออกมาได้ ติดตามเดธซีโร่ในการแช่แข็งกรุงโตเกียวผ่านการแช่แข็งน้ำในท่อประปา แก๊สแช่แข็งของมันทรงพลังมากจนพวกสปิลบันต้องปรับแต่ง \"ไฮเทค คริสตัลสูท\" เพื่อเพิ่มความทนทานต่อความหนาวเย็นแต่บรีซเซอร์ก็สามารถพ่นไฟได้ด้วยทำให้ในการปราบมัน สปิลบันต้องให้แกรนนาสก้าในสภาพคอมแบทฟอร์เมชั่นยิงสารแช่แข็งออกมาเพื่อแช่แข็งบรีซเซอร์เพื่อเปิดโอกาสให้สปิลบันจัดการด้วย \"อาร์ค อิมพัลส์\" ได้ในที่สุด", "title": "นักรบมิติอวกาศสปิลบัน" }, { "docid": "6175#10", "text": "อาวุธตามธรรมเนียมของเจไดก็คือกระบี่แสงซึ่งเมื่ออยู่ในมือที่มีทักษะคล่องแคล่ว อาจกลายเป็นการต่อสู้ที่ร้ายกาจ แม้แต่กับการต่อกรกับคู่ต่อสู้ที่ใช้อาวุธระยะไกล ในการบรรลุระดับของทักษะนี้ต้องการความตั้งใจสูงและการฝึกฝนที่เข้มงวด นักเรียนจะฝึกฝนการใช้กระบี่แสงจากระยะไกลและเด็กๆ จะใช้กระบี่แสงในการฝึกฝน พวกเขายังดวลกับเจไดด้วยกันเองเพื่อทดสอบฝีมือของพวกเขา เมื่อถึงเวลาการใช้กระบี่จริงๆ เจไดต้องการความระมัดระวังสูง ด้วยเหตุนี้การฝึกฝนให้เป็นหนึ่งเดียวกับพลัง ตั้งแต่การเป็นหนึ่งเดียวกับความประณีตในเนื้อในของกระบี่แสงและชั้นแรกของประจุพลังซึ่งต้องการความรู้ทางด้านพลังเพื่อสนับสนุน เจไดจะสร้างกระบี่แสงด้วยตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกฝน โดยใช้คริสตัลพิเศษเป็นจุดรวมของใบกระบี่แสง ในช่วงสงครามเจไดกลางเมือง เจไดซีรีนหลายคนใช้คริสตัลพิเศษคาชาในกระบี่แสงเป็นเครื่องมือในการเข้าญาณ โดยการเป็นหนึ่งเดียวกับคริสตัลในการฝึกกฎเกณฑ์ของพวกเขา เพื่อช่วยขจัดความวอกแวกในจิตใจ แม้แต่ความตึงเครียดในการต่อสู้จะนำตัวมันเองเพื่อหาส่วนประกอบของกระบี่แสง การเข้าญาณในถ้ำคริสตัลบนดาวเคราะห์ เช่น อิลัมหรือแดนทูอีนมักจะเห็นภาพใจจิตใจของเจไดเกี่ยวกับกระบี่แสงที่พวกเขาจะสร้างขึ้น การสร้างกระบี่แสงถูกพิจารณาเป็นเครื่องวัดระยะของการเข้าสู่ขั้นอัศวินเจไดและเป็นสัญลักษณ์ที่ให้ความหมายแข็งแกร่ง", "title": "เจได" }, { "docid": "11387#9", "text": "คริสตัลคือหัวใจของดาบ หัวใจของคริสตัลคือเจได เจไดคือคริสตัลของพลัง พลังคือดาบของหัวใจ ทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องกัน คริสตัล ดาบ เจได เจ้าคือหนึ่งเดียว", "title": "กระบี่แสง" }, { "docid": "618657#270", "text": "เลเซอร์บบแบบไอโอดีนออกซิเจนเคมี (English: chemical oxygen iodine laser (COIL)) เป็น เลเซอร์สารเคมีอินฟราเรดแบบหนึ่ง, ถูกคิดค้นโดยห้องปฏิบัติการฟิลลิป ของกองทัพอากาศสหรัฐในปี 1977 เพื่อวัตถุประสงค์ทางทหาร. คุณสมบัติของมันมีประโยชน์สำหรับกระบวนการทางอุตสาหกรรมเช่นกัน. ลำแสงสามารถโฟกัสและสามารถถ่ายโอนโดยใยแก้วนำแสง, เนื่องจากความยาวคลื่นของมันจะไม่ถูกดูดซึมมากโดยซิลิกาหลอมเหลว แต่จะถูกดูดซึมได้ดีโดยโลหะ, ทำให้มันเหมาะสำหรับการตัดและการขุดเจาะด้วยเลเซอร์. COIL เป็นอาวุธเลเซอร์หลักสำหรับเลเซอร์ทหารทางอากาศและโปรแกรมเลเซอร์ยุทธวิธีขั้นสูง.[240]", "title": "ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)" }, { "docid": "11387#32", "text": "กระบี่แสงสั้น หรือ โชโต (shoto) เป็นกระบี่แสงที่ใช้ใบมีดที่สั้นกว่าแบบปกติ ใบมีดขนาดเล็กทำให้มันง่ายในการต่อสู้โดยเจไดที่มีร่างเล็ก อย่าง อาจารย์โยดา เอฟเวน พิเอลล์ ยาดเดิล และซุย ชอย ในบางครั้งโชโตใช้กับรูปแบบไนแมนโดยผู้ที่มีร่างกายปกติ อย่าง อาจารย์คาวาร์[3] ผู้ที่ไม่มีความรู้สึกในพลังสามารถใช้กระบี่แสงชนิดนี้ได้เพราะมันมีใบมีดที่สั้น", "title": "กระบี่แสง" } ]
1683
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เสียชีวิตเมื่อไหร่?
[ { "docid": "17368#20", "text": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2538 สิริอายุได้ 91 ปี 11 เดือน 11 วัน โดยได้รับพระทานโกศไม้สิบสองบรรจุศพ ตั้งศพไว้ที่ศาลาบัณรสภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงพระกรุณาเสด็จไปสดับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพ และได้รับพระราชทานเพลิงศพที่เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2539 หลังจากท่านถึงแก่อสัญกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ โดยความร่วมมือกันของคณะผู้บริหาร คณาจารย์ สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ร่วมกันจัดสร้างอนุสาวรีย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ประดิษฐานที่บริเวณข้างสำนักงานอธิการบดี ลานหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โดยกราบบังคมทูลพระกรุณา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เสด็จมาทรงเปิดอนุสาวรีย์และได้ถือเอาวันที่ 24 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โดยจัดให้มีการตักบาตร และจุดธูปเทียน วางพวงมาลัยสักการะรำลึกที่บริเวณลานอนุสาวรีย์เป็นประจำทุกปี และได้จัดตั้งห้องเกียรติยศหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ที่บริเวณชั้น ๔ อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โดยภายในจัดแสดงหนังสือที่ท่านแต่งขึ้น โต๊ะทำงาน ของสะสม เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และครุยวิทยฐานะตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ", "title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล" }, { "docid": "17368#0", "text": "ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2538) บุคคลสำคัญของโลกและศิลปินแห่งชาติ ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยวิชาการศึกษาและผู้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน", "title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล" } ]
[ { "docid": "17368#19", "text": "ด้านชีวิตครอบครัว หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้สมรสกับ ท่านผู้หญิงดุษฎี มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม:ไกรฤกษ์) ธิดาเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) และท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร (สกุลเดิม:บางยี่ขัน) แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน", "title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล" }, { "docid": "17368#5", "text": "ในปีพ.ศ. 2455 ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาได้เป็นอาจารย์ประจำกองแบบเรียนกรมวิชาการ อาจารย์พิเศษคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปีพ.ศ. 2474 ในปีพ.ศ. 2475 เป็นอาจารย์โท อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังได้เป็นหัวหน้าแผนกฝึกหัดครูมัธยม คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนมัธยมหอวังในปีพ.ศ. 2477 อีกด้วย หม่อมหลวงปิ่นได้เป็นอาจารย์เอก อันดับ 1", "title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล" }, { "docid": "17368#18", "text": "ไม่เห็นมีเปรียบปานการศึกษา\nสร้างคนหาค่ามิได้ในโลกา\nขึ้นจากผู้ที่หาค่าไม่มีฯ \"\nมีเงินหยิบโยนให้ก็เสร็จสรรพ์\nแต่งามจิตใจกว้างนั้นต่างกัน\nการอบรมเท่านั้นเป็นปัจจัยฯ \"\nหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้วางระเบียบและข้อปฏิบัติงานไว้อย่างเหมาะสม นับเป็นประโยชน์แก่การศึกษา เป็นอย่างดียิ่ง เช่นหม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้ยื่นใบลาออกจากการเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแก่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อราวเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487 ดังนี้", "title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล" }, { "docid": "17368#1", "text": "หม่อมหลวงปิ่นเกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 ณ บ้านถนนอัษฎางค์ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 6 ใน 13 คน ของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) และท่านผู้หญิงเสงี่ยม พระเสด็จสุเรนทราธิบดี (เสงี่ยม มาลากุล ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม วสันตสิงห์)) ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งสิ้น 8 คน ได้แก่ปี พ.ศ. 2450 เมื่อหม่อมหลวงปิ่นมีอายุได้ 4 ขวบ ท่านได้เริ่มเรียนหนังสือที่บ้านกับครูแฉล้ม (แฉล้ม คุปตารักษ์) ต่อมาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และต่อมาในปี พ.ศ. 2457 หม่อมหลวงปิ่นก็เข้าศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง", "title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล" }, { "docid": "17368#21", "text": "เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ท่านได้รับการประกาศเชิดชูเกียรติจากองค์การยูเนสโกยกย่องท่านเป็น \"นักการศึกษาดีเด่นของโลก ในสาขาวรรณกรรมและสื่อสาร\" ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวเตรียมอุดมทุกคน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา อัญเชิญรูปปั้น ฯพณฯ ศ.หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล จากหอวชิราวุธานุสรณ์ มาประดิษฐาน ห้อง 57 ตึก 1 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2545", "title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล" }, { "docid": "17368#15", "text": "โดยศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรระหว่าง พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2514", "title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล" }, { "docid": "17368#16", "text": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขึ้น เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480 โดยนักเรียนเริ่มเรียนในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2481 โดยมี ฯพณฯ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียน ในปีแรกๆ โรงเรียนได้เจริญขึ้นเป็นลำดับ เช่น ทางด้านวิชาการมีผลเป็นที่น่าพอใจ การสร้างตึก 2 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2482 และต่อมาได้สร้างตึก 3 ไปจนจดถนนอังรีดูนังต์ ในเวลานี้นอกจากผลงานทางด้านวิชาการจะเป็นที่น่าพอใจแล้ว นักเรียนยังได้แสดงความสามารถในการเล่นกีฬาต่างๆ ที่หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้นำเข้ามาในโรงเรียน เช่น ฮอกกี้ รักบี้ และฟุตบอล เข้าเกณฑ์ที่กล่าวได้ว่า \"เรียนก็เด่น เล่นก็ดี กีฬาเลิศ\"", "title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล" }, { "docid": "17368#10", "text": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2500 ถึง 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นเวลายาวนานถึง 12 ปีเศษ", "title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล" } ]
3396
กลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ คืออะไร?
[ { "docid": "18296#0", "text": "อะมิโนไกลโคไซด์ (อังกฤษ:Aminoglycosides) เป็นกลุ่มของยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียยากลุ่มนี้ได้แก่", "title": "อะมิโนไกลโคไซด์" } ]
[ { "docid": "925817#0", "text": "แอสโตรมัยซิน () หรือเป็นที่นิยมเรียกกันในบทความทางวิชาการอีกชื่อหนึ่งคือ ฟอร์ทิมัยซิน เอ/บี (Fortimicin A/B) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ สังเคราะห์ได้กระบวนการหมักของแบคทีเรีย \"Micromonospora olivasterospora\" (หรืออาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า \"Micromonospora olivasterospora\")", "title": "แอสโตรมัยซิน" }, { "docid": "26342#30", "text": "ด้วยความก้าวหน้าทางเภสัชเคมี ทำให้ยาปฏิชีวนะที่มีใช้อยู่ทุกวันนี้สามารถผลิตได้จากวิธีการกึ่งสังเคราะห์ โดยการดัดแปลงสูตรโครงสร้างของสารประกอบจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียให้มีความเหมาะสมในการใช้กับมนุษย์มากขึ้น[145] ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ยาปฏิชีวนะจำพวกบีตา-แลคแตม ซึ่งกลุ่มเพนิซิลลิน (ผลิตจากราในสกุลเพนิซิลเลียม), กลุ่มเซฟาโลสปอริน, และกลุ่มคาร์บาพีแนม ก็ล้วนแต่ถูกจัดอยู่ในยาปฏิชีวนะจำพวกนี้ ส่วนยาปฏิชีวนะที่ใช้ในปัจจุบันที่ต้องสกัดจากจุลชีพที่มีชีวิตเท่านั้น คือ ยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ส่วนกลุ่มอื่นๆนั้นล้วนได้มาจากการสังเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ เช่น ซัลโฟนาไมด์, ควิโนโลน, ออกซาโซลิไดโอน เป็นต้น[145] ยาปฏิชีวนะโดยส่วนใหญ่มักมีขนาดโมเลกุลที่ค่อนข้างเล็กและมีมวลโมเลกุลน้อยกว่า 1000 ดาลตัน[146]", "title": "ยาปฏิชีวนะ" }, { "docid": "26351#14", "text": "การเกิดพิษต่อไตนั้นเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้ประมาณร้อยละ 10–25 ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งเจนตามัยซินก็ถือเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งในยากลุ่มนี้[18] โดยส่วนมากแล้วความผิดปกติต่อไตที่เกิดขึ้นนี้มักผันกลับมาเป็นปกติได้หลังจากเสร็จสิ้นการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะสาเหตุไประยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดความผิดปกติของการทำงานของไตอย่าางถาวรได้[14] โดยความเสี่ยงวนการเกิดพิษต่อไตจากยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์นี้ขึ้นอยู่กับขนาดยา, ความถี่ในการบริหารยา, ระยะเวลาที่ใช้ยาดังกล่าวในการรักษา, และการใช้ยาอื่นที่มีผลลดการทำงานของไตร่วมด้วย เช่น ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์, ยาขับปัสสาวะ, ซิสพลาติน, [[ไซโคลสปอริน], [[เซฟาโลสปอริน], แอมโฟเทอริซินบี, สารทึบรังสีไอโอดีน และแวนโคมัยซิน เป็นต้น[18]", "title": "เจนตามัยซิน" }, { "docid": "21116#1", "text": "มีกลุ่มของยาปฏิชีวนะที่เป็นยาต้านเชื้อรา ซึ่งเรียกว่า ยาปฏิชีวนะพอลิอีน รูปโครงสร้างทางเคมีของพวกมันจะเป็นวงแหวนอะตอมขนาดใหญ่ที่เรียกว่า วงแหวนไซคลิก เอสเตอร์ ที่ประกอบด้วย คอนจูเกเตด คาร์บอน-คาร์บอน ดับเบิลบอนด์แบบทวีคูณบนข้างหนึ่งของวงแหวน และการเชื่อมต่อแบบทวีคูณของ ไฮดรอกซิล กรุ๊ป ที่อีกข้างหนึ่งของวงแหวน บ่อยครั้งโครงสร้างของพวกมันยังมี อะมิโนไกลโคไซด์ กรุ๊ป เชื่อมต่อกับโมเลกุลด้วย", "title": "พอลิอีน" }, { "docid": "911835#2", "text": "เป็นที่ทราบกันดีว่ายากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งอาร์บีกาซินก็เป็นหนึ่งในยากลุ่มนี้ จะออกฤทธิ์โดยจับกับหน่วยย่อย 30 เอสบนไรโบโซมของแบคทีเรีย ทำให้ขึ้นตอนการแปลรหัสพันธุกรรมของทีอาร์เอ็นเอนั้นเกิดความผิดพลาด ทำให้แบคทีเรียนั้นๆไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตได้ ส่งผลให้เซลล์แบคทีเรียนั้นตายไปในที่สุด ทั้งนี้ เนื่องจากการขนส่งกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์เข้าสู่เซลล์ของเชื้อแบคทีเรียนั้นจำเป็นต้องมีการใช้พลังงาน ซึ่งแบคทีเรียกลุ่มที่ไม่ต้องการออกซิเจนนั้นมีพลังงานไม่มากพอที่จะใช้ในกระบวนการนี้ ทำให้กลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์มีผลต้านเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้ได้น้อย", "title": "อาร์บีกาซิน" }, { "docid": "911835#0", "text": "อาร์บีกาซิน (INN; ) เป็นยาปฏิชีวนะกึ่งสังเคราะห์ในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาหลายขนาน (multi-resistant bacteria) รวมถึง เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสที่ดื้อต่อยาเมทิซิลลิน (Methicillin-resistant \"Staphylococcus aureus\"; MRSA) ด้วย อาร์บีกาซินถูกค้นพบครั้งแรกใน ค.ศ. 1973 โดยสังเคราะห์ได้จากไดบีกาซิน และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาในญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา ภายใต้ชื่อการค้า Habekacin ปัจจุบันอาร์บีกาซินได้สิ้นสุดสภาพการคุ้มครองตามสิทธิบัตรยาแล้ว ทำให้มียาสามัญอื่นถูกผลิตออกมาจำหน่ายเพิ่มเติม เช่น Decontasin และ Blubatosine", "title": "อาร์บีกาซิน" }, { "docid": "26351#15", "text": "ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่อไตจากการใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ได้แก่:[18]", "title": "เจนตามัยซิน" }, { "docid": "18296#3", "text": "กลไกการออกฤทธิ์ของอะมิโนไกลโคไซด์คือการไปเชื่อมต่อกับไรโบโซม (ribosome) 30เอส ของแบคทีเรียทำให้เกิดความผิดพลาดในการอ่านรหัส ที-อาร์เอ็นเอ (t-RNA) และแบคทีเรียไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนเพื่อการเจริญเติบโตได้", "title": "อะมิโนไกลโคไซด์" }, { "docid": "26359#0", "text": "เนติลมัยซิน () เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ โดยถูกจัดเป็นยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง เนื่องจากออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรียได้หลายสายพันธุ์ เนติลมัยซินไม่สามารถถูกดูดซึมได้จากทางเดินอาหารของมนุษย์ ดังนั้นจึงมียานี้เฉพาะในรูปแบบสำหรับการฉีดเท่านั้น ยานี้มักถูกสงวนไว้ใช้รักษาโรคที่เกิดจาการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีอาการรุนแรง โดยเฉพาะอย่าง โรคที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียที่ดื้อต่อเจนตามัยซิน", "title": "เนติลมัยซิน" }, { "docid": "26366#0", "text": "ไรบอสตามัยซิน () เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ – อะมิโนไซคลิตอล (aminoglycoside-aminocyclitol) ที่แยกได้จากเชื้อแบคทีเรียสกุลสเตรปโตมัยซิสที่มีชื่อว่า \"Streptomyces ribosidificus\" ซึ่งการค้นแรกจากตัวอย่างดินที่มาจากเมืองสึ, จังหวัดมิเอะ, ประเทศญีปุ่น มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยหน่วยย่อย 3 หน่วย คือ 2-deoxystreptamine (DOS), neosamine C, และน้ำตาลไรโบส ไรบอสตามัยซิน รวมไปถึงยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ที่มี DOS เป็นหน่วยย่อยในโมเลกุล เป็นยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้างที่สำคัญที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องและผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อแบคทีเรีย และได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นหนึ่งในรายการยาปฏิชีวนะที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสาธารณสุข, อย่างไรก็ตาม อุบัติการณ์การดื้อต่อยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ อย่างไรบอสตามัยซิน ที่เพิ่มมากขึ้นของเชื้อแบคทีเรียนั้น กำลังเป็นประเด็นที่น่าสนใจของวงการสาธารณสุข ซึ่งการดื้อต่อยากลุ่มนี้นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายขั้นตอน ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียโดยอาศัยเอนไซม์ต่างๆ ผ่านปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชัน, อะดีนิเลชัน, และอะซีทิเลชัน รวมไปถึงการป้องกันไม่ให้ยาปฏิชีวนะเข้าจับกับสายอาร์เอ็นเอบนไรโบโซมของเชื้อแบคทีเรียได้", "title": "ไรบอสตามัยซิน" }, { "docid": "26357#32", "text": "หมวดหมู่:อะมิโนไกลโคไซด์ หมวดหมู่:ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน หมวดหมู่:ยาปฏิชีวนะ", "title": "อะมิกาซิน" }, { "docid": "26357#12", "text": "อะมิกาซินมีอาการไม่พึงประสงค์ที่คล้ายคลึงกันกับยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญและมีความรุนแรงมากจนต้องได้รับการเฝ้าระวังและติดตามการเกิดอาการดังกล่าวอย่างใกล้ชิดคือ การเกิดพิษต่อไต และการเกิดพิษต่อหู ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างรุนแรงจนทำให้หูหนวกถาวรได้ โดยอาการไม่พึงประสงค์ดังข้างต้นมีอุบัติการณ์การเกิดประมาณร้อยละ 1–10% ของผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาใดๆในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ทั้งหมด[12] โดยกลไกการเกิดคาดว่าเป็นผลมาจากการที่มียาดังกล่าวสะสมในไตและหูชั้นในมากเกินไป จนทำให้เกิดพยาธิสภาพในอวัยวะดังกล่าว[1] การใช้ยาอะมิกาซินในขนาดที่สูงหรือใช้ในระยะเวลาที่ยาวนานเกินกว่าที่กำหนดไว้ในแนวทางการรักษาอาจทำให้เกิดพิษต่อระบบประสาท โดยอาการแสดงที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติดังกล่าว ได้แก่ อาการรู้สึกหมุน, ชา, รู้สึกเหมือนเข็มทิ่มตามผิวหนัง, กล้ามเนื้อกระตุก, และชัก.[2] หากเกิดพิษต่อเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 (vestibulocochlear nerve) จะทำให้เกิดภาวะพิษต่อหู ซึ่งจะมีอาการแสดงที่สำคัญ คือ สูญเสียการทรงตัว และสูญเสียการได้ยิน[1] ความเสียหายที่เกิดต่อคอเคลียนั้นมีสาเหตุมาจากการที่ยาเหนี่ยวนำให้เกิดการอะพอพโทซิสของเซลล์ขน ทำให้หูสูญเสียความสามารถในการรับรู้เสี่ยงคลื่นความถี่สูงไป และความผิดปกตินี้มักจะเกิดขึ้นก่อนที่จะมีอาการแสดงอื่นๆที่บ่งบอกถึงการสูญเสียการได้ยิน[9][23] ส่วนความเสียหายที่เกิดต่อเวสติบูลนั้น คาดว่าน่าจะมาจากมีอนุมูลอิสระถูกสร้างขึ้นมามากเกินไป ทั้งนี้ ความผิดปกติข้างต้นที่กล่าวนั้นพบว่ามีความสัมพันธ์กับการได้รับการรักษาด้วยยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์เป็นระยะเวลานานเกินไปมากกว่าการได้รับยาเกินขนาด ดังนั้น การลดระยะเวลาในการใช้ยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์จึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดพิษหรืออาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงดังข้างต้นได้[24]", "title": "อะมิกาซิน" }, { "docid": "679031#1", "text": "ไกลโคเลตที่ได้จะถูกส่งออกจากคลอโรพลาสต์ไปยังเพอรอกซีโซม ไกลโคเลตถูกเปลี่ยนไปเป็นไกลออกซิเลตและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ที่เป็นพิษ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ถูกสลายในเพอรอกซิโซมนี้ ส่วนไกลออกซีเลตนำไปใช้สร้างกรดอะมิโนไกลซีนได้ ไกลซีนที่ได้จะเข้าสู่ไมโทคอนเดรีย ปล่อยหมู่อะมิโนให้กับสารอินทรีย์อื่นๆ และได้เซอรีน เซอรีนนี้ถ้ากลับเข้าสู้เพอรอกซีโซมจะถูกเปลี่ยนเป็นกลีเซอเรต ซึ่งเมื่อถูกส่งกลับเข้าคลอโรพลาสต์จะเข้าวัฏจักรคัลวินได้", "title": "การหายใจแสง" }, { "docid": "15469#18", "text": "นักวิทยาศาสตร์ได้จัดแบ่งประเภทของไกลโคไซด์ออกเป็นหลายประเภททั้งแบ่งตามส่วนที่เป็นน้ำตาล (ไกลโคน) โดยมีการจัดกลุ่มโดยใช้ชื่อเรียกตามชื่อของน้ำตาลนั้นๆ เช่น หากเป็นน้ำตาลฟรุกโตสจะเรียกชื่อสารไกลโคไซด์ดังกล่าวว่าฟรุกโตไซด์ หรือกรดกลูคูโรนิกจะเรียกชื่อสารว่ากลูคูโรไนด์เป็นต้น และการจัดแบ่งตามส่วนที่ไม่ใช่น้ำตาล (อะไกลโคน) แบ่งตามรูปแบบโครงสร้างของสารนั้นๆ เช่น แอลกอฮอล์ไกลโคไซด์, แอนธราควิโนนไกลโคไซด์, คูมารินส์, ไซยาโนจินิกไกลโคไซด์, ฟลาโวนอยด์ไกลโคไซด์, ฟิโนลิกไกลโคไซด์, ซาโปนิน, คาร์ดิแอกไกลโคไซด์, ไธโอไกลโคไซด์", "title": "เภสัชเวท" }, { "docid": "26368#0", "text": "ไอเซปามัยซิน () เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ โดยมีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทั้งนี้ ไอเซปามัยซินได้รับการจัดลำดับความสำคัญของยาจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organisation) ว่าเป็นยาปฏิชีวนะที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการบำบัดรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียในมนุษย์ โดยยานี้จัดเป็นยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้าง มีโครงสร้างที่มีความคล้ายคลึงกันกับเจนตามัยซินและอะมิกาซินมีกลไกการออกฤทธิ์ที่คล้ายคลึงกันกับสมาชิกอื่นในกลุ่มกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ อย่างไรก็ตาม ไอเซปามัยซินมีข้อเหนือกว่ายาอื่นในกลุ่มนี้ คือ สามารถออกฤทธิ์ต่อเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาได้ดี เช่น แบคทีเรียสายพันธุ์ที่ผลิตเอนไซม์ 6'-N-aminoglycoside acetyltransferase เป็นต้น ยานี้ถูกเปลี่ยนแปลงและขับออกทางไต นอกจากนี้ ไอเซปามัยซินยังมีผลหลังการใช้ยาปฏิชีวนะ (post-antibiotic effect) ซึ่งหมายความว่าการเติบโตของแบคทีเรียได้รับการกดไว้ชั่วคราวแม้จะหยุดใช้ยาดังกล่าวแล้วก็ตาม ทำให้ยานี้สามารถบริหารให้ผู้ป่วยได้เพียงวันละ 1 ครั้ง", "title": "ไอเซปามัยซิน" }, { "docid": "911738#0", "text": "ไดบีกาซิน () เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งถูกนำมาใช้ร่วมกับซัลเบนิซิลลิน ในรูปแบบยาสูตรผสมเพื่อใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไดบีกาซินจัดเป็นอีกอนุพันธ์หนึ่งของกานามัยซิน จัดเป็นยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้าง ซึ่งครอบคลุมเชื้อสกุลไมโคแบคทีเรียม ที่เป็นสาเหตุของวัณโรคได้อีกด้วย ทั้งนี้ ไดบีกาซิน สามารถใช้เป็นยาทางเลือกในโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อกานามัยซินได้", "title": "ไดบีกาซิน" }, { "docid": "26351#21", "text": "เจนตามัยซินมีข้อห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติการเกิดภาวะภูมิไวเกินต่อยานี้หรือยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ เช่น แอนาฟิแล็กซิส หรืออาการพิษที่รุนแรงอื่น เป็นต้น[15]", "title": "เจนตามัยซิน" }, { "docid": "912936#0", "text": "อาปรามัยซิน () หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า นีบรามัยซิน ทู (Nebramycin II) เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียอย่างกว้างขวางในการปศุสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ \"Escherichia coli\", \"Klebsiella pneumoniae\", และ \"Pseudomonas aeruginosa\".อาปรามัยซินสามารถผลิตได้จากเชื้อแบคทีเรีย \"Streptomyces tenebrarius\" ค่าความเข้มข้นต่ำสุดของอาปรามัยซินที่มียับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียทั้ง 3 สายพันธุ์ดังข้างต้น ดังแสดงต่อไปนี้", "title": "อาปรามัยซิน" }, { "docid": "911752#1", "text": "ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ร่วมกับยาอื่นที่ก่อให้เกิดพิษต่อการได้ยินและไตเหมือนกัน เช่น ยาปฏิชีวนะอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์, กรดอีทาไครนิก เป็นต้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวร่วมกัน ต้องเฝ้าระวังและติดตามการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด", "title": "บีกานามัยซิน" }, { "docid": "26349#3", "text": "โทบรามัยซินมีอาการไม่พึงประสงค์ที่คล้ายคลึงกับยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ได้แก่ การเกิดพิษต่อหู ซึ่งจะทำให้เกิดพยาธิสภาพในส่วนคอเคลีย และนำไปสู่การสูญเสียการได้ยินได้ในที่สุด หรือในบางรายอาจเกิดการสูญเสียการทำงานของระบบเวสติบูล จนทำให้สูญเสียสมดุลการทรงตัว อย่างไรก็ตาม อาการไม่พึงประสงค์ดังข้างต้นอาจเกิดทั้งสองอย่างร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความไวต่อยาของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม การเกิดพิษต่อหูจากกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์นั้นนสามารถกลับเป็นปกติได้หลังจากการหยุดใช้ยา", "title": "โทบรามัยซิน" }, { "docid": "18296#4", "text": "หมวดหมู่:ยา หมวดหมู่:อะมิโนไกลโคไซด์ หมวดหมู่:บทความยาที่ต้องการภาพประกอบ", "title": "อะมิโนไกลโคไซด์" }, { "docid": "26355#15", "text": "หมวดหมู่:อะมิโนไกลโคไซด์ หมวดหมู่:ยาปฏิชีวนะ หมวดหมู่:ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน", "title": "นีโอมัยซิน" }, { "docid": "912927#7", "text": "สเปคติโนมัยซินเป็นสารกลุ่มอะมิโนไซคลิตอล ซึ่งมีความสัมพันธ์กันกับอะมิโนไกลโคไซด์ การผลิตสเปคติโนมัยซินในเชิงอุตสาหกรรมนั้นจะได้จากการบ่มเชื้อแบคทีเรีย \"Streptomyces spectabilis\" ส่วนในธรรมชาตินั้น สเปคติโนมัยซินสามารถสร้างได้จากจุลชีพหลายชนิด รวมไปถึงไซยาโนแบคทีเรียและพืชอีกหลายชนิด โดยส่วนที่ควบคุมการสร้างสเปคติโนมัยซินนี้มีชื่อว่า เอสพีซี โอเปอรอน (spc operon) จะอยู่ในจีโนม หรือพลาสโตม หรือพลาสมิด ซึ่งส่วนใหญ่ยีน 2–10 ชนิดที่อยู่ติดกัน ซึ่งความต่างของขนาดโอเปอรอนนี้เป็นผลมาจากมีการกำจัดยีนเก่าออกไป หรือมียีนภายในนิวเคลียส (nuclear gene) เข้ามาทำหน้าที่ในส่วนนั้นๆแทน โดยการผลิตสเปคติโนมัยซินโดยจุลชีพในธรรมชาตินั้นมีจุดประสงค์หลักเพื่อป้องกันตัวเองจากการถูกกินหรือทำลายโดยจุลชีพหรือพืชอื่น (antipredator adaptation)", "title": "สเปคติโนมัยซิน" }, { "docid": "912872#0", "text": "กานามัยซิน เอ () หรือที่นิยมเรียกกันง่ายๆ คือ กานามัยซิน เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ มีข้องบ่งใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรง และวัณโรค แต่ไม่ถูกจัดให้เป็นการรักษาทางเลือกแรก โดยกานามัยซินมีทั้งในรูปแบบยารับประทาน, ยาสำหรับการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ และยาสำหรับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ทั้งนี้ การใช้กานามัยซินในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียใดๆนั้นแนะนำให้ใช้ยานี้ในระยะสั้นเท่านั้น โดยปกติคือ 7–10 วัน อย่างไรก็ตาม กานามัยซินไม่มีผลในต้านไวรัสเช่นเดียวกันกับยาปฏิชีวนะชนิดอื่น\nเนื่องด้วยกานามัยซินเป็นยาในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ดังนั้นจึงมีกลไกการออกฤทธิ์ที่คล้ายคลึกันกับยาอื่นในกลุ่ม กล่าวคือ กานามัยซินจะออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียเป้าหมายขาดโปรตีนที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและเพิ่มจำนวน ทำให้เซลล์แบคทีเรียนั้นๆตายในที่สุด อาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญจากการได้รับการรักษาด้วยกานามัยซิน คือ การเกิดปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว ในบางรายอาจพบว่ายาทำให้ไตมีการทำงานที่ลดน้อยลงได้ ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้ใช้กานามัยซินในหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากยานี้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ทารกในครรภ์ได้ ส่วนการใช้ในหญิงให้นมบุตรนั้นมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง เนื่องจากยานี้ถูกขับออกทางน้ำนมได้น้อยมาก \nกานามัยซินถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1957 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น – ฮามาโอะ อูเมซาวะ (Hamao Umezawa) โดยสามารถแยกกานามัยซินได้จากเชื้อแบคทีเรีย \"Streptomyces kanamyceticus\" โดยยานี้ได้ถูกจัดเป็นหนึ่งในรายการยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) ซึ่งเป็นรายการยาที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง และมีความสำคัญเป็นลำดับแรกของระบบสุขภาพพื้นฐานของประชาชนในประเทศต่างๆ ในปี ค.ศ. 2014 ราคาสำหรับการขายส่งของกานามัยซินในประเทศกำลังพัฒนามีมูลค่าระหว่าง 0.85 – 1.52 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อการบริหารยาหนึ่งครั้ง ปัจจุบัน ยานี้ไม่มีจำหน่ายในตลาดยาของสหรัฐอเมริกาแล้ว", "title": "กานามัยซิน เอ" }, { "docid": "912952#0", "text": "พลาโซมัยซิน (INN: , ชื่อรหัส: ACHN-490) เป็นยาปฏิชีวนะรุ่นใหม่ในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนีโอไกลโคไซด์ (neoglycoside) เป็นยาที่พัฒนามาจากซิโซมัยซิน โดยการเติมกรดไฮดรอกซี-อะมิโนบูทิริก (hydroxy-aminobutyric acid; HABA) เข้าไปแทนที่ในตำแหน่งที่ 1 และเติมหมู่ไฮดรอกซีเอทิล (hydroxyethyl) ในตำแหน่งที่ 6'", "title": "พลาโซมัยซิน" }, { "docid": "26349#0", "text": "โทบรามัยซิน () เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งแยกได้จากเชื้อแบคทีเรีย \"Streptomyces tenebrarius\" และถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด โดยเฉพาะอย่าง การติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ทั้งนี้ โทบรามัยซินสามารถออกฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียสกุลซูโดโมแนสได้", "title": "โทบรามัยซิน" }, { "docid": "26357#0", "text": "อะมิกาซิน (English: Amikacin) เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ มีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย[2] ได้แก่ การติดเชื้อในข้อ, การติดเชื้อในช่องท้อง, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ปอดบวม, ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ, และการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ[2] นอกจากนี้ยังมีการใช้ยานี้ในผู้ป่วยวัณโรคที่ดื้อต่อยาหลายขนานอีกด้วย[3] ยานี้มีทั้งในรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อและ ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ[2]", "title": "อะมิกาซิน" }, { "docid": "925812#0", "text": "เวอร์ดามัยซิน () เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งถูกสร้างจากกระบวนการหมักของเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ \"Micromonospora grisea\"", "title": "เวอร์ดามัยซิน" }, { "docid": "26355#0", "text": "นีโอมัยซิน (English: Neomycin) เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ มีจำหน่ายในท้องตลาดในหลายรูปแบบเภสัชภัณฑ์ เช่น ครีม, ขี้ผึ้ง, และยาหยอดยา นีโอมัยซินถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1949 ในห้องปฏิบัติการของเซลมัน แวกส์มัน โดยถูกจัดให้เป็นยาปฏิชีวนะที่อยู่ในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งมีโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นน้ำตาลอะมิโน (Amino sugars) อย่างน้อย 2 โมเลกุลเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ (glycosidic bond)", "title": "นีโอมัยซิน" } ]
2196
บริษัท เชฟโรเลต ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "27214#1", "text": "เชฟโรเลต์ก่อตั้งโดย หลุยส์ เชฟโรเลต์ และ วิลเลียม ซี. ดูแรนต์ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1911 ได้เข้าสู่ตลาดบริษัทรถยนต์ และในปี ค.ศ. 1916 เชฟโรเลต์ทำกำไรมากพอทำให้ ดูแรนต์ได้ซื้อหุ้นส่วนของบริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ส และในปี ค.ศ. 1917 ดูแรนต์ได้กลายมาเป็นประธานบริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ และเชฟโรเลต์ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท", "title": "เชฟโรเลต" } ]
[ { "docid": "608087#0", "text": "เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ ( อ่านว่า เทฺรล-เบฺล-เซ่อ หรือ เทฺรน-เบฺล-เซ่อ) เป็นรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดกลาง หรือ รถปิกอัพดัดแปลง PPV (Pick-up Passenger Vehicle) ของเชฟโรเลตในเครือจีเอ็มหรือเจนเนอรัล มอเตอร์ โดยเทรลเบลเซอร์เป็นรถรุ่นใหม่ที่พัฒนาบนพื้นฐานเดียวกับคอมแพ็กต์ปิกอัพรุ่น เชฟโรเลต โคโลราโด (Chevrolet Colorado) และได้รับการออกแบบจากทีมงานจีเอ็ม (GM) ในประเทศบราซิล\nเชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์โฉมแรกรุ่นปี 2002–2005 มีพื้นฐานมาจากพื้นฐานรถบรรทุกชื่อว่า GMT360 โดยในทุกรุ่นมีระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ ยกเว้นรุ่นเอสเอสที่มีระบบขับเคลื่อนทุกล้อ เทรลเบลเซอร์มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 4.2 ลิตร \"แอตลาส\" หกสูบ 273 แรงม้าเป็นมาตรฐาน ส่วนเครื่องยนต์ตัวเลือกคือเครื่องยนต์ 5.3 ลิตร วี8 302 แรงม้า ", "title": "เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์" }, { "docid": "306909#18", "text": "ใน ค.ศ. 1996 อิมพาลาก็หยุดผลิตไปอีก ครั้งนี้ ถือเป็นการยุติการผลิตอิมพาลาสายพันธุ์แท้ เพราะการผลิตอิมพาลารุ่นต่อไป เป็นการเปลี่ยนชื่อของรถรุ่น เชฟโรเลต ลูมินา (Chevrolet Lumina) มาเป็น เชฟโรเลต อิมพาลา ซึ่งไม่ได้พัฒนามาจากอิมพาลาโดยตรง", "title": "เชฟโรเลต อิมพาลา" }, { "docid": "27214#4", "text": "เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 โดยเป็นหนึ่งในเครือของบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินงานในฐานะเป็นผู้จัดสรรรถยนต์ที่ผลิตขึ้นภายใต้ชื่อและสัญลักษณ์ ทางการค้า “เชฟโรเลต” เพื่อจัดจำหน่ายในประเทศไทย ผ่านเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายของบริษัทฯ ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 94 รายทั่วประเทศ โดยมีโชว์รูมและศูนย์บริการ ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 76 จังหวัด", "title": "เชฟโรเลต" }, { "docid": "336403#0", "text": "เชฟโรเลต เบลแอร์ () เป็นรถนั่งขนาดใหญ่ที่ผลิตโดยเชฟโรเลต ในเครือเจเนรัลมอเตอร์ ระหว่างรุ่นปี ค.ศ. 1950 จนถึง ค.ศ. 1975 ในช่วงแรก ชื่อ \"เบลแอร์\" ถูกใช้ในเพียงรถหลังคาแข็งสองประตูของเชฟโรเลตเท่านั้น เพื่อให้แยกออกจากรุ่นสไตล์ไลน์และฟลีตไลน์อย่างชัดเจน จนในปี 1953 ชื่อเบลแอร์ได้แยกตัวออกมาเป็นรุ่นของตัวเอง และได้ฐานะเป็นรถธง หรือรถที่หรูหราที่สุดของเชฟโรเลต รวมถึงมีตัวถังให้เลือกหลายแบบมากขึ้น แต่ภายหลังจากที่เชฟโรเลต อิมพาลาเปิดตัวในในปี 1958 เบลแอร์จึงถูกลดระดับความหรูหราลงเป็นอันดับสอง และถูกลดระดับลงมาเรื่อย ๆ กระทั่งกลายเป็นเพียงรถระดับเริ่มต้นของเชฟโรเลตในปี 1973 แต่เบลแอร์ก็ยังคงถูกผลิตอย่างต่อเนื่อง จนยุติการผลิตในสหรัฐอเมริกาในปี 1975 ส่วนในแคนาดามีการผลิตเพื่อขายภายในประเทศเท่านั้นจนถึงปี 1981", "title": "เชฟโรเลต เบลแอร์" }, { "docid": "608084#0", "text": "เชฟโรเลต แคปติวา มีชื่อเดิมว่า ซี100 (C100) รถยนต์เอนกประสงค์ขนาดกลางหรือเป็นรถเอสยูวี (SUV) ขนาดกลางแบบ 7 ที่นั่งของเชฟโรเลตที่พัฒนาขึ้นโดยศูนย์ออกแบบของบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ หรือชื่อย่อว่า จีเอ็ม (GM) ในเมืองอินชอน ประเทศเกาหลีใต้ (South Korea) ซึ่งเป็นการพัฒนาบนตัวถังรุ่นเธต้า (Theta platform) ที่เคยใช้ในการผลิตรถยนต์ในเครือของจีเอ็มมาแล้วหลายรุ่น โดยทางจีเอ็มใช้ชื่อ แคปติวา จำหน่ายในตลาดยุโรป, ตะวันออกกลาง, อาเซียน และอเมริกาใต้ แต่ในประเทศออสเตรเลียจะจำหน่ายในนาม Holden Captiva ส่วนในประเทศเกาหลีใต้ใช้ชื่อ Daewoo Windstorm ในส่วนของการเปิดตัวรถยนต์เชฟโรเลต แคปติวานั้น ทางจีเอ็มได้ทำการเปิดตัวแคปติวาครั้งแรกที่ประเทศออสเตรเลีย (Australia) ต่อด้วยประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand) และตามด้วยการเปิดตัวในประเทศไทย (Thailand) และอีกหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อราวต้นปี 2550 ", "title": "เชฟโรเลต แคปติวา" }, { "docid": "306909#5", "text": "หลังจากกระแสตอบรับของเบล-แอร์ อิมพาลา ดีมาก เชฟโรเลตจึงแยกอิมพาลา ออกมาเป็นรถรถรุ่นใหม่ของเชฟโรเลต คือ เป็น เชฟโรเลต อิมพาลาอย่างเต็มตัว ไม่ขึ้นตรงกับเบล-แอร์ อีกต่อไป และเริ่มผลิตรถแบบ Hardtop 4ประตู รวมถึงคูเป้ 2 ประตู ครอบคลุมความต้องการมากขึ้น มีไฟท้ายแบบ 6 ดวง เรียงตัวกันเป็นรูปทรงแบบ \"หยดน้ำตา\" (แบบเดียวกับที่ใช้ในรถเชฟโรเลตรุ่นอื่นๆ ในยุคเดียวกัน) ทำครีบหลังขนาดใหญ่ไว้บนไฟท้าย ทำให้หลายคนคิดว่ามันดูคล้ายรถแบ็ตโบมิลของยอดหมนุษย์ Batman ส่วนการตกแต่งภายในจะเน้นโทนสีสดใสเพื่อให้อารมณ์รถสปอร์ต ในช่วงนี้ อิมพาลาได้รับความนิยมอย่างสูงและเป็นรถรุ่นที่มียอดขายสูงที่สุดในสหรัฐอเมริกา และปูทางความสำเร็จให้อิมพาลารุ่นต่อๆ มา ประสบความสำเร็จอย่างสูงต่อไปอีกหลายทศวรรษ", "title": "เชฟโรเลต อิมพาลา" }, { "docid": "608087#1", "text": "เทรลเบลเซอร์ได้รับการปรับโฉมเมื่อปี พ.ศ. 2548 เป็นรุ่นปี 2006 โดยได้เปลี่ยนแปลงกระจังหน้าและภายใน\nเชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์รุ่นที่สองได้เผยโฉมต้นแบบที่งานดูไบ อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ปี พ.ศ. 2554 (Dubai International Motor Show 2011) ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง สำหรับในประเทศไทยเชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ ได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555 นอกจากนี้ทางเชฟโรเลตยังใช้ประเทศไทยเป็นฐานหลักในการผลิตเทรลเบลเซอร์เพื่อส่งขายไป 60 ประเทศทั่วโลก", "title": "เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์" }, { "docid": "991036#0", "text": "เชฟโรเลต คอร์เวทท์ () มีชื่อเรียกขานคือ เวทท์ หรือ เชฟวี คอร์เวทท์ เป็นรถสปอร์ตเครื่องอยู่หน้าขับหลัง, สองประตู, สองผู้โดยสาร ที่ผลิตและทำการตลาดโดยเชฟโรเลต ในการผลิตมากกว่าหกสิบปีและเจ็ดรุ่นของการออกแบบ ในฐานะพาหนะเพื่อภาพพจน์ของบริษัทของเชฟโรเลต คอร์เวทท์เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางสำหรับประสิทธิภาพและพลาสติกที่โดดเด่น — ทั้งไฟเบอร์กลาสหรือคอมโพสิต — โครงด้านนอกของรถ", "title": "เชฟโรเลต คอร์เวทท์" }, { "docid": "27214#7", "text": "เชฟโรเลต ในประเทศไทย ภายใต้ชื่อบริษัทว่า \"เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด\" ก่อตั้งเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 โดยเป็นบริษัทในเครือ เจเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด มีสำนักงานใหญ่อยู่ใน กรุงเทพมหานคร โดยรุ่นแรกที่ออกจำหน่ายในไทยคือ ซาฟิร่า (ปัจจุบันยุติการผลิตแล้ว) หลังจากนั้นก็ได้มีรุ่นอื่นอีก เช่น เชฟโรเลต โคโลราโด, เชฟโรเลต ออพตร้า, เชฟโรเลต แคปติวา เป็นต้น และในเดือนพฤษภาคม 2558 เชฟโรเลตได้ออกโคโลราโดรุ่นใหม่ออกมาภายใต้ชื่อ เชฟโรเลต โคโลราโด ไฮคันทรี", "title": "เชฟโรเลต" }, { "docid": "716362#1", "text": "“ไฮ คันทรี่” เป็นรุ่นที่แยกออกมาของของ \"เชฟโรเลต โคโรลาโด\" ชื่อรุ่นไฮคันทรี แรงบันดาลใจมาจากรถกระบะขนาดใหญ่รุ่นท็อปไลน์ของเชฟโรเลตที่จัดจำหน่ายในอเมริกาเหนือ และรถกระบะขนาดกลางรุ่นท็อปไลน์ของเชฟโรเลตที่จัดจำหน่ายในประเทศบราซิล ไฮ คันทรี่ วางการตลาดไว้สำหรับเป็นรถสำหรับคนเมืองใหญ่ จึงได้ออกแบบให้มีสมรรถนะเพื่อรองรับการใช้งานอย่างสมบุกสมบัน", "title": "เชฟโรเลต โคโลราโด ไฮคันทรี" }, { "docid": "27214#12", "text": "หมวดหมู่:บริษัทของสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:บริษัทรถยนต์ หมวดหมู่:ยี่ห้อรถยนต์ หมวดหมู่:เจเนรัลมอเตอร์ หมวดหมู่:บริษัทที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2454", "title": "เชฟโรเลต" }, { "docid": "27214#11", "text": "รถยนต์ส่วนบุคคลขนาดเล็ก เชฟโรเลต อาวีโอ (Chevrolet Aveo) รถยนต์เอนกประสงค์ MPV เชฟโรเลต ซาฟิร่า (Chevrolet Zafira) รถยนต์ส่วนบุคคลขนาดใหญ่ เชฟโรเลต ลูมิน่า (Chevrolet Lumina) รถยนต์ส่วนบุคคลขนาดเล็ก เชฟโรเลต ออพตร้า (Chevrolet Optra) รถยนต์ส่วนบุคคลขนาดเล็ก 5 ประตู เชฟโรเลต ออพตร้า เอสเตท (Chevrolet Optra Estate) รถยนต์ส่วนบุคคลขนาดเล็ก เชฟโรเลต โซนิค (Chevrolet Sonic) รถยนต์เอนกประสงค์ MPV เชฟโรเลต สปิน (Chevrolet Spin)", "title": "เชฟโรเลต" }, { "docid": "306909#16", "text": "ใน ค.ศ. 1985 เชฟโรเลต ได้เลิกผลิตอิมพาลาลงชั่วคราว คงเหลือไว้แต่รถรุ่นเชฟโรเลต คาปริซ ผลิตเป็นรถใหญ่เพียงรุ่นเดียว", "title": "เชฟโรเลต อิมพาลา" }, { "docid": "545351#4", "text": "ในปี 1999 เมื่อนิสสันถูกเข้าซื้อกิจการโดย เรโนล, พวกเขาขายหุ้นใน FHI ให้กับ เจเนอรัล มอเตอร์ (General Motors หรือ GM). ภายใต้การร่วมมือครั้งใหม่ระหว่าง GM และ FHI นั้น ซูบารุได้เปิดตัวรถรุ่นใหม่ ได้แก่ บาฮา ในปี 2003 และ ไทรเบก้า ในปี 2005. ในประเทศอินเดียนั้น ซูบารุ ฟอเรสเตอร์ ถูกขายในชื่อ เชฟโรเลต ฟอเรสเตอร์ (เชฟโรเลต เป็นบริษัทผลิตรถยนต์ในเครื่องของ GM). และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน ในประเทศญี่ปุ่น โอเปิ้ล ซาฟิร่า (ในขณะนั้น โอเปิ้ล เป็นบริษัทผลิตรถยนต์ในเครื่องของ GM) ก็ได้ถูกนำไปขายในชื่อ ซูบารุ ทราวิค เช่นเดียวกัน. นอกจากนี้รถยนต์ต้นแบบ เชฟโรเลต บอร์เรโก้ คอนเซปท์ (Chevrolet Borrego concept) ที่เปิดตัวในปี 2002 นั้น ยังใช้พื้นฐานมาจากแพลทฟอร์มของ ซูบารุ เลกาซี่ เทอร์โบ อีกด้วย. ในสหรัฐอเมริกา GM ยังได้นำพื้นฐานตัวถังของ ซูบารุ อิมเพรซซ่า ไปทำการดัดแปลงและขายในชื่อ ซ้าบ 9-2เอกซ์ (ในขณะนั้น ซ้าบ เป็นบริษัทผลิตรถยนต์ในเครื่องของ GM ). ส่วนSUVที่มีพื้นฐานตัวถังจาก ซูบารุ ไทรเบก้า ได้มีแผนที่จะนำมาดัดแปลงและขายในชื่อ ซ้าบ 9-6เอกซ์ แต่แผนนั้นก็ต้องถูกยุติลง. ส่วนเส้นสายที่ GM ได้ออกแบบไว้นั้น ถูกนำกลับมาใช้ใหม่โดยซูบารุเอง ในรุ่นปรับโฉมของ ไทรเบก้า.", "title": "ซูบารุ" }, { "docid": "27214#9", "text": "รถยนต์ส่วนบุคคลขนาดกลาง เชฟโรเลต ครูซ (Chevrolet Cruze) รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ เชฟโรเลต โคโลราโด (Chevrolet Colorado) รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ เชฟโรเลต โคโลราโด ไฮคันทรี (Chevrolet Colorado High Country) รถยนต์เอนกประสงค์ SUV เชฟโรเลต แคปติวา (Chevrolet Captiva) รถยนต์เอนกประสงค์ PPV เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ (Chevrolet Trailblazer)", "title": "เชฟโรเลต" }, { "docid": "27214#6", "text": "นับเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ที่เชฟโรเลตได้เติบโตและดำเนินกิจการในเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันมีรถยนต์เชฟโรเลตรุ่นต่างๆ วิ่งอยู่บนท้องถนนมากกว่า 1 แสนคัน รวมไปถึงจำนวนโชว์รูมและศูนย์บริการที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้อง การของกลุ่มลูกค้าที่มีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับได้ว่า เชฟโรเลตเป็นบริษัทรถยนต์ที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงแห่งหนึ่งของ อุตสาหกรรมรถยนต์ ณ วันนี้ เชฟโรเลตยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพให้สมบูรณ์แบบในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต การจัดจำหน่าย และการบริการ ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด สมกับการเป็นผู้นำนวัตกรรมยานยนต์ของโลก", "title": "เชฟโรเลต" }, { "docid": "27214#5", "text": "รถยนต์เอนกประสงค์ เชฟโรเลต ซาฟิร่า เป็นรถยนต์รุ่นแรกที่บริษัทฯ เป็นผู้จัดจำหน่าย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการบุกเบิกตลาดรถยนต์เอนกประสงค์รายแรกของประเทศไทย โดยรถยนต์เชฟโรเลต ซาฟิร่า ได้รับการต้อนรับจากผู้ใช้รถในประเทศไทยเป็นอย่างดี และจากความต้องการของตลาดในประเทศไทย ทำให้บริษัทฯ ได้ขยายตลาดสู่รถยนต์ประเภทอื่นๆ ตามมา", "title": "เชฟโรเลต" }, { "docid": "306909#25", "text": "ในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เชฟโรเลตได้กล่าวว่าจะนำอิมพาลาไปจำหน่ายที่ประเทศเกาหลีใต้เป็นรถส่งออกจากอเมริกาเป็นรุ่นปี 2016 เป็นครั้งแรกที่เชฟโรเลตนำรถยนต์นั่งขนาดใหญ่มาจำหน่ายในตลาดเกาหลี[8]", "title": "เชฟโรเลต อิมพาลา" }, { "docid": "226251#0", "text": "เชฟโรเลต โคโลราโด () เป็นชื่อรุ่นของรถกระบะขนาดกลางที่ผลิตและจำหน่ายโดยเชฟโรเลต", "title": "เชฟโรเลต โคโลราโด" }, { "docid": "608136#0", "text": "เชฟโรเลต โซนิค () เป็นรถยนต์ซับคอมแพ็กต์ (Sub Compact) ของเชฟโรเลต (Chevrolet) ในเครือจีเอ็ม (GM) หรือเจนเนอรัล มอเตอร์ โดยทางจีเอ็มได้พัฒนาโซนิคขึ้นมาแทนที่รถเชฟโรเลต อาวีโอ (Chevrolet Aveo) ที่ได้เลิกผลิตแล้ว ซึ่งประกอบไปด้วย รถเชฟโรเลต โซนิค แบบนอทช์แบ็ค 4 ประตู (Chevrolet Sonic NB) และ รถเชฟโรเลต โซนิค แฮทช์แบ็ค 5 ประตู (Chevrolet Sonic HB) ระบบเกียร์ที่ใช้เป็นแบบเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และ ระบบเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด โครงสร้างตัวถังรถเป็นแบบ body-frame-integral หรือ BFI ที่มีความเสถียรภาพสูง ซึ่งพัฒนาโดยทีมวิศวกรของเชฟโรเลต (Chevrolet) ", "title": "เชฟโรเลต โซนิค" }, { "docid": "579363#0", "text": "เชฟโรเลต ครูซ เป็นรถยนต์ที่ผลิตโดยผู้ผลิตอเมริกัน General Motors (GM) เชฟโรเลตภายใต้การร่วมทุนกับบริษัท Suzuki ในประเทศญี่ปุ่น ระหว่างปี 2001 และ 2008", "title": "เชฟโรเลต ครูซ" }, { "docid": "306909#1", "text": "เชฟโรเลต อิมพาลา รุ่นแรก จริงๆ แล้ว เป็นรถเกรดพรีเมียมรุ่นพิเศษในสังกัดของรถ เชฟโรเลต เบล-แอร์ โดยใช้ชื่อว่า เชฟโรเลต เบล-แอร์ อิมพาลา (Chevrolet Bel-Air Impala) เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 1956 ในงาน General Motors Motorama show และเริ่มผลิตกันอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1957 ชื่อของอิมพาลา ตั้งชื่อตามกวางชนิดหนึ่งในทวีปแอฟริกา ที่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว ในภาพการโฆษณา ก็ได้มีรูปกวางเป็นเอกลักษณ์เด่น ซึ่งรูปกวางก็ได้กลายเป็นโลโก้ของอิมพาลาต่อไปอีกหลายสิบปี", "title": "เชฟโรเลต อิมพาลา" }, { "docid": "27214#0", "text": "เชฟโรเลต (English: Chevrolet, /ʃɛvrəˈleɪ/ เชฟระเล) เป็นบริษัทผลิตรถยนต์ในสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเจนเนอรัล มอเตอร์ส เชฟโรเลตมีชื่อย่ออย่างไม่เป็นทางการว่า เชฟวี (Chevy) เชฟโรเลตผลิตรถยนต์ออกมาหลายรุ่น โดยรุ่นที่นิยมมากของเชฟโรเลตคือ อิมพาลา และ คอร์เวตต์ ในปี พ.ศ. 2548 ในสหรัฐอเมริกา เชฟโรเลตทำยอดขายเอาชนะคู่แข่งฟอร์ด เป็นครั้งแรกในรอบ 19 ปี", "title": "เชฟโรเลต" }, { "docid": "716362#0", "text": "เชฟโรเลต โคโลราโด ไฮคันทรี () เป็นรถยนต์ที่ผลิตโดย General Motors (GM) ทางเชฟโรเลต เซลส์ ประเทศไทย ได้เปิดตัวทำตลาดในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา ", "title": "เชฟโรเลต โคโลราโด ไฮคันทรี" }, { "docid": "306909#11", "text": "อิมพาลารุ่นที่ 4 ก็เป็นอีกรุ่นหนึ่งซึ่งถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามในอเมริกา โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ในปี ค.ศ. 1965 เป็นปีที่ 2 ที่อิมพาลามียอดขายทะลุล้านคันในปีเดียว ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลยจนถึงปัจจุบัน เชฟโรเลตได้สร้างรถเกรดหรูหราระดับพรีเมียมของอิมพาลา ชื่อว่า เชฟโรเลต อิมพาลา คาปริซ (Chevrolet Impala Capice) ซึ่งต่อมาก็ได้แยกตัวออกเป็นรถตระกูลใหม่ คือ เชฟโรเลต คาปริซ (Chevrolet Caprice) ซึ่งเป็นรถรุ่นที่หรูหราที่สุด และแพงที่สุดของเชฟโรเลตแทนที่อิมพาลา", "title": "เชฟโรเลต อิมพาลา" }, { "docid": "192452#2", "text": "ฮอนด้า ซิตี้ เริ่มเป็นที่รู้จักของคนไทยเมื่อปี พ.ศ. 2539 ซึ่งก็คือโฉมที่ 3 โดยก่อนหน้านั้น มีรถยนต์ในระดับเดียวกับซิตี้คือ โอเปิล คอร์ซา, ฟอร์ด แอสปาย, ฮุนได เอ็กเซล, ฮุนได แอกเซนท์, ฮอนด้า ซีวิค (3 ประตู) ก่อนที่จะมีรถยนต์คู่แข่งอื่นๆ ตามมาในภายหลัง เช่น โตโยต้า โซลูน่า, โตโยต้า วีออส, โตโยต้า ยาริส, มาสด้า 2, ฟอร์ด เฟียสตา, เชฟโรเลต อาวีโอ, เชฟโรเลต โซนิค, เกีย พิแคนโต นอกจากนี้ ยังเป็นคู่แข่งการตลาดกับรถ Eco Car บางรุ่น ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงและหรือเท่า B-Car เช่น นิสสัน มาร์ช, นิสสัน อัลเมร่า, มิตซูบิชิ มิราจ, ซูซูกิ สวิฟท์ เป็นต้น", "title": "ฮอนด้า ซิตี้" }, { "docid": "306909#0", "text": "เชฟโรเลต อิมพาลา (English: Chevrolet Impala) เป็นรถยนต์นั่งขนาดใหญ่ (Full-size Car) ที่ผลิตโดยค่ายรถยนต์เชฟโรเลตและเป็นรถธง (รถที่ได้ชื่อว่าดีที่สุดสมบูรณ์แบบที่สุดและเป็นความภาคภูมิใจของค่ายรถยนต์นั้นๆ) ของเชฟโรเลต เริ่มผลิตครั้งแรกใน พ.ศ. 2500 โดยเป็นการแยกรุ่นออกมาจากเชฟโรเลต เบลแอร์ (Chevrolet Bel-Air) และเป็นรถยนต์เก๋งรุ่นที่มีราคาแพงที่สุดของเชฟโรเลตในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2500–2508 แต่ถึงกระนั้น ในช่วงทศวรรษ 1960 มันก็เคยเป็นรถรุ่นที่ทำยอดขายได้สูงที่สุดในสหรัฐอเมริกา และหลังจากนั้น ก็เป็นรถยอดนิยมต่อไปจนถึงช่วงกลางทศวรรษ 1980", "title": "เชฟโรเลต อิมพาลา" }, { "docid": "608136#1", "text": "เชฟโรเลต โซนิค ใช้เครื่องยนต์ 1.4 ลิตร DOHC - Double Overhead Camshaft ของ จีเอ็ม รองรับการเติมน้ำมันชนิด E20 ระบบ Double CVC - Continuously-Variable Cam-phasing ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งกำลังของเครื่องยนต์ ระบบหัวฉีดน้ำมันแบบใหม่ และเซ็นเซอร์ตรวจสอบระดับออกซิเจน ควบคุมการจ่ายน้ำมันให้ประหยัด มีประสิทธิภาพ และลดมลภาวะ โดยเชฟโรเลต โซนิค ที่ผลิตในประเทศไทย (Thailand) มีให้เลือกทั้งหมด 3 แบบ คือ รุ่นธรรมดา LS, รุ่นกลาง LT และรุ่นออพชั่นเต็มสูบ LTZ นอกจากตลาดในประเทศไทยแล้ว ศูนย์การผลิตจีเอ็ม จังหวัดระยองยังจะเป็นศูนย์กลางการผลิตเชฟโรเลต โซนิคส่งออกจำหน่ายสู่ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia) ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) และ ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines) อีกด้วย ", "title": "เชฟโรเลต โซนิค" }, { "docid": "27214#3", "text": "ในปี ค.ศ. 2008 เชฟโรเลต ภายใต้บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ฉลองการดำเนินกิจการมาครบ 100 ปีเต็ม โดยมีกิจกรรมพิเศษทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย", "title": "เชฟโรเลต" } ]
1789
แฮร์รี่ พอตเตอร์ฉบับนิยาย มีทั้งหมดกี่เล่ม?
[ { "docid": "4336#34", "text": "หนังสือเล่มที่สอง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ ตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 และในสหรัฐอเมริกาวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2542 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันตีพิมพ์อีกหนึ่งปีให้หลังในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 และในสหรัฐอเมริกา 8 กันยายน ปีเดียวกัน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีตีพิมพ์เมื่อ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 เวลาเดียวกันทั้งบลูมส์บรีและสกอแลสติก แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์เป็นหนังสือเล่มยาวที่สุดในชุด ด้วยความหนา 766 หน้าในรุ่นสหราชอาณาจักร และ 870 หน้าในรุ่นสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์ทั่วโลกในภาษาอังกฤษเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2546 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสมตีพิมพ์วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ทำยอดขาย 9 ล้านเล่มในการวางขาย 24 ชั่วโมงแรกทั่วโลก นิยายเล่มที่เจ็ดและสุดท้าย แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ทำยอดขาย 11 ล้านเล่มในช่วงวางขาย 24 ชั่วโมงแรก แบ่งเป็น 2.7 ล้านเล่มในสหราชอาณาจักร และ 8.3 ล้านเล่มในสหรัฐอเมริกา", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "4336#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นชุดนวนิยายแฟนตาซีจำนวนเจ็ดเล่ม ประพันธ์โดยนักเขียนชาวอังกฤษ เจ. เค. โรว์ลิง เป็นเรื่องราวการผจญภัยของพ่อมดวัยรุ่น แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเพื่อนสองคน รอน วีสลีย์ และ เฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ซึ่งทั้งหมดเป็นนักเรียนโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ โครงเรื่องหลักเกี่ยวกับภารกิจของแฮร์รี่ในการเอาชนะพ่อมดศาสตร์มืดที่ชั่วร้าย ลอร์ดโวลเดอมอร์ ผู้ที่ต้องการจะมีชีวิตอมตะ มีเป้าหมายเพื่อพิชิตมักเกิ้ล หรือประชากรที่ไม่มีอำนาจวิเศษ พิชิตโลกพ่อมดและทำลายทุกคนที่ขัดขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" } ]
[ { "docid": "4336#38", "text": "ผลงานในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ฉบับแปลภาษาไทยได้รับการจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ในขณะที่ฉบับภาษาอังกฤษได้ออกมาแล้วสี่เล่ม โดยต้องเร่งแปลหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ทั้งสี่เล่มให้เสร็จโดยเร็วเพื่อง่ายต่อการแปลแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มที่ห้า ซึ่งโรว์ลิงยังเขียนไม่เสร็จ มีผู้แปลทั้งสิ้นสามคน ได้แก่ สุมาลี บำรุงสุขแปลเล่มที่หนึ่ง สอง ห้า หกและเจ็ด วลีพร หวังซื่อกุลแปลเล่มที่สาม และงามพรรณ เวชชาชีวะแปลเล่มที่สี่ หน้าปกฉบับภาษาไทยนั้นใช้ภาพแบบเดียวกับหน้าปกฉบับอเมริกัน ซึ่งเป็นผลงานของแมรี กรองด์เปร", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "4336#40", "text": "นวนิยายชุดนี้ยังสามารถครองใจกลุ่มนักอ่านผู้ใหญ่ได้ด้วย ทำให้มีการจัดพิมพ์หนังสือออกเป็น 2 ฉบับในแต่ละเล่ม ซึ่งในนั้นมีเนื้อหาเหมือนกันหมด เพียงแต่ฉบับหนึ่งทำปกสำหรับเด็ก อีกฉบับหนึ่งสำหรับผู้ใหญ่ นอกเหนือไปจากการพบปะกันออนไลน์ผ่านบล็อก พ็อตแคสต์และแฟนไซต์แล้ว แฟนผู้คลั่งไคล้แฮร์รี่ พอตเตอร์ยังสามารถพบปะกันที่สัมมนาแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้ด้วย คำว่า \"มักเกิ้ล\" (Muggle) ได้แพร่ออกไปนอกเหนือจากการใช้ในแฮร์รี่ พอตเตอร์ และกลายเป็นหนึ่งในคำวัฒนธรรมสมัยนิยมไม่กี่คำได้บรรจุลงพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด แฟนแฮร์รี่ พอตเตอร์ฟังพ็อตแคสต์เป็นประจำ โดยมากทุกสัปดาห์ เพื่อเข้าใจการอภิปรายล่าสุดในหมู่แฟน ทั้งมักเกิ้ลแคสต์และพอตเตอร์แคสต์ ได้แตะระดับอันดับสูงสุดของไอทูนส์และได้รับการจัดอันดับอยู่ในพ็อตแคสต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 50 อันดับแรก", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "111005#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม เป็นหนังสือเล่มที่หกในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง ออกวางจำหน่ายเมื่อ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 หนังสือเล่มนี้ขายได้ถึง 9 ล้านเล่มภายใน 24 ชั่วโมงแรก ถือเป็นสถิติสูงสุดในขณะนั้น ซึ่งตอนนี้ภาคที่ตามมา แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ได้ทำลายสถิตินั้นลงไปเรียบร้อยแล้ว แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม ฉบับภาษาไทยแปลโดย \"สุมาลี\" จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม" }, { "docid": "78353#35", "text": "เล่มสอง \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ\" เดิมจัดพิมพ์ในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2541 และในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2542 จากนั้น \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน\" จัดพิมพ์อีกหนึ่งปีให้หลังในสหราชอาณาจักรเมื่อ 8 กรกฎาคม 2542 และในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 8 กันยายน 2542 \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี\" จัดพิมพ์เมื่อ 8 กรกฎาคม 2543 พร้อมกันทั้งบลูมส์บิวรีและสกอลาสติก \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์\" เป็นเล่มที่ยาวที่สุดในชุด รุ่นสหราชอาณาจักรมี 766 หน้า และรุ่นสหรัฐอเมริกามี 870 หน้า จัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษทั่วโลกเมื่อ 21 มิถุนายน 2546 \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม\" จัดพิมพ์เมื่อ 16 กรกฎาคม 2548 และขายได้ 11 ล้านเล่มในการวางขายทั่วโลก 24 ชั่วโมงแรก นวนิยายเล่มที่เจ็ดและเล่มสุดท้าย \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต\" จัดพิมพ์เมื่อ 21 กรกฎาคม 2550 หนังสือขายได้ 11 ล้านเล่มในการวางขาย 24 ชั่วโมงแรกเช่นกัน", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์" }, { "docid": "17410#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี คือหนังสือเล่มที่สี่ในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง และแปลโดยงามพรรณ เวชชาชีวะจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ตีพิมพ์และวางจำหน่ายเป็นฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 และเป็นฉบับภาษาไทยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544 วรรณกรรมชุดนี้ถือว่ายาวมากอย่างไม่น่าจะมีใครทำมาก่อน โดยในฉบับภาษาไทยมีความยาวทั้งหมดถึง 832 หน้า (ฉบับบลูมส์บูรี่มีความยาวทั้งหมด 636 หน้า) หนังสือเล่มนี้สร้างสถิติโดยเป็นหนังสือเล่มแรกที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมากกว่าชิ้นงานวรรณกรรมเยาวชนอื่นๆ มีเพียงหนังสือเล่มต่อๆ มาในชุดเดียวกันนี้เท่านั้นที่สามารถลบสถิตินี้ได้ นั่นคือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม โดยเฉพาะจากการที่ เจ. เค. โรว์ลิ่งออกมาเตือนผู้อ่านก่อนหนังสือจะตีพิมพ์ว่าจะมีตัวละครเสียชีวิตในเล่มนี้ ซึ่งสร้างกระแสของการคาดการณ์ว่าตัวละครใดจะเสียชีวิต และสร้างปรากฏการณ์ 'คลั่งแฮร์รี่ พอตเตอร์' ทั่วโลก", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี" }, { "docid": "91329#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต () เป็นนวนิยายแนวแฟนตาซี เขียนโดยนักเขียนชาวอังกฤษ เจ. เค. โรว์ลิ่ง เป็นหนังสือเล่มที่เจ็ดและเป็นเล่มสุดท้ายในนวนิยายชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" ออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 เป็นการปิดฉากชุดนวนิยายซึ่งเริ่มต้นเมื่อ ค.ศ. 1997 จากการตีพิมพ์นวนิยายเรื่อง \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์\" ในประเทศอังกฤษตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บลูมสบิวรี่ ประเทศอเมริกาตีพิมพ์โดยสกอลาสติก และในประเทศไทยตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ (ออกจำหน่ายวันที่ 7 ธันวาคมพ.ศ. 2550) ดำเนินเรื่องราวต่อจากเหตุการณ์ใน \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม\" ไปจนถึงการเผชิญหน้าครั้งสุดท้ายระหว่างสองพ่อมด แฮร์รี่ พอตเตอร์ และลอร์ดโวลเดอมอร์", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต" }, { "docid": "4336#1", "text": "หนังสือเล่มแรกในชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ วางจำหน่ายในฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2540 และนับแต่นั้น หนังสือก็ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ทั้งได้รับการยกย่องอย่างสำคัญและประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ทั่วโลก อย่างไรก็ดี ชุดนวนิยายดังกล่าวก็มีข้อวิจารณ์บ้าง รวมถึงความกังวลถึงโทนเรื่องที่มืดมนขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 ชุดหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้ทำยอดขายไปมากกว่า 500 ล้านเล่มทั่วโลก ซึ่งเป็นชุดหนังสือที่มียอดขายมากที่สุดตลอดกาล และมีการแปลไปเป็นภาษาต่าง ๆ รวม 73 ภาษา หนังสือสี่เล่มสุดท้ายของชุดยังได้สร้างสถิติเป็นหนังสือที่จำหน่ายออกหมดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยหนังสือเล่มสุดท้ายของชุดมียอดขายกว่า 11 ล้านเล่มในสหรัฐและสหราชอาณาจักรภายในระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงแรกที่วางขาย", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "38960#45", "text": "ในเดือนกันยายน ปี 2012 โรว์ลิงกล่าวว่าเธอกำลังเขียนหนังสือสองเล่มสำหรับผู้อ่านที่อายุน้อยกว่าแฮร์รี่ พอตเตอร์ ในการให้สัมภาษณ์กับเดอะการ์เดียนเธอยังคงพูดเหมือนครั้งก่อนว่าหนึ่งในนิยายสองเรื่องยังเป็นหนังสือ“เทพนิยายการเมือง” ถึงแม้เธอคาดหมายว่าจะนำหนังสือเล่มอื่นของเธอออกวางขายก่อนก็ตาม ที่งานเทศกาลหนังสือนิยายเชลต์นัมเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2012 เธอได้บอกว่าเธอมีนิยายอยู่สองเรื่องในแล็ปท็อปของเธอ ซึ่งเธอตั้งใจเขียนให้กลุ่มผู้อ่านที่อายุต่ำกว่าผู้อ่านแฮร์รี่ พอตเตอร์เล็กน้อยและใกล้ที่จะเขียนเสร็จแล้ว", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" } ]
2720
รัสเซียอยู่ทวีปอะไร ?
[ { "docid": "5449#4", "text": "ดินแดนอันกว้างใหญ่ของสหพันธรัฐรัสเซียครอบคลุมพื้นที่แถบตะวันออกเฉียงเหนือเหนือของทวีปยูเรเชีย จุดที่ห่างไกลกันที่สุดของรัสเซีย ซึ่งได้แก่ชายแดนที่ติดต่อกับโปแลนด์และหมู่เกาะคูริล มีระยะห่างถึง 8,000 กิโลเมตร ทำให้รัสเซียมีถึง 11 เขตเวลา[18] รัสเซียมีเขตป่าสงวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก[7] และถูกเรียกว่าเป็น \"ปอดของยุโรป\"[19] เพราะปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดูดซึมนั้นเป็นรองเพียงแค่ป่าดิบชื้นแอมะซอนเท่านั้น[19] รัสเซียมีทางออกสู่มหาสมุทรถึงสามแห่ง ได้แก่มหาสมุทรแอตแลนติก อาร์กติก และแปซิฟิก จึงทำให้รัสเซียเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่ออุปทานของสินค้าประมงในโลก[20]", "title": "ประเทศรัสเซีย" } ]
[ { "docid": "431564#0", "text": "กองทัพสหพันธรัฐรัสเซีย () เป็นราชการทหารของประเทศรัสเซีย ก่อตั้งขึ้นหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย วันที่ 7 พฤษภาคม 2535 บอริส เยลต์ซินลงนามในคำสั่งประธานาธิบดีที่สถาปนากระทรวงกลาโหมรัสเซียและกำหนดให้หน่วยทหารกองทัพโซเวียตทั้งหมดในดินแดนสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียอยู่ใต้การควบคุมของรัสเซีย ประธานาธิบดีรัสเซียเป็นผู้บัญชาการทหารของกองทัพ", "title": "กองทัพรัสเซีย" }, { "docid": "4165#31", "text": "โดยในปี 1921 อย่างที่สองมาพร้อมกับการตระหนักถึงโดยเลนิน, ทรอตสกี และสตาลินว่าระบบทุนนิยมมีเสถียรภาพตัวเองในยุโรป และจะไม่มีการปฏิวัติอย่างกว้างขวางในเร็ว ๆ นี้ มันกลายเป็นหน้าที่ของพวกบอลเชวิครัสเซียเพื่อปกป้องสิ่งที่พวกเขามีในรัสเซีย และหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าทางทหารที่อาจทำลายสะพานของพวกเขา ตอนนี้รัสเซียอยู่ในสภาพเดียวกันกับ้เยอรมนี ทั้งสองเข้ามามีส่วนร่วมในปี 1922 ในสนธิสัญญาราพาลโล (ค.ศ. 1922) ที่ตัดสินความคับข้องใจยาวนาน ในเวลาเดียวกันทั้งสองประเทศแอบจัดตั้งโครงการฝึกอบรมสำหรับกองทัพเยอรมัน และกองทัพอากาศที่ผิดกฎหมายที่ค่ายกักกันในสหภาพโซเวียต[14]", "title": "สหภาพโซเวียต" }, { "docid": "68722#5", "text": "การถือกำเนิดของอุดมคติเกี่ยวกับความชื่นชอบสิ่งซึ่งเป็นของสลาฟในจักรวรรดิรัสเซียทำให้สมเด็จพระจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซียทรงเสาะหาเจ้าสาวให้กับแกรนด์ดยุกนิโคลาส อเล็กซานโดรวิชแห่งรัสเซีย ในประเทศอื่นนอกเหนือไปจากรัฐเยอรมันต่างๆ ที่ได้ถวายพระชายาให้กับพระจักรพรรดิรัสเซีย อย่างเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาเป็นเวลานาน ในปี พ.ศ. 2407 แกรนด์ดยุกนิโคลาส หรือ ซึ่งรู้จักในหมู่พระประยูรญาติว่า \"นิกซา\" เสด็จเยือนประเทศเดนมาร์กและทรงหมั้นกับเจ้าหญิงดักมาร์ แต่พระองค์สิ้นพระชนม์ด้วยวัณโรค เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2408 ทั้งนี้ก่อนสิ้นพระชนม์ยังมีพระประสงค์ให้เจ้าหญิงทรงหมั้นกับแกรนด์ดยุกอเล็กซานเดอร์ ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 3 พระอนุชาแทน เจ้าหญิงดักมาร์ทรงเสียพระทัยมากเมื่อพระคู่หมั้นสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงพระทัยสลายมากเมื่อเสด็จกลับสู่มาตุภูมิ พระประยูรญาติต่างทรงรู้สึกเป็นห่วงสุขภาพของเจ้าหญิง พระองค์ททรงรู้สึกเกี่ยวพันกับประเทศรัสเซียและนึกถึงประเทศที่ยิ่งใหญ่อยู่ไกลโพ้นที่จะเป็นบ้านใหม่ของพระองค์ การสูญเสียครั้งใหญ่นี้ทำให้ทรงใกล้ชิดกับพระชนกและชนนีของแกรนด์ดยุกนิกซา และทรงได้รับพระราชหัตถเลขาจากสมเด็จพระจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 2 ซึ่งเนื้อความในนั้นเป็นคำปลอบใจจากพระจักรพรรดิ พระองค์ตรัสกับเจ้าหญิงด้วยความรักใคร่ว่าพระองค์ทรงหวังว่าเจ้าหญิงจะยังคงคิดว่าเป็นสมาชิกในพระราชวงศ์รัสเซียอยู่[1] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2409 เมื่อแกรนด์ดยุกอเล็กซานเดอร์เสด็จเยือนประเทศเดนมาร์ก ทรงขออภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงดักมาร์ ทั้งสองพระองค์ประทับอยู่ในห้องของเจ้าหญิงเพื่อดูรูปต่างๆ ด้วยกัน[2]", "title": "จักรพรรดินีมารีเยีย เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย (ดักมาร์แห่งเดนมาร์ก)" }, { "docid": "998691#1", "text": "เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1943 แนวรบโวโรเนจได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นแนวรบยูเครนที่ 1 การเปลี่ยนชื่อนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเขยิบฐานะทางทิศตะวันตกของกองทัพแดงในการศึกเพื่อต่อต้านแวร์มัคท์ของเยอรมัน โดยปล่อยให้รัสเซียอยู่ข้างหลังและเคลื่อนทัพเข้ามาอยู่ในยูเครน แนวรบนี้เข้าร่วมหรือทำการต่อสู้ในยูเครน, โปแลนด์, เยอรมนี และเชโกสโลวาเกียในช่วงปี ค.ศ. 1944 ถึง 1945", "title": "แนวรบยูเครนที่ 1" }, { "docid": "674576#1", "text": "ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1740 เพื่อเป็นฐานตั้งต้นของการสำรวจทางทะเลของไวทัส เบริงนักเดินเรือเชื้อสายเดนมาร์กซึ่งมารับภารกิจสำรวจทางทะเลให้กับจักรวรรดิรัสเซีย[1] เมืองนี้มีบทบาทสำคัญทางทะเลด้านตะวันออกไกลให้แก่รัสเซียมาอย่างยาวนาน เป็นทั้งสมรภูมิด้านตะวันออกไกลในสงครามไครเมียเมื่อปี ค.ศ. 1854 และมีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่สองจนได้รับเกียรติยกย่องในรัสเซียเป็นหนึ่งในเหล่าเมืองเกียรติยศทางการทหาร (English: City of military glory; Russian: Город воинской славы) เป็นที่ตั้งของสนามบินพาณิชย์เพียงแห่งเดียวบนคาบสมุทรและยังมีฐานทัพของกองเรือแปซิฟิกของรัสเซียตั้งอยู่ด้วย", "title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี" }, { "docid": "154936#1", "text": "พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งรัสเซีย กับภรรยาคนที่ 2 ในปี พ.ศ. 1712 พระองค์ทรงสามารถยึดครองนครเคียฟได้ และทรงประกาศให้เปลี่ยนเมืองหลวงของรัสเซีย จากเดิมที่อยู่ที่นครเคียฟไปเป็นนครวลาดิมิร์ (นครวลาดิมิร์เป็นเมืองที่อยู่ห่างจากกรุงคอสโกไปทางตะวันออกประมาณ 100 ไมล์) และทรงตั้งพระองค์เองเป็นเจ้าผู้ครองนครวลาดิมิร์ โดยได้ทรงแต่งตั้งพระอนุชาของพระองต์เอง เจ้าชาย เกลบ เป็นเจ้าผู้ครองนครเคียฟ ซึ่งในสมัยของพระองค์ก้ยังมีการรบกันภายในประเทศเพื่อที่จะได้เป็นใหญ่ในรัสเซียอยู่", "title": "เจ้าชาย อันไดร โบกอลยุบสกี้" }, { "docid": "823#0", "text": "สหรัฐอเมริกา (English: United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ[fn 1] โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง[2]", "title": "สหรัฐ" }, { "docid": "240166#0", "text": "\"สำหรับสงครามเจ็ดปีในความหมายอื่น อ่าน สงครามเจ็ดปี (แก้ความกำกวม)\"\nสงครามเจ็ดปี () หรือ สงครามไซลีเซียครั้งที่ 3 () เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1756 จนถึง 1763 โดยเกี่ยวข้องกับทุกประเทศมหาอำนาจในยุโรป มีการสู้รบเกิดขึ้นในห้าทวีป สงครามเจ็ดปีเป็นสงครามระหว่างสองข้างด้วยกัน ข้างหนึ่งนำโดยบริเตนใหญ่ พร้อมด้วยปรัสเซียและกลุ่มนครรัฐเล็กในเยอรมัน กับอีกข้างหนึ่งที่นำด้วยฝรั่งเศส พร้อมด้วยออสเตรีย, รัสเซีย, สวีเดน และซัคเซิน โดยรัสเซียเปลี่ยนข้างอยู่ระยะหนึ่งในช่วงปลายของสงคราม", "title": "สงครามเจ็ดปี" }, { "docid": "626306#6", "text": "ด้วยสภาพของกองเรือที่ย่ำแย่และไม่พร้อมออกรบ พลเรือตรี โรซเดสท์เวนสกี ต้องการที่จะนำกองเรือเข้าเทียบท่าที่ฐานทัพเรือในวลาดีวอสตอค ให้เร็วที่สุด จึงตัดสินใจเลือกเดินเรือผ่านช่องแคบสึชิมะที่ใกล้กว่า แต่ก็มีความอันตรายกว่า ในคืนวันที่ 26 พฤษภาคม 1905 กองเรือบอลติกได้อาศัยช่วงเวลากลางคืนเคลื่อนพลผ่านช่องแคบสึชิมะ คืนนั้นเป็นคืนที่หมอกลงซึ่งเอื้อต่อการพรางตัวของกองเรือรัสเซีย แต่เวลา 02:45 น. เรือลาดตระเวน \"ชินะโนะมะรุ\" ขนาด 6,300 ตันของญี่ปุ่นตรวจพบดวงไฟสามดวงในแนวระนาบ จึงได้เข้าไปใกล้เพื่อตรวจสอบ แล้วก็พบว่าเป็นเรือพยาบาล\"โอเร\" ของรัสเซีย ซึ่งสามารถแล่นผ่านไปได้ตามกฎหมายสงคราม เรือชินะโนะมะรุตามติดอยู่ห่างๆโดยไม่ให้เรือพยาบาลรับรู้ จนกระทั่งเมื่อเวลา 04:30 เรือชินะโนะมะรุก็แสดงตนเข้าหาเรือพยาบาล เมื่อเรือโอเรเห็นเรือชินะโนะมะรุ ก็เข้าใจผิดว่านั่นคือเรือรบลำอื่นของรัสเซีย จึงส่งสัญญาณเพื่อยืนยันไปยังเรือชินะโนะมะรุ ทำให้ทราบว่ามีเรือลำอื่นของรัสเซียอยู่ใกล้ๆ เรือชินะโนะมะรุรีบส่องไฟดูโดยรอบและพบเงาเรือรัสเซียนับสิบลำในสายหมอก เรือชินะโนะมะรุจึงรีบวิทยุแจ้งไปยังพลเรือเอกโทโงในเวลา 04:55 น. ว่าพบกองเรือรัสเซีย โอกาสของกองเรือรัสเซียที่จะไปถึงวลาดีวอสตอคจึงมลายหายไปในทันใด", "title": "ยุทธนาวีช่องแคบสึชิมะ" }, { "docid": "29004#5", "text": "ในปี ค.ศ.1051 นักบุญแอนโทนีแห่งคูหา (St. Anthony of the Caves) ได้สร้างอารามแห่งคูหา (Monastery of the Caves) ในเมืองเคียฟ และนำประเพณีต่าง ๆ แบบอาธอเนียนเข้ามาในรัสเซีย อารามแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวรัสเซีย ในจดหมายเหตุได้บันทึกไว้หลายเล่ม ด้วยการเป็นศูนย์กลางแห่งศรัทธาในสมัยรัสเซียโบราณ อารามมีความเจริญรุ่งเรือง และมีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตของชาวรัสเซีย อารามแห่งนี้ได้มีการวาดภาพไอคอน พระเป็นเจ้า ศีลปะ วรรณคดี ผลงานทางศาสนา และ ประวัติศาสตร์ผู้แปลวรรณกรรมเป็นภาษารัสเซียอยู่จำนวนมาก", "title": "คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์" }, { "docid": "29004#2", "text": "คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่าหนึ่งพันปี ตามที่สืบทอดมาจากนักบุญอันดรูว์ อัครทูตคนแรกของพระเยซู ซึ่งมีตำนานระบุว่าท่านเคยทำการประกาศข่าวดีที่ภูเขาเคียฟ ส่วนข้อเท็จจริงที่ยอมรับกันในปัจจุบันก็คือ รัสเซียรับคริสต์ศาสนามาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์", "title": "คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์" }, { "docid": "758910#1", "text": "ไทกาเป็นชีวนิเวศบนดินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในทวีปอเมริกา ไทกากินพื้นที่ส่วนใหญ่ของแคนาดาและรัฐอะแลสกาในแผ่นดิน ตลอดจนจุดเหนือสุดของสหรัฐอเมริกาภาคพื้นทวีป (รัฐมินนิโซตาตอนเหนือผ่านคาบสมุทรอัปเปอร์ของรัฐมิชิแกนและอัปสเตดนิวยอร์กถึงรัฐนิวอิงแลนด์ตอนเหนือ) ซึ่งเรียก นอร์ทวูดส์ ในยูเรเซีย ไทกากินพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ นอร์เวย์ส่วนมาก พื้นที่ราบและชายฝั่งบางส่วนของไอซ์แลนด์ พื้นที่กว้างใหญ่ของประเทศรัสเซียตั้งแต่คารีเลียทางตะวันตกถึงมหาสมุทรแปซิฟิก (ซึ่งรวมไซบีเรียไปมาก) และบางพื้นที่ของประเทศคาซัคสถานตอนเหนือ มองโกเลียตอนเหนือ และประเทศญี่ปุ่นตอนเหนือ (บนเกาะฮกไกโด) ทว่า ไม้ต้นสามสปีชีส์หลัก ระยะเวลาของฤดูเติบโตและอุณหภูมิฤดูร้อนแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ไทกาทวีปอเมริกาเหนือส่วนใหญ่เป็นสพรูส ไทกาสแกนดิเนเวียและฟินแลนด์ประกอบด้วยสพรูส ไพน์และเบิร์ชผสมกัน ไทการัสเซียมีสพรูส ไพน์และลาตช์ขึ้นอยู่กับภูมิภาค ขณะที่ไทกาไซบีเรียตะวันออกเป็นป่าลาตช์ขนาดใหญ่.", "title": "ไทกา" }, { "docid": "388643#3", "text": "จักรพรรดิเยอรมันพระองค์ใหม่ จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 หลังปลดบิสมาร์คออกจากตำแหน่ง ทรงเปลี่ยนแปลงทิศทางนโยบายต่างประเทศของเยอรมนี และเมื่อสนธิสัญญาประกันพันธไมตรีที่ลงนามอย่างลับ ๆ กับรัสเซียหมดอายุใน ค.ศ. 1890 ซึ่งรัสเซียร้องขอให้ต่ออายุสนธิสัญญา แต่เยอรมนีปฏิเสธ ทำให้หลังจากมีการเจรจาอย่างกว้างขวาง พันธมิตรฝรั่งเศส-รัสเซียจึงถูกร่างขึ้นในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1892 และเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1894 พันธมิตรดังกล่าวมีผลอยู่ตราบเท่าที่ยังมีไตรพันธมิตรอยู่", "title": "พันธมิตรฝรั่งเศส-รัสเซีย" }, { "docid": "464727#1", "text": "อาสนะประจำตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งยอร์กต้ังอยู่ภายในมหาวิหารยอร์กกลางนครยอร์ก อาร์ชบิชอปคนปัจจุบันคือ ศาสนาจารย์ ดร.จอห์น เซนทามู ชาวยูกันดา ซึ่งดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2005", "title": "อาร์ชบิชอปแห่งยอร์ก" }, { "docid": "110167#5", "text": "หลัง ค.ศ. 1870 ความขัดแย้งในยุโรปเบี่ยงเบนไปส่วนใหญ่ผ่านเครือข่ายสนธิสัญญาที่มีการวางแผนไว้อย่างระมัดระวังระหว่างจักรวรรดิเยอรมันกับประเทศที่เหลือในยุโรปด้วยฝีมือของนายกรัฐมนตรีบิสมาร์ค เขาเน้นการทำงานเพื่อยึดรัสเซียให้อยู่ฝ่ายเดียวกับเยอรมนีเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามสองแนวรบกับฝรั่งเศสและรัสเซีย เมื่อจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเยอรมนี (ไกเซอร์) พันธมิตรของบิสมาร์คค่อย ๆ ถูกลดความสำคัญลง เช่น จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ทรงปฏิเสธจะต่อสนธิสัญญาประกันพันธไมตรีกับรัสเซียใน ค.ศ. 1890 อีกสองปีต่อมา มีการลงนามจัดตั้งพันธมิตรฝรั่งเศส-รัสเซียเพื่อตอบโต้อำนาจของไตรพันธมิตร ใน ค.ศ. 1904 สหราชอาณาจักรประทับตราเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส ซึ่งเรียกว่า ความตกลงฉันทไมตรี และใน ค.ศ. 1907 สหราชอาณาจักรและรัสเซียลงนามในอนุสัญญาอังกฤษ-รัสเซีย ระบบนี้ประสานความตกลงทวิภาคีและก่อตั้งไตรภาคี\nอำนาจทางอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของเยอรมนีเติบโตขึ้นอย่างมากหลังการรวมชาติและการสถาปนาจักรวรรดิใน ค.ศ. 1870 นับตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1890 เป็นต้นมา รัฐบาลของจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ได้ใช้ฐานนี้ในการจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างกองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมันขนานใหญ่ จัดตั้งขึ้นโดยพลเรือเอกอัลเฟรด ฟอน ทีร์พิทซ์ แข่งขันกับกองทัพเรืออังกฤษเพื่อชิงความเป็นเจ้านาวิกโลก ผลที่ตามมาคือ ทั้งสองชาติต่างพยายามแข่งขันผลิตเรือรบขนาดใหญ่ระหว่างกัน ด้วยการปล่อยเอชเอ็มเอส ดรีดนอท ใน ค.ศ. 1906 จักรวรรดิอังกฤษได้ขยายความได้เปรียบเหนือเยอรมนีคู่แข่งอย่างสำคัญ การแข่งขันอาวุธระหว่างอังกฤษและเยอรมนีได้ลุกลามไปยังส่วนที่เหลือของยุโรปในที่สุด โดยประเทศมหาอำนาจทั้งหมดทุ่มเทฐานอุตสาหกรรมของตนในการผลิตยุทโธปกรณ์และอาวุธที่จำเป็นสำหรับความขัดแย้งทั่วทวีปยุโรป ระหว่าง ค.ศ. 1908 และ 1913 ค่าใช้จ่ายด้านการทหารของประเทศในยุโรปเพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซนต์\nออสเตรีย-ฮังการีจุดชนวนเร่งให้เกิดวิกฤตการณ์บอสเนีย ค.ศ. 1908-1909 โดยการผนวกบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซึ่งเป็นอดีตดินแดนของจักรวรรดิออตโตมัน อย่างเป็นทางการ หลังได้ยึดครองมาตั้งแต่ ค.ศ. 1878 สร้างความโกรธแค้นแก่ราชอาณาจักรเซอร์เบียและประเทศผู้ให้การสนับสนุน คือ จักรวรรดิรัสเซียซึ่งมีแนวคิดรวมชาติสลาฟ การดำเนินกลยุทธ์ทางการเมืองของรัสเซียในภูมิภาคบั่นทอนเสถียรภาพของสันติภาพควบคู่ไปกับความแตกร้าวที่เกิดขึ้นแล้วในสิ่งที่เป็นที่รู้จักกันว่า \"ถังดินปืนแห่งยุโรป\"\nใน ค.ศ. 1912 และ 1913 สงครามบอลข่านครั้งที่หนึ่งสู้รบกันระหว่างสันนิบาตบอลข่านและจักรวรรดิออตโตมันที่เสื่อมอำนาจลง สนธิสัญญาลอนดอนอันเป็นผลของสงครามได้ลดขนาดของจักรวรรดิออตโตมันไปอีก สถาปนาอัลเบเนียเป็นรัฐเอกราช ขณะที่เพิ่มดินแดนให้แก่บัลแกเรีย เซอร์เบีย มอนเตเนโกรและกรีซ เมื่อบัลแกเรียโจมตีเซอร์เบียและกรีซเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1913 บัลแกเรียก็เสียมาซิโดเนียส่วนใหญ่ให้แก่เซอร์เบียและกรีซ และเสียเซาเทิร์นดอบรูจาให้แก่โรมาเนียในสงครามบอลข่านครั้งที่สองนาน 33 วัน ซึ่งยิ่งบั่นทอนเสถียรภาพในภูมิภาคขึ้นไปอีก", "title": "สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง" }, { "docid": "110167#44", "text": "สงครามและรัฐบาลได้รับความนิยมน้อยลงเรื่อย ๆ ความไม่พอใจทำให้พรรคบอลเชวิค ที่นำโดย วลาดีมีร์ เลนิน ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก เขาให้สัญญาว่าจะดึงรัสเซียออกจากสงครามและทำให้รัสเซียกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง ชัยชนะของพรรคบอลเชวิคในเดือนพฤศจิกายนนั้น ตามมาด้วยการสงบศึกและการเจรจากับเยอรมนี ในตอนแรก พรรคบอลเชวิคปฏิเสธข้อเสนอของเยอรมนี แต่เมื่อกองทัพเยอรมันทำสงครามต่อไปและเคลื่อนผ่านยูเครนโดยไม่ช้าลง รัฐบาลใหม่จึงต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1918 ซึ่งทำให้รัสเซียออกจากสงคราม แต่ต้องยอมยกดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาล รวมไปถึงฟินแลนด์ รัฐบอลติก บางส่วนของโปแลนด์และยูเครนแก่ฝ่ายมหาอำนาจกลาง อย่างไรก็ตาม ดินแดนที่เยอรมนีได้รับจากรัสเซียทำให้ต้องแบ่งกำลังพลไปยึดครองและอาจเป็นปัจจัยนำสู่ความล้มเหลวของการรุกฤดูใบไม้ผลิ และสนับสนุนอาหารและยุทธปัจจัยอื่นค่อนข้างน้อย", "title": "สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง" }, { "docid": "140540#1", "text": "รุ่นแรกๆของ J-10 นั้น ใช้เครื่องยนต์ไอพ่นเทอร์โบแฟนของรัสเซีย ไลยูก้า แซตเทิร์น AL-31FN ในอนาคตนั้น ทางประเทศจีนมีโครงการติดตั้งเครื่องยนต์ในประเทศ WS-10A (WoShan-10A) Taihang ซึ่งสร้างขึ้นโดยใช้แกนโมดูลของเครื่องยนต์พลเรือน CFM-56 เป็นต้นแบบ แต่จนปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) อยู่ในขั้นตอนการผลิตขั้นเริ่มต้น โปรเจกต์ล่าช้ากว่าแผนงานร่วมสิบปี ทำให้ยังต้องพึ่งพาเครื่องยนต์จากรัสเซียอยู่ต่อไป ", "title": "เฉิงตู เจ-10" }, { "docid": "158667#40", "text": "รัสเซียในช่วง พ.ศ. 2424 จนถึง พ.ศ. 2437 เป็นสมัยที่ชาวต่างชาติมักจะมองกันว่ารัสเซียสงบราบรื่น ถึงขนาดที่มีผู้ให้สมญาซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย ว่าทรงเป็น \"ซาร์แห่งสันติภาพ\" ซึ่งผู้ที่ให้สมญาดังกล่าวอาจจะมองรัสเซียอย่างผิวเผินเฉพาะเหตุการณ์ทางด้านการต่างประเทศ และความสงบจากการที่รัสเซียสามารถแก้ปัญหาจากการปฏิวัติทุกรูปแบบภายในประเทศได้สำเร็จ ทางด้านการต่างประเทศนั้น รัสเซียได้ดำเนินนโยบายเป็นมิตรสนิทกับจักรวรรดิเยอรมนีและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จนกระทั่งเกิดปัญหาเรื่องดินแดนในคาบสมุทรบอลข่านในช่วงปลายปี พ.ศ. 2413 ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับออสเตรียและเยอรมนีก็เริ่มเสื่อมคลายลง รัสเซียจึงเปลี่ยนนโยบายไปเป็นมิตรสนิทสนมกับฝรั่งเศสและอังกฤษ ในรัชสมัยของซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 กลุ่มต่อต้านระบอบกษัตริย์เงียบหายไปอย่างรวดเร็ว มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งได้พยายามวางแผนลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระจักรพรรดิในงานครบรอบหกปีการเสด็จสวรรคตของพระชนกนาถ ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ที่จัดขึ้น ณ ป้อมปีเตอร์และปอล มหาวิหารสุสานหลวงแห่งราชวงศ์โรมานอฟในกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เหล่านักวางแผนก่อการร้ายได้ยัดระเบิดลงไว้ในไส้ข้างในของหนังสือเรียนที่พวกเขาตั้งใจจะขว้างใส่จักรพรรดิขณะเสด็จกลับจากมหาวิหาร อย่างไรก็ตาม ตำรวจลับรัสเซียได้เปิดโปงแผนการร้ายก่อนที่ถูกทำให้สำเร็จลุล่วง นักศึกษาจำนวนห้าคนถูกจับแขวนคอ รวมทั้งอเล็กซานเดอร์ อูลยานอฟ เขามีน้องชายที่มีพรสวรรค์คนหนึ่ง ซึ่งมีความคิดทางการเมืองในเชิงปฏิบัติดังเช่นพี่ชาย เด็กชายคนนั้นคือ วลาดีมีร์ เลนิน ซึ่งอีกหลายปีต่อมาได้ใช้เวลาส่วนมากกับขบวนการปฏิวัติใต้ดินอยู่ในทวีปยุโรปในการหล่อหลอมแนวคิดและทฤษฎีทางการเมืองที่เขาจะนำมาใช้ในประเทศรัสเซียหลังจากการกลับมาในปี พ.ศ. 2460 เพื่อล้างแค้นให้กับการตายของพี่ชาย ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนพ.ศ. 2437 ณ พระราชวังลิวาเดีย ที่ประทับตากอากาศบนแหลมไครเมีย ขณะมีพระชนมพรรษาได้ 49 พรรษา", "title": "ประวัติศาสตร์รัสเซีย" }, { "docid": "29007#1", "text": "ในช่วงทศวรรษที่ 1800- ต้น 1900 นั้น รัสเซียอยู่ในสภาพแร้นแค้น ขาดแคลน และประชาชนไม่พอใจสภาพที่ถูกกดขี่ ฝ่ายกรรมกรก็ต้องทำงานหนักโดยได้รับค่าตอบแทนน้อยมาก ครั้นรัสเซียเข้าสู่สงครามกับญี่ปุ่นก็กลับเป็นฝ่ายแพ้ การเดินขบวนเริ่มอย่างสงบ ภายใต้การนำของหลวงพ่อกาปอง (Gapon) ที่เชื่อมั่นว่าทหารจะไม่ยิงพระ เรียกร้องให้มีการนิรโทษกรรมนักโทษทางการเมือง เรียกร้องรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายลดชั่วโมงการทำงาน และแก้ไขความทุกข์ยากของราษฎร แต่ทหารกลับระดมยิงประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า \"วันอาทิตย์นองเลือด\" (Bloody Sunday) ประชาชนจึงเริ่มเป็นปฏิปักษ์ต่อระบบซาร์ และทำให้การจลาจลแผ่วง กว้างขึ้น จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 (Nicholas II) ต้องทรงยอมออกประกาศเดือนตุลาคม (October Manifests) ยอมให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ เปิดสภาดูมา (Duma) และแต่งตั้งเคานท์ วิทท () เป็นนายกรัฐมนตรี ฝ่ายผู้ก่อการถูกจับหลายคน แต่ผู้นำบางคนหนีไปได้ และไปเตรียมก่อการครั้งใหม่", "title": "การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ.​ 1905" }, { "docid": "816099#2", "text": "ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ภายหลังกว่า 7 เดือน สำนักงานของกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้องได้ตรวจสอบโบสถ์รัสเซียออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย และนั่นโบสถ์ออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยจึงได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นองค์เกี่ยวกับการช่วยเหลือทางสังคมและศาสนาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย\nในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ในการประชุมสมัชชาศักดิ์สิทธิ์ (Holy Synod) ของศาสนจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ได้มีมติพิเศษเกี่ยวกับการดูแลและอภิบาลเขตของศาสนจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ในประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าคณะนักบวชในเขตแพริชที่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยคุณพ่อโอเลก เชเรปานิน ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะให้เป็น \"ผู้แทนพิเศษ\" ของศาสนจักรออร์โธด็อกซ์รัสเซียในราชอาณาจักรไทย", "title": "อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย" }, { "docid": "122450#2", "text": "พวกเขามักใช้สัญลักษณ์เป็นสวัสดิกะ มีบางประเทศในทวีปยุโรปมีกฎหมายห้ามลัทธินาซี การเหยียดผิว การเหยียดเชื้อชาติ กลุ่มนีโอนาซีจะพบแถวชายแดนระหว่างประเทศที่ติดกับเยอรมัน โดยเฉพาะในรัสเซียพบมากที่สุดในกรุงมอสโก เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายของบุคคลกลุ่มนี้ได้แก่ ชนชาติที่เป็นต่างชาติและที่มีอยู่ในรัสเซียอยู่แล้วเช่น ยิว สลาฟ เอเชีย ตาตาร์ ยูเครน เบลารุส แอฟริกันอเมริกัน ลูกครึ่ง รัสเซียและกลุ่มชนชาติต่างๆ ที่อยู่ในรัสเซียและมาจากต่างประเทศ ชาวรัสเซียคนหนึ่งบอกว่า ที่ประเทศเขามีประชากรเป็นรัสเซีย 81% ต่างชาติ 19% อาทิ ยิว สลาฟ ตาตาร์ ยูเครน เบลารุส เยอรมัน ฯลฯ เขาบอกว่าพวกนีโอนาซีจะเป็นพวกเยอรมันที่อยู่ในรัสเซียที่เป็นชุมชนเยอรมัน เขายังบอกอีกว่าชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศเขาที่ไม่ใช้เยอรมันมักถูกทำร้ายจนตายทั้งที่มาจากต่างประเทศและชนชาติกลุ่มต่างๆ ในรัสเซียที่ไม่ใช่เยอรมัน", "title": "นีโอนาซี" }, { "docid": "148716#2", "text": "แม้เยอรมนีกับสหภาพโซเวียตจะชังในอุดมการณ์ของอีกฝ่าย แต่ทั้งสองต่างไม่ชอบผลของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งด้วยกัน สหภาพโซเวียตเสียดินแดนผืนใหญ่ในยุโรปตะวันออกไป อันเป็นผลมาจากสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ ซึ่งได้ยกให้ตามข้อเรียกร้องของเยอรมนีและยอมยกโปแลนด์ ลิทัวเนีย เอสโตเนีย ลัตเวียและฟินแลนด์ ฯลฯ ให้แก่ \"ฝ่ายมหาอำนาจกลาง\" ต่อมา เมื่อเยอรมนียอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรบ้าง ดินแดนเหล่านี้ถูกปลดปล่อยภายใต้เงื่อนไขของการประชุมสันติภาพปารีส ค.ศ. 1919 แต่ขณะนั้นรัสเซียอยู่ในภาวะสงครามกลางเมือง ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่รับรองรัฐบาลบอลเชวิค และสหภาพโซเวียตยังไม่ถูกก่อตั้งขึ้นจนอีก 4 ปีให้หลัง ฉะนั้นจึงไม่มีผู้แทนรัสเซียเข้าร่วมประชุม", "title": "แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)" }, { "docid": "594885#38", "text": "เป็นเหตุให้ พระเจ้าปีเตอร์ตัดสินพระทัยปลดทหารราชองครักษ์ที่มีส่วนร่วมในรัฐประหารออกไปจากราชสำนัก ในขณะที่เวลาเดียวกันทรงส่งเสริมให้พวกเขามีตำแหน่งสูงขึ้นในกองทัพ อเล็กซานดาร์ มาซินได้รับการแต่งตั้งเป็นรักษาราชการแทนผู้บัญชาการทหารบก ในขณะที่พันเอก เซโดมิลจ์ โปโปวิกได้กลายเป็นผู้บัญชาการกองทัพดานูบ การกระทำครั้งนี้ทำให้รัสเซียพึงพอใจ และได้ส่งคณะทูตกลับมา ตามมาด้วยรัฐอื่นๆ เหลือแต่เพียงสหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ที่ยังคงคว่ำบาตรรัฐบาลใหม่ของเซอร์เบียอยู่", "title": "รัฐประหารเดือนพฤษภาคม" }, { "docid": "273659#1", "text": "ฟรีดริช วิลเฮ็ล์มมาจากตระกูลโฮเอินท์ซ็อลเลิร์นและเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น \"ดยุกผู้ยิ่งใหญ่\" () เพราะความสามารถทางการเมืองและทางการทหาร นอกจากนั้นก็ยังเป็นผู้สนับสนุนนิกายคาลวินอย่างแข็งแรงที่เป็นนิกายที่มีความสัมพันธ์กับความรุ่งเรืองของชนชั้นกลาง ฟรีดริชมองเห็นความสำคัญของการค้าและให้การสนับสนุนอย่างเป็นจริงเป็นจัง ความสามารถในการปฏิรูปกิจการภายในของรัฐทำให้ปรัสเซียอยู่ในฐานะอันมีอำนาจทางตอนกลางเหนือของยุโรปหลังจากการตกลงในสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ซึ่งเป็นการวางรากฐานในการยกฐานะจากดัชชีขึ้นเป็นราชอาณาจักรในสมัยของผู้ครองดินแดนคนต่อมาผู้ขึ้นครองราชอาณาจักรเป็นพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย", "title": "ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค" }, { "docid": "612872#3", "text": "ในขณะที่รัสเซียอยู่ในสถานะทางการเงินที่ค่อนข้างแย่ และเกรงการสูญเสียอาณานิคมอเมริการัสเซียโดยปราศจากการชดเชยในความขัดแย้งในอนาคต โดยเฉพาะกับประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ต่อสู้ในสงครามไครเมีย (ค.ศ. 1853-1856) ขณะที่อะแลสกาเริ่มดึงดูดความสนใจของผู้คนในเวลานั้น จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ใกล้อาณาเขตรัฐบริติชโคลัมเบีย แคนาดา เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ปีหลังจากการสู้รบจบลง นอกจากนี้การตื่นทอง (Gold rush) ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นการกระตุ้นการขยายอาณานิคมของอังกฤษในเกาะแวนคูเวอร์ (Vancouver Island) ที่ซึ่งกองทัพเรือฝรั่งเศสและอังกฤษล่าถอยไปแล้วหลังการสู้รบที่ Petropavlovsk ในเขตรัสเซียตะวันออกไกล รัสเซียตัดสินใจว่าในอนาคตการสู้รบกับอังกฤษนั้นยากที่จะป้องกันดินแดนอะแลสกาไว้ได้ ซึ่งอาจจะเป็นเป้าหมายหลักและถูกครอบครองอย่างง่ายๆ ด้วยเหตุนี้จักรพรรดิซาร์อะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซียตัดสินพระทัยที่จะขายดินแดน โดยมีการเริ่มประมูลทั้งประเทศอังกฤษและอเมริกา อังกฤษแสดงออกถึงความสนใจเล็กน้อยในการซื้ออะแลสกา ใน ค.ศ. 1859 รัสเซียเสนอที่จะขายดินแดนแก่สหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามการซื้อดินแดนต้องหยุดชะงักลงเนื่องจากสงครามกลางเมืองอเมริกัน", "title": "การซื้ออะแลสกา" }, { "docid": "209744#2", "text": "ความสำเร็จของนโปเลียนในเยอรมนี ทำให้ปรัสเซียร่วมกับอังกฤษและรัสเซียตั้งสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ แต่คราวนี้ฝรั่งเศสมีรัฐบริวารมากมายให้การสนับสนุน จักรพรรดินโปเลียนจึงนำทัพบุกปรัสเซียชนะที่เยนา-เออร์ชเตดท์ และชนะรัสเซียที่ฟรีดแลนด์ ทำให้เกิดสนธิสัญญาแห่งทิลซิต (Treaty of Tilsit) ที่ยุติสองปีแห่งการนองเลือดของทวีปยุโรปลงในปี ค.ศ. 1807 จากสนธิสัญญานี้ทำให้ปรัสเซียสูญเสียดินแดนขนาดใหญ่ กลายเป็นแกรนด์ดัชชีวอร์ซอว์ (Grand Duchy of Warsaw) และซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ร่วมเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสและเข้าระบบภาคพื้นทวีป (Continental system) เพื่อตัดขาดอังกฤษทางการค้าจากผืนทวีปยุโรป แต่สองประเทศ คือสวีเดนและโปรตุเกส เป็นกลางและไม่ยอมเข้าร่วมระบบภาคพื้นทวีป จักรพรรดินโปเลียนบุกโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1807 และก็ทรงฉวยโอกาสยึดสเปนมาจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 (ราชวงศ์บูร์บง) มาให้พระอนุชาคือ โฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต เป็นกษัตริย์แห่งสเปน โปรตุเกสตกเป็นอาณัติของฝรั่งเศส แต่ชาวสเปนและชาวโปรตุเกสไม่ยินยอม จึงทำสงครามคาบสมุทร ต่อต้านจักรพรรดินโปเลียน โดยใช้การสงครามกองโจร ทางสหราชอาณาจักรส่งดยุกแห่งเวลลิงตัน มาช่วยสเปนและโปรตุเกส ในปี ค.ศ. 1809 ออสเตรียก็ตัดสินใจทำสงครามอีกครั้ง เป็นสัมพันธมิตรครั้งที่ห้า นโปเลียนนำทัพบุกทันที ชนะออสเตรียที่แอสเปิร์น-เอสลิง และวากราม จนทำเกิดสนธิสัญญาเชินบรุนน์ (Treaty of Schönbrunn) ทำให้ออสเตรียเสียดินแดนเพิ่มเติมให้แก่ฝรั่งเศส และจักรพรรดินโปเลียนอภิเษกกับอาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย ", "title": "จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง" }, { "docid": "40900#2", "text": "การประกาศสงครามโลกเริ่มจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการียื่นคำขาดต่อเซอร์เบียเกี่ยวกับคดีลอบปลงพระชนม์มกุฎราชกุมาร อาร์คดยุค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ แต่ทางการเซอร์เบียกลับปฏิเสธ ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย เยอรมนีเข้าช่วยจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ส่วนรัสเซียอยู่ข้างเดียวกับเซอร์เบีย การประกาศสงครามกับฝรั่งเศสของเยอรมนีและบุกฝรั่งเศสโดยผ่านเบลเยียมทำให้อังกฤษต้องเข้าร่วมสงครามโดยการประกาศสงครามกับเยอรมนี ทำให้สงครามนั้นขยายตัวจนกลายเป็นสงครามโลกในที่สุด", "title": "ฝ่ายมหาอำนาจกลาง" }, { "docid": "890261#1", "text": "ฝ่ายปรัสเซียอยู่ในช่วงเศรษฐกิจขยายตัวและมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยกว่ามาก ในขณะที่ฝ่ายออสเตรียที่กำลังอยู่ในช่วงเศรษฐกิจถดถอยจากการที่เผชิญกับการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1848 และสงครามปลดแอกอิตาลีครั้งที่สอง สงครามจึงจบลงที่ชัยชนะอย่างง่ายดายของฝ่ายปรัสเซีย ทำให้ปรัสเซียกลายเป็นรัฐที่มีอำนาจครอบงำรัฐเยอรมันเล็กน้อยต่างๆ ปรัสเซียได้ยุบสมาพันธรัฐเยอรมันทิ้ง และสถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นมาแทนที่ โดยปรัสเซียกีดออสเตรียออกไปจากสมาพันธรัฐที่สถาปนาขึ้นใหม่นี้", "title": "สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย" }, { "docid": "14380#2", "text": "ในปี 2550 ทีมวิจัยของสหรัฐอเมริกาได้กลับมาใช้เบอร์คีเลียมเป็นเป้าหมายอีกครั้งและทางทีมวิจัยรัสเซียก็ได้ติดต่อกับสหรัฐอเมริกาแล้ว การวิจัยครั้งนี้ทำให้เบอร์คีเลียมจำนวน 22 มิลลิกรัม พอที่จะดำเนินการทดลองได้ และ เบอร์คีเลียมได้ถูกส่งมาจากรัสเซียอย่างรวดเร็ว: ครึ่งชีวิตของไอโซโทปเบอร์คีเลียมที่ใช้(เบอร์คีเลียม-249)คือ 330 วัน และในฤดูร้อนปี 2551 มันก็ถูกส่งมาจากนิวยอร์กจนถึงมอสโกว", "title": "เทนเนสซีน" }, { "docid": "154780#4", "text": "ตั้งแต่ที่สหประชาชาติผลักดันให้มีการทำข้อตกลงหยุดยิงในปี 2534 สองในสามของดินแดน(รวมถึงส่วนใหญ่ของชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก) ถูกปกครองโดยรัฐบาลโมร็อกโกซึ่งได้รับการสนับสนุนแบบลับๆ จากฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา ขณะที่ส่วนที่เหลือถูกปกครองโดยสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากแอลจีเรีย ในระดับนานาชาติ ประเทศต่างๆ เช่น รัสเซียอยู่ในฐานะที่คลุมเครือและเป็นกลางในการอ้างสิทธิของทั้ง 2 ฝ่าย แต่ก็ได้กดดันให้ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันในการแก้ปัญหาอย่างสันติ ทั้งโมร็อกโกและโปลีซาริโอต่างพยายามที่จะเพิ่มแรงสนับสนุนในการรับรองดินแดนอย่างเป็นทางการจากชาติต่าง ๆ โดยเฉพาะชาติจากแอฟริกา เอเชีย และลาตินอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา แนวร่วมโปลีซาริโอได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการสำหรับการจัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีจาก 37 ประเทศ และยังเป็นสมาชิกของสหภาพแอฟริกาต่อไป ขณะที่โมร็อกโกได้รับการยอมรับหรือสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศในแอฟริกาหลายแห่ง และส่วนใหญ่จากโลกมุสลิมและสันนิบาตอาหรับ ตลอดสองทศวรรษหลัง การยอมรับที่มีต่อทั้งสองฝ่ายขยายเพิ่มและถดถอยลงตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก", "title": "เวสเทิร์นสะฮารา" } ]
3357
อี ซุน-ชิน เข้ารับใช้ชาติเมื่อใหร่?
[ { "docid": "184325#5", "text": "พ.ศ. 2119 อี ซุน-ชินเขาสอบคัดเลือกนายทหารประจำปี (무과; 武科) เขาได้แสดงความสามารถเชิงดาบและธนู ให้เป็นที่ประทับใจแก่คณะกรรมการตัดสิน แต่ตกในการสอบขี่ม้าเพราะตกม้าขาหัก หลังจากเข้าสอบใหม่และผ่าน เขาถูกส่งไปรบในตำบลทหารกองทัพภาคเหนือ ในจังหวัดฮัมยอง (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งของเกาหลีเหนือ) เขาเป็นนายทหารใหม่ที่อายุเยอะที่สุด (32 ปี) เขาได้รับหน้าที่เข้ารบต่อสู้กับพวกหนู่เจิน (ต่อมาคือพวกแมนจู) ที่เข้ามาปล้นสะดมตามแนวชายแดน อี ซุน-ชินได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วจากความเป็นผู้นำและเป็นผู้มีกลยุทธ์", "title": "อี ซุน-ชิน" } ]
[ { "docid": "198571#102", "text": "เนื่องจากนายพลอี ซุน-ชิน ผู้บัญชาการทหารเรือโซซอนนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญทางนาวียิ่ง ฝ่ายญี่ปุ่นจึงวางแผนกำจัดเขาด้วยการใช้ประโยชน์จากพระธรรมนูญทหารของโซซอนให้เป็นประโยชน์ ฝ่ายญี่ปุ่นใช้สายลับสองหน้าเข้าไปปล่อยข่าวลวงว่านายพลคาโต้ คิโยะมะซะจะเคลื่อนกองเรือขนาดใหญ่ในวันเวลาที่แน่นอนเพื่อโจมตีชายฝั่งเกาหลีและให้ อี ซุน-ชิน ออกไปซุ่มโจมตี", "title": "การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98)" }, { "docid": "184325#63", "text": "เมื่อมองดูเกียรติประวัติของเชื้อสายของอี ซุน-ชิน เชื้อสายของเขามากกว่า 200คนผ่านการสอบเข้ารับราชการทหาร กลายเป็นตระกูลสำคัญ หรือบัณฑิตสายทหาร ถึงแม้ว่าเชื้อสายของเขาจะไม่ได้มีบทบาทสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อการเมืองในช่วงท้ายของราชวงศ์โซซอน แต่ราชสำนักก็ให้เกียรติต่อตระกูลลีอย่างสูง หลายคนทำงานข้าราชการสายมหาดไทยระดับสูง หลังการล่มสลายของราชวงศ์โซซอน เชื้อสายของอี ซุน-ชินหลายคน กลายมาเป็นสมาชิกองค์การต่อต้านญี่ปุ่นเพื่อเอกราชของเกาหลี ปัจจุบัน ลูกหลานของอี ซุน-ชินอาศัยอยู่บริเวณโซล และอาซาน", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#55", "text": "โดยประวัติศาสตร์แล้ว มีแม่ทัพเพียงไม่กี่คนที่ชำนาญในยุทธวิธีการเข้าตีตรงหน้า เข้าตีฉับพลัน การรวมกำลัง และการขยายกำลัง นโปเลียนผู้เชี่ยวชาญการยึดครองบางส่วนด้วยทั้งหมด ก็สมควรเรียกได้ว่าเป็นแม่ทัพที่ยอดเยี่ยม ในส่วนของแม่ทัพเรือ 2อัจฉริยะด้านยุทธวิธีที่สมควรจะกล่าวไว้คือ อี ซุน-ชินแห่งเกาหลี จากตะวันออก และเนลสันแห่งอังกฤษ จากตะวันตก ลีเป็นแม่ทัพเรือผู้โดดเด่นอย่างไม่ต้องสงสัย แม้ว่าเขาจะถูกจำกัดขัดขาในสงครามเจ็ดปี และในทางกลับกัน ความกล้าหาญและชาญฉลาดของเขา มิได้เลื่องลือไปทางตะวันตก เหตุเพราะเขาโชคร้ายที่เกิดมาในราชวงศ์โซซอน ใครก็ตามที่จะเปรียบเทียบกับอี ซุน-ชินได้นั้น ควรจะเหนือกว่า มิเชล เดอ รุยเตอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ เนลสันนี้ ยังห่างไกลจากอี ซุน-ชินในแง่ของลักษณะนิสัยและความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ลียังเป็นผู้ประดิษฐ์เรือรบหุ้มเกราะที่รู้จักในนามเรือเต่า(โคบุคซอน) เขาคือผู้บัญชาการทางทะเลผู้ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง และเป็นผู้เชี่ยวชาญงานยุทธนาวีของ 300 ปีที่ผ่านมา[24]", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "198571#103", "text": "เนื่องจาก อี ซุน-ชิน ทราบถึงสมุทรศาสตร์ของยุทธบริเวณนั้นเป็นอย่างดีว่าเต็มไปด้วยหินโสโครก เขาจึงปฏิเสธพระบรมราชโองการที่จะออกรบอันเป็นเหตุให้พระเจ้าซอนโจลงพระอาญาปลดเขาและจองจำข้อหาไม่ปฏิบัติตามพระบรมราชโองการ ยิ่งไปกว่านั้น วอน กยูน ผู้ซึ่งขึ้นมาแทนตำแหน่งของ อี ซุน-ชิน ยังใส่ความเพ็ดทูลว่า อี ซุน-ชิน นั้นมักจะเมาสุราและเฉื่อยชาอีกด้วย\nหลังจากวอน กยูนเข้าแทนที่ตำแหน่งของ อี ซุน-ชิน เขาก็เรียกกองเรือทั้งหมดของเกาหลี ประมาณ 100 ลำ ที่แม่ทัพลีรวบรวมมาได้อย่างยากเย็น มาประชุมพลที่ยอสุเพื่อหาฝ่ายญี่ปุ่น จากนั้นวอน กยูนก็ออกเดินเรือมุ่งหน้าสู่ปูซานโดยปราศจากการวางแผนหรือเตรียมพร้อมใด ๆ ทั้งสิ้น", "title": "การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98)" }, { "docid": "184325#42", "text": "ผู้ที่อยู่ดูใจอี ซุน-ชินก่อนจากไปนั้นมีเพียง3คนเท่านั้น 2ใน3คนนั้นได้แก่ ลี โฮ ลูกชายคนโตของอี ซุน-ชิน และลี วานหลานชายของเขา เพื่อมิให้ใครสังเกตเห็นการตายของอี ซุน-ชิน ลีโฮและลีวาน ประคองร่างของอี ซุน-ชินไร้วิญญาณเข้าไปในตัวเรือ เพื่อหลีกหนีสายตาของผู้คน สำหรับการรบที่เหลือ ลีวานสวมเกราะของลุงของเขา แล้วขึ้นไปตีกลองศึก เพื่อรักษาขวัยกำลังใจทหารว่าแม่ทัพของเขายังคงมีชีวิตเรือธงยังคงทำการรบอยู่[19]", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#45", "text": "แม่ทัพอี ซุน-ชิน นอกจากจะสามารถถล่มกองทัพญี่ปุ่นได้แล้ว ยังเป็นผู้ที่รักและเคารพในตัวทหารหาญและครอบครัวยิ่ง เขาได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านจากทั้งผลงานในการป้องกันประเทศชาติ และความเป็นผู้โอบอ้อมอารีย์มีเมตตาต่อประชาชน ผู้ประสบภัยสงครามอีกด้วย ผู้คนเคารพยกย่องแม่ทัพอี ซุน-ชินยิ่ง และกล่าวถึงอี ซุน-ชิน มากกว่าตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือที่เขาเป็น", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#36", "text": "หลังพระเจ้าซอนโจทรงสดับข่าวหายนะนี้ มีพระราชโองการปล่อยอี ซุน-ชิน และคืนยศ ผู้บัญชาการทหารเรือให้ทันที แต่อี ซุน-ชินก็พบว่า เขามีเรือรบอยู่ 12ลำ กับกำลังพลที่รอดชีวิต และพร้อมที่จะเข้าสู่สนามรบเพียง 200นาย เมื่อรวมกับเรือธงของเขา เขามีเรือรบในบังคับบัญชาเพียง 13ลำเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ พรเจ้าซอนโจจึงทรงดำริว่ากองทัพเรือของพระองค์สิ้นนาวิกานุภาพแล้ว ยากที่จะพื้นฟูให้ทันเวลา จึงมีพระราชโองการให้ยุบกองทัพเรือ และโยกให้ไปขึ้นตรงต่อกองทัพบก ภายใต้การนำของจอมพล คอน ยูล แต่อี ซุน-ชินกลับทูลตอบว่า \"ข้าพเจ้ายังมีเรือรบอยู่13ลำ ตราบที่ข้าพระองค์ยังมีชีวิตอยู่ ราชศัตรูจะไม่มีทางได้ทะเลตะวันตกอย่างแน่นอน (หมายถึงทะเลเหลือง) ฝ่ายญี่ปุ่น ภายใต้การนำของคูรูชิมะ มิชิฟูสะ,โทโด ทากาโทระ,คาโต้ โยชิอากิและวากิซากะ ยาสุฮารุ ที่กำลังได้ใจจากชัยชนะในครั้งก่อน ก็หมายจะกำจัดอี ซุน-ชิน พร้อมเรือรบที่เหลืออีก 13ลำ ระหว่างทางไปโซล ก็เคลื่อนพลออกจากปูซานสู่โซล", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#69", "text": "ละครชุด \"อี ซุน-ชินผู้เป็นนิรันดร์\" (불멸의 이순신) จำนวน 104ตอน ถูกนำออกฉายทางช่อง KBS ของเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2547 ถึง 28 สิงหาคม พ.ศ. 2548 โดยเนื้อหาส่วนมากเป็นช่วงการรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น ในขณะที่สะท้อนชีวิตของแม่ทัพลีไปด้วย บทอี ซุน-ชินแสดงโดย คิม มยังมิน และได้รับรางวัลนักแสดงชายยอดเยี่ยมจากบทนี้ ละครเรื่องนี้ได้รับความนิยมมากในจีน และถูกนำมาฉายซ้ำโดยสถานีโทรทัศน์ที่เน้นด้านจริยธรรมบางช่องในอเมริกา ละครชุดนี้ถูกวิจารณ์มากในหลายๆจุด เช่นการฉายภาพอี ซุน-ชินในวัยหนุ่มว่าอ่อนแอและโดดเดี่ยว และเป็นคนที่ไม่สนใจอะไรเลยในสถานการณ์เสี่ยงตาย อย่างไรก็ตาม ละครชุดนี้ได้รับการกล่าวขานว่า มีมิติของมนุษย์ปุถุชนมากกว่าชุดอื่นๆ ละครลุดนี้ฉายภาพของอี ซุน-ชินในภาพของมนุษย์ปุถุชน ที่ต้องฝ่าฟันพยันตอันตรายเพียงลำพัง ไม่ใช่วีรบุรุษที่ฟ้าประทานลงมา ละครเรื่องนี้กลายเป็นหัวข้อพูดคุยกันมากขึ้นเพราะบังเอิญเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นประกาศว่าเกาะโตกโดเป็นของญี่ปุ่น ไม่ใช่เกาหลีใต้", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#9", "text": "วีรกรรมของอี ซุน-ชิน ได้รับการจดจำอย่างมาก จากการเข้าร่วมรบหลายต่อหลายครั้งในการรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141) นี้เอง ในปี พ.ศ. 2135 โทโยโทมิ ฮิเดโยชิออกคำสั่งเคลื่อนพลเข้าตีเกาหลี หมายจะกวาดพื้นที่ทั้งคาบสมุทรเกาหลี เพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการหน้าในการเข้ายึดประเทศจีนต่อไป หลังการโจมตีเมืองปูซาน อี ซุน-ชินก็เริ่มปฏิบัติการโต้ตอบทางทะเล จากยอซู หน่วยบัญชาการของเขา เขามีชัยเหนือญี่ปุ่นใน ยุทธนาวีที่โอ๊กโป,ยุทธนาวีที่ซาชาน และอีกหลายศึก ชัยชนะอย่างต่อเนื่องของเขา ทำให้แม่ทัพทั้งหลายของญี่ปุ่นกังวลถึงภัยจากทางทะเล อี ซุน-ชินเข้ารบในยุทธนาวีใหญ่ๆ อย่างน้อย 23 ครั้ง และได้ชัยชนะทุกครั้ง", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "198571#107", "text": "ข่าวความปราชัยของวอน กยูนที่ช่องแคบชีลชอนลยองทำให้พระเจ้าซอนโจมีพระบรมราชโองการปล่อย อี ซุน-ชิน ออกจากคุกพร้อมทั้งคืนตำแหน่งให้เขา อี ซุน-ชิน เร่งกลับไปที่ฐานทัพเรือและพบว่าเขามีเรือรบเหลืออยู่เพียง 12 ลำ พร้อมกำลังพลเพียง 200 นายจากความปราชัยในยุทธการครั้งก่อน อย่างไรก็ตาม ความชาญยุทธพิชัยของ อี ซุน-ชิน หาได้ถดถอยลงไม่และในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1597 อี ซุน-ชิน ใช้เรือรบเพียง 12 ลำ เข้าสัพประยุทธกับเรือรบญี่ปุ่น 133 ลำที่ช่องแคบมลองยอง และในยุทธนาวีนี้เองฝ่ายเกาหลีกลับเป็นผู้มีชัยและบีบบังคับให้โมริ ฮิเดะโทะโมะถอนกองเรือญี่ปุ่นกลับปูซานเปิดช่องให้ลีซุนชินเข้าครอบครองชายฝั่งเกาหลี ยุทธนาวีที่ช่องแคบมลองยองนับได้ว่าเป็นยุทธนาวีที่ยอดเยี่ยมที่สุดของ อี ซุน-ชิน จากความแตกต่างของกำลังรบนี้เอง", "title": "การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98)" }, { "docid": "184325#24", "text": "แต่ฮิเดโยชิก็ปรับแผนอย่างรวดเร็ว ที่ปูซาน เรือรบญี่ปุ่นถูกปรับปรุงด้วยการเสริมเกราะไม้และปืนใหญ่ และเพิ่มมาตรการป้องกันอ่าวด้วยปืนใหญ่ตามริมแนวชาวฝั่ง โดยสั่งให้โรงหล่อในปูซานหล่อขึ้นมา ที่สำคัญที่สุด ญี่ปุ่นรู้ว่าใครอยู่เบื้องหลังความกลัวของพวกเขา และอี ซุน-ชินจะต้องถูกกำจัดให้พ้นทาง ตราบใดที่อี ซุน-ชินยังอยู่ ไม่มีอะไรสามารถรับประกันความปลอดภัยทางทะเลให้ญี่ปุ่นได้แน่นอน", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#12", "text": "ความเยี่ยมยอดของเขา ในฐานะนักยุทธศาสตร์และผู้นำนั้น ได้รับการกล่าวขานอย่างมาก ในระหว่างสงคราม ตัวอย่างเช่น ยุทธการที่ช่องแคบมยองลยาง ที่อี ซุน-ชินนำเรือพานโอกซอนเพียง 13 ลำ เข้าโรมรันกับกองเรือญี่ปุ่น 333 ลำ (เป็นเรือรบ 133ลำ และเรือลำเลียงไม่น้อยกว่า 200 ลำ) [2][3][4][5][6][7][8][9][10][11] ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2140 โดยสามารถจมเรือรบญี่ปุ่นได้ 31ลำ[12] ใช้การไม่ได้ 92 ลำ ถูกจับเป็นเชลยประมาณ 8,000 ถึง 18,466 นาย [13] ในขณะที่ทางเกาหลีไม่เสียเรือเลยสักลำ มีทหารตาย 2 นาย และบาดเจ็บ 3 นายบนเรือที่อี ซุน-ชินบัญชาการ[14] และอี ซุน-ชินยังเป็นผู้บัญชาการที่กระตือรือร้น มักจะเป็นฝ่ายเข้าตีกองเรือญี่ปุ่นอยู่เสมอ", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#65", "text": "ราชทินนามของอี ซุน-ชิน ชุงมูโกง (ขุนศึกผู้จงรักษ์) ถูกใช้ในเกาหลี ในฐานะราชทินนามอันทรงเกียรติอันดับ 3 และรู้จักในนาม ตำแหน่งทางทหารผู้พิทักษ์อันเก่งกล้าสามารถแห่งชุงมู (the Cordon of Chungmu of the Order of Military Merit and Valor) เขายังได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เจ้าชายแห่งโด๊กปุง ชุงมูโร (충무로; 忠武路) ถนนดาว์นทาวน์ในโซลเอง ก็ตั้งตามชื่อของเขา เมือง\"ชุงมู\"เอง ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น\"โทงยลอง\" เพื่อเป็นเกียรติให้แก่อี ซุน-ชิน ในฐานะที่เป็นที่ตั้งฐานบัญชาการของเขา (อยู่บนแนวชายฝั่งทางตอนใต้ของเกาหลี) ใน\"เซโจงโน\" กลางโซลมีอนุสาวรีย์ของอี ซุน-ชินตั้งไว้อยู่ นอกจากนี้ เรือพิฆาตหลากวัตถุประสงค์ของเกาหลีรุ่นหนึ่ง ก็มีชื่อชั้นว่า \"ชามูกง อี ซุน-ชิน\" (รหัสโครงการคือ KDX-II)", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#68", "text": "พ.ศ. 2548 ภาพยนตร์เกาหลี \"ทหารสวรรค์\" (ชอนกุน (천군; 天軍;Heaven's Soldiers) กำกับโดย มิน จุนกิ แสดงถึงอี ซุน-ชินวัยหนุ่ม (แสดงโดย ปาร์ค จุงฮุน) ที่ต่อสู้กับพวกหนู่เจินร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ ร่วมกับทหารเกาหลีเหนือและใต้ ที่ถูกดาวหางฮัลเลย์ดึงให้พลัดมิติย้อนเวลาจาก พ.ศ. 2548 มาสู่ พ.ศ. 2115 นับว่าผิดแปลกไปกว่าฉบับอื่นที่ อี ซุน-ชินถูกนำเสนอในลักษณะของหนุ่มสิบแปดมงกุฎและค่อนข้างเพี้ยน แทนที่จะเป็นวีรบุรุษผู้กล้าหาญ (เวลาในพื้นเรื่อง เกิดก่อนการรุกราณเกาหลีของญี่ปุ่น ราวๆ 20ปี) เหตุการณ์ที่นำเสนอก็ผิดเพี้ยนไปจากประวัติศาสตร์ เช่นการทัพต่อต้านพวกหนู่เจินก็มิได้เกิดในปี พ.ศ. 2115 แต่เกิดในไม่กี่ปีหลังจากนั้น หลังเขาสอบเข้ารับราชการทหารได้ในปี พ.ศ. 2119 ภาพยนตร์เรื่องนี้ลงทุนตามมาตรฐานการสร้างภาพยนตร์ของเกาหลี (7-8 ล้านดอลลาห์) และประสบความสำเร็จ ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายให้เห็นถึงภาพของอี ซุน-ชิน ในฐานะวีรบุรุษของเกาหลีในยุคปัจจุบันและกำลังจะรวมชาติได้อย่างชัดเจน", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#20", "text": "เรือเต่านี้ เป็นส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุดเกี่ยวกับกองเรือของอี ซุน-ชิน แต่เขากลับไม่เคยใช้เรือเต่ามากกว่า 5ลำ ในแต่ละยุทธนาวี สาเหตุที่ใช้น้อยนั้น ไม่ใช่มาจากเรื่องงบประมาณ และเวลาในการก่อสร้างอันมีจำกัดในตอนนั้น แต่เป็นเพราะกลยุทธ์การนาวีต่างหาก ในยุคนั้น คงมีเพียงราชนาวีอังกฤษและราชนาวีโซซอนเท่านั้น ที่ใช้ปืนใหญ่เป็นอาวุธหลัก โดยประวัติศาสตร์แล้ว ราชนาวีโซซอนมักจะปราบสลัดญี่ปุ่นด้วยปืนและปืนใหญ่มาตั้งแต่ราวๆ พ.ศ. 1933 แต่ราชนาวีโซซอนไม่มีหน่วยนาวิกโยธิน เพื่อยึดเรือ ในขณะที่กองทัพเรือญี่ปุ่นมี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับราชนาวีโซซอน ในการ \"ออกห่าง\" จากเรือรบญี่ปุ่น อี ซุน-ชินมักจะเตือนลูกน้องเขาเสมอว่า การไปรบประชิดตัวกับญี่ปุ่นเป็นเรื่องต้องห้าม เพราะฝ่ายญี่ปุ่นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธระยะประชิดและกองทัพออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อด้านนี้โดยเฉพาะ แต่ให้อาศัยระยะยิงที่เหนือกว่าให้เป็นประโยชน์แทน และเรือเต่าก็ถูกออกแบบมาเพื่อการนี้", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#41", "text": "เมื่อญี่ปุ่นเริ่มร่นถอย อี ซุน-ชินก็เร่งให้ตามตี แต่ในช่วงเวลานี้เอง กระสุนปืนคาบศิลานัดหนึ่งที่ญี่ปุ่นยิงมา ถูกร่างของอี ซุน-ชิน[19] เข้าที่สีข้างด้านขวา[20] แม้ว่ากระสุนจะเข้าที่จุดตาย แต่อี ซุน-ชินกลับกล่าวว่า \"การรบดำเนินมาถึงจุดสูงสุดแล้ว อย่าให้ใครรับรู้ถึงการตายของข้า\"[19] แล้วเขาก็ขาดใจตายในอีกไม่กี่อึดใจถัดมา", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#28", "text": "ด้วยเหตุนี้ อี ซุน-ชินจึงถูกปลด ถูกจับใส่โซ่ตรวน และถูกส่งไปยังโซล เพื่อทรมานและจองจำ อี ซุน-ชินถูกทรมานจนเกือบตาย ด้วยวิธีทรมานพื้นฐานเช่น การเฆี่ยนด้วยแส้, การโบยตีด้วยพลอง, การนาบด้วยเหล็กร้อนแดง และ ด้วยวิธีตามแบบการทรมานของเกาหลี คือการหักขา แท้จริงแล้ว พระเจ้าซอนโจทรงหมายจะเอาชีวิตเขาด้วยซ้ำ แต่ผู้สนับสนุนอี ซุน-ชิน โดยเฉพาะ เสนาบดีชุง ตาก ขอให้ทรงเมตตาอี ซุน-ชิน เพื่อเห็นแก่ความดีความชอบแต่ครั้งก่อน ส่วนมหาเสนาบดี ยู ซอง ลยอง ที่เคยเป็นเพื่อนสมัยเด็กของอี ซุน-ชิน และเป็นหัวเรือใหญ่ในการสนับสนุนเขากลับนิ่งเงียบในช่วงนี้ แม้จะได้รับการละเว้นโทษตาย แต่เขากลับถูกลดขั้นลงเป็นทหารเลวอีกครั้ง ในกองพลของจอมพลคอน ยูล โทษนี้ สำหรับแม่ทัพเกาหลีนั้น รุนแรงยิ่งกว่าโทษตายเสียอีก เพราะพวกเขามีชีวิตอยู่ด้วยเกียรติยศ", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#66", "text": "มีการนำชีวประวัติของอี ซุน-ชินไปทำเป็นภาพยนตร์ 2เรื่อง ในชื่อเดียวกันคือ \"อี ซุน-ชิน วีรบุรุษนักบุญ\" ครั้งแรกที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2505 เป็นภาพยนตร์ขาวดำ และทำใหม่เป็นภาพสี โดนอิงจากบันทึกสงครามของอี ซุน-ชินในปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2547", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#71", "text": "ใน พ.ศ. 2557 ภาพยนตร์เรื่อง \"Roaring Currents\" (명량) มีเนื้อหาว่าด้วยการที่ญี่ปุ่นรุกรานเกาหลี และถูกปราบโดย อี ซุน-ชิน เข้าฉายในช่วงกลางปี เป็นภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ที่ทำยอดขายตั๋วเกิน 10 ล้านใบ ภายในเวลาเข้าฉายเพียง 12 วัน ถือว่าเป็นภาพยนตร์ที่ใช้เวลาน้อยที่สุดสำหรับการขายตั๋วผ่านหลัก 10 ล้านใบ ของวงการภาพยนตร์เกาหลี และทำลายสถิติยอดขายตั๋วเรื่อง \"Avatar\" ที่ 13.62 ล้านใบ ได้ไม่ยาก โดยใช้เวลาเข้าฉายเพียง 18 วัน และกลายเป็นภาพยนตร์เกาหลีเรื่องแรกที่ทำรายได้ในประเทศมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนักแสดงผู้รับบท อี ซุน-ชิน คือ ชอยมินซิก[25][26]", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#16", "text": "การทัพทั้งสี่ของอี ซุน-ชิน รวมไปถึงทุกๆ ปฏิบัติการ อย่างน้อย 33 ปฏิบัติการใหญ่ๆ ที่อี ซุน-ชินได้ชัยมา ทำให้ญี่ปุ่นต้องเสียเรือรบซันเคน เรือลำเลียงพล และเรือลำเลียงเสบียงนับร้อยๆ และมีทหารถูกจับนับพันนาย", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#58", "text": "สาเหตุหนึ่งที่ทำให้อี ซุน-ชินประสบความสำเร็จคือ การครอบครองปืนใหญ่ที่มีระยะยิงและอำนาจการยิงที่สูงกว่าญี่ปุ่น ในขณะที่ญี่ปุ่นหวังจะใช้การรบระยะประชิดเข้าสู้กับเกาหลี เรือเต่าของเขา ที่เพิ่งถูกปล่อยเรือลงน้ำเพียงวันเดียวก่อนสงครามจะเริ่มต้น มีประสิทธิภาพสูงมากในการเข้าตี และทะลวงแนวรบข้าศึก อี ซุน-ชินชนะศึกทางทะเลอย่างน้อย 12 ครั้ง โดยได้รับความเสียหายเพียงน้อยนิด แต่ถล่มเรือญี่ปุ่นนับพัน สังหารชีวิตทหารญี่ปุ่นนับแสน", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#21", "text": "เรือเต่า ถูกนำออกมาใช้ครั้งแรกในยุทธนาวีแห่งซาชอน (พ.ศ. 2135) และถูกนำมาใช้เกือบทุกครั้งจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ โศกนาฐกรรมที่ชีลชอนลยาง ที่ราชนาวีเสียเรือเต่าและพานโอกซอนทั้งหมด เหลือเพียง เรือพานโอกซอน 13ลำเท่านั้น (อี ซุน-ชินไม่ได้เป็นผู้บังคับบัญชาในยุทธนาวีนี้ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นกับดัก จึงถูกจับขึ้นศาลทหาร) และไม่ปรากฏอีกเลย นับแต่ยุทธการที่ช่องแคบมยองลยาง จุดเปลี่ยนที่2 ของสงคราม", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#37", "text": "การตอบสนองต่อความเคลื่อนไหวของอี ซุน-ชินช่างทรงพลังยิ่ง 26 ตุลาคม พ.ศ. 2140 เขาลวงกองทัพเรือญี่ปุ่น (เรือรบ 133ลำ และเรือลำเลียง ไม่ต่ำกว่า200ลำ) ให้เขามาที่ช่องแคบมลองยอง และเริ่มเปิดฉากเข้าตีกองเรือญี่ปุ่นที่นั่น [15] ด้วยการระดมยิงปืนใหญ่และธนูไฟใส่เรือข้าศึก อีกทั้งรักษาระยะห่างจากเรือข้าศึก มิให้ข้าศึกสามารถบุกขึ้นยึดเรือได้ เรือญี่ปุ่น 31ลำอับปาง ทหารญี่ปุ่นนับพันถูกฆ่า ไม่ก็จมน้ำตาย แม่ทัพคูรูชิมะ มิชิฟูสะของญี่ปุ่น ถูกยิงตายโดยพลธนูประจำเรือที่เข้าใกล้เรือธงของญี่ปุ่น ชัยชนะของอี ซุน-ชินในยุทธนาวีที่ช่องแคบมลองยองนี้ สะท้อนให้เห็นถึง ความสามารถอันยิ่งยวดของเขาในฐานะนายทหารจอมยุทธศาสตร์ ทุกวันนี้ ชาวเกาหลีจะเฉลิมฉลองชัยชนะจากยุทธนาวีที่ช่องแคบมลองยอง ในฐานะชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของอี ซุน-ชิน", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#46", "text": "ในทางกลับกัน พระเจ้าซอนโจกลับไม่ได้ทำอะไรเพื่อปกป้องราชอาณาจักรของพระองค์เลย ซ้ำร้ายไปกว่านั้น พระองค์ทรงล้มเหลวในการป้องกันขอบขัณฑสีมา และการแปรพระราชฐานหนีไปจากโซลโดยทันทีของพระองค์ ทำให้ภาพลักษณ์ของพระองค์ล่มสลายลง มีความเป็นไปได้ถึงความเชื่อว่า พระเจ้าซอนโจและราชสำนัก กลับมองชัยชนะของอี ซุน-ชินและการสนับสนุนในตัวเขาเป็นหอกข้างแคร่ ที่อาจจะทำให้เขาก่อกบฏได้ในภายหลัง เฉยเช่นที่ ลี ซองเกเคยก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจมาจากราชวงศ์โครยอปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระเจ้าแทโจปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โชซ็อนในปี พ.ศ. 1935 ด้วยความกลัวดังนี้ พระเจ้าซอนโจจึงทรงลงพระอาญาจองจำและทรมานอี ซุน-ชิน แต่ก็ได้ยู ซองลยองคอยช่วยกราบทูลคัดค้านโทษตายของอี ซุน-ชินไว้ถึง 2ครั้ง", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "198571#131", "text": "สงครามในครั้งนี้ทิ้งมรดกตกทอดเอาไว้ให้แก่ทั้งสามชาติที่เข้าร่วมรบ ฝ่ายเกาหลีมีเรื่องราวของวีรบุรุษเกิดขึ้นหลายท่าน อี ซุน-ชิน ได้รับการยอมรับนับถืออย่างมากในญี่ปุ่น ตัวอย่างเช่นนายพลเรือกล่าวถึงความสำเร็จของท่านในยุทธนาวีแห่งทสึชิมะในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นเอาไว้ว่า อี ซุน-ชิน นั้นเป็นแม่ทัพเรือที่เก่งกาจที่สุดในประวัติศาสตร์ และเนื่องด้วยความช่วยเหลือจากจีน ชาวเกาหลีจึงสร้างสิ่งสักการะสำหรับสมเด็จพระจักรพรรดิว่านลี่ด้วยเช่นกัน ในทางวิชาการจีน นักประวัติศาสตร์จัดว่าสงครามครั้งนี้เป็นหนึ่งใน\"สามการทัพลงทัณฑ์ที่ยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระจักรพรรดิว่านลี่\" นอกจากนี้นักประวัติศาสตร์ยังยกเอาสงครามนี้เป็นตัวอย่างของความสัมพันธ์ระหว่างจีน-เกาหลี สำหรับฝ่ายผู้นำญี่ปุ่นนั้นตัดสินใจเข้าสู่สงครามจากการเข้าโจมตีเกาหลีครั้งก่อนหน้าโดยจักรพรรดินีจินกูในตำนานช่วงประมาณ 812 ปีก่อนพุทธกาล และอ้างว่าพวกเขาได้รับการอวยชัยจากเทพฮะจิมัง เทพแห่งสงครามซึ่งอยู่ในครรภ์ของจักรพรรดินีในระหว่างการุกราน การยึดครองเกาหลีชั่วคราวและเพียงบางส่วนในครั้งนี้ช่วยแก้ไขข้อโต้แย้งของญี่ปุ่นที่ว่าเกาหลีเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่น และผู้นำญี่ปุ่นในช่วงปลายคริสตวรรษที่ 19 - ต้นคริสตวรรษที่ 20 ต่างใช้การรุกรานครั้งนี้ในการวางแผนยึดครองเกาหลี ทุกวันนี้ กลุ่มต่อต้านญี่ปุ่นสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงการรุกรานใน ค.ศ. 1592 ", "title": "การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98)" }, { "docid": "184325#27", "text": "เมื่อแม่ทัพคิมกราบทูลรายงานถึงการปฏิเสธพระบรมราชโองการ เหล่าขุนนางขี้อิจฉา ที่จ้องจะล้มอี ซุน-ชินต่างก็เร่งกราบทูลให้ลงพระอาญาอี ซุน-ชิน และส่งแม่ทัพวอน กยูน อดีตอดีตผู้บัญชาการกองเรือตะวันตกแห่งจังหวัดกองซาง และผู้บัญชาการทหารบกแห่งจอนลา เพื่อเป็นการซ้ำเติมอี ซุน-ชิน วอน กยูนยังกราบทูลรายงานป้ายสีว่า อี ซุน-ชินเป็นพวกขี้เหล้าและเกียจคร้าน", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#23", "text": "หลังชัยชนะอย่างต่อเนื่องของอี ซุน-ชิน ฮิเดโยชิ และแม่ทัพของเขาก็เริ่มหวาดเกรง เพราะกองเรือเกาหลีเข้าใกล้ปูซาน ฝ่ายญี่ปุ่นกลัวว่าเส้นทางลำเลียงเสบียงจะถูกตัด อีกทั้ง อี ซุน-ชินยังทำให้การขนส่งอาหารและยุทโธปกรณ์ของญี่ปุ่นล่าช้า กำลังเสริมจากญี่ปุ่นก็ผ่านด่านกองทัพเรือเกาหลีไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ แผนการบุกเข้าเปียงยางจึงชะงักลง ด้วยว่าเสบียงมาไม่ถึงมือกองหน้าทั้ง2ของญี่ปุ่น", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#48", "text": "ขุนนางในราชสำนักหลายคน มีส่วนสำคัญมากในการทำให้พระเจ้าซอนโจมีพระดำริต่ออี ซุน-ชินในแง่ลบ รัฐบาลโซซอนถูกดึงลงไปในวังวนแห่งการแก่งแย่งชิงดี, เกลียดชัง และแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เหล่าขุนนางที่กลัวและเกลียดชังแม่ทัพผู้โดดเดี่ยว ทุ่มแรงกายแรงใจทำศึกเพื่อปกป้องประเทศชาติ ในขณะที่ราชสำนักกลับแตกแยกสับสน ด้วยวังวนของความอิจฉาริษยานี้ มีแผนการขัดขาอี ซุน-ชินมากมาย จนทำให้อี ซุน-ชินไม่สามารถต่อกรกับข้าศึกได้อย่างเต็มความสามารถ", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#70", "text": "สำหรับวรรณกรรม พ.ศ. 2544 คิมฮุนแต่งวรรณกรรมเรื่องแรกของเขาชื่อ \"บทเพลงแห่งดาบ\" ออกวางขายและประสบความสำเร็จ โดยวรรณกรรมเรื่องนี้แต่งเป็นร้อยกรอง บรรยายในลักษณะบุรุษที่1 โดยตัวของอี ซุน-ชินเอง คิมฮุนได้รับรางวัล Dongin Literature Award ในฐานะวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องสูงสุดในชาติ", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "184325#34", "text": "นี่คือความต่างอย่างเห็นได้ชัดระหว่างแม่ทัพกวอน ยูล และแม่ทัพอี ซุน-ชิน ซึ่งอี ซุน-ชินมักจะเคลื่อนทัพอย่างมีแบบแผนและกลยุทธ์ ในขณะที่กวอน ยูลยอมให้กองทัพเรือญี่ปุ่นบุกเข้าประชิด ขึ้นยึดเรือเพื่อเข้ารบในระยะประชิด ซึ่งเป็นกลยุทธ์พื้นฐานของกองทัพญี่ปุ่นได้อย่างง่ายดาย", "title": "อี ซุน-ชิน" } ]
291
สงครามเพโลพอนนีเซียน เป็นการต่อสู้ระหว่างใคร ?
[ { "docid": "700042#1", "text": "สงครามเพโลพอนนีเซียน เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างสองนครรัฐมหาอำนาจของดินแดนกรีซโบราณ คือ นครรัฐเอเธนส์และนครรัฐสปาร์ตา โดยในช่วงเวลาดังกล่าว นครรัฐเอเธนส์มีกองทัพเรือที่เข้มแข็งที่สุดและถือว่าเป็นมหาอำนาจทางทะเล ในขณะที่นครรัฐสปาร์ตานั้น มีกองทัพบกที่เกรียงไกรยิ่งกว่านครรัฐใด ๆ เมื่อครั้งที่จักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราชแห่งจักรวรรดิเปอร์เซียยกทัพเข้ารุกรานดินแดนกรีซ เอเธนส์และนครรัฐอื่น ๆ อีกหลายนครได้รวมตัวกันเป็นสันนิบาตดีเลียน (Delian League) โดยมีเอเธนส์เป็นผู้นำ ซึ่งหลังจากสงครามครั้งนั้นสิ้นสุดลงโดยเปอร์เซียล่าถอยกลับไปแล้ว สันนิบาตดังกล่าวก็ยังดำรงอยู่ โดยสมาชิกต้องส่งเงินบำรุงสันนิบาตไปยังเอเธนส์ ซึ่งเอเธนส์จะมีสิทธิอย่างเต็มที่ในการใช้จ่ายเงินดังกล่าว", "title": "สงครามเพโลพอนนีเซียน" }, { "docid": "885784#0", "text": "ประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน (; ) เป็นงานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งบรรยายถึงเหตุการณ์การสู้รบ และการเมืองระหว่างประเทศในระหว่างสงครามเพโลพอนนีเซียน (431 - 404 ปีก่อนคริสตศักราช) ซึ่งเป็นการสู้รบระหว่าง ฝ่ายสันนิบาตเพโลพอนนีสภายใต้การนำของ สปาร์ตา และฝ่ายสันนิบาตดีเลียนภายใต้การนำของเอเธนส์ ที่กินเวลายาวนานถึง 30 ปี และจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของนครเอเธนส์ ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของสันนิบาตดีเลียน และเป็นจุดสิ้นสุดยุครุ่งเรืองของเอเธนส์ งานนิพนธ์นี้ถูกประพันธ์ขึ้นโดย ทิวซิดิดีส นักประวัติศาสตร์ และนักการทหารชาวเอเธนส์ ผู้มีส่วนร่วมในสงครามครั้งนี้โดยตรงในฐานะแม่ทัพ บันทึกเหตุการณ์ความขัดแย้งของทิวซิดิดีส ถือเป็นงานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญระดับคลาสสิคมาแต่โบราณ และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในฐานะงานวิชาการทางประวัติศาสตร์อย่างแท้จริงชิ้นแรกของอารยธรรมตะวันตก", "title": "ประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน" }, { "docid": "700042#0", "text": "สงครามเพโลพอนนีเซียน หรือ สงครามเพโลพอนนีส (; 431–404 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิเอเธนส์กับสันนิบาตเพโลพอนนีเซียนที่นำโดยสปาร์ตา สงครามนี้ออกเป็นสามช่วง โดยช่วงแรกเรียกว่า \"สงครามอาร์คีเดเมีย\" (Archidamian War) เป็นการรุกรานแอททิกาของกองทัพสปาร์ตา ในขณะที่ฝ่ายเอเธนส์ใช้กองเรือที่มีประสิทธิภาพโจมตีกลับ สงครามช่วงนี้จบลงในปีที่ 421 ก่อนคริสตกาล ด้วยสนธิสัญญาสันติภาพนิซิอัส แต่ต่อมาในปีที่ 415 ก่อนคริสตกาล เอเธนส์กลับยกทัพบุกซีรากูซาบนเกาะซิซิลี แต่ล้มเหลว ช่วงที่สามของสงคราม สปาร์ตาได้สนับสนุนให้มีการก่อกบฏขึ้นตามนครรัฐใต้อำนาจเอเธนส์ จนนำไปสู่ยุทธนาวีที่เอกอสพอทาไมที่เป็นจุดยุติสงครามในที่สุด เอเธนส์ยอมแพ้สงครามในปีต่อมา", "title": "สงครามเพโลพอนนีเซียน" }, { "docid": "700042#9", "text": "การพ่ายแพ้ในสงครามเพโลพอนนีเซียน ส่งผลให้เอเธนส์ถูกลดอำนาจลง กลายเป็นนครรัฐชั้นสอง ภายใต้อำนาจของสปาร์ตาและได้รับอนุญาตให้มีเรือรบได้เพียงสิบสองลำเท่านั้น ส่วนการปกครองก็เปลี่ยนเป็นคณาธิปไตย โดยยอมให้สปาร์ตามาตั้งป้อมค่ายได้และหากมีใครขัดขวางก็จะถูกขับไล่ออกจากเมือง ซึ่งแม้ว่าในภายหลัง เอเธนส์จะขับไล่อำนาจของสปาร์ตาออกไปได้และกลับมาปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง แต่เอเธนส์ก็ไม่อาจกลับมารุ่งเรืองได้อีกเลยและสปาร์ตาก็กลายเป็นผู้นำของนครรัฐกรีซทั้งปวงโดยเด็ดขาด", "title": "สงครามเพโลพอนนีเซียน" }, { "docid": "3045#7", "text": "สงครามเพโลพอนนีเซียน เป็นสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐของชาวเอเธนส์ (Athens) มหาอำนาจทางทะเลกับชาวสปาร์ตาชนชาตินักรบหลังจากสงครามกับพวกเปอร์เซียได้ไม่นาน", "title": "ประวัติศาสตร์ยุโรป" } ]
[ { "docid": "700042#4", "text": "จุดแตกหักของทั้งสองฝ่ายเริ่มขึ้นจากการที่นครคอรินธ์ซึ่งเป็นสมาชิกของสันนิบาตเพโลพอนนีเซียนเริ่มสร้างฐานการค้าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแข่งกับนครเอเธนส์ จนต่อมาในปีที่ 431 ก่อนคริสตกาล คอรินธ์ก็เกิดข้อพิพาทกับนครคอร์ซิราซึ่งอยู่ในสันนิบาตดีเลียน เอเธนส์ในฐานะผู้นำของสันนิบาตจึงเข้ามาช่วยคอร์ซิรา ขณะที่คอรินธ์ขอความช่วยเหลือไปยังสปาร์ตา จนในที่สุดก็ลุกลามเป็นสงครามระหว่างเอเธนส์กับนครรัฐอื่น ๆ ในสันนิบาตเพโลพอนนีเซียน", "title": "สงครามเพโลพอนนีเซียน" }, { "docid": "156009#23", "text": "ความขัดแย้งในราชสำนักก็เช่นเดียวกันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปในประเทศที่ตระกูลขุนนางต่างก็เกิดความขัดแย้งกันเป็นการส่วนตัวและไม่ยอมรับอำนาจจากทางราชสำนักและอำนาจทางศาลมากขึ้นทุกขณะ กรณีที่มีชื่อเสียงคือความบาดหมางระหว่างเพอร์ซีย์และเนวิลล์ ในหลายกรณีเป็นการต่อสู้ระหว่างขุนนางเก่ากับขุนนางใหม่ที่เพิ่งได้รับอำนาจเพิ่มขึ้นและอิทธิพลขึ้นมาในสมัยพระเจ้าเฮนรีที่ 4 ความบาดหมางระหว่างเพอร์ซีย์และเนวิลล์ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างตระกูลเพอร์ซีย์หรือเอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ซึ่งเป็นตระกูลเก่ากับตระกูลเนวิลล์ที่เพิ่งรุ่งเรืองขึ้นมาก็เป็นความขัดแย้งเช่นที่ว่านี้ อีกกรณีหนึ่งก็คือความขัดแย้งระหว่างตระกูลคอร์เทเนย์สและตระกูลบอนวิลล์สในคอร์นวอลล์และเดวอนเชอร์ ปัจจัยหนึ่งของปัญหานี้คือบรรดาทหารจำนวนมากที่กลับมาหลังจากการพ่ายแพ้ในฝรั่งเศส ขุนนางที่มีปัญหาความขัดแย้งก็ใช้ทหารเหล่านี้ในการโจมตี หรือใช้ในการข่มขู่ฝ่ายตรงข้ามหรือเข้าไปข่มขู่เจ้าหน้าที่หรือผู้พิพากษาในศาล", "title": "สงครามดอกกุหลาบ" }, { "docid": "700042#3", "text": "เพื่อคานอำนาจกับเอเธนส์ ทางสปาร์ตาจึงได้ตั้งสันนิบาตเพโลพอนนีเซียน (Peloponnesian League) ขึ้น โดยมีตนเองเป็นผู้นำ และด้วยเหตุนี้ สปาร์ตาจึงกลายเป็นมหาอำนาจทางบก ส่วนเอเธนส์กลายเป็นมหาอำนาจทางทะเลและการแข่งขันระหว่างสองฝ่ายก็ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น", "title": "สงครามเพโลพอนนีเซียน" }, { "docid": "700042#2", "text": "การได้เป็นผู้นำสันนิบาตดีเลียน ทำให้อำนาจของเอเธนส์ในดินแดนกรีซเพิ่มขึ้น ประกอบกับเอเธนส์ประสบความสำเร็จในการค้าทางทะลจนเจริญรุ่งเรืองและมั่งคั่ง ในขณะเดียวกัน สปาร์ตาซึ่งมีบทบาทสำคัญในสงครามกับเปอร์เซีย ก็จับตามองเอเธนส์อย่างไม่ไว้วางใจ ทั้งนี้นครทั้งสองมีการแข่งขันกันมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเอเธนส์เป็นนครที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย ซึ่งให้เสรีภาพกับประชาชนมากกว่าสปาร์ตาที่ปกครองแบบเผด็จการทหาร ซึ่งหลังจากสงครามเปอร์เซียสิ้นสุดลง เอเธนส์ได้เผยแพร่แนวคิดประชาธิปไตยไปยังรัฐอื่น ๆ สร้างความไม่พอใจให้กับสปาร์ตาและนครรัฐที่ปกครองแบบเผด็จการอีกหลายนคร อีกทั้งความรุ่งเรืองของเอเธนส์ยังทำให้นครรัฐเหล่านี้เกิดความริษยาอีกด้วย", "title": "สงครามเพโลพอนนีเซียน" }, { "docid": "885784#1", "text": "ประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียนถูกแบ่งออกเป็น 8 เล่มย่อย", "title": "ประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน" } ]
2558
แสบคูณสอง ยุติออกอากาศเมื่อใด ?
[ { "docid": "658489#1", "text": "รายการ แสบคูณสอง ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ท \nรายการแสบคูณสอง เป็นรายการโทรทัศน์ลำดับแรกที่ผลิตโดย บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540—28 สิงหาคม พ.ศ. 2541) ทุกวันเสาร์ เวลา 14.30 - 15.30 น. ต่อมาในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 รายการได้เพิ่มเวลาออกอากาศเป็น 2 ชั่วโมง เพิ่มเกมต่างๆ และมีการเพิ่มรางวัลอีกมากมาย โดยย้ายมาออกอากาศในวันจันทร์ เวลา 22.00 - 00.00 น. ในเดือนพฤษภาคม - กันยายน 2540 และวันศุกร์ เวลา 22.00 - 00.00 น. ในเดือนตุลาคม 2540 - สิงหาคม 2541 โดยเริ่มออกอากาศเมื่อวันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ตามลำดับ ต่อจากนั้นได้ย้ายไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (3 กันยายน พ.ศ. 2541—11 มกราคม พ.ศ. 2544) รายการได้ย้ายวันและเวลาออกอากาศ พร้อมทั้งลดเวลาเหลือ 85 นาที ในวันพฤหัสบดี เวลา 22.20 - 23.45 น. และยุติการออกอากาศในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2544 โดยแทนที่ด้วยรายการ เกมพันหน้า", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#0", "text": "แสบคูณสอง เป็นรายการเกมโชว์ในประเทศไทยที่ออกอากาศมาตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 และยุติการออกอากาศในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2544 และเป็นรายการโทรทัศน์รายการแรกของบริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด โดยมีพิธีกร คือ เกียรติ กิจเจริญ (ซูโม่กิ๊ก) ร่วมกับติ๊ก กลิ่นสี (ชาญณรงค์ ขันทีท้าว)", "title": "แสบคูณสอง" } ]
[ { "docid": "658489#2", "text": "ชื่อรายการมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดระยะเวลาของการออกอากาศโดยยังคงคำว่า แสบคูณสอง ไว้เสมอ โดยตลอดระยะเวลาการออกอากาศมีการปรับเปลี่ยนชื่อดังนี้ในช่วงแรกมีนักแสดงในรายการแค่คนเดียวคือ เท่ง เถิดเทิง (พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ) ภายหลังเพิ่มกอบโชค คล้ายสำริดและเหลือเฟือ มกจ๊ก ต่อมาเหลือเฟือได้ออกจากรายการ โหน่ง ชะชะช่า มาเล่นแทนเป็นครั้งคราว ได้เพิ่มชูศรี เชิญยิ้มและจิ้ม ชวนชื่นเข้ามา ต่อมาชูศรีได้ออกจากรายการ ได้เพิ่มแดนนี่ ศรีภิญโญเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ พอเข้ามาถึงยุคยกแก๊ง จิ้ม ชวนชื่นได้ออกจากรายการ ได้เพิ่มนุ้ย เชิญยิ้มเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ และได้เพิ่มช่วงแก๊งลูกหมู ได้นำธงชัย ประสงค์สันติและไทด์ เอกพันธ์มาอยู่ในช่วงนี้จนถึงเทปสุดท้าย และได้ใช้นักแสดงชุดนี้ต่อในเกมพันหน้า พอเข้ายุคเอื้ออาทร ได้ใช้นักแสดงชุดนี้ต่อเหมือนเดิม ยกเว้นเท่งคนเดียว แล้วได้ จตุรงค์ มกจ๊ก มาแทนที่เท่งจนถึงปัจจุบัน", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#17", "text": "เป็นเกมในรอบที่สอง เกมนี้สืบเนื่องมาจากยุคที่ 2 จะแตกต่างจากในยุคอื่นๆ เล็กน้อย โดยจะมีละครตลก 1 เรื่อง นำโดย ติ๊ก กลิ่นสี เท่ง เถิดเทิง และนักแสดงตลกท่านอื่น แล้วจะพาญาติของดารารับเชิญ (ดารารับเชิญที่มาเป็นแขกรับเชิญในตอนนั้น) และจะถามว่า บุคคลที่มาเป็นญาติของแสบรับเชิญนั้น ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม และจะให้ผู้แข่งขันตอบทีละคน ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนไหนตอบถูก ก็จะได้คะแนนไป แต่ถ้าหากคำตอบคือไม่ใช่ ก็จะไม่ได้คะแนนไปในรอบนี้ เกมจะสิ้นสุดเมื่อผู้เข้าแข่งขันท่านใดท่านหนึ่งตอบได้ถูกต้อง เกมนี้สืบเนื่องมาจากยุคปี 2542 (แสบคูณสอง แลกหมัด) แล้วมาใช้ต่อในปี 2543 (แสบคูณสอง ยกแก๊ง)", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#36", "text": "ต่อมาในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2541 หลังจากเฉลยคำตอบของคำถามประจำเดือนกรกฎาคม 2541 เรียบร้อยแล้ว ได้มีช่วงที่ให้ผู้ชมทางบ้านร่วมสนุกช่วงใหม่ นั่นคือ ช่วงแสบหน้าโหล โดยทางรายการจะกำหนดบุคคลเป็นนักแสดงหรือนักร้องตามที่ทางรายการกำหนด แล้วให้ผู้ชมทางบ้านส่งรูปภาพของตนที่คิดว่าเหมือนบุคคลที่กำหนดให้มากที่สุดมาทางไปรษณีย์ เพื่อชิงรางวัลเสื้อยืดแสบคูณสองจำนวน 20 ตัว โดยบุคคลที่รายการกำหนดให้ส่งรูปของผู้ชมที่คิดว่ามีใบหน้าเหมือนที่สุดคนแรก คือ ธงไชย แมคอินไตย์ ภายหลังวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 หลังจากประกาศรายชื่อผู้โชคดีครั้งที่แล้ว ได้เปลี่ยนมาเป็นให้ผู้ชมทางบ้านส่งรูปภาพของตัวเอง แล้วบอกว่าตัวเองหน้าตาเหมือนดารานักแสดงคนไหนแทน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2541 ได้เปลี่ยนมาเป็นการตอบคำถามชิงรางวัลเช่นเดิม", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#14", "text": "เป็นเกมในรอบที่ 2 เกมนี้มีละครสืบเนื่องมาจากยุคแรก แต่รูปแบบการเล่นจะแตกต่างจากในยุคแรกโดยสิ้นเชิง โดยจะมีละครให้ดู 1 เรื่อง นำแสดงโดย ติ๊ก กลิ่นสี เท่ง เถิดเทิง และนักแสดงท่านอื่นๆ เมื่อการแสดงจบแล้ว จะพาบุคคลปริศนาออกมา 2 คน โดยพิธีกรจะบอกว่าท่านไหนที่เป็น... (ตามอาชีพของบุคคลปริศนาที่เชิญมาในเทปนั้นๆ) แล้วให้ผู้เข้าแข่งขันทายว่า พิธีกร ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม จากนั้นบุคคลปริศนาจะมาเฉลยว่าทำอาชีพนั้นๆ ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม ถ้าผู้แข่งขันท่านใดหรือทีมใดทายถูก จะได้ 3 คะแนน จากนั้นบุคคลที่ตอบว่า ชัวร์ หรือเป็นบุคคลที่ทำอาชีพนั้นๆ ตัวจริงจะมาสาธิตวิธีการประกอบอาชีพนั้นๆ", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#11", "text": "ช่วงนี้สนับสนุนโดยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโซว-โซว เป็นเกมในรอบที่สาม ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม - 10 ตุลาคม 2540 โดยเป็นการทายภาพของบุคคลปริศนาที่ทางรายการนำมาให้ชม ทั้งนี้ จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แต่ละแผ่นป้ายจะมีคำใบ้ตั้งอยู่ 1 คำใบ้ (รวมคำใบ้ทั้งหมด 12 คำใบ้) โดยทีมผู้เข้าแข่งขันที่เข้ารอบมาหลังจากจบรอบแสบปริศนาจะถูกแบ่งออกเป็น 2 คน โดยให้ผู้เข้าแข่งขันคนแรกเลือกคำใบ้ก่อน เมื่อเลือกคำใบ้ได้แล้ว ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 5 วินาที ในการทายชื่อบุคคลปริศนาให้ถูกต้อง โดยพูดคำตอบได้ไม่จำกัดจนกว่าจะถูกต้อง หากยังไม่มีผู้ตอบถูก ผู้เข้าแข่งขันคนต่อไปจะมีสิทธิเลือกคำใบ้และตอบคำถามต่อไป ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีผู้ตอบถูก ทั้งนี้ผู้ตอบถูกจะเข้ารอบ Jackpot ทันที ส่วนผู้ที่ตกรอบจะไปเล่นรอบสะสมทองคำต่อไป", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#33", "text": "ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2542 (ยุคแลกหมัด) ถูกปรับเปลี่ยนโดยมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้ายโดยมีแผ่นป้ายแสบคูณสอง 6 แผ่นป้าย มีเงินรางวัลแผ่นป้ายละ 10,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ ลิปตัน ไอซ์ที ชารสเลมอนและรสพีช) และแผ่นป้ายแสบหารสอง อีก 6 แผ่นป้าย เป็นแผ่นป้ายเปล่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันเปิดแผ่นป้ายแสบคูณสองได้ครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาทโดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1,000,000 บาทกับผู้เข้าแข่งขันและผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักที่ผู้ชมทางบ้านส่งมาร่วมสนุกนั่นเอง แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันเปิดแผ่นป้ายแสบหารสองได้ครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 200,000 บาท จากทางรายการและ ลิปตัน ไอซ์ที โดยที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้เพียงฝ่ายเดียว ส่วนผู้โชคดีจากทางบ้านก็จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาทตามปกติ แต่ในบางครั้งพิธีกรจะเปิดเพิ่มเพื่อแถมเงินรางวัล หรือสามารถเปลี่ยนแผ่นป้ายได้หลังจากเลือกมาแล้ว หากไม่แน่ใจว่าจะเปิดได้อะไร แล้วแต่ความประสงค์ของผู้เข้าแข่งขัน ต่อมาเมื่อมีการปรับเปลี่ยนผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมจึงได้นำกติการอบ Jackpot ที่เคยใช้ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2540 - มีนาคม 2542 กลับมาใช้อีกครั้ง และกติกาเดิมทุกประการ", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "658489#35", "text": "ช่วงนี้สนับสนุนโดยถั่วทองการ์เด้น ต่อมาเป็นที่นอนสลัมเบอร์แลนด์ แพลเน็ต ฮอลลีวู้ด ชาลิปตัน ไอซ์ที ในเทปวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 ทางรายการได้ให้ผู้ชมทางบ้านตอบคำถามเพื่อชิงรางวัลเป็นเสื้อยืดของทีมงานรายการแสบคูณสอง จำนวน 20 ตัว โดยทางรายการจะถามคำถามหลังจากจบรอบ Jackpot ก่อนปิดรายการ ให้ผู้ชมทางบ้านเขียนคำตอบ แล้วส่งคำตอบมาทางไปรษณีย์ และจะเฉลยคำตอบเมื่อเข้าสู่เดือนต่อไป", "title": "แสบคูณสอง" }, { "docid": "685421#0", "text": "เกมพันหน้า เป็นรายการเกมโชว์ที่เปลี่ยนชื่อมาจากแสบคูณสอง และเป็นรายการเกมโชว์ลำดับที่ 3 ของบริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2544 และยุติการออกอากาศเมื่อปี พ.ศ. 2548 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 มีพิธีกรคือเกียรติ กิจเจริญ ติ๊ก กลิ่นสี และ ไดอาน่า จงจินตนาการ (พ.ศ. 2546 - 2548)", "title": "เกมพันหน้า" }, { "docid": "685421#1", "text": "รายการเกมพันหน้า เป็นรายการเกมโชว์ลำดับที่ 3 และเป็นรายการโทรทัศน์ลำดับที่ 6 ของบริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2544 ทางช่อง 7 สี ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 22.20 - 23.45 น. เป็นเวลา 85 นาที โดยเป็นเกมโชว์ที่เกี่ยวข้องกับการตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ในสิ่งต่างๆ เช่น ไดโนเสาร์ นก กรุงเทพฯ ในอดีต ฯลฯ และเปิดโอกาสให้ผู้ชมทางบ้านสามารถเข้ามาร่วมสนุกโดยการเขียนจดหมายมาสมัครร่วมรายการ หรือสมัครทางเว็บไซต์ได้อีกด้วย โดยมีเงินรางวัลสูงสุด 1,000,000 บาท ต่อมาในช่วงต้นปี พ.ศ. 2546 ทางรายการได้นำเอาไดอาน่า จงจินตนาการ มาเป็นพิธีกรของรายการ และเพิ่มเกมใหม่ รวมถึงลดเงินรางวัลลง ต่อมาในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 ได้ย้ายวันและเวลาการออกอากาศ พร้อมทั้งปรับรูปแบบเกมและฉากใหม่ทั้งหมด พร้อมทั้งลดเวลาเหลือ 60 นาที ในวันอาทิตย์ เวลา 12.15 - 13.15 น. และเวลา 12.00 - 13.00 น. ตามลำดับ และยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2548 โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการมาเป็น เกมพันหน้า เอื้ออาทร เกมพันหน้า เดอะฮีโร่ เกมพันหน้า ซูเปอร์เซเว่น ในปัจจุบัน\nในส่วนของเกมการแข่งขันในรายการเกมพันหน้านั้น สามารถแบ่งได้เป็น 4 ยุคด้วยกัน คือยุคแรก (มกราคม 2544 - กุมภาพันธ์ 2545) ยุคที่สอง (กุมภาพันธ์ 2545 - กุมภาพันธ์ 2546) ยุคที่สาม (กุมภาพันธ์ 2546 - พฤษภาคม 2546) และยุคสุดท้าย (มิถุนายน 2546 - มกราคม 2548) โดยในแต่ละยุคได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเกมในรายการอยู่เรื่อยๆ", "title": "เกมพันหน้า" } ]
2630
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5สวรรคตเมื่อวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "4253#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระองค์ที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสวยราชสมบัติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2411 [3] เสด็จสวรรคต เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ด้วยโรคพระวักกะ", "title": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" } ]
[ { "docid": "38688#11", "text": "ครั้นเมื่อท่านมีอายุได้ 20 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ท่านมีความทุกข์ และเศร้าโศกอย่างยิ่ง ท่านได้กล่าวไว้ว่า", "title": "เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5" }, { "docid": "38688#3", "text": "เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2449 หม่อมราชวงศ์สดับได้เข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันนี้ท่านได้รับพระราชทาน \"กำไลมาศ\" จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นกำไลทองคำแท้จากบางสะพาน หนักสี่บาท ทำเป็นรูปตาปูโบราณสองดอกไขว้กัน ปลายตาปูเป็นดอกเดียวกัน มีตัวอักษรซึ่งเป็นบทกลอนพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสลักไว้บริเวณด้านบนของกำไลว่า", "title": "เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5" }, { "docid": "415933#2", "text": "ครั้นอายุได้ 18 ปี พระอรรคชายาเธอฯจึงนำท่านขึ้นถวายตัวรับราชการฝ่ายใน เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานเงิน 5 ชั่ง ผ้าลายและแพรห่ม 2 สำรับตามประเพณี ซึ่งท่านได้รับราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณจนตลอดรัชกาล โดยมีหน้าที่จัดเตรียมเครื่องสรงพระพักตร์ และทรงเครื่องในเวลาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบรรทมตื่นที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ในช่วงเวลา 11-12 น. และเมื่อเสด็จพระราชดำเนินออกเสวย ก็ต้องอยู่ประจำในหน้าที่ตั้งเครื่องเสวยทั้งในมื้อเช้าและมื้อเย็น รับใช้ไปจนเข้าที่พระบรรทม ราว 5-6 น. บางครั้งก็ต้องรับหน้าที่อ่านหนังสือถวายแทนเจ้าจอมมารดาเลื่อน และคอยเฝ้าในเวลาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรุงพระกระยาหารด้วยพระองค์เองด้วย", "title": "เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5" }, { "docid": "10582#15", "text": "เป็นพระที่นั่งองค์แรกและองค์ประธานของหมู่พระที่นั่งอัมพรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้นายซันเดรสกีเป็นสถาปนิก มีพระสถิตนิมานการ (ม.ร.ว. ชิด อิศรศักดิ์)เป็นแม่กอง ตัวอาคารเป็นรูปตัว H มีสถาปัตยกรรมแบบวิลล่าในชนบทของยุโรป ลักษณะเด่นอยู่ตรงที่มุขด้านหน้า ๒ ข้างซึ่งทำเป็นผนังโค้งเรียงซ้อนกัน ๓ ชั้น ชั้นนอกเป็นระเบียงหุ้มพื้นที่ภายในผนังตกแต่งด้วยลายปูนปั้นรูปดอกไม้และใบไม้ประยุกต์เข้ากับรูปทรงเลขาคณิตขอบบนประตูหน้าต่างเป็นลวดลายแถบยาวรูปพรรณพฤกษาในแบบสีปูนเปียกคาดรอบตึก นอกจากนี้ยังมีราวระเบียงและลูกกรงที่ทำจากโลหะเป็นลายเลขาคณิตประกอบดอกไม้และโลหะผนังภายในอาคารตกแต่งด้วยลายปูนปั้นและการเขียนสีปูนแห้งลายพรรณพฤกษาและปักษาซึ่งวาดโดย ซีซาร์เร เฟร์โร ศิลปินชาวอิตาเลียน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ณ ห้องพระบรรทมชั้น 3 ที่พระที่นั่งองค์นี้ ในสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ก็เสด็จมาประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถานแต่ประทับที่บริเวณชั้น 2 เพราะถือว่าชั้น 3 เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เสด็จมาประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานเมื่อครั้งเสด็จนิวัติพระนคร และพระที่นั่งองค์นี้เป็นสถานที่เสด็จพระราชสมภพของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลปัจจุบัน สถานที่เสด็จพระราชสมภพของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในปี พ.ศ. 2542 สมเด็จพระเจ้าหัวรัชกาลปัจจุบันเมื่อครั้งพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงโปรดให้มีการบูรณะพระที่นั่งอัมพรสถานเพื่อเป็นที่ประทับตราบจนถึงปัจจุบัน", "title": "พระราชวังดุสิต" }, { "docid": "37776#27", "text": "พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 4 พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชินิกุลรัชกาลที่ 5 ฝ่ายพระชนนีนั้น เป็นชาวสวนบางเขน และสกุลอำมาตย์รามัญสายพระยารัตนจักร (หงส์ทอง) ที่เกี่ยวดองกันกับสกุลรามัญสาย พระยาจักรีมอญ (กรุงธนบุรี) เชื้อสายราชินิกุล ที่มิใช่ขัตติยราชตระกูล เท่าที่ค้นได้จากหนังสือราชินิกุล รัชกาลที่ 5 คือ \"สกุลสุรคุปต์\"", "title": "ราชสกุล" }, { "docid": "58216#0", "text": "เนื่องด้วยปี พ.ศ. 2441 (ร.ศ.117) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ในรัชกาลที่ 5 เป็นเวลายาวนาน 2 เท่า ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดจัดงานบำเพ็ญพระราชกุศล ทวีธาภิเศก เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2441 ถวายบรมอัยกาธิราช ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิฉัย และสมโภชสิริราชสมบัติ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ", "title": "พระราชพิธีทวีธาภิเศกในรัชกาลที่ 5" }, { "docid": "199908#3", "text": "หลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตไปแล้ว เจ้าจอมมารดาสุ่นยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงพระกรุณาแต่งตั้งให้เป็น ท้าววนิดาพิจาริณี ศักดินา 800 เมื่อปี พ.ศ. 2429", "title": "ท้าววนิดาพิจาริณี (เจ้าจอมมารดาสุ่น ในรัชกาลที่ 4)" }, { "docid": "36490#0", "text": "พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น คือ \"จุฬาลงกรณ์\" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นคือ \"มงกุฎ\" อีกทั้ง พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีหมายความว่า \"พระจอมเกล้าน้อย\" อีกด้วย เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความหมายว่าพระเกี้ยว หรือจุลมงกุฎ จึงได้ใช้พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎวางบนเบาะ เป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลของพระองค์", "title": "พระเกี้ยว" }, { "docid": "3730#15", "text": "การศึกษาด้านรัฐศาสตร์ของไทยเริ่มต้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริจัดตั้ง โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน เพื่อรับคัดเลือกนักเรียนเข้ามาฝึกหัดเป็นข้าราชการตามกระทรวงต่าง ๆ (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์หรือ รปศ.) ต่อมาได้มีการขยายการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพัฒนาโรงเรียนดังกล่าวเป็น โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "รัฐศาสตร์" }, { "docid": "242955#26", "text": "ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗  โรงเรียนแม่ฮ่องสอนศึกษาได้รับความร่วมมือจากบรรดาข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์เพื่อสร้างโรงเรียนประจำเมืองขึ้นบริเวณสถานที่เดิม    เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายแด่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง “พระปิยะมหาราชเจ้า” โดยโรงเรียนก่อสร้างเป็นอาคารไม้กว้าง ๕ วา ยาว ๑๑ วา ๒ ศอกหลังคามุงด้วยใบตองตึง ซึ่งมีกำหนดเปิดใช้เป็นสถานที่เล่าเรียนในวัน ๒๒ ตุลาคม ๒๔๕๗ ซึ่งเป็นอภิลักขิตสมัยตรงกับวันสวรรคตในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ดังนั้นบรรดาข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนจึงได้ดำเนินการประสานงานผ่านสมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ เพื่อส่งเอกสารกราบบังคลทูลขอพระราชทานนามโรงเรียนจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อถวายพระเกียรติรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและอุทิศส่วนกุศลถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง “สมเด็จพระปิยมหาราช” และในเดือนเดียวกันพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ พระองค์ทรงมีพระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นแก่ราษฎรชาวแม่ฮ่องสอน โดยการที่พระองค์ได้ทรงลงพระราชหัตถ์พระราชทานนามให้แก่โรงเรียนแห่งนี้ว่า “ โรงเรียนห้องสอนศึกษา” อันเป็นที่มาของชื่อโรงเรียน ณ ปัจจุบัน      ", "title": "โรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ" }, { "docid": "28335#11", "text": "หอเหมมณเฑียรเทวราช หรือ ศาลพระเจ้าปราสาททอง สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2415 - 2419 มีลักษณะเป็นปรางค์ศิลา ซึ่งจำลองแบบจากปรางค์ขอม ภายในประดิษฐานเทวรูปพระเจ้าปราสาททอง ตั้งอยู่ ณ ริมสระน้ำใต้ต้นโพธิ์ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เป็นพระที่นั่งทรงปราสาทโดยจำลองมาจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาทในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างพระบรมรูปหล่อสำริดของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์เต็มยศจอมพลทหารบกเพื่อนำมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งองค์นี้จนถึงปัจจุบัน พระที่นั่งวโรภาษพิมาน รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2415 เพื่อใช้เป็นที่เสด็จออกว่าราชการ และใช้เป็นที่ประทับ เป็นตึก 2 ชั้น ศิลปะแบบคอรินเทียนออร์เดอร์ ปัจจุบัน พระที่นั่งองค์นี้ยังใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบรมวงศ์เมื่อเสด็จแปรพระราชฐานมาประทับ ณ พระราชวังบางปะอิน สภาคารราชประยูร เป็นตึกสองชั้น ตั้งอยู่ริมน้ำ รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2419 สำหรับเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ ในรัชกาลที่ 5 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ และเจ้านายฝ่ายหน้า ปัจจุบัน ใช้เป็นที่แสดงนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับพระราชวังบางปะอิน กระโจมแตร เป็นกระโจมขนาดกลางแบบ Gazebo สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่เยื้องกับพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เรือนแพพระที่นั่ง รัชกาลที่5ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเป็นเรือนแพแบบไทยสร้างด้วยไม้สักทองหลังคามุงด้วยจากภายในจัดแบ่งห้องเป็นสัดเป็นส่วนรัชกาลที่5ใช้เป็นที่ประทับพักแรมในการเสด็จประพาสต้นและทรงสำราญพระอิริยาบถทางน้ำ โดยพระองค์เคยประทับเรือนแพพระที่นั่งไปทรงรับพระราชชายาเจ้าดารารัศมีจากเมืองเชียงใหม่ด้วย", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "55065#4", "text": "เมื่อปี พ.ศ. 2411 เจ้าจอมอายุได้ 11 ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จสวรรคต และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว เจ้าจอมมารดาทับทิมก็ยังเป็นละครหลวงอยู่ และมีลีลาการฟ้อนรำเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป จนได้ชื่อว่าเป็นนางเอกละครหลวงที่ดีที่สุดคนหนึ่งต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ชุบเลี้ยงเจ้าจอมมารดาทับทิมเป็นเจ้าจอม ประจวบกับเจ้าจอมมารดาเที่ยงออกไปอยู่วังกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร พระองค์หญิงโสมาวดี (กรมหลวงสมรรัตน์สิริเชษฐ) พระราชธิดาองค์ใหญ่ ซึ่งครอบครองตำหนักต่อมา ทรงพระเมตตารับเจ้าจอมมารดาทับทิมจากสำนักท้าววรคณานันท์ และจัดเรือนในบริเวณตำหนักหลังหนึ่งกับทั้งคนสำหรับใช้สอย ให้ครอบครองสมกับบรรดาศักดิ์ สาเหตุที่ต้องสละการแสดงละครนั้น เพราะเหตุว่าเจ้าจอมมารดาทับทิมทรงครรภ์ พระเจ้าลูกเธอ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานตำหนักเจ้านายให้อยู่เป็นอิสระอย่างเจ้าจอมมารดา", "title": "เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5" }, { "docid": "43009#0", "text": "โรงเรียนเบญจมราชูทิศ เป็นชื่อโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งจัดตั้งตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยชื่อโรงเรียนเป็นนามที่ได้รับพระราชทานมาจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) โดยชื่อ \"เบญจมราชูทิศ\" มีความหมายว่า สร้างอุทิศแก่พระมหากษัตริย์องค์ที่ 5 ซึ่งก็คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "โรงเรียนเบญจมราชูทิศ" }, { "docid": "10582#12", "text": "ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาประทับที่พระที่นั่งวิมานเมฆใน พ.ศ. 2468 แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชายาได้เสด็จไปประทับที่พระตำหนักสวนนกไม้ซึ่งเดิมเป็นพระตำหนักที่ประทับในสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพระที่นั่งวิมานเมฆจึงไม่มีเจ้านายพระองค์ใดเสด็จมาประทับอีก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นปีที่ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงขอพระบรมราชานุญาตบูรณะพระที่นั่งวิมานเมฆ เพื่อจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันพระที่นั่งวิมานเมฆเป็นเขตพระราชฐานในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน", "title": "พระราชวังดุสิต" }, { "docid": "855817#1", "text": "เจ้าจอมจันทร์ ถวายตัวเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมกับเจ้าจอมเยื้อนและเจ้าจอมถนอม พี่น้องร่วมบิดา ได้รับพระราชทานเงิน 5 ชั่ง ผ้าลายและแพรห่ม 2 สำรับตามประเพณี ซึ่งท่านได้รับราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณจนตลอดรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเจ้าจอมจันทร์มากเป็นพิเศษ ทรงโปรดใช้สอยและให้ตามเสด็จอยู่เป็นเนืองนิตย์ จนกระทั่งพ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้น 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ฝ่ายใน แก่เจ้าจอมจันทร์ พร้อมกันกับเจ้าจอมเอิบ พระสนมเอกที่พระองค์ทรงโปรดมากอีกท่านหนึ่ง ซึ่งท่านเป็นเจ้าจอมเพียง 1 ใน 4 ท่านที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ (อีก 3 ท่านคือเจ้าจอมเอี่ยม, เจ้าจอมเอิบ และเจ้าจอมเอื้อน) และเป็นเพียงท่านเดียวที่มิใช่เจ้าจอมก๊กออ", "title": "เจ้าจอมจันทร์ ในรัชกาลที่ 5" }, { "docid": "67578#1", "text": "โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2429 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเริ่มจากใช้สถานที่ของวัดสัตตนารถปริวัตร (สร้างเมื่อ พ.ศ. 2414) เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมูลถึงชั้นประถมศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงการศึกษา ให้มีระบบแบบแผนตามแบบตะวันตก จึงได้เปลี่ยนฐานะของโรงเรียนเป็นโรงเรียนตัวอย่างวัดสัตตนารถปริวัตร จัดการศึกษาตลอดมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2455 จึงได้มีอาคารเรียนถาวรเป็นตึก 2 ชั้นรูปทรงปั้นหยาขึ้น 1 หลังในที่ดินของวัดสัตตนารถปริวัตร โดยพ่อค้า ประชาชน และข้าราชการร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จฯมาทรงประกอบพิธีเปิด และพระราชทานนามว่า “เบญจมราชูทิศ” แปลว่า อุทิศแด่พระราชาองค์ที่ 5 ซึ่งหมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ทางราชการได้ขนานนามโรงเรียนนี้ว่า โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลราชบุรี ", "title": "โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี" }, { "docid": "7078#5", "text": "ต่อมาในรัชกาลที่ 5 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเจริญพระชันษาถึงเวลาจะเสด็จมาประทับอยู่พระราชวังชั้นนอก แต่พระบรมพระชนกนาถมีพระประสงค์ที่จะให้เสด็จประทับอยู่ในที่ใกล้พระองค์ จึงโปรดฯให้จัดตำหนักพระราชทานเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ในสวนกุหลาบ บริเวณอาคารพระคลังศุภรัตน ซึ่งสร้างไว้ในสมัยรัชกาลที่ 3 และได้เรียกพระตำหนักนี้ว่า พระตำหนักสวนกุหลาบ และหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ก็โปรดฯให้กรมหลวงอดิศรอุดมเดช เสด็จไปประทับอยู่ที่พระตำหนักสวนกุหลาบแทน จนออกจากวัง และจากนั้นมาก็ใช้เป็นคลังเก็บของเรื่อยไป[1]", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย" }, { "docid": "70134#3", "text": "เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีเจ้าจอมพระองค์แรกตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทั้งยังเป็นพระพี่เลี้ยงผู้มีอายุมากกว่าพระองค์ จึงเป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกริ้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบันทึกในพระราชหัตถเลขาที่ทรงมีถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ความว่า", "title": "เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข ในรัชกาลที่ 5" }, { "docid": "20093#3", "text": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตที่ชั้น 3 ของพระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อ รัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7 เสด็จมาประทับ ณ พระที่นั่งองค์นี้ ได้ประทับแค่เพียงชั้น 2 เท่านั้น เพราะชั้น 3 ถือว่าเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ", "title": "พระที่นั่งอัมพรสถาน" }, { "docid": "49930#3", "text": "เมื่อพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว เจ้าจอมมารดาจันทร์ได้ย้ายออกมาอยู่กับพระราชโอรส คือ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี ที่วังท้ายวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ฐานะทางยศศักดิ์มีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมเนียมสำหรับเจ้าจอมมารดาในรัชกาลก่อน คือ เครื่องยศหีบหมากทองลงยาราชาวดีก็เปลี่ยนเป็นหีบทองเกลี้ยง นามก็เรียกว่า “จันทร์เจ้าจอมมารดา” แต่ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เรียกนามอย่างเดิมกับบ่งรัชกาลไว้ท้ายว่า “เจ้าจอมมารดาจันทร์ในรัชกาลที่ 4”", "title": "เจ้าจอมมารดาจันทร์ ในรัชกาลที่ 4" }, { "docid": "209344#0", "text": "เจ้าจอมสว่าง ในรัชกาลที่ 5 ต.จ. เกิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2399 ปีมะโรง ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นธิดา เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) มารดา คือ หม่อมราชวงศ์หญิง นรินทรางกูร ( ธิดา หม่อมเจ้าจันทร์ พระโอรสใน เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ ราชสกุลวังหลัง ) มีพี่น้อง เท่าที่สามารถสืบได้ คือได้เข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอม ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อประมาณ พ.ศ. 2414 รับราชการสนองพระเดชพระคุน โดยความซื่อสัตย์ กอปรด้วยกตัญญูกตเวทีตลอดมา จนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) เป็นเกียรติยศ ตั้งแต่แรกสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้าฝ่ายใน เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 จากนั้นท่านยังคงรับราชการเรื่อยมา จวบจนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคต จึงได้กราบถวายบังคมทูลลาออกจากพระบรมมหาราชวัง มาอยู่ที่บ้านหลังวัดมหาธาตุ ", "title": "เจ้าจอมสว่าง ในรัชกาลที่ 5" }, { "docid": "7137#9", "text": "ตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมืองชุมพรเป็นเมืองท่าค้าขายสำคัญ จนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ชาวจามยังมีบทบาทในดินแดนแทบนี้ ต่อมา รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็น มณฑลชุมพร ต่อมามีการยุบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลเป็นจังหวัด ชุมพรจึงมีฐานะเป็นจังหวัด และเมื่อ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สามารถเดินเรือได้เอง ชาวจามก็หมดบทบาทลงในเวลาต่อมา", "title": "จังหวัดชุมพร" }, { "docid": "19772#0", "text": "พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นท้องพระโรงเดิมของพระราชวังดุสิต ชื่อของพระที่นั่งนี้ นำมาจากพระที่นั่งองค์หนึ่งในพระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งอนันตสมาคมสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2451 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) แต่สร้างไม่ทันเสร็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จสวรรคต จึงสร้างต่อแล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมใช้เวลาสร้างทั้งหมด 8 ปี", "title": "พระที่นั่งอนันตสมาคม" }, { "docid": "193972#25", "text": "รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 1 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 2 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 3 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 4 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 5 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 6 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "449194#2", "text": "ในตอนต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดให้พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมช่างสิบหมู่ โดยมีผลงานสำคัญคือเป็นช่างปั้นหล่อ พระบรมรูปรัชกาลที่ ๑ - ๓ ส่วนพระบรมรูปรัชกาลที่ ๔ นั้น มีแบบมาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๔ อยู่แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างปั้น คือ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการแก้ไขส่วนบกพร่อง แล้วหล่อในบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามความตอนหนึ่งในหนังสือ 'ความทรงจำ' พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตอนที่ ๔ เรื่องเริ่มรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๑๒-๒๔๑๓ ว่า", "title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ" }, { "docid": "37967#13", "text": "แต่พระองค์เจ้าทักษิณชามีพระสติวิปลาสไปมิอาจรับราชการสนองพระเดชพระคุณต่อไป[11] พระภรรยาเจ้าสี่พระองค์หลังมีพระเกียรติยศเสมอกันทุกพระองค์ พระเกียรติยศที่จะเพิ่มพูนนั้นขึ้นอยู่กับการมีสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเป็นสำคัญ[10] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเดิมมีพระราชดำริที่จะสถาปนาพระองค์เจ้าสว่างวัฒนาขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าด้วยเป็นพระราชชนนีของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สมเด็จพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ 5[4] แต่ในปี พ.ศ. 2423 สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เสด็จสวรรคตพร้อมพระราชธิดาและพระราชโอรสในพระครรภ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ที่สวรรคตไปแล้ว ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี พร้อมกับสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีเสมอกัน ซึ่งสมภพ จันทรประภาสรุปคำบอกเล่าของนางข้าหลวงว่า สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาไม่เต็มพระทัยมีพระอิสริยยศสูงกว่าเพราะเป็นน้อง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงสถาปนาพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เป็นพระบรมราชเทวีด้วย[12]", "title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" }, { "docid": "481800#1", "text": "หลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต เจ้าจอมทับทิมก็เข้ารับราชการเป็นเสมียนหลวงฝ่ายในในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "เจ้าจอมทับทิม ในรัชกาลที่ 4 (สุรคุปต์)" }, { "docid": "7821#28", "text": "รายนามเจ้าเมือง, ข้าหลวงกำกับราชการ, ผู้ว่าราชการเมืองศีร์ษะเกษรายนามวาระการดำรงตำแหน่ง1. พระยารัตนวงษา (ท้าวอุ่น หรือ พระภักดีภูธรสงคราม) ผู้ก่อตั้งเมือง เจ้าเมืองท่านแรก (อดีตปลัดเมืองขุขันธ์ ผู้กราบบังคมทูลขอแยกมาตั้งเมืองศรีสะเกษ บริเวณบ้านโนนสามขาสระกำแพง เมื่อ พ.ศ. 2325) พ.ศ. 2325 – 2328 (รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมัยกรุงรัตนโกสินทร์)2. พระยาวิเศษภักดี (ท้าวชม) เจ้าเมืองศรีสะเกษ (พ.ศ. 2328 ย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านพันทาเจียงอี คือที่ตั้งตัวเมืองจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน)พ.ศ. 2328 – พ.ศ. 2368 (รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช-รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) 3. พระยาวิเศษภักดี เจ้าเมืองศรีสะเกษพ.ศ. 2368 – พ.ศ. 2424 (รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว-รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) 4. พระยาวิเศษภักดี (ท้าวโท หรือ พระพรหมภักดี) เจ้าเมืองศรีสะเกษพ.ศ. 2424 – พ.ศ. 2437 (รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) หลวงจำนงยุทธกิจ(อิ่ม)และ ขุนไผทไทยพิทักษ์(เกลื่อน) (คณะข้าหลวงเมืองศรีสะเกษ ปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าเมืองศรีสะเกษ)พ.ศ. 2433 – พ.ศ. 2443 (รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)5.พระภักดีโยธา(เหง้า) ผู้ว่าราชการเมืองศรีสะเกษ (คนแรก)พ.ศ. 2443 – พ.ศ. 2450 (รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)", "title": "จังหวัดศรีสะเกษ" }, { "docid": "40282#9", "text": "พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี เมื่อทรงเจริญพระชันษาขึ้น พระองค์ก็มีพระสิริโฉมงดงาม เป็นที่พอพระทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเข้ารับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในรัชกาลที่ 5 ขณะที่มีพระชนม์ 15 พรรษา โดยมีพระองค์เจ้าหญิง พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 4 ที่รับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับพระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี และพระองค์เจ้าสว่างวัฒนา โดยครั้งแรกที่พระองค์ได้รับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในรัชกาลที่ 5 นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระองค์ให้เป็น พระนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี และในปีถัดมาก็ได้รับการสถาปนาเป็น พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระราชเทวี[7]", "title": "สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง" } ]
308
เมืองมิลานอยู่อิตาลีใช่หรือไม่ ?
[ { "docid": "28400#0", "text": "มิลาน () หรือ มีลาโน () เป็นเมืองหลักของแคว้นลอมบาร์เดียและเป็นเมืองสำคัญในภาคเหนือของประเทศอิตาลี ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลอมบาร์ดี (Lombardy) เมืองมิลานมีประชากรประมาณ 1,308,500 คน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2547) โดยถ้ารวมบริเวณรอบนอกและเขตปริมณฑลจะมีประมาณ 4 ล้านคน ซึ่งเรียกเขตทั้งหมดว่า ลากรันเดมีลาโน () มิลานมีพื้นที่ประมาณ 1,982 ตร.กม. ชื่อเมืองมิลานมาจากภาษาเคลต์ คำว่า \"Mid-lan\" ซึ่งหมายถึง อยู่กลางที่ราบ", "title": "มิลาน" }, { "docid": "576945#0", "text": "รถไฟใต้ดินมิลาน () เป็นระบบขนส่งมวลชนในเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี ดำเนินการโดย Azienda Trasporti Milanesi เป็นระบบรถไฟฟ้าที่ยาวที่สุดในอิตาลี ประกอบไปด้วย 4 เส้นทาง ระยะทางทั้งสิ้น 101 สถานี มีผู้โดยสาร 1.15 ล้านคนต่อวัน โดยเส้นทางแรก เปิดให้บริการในปี ค.ศ. 1964 ทำให้เป็นเมืองที่มีระบบรถไฟฟ้าเป็นแห่งที่สอง ต่อจากกรุงโรม", "title": "รถไฟใต้ดินมิลาน" }, { "docid": "520589#0", "text": "อัครมุขมณฑลมิลาน () เป็นอัครมุขมณฑลโรมันคาทอลิกที่มีอาณาเขตครอบคลุมเมืองมิลาน มอนซา เลกโก และวาเรเซ ในประเทศอิตาลี", "title": "อัครมุขมณฑลมิลาน" }, { "docid": "252070#0", "text": "ลอมบาร์เดีย (), ลุมบาร์ดีอา (ลุมบาร์ตตะวันตก: ) หรือ ลอมบาร์ดี () เป็นแคว้นหนึ่งในยี่สิบแคว้นของประเทศอิตาลี มีเมืองหลักคือมิลาน (มีลาโน) ประชากร 1 ใน 6 ของอิตาลีอาศัยอยู่ในแคว้นนี้ และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 1 ใน 5 ของอิตาลีผลิตขึ้นในแคว้นนี้ ลอมบาร์เดียใช้ภาษาอิตาลีเป็นภาษาราชการ ถึงแม้ว่าจะมีภาษาท้องถิ่นอันเก่าแก่ต่าง ๆ มากมาย (ภาษาลุมบาร์ตตะวันออกและลุมบาร์ตตะวันตก) และยังมีผู้พูดภาษาเอมีเลียในจังหวัดมันโตวา, ปาวีอา และเครโมนา จุดหมายปลายทางสำคัญที่นักท่องเที่ยวนิยมประกอบด้วยเมืองทางประวัติศาสตร์ เช่น มิลาน, เบรชชา, มันโตวา, ปาวีอา, เครโมนา, แบร์กาโม และมีทะเลสาบการ์ดา, โคโม, มัจโจเร และอีเซโอ", "title": "แคว้นลอมบาร์เดีย" }, { "docid": "49721#0", "text": "สโมสรฟุตบอลมิลาน () หรือ เอซี มิลาน (A.C. Milan) เรียกสั้น ๆ ว่า มิลาน (ภาษาอิตาลีออกเสียงว่า \"มีลาน\") หรือที่ฉายาในสื่อไทยเรียกว่า ปีศาจแดง-ดำ เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในเมืองมิลาน แคว้นลอมบาร์ดี้ ประเทศอิตาลี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1899 และเป็นหนึ่งในทีมฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในวงการฟุตบอลของยุโรปและของโลก โดยได้แชมป์ระดับเมเจอร์รวมทั้งหมดถึง 46 รายการ อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในทีมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอิตาลี เช่นเดียวกับ ยูเวนตุส และอินเตอร์ นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกของกลุ่ม จี-14 ซึ่งเป็นกลุ่มของสโมสรฟุตบอลยักษ์ใหญ่ของทวีปยุโรปอีกด้วย", "title": "เอซี มิลาน" } ]
[ { "docid": "517649#0", "text": "โนวารา () เป็นเมืองหลวงของจังหวัดโนวารา ในแคว้นปีเยมอนเต ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอิตาลี ทางตะวันตกของเมืองมิลาน มีประชากรราว 105,000 คน เป็นเมืองมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของแคว้นปีเยมอนเต รองจากเมืองตูริน เป็นเมืองมีเส้นทางจราจรสำคัญ เชื่อมเมืองมิลานกับตูริน และจากเจนัวไปยังสวิตเซอร์แลนด์", "title": "โนวารา" }, { "docid": "28400#1", "text": "เมืองมิลานมีชื่อเสียงในด้านแฟชั่นและศิลปะ ซึ่งมิลานถูกจัดให้เป็นเมืองแฟชั่นในลักษณะเดียวกับนิวยอร์ก ปารีส ลอนดอน และโรม นอกจากนี้มิลานยังเป็นที่รู้จักจากประเพณีคริสต์มาสที่เรียกว่า ปาเนตโตเน (Panettone) อุตสาหกรรม ผ้าไหม และแหล่งผลิตรถยนต์ อัลฟา โรมีโอ รวมไปถึงสโมสรฟุตบอลอินเตอร์มิลานและสโมสรฟุตบอลเอซีมิลาน", "title": "มิลาน" }, { "docid": "509308#0", "text": "ชีนีเซลโลบัลซาโม () เป็นเทศบาลในจังหวัดมีลาโน แคว้นลอมบาร์ดี ประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือราว 10 กม. จากศูนย์กลางของมิลาน เมืองมีประชากรราว 74,000 คน เทศบาลในปัจจุบันก่อตั้งขึ้นโดยชีนีเซลโล และ บัลซาโม จึงได้ตั้งชื่อเมืองเป็นเกียรติให้กับทั้งสอง เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1972", "title": "ชีนีเซลโลบัลซาโม" }, { "docid": "95344#0", "text": "ท่าอากาศยานมิลาโนมัลเปนซา (Aeroporto internazionale Milano-Malpensa) ตั้งอยู่ที่เมืองวาแรส ในแคว้นลอมบาร์เดีย ประเทศอิตาลี รองรับการจราจรทางอากาศของเมืองมิลาน เป็นท่าอากาศยานที่มีจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศใช้บริการมากที่สุดของอิตาลี แต่ในส่วนของจำนวนผู้โดยสารรวมทั้งหมดจะเป็นรองท่าอากาศยานเลโอนาร์โด ดา วินชี-ฟิอูมิชิโน", "title": "ท่าอากาศยานมิลาโนมัลเปนซา" }, { "docid": "771783#3", "text": "บนพื้นตรงกลางของรูปแปดเหลี่ยม มีงานโมเสก 4 ชิ้น ทำเป็นรูปตราอาร์มของเมืองหลวงทั้ง 3 แห่งของราชอาณาจักรอิตาลี (ตูริน, ฟลอเรนซ์, โรม) ส่วนชิ้นที่สี่นั้นก็คือตราอาร์มของเมืองมิลานที่ตั้งของกัลเลรีอาแห่งนี้ มีความเชื่อที่ว่าหากสามารถหมุนตัวด้วยส้นเท้าตรงอวัยวะเพศของวัวกระทิง (ในตราอาร์มของเมืองตูริน) ได้ 3 ครั้ง จะทำให้โชคดี แต่การกระทำนี้ทำให้เกิดความเสียหายกับงานโมเสก", "title": "กัลเลรีอาวิตโตรีโยเอมานูเอเลเซคอนโด" } ]
2567
อุรัสยา เสปอร์บันด์ ชื่อเล่น ญาญ่า เป็นคนจังหวัดอะไร ?
[ { "docid": "337778#2", "text": "อุรัสยา เสปอร์บันด์ เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี เป็นลูกคนสุดท้องในสองคน พ่อของเธอซีกู๊ด ชาวนอร์เวย์ เป็นที่ปรึกษาการลงทุนและนายหน้าในตลาดหลักทรัพย์ และคุณแม่ชาวไทย อุไร เป็นแม่บ้าน อุรัสยามีพี่สาวชื่อ แคทลียา อายุมากกว่าเธอสามปี และมีพี่ชายชาวนอร์เวย์ต่างมารดาอีกสองคน เธอเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษาที่โรงเรียนนานาชาติเดอะรีเจนท์พัทยาจนถึงเกรด 11 (ม. 5) จึงได้ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนบางกอกพัฒนา", "title": "อุรัสยา เสปอร์บันด์" } ]
[ { "docid": "337778#0", "text": "อุรัสยา เสปอร์บันด์ (เกิด 18 มีนาคม พ.ศ. 2536) ชื่อเล่น ญาญ่า เป็นนักแสดงและนางแบบลูกครึ่งไทย-นอร์เวย์ เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงในปี พ.ศ. 2550 โดยได้รับการติดต่อจากโมเดลลิ่งที่สวนจตุจักร หลังจากนั้นก็ได้เข้าร่วมโครงการค้นหานางแบบหน้าใหม่ในปี พ.ศ. 2551 โดยคำชักชวนของ สมบัษร ถิระสาโรช และมีผลงานเรื่อยมา งานถ่ายแบบและถ่ายมิวสิกวิดีโอของเธอเป็นที่สนใจของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จนเธอได้เซ็นสัญญาเป็นนักแสดงในสังกัด และได้แสดงละครเป็นครั้งแรกในละครซิตคอมเรื่อง \"เพื่อนซี้ล่องหน\" ต่อมาได้รับคำวิจารณ์ที่ดีและส่งผลให้เธอเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในละครโรแมนติกดราม่าเรื่อง \"กุหลาบไร้หนาม\"", "title": "อุรัสยา เสปอร์บันด์" }, { "docid": "736614#0", "text": "อุรัสยา เสปอร์บันด์ เป็นนักแสดงและนางแบบชาวไทย ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ 2 เรื่อง ละครโทรทัศน์ 19 เรื่อง ร้องเพลงประกอบละครและอื่น ๆ 15 เพลง ปรากฏอยู่ในมิวสิกวิดีโอ 14 เพลง โดยมีผลงานละครโทรทัศน์เรื่องแรกในปี พ.ศ. 2551 คือ \"บ้านก้านมะยม\" แต่ละครเรื่องนี้ไม่ได้ออกอากาศ ในปีเดียวกัน เธอแสดงละครซิตคอมแนวตลกเรื่อง \"เพื่อนซี้ล่องหน\" กำกับโดย ศรัทธา ศรัทธาทิพย์ ในปี พ.ศ. 2553 เธอแสดงละครที่ประสบความสำเร็จถึงสองเรื่องคือ \"กุหลาบไร้หนาม\" และ \"ดวงใจอัคนี\" ในละครเรื่อง \"กุหลาบไร้หนาม\" ได้แสดงร่วมกับเฌอมาลย์ บุญยศักดิ์และอัชชา นามปาน กำกับโดยอดุลย์ บุญบุตร ละครเรื่องนี้ได้รับเสียงวิจารณ์ที่ดี และยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 8 ในสาขาละครยอดเยี่ยมอีกด้วย ในละครเรื่อง \"ดวงใจอัคนี\" อุรัสยาแสดงร่วมกับณเดชน์ คูกิมิยะโดยเป็นเรื่องราวความรักต้องห้ามระหว่างสองตระกูลที่ไม่ถูกกัน ละครเรื่องนี้ประสบความสำเร็จและเป็นบทที่แจ้งเกิดให้กับเธอ สำหรับการแสดงละครเรื่องนี้ อุรัสยาได้รับรางวัลสยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์ 2011 และ ท็อปอวอร์ด 2010 ในสาขาดาวรุ่งหญิงยอดเยี่ยม อีกทั้งยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 2 ในสาขาทีมนักแสดงยอดเยี่ยม จากการแสดงในละครซีรีส์ชุด \"4 หัวใจแห่งขุนเขา\"", "title": "รายชื่อผลงานของอุรัสยา เสปอร์บันด์" }, { "docid": "337778#8", "text": "ในปี พ.ศ. 2554 อุรัสยาแสดงในละครแอกชัน-โรแมนติกเรื่อง \"ตะวันเดือด\" ของผู้จัด ฉัตรชัย เปล่งพานิช กำกับโดย อรรถพร ธีมากร ในละครอุรัสยารับบทเป็นลูกสาวเจ้าของไร่ที่ต้องแบกรับภาระของพ่อเอาไว้ ในการปกป้องสายแร่พลอยจากกลุ่มโจร ละครเรื่องนี้ได้รับความนิยม ส่วนเหตุผลที่ฉัตรชัยเลือกอุรัสยามาแสดงละครเรื่องนี้เพราะฝีมือและความเหมาะสมในบท หลังจากคัดเลือกนักแสดงมาแล้วหลายคน ละครเรื่องนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนาฏราช ถึง 7 สาขา และได้เข้าชิงรางวัลโทรทัศน์ทองคำถึง 4 สาขา และอีก 5 สาขาจากคมชัดลึก อวอร์ด อุรัสยาถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนาฏราช สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม แต่พ่ายให้กับอารยา เอ ฮาร์เก็ตจากละครเรื่อง \"ดอกส้มสีทอง\"", "title": "อุรัสยา เสปอร์บันด์" }, { "docid": "736614#2", "text": "ในปี พ.ศ. 2556 อุรัสยาแสดงในละครซีรีส์ชุด \"3 ทหารเสือสาว\" เรื่อง \"มายาตวัน\" แสดงร่วมกับอธิชาติ ชุมนานนท์ หลังจากนั้นเธอแสดงในละครตลกเรื่อง \"ดาวเรือง\" แสดงคู่กับ ทฤษฎี สหวงษ์ กำกับโดย กฤษณ์ ศุกระมงคล ปีถัดมา เธอรับบทเป็นศัลยแพทย์ชาวญี่ปุ่น ในละครฟอร์มยักษ์ \"ไรซิงซัน\" เรื่อง \"รอยฝันตะวันเดือด\" ละครชุดนี้ได้รับเสียงวิจารณ์ทั้งดีและไม่ดี ในปี พ.ศ. 2558 เธอแสดงร่วมกับจิรายุ ตั้งศรีสุข ในละครย้อนยุคเรื่อง \"หนึ่งในทรวง\" ต่อมาเธอรับบทเป็นนักแสดงที่มีปมชีวิตในละครดราม่าปี พ.ศ. 2560 เรื่อง \"คลื่นชีวิต\" ในปี พ.ศ. 2561 อุรัสยาแสดงภาพยนตร์ครั้งแรกในเรื่อง \"น้อง.พี่.ที่รัก\" เข้าฉายในเดือนพฤษภาคม รวมทั้งมีผลงานละครเรื่อง \"ลิขิตรัก\" ออกอากาศทางช่อง 3 ในเดือนเดียวกัน", "title": "รายชื่อผลงานของอุรัสยา เสปอร์บันด์" }, { "docid": "337778#21", "text": "อุรัสยามีภาพลักษณ์สดใส น่ารัก หม่อมหลวงนันทิกา วรวรรณรองผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์สายการบินบางกอกแอร์เวย์พูดถึงอุรัสยาในฐานะพรีเซ็นเตอร์ว่า \"คุณญาญ่ามีภาพลักษณ์เป็นคนรุ่นใหม่ ที่มีความน่ารัก สดใส รักการท่องเที่ยว และมีความโดดเด่นเฉพาะตัว ตรงกับสายการบินของเราที่มีความเป็นบูติคแอร์ไลน์\" บริษัทเซเรบอสประเทศไทย ผู้ผลิตและจำหน่ายแบรนด์รังนกเลือกอุรัสยามาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์โดยมองว่าเธอเป็นดาราที่มี \"ภาพลักษณ์ดี สดใส เป็นคนที่ห่วงใยคนรอบข้างจนสัมผัสได้ ไม่ว่าจะเป็นความรักระหว่างญาญ่าและแฟนคลับ พี่น้อง ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และเด็ก ๆ\" อรวรรณ บัณฑิตกุล นักเขียนนิตยสาร \"มาร์เกตเธียร์\" ยกย่องอุรัสยาในด้านการเป็นพรีเซ็นเตอร์ว่า \"ความสวยใสของเด็กรุ่นสาวสามารถสร้างแบรนด์ของลูกค้าให้มีชีวิตชีวา (Brand Revitalization) คือเหตุผลสำคัญที่ลูกค้าเลือกเธอเป็นพรีเซ็นเตอร์\" และ \"ภาพลักษณ์ที่ดีที่ไม่เคยมีข่าวฉาวเรื่องผู้ชาย ไม่ชอบเที่ยวกลางคืน ไม่แต่งตัวเซ็กซี่ ไม่มีข่าววีนเหวี่ยงกับผู้คน รวมทั้งยังมีความสามารถในการร้องและเต้น ซึ่งทำให้เธอสามารถเอนเตอร์เทนลูกค้าของแบรนด์ต่าง ๆ ได้อย่างสนุกสนานขึ้น\" เธอยังถูกจัดให้อยู่อันดับหนึ่งในรายชื่อนักแสดงหญิงที่น่ารักที่สุด ของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ในปี พ.ศ. 2554", "title": "อุรัสยา เสปอร์บันด์" }, { "docid": "337778#23", "text": "นอกจากนี้ เธอยังอยู่ในรายชื่อดาราชาย-หญิงสุดฮอต ที่ถูกกล่าวถึงผ่านทางสื่อโทรทัศน์มากที่สุดอันดับสี่ ของปี พ.ศ. 2558 จากทีวีแพลทฟอร์ม ในการจัดอันดับโดยคนบันเทิงของโพลดาราไทยรัฐในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นการสอบถามจากกลุ่มศิลปิน ดารา กว่า 200 คน อุรัสยาได้อันดับหนึ่งในหมวดนางเอกแห่งปี จากภาพลักษณ์ที่ดีไม่แต่งตัวล่อแหลมจนเกินไป เธอได้รับการโหวตให้อยู่อันดับหกในรายชื่อดาราแต่งกายเหมาะสม จากผลสำรวจของไทยแลนด์พีเพิลส์ชาร์ต ที่จัดโดยไนน์เอ็นเตอร์เทน ต่อมา อเด็คโก้ได้สำรวจความคิดเห็นของเด็กไทยที่มีอายุระหว่าง 7–14 ปี จำนวน 1,546 คน เธออยู่ในอันดับที่สี่และเป็นนักแสดงเพียงคนเดียวที่อยู่ในรายชื่อไอดอลในดวงใจของเด็กไทยประจำปี พ.ศ. 2559", "title": "อุรัสยา เสปอร์บันด์" }, { "docid": "337778#3", "text": "เมื่ออายุ 12 ปี อุรัสยาได้เจอกับโมเดลลิ่งที่สวนจตุจักร ซึ่งเธอได้รับเลือกให้แสดงโฆษณาระงับกลิ่นกายของจีนี่ ยังแคร์ โคโลญ หลังจากนั้นอุรัสยาก็มีงานเข้ามาเรื่อย ๆ แต่ด้วยความที่บ้านเกิดอยู่ไกลถึงพัทยาจึงลำบากต่อการไปแคสงานในกรุงเทพ จึงหายไปจากวงการระยะหนึ่ง", "title": "อุรัสยา เสปอร์บันด์" }, { "docid": "337778#22", "text": "ในปี พ.ศ. 2555 บ้านสมเด็จโพลล์ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับบุคคลในดวงใจ ของหนุ่มสาววัยทำงานโดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากหนุ่มสาววัยทำงาน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวนกว่า 1,332 คน ซึ่งเธอถูกจัดให้อยู่อันดับหนึ่งในหมวดดารา นักแสดง ที่ชื่นชอบ ชื่นชม และเป็นแบบอย่างที่ดีมากที่สุด ซึ่งได้คะแนนร้อยละ 15.9% ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 เธอติดหนึ่งในห้าในรายชื่อคนดีศรีบันเทิง 2557 ของไทยรัฐ ว่าเป็น \"ดาราน้ำดีตัวอย่างน่าชื่นชม\"\nในงานประกาศผลรางวัลเซเวนทีนชอยส์อวอร์ด อุรัสยาได้รับรางวัลสาวฮอตแห่งปีทั้งหมด 5 ครั้ง คมชัดลึก อวอร์ดสาขานักแสดงหญิงยอดนิยม 5 ปีซ้อน ในงานเอ็มไทยท็อปทอล์กอะเบาต์ 2011 เธอได้รับรางวัลนักแสดงหญิงที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด ในเว็บไซต์เอ็มไทย", "title": "อุรัสยา เสปอร์บันด์" }, { "docid": "337778#18", "text": "อุรัสยามีความรู้ภาษาฝรั่งเศสและภาษาสเปนเธอสามารถพูดได้คล่องแคล่ว และสามารถเล่นเปียโนและไวโอลินได้ระดับหนึ่ง และยังชอบการวาดภาพจิตรกรรมตั้งแต่เรียนมัธยมศึกษา ส่วนงานอดิเรกอย่างอื่น เธอชอบการขี่ม้าและถือเป็นกีฬาที่เล่นจริงจัง เธอเริ่มเรียนการขี่ม้าตั้งแต่อายุ 7 ปี ตามอย่างพี่สาว โดยฝึกที่ฮอร์สชูพอยท์พัทยา ด้วยความชื่นชอบในการขี่ม้าอุรัสยาจึงชอบสะสมตุ๊กตามายลิตเติลโพนี ในเวลาว่างในปัจจุบันอุรัสยาใช้เวลาไปกับการปีนเขา อยู่กับครอบครัว และอ่านหนังสือ", "title": "อุรัสยา เสปอร์บันด์" } ]
3709
บิสมาร์ค เป็นเรือประจัญบานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดจากปฎิบัติการใด ?
[ { "docid": "99826#1", "text": "บิสมาร์คได้ปฏิบัติการเพียงครั้งเดียวตลอดอายุการใช้งานอันสั้นของเธอ โดยจมลงในตอนเช้าของวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 ระหว่างปฏิบัติการไรนือบุง ซึ่งบิสมาร์คและเรือลาดตระเวนหนักอีกลำหนึ่งพยายามที่จะขัดขวางและทำลายขบวนเรือซึ่งแล่นระหว่างอเมริกาเหนือและสหราชอาณาจักร ขณะที่บิสมาร์คและเรือรบเยอรมันอีกลำหนึ่งกำลังพยายามที่จะแล่นออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก เรือรบทั้งสองถูกค้นพบโดยกองทัพเรืออังกฤษ และถูกดึงเข้าสู่ยุทธนาวีช่องแคบเดนมาร์ก ระหว่างการรบเวลาสั้น ๆ เรือลาดตระเวนประจัญบานฮู้ด เรือธงของกองเรือหลวงและความภาคภูมิใจของกองทัพเรืออังกฤษ ถูกจมลงหลังจากถูกยิงเพียงไม่กี่นาที นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิลล์ ออกคำสั่ง \"จมเรือบิสมาร์ค\"[3] ซึ่งกระตุ้นให้กองทัพเรืออังกฤษติดตามเรือบิสมาร์คไปอย่างไม่ลดละ", "title": "เรือประจัญบานบิสมาร์ค" } ]
[ { "docid": "99826#5", "text": "ตามมาตรฐานของเรือ เรือจะมีลูกเรือเป็นนายทหาร 103 นาย และพลทหาร 1,962 นาย[14] ลูกเรือจัดแบ่งเป็น 12 กองพล กองพลละ 180 ถึง 220 นาย หกกองพลแรกรับผิดชอบอาวุธยุทธภัณฑ์ กองพลที่ 1 ถึงกองพลที่ 4 ดูแลหมู่ปืนหลักและหมู่ปืนรอง กองพลที่ห้าและหกรับผิดชอบปืนต่อต้านอากาศยาน กองพลที่ 7 ประกอบด้วยผู้ชำนาญเฉพาะทางซึ่งรวมถึงพ่อครัวและช่างไม้ กองพลที่ 8 มีหน้าที่ดูแลจัดการอาวุธยุทธภัณฑ์ พนักงานวิทยุ เจ้าหน้าที่ให้สัญญาณ และเจ้าหน้าที่ทหารฝ่ายพลาธิการ ประจำกองพลที่ 9 สามกองพลสุดท้ายประจำในห้องเครื่องยนต์ เมื่อบิสมาร์คออกจากท่า เรือจะมีลูกเรือมากกว่า 2,200 นาย เพราะจะนับรวมพนักงานกองเรือ ลูกเรือที่มีหน้าที่นำส่งเรือเชลย และนักข่าวสงครามบนเรือด้วย[19] พนักงานห้องเครื่องยนต์ราว 200 นายมาจากเรือลาดตระเวนเบาคาร์ลซรู (Karlsruhe) ที่สูญเสียไประหว่างปฏิบัติการเวเซรือบุง (Operation Weserübung) ซึ่งเป็นปฏิบัติการการรุกรานนอร์เวย์ของเยอรมัน[20]", "title": "เรือประจัญบานบิสมาร์ค" }, { "docid": "776427#3", "text": "วันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ.1941 เรือรบบิสมาร์คอยู่ห่างจากฝรั่งเศสไป 200 ไมล์ เรือหลวงปรินส์ออฟเวลส์ (53)ที่เสียหายยับเยินได้ส่งเรือหลวงนอร์ฟอล์คและเรือหลวงซัฟฟอร์คซึ่งเป็นเรือลาดตระเวนไปตามล่าเรือรบบิสมาร์ค พลเรือเอกโทเวย์บัญชาการจากเรือหลวงพระเจ้าจอร์จที่ 5ซึ่งเป็นเรือประจัญบาน กองเรือของเขาอยู่ห่างจากเรือรบบิสมาร์คทางทิศตะวันออกระยะ 300 ไมล์ กองพลเรือย่อย\"หน่วยเอช\"แล่นเข้าไปจากทิศใต้ พลเรือเอกโทเวย์ซึ่งตามหลังบิสมาร์คอยู่หลายชั่วโมงตั้งใจว่าอาวุธที่ดีที่สุดในการโจมตีอย่างรวดเร็วคือการโจมตีทางอากาศ เวลา 23.30 น.เรือหลวงวิคตอเรียสซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินได้ปล่อยเครื่องบินสวอร์คฟิชเครื่องบินปีก 2 ชั้นทิ้งตอร์ปิโด มันใช้ระบบเรดาห์รุ่นเก่าของมันในการนำวิถีสู่เรือรบบิสมาร์ค พวกมันแยกเป็นกลุ่ม 3 กลุ่มบินเป็นแถวเรียงเดี่ยวจากนั้นดิ่งชันลงมา 200 ฟุต เอี้ยวตัวสู่เป้าหมายและบินขนานกันเพื่อแยกวิถีของปืนต่อสู้อากาศยาน ขณะที่เครื่องบินสวอร์คฟิชกำลังเข้าใกล้ป้อมปืนของเรือรบบิสมาร์คได้ถูกยิงออกมา พลปืนเยอรมันได้ใช้ยุทธวิธีที่ชาญฉลาดพวกเขาได้ยิงอาวุธหลักของเรือรบบิสมาร์คลงไปในน้ำเพื่อสร้างม่านน้ำขนาดใหญ่ขึ้นมากั้นเครื่องบินสวอร์คฟิช นักบินได้ทิ้งตัวลงไปเหนือคลื่นเพียง 60 ฟุตพวกเขากำลังบินต่ำและช้ามากทำให้เรือบิสมาร์คไม่สามารถเล็งปืนได้ เครื่องบินสวอร์คฟิชได้ทิ้งตอร์ปิโดลงไปแต่เรือรบบิสมาร์คหลบตอร์ปิโดลูกแรกได้ จากนั้นเครื่องบินสวอร์คฟิชอีกลำได้ทิ้งตอร์ปิโดลงไปตอร์ปิโดโดนตรงกลางลำเรือแต่โดนในส่วนแนวเกราะหนาสร้างความเสียหายไม่มากนัก เพราะทิ้งตอร์ปิโดที่มีลำละ 1 ลูกเครื่องบินสวอร์คฟิชจึงรีบกลับเรือบรรทุกเครื่องบินทันที พลเรือเอกลึทเจนส์รู้ว่าเรือรบอังกฤษจะแล่นแบบซิกแซกเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกโจมตีจากเรือดำน้ำเมื่อเรือรบอังกฤษอยู่ห่างไกลที่สุดเรือรบบิสมาร์คหันกราบเรือด้านขวาเต็มที่วกกลับไปตามเส้นทางเดิมของตนเองทำให้เรือรบของอังกฤษจับสัญญาณไม่เจอและแล่นผ่านเรือรบบิสมาร์คไป ไม่กี่ชั่วโมงต่อมาเจ้าหน้าที่พลเรดาห์ของอังกฤษทำงานอย่างเอาเป็นเอาตายเพื่อจับสัญญาณใหม่แต่ก็ไร้ประโยชน์ วันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ.1941 เวลา 17.00 น.หลังจากการจมเรือฮูด 24 ชั่วโมง เรือลาดตระเวนอังกฤษได้ส่งข้อความแก่พลเรือเอกโทเวย์มาว่า\"จับสัญญาณของศัตรูไม่ได้\"หล", "title": "ยุทธนาวีครั้งสุดท้ายของบิสมาร์ค" }, { "docid": "99826#6", "text": "เรือบิสมาร์คติดอาวุธปืน SK C/34 ลำกล้อง 38 ซม. แปดกระบอกในป้อมปืนแฝด 4 ป้อม ป้อมปืนติดตั้งแบบซูปเปอร์ไฟร์อิ้ง (super-firing[note 3]) ป้อมปืนหน้าชื่อ \"อันทอน (Anton)\" และ \"บรูโน (Bruno)\" ป้อมหลังชื่อ \"เคซาร์ (Caesar)\" และ \"โดรา (Dora)\"[note 4] อาวุธรองประกอบด้วยปืน L/55 ลำกล้อง 15 ซม. 12 กระบอก ปืน L/65 ลำกล้อง 10.5 ซม. 16 กระบอก ปืน L/83 ลำกล้อง 3.7 ซม. 16 กระบอก และปืนต่อสู้อากาศยาน ลำกล้อง 2 ซม. 12 กระบอก เรือบิสมาร์คยังบรรทุกเครื่องบินทุ่นลอยน้ำลาดตระเวนอาราโด อาแอร์ 196 (Arado Ar 196) โรงเก็บเครื่องบินขนาดใหญ่ และเครื่องดีดแบบหัวท้ายเหมือนกัน (double-ended catapult) [14] เกราะข้างหนา 320 มม. (13 นิ้ว) และปกคลุมโดยเกราะคู่ส่วนบนและเกราะหลักของดาดฟ้าเรือหนา 50 มม. (2.0 นิ้ว) และ 100 ถึง 120 มม. (3.9 ถึง 4.7 นิ้ว) ตามลำดับ ป้อมปืนหลักได้รับการปกป้องด้วยเกราะหนา 360 มม. (14.2 นิ้ว) บริเวณด้านหน้า และหนา 220 มม. (8.7 นิ้ว) บริเวณด้านข้าง[10]", "title": "เรือประจัญบานบิสมาร์ค" }, { "docid": "99826#18", "text": "บ บ หมวดหมู่:เรืออัปปางในสงครามโลกครั้งที่สอง", "title": "เรือประจัญบานบิสมาร์ค" }, { "docid": "99826#14", "text": "นานกว่า 2 นาทีที่ไม่มีการยิงตอบโต้จากกองเรือเยอรมัน ก่อนที่ผู้บังคับการเรือ ลินเดอมันน์ (Lindemann) จะสั่งให้ยิงตอบโต้ไปยังเรือธงของอังกฤษ ซึ่งก็คือเรือฮู้ดโดยเยอรมันสามารถระบุบได้เมื่อกองเรือรบอังกฤษได้ทำการเปลี่ยนทิศทางไปยังเรือฮู้ดเมื่อเวลา 05.55 น. กลยุทธ์นี้จะใช้เมื่อเรือพยายามจัดวางตำแหน่งของตนเองให้อยู่ในโซนคุ้มกัน เมื่ออยู่ในโซนดังกล่าวแล้วเรือจะสามารถยิงมุมสูงได้ (ยิงทำลายดาดฟ้าเรือ) และการยิงตรงของเรือศัตรูจะไม่ค่อยได้ผล แต่เมื่อพิจารณาแล้ว ฮู้ดก็ยังคงมีจุดอ่อนเล็กน้อยและการควบคุมการยิงของเยอรมันยังเหนือกว่านิดหน่อย นอกจากนี้ยังมีข้อเสียคือ ในระหว่างการแล่นเรือปืนใหญ่ 8 กระบอกจาก 18 กระบอกไม่สามารถยิงสนับสนุนได้[34]", "title": "เรือประจัญบานบิสมาร์ค" }, { "docid": "99826#9", "text": "วันที่ 6 มีนาคม เรือบิสมาร์คได้รับคำสั่งแล่นเรือไปคีล โดยมีเครื่องบินขับไล่เมสเซอร์ชมิท เบเอฟ 109 (Messerschmitt Bf 109) จำนวนหลายลำ และเรือสินค้าติดอาวุธจำนวน 2 ลำทำหน้าที่คุ้มกันระหว่างเส้นทาง พร้อมเรือตัดน้ำแข็ง เมื่อเวลา 08:45 น. วันที่ 8 มีนาคม บิสมาร์คได้เกยตื้นที่ชายฝั่งด้านใต้ของคลองคีลเป็นเวลาสั้นๆ แม้ว่าจะหลุดออกมาใต้ภายในหนึ่งชั่วโมง เรือเดินทางถึงคีลในวันถัดมา ลูกเรือได้ทำการกักตุนอาวุธยุทธภัณฑ์ เชื้อเพลิง และเสบียงอื่นๆ และดำเนินการพรางเรือด้วยลายพรางแบบแดซเซิล (dazzle paint) วันที่ 12 มีนาคม เครื่องบินทิ้งระเบิดของอังกฤษได้เข้าโจมตีท่าเรือแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ[27] วันที่ 17 มีนาคม เรือประจัญบานเก่า เอสเอ็มเอส เชลซีน (SMS Schlesien) ซึ่งปัจจุบันดัดแปลงเป็นเรือตัดน้ำแข็ง คุ้มกันฝ่าน้ำแข็งไปถึงเมืองโกเทนฮาเฟน เพื่อฝึกความพร้อมในการรบ[28]", "title": "เรือประจัญบานบิสมาร์ค" }, { "docid": "369656#1", "text": "วันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ.1941 เรือรบเยอรมัน 2 ลำแล่นผ่านน่านน้ำแอตแลนติกเหนือโดยมีเรือลาดตระเวนหนัก ปรินซ์ ออยเก็นและเรือประจัญบานบิสมาร์ค เรือรบบิสมาร์คกำลังเดินทางครั้งแรกเพื่อทำภารกิจลับสุดยอด รหัส\"เอกซ์เซอร์ไซน์ ไลน์\" แผนของเยอรมันก็คือลอบเข้าไปในแอตแลนติกโดยไม่ให้ถูกจับได้และโจมตีขบวนกองเรือของสัมพันธมิตร แต่เยอรมันไม่รู้ตัว 30 ไมล์ทางตะวันออกเฉียงใต้มีเรือรบอังกฤษ 2 ลำแล่นตัดมาด้วยความเร็วเต็มที่ เรือหลวงปรินส์ออฟเวลส์ (53)และความภาดภูมิแห่งราชนาวีอังกฤษเรือหลวงฮูด (51) แผนการรบของอังกฤษได้ผิดไปจากที่คาดไว้ โดยหวังที่จะโจมตีกองเรือเยอรมันไปถึงปากช่องแคบเดนมาร์กและแล่นตัดเป็นรูปตัว T เพื่อยิงปืนทุกกระบอกจากข้างลำเรือ แต่ระหว่างคืนน้นอังกฤษได้คลาดกับศัตรูไปพอรุ่งเช้าก็พบว่าตนนั้นอยู่นอกตำแหน่งไปเสียแล้วตอนนี้เยอรมันกำลังได้เปรียบโดยพบว่าเยอรมันทำสำเร็จด้วยความบังเอิญ แต่กองเรืออังกฤษไม่หวาดหวั่น\"ฮูด\"คือสัญลักษณ์แห่งแสนยานุภาพของราชนาวีอังกฤษ เวลา 5.52 น.เรือหลวงฮูดเริ่มยิงก่อน กระสุนกระทบกราบขวาของเรือปรินซ์ออยเก็น เรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์ระดมยิงไปอย่างรวดเร็วกระสุนนั้นได้พลาดเป้าไป น้ำจำนวนมากพุ่งพล่านขึ้นรอบเรือรบบิสมาร์คแต่น่าแปลกที่พลเรือเอกกึนเธอร์ ลึทเจนต์ยังไม่สั่งให้ยิง แท้จริงแล้วงานของลึกเจนส์ไม่ใช่การสู้กับเรือรบงานของเขาคือการทำลายการค้าถ้าเรือของเขาเสียหายอย่างหนักเขาก็ต้องกลับไปที่ท่าเรือแล้วภารกิจก็จบสิ้น เรือรบของอังกฤษกระหน่ำยิงแต่ลึทเจนส์ยังปฏิเสธที่จะยิงโต้กลับ ในที่สุดพลเรือเอกแอร์นสท์ ลินเดมันน์ผู้จนตรอกได้ก้าวเข้ามาและพูดว่า\"ผมจะไม่ยอมให้เรือผมถูกยิงจมไปต่อหน้าต่อตา\"หลังจากนั้นเรือรบบิสมาร์คเปิดฉากยิง กระสุนขนาด 1 ตันจากเรือรบบิสมาร์คพุ่งไปสู่เรือหลวงฮูดโดยที่รู้กิตติศัพท์ว่ากระสุนที่ตกลงมาจากแนวลาดดิ่งซึ่งเรียกว่า\"กระสุนมุมสูง\"จะสามารถเจาะทะลุลึกและระเบิดภายในได้ง่ายๆตรงส่วนดาดฟ้าของเรือซึ่งเป็นเกราะบาง เมื่อเรือหลวงฮูดรู้ภัยของกระสุนมุมสูงเรือหลวงฮูดจึงรุดเข้าไปโดยพยายามเข้าใกล้ให้มากพอที่จะทำให้พลปืนเยอรมันยิงในวิถีแนวราบและหวังว่ากระสุนจะโดนส่วนเกราะตัวเรือหนา 12 นิ้วแทนที่จะเป็นส่วนดาดฟ้าบางๆ การระดมยิงครั้งแรกของเรือรบบิสมาร์ดเกือบพลาดเป้าไปกระสุนระเบิดที่ข้างกราบเรือข้างซ้ายของเรือหลวงฮูด เรือรบบิสมาร์คยิงอีกครั้ง พลปืนเยอรมันเล็งเป้าด้วยความแม่นฉมัง เวลา 5.55 น.กระสุนจากเรือรบบิสมาร์คแล่นตัดคลังกระสุนของเรือหลวงฮูดทำให้กระสุนต่อสู้อากาศยานขนาด 4 นิ้วระเบิดอย่างใหญ่และไฟได้เผาร่างลูกเรือจนวอดวาย กระสุนอีกนัดของเรือรบบิสมาร์คโดนที่หอหลักของเรือหลวงฮูด สถานการณ์น่าสิ้นหวัง ในระยะ 8 ไมล์ พลเรือเอกแลนสล็อต ฮอลแลนด์ผู้การเรือหลวงฮูด บัญชาการให้กลับลำเรือเพื่อให้เรือยิงจากด้านข้างได้อย่างเต็มที่ แต่พลเรือเอกฮอลแลนด์คำนวณผิด เรือรบบิสมาร์คได้ยิงออกไปโดยล็อกเป้าหมายไว้ที่เรือหลวงฮูด เวลา 6.00 น.กระสุนเจาะเกราะขนาด 1 ตันนัดหนึ่งก็เจาะเข้าสู่จุดตายของเรือหลวงฮูดเข้าพอดี กระสุนเจาะเกราะทะลุเข้าไปในเรือหลวงฮูดทำให้ดินปืนในห้องเก็บดินระเบิดลุกเป็นไฟ ต่อมาทหารเรือบนเรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์ดูภาพอันน่าสยองของเปลวไฟที่ประทุขึ้นจากดาดฟ้าของเรือหลวงฮูดที่ย่อยยับด้วยความตกตะลึงและแล้วเปลวไฟจากดินปืนจำนวนมหาศาลในห้องเก็บดินระเบิดทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า\"การคุระอุไหม้\"จากนั้นระเบิดลูกใหญ่ก็ทำให้ตัวเรือโก่งบิดและฉีกตัวเรือหลวงฮูดขาดเป็น 2 ท่อน ส่วนหัวเชิดตั้งขึ้นบนอากาศขณะที่ส่วนกลางจมลงไป น่านน้ำอีกฝั่งเรือรบบิสมาร์คดูการล่มสลายของเรือหลวงฮูด ในขณะที่เรือหลวงฮูดเคลื่อนตัวลงใต้เกลียวคลื่นป้อมปืนหัวเรือก็ยิงออกมาเป็นครั้งสุดท้ายท้าทายการระดมยิงก่อนจมลงสู่ความมืดใต้ท้องทะเล ลูกเรืออังกฤษ 1,418 คนรวมทั้งพลเรือเอกฮอลแลนด์จมลงพร้อมกับเรือหลวงฮูด ตอนนี้เรือรบบิสมาร์คและเรือรบปรินซ์ออยเก็นมาให้ความสนใจกับเรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์แล้ว เรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์ยังเป็นเรือใหม่ไม่เคยมีประสบการณ์การรบมาก่อนและมีปัญหาด้านเครื่องยนต์อยู่ด้วยปืนของเรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์ติดตั้งไว้มากมายแต่ 8 ใน 10 นั้นอยู่ในฐานปืนใหม่ที่ซับซ้อนซึ่งยังไม่ได้รับการทดสอบและขัดข้อง ผู้บัญชาการเรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์จอห์น ลีชบัญชาการให้หันกราบเรือขวาเพื่อเลี่ยงซากเรือหลวงฮูด เรือรบบิสมาร์คและเรือรบปรินซ์ออยเก็นหันปืนไปยังเรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์ที่โดดเดี่ยวจากนั้นก็กระหน่ำยิงทั้งอาวุธหลักและอาวุธรอง นัดแรกโดนที่ส่วนกราบหลังของเรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์ นัดที่สองโดนหอบังคับการกับการทางด้านหลังของฐานปืนส่วนกระสุนชุดต่อไปโดนตัวเรือที่ใต้ปั่นจั่นยกเครื่องบินกับปล่องไฟและดาดฟ้าเรือและอีก 3 นัดได้ตกลงทะเลไป แต่การกราดยิงของเรือรบ 2 ลำของเยอรมันก็มากเกินไปสำหรับเรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์ที่ขัดข้อง มันถูกยิงจนเสียหายถึง 7 นัด ทหารเรือ 14 นายเสียชีวิตปืนบนเรือติดค้างชะงัก หลั้งจากกระหน่ำยิงถึง 23 ครั้งเรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์ควันโขมงและล่าถอยไปทางตะวันออกเฉียงใต้ พลเรือเอกลึทเจนส์ปฏิเสธที่จะไม่ตามไป เรือรบบิสมาร์คได้รับความเสียหายจากกระสุน 3 นัดจากเรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์ทำให้น้ำทะเล 2,000 ตันไหลท่วมทะลักเข้ามาในห้องใต้ท้องเรือและถังน้ำมันก็แตกด้วย น้ำมันอันมีค่ากำลังรั่วไหล พลเรือเอกลึกเจนส์ต้องหาท่าเรือและทำการซ่อมแซมให้เร็วที่สุด เวลา 18.14 น.ของวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ.1941 เรือรบบิสมาร์คแยกทางกับเรือรบปรินซ์ออยเก็นและมุ่งหน้าไปยังฐานหลบภัยที่ฝรั่งเศสซึ่งนาซียึดครองอยู่", "title": "ยุทธนาวีที่ช่องแคบเดนมาร์ก" }, { "docid": "776427#1", "text": "หลังจากที่เรือประจัญบานบิสมาร์คได้จมเรือหลวงฮูด (51)ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิของอังกฤษในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ.1941 หลังจากที่ประชาชนทั่วทั้งอังกฤษรู้ข่าวเกี่ยวกับเรื่องเรือหลวงฮูดถูกจมโดยเรือบิสมาร์คประชาชนต่างรู้สึกโกรธแค้นและตกตะลึง ทำให้ทางกองทัพอังกฤษได้ตอบสนองอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด", "title": "ยุทธนาวีครั้งสุดท้ายของบิสมาร์ค" }, { "docid": "99826#12", "text": "ถึงแม้ว่ากองเรือขนาดใหญ่ของเยอรมันจะประสบปัญหาและไม่พร้อมออกทะเลก็ตาม แต่ฝ่ายเสนาธิการทหารเรือเยอรมันก็เร่งรัดให้รีบส่งกองเรือขนาดใหญ่ออกตีกองเรือสัมพันธมิตรในแอตแลนติกให้ได้ เหตุเพราะว่า จากการต่อตีกองเรือของอังกฤษที่ผ่านมา ทำให้สถานการณ์ของอังกฤษย่ำแย่อย่างหนัก ทำให้ฝ่ายอังกฤษมีการนำเรือรบมาคุ้มกันเรือลำเลียงมากขึ้น และฝ่ายเยอรมัน ก็ได้กลัวว่า หากสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงคราม จะทำให้ปฏิบัติการทางทะเลของเยอรมันยิ่งประสบความลำบาก เยอรมันจึงควรส่งกองเรือขนาดใหญ่ออกปฏิบัติการกดดันการลำเลียงทางทะเลของอังกฤษอย่างต่อเนื่อง ฝ่ายเยอรมันจึงต้องส่ง บิสมาร์ค ออกปฏิบัติการต่อตีกองเรือผิวน้ำอังกฤษ ตั้งแต่แอตแลนติกเหนือไปจนถึงเส้นศูนย์สูตร ร่วมกับกองเรือดำน้ำ และเพื่อเป็นการหลอกล่อกองเรือคุ้มกันของอังกฤษให้ไล่ตามบิสมาร์ค เพื่อเปิดโอกาสให้เรือดำน้ำและเรือผิวน้ำของฝ่ายเยอรมันสามารถโจมตีกองเรือลำเลียงได้ วันที่22เมษายน 1941 พลเรือเอก ลึทเจนต์ ได้ร่างแผนปฏิบัติการในชื่อ ยุทธการ \"ไรนบุง\" แต่ว่า เรือที่จะเข้าร่วมปฏิบัติการอื่นๆ ได้แก่ ทีร์ปีตส์ กไนส์เนาส์ และ ชาร์นฮอร์สต์ ล้วนไม่พร้อมปฏิบัติการทั้งสิ้น แม้แต่เรือลาดตะเวณหนัก ปริ๊นซ์ ออยเกิน ยังชนทุ่นระเบิดได้รับความเสียหาย ต้องทำการซ่อมแซม พลเรือเอกลึทเจนต์ ได้หารือกับจอมพลเรือเรเดอร์ ผู้บรรชาการทหารเรือเยอรมัน ให้เลื่อนแผนปฏิบัติการออกไป จนกว่า ทีร์ปีตส์ หรือ ชาร์นฮอร์สต์ จะพร้อมปฏิบัติการ แต่เรเดอร์ ยังคงให้ทำตามแผนที่วางไว้ต่อไป กำหนดออกเรือของบิสมาร์ค คือวันที่16พฤษภาคมจากเดิมคือวันที่14 เพื่อซ่อมแซมเคนกราบซ้ายที่ชำรุด และจะเริ่มแผนยุทธการไรนบุง ในวันที่18พฤษภาคม 1941", "title": "เรือประจัญบานบิสมาร์ค" }, { "docid": "393754#0", "text": "หมู่ปืนเรือ () เป็นคำที่ใช้เรียกปืนใหญ่หรือปืนบนเรือรบ สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ หมู่ปืนหลัก (main battery) และหมู่ปืนรอง (secondary battery) โดยทั่วไปหมู่ปืนหลักจะใช้ในการยิงโจมตีและหมู่ปืนรองจะใช้ในการป้องกันตนเอง เช่น เรือประจัญบานบิสมาร์คมีปืนใหญ่ 380 มม. 8 กระบอกเป็นหมู่ปืนหลัก และมีปืน 150 มม. 12 กระบอกเป็นหมู่ปืนรองสำหรับต่อต้านเรือพิฆาตและเรือตอปิโด นอกจากนี้ยังมีปืนต่อสู้อากาศยานจำนวนมากขนาด 105 มม. ถึง 20 มม. ปัจจุบันเรือรบถูกออกแบบให้ใช้ ขีปนาวุธต่อต้านเรือแทนการใช้ปืนเรือขนาดใหญ่ เช่น เรือชั้นคีร็อฟ (\"Kirov\" class) ของรัสเซีย", "title": "หมู่ปืนเรือ" }, { "docid": "369656#0", "text": "ยุทธนาวีช่องแคบเดนมาร์ก เป็นยุทธนาวีในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างราชนาวีอังกฤษและครีกสมารีเนอของเยอรมนี เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 เรือหลวง\"ปรินส์ออฟเวลส์\" เรือประจัญบาน และเรือหลวง\"ฮูด\" เรือลาดตระเวนสงคราม สู้รบกับเรือประจัญบาน\"บิสมาร์ค\" และเรือลาดตระเวนหนัก \"ปรินซ์ออยเกน\" ของเยอรมนี เรือรบเยอรมันทั้งสองลำกำลังพยายามตีฝ่าออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือเพื่อทำลายการขนส่งพาณิชย์ของฝ่ายสัมพันธมิตร", "title": "ยุทธนาวีที่ช่องแคบเดนมาร์ก" }, { "docid": "99826#11", "text": "การจัดสร้างและติดตั้งอุปกรณ์บนเรือเทียร์พิตส์เสร็จสมบูรณ์ล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ อย่างไรก็ตามเรือยังคงไม่ขึ้นระวางจนกระทั่งวันที่ 25 กุมภาพันธ์ และเรือยังไม่พร้อมเข้าทำการรบจนกระทั่งปลายปี ด้วยสถานการณ์ที่ซับซ้อน เรือประจัญบานไกเซเนา (Gneisenau) ได้รับความเสียหายจากตอร์ปิโดขณะอยู่ในแบรสต์และจากระเบิดขณะอยู่ในอู่แห้ง เรือประจัญบานชาร์นฮอร์ชต (Scharnhorst) ต้องการยกเครื่องหม้อไอน้ำเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการเบอร์ลิน ระหว่างการยกเครื่อง คนงานพบว่าหม้อไอน้ำมีสภาพเลวร้ายกว่าที่คาด เรือต้องถอนตัวจากแผนการโจมตี[30] การโจมตีของเครื่องบินทิ้งระเบิดที่คลังสรรพาวุธในคีลทำให้เกิดความล่าช้าในการซ่อมแซมเรือลาดตระเวนหนักพลเรือเอกเชร์ (Admiral Scheer) และพลเรือเอกฮิพเพอร์ (Admiral Hipper) เรือทั้งสองไม่พร้อมที่จะปฏิบัติการไปจนถึงเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม[31] พลเรือเอกกึนเธอร์ ลึทเจนต์ นายทหารซึ่งได้รับเลือกเป็นผู้นำปฏิบัติการ ปรารถนาถ้ายืดเวลาปฏิบัติการออกไปอีกอย่างน้อยจนกว่าเรือชาร์นฮอร์ชตหรือเรือเทียร์พิตส์จะพร้อม[32] แต่กองบัญชาการสูงสุดกองทัพเรือตัดสินใจที่จะดำเนินการปฏิบัติการชื่อรหัส ปฏิบัติการไรนือบุง ต่อไป ซึ่งกองเรือประกอบด้วยบิสมาร์คและเรือลาดตระเวนหนักพรินซ์ออยเกน (Prinz Eugen) เท่านั้น[30]", "title": "เรือประจัญบานบิสมาร์ค" }, { "docid": "99826#8", "text": "เรือบิสมาร์คมีแผนเดินทางกลับคีลในวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1941 แต่มีเรือสินค้าอับปางในคลองคีลส่งผลให้ใช้ทางน้ำไม่ได้ สภาพอากาศที่เลวร้ายได้ขัดขวางการกู้ซากเรือที่จมลง เรือบิสมาร์คจึงเดินทางกลับคีลไม่ได้จนกระทั่งเดือนมีนาคม[21] ความล่าช้าสร้างความผิดหวังให้แก่ลินเดมันเป็นอย่างมาก เขากล่าวว่า \"เรือบิสมาร์คติดอยู่ที่ฮัมบูร์กถึงห้าสัปดาห์... เวลาอันมีค่าที่จะล่องเรือในทะเลสูญเสียไปด้วยเหตุที่ไม่ได้ก่อขึ้น และเป็นความล่าช้าอย่างมีนัยยะในการเคลื่อนกำลังในขั้นสุดท้ายด้วยเหตุซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้\"[25] ขณะที่รอให้เดินทางไปถึงคีล เรือบิสมาร์คเป็นที่รับรองเรือเอกแอนเดอร์ ฟอร์เชลล์ (Anders Forshell) ผู้ช่วยทูตกองทัพเรือสวีเดนไปยังเบอร์ลิน เขากลับไปยังสวีเดนพร้อมรายละเอียดลักษณะของเรือ และได้เผยความลับนี้กับอังกฤษ โดยทหารที่สนับสนุนอักฤษในกองทัพเรือสวีเดน ข้อมูลถูกจัดเตรียมไว้ให้กองทัพเรืออังกฤษกับรายละเอียดแรกทั้งหมดของเรือ แม้ว่าจะขาดลักษณะจำเพาะที่สำคัญ ซึ่งประกอบด้วยความเร็วสูงสุด, ระยะทำการ, และระวางขับน้ำ[26]", "title": "เรือประจัญบานบิสมาร์ค" }, { "docid": "99826#13", "text": "ในวันที่ 24 พฤษภาคม 1941 เรือทั้ง 2 ลำ ถูกฝั่งอังกฤษตรวจจับได้ ขณะอยู่ในบริเวณสแกนดิเนเวียทำให้อังฤกษส่งเรือรบเรือประจัญบานลำใหม่ เอชเอ็มเอส ปรินส์ออฟเวลส์ เรือลาดตระเวนประจัญบานลำเก่า ฮู้ด</i>ออกไปดักโจมตีที่ช่องแคบเดนมาร์ก เวลาประมาณ 05:30 น. ของวันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม กองเรือเยอรมันได้เดินทางมาถึงช่องแคบเดนมาร์ก ไฮโดรโฟนของพรินซ์ออยเกนตรวจพบเรือสองลำทางกราบซ้าย[33] แต่โชคยังเป็นของอังกฤษ เมื่อผู้บังคับการเรือปรินส์ออฟเวลส์ได้สังเกตเห็นถึงความผิดพลาดและทำการเปลี่ยนเป้าหมาย ฮอลแลนด์ได้รับคำสั่งแก้ไขเป้าหมายแต่คำสั่งนั้นกลับไปไม่ถึงพลปืนของฮู้ดก่อนที่จะได้ยิงตับแรกออกไป ฮู้ดได้ยิงกระสุนนัดแรกในยุทธนาวีเมื่อเวลา 05.52 น.ในเวลารุ่งอรุณ และตามติดด้วยพรินซ์ออฟเวลส์ ระยะห่างจากเรือฝ่ายเยอรมันในตอนนั้นประมาณ 12.5 ไมล์ (20.1 กม.) การยิงตับแรกของฮู้ด กระสุนตกใกล้กับพรินซ์ออยเกน ทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยใกล้กับป้อมปืนท้าย[33]", "title": "เรือประจัญบานบิสมาร์ค" }, { "docid": "99835#0", "text": "กึนเธอร์ ลึทเยนต์ () เป็นนายพลเรือแห่งกองทัพเรือเยอรมัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และได้เสียชีวิตไปพร้อมกับ การจมของเรือประจัญบานบิสมาร์ค", "title": "กึนเธอร์ ลึทเยนต์" }, { "docid": "99826#15", "text": "การอับปางของเรือลำนี้เกิดขึ้นหลังการปฏิบัติการไรนือบุง นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิลล์ ออกคำสั่ง \"จมเรือบิสมาร์ค\" ซึ่งกระตุ้นให้กองทัพเรืออังกฤษติดตามเรือบิสมาร์คไปอย่างไม่ลดละ และในระหว่างที่เรือกำลังกลับจากปฏิบัติการนี้ เวลา 09:02 am เครื่องบินรบอังกฤษได้ระดมยิงตอร์ปิโดจำนวนมาก ทำให้เจ้าหน้าที่เรือเสียชีวิตกันมากมาย และหางเสือเรือทรงตัวไม่ได้ และเรือรบ 4 ลำของอังกฤษ ได้ยิงปืนใหญ่ถล่มเรือ Bismarck จนเรือเสียหายอย่างรุนแรง และในที่สุดเวลา 10:20 am เรือก็อับปางลง พร้อมชีวิตของเจ้าหน้าที่เรือ 2,200 ชีวิต มีเพียง 114 ชีวิตเท่านั้นที่รอดมาได้", "title": "เรือประจัญบานบิสมาร์ค" }, { "docid": "99826#3", "text": "เรือบิสมาร์คถูกสั่งสร้างภายใต้ชื่อ แอร์ซัทซ์ ฮานโนเฟอร์ (Ersatz Hannover) ภายใต้ข้อตกลง \"เอฟ\" เพื่อทดแทนเรือปืน เอสเอ็มเอส ฮันโนเฟอร์ (SMS Hannover) ที่จัดสร้างขึ้นก่อนเรือรบเดรดนอต[10] ในข้อตกลงได้มอบหมายให้อู่ต่อเรือโบลมและฟอสส์ (Blohm & Voss) ในเมืองฮัมบูร์กเป็นผู้จัดสร้าง มีการวางกระดูกงูในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1936 ที่ Helgen IX[11][12] เรือปล่อยลงน้ำในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1939 ระหว่างพิธีการ โดโรเท วอน เลอเวนเฟลด (Dorothee von Löwenfeld) หลานสาวนายกรัฐมนตรีออทโท ฟอน บิสมาร์คเป็นผู้ทำพิธีตั้งเรือและปล่อยเรือลงน้ำ และมีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เป็นผู้กล่าวสุนทรพจน์ในพิธี[12] งานปรับปรุงและติดตั้งอุปกรณ์ได้ดำเนินงานหลังการปล่อยเรือลงน้ำ ในเวลานั้น หัวเรือเดิมแบบมุมตรงได้ถูกแทนที่ด้วยหัวเรือเอียงลาดแบบแอตแลนติก (Atlantic bow) ซึ่งคล้ายกับเรือประจัญบานชั้นชันฮอร์ซท (Scharnhorst) [13] บิสมาร์คเข้าประจำการในกองเรือวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1940 ขณะทำการแล่นเรือทดสอบ[14] มีหน้าที่ควบคุมทะเลบอลติก โดยมีนาวาเอก (Kapitän zur See[note 1]) แอร์นซท ลินเดมัน (Ernst Lindemann) เป็นผู้บังคับการเรือในขณะเรือเข้าประจำการ[15]", "title": "เรือประจัญบานบิสมาร์ค" }, { "docid": "99826#2", "text": "สองวันถัดมา เมื่อบิสมาร์คเกือบจะไปถึงน่านน้ำที่ปลอดภัยแล้ว เครื่องบินปีกสองชั้นของกองทัพเรืออังกฤษได้ยิงตอร์ปิโดถล่มเรือและทำให้หางเสือเรือขัดข้อง ทำให้เรือรบหนักของอังกฤษสามารถตามทันบิสมาร์คได้ ในการรบที่เกิดขึ้นตามมาในช่วงเช้าของวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 บิสมาร์คถูกโจมตีอย่างหนักเป็นเวลานานเกือบสองชั่วโมงก่อนที่จะจมลงสู่ก้นทะเล[4][5] การจมของบิสมาร์คได้รับการรายงานบนหน้าแรกของหนังสือพิมพ์หลายฉบับทั่วโลก[6][7][8][9]", "title": "เรือประจัญบานบิสมาร์ค" }, { "docid": "45471#5", "text": "ในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1939-1945) ชาติต่าง ๆ ที่ร่วมสงคราม ต่างสร้างเรือประจัญบานขึ้นมา เช่น \"บิสมาร์ค\" ของเยอรมนี, \"ไอโอวา\" ของสหรัฐอเมริกา, และ\"ยามาโตะ\" ของจักรวรรดิญี่ปุ่น", "title": "เรือประจัญบาน" }, { "docid": "99826#17", "text": "CS1 maint: extra punctuation (link)", "title": "เรือประจัญบานบิสมาร์ค" }, { "docid": "99826#0", "text": "บิสมาร์ค เป็นเรือประจัญบาน และหนึ่งในเรือรบที่มีชื่อเสียงที่สุดในสงครามโลกครั้งที่สอง บิสมาร์คเป็นเรือลำแรกในเรือประจัญบานชั้นบิสมาร์ค ซึ่งตั้งตามชื่อนายกรัฐมนตรีของเยอรมนีสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ออตโต ฟอน บิสมาร์ค บิสมาร์คมีระวางขับน้ำเต็มที่ถึง 50,000 ตัน และเป็นเรือประจัญบานขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เข้าประจำการในสมัยนั้น[2]", "title": "เรือประจัญบานบิสมาร์ค" }, { "docid": "99826#10", "text": "กองบัญชาการสูงสุดกองทัพเรือ (Oberkommando der Marine หรือ OKM) ซึ่งบัญชาการโดยพลเรือเอกเอริช เรเดอร์ (Erich Raeder) มีเป้าหมายที่จะคงภารกิจที่ใช้เรือขนาดหนักโจมตีเส้นทางการค้าของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแอตแลนติกต่อไป เรือประจัญบานชั้นชาร์นฮอร์ชต (Scharnhorst) สองลำที่ประจำอยู่ที่เมืองแบรสต์ (Brest) ประเทศฝรั่งเศส เป็นหัวหอกหลักในการโจมตีในมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งเวลานั้นปฏิบัติการเบอร์ลิน (Operation Berlin) เพิ่งจบลง เรือเทียร์พิตส์ซึ่งเรือพี่น้องของเรือบิสบาร์คถูกสร้างขึ้นอย่างรวดเร็ว เรือบิสมาร์คและเรือเทียร์พิตส์เข้าโจมตีเข้าไปในเขตศัตรูจากทะเลบอลติกและนัดพบกับเรือชั้นชาร์นฮอร์ชตทั้งสองลำในแอตแลนติก ปฏิบัติการมีแผนเริ่มดำเนินการประมาณวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1941 ในช่วงเดือนมืดซึ่งจะทำให้ปัจจัยแวดล้อมช่วยอำนวยประโยชน์[29]", "title": "เรือประจัญบานบิสมาร์ค" }, { "docid": "855728#4", "text": "เรือที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของครีคส์มารีเนอคือ เรือ-อู ซึ่งส่วนใหญ่ได้ถูกสร้างขึ้นภายหลังจากแผนการเซ็ดได้ถูกยกเลิกไปในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง. \"ฝูงหมาป่า\"(Wolfpacks) เป็นกลยุทธ์ทางยุทธวิธีในการรวบรวมกลุ่มของเรือดำน้ำในการโจมตีขบวนเรือขนส่งสินค้าของอังกฤษได้อย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งแรกของยุทธการแห่งแอตแลนติก (Battle of the Atlantic) แต่กลยุทธ์นี้ส่วนใหญ่ถูกละทิ้งไปในช่วงครึ่งหลังของสงคราม.พร้อมกับเรืออู,ได้ตรวจค้นหาโจมตีเรือบนผิวน้ำ (รวมทั้งการสนับสนุนของเรือลาดตระเวน) ถูกนำมาใช้เพื่อทำลายการส่งสินค้าของสัมพันธมิตรในช่วงแรกของสงคราม,เรือที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดของเหล่านี้คือเรือลาดตระเวน Admiral Graf Spee และ Admiral Scheer และเรือรบประจัญบาน บิสมาร์ค.อย่างไรก็ตาม,การนำเรือคุ้มกันมาใช้ในการคุ้มครองขบวนเรือสินค้า,โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมหาสมุทรแอตแลนติก,ได้ลดประสิทธิภาพเป็นอย่างมากในการตรวจค้นหาโจมตีบนผิวน้ำต่อขบวนเรือสินค้า.", "title": "ครีคส์มารีเนอ" }, { "docid": "99826#7", "text": "วันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1940 สามสัปดาห์หลังเข้าประจำการ เรือบิสมาร์คออกจากฮัมบูร์กเพื่อเริ่มแล่นเรือทดสอบในอ่าวคีล (Kiel Bay) [21] เรือซแพร์แบร์เชอร์ (Sperrbrecher) 13 ได้ทำหน้าที่คุ้มกันเรือเดินทางไปแหลมอาร์โคนา (Cape Arkona) ในวันที่ 28 กันยายน แล้วจึงไปถึงเมืองโกเทนฮาเฟน (Gotenhafen) เพื่อแล่นเรือทดสอบในอ่าวดันซิก (Gulf of Danzig) [22] โรงไฟฟ้าของเรือได้รับการทดสอบอย่างละเอียด มีการปรับการวัดไมล์ทะเลให้ถูกต้องแม่นยำ และการแล่นเรือความเร็วสูง ขณะที่ความเสถียรและการจัดการกลยุทธ์ที่เริ่มทดสอบ พบว่ามีข้อบกพร่องในการออกแบบ ขณะที่ความพยายามที่จะคัดท้ายเรือด้วยคนเพียงลำพังด้วยการพัฒนาปรับเปลี่ยนการพัฒนาใบจักรเรือ ลูกเรือเรียนรู้ว่าการปฏิบัตินั้นด้วยตัวคนเดียวปฏิบัติยากมาก แม้ว่า สกรูท้ายเรือจะทำงานเต็มกำลังในทิศตรงข้าม แต่ก็เพิ่มความสามารถในการเลี้ยวเพียงเล็กน้อย[23] หมู่ปืนเรือหลักทำการทดสอบยิงครั้งแรกปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งจากการทดสอบพบว่าเรือเป็นแท่นปืนใหญ่ที่มีความเสถียรมาก[24] เรือได้แล่นทดสอบจนถึงเดือนธันวาคม บิสมาร์คได้เดินทางกลับไปถึงฮัมบูร์กในวันที่ 9 ธันวาคม สำหรับการปรับเปลี่ยนอีกเล็กน้อยและการติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นให้สมบูรณ์[21]", "title": "เรือประจัญบานบิสมาร์ค" }, { "docid": "99826#16", "text": "CS1 maint: extra punctuation (link) CS1 maint: extra punctuation (link)", "title": "เรือประจัญบานบิสมาร์ค" }, { "docid": "517470#0", "text": "ปฏิบัติการเบอร์ลิน () เป็นการโจมตีเส้นทางทางการค้าที่ประสบความสำเร็จโดยเรือประจัญบานของเยอรมัน ชาร์นฮอร์ชต (Scharnhorst) และ ไกเซเนา (Gneisenau) ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1941 โดยมีผู้บัญชาการปฏิบัติการคือพลเรือเอกกึนเธอร์ ลึทเจนต์ ผู้ซึ่งภายหลังได้เป็นผู้สั่งการการเดินเรือของเรือบิสมาร์คและเรือเทียร์พิตส์", "title": "ปฏิบัติการเบอร์ลิน (แอตแลนติก)" }, { "docid": "99826#4", "text": "เรือบิสมาร์คมีระวางขับน้ำมาตรฐาน 41,700 ตัน (41,000 ลองตัน[note 2]) และมีระวางขับน้ำเต็มที่ 50,300 ตัน (49,500 ลองตัน) มีความยาวตลอดลำ 251 เมตร (823 ฟุต 6 นิ้ว), กว้าง 36 เมตร (118 ฟุต 1 นิ้ว) และกินน้ำลึกสูงสุด 9.9 เมตร (32 ฟุต 6 นิ้ว) [10] เรือบิสมาร์คเป็นเรือประจัญบานเยอรมันที่ใหญ่ที่สุด[16] และมีระวางขับน้ำมากกว่าเรือประจัญบานของชาติอื่นๆ ในยุโรป ยกเว้นเรือ เอชเอ็มเอส แวนการ์ด (HMS Vanguard) [17] เรือมีแหล่งกำลังเป็นกังหันไอน้ำโบลมและฟอสส์แบบเปลี่ยนเกียร์ได้ 3 กังกัน และหม้อไอน้ำความร้อนยวดยิ่งวักเนอร์ (Wagner) ซึ่งใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง 12 หม้อ ให้กำลังถึง 150,170 แรงม้า (shaft horsepower) (111,980 กิโลวัตต์) ให้ความเร็วสูงสุด 30.01 นอต (55.58 กม./ชม.; 34.53 ไมล์/ชม.) ในตอนแล่นทดสอบ มีระยะทำการ 8,870 ไมล์ทะเล (16,430 กม.; 10,210 ไมล์) ที่ความเร็ว 19kn (35km/h; 22mph)[10] เรือบิสมาร์คติดตั้งเรดาร์ค้นหา FuMO 23 สามชุด ติดไว้ด้านหน้าเรือ กล้องวัดระยะท้ายเรือ และยกพื้นที่อยู่ส่วนบนสุดของเสาหน้ากระโดงเรือ[18]", "title": "เรือประจัญบานบิสมาร์ค" }, { "docid": "370038#0", "text": "เรือหลวง\"ปรินส์ออฟเวลส์\" (53) เป็นเรือประจัญบานชั้นพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งกองทัพเรือหลวง เคยร่วมรบในการรบครั้งสำคัญในสงครามโลกครั้งที่สอง รวมไปถึงยุทธนาวีช่องแคบเดนมาร์กต่อเรือประจัญบานบิสมาร์ค ปฏิบัติการคุ้มกันขบวนเรือในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนกระทั่งปฏิบัติการครั้งสุดท้ายและถูกจมในทะเลจีนใต้ ใกล้มลายูเมื่อปี ค.ศ. 1941", "title": "เรือหลวงปรินส์ออฟเวลส์ (53)" }, { "docid": "776427#2", "text": "นายกรัฐมนตรีอังกฤษวินสตัน เชอร์ชิลได้ปฏิญาณว่า\"ไม่ว่าจะเสียเท่าไหร่ เราจะต้องจมเรือบิสมาร์คให้ได้\" ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่เรือหลวงฮูดอัปปางลงเรือเกือบทุกลำในกองทัพเรืออังกฤษถูกส่งออกไปภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือเอกจอห์น โทเวย์ โดยส่งเรือบรรทุกเครื่องบินไป 1 ลำ เรือประจัญบาน 3 ลำ เรือลาดตระเวน 3 ลำและเรือพิฆาต 6 ลำ", "title": "ยุทธนาวีครั้งสุดท้ายของบิสมาร์ค" } ]
1579
พระมงคลเทพมุนี อุปสมบถเมื่อไหร่?
[ { "docid": "28166#5", "text": "เดือนกรกฎาคม 2449 ขณะมีอายุย่างเข้า 22 ปี ท่านได้บรรพชาอุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีฉายาว่าจนฺทสโร พระอาจารย์ดี วัดประตูสาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โหน่ง อินฺทสุวณฺโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ คู่สวดทั้งสองรูปอยู่วัดเดียวกัน คือ วัดสองพี่น้อง ในการเรียนด้านคันถธุระในพรรรษาแรก ท่านสงสัยอยากรู้คำแปลคำว่า อวิชฺชาปจฺจยา ซึ่งไม่มีใครทราบ ท่านจึงเกิดความดำริที่จะไปเรียนคันถธุระต่อที่กรุงเทพฯ", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" } ]
[ { "docid": "396120#11", "text": "ในปี พ.ศ. 2534 เมื่อท่านได้บริหารกิจการเผยแผ่พระสัทธรรมให้เจริญขึ้นแล้ว ก็ได้ดำเนินขั้นตอนมาเป็นลำดับ จนกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนาขึ้น ชื่อ \"วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม\" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)", "title": "พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)" }, { "docid": "28166#26", "text": "หมวดหมู่:พระราชาคณะชั้นเทพ หมวดหมู่:เจ้าอาวาส หมวดหมู่:ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย หมวดหมู่:ภิกษุชาวไทยที่มรณภาพแล้วศพไม่เน่าเปื่อย หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดสุพรรณบุรี‎‎", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "105722#1", "text": "จันทร์เป็นบุตรชาวนา เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ทำงานเป็นคนรับใช้และฝึกวิชชาธรรมกายกับพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จนกระทั่งมีการอ้างว่า สามารถลงไปขอขมาบิดาซึ่งกำลังตกนรกอยู่ได้ พระมงคลเทพมุนียกย่องจันทร์ว่า \"ลูกจันทร์นี้เป็นหนึ่งไม่มีสอง\" ต่อมา อุบาสิกาจันทร์ได้ถ่ายทอดวิชาธรรมกายให้แก่พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย แล้วชวนกันก่อตั้งวัดพระธรรมกาย อุบาสิกาจันทร์ยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จหลายประการของวัดพระธรรมกายด้วย", "title": "จันทร์ ขนนกยูง" }, { "docid": "758810#3", "text": "เมื่ออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2464 ณ วัดสุทัศนเทพวราราม โดยมีพระพรหมมุนี (แพ ติสฺสเทโว) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมงคลราชมุนี (ผึ่ง ปุปฺผโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระราชเวที (นาค สุมนนาโค) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาทางธรรมว่า จนฺทสิริ ", "title": "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ)" }, { "docid": "116829#3", "text": "อุปสมบทเมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พระครูบริหารบรมธาตุ (ป่วน เกสโร) วัดนางชี \nเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูสมณธรรมสมาทาน เป็นกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายานามว่า “วรปุญฺโญ”", "title": "สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)" }, { "docid": "987560#7", "text": "ดังนั้น จึงสันนิฐานว่า วัดสุวรรณเจดีย์ที่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา วาสุกรีนี้น่าจะเป็นวัดเดียวกันกับวัดสวรรคเจดีย์ ซึ่งเคยเป็นพระอารามอันเป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราช และน่าจะเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา เพราะภายหลังพระเทพมุนี วัดกุฎีดาว มรณภาพราว 2-3 เดือน กรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่า ในการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 (พระเทพมุนี มรณภาพราวเดือน 2-3 ปีกุน พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ในวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310)", "title": "สมเด็จพระสังฆราช วัดสวรรคเจดีย์" }, { "docid": "353872#3", "text": "ต่อมาได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 โดยมีพระธรรมธัชมุนี (เอื้อน ชินทตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยวงศาจารย์ (นาค อิสินาโค) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูวิมลญาณโสภณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ แล้วอยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นเอก และในปี พ.ศ. 2516 สอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค\nนอกเหนือจากตำแหน่งหน้าที่ในการปกครองคณะสงฆ์ตามที่ได้รับมอบหมายจากมหาเถรสมาคมแล้ว สมเด็จพระธีรญาณมุนี ยังได้บำเพ็ญคุณประโยชน์ไว้มากมาย เช่น การบูรณะถาวรวัตถุและเสนาสนะต่างๆ ของวัดเทพศิรินทราวาส เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังได้ส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ โดยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งวัดพุทธดัลลัส สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 83 พรรษา ในปี พ.ศ. 2553 สมเด็จพระธีรญาณมุนี ได้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจที่ยากไร้และขาดโอกาสเข้าถึงยา ให้แก่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลอีกด้วยนอกจากนี้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังมีตำแหน่งพิเศษหลักๆ ดังนี้", "title": "สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย)" }, { "docid": "65106#46", "text": "วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 สมชาย สุรชาตรี โฆษกประจำสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แถลงว่าตามเอกสารของมหาเถรสมาคมเมื่อปี 2542 ไม่มีคำสั่งหรือเอกสารที่ระบุว่าพระธัมมชโยเป็นปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุตามพระลิขิตดังกล่าว[47] ด้านพนม ศรศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ยังเปิดประเด็นอีกด้วยว่าไม่แน่ใจว่าพระลิขิตนั้นเป็นของปลอมหรือไม่ และย้ำว่าพระธัมมชโยยังไม่ปาราชิก[48] ต่อมาวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) กรรมการและโฆษกมหาเถรสมาคมเผยว่า มหาเถรสมาคมเห็นว่าพระธัมมชโยไม่มีเจตนาขัดพระลิขิต และไม่มีเจตนาฉ้อโกง จึงถือว่าพ้นมลทิน และในปี 2549 ได้มีมติถวายคืนสมณศักดิ์ให้กับพระธัมมชโย อีกทั้งในปี 2554 ยังได้เลื่อนสมณศักดิ์จากยศพระราชภาวนาวิสุทธิ์เป็นพระเทพญาณมหามุนี[49] และพระธัมมชโยก็ได้ดำรงสมณเพศต่อมา และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ \"พระเทพญาณมหามุนี\" เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554", "title": "พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย" }, { "docid": "353872#0", "text": "สมเด็จพระธีรญาณมุนี นามเดิม สมชาย พุกพุ่มพวง ฉายา วรชาโย เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12-13 (ธรรมยุต) กรรมการมหาเถรสมาคม และรองแม่กองธรรมสนามหลวง รูปที่ 1 ฝ่ายนักธรรม", "title": "สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย)" }, { "docid": "351941#7", "text": "1. \"กรณีศึกษา เรื่อง กฎแห่งกรรม\" ซึ่งเป็นกรณีศึกษาของบุคคลจริงที่ส่งเรื่องราวของตนเองและครอบครัวถึงพระเทพญาณมหามุนี ด้วยต้องการทราบถึงบุพพกรรมและปรโลกของบุคคลเหล่านั้น โดยพระเทพญาณมหามุนีเรียกวิธีการที่ทำให้ทราบบุพพกรรมและปรโลกของบุคคลเหล่านั้น ว่า \"ฝันในฝัน\" ตามอย่างคำกล่าวของ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ซึ่งหมายถึงการเข้าถึงสมาธิชั้นสูงและการใช้วิชชาธรรมกายเพื่อศึกษาความเป็นมาเป็นไปของสรรพสัตว์", "title": "โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา" }, { "docid": "28166#1", "text": "พระมงคลเทพมุนี มีนามเดิมว่า สด มีแก้วน้อย เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2427 ตรงกับวันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก ฉศก จ.ศ. 1246 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่สองของนายเงินและนางสุดใจ มีแก้วน้อย มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา 5 คน", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "673775#0", "text": "พระเทพรัตนมุนี (สุรชัย สุรชโย) นามสกุล วิชชุกิจมงคล เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 12 และรักษาการเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร", "title": "พระเทพรัตนมุนี (สุรชัย สุรชโย)" }, { "docid": "39464#1", "text": "พระเทพกิตติปัญญาคุณ ต่อมาอุปสมบทในปี พ.ศ. 2500 ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ โดยมีพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ \nช่วงก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลา เคยกล่าวว่า \"ฆ่าคอมมิวนิสต์ ไม่บาป\" ซึ่งถูกฝ่ายขวา อันได้แก่ นวพล กลุ่มกระทิงแดง ในสมัยนั้นนำไปใช้เป็นวาทกรรม โจมตีฝ่ายซ้าย และยุยงให้คนไทยเกลียดชังนิสิตนักศึกษาที่ชุมนุมต่อต้านการกลับเข้าประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำไปสู่การสังหารหมู่ในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519", "title": "พระเทพกิตติปัญญาคุณ (กิติศักดิ์ กิตฺติวุฑฺโฒ)" }, { "docid": "771468#0", "text": "พระพรหมมุนี นามเดิม แย้ม ฉายา อุปวิกาโส เป็นพระภิกษุในคณะธรรมยุติกนิกาย พระราชาคณะเจ้าคณะรองหนกลาง อดีตเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร", "title": "พระพรหมมุนี (แย้ม อุปวิกาโส)" }, { "docid": "190891#3", "text": "\"\"ในเดือน ๑๒ ป็ชวดอัฐศก (พ.ศ. ๒๓๕๙) นั้น มีโจทก์ฟ้องว่า พระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) วัดมหาธาตุ รูป ๑ พระญาณสมโพธิ (เค็ม) วัดนาคกลางรูป ๑ พระมงคลเทพมุนี (จีน) วัดหน้าพระเมรุกรุงเก่ารูป ๑ ทั้ง ๓ รูปนี้ประพฤติผิดพระวินัยบัญญัติข้อสำคัญ ต้องเมถุนปาราชิกมาช้านาน จนถึงมีบุตรหลายคน โปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นรักษ์รณเรศ กับพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงพิจารณาได้ความเป็นสัตย์สมดังฟ้อง จึงมีรับสั่งเอาตัวผู้ผิดไปจำไว้ ณ คุก\"\"", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศรีสุเรนทร์" }, { "docid": "28166#0", "text": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เป็นพระภิกษุนิกายเถรวาทฝ่ายมหานิกายชาวไทย ในบรรดาหมู่ผู้ศรัทธานับถือมักเรียกท่านด้วยชื่อ \"หลวงพ่อวัดปากน้ำ\" เนื่องจากท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันคือ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร) ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะพระวิปัสสนาจารย์ผู้เป็นต้นกำเนิดของการปฏิบัติกรรมฐานพุทธานุสติที่เรียกว่า วิชชาธรรมกาย ซึ่งนับเป็นวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "5114#168", "text": "พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) - อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ) - อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร) - เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก และอดีตเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหารรูปที่ ๑๓ พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม) ป.ธ.9 เจ้าคณะภาค11 เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระครูนครธรรมโฆษิต (นิล อิสฺสริโก) - อดีตเจ้าอาวาสวัดครบุรี พระอรุณธรรมโสภณ (หลวงปู่แจ้ง ฉินฺนมนฺโท) - อดีตเจ้าอาวาสวัดใหม่สุนทร อดีตเจ้าคณะอำเภอโนนสูง อ.โนนสูง หลวงปู่สมบุญ ปริปุนฺณสีโล - สวนนิพพานวัดปอแดง อ.ปักธงชัย", "title": "จังหวัดนครราชสีมา" }, { "docid": "639713#2", "text": "พระเทพวิมลมุนี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 ณ วัดชัยมงคล อำเภอเมือง สมุทรสาคร โดยมีพระครูรอด วัดบางน้ำวน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพระอุปัชฌายาจารย์ และอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2494 ณ พัทธสีมา วัดชัยมงคล อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีพระธรรมสิริชัย วัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็นพระอุปัชฌายาจารย์ พระครูสาครศีลาจารย์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระรามัญมุนี วัดป้อมวิเชียรโชติการาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์", "title": "พระเทพวิมลมุนี (กฤช กิตฺติวํโส)" }, { "docid": "394583#3", "text": "จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี (พ.ศ. 2494) ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร โดยมีพระเทพวิมล (ชุ่ม ติสาโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระภัทรมุนี (อิ๋น ภัทรมุนี) เป็นพระ\nกรรมวาจารย์ พระปริยัตยานุรักษ์ (สมบูรณ์ เตมิโย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระธรรมเจดีย์ (กี มารชิโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลังจากอุปสมบทท่านก็ยังไม่ได้ละมานะที่จะเรียนบาลี โดยท่านสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยคในปี พ.ศ. 2497 และในปี พ.ศ. 2499 ท่านได้เดินทางกลับวัดหนองขุ่น ท่านเป็นเปรียญธรรมรูปแรกของบ้านหนองขุ่น ", "title": "พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตฺโต)" }, { "docid": "28166#24", "text": "เป็น<i data-parsoid='{\"dsr\":[14230,14245,2,2]}'>พระครูสมุห์ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2464 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูสมณธรรมสมาทาน[1] 4 ธันวาคม พ.ศ. 2492 เลื่อนพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระภาวนาโกศลเถร[2] พ.ศ. 2494 ได้รับพระราชทานพัดยศเทียบเปรียญ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2498 เลื่อนเป็นพระราชาคณะเสมอชั้นราชที่ พระมงคลราชมุนี สุทธศีลพรตนิเวฐ เจษฎาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3] 5 ธันวาคม พ.ศ. 2500 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระมงคลเทพมุนี ศรีรัตนปฏิบัติ สมาธิวัตสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#14", "text": "การค้นพบวิชชาธรรมกายอันเป็นของจริงของแท้ เป็นทางบรรลุธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงบรรลุแล้ว เป็นสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้งมาก ท่านจึงมาคำนึงว่า", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "802627#2", "text": "สมเด็จพระธีรญาณมุนี บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2453 ณ วัดหน้าพระธาตุ จังหวัดนครราชสีมา โดยมีพระอธิการบุญ เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดจักรวรรดิราชาวาส แล้วอุปสมบทเป็นพระภิกษุในวันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 โดยมีพระมงคลทิพยมุนี (มุ้ย ปณฺฑิโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูประสิทธิสมณการ (ต้าน) ขณะเป็นพระครูปลัด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระคุณาจารวัตร (ใช้ สุวณฺโณ) ขณะเป็นพระครูมงคลวิจิตร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า ปุณฺณโก\nคืนวันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 สมเด็จพระธีรญาณมุนี มีอาการเหนื่อยและหายใจไม่ปกติ จึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตากสินในช่วงเช้าวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม แพทย์ให้นอนพักและรับน้ำเกลือที่โรงพยาบาล ในช่วงบ่ายอาการอาพาธท่านหนักขึ้น ถึงเวลา 16:45 น. ท่านก็มรณภาพด้วยภาวะหัวใจวาย ", "title": "สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก)" }, { "docid": "68798#1", "text": "วัดชัยมงคล เดิมเขียนว่า วัดไชยมงคล ท่านเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี ( นวม พุทธสร ) วัดอนงคาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก นามวัดใหม่นี้ว่า วัดชัยมงคล ", "title": "วัดชัยมงคล (จังหวัดพิจิตร)" }, { "docid": "24076#5", "text": "การจัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมบาลีขึ้นภายในวัดเทพศิรินทราวาส ได้มีปรากฏหลักฐานในปี พ.ศ. 2425 ว่าพระธรรมไตรโลกาจารย์ (เดช ฐานจาโร) เจ้าอาวาสองค์ที่ 2 แห่งวัดเทพศิรินทราวาส ได้จัดตั้งโรงเรียนสอนปริยัติธรรมบาลี และ โรงเรียนภาษาไทย โดยมีข้อความปรากฏอยู่ในประวัติของวัดเทพศิรินทราวาส ว่า โรงเรียนหนังสือภาษาไทยเดิมนั้นได้อาศัย ศาลาการเปรียญเป็นที่สอน โรงเรียนนั้นอยู่ในความอำนวยการของเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ถึงปี พ.ศ. 2433 จึงย้ายไปสอนที่โรงเรียนเจ้าพระยานรรัตน์ราชมานิตย์ คณะกลาง หลังจากนั้นย้ายไปสอนที่ กุฏิเจ้าอาวาสคณะเหนือ ภายหลังย้ายไปสอนที่โรงเรียนนิภานภดลคณะใต้ ภายหลังมหามกุฏราชวิทยาลัยได้เข้ามาเป็นผู้จัดการ และมีเจ้าอาวาสเป็นผู้อุปการะโรงเรียนครั้งนั้นได้มีสามเณร ชื่อว่า \"พุฒ\" สามารถสอบได้เปรียญเอก และเป็นครูได้รับแต่งตั้งเป็นครูเอก ซึ่งต่อมาสามเณรพุฒ ได้อุปสมบถแล้ว ลาสิกขามีบรรดาศักดิ์เป็น พระยากฤษณะราชอำนวยศิลป์ธรรมจิตต์วรสภาภักดี", "title": "โรงเรียนเทพศิรินทร์" }, { "docid": "117658#4", "text": "ด้านศาสนา บวชเป็นพราหมณ์เมื่อ พ.ศ. 2521 และได้รับการศึกษาจากบิดาและพราหมณ์อาวุโสท่านอื่น ๆ อาทิ พราหมณ์อนันทบุรตี และสวามีฮารีฮาจิ โดยได้รับการโปรดเกล้าฯ เลื่อนฐานันดรศักดิ์จากพระครูวามเทพมุนีเป็นพระราชครูวามเทพมุนี เมื่อปี พ.ศ. 2542 เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542", "title": "พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ (ชวิน รังสิพราหมณกุล)" }, { "docid": "415058#1", "text": "พระเทพศาสนาภิบาล เดิมชื่อ แย้ม อินทร์กรุงเก่า เป็นบุตรของนายหยวก อินทร์กรุงเก่า และนางทวี ศรีบุญรอด เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ที่ บ้านคลองรางไทร ตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ขณะมีอายุได้ 12 ปี ณ วัดไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยมีพระปัญญาวิมลมุนี (ปัญญา อินฺทปญฺโญ) วัดไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาเมื่ออายุได้ 21 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดไร่ขิง เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2519 โดยมีพระปฐมนคราภิรักษ์ (ชุณห์ กิตฺติวณฺโณ) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม วัดวังตะกู อำเภอเมืองนครปฐม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูไพศาลคณารักษ์ (ปราณี อินฺทวํโส) ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิมลสมณคุณ ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอสามพราน วัดไร่ขิง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูอุปจิตบุญวัฒน์ (บุญธรรม จารุวณฺโณ) วัดบางเลน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า \"กิตฺตินฺธโร\"", "title": "พระเทพศาสนาภิบาล (แย้ม กิตฺตินฺธโร)" }, { "docid": "673775#1", "text": "พระเทพรัตนมุนี มีนามเดิมว่าสุรชัย สุรชโยได้เข้ารับการบรรพชา ณ.วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ครั้นดำรงสมณศักดิ พระพรหมคุณาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นสามเณรสุรชัยได้คอยปรนนิบัติรับใช้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) และศึกษาพระธรรมวินัยควบคู่กันไปด้วย จนได้เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2521 ณ พระอุโบสถ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระพรหมคุณาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า \"สุรชโย\" ", "title": "พระเทพรัตนมุนี (สุรชัย สุรชโย)" }, { "docid": "207849#6", "text": "หลวงพ่อจรัญได้ธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรและที่ต่างๆ เพื่อแสวงหาความรู้และประสบการณ์ทั้งทางสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน และได้ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิชากับพระอาจารย์หลายท่าน อาทิ ศึกษาคชศาสตร์กับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทฺธสโร) ตำบลหนองโพ อำเภอพยุหคีรี(ในขณะนั้น) ปัจจุบันอยู่ในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาเรียนกับพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ลี ธมมฺธโร) และพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) จังหวัดขอนแก่น และได้ศึกษาการทำเครื่องรางของขลัง น้ำมันมนต์ กับหลวงพ่อจง พุทฺธสโร วัดหน้าต่าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหลวงพ่อสนั่น วัดเสาธงทอง จังหวัดอ่างทอง และหลวงพ่อจาด วัดบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี และได้ศึกษาสมถกรรมฐานกับพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับพระราชสิทธิมุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ ศึกษาและปฏิบัติกรรมฐานกับหลวงพ่อในป่า(ไม่ทราบชื่อ) ศึกษาวิชาสเดาะกุญแจกับหลวงพ่อลี วัดบางปิ้ง สมุทรปราการ และได้ศึกษาพระอภิธรรมกับอาจารย์เตชิน (ชาวพม่า) ที่วัดระฆังโฆษิตาราม จังหวัดธนบุรี และศึกษาการพยากรณ์จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) วัดสระเกศ จังหวัดกรุงเทพฯ และศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้วิทยาศาสตร์ทางจิตกับ อาจารย์ พ.อ. ชม สุคันธรัต\nคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศ.ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ออกแถลงการณ์ด่วน เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (25 ม.ค. 59) ตามที่พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมฺโม) วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี เข้ารับการรักษาอาการอาพาธในโรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2558 ด้วยอาการหอบเหนื่อยจากโรคปอดอักเสบ โดยคณะแพทย์ได้ถวายการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและออกซิเจน นั้น ", "title": "พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)" }, { "docid": "479466#5", "text": "ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ รัฐบาลในสมัยนั้นต้องการที่ตำบลคลองเตย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อสร้างท่าเรือกรุงเทพฯ วัดหน้าพระธาตุและวัดทองล่าง ซึ่งอยู่ภายในบริเวณนั้น จึงถูกเวนคืนที่ดิน โดยรัฐบาลชดใช้เงินให้เพื่อไปรวมกับวัดอื่น หรือไปสร้างวัดใหม่ขึ้น โดยทางคณะสงฆ์จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง มีพระเดชพระคุณพระมหารัชมังคลาจารย์ (เทศ นิเทสสกเถร) สมัยเมื่อยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระรัชมงคลมุนี วัดสัมพันธวงศ์ เป็นประธานกรรมการและท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี (ผิน สุวจเถร) ครั้งยังเป็นพระเทพมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นผู้แนะนำเลือกสถานที่ดินที่สร้างวัด มีเนื้อที่ ๕๔ ไร่ ๓ งาน ๘๒ ตารางวา ราคาที่ดินไร่ละ ๕๐๐ บาท หรือวาละ ๕ สลึงสถานที่ตั้งอารามในปัจจุบัน โดยถือกรรมสิทธิ์เป็นที่วัดธาตุทอง เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๘๐", "title": "วัดธาตุทอง" }, { "docid": "7204#35", "text": "พระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย (หลวงพ่อองค์ดำ) วัดกลาง (พระอารามหลวง ชั้นตรีชนิดสามัญ) อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ พระธรรมวงศาจารย์ (สุข สุขโณ) อดีตเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์และอดีตเจ้าอาวาสวัดกลาง พระอารามหลวง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ พระเทพปัญญาเมธี (ปราชญ์ อกฺกโชโต) เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ม) และเจ้าอาวาสวัดกลาง พระอารามหลวง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ พระเทพสารเมธี (บัวศรี ชุตินฺธโร) เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธ) และเจ้าอาวาสวัดประชานิยม อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ พระราชศีลโสภิต (หนูอินทร์ กิตฺติสาโร) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ม) และเจ้าอาวาสวัดป่าพุทธมงคล อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ พระราชธรรมเมธี (ทองใส กิตฺติโก) อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ม) และอดีตเจ้าอาวาสวัดป่ามหานิกาย อำเภอนามน พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา (ธ) อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาวรวิหาร จังหวัดนครราชสีมา และอดีตเจ้าอาวาสวัดรังสีปาลิวัน อำเภอคำม่วง พระโพธิญาณมุนี (เมือง พลวฑฺโฒ) พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดป่ามัชฌิมาวาส อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ศิษย์ หลวงตามหาบัว พระญาณรักขิต (แผน โสภโณ) รองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธ) และเจ้าอาวาสวัดวีระวงศาวาส อำเภอสมเด็จ พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร) (หลวงปู่ไดโนเสาร์) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธ) และเจ้าอาวาสวัดสักกะวัน อำเภอสหัสขันธ์ พระมงคลสิทธิ (นิน ฐิตธมฺโม) อดีตเจ้าคณะอำเภอห้วยเม็ก (ม) และอดีตเจ้าอาวาสวัดนางนวล อำเภอห้วยเม็ก พระวิสุทธิบุญญาคม (บุญสม ฐิตปุญฺโญ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกลาง พระอารามหลวง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ พระสุนทรธรรมประพุทธ์ (เกษร ฐานิสฺสโร) รองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ม) และเจ้าอาวาสวัดเหนือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์", "title": "จังหวัดกาฬสินธุ์" } ]
2546
วอลแตร์เริ่มเขียนงาน ซาดีก ชิ้นนี้ในปี พ.ศ.ใด?
[ { "docid": "27793#1", "text": "วอลแตร์เริ่มเขียนงานชิ้นนี้ในปี พ.ศ. 2288 โดยเริ่มแรกใช้ชื่อว่า “เม็มนง” และตีพิมพ์ครั้งแรกที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพราะเรื่องนี้ไม่สามารถตีพิมพ์ในประเทศฝรั่งเศสได้ เนื่องจากมี เนื้อหาที่เสียดสีสังคมชั้นสูงคือชนชั้นพระและขุนนาง แม้จะเป็นการสมมติเรื่องว่าเกิดในตะวันออกก็ตาม", "title": "ซาดีก" } ]
[ { "docid": "142440#3", "text": "แม้ว่าบรรดาผู้มีการศึกษาระดับสูงในสังคมของยุโรปจะมีความนิยมสรรเสริญวัฒนธรรมกรีกแต่ก็ไม่ได้มีความรู้โดยตรงเกี่ยวกับวัฒนธรรมดังว่ามาจนกระทั่งมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ความรู้เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างของกรีกโบราณส่วนใหญ่ก็มาจากงานเขียนของนักภูมิศาสตร์พอซาเนียสและงานเขียนอื่น ๆ เพราะการเข้าไปในกรีซที่เป็นของจักรวรรดิออตโตมันเมื่อเริ่มมหาสงครามตุรกีไม่ใช่เป็นสิ่งทำได้ง่าย และเป็นการกระทำที่เสี่ยงต่ออันตราย นักท่องเที่ยวแกรนด์ทัวร์ (Grand Tour) เพียงไม่กี่คนที่มีโอกาสไปถึงเอเธนส์ระหว่างครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และที่ไปถึงก็ไม่มีผู้ใดที่ได้ทำการศึกษาซากสถาปัตยกรรมอย่างจริงจัง จนกระทั่งเมื่อมาถึงโครงการเดินทางสำรวจของสมาคมดิเลอทานทิ (Society of Dilettanti) ของปี ค.ศ. 1751 ที่นำโดยนักโบราณคดีและสถาปนิกชาวอังกฤษเจมส์ สจวต และ นิโคลัส เรเวทท์ จึงได้เริ่มมีการศึกษาซากโบราณคดีของกรีซกันอย่างเป็นเรื่องเป็นราว งานโบราณคดีเล่มแรกที่สจวตและเรเวทท์รวบรวมได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1762 ภายใต้ชื่อว่า “\"The Antiquities of Athens\"” () งานเขียนชิ้นนี้พร้อมกันกับงานเขียนของนักโบราณคดีและสถาปนิกชาวฝรั่งเศสฌูเลียง-ดาวิด เลอ รอย (Julien-David Le Roy) ชื่อ “\"Ruines des plus beaux monuments de la Grèce\"” () ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1758 เป็นงานสำรวจอย่างเที่ยงตรงเล่มแรกของงานสถาปัตยกรรมกรีกโบราณ)", "title": "สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีก" }, { "docid": "290986#6", "text": "ภาพก็อปปีอื่นๆ ของภาพเขียนต้นฉบับระบุว่าเป็นงานเขียนโดยจิตรกรผู้อื่น แต่ส่วนใหญ่ไม่ทราบชื่อว่าเป็นผู้ใด คุณภาพของงานลอกก็แตกต่างกันเป็นอันมาก งานส่วนใหญ่เขียนแต่รูปของพระองค์ แต่ก็มีอยู่ชิ้นหนึ่งที่ลอกโดยริมิเจีย ฟาน ลีมพุทใน ค.ศ. 1667 ที่ก็อปปีทั้งภาพที่ในปัจจุบันอยู่ที่พระราชวังแฮมพ์ตันคอร์ท ก็อปปีที่มีคุณภาพดีที่สุดและเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดเป็นของหอศิลป์วอล์คเคอร์ ที่อาจจะเป็นภาพที่ว่าจ้างโดยเอ็ดเวิร์ด ซีมัวร์", "title": "ภาพเหมือนของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8" }, { "docid": "625100#2", "text": "งานเขียนที่สำคัญของอับดุลละห์คือ \"ฮิกายัตอับดุลละห์\" ที่เขียนในเชิงอัตชีวประวัติและสะท้อนภาพของสิงคโปร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2362 เป็นต้นมาและสะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมมลายูในช่วงที่อังกฤษเข้ามามีอิทธิพลอย่างชัดเจนและเป็นช่วงที่ราชสำนักยะโฮร์เสื่อมอำนาจลง นอกจากนี้ งานเขียนที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งของเขาคือ กซา ปลายารัน อับดุลละห์ ซึ่งเป็นการเล่าประสบการณ์การเดินเรือเลียบชายฝั่งทางตะวันออกของคาบสมุทรมลายูใน พ.ศ. 2370 งานเขียนชิ้นสุดท้ายคือบันทึกการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่เมกกะที่เขาเสียชีวิตระหว่างการเดินทางใน พ.ศ. 2397", "title": "อับดุลละห์ บิน อับดุลกาดีร์" }, { "docid": "148737#3", "text": "งานเขียนชิ้นแรก ๆ ของดีร์ก เบาตส์ ก็ได้แก่งาน \"บานพับภาพพระบุตร\" (Infancy Triptych) ที่เขียนราวปี ค.ศ. 1445 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ปราโดที่มาดริด ประเทศสเปน, งานฉากแท่นบูชา \"ชะลอร่างจากกางเขน\" ที่กรานาดาก็เขียนในระยะเวลาเดียวกันราวระหว่างปี ค.ศ. 1450 ถึงปี ค.ศ. 1460 และงานฉากแท่นบูชาที่ถูกแบ่งเป็นชิ้น ๆ ที่ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์แห่งชาติที่บรัสเซลส์, พิพิธภัณฑ์เจ. พอล เกตตี ที่ลอสแอนเจลิส, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ลอนดอน, พิพิธภัณฑ์นอร์ตันไซมอนที่แพซาดีนา และที่เป็นของเจ้าของส่วนบุคคลซึ่งเป็นงานที่มีขนาดเดียวกับ \"Altarpiece of the Holy Sacrament\" อาจเป็นงานจากยุคนี้ ส่วนภาพ \"ปีเอตา\" อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ในปารีส", "title": "ดีร์ก เบาตส์" }, { "docid": "11465#20", "text": "ซิเซโร (106-43 ปีก่อนคริสตกาล) กล่าวถึงอาร์คิมิดีสสั้น ๆ ในงานเขียนประเภทบทสนทนาของเขาเรื่อง \"De re publica\" ซึ่งเป็นบทสนทนาสมมุติที่เกิดขึ้นในปี 129 ก่อนคริสตกาล หลังจากการปิดล้อมซีรากูซาเมื่อปีที่ 212 ก่อนคริสตกาลแล้ว เล่ากันว่านายพลมาร์คัส เคลาดิอัส มาร์เซลลัส นำเอาเครื่องกลไก 2 ชิ้นที่ใช้ช่วยในการศึกษาดาราศาสตร์กลับไปยังโรม เครื่องกลไกนี้ช่วยแสดงการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ 5 ดวง ซิเซโรระบุถึงเครื่องกลไกที่คล้ายคลึงกันนี้ว่าออกแบบโดยทาเลสแห่งไมเลทัส และยูโดซุสแห่งคไนดัส ในงานเขียนนั้นกล่าวว่า มาร์เซลลัสเก็บเครื่องมือชิ้นหนึ่งเอาไว้เป็นของสะสมส่วนตัวจากซีรากูซา ส่วนอีกชิ้นหนึ่งส่งไปยังวิหารแห่งความบริสุทธิ์ในกรุงโรม ตามงานเขียนของซิเซโร ไกอัส ซุพิซิอุส กัลลัส ได้สาธิตเครื่องกลไกของมาร์เซลลัสให้แก่ ลูเชียส ฟูเรียส ฟิลุส ซึ่งบรรยายเอาไว้ว่า", "title": "อาร์คิมิดีส" }, { "docid": "146217#6", "text": "ในกลางปี ค.ศ. 1592 การาวัจโจหนีจากมิลานหลังจากเหตุการณ์บางอย่างที่คาราวัจโจไปทำร้ายตำรวจ การาวัจโจมาถึงกรุงโรมอย่าง “ตัวเปล่าเล่าเปลือยและมีแต่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น ... โดยไม่มีที่อยู่ที่ถาวรและอาหารการกิน ... ไม่มีเงินติดตัว” สองสามเดือนต่อมาคาราวัจโจก็ได้ทำงาน “เขียนดอกไม้และผลไม้” ให้กับจุยเซ็ปปิ เซซาริช่างเขียนคนโปรดของสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 8 ผู้เป็นช่างเขียนที่มีความสำเร็จดีในเวิร์คช็อพที่คล้ายโรงงาน งานเขียนจากช่วงนี้ก็ได้แก่งานเขียนชิ้นเล็ก “เด็กชายปอกผลไม้” ซึ่งเป็นงานเขียนเท่าที่ทราบว่าเป็นงานเขียนชิ้นแรก, “เด็กชายกับตะกร้าผลไม้” และ “บาคคัสไม่สบาย” ซึ่งว่ากันว่าเป็นภาพเหมือนตนเองระหว่างที่นอนป่วยหนักอยู่ จนในที่สุดต้องหยุดทำงานให้กับเซซาริ งานทั้งสามแสดงให้เห็นลักษณะการเขียนร่างกายอย่างหนึ่ง—ที่เป็นลักษณะเหมือนจริง—ซึ่งกลายมาเป็นลักษณะที่มีเด่นของการเขียนภาพของคาราวัจโจ ศาสตราจารย์ทางพืชสวนคนหนึ่งวิจัยตะกร้าผลไม้ในภาพพบว่าสามารถบอกทุกสิ่งทุกอย่างในภาพได้ถูกต้องจนแม้แต่ “... ใบฟิกใหญ่ที่มีรอยรา (cingulataanthracnose) ไหม้อยู่บนใบ”", "title": "การาวัจโจ" }, { "docid": "248539#1", "text": "งานอีกชิ้นหนึ่งที่เชื่อแน่กันว่าเป็นงานของค็อพโพคือ “พระแม่มารีบอร์โนเน” (Madonna del Bordone) ที่ลงชื่อและปีที่เขียนเมื่อปี ค.ศ. 1261) ในวัดซานตามาเรีย เดอิ แซร์วิแห่งเซียนา ที่ค็อพโพไปถูกจับเป็นนักโทษหลังจากยุทธการมอนตาแปร์ติ (Battle of Montaperti) ที่เข้าไปมีส่วนในการต่อสู้ด้วย งานที่คล้ายคลึงกันที่เชื่อกันว่าเป็นงานของค็อพโพอยู่ในวัดที่ออร์วิเอโต และอีกชิ้นหนึ่งเป็นฉากแท่นบูชา “อัครเทวดาไมเคิลและตำนาน” ในพิพิธภัณฑ์ของวัดคาสชิอาโนอินวาลดิเปซาที่เขียนราวระหว่างปี ค.ศ. 1255 ถึงปีค.ศ. 1260 ซึ่งถ้าเป็นงานเขียนค็อพโพจริงก็เป็นงานชิ้นที่เก่าที่สุด", "title": "กอปโป ดี มาร์โกวัลโด" }, { "docid": "579842#0", "text": "ภาษาซาไฟติก (Safaitic language; ภาษาอาหรับ: صفوية หรือ صفائية) เป็นชื่อของภาษาอาระเบียเหนือโบราณที่เขียนด้วยอักษรเซมิติกใต้ ซึ่งจารึกเหล่านี้เขียนโดยชาวเบดูอินและชาวเซมิ-นอมาดิกที่อยูในทะเลทรายซีโร-อาระเบีย อายุของจารึกเหล่านี้ยังไม่แน่ชัดแต่น่าจะอยู่ประมาณ พ.ศ. 443 – 943\nจารึกภาษาซาไฟติกตั้งชื่อตามสถานที่ที่พบครั้งแรกคือเอสซาฟาเมื่อ พ.ศ. 2400 บริเวณดังกล่าวเป็นทะเลทรายที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของดามัสกัส ประเทศซีเรีย ทางตะวันออกของประเทศจอร์แดน และทางตะวันตกเฉียงเหนือของซาอุดิอาระเบีย ตัวอย่างที่แยกออกไปพบที่ พัลมีราในซีเรีย ในเลบานอน ในวาดีฮัวราน ประเทศอิรัก และฮาอิลในภาคกลางตอนเหนือของซาอุดิอาระเบีย บริเวณที่หนาแน่นที่สุดพบในฮารัต อาช ชามะห์ ทะเลทรายทางใต้และตะวันออกจากยาเบล ดรูซ ผ่านจอร์แดนไปยังซาอุดิอาระเบีย ซึ่งพบจารึกประมาณ 30,000 ชิ้น และอาจจะมีที่ยังหาไม่พบอีกมาก\nภาษาซาไฟติกเป็นสาขาของกลุ่มภาษาเซมิติกกลางใต้ อยู่ในกลุ่มภาษาอาหรับที่ใช้เสียง h- แทนที่ ’al สำหรับคำนำหน้านามชี้เฉพาะ ซึ่งได้แก่ ภาษาซาไฟติก ภาษาลิเฮียไนต์ ภาษาทามูดิก และภาษาฮาไซติก อักษรที่ใช้เขียนภาษาซาไฟติกมี 28 ตัว มีกลุ่มของตัวอักษรสามแบบแต่เขียนในลำดับที่ต่างกัน รูปแบบในการเขียนมีหลายแบบคือแบบซาไฟติก แบบซาไฟติกเหลี่ยม และแบบซาไฟติกใต้ การเขียนมักเป็นแบบซิกแซกคือบรรทัดแรกจากซ้ายไปขวา บรรทัดต่อมาจากขวาไปซ้ายสลับไปเรื่อยๆหรือกลับกัน \nส่วนใหญ่เขียนถึงคนที่ตายไปแล้ว การสวดภาวนาหรือการปฏิบัติศาสนกิจ บางครั้งแสดงการล่าสัตว์และค่ายพักของชาวเบดูอิน\nวัฒนธรรมของผู้พูดภาษาซาไฟติกเป็นที่รู้จักน้อยมาก ชาวเบดูอินในอดีตเก็บหลักฐานทางโบราณคดีไว้น้อย และการศึกษายังน้อยอยู่", "title": "ภาษาซาไฟติก" }, { "docid": "270550#5", "text": "นอกจากจะเขียนนวนิยายแล้วไบแอ็ทก็ยังเขียนเรื่องสั้นด้วย งานเขียนของไบแอ็ทเป็นงานที่มีอิทธิพลจากเฮนรี เจมส์, จอร์จ อีเลียต, เอมมิลี ดิคคินสัน, ที. เอส. อีเลียต และ โรเบิร์ต บราวนิง ในการผสานระหว่างสัจนิยม และ ธรรมชาตินิยม กับแฟนตาซี และเป็นที่แน่นอนว่าในการเขียนนวนิยายชุดสี่เล่มเป็นงานที่มีอิทธิพลโดยตรงจากดี. เอช. ลอว์เรนซ์ โดยเฉพาะในงานเขียนของลอว์เรนซ์ \"The Rainbow\" () และ \"Women in Love\" () ไอริส เมอร์ด็อคก็เป็นนักเขียนอีกผู้หนึ่งที่มีอิทธิพลต่อไบแอ็ท ในงานเขียนที่เป็นนัยยะหรือวางโครงสร้างของหัวใจของเรื่องจากวรรณกรรมจินตนิยมและวิคตอเรีย การใช้แฟนตาซีของไบแอ็ทเป็นการวางทางเลือกอีกทางหนึ่ง (alternative) ในการบรรยายเรื่องที่ไม่ใช่การหนีจากความเป็นจริง (escapism) ซึ่งบางครั้งก็ยากที่จะบอกได้ว่าสิ่งใดคือจินตนาการและสิ่งใดคือความขัดแย้งทางจิตวิทยา ในหนังสือในช่วงที่เขียนเมื่อไม่นานมานี้ไบแอ็ทนำความสนใจทางวิทยาศาสตร์ปริชานศาสตร์ (cognitive science) และ สัตววิทยาเข้ามาใช้ งานสองชิ้นของไบแอ็ทได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ \"Possession\" ที่สร้างในปี ค.ศ. 2002 และ \"Angels & Insects\" ที่สร้างในปี ค.ศ. 1995", "title": "เอ. เอส. ไบแอ็ท" }, { "docid": "219089#1", "text": "ภาพ “เด็กชายปอกผลไม้” เขียนราวระหว่างปี ค.ศ. 1592 ถึงปี ค.ศ. 1593 เป็นงานที่เชื่อกันว่าเป็นงานชิ้นแรกของคาราวัจโจที่เขียนไม่นานหลังจากมาถึงโรมจากมิลานในกลางปี ค.ศ. 1592 ที่อยู่ระหว่างนี้ไม่ทราบแน่นอนแต่ตามคำกล่าวของจุยเลียโน มันชินิ (Giulio Mancini) คาราวัจโจพักอยู่ระยะหนึ่งกับพันดุลโฟ พุชชิที่วังโคโลนนา แต่ไม่นานก็ย้ายเพราะไม่พอใจในวิธีที่พุชชิปฏิบัติด้วย (พุชชิให้แต่ผักเขียวกับผู้ที่พักอยู่ในบ้านจนคาราวัจโจตั้งชื่อเล่นให้ว่า “มอนซิยอร์สลัด”) ในช่วงนั้นคาราวัจโจกก็อปปีงานศาสนาให้พุชชิแต่ไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่ ในขณะเดียวกันก็เขียนงานสองสามชิ้นของตนเองที่รวมทั้งงานชิ้นนี้ซึ่งอาจจะวาดหลังจากที่พำนักกับมันชินิ และเมื่อไปทำงานกับจุยเซ็ปปิ เซซาริ หรือ “คาวาเลียร์ดาร์ปิโน” ช่างเขียนคนโปรดของสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 8 ผู้เป็นช่างเขียนที่มีความสำเร็จดีในเวิร์คช็อพที่คล้ายโรงงาน ระหว่างนั้นคาราวัจโจก็ได้แต่เขียน “ดอกไม้และผลไม้” ", "title": "เด็กชายปอกผลไม้ (คาราวัจโจ)" }, { "docid": "27793#0", "text": "ซาดีก ([Zadig]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help)) หรือ ซาดีกูลาแด็สตีเน ([Zadig ou la destinée]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help)) หรือ ชะตาลิขิต เป็นนวนิยายเชิงปรัชญาซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของวอลแตร์ ผลงานชิ้นนี้มีชื่อเสียงมากพอกับนวนิยายปรัชญาเรื่องอื่น ๆ แห่งยุค วอลแตร์ได้อาศัยจินตนาการจากนวนิยายตะวันออก ทั้งนี้เพื่อง่ายต่อการเสียดสีและวิจารณ์สังคมฝรั่งเศสสมัยนั้น ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า นวนิยายปรัชญาเรื่องซาดีกนี้เขาได้แรงบันดาลใจจากชะตาชีวิตที่ผกผันของเขาในราชสำนักระหว่างปี พ.ศ. 2286 - 2290 ที่เกิดจากประสบการณ์อันขมขื่นของวอลแตร์ในราชสำนักแวร์ซาย (Versailles) ก็คงไม่ผิด เนื่องจากในเรื่องนี้วอลแตร์ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ของตัวเองผ่านตัวละครเอกของเรื่อง ซึ่งก็คือ ซาดีก", "title": "ซาดีก" }, { "docid": "140805#1", "text": "ประวัติชีวิตของบอตติเชลลีเบื้องต้นไม่เป็นที่รู้จักกันเท่าใดนักเพียงแต่ทราบว่ามิได้ฝึกเป็นช่างเขียนจนอายุราวสิบสี่ปีซึ่งชี้ให้เห็นว่าได้รับการศึกษามากกว่าช่างเขียนอื่นๆ ร่วมสมัย วาซารีกล่าวว่าบอตติเชลลีได้รับการฝึกเป็นช่างทองก่อนโดยอันโตนิโอ พี่ชาย อาจจะราวปี ค.ศ. 1462 เมื่อไปฝึกการเขียนภาพกับฟิลลิปโป ลิปปี งานชิ้นแรกๆ ของบอตติเชลลีกล่าวกันว่าเป็นงานของลิปปี แต่ก็ยังเป็นที่ไม่ตกลงกันว่าเป็นงานเขียนของผู้ใดแน่ แต่บอตติเชลลีศึกษาการเขียนรายละเอียดและความอ่อนหวานจากลิปปี งานเขียนของจิตรกรสำคัญอีกผู้หนึ่งที่มีอิทธิพลต่องานของบอตติเชลลีคืองานของมาซาชิโอ จากหลักฐานที่เพิ่งพบเมื่อไม่นานนี้ในช่วงเวลานี้บอตติเชลลีอาจจะเดินทางไปฮังการีเพื่อไปช่วยในการเขียนจิตรกรรมฝาผนังของเวิร์คช็อพของฟิลลิปโป ลิปปีที่เอสซ์เตอร์กอม (Esztergom) ที่ได้รับสัญญาจ้างจาก Vitéz János ผู้เป็นอัครบาทหลวงแห่งฮังการี", "title": "ซันโดร บอตตีเชลลี" }, { "docid": "575819#13", "text": "แจ็ก คาวเวิร์ต กรรมการบริหารมูลนิธิลิกเทนสไตน์คัดค้านแนวคิดที่ว่า ลิกเทนสไตน์คือผู้ที่ทำงานโดยคัดลอกจากต้นฉบับ เขากล่าวว่า งานของรอยคือความพิศวงของสูตรการวาดเขียนและการรวมอารมณ์ที่สร้างโดยผู้อื่น แผ่นรูปถูกเปลี่ยนขนาด สี การบำรุง และเปลี่ยนความหมายของพวกมัน มันไม่ใช่การลอกเลียนซะทีเดียว อย่างไรก็ตามบางส่วนของงานของลิกเทนสไตน์ถูกวิจารณ์เกี่ยวกับการใช้ภาพในหนังสือการ์ตูนและชิ้นงานศิลปะ ตราบใดที่การใช้นั้นได้รับการลงนามรับรองโดยมุมมองของผู้อุปถัมภ์จากการ์ตูน นักเขียนการ์ตูน อาร์ต สปีเกลแมน ให้ความเห็นว่า ลิกเทนสไตน์ ไม่ได้ทำสิ่งใดในวงการการ์ตูนมากไปกว่าที่แอนดี วอร์ฮอล ทำให้กับซุป", "title": "รอย ลิกเทนสไตน์" }, { "docid": "291040#4", "text": "\"อูกโน\" ตั้งแสดงพร้อมกับภาพ \"โอฟีเลีย\" ที่ราชสถาบันศิลปะ ในปี ค.ศ. 1852 ช่วยเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อกลุ่มพรีราฟาเอลไลท์ ทอม เทย์เลอร์ (Tom Taylor) เขียนสรรเสริญเป็นอย่างดีในบทวิจารณ์ในนิตยสาร \"พันช์\" (Punch) ภาพได้รับการแกะเป็นภาพพิมพ์ซึ่งกลายเป็นงานชิ้นแรกที่มิเลประสบความสำเร็จและได้รับความนิยม ซึ่งทำให้มิเลไปสร้างงานเขียนในหัวข้อที่คล้ายคลึงกันต่อมาอีกหลายภาพ", "title": "อูกโน (มิเล)" }, { "docid": "368370#9", "text": "หลังจากที่มาร์แก็ลลุสกลับมาบัญชาการและดำเนินการล้อมต่อไป พวกคาร์เธจพยายามที่จะปลดปล่อยเมืองจากผู้รุกราน แต่ถูกตีกลับไป แม้ว่าจะมีการต้านทานอย่างเหนียวแน่นและประดิษฐกรรมอันชาญฉลาดของอาร์คิมีดีส ทหารโรมันสามารถยึดครองเมืองได้ในที่สุด ในช่วงฤดูร้อน 212 ปีก่อนคริสต์ศักราช พลูทาร์กเขียนไว้ว่า ขณะที่มาร์แก็ลลุสเคยเข้าไปในเมืองก่อนหน้านี้เพื่อประชุมการทูตกับชาวเมืองซีรากูซา ก็พบกับจุดอ่อนในป้อมปราการของฝ่ายตั้งรับ มาร์แก็ลลุสเน้นการโจมตีมายังจุดเปราะบางนี้ในเวลากลางคืนโดยกองทหารขนาดเล็กที่ได้รับการเลือกสรร เพื่อโจมตีกำแพงและเปิดประตูเมือง ระหว่างการโจมตี อาร์คิมีดีสถูกสังหารซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มาร์แก็ลลุสเสียใจ พลูทาร์กเขียนว่า ทหารโรมันอาละวาดไปทั่วทั้งเมือง โดยปล้นสะดมเอาข้าวของและผลงานศิลปะทุกชิ้นที่พบ การกระทำนี้มีความสำคัญเพราะซีรากูซาเคยเป็นเมืองของกรีกที่มีวัฒนธรรม ศิลปะ และสถาปัตยกรรมแบบกรีก เมื่อเมืองถูกปล้น ผลงานศิลปะกรีกจำนวนมากก็ถูกนำไปยังโรม นักวิชาการบางคนกล่าวว่าชัยชนะของมาร์แก็ลลุสมีความสำคัญทางวัฒนธรรมอย่างมากเนื่องจากเป็นการนำวัฒนธรรมกรีกเข้าสู่สังคมโรมัน", "title": "มาร์กุส เกลาดิอุส มาร์แก็ลลุส" }, { "docid": "216746#4", "text": "งานเขียนชิ้นที่สำคัญที่สุดที่ยังเหลืออยู่คือฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี (หอศิลป์อุฟฟีซี เมืองฟลอเรนซ์) ที่เป็นงานที่จ้างสำหรับวัดซานเอจีดีโอในโรงพยาบาลของวัดซานตามารีอานูโอวาในฟลอเรนซ์ โดยตอมมาโซ ปอร์ตีนารี (Tommaso Portinari) ผู้จัดการสาขาบรูชของธนาคารเมดีชี ฉากแท่นบูชามาถึงฟลอเรนซ์ในปี ค.ศ. 1483 หลายปีหลังจากที่ฮือโคเขียนเสร็จ เป็นงานที่ชื่นชมกันในฟลอเรนซ์ จอร์โจ วาซารีในหนังสือ \"ชีวิตศิลปิน\" ของปี ค.ศ. 1550 เรียกฮือโคว่า \"Ugo d'Anversa\" (ฮือโคแห่งแอนต์เวิร์ป) ซึ่งเป็นหลักฐานเดียวที่ยืนยันว่าฮือโคเป็นผู้เขียนภาพ งานชิ้นอื่นใช้การวิจัยลักษณะการเขียนโดยการเปรียบเทียบกับฉากแท่นบูชานี้ในการบ่งว่าฮือโคเป็นผู้วาด\nดูเหมือนว่าฮือโคจะทิ้งงานร่างไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะใช้โดยผู้นิยมในการสร้างงานเขียนที่ฮือโคไม่ได้วาดด้วยตนเอง ร่างภาพ \"เจค็อบและเรเชล\" อยู่ที่ไครสต์เชิร์ช เชื่อเป็นงานที่ลงชื่อในจำนวนไม่กี่ชิ้นที่เหลืออยู่", "title": "ฮือโค ฟัน เดอร์คุส" }, { "docid": "254149#1", "text": "ความงามของงานเขียนจิตรกรรมฝาผนังภายในชาเปลนี้ทำให้ได้ชื่อว่าเป็น “ชาเปลซิสตินแห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนต้น” ใน และเป็นงานเขียนที่มีอิทธิพลมากที่สุดชิ้นหนึ่งของสมัยที่ว่านี้ เปียโตร บรันคาชชิสร้างชาเปลนี้ในปี ค.ศ. 1386 ผู้ว่าจ้างให้เขียนภาพชุดนี้คือเฟลิเช บรันคาชชิผู้ไปเป็นทูตของฟลอเรนซ์ในไคโรจนกระทั่งปี ค.ศ. 1423 เมื่อกลับมาถึงฟลอเรนซ์ เฟลิเชก็จ้างให้มาโซลิโน ดา พานิคาเลเขียนภาพในชาเปล ผู้ช่วยของมาโซลิโนคือมาซาชิโอช่างเขียนอายุ 21 ปี อ่อนกว่ามาโซลิโน 18 ปี แต่ระหว่างสัญญามาโซลิโนก็ไปเขียนภาพในราชสำนักในฮังการี สัญญาจ้างจึงตกไปเป็นของมาซาชิโอ แต่ก่อนที่จะเขียนเสร็จมาซาชิโอก็ถูกเรียกตัวไปโรมและไปเสียชีวิตที่นั่นเมื่อมีอายุได้เพียง 27 ปี บางส่วนที่ยังเขียนไม่เสร็จก็มาเขียนต่อจนเสร็จโดยฟิลิปปิโน ลิปปี เมื่อมาถึงสมัยบาโรกบางส่วนของภาพเขียนที่เห็นกันว่าล้าสมัยก็ถูกบดบังด้วยอนุสรณ์ผู้ตาย", "title": "โบสถ์น้อยบรันกัชชี" }, { "docid": "78278#13", "text": "โครงสร้างของภาพแบ่งเป็นสองหรือสามฉากที่รวมกันในภาพเดียวกันที่ทืเชียนนำไปใช้ในการเขียนภาพที่ซานโดเมนนิโคที่อันโคนาในปี ค.ศ. 1520, เบรสเชีย ในปี ค.ศ. 1522 และซานนิโคโล ในปี ค.ศ. 1523 แต่ละครั้งที่เขียนคุณภาพการเขียนก็ดีขึ้นเป็นลำดับ จนในที่สุดก็ถึงจุดที่เป็นสูตรคลาสสิกเช่นในภาพเขียน “พระแม่มารีเปซาโร” (ค.ศ. 1518-1526) ที่ซานตา มาเรีย กลอริโอซา เดอิ ฟราริ ที่เวนิส งานเขียนชิ้นนี้ของทิเชียนอาจจะเป็นงานเขียนชิ้นที่ศึกษากันมากที่สุด", "title": "ทิเชียน" }, { "docid": "248107#38", "text": "ขณะที่อันเดรีย มานเทนยาทำงานให้กับตระกูลกอนซากาในมานตัว จิตรกรอีกคนหนึ่งที่มีลักษณะการเขียนที่แตกต่างจากผู้ใดก็ได้รับจ้างให้ออกแบบงานเขียนที่ยิ่งใหญ่ไปกว่างานของมานเทนยาสำหรับตระกูลเอสเต ของเฟอร์รารา ลักษณะการเขียนของโคสิโม ทูราเป็นลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ ที่เป็นทั้งลักษณะผสมของจิตรกรรมแบบกอธิคและคลาสสิกในงานชิ้นเดียวกัน ทูราวางตัวแบบคลาสสิกเหมือนกับนักบุญที่ล้อมรอบด้วยสัญลักษณ์เรืองรองต่างๆ ในรูปที่เป็นลักษณะแบบเหนือจริง และแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่รอยทบละเอียดเหมือนกับจากจะทำมาจากทองแดงเคลือบ", "title": "จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี" }, { "docid": "145124#53", "text": "งานเขียนของคารอนหลายชิ้นเช่นภาพชุด “ชัยชนะของฤดู” (Triumph of Seasons) เป็นอุปมานิทัศน์ที่สะท้อนให้เห็นถึงพระราชพิธีฉลองต่างๆ ที่มีชื่อเสียงของราชสำนักของพระองค์ งานออกแบบพรมทอแขวนผนังวาลัวส์ (Valois Tapestries) แปดผืนเป็นการสร้างเพื่อแสดงภาพ “งานฉลอง” (fêtes), ปิคนิค และการละเล่นสงครามที่พระราชินีแคทเธอรีนทรงเป็นเจ้าภาพ พรมบรรยาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่พระราชวังฟงแตนโบลในปี ค.ศ. 1564; ที่ Bayonne ในปี ค.ศ. 1565 ในโอกาสการพบกับราชสำนักสเปน; และที่วังทุยแลรีส์ (Tuileries Palace) ในปี ค.ศ. 1573 ในโอกาสที่ราชทูตโปแลนด์มาถวายพระมหามงกุฏแก่ดยุกแห่งอองชูพระราชโอรส[148] นักเขียนชีวประวัติเลินนี ฟรีดาเสนอความคิดที่ว่าพระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญกว่าผู้ใดในการจัดงานฉลองต่างๆ ที่ต่อมากลายมาเป็นแบบแผนที่ทำตามโดยราชสำนักต่อๆ มาที่มามีชื่อเสียง[150]", "title": "แคทเธอรีน เดอ เมดีชี" }, { "docid": "27793#2", "text": "อีก 2 ปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2290 \"เม็มนง ซาดีก\" เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในประเทศฝรั่งเศส และในปี พ.ศ. 2291 \"ซาดีก หรือ ชะตาลิขิต\" (Zadig ou la destinée) ก็ได้ออกเผยแพร่ต่อหน้าสาธารณชน โดย ตอนแรกวอลแตร์ไม่ยอมรับว่าเป็นผู้แต่ง แต่หลังจากที่ซาดีกประสบความสำเร็จ เขาจึงยอมรับว่าเป็นผู้แต่ง ภายหลังในปี พ.ศ. 2295 - พ.ศ. 2299 วอลแตร์ได้เขียนเพิ่มขึ้นอีก 2 บท คือการเต้นรำและนัยน์ตาสีฟ้า ซึ่งสองบทหลังนี้ตอนแรกไม่ได้นำมารวมกับเรื่องซาดีก เนื่องจากโครงสร้างเรื่องที่มีอยู่ 19 บทนี่ดีอยู่แล้ว แต่ภายหลังจากที่วอลแตร์ได้เสียชีวิตแล้ว สองบทหลังนี่ก็ได้ถูกนำมาเผยแพร่ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2328", "title": "ซาดีก" }, { "docid": "248107#37", "text": "งานชิ้นสำคัญที่สุดของอันเดรีย มานเทนยาคือการตกแต่งภาพในของห้องเจ้าสาว ภายในวังดยุกแห่งมานตัวสำหรับตระกูลกอนซากาในมานตัวที่เขียนราวปี ค.ศ. 1470 ผนังเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นฉากชีวิตของตระกูลกอนซากา--ฉากสนทนา, ฉากการต้อนรับกัน, ฉากการต้อนรับลูกชายคนรองและครูเมื่อกลับมาจากโรม, ฉากการเตรียมการล่าสัตว์ และฉากอื่นๆ ที่ไม่มีนัยยะถึงประวัติศาสตร์, วรรณคดี, ปรัชญา หรือแม้แต่ศาสนาแต่อย่างใด ซึ่งเป็นงานที่ไม่เหมือนงานใดๆ ที่เขียนกันในสมัยนั้นที่เป็นฉากชีวิตของครอบครัวจริงๆ จะมีก็แต่ยุวเทพอยู่ประปรายบ้างก็ถือป้ายหรือบ้างก็ถือมาลัยหรืออื่นๆ และเพดานกลมที่เป็นภาพของระเบียงที่มีผู้คงมองลงมาในห้อง และเหนือขึ้นไปเป็นท้องฟ้าที่เขียนแบบศิลปะลวงตาทรอมพลุยล์", "title": "จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี" }, { "docid": "308583#5", "text": "ในปี ค.ศ. 1587 กาเบรียล คาลเทอมารคท์ให้คำแนะนำแก่คริสเตียนที่ 1 แห่งแซกโซนีสามประการพื้นฐานอันจำเป็นของการสร้างงานสะสมสำหรับ “ตู้สารภัณฑ์” หรืองานสะสมศิลปะ: ประการแรกคือการสะสมประติมากรรม ประการที่สอง “สิ่งที่น่าสนใจจากแดนไกล” และประการที่สาม “หัว, เขา, อุ้งตีน, ขน และสิ่งอื่นๆ ที่เป็นของสัตว์ที่แปลกที่เป็นที่น่ารู้น่าเห็น” เมื่ออัลเบรชท์ ดือเรอร์เดินทางไปเที่ยวในเนเธอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1521 นอกจากงานจิตรกรรมที่ส่งกลับมายังNurembergแล้ว ดือเรอร์ก็ยังส่งสิ่งอื่นที่รวมทั้งเขาสัตว์ ชิ้นปะการัง, ครีบปลาขนาดใหญ่ และอาวุธที่ทำด้วยไม้จากอีสต์อินดีสกลับมาด้วย ลักษณะที่บ่งถึงความสนใจทั่วไปของการสะสมสิ่งของแบบต่างสำหรับตู้สารภัณฑ์เห็นได้จากภาพเขียนโดยฟรันส์ แฟรงเค็นผู้เยาว์ที่เขียนในปี ค.ศ. 1636 แสดงให้เห็นภาพเขียนที่สะสมบนผนังที่มีตั้งแต่ภาพภูมิทัศน์ที่รวมทั้งภาพคืนที่มีพระจันทร์ส่องสว่าง ไปจนถึงภาพเหมือน และ ภาพทางศาสนา (“การชื่นชมของแมไจ”) ผสมเผสกับปลาสตัฟจากประเทศร้อน, สร้อยลูกปัดที่อาจทำจากไพลิน ซึ่งเป็นทั้งอัญมณีอันมีค่าและสิ่งที่น่าสนใจทางธรรมชาติวิทยา ประติมากรรมทั้งฆราวัสศิลป์และศาสนศิลป์\nพิพิธภัณฑ์แอชโมเลียนที่ออกซฟอร์ดได้รับมรดกจากอีไลอัส แอชโมล (Elias Ashmole) ที่มาจากงานสะสมส่วนใหญ่ที่เป็นของจอห์น เทรดสแคนท์ผู้อาวุโส (John Tradescant the elder) และบุตรชาย จอห์น เทรดสแคนท์ผู้เยาว์ (John Tradescant the younger) บางส่วนของงานสะสมยังคงตั้งแสดงอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นการแสดงถึงภาพพจน์ของความหลายหลายของสิ่งที่สะสม สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ที่สมบูรณ์คือนกโดโด้สตัฟที่ตกไปเป็นของพิพิธภัณฑ์พิทท์ริเวอร์สในคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่งานหัตถกรรมของชาวอเมริกันอินเดียนที่เป็นเสื้อคลุมของชีพเพาว์ฮาทันผู้เป็นพ่อของโพคาฮอนทัสยังเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสม\nตู้สารภัณฑ์เป็นสิ่งที่เป็นของผู้มีฐานะดีพอที่จะสะสมและรักษาสิ่งที่แสวงหามาได้ พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ต่างก็มีงานสะสมขนาดใหญ่ เช่นห้องสารภัณฑ์ฟรานเชสโคที่ 1 ที่เป็นของฟรานเชสโคที่ 1 เดอ เมดิชิผู้เป็นแกรนด์ดยุคคนแรกของทัสเคนี พระ เจ้าเฟรเดอริคที่ 3 แห่งเดนมาร์กก็เป็นพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งที่ทรงมีงานสะสมขนาดใหญ่ ผู้ทรงผนวกงานสะสมเวอร์เมียสเข้ามาเป็นของพระองค์ หลังจากการเสียชีวิตของเวอร์เมียส ตัวอย่างที่สามก็ได้แก่ พิพิธภัณฑ์คุนสท์คาเมราที่ก่อตั้งขึ้นโดยซาร์ปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซียในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในปี ค.ศ. 1727 สิ่งของที่สะสมหลายชิ้นซื้อมาจากอัมสเตอร์ดัมจากอัลเบอร์ทัส เซบา และ เฟรเดอริค รุยสช์ งานสะสมอันอลังการของราชวงศ์ฮับส์บวร์กรวมงานหัตถกรรมหลายชิ้นของแอซเท็คที่รวมทั้งขนนกประดับพระเศียรหรือมงกุฎของจักรพรรดิม็อคเตซูมาที่ 2 ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ในกรุงเวียนนา ", "title": "ห้องสารภัณฑ์" }, { "docid": "146114#5", "text": "ในฐานะช่างเขียนประจำสำนักของดยุกฟีลิปนั้น ฟัน ไอก์ได้รับค่าใช้จ่ายเป็นอย่างดี เงินค่าจ้างประจำปีเป็นจำนวนสูงเมื่อเริ่มแรกและสูงขึ้นเท่าตัวเพียงในระยะเวลาสองสามปีต่อมา นอกจากนั้นก็ยังได้รับเงินโบนัสต่างหาก ค่าตัวสูงของฟัน ไอก์ทำให้เขาเป็นช่างเขียนที่ต่างไปจากช่างเขียนสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก เพราะช่างเขียนคนอื่น ๆ ต้องพึ่งค่าจ้างเขียนต่อชิ้นเพื่อความอยู่รอด ฉะนั้นงานของฟัน ไอก์ต้องเป็นงานที่ยอมรับกันว่าเป็นงานที่มีฝีมือดี จากที่เห็นจากหลักฐานที่เขียนไว้เมื่อปี ค.ศ. 1435 เมื่อดยุกฟีลิปตำหนิผู้ดูแลการคลังว่าไม่ได้จ่ายเงินประจำปีให้กับฟัน ไอก์ และกล่าวว่าถ้าไม่จ่ายแล้วฟัน ไอก์ไปทำงานกับคนอื่น จะหาผู้มีความสามารถทั้งทางการเขียนภาพและทางวิทยาศาสตร์ได้ที่ไหน นอกจากนั้นดยุกผู้นี้ยังเป็นพ่อทูลหัวของลูกของฟัน ไอก์ และยังเลี้ยงภรรยาของฟัน ไอก์หลังจากฟัน ไอก์เสียชีวิตไปแล้ว และหลายปีต่อมาก็ยังให้ทุนช่วยให้ลูกสาวของฟัน ไอก์ได้เข้าคอนแวนต์ได้อีกด้วย", "title": "ยัน ฟัน ไอก์" }, { "docid": "368173#2", "text": "ปี ค.ศ. 1906 นักปรัชญาชาวเดนมาร์ก โจฮัน ลุดวิก ไฮเบิร์ก ได้ตรวจสอบบันทึกนี้อย่างคร่าวๆ ในอิสตันบูล และได้เผยแพร่งานเขียนของอาร์คิมิดีส ไม่นานหลังจากนั้น ต้นฉบับงานเขียนที่เป็นภาษากรีกก็ถูกแปลไปเป็นภาษาอังกฤษโดย ที.แอล.ฮีธ งานเขียนเหล่านี้ไม่เคยเป็นที่รู้จักมาก่อน ประกอบด้วยในพาลิมเซสต์ชุดนี้ยังบรรจุสุนทรพจน์ของไฮเพอรีดีส นักการเมืองในศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล, คำวิจารณ์ผลงานของอริสโตเติลโดย อเล็กซานเดอร์แห่งอโฟรไดเซียส, และงานอื่นๆ อีกหลายชิ้น", "title": "สมุดบันทึกของอาร์คิมิดีส" }, { "docid": "11465#4", "text": "อาร์คิมิดีสเกิดราว 287 ปีก่อนคริสตกาล ที่เมืองซีรากูซา ซิซิลี ซึ่งเวลานั้นเป็นอาณานิคมปกครองตนเองของมันยากราเซีย วันเกิดของอาร์คิมิดีสนั้นอ้างอิงจากบันทึกของนักประวัติศาสตร์กรีกไบเซนไทน์ จอห์น เซตเซส ซึ่งระบุว่าอาร์คิมิดีสมีอายุ 75 ปี ใน \"The Sand Reckoner\" อาร์คิมิดีสบอกว่าบิดาของตนชื่อ ฟิเดียส เป็นนักดาราศาสตร์ ซึ่งไม่ปรากฏข้อมูลใด ๆ เลย พลูตาร์คเขียนเอาไว้ใน \"Parallel Lives\" ของเขาว่า อาร์คิมิดีสเป็นญาติกับกษัตริย์เฮียโรที่ 2 แห่งซีรากูซา เพื่อนของอาร์คิมิดีสคนหนึ่งชื่อ เฮราคลีดีส เป็นผู้เขียนหนังสือชีวประวัติของเขา แต่หนังสือเล่มนี้สูญหายไป ทำให้รายละเอียดชีวิตของเขายังเป็นที่คลุมเครือ ดังเช่น ไม่ทราบเลยว่าเขาแต่งงานหรือไม่ หรือมีบุตรหรือไม่ เมื่อยังเยาว์อาร์คิมิดีสอาจได้รับการศึกษาที่อเล็กซานเดรีย เมืองหนึ่งในอาณาจักรอียิปต์โบราณ ร่วมยุคสมัยกับโคนอนแห่งซามอส และเอราทอสเทนีสแห่งไซรีน เพราะเขาเคยอ้างถึงโคนอนแห่งซามอสว่าเป็นสหาย และในงานเขียนของเขา 2 ชิ้น ได้แก่ ระเบียบวิธีเกี่ยวกับทฤษฎีบทกลศาสตร์ (\"The Method of Mechanical Theorems\") และ ปัญหาเรื่องวัวของอาร์คิมิดีส (\"Cattle Problem\") ก็ได้กล่าวถึงเอราทอสเทนีสด้วย", "title": "อาร์คิมิดีส" }, { "docid": "248107#23", "text": "มาซาชิโอมีความเข้าใจถึงผลสะท้อนของอิทธิงานเขียนของจอตโต ดี บอนโดเนมากกว่าผู้ใด และดำเนินการเขียนแบบสังเกตธรรมชาติต่อมา ภาพเขียนของมาซาชิโอแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในกายวิภาคของมนุษย์, ทัศนมิติของการเขียนแบบทัศนียภาพ, การใช้แสง และการเขียนความพริ้วของผ้า ในบรรดางานหลายชิ้นที่เขียน “อาดัมและอีฟถูกขับจากสวรรค์” เป็นงานที่มีชื่อเสียงว่าเป็นงานที่แสดงลักษณะที่เป็นจริงของร่างกายและอารมณ์ของมนุษย์ ซึ่งเป็นภาพที่แตกต่างจากงานเขียน “อาดัมและอีฟได้ผลไม้ต้องห้าม” ที่อยู่ตรงกันข้ามกันของมาโซลิโนที่เป็นภาพที่อ่อนโยนและสวย", "title": "จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี" }, { "docid": "288363#8", "text": "งานเขียนภาพเหมือนชิ้นสำคัญชิ้นแรกที่ซาร์เจนท์เขียนคือภาพเหมือนของแฟนนี วัตตส์ที่เขียนในปี ค.ศ. 1877 ซึ่งเป็นงานเขียนสำหรับงานแสดงนิทรรศการเป็นครั้งแรกด้วย ภาพเหมือนภาพนี้เป็นภาพที่เขียนด้วยความมีฝีมือที่สร้างความสนใจและความพึงพอใจให้แก่ผู้เข้าชมไปด้วยในขณะเดียวกัน ภาพที่สองที่ได้รับเข้าแสดงในงานแสดงนิทรรศการคือภาพ “คนเก็บหอยที่คองซาล” (Oyster Gatherers of Cançale) ซึ่งเป็นภาพเขียนแบบอิมเพรสชันนิสม์ที่ซาร์เจนท์เขียนสองภาพ", "title": "จอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์" }, { "docid": "288363#13", "text": "ในบรรดาภาพเขียนชิ้นที่ดีที่สุดต่างๆ ของซาร์เจนท์จะเป็นภาพที่แสดงความเป็นตัวของตัวเองและบุคลิกของผู้นั่งเป็นแบบ ผู้นิยมงานเขียนของซาร์เจนท์จะกล่าวว่าจะมีก็แต่เดียโก เบลัซเกซผู้ซึ่งซาร์เจนท์เองก็ชื่นชมและมีอิทธิพลต่อซาร์เจนท์เท่านั้นที่จะเทียบฝีมือกับซาร์เจนท์ได้ อิทธิพลของปรมาจารย์สเปนจะเห็นได้ชัดในงานเขียนชื่อ “ลูกสาวของเอ็ดเวิร์ด ดาร์ลีย์ บอยท์”, ค.ศ. 1882 ที่ฉากภาพในห้องที่ดูเหมือนจะสะท้อนโดยตรงมาจากภาพ “นางสนองพระโอษฐ์” ของเบลัซเกซ ภาพเหมือนที่เขียนในช่วงแรกเป็นภาพที่แสดงถึงความมั่นใจของซาร์เจนท์พอที่จะใช้วิธีเขียนที่ต่างกันไปแล้วแต่งานต่างๆ ทั้งการใช้การวางท่างที่แปลกออกไปกว่าที่ทำกันตามปกติ หรือใช้แสงที่ทำให้ภาพเด่นขึ้น ภาพเขียนภาพหนึ่งที่ได้รับการแสดงบ่อยที่สุดและเป็นที่เป็นที่ชื่นชอบที่สุดของคริสต์ทศวรรษ 1880 คือภาพ “สตรีกับดอกกุหลาบ” ที่เขียนในปี ค.ศ. 1882 ซึ่งเป็นภาพเหมือนของชาร์ลอต เบิร์คฮาร์ดท์ ผู้เป็นเพื่อนสนิทและอาจจะมีความสัมพันธ์กันฉันท์คนรักก็เป็นได้ ", "title": "จอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์" } ]
3284
มาริโออาศัยอยู่ในอาณาอะไร?
[ { "docid": "97879#0", "text": "มาริโอ () เป็นตัวละครจากวิดีโอเกมและการ์ตูนมาริโอ และเป็นสัญลักษณ์ของบริษัทเกมนินเทนโด สร้างโดยนักออกแบบวิดีโอเกมชื่อ ชิเงรุ มิยาโมโตะ หลังจากได้เป็นสัญลักษณ์นำโชคให้กับบริษัทและเป็นตัวเอกของเกมชุดแล้ว มาริโอได้ปรากฏตัวในวิดีโอเกมต่าง ๆ กว่า 200 เกม มาริโอถูกออกแบบให้เป็นช่างประปาชาวอิตาลีร่างอ้วนเตี้ย อาศัยอยู่ในอาณาจักรเห็ด มีภารกิจคือการช่วยชีวิตเจ้าหญิงพีชจากเต่าวายร้ายชื่อบาวเซอร์ มาริโอมีน้องชายชื่อ ลุยจิ นอกจากนี้เขายังปรากฏในวิดีโอเกมแนวอื่น ๆ เช่น แนวรถแข่ง เช่นเกมชุด มาริโอคาร์ต (Mario Kart) เกมแนวกีฬา เช่นเกมชุด มาริโอเทนนิส และ มาริโอกอล์ฟ เกมแนวสวมบทบาทของนินเทนโด เช่นเกมชุด เปเปอร์มาริโอ และ ซูเปอร์มาริโออาร์พีจี และเกมเพื่อการศึกษา เช่น มาริโออิซมิสซิง! และมาริโอสไทม์แมตชีน แฟรนไชส์มาริโอยังได้ต่อยอดไปยังสื่อต่าง ๆ มากมาย เช่น รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือการ์ตูน และสินค้ามีลิขสิทธิ์ต่าง ๆ อีกด้วย ผู้พากย์เสียงเขาคือชาลส์ มาร์ทิเนต พากย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995[1]", "title": "มาริโอ (ตัวละคร)" } ]
[ { "docid": "97879#5", "text": "มิยาโมโตะพัฒนามาริโอด้วยแนวคิดในการใช้เขาเป็นตัวละคร \"เดินไปยัง\" (go to) ที่สามารถนำไปใส่ไว้ในฉากใดก็ได้ตามต้องการ แม้ในฉากความคิดก็ตาม เพราะขณะนั้น มิยาโมโตะไม่ได้คาดหวังให้มาริโอเป็นที่นิยม[5] เพื่อให้เป็นอย่างนั้น แรกเริ่มเขาเรียกตัวละครนี้ว่า \"มิสเตอร์วิดีโอ\" เทียบกับความตั้งใจที่จะให้มาริโอปรากฏในฉากความคิดที่สร้างโดยอัลเฟรด ฮิตช์ค็อก ในภาพยนตร์ของฮิตช์ค็อกเอง[10] เมื่อเวลาผ่านไป[11] การปรากฏตัวของมาริโอเริ่มมีรายละเอียดชัดเจนมากขึ้น โดยมีการเพิ่มถุงมือสีขาว รองเท้าสีน้ำตาล และตัวอักษร M สีแดงในวงกลมสีขาวบนด้านหน้าของหมวก และกระดุมสีทองบนชุดคลุม สีของเสื้อและชุดคลุมเคยสลับจากเสื้อเชิ้ตสีฟ้ากับชุดคลุมสีแดงเป็นเสื้อเชิ้ตสีแดงและชุดคลุมสีฟ้า มิยาโมโตะระบุว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผลจากทีมงานและฝ่ายศิลป์ของแต่ละเกมรวมถึงความก้าวหน้าในเทคโนโลยีในตามเวลาที่ผ่านไป นินเทนโดไม่เคยเปิดเผยชื่อเต็มของมาริโอ กล่าวเพียงว่าไม่ใช่ \"มาริโอ มาริโอ\" แม้ว่าจะมีการบอกเป็นนัยๆในชื่อซีรีส์มาริโอบราเธอร์ส ในซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส ภาพยนตร์ และข้อมูลที่เคยให้ไว้ในคู่มือเกม มาริโอแอนด์ลุยจิ: ซูเปอร์สตาร์ซาก้า ของพรีมา[12]", "title": "มาริโอ (ตัวละคร)" }, { "docid": "684561#1", "text": "มาริโอ () เป็นตัวละครจากวิดีโอเกมและการ์ตูนมาริโอ และเป็นสัญลักษณ์ของบริษัทเกมนินเทนโด สร้างโดยนักออกแบบวิดีโอเกมชื่อ ชิเงรุ มิยาโมโตะ หลังจากได้เป็นสัญลักษณ์นำโชคให้กับบริษัทและเป็นตัวเอกของเกมชุดแล้ว มาริโอได้ปรากฏตัวในวิดีโอเกมต่าง ๆ กว่า 200 เกม มาริโอถูกออกแบบให้เป็นช่างประปาชาวอิตาลีร่างอ้วนเตี้ย อาศัยอยู่ในอาณาจักรเห็ด มีภารกิจคือการช่วยชีวิตเจ้าหญิงพีชจากคุปปะวายร้ายชื่อบาวเซอร์ มาริโอมีน้องชายชื่อ ลุยจิ", "title": "รายชื่อตัวละครในแฟรนไชส์มาริโอ" }, { "docid": "97879#19", "text": "มาริโอมีอาชีพเป็นช่างประปา แต่ในเกมดองกีคอง เขาเป็นช่างไม้[49] มาริโอยังมีอาชีพต่าง ๆ อีกมากมาย ในเกมชุดดอกเตอร์มาริโอ ที่เปิดตัวในปี ค.ศ. 1990 มาริโอมีอาชีพเป็นหมอชื่อ \"ดอกเตอร์มาริโอ\"[50] ในเกมมาริโอสพิครอส บนเครื่องเกมบอย มาริโอเป็นนักโบราณคดี และในเกม มาริโอ vs. ดองกีคองก์ 2: มาร์ชออกเดอะมินิส มาริโอเป็นประธานบริษัทผลิตของเล่น [51] มาริโอยังเป็นนักกีฬาในเกมแนวกีฬาต่าง ๆ เช่น มาริโอฮูปส์ 3-ออน-3, ซูเปอร์มาริโอสไตรเกอร์, และมาริโอซูเปอร์สลักเกอร์ส รวมถึงนักขับรถโกคาร์ตในเกมชุดมาริโอคาร์ต มาริโอมักจะช่วยชีวิตเจ้าหญิงพีชและอาณาจักรเห็ด และกำจัดเหล่าวายร้ายอย่าง เบาเซอร์ จากดินแดนต่าง ๆ มาริโอได้รับการกล่าวขายในอาณาจักรเห็ดเนื่องจากการกระทำเยี่ยงวีรบุรุษ ดังเช่นในเกม มาริโอแอนด์ลุยจิ: ซูเปอร์สตาร์ซากา ที่สองพี่น้องได้รับการพูดถึงให้เป็น \"ดารา\"[52]", "title": "มาริโอ (ตัวละคร)" }, { "docid": "97879#12", "text": "เกมมาริโอในแนวเกมอื่นประกอบด้วยเกมบนเครื่องเล่นประเภท เกมแอนด์วอตช์ จำนวนมาก เช่น มาริโอพินบอลแลนด์ เกมพินบอลบนเครื่องเกมบอยแอดวานซ์[35] เกมแนวประกอบการศึกษามากมาย และเกม ด็อกเตอร์มาริโอ เกมคอมพิวเตอร์แนวแก้ปริศนา (ซึ่งเกมด็อกเตอร์มาริโอออกจำหน่ายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1990) [36] ในเกมเหล่านี้ ด็อกเตอร์มาริโอจะโยนเม็ดยาวิตามินลงมาและผู้เล่นจะต้องจัดเรียงเพื่อทำลายเชื้อไวรัสที่อยู่บนพื้น[36] เกมซูเปอร์มาริโออาร์พีจี: เลเจนด์ออฟเดอะเซเวนสตาร์ส ของปี ค.ศ. 1996 บนเครื่องเล่นซูเปอร์แฟมิคอม เป็นเกม มาริโอ แนวบทบาทสมมุติเกมแรก[37] มีอีก 7 เกมออกตามมา รวมไปถึงเกมในชุด เปเปอร์มาริโอ 4 เกม (เปเปอร์มาริโอ บนเครื่องนินเทนโด 64, เปเปอร์มาริโอ: เดอะเธาซันด์เยียร์ดอร์ บนเครื่องนินเทนโด เกมคิวบ์, ซูเปอร์เปเปอร์มาริโอ บนเครื่องวี และเปเปอร์มาริโอ: สติ๊กเกอร์สตาร์ บนเครื่องนินเทนโด 3ดีเอส) และเกมในชุด มาริโอแอนด์ลุยจิ อีก 4 เกม (มาริโอแอนด์ลุยจิ: ซูเปอร์สตาร์ซากา บนเครื่องเกมบอยแอดวานซ์, มาริโอแอนด์ลุยจิ: พาร์ตเนอร์สอินไทม์ และมาริโอแอนด์ลุยจิ: บาวเซอร์สอินไซด์สตอรี บนเครื่องนินเทนโดดีเอส และมาริโอแอนด์ลุยจิ: ดรีมทีม บนเครื่อง 3ดีเอส)", "title": "มาริโอ (ตัวละคร)" }, { "docid": "684561#7", "text": "เบบี้ลูม่า () เป็นตัวละครที่คล้ายกับไอเทมในเกมมาริโอมาก อาศัยอยู่กับโรซาลินา", "title": "รายชื่อตัวละครในแฟรนไชส์มาริโอ" }, { "docid": "749987#1", "text": "\"เปเปอร์มาริโอ\"มีฉากอยู่ที่อาณาจักรเห็ด ขณะที่ตัวเอก มาริโอพยายามช่วยชีวิตเจ้าหญิงพีชจากบาวเซอร์ ที่ยกปราสาทของเธอขึ้นบนฟ้าและต่อสู้ชนะศัตรูหลังจากขโมยคทาดวงดาว หรือ สตาร์ร็อด (Star Rod) จากสตาร์เฮฟเวน (Star Heaven) และทำให้เขาเป็นทนทานต่อการโจมตีทุกรูปแบบ มาริโอต้องตามหา \"สตาร์สปิริต\" เจ็ดดวงโดยเอาชนะสมุนของบาวเซอร์ที่คอยคุ้มครองสตาร์สปิริตที่จะลบล้างอานุภาพของสตาร์ร็อดที่บาวเซอร์ขโมยไปใช้จนตนเป็นอมตะ เพื่อรักษาอาณาจักรเห็ด พาตัวเจ้าหญิงพีชกลับมา ดึงปราสาทลงมา และเอาชนะบาวเซอร์ ผู้เล่นควบคุมตัวมาริโอและเพื่อนร่วมทางจำนวนหนึ่งเพื่อแก้ปริศนาในโอเวอร์เวิลด์ของเกม และต่อสู้กับศัตรูในระบบการต่อสู้แบบเทิร์นเบส การต่อสู้เป็นเอกลักษณ์โดยการที่ผู้เล่นมีผลต่อประสิทธิภาพในการโจมตี โดยอาศัยการควบคุมตามที่เห็นในหน้าจอที่เรียกว่า \"แอ็กชันคอมมานด์\" (action command)", "title": "เปเปอร์มาริโอ" }, { "docid": "683709#4", "text": "พาวเวอร์อัพที่ปรากฏซ้ำตลอดทั้งแฟรนไชส์คือไอเทมที่ทำให้มาริโอบินได้ ชิ้นแรกเปิดตัวในเกม \"ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 3\" พาวเวอร์อัพชิ้นหนึ่งที่เรียกว่า ซูเปอร์ใบไม้ ซึ่งทำให้มาริโอใส่ชุดแร็คคูน ขณะที่แหล่งอื่นเรียกมันว่า ชุดทานูกิ (เป็นการแปลงการสะกดจากคำว่า ทานุกิ) และทำให้มาริโอบินได้หรือกลายเป็นรูปปั้น ในเกม\"ซูเปอร์มาริโอเวิลด์\" ไอเทมเรียกว่า ผ้าคลุมขนนก ทำให้มาริโอใส่ผ้าคลุม มีแครอทที่ทำให้มาริโอมีหูกระต่ายทำให้เขาบินได้ และใน\"เกมซูเปอร์มาริโอ 64\" มาริโออาจได้รับไอเทมเรียกว่า หมวกปีก ทำให้เขาบินได้เช่นกัน เกมซูเปอร์มาริโอซันไชน์ เปิดตัวอุปกรณ์พ่นน้ำชื่อ F.L.U.D.D. ทำให้มาริโอพ่นน้ำและบินได้ด้วย", "title": "มาริโอ (แฟรนไชส์)" }, { "docid": "684561#10", "text": "บาวเซอร์ () เป็นราชาคุปปะและศัตรูของมาริโอที่ปรากฎตัวให้เห็นมากที่สุดและมาริโอมักจะชนะบาวเซอร์และเอาเจ้าหญิงพีชกลับมาที่ปราสาทได้เสมอ\nบาวเซอร์จูเนียร์ (;) เป็นลูกของบาวเซอร์ช่วยพ่อจัดการมาริโอแต่ก็โดนมาริโอล้มตัวเองได้ทุกครั้ง", "title": "รายชื่อตัวละครในแฟรนไชส์มาริโอ" }, { "docid": "684561#6", "text": "ดองกีคอง () เป็นคิงคองที่อาศัยอยู่ในบ้านต้นไม้ มีเพื่อนสนิทชื่อดิดดี้ คอง เป็นลิงแมงมุมใส่หมวกแก๊ปสีแดงซึ่งผนึกไว้โลโก้นินเท็นโด เป็นศัตรูของมาริโอและคิง เครูล ดองกีคองถูกสร้างขึ้นมาโดยชิเงะรุ มิยะโมะโตะ", "title": "รายชื่อตัวละครในแฟรนไชส์มาริโอ" }, { "docid": "747438#3", "text": "วาริโอถูกวาดให้เป็นมาริโอในรุ่นก้าวร้าว เขามีแขนมีกล้ามขนาดใหญ่ หนวดเคราแหลมซิกแซกใหญ่ และเสียงร้องชวนต่อสู้ ชื่อ \"วาริโอ\" มาจากการผสมคำว่า \"มาริโอ\" กับคำคุณศัพท์ภาษาญี่ปุ่นว่า \"วารุอิ\" (悪い) หมายถึง \"ชั่วร้าย\" ดังนั้นจึงหมายถึง \"มาริโอที่ชั่วร้าย\" (ต่อมากำหนดสัญลักษณ์เป็น \"W\" บนหมวก หรือ \"M\" กลับหัว) ข้อเท็จจริงจากนินเทนโดกล่าวว่าวาริโอเป็นคู่ปรับในวัยเด็กของมาริโอและลุยจิ เนื่องจากอิจฉาความสำเร็จของพวกเขา นักพากย์เสียง ชาลส์ มาร์ติเน็ต ซึ่งพากย์เสียงมาริโอตั้งแต่ ค.ศ. 1995 ก็พากย์เสียงให้วาริโอด้วย ในระหว่างการออดิชัน มาร์ติเน็ตต้องพูดด้วยโทนเสียงโหดเหี้ยม เขามองเสียงของวาริโอว่าทำได้ง่ายกว่าเสียงของมาริโอ เนื่องจากท่าทางการพูดและบุคลิกของมาริโอจะไหลลื่นอิสระมากกว่า โดยการกระโดดจากพื้นดินและลอยบนอากาศ ขณะที่วาริโอมีลักษณะนิสัยขี้อิจฉา เริ่มจากเกม\"\" วาริโอจะกระปรี้กระเปร่าเมื่อเก็บหัวหอมได้ คล้ายกับมาริโอที่พลังจะเพิ่มขึ้นเมื่อเก็บเห็ด วาริโอมักใช้ระเบิด อย่างที่เห็นในเกมวาริโอแลนด์: ซูเปอร์มาริโอแลนด์ 3 \"วาริโอบลาสต์\" และ\"\" เกมชุดวาริโอแวร์ใช้ระเบิดเป็นสิ่งของแทนการจำกัดเวลา", "title": "วาริโอ" }, { "docid": "684401#0", "text": "ดองกีคอง()เป็นคิงคองที่อาศัยอยู่ในบ้านต้นไม้มีเพื่อนสนิทชื่อดิดดี้ คองเป็นลิงแมงมุมใส่หมวกแก้ปสีแดงจะมีโลโก้นินเท็นโดติดไว้ด้วย เป็นศัตรูของมาริโอและ คิง เครูล ดองกี(อังกฤษ: Donkey) หมายความว่าโง่ในภาษาไทย ดองกีคองโดนสร้างโดยชิเงะรุ มิยะโมะโตะ", "title": "ดองกีคอง (ตัวละคร)" }, { "docid": "97879#13", "text": "มีชุดเกมย่อยของ มาริโอ จำนวนมากออกจำหน่าย โดยเฉพาะชุดเกมที่ได้แรงบันดาลใจจากกีฬาชนิดต่างๆ แฟรนไชส์เกม มาริโอคาร์ท เริ่มด้วยเกม ซูเปอร์มาริโอคาร์ท บนเครื่องซูเปอร์นินเทนโดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ซิสเต็มในปี ค.ศ. 1992 เป็นแฟรนไชส์เกมแนวรถแข่งโกคาร์ตที่ประสบความสำเร็จและอยู่ได้นานที่สุดในขณะนี้[38] เกมมาริโอแนวกีฬาอื่น ๆ เช่น เกมชุด มาริโอกอล์ฟ และ มาริโอเทนนิส ที่พัฒนาโดย คาเมล็อต เกม มาริโอซูเปอร์สตาร์เบสบอล และ ซูเปอร์มาริโอสไตรเกอร์ ซึ่งเป็นเกมกีฬาเบสบอลและฟุตบอลตามลำดับ ในปี ค.ศ. 1999 เกมชุด มาริโอปาร์ตี้ พัฒนาโดย ฮัดสัน เริ่มออกจำหน่ายบนเครื่องนินเทนโด 64 ตัวเกมจะวนเวียนอยู่กับชุดของมินิเกมและเล่นได้ 4 คน มาริโอแอนด์โซนิคแอตดิโอลิมปิกเกมส์ ออกจำหน่ายบนเครื่องนินเทนโดดีเอส และวี เป็นชุดคอลเลคชันของเหตุการณ์ที่อิงจากโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ปักกิ่ง ที่ตัวละครจากชุด โซนิคเดอะเฮดจ์ฮอก ของเซก้า แข่งขันกันตัวละครจาก มาริโอ ตามมาด้วยเกมปี ค.ศ. 2009 มาริโอแอนด์โซนิคแอตดิโอลิมปิกวินเทอร์เกมส์ บนเครื่องเล่นทั้งสองเครื่อง อิงจากโอลิมปิกฤดูหนาว 2010 ที่แวนคูเวอร์ มีเกมแนวกีฬาอีก 2 เกมออกมาสำหรับเครื่องวี ออกจำหน่ายในปี ค.ศ. 2011 คือ มาริโอสปอร์ตสมิกซ์ และเกมมาริโอแอนด์โซนิคเกมที่สาม มาริโอแอนด์โซนิคแอตเดอะลอนดอนโอลิมปิก 2012 เกม ออกจำหน่ายบนเครื่องนินเทนโด 3ดีเอส ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 อิงจากโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่กรุงลอนดอน", "title": "มาริโอ (ตัวละคร)" }, { "docid": "97879#8", "text": "ในเกม ซูเปอร์มาริโอแลนด์ ปรากฏมนุษย์ต่างดาวชื่อ ทาทังกะ (Tatanga) สะกดจิตผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ ซาราซาแลนด์ (Sarasaland) ให้หลับและจับตัวผู้ปกครองเมืองชื่อเจ้าหญิงเดซี (Princess Daisy) ไป จากนั้นมาริโอจึงเริ่มออกเดินทางช่วยชีวิตเธอจากทาทังกะ ท่องเที่ยวไปยังเขตพื้นที่แห่งซาราซาแลนด์ 4 เขตและเอาชนะสมุนของทาทังกะไปตลอดทาง ในที่สุดเขาก็ต้อนทาทังกะให้จนมุมได้บนท้องฟ้าในอาณาจักรไช (Chai Kingdom) ทำให้ยานรบมนุษย์ต่างดาวร่วงลงมาและช่วยชีวิตเดซีไว้ได้[20] ในเกม ซูเปอร์มาริโอเวิลด์ มาริโอและลุยจิพาเจ้าหญิงพีชไปเที่ยวในโลกไดโนเสาร์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งหลังเหตุการณ์ของเกม ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 3 ในระหว่างการท่องเที่ยว พีชถูกบาวเซอร์ลักพาตัวไป มาริโอและลุยจิได้พบกับตระกูลโยชิ ตระกูลไดโนเสาร์ที่อาศัยอยู่ในโลกไดโนเสาร์ พวกเขาได้ช่วยนำตัวพีชกลับมาโดยให้มาริโอและลุยจิขี่บนหลัง[21] ในเกม ซูเปอร์มาริโอแลนด์ 2: 6 โกลเด้น คอนส์ ที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นทันทีหลังเกมซูเปอร์มาริโอแลนด์ภาคก่อนหน้า ด้านปีศาจของมาริโอชื่อ วาริโอ ได้ร่ายเวทมนตร์ไปยังมาริโอแลนด์ขณะที่มาริโอกำลังอยู่ในซาราซาแลนด์ และเปลี่ยนชื่อพื้นที่นั้นเป็นวาริโอแลนด์ ผู้อยู่อาศัยถูกล้างสมองให้เชื่อว่าวาริโอคือหัวหน้าและมาริโอเป็นศัตรู เป้าหมายของวาริโอคือเข้ายึดครองปราสาทของมาริโอเพื่อให้เป็นของตนเอง เพื่อที่หยุดวาริโอ มาริโอได้หาเหรียญทองคำ 6 เหรียญรอบๆ มาริโอแลนด์และได้เข้าไปยังปราสาทของตนอีกครั้ง ในเกม ซูเปอร์มาริโอเวิลด์ 2: โยชิไอส์แลนด์ นกกระสาตัวหนึ่งได้แบกตัวเบบีมาริโอและเบบีลุยจิข้ามทะเล แต่ปีศาจเมจิคูป้าชื่อ คาเมค (Magikoopa Kamek) ได้ขโมยตัวเบบีลุยจิไป ส่วนเบบีมาริโอตกลงไปบนเกาะที่ชื่อ โยชิสไอส์แลนด์ บ้านเกิดของตระกูลโยชิ ชื่อโยชิ(Yoshi) หลังจากมาริโอได้พบกับตระกูลโยชิ พวกเขาได้เดินทางผ่าน 6 ด่านเพื่อช่วยชีวิตเบบีลุยจิและนกกระสาจากเบบีบาวเซอร์และคาเมค", "title": "มาริโอ (ตัวละคร)" }, { "docid": "97879#6", "text": "มาริโอปรากฏตัวครั้งแรกในนาม \"จัมป์แมน\" (Jumpman) ในเกมอาร์เคดที่ชื่อ ดองกีคอง ในปี ค.ศ. 1981[2] ในคราบของช่างไม้ที่เลี้ยงลิงตัวหนึ่ง[13]ชื่อ ดองกีคอง (Donkey Kong) เขาเลี้ยงดูลิงตัวนั้นอย่างทารุณ ต่อมาดองกีคองก์จึงหลบหนีไปพร้อมกับลักพาตัวแฟนสาวของจัมป์แมน (เดิมรู้จักกันในชื่อ เลดี้ และต่อมามีชื่อว่า พอลลีน (Pauline)) ไปด้วย ตัวผู้เล่นจะต้องรับบทเป็นจัมป์แมนและช่วยเหลือผู้หญิงคนนั้น ต่อมาตัวละครนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น \"มาริโอ\" ในเกมอาร์เคด ดองกีคองจูเนียร์ ของปี ค.ศ. 1982 เป็นเกมเดียวที่เขาเป็นตัวร้าย ในเกมอาร์เคด มาริโอบราเธอร์ส ของปี ค.ศ. 1983 มาริโอและน้องชายชื่อ ลุยจิ (Luigi) ถูกพรรณนาให้เป็นช่างประปา[14]ลูกครึ่งอิตาลีอเมริกัน[8]ที่เอาชนะสัตว์ประหลาดที่ออกมาจากท่อน้ำทิ้งใต้นครนิวยอร์ก ชื่อท้ายของพวกเขาในตอนนั้นคือ \"มาริโอ\" ทำให้ชื่อเต็มของมาริโอที่ปรากฏครั้งแรกในที่นี้คือ \"มาริโอ มาริโอ\"[15]", "title": "มาริโอ (ตัวละคร)" }, { "docid": "683709#3", "text": "\"ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส\" เปิด ตัวพาวเวอร์อัพ 3 ชิ้นที่กลายมาเป็นแกนหลักของซีรีส์ โดยเฉพาะในเกม 2 มิติ ได้แก่ เห็ดซูเปอร์ ที่ทำให้มาริโอตัวใหญ่ขึ้น ดอกไม้ไฟ ที่ทำให้มาริโอปาลูกไฟได้ และสตาร์แมน ที่ช่วยให้มาริโอเป็นอมตะได้ชั่วคราว ตามประวัติของซีรีส์มาริโอ มีเห็ดพาวเวอร์อัพหลากหลายชนิด เช่น เห็ด 1-อัพ ที่เพิ่มชีวิตใหม่ให้มาริโอ เห็ดพิษ ที่ทำให้มาริโอตัวหดหรือถึงตาย เห็ดเมกะ ทำให้ตัวมาริโอใหญ่ขึ้น และเห็ดมินิ ที่ทำให้มาริโอตัวหดลง ", "title": "มาริโอ (แฟรนไชส์)" }, { "docid": "97879#7", "text": "ในเกม ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส บนเครื่องเล่นนินเทนโดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ซิสเต็ม หรือแฟมิคอม มาริโอได้ช่วยชีวิตเจ้าหญิงโทดสตูล (Princess Toadstool) (ต่อมารู้จักกันในชื่อเจ้าหญิงพีช (Princess Peach)) แห่งอาณาจักรเห็ดจากราชาคุปปะ (King Koopa)[16] หรือบาวเซอร์ (Bowser) เพื่อช่วยเจ้าหญิงโทดสตูล มาริโอฝ่าฟันด่านในอาณาจักรเห็ดถึง 8 ด่าน โดยเข้าไปในปราสาทเพื่อโจมตีลูกน้องของราชาคูป้า ก่อนจะถึงปราสาทแต่ละหลังนั้น มาริโอต้องฝ่าฟันด่านย่อย 3 ด่านเพื่อโจมตีสมุนของราชาคุปปะ ถ้ามาริโอฝ่าฟันไปถึงปราสาทได้สำเร็จและเอาชนะตัวลูกน้องได้ เขาจะได้ปล่อยตัวเห็ดรับใช้แห่งอาณาจักรเห็ดได้หนึ่งตัว[17] ในปราสาทหลังที่แปด มาริโอจะได้ต่อสู้กับราชาคุปปะและปล่อยตัวเจ้าหญิงโทดสตูล ในเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 2 ผู้เล่นสามารถเลือกได้ระหว่างมาริโอ ลุยจิ โท้ด หรือเจ้าหญิงพีช โดยตัวละครแต่ละตัวจะมีความสามารถพิเศษโดดเด่นคนละอย่าง (ลุยจิกระโดดได้สูง โทดขุดดินได้เร็วที่สุด และเจ้าหญิงพีชลอยตัวได้) ส่วนมาริโอนั้นมีความสามารถรอบด้านมากกว่า ในเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 3 มาริโอมีภารกิจช่วยผู้ปกครองแห่งอาณาจักรทั้งเจ็ดจากบาวเซอร์และคุปปะลิงส์ (Koopalings) เหล่าลูกสมุนของเขา และมาริโอท่องไปในด่านต่าง ๆ 8 ด่านเพื่อเรียกความสงบสุขกลับคืนยังโลกของเห็ดและช่วยเหลือเจ้าหญิงพีช[18] มีการเปิดตัวพาวเวอร์อัพใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับมาริโอด้วย[19]", "title": "มาริโอ (ตัวละคร)" }, { "docid": "97879#16", "text": "รายการโทรทัศน์ เดอะซูเปอร์มาริโอบราเธอร์สซูเปอร์โชว์! และภาพยนตร์ที่ใช้คนเล่นเรื่อง ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส ซึ่งทั้งคู่มีเนื้อเรื่องอ้างอิงจากชุดวิดีโอเกมนี้ ได้นำตัวละครมาริโอออกทางโทรทัศน์และวงการภาพยนตร์ ในรายการโทรทัศน์ได้ \"กัปตัน\" ลู อัลบาโน แสดงเป็นมาริโอ และในภาพยนตร์ ได้ บ็อบ ฮอสคินส์ แสดงเป็น มาริโอ มาริโอ ช่างประปาที่พบว่าตนเองอยู่ในโลกที่ไดโนเสาร์ยึดครอง ซึ่งเขาต้องช่วยรักษาโลกจากการบุกรุก[44] นอกจากเกมดั้งเดิม รายการโทรทัศน์ และภาพยนตร์ มาริโอยังมีอิทธิพลในการผลิตสินค้าลิขสิทธิ์ต่าง ๆ และปรากฏในวัฒนธรรมสมัยนิยม ชุดหนังสือการ์ตูนนินเทนโดโคมิกส์ซิสเต็ม รวมถึงนินเทนโดแอดเวนเจอร์บุ๊คส์ ก็สร้างขึ้นจากมาริโอเช่นกัน", "title": "มาริโอ (ตัวละคร)" }, { "docid": "97879#3", "text": "มิยาโมโตะให้ความเห็นว่าถ้าเขาตั้งชื่อมาริโอว่า \"มิสเตอร์วิดีโอ\" มาริโออาจจะ \"หายสาปสูญไปจากโลกนี้\" แล้ว ด้วยความตั้งใจของเขา เขาเลือกอาชีพของมาริโอให้เหมาะกับรูปแบบของเกม เนื่องจากฉากในเกมดองกีคองก์เป็นเขตการก่อสร้าง มาริโอจึงมีอาชีพเป็นช่างไม้ เมื่อเขาปรากฏตัวอีกครั้งในเกมมาริโอบราเธอร์ส เขาได้รับเลือกให้เป็นช่างประปา เนื่องจากเกมส่วนใหญ่เป็นฉากใต้ดิน ในการออกแบบตัวละครมาริโอ โดยเฉพาะจมูกโตของเขานั้น ถูกวาดตามแบบจากอิทธิพลชาวตะวันตก เมื่อเขาได้เป็นช่างประปา มิยาโมโตะตัดสินใจกำหนดให้เขาอยู่ในนครนิวยอร์ก และให้เขาเป็นชาวอิตาลี โดยจงใจบ่งบอกสัญชาติผ่านหนวดเคราของเขา ในแหล่งอื่น มีการเลือกอาชีพของมาริโอให้เป็นช่างไม้เพื่อพรรณนาตัวละครให้เป็นคนทำงานหนักและเพื่อให้ผู้เล่นระบุถึงตัวเขาได้ง่าย หลังจากเพื่อนร่วมงานชี้ว่ามาริโอดูคล้ายคลึงกับช่างประปามากกว่า มาริโอจึงเปลี่ยนอาชีพของมาริโอตามนั้นและพัฒนาเกมมาริโอบราเธอร์ส โดยนำเสนอตัวละครในท่อระบายน้ำของนครนิวยอร์ก", "title": "มาริโอ (ตัวละคร)" }, { "docid": "97879#18", "text": "ในตอนแรกนั้นมาริโอได้ถูกออกแบบออกมาโดยใช้เทคนิคคอมพิวเตอร์กราฟิกที่เรียกว่าสไปรต์แบบ 2 มิติ แต่เกมที่ออกมาภายหลัง เขาได้เปลี่ยนเป็นแบบ 3 มิติหลายเหลี่ยม เขาเป็นช่างประปาร่างท้วม อาศัยอยู่กับน้องชายที่สูงกว่าเขาชื่อ ลุยจิ (Luigi) ในดินแดนของอาณาจักรเห็ด[2][46][47] ในรายการโทรทัศน์บอกว่า มาริโอและลุยจิมาจากบรูคลิน น้อยคนนักที่จะรู้เรื่องราวเกี่ยวกับวัยเด็กของมาริโอ แม้ว่าจะมีมาริโอในรูปแบบทารกชื่อ เบบีมาริโอ ปรากฏครั้งแรกในปี ค.ศ. 1995 ในเกม ซูเปอร์มาริโอเวิลด์ 2: โยชิสไอส์แลนด์ และประกฏในเกมกีฬาของนินเทนโดหลายเกมตั้งแต่นั้นมา เบบีมาริโอมีบทบาทหลักคู่กับเบบีลุยจิในเกม มาริโอแอนด์ลุยจิ: พาร์ทเนอร์อินไทม์ และปรากฏในเกม โยชิสไอส์แลนด์ดีเอส เขา (และมาริโอผู้ใหญ่) ได้รับพากย์เสียงจาก ชาร์ลส มาร์ติเนต [48]", "title": "มาริโอ (ตัวละคร)" }, { "docid": "97879#21", "text": "ลุยจิ เป็นน้องชายของมาริโอ เขาเป็นเพื่อนร่วมทางในเกมมาริโอหลายเกม[47] และเป็นตัวละครตัวที่สองที่ผู้ที่สองสามารถควบคุมได้ในโหมดเล่นสองคน[58] แต่เขาเคยช่วยชีวิตมาริโอเป็นบางครั้ง อย่างที่เห็นในเกม มาริโออิสมิสซิง และ ลุยจิสมิชชัน[59] วาริโอ ด้านมืดจอมตะกละของมาริโอ กลับมาอีกครั้งในเกมซูเปอร์มาริโอแลนด์ 2: 6 โกลเดนคอยน์ส บนเครื่องเกมบอย มักจะเป็นปฏิปักษ์ต่อมาริโอหรือตัวเอกปฏิลักษณ์[60] โยชิ ไดโนเสาร์ที่มีชื่อสปีชีส์เป็นโยชิเช่นกัน ตัวของโยชิมีได้หลายสี แต่ดั้งเดิม โยชิมีสีเขียว[61] โยชิเป็นผู้รับใช้มาริโอในเกมอย่าง ซูเปอร์มาริโอเวิลด์[61] และถูกกำหนดให้เป็นสัตว์ประหลาดที่มีความรู้สึกมากขึ้นในเกมอย่าง ซูเปอร์มาริโอคาร์ต และโยชิสไอแลนด์", "title": "มาริโอ (ตัวละคร)" }, { "docid": "97879#10", "text": "ในเกมซูเปอร์มาริโอซันไชน์ มาริโอ โทดสเวิร์ธ และเจ้าหญิงพีชได้ไปเที่ยวพักร้อนที่หมู่เกาะเดลฟิโน (Isle Delfino) หมู่เกาะในเขตร้อนแห่งหนึ่ง มีบุคคลหน้าคล้ายมาริโอ รู้จักในชื่อ แชโดว์มาริโอ หรือมาริโอเงา (Shadow Mario) ใช่แปรงสีเวทมนตร์ก่อความวินาศและสร้างมลพิษให้กับเกาะทั้งเกาะ การก่อความวุ่นวายนี้เป็นเหตุให้ภูติส่องสว่างหนีไปจากเมือง เดลฟิโนพลาซ่า และปล่อยให้เกาะถูกความมืดปกคลุม มาริโอผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อเรื่อง ถูกเจ้าหน้าที่ของเกาะจับกุมและสั่งให้เก็บกวาดหมู่เกาะเดลฟิโน มาริโอพาอุปกรณ์ชื่อ FLUDD อุปกรณ์สายฉีดน้ำหุ่นยนต์ประดิษฐ์ขึ้นโดยศาสตราจารย์เอลวิน แกดด์ (Professor E. Gadd , Professor Elvin Gadd (ชื่อเต็ม)) ซึ่งเขาเอาไว้ใช้ทำความสะอาดมลพิษและเก็บตัวภูติส่องสว่าง[27] ขณะเดียวกัน พีชถูกมาริโอเงาจับตัวไป ซึ่งต่อมาเขาเปิดเผยตนว่าเป็นบาวเซอร์จูเนียร์ ลูกของบาวเซอร์ ในที่สุดมาริโอก็เผชิญหน้ากับบาวเซอร์และบาวเซอร์จูเนียร์และช่วยชีวิตเจ้าหญิงได้สำเร็จ เมื่อเกาะถูกเก็บกวาดสะอาดแล้ว มาริโอกับพีชก็เริ่มพักร้อนต่อไป[28]", "title": "มาริโอ (ตัวละคร)" }, { "docid": "97879#22", "text": "ระหว่างการพัฒนาเกมดองกีคอง คนรู้จักมาริโอในชื่อ จัมป์แมน การกระโดดทั้งเพื่อเข้าไปยังสถานที่ต่าง ๆ และเพื่อโจมตี ถือเป็นคุณสมบัติทั่วไปของระบบการเล่นเกมมาริโอ โดยเฉพาะเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส ก่อนที่ซูเปอร์มาริโออาร์พีจี: เลเจนด์ออฟเดอะเซเวนสตาร์ส จะออกจำหน่าย การกระโดดกลายเป็นเอกลักษณ์ของมาริโอซึ่งผู้เล่นมักจะทดสอบด้วยการกระโดด เพื่อพิสูจน์ให้ตัวละครที่ไม่ใช่ผู้เล่นรู้ว่าเขาคือมาริโอ การโจมตีโดยทั่วไปของมาริโอคือการกระโดดกระทืบหัวของศัตรู พบครั้งแรกในเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส การกระโดดกระทืบนี้อาจจะบดขยี้ศัตรูตัวเล็ก และอาจใช้กับศัตรูตัวที่ใหญ่กว่า บางครั้งก่อให้เกิดผลต่อเนื่อง[2] การโจมตีนี้ทำให้มาริโอเอาชนะเต่าคูป้าทรูป้า ทำให้หัวมุดเข้าหรือออกจากกระดอง และใช้กระดองเป็นอาวุธได้[2] เกมที่ตามมาได้ปรับเปลี่ยนความสามารถในการกระโดดของมาริโอ เกมซูเปอร์มาริโอเวิลด์ เพิ่มการกระโดดหมุนตัว ทำให้มาริโอทำลายก้อนอิฐข้างใต้ได้ ในเกมดองกีคอง เวอร์ชันเกมบอย ทำให้มาริโอกระโดดได้สูงขึ้นด้วยการกระโดดต่อเนื่องกลางอากาศ และทำการพลิกตัวกลับได้ ในเกมซูเปอร์มาริโอ 64 มาริโอได้รับความสามารถใหม่ ๆ เช่นการตีลังกาไถข้าง การแตะพื้น และการกระโดดเตะกำแพง ซึ่งช่วยดันตัวเขาให้สูงขึ้นด้วย", "title": "มาริโอ (ตัวละคร)" }, { "docid": "338356#43", "text": "ระหว่างปี พ.ศ. 2387 - 2391 ทั้งสองชาติมีความขัดแย้งกันในเรื่องการอ้างกรรมสิทธิ์เหนืออาณาบริเวณออริกอน โดยส่วนมากแล้วพื้นที่ดังกล่าวไม่มีผู้คนอยู่อาศัย ทำให้วิกฤตความขัดแย้งรอบใหม่นี้จบลงอย่างง่ายดายด้วยการแบ่งอาณาบริเวณดังกล่าวให้แก่สองฝ่ายโดยเท่าเทียมกัน อังกฤษได้พื้นที่ที่เป็นรัฐบริติชโคลัมเบียในปัจจุบันไป ส่วนสหรัฐได้พื้นที่ที่เป็นรัฐวอชิงตัน, รัฐไอดาโฮ และรัฐออริกอนในปัจจุบันไป จากนั้นสหรัฐได้หันความสนใจไปยังเม็กซิโกที่ได้แสดงท่าทีข่มขู่จะก่อสงครามจากการที่สหรัฐเข้ายึดครองดินแดนเท็กซัส อังกฤษพยายามบรรเทาท่าทีที่เกรี้ยวกราดของชาวเม็กซิกันลงแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เมื่อสงครามได้ปะทุขึ้น อังกฤษได้วางท่าทีที่เป็นกลาง ผลของสงครามทำให้สหรัฐได้ดินแดนแคลิฟอร์เนียมา ที่ซึ่งอังกฤษแสดงท่าทีที่สนใจเพียงเล็กน้อย", "title": "ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ" }, { "docid": "472485#3", "text": "เป็นปลาที่มีพฤติกรรมอาศัยอยู่เพียงลำพังหรืออยู่เป็นคู่ โดยมีอาณาบริเวณของตัวเอง กินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เป็นปลาสินสมุทรอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม", "title": "ปลาสินสมุทรลายบั้ง" }, { "docid": "60227#3", "text": "นับตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา นักวิทยาศาสตร์ได้มุ่งเสนอแนะส่งเสริมต่อแนวความคิดที่ว่า \"เขตอาศัยได้\" (habitable zone) เป็นอาณาบริเวณที่ที่มีแนวโน้มมากที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตที่อาจจะสามารถพบเจอได้ การค้นพบมากมายในโซนเขตอาณาบริเวณเหล่านี้มีมาตั้งแต่ปี 2007 มีการสร้างการประมาณการของความถี่ของจำนวนของดาวเคราะห์ที่มีสภาพคล้ายโลก -ในแง่ของส่วนประกอบสภาพแวดล้อมของดาว -ที่มีการนับเป็นจำนวนไว้ได้เป็นจำนวนหลายพันล้านดวง แต่นี่เป็นข้อมูลในปี 2013, มีเพียงจำนวนเล็กน้อยของดาวเคราะห์ที่ได้รับการค้นพบในโซนเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม, ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2013 นักดาราศาสตร์ได้มีรายงาน, บนพื้นฐานของข้อมูลภารกิจของยานอวกาศเคปเลอร์, ว่าอาจจะมีดาวเคราะห์คล้ายโลก (Earth-sized planet) เป็นจำนวนมากถึง 40 พันล้านดวง โคจรอยู่โดยรอบในเขตอาศัยได้ของดาวคล้ายดวงอาทิตย์ (Sun-like star) และดาวแคระแดง (red dwarf) ในทางช้างเผือก, ที่มีจำนวนถึง 11 พันล้านดวงซึ่งอาจจะโคจรอยู่รอบดาวที่คล้ายดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ดังกล่าวที่อยู่ใกล้โลกที่สุดอาจจะอยู่ห่างเป็นระยะทาง 12 ปีแสงห่างออกไปตามการคาดการณ์ของนักวิทยาศาสตร์ นักชีววิทยาดาราศาสตร์ยังได้มีการพิจารณาการ \"ติดตามพลังงาน\" (follow the energy) ในมุมมองของการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่มีศักยภาพอีกด้วย ", "title": "สิ่งมีชีวิตนอกโลก" }, { "docid": "683709#5", "text": "เกม\"ซูเปอร์มาริโอกาแล็กซี\" เปิดตัวพาวเวอร์อัพชนิดใหม่ เช่น เห็ดผึ้ง ที่เปลี่ยนมาริโอเป็นผึ้งและทำให้บินได้ชั่วคราว เห็ดบู ที่เปลี่ยนมาริโอเป็นผี และทำให้เขาล่องลอยและเดินทะลุกำแพงได้ เห็ดสปริง ที่สอดตัวมาริโอลงไปในสปริง ทำให้เขากระโดดสูงขึ้น และดอกไม้น้ำแข็ง ที่ทำให้ผู้เล่นเดินบนน้ำหรือลาวาได้ชั่วคราวโดยไม่จมหรือบาดเจ็บ เกม\"ซูเปอร์มาริโอกาแล็กซี 2\" เปิดตัวพาวเวอร์อัพเพิ่มขึ้นเทียบเคียงไปกับ\"ซูเปอร์มาริโอกาแล็กซี\" เช่น ดอกไม้ก้อนเมฆ ทำให้มาริโอสร้างชานชาลากลางอากาศ และมาริโอหิน ที่แปลงร่างมาริโอเป็นหินก้อนใหญ่สำหรับทำลายเกราะกำบัง\nเกม\"นิวซูเปอร์มาริโอบราเธอร์สวี\" เพิ่มเติมดอกไม้น้ำแข็ง ทำให้มาริโอยิงก้อนน้ำแข็งและแช่แข็งศัตรูได้ชั่วคราว และยังเปิดตัวเห็ดใบพัด ทำให้เขาบินได้ รวมถึงชุดเพนกวิน ทำให้มาริโอเดินบนน้ำแข็งได้ง่ายขึ้นและว่ายน้ำได้นอกจากยิงน้ำแข็งได้ด้วย\nเกม\"ซูเปอร์มาริโอ 3ดีแลนด์\" เปิดตัวดอกไม้บูมเมอแรง ทำให้มาริโอโยนบูมเมอแรงไปยังศัตรูใกล้ตัว และใบไม้รูปปั้น ทำให้มาริโอกลายเป็นรูปปั้น\nในเกม\"นิวซูเปอร์มาริโอบราเธอร์สยู\" เปิดตัวผลโอ๊กซูเปอร์ แปลงร่างมาริโอเป็น กระรอกบิน ทำให้เขาบินร่อนและเกาะกำแพงได้ด้วย\nส่วนในซีรีส์มาริโอปาร์ตี้ได้มีพาวเวอร์อัพประกอบซึ่งทุกตัวละครในแฟรนไชส์มาริโอสามารถใช้พาวเวอร์อัพได้ทำให้มีความสนุกสนานมากขึ้น", "title": "มาริโอ (แฟรนไชส์)" }, { "docid": "97879#11", "text": "มาริโอก้าวเข้าสู่รูปแบบ 2.5 มิติในเกมนิวซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส ขณะที่มาริโอและพีชเดินเล่นด้วยกันไปในอาณาจักรเห็ด บาวเซอร์จูเนียร์ จับตัวพีชและหนีไป[29] มาริโอวิ่งไล่ฝ่าฟันผ่านด่าน 8 ด่าน ในที่สุดมาริโอก็ไล่ตามทันและเอาชนะบาวเซอร์และบาวเซอร์จูเนียร์และช่วยเหลือพีชไว้ได้[30] ในเกมซูเปอร์มาริโอกาแล็คซี มาริโอได้รับเชิญจากเจ้าหญิงพีชให้ไปงานสตาร์เฟสติวัลครบรอบ 100 ปีในอาณาจักรเห็ด[31] เมื่อมาถึง บาวเซอร์บุกเข้ามาในอาณาจักรและทำลายปราสาทของพีชออกเป็นเสี่ยงๆ และโยนออกนอกโลก หลังจากไม่สามารถป้องกันเจ้าหญิงจากการลักพาตัวได้ มาริโอพบกับสัตว์ประหลาดรูปร่างคล้ายดาวชื่อว่า ลูมัส และสหายชื่อ โรซาลินา โรซาลินาบอกมาริโอว่าบาวเซอร์ได้ขโมยพาวเวอร์สตาร์ (Power Star) แหล่งพลังงานของหอดูดาวเคลื่อนที่ของโรซาลินา และได้พาตัวพีชไป ณ ศูนย์กลางจักรวาล มาริโอเดินทางไปยังกาแล็คซี่ทั้งหลายเพื่อนำพาวเวอร์สตาร์กลับมา และนำพลังงานกลับคืนสู่หอดูดาว และนำตัวเจ้าหญิงพีชกลับมา[32] ในเกมนิวซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส วี เกม 2.5 มิติอีกหนึ่งเกม มาริโอ ลุยจิ และโทด 2 ตัวเข้าร่วมงานวันเกิดของเจ้าหญิงพีช ขณะเดียวกัน บาวเซอร์จูเนียร์และคูปาลิงส์อีก 7 ตัวแอบซุ่มดูเจ้าหญิงและลักพาตัวเธอไป มาริโอ ลุยจิ และโทด 2 ตัวไล่ตามพวกนั้นผ่าน 8 ด่าน เอาชนะคูปาลิงส์ทีละตัว พวกมาริโอเผชิญหน้ากับบาวเซอร์ได้ในที่สุด เอาชนะและนำตัวเจ้าหญิงกลับมาได้[33] ในเกมซูเปอร์มาริโอกาแล็กซี 2 บาวเซอร์ที่ใช้พาวเวอร์สตาร์แปลงร่างเป็นยักษ์ เข้าโจมตีอาณาจักรเห็ดและลักพาตัวพีช และพาตัวเธอไป ณ จุดศูนย์กลางของจักรวาล ด้วยความช่วยเหลือของลูมัส มาริโอขับยานอวกาศมาริโอซึ่งเป็นดาวเคราะห์เคลื่อนที่ได้มีรูปเป็นหัวของเขาเอง ท่องเที่ยวไปยังกาแล็คซี่ทั้งหลายและรวบรวมพาวเวอร์สตาร์เพื่อเติมเชื้อเพลิงให้กับยาน หลังจากต่อสู้กับบาวเซอร์และบาวเซอร์จูเนียร์หลายครั้ง ในที่สุดมาริโอก็มาถึงที่ซ่อนของบาวเซอร์ที่ศูนย์กลางจักรวาล เอาชนะเขาและช่วยชีวิตเจ้าหญิงได้[34] ในปี ค.ศ. 2012 มาริโอกลับมาในเกมนิวซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 2 ซึ่งเขาเก็บเหรียญได้ 1 ล้านเหรียญที่กระจายอยู่ทั่วอาณาจักรเห็ดเพื่อช่วยเหลือเจ้าหญิงพีชจากการควบคุมของบาวเซอร์และคูปาลิงส์ มาริโอกลับมาอีกครั้งเพื่อเอาชนะบาวเซอร์และลูกสมุนในเกมนิวซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส ยู", "title": "มาริโอ (ตัวละคร)" }, { "docid": "97879#20", "text": "ตั้งแต่เกมแรก มาริโอมีบทบาทในการช่วยเหลือสาวเอ๊าะเดือดร้อน[46] เดิมทีนั้น เขาจะต้องช่วยชีวิตแฟนสาวชื่อ พอลีน ในเกมดองกีคองก์ จากตัวดองกีคองก์[53] ต่อมาพอลีนถูกแทนที่เป็นสาวเอ๊าะเดือดร้อนคนใหม่ในนาม เจ้าหญิงพีช ในเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส[2] แต่พอลีนกลับมาในเกมดองกีคองก์เวอร์ชันรีเมกบนเครื่องเกมบอย ในปี ค.ศ. 1994 และในเกมมาริโอ vs. ดองกีคองก์ 2: มาร์ชออฟเดอะมินิส ในปี ค.ศ. 2006 ซึ่งเกมบรรยายว่าเป็น \"เพื่อนของมาริโอ\"[54] มาริโอได้ช่วยชีวิตเจ้าหญิงพีชหลายครั้งนับตั้งแต่เกม \"ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส\"[46] ในเกม ซูเปอร์ปริ้นเซสพีช มีการสลับบทบาทกันให้เจ้าหญิงพีชเป็นคนช่วยชีวิตมาริโอแทน[55] มาริโอได้ช่วยชีวิตเจ้าหญิงเดซีแห่งดินแดนซาราซาราแลนด์ในเกมซูเปอร์มาริโอแลนด์[56] แต่ดูเหมือนว่าลุยจิจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเธอมากกว่า ในเกมซูเปอร์สแมชบราเธอร์ส เมเล มีข้อความอธิบายเกี่ยวกับของที่ระลึกของเดซีกล่าวว่า \"หลังจากที่เธอปรากฏตัวในเกมมาริโอกอล์ฟ มีการซุบซิบว่าเธอคือคำตอบของลุยจิถึงเจ้าหญิงพีชของมาริโอ\"[57]", "title": "มาริโอ (ตัวละคร)" }, { "docid": "97879#9", "text": "มาริโอเปิดตัวในรูปแบบ 3 มิติในเกมซูเปอร์มาริโอ 64 [22] เจ้าหญิงพีชส่งจดหมายชวนมาริโอให้ไปร่วมกินเค้กที่ปราสาทของเธอ[23] อย่างไรก็ตามเมื่อเขาไปถึง มาริโอพบว่าบาวเซอร์ได้บุกรุกปราสาทและกักขังตัวเจ้าหญิงและบริวารของเธอไว้ด้วยพาวเวอร์สตาร์ 120 ดวง ภาพวาดในปราสาทจำนวนมากเป็นประตูหลายมิติที่จะนำไปสู่แดนอื่นๆ ที่ลูกสมุนของบาวเซอร์คอยป้องกันดวงดาวไว้ มาริโอสำรวจประสาทและแดนอื่น ๆ เพื่อเก็บดวงดาวคืนมา เขาเข้าไปในประตูหลายมิติหลายบานเพื่อให้ได้ดาวหลายดวง[24] และฝ่าฟันอุปสรรค 3 ด่าน นำเขาไปสู่การต่อสู้กับบาวเซอร์ การเอาชนะบาวเซอร์ 2 ครั้งแรกจะทำให้ได้รับกุญเจไขชั้นใหม่ของปราสาท[25] ขณะที่ในการต่อสู้ครั้งสุดท้ายจะปล่อยตัวพีช ซึ่งต่อมาได้อบเค้กให้รางวัลแก่มาริโออย่างที่เธอได้สัญญากับเขาไว้[25][26]", "title": "มาริโอ (ตัวละคร)" } ]
778
พุทธศาสนา กำเนิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศใด ?
[ { "docid": "78585#0", "text": "พระพุทธศาสนา</b>เข้ามาสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เมื่อประมาณ พ.ศ. 236 สมัยเดียวกันกับประเทศศรีลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ 9 สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ทั้ง 7 ประเทศในปัจจุบัน ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นพระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ตามยุคสมัยต่อไปนี้", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย" } ]
[ { "docid": "77973#44", "text": "พุทธศาสนานิกายวัชรยาน หรือ พุทธศาสนาลัทธิตันตระ กำเนิดขึ้นครั้งแรกทางตะวันออกของอินเดีย เมื่อราว พ.ศ. 700 - 1200[24] บางครั้งจัดเป็นส่วนหนึ่งของมหายานแต่บางครั้งก็แยกตัวเองออกมาต่างหาก หลักปรัชญาของวัชรยานเป็นแบบเดียวกับมหายาน แต่มีวิธีการหรือ \"อุปาย\" ต่างไป โดยมีการใช้ญาณทัศน์และโยคะอื่น ๆ เข้ามา การฝึกเหล่านี้ได้อิทธิพลจากลัทธิตันตระของศาสนาฮินดู วัชรยานในทิเบต ก่อตั้งโดยท่านปัทมสัมภวะ", "title": "ประวัติศาสนาพุทธ" }, { "docid": "57347#13", "text": "ท่านแจ้งว่าในโอกาสการบรรยายครั้งเดียวเป็นพิเศษ จึงเห็นสมควรกล่าวถึง ใจความสำคัญทั้งหมดของพระพุทธศาสนา โดยหวังว่าเมื่อผู้ฟัง ท่านใดจับใจความสำคัญได้แล้ว ก็จะสะดวกในการศึกษาออกไปได้อย่างกว้างขวาง แต่ถ้าท่านใด จับใจความสำคัญไม่ได้ ก็จะสับสน รู้สึกว่าพระพุทธศาสนาช่างมีเรื่องมากมายเกินกว่าที่จะจำได้ เข้าใจ หรือนำไปปฏิบัติ ท่านขยายความว่า ความรู้ทางพุทธศาสนาที่ไม่ใช่หลักขั้นมูลฐาน มีอยู่ไม่น้อย และจะพาให้ค่อยๆเขวไปทีละน้อยจน กลายเป็นพุทธศาสนาใหม่ หรือกลายเป็นพุทธศาสนาเนื้องอก ที่งอกออกไปเรื่อยๆ เช่น เรื่องประวัติศาสตร์พุทธศาสนา พิธีรีตองต่างๆ เป็นต้น จากนั้นท่านได้กล่าวถึงความหมายของหลักพุทธศาสนาขั้นมูลฐาน ว่า ประกอบด้วยสองสิ่ง คือ จุดมุ่งหมายและความมีเหตุผลอยู่ในตัวเอง\nคำที่ใช้เกี่ยวกับโรคภัยไขัเจ็บ เนื่องจากเป็นการบรรยายในโรงพยาบาล ท่านพุทธทาสฯ จึงนึกถึงชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้ามาแต่โบราณ คือ แพทย์ในทางฝ่ายวิญญาณ เพราะ ในสมัยพุทธกาล แยกโรคภัยไข้เจ็บเป็น 2 ประเภทเท่านั้น คือ โรคทางกายกับ โรคทางจิต", "title": "แก่นพุทธศาสน์" }, { "docid": "79071#4", "text": "ด้วยความที่ฟิลิปปินส์เคยเป็นอาณานิคมและเป็นเกาะ จึงมีผู้อพยพและเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ ดังนั้นลักษณะพระพุทธศาสนาในประเทศฟิลิปปินส์ จึงจำแนกได้เป็น วัดและคณะสงฆ์ภายในฟิลิปปินส์ มีความเป็นเอกภาพเชิงกลุ่ม ที่ไม่ได้มีส่วนเกาะเกี่ยวกัน แต่อย่างใด เป็นความสัมพันธ์กับแบบหลวม ๆ ในกลุ่มสายมหายานที่มาจากประเทศจีน ส่วนในกลุ่มอื่น ๆ เช่น จากไต้หวัน กลุ่มฉือจี้ ก็มีเป้าหมายในการบริการสาธารณะ ด้านสาธารสุข และสวัสดิภาพชุมชน ผ่านกิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ โดยไม่เน้นชาติ และภาษา และศาสนา ในปัจจุบันมีศูนย์ของฉือจี้ อยู่หลายแห่ง เช่น เมือง Zomboanga เป็นต้นEMail: [email protected] Director: Ven. Samten Phuntsok Rinpoche Teacher: His Holiness Kyabje Pema Norbu", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศฟิลิปปินส์" }, { "docid": "765205#2", "text": "ยุคมหานคร เป็นยุคที่ นครวัต นครธม ที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเลสาบ และอยู่ทางเหนือของเมืองเสียมราฐ เป็นเมืองหลวงของกัมพูชา เป็นยุคที่อารยธรรมของขอมเจริญรุ่งเรืองมาก มีศิลปะและสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ทางด้านศาสนา ปรากฏ ว่าพุทธ-ศาสนาฝ่ายมหายานเจริญรุ่งเรืองพร้อมกับศาสนาพราหมณ์ ส่วนพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทคงเป็นที่นับถืออยู่ในหมู่ประชาชนทั่วไป ส่วนทางชั้นสูง หรือในราชสำนักนับถือพุทธศาสนาแบบมหายาน และถือลัทธิพราหมณ์ ในยุคนี้ได้มีธรรมเนียมถือศาสนาคนละอย่างระหว่างพระราชา กับ ปุโรหิต ถ้าพระราชาเป็นพุทธ ปุโรหิตเป็นพราหมณ์ หรือถ้าพระราชาถือพราหมณ์ ปุโรหิตถือพุทธ ถือเป็นประเพณีที่ยึดถือต่อกันมาหลายร้อยปี\nในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เริ่มแต่ปี พ.ศ. 1724 ทรงมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์เขมร ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาจนเจริญรุ่งเรืองที่สุด ทรงย้ายราชธานีไปที่ใดก็จะสร้างวัดวาอารามด้วย พระองค์ทรงเอาใจใส่ในกิจการพระพุทธศาสนามาก ทรงสร้างปราสาท และพระพุทธรูปจำนวนมากมาย ทรงสถาปนาปราสาทตาพรม เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ มีพระมหาเถระเป็นศาตราจารย์ใหญ่อยู่ถึง 18 องค์ และอาจารย์รองลงมาถึง 2,740 องค์ เป็นผู้สอน พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ยังทรงให้ราชกุมารไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา แล้วทรงผนวชที่วัดมหาวิหารในปลายยุคมหานคร ศาสนาพราหมณ์ และมหายานเสื่อมถอยลง คงเหลือแต่เถรวาทที่เจริญรุ่งเรือง และได้รับการนับถือจากคนทุกระดับ ตั้งแต่กษัตริย์ลงไป.\nยุคหลังพระนครถือว่าเป็นยุคมืดของกัมพูชาด้วยเหตุผล ของความอ่อนแอทางการเมือง ภายในทำให้กัมพูชาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของไทย รัฐทางทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และเวียดนาม และทำให้กัมพูชาต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์ทางการเมือง ในยุคหลังพระนครนี้ พุทธศาสนาแบบมหายานและศาสนาพราหมณ์ได้เสื่อมถอยลงไป คงเหลือแต่พุทธศาสนาเถรวาท และกษัตริย์ในยุคนี้จึงได้นับถือพระพุทธศาสนาเรื่อยมา กษัตริย์กัมพูชาได้ละทิ้งราชธานีมหานคร ไปสร้างราชธานีใหม่ที่เมือง สรีสันธอร์ ต่อมา พ.ศ. 1975 ได้ย้ายไปสร้างราชธานีใหม่ที่พนมเปญ จนถึงในปัจจุบัน ตั้งแต่การสร้างราชธานีใหม่ เป็นต้นมา เป็นเวลา 400 ปี ประเทศกัมพูชาตกอยู่ในภาวะวิกฤต ทางสังคมอย่างรุนแรง ประชาชนทุกข์ยากมาก บ้านเมืองยับเยิน พระศาสนาเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากเกิดเรื่องภายใน มีการแย่งชิงราชสมบัติกัน ผู้คนล้มตายกันมากนครวัต นครธม ถูกปล่อยรกร้างอยู่ในป่า จนมี ชาวฝรั่งเศสไปพบเข้า ในปี พ.ศ. 2404 จึงได้ทำนุบำรุงรักษาอนุรักษ์ไว้ปี พ.ศ. 2384 พระเจ้าหริรักษ์รามาธิบดี ทรงเสวยราชย์ในกรุงอุดรเมียรชัย พระพุทธศาสนา กลับเจริญรุ่งเรืองอีก มีพระสงฆ์ชาวกัมพูชา เดินทางมาศึกษายัง กรุงเทพฯ กลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเขมร พระมหาวิมลธรรม (ทอง) ได้จัดการศึกษาของสงฆ์ไทยตั้ง “ศาลาบาลีชั้นสูง” ในกรุงพนมเปญ ได้แก่พุทธิกวิทยาลัยในปัจจุบัน จากนั้นเขมรก็ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเกือบ 100 ปี การศาสนาก็ไม่เจริญรุ่งเรือง ในปี พ.ศ. 2497 จึงได้เอกราชคืนมา และเรียกชื่อประเทศว่าอาณาจักรกัมพูชาพ.ศ. 2498 ", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชา" }, { "docid": "1924#58", "text": "มิได้ระบุศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ และให้สิทธิเสรีภาพต่อพลเมืองเท่าเทียมกัน อุปถัมภ์ค้ำจุนทุกศาสนา และประกาศให้วันสำสัญทางศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์เป็นวันหยุดราชการ โดยมีกำหนดในปฏิทินอย่างชัดเจน", "title": "ประเทศมาเลเซีย" }, { "docid": "60547#1", "text": "ณัฐพล อยู่รุ่งเรืองศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เขียนไว้ในหนังสือ ประวัติศาสตร์ผ่านพระเครื่องไว้ว่า พระเครื่องมีความเป็นมาและวิวัฒนาการอันยาวนาน ก่อนจะมาเป็นพระเครื่องนั้นได้เกิดพระพิมพ์ขึ้นมาก่อน เมื่อบริบททางสังคมเปลี่ยนไป คติการสร้างพระพิมพ์ก็เปลี่ยนแปลงไปและเลือนหายไปในที่สุด พระพิมพ์บางส่วนกลายมาเป็นพระเครื่อง พระพิมพ์เป็นของเก่าแก่ที่ได้มีผู้ทำขึ้นตั้งแต่ตอนต้นพุทธศาสนา มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินเดีย การแผ่ขยายอิทธิพลทางพุทธศาสนาไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ทำให้พระพิมพ์ซึ่งเป็นประติมากรรมเนื่องในคติทางพุทธศาสนาได้แผ่กระจายไปยังดินแดนต่าง ๆ พร้อมกับคำสอน ความเชื่อทางพุทธศาสนา พระธาตุและพระบรมสารีริกธาตุ รวมถึงวัตถุเนื่องในพุทธศาสนาด้วย", "title": "พระเครื่อง" }, { "docid": "8184#16", "text": "Template:CJKV) ในภาษาจีนกลาง จึงกลายเป็นที่มาของชื่อ วัดเส้าหลิน ในยุคสมัยบุกเบิกยังไม่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง ภายหลังจากสร้างขึ้นมาได้ประมาณ 32 ปี ในปี พ.ศ. 1070 พระโพธิธรรมเถระหรือตั๊กม้อ (สำเนียงแต้จิ๋ว หรือ ต๋าหมอในสำเนียงจีนกลาง คำเรียกในภาษาจีนทั้งสองสำเนียงมาจากคำว่า (โพธิ)\"ธรรมะ\" ในภาษาสันสกฤต )พระภิกษุจากประเทศอินเดีย ได้เดินทางเข้ามาเผยแผ่พุทธศาสนานิกายเซนที่วัดเส้าหลินเป็นครั้งแรก[14] อีกทั้งแลเห็นว่าวัดเส้าหลินอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ มีความสงบร่มรื่น เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรปฏิบัติธรรมจนบรรลุธรรมตามนัยของพุทธศาสนานิกายเซน (เซน เป็นสำเนียงญี่ปุ่น ตรงกับคำว่า ฉาน ในสำเนียงจีนกลาง หรือ เซี้ยง ในสำเนียงแต้จิ๋ว รากศัพท์มาจากคำว่า ธยานะ ในภาษาสันสกฤต หรือ ฌาน ในภาษาบาลีนั่นเอง) ปรมาจารย์ตั๊กม้อจึงเข้าพำนักและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์แรก ทำให้ชื่อเสียงของวัดเส้าหลิน อยู่ในฐานะเป็นต้นกำเนิดของศาสนาพุทธนิกายเซนในประเทศจีน กลายเป็นที่รู้จักมากขึ้น[15]", "title": "วัดเส้าหลิน" }, { "docid": "932112#2", "text": "กระทั่ง สภาวะทางการเมืองเริ่มสงบลง รัฐบาลลดการจำกัดสิทธิการนับถือศาสนาลงไปบ้าง ชาวพุทธจึงพยายามฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นมาใหม่ จนมีอยู่หลากหลายนิกายในปัจจุบัน แต่ไม่ว่าจะเป็น พุทธบุตรหรือศาสนิก ของนิกายใด ศาสนาใด ต่างก็อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นกับบ้านเกิดเมืองนอนของตน และด้วยความรักที่มีให้กันและกันอย่างแท้จริง", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศเวียดนาม" }, { "docid": "981709#0", "text": "นวยาน (เทวนาครี: नवयान, ) แปลว่า \"ยาน (พาหนะ) ใหม่\" เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาพุทธในประเทศอินเดีย ที่เกิดขึ้นจากการตีความศาสนาขึ้นใหม่ของภีมราว รามชี อามเพฑกร () ผู้มีชาติกำเนิดมาจากชนชั้นทลิต (, \"มิควรข้องแวะ\") ในยุคที่อินเดียตกเป็นอาณานิคม เขาได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ กระทั่งในปี พ.ศ. 2478 เขามีความประสงค์เปลี่ยนศาสนาจากฮินดูไปนับถือศาสนาพุทธ อามเพฑกรได้ศึกษาคติและหลักธรรมคำสอนทางศาสนาเช่นจตุราริยสัจและอนัตตา ซึ่งเขาปฏิเสธความเชื่อเรื่องดังกล่าว แต่ได้นำคำสอนทางศาสนาไปตีความใหม่เรียกว่า นวยาน หรือ \"ยานใหม่\" แห่งพุทธศาสนา บางแห่งก็เรียกนิกายนี้ว่า ภีมยาน () ตามชื่อต้นของอามเพฑกรคือ \"ภีมราว\" ต่อมาเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2499 อามเพฑกรได้ประกาศละจากนิกายหีนยานและมหายาน รวมทั้งศาสนาฮินดู ทว่าเขาก็เสียชีวิตลงหลังการเปลี่ยนศาสนาจากฮินดูไปนับถือนวยานได้เพียงหกสัปดาห์", "title": "นวยาน" }, { "docid": "78831#1", "text": "พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศอินโดนีเซียในพุทธศตวรรษที่ 3 คราวที่พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งพระโสณะ และพระอุตตระเดินทางมาเผยแผ่พุทธธรรม{[บริเวณใด]} ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 12 ได้เกิดรัฐมหาอำนาจทางทะเลชื่อว่า อาณาจักรศรีวิชัย (Srivijaya) ซึ่งมีอิทธิพลตั้งแต่อินโดนีเซีย จนถึงคาบสมุทรมลายู รวมไปถึงทางใต้ของประเทศไทย อาณาจักรศรีวิชัยนี้ ศาสนิกชนส่วนใหญ่จะเป็นนิกายมหายาน และแพร่หลายมาก และได้พบหลักฐานทางโบราณคดีมากมาย ได้แก่ พระพิมพ์ดินดิบ และพระโพธิสัตว์ เป็นต้น.", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศอินโดนีเซีย" }, { "docid": "188033#0", "text": "นิกายสุขาวดี (; , \"Jōdokyō\"; , \"jeongtojong\"; ) เป็นนิกายในศาสนาพุทธที่ตั้งขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน แม้จะมีกำเนิดมาจากพระสูตรที่มาจากประเทศอินเดีย แต่ในอินเดียไม่ได้เป็นนิกายเอกเทศ นิกายนี้พระฮุ่นเจียงตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 9 สมัยราชวงศ์ตั้งจิ้น คำสอนของท่านเน้นการเจริญพุทธสติถึงพระอมิตาภพุทธะและปรารถนาไปเกิดในแดนสุขาวดี ในจีนเรียกนิกายนี้ว่า นิกายวิสุทธิภูมิ (จิ้งถู่จง)", "title": "สุขาวดี (นิกาย)" }, { "docid": "20838#91", "text": "ความจากหนังสือตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ดังกล่าวมานี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายเกี่ยวกับเค้าโครงของหนังสือนี้ว่ามีเค้าโครงมาจากสมัยสุโขทัยจริง แต่รายละเอียดบางส่วนอาจจะมีการแต่งเสริมกันขึ้นมาในสมัยอยุธยาหรือรัตนโกสินทร์[51] อย่างไรก็ดี จากหลักฐานดังกล่าว (แม้จะไม่แน่ชัด) การพิธีวิสาขบูชา ย่อมเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย เพราะในสมัยนั้นกรุงสุโขทัยได้สืบพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาจากลังกาประเทศ ซึ่งเป็นเมืองที่มั่นทางพระพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และขนาดของการจัดพิธีบูชาเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาของชาวศรีลังกานั้น นับเป็นพิธีใหญ่และสำคัญมากของอาณาจักรมาตั้งแต่แรกรับพระพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการจัดพิธีเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาของประเทศศรีลังกานั้นมีความสำคัญและส่งอิทธิพลต่อประเทศพุทธศาสนาอื่นเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาณาจักรสุโขทัยที่รับสืบพระพุทธศาสนามาจากประเทศศรีลังกาโดยตรง และหลังการเสื่อมอำนาจของอาณาจักรสุโขทัย จนถึงในสมัยอยุธยาก็สันนิษฐานว่าคงมีการปฏิบัติพิธีวิสาขบูชาอยู่ แต่ลดความสำคัญลงไปมาก จนไม่ปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารหรือจารึกใด จนมาในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พิธีวิสาขบูชาจึงได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง หลังจากความเสื่อมของพระพุทธศาสนาหลังยุคสุโขทัยล่มสลาย เพราะหลังจากสิ้นยุคอาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรอยุธยาได้ถูกครอบงำด้วยแนวคิดทางคติพราหมณ์ซึ่งได้รับจากการซึมซับวัฒนธรรมฮินดูแบบขอม (นครวัด)[52] จนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระองค์ได้มีพระราชประสงค์ให้ทำการฟื้นฟูการประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้น พระองค์ได้ทรงปรึกษากับ สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) ให้วางแนวปฏิบัติการพระราชพิธีวิสาขบูชา และพระราชพิธีวันวิสาขบูชาครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ได้จัดขึ้นเป็นการพระราชพิธีใหญ่ 3 วัน 3 คืน นับตั้งแต่วันศุกร์ ขึ้น 14 ค่ำ ถึง วันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 ปีฉลู นพศก จุลศักราช 1179 ( พ.ศ. 2360) ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงเพิ่มจัดให้มีการเทศน์ปฐมสมโพธิกถา (พระพุทธประวัติ) ในวันวิสาขบูชาด้วย ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการตั้งโต๊ะเครื่องบูชารอบระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ปรากฏหลักฐานว่าได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจุดดอกไม้เพลิงถวายเป็นพุทธบูชา และให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการฝ่ายใน และหน่วยราชการต่าง ๆ เดินเวียนเทียน จัดโคมประทีป และสวดมนต์ที่พระพุทธรัตนสถาน วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และมีการจัดพิธีวิสาขบูชาสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน", "title": "วันวิสาขบูชา" }, { "docid": "362516#1", "text": "นับแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา ฝ่ายอาณาจักรมีความสัมพันธ์กับฝ่ายศาสนจักรอย่างแน่นแฟ้น พระมหากษัตริย์ไทยและพระราชนิกุลทรงเป็นพุทธมามกะและหลายพระองค์ทรวงผนวชเป็นภิกษุ จึงมีการอุดหนุนค้ำจุนกันระหว่างสถาบันทั้งสองเรื่อยมา ในปัจจุบันกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่กำกับดูแลและรับรองกลุ่มศาสนาซึ่งรับรองเพียงห้าศาสนาหลักเท่านั้น และไม่รับรองกลุ่มศาสนาใดเพิ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา กลุ่มศาสนาที่ได้รับการรับรองมีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนและสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษี ส่วนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ดูแลพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ทั้งสองหน่วยงานรับงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อใช้ในกิจการทางศาสนารวมกันกว่าสี่พันล้านบาทต่อปี", "title": "ศาสนาในประเทศไทย" }, { "docid": "82773#13", "text": "ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ประชาชนดำเนินชีวิตด้วยความเร่งรีบเพราะมีการแข่งขันกันมาก ทำให้มีความเครียดและมีปัญหาด้านสุขภาพจิต เป็นโรคประสาท โรคจิต และสถิติการฆ่าตัวตายสูงมาก สิ่งที่จะช่วยบรรเทาความเครียดได้ ก็คือการปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เนื่องจากญี่ปุ่นชอบความเร็วให้ได้ผลทันใจ พระพุทธศาสนานิกายเซนจึงเป็นที่นิยม และมีการสร้างนิกายใหม่ ๆ หรือลัทธิใหม่ ๆ ที่ปฏิบัติได้ผลรวดเร็วอีกมาก คนญี่ปุ่นส่วนหนึ่งไม่นับถือศาสนาใดเลย แต่ยึดถือลัทธิการเมืองตามความชอบใจของตน", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น" }, { "docid": "245552#5", "text": "หลังจากที่จัดหาพื้นที่สำหรับการเตรียมการสร้างวัดได้สำเร็จแล้ว ในปีเดียวกันนั้นเอง (พ.ศ. 2543 / ค.ศ. 2000) พระมหาเกรียงไกร ธีรรํสิโก ป.ธ.9 ได้นิมนต์เหล่าคณะพระธรรมทูต สายธรรมยุต ผู้มีความตั้งใจและมีปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะ “จาริกไป เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนหมู่มากและเพื่อเกื้อกูล แก่ชาวโลก” ให้เดินทางมายังฝรั่งเศส เพื่อร่วมเป็นกำลังสำคัญ ร่วมกับคณะศรัทธาชาวพุทธทั้งในสาธารณรัฐฝรั่งเศส และภาคพื้นยุโรปซึ่งต่างมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาปรับปรุง เสนาสนะและจัดตั้ง “วัดธรรมปทีป” ขึ้นจนเป็นผลสำเร็จ โดยยึดหลักการและแนวคิดของการทำงานเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่คำนึงถึงประเทศใด ชาติใด ภาษาใด แต่คำนึงถึงประโยชน์ สุขของชาวพุทธและชาวโลกเป็นสำคัญ", "title": "วัดธรรมปทีป (ประเทศฝรั่งเศส)" }, { "docid": "28430#2", "text": "หลวงปู่สมชายได้ถือกำเนิดในสกุลของศาสนาพราหมณ์ วันที่หลวงปู่สมชาย กำเนิดนั้น เป็นวันตรงกับเวลาประกอบพิธีทางศาสนา พอเริ่มขบวนแห่ มารดาของท่านให้กำเนิดท่าน ซึ่งทำให้พิธีการทางศาสนาที่กำลังกระทำอยู่ ต้องหยุดชะงักลงด้วยนิมิตหมายอันนี้ คุณตาหรือคุณหลวงเสนาจึงได้ทำนาย ไว้ว่า \"หลวงปู่สมชาย จะเป็นผู้เปลี่ยนแปลงศาสนาเดิมของตระกูล\" และก็เป็นไปตามนั้น เพราะท่านมีความสนใจในธรรมะทางพระพุทธศาสนาท่าน ชอบอ่านหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนามาก โดยท่านมีอุปนิสัยในทางธรรมตั้งแต่อายุ 16 ปี ท่านได้ใช้ชีวิตอยู่ในทางฆราวาส จนถึงอายุ 19 ปี ด้วยความ เบื่อหน่ายต่อความเป็นอยู่ของโลก ที่เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย และ เต็มไปด้วยความทุกข์ไม่เที่ยง ท่านจึงคิดที่จะสละเพศฆราวาสออกบวชใน บวรพุทธศาสนาเพื่อแสวงหาความพ้นทุกข์", "title": "พระวิสุทธิญาณเถร (สมชาย ฐิตวิริโย)" }, { "docid": "43069#1", "text": "ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถือให้เป็นลัทธิความเชื่อพื้นเมืองประจำประเทศญี่ปุ่น พิธีกรรมของลัทธิชินโตนี้มาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นพิธีกรรมอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งศาสนาพุทธ และ ลัทธิขงจื๊อ กับ ลัทธิเต๋า รวมทั้งภายหลัง ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ได้เริ่มให้เข้ามาในดินแดนญี่ปุ่น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 พิธีกรรมของลัทธิชินโตได้ถูกบันทึกและบัญญัติเป็นครั้งแรกในคัมภีร์โคะจิคิ () และจดหมายเหตุนิฮงโชะกิ () ในศตวรรษที่ 8 เพื่อตอบโต้ศาสนาที่มีระดับความพัฒนามากกว่าจากแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม งานเขียนในยุคแรกๆก็ยังมิได้บ่งบอกว่าเป็น ลัทธิชินโต แต่งานเขียนในสมัยต่อมาก็ได้บ่งชี้อย่างชัดเจน พร้อมขนบธรรมเนียบของสังคมเกษตรกรรมและเทศกาลประจำปีเข้าไปด้วย รวมไปถึงความเชื่อเรื่องเทพปกรณัมและการกำเนิดโลกต่าง ๆ ซึ่งเล่าถึงต้นกำเนิดของชนชาติญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะหมายถึงเชื้อสายยะมะโตะ () และอิสึโมะ () ในสมัยนั้น พุทธศาสนาได้แพร่จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่น และมีผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม อย่างเช่น ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในลัทธิชินโตและความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น", "title": "ชินโต" }, { "docid": "2274#53", "text": "ออสเตรเลียไม่มีศาสนาแห่งรัฐ; มาตรา 116 ของรัฐธรรมนูญของออสเตรเลีย ห้ามไม่ให้รัฐบาลกลางออกกฎหมายใด ๆ ที่จะสร้างศาสนาใด ๆ, กำหนดพิธีทางศาสนาใด ๆ, หรือห้ามกิจกรรมอิสระ ของศาสนาใด ๆ.[185] ในการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2011, 61.1% ของชาวออสเตรเลียถูกนับเป็นคริสเตียน, รวมทั้ง 25.3% เป็นโรมันคาทอลิก และ 17.1% เป็นแองกลิกัน; 22.3% ของประชากรมีการรายงานว่า \"ไม่มีศาสนา\"; 7.2% ระบุศาสนาที่ไม่ใช่คริสเตียน, ที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มเหล่านี้ เป็นอิสลาม (2.6%) ตามด้วย พุทธ (2.5%), ศาสนาฮินดู (1.3%) และ ยูดาย (0.5%) ส่วนที่เหลืออีก 9.4 % ของประชากรไม่ได้ให้คำตอบที่เพียงพอ.[157]", "title": "ประเทศออสเตรเลีย" }, { "docid": "936#88", "text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไม่ระบุศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติ รัฐธรรมนูญรับรองเสรีภาพในการนับถือศาสนาของพลเมืองไทยทุกคน แต่กำหนดให้พระมหากษัตริย์ต้องนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท กฎหมายห้ามกล่าวหมิ่นประมาทศาสนาพุทธรวมถึงพระสงฆ์ และคุ้มครองศาสนสถานและศาสนพิธีของศาสนาอื่น[149] ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติว่า \"รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท [...] และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด\" ในช่วงปีหลังมีการเรียกร้องให้บัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย", "title": "ประเทศไทย" }, { "docid": "20836#3", "text": "วันพระในปัจจุบัน คงเหลือธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แต่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว และเขมร (ในอดีตประเทศเหล่านี้ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการ) โดยพุทธศาสนิกชนเถรวาทนับถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญที่จะถือโอกาสไปวัดเพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปมากกว่าในวันอื่น", "title": "วันพระ" }, { "docid": "190064#13", "text": "เมื่อวันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม 2559 พระวิศวภัทร ได้ทำความร่วมมือด้านการศึกษาแลกเปลี่ยนทางพระพุทธศาสนามหายาน กับพระธรรมาจารย์หมิงเซิงมหาเถระ (明生大和尚) รองประธานสำนักพุทธศาสนาแห่งประเทศจีน ประธานสำนักพุทธศาสนา มณฑลกวางตุ้ง เจ้าอาวาสวัดกวงเซี้ยว (光孝寺) เมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน โดยพระธรรมาจารย์หมิงเซิง ได้ตั้งชื่อสำนักและเขียนอักษรพู่กันจีนให้แก่มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัยว่า"大乘禪寺" แปลว่า อารามมหายาน เพื่อแกะสลักเหนือซุ้มประตู พร้อมกันนี้ได้มอบพระไตรปิฎก (ภาษาจีน) ประกอบด้วย 永樂北藏,大正藏,乾隆大藏經,卍續藏經,浄土藏 รวม 5 ชุด 129 กล่อง 1,448 เล่ม เพื่อไว้เป็นที่ศึกษา ค้นคว้า ในหอพระไตรฯ มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย และ ได้มอบ รูปหล่อพระสังฆนายกฮุ่ยเหนิงมหาเถระ (หรือ ท่านเว่ยหล่าง:六祖惠能) เนื้อทองเหลือง สูง 1.98 เมตร จากวัดกวงเซี้ยว เมืองกว่างโจ่ว ที่จัดสร้างขึ้นเพียง 3 องค์ (วัดแห่งนี้เป็นวัดที่ท่านฮุ่ยเหนิง ได้ปลงผมใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ และได้นำเกศาบรรจุไว้ในสถูป 7 ชั้น ซึ่งปัจจุบันต้นโพธิ์ใหญ่และพระสถูปยังคงอยู่ และยังเป็นสถานที่พระอาจารย์โพธิธรรม หรือพระตั๊กม้อ ได้เคยพักอาศัยเมื่อ 2 พันกว่าปีก่อน โดยรูปปฏิมานี้ ได้ปั้นและหล่อโดยช่างฝีมือ ชื่อ พ่านเคอ เป็น 1 ใน 4 ช่างปั้นที่มีชื่อเสียงที่สุดของจีน โดยได้อัญเชิญกลับสู่ประเทศไทย เพื่อเปิดให้สาธุชนได้เข้ากราบสักการะ ภายในหอบูรพาจารย์ มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย เมื่อวันอังคารที่ 9 สิงหาคม 2559 ถือเป็นนิมิตหมายมงคล แห่งการเผยแผ่พระพุทธธรรมมหายาน สายฌาน (เซ็น) และบารมีธรรมแห่งพระบูรพาจารย์ จากต้นกำเนิดสู่ประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ พระธรรมาจารย์ฉางจั้งมหาเถระ (常藏大和尚) รองประธานสำนักพระพุทธศาสนาแห่งนครปักกิ่ง เจ้าอาวาสวัดหลิงกวง (วัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว) นครปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มอบสำเนาหนังสือพระไตรปิฎกทองคำ (趙城金藏)อายุกว่า 1,000 ปี จำนวน 150 เล่ม มาแล้ว ", "title": "หลวงจีนวิศวภัทร มณีปัทมเกตุ" }, { "docid": "741683#2", "text": "มีครั้งหนึ่ง องค์รัชทายาทสิ้นพระชนม์ในสนามรบ ฮองเฮาทรงมีพระธิดาสามพระองค์ พระธิดาองค์โตพระนามว่าองค์หญิงเมี่ยวซิน มีอุปนิสัยอิจฉาริษยา พระธิดาองค์รองพระนามว่าองค์หญิงเมี่ยวหยวน มีอุปนิสัยอ่อนแอ หวาดกลัว พระธิดาองค์ที่สามพระนามว่าองค์หญิงเมี่ยวซ่าน มีสติปัญญาเฉลียว ฉลาด ปราชญ์เปรื่องไหว รักบ้านเมืองและพสกนิกร องค์หญิงเมี่ยวซ่านเป็นที่คาดหวังว่าจะได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากเมี่ยวจวงอ๋อง แต่องค์หญิงเมี่ยวซ่าน เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา ไม่อยากแสวงหาลาภยศอำนาจแต่อย่างใด และด้วยการที่องค์หญิงเมี่ยวซ่านทรงเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนานี้เองทำให้ ผิดใจกับเมี่ยวจวงอ๋อง และองค์หญิงเมี่ยวซ่านทรงตัดสินพระทัยออกจากวังหลวง มุ่งหน้าสู่โลกพระธรรม แสวงหาการหลุดพ้น", "title": "กำเนิดเจ้าแม่กวนอิม (ละครโทรทัศน์)" }, { "docid": "2043#26", "text": "เนื่องจากประเทศอินเดียเป็นแหล่งกำเนิดพระศาสนาที่มีความสำคัญในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ศาสนาพราหมณ์ และ พระพุทธศาสนา ชาวอินเดียจึงถือว่าครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมที่มีความสำคัญที่สุด ระบบครอบครัวของอินเดียเป็นระบบครอบครัวร่วม หรือครอบครัวขนาดใหญ่ สมาชิกในครอบครัวประกอบด้วย ปู่ ย่า พ่อ แม่ ลูก หลาน และ เหลน อยู่ร่วมกันภายในครอบครัวเดียว ผู้อาวุโสที่สุดของฝ่ายชายจะเป็นหัวหน้าครอบครัว แม้สังคมของอินเดียยังคงมีความนับถือเรื่องวรรณะอยู่ แต่ก็ปรากฏไม่มากเท่าอดีต การดำเนินชีวิตของชาวอินเดียจะยึดถือศาสนาเป็นสิ่งสำคัญ กว่าร้อยละ 79.8 ของประชากรนับถือศาสนาฮินดู ร้อยละ 14.2 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 2.3 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.7 นับถือ ศาสนาพุทธส่วนมากอยู่ลาดัก หิมาจัล สิกขิม อัสสัม เบงกอลตะวันตก และโอริศา ร้อยละ 1.7 นับถือศาสนาซิกข์ในรัฐปัญจาบ และที่เหลือ ร้อยละ 0.4 ศาสนาเชนในรัฐคุชรัต และอื่น ๆ อีก 0.9 รวมทั้งพวกนักบวชที่นับถือนิกายต่าง ๆ อีกมากมาย มีประมาณ 400 ศาสนาทั่วอินเดีย", "title": "ประเทศอินเดีย" }, { "docid": "78585#12", "text": "พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ได้เข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทย ถึง 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และครั้งที่ 2 ในสมัยพระยาลิไท พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก ศิลปะสมัยสุโขทัยได้รับการกล่าวขานว่างดงามมาก โดยเฉพาะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย มีลักษณะงดงาม ไม่มีศิลปะสมัยใดเหมือน", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย" }, { "docid": "476939#1", "text": "อย่างไรก็ดี ระบบวรรณะมิได้จำเพาะแก่ศาสนาใดศาสนาหนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่ง มีการแบ่งชั้นวรรณะปรากฏอยู่ในสังคมมุสลิม คริสเตียน ฮินดู และพุทธ และปรากฏอยู่ในทั้งสังคมอินเดียและสังคมอื่น", "title": "วรรณะทางสังคม" }, { "docid": "20838#0", "text": "วันวิสาขบูชา ([วิสาขปุณฺณมีปูชา]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help); [Vesak]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help)) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ[1] เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในศาสนาพุทธ 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระโคตมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์ได้เกิด ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่า เป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า \"วิสาขบูชา\" ย่อมาจาก \"วิสาขปุรณมีบูชา\" แปลว่า \"การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ\" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย และมักตรงกับเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนตามปฏิทินจันทรคติของไทย โดยในประเทศไทย ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 แต่ประเทศอื่นที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท และไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม[2] ส่วนในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกายที่นับถือว่า เหตุการณ์ทั้ง 3 นั้นเกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ซึ่งไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท[3]", "title": "วันวิสาขบูชา" }, { "docid": "192850#0", "text": "โยคะ () เป็น กลุ่มของการปฏิบัติหรือการประพฤติทางกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยมีต้นกำเนิดในประเทศอินเดียสมัยโบราณ โยคะมีอยู่ด้วยกันหลานสำหนักซึ่งมีการปฏิบัติและเป้าหมายต่างกันไป ทั้งในศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ และศาสนาเชน ", "title": "โยคะ" }, { "docid": "2519#39", "text": "ในอดีตดินแดนเกาหลีเหนืออบอวลไปด้วยวัฒนธรรมของศาสนาพุทธ และลัทธิขงจื๊อ แม้ภายหลังจะมีการเข้ามาของศาสนาอื่นอย่างศาสนาคริสต์ และลัทธิชอนโดเกียว แต่ทุกศาสนาจะต้องได้รับการอนุญาตก่อน[19] ส่วนใหญ่ประชากรของเกาหลีเหนือจะยินดีที่จะไม่นับถือศาสนาใด ส่วนใหญ่ศาสนาจะถูกให้นิยามอยู่เสมอว่าเป็นอคติต่อสังคม[20] และวัฒนธรรมทางศาสนาดั้งเดิมอย่างศาสนาพุทธ และลัทธิขงจื๊อจึงได้รับผลกระทบจากการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของชาวเกาหลีเหนือ[21][22][23]", "title": "ประเทศเกาหลีเหนือ" }, { "docid": "82773#12", "text": "จากนโยบายเดิมที่มีใช้กันในประเทศโดยรวมทั้งปรับตัวเพื่อความอยู่รอดจนคุ้นชินผู้คนส่วนหนึ่งไม่เห็นแปลกอย่างไร ต่อ ๆ มา นักบวชในศาสนาพุทธในญี่ปุ่นนิกายต่าง ๆ ส่วนใหญ่จึงมีครอบครัวภรรยาและบุตรสืบกันมา อีกเช่นเคยไม่ว่าที่ไหนหมู่คณะใดก็ย่อมมีที่ยกเว้นและต่างไปจากชนเหล่านั้น นักบวชที่เป็นพระระดับเจ้าอาวาสบางรูปและพระสงฆ์นักบวชที่ตั้งใจเคร่งเอาจริงเอาจังเอาพ้นทุกข์ก็ได้ยึดเอาพระธรรมวินัยเป็นหลักที่ตั้งประเภทที่ ยอมตายดีกว่าล้มเลิก จึงได้ทางหลุดรอดจากค่านิยมคำบีบบังคับตนที่ว่าที่เป็นความจำเป็นไปได้และปลีกวิเวกไปปฏิบัติอยู่อย่างสงบ ตำแหน่งพระนักบวชในศาสนาพุทธของทางญี่ปุ่นยังสืบทอดเป็นมรดกแก่บุตรคนโตที่ส่งต่อตำแหน่งกันในครอบครัวได้ด้วย นักบวชในศาสนาพุทธในญี่ปุ่นจัดเป็นอาชีพหนึ่ง เรียกว่า อาชีพพระ", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น" }, { "docid": "17203#6", "text": "แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ของรัฐบาลเบลารุส กล่าวว่า ในประเทศมีประชากร 58.9% ที่นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง (ตรวจสอบเมื่อเดือน พฤศจิกายน ปีค.ศ. 2011) ภายใน 58.9% นั้น โดยมากนับถือศาสนาคริสต์นิกายต่าง ๆ ซึ่งในทั่วทั้งประเทศ มีประชากร 82% ที่นับถือ คริสต์ศาสนาคริสตจักรออร์ทอดอกซ์[1]ส่วนผู้ที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก โดยมากอาศัยอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกของประเทศ บางเขตแดนมีผู้คนนับถือคริสต์ศาสนาคริสตจักรโปรเตสแตนท์ (ซึ่งเป็นคริสตจักรที่กำเนิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเวลาที่เขตแดนเบลารุสได้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสวีเดน) [2] ในประเทศ มีชนกลุ่มน้อยนับถือศาสนาต่าง ๆ อีกด้วย ได้แก่ คริสต์ศาสนาคริสตจักรกรีกคาทอลิก ศาสนายูดาห์ อิสลาม และ ลัทธินอกศาสนาใหม่ (Neopaganism) มีประชากรจำนวนมากที่ได้เปลี่ยนแปลงศาสนาของตนในช่วงเวลาที่ประเทศเบลารุสได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย โดยประชากรโดยมากได้เปลี่ยนจากศาสนาคริสต์แบบกรีกคาทอลิกเป็นคาทอลิกแบบรัสเซีย", "title": "ประเทศเบลารุส" } ]
2592
ประเทศไทยเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตยในสมัยใครเป็นพระมหากษัตริย์?
[ { "docid": "43247#1", "text": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยในหลายด้าน แต่การปฏิรูปรัฐธรรมนูญกลับเป็นไปอย่างเชื่องช้าซึ่งสร้างความไม่พอใจในหมู่พวกหัวก้าวหน้าและเสรีนิยม[2] ในปี พ.ศ. 2454 ได้เกิดกบฏ ร.ศ. 130 ซึ่งดำเนินการโดยคณะนายทหารหนุ่ม เป้าหมายของคณะคือเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองและล้มล้างระบอบเก่าและแทนที่ด้วยระบบรัฐธรรมนูญตะวันตกที่ทันสมัย และอาจต้องการยกพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นเป็นพระมหากษัตริย์แทนด้วย[3] อาจกล่าวได้ว่ากบฏ ร.ศ. 130 เป็นแรงขับดันให้คณะราษฎรปฏิวัติ โดยภายหลังยึดอำนาจแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เชิญผู้นำการกบฏ ร.ศ. 130 ไปพบและกล่าวกับขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ว่า \"ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม\" และหลวงประดิษฐ์มนูธรรมก็ได้กล่าวในโอกาสเดียวกันว่า \"พวกผมถือว่าการปฏิวัติครั้งนี้เป็นการกระทำต่อเนื่องจากการกระทำเมื่อ ร.ศ. 130\"[4] การปฏิวัติดังกล่าวล้มเหลวและผู้ก่อการถูกจำคุก นับแต่นั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลิกความพยายามส่วนใหญ่ในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญและทรงปกครองประเทศต่อไปภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีข้อยกเว้นบ้างที่โปรดฯ แต่งตั้งสามัญชนบางคนสู่สภาองคมนตรีและรัฐบาล[5] ต่อมาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ทรงสืบราชสมบัติสืบต่อจากพระเชษฐาเป็นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระองค์ทรงสืบช่วงปกครองประเทศในวิกฤตการณ์ พระเชษฐาของพระองค์ทรงได้ทำให้สถานะของประเทศเกือบจะล้มละลาย เพราะทรงมักจะใช้เงินจากกองคลังมาปกปิดการขาดดุลของท้องพระคลังข้างที่ และข้อเท็จจริงยังมีว่ารัฐและประชาชนถูกบังคับให้จ่ายเงินแก่พระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ซึ่งมีวิถีชีวิตอันหรูหราฟุ่มเฟือย พระองค์ทรงรีบจัดตั้งอภิรัฐมนตรีสภาขึ้นเป็นองค์กรหลักในการปกครองรัฐ เพื่อพยายามแก้ไขปัญหาที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ สภานั้นประกอบด้วยเจ้านายอาวุโสมีประสบการณ์ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลก่อนมาแล้ว เจ้านายเหล่านั้นเร่งเปลี่ยนตัวสามัญชนที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในข้าราชการพลเรือนและทหารแล้วแทนที่ด้วยคนของพวกตน สภาถูกครอบงำโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ผู้ทรงได้รับการศึกษาจากเยอรมนี และเป็นพระเชษฐาร่วมสมเด็จพระบรมชนกนาถของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ยังเป็นรัชทายาทด้วย ตามกฎหมายการสืบราชสันตติวงศ์อันซับซ้อนของราชวงศ์จักรี กลายเป็นว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เห็นอกเห็นใจ ทรงตัดรายจ่ายในพระราชวังและเสด็จพระราชดำเนินทั่วประเทศอย่างกว้างขวาง และเมื่อเสด็จกลับมายังพระนคร พระองค์ทรงทำให้เป็นที่ยอมรับและโดดเด่นแก่หมู่ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานครซึ่งเติบโตขึ้นกว่าแต่ก่อนโดยทรงประกอบพระราชกรณียกิจสาธารณะหลายอย่าง จนถึงเวลานี้ นักเรียนหลายคนที่ถูกส่งไปศึกษาต่างประเทศเมื่อหลายทศวรรษก่อนเริ่มเดินทางกลับประเทศแล้ว แต่นักเรียนเหล่านี้กลับขาดโอกาส การยึดมั่นของเจ้านายและความล้าหลังเปรียบเทียบของประเทศ ส่วนมากจึงหูตาสว่างกับสถานะเดิม[6]", "title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475" } ]
[ { "docid": "71207#17", "text": "จากเหตุผลและความจำเป็นทั้งห้าประการ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติไม่สามารถที่จะปล่อยให้ภาวะระส่ำระสายของชาติบ้านเมืองเกิดขึ้นรุนแรงต่อไปอีกได้ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขจึงจำเป็นต้องใช้วิธีการเข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ และคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจะดำเนินการจัดระบอบการบริหารราชการแผ่นดินให้กลับสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด", "title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534" }, { "docid": "49864#0", "text": "คณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. เป็นคณะบุคคล อันประกอบด้วย กลุ่มทหาร ตำรวจ และ พลเรือน ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้า ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองราชอาณาจักรไทยไว้ได้ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 มีที่ตั้ง ณ กองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร", "title": "คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" }, { "docid": "49830#9", "text": "อนึ่งในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พลเอก สนธิ เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีประกาศคำสั่งให้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังนั้นจึงให้ถือว่าพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เคยดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีด้วย", "title": "สนธิ บุญยรัตกลิน" }, { "docid": "385559#4", "text": "วัตถุประสงค์ขององค์การตรวจสอบอำนาจรัฐแห่งชาติ ได้แก่\n(1) เพื่อสานต่อพระบรมราโชบายของพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 ให้การสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติ ที่สมบูรณ์ทั้งรูปแบบและเนื้อหาให้สำเร็จ\n(2) เพื่อพิทักษ์ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามเจตนารมณ์ของกฎบัตรสหประชาชาติ หมวดว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมืองของชาติสมาชิก และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550\n(3) เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมาย การเลิก การออก และการแก้ไขกฎหมาย ให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน\n(4) เพื่อให้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในทุกระดับเป็นไปตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย คือ ไม่ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของ\n(5) เพื่อให้ความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์ของชาติ และการเมืองการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติ และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง\n(6) เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชน ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และเดือดร้อนจากการใช้อำนาจของหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ พนักงานของรัฐ และบุคคลอื่นๆ", "title": "องค์การตรวจสอบอำนาจรัฐแห่งชาติ" }, { "docid": "17648#24", "text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พ.ศ. 2453 นั้นกลุ่มปัญญาชนต่างก็มุ่งหวังว่า พระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษซึ่งมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และคงได้ทรงเตรียมพระองค์ดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสไว้ แต่ปรากฏว่ายังไม่มีพระราชดำริในเรื่องรัฐสภาและรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ในเวลาเดียวกันประเทศจีนมีการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์แมนจู เปลี่ยนการปกครองประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นผลสำเร็จ ทำให้ความคิดอยากจะได้ประชาธิปไตยมีมากขึ้น ประกอบกับความไม่พอใจในพระราชจริยาวัตรบางประการของพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ จึงทำให้เกิดปฏิกิริยาที่จะล้มล้างระบอบการปกครอง", "title": "ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม" }, { "docid": "30164#3", "text": "ตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน มีแนวคิดมาจากประเทศแถบสแกนดิเนเวียที่ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ มีตำแหน่งที่เรียกว่า \"ออมบุดสแมน\" (Ombudsman) เพื่อทำหน้าที่ดูแลปัดเป่าเรื่องทุกข์ร้อนของประชาชนแทนพระมหากษัตริย์ และมีการพัฒนามาสู่ระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในประเทศไทยเริ่มมีการจัดตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 โดยใช้ชื่อว่า \"ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา\"", "title": "ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ประเทศไทย)" }, { "docid": "204602#11", "text": "ภาพประเทศไทยบนรูปหัวใจ หมายถึง การสื่อถึง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ คนไทยทั้งชาติอันมีหัวใจดวงเดียวกัน อยู่ร่วมกันบนผืนแผ่นดินเดียวกัน ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข", "title": "พรรคภูมิใจไทย" }, { "docid": "69653#1", "text": "รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" }, { "docid": "708243#5", "text": "ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านไม่ได้มีรูปแบบตายตัว การนำไปใช้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละประเทศ สำหรับหลักการพื้นฐานในการที่จะสถาปนาความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านนั้นมีอยู่ 5 หลักการ ได้แก่ความขัดแย้งทางการเมืองอันเป็นเหตุให้มีการเดินขบวนและชุมนุมประท้วงของประชาชนหลายครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนมีการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เรื่อยมาจนถึงการชุมนุมประท้วงในปี พ.ศ. 2551-พ.ศ. 2552 ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ต่อต้านรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และต่อมาการชุมนุมในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ การชุมนุมของกลุ่มประชาชนเหล่านี้นำไปสู่การกล่าวหาและดำเนินคดีกับประชาชนจำนวนมาก ตลอดจนมีประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บ ทรัพย์สินของทางราชการและเอกชนถูกเผาทำลาย ปรากฏการณ์ดังกล่าวสร้างความเสียหายทั้งทางด้านความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และบั่นทอนความรู้สึกอันดีที่มีต่อกันของคนในประเทศ ทำให้มีการพูดถึงแนวคิดเกี่ยวกับหลักการความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านกันบ่อยครั้งในสังคมไทย", "title": "ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน" }, { "docid": "936#37", "text": "ในทางพฤตินัย ปัจจุบันประเทศไทยปกครองในระบอบเผด็จการทหาร คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควบคุมอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ต่อมาในปี 2560 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ในรัฐธรรมนูญดังกล่าว ระบุว่า ประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา หรือใช้ว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยกำหนดรูปแบบองค์กรบริหารอำนาจทั้งสามส่วนดังนี้", "title": "ประเทศไทย" }, { "docid": "51232#0", "text": "สัก กอแสงเรือง (เกิด 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 ที่บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน) ปัจจุบันเป็นประธาน มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (P-NET) กรรมการตรวจสอบมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์และวิทยากรรับเชิญ เคยเป็นนายกสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์หลายสมัย เคยเป็นนายกและเลขานุการสมาคมฮกเกี้ยนแห่งประเทศไทย เคยเป็นกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้รับการแต่งตั้ง ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549", "title": "สัก กอแสงเรือง" }, { "docid": "706128#5", "text": "สำหรับประเทศไทยนั้น แนวคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยสูงสุดได้มีขึ้นตั้งแต่สมัยการปฏิรูปการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 แต่ที่มาของอำนาจยังคงอยู่ที่พระมหากษัตริย์ จนกระทั่ง ร.ศ.130 แนวคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยของปวงชนจึงเริ่มเกิดขึ้นจากความพยายามปฏิวัติรัฐบาลของพระมหากษัตริย์แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งอีกยี่สิบปีถัดมา แนวคิดดังกล่าวจึงได้บังเกิดเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญใน พ.ศ.2475 ซึ่งได้ทำให้ที่มา หรือ แหล่งอ้างอิงอำนาจอธิปไตยสูงสุดในการปกครองประเทศได้เปลี่ยนแปลงจากพระมหากษัตริย์ลงไปสู่ปวงชนชาวไทยทุกคน ดังปรากฏในมาตราที่ 1 ของพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม (ชั่วคราว) พุทธศักราช 2475 ว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย”", "title": "อำนาจอธิปไตยของปวงชน" }, { "docid": "49829#1", "text": "พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน แถลงสาเหตุเมื่อวันที่ 21 กันยายน และให้คำมั่นว่าจะฟื้นฟูรัฐบาลระบอบประชาธิปไตยภายในหนึ่งปี อย่างไรก็ตาม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขประกาศว่า หลังจากการเลือกตั้งและการตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยแล้ว คณะปฏิรูปการปกครองจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปแบบของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งยังไม่มีการอธิบายบทบาทที่มีต่อการเมืองไทยในอนาคต[1]", "title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549" }, { "docid": "69653#9", "text": "ก่อนที่ราชอาณาจักรไทยจะมีรัฐธรรมนูญนั้น ราชอาณาจักรไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ไทยเชิงการเมืองการปกครอง เมื่อคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการสายทหารบก ทหารเรือ และสายพลเรือน จำนวน 99 คน โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า ร่วมกันยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงตัดสินพระทัยที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยสงบ ดังความตามพระราชหัตถเลขา (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ) ที่ทรงเขียนในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2475 ไม่ลงวันที่ พระราชทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ซึ่งได้แปลเป็นภาษาไทยในหนังสือเรื่อง เกิดวังปารุสก์ เล่ม 2 ความดังนี้[2]", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" }, { "docid": "57119#19", "text": "ตั้งแต่ที่ตาอั้นกลับมาก็มีความคิดอย่างหนึ่งที่ทำให้แม่พลอยตกใจ ซึ่งก็คือความคิดเกี่ยวกับบ้านเมืองของตาอั้น ซึ่งก็คือความคิดเสรีนิยมและเกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ได้ไปเรียนรู้ตอนไปเรียนเมืองนอก ในช่วงนั้นผู้คนก็ต่างพูดกันเรื่องเกี่ยวกับคำทำนายที่ว่าพระมหากษัตริย์จะสิ้นพระราชอำนาจ หลังจากนั้นไม่นาน ประเทศไทยก็ได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย", "title": "สี่แผ่นดิน" }, { "docid": "49864#4", "text": "มีหน้าที่ อ่าน แถลงการณ์ คำสั่ง และ ประกาศ ต่างๆ ของ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ออกอากาศ เป็น รายการพิเศษ ทาง โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย โดยมี สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เป็นแม่ข่าย มีรายนามดังต่อไปนี้เดิม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Council for Democratic Reform under Constitutional Monarchy (อักษรย่อ CDRM) ต่อมาได้ตัดคำว่า \"under Constitutional Monarchy\" ออก เพื่อไม่ให้สื่อต่างประเทศนำไปตีความว่า คณะปฏิรูปฯ เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็น Council for Democratic Reform (อักษรย่อ CDR) โดยยังคงใช้ชื่อภาษาไทยตามเดิม ", "title": "คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" }, { "docid": "236023#1", "text": "สำหรับที่มานั้น วลีที่ว่า \"ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข\" เพิ่งจะมีขึ้นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ความว่า \"ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข\" ทั้งนี้ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ ได้ให้ความเห็นไว้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวร่างขึ้นภายใต้อิทธิพลของพลังอนุรักษนิยม ซึ่งขณะนั้นมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทนทางการเมืองที่สำคัญ แต่การปรากฏขึ้นครั้งแรกนี้ ยังไม่ได้ยืนยันความเป็นชื่อเฉพาะของระบอบการปกครองแต่อย่างใด หากแต่การปรากฏขึ้นซ้ำในภายหลัง คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 และ พ.ศ. 2519 เป็นสองฉบับแรกที่ยืนยันความชอบธรรมของ \"ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข\"สมศักดิ์ได้ให้ความเห็นไว้อีกว่า หน้าที่ (function) ของการยืนยันในสองฉบับมีความต่างกัน โดยฉบับ พ.ศ. 2511 เพื่อต่อต้านการเมืองและพรรคการเมืองสมัยใหม่ที่เพิ่งปรากฏตัวขึ้น และฉบับ พ.ศ. 2519 เพื่อต่อต้านฝ่ายซ้าย", "title": "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" }, { "docid": "28600#1", "text": "อำนาจอธิปไตย ย่อมมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครอง ตัวอย่างเช่น ในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนคือผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ คือ กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นต้น", "title": "อำนาจอธิปไตย" }, { "docid": "236023#0", "text": "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข () เป็นชื่อเรียกระบอบการปกครองในประเทศไทย ที่รวมเอาทั้งรูปแบบการปกครอง (form of government) ประเภทประชาธิปไตยโดยมีรัฐสภา (parliamentary democracy) กับรูปแบบรัฐ (form of state) ) ไว้ในคำเดียวกัน ", "title": "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" }, { "docid": "78585#33", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 9 สืบต่อมา มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา และทรงเป็นศาสนูปถัมภก ทรงให้การอุปถัมภ์แก่ทุกศาสนา ทรงสร้างวัดแห่งหนึ่งที่จังหวัดชลบุรี และทรงปกครองบ้านเมืองโดยสงบร่มเย็น ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 ได้มีการส่งเสริมพุทธศาสนาด้านต่าง ๆ มากมาย", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย" }, { "docid": "33927#5", "text": "เมื่อเอสวาตีนีเป็นประเทศเอกราชแล้ว ก็มีการปกครองปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ในปี 2520 สมเด็จพระราชาธิบดีซอบูซาที่ 2 (Sobhuza II) ทรงเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตราบถึงทุกวันนี้ แต่หลังการสวรรคตของกษัตริย์ซอบูซาที่ 2 ได้มีการสถาปนาพระเจ้าอึมสวาตีที่ 3 ซึ่งมีพระมารดาคือพระสนมอึนตอมบีเป็นผู้ปกครองร่วม ทำให้เกิดการแบ่งอำนาจในลักษณะที่เรียกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์คู่ (Dual Monarchy) ซึ่งมีโครงสร้างการเมืองที่รวมศูนย์กลางอยู่ที่กษัตริย์, พระมารดา และเหล่าเชื้อพระวงศ์ และพระญาติที่เป็นเพศชายของทั้งสองพระองค์ กษัตริย์มีพระราชอำนาจเหนือระบบศาลและการทหาร รวมไปถึงอำนาจในการแบ่งปันที่ดินแก่ราษฎรทั่วประเทศ แต่อำนาจเหล่านี้จะถูกต้องตามกฎหมายและมีความชอบธรรมได้ก็ต่อเมื่อได้ความร่วมมือจากพระมารดา", "title": "ประเทศเอสวาตีนี" }, { "docid": "385559#5", "text": "นโยบายขององค์การตรวจสอบอำนาจรัฐแห่งชาติ ได้แก่\n(1) ให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า ทุกสาขาอาชีพ มีความรู้ ความเข้าใจพระบรมราโชบาย สถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติ ของพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 และร่วมมือกันปฏิบัติภารกิจสร้างประชาธิปไตย หรือปฏิวัติประชาธิปไตย อันถือเป็นภารกิจอันศักดิ์สิทธิ์ของชาติให้สำเร็จ\n(2) ให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า ทุกสาขาอาชีพ ทุกองค์กร ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานของ “องค์การตรวจสอบอำนาจรัฐแห่งชาติ”\n(3) ศึกษาและรวบรวมกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎกระทรวง มติของรัฐมนตรี และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ให้มีการแก้ไขโดยเร็ว\n(4) ให้การศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติ การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติ กฎหมาย กฎบัตรสหประชาชาติ หมวดว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แก่ประชาชน รวมทั้งให้คำแนะนำ ปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย หรือกระบวนการยุติธรรมแก่ประชาชนทั่วไป\n(5) ร่วมมือกับองค์กร องค์การต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายให้ถูกต้อง ตามเจตนารมณ์ของกฎบัตรสหประชาชาติ หมวดว่าด้วยสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน", "title": "องค์การตรวจสอบอำนาจรัฐแห่งชาติ" }, { "docid": "49841#4", "text": "อนึ่งปฏิวัติทางการเมืองเป็นมโนทัศน์ที่สำคัญในการอธิบายปฏิวัติสังคมในลัทธิทรอทสกี (Trotskyism)สำหรับในสังคมการเมืองไทยเกิดการปฏิวัติทางการเมืองขึ้นเพียงครั้งเดียวคือ การปฏิวัติสยาม ในวันที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นการปฏิวัติการปกครองโดยเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy) ส่วนการล้มล้างรัฐบาลในครั้งต่อมานั้นเป็นเพียงการรัฐประหาร เพราะไม่ได้ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ทว่าเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ผู้นำของรัฐบาล หรือเป็นการยืดอายุของรัฐบาลอุปถัมป์อำนาจนิยม (Suzerain-Authoritarianism) ของสังคมไทยเพียงเท่านั้น", "title": "ปฏิวัติ" }, { "docid": "345856#1", "text": "สำหรับในประเทศไทย วันรัฐธรรมนูญตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย โดยผลของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน ลักษณะสำคัญคือ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจาก พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริการราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาล ก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐ ซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน ผู้ใดจะละเมิดมิได้", "title": "วันรัฐธรรมนูญ" }, { "docid": "69653#5", "text": "สำหรับประเทศไทย ในส่วนที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญนั้นนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2 ลักษณะคือ รัฐธรรมนูญ มุ่งจะใช้บังคับเป็นการถาวรโดยที่มีการยกร่างกันอย่างเป็นระบบ กับรัฐธรรมนูญที่มุ่งจะใช้บังคับเป็นการชั่วคราวซึ่งมักเรียก ธรรมนูญการปกครอง", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" }, { "docid": "590057#27", "text": "สภาพสังคมเปลี่ยนไปตามยุคสมัย และในแต่ละสังคมต่างมีค่านิยม แนวคิด ความเชื่อ ศาสนาและการปกครองที่แตกต่างกัน ดังนั้นหลักสูตรจะต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมอยู่เสมอ รวมไปถึงเหมาะสมกับสภาพสังคมนั้นๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกไปเป็นพลเมืองที่มีประสิทธิภาพได้ ยกตัวอย่างเช่นในประเทศไทยมีรูปแบบการปกครองระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในหลักสูตรจะมีการกำหนดเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในที่นี้กำหนดไว้ในคุณลักษณะอันพึงประสงค์และเนื้อหาสาระของวิชาต่างๆ เพื่อให้เป็นผู้เรียนพลเมืองตามที่สังคมต้องการได้", "title": "หลักสูตร" }, { "docid": "49864#2", "text": "พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ว่า การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ได้ก่อให้เกิดปัญหา ความขัดแย้งแบ่งฝ่าย สลายความรู้รักสามัคคี ของ คนในชาติ อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ต่างฝ่ายต่างมุ่งหวังเอาชนะ ด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ และมีแนวโน้มนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยประชาชนส่วนใหญ่เคลือบแคลงสงสัยว่า การบริหารราชการแผ่นดิน ส่อไปในทางทุจริต ประพฤติมิชอบ อย่างกว้างขวาง หน่วยงานอิสระ ถูกการเมืองครอบงำ ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เกิดปัญหา และ อุปสรรค หลายประการ ตลอดจนหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นที่เคารพ เทิดทูน ของปวงชนชาวไทย อยู่บ่อยครั้ง แม้หลายภาคส่วนของสังคม จะได้พยายามประนีประนอม คลี่คลายสถานการณ์ มาโดยต่อเนื่องแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้กองบัญชาการ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกอบด้วย 4 ส่วนงาน คือ", "title": "คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" }, { "docid": "39173#8", "text": "ภายหลังจากเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ทางคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเคยทาบทามให้ชายชัย ลิขิตจิตถะเป็นนายกรัฐมนตรี[6] แต่ในที่สุดทางคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ตัดสินใจเลือกเลือกพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีแทน ชาญชัยจึงถูกเลือกให้มาเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ [7]", "title": "ชาญชัย ลิขิตจิตถะ" }, { "docid": "49864#5", "text": "หลังจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงแปรสภาพเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ โดย หัวหน้า คปค. ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานสภา และรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ", "title": "คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" }, { "docid": "31375#6", "text": "นอกจากนี้ในเมืองดุสิตธานีมีการออกหนังสือพิมพ์วิพากษ์วิจารณ์ และเสนอข่าวในเมืองจำลอง เพื่อเพียรพยายามปลูกฝังหัดการปกครองระบอบรัฐสภา กระนั้นก็ตามมีผู้วิจารณ์ว่า\nการสร้างเมืองจำลองดุสิตธานี เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เหมือนกับทรงเล่นละครเรื่องอื่น พระองค์ทรงหาได้ตั้งใจที่จะก่อตั้งรูปการปกครองแบบประชาธิปไตยที่จะก่อตั้งรูปแบบการปกครองประชาธิปไตยอย่างจริงจังหรือไม่\nสถานการณ์ช่วงนั้น นับวันผู้ที่มีความรู้เพิ่มมากขึ้นอยู่ตลอดเวลาหลายคนมีความเห็นและให้ทัศนะไปในทางเดียวกันว่า\nการปกครองระบอบราชาธิปไตย ที่องค์พระมหากษัตริย์ใช้ในทางนิติบัญญัติ ใช้ในทางบัญญัติ ใช้ในทางบริหารและใช้ในทางตุลาการแต่พระองค์เองนั้น เป็นการพ้นสมัยเสียแล้ว\nไม่อาจพารัฐก้าวหน้าอย่างที่ควรจะเป็นไป โดยกลุ่มคนยุคใหม่(ในสมัยนั้น) ได้ยกตัวอย่างเช่น อังกฤษ ในสมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ประเทศฝรั่งเศสได้เกิดการปฏิวัติใหญ่ เพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ราชาธิราช\nในปี ค.ศ. 1689เป็นต้น แม้แต่ในประเทศญี่ปุ่นที่อยู่ในเอเชียด้วยกันก็ยังมีการเปลี่ยนแปลง", "title": "ดุสิตธานี" } ]
1065
นครราชสีมา คือ โคราชใช่หรือไม่ ?
[ { "docid": "5114#0", "text": "นครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทยและมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อเมืองนครราชสีมาปรากฏครั้งแรกเป็นเมืองพระยามหานครในการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีรับสั่งให้ย้ายเมืองนครราชสีมามาตั้งบริเวณพื้นที่ปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. 2217", "title": "จังหวัดนครราชสีมา" } ]
[ { "docid": "146006#2", "text": "เชื่อกันว่าบรรพบุรุษของชาวไทโคราชอพยพมาจากอยุธยา และแถบจังหวัดชายทะเลตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี ระยอง นครนายก เป็นต้น เข้ามาในบริเวณจังหวัดนครราชสีมาและพื้นที่ใกล้เคียง และได้ผสมกลมกลืนกับกลุ่มคนพื้นเมืองเดิม ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็น ไท-เสียม หรือไทสยามลุ่มน้ำมูล เกิดเป็นวัฒนธรรมไทโคราช เรียกตนเองว่า ไทโคราช ไทเบิ้ง หรือ ไทเดิ้ง \nต่อมาได้มีการติดต่อค้าขายกับชาวลาว ชาวไทยอีสานและชาวเขมร และมีการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวลาว ชาวไทยอีสานและชาวเขมรเข้ามาทีหลัง ทำให้เกิดการวิวัฒนาการของภาษา โดยมีการยืมคำไทยอีสาน และคำเขมรปะปนเข้ามาใช้ เกิดเป็นคำไทโคราช ซึ่งแตกต่างจากภาษาไทยถิ่นอิสานโดยทั่วไป เพราะยังคงรักษารากศัพท์เดิมไว้คือภาษาไทยถิ่นกลางนั่นเอง", "title": "สำเนียงโคราช" }, { "docid": "82703#28", "text": "ความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ชาวไทยเบิ้งมีความเชื่อเหมือนกับคนทั่วๆ ไปจะอธิบายดังนี้ \nเพลงโคราช เป็นศิลปะ วัฒนธรรมพื้นบ้านของจังหวัดนครราชสีมาหรือโคราช ซึ่งได้สืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน โดยเพลงโคราชนั้นมีเอกลักษณ์การร้องรำเป็นภาษาโคราช ซึ่งมีความไพเราะ ทำให้เกิดความเพลิดเพลินและสนุกสนาน", "title": "ไทโคราช" }, { "docid": "5114#72", "text": "กลุ่มชาติพันธุ์ไทยที่อยู่ในนครราชสีมาเรียกอีกอย่างว่า ไทโคราช เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา คนกลุ่มนี้ใช้ภาษาคล้ายคนไทยภาคกลาง เพียงแต่เสียงวรรณยุกต์เพี้ยนไปบ้าง และมีคำศัพท์สำนวนบางอย่างที่มีลักษณะเป็นของตนเอง เดิมถิ่นนี้ชาวพื้นเมืองเป็นละว้า ชาวไทยภาคกลางได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองให้ขุนหลวงพะงั่วยกกองทัพมารวบรวมดินแดนแถบนี้เข้ากับกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองโปรดฯให้กองทหารอยุธยาตั้งด่านอยู่ประจำ และส่งช่างชาวอยุธยามาก่อสร้างบ้านเรือนและวัดวาอารามเป็นอันมาก ชาวไทยอยุธยาได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้อพยพมาอยู่นครราชสีมาอีกระลอกหนึ่งคือ คราวเสียกรุงครั้งที่2 โดยมีชาวไทยชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกได้อพยพเข้ามาเพิ่มด้วย ชาวไทยกลุ่มนี้และชาวไทยพื้นเมืองเดิม (เข้าใจว่าเป็นชาวสยามลุ่มน้ำมูล) สืบเชื้อสายเป็นชาวไทยโคราชและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีสืบทอดกันมา", "title": "จังหวัดนครราชสีมา" }, { "docid": "82703#31", "text": "อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า ชาวโคราชได้เพลงโคราชมาจากอินเดีย โดยพระยาเข็มเพชรเป็นผู้นำมาพร้อมๆ กับลิเก และลำตัด โดยให้ลิเกอยู่กรุงเทพฯ ลำตัดอยู่ภาคกลาง และเพลงโคราชอยู่ที่นครราชสีมา เพลงโคราชระยะแรกๆ เป็นแบบเพลงก้อม คนที่เรียนรู้เพลงโคราช จากพระยาเข็มเพชร ชื่อตาจัน บ้านสก อยู่ \"ซุมบ้านสก\" ติดกับ สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ", "title": "ไทโคราช" }, { "docid": "5114#3", "text": "มีผู้เสนอว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่ เมืองนครราช คือเมืองเดียวกันกับเมืองราด ของพ่อขุนผาเมือง เนื่องจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเมืองพระนครหลายประการ นอกจากนี้รูปสลักกองทัพชาวสยามบนระเบียงด้านหนึ่งของ นครวัด อาจเป็นชาวสยามจากลุ่มแม่น้ำมูลที่เกี่ยวข้องกับเมืองนครราช และยังมีการกล่าวถึงเมืองนครราชสีมาในพงศาวดารของกัมพูชาหลายครั้งด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีมุมมองอีกด้านหนึ่งก็ว่า นครราชสีมา นั้นเป็นคำไทยเป็นคำใหม่ แยกเป็นคำได้คือ นคร, ราช และ สีมา หมายความว่า \"เมืองใหญ่อันเป็นขอบขัณฑสีมาของราชอาณาจักร\" (ราช+สีมา) ส่วนคำว่า โคราช (สำเนียงถิ่น: โค-หฺราด , ไทยกลาง: โค-ราด, เขมร: โก-เรียช ) นั้น น่าจะเพี้ยนมาจาก นครราช (อ่านตามสำเนียงว่า คอน-หฺราด ซึ่งเป็นคำเรียกนครราชสีมาแบบย่อ ๆ ของชาวบ้าน) หรือ อังกอร์เรียจ ต่อมาลดรูปเป็น กอร์เรียจ และเพี้ยนเป็นโคราช ในที่สุด และไม่ได้เพี้ยนมาจากชื่อเมืองโคราฆปุระ (Gorakhpur) ที่เป็นชื่อเมืองสมัยใหม่ในแคว้นเดียวกับเมืองอโยธยา (Ayodhya) ในอินเดีย ตามข้อสันนิษฐานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ", "title": "จังหวัดนครราชสีมา" }, { "docid": "122778#1", "text": "อำเภอเมืองนครราชสีมามีชื่อเรียกตามความถนัดของชาวพื้นเมืองว่า \"โคราช\" เรียกตามภาษาราชการว่า \"เมืองนครราชสีมา\" เหตุที่เรียก 2 ชื่อ ด้วยปรากฏว่าตามหลักฐานโบราณคดีเรื่องงานข้างต้นวินิจฉัยชื่อเมืองนครราชสีมาว่า ก่อนที่จะสร้างขึ้นในสถานที่ปัจจุบัน เดิมมีเมืองโบราณอยู่ 2 เมือง ซึ่งอยู่ทางขวาของลำตะคอง ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสูงเนิน เมืองที่หนึ่งอยู่ทางฝั่งซ้ายของลำตะคองมีชื่อเรียกว่า เมืองโคราช จากหลักฐานที่ได้สำรวจพบว่าในบริเวณเมืองทั้งสอง เมืองเสมาสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ ต่อมาได้ข้ามมาสร้างเมืองโคราชขึ้นอีกเป็นเมืองใหม่ ทิ้งเมืองเสมาให้เป็นเมืองร้างในที่สุด", "title": "อำเภอเมืองนครราชสีมา" }, { "docid": "741565#0", "text": "เดอะมอลล์ โคราช หรือ ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ ช็อปปิ้ง เซ็นเตอร์ นครราชสีมา () ตั้งอยู่ริมถนนมิตรภาพ ในพื้นที่อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เปิดบริการวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2543 โดยเป็นโครงการศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมา (มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในเครือเดอะมอลล์กรุ๊ป กว่า 350,000 ตารางเมตร) บนเนื้อที่ 57 ไร่ ติดถนนมิตรภาพ ดำเนินการโดยบริษัท เดอะมอลล์ราชสีมา จำกัด ในเครือเดอะมอลล์กรุ๊ป โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 5,400 ล้านบาท รองรับกลุ่มเป้าหมายในจังหวัดนครราชสีมากว่า 2.8 ล้านคน และจังหวัดใกล้เคียง ทั้งนี้ เดอะมอลล์ โคราช ถือเป็นศูนย์การค้าในเครือเดอะมอลล์แห่งแรกในต่างจังหวัด (นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล)", "title": "เดอะมอลล์ โคราช" }, { "docid": "5114#87", "text": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (ศูนย์กลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา) มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย และศูนย์การศึกษาโคราช สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า สีคิ้ว) สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (วนศ.นครราชสีมา) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา", "title": "จังหวัดนครราชสีมา" }, { "docid": "52644#15", "text": "พ.ศ. 2558 ผศ.ดร.ณัฐกิตติ์ อินทร์สวรรค์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ในปัจจุบัน ได้เป็นผู้ริเริ่มในการจัดงานเทศกาลโคราชศิลปะและวัฒนธรรมนานาชาติ 2558 ขึ้นเป็นครั้งแรกในจังหวัดนครราชสีมา ภายใต้ชื่องาน Korat International Art and Culture Festival 2015 ระหว่างวันที่ 24 - 26 มกราคม 2558 ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เพื่อเป็นการเผยแพร่กิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน ในระดับชาติและนานาชาติ โดยมีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมแสดงผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมประจำชาติของตน มากกว่า 10 ประเทศ และได้ดำเนินการจัดงานเทศกาลโคราชศิลปะและวัฒนธรรมนานาชาติ มาอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี จนปัจจุบัน พ.ศ. 2561 นับเป็นครั้งที่ 4 ของการจัดเทศกาลในระดับชาติและนานาชาติ ในจังหวัดนครราชสีมา", "title": "สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา" }, { "docid": "136997#3", "text": "เปลี่ยนชื่อสถานีจากสถานีโคราชเป็นสถานีนครราชสีมาในปี พ.ศ. 2477", "title": "สถานีรถไฟนครราชสีมา" }, { "docid": "573693#0", "text": "เทศบาลตำบลไชยมงคล เป็นเทศบาลตำบลแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ตำบลไชยมงคล ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราชอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองนครราชสีมา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองนครราชสีมา เป็นระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร", "title": "เทศบาลตำบลไชยมงคล" }, { "docid": "122778#3", "text": "ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงย้ายเมืองโคราชและเมืองเสมามาสร้างในที่ตั้งปัจจุบัน และตั้งชื่อใหม่ว่า เมืองนครราชสีมา เมืองที่สร้างขึ้นใหม่นี้เป็นเมืองหน้าด่าน มีคูล้อมรอบและมีประตูเมือง 4 ประตู คือ \nอำเภอเมืองนครราชสีมาตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด บนที่ราบสูงโคราช ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14-15 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 101-102 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 180-210 เมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ 259 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้", "title": "อำเภอเมืองนครราชสีมา" }, { "docid": "278755#7", "text": "และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของสโมสรฟุตบอลโคราช ที่จะเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดนครราชสีมา อย่างแท้จริงห้างหุ้นส่วนจำกัด สโมสรฟุตบอลโคราช สมาคมสโมสรฟุตบอลโคราช รายชื่อผู้เล่นชุด ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ข. ประจำปี 2554", "title": "สโมสรฟุตบอลโคราช" }, { "docid": "287367#1", "text": "นายสุนทรเริ่มต้นจากการเป็นสื่อมวลชน โดยเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำจังหวัดนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2515 ก่อนที่จะเป็นผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ โคราชสัปดาห์วิจารณ์ และหนังสือพิมพ์โคราชรายวัน คนอีสาน ในปี พ.ศ. 2517 จากนั้นจึงเป็นเจ้าของโรงพิมพ์โคราชออฟเซทการพิมพ์ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นโรงพิมพ์โคราชพริ้นติ้งในปัจจุบัน", "title": "สุนทร จันทร์รังสี" }, { "docid": "93052#0", "text": "สวนสัตว์นครราชสีมา หรือ สวนสัตว์โคราช สังกัดองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย เป็นสวนสัตว์ที่จัดตั้งขึ้นในองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปัจจุบันสวนสัตว์นครราชสีมาอยู่ในการดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม", "title": "สวนสัตว์นครราชสีมา" }, { "docid": "136997#0", "text": "สถานีรถไฟนครราชสีมา (ชื่อสามัญ หัวรถไฟ หรือ หัวรถฯ) สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เดิมชื่อสถานีโคราช เป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมาและในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ตั้งอยู่บนถนนมุขมนตรี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทางประมาณ 264 กิโลเมตร ", "title": "สถานีรถไฟนครราชสีมา" }, { "docid": "5114#73", "text": "กลุ่มไทโคราชเป็นกลุ่มที่แสดงเอกลักษณ์ของเมืองนครราชสีมา เพราะสำเนียงแตกต่างจากกลุ่มอื่น เป็นกลุ่มที่พูดภาษาไทยโคราชซึ่งคล้ายคลึงภาษาไทยกลางแต่สำเนียงเพี้ยน เหน่อ ห้วนสั้น เกิ่นเสียง มีคำไทยลาว (อีสาน) ปะปนบ้างเล็กน้อย ชาวไทยโคราชแต่งกายแบบไทยภาคกลาง รับประทานข้าวเจ้า อาหารทั่วไปคล้ายคลึงภาคกลาง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมคล้ายไทยภาคกลาง ปัจจุบัน กลุ่มไทยโคราชอาศัยอยู่ในทุกอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ยกเว้นบางอำเภอที่มีชาวไทยอีสานมากกว่า (อำเภอบัวใหญ่ ปักธงชัย และสูงเนิน) และยังพบชาวไทยโคราชในบางส่วนของจังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอเนินสง่า อำเภอจัตุรัส อำเภอเทพสถิต อำเภอซับใหญ่ อำเภอคอนสวรรค์ และอำเภอเมืองชัยภูมิ) และจังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอเมืองบุรีรัมย์ นางรอง และหนองกี่)", "title": "จังหวัดนครราชสีมา" }, { "docid": "5114#74", "text": "ชาวไทอีสานเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนประชากรมากรองจากกลุ่มไทโคราช อาศัยอยู่มากในบางอำเภอของจังหวัดนครราชสีมา เช่น อำเภอบัวใหญ่ อำเภอบัวลาย อำเภอสีดา อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอประทาย อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอปักธงชัย อำเภอสูงเนิน และบางส่วนของอำเภอคง อำเภอห้วยแถลง อำเภอชุมพวง อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง และอำเภอสีคิ้ว เป็นต้น ชาวไทยอีสานพูดภาษาอีสานท้องถิ่นคล้ายกับจังหวัดอื่นๆในภาคอีสาน และมีขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนชาวอีสานทั่วไป กลุ่มชาวไทยอีสานอพยพเข้ามาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาหลายรุ่นตามความเจริญของเศรษฐกิจ ในบางข้อสันนิฐานให้ข้อมูลว่า เดิมชาวโคราชพูดภาษากลางแบบชาวสยาม และมีชาวไทยอีสานอพยพเข้ามาอยู่ปะปนกัน จึงเกิดการผสมผสานเป็นภาษาไทโคราช แต่อย่างไรก็ดีชาวไทยอีสานดั้งเดิมมีถิ่นอาศัยอยู่ในภาคอีสานมานานแล้ว มิได้อพยพมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มีความพัวพันกับอาณาจักรไทยในอดีต เช่น โคตรบูรณ์ ศรีจะนาศะ ซึ่งเป็นอาณาจักรของศาสนาพุทธ มิใช่พราหม-ฮินดู แบบจักรวรรดิ์เขมร กล่าวได้ว่าชาวไทยอีสานเป็นชนพื้นเมืองเดิมของภาคอีสานมาช้านานแล้ว", "title": "จังหวัดนครราชสีมา" }, { "docid": "82703#34", "text": "เพลงโคราชจะเริ่มเล่นตั้งแต่เมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด หลักฐานจากคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมา มีเพียงว่า สมัยท้าวสุรนารี ( คุณย่าโม ) ยังมีชีวิตอยู่ ( พ.ศ. 2313 ถึง 2395 ) ท่านชอบเพลงโคราชมาก เรื่องราวของเพลงโคราชได้ปรากฏหลัดฐานชัดเจน คือในปี พ.ศ. 2456 ที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง เสด็จมานครราชสีมาทรงเปิดถนนจอมสุรางค์ยาตร์ และเสด็จไปพิมาย ในโอกาสรับเสด็จครั้งนั้น หมอเพลงชายรุ่นเก่าชื่อเสียงโด่งดังมากชื่อนายหรี่ บ้านสวนข่า ได้มีโอกาสเล่นเพลงโคราชถวาย เพลงที่เล่นใช้เพลงหลัก เช่น กลอนเพลงที่ว่า\n\" ข้าพเจ้านายหรี่อยู่บุรีโคราชเป็นนักเลงเพลงหัด บ่าวพระยากำแหง ฯ เจ้าคุณเทศา ท่านตั้งให้เป็นขุนนาง ...ตำแหน่ง \"\nความอีกตอนเอ่ยถึงการรับเสด็จว่า\n\" ได้สดับว่าจะรับเสด็จเพื่อเฉลิมพระเดชพระจอมแผ่นดิน โห่สามลา ฮาสามหลั่นเสียงสนั่น...ธานินทร์ \"\n( สมเด็จพระพันปีหลวง ทรงเป็นผู้บังคับการพิเศษประจำกรมทหารม้านครราชสีมา จนถึง พ.ศ. 2462 เมื่อเสด็จนครราชสีมา นายหรี่ สวนข่า ก็มีโอกาสเล่นเพลงถวาย ) เพลงโคราชมีโอกาสเล่นถวายหน้าพระที่นั่งในงานชุมนุมลูกเสือครั้งที่ 1 ในนามการแสดงมหรสพของมณฑลนครราชสีมา เกี่ยวกับกำเนิดของเพลงโคราช มีทั้งที่เป็นคำเล่าและตำนานหลักฐานจากคำบอกเล่าของหมอเพลงอีกจำนวนหนึ่งเล่าต่อ ๆ กันมาว่า ในสมัยรัตนโกสินทร์มีสงครามระหว่างไทยกับเขมร เมื่อไทยชนะสงครามเขมรครั้งไร ชาวบ้านจะมีการเฉลิมฉลองชัยชนะ ด้วยการขับร้องและร่ายรำกันในหมู่สกที่เขาเรียกว่า \" ซุมบ้านสก \" ใกล้ ๆ กับชุมทางรถไฟ ถนนจิระและเริ่มเล่นเพลงโคราชกันที่หมู่บ้านนี้ ท่าทางการรำรุกรำถอย และการป้องหู มีผู้สันนิษฐานว่าประยุกต์มาจากการเล่นเจรียง ที่เป็นเพลงพื้นบ้านของชาวสุรินทร์ผสมผสาน กับเพลงทรงเครื่องของภาคกลาง", "title": "ไทโคราช" }, { "docid": "171493#0", "text": "ท่าอากาศยานนครราชสีมา หรือ สนามบินโคราช () ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหนองเต็ง-จักราช ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมาไปทางทิศเหนือระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 4,625 ไร่ เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม สร้างขึ้นเพื่อใช้แทนท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา ซึ่งเป็นท่าอากาศยานของกองทัพอากาศ", "title": "ท่าอากาศยานนครราชสีมา" }, { "docid": "52385#1", "text": "สมัยก่อนทีมฟุตบอลโคราชที่แข่งโปรลีกฯ มี ฉายาว่า \"สตริงเรย์\" เหตุเพราะสมัยก่อน กองบิน 1 มีรถถังคอมมานโด สติงเรย์ หรือเรียกอีกชื่อในวงการทหารว่า \"เจ้ากระเบนธงจู่โจม\" จำนวนมาก และกองทัพบก นำเข้าประจำการมา 106 คัน และ ทีมงานที่ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลสมัยนั้น โดยส่วนใหญ่เป็นทหารอยู่ในกองทัพ จึงได้เลือกใช้ชื่อว่า \"นครราชสีมาสตริงเรย์\" ต่อมาได้เปลี่ยนโลโก้และฉายาใหม่ ชื่อว่า \"สวาทแคท\" หรือ \"เจ้าแมวพิฆาต\" ซึ่งแต่เดิมนั้นโลโก้นครราชสีมาเป็นรูปรถถัง และได้เปลี่ยนเป็นรูปแมวสีสวาดซึ่งเป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นโคราช มาจนถึงปัจจุบัน", "title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครราชสีมา" }, { "docid": "5114#163", "text": "ไทยลีก อเมเจอร์ ทัวร์นาเมนต์ ทีมสโมสรฟุตบอลเพื่อนปากช่อง ทีมสโมสรฟุตบอลโคราช (นักรบที่ราบสูง) ทีมสโมสรฟุตบอลโคราช ยูไนเต็ด (ไอ้กระทิงดุ) ทีมสโมสรฟุตบอลนครราชสีมา ยูไนเต็ด ทีมสโมสรฟุตบอลโคราช ซิตี้ ทีมสโมสรฟุตบอลห้วยแถลง ทีมสโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยวงชวลิตกุล ทีมสโมสรฟุตบอลจิมทอมสัน ฟาร์ม", "title": "จังหวัดนครราชสีมา" }, { "docid": "349525#0", "text": "ที่ราบสูงโคราชคือที่ราบสูงที่มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ชื่อของที่ราบสูงโคราชนี้มีที่มาจากชื่อของจังหวัดนครราชสีมาหรือโคราชซึ่งเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในบนที่ราบสูงนี้", "title": "ที่ราบสูงโคราช" }, { "docid": "83865#0", "text": "แมวโคราช หรือ แมวมาเลศ ต้นกำเนิดพบที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา หรือที่รู้จักกันในนามว่าโคราช มีหลักฐานบันทึกเกี่ยวกับแมวโคราชในสมุดข่อยที่เขียนขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1350-1767 หรือประมาณ พ.ศ. 1893-2310 ในบันทึกได้กล่าวถึงแมวที่ให้โชคลาภที่ดี 17 ตัวของประเทศไทย รวมถึงแมวโคราชด้วย ปัจจุบันสมุดข่อยนี้ถูกเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร", "title": "มาเลศ" }, { "docid": "85986#0", "text": "นครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เป็นเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กำหนดให้เป็นเมืองหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นศูนย์กลางการค้า การพาณิชย์ การคมนาคมทางบก และอุตสาหกรรม โดยปี พ.ศ. 2560 ในเขตเทศบาลมีประชากรจำนวน 129,680 คน", "title": "เทศบาลนครนครราชสีมา" }, { "docid": "606263#2", "text": "ก่อนโครงการเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมาจะเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2560 นั้น มีข่าวเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ก่อนการเปิดให้บริการของศูนย์การค้า เดอะมอลล์ โคราช ที่เปิดให้บริการปี พ.ศ. 2543 เสียอีก ครั้งนั้นได้เลือกทำเล บนพื้นที่ของ เทอร์มินัล 21 โคราช ในปัจจุบัน โดยมีเจ้าของคือ กลุ่มไทยสงวน แต่โครงการนี้ได้ระงับโครงการลงหลังจากเจ้าของพื้นที่ไทยสงวน ได้ทำการทุบปั๊มด้วยทุนตัวเองกับเงินก้อนงวดแรกจากกลุ่มเซ็นทรัล และเซ็นทรัลก็หันมาลงทุนเปิดบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขานครราชสีมาก่อนแทนที่จะสร้างศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา จนมีการฟ้องร้องกัน ระยะยาวนานเกือบ 4 ปี กอปรด้วยพิษเศรฐกิจ ค่าเงินบาทลอยตัว และศูนย์การค้า เดอะมอลล์ โคราช เปิดให้บริการแล้ว ทำให้เป็นเหตุให้โครงการเซ็นทรัลในจังหวัดนครราชสีมาหยุดชะงัก และระงับโครงการอย่างไม่มีกำหนด และเบนเข็มการพัฒนาโครงการไปยัง เซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์ แทน ส่วนผลการฟ้องร้องทั้งคู่ต่างยอมความกัน", "title": "เซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา" }, { "docid": "15134#0", "text": "กุหลาบเหลืองโคราช หรือ เอื้องกุหลาบเหลืองโคราช Rchb. f. เป็นกล้วยไม้ชนิดหนึ่ง พบในจังหวัดเลย จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครราชสีมา ออกดอกช่วงเดือนเมษายน ถึง เดือนพฤษภาคม", "title": "กุหลาบเหลืองโคราช" }, { "docid": "287097#1", "text": "ในอดีตใช้ชื่อ โคราชรายวัน เป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2517 นำเสนอข่าวการเมือง เศรษฐกิจ สังคม โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นชาวจังหวัดนครราชสีมาเป็นหลัก และวางแผงจำหน่ายในจังหวัดนครราชสีมา ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นรายสัปดาห์ในเวลาต่อมา ", "title": "โคราชรายวัน คนอีสาน" }, { "docid": "617959#15", "text": "ได้นำเสนอเนื้อหาในส่วนของดีโคราชที่มีอย่างมากมาย โดยเฉพาะในคำขวัญเก่าของจังหวัด คือ “โคราชลือเลื่อง เมืองก่อนเก่า นกเขาคารม อ้อยคันร่ม ส้มขี้ม้า ผ้าหางกระรอก” และได้คัดเลือกบางส่วนมาจัดแสดงเพื่อนำเสนอให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้รู้จักว่าโคราชมีของดีอีกมากมายที่ได้รับการกล่าวขวัญในอดีต ทั้งมวยโคราช ผ้าหางกระรอก รถสามล้อถีบ รำโทนโคราช และเพลงโคราช และนอกจากนี้ยังได้รองรับการจัดนิทรรศการหมุนเวียนอีกด้วย", "title": "พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา" } ]
2754
บิตคอยน์ ถูกเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อไหร่?
[ { "docid": "608027#1", "text": "บิตคอยน์ถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วย 'การขุด' (mining, การทำเหมือง) และสามารถแลกเป็นสกุลเงินอื่น[5] สินค้า และบริการ ณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 มีร้านค้ากว่า 100,000 ร้านยอมรับการจ่ายเงินด้วยบิตคอยน์[6] งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ประมาณว่าใน พ.ศ. 2560 มีผู้ใช้เงินตราแบบดิจิทัล 2.9 ถึง 5.8 ล้านคน โดยส่วนใหญ่แล้วใช้บิตคอยน์[7]", "title": "บิตคอยน์" } ]
[ { "docid": "608027#3", "text": "หน่วยของบัญชีระบบบิตคอยน์คือ บิตคอยน์ จนถึง พ.ศ. 2014 ชื่อที่ใช้ในการซื้อขาย (ticker symbol) ของบิตคอยน์ได้แก่ BTC[lower-alpha 1] และ XBT[lower-alpha 2] โดยมีสัญลักษณ์ยูนิโคด ₿[15]:2 หน่วยย่อยที่มักถูกใช้ได้แก่ มิลลิบิตคอยน์ (mBTC)[16] และ ซาโตชิ ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งตามผู้สร้างบิตคอยน์ ซาโตชิเป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดแสดงจำนวน 0.00000001 บิตคอยน์ หรือ หนึ่งในร้อยล้านของบิตคอยน์[17] ส่วน<i data-parsoid='{\"dsr\":[12489,12506,2,2]}'>มิลลิบิตคอยน์</i>เท่ากับ 0.001 บิตคอยน์ หรือ หนึ่งในพันของบิตคอยน์ และยังเท่ากับ 100,000 ซาโตชิ[18]", "title": "บิตคอยน์" }, { "docid": "807147#3", "text": "ในกรณีของบิตคอยน์ ผู้ใช้งานจะทำการโดยเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถซื้อขายและยืนยันการใช้จ่ายบิตคอยน์ โดยจะมีการสร้างบล็อกขึ้นใหม่เพื่อเก็บรายการการซื้อขายแลกเปลี่ยน ในอัตราประมาณหนึ่งบล็อกต่อ 10 นาที\nและแต่ละบล็อกจะมีจำนวนธุรกรรมเฉลี่ยมากกว่า 500 รายการ", "title": "บล็อกเชน" }, { "docid": "608027#9", "text": "เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ช่องโหว่ครั้งใหญ่ในโพรโทคอลของบิตคอยน์ถูกพบ การซื้อขายไม่ได้ถูกตรวจสอบอย่างถูกต้องก่อนถูกใส่เข้าไปในบล็อกเชน ทำให้ผู้ใช้สามารถเลี่ยงข้อจำกัดทางเศรษฐศาสตร์ของบิตคอยน์ และสร้างบิตคอยน์ขึ้นมาได้ในจำนวนไม่จำกัด[31][32] ในวันที่ 15 สิงหาคม ช่องโหว่นี้ถูกใช้สร้างกว่า 184 ล้านบิตคอยน์ผ่านการซื้อขายหนึ่งครั้ง และส่งไปยังที่อยู่สองที่ในเครือข่าย การซื้อขายถูกพบภายในไม่กี่ชั่วโมง และถูกลบออกจากบันทึกหลังแก้ไขบัคและอัพเดทรุ่นโพรโทคอลของบิตคอยน์[33][31][32]", "title": "บิตคอยน์" }, { "docid": "608027#6", "text": "หนึ่งในผู้สนับสนุน ผู้นำไปใช้ และผู้ร่วมพัฒนาบิตคอยน์คนแรก ๆ เป็นผู้รับการซื้อขายบิตคอยน์ครั้งแรก เขาเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ชื่อว่า ฮาล ฟินนีย์ (Hal Finney) ฟินนีย์ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์บิตคอยน์ในวันแรกที่เปิดตัว และได้รับ 10 บิตคอยน์จากนากาโมโตะในการซื้อขายบิตคอยน์ครั้งแรกของโลก[24][25] ผู้สนับสนุนแรกเริ่มคนอื่น ๆ ได้แก่ Wei Dai ผู้สร้าง b-money และ Nick Szabo ผู้สร้าง bit gold ทั้งคู่ที่มาก่อนบิตคอยน์[26]", "title": "บิตคอยน์" }, { "docid": "608027#8", "text": "มูลค่าของการแรกเปลี่ยนบิตคอยน์ครั้งแรกถูกต่อรองผ่านทางเว็บบอร์ดพูดคุยบิตคอยน์ โดยมีการซื้อขายครั้งหนึ่งที่ใช้ 10,000 BTC เพื่อซื้อพิซซ่าจำนวนสองถาดแบบอ้อมจาก Papa John's[22]", "title": "บิตคอยน์" }, { "docid": "608027#15", "text": "หากกุญแจสาธารณะหายไป ระบบบิตคอยน์จะไม่สามารถจำแนกหลักฐานความเป็นเจ้าของแบบอื่นได้[1] ทำให้เหรียญใช้ไม่ได้และสูญเสียมูลค่า ตัวอย่างเช่น ในพ.ศ. 2556 ผู้ใช้คนหนึ่งอ้างว่าเผลอทิ้งฮาร์ดดิสก์ที่มีกุญแจสาธารณะ ทำให้บิตคอยน์จำนวน 7,500 บิตคอยน์ ซึ่งในขณะนั้นมีมูลค่า 7.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 244 ล้านบาท) ได้หายไป[42] ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นหากเพียงเขาสำรองข้อมูลกุญแจไว้[43]", "title": "บิตคอยน์" }, { "docid": "943088#20", "text": "แต่ละบล็อกที่ต่อเข้ากับบล็อกเชน เริ่มตั้งแต่บล็อกธุรกรรมที่เป็นประเด็น จะเรียกได้ว่า เป็นการยืนยันธุรกรรมนั้น ๆ \nเพื่อความปลอดภัย ร้านค้าบริการที่ได้รับเงินเป็นบิตคอยน์ ควรจะรอการยืนยันที่ส่งกระจายไปยังเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ก่อนจะสมมุติว่าจ่ายแล้ว\nและยิ่งได้การยืนยันมากขึ้นเท่าไร การใช้ระบบโดยไม่ชอบเพื่อยกเลิกธุรกรรมนั้น ๆ ในบล็อกเชน ก็จะยากขึ้นเท่านั้น ยกเว้นถ้าผู้ทำการไม่ชอบควบคุมกำลังเครือข่ายเกินกว่าครึ่ง ซึ่งเป็นกรณีที่เรียกว่าการกระทำไม่ชอบโดย 51% (51% attack)", "title": "เครือข่ายบิตคอยน์" }, { "docid": "943088#28", "text": "นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอนได้ประเมินว่า ในปี 2012 4.5%-9% ของธุรกรรมของบิตคอยน์ในศูนย์แลกเปลี่ยนทั่วโลก เป็นไปเพื่อการซื้อสินค้าในตลาดมืด (dark web) แห่งเดียวคือ Silk Road\nสื่อลามกอนาจารเด็ก\nบริการฆาตกรรม\nและอาวุธ\nก็กล่าวด้วยว่า มีขายในเว็บไซต์ตลาดมืดที่สามารถจ่ายด้วยบิตคอยน์\nเนื่องจากตลาดดำเนินการอย่างนิรนามและไม่มีกฎหมายควบคุม จึงรู้ได้ยากว่า บริการเหล่านี้ทำให้จริง ๆ หรือว่าเป็นเพียงการฉ้อฉลหลอกลวงเอาบิตคอยน์", "title": "เครือข่ายบิตคอยน์" }, { "docid": "943088#17", "text": "ปัญหาเฉพาะอย่างหนึ่งที่ระบบจ่ายเงินทางอินเทอร์เน็ตต้องแก้ได้ก็คือ การใช้จ่ายเกินกว่าครั้ง (double spending) ที่ผู้ใช้โอนเหรียญเดียวกันให้แก่บุคคลสองคน\nตัวอย่างก็คือ อีฟส่งบิตคอยน์ไปให้อะลิซแล้วก็ส่งเหรียญเดียวกันไปให้บ๊อบอีก\nเครือข่ายบิตคอยน์ป้องกันการกระทำมิชอบเช่นนี้ได้ โดยบันทึกการโอนบิตคอยน์ทั้งหมดในบัญชีแยกประเภท (คือในบล็อกเชน) ที่ทุกคนสามารถเห็น\nและยืนยันก่อนว่า บิตคอยน์ที่ต้องการโอนทั้งหมดยังไม่เคยใช้ในอดีต", "title": "เครือข่ายบิตคอยน์" }, { "docid": "608027#24", "text": "บิตคอยน์ถูกวิจารณ์ในแง้ของความต้องการใช้ไฟฟ้าเพื่อขุด นิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์ ประมาณว่า แม้นักขุดทุกคนจะใช้อุปกรณ์สมัยใหม่ ก็ใช้ไฟประมาณ 166.7 เมกะวัตต์[51][52] ณ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 กิจกรรมการขุดบิตคอยน์ทั่วโลกถูกประมาณว่าใช้ไฟฟ้ากว่า 3.4 จิกะวัตต์[53]", "title": "บิตคอยน์" }, { "docid": "608027#5", "text": "ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 เครือข่ายบิตคอยน์ถือกำเนิดขึ้นหลัง ซาโตชิ นากาโมโตะ เริ่มขุดบล็อกแรกของเชนที่เรียกว่า บล็อกกำเนิด ที่ให้รางวัลจำนวน 50 บิตคอยน์[22][23]", "title": "บิตคอยน์" }, { "docid": "943088#4", "text": "เพื่อตั้งบริการตราเวลาแบบกระจายโดยใช้เครือข่ายเพียร์ทูเพียร์ บิตคอยน์ใช้ระบบพิสูจน์ว่าได้ทำงาน (proof-of-work system)\nงานบริการเช่นนี้บ่อยครั้งเรียกว่า การขุดหาบิตคอยน์ (bitcoin mining)\nค่าแฮชที่เป็นค่าพิสูจน์จะต้องค้นพบ ไม่ใช่อะไรที่สามารถรู้ล่วงหน้าได้\nเป็นงานที่ใช้พลังงานมาก\nค่าไฟฟ้าอาจเป็นค่าใช้จ่ายถึง 90% ของผู้ขุดหาเหรียญ\nศูนย์ข้อมูลในจีน ซึ่งออกแบบเพื่อขุดหาเหรียญบิตคอยน์โดยหลัก คาดว่าจะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าถึง 135 เมกะวัตต์", "title": "เครือข่ายบิตคอยน์" }, { "docid": "608027#26", "text": "หมวดหมู่:หน่วยเงิน หมวดหมู่:การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมวดหมู่:เงินคริปโท หมวดหมู่:บิตคอยน์", "title": "บิตคอยน์" }, { "docid": "608027#12", "text": "การซื้อขายถูกให้ความหมายด้วยภาษาบทคำสั่งที่คล้ายฟอร์ธ (Forth)[39]:ch. 5 การซื้อขายประกอบไปด้วย ข้อมูลเข้า และ ข้อมูลออก เมื่อผู็ใช้ส่งบิตคอยน์ ผู้ใช้กำหนดที่อยู่และจำนวนบิตคอยน์ที่จะส่งไปยังที่อยู่นั้นในข้อมูลออก เพื่อป้องกันการใช้ซ้อน ข้อมูลเข้าแต่ละข้อมูลต้องอ้างอิงกลับไปยังข้อมูลออกอันก่อนที่ยังไม่ได้ใช้ในบล็อกเชน[41] การใช้ข้อมูลเข้าหลายข้อมูลเปรียบเสมือนการใช้เหรียญหลายเหรียญในการซื้อขายด้วยเงินสด ในเมื่อการซื้อขายสามารถมีข้อมูลออกหลายข้อมูล ผู้ใช้สามารถส่งบิตคอยน์ให้กับหลายผู้รับในการซื้อขายหนึ่งครั้ง ผลรวมของข้อมูลเข้า (จำนวนเหรียญที่ใช้จ่าย) สามารถมีจำนวนมากกว่าจำนวนจ่ายทั้งหมด เช่นเดียวกับการซื้อขายด้วยเงินสด ในกรณีนี้ ข้อมูลออกเสริมถูกใช้เพื่อทอนให้กับผู้จ่าย[41] จำนวนซาโตชิที่ถูกป้อนเข้าและไม่ถูกบันทึกสำหรับการซื้อขายออกกลายเป็นค่าธรรมเนียมการซื้อขาย[41]", "title": "บิตคอยน์" }, { "docid": "627015#1", "text": "โดชคอยน์ถูกสร้างโดยโปรแกรมเมอร์ชื่อบิลลี่ มาร์คัส(Billy Markus) จาก Portland, Oregon ในตอนเริ่มต้นนั้นบิลลี่ต้องการสร้างสกุลเงินดิจิตอลที่ตลกเพื่อที่จะเข้าถึงคนส่วนใหญ่ได้มากกว่าบิตคอยน์ (Bitcoin) นอกจากนี้เขายังต้องการใหโดชคอยน์มีความรู้สึกแตกต่างจากบิตคอยน์ ที่ในขณะนั้นมีภาพลักษณ์ไม่ดีจากการที่เข้าไปเป็นสกุลเงินกลางที่ใช้ในการซื้อขายใน Silk Road ตลาดยาเสพติดออนไลน์ในขณะนั้น[17] ประจวบเหมาะกับในขณะนั้นเจ็คสัน พามเมอร์ (Jackson Palmer)ผู้ร่วมสร้างโดชคอย์นอีกคนถูกนักศึกษาจาก Front Range Community College สนับสนุนให้สร้างความคิดให้เป็นจริง[18]", "title": "โดชคอยน์" }, { "docid": "608027#14", "text": "บิตคอยน์ถูกลงชื่อบนที่อยู่บิตคอยน์ในบล็อกเชน การสร้างที่อยู่บิตคอยน์คือการสุ่มเลือกกุญแจส่วนตัวที่ใช้งานได้และคำนวนที่อยู่บิตคอยน์ที่สัมพันธ์กัน การคำนวนนี้สามารถกินเวลาเพียงเสี่ยววินาที ทว่าการทำกลับกัน (การคำนวนหากุญแจส่วนตัวจากที่อยู่บิตคอยน์) เป็นไปไม่ได้ทางคณิตศาสตร์ ดังนั้นผู้ใช้สามารถเผยแพร่ที่อยู่บิตคอยน์ให้เป็นสาธารณะได้โดยไม่ต้องกลัวว่ากุญแจส่วนตัวจะถูกเปิดเผย นอกจากนี้ จำนวนกุญแจส่วนตัวที่ใช้ได้มีจำนวนเยอะมากจนแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะสุ่มแบบ brute force เจ้าของบิตคอยน์ต้องรู้กุญแจส่วนตัวและที่สัมพันธ์กับที่อยู่และเซ็นแบบดิจิตอลเพื่อให้บิตคอยน์ในการซื้อขาย ระบบตรวจสอบลายเซ็นโดยใช้กุญแจสาธารณะ[39]:ch. 5", "title": "บิตคอยน์" }, { "docid": "933967#52", "text": "ในเดือนธันวาคม 2017 บริษัทการพนัน Lottoland ในยิบรอลตาร์ได้เริ่มขายล็อตเตอรี่ที่ให้มูลค่าที่ชนะเป็นบิตคอยน์ โดยขายทั่วโลก ควบคุมโดยรัฐบาล และมีรางวัลสูงสุดที่ 1,000 เหรียญบิตคอยน์[79] แต่คนเล่นจะต้องซื้อล็อตเตอรี่โดยใช้เงินปกติแม้จะสามารถเลือกรับมูลค่าที่ชนะเป็นบิตคอยน์ได้", "title": "คริปโทเคอร์เรนซี" }, { "docid": "943088#38", "text": "ในการฉ้อฉลแบบพอนซีโดยใช้บิตคอยน์ บริษัท Bitcoin Savings and Trust สัญญาให้ดอกเบี้ย 7% ต่อผู้ลงทุน แล้วได้บิตคอยน์ 700,000 เหรียญในระหว่างปี 2011-2012\nในเดือนกรกฎาคม 2013 คณะกรรมการควบคุมหลักทรัพย์สหรัฐ คือ SEC ได้ฟ้องคดีบริษัทและผู้ก่อตั้ง \"ในข้อหาฉ้อโกงผู้ลงทุนในการฉ้อฉลแบบพอนซีโดยใช้บิตคอยน์\"\nในเดือนกันยายน 2014 ศาลได้ปรับบริษัทและเจ้าของ 40 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,300 ล้านบาท)", "title": "เครือข่ายบิตคอยน์" }, { "docid": "608027#0", "text": "บิตคอยน์ (English: Bitcoin) เป็นเงินตราแบบดิจิทัล (cryptocurrency) และเป็นระบบการชำระเงินที่ใช้กันทั่วโลก[1]:3 บิตคอยน์เป็นสกุลเงินดิจิทัลแรกที่ใช้ระบบกระจายอำนาจ โดยไม่มีธนาคารกลางหรือแม้แต่ผู้คุมระบบแม้แต่คนเดียว[1]:1[2] เครือข่ายเป็นแบบเพียร์ทูเพียร์ และการซื้อขายเกิดขึ้นระหว่างจุดต่อเครือข่าย (network node)โดยตรง ผ่านการใช้วิทยาการเข้ารหัสลับและไม่มีสื่อกลาง[1]:4 การซื้อขายเหล่านี้ถูกตรวจสอบโดยรายการเดินบัญชีแบบสาธารณะที่เรียกว่าบล็อกเชน บิตคอยน์ถูกพัฒนาโดยคนหรือกลุ่มคนภายใต้นามแฝง \"ซาโตชิ นากาโมโตะ\"[3] และถูกเผยแพร่ในรูปแบบซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซในปี พ.ศ. 2552[4]", "title": "บิตคอยน์" }, { "docid": "608027#4", "text": "ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ชื่อโดเมน \"bitcoin.org\" ถูกตั้งขึ้น[19] ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ลิงค์ไปยังเอกสารในหัวข้อ บิตคอยน์:ระบบเงินอิเลคโทรนิคแบบเพียร์ทูเพียร์[8] เขียนโดย ซาโตชิ นากาโมโตะ ได้ถูกส่งไปยังกลุ่มรายชื่อของอีเมล์ของวิทยาการเข้ารหัสลับ[19] นากาโมโตะนำซอฟต์แวร์บิตคอยน์มาใช้เป็นโค้ดแบบโอเพนซอร์ซและเปิดตัวในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552[20][4] ขณะนั้นจนถึงตอนนี้ตัวตนของนากาโมโตะยังไม่ถูกเปิดเผย[21]", "title": "บิตคอยน์" }, { "docid": "608027#23", "text": "กล่าวคือ นากาโมโตะ ผู้สร้างบิตคอยน์ ตั้งนโยบายการเงินบนฐานของความขาดแคลนประดิษฐ์ (artificial scarcity) และทำให้บิตคอยน์ถูกจำกัดอยู่ที่จำนวน 21 ล้านบิตคอยน์ตั้งแต่แรก จำนวนทั้งหมดจะถูกเผยทุก ๆ สิบนาทีและอัตราการสร้างจะลดลงครึ่งหนึ่งทุก ๆ สี่ปีจนบิตคอยน์ทั้งหมดอยู่ในระบบ[50]", "title": "บิตคอยน์" }, { "docid": "943088#2", "text": "ความเป็นเจ้าของบิตคอยน์จะระบุได้โดยลำดับธุรกรรมที่ลงนามดิจิทัลเริ่มตั้งแต่การสร้างบิตคอยน์\nเจ้าของบิตคอยน์จะโอนเงินโดยลงนามดิจิทัลเพื่อให้แก่เจ้าของคนต่อไปคล้ายกับการสลักหลังเช็ค โดยผ่านธุรกรรมของบิตคอยน์\nและผู้รับจ่ายก็สามารถตรวจสอบธุรกรรมก่อน ๆ เพื่อยืนยันโซ่ความเป็นเจ้าของ\nแต่ไม่เหมือนกับการสลักหลังเช็ค ธุรกรรมของบิตคอยน์จะย้อนคืนไม่ได้ ซึ่งกำจัดความเสี่ยงการฉ้อฉลโดยการขอเงินคืนจากสถาบันการเงินซึ่งเป็นคนกลาง เช่น chargeback fraud", "title": "เครือข่ายบิตคอยน์" }, { "docid": "943088#0", "text": "เครือข่ายบิตคอยน์ () เป็นระบบการจ่ายเงินที่ดำเนินงานโดยใช้โพรโทคอลวิทยาการเข้ารหัสลับ\nคือผู้ใช้จะส่งหรือรับบิตคอยน์ ซึ่งเป็นเงินคริปโทสกุลหนึ่ง โดยแพร่สัญญาณเป็นข้อความที่ได้ลงนามแบบดิจิทัลไปยังเครือข่าย ผ่านการใช้โปรแกรมกระเป๋าเงินคริปโท (cryptocurrency wallet) \nธุรกรรมจะบันทึกไว้ในฐานข้อมูลสาธารณะแบบกระจายและมีสำเนาซ้ำซ้อนที่เรียกว่า บล็อกเชน \nโดยเครือข่ายจะถึงความเห็นพ้องเกี่ยวกับสถานะบัญชีผ่านระบบ Proof-of-work system ซึ่งเรียกว่า ไมนิง/การขุดหาเหรียญ\nบุคคลหรือกลุ่มบุคคลผู้ใช้นามแฝง ซาโตชิ นากาโมโตะ ผู้ออกแบบบิตคอยน์อ้างว่า การออกแบบและการทำให้เกิดผลได้เริ่มในปี 2007\nแล้วต่อมาจึงเผยแพร่เป็นซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์ซในปี 2009", "title": "เครือข่ายบิตคอยน์" }, { "docid": "943088#27", "text": "สำนักสื่อข่าวหลายแห่งได้อ้างว่า บิตคอยน์เป็นที่นิยมก็เพราะสามารถใช้ซื้อสินค้าผิดกฎหมาย\nในปี 2014 นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเคนทักกีพบ \"หลักฐานที่ชัดเจนว่า นักเลงสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอาชญากรรม เป็นตัวขับความสนใจในบิตคอยน์ แต่ไม่พบหรือพบน้อยซึ่งแรงบันดาลใจทางการเมืองหรือการลงทุน\"", "title": "เครือข่ายบิตคอยน์" }, { "docid": "943088#8", "text": "การขุดหาเหรียญบิตคอย์เป็นเรื่องที่ต้องแข่งขัน\nมี \"การแข่งขันในทางอาวุธ\" คือแข่งใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อคำนวณแฮชในการขุดหาบิตคอยน์ รวมทั้งหน่วยประมวลผลกลางธรรมดา ๆ หน่วยประมวลผลกราฟิกส์ไฮเอนด์ซึ่งเป็นอุปกรณ์สามัญในคอมพิวเตอร์สำหรับเกมมิง เอฟพีจีเอ และวงจรรวมเฉพาะงาน (ASIC) ซึ่งแต่ละอย่างล้วนลดผลกำไรที่ได้จากเทคโนโลยีที่เฉพาะพิเศษน้อยกว่า\nASIC เฉพาะบิตคอยน์ปัจจุบันเป็นวิธีการหลักเพื่อขุดหาบิตคอยน์ และเอาชนะความเร็วของ GPU ได้อาจถึง 300 เท่า\nเพราะบิตคอยน์ขุดหาได้ยากขึ้น บริษัทผลิตฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์จึงขายผลิตภัณฑ์ ASIC ในชั้นสูงได้มากขึ้น", "title": "เครือข่ายบิตคอยน์" }, { "docid": "943088#15", "text": "มีการพิจารณาถึงวิธีการใช้เครือข่ายบิตคอยน์ซึ่งเป็นระบบการจ่ายเงินโดยไม่ชอบ ไม่ว่าจะโดยความจริงหรือโดยทฤษฏี\nโพรโทคอลของบิตคอยน์สามารถป้องกันการใช้โดยมิชอบที่ว่าบางอย่าง เช่น การใช้จ่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต การใช้จ่ายเกินกว่าครั้ง (double spending) การปลอมบิตคอยน์ และการเปลี่ยนข้อมูลในบล็อกเชน\nส่วนการกระทำโดยมิชอบอื่น ๆ เช่น การขโมยกุญแจส่วนตัว (private key) ผู้ใช้ต้องระวังเอง", "title": "เครือข่ายบิตคอยน์" }, { "docid": "608027#2", "text": "คำว่า บิตคอยน์ ปรากฏขึ้นครั้งแรกและถูกให้ความหมายในสมุดปกขาว (white paper)[8] ที่ถูกตีพิมพ์เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2541[9] เป็นการรวมคำว่า บิต และ คอยน์ เข้าด้วยกัน[10]", "title": "บิตคอยน์" }, { "docid": "608027#7", "text": "ในช่วงแรก มีการประมาณว่านากาโมโตะได้ทำการขุดจำนวน 1 ล้านบิตคอยน์[27] ในพ.ศ. 2553 นากาโมโตะส่งต่อกุญแจเตือนเครือข่ายและการควบคุมที่เก็บโค้ดหลักบิตคอยน์ (Bitcoin Core code) ให้กับ Gavin Andresen ผู้ที่ต่อมากลายเป็นหัวหน้านักพัฒนาหลักของมูลนิธิบิตคอยน์ (Bitcoin Foundation)[28][29] จากนั้นนากาโมโตะก็เลิกยุ่งเกี่ยวกับบิตคอยน์[30] จากนั้น Andresen ตั้งเป้าหมายว่าจะกระจายอำนาจการควบคุม และกล่าวว่า \"หลังซาโตชิถอยออกไปและโยนโครงการมาบนไหล่ของฉัน สิ่งแรกที่ฉันทำคือการพยายามกระจายอำนาจ เพื่อที่โครงการจะไปต่อได้ แม้หากฉันโดนรถบัสชนก็ตาม\"[30]", "title": "บิตคอยน์" }, { "docid": "608027#11", "text": "บล็อกเชน เป็น รายการบัญชีแบบสาธารณะที่บันทึกการซื้อขายบิตคอยน์[36] วิธีแก้ปัญหาแบบใหม่ทำสิ่งนี้โดยไม่ต้องพึ่งผู้มีอำนาจส่วนกลาง เพราะการรักษาสภาพบล็อกเชนทำโดยเครือข่ายของจุดต่อ (node) ที่รันซอฟต์แวร์บิตคอยน์ซึ่งสื่อสารกัน[1] การซื้อขายในรูปแบบ ผู้จ่าย X ส่ง Y บิตคอยน์ ให้กับผู้รับ Z ถูกเผยแพร่ไปยังเครือข่ายนี้โดยใช้แอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ที่มีอยู่[37] จุดต่อเครือข่ายสามารถตรวจสอบการซื้อขาย เพิ่มการซื้อขายไปบนรายการบัญชี จากนั้นเผยแพร่การเพิ่มรายการบัญชีเหล่านี้ไปยังจุดต่ออื่น ๆ บล็อกเชนเป็นฐานข้อมูลแบบกระจาย (distributed database) เพื่อการยืนยันอย่างอิสระของเชนของการเป็นเจ้าของบิตคอยน์ไม่ว่าจะจำนวนเท่าใด แต่ละจุดต่อเครือข่ายจัดเก็บสำเนาบล็อกเชนของตนเอง[38] ประมาณ 6 ครั้งต่อชั่วโมง กลุ่มใหม่ของการซื้อขายที่ถูกยอมรับหรือที่เรียกว่าบล็อกถูกสร้างขึ้น เพิ่มเข้าไปในบล็อกเชน และเผยแพร่ไปยังจุดต่อทั้งหมดอย่างรวดเร็ว สิ่งนี้ทำให้ซอฟต์แวร์บิตคอยน์สามารถตัดสินเมื่อบิตคอยน์จำนวนที่กำหนดถูกใช้ และมีความสำคัญในการป้องกันการใช้ซ้อน (double-spending) ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีส่วนกลางคอยควบคุม ในขณะที่รายการเดินบัญชีแบบดั้งเดิมบันทึกรายการซื้อขายของธนบัตรจริงหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน บล็อกเชนเป็นที่เดียวที่บิตคอยน์สามารถมีอยู่ในรูปแบบของผลลัพธ์ที่ยังไม่ถูกใช้ในการซื้อขาย[39]:ch. 5", "title": "บิตคอยน์" } ]
2093
มหายาน แต่เดิมคือนิกายอะไร?
[ { "docid": "32409#8", "text": "หลังจากพระโคตมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 3 เดือน พระสาวกผู้ได้เคยสดับสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ใช้เวลาสอบทานอยู่ 7 เดือน จึงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นับเป็นบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก คำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งปฐมสังคายนาและได้นับถือกันสืบมา เรียกว่า เถรวาท แปลว่า คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ คำว่า เถระ ในที่นี้ หมายถึงพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก และพระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักที่ได้สังคายนาครั้งแรกดังกล่าว เรียกว่า นิกายเถรวาท อันหมายถึง คณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งถ้อยคำ และเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัด ตลอดจนรักษาแม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลี[1]", "title": "มหายาน" } ]
[ { "docid": "55674#32", "text": "widths=\"170px\" การห่มจีวรแบบห่มคลุมของพระภิกษุมหานิกายเถรวาท (ที่ประพฤติแบบธรรมยุติ)สายหนองป่าพง ที่ใช้การย้อมจีวรด้วยแก่นขนุน เพื่อให้สีใกล้เคียงกับสมัยพุทธกาล การห่มคลุมของพระสงฆ์ในนิกายธรรมยุติ การห่มผ้าลดไหล่สีกรัก[3] มีสังฆาฏิพาด ของพระภิกษุนิกายเถรวาท สายธรรมยุติกนิกาย การห่มจีวรของพระภิกษุในนิกายเถรวาทแบบพม่า การห่มจีวรของพระภิกษุนิกายฉาน (เซน) แบบจีน การห่มจีวรของพระภิกษุนิกายฉาน (เซน) แบบญี่ปุ่น การห่มจีวรของพระภิกษุนิกายวัชรยานแบบทิเบต การห่มจีวรของพระภิกษุนิกายมหายานแบบเกาหลี การห่มจีวรของพระภิกษุนิกายมหายานแบบเวียดนาม", "title": "ไตรจีวร" }, { "docid": "934#33", "text": "200px|thumbnail|right|พระพุทธรูปในถ้ำซ็อกคูรัม ประเทศเกาหลีใต้ ศาสนาพุทธ แบ่งออกเป็นนิกายใหญ่ได้ 2 นิกายคือ เถรวาทและมหายาน นอกจากนี้แล้วยังมีการแบ่งที่แตกต่างออกไปแบ่งเป็น 3 นิกาย เนื่องจากวัชรยานถือว่าตนเป็นยานพิเศษโดยเฉพาะ ต่างจากมหายาน", "title": "ศาสนาพุทธ" }, { "docid": "519594#3", "text": "ศาสนาพุทธลัทธิคุยหยาน () หรือวัชรยาน แต่เดิมเป็นแนวการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งในนิกายมหายาน จนพุทธศตวรรษที่ 10 จึงแยกตัวออกมาเป็นนิกายใหม่ แต่ยังคงพื้นฐานแนวคิดแบบมหายานไว้ การเรียกว่าคุยหยาน ก็ด้วยเหตุผล 4 ประการ คือ", "title": "คุยหลัทธิ" }, { "docid": "32409#11", "text": "หลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานได้ 100 ปี อันเป็นช่วงเวลาที่มีการสังคายนาครั้งที่ 2 ได้มีคณะสงฆ์กลุ่มหนึ่งเรียกว่า มหาสังฆิกะ ซึ่งมีจำนวนมาก ได้แยกตนออกไปต่างหากจากกลุ่มเถรวาทเดิม การแยกตัวของมหาสังฆิกะนี้มีมูลเหตุจากความเห็นที่แตกต่างเรื่องหลักปฏิบัติของภิกษุ หลังจากนั้นมหาสังฆิกะได้แยกกลุ่มนิกายย่อยออกไปอีก 18 นิกาย เนื่องจากมีทัศนะ อุดมคติ การตีความหลักธรรม และวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกัน หลังจากนั้นภิกษุบางรูปในนิกายทั้ง 18 นี้ ได้แยกตนออกมาตั้งคณะใหม่โดยถือปรัชญาและหลักจริยวัตรของตน กระทั่งในราวพุทธศตวรรษที่ 5 จึงได้เกิดกลุ่มคณะสงฆ์และคฤหัสถ์ที่เรียกตนเองว่า \"มหายาน\" ขึ้น แม้จะมีที่มาไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานได้ว่าพัฒนาจากนิกายมหาสังฆิกะ ผสมผสานกับปรัชญาของนิกายพุทธศาสนาอื่นทั้ง 18 นิกาย รวมทั้งนิกายเถรวาทด้วย ก่อกำเนิดเป็นลัทธิมหายาน", "title": "มหายาน" }, { "docid": "673#31", "text": "นิกายมหายานยอมรับพระพุทธเจ้าตามคัมภีร์ฝ่ายเถรวาททั้งหมดและยังสร้างพระพุทธเจ้าอีกมากมาย ทั้งที่เป็นมนุษย์และมีสถานะเหมือนเทพเจ้าในศาสนาฮินดู นิกายมหายานเชื่อว่าเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วไม่ดับสูญแต่ไปประทับ ณ พุทธเกษตรซึ่งเป็นดินแดนที่งดงามกว่าสวรรค์ พระพุทธเจ้าตามคติมหายานแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ", "title": "พระพุทธเจ้า" }, { "docid": "618549#4", "text": "อย่างไรก็ตาม ที่ญี่ปุ่นได้มีการลดความสำคัญของพระปาติโมกข์ หรือพระวินัยของนิกายธรรมคุปต์ลง จนเหลือแต่การรับโพธิสัตว์ศีลเท่านั้น โดยเริ่มมาตั้งแต่ยุคของพระไซโจ หรือราวพุทธศตวรรษที่ 15 ผู้ก่อตั้งนิกายเทนได ซึ่งได้รับพระราชานุญาตจากพระจักพรรดิในการตั้งสีมาอุปสมบทของนิกายตนเอง โดยรับเพียงโพธิสัตว์ศีลไม่ต้องสมาทานพระวินัยของนิกายธรรมคุปต์ เพื่อชำระนิกายมหายานให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น โดยแต่เดิมผู้ที่จะรับการอุปสมบทในญี่ปุ่น จะต้องทำกันที่สีมาวัดโทไดจิ ในนครนาระ ซึ่งจะมีการอุปสมบทแบบดั้งเดิม คือรับพระวินัย/ปราติโมกษ์ของนิกายธรรมคุปต์พร้อมกับรับโพธิสัตว์ศีล\nต่อมา นอกจากนิกายเทนไดแล้ว นิกายเซน สายโซโตะ นิกายชินงอน และนิกายโจโดชู ยังอุปสมบทโดยรับเพียงโพธิสัตว์ศีลเท่านั้นเช่นกัน กระทั่งถึงยุคเมจิ รัฐบาลได้มีความพยายามลดความสำคัญของศาสนาพุทธ จึงออกกฎหมายเปิดทางให้บรรพชิตสมรสกับสตรี และตั้งครอบครัว โดยอ้างว่าพระวินัยมิได้มีบัญญัติห้ามบรรพชิตในเรื่องนี้ นับเป็นการสิ้นสุดของการถือพระวินัยในญี่ปุ่นโดยสมบูรณ์http://www.gonghoog.com/main/index.php/2012-11-10-06-47-07", "title": "โพธิสัตว์ศีล" }, { "docid": "934#2", "text": "พระพุทธเจ้า พระองค์ปัจจุบันคือพระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทรงเริ่มออกเผยแผ่คำสอนในชมพูทวีป ตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่หลังปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงสั่งสอน ได้ถูกรวบรวมเป็นหมวดหมู่ด้วยการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก[5] จนมีการรวบรวมขึ้นเป็นพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดของฝ่าย เถรวาท ที่ยึดหลักไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แต่ในการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สอง ได้เกิดแนวคิดที่เห็นต่างออกไป[6] ว่าธรรมวินัยสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาและสถานการณ์เพื่อความอยู่รอดแห่งศาสนาพุทธ[7] แนวคิดดังกล่าวจึงได้เริ่มก่อตัวและแตกสายออกเป็นนิกายใหม่ในชื่อของ มหายาน ทั้งสองนิกายได้แตกนิกายย่อยไปอีกและเผยแพร่ออกไปทั่วดินแดนเอเชียและใกล้เคียง บ้างก็จัดว่า วัชรยาน เป็นอีกนิกายหนึ่ง แต่บ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของนิกายมหายาน แต่การจัดมากกว่านั้นก็มี[8] หลักพื้นฐานสำคัญของปฏิจสมุปบาท เป็นเพียงหลักเดียวที่เป็นคำสอนร่วมกันของคติพุทธ[9]", "title": "ศาสนาพุทธ" }, { "docid": "578838#2", "text": "\"\"มีหลักฐานบ่งชี้พอสมควรว่า เมื่อแรกอุปสมบทนั้นนอสังคะสังกัดนิกายมหีศาสกะ และได้ซึมซับทัศนะเฉพาะของนิกายนี้มาไว้ในผลงานของท่านอยู่ไม่น้อยหลังจากที่ท่านได้กลายเป็นคณาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ของฝ่ายมหายานแล้ว โดยท่านได้ทำการริเริ่มพระอภิธรรมปิฎกของฝ่ายมหายานขึ้น ซึ่งเป็นของแปลกใหม่ของนิกายนี้\"\"\nจากบันทึกของพระถังซำจั๋ง ระบุว่า แรกเริ่มนั้น ท่านอสังคะเป็นพระในนิกายมหีศาสกะ ต่อมาเกิดความซาบซึ้งในคำสอนของฝ่ายมหายาน ขณะที่น้องชายต่างบิดาของท่านคือ ท่านวสุพันธุ แรกเริ่มนั้นเป็นพระในสังกัดนิกายวรวาทสตวาท แต่ต่อมาท่านแปลงเป็นฝ่ายมหายาน หลังได้พบกับ อสังคะพี่ชายของท่าน และหนึ่งในศิษย์ของท่านอสังคะ ", "title": "อสังคะ" }, { "docid": "312532#0", "text": "พุทธศาสนานิชิเร็น (, \"นิชิเร็น-เคอิ โช ชูฮะ\") เป็นหนึ่งในนิกายทางมหายานของพุทธศาสนา ที่ยึดตามคำสอนของ พระสงฆ์ชาวญี่ปุ่นชื่อ พระนิชิเร็ง (ค.ศ. 1222– ค.ศ. 1282) รูปแบบของศาสนาพุทธนิกายนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อสังคมญี่ปุ่นหลายช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ นิชิเร็นโชชูจะเชื่อใน คัมภีร์ สัทธรรมปุณฑริกสูตร และเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีธรรมชาติพุทธะอยู่ในชีวิตของแต่ละคนอยู่แล้ว จึงทำให้มนุษย์ทุกคนสามารถบรรลุพุทธภาวะได้ในช่วงชีวิตนี้ ซึ่งพระนิชิเร็ง ได้เห็นความเบี่ยนเบนทางคำสอนของ มหายานในสมัยนั้น นิกายนิชิเร็นมีแตกแยกออกเป็นหลาย ๆ นิกายย่อยและลัทธิต่าง ๆ อีกมากมาย อีกทั้งยังมีแยกออกเป็นกลุ่มศาสนาใหม่มากมาย โดยบางนิกายจะใช้บทสวดเดียวกัน แต่จะมีความแตกต่างในการปฏิบัติ และคำสอน ผู้นับถือนิกายนิชิเร็นจะเชื่อว่าการปฏิบัติธรรมจะสามารถนำพาความสุข และสันติสุขมาสู่โลก", "title": "นิจิเร็ง" }, { "docid": "612241#1", "text": "แนวคิดเรื่องโพธิจิตปรากฏในหลายคัมภีร์ของฝ่ายมหายาน เช่น วิมลกีรตินิรเทศสูตร มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ มหาไวโรจนสูตร เป็นต้น โดยแต่ละคัมภีร์แสดงนัยของโพธิจิตแตกต่างกันไป เมื่อนิกายมหายานแพร่ไปถึงประเทศจีน พระเถราจารย์ชาวจีนหลายรูปได้แต่งคัมภีร์ขยายความแนวคิดโพธิจิตต่อไปอีกจนแพร่หลาย จนกลายเป็นแนวคิดสำคัญอย่างหนึ่งของนิกายมหายานจวบจนปัจจุบัน", "title": "โพธิจิต" }, { "docid": "123382#2", "text": "ภายนับได้กึ่งพุทธกาล บูรพาจารย์พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรฯ (โพธิ์แจ้งมหาเถระ) ท่านได้ธุดงค์วัตรไปอุปสมบท และศึกษาพระธรรมวินัย 2 ปี สำนักสังฆปรินายกนิกายวินัย ของนิกายหลุกจง นิกายวินัย วัดล่งเชียงยี่ บนภูเขาป๋อฮั้วซัว มณฑลกังโซว ประเทศจีน เมื่อสำเร็จธรรมท่านเดินทางกลับมาพร้อมพระคัมภีร์มหายานนิกายวินัย และมีการแปลพระวินัยฉบับมหายานสู่ภาคไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาท่านได้ธุดงค์วัตรไปไกลถึงทิเบต ตะวันออกและได้เข้าศึกษานิกายมิกจง หรือนิกายมนตรายาน ณ อารามรินโวเช่ แคว้นคามทิเบตตะวันออก เป็นเวลา 6 ปี หลังจากนั้นท่านได้ธุดงค์กลับ เพราะคำสั่งของพระอาจารย์มหาชีวินพุทธนอร่ารินโปเช่ พร้อมทั้งท่านได้มอบตราประจำตำแหน่งพระสังฆนายก นิกายมนตรยาน และมอบพระคัมภีร์ฝ่ายวัชรยาน กลับสู่เมืองไทย ก่อนที่ทิเบตจะแตก 2 ปี", "title": "วัดเทพพุทธาราม" }, { "docid": "647072#0", "text": "นิกายโชเก หรือคณะโชเก (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ แทฮันพุลคโยโชกเยจง - 대한불교조계종, 大韓佛敎 曹溪宗) คือคณะสงฆ์เกาหลีใต้ฝ่ายมหายานที่รักษาพระปาติโมกข์ของนิกายธรรมคุปต์อย่างเคร่งครัด สืบทอดธรรมเนียมสำนักวิปัสสนา หรือสำนักซอน (เซ็น) และศึกษาพระสูตรของจนิกายโบราณต่างๆ เช่น อวตังสกสูตรของนิกายฮวาออม รวมถึงธรรมเนียมปฏิบัติของนิกายสุขาวดีดีสายเกาหลี ชื่อนิกายนั้นมาจากชื่อของหมู่บ้านเดิมของพระฮุ่ยเหนิง สังฆปรินายกองค์ที่ 6 แห่งนิกายฉาน หรือนิกายเซ็น หมู่บ้านนั้นชื่อเฉาซี (曹溪) ในภาษาจีนกลางยุคใหม่ ในภาษาจีนยุคกลางอ่านว่า โชไก ปัจจุบันคณะโชเกมีศูนย์กลางการบริหารอยู่ที่วัดโชเกซา โซล ประเทศเกาหลีใต้", "title": "นิกายโชเก" }, { "docid": "240873#1", "text": "คำว่า “หีนยาน” และ “มหายาน” ปรากฏครั้งแรกในคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตร ต่อมามีคณาจารย์พระพุทธศาสนาช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 ได้ปฏิรูปคำสอนและการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา โดยถือเอาวิถีทางพระโพธิสัตว์เป็นอุดมคติแทนที่การบรรลุเป็นพระอรหันต์ในชาตินี้ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่ศาสนาพุทธยุคแรก จึงเรียกกลุ่มตนเองว่า มหายาน และเรียกกลุ่มเดิมว่า หีนยาน โดยมีนิกายเถรวาทเป็นหนึ่งในนั้น อย่างไรก็ตามหีนยานกลุ่มที่มหายานวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดคือนิกายสรวาสติวาท (ซึ่งต่อมาได้แตกออกเป็นไวภาษิกะและเสาตรานติกะ)", "title": "หีนยาน" }, { "docid": "683337#0", "text": "พระมหาคณานัมธรรมปัญญาธิวัตร นามเดิม เจริญ แซ่บู๊ ฉายา กิ๊นเจี๊ยว () เป็นพระภิกษุนิกายมหายาน อดีตเจ้าคณะใหญ่คณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย และอดีตเจ้าอาวาสวัดกุศลสมาคร", "title": "พระมหาคณานัมธรรมปัญญาธิวัตร (เจริญ กิ๊นเจี๊ยว)" }, { "docid": "32409#30", "text": "นอกจากนี้ก็มีพระสูตรที่สำคัญอีกเช่นกันคือ วิมลเกียรตินิทเทศสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่มีปรัชญาเป็นมูลฐาน นิกายเซ็น ( Zen ) จึงชอบและนิยมมากที่สุด และพระสูตรที่สำคัญที่สุดซึ่งนิกายมหายานในจีนและญี่ปุ่นนับถือกันมากคือ สัทธรรมปุณฑริกสูตร คำสั่งสอนในนิกายเท็นได นิจิเร็น ล้วนอาศัยพระสูตรนี้เป็นรากฐานทั้งสิ้น และวัดในนิกายเซ็น ก็ต้องสวดพระสูตรนี้เป็นประจำทุกวัน ทั้งนี้เพราะเชื่อกันว่า พระสูตรนี้เป็นพระสูตรสุดท้ายของพระพุทธองค์จึงมีผู้แปลมาก โดยเฉพาะในภาษาจีนมี 3 ฉบับ แต่ที่ถือกันว่าเป็นฉบับที่ดีที่สุด คือ ของท่านกุมารชีพ", "title": "มหายาน" }, { "docid": "68404#2", "text": "หลังจากได้พิมพ์พจนานุกรมพระพุทธศาสนาเล่มแรกสำเร็จในปี พ.ศ. 2519 คณะสงฆ์จีนนิกายได้เล็งเห็นว่า พจนานุกรมเล่มเดิมนั้นได้อำนวยประโยชน์สมดังเจตนารมณ์และมีความแพร่หลายไปในระดับนานาชาติ จำเนียรกาลล่วงมาจนกระทั่ง พ.ศ. 2539 คณะผู้จัดทำเห็นสมควรที่จะตรวจสอบชำระปรับปรุงใหม่ให้มีความทันสมัยและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงได้เกิดโครงการพจนานุกรมพระพุทธศาสนามหายานฉบับเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีขึ้น ด้วยการอุปถัมภ์ของ พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (เย็นเต็ก) เจ้าคณะใหญ่จีนนิกายรูปปัจจุบัน วัดโพธิ์แมนคุณาราม กรุงเทพ ฯ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านศาสนา ปรัชญา ภาษาศาสตร์ และนักวิชาการของคณะสงฆ์จีนนิกาย ช่วยกันยกร่างพจนานุกรมขึ้นใหม่ในลักษณะของกึ่งสารานุกรมซึ่งรวบรวมทั้งคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา ปกรณ์พิเศษของนิกายต่าง ๆ ของทั้งเถรวาทและมหายาน โดยรวบรวมข้อมูลได้มากมายจากหลักฐานทั้งในฝ่ายบาลี สันสกฤต จีน ญี่ปุ่น ทิเบต เนื้อหาภายในบรรจุข้อมูลหลากหลาย อาทิ หลักธรรมนิกายต่างๆ ทั้งในยุคโบราณและปัจจุบัน เนื้อหาสาระจากคัมภีร์สำคัญ รวมถึงหลักปรัชญาอินเดียทั้งในและนอกพุทธศาสนา ชีวประวัติบุคคลสำคัญทางศาสนา สถานที่สำคัญในพระพุทธศาสนา หลักพิธีกรรมความเชื่อทางศาสนา โดยมีรูปภาพประกอบมากมาย ตลอดจนให้รายชื่อคำเทียบศัพท์ต่างๆ มากกว่า 25,000 คำ ตลอดจนการเทียบคำศัพท์จากภาษาจีนเป็นสันสกฤต เรียงตามลำดับขีดอักษรจีนและแปลเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คาดว่าจะสำเร็จสมบูรณ์เป็นหนังสือชุดราว 7 เล่ม ปัจจุบันอยู่ในระหว่างดำเนินการจัดทำ และจะเสร็จสมบูรณ์ในราว พ.ศ. 2551", "title": "พจนานุกรมพุทธศาสนาจีน-สันสกฤต-อังกฤษ-ไทย" }, { "docid": "32409#18", "text": "หลักสำคัญของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คือหลักแห่งพระโพธิสัตวภูมิซึ่งเป็นหลักที่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแต่ละนิกายยอมรับนับถือ มหายานทุกนิกายย่อมมุ่งหมายโพธิสัตวภูมิ ซึ่งเป็นเหตุที่ให้บรรลุพุทธภูมิ บุคคลหนึ่งบุคคลใดที่จะบรรลุถึงพุทธภูมิได้ ต้องผ่านการบำเพ็ญจริยธรรมแห่งพระโพธิสัตว์มาก่อน เพราะฉะนั้น จึงถือว่า<b data-parsoid='{\"dsr\":[10586,10628,3,3]}'>โพธิสัตวภูมิเป็นเหตุ พุทธภูมิเป็นผล เมื่อบรรลุพุทธภูมิเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมโปรดสัตว์ให้ถึงความหลุดพ้นได้กว้างขวาง และขณะบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ยังสามารถช่วยเหลือสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ในสังสารวัฏได้มากมาย อุดมคติอันเป็นจุดหมายสูงสุดของมหายานจึงอยู่ที่การบำเพ็ญบารมีตามแนวทางพระโพธิสัตว์ เพื่อนำพาสรรพสัตว์สู่ความหลุดพ้นจากวัฏสงสารให้หมดสิ้น", "title": "มหายาน" }, { "docid": "40874#4", "text": "เมื่อ พ.ศ. 2316 ที่ปรากฏในพงศาวดารของญวนในประเทศไทยว่า ได้เกิดกบฏขึ้นที่เมืองเว้อันเป็นราชธานีของประเทศญวนหรือประเทศเวียดนาม พวกกบฏรุกเข้ามาชิงเมืองเว้ ได้ทำลายบ้านเมืองและฆ่าฟันพลเมืองรวมทั้งเชื้อพระวงศ์เสียเป็นอันมาก พวกราชวงศ์และพลเมืองของญวนต่างพากันหลบหนีภัยไปคนละทาง และกลุ่มพวกญวนขององเชียงซุน ได้เข้ามาพึ่งพระบารมีของพระเจ้ากรุงธนบุรี ในปีวอก พ.ศ. 2319 พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้โปรดรับไว้\nพระสงฆ์มหายานแบบญวน สมัยองเชียงซุนได้เข้ามาสร้างวัดแบบมหายานขึ้น ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งวัดของคณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทยได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก 2 วัด คือ ชาวจีนและชาวญวน ในครั้งนี้ได้ร่วมกันสร้างวัดให้พระสงฆ์อนัมนิกายมาพรรษาขึ้นหลายแห่ง จนมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สถาปนาเมื่อปี 2325 ในรัชกาลที่1 ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเดิมเป็นที่อยู่อาศัยของพระยาราชาเศรษฐี และพวกจีน โดยโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายพวกจีนไปอยู่ที่บริเวณวัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร (ปัจจุบันที่เรียกว่าสำเพ็ง)", "title": "คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย" }, { "docid": "123382#0", "text": "วัดเทพพุทธาราม (仙佛寺) พระประธานในอุโบสถทรงเจดีย์เจ็ดชั้นที่ตั้งเลขที่ 686 ถนนสุขุมวิท ต.บางปลาสร้อย อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000โทรศัพท์038-282940 โทรสาร 038-274015นิกาย มหายานนิกายฌาน หรือ เซน สาขาหลินฉี (วิปัสนากรรมฐาน) สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทยความสำคัญวัดในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแห่งแรกของชลบุรี", "title": "วัดเทพพุทธาราม" }, { "docid": "618549#0", "text": "โพธิสัตว์ศีล คือศีลที่ปรากฏเฉพาะในพุทธศาสนานิกายมหายาน มีจุดมุ่งหมายให้ผู้สมาทานศีลนี้ มีความสำรวมทั้งกาย วาจา ใจเพื่อการก้าวสู่สถานะพระโพธิสัตว์รื้อขนสรรพสัตว์สู่พระนิพพาน โดยปกติแล้วฝ่ายบรรพชิตฝ่ายเถรวาทจะถือพระปาติโมกข์หรือศีล 227 ข้อ หรือที่ฝ่ายมหายานเรียกในภาษสันสกฤตว่า ปราติโมกษ์ โดยบรรพชิตฝ่ายมหายานก็ถือศีลชุดนี้เช่นกัน โดยอาศัยพระวินัยปิฎกจากพระไตรปิฎกของนิกายธรรมคุปต์ ซึ่งมีเนื้อหาตรงกับพระวินัยและ/หรือพระปาติโมกข์ของฝ่ายเถรวาท โดยบรรจุรวมอยู่ในพระไตรปิฎกภาษาจีน อย่างไรก็ตาม นอกจากปาติโมกข์ หรือปราติโมกษ์ แล้ว บรรพชิตฝ่ายมหายานยังถือโพธิสัตว์ศีลอีกด้วย เพื่อขัดเกลาตนเองและศีลให้บริสุทธิ์สมกับการดำเนินตามครรลองโพธิสัตว์มรรคยิ่งขึ้น อันเป็นหลักปฏิบัติสำคัญของพุทธศาสนิกชนนิกายมหายาน\nเสถียร โพธินันทะ ผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนา และผู้แปลพระวินัยในพุทธศาสนามหายาน กล่าวถึงโพธิสัตว์ศีลไว้ในหนังสือ \"ประมวญกำหนดสิกขาบทในอุตตรนิกาย\" ไว้ว่า \n\"\"อนึ่ง ถ้าจะพิจารณาตามกำเนิดของลัทธิมหายาน จักประจักษ์ว่า เป็นด้วยวัตถุประสงค์ส่งเสริมจริยาแห่งพระบรมโพธิสัตว์เป็นสำคัญ โดยสอนให้บุคคลตั้งปณิธาน มุ่งพระพุทธภูมิ เพื่อมีโอกาสในการโปรดสรรพสัตว์ได้กว้างขวาง ฉะนั้น ลัทธิมหายานจึงมีสิกขาบทพิเศษอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีในลัทธิฝ่ายสาวกยานนั่นคือ “โพธิสัตว์สิกขาบท” หรือ “โพธิสัตว์ศีล” ซึ่งศีลประเภทนี้ เป็นสาธรณทั่วไป แก่บรรพชิต และฆราวาสชน มิได้จำกัดเพศ ใคร ก็ตามที่มีโพธิจิตต์ตั้งความปรารถนา จักลุพุทธภูมิไซร้ ก็ย่อมบำเพ็ญตามสิกขาบทนี้ และโพธิจริยาอื่นๆ มีทศบารมี เป็นต้น\"\"", "title": "โพธิสัตว์ศีล" }, { "docid": "32409#12", "text": "แม้ไม่อาจกำหนดให้แน่ชัดลงไปได้ว่า พระพุทธศาสนานิกายมหายานเริ่มถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ที่แน่ชัดคือ พระเจ้ากนิษกะมหาราช กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์กุษาณะ (ศตวรรษที่ 1 แห่งคริสต์ศักราช) ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกพระองค์แรกของนิกายมหายาน ได้ทรงปลูกฝังพระพุทธศาสนามหายานอย่างมั่นคงในราชอาณาจักรของพระองค์ และทรงส่งธรรมทูตออกเผยแพร่ยังนานาประเทศ เปรียบได้กับพระเจ้าอโศกมหาราชของฝ่ายเถรวาท", "title": "มหายาน" }, { "docid": "24217#14", "text": "มหายาน แต่เดิมคือนิกายมหาสังฆิกะแยกออกจากเถรวาทเมื่อครั้งสังคายนาครั้งที่ 2 (พ.ศ. 100)และพัฒนามาเป็นมหายานในสมัยต่อมา โดยยึดตามคำสอนของครูอาจารย์รุ่นหลัง พัฒนากายอีกหนึ่งกาย ขึ้นจากกายในเถรวาทที่มีเพียงสองกาย เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งกายคือสัมโภคกาย เป็นแนวคิดตรีกายเป็น นิรมาณกาย สัมโภคกาย และธรรมกาย", "title": "ธรรมกาย" }, { "docid": "765205#12", "text": "พระพุทธศาสนาได้รับอิทธิพลด้านนิกายแต่เดิมเป็นในแบบพุทธศาสนามหายาน และเถรวาท ดังปรากฏหลักฐานเป็นศาสนสถานการก่อสร้างปราสาทนครธม ที่เป็นอุดมคติและแนวคิดอันเนื่องด้วยศาสนาพุทธนิกายมหายาน แต่ในเวลาเดียวกันพุทธศาสนาในแบบเถรวาทก็ซ้อนทับอยู่กับพุทธมหายาน และศาสนาพราหมณ์และค่อย ๆ พัฒนาตัวเองจนกระทั่งกลายเป็นศาสนาของประชากรส่วนใหญ่ในประเทศกัมพูชาพร้อมกับการศูนย์หายไปของพุทธศาสนามหายานในประเทศกัมพูชา แต่ในเวลาเดียวกันพระพุทธศาสนาเถรวาทก็กลายเป็นศาสนาหลักของชาวกัมพูชา จนกระทั่งเมื่อมีการก่อตั้งพุทธศาสนาแบบธรรมยุตินิกาย ด้วยเหตุผลทางการเมือง การปกครองระหว่างไทย กัมพูชา พระพุทธศาสนาในแบบไทย ที่เป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัย พัฒนา และปฏิรูป ที่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทย และชนชั้นปกครองกัมพูชาก็เชื่อและคาาดหวังอย่างนั้น จึงทำให้พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชารับพระพุทธศาสนาในแบบธรรมยุติกนิกายไปเผยแผ่ในกัมพูชา และกลายเป็นศาสนาสำหรับราชสำนักในกัมพูชาไปพร้อม ๆ กัน จึงทำให้ศาสนานิกายเดิมซึ่งเป็นสมาชิกส่วนใหญ่กลายเป็นอีกนิกายหนึ่งในสังคมกัมพูชาไปโดยปริยาย ", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชา" }, { "docid": "775970#2", "text": "นักวิชาการบางคนอ้างว่านิกายอะยีมีความสัมพันธ์กับศาสนาพุทธในอาณาจักรน่านเจ้าและต้าหลี่ที่ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ขณะที่นักประวัติศาสตร์คนอื่น ๆ เป็นต้นว่าตัน ทุน (Than Tun) อธิบายว่านิกายอะยีคือพระอรัญวาสีที่มีวัตรปฏิบัติต่างจากภิกษุนิกายเถรวาทโดยเฉพาะด้านวินัยสงฆ์ ที่นักบวชนิกายอะยีสามารถฉันน้ำจัณฑ์ เสพสังวาส และฉันหลังเที่ยงได้ ซึ่งในรัชกาลพระเจ้าอโนรธาทรงปฏิรูปพระศาสนาให้นิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำรัฐตามคำแนะนำของภิกษุมอญนามว่าพระชินอรหันต์ (Shin Arahan) กอรปกับทรงไม่พอพระทัยที่นักบวชอะยีประพฤติตนไม่เหมาะควรให้เลื่อมใส กระนั้นพระเจ้าอโนรธาก็ยังสนับสนุนการนับถือนิกายมหายานดังเดิม ดังปรากฏในเหรียญเงินประจำรัชกาลที่ใช้ภาษาสันสกฤตมากกว่าบาลี", "title": "อะยี" }, { "docid": "32409#0", "text": "มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน", "title": "มหายาน" }, { "docid": "32409#29", "text": "ในบรรดาพระสูตรเหล่านี้ ปรัชญาปารมิตาสูตรจัดว่าเป็นสูตรดั้งเดิมที่สุด เป็นมูลฐานทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องศูนยตา นอกจากนี้ก็มีอวตังสกสูตร เป็นสูตรสำคัญที่สุดของนิกายมหายาน เพราะเป็นพระสูตรที่เชื่อกันว่า พระพุทธองค์ทรง สั่งสอนเองเป็นเวลา 3 สัปดาห์ในขณะที่พระองค์เข้าสมาธิ เข้าใจกันว่า ใจความสำคัญขอ'พระสูตรนี้ น่าจะเป็นของ พระโพธิสัตว์มากกว่า ซึ่งเราจะพิจารณาได้จากข้อความในหนังสือพระพุทธศาสนานิกายมหายานของคณะสงฆ์จีนนิกาย (ม.ป.ป.: 228-229)", "title": "มหายาน" }, { "docid": "54666#0", "text": "วัดโพธิ์แมนคุณาราม (โพวมึ้งป่ออึงยี่) () เป็นวัดฝ่ายมหายานและเซน สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย สืบทอดหลักธรรมคำสอนมาจากนิกายเซน สาขาหลินฉี (วิปัสสนา) และเป็นเป็นศูนย์กลางหลักธรรมคำสอนของนิกายวินัย และนิกายมนตรยานของศาสนาพุทธแบบทิเบต และเป็นศูนย์กลางการปกครองคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย และศูนย์กลางการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธนิกายมหายานและวัชรยานอีกทั้งเป็นแหล่งข้อมูลพุทธศาสนาฝ่ายมหายานของประเทศไทย", "title": "วัดโพธิ์แมนคุณาราม" }, { "docid": "78585#41", "text": "แรกเริ่มนั้นประเทศไทยก็เคยมีนิกายมหายานมาช้านาน ซึ่งได้รับอิทธิพลทั้งอาณาจักรศรีวิชัยซึ่งมีอิทธิพลทางตอนใต้ของประเทศและจักรวรรดิขอมซึ่งมีอิทธิพลทางตอนกลางและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ และมีหลักฐานอย่างชัดเจนเช่น เทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรครึ่งซึ่งขุดพบที่อำเภอไชยา สุราษฎร์ธานี เทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่ปราสาทเมืองสิงห์ อำเภอไทรโยค กาญจนบุรี หรือพระพิมพ์ดินดิบต่างๆที่มีศิลปะขอมหรือศรีวิชียที่พบได้ในแหล่งโบราณคดีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ 2อาณาจักรนี้ หลังจากที่ศาสนาพุทธนิกายเถรวาถนิกายลังกาวงศ์ ได้เผยแพร่แล้ว บวกกับการนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทดั้งเดิมก่อนนิกายมหายานจะมีอิทธิพลในสมัยนั้น จึงทำให้ความนิยมของนิกายมหายานเสื่อมถอยลงและสาปสูญไป จนต่อมาในยุคธนบุรี ชาวญวณ ได้อพยพจากเวียดนามเนื่องจากเกิดสงครามมา(ต่อมาได้ตั้งคณะสงฆ์ขึ้นนั่นก็คือคณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย ในอาณาจักรรัตนโกสินทร์) และต่อมาใน อาณาจักรรัตนโกสินทร์ ก็มีชาวจีนได้อพยพมาก็เนื่องจากสงคราม และได้ตั้งคณะสงฆ์ขึ้น ซึ่งมีชื่อว่าจีนนิกาย จวบจนปัจจุบัน และในประเทศไทยนั้นมีนิกายและกลุ่มคณะสงฆ์ต่างๆ ดังนี้", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย" }, { "docid": "567376#3", "text": "พระไตรปิฏกจีนเป็นขนาดใหญ่โตมโหฬาร เพราะรวบรวมเอาพระธรรมวินัยของนิกายเถรวาท และนิกายต่างๆ ของพุทธศาสนายุคต้นเอาไว้ด้วย โดยเรียกว่า “อาคม” หรือที่ในพระไตรปิฎกบาลีเรียกว่า “นิกาย” เช่น ทีรฆาคม คือ ทีฆนิกาย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีฝ่ายอภิธรรมของนิกายต่างๆ พระสูตรจำเพาะของฝ่ายมหายาน ข้อเขียน หรือศาสตร์ต่างๆ ที่รจนาโดยคณาจารย์ฝ่ายมหายาน รวมถึงปกรณ์พงศาวดาร ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาตั้งแต่ยุคต้นที่อินเดีย จนถึงยุคต้นในจีน นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์และธารณีของฝ่ายมนตรายานเช่นกัน", "title": "พระไตรปิฎกภาษาจีน" }, { "docid": "77973#18", "text": "พระพุทธศาสนามหายานเริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 6-7 โดยเป็นคณะสงฆ์ที่มีความเห็นต่างจากนิกายเดิมที่มีอยู่ 18 - 20 นิกายในขณะนั้น แนวคิดของมหายานพัฒนามาจากแนวคิดของนิกายมหาสังฆิกะและนิกายที่แยกไปจากนิกายนี้ จุดต่างจากนิกายดั้งเดิมคือคณะสงฆ์กลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการเป็นพระโพธิสัตว์และเน้นบทบาทของคฤหัสถ์มากกว่าเดิม[10] จึงแยกออกมาตั้งนิกายใหม่ เหตุที่มีการพัฒนาลัทธิมหายานขึ้นนั้นเนื่องจาก", "title": "ประวัติศาสนาพุทธ" } ]
2653
ลิ้นมีเส้นประสาทหรือไม่ ?
[ { "docid": "128575#0", "text": "ลิ้น เป็นมัดของกล้ามเนื้อโครงร่างขนาดใหญ่ที่อยู่บริเวณฐานของช่องปากเพื่อรองรับอาหาร และช่วยในการเคี้ยวและการกลืน เป็นอวัยวะที่สำคัญในการรับรส บริเวณพื้นผิวของลิ้นปกคลุมไปด้วยปุ่มรับรส (taste bud) ลิ้นสามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง จึงช่วยในการออกเสียง ลิ้นเป็นอวัยวะที่มีน้ำลายให้ความชุ่มชื้นอยู่เสมอ และเลี้ยงโดยเส้นประสาทและหลอดเลือดเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยในการทำงานและการเคลื่อนไหว", "title": "ลิ้น" } ]
[ { "docid": "426722#2", "text": "ใยประสาทก่อนไซแนปส์ที่เหลือจะต่อเนื่องเป็นเส้นประสาทเฟเชียลไปตามคลองประสาทเฟเชียล (facial canal) หลังจากเส้นประสาทเฟเชียลแตกแขนงให้เส้นประสาทเลี้ยงกล้ามเนื้อสเตปีเดียส (nerve to the stapedius muscle) เส้นประสาทเฟเชียลจะให้แขนงเป็นเส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานี (chorda tympani nerve) ก่อนจะออกจากกะโหลกศีรษะผ่านทางช่องสไตโลมาสตอยด์ (stylomastoid foramen) เส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานีจะออกจากกะโหลกศีรษะทางรูเปิดพีโทรทิมพานิก (petrotympanic fissure) แล้วรวมกับเส้นประสาทลิ้น (lingual nerve) หลังจากนั้นจึงไปไซแนปส์กับเซลล์ประสาทในปมประสาทซับแมนดิบูลาร์ (submandibular ganglion) เซลล์ประสาทหลังไซแนปส์จะส่งแอกซอนไปยังต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรล่างและต่อมน้ำลายใต้ลิ้น", "title": "เส้นประสาทอินเทอร์มีเดียท" }, { "docid": "145709#4", "text": "เส้นประสาทสมองทั้ง 12 คู่สามารถเรียกเป็นชื่อย่อโดยใช้คำว่า \"Cranial nerve\" หรือ \"CN\" แล้วตามด้วยเลขโรมันแสดงลำดับที่ของเส้นประสาทคู่นั้น ลำดับที่จะเรียงตามตำแหน่งของนิวเคลียสในก้านสมอง เช่น เส้นประสาทสมองเส้นที่ 3 (CN III หรือ เส้นประสาทกล้ามเนื้อตา) ออกจากก้านสมองในตำแหน่งที่สูงกว่าเส้นประสาทสมองเส้นที่ 12 (CN XII หรือ เส้นประสาทกล้ามเนื้อลิ้น) เพราะจุดเริ่มต้นของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 12 จะอยู่ต่ำกว่าของเส้นประสาทสมองเส้นอื่นๆ", "title": "ประสาทสมอง" }, { "docid": "38834#94", "text": "NST จัดระเบียบข้อมูลรสแบบเป็นแผนที่ภูมิลักษณ์คือ ด้านหน้า (rostral) ได้รับข้อมูลรสจากเส้นประสาทเฟเชียล ส่วนกลางได้จากเส้นประสาทลิ้นคอหอย และส่วนหลัง (caudal) ได้จากเส้นประสาทเวกัส NST ส่วนหลังยังได้รับเส้นประสาทสาขาใต้กะบังลมของเส้นประสาทเวกัสซึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวเองของกระเพาะอาหาร และอาจช่วยให้สัตว์สามารถตอบสนองเมื่อได้อาหารที่ทำให้ป่วย[123] NST ยังรวมประมวลความรู้สึกอื่น ๆ (เช่น อุณหภูมิ เนื้ออาหาร เป็นต้น) เข้าด้วย[129] NST ยังได้รับสัญญาณจากอะมิกดะลา (ซึ่งควบคุมการส่งสัญญาณของส่วน oculomotor nuclei), จาก bed nuclei of stria terminalis, จากไฮโปทาลามัส, และจากคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า", "title": "การรับรู้รส" }, { "docid": "939710#5", "text": "ปุ่มรูปเห็ด (fungiform papillae) เป็นปุ่มที่ดูเหมือนเห็ดถ้ามองเมื่อตัดตามยาว ซึ่งโดยมากจะอยู่ที่ผิวลิ้นทางด้านหน้าและด้านข้าง และจะส่งกระแสประสาทไปทางเส้นประสาทเฟเชียล ปุ่มรูปใบไม้ (foliate papillae) เป็นสันและร่องขนานที่อยู่ทางด้านหลังของลิ้นตามขอบ ๆ ปุ่มทางด้านหน้าจะส่งกระแสประสาทไปตามเส้นประสาทเฟเชียล (VII) และปุ่มทางด้านหลังจะส่งไปตามเส้นประสาทลิ้นคอหอย (IX) ปุ่มเซอร์คัมแวลเลต หรือปุ่มล้อมด้วยกำแพง (circumvallate papillae) ซึ่งมนุษย์โดยมากจะมีระหว่าง 10-14 ปุ่ม จะอยู่ที่ด้านหลังของลิ้น โดยจะเรียงกันเป็นแถวหนึ่งที่แต่ละข้างของลิ้นติดกับด้านหน้าของ sulcus terminalis เฉียงไปทางด้านหลังและประจบกันที่เส้นกลางเป็นรูปตัว V เป็นปุ่มที่สัมพันธ์กับ Von Ebner's glands และส่งกระแสประสาทไปตามเส้นประสาทลิ้นคอหอย (IX)", "title": "ตุ่มรับรส" }, { "docid": "939719#1", "text": "คล้ายกับระบบรู้กลิ่น ระบบรู้รสสามารถกำหนดโดยหน่วยรับรสโดยเฉพาะ ๆ ในระบบประสาทส่วนปลาย และวิถีประสาทที่ส่งและประมวลข้อมูลเกี่ยวกับรสในระบบประสาทส่วนกลาง\nหน่วยรับรสจะพบได้ที่ผิวลิ้น เพดานอ่อน คอหอย และหลอดอาหารส่วนบน\nซึ่งรสชาติจะส่งไปทางประสาทสมอง 3 เส้นจาก 12 เส้น\nสาขา chorda tympani และ greater superior petrosal ของเส้นประสาทเฟเชียล (VII) จากปมประสาท geniculate ganglion ส่งข้อมูลรสชาติจากลิ้นด้านหน้าประมาณ 2/3\nส่วนสาขา lingual branch ของประสาทลิ้นคอหอย (glossopharyngeal nerve, IX) จากปมประสาท petrosal ganglion/inferior ganglion of glossopharyngeal nerve ส่งข้อมูลจากลิ้นด้านหลังประมาณ 1/3 รวมทั้งปุ่มเซอร์คัมแวลเลต\nในขณะที่สาขา superior lingual branch ของประสาทเวกัส (vagus nerve, X) จากปมประสาท nodose ganglion/inferior ganglion of vagus nerve ส่งข้อมูลรสไปจากส่วนต่าง ๆ ด้านหลังของช่องปากรวมทั้งเพดาน คอหอย ฝากล่องเสียง และ 1/3 ส่วนต้นของหลอดอาหาร", "title": "เปลือกสมองส่วนรู้รส" }, { "docid": "939715#9", "text": "หน่วยรับรสแบบโปรตีนคู่ (heterodimer) คือ TAS1R2/TAS1R3 จะทำงานเป็นหน่วยรับรสหวานโดยจับกับน้ำตาลและน้ำตาลเทียมหลายรูปแบบ\nเซลล์รับรสที่แสดงออกยีน TAS1R2/TAS1R3 จะพบที่ปุ่มเซอร์คัมแวลเลตและปุ่มรูปใบไม้ของลิ้นด้านหลัง และที่เซลล์รับรสบนเพดานปาก\nเซลล์เหล่านี้มีไซแนปส์ที่เส้นประสาท chorda tympani และเส้นประสาทลิ้นคอหอย เพื่อส่งสัญญาณไปยังสมอง\nหน่วยรับรสแบบ homodimer คือ TAS1R3 ยังทำงานเป็นหน่วยรับรสหวานได้คล้ายกับ TAS1R2/TAS1R3 แต่จะไวน้อยกว่า\nและรับรู้น้ำตาลธรรมชาติได้ดีกว่าน้ำตาลเทียม\nซึ่งอาจอธิบายว่า ทำไมน้ำตาลธรรมชาติและน้ำตาลเทียมจึงมีรสต่างกัน", "title": "หน่วยรับรส" }, { "docid": "939715#3", "text": "ระบบรู้รส (gustatory system) นอกระบบประสาทกลางประกอบด้วยเซลล์รับรสในตุ่มรับรส (taste bud)\nซึ่งก็อยู่ในปุ่มลิ้น (lingual papillae)\nโดยปุ่มลิ้น 3 ประเภทใน 4 ประเภทจะมีบทบาทในการรู้รส รวมทั้ง ปุ่มรูปเห็ด (fungiform papilla) ปุ่มรูปใบไม้ (foliate papilla) และปุ่มเซอร์คัมแวลเลต (circumvallate papilla)\nส่วนปุ่มแบบที่สี่ คือ ปุ่มรูปเส้นด้าย (filiform papillae) ไม่มีตุ่มรับรส\nนอกจากในปุ่มเหล่านี้ หน่วยรับรสยังมีอยู่ที่เพดานปากและส่วนต้น ๆ ของทางเดินอาหาร เช่น กล่องเสียงและหลอดอาหารส่วนบน\nมีเส้นประสาทสมอง 3 เส้นซึ่งส่งข้อมูลรสและวิ่งไปจากเซลล์รับรสในโครงสร้างต่าง ๆ\nคือ เส้นประสาทเวกัส (vagus nerve, X) เส้นประสาทลิ้นคอหอย (glossopharyngeal nerve, IX) และเส้นประสาทเฟเชียล (facial nerve, VII)", "title": "หน่วยรับรส" }, { "docid": "939715#8", "text": "TRPM5 เป็นช่องแคตไอออนแบบไม่เลือกที่เปิดปิดโดยแคลเซียม (calcium-activated non-selective cation channel) ที่ทำให้เซลล์ลดขั้วเมื่อระดับแคลเซียมในเซลล์สูงขึ้น มันเป็นตัวอำนวยการส่งสัญญาณในเซลล์รับความรู้สึกจากสารเคมี\nช่องจะเริ่มทำงานอาศัยการเพิ่มระดับแคลเซียมภายในเซลล์ โดยช่องจะปล่อยให้แคตไอออนเวเลนซ์เดี่ยว เช่น K+ และ Na+ ให้ไหลผ่าน\nTRPM5 เป็นองค์ประกอบสำคัญในการถ่ายโอนรสเป็นกระแสประสาทในรสขม หวาน และอุมะมิ เนื่องจากการมีระดับแคลเซียมในเซลล์ที่สูงขึ้น\nมันยังคาดว่า มีบทบาทในการส่งข้อมูลรสไขมัน\nการเปิดช่องอาศัยแคลเซียมของ TRPM5 จะทำให้เกิดศักย์การลดขั้วซึ่งนำไปสู่การสร้างศักยะงาน\nหน่วยรับรสแบบโปรตีนคู่ (heterodimer) คือ TAS1R1/TAS1R3 \nจะทำงานเป็นหน่วยรับรสอุมะมิ โดยตอบสนองต่อ L-amino acid โดยเฉพาะ L-glutamate\nรสอุมะมิบ่อยครั้งสัมพันธ์กับสารเติมแต่งอาหารโมโนโซเดียมกลูตาเมต (ผงชูรส) และสามารถเพิ่มรสด้วยการจับกับโมเลกุล inosine monophosphate (IMP) และ guanosine monophosphate (GMP)\nเซลล์ที่แสดงออกยีน TAS1R1/TAS1R3 โดยมากพบในปุ่มรูปเห็ดตรงปลายและขอบของลิ้น และที่เซลล์รับรสบนเพดานปาก\nเป็นเซลล์ที่มีไซแนปส์กับเส้นประสาทคือ chorda tympani เพื่อส่งสัญญาณไปยังสมอง แม้ก็พบการส่งสัญญาณผ่านเส้นประสาทลิ้นคอหอยด้วย", "title": "หน่วยรับรส" }, { "docid": "939719#3", "text": "มีงานศึกษาเป็นจำนวนมากเพื่อตรวจดูหน้าที่ของเปลือกสมองส่วนรู้รสและโครงสร้างอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กัน โดยกระตุ้นด้วยสารเคมีและไฟฟ้า รวมทั้งการสังเกตคนไข้ที่มีรอยโรคที่เปลือกสมองส่วนรู้รส หรือชักโดยเริ่มจากเปลือกสมองส่วนรู้รส\nมีรายงานว่าการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าที่เส้นประสาทลิ้น (lingual nerve), chorda tympani, และสาขาลิ้นของเส้นประสาทลิ้นคอหอย จะก่อศักย์สนามไฟฟ้าเฉพาะที่ในส่วน frontal operculum\nการกระตุ้น insula ด้วยไฟฟ้า ก็จะทำให้รู้สึกว่าได้รับรส", "title": "เปลือกสมองส่วนรู้รส" }, { "docid": "38834#93", "text": "ในมนุษย์ รสชาติจะส่งไปทางประสาทสมอง 3 เส้นจาก 12 เส้น สาขา chorda tympani และ greater superior petrosal ของเส้นประสาทเฟเชียล (VII) จากปมประสาท geniculate ganglion ส่งข้อมูลรสชาติจากลิ้นด้านหน้าประมาณ 2/3[16][123][124] ส่วนสาขา lingual branch ของประสาทลิ้นคอหอย (glossopharyngeal nerve, IX) จากปมประสาท petrosal ganglion/inferior ganglion of glossopharyngeal nerve ส่งข้อมูลจากลิ้นด้านหลังประมาณ 1/3 รวมทั้งปุ่มเซอร์คัมแวลเลต[16][123][124] ในขณะที่สาขา superior lingual branch ของประสาทเวกัส (vagus nerve, X) จากปมประสาท nodose ganglion/inferior ganglion of vagus nerve ส่งข้อมูลรสไปจากส่วนต่าง ๆ ด้านหลังของช่องปากรวมทั้งเพดาน คอหอย ฝากล่องเสียง[16][123] และ 1/3 ส่วนต้นของหลอดอาหาร[124] โดยประสาททั้งหมดจะส่งไปยัง solitary nucleus (NST) ทางด้านหน้าส่วนข้าง (rostral and lateral) ซึ่งเป็นส่วนที่เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า gustatory nucleus of NST โดยอยู่ในก้านสมองส่วนท้าย (medulla oblongata)[16][123]", "title": "การรับรู้รส" }, { "docid": "38834#53", "text": "ความรู้สึกเช่นนี้ ไม่ใช่รสโดยตรง เพราะไม่ได้เกิดจากตุ่มรับรส และเป็นความรู้สึกที่ส่งไปทางเส้นประสาทคนละเส้น ความรู้สึกเผ็ดมาจากหน่วยรับความรู้สึกที่แสดงออกยีน TRPV1[89] และ TRPA1[90] โดยอาหารเช่น พริก จะกระตุ้นปลายประสาทอิสระของใยประสาทซึ่งมีหน่วยรับความรู้สึกโดยตรง ซึ่งรู้สึกว่า \"ร้อน\" ก็เพราะเป็นใยประสาทรับความรู้สึกทางกาย (คือ ความเจ็บปวด) ซึ่งอยู่ที่ลิ้น ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่มีเยื่อบุผิวซึ่งเปิดรับสิ่งแวดล้อมแต่ไม่มีเซลล์รับรส (เช่น ช่องจมูก ใต้เล็บ ผิวตา หรือที่แผล) ก็สามารถทำให้รู้สึกร้อนเช่นเดียวกันเมื่อถูกสารที่เผ็ด และระบบรู้กลิ่นก็สามารถรับรู้ตัวกระตุ้นอย่างเดียวกันบางชนิดด้วย[88]", "title": "การรับรู้รส" }, { "docid": "939730#14", "text": "ปุ่มล้อมด้วยกำแพงได้เส้นประสาทรับรสจากประสาทสมองเส้นที่ 9 (เส้นประสาทลิ้นคอหอย) แม้จะอยู่หน้า sulcus terminalis\nเพราะลิ้นที่อยู่ด้านหน้า 2/3 ที่เหลือ จะได้เส้นประสาทจากสาขา chorda tympani ของประสาทสมองเส้นที่ 7 (เส้นประสาทเฟเชียล) ซึ่งกระจายอยู่ร่วมกันกับสาขาประสาทลิ้น (lingual nerve) ของประสาทสมองเส้นที่ 5 (ประสาทไทรเจมินัล)", "title": "ปุ่มลิ้น" }, { "docid": "184071#0", "text": "เส้นประสาทเฟเชียล[1] หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 7[1] (English: Facial nerve) เป็นหนึ่งในเส้นประสาทสมองจากจำนวนทั้งหมด 12 คู่ เส้นประสาทนี้ออกมาจากก้านสมองที่ระหว่างพอนส์และเมดัลลา ออบลองกาตา และทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อแสดงสีหน้า และรับรสจากส่วนด้านหน้า 2/3 ของลิ้นและช่องปาก นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เลี้ยงใยประสาทก่อนปมประสาทของพาราซิมพาเทติกไปยังปมประสาทของศีรษะและคออีกจำนวนมาก", "title": "เส้นประสาทเฟเชียล" }, { "docid": "38834#99", "text": "เส้นประสาทลิ้นซึ่งเป็นส่วนของเส้นประสาทไทรเจมินัล (ไม่แสดงในแผนภาพ) เป็นตัวให้ข้อมูลความรู้สึกอื่น ๆ นอกจากรสจาก 2/3 ของลิ้นด้านหน้า และเป็นเส้นประสาทที่วิ่งออกจากลิ้นร่วมกับสาขา chorda tympani ของเส้นประสาทเฟเชียลซึ่งส่งข้อมูลรส[133]", "title": "การรับรู้รส" }, { "docid": "574974#6", "text": "เกี่ยวกับการผ่าตัด มีเส้นประสาทเฟเชียลสำคัญสองสาขาที่วิ่งผ่านหูชั้นกลาง\nส่วนหนึ่งวิ่งไปในแนวนอนและอีกส่วนหนึ่งเป็นเส้นประสาท chorda tympani\nถ้าส่วนที่เป็นแนวนอนเสียหายเพราะการผ่าตัดหู อาจจะทำให้กล้ามเนื้อหน้าด้านเดียวกันเป็นอัมพาต\nส่วน chorda tympani เป็นสาขาที่ส่งข้อมูลเกี่ยวกับรสจากลิ้นด้านเดียวกันไปยังสมอง", "title": "หูชั้นกลาง" }, { "docid": "96117#21", "text": "มีคนน้อยคนยิ่งกว่านั้น ผู้ไม่ไวความเจ็บปวดเนื่องจากความผิดปกติของระบบประสาทตั้งแต่กำเนิด ซึ่งเรียกว่าอาการไม่ไวความเจ็บปวดแต่กำเนิด (congenital insensitivity to pain, CIP)\nเด็กที่มีอาการนี้จะสร้างความเสียหายอย่างซ้ำ ๆ โดยไม่ระวัง ที่ลิ้น ตา ข้อต่อ ผิวหนัง และกล้ามเนื้อ\nบางคนจะเสียชีวิตก่อนจะถึงวัยผู้ใหญ่ ส่วนคนอื่นจะมีการคาดหมายคงชีพที่ลดลง\nคนไข้โดยมากที่มี CIP มีโรคเส้นประสาทรับความรู้สึกและเส้นประสาทอิสระที่เป็นกรรมพันธุ์ (hereditary sensory and autonomic neuropathy)\nซึ่งรวม familial dysautonomia\nและ congenital insensitivity to pain with anhidrosis\nโรคเหล่านี้ล้วนมีอาการไวความเจ็บปวดลดลงบวกกับความผิดปกติทางประสาทอื่น ๆ โดยเฉพาะต่อระบบประสาทอิสระ", "title": "ความเจ็บปวด" }, { "docid": "184071#15", "text": "เส้นประสาทเฟเชียลรับรู้รสชาติจากด้านหน้าสองในสามของลิ้นผ่านทางเส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานี การรับรู้รสชาติถูกส่งไปยังส่วนรับความรู้สึกของซอลิเทรี นิวเคลียส (solitary nucleus) ส่วนการรู้สึกทั่วไปของลิ้นจากด้านหน้าสองในสามของลิ้นมาทางเส้นประสาทไทรเจมินัลส่วนที่สาม (third division of trigeminal nerve; V-3) ซึ่งทั้งใยประสาทรับความรู้สึกทั่วไปและความรับรู้รสชาติจะเดินทางมาด้วยกันเป็นระยะทางสั้นๆ ผ่านทางเส้นประสาทลิ้น (lingual nerve) ก่อนที่เส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานีจะแยกจากเส้นประสาทลิ้น", "title": "เส้นประสาทเฟเชียล" }, { "docid": "988877#14", "text": "เซลล์ประสาทสั่งการอวัยวะภายในพิเศษ (special visceral motor neuron หรือ branchial motor neuron) มีบทบาทในการแสดงออกสีหน้า การเคี้ยว การออกเสียง/การพูด และการกลืน\nประสาทสมองที่เกี่ยวข้องกันรวมทั้งเส้นประสาทกล้ามเนื้อตา (oculomotor, คู่ที่ 3), เส้นประสาทแอบดูเซนส์ (abducens, คู่ที่ 6), เส้นประสาททรอเคลียร์ (trochlear, คู่ที่ 4) และเส้นประสาทกล้ามเนื้อลิ้น (hypoglossal, คู่ที่ 12)", "title": "เซลล์ประสาทสั่งการ" }, { "docid": "170824#0", "text": "ปุ่มกระดูกจูกูลาร์ () เป็นเนินรูปไข่บนพื้นผิวด้านบนของส่วนข้างของกระดูกท้ายทอย (lateral parts of occipital bone) ซึ่งอยู่บนช่องประสาทกล้ามเนื้อลิ้น และในบางครั้งถูกพาดทับด้วยร่องเฉียงสำหรับเส้นประสาทลิ้นคอหอย (glossopharyngeal) เส้นประสาทเวกัส (vagus) และเส้นประสาทแอคเซสซอรี (accessory nerve)", "title": "ปุ่มกระดูกจูกูลาร์" }, { "docid": "939730#7", "text": "ปุ่มประกอบด้วยแกนที่เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน\nและได้ใยประสาทจากประสาทสมองเส้นที่ 7 โดยเฉพาะก็คือ จาก submandibular ganglion, chorda tympani, และ geniculate ganglion ซึ่งส่งแอกซอนไปยัง solitary nucleus ในก้านสมอง", "title": "ปุ่มลิ้น" }, { "docid": "936852#16", "text": "ระบบประสาทประกอบด้วยระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) และระบบประสาทนอกส่วนกลางประกอบด้วยเส้นประสาทและปมประสาทนอกสมองและไขสันหลัง สมองเป็นอวัยวะแห่งความคิด อารมณ์ ความทรงจำ และการประมวนทางประสาทสัมผัส และทำหน้าที่ในหลายมุมมองของการสื่อสารและควบคุมระบบและหน้าที่ต่าง ๆ ความรู้สึกพิเศษประกอบด้วย การมองเห็น การได้ยิน การรับรู้รส และการดมกลิ่น ซึ่ง ตา,หู, ลิ้น, และจมูกรวบรวมข้อมูลจากสิ่งรอบตัว", "title": "ร่างกายมนุษย์" }, { "docid": "170816#1", "text": "ช่องนี้เป็นทางผ่านของเส้นประสาทกล้ามเนื้อลิ้น หรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 11 จากจุดทางเข้าใกล้ๆ กับเมดัลลา ออบลองกาตา (medulla oblongata) ไปยังทางออกจากฐานของกะโหลกศีรษะใกล้ๆ กับจูกูลาร์ ฟอราเมน ช่องนี้ทอดตัวอยู่ในรอยต่อเอพิไฟซิส (epiphyseal junction) ระหว่างส่วนเบซิออกซิปุท (basiocciput) และจูกูลาร์ โพรเซสของกระดูกท้ายทอย", "title": "ช่องประสาทกล้ามเนื้อลิ้น" }, { "docid": "146841#4", "text": "เส้นประสาทลิ้นคอหอย (glossopharyngeal nerve, CN IX) ส่งใยประสาทไปยังฝาปิดกล่องเสียงด้านบน ซึ่งให้เส้นประสาทนำเข้าของรีเฟล็กซ์ขย้อน (gag reflex) แขนงซุพีเรียร์ลาริงเจียลของเส้นประสาทเวกัส (superior laryngeal branch of the vagus nerve) ให้ใยประสาทไปยังฝาปิดกล่องเสียงด้านล่าง ซึ่งให้เส้นประสาทนำเข้าของรีเฟล็กซ์การไอ (cough reflex) ", "title": "ฝากล่องเสียง" }, { "docid": "166378#4", "text": "ที่ฐานของปุ่มกระดูกเป็นช่องเล็ก ๆ ซึ่งเป็นทางผ่านของเส้นประสาทกล้ามเนื้อลิ้น (hypoglossal nerve)", "title": "ปุ่มกระดูกท้ายทอย" }, { "docid": "184071#20", "text": "การทดสอบการรับรสชาติทำโดยการป้ายสารละลายที่มีรสชาติที่บริเวณด้านหน้า 2/3 ของลิ้น หรือใช้การกระตุ้นด้วยขั้วไฟฟ้า", "title": "เส้นประสาทเฟเชียล" }, { "docid": "184071#10", "text": "เส้นประสาทเกรทเทอร์ พีโทรซัล (Greater petrosal nerve) เป็นประสาทพาราซิมพาเทติกเลี้ยงต่อมน้ำตา โพรงอากาศสฟีนอยด์ (sphenoid sinus) โพรงอากาศหน้าผาก (frontal sinus) โพรงอากาศขากรรไกรบน (maxillary sinus) โพรงอากาศเอทมอยด์ (ethmoid sinus) โพรงจมูก รวมทั้งรับรสชาติจากเพดานปากผ่านทางเส้นประสาทวิเดียน (Vidian nerve) เส้นประสาทเลี้ยงกล้ามเนื้อสเตปีเดียส (Nerve to stapedius) ทำหน้าที่สั่งการกล้ามเนื้อสเตปีเดียสในหูชั้นกลาง เส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานี (Chorda tympani nerve) รับรสชาติจากด้านหน้า 2/3 ของลิ้น", "title": "เส้นประสาทเฟเชียล" }, { "docid": "939710#1", "text": "โครงสร้างเหล่านี้มีบทบาทในการรับรู้รสหลัก ๆ 5 อย่าง คือ เค็ม เปรี้ยว ขม หวาน และอุมะมิ ซึ่งเมื่อรวมกันก็จะเป็นรสชาติของสิ่งที่อยู่ในปาก มีข่าวลอยว่า มีส่วนต่าง ๆ ของลิ้นที่รับรสโดยเฉพาะ ๆ แต่ความจริงลิ้นทั้งหมดสามารถรับรสได้ทุกรส ผ่านช่องเล็ก ๆ ในเนื้อเยื่อของลิ้นซึ่งเรียกได้ว่า รูรับรส (taste pore) โดยอาหารบางส่วนจะละลายในน้ำลาย ท่วมรูรับรส แล้วทำให้ถูกกับหน่วยรับรส[5] เซลล์รับรสจะเป็นตัวส่งข้อมูลที่ได้จากหน่วยรับรสและช่องไอออนกลุ่มต่าง ๆ ไปยังเปลือกสมองส่วนรับรส (gustatory cortex) ผ่านประสาทสมองคือเส้นประสาทเฟเชียล (7), เส้นประสาทลิ้นคอหอย (9), และเส้นประสาทเวกัส (10)", "title": "ตุ่มรับรส" }, { "docid": "184071#13", "text": "เส้นประสาทเฟเชียลยังมีใยประสาทพาราซิมพาเทติกไปยังต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกร (submandibular gland) และต่อมน้ำลายใต้ลิ้น (sublingual gland) ผ่านทางเส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานี (chorda tympani) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกมีผลเพิ่มการหลั่งน้ำลายจากต่อมดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีใยประสาทพาราซิมพาเทติกไปเลี้ยงเยื่อเมือกของจมูกและต่อมน้ำตาผ่านทางปมประสาทเทอริโกแพลาทีน (pterygopalatine ganglion)", "title": "เส้นประสาทเฟเชียล" }, { "docid": "426722#3", "text": "ใยประสาทรับความรู้สึกของเนอร์วัส อินเทอร์มีเดียสจะนำสัญญาณความรู้สึกจากผิวหนังของปากรูหู (external auditory meatus) เยื่อเมือกของจมูกและคอหอยส่วนจมูก และรสชาติจากด้านหน้าสองในสามของลิ้น ฐานช่องปาก และเพดานปาก โดยความรู้สึกจากเยื่อเมือกของเพดานปากและคอหอยส่วนจมูกจะมาตามเส้นประสาทเกรทเทอร์ พีโทรซัล (greater petrosal nerve) ส่วนเส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานี (และเส้นประสาทลิ้น) นำความรู้สึกรสชาติจากด้านหน้าสองในสามของลิ้น ฐานช่องปาก และเพดานปาก", "title": "เส้นประสาทอินเทอร์มีเดียท" } ]
2034
เจ้าของบริษัทไมโครซอฟท์คือใคร?
[ { "docid": "399017#0", "text": "พอล การ์ดเนอร์ อัลเลน (; 21 มกราคม ค.ศ. 1953 – 15 ตุลาคม ค.ศ. 2018) เป็นทั้งนักธุรกิจ, นักลงทุน, นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และนักการกุศลชาวอเมริกัน เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งไมโครซอฟท์ร่วมกับ บิล เกตส์ เขายังเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดลำดับที่ 57 ตามการจัดอันดับความมั่งคั่งที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน ค.ศ. 2011 เขาเป็นทั้งผู้ก่อตั้ง และเป็นประธานของ วัลแคน อิงค์ เขายังมีพอร์ตการลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ ที่รวมถึงบริษัทเอฟรี และกิสต์, การถือครองอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงหุ้นเทคโนโลยี, บันเทิง และบริษัทสื่ออื่นๆ อัลเลนยังเป็นเจ้าของสองทีมกีฬาอาชีพ ซึ่งได้แก่ ซีแอตเทิล ซีฮอว์ค ของเอ็นเอฟแอล (NFL) และพอร์ตแลนด์ เทรลเบลเซอร์ส ของเอ็นบีเอ (NBA) รวมถึงเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งของทีม สโมสรฟุตบอลซีแอตเทิล ซาวเดอร์ ที่เข้าร่วมแข่งขันรายการเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ (MLS) ใน ค.ศ. 2009", "title": "พอล อัลเลน" }, { "docid": "13548#0", "text": "วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (เกิด 28 ตุลาคม ค.ศ. 1955) หรือที่มักเป็นที่รู้จักในชื่อ บิล เกตส์ เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกา และหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ เขากับผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้ร่วมกันเขียนต้นแบบของภาษาอัลแตร์เบสิก ซึ่งเป็นอินเตอร์เพรเตอร์สำหรับเครื่องอัลแตร์ 8800 (เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในยุคแรกๆ) เขาได้ร่วมกับพอล แอลเลน ก่อตั้งไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชันขึ้น ซึ่งในขณะนี้เขาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเรื่องเทคโนโลยี นิตยสารฟอบส์ได้จัดอันดับให้ บิล เกตส์ เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกหลายปีติดต่อกัน", "title": "บิล เกตส์" } ]
[ { "docid": "617855#0", "text": "ไมโครซอฟท์ โมบาย () เป็นบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเอสโป ประเทศฟินแลนด์ ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกโดยเกิดจากการที่เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการด้านโทรศัพท์ของโนเกียทั้งหมด ในราคา 7.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาในวันที่ 25 เมษายน 2557 ไมโครซอฟท์ได้เปลี่ยนชื่อโนเกียเป็นไมโครซอฟท์ โมบาย ซึ่งจะเป็นในฐานะบริษัทลูก", "title": "ไมโครซอฟท์ โมบาย" }, { "docid": "4697#1", "text": "ไมโครซอฟท์ได้เริ่มครอบงำตลาดซอฟต์แวร์อื่นๆ โดยไมโครซอฟท์มีกิจการอื่นๆ ของตัวเองเช่น MSNBC (ดำเนินธุรกิจเคเบิลทีวี) , เอ็มเอสเอ็น (ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต),และเอ็นคาร์ทาร์ (ดำเนินธุรกิจสารานุกรมออนไลน์) บริษัทยังดำเนินกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์อีกด้วย เช่น เมาส์ และอุปกรณ์ความบันเทิงต่าง ๆ เช่น Xbox, Xbox 360, Xbox One, ซูน และ เอ็มเอสเอ็น ทีวี.บริษัทได้นำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยราคาหุ้นของไมโครซอฟท์อยู่ในภาวะมั่นคง ไมโครซอฟท์มีทรัพย์สินรวมกันประมาณ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท) และมีกำไรประมาณ 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 420,000 ล้านบาท)", "title": "ไมโครซอฟท์" }, { "docid": "136100#0", "text": "ประยุทธ มหากิจศิริ (1 ธันวาคม พ.ศ. 2488 - ) นักธุรกิจชาวไทย ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท พีเอ็มส์ กรุ๊ปส์ เจ้าของบริษัทไทยน็อคซ์ สเตนเลส และไทย คอปเปอร์ เป็นเจ้าของสนามกอล์ฟเลควูด จากฉายา\"เจ้าพ่อเนสกาแฟ\"ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่าเขาเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์เนสกาแฟ และ บริษัท เนสท์เล่(ไทย)จำกัด แต่ความจริงเขาเป็นผู้ถือหุ้นโรงงานผลิตเนสกาแฟ โดยถือหุ้นอยู่ 50% มิได้มีความเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เนสกาแฟหรือบริษัท เนสท์เล่(ไทย)จำกัด โดยตรงแต่อย่างใด", "title": "ประยุทธ มหากิจศิริ" }, { "docid": "343816#0", "text": "ไมโครซอฟท์สตูดิโอส์ (หรือที่แต่ก่อนเรียกว่า ไมโครซอฟท์เกมสตูดิโอส์) เป็นตราสินค้าที่ไมโครซอฟท์เป็นเจ้าของ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2545 ในฐานะผู้จัดจำหน่ายวิดีโอเกม ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับการออกวางจำหน่ายของเอ็กซ์บ็อกซ์", "title": "ไมโครซอฟท์สตูดิโอส์" }, { "docid": "343701#0", "text": "เอนเซมเบิลสตูดิโอส์ () เป็นบริษัทผู้ผลิตวิดีโอเกมซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2538 เป็นบริษัทแยกต่างหาก แต่ไมโครซอฟท์ได้เป็นเจ้าของกิจการระหว่าง พ.ศ. 2544 จนกระทั่ง พ.ศ. 2552 เมื่อบริษัทได้ปิดตัวลงอย่างเป็นทางการ เอนเซมเบิลพัฒนาเกมวางแผนเรียลไทม์จำนวนมาก รวมไปถึงเกมชุดเอจออฟเอ็มไพร์ส เอจออฟมีโธโลจี และเฮโลวอร์ส นอกจากการพัฒนาเกมแล้ว เอนเซมเบิลสตูดิโอส์ยังได้ผลิตเกมเอนจินจีนีขึ้นเพื่อใช้ในเกมเอจออฟเอ็มไพร์ส และอีกด้วย", "title": "เอนเซมเบิลสตูดิโอส์" }, { "docid": "4697#17", "text": "ในฐานะสถาปนิกซอฟต์แวร์ผู้วางยุทธวิธีการขายสินค้าของไมโครซอฟท์ บิลล์ เกตส์ได้เพิ่มความหลากหลายของประเภทสินค้าไปอย่างกว้างขวาง และเมื่อสินค้านั้น ๆ ครองตำแหน่งสินค้ายอดนิยมในบรรดาประเภทเดียวกัน เกตส์ก็จะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันตำแหน่งนั้นไว้ การตัดสินใจทางยุทธวิธีของเกตส์และของผู้บริหารระดับสูงของไมโครซอฟท์คนอื่น ๆ ทำให้ในปี ค.ศ. 2001 หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมการแข่งขันทางการตลาดจับตามอง และในบางกรณีถูกวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่นกรณีที่ไมโครซอฟท์ถูกฟ้องร้องในข้อหาผูกขาดทางการตลาดจากการรวมเอาอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ไว้ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์เป็นต้น", "title": "ไมโครซอฟท์" }, { "docid": "839671#16", "text": "ในวันที่ 4 มิถุนายน 2018 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเข้าซื้อกิตฮับมูลค่า 7,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายใต้ร่มเงาไมโครซอฟท์ แนท ฟรายด์แมน (Nat Friedman) ผู้ก่อตั้งซามารีน (Xamarin) จะขึ้นเป็นซีอีโอใหม่ของกิตฮับ และ ซีอีโอปัจจุบันคริส วานสเตรท จะยังคงดำรงตำแหน่ง \"ผู้ปรึกษาทางเทคนิค\" ให้กับกิตฮับอยู่ โดยทั้งสองจะต้องรายงานความเคลื่อนไหวของกิตฮับ ให้สก็อตต์ กูธรี (Scott Guthrie) รองประธานไมโครซอฟท์คลาวด์และเอไอทราบ ไมโครซอฟท์กลายเป็นผู้ใช้รายสำคัญของกิตฮับ โดยใช้กิตฮับในทางจัดเก็บและพัฒนาโครงการโอเพนซอร์ซของตนอาทิ จักระคอร์ (Chakra Core), พาวเวอร์เชล (PowerShell) และ วิชวลสตูดิโอโค้ด (Visual Studio Code) รวมถึงช่วยสนับสนุนโครงการโอเพนซอร์ซอื่นๆอาทิลินุกซ์ และช่วยพัฒนากิตเวอชวลไฟล์ซิสเทิม (Git Virtual File System) ส่วนขยาย (extension) ของกิตสำหรับจัดการพื้นที่จัดเก็บซอร์ซโค้ดขนาดใหญ่", "title": "กิตฮับ" }, { "docid": "4697#4", "text": "หลังจากการเปิดตัวของ แอทแอร์ 8000 วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (หรือ บิลล์ เกตส์) ได้เรียกวิศวกรมาช่วยสร้างไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่, Micro Instrumentation and Telemetry Systems (MITS) , ได้สาธิตแสดงการใช้งานของ การเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกสำหรับระบบให้กับ MITS หลังจากการสาธิตครั้งดังกล่าว, MITS ก็ยอมรับการใช้งานของโปรแกรม แอทแอร์ เบสิก.ในขณะที่ บิลล์ เกตส์ ยังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, เขาก็ได้ย้ายไปที่รัฐนิวเม็กซิโก และได้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ที่นั่น บริษัทในเครือของไมโครซอฟท์ที่ตั้งอยู่ต่างประเทศแห่งแรกคือ บริษัทไมโครซอฟท์แห่งประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1978 และในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1979 บริษัทก็ย้ายสำนักงานใหญ่อีกครั้ง โดยตั้งอยู่ที่รัฐวอชิงตัน สตีฟ เบลล์เมอร์ ได้เข้าทำงานกับไมโครซอฟท์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1980 และได้เป็นซีอีโอถัดจาก บิลล์ เกตส์ ในเวลาต่อมา", "title": "ไมโครซอฟท์" }, { "docid": "4697#30", "text": "กลุ่มผลิตภัณฑ์ธุรกิจของไมโครซอฟท์ที่สำคัญเช่น ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ซึ่งเป็นสายงานหลักของบริษัทในด้านซอฟต์แวร์สำนักงาน โดยประกอบด้วย ไมโครซอฟท์ เวิร์ด , ไมโครซอฟท์ แอคเซส , ไมโครซอฟท์ เอกเซล , ไมโครซอฟท์ เอาต์ลุค , ไมโครซอฟท์ เพาวเวอร์พอยท์ ,ไมโครซอฟท์ พับลิชเชอร์ , ไมโครซอฟท์ วิซโอ , ไมโครซอฟท์ โปรเจกต์ , ไมโครซอฟท์ แมป พอยท์ , ไมโครซอฟท์ อินโฟพาธ และ ไมโครซอฟท์ วันโน้ต", "title": "ไมโครซอฟท์" } ]
2671
นิสสัน มาร์ช รุ่นแรก เริ่มผลิตครั้งแรกเมื่อไหร่?
[ { "docid": "308468#5", "text": "ในที่สุด นิสสัน มาร์ช รุ่นแรก ก็ได้เปิดตัวขึ้นในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2525 เป็นครั้งแรก", "title": "นิสสัน มาร์ช" } ]
[ { "docid": "42222#18", "text": "ผลิตภัณฑ์ของนิสสันได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในประเทศไทย โดยเฉพาะรถปิคอัพ โดยรถกระบะรุ่นที่เป็นตำนานอันได้แก่รุ่นบิ๊ก เอ็ม ซึ่งยังเป็นที่กล่าวขานจนถึงทุกวันนี้ถึงความทนทาน ส่วนปัจจุบันนี้มีรถกระบะนิสสัน นาวารา 3 รุ่นย่อย คือ LE, SE และ XE รวมถึงรถยนต์นั่ง นิสสัน ทีด้า ซึ่งเป็นรถยนต์ที่จำหน่ายแทนที่นิสสัน ซันนี่ ที่จำหน่ายมาแล้วนับทศวรรษและ นิสสัน มาร์ช ซึ่งนำมาจำหน่ายและยกเลิกการจำหน่ายในปี พ.ศ. 2530(รุ่นที่ 1) และได้นำมาจำหน่ายอีกครั้งในประเทศไทยในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 ในรุ่นที่ 4", "title": "นิสสัน" }, { "docid": "42222#22", "text": "ปี 2012 นิสสันเรียกคืนรถยนต์แฮทช์แบ็ครุ่น \"มาร์ช\" หรือ \"ไมครา\" จำนวน 498,793 คันที่จำหน่ายในญี่ปุ่น เพื่อแก้ไขปัญหาไฟท้าย ซึ่งบางครั้งไม่ติด เป็นข้อบกพร่องผลิตในโรงงานออปปามะใกล้กรุงโตเกียว ที่ผลิตระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2545-2552 เช่นเดียวกับโรงงานในเมืองซันเดอร์แลนด์ อังกฤษ ระหว่างเดือนมิถุนายน-ธันวาคม 2550 [15]", "title": "นิสสัน" }, { "docid": "277220#19", "text": "รุ่นนี้ เป็นรุ่นสุดท้ายของเซดริค ที่มีการผลิตตัวตังแบบวากอนและรถตู้ หลังจากเริ่มผลิตมาตั้งแต่รุ่นแรก เพราะหลังจากหมดยุคของรุ่นนี้ นิสสันได้ตัดสินใจแยกสายการผลิตอีกครั้ง แต่ไม่ใช่การตั้งเป็นรถตระกูลใหม่ แต่ย้ายรถเซดริคที่ตัวถังวากอนและรถตู้ออกไปเป็นเครือข่ายของรถ นิสสัน บลูเบิร์ด แทนที่จะเป็นเครือข่ายของเซดริค", "title": "นิสสัน เซดริค" }, { "docid": "878770#1", "text": "ปกติแล้ว โตโยต้า ยาริส ทำตลาดอยู่ในกลุ่มรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก ประเภททั่วไป (เช่น ฮอนด้า แจ๊ซ, เชฟโรเลต โซนิค, มาสด้า 2) แต่นับตั้งแต่ พ.ศ. 2553 เป็นต้นมาได้เกิดตลาดใหม่ในประเทศไทย คือ ตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก ประเภทอีโคคาร์ ซึ่งจะเป็นรถยนต์ระดับต่ำกว่า ใช้เครื่องเล็ก ประหยัดน้ำมันกว่า ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า และได้มาตรการสนับสนุนด้านการลดภาษีจากรัฐบาล ทำให้มีราคาถูกกว่ารถประเภททั่วไป โตโยต้าจึงต้องการจะทำตลาดกลุ่มอีโคคาร์บ้าง แต่ไม่ต้องการให้มีรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก 5 ประตูขายพร้อมกันสองประเภท จึงตัดสินใจ ยุติการผลิตยาริสเดิมลง พัฒนาอีโคคาร์รุ่นใหม่ขึ้นมาให้ได้ตามเงื่อนไขอีโคคาร์ของรัฐบาล ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับยาริสเดิมแม้แต่น้อย แต่ยืมชื่อยาริสมาใช้ในการทำตลาดเพียงเท่านั้น ดังนั้น รุ่นนี้จึงไม่สามารถนับเป็นยาริสรุ่นที่ 4 ได้ และไม่สามารถเปรียบเทียบราคาได้กับ ฮอนด้า แจ๊ซ, มาสด้า 2, เชฟโรเลต โซนิคได้เหมือนรุ่นเดิม แต่ต้องเปรียบเทียบกับรถยนต์ที่อยู่ในโครงการอีโคคาร์เช่นเดียวกัน เช่น ฮอนด้า บริโอ้, นิสสัน มาร์ช, ซูซูกิ สวิฟต์, มิตซูบิชิ มิราจ จึงจะถูกต้อง", "title": "โตโยต้า ยาริส (รหัส XP150)" }, { "docid": "838455#4", "text": "สำหรับในประเทศไทย นิสสัน โน้ต ได้เข้าร่วมโครงการ อีโคคาร์ (เฟส 1) โดยใช้เครื่องยนต์ HR12DE ขนาด 1.2 ลิตร 79 แรงม้า เช่นเดียวกับนิสสัน อัลเมร่า และนิสสัน มาร์ช โดยนิสสัน โน้ต จะเจาะตลาดบนสำหรับกลุ่มผู้ขับขี่รถยนต์ระหว่างเมือง แต่นิสสัน มาร์ช จะเจาะตลาดสำหรับกลุ่มผู้ขับขี่รถยนต์ในเมือง", "title": "นิสสัน โน้ต" }, { "docid": "545351#3", "text": "ในปี 1968 ภายใต้การบริหารงานของนายไอซาคุ ซาโต้ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะให้อุตสาหรกรรมยานยนต์ของญี่ปุ่นนั้นร่วมมือกัน เพื่อขยายขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างชาติ. นิสสัน จึงได้เข้าซื้อหุ้น 20.4% ของFHI โดยนิสสันหวังที่จะใช้ความเชี่ยวชาญในการผลิตรถบัสของซูบารุในการผลิตรถบัสของตัวเองในแบรนด์ นิสสันดีเซล. นอกจากนั้นเกียร์อัตโนมัติของซูบารุรุ่น 4EAT ก็ได้ถูกนำไปติดตั้งในรถยนต์ นิสสัน แพทไฟเดอร์ รุ่นแรกด้วยเช่นกัน. ซูบารุได้เปิดตัวรถยนต์หลายรุ่นที่เป็นผลผลิตระหว่างความร่วมมือของซูบารุและนิสสัน ได้แก่อาร์ทู(R-2) ในปี 1969, เรกซ์ และ เลโอเน่ ในปี 1971, แบรท ในปี 1978, อัลซีโอเน่ ในปี 1985, เลกาซี่ ในปี 1989, อิมเพรซซ่า ในปี 1993 (รวมถึงเวอร์ชัน WRX ด้วย), และท้ายสุด ฟอเรสเตอร์ ในปี 1997.", "title": "ซูบารุ" }, { "docid": "507941#4", "text": "รุ่นนี้ แม้จะผลิตในตลาดโลกเมื่อปี พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน แต่ในไทยนั้นผลิตช่วงปี พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างสยามกลการและนิสสัน กว่าที่นิสสันจะเข้ามาซื้อหุ้นและลงทุนเองได้ก็คือเมื่อปี พ.ศ. 2546 และเตรียมเปลี่ยนโฉมในปี พ.ศ. 2557 เมื่อครบ 11 ปีในการทำตลาดพอดี โดยก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่านิสสันและมิตซูบิชิจะพัฒนารถกระบะร่วมกัน แต่ปัจจุบันได้ยุติความร่วมมือในการพัฒนารถกระบะแล้ว คงเหลือแต่ความร่วมมือในการผลิตรถ K-Car และการผลิตรถซีดานขนาดใหญ่สำหรับตลาดญี่ปุ่นเท่านั้น\nในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557 นิสสันได้เผยโฉมนาวารารุ่นที่สาม (รู้จักกันในชื่อ เอ็นพี300 นาวารา) ใช้รหัสตัวถังว่า D23 โฉมนี้จะไม่มีสายการผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกาแต่จะมีสายการผลิตในโรงงานแห่งใหม่ที่จังหวัดสมุทรปราการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 และจะเริ่มส่งมอบเมื่อเดือนสิงหาคม โฆษกนิสสันอเมริกาเหนือ นายแดน บีดอร์ ได้กล่าวไว้ว่ารุ่นนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนโฉมกับฟรอนเทียร์โฉม D40 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับรุ่นยุโรปได้ใช้เครื่องยนต์ 2.3 ลิตรจากนิสสัน เอ็นวี400", "title": "นิสสัน นาวารา" }, { "docid": "308468#18", "text": "นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 5 เปิดตัวในประเทศอินโดนีเซียและประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2561 สำหรับตลาดรถญี่ปุ่น จะมีการนำเข้าจากประเทศไทย และไม่มีจำหน่ายในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "308468#1", "text": "ในช่วง พ.ศ. 2516 ลากยาวไปจนถึงช่วง พ.ศ. 2523 ได้เกิดวิกฤติน้ำมันแพงขึ้นรอบหนึ่ง (ไม่ใช่รอบที่แพงอยู่ในปัจจุบันนี้) ผู้ที่ต้องการซื้อรถหลายคนจึงหันไปให้ความสนใจกับรถขนาดเล็ก ประหยัดน้ำมัน ซึ่งในขณะนั้น นิสสันได้ผลิตรถยนต์ Hatchback ขนาดเล็กมากและประหยัดน้ำมันอยู่แล้วรุ่นหนึ่ง ชื่อว่า นิสสัน เชอร์รี (Nissan Cherry) แต่ทว่า นิสสัน เชอร์รี กลับทำยอดขายได้ไม่ดีนักด้วยเหตุผลหลายประการ ทางนิสสันจึงเห็นว่า น่าจะทำรถ Hatchback ขนาดเล็กมากขึ้นมาใหม่รุ่นหนึ่งที่ต้องมีรูปทรงทันสมัย ดึงดูดใจคนรุ่นใหม่(ในช่วงนั้น) บำรุงรักษาง่าย ขับขี่ง่าย ราคาไม่แพง และประหยัดน้ำมัน", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "308468#17", "text": "ซึ่งการเปิดตัวครั้งนี้น่าจะทำให้นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 5 กลับมามีชีวิตชีวาได้อีกครั้งหลังจากที่ชาวยุโรปมองว่านิสสัน มาร์ช รุ่นก่อนนั้นค่อนข้างจืดชืดเมื่อเทียบกันรุ่นก่อน (K12) ที่มีการออกแบบที่ดีกว่า รวมไปถึงคุณภาพที่ต่ำกว่าความคาดหวัง ทั้งหมดนี้จึงทำให้นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 5 จำเป็นต้องดูดีขึ้นขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงจึงเริ่มขึ้นด้วยรถต้นแบบ Nissan Sway Concept", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "308468#0", "text": "นิสสัน มาร์ช (Nissan March) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ นิสสัน ไมครา (Nissan Micra) เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก (Subcompact Car) รุ่นหนึ่งที่ผลิตโดยบริษัทรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นชื่อ นิสสัน มีรูปทรงแบบ Hatchback (ท้ายกุด ไม่มีกระโปรงหลัง) ซึ่งในปัจจุบัน คนไทยหลายๆ คน เริ่มรู้จัก นิสสัน มาร์ช ในฐานะของรถอีโคคาร์ (Ecocar) ที่ประหยัดน้ำมันมาก (ประมาณ 20-25 กิโลเมตรต่อลิตร)", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "308468#6", "text": "นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 1 ใช้รหัสตัวถังว่า K10 ในการเปิดตัวได้มีการนำ Masahiko Kondou นักแข่งรถ Formula Nippon และเป็น Idol ยอดนิยมของวัยรุ่นญี่ปุ่นในช่วงนั้นมาเป็นพรีเซนเตอร์ ส่วนเครื่องยนต์ที่ใช้ เครื่องยนต์ตัวแรกและดั้งเดิมของมาร์ช K10 คือเครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์ MA10S 4สูบ SOHC 8 วาล์ว 987 ซีซี ในการขับขี่บนท้องถนนจริง พบว่า นิสสัน มาร์ช รุ่นแรก มีอัตราการใช้น้ำมันประหยัดมาก คือ 21 กิโลเมตร/ลิตร และจากการทดสอบพบว่า หากขับขี่ด้วยความเร็วคงที่ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมงแล้ว จะสามารถประหยัดน้ำมันได้ถึง 32.5 กิโลเมตรต่อลิตร ซึ่งในภาพรวมนิสสัน มาร์ช รุ่นแรก ประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม อีกทั้งมีการคิดค้นรุ่นพิเศษลิมิเต็ดเอดิชันออกมาอีกหลายรุ่น จึงได้รับการตอบรับอย่างดี และเป็นรถเล็กรุ่นแรก ที่ติดตั้ง TurboChager และหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ ในปี 2528 และ Nissan March Super Turbo(รวมเทคโนโลยี่ Supercharger และ TurboCharger ไว้ในเครี่อง MA10ET ตัวเดียว )ในปี 2532 และสามารถทำยอดขายได้ครบ 1 ล้านคันในเวลาเพียง 6 ปีหลังจากเริ่มผลิต และมียอดขาย K10 รวมทั้งสิ้นประมาณ 1.6 ล้านคัน", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "277220#12", "text": "รุ่นนี้ เป็นรุ่นสุดท้ายที่เซดริคมีการผลิตตัวถังแบบคูเป้ 2 ประตู โดยหลังจากหมดยุคของรุ่นนี้ นิสสันได้แยกสายการผลิตเซดริคแบบคูเป้ 2 ประตูออกไปเป็นรถรุ่นใหม่ของนิสสัน ตั้งชื่อว่า นิสสัน ลีโอพาร์ด (Nissan Leopard)", "title": "นิสสัน เซดริค" }, { "docid": "304339#0", "text": "นิสสัน เทียน่า เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลางของบริษัทนิสสัน เริ่มมีการผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 โดยมีชื่ออื่นในการส่งออกเช่น นิสสัน แม็กซิมา และ นิสสัน เซฟิโร่ (เป็นการยืมชื่อมาใช้ เซฟิโร่ตัวจริงเลิกผลิตไปแล้ว เทียน่า เป็นรุ่นต่อของเซฟิโร่ ส่วนแม็กซิมา เป็นรถนิสสันอีกรุ่นหนึ่ง ขายในสหรัฐอเมริกา) ในบางประเทศ นอกจากนี้ เทียน่ายังมีการใช้รูปแบบเดียวกับ นิสสัน อัลติม่า วางขายในทวีปอเมริกาเหนือและญี่ปุ่น", "title": "นิสสัน เทียน่า" }, { "docid": "308468#12", "text": "นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 4 ใช้รหัสการพัฒนาว่า W02A[1] ภายหลังได้ใช้รหัสตัวถังเป็น K13[2][3] เปิดตัวครั้งแรกใน พ.ศ. 2552 และเริ่มผลิตในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 รวมถึงประเทศไทยด้วย หลังจากผลิตนิสสัน มาร์ชรุ่นที่ 1 ในประเทศไทยแล้วล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงเมื่อกว่า 20 ปีก่อน นิสสันก็ตัดสินใจผลิตนิสสัน มาร์ชในประเทศไทยอีกครั้ง โดยใช้ชื่อในการโฆษณาว่า \"นิสสัน อีโคคาร์\" (Nissan Ecocar) ซึ่งจะใช้เครื่องยนต์ 1200 ซีซี 3 สูบ ซึ่งสามารถประหยัดน้ำมันได้ไม่แพ้รุ่นก่อนๆ โดยนิสสัน มาร์ช รุ่นใหม่นี้ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานข้อกำหนดรถประหยัดพลังงานสากล (อีโคคาร์) ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "308468#9", "text": "อย่างไรก็ตาม นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 2 ยังมีความปลอดภัยไม่มากเท่าที่ควร จากการทดสอบขององค์การทดสอบความปลอดภัยของยานยนต์ Euro NCAP ได้ประเมินว่า นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 2 มีความปลอดภัยเพียงระดับ 2 ดาว จาก 5 ดาว", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "219444#0", "text": "เครื่องยนต์นิสสัน RB เป็นเครื่องยนต์ 2.0-3.0 ลิตร จากนิสสัน โดยแบ่งเป็นRB26DET เป็นเครื่องยนต์ของรถยนต์นิสสัน สกายไลน์ ในรหัส GT-R ตั้งแต่ \nนอกจากนี้ยังมีรถยนต์นิสสันรุ่น Stagea 260RS และรถยนต์ทอมมี ไคระ (Tommy Kaira) รุ่น ZZ II ที่ผลิตหรือประกอบโดยใช้เครื่องยนต์รุ่นดังกล่าว", "title": "เครื่องยนต์นิสสัน RB" }, { "docid": "308468#15", "text": "นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 5 ใช้รหัสว่า K14 ได้เปิดตัวครั้งแรกในโลกที่ปารีส มอเตอร์โชว์ ปี พ.ศ. 2559 โดยมีการออกแบบภายนอกใหม่ทั้งหมด และใช้แพลทฟอร์ม CMF-B ส่วนสีภายนอกมีให้เลือกมากถึง 10 สี โดยการวางจำหน่ายเริ่มที่ยุโรปในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "186796#1", "text": "โตโยต้า ยาริส ผลิตมาเพื่อทดแทนรถรุ่น โตโยต้า สตาร์เล็ต (Toyota Starlet) ซึ่งได้เลิกผลิตไป เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยก่อนหน้านี้ ในประเทศไทย สตาร์เล็ตเป็นรถรุ่นแรกๆ ที่มีขนาดเล็ก และมีโครงตัวถังแบบ hatchback (ท้ายกุด ไม่มีกระโปรงหลัง) ที่เข้ามาขายในประเทศไทย และมีคู่แข่งในสมัยนั้นคือ นิสสัน มาร์ช (English: Nissan March) ซึ่งก็มีกระแสตอบรับมาบ้างในเรื่องของความประหยัดน้ำมัน และความกะทัดรัดขับง่าย แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จนัก เนื่องจากคนไทยในช่วงนั้น ไม่ไว้วางใจในความปลอดภัยของรถรุ่นสตาร์เล็ต เพราะเกรงว่าผู้โดยสารที่นั่งหลังจะได้รับอันตรายได้ง่ายหากถูกชนท้าย จนเลิกผลิตไปในที่สุด", "title": "โตโยต้า ยาริส" }, { "docid": "529081#0", "text": "นิสสัน เอ็กซ์เทรล () เป็นรถยนต์เอนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดเล็ก (Compact SUV) แบบ Crossover SUV ผลิตโดยนิสสัน โดยเริ่มผลิตและเปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2544 ในช่วงที่รถยนต์ประเภท SUV กำลังโด่งดัง ถือได้ว่าเป็นรถอีกรุ่นหนึ่งของนิสสันที่มาถูกที่ ถูกเวลาและช่วยฟื้นฟูรายได้ให้กับนิสสันช่วงที่กำลังฟื้นฟูกิจการในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก จนถึงทุกวันนี้ เอ็กซ์เทรลได้กลายเป็นรถยนต์รุ่นหลักสำหรับตลาดโลกของ Nissan ไปแล้ว มีการส่งเข้าไปทำตลาดใน 167 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย มียอดขายมาแล้วมากกว่า 800,000 คัน และครองตำแหน่งรถ SUV ที่ขายดีของญี่ปุ่นมาแล้ว 8 ปีซ้อนตั้งแต่รุ่นแรกด้วย", "title": "นิสสัน เอ็กซ์เทรล" }, { "docid": "308468#11", "text": "เครื่องยนต์เปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์แบบ CR โดยใช้เครื่องยนต์ CR10DE เป็นรุ่นมาตรฐาน เกียร์ธรรมดาถูกยกเลิกไปในเกือบทุกรุ่น ยกเว้นรุ่นที่ใช้เครื่องยนต์ประเภท CR12DE จะยังผลิตเกียร์ธรรมดาให้เลือกเป็นพิเศษ มีสีตัวถังให้เลือกถึง 12 สี", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "308468#14", "text": "รถที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอีโคคาร์ ในประเทศไทย จะได้รับผลประโยชน์ในการลดภาษีสรรพสามิตเหลือร้อยละ 17 (รถเก๋งที่ไม่ผ่านเกณฑ์อีโคคาร์ ต้องจ่ายภาษีร้อยละ 30-50) และในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556 นิสสัน มาร์ช ก็ได้มีการไมเนอร์เชนจ์ขึ้น โดยปรับโฉมให้ดูสปอร์ตขึ้น โดนเปลี่ยนรูปแบบกระจังหน้าใหม่ ไฟหน้าใหม่ ไฟท้ายแบบ LED", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "308468#8", "text": "นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 2 ใช้รหัสตัวถังว่า K11 ในการออกแบบได้ใช้โปรแกรม CAD มาช่วยในการสร้าง และออกแบบให้มีรูปทรงโค้งมน กลมกลึง ดูเป็นมิตรกว่ารุ่นเดิมมาก นอกจากนี้ยังได้เปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์แบบ CG10DE 4สูบ DOHC 16 วาล์ว 987 ซีซี เป็นเครื่องรุ่นมาตรฐาน มีระบบเกียร์ธรรมดา 5 สปีด กับเกียร์อัตโนมัติ CVT และได้สร้างสถิติอย่างน่าชื่นชม โดยได้รับรางวัลรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปีของญี่ปุ่น (Car of the Year Japan) ประจำปี 1992 และเป็นรถรุ่นแรกของญี่ปุ่นที่คว้ารางวัลรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปีของยุโรป (European Car of the Year) ประจำปี 1993 ซึ่งในรายการทีวีซีรีส์ญี่ปุ่นเรื่อง แชมป์เฉือนแชมป์ ตอน World Records ที่ออกอากาศในประเทศไทยในช่วง พ.ศ. 2552 ในการแข่งขันดริฟท์จอดรถ ก็ใช้รถ นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 2 ในการแข่งขัน", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "308468#16", "text": "นิสสัน มาร์ช ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 1.5 ลิตร 97 แรงม้า, เครื่องยนต์เบนซินเทอร์โบ 0.9 ลิตร 90 แรงม้า และเครื่องยนต์เบนซิน 1.0 ลิตร 70 แรงม้า", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "263196#17", "text": "โฉมที่ 9 หรือ B15 ซีรีส์ มีรูปร่างคล้าย B14 ซึ่งเป็นรุ่นต่อจาก B14 ในประเทศไทย ทางนิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) (สยามกลการในยุคนั้น)ไม่ได้นำมาทำตลาด เนื่องจากตัวถังมีขนาดเล็ก ไม่สามารถขายแข่งกับเจ้าตลาดในขณะนั้นได้ แต่ใน พ.ศ. 2547 นิสสันได้ออกผลิตภัณฑ์รถรุ่นใหม่ คือ นิสสัน ทีด้า เข้ามา ซึ่งมีคุณลักษณะคล้ายซันนี่ เข้ามาทดแทนรุ่นซันนี่ โดยในประเทศญี่ปุ่น นิสสันได้หยุดการผลิตรุ่นซันนี่ในปีเดียวกับการเปิดตัวของทีด้า สำหรับซันนี่ในประเทศไทย และประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชีย ได้ยกเลิกการผลิตรุ่น B14 ในพ.ศ. 2543 และได้นำรถรุ่น นิสสัน พัลซาร์ (Nissan Pulsar) มาขายในชื่อ ซันนี่ นีโอ (Sunny Neo) ต่อจาก B15 ส่วน นิสสัน ซันนี่ (ตระกูลจริง) นั้น หลังจากได้หยุดการผลิตโฉมที่ 9 นี้แล้ว โฉมที่ 10 ยังมีการผลิตต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน แต่ไม่มีการใช้ชื่อซันนี่ จะใช้ชื่อเซนทรา เพียงชื่อเดียว ซึ่งไม่มีการนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย", "title": "นิสสัน ซันนี่" }, { "docid": "308468#10", "text": "นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 3 ใช้รหัสตัวถังว่า K12 พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของรูปแบบ B-Platform เปิดตัวใน พ.ศ. 2544 เริ่มการผลิตกันอย่างจริงจังใน พ.ศ. 2545 ตัวถังใหม่มีความโค้งมนมากขึ้น สูงขึ้น และกว้างขึ้น ซึ่งสือมวลชน รวมถึงสถาบันการออกแบบชั้นนำหลายแห่ง ก็ต่างออกมายอมรับว่างานชิ้นนี้มีดีไซน์แตกต่าง ดูเป็นเอกลักษณ์ ด้วยการเน้นการเพิ่มพื้นที่ในห้องโดยสาร การใช้ไฟหน้ารูปทรงแบบดวงตาการ์ตูนบักส์ บันนี รูปทรงรถแบบลู่ลมช่วยลดแรงต้านลมระหว่างการวิ่ง (ค่า Cd.=0.32) เสาหลังคาหลังถูกลดความยาวลงเพื่อลดจุดบอดของสายตาขณะถอยจอด และมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ คือ Keyless Ignition คือจะมีรีโมทกุญแจไว้ให้เจ้าของรถ เมื่อเจ้าของรถพกรีโมทกุญแจเข้ามาในรถ จะสามารถกดปุ่มสตาร์ทรถได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้กุญแจ (เหมือน โตโยต้า ยาริส ในปัจจุบัน)", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "192452#2", "text": "ฮอนด้า ซิตี้ เริ่มเป็นที่รู้จักของคนไทยเมื่อปี พ.ศ. 2539 ซึ่งก็คือโฉมที่ 3 โดยก่อนหน้านั้น มีรถยนต์ในระดับเดียวกับซิตี้คือ โอเปิล คอร์ซา, ฟอร์ด แอสปาย, ฮุนได เอ็กเซล, ฮุนได แอกเซนท์, ฮอนด้า ซีวิค (3 ประตู) ก่อนที่จะมีรถยนต์คู่แข่งอื่นๆ ตามมาในภายหลัง เช่น โตโยต้า โซลูน่า, โตโยต้า วีออส, โตโยต้า ยาริส, มาสด้า 2, ฟอร์ด เฟียสตา, เชฟโรเลต อาวีโอ, เชฟโรเลต โซนิค, เกีย พิแคนโต นอกจากนี้ ยังเป็นคู่แข่งการตลาดกับรถ Eco Car บางรุ่น ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงและหรือเท่า B-Car เช่น นิสสัน มาร์ช, นิสสัน อัลเมร่า, มิตซูบิชิ มิราจ, ซูซูกิ สวิฟท์ เป็นต้น", "title": "ฮอนด้า ซิตี้" }, { "docid": "308468#2", "text": "ใน พ.ศ. 2521 นิสสันจึงได้จัดตั้งทีมงานพัฒนารถรุ่นดังกล่าว โดยตั้งชื่อโครงการนี้ว่า The KX Plan ซึ่งหลังจากทำการพัฒนาได้ 3 ปี ใน พ.ศ. 2524 นิสสันก็เปิดตัวรถต้นแบบรุ่นใหม่ก่อนการจำหน่ายจริง 1 ปี ใช้ชื่อต้นแบบว่า KX-018 แต่ยังขาดชื่อที่เหมาะสมในการจำหน่ายจริง นิสสันจึงได้จัดรายการประกวดตั้งชื่อรถรุ่นใหม่ขึ้น ซึ่งก็มีผลตอบรับดีมาก ภายในระยะเวลาประมาณ 2 เดือนครึ่ง มีผู้ส่งชื่อร่วมประกวดสูงถึง 5.65 ล้านคน แต่ทว่า เมื่อประกาศผลโหวตออกไป ชื่อที่ได้รับการโหวตสูงสุดเป็นอันดับแรกๆ ได้แก่", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "493755#0", "text": "นิสสัน ซิลฟี่ (Nissan Sylphy) หรือในอดีตเรียกว่า นิสสัน บลูเบิร์ด ซิลฟี (Nissan Bluebird Sylphy) เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (Compact Car) ผลิตโดยนิสสัน เริ่มการผลิตใน พ.ศ. 2543 เพื่อทดแทนรถยนต์รุ่นก่อนหน้าคือ นิสสัน ซันนี่ และ นิสสัน บลูเบิร์ด ซึ่งทั้ง 2 รุ่นนี้ได้ยุติการผลิตและการทำตลาดแล้ว ", "title": "นิสสัน ซิลฟี่" } ]
2556
รัสเซลล์ เกิดที่เมืองอะไรของสหราชอาณาจักร?
[ { "docid": "10668#1", "text": "รัสเซลล์ เกิดที่เมืองเทรลเลค (Trelleck) แคว้นมอนมอธเชอร์ (Monmouthshire) สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) บิดาเป็นขุนนางชั้นวิสเคานท์ชื่ออัมเบอร์เลย์ (Amberley) ซึ่งเป็นบุตรชายคนที่ 3 ของลอร์ด จอห์น รัสเซลล์ (Lord John Russell) อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัย ผู้สนับสนุนพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนฉบับแรก และยังเป็นผู้ส่งเสริมเสรีภาพของประชาชนมาตลอดชีวิต เป็นผู้ที่มีแนวคิดเสรีนิยมจัด ท่านลอร์ด จอห์น รัสเซลล์ ผู้นี้เองเป็นคนริเริ่มส่งเสริมและเปิดให้มีการค้าโดยเสรี ให้คนยิวทำมาหากินอย่างอิสระในอังกฤษ และส่งเสริมเสรีภาพในการนับถือศาสนาอีกด้วย ส่วนมารดาของรัสเซลล์ ชื่อนางแคทธริน เป็นบุตรีของท่านบารอน สแตนเลย์ ขุนนางแห่งเมืองอัลเตอร์เลย์ (Alterley)", "title": "เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์" }, { "docid": "723055#1", "text": "รัสเซลล์เกิดที่เมืองพอร์ธสมัธ ประเทศอังกฤษ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับหนึ่งสาขาฟิสิกส์ ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1982 จากนั้นจบการศึกษาระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ในปี ค.ศ. 1986 หลังจบการศึกษาได้ทำงานเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์จนปัจจุบันได้เป็นศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นอกจากนั้น ยังเป็นศาสตราจารย์พิเศษทางด้านศัลกรรมประสาทวิทยาที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโกหลังจากอุทิศตนทำงานวิจัยด้านสรีรวิทยาคำนวณ", "title": "สจวร์ต รัสเซลล์" } ]
[ { "docid": "10668#18", "text": "รัสเซลล์เป็นนักปรัชญาชาวอังกฤษ เป็นนักปรัชญาที่สำคัญที่สุดชองลัทธิสัจนิยมใหม่แบบธรรมชาติ เกิดและเติบโตในบรรยากาศที่หดหู่ เคร่งเครียด และว้าเหว่จนน่าเบื่อ จึงไม่ชอบและมีจิตใจเป็นปฏิปักษ์ อายุ 14 ปีเท่านั้นก็คัดค้านคำสอนของศาสนาอายุ 18 ปีเลิกนับถือศาสนา เข้ามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เรียนคณิตศาสตร์และปรัชญา ขณะนั้นลัทธิเฮเก็ลใหม่กำลังรุ่งโรจน์ รัสเซลติดใจและจะยึดเหนี่ยวแทนศาสนาได้ ต่อมาได้รู้จักกับมัวร์ จึงเป็นแนวความคิดมาทางสัจนิยมใหม่ของมัวร์ ครั้นไม่พอใจก็ปรับปรุงแก้ไขเรื่อยไปเป็นระยะๆ ตั้งแต่ปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา มีความตระหนักว่าความเชื่อเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติเปิดโอกาสให้คนฉลาดเอาเปรียบคนโง่ และเป็นฉนวนให้เกิดสงคราม จึงตั้งหน้าล้มล้างศาสนาและความศรัทธาต่อสิ่งเหนือธรรมชาติทุกแบบจนสิ้นอายุขัย คัดค้านสงครามจนถูกจำคุก 2 ครั้ง ตอนปลายชีวิตได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ใฝ่หาสันติภาพตัวอย่าง ได้ตำแหน่งศาสตราจารย์ปรัชญา ได้เป็นราชบัญฑิต และได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมสาขาวรรณกรรมประจำปี พ.ศ. 2493 โดยคณะกรรมการแถลงเหตุผลว่า\" “ท่านเป็นคนหนึ่งในสมัยของเราที่เป็นปากเป็นเสียงดังที่สุดให้กับปัญหาธรรมและมนุษยธรรม ท่านไม่กลัวที่จะประท้วงเรียกร้องสิทธิในการพูดและคิดอย่างอิสระในซีกโลกตะวันตก”\"", "title": "เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์" }, { "docid": "22422#1", "text": "บิล รัสเซล เกิดที่เมืองมอนโร รัฐลุยเซียนา เติบโตที่เมืองโอคแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ส่วนสูง 6 ฟุต 9 นิ้ว (2.06 เมตร) เล่นบาสเกตบอลระดับมหาวิทยาลัยให้กับ มหาวิทยาลัยแห่งเมืองซานฟรานซิสโก และนำทีมไปสู่ชัยชนะ ในการแข่งขันชิงชนะเลิศระดับมหาวิทยาลัย เอ็นซีดับเบิลเอ (NCAA) ในปี ค.ศ. 1955 และ 1956 รวมทั้งการชนะการแข่งขันติดต่อกันถึง 55 เกม นอกจากนั้นแล้ว บิล รัสเซล ยังเป็นกัปตันทีมบาสเกตบอลชาย ตัวแทนสหรัฐอเมริกา ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ที่เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี ค.ศ. 1956", "title": "บิล รัสเซล" }, { "docid": "955754#0", "text": "ชาลส์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 9 แห่งเวลลิงตัน ()\nชาลส์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 9 แห่งเวลลิงตัน เกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ณ บ้านคริสเตียนเฮาส์ วินด์เซอร์ สหราชอาณาจักร เป็นบุตรชายคนใหญ่ใน วาเลเรียน เวลสลีย์ ดยุกที่ 8 แห่งเวลลิงตัน และ ไดอานา ดัชเชสแห่งเวลลิงตัน โดยเขาสืบเชื้อสายมาจากขุนนางชางอังกฤษนามว่า อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน ปัจจุบันเขาเป็นนักการเมืองโดยการเป็นสมาชิกพรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร) โดยเขาได้รับตำแหน่งทั้งหมดจากบิดาของเขาถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2557 ชาลส์จบกจากวิทยาลัยอีตันและมหาวิทยาลัยคริสฟอร์ด ต่อมา ชาลส์ได้เป็นผู้สมัครพรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร) เมื่อปี พ.ศ. 2517 และเมื่อปี พ.ศ. 2015 ชาลส์ได้กลายเป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมหลังจากการเกษียณของ อาร์เธอร์ ลอว์สัน จอห์นตัน บารอนที่ 3 แห่งลุค\nนอกจากชาลส์จะเป็นนักการเมืองแล้ว เขายังมีธุรกิจดังนี้\nชาลส์ สมรสกับ เจ้าหญิงอันโทเนีย ดัชเชสแห่งเวลลิงตัน พระธิดาใน เจ้าชายเฟรเดอริกแห่งปรัสเซีย (2454-2509) และเป็นพระราชปนัดดาใน จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี มีบุตรดังนี้", "title": "ชาลส์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 9 แห่งเวลลิงตัน" }, { "docid": "894493#1", "text": "ชาร์ลส์ เทซ รัสเซลล์ เกิดเมื่อวันที่16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2395 ในวัยเด็กเขาได้ไปที่คริสตจักรของเซเว่นเดย์แอดเวนทิสต์ เขาได้ฟังคำสอนของคริสตจักรนั้นจนเขามีอายุได้20ปีและเขาไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับคำสอนของคริสตจักร เขาจึงแยกตัวออกมาจากคริสตจักรนั้น และก่อตั้งกลุ่มของเขาเอง ซึ่งในขณะนั้นมีชื่อว่า หอสังเกตการณ์แห่งซีโอน และได้เปลี่ยนชื่อกลุ่มองค์กรของเขาเป็น หอสังเกตการณ์ หรือ ว็อชทาวเวอร์ และต่อมาเขาได้เป็นประธานกลุ่ม และใช้เงินพัฒนาองค์กรมาจากการค้าขายผ้าของเขาและพ่อของเขา และต่อมาจึงเติบโตเป็นองค์กร พยานพระยะโฮวา", "title": "ชาลส์ เทซ รัสเซลล์" }, { "docid": "13567#0", "text": "วอลเตอร์ บรูซ วิลลิส (, เกิด 19 มีนาคม ค.ศ. 1955) เป็นนักแสดงอเมริกัน เกิดที่ฐานทัพทหารในเมืองไอดาร์-โอเบอร์สไตน์ ไรน์แลนด์ ประเทศเยอรมนีตะวันตก โตที่เมืองเพนส์ โกรฟ รัฐนิวเจอร์ซีย์และย้ายมาอยู่ที่มหานครนิวยอร์กเพื่อเริ่มอาชีพนักแสดง เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังจากละครโทรทัศน์แนวโรแมนติกเรื่อง\"มูนไลท์ติ้ง\" อันโด่งดัง (ค.ศ. 1985-ค.ศ. 1989) ก่อนจะประสบความสำเร็จอีกครั้งจากภาพยนตร์แอคชันเรื่อง \"Die Hard\"", "title": "บรูซ วิลลิส" }, { "docid": "10668#6", "text": "ในขณะเดียวกันรัสเซลก็ได้เดินทางไปศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์และการปกครองที่ประเทศเยอรมนี ณ ที่นี้เองที่รัสเซลล์ได้รับอิทธิพลจากลัทธิมาร์กซิสม์มาจนท่วมสมอง ครั้นเขากลับมายังสหราชอาณาจักร ก็ได้ทำการสอนที่เดิม และมหาวิทยาลัยอื่นๆ อีกหลายแห่งในลอนดอน", "title": "เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์" }, { "docid": "519764#3", "text": "โอลคอตนั้นเกิดในครอบครัวคริสต์เพรสไบทีเรียน (Presbyterian) ที่เคร่งครัด ในเมืองออเรนจ์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ เขาเดินทางและเริ่มงานของเขาเพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองปานะดุระ ประเทศศรีลังกา และเพียงเพราะหนังสือพิมพ์ Times Of Ceylon จาก ดร.เจมส์ มาร์ติน พีเบิลส์ ที่นำไปให้ เพื่อหน้าที่ของเขา และคนสำคัญจากส่วนต่าง ๆ ของโลก เขาเดินทางมาถึงประเทศศรีลังกาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1880 โดยที่ ภารกิจของพันเอกเฮนรี สตีล โอลคอต มีดังนี้", "title": "เฮนรี สตีล โอลคอต" }, { "docid": "118375#1", "text": "รัสเซล โครว์เกิดที่เวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ เป็นบุตรชายของ John Alexander Crowe และ Jocelyn Yvonne ต่อมาเขาได้ย้ายไปอยู่ที่ออสเตรเลียเมื่อเขาอายุได้ 4 ขวบ พ่อของเขามีอาชีพรับจัดเตรียมฉากภาพยนตร์ เขาเริ่มการแสดงเมื่ออายุได้ 6 ขวบ มีผลงานทางโทรทัศน์ในออสเตรเลียอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งอายุ 25 ปีจึงได้รับบทนำ บทบาทการแสดงของโครว์ที่โดดเด่นที่สุดงานหนึ่งคือบท ฮานโด้ ใน \"Romper Stomper\"", "title": "รัสเซล โครว์" } ]
3389
คณะราษฎร คืออะไร?
[ { "docid": "43051#0", "text": "คณะราษฎร (อ่านว่า \"คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน\"; มักสะกดผิดเป็น คณะราษฎร์) คือ กลุ่มบุคคลที่ดำเนินการการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อาจได้ชื่อว่าเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของไทย", "title": "คณะราษฎร" } ]
[ { "docid": "329604#0", "text": "หมุดก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ หรือเรียกโดยทั่วไปว่า หมุดคณะราษฎร เป็นหมุดทองเหลืองฝังอยู่กับพื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ณ ตำแหน่งที่พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) อ่านประกาศคณะราษฎร มีข้อความว่า \"ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ\" จัดทำขึ้นโดยกระทรวงมหาดไทย มีพิธีฝังหมุดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2479 โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นและหัวหน้าคณะราษฎรเป็นผู้ฝังหมุด", "title": "หมุดคณะราษฎร" }, { "docid": "43051#2", "text": "คณะราษฎรประกอบด้วยกลุ่มบุคคลผู้ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนและนักเรียนทหารที่ศึกษาและทำงานอยู่ในทวีปยุโรป โดยเริ่มต้นจากปรีดี พนมยงค์ นักเรียนวิชากฎหมาย และประยูร ภมรมนตรี นักเรียนวิชารัฐศาสตร์ ก่อนที่จะหาสมาชิกที่มีความคิดแบบเดียวกันเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น 7 คน ได้แก่", "title": "คณะราษฎร" }, { "docid": "43051#7", "text": "โดยที่ประชุมคณะราษฎรตกลงกันว่า ในเรื่องของการปฏิวัติ ตลอดจนสถาปนาความมั่นคง และความปลอดภัยของบรรดาสมาชิก และของประเทศ เป็นหน้าที่ของฝ่ายทหาร และในส่วนของการร่างคำประกาศ ตลอดจนการร่างกฎหมาย และการวางเค้าโครงต่าง ๆ ของประเทศ เป็นหน้าที่ของฝ่ายพลเรือน", "title": "คณะราษฎร" }, { "docid": "208246#12", "text": "ตั้วได้มีบทบาทในทางการเมืองไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเข้าร่วมกับคณะราษฎรก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบบประชาธิปไตยในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยเข้าร่วมประชุมก่อตั้งคณะราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กรุงปารีส โดยเป็นสมาชิกฝ่ายพลเรือน ซึ่งเห็นได้ถึงความปรารถนาของคณะราษฎรในการส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเช้าของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ตั้วได้ร่วมเดินทางสู่จุดนัดหมายที่บางซื่อ", "title": "ตั้ว ลพานุกรม" }, { "docid": "265921#0", "text": "รักคืออะไร เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 6 ของวงดิ อินโนเซ็นท์ออกวางแผงครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2527ซึ่งในอัลบั้มนี้ได้ต้อนรับ 2 สมาชิกใหม่ของวงคือไก่ เกียรติศักดิ์ ยันตะระประกรณ์ ในตำแหน่งมือกลองที่เข้ามาแทนโหนก เกรียงศักดิ์ที่ได้ลาออกไปและไชยรัตน์ ปฏิมาปกรณ์ จากวงฟอร์เอฟเวอร์ ในตำแหน่งมือคีย์บอร์ดและมือกีตาร์ซึ่งก่อนหน้านั้นไชยรัตน์ได้เข้ามาเป็นนักดนตรีรับเชิญระหว่างออกทัวร์คอนเสิร์ตและแสดงทางโทรทัศน์ในอัลบั้ม เพียงกระซิบ และอัลบั้ม อยู่หอ ก่อนจะเข้ามาเป็นสมาชิกหลักของวงในอัลบั้มชุดนี้", "title": "รักคืออะไร" }, { "docid": "43051#6", "text": "หลังจากการประชุมนั้น เมื่อคณะผู้ก่อการได้กลับมาประเทศสยาม ก็ได้พยายามหาสมาชิกเพื่อเข้าร่วมการก่อการปฏิวัติ โดยได้ติดต่อประชาชนทุกอาชีพ ทั้งพ่อค้า ข้าราชการพลเรือน และทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายทหารระดับสูงที่มีแนวความคิดอย่างเดียวกันมานานก่อนหน้านี้ 4-5 ปีแล้ว จนได้สมาชิกทั้งสิ้น 115 คน แบ่งเป็นสายต่าง ๆ คือ", "title": "คณะราษฎร" }, { "docid": "28605#3", "text": "อย่างไรก็ดี รัฐจะต้องธำรงรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์สาธารณะ ซึ่งในบางกรณีรัฐจำต้องบังคับให้ราษฎรกระทำการหรือละเว้นไม่กระทำการบางอย่าง โดยองค์กรหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถล่วงล้ำเข้าไปในแดนสิทธิเสรีภาพของราษฎรได้ แต่รัฐให้คำมั่นต่อราษฎรว่าองค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐจะกล้ำกรายสิทธิเสรีภาพของราษฎรได้ ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งและเป็นการทั่วไปว่าให้องค์กรหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกล้ำกรายสิทธิเสรีภาพของราษฎรได้ในกรณีใดและภายในขอบเขตอย่างไร", "title": "นิติรัฐ" }, { "docid": "381537#0", "text": "สันนิบาตอาระกันเพื่อประชาธิปไตย ( หรือ ALD; ) เป็นพรรคการเมืองในรัฐยะไข่ ประเทศพม่า ได้รับการสนับสนุนจากชาวยะไข่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2533 พรรคนี้ถูกแบนโดยรัฐบาลทหารที่ครองอำนาจต่อมา ผู้นำพรรคต้องลี้ภัยเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อไป ในปัจจุบัน พรรคนี้มีสาขาในบังกลาเทศ อินเดีย ไทย มาเลเซีย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์", "title": "สันนิบาตอาระกันเพื่อประชาธิปไตย" }, { "docid": "329604#5", "text": "วันที่ 14 เมษายน 2560 มีข่าวว่าหมุดคณะราษฎรถูกเปลี่ยน โดยหมุดใหม่มีข้อความว่า \"ความนับถือรักใคร่ในพระรัตนตรัยก็ดี ในรัฐของตนก็ดี ในวงศ์ตระกูลของตนก็ดี มีจิตซื่อตรงในพระราชาของตนก็ดี ย่อมเป็นเครื่องทำให้รัฐของตนเจริญยิ่ง ขอประเทศสยามจงเจริญยั่งยืนตลอดไป ประชาชนสุขสันต์ หน้าใส เพื่อเป็นพลังของแผ่นดิน\" ข้อความดังกล่าวตรงกับคาถาภาษิตในพระราชลัญจกรประจำเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ผู้เขียนหนังสือ \"2475 และ 1 ปีหลังการปฏิวัติ\" วิเคราะห์คำบนหมุดใหม่นี้ว่า มีการใช้คำเก่าหลายคำ ได้แก่ \"ประเทศสยาม\" ซึ่งเป็นชื่อเก่าของประเทศไทย, \"สุขสันต์\" ซึ่งเป็นคำที่มีอายุมาค่อนศตวรรษแล้ว, \"หน้าใส\" ซึ่งพบในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อาจตีความว่าหมายถึงมีความสุขสดชื่น แต่ขัดกับคำว่า \"ประชาชน\" ซึ่งเป็นคำใหม่หลังการปฏิวัติ 2475 (ก่อนหน้านี้จะใช้คำว่า \"ราษฎร\") โดยรวมแล้ว หมุดดังกล่าวพยายามสื่อว่า บ้านเมืองดูดี แต่ไม่เห็นอุดมการณ์มองไปข้างหน้า ซึ่งขัดกับข้อความในหมุดเดิมที่ว่า ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ อันเป็นวิสัยทัศน์ คาดกันว่าหมุดดังกล่าวถูกเปลี่ยนระหว่างวันที่ 3–7 เมษายน 2560 ช่วงดังกล่าวมีการปฏิสังขรณ์พระบรมรูปทรงม้า อีกทั้งยังได้มีการตั้งเต็นท์ขึงสแลนปิดรอบบริเวณหมุดคณะราษฎรดังกล่าว", "title": "หมุดคณะราษฎร" } ]
2000
พระครูอินทสรวิสุทธิ์ มีฉายาทางพระพุธศาสนาว่าอะไร?
[ { "docid": "263066#1", "text": "ชื่อ พระครูอินทสรวิสุทธิ์ ฉายา อินฺทสโร พรรษา 60 น.ธ. เอก \nวัดเมืองราม ตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน \nดำรงตำแหน่ง คือ\n1. เจ้าอาวาสวัดเมืองราม\n2. เจ้าคณะตำบลนาเหลือง\n3. พระอุปัชฌาย์\n4. ผู้อำนวยการการศึกษาพระปริยัติธรรมในเขตตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน\n5. ที่ปรึกษาหน่วยอบรมประชาชน ประจำตำบลนาเหลือง อ.เวียงสา จ.น่าน", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" } ]
[ { "docid": "263066#43", "text": "- ได้เทศน์ อบรมศีลธรรมและจริยธรรมให้โอวาทแก่ข้าราชการทหารตำรวจ ในอำเภอเวียงสา ที่ไปประกอบพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญในพุทธศาสนาที่วัดเมืองรามเป็นประจำ", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#42", "text": "- ได้อบรมศีลธรรมแก่ศรัทธาประชาชนตามหมู่บ้านต่างๆ และตำบลต่างๆ ในเขตอำเภอเวียงสา เป็นประจำทุกปี โดยไปในนามของพระธรรมทูต อำเภอเวียงส่า ได้จัดให้มีงาน เทศน์มหาชาติขึ้นที่วัดเมืองรามและหมู่บ้านต่างๆ ภาคพรรษาเป็นประจำทุกปี", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#0", "text": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (ครูบาอินสม) คือ เป็นพระเถระองค์สำคัญของตำบลนาเหลืองที่มีลูกศิษย์มากมาย ซึ่งท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2544 สิริอายุได้ 81 พรรษา", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#3", "text": "วัน พุธ ที่ 9 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2481 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ ปีขาล ณ วัดนาเหลืองใน หมู่ที่ 1 ตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยมี พระครูสาราธิคุณ ( ไชยปัญญา ) วัดศรีกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เป็นพระอุปัชฌาย์", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#24", "text": "- ได้เปิดสัมมนาครูสอนพระปริยัติธรรมและจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนให้แก่ครูและนักเรียน เป็นการส่งเสริม ในการศึกษาของพระภิกษุสามเณร และเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา อีกส่วนหนึ่งด้วย", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#20", "text": "- สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้ประทานชื่อโรงเรียนว่า \"โรงเรียนพระปริยัติศาสนาภิพัฒน์วัดเมืองราม\"", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#11", "text": "วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 \n- เป็นวิทยากรบรรยายธรรม เรื่อง หลักพระพุทธศาสนา ณ โรงเรียนบ้านนาเหลืองไชยราม ตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "971454#2", "text": "อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2510 ณ พัทธสีมาพระอุโบสถวัดปุณณสิริวนาราม บ้านเปือย ตำบลผือฮี อำเภอฟ้าหยาด จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระครูโสภณชัยคุณ (โสม จารุวัณโณ) วัดเวินชัย เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้วได้รับฉายาทางพุทธศาสน์ว่า ธีรปัญโญ หมายถึง นักปราชญ์ผู้มีความรู้มาก ได้บำเพ็ญสมณกิจตามพระวินัยแห่งองค์พระศาสดาจารย์ประจำอยู่ที่วัดปุณณสิริวนารามมาโดยตลอด ปรับปรุงศาสนสถานให้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และความศรัทธาของปุตุชนผู้เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาตลอดมา", "title": "พระครูสิรินวกิจ (เสริม ธีรปัญโญ)" }, { "docid": "85555#17", "text": "ท่านพระอาจารย์มั่น มีความละเอียดมากในการสอนลูกศิษย์ เวลาพระองค์ไหนป่วยแล้วขอยา ท่านจะว่า นี่จะเอาอะไรเป็นสรณะที่พึ่ง เอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง หรือเอายาเป็นที่พึ่ง ถือเอาศาสนาพุทธหรือศาสนายากันแน่ แต่ถ้าองค์ไหนป่วย แล้วไม่ยอมฉันยา ท่านก็ติเตียนอีกว่า ยามี ทำไมไม่ยอมฉัน ทำไมทำตัวเป็นคนเลี้ยงยาก ฟังดูแล้วดูเหมือนลูกศิษย์ต้องโดนทั้งขึ้นทั้งล่อง แต่ความหมายของท่านคือ ขอปราบทิฏฐิของลูกศิษย์ในเรื่องนี้ เพราะความดีไม่ได้อยู่กับการฉันยาหรือไม่ฉันยา แต่อยู่กับการใช้ปัญญาพิจารณาทุก\nนั้นต่างหาก", "title": "พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต" }, { "docid": "263066#16", "text": "วันที่ 9 - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2493 \n- เป็นกรรมการตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวง ชั้นตรี ณ วัดพระบาท มิ่งเมือง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ \nวันที่ 24 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2494 \n- เป็นกรรมการตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวงชั้นตรี ณ วัดช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมืองน่าน \nวันที่ 28 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2496 \n- เป็นกรรมการตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวงชั้นตรี ณ วัดช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมืองน่าน \nวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 \n- เป็นวิทยากรอบรมครูพระปริยัติธรรม ณ วัดบุญยืน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน\nวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 \n- ให้โอวาทแก่พระนวกะในคราวเปิดเรียนธรรมะภาคพรรษา ณ วัดบุญยืน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน \nวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2526 \n- เป็นกรรมการรณรงค์ เพื่อการรู้หนังสือไทยแห่งชาติ จังหวัดน่านร่วมกับศูนย์การศึกษา นอกโรงเรียน จังหวัดน่าน\nวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2531 \n- เป็นประธานเปิดสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี สำนักเรียนวัดเมืองราม ตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#4", "text": "วันศุกร์ ที่ 9 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2483 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ ปีเถาะ ณ วัดดอนไชยพระบาท อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน \nวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2492 \n- เป็นเจ้าอาวาสวัดนาเหลืองใน ตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#6", "text": "วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 \n- เป็นเจ้าอาวาสวัดเมืองราม ตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#18", "text": "ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 - 2543 \n- เป็นประธานอำนวยการสอบธรรมสนามหลวง แผนกธรรม ณ สำนักสอบวัดเมืองราม ตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#7", "text": "วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2500 \n- เป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#21", "text": "- นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการการศึกษาพระปริยัติธรรมในเขตตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา มาจนถึงปัจจุบันได้ปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรมภายในตำบลนาเหลือง โดยการส่งครูผู้สอนเข้ารับการอบรมและจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนให้แก่ครูและนักเรียนในเขตาตำบลนาเหลือง เพื่อการส่งเสริม การศึกษาและให้กำลังใจแก่ครูและนักเรียนทุกรูป", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#9", "text": "วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2523 \n- เป็นวิทยากรบรรยายธรรมแก่คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านนาเหลืองไชยราม ตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" } ]
3632
การแปลสิ่งเร้าผิดหมายถึงอะไร?
[ { "docid": "613876#0", "text": "การแปลสิ่งเร้าผิด[1] หรือ มายา[1][2] (English: illusion) หมายถึงความผิดพลาดหรือความบิดเบือนของการรับรู้ทางประสาทสัมผัส ที่ชี้ให้เห็นถึงวิธีที่สมองจัดระเบียบและแปลผลข้อมูลทางประสาทสัมผัส แม้ว่า การแปลสิ่งเร้าผิดจะบิดเบือนความเป็นจริง แต่ก็เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดกับคนโดยมาก[3]", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิด" } ]
[ { "docid": "680918#1", "text": "นักทฤษฎีทางจิตวิทยาเน้นความสำคัญของความรู้สึกว่า เราสามารถควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตได้\nนักวิชาการพวกแรก ๆ รวมทั้งนักจิตวิทยาชาวออสเตรียแอลเฟร็ด แอ็ดเลอร์เสนอว่า เราจะพยายามเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญ (proficiency) ต่าง ๆ ในชีวิต\nส่วนนักจิตวิทยา (ชาวออสเตรียเหมือนกัน) ฟริตซ์ ไฮเดอร์ เสนอว่า เรามีแรงจูงใจที่มีกำลังที่จะควบคุมสิ่งแวดล้อม\nและนักจิตวิทยาไวต์ ตั้งสมมติฐานว่า เราจะสนองแรงจูงใจพื้นฐานในการสร้างความสามารถ (competence) โดยทำการเพื่อควบคุมผลต่าง ๆ \nส่วนนักจิตวิทยาเชิงสังคมเบอร์นาร์ด ไวเนอร์ ผู้สร้างทฤษฎี Attribution ได้เพิ่มการควบคุมได้โดยเป็นองค์ เข้ากับทฤษฎีเดิมของเขาเกี่ยวกับแรงจูงใจที่จะสร้างความสำเร็จ \nนักจิตวิทยาเชิงสังคมชาวอเมริกันแฮโรลด์ เค็ลลีย์ เสนอว่า ความล้มเหลวในการตรวจจับเหตุอื่น ๆ อาจจะมีผลให้เรายกตนเองว่าเป็นเหตุ ของผลที่จริง ๆ ควบคุมไม่ได้\nหลังจากนั้น เล็ฟคอร์ต เสนอว่า ความรู้สึกว่าควบคุมได้ ซึ่งเป็นการแปลสิ่งเร้าผิดว่าตนสามารถเลือกทำสิ่งต่าง ๆ ได้ มีบทบาทที่ชัดเจน และเป็นผลบวกในการดำรงชีวิต\nพึ่งเมื่อไม่นานนี้ นักจิตวิทยาวชาวอเมริกันเทย์เลอร์และบราวน์ เสนอว่า การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก รวมทั้งการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ สนับสนุนอุปถัมภ์สุขภาพจิต", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้" }, { "docid": "680918#0", "text": "การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ () เป็นแน้วโน้มที่เรามีในการประเมินค่าสูงเกินไปว่า สามารถควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้\nคือ เราอาจจะคิดว่าเราควบคุมเหตุการณ์อะไรบางอย่างได้ แม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเราจะไม่ได้มีส่วนควบคุม \nชื่อของปรากฏการณ์นี้ตั้งขึ้นโดย ศ.ญ. ดร. เอ็ลเล็น แลงเกอร์ ของคณะจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นปรากฏการณ์ที่ทำซ้ำได้ในสถานการณ์หลายอย่าง \nปรากฏการณ์นี้เชื่อว่ามีอิทธิพลต่อการเล่นการพนัน และความเชื่อในเรื่องเหนือธรรมชาติ \nพร้อมกับการแปลสิ่งเร้าผิดประเภท \"ความเหนือกว่าแบบลวง\" (illusory superiority) และความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี (optimism bias) ปรากฏการณ์นี้เป็นการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้" }, { "docid": "895680#2", "text": "การแปลสิ่งเร้าผิดทางตาหลายอย่างเกิดจากการปรับตัวของประสาท เมื่อได้รับสิ่งเร้าอย่างหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ\nในกรณีเช่นนี้ การรับรู้สิ่งเร้าต่อไปจะเปลี่ยนไป\nปรากฏการณ์นี้บางครั้งเรียกว่าในภาษาอังกฤษอีกอย่างหนึ่งว่า contingent after-effect (ผลตามหลังที่มีเงื่อนไข)\nซึ่งสามารถเป็นเหตุให้เกิดสัมผัสลวง", "title": "การแปลสัมผัสผิด" }, { "docid": "763867#9", "text": "การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกอาจจะมีทั้งประโยชน์และโทษต่อบุคคล และยังเป็นเรื่องถกเถียงที่ยังไม่ยุติว่า ปรากฏการณ์นี้เป็นการปรับตัวทางวิวัฒนาการหรือไม่\nคือปรากฏการณ์นี้อาจจะมีผลดีต่อสุขภาพเพราะช่วยบุคคลให้จัดการความเครียดได้ หรือสนับสนุนให้ทำงานให้สำเร็จ\nแต่ในด้านตรงกันข้าม การคาดหวังเชิงบวกเกินความจริง อาจขัดขวางไม่ให้ทำการป้องกันที่เหมาะสมกับเรื่องเสี่ยงต่อสุขภาพ\nงานวิจัยไม่นานนี้จริง ๆ ให้หลักฐานว่า คนที่แปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก อาจจะได้ทั้งประโยชน์ในระยะสั้นและโทษในระยะยาว โดยเฉพาะก็คือ การยกย่องตนเองไม่มีสหสัมพันธ์กับความสำเร็จทางการศึกษา หรืออัตราการจบปริญญาในมหาวิทยาลัย", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก" }, { "docid": "763867#21", "text": "ทฤษฎีสัจนิยมเหตุซึมเศร้า (depressive realism) เสนอว่า คนซึมเศร้ามองตนเองและโลกอย่างเป็นจริงมากกว่าคนมีสุขภาพจิตดี\nธรรมชาติของความซึมเศร้าดูเหมือนจะมีบทบาทในการลดการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก\nยกตัวอย่างเช่น คนที่เคารพตนน้อย หรือซึมเศร้าเล็กน้อย หรือว่าทั้งสองอย่าง จะมองตัวเองอย่างสมดุลกว่า\nและโดยนัยเดียวกัน คนซึมเศร้าเล็กน้อย จะไม่ค่อยประเมินความสามารถควบคุมเหตุการณ์เกินความเป็นจริง\nและไม่ประเมินเหตุการณ์ข้างหน้าอย่างเอนเอียง\nแต่ว่า สิ่งที่ค้นพบเหล่านี้ อาจจะไม่ใช่เพราะว่าคนซึมเศร้าแปลสิ่งเร้าผิดน้อยกว่าคนอื่น\nมีงานศึกษาเช่นงานในปี 1989 ที่แสดงว่าคนซึมเศร้าเชื่อว่าตนไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ได้ แม้ว่าจริง ๆ จะสามารถ ดังนั้น การมองเห็นความเป็นจริงจึงไม่ได้ดีกว่าโดยทั่วไป", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก" }, { "docid": "687351#2", "text": "เมื่อเราถือเอาอย่างผิด ๆ ว่า การพินิจภายในที่เชื่อถือไม่ได้ เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตนที่ตรงกับความจริง ผลที่ได้อาจจะเป็นการปรากฏของการแแปลสิ่งเร้าผิดว่าเหนือกว่า (illusory superiority) ผู้อื่น\nยกตัวอย่างเช่น เราแต่ละคนจะคิดว่าเรามีความคิดที่เอนเอียงน้อยกว่าผู้อื่น และมีความคิดที่เห็นตามผู้อื่นน้อยกว่าคนอื่น\nและแม้ว่า ผู้ร่วมการทดลองจะได้รับรายงานของการพินิจภายในของผู้อื่น ที่ละเอียดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ก็ยังจะตัดสินว่า เป็นเรื่องเชื่อถือไม่ได้ ในขณะที่ถือเอาการพินิจภายในของตนว่า เชื่อถือได้\nแม้ว่า สมมติฐานเกี่ยวกับการแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้ จะให้ความเข้าใจความกระจ่างชัดเกี่ยวกับผลงานวิจัยทางจิตวิทยาบางอย่าง\nแต่หลักฐานที่มีอยู่ไม่อาจจะบอกได้ว่า การพินิจภายในนั้นเชื่อถือได้ขนาดไหนในสถานการณ์ปกติ \nการแก้ปัญหาความเอนเอียงที่เกิดจากการแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้ อาจเป็นไปได้ด้วยการศึกษาเรื่องความเอนเอียง และเรื่องการเกิดขึ้นใต้จิตสำนึกของความเอนเอียง", "title": "การแปลการพินิจภายในผิด" }, { "docid": "760257#2", "text": "การแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้พบได้ชัดในผู้ต้องกล่าวปาฐกถา\nซึ่งอาจจะเพิ่มระดับเพราะเหตุปรากฏการณ์สปอร์ตไลท์ (spotlight effect) คือความรู้สึกว่าคนอื่นสังเกตเห็นตนมากกว่าที่เป็นจริง\nผู้พูดจะรู้สึกเกินจริงว่า ความตื่นเต้นของตนปรากฏชัดเจนต่อผู้ฟังแค่ไหน\nมีงานศึกษาต่าง ๆ ที่สำรวจผู้ฟังที่แสดงว่า อารมณ์ความรู้สึกของผู้พูดไม่ได้เป็นเรื่องชัดเจนอะไรเหมือนอย่างที่ผู้พูดรู้สึก \nความวิตกกังวลเบื้องต้นเมื่อต้องกล่าวปาฐกถา อาจทำให้ตื่นเต้นและเครียด และเพราะการแปลสิ่งเร้าผิดชนิดนี้ คนพูดอาจจะรู้สึกว่าความรู้สึกของตนเป็นเรื่องที่ปรากฏชัดต่อผู้ฟัง\nซึ่งทำให้ผู้พูดพยายามแก้ชดเชย แต่ความพยายามนั้นกลับทำให้ตนรู้สึกว่าคนฟังเห็นชัดขึ้นอีก เลยกลายเป็นวงจรทำให้ตื่นเต้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ\nดังนั้น การตระหนักถึงข้อจำกัดที่ผู้อื่นสามารถรู้ความรู้สึกของตน อาจจะช่วยทำลายวัฏจักรและลดระดับความวิตกกังวลในการพูด", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิดว่าโปร่งใส" }, { "docid": "763867#0", "text": "การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก\nเป็นทัศนคติเชิงบวกไม่สมจริง ที่มีต่อตนเองหรือต่อบุคคลที่ใกล้ชิด\nเป็นการแปลสิ่งเร้าผิดในรูปแบบของการหลอกลวงตนเอง (self-deception) หรือการยกย่องตนเอง (self-enhancement) ที่ทำให้รู้สึกดี ดำรงรักษาความเคารพตน (self-esteem) หรือช่วยกำจัดความไม่สบายใจอย่างน้อยก็ในช่วงเวลาสั้น ๆ\nมีรูปแบบใหญ่ ๆ 3 อย่างคือ ความเหนือกว่าเทียม (illusory superiority) ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี (optimism bias) และการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ (illusion of control)\nส่วนคำภาษาอังกฤษว่า \"positive illusions\" เกิดใช้เป็นครั้งแรกในงานปี 1988 ของเทย์เลอร์และบราวน์\nโดยมีการกล่าวถึงภายหลังว่า\n\"แบบจำลองสุขภาพจิตปี 1988 ของเทย์เลอร์และบราวน์ยืนยันว่า การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกบางอย่างแพร่หลายเป็นอย่างสูงในความคิดปกติ และเป็นตัวพยากรณ์ค่าเกณฑ์ที่ปกติสัมพันธ์กับสุขภาพจิตที่ดี\"", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก" }, { "docid": "613876#9", "text": "เสียงลวงหู หรือ การแปลสิ่งเร้าผิดทางหู (English: auditory illusion) ก็คือ การได้ยินเสียงที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือที่ทำให้เกิดความคิดผิด ๆ ซึ่งก็คือ การได้ยินเสียงที่ไม่มีอยู่ หรือว่าเป็นเสียงที่เป็นไปไม่ได้ โดยสรุปก็คือ การแปลสิ่งเร้าผิดทางหูชี้ข้อเท็จจริงว่า หูและสมองของมนุษย์เป็นเพียงอวัยวะทางชีวภาพ เป็นเพียงอุปกรณ์ชั่วคราวที่ไว้ใช้เฉพาะหน้า ไม่ใช่ระบบรับรู้เสียงที่สมบูรณ์ ตัวอย่างของการแปลสิ่งเร้าผิดทางหูอย่างหนึ่งก็คือ Shepard tone ซึ่งเป็นวิธีการทำเสียงให้เหมือนกับกำลังสูงขึ้นหรือทุ้มลงอย่างต่อเนื่อง ๆ ทั้ง ๆ ที่ความจริงไม่ได้ไปทางไหนเลย", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิด" }, { "docid": "763867#20", "text": "แม้ว่าจะมีงานศึกษาทางวิชาการในเรื่องการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกมากกว่า แต่ก็ยังมีการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงลบอย่างเป็นระบบที่ปรากฏในสถานการณ์ที่ต่างกันเล็กน้อย\nยกตัวอย่างเช่น แม้ว่านักศึกษามหาวิทยาลัยจะบอกว่าตนมีโอกาสที่จะมีชีวิตจนกระทั่งอายุ 70 มากกว่าโดยเฉลี่ย แต่ก็เชื่อว่ามีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่จนถึงอายุ 100 น้อยกว่าโดยเฉลี่ย\nคนมักจะคิดว่าตนสามารถมากกว่าคนโดยเฉลี่ยในงานที่ง่ายเช่นการขี่จักรยานสองล้อ และคิดว่าสามารถน้อยกว่าคนโดยเฉลี่ยในงานที่ยากเช่นการขี่จักรยานล้อเดียว\nและปรากฏการณ์หลังนี้เรียกว่า ปรากฏการณ์แย่กว่าโดยเฉลี่ย (Worse-than-average effect)\nดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว คนมักจะประเมินตัวเองสูงเกินจริง เมื่อตัวเองอยู่ในระดับสูงจริง ๆ และมักจะประเมินตนเองต่ำเกินจริง เมื่อตัวเองอยู่ในระดับต่ำจริง ๆ", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก" }, { "docid": "680918#7", "text": "บางครั้งบางคราว เราพยายามที่จะเข้าไปควบคุมเหตุการณ์ โดยมอบหน้าที่ปฏิบัติงานให้กับผู้ที่เก่งกว่าหรือ \"โชคดี\" กว่า\nคือ มอบการควบคุมโดยตรงให้กับผู้อื่น ที่ทำให้เรารู้สึกว่าผลจะออกมาดีที่สุด\nการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้โดยตัวแทน (illusion of control by proxy) เป็นการขยายแบบจำลองของทฤษฎีการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้" }, { "docid": "895680#0", "text": "การแปลสัมผัสผิด หรือ สัมผัสลวง หรือ การแปลสิ่งเร้าทางสัมผัสผิด\nเป็นการแปลสิ่งเร้าผิดของระบบประสาทรับรู้สัมผัส\nการแปลสัมผัสผิดบางอย่างจะต้องขยับนิ้วหรือมือ และบางอย่างก็เกิดได้โดยไม่ต้องขยับ (เช่น มีสิ่งเร้าภายนอกมาสัมผัสกับผิวหนัง)\nในหลายปีที่ผ่านมา นักวิจัยที่ศึกษาเรื่องการรับรู้ได้สนใจเรื่องนี้เพิ่มขึ้น ทำให้ได้ค้นพบสัมผัสลวงแบบใหม่ ๆ และมีการกล่าวถึงพวกมันในวรรณกรรมวิทยาศาสตร์ประชานิยม\nสัมผัสลวงบางอย่างจะคล้ายกับภาพลวงหรือเสียงลวง ซึ่งแสดงนัยว่า ระบบรับความรู้สึกต่าง ๆ อาจแปลผลคล้าย ๆ กัน\nแต่สัมผัสลวงอย่างอื่น ๆ ก็ไม่มีอะไรที่คล้ายกันทางตาหรือทางหู", "title": "การแปลสัมผัสผิด" }, { "docid": "613876#10", "text": "การแปลสิ่งเร้าผิดทางสัมผัส (English: tactile illusion) ก็คือ การรู้สึกทางสัมผัสที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือที่ทำให้เกิดความคิดผิด ๆ ตัวอย่างของการแปลสิ่งเร้าผิดทางสัมผัสรวมทั้งกลุ่มอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่ การลวงสัมผัสตะแกรงเหล็กร้อน การลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่าย และการลวงสัมผัสแปลกอีกอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเมื่อไขว้นิ้วชี้กับนิ้วกลางแล้วใช้นิ้วทั้งสองลูบที่ดั้งจมูก โดยแต่ละนิ้วอยู่ที่แต่ละด้านของจมูก จะมีผลเป็นความรู้สึกว่ามีจมูกสองจมูก", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิด" }, { "docid": "613876#2", "text": "การแปลสิ่งเร้าผิดบางอย่างมีเหตุจากข้อสันนิษฐานที่สมองมีเกี่ยวกับความเป็นจริงเมื่อเกิดการรับรู้ ข้อสันนิษฐานเหล่านั้นเกิดขึ้นอาศัยรูปแบบของสิ่งที่รับรู้, ความสามารถในการรับรู้ความลึกและการรับรู้ความเคลื่อนไหว, และความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัยว่า วัตถุหรือลักษณะต่าง ๆ ของวัตถุนั้นไม่มีความเปลี่ยนแปลงแม้ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสเกี่ยวกับวัตถุนั้นจะได้เปลี่ยนไปแล้ว ส่วนการแปลสิ่งเร้าผิดอื่น ๆ เกิดขึ้นอาศัยความเป็นไปในระบบการรับรู้ภายในร่างกาย หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ภายนอกร่างกายในสิ่งแวดล้อม", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิด" }, { "docid": "763867#12", "text": "แต่งานวิจัยหลังจากนั้นกลับพบว่า การแปลสิ่งเร้าผิดทุกอย่าง จะเชิงบวกหรือเชิงลบก็ดี สัมพันธ์กับอาการซึมเศร้า\nและก็มีงานศึกษาอื่น ๆ อีกด้วยที่ปฏิเสธความสัมพันธ์ระหว่างการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกกับสุขภาพจิต ความเป็นสุข หรือความพอใจในชีวิต โดยยืนยันว่า การรับรู้ความจริงที่ถูกต้อง เข้ากับความสุขในชีวิต", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก" }, { "docid": "613876#1", "text": "การแปลสิ่งเร้าผิดอาจเกิดขึ้นทางประสาทสัมผัสใดก็ได้ในมนุษย์ แต่ภาพลวงตาเป็นการแปลสิ่งเร้าผิดที่รู้จักกันดีที่สุดและมีความเข้าใจกันมากที่สุด ที่มีความสนใจในภาพลวงตามากก็เพราะว่า การมองเห็นเป็นประสาทสัมผัสที่มีอิทธิพลมากที่สุด ซึ่งเห็นได้ในตัวอย่างเช่น คนที่กำลังดูการพูดดัดเสียง (ventriloquism[4]) ได้ยินเสียงว่ามาจากหุ่นที่อยู่ที่มือของคนพูด เนื่องจากว่า เห็นหุ่นนั้นขยับปากตามเสียงคำพูด (แต่ไม่เห็นคนพูดขยับปาก)[5]", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิด" }, { "docid": "613876#3", "text": "คำว่า การแปลสิ่งเร้าผิด หมายถึงการบิดเบือนความเป็นจริงทางการรับรู้ที่มีลักษณะเฉพาะ โดยที่ไม่เหมือนกับอาการประสาทหลอน (hallucination) ซึ่งเป็นความบิดเบือนความเป็นจริงโดยไม่มีสิ่งเร้า การแปลสิ่งเร้าผิดเป็นการแปลผลความรู้สึก (อาศัยสิ่งเร้า) ที่มีขึ้นจริง ๆ ผิด ยกตัวอย่างเช่น การได้ยินเสียงโดยไม่มีเสียงจริง ๆ ในสิ่งแวดล้อมเป็นอาการประสาทหลอน แต่ว่า การได้ยินเสียงคนในเสียงน้ำที่กำลังไหลอยู่ (หรือในเสียงอื่น ๆ) เป็นการแปลสิ่งเร้าผิด ละครไมม์เป็นบทการละเล่นลวงตาที่สร้างขึ้นโดยอาศัยการเคลื่อนไหวกาย คือผู้เล่นละครสร้างภาพลวงตาโดยเคลื่อนกายเหมือนกับทำปฏิกิริยากับวัตถุที่ไม่มี ภาพลวงตาเช่นนี้เกิดขึ้นได้อาศัยข้อสันนิษฐานที่ผู้ชมมีเกี่ยวกับความเป็นไปในโลกจริง ๆ บทเล่นที่รู้จักกันดีก็คือ \"กำแพง\" (คือทำปฏิกิริยากับกำแพงที่ไม่มี) \"ปีนขึ้นบันได\" \"พิง\" (ดูรูป) \"ปีนลงบันได\" และ \"ดึงและผลัก\"", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิด" }, { "docid": "613876#12", "text": "การแปลสิ่งเร้าผิดสามารถเกิดขึ้นทางประสาทสัมผัสอื่น ๆ รวมทั้งที่ใช้ในการรับรู้เกี่ยวกับอาหาร ทั้งเสียง[10] และสัมผัส[11] สามารถลวง (บิดเบือน) ความรู้สึกเกี่ยวกับความเก่า (ความไม่สด) และความกรอบของอาหาร คือพบว่า", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิด" }, { "docid": "613876#14", "text": "นอกจากนั้นแล้ว ยังพบว่า ถ้าเซลล์ประสาทรับรสบนลิ้นเกิดความเสียหาย ก็ยังสามารถทำให้เกิดรสลวงโดยกระตุ้นความรู้สึกทางสัมผัสได้[12] มีหลักฐานด้วยว่า การแปลสิ่งเร้าผิดทางกลิ่นสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีการเล่าถึงกลิ่นนั้นให้ฟัง จะเป็นข้อมูลที่ถูกหรือจะผิดก็ตาม ก่อนที่จะให้ดมกลิ่นนั้น[13]", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิด" }, { "docid": "680918#28", "text": "ในปี ค.ศ. 2007 มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งที่เสนอว่า ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า \"สัจนิยมเหตุซึมเศร้า\" (depressive realism) ที่ผู้มีภาวะเศร้าซึมดูเหมือนจะประเมินความควบคุมได้ของตนตรงกับความเป็นจริงโดยไม่มีการแปลสิ่งเร้าผิด เป็นเรื่องที่อธิบายได้โดยความที่ผู้มีภาวะเศร้าซึมมีโอกาสสูงกว่าอยู่แล้วที่จะปฏิเสธว่าไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แม้ว่าจริง ๆ แล้วจะสามารถ ซึ่งก็หมายถึงว่าปรากฏการณ์นี้จริง ๆ แล้วไม่มี", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้" }, { "docid": "763867#3", "text": "การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ (illusion of control) เป็นการประเมินเกินจริงเกี่ยวกับความสามารถของตนในการควบคุมสถานการณ์สิ่งแวดล้อม เช่น การทอดลูกเต๋า หรือการโยนเหรียญ", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก" }, { "docid": "763867#5", "text": "เหมือนกับการรับรู้อื่น ๆ ของมนุษย์ การรับรู้เกี่ยวกับตนเองมักจะมีการแปลสิ่งเร้าผิด\nแต่การแปลสิ่งเร้าผิดแบบบวก เป็นเรื่องที่เข้าใจว่าเป็นผลปรากฏของการยกย่องตนเอง (self-enhancement) ซึ่งเป็นความต้องการที่จะมองตนเองในเชิงบวกมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้\nและเป็นหน้าที่หนึ่งของการเพิ่มความเคารพตน (self-esteem)\nและอาจมีเหตุจากความต้องการที่จะมองตนเองในเชิงบวกดีกว่าคนรอบตัว\nแต่ว่าความเอนเอียงรับใช้ตนเองเช่นนี้ ดูจะมีแต่ในคนที่มองตัวเองในเชิงบวกเท่านั้น\nคือ จริง ๆ แล้ว คนที่มองตัวเองในเชิงลบแสดงปรากฏการณ์นัยตรงกันข้าม\nงานวิจัยบอกเป็นนัยว่า กรรมพันธุ์อาจจะมีส่วนให้เกิดการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก\nสิ่งแวดล้อมในเบื้องต้นของชีวิตก็มีบทบาทสำคัญด้วย คนมักจะพัฒนาความเชื่อเชิงบวกเหล่านี้ได้ดีกว่า ในครอบครัวสิ่งแวดล้อมที่ให้ความอบอุ่น", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก" }, { "docid": "763867#13", "text": "ในงานปี 1992 ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเคารพในตน (self-esteem) กับการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก นักวิจัยพบกลุ่มคนที่เคารพในตนสูงโดยที่ไม่แปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก และคนเหล่านี้ก็ไม่ได้เศร้าซึม ไม่ได้เป็นโรคประสาท ไม่ได้ปรับตัวเข้ากับชีวิตได้ไม่ดี ไม่ได้ผิดปกติทางบุคลิกภาพ และดังนั้น จึงสรุปว่า การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกไม่จำเป็นต่อความเคารพในตน\nและเมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีทั้งการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกและความเคารพในตนสูง กลุ่มที่ไม่แปลสิ่งเร้าผิดที่เคารพในตนสูง สามารถวิเคราะห์วิจารณ์ตนเองได้ดีกว่า มีบุคลิกภาพที่เข้ากันดีกว่า และมีระดับ psychoticism ที่ต่ำกว่า", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก" }, { "docid": "613876#15", "text": "การแปลสิ่งเร้าผิดสามารถเกิดขึ้นได้เพราะเหตุแห่งโรคหรือความผิดปกติบางอย่าง แม้ว่าผู้มีโรคอาจจะไม่ได้มีอาการแบบนี้ทุกคน แต่อาการการแปลสิ่งเร้าผิดเฉพาะอย่างจะมีกับโรคเฉพาะอย่าง ยกตัวอย่างเช่น คนไข้โรคไมเกรนมักจะรายงายว่ามีการเห็นออร่า (scintillating scotoma) ก่อนจะเกิดไมเกรน", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิด" }, { "docid": "680918#29", "text": "มีงานวิจัยหลายงานที่พบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกว่าควบคุมได้กับสุขภาพ โดยเฉพาะในผู้สูงวัย\nมีนักวิชาการหลายกลุ่ม \nที่เสนอว่า\nแม้ว่า การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้จะโปรโหมตความพยายามเพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย\nแต่เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่อำนวยให้ทำการตัดสินใจที่ดี\nเพราะว่า อาจก่อให้เกิดความไม่แยแสต่อคำแนะนำคำวิจารณ์ของผู้อื่น\nขัดขวางการเรียนรู้ และทำให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงมากยิ่งขึ้น (เพราะว่า ตนเองคิดว่าไม่เสี่ยงเพราะเหตุแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้)", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้" }, { "docid": "680918#22", "text": "เทย์เลอร์และบราวน์เสนอว่า การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก (positive illusion) ซึ่งรวมการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้\nเป็นพฤติกรรมเชิงปรับตัว (ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมสังคมและการดำเนินชีวิต) เพราะว่าเป็นแรงดลใจให้เราอดทนในการทำงานต่าง ๆ ซึ่งถ้าไม่มีอาจทำให้เลิกล้มงานนั้นไป \nเป็นข้อเสนอที่ได้รับการสนับสนุนจาก ดร. แอลเบิร์ต แบนดูรา ผู้เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณทางจิตวิทยาที่มีชื่อเสียง ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผู้อ้างว่า ", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้" }, { "docid": "760257#0", "text": "การแปลสิ่งเร้าผิดว่าโปร่งใส () เป็นความโน้มเอียงที่บุคคลจะประเมินว่า คนอื่นรู้ถึงความรู้สึกและลักษณะจิตใจของตนมากเกินไป การปรากฏอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความโน้มเอียงที่จะประเมินว่า ตนรู้ถึงความรู้สึกและลักษณะจิตใจของคนอื่นมากเกินไป ซึ่งบางครั้งเรียกในภาษาอังกฤษว่า observer's illusion of transparency (การแปลสิ่งเร้าผิดว่าโปร่งใสของผู้สังเกตการณ์)\nความเอนเอียงทางประชานชนิดนี้ คล้ายกับที่เรียกว่า illusion of asymmetric insight ", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิดว่าโปร่งใส" }, { "docid": "613876#7", "text": "ภาพลวงตา หรือ การแปลสิ่งเร้าผิดทางตา (English: optical illusion) ก็คือ การเห็นที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือที่ทำให้เกิดความคิดผิด ๆ ดังนั้น ข้อมูลที่ตาได้รับเกิดการแปลผลในสมองที่ทำให้เกิดการรับรู้ที่ไม่ตรงกับลักษณะจริง ๆ ของวัตถุที่เป็นสิ่งเร้า", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิด" }, { "docid": "763867#11", "text": "นอกจากนั้นแล้ว การแปลสิ่งเร้าผิดยังเหมือนจะมีความสัมพันธ์กับอารมณ์ที่ดี\nคือ งานวิจัยแสดงทิศทางว่า การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกเป็นเหตุของอารมณ์ที่ดี", "title": "การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก" } ]
1171
เครื่องบินขับไล่ ติดขีปนาวุธได้หรือไม่ ?
[ { "docid": "225436#50", "text": "ด้วยการที่เห็นว่าประเทศโลกที่สามเริ่มมีกองทัพขนาดใหญ่และอาวุธนิวเคลียร์มันจึงนำไปสู่การออกแบบใหม่ขึ้นมาสองแบบ คือ เครื่องบินสกัดกั้นและเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด ทั้งสองแบบถูกลดบทบาทในการต่อสู้ทางอากาศ เครื่องบินขับไล่ความเร็วสูงหรือเครื่องบินสกัดกั้นนั้นมีขีปนาวุธที่เข้ามาแทนปืนและการต่อสู้ของมันจะทำจากระยะที่มองไม่เห็น ผลที่ได้คือเครื่องบินสกัดกั้นถูกออกแบบให้บรรทุกขีปนาวุธได้มากและมีเรดาร์ที่ทรงพลัง โดยลดความเร็วและอัตราการไต่ระดับลง ด้วยบทบาทในการป้องกันทางอากาศเป็นหลัก ความสำคัญจึงอยู่ที่ความสามารถในการเข้าสกัดกั้นเครื่องบินทิ้งระเบิดที่บินอยู่ในระดับสูง เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดสามารถสับเปลี่ยนบทบาทระหว่างครองน่านฟ้ากับโจมตีภาคพื้นดิน และมักออกแบบมาให้มีความเร็วสูง ความสามารถในการบินระดับต่ำเพื่อทิ้งระเบิด ขีปนาวุธนำวิถีด้วยเรดาร์และด้วยโทรทัศน์ถูกนำมาใช้เพื่อขยายการใช้ระเบิดแรงโน้มถ่วง และมีบางรุ่นที่สามารถใช้ระเบิดนิวเคลียร์ได้", "title": "เครื่องบินขับไล่" }, { "docid": "225436#49", "text": "การออกแบบเครื่องบินขับไล่ยังได้ผลประโยชน์จากเทคโนโลยีทางไฟฟ้าแบบใหม่ซึ่งทำให้เกิดเรดาร์ที่มีประสิทธิภาพที่มีขนาดเล็กพอที่จะติดตั้งกับเครื่องบินขนาดเล็กได้ เรดาร์บนเครื่องบินจะตรวจจับเครื่องบินศัตรูที่อยู่นอกเหนือการมองเห็น ในทำนองเดียวกันก็มีขีปนาวุธนำวิถีซึ่งกลายมาเป็นอาวุธหลักในครั้งแรกของประวัติศาสตร์เครื่องบินขับไล่ ในช่วงเวลานี้เองขีปนาวุธนำวิถีด้วยอินฟราเรดได้เกิดขึ้น แต่ขีปนาวุธแบบนี้แรกๆ นั้นบอบบางและมีมุมมองที่ด้านหน้าเพียง 30° ซึ่งจำกัดประสิทธิภาพของพวกมัน ขีปนาวุธนำวิถีด้วยเรดาร์ถูกนำเสนอเช่นเดียวกันแต่ตอนแรกๆ นั้นไม่ค่อยเชื่อถือได้ ขีปนาวุธกึ่งเรดาร์ยังสามารถติดตามและเข้าสกัดเครื่องบินของศัตรูได้ด้วยตนเอง ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยกลางและไกลทำให้มันสามารถยิงได้โดยที่เป้าหมายไม่อยู่ในระยะมองเห็น และทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีแบบนี้มากขึ้นไปอีก", "title": "เครื่องบินขับไล่" }, { "docid": "225436#52", "text": "ด้านการต่อสู้ทางอากาศนั้นมีการใช้ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ ระบบเรดาร์ และระบบอิเลคทรอนิกอากาศที่พัฒนา ในขณะที่ปืนยังคงเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศกลายมาเป็นอาวุธหลักของเครื่องบินขับไล่ชั้นยอด ซึ่งใช้เรดาร์ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเพื่อทำแต้มจากการยิงนอกระยะสายตาได้ง่าย อย่างไรก็ตามการทำลายเป้าหมายความเป็นไปได้น้อยมากสำหรับขีปนาวุธนำวิถีด้วยอินฟราเรดเพราะความเชื่อถือได้ที่น้อยและระบบต่อต้านอิเลคทรอนิกที่รบกวนระบบค้นหาของขีปนาวุธ ขีปนาวุธอินฟราเรดได้ขยายมุมมองที่ด้านหน้าเป็น 45° ซึ่งทำให้มันทรงพลังยิ่งขึ้น ถึงกระนั้นอัตราสังหารในการต่อสู้ทางอากาศที่ต่ำของอเมริกาในเวียดนามทำให้กองทัพเรือสหรัฐฯ ตั้งโรงเรียนฝึกท็อปกันที่มีชื่อเสียงเพื่อฝึกการใช้อาวุธ ซึ่งสร้างนักบินที่มีความสามารถสูงทั้งเทคนิคและยุทธวิธี", "title": "เครื่องบินขับไล่" }, { "docid": "225436#5", "text": "เครื่องบินขับไล่ไอพ่นในปัจจุบันมีเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนหนึ่งหรือสองเครื่องยนต์ และติดตั้งเรดาร์เพื่อใช้ในการหาเป้าหมาย อาวุธจะประกอบด้วยขีปนาวุธอากาศสู่อากาศเป็นหลัก พร้อมกับปืนใหญ่เป็นอาวุธรอง (โดยปกติแล้วจะมีขนาด 20 และ 30 ม.ม.) อย่างไรก็ตาม พวกมันก็สามารถใช้ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นได้เช่นเดียวกับระเบิดนำและไม่นำวิถี", "title": "เครื่องบินขับไล่" } ]
[ { "docid": "225436#53", "text": "ในยุคนี้ยังเห็นการขยายความสามารถในการโจมตีภาคพื้นดิน โดยเฉพาะในการใช้ขีปนาวุธนำวิถี และระบบอิเลคทรอนิกอากาศที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงสำหรับการโจมตีที่ดีขึ้น รวมทั้งระบบหลบหลีกภูมิประเทศ ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นที่มีตัวหาเป้าอย่างเอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริกได้กลายมาเป็นอาวุธหลัก และระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ได้กลายมาเป็นที่แพร่หลายด้วยความแม่นยำของมัน การนำวิถีของระเบิดแม่นยำนั้นใช้กระเปาะหาเป้าที่ติดอยู่ที่ส่วนปลาย ซึ่งถูกนำเสนอในกลางปีพ.ศ. 2503", "title": "เครื่องบินขับไล่" }, { "docid": "225436#8", "text": "ในทางปฏิบัติ ไม่นานหลังจากที่สงครามเริ่มต้น นักบินเครื่องบินสอดแนมเริ่มติดอาวุธให้ตัวเองเป็นปืนพก ปืนยาว และระเบิดมือเพื่อโจมตีเครื่องบินของศัตรู มันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะอาวุธสำหรับเครื่องบินสอดแนมในตอนนั้นยังไม่มี อีกวิธีหนึ่งคือการสร้างเครื่องบินสอดแนมขับไล่อย่างแอร์โค ดีเอช.2 ที่มีใบพัดอยู่ด้านหลังของนักบิน ข้อเสียของมันคือแรกฉุกที่มากของโครงสร้างแบบดังกล่าวซึ่งทำให้มันช้ากว่าเครื่องบินที่ไล่หลังมันอยู่ แบบต่อๆ มาจึงมีการติดปืนกลบนเครื่องบินขับไล่ที่สามารถยิงออกนอกวงโค้งของใบพัดได้ \nมีเพียงสองทางเลือกเท่านั้นที่ถูกใช้เป็นอย่างแรกกับเครื่องบินติดตาม ทางเลือกหนึ่งคือการให้มีนักบินคนที่สองที่จะนั่งอยู่ที่ด้านหลังของนักบินเพื่อเล็งและยิงปืนกลเข้าใส่เครื่องบินข้าศึก อย่างไรก็ตามวิธีนี้ก็มีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ที่จะต้องป้องกันตนเอง และยากที่นักบินทั้งสองจะทำงานร่วมกันได้เพราะในขณะที่อีกคนหนึ่งหลบหลีกนั้นอีกคนหนึ่งก็จะทำการยิงได้ยาก ซึ่งลดความแม่นยำและประสิทธิภาพของพลปืนไป ทางลือกนี้ถูกใช้ในแบบป้องกันสำหรับเครื่องบินสอดแนมสองที่นั่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2458 เป็นต้นมา อีกทางเลือกหนึ่งก็คือการติดตั้งปืนบนปีกด้านบนเพื่อยิงให้เหนือใบพัด ในขณะที่มีความมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการรบแบบรุกต้องมาจากนักบินสามารถขยับและเล็งปืนได้ การวางปืนแบบนี้จึงทำให้นักบินเล็งเป้าได้ยาก นอกจากนั้นตำแหน่งของปืนดังกล่าวทำให้มันแทยเป็นไปไม่ได้ที่นักบินจะหาตำแหน่งยิง มันทำให้ปืนกลนั้นแทบไม่มีประโยชน์แต่ก็เพราะว่านี่คือทางเลือกเพื่อทดแทนเท่านั้น ถึงอย่างไรก็ตามการยิงปืนกลเหนือวงโค้งของใบพัดก็มีข้อดี และยังคงอยู่ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2458 จนถึงพ.ศ. 2461", "title": "เครื่องบินขับไล่" }, { "docid": "225436#55", "text": "เครื่องบินโจมตีภาคพื้นดิน (อย่างเอ-6 อินทรูเดอร์และเอ-7 คอร์แซร์ 2) มีพิสัยที่ไกลขึ้น ระบบโจมตีกลางคืนที่ซับซ้อนขึ้น หรือราคาถูกกว่าเครื่องบินขับไล่เหนือเสียงปีกปรับมุมได้แบบเอฟ-111 ได้ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ ทีเอฟ30 พร้อมสันดาปท้าย โครงการที่ทะเยอทะยานพยายามที่จะสร้างเครื่องบินขับไล่ทวิบทบาทหรือหลายภารกิจ มันจะทำงานได้ดีเท่ากับเครื่องบินทิ้งระเบิดทุกสภาพอากาศ แต่ก็ขาดความสามารถในการเอาชนะเครื่องบินขับไล่ลำอื่น เอฟ-4 แฟนทอมถูกออกแบบเกี่ยวกับเรดาร์ให้เป็นเครื่องบินสกัดกั้นทุกสภาพอากาศ แต่ถูกรวบเข้าเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดหลากประโยชน์ที่ว่องไวพอที่จะหลบหลีกจากการต่อสู้ มันถูกใช้โดยกองทัพเรือ กองทัพอากาศ และนาวิกโยธินสหรัฐฯ ถึงแม้ว่าจุดอ่อนมากมายซึ่งยังไม่ถูกแก้ไขจนกระทั่งเครื่องบินขับไล่ใหม่กว่า แฟนทอมก็ทำคะแนนได้ 280 แต้มในการสังหารทางอากาศ มากกว่าเครื่องบินขับไล่แบบไหนๆ ของอเมริกาในเวียดนาม ด้วยพิสัยและความจุได้เท่ากับเครื่องบินทิ้งระเบิดในสงครามโลกครั้งที่สองอย่างบี-24 ลิเบอร์เรเตอร์ แฟนทอมเป็นเครื่องบินที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก", "title": "เครื่องบินขับไล่" }, { "docid": "225436#62", "text": "ไม่เหมือนกับเครื่องบินสกัดกั้นยุคก่อนๆ เครื่องบินขับไล่ยุคที่สี่ส่วนมากนั้นถูกออกแบบมาให้ว่องไวในการต่อสู้ทางอากาศ (ยกเว้นมิโคยัน มิก-31 และพานาเวีย ทอร์นาโด เอดีวี) แม้ว่าราคาของเครื่องบินขับไล่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ก็ยังคงเน้นสำคัญไปที่ความสามารถหลายภารกิจอยู่ ความต้องการของเครื่องบินขับไล่ทั้งสองแบบนำไปสู่ความคิดพยายามทำราคาต่ำแต่คุณภาพสูง มันสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพที่สูงพร้อมราคาที่สูงตามไปด้วย หัวใจของการสร้างเครื่องบินขับไล่คือการเป็นเครื่องบินที่ยอดเยี่ยมแต่มีราคาถูก", "title": "เครื่องบินขับไล่" }, { "docid": "225436#27", "text": "ยุทธการอังกฤษยังได้เผยให้เห็นความไม่เพียงพอของเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีเมื่อต้องใช้ในการโจมตีระยะไกล แนวคิดเครื่องบินขับไล่ขนาดหนักแบบสองเครื่องยนต์ถูกมองว่าเป็นความล้มเหลวเมื่อเครื่องเมสเซอร์สมิต บีเอฟ 110กองทัพอากาศเยอรมันนั้นขาดความคล่องแคล่วและตกเป็นเป้าได้ง่ายต่อเครื่องเฮอร์ริเคนและสปิตไฟร์ บีเอฟ 110 จึงถูกลดขั้นมาเป็นเครื่องบินขับไล่กลางคืนและเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดซึ่งพบว่ามันเหมาะมากกว่า นอกจากนั้นบีเอฟ 109 ของกองทัพอากาศเยอรมันปฏิบัติการในแบบที่สุดระยะของมันและไม่สามารถทำการรบได้นานนัก เมื่อเครื่องบินทิ้งระเบิดขาดการบินคุ้มกัน เยอรมนีก็สูญเสียเครื่องบินมากขึ้น", "title": "เครื่องบินขับไล่" }, { "docid": "555039#13", "text": "เซ็นเซอร์เพิ่มเติมอีกหกอย่างถูกติดตั้งทั่วเครื่องบินเพื่อเป็นระบบช่วยเอเอ็น/เอเอคิว-37 ของนอร์ทธรอป กรัมแมน ซึ่งทำหน้าที่คล้ายระบบเตือนขีปนาวุธ มันจะรายงานตำแหน่ง ตรวจจับ และติดตามขีปนาวุธหรืออากาศยานรอบๆ เอฟ-35 และเข้ามาแทนที่กล้องมองกลางคืนแบบเดิม ทิ่งเหล่านี้จะทำงานพร้อมๆ กัน ในทุกทิศทาง และทุกเวลา ระบบสงครามอิเลคทรอนิกเอเอ็น/เอเอสคิว-239 ของเอฟ-35 ถูกออกแบบโดยเบและนอร์ทธรอป กรัมแมน การสื่อสาร การนำร่อง และการะระบุถูกออกแบบโดยนอร์ทธรอป กรัมแมน เอฟ-35 จะเป็นเครื่องบินขับไล่แบบแรกที่มีการผสมผสานของเซ็นเซอร์ซึ่งมีทั้งคลื่นความถี่วิทยุและอินฟราเรดติดตามสำหรับการตรวจจับเป้าหมายอย่างต่อเนื่องและการระบุในทุกทิศทาง ซึ่งจะแบ่งข้อมูลกันโดยไม่เผยตัวตนขณะล่องหน", "title": "ล็อกฮีด มาร์ติน เอฟ-35 ไลท์นิง 2" } ]
1157
จอมพล ป.พิบูลสงคราม เคยเป็นนายกหรือไม่ ?
[ { "docid": "93741#2", "text": "จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้นำคนหนึ่งของคณะราษฎร ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นหลังจากเข้าร่วมการปราบปรามกบฎบวรเดช และได้รวบอำนาจเข้าสู่ตัวเองมากขึ้น จอมพล ป. มองว่า พระยาทรงสุรเดชเป็นคู่แข่งของตน ความขัดแย้งระหว่างตัวของจอมพล ป. กับพระยาทรงสุรเดช นำไปสู่เหตุการณ์กบฏพระยาทรงสุรเดช ทำให้พระยาทรงสุรเดชต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ จอมพล ป. เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2481", "title": "สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย" }, { "docid": "7440#0", "text": "จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า \"จอมพล ป.พิบูลสงคราม\" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 15 ปี 24 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย \"รัฐนิยม\" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ \"ประเทศสยาม\" เป็น \"ประเทศไทย\" และเป็นผู้เปลี่ยน \"เพลงชาติไทย\" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน", "title": "แปลก พิบูลสงคราม" }, { "docid": "129331#6", "text": "ในหนังสือ 36 รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย กล่าวว่า ภายหลังจากการลาออกของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม การซาวเสียงเลือกนายกรัฐมนตรีมีขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ซึ่งสมาชิกสภาเลือกพระยาพหลพลพยุหเสนาด้วยคะแนน 81 ต่อ 19 ซึ่งเป็นคะแนนเสียงของจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่ พระยาพหลพลพยุหเสนาขอถอนตัว เนื่องจากป่วยเป็นอัมพาต จึงมีการซาวเสียงใหม่ เสนอ ควง อภัยวงศ์ สินธุ์ กมลนาวิน และ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผลปรากฏว่า ควง อภัยวงศ์ ได้คะแนนไป 69 คะแนน จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ 22 คะแนน และ สินธุ์ กมลนาวิน ได้ 8 คะแนน", "title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 11" }, { "docid": "766457#6", "text": "ภายหลังจากที่จอมพล ป. พิบูลสงครามพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ในวันถัดมานั้น นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ออกประกาศยกเลิกการใช้อักขรวิธีดังกล่าว และการใช้เลขสากล ส่งผลให้กลับไปใช้อักขรวิธีไทยแบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้ใช้มาจวบจนถึงปัจจุบัน และแม้ว่าจอมพล ป. พิบูลสงครามจะได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2491 ท่านก็มิได้นำอักขรวิธีดังกล่าวกลับมาใช้อีก", "title": "ภาษาไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม" }, { "docid": "483590#3", "text": "สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ตรงกับช่วงสมัยที่จีนเพิ่งตั้งประเทศใหม่ (จีนคอมมิวนิสต์) ได้เพียง 7 ปี ภายใต้การนำของผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ ประธานเหมา เจ๋อตง โดยมี โจว เอินไหล เป็นนายกรัฐมนตรี ช่วงนั้นโลกแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ ค่ายโลกเสรีอันมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ และค่ายโลกสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ไทยเป็นพันธมิตรสหรัฐฯร่วมต่อต้านจีน และสหรัฐฯเองพยายามทุกวิถีทางในการสกัดจีนไม่ให้เติบโต เมื่อสหรัฐฯแพ้คอมมิวนิสต์ในสงครามเกาหลี ทำให้ประเทศเล็กไม่แน่ใจความแข็งแกร่งของสหรัฐฯ นายสังข์ พัธโนทัย ที่ปรึกษาคนสนิทของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เสนอความคิดว่า ประเทศไทยควรปรับท่าทีใหม่ ไม่ควรเป็นศัตรูกับจีน เพราะด้วยจีนกับไทย มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกันมากกว่าชาติอื่นๆ อีกทั้งจีนยังเป็นประเทศที่ฟื้นไข้และจะต้องเป็นชาติมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในอนาคตอย่างแน่นอน ซึ่งจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็เห็นชอบด้วย จึงได้มอบหมายงานสานสัมพันธ์ไทยกับจีนคอมมิวนิสต์ให้แก่นายสังข์ เป็นผู้ดำเนินการ", "title": "วรรณไว พัธโนทัย" } ]
[ { "docid": "7440#15", "text": "อีกทั้งในการประชุมครั้งสุดท้ายในประเทศไทย ก่อนที่จะลงมือจริงไม่กี่วัน พ.อ.พระยาทรงสุรเดช ซึ่งเป็นนายทหารบกชั้นผู้ใหญ่ ผู้วางแผนการปฏิวัติทั้งหมด ได้เสนอแผนการออกมา ทางจอมพล ป. ซึ่งขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงพิบูลสงคราม ซึ่งถือเป็นนายทหารชั้นผู้น้อยกว่า ได้สอบถามว่า หากแผนการดังกล่าวไม่สำเร็จ จะมีแผนสำรองประการใดหรือไม่ แต่ทางฝ่าย พ.อ.พระยาทรงสุรเดชไม่ตอบ แต่ได้ย้อนถามกลับไปว่า แล้วทางจอมพล ป. มีแผนอะไร และไม่ยอมตอบว่าตนมีแผนสำรองอะไร ซึ่งทั้งคู่ได้มีปากเสียงกัน หลังจากการประชุมจบแล้ว จอมพล ป. ได้ปรารภกับนายทวี บุณยเกตุ สมาชิกคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนที่เข้าประชุมด้วยกันว่า ตนเองกับ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช ไม่อาจอยู่ร่วมโลกกันได้ ซึ่งในส่วนนี้ได้พัฒนากลายมาเป็นความขัดแย้งกันระหว่างจอมพล ป. พิบูลสงคราม กับพระยาทรงสุรเดชในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีกบฏพระยาทรงสุรเดช ในปี พ.ศ. 2482", "title": "แปลก พิบูลสงคราม" }, { "docid": "7440#21", "text": "จอมพล ป. ได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า \"\"จอมพลกระดูกเหล็ก\"\" เพราะมีชีวิตทางการเมืองอย่างเหลือเชื่อ เคยถูกลอบสังหารมาแล้วถึง 3 ครั้ง แต่ก็รอดชีวิตมาได้ทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน ในปี พ.ศ. 2494 ที่ท่านถูกจี้ลงเรือศรีอยุธยา ถูกทิ้งระเบิดผ่านเตียงที่เคยนอนอยู่อย่างเฉียดฉิว ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากนับร้อย จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือ ในเย็นวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 เมื่อถูก ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายทหารรุ่นน้องที่ไว้ใจและมอบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกให้ กระทำการรัฐประหาร ซึ่งได้หลบหนีไปด้วยรถยนต์ส่วนตัวกับผู้ติดตามเพียง 2 คน ไปอย่างหวุดหวิด โดยผ่านไปทางประเทศกัมพูชา ก่อนจะลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง ณ ที่นั่น ครอบครัวได้รับการต้อนรับอย่างดี ทั้งนี้เพราะทางรัฐบาลญี่ปุ่นถือว่าพิบูลสงครามเป็นผู้ที่มีบุญคุณต่อญี่ปุ่น เคยยินยอมให้ทหารญี่ปุ่นผ่านเข้าประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองด้วยดี ไม่ต้องมีการสู้รบยืดเยื้ออันรังแต่จะทำให้มีแต่ความสูญเสียด้วยกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งท่านก็ได้พำนักอยู่ที่นั่นจนตราบถึงแก่อสัญกรรม", "title": "แปลก พิบูลสงคราม" }, { "docid": "674665#4", "text": "พระราชธรรมนิเทศเป็นผู้มีบทบาทด้านการเมืองในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เคยเป็นคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมไทย ที่แก้ไขปรับปรุงภาษาไทย และชำระปทานุกรมแห่งราชบัณฑิตยสถาน ในการปรับปรุงอักษรไทย เมื่อ ปี พ.ศ. 2485 ให้เหลือเพียง 31 ตัว โดยมี พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)เป็นประธาน จนได้ชื่อว่าเป็น 1 ใน 4 ปุโรหิตประจำตัวของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม คือ ยง เถียร เพียร นวล อันได้แก่ ยง (พระยาอนุมานราชธน) เถียร (หลวงวิเชียรแพทยาคม) เพียร (พระราชธรรมนิเทศ) นวล (หลวงสารานุประพันธ์)", "title": "พระราชธรรมนิเทศ (เพียร ไตติลานนท์)" }, { "docid": "55664#33", "text": "ทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระยาทรงสุรเดช มีความขัดแย้งกับ หลวงพิบูลสงคราม ซึ่งเป็นนายทหารรุ่นหลังที่มียศชั้นต่ำกว่า หรือต่อมาก็คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในหลายเรื่องอย่างรุนแรง เช่น การประชุมวางแผนกันก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทั้งคู่ก็มีปากเสียงกัน ถึงขนาดที่หลวงพิบูลสงคราม ปรารภออกมาหลังการประชุมว่า ตนไม่อาจอยู่ร่วมโลกกับพระยาทรงสุรเดชได้", "title": "พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)" }, { "docid": "7440#24", "text": "จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ริเริ่มองค์กรและหน่วยงานสำคัญ ๆ ของประเทศหลายองค์กร ที่พัฒนาและเจริญรุ่งเรืองมาจนปัจจุบัน ซึ่งล้วนแต่เป็นหน่วยงานที่มีความเฉพาะของแต่ละวิชาชีพ เช่น รัฐวิสาหกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน), มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยบูรพา(วิทยาลัยวิชาการศึกษา ต่อมาเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ก่อนจะมาเป็น มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งนับได้ว่าเป็นการนำเอาสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ออกมาสู่ภูมิภาค เป็นแห่งแรก) รวมทั้งเป็นผู้ที่ใช้อำนาจยึดสถานที่ต่าง ๆ ที่เคยเป็นที่ประทับของเชื้อพระวงศ์ และที่อยู่ของบุคคลสำคัญก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาใช้เป็นสถานที่ราชการ เช่น วังบางขุนพรหม, วังสวนกุหลาบ, บ้านมนังคศิลา, บ้านพิษณุโลก, บ้านนรสิงห์ เป็นต้น", "title": "แปลก พิบูลสงคราม" } ]
2780
การสังหารหมู่ในนครชิคาโก เริ่มต้นเมื่อไหร่?
[ { "docid": "234245#0", "text": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล () เป็นเหตุการณ์สังหารคนหมู่ซึ่งเกิดขึ้น ณ เขตมหานครชิคาโก (Chicago metropolitan area) รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ในฤดูใบไม้ร่วงของ พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) เมื่อมีผู้เจือสารพิษโพแทสเซียมไซยาไนด์ (potassium cyanide) ลงในยาแคปซูลแก้ปวดระดับความแรงพิเศษยี่ห้อดัง \"ไทลินอล\" ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไล่เลี่ยกันจำนวนเจ็ดรายหลังจากรับประทานยาไทลินอลดังกล่าวเข้าไปแล้ว", "title": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล พ.ศ. 2525" }, { "docid": "234245#2", "text": "เช้าตรู่ของวันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) เด็กหญิงวัยสิบสองปีนาม แมรี เคลเลอร์แมน (Mary Kellerman) แห่งหมู่บ้านเอลก์โกรฟ นครชิคาโก คุกเคาน์ตี (Elk Grove Village, Cook County) รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เสียชีวิตอย่างกะทันหันหลังจากรับประทานยาแก้ปวดระดับความแรงพิเศษยี่ห้อ \"ไทลินอล\" เมื่อเช้าวันนั้น", "title": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล พ.ศ. 2525" } ]
[ { "docid": "234245#16", "text": "โฆษกสำนักงานสืบสวนกลางฯ แถลงในนครชิคาโก โดยปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นในเรื่องข้างต้น แต่กล่าวว่าจะมีอะไรให้ได้เห็นกันอย่างแน่นอนในเร็ววันนี้ ทั้งนี้ เนื่องจากมีผู้ส่งความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีไปยังสำนักงานฯ อย่างมากมาย และในแถลงการณ์ของสำนักงานฯ ก็ระบุว่าจะมีการพิจารณารื้อฟื้นคดีสังหารหมู่ในนครชิคาโกขึ้น ความตอนหนึ่งว่า \"\"การทบทวนครั้งนี้เป็นผลส่วนหนึ่งมาจากการที่อาชญากรรมนี้ครบรอบ 25 ปีเมื่อไม่นานมานี้ทำให้เรื่องราวในคดีกลายเป็นที่สนใจของสาธารณชน นอกจากนี้แล้วจากการที่เทคโนโลยีทางนิติวิทยาศาสตร์มีความก้าวหน้ามากขึ้น ก็เป็นธรรมดาที่จะต้องมีการฟื้นคดีและค้นหาพยานหลักฐานกันอีกครา\"\"", "title": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล พ.ศ. 2525" }, { "docid": "234245#15", "text": "ต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) เจ้าหน้าที่ตำรวจสำนักงานสืบสวนกลาง หรือเอฟบีไอ กรมยุติธรรม นำกำลังเข้าจับกุมเจมส์ ดับเบิลยู. ลิวอีส อดีตผู้ต้องสงสัยรายหนึ่งในคดีสังหารหมู่นี้ ไปกักตัวไว้ชั่วคราวรอการสอบสวน และตรวจค้นบ้านพักของเขาซึ่งอยู่ ณ เมืองเคมบริดจ์ มิดเดิลเซ็กซ์เคาน์ตี (Middlesex County) รัฐแมสซาชูเซ็ตส์", "title": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล พ.ศ. 2525" }, { "docid": "234245#4", "text": "ถัดจากนั้นอีกไม่นานในวันเดียวกัน แมรี แมกฟาร์แลนด์ (Mary McFarland) แห่งเมืองเอล์มเฮิสต์ (Elmhurst) นครชิคาโก ดูปาชเคาน์ตี รัฐอิลลินอยส์, พอลา พรินส์ (Paula Prince) แห่งนครชิคาโก และแมรี เรเนอร์ (Mary Reiner) แห่งหมู่บ้านวินฟีลด์ (Winfield) นคร เคาน์ตี และรัฐเดียวกัน พร้อมใจกันจบชีวิตลงหลังจากรับประทานยาแก้ปวด \"ไทลินอล\"", "title": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล พ.ศ. 2525" }, { "docid": "234245#8", "text": "คดีสังหารหมู่ดังกล่าวแม้เวลาล่วงเลยมานาน แต่ก็ยังมิได้รับการคลี่คลายจวบจนบัดนี้ กระนั้น ในช่วงเกิดเหตุ มีชายนายหนึ่งนาม เจมส์ ดับเบิลยู. ลิวอีส เขียนจดหมายไปถึงบริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน รีดไถเงินหนึ่งล้านดอลลาร์สหรัฐ มิฉะนั้น เขาจะไม่หยุดการสังหารหมู่โดยใช้สารพิษไซยาไนด์เช่นนี้อีก อย่างไรก็ดี เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวเขาไปสอบสวน กลับพบว่าจดหมายเขาเป็นแค่คำลวง เนื่องจากในเวลาเกิดเหตุนั้นเขาพำนักอยู่ที่นครนิวยอร์กกับภรรยา เจมส์จึงถูกพิพากษาลงโทษฐานกรรโชกทรัพย์ ให้ถูกจำคุกสิบสามปี จากอัตราโทษสูงสุดจำคุกยี่สิบปี เขารับโทษระยะหนึ่งแล้วก็ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระโดยมีทัณฑ์บนใน พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995)", "title": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล พ.ศ. 2525" }, { "docid": "234245#6", "text": "ยาแก้ปวดที่เป็นปัญหานั้นส่งมาจากโรงงานที่แตกต่างกัน แต่ด้วยความที่เหตุการณ์ตายไล่เลี่ยกันนี้เกิดขึ้นในท้องที่เดียวกัน เจ้าหน้าที่จึงจับจุดได้ว่าน่าจะเกิดความผิดปรกติในระหว่างกระบวนการผลิตยา กระนั้น ก็ยังไม่ละข้อสันนิษฐานว่าผู้ไม่ประสงค์ดีอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์เข้าไปยังห้างร้านต่าง ๆ และสับเปลี่ยนกระปุกยาไทลินอลจากหิ้งด้วยกระปุกยาไทลินอลที่มีไซยาไนด์ (cyanide) ปลอมปนอยู่แทน อนึ่ง นอกเหนือไปจากยาห้ากระปุกที่นำพาความตายไปสู่ผู้เคราะห์ร้ายเจ็ดรายข้างต้นแล้ว เจ้าหน้าที่ยังตรวจพบยาอีกสามกระปุกที่มีสารพิษปลอมปนก่อนจะถูกเปิดอีกด้วย", "title": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล พ.ศ. 2525" }, { "docid": "234245#5", "text": "ด้วยการปฏิบัติหน้าที่อย่างรวดเร็ว พนักงานสืบสวนพบว่าการตายทั้งหมดในนครชิคาโกล้วนเชื่อมโยงกันโดยมียาแก้ปวด \"ไทลินอล\" เป็นศูนย์กลาง รัฐบาลท้องถิ่นออกประกาศเตือนทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์กระจายภาพ และเจ้าหน้าที่ตำรวจขับรถตระเวนไปตามบ้านเรือนทุกหลังคาเรือนเพื่อแจ้งเตือนอย่างถึงที่ด้วยโทรโข่ง", "title": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล พ.ศ. 2525" }, { "docid": "234245#13", "text": "โศกนาฏกรรมในนครชิคาโกที่คร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปเจ็ดราย ยังให้มีเหตุการณ์เลียนผุดตามขึ้นมาอีกเป็นจำนวนหนึ่งใน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) ปีถัดมา บรรดาผู้ประกอบการเครื่องบริโภคต่าง ๆ ต้องพากับขบคิดหาหนทางปฏิรูประบบและวิธีการบรรจุภัณฑ์เพื่อป้องกันการลักลอบเจือปนสิ่งไม่พึงประสงค์ลงในสินค้า และอุตสาหกรรมทางเภสัชภัณฑ์หลีกเลี่ยงไม่ผลิตสินค้าในรูปแคปซูล เพราะการเปิดหลอดแคปซูลออกแล้วเจือสิ่งแปลกปลอมลงไปในนั้นสามารถกระทำได้โดยง่าย และโดยไม่ทิ้งร่องรอยพิรุธไว้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงกฎหมายให้ถือว่า คดีเกี่ยวกับการเจือปนสารพิษในเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นอาชญากรรมระดับชาติ และองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาก็ตราระเบียบใหม่เพื่อป้องกันการกระทำผิดในรูปแบบนี้ ซึ่งระเบียบดังกล่าวส่งผลให้ \"แคปเลต\" (caplet) หรือยาเม็ดแข็งที่ทำเป็นรูปแคปซูล เข้ามาแทนที่แคปซูลซึ่งเป็นปลอกพลาสติกบรรจุแป้งยาภายใน", "title": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล พ.ศ. 2525" }, { "docid": "234245#17", "text": "อย่างไรก็ดี สถานีโทรทัศน์ช่องดับเบิลยูซีวีบีไฟฟ์ (WCVB 5) ของนครบอสตัน รายงานเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) ว่า สำนักงานฯ ได้ปล่อยตัวเจมส์ ดับเบิลยู. ลิวอีส ไปแล้วเนื่องจากไม่อาจหาหลักฐานเพียงพอจะสนับสนุนข้อกล่าวหาเขาได้ และขณะนี้เจมส์ก็กลับไปพำนักอยู่ยังบ้านที่เมืองเคมบริดจ์ดังเดิม", "title": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล พ.ศ. 2525" } ]
2404
เหตุการณ์ปฏิวัติสยามเกิดขึ้นเมื่อวันที่ เท่าไหร่?
[ { "docid": "43247#0", "text": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์ไทยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งมีผลทำให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เกิดขึ้นจากคณะนายทหารและพลเรือนที่ประกอบกัน เรียกตนเองว่า \"คณะราษฎร\" โดยเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์โลก ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองภายในประเทศ การปฏิวัติดังกล่าวทำให้ประเทศสยามมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก", "title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475" }, { "docid": "118444#1", "text": "เหตุการณ์ปฏิวัติสยามเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไทย และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาช้านานเสียอำนาจส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าวใน พ.ศ. 2475 การต่อสู้ทางการเมืองก็ยังมิได้จบลงไปอย่างสิ้นเชิง ยังคงมีการต่อสู้กันระหว่างผู้นำในระบอบเก่า กับระบอบใหม่ หรือความขัดแย้งในผู้นำคณะราษฎรด้วยกันเอง โดยการต่อสู้ทางการเมืองและทางความคิดอุดมการณ์นี้ได้ดำเนินต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลากว่า 25 ปีภายหลังจากการปฏิวัติ และนำไปสู่ยุคตกต่ำของคณะราษฎรในกาลต่อมา", "title": "ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร" } ]
[ { "docid": "43247#13", "text": "แม้ก่อนหน้าที่โทรเลขของเหล่าทหารเสือจะมาถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ก็ทรงทราบล่วงหน้าแล้วว่ามีเหตุการณ์บางอย่างกำลังเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร พระองค์กำลังทรงกีฬากอล์ฟอยู่ที่พระราชวังฤดูร้อนพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสนาบดีที่เป็นเจ้านายสองพระองค์ และข้าราชบริพารจำนวนหนึ่ง เมื่อข้อความด่วนมาถึง (ซึ่งพระองค์กำลังทรงเล่นอยู่ที่หลุมที่แปด) ภายหลัง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธินทรงมาถึงเพื่อกราบรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพระนคร", "title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475" }, { "docid": "40427#1", "text": "เรื่องราวเกิดขึ้นในช่วง 1,000 ปีหลังจากเหตุการณ์ \"Seven Days of Fire\" เหตุการณ์ที่ทำลายอารยธรรมมนุษย์และระบบนิเวศของโลก กลุ่มผู้คนที่กระจัดกระจายถูกแบ่งแยกจากกลุ่มอื่นด้วย \"ทะเลเน่า (Sea of Decay)\" (\"fukai\" ในภาษาญี่ปุ่น) เกิดป่าของเชื้อรามีพิษ ที่เป็นศูนย์ของเหล่าแมลงขนาดยักษ์มากมาย มนุษย์จำเป็นต้องใส่หน้ากากเพื่อป้องกันไอพิษจากป่า\nนาอุซิกา (Nausicaä) เป็นชื่อของเจ้าหญิงในประเทศเล็กๆ แห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ ณ หุบผาสายลม ดำเนินชีวิตอยู่อย่างสงบสุขบนผืนดินที่ยังอุดมสมบูรณ์ผืนน้อยๆ นาอุซิกา พยายามที่จะค้นหาสาเหตุของปรากฏการณ์นี้ และหวังจะหาหนทางในการอยู่ร่วมกัน แต่ผู้คนในเมืองอื่นๆ กลับไม่เห็นด้วยและต้องการทำลายล้างป่าและ Sea of Decay จนเกิดเป็นสงครามครั้งใหญ่ กับภารกิจของเจ้าหญิงตัวน้อยๆ ที่มีภารกิจแห่งการประนีประนอม", "title": "มหาสงครามหุบเขาแห่งสายลม" }, { "docid": "43247#9", "text": "เมื่อทหารราบและทหารม้ามาถึงลานพระราชวังดุสิตหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อเวลาราว 6.00 น. ก็ได้มีกลุ่มประชาชนเนืองแน่นเฝ้าดูทหารที่มาชุมนุมนั้น ความสับสนเกิดขึ้นท่ามกลางผู้ที่มาชุมนุมนั้น หลายคนไม่เชื่อทั้งหมดว่ามีการลุกฮือของชาวจีนเกิดขึ้นจริง หรือว่าทหารมาชุมนุมที่จัตุรัสนี้เพื่อการฝึกซ้อมเท่านั้น พระยาพหลพลพยุหเสนาปีนขึ้นไปบนยอดรถหุ้มเกราะคันหนึ่งและอ่าน ซึ่งเป็นแถลงการณ์ประกาศถึงจุดจบของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชและการสถาปนารัฐอันมีรัฐธรรมนูญขึ้นในสยาม ผู้ก่อการเปล่งเสียงด้วยความยินดี ตามมาด้วยเหล่าทหาร ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะเป็นการคล้อยตามมากกว่าความเข้าใจในสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นทั้งหมด", "title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475" }, { "docid": "227379#2", "text": "นายกรัฐมนตรีไตรภพเชื่อถือและเชื่อมั่นการคาดการณ์ภัยพิบัติของ ดร.สยาม อย่างมาก แต่ด้วยลักษณะของภัยธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดแผ่นดินไหว และคลื่นยักษ์สึนามินั้นไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่และที่ไหน ด้วยเหตุนี้ทำให้ ดร.สยาม คำนวณการเกิดแผ่นดินไหวที่มีผลต่อชีวิตประชาชนผิดพลาด สร้างความตระหนกให้แก่ประชาชนทั่วประเทศ เขาจึงถูกกดดันอย่างหนักจาก สมชาติ (ชลิต เฟื่องอารมย์) หัวหน้าพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล", "title": "2022 สึนามิ วันโลกสังหาร" }, { "docid": "459236#5", "text": "ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเหตุให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เกิดความขุ่นข้องหมองพระทัย และได้ก่อเหตุการณ์กบฏบวรเดชขึ้นในเดือนตุลาคม ปีเดียวกันนั้น โดยพระยาศรีสิทธิสงครามเข้าร่วมด้วย มีฐานะเป็นแม่ทัพ รับหน้าที่เป็นกองระวังหลัง จนเมื่อทางฝ่ายกบฏเพลี่ยงพล้ำต่อรัฐบาล ในเวลาพลบค่ำของวันที่ 23 ตุลาคม ปีเดียวกัน พระยาศรีสิทธิสงครามได้เป็นผู้เดินไปเจรจากับทหารฝ่ายรัฐบาล เพื่อขอให้หยุดยิง แต่ปรากฏว่า พระยาศรีสิทธิสงครามได้ถูกยิงเสียชีวิต ที่สถานีรถไฟหินลับ จังหวัดสระบุรี โดยร้อยโท ตุ๊ จารุเสถียร (ประภาส จารุเสถียร) จากนั้นร่างของพระยาศรีสิทธิสงครามได้ถูกส่งกลับกรุงเทพมหานคร โดยทำการฌาปนกิจอย่างเร่งด่วนที่วัดอภัยทายาราม หรือวัดมะกอก โดยที่ทางครอบครัวไม่ได้รับรู้มาก่อนเลย และกว่าจะได้อัฐิกลับคืนก็เป็นเวลาล่วงไป 3-4 ปีแล้ว อีกทั้งยังถูกคุกคามต่าง ๆ นานา ตลอดสมัยรัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง", "title": "พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ)" }, { "docid": "43247#15", "text": "ขณะเดียวกัน ผู้ก่อการได้บีบบังคับให้เจ้านายลงพระนามในเอกสารประกาศพันธกรณีเพื่อให้เกิดสันติภาพและหลีกเลี่ยงการหลั่งเลือดใด ๆ ในกรุงเทพมหานคร เช่นเดียวกับรัฐประหารอีกหลายครั้งที่จะเกิดขึ้นในเวลาต่อมา ที่ประชาชนแทบจะไม่มีท่าทีตอบสนองต่อรัฐประหารครั้งนี้เลย และชีวิตประจำวันของประชาชนได้กลับคืนสู่สภาพปกติก่อนที่จะจบวันที่ 24 มิถุนายนเสียอีก ส่วนที่เหลือของประเทศก็ไม่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ทำให้หนังสือพิมพ์เดอะไทมส์ในลอนดอนรายงานว่าการปฏิวัติดังกล่าวเป็นเพียง \"การปรับปรุงใหม่เล็กน้อย\" เท่านั้น", "title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475" }, { "docid": "55518#1", "text": "กบฏพระยาทรงสุรเดช เป็นเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2481 (พ.ศ. 2482 ในปัจจุบัน เนื่องจากในสมัยนั้นการเปลี่ยนพุทธศักราชยังใช้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่) เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างตัวของ หลวงพิบูลสงคราม กับพระยาทรงสุรเดช ตั้งแต่ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475, การสนับสนุนพระยามโนปกรณ์นิติธาดา, กรณีกบฏบวรเดช และเหตุการณ์พยายามลอบสังหารหลวงพิบูลสงครามติดต่อกันหลายครั้งก่อนหน้านั้น คือ การลอบยิง 2 ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 โดย นายพุ่ม ทับสายทอง ขณะที่เป็นประธานพิธีการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษ, ครั้งที่ 2 ที่บ้านพักของตนเอง ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 โดย นายลี บุญตา คนรับใช้ที่สนิท ขณะที่หลวงพิบูลสงครามกำลังจะแต่งกายไปร่วมงานเลี้ยง และวางยาพิษ 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ปีเดียวกัน ขณะรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับครอบครัว", "title": "กบฏพระยาทรงสุรเดช" }, { "docid": "432116#0", "text": "\"วันสังหารหมู่ 228\" มีชนวนมาจากความไม่พอใจของประชาชนชาวไต้หวันที่มีต่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการค้าของเถื่อนของสำนักงานผู้ค้าผูกขาด และเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 (1947)\nขณะที่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานดังกล่าวพร้อมด้วยตำรวจเข้าจับกุมแม่ค้าแผงลอยบุหรี่รายหนึ่งในคดีค้าบุหรี่เถื่อน ได้ทำร้ายร่างกายแม่ค้า และประชาชนที่มามุงดูในเหตุการณ์ถึงแก่ชีวิต จนทำให้ชาวไต้หวันไม่พอใจรวมตัวกันบุกสถานีตำรวจเรียกร้องให้ทางการนำคนผิดมาลงโทษ แต่กลับไม่ได้รับการตอบรับแต่อย่างใด\nฝูงชนที่โกรธแค้นบุกเผาสำนักงานผู้ค้าผูกขาดในวันรุ่งขึ้น (28 กุมภาพันธ์) และในบ่ายวันนั้นประชาชนได้เคลื่อนตัวไปที่สำนักงานเขต เพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมจากทางการ แต่ทว่าทหารรักษาความปลอดภัยได้ยิงปืนใส่ผู้ชุมนุมทำให้มีผู้เสียชีวิตมากมาย\nการเสียชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์สร้างความแค้นเคืองเป็นทวีคูณต่อรัฐบาลก๊กมินตั๋ง จนทำให้ประชาชนทั่วเกาะพากันประท้วงรัฐบาล นัดหยุดงาน หยุดเรียน เป็นผลให้เฉินอี้ผู้ว่าการเขตบริหารเกาะไต้หวันในขณะนั้นจำต้องประกาศกฎอัยการศึก\nผลของเหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้พลเมืองผู้บริสุทธิบนเกาะไต้หวัน ถูกสังหารไปมากมาย (ระหว่าง10,000-20,000 คน)", "title": "เหตุการณ์ 228" } ]
1893
ประเทศไทยมีประชากรกี่คนในปี2018?
[ { "docid": "399046#2", "text": "65,981,659 คน* (ตามสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553) [1] 66,174,737 คน (ตามมิเตอร์ประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561) [2] 66,188,503 คน (ตามประกาศสำนักทะเบียน กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560) [3] 68,615,858 คน (ประมาณการประชากร ณ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 โดยสำนักข่าวกรองกลางแห่งสหรัฐอเมริกา) [4] 68,657.600 คน (ประมาณการประชากร ณ พ.ศ. 2558 โดยสหประชาชาติ)[5]", "title": "ประชากรศาสตร์ไทย" } ]
[ { "docid": "291058#78", "text": "ในช่วงเวลานี้เช่นกันที่จักรวรรดิกาหลิบของมุสลิมเริ่มแสดงสัญญานของความเสื่อมโทรมลง ความแตกแยกของมุสลิมมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างชีอะหฺและซุนนีย์ และอาหรับในเปอร์เชีย ในช่วงนี้มีจักรวรรดิกาหลิปสำคัญๆ สามจักรวรรดิ: จักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะฮ์ในสเปน, จักรวรรดิกาหลิปอับบาซียะฮ์ในแบกแดด และ จักรวรรดิกาหลิปฟาติมียะห์ในอียิปต์ ประชากรของแบกแดดซึ่งเป็นเมืองหลวงของอับบาซียะฮ์ลดลงเหลือเพียงราว 125,000 คน (เมื่อเทียบกับ 900,000 คนในปี ค.ศ. 900) อุมัยยะฮ์ยังคงมีอำนาจอยู่ในปี ค.ศ. 1000 แต่ก็มาลดลงอย่างรวดเร็วเพียงอีกไม่กี่ปีต่อมาและสิ้นสุดอย่างหมดสิ้นในปี ค.ศ. 1031", "title": "ต้นสมัยกลาง" }, { "docid": "823#115", "text": "สหรัฐมีอัตราการกักขังที่มีบันทึกและประชากรเรือนจำทั้งหมดสูงสุดในโลก[380] ตั้งแต่ต้นปี 2008 มีประชากรกว่า 2.3 ล้านคนถูกกักขัง คิดเป็นกว่า 1 คนในผู้ใหญ่ 100 คน[381] ในเดือนธันวาคม 2012 ระบบการดัดสันดานผู้ใหญ่ของสหรัฐรวมควบคุมดูแลผู้กระทำผิดประมาณ 6,937,000 คน ผู้อยู่อาศัยผู้ใหญ่ประมาณ 1 ใน 35 คนในสหรัฐอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลการดัดสันดานอย่างใดอย่างหนึ่งในเดือนธันวาคม 2012 ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดเท่าที่สังเกตมาตั้งแต่ปี 1997[382] ประชากรเรือนจำเพิ่มขึ้นสี่เท่าตั้งแต่ปี 1980[383] และรายจ่ายของรัฐและท้องถิ่นด้านเรือนจำและคุกเพิ่มขึ้นสามเท่าของรายข่ายด้านศึกษาธิการในช่วงเวลาเดียวกัน[384] อย่างไรก็ดี อัตราการจำคุกสำหรับนักโทษทุกคนที่ได้รับโทษจำคุกมากกว่าหนึ่งปีในสถานที่ของรัฐหรือรัฐบาลกลางอยู่ที่ 478 คนต่อ 100,000 คนในปี 2013[385] และอัตรานักโทษก่อนพิจารณา/ระหว่างพิจรารณาอยู่ที่ 153 คนต่อผู้อยู่อาศัย 100,000 คนในปี 2012[386] อัตราการกักขังที่สูงของประเทศนี้ส่วนใหญ่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัติคำพิพากษาและนโยบายยาเสพติด[387] จากข้อมูลของกรมเรือนจำกลาง ผู้ต้องขังส่วนมากที่ถูกขังในเรือนจำกลางต้องโทษความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด[388] การโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชนซึ่งเรือนจำและราชการเรือนจำซึ่งเริ่มในคริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นหัวข้อถกเถียง[389][390] ในปี 2008 รัฐลุยเซียนามีอัตราการกักขังสูงสุด[391] ส่วนรัฐเมนมีต่ำสุด[392]", "title": "สหรัฐ" }, { "docid": "114963#20", "text": "ในประเทศอิตาลี เมือง ฟลอเรนซ์ (Florence) ในช่วงปี 1338 มีประชากรอยู่ประมาณ 110000-120000 คน ถูกกาฬโรคเล่นงานจนเหลือประชากรเพียง 50000 คนในปี 1351 ที่ ฮัมบูร์ก (Hamburg) กับ เบรเมน (Bremen) ประชากรเสียชีวิตจากกาฬโรคไปราว ๆ 60%-70% ของประชากรทั้งหมด ในพื้นที่อื่น ๆ บางพื้นที่ ประชากร 2/3 ตายเรียบ ที่อังกฤษมีผู้เสียชีวิตจากกาฬโรคราว 70% ซึ่งทำให้ประชากรลดลงจาก 7 ล้านคน เหลือเพียง 2 ล้านคนในปี 1400", "title": "แบล็กเดท" }, { "docid": "940489#1", "text": "บิลลิงตั้งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐ และเป็นศูนย์กลางของเทศมณฑลเยลโลว์สโตน ซึ่งมีประชากร 158,980 คนในปี ค.ศ. 2017 ต่อมาในปี ค.ศ. 2018 บิลลิงมีประชากร 111,150 คน ทำให้เป็นเพียงเมืองเดียวของรัฐที่มีประชากรมากกว่า 100,000 คน ตัวเมืองมีการพัฒนาเศรษฐกิจที่รวดเร็วและแข็งแกร่ง เหนือกว่าเมืองอื่น ๆ ของรัฐ พื้นที่บางส่วนของเขตมหานครก็มีการเติบโตที่สูงด้วย โดยเฉพาะย่านชานเมืองล็อควูด ที่มีการเติบโตถึง 57.8% ในช่วงปี ค.ศ. 2000-2010 ถือเป็นย่านที่มีการเติบโตสูงที่สุด บิลลิงรอดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศในช่วงปี ค.ศ. 2008–2012 และมีการพัฒนาน้ำมันทางตะวันออกของรัฐมอนแทนา และตะวันตกของรัฐนอร์ทดาโคตา เป็นการค้นพบแหล่งน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐ เช่นเดียวกันกับแหล่งน้ำมันหินดินดานทางตอนเหนือของบิลลิง แหล่งน้ำมันนี้ มีส่วนช่วยให้บิลลิงมีการเติบโตของเมืองที่รวดเร็ว แต่ก็ต้องประสบปัญหาราคาน้ำมันที่ตกต่ำในช่วงหลายปีที่ผ่านมา", "title": "บิลลิง (รัฐมอนแทนา)" }, { "docid": "2274#48", "text": "ในการมีสิ่งเหมือนกันกับหลายประเทศที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ, ออสเตรเลียกำลังประสบการเปลี่ยนแปลงประชากรไปเป็นสังคมผู้สูงอายุ, ที่มีผู้เกษียณอายุมากขึ้นและคนในวัยทำงานน้อยลง ในปี ค.ศ. 2004 อายุเฉลี่ยของประชากรพลเรือนอยู่ที่ 38.8 ปี[172] ชาวออสเตรเลียจำนวนมาก (759,849 คนระหว่างปี ค.ศ. 2002-03;[173] 1 ล้านคนหรือ 5% ของประชากรทั้งหมดในปี ค.ศ. 2005[174]) อาศัยอยู่นอกประเทศบ้านเกิดของพวกเขา", "title": "ประเทศออสเตรเลีย" }, { "docid": "8295#26", "text": "เปรูมีประชากรประมาณ 28 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสี่ของทวีปอเมริกาใต้จากข้อมูลปี พ.ศ. 2550 โดยการเติบโตของจำนวนประชากรลดลงจากร้อยละ 2.6 เหลือร้อยละ 1.6 ในช่วงปี พ.ศ. 2493 ถึง 2543 โดยคาดการณ์ว่าจะมีประชากรประมาณ 42 ล้านคนในปี พ.ศ. 2593 จากข้อมูลปี 2548 ร้อยละ 72.6 ของประชากรอาศัยอยู่ในเขตเมือง และร้อยละ 27.4 ในเขตชนบท เมืองหลักของเปรูได้แก่ ลิมา อาเรกีปา ตรูคีโย ชีกลาโย ปิวรา อีกีโตส ชิมโบเต กุสโก และอวงกาโย ซึ่งมีประชากรมากกว่าสองแสนคนในการสำรวจปี พ.ศ. 2536", "title": "ประเทศเปรู" }, { "docid": "44119#5", "text": "นอกจากนี้การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าผ้านโครงการ 30 บาท ฯ ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศกำลังพัฒนาไม่กี่ประเทศ เช่น ตุรกี เกาหลีใต้ และเม็กซิโก ที่สามารถจัดให้มีสวัสดิการและหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชนทุกคนในประเทศ และแซงหน้าประเทศอุตสาหกรรมบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งแม้จะมีความพยายามมาตั้งแต่กลางทศวรรษ 2470 ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression) แต่จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ก็ยังไม่สามารถจัดหลักประกันสุขภาพที่ครอบคลุมประชากรทั้งหมดได้", "title": "โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า" }, { "docid": "823#63", "text": "สำนักงานสำมะโนสหรัฐประมาณจำนวนประชากรของประเทศเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2016 ไว้ที่ 323,425,550 คน โดยเพิ่มขึ้น 1 คน (เพิ่มสุทธิ) ทุก 13 วินาที หรือประมาณ 6,646 คนต่อวัน[209] ประชากรสหรัฐเพิ่มขึ้นเกือบสี่เท่าในคริสต์ศตวรรษที่ 20 จากประมาณ 76 ล้านคนในปี ค.ศ. 1900[210] สหรัฐเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับสามของโลกรองจากประเทศจีนและอินเดีย สหรัฐเป็นประเทศอุตสาหกรรมหลักประเทศเดียวที่มีการทำนายการเพิ่มของประชากรขนาดใหญ่[211] ในคริสต์ทศวรรษ 1800 หญิงเฉลี่ยมีบุตร 7.04 คน เมื่อถึงคริสต์ทศวรรษ 1900 จำนวนดังกล่าวลดลงเหลือ 3.56 คน[212] นับแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา อัตราการเกิดลดต่ำกว่าอัตราทดแทน 2.1 โดยอยู่ที่บุตร 1.86 คนต่อหญิง 1 คนในปี ค.ศ. 2014 การเข้าเมืองที่เกิดต่างด้าวทำให้ประชากรสหรัฐยังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยประชากรที่เกิดต่างด้าวเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากประมาณ 20 ล้านคนในปี 1990 เป็นกว่า 40 ล้านคนในปี ค.ศ. 2010 โดยเป็นการเพิ่มของประชากรหนึ่งในสาม[213] ประชากรที่เกิดต่างด้าวถึง 45 ล้านคนในปี 2015[214]'", "title": "สหรัฐ" }, { "docid": "368567#0", "text": "กาตากวาซิส () เป็นเมืองในรัฐมีนัสชีไรส์ ประเทศบราซิล ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ เป็นเมืองศูนย์กลางอุตสาหกรรมสิ่งทอ เสื้อผ้า โลหกรรม และมีอิทธิพลด้านการปลูกกาแฟในต้นประวัติศาสตร์กาแฟ (ศตวรรษที่ 19) เมืองมีประชากรราว 62,000 คนในปี ค.ศ. 1996 และคาดว่ามีประชากรราว 66,000 คนในปี ค.ศ. 2001 มีอัตราการเพิ่มของประชากรต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยในบราซิลและมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย", "title": "กาตากวาซิส" }, { "docid": "13241#0", "text": "ชาวไทยเชื้อสายจีน คือ ชาวจีนที่เกิดในประเทศไทยและเป็นเชื้อสายของผู้อพยพชาวจีน หรือชาวจีนโพ้นทะเล คนไทยเชื้อสายจีน มีประมาณ 10.4 ล้านคนในประเทศไทย หรือร้อยละ 15 ของประชากรทั้งประเทศ และยังมีอีกจำนวนมากไม่สามารถนับได้ เพราะที่กลมกลืนกับคนไทยไปแล้วโดยการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ ", "title": "ไทยเชื้อสายจีน" }, { "docid": "2417#55", "text": "ประชากรญี่ปุ่นมีอายุคาดหมายเฉลี่ยประมาณ 82.07 ปี จึงนับเป็นประเทศที่มีประชากรอายุยืนยาวที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โครงสร้างประชากรของญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเด็กที่เกิดมาในยุคเบบีบูมหลังสงครามโลกเริ่มเข้าสู่วัยชรา ในขณะที่อัตราการเกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2532 มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ จึงทำให้จำนวนประชากรค่อย ๆ ลดลง (มีการประมาณว่าจะลดลงต่ำกว่า 100 ล้านคนในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 25) ในขณะที่สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (ในปี พ.ศ. 2550) ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมีมากถึง 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด) การที่โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไปทำให้เกิดปัญหาสังคมหลายอย่าง เช่นปัญหาแรงงานที่ลดลง และภาระเงินบำนาญของคนหนุ่มสาวเพิ่มมากขึ้น", "title": "ประเทศญี่ปุ่น" }, { "docid": "621014#56", "text": "ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 มีประชากรที่เป็นโรค COPD ประมาณ 329ล้านคนทั่วโลก (4.8% ของของประชากร) และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย[106] นี่เป็นการเปรียบเทียบของผู้ที่เป็นโรคจำนวน 64ล้านคนในปี ค.ศ. 2004[108] การเพิ่มขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนาระหว่างปี ค.ศ. 1970 ถึง 2010 นั้นเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของอัตราการสูบบุหรี่ในภูมิภาคนี้ และการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและการมีอายุยืนยาวขึ้นของประชากร เนื่องจากการลดลงของการเสียชีวิตจากสาเหตุอื่นๆ เช่นโรคติดเชื้อ[3] ความชุกของ COPD ในประเทศที่กำลังพัฒนาบางประเทศพบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้น โดยบางประเทศมีอัตราคงที่และบางประเทศมีอัตราลดลง[3] จำนวนโดยรวมทั่วโลกนั้นคาดว่าจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ นั้นยังคงพบได้ทั่วไปเช่นเดิมและประชากรยังคงมีอายุยืนยาวขึ้นเรื่อยๆ[56]", "title": "โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง" }, { "docid": "556796#1", "text": "เหมือนฝัน บัณฑิตสกุล เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2509 เป็นนักแสดงชาวไทย มีพี่น้อง 4 คน เหมือนฝัน บัณฑิตสกุล เป็นพี่สาวคนโตสุด ส่วนมากจะรู้จักกับบทนางร้ายสาวเจ้าบทบาทที่โด่งดังสุดๆ ในละครหลังข่าวทางช่อง 7 สี เธอเป็นดาราสาวเพียงไม่กี่คนในยุคนั้นที่สามารถโลดแล่น และโกอินเตอร์ ไปดังไกลถึงต่างประเทศ และยังมีงานถ่ายทำมิวสิควิดีโออัลบั้มชุด เพลงไทยยอดนิยม ให้กับค่ายโรสวีดีโอที่ต่างประเทศอีกด้วย ก่อนที่เธอจะห่างหายไปจากวงการ แต่แล้ววันหนึ่งชื่อของเธอก็ถูกกล่าวขวัญขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์อีกครั้งเมื่อ 7 ปีที่แล้ว พร้อมกับสถานภาพที่เปลี่ยนไป", "title": "เหมือนฝัน บัณฑิตสกุล" }, { "docid": "314369#20", "text": "มีนกกระเรียนไทยเหลืออยู่ในธรรมชาติประมาณ 15,000–20,000 ตัวจากการประเมินในปี ค.ศ. 2009[1] ประชากรชนิดย่อย นกกระเรียนอินเดีย เหลือน้อยกว่า 10,000 ตัวแต่ก็ถือว่ายังดีกว่าอีก 2 ชนิดย่อยที่เหลือ อาจเป็นเพราะได้รับความเคารพและธรรมเนียมที่สืบทอดกันมาทำให้นกไม่ได้รับอันตราย[60] และในหลาย ๆ พื้นที่ นกกระเรียนไม่เกรงกลัวมนุษย์ นกกระเรียนไทยเคยพบในประเทศปากีสถานแต่ยังไม่พบอีกเลยตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ประชากรนกกระเรียนในอินเดียมีการลดจำนวนลง[1] จากการประมาณประชากรโดยรวมบนพื้นฐานของหลักฐานที่สะสมมาแสดงว่าประชากรในปี ค.ศ. 2000 ดีที่สุดคือร้อยละ 10 และเลวร้ายที่สุดคือร้อยละ 2.5 ของจำนวนทั้งหมดในปี ค.ศ. 1850[61] เกษตรกรหลายคนในอินเดียเชื่อว่านกกระเรียนนั้นเป็นตัวทำลายพืชผล[10] โดยเฉพาะข้าว แม้ว่าจากการศึกษาแสดงว่าการจิกกินเมล็กข้าวโดยตรงนั้นมีการสูญเสียจำนวนน้อยกว่าร้อยละหนึ่งและการเหยียบย่ำทำให้สูญเสียเมล็ดประมาณ 0.4–15 กิโลกรัม[62] ทัศนคติของเกษตรกรมีแนวโน้มเป็นบวกในเรื่องความเสียหายที่เกิดขึ้น และนี่เองเป็นการช่วยอนุรักษ์นกกระเรียนภายในพื้นที่เกษตรกรรม และการชดเชยความเสียหายความเสียหายแก่เกษตรกรตามความเป็นจริงอาจจะช่วยได้[48] ทุ่งนาอาจมีบทบาทที่สำหรับสำคัญในการช่วยอนุรักษ์นกชนิดนี้ เพราะพื้นที่ชุ่มน้ำตามธรรมชาตินั้นถูกคุกคามมากขึ้นด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์[63] ประชากรนกกระเรียนในประเทศออสเตรเลียมีประมาณ 5,000 ตัวและอาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[7] อย่างไรก็ตาม นกกระเรียนอินโดจีนกลับลดลงเป็นจำนวนมากจากสงครามและการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย (เช่นการเกษตรแบบเร่งรัดและการระบายน้ำออกจากพื้นที่ชุ่มน้ำ) และเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 นกกระเรียนอินโดจีนได้หายไปจากพื้นที่การจายพันธุ์ส่วนใหญ่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยแผ่ไปถึงตอนใต้ของประเทศจีน มีประชากรเหลือประมาณ 1,500–2,000 ตัวกระจายตัวเป็นกลุ่มประชากรเล็ก ๆ ประชากรในประเทศฟิลิปปินส์นั้นรู้น้อยมากและสูญพันธุ์ไปในตอนปลายของคริสต์ทศวรรษ 1960[1] นกกระเรียนไทยจัดอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ[1] และไซเตสจัดอยู่ในบัญชีอนุรักษ์ที่ 2[64] การคุกคามประกอบไปด้วยภัยคุกคามทำลายถิ่นที่อยู่หรือทำให้เสื่อมลง การล่าและดักจับ เช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษ โรค และการแข่งขันในสปีชีส์ ผลของการผสมพันธุ์กันในเชื้อสายที่ใกล้เคียงกันมากในประชากรของประเทศออสเตรเลียยังต้องศึกษาต่อไป[7]", "title": "นกกระเรียนไทย" }, { "docid": "6332#16", "text": "จากจำนวนชาวฮั่นนอกประเทศจีนประมาณ 40 ล้านคนทั่วโลก เกือบ 30 ล้านคนอาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิงคโปร์มีจำนวนประชากรชาวฮั่นเป็นประชากรส่วนใหญ่ที่มากสุดที่ 74% เกาะคริสต์มาสก็มีประชากรชาวฮั่นเป็นส่วนใหญ่ที่ 70% ประชากรชาวฮั่นจำนวนมากยังอาศัยอยู่ใน มาเลเซีย (25%),ใน ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นชาวแต้จิ๋วซึ่งไม่ได้พูดภาษาฮั่น, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนที่อื่นในโลกคนเชื้อสายฮั่น 3 ล้านคนอาศัยในสหรัฐอเมริกาซึ่งคิดเป็น 1% ของจำนวนประชากร, มากกว่า 1 ล้านคนในแคนาดา (3.7%), มากกว่า 1.3 ล้านคนในเปรู (4.3%), มากกว่า 6 แสนคนในออสเตรเลีย (3.5%), เกือบ 150,000 คนในนิวซีแลนด์ (3.7%) และ 750,000 คนในแอฟริกา", "title": "ชาวฮั่น" }, { "docid": "306914#12", "text": "ในประเทศไทย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และประธานคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นประธานแถลงข่าว “ประเทศไทยเซ็นสัญญาคว้าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018” ซึ่งจะจัดการแข่งขันขึ้นระหว่างวันที่ 14 มิ.ย. - 15 ก.ค. 2561 ที่ประเทศรัสเซีย โดยความสำเร็จในครั้งนี้เกิดจากการผนึกกำลังร่วมกันระหว่างภาครัฐบาล นำโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและการกีฬาแห่งประเทศไทย ร่วมด้วยภาคเอกชน 9 องค์กร ที่ร่วมลงทุนในครั้งนี้ ซึ่งการเจรจาที่ผ่านมามีความล่าช้าไปเล็กน้อย เนื่องจากคิงเพาเวอร์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนเจรจาในตอนต้น เพิ่งได้รับแจ้งถึงนโยบายข้อกำหนดของฟีฟ่าว่า จะเจรจาและลงนามในสัญญาเฉพาะกับบริษัทผู้ประกอบธุรกิจบรอดแคสติ้งเท่านั้น ซึ่งในเวลาที่กระชั้นชิด เพื่อให้ฟีฟ่าอนุมัติได้รวดเร็ว จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาระดับโลก จึงประสานให้บริษัท ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด เป็นตัวแทนประเทศไทยในการเจรจา และลงนามในสัญญา ทำให้คนในประเทศไทยสามารถรับชมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลกครั้งนี้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ตั้งแต่รอบแรกจนถึงรอบชิงชนะเลิศ ครบทั้ง 64 แมตช์ โดยสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง ทรูโฟร์ยู ช่อง 24, อมรินทร์ ทีวี ช่อง 34 และช่อง 5", "title": "ฟุตบอลโลก 2018" }, { "docid": "858129#9", "text": "ตัวเลขของประชากรในยุโรปนั้นแตกต่างกันไปตามข้อกำหนดในการแบ่งเขตแดนของยุโรปที่ใช้ประชากรที่อยู่ในขอบเขตของภูมิศาสตร์ทางกายภาพมีจำนวนประมาณ 731 ล้านคนในปี 2005 และในปี 2010 มีจำนวนประชากร 857 ล้านคนตามที่สหประชาชาติประกาศซึ่งการประกาศครั่งนี้นั้นรวมถึงประเทศข้ามทวีปด้วยเช่นประเทศรัสเซียและประเทศตุรกี", "title": "ภูมิศาสตร์ยุโรป" }, { "docid": "718488#65", "text": "ความชุกของผู้ป่วยโรคลมชักต่อเนื่อง (ในปี ค.ศ. 2012) จะอยู่ที่ประมาณ 3-10 คนต่อประชากร 1,000 คน โดยนิยามของผู้ป่วยโรคลมชักต่อเนื่องหมายถึง ผู้ป่วยโรคลมชักที่มีอาการชักโดยไม่มีสิ่งเร้าอย่างน้อย 1 ครั้งภายในช่วงเวลา 5 ปี ผู้ป่วยโรคลมชักรายใหม่ในแต่ละปีจะอยู่ที่ประมาณ 40-70 คนต่อประชากร 100,000 คนในประเทศพัฒนาแล้ว และ 80-140 คนต่อประชากร 100,000 คนในประเทศกำลังพัฒนา ความยากจนถือเป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลมชักโดยรวมถึงการอาศัยอยู่ในประเทศยากจน และ หรือมีความยากจนเมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ ภายในประเทศของตน ในส่วนของโลกที่พัฒนาแล้วโรคลมชักส่วนใหญ่มักจะเกิดในเด็ก หรือ ผู้สูงอายุ ในประเทศกำลังพัฒนาโรคลมชักมักเกิดขึ้นในเด็กโต และ วัยหนุ่ม-สาวเนื่องจากมีอัตราการได้รับบาดเจ็บ และ โรคติดเชื้อที่สูง สำหรับประเทศพัฒนาแล้วรายงานในช่วงปีค.ศ. 1970 ถึง 2003 พบว่าจำนวนผู้ป่วยต่อปีลดลงสำหรับเด็กแต่เพิ่มขึ้นในผู้สูงวัย สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการรอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุที่มากขึ้น", "title": "โรคลมชัก" }, { "docid": "916652#2", "text": "เขตดาเบาเป็นเขตที่มีประชากรมากที่สุดของเกาะมินดาเนา และเป็นเขตที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 7 ของประเทศ โดยในปี ค.ศ. 2015 มีประชากร 4,893,318 คน โดยศูนย์กลางของเขต เมืองดาเบา ยังเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเกาะมินดาเนาอีกด้วย เมืองดาเบามีพื้นที่ 2,444 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองที่มีพื้นที่มากที่สุดของประเทศ และมีประชากร 1,632,991 คนในปี ค.ศ. 2015 เป็นเมืองที่มีประชากรอันดับที่ 4 ของประเทศ และมากที่สุดในเขตวิซายัส-มินดาเนา ส่วนเขตมหานครดาเบา เป็นเขตมหานครที่มีประชากรมากที่สุดของเกาะ และมากเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ มีประชากร 2,274,913 คน", "title": "เขตดาเบา" }, { "docid": "908070#2", "text": "จำนวนประชากรของประเทศอิหร่านในปี 1280มีประทาร 79 ล้านคน จำนวนประชากรของประเทศเพิ่มขึ้น 15 ล้านคนในปี 1325 และในปี 1351 เพิ่มขึ้น 30 ล้านคน และในปี 1375 เพิ่มขึ้น 60 ล้านคน.", "title": "ประชากรศาสตร์อิหร่าน" }, { "docid": "941445#7", "text": "ในปี 2552 รายจ่ายประจำปีของบริการสุขภาพคิดเป็น 345 ดอลลาร์ระหว่างประเทศต่อคนในความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ (PPP) รายจ่ายทั้งหมดคิดเป็นประมาณร้อยละ 4.3 ของจีดีพี ในจำนวนนี้ ร้อยละ 75.8 มาจากภาครัฐ และร้อยละ 24.2 มาจากภาคเอกชน ความหนาแน่นของแพทย์คิดเป็น 2.98 คนต่อประชากร 10,000 คนในปี 2547 และเตียงโรงพยาบาล 22 เตียงต่อประชากร 100,000 คนในปี 2545", "title": "บริการสุขภาพในประเทศไทย" }, { "docid": "385220#2", "text": "เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2525 องค์การอนามัยโลกได้เสนอความคิดขึ้นมาว่า หากจะให้ประชากรทุกคนในโลกหรือประชากรในประเทศมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้นแล้ว \nงานสาธารณสุขจะต้องได้รับการส่งเสริม ให้ชาวบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ซึ่งในขณะนั้นก็ได้มีประเทศต่าง ๆ ได้เริ่มดำเนินการทำนองนี้แล้ว รวมทั้งประเทศไทยด้วย \nพร้อมกันนั้นประเทศสมาชิกขององค์การอนามัยโลกได้มีมติให้ถือว่า ปี ค.ศ. 2000 หรือ พ.ศ. 2543 เป็นเป้าหมายที่ประชากรทุกคนของประเทศสมาชิกจะมีสุขภาพอนามัยดีอย่างทั่วถึง \nซึ่งประเทศสมาชิกทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทย ได้ยอมรับเป้าหมายดำเนินงาน \nเมื่อเดือนกันยายน 2521 ได้มีการประชุมเรื่องการสาธารณสุขมูลฐานขึ้นที่เมืองอัลมาอตาประเทศรัสเซีย ที่ประชุมยอมรับหลักการว่า \nสาธารณสุขมูลฐาน เป็นกลวิธีที่เหมาะสมที่จะทำให้ประชากรทุกคนมีสุขภาพอนามัยดีอย่างทั่วถึงได้", "title": "สาธารณสุขมูลฐาน" }, { "docid": "808966#2", "text": "ไม่กี่ปีต่อมา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไอซ์แลนด์เริ่มประสบความเจริญ ซึ่งในวันนี้ได้แสดงให้เห็นว่าไม่มีสัญญาณของการลดน้อยลง ซึ่งมีสักขีพยานด้วยความจริงที่ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 6 ต่อปีระหว่างปี ค.ศ. 2003 และ 2010 และโดยบางส่วนร้อยละ 20 ต่อปีโดยเฉลี่ยระหว่างปี ค.ศ. 2010 และ 2014 รวมถึงในปี ค.ศ. 2015 ยังคงมีความต่อเนื่องของการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ กับจำนวนของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีอยู่เกิน 1 ล้านคนในช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคม ตามที่คณะกรรมการการท่องเที่ยวไอซ์แลนด์ จำนวนรวมของการพักค้างคืนโดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในประเทศไอซ์แลนด์เพิ่มขึ้นจาก 595,000 คนในปี ค.ศ. 2000 ไปเป็น 2.1 ล้านคนในปี ค.ศ. 2010 ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 4.4 ล้านคนในปี ค.ศ. 2014 ", "title": "การท่องเที่ยวในประเทศไอซ์แลนด์" }, { "docid": "6383#14", "text": "ในปี ค.ศ. 1700 มิวนิกมีประชากรเพียง 24,000 คน ประชากรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุก ๆ 30 ปี ตัวอย่างเช่น มิวนิกมีประชากร 100,000 คนใน ค.ศ.1852 และต่อมาในปี ค.ศ. 1883 มีประชากร 250,000 คน และในปี ค.ศ.1901 ได้เพิ่มขึ้นสองเท่าอีกเป็น 500,000 คน ตั้งแต่ตอนนี้ มิวนิกได้กลายเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ในประเทศเยอรมนี ใน ค.ศ.1933 มีประชากร 840,901 คน และในปี ค.ศ.1957 มิวนิกมีประชากรเกินกว่า 1 ล้านคน", "title": "มิวนิก" }, { "docid": "320000#24", "text": "ผลกระทบด้านลักษณะประชากรของทุพภิกขภัยนั้นรุนแรงมาก การเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเด็กและผู้สูงอายุ ข้อเท็จจริงทางลักษณะประชากรที่สอดคล้องกัน คือ ในทุพภิกขภัยทุกครั้งที่มีการบันทึก อัตราการเสียชีวิตของชายจะสูงกว่าของหญิง เหตุผลสำหรับข้อเท็จจริงดังกล่าวอาจรวมถึงความเข้มแข็งของหญิงที่มากกว่าภายใต้ความกดดันของทุพโภชนาการ และอาจเป็นธรรมชาติของหญิงที่มีไขมันร่างกายคิดเป็นเปอร์เซ็นต์สูงกว่าชาย ทุพภิกขภัยยังทำให้อัตราการเกิดลดต่ำลงด้วย ดังนั้น ทุพภิกขภัยจึงเหลือไว้แต่ประชากรวัยเจริญพันธุ์ หรือก็คือ หญิงผู้ใหญ่ ได้รับผลกระทบน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรกลุ่มอื่น และช่วงหลังทุพภิกขภัยมักมีลักษณะอัตราการเกิดเพิ่มกลับขึ้นมาอีก ทุพภิกขภัยรุนแรงส่วนมากน้อยครั้งที่ลดอัตราการเกิดของประชากรเกินกว่าไม่กี่ปี อัตราการเสียชีวิตที่สูงถูกชดเชยด้วยประชากรที่เพิ่มขึ้นในเวลาไม่กี่ปี หากแต่ผลกระทบด้านลักษณะประชากรระยะยาวที่ใหญ่กว่า คือ การอพยพ อาทิ ไอร์แลนด์มีประชากรลดลงอย่างสำคัญหลังทุพภิกขภัยในคริสต์ทศวรรษ 1840 เพราะมีการอพยพออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก", "title": "ทุพภิกขภัย" }, { "docid": "909722#3", "text": "การค้ามนุษย์ในประเทศไทยไม่จำกัดเฉพาะคนไทยเท่านั้น สตรีจำนวนมากและเด็ก ๆ จากประเทศอื่นถูกค้ามนุษย์เข้ามาในประเทศไทยเพื่อทำงานในอุตสาหกรรมทางเพศของไทย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีสตรีชาวพม่า กัมพูชาและลาวจำนวนมากที่ตกเป็นเหยื่อถูกค้ามนุษย์ในซ่องในจังหวัดชายแดนภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ และเชียงราย ภาคกลาง และภาคตะวันออก เช่น จังหวัดตราด, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, ชลบุรีและชุมพร และจังหวัดสงขลา นราธิวาสและปัตตานี ใกล้ชายแดนมาเลเซียตอนใต้ ผู้หญิงและเด็กกว่า 80,000 รายถูกขายให้กับอุตสาหกรรมบริการทางเพศของไทยตั้งแต่ปี 2533 ผู้ขายบริการทางเพศหญิงส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นชาวต่างชาติและกว่า 60% ของสตรีที่เดินทางเข้าประเทศเพื่อทำงานในอุตสาหกรรมทางเพศมีอายุต่ำกว่า 18 ปี มีโสเภณีเด็กจำนวนกว่า 75,000 คนในประเทศไทย ", "title": "การค้าหญิงและเด็กในประเทศไทย" }, { "docid": "496974#7", "text": "กิจกรรมของมิชชันนารีอเมริกันนิกายโปรเตสแตนต์เพิ่มขึ้นในกัมพูชา โดยเฉพาะในกลุ่มชาวจามและชนเผ่าต่างๆหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2513 และการก่อตั้งสาธารณรัฐเขมร มีรายงานว่ามีผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ 2,000 คนใน พ.ศ. 2505 และใน พ.ศ. 2525 มีรายงานว่ายังมีหมู่บ้านชาวคริสต์ในกัมพูชา แต่ไม่ได้รายงานเรื่องจำนวน รวมทั้งนิกายของพวกเขา ใน พ.ศ. 2523 มีชาวเขมรที่นับถือศาสนาคริสต์ลงทะเบียนเป็นผู้อพยพในค่ายผู้อพยพในประเทศไทยมากกว่าจำนวนที่เคยมีรายงานใน พ.ศ. 2513 ใน พ.ศ. 2530 คาดการณ์ว่าเหลือชาวคริสต์ในกัมพูชาไม่กี่พันคน ปัจจุบันมีชาวคริสต์ที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิกในกัมพูชาราว 20,000 คน คิดเป็น0.15% ของประชากรทั้งหมด", "title": "ศาสนาในประเทศกัมพูชา" }, { "docid": "362516#11", "text": "แม้ประชากรไทยส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ แต่มีพุทธศาสนิกชนชาวไทยจำนวนมากเข้าเป็นสมาชิกลัทธิอนุตตรธรรมเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นพุทธศาสนานิกายมหายานรูปแบบหนึ่ง จากข้อมูลของ World I-Kuan Tao Headquarters ที่เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2548 ระบุว่าลัทธิอนุตตรธรรมมีสมาชิกราว 1,000,000 คนในประเทศไทย ในจำนวนนี้มีพระราชวงศ์และข้าราชการระดับสูงรวมอยู่ด้วย", "title": "ศาสนาในประเทศไทย" }, { "docid": "621014#58", "text": "ในประเทศอังกฤษ ประมาณว่ามีคนจำนวน 0.84 ล้านคน (จาก 50ล้านคน) ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น COPD หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ประมาณหนึ่งคนจาก 59 คนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น COPD ที่ช่วงใดช่วงหนึ่งในชีวิตของพวกเขา ในพื้นที่ของประเทศที่มีความขาดแคลนทางเศรษฐกิจมากที่สุด ประชากรหนึ่งคนใน 32 คนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น COPD เมื่อเปรียบเทียบกับหนึ่งใน 98 คนในพื้นที่ที่มั่งคั่งที่สุด[111] ในสหรัฐอเมริกา คิดเป็นประมาณ 6.3% ของประชากรผู้ใหญ่ และจำนวนรวมทั้งหมดประมาณ 15ล้านคน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น COPD[112] ประชากรจำนวน 25ล้านคน อาจมี COPD หากรวมถึงกรณีที่ยังไม่ได้การวินิจฉัยสาเหตุในปัจจุบัน[113] ในปี ค.ศ. 2011 มีผู้ป่วยประมาณ 730,000 คนเข้ารับการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกาเนื่องจากโรค COPD[114]", "title": "โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง" }, { "docid": "2074#24", "text": "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่ประมาณ 4,000,000ตารางกิโลเมตร (1.6ล้านตารางไมล์) มีประชากรมากกว่า 628 ล้านคนในปี พ.ศ. 2558 โดยกว่าหนึ่งในห้า (125ล้านคน) อยู่บนเกาะชวาของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่มีความหนาแน่นที่สุดในโลก ด้วยความที่ประเทศอินโดนีเซียมีประชากรถึง 230 ล้านคน ทำให้เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 4 ของโลก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนาที่จะแตกต่างไปในแต่ละประเทศ มีชาวจีนโพ้นทะเล 30ล้านคน อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ โดยที่เด่นชัดที่สุดคือที่เกาะคริสต์มาส, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย และไทย รวมถึงชาวฮั้วในเวียดนาม", "title": "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้" } ]
1610
คอมพิวเตอร์เครื่องแรกเกิดขึ้นเมื่อไหร่?
[ { "docid": "3532#3", "text": "คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน[4]", "title": "คอมพิวเตอร์" } ]
[ { "docid": "33431#3", "text": "เป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่อง Alaytical Engine มีลักษณะใกล้เคียงกับส่วนประกอบ ของระบบคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันมาก แต่น่าเสียดายที่เครื่อง Alalytical Engine ของ Babbage นั้นไม่สามารถ สร้างให้สำเร็จขึ้นมาได้ ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยี สมัยนั้นไม่สามารถสร้างส่วนประกอบต่างๆ ดังกล่าว และอีกประการหนึ่งก็คือ สมัยนั้นไม่มีความจำเป็น ต้องใช้เครื่องที่มีความสามารถสูงขนาดนั้น ดังนั้นรัฐบาล อังกฤษจึงหยุดให้ความสนับสนุนโครงการของ Babbage ทำให้ไม่มีทุนที่จะทำการวิจัยต่อไป สืบเนื่องจากมาจากแนวความคิดของ Analytical Engine เช่นนี้จึงทำให้ Charles Babbage ได้รับการยกย่อง ให้เป็น บิดาของเครื่องคอมพิวเตอร์ และหลังจากนั้นอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ก็เริ่มพัฒนาขึ้น แต่มีอย่างหนึ่งที่ยังไม่มีในยุคนั้น สิ่งนั้นก็คือโปรแกรมนั้นเอง เนื่องจากในสมัยนั้นไม่มีใครคิดที่จะทำคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานขึ้นมา แต่ใน พ.ศ. 2385 ชาวอังกฤษ ชื่อ Lady Auqusta Ada Byron ได้ทำการแปลเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่อง Anatical Engine จากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษในระหว่างการแปลทำให้ Lady Ada เข้าใจถึงหลักการทำงาน ของเครื่อง Analytical Engine และได้เขียนรายละเอียดขั้นตอนของคำสั่งให้เครื่องนี้ทำการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อนไว้ในหนังสือทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมแรกของโลก และจากจุดนี้จึงถือว่า Lady Ada เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก (มีภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมที่เก่าแก่ อยู่หนึ่งภาษาคือภาษา Ada มาจาก ชื่อของ Lady Ada) นอกจากนี้ Lady Ada ยังค้นพบอีกว่าชุดบัตรเจาะรูที่บรรจุคำสั่งไว้สามารถนำกลับมาทำงานซ้ำได้ถ้าต้องการ นั่นคือหลักของการทำงานวนซ้ำ หรือเรียกว่า Loop เครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณที่ถูกพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 19 นั้น ทำงานกับเลขฐานสิบ (Decimal Number) แต่เมื่อเริ่มต้นของศตวรรษที่ 20 ระบบคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาขึ้นจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้ เลขฐานสอง (Binary Number) กับระบบคอมพิวเตอร์ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากหลักของพีชคณิต ", "title": "ประวัติฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์" }, { "docid": "479640#2", "text": "การที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะรับส่งข้อมูลหากันจะต้องมีเวลาในการอ้างอิง เพราะหากเวลาไม่ตรงกันหรือต่างกันมาก จะมีผลต่อการบันทึกข้อมูล (log) ที่ใช้ในการตรวจสอบ ลองนึกดูว่าถ้ามีคนฝากหรือโอนเงินให้ แต่ระบบยังไม่สามารถให้เบิกถอนได้ เพราะเวลาในเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ตรงกัน จะเกิดอะไรขึ้น หรือว่าเวลาที่คนรับข้อมูลได้รับก่อนเวลาที่คนส่งจะทำการส่ง ก็จะเกิดความสับสนเป็นอย่างมาก", "title": "ไทม์เซิร์ฟเวอร์" }, { "docid": "398146#5", "text": "เป็นระบบการประมวลผลที่เกิดจากการแบ่งการทำงานให้กับคอมพิวเตอร์ต่างๆ ภายในองค์กร หรือ เครือข่าย เดียวกัน \nโดย แต่ละหน่วยงานหรือ แต่ละคอมพิวเตอร์ สามารถจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง และไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นใดแผนกหรือหน่วยงาน\nระบบนี้ เหมาะสำหรับรูปแบบการบริหารจัดการองค์กรแบบกระจายอำนาจที่หน่วยงานต่างๆมีอิสระในการจัดการข้อมูล", "title": "ระบบประมวลผลข้อมูล" }, { "docid": "4083#4", "text": "ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาแผ่นดิสก์หรือแฟลชไดร์ฟที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่ง\nการที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายความว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเรียบร้อยแล้ว การที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกใช้ให้ทำงาน ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวเลยว่า ขณะที่ตนเรียกใช้โปรแกรมหรือเปิดไฟล์ใดๆขึ้นมาทำงาน ก็ได้เรียกไวรัสขึ้นมาทำงานด้วย\nจุดประสงค์การทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแสดงข้อความวิ่งไปมาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น", "title": "ไวรัสคอมพิวเตอร์" }, { "docid": "220417#0", "text": "ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ () เป็นดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ในการผลิตขึ้นมา โดยทั่วไปแล้วความโดดเด่นของดนตรีสามารถเกิดขึ้นโดยใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีเครื่องไฟฟ้า ตัวอย่างเช่นเสียงที่เกิดจาก Telharmonium, Hammond organ และกีตาร์ไฟฟ้า ส่วนดนตริอีเล็กทรอนิกส์แท้ ๆ สามารถใช้เครื่อง Theremin, เครื่องสังเคราะห์เสียง และคอมพิวเตอร์", "title": "ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์" }, { "docid": "1011#10", "text": "ทุกวันนี้ แขนงวิชาต่าง ๆ ของภาษาศาสตร์เชิงประยุกต์จะเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้กับคอมพิวเตอร์อย่างชัดเจน ในการสังเคราะห์เสียง () และการรู้จำเสียง () มีการนำเอาความรู้ด้านสัทศาสตร์และพยางค์ ( and ) มาใช้เพื่อสร้างส่วนติดต่อคอมพิวเตอร์ด้วยเสียง การประยุกต์ใช้งานภาษาศาสตร์เชิงคำนวณในการแปลภาษาด้วยเครื่อง () การแปลภาษาแบบเครื่องช่วย () และการประมวลผลภาษาธรรมชาตินั้น จัดเป็นแขนงวิชาที่เป็นประโยชน์อย่างมากของภาษาศาสตร์เชิงประยุกต์ ซึ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตามสมรรถนะการคำนวณของคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มสูงขึ้น อิทธิพลของภาษาศาสตร์เชิงคำนวณได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อทฤษฎีของวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ เนื่องด้วยการออกแบบทฤษฎีทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์บนคอมพิวเตอร์ จะจำกัดประสิทธิภาพของทฤษฎีเหล่านั้นด้วยโอเปอเรชั่นที่คำนวณได้ () และทำให้เกิดทฤษฎีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่แม่นยำ (ข้อมูลเพิ่มเติมในหัวข้อ ทฤษฎีการคำนวณได้)", "title": "ภาษาศาสตร์" }, { "docid": "36335#1", "text": "พ.ศ. 2488 มัวริสได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทางด้านคำนวณ (Mathemetical Laboratory) ซึ่งต่อมาภายหลังสถาบันนี้ได้เปลี่ยนมาเป็น คณะคอมพิวเตอร์ (Computer Laboratory) ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นที่แรกในโลกที่เริ่มทำการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ สาเหตุที่คณะคอมพิวเตอร์เป็นอิสระออกมาได้ เพราะสมัยที่เป็นสถาบันวิจัยทางด้านการคำนวณนั้น เป็นแหล่งกำเนิดพื้นฐานของคอมพิวเตอร์พอสมควร (เช่น ทฤษฎีทัวริ่ง, เครื่อง Differential Analyser ของแบบเบจ หรือ ภาษาเครื่องของเอดา) อีกทั้งในยุคของมัวริส สามารถนำทฤษฎีเหล่านี้มาประยุกต์สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเก็บโปรแกรมได้ (stored program computer) คือมีหน่วยความจำ (memory) สำเร็จเป็นเครื่องแรกของโลกชื่อ EDSAC ในปี พ.ศ. 2492", "title": "มัวริส วิลค์ส" }, { "docid": "38472#1", "text": "งานคอมพิวเตอร์ของอตานาซอฟฟ์ไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างจนกระทั่งถูกค้นพบอีกครั้งในคริสต์ทศวรรษ 1960 ท่ามกลางความขัดแย้งเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์เครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรก ตามความเข้าใจสมัยใหม่มักจะถือกันว่าคอมพิวเตอร์อีนิแอกเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรก แต่ใน พ.ศ. 2517 ศาลแขวงสหรัฐฯ ได้ตัดสินให้สิทธิบัตรของอีนิแอกเป็นโมฆะ และสรุปว่า ABC เป็น \"คอมพิวเตอร์\" เครื่องแรก\nABC เป็นเครื่องคำนวณแบบเปลี่ยนโปรแกรมไม่ได้ (ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบ ฟอน นอยมันน์หรือสถาปัตยกรรมแบบฮาร์วาร์ด หรือเครื่องคำนวณแบบ plug-board ที่โปรแกรมได้) ที่ใช้สำหรับแก้สมการเชิงเส้น", "title": "คอมพิวเตอร์ อตานาซอฟฟ์-เบอร์รี" }, { "docid": "33431#2", "text": "คอมพิวเตอร์ในยุคเริ่มแรกยังไม่มีชิปประมวลผลหรือระบบปฏิบัติการในปัจจุบัน โดยถ้าย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 400 กว่าปีที่แล้วส่วนใหญ่ คอมพิวเตอร์เหล่านี้มักใช้ในการคำนวณมากกว่า\nอุปกรณ์ชนิดแรกของโลกที่เป็นเครื่องมือในการคำนวณก็คือลูกคิดนั่นเอง ซึ่งถือได้ว่า เป็นอุปกรณ์ใช้ช่วยการคำนวณที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและคงยังใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2158 นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้สร้างอุปกรณ์ใช้ ช่วยการคำนวณขึ้นมา เรียกว่า Napier's Bones มีรูปร่างคล้ายสูตรคูณในปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Blaise Pascal คิดว่าน่าจะมีวิธีที่จะคำนวณตัวเลขได้ง่ายกว่า เขาได้ออกแบบ เครื่องมือช่วยในการคำนวณโดย ใช้หลักการหมุนของฟันเฟืองหนึ่งอันถูกหมุนครบ 1 รอบ ฟันเฟืองอีกอันหนึ่งซึ่งอยู่ ทางด้านซ้ายจะถูกหมุนไปด้วยในเศษ 1 ส่วน 10 รอบ เครื่องมือของปาสคาลนี้ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณชน เมื่อ พ.ศ. 2188 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากราคาแพง และเมื่อใช้งานจริงจะเกิดฟันเฟืองติดขัดบ่อยๆ ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ค่อยถูกต้องตรงความเป็นจริง\nในสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องจักรใดที่สามารถทำตามคำสั่งหรือทำงานเองโดยอัตโนมัติได้แต่ใน พ.ศ. 2344 นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พยายามพัฒนาเครื่องทอผ้าโดยใช้ บัตรเจาะรูในการใส่คำสั่งให้ควบคุมเครื่องทอผ้าให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้ และแบบดังกล่าวสามารถนำมา สร้างซ้ำๆ ได้อีกหลายครั้ง ความพยายามของ Jacquard สำเร็จลงใน พ.ศ. 2348 เครื่องทอผ้านี้ถือว่าเป็น เครื่องทำงานตามคำสั่งเป็นเครื่องแรก และตั้งแต่ Jacquard ได้ประดิษฐ์สิ่งนี้ขึ้นมาทำให้มีเครื่องกลเกิดขึ้นมาหลายอย่าง และได้มีเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ได้เปลี่ยนวงการของเครื่องคอมพิวเตอร์และการคำนวณ โดยอุปกรณ์ที่ว่านี้มีชื่อว่าเครื่องหาผลต่าง (Difference Engine) โดยเจ้าเครื่องนี้มีความคล้ายกับเครื่องคิดเลขในปัจจุบันนั่นเอง โดย Chales Babbage เป็นผู้สร้างเครื่องนี้ขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2373 เขาได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอังกฤษเพื่อสร้างเครื่อง Difference Engine ขึ้นมาจริงๆ แต่ในขณะที่ Babbage ทำการสร้างเครื่อง Difference Engine อยู่นั้น ได้พัฒนาความคิดไปถึงเครื่องมือในการคำนวณที่มีความสามารถสูงกว่านี้ ซึ่งก็คือเครื่องที่เรียกว่าเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) และได้ยกเลิกโครงการสร้างเครื่อง Difference Engine ลงแล้วเริ่มต้นงานใหม่ คือ งานสร้างเครื่องวิเคราะห์ ในความคิดของเขา โดยที่เครื่องดังกล่าวประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน คือ ", "title": "ประวัติฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์" }, { "docid": "740562#3", "text": "การโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการอาจทำให้เกิดปัญหาบนอุปกรณ์เครือข่ายแวดล้อม นอกเหนือไปจากคอมพิวเตอร์ที่กำลังถูกโจมตี ตัวอย่างเช่น แบนด์วิดท์ของเราเตอร์ที่ตั้งอยู่ระหว่างอินเทอร์เน็ตกับแลน อาจถูกใช้ไปหมดกับการโจมตี ทำให้ไม่เพียงแค่เกิดปัญหาบนคอมพิวเตอร์เป้าหมายเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบทั้งเครือข่ายและคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบนแลนด้วย ", "title": "การโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ" }, { "docid": "14092#1", "text": "เทคโนโลยีในปัจจุบันได้ทำการสร้างระบบความเย็นของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการใช้น้ำเป็นตัวระบายความร้อนให้แก่คอมพิวเตอร์ เนื่องจากการพัฒนาความเร็วของการประมวลผลของซีพียู ทำให้ซีพียู เกิดความร้อนสูงจึงได้นำระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ มาใช้", "title": "คอมพิวเตอร์คูลลิง" }, { "docid": "14288#13", "text": "เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเน็กซ์คิวบ์(NeXT Cube) ถือกำเนิดขึ้นจากแนวความคิดทางปรัชญาของจอบส์ในเรื่องของ \"คอมพิวเตอร์ระหว่างบุคคล\" ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นก้าวสำคัญหลังจากมีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเกิดขึ้น นั่นคือ หากคอมพิวเตอร์สามารถให้มนุษย์สื่อสารและประสานงานกันอย่างง่ายดายแล้ว มันจะสามารถแก้ปัญหามากมายที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเคยประสบมา จอบส์เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักที่เขาไม่ได้รวมเอาคุณลักษณะทางเครือข่ายเข้าไว้ในเครื่องแมคอินทอชรุ่นดั้งเดิม (และเรียกมันว่า \"สายรกที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับบริษัท\") และเขาตั้งใจว่าจะไม่ทำพลาดเช่นนั้นอีก ในช่วงเวลาที่อีเมลสำหรับคนส่วนมากยังคงเป็นระบบตัวหนังสือล้วน จอบส์รักที่จะทำการแสดงการสาธิต \"เน็กซ์เมล\" ระบบอีเมลของบริษัทเน็กซ์เพื่อให้เห็นถึงปรัชญาของเครื่องคอมพิวเตอร์ระหว่างบุคคล เน็กซ์เมลเป็นอีเมลระบบแรก ๆ ที่สนับสนุนการมองเห็นกราฟิกส์และเสียงที่ฝังอยู่ในอีเมลได้จากทุกแห่ง และยังสามารถคลิกได้อีกด้วย", "title": "สตีฟ จอบส์" }, { "docid": "323534#98", "text": "ผู้ควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ได้ปิดระบบความปลอดภัยลงไปจนถึงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซึ่งการทดสอบกำลังดำเนินการอยู่ คอมพิวเตอร์กระบวนการหลัก-SKALA กำลังทำงานในลักษณะที่ว่าคอมพิวเตอร์ควบคุมหลักจะไม่สามารถปิดเครื่องปฏิกรณ์หรือแม้กระทั่งลดระดับพลังงาน ปกติแล้วเครื่องปฏิกรณ์ควรจะเริ่มต้นการเสียบแท่งควบคุมทั้งหมด เช่นเดียวกันคอมพิวเตอร์ก็ควรจะเริ่มต้น \"ระบบป้องกันแกนฉุกเฉิน\" ที่เสียบ 24 แท่งควบคุมเข้าไปในโซนที่ใช้งานภายใน 2.5 วินาที ซึ่งยังคงช้าตามมาตรฐานปี 1986 การควบคุมทั้งหมดถูกย้ายจากกระบวนการของคอมพิวเตอร์ไปยังผู้ควบคุมเครื่องที่เป็นมนุษย์", "title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล" }, { "docid": "1636#4", "text": " เพื่อให้เครื่องแล็ปทอปมีความคล่องตัวในการใช้งานได้ขณะที่ผู้ใช้ไม่ได้นั่งทำงานกับที่ จึงออกแบบให้สามารถหมุนจอภาพได้ 180 องศา และพับจอภาพลงปิดตัวเครื่องฯ และแป้นพิมพืโดยมีจอภาพหันออกทางด้านบนสภาพเหมือนตอนปิดฝาปิดเครื่อง จอภาพเป็นแบบสัมผัส (touch screen) ใช้รับคำสั่งจากผู้ใช้จากเขียนด้วยปากกา (stylus pen) หรือนิ้วสัมผัส แทนการใช้แป้นพิมพ์และเมาส์ เกิดความคล่องตัวขณะใช้งานที่อาจต้องเคลื่อนที่ตัวเครื่องตลอดเวลา ซึ่งไม่เหมาะกับการใช้ notebook\nเป็นคอมพิวเตอร์มือถือ (hand held) ขนาดเท่าโทรศัพท์มือถือ ใช้โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ios Mobile หรืออาจใช้โปรแกรมทางเลือกอื่นเช่น NetBSD หรือ Linux เครื่องมีขีดความสามารถใกล้เคียงกับ desktop PC ยังมีอุปกรณ์เสริมเช่น , barcode leister city, leister และ", "title": "คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล" }, { "docid": "139015#1", "text": "เครื่องเมนเฟรมเป็นเครื่องที่ได้รับความนิยมใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ทั่วไปจัดเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพรองลงมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งในช่วงปลาย ค.ศ 1950 บริษัท IBM จัดเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์โดยเกิดจากการมีส่วนแบ่งตลาดในการขายเครื่องระดับเมนเฟรมถึง 2 ใน 3 ของผู้ใช้เครื่องเมนเฟรมทั้งหมด เครื่องเมนเฟรมจะเป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่ต้องอยู่ในห้องที่ได้รับการอุณหภูมิและปราศจากฝุ่นละอองเช่นเดียวกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์", "title": "เมนเฟรมคอมพิวเตอร์" }, { "docid": "306647#0", "text": "ภพธร สุนทรญาณกิจ เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2523 เป็นนักร้องชาวไทย เติบโตที่สหรัฐอเมริกา สนใจด้านดนตรีและศิลปะตั้งแต่ยังเล็ก เมื่ออายุ 5 ขวบ เริ่มเรียนพื้นฐานดนตรีและเรียนคีย์บอร์ดที่โรงเรียนดนตรียามาฮ่า ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่อายุ 14 ปี และเรียนมัธยมที่ออเรนจ์เคาน์ตี รัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ Sonora High school จบการศึกษาจาก Academy of Entertainment สาขาคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน จากเมืองแซนทาโมนิกา รัฐแคลิฟอร์เนีย เริ่มร้องเพลงโดยใช้ชื่อวง “Sunday school” ที่ร้านอาหารไทยที่ชื่อ “เครื่องเทศ” เป็นเวลา 3 ปี จึงได้รู้จักกับต้อย สินประยูร ซึ่งเป็นเพื่อนกับบอย โกสิยพงษ์ จากนั้นเขาได้เป็นนักร้องแบ็กอัปให้กับบอย โกสิยพงษ์ และยังได้รับการชักชวนให้มาร้องเพลงในอัลบั้ม \"Rhythm & Boyd E1EVEN1H\" ในเพลง “จะทำยังไง” (What will I do) จากนั้นได้ร่วมร้องในอัลบั้ม \"The Strangers\" กับเพลง “สักเท่าไหร่” ", "title": "ภพธร สุนทรญาณกิจ" }, { "docid": "723545#1", "text": "ซามูเอล เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1907 ที่เมืองเอ็มโพรา รัฐแคนซัส สหรัฐอเมริกา และจบการศึกษาจากวิทยาลัยเอ็มโพราในปี ค.ศ. 1923 จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อและจบการศึษาระดับปริญญาโทที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ในปี ค.ศ. 1926 และได้รับงานเป็นอาจารย์สอนอยู่เป็นเวลา 2 ปี จากนั้นในปี ค.ศ. 1928 ซามูเอลได้เข้าทำงานที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ โดยงานส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับหลอดสุญญากาศ รวมทั้งได้พัฒนาเรดาร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2อีกด้วย หลังจากนั้นได้ย้ายไปทำงานที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ ได้เริ่มก่อตั้งโครงการ ILLIAC แต่ได้ย้ายออกมาก่อนที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกจะสร้างเสร็จ ซามูเอลย้ายไปทำงานกับไอบีเอ็มที่นิวยอร์กในปี ค.ศ. 1949 จนกระทั่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจากการเป็นผู้สร้างซอฟต์แวร์ของตารางแฮชครั้งแรกๆของโลก และยังมีส่วนกับการใช้ทรานซิสเตอร์ในคอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยไอบีเอ็มอีกด้วย ที่บริษัทแห่งนี้ ซามูเอลได้สร้างโปรแกรมเล่นหมากฮอสขึ้นบนเครื่อง IBM701 ที่เป็นคอมพิวเตอร์พาณิชย์เครื่องแรกของไอบีเอ็ม ได้มีการสาธิตโปรแกรมเพื่อนำเสนอความก้าวหน้าทางด้านฮาร์ดแวร์และการเขียนโปรแกรมที่ต้องใช้ทักษะสูง ทำให้หุ้นของบริษัทไอบีเอ็มสูงขึ้นไป 15 จุดภายในคืนเดียว นอจกากนี้ ซามูเอลยังมีความเชี่ยวชาญด้านการเขียนโปรแกรมที่ไม่ใช่ตัวเลข ทำให้คำสั่งของคอมพิวเตอร์เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น และยังเป็นคนแรกๆที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานอื่นนอกจากงานคำนวณ ซามูเอลยังเป็นคนมีชื่อเสียงด้านการเขียนบทความเรื่องยากๆให้เข้าใจง่าย และได้รับเชิญให้เขียนบทนำของบทความในวารสารเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ยุคแรกๆในปี 1953 อีกด้วย", "title": "อาเธอร์ ซามูเอล" }, { "docid": "108856#0", "text": "High Performance Computing คือการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ในทุกส่วนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อนำการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์นั้นสำหรับดำเนินการประมวลผลทางด้านการประมวลผลที่ใช้การประมวลผลทางคณิตศาสตร์ในปริมาณที่มาก", "title": "High performance computing" }, { "docid": "680870#16", "text": "การทดลองที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์บางครั้งเรียกผิด ๆ ว่า เป็นการทดลองแบบอำพรางสองฝ่าย เพราะว่า ซอฟต์แวร์ไม่อาจที่จะทำให้เกิดความเอนเอียงโดยตรงเหมือนกับระหว่างผู้ทำการทดลองและผู้ร่วมการทดลอง แต่ว่า วิธีการแสดงบทสำรวจต่อผู้ร่วมการทดลองผ่านคอมพิวเตอร์ สามารถทำให้เกิดความเอนเอียงขึ้นได้อย่างง่าย ๆ ตัวอย่างหนึ่งก็คือ เครื่องลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นระบบที่ดูเหมือนง่าย ๆ แต่ก็สามารถสร้างให้เกิดความเอนเอียงได้ การทำงานของคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะคล้ายกับผู้ทำการทดลองดังที่กล่าวมาแล้ว คือ มีส่วนของซอฟต์แวร์ที่ทำงานปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมการทดลองเหมือนกับผู้ทำการทดลองที่บอดข้อมูล ในขณะที่ส่วนของซอฟต์แวร์ที่รู้ว่าผู้รับการทดลองเป็นใครอยู่ในกลุ่มไหน เป็นเหมือนกับบุคคลที่สาม ตัวอย่างประเภทหนึ่งก็คือบททดสอบ ABX test ซึ่งผู้ร่วมการทดลองต้องกำหนดตัวกระตุ้น X แล้วแสดงว่าเป็น A หรือ B", "title": "การทดลองแบบอำพราง" }, { "docid": "35644#0", "text": "ระบบฝังตัว หรือ สมองกลฝังตัว (embedded system) คือระบบประมวลผล ที่ใช้ชิปหรือไมโครโพรเซสเซอร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะโดย beenvai เป็นผู้คิดค้น เป็นระบบคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่ฝังไว้ในอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อเพิ่มความฉลาด ความสามารถให้กับอุปกรณ์เหล่านั้นผ่านซอฟต์แวร์ซึ่งต่างจากระบบประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ระบบฝังตัวถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและสำนักงาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีเครือข่ายเน็ตเวิร์ก เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร เทคโนโลยีเครื่องกลและของเล่นต่าง ๆ คำว่าระบบฝังตัวเกิดจาก การที่ระบบนี้เป็นระบบประมวลผลเช่นเดียวกับระบบคอมพิวเตอร์ แต่ว่าระบบนี้จะฝังตัวลงในอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์\nในปัจจุบันระบบสมองกลฝังตัวได้มีการพัฒนามากขึ้น โดยในระบบสมองกลฝังตัวอาจจะประกอบไปด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ ไมโครโปรเซสเซอร์ อุปกรณ์ที่ใช้ระบบสมองกลฝังตัวที่เห็นได้ชัดเช่นโทรศัพท์มือถือ และในระบบสมองกลฝังตัวยังมีการใส่ระบบปฏิบัติการต่างๆแตกต่างกันไปอีกด้วย ดังนั้น ระบบสมองกลฝังตัวอาจจะทำงานได้ตั้งแต่ควบคุมหลอดไฟจนไปถึงใช้ในยานอวกาศ", "title": "ระบบฝังตัว" }, { "docid": "63859#7", "text": "ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสำหรับกายภาพบำบัดในสหรัฐอเมริกา เริ่มขึ้นในปี 1974 ในสาขาของ ออร์โธปิดิกส์ หน่วยงานใน APTA ก็ได้รวมตัวเพื่อนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่อง ออร์โธปิดิกส์ ในปีเดียวกัน ได้เกิด สหพันธ์ออร์โธปิดิกส์หัตถการนานาชาติ (the International Federation of Orthopedic Manipulative Therapy) ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับ หัตถการขั้นสูงนับตั้งแต่นั้นมา [12] ในช่วงทศวรรษที่ 1980 เกิดการตื่นตัวทางทางด้านเทคโนโลยีและ คอมพิวเตอร์ ทำให้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆมากขึ้นสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพ จากผลของความก้าวหน้านี้ ก่อให้เกิดเครื่องมือการรักษาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องกำเนิดคลื่นเหนือเสียง หรือ Ultrasound, เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า, เครื่องผลักประจุไฟฟ้า iontophoresis, และล่าสุดคือ การรักษาด้วยเลเซอร์เย็น ซึ่งผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยา ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2002 [13]", "title": "กายภาพบำบัด" }, { "docid": "954300#0", "text": "ในทางคอมพิวเตอร์ เครื่องกราดภาพ คืออุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายโอนรูปภาพหรือข้อความลงในคอมพิวเตอร์ เครื่องกราดภาพบางชนิดยังมีรูปแบบพิเศษในการกราดภาพเชิงลบหรือกราดภาพหนังสือ ในคอมพิวเตอร์ สัญญาณจากเครื่องกราดภาพจะถูกถ่ายโอนไปยังรูปดิจิทัล ภาพนี้สามารถแก้ไข, พิมพ์ ฯลฯ เครื่องกราดภาพทั้งหมดมีส่วนพิเศษที่ใช้ในการถ่ายภาพจากวัตถุ อุปกรณ์เสริมที่ประจุไฟหรือ Contact Image Sensor จะส่องแสงจากวัตถุและเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิทัล จากนั้นสัญญาณดิจิทัลจะถูกโอนไปยังหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์หรืออ่านจากตัวประมวลผลของเครื่องกราดภาพ ด้วยซอฟต์แวร์บางซอฟต์แวร์คุณสามารถเปลี่ยนเป็นภาพดิจิทัลที่ถูกบีบอัด เช่น เจเพ็ก หรือ พีเอ็นจี ข้อความที่พิมพ์หรือเขียนด้วยมือสามารถเปลี่ยนเป็นรหัสแอสกีด้วยโปรแกรมการรู้จำอักขระด้วยแสง", "title": "เครื่องกราดภาพ" }, { "docid": "4697#7", "text": "ช่วงเวลาสำคัญของไมโครซอฟท์ ได้แก่เมื่อบริษัทไอบีเอ็มได้วางแผนจะรุกตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ด้วยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็มออกวางตลาด ใน ค.ศ. 1985 ไอบีเอ็มได้เข้ามาเจรจากับไมโครซอฟท์เพื่อขอซื้อระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (ไอบีเอ็มได้ทำสัญญาภาษาคอมพิวเตอร์ไปแล้ว) แต่ไมโครซอฟท์ไม่มีระบบปฏิบัติการจะขายให้ จึงแนะนำให้ไอบีเอ็มไปคุยกับดิจิทัลรีเสิร์ชแทน ที่ดิจิทัลรีเสิร์ช ผู้แทนของไอบีเอ็มได้คุยกับโดโรธี ภรรยาของ แกรี คิลดาลล์ แต่เธอปฏิเสธการลงนามในข้อตกลงมาตรฐานซึ่งไม่ปิดผนึก เนื่องจากเห็นว่าเสียเปรียบเกินไป ไอบีเอ็มจึงหันมาคุยกับไมโครซอฟท์อีกครั้ง บิล เกตส์ได้สิทธิ์ในการใช้สำเนาการออกแบบของ CP/M และ QDOS (Quick and Dirty Operating System) จาก ทิม แพทเทอร์สัน แห่งบริษัท ซีแอตเทิล คอมพิวเตอร์ โปรดักส์ ด้วยการซื้อมาในราคา 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น DOS (Disk Operating System) เพื่อขายมันให้กับไอบีเอ็มในราคา \"ราว 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ\" ตามคำกล่าวอ้างของเกตส์ และในที่สุด MS-DOS และ PC-DOS ก็ได้แจ้งเกิดในวงการ ต่อมา ไอบีเอ็มได้ค้นพบว่าระบบปฏิบัติการของเกตส์อาจมีปัญหาละเมิดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของ CP/M จึงได้ติดต่อกลับไปที่แกรี คิลดาลล์ และเพื่อแลกกับสัญญาว่าจะไม่ถูกคิลดาลล์ฟ้องกลับ ไอบีเอ็มได้ตกลงว่าจะขาย CP/M ควบคู่ไปกับ PC-DOS เมื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็มออกวางตลาด โดยตั้งราคาขาย CP/M ไว้ที่ 250 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ MS-DOS/PC-DOS มีราคาเพียง 40 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ MS-DOS/PC-DOS ขายดีกว่า CP/M หลายเท่า และกลายเป็นมาตรฐานในที่สุด ข้อตกลงเรื่องลิขสิทธิ์ระหว่างไมโครซอฟท์กับไอบีเอ็มเอง ไม่ได้สร้างรายได้มากมายเท่าไรนัก (ในสัญญาไม่ได้ระบุไว้ว่าจะต้องขายให้แก่ไอบีเอ็มเจ้าเดียว) แต่ในทางกลับกัน ไมโครซอฟท์มีสิทธิ์ในการขาย MS-DOS ให้กับผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์รายอื่นๆ และด้วยการโหมรุกทางการตลาดอย่างหนัก เพื่อขาย MS-DOS ให้ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็ม ไมโครซอฟท์มีวิสัยทัศน์ในวงการอุตสาหกรรมไมโครคอมพิวเตอร์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แม้จะต้องแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ในวงการอย่างไอบีเอ็มก็ตาม[13][14][15][16][17][18][19]หลังจากนั้น ไมโครซอฟท์ก็ได้รุกตลาดฮาร์ดแวร์ โดยการเปิดตัวไมโครซอฟท์ เมาส์ ในปี ค.ศ. 1983 และก่อตั้งไมโครซอฟท์ เพลส เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ให้กับผู้ใช้[12]", "title": "ไมโครซอฟท์" }, { "docid": "395548#7", "text": "สุดท้ายนี้เราจะสามารถเห็นได้ว่าเครื่องจะเล่นเกมที่เก่งกาจได้แค่ถึงจุดหนึ่งเท่านั้น มันจะยอมเสียเม็ดหรือหมากตัวอื่นๆเพื่อรอโอกาสที่จะรุกฆาตตามการคำนวณซึ่งข้อด้อยหลักเลยคือเครื่องจะไม่เรียนรู้ จากความผิดพลาดของตัวเอง วิธีเดียวที่จะทำให้การเล่นดีขึ้นคือการเขียนโปรแกรมที่พัฒนาตนเองได้ วิธีหนึ่งคือการเปลี่ยนค่าตามผลที่เครื่องเคยเล่นผ่านๆมา เพื่อที่จะได้เปอร์เซ็นต์การชนะที่มากที่สุด\nกลยุทธ์ที่ได้กล่าวมาข้างต้นไม่ได้ทำให้ความเป็นไปได้ที่ว่ามีกลยุทธ์อื่นๆที่ใช้ได้ดีกว่าในการลดเวลาการคำนวณของคอมพิวเตอร์ลงหายไป แม้ว่าจะรวมการปรับปรุงที่ว่าไปแล้วแต่คอมพิวเตอร์ก็ยังใช้การคำนวณอย่างเดียวมากเกินกว่าที่จะใช้การคิดวิเคราะห์ตำแหน่งแบบสมเหตุสมผล เครื่องจะเล่นเหมือนผู้เล่นใหม่ที่มีพลังในการคำนวณสูง รู้หลักบางอย่างแต่ไม่มีประสบการณ์ในการเล่น เซียนหมากรุกนั้นจะมีความรู้ถึงสถานการณ์มาตรฐานเป็นร้อยหรือพันหลัก ความเป็นไปได้ที่จำเก็บไว้ และเหตุการณ์พลิกแพลงที่เกิดขึ้นซ้ำๆในเกม เช่นการสละม้าที่ F7 หรือขุนที่ h7 การรุกมาตรฐานเช่น \"Philidor Legacy\" ในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเซียนหมากรุกจะจำความใกล้เคียงกับสถานะกรณีที่คุ้นเคยได้และจะทำให้มีโอกาสสำเร็จมากกว่านี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมโปรแกรมที่ใช้ตำแหน่งตามรูปแบบถึงใช้ไม่ได้จริง แม้ว่าจะมีการเขียนวิธีการเล่นในช่วงกลางของเกมไว้มากแต่ก็เขียนไว้เพื่อให้มนุษย์เข้าใจไม่ใช่ไว้ให้คอมพิวเตอร์ที่ใช้การคำนวณเป็นหลัก เพราะเราสามารถยกตัวอย่างสองสามอย่างประกอบทฤษฎีเพื่อให้คนเข้าใจและนำไปดัดแปลงใช้ได้แต่ไม่สามารถทำได้กับคอมพิวเตอร์ แต่ถ้าหากทำได้ก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโปรแกรมได้", "title": "จำนวนแชนนอน" }, { "docid": "5638#1", "text": "บริษัท Apple Computer Inc. ได้เกิดขึ้นจากการร่วมกันก่อตั้งของ สตีฟ จ็อบส์ และ สตีฟ วอซเนียก[5] ทำการปฏิวัติธุรกิจคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในยุค 70 โดยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ประดิษฐ์จากโรงรถออกมาขาย ในชื่อ Apple I[6][7] ที่ราคาจำหน่าย 666.66 เหรียญ[8][9][10][11][12] ในจำนวนและระยะเวลาจำกัด ภายในปีถัดมาก็ได้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำยอดจำหน่ายสูงสุดให้กับบริษัท ณ ขณะนั้นคือ แอปเปิล II ซึ่งเป็นการเปิดศักราชใหม่แห่งวงการไมโครคอมพิวเตอร์ และเป็นการสร้างมาตรฐานให้กับไมโครคอมพิวเตอร์ที่เกิดมาตามหลังทั้งหมด (อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาดังกล่าว ทางบริษัทจะมุ่งเน้นการขายระบบปฏิบัติการมากกว่าที่จะขายผลิตภัณฑ์ไมโครคอมพิวเตอร์ เนื่องจากประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จากบริษัท Intel และ IBM ทำงานได้ดีกว่า)", "title": "แอปเปิล (บริษัท)" }, { "docid": "3532#8", "text": "ในปี ค.ศ. 1642 แห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา มีการประดิษฐ์เครื่องคำนวณของปาสคาลซึ่งเป็นเครื่องคำนวณตัวเลขเชิงกล[13] เป็นอุปกรณ์ที่จะสามารถคำนวณโดยใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์โดยไม่ต้องพึ่งสติปัญญามนุษย์[14] เครื่องคำนวณเชิงกลนี้ยังถือเป็นรากฐานของการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในสองทาง แรกเริ่มนั้น ความพยายามที่จะพัฒนาเครื่องคำนวณที่มีสมรรถภาพสูงและยืดหยุ่น[15] ซึ่งทฤษฎีนี้ถูกสร้างโดยชาร์ลส แบบเบจ[16][17] และได้รับการพัฒนาในเวลาต่อมา[18] นำไปสู่การพัฒนาเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่) ขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 และในขณะเดียวกัน อินเทล ก็สามารถประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเป็นหัวใจสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์หากไม่คำนึงถึงขนาดและวัตถุประสงค์[19] ขึ้นได้โดยบังเอิญ[20] ระหว่างการพัฒนาเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ บิซิคอม ที่พัฒนาสืบต่อจากเครื่องคำนวณเชิงกลโดยตรง", "title": "คอมพิวเตอร์" }, { "docid": "3532#6", "text": "ประวัติของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่นั้นเริ่มต้นจากเทคโนโลยีสองชนิดที่แตกต่างกัน ได้แก่ การคำนวณโดยอัตโนมัติ กับการคำนวณที่สามารถโปรแกรมได้ (หมายถึงสร้างวิธีการทำงานและปรับแต่งได้) แต่ระบุแน่ชัดไม่ได้ว่าเทคโนโลยีชนิดใดเกิดขึ้นก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการคำนวณแต่ละชนิดนั้นไม่มีความสอดคล้องกัน อุปกรณ์บางชนิดก็มีความสำคัญที่จะเอ่ยถึง อย่างเช่นเครื่องมือเชิงกลเพื่อการคำนวณบางชนิดที่ประสบความสำเร็จและยังใช้กันอยู่หลายศตวรรษก่อนที่จะมีเครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์ อาทิลูกคิดของชาวสุเมเรียนที่ถูกออกแบบขึ้นราว 2,500 ปีก่อนคริสตกาล[6] ชนะการแข่งขันความเร็วในการคำนวณต่อเครื่องคำนวณตั้งโต๊ะเมื่อ ค.ศ. 1946 ที่ประเทศญี่ปุ่น[7] ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1620 มีการประดิษฐ์สไลด์รูล ซึ่งถูกนำขึ้นยานอวกาศในภารกิจของโครงการอะพอลโลถึง 5 ครั้ง รวมถึงเมื่อครั้งที่สำรวจดวงจันทร์ด้วย[8] นอกจากนี้ยังมี เครื่องทำนายตำแหน่งดาวฤกษ์ (Astrolabe) และ กลไกอันติคือเธรา ซึ่งเป็นเครื่องคำนวณ (คอมพิวเตอร์) เกี่ยวกับดาราศาสตร์ยุคโบราณที่ชาวกรีกเป็นผู้สร้างขึ้นราว 80 ปีก่อนคริสตกาล[9] ที่มาของระบบการสั่งการโปรแกรมเกิดขึ้นเมื่อ ฮีโรแห่งอเล็กซานเดรีย (c.10-70 AD) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกสร้างโรงละครที่ประกอบด้วยเครื่องจักร ใช้แสดงละครความยาว 10 นาที และทำงานโดยมีกลไกเชือกและอิฐบล็อกทรงกระบอกที่ซับซ้อน ซึ่งสามารถตัดสินใจเลือกได้ว่าจะชิ้นส่วนกลไกใดใช้ในการแสดงฉากใดและเมื่อใด[10]", "title": "คอมพิวเตอร์" }, { "docid": "33589#0", "text": "เว็บเซอร์วิซ ( \"บริการบนเว็บ\") คือระบบซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมา เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่าย โดยที่ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ คือเอกซ์เอ็มแอล เว็บเซอร์วิซมีอินเทอร์เฟส ที่ใช้อธิบายรูปแบบข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผลได้ เช่น WSDL ระบบคอมพิวเตอร์ใช้งานสื่อสารโต้ตอบกับเว็บเซอร์วิซตามรูปแบบที่ได้กำหนดไว้แล้ว โดยการส่งสาสน์ตามอินเตอร์เฟสของเว็บเซอร์วิซนั้น โดยที่สาสน์ดังกล่าวอาจแนบไว้ในซอง SOAP ()หรือส่งตามอินเตอร์เฟสในแนวทางของ REST สาสน์เหล่านี้ปกติแล้วถูกส่งโดยอาศัย HTTP และใช้ XML ร่วมกับมาตรฐานเกี่ยวกับเว็บอื่นๆ โปรแกรมประยุกต์ที่เขียนโดยภาษาต่างๆ และทำงานบนแพลตฟอร์มต่างๆกันสามารถใช้เว็บเซอร์วิซเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ในลักษณะเดียวกับการสื่อสารระหว่างโปรเซส (Inter-process communication) บนเครื่องเดียวกัน ความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบที่ต่างกันนี้ (เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง โปรแกรมที่เขียนโดยภาษาจาวา และโปรแกรมที่เขียนโดยภาษาไพทอน หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนไมโครซอฟท์วินโดวส์และโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนลินุกซ์) เกิดขึ้นได้เนื่องจากการใช้มาตรฐานเปิด โดย OASIS และ W3C เป็นคณะกรรมการหลักในการรับผิดชอบมาตรฐานและสถาปัตยกรรมของเว็บเซอร์วิซ ", "title": "เว็บเซอร์วิซ" }, { "docid": "14092#0", "text": "คอมพิวเตอร์คูลลิง (computer cooling) หรือ ระบบความเย็น คือ ระบบที่ช่วยในการระบายความร้อนให้แก่อุปกรณ์ที่เมื่อทำงานแล้วทำให้เกิดความร้อนขึ้นในตัว ซึ่งเป็นการช่วยรักษาอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ไม่ให้เกิดความร้อนสูงเกินกว่าที่อุปกรณ์นั้นจะสามารถทนได้ เมื่อคอมพิวเตอร์มีการทำงานหรือทำการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ หน่วยประมวลผลกลางจะทำงานและทำให้เกิดความร้อนขึ้น ถ้าหากไม่มีการระบายความร้อนออกจากตัวซีพียู จะทำให้เกิดการโอเวอร์ฮีต หรือ อาจทำให้ซีพียูไหม้ ได้ ดังนั้นระบบระบายความร้อน จึงมีความสำคัญต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบความเย็นของเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีประกอบไปด้วย ระบบความเย็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบความเย็นของแหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ ระบบความเย็นของซีพียู", "title": "คอมพิวเตอร์คูลลิง" } ]
847
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี สมรสกับใคร?
[ { "docid": "38039#0", "text": "สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี หรือที่ชาวบ้านเรียกพระนามว่า \"สมเด็จพระนางเรือล่ม\" (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423) มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์” เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา ประสูติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 เป็นพระเจ้าลูกเธอรุ่นเล็ก ลำดับที่ 50 ในจำนวนทั้งหมด 82 พระองค์ โดยรับราชการฝ่ายในเป็นพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยพระขนิษฐาร่วมพระโสทรทั้ง 2 พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) และ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)", "title": "สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี" } ]
[ { "docid": "38039#2", "text": "สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี เป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 50 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และลำดับที่ 3 ในสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา พระราชสมภพในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันเสาร์ เดือน 12 แรม 12 ค่ำ ปีวอก เวลา 5 โมงเช้า 40 นาที ซึ่งตรงกับวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 โดยได้รับพระราชทานพระนามจากสมเด็จพระราชบิดาว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระราชหัตเลขามีดังนี้", "title": "สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี" } ]
95
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เกิดที่ไหน?
[ { "docid": "4284#3", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นพระโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลแบร์ก สาธารณรัฐไวมาร์ (ปัจจุบันคือประเทศเยอรมนี) ขณะที่สมเด็จพระราชชนกทรงศึกษาการแพทย์ที่ประเทศเยอรมนี โดยได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า หม่อมเจ้าอานันทมหิดล มหิดล หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล [3][4] โดยสมเด็จพระราชชนนีทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า นันท [5] พระองค์ทรงมีสมเด็จพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระอนุชา 1 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" } ]
[ { "docid": "4284#18", "text": "หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ในโอกาสมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เป็นพระปรมาภิไธยอันวิเศษตามแบบแผนโบราณราชประเพณีว่า", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#42", "text": "มูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "635475#2", "text": "ต่อมาได้เข้ารับราชการในตำแหน่งต่างๆ เช่น ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ราชเลขาธิการในพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ", "title": "หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล" }, { "docid": "4284#21", "text": "ในปี พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ให้สำนักพระราชวังจัดสร้างพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลขึ้น ซึ่งเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) สมุหพระราชวัง ได้ปรับปรุงพระราชลัญจกรรูปพระโพธิสัตว์สวนดุสิต ที่เคยใช้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาใช้เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ โดยการสร้างพระราชลัญจกรนั้น ใช้แนวคิดจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ \"อานันทมหิดล\" ซึ่งหมายถึง เป็นที่ยินดีแก่แผ่นดิน ดังนั้น จึงได้ใช้รูปพระโพธิสัตว์ ซึ่งมีหมายความเดียวกันว่า เป็นความยินดีและเป็นเดชยิ่งในพื้นพิภพ มาเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#34", "text": "โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่งแสนบาท สร้างอาคารเรียน 2 ชั้น 1 หลัง หอประชุม 1 หลังพร้อมบ้านพักครูอีก 20 หลัง และในวันที่ 19 กรกฎาคม 2519 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์เสด็จมาเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 8", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#17", "text": "การเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทำให้เกิดปัญหาในการเรียกขานพระนาม เนื่องจากพระองค์ยังไม่ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี แต่ต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลว่ายังพอจะสนองพระเดชพระคุณให้สมพระเกียรติได้ ด้วยการเฉลิมพระปรมาภิไธยและถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์บางองค์ เช่น นพปฎลมหาเศวตฉัตร ซึ่งใช้กางกั้นพระบรมศพและพระบรมอัฐิ ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2489 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจึงประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย[1]", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "627576#3", "text": "สมเด็จกรมพระนโรดม สุทธารส สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2488 ตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ครั้งแรก) ในราชอาณาจักรกัมพูชา และตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ในราชอาณาจักรไทย", "title": "สมเด็จกรมพระนโรดม สุทธารส" }, { "docid": "4284#51", "text": "พงศาวลีของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร 16. (=20) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย8. (=10) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว17. (=21) สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี4. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว18. สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์9. สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี19. หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา2. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก20. (=16) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย10. (=8) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว21. (=17) สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี5. สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า22. หลวงอาสาสำแดง (แตง สุจริตกุล)11. สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา23. ท้าวสุจริตธำรง (นาค สุจริตกุล)1. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร12. ชุ่ม ชูกระมล6. ชู ชูกระมล13.3. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี14.7. คำ ชูกระมล15. ผา", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#52", "text": "รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ราชสกุลวงศ์ในราชวงศ์จักรี วันอานันทมหิดล.", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#44", "text": "อาคาร \"อปร\" และอาคารอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#40", "text": "สวนหลวงพระราม 8 เป็นสวนสาธารณะเนื้อที่ประมาณ 35 ไร่ ติดแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเชิงสะพานพระราม 8 เขตบางพลัด ฝั่งธนบุรี ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชว่า \"สวนหลวงพระราม 8\" ณ สวนแห่งนี้ มีพระบรมราชานุสาวรีย์ที่ทางกรุงเทพมหานคร สร้างร่วมกับกรมศิลปากร ความสูงขนาด 3 เท่าของพระองค์จริง คือ ประมาณ 5.4 เมตร พระอิริยาบถทรงยืน ประดิษฐานบนแท่นที่ความสูงระดับเดียวกันกับราวสะพานพระราม 8 เพื่อเป็นสิริมงคลแก่สวนแห่งนี้ด้วย นอกจากนั้น บริเวณอาคารเฉลิมพระเกียรติข้างใต้พระบรมราชานุสาวรีย์ยังจัดให้มีห้องรวบรวมพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจขององค์รัชกาลที่ 8 เพื่อให้ประชาชนที่สนใจพระราชประวัติเข้าไปทรงศึกษาค้นคว้าเรื่องราว[28] พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และสวนหลวงพระราม 8 อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555[29]", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#30", "text": "วัดสุทัศนเทพวรารามถือเป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ ดังนั้น จึงมีการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น ณ บริเวณลานประทักษิณ ชั้นล่างมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พระวิหารหลวง พระบรมรูปหล่อด้วยสำริด ขนาดเท่าพระองค์จริง ทรงฉลองพระองค์ชุดจอมทัพ ประทับยืน ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อนยกพื้นสูง มีแผ่นทองเหลืองจารึกเกี่ยวกับกำหนดการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ เบื้องหลังเป็นแผ่นหินอ่อนวงโค้ง ประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ \"อปร\" ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ[25]", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (20 กันยายน พ.ศ. 2468 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (ภายหลังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาลย์ (ภายหลังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (ภายหลังทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช)", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#28", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลได้ทรงปฏิบัติพระราชกิจสำคัญน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงมีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เช่น", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#41", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองทุนอานันทมหิดลขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2498 เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระองค์มีพระราชดำริที่จะพระราชทานทุนให้นักทรงศึกษาผู้มีความสามารถยอดเยี่ยม ไปทรงศึกษาต่อให้ถึงระดับความรู้ชั้นสูงสุดยังประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาประเทศชาติและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ หลังจากนั้น ได้จัดตั้งขึ้นเป็น มูลนิธิอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2502 เดิมทุนนี้จะพระราชทานให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ แต่เมื่อความต้องการผู้เชี่ยวชาญในสาขาอื่น ๆ มีเพิ่มมากขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนในสาขาอื่น ๆ ปัจจุบัน การพระราชทานทุนนั้นสามารถแบ่งออกเป็นแผนกต่าง ๆ ได้ ดังนี้ แผนกแพทยศาสตร์ แผนกวิทยาศาสตร์ แผนกวิศวกรรมศาสตร์ แผนกเกษตรศาสตร์ แผนกธรรมศาสตร์ แผนกอักษรศาสตร์ แผนกทันตแพทยศาสตร์ และแผนกสัตวแพทยศาสตร์ [6]", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "9687#2", "text": "ภายในวัดสุทัศน์เทพวรารามเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และได้อัญเชิญ พระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ มาบรรจุที่ผ้าทิพย์ด้านหน้าพุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนีเมื่อ พ.ศ. 2493 และมีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรในวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี", "title": "วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร" }, { "docid": "4284#20", "text": "นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขานพระปรมาภิไธยอย่างมัธยมว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร และอย่างสังเขปว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#32", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษา ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2475 เลขประจำพระองค์ 2329 หลังจากนั้นอีกเพียง 2 ปี พระองค์เจ้าอานันทมหิดลก็ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ครองสิริราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงมีความผูกพันกับโรงเรียนเทพศิรินทร์มาโดยตลอด มีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่ โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมาคมนักเรียนเก่าฯ ตลอดจนมวลหมู่ลูกแม่รำเพยทุกคน ซึ่ง พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ มีขนาดเท่าพระองค์จริง ทรงฉลองพระองค์ชุดจอมทัพ ประทับยืน เช่นเดียวกับ พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ ด้วยพระองค์เอง", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#36", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้างโรงพยาบาลในจังหวัดลพบุรี และพระราชทานนามโรงพยาบาลแห่งนี้ว่า โรงพยาบาลอานันทมหิดล[26] หลังจากการสร้างแล้วเสร็จ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดโรงพยาบาลแห่งนี้เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2481 ดังนั้น คณะกรรมการโรงพยาบาลจึงได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ประดิษฐาน ณ หน้าตึกอำนวยการของโรงพยาบาล", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#19", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดม จักรีบรมราชวงศนิวิฐ ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิหารรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรศรามาธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร [20]", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#35", "text": "พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงพยาบาลอานันทมหิดล", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#33", "text": "พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#15", "text": "วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินอัญเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ไปยังวัดสุทัศน์เทพวราราม และอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารบรรจุลงในหีบ พร้อมทั้งเคลื่อนหีบพระบรมราชสรีรางคารเข้าสู่พระพุทธบัลลังก์ พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารหลวง วัดสุทัศน์เทพวราราม[19]", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "66489#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สวรรคตเพราะต้องพระแสงปืนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะเทือนต่อการเมืองไทยอย่างรุนแรง และนำไปสู่การเถลิงถวัลยราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และการลดบทบาททางการเมืองของปรีดี พนมยงค์ ภายหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2490 โดยกลุ่มจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทุกวันนี้กรณีดังกล่าวยังคงมีการถกเถียงกันอยู่และได้รับความสนใจในหมู่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ แต่ไม่เป็นประเด็นสาธารณะเพราะกรณีดังกล่าวพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยโดยตรง", "title": "การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล" }, { "docid": "4284#31", "text": "พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#48", "text": "หม่อมเจ้าอานันทมหิดล มหิดล (20 กันยายน พ.ศ. 2468 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2477) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล (2 มีนาคม พ.ศ. 2477 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2477) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (25 มีนาคม พ.ศ. 2477 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2489) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย (11 สิงหาคม พ.ศ. 2489 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (8 มิถุนายน พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2559)", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#45", "text": "สืบเนื่องจากความไม่เพียงพอของแพทย์ รัฐบาลจึงมีนโยบายให้คณะแพทยศาสตร์ทุกแห่งผลิตแพทย์เพิ่ม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างตึกใหม่ เพื่อรองรับจำนวนนิสิตแพทย์ที่เพิ่มขึ้นอีกกว่า 90 คนต่อปี โดยได้รับอนุมัติงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2536 และในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญอักษรพระปรมาภิไธย \"อปร\" มาเป็นชื่ออาคาร เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ซึ่งได้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2539 พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญอักษรพระปรมาภิไธย \"อปร\" เป็นชื่ออาคาร เมื่อดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเมื่อวันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2546 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของรัชกาลที่ 8 อาคารดังกล่าวเป็นย่อมุม 8 มุม สูง 19 ชั้น บนยอดอาคารประดับอักษรพระปรมาภิไธย \"อปร\" ตั้งอยู่ริมถนนราชดำริ[31] นอกจากนี้ ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ยังมีอาคารอานันทมหิดลอีกด้วย", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#47", "text": "ในวันอานันทมหิดล มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย พิธีถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์, พิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ณ อาคารวชิรญาณวงศ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, การจัดทำเข็มกลัดที่ระลึก, การจัดการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการชีววิทยาและวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชิงโล่พระราชทาน, การจัดงานเสวนาเนื่องสัปดาห์วันอานันทมหิดล และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์อื่น ๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#43", "text": "สืบเนื่องจากการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมสรีรางคารของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นประจำ จึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อเป็นทุนสำหรับบูรณปฏิสังขรณ์วัด และส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์และสามเณรคณะกรรมการจึงได้จัดตั้งเป็น มูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2518 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร[16][30]", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" } ]
1852
ซัมเมอร์สแลม (2012) จัดขึ้นที่สถานที่ใด?
[ { "docid": "438447#0", "text": "ซัมเมอร์สแลม (2012) (English: SummerSlam (2012)) เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิว มวยปล้ำอาชีพของ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี ที่จัดหลังศึกใหญ่ มันนี่อินเดอะแบงค์ (2012) จัดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 2012 ณ สนาม สเตเปิลส์เซ็นเตอร์ ในเมือง ลอสแอนเจลิส, รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา[1] โดยแสดงนักมวยปล้ำจาก รอว์ และ สแมคดาวน์ โดยจัดเป็นครั้งที่ 25 ของศึกซัมเมอร์สแลม", "title": "ซัมเมอร์สแลม (2012)" } ]
[ { "docid": "686303#1", "text": "ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 30 บร็อก เลสเนอร์ ได้เอาชนะ ดิอันเดอร์เทเกอร์ และหยุดสถิติไร้พ่ายของอันเดอร์เทเกอร์ในที่สุด ในซัมเมอร์สแลม (2014) เลสเนอร์ได้เอาชนะ จอห์น ซีนา และได้แชมป์ WWE World Heavyweight Championship ก่อนจะเสียแชมป์ให้กับ เซท โรลลินส์ ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 31 โดยใช้กระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์ เลสเนอร์ได้ขอสิทธิ์รีแมตช์ชิงแชมป์กับโรลลินส์ในแบทเทิลกราวด์ (2015) แต่ระหว่างแมตช์นั้น อันเดอร์เทเกอร์ ได้มาล้างแค้นเลสเนอร์ ทำให้ไม่ได้แชมป์ ในรอว์ วันที่ 20 กรกฎาคม ลิเลียน การ์เซีย ประกาศว่า เลสเนอร์ เป็นผู้ชนะ โดยการทำฟาล์ว คืนเดียวกันได้มีการประกาศว่า อันเดอร์เทเกอร์ จะเจอกับ เลสเนอร์ ในซัมเมอร์สแลม โดยครั้งนี้เป็นการปล้ำในศึกซัมเมอร์สแลมครั้งแรกของอันเดอร์เทเกอร์ ตั้งแต่ปี 2008 และเป็นการปล้ำ เพย์-เพอร์-วิว ครั้งแรก นอกจากเรสเซิลเมเนีย ตั้งแต่ แบรกกิ้ง ไรท์ส (2010)", "title": "ซัมเมอร์สแลม (2015)" }, { "docid": "219516#29", "text": "ในรอว์ ตอนที่ 1,000 วินซ์ แม็กแมน ประธานของ WWE ออกมาเปิดรายการ และได้เชิญกลุ่มดี-เจเนอเรชันเอ็กซ์ออกมา โดยมีทริปเปิลเอชกับชอว์น และตามด้วย โรด ด็อก, เอกซ์-แพก และบิลลี่ กัน ขับรถจี๊ปทหารตามออกมา ดี-เอกซ์ ออกมาพูดกันอยู่นานแดเมียน แซนดาวก็ออกมาขัดจังหวะ ชอว์นเลยจัดการใส่ Sweet Chin Music ต่อด้วย Pedigree ของทริปเปิลเอช ในรอว์ 6 สิงหาคม ชอว์นออกมาทักทายแฟนๆ ที่บ้านเกิด(แซนแอนโทนีโอ) จากนั้นก็พูดถึงการปะทะกันของทริปเปิลเอชกับบร็อก เลสเนอร์ ที่จะเจอกันในซัมเมอร์สแลม (2012) แต่เลสเนอร์ออกมาพร้อมกับ พอล เฮย์แมน เพื่อมาเถียงกับชอว์น จากนั้นทริปเปิล เอชก็ตามออกมา ทำให้เลสเนอร์ต้องหนีไป แต่ก่อนจาก เลสเนอร์ได้บอกว่าเอาไว้เจอกันในศึก ซัมเมอร์สแลม ส่วนชอว์นนั้นเราจะได้เจอกันก่อนหน้านั้น ในรอว์ต่อมา ชอว์นกับทริปเปิลเอชออกมาเพื่อเซ็นสัญญาปล้ำกับเลสเนอร์ ในซัมเมอร์สแลม แล้วเลสเนอร์กับเฮย์แมน ก็กลับไปหลังจากที่เซ็นกันเสร็จเรียบร้อย ชอว์นจะขับรถกลับบ้าน แต่โดนเฮย์แมน ขับรถมาขวางเอาไว้ แล้วเลสเนอร์ก็มาลากชอว์นลงจากรถแล้วก็อัดซะเละ เลสเนอร์แบกชอว์นกลับมาที่เวที แล้วก็จัดการด้วย F-5 ต่อด้วย คิมุระล็อก ทริปเปิล เอชวิ่งออกมาช่วย แต่เฮย์แมนสั่งห้าม ทริปเปิล เอชเข้ามาใกล้ ไม่อย่างนั้น เลสเนอร์จะหักแขนชอว์นซะ ทริปเปิล เอชไม่กล้าเข้าไปใกล้ แต่เลสเนอร์ก็หักแขนชอว์นอยู่ดี ทริปเปิล เอชรีบวิ่งเข้าไปช่วย แต่เลสเนอร์กับเฮย์แมน ก็วิ่งหนีไปอย่างรวดเร็ว ชอว์นดิ้นอยู่บนเวที ทริปเปิล เอชพยายามเข้าไปขอโทษแต่ ชอว์นก็ไล่ทริปเปิลเอชให้ไปไกลๆ ในซัมเมอร์สแลม ทริปเปิลเอชแพ้ให้กับเลสเนอร์ ในรอว์ 1 เมษายน 2013 ชอว์นออกมาเพื่อพูดให้กำลังใจ ทริปเปิล เอช ในการเดิมพันอาชีพการปล้ำของทริปเปิลเอช ในการเจอกับเลสเนอร์ ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29 ในแมตช์ไม่มีกฏกติกา เลสเนอร์ กับ พอล เฮย์แมน ออกมาท้าทายทริปเปิลเอช และบอกว่าการที่ทริปเปิลเอชจะมาสู้กับเลสเนอร์ นั้นเป็นการฆ่าตัวตายชัดๆ และในเรสเซิลเมเนีย ทริปเปิลเอชก็ล้างแค้นเอาชนะไปได้สำเร็จ", "title": "ชอว์น ไมเคิลส์" }, { "docid": "372516#0", "text": "ซัมเมอร์สแลม (2011) เป็นรายการ เพย์-เพอร์-วิว ของ WWE ในปี 2011 ซึ่งจัดเป็นปีที่ 24 แล้ว สถานที่จัดคือ Staples Center ใน Los Angeles, California เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 2011 ซึ่งจัดเป็นปีที่ 3 แล้วติดต่อกัน หลังจากศึก มันนีอินเดอะแบงก์ (2011) ซึ่งซัมเมอร์สแลมก็ได้มีการโปรโมทแล้วหลายครั้งในช่วงของ เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27", "title": "ซัมเมอร์สแลม (2011)" }, { "docid": "218070#0", "text": "ซัมเมอร์สแลม (SummerSlam) เป็นศึกมวยปล้ำ ของ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี โดยจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม ซัมเมอร์สแลมกำเนิดขึ้นเป็นรายการ เพย์-เพอร์-วิว รายการที่ 3 ของ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี โดยจักขึ้นครั้งแรกในปี 1988 จึงถูกเรียกให้เป็น 1 ใน Big Four ของ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี ซึ่ง Big Four นั้นประกอบไปด้วย รอยัลรัมเบิล, เรสเซิลมาเนีย, ซัมเมอร์สแลม และ เซอร์ไวเวอร์ ซีรีส์", "title": "ซัมเมอร์สแลม" }, { "docid": "333495#0", "text": "ซัมเมอร์สแลม (2010) เป็นรายการ เพย์-เพอร์-วิว ของ WWE ในปี 2010 ซึ่งจัดเป็นปีที่ 23 แล้ว สถานที่จัดคือ Staples Center ใน Los Angeles, California เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2010 ซึ่งเคยมาจัดเมื่อปีที่แล้ว", "title": "ซัมเมอร์สแลม (2010)" }, { "docid": "404168#7", "text": "ในศึก โนเวย์เอาท์ (2012) ทริปเปิล เอช ออกมาพูดถึงเลสเนอร์ ว่าจะเสียเวลายื่นฟ้อง WWE ไปทำไมมาสู้กันเลยดีกว่า ในศึก ซัมเมอร์สแลม (2012) ในศึก รอว์ ตอนที่ 1,000 (23 กรกฎาคม 2012) ทริปเปิล เอช ออกมาเพื่อมาเจรจากับเลสเนอร์ แต่เป็น พอล เฮย์แมน ออกมาเพื่อบอกปฏิเสธแมตช์ในศึก ซัมเมอร์สแลม สเตฟานี แม็กแมน ออกมาเยาะเย้ยถากถางเฮย์แมน ทำให้เฮย์แมนโมโห บอกจะให้เลสเนอร์ มาทำลายทริปเปิล เอช ให้สิ้นซาก ในซัมเมอร์สแลม สเตฟานีคร่อมต่อยเฮย์แมนไม่ยั้งแล้วเลสเนอร์ ก็ออกมาเล่นงานอัด ทริปเปิล เอช แต่ ทริปเปิล เอช ต่อยสู้ แล้วก็อัดเลสเนอร์ ตกเวทีไป ในรอว์ (13 สิงหาคม 2012) เลสเนอร์ กับ เฮย์แมน ออกมาที่เวทีเพื่อมาเซ็นสัญญาปล้ำกับ ทริปเปิล เอช ในซัมเมอร์สแลม ชอว์น ไมเคิลส์ กับ ทริปเปิล เอช ก็ออกมาเซ็นสัญญา แล้วเลสเนอร์ กับเฮย์แมน ก็กลับไปหลังจากที่เซ็นกันเสร็จเรียบร้อย ชอว์นจะขับรถกลับบ้าน แต่โดนเฮย์แมนขับรถมาขวางเอาไว้ แล้วเลสเนอร์ ก็มาลากชอว์น ลงจากรถแล้วก็อัดซะเละ เลสเนอร์ แบกชอว์น กลับมาที่เวที แล้วก็จัดการด้วย F-5 ต่อด้วย คิมุระล็อก ทริปเปิล เอช วิ่งออกมาช่วย แต่เฮย์แมนสั่งห้าม ทริปเปิล เอช เข้ามาใกล้ ไม่อย่างนั้นเลสเนอร์ จะหักแขนชอว์น ทริปเปิล เอช ไม่กล้าเข้าไปใกล้ แต่เลสเนอร์ ก็หักแขนชอว์นอยู่ดี ทริปเปิล เอช รีบวิ่งเข้าไปช่วย แต่เลสเนอร์ กับเฮย์แมน ก็วิ่งหนีไปอย่างรวดเร็ว ในซัมเมอร์สแลม เลสเนอร์ ก็เป็นฝ่ายเอาชนะ ทริปเปิล เอช ไปได้สำเร็จ", "title": "บร็อก เลสเนอร์" }, { "docid": "686303#0", "text": "ซัมเมอร์สแลม (2015) () เป็นการแสดงมวยปล้ำอาชีพแบบ เพย์-เพอร์-วิว (PPV) ของ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 28 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2015 ณ สนาม บาร์เคลส์เซ็นเตอร์ ในเมืองบรุกลิน, นครนิวยอร์ก, รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา นับว่าเป็นครั้งแรกที่ซัมเมอร์สแลม ย้ายออกมาจาก ลอสแอนเจลิส หลังจากปักหลักจัดขึ้นที่ ณ สนาม สเตเปิลส์เซ็นเตอร์ มาโดยตลอดเป็นเวลา 6 ปีติดต่อกัน", "title": "ซัมเมอร์สแลม (2015)" }, { "docid": "552197#0", "text": "ซัมเมอร์สแลม (1992) () เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิว มวยปล้ำอาชีพของเวิลด์ไวด์เรสต์ลิงเฟดดิเรชั่น ที่จัดหลังศึกใหญ่ เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 8 จัดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1992 ณ สนาม เวมบ์ลี้ สแทดซึม ในเมืองลอนดอน, ประเทศอังกฤษ", "title": "ซัมเมอร์สแลม (1992)" }, { "docid": "332472#15", "text": "ในศึก รอว์ 1,000 (23 กรกฎาคม 2012) วินซ์ แม็กแมน ออกมาแนะนำ ดี-เจเนอเรชันเอ็กซ์ ทริปเปิล เอช ออกมาพร้อมกับ ชอว์น ไมเคิลส์ และตามด้วย โรด ด็อก, บิลลี่ กัน และ เอกซ์-แพ็ค ขับรถจี๊ปทหารตามออกมา ดี-เจเนอเรชันเอ็กซ์ เล่นตลกคาเฟ่กันอยู่นาน ทำให้ แดเมียน แซนดาว ออกมาขัดจังหวะ ชอว์น เลยจัดการ Sweet Chin Music ต่อด้วย Pedigree ของ ทริปเปิล เอช คืนเดียวกัน ทริปเปิล เอช ออกมาอีกครั้งเพื่อมาเจรจากับเลสเนอร์ แต่เป็น พอล เฮย์แมน ออกมาเพื่อบอกปฏิเสธแมตช์ในซัมเมอร์สแลม สเตฟานี ออกมาเยาะเย้ยถากถาง เฮย์แมน ทำให้ เฮย์แมน โมโห บอกจะให้เลสเนอร์ มาทำลาย ทริปเปิล เอช ให้สิ้นซาก ในซัมเมอร์สแลม สเตฟานี คร่อมต่อยเฮย์แมน ไม่ยั้งแล้ว เลสเนอร์ ก็ออกมา สเตฟานีหนีลงเวทีไป แต่ ทริปเปิล เอช ก็โดนเลสเนอร์ อัด ทริปเปิล เอช ต่อยสู้ แล้วก็อัดเลสเนอร์ ตกเวทีไป[43] ในรอว์ (13 สิงหาคม 2012) ทริปเปิล เอช กับ ชอว์น ไมเคิลส์ ออกมาเพื่อเซ็นสัญญาปล้ำกับเลสเนอร์ ในซัมเมอร์สแลม แล้ว เลสเนอร์ กับเฮย์แมน ก็กลับไปหลังจากที่เซ็นกันเสร็จเรียบร้อย ชอว์น จะขับรถกลับบ้าน แต่โดน เฮย์แมนขับรถมาขวางเอาไว้ แล้วเลสเนอร์ ก็มาลากชอว์นลงจากรถแล้วก็อัดซะเละ เลสเนอร์ แบกชอว์น กลับมาที่เวที แล้วก็จัดการด้วย F-5 ต่อด้วย คิมุระล็อก ทริปเปิล เอช วิ่งออกมาช่วย แต่ เฮย์แมน สั่งห้าม ทริปเปิล เอช เข้ามาใกล้ ไม่อย่างนั้น เลสเนอร์ จะหักแขนชอว์น ทริปเปิล เอช ไม่กล้าเข้าไปใกล้ แต่ เลสเนอร์ ก็หักแขนชอว์น อยู่ดี ทริปเปิล เอช รีบวิ่งเข้าไปช่วย แต่ เลสเนอร์ กับเฮย์แมน ก็วิ่งหนีไปอย่างรวดเร็ว ชอว์นดิ้นอยู่บนเวที ทริปเปิล เอช พยายามเข้าไปขอโทษ แต่ชอว์นก็ไล่ ทริปเปิล เอช ให้ไปไกลๆ[44] ในซัมเมอร์สแลม ทริปเปิล เอช ก็เป็นฝ่ายแพ้ให้กับเลสเนอร์[45][46]", "title": "ทริปเปิลเอช" }, { "docid": "552218#0", "text": "ซัมเมอร์สแลม (1996) () เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิว มวยปล้ำอาชีพของเวิลด์ไวด์เรสต์ลิงเฟดดิเรชั่น ที่จัดหลังศึกใหญ่ จัดเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1996 ณ สนาม กันด์อารีนา ในเมืองคลีฟแลนด์, รัฐโอไฮโอ", "title": "ซัมเมอร์สแลม (1996)" }, { "docid": "552183#0", "text": "ซัมเมอร์สแลม (1990) () เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิว มวยปล้ำอาชีพของเวิลด์ไวด์เรสต์ลิงเฟดดิเรชั่น ที่จัดหลังศึกใหญ่ เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 6 จัดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1990 ณ สนาม The Spectrum ในเมืองฟิลาเดลเฟีย, รัฐเพนซิลเวเนีย ,สหรัฐอเมริกา", "title": "ซัมเมอร์สแลม (1990)" }, { "docid": "438447#6", "text": "ในศึกสแมคดาวน์ (27 กรกฎาคม 2012) อัลเบร์โต เดล รีโอ ได้เอาชนะ แดเนียล ไบรอัน, เรย์ มิสเตริโอ และ เคน ทำให้ เดล รีโอ ได้เป็นผู้ท้าชิงอันดับ 1 ในการชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท กับ เชมัส ในศึก ซัมเมอร์สแลม (2012) ในศึกรอว์ (6 สิงหาคม 2012) เดล รีโอ จะต้องเจอกับ คริสเตียน สุดท้าย เดล รีโอ ก็เป็นฝ่ายเอาชนะ คริสเตียน มาได้สำเร็จ หลังแมตช์ เชมัส ได้มาขโมยรถเฟอร์รารีของเดล รีโอ ไปขับเล่น และเอารถกลับมาจอดในสภาพเละเทะไปทั้งคัน ในศึกสแมคดาวน์ (10 สิงหาคม 2012) บูเกอร์ ที ผู้จัดการทั่วไปของ สแมคดาวน์ ออกมาพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ก่อน ที่ เชมัส ขโมยรถของเดล รีโอ ไปขับจนเละเทะไปทั้งคัน จึงขอสั่งให้ เชมัส ออกมาขอโทษต่อแฟนๆ และขอโทษเดล รีโอ ด้วย เชมัส ก็ออกมาขอโทษต่อ บูเกอร์ ที ขอโทษแฟนๆ และขอโทษเดล รีโอ แต่เดล รีโอออกมาบอกว่าแค่นี้มันไม่จบหรอกนะ เพราะชั้นได้ไปแจ้งความไว้กับ สน.แซนแอนโทนีโอ เรียบร้อยแล้ว บูเกอร์ ที รีบบอกว่าถ้า เชมัส ถูกดำเนินคดี เขาก็จะขึ้นป้องกันแชมป์ในซัมเมอร์สแลม ไม่ได้ เชมัส รีบเสนอว่างั้นมาชิงแชมป์กันคืนนี้เลยเป็นไงล่ะ เดล รีโอ ก็ตอบตกลง คืนเดียวกัน เดล รีโอ ได้ชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท เชมัส แต่ตำรวจออกมาจับ เชมัส ซะก่อน ความจริงแล้วเป็นตำรวจที่เดล รีโอ จ่ายเงินให้มาเล่นงาน เชมัส ทำให้ เชมัส ถูกรุมอัดซะน่วม เดล รีโอ จับ เชมัส ใส่ Cross ArmBreaker จนร้องลั่น", "title": "ซัมเมอร์สแลม (2012)" }, { "docid": "262132#0", "text": "ซัมเมอร์สแลม ปี 2009 เป็นรายการ เพย์-เพอร์-วิว ของ WWE ในปี 2009 สถานที่จัดคือ Staples Center ใน Los Angeles, California เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552 โดยเป็นการปล้ำทั้ง 3 ค่าย ได้แก่ รอว์ สแมคดาวน์ และ อีซีดับเบิลยู โดยมีแมทช์การปล้ำ 8 แมทช์", "title": "ซัมเมอร์สแลม (2009)" }, { "docid": "552982#4", "text": "ในศึกรอว์ (12 สิงหาคม 2013) แมดด็อกซ์ออกมาและอธิบายว่าเขานับเร็วไปหน่อยเพราะเขาตื่นเต้นหลังจากที่ไม่ได้เป็นกรรมการมานานแล้ว เขาไม่ได้ตั้งใจ และอยากจะขอโอกาสแก้ตัวอีกครั้งด้วยการเป็นกรรมการในแมตช์ซีนา กับไบรอัน ในซัมเมอร์สแลม คนดูโห่ทั้งสนาม แต่วินซ์ แม็กแมนยังประกาศให้แมดด็อกซ์เป็นกรรมการในซัมเมอร์สแลม ทริปเปิลเอช ออกมาขัดจังหวะ และ Pedigree ใส่แมดด็อกซ์เพื่อจะเป็นกรรมการในศึก ซัมเมอร์สแลม เอง", "title": "ซัมเมอร์สแลม (2013)" }, { "docid": "485585#7", "text": "ทริปเปิลเอชออกมาเพื่อมาเจรจากับบร็อก เลสเนอร์ แต่เป็นพอล เฮย์แมน ผู้จัดการของเลสเนอร์ ออกมาเพื่อบอกปฏิเสธแมตช์ในซัมเมอร์สแลม (2012) สเตฟานี แม็กแมน ภรรยาของทริปเปิลเอช ออกมาเยาะเย้ยถากถางเฮย์แมน ทำให้เฮย์แมนโมโห บอกจะให้เลสเนอร์มาทำลายทริปเปิลเอชให้สิ้นซากในซัมเมอร์สแลม สเตฟานีคร่อมต่อยเฮย์แมนไม่ยั้งแล้วเลสเนอร์ก็ออกมาเล่นงานอัดทริปเปิลเอช แต่ทริปเปิลเอชต่อยสู้ แล้วก็อัดเลสเนอร์ตกเวทีไป", "title": "ดับเบิลยูดับเบิลยูอี รอว์ 1000" }, { "docid": "552232#0", "text": "ซัมเมอร์สแลม (1997) () เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิว มวยปล้ำอาชีพของเวิลด์ไวด์เรสต์ลิงเฟดดิเรชั่น ที่จัดหลังศึกใหญ่ จัดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1997 ณ สนาม Continental Airlines Arena ในเมืองEast Rutherford, New Jersey", "title": "ซัมเมอร์สแลม (1997)" }, { "docid": "438448#0", "text": "ไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2012) เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิวมวยปล้ำอาชีพของ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี ในปี 2012 ซึ่งจัดเป็นปีที่ 5 แล้ว สถานที่จัดคือ ทีดี การ์เดน ในเมือง บอสตัน, รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2012 ซึ่งจัดหลังจากศึก ซัมเมอร์สแลม (2012)", "title": "ไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2012)" }, { "docid": "438447#4", "text": "ในศึกรอว์ (6 สิงหาคม 2012) ชอว์น ไมเคิลส์ ออกมาทักทายแฟนๆ ที่บ้านเกิด (แซนแอนโทนีโอ) จากนั้นก็พูดถึงการปะทะกันของ ทริปเปิล เอช กับ บร็อก เลสเนอร์ ที่จะเจอกันในซัมเมอร์สแลม แต่ เลสเนอร์ ออกมาพร้อมกับ เฮย์แมน เพื่อมาเถียงกับ ชอว์น จากนั้น ทริปเปิล เอช ก็ตามออกมา ทำให้เลสเนอร์ ต้องหนีไป แต่ก่อนจาก เลสเนอร์ ได้บอกว่าเอาไว้เจอกันในซัมเมอร์สแลม ส่วนชอว์น เราจะได้เจอกันก่อนหน้านั้น[6] ในศึกรอว์ (13 สิงหาคม 2012) เลสเนอร์ กับ เฮย์แมน ออกมาที่เวทีเพื่อมาเซ็นสัญญาปล้ำกับ ทริปเปิล เอช ในซัมเมอร์สแลม ชอว์น กับ ทริปเปิล เอช ก็ออกมาเซ็นสัญญา แล้ว เลสเนอร์ กับ เฮย์แมน ก็กลับไปหลังจากที่เซ็นกันเสร็จเรียบร้อย ชอว์น จะขับรถกลับบ้าน แต่โดนเฮย์แมน ขับรถมาขวางเอาไว้ แล้วเลสเนอร์ ก็มาลากชอว์น ลงจากรถแล้วก็อัดซะเละ เลสเนอร์ แบก ชอว์น กลับมาที่เวที แล้วก็จัดการด้วย F-5 ต่อด้วย คิมุระล็อก ทริปเปิล เอช วิ่งออกมาช่วย แต่ เฮย์แมน สั่งห้าม ทริปเปิล เอช เข้ามาใกล้ ไม่อย่างนั้น เลสเนอร์ จะหักแขนชอว์นซะ ทริปเปิล เอช ไม่กล้าเข้าไปใกล้ แต่เลสเนอร์ ก็หักแขน ชอว์น ไมเคิลส์ อยู่ดี ทริปเปิล เอช รีบวิ่งเข้าไปช่วย แต่เลสเนอร์ กับ เฮย์แมน ก็วิ่งหนีไปอย่างรวดเร็ว ชอว์นดิ้นอยู่บนเวที ทริปเปิล เอช พยายามเข้าไปขอโทษแต่ชอว์น ก็ไล่ ทริปเปิล เอช ให้ไปไกลๆ", "title": "ซัมเมอร์สแลม (2012)" }, { "docid": "332472#14", "text": "ในรอว์ (14 พฤษภาคม 2012) ทริปเปิลเอช ออกมาที่เวทีบอกว่า บร็อก เลสเนอร์ มันทำตัวเหมือนเดิมตลอด เมื่อก่อนมันเป็นเด็กบ้านนอกตัวโตจากมินเนโซต้า มันกลายเป็นสตาร์ดัง แต่พอเริ่มมีคนมาท้าชิงเข้าหน่อยมันก็หนีไป มันไป UFC แต่ก็ถูกเขาอัดเอา พอเห็นว่าหนทางไม่ได้ง่ายมันก็เลยหนีออกมาอีก มันกลับมา WWE เพราะเห็นว่า จอห์น ซีนา กระจอก และมันคิดว่ามันจะเอาชนะซีนาได้ แต่สุดท้ายมันก็แพ้ พอล เฮย์แมน ออกมา และเอาเอกสารคดีความมาให้ทริปเปิล เอช เพราะ เลสเนอร์ ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากทริปเปิล เอช เป็นเงินหลายล้าน เพราะเดิมที จอห์น โลรีนายติส ได้เซ็นสัญญากับเลสเนอร์ ไว้แล้ว แต่ทริปเปิล เอช ฉีกมันทิ้ง ทริปเปิล เอช โมโหและบีบคอ เฮย์แมน แต่สุดท้ายก็ยอมปล่อย แล้วฝากให้ เฮย์แมน ไปบอก เลสเนอร์ ด้วยว่าเขาจะต้องได้รับสิ่งที่เขาสมควรจะได้ ทริปเปิล เอชเดินจากไป แต่ เฮย์แมน ประกาศว่าเมื่อกี้ว่า ทริปเปิล เอชทำร้ายเขา ดังนั้นเขาจะฟ้องทริปเปิล เอช เป็นคดีที่สองด้วย เอาไว้เจอกันในศาลนะ[40] ในศึก โนเวย์เอาท์ (2012) ทริปเปิล เอช ออกมาพูดถึง บร็อก เลสเนอร์ ว่าจะเสียเวลายื่นฟ้อง WWE ไปทำไมมาสู้กันเลยดีกว่า ในศึก ซัมเมอร์สแลม (2012)[41] ในรอว์ (18 มิถุนายน 2012) ทริปเปิล เอช ออกมาบอกว่า บร็อก เลสเนอร์ ควรจะตอบรับข้อเสนอนี้ เพราะถ้าเขายอมมา ชั้นจะให้เขาทุกอย่าง ให้เป็นนายแบบโปสเตอร์ศึก ซัมเมอร์สแลม ด้วย พอล เฮย์แมน บอกว่า อย่าพยายามเกลี้ยกล่อมให้ยากเลย เลิกทำตัวเป็นนักมวยปล้ำซะทีเถอะ กลับบ้านไปเลี้ยงลูกดีกว่านะ ไปเล่นเป็นพระราชากับลูกนู่น คนอย่างแกไม่ใช่พระราชาอะไรทั้งนั้นในโลกของชั้นและเลสเนอร์ โกรธรึไง อยากจะต่อยชั้นมั้ยล่ะ ต่อยเลยสิ จะได้ฟ้องอีกคดีนึง ทริปเปิล เอช ต่อย เฮย์แมน จริงๆ แล้วก็บอกว่า ไปบอก เลสเนอร์ ด้วยว่าในซัมเมอร์สแลม มันจะต้องโดนแบบนี้[42]", "title": "ทริปเปิลเอช" }, { "docid": "438447#11", "text": "ดับเบิลยูดับเบิลยูอี ซัมเมอร์สแลม รายชื่อรายการเพย์-เพอร์-วิวของดับเบิลยูดับเบิลยูอี", "title": "ซัมเมอร์สแลม (2012)" }, { "docid": "552178#0", "text": "ซัมเมอร์สแลม (1989) () เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิว มวยปล้ำอาชีพของเวิลด์ไวด์เรสต์ลิงเฟดดิเรชั่น ที่จัดหลังศึกใหญ่ เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 5 จัดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1989 ณ สนาม Meadowlands Arena ในเมืองEast Rutherford, New Jersey ,สหรัฐอเมริกา", "title": "ซัมเมอร์สแลม (1989)" }, { "docid": "622199#0", "text": "ซัมเมอร์สแลม (2014) (อังกฤษ: SummerSlam (2014)) เป็นการแสดงมวยปล้ำอาชีพแบบ เพย์-เพอร์-วิว (PPV) ของ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ณ สนาม สเตเปิลส์เซ็นเตอร์ ในเมืองลอสแอนเจลิส, รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา นับว่าเป็นปีที่ 6 ของซัมเมอร์สแลมที่จัดติดต่อกันในสนามสเตเปิลส์เซ็นเตอร์", "title": "ซัมเมอร์สแลม (2014)" }, { "docid": "438447#12", "text": "หมวดหมู่:ซัมเมอร์สแลม หมวดหมู่:มวยปล้ำอาชีพในปี พ.ศ. 2555 หมวดหมู่:มวยปล้ำในลอสแอนเจลิส (รัฐแคลิฟอร์เนีย)", "title": "ซัมเมอร์สแลม (2012)" }, { "docid": "482517#0", "text": "เดอะไพรม์ไทม์เพลเยอส์ (Prime Time Players) ประกอบด้วย ไทตัส โอนีลและดาร์เรน ยัง เป็นทีมมวยปล้ำอาชีพของWWE เปิดตัวในสแมคดาวน์ (20 เมษายน 2012) ชนะดิอูโซส์ไปได้ ในโนเวย์เอาท์ (2012)ไพรม์ไทม์เพลเยอส์ได้ชนะแท็กทีม 4 เส้าไปชิงแชมป์แท็กทีม WWEกับโคฟี คิงส์ตันและอาร์-ทรูธ ในรอว์(16 กรกฎาคม 2012)ได้ชิงแชมป์แท็กทีมกับโคฟีและทรูธแต่ไม่สามารถคว้าแชมป์ได้ ในซัมเมอร์สแลม (2012)ได้ชิงแชมป์กับโคฟีและทรูธอีกครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ ในเดือนสิงหาคม 2013 ไพรม์ไทม์เพลเยอส์ได้เปลี่ยนบทเป็นฝ่ายธรรมะ ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2013)ได้เข้าร่วมและชนะในแมตช์แท็กทีมเทอมอยล์เพื่อไปชิงแชมป์แท็กทีมกับเดอะชีลด์แต่ก็ไม่สำเร็จ ในสแมคดาวน์ 31 มกราคม 2014 หลังจากทั้งคู่แพ้แมตช์แท็กทีม โดยไทตัสยอมปล่อยให้ดาร์เรนโดนกดแบบง่ายๆ หลังแมตช์ไทตัสกับดาร์เรนจึงเถียงกัน ดาร์เรนเลยถามไทตัสว่านี่กำลังทำอะไร เราเป็นเหมือนพี่น้องเป็นครอบครัวไม่ใช่หรอ ไทตัสบอกว่า ไม่ เขาเบื่อหน่ายที่จะต้องมารู้ว่าเป็นไอ้ขี้แพ้แล้ว เขามาที่นี่เพื่อเป็นแชมป์ สิ่งเดียวที่ถ่วงเขาอยู่และเขาต้องกำจัดออกไปก็คือ ดาร์เรน ยัง ว่าแล้วไทตัสก็อัดดาร์เรนแบบไม่ยั้งจนนอนสลบด้านล่างเวที ทำให้ไพรม์ไทม์เพลเยอส์ต้องแตกทีมกัน ในปี 2015 ไพรม์ไทม์เพลเยอส์ได้กลับมารวมทีมกันอีกครั้ง ในมันนีอินเดอะแบงก์ (2015)ก็ได้คว้าแชมป์แท็กทีมร่วมกันสมัยแรกจากเดอะนิวเดย์ ก่อนจะเสียแชมป์คืนให้กับนิวเดย์ในซัมเมอร์สแลม (2015)ก่อนจะแตกทีมกันในปี 2016", "title": "ไพรม์ไทม์เพลเยอส์" }, { "docid": "328129#1", "text": "คาลีได้เปิดตัวครั้งแรกในสแมคดาวน์ 7 เมษายน 2006 โดยมาลอบทำร้ายดิอันเดอร์เทเกอร์ ต่อมาในสแมคดาวน์ 20 กรกฎาคม 2007 คาลีได้คว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวทเป็นสมัยแรกได้จากการชนะแบทเทิลรอยัลชิงแชมป์ที่ว่างอยู่ ก่อนจะเสียแชมป์ให้บาทิสตาในซัมเมอร์สแลม (2007) ในซัมเมอร์สแลม (2010)คาลีได้เข้าร่วมปล้ำแท็กทีมคัดออก 7 ต่อ 7 เจอกับพวกเดอะเน็กซัส แต่ก่อนถึงซัมเมอร์สแลม คาลีได้ถูกกลุ่มเน็กซัสลอบทำร้ายจนไม่สามารถมาร่วมปล้ำได้ โดยหัวหน้าทีมอย่าง จอห์น ซีนาได้เลือกแดเนียล ไบรอัน อดีตสมาชิกเน็กซัสมาแทน และทีม WWE ก็เป็นฝ่ายชนะ", "title": "เดอะเกรทคาลี" }, { "docid": "438447#3", "text": "ในศึก โนเวย์เอาท์ (2012) ทริปเปิล เอช ออกมาพูดถึง บร็อก เลสเนอร์ ว่าจะเสียเวลายื่นฟ้อง WWE ไปทำไมมาสู้กันเลยดีกว่า ในซัมเมอร์สแลม[4] ในศึกรอว์ (18 มิถุนายน 2012) ทริปเปิล เอช ออกมาบอกว่า เลสเนอร์ ควรจะตอบรับข้อเสนอนี้ เพราะถ้าเขายอมมา ชั้นจะให้เขาทุกอย่าง ให้เป็นนายแบบโปสเตอร์ศึก ซัมเมอร์สแลม ด้วย เฮย์แมน บอกว่า อย่าพยายามเกลี้ยกล่อมให้ยากเลย เลิกทำตัวเป็นนักมวยปล้ำซะทีเถอะ กลับบ้านไปเลี้ยงลูกดีกว่านะ ไปเล่นเป็นพระราชากับลูกนู่น คนอย่างแกไม่ใช่พระราชาอะไรทั้งนั้นในโลกของชั้นและเลสเนอร์ โกรธรึไง อยากจะต่อยชั้นมั้ยล่ะ ต่อยเลยสิ จะได้ฟ้องอีกคดีนึง ทริปเปิล เอช ต่อย เฮย์แมน จริงๆ แล้วก็บอกว่า ไปบอกเลสเนอร์ ด้วยว่าในซัมเมอร์สแลม มันจะต้องโดนแบบนี้[5] ในศึก รอว์ ตอนที่ 1,000 (23 กรกฎาคม 2012) ทริปเปิล เอช ออกมาเพื่อมาเจรจากับ บร็อก เลสเนอร์ แต่เป็น พอล เฮเมน ออกมาเพื่อบอกปฏิเสธแมตช์ในศึก ซัมเมอร์สแลม (2012) สเตฟานี แม็กแมน ออกมาเยาะเย้ยถากถาง พอล เฮเมน ทำให้ พอล เฮเมน โมโห บอกจะให้ บร็อก เลสเนอร์ มาทำลาย ทริปเปิล เอช ให้สิ้นซาก ในศึก ซัมเมอร์สแลม สเตฟานี แม็กแมน คร่อมต่อย พอล เฮเมน ไม่ยั้งแล้ว บร็อก เลสเนอร์ ก็ออกมา สเตฟานี แม็กแมน หนีลงเวทีไป แต่ ทริปเปิล เอช ก็โดน บร็อก เลสเนอร์ อัด ทริปเปิล เอช ต่อยสู้ แล้วก็อัด บร็อก เลสเนอร์ ตกเวทีไป", "title": "ซัมเมอร์สแลม (2012)" }, { "docid": "552190#0", "text": "ซัมเมอร์สแลม (1991) () เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิว มวยปล้ำอาชีพของเวิลด์ไวด์เรสต์ลิงเฟดดิเรชั่น ที่จัดหลังศึกใหญ่ เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 7 จัดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ณ สนาม เมดิสันสแควร์การ์เดน ในเมืองนครนิวยอร์ก, รัฐนิวยอร์ก ,สหรัฐอเมริกา", "title": "ซัมเมอร์สแลม (1991)" }, { "docid": "622199#2", "text": "ในรอว์ วันที่ 28 กรกฎาคม สเตฟานี แม็กแมน ออกมาที่เวที และก็เชิญบรี เบลลา มาคุยกัน โดยสเตฟานี ขอร้องให้บรีถอนแจ้งความ และก็เสนอว่าจะเลิกกลั่นแกล้งนิกกี เบลลา และจะให้เธอไปพักร้อนด้วย แต่บรี เรียกร้องมากกว่านั้นคือให้จ้างเธอกลับมาทำงานด้วย และก็ขอปล้ำในซัมเมอร์สแลม เจอกับสเตฟานี สเตฟานีบอกว่าเธอไม่ได้ปล้ำมาสิบกว่าปีแล้วนะ เธอเป็นภรรยา เป็นแม่คน คงจะสู้ไม่ไหวหรอก บรีบอกว่างั้นไปเจอกันในศาลก็แล้วกัน ทำให้สเตฟานี แกล้งทำเป็นร้องห่มร้องไห้ก่อนจะยอมตอบตกลง แต่แล้วก็ตบหน้าบรี จนกลิ้งตกเวที ก่อนจะประกาศว่าจะเล่นงานบรีให้เละในซัมเมอร์สแลม จากนั้นทั้งคู่ก็ตบใส่กัน ทำให้ รปภ.ต้องออกมาช่วยกันห้าม", "title": "ซัมเมอร์สแลม (2014)" }, { "docid": "552242#0", "text": "ซัมเมอร์สแลม (1998) () เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิว มวยปล้ำอาชีพของเวิลด์ไวด์เรสต์ลิงเฟดดิเรชั่น ที่จัดหลังศึกใหญ่ จัดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1998 ณ สนามเมดิสันสแควร์การ์เดน ในเมืองนครนิวยอร์ก, รัฐนิวยอร์ก", "title": "ซัมเมอร์สแลม (1998)" } ]
3373
ดราก้อนบอลจีที เคยนำมาฉายที่ช่องอะไรของไทย?
[ { "docid": "44241#0", "text": "ดราก้อนบอลจีที (Dragon Ball GT) () เป็นการ์ตูนภาคเสริมที่ทำขึ้นมาเฉพาะฉบับอนิเมะโดยเรื่องราวต่อจาก ดราก้อนบอล Z \nในภาคนี้ อากิระ โทริยาม่า มีส่วนร่วมเพียงแค่ช่วยตั้งชื่อภาค ออกแบบโลโก้ และออกแบบตัวละครเพียงเล็กน้อย ในส่วนของเนื้อเรื่องใน Dragon Ball GT นั้นไม่ได้มีส่วนร่วมในเนื้อเรื่องแต่อย่างใด ครั้งหนึ่ง อากิระ โทริยาม่า ได้กล่าวว่า Dragon Ball GT นั้นเป็นเพียง Side-Story ไม่นับอยู่ในจักรวาลหลักแต่อย่างใด และภายหลังก็ได้สร้าง ดราก้อนบอล ซูเปอร์ เพื่อเป็นภาคต่อของจักรวาลหลักอย่างเป็นทางการ เคยนำมาฉายที่ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ใช้ทีมพากย์ของน้าต๋อย เซมเบ้", "title": "ดราก้อนบอล GT" } ]
[ { "docid": "11720#4", "text": "และในปี พ.ศ. 2552 ดราก้อนบอล ได้ถูกนำมาสร้างใหม่ขึ้นอีกครั้งในชื่อว่า ดราก้อนบอล ไค โดยจะนำเนื้อหาของภาค ดราก้อนบอล Z มาสร้างใหม่ในระบบ High Definition Television (โทรทัศน์ความละเอียดสูง) เนื้อหาจะถูกตัดต่อใหม่ ให้กระชับฉับไวขึ้น เสียงประกอบ และ ดนตรี จะแต่งขึ้นมาใหม่ทั้งหมดให้เหมาะกับยุคนี้ แต่ยังคงใช้นักพากย์เดิม และจะเริ่มออกอากาศในวันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2552 เวลา 09.00 น. (ตามเวลาประเทศญี่ปุ่น) ทางช่อง ฟูจิทีวี ดราก้อนบอลนั้นได้รับความนิยมทั่วโลกสูงมากจนหนังสือการ์ตูนดราก้อนบอลตีพิมพ์ พ.ส.2527-2538\nมีทั้งหมด42เล่มยอดขายรวมเล่ม240ล้านเล่มทั่วโลกยอดขายอันดับสองรองเพียงวันพีชเท่านั้น. ดราก้อนบอลเป็นหนึ่งไนการ์ตูนอันน้อยนิด\nที่ยอดขายรายเล่มดีกว่าวันพีชโดยยอดรายเล่มเฉลี่ยอยู่ที่ 5.7 ล้านเล่มต่อเล่ม", "title": "ดราก้อนบอล" }, { "docid": "228332#4", "text": "ซึ่งในการออกอากาศครั้งนี้สามารถรับชมได้ในระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงอีกด้วย นอกจากนี้ยังเคยออกอากาศทางการ์ตูนเน็ตเวิร์ค ประเทศไทย ทางช่อง Cartoon Network Thailand และ Toonami Asia (ทดลองออกอากาศรูปแบบพากย์ไทย) ลิขสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายรูปแบบ DVD ในตอนที่ 1-98 เป็นของ บริษัทไรท์บียอนด์", "title": "ดราก้อนบอล ไค" }, { "docid": "228332#2", "text": "ในประเทศไทย ออกอากาศทางฟรีทีวี ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ทุกวันพฤหัสบดีและศุกร์ เวลา 16:30-17:00น. ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ถึงปี พ.ศ. 2556 โดยออกอากาศทั้งสิ้น 98 ตอน", "title": "ดราก้อนบอล ไค" }, { "docid": "47295#0", "text": "ดราก้อนบอล Z () เป็นภาพยนตร์อนิเมะ ภาคต่อของการ์ตูนเรื่องดราก้อนบอล เริ่มออกอากาศใน ประเทศญี่ปุ่น ทางสถานีฟูจิทีวี ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2532 ถึง 31 มกราคม พ.ศ. 2539 รวมความยาวทั้งสิ้น 291 ตอน นอกจากนั้นยังมีภาพยนตร์อีก 13 ตอน และมีตอนพิเศษทางโทรทัศน์อีก 2 ตอน", "title": "ดราก้อนบอล Z" }, { "docid": "153367#1", "text": "ในประเทศไทยลิขสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายรูปแบบวีซีดีและดีวีดีเป็นของบริษัท ดรีมเอกซ์เพลส (เดกซ์) จำกัด ในชื่อ \"หุ่นนักสู้สะท้านปฐพี จี กันดั้ม\" และได้ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์เวลา 8.30-9.00 น.และได้ออกอากาศอีกครั้งทางช่องทรูสปาร์ค", "title": "โมบิลไฟท์เตอร์ จีกันดั้ม" }, { "docid": "859324#5", "text": "ในประเทศไทยได้ออกอากาศทางช่องทีวีดิจิตอล ช่อง 3 เอสดี ช่อง 23 ในช่วง WAKUWAKU JAPAN HOUR ทุกวันอาทิตย์เวลา 10:00 น. - 10:30 น. ออกอากาศเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ออกอากาศในเสียงพากย์ภาษาไทย ยกเว้นฉากของเจมส์ จิรายุที่ไม่พากย์เสียงไทยแต่มีคำบรรยายไทยแทน แต่ออกอากาศไม่จบเนื่องจากช่วงของรายการได้ยุติการออกอากาศลง โดยวันสุดท้ายที่ออกอากาศคือวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561 และฉายได้เพียง 35 ตอน", "title": "นักรบไอดอล มิราเคิลทูนส์!" }, { "docid": "944968#0", "text": "เทพจิ๋วฝึกหัด แก๊งป่วนโคโคทามะ () ฉายผ่าน ช่อง 3 Family ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย. พ.ศ. 2560 ถึง 30 เม.ย. พ.ศ. 2561 ปัจจุบันสามารถดูย้อนหลังได้ที่ช่อง การ์ตูนคลับแชนเนล และ ไลน์ทีวี มีภาคแรกจำนวน 139 ตอน ปัจจุบันมีภาคสอง ชื่อ () เริ่มฉายเดือนตุลาคม ปี 2018", "title": "เทพจิ๋วฝึกหัด แก๊งป่วนโคโคทามะ" }, { "docid": "733729#0", "text": "ดราก้อนบอล ซูเปอร์ () เป็นซีรีส์การ์ตูนชุดดราก้อนบอล แต่งเรื่องโดย อากิระ โทริยามะ และเป็นอนิเมะชุดที่ 5 ของซีรีส์ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2558 ต่อจากดราก้อนบอล ไค ทางช่องฟูจิทีวีของญี่ปุ่น", "title": "ดราก้อนบอล ซูเปอร์" }, { "docid": "211704#0", "text": "ทีมดราก้อน คุณหมอหัวใจแกร่ง หรือ Team Medical Dragon เป็นละครซีรีส์ญี่ปุ่นเกี่ยวข้องกับทีมหมอศัลยแพทย์การผ่าหัวใจของหมอสมัยใหม่ เดิมทีเป็นซีรีส์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากการ์ตูนในเรื่องเดียวกัน ในประเทศไทยซีรีส์เรื่องนี้ฉายทางโทรทัศน์ช่องทีวีไทยทุกวันพฤหัสและศุกร์เวลา 22.10-23.10 ในญี่ปุ่นฉายทางสถานีโทรทัศน์ช่อง Fuji tv มีทั้งหมดสองภาคแต่ละภาคจะมีเรื่องเกี่ยวข้องกับการผ่าตัดที่แตกต่างกันไปเช่น การผ่าตัดหัวใจ การผ่าตัดหลอดอาหาร เป็นต้น แต่ในภาคแรกจะเกี่ยวข้องกับการผ่าตัดหัวใจที่มีความผิดปกติเรียกว่าการผ่าบาทิสต้าเป็นส่วนใหญ่ ส่วนในภาคสองจะเน้นเรื่องการผ่าตัดที่แตกต่างออกไปและมีการผ่าตัดมากขึ้น นอกจากนั้นยังเพิ่มเรื่องของการครอบงำโรงพยาบาลเพื่อประโยชน์ส่วนตัวอีกด้วย และในแต่ละภาคจะมีจำนวนตอน11ตอน", "title": "ทีมดราก้อน คุณหมอหัวใจแกร่ง" } ]
2833
เบลเยียมอยู่ในยุโรปหรือไม่ ?
[ { "docid": "4502#0", "text": "เบลเยียม () หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม () เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย", "title": "ประเทศเบลเยียม" }, { "docid": "4502#21", "text": "เบลเยียมเป็นประเทศแรกในภาคพื้นทวีปยุโรปที่เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยมีการพัฒนาการทำเหมืองแร่ ตีเหล็ก และอุตสาหกรรมสิ่งทอ เบลเยียมได้พัฒนาสาธารณูปโภคด้านการขนส่ง ทั้งท่าเรือ คลอง รถไฟ และทางหลวง เชื่อมเศรษฐกิจเข้ากับประเทศอื่นในยุโรป เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของประชาคมยุโรป และสนับสนุนการขยายอำนาจของสหภาพยุโรปเพื่อรวมเศรษฐกิจของชาติสมาชิก เบลเยียมเข้าร่วมใช้สกุลเงินยูโรในปีพ.ศ. 2542 และทดแทนฟรังก์เบลเยียมอย่างสมบูรณ์ในปีพ.ศ. 2545 ทั้งนี้ เบลเยียมเข้าร่วมสหภาพศุลกากรและสกุลเงินกับประเทศลักเซมเบิร์กตั้งแต่ปีพ.ศ. 2465", "title": "ประเทศเบลเยียม" }, { "docid": "4502#14", "text": "หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เบลเยียมเข้าร่วมนาโต ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่บรัสเซลส์ และจัดตั้งกลุ่มเบเนลักซ์ร่วมกับเนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก เบลเยียมเป็นหนึ่งในหกสมาชิกก่อตั้งของประชาคมถ่านหินและเหล็กยุโรปในปีพ.ศ. 2494 และในปีพ.ศ. 2500 ก่อตั้งประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรปและประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งต่อมาคือสหภาพยุโรป เบลเยียมเป็นที่ตั้งของหน่วยงานหลายอย่างของสหภาพ เช่น คณะกรรมาธิการยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป เป็นต้น", "title": "ประเทศเบลเยียม" } ]
[ { "docid": "4502#6", "text": "ภูมิอากาศชายฝั่งทะเลมีลักษณะชื้นและไม่รุนแรงนัก ในขณะที่ลึกเข้ามาในพื้นทวีปอุณหภูมิจะมีช่วงความเปลี่ยนแปลงสูงกว่า ในเขตที่สูงอาร์เดนส์มีฤดูร้อนที่ร้อนสลับกับฤดูหนาวที่หนาวเย็น ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อเดือนในบรัสเซลส์ อยู่ระหว่าง 55 มิลลิเมตร ในเดือนกุมภาพันธ์ จนถึง 78 มิลลิเมตรในเดือนกรกฎาคม ในขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของบรัสเซลส์อยู่ที่ 15-18 องศาเซลเซียสในเดือนมิถุนายนถึงกันยายน และลงต่ำอยู่ที่ 3 องศาในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ จากรายงานของสหประชาชาติในปีพ.ศ. 2546 คุณภาพน้ำในแม่น้ำของเบลเยียมอยู่ในระดับต่ำสุดจากทั้งหมด 122 ประเทศ", "title": "ประเทศเบลเยียม" }, { "docid": "426644#15", "text": "หมู่บ้านไบเซอร์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของบัลแกเรีย เขื่อนที่อยู่ใกล้หมู่บ้าน เกิดแตก ทำให้ทั้งหมู่บ้านจมอยู่ใต้น้ำเย็นจัดที่สูงถึง 2.5 เมตร ส่วนอีก 4 คนเสียชีวิตขณะอยู่ในรถยนต์ที่ถูกพัดตกจากสะพาน ลงไปในแม่น้ำ\nด้านกรุงเบลเกรด เมืองหลวงเซอร์เบีย ดำเนินมาตรการจำกัดการใช้ไฟฟ้าเพราะไฟฟ้าทำท่าจะขาดแคลน โดยได้มีการขอร้องบริษัทต่างๆ ให้ลดกิจกรรมลงให้เหลือน้อยที่สุด ทั้งยังประกาศให้วันศุกร์ที่ผ่านมา (10 ก.พ.) เป็นวันที่ไม่ต้องทำงาน เพิ่มเติมจากวันหยุดเนื่องในวันชาติเมื่อวันพุธและพฤหัสบดี (8-9 ก.พ.) มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 20 รายโดยนักเศรษฐศาสตร์ระบุว่าสภาพอากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้เซอร์เบียมีความเสียหายคิดเป็นมูลค่ากว่า 500 ล้านยูโร หรือราว 2 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้อุตสาหกรรมกว่า 2,000 แห่งต้องหยุดชะงักและต้องสั่งปิดโรงเรียนทั้งหมดไปจนถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์นี้ โดยพายุหิมะยังคงพัดถล่มเซอร์เบียทำให้ถนนหนทางต่างๆถูกปิดและการจราจรบนทางหลวงหลักก็เคลื่อนตัวได้อย่างช้าๆวันที่ 20กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 น้ำแข็งที่ละลายในแม่น้ำบูลดานูบได้ละลายเป็นก้อนจำนวนมหาศาลส่งผลให้น้ำแข็งเคลื่อนที่ไปตามกระแสน้ำและกระแทกสร้างความเสียหายกับเรือรวมถึงวัตถุอื่น ๆ และสายน้ำที่เกิดจากภาวะน้ำแข็งละลายได้ซัดให้เรือหลายลำเคลื่อนกระแทกกันก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ", "title": "คลื่นความเย็นในทวีปยุโรป พ.ศ. 2555" }, { "docid": "400491#3", "text": "เกตโตสามารถแบ่งออกได้เป็นสามประเภท เกตโตปิดหรือปิดผนึกส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในโปแลนด์และสหภาพโซเวียตภายใต้การยึดครองของนาซี เกตโตเหล่านี้ถูกล้อมด้วยกำแพงอิฐ รั้วหรือรั้วลวดหนามซึ่งขึงไว้ระหว่างเสา ยิวไม่ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในพื้นที่อื่นใด หากฝ่าฝืน ทางการเยอรมันประกาศว่าจะถูกประหารชีวิต สภาพความเป็นอยู่ในเกตโตปิดนั้นเลวร้ายที่สุด ย่านที่ยิวอยู่อาศัยนั้นแออัดและขาดสุขอนามัยอย่างยิ่ง การอดอยาก การขาดแคลนอาหารเป็นประจำ การขาดแคลนความอบอุ่นในฤดูหนาว และพนักงานเทศบาลที่ไม่เพียงพอนำไปสู่การแพร่ระบาดของโรคระบาดบ่อยครั้ง เช่น โรคบิดและไข้รากสาดใหญ่ จนนำไปสู่อัตราการตายที่สูง เกตโตนาซีส่วนใหญ่เป็นประเภทนี้", "title": "เกตโตในทวีปยุโรปภายใต้การยึดครองของนาซี" }, { "docid": "206223#27", "text": "เนื่องจากสหราชอาณาจักรไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เชงเก้น ในทางกลับกัน เบลเยี่ยมและฝรั่งเศสก็ไม่ได้อยู่ใน Common Travel Area (ไอร์แลนด์,บริเตนใหญ่,เกาะแมน และหมู่เกาะแชนแนล) ทำให้ผู้โดยสารรถไฟยูโรสตาร์ทุกคนต้องผ่านการตรวจคนเข้าเมือง ทั้งรัฐบาลอังกฤษ และรัฐบาลของกลุ่มประเทศเชงเก้นได้ มีข้อตกลงร่วมกันที่จะตรวจเอกสารการเดินทางของผู้ที่เดินทางด้วยรถไฟยูโรสตาร์ในการข้ามประเทศ", "title": "ยูโรสตาร์" }, { "docid": "31637#31", "text": "เยอรมนีตั้งอยู่ในเขตที่ราบต่ำตอนกลางทวีปยุโรป มีลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนอยู่สามแห่ง ได้แก่ เขตที่ราบต่ำตอนเหนือ เขตภูเขาตอนกลาง และเขตที่ราบสูงและลุ่มแม่น้ำทางใต้ ดินทางตอนเหนือนั้นมีคุณค่าทางเศรษฐกิจมาก และมีป่าสนกินอาณาเขตกว้างขวางตามตีนเขาของเทือกเขาที่ลากผ่านตอนกลางของประเทศ", "title": "นาซีเยอรมนี" }, { "docid": "670305#3", "text": "เครื่องดื่มดังกล่าวยังเป็นที่นิยมและเป็นของพื้นเมืองในประเทศยุโรปอื่นอย่างประเทศไอร์แลนด์ ฝรั่งเศสตอนเหนือ (โดยเฉพาะเบรอตาญและนอร์ม็องดี) สเปนตอนเหนือ และบาสก์คันทรี (Basque Country) ยุโรปกลางยังมีไซเดอร์ประเภทของตัวโดยเฉพาะ ชาวเยอรมันในไรน์แลนด์-พาลาทิเนตและฮัสเซอ (ฟรังค์ฟุร์ทอัมไมน์) ดื่ม เช่นเดียวกับประเทศโปแลนด์ ประเทศผู้ผลิตแอปเปิลใหญ่สุดของทวีปยุโรป", "title": "ไซเดอร์" }, { "docid": "4502#10", "text": "ในรัชสมัยของพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน พระราชโอรสของพระเจ้าชาลส์ ได้เกิดความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ โดยพระเจ้าเฟลิเปพยายามที่จะปราบปรามนิกายโปรเตสแตนต์ ดินแดนทางตอนเหนือ ซึ่งสนับสนุนนิกายโปรเตสแตนต์ รวมตัวกันเป็นสาธารณรัฐเนเธอร์แลนด์ ในขณะที่ดินแดนทางใต้ ประกอบด้วยเบลเยียมและลักเซมเบิร์กในปัจจุบัน ยังอยู่ภายใต้การปกครองของสเปน เรียกชื่อว่าเนเธอร์แลนด์ใต้", "title": "ประเทศเบลเยียม" } ]
2218
อัศวินเจได คืออะไร?
[ { "docid": "6175#1", "text": "โดยทั่วไปเจไดหมายถึง อัศวินเจได (Jedi Knight) ซึ่งเป็นบุคคลที่สามารถควบคุมและใช้งานพลัง โดยเจไดจะเลือกใช้งานเฉพาะด้านสว่างของพลังเท่านั้น", "title": "เจได" } ]
[ { "docid": "70841#5", "text": "ด้วยสัมผัสแห่งพลังที่อยู่ในสายเลือด เลอาได้กลายเป็นอัศวินเจไดในนิกายเจไดใหม่ ได้รับการฝึกฝนเล็กน้อยจากพี่ชายของเธอ และหลังจากนั้นจึงได้รับการฝึกจากซาบา เซบาไทน์ ซึ่งประกาศว่าเธอเป็นอัศวินเจไดเต็มตัวในช่วงสิ้นสุดของสงครามสวอร์ม การฝึกฝนนี้ช่วยเธอได้มากในก้าวย่างที่ไม่มั่นคงของกาแลกซีบนขอบเหวของการล่มสลายลงไปสู่สงครามกลางเมืองครั้งใหม่ในการจลาจลคอเรลเลียนครั้งที่สอง แม้จะทำให้ข้อกล่าวหาของเธอซับซ้อนมากขึ้นก็ตาม", "title": "เลอา ออร์กานา โซโล" }, { "docid": "6175#24", "text": "เจไดผู้ช่ำชอง เป็นหนทางสำหรับผู้ใหญ่ที่มีความรู้สึกด้านพลังซึ่งไม่เคยฝึกฝนตามระเบียบของเจไดมาก่อน เจไดเริ่มต้น (หรือ ยังลิ่งหรือ\"คาดหมายว่าจะเป็นเจได\") เด็กที่มีความรู้สึกด้านพลัง มักตรวจพบว่าจะได้เป็นเจไดโดยตรวจจากตัวอย่างเลือด พวกที่มีพลังแฝงอยู่มักจะมีจำนวนมิดิ-คลอเรี่ยนที่สูงในเลือดของพวกเขา ด้วยวัยทียังเล็ก เด็กจะถูกนำมาจากครอบครัวของพวกเขาและไปที่วิหารเจไดเพื่อเริ่มการฝึก ยังลิ่งจะรวมกันเป็นกลุ่มเดียวกัน เจไดพาดาวัน ศิษย์ที่เริ่มการฝึกสอนอย่างจริงจังโดยอัศวินเจไดหรือปรมาจารย์เจไดคนเดียวเท่านั้น ในการวัดขั้นของสถานะพาดาวัน ผู้เริ่มต้นต้องถูกเลือกโดยอัศวินหรืออาจารย์ โดยอาจารย์จะสามารถมีศิษย์ได้เพียงคนเดียว หากยังลิ่งยังไม่ถูกเลือกให้เป็นพาดาวันจนมีอายุ 13 ปี ยังลิ่งจะถูกเปลี่ยนไปเป็นตำแหน่งอื่นแทน อย่างน้อยก็จนวนเวียนอยู่ในเหล่าเจไดช่วยเหลือ หรือพวกเขาอาจถูกเลือกให้ออกจากนิกาย มันขึ้นอยู่กับว่าความสามารถของเขาแสดงออกมาทางด้านไหน อาจเป็นเหล่ากสิกรรม เหล่าการแพทย์ หรือเหล่าสำรวจ พาดาวันจะไว้ผมเปียยาวไว้หลังหูขวา เมื่อพาดาวันเลื่อนขึ้นสู่เหล่าอัศวิน เปียก็จะถูกตัดในระหว่างพิธีกรรมอัศวิน อย่างน้อยเจไดไม่กี่คนแม้ว่าจะเป็นอัศวินไม่ยุ่งยากโดยแค่บอกว่าพวกเขาได้ผ่านการพิสูจน์ความเป็นเจไดจะถูกไตร่ตรองว่าจำเป็น อย่างเช่น โอบีวัน เคโนบี และเวอร์จ บางทีก็ยกเว้นให้สำเร็จการฝึกพาดาวันไปเลย อย่างในกรณีของอนาคิน สกายวอล์คเกอร์", "title": "เจได" }, { "docid": "182551#5", "text": "เมื่อ 24,000 ปีก่อนยุทธการยาวิน ได้มีเจไดกลุ่มหนึ่งแยกออกจากนิกายเจได เรียกตนเองว่ากลุ่มเลททอว์ นำโดยเซนดอร์ อัศวินเจไดและเจไดมืดคนแรก กลุ่มเลททอว์มีชื่อเสียงเรื่องการพัฒนารูปแบบไนแมน/จาร์ไค เน้นไปที่อารมณ์มากกว่าการใช้สมาธิในการต่อสู้เพื่อเป็นแหล่งพลัง นิกายเจไดเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่อันตรายที่เจไดไม่ควรทำในขณะทำภารกิจของพวกเขา ความขัดแย้งนี้นำไปสู่การแตกแยกครั้งใหญ่ ซึ่งแบ่งเจไดออกจากเจไดมืด ในช่วง 7,000 ปีก่อนยุทธการยาวิน ก็เกิดขึ้นอีกครั้ง ในช่วงร้อยปีแห่งความมืดมน ผู้สืบต่อจากเจไดมืดผู้ซึ่งถูกขับไล่จากนิกายเจไดได้กลายมาเป็นซิธ", "title": "ด้านมืดของพลัง" }, { "docid": "193628#3", "text": "ต่อมาเธอถูกใส่ร้ายป้ายสีว่าเป็นฆาตรกรสังหารผู้ก่อการร้ายที่ระเบิดวิหารเจไดจนถูกจับและถูกลงโทษด้วยปลดออกจากการเป็นพาดาวัน แต่อนาคิน สกายวอลเกอร์สามารถจับตัวคนร้ายที่ใส่ร้ายป้ายสีอาโซกาได้สำเร็จ คือ แบร์รี่ ออฟฟรี(Barriss Offee) อัศวินเจไดที่ได้เป็นสายลับของฝ่ายแบ่งแยกและเป็นเพื่อนของอาโซกาทำให้เธอพ้นผิดไป แม้เธอจะได้รับการยืนยันบริสุทธิ์แต่เธอสูญเสียความศรัทธาต่อนิกายเจไดจึงตัดสินใจออกจากนิกายเจไดเพื่อไปตามเส้นทางของตนเองในอนาคต", "title": "อาโซกา ทาโน" }, { "docid": "425930#10", "text": "ดาร์ธ เครยท์ กำเนิดในนามอะชาราด เฮตต์ เป็นมนุษย์เพศชายที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นอาจารย์เจไดในช่วงใกล้ล่มสลายของสาธารณรัฐกาแลกติก เขาเป็นบุตรของอัศวินเจไดในตำนานชาราด เฮตต์ และได้เป็นศิษย์พาดาวันของอาจารย์เจไดกิอะดิมุนดิ และต่อมาได้เป็นศิษย์ของอันยา คูโร ในช่วงสงครามโคลน อะชาราดได้เข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นนายพลนำทัพเข้าต่อสู้ในแนวหน้า ต่อมาได้กลายเป็นมิตรกับอนาคิน สกายวอล์คเกอร์ และได้ช่วยเหลือให้อนาคินสามารถรับการทำลายล้างที่เกิดขึ้นในสงครามที่แพร่ขยายไปทั่วกาแลกซีนั้นได้ เขารอดชีวิตจากสงครามโคลน และเป็นหนึ่งในเจไดเพียงไม่กี่คนที่รอดชีวิตจากการกวาดล้างเจไดครั้งใหญ่", "title": "สตาร์ วอร์ส: เลกาซี" }, { "docid": "70816#34", "text": "เรื่องราวของลุคได้กลายเป็นตำนานในกาแล็กซี่ ลุคถูกกล่าวถึงในฐานะวีรบุรุษในสงครามเพราะเขาคืออัศวินเจไดคนสุดท้าย ลุคได้ยุติบทบาททางทหารและสร้างนิกายเจไดใหม่ขึ้นรวมทั้งฝึกฝนหลานชายของเขาเบน โซโล แต่หลานชายของเขาได้หันเหเข้าสู่ด้านมืดจากการชักจูงของสโน้ก เขาได้รู้สึกผิดจึงหายตัวไปและไปซ่อนตัวที่ดาวอัคโตที่ซึ่งเป็นวิหารเจไดแห่งแรกที่ลึกลับที่สุด ต่อมาเรย์ได้รับแผนที่จากอาร์ทูดีทูและบีบีเอท เรย์จึงได้ตามหาเขาไปที่ดาวแห่งหนึ่งและเรย์ได้ยื่นกระบี่แสงของอนาคินให้กับเขา พร้อมกับขอฝึกการเป็นเจได", "title": "ลุค สกายวอล์คเกอร์" }, { "docid": "71085#3", "text": "การมีส่วนร่วมครั้งสำคัญที่สุดของเหล่าเจไดเกิดขึ้นในระหว่างสงครามยูซาน วอง การปกป้องกาแลกซีจากการคุกคามครั้งนี้ทำให้นิกายเจไดใหม่ถูกใส่ความจากประชาชนกาแลกซีและถูกทรยศหักหลังในหลายครั้งหลายครา ทั้งๆ ที่การเข้าร่วมสงครามครั้งนี้ทำให้นิกายต้องสูญเสียอัศวินไปเกือบครึ่งหนึ่ง หลังจากความขัดแย้งครั้งนี้แล้ว นิกายก็เพิ่มความดุดันและรวมศูนย์อำนาจเข้ามากขึ้น จนเริ่มเติบโตและรับใช้กาแลกซีได้ในอีกหลายสิบปีต่อมา จนกระทั่งเข้าสู่สงครามจักรวรรดิ-ซิธซึ่งทำให้นิกายเจไดใหม่ต้องกระจัดกระจายออกไปอีกครั้งและทำให้สมาชิกนิกายหลายคนต้องหลบซ่อนตัว กลายเป็นผู้ลี้ภัยอีกครั้ง", "title": "นิกายเจไดใหม่" }, { "docid": "6175#29", "text": "ผู้บัญชาการเจได (Jedi Commander) พาดาวันที่ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการในมหากองทัพแห่งสาธารณรัฐิผู้บัญชาการเจไดจะทำหน้าที่จนกระทั่งได้เป็นอัศวิน พาดาวันจะได้รับหน้าที่นายพลเมื่อเป็นจไดอย่างเต็มตัว นายพลเจได (Jedi General) เจไดผู้ที่ทำหน้าที่บัญชาการกองทัพของสาธารณรัฐ ถูกพิจารณาให้เป็นนายพลอย่างเต็มตัว นายพลเจไดผู้อาวุโส (Senior Jedi General) ตำแหน่งสูงของเจไดที่ทำหน้าที่เป็นนายพลในสงครามโคลน นายพลเจไดผู้อาวุโสมักจะเป็นอาจารย์เจไดที่มีประสบการณ์ด้านการทำสงครามและยุทธวิธี นายพลเจไดขั้นสูง (High Jedi General) สมาชิกของสภาเจไดที่ทำหน้าที่เป็นนายพลในช่วงสงครามโคลน นายพลเจไดขึ้นสูงไม่ได้แค่บัญชาการกองทัพของตนเองเท่านั้น แต่ยังคงสั่งการนายพลเจไดคนอื่นๆ อีกด้วย โยดา(Yoda) โอบีวัน เคโนบี (Obi-wan Kenobi) และ เมซ วินดู (Mace Windu) เป็นนายพลเจไดขึ้นสูงที่มีชื่อเสียง ขุนนางเจได (Jedi Lord) เจไดผู้ที่รับหน้าที่กองทัพแห่งแสงสว่างในช่วงสงครามซิธใหม่ ขุนนางเจไดที่ดำรงตำแหน่งนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองแต่อย่างใด ตำแหน่งนี้ถูกยกเลิกหลังสงคราม", "title": "เจได" }, { "docid": "6175#8", "text": "หากเด็กคนใดไม่ได้รับการเลือกไปเป็นพาดาวันของอัศวินเจไดภายในอายุ 13 ปี จะถูกคัดแยกไปอยู่ในหน่วยที่มีภารกิจเฉพาะ เช่น หน่วยสำรวจ หน่วยกสิกรรม หรือเป็นเจไดผู้เยียวยา", "title": "เจได" }, { "docid": "6175#42", "text": "ซิธ เป็นชื่อเรียกของเหล่าอัศวินเจไดที่หลงไปในด้านมืดของพลังซึ่งชวนหลงใหลมากกว่า และเข้าถึงได้ง่ายกว่าพลังด้านสว่าง มักจะเป็นศัตรูกับเจไดที่ภักดีต่อพลังด้านสว่างทำให้ก่อสงครามมากมาย", "title": "เจได" }, { "docid": "6175#17", "text": "เส้นทางของเจไดนั้นเป็นชีวิตที่ยืนยาว เจไดมักใช้ชีวิตทั้งชีวิตอยู่ในนิกาย เรียนรู้เกี่ยวกับนิกายและพลังมากขึ้น และเดินตามเจตนารมณ์ของสภาเจได จนกระทั่งเกิดสงครามโคลน ซึ่งมีเจไดเพียง 20 คนเท่านั้น (ทั้งอัศวินหรือสูงกว่า) กล่าวว่าจะออกจากนิกาย อย่างผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดเคาท์นดูกูและปรมาจารย์ฟาเนียส พวกเขาเหล่านี้ถูกเรียกว่าผู้สูญหายทั้ง 20 หรือเรียกง่ายๆ ว่า\"ผู้หลงทาง\"", "title": "เจได" }, { "docid": "381281#3", "text": "ในขณะที่ได้รับการฝึกบนนครพิภพทาริสภายใต้การดูแลของลูเซียนและอาจารย์เจไดอีกสี่ท่าน เซย์นไม่เคยคิดที่จะฝึกฝนให้ตัวเองเก่งกาจขึ้น เขาขาดความมั่นใจในความสามารถของตัวเอง ปฏิบัติงานในฐานะอนาคตเจไดได้อย่างไม่น่าพึงพอใจ และถูกปฏิบัติคล้ายจะเป็นตัวตลก ไม่แม้แต่จะถูกคาดหวังว่าจะได้เป็นอัศวิน แต่เซย์นก็ยังไปร่วมพิธีแต่งตั้งอัศวิน แม้จะไปสายและพบว่าเพื่อนพาดาวันของเขานั้นถูกอาจารย์ของตัวเองฆ่าหมดสิ้น", "title": "สตาร์ วอร์ส: ไนทส์ออฟดิโอลด์รีพับลิค (หนังสือการ์ตูน)" }, { "docid": "524263#13", "text": "ไจนา โซโล เป็นอัศวินเจไดของนิกายเจไดใหม่ และเป็นพี่สาวฝาแฝดของจาเซน โซโล เธอเป็นบุตรสาวของฮันและเลอา ออร์กานา โซโล จึงได้รับความสามารถทางเครื่องกลมาจากพ่อ และสัมผัสแห่งพลังมาจากแม่ ทำให้เธอได้เข้ารับการฝึกในเจไดพราเซียม ระหว่างที่เข้ารับการฝึกอยู่นั้นเธอได้เข้าร่วมในการผจญภัยจำนวนมาก และมีส่วนในการขัดขวางจักรวรรดิที่สองขึ้นด้วย", "title": "รายชื่อตัวละครในสตาร์ วอร์ส" }, { "docid": "6175#26", "text": "อัศวินเจไดหรืออาจารย์เจไดจะมีศิษย์เพียงครั้งละหนึ่งคนเท่านั้น และพาดาวันจะต้องเป็นอัศวินเจไดก่อนที่จะเลือกพาดาวันคนใหม่มาเป็นศิษย์ หลายพันปีก่อนช่วงการเปลี่ยนแปลงของรูซานน์ อาจารย์สามารถมีศิษย์มากกว่าหนึ่งคนได้ เช่น อาจารย์อาคา เจทธ์ที่มีศิษย์ถึง 3 คน คือ พี่น้องอุลลิคและเคย์ เคว-โดรม่าและทวิเลค ทอทท์ โดนีตา เมื่อนิกายเจไดใหม่เริ่มต้นครั้งแรก ลุค สกายวอล์คเกอร์ มอบหมายนักเรียนหลายคนให้กับอาจารย์ที่น้อยนิดในนิกาย เช่น ไคล์ คาทาร์นมี เจเดน คอรร์ และรอช เพนิน ทั้งสองถูกมอบให้กับเขา", "title": "เจได" }, { "docid": "79602#1", "text": "อัศวินเจไดที่รอดชีวิตจากการกวาดล้างเจไดครั้งใหญ่ ได้แก่ เบน เคโนบี โยดา และ อาโซกา ทาโน", "title": "การกวาดล้างเจไดครั้งใหญ่" }, { "docid": "6583#1", "text": "ภาพยนตร์ดำเนินเรื่องในช่วงเวลาสามปีหลังเริ่มสงครามโคลน เหล่าอัศวินเจไดต่างถูกมอบหมายให้นำกองทัพโคลนไปรบกับสมาพันธ์แบ่งแยกดินแดนทั่วกาแลกซี อาจารย์เจไดโอบีวัน เคโนบี ได้รับมอบหมายให้ไปสังหารนายพลกรีวัสผู้นำของสมาพันธ์แบ่งแยกฯ ส่วนอัศวินเจไดอนาคิน สกายวอล์คเกอร์ เริ่มมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสมุหนายกพัลพาทีนแห่งสาธารณรัฐกาแลกติก ซึ่งตัวตนที่แท้จริงที่ไม่มีใครล่วงรู้คือเป็นซิธลอร์ด จ้าวแห่งซิธ ความสัมพันธ์นี้จะกลายเป็นภัยใหญ่หลวงต่อนิกายเจได สาธารณรัฐ ตัวอนาคินเอง ซึ่งในที่สุดจะพลาดพลั้งเข้าสู่ด้านมืดของพลัง กลายเป็นดาร์ธ เวเดอร์ และเปลี่ยนชะตาของกาแลกซีไปตลอดกาล", "title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 3: ซิธชำระแค้น" }, { "docid": "71085#1", "text": "นิกายเจไดใหม่คือองค์กรเจไดที่ได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งหลังเหตุการณ์การกวาดล้างเจไดครั้งใหญ่ หลังการล่มสลายของจักรวรรดิกาแลกติก อัศวินเจไดที่เหลืออยู่เพียงจำนวนน้อยนิดค่อยๆ รวมตัวกันฟื้นฟูนิกายเจไดขึ้นมาอีกครั้ง ภายใต้การนำของลุค สกายวอล์คเกอร์ บุตรชายของอดีตอัศวินเจไดอนาคิน สกายวอล์คเกอร์", "title": "นิกายเจไดใหม่" }, { "docid": "11387#7", "text": "หลังจากที่พัลพาทีนพ่ายแพ้และเจไดรวมตัวกันอีกครั้ง ผู้ใช้พลังกลุ่มอื่นอย่างพวกรีบอร์นของดีซานน์และผู้รับใช้แรกนอสได้สร้างกระบี่แสงขึ้นมาเป็นจำนวนมากเพื่อติดอาวุธให้กับกองทัพของตนเอง นิกายเจไดใหม่ยังคงดำเนินวิถีทางเก่าด้วยการใช้การเชื่อมโยงกับพลังของพวกเขาในการสร้างกระบี่แสงของตนเอง ในปีที่ 137 ปีหลังยุทธการยาวิน อัศวินจักรวรรดิได้สร้างกระบี่แสงขึ้นมาเอง กระบี่แสงเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของอัศวินแต่ละคนของจักรวรรดิ", "title": "กระบี่แสง" }, { "docid": "6175#7", "text": "เมื่อนักเรียนแต่ละคนได้รับการฝึกถึงขั้นที่น่าพอใจตามวิถีแห่งเจไดแล้ว เหล่าอัศวินที่ประสงค์จะมีศิษย์จะมาคัดเลือกเด็กเหล่านี้ไปฝึกฝนแบบตัวต่อตัว โดยเด็กที่ได้รับเลือกจะมีสถานะเป็น พาดาวัน สัญลักษณ์ของพาดาวัน (ในเผ่าพันธุ์ที่มีเส้นผม) คือ การไว้ผมเปียเล็กห้อยข้างใบหู และเกล้าหางม้าขนาดเล็กที่หลังศีรษะ สัญลักษณ์เหล่านี้จะถูกตัดออกในพิธีหลังจากพาดาวันได้รับการยอมรับเป็นอัศวินเต็มตัว ศิษย์พาดาวันจะติดตามอาจารย์ไปในภารกิจต่างๆ โดยอาจารย์จะทำตัวเป็นแบบอย่างให้คำชี้แนะ เมื่อพาดาวันมีประสบการณ์และฝีมือมากขึ้นก็อาจได้รับภารกิจเดี่ยวเป็นบางครั้ง", "title": "เจได" }, { "docid": "80139#8", "text": "เป็นนานหลายปี ที่อัศวินเจไดและกองทัพบกและทัพเรือโบราณของสาธารณรัฐทำการป้องกันความรุนแรง ในช่วงประมาณ 24,500ปีก่อนยุทธการยาวิน การแตกแยกครั้งใหญ่ครั้งแรกก็เกิดขึ้น หลังจากที่กองทัพแห่งเลทโทว์ได้ก่อตั้งขึ้นโดยเจไดผู้ที่เชื่อว่าพลังที่แท้จริงไม่ได้มาจากการนั่งสมาธิอย่างที่อาจารย์เจไดทั่วไปสอน แต่มาจากอารมณ์ ความตึงเครียดระหว่างเจไดและเจไดนอกรีต นำโดยเซนดอร์ และหลังจากที่เขาตาย อาร์เดน ลีนก็รับช่วงต่อแทน ", "title": "สาธารณรัฐกาแลกติก" }, { "docid": "262067#1", "text": "เอมพาโตเจโยส แบรนด์เป็นอัศวินเจไดที่รอดชีวิตจากการกวาดล้างเจไดครั้งใหญ่ แรกเริ่มเขาเป็นศิษย์พาดาวันของยาดเดิล สำเร็จขึ้นเป็นอัศวินหลังจากยุทธการนาบูในปีที่ 32 ก่อนยุทธการยาวิน หลังจากนั้นได้รับใช้นิกายเจไดและสาธารณรัฐเรื่อยมา จนในปีที่ 22 ก่อนยุทธการยาวิน แบรนด์ถูกส่งไปเจรจายุติสงครามกลางเมืองเซปันที่ยืดเยื้อมานับทศวรรษ ทว่าการเจรจานั้นไม่สำเร็จผล แบรนด์เป็นคนหนึ่งที่ได้ขับยาน เดลต้า 7 แอเธอร์สไปรต์-คลาส ไลท์อินเตอร์เซพเตอร์ ในฐานะส่วนหนึ่งของหน่วยเจไดจู่โจมในยุทธการจีโอโนซิส ต่อมาได้ขึ้นเป็นนายพลเจไดในช่วงสงคราม นำกองทัพทหารโคลนสู่ชัยชนะในยุทธการบาสซาโดร", "title": "เอมพาโตเจโยส แบรนด์" }, { "docid": "70816#9", "text": "การที่ลุงของลุคได้ซื้อดรอยด์สองตัวมาจากพวกจาวาได้เปลี่ยนชีวิตของหนุ่มน้อยไปตลอดกาล หลังจากค้นพบข้อความขอความช่วยเหลือต่อ \"โอบีวัน\" เคโนบี ที่ถูกบันทึกไว้ในแอสโตรเมคดรอยด์ อาร์ทูดีทู ลุคก็เข้าร่วมการเดินทางกับ \"เบน\" เคโนบี ซึ่งได้เปิดเผยตัวเองว่าเคยเป็นอัศวินเจไดที่ต่อสู้ในสงครามโคลนร่วมกับพ่อของลุค และบอกลุคว่าพ่อของเขาไม่ใช่นักบินยานขนส่งสินค้า แต่เป็นอัศวินเจไดที่ถูกฆ่าโดยดาร์ธ เวเดอร์", "title": "ลุค สกายวอล์คเกอร์" }, { "docid": "71309#1", "text": "โดยปกติแล้ว ตำแหน่งอาจารย์เจไดจะถูกมอบให้กับอัศวินเจไดที่สามารถฝึกฝนพาดาวันจนเป็นอัศวินได้เป็นผลสำเร็จ เมื่อใดที่ผู้สอนรู้สึกว่าพาดาวันของตนพร้อมแล้วนั้นสภาเจไดก็จะเลื่อนขั้นให้กับทั้งคู่ตราบใดที่ศิษย์คนนั้นสามารถผ่านการทดสอบได้ หลังจากนั้นอาจารย์เจไดสามารถนำผู้ฝึกคนใหม่เข้ามาฝึกฝนได้อีก อัศวินที่ไม่ได้รับฝึกสอนพาดาวันอาจเข้ารับการทดสอบอีกครั้งเพื่อขอรับตำแหน่งอาจารย์เจไดได้ แต่การทดสอบมักจะยากขึ้นกว่าเดิมและมักมีข้อทดสอบมากข้อขึ้น ตำแหน่งอาจารย์เจไดอาจถูกมอบให้กับอัศวินเจไดที่ปฏิบัติหน้าที่ได้ดีเยี่ยมเป็นพิเศษ อย่างไรก็ดีกรณีนี้ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก และที่ยิ่งไม่บ่อยไปกว่านั้นอีกอย่างในกรณีที่อัศวินเจไดอาจจะถือเอาเองว่าตนเองเป็นอาจารย์เจได เช่นกรณีของโจรุส คับบาออธ อย่างไรก็ดีในกรณีของโจรุสนั้นการถือเอาเองของเขาไม่เป็นข้อกังขาแม้แต่กับสภาเอง (ตัวโคลนของโจรุสก็ถือเอาเองว่าตนเป็นอาจารย์เจไดเช่นกัน) เชื่อกันว่าเจไดพลัดถิ่นอาจจะถือเอาเองว่าตนเป็นอาจารย์เจไดได้ในลักษณะเดียวกัน ตัวลุค สกายวอล์คเกอร์เอง หลังจากต้องฝ่าฟันอุปสรรคจำนวนมากเพื่อก่อตั้งนิกายใหม่ก็ถือเอาตำแหน่งอาจารย์เจไดขึ้นเองหลังจากเขามีพลังมากขึ้นจากการเข้าเป็นผู้ฝึกกับพัลพาทีนคืนชีพ", "title": "อาจารย์เจได" }, { "docid": "70882#1", "text": "ไควกอน จินน์เป็นอาจารย์เจไดที่เป็นที่เคารพนับถือ แต่ก็เป็นผู้มีแนวคิดสวนกระแสอย่างมาก เป็นพาดาวันของเคานท์ดูกู และผู้ฝึกสอนโอบีวัน เคโนบี ผู้จะกลายเป็นอัศวินเจไดที่ยิ่งใหญ่ในกาลต่อมา ไควกอนมักจะมีเหตุให้ต้องขัดแย้งกับสภาเจไดอยู่เสมอ โดยเฉพาะกับเหล่าอาจารย์เจไดที่มีแนวคิดเคร่งครัด เขาให้ความสนใจในการศึกษาและรับใช้พลังเป็นสำคัญที่สุด เขามักจะทำให้เจไดคนอื่นๆ ประหลาดใจในความแหกคอกของเขา รวมถึงการปฏิเสธตำแหน่งในสภาเจได อย่างไรก็ดี ไควกอน จินน์ ก็ได้รับการยอมรับนับถือจากเจไดจำนวนมากว่าเป็นผู้ทรงภูมิและมีปัญญาเฉียบแหลมที่สุดคนหนึ่ง", "title": "ไควกอน จินน์" }, { "docid": "75605#12", "text": "เจไดมากมายยังต่อต้านการปกครองของพัลพาทีน โอลี สตาร์สโตนและกลุ่มของเจไดที่รอดจากคำสั่งที่ 66พร้อมกับโรอัน ชรีนได้พยายามที่จะเริ่มสภาเจไดแต่ก็ไม่สำเร็จ กลุ่มหลบหนีไปที่คาชีคเพื่อหาเจไดที่รอดชีวิต แต่จักรวรรดิก็เปิดฉากการโจมตีเข้ายึดดาว ดาร์ธ เวเดอร์สังหารโรอัน ชรีนและเจไดที่เหลือ ชาววูคกี้ชื่อชิวแบคก้าได้หนีออกจากเมืองเพื่อหาครอบครัวของเขา ขณะนั้นเอง เฟอร์รัส โอลินพร้อมกับอาจารย์เจไดโซเลซได้สร้างความหายนะบนดาวของจักรวรรดิ รวมทั้งก่อกบฏบนดาวเบลลาสซา ทั้งสองบุกเข้าไปในวิหารเจไดที่ถูกทำลายบนคอรัสซัง และทำลายกองกำลังรักษาการและศูนย์ยุทธภัณฑ์ของจักรวรรดิบนนาบู ที่เคสเซล กลุ่มของเจไดที่มีอาจารย์ซุย ชอยและอัศวินเจไดบัลทาร์ สวอนได้วางแผนหลอกล่อดาร์ธ เวเดอร์เพื่อสังหารเขา เนื่องมาจากยุทธวิธีและแผนที่แย่ พวกเขาทั้งหมดจึงถูกสังหาร อย่างไรก็ตาม ชุดของเวเดอร์ก็ได้รับความเสียหาย ", "title": "จักรวรรดิกาแลกติก" }, { "docid": "6175#11", "text": "ในการปฏิบัติตามหลักของเจได การปฏิบัติตัวของเจไดจะต้องไม่สั่นคลอนเพื่อยืนหยัดในระเบียบวินัยของตนเอง มีความรับผิดชอบและช่วยเหลือสาธารณะ เจไดต้องควบคุมความรู้สึกและความเห็นแก่ตัว พวกเขามีชีวิตที่มีเกียรติ มีหลักเกณฑ์ ในนิกายเจไดความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และศิษย์ เจไดมักช่วยสนับสนุนและปกป้องความอ่อนแอ กฎของการผูกมัด เช่น ความรู้สึก ความคิดเห็น ดั่งความเข้าใจในด้านมืดและสว่างในทุกสิ่ง เรียนรู้ที่จะเห็นอย่างระมัดระวัง เปิดตาของพวกเขาเพื่อรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ไม่ชัดแจ้งและปฏิบัติหน้าที่อย่างระมัดระวัง แม้กระทั่งสนใจในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ สำคัญที่สุด เจไดทำหน้าที่เพื่อสาธารณรัฐและเป็นหนึ่งเดียวกับพลัง เหล่าเจไดก่อนที่รูซานน์จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบมีหนทางหลายหนทางในการปฏิบัติของพวกเขา นิกายมีการจัดรวมที่หละหลวมและอัศวินเอกชนและปรมาจารย์ยอมให้อิสระส่วนตัวมากกว่า ภายหลัง นิกายมีศูนย์กลางสำคัญคือสภาสูง", "title": "เจได" }, { "docid": "6175#10", "text": "อาวุธตามธรรมเนียมของเจไดก็คือกระบี่แสงซึ่งเมื่ออยู่ในมือที่มีทักษะคล่องแคล่ว อาจกลายเป็นการต่อสู้ที่ร้ายกาจ แม้แต่กับการต่อกรกับคู่ต่อสู้ที่ใช้อาวุธระยะไกล ในการบรรลุระดับของทักษะนี้ต้องการความตั้งใจสูงและการฝึกฝนที่เข้มงวด นักเรียนจะฝึกฝนการใช้กระบี่แสงจากระยะไกลและเด็กๆ จะใช้กระบี่แสงในการฝึกฝน พวกเขายังดวลกับเจไดด้วยกันเองเพื่อทดสอบฝีมือของพวกเขา เมื่อถึงเวลาการใช้กระบี่จริงๆ เจไดต้องการความระมัดระวังสูง ด้วยเหตุนี้การฝึกฝนให้เป็นหนึ่งเดียวกับพลัง ตั้งแต่การเป็นหนึ่งเดียวกับความประณีตในเนื้อในของกระบี่แสงและชั้นแรกของประจุพลังซึ่งต้องการความรู้ทางด้านพลังเพื่อสนับสนุน เจไดจะสร้างกระบี่แสงด้วยตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกฝน โดยใช้คริสตัลพิเศษเป็นจุดรวมของใบกระบี่แสง ในช่วงสงครามเจไดกลางเมือง เจไดซีรีนหลายคนใช้คริสตัลพิเศษคาชาในกระบี่แสงเป็นเครื่องมือในการเข้าญาณ โดยการเป็นหนึ่งเดียวกับคริสตัลในการฝึกกฎเกณฑ์ของพวกเขา เพื่อช่วยขจัดความวอกแวกในจิตใจ แม้แต่ความตึงเครียดในการต่อสู้จะนำตัวมันเองเพื่อหาส่วนประกอบของกระบี่แสง การเข้าญาณในถ้ำคริสตัลบนดาวเคราะห์ เช่น อิลัมหรือแดนทูอีนมักจะเห็นภาพใจจิตใจของเจไดเกี่ยวกับกระบี่แสงที่พวกเขาจะสร้างขึ้น การสร้างกระบี่แสงถูกพิจารณาเป็นเครื่องวัดระยะของการเข้าสู่ขั้นอัศวินเจไดและเป็นสัญลักษณ์ที่ให้ความหมายแข็งแกร่ง", "title": "เจได" }, { "docid": "6175#25", "text": "อัศวินเจได พาดาวันที่ถูกฝึกสอนอาจกลายเป็นเจไดที่ถูกสอนเต็มที่แล้วเมื่อพวกเขาสำเร็จการพิสูจน์ความเป็นเจได การพิสูจน์ก็มี แต่มันก็มีจำกัดเช่นกัน การพิสูจน์แห่งความเป็นคน การพิสูจน์แห่งความกล้าหาญ การพิสูจน์แห่งทักษะและการพิสูจน์แห่งตน (หรือการพิสูจน์แห่งกระจกเงา) อาจารย์เจได อัศวินเจไดที่แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในพลังและจัดการสอนพาดาวันและฝึกจนเขาบรรลุถึงอัศวินเจได คำนำหน้านี้อาจใช้ให้กับผู้ที่ทำวีรกรรมที่น่ายกย่อง การประกาศตนเองให้เป็นอาจารย์เจไดนั้นหายากและเป็นที่ไม่พอใจของสภาเจได ตัวอย่างเช่น โจรัส ซี บอท (Jorus C'baoth) และตัวโคลนของเขาโจรัส ซี บอท (Joruus C'baoth) สมาชิกของสภา เจไดน้อยมักที่จะถูกเสนอชื่อให้รับใช้สภาเจได การดูแลนิกาย สภาจะมีแต่ผู้ที่มีความรู้เยอะส่วนใหญ่ อาจารย์ที่มีประสบการณ์ (ในวันที่แห้งเหือดของนิกาย หนึ่งอัศวิน คิ-อดิ-มันดิ ทำหน้าที่เป็นสมาชิกของสภา แต่เขาพบความยากลำบากในการเป็นอาจารย์ในเวลาที่เขาถูกเสนอชื่อ) อัศวินเจไดอีกคน อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ ถูกแต่งตั้งเข้าสภาโดยสมุหนายกพัลพาทีน แม้ว่าเขาจะไม่ได้รับขั้นอาจารย์เพราะเหตุนี้ สภาจะประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดเป็นอาจารย์ 12 คน โดย 5 คนจะใช้เวลาทั้งชีวิต( 2 คนจะขอลดตำแหน่งเป็นรอง) 4 คนในช่วงเวลายาวนาน และ 3 คนในช่วงเวลาสั้นๆ ปรมาจารย์เจได ระดับสูงสุดในนิกายเจไดนั้นคือปรมาจารย์เจได โยดาคือหนึ่งในปรมาจารย์ เช่นเดียวกับลุค สกายวอล์คเกอร์ในสงครามสวาร์ม บางคนเชื่อว่าอาจารย์แวนดาร์ตั้งตัวเองเป็นอาจารย์ผู้อาวุโส", "title": "เจได" }, { "docid": "71018#2", "text": "จาเซนได้แสดงอำนาจของพลังที่แฝงเร้นอยู่ในตัวตั้งแต่ยังเป็นทารก เมื่อเขาได้ช่วยลุงของเขาพร้อมศิษย์ในการปราบวิญญาณของเอกซาร์ คุน ลงเป็นผลสำเร็จ เขาเริ่มการฝึกฝนเป็นเจไดอย่างเป็นทางการในไม่กี่ปีต่อมาบนเจไดพราเซียมของลุคบนดวงจันทร์ยาวิน 4 และแสดงพรสวรรค์ในฐานะของนักเรียนที่เก่งกาจที่สุดคนหนึ่งด้วยการเข้าร่วมการผจญภัยกับโลวแบคคา, เทเนล คา และไจนานับครั้งไม่ถ้วน ภายหลังในช่วงสงครามยูซาน วอง เขาเริ่มมีมุมมองต่อพลังที่แตกต่างจากวิถีดั้งเดิม แม้จะเป็นอัศวินเจไดที่เก่งกาจที่สุดคนหนึ่งในนิกายเจไดใหม่ก็ตาม", "title": "จาเซน โซโล" } ]
2315
กรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มขึ้นเมื่อใด ?
[ { "docid": "93813#7", "text": "ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปราบดาภิเษกและสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2325 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คืนสู่สมณฐานันดรศักดิ์และพระอารามตามเดิม และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทตรัสสรรเสริญว่าพระองค์ท่านซื่อสัตย์มั่นคงที่จะรักษาพระศาสนาโดยไม่อาลัยชีวิต ควรเป็นที่นับถือ ต่อไปหากมีข้อสงสัยใดในพระบาลี ก็ให้ถือตามถ้อยคำพระองค์ท่าน แล้วให้รื้อตำหนักทองของเจ้ากรุงธนบุรีนั้นไปปลูกเป็นกุฎีถวาย ณ วัดบางว้าใหญ่", "title": "สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)" }, { "docid": "44052#1", "text": "สำเพ็งเริ่มต้นจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงสถาปนาสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นที่ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เป็นราชธานีแห่งใหม่แทนที่กรุงธนบุรี ในปี พ.ศ 2325 โดยมีพระบรมมหาราชวังตั้งขึ้นในพื้นที่ ๆ แต่เดิมเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวจีน และโปรดให้ย้ายชุมชนชาวจีนออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่นอกประตูพระนครทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขนานไปกับลำน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่คลองวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาส) ไปจนถึงคลองสามเพ็ง หรือสำเพ็ง", "title": "สำเพ็ง" }, { "docid": "276879#0", "text": "พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสที่กรุงรัตนโกสินทร์จะมีอายุ บรรจบครบ 200 ปี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2525 ซึ่งรัฐบาลสมัย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า ในปีพ.ศ. 2525 กรุงรัตนโกสินทร์จะมีอายุได้ 200 ปี นับเป็นมหามงคลสมัยแสดงถึงความมั่นคงของบ้านเมือง ได้ผ่านพ้นภัยพิบัติต่างๆ มาโดยสวัสดี มีความร่มเย็นเป็นสุขด้วยพระบารมีของพระผู้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และด้วยพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ผู้สืบราชสันตติวงศ์ทุกรัชกาลโดยลำดับ รัฐบาลและปวงชนชาวไทยจึงมีความปีติยินดี พร้อมกันแสดงความกตเวทิตาคุณ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อ พระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ และบรรพชนไทยที่จรรโลงชาติให้มีความรุ่งเรืองสันติสุขสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้", "title": "พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี" }, { "docid": "739454#3", "text": "ต่อมาในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2525 รัฐบาลไทยได้กำหนดให้พ.ศ. 2525 เป็นปีเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ 2 ศตวรรษ และกำหนดให้โรงเรียน บวรนิเวศศาลายาแห่งนี้ เป็นอนุสรณ์ในการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น \"โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา\" และได้เปิดรับนักเรียนใน ระดับชั้นมัธยมศึกษาแบบสหศึกษา ซึ่งกรมสามัญศึกษา ได้แต่งตั้งให้ นายอนันต์   คงถาวร ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบวรนิเวศ มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่", "title": "โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ นครปฐม" }, { "docid": "7734#13", "text": "พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีแห่งใหม่ ทำให้เมืองร้อยเอ็ดและบรรดาหัวเมืองอีสานล้วนต้องขึ้นตรงต่อกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนเมืองร้อยเอ็ดก็ได้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนมีฐานะทางการเมืองและความสำคัญเหนือเมืองสุวรรณภูมิในเวลาต่อมา", "title": "จังหวัดร้อยเอ็ด" }, { "docid": "4226#20", "text": "ในวาระการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 200 ปี รัฐบาลได้จัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2525 ในการนี้รัฐบาลและปวงชนชาวไทยพร้อมใจกันเฉลิมพระเกียรติพระองค์โดยถวายพระราชสมัญญา \"มหาราช\" ต่อท้ายพระปรมาภิไธย ออกพระนามว่า \"พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช\"", "title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช" }, { "docid": "16485#0", "text": "ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ \nเป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325", "title": "อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)" } ]
[ { "docid": "13573#10", "text": "หนังตะลุงเกิดขึ้นเมื่อใดนั้น ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด นักวิชาการสันนิษฐานว่าคงเป็นช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะกลอนหนังตะลุงนิยมแต่งเป็นกลอนแปด ซึ่งในสมัยอยุธยากลอนแปดไม่ได้เป็นที่นิยมแพร่หลาย ยิ่งในภาคใต้ วรรณกรรมพื้นบ้านรุ่นเก่าแก่ล้วนแต่งเป็นกาพย์ทั้งสิ้น กลอนแปดเพิ่งมาเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางก็เมื่อหลังสุนทรภู่แต่งเรื่องพระอภัยมณีออกเผยแพร่แล้วนี่เอง", "title": "หนังตะลุง" }, { "docid": "5256#22", "text": "ในช่วงนี้ กรุงรัตนโกสินทร์ยังไม่ค่อยมีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตกมากนัก ต่อมาเมื่อชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาค้าขายอีก ได้ตระหนักว่าพวกพ่อค้าจีนได้รับสิทธิพิเศษเหนือคนไทยและพวกตน จึงได้เริ่มเรียกร้องสิทธิพิเศษต่าง ๆ มาโดยตลอด มีการเดินทางเยือนของทูตหลายคน อาทิ จอห์น ครอเฟิร์ต ตัวแทนจากบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ยังไม่บรรลุข้อตกลงใด ๆ สนธิสัญญาที่มีการลงนามในช่วงนี้ เช่น สนธิสัญญาเบอร์นี และสนธิสัญญาโรเบิร์ต แต่ก็เป็นเพียงข้อตกลงที่ไม่มีผลกระทบมากนัก และชาวตะวันตกไม่ค่อยได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด", "title": "ประวัติศาสตร์ไทย" }, { "docid": "43397#6", "text": "ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้นตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 5 พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงมีพระราชโอรสหลายพระองค์ พระราชโอรสนั้นก็ทรงมีพระโอรสที่ดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้าต่อมา ทำให้ราชวงศ์จักรีมีหม่อมเจ้าหลายพันพระองค์ ซึ่งหากหม่อมเจ้าพระองค์ใด ทำคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นเป็นพระองค์เจ้า", "title": "หม่อมเจ้า" }, { "docid": "342810#8", "text": "ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเหมือนกรุงศรีอยุธยาแห่งที่สอง มีการสร้างสถาปัตยกรรมที่สำคัญเลียนแบบกรุงศรีอยุธยา ส่วนบ้านพักอาศัย เรือนไทยที่คงเหลือจากสงครามก็ถูกถอดและนำประกอบใหม่", "title": "สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์" } ]
2209
ความเร็วในฟิสิกส์ คืออะไร ?
[ { "docid": "19997#0", "text": "ในทางฟิสิกส์ ความเร็ว คืออัตราการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งต่อหน่วยเวลา มีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที (m/s) ในหน่วยเอสไอ ความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์ซึ่งประกอบด้วยอัตราเร็วและทิศทาง ขนาดของความเร็วคืออัตราเร็วซึ่งเป็นปริมาณสเกลาร์ ตัวอย่างเช่น \"5 เมตรต่อวินาที\" เป็นอัตราเร็ว ในขณะที่ \"5 เมตรต่อวินาทีไปทางทิศตะวันออก\" เป็นความเร็ว ความเร็วเฉลี่ย v ของวัตถุที่เคลื่อนที่ไปด้วยการกระจัดขนาดหนึ่ง ∆x ในช่วงเวลาหนึ่ง ∆t สามารถอธิบายได้ด้วยสูตรนี้", "title": "ความเร็ว" } ]
[ { "docid": "26330#1", "text": "คำว่า อะคูสติกนั้น มาจากภาษากรีกโบราณ ว่า “อะคูสติกคอส” หมายถึง “สามารถได้ยิน” ในปัจจุบัน อะคูสติกส์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง ควบคุม ส่ง รับ และผลกระทบของเสียง โดยเริ่มต้นด้วยการศึกษาการสั่นเชิงกล และการแผ่คลื่นจากการสั่นเหล่านี้ จนถึงการศึกษาคลื่นเชิงกล โดยยังมีการศึกษาค้นคว้าเรื่อยมา งานวิจัยด้านสวนศาสตร์ดำเนินไปหลายลักษณะ จากกระบวนการเชิงฟิสิกส์มูลฐาน ที่เกี่ยวข้องกับคลื่นและเสียง และอาจโยงไปถึงการประยุกต์ใช้กระบวนการเหล่านี้ในชีวิตสมัยใหม่ การศึกษาคลื่นเสียงยังนำไปสู่หลักการทางฟิสิกส์ที่อาจประยุกตใช้กับการศึกษาคลื่นทุกชนิดด้วยคุณลักษณะของคลื่นเสียงนั้นกำหนดโดย ความเร็ว ความยาวคลื่น และ แอมพลิจูด ความเร็วของเสียงขึ้นกับตัวกลาง และอุณหภูมิ โดยไม่ขึ้นกับความดันอากาศ ความเร็วของเสียงในอากาศมีค่าประมาณ 340 เมตรต่อวินาที และ 1500 เมตรต่อวินาทีในน้ำ ความยาวคลื่นคือระยะทางระหว่างยอดคลื่นของลูกที่อยู่ติดกัน โดยความสัมพันธ์ระหว่าง ความยาวคลื่น formula_1 ความเร็วของเสียง formula_2 และ ความถี่เสียง formula_3 คือ ", "title": "สวนศาสตร์" }, { "docid": "257545#1", "text": "ทฤษฎีบทงาน-พลังงาน กล่าวว่า ถ้ามีแรงภายนอกมากระทำต่อวัตถุคงรูป ซึ่งทำให้พลังงานจลน์ของวัตถุเปลี่ยนจาก \"E\" เป็น \"E\" ดังนั้นงานเชิงกล \"W\" หาได้จากสูตรดังนี้\nเมื่อ \"m\" คือมวลของวัตถุ และ \"v\" คือความเร็วของวัตถุ", "title": "งาน (ฟิสิกส์)" }, { "docid": "28500#2", "text": "ในฟิสิกส์ การหาปริพันธ์ของความเร่งทำให้ได้ความเร็วบวกกับค่าคงตัว ค่าคงตัวนี้ก็คือพจน์ความเร็วตั้งต้น ซึ่งจะหายไปเมื่อเราหาอนุพันธ์ของความเร็ว เพราะว่าอนุพันธ์ของพจน์ที่คงตัวมีค่าเป็นศูนย์ โดยมันจะเป็นเช่นเดิมเมื่อหาปริพันธ์และอนุพันธ์ของการเคลื่อนที่ (ตำแหน่ง ความเร็ว ความเร่ง และอื่น ๆ)", "title": "ปฏิยานุพันธ์" }, { "docid": "500057#2", "text": "ในทางฟิสิกส์ สนามเป็นการบ่งชี้ของปริมาณ (เวกเตอร์, การบิด - Tensor หรือ การหมุน - Spinor) ต่อทุกจุดบนอวกาศที่มีมันอยู่ข้างใน คำว่า Torsion ที่แปลว่าการบิด หมายถึงตัวแปรใด ๆ ก็ตามที่แสดงถึงการบิดหมุน ดังนั้น สนามแรงบิดจึงมีอยู่จริง ตัวอย่างเช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีการ Polarized เป็นรอบวง หรือความเครียดจากแรงบิดของวัตถุแข็งภายใต้แรงเครียดบิด (Stress tensor) ก็สามารถแสดงอธิบายออกมาในรูปของสนามแรงบิดได้ แม้ในการใช้งานจริงเราจะไม่ใช้ศัพท์นี้เท่าไร สนามการหมุน โดยเฉพาะใน Fermionic field อันเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามคอนเซปต์ของฟิสิกส์อนุภาค และทฤษฎีสนามควอนตั้ม เมื่อก้าวล่วงจากส่วนงานวิจัยที่เป็นระเบียบแบบแผนตามข้างต้น ก็มีกลุ่มคนที่นำลักษณะของสนามการหมุนหรือสนามการบิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ไปใช้อ้างว่า Spin-Spin interaction (ที่เป็นปรากฏการณ์เชิงควอนตัมที่มีการศึกษามาแล้วเป็นอย่างดี) สามารถส่งผ่านห้วงว่างอวกาศคล้ายกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยไม่มีการนำมวล หรือพลังงาน เป็นการส่งผ่านเฉพาะข้อมูลล้วน ๆ และเดินทางด้วยความเร็ว 109 เท่าของความเร็วแสง ในขณะเดียวกัน คนกลุ่มนี้ยังอ้างด้วยว่า Spin-Spin interaction ถูกนำพาด้วยนิวตริโน ซึ่งมีมวลเพียงน้อยนิด มีพลังงานมหาศาล และไม่มีปฏิสัมพันธ์กับสสาร แต่ในขณะเดียวกัน สามารถผลิตขึ้น และตรวจจับได้อย่างง่ายดาย[8]", "title": "สนามแรงบิด (วิทยาศาสตร์เทียม)" }, { "docid": "17336#20", "text": "นอกจากนี้อัตราเร็วแสงยังเป็นปริมาณที่คงที่ มีค่าเท่ากันโดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งหรือความเร็วของผู้สังเกต คุณสมบัตินี้ทำให้ความเร็วของแสง เป็นหน่วยวัดตามธรรมชาติสำหรับความเร็ว", "title": "การเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์)" }, { "docid": "51301#62", "text": "Al-Haytham ยังโต้แย้งได้ถูกต้องว่าเราเห็นวัตถุเพราะรังสีของแสงจากดวงอาทิตย์ ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นลำของอนุภาคเล็กจิ๋วเคลื่อนที่เป็นเส้นนตรง และสะท้อนจากวัตถุไปยังดวงตาของเรา เขาเข้าใจว่าแสงต้องเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงแต่มีค่าจำกัด และการหักเหเกิดขึ้นจากความเร็วต่างกันในสารที่ต่างกัน เขายังศึกษากระจกทรงกลมและทรงพาราโบลา และเข้าใจวิธีการหักเหโดยเลนส์จะทำให้ภาพโฟกัสและขยายเมื่อเข้าที่ เขายังเข้าใจในเชิงคณิตศาสตร์ว่าทำไมกระจกทรงกลมจึงเกิดคามคลาดขึ้น", "title": "ประวัติศาสตร์ฟิสิกส์" }, { "docid": "19997#14", "text": "หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์ หมวดหมู่:การเคลื่อนที่", "title": "ความเร็ว" }, { "docid": "492881#0", "text": "กลศาสตร์ (กรีก: ) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยพฤติกรรมของวัตถุทางกายภาพเมื่อถูกแรงกระทำหรือเมื่อมีการกระจัด กลศาสตร์มีรากฐานมาจากอารยธรรมกรีซโบราณ งานเขียนของอาริสโตเติล และอาร์คิมิดีส นักวิทยาศาสตร์ในสมัยใหม่ตอนต้น เช่น โอมาร์ คัยยาม, กาลิเลโอ กาลิเลอี, โยฮันเนส เคปเลอร์, และโดยเฉพาะ ไอแซก นิวตัน เป็นผู้วางรากฐานกลศาสตร์ดั้งเดิม กลศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของฟิสิกส์ดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องอนุภาคทั้งที่หยุดนิ่งและที่กำลังเคลื่อนที่ ด้วยความเร็วที่น้อยกว่าความเร็วแสง และเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุและแรงที่กระทำต่อวัตถุ", "title": "กลศาสตร์" }, { "docid": "17336#0", "text": "การเคลื่อนที่ในฟิสิกส์ หมายถึง การเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง ถูกอธิบายด้วย การกระจัด ระยะทาง ความเร็ว ความเร่ง เวลา และอัตราเร็ว การเคลื่อนที่ของวัตถุจะถูกสังเกตได้โดยผู้สังเกตที่เป็นส่วนหนึ่งของกรอบอ้างอิง ทำการวัดการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุเทียบกับกรอบอ้างอิงนั้น", "title": "การเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์)" }, { "docid": "134773#7", "text": "นอกเหนือจากนั้นเกมได้นำระบบฟิสิกส์เข้ามาใช้ในเกม โดยเฉพาะเมื่อโซนิคต้องวิ่งขึ้นเนินเฉียง ความเร็วเขาจะตกลง แต่เมื่อเมื่อวิ่งลงความเร็วจะเพิ่ม และเมื่ออยู่ในน้ำการกระทำอะไรต่างๆจะทำได้ช้าลง แต่การกระโดดจะสูงขึ้น ซึ่งในใต้น้ำโซนิคจะมีเวลหายใจได้ 30 วินาที หลังจากนั้นเขาจะจมน้ำแล้วผู้เล่นจะเสียค่าชีวิตไป ซึ่งผู้เล่นสามารถป้องกันจุดนี้ได้ด้วยการเดินเข้าไปหาฟองอากาศให้โซนิคหายใจ หรือไม่ก็กระโดดให้ออกจากน้ำ", "title": "โซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก (วิดีโอเกม)" }, { "docid": "13987#6", "text": "นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษชื่อ โยฮัน วิลเฮล์ม เฮ็ดทอร์ฟ (Johann Wilhelm Hittorf) ได้ศึกษาการนำไฟฟ้าในก๊าซบริสุทธิ์: ในปี ค.ศ. 1869 เขาค้นพบการเรืองแสงที่เพิ่มขึ้นที่ออกมาจากหลอดรังสีแคโทดในขณะที่ลดความดันของก๊าซที่อยู่ภายในลง ในปี 1876 นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ เออเก็น โกลด์สไตน์ (Eugen Goldstein) ได้แสดงให้เห็นว่ารังสีจากการเรืองแสงนี้ทอดเงาได้และเขาขนานนามว่า รังสีแคโทด [9] ในระหว่างช่วงยุคปี ค.ศ. 1870 นักฟิสิกส์และนักเคมีชาวอังกฤษ เซอร์ วิลเลียม ครูกส์ (Sir William Crookes) ได้พัฒนาหลอดรังสีแคโทดที่มีสภาพความเป็นสุญญากาศสูงอยู่ภายในขึ้นเป็นครั้งแรก [10] จากนั้นเขาก็แสดงให้เห็นว่ารังสีเรืองแสงที่ปรากฏภายในหลอดนั้นสามารถนำพาพลังงานไปได้และเคลื่อนที่ออกมาจากแคโทดไปยังแอโนด นอกจากนี้โดยการใช้สนามแม่เหล็กเขาก็สามารถที่จะหันเหทิศทางของรังสีนี้ได้จึงแสดงให้เห็นว่าลำแสงนี้ทำตัวราวกับว่ามันเป็นประจุลบ [11][12] ในปี 1879 เขาเสนอว่าคุณสมบัติเหล่านี้สามารถอธิบายได้โดยสิ่งที่เขาเรียกว่า 'สสารแผ่รังสี' (radiant matter) เขาได้เสนอแนะว่านี่คือสถานะที่สี่ของสสารที่ประกอบด้วยโมเลกุลที่มีประจุลบที่ถูกฉายออกมาด้วยความเร็วสูงจากขั้วแคโทด [13]", "title": "อิเล็กตรอน" }, { "docid": "212676#0", "text": "ในวิชาฟิสิกส์ คลื่นความโน้มถ่วง () คือความผันผวนของความโค้งในปริภูมิ-เวลาที่แผ่ออกเป็นคลื่น ที่เดินทางออกจากแหล่งกำเนิด อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ทำนายไว้ใน ค.ศ. 1916 บนพื้นฐานทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขา คลื่นความโน้มถ่วงส่งพลังงานเป็นรังสีความโน้มถ่วง () การมีคลื่นความโน้มถ่วงนี้เป็นผลลัพธ์ที่เกิดได้จากความไม่แปรเปลี่ยนลอเรนซ์ (Lorentz invariance) ของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป เพราะนำมาซึ่งมโนทัศน์ความเร็วจำกัดของการแผ่ของอันตรกิริยากายภาพ ในทางตรงข้าม คลื่นความโน้มถ่วงมีไม่ได้ในกฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตัน ซึ่งมีสัจพจน์ว่าอันตรกิริยากายภาพแผ่ด้วยความเร็วอนันต์", "title": "คลื่นความโน้มถ่วง" }, { "docid": "146009#1", "text": "รถไฟ Maglev ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับแรงดึงและแรงเสียดทานที่เกิดจากรางวิ่งหมายความว่าความเร่งและความหน่วงของมันมีมากกว่าพาหนะที่ใช้ล้อและมันจะไม่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศ. พลังงานที่จำเป็นสำหรับการยกตัวโดยทั่วไปมักจะมีจำนวนเปอร์เซ็นต์ไม่มากเมื่อเทียบกับการใช้พลังงานโดยรวม[6]; พลังงานส่วนใหญ่ถูกใช้ไปในการเอาชนะแรงต้านของอากาศ (drag ในทางฟิสิกส์), เช่นเดียวกับรูปแบบของการขนส่งความเร็วสูงอื่นๆ. ถึงแม้ว่าการขนส่งที่ใช้ล้อธรรมดาก็สามารถเดินทางได้อย่างรวดเร็วมากก็ตาม, แต่ระบบ maglev สามารถใช้ความเร็วที่สูงกว่าได้เป็นประจำในขณะที่รถไฟธรรมดาไม่สามารถทำได้, และมันเป็นประเภทนี้เองที่เป็นระบบที่ได้รับการบันทึกความเร็วสำหรับการขนส่งทางรถไฟ. ระบบรถไฟหลอดสูญญากาศยังเป็นข้อสันนิษฐานที่อาจทำให้ maglev สัมฤทธิ์ผลด้านความเร็วในขนาดที่แตกต่างกัน. ในขณะที่ยังไม่มีรางวิ่งดังกล่าวในหลอดสูญญากาศที่ได้รับการสร้างขึ้นในเชิงพาณิชย์, มีความพยายามเป็นจำนวนมากที่จะศึกษาและพัฒนารถไฟแบบ \"ซุปเปอร์ maglev\"[7].", "title": "แม็กเลฟ" }, { "docid": "21991#4", "text": "ในแบบจำลองทางฟิสิกส์ เราใช้ระบบ\"เป็นจุด\" กล่าวคือเราแทนวัตถุด้วยจุดหนึ่งมิติที่ศูนย์กลางมวลของมัน การเปลี่ยนแปลงเพียงชนิดเดียวที่เกิดขึ้นได้กับวัตถุก็คือการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม (อัตราเร็ว) ของมัน ตั้งแต่มีการเสนอทฤษฎีอะตอมขึ้น ระบบทางฟิสิกส์ใดๆ จะถูกมองในวิชาฟิสิกส์ดั้งเดิมว่าประกอบขึ้นจากระบบเป็นจุดมากมายที่เรียกว่าอะตอมหรือโมเลกุล เพราะฉะนั้น แรงต่างๆ สามารถนิยามได้ว่าเป็นผลกระทบของมัน นั่นก็คือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการเคลื่อนที่ที่มันได้รับบนระบบเป็นจุด การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่นั้นสามารถระบุจำนวนได้โดยความเร่ง (อนุพันธ์ของความเร็ว) การค้นพบของไอแซก นิวตันที่ว่าแรงจะทำให้เกิดความเร่งโดยแปรผกผันกับปริมาณที่เรียกว่ามวล ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับอัตราเร็วของระบบ เรียกว่ากฎข้อที่สองของนิวตัน กฎนี้ทำให้เราสามารถทำนายผลกระทบของแรงต่อระบบเป็นจุดใดๆ ที่เราทราบมวล กฎนั้นมักจะเขียนดังนี้", "title": "แรง" }, { "docid": "17336#14", "text": "ในกลศาสตร์ดั่งเดิม การวัดและการทำนายสถานะของวัตถุสามารถคำนวณได้อย่างแม่นยำ เช่น ตำแหน่ง และ ความเร็ว ในกลศาสตร์ควอนตัมเนื่องจากหลักความไม่แน่นอน สถานะที่สมบูรณ์ของอนุภาคย่อย เช่น ตำแหน่งและความเร็วไม่สามารถกำหนดได้พร้อม ๆ กัน", "title": "การเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์)" }, { "docid": "148059#0", "text": "ในวิชาฟิสิกส์ ความเร็วหลุดพ้น คือ อัตราเร็วที่พลังงานจลน์บวกกับพลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุแล้วมีค่าเป็นศูนย์ ความเร็วหลุดพ้น คือ ความเร็วที่จะพาวัตถุไปได้ไกลจนพ้นจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลกได้พอดี ถ้าต้องการส่งยานอวกาศออกไปให้พ้นจากสนามโน้มถ่วงของโลก ต้องทำให้ยานอวกาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าความเร็วหลุดพ้น ความเร็วหลุดพ้นมีค่าประมาณ 11.2 km/s หรือ 40,320 km/h", "title": "ความเร็วหลุดพ้น" }, { "docid": "17253#0", "text": "ในวิชาวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ ความเร่ง (, สัญลักษณ์: \"a\") คือ อัตราการเปลี่ยนแปลง (หรืออนุพันธ์เวลา) ของความเร็ว เป็นปริมาณเวกเตอร์ (ตามกฎสี่เหลี่ยมด้านขนาน) ที่มีหน่วยเป็น ความยาว/เวลา² ในหน่วยเอสไอกำหนดให้หน่วยเป็น เมตร/วินาที²ยกตัวอย่างเช่น เมื่อรถเริ่มเคลื่อนที่จากจุดหยุดนิ่ง (ความเร็วเป็นศูนย์) เคลื่อนที่ไปตามแนวเส้นตรงด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้น ความเร่งจะมีทิศทางเดียวกันกับการเคลื่อนที่ ถ้ารถเปลี่ยนทิศทาง ความเร่งก็จะเปลี่ยนทิศทางตามไปด้วย เราจะเรียกการความเร่งที่ไปตามทิศทางของรถนี้ว่า \"อัตราเร่งที่เป็นเส้นตรง (Linear Acceleration)\" ซึ่งผู้โดยสารบนยานพาหนะบางคนอาจจะถูกดันลงไปกับเบาะ เมื่อเปลี่ยนทิศทางไป เราจะเรียกว่า \"อัตราเร่งที่ไม่เป็นเส้นตรง (Non-Linear Acceleration)\" ซึ่งผู้โดยสารบนยานพาหนะจะถูกแรงเหวี่ยง (Sideway Force) ออกไปถ้าความเร็วของรถลดลง ทิศทางของความเร่งจะตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ (ความเร่งมีค่าติดลบ) หรือ ความหน่วง ซึ่งผู้โดยสารบนยานพาหนะจะถูกผลักไปด้านหน้าหากมีความหน่วง ตามหลักการทางคณิตศาสตร์แล้ว ความหน่วงจะไม่มีสมการเฉพาะแบบความเร่ง แต่จะเปลี่ยนไปตามความเร็วเท่านั้น", "title": "ความเร่ง" }, { "docid": "15703#43", "text": "กาลิเลโอยังได้นำเสนอแนวคิดพื้นฐานเริ่มแรกเกี่ยวกับความสัมพัทธ์ เขากล่าวว่ากฎทางฟิสิกส์จะเหมือน ๆ กันภายใต้ระบบใด ๆ ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่เป็นเส้นตรง ไม่ว่าจะอยู่ที่ระดับความเร็วเท่าใดหรือไปยังทิศทางใด จากข้อความนี้จึงไม่มีการเคลื่อนที่แบบสัมบูรณ์หรือการหยุดนิ่งแบบสัมบูรณ์ หลักการพื้นฐานนี้เป็นกรอบความคิดตั้งต้นของกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน และเป็นศูนย์กลางแนวคิดของทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์", "title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี" }, { "docid": "495372#14", "text": "กรมอุตุนิยมวิทยาจีน, หอสังเกตการณ์ฮ่องกง (HKO), สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ต่างแบ่งประเภทของพายุไต้ฝุ่นเพิ่มเติม เพื่อวัตถุประสงค์ภายในประเทศของตนด้วย[10] โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะแบ่งประเภทของพายุไต้ฝุ่นออกเป็นสามประเภท ตามความเร็วลมสูงสุดใน 10 นาที ถ้าต่ำกว่า 84 นอต (156 กม./ชม. หรือ 43 ม./ว. หรือ 97 ไมล์/ชม.) จะถูกจัดเป็นประเภทพายุไต้ฝุ่น, ถ้าความเร็วลมอยู่ระหว่าง 85–104 นอต (157–193 กม./ชม. หรือ 44–54 ม./ว. หรือ 98–120 ไมล์/ชม.) จะถูกจัดประเภทเป็นพายุไต้ฝุ่นกำลังแรงมาก และถ้าความเร็วลมมากกว่า 105 นอต (194 กม./ชม. หรือ 54 ม./ว. หรือ 121 ไมล์/ชม.) จะถูกจัดเป็นพายุไต้ฝุ่นรุนแรง[10] ส่วนหอสังเกตการณ์ฮ่องกงและกรมอุตุนิยมวิทยาจีน จะแบ่งประเภทของพายุไต้ฝุ่นออกเป็นสามประเภท โดยทั้งสององค์กรจะจัดให้พายุที่มีความเร็วลม 80 นอต (150 กม./ชม. หรือ 41 ม./ว. หรือ 92 ไมล์/ชม.) เป็นประเภทพายุไต้ฝุ่น และพายุที่มีกำลังแรงกว่าโดยมีความเร็วลมอยู่ระหว่าง 85–104 นอต (157–193 กม./ชม. หรือ 44–54 ม./ว. หรือ 98–120 ไมล์/ชม.) เป็นพายุไต้ฝุ่นกำลังแรง ขณะที่พายุที่มีความเร็วลมตั้งแต่ 100 นอต (190 กม./ชม. หรือ 51 ม./ว. หรือ 120 ไมล์/ชม.) จะถูกจัดให้เป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น[10][11] ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ ได้เสนอการใช้คำว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น และแนะนำให้ใช้กับระบบพายุที่มีความเร็วลมมากว่า 120 นอต (220 กม./ชม. หรือ 62 ม./ว. หรือ 140 ไมล์/ชม.)[12]", "title": "มาตราพายุหมุนเขตร้อน" }, { "docid": "309791#9", "text": "นอกจากนี้ โฉมที่ 3 ยังได้รับการพัฒนาระบบเบรกที่เคยมีปัญหาจากรุ่นที่ 2 โดยลดความความเร็วจาก 161 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จนหยุด จะมีระยะเบรก 84 เมตร (คิดเป็นความหน่วงทางฟิสิกส์ 11.9 เมตร/วินาทีกำลังสอง)", "title": "ดอดจ์ ไวเปอร์" }, { "docid": "215735#0", "text": "การหลอมนิวเคลียส () ในทางฟิสิกส์นิวเคลียร์ เป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์อย่างหนึ่งที่นิวเคลียสของอะตอมหนึ่งตัวหรือมากกว่าเข้ามาอยู่ใกล้กัน แล้วชนกันที่ความเร็วสูง รวมตัวกันกลายเป็นนิวเคลียสของอะตอมใหม่ที่หนักขึ้น ในระหว่างกระบวนการนี้ มวลของมันจะไม่เท่าเดิมเพราะมวลบางส่วนของนิวเคลียสที่รวมต้วจะถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงานโปรตอน ", "title": "การหลอมนิวเคลียส" }, { "docid": "17336#17", "text": "ทางช้างเผือกกำลังเคลื่อนที่ไปในอวกาศ นักดาราศาสตร์หลายคนเชื่อว่าทางช้างเผือกกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 600 กิโลเมตรต่อวินาที ของกาแลคซีที่อยู่ใกล้เคียง กรอบอ้างอิงอีกชุดหนึ่งคือรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล กรอบอ้างอิงนี้ชี้ให้เห็นว่าทางช้างเผือกกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 582 กิโลเมตรต่อวินาที", "title": "การเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์)" }, { "docid": "17336#10", "text": "เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ในทิศทางใด ๆ เป็นระยะ ๆ ปกติจะเรียกว่า \"การเคลื่อนที่แบบสม่ำเสมอ\" ตัวอย่างเช่นจักรยานเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงโดยมีความเร็วคงที่", "title": "การเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์)" }, { "docid": "9024#0", "text": "กฎการอนุรักษ์ () ในเชิงฟิสิกส์กล่าวถึงปริมาณบางอย่างในระบบปิด ซึ่งมีค่าคงที่ไม่ว่าระบบจะเกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ตัวอย่างของกฎการอนุรักษ์ซึ่งเป็นจริงเสมอได้แก่นอกจากนี้ ยังมีกฎการอนุรักษ์ซึ่งเป็นจริงในกรณีพิเศษบางกรณี เช่น กรณีที่ความเร็วที่เกี่ยวข้องมีค่าต่ำ หรือ เป็นจริงในช่วงเวลาสั้น ๆ หรือ เป็นจริงเฉพาะกับบางอันตรกิริยาเท่านั้น ตัวอย่างเช่นทฤษฎีของนอยเธอร์ (Noether's theorem) แสดงให้เห็นว่า ในระบบที่อธิบายได้ด้วยหลักการเปลี่ยนแปลงที่น้อยที่สุด (principle of least action) (นั่นคือ ระบบมีสมการการเคลื่อนที่แบบลากรองช์และสมการการเคลื่อนที่แบบแฮลมิโตเนียน) กฎการอนุรักษ์นั้นมีความสัมพันธ์กับคุณสมบัติไม่แปรเปลี่ยน (invariance) ของกฎทางฟิสิกส์ (ในการแปลง (transformation) อย่างหนึ่ง) ตัวอย่างเช่น การที่กฎทางฟิสิกส์ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลานำไปสู่การอนุรักษ์ของพลังงานในระบบ และการที่กฎทางฟิสิกส์ไม่เปลี่ยนแปลงตามตำแหน่งนำไปสู่การอนุรักษ์โมเมนตัม เป็นต้น", "title": "กฎการอนุรักษ์" }, { "docid": "5630#7", "text": "นักฟิสิกส์หลายคนได้พยายามทำการวัดความเร็วของแสง การวัดแรกสุดที่มีความแม่นยำนั้นเป็นการวัดของ นักฟิสิกส์ชาวเดนมาร์ก Ole Rømer ในปี ค.ศ. 1676 เขาได้ทำการคำนวณจากการสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวพฤหัสบดี และ ดวงจันทร์ไอโอ ของดาวพฤหัสบดี โดยใช้กล้องดูดาว เขาได้สังเกตความแตกต่างของช่วงการมองเห็นรอบของการโคจรของดวงจันทร์ไอโอ และได้คำนวณค่าความเร็วแสง 227,000 กิโลเมตรต่อวินาที", "title": "แสง" }, { "docid": "17336#18", "text": "ทางช้างเผือกกำลังหมุนรอบศูนย์กลางความหนาแน่นของกาแล็กซี ดังนั้นดวงอาทิตย์กำลังเคลื่อนที่เป็นวงกลมภายใต้แรงโน้มถ่วงของกาแล็กซี ซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางออกมาทางขอบด้านนอก โดยความเร็วโดยรวมของดาวฤกษ์อยู่ระหว่าง 210 ถึง 240 กิโลเมตรต่อวินาทีซึ่งดาวเคราะห์และดวงจันทร์ก็กำลังเคลื่อนที่ไปกับดวงอาทิตย์ด้วย นั้นหมายความว่าระบบสุริยะกำลังเคลื่อนที่อยู่ไปด้วยทฤษฎีการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคบอกเราว่าทวีปลอยอยู่บนกระแสการพาความร้อนภายในเนื้อโลก ทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ไปบนผิวของดาวเคราะห์ ด้วยความเร็วประมาณ 1 นิ้ว (2.54 เซนติเมตร) ต่อปีอย่างไรก็ตามความเร็วของการเคลื่อนที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยแผ่นที่เคลื่อนที่เร็วที่สุดคือแผ่นมหาสมุทรแผ่นโคโคสที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 75 มิลลิเมตรต่อปี (3 นิ้วต่อปี) และแผ่นแปซิฟิกที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 52 - 69 มิลลิเมตรต่อปี (2.1 - 2.7 นิ้วต่อปี) ส่วนแผ่นที่เคลื่อนที่ช้าที่สุดคือ แผ่นยูเรเชีย ที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 21 มิลลิเมตรต่อปี (0.8 นิ้วต่อปี)เซลล์ของร่างกายมนุษย์มีโครงสร้างมากมายที่เคลื่อนที่ไปทั่วทั้งร่างกาย", "title": "การเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์)" }, { "docid": "46694#6", "text": "หลักสัมพัทธภาพ ซึ่งกล่าวว่าไม่มีกรอบอ้างอิงที่อยู่กับที่ นั้นสืบเนื่องมาจากกาลิเลโอ และถูกรวมเข้ากับฟิสิกส์ของนิวตัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 การมีอยู่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้นักฟิสิกส์เสนอแนวคิดว่า เอกภพเต็มไปด้วยสารที่รู้จักในนาม \"อีเทอร์\" ซึ่งทำตัวเป็นตัวกลางยามที่การสั่นของคลื่นเคลื่อนไป อีเทอร์ถูกตั้งขึ้นเพื่อการมีกรอบอ้างอิงสัมบูรณ์ต้านกับหลักที่ว่าอัตราเร็วของกรอบอ้างอิงใด ๆ สามารถวัดได้ กล่าวอีกอย่างคือ อีเทอร์เป็นสิ่งเดียวที่ถูกตรึงหรือไม่เคลื่อนที่ในเอกภพ อีเทอร์ถูกสมมุติให้มีคุณสมบัติอันอัศจรรย์: มันยืดหยุ่นพอที่จะรองรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นนั้นต้องสามารถมีการกระทำกับสสาร ในขณะที่ตัวอีเทอร์เองต้องไม่มีความต้านทานในการเคลื่อนที่สำหรับวัตถุที่ทะลุผ่านมันไป ผลการทดลองต่าง ๆ รวมทั้งการทดลองของไมเคิลสันและเมอร์เลย์ ชี้ให้เห็นว่าโลก 'อยู่กับที่' -- ซึ่งเป็นอะไรที่ยากจะอธิบายได้ เพราะโลกอยู่ในวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ผลลัพธ์อันสละสลวยของไอน์สไตน์ล้มล้างแนวคิดเรื่องอีเทอร์และการอยู่นิ่งสัมบูรณ์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษถูกเขียนขึ้นไม่ใช่แค่ถือว่ากรอบอ้างอิงเฉพาะใด ๆ นั้นพิเศษ แต่ว่าในสัมพัทธภาพ กรอบหนึ่ง ๆ ต้องสังเกตพบกฎทางฟิสิกส์แบบเดียวกันโดยไม่ขึ้นอยู่กับความเร็วของผู้สังเกต กล่าวให้ชัดคือ อัตราเร็วของแสงในสุญญากาศต้องวัดได้ c เสมอ แม้ว่าจะวัดโดยระบบต่าง ๆ ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่าง ๆ (แต่คงที่)", "title": "ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ" }, { "docid": "17336#12", "text": "ถ้า formula_1 คือ ความเร็วสุดท้าย formula_2 คือ ความเร็วเริ่มต้น formula_3 คือ ความเร่ง formula_4 คือ เวลา formula_5 คือ การกระจัด\nถ้าวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่นั้นหมายความว่าความเร็วเริ่มต้นเป็นศูนย์จะได้ว่า", "title": "การเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์)" }, { "docid": "51301#53", "text": "สำนักสางขยะและไวเศษิกะได้พัฒนาทฤษฎีว่าด้วยแสงตั้งแต่ 500 ปีก่อนคริสตกาล สำนักสางขยะนั้น ถือว่าแสงเป็นหนึ่งในธาตุพื้นฐานทั้งห้า ซึ่งเป็นผลผลิตจากธาตุใหญ่ และถูกทำให้เกิดขึ้นเป็นความต่อเนื่อง ส่วนสำนักไวเศษิกะ นิยามการเคลื่อนที่ ในรูปของ การเคลื่อนไหวแบบไม่ต่อเนื่องของอะตอมทางฟิสิกส์ ลำแสงถูกส่งออกมาจากในรูปของลำอะตอม \"ไฟ\" ความเร็วสูงซึ่งแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ กันไปขึ้นอยู่กับความเร็วของการเรียงตัวของอนุภาคเหล่านี้ ชาวพุทธ นามทิคนาค (คริสต์ศตวรรษที่ 5) และธรรมกีรติ (คริสตศตรวรรษที่ 7) ได้พัฒนาทฤษฎีขอแสงที่เกิดขึ้นจากอนุภาคพลังงาน ซึ่งเหมือนกับแนวคิดเรื่องโฟตอน", "title": "ประวัติศาสตร์ฟิสิกส์" } ]
353
สโมสรฟุตบอลชลบุรี ก่อตั้งขึ้นเมื่อใด?
[ { "docid": "52283#3", "text": "ต่อมาเมื่อทาง สมาคมกีฬาจังหวัดชลบุรี ได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขัน โปรวินเชียลลีก ในปี 2543 จึงได้ออกมาก่อตั้ง ทีมฟุตบอลจังหวัดชลบุรี โดยได้แยก สโมสรฟุตบอลชลบุรี-สันนิบาตฯ สมุทรปราการ ซึ่งในขณะนั้นลงเล่นในดิวิชั่น 1 ออกจากกัน โดยผู้เล่นของทีมส่วนใหญ่ ได้นำผู้เล่นจาก โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี โดยใน ฤดูกาลแรกที่เข้าร่วมแข่งขัน (โปรลีก 2543/44) สโมสรจบอันดับที่ 3 ของตาราง", "title": "สโมสรฟุตบอลชลบุรี" } ]
[ { "docid": "834094#0", "text": "สโมสรฟุตบอลชลบุรี บี () เป็นสโมสรสำรอง ของสโมสรฟุตบอลชลบุรี ปัจจุบันลงเล่นในไทยลีก 4 ซึ่งปัจจุบันใช้สนามชลบุรีสเตเดียม เป็นสนามเหย้าของสโมสร", "title": "สโมสรฟุตบอลชลบุรี บี" }, { "docid": "313096#0", "text": "สนามสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ มีความจุประมาณ 11,000 คน ตั้งอยู่ภายในสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ในปี พ.ศ. 2553 ใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลชลบุรี เอฟซี ปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลพานทอง เอฟซี", "title": "สนามสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี" }, { "docid": "280235#0", "text": "สโมสรฟุตบอลบ่อทอง เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี \nปัจจุบันแข่งขันอยู่ใน ชลบุรีลีกที่อยู่ โรงเรียนอนุบาลบ่อทอง เลขที่ 8 ถนนหนองเสม็ด-บ่อทอง ต.บ่อทอง อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี 20270", "title": "สโมสรฟุตบอลบ่อทอง" }, { "docid": "375785#9", "text": "ต่อมาใน ปี 2011 สโมสรของชมรมฟุตบอลจังหวัดนราธิวาส ได้กลับมาเล่นในระดับ ลีกภูมิภาคดิวิชั่น 2 โซนภาคใต้ อีกครั้ง ในชื่อใหม่ว่า สโมสรฟุตบอลนรา ยูไนเต็ด ในปี 2010 ทีมกอและพิฆาต ร่วมลงแข่งขันรายการ ฟุตบอลซุปเปอร์แชมป์ ครั้งที่ 1 ในนามของ สโมสรฟุตบอลจังหวัดนราธิวาส และเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 39 ชลบุรีเกมส์ และได้ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ จนสามารถคว้าเหรียญทองแดงได้สำเร็จ หลังพลาดท่าพ่าย สโมสรฟุตบอลชลบุรี ไปด้วยสกอร์ 1-2 จบเส้นทางการป้องกันแชมป์ เพียงแค่รอบนี้", "title": "สโมสรฟุตบอลนรา ยูไนเต็ด" }, { "docid": "52283#41", "text": "หมวดหมู่:สโมสรฟุตบอลชลบุรี ช หมวดหมู่:จังหวัดชลบุรี หมวดหมู่:สโมสรกีฬาที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2540", "title": "สโมสรฟุตบอลชลบุรี" }, { "docid": "280228#0", "text": "สโมสรฟุตบอลบางละมุง เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี \nปัจจุบันแข่งขันอยู่ใน ชลบุรีลีก", "title": "สโมสรฟุตบอลบางละมุง" }, { "docid": "176896#2", "text": "ดุสิต เฉลิมแสน มีชื่อเล่นว่าโอ่ง เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2513 ที่จังหวัดสกลนคร และเดินทางมาศึกษาต่อที่สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี โดยลงเล่นฟุตบอลระดับนักเรียนให้สถาบัน และเล่นในระดับสโมสรเป็นครั้งแรกกับสโมสรโรงเรียนศาสนวิทยา ที่กำลังก่อตั้งทีมในช่วงแรก ๆ (ปัจจุบันคือสโมสรบีอีซี เทโรศาสน)", "title": "ดุสิต เฉลิมแสน" }, { "docid": "761522#1", "text": "สโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลพัทยาก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยนายพรรณธฤต เนื่องจำนงค์ อดีตประธานสโมสรพัทยา ยูไนเต็ด ภายหลังจากที่นพรรณธฤตได้คืนสิทธิ์ในการบริหารทีมพัทยา ยูไนเต็ดให้กับชลบุรี", "title": "สโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลพัทยา" }, { "docid": "531570#5", "text": "หลังจากการตกชั้นสู่ลีกรอง ถึงสองครั้งซ้อน ในรอบ 3 ปี สโมสรฯ ก็เริ่มเกิดปัญหาทางการเงิน โดยต้องขายตัวหลักในทีมอย่าง สุจริต จันทกล และ เกริกฤทธิ์ ทวีกาญจน์ ให้กับ ชลบุรี เอฟซี แต่สโมสรฯก็ได้พยายามทำผลงานให้ดีที่สุด แต่ใน ฤดูกาล 2556 สโมสรจบอันดับที่ 15 รอดตกชั้นแค่คะแนนเดียว (สโมสรฯทำผลงานโดยเก็บได้แค่ 37 คะแนน มีคะแนนเหนือ ระยอง เอฟซี ที่มี 36 คะแนน)\nต่อมา ได้มีการรวมนักฟุตบอล และ เจ้าหน้าที่ของทีม รวมกับ พัทยา ยูไนเต็ด โดยได้มีการเปลื่ยนแปลงยกสโมสร โดยให้ทีมเยาวชนของ ชลบุรี เอฟซี มาเป็นผู้เล่นแกนหลัก โดยกลุ่มบริหารของชลบุรี บริหารเองทั้งหมด โดยมี ธนะศักดิ์ สุระประเสริฐ เป็นประธานสโมสร ให้ วิทยา เลาหกุล เป็นผู้จัดการทีม โดยมี นฤพล แก่นสน เป็นผู้ฝึกสอน โดยผู้เล่นที่รู้จักในทีมชุดนี้ประกอบด้วย วรชิต กนิตศรีบำเพ็ญ, สรรเสริญ ลิ้มวัฒนะ, เหมันต์ กิติอำไพพฤกษ์ เป็นต้น แต่ผลงานของทีม กลับแย่จนตกชั้นไปเล่นในระดับ ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ด้วยการจบอันดับที่ 18 มีแค่ 3 คะแนน จากการเสมอ โดยที่ไม่ชนะทีมใดเลย", "title": "สโมสรฟุตบอลศรีราชา" }, { "docid": "233604#0", "text": "ชลบุรีดาร์บีแมทช์ เป็นชื่อเรียกของการแข่งขันฟุตบอลระหว่างสโมสรภายในจังหวัดชลบุรี ไม่ว่าจะเป็น คู่ใดคู่หนึ่งของทีม ชลบุรี ศรีราชา หรือ พัทยา ยูไนเต็ด โดยการแข่งขันของทั้งสามสโมสร เป็นการลบข้อครหาที่ว่าทั้งสามทีม ซึ่งบริหารโดยกลุ่มการเมืองกลุ่มเดียวกันที่ว่าอาจจะมีการล้มบอล หรือเล่นแบบสมยอมกันของทั้งสามสโมสร", "title": "ชลบุรีดาร์บีแมทช์" }, { "docid": "280238#0", "text": "สโมสรฟุตบอลสัตหีบ เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี \nปัจจุบันแข่งขันอยู่ใน ชลบุรีลีก", "title": "สโมสรฟุตบอลสัตหีบ" }, { "docid": "52283#25", "text": "ปี 2558 สโมสรฟุตบอลชลบุรี ที่ได้จเด็จ มีลาภ กลับมาคุมทีมอีกครั้ง พาทีมจบฤดูกาลในอันดับที่สี่ แต่ได้สิทธิในการเข้าร่วมรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกในรอบเพลย์ออฟ รอบสองแทน สโมสรฟุตบอลสุพรรณบุรี ที่ขาดคุณสมบัติเข้าร่วมรายการนี้เนื่องจากติดปัญหาเรื่องคลับไลเซนซิ่ง[14] โดยหลังจบนัดสุดท้ายของฤดูกาลที่ชลบุรีเปิดบ้านพ่ายให้กับ สโมสรฟุตบอลสระบุรี 0-3 จเด็จ มีลาภ ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมทันที[15]", "title": "สโมสรฟุตบอลชลบุรี" }, { "docid": "52283#2", "text": "ต่อมาเมื่อ สมาคมสันนิบาตสงเคราะห์ จังหวัดสมุทรปราการ ได้รับตำแหน่งรองชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ประจำปี 2539 ทางกลุ่มผู้ดูแลทีมฟุตบอลฯ ได้มีการเจรจาขอรวมทีม จึงได้ก่อตั้งเป็น สโมสรฟุตบอลชลบุรี–สันนิบาตฯ สมุทรปราการ และได้เข้าแข่งขันใน ดิวิชัน 1[3]", "title": "สโมสรฟุตบอลชลบุรี" }, { "docid": "280246#0", "text": "สโมสรฟุตบอลหนองใหญ่ เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากอำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี \nปัจจุบันแข่งขันอยู่ใน ชลบุรีลีก", "title": "สโมสรฟุตบอลหนองใหญ่" }, { "docid": "531570#2", "text": "ต่อมาเมื่อทาง สมาคมกีฬาจังหวัดชลบุรี ได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขัน โปรวินเชียลลีก ทางผู้บริหารจึงทำการได้แยกสโมสรฟุตบอลชลบุรี-สันนิบาตฯ สมุทรปราการ ออกจากกัน ซึ่งในขณะนั้นลงเล่นในดิวิชั่น 1 อยู่ โดยชลบุรีนั้นได้นำผู้เล่นจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี แทน แต่ก็ยังมาดูแลสโมสรอยู่ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2550 ฉัตรชัย ทิมกระจ่าง นายกเทศมนตรีเมืองศรีราชา (ในขณะนั้น) ได้รับช่วงการบริหารสโมสรชลบุรี-สันนิบาต สมุทรปราการ และทำการเปลื่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลศรีราชา-สันนิบาตฯ เพื่อลงทำการแข่งขัน ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2550 โดยได้รับเกียรติจาก สนธยา คุณปลื้ม, วิทยา คุณปลื้ม และ ชาญวิทย์ ผลชีวิน รับเป็นที่ปรึกษาของสโมสรฯ และมี ทรงยศ กลิ่นศรีสุข เป็นผู้ฝึกสอน และใช้ สนามกีฬาสิรินธร ภายใน โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา เป็นสนามเหย้าของทีม โดยนักฟุตบอลในทีมส่วนใหญ่มาจาก โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา, โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ชลบุรี และ โรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี โดยในปีแรก สโมสรฯ ทำผลงานจบที่อันดับ 6 ", "title": "สโมสรฟุตบอลศรีราชา" }, { "docid": "194555#1", "text": "สโมสรฟุตบอล ปตท. ก่อตั้งขึ้นในปี 2526 โดยเริ่มส่ง การแข่งขันของ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ โดยในปี 2553 สโมสรฯ ได้เปลื่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอล ปตท. ระยอง โดยได้ย้ายสนามเหย้าจาก สนามสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี มาเป็น สนามกีฬากลางจังหวัดระยอง และในปี 2554 จึงได้ย้ายสนามเหย้าอีกครั้ง เป็นการถาวรที่ พีทีที สเตเดียม โดยมีจุดประสงค์สำคัญ ในการส่งเสริมกิจกรรมการกีฬา ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคมของกลุ่ม ปตท.", "title": "สโมสรฟุตบอลพีทีที ระยอง" }, { "docid": "834769#0", "text": "สโมสรฟุตบอลพัทยา เอฟซี () สโมสรฟุตบอลอาชีพของไทยที่ตั้งอยู่ที่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2530 ปัจจุบันลงเล่นในศึก ไทยลีก 4 โซนภาคตะวันออก", "title": "สโมสรฟุตบอลพัทยา เอฟซี" }, { "docid": "52283#0", "text": "สโมสรฟุตบอลชลบุรี เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย โดยเป็นสโมสรจากจังหวัดชลบุรี ปัจจุบันลงเล่นในไทยลีก เคยได้ตำแหน่งชนะเลิศในฤดูกาล 2550 ซึ่งปัจจุบันใช้สนามชลบุรีสเตเดียม เป็นสนามเหย้าของสโมสร", "title": "สโมสรฟุตบอลชลบุรี" }, { "docid": "5416#23", "text": "จังหวัดชลบุรีมีทีมฟุตบอลอาชีพที่มีชื่อเสียงและซึ่งปัจจุบันเล่นอยู่ในไทยลีก 3 ทีม คือ สโมสรฟุตบอลชลบุรี ซึ่งเป็นทีมในอำเภอเมืองชลบุรี มีผลงานได้เป็นแชมป์ประเทศไทยหนึ่งสมัยในปี พ.ศ. 2550 และเป็นตัวแทนไปแข่งในเขตเอเชียในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก และ สโมสรฟุตบอลพัทยายูไนเต็ด ในเมืองพัทยา และสโมสรฟุตบอลราชนาวี ในอำเภอสัตหีบ", "title": "จังหวัดชลบุรี" }, { "docid": "280240#0", "text": "สโมสรฟุตบอลเกาะจันทร์ เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากอำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี \nปัจจุบันแข่งขันอยู่ใน ชลบุรีลีก", "title": "สโมสรฟุตบอลเกาะจันทร์" }, { "docid": "52862#1", "text": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครปฐมก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2542 โดยเริ่มเล่นในโปรวินเชียลลีก ใน พ.ศ. 2547 สโมสรจบฤดูกาลโดยอยู่กลางตารางของลีก ในปีต่อมา สโมสรจบฤดูกาลในสามอันดับแรก และได้รับสิทธิ์เข้าไปเล่นในไทยพรีเมียร์ลีก ติดต่อกันใน พ.ศ. 2548-49 โดยใน พ.ศ. 2549 สโมสรได้รับสิทธิ์เข้าไปเล่นในลีกสูงสุดของประเทศไทย โดยเป็นทีมสำรองลำดับที่สองของสโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย สโมสรนครปฐมไม่ได้นำมาซึ่งเฉพาะความเป็น \"ทีมภูมิภาค\" ในลีกเท่านั้น แต่ยังมีกระแสแฟนบอลที่เดินทางไปเชียร์ทั้งนัดเยือนและนัดเหย้า สโมสรนครปฐมเป็นอีกทีมหนึ่งเช่นเดียวกับสโมสรฟุตบอลจังหวัดชลบุรีและสโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรีที่แข่งขันในระดับพรีเมียร์ลีก โดยไม่ใช่ทีมจากกรุงเทพมหานคร", "title": "สโมสรฟุตบอลนครปฐม ยูไนเต็ด" }, { "docid": "746963#0", "text": "ชาคร พิลาคลัง เป็นนักฟุตบอลอาชีพชาวไทย จากจังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสโมสรฟุตบอลชลบุรี เอฟซี ตำแหน่งผู้รักษาประตู ปัจจุบันสังกัด สโมสรฟุตบอลชลบุรี ได้รับโอกาสลงสนามนัดแรก ในเวทีไทยพรีเมียร์ลีก เกมที่ ชลบุรี เอฟซี ชนะ สโมสรฟุตบอลราชนาวี 2 - 1 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558\nชาคร พิลาคลัง เกิดที่จังหวัดสมุทรปราการ แต่ไปเติบโตที่ จังหวัดร้อยเอ็ด เข้ามาคัดตัวกับอะคาเดมี่ ของชลบุรี ตั้งแต่อายุ 10 ปี ปัจจุบันถูกดันขึ้นทีมชุดใหญ่ของชลบุรี เอฟซี ในระดับไทยพรีเมียร์ลีก และลงทำหน้าที่ในลีกสูงสุด ในนัดที่เจอกับสโมสรฟุตบอลราชนาวี ซึ่งโชว์ฟอร์มได้อย่างประทับใจ ชาคร พิลาคลัง มีชื่อติดทีมชาติไทยชุดอายุไม่เกิน 19 ปี ชิงแชมป์อาเซียน ที่ สปป.ลาว และ สามารถคว้าแชมป์มาครองได้สำเร็จ", "title": "ชาคร พิลาคลัง" }, { "docid": "280230#0", "text": "สโมสรฟุตบอลเกาะสีชัง เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากอำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี \nปัจจุบันแข่งขันอยู่ใน ชลบุรีลีก", "title": "สโมสรฟุตบอลเกาะสีชัง" }, { "docid": "223709#1", "text": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดตากเริ่มก่อตั้งอย่างเป็นจริงเป็นจังในรูปแบบสโมสรฟุตบอลอาชีพขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยใช้ชื่อว่า “ตาก เอฟซี” ซึ่งแต่เดิมนั้น “ตาก เอฟซี” มีชื่อเดิมว่า “ยอดดอยเก่า” เป็นสโมสรที่โด่งดังเป็นอย่างยิ่งในการแข่งขันฟุตบอลรายการต่างๆ ประจำโซนภาคเหนือ เดิมเป็นสโมสรท้องถิ่นเล็กๆ ในจังหวัดตากที่ตั้งซอย 21 ตำบลระแหง อำเภอเมือง จังหวัดตาก โดยส่งทีมลงเล่นในโซนภาคเหนือหลายจังหวัดแต่ไม่ได้ส่งแข่งถ้วยพระราชทาน นักฟุตบอลส่วนใหญ่ที่มาเล่นก็จะเป็นเด็กในท้องถิ่นจนกระทั่งสามารถสร้างชื่อเติบโตและได้ไปเล่นให้ทีมสโมสรใหญ่ๆ ในอดีต อย่าง การท่าเรือฯ, ธ.กสิกรไทย,ชลบุรี, การไฟฟ้าฯ ไม่ว่าจะเป็น สุชิน พันธ์ประภาส, ไพบูลย์ เลิศวิมลรัตน์ รวมถึง อ่อง ตัน ตัน (ซูเปอร์สตาร์ทีมชาติพม่า) ฯลฯ โดยส่วนใหญ่แล้วนักเตะภายในทีมจะถูกป้อนเข้าสู่ทีมสโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในระดับเยาวชนก็จะเล่นให้กับร.ร.อัสสัมชัญศรีราชา จนกระทั่งการกีฬาแห่งประเทศไทยร่วมมือกับสมาคมฟุตบอลฯ จัดการแข่งขันลีกอาชีพโดยเน้นไปที่ท้องถิ่นนิยมขึ้นมามีชื่อว่า “ลีกภูมิภาคดิวิชั่น 2” ก็ทำให้มีสโมสรฟุตบอลจังหวัดตากเกิดขึ้นจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ปี 2552", "title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดตาก" }, { "docid": "280223#0", "text": "สโมสรฟุตบอลเมืองชล ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย โดยเป็นทีมจากอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ปัจจุบัน แข่งขันอยู่ใน ชลบุรีลีก", "title": "สโมสรฟุตบอลเมืองชล ยูไนเต็ด" }, { "docid": "280225#0", "text": "สโมสรฟุตบอลพนัสนิคม เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี \nปัจจุบันแข่งขันอยู่ใน ชลบุรีลีก", "title": "สโมสรฟุตบอลพนัสนิคม" }, { "docid": "991424#1", "text": "สโมสรฯ ก่อตั้งเมื่อปี 2557 ในนาม สโมสรฟุตบอลอีสาน พัทยา โดยเริ่มต้นเข้าร่วมการแข่งขัน ของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ คือการแข่งขัน ฟุตบอลถ้วย ง ในปี 2557 และทำผลงานได้ดี โดยได้สิทธิ์เลื่อนชั้นทำการแข่งขัน ฟุตบอลถ้วย ค โดยหลังจากจบการแข่งขันฯ ก็ได้แปรสภาพเป็นทีมฟุตบอลเดินสายในแถบ จังหวัดระยอง และ จังหวัดชลบุรี", "title": "สโมสรฟุตบอลพัทยา ดิสคอฟเวอร์รี่ ยูไนเต็ด" }, { "docid": "280242#0", "text": "สโมสรฟุตบอลพานทอง เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี \nปัจจุบันแข่งขันอยู่ใน ชลบุรีลีก", "title": "สโมสรฟุตบอลพานทอง" }, { "docid": "52283#28", "text": "ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ณ สนามชลบุรีสเตเดียม สโมสรฟุตบอลชลบุรีได้จัดพิธีเปิดตัวสัญลักษณ์สโมสรใหม่ ทดแทนสัญลักษณ์แบบเดิมที่ใช้งานมายาวนานนับสิบปี ทั้งนี้นายวิทยา คุณปลื้ม ประธานสโมสร ได้กล่าวถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ว่าต้องการปรับปรุงภาพลักษณ์ของสโมสรให้มีความเป็นมืออาชีพพร้อมเข้าสู่การแข่งขันในระดับนานาชาติ จึงต้องมีการพัฒนาสัญลักษณ์สโมสรให้มีความเป็นสากลและมีเอกลักษณ์ของตัวเอง[20]", "title": "สโมสรฟุตบอลชลบุรี" } ]
165
ร้อยตำรวจโท เกียรติศักดิ์ เสนาเมืองเกิดวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "52669#1", "text": "ซิโก้เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2516 ที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี[1] เป็นบุตรคนสุดท้องจากทั้งหมดสามคน ของสุริยา (บิดา) และริสม (มารดา)[2][3] มีพี่สาวสองคน[4] แต่ภายหลังราวปี พ.ศ. 2525 เขาตามบิดามารดาย้ายกลับไปภูมิลำเนาเดิมที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น[5]", "title": "เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง" } ]
[ { "docid": "49575#44", "text": "คำขวัญของนักเรียนนายร้อยตำรวจนั้น เป็นกุศโลบายที่จะฝึกให้ นรต.มีคุณสมบัติพื้นฐานของผู้ที่จะเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร และกำลังจะสำเร็จการศึกษาออกไปเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยตำรวจทั่วประเทศ ซึ่งจะฝึกให้ นรต.รู้จักความเป็น \"ผู้ใต้บังคับบัญชา\"ที่ดีในชั้นปีที่ 1-2 และเป็น \"ผู้บังคับบัญชา\" ที่ดีในชั้นปีที่ 3-4 คำขวัญดังกล่าวมักจะถูกเรียกให้คล้องจองคือ \"เกียรติศักดิ์ รักษ์วินัย วิจัยกรณี ขันตีอุตสาหะ\"", "title": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ" }, { "docid": "196518#1", "text": "พลตำรวจโท อำนวย นิ่มมะโน เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 31 (นรต.31) สำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2521", "title": "อำนวย นิ่มมะโน" }, { "docid": "955222#1", "text": "พลตำรวจโท ประชา บูรณธณิต เกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2446 เป็นชาวนครราชสีมา เป็นทายาทสายสกุลของเจ้าเมืองนครราชสีมา เข้าเป็นนักเรียนโรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจรเข้ นครปฐม รุ่น พ.ศ. 2465 จบหลักสูตรเป็นนายร้อยตำรวจปี พ.ศ. 2468", "title": "ประชา บูรณธนิต" }, { "docid": "335906#34", "text": "NATO CodeOF-10OF-9OF-8OF-7OF-6OF-5OF-4OF-3OF-2OF-1Student OfficerThai titleพลตำรวจเอกพลตำรวจโทพลตำรวจตรีพลตำรวจจัตวาพันตำรวจเอกพันตำรวจโทพันตำรวจตรีร้อยตำรวจเอกร้อยตำรวจโทร้อยตำรวจตรีนักเรียนนายร้อยตำรวจRTGSPhon Tam Ruad EkPhon Tam Ruad ThoPhon Tam Ruad TriPhon Tam Ruad JattawaPhan Tam Ruad EkPhan Tam Ruad ThoPhan Tam Ruad TriRoi Tam Ruad EkRoi Tam Ruad ThoRoi Tam Ruad TriNak Rian Nai Roi Tam RuadAbbreviation-พล.ต.อ.พล.ต.ท.พล.ต.ต.พล.ต.จ.พ.ต.อ.พ.ต.ท.พ.ต.ต.ร.ต.อ.ร.ต.ท.ร.ต.ต.นรต.Anglicised versionPolice GeneralPolice Lieutenant GeneralPolice Major GeneralPolice Brigadier (but not promotion this rank now) Police Senior ColonelPolice ColonelPolice Lieutenant ColonelPolice MajorPolice CaptainPolice LieutenantPolice Sub LieutenantPolice CadetUK equivalentField MarshalGeneralLieutenant GeneralMajor GeneralBrigadierColonelLieutenant ColonelMajorCaptainLieutenantSecond LieutenantPolice Cadet", "title": "ตำรวจไทย" }, { "docid": "622755#2", "text": "พันตำรวจโทเจ๊ะอิสมาแอ เริ่มรับราชการครั้งแรกในพื้นที่นครบาล ก่อนที่ลาออกจากราชการครั้งแรก ในขณะที่มียศร้อยตำรวจโท เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง ในสังกัดพรรคกิจสังคม แต่ไม่ประสบ\nความสำเร็จ จึงกลับเข้ารับราชการใหม่ครั้งที่สอง จนกระทั่งเติบโตในหน้าที่ราชการจนติดยศพันตำรวจโท ในตำแหน่งสารวัตร หัวหน้าสถานีตำรวจภูธร ตำบลตันหยง อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส จากนั้นจึงลาออกเพื่อสมัครรับเลือกตั้งครั้งที่สอง ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงกลับเข้ารับราชการใหม่ครั้งที่สาม ซึ่งครั้งนี้ได้สังกัดกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุราษฏร์ธานี ", "title": "เจ๊ะอิสมาแอ เจ๊ะโมง" }, { "docid": "604879#21", "text": "เดือนกันยายน ชนาธิป ถูกเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เรียกตัวติดทีมชาติไทยชุดอายุไม่เกิน 23 ปี ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ที่เมืองอินชอน ประเทศเกาหลีใต้ และพาทีมชาติคว้าอันดับสี่มาครอง", "title": "พร้อมพงษ์ กรานสำโรง" }, { "docid": "303923#1", "text": "ที่ทะเลทราย พรมแดนระหว่างสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก ฮาเวียร์ โรดวิเกวซ (เบนิซิโอ เดล โทโร่) นายตำรวจหนุ่มตงฉินชาวเม็กซิกัน และมาโนโล ซานเชส (เจคอบ วาร์กัซ) คู่หูอยู่ระหว่างการจับกุมแก๊งค์ค้ายาเสพย์ติดทั้งคู่สังกัดอยู่ในกรมตำรวจ ที่มี นายพลซาลาซ่า (โธมัส มิเลียน) ซึ่งเมื่อทั้งคู่สามารถจับแก๊งค์ค้ายาได้มากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้นายพลซาลาซ่ากระเทือนเท่านั้น เพราะแก๊งค์ค้ายาเหล่านี้ก็ตกอยู่ภายใต้การคุ้มครองของนายพลซาลาซ่า และเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความลุ่มหลง และละโมบ ฮาเวียร์จึงพยายามที่จะต่อต้าน แต่ยิ่งต่อต้านมากเท่าใด เขาก็พบว่า ตัวเองและเพื่อนคู่หู ถลำลึกลงไปในวังวนของความฉ้อฉลมากขึ้นเท่านั้น", "title": "คนไม่สะอาด อำนาจ อิทธิพล" }, { "docid": "604764#11", "text": "2 ตำรวจหญิงแผนกจราจรเป็นศัตรูของเรียวซึเนื่องจากพวดเธอไม่ค่อยเจ้าตัวเท่าไหร่ โดยโคมาจิมีนิสัยคล้ายๆทอมบอย ส่วนนาโอโกะจะม้วนผมหางม้า", "title": "คุณตำรวจป้อมยาม" }, { "docid": "41812#8", "text": "ในปี พ.ศ. 2474 ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับหมวดที่กองเมืองจังหวัดพัทลุง ที่พัทลุงนี่เองท่านได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่ จนเป็นที่รู้จักและยอมรับในวงราชการและคนทั่วไป โดยการปราบปรามผู้ร้ายสำคัญของจังหวัดพัทลุง คือ เสือสัง หรือเสือพุ่ม ซึ่งเป็นเสือร้ายที่แหกคุกมาจากเมืองตรัง ขุนพันธรักษ์ราชเดช เล่าว่า เสือสังนี้มีร่างกายใหญ่โต ดุร้าย และมีอิทธิพลมาก มาอยู่ในความปกครองของกำนันตำบลป่าพยอม อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง นอกจากนั้นแล้วยังมีคนใหญ่คนโตหลายคนให้ความอุ้มชูเสือสัง จึงทำให้เป็นการยากที่จะปราบได้ แต่ท่านก็สามารถปรามเสือสังได้ในปีแรกที่ย้ายมารับราชการ โดยท่านไปปราบร่วมกับ พลตำรวจเผือก ด้วงชู มี นายขี้ครั่ง เหรียญขำ เป็นคนนำทาง การปราบปรามเสือสังครั้งนี้ทำให้ชื่อเสียงของท่านโด่งดังมาก ตอนนั้นเจ้าพระยาศรีสุรเสนาไปตรวจราชการตำรวจที่พัทลุงพอดี ผู้ปราบเสือสังจึงได้รับความดีความชอบ คือ ว่าที่ร้อยตำรวจตรีบุตร พันธรักษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นร้อยตำรวจตรี หรือร.ต.ต. พลตำรวจ (พล.ต.) เผือก ชูด้วง เป็นสิบตรี ส.ต. และนายขี้ครั่ง ได้รับรางวัล 400 บาท", "title": "ขุนพันธรักษ์ราชเดช (บุตร พันธรักษ์)" }, { "docid": "41463#1", "text": "นายวนัสธนา สัจจกุล เกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ที่จังหวัดนราธิวาส เป็น บุตรนายสุเทพและนางชวลิต สัจจกุล มีพี่น้อง 12 คน สมรสกับนางสุพัทรา มีบุตรชาย 2 คนและบุตรสาวคนเล็กอีก 1 คน(หนึ่งในนั้นคือนักแสดงที่มีชื่อเสียง คือ ธีรภัทร์ สัจจกุลและชลนสร สัจจกุล นักร้องวง CLC) เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนสตรีวรนาถ มัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย แผนกวิทยาศาสตร์ และศึกษาต่อวิศวกรรมโยธา สถาบันเทคโนโลยีมาปัว ประเทศฟิลิปปินส์ ในครั้งนั้นได้เป็นนักฟุตบอลของมหาวิทยาลัย และสโมสรฟิลิปปินส์ ได้เบี้ยเลี้ยงเดือนละ 200-300 บาท และยังได้ติดทีมชาติฟิลิปปินส์กลับมาแข่งที่ประเทศไทยด้วย ส่วนระดับปริญญาโท สำเร็จการศึกษาจากคณะจัดการ สถาบันศศินทร์พัฒนบริหารศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีชื่อเสียงมาพร้อมกับทีมฟุตบอลทีมชาติไทย ชุด \"ดรีมทีม\" ซึ่งเป็นชุดที่ได้แชมป์ซีเกมส์ ที่สิงคโปร์ ประจำปี พ.ศ. 2536 ในฐานะผู้จัดการทีม ที่มีนักฟุตบอลที่มีชื่อเสียงจำนวนมากร่วมทีม ได้แก่ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง, ตะวัน ศรีปาน, ธวัชชัย ดำรงค์อ่องตระกูล, ดุสิต เฉลิมแสน, โกวิทย์ ฝอยทอง เป็นต้น", "title": "วนัสธนา สัจจกุล" }, { "docid": "669496#1", "text": "ประกิต ดีพร้อม ชื่อเล่น \"กิต\" เกิดวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2531 ที่จังหวัดสระบุรี สร้างชื่อเสียงกับการเล่นฟุตบอลให้กับสโมสรฟุตบอลทีโอที โดยในฤดูกาล 2557 ทำผลงานได้ยอดเยี่ยม ทำได้ 5 ประตูและ 5 แอสซิสต์ จากการลงสนาม 36 นัด ทำให้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติไทยเรียกตัวติดทีมชาติไทย เพื่อแข่งขันในรายการเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014 และทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม จนทีมชาติไทยคว้าแชมป์ในรายการนี้ไปครอง", "title": "ประกิต ดีพร้อม" }, { "docid": "822151#3", "text": "หัวหน้าผู้ฝึกสอน: เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง", "title": "ผู้เล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016" }, { "docid": "53448#1", "text": "ผู้ฝึกสอนปัจจุบันคือ เซือง มิญ นิญ นอกจากนี้ในอดีตได้มีผู้เล่นไทย 5 คนที่มีชื่อเสียงเล่นในทีมนี้ได้แก่ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง, ตะวัน ศรีปาน, โชคทวี พรหมรัตน์, ดุสิต เฉลิมแสน และศักดา เจิมดี โดยทางสโมสรได้ยกเลิกเบอร์เสื้อหมายเลข 13 ของผู้เล่นเพื่อเป็นเกียรติแก่เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง", "title": "สโมสรฟุตบอลฮหว่างอัญซาลาย" }, { "docid": "52669#0", "text": "ร้อยตำรวจโท เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เป็นอดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย ในตำแหน่งกองหน้า อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนฟุตบอลทีมชาติไทย มีชื่อเล่นที่สื่อมวลชนสายกีฬาตั้งให้ว่า ซิโก้ ตามชื่อของนักฟุตบอลชาวบราซิลที่มีชื่อเสียง อันมีที่มาจากชื่อเล่นของเขาเอง", "title": "เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง" }, { "docid": "649171#1", "text": "พราว พิชญดา (อั้ม พัชราภา) นางเอกซุปเปอร์สตาร์ในสังกัดของ แฟรงค์ (เสนาหอย เกียรติศักดิ์) ถูกใครบางคนปองร้ายทางตำรวจจึงส่ง ผู้กองสมชาย (เวียร์ ศุกลวัฒน์) นายตำรวจหนุ่มผู้สูญเสีย ผู้กองวิทย์ (นัท อติรุจ) ตำรวจหนุ่มคู่หูในตอนที่ช่วยพราวจากโจรค้ายา มาเป็นบอดี้การ์ดทำให้ทั้งคู่กลายเป็นไม้เบื่อไม้เมา\nตลอดเวลาขณะเดียวกัน พราว แฟรงค์ และ เอมี่ (บี มาติกา) เลขาของแฟรงค์ต้องคอยแก้ข่าวที่มักจะถูก ส้มจี๊ด (ส้ม ธัญสินี) นักข่าวจอมแฉเขียนโจมตี เนื่องจากได้ จันทร์จรี (หยก ธัญยกันต์) เด็กในสังกัดเดียวกับพราวคอยให้ข่าวเพื่อหวังจะโค่นพราว", "title": "พราว (ละครโทรทัศน์)" }, { "docid": "703846#1", "text": "ชนินทร์ ยังได้รับการยกย่องจากธวัชชัย ดำรงค์อ่องตระกูล และเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ว่าเป็นผู้รักษาประตูฝีมือดีคนหนึ่งของทีม", "title": "ชนินทร์ แซ่เอียะ" }, { "docid": "52669#25", "text": "หมวดหมู่:นักฟุตบอลชาวไทย หมวดหมู่:กองหน้าฟุตบอล หมวดหมู่:นักฟุตบอลทีมชาติไทย หมวดหมู่:ผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวไทย หมวดหมู่:ผู้จัดการทีมฟุตบอลทีมชาติไทย หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดขอนแก่น หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดอุดรธานี หมวดหมู่:ตำรวจชาวไทย หมวดหมู่:บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หมวดหมู่:ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง หมวดหมู่:บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม หมวดหมู่:ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์", "title": "เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง" }, { "docid": "57369#1", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490 บิดาชื่อ ร.ต.ต.แฉล้ม อยู่บำรุง มารดาชื่อนางลั้ง อยู่บำรุง จบการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง [2] ก่อนเข้ารับราชการตำรวจที่มีตำแหน่งเป็นสารวัตรกองปราบ นั้นได้เคยเป็นทหารยศสิบโทมาก่อน ได้ขอโอนย้ายตัวเองเข้าสังกัดตำรวจ ในการทำงานการเมืองเคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแล องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และขณะที่กำกับดูแลหน่วยงานแห่งนี้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม มีชื่อเรียกสั้น ๆ จากสื่อมวลชนว่า \"เหลิม\" หรือ \"เหลิมดาวเทียม\" เนื่องจากเป็นที่รับรู้กันดีในแวดวงสื่อมวลชนถึงการควบคุมการนำเสนอข่าวด้วยตนเองของ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ซึ่งในบางครั้งถึงกับเข้าไปสั่งการในห้องตัดต่อเอง จนคนในช่อง 9 เรียกว่า \"บรรณาธิการเฉลิม\"[3]", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "52784#15", "text": "เคนโมจิ อิซามุ (剣持 勇)นายตำรวจลูกน้องของสารวัตรอาเคจิ เคนโมจิเป็นนายตำรวจที่มีฝีมือในด้านการต่อสู้และเป็นยูโดสายดำ พบกับคินดะอิจิครั้งแรกในการคลี่คลายคดีฆาตกรรมโรงละครโอเปร่า ตอนแรกหมวดเคนโมจิไม่ค่อยชอบขี้หน้าคินดะอิจิสักเท่าไหร่ และต่อมาเมื่อมีคดีเกิดขึ้น เคนโมจิมักจะขอความช่วยเหลือจากคินดะอิจิอยู่เสมอ", "title": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา" }, { "docid": "170641#11", "text": "คดีนี้ได้ถูกรื้อฟื้นและตัดสินอย่างจริงจังหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2500 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ศาลดำเนินคดีในปี พ.ศ. 2502 พบผู้ต้องหา 5 ราย ได้แก่ พลตำรวจจัตวา ผาด ตุงคะสมิท, พลตำรวจจัตวา ทม จิตรวิมล, ร้อยตำรวจโท จำรัส ยิ้มละมัย, ร้อยตำรวจโท ธนู พุกใจดี และสิบตำรวจเอกแนบ นิ่มรัตน์ โดยศาลพิพากษาในปี พ.ศ. 2504 จำคุกตลอดชีวิตผู้ต้องหา 3 ราย คือ พลตำรวจจัตวา ผาด, พลตำรวจจัตวา ทม และ สิบตำรวจเอก แนบ ส่วน ร้อยตำรวจโท จำรัส และร้อยตำรวจโท ธนู ศาลได้ยกฟ้อง แต่กระนั้นก็ยังมีความเชื่อว่า ผู้ต้องหาเหล่านี้ไม่ได้เป็นผู้ต้องหาตัวจริง อีกทั้งยังมีการช่วยเหลือและไม่จริงใจในการดำเนินคดีอีกด้วย ทั้งนี้ เพราะมีผู้ต้องหาหลายคนที่เคยเป็นทหารและตำรวจในสังกัดของจอมพล ป. มาก่อน ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ก็ต้องการให้ทหารและตำรวจเหล่านี้ค้ำจุนอำนาจไว้", "title": "คดีฆ่า 4 อดีตรัฐมนตรี พ.ศ. 2492" }, { "docid": "52669#24", "text": "เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ปรากฏตัวเกมส์แรกเป็นตัวละครนักฟุตบอลในเกม FIFA 98 road to worldcup ของบริษัท EA ในฐานะตัวสำรองของทีมชาติไทยในเกมส์ สวมเสื้อหมายเลข 13 และเกมส์ของค่าย KONAMI \"เวิร์ลด์ ซอคเกอร์ จิคเคียว วินนิ่ง อีเลฟเว่น 2000: U-23 เมดัล เฮโนะ โชเซ็น\" (World Soccer Jikkyou Winning Eleven 2000: U-23 Medal Heno Chousen) ในฐานะผู้เล่นทีมชาติไทยชุดอายุต่ำกว่า 23 ปี โดยมีชื่อในเกมว่า \"เซนามูรัน\" (セナムラン)", "title": "เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง" }, { "docid": "52669#22", "text": "เอ็มไทยท็อปทอล์กอะเบาต์ 2015 สาขาบุคคลชายที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด[42] Fever Awards 2016 สาขานักกีฬาฟีเวอร์ 2016", "title": "เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง" }, { "docid": "522792#1", "text": "ในภายหลัง อภิสิทธิ์ได้มีส่วนร่วมกับสโมสรฟุตบอล บางกอก เอฟซี โดยทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยให้แก่เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ครั้นเมื่อ เกียรติศักดิ์ได้หันไปทำหน้าที่ช่วยแก่ทีมชาติไทย อภิสิทธิ์ก็ได้รับหน้าที่คุมทีมบางกอก เอฟซี ทั้งหมดแทน ทั้งยังมีผลงานในการควบคุมโอลอฟ วัตสัน ซึ่งเป็นนักฟุตบอลชาวสวีเดน", "title": "อภิสิทธิ์ ไข่แก้ว" }, { "docid": "52669#23", "text": "*** ฟีฟ่ารับรอง 70 ประตู", "title": "เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง" }, { "docid": "52669#2", "text": "ซิโก้เริ่มศึกษาที่โรงเรียนบ้านหนองแดง อำเภอกุมภวาปี จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากนั้นจึงย้ายมาศึกษาต่อชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนน้ำพองศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จนสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 จึงย้ายเข้ามาศึกษาต่อที่กรุงเทพมหานคร ในระดับอนุปริญญา สาขาการบัญชี ที่โรงเรียนพาณิชยการกรุงเทพ และจบการศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และจบการศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม[6]", "title": "เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง" }, { "docid": "176896#3", "text": "ในระดับสโมสรดุสิตเคยเล่นให้กับ เพื่อนตำรวจ บีอีซี เทโรศาสน Mohun Bagan AC ที่ประเทศอินเดีย ก่อนกลับมาประเทศไทย โดยลงเล่นให้กับ บีอีซี เทโรศาสน เป็นครั้งที่ 2 แล้วย้ายไปเล่นให้กับฮหว่างอัญซาลาย ที่ประเทศเวียดนาม จากการชักชวนของ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง และกลับมาประเทศไทย ลงเล่นให้กับ เพื่อนตำรวจ เป็นครั้งที่ 2 และเป็นสโมสรสุดท้ายในการเป็นนักฟุตบอลของดุสิต", "title": "ดุสิต เฉลิมแสน" }, { "docid": "508672#25", "text": "เดือนกันยายน ชนาธิปถูกเกียรติศักดิ์ เสนาเมืองเรียกตัวติดทีมชาติไทยชุดอายุไม่เกิน 23 ปี ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ที่เมืองอินชอน ประเทศเกาหลีใต้ และพาทีมชาติคว้าอันดับ 4 มาครอง", "title": "ชนาธิป สรงกระสินธ์" }, { "docid": "481517#5", "text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 สารัชเข้าสู่ทีมชาติไทยชุดเอเชียนเกมส์ 2014 ที่เมืองอินชอน ประเทศเกาหลีใต้ หลังจากมีผลงานที่ดีกับเมืองทอง ยูไนเต็ด จน เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เรียกเข้าไปติดทีมชาติและได้พาทีมชาติไทยสร้างประวัติศาสตร์เข้าสู่รอบสี่ทีมสุดท้ายอีกครั้ง", "title": "สารัช อยู่เย็น" }, { "docid": "52669#20", "text": "2532 ชนะเลิศ ถ้วย ก (ธนาคารกรุงไทย) 2536 ชนะเลิศ ถ้วย ข (ธนาคารกรุงไทย) 2541 ชนะเลิศ กีฬากองทัพไทย (ตำรวจ) 2542 รองชนะเลิศ มาเลเซียซูเปอร์ลีก (ปะลิส) 2543 รองชนะเลิศ ดิวิชั่น 1 อังกฤษ (ฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์) 2545 ชนะเลิศ เอส.ลีก (สิงคโปร์ อาร์มฟอร์ซ) 2546 ชนะเลิศ วี-ลีก (ฮหว่างอัญซาลาย) 2546 ชนะเลิศ เวียดนามซูเปอร์คัพ (ฮหว่างอัญซาลาย) 2547 ชนะเลิศ วี-ลีก (ฮหว่างอัญซาลาย) 2547 ชนะเลิศ เวียดนามซูเปอร์คัพ (ฮหว่างอัญซาลาย)", "title": "เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง" } ]
2970
สุวรรณ นภาพล เริ่มเล่นมวยเมื่อไหร่?
[ { "docid": "80129#5", "text": "เริ่มต้นชกมวยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๖ จึงเลิกชกมวย หลังจากทำงานให้บริษัทไฟสโตน จำกัด เพราะกรรมการผู้จัดการขอร้องให้เลิกชก รวมสถิติการชกมวยทั้งมวยนักเรียน มวยสากลสมัครเล่น และมวยอาชีพ ทั้งหมด ๙๘ ครั้ง ผลรางวัลที่ได้รับจากการแข่งขัน คือ ๗ แชมป์ ในการชกมวยทั้งหมดทั้งมวยไทยและมวยสากล โดยได้แชมป์มวยสากลครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ในการแข่งขันมวยมวยสากลนักเรียน เมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ ๔ ครั้งแรกในชีวิตชกมวยไทย, ระยะทางที่เดินทางไปโรงเรียนปทุมคงคาต้องเดินผ่านวัดไตรมิตร เผอิญที่งานวัดไตรมิตรมีการแข่งขันชกมวยด้วย จึงได้ไปเปรียบและขึ้นชกมวยไทย ได้รับชัยชนะ K.O. (Knock out) ในยกแรก ได้รับเงินรางวัลจากชัยชนะในครั้งนั้นจำนวน ๑๒ บาท วันรุ่งขึ้นจึงขึ้นไปชกอีกครั้ง โดยได้รับเงินรางวัลจากชัยชนะในครั้งนี้จำนวน ๑๕ บาท ทำให้ดีใจมาก", "title": "สุวรรณ นภาพล" } ]
[ { "docid": "80129#0", "text": "สุวรรณ นภาพล มีชื่อจริงว่า สุวรรณ โสมบุญเสริม เป็นอดีตแชมป์มวยนักเรียนในรุ่นฟลายเวทหลายสมัย เป็นแชมป์มวยสากลสมัครเล่นเหรียญทองประเทศไทย และเป็นตัวแทนทีมชาติไทยเข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่สองเมื่อปี พ.ศ. 2497 ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ด้วย", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "80129#16", "text": "หลังจากนั้นพ่อจึงได้สมัครเข้าฝึกซ้อมที่ค่ายศิษย์ผล หรือเจริญเมืองสมัยนี้ พ่อเริ่มหัดอย่างจริงจังในปีนั้นพ่อได้ขึ้นชกมวยนักเรียน พ่อจำได้ว่าปี 2493 พ่อก็ได้ชนะเลิศรุ่นเปเปอร์เวท เป็นนักมวยเหรียญทองของโรงเรียน สำหรับรายการชกมวยสากลของพ่อนั้น พ่อเคยได้ชิงชนะเลิศถึง 7 ครั้ง และก็ชนะทุกครั้ง คือชนะเลิศมวยนักเรียน 2 ปี ชนะเลิศมวยกองทัพอากาศ 3 ปีซ้อน ชกมวยชนะเลิศมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในปี 2497 ได้เป็นตัวแทนไปชกแข่งขัน เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 2 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ไปแพ้ตัวแชมป์เปี้ยนในรอบแรก เพราะผิดอากาศและเป็นหวัดอย่างรุนแรง หลังจากนั้นพ่อขึ้นชกมวยอาชีพ ก็ชนะมาเรียบ จนได้อยู่อันดับรองอันดับหนึ่งของเวทีราชดำเนิน และรองอันดับ 3 ภาคตะวันออกไกล คู่ต่อสู้ที่เคยแพ้พ่อ โดยโดนพ่อต่อยนับแล้วนับอีก ครั้งหลังเขาได้เป็นแชมป์เปี้ยนโลกถึง 3 สมัย นั่นคือ “โผน กิ่งเพชร” เขาแพ้พ่อถึง 2 ครั้ง แม้ว่าโผนกำลังจะได้ไปชิงแชมป์ที่ญี่ปุ่นที่ได้ขึ้นชกกับพ่อที่นครสวรรค์ ยก 2 ถูกพ่อชกลงไปฟุบเลย ทั้งที่ตอนนั้นพ่อไม่ได้ซ้อมไปเลย", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "80129#17", "text": "พ่อจำได้ว่าตลอดเวลาที่แม่ของพ่อยังมีชีวิตอยู่ พ่อชกมวยโดยที่ไม่เคยแพ้ใครเลยถึง 62 ครั้ง มีเสมอเพียง 2 ครั้งเท่านั้น หลังจากที่แม่เสีย พ่อเหมือนว่าหมดกำลังใจ ชกชนะบ้างแพ้บ้าง เมื่อรวบรวมถึงเมื่อพ่อเลิกชก พ่อชกมาทั้งหมด 98 ครั้ง จำได้ว่าแพ้เพียง 6 ครั้ง ในชีวิตไม่เคยถูกใครต่อยพ่อน๊อคได้ เพียงแต่พ่อยอมแพ้ไปและเดินลงเวที สิ่งที่พ่อภูมิใจมากที่สุดในชีวิตคือพ่อได้คลานไปกราบพระบาทในหลวงองค์นี้ เมื่อคราวกราบลาไปชกเอเชี่ยนเกมส์ ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ มวยอาชีพของพ่อ พ่อยังไปได้แชมป์เปี้ยน รุ่นฟลายเวทที่ประเทศสิงคโปร์ด้วย เมื่อปี พ.ศ. 2498 การชกมวยของพ่อ พ่อได้ไปถึง 7 ประเทศ สำหรับที่ประเทศฟิลิปปินส์ พ่อได้ไป 2 ครั้ง", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "80129#22", "text": "หากจะเอ่ยชื่อของ สุวรรณ โสมบุญเสริม ขึ้นมาแล้ว วงการมวยอาชีพอาจรู้จักกันน้อยเต็มที แต่วงการมวยสมัครเล่นเมื่อ 16 ปี ก่อน ใครๆ ก็ต้องรู้จักเขาดี เพราะสุวรรณคนนี้ได้ครองแชมป์รุ่นฟลายเวทในการแข่งขันหาตัวแทนของชาติไทยไปชกเอเชี่ยนเกมส์ ณ นครมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ในปลายเมษายน 2497 ครั้งนั้น กรมพลศึกษา เลือกสรรนักชกระดับแชมป์ส่งไปเพียง 4 รุ่นเท่านั้น สุวรรณจึงเปรียบเสมือน “เพชรน้ำหนึ่ง” ของมวยสมัครเล่นเมืองไทยยุคนั้น", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "80129#14", "text": "ชีวิตจากการเริ่มต้นเป็นนักมวย ถ้าพูดถึงความเป็นนักมวยของพ่อคงน่าสนใจมาก เอาย่อๆก่อนพ่อชกมวย ตั้งแต่มวยนักเรียน มวยกองทัพ มวยสมัครเล่น รวมทั้งมวยอาชีพ เคยชนะเลิศมาถึง 7 ครั้ง ได้เสื้อสามารถถึง 4 เสื้อ พ่อนึกไม่ถึงเหมือนกันว่าในชีวิตพ่อจะเป็นนักมวยกับเขา เพราะตอนเด็กเล็กๆ ขึ้นชื่อว่าเป็นเด็กขี้แย คนหนึ่งจนปู่ตั้งฉายาว่า “นนทุกข์” หรือ “สังข์ทอง” ตอนโดนถ่วงน้ำ เพราะชอบร้องไห้ จะมีเรื่องกับใครถ้าไม่เจ็บตัวก่อนไม่อยากจะสู้ แต่ถ้าสู้แล้วไม่ชนะไม่ยอมเลิกเหมือนกัน", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "776642#0", "text": "นายร้อยสอยดาว ละครโทรทัศน์ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ผลิตโดยค่ายโชอิง เป็นบทประพันธ์ของ พลเอก บัญชร ชวาลศิลป์ บทโทรทัศน์ นภาพล ออกอาศจำนวน 15 ตอน เมื่อ 12 มกราคม พ.ศ. 2546 - 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 และจบในปีเดียวกัน นำแสดงโดย จักรมนต์ นิติพน, สุฐิตา เรืองรองหิรัญญา, อัครพล ทองธราดล, สุมนต์รัตน์ วัฒนาเศลารัตน์, สุรบดินทร์ สมบัติเจริญ ครั้งที่ 2 ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ผลิตโดยค่ายโชอิง เป็นบทประพันธ์ของ พลเอก บัญชร ชวาลศิลป์ บทโทรทัศน์ นภาพล ออกอาศจำนวน XX ตอน 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ในปีเดียวกัน นำแสดงโดย ศุภณัฐ พงศ์พศุตม์, ดุจฤดี เทพวงษ์, อดุลยรัศมิ์ สุวรรณจักร, ญาณิศา จุลสิงห์, ภัทรพล ทองบางใบ", "title": "นายร้อยสอยดาว" }, { "docid": "80129#10", "text": "ต่างประเทศก็ไปได้แชมป์ที่สิงคโปร์ มาเลเซีย เขมร ฟิลิปปินส์ ชก ๒ ครั้ง จำได้ว่าสมัยที่แม่มีชีวิตอยู่ ชกชนะทุกครั้งทั้งหมด ๖๕ ครั้ง กระทั่งที่เสียแม่ไปจึงมีแพ้บ้าง – ชนะบ้าง ในชีวิตที่ผ่านมาเคยไปชกมวยไทยที่ประเทศลาว ชนะ K.O. ยกแรก และได้รับการว่าจ้างให้เป็นผู้ฝึกสอนมวยที่เวียงจันทน์อยู่ ๒ ปี และเคยเป็นผู้ฝึกสอนมวยสากลให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย อยู่ ๓ ปี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ – ๒๕๓๓ ทำให้นักกีฬามวยสากลสมัครเล่นของทีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เหรียญรางวัลทั้ง ๓ ปี ทั้งที่ ๑๘ ปีที่ผ่านมา จุฬาฯ ไม่เคยได้รับเหรียญรางวัลจากการแข่งขันกีฬาประเภทนี้เลยจากอธิการบดีของจุฬาฯ เล่าให้ฟัง โดยมาได้เหรียญทองในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นเจ้าภาพ โดยในวันชิงได้บอกเทคนิคการชกให้กับนักกีฬา โดยบอกให้นักกีฬามวยชกเพียง ๓ หมัด คือ แยบ ๒ หมัด และปล่อยหมัดขวาตรง นักกีฬามวยได้ทำตามเทคนิคที่บอกและได้รับชัยชนะ T.K.O. นักกีฬามวยถึงลงมากราบเท้าเพราะชนะตามคำที่บอก นักกีฬาผู้นั้นคือ สุรวุฒิ สุตตรา เมื่อกีฬามหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ สิ้นสุดลง จึงได้บอกทางอธิการบดีขอหยุดการสอน เพราะบ้านอยู่ไกลเหลือเกิน เดินทางไปกลับใช้เวลามาก ปัจจุบัน อายุ ๗๖ ปี พักอาศัยกับภรรยา และบุตรสาว 2 คน ที่บ้านลาดพร้าว 101 บางกะปิ กรุงเทพฯ", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "80129#21", "text": "สุวรรณ นภาพล แชมป์ฟลายเวทสิงคโปร์ หมัดของเขาหนักทั้งซ้ายขวา ขนาดทำเอาโผน กิ่งเพชร ตีแปลงลงให้กรรมการนับ 9 มาแล้ว เคยชกมวยสมัครเล่นเป็นแชมป์ได้เสื้อสามารถถึง 4 ตัว เคยสร้างชื่อบนสังเวียนต่างแดนหลายแผ่นดิน แต่ชกมวยอาชีพกลับได้แต่ตำแหน่งรองแชมป์อันดับสูงเท่านั้น...", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "80129#27", "text": "เขาไปชกที่นครพนม ชนะมวยท้องถิ่น 2 คนซ้อน แล้วกลับมาชก ชัว กิมเล้ง พี่ชายกิมเจียงที่ลุมพินีชนะน๊อคในยก 2 แล้วคว่ำศุภศักดิ์สารคามยก 2 อีกคนที่เวทีเดียวกัน จากนั้นมีโอกาสร่วมทัมมวยกองทัพอากาศไปชกยังไต้หวัน – ฟิลิปปินส์ กลับมาไปชกที่พนมเปญ โดนมินธันกัมพุช มวยอำมหิตตะบันกลิ้งกลับมา พอดีต้องอำลาจากกองทัพอากาศ โยกย้ายตัวเองมาอยู่ค่าย ร.ส.พ. กับชาย ศิษย์ผล ที่รู้จักกันมาแต่เด็กๆ เที่ยวตระเวนชกไปถึงเวียงจันทร์กับสินชัย, เรืองชัยเทียมประสิทธิ์ และศิลปชัยนารายณ์มหาราช กลับมามือไม้บวม ต้องไปชกกับสมหวังบ้านบึงที่งานบ้านบึงอีก เลยโดนตุ๊ยหามลงมายก 3 แล้วไปชกมวยไทยกับสมอาจ เทียมกำแหงที่เชียงใหญ่ก็แพ้ คะแนนอีก แต่มากู้ชื่อได้ที่โคราช ชกมวยสากลตะบันแสงเพชร สุรพรพรหมแพ้ ที.เค.โอ. ยกแรกพลิกล๊อควินาสสันตะโรแล้วไปชกที่เกาะปีนังฟาดกับกะเร็งดำ เฟลิกซ์บอย 2 หน แพ้ยก 2 หนหนึ่ง อีกหนหนึ่งยกห้า!", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "80129#20", "text": "ที่มา หนังสือมวยลุมพินี พ.ศ. 2513", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "48232#1", "text": "เมื่อหันมาชกมวยสากลก็ทำสถิติการชกได้ดี จนได้แชมป์ ABC ทั้งรุ่นแบนตั้มเวทและซูเปอร์แบนตั้มเวท และได้โอกาสขึ้นชกเพื่อคัดตัวไปเป็นผู้ท้าชิงแชมป์โลกในรุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท สภามวยโลก (WBC) กับ นภาพล เกียรติศักดิ์โชคชัย นักมวยชาวไทยด้วยกันเอง แต่ทว่าต้องคลาดคลากันถึง 3 ครั้ง 3 ครา ด้วยครั้งแรกแสงหิรัญต้องผ่าตัดไส้ติ่ง ครั้งที่ 2 นภาพลบาดเจ็บไหล่หลุด และครั้งที่ 3 สภามวยโลก เลื่อนการชกออกไป จนเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550 ทั้งคู่พบกัน ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ผลการชก แสงหิรัญที่ร้างเวทีไปถึง 1 ปีเต็ม ทำได้ดีกว่าในยกต้น ๆ ทำคะแนนนำไปก่อน แต่หลังจากยก 6 ไปแล้ว นภาพลเร่งเครื่องแรงขึ้น ขณะที่แสงหิรัญกลับหมดแรง จนถูกน็อกในยกที่ 10 ชวดแชมป์และเป็นการแพ้ครั้งแรกในชีวิตการชกมวยสากลของแสงหิรัญด้วย แต่ทว่าเมื่อนภาพลขึ้นชิงแชมป์โลกกับ โตชิอากิ นิชิโอกะ แชมป์โลกชาวญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2551 ก็เป็นฝ่ายแพ้คะแนนไปแบบขาดลอย", "title": "แสงหิรัญ ลูกบ้านใหญ่" }, { "docid": "80129#4", "text": "โดย ธนาวรรณ โสมบุญเสริม (บุตรี)", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "80129#25", "text": "เขาไปชกมวยสมัครเล่นเอชี่ยนเกมส์ที่นครมนิลา แต่แพ้คะแนน นักชกเกาหลีจึงไม่ได้ตำแหน่งอะไรกลับมา จึงเข้าทำงานในกรมช่างอากาศบางซื่อ ตอนนี้หัดมวยสากลเพิ่มเติมกับจะเด็ด เลือดชนบท ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาอีกพักใหญ่ ขึ้นชกมวยของกองทัพอากาศชนะเลิศถึง 3 ปีซ้อน ทางกองทัพอากาศจึงสนับสนุนให้ขึ้นชกมวยอาชีพในปี 2498 ขึ้นชกมวยสากล 6 ยกในชื่อ สุวรรณ นภาพล ชนะคะแนนประทีป ส.ส. เป็นหนแรก แล้วชนะคะแนนเดชน้อยส.ส. พอดีค่ายกิ่งเพชรส่งโผนขึ้นทาบแบบไม่หวั่นเกรงศักดิ์ศรี สุวรรณแลกหมัดกับโผนอย่างลือลั่น ยกแรก เขาตะบันเอาโผนลงนับ 9 และยกสองก็อีกครั้งจึงเป็นฝ่ายชนะคะแนนไปเมื่อครบ 6 ยก...", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "80129#7", "text": "กลับมาเริ่มชกมวยอาชีพที่เวทีมวยราชดำเนิน ชนะครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ ก็ได้ขึ้นชกกับโผน กิ่งเพชร ในวันจันทร์ไปทำงานหัวหน้าจอม กุลละวนิชบอกให้ขึ้นชกกับโผน กิ่งเพชรในวันพฤหัสบดี ยกแรกต่อยโผนลงไปนับแปด ยก ๒ ปลายยกต่อยโผนลงไปนับอีกระฆังช่วยไว้ ยก ๓ ยก ๔ ต้องยอมปิดให้โผนชกเพราะหมดแรง จนถึงยก ๖ ได้ชกโผนลงไปนับอีก และได้ชัยชนะกลับลงมา รวมชกได้แชมป์ ๗ แชมป์ ได้รับเสื้อสามารถ ๔ เสื้อ คือ ได้จากกองทัพอากาศ ๓ เสื้อ และ ๑ เสื้อจากกรมพลศึกษา เมื่อครั้งไปชกเอเชียนเกมส์ ปี พ.ศ. ๒๔๙๗", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "80129#29", "text": "ขณะนี้สุวรรณอายุ 36 ปี มีเมียมีลูกคนหนึ่งแล้วทำงานอยู่บริษัทยางไฟร์สโตน์เป็นเจ้าถนนทุกเมื่อ เมื่อมาราว 7 ปีเศษแล้วเขาจำสถิติการชกของเขาได้ว่าชกมวยมาทั้งหมด 98 ครั้ง แพ้เพียง 11 ครั้ง เสมอ 2 ครั้งเท่านั้น นอกนั้นชนะหมด ไม่เคยโดนไล่ลงจากเวทีแม้แต่หนเดียว", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "53751#6", "text": "โผนขึ้นชกมวยสากลครั้งแรกประมาณ พ.ศ. 2498 ชนะน็อค นกนิด ท.ส. ยก 2 และพบกับความพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกในการชกครั้งที่ 3 โดยเป็นฝ่ายแพ้คะแนนสุวรรณ นภาพล [2] จากนั้นการชกของโผนดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชนะน็อก กู้น้อย วิถีชัย แชมป์ฟลายเวทของเวทีราชดำเนิน ได้อย่างงดงามเมื่อ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 ทั้ง ๆ ที่โผนมีประสบการณ์น้อยกว่าอย่างเทียบไม่ติด และเคยชกแพ้มาก่อนในการเจอกันครั้งแรก ต่อมาเมื่อมีการแก้มือกันเป็นครั้งที่สาม โผนก็ชนะคะแนนไปได้อีกครั้งเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ก่อนจะขึ้นครองแชมป์เวทีราชดำเนิน โผนชกชนะนักมวยชื่อดังในรุ่นฟลายเวตและแบนตัมเวทในยุคนั้นมาแล้วหลายคน เช่น บุญธรรม วิถีชัย พร พัลธุมเกียรติ สมยศ สิงหพัลลภ ประยุทธ ยนตรกิจ เป็นต้น[3] โผนขึ้นชกกับนักมวยต่างชาติครั้งแรกเมื่อ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 ชนะน็อคมินธัม กัมพุช แชมป์รุ่นแบนตัมเวทของกัมพูชา[2] ต่อมา โผนได้ขึ้นชิงแชมป์ภาคตะวันออกไกลฯ (OPBF) โดยชนะคะแนน แดนนี่ คิด เจ้าของตำแหน่งชาวฟิลิปปินส์ โผนจึงได้มีชื่อติดอันดับโลก และเป็นการกรุยทางสู่การชิงแชมป์โลก", "title": "โผน กิ่งเพชร" }, { "docid": "80129#3", "text": "ประวัติการชกมวยจากคำบอกเล่าของสุวรรณ (นภาพล) โสมบุญเสริม (22/11/2008)", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "80129#28", "text": "จากนั้นไปเที่ยวนครสวรรค์ได้ชกโชว์กับโผน กิ่งเพชร ที่เวทีจรประวัติ ยกสอง สุวรรณตะบันเอาโผนล้มทั้งยืน ลุกขึ้นมาขาเป๋ กรรมการจึงต้องโมเมเลิกกลางคัน ซึ่งอาว์สังข์นำข่าวมาลงใน “บ๊อกซิ่ง” หวิดโดนนายห้าง ทองทศ อินทรทัตฟ้องร้องเอะอะมะเทิ่งกันยกใหญ่ ไปพักหนึ่ง สุวรรณเตลิดไปทำงานอยู่เวียงจันทร์ร่วม 2 ปี จึงกลับมาทำงานสนามม้าราชกรีฑา ตั้งค่ายมวยธัญญวัลย์ขึ้นกับเพื่อนๆ เขาขึ้นชกมวยสากลในสังกัดนี้อีก ที่ลุมพินี เจอกับส่องศักดิ์ ศ. บางคอแหลม ยกแรกตะบันส่องศักดิ์ ลงไปนับ 9 แล้ว แต่กลับหมดแรงวายไปเองในยกต่อมา สุวรรณจึงตัดสินใจเลิกมวยแขวนนวมอย่างเด็ดขาดตั้งแต่ครั้งนั้นมา", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "80129#2", "text": "จากนั้นสุวรรณได้ไปอยู่ที่เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย โดยอยู่กับโปรโมเตอร์ โรเบิร์ต หลิม สุวรรณขึ้นชกที่เกาะปีนังผลัดแพ้ - ชนะกับ เฟลิกซ์ บอย นักมวยเจ้าถิ่น 2 ครั้ง 2 ครา จึงเดินทางกลับมาประเทศไทยและมาเป็นคู่ซ้อมให้กับโผน กิ่งเพชร คู่ปรับเก่า ซึ่งขณะนั้นโผนได้เป็นแชมป์โลกแล้ว แต่ทั้งคู่ไม่เคยได้พิสูจน์ฝีมือกันอีกครั้งบนผืนสังเวียนผ้าใบอีกเลย", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "200642#2", "text": "แต่เมื่อเลื่อนรุ่นขึ้นไปชกในรุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท นิชิโอกะสามารถเอาชนะคะแนน นภาพล เกียรติศักดิ์โชคชัย ในการชิงแชมป์เฉพาะกาลในรุ่นนี้ที่ว่างของ WBC ไปได้ ซึ่งนภาพลถือเป็นนักมวยรุ่นน้องของวีระพล เพราะอยู่ในสังกัดเดียวกัน และมีวีระพลเป็นเทรนเนอร์ด้วย", "title": "โทชิอากิ นิชิโอกะ" }, { "docid": "80129#26", "text": "หลังจากชนะคะแนนโผน กิ่งเพชรแล้ว สุวรรณคว่ำเจริญราชวัฎมวยดีอีกคนในยก 3 แต่พลาดท่าแพ้น๊อคกู้น้อย วิถีชัยยกสอง เพราะตอนนั้นกู้น้อยเก่งกาจเหลือเกิน ครองแชมป์ราชดำเนินหาตัวจับไม่มีเลย ขนาดข้ามรุ่นชกถึงเฟเธอร์เวทยังเคย แต่สุวรรณก็ยังได้ไปชกสิงคโปร์ ชิงตำแหน่งรุ่นฟลายเวทชนะคะแนน ชัว กิมเจียงอย่างพลิกล๊อควินาศสันตะโร สุวรรณหาคู่ชกยาก จึงต้องเรื้อรังเวทีไปหลายเดือน มาชกอีกครั้งพลาดท่าแพ้ พรพันธุลเกียรติหามลงมาอีก จึงต้องหากินแบบแอบชกมวยไทยตามต่างจังหวัดไปพลางๆ", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "80129#23", "text": "สุวรรณ ตอนนั้น อายุเพิ่งจะย่าง 20 ปี ถึงร่างกายจะผอมสูงบอบบาง แต่เชิงชกกำปั้นหนักทายาท เขาครองแชมป์มวยนักเรียนมา 2 ปี 2 รุ่น ปีแรก 2493 เป็นแชมป์แบนตั้มเวทตอนเรียนอยู่โรงเรียนปทุมคงคา ต่อมาย้ายไปอยู่โรงเรียนช่างอากาศบำรุงปี 2495 ได้เป็นแชมป์รุ่นฟลายเวท ส่วนปี 2494 ชวดโอกาสชกเพราะถูกงูเขียวกัดข้อมือบวม เมื่อใกล้วันชกเลยต้องถอนตัว เดิมทีสุวรรณเป็นเด็กเกิดที่สวนหลวง ใกล้สนามกีฬาแห่งชาติ บ้านอยู่ติดๆ กับค่ายมวยของผล พระประแดง เขาเรียกผลว่า “อาว์” มวยแต่เล็กๆ สุวรรณจึงมีโอกาสคลุกคลีอยู่ในค่ายซ้อมแห่งนั้นมาแต่หัวเท่ากำปั้นก็ว่าได้ ก่อนที่จะได้แชมป์มวยนักเรียนหนแรกชกที่วัดไตรมิตรได้รางวัลมา 12 บาท รุ่งขึ้นติดใจไปขอชกอีก เสมอกับตี้ ศิษย์ยอดฟ้า ได้รางวัล 15 บาท จากนั้นได้ใจดอดไปชกที่งานวัดตึกอีก ชนะมาแค่ยกแรก ได้อัฐใช้อีก 15 บาท ทั้ง 3 หนสุวรรณชกมวยไทยทั้งสิ้น เพราะมวยสากลมวยหรั่งงานวัดไม่นิยมกันหรอก...", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "80129#18", "text": "สำหรับการที่พ่อมีความสนุกเกี่ยวแก่ที่ที่พ่อได้เป็นนักมวย ถึงแม้ความรู้สึกที่แท้จริงของพ่อกับการที่ชกมาถึง 98 ครั้งนี้ พ่อเป็นเพียงนักกีฬาสมัครเล่นเท่านั้น ถ้าพ่อหวังที่จะเป็นนักมวยอาชีพจริง การที่จะได้เป็นแชมป์เปี้ยนโลกไม่ได้เป็นเรื่องยากเย็นเลย ในชีวิตพ่อที่มีการฝึกซ้อมและมีความสมบูรณ์สุดมีอยู่เพียงแค่ 1-2 ครั้งเท่านั้น คือ ก่อนที่จะไปชกเอเชี่ยนเกมส์ เมื่อปี 2497 แต่พอไปถูกฝนที่ฮ่องกงและผู้ที่คุมไปไม่มีความรู้เรื่องฝึกซ้อม ตอนที่ขึ้นชกจึงไม่สมบูรณ์ อีกครั้งนึงที่พ่อขึ้นชกชิงแชมป์ฟลายเวทที่สิงคโปร์ พ่อสมบูรณ์มากประมาณ 80% ทำให้ได้แชมป์มา ผลจากที่พ่อสนุกและความตั้งใจจริงกับการชกมวยนี่ พ่อเคยได้ชิงชนะเลิศถึง 7 ครั้ง และก็ได้ชัยชนะทั้ง 7 ครั้ง ทำให้พ่อได้เสื้อสามารถถึง 4 ตัว พ่อจึงคิดว่า “การเล่นกีฬาถ้าเล่นด้วยใจรักและจริงใจ ฝึกซ้อมให้ถูกวิธี ไม่เป็นการยากเลยที่จะได้รับชัยชนะในเกมกีฬาที่เราชอบ เมื่อเราได้ฝึกซ้อมดี การเจ็บตัวมีน้อยมาก และเป็นความสนุกจริงๆ”", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "79450#2", "text": "นำพลเป็นนักมวยที่มีอาวุธเด็ดคือ กอดคอตีเข่า และชกเมื่อไหร่ มักจะได้แผลแตกทุกครั้ง โดยได้มีการเย็บมากที่สุดคือ 72 เข็ม จึงได้รับฉายาจากแฟนมวยว่า \"ขุนเข่าหน้าเปื่อย\" และมีสถิติการเย็บเฉพาะชกที่เวทีลุมพินีจนกระทั่งแขนนวม 268 เข็ม นำพลเป็นนักมวยชกสนุก ชกได้สวยงาม ซ้ำยังมีหน้าตาดี จึงเป็นนักมวยแม่เหล็กดึงดูดแฟนมวยจนอาจเรียกได้ว่า เป็นนักมวยยอดนิยมอันดับหนึ่งในสมัยนั้นก็ว่าได้ โดยเคยปะทะกับมวยไทยร่วมสมัยดังมีรายชื่อข้างต้นมาแล้วมากมาย รวมทั้งเคยปะทะกับนักมวยไทยชาวต่างประเทศมาแล้วหลายคนทั้งในและนอกประเทศ เช่น ราม่อน แด็กเกอร์ เป็นต้น และดีกรีเป็นแชมป์ในรุ่นไลท์ฟลายเวท, ฟลายเวท และเฟเธอร์เวท ของเวทีลุมพินี และได้รับค่าตัวสูงสุด 260,000-240,000 บาท และแบ่งค่าตัวกับทางต้นสังกัดอย่างละครึ่ง", "title": "นำพล หนองกี่พาหุยุทธ" }, { "docid": "80129#15", "text": "แถวบ้านมีค่ายซ้อมมวยคือค่ายพระประแดงมีอาว์ผลพระประแดงฝึกซ้อมอยู่ พ่อชอบดูมาก ดูตั้งแต่ยังเด็กเสื้อผ้าไม่ได้นุ่ง อาว์ผลพระประแดงมีความเคารพนับถือกับปู่และรู้จักสนิทกับปู่จนปู่ให้พ่อเรียกว่าอาว์ ที่พ่อขึ้นชกครั้งแรกทั้งที่ยังไม่เคยฝึกซ้อมมวย เพียงแต่อยากได้สตางค์เท่านั้น สมัยที่พ่อเรียนอยู่โรงเรียนปทุมคงคา พ่อต้องเดินจากบ้านสวนหลวงไปโรงเรียนและกลับทุกวัน เห็นที่วัดไตรมิตรเขามีงานวัดและมีมวย เลยลองไปเปรียบขอชกได้คู่กับ “ราชัญ เจนณรงค์ไ เป็นนักมวยที่เคยชกเวทีราชดำเนินมา พ่อขึ้นชกทั้งที่ยังไม่เคยหัด เคยดูแต่เขาซ้อมมา พ่อชกชนะน๊อคยก 1 ได้เงินรางวัลมา 12 บาท ตอนนั้นอายุคงราว 14 – 15 ติดใจรุ่งขึ้นไปชกอีกต่อยกับ “ตี๋ ศิษย์ยอดฟ้า” เขาเป็นมวยที่เคยผ่านเวทีมาแล้วเช่นกัน พ่อชนะคะแนนได้เงินรางวัลมา 15 บาท หลังจากนั้นไม่กี่วันพ่อก็ไปชกกับ “อุดม สวนหลวง” ที่วัดพลับพลาชัย พ่อชนะ K.O. ยก 1 ได้เงิน 15 บาทเช่นกัน", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "80129#6", "text": "จนมีการแข่งขันมวยนักเรียน ขึ้นชกในรุ่น ๑๐๘ ปอนด์ รุ่นเปเปอร์เวท ผลการแข่งขันชนะเลิศ ปีรุ่งขึ้นขึ้นชกอีกก็ได้รับชัยชนะอีก และชนะจนถึงวันชิงก่อนถึงซ้อมเชิงมวยที่บ้านซึ่งมีป่าไผ่และต้นไทรใหญ่ ระหว่างซ้อมถูกงูเขียวกัด เมื่อไปฉีดยาที่เสาวภา ปรากฏว่าแพ้ยาทำให้ตัวและมือบวม หมอสนามจึงห้ามขึ้นชกทำให้เสียใจมาก จนอาว์ผลพระประแดงครูมวยต้องพามาปลอบใจให้ปีหน้าแก้ตัวใหม่ ในปีนั้น เจริญ แดงเกษมจากโรงเรียนวัดสุทธิได้ไป ปี ๒๔๙๕ ขึ้นชกอีกและได้ชิงกับเจริญ แดงเกษม ผลที่ได้รับชนะเป็นปีที่ ๒ หลังจากนั้นไปชกที่สมุทรสงคราม มหาชัย ธนบุรี ชกมวยไทยทำให้มีเงินมาใช้จ่าย เข้าเรียนอยู่โรงเรียนช่างฝีมือกรมช่างอากาศทหารอากาศ ขึ้นชกมวยให้และได้แชมป์ถึง ๓ ปี และได้เสื้อสามารถถึง ๓ ตัว และปี ๒๔๙๗ ชนะมวยสากลสมัครเล่นทำให้ได้ไปแข่งขันในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ที่กรุงมนิลลา ประเทศฟิลิปปินส์", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "80129#1", "text": "สุวรรณ นภาพล เคยชกกับโผน กิ่งเพชรมาก่อน ในสมัยที่โผนยังไม่ได้เป็นแชมป์โลก โดยสามารถชกโผนนับ 8 ได้ในยกที่สอง และเมื่อครบ 6 ยก ก็ชนะคะแนนโผนไปแบบขาดลอย ที่เวทีราชดำเนิน ซึ่งเป็นการชกในกรุงเทพมหานครครั้งแรกของโผนด้วย", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "80129#19", "text": "หมวดหมู่:นักมวยสากลชาวไทยรุ่นฟลายเวท", "title": "สุวรรณ นภาพล" }, { "docid": "77288#2", "text": "ในประเทศไทย เดิมสภามวยโลกอยู่ในความดูแลของ นายสหสมภพ ศรีสมวงศ์ แต่เมื่อนายสหสมภพได้เสียชีวิตในปลายปี พ.ศ. 2543 พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ ได้เป็นผู้ดำเนินงานต่อ โดยเป็นประธานสภามวยแห่งเอเชีย (Asia Boxing Council - ABC) สถาบันมวยของทวีปเอเชียที่สภามวยโลกให้การยอมรับ สำหรับนักมวยไทยที่เคยเป็นแชมป์โลกของสถาบันนี้มีมาแล้ว 23 คน ได้แก่ โผน กิ่งเพชร, ชาติชาย เชี่ยวน้อย, เวนิส บ.ข.ส., แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์, เนตรน้อย ศ.วรสิงห์, พเยาว์ พูนธรัตน์, สด จิตรลดา, สามารถ พยัคฆ์อรุณ, นภา เกียรติวันชัย, เมืองชัย กิตติเกษม, สมาน ส.จาตุรงค์, ศิริมงคล สิงห์มนัสศักดิ์, ฉัตรชัย อีลิทยิม, วันดี สิงห์วังชา, วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น, เม็ดเงิน กระทิงแดงยิม, พงษ์ศักดิ์เล็ก กระทิงแดงยิม, เด่น จุลพันธ์ (นักมวยไทยสัญชาติญี่ปุ่น), โอเล่ห์ดง กระทิงแดงยิม, สุริยัน ศ.รุ่งวิสัย, คมพยัคฆ์ ป.ประมุข, ศรีสะเกษ ศ.รุ่งวิสัย และ วันเฮง มีนะโยธิน", "title": "สภามวยโลก" } ]
476
เมืองหลวงของสหรัฐอเมริกาคือเมืองอะไร ?
[ { "docid": "823#1", "text": "สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก[fn 2] และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลก[7] การมีลักษณะแบบเมืองทะยานเกิน 80% ในปี ค.ศ. 2010 และนำสู่มหภาค (megaregion) ที่เติบโตขึ้น เมืองหลวงของประเทศ คือ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และนครใหญ่สุดคือ นครนิวยอร์ก", "title": "สหรัฐ" } ]
[ { "docid": "413322#1", "text": "เมืองนี้ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1610 เป็นเมืองเก่าที่สุดในบรรดาเมืองหลวงของรัฐต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา เป็นศูนย์กลางการสำรวจและการเผยแผ่คริสต์ศาสนาในสมัยอาณานิคม ตกอยู่ใต้การครอบครองของพวกอินเดียนเผ่าพิวโบลระหว่าง ค.ศ. 1620-1692 ได้รับเอกราชจากเม็กซิโกในปี ค.ศ. 1821 เมืองนี้ได้กลายเป็นศูนย์กลางการค้ากับสหรัฐอเมริกา ต่อมาในปี ค.ศ. 1846 ตกอยู่ใต้การยึดครองของกองกำลังสหรัฐอเมริกา โดยมีนายพลสตีเฟน ดับเบิลยู. เคียร์นี เป็นผู้นำ และได้สถาปนาเป็นเมืองหลวงของดินแดนนิวเม็กซิโกในปี ค.ศ. 1851", "title": "แซนตาเฟ (รัฐนิวเม็กซิโก)" }, { "docid": "219239#0", "text": "ซานฮวน () เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของปวยร์โตรีโก และเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 42 ของสหรัฐอเมริกา มีประชากรประมาณ 434,374 คน (ปี 2543) มีพื้นที่ประมาณ 199.2 ตารางกิโลเมตร ความหนาแน่นของประชากร 3,507.5 คนต่อตารางกิโลเมตร เมืองซานฮวนเป็นเมืองเก่าแก่อันดับ 2 ของเมืองในหมู่เกาะทะเลแคริบเบียนที่ถูกสร้างโดยชาวยุโรปอีกด้วย (เมืองที่เก่าแก่ที่สุดคือซานโตโดมิงโก เมืองหลวงของสาธารณรัฐโดมินิกัน)", "title": "ซานฮวน" }, { "docid": "189420#0", "text": "บราซีเลีย () เป็นเมืองหลวงของประเทศบราซิล ได้รับการก่อตั้งเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 2503 ก่อนหน้านี้เมืองหลวงของประเทศได้แก่ ซัลวาดอร์ (พ.ศ. 2092-2306) และรีโอเดจาเนโร (พ.ศ. 2306-2503) เมืองนี้ได้รับการวางแผนผังเมืองเป็นอย่างดี เช่นเดียวกับกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ของสหรัฐอเมริกา และกรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย ชื่อบราซีเลียมาจากภาษาละตินแปลว่า \"บราซิล\" ", "title": "บราซีเลีย" }, { "docid": "18813#0", "text": "ราลี เมืองหลวงของรัฐนอร์ทแคโรไลนา ตั้งอยู่ในเขตเคาตีเวก (Wake County) สหรัฐอเมริกา ราลีเป็นเมืองที่รู้จักกันดีในชื่อ \"เมืองต้นโอ๊ก\" เนื่องจากมีต้นโอ๊กเป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2543 ราลีมีประชากร 276,093 คน ซึ่งนับเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับสองของรัฐนอร์ทแคโรไลนา รองจากเมืองชาร์ลอท (Charlotte) โดยในปี พ.ศ. 2547 ราลีมีประชากร 326,653 คน ซึ่งนับเป็นเมืองที่มีการเติบโตสูงที่สุดเมืองหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ", "title": "ราลี" }, { "docid": "24794#0", "text": "สปริงฟีลด์ () เป็นชื่อเมืองในสหรัฐอเมริกาซึ่งเชื่อว่ามีมากกว่า 121 เมืองที่ชื่อว่าสปริงฟีลด์ใน 34 รัฐ โดยในรัฐเพนซิลเวเนีย มีอยู่ 9 เมือง และรัฐวิสคอนซินมีอยู่ 4 เมืองที่ชื่อเดียวกัน โดยเมืองสปริงฟีลด์ที่เป็นที่รู้จักกันมากคือ เมืองสปริงฟีลด์ในรัฐแมสซาชูเซตส์ มีประชากร ประมาณ 150,000 คน และเมืองสปริงฟีลด์ที่เป็นเมืองหลวงของรัฐอิลลินอยส์ มีประชากรประมาณ 110,000 คน นอกจากนี้ เมืองสปริงฟีลด์ยังมีอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก เช่นใน ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร แคนาดา ไอร์แลนด์ และแอฟริกาใต้", "title": "สปริงฟีลด์" }, { "docid": "43745#0", "text": "บอสตัน () เป็นเมืองหลวงของรัฐแมสซาชูเซตส์ในสหรัฐอเมริกา และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเขตนิวอิงแลนด์ บอสตันเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุด มั่งคั่งที่สุด และมีวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ ธุรกิจที่สำคัญในบอสตัน ได้แก่ การศึกษา สถานพยาบาล การเงิน และเทคโนโลยี", "title": "บอสตัน" }, { "docid": "496496#0", "text": "คาร์สันซิตี () เป็นเมืองอิสระและเมืองหลวงของรัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกา มีประชากร 55,274 คน ในปี ค.ศ. 2010 อยู่ห่างจากเมืองรีโนราว 30 ไมล์ (50 กม.) ทางทิศใต้ เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานในปี ค.ศ. 1858 ตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่คริสโตเฟอร์ (คิต) คาร์สัน ได้รับสถาปนาเป็นเมืองหลวงของรัฐใน ค.ศ. 1864", "title": "คาร์สันซิตี" }, { "docid": "7540#0", "text": "รัฐฟลอริดา (, เป็นรัฐที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐอเมริกา ทิศตะวันตกติดต่อกับอ่าวเม็กซิโก ทิศเหนือติดต่อกับรัฐอะลาบามา และรัฐจอร์เจีย ทิศตะวันออกติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศใต้ติดต่อกับช่องแคบฟลอริดา รัฐฟลอริดาเป็นรัฐที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 22 มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 และหนาแน่นมากเป็นอันดับ 8 ในสหรัฐอเมริกา แจ็กสันวิลล์เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในรัฐฟลอริดา และมีพื้นที่มากที่สุดในสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่ มีเขตเมืองไมแอมี (Miami metropolitan area) เป็นเขตเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ในสหรัฐอเมริกา และมีแทลลาแฮสซีเป็นเมืองหลวงของรัฐ", "title": "รัฐฟลอริดา" }, { "docid": "266809#0", "text": "แอนแนโพลิส () เป็นเมืองหลวงของรัฐแมริแลนด์ มีประชากรราว 36,524 คน (ข้อมูลโดยประมาณ ในปี 2008) และเป็นเคาน์ตีซีต (เมืองหลวงมณฑล) ของแอนน์อะรันเดลเคาน์ตี ตั้งอยู่บริเวณอ่าวเชสพีก ปากแม่น้ำเซเวิร์น ห่างจากทางตอนใต้ของเมืองบัลติมอร์ 26 ไมล์ (42 กม.) และห่างจากทางตะวันออกของวอชิงตันดีซี 29 ไมล์ (47 กม.) เมืองนี้ยังเคยเป็นเมืองหลวงชั่วคราวของสหรัฐอเมริกาในปี 1783–1784", "title": "แอนแนโพลิส" }, { "docid": "192746#0", "text": "อินเดียแนโพลิส () เป็นเมืองหลวงของรัฐอินดีแอนา สหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 13 ของประเทศ และอันดับที่ 2 ของภูมิภาคมิดเวสต์ (รองจากเมืองฟีนิกซ์)", "title": "อินเดียแนโพลิส" }, { "docid": "31392#0", "text": "รัฐนอร์ทดาโคตา (, ) เป็นรัฐทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกาติดกับประเทศแคนาดา ชื่อรัฐตั้งชื่อตามอินเดียนแดงเผ่าลาโคตา ที่ได้ตั้งรกรากบริเวณนั้นมาก่อน รัฐนอร์ทดาโคตาได้กลายมาเป็นรัฐของสหรัฐอเมริกาใน ปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) เมืองสำคัญในรัฐได้แก่ บิสมาร์กซึ่งเมืองหลวงของรัฐ และ ฟาร์โก เมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งของรัฐ", "title": "รัฐนอร์ทดาโคตา" }, { "docid": "683628#1", "text": "30 ปีก่อนอะแลสกาจะเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ได้มีการจัดประกวดแบบธงประจำรัฐสำหรับเด็ก โดยแต่ละท้องถิ่นจะคัดเลือกแบบธงที่ดีที่สุด เพื่อมาตัดสินรอบสุดท้ายที่เมืองจูโน เมืองหลวงของอะแลสกา ซึ่งผู้ชนะเลิศได้แก่ จอห์น เบลล์ \"เบนนี\" เบนสัน เด็กชายวัย 13 ปีที่อาศัยอยู่สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าในเมืองซีวาร์ด แบบธงของเขาประกอบด้วยพื้นหลังสีน้ำเงิน แทนท้องฟ้าและดอกฟอร์เก็ตมีนอต มีดาวสีทอง 7 ดวง เรียงตามกลุ่มดาวหมีใหญ่ แทนพลัง และมีดาวเหนืออีก 1 ดวง แทนการเป็นรัฐที่อยู่ทิศเหนือสุดของสหรัฐอเมริกา", "title": "ธงรัฐอะแลสกา" }, { "docid": "10820#51", "text": "หลายสิ่งหลายอย่างได้นำชื่อของวอชิงตันไปตั้ง ชื่อของวอชิงตันถูกนำไปตั้งเป็นชื่อเมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา นั่นคือ วอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งเป็น 1 ใน 2 เมืองหลวงของโลกที่ใช้ชื่อของประธานาธิบดีสหรัฐฯ (อีกเมืองหนึ่งคือ มอนโรเวีย เมืองหลวงของประเทศไลบีเรีย) รัฐวอชิงตัน เป็นเพียงรัฐเดียวที่ใช้ชื่อนี้หลังจากตั้งประเทศ (แมริแลนด์, เวอร์จิเนีย, เซาท์แคโรไลนา, นอร์ทแคโรไลนา และจอร์เจีย เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระนามพระราชวงศ์อังกฤษ) มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน และ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เซนต์หลุยส์", "title": "จอร์จ วอชิงตัน" }, { "docid": "316029#1", "text": "เมืองก่อตั้งในปี ค.ศ. 1822 ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เจมส์ มอนโร ผู้สนับสนุนคนสำคัญในการก่อตั้งของไลบีเรีย นอกเหนือจากวอชิงตันดีซีแล้ว เมืองนี้ก็ถือเป็นเมืองหลวงเมืองเดียวที่ตั้งชื่อตามประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เมืองมอนโรเวียก่อตั้งหลังเมือง ฟรีทาวน์ ประเทศเซียร์ราลีโอน 30 ปี เป็นรกรากแห่งแรกของชาวแอฟริกันอเมริกัน ในแอฟริกา ท่าเรือของมอนโรเวียขยับขยายอย่างมากโดยกองทัพสหรัฐฯ ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สินค้าส่งออกหลักคือ น้ำยางและแร่เหล็ก ยังมีผลผลิตที่ผลิตในสถานที่ อย่างเช่น ปูนซีเมนต์ การกลั่นปิโตรเลียม ผลิตอาหาร อิฐและกระเบื้อง เฟอร์นิเจอร์และเคมีภัณฑ์", "title": "มอนโรเวีย" }, { "docid": "704635#0", "text": "มอนต์พีเลียร์ () เป็นเมืองหลวงของรัฐเวอร์มอนต์ สหรัฐอเมริกา มีประชากร 7,855 คน (ค.ศ. 2010) เป็นเมืองหลวงของรัฐที่มีประชากรน้อยที่สุดในสหรัฐอเมริกา เมืองมีวิทยาลัยวิจิตรศิลป์เวอร์มอนต์ (Vermont College of Fine Arts) และสถาบันอาหารนิวอิงแลนด์ (New England Culinary Institute)", "title": "มอนต์พีเลียร์ (รัฐเวอร์มอนต์)" }, { "docid": "272152#0", "text": "ซอลต์เลกซิตี () เป็นเมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของรัฐยูทาห์ จากข้อมูลเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 มีประชากร 181,698 คน เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 125 ของสหรัฐอเมริกา เมืองก่อตั้งในปี 1847 ในชื่อเกรตซอลต์เลกซิตี", "title": "ซอลต์เลกซิตี" }, { "docid": "553744#1", "text": "เมืองตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำอาร์คันซอ อยู่ทางใต้ของเมืองเดนเวอร์ เมืองหลวงของรัฐราว 112 ไมล์ (180 กม.) และอยู่ทางใต้ของเมืองโคโลราโดสปริงส์ 43 ไมล์ เมืองพิวโบลมีหิมะน้อยกว่าเมืองใหญ่เมืองอื่นในรัฐโคโลราโด ถือเป็นหนึ่งในเมืองที่มีการผลิตเหล็กกล้ามากที่สุดในสหรัฐอเมริกา", "title": "พิวโบล (รัฐโคโลราโด)" }, { "docid": "4427#1", "text": "ในภาษาไทย มีหลายคำที่ใช้ในความหมายนี้ เช่น กรุง หรือ พระนคร สำหรับคำว่าเมืองหลวงนั้นยังก็มีความหมายเป็นสองนัย กล่าวคือ หมายถึงเมืองใหญ่ (หลวง หมายถึง ใหญ่) หรือเมืองของหลวง (คือเมืองของพระเจ้าแผ่นดิน, เพราะเป็นที่ประทับของกษัตริย์) เมืองหลวงในบางประเทศ มีขนาดเล็กกว่าเมืองอื่น เช่นใน สหรัฐอเมริกา อินเดีย บราซิล สำหรับคำว่าเมืองหลวงนี้ อาจเป็นเมืองหลวงของรัฐ (ในประเทศที่ปกครองแบบสาธารณรัฐ เป็นต้น) หรือเมืองหลวงของเขตการปกครองระดับใดๆ ก็ได้ เช่น อำเภอเมือง เปรียบเหมือนเป็นเมืองหลวงของจังหวัด", "title": "เมืองหลวง" }, { "docid": "199986#1", "text": "ในปี พ.ศ. 2549 โคลัมบัสอยู่ในอันดับที่ 15 ของเมืองในสหรัฐอเมริกาตามจำนวนประชากร ซึ่งมีทั้งสิ้น 747,755 คน และเป็นอันดับที่ 4 เมืองหลวงของรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา", "title": "โคลัมบัส (รัฐโอไฮโอ)" }, { "docid": "276177#1", "text": "ทัลซามีการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ทศวรรษที่ 1830 โดยชาวครีค ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองอเมริกา ในปี ค.ศ. 1921 มีเหตุการณ์การจลาจลครั้งรุนแรง เป็นเหตุการณ์รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ต่อมาในคริสต์วรรษที่ 20 ทัลซาได้รับการขนานนามว่าเป็น \"เมืองหลวงแห่งน้ำมันของโลก\" () ซึ่งมีที่มาโดยเมืองนี้เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมน้ำมันขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกา เมืองทัลซา และเมืองอื่นๆ ที่ใกล้เคียง ได้เรียกร้องสิทธิ์ให้เป็นจุดกำเนิดของทางหลวงสหรัฐหมายเลข 66 ทัลซายังเป็นที่รู้จักกันดีเกี่ยวกับดนตรีแนวเวสเทิร์นสวิง", "title": "ทัลซา" }, { "docid": "487520#0", "text": "ลิงคอล์น () เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่อันดับ 2 ของรัฐเนแบรสกา สหรัฐอเมริกา เป็นรองเมืองโอมาฮา ลิงคอล์นเป็นเคาน์ตีซีตของแลงแคสเตอร์เคาน์ตี เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเนแบรสกา จากข้อมูลปี ค.ศ. 2010 เมืองมีประชากร 258,379 คน", "title": "ลิงคอล์น (รัฐเนแบรสกา)" }, { "docid": "611075#0", "text": "ซัฟฟอล์กเคาน์ตี () เป็นเคาน์ตีในรัฐแมสซาชูเซตส์ ตามการสำรวจสำมะโนประชากรสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2010 ซัฟฟอล์กเคาน์ตีมีประชากร 722,023 คน มีเมืองหลวงของเคาน์ตีนี้คือ บอสตันซึ่งยังเป็นเมืองหลวงของรัฐแมสซาชูเซตส์และเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐ", "title": "ซัฟฟอล์กเคาน์ตี (รัฐแมสซาชูเซตส์)" }, { "docid": "28560#0", "text": "รัฐนิวเม็กซิโก (, ; ) เป็นรัฐทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ ของสหรัฐอเมริกา ติดกับประเทศเม็กซิโก เมืองหลวงของรัฐคือ ซานตาเฟ โดยมีเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือ อัลบูเคอร์คี ถึงแม้ว่าในสหรัฐอเมริกา ภาษาอังกฤษนิยมใช้กันมากที่สุด แต่ในรัฐนิวเม็กซิโกเป็นรัฐที่มีการใช้ภาษาสเปนมากที่สุดรัฐหนึ่งในสหรัฐอเมริกา โดยประชากรในรัฐประกอบด้วย ชาวอเมริกา ชาวสเปน และชาวเม็กซิโก", "title": "รัฐนิวเม็กซิโก" }, { "docid": "342086#0", "text": "พรอวิเดนซ์ () เป็นเมืองหลวงของเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในรัฐโรดไอแลนด์ สหรัฐอเมริกา และเป็นเมืองแรกๆ ที่ก่อตั้งในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ในพรอวิเดนซ์เคาน์ตีบนปากแม่น้ำพรอวิเดนซ์ ตอนเหนือของอ่าวนาราแกนเซตส์ เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามในเขตนิวอิงแลนด์ ใน ค.ศ. 2010 มีประชากรประมาณ 178,042 คน ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดอันดับ 37 ของประเทศ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยบราวน์ มหาวิทยาลัยชื่อดังในไอวีลีก", "title": "พรอวิเดนซ์" }, { "docid": "686584#0", "text": "โทพีกา () เป็นเมืองหลวงของรัฐแคนซัส สหรัฐอเมริกา และเป็นเคาน์ตีซีตของชอว์นีเคาน์ตี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแคนซัส ทางตอนกลางของชอว์นีเคาน์ตี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐแคนซัส บริเวณตอนกลางของสหรัฐอเมริกา จากสำมะโนสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2010 เมืองมีประชากร 127,473 คน ส่วนมหานครโทพีกา ที่รวมถึงชอว์นีเคาน์ตี แจ็กสันเคาน์ตี เจฟเฟอร์สันเคาน์ตี โอซาจเคาน์ตี และวาเบาน์ซีเคาน์ตี มีประชากร 233,870 คน", "title": "โทพีกา" }, { "docid": "477450#0", "text": "บริดจ์ทาวน์ () เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศบาร์เบโดส มีสนามบินนานาชาติแกรนต์ลีย์อดัม ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง รับผู้โดยสารจากทั้งสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา และแคริบเบียน ", "title": "บริดจ์ทาวน์" }, { "docid": "28583#0", "text": "เครือรัฐเพนซิลเวเนีย (, ) เป็นรัฐที่อยู่ทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกา รัฐเพนซิลเวเนียเป็นรัฐหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาเกี่ยวข้องที่สุดรัฐหนึ่ง เป็นที่ประกาศอิสรภาพของอเมริกา โดยมีฟิลาเดลเฟียเป็นเมืองหลวงชั่วคราวของสหรัฐอเมริกาก่อนการจัดตั้งวอชิงตัน ดีซี ชื่อของรัฐมาจากภาษาละติน ตั้งโดย เควกเกอร์ วิลเลียม เพนน์ เมืองหลวงของรัฐคือ แฮร์ริสเบิร์ก และเมืองสำคัญอื่นๆ ได้แก่ ฟิลาเดลเฟีย และพิตส์เบิร์ก รวมไปถึงเมืองเฮอร์ชีย์ที่ตั้งของโรงงานชอกโกแลตเฮอร์ชีย์ มหาวิทยาลัยที่สำคัญในรัฐได้แก่ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตต มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน มหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก และ มหาวิทยาลัยลีไฮฮ์ ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงได้แก่ ฟิลาเดลเฟีย อีเกิลส์ และ พิตส์เบิร์ก สตีลเลอรส์", "title": "รัฐเพนซิลเวเนีย" }, { "docid": "183113#0", "text": "ฟิลาเดลเฟีย () Philadephia หรือที่ เรียกกันว่า Philly หรือ The City of Brotherly Love เป็นเมืองหลวงแห่งแรก ของ America เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐเพนซิลเวเนีย และเป็นเมืองที่พลเมืองหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับ 6 ของสหรัฐอเมริกา และเป็นเมืองที่มีพื้นที่เมืองจากประชากรเป็นอันดับ 5 และมีผู้บริโภคสื่อมากเป็นอันดับ 4 จากการสำรวจของนีเซน มีเดีย รีเสิร์ช และเป็นเมืองที่มีพลเมืองหนาแน่นเป็นอันดับที่ 49 ของโลก ", "title": "ฟิลาเดลเฟีย" }, { "docid": "469765#0", "text": "บิสมาร์ก () เป็นเมืองหลวงของรัฐนอร์ทดาโคตา สหรัฐอเมริกา เป็นเคาน์ตีซีตของเบอร์ลีเคาน์ตี เป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของรัฐรองจากเมืองฟาร์โก โดยมีประชากร 61,272 คน จากการสำรวจประชากรในปี ค.ศ. 2010 ขณะที่มหานครมีประชากร 108,779 คน. เมืองก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1872 และสถาปนาเป็นเมืองหลวงในปี ค.ศ. 1889 บิสมาร์กตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำมิสซูรี", "title": "บิสมาร์ก (รัฐนอร์ทดาโคตา)" }, { "docid": "622327#0", "text": "มอนต์กอเมอรี () เป็นเมืองหลวงของรัฐแอละแบมาและเป็นเคาน์ตีซีตของมอนต์กอเมอรีเคาน์ตีสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแอละแบมา จากการสำมะโนสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2010 มีประชากร 205,764 คน เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของรัฐแอละแบมา รองจากเมืองเบอร์มิงแฮม และเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 103 ของสหรัฐอเมริกา", "title": "มอนต์กอเมอรี (รัฐแอละแบมา)" } ]
3244
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร?
[ { "docid": "292541#15", "text": "ในการปฏิบัติงานของเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง จะมีรองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ช่วยสั่งงานในหน้าที่รับผิดชอบ 5 ด้าน คือ ด้านกิจการบริหารกลาง ด้านบริหารงานเลือกตั้ง ด้านกิจการการมีส่วนร่วม ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย และด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และรับผิดชอบการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งขึ้นตรงต่อประธานกรรมการการเลือกตั้ง", "title": "สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "292541#21", "text": "5) ด้านกิจการการมีส่วนร่วม จัดแบ่งส่วนงานของด้านกิจการการมีส่วนร่วม เป็น 2 สำนัก คือมีอำนาจหน้าที่สนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชน คณะบุคคล องค์การเอกชน และประชาคมจังหวัดเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง งานรับรองและสนับสนุนองค์การเอกชน งานดำเนินการเผยแพร่วิชาการ และให้ความรู้และการศึกษาแก่ประชาชน ประสานงานกับหน่วยราชการ ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือสนับสนุนองค์การเอกชนในการให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประสานงานและสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด และหน่วยงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งในส่วนภูมิภาค ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมาย", "title": "สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "292541#19", "text": "3) ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง จัดแบ่งส่วนงานของด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง เป็น 3 สำนัก คือมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งตามที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ประสานงานและสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและหน่วยงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งในส่วนภูมิภาค และปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมาย", "title": "สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "292541#17", "text": "1) ด้านกิจการบริหารกลาง จัดแบ่งส่วนงานของด้านกิจการบริหารกลาง เป็น 3 สำนัก คือมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการทั่วไปของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และกิจการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมิได้กำหนดเป็นอำนาจหน้าที่ของด้านกิจการใดด้านกิจการหนึ่งโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง อำนาจหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึงการเสนอและจัดทำนโยบายของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาการเมือง และภารกิจตามกฎหมาย จัดทำแผนแม่บท ประสานแผนการปฏิบัติงาน เสนอแนะนโยบายในการตั้ง และการจัดสรรงบประมาณประจำปี ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดทำรายงานผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี และข้อสังเกตของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด และหน่วยงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งในส่วนภูมิภาค และปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมาย", "title": "สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "292541#20", "text": "4) ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ จัดแบ่งส่วนงานของด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ เป็น 2 สำนัก คือมีอำนาจหน้าที่รับคำขอจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมือง ควบคุมตรวจสอบการดำเนินการของพรรคการเมือง และปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ปฏิบัติงานธุรการให้แก่นายทะเบียนพรรคการเมือง ศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานของนายทะเบียนพรรคการเมือง ปฏิบัติงานสนับสนุนพรรคการเมืองโดยรัฐ ควบคุมและดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม พัฒนาพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ ประสานงานและสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด และหน่วยงานของสำนักงานในส่วนภูมิภาค และปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง นายทะเบียนพรรคการเมือง และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมาย", "title": "สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "292541#18", "text": "2) ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย จัดแบ่งส่วนงานของด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย เป็น 5 สำนัก คือ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรับเรื่องร้องคัดค้านเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง หรือการออกเสียงประชามติ ผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในการเลือกตั้ง หรือเกี่ยวกับการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง หรือเกี่ยวกับการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในการเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง พรรคการเมือง หรือบุคคลอื่นใดทำการการสืบสวนสอบสวนเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา ข้อโต้แย้ง ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประสานงานและสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด และหน่วยงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งในส่วนภูมิภาค และปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมาย", "title": "สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "292541#7", "text": "4. รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา หรือการออกเสียงประชามติ ผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในการเลือกตั้ง หรือการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา หรือเกี่ยวกับการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง หรือเกี่ยวกับการทุจริต หรือประพฤติมิชอบในการเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง พรรคการเมือง หรือบุคคลอื่นใดเพื่อดำเนินการตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด", "title": "สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "292541#3", "text": "ตามบทบัญญัติพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 มาตรา 31\nสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทั่วไปของคณะกรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมือง และมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้", "title": "สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" } ]
[ { "docid": "292541#9", "text": "ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 มาตรา 33 “ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีเลขาธิการคนหนึ่ง ซึ่งประธานกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งโดย\nความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และรับผิดชอบการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ขึ้นตรงต่อประธานกรรมการการเลือกตั้ง และจะให้มีรองเลขาธิการเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติงานรองจากเลขาธิการก็ได้ ให้เลขาธิการทำหน้าที่เป็นเลขานุการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง”", "title": "สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "292541#10", "text": "เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ และมีคุณวุฒิ ประสบการณ์ และความสำเร็จด้านการบริหารตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน การพ้นจากตำแหน่งของเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนครบวาระ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขในการจ้าง", "title": "สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "11232#32", "text": "มาตรา 222 คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจำนวนเจ็ดคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากบุคคลดังต่อไปนี้ (๑) ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาการต่างๆ ที่จะยังประโยชน์แก่การบริหารและจัดการการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งได้รับการสรรหาจากคณะกรรมการสรรหา จำนวนห้าคน\n(๒) ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านกฎหมาย มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีผู้พิพากษา หรือตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีอัยการมาแล้วเป็นเวลา\nไม่น้อยกว่าห้าปี ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวนสองคน \nผู้ซึ่งจะได้รับการสรรหาเป็นกรรมการการเลือกตั้งตาม (๑) ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๓๒(๒) (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) หรือเป็นผู้ทำงานหรือเคยทำงานในภาคประชาสังคมมาแล้วเป็นเวลา\nไม่น้อยกว่ายี่สิบปี ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกำหนด", "title": "คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" } ]
2948
สีประจำของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือสีอะไร?
[ { "docid": "5519#18", "text": "จามจุรี เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมพระราชทานต้นจามจุรีแก่มหาวิทยาลัย จำนวน 5 ต้น ซึ่งพระองค์ทรงนำมาจากวังไกลกังวล ทรงปลูกด้วยพระองค์เอง บริเวณด้านหน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในครั้งนั้น พระองค์ท่านได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรี ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ ทรงเล่าว่าทรงปลูกต้นไม้ที่พระตำหนักไกลกังวล จามจุรีงอกขึ้นที่บริเวณต้นไม้ซึ่งทรงปลูกไว้ จึงทรงถือว่าทรงปลูกจามจุรีเหล่านั้นด้วย เมื่อจามจุรีโตขึ้นแล้วเห็นว่าควรเข้ามหาวิทยาลัยเสียที สถานที่เรียนนั้นไม่มีที่ใดเหมาะเท่าจุฬาฯ[59] สีชมพู เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย โดยศาสตราจารย์ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล ได้เสนอว่าชื่อของมหาวิทยาลัย คือ พระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมราชสมภพในวันอังคารและโปรดเกล้าฯ ให้ใช้สีชมพูเป็นสีประจำพระองค์ จึงสมควรอัญเชิญสีประจำพระองค์เป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นเกียรติและสิริมงคล[60][61]", "title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" } ]
[ { "docid": "511178#13", "text": "ครุยดุษฎีบัณฑิต หรือ ครุยบัณฑิตชั้นเอก เป็นครุยผ้าโปร่งขาว มีสำรดติดขอบรอบแขนและปลายแขน พื้นสำรดทำด้วยสักหลาด \"สีแดง\" ตามสีพื้นของครุยดุษฎีบัณฑิตแห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมราชสมภพในวันอังคาร มีขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร มีแถบทองกว้าง 1 เซนติเมตร ทาบทับบนริมทั้ง 2 ข้าง เว้นระยะไว้ 7.5 มิลลิเมตร มีแถบทองขนาด 5 มิลลิเมตร ทั้งสองข้าง เว้นระยะอีก 7.5 มิลลิเมตร มีแถบทองขนาด 1 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง ตอนกลางสำรดมีแถบสักหลาดขนาด 1 เซนติเมตร สีตามสีประจำคณะ และมีตราพระเกี้ยวทำด้วยโลหะสีเงิน ขนาดสูง 3.5 เซนติเมตร ติดตามทางดิ่งกลางสำรด บนแถบสักหลาดตอนหน้าอกทั้งสองข้าง", "title": "ครุยและเข็มวิทยฐานะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "5519#91", "text": "เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวที่จัดโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ในรอบ พ.ศ. 2560 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 2 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 90 ของโลก[162] และเป็นอันดับ 1 ของไทย อันดับที่ 16 ของโลกในการจัดอันดับประเภทมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในเขตเมือง[163]", "title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "936937#0", "text": "ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อมรวิชช์ นาครทรรพ เกิดวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 อาจารย์ประจำภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกิดที่กรุงเทพฯ เป็นบุตรของ ศาสตราจารย์ ดร.อรรถ นาครทรรพ (ถึงแก่กรรม) อดีตอาจารย์ในสาขาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ ศาสตราจารย์กิตติคุณฐะปะนีย์ นาครทรรพ (ถึงแก่กรรม) อดีตอาจารย์ในสาขาการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้องสี่คน คือ ดร.คุรุจิต นาครทรรพ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน, นางสาวปฤชญีน นาครทรรพ ข้าราชการบำนาญในสังกัดวิทยาลัยปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อดีตรองผู้อำนวบการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ", "title": "อมรวิชช์ นาครทรรพ" }, { "docid": "669601#2", "text": "ภัทร์จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ มัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนบดินทรเดชา สิงห์ สิงหเสนี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรีจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ 1) และยังเคยได้รับหน้าที่เป็นคทากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประจำงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโทจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย\nภัทร์ก้าวเข้าสู่วงการด้วยการเป็นแขกรับเชิญของ บอย ปกรณ์ พร้อมกับ หน่อง ธนา ในรายการ ตีท้ายครัว หลังจากนั้นภัทร์จึงได้มีโอกาสถ่ายโฆษณาหลายชิ้นและได้เป็นนายแบบให้กับนิตยสารหลายเล่ม ต่อมาช่อง 3 เห็นแววจึงได้เรียกภัทร์มาเซ็นสัญญาเป็นนักแสดงในสังกัด สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3", "title": "ภัทร์ ฉัตรบริรักษ์" }, { "docid": "73261#55", "text": "กีฬานิติสัมพันธ์ เป็นการแข่งขันกีฬา และจัดกิจกรรมร่วมกัน ระหว่าง คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยจัดขึ้น ปีละ 1 ครั้งเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ จะสลับกันเป็นเจ้าภาพ กีฬาที่จัดแข่งขันกัน มี 2 ประเภท คือ ฟุตบอล และ บาสเกตบอล โดยจะแบ่งเป็นประเภท ทีมน้องใหม่ ทีมรวม และ ทีมอาจารย์ หลังจากเสร็จการแข่งขันกีฬา จะมีการเลี้ยงอาหาร และกิจกรรมรื่นเริง ระหว่าง นิสิต-นักศึกษา อันได้แก่ การเล่นดนตรี การแสดงต่างๆงานประเพณีสิงห์สัมพันธ์ เป็นกิจกรรมร่วมกัน ระหว่าง พี่น้องสิงห์ทุกสถาบัน เพื่อกระชับสัมพันธไมตรี ไม่ต้องแบ่งสี แบ่งก๊ก แบ่งเหล่า (เริ่มจาก 5 มหาวิทยาลัย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) และต่อมามี 6 สถาบัน สถาบันที่เพิ่มเข้ามาคือ มหาวิทยาลัยบูรพา(อดีตมศว บางแสน) โดยเข้ามาในปีที่ 5 ของการจัดงาน ในปี2554 จะเป็นการแข่งขันครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยที่เป็นเจ้าภาพคือมหาวิทยาลัยบูรพา และต่อมาในปี 2557 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เข้ามาในปีที่ 9 และงานประเพณีสิงห์สัมพันธ์ ครั้งที่ 11 เจ้าภาพโดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2561", "title": "กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย" }, { "docid": "511178#20", "text": "ครุยประจำตำแหน่งนายกสภามหาวทยาลัยและอธิการบดี มีลักษณะเช่นเดียวกับครุยประจำตำแหน่งอุปนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัย แต่มีสายสร้อยทำด้วยโลหะสีทอง พร้อมด้วยเครื่องหมายประจำคณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยตามแบบที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด ประดับระหว่างตราพระเกี้ยวทั้ง 2 ข้าง", "title": "ครุยและเข็มวิทยฐานะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "11674#13", "text": "\"สีเขียวเวอร์ริเดียน\" หรือที่เรียกตามสีไทยโทนว่า \"สีเขียวตั้งแช\"[7] เป็นสีของน้ำทะเลระดับลึกที่สุด แต่ในระยะแรกก่อตั้งมหาวิทยาลัยได้กำหนดใช้สีเขียว ซึ่งเป็นสีพื้นป้ายมหาวิทยาลัยป้ายแรก แต่ช่วงนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ใช้สีเขียวเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเช่นกัน จึงมีแนวคิดที่จะสร้างความแตกต่าง และเนื่องจากนักศึกษาคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ นิยมพารุ่นน้องปี 1 ไปทำกิจกรรมรับน้องที่เกาะเสม็ด จึงได้มีโอกาสชื่นชมสีของน้ำทะเลใส และได้นำมาเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสีที่บ่งบอกถึงความสร้างสรรค์ของชาวศิลปากร", "title": "มหาวิทยาลัยศิลปากร" }, { "docid": "32953#13", "text": "สัญลักษณ์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ \"สิงห์ดำ\" โดย \"สิงห์\" หมายถึง ผู้ปกครองดั่งราชสีห์ผู้เป็นจ้าวแห่งป่า และ \"สีดำ\" หมายถึง สีแห่งศอของพระศิวะที่ดื่มยาพิษเพื่อปกป้องมวลมนุษย์ ดังนั้น สิงห์ดำ จึงมีหมายความว่า \"การเป็นนักปกครองจะต้องเสียสละเพื่อมวลชน\" (Black is Devotion)[2]", "title": "คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "5519#200", "text": "มหาวิทยาลัยสีเขียวเป็นนโยบายที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2547- พ.ศ. 2551 โดยเริ่มตั้งแต่การจัดทำโครงการผังแม่บทจุฬาฯ 100 ปี ให้มีแนวแกนสีเขียว ทั้งแกนด้านทิศตะวันออก-ตะวันตก และแนวแกนเหนือ-ใต้ เพื่อให้มีพื้นที่สีเขียวที่จะรับน้ำ และเพิ่มความร่มรื่นให้มหาวิทยาลัย จำกัดพื้นที่ก่อสร้างให้อยู่ในขอบเขตที่กำหนด นอกจากนั้นยังมีการริเริ่มโครงการรถประจำทางไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัย เพื่อลดการสัญจรด้วยรถยนต์และลดมลภาวะ โครงการนำใบไม้ไปหมักเป็นปุ๋ยได้มีการดำเนินงานและใช้ผลผลิตนั้นกับต้นไม้ในมหาวิทยาลัยมาจนปัจจุบัน[337]ในช่วง พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2555 นโยบายมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการต่อเนื่อง มีการสร้างอาคารจอดรถริมถนนใหญ่สาธารณะเพื่อลดปริมาณรถยนต์ที่จะวิ่งเข้ามาภายใน ขยายโครงการรถประจำทางไฟฟ้าโดยเพิ่มจำนวนรถให้มากขึ้น และให้บริการฟรี ซึ่งเป็นที่นิยมของนิสิต บุคลากร และผู้มาติดต่อจำนวนสนับสนุนการเดินเท้าโดยสร้างหลังคาคลุมทางเดินไปตามถนนหลายสายในมหาวิทยาลัย มีโครงการจุฬารักษ์โลกสนับสนุนการใช้จักรยานแทนรถยนต์ และรณรงค์ชาวจุฬาฯร่วมกันปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น เพิ่มบรรยากาศร่มเย็นให้มากขึ้น รื้ออาคารเก่าที่ทรุดโทรมโดยการปลูกต้นไม้ทดแทนเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวสำหรับซึมซับน้ำในมหาวิทยาลัย ขยายโครงการรีไซเคิลขยะหลายประเภท ใบไม้ กระดาษ พลาสติก เศษอาหาร และงดการใช้โฟมเป็นภาชนะใส่อาหาร เพิ่มโครงการประหยัดพลังงานด้วยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าและระบบปรับอากาศ พร้อมด้วยการรณรงค์ให้นิสิตและบุคลากร ร่วมมือกันประหยัดพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม[338]", "title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "43447#1", "text": "ปูราชินีมีปากและขามีสีแดงและส้ม ก้ามมีสีขาว และกระดองมีสีน้ำเงินอมม่วง เชื่อว่าสามารถเปลี่ยนสีได้เรื่อย ๆ ตามฤดูกาล ตัวเต็มวัยมีขนาดประมาณ 12.5 มิลลิเมตร โดยทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตใช้ชื่อ สิริกิติ์ เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อเทิดพระเกียรติและเฉลิมพระเกียรติในวาระครบ 5 รอบของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และได้ทรงพระราชทานให้ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ปัจจุบันพบเป็นปูประจำถิ่นในป่าพรุน้ำจืดบริเวณลุ่มน้ำน้อย อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ และอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และไม่เคยมีรายงานพบที่อื่นอีกเลย มีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535", "title": "ปูราชินี" }, { "docid": "295810#14", "text": "ตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ ออกแบบโดยปิติ ประวิชไพบูลย์ นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับแรงบันดาลใจมาจากดอกจามจุรีซึ่งเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย โดยนำแฉกรัศมีของพระเกี้ยวมาเรียงเป็นดอกจามจุรี 3 ดอกในแนวตั้งจากใหญ่ขึ้นไปเล็กมีลักษณะคล้ายกับพระเกี้ยวอันสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย และยังสามารถอ่านได้เป็นตัวเลข 38 อันเป็นครั้งของการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ โดยเลือกใช้สีชมพูอันเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยไล่เฉดสีจากอ่อนขึ้นไปเข้มสื่อความหมายถึงความรุ่งเรืองของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่พร้อมจะต้อนรับนักกีฬาทุกสถาบันในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย และดอกจามจุรีทั้ง 3 ยังสื่อถึงการรู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย ซึ่งเป็นคุณสมบัติของน้ำใจนักกีฬาด้วย[18] นอกจากนี้ บริเวณปลายดอกบนสุด จะแทรกด้วย สีฟ้า เขียว เหลือง แดง และชมพู โดยมีความหมายรวมกันเป็นคำว่า SPORT ซึ่งมีความหมายดังนี้ S</u>uccess (ความสำเร็จ) แทนด้วย สีเขียว, P</u>eace (ความสันติ) แทนด้วย สีฟ้า, O</u>riginal (ความเป็นต้นแบบ) แทนด้วย สีเหลือง, R</u>elationship (ความสัมพันธ์) แทนด้วย สีชมพู และ T</u>eamwork (การทำงานเป็นหมู่คณะ) แทนด้วย สีแดง[19]", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38" }, { "docid": "12104#3", "text": "ตราประจำมหาวิทยาลัย ใช้สัญลักษณ์ เจดีย์ทรงล้านช้าง หมายถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภายในมีดอกบัวหลวงประดิษฐานอยู่บนแท่นรองรับของเส้น 3 เส้น ดอกบัวมีสีกลีบบัว อันหมายถึงสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี และเส้น 3 เส้นที่เป็นฐานรองรับดอกบัวนั้น หมายถึงแม่น้ำสายสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ แม่น้ำโขง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล ลักษณะของดอกบัวเป็นประเภทบัวเหนือน้ำที่พร้อมจะ เบ่งบาน ให้ความดีงามแก่มหาชนได้ชื่นชม ส่วนกลีบดอกบัวด้านล่างสองกลีบ หมายถึง คุณธรรมและปัญญาอันเป็นเปลือกหุ้มสถาบันสำหรับดอกตูมสามกลีบหมายถึง องค์พระรัตนตรัย สีน้ำเงิน ที่เป็นขอบเส้นของตรามหาวิทยาลัยนั้นมีความ หมายถึง ความมั่นคงแข็งแรงและสีเหลืองสดที่เป็นพื้น หมายถึง สีประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ต้นกันเกรา เป็นไม้สูงประมาณ 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึก ใบดกหนาทึบ สีเขียวแก่เป็นมัน ดอกสีเหลืองอมแสด ออกดอกที่ช่อปลายกิ่ง มีกลิ่นหอมเย็นระรื่นอยู่ 7 วัน จากนั้นจะมีกลิ่นเหม็น ไม้กันเกราสื่อความหมายถึงเครื่องป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ และทำให้เสาเรือนมั่นคง ต้นกันเกราเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยอุบล ราชธานี เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่พบมากใน บริเวณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก “มันปลา” ภาคใต้ เรียก“ตำเสา”ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเหลือง อักษรย่อ คือ ม.อบ.", "title": "มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี" }, { "docid": "511178#17", "text": "สำหรับการแต่งกายของบัณฑิตชาย สวมเครื่องแบบงานพระราชพิธีและรัฐพิธีสำหรับนิสิตชาย กล่าวคือ เสื้อคอปิดสีขาวแบบราชการ แนวอกเสื้อกลัดด้วยดุมโลหะสีเงินรูปพระเกี้ยว 5 ดุม แผงคอทำด้วยผ้าสักหลาดหรือกำมะหยี่ สีตามสีประจำคณะ กางเกงขายาวสีขาว ถุงเท้าและรองเท้าหุ้มส้นสีดำ ส่วนบัณฑิตหญิง สวมเครื่องแบบงานพระราชพิธีและรัฐพิธีสำหรับนิสิตหญิง", "title": "ครุยและเข็มวิทยฐานะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "312134#2", "text": "สีเลือดหมู เป็นสีประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และใช้เป็นสีประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ทุกสถาบัน เพลงแรงเลือดหมู เป็นเพลงประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ธงประจำคณะ เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีเลือดหมู ตรงกลางมีดวงตราพระสิทธิธาดา (ตรามหาวิทยาลัย) ใต้ดวงตรามีชื่อคณะตามแนวโค้งของดวงตรา ขอบธงประดับด้วยพู่สีเหลือง ต้นไผ่ ต้นไม้ประจำคณะ และต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์", "title": "คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์" }, { "docid": "32950#2", "text": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชานิเทศศาสตร์อีกครั้งในแผนกสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ สังกัดอยู่กับคณะรัฐศาสตร์ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ดังนั้น จึงถือเอาวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาคณะนิเทศศาสตร์ หลักจากนั้น ในปี พ.ศ. 2509 ได้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง \"แผนกสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์\" ซึ่งเป็นแผนกอิสระ มีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีสีน้ำเงิน (Royal Blue) เป็นสีประจำแผนกอิสระฯ และมีสัญลักษณ์เป็นแตรสังข์ ต่อมาจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น \"คณะนิเทศศาสตร์\" เมื่อปี พ.ศ. 2517 นับเป็นคณะที่ 14 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.บำรุงสุข สีหอำไพ เป็นคณบดีคนแรก", "title": "คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "1847#21", "text": "สีน้ำเงิน ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สีเขียว ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ สีม่วง ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร สีแดงเลือดนก ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ สีน้ำเงินเทอร์ควอยส์ (น้ำเงินทะเล) ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก สีทอง ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ สีน้ำตาลทอง ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สีเหลือง ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สีแสด ( )เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล" }, { "docid": "511178#1", "text": "เมื่อโรงเรียนข้าราชการพลเรือนได้รับการประดิษฐานขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมีการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนถึงขั้นปริญญาแล้ว จึงมีการจัดสร้างครุยขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2473 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลักษณะเป็นครุยผ้าโปร่งขาว มีสำรดติดขอบโดยรอบ รวมทั้งบริเวณแขนและปลายแขน พื้นสำรดนั้นมีสีแตกต่างกันตามชนิดของครุย กล่าวคือ ครุยพระบรมราชูปถัมภก พื้นสำรดสีเหลือง, ครุยประจำตำแหน่งคณาจารย์และผู้บริหารมหาวิทยาลัย พื้นสำรดสีชมพู, ครุยดุษฎีบัณฑิต พื้นสำรดสีแดง ส่วนครุยมหาบัณฑิตและครุยบัณฑิต พื้นสำรดสีดำ มีพระเกี้ยวติดตามแนวดิ่งกลางสำรดบริเวณหน้าอก สำหรับครุยวิทยฐานะนั้นจะใช้แถบสีตามสีประจำคณะบริเวณตอนกลางสำรดเพื่อระบุคณะที่บัณฑิตสังกัด", "title": "ครุยและเข็มวิทยฐานะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "511178#19", "text": "ครุยประจำตำแหน่งอุปนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัย มีลักษณะเช่นเดียวกับครุยคณาจารย์ประจำ แต่ตราพระเกี้ยวทำด้วยโลหะสีทอง", "title": "ครุยและเข็มวิทยฐานะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "12279#6", "text": "ปัจจุบัน ได้เปลี่ยนมาใช้ \"สีม่วง\" และ \"สีแสด\" เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย โดยการเปลี่ยนแปลงสีประจำมหาวิทยาลัยนั้น เพื่อเป็นเกียรติกับสองบูรพาจารย์ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย เนื่องจากสีม่วงเป็นสีประจำวันเสาร์ และสีแสดเป็นสีประจำวันพฤหัสบดี", "title": "มหาวิทยาลัยกรุงเทพ" }, { "docid": "365983#0", "text": "รองศาสตราจารย์กฤษติกา คงสมพงษ์ (เกิด 8 กันยายน พ.ศ. 2508) เป็นนายกสมาคมแม่บ้านทหารบก, อาจารย์ประจำสาขาการตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อาจารย์พิเศษสาขาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อดีตพิธีกรรายการกำจัดจุดอ่อนทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และรายการลูกใครหว่า อีกทั้งได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรอยู่บ่อยครั้ง", "title": "กฤษติกา คงสมพงษ์" }, { "docid": "120602#14", "text": "เป็นครุยพื้นผ้าโปร่งสีขาว มีสำรดรอบขอบและที่ต้นแขนกับปลายแขน พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีขาว มีแถบทองขนาด 1 เซนติเมตร ทับบนริมทั้งสองข้าง เว้นระยะ 0.5 เซนติเมตร มีแถบสักหลาดสีตามสีประจำ\nมหาวิทยาลัย ขนาด 1 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง เว้นระยะอีก 0.5 เซนติเมตร มีแถบทอง ขนาด 1 เซนติเมตร ตอนกลางมีพื้นสักหลาดสีแดงชาด ติดแถบสักหลาดสีตามสีประจำมหาวิทยาลัย ขนาด 3 เซนติเมตร ทั้งสองข้างโดยติดห่างจากขอบสักหลาดสีแดงชาด 0.5 เซนติเมตร และมีตรามหาวิทยาลัยทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง 4 เซนติเมตร ติดตามทางดิ่งกลางสำรดบนสักหลาดตอนหน้าอกทั้งสองข้าง และมีสร้อยทำด้วยโลหะสีทองพร้อมด้วยเครื่องหมายของมหาวิทยาลัยตามแบบที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดระหว่างตรามหาวิทยาลัยทั้งสองข้าง ยึดติดกับครุยประมาณร่องหัวไหล\nเช่นเดียวกับครุยประจำตำแหน่งของนายกสภามหาวิทยาลัย แต่ไม่มีสร้อย", "title": "มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย" }, { "docid": "101157#16", "text": "พิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถาน ตั้งอยู่ ณ อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี อยู่ในความดูแลของสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับทะเลโดยจัดแสดงข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลบริเวณหมู่เกาะสีชัง", "title": "พิพิธภัณฑ์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "5519#16", "text": "พระเกี้ยว เป็นพิจิตรเรขา (สัญลักษณ์) ประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงเรียนมหาดเล็กซึ่งเป็นต้นกำเนิดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกราบบังคมทูลขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายของโรงเรียน และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจนกระทั่งโรงเรียนได้รับการสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[52][53] เพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 พระราชทานให้เป็นเพลงประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[54][55][56] เสื้อครุยพระราชทาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ใช้เสื้อครุยได้ โดยสีพื้นของสำรด นั้นแบ่งออกเป็น 3 สี[57][58] ได้แก่", "title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "22731#3", "text": "ตราสัญลักษณ์เป็นรูปทรงลอกแบบจากหลังคาหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้สีชมพู ซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย ", "title": "สถานีสามย่าน" }, { "docid": "511178#16", "text": "ครุยบัณฑิต หรือ ครุยบัณฑิตชั้นตรี มีลักษณะเช่นเดียวกับครุยมหาบัณฑิต แต่ตอนกลางสำรดมีเส้นไหมกลม ขนาด 2 มิลลิเมตร สีตามสีประจำคณะ แทนแถบสักหลาด", "title": "ครุยและเข็มวิทยฐานะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "392480#2", "text": "สำหรับไทยเริ่มเข้าร่วมและเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันเป็นครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ. 2007 ซึ่งถือเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 120 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและญี่ปุ่นโดยความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค), สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว และมหาวิทยาลัยโตเกียวเด็งกิ (Tokyo Denki University) และผู้สนับสนุนหลัก คือ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย โดยจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจัดการแข่งขันที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 2007 ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยโจทย์ประจำปีนี้คือ มอบพวงมาลัยให้แม่ หลังจากการจัดครั้งแรกเป็นต้นมาประเทศไทยโดยภายใต้การสนับสนุนของ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้มีการจัดการแข่งขันการออกแบบหุ่นยนต์ในระดับประเทศขึ้นต่อมาทุกปี โดยใช้ชื่อว่า Robot Design Contest: RDC ทีมที่ชนะเลิศจะได้ไปแข่งขันต่อในระดับนานาชาติต่อไป โดยการแบ่งทีมและความยากของโจทย์และวัสดุจะใช้หลักการเดียวกับระดับนานาชาติ กล่าวคือ ผู้เข้าแข่งขันจากสถาบันเดียวกันจะถูกแบ่งคละกันไปในเป็นทีมต่างๆ ซึ่งแต่ละทีมมีสีประจำทีม โดยจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลา 2 สัปดาห์ และแข่งขันที่ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า", "title": "การแข่งขันออกแบบหุ่นยนต์ระหว่างประเทศ" }, { "docid": "414255#1", "text": "ช่อฟ้า เกิดในประเทศไทย เมื่อ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2529 เข้าศึกษาระดับประถมศึกษา โรงเรียนสันติสุขวิทยา ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสตรีวิทยา 2 จากนั้นจึงเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาถึง 2 แห่งได้เวลาเดียวกัน ได้แก่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ได้รับผลการเรียนเกียรตินิยมอันดับ 1) และสาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ต่อมาได้เข้าสู่งานสายของผู้ประกาศข่าว จากโครงการสรรหาผู้ประกาศข่าวหน้าใหม่ช่อง 7 สี ซึ่งจัดขึ้นโดยฝ่ายข่าว ช่อง 7 สี และสามารถผ่านคัดเลือก จนได้เป็นผู้ประกาศข่าวทางช่อง 7 สี โดยดำเนินรายการเช้าข่าว 7 สี, รายการเด็ดข่าวเด็ด, รายการอุณหภูมิโลก, เหยี่ยวข่าว 7สี, สนามข่าวออนไลน์, เคาะข่าววันหยุด และรายการข่าวภาคเที่ยง 7 สี ตามลำดับ ปัจจุบัน ช่อฟ้า ได้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวาทวิทยา ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นผู้ประกาศข่าวทางช่อง 7 สี ชีวิตครอบครัว สมรสกับนายพชร เหล่าอารยะ (ตุลาคม พ.ศ. 2556) มีบุตร-ธิดา 1 คน และได้เปลี่ยนนามสกุลจาก เกตุเรืองโรจน์ เป็น เหล่าอารยะ จนถึงปัจจุบัน", "title": "ช่อฟ้า เหล่าอารยะ" }, { "docid": "511178#18", "text": "ครุยคณาจารย์ประจำ เป็นครุยผ้าโปร่งขาว มีสำรดติดขอบ รอบแขนและปลายแขน พื้นสำรดทำด้วยสักหลาด \"สีชมพู\" มีขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร มีแถบทองกว้าง 1 เซนติเมตร ทาบทับบนริมทั้ง 2 ข้าง เว้นระยะไว้ 7.5 มิลลิเมตร มีแถบทองขนาด 1 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง เว้นระยะอีก 7.5 มิลลิเมตร มีแถบทองขนาด 1 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง ตอนกลางสำรดมีเส้นไหมกลมสีทองขนาด 2 มิลลิเมตร และมีตราพระเกี้ยวทำด้วยโลหะสีเงิน ขนาดสูง 3.5 เซนติเมตร ติดตามทางดิ่งกลางสำรด บนแถบสักหลาดตอนหน้าอกทั้งสองข้าง", "title": "ครุยและเข็มวิทยฐานะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "511178#22", "text": "ปัจจุบัน เข็มวิทยฐานะยังคงเป็นตราพระเกี้ยวที่ทำด้วยโลหะสีเงิน มีขนาดสูง 5 เซนติเมตร โดยมีอักษรย่อประจำคณะหรือแผนกวิชาจารึกอยู่ที่ใต้พระเกี้ยว สีอักษรย่อตามสีประจำคณะ ด้านหลังเข็มวิทยฐานะจารึกชื่อ-สกุล ระดับชั้นปริญญาและปีที่สำเร็จการศึกษา (บางปีไม่มีการจารึกด้านหลังเข็ม)", "title": "ครุยและเข็มวิทยฐานะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" } ]
1027
ชิปบลูทูธพลังงานต่ำตัวแรกจากจากบริษัท CSR, Nordic Semiconductor และ Texas Instruments ถูกนำออกวางตลาดแล้วในช่วงปลายปีใด?
[ { "docid": "412858#12", "text": "ชิปบลูทูธพลังงานต่ำตัวแรกจากจากบริษัท CSR, Nordic Semiconductor และ Texas Instruments ถูกนำออกวางตลาดแล้วในช่วงปลายปี 2010 และต้นปี 2011 และคาดว่าจะมีชิปบลูทูธพลังงานต่ำจากผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายอื่นๆ ตามมา ทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับบลูทูธพลังงานต่ำชิ้นแรกที่ได้รับการรับรองนั้นมาจากบริษัท ในปี 2010", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" } ]
[ { "docid": "412858#21", "text": "สิ่งบ่งชี้การออกแบบที่พร้อมใช้พร้อมทั้งโปรไฟล์ที่ตกลงกันได้แล้ว มีออกมาในวันที่ 5 ก.ค. 2011 โดยบริษัท Nordic Semiconductor[16]", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#17", "text": "เทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำถูกออกแบบให้มีทางเลือกสำหรับวิธีการสร้างระบบได้สองวิธีซึ่งสำคัญเท่าเทียมกัน ได้แก่ โหมดเดี่ยว และโหมดคู่ (Single-mode และ Dual-mode) อุปกรณ์ขนาดเล็กเช่นโทเค็น นาฬิกา และเครื่องตรวจวัดเพื่อการกีฬาที่ทำงานบนพื้นฐานของโหมดเดี่ยวจะมีข้อได้เปรียบในการใช้พลังงานต่ำกว่า และสำหรับการใช้งานในโหมดคู่ ความสามารถการทำงานแบบบลูทูธพลังงานต่ำจะรวมอยู่ในวงจรบลูทูธแบบดั้งเดิม สถาปัตยกรรมนี้จะใช้เสาอากาศและคลื่นความถี่ร่วมกับเทคโนโลยีบลูทูธแบบดั้งเดิม ทำให้ชิปรุ่นปัจจุบันมีความสามารถเพิ่มเติมในชั้นการทำงานพลังงานต่ำ จึงเพิ่มความสามารถในการพัฒนาอุปกรณ์บลูทูธแบบดั้งเดิมให้มีความสามารถใหม่ได้[1]", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#16", "text": "เทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำทำงานในช่วงคลื่นความถี่ช่วงเดียวกันกับเทคโนโลยีบลูทูธแบบดั้งเดิม (2402-2480 MHz) แต่ใช้ชุดของช่องสัญญาณคนละชุดกัน โดยแทนที่จะใช้ช่องสัญญาณกว้าง 79.1 MHz เทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำจะใช้ช่องสัญญาณกว้าง 40.2 MHz แทน เทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำจะใช้แบบแผนการกระโดดข้ามช่องสัญญาณแตกต่างจากเทคโนโลยีบลูทูธดั้งเดิม ผลลัพธ์คือแม้ว่าเทคโนโลยีบลูทูธจะถูกจำแนกโดยองค์กร FCC และ ETSI ให้เป็นประเภทใช้วิธีกระจายช่วงคลื่นแบบกระโดดข้ามความถี่ (Frequency-hopping Spread Spectrum: FHSS) แต่เทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำจะถูกจำแนกเป็นระบบที่ใช้วิธีมอดูเลชันแบบดิจิตัล (Digital Modulation) หรือการกระจายช่วงคลื่นแบบลำดับโดยตรง (Direct-sequence Spread Spectrum) แทน", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#24", "text": "จุดสนใจหลักในงานดูแลสุขภาพด้วยเทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำได้แก่การเฝ้าสังเกตชีวสัญญาณ[17] (Vital Monitoring) ผู้ส่งเสริมการใช้งานลักษณะดังกล่าวภายในการร่วมมือกับ Bluetooth SIG ได้แก่บริษัท Continua Health Alliance ซึ่งเป็นองค์กรกำหนดมาตรฐานทางอุตสาหกรรม", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#27", "text": "จุดสนใจหลักในการใช้เทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำในการกีฬาได้แก่การระบุตำแหน่งและการเฝ้าสังเกตชีวสัญญาณ ผู้สนับสนุนการใช้งานลักษณะดังกล่าวได้แก่ Bluetooth Special Interest Group (SIG)[21] เทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำนี้มีการแข่งขันกับมาตรฐานอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น ANT[22]", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#42", "text": "โพรโทคอลตามมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ถูกนำไปใช้งานอย่างกว้างขวาง (บลูทูธรุ่น 4.0 และรุ่นต่อไปในอนาคต โดย Bluetooth SIG) โปรไฟล์การใช้งานที่ถูกกำหนดร่วมกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งบรรลุข้อตกลงกันภายใต้การดูแลของ Bluetooth SIG มีผู้ผลิตหลายรายที่จะผลิตชิปที่เกี่ยวข้อง มาตรฐานการส่งข้อมูล (IEEE 802.15.1) ซึ่งได้รับการนำไปใช้ในระดับสากล ความเป็นไปได้ที่จะจำลองชั้นโพรโทคอลด้วยชิป 2.45 GHz (IEEE 802.15) ที่เป็นไปตามข้อกำหนด ราคาถูกจากการรวมวงจรในชิปตัวเดียว การมีแอปพลิเคชันรองรับผ่านทางการดาวน์โหลดแอปเพล็ท ความเข้ากันได้อย่างต่อเนื่องกับอุปกรณ์ Bluetooth (รุ่น 4.0 หรือสูงกว่า) ที่ยังไม่ได้ออกมาใช้งาน ผ่านทางการปรับปรุงซอฟต์แวร์", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "357461#6", "text": "รายชื่อโปรแกรมที่สามารถ เปิดไฟล์ประเภท Matroska หรือ MKV ได้\nโดยระบบการทำงานในอุปกรณ์พหพาแลพโทรทัศน์ โดยเป็นการใช้ ชิบถอดรหัส โดยบิรษัทิ Texas Instruments มีชื่อว่า \"DaVinci\" อยู่ในเครื่องเล่นสือชนิดพกพาของ Cowon A3 และยังนำไปใช้ในทีวีของ Samsung กับ LG ", "title": "มาทรอสกา" }, { "docid": "412858#19", "text": "โพรโทคอลของบลูทูธพลังงานต่ำนั้นเข้ากันไม่ได้กับโพรโทคอลของบลูทูธแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตามทั้งเทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำและเทคโนโลยีบลูทูธแบบดั้งเดิมนั้นทำงานบนคลื่นความถี่เดียวกันทั้งคู่ฮาร์ดแวร์พื้นฐานจึงมีแนวโน้มที่จะใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตามทั้งเทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำและเทคโนโลยีบลูทูธแบบดั้งเดิมนั้นทำงานบนคลื่นความถี่เดียวกันทั้งคู่ฮาร์ดแวร์พื้นฐานจึงมีแนวโน้มที่จะใกล้เคียงกัน อุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งอาจจะทำงานได้ทั้งระบบบลูทูธพลังงานต่ำและระบบบลูทูธได้โดยใช้ชิปและชุดอุปกรณ์วิทยุชุดเดียวกันแม้จะทำงานทั้งสองโหมดพร้อมกันไม่ได้ การทำงานดังกล่าวนี้คือลักษณะการทำงานของอุปกรณ์บลูทูธ 4.0 แบบ<i data-parsoid='{\"dsr\":[14693,14704,2,2]}'>โหมดคู่ [15] (dual-mode) คาดว่าสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป และแท็ปเล็ตที่รองรับบลูทูธ 4.0 (นับรวมทั้งอุปกรณ์บลูทูธธรรมดา และแบบพลังงานต่ำ) จะมีออกมาจำนวนมากขึ้นในปลายปี 2011 และ 2012", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#10", "text": "ข้อกำหนดบลูทูธพลังงานต่ำจะได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณะโดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนดหลักบลูทูธรุ่น 4.0[13] ขั้นตอนจริงในข้อกำหนดจะมีการรวมเอาคุณสมบัติทางเลือกบางข้อเอาไว้ ในปัจจุบันไม่มีเอกสารใดที่เผยแพร่สู่สาธารณะที่เปิดเผยว่าคุณสมบัติทางเลือกเหล่านี้ข้อใดบ้างที่จะถูกเลือกนำไปใช้ในการสร้างชิป", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#13", "text": "ในขณะนี้ (2010-12) คำนิยามของโครงร่างการใช้งานที่เกี่ยวข้องยังเป็นส่วนงานที่ยังไม่ลุล่วงในการกำหนดมาตรฐาน สินค้าผู้บริโภคชิ้นแรกที่ใช้เทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำนั้นคาดว่าจะเปิดตัวในช่วงครึ่งแรกของปี 2011", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#2", "text": "พึงระลึกว่าอัตราการใช้พลังงานต่ำของอุปกรณ์นั้นไม่ได้เป็นผลจากลักษณะการทำงานขณะที่ส่งข้อมูลทางคลื่นวิทยุ หากแต่เป็นผลจากการออกแบบโพรโทคอลเพื่อให้สามารถมีรอบทำงาน (duty cycle) ต่ำ พร้อมกับพิจารณากรณีการใช้งาน (use case) กรณีต่างๆ อุปกรณ์บลูทูธพลังงานต่ำ (BLA) เมื่อนำไปใช้เพื่อถ่ายโอนข้อมูลอย่างต่อเนื่องจะมีอัตราการใช้พลังงานไม่ต่ำไปกว่าอุปกรณ์บลูทูธปกติที่ส่งข้อมูลปริมาณเท่ากัน และอันที่จริงอุปกรณ์มีแนวโน้มจะใช้พลังงานสูงกว่าด้วย เนื่องจากโพรโทคอลนี้เหมาะสมสำหรับการส่งกลุ่มก้อนข้อมูลระยะเวลาสั้นๆ", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#15", "text": "ข้อได้เปรียบสำคัญได้แก่การที่อุปกรณ์มือถือมีการติดตั้งชิปบลูทูธไว้อยู่แล้วโดยทั่วไป จึง<b data-parsoid='{\"dsr\":[10636,10676,3,3]}'>ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติมใดๆ สำหรับเครือข่ายเฉพาะกิจ (ad-hoc) ที่มีทอพอโลยีแบบเพียร์ แบบกระจาย หรือแบบร่างแห วิธีการอื่นที่เทียบเคียงกันได้ในทางเทคนิคซึ่งกำหนดโดยกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ (เช่น Zigbee, ANT) ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรฐานสากล IEEE 802.15.4-2006 ล้วนแสดงแนวทางการนำไปใช้งานที่ต้องขึ้นกับการวางโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#1", "text": "อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายแบบบลูทูธพลังงานต่ำ ได้รับการคาดหมายว่าจะใช้พลังงานเพียงน้อยนิดเทียบกับอุปกรณ์บลูทูธแบบดั้งเดิม จะทำให้ผลิตภัณฑ์จำนวนหนึ่งสามารถสื่อสารผ่านทางบลูทูธได้ ในหลายกรณีผลิตภัณฑ์จะสามารถทำงานได้นานกว่าหนึ่งปีโดยอาศัยเพียงถ่านกระดุม (button cell) โดยไม่ต้องชาร์จพลังงาน จึงเป็นไปได้ที่เราจะสร้างอุปกรณ์ตรวจวัดเช่นเทอร์โมมิเตอร์ที่ทำงานอย่างต่อเนื่องและในขณะเดียวกันก็สื่อสารกับอุปกรณ์อื่นๆ เช่นโทรศัพท์มือถือไปด้วย ซึ่งอาจเพิ่มความกังวลต่อปัญหาความเป็นส่วนตัวเพราะการที่มีอุปกรณ์ตรวจวัดระยะไกลที่ใช้พลังงานต่ำและทำงานต่อเนื่องย่อมใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ชนิดนี้หรืออุปกรณ์ที่คล้ายคลึงกัน [1]", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#28", "text": "เทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำป็นคุณสมบัติชูโรงในข้อกำหนดหลักบลูทูธรุ่น 4.0 การเพิ่มคุณสมบัตินี้เข้าในข้อกำหนดหลักของบลูทูธจะทำให้เกิดความสามารถและวิธีการการใช้งานแบบใหม่ๆ สำหรับการควบคุมระยะไกล, การเฝ้าสังเกตการดูแลสุขภาพ, เครื่องตรวจวัดทางการกีฬา และอุปกรณ์อื่นๆ นี้ เทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำจะช่วยเสริมกรณีการใช้งานเดิมที่มีอยู่และจะทำให้สามารถเกิดกรณีการใช้งานใหม่ ทำให้การใช้งานและความสามารถของเทคโนโลยีบลูทูธกว้างขวางยิ่งขึ้น", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#31", "text": "เทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำจึงอาจจะนำไปขยายเครือข่ายส่วนบุคคลใดๆ ตามวัตถุประสงค์ใน IEEE 802.15 WPAN ที่รวมไปถึงนาฬิกาและของเล่น, อุปกรณ์กีฬาและการดูแลสุขภาพ, ส่วนเชื่อมต่อกับมนุษย์ (Human Interface Device: HIDS) และอุปกรณ์เพื่อความบันเทิง", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#6", "text": "ระบบเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล (Wireless Personal Area Network: WPAN) ที่สร้างด้วยเทคโนโลยีบลูทูธนั้นไม่มีเป้าหมายในการออกแบบให้เข้ากันได้กับอาร์เอฟไอดีแบบพาสซีฟ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีบลูทูธมีการกำหนดมาตรฐานอาร์เอฟไอดีแบบแอคทีฟแบบใหม่ไว้ ซึ่งกำหนดให้อัตราการใช้พลังงานต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเอ็นเอฟซีในโหมดอ่านแบบพาสซีฟ และเนื่องจากลักษณะการเชื่อมต่อทางกายภาพ (ความถี่คลื่นวิทยุและวิธีเชื่อมต่อ) ที่แตกต่างกัน คลื่นระยะไกลจึงใช้สำหรับเทคโนโลยีบลูทูธ ในขณะที่คลื่นระยะใกล้/การเหนี่ยวนำจะใช้สำหรับเอ็นเอฟซี", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#11", "text": "บริษัทผู้มีส่วนร่วมในการอนุญาตใช้งานเทคโนโลยีและร่วมมือกันร่างข้อกำหนด ได้แก่ , Broadcom Corporation, CSR, Epson, MindTree Nordic Semiconductor และ Texas Instruments บริษัทผู้มีส่วนร่วมอื่นๆ ได้แก่ Suunto และ Taiyo Yuden[14]", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#9", "text": "การรวมเอาเทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำเข้าไว้ในข้อกำหนดหลักจะแล้วเสร็จในช่วงต้นปี 2010 และเราจะได้เห็นผลิตภัณฑ์บลูทูธพลังงานต่ำก่อนสิ้นปี เมื่อกระบวนการนี้เสร็จสิ้นลง ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอาจเพิ่มคุณสมบัติผลิตภัณฑ์บลูทูธของตนให้สนับสนุนเทคโนโลยีบลูทูธไร้สาย คาดว่าอุปกรณ์สำหรับผู้ใช้งานปลายทางที่มีเทคโนโลยีบลูทูธ 4.0 จะเริ่มมีวางจำหน่ายในช่วงปลายปี 2010 หรือต้นปี 2011", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#41", "text": "ในตลาดของโซลูชั่นการเชื่อมต่อที่เป็นกรรมสิทธิ์ เทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำได้สร้างข้อแตกต่างของตัวเองจาก", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#7", "text": "ในปี 2001, นักวิจัยของบริษัทโนเกียระบุว่ามีสถานการณ์ต่างๆ ที่เทคโนโลยีไร้สายสมัยปัจจุบันยังไม่ได้พิจารณา เพิ่อการพิจารณาหาปัญหาเหล่านี้ศูนย์วิจัยโนเกีย (Nokia Research Center[8]) จึงเริ่มต้นพัฒนาเทคโนโลยีไร้สายที่ดัดแปลงมาจากมาตรฐานบลูทูธ ซึ่งมีอัตราการใช้พลังงานและราคาที่ลดลง พร้อมกับมีความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีบลูทูธกับเทคโนโลยีใหม่น้อยที่สุด ผลที่ได้ถูกตีพิมพ์ในปี 2004 โดยใช้ชื่อว่าส่วนขยายโลว์เอนด์สำหรับบลูทูธ[9] หลังจากที่การพัฒนาได้ดำเนินต่อโดยร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ เช่นโครงการ ภายใต้แผน FP6 ของสหภาพยุโรป เทคโนโลยีนี้จึงได้รับการเปิดตัวต่อสาธารณชนในเดือนตุลาคม 2006 โดยใช้ชื่อการค้า Wibree[10] หลังจากการเจรจากับภาคี Bluetooth SIG, ในเดือนมิถุนายนปี 2007 จึงบรรลุข้อตกลงที่จะนำเอา Wibree เข้ารวมไว้ในข้อกำหนดบลูทูธในอนาคตโดยใช้ชื่อว่าเทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำพิเศษ (Bluetooth ultra-low-power) หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันในชื่อว่า เทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำ[11][12]", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#30", "text": "อย่างไรก็ตาม ในปีที่สิบนับจากการตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกจากผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์ Wibree จากบริษัทโนเกียในปี 2001 ก็ยังไม่มีการดำเนินการสร้างระบบบนชิปหรือบนโพรโทคอลในผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล พีดีเอ โทรศัพท์มือถือหรือผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ใดๆ ไม่ว่าจะเปิดเผยหรือไม่ก็ตาม การประกาศทั้งหมดที่เห็นก็ยังคงมีเพียงแค่ประกาศจาก Bluetooth SIG และไม่มีความคืบหน้าอื่นใดหลังจาก 27 ม.ค. 2010 ยกเว้นเพียงกรณี ซึ่งอาจจะไม่เป็นที่ยอมรับว่าเป็น การประยุกต์ใช้ที่น่าทึ่ง ร่วมกับโทรศัพท์มือถือ", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#3", "text": "ผู้ผลิตชิปคอมพิวเตอร์หลายรายได้ออกผลิตภัณฑ์ชิปบลูทูธพลังงานต่ำแล้ว และคาดว่าบริษัทเซมิคอนดักเตอร์รายอื่นก็จะออกผลิตภัณฑ์ชิปบลูทูธพลังงานต่ำในปี 2011 ผู้ผลิตดังกล่าวบางรายเสนอการออกแบบชิปพร้อมการสร้างโพรโทคอลทั้งชุด ในขณะที่รายอื่นๆ ยอมให้มีการกำหนดโพรโทคอลได้เฉพาะบางกรณี การออกแบบชิปเหล่านี้บางแบบอนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงชุดโพรโทคอลได้อย่างยืดหยุ่นแม้กระทั่งนอกกรอบมาตรฐานบลูทูธหรือมาตรฐานบลูทูธพลังงานต่ำ ในขณะที่การออกแบบแบบอื่นถูกกำหนดให้ตรงตามชุดโพรโทคอลเพียงชุดเดียว ผู้ผลิตที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ ดังกล่าวได้แก่ Broadcom[2][3] , CSR[4] , EM Microelectronic [5] Nordic Semiconductor[6] และ Texas Instrument[7]", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "702605#0", "text": "Texas Instruments Hexbus ออกแบบในปี 1982 และมีแผนจะวางจำหน่ายในปลายปี 1983 เพื่อใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์คอนโซลผ่านสายเชื่อมต่ออนุกรมความเร็วสูง แม้จะเป็นต้นแบบของยูเอสบีในปัจจุบัน (เสียบแล้วใช้ได้เลย, ถอดออกได้ทันที เป็นต้น) แต่ไม่เคยวางจำหน่ายจริง มีเพียงอุปกรณ์ต้นแบบของ Texas Instruments ที่เลหลังจากตลาดจำนวนน้อยในหมู่นักสะสมเท่านั้น แม้จะมีอุปกรณ์ต่อพ่วง Hexbus บางตัวมีแผนจะวางจำหน่าย เช่น WaferTape แต่กลับไม่ผ่านขั้นสร้างต้นแบบได้เนื่องจากปัญหาความน่าเชื่อถือของเทป เครื่องขับแผ่นฟลอปปีดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว ก็เช่นกัน แม้จะสามารถใช้การได้ รวมไปถึงต้นแบบเครื่อควบคุมแผ่นดิสก์ DSDD และเครื่องควบคุมวิดิโอ อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ต่อพ่วงบางตัว เช่นเครื่องพล็อตเอกสารสีขนาด A4 โมเดม 300-Baud อุปกรณ์เชื่อต่อพอร์ตอนุกรม RS-232 เครื่องพิมพ์เอกสารด้วยหมึก/ความร้อนขนาด 80 สดมภ์ และเครื่องขับแผ่นดิสก์ \"Quick Disk\" ขนาด 2.8 นิ้วก็ยังถูกวางจำหน่ายในปริมาณน้อยเพื่อใช้กับเครื่อง TI CC-40 ทั้งนี้ อุปกรณ์ต่อพ่วง Hexbus ทุกชนิดสามารถเชื่อมต่อกับ TI-99/4A เมื่อเชื่อมต่อผ่านช่องต่อ Hexbus ได้ทั้งต่อกับ TI-99/8หรือเชื่อมต่อโดยตรงกับ Texas Instruments Compact Computer 40.", "title": "Hexbus" }, { "docid": "198238#4", "text": "CCD ที่ทำงานได้ครั้งแรกที่ทำด้วยเทคโนโลยีวงจรรวมเป็น shift register 8 บิตง่ายๆ อุปกรณ์นี้มีวงจร input และ output และถูก ใช้เพื่อแสดงให้เห็นถึงการใช้งานของมันในฐานะที่เป็น shift register ตัวหนึ่งและในฐานะที่เป็น อุปกรณ์การถ่ายภาพเชิงเส้นดิบแปดพิกเซล การพัฒนาของอุปกรณ์ก้าวหน้าในอัตราที่รวดเร็ว ในปี 1971 นักวิจัยของเบลล์น โดยไมเคิล tompsett สามารถจับภาพด้วยอุปกรณ์เชิงเส้นอย่างง่าย หลายบริษัทรวมทั้ง Fairchild Semiconductor, อาร์ซีเอ และ Texas Instruments , เริ่มการประดิษฐ์และเริ่มการพัฒนาโปรแกรม ความพยายามของแฟร์ไชลด์ ที่นำโดยอดีตนักวิจัยของเบลล์ชื่อ กิล เมลิโอ ผลิตอุปกรณ์เชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก และในปี 1974 มี​​อุปกรณ์ 500 องค์ประกอบเชิงเส้นและอุปกรณ์ 2-D 100 x 100 พิกเซล สตีเว่น Sasson,วิศวกรไฟฟ้าที่ทำงานให้กับโกดัก, ประดิษย์คิดค้นกล้องถ่ายภาพนิ่งแบบดิจิตอลเป็นครั้งแรก โดยใช้ CCD แฟร์ไชลด์ 100 x 100 ในปี 1975 ดาวเทียมสอดแนม KH -11 KENNAN ตัวแรกที่ใช้เทคโนโลยีแผง CCD (800 x 800 พิกเซล) สำหรับการถ่ายภาพถูกส่งขึ้นวงโคจรในธันวาคม 1976 ภายใต้การนำของ คาซูโอะ Iwama, Sony ก็เริ่มพยายามพัฒนาขนาดใหญ่บน CCDs ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนที่สำคัญ ในที่สุด โซนี่ได้จัดการเพื่อผลิตแบบมวล CCDs สำหรับ กล้องของพวกเขา ก่อนที่จะเรื่องนี้จะเกิดขึ้น Iwama เสียชีวิตในเดือนสิงหาคม 1982; ต่อมา ชิป CCD ถูกนำมาวางบนหินหลุมฝังศพของเขาเพื่อยอมรับการมีส่วนร่วมของเขา", "title": "อุปกรณ์ถ่ายเทประจุ" }, { "docid": "412858#4", "text": "วงจรวิทยุพื้นฐานของระบบนี้มีอัตราการใช้พลังงานคล้ายกันมากกับวงจรวิทยุบลูทูธมาตรฐาน (แน่นอนว่าในอุปกรณ์แบบทำงานสองระบบ มีแนวโน้มจะใช้วงจรเดียวกับบลูทูธมาตรฐาน) หากแต่มีจุดมุุ่งหมายให้อัตราการใช้พลังงานโดยรวมต่ำกว่า โดยวิธีหลักคือการทำให้รอบทำงานต่ำลง ระหว่างที่มีการรับส่งข้อมูล อุปกรณ์เหล่านี้จะมีกระแสสูงสุดประมาณช่วงหลักสิบมิลลิแอมป์ (mA) ทั้งแบบบลูทูธพลังงานต่ำและบลูทูธมาตรฐาน และระหว่างการทำงานช่วงพัก (sleep mode) มีเป้าหมายลดการใช้กระแสไฟฟ้าให้เหลือเพียงหลักสิบนาโนแอมป์ (nA) และเนื่องจากรอบทำงานที่ต่ำมาก (ช่วงประมาณ 0.25%) กระแสเฉลี่ยที่ใช้จึงอยู่ในหลักไมโครแอมป์ (mA) ทำให้สามารถอาศัยพลังงานจากถ่านกระดุม (button cell) เพื่อทำงานได้นานเป็นปี", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#14", "text": "Bluetooth SIG มีแนวทางสนองความต้องการของตลาดที่จะให้อัตราใช้พลังงานต่ำและทำให้ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่น้อยลงไปด้วย การที่ Bluetooth SIG ปี 2007 ให้การยอมรับข้อเสนอ Wibree ของโนเกียปี 2001 ทำให้จำเป็นต้องมีโหมดการทำงานพลังงานต่ำสำหรับอุปกรณ์ที่ออกแบบใหม่ให้สามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ Bluetooth อื่นที่ยังไม่มีคุณสมบัตินี้ได้ อย่างไรก็ตามความเข้ากันได้นี้ขึ้นอยู่กับแอปพลิเคชันที่ทำงานในอุปกรณ์บลูทูธที่มีอยู่ในปัจจุบัน และการทำให้อุปกรณ์สามารถรับข้อมูลที่ส่งด้วยวิธีประหยัดพลังงานผ่านการปรับปรุงซอฟต์แวร์ นอกเหนือจากการตีตลาดสำหรับเซ็นเซอร์ นาฬิกาและอุปกรณ์อื่นที่มีอยู่แล้วในขณะนี้ ความสามารถของเทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำในการเชื่อมต่ออุปกรณ์พลังงานต่ำเข้ากับโทรศัพท์มือถือ ก็ทำให้เกิดการใช้งานแบบใหม่ๆ ที่หลากหลายอย่างยิ่ง", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#32", "text": "วิธีการที่มีอยู่สำหรับแนวคิดบังเหียนอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นเนื่องจากอัตราการใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่ประหยัดขึ้นในโพรโทคอลแบบใช้พลังงานต่ำของบลูทูธรุ่น v4.0 ซัพพลายเออร์หลายรายยังคงนำเสนอวิธีการสำหรับบังเหียนอิเล็กทรอนิกส์โดยขึ้นอยู่กับโพรโทคอลมาตรฐาน ของบลูทูธรุ่น v2.1 ซึ่งใช้เพื่อการเชื่อมโยงอุปกรณ์มือถือเข้าด้วยกันแบบไร้สาย RSSI เป็นมาตรวัดกำลังสัญญาณรอบอุปกรณ์แต่ไม่มีการรสอบเทียบมาตรวัดที่มีการรับรองใดๆ การตั้งค่าการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการสูญเสียการเชื่อมต่อที่ไม่ได้ตั้งใจเป็นบริการสำคัญที่เสนอให้มาพร้อมกับแนวคิดนี้ อีกแง่มุมหนึ่งที่เป็นคุณสมบัติขั้นสูงได้รับการเปิดตัวสำหรับเทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ยิ่งขึ้นไปอีก ได้แก่การตัดบางส่วนออกเป็นพิเศษเพื่อให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้ยาวนานถึงสองปีโดยใช้เพียงถ่านกระดุมแค่เม็ดเดียว", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#38", "text": "ด้วยสมมุติฐานว่าในอุปกรณ์เป้าหมายมีชิปที่สามารถใช้พลังงานต่ำพร้อมกับมีชั้นโพรโทคอลพลังงานต่ำอยู่ในตัวแล้ว การใช้งานอุปกรณ์ที่มีอยู่หรือติดตั้งอยู่แล้วอาจเปิดโอกาสให้ใช้เทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำได้โดยการปรับปรุงซอฟต์แวร์ การปรับปรุงนี้จะช่วยให้ภาคสัญญาณวิทยุบลูทูธที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์สามารถรับสัญญาณจากอุปกรณ์บลูทูธพลังงานต่ำได้ อย่างไรก็ตามความสามารถของการสื่อสารในโหมดดูเพล็กซ์จะถูกจำกัดโดยแบบแผนการจัดสรรคลื่นความถี่ของเทคโนโลยีบลูทูธแบบดั้งเดิม เครื่องใช้ทั่วไปเช่นโทรศัพท์มือถือ, {0พีดีเอ และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล อาจถูกกำหนดให้เป็นอุปกรณ์โฮสต์ที่รับสัญญาณที่ส่งจากอุปกรณ์บลูทูธพลังงานต่ำเพื่อการใช้งานเชิงซ้อน", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "412858#8", "text": "ในเดือนธันวาคม 2009 Bluetooth SIG ประกาศการยอมรับเทคโนโลยีไร้สายบลูทูธพลังงานต่ำเข้าป็นคุณสมบัติชูโรงในข้อกำหนดหลักของบลูทูธรุ่น 4.0 (Bluetooth Core Specification Version 4.0) ตัวอย่างอุปกรณ์ตรวจวัดที่ใช้งานข้อกำหนดดังกล่าวนั้นพบได้ทุกวันนี้จากผู้ผลิตชิปซิลิกอน และคาดว่าจะมีสินค้าปรากฏให้เห็นได้เร็วๆ นี้", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" } ]
64
จัสติน บีเบอร์ สัญชาติอะไร ?
[ { "docid": "281274#0", "text": "จัสติน ดรูว์ บีเบอร์ (English: Justin Drew Bieber)[4] เกิด 1 มีนาคม ค.ศ. 1994 เป็นชาวแคนาดา โดยเริ่มอาชีพนักร้องจากการโพสวีดีโอ ณ เว็บไซต์ยูทูบ (Youtube) จนผู้จัดการ สกูเตอร์ เบราน์ (Scooter Braun) ได้มาเห็น และนำบีเบอร์ไปแอตแลนตา รัฐจอร์เจียและพบกับอัชเชอร์ จนได้เซ็นสัญญาในนาม Raymond Braun Media Group (RBMG) ค่ายเพลง Island Records", "title": "จัสติน บีเบอร์" } ]
[ { "docid": "937995#0", "text": "\"เบบี้\" เป็นเพลงที่ร้องโดยศิลปินชาวแคนาดา จัสติน บีเบอร์ เพลงนี้เป็นเพลงครึ่งของอัลบั้มบีเบอร์ \"มายเวิลด์ 2.0\" เพลงนี้แต่งโดยบีเบอร์ ร่วมกับ ทริกกี้ สตีวาสตร์ และดิดรีม ทั้งสองเคยร่วมแต่งเพลงของบีเบอร์ เช่น เพลงวัน ทาม (One Time) และเพลงนี้เป็นเพลงแนวอาร์แอนด์บีร่วมสมัย แร็ปโดย ลูดาคริส", "title": "เบบี้ (เพลงจัสติน บีเบอร์)" }, { "docid": "530404#7", "text": "เสียงดนตรีได้พอสเนอร์และเลวีเป็นคนผลิต ได้ใส่เสียงปรบมือและจังหวะที่มีรูปแบบคล้ายฟาร์เรลล์ วิลเลียมส์ และตามที่เอมี เซียเรตโต นักวิจารณ์จากป๊อบครัชได้พูดถึงไว้ว่า \"ถูกปรับให้อยู่ระดับต่ำสุด ทำให้เสียงของบีเบอร์ที่หนักแน่นและลึกซึ้งจากที่เขาโตขึ้นนั้น ได้เปล่งประกายและเป็นที่สนใจของผู้ฟังได้ เซียเรตโตยังคิดว่าเพลง \"บอยเฟรนด์\" มีความคล้ายคลึงกับเพลง \"ครายมีอะริเวอร์\" (2002) [12] ของจัสติน ทิมเบอร์เลค ในขณะที่ร็อบบี ดอว์ จากเว็บไซต์ ไอโดเลเตอร์ ถือว่าเป็นการแสดงความรำลึกถึงต้นยุคคริสต์ศตวรรษ 1990[14] โจดี โรเซน จากนิตยสาร โรลลิงสโตน ไม่ใส่ใจเนื้อหาในเนื้อเพลง และสรุปว่า \"จัสตินเพิ่งมีความสัมพันธ์ทางเพศมา แต่เขาจะไม่ทำอันตรายเด็กอายุ 9 ขวบของคุณแน่\"[15] มาร์ค โฮแกน นักเขียนจากนิตยสาร สปิน กล่าวว่าเนื้อเพลงได้อ้างถึงเพลงหลายเพลง เช่น \"ปาร์ตี้\" ของบียอนเซ่ โนวส์ (2011) \"ทิลเดอะเวิลด์เอนด์ส\" ของบริตนีย์ สเปียส์ (2011) และ \"อิฟ\" ของเจเน็ต แจ็กสัน (1993) แอนดรูว์ แฮมป์ จากนิตยสาร บิลบอร์ด กล่าวว่า จังหวะแบบคลับเรดี้และคอรัสแบบกีต้าร์ไม่เสียบปลั๊กทำให้นึกถึงเพลง \"เกิร์ลเฟรนด์\" ซิงเกิลสุดท้ายของวง เอ็นซิงก์ และเปรียบเทียบกับเพลงยุคแรก ๆ ของจัสติน ทิมเบอร์เลค และอัชเชอร์[11]", "title": "บอยเฟรนด์ (เพลงจัสติน บีเบอร์)" }, { "docid": "281274#7", "text": "วันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2010 บีเบอร์ได้ออกทัวร์คอนเสิร์ตครั้งแรกของเขา โดยเริ่มที่ ฮาร์ตฟอร์ด คอนเนตทิคัต สำหรับการประชาสัมพันธ์อีพีมายเวิลด์ และอัลบั้มมายเวิลด์ 2.0[14] ทัวร์ครั้งนี้ถูกเรียกว่า \"มายเวิลด์ ทัวร์\" (My World Tour) โดยจะตระเวนแสดงสดไปทั่วอเมริกาและแคนาดาในปี 2010-2011 และในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2010 มีการรายงานว่าบีเบอร์เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงที่ถูกค้นหาในอินเตอร์มากที่สุด[15] เช่นเดียวกับมิวสิกวีดีโอของเพลง \"เบบี้\" (English: Baby) ซึ่งแซงเพลงของ เลดี้ กาก้า \"แบดโรมานส์\" จนเป็นวีดีโอที่มีคนชมมากที่สุดของเว็บไซต์ยูทูบเท่าที่เคยมีมา[16]", "title": "จัสติน บีเบอร์" }, { "docid": "530404#15", "text": "เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการโปรโมตเพลง บีเบอร์แสดงเพลง \"บอยเฟรนด์\" ในรายการ เดอะวอยซ์ ซีซันสอง ตอนสุดท้าย จบลงด้วยท่าเต้นที่ชวนให้รำลึกถึงเพลง \"ริธึมเนชัน\" ของเจเน็ต แจ็กสัน[49] บีเบอร์ยังแสดงเพลงนี้ในงานประกาศรางวัลบิลบอร์ดมิวสิกอวอร์ดส 2012 และรายการเน็กซ์ท็อปโมเดลของประเทศเยอรมนีอีกด้วย[50][51][52] บีเบอร์ยังแสดงเพลง \"บอยเฟรนด์\" ที่งานแคปิตัลเอฟเอ็มซัมเมอร์ไทม์บอล 2012 ด้วย[53] สำหรับการแสดงนั้น บีเบอร์สวมใส่ถุงมือแบบไม่มีนิ้วมือ เสื้อกล้ามลายยูเนียนแจ็กกับเสื้อกั๊กที่เข้ากัน และกางเกงยีนส์[54] บีเบอร์ยังแสดงเพลงนี้ในระหว่างเล่นคอนเสิร์ตโปรโมตเพลงในทวีปยุโรปในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ร่วมกับเพลง \"ออลอะราวด์เดอะเวิลด์\" และ \"ดายอินยัวร์อามส์\"บีเบอร์ร้องเพลงนี้เป็นครั้งแรกหลังงาน 2015 แวงโกแทงโก [55]", "title": "บอยเฟรนด์ (เพลงจัสติน บีเบอร์)" }, { "docid": "281274#10", "text": "2010: มายเวิลด์ 2.0 2011: อันเดอร์เดอะมิสเซิลโท 2012: บีลีฟ 2015: เพอร์เพิส", "title": "จัสติน บีเบอร์" }, { "docid": "757948#0", "text": "\"ซอร์รี\" () เป็นเพลงของนักร้องชาวแคนาดา จัสติน บีเบอร์ จากสตูดิโออัลบั้มที่สี่ \"เพอร์เพิส\" เพลงเขียนโดยจูเลีย ไมเคิลส์ จัสติน แทรนเตอร์ และบีเบอร์ เพลงออกขายในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2015 เป็นซิงเกิลที่สองจากอัลบั้ม", "title": "ซอร์รี (เพลงจัสติน บีเบอร์)" }, { "docid": "398401#0", "text": "ไมนด์เลสบีเฮฟเยอร์ () เป็นวงหนุ่มบอยแบนด์ 4 คน ประกอบไปด้วย Prodigy, Roc Royal, Ray Ray และPrinceton ซึ่งเปิดตัวด้วยเพลง \"My Girl\" พวกเขาได้รวมตัวกันในลอสแอนเจลิส ในปี 2008 ได้ Millsap (ทำงานร่วมกับ บียอนเซ่, จัสติน ทิมเบอร์เลค)และ Vincent Herbert (ทำงานร่วมกับ เลดี้ กาก้า, โทนี แบรกซ์ตัน) เป็นผู้ค้นหาศิลปินหน้าใหม่ในการเต้นและร้อง2ปีก่อนอัดเสียง วงนี้เปิดตัวครั้งแรกในทัวร์ของ แบ็กสตรีตบอยส์, และ จัสติน บีเบอร์ ในปี2010 และพวกเขาในแสดงเพลง \"My Girl\" ใน The Today Show ในเดือน พฤศจิกายน ปี 2010 อีกด้วย\nพวกเขาได้แรงจูงใจมาจาก ไมเคิล แจ็กสัน, อัชเชอร์ และ จัสติน ทิมเบอร์เลค และ มายด์เลสบีฮาวิเออร์ ยังเคยได้ไปร่วมทัวร์ใสคอนเสิร์ตของ จัสติน บีเบอร์ และ เจสัน เดอรูโล และยังได้แสดงเปิดตัวก่อนโชว์ของ เจเน็ต แจ็กสัน ในทัวร์ปี 2010 อีกด้วยในเดือนตุลา ปี 2010 ได้เปิด ซิงเกิลเพลง My Girls ออกสู่สายตาเป็นครั้งแรกสตูดิโออัลบั้ม\nอัลบั้มนี้กำลัง Released ในประเทศรัฐนิวยอร์ก ในเร็วๆนี้", "title": "ไมนด์เลสบีเฮฟเยอร์" }, { "docid": "530404#11", "text": "ในสหราชอาณาจักร เพลงเปิดตัวที่อันดับที่สองด้วยยอดขาย 54,817 ในสิ้นสุดสัปดาห์ของวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2012 เป็นรองเพียงแค่เพลงของนักร้องร่วมสัญชาติอย่างเพลง \"คอลมีเมย์บี\" ของคาร์ลี เร เจปเซน[31][32] เพลงบอยเฟรนด์ขึ้นถึงสิบอันดับแรกในเดนมาร์ก ไอร์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน ขณะที่อยู่ในยี่สิบอันดับแรกในเบลเยียม ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ สเปน และสวิตเซอร์แลนด์[31][33] ในออสเตรเลีย เพลงบอยเฟรนด์เปิดตัวและขึ้นสูงสุดที่อันดับที่ 5 บนชาร์ตประจำวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2012 เพลงบอยเฟรนด์ยังคงไม่สามารถขึ้นถึงอันดับหนึ่งในนิวซีแลนด์ เนื่องจากเปิดตัวและขึ้นสูงสุดที่อันดับที่ 2 เท่านั้น[34]", "title": "บอยเฟรนด์ (เพลงจัสติน บีเบอร์)" }, { "docid": "530404#3", "text": "—พอสเนอร์กล่าวถึงการทำงานกับบีเบอร์[1]", "title": "บอยเฟรนด์ (เพลงจัสติน บีเบอร์)" }, { "docid": "530404#12", "text": "ไอส์แลนด์เดฟแจมมิวสิกกรุ๊ปมอบหมายให้โคลิน ทิลลีกำกับมิวสิกวิดีโอ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ทำงานกับบีเบอร์ในมิวสิกวิดีโอเพลง \"ยูสไมล์\" (ค.ศ. 2010) [35] การถ่ายทำมีขึ้นในสัปดาห์วันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 2012 ที่สตูดิโอแห่งหนึ่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย[35][36] บีเบอร์เผยว่ามิวสิกวิดีโอไม่ได้มี \"มโนทัศน์คงตัว\" และเสริมว่า ส่วนใหญ่แสดงมุมกล้องแบบศิลป์แทรกด้วยท่าเต้นประกอบฉาก เขาอธิบายต่อว่า \"มันไม่ใช่ว่า 'บีเบอร์ตามผู้หญิงคนนี้มายังจุดนี้ ไม่ใช่ มันเป็นกลุ่มฉากที่น่าประหลาดใจ เช่นเดียวกับฉากไฟ เรามีฉากน้ำแข็ง\"[35] ในวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2012 บีเบอร์ได้เผยแพร่ทีเซอร์ (teaser) ของคลิป[37] เบ็กกี เบน จากเว็บไซต์ไอโดเลเตอร์ เปิดเผยว่า ทีเซอร์ที่ตามมาหลายตัวแสดงบีเบอร์กำลังถูกมือหญิงหลายคนลูบคลำ ขณะกำลังเต้นท่าไมเคิล แจ็กสันอยู่หน้าสปอตไลต์สีขาวขนาดใหญ่ [และ]โพสอย่างเป็นอันตรายหน้าไฟและและลอยอยู่ใต้น้ำ\"[38] นิโคลา เซีย จากเว็บไซต์ไอโดเลเตอร์เช่นกัน มองฉากที่นักร้อง \"กระซิบที่ข้างหูสาว ๆ อย่างยั่วยวน\" ว่า \"อีโรติก\"เกินไป[39]", "title": "บอยเฟรนด์ (เพลงจัสติน บีเบอร์)" }, { "docid": "630046#0", "text": "\"บีลีฟ\" เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่สามของนักร้องชาวแคนาดา จัสติน บีเบอร์ ออกจำหน่ายวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2012 โดยค่ายเพลงไอส์แลนด์เรเคิดส์ หลังจากการเปลี่ยนผ่านจากรูปแบบดนตรีแบบทีนป็อปของอัลบั้มที่แบ่งเป็นสองตอน \"มายเวิลด์\" (ค.ศ. 2009) และ\"มายเวิลด์ 2.0\" (ค.ศ. 2010) บีเบอร์ออกผลงานใหม่ที่มีส่วนผสมของดนตรีแนวแดนซ์ป็อปและอาร์แอนด์บีร่วมสมัย อัชเชอร์ หัวหน้าโปรดิวเซอร์อัลบั้ม และผู้จัดการชื่อสกูตเตอร์ บรอน ใส่รายชื่อผู้มีส่วนร่วมมากมาย ที่ช่วยสร้างเสียงดนตรีที่ดูโตเป็นผู้ใหญ่ เช่น ดาร์กไชลด์, ฮิตบอย, ดิโพล และแมกซ์ มาร์ติน ", "title": "บีลีฟ (อัลบั้มจัสติน บีเบอร์)" }, { "docid": "757953#0", "text": "เพอร์เพิส () เป็นสตูดิโออัลบั้มมี่สี่ของนักร้องชาวแคนาดา จัสติน บีเบอร์ อัลบั้มวางขายวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 โดยสังกัดเดฟแจมเรคอร์ดิงส์ และสกูลบอยเรเคิดส์ ก่อนออกอัลบั้ม ซิงเกิลแรก \"วอตดูยูมีน\" ออกจำหน่าย และติดชาร์ตอันดับหนึ่งในหลายชาร์ต และตามด้วยซิงเกิล \"ซอร์รี\" ที่ทำสถิติบนชาร์ตเช่นกัน ซิงเกิลที่สาม \"เลิฟยัวร์เซลฟ์\" ก็ประสบความสำเร็จบนชาร์ตโดยขึ้นอันดับหนึ่งใน 7 ประเทศ และขึ้นห้าอันดับแรกในสหรัฐอเมริกา", "title": "เพอร์เพิส (อัลบั้มจัสติน บีเบอร์)" }, { "docid": "530404#28", "text": "หมวดหมู่:ซิงเกิลในปี พ.ศ. 2555 หมวดหมู่:เพลงของจัสติน บีเบอร์ หมวดหมู่:ซิงเกิลอันดับ 1 ในแคนาเดียนฮอต 100", "title": "บอยเฟรนด์ (เพลงจัสติน บีเบอร์)" }, { "docid": "530404#0", "text": "\"บอยเฟรนด์\" (English: Boyfriend) เป็นเพลงของจัสติน บีเบอร์ จากสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 3 ชื่อ บีลีฟ บีเบอร์กล่าวว่าเพลงนี้จะสร้างความประหลาดใจหลายอย่าง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงแนวเพลงจากผลงานชุดก่อนหน้า มีพรีวิวตัวอย่างเพลงบอยเฟรนด์ในรายการ ดิเอลเลนดีเจนเนอเรสโชว์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2012 พร้อมประกาศเพลงนี้เป็นซิงเกิลในวันเดียวกันนั้นเอง และเริ่มจำหน่ายในวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2012 มีการเปิดเผยภาพปกอัลบั้มในวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2012", "title": "บอยเฟรนด์ (เพลงจัสติน บีเบอร์)" }, { "docid": "281274#8", "text": "ตรงจุดนี้ โทนเสียงของบีเบอร์เริ่มต่ำลงเนื่องจากเสียงเริ่มแตกจากการเข้าวัยหนุ่มสาว ก่อนหน้านั้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 2010 เขาได้ให้สัมภาษณ์ว่า \"มันเริ่มแย่ เหมือนกับวัยรุ่นหนุ่มทุกๆคน ผมกำลังทำงานกับมัน และผมก็มีโค้ชทางด้านเสียงร้องที่ดีที่สุดคนหนึ่งของโลก [...] ในบางงานผมร้องเพลง \"เบบี้\" แต่ตอนนี้ผมทำไม่ได้แล้ว พวกเราต้องลดคีย์ของเพลงลงเวลาผมต้องร้องเพลงนี้สด\"[17] นักร้อง/นักแต่งเพลงของอังกฤษ ไทโอ ครูซ (English: Taio Cruz) ยืนยันว่าในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2010 นั้นเขาได้เขียนเพลงให้กับบีเบอร์สำหรับอัลบั้มถัดไป[18] และผู้สร้างงานฮิปฮอป ดร. เดร (Dr. Dre) ได้ร่วมทำเพลงกับบีเบอร์ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2010[19] แต่ก็ยังไม่มีรายละเอียดใดๆเกี่ยวกับอัลบั้มนี้ และคาดว่าจะเปิดตัวอัลบั้มนี้ในปี ค.ศ. 2011", "title": "จัสติน บีเบอร์" }, { "docid": "530404#26", "text": "บันทึกเสียงที่ชาลีซเรคอร์ดิงสตูดิโอส์ ฮอลลีวูด ลอสแอนเจลิส และในลอนดอน สหราชอาณาจักร มิกซ์เสียงที่สตูดิโอลาร์ราบี เบอร์แบงก์ แคลิฟอร์เนีย", "title": "บอยเฟรนด์ (เพลงจัสติน บีเบอร์)" }, { "docid": "530404#17", "text": "ในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2012 มารีนาแอนด์เดอะไดมอนส์ ได้คัฟเวอร์เพลงนี้ในการแสดงในรายการไลฟ์เลาจ์ ทางสถานีวิทยุบีบีซีเรดิโอ 1 ในระหว่างการแสดง เธอได้เปลี่ยนเนื้อร้องและเจฟฟ์ เบนจามิน จากนิตยสาร บิลบอร์ด กล่าวว่า \"เธอได้เปลี่ยนแนวดนตรีของเพลงนี้ด้วย จากผลงานล่าสุดของบีเบอร์ไปเป็นดนตรีอคูสติกแบบมืดมน\"[58] และในปีเดียวกัน เควิน แม็กเฮล และดาร์เรน คริส (ในนามของตัวละครชื่ออาร์ตี อะบรัมส์ และเบลน แอนเดอร์สัน) แสดงเพลงบอยเฟรนด์ผสมกับเพลง \"บอยส์\" ของบริตนีย์ สเปียส์ในตอน \"บริตนีย์ 2.0\" ของซีรีส์มิวสิคัล กลี[59]", "title": "บอยเฟรนด์ (เพลงจัสติน บีเบอร์)" }, { "docid": "530404#8", "text": "\"บอยเฟรนด์\" ได้รับเสียงวิจารณ์คละกัน แอนดรูว์ แฮมป์แห่งนิตยสาร บิลบอร์ด ให้คะแนน 82 เต็ม 100 คะแนน โดยกล่าวว่า เสียงของบีเบอร์ดูเป็นผู้ใหญ่กว่าที่เคย แต่สังเกตว่าแฟนคลับส่วนใหญ่ของเขายังเป็นเด็กหญิงอายุ 12 ปี[11] เอมี เซียเรตโต แห่งป๊อปครัช ยกย่องบทเพลงและกล่าวว่า ผลของการลองแนวดนตรีใหม่ ๆ ลงเอยด้วย \"เพลงจัสติน บีเบอร์ที่เป็นผู้ใหญ่และรอบด้านมากขึ้น\"[12] เจนนา ฮอลลี รูเบนสไตน์ จากเอ็มทีวี กล่าวว่า \"บอยเฟรนด์\" นั้นเป็น \"ยาเสพติดบ้า\" (crazy dope) และตระหนักว่าเนื้อเพลงมุ่งไปยังสิ่งที่บีเบอร์ทำกับเซเลน่า โกเมซ แฟนสาวคนปัจจุบัน[13] เบกก้า กริม จากนิตยสาร โรลลิงสโตน มีความคิดว่าเพลงนี้ \"ตึงกว่าปกติ\" (edgier-than-usual) [16] ขณะที่เบรนยา บรานดาโน่ นักวิจารณ์จากบริษัทอาร์ทิสท์ไดเรกต์ กล่าวว่า \"บอยเฟรนด์\" ไม่เพียงเป็นการเปลี่ยนผ่านของบีเบอร์สู่ผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ยังเป็น \"รุ่งอรุณใหม่แห่งเพลงป๊อป\"[17] มาร์ก โฮแกน จากนิตยสาร สปิน กล่าวว่า บีเบอร์ \"อยากทำให้คุณตื่นเต้นมากขึ้น\" (sex you up) ไปกับเพลง แต่คิดว่า \"บีเบอร์อาจจะเป็นนักเกี้ยวผู้มั่งคั่ง แต่เขายังไม่โต\"[18] นักวิจารณ์จากนิตยสาร แร็ป-อัพ กล่าวชมเพลง \"บอยเฟรนด์\" ที่แสดงให้เห็นบีเบอร์วัยผู้ใหญ่และเสียงดนตรีแบบในเมืองลงในเพลง[19] สตีเวน ไฮเดน และ Genevieve Koski บรรณาธิการของ ดิ เอ.วี. คลับ ให้เกรด A- พร้อมกล่าวชมเพลงในด้านการผลิตและเสียงร้อง และถือว่า \"ต้านทานไม่ได้ เมื่อบีเบอร์ปล่อยเสียงสูงแบบทิมเบอร์เลก มันรู้สึกค่อนข้างสมบูรณ์แบบ\" พวกเขายังจัดอันดับให้เป็นซิงเกิลที่ดีที่สุดซิงเกิลหนึ่งของบีเบอร์ แม้พวกเขาวิจารณ์เนื้อหาในเนื้อเพลง[20]", "title": "บอยเฟรนด์ (เพลงจัสติน บีเบอร์)" }, { "docid": "709669#0", "text": "\"บิวตีแอนด์อะบีต\" () เป็นเพลงของนักร้องชาวแคนาดา จัสติน บีเบอร์ จากสตูดิโออัลบั้มที่สาม \"บีลีฟ\" (2012) มีนักร้องรับเชิญคือแร็ปเปอร์ชาวอเมริกัน นิกกี มินาจ ซึ่งร่วมเขียนเพลงกับซาแวน โคเทชา แมกซ์ มาร์ติน และเซดด์ เพลงผลิตโดยมาร์ติน และเซดด์ โดยใช้เครื่องเล่นกลองหนักและเครื่องสังเคราะห์เสียง ในด้านเนื้อเพลง พูดถึงบีเบอร์ต้องการพาคนรักเข้าคลับแห่งหนึ่ง ซึ่งพวกเขาจะได้ \"สังสรรค์กันดั่งอยู่ในปี 3012\" (party like it's 3012) เพลงนี้เป็นเพลงเดียวในอัลบั้ม\"บีลีฟ\"ที่บีเบอร์ไม่ได้เขียนเพลงด้วย เพลงนี้เป็นซิงเกิลที่สามของอัลบั้ม", "title": "บิวตีแอนด์อะบีต" }, { "docid": "281274#9", "text": "บีเบอร์ยังได้มีภาพยนตร์ 3 มิติ \"Never Say Never\" โดยเกี่ยวกับตัวเขาเอง กำกับโดย Jon Chu ผู้กำกับจาก Step Up 3D จะออกฉายครั้งแรกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 [20] และในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 เขาได้ออกอัลบั้ม ชื่อว่า มายเวิลด์ อคูสติก (|My Worlds Acoustic) [21] โดยได้ออกจำหน่ายในวัน Black Friday ในสหรัฐอเมริกา โดยเป็นเพลงเก่าในรูปแบบอคูสติก เพลงซิงเกิล และเพลงซิงเกิลใหม่ \"Pray\" ในปี 2010 [22]", "title": "จัสติน บีเบอร์" }, { "docid": "281274#2", "text": "บีเบอร์เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1994 ณ ลอนดอน รัฐออนแทริโอ และโตในเมืองสแตรตฟอร์ด แม่ของเขา แพดตี้ แมลลิที (Pattie Mallette) อายุ 18 ปีตอนที่เธอได้มีลูกชายแมลลิทีได้ทำงานด้านสำนักงานโดยมีเงินเดือนต่ำ โดยเธอเลี้ยงดูบีเบอร์โดยตัวคนเดียว ยังไงก็ตาม บีเบอร์ก็ยังติดต่อกับพ่อของเขา เจเรมี บีเบอร์ (Jeremy Bieber)[7][8] และเมื่อเขาโตขึ้น บีเบอร์ได้เริ่มเรียนเปียโน, กลองชุด, กีตาร์, และทรัมเป็ต ด้วยตัวเอง[9] จนกระทั่งปี ศ.ศ. 2007 ตอนที่เขาอายุ 12 ปี บีเบอร์ได้ร้องเพลงของ Ne-Yo ชื่อเพลง \"So Sick\" ในการแข่งขันร้องเพลงที่สแตรตฟอร์ด และเขาได้ที่สอง[10] แมลลิที้ได้โพสวีดีโอขึ้นเว็บไซต์ยูทูบเพื่อให้ครอบครัวและเพื่อนๆของเขาได้ชม และเธอก็เริ่มโพสวีดีโอที่เขาได้ร้องเพลงอื่นๆ จนกระทั่งเขาเริ่มมีชื่อเสียงจากเว็บไซต์นี้[11]", "title": "จัสติน บีเบอร์" }, { "docid": "736752#0", "text": "\"ออลอะราวด์เดอะเวิลด์\" () เป็นเพลงของนักร้องชาวแคนาดา จัสติน บีเบอร์ จากสตูดิโออัลบั้มที่สาม \"บีลีฟ\" (2012) เพลงเขียนโดยบีเบอร์ เซอร์ โนแลน และนาสรี จากทีมเดอะเมสเซนเจอส์ ร่วมกับลูดาคริส ซึ่งเป็นนักร้องรับเชิญ เพลงนี้เป็นการร่วมมือกันครั้งที่สองระหว่างบีเบอร์และลูดาคริส ก่อนหน้านี้ร่วมมือกันในซิงเกิล \"เบบี\" (2010) เพลงออกจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 2012 เป็นซิงเกิลวิทยุจากอัลบั้ม เพลงออกจำหน่ายเป็นซิงเกิลที่สี่ในต่างประเทศ และเป็นซิงเกิลที่ห้าและซิงเกิลสุดท้ายในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 เพลงมีดนตรียูโรแดนซ์ ใช้เครื่องดนตรีคล้าย ๆ กันเพลงของบริตนีย์ สเปียส์ คริส บราวน์ และอัชเชอร์ เนื้อเพลงเกี่ยวกับบบีเบอร์ร้องเพลงให้คนรักว่า \"ทั้งโลก มีแต่คนอยากถูกรัก\" (all around the world, people want to be loved) \"ออลอะราวด์เดอะเวิลด์\" ได้รับคำวิจารณ์ด้านบวกเป็นส่วนใหญ่ นักวิจารณ์ชื่นชอบรูปแบบดนตรียูโรแดนซ์ เพลงประสบความสำเร็จปานกลางทั่วโลก ขึ้นสิบอันดับแรกในหลายประเทศ เช่น เบลเยียม แคนาดา และนอร์เวย์ บีเบอร์ส่งเสริมเพลงผ่านการแสดงสดและมิวสิกวิดีโอ", "title": "ออลอะราวด์เดอะเวิลด์ (เพลงจัสติน บีเบอร์)" }, { "docid": "530404#9", "text": "จอร์แดน ซาคาริน จาก เดอะฮอลลิวูดรีพอร์เตอร์ บรรยายเพลงนี้ว่า \"เป็นข้อเสนอไม่มากก็น้อย โดยบีเบอร์ร่างทั้งแนวคิดเดตในเมืองเล็กและคำสัญญาชั่วนิรันดร์\"[21] Raju Mudhar จาก โตรอนโตสตาร์ ออกความเห็นว่า จากเนื้อเพลง บีเบอร์นั้น \"ไม่ใกล้เคียงกับการนำ 'เซ็กซีแบ็ค' กลับมา แต่ฟังเหมือนเขาต้องการจูงมือคุณเดินกลับบ้าน\"[22] โจดี้ โรเซน จากนิตยสาร โรลลิงสโตน ให้ 3 ดาวเต็ม 5 และ ขณะที่มองเบื้องหลังเป็น \"การคำนวณอย่างเชี่ยวชาญเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนผ่านของบีเบอร์จากเด็กน้อยเสน่ห์แรงไปเป็นหนุ่มน้อยเสน่ห์แรง\" แต่ตั้งคำถามว่า \"เพลงที่เริ่มด้วยบีเบอร์ร้องแร็ปในภาษาชนบทที่ห้าวที่สุดเกี่ยวกับ \"ของโจร\" ของเขาจะไม่เป็นเหยื่อผู้รังเกียจได้อย่างไร\"[15] บิล แลมบ์ นักวิจารณ์จากอะเบาต์ดอตคอม ถือว่าเพลงนี้เป็น \"เพลงอย่างง่ายซึ่งมาจากจัสติน ทิมเบอร์เลก\" และกล่าวว่า เนื้อเพลงไม่มี \"สาระให้ขยายเป็นเพลงทั้งเพลงได้\"[4] คริส เอกเกิร์ตเซน นักเขียนบล็อก ฮิตฟิกซ์ คิดว่า ในด้านเนื้อเพลง \"บอยเฟรนด์\" เป็นเพลงเดียวกับที่บีเบอร์เคยร้องตั้งแต่เริ่มอาชีพ แต่สังเกตว่าไม่มีแฟนคลับคนใดสังเกตมุมมองนี้[23] เกรกอรี ฮิคส์ จากเดอะมิชิแกนเดลี ให้ความเห็นว่า บีเบอร์กำลังเลียนแบบลักษณะความเป็นอาร์แอนด์บีของจัสติน ทิมเบอร์เลก และบรรยายเนื้อเพลงว่าเป็นต้นตำรับ \"ในแง่ที่ศิลปินน้อยคนนักที่ตั้งใจนำความเขลาทางกวีมากขนาดนี้เข้ามาในเพลงของตน\"\"[24] เออร์เนส วิลคินส์ จาก เรดอายส์ กล่าวว่า บีเบอร์ไม่รู้วิธีแร็ปที่ดี และเสริมว่า \"ผมนึกถึงช่วงที่ Wahlberg เป็นนักร้องแร็ปผิวขาวที่งุ่มง่ามที่สุดในโลก\"[25]", "title": "บอยเฟรนด์ (เพลงจัสติน บีเบอร์)" }, { "docid": "281274#3", "text": "จนกระทั่ง สกูเตอร์ เบราน์ (Scooter Braun) นักการตลาดของ So So Def ในตอนนั้น ได้เข้าไปดูวีดีโอของบีเบอร์โดยบังเอิญ[7] เบราน์สนใจในตัวบีเบอร์มากและเริ่มตามหาตัวเขา จนกระทั่งสามารถติดต่อแมลลิที้ได้ และเธอได้ตกลงที่จะให้พาตัวบีเบอร์ไป จนอายุ 13 ปี[11] ณ แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย เขาได้ทดลองอัดเสียง[7] และในสัปดาห์ต่อมานั่นเองเขาก็ได้ลองร้องเพลงให้อัชเชอร์ฟัง[12] ซึ่งต่อมาก็ได้ให้เขาเซ็นสัญญากับ Island Def Jam Music Group และ Island Records ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2008[11] ซึ่งมีการกล่าวว่าจัสติน ทิมเบอร์เลค ก็ได้ขอเซ็นสัญญากับบีเบอร์เช่นเดียวกัน แต่เขานั่นเลือกที่จะเซ็นสัญญากับอัชเชอร์ไป[13] และบีเบอร์ก็ได้ย้ายมาอยู่ที่แอตแลนต้า ซึ่งเป็นถิ่นที่อัชเชอร์และเบราน์ทำงาน", "title": "จัสติน บีเบอร์" }, { "docid": "309506#3", "text": "จัสตินเริ่มต้นอาชีพของเขาในยูทูบ จากการที่เขาและมารดาโพสต์วิดีโอของเขาที่ร้องเพลงในงานประกวดดนตรีเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวคนอื่นที่ไม่ได้ดู แต่ทว่าความนิยมของเขาในยูทูบเติบโตอย่างรวดเร็ว สกูเตอร์ เบราน์ ซึ่งเคยทำงานเป็นผู้อำนวยการการตลาดให้กับ So So Def เห็นวิดีโอของเขา และสนใจในตัวเขามาก ได้บินพาบีเบอร์ไปยังแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย เพื่อปรึกษากับอัชเชอร์และเขาก็ได้เซ็นสัญญากับค่ายไอส์แลนด์ในระยะเวลาอันรวดเร็ว Braun และพาบีเบอร์บินไปยังแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย อันเป็นที่พำนักของอัชเชอร์ นักร้องและนักประพันธ์เพลงแนวอาร์แอนด์บี สัปดาห์ต่อมาบีเบอร์จึงมีโอกาสขับร้องให้อัชเชอร์ฟัง ซึ่งเขาเองก็สนใจในทันใด และให้เขาทดลองขับร้องกับแอนโตนิโอ แอลเอ เรด ณ ไอส์แลนด์เรเคิดส์ ซึ่งเขาได้เซ็นสัญญาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2008 มีการรายงานว่าจัสติน ทิมเบอร์เลกจะให้บีเบอร์เข้าเซ็นสัญญา แต่เขากลับเซ็นสัญญาร่วมกับอัชเชอร์ อัชเชอร์แนะนำบีเบอร์สู่วงการเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2009 ณ ลอสแองเจิลลิส ภายหลังการบันทึกเสียงเพลง \"วันไทม์\" เท่านั้น อัชเชอร์บรรยายบีเบอร์ต่อหน้าฝูงชนว่าเป็น \"คลื่นลูกใหม่\" และเป็น \"ความภูมิใจสำหรับผมและไอส์แลนด์เดฟแจม\"", "title": "มายเวิลด์" }, { "docid": "330723#0", "text": "มายเวิลด์ 2.0 () เป็นผลงานชิ้นที่สองซึ่งเป็นสตูดิโออัลบั้ม โดยนักร้องชาวแคนาดาจัสติน บีเบอร์ และเป็นผลงานชิ้นแรกที่เป็นสตูดิโออัลบั้ม อัลบั้มนี้ได้ออกมาหลังจากที่ อีพี มายเวิลด์ นั้นได้เปิดตัว มายเวิลด์ 2.0 นี้ได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2010 บีเบอร์ได้ทำงานร่วมกับผู้อำนวยการสร้าง นักแต่งเพลง ก่อนที่อัลบั้มนี้เปิดตัว ประกอบด้วย Tricky Stewart, เดอะ-ดรีม และ มีดี้ มาเฟีย รวมไปถึงคนใหม่ที่มาเสริมอย่างบรานด์-ไมเคิล คอกซ์ และ The Stereotypes นอกจากนั้นยังต้องการให้มีแนวเพลงอาร์แอนด์บีที่เด่นขึ้นกว่างานเพลงชิ้นก่อน และอัลบั้มนี้ยังสื่อถึงการที่เขาโตขึ้นจากครั้งก่อน และมีวุฒิภาวะมากขึ้น นอกจากที่มีแนวเพลงของอาร์แอนด์บีแล้ว อัลบั้มยังมีการรวมเพลงแนวป๊อบและฮิปฮอปอีกด้วย", "title": "มายเวิลด์ 2.0" }, { "docid": "897339#0", "text": "โคลด์วอเตอร์ () เป็นซิงเกิลของกลุ่มแนวเพลงดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ของเมเจอร์เลเซอร์ เป็นซิงเกิลหลักจากสตูดิโออัลบั้มที่ 4 Music Is the Weapon (2017) โดยร่วมกับนักร้องชาวแคนาดา จัสติน บีเบอร์ และนักร้องชาวเดนมาร์ก มุ ประพันธ์คำร้องโดย สมาชิกเมเจอร์เลเซอร์ ดิปโล, เอ็ด ชีแรน, มุ, จัสติน บีเบอร์, เจมี สกอตต์, เบนนี บลังโก, ฟิลลิป \"จูเนียร์ เบลนเดอร์\" เมกเซเปอร์ และ เฮนรี่ \"คิงเฮนรี่\" อัลเลน ออกจำหน่ายในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2016", "title": "โคลด์วอเตอร์ (เพลง)" }, { "docid": "530404#27", "text": "ไมก์ พอสเนอร์ – เขียนเพลง, โปรดิวซ์, คีย์บอร์ด จัสติน บีเบอร์ – เขียนเพลง, ร้องนำ เมสัน \"เอ็มดีแอล\" เลวี – เขียนเพลง, โปรดิวซ์ แมทธิว มัสโต – เขียนเพลง, ผลิตเสียงกีต้าร์ คัก ฮาร์เรล – ผลิตเสียงร้องนำ จอช กุดวิน – เอนจินเนียร์ คริส \"ทีอีเค\" โอ'ไรอัน – เอนจินเนียร์ โธมัส คัลลิสัน – ผู้ช่วยเอนจินเนียร์ แมนนี มาร์โรควิน – ผสานเสียง คริส กัลแลนด์ – ผู้ช่วยผสานเสียง เดล บาวเออร์ส – ผู้ช่วยผสานเสียง เบนนี สตีล – บันทึกเสียงกีต้าร์", "title": "บอยเฟรนด์ (เพลงจัสติน บีเบอร์)" }, { "docid": "281274#5", "text": "บีเบอร์ได้ร้องเพลงของ สตีวี วันเดอร์ (Stevie Wonder) \"Someday at Christmas\" สำหรับประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บารัก โอบามา และสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งสหรัฐอเมริกา มิเชลล์ โอบามา ที่ทำเนียบขาวสำหรับวันคริสต์มาสในวอชิงตัน ดี.ซี. และออกอากาศในวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2009 บนสถานีโทรทัศน์ช่อง TNT ของสหรัฐอเมริกา และยังร้องเพลงในงาน Dick Clark's New Year's Rockin' Eve ร่วมกับไรอัน ซีเครสต์ ในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2009 บีเบอร์ได้เป็นพรีเซ็นเตอร์ในงาน the 52nd Grammy Awards ในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2010 ได้รับเชิญในการบันทึกเสียงเพลง วีอาร์เดอะเวิลด์ 25 ฟอร์ เฮติ (We Are The World for its 25th anniversary to benefit Haiti) เนื่องจากในเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศเฮติ บีเบอร์ได้ร้องในช่วงท่อนเปิดเพลง เช่นเดียวกับไลโอเนล ริชชี ในเวอร์ชันต้นตำรับ และในวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 2010 ก็ยังได้ไปร้องในเวอร์ชันของ K'naan's \"Wavin' Flag\" บันทึกเสียงโดยกลุ่มศิลปินวัยรุ่นชาวแคนาดา สำหรับเฮติ โดยบีเบอร์ได้ร้องในช่วงท่อนปิดเพลง", "title": "จัสติน บีเบอร์" } ]
1791
ลวดหรือตัวนำที่สร้างเป็นคอยล์ถูกเรียกว่าขดลวด ใช่หรือไม่?
[ { "docid": "557620#2", "text": "ลวดหรือตัวนำที่สร้างเป็นคอยล์ถูกเรียกว่า\"ขดลวด\" หลุมตรงกลางของขดลวดเรียกว่าพื้นที่แกน()หรือแกนหมุน()แม่เหล็ก แต่ละวงลูปที่พันเรียกว่า\"รอบ\" ในขดลวดที่ลวดสัมผัสกัน ลวดต้องถูกทำให้เป็นฉนวนโดยการเคลือบด้วยสารที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น พลาสติกหรือสีเคลือบผิวหน้า เพื่อป้องกันกระแสไหลข้ามระหว่างรอบของลวด ขดลวดมักจะถูกห่อรอบ\"คอยล์ฟอร์ม\"ที่ทำจากพลาสติกหรือวัสดุอื่นเพื่อยึดให้อยู่กับที่ ปลายของลวดจะถูกนำออกมาและติดอยู่กับวงจรภายนอก ขดลวดอาจมีการเชื่อมต่อไฟฟ้าเพิ่มเติมตามความยาวของมัน จุดแยกเหล่านี้จะเรียกว่า \"แทป\" ขดลวดที่มีแทปเพียงจุดเดียวตรงกลางของความยาวของมันเรียกว่า center-tap คอยล์สามารถมีมากกว่าหนึ่งขดลวด, เป็นฉนวนแยกจากกัน ถ้ามีสองขดหรือมากกว่ารอบแกนหมุนแม่เหล็กทั่วไป ลวดจะกล่าวว่าเป็น\"คู่เหนี่ยวนำ\"หรือ\"คู่แม่เหล็ก\" กระแสที่แปรตามเวลาที่ไหลในขดลวดจะสร้างสนามแม่เหล็กที่แปรตามเวลาที่พาดผ่านขดลวดอื่น ซึ่ง จะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าที่แปรตามเวลาในขอลวดอื่นนั้น คอยล์นี้เรียกว่า \"หม้อแปลง\"", "title": "ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า" }, { "docid": "557620#3", "text": "ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นจำนวนมากมีแกนเป็นแม่เหล็ก, หรือชิ้นส่วนของวัสดุ ferromagnetic เช่นเหล็ก ในใจกลางของมันเพื่อเพิ่มสนามแม่เหล็ก กระแสผ่านขดลวดจะทำให้วัสดุนั้นเป็นแม่เหล็กและสนาม แม่เหล็กที่เกิดจากวัสดุนั้นจะผสมไปกับสนามแม่เหล็กที่ผลิตโดยขดลวด ขดลวดนี้จะถูกเรียกว่า คอยล์แกน ferromagnetic หรือ คอยล์แกนเหล็ก แกน ferromagnetic สามารถเพิ่มสนามแม่เหล็กของขดลวดได้หลายร้อยหรือหลายพันเท่ามากกว่าถ้ามันไม่มีแกน คอยล์แกนเฟอร์ไรต์เป็นความหลากหลายของคอยล์ที่มีแกนกลางทำจากเฟอร์ไรต์ซึ่งเป็นสารประกอบเซรามิก ferrimagnetic ขดลวดเฟอร์ไรท์มีความสูญเสียต่ำที่ความถี่สูง", "title": "ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า" } ]
[ { "docid": "117114#0", "text": "ตัวเหนี่ยวนำ () บางครั้งถูกเรียกว่าคอยล์หรือรีแอคเตอร์()เป็นชิ้นส่วนในวงจรไฟฟ้าแบบพาสซีฟสองขั้วไฟฟ้า(ขา) มีคุณสมบัติในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวมัน มันประกอบด้วยตัวนำ เช่นลวดทองแดงม้วนกันเป็นวงกลม เมื่อกระแสไหลผ่านตัวมัน พลังงานจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวในรูปสนามแม่เหล็กในคอยล์นั้น เมื่อกระแสนั้นเปลี่ยนแปลง, สนามแม่เหล็กที่แปรตามเวลาจะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าในตัวนำนั้น ตามกฎการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าของฟาราเดย์ ซึ่งจะต้านกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสที่สร้างมัน", "title": "ตัวเหนี่ยวนำ" }, { "docid": "557620#0", "text": "ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ () เป็นตัวนำไฟฟ้าอย่างหนึ่งเช่น ลวดในรูปของขดลวด(), รูปเกลียวก้นหอยหรือเกลียวสปริง ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าถูกใช้ในวิศวกรรมไฟฟ้า, ในการใช้งานที่กระแสไฟฟ้าจะมีปฏิสัมพันธ์กับสนามแม่เหล็ก, ในอุปกรณ์เช่นตัวเหนี่ยวนำ, แม่เหล็กไฟฟ้า, หม้อแปลง, และขดลวดเซ็นเซอร์ เป็นได้ทั้งกระแสไฟฟ้าจะถูกส่งผ่านลวดของคอยล์เพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก หรือตรงกันข้าม สนามแม่เหล็กภายนอกที่แปรตามเวลาพาดผ่านด้านในของขดลวดสร้าง EMF(แรงดัน)ในตัวนำ", "title": "ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า" }, { "docid": "117114#17", "text": "เพื่อลด parasitic capacitance และ proximity effect, คอยล์ RF ถูกสร้างเพื่อหลีกเลี่ยงการมีขดลวดหลายๆรอบที่จะวางใกล้กันหรือขนานกัน การพันขดลวดของคอยล์ RF มักจะถูกจำกัดให้อยู่ในชั้นเดียวและรอบของขดลวดจะมีระยะที่ห่างออกจากกัน เพื่อลดความต้านทาน เนื่องจาก skin effect, ในตัวเหนี่ยวนำกำลังงานสูงเช่นที่ใช้ในการส่งพลังงาน การพันลวดบางครั้งถูกทำจากแถบหรือท่อโลหะซึ่งมีพื้นที่ผิวขนาดใหญ่ขึ้นและพื้นผิวถูกชุบด้วยเงิน", "title": "ตัวเหนี่ยวนำ" }, { "docid": "654647#3", "text": "คอยส์หรือขดลวดที่ทำให้เกิดประกายไฟฟ้าเป็นขดลวดตัวที่สอง สร้างขึ้นจากตัวเหนี่ยวนำ ตัวเก็บประจุ และตัวต้านทาน \nตัวเหนี่ยวนำก็คือขดลวด เพราะขดลวดก็คือตัวเหนี่ยวนำในตัวอยู่แล้ว ค่าของความเหนี่ยวนำจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ จำนวนรอบ เส้นผ่าศูนย์กลาง และความยาวของขดลวด ทั้งตัวเหนี่ยวนำ ความจุไฟฟ้า และความต้านทาน ต้องมีค่าพอดี จึงจะทำให้เกิดความถี่เรโซแนนท์ขึ้นได้", "title": "ขดลวดเทสลา" }, { "docid": "618886#1", "text": "ปืนแม่เหล็กไฟฟ้าแบบขดลวดเหนี่ยวนำ หรือ คอยล์กัน (Coilguns) โดยทั่วไปประกอบด้วยหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งขดลวดที่ถูกพันจัดเรียงไปตามแนวความยาวผิวนอกของตัวถังที่เป็นตัวกระบอกปืนดังนั้นเส้นทางของลูกกระสุนจึงถูกเร่งความเร็วให้อยู่ไปตามแกนกลางของขดลวด ขดลวดจะถูกเปิดและปิดสวิตช์ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปและหยุดไหลผ่านในลำดับเวลาอย่างแม่นยำ, ทำให้ลูกกระสุนจะถูกเร่งตัวได้อย่างรวดเร็วไปตามช่องในกระบอกปืนด้วยอำนาจจากแรงแม่เหล็ก คอยล์กัน แตกต่างจาก ปืนแม่เหล็กไฟฟ้าแบบรางคู่ขนาน หรือ เรวกัน (Railguns) ตรงที่ทิศทางของการเร่งความเร็วในเรวกัน อยู่ที่มุมขวากับแกนกลางของลูปกระแส หรือ วงปิดของการไหลเวียนของกระแส ที่เกิดจากการนำกระแสของตัวราง", "title": "ปืนแม่เหล็กไฟฟ้าแบบขดลวดเหนี่ยวนำ" }, { "docid": "557620#1", "text": "กระแสไหลในตัวนำใดๆจะสร้างสนามแม่เหล็กวงกลมรอบตัวนำตามกฎของแอมแปร์ ประโยชน์ของการใช้รูปทรงแบบขดม้วนก็คือมันจะเพิ่ม ความแรงของสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแส สนามแม่เหล็กที่เกิดจากแต่ละรอบที่แยกจากกันของลวดตัวนำทั้งหมดผ่านศูนย์กลางของขดลวดและซ้อนกัน() เพื่อสร้างสนามที่แข็งแกร่งที่นั่น จำนวนรอบของขดลวดยิ่งมาก สนามที่ถูกสร้างขึ้นก็ยิ่งแรง ในทางกลับกัน การเปลี่ยนแปลงของฟลักซ์แม่เหล็กภายนอกทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าในตัวนำตามกฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์ แรงดันไฟฟ้า ที่ถูกเหนี่ยวนำสามารถทำให้เพิ่มขึ้นได้โดยพันลวดให้เป็นขดเพราะเส้นสนามจะตัดเส้นลวดหลายครั้ง\nมีขดลวดหลายประเภทที่ใช้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์", "title": "ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า" }, { "docid": "557620#4", "text": "คอยล์ที่ไม่มีแกน ferromagnetic เรียกว่าคอยล์แกนอากาศ ซึ่งรวมถึงคอยล์ที่พันบนพลาสติกหรือรูปแบบที่ไม่ใช่สารแม่เหล็กอื่นๆ, เช่นเดียวกับคอยล์ที่จริงๆแล้วมีช่องอากาศอยู่ภายในขดลวดของมัน", "title": "ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า" }, { "docid": "190002#4", "text": "ฟาราเดย์ได้ทดลองใช้ลวดขดเป็นวงหลายรอบแบบที่เราเรียกว่าคอยด์ โดยต่อปลายทั้งสองของขดลวดเข้ากับ กัลวานอมิเตอร์ และทดลองสอดแท่งแม่เหล็กเข้าไปในระหว่างขดลวด พบว่า กัลวานอมิเตอร์กระดิกไปข้างหนึ่ง และพอแม่เหล็กหยุดนิ่ง เข็มก็เบนกลับที่เดิม พอเขาดึงแท่งแม่เหล็กออก เข็มก็เบนไปอีกทางหนึ่ง ตรงข้ามกับตอนแรก แล้วหยุดนิ่ง เขาพบว่า ไฟฟ้าเกิดจากการที่เส้นแรงแม่เหล็กตัดกับขดลวด เขาจึงเรียกกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (Induced current) ซึ่งเขาพบว่ากระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำจะเกิดก็ต่อเมื่อมีการเคลื่อนที่ตัดกันของสนามแม่เหล็กกับขดลวดเท่านั้น ถ้าหยุดเคลื่อนที่กระแสไฟฟ้าก็หายไป เขาจึงมีแนวคิดที่จะให้กระแสไฟฟ้าไหลอยู่ตลอดเวลา จึงหมุนขดลวดตัดกับสนามแม่เหล็กตลอดเวลา เกิดสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่าไดนาโมในเวลาต่อมา ที่ถือว่าเป็นเครื่องแรกของโลกที่ไม่ต้องใช้ปฏิกิริยาทางเคมีเหมือนเดิม\n*การที่ไดนาโมจะผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาได้มากแค่ไหนขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ คือ.-", "title": "ไมเคิล ฟาราเดย์" }, { "docid": "557620#12", "text": "หม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่มีขดลวดสองชุดหรือมากกว่า เป็นชุดแบบคู่(หรือเป็นช่วงๆในส่วนของชุดขดลวดใหญ่ชุดเดียว) กระแสที่แปรตามเวลาในขดลวดหนึ่ง (เรียกว่าขดปฐมภูมิ) จะสร้างสนามแม่เหล็กซึ่งจะเหนี่ยวนำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าในขดลวดอีกขดหนึ่ง (เรียกว่าขอทุติยภูมิ) มีไม่กี่ประเภทดังนี้", "title": "ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า" } ]
137
ปฏิบัติการเท็งโงเกิดขึ้นปีอะไร ?
[ { "docid": "341721#19", "text": "เท็งโงเป็นปฏิบัติการใหญ่ครั้งสุดท้ายของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง เรือรบที่เหลือรอดมีส่วนเกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อยในปฏิบัติการรบของการต่อสู้ที่เหลืออยู่ \"ซุซุสึกิ\" ไม่ได้รับการซ่อมแซม \"ฟุยุซุกิ\" ได้รับการซ่อมแต่ก็ชนทุ่นระเบิดของสหรัฐที่เขตโมะจิ (Moji) ประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1945 และไม่ได้รับการซ่อมแซม \"ยุจิกะเซะ\" รอดจากสงครามมาได้โดยที่แทบจะไม่ได้รับความเสียหายเลย \"ฮะสึชิโมะ\" ชนทุ่นระเบิดของสหรัฐในวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 ใกล้กับเมืองมะริซุรุ (Maizuru) ประเทศญี่ปุ่น เป็นเรือพิฆาตลำที่ 129 และลำสุดท้ายที่อับปางในสงคราม", "title": "ปฏิบัติการเท็งโง" }, { "docid": "341721#1", "text": "ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 เรือประจัญบานยะมะโตะของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมเรือรบของญี่ปุ่นลำอื่นอีก 9 ลำ ได้แล่นออกจากญี่ปุ่นเพื่อการโจมตีฆ่าตัวตายต่อกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรที่กำลังสู้รบในยุทธการโอะกินะวะ กองกำลังของญี่ปุ่นถูกโจมตียับยั้งและโดนทำลายเกือบจะทั้งหมดด้วยเรือบรรทุกอากาศยานและอากาศยานบนเรือของสหรัฐก่อนที่จะเดินทางถึงเกาะโอะกินะวะ ยะมะโตะและเรือรบอีก 5 ลำอับปางลงในยุทธนาวีนี้", "title": "ปฏิบัติการเท็งโง" } ]
[ { "docid": "841764#0", "text": "อุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง () ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นใน วุยก๊ก ช่วงปลาย ยุคสามก๊ก เมื่อ ค.ศ. 249 ในรัชสมัย พระเจ้าโจฮอง จักรพรรดิองค์ที่ 3 โดยเป็นความขัดแย้งระหว่าง สุมาอี้ ผู้เป็นราชครูและ โจซอง บุตรชายของอดีตแม่ทัพใหญ่ โจจิ๋น ผู้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินสุดท้ายเป็นฝ่ายสุมาอี้ที่ได้ชัยชนะและจัดการกวาดล้างตระกูลของโจซองจนหมดสิ้นทำให้ตระกูลสุมาได้ครองอำนาจในวุยก๊กได้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดโดยองค์จักรพรรดิเป็นเพียงแค่จักรพรรดิหุ่นเชิดไม่มีพระราชอำนาจใด ๆ ทั้งสิ้นก่อนจะถูกโค่นราชบัลลังก์โดยสุมาเอี๋ยน ในรัชสมัยพระเจ้าโจฮวน เมื่อ ค.ศ. 265", "title": "อุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง" }, { "docid": "341721#20", "text": "ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ประกาศว่าเกาะโอะกินะวะเป็นเขตปลอดภัยในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1945 หลังการรบที่รุนแรงและมีความสูญเสียเป็นจำนวนมาก ความตั้งใจที่ชัดเจนของญี่ปุ่นที่จะเสียสละคนจำนวนมากเพื่อใช้กลยุทธ์อัตวินิบาตกรรมเช่นปฏิบัติการเท็งโงและในยุทธการโอะกินะวะนั้น ตามรายงานกล่าวว่าเป็นปัจจัยให้สัมพันธมิตรใช้ระเบิดนิวเคลียร์กับญี่ปุ่น", "title": "ปฏิบัติการเท็งโง" }, { "docid": "341721#3", "text": "ต้นปี ค.ศ. 1945 หลังจากการทัพหมู่เกาะโซโลมอน ยุทธนาวีทะเลฟิลิปปินส์ และยุทธนาวีอ่าวเลย์เต กองเรือผสมของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่เคยน่าเกรงขามในอดีตได้ลดจำนวนลงเหลือเพียงเรือรบ อากาศยาน และนักบินที่สามารถปฏิบัติการได้เพียงหยิบมือเดียวเท่านั้น เรือรบที่เหลือส่วนใหญ่ของกองเรือผสมจอดประจำอยู่ที่ท่าเรือในญี่ปุ่น ซึ่งเรือรบขนาดใหญ่ส่วนมากอยู่ที่อู่ทหารเรือคุเระ จังหวัดฮิโระชิมะ", "title": "ปฏิบัติการเท็งโง" }, { "docid": "24465#37", "text": "อุบัติการณ์ของไข้เด็งกีเพิ่มขึ้น 30 เท่า ระหว่าง ค.ศ. 1960 และ 2010 ซึ่งการเพิ่มขึ้นนี้เชื่อว่าเป็นผลของการมีลักษณะแบบเมือง การเติบโตของประชากร การท่องเที่ยวระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น และปรากฏการณ์โลกร้อนประกอบกัน การกระจายทางภูมิศาสตร์อยู่รอบเส้นศูนย์สูตร โดย 70% ของประชากรรวม 2,500 ล้านคนอาศัยอยู่ในพื้นที่ระบาดจากทวีปเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิก ในสหรัฐอเมริกา อัตราการติดเชื้อเด็งกีในผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่ระบาดพร้อมกับไข้เด็งกีอยู่ที่ 2.9–8.0% และเป็นการติดเชื้อที่พบมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากมาลาเรียที่ได้รับวินิจฉัยในกลุ่มนี้", "title": "ไข้เด็งกี" }, { "docid": "341721#4", "text": "กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรได้เริ่มต้นแผนการทัพที่จะโจมตีแผ่นดินแม่ของญี่ปุ่น ด้วยการรุกรานเกาะไซปันและเกาะอิโวะจิมะ กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรรุกรานเกาะโอะกินะวะในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1945 ซึ่งนับเป็นก้าวถัดมาก่อนการเริ่มแผนการที่เตรียมไว้สำหรับการโจมตีแผ่นดินใหญ่ญี่ปุ่น ในเดือนมีนาคม ในแถลงการสรุปต่อสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะเกี่ยวกับการตอบโต้ของญี่ปุ่นต่อการโจมตีเกาะโอะกินะวะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผู้นำทางทหารของญี่ปุ่นอธิบายว่ากองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นวางแผนที่จะโจมตีทางอากาศเป็นวงกว้างรวมถึงการใช้คะมิกะเซะด้วย ตามที่มีรายงานไว้ สมเด็จพระจักรพรรดิได้ตรัสถามว่า \"แล้วกองทัพเรือละ? พวกเขาจะทำสิ่งใดเพื่อช่วยป้องกันโอะกินะวะ?\" ด้วยความกดดันจากสมเด็จพระจักรพรรดิให้มีการโจมตีบางรูปแบบ ทำให้บรรดาผู้บัญชาการกองทัพเรือคิดปฏิบัติการอัตวินิบาตกรรมขึ้นโดยใช้เรือขนาดใหญ่ที่ยังใช้การได้อยู่ รวมไปถึงเรือประจัญบานยะมะโตะด้วย", "title": "ปฏิบัติการเท็งโง" }, { "docid": "341721#5", "text": "ในแผนปฏิบัติการที่ร่างขึ้นภายใต้คำสั่งของผู้บัญชาการสูงสุดของกองเรือผสม พลเรือเอกโทะโยะดะ โซะเอะมุ (Toyoda Soemu) ได้มีคำสั่งให้เรือประจัญบานยะมะโตะและเรือคุ้มกันโจมตีกองเรือสหรัฐที่คอยสนับสนุนทหารที่ยกพลขึ้นบกทางตะวันตกของเกาะโอะกินะวะ ยะมะโตะและเรือคุ้มกันจะสู้รบไปตลอดทางสู่เกาะโอะกินะวะและเข้าเกยหาดระหว่างหมู่บ้านฮิงะชิ (Higashi) และหมู่บ้านโยะมิตัง (Yomitan) ก่อนจะทำหน้าที่เสมือนเป็นป้อมปืนใหญ่ชายฝั่งและต่อสู้จนกระทั่งเรือถูกทำลาย เมื่อเรือถูกทำลาย ลูกเรือที่ยังรอดชีวิตต้องสละเรือและเข้าต่อสู้กับกองกำลังสหรัฐบนแผ่นดิน มีเครื่องบินคุ้มกันเพียงน้อยนิดที่สามารถจัดเตรียมได้ซึ่งไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิงเมื่อเผชิญกับการโหมโจมตีทางอากาศของสหรัฐ ในการเตรียมพร้อมเพื่อดำเนินการตามแผน เรือที่กำหนดได้ออกจากคุเระไปยังเมืองโทะกุยะมะ (Tokuyama) จังหวัดยะมะงุชิ นอกชายฝั่ง มิตะจิริ (Mitajiri) ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 29 มีนาคม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้เตรียมตัวสำหรับภารกิจ พลเรือโท เซอีชิ อิโต (Seiichi Itō) ผู้บัญชาการกองกำลังปฏิบัติการเท็งโง ยังคงปฏิเสธที่จะออกคำสั่งให้เรือของเขาดำเนินการตามแผนด้วยเชื่อว่าแผนปฏิบัติการนี้เป็นสิ่งไร้ประโยชน์และสูญเปล่า", "title": "ปฏิบัติการเท็งโง" }, { "docid": "341721#6", "text": "ผู้บัญชาการคนอื่น ๆ ของราชนาวีจักรวรรดิญี่ปุ่นมีความรู้สึกในเชิงลบต่อปฏิบัติการเป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน และเชื่อว่าเป็นการสูญเปล่าในชีวิตมนุษย์และเชื้อเพลิง นาวาเอก อะสึชิ โออิ (Atsushi Ōi) ผู้บัญชาการกองเรือคุ้มกัน ผู้ซึ่งได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากการที่เชื้อเพลิงและทรัพยากรถูกยักย้ายถ่ายเทไปจากปฏิบัติการของเขา กล่าวไว้ว่าจุดประสงค์ของปฏิบัติการนี้เป็นเพียง \"ประเพณีนิยมและเกียรติยศของกองทัพเรือ\" เขาตะโกนว่า:", "title": "ปฏิบัติการเท็งโง" }, { "docid": "483590#5", "text": "ในปี ค.ศ. 1966 (พ.ศ. 2509) ประเทศจีนเกิดการปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรมโดยการสนับสนุนของ ประธานเหมา เจ๋อตง แก๊งอ๊อฟโฟร์ (เจียงชิงภรรยาเหมา, หวังหงเหวิน, จางชุนเฉียว, เหยาเหวินหยวน) และพวกซ้ายจัดที่กุมอำนาจในจีน พยายามเข้าริดรอนอำนาจและทำร้ายเหล่านักปฏิวัติที่เคยร่วมต่อสู้มากับประธานเหมา เจ๋อตง อาทิ ประธานาธิบดี หลิวเส้าฉี, นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล, เติ้งเสี่ยวผิง ,จอมพลจูเต๋อ ฯลฯ รวมทั้งใช้นโยบายต่อต้านสหรัฐฯและสหภาพโซเวียตอย่างรุนแรง\nขณะนั้นสหรัฐกำลังปราชัยเสียฐานที่มั่นต่างๆหลายแห่งให้แก่พวกเวียดกงในสงครามเวียดนาม ซึ่งสหรัฐฯให้การสนับสนุนอยู่อย่างเต็มที่ จนสหรัฐฯเริ่มเหนื่อยหน่ายจากการสู้รบแบบยืดเยื้อ ของพวกเวียดกงซึ่งได้รับการหนุนหลังจากจีน สหรัฐฯจึงอยากยุติสงครามเวียดนามเต็มทน พอดีห้วงเวลาดังกล่าว ตรงกับช่วงที่ศาลยุติธรรมพิพากษาปล่อยตัวนายสังข์ พัธโนทัย พ้นข้อหาคดีมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ที่จอมพลสฤษดิ์ จับขังไว้เป็นเวลาถึง 7 ปี สหรัฐรู้ว่านายสังข์ พัธโนทัย มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับจีน โดยมีการส่งลูกไปอยู่กับจีนตั้งแต่เด็ก นายนอร์แมน บี ฮันน่า ที่ปรึกษาสถาทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย ซึ่งเคยเป็นเพื่อนกับนายสังข์มาก่อน ได้เชิญนายสังข์ไปเลี้ยงแสดงความยินดีที่ได้รับการปล่อยตัวที่สถานทูตสหรัฐฯ และได้ปรารภกับนายสังข์เรื่องนี้ โดยสหรัฐฯยินดีจะพบปะเจรจา เพื่อขอยุติสงครามเวียดนามกับรัฐบาลจีน โดยสหรัฐฯพร้อมเจรจากับผู้แทนจีนในประเทศใดประเทศหนึ่งที่มีสถานทูตสหรัฐฯตั้งอยู่ก็ได้ โดยนายฮันน่าฯ ได้นำเรื่องยุติปัญหาสงครามนี้ มาเป็นข้อแลกเปลี่ยนกับการออกหนังสือเดินทางไทยให้กับนายสังข์ ซึ่งต้องการจะไปเยี่ยมลูกที่ปักกิ่งที่ไม่ได้พบหน้ากันนานเป็นเวลา 10 ปีแล้ว", "title": "วรรณไว พัธโนทัย" }, { "docid": "341721#21", "text": "เรื่องราวของปฏิบัติการนี้ได้รับความเคารพยกย่องในระดับหนึ่งจากสังคมญี่ปุ่นในปัจจุบัน เห็นได้จากเรื่องราวในวัฒนธรรมญี่ปุ่นยอดนิยมที่มักจะพรรณนาว่าเหตุการณ์เป็นสิ่งที่กล้าหาญเสียสละแต่ทว่าไร้ประโยชน์ เป็นสัญลักษณ์ของความพยายามของทหารเรือญี่ปุ่นที่เข้าร่วมในการปกป้องบ้านเกิดเมืองนอนของตน เหตุผลหนึ่งที่เหตุการณ์ดังกล่าวอาจมีความสำคัญในวัฒนธรรมญี่ปุ่นก็คือคำว่า \"ยะมะโตะ\" มักจะใช้เป็นชื่อของญี่ปุ่นในบทกวี ดังนั้นการสูญเสียเรือประจัญบานยะมะโตะสามารถใช้เป็นคำอุปมาเปรียบเทียบถึงจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิญี่ปุ่น", "title": "ปฏิบัติการเท็งโง" } ]
1045
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "16208#0", "text": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย โดยถือกำเนิดจาก \"แผนกแพทย์ผสมยา โรงเรียนราชแพทยาลัย\" หรือ \"โรงเรียนปรุงยา\"[1] ตามดำริของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นวันสถาปนาวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทยอีกด้วย[2]", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" } ]
[ { "docid": "16208#30", "text": "นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่จัดร่วมกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ได้แก่ สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ส.จ.ม.) ได้แก่ กิจกรรมวันแรกพบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[55] การจัดการแข่งขันกีฬาน้องใหม่[56][57] การแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ จุฬาฯวิชาการ[58] ความร่วมมือของส่วนงานระหว่างคณะ ได้แก่ การจัดการแข่งขันกีฬาห้าหมอของนิสิตกับคณะสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ และการออกค่ายอนามัยชุมชน การแข่งขันกีฬาบุคลากร ส่วนหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยได้แก่ ความร่วมมือกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (สนภท.) ได้แก่ แรกพบ สนภท.[59] ค่ายหมอยาสร้างเสริมสุขภาพและเรียนรู้ชุมชน และกีฬาเภสัชสัมพันธ์ และความร่วมมือระหว่างนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์จุฬาฯ-มหิดลในการแข่งขันกีฬาสองเม็ด[60]", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "16208#13", "text": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Medical Square) จรดสยามสแควร์ตรงข้ามศูนย์การค้ามาบุญครอง มีพื้นที่ติดต่อกับคณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัย[20] แต่เดิมคณะเภสัชศาสตร์ใช้สถานที่ทำการเรียนการสอน ณ อาคารของคณะศิลปกรรมศาสตร์ในปัจจุบัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 และได้ย้ายมายังสถานที่ตั้งปัจจุบันในปี พ.ศ. 2525", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "16208#25", "text": "จากผลการรายงาน 50 อันดับของคณะทางสาขาชีวการแพทย์ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2552 โดยประเมินคุณภาพของการเรียนการสอนและงานวิจัย คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้อันดับที่ 23 และเป็นอันดับที่ 1 ในคณะเภสัชศาสตร์ทั้งหมด[45][46][47] ในส่วนผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมโดยสภาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีร้อยละของนิสิตผู้สอบผ่านมากเป็นอันดับต้นๆ ของคณะเภสัชศาสตร์ทั่วประเทศ อาทิ ในปี พ.ศ. 2552 มีนิสิตสอบผ่านร้อยละ 88.9[48] ปี พ.ศ. 2553 มีนิสิตผ่านร้อยละ 81.7[49] ในปี พ.ศ. 2554 มีนิสิตสอบผ่านร้อยละ 96.93 และในปี พ.ศ. 2555 มีนิสิตสอบผ่านร้อยละ 85.9[50] นอกจากนี้เว็บไซต์เด็กดียังจัดอันดับคณะที่มีนักเรียนเลือกมากที่สุด โดยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์อยู่ในอันดับที่ 5 ในการสอบแอดมิชชันประจำปี พ.ศ. 2555[51]", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "16208#7", "text": "ในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2505 ได้มีหนังสือจากกระทรวงมาถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ขอให้มีการเปิดรับนักศึกษาสาขาเภสัชศาสตร์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งขณะนั้นเปิดรับนักศึกษาปีละประมาณ 100 คน แต่ด้วยสภาพพื้นที่ของคณะเภสัชศาสตร์ไม่สามารถขยายรับนักศึกษาเพิ่มได้อีก จึงได้บรรจุโครงการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์แห่งใหม่ขึ้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 2 และมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์แห่งใหม่คือ คณะเภสัชศาสตร์พญาไท มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ณ บริเวณถนนพญาไท แล้วให้ใช้หลักสูตรเดียวกับคณะเภสัชศาสตร์เดิม และมีการสับกำลังอัตราคณาจารย์กัน[9]", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "16208#23", "text": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดประชุมวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางเภสัชศาสตร์แก่เภสัชกร บุคลากรทางสาธารณสุข และบุคคลทั่วไป โดยมีหน่วยการศึกษาต่อเนื่องเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการประชุม[38] และยังมีการจัดการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์เป็นประจำทุกปี[39] นอกจากนี้ยังมีโครงการความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ อาทิ โครงการประชุมวิชาการนานาชาติ (NRCT-JSPS Joint Seminar) ซึ่งร่วมจัดกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ภายใต้ความร่วมมือข้อตกลงของสภาวิจัยแห่งชาติ (NRCT) สถาบันสมุนไพร มหาวิทยาลัยโทโยม่า และสมาคมส่งเสริมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศญี่ปุ่น (JSPS) [40] โครงการแลกเปลี่ยนนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิบะ โครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิต คณะเภสัชศาสตร์กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลี เป็นต้น โครงการเชิญคณาจารย์และวิทยากรจากต่างประเทศ ร่วมบรรยายและสัมมนา[41]", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "360601#2", "text": "เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว รับราชการเป็นอาจารย์ตรีสังกัดภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาสรีรวิทยา ในช่วง พ.ศ. 2504 - 2508 ในปี พ.ศ. 2524 ได้เป็นตำแหน่งเลขาธิการสหพันธ์สมาคมประสาทวิทยาศาสตร์แห่งเอเซียและคาบสมุทร (Federation of Asian Oceanian Neuroscience Societies) และได้ก่อตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ทางเภสัชศาสตร์ ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 และเป็นหัวหน้าโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์สำหรับบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ ของสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยทุนสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก \nเคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในช่วง พ.ศ. 2532 - 2536 โดยเป็นประธานโครงการพัฒนาเภสัชกรของทบวงมหาวิทยาลัย และเป็นประธานผู้ก่อตั้งโครงการแลกเปลี่ยนนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์ไทย - ญี่ปุ่น โดยทุนสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่น ผ่านทางสมาคมสนับสนุนวิทยาศาสตร์แห่งประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีการแลกเปลี่ยนนักวิชาการ การวิจัยร่วม และการพัฒนาบัณฑิตศึกษา ", "title": "ภาวิช ทองโรจน์" }, { "docid": "16208#6", "text": "ในปี พ.ศ. 2486 มีพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์หรือมหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบันขึ้นเป็นกรมหนึ่งของกระทรวงสาธารณสุข และได้โอนย้ายแผนกเภสัชกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปเป็นคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พร้อมกับแผนกทันตแพทยศาสตร์และแผนกสัตวแพทยศาสตร์ อย่างไรก็ดี อัตรากำลังและสถานที่ที่ใช้ทำการสอนยังคงอยู่ภายในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่นเดิม พร้อมกันนั้นได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทและพัฒนาหลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 โดยต้องศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเวลา 2 ปี และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เป็นเวลา 3 ปี มีการกำหนดจำนวนเวลาฝึกงานทั้งในโรงงานเภสัชกรรม ร้านยา และสถานพยาบาล และในช่วง พ.ศ. 2509 มีความต้องการให้เภสัชกรเข้ามาดูแลระบบสาธารณสุขและการใช้ยาของประชาชนมากขึ้น จึงได้มีการเพิ่มเติมวิชาทางเภสัชกรรมคลินิกและโรงพยาบาลในหลักสูตรการศึกษา[7][8]", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "16262#1", "text": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2523–2525) ตามโครงการพัฒนาการสาธารณสุขของประเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ก่อตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษหน้าที่ 13 เล่ม 92 ตอนที่ 197 ลงวันที่ 22 ธันวาคม พุทธศักราช 2523นับเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ แห่งที่ 5 ของประเทศ ถัดจาก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีการจัดการเรียนการสอนในสาขาเภสัชศาสตร์ หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ซึ่งเป็นหลักสูตร 5 ปี เริ่มรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี รุ่นแรกเมื่อปีการศึกษา 2525 ต่อมาเปิดหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ภาคสมทบในปีการศึกษา 2538 และเปิดสอนหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (ศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ) ในปีการศึกษา 2547 ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษในสาขาเภสัชศาสตร์ และเป็นหลักสูตรแรกในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่เปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษ การเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาเริ่มเปิดหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก โดยจัดการเรียนการสอนแบบสะสมหน่วยกิต (Module) ในปีการศึกษา 2548 มีการขยายและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 7 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 2 หลักสูตร มีบุคลากรสายผู้สอน จำนวน 80 คน วุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 87.50 และมีตำแหน่งทางวิชาการ รองศาสตราจารย์ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ : อาจารย์ เท่ากับ 29 : 26 : 25 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มุ่งมั่นที่จะพัฒนาและดำเนินการเพื่อให้บรรลุภารกิจตามพันธกิจที่ได้รับมอบหมายอย่างมีวิสัยทัศน์ และสอดคล้องกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น และนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาล", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น" }, { "docid": "16208#1", "text": "เมื่อประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว โรงเรียนปรุงยามีฐานะเป็นแผนกแพทย์ผสมยา ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล) และได้รับการพัฒนาหลักสูตรขึ้น จัดตั้งเป็นแผนกเภสัชกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2477 ต่อมาในปี พ.ศ. 2486 มีการโอนย้ายสังกัดไปยังมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยมหิดล) เมื่อมหาวิทยาลัยมหิดลจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ขึ้นใหม่ จึงได้โอนย้ายคณะเภสัชศาสตร์แห่งนี้กลับมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้อาคารเภสัชศาสตร์ (ปัจจุบันคือคณะศิลปกรรมศาสตร์) เป็นที่ทำการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2525 ได้ย้ายอาคารมาทำการเรียนการสอน ณ ที่ตั้งปัจจุบัน บริเวณสยามสแควร์ ติดกับคณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์[2]", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "16208#29", "text": "กิจกรรมนิสิตของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการบริหารจัดการโดยสโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับหน่วยงานของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กิจกรรมภายในคณะสามารถแบ่งกิจกรรมออกได้หลายลักษณะ ได้แก่ กิจกรรมเชิงสันทนาการ เป็นกิจกรรมมุ่งเพื่อสร้างความบันเทิงและความสามัคคีกลมเกลียวให้เกิดแก่นิสิตเป็นหลัก อาทิ กิจกรรมสู่รั้วกระถินณรงค์และกิจกรรมรับน้องเพื่อต้อนรับน้องใหม่ชั้นปีที่ 1 สู่คณะเภสัชศาสตร์ งานคืนถิ่นกระถินณรงค์เป็นงานคืนสู่เหย้าของนิสิตเก่าคณะเภสัชศาสตร์และร่วมแสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่ รวมไปถึงกิจกรรมบายบายเฟรชชีและส่งพี่ข้ามฟาก ซึ่งถือเป็นประเพณีของคณะที่จะต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 2 ซึ่งเดิมเรียนในพื้นที่การศึกษาฝั่งตะวันออกของถนนพญาไทหรือจุฬาฯใหญ่ มาเรียนในคณะอย่างเต็มตัว[52] กิจกรรมกีฬาประกอบไปด้วยการแข่งขันกีฬาสีภายใน การแข่งขันฟุตบอลกระถินณรงค์คัพซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างนิสิต นิสิตเก่า คณาจารย์ และบุคลากรภายในคณะ ในด้านวิชาการและวิชาชีพ มีกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ทางเภสัชกรรมได้แก่การจัดงานสัปดาห์เภสัชกรรมในสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน โอสถศาลาขึ้นทุกปี ร่วมกับสภาเภสัชกรรม การจัดค่ายอยากเป็นเภสัชกรสำหรับนิสิตช่วงชั้นที่ 4 ในแผนการเรียนคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ที่มีความสนใจศึกษาวิชาเภสัชศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา[53] การจัดบรรยายสายงานในวิชาชีพแก่นิสิต นอกจากนี้ยังมีการจัดทำวารสาร ฟามาซีแอนด์ดิอาเทอร์ (Pharmacy and the others) เพื่อเผยแพร่ความรู้ข่าวสารวงการเภสัชกรรมแจกแก่ประชาชนทั่วไปเป็นรายปี[54] นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมด้านการสืบสานประเพณีและวัฒนธรรม ได้แก่ การรดน้ำดำหัวคณาจารย์และเภสัชกรอาวุโสในวันสงกรานต์ การตักบาตรในวันสำคัญ และการจัดพิธีไหว้ครูช่วงต้นปีการศึกษา ตลอดจนวันสำคัญของคณะ คือวันคล้ายวันครบรอบสถาปนาคณะ[52]", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "360601#0", "text": "ศาสตราจารย์พิเศษ เภสัชกร ภาวิช ทองโรจน์ ศาสตราภิชานเกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เคยดำรงตำแหน่งอาทิ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยนครพนม, มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ รักษาการอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ และนายกสภาเภสัชกรรม ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม และภาคีสมาชิกแห่งราชบัณฑิตยสถาน สาขาเภสัชศาสตร์", "title": "ภาวิช ทองโรจน์" }, { "docid": "16208#32", "text": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้วทั้งสิ้น 7,760 คน (ข้อมูลเดือนมกราคม พ.ศ. 2555)[61][62][63][64] นิสิต นิสิตเก่า และคณาจารย์ของคณะมีส่วนสำคัญในการผลักดันวิชาชีพเภสัชกรรมให้เป็นที่ยอมรับในสังคม ตั้งแต่การผลักดันพระราชบัญญัติควบคุมการขายยา พ.ศ. 2479 โดยเภสัชกร ร้อยเอกหวาน หล่อพินิจ ซึ่งกำหนดให้ควบคุมการปรุงยา การจ่ายยา และการผลิตยาโดยเภสัชกร[65] การจัดตั้งเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์โดยพระมนตรีพจนกิจ (หม่อมราชวงศ์ชาย ชุมแสง) อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ ร่วมกับเภสัชกรท่านอื่นๆ อีก 64 คน[66] ซึ่งมีส่วนในการผลักดันพระราชบัญญัติยาให้เกิดขึ้นในสังคมไทยเมื่อปี พ.ศ. 2510 ตลอดจนการผลักดันพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม ในปี พ.ศ. 2537[67] นอกจากนี้คณาจารย์ของคณะเภสัชศาสตร์ได้สร้างแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) เพื่อเป็นหน่วยสนับสนุนการพัฒนาระบบยาในประเทศไทยและมีผลงานร่วมกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ ในการผลักดันร่างพระราชบัญญัติยาฉบับประชาชน[68] แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนในด้านยาและวัตถุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อกระตุ้นเตือนประชาชน รวมถึงมีส่วนร่วมในการผลักดันธรรมนูญสุขภาพขึ้นในสังคมไทย[69] และยังมีส่วนร่วมในการจัดตั้งมูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม (มภส) เพื่อพัฒนาวิชาชีพและการศึกษาเภสัชศาสตร์ในสังคมไทย รวมถึงการมอบรางวัลให้กับเภสัชกรที่ทำประโยชน์แก่สังคม[70] นอกจากนี้สโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังเข้าร่วมกับนิสิต-นักศึกษาในคณะเภสัชศาสตร์และสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดย ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการรวมกลุ่มของนิสิตนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์เพื่อทำกิจกรรมวิชาชีพในสามมหาวิทยาลัยคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งเน้นการทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ภาคประชาชน ต่อมา ในปี พ.ศ. 2529 สโมสรฯเป็นภาคีสมาชิกในการก่อตั้ง “สโมสรนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย” โดยมี เภสัชกร รองศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย สุขเศวต นิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้น เป็นนายกสโมสรคนแรก ต่อมาได้มีสโมสรนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์ในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มเติม และเปลี่ยนชื่อเป็น สหพันธ์นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (สนภท.) ปัจจุบันมีสมาชิกครอบคลุมคณะเภสัชศาสตร์และสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ทั้งหมดที่จัดการเรียนการสอนในประเทศไทย[71]", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "16160#0", "text": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ในยุคของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งแรกก่อตั้งใช้ชื่อว่า \"คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์\" เนื่องจากในเวลานั้นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้โอนย้ายสังกัดคณะเภสัชศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาก่อนหน้าแล้ว (คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปัจจุบัน) ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"มหาวิทยาลัยมหิดล\" จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยมหิดล\" ในปี พ.ศ. 2515 ได้โอนคณะเภสัชศาสตร์เดิม ที่ถูกโอนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสมัยมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์กลับไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงตัดสร้อย \"พญาไท\" ของคณะใหม่ออกกลายเป็น \"คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล\" เช่นในปัจจุบัน", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" }, { "docid": "5374#8", "text": "เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรกำหนดฐานะระเบียบแบบแผนสำหรับการศึกษาในกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กระทรวงการสาธารณสุข โดยแยก คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล แผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์ แผนกอิสระเภสัชศาสตร์ และแผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งเป็น \"มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์\"[12] สังกัดกระทรวงการสาธารณสุข โดยได้จัดตั้งคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยมากมาย เช่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ คณะอายุรศาสตร์เขตร้อน บัณฑิตวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ พญาไท และคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท ตามลำดับ ต่อมาได้มีการปฏิรูปครั้งใหญ่ โดยการโอนคืนคณะที่ซ้ำซ้อนต่าง ๆ ออกจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปเป็น คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ไปเป็น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ไปเป็น คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ โอนไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย", "title": "มหาวิทยาลัยมหิดล" }, { "docid": "16160#1", "text": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลในขณะนั้นที่ขาดแคลนกำลังเภสัชกรในประเทศ จึงได้บรรจุแผนพัฒนาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 โดยมี เภสัชกร อาจารย์ ประดิษฐ์ โลหุตางกูร เป็นผู้ก่อตั้ง และให้นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ ผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และรักษาการคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบันสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) นั้นดำรงตำแหน่งรักษาการคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์อีกตำแหน่งหนึ่ง", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" }, { "docid": "16160#5", "text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานนาม “ มหิดล “ ให้เป็นชื่อมหาวิทยาลัย โดยมีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดลประกาศใช้เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จึงเปลี่ยนโอนสังกัดไปเป็น \"คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยมหิดล\" ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน) ได้โอนย้ายกลับเข้าสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง คณะจึงได้ตัดสร้อย \"พญาไท\" หลังชื่อคณะ มาเป็น \"คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล\" เช่นในปัจจุบัน ", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" }, { "docid": "16208#24", "text": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีเกณฑ์การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (ปริญญาตรี) ทั้งสิ้น 4 โครงการ ได้แก่ โครงการรับผ่านระบบแอดมิสชันของคณะกรรมการการอุดมศึกษา โครงการรับตรงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[42] โครงการพัฒนากีฬาชาติ[43] และโครงการจุฬาฯ ชนบท[44]", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "16160#3", "text": "เมื่อมีการสถาปนามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในปี พ.ศ. 2485 ได้มีการโอนแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเป็นคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยยังใช้พื้นที่เดิมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทและพัฒนาหลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ซึ่งอัตรากำลังผลิตเภสัชกรได้ปีละประมาณ 50 คน ซึ่งไม่เพียงพอต่อสัดส่วนการสาธารณสุขโดยรวมของประเทศ แม้ในระยะหลังได้เปิดรับและสามารถผลิตเภสัชกรได้ปีละ 100 คนก็ยังประสบปัญหาการใช้ยาของประชาชนในร้านยาที่จ่ายยาผิดไปจากใบสั่งแพทย์ เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยและผู้ซื้อยาไปใช้ กระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาและได้ติดต่อไปยังมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เรื่องการเพิ่มจำนวนนักศึกษาเภสัชสาสตร์ให้มากขึ้น โดยมีหนังสือที่ 2695/2505 ลงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2505 ถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ขอให้เพิ่มจำนวนนักศึกษาสาขาวิชาเภสัชศาสตร์และให้เตรียมการโอนย้ายคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์นั้นกลับเข้าสังกัดเดิมคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาใน พ.ศ. 2508 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์จึงเริ่มโครงการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์คณะที่สองขึ้นที่วิทยาเขตพญาไท", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" }, { "docid": "16208#14", "text": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกอบด้วยอาคาร 5 หลัง เป็นอาคารเรียนและวิจัย 4 หลัง คือ อาคารคณะเภสัชศาสตร์ (เปิดใช้ พ.ศ. 2525) อาคาร 80 ปี เภสัชศาสตร์ (เปิดใช้ พ.ศ. 2536) อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ (เปิดใช้ พ.ศ. 2552) และอาคารเลี้ยงสัตว์ทดลอง ในสถานที่ตั้งปัจจุบันแต่เดิมมีอาคารคณะเภสัชศาสตร์เพียงหลังเดียว แต่เนื่องจากมีการขยายตัวทางด้านการเรียนการสอนและการวิจัยจึงจำเป็นต้องมีการขยายพื้นที่ใช้สอยเพิ่มเติม นำไปสู่การสร้างอาคาร \"80 ปี เภสัชศาสตร์\" ขึ้น[21] ซึ่งมีความทันสมัย และได้นำครุภัณฑ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน[21] อย่างไรก็ดี พื้นที่งานวิจัยยังต้องการการขยายตัวอีกมาก จึงมีการสร้างอาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ขึ้น เพื่อเป็นอาคารวิจัยและหอประชุม เริ่มต้นการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2546 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2549 และในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารหลังนี้[22]", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "16160#4", "text": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งขึ้นตามประกาศพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 โดยใช้ชื่อว่า \"คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์\" เนื่องจาก ณ ช่วงเวลานั้น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มีคณะเภสัชศาสตร์อยู่แล้วหนึ่งแห่ง (คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน) โดยโครงการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์แห่งใหม่นี้ ได้บรรจุลงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 และตามนโยบายและโครงการของรัฐบาลในแผนกพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัย พ.ศ. 2510-2514 เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเภสัชกรอันเป็นบุคลากรทางสาธารณสุขที่ขาดแคลนอยู่ในขณะนั้น สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2511 ให้นายแพทย์ชัชวาลน์ โอสถานนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และรักษาการคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในขณะนั้น ให้ดำรงตำแหน่งรักษาการคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์อีกตำแหน่งหนึ่ง", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" }, { "docid": "16208#36", "text": "จ หมวดหมู่:คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "16208#11", "text": "นอกจากการพัฒนาด้านการเรียนการสอนและอาคารสถานที่นั้น คณะเภสัชศาสตร์ยังได้รวบรวมเภสัชภัณฑ์, เครื่องยา และเภสัชวัตถุโบราณซึ่งสั่งสมมาแต่ครั้งก่อตั้งคณะจัดสร้างเป็น \"พิพิธภัณฑ์สมุนไพร\" ขึ้น โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นองค์ประธานในการเปิดพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวพร้อมกับเปิดอาคารโอสถศาลาในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2544[14] และได้มีการจัดตั้งสมาคมนิสิตเก่าคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นในปี พ.ศ. 2548 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์นิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน ให้มีความแน่นแฟ้น รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมคณะฯ พร้อมทั้งกิจกรรมวิชาชีพเภสัชกรรมอีกด้วย[15]", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "16208#9", "text": "เมื่อย้ายสังกัดเข้าสู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว ได้มีการปรับเปลี่ยนระบบบริหารและระบบติดตามการเรียนการสอน และการนับหน่วยกิตตามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนปัญหาด้านสถานที่ของคณะที่ไม่เอื้อต่อการเรียนการสอนและการขยายจำนวนนิสิต ทำให้คณะมีโครงการจัดสร้างอาคารใหม่ขึ้นในบริเวณใกล้เคียงอาคารหลังเดิม แต่อย่างไรก็ดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคยมีแนวคิดการสร้าง \"Medical Square\" ในพื้นที่การศึกษาที่ติดต่อกับสยามสแควร์ซึ่งมีคณะทันตแพทยศาสตร์และคณะสัตวแพทยศาสตร์อยู่แล้ว จึงมีโครงการสร้างอาคารคณะเภสัชศาสตร์หลังใหม่ในบริเวณดังกล่าว[12] การก่อสร้างเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2525 และได้ย้ายสถานที่ทำการเรียนการสอนคณะเภสัชศาสตร์ไปยังอาคารแห่งใหม่บริเวณสยามสแควร์", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "16208#2", "text": "ปัจจุบัน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยในระดับปริญญาตรีได้เปิดการเรียนการสอนใน 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม และหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ทั้ง 2 หลักสูตรใช้ระยะเวลาในการศึกษาทั้งสิ้น 6 ปี โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 7 ภาควิชา และยังมีโครงการแลกเปลี่ยนนิสิตกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ อาทิ โครงการแลกเปลี่ยนนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ-ชิบะ, โครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิตคณะเภสัชศาสตร์กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นต้น[3]", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "16208#12", "text": "ปัจจุบันคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ใช้หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2557 โดยแบ่งเป็น 2 สาขา คือ หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชอุตสาหการ และหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม โดยใช้ระยะเวลาการศึกษา 6 ปี[16][17] มีการพัฒนาผลงานวิจัยทางเภสัชกรรมโดยจัดตั้งศูนย์พัฒนาเภสัชภัณฑ์และสมุนไพร ณ อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ ซึ่งได้ทำพิธีเปิดเมื่อ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธี[18] และยังมีโครงการต่างๆ อาทิ สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ \"โอสถศาลา\" ศูนย์คอมพิวเตอร์ทางเภสัชศาสตร์ ศูนย์เภสัชสารสนเทศ ศูนย์บริการเทคโนโลยีทางเภสัชอุตสาหกรรม หน่วยวิจัยและพัฒนาสมุนไพรและเครื่องเทศ รายการคลินิก FM 101.5 วิทยุจุฬาฯ ศูนย์ผลิตสื่อประสมคอมพิวเตอร์ ศูนย์สื่อสารการเรียนรู้ด้วยตนเอง ห้องสมุดและระบบคอมพิวเตอร์ทางเภสัชศาสตร์ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรมให้ปกป้องคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ตาม \"ปรัชญาแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม\"[19]", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "16208#8", "text": "วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดลประกาศใช้หลังได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนาม \"มหิดล\" แทนชื่อ \"มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์\" ต่อมาคณะปฏิวัติได้มีคำสั่ง ให้โอนคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลยมหิดล แห่งนี้ (ณ ตำบลวังใหม่) กลับเข้าสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 118 ลงวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2515[10] จึงเปลี่ยนชื่อเป็น \"คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย\" จวบจนปัจจุบัน และได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2538 (ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 118 ลงวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2515 ว่าด้วยการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์และคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกใช้บังคับในระหว่างที่มีการปกครองโดยคณะปฏิวัติและใช้ชื่อว่าประกาศของคณะปฏิวัติ สมควรปรับปรุงรูปแบบและบทบัญญัติของกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวให้เป็นพระราชกฤษฎีกา เพื่อให้เป็นไปตามวิธีการตรากฎหมายในระบบปกติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้)[11]", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "16208#26", "text": "ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผู้บัญชาการโรงเรียน หัวหน้าแผนกปรุงยา หัวหน้าแผนกเภสัชกรรมศาสตร์ และคณบดีตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "16208#35", "text": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายชื่อคณะและสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "16208#4", "text": "การศึกษาด้านเภสัชศาสตร์เริ่มต้นการสอนแผนกแพทย์ผสมยาหรือในอีกชื่อหนึ่งว่า \"โรงเรียนปรุงยา\" ในสังกัดโรงเรียนราชแพทยาลัย เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2457 เมื่อจบการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรแพทย์ปรุงยา โดยมีนักเรียนจบการศึกษาในรุ่นแรก 4 คน ต่อมาได้มีการประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น กระทรวงธรรมการจึงได้ประกาศให้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้ามาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2460 เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) การศึกษาด้านเภสัชศาสตร์จึงได้ยกระดับขึ้นสู่ระดับอุดมศึกษา[2] โดยใช้สถานที่ทำการสอนบริเวณวังวินด์เซอร์ เรือนนอนหอวังและโรงพยาบาลศิริราช ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ปทานุกรมของไทยได้กำหนดให้บัญญัติใช้คำว่า \"เภสัชกรรม\" แทนคำว่า \"ปรุงยา\" หรือ \"ผสมยา\"[4] จึงได้มีประกาศกระทรวงธรรมการให้มีการเปลี่ยนชื่อแผนกเป็น \"แผนกเภสัชกรรม\" ในสังกัดของคณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[5] ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2477 บังคับใช้ขึ้น โดยกำหนดจัดตั้งแผนกเภสัชกรรมศาสตร์ มีฐานะเป็นแผนกอิสระในบังคับบัญชาโดยตรงของมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกับแผนกสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้ยกระดับวุฒิการศึกษาเป็น \"ประกาศนียบัตรเภสัชกรรม (ป.ภ.)\" เทียบเท่าอนุปริญญา โดยให้คณบดีคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รักษาการตำแหน่งหัวหน้าแผนกเภสัชกรรมศาสตร์อีกตำแหน่งหนึ่ง", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" } ]
1756
รามายณะเมื่อแพร่หลายในหมู่ชาวไทย คนไทยได้นำมาแต่งใหม่ก็เรียกว่าอะไร?
[ { "docid": "28423#1", "text": "รามายณะเมื่อแพร่หลายในหมู่ชาวไทย คนไทยได้นำมาแต่งใหม่ก็เรียกว่า รามเกียรติ์ ซึ่งมีหลายฉบับด้วยกัน ส่วนในหมู่ชาวลาวนั้น เรียกว่า พะลักพะลาม (พระลักษมณ์พระราม)", "title": "รามายณะ" }, { "docid": "49814#15", "text": "เนื่องจาก อารยธรรมอินเดียได้แพร่หลายไปโดยตลอดทั้งเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในเรื่องของศาสนา สถาปัตยกรรม และ วรรณกรรม ดังนั้น วรรณคดีเรื่อง \"รามายณะ\" จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มประเทศที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดีย ไม่ว่าจะเป็น อินโดนีเซีย ไทย หรือ กัมพูชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ลักษณะของหนุมานของแต่ละประเทศนั้น ย่อมแตกต่างกันไปตามการตีความของชนชาตินั้น ๆ เช่น หนุมานในรามายณะของอินเดียไม่มีความเจ้าชู้เหมือนหนุมานในรามเกียรติ์ของไทย...", "title": "หนุมาน" }, { "docid": "28350#0", "text": "ต้นเค้าของเรื่องรามเกียรติ์มาจากเรื่องรามายณะซึ่งเป็นนิทานที่แพร่หลายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้ ต่อมาอารยธรรมอินเดียได้แพร่สู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้าชาวอินเดียได้นำวัฒนธรรมและศาสนามาด้วย ทำให้รามายณะแพร่หลายไปทั่วภูมิภาค กลายเป็นนิทานที่รู้จักกันเป็นอย่างดี และได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของประเทศนั้นจนกลายเป็นวรรณคดีประจำชาติไป ดังปรากฏในหลายชาติ เช่น ไทย ลาว พม่า เขมร มาเลเซีย อินโดนีเซียตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้", "title": "รามเกียรติ์" } ]
[ { "docid": "28423#0", "text": "รามายณะ () เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย เชื่อว่าเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานในหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป แต่ผู้ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรกคือฤๅษีวาลมีกิ เมื่อกว่า 2,400 ปีมาแล้ว โดยประพันธ์ไว้เป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ภาษาสันสกฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค (กาณฑ์ หรือ กัณฑ์) ดังนี้รามายณะเป็นวรรณคดีที่มีการดัดแปลง เล่าใหม่ และแพร่หลายไปในหลายภูมิภาคของเอเชีย โดยมีเนื้อหาแตกต่างกันไป และอาจเรียกชื่อแตกต่างกันไปด้วย\nเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการทำศึกสงครามระหว่างฝ่ายพระรามกับฝ่ายทศกัณฐ์ (อสูร) โดยพระรามจะมาชิงตัวนางสีดา (มเหสีของพระราม) ซึ่งถูกทศกัณฑ์ลักพาตัวมา ทางฝ่ายพระรามมีน้องชาย ชื่อพระลักษมณ์และหนุมาน (ลิงเผือก) เป็นทหารเอกช่วยในการทำศึก รบกันอยู่นานท้ายที่สุดฝ่ายอสูรก็ปราชัย", "title": "รามายณะ" }, { "docid": "729160#2", "text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 นายแพทย์ทวีศักดิ์ฯ ได้เริ่มเขียนโปรแกรมตรวจคำสะกดภาษาไทยบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ IBM PC แต่ยังขาดส่วนของโปรแกรมแก้ไขข้อความอยู่ จึงได้นำโปรแกรม เวิร์ดรามา (WordRama) สำหรับเครื่อง IBM PC ของชมรมไมโครคอมพิวเตอร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งยังไม่เคยออกแผยแพร่ นำมาตัดความสามารถบางส่วนออก และเพิ่มความสามารถในการตรวจคำสะกดภาษาไทย โดยคาดหวังว่าจะพัฒนาเสร็จสิ้น และนำออกแสดงในงานฉลองครบรอบ 20 ปี โรงพยาบาลรามาธิบดี ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2532 แต่ไม่สามารถพัฒนาเสร็จได้ทันเวลา", "title": "รามา สเปลล์เช็ก" }, { "docid": "72832#35", "text": "ในกาลต่อมาลูกหลานชาวโยดายาเริ่มละทิ้งภาษาไทยและออกเสียงแปร่ง รับอิทธิพลอย่างสูงจากภาษาพม่าโดยเฉพาะไวยากรณ์ ดังกรณีมหาโคและมหากฤช ซึ่งมหาโคเป็นเชลยไทยที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าราวสี่สิบปี ส่วนมหากฤชเป็นบุตรชายที่เกิดในพม่า ทั้งสองอพยพกลับเข้ามาแผ่นดินสยามในยุครัตนโกสินทร์ แต่พูดไทยไม่ชัดเจน จนต้องให้ทั้งสองพูดภาษาพม่าแล้วให้ล่ามพม่ามาแปลภาษาให้ ล่วงมาในปัจจุบันลูกหลานชาวโยดายาเลิกใช้ภาษาไทยดังกล่าวไปแล้ว โดยหันไปพูดภาษาพม่าแทน ภาษาไทยจึงมิได้ตกทอดสู่คนรุ่นหลัง ๆ แต่มีชาวโยดายาบางส่วนที่ยังอนุรักษ์ภาษาไทยเอาไว้ เช่นที่บ้านซูกา (มาจากคำบาลีว่า สุขะ) จะใช้คำศัพท์ของภาษาไทยเป็นภาษาลับใช้สื่อสารกันภายในหมู่บ้าน เช่นคำว่า พ่อ เรียกว่าอะบ๊ะ, ขนม เรียกขนม, กล้วย เรียกก้วย, อ้อย เรียกน้าออ, กินข้าว เรียกกินข้าวหรือปุงกิน ซึ่งเหลือเพียงคนรุ่นเก่าเท่านั้นที่จะเข้าใจคำเหล่านี้ได้ ทั้งนี้พวกเขาไม่สามารถพูดภาษาโยดายาให้เป็นประโยคได้อีกต่อไป เพราะแทบไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน", "title": "ไทยโยเดีย" }, { "docid": "312532#8", "text": "ในประเทศไทยนั้น นิกายนิชิเร็นถูกเผยแพร่เข้ามาพร้อมกับชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาตั้งรกรากหรือมาประจำสำนักงานสาขาในยุคแรกเริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย ซึ่งมีการนำเข้ามาหลายนิกาย ทั้ง นิชิเร็นโชชู นิชิเร็นชู นิชิเร็นฮนมน และ โซกา งัคไค เป็นต้น แต่ที่เด่นชัดและใหญ่ที่สุดคือ นิชิเร็นโชชู และ โซกา งัคไค ซึ่งนิกายนิชิเร็นโชชูนั้น ถูกเผยแพร่เป็นครั้งแรกโดยสมาคมโซกา งัคไค ภายใตการนำของประธานสมาคม นายไดซาขุ อิเคดะ และได้ก่อตั้ง สมาคมธรรมประทีป โดยมอบหมายให้ดร. พิภพ ตังคณะสิงห์ เป็นนายกสมาคมอย่างเป็นทางการ ดร.พิภพ นี้ก็ยังได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะผู้แปลบทธรรมนิพนธ์ของพระนิชิเร็ง เป็นภาษาไทยอีกด้วย อย่างไรก็ตามในภายหลัง นิกายนิชิเร็นโชชู ได้ทำการคว่ำบาตร โซกางัคไค หรือ สมาคมสร้างคุณค่า ส่งผลให้ผู้นับถือในประเทศไทยได้แยกออกเป็น 2 ฝ่ายด้วยเช่นกัน โดย สมาคมธรรมประทีป เป็นของนิกายนิชิเร็นโชชู และผู้นับถือส่วนใหญ่ได้ออกไปตั้งสมาคมใหม่ขึ้น โดยใช้ชื่อว่า \"สมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย\" และเชื่อมโยงกับเครื่อข่ายสมาคมโซกา งัคไค สากล (เอสจีไอ) ร่วมกับสมาชิกส่วนใหญ่ของประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก", "title": "นิจิเร็ง" }, { "docid": "38582#2", "text": "ลำไยได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอินเดีย, ศรีลังกา พม่า และประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกาในปลายพุทธศตวรรษที่25 ในประเทศไทยทางภาคเหนือมีลำไยพันธุ์พื้นเมืองเรียก \"ลำไยกะลา\" หรือลำไยธรรมดา ในสมัยรัชกาลที่6 มีชาวจีนนำพันธุ์ลำไยเข้ามาถวายพระราชชายาเจ้าดารารัศมีจำนวน5ต้น (ในปัจจุบันบัญญัติชื่อพันธุ์เบี้ยวเขียว) ทรงให้ปลูกที่เชียงใหม่ 3ต้น โดยปลูกที่สวนเจ้าสบาย ณ ที่ประทับของเจ้าดารารัศมีหลังเสด็จนิวัติกลับมาประทับถาวรเมื่อพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่5 เสด็จสวรรคต และส่งมาปลูกที่ตรอกจันทร์ กรุงเทพฯ 2ต้น หลักฐานที่พบเป็นต้นลำไยในสวนเก่าแก่ของ ร.อ.หลวงราญอริพล (เหรียญ ศัพทเสน) ที่ปลูกในตรอกจันทร์ถนนสาธุประดิษฐ์ใกล้วัดปริวาศในสมัยรัชกาลที่5 ต่อมามีการขยายพันธุ์จากต้นในจังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นก็ขยายสู่ภูมิภาคต่างๆในภาคเหนือ โดยการเพาะเมล็ดจนเกิดการกลายพันธุ์ (Mutation) เกิดพันธุ์ใหม่ๆตามสภาพคุณลักษณะที่ดีของภูมิอากาศที่เหมาะสมและเกื้อกูลต่อการเจริญเติบโตของต้นลำไย", "title": "ลำไย" }, { "docid": "31568#42", "text": "บทละครที่ใช้สำหรับประกอบการแสดงโขน ปัจจุบันใช้รามเกียรติ์เพียงเรื่องเดียว เป็นบทละครที่มีสำนวนหลากหลายภาษาเช่น ภาษาไทย ภาษาชวา ภาษาเขมรและภาษาสันสกฤต เป็นต้นกำเนิดของรามเกียรติ์หรือรามายณะเมื่อหลายพันปีก่อน แต่งโดยฤๅษีวาลมิกิ ชาวอินเดียในสมัยโบราณให้ความเคารพนับถือบทละครเรื่องรามเกียรติ์ เชื่อกันว่าหากได้อ่านหรือฟังจะสามารถลบล้างบาปและความผิดที่ได้กระทำไว้", "title": "โขน" }, { "docid": "38108#1", "text": "ภายหลังคนไทยได้นำมาประยุกต์ถามปริศนาแบบไทย เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (ฐานันดรศักดิ์ของรัชกาลที่ 6 ในขณะนั้น) ทรงพระราชนิพนธ์ปริศนาให้ข้าราชบริพารเป็นการภายในส่วนพระองค์ โดยปริศนาที่ใช้ถามจะเขียนด้วยคำประพันธ์ไทยเช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และคำตอบของปริศนา (หรือเรียกว่าธง) จะมีความสัมพันธ์กันในรูปแบบต่าง ๆ มีการเล่นอย่างแพร่หลายในกรุงเทพมหานคร และแพร่ไปยังจังหวัดต่าง ๆ เช่น ชลบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ โดยในจังหวัดชลบุรีจะเรียกผะหมีว่า \"โจ๊ก\"", "title": "ผะหมี" } ]
2949
โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์มีอักษรย่อว่าอะไร?
[ { "docid": "164855#0", "text": "โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ (English: Assumption Convent, French: Couvent De l'Assomption) (อักษรย่อ: อสค, ASC) เป็นโรงเรียนโรมันคาทอลิกหญิงแห่งแรกของประเทศ และเป็นโรงเรียนแรกในเครือคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตรแห่งประเทศไทย ก่อตั้งโดยคุณพ่อหลุยส์ โชเวต์ บาทหลวงชาวฝรั่งเศส ณ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1696", "title": "โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์" } ]
[ { "docid": "741245#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย จ", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/จ" }, { "docid": "741266#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย บ", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/บ" }, { "docid": "741278#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย พ\n[โรงเรียนพลร่มอนุสรณ์ มิตรภาพที่50\nลพบุรี", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/พ" }, { "docid": "741252#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย ฐ", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ฐ" }, { "docid": "741282#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย ย", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ย" }, { "docid": "741280#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย ภ", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ภ" }, { "docid": "741257#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย ต", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ต" }, { "docid": "741263#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย ธ", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ธ" }, { "docid": "741247#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย ฉ", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ฉ" }, { "docid": "741281#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย น", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ม" }, { "docid": "741237#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย พน", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ข" }, { "docid": "741249#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย ช", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ช" }, { "docid": "253177#3", "text": "ดังได้กล่าวมาข้างต้นว่า แต่เดิมนั้นโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาเป็นโรงเรียนเดียวกับโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ จึงใคร่ขอกล่าวถึงประวัติของโรงเรียน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ (สาขา) ไว้ที่นี้ด้วย เพื่อเป็นการแสดงงความกตัญญูกตเวทิตา ต่อท่านผู้ก่อตั้งโรงเรียนมาตั้งแต่แรกเริ่ม คือบาทหลวงเลโอ แปรูดอง ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการอาสนวิหารอัสสัมชัญ คุรพ่อเลโอ แปรูดอง จัดตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาขึ้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม อัสสัมชัญคอนแวนต์(สาขา)หรือโรงเรียนอาสนวิหารอัสสัมชัญขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) โดยรับบุตรหลานของสัตบุรุษชายหญิงของอาสนวิหารอัสสัมชัญมาฝากเรียนในบัญชีของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ โดยทางโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์เป็นผู้รับผิดชอบ ครั้งแรกมีจำนวน 65 คน ซึ่งจำนวนนักเรียนฝากเรียนนี้ทวีขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งนักเรียนในบัญชีของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์มีจำนวนรวมกันถึง 1,757 คน เป็นนักเรียนของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ 848 คน และเป็นนักเรียนของอาสนวิหารอัสสัมชัญฝากเรียนจำนวน 909 คน ซึ่งนับเป็นจำนวนนักเรียนที่มากพอจะตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นส่วนของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา จึงขอแยกโรงเรียนทั้งสองในปี พ.ศ. 2496 และตั้งชื่อโรงเรียนที่แยกออกมานี้ว่า \"โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา\" จึงนับว่าโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาถือกำเนิดเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2496 หลังจากที่เป็นโรงเรียนสาขาฝากเรียนอยู่ในบัญชีของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933)", "title": "โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา" }, { "docid": "741239#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย ค", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ค" }, { "docid": "741279#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย ฟ", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ฟ" }, { "docid": "741286#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย ฤ", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ฤ" }, { "docid": "741291#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย ส\n -โรงเรียนสรรพาวุธวิทยา กรุงเทพมหานคร", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ส" }, { "docid": "741289#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย ว", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ว" }, { "docid": "164855#3", "text": "2495 ด้วยจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นทุกปี ๆ ในที่สุดจึงได้ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาขึ้น ซึ่งอยู่ในความดูแลของอาสนวิหารอัสสัมชัญ 2538 ได้แยกแผนกประถมไปที่โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม บน ถ.ประมวญ กรุงเทพฯ2541 ได้ขยายโรงเรียน โดยเปิดโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ลำนารายณ์ ขึ้นที่ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ทำการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 (ปัจจุบันสอนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6) ปัจจุบันโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ทำการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 3,658 คน ครู 203 คน", "title": "โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์" }, { "docid": "741292#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย ห", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ห" }, { "docid": "741274#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย ป", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ป" }, { "docid": "741256#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย ด", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ด" }, { "docid": "741244#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย ง", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ง" }, { "docid": "741251#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย ญ", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ญ" }, { "docid": "164855#17", "text": "หนังสือศตพรรษภัชรสมโภชอัสสัมชัญคอนแวนต์ 100th Anniversary Assumption Convent ศิษยจารี คู่มือนักเรียนและผู้ปกครองโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์", "title": "โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์" }, { "docid": "741264#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย น", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/น" }, { "docid": "741250#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย ซ", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ซ" }, { "docid": "741243#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย ฆ", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ฆ" }, { "docid": "741253#0", "text": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย สำหรับอักษรย่อที่ขึ้นต้นด้วย ณ", "title": "รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ณ" } ]
1128
ลา ฟลอร่าที่ตั้งอยู่ใบนเกาะลึกลับในทะเลใด?
[ { "docid": "340785#2", "text": "ทิวา เด็กหญิงชาวไทยผู้ห่างไกลความเป็นกุลสตรี ได้รับคำเชิญให้ไปเรียนที่สถาบันสตรี ลา ฟลอร่า ที่ตั้งอยู่ใบนเกาะลึกลับในทะเลเมดิเตอเรเนียน ทิวาจำใจรับคำเชิญและเดินทางไปเรียน เพราะทิวาต้องการไปสืบหาข่าวของแม่ที่ได้หายสาบสูญไป ที่โรงเรียน ทิวาได้พบเรื่องวุ่นวายและอุปสรรคมากมาย และได้พบมิตรภาพจากเพื่อนๆในโรงเรียนและทิวาก็ได้พบว่ารักเกิดขึ้นได้เพราะตัวเราและความสุขที่ทิวากับเพื่อนๆได้ร่วมสร้างกันนั้นคือมิตรภาพ", "title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง" } ]
[ { "docid": "887629#4", "text": "ซากดึกดำบรรพ์ของมันถูกเก็บในที่ราบลุ่มที่มีฟอสซิลพืชป่าชายเลน ระบบนิเวศป่าชายเลนที่มันเคยอาศัยตั้งอยู่ทางชายฝั่งตอนใต้ของทะเลเททิส พาราไลไททันเป็นไดโนเสาร์ชนิดแรกที่แสดงให้เห็นว่ามันเป็นโดโนเสาร์ที่เคยอาศัยอยู่ในนิเวศป่าชายเลน มันอาศัยอยู่ในช่วงเวลาเดียวกับนักล่าขนาดยักษ์อย่าง มาพูซอรัส คาคาร์โรดอนโตซอรัส และสไปโนซอรัส และซอโรพอดอย่างอีคยิปท์โทซอรัส", "title": "พาราลิไททัน" }, { "docid": "64261#11", "text": "ปีตงเดอลาฟูร์แนซ (Piton de la Fournaise) ภูเขาไฟรูปโล่ตั้งอยู่บนปลายเกาะเรอูนียงทางตะวันออก มีความสูง 2,631 เมตร (8,632 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล ซึ่งบางครั้งเรียกว่าเป็นพี่น้องกับภูเขาไฟเกาะฮาวาย เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกันทางด้านภูมิอากาศและธรรมชาติ มีการระเบิดขึ้นกว่า 100 ครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2183 เป็นต้นมาและยังเป็นที่จับตามองมาถึงปัจจุบัน การระเบิดครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2550 ลาวาที่ไหลออกมามีประมาณ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร (ประมาณ 4 ล้านลูกบาศก์หลา) ต่อหนึ่งวัน ปีตงเดอลาฟูร์แนซเกิดขึ้นบนจุดร้อนในภูเขาไฟ ซึ่งก็เหมือนกับปีตงเดแนฌ (Piton des Neiges) เกาะมาดากัสการ์และเกาะรอดรีก", "title": "เรอูนียง" }, { "docid": "124359#2", "text": "ลอธลอริเอนเป็นดินแดนป่าที่อยู่ในหุบเขาอันดูอิน ระหว่างแม่น้ำซิลเวอร์โลด กับแม่น้ำอันดูอิน ในยุคบรรพกาลเมื่อพวกเอลฟ์เดินทางอพยพครั้งใหญ่ไปสู่แผ่นดินอมตะ มีเอลฟ์ชาวเทเลริกลุ่มหนึ่งที่ละทิ้งการเดินทางและลงหลักปักฐานในดินแดนลุ่มแม่น้ำแห่งนี้ คือชาวนันดอร์ ซึ่งเป็นพวกเดียวกันกับ ไลเควนดิ แห่งออสซิริอันด์ เอลฟ์นันดอร์เหล่านี้ในยุคหลังเรียกกันว่า เอลฟ์ป่า หรือซิลวันเอลฟ์", "title": "ลอธลอริเอน" }, { "docid": "28160#1", "text": "หมู่เกาะแฟโรเป็นกลุ่มของเกาะ 18 เกาะ ตั้งอยู่นอกชายฝั่งภูมิภาคยุโรปเหนือ ระหว่างทะเลนอร์วีเจียนและมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประมาณระยะครึ่งทางจากประเทศไอซ์แลนด์ถึงประเทศนอร์เวย์ มีพิกัดภูมิศาสตร์อยู่ที่ 62 องศาเหนือ กับ 06 องศา 47 ลิปดาตะวันตก มีพื้นที่ 1,399 ตารางกิโลเมตร มีชายฝั่งทะเลยาว 1,117 กิโลเมตร ไม่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศใด ๆ เกาะเดียวของหมู่เกาะแฟโรที่ไม่มีคนอาศัยอยู่คือเกาะ Lítla Dímun", "title": "หมู่เกาะแฟโร" }, { "docid": "736728#2", "text": "แหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ คลองลุทเทอร์บาค (ความยาว 12 กิโลเมตร) เป็นลำธารสายเล็ก ๆ ไหลผ่านพื้นที่ใจกลางเมือง ด้วยเหตุนี้ในวรรณคดีบางชิ้นได้พรรณนาว่าบีเลอเฟ็ลท์ตั้งอยู่ริมน้ำลุทเทอร์ (\"am Lutterbach liegen\") คลองดังกล่าวกำเนิดจากการแตกสาขาของแม่น้ำลุทเทอร์ (ความยาว 26 กิโลเมตร) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งมีต้นน้ำอยู่ในเขตเควลเลอ และไหลไปสู่เมืองกือเทอร์สโล ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบีเลอเฟ็ลท์", "title": "บีเลอเฟ็ลท์" }, { "docid": "382659#3", "text": "ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง จุดสูงสุดอยู่ในภูเขาลองเรนจ์ สูง 814 ม. เกาะนี้มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม มีแหลมบอลด์อยู่ทางเหนือ แหลมเรซทางตะวันออกเฉียงใต้ และแหลมเรย์ทางตะวันตกเฉียงใต้ ชายฝั่งเว้าแหว่งมากโดยเฉพาะทางด้านตะวันออกและใต้ มีช่องแคบเบลล์ไอล์อยู่ระหว่างเกาะนี้กับผืนแผ่นดินใหญ่ มีเกาะจำนวนมากเรียงรายตามแนวชายฝั่ง เช่น เกาะเบลล์ไอล์ เกาะเกร เกาะเบลล์ และเกาะโฟโกทางตอนเหนือ หมู่เกาะแซง-ปีแยร์และมีเกอลงทางตอนใต้ (เป็นของฝรั่งเศส) แม่น้ำสายใหญ่สุดได้แก่ แม่น้ำเอกซ์ปลอยส์ แม่น้ำฮัมเบอร์ และแม่น้ำแกนเดอร์ ทะเลสาบที่สำคัญได้แก่ ทะเลสาบแกรนด์ ทะเลสาบเรดอินเดียนและทะเลสาบแกนเดอร์", "title": "เกาะนิวฟันด์แลนด์" }, { "docid": "357229#0", "text": "แชลเลนเจอร์ดีป () เป็นจุดที่ลึกที่สุดในมหาสมุทรของโลกเท่าที่รู้จัก โดยมีระดับความลึก 10,911 เมตร ตั้งอยู่ทางปลายด้านใต้สุดของร่องลึกมาเรียนา ใกล้กับกลุ่มหมู่เกาะมาเรียนา แชลเลนเจอร์ดีปมีลักษณะเป็นแอ่งขนาดเล็กที่ก้นของร่องลึกใต้มหาสมุทรรูปดวงจันทร์เสี้ยวขนาดค่อนข้างใหญ่ ซึ่งร่องเหล่านี้ก็เป็นลักษณะภูมิประเทศที่ลึกผิดปกติใต้ท้องมหาสมุทรอยู่แล้ว แผ่นดินที่อยู่ใกล้กับแชลเลนเจอร์ดีปที่สุด คือ เกาะไฟส์ (ส่วนหนึ่งของหมู่เกาะแย็พ) ห่างออกไป 289 กิโลเมตรทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และกวม ห่างออกไป 306 กิโลเมตรทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แอ่งดังกล่าวได้ชื่อตามเรือสำรวจราชนาวี เอชเอ็มเอส แชลเลนเจอร์ ซึ่งจัดการสำรวจใน ค.ศ. 1872-76 เป็นการบันทึกความลึกของมหาสมุทรเป็นครั้งแรก", "title": "แชลเลนเจอร์ดีป" }, { "docid": "499796#0", "text": "แชงกรี-ลา () เป็นดินแดนสมมุติที่ปรากฏในนวนิยายเรื่อง \"Lost Horizon\" ของเจมส์ ฮิลตัน นักเขียนชาวอังกฤษ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1933 ฮิลตันพรรณนาว่าแชงกรี-ลาเป็นดินแดนลึกลับอยู่ในเทือกเขาสูงชันทอดยาว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาคุนลุน ในนวนิยายกล่าวว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นี่ล้วนมีชีวิตยืนยาว มีความสุข อาจกล่าวได้ว่าสถานที่นี้เปรียบเหมือนสวรรค์บนดิน", "title": "แชงกรี-ลา" }, { "docid": "511326#3", "text": "เฮลล์เบนเดอร์ อาศัยอยู่ในลำธารน้ำที่ไหลแรงและสะอาด มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูง ในป่าทึบบนภูเขาที่ห่างไกลของสหรัฐอเมริกา เมื่อถูกคุกคามจะปล่อยเมือกจำนวนมากที่มีรสชาติขม เพื่อป้องกันมิให้ถูกกินจากสัตว์นักล่า เฮลล์เบนเดอร์ตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อน ตัวอ่อนจะมีพู่เหงือกภายนอกเหมือนกับซาลาแมนเดอร์หลายชนิดทั่วไป ออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น เครย์ฟิช เป็นอาหาร ในขณะที่ยังเป็นตัวอ่อนจะกินแมลงน้ำ ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวอยู่ภายในโพรงหินหรือใต้ก้อนหิน เนื่องจากมีลำตัวและส่วนหัวที่แบน เพื่อป้องกันตัวเองและมิให้ถูกกระแสน้ำพัดไป เพราะเฮลล์เบนเดอร์โดยเฉพาะที่ยังเป็นตัวเล็กจะตกเป็นอาหารของสัตว์อื่นได้ เช่น เต่า หรืองู รวมถึงปลาเทราต์", "title": "เฮลล์เบนเดอร์" } ]
3420
ชาวไทยในพม่าพวกเขายังคงอัตลักษณ์ความเป็นไทยไว้ ทั้งภาษา, ศาสนา, การใช้สกุลเงินไทย และการใช้นามสกุลอย่างคนไทยใช่หรือไม่?
[ { "docid": "77751#0", "text": "ชาวไทยในพม่า พม่าเรียก ฉ่า หรือเป็นไทยมุสลิมจะเรียก ฉ่าปะซู คือกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีเชื้อสายเดียวกับไทยสยามในประเทศไทย ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศพม่า แต่เป็นคนละกลุ่มกับชาวโยดายา โดยมากอาศัยอยู่บริเวณเขตตะนาวศรีทางตอนใต้ของประเทศพม่า มีประวัติการตั้งถิ่นฐานในบริเวณดังกล่าวมายาวนาน ก่อนที่ดินแดนจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศพม่าในปัจจุบัน พวกเขายังคงอัตลักษณ์ความเป็นไทยไว้ ทั้งภาษา, ศาสนา, การใช้สกุลเงินไทย และการใช้นามสกุลอย่างคนไทย", "title": "ชาวไทยในพม่า" } ]
[ { "docid": "72832#35", "text": "ในกาลต่อมาลูกหลานชาวโยดายาเริ่มละทิ้งภาษาไทยและออกเสียงแปร่ง รับอิทธิพลอย่างสูงจากภาษาพม่าโดยเฉพาะไวยากรณ์ ดังกรณีมหาโคและมหากฤช ซึ่งมหาโคเป็นเชลยไทยที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าราวสี่สิบปี ส่วนมหากฤชเป็นบุตรชายที่เกิดในพม่า ทั้งสองอพยพกลับเข้ามาแผ่นดินสยามในยุครัตนโกสินทร์ แต่พูดไทยไม่ชัดเจน จนต้องให้ทั้งสองพูดภาษาพม่าแล้วให้ล่ามพม่ามาแปลภาษาให้ ล่วงมาในปัจจุบันลูกหลานชาวโยดายาเลิกใช้ภาษาไทยดังกล่าวไปแล้ว โดยหันไปพูดภาษาพม่าแทน ภาษาไทยจึงมิได้ตกทอดสู่คนรุ่นหลัง ๆ แต่มีชาวโยดายาบางส่วนที่ยังอนุรักษ์ภาษาไทยเอาไว้ เช่นที่บ้านซูกา (มาจากคำบาลีว่า สุขะ) จะใช้คำศัพท์ของภาษาไทยเป็นภาษาลับใช้สื่อสารกันภายในหมู่บ้าน เช่นคำว่า พ่อ เรียกว่าอะบ๊ะ, ขนม เรียกขนม, กล้วย เรียกก้วย, อ้อย เรียกน้าออ, กินข้าว เรียกกินข้าวหรือปุงกิน ซึ่งเหลือเพียงคนรุ่นเก่าเท่านั้นที่จะเข้าใจคำเหล่านี้ได้ ทั้งนี้พวกเขาไม่สามารถพูดภาษาโยดายาให้เป็นประโยคได้อีกต่อไป เพราะแทบไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน", "title": "ไทยโยเดีย" }, { "docid": "77751#9", "text": "คริสต์ศตวรรษที่ 17 ภาษาไทยเป็นภาษาราชการและภาษาทางการของมะริดและตะนาวศรี ทั้ง ๆ ที่มีชุมชนไทยเป็นชนกลุ่มน้อยขนาดเล็กในนั้น แต่ประชากรส่วนใหญ่ล้วนเป็นพม่าหรือมอญ ปัจจุบันชาวไทยในเขตตะนาวศรีเกือบทั้งหมดยังคงใช้ภาษาไทยถิ่นใต้สำหรับการสื่อสารในชีวิตประจำวันเช่นเดียวกับชาวไทยทางภาคใต้ของประเทศไทย ยกเว้นที่บ้านท่าตะเยี๊ยะที่พูดภาษาไทยถิ่นอีสานและชาวไทยมุสลิมบางส่วนพูดภาษามลายูไทรบุรี ส่วนชาวไทยในรัฐกะเหรี่ยงจะใช้ภาษาไทยถิ่นเหนือสำหรับการสื่อสารในชีวิตประจำวันเช่นเดียวกับชาวไทยวนในภาคเหนือของไทย ชาวไทยทั้งสองกลุ่มมีการเล่าเรียนภาษาไทยมาตรฐาน โดยชาวไทยในรัฐกะเหรี่ยงจะมีการสอนภาษาไทยแก่บุตรหลานช่วงปิดเทอมโดยพระสงฆ์ บ้างก็เข้าเรียนในโรงเรียนไทยในจังหวัดตาก ขณะที่ชาวไทยในเขตตะนาวศรีเล่าเรียนภาษาไทยจากพระสงฆ์ในวัด สามารถพบการติดตั้งป้ายภาษาไทยอย่างโดดเด่นตามศาสนสถาน รวมทั้งนิยมสิ่งพิมพ์ภาษาไทย และสื่อโทรทัศน์ภาษาไทย ด้วยมีจินตนาการร่วมกับรัฐไทยมากกว่าพม่า", "title": "ชาวไทยในพม่า" }, { "docid": "770444#2", "text": "\"ก่อนหน้านี้ พวกเขา (ชาวเขา) ถูกคนทั่วไปที่อาศัยอยู่บนพื้นราบมองว่าเป็นทั้งเพื่อนและคู่ค้า รวมไปถึงมีความสัมพันธ์แบบการอยู่ร่วมกัน ทว่าปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นหลังเริ่มใช้แผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจเมื่อประมาณช่วงปีพ.ศ. 2503 ไปจนถึงพ.ศ. 2523 และการอพยพเข้ามาของชาวเวียดนามในช่วงสงครามเวียดนาม ได้เปลี่ยนความสัมพันธ์นี้ตลอดไป ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพวกชาวเขากลายเป็นศัตรู หรือ 'พวกนั้น' การมองว่าคนที่ไม่ใช่คนไทยนั้นไม่ได้เป็นพวกเดียวกันกับ 'พวกเรา' และการมองพวกเขาเป็นผู้ร้าย นั้นฝังอยู่ในตำราเรียน ในประวัติศาสตร์ไทย และในสื่อทั่วไป\"\nการวิสามัญฆาตกรรม การทรมาน การหายตัวไป และการข่มขู่ชาวเขาโดยตำรวจและทหารไทยนั้นไร้ความปราณีมากกว่าทั่วไปภายใต้นโยบายต้านยาเสพติดของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเริ่มต้นในปีพ.ศ. 2546", "title": "คตินิยมเชื้อชาติในประเทศไทย" }, { "docid": "382845#3", "text": "แม้ชาวญวนเก่าที่นับถือศาสนาคริสต์ในไทยจะไม่ติดต่อกับชาวญวนในเวียดนามเลยนานนับศตวรรษ แต่พวกเขาเหล่านั้นก็อยู่กันตามเชื้อชาติโดยแยกต่างหากจากคนไทย ทำให้พวกเขายังสามารถรักษาภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีไว้ได้ ทั้งนี้พวกเขามีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของเขา จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พวกเขาไม่กระตือรือร้นที่จะเป็นคนไทยหรือปรับตัวเข้ากับสังคมไทยอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการตั้งถิ่นฐานแออัดกันรอบ ๆ โบสถ์ และการแต่งงานกับคนที่นับถือศาสนาและเชื้อชาติเดียวกัน", "title": "ไทยเชื้อสายญวน" }, { "docid": "303179#4", "text": "นอกจากการแต่งกายชาวไทยเชื้อสายเขมรนั้น จะมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกันระหว่างคนภายในชุมชนเดียวกันแต่ต่างชาติพันธุ์กัน อย่างเช่น ชุมชนบ้านโซง ซึ่งเดิมเป็นชุมชนของชาวเขมร แต่ต่อมามีชาวไทยเชื้อสายลาวเข้ามาอยู่ภายในชุมชนด้วย โดยหากมีการแต่งงานข้ามกลุ่มกันระหว่างกลุ่ม ก็จะนิยมจัดงานแต่งงานแบบเขมร และชาวไทยเชื้อสายเขมรในชุมชนนี้จะมีความพยายามในการเรียนรู้ภาษาไทยกลางและภาษาลาว", "title": "ชาวไทยเชื้อสายเขมร" }, { "docid": "44000#6", "text": "แต่ก็มีข้อแย้งเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน อาทิ ศ.เฟดเดอริก โมต หรือ ชาร์ลส์ แบกคัส รวมทั้งนักวิชาการชาวไทย ดร.วินัย พงษ์ศรีเพียร มีความเห็นว่าไม่น่าจะใช่เป็นคนไทย โดยอ้างว่าภาษาที่ใช้ในอาณาจักรน่านเจ้าที่ปรากฏในหนังสือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เขียนขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15 มีลักษณะคล้ายภาษาในตระกูลทิเบต-พม่า มากกว่า และมีส่วนที่คล้ายภาษาไทยซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาไทกะไดน้อยมาก และวัฒนธรรมการเอาพยางค์สุดท้ายของพ่อมาตั้งเป็นชื่อพยางค์แรกของลูก เช่น พีล่อโก๊ะ เป็น โก๊ะล่อฝง ก็เป็นวัฒนธรรมร่วมกับวัฒนธรรมชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่า ด้วยเช่นกัน", "title": "อาณาจักรน่านเจ้า" }, { "docid": "77751#4", "text": "หลังพม่าได้รับเอกราชเป็นต้นมาชาวไทยที่อาศัยในแถบตะนาวศรีอยู่อย่างสุขสงบมาตลอด จนกระทั่ง พ.ศ. 2535 พม่าได้ตั้งกระทรวงพัฒนาพื้นที่ชายแดนและเชื้อชาติแห่งชาติขึ้น ซึ่งดำเนินนโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานละการโยกย้ายประชาชนจากพื้นที่ที่ประชากรหนาแน่นไปยังพื้นที่ชายแดนต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงชุมชนไทยด้วย หลังจากนั้นพม่าจึงเริ่มนโยบายกลืนคนไทย ได้แก่ การตั้งโรงเรียนพม่า การนำชาวพม่ามาแทรกซึมในชุมชนไทย และการนำพระสงฆ์พม่าเข้ามาประจำในวัดไทย นอกจากนี้ยังมีการใช้แรงงานคนไทยไปเป็นลูกหาบให้กองทัพพม่าไปสู้รบกับกองกำลังชนกลุ่มน้อยช่วง พ.ศ. 2531-2534", "title": "ชาวไทยในพม่า" }, { "docid": "199280#5", "text": "ชาวปากีสถานเชื้อสายไทยกลุ่มนี้ คนรุ่นแรกที่มีอายุ 70 ปี ขึ้นไปยังสามารถพูดภาษาไทยได้ แต่สำเนียงแปร่งไปบ้าง และไม่นิยมใช้สื่อสารกัน ส่วนคนรุ่นหลังที่เป็นลูกหลานของคนกลุ่มแรก ๆ ที่เกิดในประเทศปากีสถาน จะพูดไทยได้น้อย และหลายคนพูดไทยไม่ได้เลย ส่วนมากใช้ภาษาพัชโต เนื่องจากสืบเชื้อสายจากชาวพัชโตหรือปาทานอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังพูดภาษาอูรดูซึ่งเป็นภาษาราชการของประเทศ รวมทั้งสามารถใช้ภาษาอาหรับได้เพราะเป็นภาษาทางศาสนา พบมากในกลุ่มนักศึกษา", "title": "ปากีสถานเชื้อสายไทย" }, { "docid": "348738#3", "text": "สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้เสนอในบทความ \"คนไทยไม่ได้มาจากไหน\" ว่า คนไทยได้อาศัยอยู่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว โดยเกิดจากการรวมตัวกันของแคว้นต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนเป็นประเทศเดียวกัน เนื่องจากวัฒนธรรมพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน และการที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียเหมือนกัน โดยถือว่าคนที่พูดภาษาที่คล้ายคลีงกันเป็นบรรพบุรุษทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดพัฒนาการมาเป็นคนไทยในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ประชาชนเหล่านี้ไม่ค่อยมีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ แต่เน้นไปทางแว่นแคว้นมากกว่า", "title": "แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท" } ]
287
แมนนี ปาเกียว เกิดวันที่เท่าไหร่ ?
[ { "docid": "135324#1", "text": "แมนนี ปาเกียว เกิดวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ที่เมืองบูคิดนอน ประเทศฟิลิปปินส์ มีชื่อเต็มว่า เอ็มมานูเอล ดาปิดราน ปาเกียว (Emmanuel Dapidran Pacquiao) ในครอบครัวที่ยากจนมากที่เมืองบูคิดนอน ซึ่งเป็นเมืองทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ โดยเป็นลูกชายคนที่ 2 ในบรรดาลูก ๆ ทั้งหมด 4 คน ของ โรซาลิโอ และ ดิโอนิเซีย ปาเกียว ทั้งคู่แยกทางกันตั้งแต่ปาเกียวยังเล็ก ๆ ปาเกียวขึ้นชกมวยด้วยความยากจน ขึ้นชกมวยสากลอาชีพครั้งแรกเมื่อต้นปี พ.ศ. 2538 ที่กรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์ ได้ค่าตัวครั้งแรก 100 เปโซ โดยส่งเงินมาช่วยเหลือครอบครัวตลอด", "title": "แมนนี ปาเกียว" } ]
[ { "docid": "135324#11", "text": "ปาเกียวนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโปรแตสแตนท์ ซึ่งเดิมเคยนับถือนิกายโรมันคาทอลิคมาก่อน ชีวิตครอบครัว ปาเกียวสมรสกับจินกี้ จาโมร่า เมื่อปี พ.ศ. 2541 ขณะที่จินกี้อายุได้ 18 ปี ปาเกียวอายุ 19 ปี ปัจจุบันทั้งคู่มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 4 คน ปาเกียวเป็นนักมวยที่ไว้ผมยาวกว่านักมวยทั่วไป โดยเจ้าตัวให้เหตุผลว่าเนื่องจากชื่นชอบบรูซ ลี จึงไว้เลียนแบบ", "title": "แมนนี ปาเกียว" }, { "docid": "135324#14", "text": "นอกจากนี้แล้ว แมนนี ปาเกียวยังชื่นชอบการเล่นบาสเกตบอลอีกด้วย โดยทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ฝึกสอนและผู้เล่นของทีมเกีย โซเรนตอส โดยปาเกียวได้ลงแข่งบาสเกตบอลอาชีพเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557 โดยสวมเสื้อหมายเลข 17 ได้ทำการลงแข่งเป็นเวลา 10 นาที กับทีม แบล็ควอเตอร์ อีลิท ในลีกบาสเกตบอลอาชีพของฟิลิปปินส์ ซึ่งปาเกียวทำคะแนนได้ 1 คะแนนอีกด้วย", "title": "แมนนี ปาเกียว" }, { "docid": "135324#0", "text": "แมนนี ปาเกียว () นักมวยสากล, นักบาสเกตบอล และนักการเมืองชาวฟิลิปปินส์ เจ้าของฉายา เดอะแพ็คแมน (The Pac Man) นับเป็นนักมวยสากลอาชีพคนแรกของโลกที่ได้เป็นแชมป์โลกถึง 8 รุ่น", "title": "แมนนี ปาเกียว" }, { "docid": "135324#12", "text": "ในปี พ.ศ. 2550 แมนนี ปาเกียวได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในระดับเทศบาลของกรุงมะนิลา แต่ไม่ประสบความสำเร็จเมื่อพ่ายแพ้ต่อคู่แข่งไปแบบขาดลอย", "title": "แมนนี ปาเกียว" }, { "docid": "135324#9", "text": "ต่อมาในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2557 ปาเกียวได้มีโอกาสพบกับแบรดลีย์อีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ปาเกียวมีความมุ่งมั่นมากที่จะเอาชนะแบรดลีย์ให้ได้ ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ว่า ปาเกียวในขณะนี้ไม่ใช่ปาเกียวคนเดิมอีกแล้ว เพราะทั้งน้ำหนักหมัด และจังหวะความเร็วที่เคยเป็นจุดเด่น ก็ลดลงเป็นอย่างมาก ผลการชกปรากฏว่า ปาเกียวเป็นฝ่ายชนะคะแนนแบบเป็นเอกฉันท์ต่อแบรดลีย์ด้วยคะแนน 118-110, 116-112 และ 116-112 ทำให้ได้กลับมาเป็นแชมป์โลกอีกครั้ง\nล่าสุด แมนนี ปาเกียว ได้เซ็นสัญญาชกกับ ฟลอยด์ เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์ นักมวยที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งสถิติการชกยังไม่เคยเสมอหรือแพ้ใคร เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งทั้งคู่ได้รับการจับตาและคาดหมายว่าควรจะได้ชกเพื่อพิสูจน์ฝีมือกันมานานแล้ว โดยกำหนดขึ้นในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ที่เอ็มจีเอ็มการ์เดนอารีนา ในนครลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา โดยคาดว่าค่าตัวของทั้ง 2 น่าจะไม่น้อยกว่า 250 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 8,000 ล้านบาท) สำหรับ เมย์เวทเทอร์ จูเนียร์ จะได้รับส่วนแบ่งร้อยละ 60 ขณะที่ ปาเกียว จะยอมรับส่วนแบ่งที่น้อยกว่า คือ ร้อยละ 40 รวมทั้งยังมีรายได้สิทธิประโยชน์ด้านอื่นตามมาอีก เช่น ค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดผ่านดาวเทียม", "title": "แมนนี ปาเกียว" }, { "docid": "135324#13", "text": "ต่อมาในกลางปี พ.ศ. 2553 ปาเกียวได้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดซารังกานี ในการเลือกตั้งทั่วไป และได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนที่ขาดลอยจากคู่แข่งเป็นอย่างมาก ซึ่งปาเกียวมีความสนใจในการเมืองมานานแล้ว และยังเปรยหลายครั้งว่า หากได้เล่นการเมืองและได้รับเลือกตั้งอาจจะแขวนนวมเนื่องจากครอบครัวต้องการให้เลิกชกมวย", "title": "แมนนี ปาเกียว" }, { "docid": "135324#5", "text": "ในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปาเกียวขึ้นชิงแชมป์โลกรุ่นเวลเตอร์เวตของ องค์กรมวยโลก (WBO) กับ มิเกล ค็อตโต้ นักมวยชาวเปอร์โตริโก การชกเป็นไปอย่างดุเดือดโดย ปาเกียว สามารถส่ง ค็อตโต้ ลงไปนอนให้กรรมการนับ 8 ได้ในยกที่ 2 และ 3 และหลังจากนั้นปาเกียวก็เป็นไล่ชก ค็อตโต้ อยู่ฝ่ายเดียวจนกรรมการยุติการชกในยกที่ 12 ทำให้ ปาเกียวสามารถคว้าเข็มขัดแชมป์โลกเส้นที่ 7 มาครองได้สำเร็จ และนับเป็นนักมวยคนแรกของโลกที่ได้แชมป์โลกมากถึง 8 รุ่น และถือว่าเป็นนักมวยอันดับหนึ่งของโลกเมื่อเทียบกันแล้วปอนด์ต่อปอนด์ในยุคปัจจุบัน", "title": "แมนนี ปาเกียว" }, { "docid": "135324#6", "text": "ในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ปาเกียวขึ้นชกป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกร่นเวลเตอร์เวทของ WBO โดยพบกับ ฮวน มานูเอล มาร์เกวซ นักมวยชาวเม็กซิกันที่เคยพบกันมาก่อนหน้านี้แล้วถึง 3 ครั้ง แม้ปาเกียวจะเป็นฝ่ายที่เอาชนะไปได้ก่อนหน้าถึง 2 ครั้ง และเสมอหนึ่งครั้ง แต่ฝ่ายมาร์เกวซอ้างว่าตนเองต่างหากที่สมควรเป็นผู้ชนะ สำหรับผลการชกในครั้งนี้ ปรากฏว่าปาเกียวเป็นฝ่ายเดินเข้าหามาร์เกวซ แต่ถูกมาร์เกวซดักสวนกลับไปได้หลายครั้ง จนหมด 12 ยก สภาพการณ์น่าจะเป็นมาร์เกวซเป็นผู้ชนะคะแนน แต่เมื่อมีการประกาศคะแนนออกมาแล้ว ปรากฏว่ากรรมการทั้ง 3 ท่าน ให้มาร์เกวซเป็นฝ่ายแพ้คะแนนไปอย่างไม่เป็นเอกฉันท์ คือ 114-114 ,115-113 และ 116-112 ค้านสายตาแฟนมวยในสนามและทั่วโลกที่นั่งชมการถ่ายทอดผ่านหน้าจอโทรทัศน์เป็นอย่างมาก", "title": "แมนนี ปาเกียว" }, { "docid": "135324#8", "text": "จากนั้น ในวันที่ 9 ธันวาคม ปีเดียวกัน ปาเกียวเปิดโอกาสให้มาร์เกวซชกล้างตาอีกรอบเป็นครั้งที่ 4 ปรากฏว่าปาเกียวเป็นฝ่ายโดนมาร์เกวซที่อยู่ในวัย 39 ปีแล้ว ชกลงไปนับ 8 ก่อนในยกที่ 4 จากนั้นปาเกียวได้นับ 8 คืนมาในยกที่ 5 และสามารถเรียกเลือดจากดั้งจมูกของมาร์เกวซได้ แต่ในปลายยกที่ 6 ปาเกียวขณะโถมตัวบุกเข้ามา โดนหมัดขวาสวนของมาร์เกวซเข้าเต็มคาง หน้าคว่ำลงไปนอนกับพื้นเวทีอย่างหมดสภาพ กรรมการยุติการชกทันที ทำให้ปาเกียวเป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอไปในยกนี้ ด้วยเวลา 02.59 นาที ทำให้มาร์เกวซเอาชนะปาเกียวได้เป็นครั้งแรกในการชกของทั้งคู่ซึ่งในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 โดยถือว่าเป็นชัยชนะที่เด็ดขาดของมาร์เกวซ ขณะที่ปาเกียวนับเป็นการแพ้ติดต่อกันถึง 2 ครั้ง", "title": "แมนนี ปาเกียว" } ]
4074
อันเนอลีส มารี "อันเนอ" ฟรังค์ โด่งดังจากอะไร ?
[ { "docid": "44795#0", "text": "อันเนอลีส มารี \"อันเนอ\" ฟรังค์ (Annelies Marie \"Anne\" Frank; 12 มิถุนายน 2472 – ประมาณมีนาคม 2488) หรือ<b data-parsoid='{\"dsr\":[623,641,3,3]}'>แอนน์ แฟรงค์ เป็นเด็กหญิงชาวยิว เกิดที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เธอมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะผู้เขียนบันทึกประจำวันซึ่งต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือ บรรยายเหตุการณ์ขณะหลบซ่อนตัวจากการล่าชาวยิวในประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างที่ถูกเยอรมนีเข้าครอบครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง", "title": "อันเนอ ฟรังค์" } ]
[ { "docid": "44795#49", "text": "ตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา มีภาพยนตร์เกี่ยวกับอันเนอ ฟรังค์ มากมาย ชีวิตและงานเขียนของเธอได้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่กลุ่มศิลปินและนักวิจารณ์สังคม มีการอ้างถึงเธอในแวดวงวรรณกรรม ดนตรี โทรทัศน์ และสื่ออื่น ๆ มากมาย ปี พ.ศ. 2542 นิตยสารไทมส์ ยกย่องอันเนอ ฟรังค์ เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 20 ในหมวดวีรบุรุษและสัญลักษณ์ โดยระบุว่า \"แม้หนังสือจะเก็บไว้เป็นความลับ แต่เธอมิได้หวาดเกรงพวกนาซีเลย กลับส่งเสียงอันอ่อนล้าออกไปก่อแรงใจให้ต่อสู้เพื่อเกียรติภูมิแห่งความเป็นมนุษย์\"[30]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#32", "text": "เอลินอร์ โรเซเวลต์ เขียนคำนำให้แก่ฉบับพิมพ์ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เธอบรรยายว่าหนังสือนี้เป็น \"หนึ่งในหนังสือซึ่งบรรยายถึงสงครามกับผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ที่มีชีวิตชีวาและเฉลียวฉลาดที่สุดเท่าที่ดิฉันเคยอ่าน\" จอห์น เอฟ. เคนเนดี เอ่ยถึงอันเนอ ฟรังค์ ในสุนทรพจน์เมื่อปี พ.ศ. 2504 ว่า \"ในบรรดาผู้คนมากมายตลอดห้วงประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงเกียรติภูมิแห่งความเป็นมนุษย์ ในช่วงเวลาอันแสนขมขื่นและการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ ไม่มีผู้ใดพรรณนาได้จับใจเท่าอันเนอ ฟรังค์\"[6] ในปีเดียวกันนั้น นักเขียนชาวโซเวียต อิลยา เอเรนบูร์ก เขียนถึงอันเนอว่า \"เสียงเสียงหนึ่งที่เอ่ยแทนผู้คนอีกหกล้าน - เสียงที่มิได้มาจากปราชญ์หรือกวี แต่มาจากเด็กหญิงธรรมดาตัวเล็ก ๆ คนหนึ่ง\"[16]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#28", "text": "หนังสือได้รับการดัดแปลงเป็นละครเวที โดยแฟรนซิส กู๊ดริช และแอลเบิร์ต แฮกเกตต์ แสดงรอบปฐมทัศน์ในนครนิวยอร์กเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ซึ่งต่อมาได้รับรางวัลพูลิตเซอร์สำหรับประเภทละครชีวิต ในปี 2502 ได้สร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง The Diary of Anne Frank ซึ่งประสบความสำเร็จทั้งเงินและชื่อเสียง นักบันทึกชีวประวัติ เมลิสซา มึลเลอร์ เขียนถึงการดัดแปลงบทประพันธ์เป็นการแสดงเหล่านี้ว่า \"แสดงให้เห็นความรักใคร่ ความอ่อนไหว และความเป็นสากลในเรื่องของอันเนอได้อย่างดีที่สุด\"[1] ยิ่งเวลาผ่านไป ความนิยมในงานเขียนก็ยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้น ในโรงเรียนหลายแห่งโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกานำหนังสือนี้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรด้วย ทำให้อันเนอ ฟรังค์ เป็นที่รู้จักดีของนักอ่านรุ่นใหม่ ๆ", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#14", "text": "อันเนอเขียนเรื่องความขัดแย้งกับแม่เอาไว้บ่อย ๆ รวมถึงความขัดแย้งในใจของเธอเองเกี่ยวกับแม่ด้วย วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 เธอบรรยายถึง \"ความเสื่อมศรัทธา\" ที่มีต่อแม่ ทั้งยังไม่สามารถ \"ประจันหน้ากับความสะเพร่า เย็นชา และหัวใจที่แข็งกระด้าง\" ของแม่เธอได้ ก่อนจะสรุปว่า \"เขาไม่ใช่แม่สำหรับฉัน\"[4] ต่อมาเมื่อเธอทบทวนสมุดบันทึกของตัวเอง อันเนอรู้สึกละอายกับทัศนคติแย่ ๆ ของตัวเอง เธอบันทึกว่า \"อันเนอ นั่นเธอหรือที่จงเกลียดจงชังขนาดนั้น โอ อันเนอ เธอทำได้อย่างไร?\"[4] อันเนอเริ่มเข้าใจว่า ความแตกต่างของพวกเขาเป็นผลมาจากความไม่เข้าใจกัน เป็นความผิดของเธอมากเท่า ๆ กับความผิดของแม่ อันเนอยังเห็นว่าเธอได้เพิ่มความทุกข์ใจให้แก่แม่อย่างไม่จำเป็นเลย เมื่อตระหนักดังนี้ อันเนอก็เริ่มปฏิบัติต่อมารดาด้วยความเคารพมากยิ่งขึ้น[1]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#23", "text": "ออทโท ฟรังค์ รอดชีวิตจากค่ายกักกันเอาชวิทซ์ หลังสงคราม เขากลับไปยังอัมสเตอร์ดัมและได้อาศัยพำนักอยู่กับยันและมีป คีส เพื่อติดตามค้นหาครอบครัวของเขา เขาได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของภรรยาแล้วตั้งแต่อยู่ที่เอาชวิทซ์ แต่ก็ยังมีความหวังว่าลูกสาวทั้งสองน่าจะรอดชีวิต หลังจากค้นหาอยู่หลายสัปดาห์เขาจึงได้ทราบว่า มาร์กอทและอันเนอเสียชีวิตแล้ว เขาติดตามสอบถามข่าวชะตากรรมของบรรดาสหายของบุตรสาวด้วย และได้ทราบว่าพวกเขาถูกสังหารจนหมด ซูซันเนอ เลเดอร์มันน์ เป็นหนึ่งในชื่อสหายที่ปรากฏบ่อยครั้งอยู่ในสมุดบันทึกของอันเนอ เธอถูกรมแก๊สเสียชีวิตพร้อมกับพ่อแม่ แต่บาร์บารา พี่สาวของซูซันเนอและเพื่อนสนิทของมาร์กอท รอดชีวิต[2] ยังมีเพื่อนร่วมโรงเรียนของพี่น้องฟรังค์อีกหลายคนที่รอดชีวิต เช่นเดียวกับญาติ ๆ อีกหลายคนของทั้งออทโทและเอดิท ฟรังค์ ที่หนีออกจากเยอรมนีในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1930 บางคนไปตั้งรกรากอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#47", "text": "เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 \"บัดดี\" เอลิยัส บริจาคเอกสารของตระกูลกว่า 25,000 ชิ้นให้แก่พิพิธภัณฑ์อันเนอ ฟรังค์ เฮาส์ ในเอกสารเก่าแก่เหล่านั้นมีภาพถ่ายของครอบครัวฟรังค์ทั้งในเยอรมนีและในฮอลแลนด์ รวมถึงจดหมายที่ออทโท ฟรังค์ เขียนไปถึงมารดาในปี พ.ศ. 2488 เพื่อแจ้งข่าวว่าภรรยาและลูก ๆ ของเขาเสียชีวิตแล้วในค่ายกักกันของนาซี[26]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "735189#0", "text": "แฮร์มีเนอ ซันทรูชิทซ์ (German: Hermine Santruschitz; 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 - 11 มกราคม พ.ศ. 2553) หรือเป็นที่รู้จักทั่วใปในภาษาดัตช์ว่า มีป คีส (Dutch: Miep Gies)[1] คือหนึ่งในชาวดัตช์ผู้ช่วยเหลืออันเนอ ฟรังค์, ครอบครัวของเธอ และชาวยิวอีกสี่คนในการหลบซ่อนตัวจากนาซีเยอรมัน ซึ่งทั้งหมดซ่อนตัวอยู่ในส่วนต่อเติมอาคารที่ทำการของบริษัทค้าขายของออทโท ฟรังค์ บิดาของอันเนอ ฟรังค์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เดิมทีมีป คีส ถือสัญชาติออสเตรียโดยกำเนิด แต่ในปี พ.ศ. 2463 ครอบครัวชาวดัตช์รายหนึ่งรับเธอมาอุปถัมภ์เป็นการชั่วคราวด้วยวัยเพียงเจ็ดขวบ ซึ่งในภายหลังเธอรู้สึกผูกพันกับครอบครัวนี้อย่างมาก เดิมทีครอบครัวรับอุปการะเธอเพียงหกเดือน และก็ถูกขยายออกไปเป็นหนึงปีเนื่องจากสุขภาพร่างกายที่เปราะบางของเธอ จนในที่สุดเธอเลือกที่จะอยู่กับครอบครัวดังกล่าวต่อไป และอาศัยอยู่ในเนเธอร์แลนด์ไปตลอดช่วงชีวิตที่เหลือ ในปี พ.ศ. 2476 เธอเริ่มทำงานให้กับออทโท ฟรังค์ นักธุรกิจเชื้อสายยิวผู้อพยพครอบครัวจากเยอรมนีมายังเนเธอร์แลนด์เพื่อหลีกเลี่ยงการปราบปรามชาวยิวโดยพรรคนาซี มีป คีส จึงกลายมาเป็นทั้งเพื่อนสนิทและเพื่อนที่ครอบครัวฟรังค์ไว้วางใจ รวมถึงเป็นกำลังสำคัญที่ให้การช่วยเหลือครอบครัวตลอดระยะเวลาสองปีของการหลบซ่อนตัว เธอคือคนที่เก็บกู้สมุดบันทึกประจำวันของอันเนอไว้ได้หลังจากที่ครอบครัวถูกจับกุม และรักษาสมุดดังกล่าวไว้ในที่ปลอดภัยจนกระทั่งออทโท ฟรังค์ รอดชีวิตกลับมาจากค่ายกักกันเอาชวิทซ์ในปี พ.ศ. 2488 ทำให้เธอได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของอันเนอ[2][3][4][5][6][7][8] นอกจากนี้เธอยังเป็นผู้ประพันธ์หนังสือ Anne Frank Remembered: The Story of the Woman Who Helped to Hide the Frank Family ร่วมกับแอลิสัน เลสลี โกลด์ และออกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530", "title": "มีป คีส" }, { "docid": "44795#13", "text": "ในบันทึกของอันเนอ เธอบรรยายความสัมพันธ์ระหว่างตัวเธอกับสมาชิกครอบครัวคนอื่น ๆ และความแตกต่างในบุคลิกภาพของพวกเขาทั้งหลาย เธอเห็นว่าตัวเองมีความรู้สึกใกล้ชิดกับพ่อมากกว่าคนอื่น ๆ พ่อของเธอบอกภายหลังว่า \"ผมเข้ากับอันเนอได้ดีกว่ามาร์กอทซึ่งมักจะติดแม่แจ อาจเป็นเพราะมาร์กอทไม่ค่อยแสดงความรู้สึกของเธอออกมาเท่าไรนัก และดูเหมือนไม่ต้องการการสนับสนุนมากนัก เธอไม่ค่อยหัวเสียกับอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมาเหมือนอย่างที่อันเนอเป็น\"[1] หลังจากมาซ่อนตัว อันเนอกับมาร์กอทก็สนิทกันยิ่งขึ้นกว่าเดิม แม้บางครั้งอันเนอจะรู้สึกอิจฉามาร์กอท เพราะสมาชิกคนอื่น ๆ ในบ้านมักตำหนิเธอว่าไม่มีความอ่อนโยนสุภาพเหมือนอย่างพี่สาว แต่เมื่ออันเนอเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น สองสาวพี่น้องก็เข้ากันได้ดี ในบันทึกของเธอวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2487 อันเนอเขียนว่า \"มาร์กอทดีขึ้นมาก พักหลังนี้เธอไม่ทำตัวเป็นแมวหง่าว และเริ่มเป็นเพื่อนจริง ๆ สักที เธอไม่มองฉันเป็นเด็กทารกอีกแล้ว\"[4]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#2", "text": "อันเนอ ฟรังค์ได้รับสมุดบันทึกเป็นของขวัญวันเกิดครบ 13 ขวบ เธอเริ่มเขียนบันทึกตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2485 และสิ้นสุดในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 บันทึกได้รับการแปลจากภาษาดัตช์ออกเป็นภาษาต่าง ๆ มากมายและกลายเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่มีผู้อ่านมากที่สุดในโลก นอกจากภาพยนตร์แล้วยังมีการนำเรื่องราวไปสร้างเป็นภาพยนตร์ชุดโทรทัศน์ ละครเวที และแม้แต่อุปรากร งานบันทึกของอันเนอ ฟรังค์ถือว่าเป็นการเขียนงานอย่างผู้ใหญ่เต็มตัวและเต็มไปด้วยความช่างคิด แสดงให้เห็นชีวิตประจำวันที่แท้จริงภายใต้อำนาจพวกนาซี เป็นการพรรณนาถึงเหยื่อของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่โด่งดังที่สุด อันเนอ ฟรังค์ ได้รับเลือกจากนิตยสารไทมส์ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 และกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อเกียรติภูมิของมนุษย์", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#5", "text": "ออทโท ฟรังค์ เริ่มทำงานที่บริษัทโอเพคทาซึ่งเป็นบริษัทจำหน่ายผลไม้ เขามีห้องพักอาศัยแห่งหนึ่งบริเวณจัตุรัสแมร์เวเดอ ([Merwedeplein]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ในกรุงอัมสเตอร์ดัม เอดิทกับลูก ๆ มาถึงอัมสเตอร์ดัมในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 จากนั้นเด็กหญิงทั้งสองจึงได้เข้าโรงเรียน มาร์กอทได้เข้าโรงเรียนรัฐแห่งหนึ่ง ส่วนอันเนอได้เข้าโรงเรียนแบบมอนเตสโซรี (Montessori) มาร์กอทมีความสามารถพิเศษด้านพีชคณิต ส่วนอันเนอชอบการอ่านและเขียนหนังสือ เพื่อนคนหนึ่งของเธอคือ ฮันเนอลี กอสลาร์ เล่าถึงเรื่องในวัยเด็กภายหลังว่า อันเนอมักเขียนหนังสืออยู่เสมอ เธอจะเอามือป้องบังงานของเธอเอาไว้และไม่ยอมพูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับงานเขียนของเธอเลย มาร์กอทกับอันเนอมีบุคลิกที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัด โดยที่มาร์กอทเป็นคนเรียบร้อย เก็บตัว ชอบศึกษาหาความรู้ ส่วนอันเนอเป็นคนช่างพูด กระตือรือร้น และชอบพบปะผู้คน[1]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#37", "text": "ปี พ.ศ. 2501 ซีมอน วีเซินทัล ถูกท้าทายจากกลุ่มผู้ต่อต้านขณะแสดงละคร The Diary of Anne Frank ที่กรุงเวียนนา พวกเขากล่าวหาว่า อันเนอ ฟรังค์ ไม่มีตัวตนจริง และท้าให้วีเซินทัลพิสูจน์ตัวตนของเธอโดยหาตัวคนที่จับกุมเธอ วีเซินทัลจึงเริ่มออกติดตามหาคาร์ล ซิลเบอร์เบาเออร์ ตำรวจในคณะจับกุม และพบตัวเขาในปี พ.ศ. 2506 จากการสัมภาษณ์ ซิลเบอร์เบาเออร์ยอมรับบทบาทของเขา และระบุตัวอันเนอ ฟรังค์ ได้จากภาพถ่ายว่าเป็นหนึ่งในคนที่เขาจับกุม เขาให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ในวันนั้น และเล่าถึงการค้นกระเป๋าใบหนึ่งที่เต็มไปด้วยกระดาษโดยการเทลงบนพื้น คำให้การของเขาสนับสนุนเรื่องราวลำดับเหตุการณ์ที่เล่าโดยพยานคนอื่นมาก่อนหน้านี้ เช่น ออทโท ฟรังค์[2]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#3", "text": "อันเนอลีส มารี \"อันเนอ\" ฟรังค์ เกิดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2472 ที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เป็นบุตรีคนที่สองของออทโท ฟรังค์ (2432-2523) และเอดิท ฮอลเลนเดอร์ (2443-2488) มีพี่สาวชื่อ มาร์กอท ฟรังค์ (2469-2488) [1] ครอบครัวฟรังค์เป็นชาวยิวหัวก้าวหน้า อาศัยอยู่ในชุมชนผสมระหว่างชาวยิวกับพลเมืองอื่น ๆ ทำให้เด็ก ๆ เติบโตขึ้นมาในแวดล้อมของสหายกลุ่มต่าง ๆ ทั้งคาทอลิก, โปรเตสแตนต์ และชาวยิวเอง พวกเขาไม่ใคร่เคร่งครัดประเพณีในศาสนายูดายมากนัก เอดิทปกครองเด็ก ๆ อย่างเคร่งครัดมากกว่า ขณะที่ออทโทซึ่งเป็นนายทหารเยอรมันที่ได้รับเหรียญตราจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ให้ความสนใจกับความรู้วิชาการและมีห้องสมุดใหญ่เป็นของตัวเอง ทั้งพ่อและแม่ต่างสนับสนุนให้เด็ก ๆ อ่านหนังสือ[2]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#44", "text": "วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ประชาชนจำนวนหนึ่งรวมทั้งออทโท ฟรังค์ ได้ก่อตั้งกลุ่ม คนรักอันเนอ ฟรังค์ ขึ้น เพื่อพยายามป้องกันมิให้อาคารปรินเซินครัคต์ถูกทุบทิ้ง และพยายามให้อาคารแห่งนั้นเปิดต่อสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ อันเนอ ฟรังค์ เฮาส์ จึงได้ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 ประกอบด้วยพื้นที่คลังสินค้าของบริษัทโอเพคทา ส่วนสำนักงาน และส่วน อัคเตอร์เฮยส์ ไม่มีการตกแต่งภายใน เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถเดินผ่านห้องต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก ของส่วนตัวบางอย่างของผู้อยู่อาศัยเดิมยังคงประดับอยู่เช่นเดิม เช่นรูปภาพดารานักแสดงซึ่งอันเนอทากาวปิดไว้บนผนัง ขีดบนผนังที่ออทโทบันทึกส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นของลูกสาวทั้งสอง และแผนที่บนผนังที่เขาบันทึกการเคลื่อนที่คืบหน้าของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร ปัจจุบันทั้งหมดมีกระดาษใสเคลือบเอาไว้เพื่อรักษาสภาพ จากห้องเล็ก ๆ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นบ้านของเปเตอร์ ฟัน แป็ลส์ มีทางเดินเชื่อมต่อกับอาคารข้างเคียง มูลนิธิได้ซื้ออาคารนั้นไว้ด้วย ปัจจุบันใช้เก็บรักษาหนังสือบันทึก และจัดนิทรรศการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ รวมถึงความโหดร้ายทารุณในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก อันเนอ ฟรังค์ เฮาส์ กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในกรุงอัมสเตอร์ดัม ในปี พ.ศ. 2548 จำนวนผู้เยี่ยมชมก็สูงกว่า 965,000 คน อันเนอ ฟรังค์ เฮาส์ ยังเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตและจัดนิทรรศการเคลื่อนที่ไปยังที่ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมที่ไม่สะดวกจะเดินทางมายังอัมสเตอร์ดัม ในปี พ.ศ. 2548 มีการจัดนิทรรศการเคลื่อนที่ในประเทศต่าง ๆ 32 ประเทศ ทั้งในยุโรป เอเชีย อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้[24]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#33", "text": "อันเนอ ฟรังค์ เริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นทั้งในฐานะที่เป็นนักเขียนและนักมนุษยนิยม มีการพูดถึงเธอทั่วไป โดยเฉพาะการเป็นสัญลักษณ์ของการถูกทำลายและเป็นตัวแทนของการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ฮิลลารี คลินตัน อ่านบันทึกของอันเนอ ฟรังค์ในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีมอบรางวัล Elie Wiesel Humanitarian Award เมื่อปี พ.ศ. 2537 ว่า \"เธอได้ปลุกพวกเราขึ้นจากความเขลา ให้แลเห็นความตายอันโหดร้ายที่พรากความเยาว์ของเราไปเสีย\" คลินตันเปรียบเทียบเรื่องของอันเนอกับเหตุการณ์ร่วมสมัยในเวลานั้น คือสงครามในซาราเยโว, โซมาเลีย และรวันดา[17] หลังจากที่เนลสัน แมนเดลา ได้รับรางวัลจากมูลนิธิอันเนอ ฟรังค์ เมื่อปี พ.ศ. 2537 เขาเอ่ยกับฝูงชนในเมืองโจฮันเนสเบิร์กว่า เขาอ่านบันทึกของอันเนอ ฟรังค์ ขณะที่อยู่ในคุก และ \"รู้สึกกล้าหาญขึ้นอย่างมาก\" เขาเปรียบเทียบการต่อสู้ของอันเนอกับพวกนาซี กับการต่อสู้ของเขาเพื่อต่อต้านการเหยียดผิวในแอฟริกาใต้ และว่าปรัชญาทั้งสองนี้เป็นสิ่งที่ขนานกัน \"เพราะความเชื่อพื้นฐานของมันผิดพลาด มันเคยผิดพลาดและยังคงผิดพลาดต่อไป ทว่าด้วยตัวอย่างจากอันเนอ ฟรังค์ การเหยียดผิวจักต้องพ่ายแพ้\"[18]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#36", "text": "หลังจากบันทึกเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 ก็มีการตีพิมพ์ข้อกล่าวหามากมายต่อต้านบันทึกนั้น การวิพากษ์วิจารณ์ในช่วงแรกเกิดขึ้นที่ประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ คำกล่าวหาข้อหนึ่งกล่าวว่า ผู้เขียนบันทึกนี้คือ ไมเยอร์ เลวิน ส่วนอันเนอ ฟรังค์ ไม่มีตัวตนจริง[21]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#50", "text": "5535 แอนน์แฟรงก์ - ดาวเคราะห์น้อยที่ตั้งชื่อตามอันเนอ ฟรังค์ ในปี ค.ศ. 1995", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#12", "text": "วันที่ 13 กรกฎาคม ครอบครัวฟัน แป็ลส์ ได้มาอาศัยร่วมกับครอบครัวฟรังค์ ได้แก่ แฮร์มันน์, เอากุสต์ และเปเตอร์ ลูกชายอายุ 16 ปี เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายนพวกเขาก็ได้ต้อนรับฟริทซ์ พเฟฟเฟอร์ ทันตแพทย์และเพื่อนของครอบครัว อันเนอบันทึกว่าเธอดีใจที่มีเพื่อนคุยด้วย แต่การมีคนจำนวนมากอยู่ร่วมกันในที่แคบ ๆ ทำให้เกิดความเครียด อันเนอใช้ห้องร่วมกับพเฟฟเฟอร์ เธอไม่สามารถทนเขาได้และรำคาญที่ต้องรับเขามาอยู่ด้วย เธอยังทะเลาะกับพเฟฟเฟอร์ซึ่งเธอให้ความเห็นว่าโง่เง่า เธอระบุว่าเขาเป็นคนเห็นแก่ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องปริมาณอาหารที่ได้รับแบ่งปัน[2] ในเวลาต่อมา เธอเริ่มญาติดีกับเปเตอร์ผู้ขี้อายและเชื่องช้า แล้วทั้งสองก็เริ่มตกหลุมรักกัน อันเนอได้จูบเขาเป็นครั้งแรก ทว่าความรู้สึกหลงใหลดูดดื่มของอันเนอค่อย ๆ เจือจางลง เธอตั้งคำถามกับตัวเองว่าความรู้สึกของเธอต่อเปเตอร์นั้นจริงแท้แค่ไหน หรือเป็นเพียงเพราะพวกเขาได้อยู่ร่วมในที่แห่งเดียวกันเท่านั้น อันเนอ ฟรังค์ สนิทสนมกับบรรดาผู้ให้ความช่วยเหลือพวกเขามาก ออทโท ฟรังค์ รำลึกเรื่องนี้ในภายหลังว่า เธอตื่นเต้นกระตือรือร้นที่จะได้พบพวกเขาทุก ๆ วัน เขายังสังเกตว่าเพื่อนสนิทที่สุดของอันเนอคือ แบ็ป โฟสเกยล์ \"เลขานุการสาวผู้นั้น... พวกเธอทั้งสองมักยืนกระซิบกระซาบกันอยู่ตรงมุมห้อง\"[2]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#30", "text": "กอร์เนลิส เซยก์ อดีตผู้อำนวยการมูลนิธิอันเนอ ฟรังค์ และประธานศูนย์สหรัฐอเมริกาของมูลนิธิการศึกษาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ประกาศในปี พ.ศ. 2542 ว่า เขาเป็นเจ้าของกระดาษบันทึก 5 แผ่น ซึ่งออทโท ฟรังค์ ดึงออกจากสมุดบันทึกก่อนจะนำไปตีพิมพ์ เซยก์อ้างว่าออทโท ฟรังค์ มอบกระดาษบันทึกเหล่านั้นให้เขาเอง ไม่นานก่อนที่ออทโทจะเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2523 เนื้อหาบันทึกส่วนที่หายไปเกี่ยวข้องกับการที่อันเนอ ฟรังค์ วิพากษ์วิจารณ์ชีวิตแต่งงานของพ่อแม่ของเธอ และยังพรรณนาความรู้สึกไม่พอใจต่อแม่ของเธอด้วย[12] ในเวลาต่อมาเรื่องนี้ก็กลายเป็นที่ถกเถียงกัน เพราะเซยก์เรียกร้องสิทธิ์ในการตีพิมพ์บันทึก 5 แผ่นนี้ และคิดจะนำไปขายเพื่อระดมทุนให้แก่ศูนย์สหรัฐอเมริกาของเขา สถาบันเอกสารหลักฐานสงครามแห่งเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นเจ้าของเดิมของต้นฉบับ เรียกร้องให้เขาคืนบันทึกทั้ง 5 แผ่นนี้ ในปี พ.ศ. 2543 กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์แห่งเนเธอร์แลนด์ ยินยอมบริจาคเงินจำนวน 300,000 เหรียญสหรัฐให้แก่มูลนิธิของเซยก์ แล้วบันทึกทั้ง 5 แผ่นจึงได้ส่งคืนในปี พ.ศ. 2544 หลังจากนั้นจึงได้นำบันทึกทั้ง 5 แผ่นผนวกรวมเข้าไปในหนังสือบันทึกฉบับพิมพ์ครั้งใหม่ ๆ ด้วย", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#35", "text": "ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 นิตยสารไทมส์ตีพิมพ์หนังสือฉบับพิเศษ ใช้ชื่อว่า \"Time 100: The Most Important People of the Century\" (100 บุคคลสำคัญแห่งศตวรรษ) อันเนอ ฟรังค์ ได้รับเลือกเป็นผู้หนึ่งในหมวด \"วีรบุรุษและสัญลักษณ์\" รอเจอร์ โรเซนแบลตต์ บรรยายถึงความเป็นตำนานของเธอว่า \"หนังสือเล่มนี้ส่งแรงบันดาลใจ ทำให้ทุกผู้คนรู้สึกเป็นเจ้าของอันเนอ ฟรังค์ เธอโดดเด่นขึ้นมาเหนือเหล่าผู้ถูกทำร้าย เหนือเหล่าชาวยิว เหนือความเยาว์วัย และอาจจะเหนือความดีงาม เธอกลายเป็นสัญลักษณ์บูชาในโลกยุคใหม่ ที่ซึ่งหัวใจแห่งศีลธรรมแต่ละดวงถูกรุมล้อมด้วยการทำลายล้างของเครื่องจักร เธอต่อสู้เพื่อสิทธิที่จะมีชีวิต ที่จะถาม และที่จะหวังถึงอนาคตแห่งมนุษยชาติทั้งปวง\" เขายังให้ความเห็นอีกว่า แม้ความกล้าหาญและการบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของเธอจะเป็นที่นิยมชมชอบ ทว่าแท้จริงแล้วปัจจัยที่ทำให้เธอน่าหลงใหล คือความสามารถในการวิเคราะห์ตัวเอง ประกอบกับทักษะการเขียนอันดียิ่ง เขาเขียนว่า \"ความเป็นอมตะของเธอเนื่องมาจากวรรณศิลป์อย่างแท้จริง เธอเป็นนักเขียนที่มีคุณวิเศษตลอดทุกยุคสมัย คุณภาพแห่งผลงานของเธอเป็นผลโดยตรงจากหัวใจอันซื่อตรงอย่างที่สุด\"[20]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#20", "text": "เมื่อถึงวันที่ 28 ตุลาคมก็มีการคัดเลือกผู้หญิงที่จะย้ายไปยังค่ายกักกันแบร์เกิน-เบลเซิน ผู้หญิงกว่า 8,000 คน รวมทั้งอันเนอและมาร์กอท ฟรังค์ และเอากุสต์ ฟัน แป็ลส์ ถูกย้ายไป แต่เอดิท ฟรังค์ไม่ได้ไปด้วย เธอเสียชีวิตในเวลาต่อมาเนื่องจากอดอาหาร[1] นักโทษจำนวนมากหลั่งไหลไปที่เบลเซินจนต้องมีการตั้งเต็นท์ชั่วคราวสำหรับเป็นที่พักอาศัย ผลจากจำนวนผู้อาศัยที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดโรคระบาดและอัตราเสียชีวิตก็สูงขึ้นอย่างมาก อันเนอได้พบกับเพื่อนเก่าสองคนคือ ฮันเนอลี กอสลาร์ และนาเนตต์ บลิตซ์ เป็นเวลาสั้น ๆ พวกเธอถูกกักกันอยู่ในคนละพื้นที่ของค่าย กอสลาร์กับบลิตซ์มีชีวิตรอดจนสงครามสิ้นสุด ในภายหลังพวกเธอทั้งสองได้เล่าถึงบทสนทนากับอันเนอเมื่อทั้งหมดได้คุยกันชั่วขณะผ่านรั้วกั้นแดน บลิตซ์บอกว่าอันเนอดูผอมมาก ศีรษะล้าน ตัวสั่นเทา ส่วนกอสลาร์เล่าว่าเอากุสต์ ฟัน แป็ลส์ ได้อยู่กับอันเนอและมาร์กอทด้วย ดูเหมือนเธอจะคอยดูแลสองพี่น้องที่กำลังป่วยหนัก คนทั้งสองไม่ได้พบกับมาร์กอท เนื่องจากเธออ่อนแอจนไม่สามารถลุกจากที่นอนได้ อันเนอบอกกับกอสลาร์และบลิตซ์ว่า เธอคิดว่าพ่อกับแม่คงจะตายไปแล้ว ด้วยเหตุนั้นเธอจึงไม่ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ต่อไป กอสลาร์คิดว่าช่วงที่พวกเขาได้พบกันน่าจะอยู่ในราวปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488[1]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#43", "text": "เดือนธันวาคม พ.ศ. 2536 อันเนอร์ ฟรังค์ เฮาส์ ที่อัมสเตอร์ดัม ร่วมกับมูลนิธิอันเนอ ฟรังค์ ในเมืองบาเซิล ได้ร่วมกันผลักดันให้มีกฎหมายห้ามการเผยแพร่หนังสือ The Diary of Anne Frank: A Critical Approach ในประเทศเนเธอร์แลนด์ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ศาลประจำกรุงอัมสเตอร์ดัมได้มีประกาศห้ามการต่อต้านความเป็นตัวจริงและความเป็นเจ้าของของหนังสือบันทึกนี้อีก รวมถึงห้ามการเผยแพร่สิ่งพิมพ์ใด ๆ ที่ทำให้เกิดผลดังกล่าว ผู้ฝ่าฝืนจะต้องถูกปรับเป็นเงิน 25,000 กิลเดอร์ต่อหนึ่งกรณี[23]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#25", "text": "ช่วงต้นของบันทึกของอันเนอ บรรยายความรู้สึกนึกคิดส่วนตัว และยังระบุหลายครั้งว่าเธอจะไม่ยอมให้ใครได้อ่านมันเลย เธอแอบเขียนบรรยายชีวิตของเธอ ของครอบครัว และเพื่อน ๆ ตลอดจนสถานะของพวกเขา ขณะเดียวกันเธอก็เริ่มมีความคาดหวังจะเขียนนิยายสำหรับพิมพ์เผยแพร่ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2487 อันเนอได้ยินประกาศทางวิทยุโดยแคร์ริต โบลเกอสไตน์ หนึ่งในคณะรัฐบาลพลัดถิ่นของเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่าหลังจากสงครามสิ้นสุด เขาจะจัดทำบันทึกสาธารณะขึ้นเพื่อรวบรวมสิ่งที่เกิดกับชาวดัตช์ระหว่างอยู่ภายใต้รัฐบาลเยอรมนี[4] เขาระบุถึงการเผยแพร่จดหมายและบันทึกต่าง ๆ ทำให้อันเนอตัดสินใจจะส่งงานเขียนของเธอไปร่วมด้วยเมื่อถึงเวลานั้น เธอเริ่มปรับปรุงแก้ไขงานเขียนของเธอ สลับ ย้ายเนื้อหา และเขียนขึ้นใหม่บางส่วน ด้วยมุมมองที่เหมาะสมสำหรับการตีพิมพ์ สมุดบันทึกเริ่มแรกของเธอสอดแทรกไว้ด้วยสมุดโน้ตเพิ่มเติมและกระดาษเป็นแผ่น ๆ อีกจำนวนมาก เธอคิดชื่อสมมุติขึ้นสำหรับสมาชิกในบ้านและบรรดาผู้ให้ความช่วยเหลือ โดยเปลี่ยนชื่อครอบครัวฟัน แป็ลส์เป็นแฮร์มันน์, เปโตรเนลลา และเปเตอร์ ฟัน ดาน และเปลี่ยนชื่อฟริทซ์ พเฟฟเฟอร์เป็นอัลแบร์ท ดึสเซิลล์ ในบันทึกฉบับปรับปรุงแก้ไขใหม่นี้ เธอเขียนถึง \"คิตตี\" ซึ่งเป็นตัวละครในนิยายเรื่อง โยปเตอร์เฮิล (Joop ter Heul) ของซิสซี ฟัน มากซ์เฟลต์ ซึ่งอันเนอชอบอ่านบ่อย ๆ ออทโท ฟรังค์ ใช้บันทึกฉบับดั้งเดิมของเธอซึ่งเรียกว่า \"ฉบับเอ\" รวมกับฉบับปรับปรุงแก้ไขที่เรียกว่า \"ฉบับบี\" มาเรียบเรียงใหม่เป็นฉบับตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก เขาตัดเนื้อหาบางส่วนออก โดยเฉพาะส่วนที่อันเนอวิจารณ์พ่อแม่ของเธอ (โดยมากเป็นแม่) และส่วนที่บรรยายถึงการเติบโตทางเพศของอันเนอเอง ออทโทเปลี่ยนส่วนที่ระบุชื่อสมาชิกในครอบครัวของเขาเองให้เป็นชื่อจริง แต่ยังคงใช้ชื่อสมมุติสำหรับบุคคลอื่น ๆ เอาไว้", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "194218#0", "text": "บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์ () เป็นหนังสือที่สร้างขึ้นจากสมุดบันทึกประจำวันของอันเนอ ฟรังค์ ขณะที่เธอและครอบครัวต้องหลบซ่อนตัวอยู่เป็นเวลาเกือบสองปี เพื่อหลบหนีการล่าชาวยิวในเนเธอร์แลนด์ขณะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของนาซีเยอรมนีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ครอบครัวของอันเนอ ฟรังค์ ถูกจับตัวได้ในปี ค.ศ. 1944 และส่งไปยังค่ายกักกันชาวยิว อันเนอผู้เขียนเสียชีวิตด้วยโรคไข้รากสาดใหญ่ในค่ายกักกันแบร์เกิน-เบลเซิน ต่อมาเมื่อสิ้นสุดสงคราม ออทโท ฟรังค์ พ่อของเธอ ซึ่งเป็นคนเดียวในครอบครัวที่รอดชีวิต ได้นำบันทึกนี้ออกเผยแพร่ต่อสาธารณะ", "title": "บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์" }, { "docid": "44795#19", "text": "อันเนอกับผู้หญิงคนอื่น ๆ ที่รอดจากการสังหารหมู่ทันทีที่มาถึง ถูกบังคับให้เปลือยกายและฆ่าเชื้อ พวกเธอถูกจับโกนผมและสักหมายเลขประจำตัวไว้บนแขน ในเวลากลางวัน พวกผู้หญิงจะถูกใช้งานเป็นทาส อันเนอต้องทลายหินและขุดพื้น เมื่อตกกลางคืนพวกเขาต้องเบียดเสียดกันอยู่ในคุกแคบ ๆ พยานหลายคนให้ปากคำในภายหลังว่า อันเนอจะหวาดผวาและร้องไห้ทุกครั้งที่เห็นเด็ก ๆ ถูกนำตัวไปยังห้องรมแก๊ส แต่ก็มีพยานอีกหลายคนบอกว่าบางครั้งเธอก็แสดงความกล้าหาญและความแข็งแกร่ง ความอารีและธรรมชาติความเป็นผู้นำในตัวเธอทำให้เธอมักได้รับส่วนแบ่งขนมปังเพิ่มขึ้นสำหรับให้เอดิท มาร์กอท และตัวเธอเอง ในค่ายสกปรกมาก ไม่ช้าเชื้อโรคก็แพร่ระบาด ผิวของอันเนอติดเชื้อหิดอย่างรุนแรง เธอกับมาร์กอทถูกแยกไปห้องผู้ป่วย ที่ซึ่งมีแต่ความมืดสลัวตลอดเวลา และเป็นที่อยู่ของหนู เอดิท ฟรังค์ เลิกกินอาหารส่วนของตน แต่เก็บเอาไว้เพื่อส่งไปให้ลูกสาวทั้งสอง โดยส่งผ่านรูเล็ก ๆ ที่เธอแอบเจาะไว้ทางด้านหลังกำแพงห้องผู้ป่วย[1]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#31", "text": "บันทึกของอันเนอได้รับคำยกย่องชมเชยในฐานะวรรณกรรมที่ดี ไมเยอร์ เลวิน ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธีการเขียนของอันเนอว่า \"รักษาความตึงเครียดของนวนิยายซึ่งเขียนโดยมีโครงสร้างอย่างดี\"[13] เขาประทับใจกับผลงานของเธอมากจนต้องร่วมงานกับออทโท ฟรังค์ ในการดัดแปลงบทประพันธ์เป็นบทละคร หลังจากหนังสือได้รับการตีพิมพ์ไม่นานนัก[14] จอห์น เบร์รีแมน กวีชาวอเมริกันเขียนถึงหนังสือนี้ว่า มีถ้อยความพรรณนาที่โดดเด่นมาก มิใช่เพียงแค่เรื่องราวของเด็กสาว แต่เป็น \"การก้าวย่างจากวัยเด็กสู่ผู้ใหญ่ ซึ่งเกิดจากความแม่นยำ ความเชื่อมั่น เป็นรูปแบบที่ชวนให้พรึงเพริดกับความสัตย์ซื่อของตัวอักษร\"[15]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#46", "text": "สำหรับห้องพักอาศัยเดิมที่จัตุรัสแมร์เวเดอซึ่งครอบครัวฟรังค์เคยอาศัยอยู่ระหว่างปี 2476 ถึง 2485 ยังคงอยู่โดยมีเจ้าของครอบครอง จนกระทั่งถึงช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 สารคดีทางโทรทัศน์รายการหนึ่งจับประเด็นที่อาคารแห่งนี้ว่าสมควรได้รับการเอาใจใส่จากสาธารณะ เนื่องจากชำรุดทรุดโทรมไปมาก องค์กรบ้านอยู่อาศัยของเนเธอร์แลนด์แห่งหนึ่งได้ซื้อห้องพักอาศัยนี้ไปในเวลาต่อมา แล้วปรับปรุงให้กลับคืนสภาพเดิมโดยอาศัยภาพถ่ายเก่าแก่ของครอบครัวฟรังค์ ประกอบกับคำบอกเล่าถึงลักษณะภายในห้องพักที่ปรากฏในจดหมายจำนวนหนึ่งซึ่งเขียนโดยอันเนอ ฟรังค์ ผู้บริหารพิพิธภัณฑ์อันเนอ ฟรังค์ คือ เตเรซีน ดา ซิลวา กับญาติของครอบครัวฟรังค์คือ แบร์นฮาร์ด \"บัดดี\" เอลิยัส ได้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูห้องพักในครั้งนี้ด้วย ห้องพักอาศัยเปิดขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานที่อันปลอดภัยสำหรับนักเขียนที่ไม่สามารถเขียนเรื่องราวได้อย่างปลอดภัยที่ประเทศบ้านเกิดของตัวเอง นักเขียนที่ผ่านการคัดสรรแล้วสามารถมาพำนักที่ห้องพักนี้เป็นเวลา 1 ปีเพื่อสร้างงานของเขา นักเขียนคนแรกที่ได้รับเลือกให้มาพำนักคือกวีและนักประพันธ์ชาวแอลจีเรีย ชื่อ El-Mahdi Acherchour[24]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#24", "text": "เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487 หลังจากกาชาดสากลยืนยันการเสียชีวิตของอันเนอและมาร์กอทแล้ว มีป คีส จึงมอบสมุดบันทึกและเศษกระดาษบันทึกของอันเนอที่เธอเก็บรักษาไว้ด้วยความตั้งใจจะคืนให้แก่อันเนอ ให้แก่ออทโท ฟรังค์ ออทโทบอกในภายหลังว่า เขาไม่เคยรู้มาก่อนว่าอันเนอได้จดบันทึกอย่างละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของพวกเขาระหว่างการซ่อนตัว ออทโทค่อย ๆ อ่านบันทึกด้วยความปวดร้าว ระลึกถึงแต่ละเหตุการณ์ที่ปรากฏอยู่ในบันทึก และนึกได้ว่าเขาเคยได้ยินเนื้อความบางส่วนที่ตลก ๆ ซึ่งบุตรสาวของเขาเคยอ่านให้ฟังมาก่อนแล้ว นอกจากนี้เขายังยอมรับว่า เพิ่งเคยได้ทราบความเป็นส่วนตัวบางอย่างของบุตรสาวเป็นครั้งแรก รวมถึงบางส่วนของบันทึกที่เธอไม่เคยพูดถึงกับใครมาก่อน ออทโทกล่าวว่า \"สำหรับผม มันเป็นการเปิดดวงตาครั้งใหญ่... ผมไม่เคยล่วงรู้ความรู้สึกนึกคิดของลูกมาก่อน... เธอเก็บความรู้สึกทั้งหมดนี้ไว้กับตัวเอง\"[2] อันเนอบันทึกความปรารถนาไว้หลายครั้งว่าอยากเป็นนักเขียน ดังนั้น ออทโทจึงเริ่มคิดว่า น่าจะนำบันทึกนี้ไปตีพิมพ์", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#42", "text": "ปี พ.ศ. 2534 รอแบร์ โฟรีซง และซีคฟรีด แฟร์เบเกอ ผู้ปฏิเสธไม่เชื่อเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ได้เขียนหนังสือเล็ก ๆ ขึ้นเล่มหนึ่งชื่อ The Diary of Anne Frank: A Critical Approach โดยกล่าวหาว่า ออทโท ฟรังค์ เป็นผู้เขียนบันทึกนั้นขึ้นเอง เนื่องจากรายละเอียดหลายอย่างในบันทึกขัดแย้งกันเอง การซ่อนตัวใน อัคเตอร์เฮยส์ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และว่าวิธีการเขียนร้อยแก้วกับลายมือของอันเนอ ฟรังค์ ไม่น่าที่เด็กวัยรุ่นจะทำได้[22]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#48", "text": "เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 มีการตกลงกันให้ตัดต้นไม้ของอันเนอ ฟรังค์ เพื่อป้องกันการโค่นลงทับอาคารข้างเคียง เนื่องจากรากต้นไม้ติดเชื้อราอย่างหนักและอาจล้มได้ทุกเมื่อ อาร์โนลด์ เฮร์เจอ นักเศรษฐศาสตร์ชาวดัตช์ซึ่งต้องหลบซ่อนตัวในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองเช่นกัน[27] กล่าวถึงต้นไม้นี้ว่า \"มันไม่ใช่เพียงต้นไม้ธรรมดา ต้นไม้ของอันเนอ ฟรังค์ เป็นศูนย์รวมการถูกทรมานของชาวยิว\"[28] มูลนิธิต้นไม้ซึ่งเป็นกลุ่มผู้อนุรักษ์ต้นไม้พยายามรณรงค์เพื่อป้องกันมิให้โค่นต้นเกาลัดต้นนี้ มีสื่อสากลให้ความสนใจเป็นอันมาก ศาลแห่งเนเธอร์แลนด์สั่งให้ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายผู้อนุรักษ์หาข้อมูลทางเลือกอื่น ๆ มาเสนอเพื่อหาข้อยุติ[29] ในที่สุดทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้โดยสร้างโครงสร้างเหล็กประคองต้นไม้ไว้ ซึ่งจะช่วยยืดอายุไปได้อีกอย่างน้อย 15 ปี[28]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" } ]
3289
ใครเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องเล่นเกมนินเท็นโด?
[ { "docid": "19108#0", "text": "นินเท็นโด (; English: Nintendo) เป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) เริ่มแรกทำธุรกิจเกี่ยวกับการ์ดเกมและของเล่น รวมถึงธุรกิจอื่น เช่น โรงแรมและแท็กซี่ ใน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) นินเท็นโดได้ผันตัวเองมาเป็นบริษัทวิดีโอเกม ซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับวิดีโอเกมที่มีอายุยาวนานที่สุดและทรงอิทธิพลที่สุดจนถึงปัจจุบัน", "title": "นินเท็นโด" } ]
[ { "docid": "748117#0", "text": "โปเกมอนภาคโกลด์ และ ภาคซิลเวอร์ () เป็นเกมโปเกมอนเกมที่สองในวิดีโอเกมชุดโปเกมอนพัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีก และจำหน่ายโดยนินเท็นโด สำหรับเครื่องเล่นเกมบอย ต่อมาเกมได้ปรับปรุงและทำการตลาดสำหรับเครื่องเล่นเกมบอยคัลเลอร์ ออกจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1999 ออสเตรเลียและอเมริกาเหนือใน ค.ศ. 2000 และยุโรปใน ค.ศ. 2001 \"โปเกมอนภาคคริสตัล\" เกมภาคพิเศษ ออกจำหน่ายสำหรับเครื่องเล่นเกมบอยคัลเลอร์ราว ๆ หนึ่งปีหลังของแต่ละภูมิภาค ใน ค.ศ. 2009 นินเท็นโดนำภาค\"โกลด์\"และ\"ซิลเวอร์\"มาทำใหม่สำหรับเครื่องนินเท็นโด ดีเอส ในชื่อ \"โปเกมอนภาคฮาร์ตโกลด์\"และ\"โซลซิลเวอร์\"", "title": "โปเกมอน โกลด์และซิลเวอร์" }, { "docid": "748951#0", "text": "โปเกมอนภาคไฟร์เรด และ<i data-parsoid='{\"dsr\":[1185,1212,2,2]}'><b data-parsoid='{\"dsr\":[1187,1210,3,3]}'>โปเกมอนภาคลีฟกรีน (Pokémon FireRed Version and LeafGreen Version(ポケットモンスター ファイアレッド・リーフグリーン,Poketto Monsutā Faiareddo Rīfugurīn)) เป็นเกมภาคทำใหม่จากวิดีโอเกมโปเกมอนภาคเรด</i>และ<i data-parsoid='{\"dsr\":[1427,1434,2,2]}'>บลูที่วางจำหน่ายใน ค.ศ. 1996 เกมภาคใหม่นี้พัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีก และจำหน่ายโดยนินเท็นโด สำหรับเครื่องเล่นเกมบอยแอ็ดวานซ์ และสามารถใช้กับอุปกรณ์เกมบอยแอ็ดวานซ์ไวร์เลสอะแด็ปเตอร์ ซึ่งมีพ่วงมากับเกม ภาค<i data-parsoid='{\"dsr\":[1647,1658,2,2]}'>ไฟร์เรด</i>และ<i data-parsoid='{\"dsr\":[1661,1672,2,2]}'>ลีฟกรีน</i>จำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นในเดือนมกราคม ค.ศ. 2004 และจำหน่ายในอเมริกาเหนือและยุโรปในเดือนกันยายนและตุลาคม ตามลำดับ นินเท็นโดทำการตลาดเกมนี้โดยติดป้ายเกมให้เป็นเพลเยอส์ชอยส์", "title": "โปเกมอน ไฟร์เรดและลีฟกรีน" }, { "docid": "586608#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง สไปเดอร์แมน () เป็นวิดีโอเกมประเภทแอกชั่นผจญภัยโอเพนเวิลด์ สร้างมาจากภาพยนตร์ในชื่อเดียวกัน จากซุเปอร์ฮีโรมาร์เวลคอมิกส์ พัฒนาโดย Beenox ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเกม และ และจัดจำหน่ายโดย Activision วางจำหน่ายในวันที่ 26 มิถุยายน 2012 ในทวีปอเมริกาเหนือและวันที่ 29 มิถุยายน 2012 ในทวีปยุโรป สำหรับเครื่องเล่นเอกซ์บอกซ์ 360, เพลย์สเตชัน 3, นินเท็นโด 3ดีเอส, นินเท็นโด ดีเอส, ไอโอเอส, แอนดรอยด์ และพีซี", "title": "ดิ อะเมซิ่ง สไปเดอร์แมน (วิดีโอเกม พ.ศ. 2555)" }, { "docid": "749395#0", "text": "มาริโอคาร์ต: ดับเบิลแดช () เป็นเกมแข่งรถพัฒนาโดยทีมนินเท็นโดอีเอดี และจำหน่ายโดยนินเท็นโด สำหรับเครื่องเล่นเกมคิวบ์ใน ค.ศ. 2003 เป็นเกมลำดับที่สี่ในเกมชุด\"มาริโอคาร์ต\" และเป็นเกมที่สามสำหรับเครื่องเล่นคอนโซลในบ้าน ต่อจาก\"มาริโอคาร์ต 64\" ภาคก่อนหน้าคือ\"\" ใน ค.ศ. 2001 และภาคต่อคือเกมมือถือ \"มาริโอคาร์ตดีเอส\" ออกจำหน่ายสำหรับเครื่องเล่นนินเท็นโด ดีเอส ใน ค.ศ. 2005", "title": "มาริโอคาร์ต: ดับเบิลแดช" }, { "docid": "750113#0", "text": "ซูเปอร์มาริโอ 64 () เป็นวิดีโอเกมแพลตฟอร์ม จำหน่ายโดยนินเท็นโดและพัฒนาโดยแผนกอีเอดีของนินเท็นโด สำหรับเครื่องเล่นนินเท็นโด 64 โดยออกพร้อมกับเครื่องเล่น เช่นเดียวกับเกม\"ไพลอตวิงส์ 64\" เกมออกจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1996 และหลังจากนั้นในอเมริกาเหนือ ยุโรป และออสเตรเลีย เกมซูเปอร์มาริโอ 64 ขายได้มากกว่า 11 ล้านหน่วย เกมภาคทำใหม่ในชื่อ\"ซูเปอร์มาริโอ 64 ดีเอส\" ออกจำหน่ายสำหรับนินเท็นโด ดีเอส ใน ค.ศ. 2004", "title": "ซูเปอร์มาริโอ 64" }, { "docid": "811638#0", "text": "โปเกมอน ภาคเยลโลว์: สเปเชียล พิกะจู เอดิชั่น เป็นที่รู้จักกันในชื่อโปเกมอน ภาคเยลโลว์ เป็นวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทในปี1998 ที่พัฒนาโดยเกมฟรีก และเผยแพร่โดยนินเท็นโด สำหรับเกมบอยที่เป็นเครื่องเล่นเกมพกพาในเครื่องเล่นวิดีโอเกม ซึ่งเป็นภาคปรับปรุงของโปเกมอน ภาคเรดและภาคบลู พร้อมกับได้วางจำหน่ายโปเกมอน ภาคเยลโลว์: สเปเชียล พิกะจู เอดิชั่นพร้อมกับเครื่องเล่นเกมบอยคัลเลอร์พร้อมๆกัน", "title": "โปเกมอน เยลโลว์" }, { "docid": "18637#0", "text": "นินเท็นโด DS (Nintendo DS หรือตัวย่อ NDS) เป็นเครื่องเล่นเกมพกพาที่มี 2 จอ ของบริษัทนินเท็นโด ตัวอักษร \"DS\" ย่อมาจาก Dual Screen หรือ Developer's System ตามที่นินเท็นโดได้บอกไว้ รหัสในการพัฒนาคือ \"Project Nitro\" รูปทรงของ NDS เป็นแบบฝาพับ (clamshell) เช่นเดียวกับ Gameboy Advance SP", "title": "นินเท็นโด ดีเอส" }, { "docid": "661423#0", "text": "ซูเปอร์สแมชบราเธอร์สฟอร์นินเท็นโด 3ดีเอส แอนด์วียู (; ) เป็นวิดีโอเกมต่อสู้ที่ได้รับการพัฒนาโดยโซะระ ลิมิเต็ด กับบันไดนัมโคเกมส์ และได้รับการพัฒนาโดยนินเท็นโดสำหรับระบบเครื่องเล่นวิดีโอเกมนินเท็นโด 3ดีเอส และวียู โดยเกมทั้งสองเวอร์ชันเป็นตัวแทนของเกมในชุดที่สี่และห้า ในซีรีส์\"ซูเปอร์สแมชบราเธอร์ส\" โดยในเกมของซีรีส์นี้ จะมีตัวละครต่าง ๆ จากแฟรนไชส์ของนินเท็นโด สำหรับเวอร์ชันนินเท็นโด 3ดีเอส ได้รับการเปิดตัวที่ประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 2014, ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 2014 และในประเทศออสเตรเลียวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ส่วนเวอร์ชันวียูได้วางจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนือ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014, ทวีปยุโรปวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014, ประเทศออสเตรเลียวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 และในประเทศญี่ปุ่นวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 2014 ", "title": "ซูเปอร์สแมชบราเธอร์สฟอร์นินเท็นโด 3ดีเอส แอนด์วียู" }, { "docid": "121429#3", "text": "การร่วมทุนครั้งแรกในวงการเกมอิเล็กทรอนิกส์ของนินเท็นโด คือการกระจายสินค้าแม็กนาวอกซ์โอดีสซีในประเทศญี่ปุ่นใน 1975 ก่อนที่นินเท็นโดจะผลิตเครื่องเล่นเกมเป็นของตนเอง", "title": "แม็กนาวอกซ์โอดีสซี" }, { "docid": "18633#0", "text": "นินเท็นโด 64 () เป็นเครื่องเล่นเกมคอนโซลรุ่นที่สามของบริษัทนินเท็นโด วางจำหน่ายครั้งแรกที่ญี่ปุ่น วันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1996 และที่สหรัฐอเมริกา วันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1996", "title": "นินเท็นโด 64" }, { "docid": "749661#0", "text": "ซูเปอร์มาริโอเวิลด์ () หรือชื่อเมื่อเริ่มออกจำหน่ายในญี่ปุ่นคือ ซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 4 () เป็นวิดีโอเกมแพลตฟอร์มที่พัฒนาและจำหน่ายโดยนินเท็นโด จำหน่ายแบบเกมแพ็กอิน (pack-in) สำหรับเครื่องเล่นซูเปอร์แฟมิคอม และเป็นเกมที่ห้าในวิดีโอเกมชุดซูเปอร์มาริโอ เกมพัฒนาโดยทีมนินเท็นโดอีเอดี นำโดยชิเงะรุ มิยะโมะโตะ ซึ่งเป็นผู้ผลิตเกม", "title": "ซูเปอร์มาริโอเวิลด์" }, { "docid": "43110#0", "text": "นินเท็นด็อกส์ () เป็นวิดีโอเกมในการจำลองเลี้ยงสุนัขสำหรับเครื่องเล่นนินเท็นโด ดีเอส โดยผู้เล่นเกมจะมีการโต้ตอบกับลูกสุนัขผ่านทางหน้าจอสัมผัส (touch screen) และไมโครโฟนของเครื่องเกม นินเท็นด็อกส์ออกตัวในงาน E3 ในปี 2547 และวางจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2548 ผลิตและพัฒนาโดยบริษัทนินเท็นโด ออกแบบโดย คิโยะชิ มิซุกิ", "title": "นินเท็นด็อกส์" }, { "docid": "749487#1", "text": "รูปแบบเกมที่เป็นเหมือนภาพวาดด้วยมือมีที่มาจากผู้ผลิตและสร้างมาริโอ ชิเงะรุ มิยะโมะโตะ ที่เกลียดกราฟิกพรีเรนเดอร์ของคอมพิวเตอร์ของเกม\"ดองกีคองคันทรี\" หลังจากพัฒนาเกมสี่ปี \"โยชิส์ไอส์แลนด์\"ออกจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1995 และจำหน่ายทั่วโลกหลังจากนั้นสองเดือน เทคนิคพิเศษบางอย่างได้รับการปรับปรุงด้วยไมโครชิปซูเปอร์เอฟเอกซ์ 2 เกมออกจำหน่ายสำหรับเครื่องเล่นเกมบอยแอ็ดวานซ์ โดยมีความเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยภายใต้ชื่อโยชิส์ไอส์แลนด์: ซูเปอร์มาริโอแอ็ดวานซ์ 3 เกมรุ่นนี้ถูกนำมาจำลองผ่านคอนโซลเสมือนวียูใน ค.ศ. 2014 และเป็น \"โปรแกรมตัวแทน\" ส่งเสริมสำหรับเครื่องเล่นนินเท็นโด 3ดีเอส ใน ค.ศ. 2011 โดยเฉพาะ", "title": "โยชิส์ไอส์แลนด์" }, { "docid": "837629#0", "text": "นินเท็นโด เน็ตเวิร์ก () เป็นเครือข่ายเกมออนไลน์ของนินเท็นโด ออนไลน์สำหรับเครื่องเล่นเกม นินเท็นโด 3ดีเอส และ วียู เปิดตัวเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2012", "title": "นินเท็นโด เน็ตเวิร์ก" }, { "docid": "19108#1", "text": "นินเท็นโดได้วางจำหน่ายเครื่องเล่นเกมคอนโซล 6 รุ่น ได้แก่ คัลเลอร์ ทีวี เกม ฟามิคอม ซูเปอร์ฟามิคอม นินเท็นโด 64 เกมคิวบ์ วี วียู และ นินเทนโดสวิตช์ สำหรับเครื่องเล่นเกมพกพา ได้วางจำหน่ายเกมบอย 7 รุ่น เวอร์ชวลบอย นินเท็นโด DS นินเท็นโด 2DS นินเท็นโด 3DS นิว นินเท็นโด 3ดีเอส และ เกมกดและ วิดีโอเกม อื่น ๆ อีกมาก", "title": "นินเท็นโด" }, { "docid": "750481#2", "text": "มีการประกาศเรื่องการพัฒนาเกมภาคไดมอนด์และเพิร์ลในงานประชุมสื่อนินเท็นโดในไตรมาสที่สี่ของ ค.ศ. 2004 เกมถูกออกแบบให้มีคุณสมบัติเข้ากับเครื่องดีเอส มีการคาดการณ์ว่าจะออกจำหน่ายในญี่ปุ่นใน ค.ศ. 2005 แต่ถูกเลื่อนออกไปเป็น ค.ศ. 2006 ในการส่งเสริมเกม นินเท็นโดขายเครื่องเล่นนินเท็นโด ดีเอส ไลต์ รุ่นจำกัดในญี่ปุ่น และจัดงานสังสรรค์เฉลิมฉลองการวางจำหน่ายในอเมริกาเหนือ", "title": "โปเกมอน ไดมอนด์และเพิร์ล" }, { "docid": "18633#6", "text": "การตัดสินใจใช้ตลับเกมเป็นสื่อบันทึกเกมของนินเท็นโด ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด และเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้นินเท็นโดพ่ายแพ้ต่อโซนี่ในวงการอุตสาหกรรมเกมคอนโซลในยุคนั้น หลังจากที่เป็นผู้ครองตลาดมาหลายสิบปี ทางนินเท็นโดได้พยายามโฆษณาถึงข้อดีของตลับเกม และข้อเสียของ CD-ROM นินเท็นโดโจมตีว่า เกมที่ใช้CD-ROM นั้นต้องเสียเวลาโหลดนานและโหลดถี่ ต่างกับตลับที่แทบไม่ใช้เวลาในการโหลดเลย เนื่องจากในยุคนั้นเทคโนโลยีหัวอ่านCDยังไม่ก้าวหน้ามากนัก และยังโจมตีว่าเกมจากCDนั้นสามารถก๊อปปี๊ได้ง่าย ต่างจากตลับเกมที่ก๊อปปี๊ได้ยากกว่า นอกจากนั้นCDนั้นยังบอบบางและเสียหายง่าย หากมีรอยขีดข่วนก็อาจจะอ่านข้อมูลจากแผ่นนั้นไม่ได้เลย ต่างจากตลับที่ทนทานกว่า", "title": "นินเท็นโด 64" }, { "docid": "816692#0", "text": "นินเทนโดสวิตช์ (, ) ที่รู้จักกันในภายใต้ชื่อรหัสพัฒนาว่า เอ็นเอกซ์ (NX) เป็นคอนโซลวิดีโอเกม โดยระบบออกจำหน่ายในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งนินเทนโดสวิตช์ เป็นเครื่องเล่นเกมแบบไฮบริดจ์ สามารถใช้เล่นได้ทั้งแบบในบ้านโดยจะมีตัวแท่นวาง (หรือ Docking Station) เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับทีวีผ่านพอร์ท HDMI และแบบพกพา ที่เล่นได้บนแท็บเล็ตทั้งพกพา และตั้งโต๊ะได้", "title": "นินเท็นโดสวิตช์" }, { "docid": "747944#15", "text": "ในญี่ปุ่น \"พ็อกเก็ตมอนสเตอส์ เรด\"และ\"กรีน\" วางจำหน่ายเป็นภาคแรก เกมขายได้รวดเร็ว ส่วนหนึ่งมาจากความคิดของนินเท็นโดที่ให้ผลิตออกมาเป็นสองภาคย่อยแทนที่จะทำเป็นภาคเดียว เพื่อให้ผู้ซื้อซื้อทั้งสองภาค หลายเดือนต่อมา ภาค\"บลู\"วางจำหน่ายในญี่ปุ่นเป็นรุ่นพิเศษที่ให้สั่งซื้อทางจดหมายเท่านั้น โดยได้เพิ่มเติมงานศิลป์ในเกมและบทพูดใหม่ ๆ ทะจิริเปิดเผยโปเกมอนพิเศษชื่อ มิว ที่ซ่อนไว้ในเกมเพื่อสร้างความตื่นเต้นและความท้าทายให้กับเกม โดยเขาเชื่อว่า \"สร้างข่าวลือและตำนานให้กับเกม\" และ \"ทำให้ความน่าสนใจในเกมยังคงอยู่\" ชิเงะกิ โมะริโมะโตะเพิ่มมิวลงในเกมเพื่อเป็นเรื่องล้อเล่นภายในและไม่ตั้งใจจะเปิดเผยสู่ลูกค้า ต่อมา นินเท็นโดตัดสินใจแจกมิวผ่านกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมหนึ่งของนินเท็นโด จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2003 มีกลิตช์อันหนึ่งที่คนทั่วไปรู้จัก และใครก็ตามสามารถใช้กลิตช์นี้เพื่อให้ได้มิวมา", "title": "โปเกมอน เรดและบลู" }, { "docid": "750195#0", "text": "มาริโอปาร์ตี 4 () เป็นเกมที่สี่ในเกมชุดรูปแบบเกมกระดานและเป็นเกมแรกในชุดที่ออกจำหน่ายสำหรับเครื่องเล่นนินเท็นโด เกมคิวบ์ แสดงตัวละครชื่อดังจากนินเท็นโดหลายตัว \"มาริโอปาร์ตี 4\" ออกจำหน่ายในอเมริกาเหนือในวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2002 ในประเทศญี่ปุ่นวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 และในยุโรปและออสเตรเลียในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 เป็นเกมที่สี่ในเกมชุด\"มาริโอปาร์ตี\" \"มาริโอปาร์ตี 4\" มีภาคต่อคือ \"มาริโอปาร์ตี 5\"", "title": "มาริโอปาร์ตี 4" }, { "docid": "747944#23", "text": "เว็บไซต์วิดีโอเกม วันอัปดอตคอม สร้างรายชื่อ \"5 เกมยอดเยี่ยมที่'มาทีหลัง'\" แสดงชื่อเกมที่ \"พิสูจน์ถึงเครื่องเกมที่อาจขายไม่ออก\" และเป็นหนึ่งในเกมสุดท้ายที่ออกกับเครื่องเล่นนั้น เมื่อครั้งที่เกมออกจำหน่ายบนเครื่องเกมบอยหลายเกมในปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 \"เรด\"และ\"บลู\"อยู่อันดับที่หนึ่ง และถือเป็น \"อาวุธลับ\" ของนินเท็นโด \"นินเท็นโดเพาเวอร์\"จัดอันดับให้ภาค\"เรด\"และ\"บลู\"เป็นวิดีโอเกมที่ดีที่สุดอันดับที่สามของเครื่องเล่นเกมบอยและเกมบอยคัลเลอร์ โดยกล่าวว่าบางอย่างในเกมจะทำให้พวกเขาเล่นอย่างต่อเนื่องจนพวกเขาจับโปเกมอนได้ทุกตัว เบ็น รีฟส์ จากนิตยสาร\"เกมอินฟอร์เมอร์\"เรียกพวกเขา (รวมถึงโปเกมอน \"เยลโลว์ โกลด์ ซิลเวอร์\" และ\"คริสตัล\") ให้เป็นเกมบอยที่ดีที่สุดอันดับสองและกล่าวว่าเกมมีความลึกมากกว่าที่เห็น \"นิตยสารทางการของนินเท็นโด\"ตั้งให้เกมเป็นหนึ่งในเกมของนินเท็นโดที่ดีที่สุดตลอดกาล อยู่อันดับที่ 52 ในรายชื่อเกม 100 เกมยอดเยี่ยม ภาค\"เรด\"และ\"บลู\"อยู่อันดับที่ 72 ในรายชื่อ 100 เกมยอดเยี่ยมตลอดกาลจัดโดยไอจีเอ็นเมื่อปี ค.ศ. 2003 โดยนักวิจารณ์มองว่าเกมทั้งคู่ \"ริเริ่มการปฏิวัติวิดีโอเกม\" และยกย่องการออกแบบเกมที่มีรายละเอียดลึกและกลยุทธ์ที่ซับซ้อน และการแลกเปลี่ยนกันระหว่างเกมด้วย สองปีถัดมา เกมขึ้นไปอยู่อันดับที่ 70 ในรายชื่อที่ปรับปรุงแล้ว เนื่องจากสิ่งสืบทอดในเกมได้บันดาลให้เกิดวิดีโอเกมภาคต่อ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และสินค้าอื่น ๆ มากมาย เป็นการหยั่งรากวัฒนธรรมสมัยนิยมอย่างแข็งแกร่ง ในปี ค.ศ. 2007 \"เรด\"และ\"บลู\"ถูกจัดอยู่อันดับที่ 37 และนักวิจารณ์กล่าวถึงความยืนยาวของเกมว่า", "title": "โปเกมอน เรดและบลู" }, { "docid": "748215#0", "text": "โปเกมอนภาครูบีและโปเกมอนภาคแซฟไฟร์ () เป็นเกมลำดับที่สามในวิดีโอเกมชุด\"โปเกมอน\" พัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีก และจำหน่ายโดยนินเท็นโดสำหรับเครื่องเล่นเกมบอยแอดวานซ์ เกมออกจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นในปลายปี ค.ศ. 2002 และต่างประเทศใน ค.ศ. 2003 โปเกมอนภาค\"เอเมอรัลด์\" เป็นเกมภาคพิเศษ ออกจำหน่ายใน 2 ปีหลังของแต่ละภูมิภาค เกมโปเกมอนสามเกมนี้ (โปเกมอนภาค\"รูบี\" \"แซฟไฟร์\" และ\"เอเมอรัลด์\") เป็นเกมโปเกมอนเจนเนอเรชันที่สาม หรือเรียกว่า \"แอดวานซ์เจนเนอเรชัน\" (advanced generation) โปเกมอนภาคทำใหม่ ชื่อภาค\"โอเมการูบี\"และ\"อัลฟาแซฟไฟร์\" ออกจำหน่ายสำหรับเครื่องนินเท็นโด 3ดีเอส ทั่วโลกในวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 หลังจำหน่ายภาค\"รูบี\"และ\"แซฟไฟร์\" 2 ปีพอดี ยกเว้นในยุโรป ที่ออกจำหน่ายวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014", "title": "โปเกมอน รูบีและแซฟไฟร์" }, { "docid": "768368#0", "text": "โปเกมอนภาคเอกซ์ และโปเกมอนภาควาย () เป็นวิดีโอเกมสวมบทบาทพัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีก และจำหน่ายโดยนินเท็นโด สำหรับเครื่องเล่นนินเท็นโด 3ดีเอส เกมเป็นเกมลำดับแรกในเจนเนอเรชันที่หกของเกมชุด\"โปเกมอน\" เกมประกาศเปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 2013 โดยซะโตะรุ อิวะตะ ผ่านรายการนินเท็นโดไดเรกต์ ทั้งภาค\"เอกซ์\"และ\"วาย\"ออกจำหน่ายทั่วโลกในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ทำให้เป็นเกมแรกที่นินเท็นโดวางจำหน่ายพร้อมกันทั่วโลกในทุกภูมิภาค", "title": "โปเกมอน เอกซ์และวาย" }, { "docid": "749987#0", "text": "เปเปอร์มาริโอ () หรือชื่อญี่ปุ่นคือ มาริโอสตอรี () และชื่อเดิมคือ ซูเปอร์มาริโออาร์พีจี 2 ()เป็นวิดีโอเกมสวมบทบาทพัฒนาโดยบริษัทอินเทลลิเจนต์ซิสเต็มส์ และจำหน่ายโดยนินเท็นโดสำหรับเครื่องเล่นนินเท็นโด 64 เกมออกจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 2000 ในอเมริกาเหนือวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 และในยุโรปและออสเตรเลียวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2001 \"เปเปอร์มาริโอ\"ออกจำหน่ายซ้ำลงคอนโซลเสมือน วี ของนินเท็นโดในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007 และวียู ใน ค.ศ. 2015", "title": "เปเปอร์มาริโอ" }, { "docid": "750481#0", "text": "โปเกมอนภาคไดมอนด์ และภาคเพิร์ล () เป็นเกมสวมบทบาทพัฒนาโดยเกมฟรีกและจำหน่ายโดยนินเท็นโด สำหรับเครื่องเล่นนินเท็นโด ดีเอส เมื่อรวมกับเกมภาคทำใหม่ โปเกมอนแพลทินัม เกมโปเกมอนสามภาคนี้เป็นเกมที่ห้าและเป็นเจเนอเรชันที่สี่ของเกมชุด\"โปเกมอน\" เกมออกจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2006 ต่อมาจำหน่ายในอเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย และยุโรปตลอดปี ค.ศ. 2007", "title": "โปเกมอน ไดมอนด์และเพิร์ล" }, { "docid": "632648#0", "text": "มาริโอคาร์ต 8 (; ) เป็นเกมแข่งรถโกคาร์ต ที่พัฒนาและวางจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับเครื่องเล่นวิดีโอเกมวียู เกมนี้เป็นภาคที่แปดของแฟรนไชส์\"มาริโอคาร์ต\"บนเครื่องคอนโซล และเป็นเกมลำดับที่สิบเอ็ดของชุด (ไม่นับเกมที่เปีดตัวบนเกมตู้) โดยมียอดจำหน่ายที่ 1.2 ล้านชุดในช่วงสี่วันแรก นับเป็นเกมวียูที่ทำยอดขายต่อวันได้เร็วที่สุด และในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ทางนินเทนโดได้มีการรายงานถึงยอดจำหน่าย 2 ล้านชุดในช่วงเดือนแรกของการเปิดตัว ต่อมานินเท็นโดได้ประกาศว่าตัวเกมจะมีการรองรับการเชื่อมต่อกับอะมีโบ และมีตัวดาวน์โหลดเสริม", "title": "มาริโอคาร์ต 8" }, { "docid": "665703#15", "text": "มีการจำหน่ายวิดีโอเกมสำหรับเครื่องเล่นนินเท็นโด ดีเอสและนินเท็นโด 3ดีเอส ที่อิงจากภาพยนตร์ชื่อเกมว่า Big Hero 6: Battle in the Bay วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557 [23] นอกจากนี้ยังมีเกมแอปพลิเคชันที่อิงจากภาพยนตร์ชื่อเกมว่า Big Hero 6: Bot Fight [24][25] และนอกจากสองเกมข้างต้นแล้ว สแควร์อีนิกซ์ ยังได้ประกาศนำโลกจากภาพยนตร์เรื่องนี้ไปลงไว้ในเกม คิงดอมส์ฮาร์ท 3 ทั้งหมด และสร้างเนื้อเรื่องต่อจากภาพยนตร์หลักอีกด้วย", "title": "บิ๊กฮีโร่ 6" }, { "docid": "747944#0", "text": "โปเกมอนภาคเรด และ โปเกมอนภาคบลู () เดิมจำหน่ายในญี่ปุ่นในชื่อ พ็อกเก็ตมอนสเตอส์: เรดและกรีน เป็นวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทพัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีกและจำหน่ายโดยนินเท็นโดสำหรับเครื่องเล่นเกมบอย เกมโปเกมอนภาคนี้เป็นเกมแรกของวิดีโอเกมชุดโปเกมอน ออกจำหน่ายครั้งแรกใน ค.ศ. 1996 ในชื่อภาค\"เรด\"และ\"กรีน\" สำหรับภาค\"บลู\" () ออกจำหน่ายภายหลังในปีเดียวกันเป็นรุ่นพิเศษ ต่อมาเกมจำหน่ายชื่อภาค\"เรด\"และ\"บลู\"ในอเมริกาเหนือ ยุโรป และออสเตรเลียภายในเวลา 3 ปี \"โปเกมอนภาคเยลโลว์\" ภาคพิเศษ ออกจำหน่ายราว ๆ ปีต่อมา ภาค\"เรด\"และ\"กรีน\"ถูกนำมาทำใหม่สำหรับเครื่องเล่นเกมบอยอัดวานซ์ในชื่อ\"โปเกมอนภาคไฟร์เรด\"และ\"ลีฟกรีน\" จำหน่ายใน ค.ศ. 2004", "title": "โปเกมอน เรดและบลู" }, { "docid": "121429#1", "text": "แม็กนาวอกซ์โอดีสซีออกวางจำหน่ายในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2515 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะการตลาดที่อ่อนแอของร้านค้าตัวแทนจำหน่ายของแม็กนาวอกซ์ ในอีกไม่กี่เดือนถัดมา ผู้บริโภคหลายคนถูกทำให้เชื่อว่าเครื่องเล่นเกมนี้สามารถเล่นได้กับเฉพาะเครื่องรับโทรทัศน์ของแม็กนาวอกซ์เท่านั้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้เครื่องเล่น ป็อง ของอาตาริที่ออกตัวในภายหลังได้อธิบายอย่างชัดเจนว่า \"เครื่องเล่นเกม ป็อง สามารถเล่นได้กับเครื่องรับโทรทัศน์ทุกเครื่องไม่ว่าจะเป็นขาวดำ หรือสี\" แม็กนาวอกซ์ได้ฟ้องศาลแก่ นายโนลัน บุชเนลล์ ในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์การออกแบบของเครื่องเล่น ป็อง ที่มีเกมปิงปองเหมือนกันกับโอดีสซี ในช่วงทศวรรษหลังจากนั้น แม็กนาวอกซ์ได้ดำเนินการฟ้องร้องบริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัท เช่น โคเลโก, แมทเทล, ซีเบิร์ก, แอคติวิชัน เป็นต้น ซึ่งผลก็มีทั้งชนะความ และชนะการบังคับคดีอีกด้วย.\nในปี พ.ศ. 2528 แม็กนาวอกซ์ถูกฟ้องร้องโดยนินเท็นโดแทน และพยายามที่จะให้สิทธิบัตรของนายราล์ฟ แบร์ เป็นโมฆะ โดยนินเทนโดกล่าวว่าเครื่องเล่นวิดิโกมเครื่องแรกคือเกม Tennis For Two ของฮิกกินโบธแฮม (Higginbotham's Tennis For Two) ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2501 แต่ศาลตัดสินว่าเกมของฮิกกินโบธแฮม ไม่ได้ใช้ระบบส่งสัญญาณวิดีโอ จึงไม่เป็นเครื่องวิดีโอเกม ผลการตัดสินทำให้นินเท็นโดพ่ายไปในที่สุด และจ่ายค่าเสียหายให้กับ Sanders Associates", "title": "แม็กนาวอกซ์โอดีสซี" }, { "docid": "749844#1", "text": "ทีมนินเท็นโดอาร์แอนด์ดี1 ของกุมเปอิ โยะโกะอิ นักสร้างเกมบอย ทำตามคำขอของผู้บริหารนินเท็นโด ฮิโระชิ ยะมะอุชิ ให้พัฒนาเกมมาริโอเกมหนึ่งลงเครื่องเล่นเกมใหม่ แรกเริ่มเป็นรุ่นพกพาของมาริโอ และเป็นเกมแรกที่ทำขึ้นโดยไม่มีความร่วมมือจากชิเงะรุ มิยะโมะโตะ ด้วยเหตุนั้น ทีมพัฒนาลดคุณสมบัติของเกมมาริโอลงให้เหมาะกับอุปกรณ์ และใช้บางคุณสมบัติที่ไม่สอดคล้องกับเกมในชุด ซูเปอร์มาริโอแลนด์ถูกคาดหวังว่าเป็นเกมที่แสดงจุดเด่นของเครื่องเล่นจนกระทั่งเกมเตตริส ที่ผลิตโดยนินเท็นโดอเมริกาออกจำหน่ายสำหรับเกมบอย เกมออกคู่กับเกมบอยครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น (เมษายน ค.ศ. 1989) และจำหน่ายทั่วโลกหลังจากนั้น \"ซูเปอร์มาริโอแลนด์\"ถูกจำหน่ายซ้ำพร้อมเปิดตัวเครื่องเล่นนินเท็นโด 3ดีเอส ผ่านคอนโซลเสมือน ใน ค.ศ. 2011 ซึ่งแสดงให้เห็นการปรับเปลี่ยนภาพให้เหมาะสมกับเครื่องเล่นด้วย", "title": "ซูเปอร์มาริโอแลนด์" } ]
3963
มาสค์ไรเดอร์ไกมุ มีกี่ตอน?
[ { "docid": "556487#0", "text": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ () เป็นชื่อของภาพยนตร์ญี่ปุ่นแนวโทคุซัทสึ ในซีรีส์มาสค์ไรเดอร์ ประจำปี 2013 เป็นลำดับที่ 24 ผลิตโดย โตเอะ คัมปะนี และ อิชิโนะโมะริ โปรดักชั่นส์ โดยออกอากาศต่อจาก มาสค์ไรเดอร์วิซเซิร์ด ทางทีวีอาซาฮี ในช่วง ซูเปอร์ฮีโร่ ไทม์ โดยมีกำหนดการออกอากาศในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2013 และสิ้นสุดการออกอากาศเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2014 รวมจำนวนตอนทั้งหมด 47 ตอน", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" } ]
[ { "docid": "556487#3", "text": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ (仮面ライダー鎧武) / คาสึราบะ โคตะ (葛葉紘汰) แสดงโดย ซาโนะ กาคุ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#32", "text": "มาสค์ไรเดอร์บราโว (仮面ライダーブラボー) / โอเรน ปิแอร์ อัลฟองโซ (凰蓮・ピエール・アルフォンゾ) แสดงโดย โยชิดะ เมทัล", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#99", "text": "\"E-X-A (ExcitingxAttitude)\"", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "4344#17", "text": "มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ์ เป็นมาสค์ไรเดอร์เพียงคนเดียวในยุคเฮย์เซย์เฟส 2 ที่ไม่ได้มาปรากฏตัวในซีรียส์รุ่นพี่อย่าง มาสค์ไรเดอร์ไกมุ แต่มีหนังโรงภาคที่ทั้งสองคนได้มาพบกัน", "title": "มาสค์ไรเดอร์ ซีรีส์" }, { "docid": "892602#0", "text": "มาสค์ไรเดอร์ X มาสค์ไรเดอร์ ไดรฟ์ & ไกมุ: สงครามไรเดอร์ครั้งใหม่ () เป็นภาพยนตร์แนวโทคุซัทสึข้ามฝั่ง ที่เป็นการเจอกันระหว่าง มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ์ และมาสค์ไรเดอร์ไกมุ ออกฉายครั้งแรกในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2014", "title": "มาสค์ไรเดอร์ X มาสค์ไรเดอร์ ไดรฟ์ &amp; ไกมุ: สงครามไรเดอร์ครั้งใหม่" }, { "docid": "556487#106", "text": "\"Ranbu Escalation\" ()", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#98", "text": "ร้องโดย ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร feat.Kamen Rider Girls ใช้ในตอนที่ ตอนที่ 3 - 39, 41 เพลงประกอบการต่อสู้", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#83", "text": "โซนิคแอร์โรว์ อาวุธประจำตัวรูปแบบธนูของไกมุ เกราะจินบา และ อาร์มเมิร์ดไรเดอร์รุ่นใหม่ สามารถใช้ฟันแบบดาบและยิงแบบธนูได้ในตัว", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "644281#0", "text": "มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ () เป็นภาพยนตร์ญี่ปุ่นแนวโทคุซัทสึ ในซีรีส์มาสค์ไรเดอร์ ประจำปี 2014 เป็นลำดับที่ 25 ผลิตโดย โตเอะ คัมปะนี และ อิชิโนะโมะริ โปรดักชั่นส์ โดยออกอากาศต่อจาก มาสค์ไรเดอร์ไกมุ ทุกวันอาทิตย์ 8.00 ทางช่องทีวีอาซาฮี ในช่วง ซูเปอร์ฮีโร่ ไทม์ ออกอากาศเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2014 และได้สิ้นสุดการออกอากาศเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2015 มีจำนวนตอนทั้งหมด 48 ตอน", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ" }, { "docid": "556487#49", "text": "ในอดีตซิดเป็น 1 ในแก๊งพ่อค้ายาแต่ถูกอินเวสทำร้ายจนพรรคพวกถูกฆ่าจนเหลือแต่ตน กับถูกเรียวมะชักชวน มาสค์ไรเดอร์นัคเคิล (仮面ライダーナックル) / แซ็ค (ザック) แสดงโดย มัตสึดะ กาคุ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "4344#16", "text": "ในตอนจบพิเศษของซีรี่ยส์ มาสค์ไรเดอร์วิซาร์ด ได้พบกับเหล่ารุ่นพี่ในยุคเฮย์เซย์ทุกคน และในซีรี่ยส์ มาสค์ไรเดอร์ไกมุ ได้มีหนังโรงรวมไรเดอร์รุ่นพี่ทุกคนตั้งแต่ยุคโชวะถึงเฮย์เซย์อีกครั้งนับตั้งแต่ มาสค์ไรเดอร์ดีเคด เป็นต้นมา", "title": "มาสค์ไรเดอร์ ซีรีส์" }, { "docid": "890138#0", "text": "รวมพล 5 มาสค์ไรเดอร์ ปะทะ ดร. แพ็คแมน () เป็นภาพยนตร์แนวโทคุซัทสึข้ามฝั่ง ที่เป็นการเจอกันระหว่าง มาสค์ไรเดอร์เอ็กเซด และมาสค์ไรเดอร์โกสต์ ซึ่งเป็นตัวละครหลักของภาพยนตร์เรื่องนี้ และเป็นการปรากฎตัวของไรเดอร์รุ่นพี่ ได้แก่ มาสค์ไรเดอร์วิซาร์ด ,มาสค์ไรเดอร์ไกมุ และมาสค์ไรเดอร์ไดรฟ์ ซึ่งต่อสู้กับพวกวายร้ายของ ดร.แพ็ก-แมน ออกฉายครั้งแรกในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2016 โดยภาพยนตร์นี้ทำรายได้ถึง 723 ล้านเยน (6.3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ)", "title": "รวมพล 5 มาสค์ไรเดอร์ ปะทะ ดร. แพ็คแมน" }, { "docid": "556487#8", "text": "มาสค์ไรเดอร์บารอน (仮面ライダーバロン) / คุมง ไคโตะ (駆紋戒斗) แสดงโดย โคบายาชิ ยูทากะ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#41", "text": "มาสค์ไรเดอร์มาริกะ (仮面ライダーマリカ) / มินาโตะ โยโกะ (湊 耀子) แสดงโดย สึคุอิ มินามิ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "843889#0", "text": "\"ดูบทความหลักที่ มาสค์ไรเดอร์ไกมุ\"", "title": "รายชื่อตัวละครในมาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#57", "text": "เปโก (ペコ) แสดงโดย โมโมเสะ ซาคุ สมาชิกที่อ่อนที่สุดของทีมบารอน ชอบใช้วิธีโกงตอนอินเวสเกมเพื่อเอาชนะทีมของตนเองตามคำสั่งของแซ็ค โดยใช้หนังสติ๊กยิงผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม แต่ต่อมาก็เลิกใช้กลโกงเพราะถูกไคโตะจับได้ 3 เดือนต่อมาหลังจากนั้นเมืองซาวาเมะฟื้นตัวขึ้นมาเป็นสมาชิกในทีมบีทไรเดอร์รุ่นใหม่ที่แซ็คเป็นหัวหน้า", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#101", "text": "\"Toki no Hana\" ()", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "890138#2", "text": "เมื่อการรุกรานของ “แพ็คแมน” ไวรัสเกมลึกลับที่มีชีวิต ได้นำมาซึ่งอันตรายต่อมวลมนุษย์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยในขณะที่ไวรัสสุดอันตรายกำลังระบาด เท็นคูจิ ทาเครุ หรือ มาสค์ไรเดอร์โกสต์ เกิดติดไวรัสนี้เข้า ทำให้เขาไม่สามารถแปลงร่างได้ “โฮโจ เอมุ” หรือ มาสค์ไรเดอร์เอ็กเซด จึงพยายามสืบหาศัตรูที่เป็นต้นตอของการระบาด แต่กลับพบว่าตัวเขาเองมีส่วนเกี่ยวข้องกับ ความจริงอันยิ่งใหญ่ที่โถมกระหน่ำเข้ามาควบคุมชะตากรรม จนเกิดการรวมตัวของเหล่าตำนานมาสค์ไรเดอร์ทั้ง 5 แห่งยุคราวกับปาฏิหาริย์ จะมีวิธีการใดเพื่อกอบกู้สถานการณ์เลวร้ายนี้ มาสค์ไรเดอร์วิซาร์ด ที่หยุดพักและออกเดินทาง มาสค์ไรเดอร์ไกมุ ที่หายตัวไปจากพื้นพิภพ มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ ที่สูญเสียคุณเบลท์ไป (เข็มขัดประตัวใช้สำหรับแปลงร่าง) และความลับของมาสค์ไรเดอร์เอ็กเซด ที่รอการเปิดเผยเป็นตอนสปินออฟที่มี ดัน คุโรโตะ / มาสค์ไรเดอร์เก็นมุ เป็นตัวเอกในตอนนี้ โดยเนื้อหาของตอนจะอยู่ช่วงระหว่างตอนที่ 11 ของทีวีซีรีส์ ตอนละ 10 นาที มีจำนวน 3 ตอนด้วยกัน โดย 2 ตอนแรกจะเผยแพร่ทางยูทูบแชนแนลโตเอะ เดือนละตอน ส่วนตอนที่ 3 จะอยู่ใน DVD", "title": "รวมพล 5 มาสค์ไรเดอร์ ปะทะ ดร. แพ็คแมน" }, { "docid": "556487#46", "text": "ในอดีตโยโกะเป็น นักฆ่าฝีมือฉกาจ พยายามมาฆ่าเรียวมะตามคำสั่ง แต่ถูกเรียวมะชักชวนกันยื่นข้อเสนอจนมาเป็นเลขาของเรียวมะ มาสค์ไรเดอร์ซีกุร์ด (仮面ライダーシグルド) / ล็อกดีลเลอร์ ชิด (錠前ディーラー シド) แสดงโดย นามิโอกะ คาซุกิ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#25", "text": "มาสค์ไรเดอร์กริดอน (仮面ライダーグリドン) / มาสค์ไรเดอร์คุโรคาเงะ (仮面ライダー黒影) คนที่ 2 / โจโนะอุจิ ฮิเดยาสุ (城乃内 秀保) แสดงโดย มัตสึดะ เรียว", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#103", "text": "\"Rise Your Flag\"", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#14", "text": "มาสค์ไรเดอร์ริวเกน (仮面ライダー龍玄) / มาสค์ไรเดอร์ซันเงสึชิน (仮面ライダー斬月·真) คนที่ 2 / คุเรชิมะ มิทสึซาเนะ (呉島光実) แสดงโดย ทาคาซึงิ มาฮิโระ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "892568#0", "text": "มาสค์ไรเดอร์ ไกมุ & วิซาร์ด : ระเบิดศึกสงครามซามูไร () เป็นภาพยนตร์แนวโทคุซัทสึข้ามฝั่ง ที่เป็นการเจอกันระหว่าง มาสค์ไรเดอร์ไกมุ และมาสค์ไรเดอร์วิซาร์ด โดยเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 15 ปีของมาสค์ไรเดอร์ในยุคเฮย์เซย์ ออกฉายครั้งแรกในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2013", "title": "มาสค์ไรเดอร์ ไกมุ &amp; วิซาร์ด : ระเบิดศึกสงครามซามูไร" }, { "docid": "892585#0", "text": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ THE MOVIE: ศึกชิงถ้วยผลไม้ทองคำ () เป็นภาพยนตร์ของซีรีส์โทรทัศน์มาสค์ไรเดอร์ไกมุ เริ่มออกฉายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 โดยออกฉายคู่กับ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ THE MOVIE: ศึกชิงถ้วยผลไม้ทองคำ" }, { "docid": "556487#20", "text": "มาสค์ไรเดอร์ซันเงสึ (仮面ライダー斬月) / มาสค์ไรเดอร์ซันเงสึชิน (仮面ライダー斬月·真) คนแรก / คุเรชิมะ ทาคาโทระ (呉島貴虎) แสดงโดย คุโบตะ ยูกิ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#36", "text": "มาสค์ไรเดอร์ดยุ๊ค (仮面ライダーデューク) / เซนโกคุ เรียวมะ (戦極 凌馬) แสดงโดย อาโอกิ ซึเนโนริ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#29", "text": "มาสค์ไรเดอร์คุโรคาเงะ (仮面ライダー黒影) คนแรก / ฮาเสะ เรียวจิ (初瀬 亮二) แสดงโดย ชิรามาตะ อัตสึชิ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "843889#28", "text": "รองหัวหน้าทีมบารอน ตอนแข่งอินเวสเกมมักใช้ล็อกซีดคลาส C+ ขึ้นไป คอยสั่งให้เปโกใช้กลโกงตอนอินเวสเกมแต่ต่อมาก็เลิกใช้กลโกงเพราะถูกไคโตะจับได้ ผู้แปลงร่างเป็นมาสค์ไรเดอร์นัคเคิล โดยใช้เข็มขัดเซนโกคุไดรเวอร์รุ่นผลิตจำนวนมากที่ไคโตะขโมยมาตอนที่หนีออกมาจากบริษัทยุกดราชิลคอร์ปอร์เรชันมอบให้ก่อนลาออกจากทีม \nปัจจุบันเป็นหัวหน้าคนใหม่ของทีมบารอน และใช้เซนโกคุไดรเวอร์รุ่นผลิตจำนวนมากกับคุรุมิล็อกซีดที่ตนทำให้กลายเป็นอาร์มเมิร์ดไรเดอร์ของทีมบารอน คอยช่วยเหลือพวกโคตะกำจัดพวกอินเวสที่รุกราน โดยเชื่อว่าซักวันไคโตะจะกลับมาเข้าทีมอีกครั้ง ", "title": "รายชื่อตัวละครในมาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#50", "text": "รองหัวหน้าทีมบารอน ตอนแข่งอินเวสเกมมักใช้ล็อกซีดคลาส C+ ขึ้นไป คอยสั่งให้เปโกใช้กลโกงตอนอินเวสเกมแต่ต่อมาก็เลิกใช้กลโกงเพราะถูกไคโตะจับได้ ผู้แปลงร่างเป็นมาสค์ไรเดอร์นัคเคิล โดยใช้เข็มขัดเซนโกคุไดรเวอร์รุ่นผลิตจำนวนมากที่ไคโตะขโมยมาตอนที่หนีออกมาจากบริษัทยุกดราชิลคอร์ปอร์เรชันมอบให้ก่อนลาออกจากทีม ปัจจุบันเป็นหัวหน้าคนใหม่ของทีมบารอน และใช้เซนโกคุไดรเวอร์รุ่นผลิตจำนวนมากกับคุรุมิล็อกซีดที่ตนทำให้กลายเป็นอาร์มเมิร์ดไรเดอร์ของทีมบารอน คอยช่วยเหลือพวกโคตะกำจัดพวกอินเวสที่รุกราน โดยเชื่อว่าซักวันไคโตะจะกลับมาเข้าทีมอีกครั้ง", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" } ]
1931
การจัดเส้นทางแบบหัวหอมได้พัฒนาขึ้นในเมื่อใด?
[ { "docid": "957202#1", "text": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอมได้พัฒนาขึ้นในกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ณ แล็บวิจัยกองทัพเรือสหรัฐโดยเจ้าหน้าที่คือ Paul Syverson, Michael G. Reed, และ David Goldschlag[6][7] เพื่อป้องกันการสื่อสารราชการลับของสหรัฐออนไลน์[8] แล้วต่อมาจึงพัฒนายิ่งขึ้นโดยสำนักงานโปรเจ็กต์งานวิจัยก้าวหน้ากระทรวงกลาโหม (DARPA) แล้วจดสิทธิบัตรโดยกองทัพเรือในปี 1998[7][9][10]", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" } ]
[ { "docid": "957202#34", "text": "ปัจจัยที่อาจช่วยให้วิเคราะห์การสื่อสารได้รวมทั้งโหนดขัดข้องแล้วออกจากเครือข่าย[42] และโหนดส่งต่อที่ถูกแฮ็กให้เก็บบันทึกการเชื่อมต่อทุก ๆ ครั้งที่มีการสร้างวงจรใหม่[43]", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "957202#4", "text": "ให้สังเกตว่า การจัดเส้นทางแบบหัวหอมเป็นโพรโทคอลที่ดำเนินการและพัฒนาการขึ้นเรื่อย ๆ โดยโปรเจ็กต์ทอร์เป็นหลัก เนื่องจากไม่มีเอกสารที่รวมสรุปการทำให้เกิดผลดังที่ใช้ในปัจจุบันแบบง่าย ๆ นอกเหนือจากเอกสารกำหนดคุณลักษณะทางเทคนิกต่าง ๆ ข้อมูลในบทความนี้จึงมาจากบทความต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่เอกสารแสดงแบบของโพรโทรคอลรุ่นสองของทอร์ในปี 2004[2] เนื้อความในบทความอาจจะจับใจความสำคัญต่าง ๆ ได้ แต่รายละเอียดบางอย่างอาจเคลื่อนคลาดจากดังที่ทำให้เกิดผลในปัจจุบัน", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "957202#0", "text": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม[3] (English: onion routing) เป็นเทคนิคการสื่อสารแบบนิรนามผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในเครือข่ายหัวหอม ข้อความจะเข้ารหัสลับเป็นชั้น ๆ จึงอุปมาเหมือนกับชั้นหัวหอม ข้อมูลที่เข้ารหัสจะส่งผ่านโหนด/สถานีรีเลย์ในเครือข่ายที่เรียกว่า เราเตอร์หัวหอม (onion router) โดยแต่ละสถานีจะ \"ปอก\" ชั้นหนึ่งออกเพื่อเปิดเอาข้อมูลที่จะส่งต่อไป เมื่อชั้นสุดท้ายได้ถอดรหัสแล้ว ข้อความเดิมก็จะส่งไปยังระบบเป้าหมายจริง ๆ ผู้ส่งได้สภาวะนิรนามก็เพราะสถานีในระหว่าง ๆ จะรู้ที่อยู่/ตำแหน่งของโหนดก่อนหน้าและโหนดที่ส่งต่อไปเท่านั้น[4] โดยไม่มีสถานีไหน ๆ ที่รู้ที่อยู่ของทั้งระบบต้นสายและระบบปลายทางทั้งสอง แม้ระบบปลายทางเองก็รู้เพียงแต่ที่อยู่ของสถานีสุดท้ายในเครือข่ายเท่านั้น แต่ก็มีวิธีที่สามารถทำลายสภาวะนิรนามของเทคนิคเช่นนี้ได้ เช่น การวิเคราะห์เวลา ถ้าสามารถดักฟังข้อมูลทั้งขาเข้าขาออกจากเครือข่ายได้[5]", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "957202#38", "text": "วิทยาการเข้ารหัสลับ ตุ๊กตาแม่ลูกดก พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ Tox - การทำให้เกิดผลการจัดเส้นทางแบบหัวหอม Tribler - การทำให้เกิดผลการจัดเส้นทางแบบหัวหอม", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "957202#12", "text": "สำหรับ<b data-parsoid='{\"dsr\":[22764,22781,3,3]}'>เซลล์ส่งต่อ ส่วนที่เป็นข้อมูลภายในเซลล์จะเข้ารหัสลับด้วยกุญแจอายุสั้นที่ร่วมใช้ระหว่างระบบผู้ใช้กับสถานีแต่ละสถานี ส่วนนี้ยังมี<b data-parsoid='{\"dsr\":[22897,22916,3,3]}'>ส่วนหัวรีเลย์ (relay header) ซึ่งอยู่ในลำดับต่อไปจากส่วนหัวของเซลล์ รวมทั้ง[23]", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "957202#25", "text": "การรับส่งข้อมูลมีรายละเอียดคือ (ดูรูป)[36]", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "50365#7", "text": "ทอร์รุ่นอัลฟาที่พัฒนาขึ้นโดย Syverson ร่วมกับนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ รอเจอร์ ดิงเกิลไดน์ (Roger Dingledine) และนิก แม็ทธิวสัน (Nick Mathewson)\nซึ่งในตอนนั้นเรียกว่า โปรเจ็กต์การจัดเส้นทางแบบหัวหอม (The Onion Routing project) คือ TOR ได้เริ่มทดลองใช้ในวันที่ 20 กันยายน 2002\nโดยมีรุ่นให้ใช้เป็นสาธารณะในปีต่อมา\nวันที่ 13 สิงหาคม 2004 Syverson, ดิงเกิลไดน์ และแม็ทธิวสัน ได้นำเสนอการออกแบบ \"ทอร์ - เราเตอร์หัวหอมรุ่นสอง (Tor: The Second-Generation Onion Router)\" ที่งานประชุม USENIX Security Symposium ครั้งที่ 13", "title": "ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)" }, { "docid": "957202#35", "text": "การจัดเส้นทางแบบกระเทียม (Garlic routing) เป็นการจัดเส้นทางแบบหัวหอมอีกอย่างหนึ่งที่ใช้ในเครือข่ายไอทูพี และเข้ารหัสลับข้อความหลายข้อความเข้าด้วยกันเพื่อทำการวิเคราะห์การสื่อสารเช่นนี้ให้ยากขึ้น[44] และเพื่อเพิ่มความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล[45]", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "305694#7", "text": "คาบสมุทรอานาโตเลียอยู่บนเส้นทางการค้าทางบกไปยังยุโรปจากเอเชีย และบนเส้นทางทางทะเลจากเมดิเตอร์เรเนียนไปยังทะเลดำ บันทึกจากศตวรรษที่ 19 ก่อนคริสต์ศักราชกล่าวถึงหมู่บ้านที่พำนักของพ่อค้าอัสซีเรียที่คาเนชในคาปาโดเชีย (Cappadocia) (ตุรกีปัจจุบัน) เครือข่ายการค้าของโลกเก่ารวมทั้งเส้นทางการค้าขายสายหลักของอินเดีย และ เส้นทางสายเครื่องหอมของอาหรับ ระบบเครือข่ายการขนส่งใช้ถนนพื้นแข็ง (hard-surfaced) ที่ราดด้วยคอนกรีตที่ทำจากขี้เถ้าจากภูเขาไฟผสมหินปูนที่สร้างโดยโรมันมาตั้งแต่ปี 312 ก่อนคริสต์ศักราช ในระหว่างช่วงเวลาของเซ็นซอร์อัพไพอัส คลอดิอัส เซซัส (Appius Claudius Caecus) ในช่วงเวลานั้บางส่วนของเมดิเตอร์เรเนียน, โรมันบริเตน, ระบบแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรตีส และ แอฟริกาเหนือก็เข้ามาอยู่ในเครือข่ายของเส้นทางการค้าของโรมันที่ว่านี้ไม่สมัยใดก็สมัยหนึ่ง", "title": "เส้นทางการค้า" }, { "docid": "957202#8", "text": "ข้อมูลส่งผ่านเครือข่ายโดยมีหน่วยเป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[20239,20250,3,3]}'>เซลล์ ซึ่งมีขนาดตายตัวคือ 512 ไบต์ และเมื่อเซลล์แต่ละเซลล์วิ่งผ่านวงจรเริ่มตั้งแต่ระบบผู้ใช้ เซลล์จะเข้ารหัสลับด้วยกุญแจทีแอลเอสของการเชื่อมต่อแบบทีแอลเอสในระหว่างระบบที่อยู่ต่อกันโดยตรง ส่วนหัวของแต่ละเซลล์มีข้อมูลคือ[23]", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "957202#30", "text": "การโจมตีแบบแอ๊กถีฟ (active attack) รวมทั้ง[25]", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "50365#22", "text": "กรรมการบริหารของโปรเจ็กต์ยังอ้างในปี 2014 ว่า เจ้าหน้าที่ของ NSA และ GCHQ ได้รายงานบั๊กของทอร์โดยไม่เปิดเผยตัว\nหน้า FAQ ของโปรเจ็กต์ให้เหตุผลที่ EFF รับรองทอร์ ก็คือ\nทอร์มุ่งซ่อนการระบุตัวผู้ใช้และกิจกรรมออนไลน์ของพวกเขา จากการสอดแนมและการวิเคราะห์การสื่อสาร โดยจำกัดข้อมูลระบุตัวและข้อมูลการจัดเส้นทาง\nเป็นการทำให้เกิดผลของระบบการจัดเส้นทางแบบหัวหอม (onion routing) ซึ่งเข้ารหัสลับและส่งการสื่อสารผ่านเครือข่ายสถานีรีเลย์อย่างสุ่ม ๆ เป็นสถานีที่ดำเนินการโดยจิตอาสารอบโลก\nสถานีรีเลย์เหล่านี้ใช้การเข้ารหัสลับแบบทำเป็นชั้น ๆ (จึงอุปมาเหมือนหัวหอม) เพื่อรักษาความลับของเนื้อหาและต้นสายปลายทางของการสื่อสารในระหว่างสถานี ดังนั้น เป็นการให้สภาวะนิรนามในเรื่องตำแหน่งภายในเครือข่ายของผู้ใช้\nความเป็นนิรนามยังขยายให้ผู้ให้บริการโดยระบบบริการซ่อนของทอร์ (hidden service)\nอนึ่ง ทอร์มีสถานีขาเข้าแบบพิเศษ (bridge relay) ที่ไม่เปิดเผยโดยทั่วไป โดยผู้ใช้แต่ละคนสามารถรับที่อยู่สถานีได้จากโปรเจ็กต์เพียงไม่กี่สถานีเท่านั้น\nผู้ใช้จึงสามารถหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตที่ใช้วิธีขัดขวางไม่ให้เข้าถึงสถานีรีเลย์ที่เปิดเผยของทอร์", "title": "ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)" }, { "docid": "957202#40", "text": "หมวดหมู่:เครือข่ายนิรนาม หมวดหมู่:การจัดเส้นทาง หมวดหมู่:เทคโนโลยีหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ต", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "313654#0", "text": "พลับพลึงธาร หรือ หอมน้ำ (อังกฤษ: Onion plant, Thai onion plant, Water onion) พืชน้ำชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า \"Crinum thaianum\" อยู่ในวงศ์พลับพลึง (Amaryllidaceae) จัดเป็นพืชอวบน้ำ ดอกมีสีขาว มี 6 กลีบ ในก้านชูดอกหนึ่งๆ จะมีหลายก้านดอก จะทะยอยบานติดต่อกันไป ดอกหนึ่งๆ จะมีก้านเกสร 6 อัน มีเกสรสีเหลืองที่ปลายก้านเกสร ตรงกลางดอกจะมีก้านเกสรตัวเมียโผล่มาจากแกนกลางของดอก หลังจากผสมเกสร กะเปาะเมล็ดจะเจริญเติบโตที่โคนก้านดอก กะเปาะหนึ่งจะมีจำนวนเมล้ดที่ไม่เท่ากัน มีลักษณะบูดเบี้ยวเป็นทรงที่ไม่แน่นอน พอเมล็ดแก่จะหลุดออกจากกะเปาะ พัฒนาสายรกออกด้านใดด้านหนึ่งของเมล็ด ตรงปลายสายรกจะพัฒนาเป็นต้นใหม่และมีรากยึดติดกับพื้นคลอง ในระหว่างที่รากยังไม่สามารถเกาะยึดพื้นคลองได้ เมล็ดจะเป็นแหล่งอาหารให้กับต้นอ่อนได้นาน 3-4 เดือน หัวมีลักษณะคล้ายหัวหอม จึงมีชื่อเรียกว่า \"หอมน้ำ\" หัวจะโผล่ขึ้นเหนือผิวดินประมาณ 1 ใน 3 เพื่อป้องกันการเน่า ใบจะเป็นสีเขียวเรียวยาวเหมือนริบบิ้น ความยาวขึ้นอยู่กับระดับน้ำ บางพื้นที่ที่น้ำลึกใบอาจจะยาวได้ถึง 4 เมตร", "title": "พลับพลึงธาร" }, { "docid": "957202#14", "text": "เซลล์ส่งต่อ</b>สามารถมีคำสั่งดังต่อไปนี้คือ[23]", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "957202#28", "text": "การโจมตีแบบดักฟังเฉย ๆ (passive attack) รวมทั้ง[38]", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "287394#0", "text": "เทียนร่ำห้อง จัดอยู่ในหมวดเครื่องหอมไทยเป็นเทียนโบราณมีใช้แต่สมัยใดมิปรากฏชัด แต่เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วในสมัยแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 มีการรื้อฟื้นการทำเครื่องหอมครั้งใหญ่ ทำให้ตำหนักน้อยใหญ่ทดลองปรุงใช้และพัฒนาให้กลิ่นและรูปลักษณ์ให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ประกอบกับน้ำหอมจากยุโรปหลั่งไหลเข้ามาในสยามและถูกใช้ในวังอย่างแพร่หลาย ดั่งตอนหนึ่งในหนังสือ “A physician at the court of Siam” เขียนโดย Malcolm Smith ผู้ซึ่งเคยเป็นหมอหลวงใน สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี บรรยายถึงการประทินโฉมของพระองค์ไว้ใน หน้า 78 ย่อหน้า 2-3 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องหอม ทั้งน้ำทรงสรง แป้งร่ำ รวมทั้ง “เทียนหอม” แท่งเรียวยาว ใช้อบ ร่ำ ภูษา แพรพรรณ ซึ่งเทียนดั่งกล่าวถูกปรุงด้วยสมุนไพรกลิ่นหอม ร่วมทั้งน้ำหอมจากยุโรป ", "title": "เทียนร่ำห้อง" }, { "docid": "957202#7", "text": "เราเตอร์หัวหอมสื่อสารกับกันและกัน และกับระบบผู้ใช้ ผ่านการเชื่อมต่อกันด้วยทีแอลเอสและการเข้ารหัสด้วยกุญแจอายุสั้น ทีแอลเอสช่วยปกปิดข้อมูลในสายเชื่อมต่อให้เป็นความลับที่แม้เมื่อดักเก็บข้อมูลไว้ได้ ก็จะไม่สามารถถอดรหัสข้อมูลได้ในอนาคต (perfect forward secrecy) และป้องกันผู้โจมตีไม่ให้เปลี่ยนข้อมูลในสาย หรือปลอมตัวว่าเป็นเราเตอร์หัวหอม[23]", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "957202#33", "text": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอมจะสร้างทางที่คลุมเครือระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง เพื่อไม่ให้ระบบผู้ใช้เชื่อมต่อกับเว็บไซต์โดยตรง แม้จะยังมีบันทึกการเชื่อมต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์และก็ยังสามารถวิเคราะห์การสื่อสารเนื่องกับบันทึกการเชื่อมต่อเช่นนั้น แล้วพยายามเชื่อมเวลาและการส่งข้อมูลกับการเชื่อมต่อไปยังผู้รับหนึ่ง ๆ ยกตัวอย่างเช่น อาจจะเห็นบุคคลส่งข้อมูล 51 กิโลไบต์ถ้วนไปยังคอมพิวเตอร์ที่ไม่รู้จัก 3 วินาทีก่อนคอมพิวเตอร์อีกเครื่องที่ไม่รู้จักก็ส่งข้อมูล 51 กิโลไบต์ถ้วนเช่นกันไปยังเว็บไซต์หนึ่งโดยเฉพาะ[41][42]", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "957202#19", "text": "สำหรับสถานีแรก (OR1) ระบบผู้ใช้ขอให้สถานีสร้างวงจร (Create c1) โดยส่งข้อมูล (g^x1) ที่เข้ารหัสลับด้วยกุญแจหัวหอมของสถานีแรก ซึ่งเป็นส่วนแรกของโพรโทคอลต่อรองเพื่อกุญแจสมมาตรคือกุญแจอายุสั้น (ให้สังเกตว่า สถานีแรกรู้ที่อยู่ไอพีของระบบผู้ใช้[35] และสถานีแรกจะตอบสนองต่อคำขอได้ก็ต่อเมื่อรู้กุญแจหัวหอมส่วนตัวของตน[15][20]) สถานีแรกส่งคำตอบยอมรับการสร้างวงจร (Created c1) พร้อมข้อมูลที่กำหนดกุญแจอายุสั้น (g^y1 เป็นต้น) ที่จะใช้เพื่อเข้ารหัสข้อมูลเซลล์ระหว่างระบบผู้ใช้กับสถานีแรก สำหรับสถานีสอง (OR2) ระบบผู้ใช้จะส่งคำขอให้ต่อวงจรเชื่อมกับสถานีที่สองไปยังสถานีแรก โดยรวมข้อมูลที่เข้ารหัสลับด้วยกุญแจหัวหอมของสถานีที่สอง (g^x2) ซึ่งเป็นส่วนแรกของโพรโทคอลต่อรองเพื่อกุญแจอายุสั้น พร้อมกับคำขอการต่อวงจร (Extend) ซึ่งระบุสถานีที่สองโดยเฉพาะ เข้าเป็นส่วนข้อมูลของเซลล์ แล้วเข้ารหัสลับส่วนข้อมูลด้วยกุญแจอายุสั้นที่ใช้ร่วมกับสถานีแรก (g^x1y1) ต่อจากนั้นจึงส่งคำขอให้ส่ง (Relay/Relay early) ไปยังสถานีแรก (ให้สังเกตว่า ถ้ามีใครสามารถถอดรหัสลับการสื่อสารโดยใช้ทีแอลเอสได้ แต่ไม่มีกุญแจอายุสั้นของสถานีแรก ก็จะไม่สามารถกำหนดได้ว่า เซลล์มีข้อมูลที่จะส่งต่อ หรือเป็นคำขอ/คำตอบรับ คือไม่สามารถรู้ว่าใครกำลังเดินเนินงานกิจกรรมอะไรจริง ๆ) สถานีแรกถอดรหัสส่วนข้อมูลของเซลล์ด้วยรหัสอายุสั้นที่ใช้ร่วมกับระบบผู้ใช้ (g^x1y1) แล้วพบคำขอให้ต่อวงจร (Extend) จึงขอให้สถานีสองสร้างวงจร (Create c2) โดยส่งคำขอพร้อมกับข้อมูลเข้ารหัสลับ (g^x2) ที่มาจากระบบผู้ใช้ ให้สังเกตว่า สถานีแรกรู้ที่อยู่ไอพีของสถานีสอง แต่ไม่รู้ส่วนข้อมูลที่เข้ารหัสลับด้วยกุญแจหัวหอมของสถานีสองจากระบบผู้ใช้ ข้อมูลซึ่งเป็นส่วนแรกของโพรโทคอลต่อรองเพื่อกุญแจสมมาตรคือกุญแจอายุสั้น สถานีสองจะตอบสนองต่อคำขอได้ก็ต่อเมื่อรู้กุญแจหัวหอมส่วนตัวของตน และจากมุมมองของสถานีสอง คำขอการสร้างวงจรเหมือนกับมาจากสถานีแรก จึงไม่สามารถบอกได้ว่า เป็นการเพิ่มต่อวงจรจากระบบผู้ใช้ สถานีสองส่งคำตอบยอมรับการสร้างวงจร (Created c2) พร้อมข้อมูลที่กำหนดกุญแจอายุสั้น (g^y2 เป็นต้น) ที่จะใช้เพื่อเข้ารหัสส่วนข้อมูลของเซลล์ระหว่างระบบผู้ใช้และสถานีสอง โดยส่งไปยังสถานีหนึ่ง สถานีแรกรวมการยอมรับการต่อวงจร (Extended) พร้อมกับข้อมูลที่กำหนดกุญแจอายุสั้น (g^y2 เป็นต้น) เข้าในส่วนข้อมูลของเซลล์ แล้วเข้ารหัสลับด้วยกุญแจอายุสั้นที่ใช้ร่วมกับระบบผู้ใช้ ต่อจากนั้นจึงส่งข้อมูลกลับไปยังระบบผู้ใช้โดยเป็นคำขอให้ส่ง (Relay) (ให้สังเกตว่า ถ้ามีใครสามารถถอดรหัสลับการสื่อสารโดยใช้ทีแอลเอสได้ แต่ไม่มีกุญแจอายุสั้นของสถานีแรก ก็จะไม่สามารถกำหนดได้ว่า เซลล์มีข้อมูลที่จะส่งต่อ หรือเป็นคำขอ/คำตอบรับ คือไม่สามารถรู้ว่าใครกำลังเดินเนินงานกิจกรรมอะไรจริง ๆ)", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "957202#27", "text": "ผู้ออกแบบการจัดเส้นทางแบบหัวหอมได้พิจารณาการโจมตีและผลต่อระบบหลายอย่าง (ปี 2004) รวมทั้งที่จัดว่าเป็นการดักฟังเฉย ๆ (passive attack) และแบบต้องทำการอย่างแอ๊กถีฟ (active attack)[37] ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของการโจมตีที่ได้พิจารณา", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "50365#6", "text": "แกนหลักของทอร์ ก็คือ การจัดเส้นทางแบบหัวหอม (onion routing) ซึ่งได้พัฒนาขึ้นกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 โดยเจ้าหน้าที่แล็บวิจัยกองทัพเรือสหรัฐ รวมทั้งนักคณิตศาสตร์และนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ Paul Syverson, Michael G. Reed, และ David Goldschlag โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการสื่อสารทางราชการลับออนไลน์ของสหรัฐอเมริกา\nต่อมาในปี 1997 จึงได้ให้ทุนพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก", "title": "ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)" }, { "docid": "957202#5", "text": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม (onion routing) ทำให้เกิดผลโดยการเข้ารหัสลับในชั้นโปรแกรมประยุกต์ของโพรโทคอลสแตกทีซีพีที่ใช้ในการสื่อสาร โดยทำเป็นชั้น ๆ เหมือนกับของหัวหอม คือระบบผู้ใช้จะสร้างวงจรการสื่อสารเสมือนผ่านสถานี/โหนดส่งต่อต่าง ๆ 3 สถานีซึ่งเลือกโดยสุ่มเป็นลำดับ ๆ การสร้างจะเพิ่มสถานีทีละสถานี ๆ เข้าในวงจรด้วยการสื่อสารที่เข้ารหัสลับ โดยสถานีส่งต่อแต่ละสถานี จะรู้แต่เลขที่อยู่ไอพีขาเข้าและขาออกของตน ๆ เท่านั้น และไม่มีสถานีไหนในระหว่าง ที่รู้ทั้งที่อยู่ของต้นสายและของปลายทางทั้งสอง แม้ในมุมมองของระบบปลายทาง ก็จะดูเหมือนว่าการสื่อสารเริ่มมาจากสถานีขาออกของเครือข่าย เมื่อกำลังสร้างวงจร ระบบผู้ใช้จะแลกเปลี่ยนกุญแจเข้ารหัสลับแบบสมมาตรโดยเฉพาะ ๆ กับโหนดส่งต่อแต่ละสถานี เพื่อเมื่อส่งข้อมูลไปยังปลายทาง ระบบผู้ใช้ก็จะเข้ารหัสข้อมูลเป็นชั้น ๆ ด้วยกุญแจที่แลกเปลี่ยนเริ่มตั้งแต่สถานีขาออก (สถานีสุดท้าย) ย้อนลำดับกลับมาจะถึงสถานีขาเข้า เมื่อข้อมูลส่งไปถึงแต่ละสถานี ๆ สถานีก็จะสามารถถอดรหัสชั้นที่เข้ากุญแจซึ่งตนได้แลกเปลี่ยน แล้วทำการที่สมควรเช่นส่งข้อมูลนั้นต่อไปได้ โดยที่ไม่สามารถรู้ข้อมูลที่ส่งต่อเพราะเข้ารหัสด้วยกุญแจที่ตนไม่มี สถานีขาออกจะเป็นผู้ถอดรหัสชั้นสุดท้ายแล้วส่งข้อมูลดั้งเดิมไปยังระบบปลายทางต่อไป[1][2]", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "957202#21", "text": "เพื่อความกระจ่าง อาจกล่าวโดยอีกวิธีหนึ่งก็คือ", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "957202#24", "text": "เมื่อวงจรสร้างขึ้นแล้ว ระบบผู้ใช้สามารถเริ่มส่งรับข้อมูลผ่านเครือข่ายนิรนามที่เข้ารหัสลับด้วยกุญแจสองตัวคือ กุญแจอายุสั้นที่ใช้เข้ารหัสเพียงส่วนข้อมูลของเซลล์เป็นชั้น ๆ และกุญแจทีแอลเอสที่ใช้เข้ารหัสเซลล์ทั้งหมดเมื่อส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างสถานี ๆ โดยที่ไม่มีสถานีส่งต่อใด ๆ รวมทั้งระบบปลายทาง ที่สามารถรู้ทั้งที่อยู่ไอพีของระบบผู้ใช้และของระบบปลายทางทั้งสอง และมีสถานีทางออกเท่านั้น ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลดั้งเดิมที่ส่งในระหว่างต้นสายและปลายทาง ยกเว้นถ้าผู้ใช้ใช้โปรแกรมที่เข้ารหัสข้อมูลจากต้นจนถึงปลาย เช่น ทอร์เบราว์เซอร์เมื่อสื่อสารผ่านเอชทีทีพีเอสเป็นต้น อนึ่ง เพราะกุญแจที่ใช้เข้ารหัสลับเป็นกุญแจชั่วคราว จึงหมายความว่า แม้ถ้ามีใครดักเก็บข้อมูลที่ส่งผ่านระหว่างระบบต่าง ๆ แล้วโจมตีเข้าถึงระบบเหล่านั้นได้ในภายหลัง ก็จะไม่สามารถถอดรหัสข้อมูลเหล่านั้นได้เพราะระบบได้ทิ้งกุญแจไปแล้ว", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "957202#10", "text": "เซลล์ควบคุม</b>สามารถมีคำสั่งรวมทั้ง", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "957202#23", "text": "เมื่อสร้างวงจรเสร็จแล้ว ระบบผู้ใช้ก็จะสามารถส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตไปยังระบบปลายทางอย่างนิรนามได้ สำหรับโปรแกรมผู้ใช้ที่ตั้งให้สื่อสารผ่านเครือข่ายหัวหอม ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมเดียว (เช่นทอร์เบราว์เซอร์) หรือหลายโปรแกรม สายข้อมูลทีซีพีต่าง ๆ ที่โปรแกรมผู้ใช้สร้างก็จะส่งผ่านวงจรเดียวกัน แต่ระบบผู้ใช้จะตั้งวงจรใหม่ทุก ๆ 10 นาที ดังนั้น สายข้อมูลใหม่ที่ตั้งขึ้นก็จะใช้วงจรใหม่ ส่วนสายข้อมูลเก่าที่ยังดำเนินการอยู่ก็จะคงอยู่ในวงจรเดิมจนกว่าจะเสร็จ ดังนั้น ในระบบผู้ใช้ อาจมีการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายหัวหอมเป็นหลายวงจร แต่ละวงจรอาจมีสายข้อมูลหลายสาย โดยอาจเป็นสายข้อมูลจากโปรแกรมชุดเดียวหรือหลายโปรแกรม การเปลี่ยนวงจรการสื่อสารเช่นนี้ โดยมีสถานีขาออกที่ต่าง ๆ กัน จะทำให้ระบบปลายทางสัมพันธ์การกระทำของผู้ใช้ที่เกิดในเวลาต่าง ๆ ได้ยากขึ้น[1]", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" }, { "docid": "50365#1", "text": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม (Onion routing) เป็นการเข้ารหัสลับที่ทำเป็นชั้น ๆ เหมือนกับของหัวหอม\nคือระบบผู้ใช้จะสร้างวงจรการสื่อสารผ่านสถานี/โหนดส่งต่อต่าง ๆ ซึ่งเลือกโดยสุ่มเป็นลำดับ ๆ โดยสถานีส่งต่อแต่ละสถานี จะรู้แต่เลขที่อยู่ไอพีขาเข้าและขาออกของตน ๆ เท่านั้น และไม่มีสถานีไหนในระหว่าง ที่รู้ทั้งที่อยู่ของต้นสายและของปลายทางทั้งสอง แม้ในมุมมองของระบบปลายทาง ก็จะดูเหมือนว่าการสื่อสารเริ่มมาจากสถานีขาออกของทอร์ ระบบผู้ใช้จะต่อรองกุญแจเข้ารหัสลับแบบสมมาตรโดยเฉพาะ ๆ ที่ใช้ร่วมกับสถานีส่งต่อและสถานี เพื่อเมื่อส่งข้อมูลไปยังปลายทาง ระบบก็จะเข้ารหัสข้อมูลเป็นชั้น ๆ ด้วยกุญแจที่ใช้ร่วมกับสถานีต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่สถานีขาออก (สถานีสุดท้าย) ย้อนลำดับกลับมาจะถึงสถานีขาเข้า เมื่อข้อมูลส่งไปถึงแต่ละสถานี ๆ สถานีก็จะสามารถถอดรหัสชั้นที่เข้ากุญแจซึ่งตนมี แล้วทำการที่สมควรเช่นส่งข้อมูลนั้นต่อไปได้ โดยที่ไม่สามารถรู้ข้อมูลที่ส่งต่อเพราะเข้ารหัสด้วยกุญแจที่ตนไม่มี สถานีขาออกจะเป็นผู้ถอดรหัสชั้นสุดท้ายแล้วส่งข้อมูลดั้งเดิมไปยังระบบปลายทางต่อไป", "title": "ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)" }, { "docid": "957202#2", "text": "ต่อมาในปี 2002 นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ รอเจอร์ ดิงเกิลไดน์ (Roger Dingledine) และนิก แม็ทธิวสัน (Nick Mathewson) จึงร่วมมือกับ Syverson เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์การจัดเส้นทางแบบหัวหอมในรูปแบบที่รู้จักกันดีที่สุด คือ ทอร์ (Tor) ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่า The Onion Routing project หรือ TOR project (โปรเจ็กต์ทอร์) แล้วต่อมาในปี 2004 จึงได้ตีพิมพ์เอกสารการออกแบบของทอร์รุ่นสองในงานประชุม USENIX Security ครั้งที่ 13[2] ซึ่งกลายเป็นมูลฐานของการทำให้เกิดผลต่อมา", "title": "การจัดเส้นทางแบบหัวหอม" } ]
3644
ราชอาณาจักรกัสติยา เริ่มต้นขึ้นเมื่อใด ?
[ { "docid": "256471#0", "text": "ราชบัลลังก์กัสติยา (Spanish: Corona de Castilla) เป็นสหอาณาจักรที่มักจะกล่าวกันว่าเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1230 โดยการรวมตัวระหว่าง ราชอาณาจักรเลออนกับราชอาณาจักรกัสติยา หรือมารวมตัวอย่างเป็นทางการโดยรัฐสภาของทั้งสองราชอาณาจักรอีกหลายสิบปีต่อมา ในปี ค.ศ. 1230 พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 ทรงได้รับการสวมมงกุฎเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกัสติยา (ที่รวมอดีตราชอาณาจักรโตเลโด) และเลออน (ที่รวมราชอาณาจักรกาลิเชีย)", "title": "ราชบัลลังก์กัสติยา" } ]
[ { "docid": "998037#0", "text": "พระเจ้าซันโชที่ 2 (; เลออน: ) หรือ ซันโชผู้แข็งแกร่ง (; เลออน: ) เสด็จพระราชสมภพ ค.ศ. 1037 สิ้นพระชนม์ 6/7 ตุลาคม ค.ศ. 1072 ที่ซาโมรา ราชอาณาจักรเลออน ครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัสติยาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1065 จนถึงปี ค.ศ. 1072 เป็นพระโอรสองค์โตของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 1 แห่งเลออนและกัสติยา", "title": "พระเจ้าซันโชที่ 2 แห่งกัสติยาและเลออน" }, { "docid": "256463#0", "text": "ราชอาณาจักรกัสติยา (Spanish: Reino de Castilla) เป็นราชอาณาจักรของยุคกลางของคาบสมุทรไอบีเรียที่เริ่มก่อตัวเป็นอิสระขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยการเป็นอาณาจักรเคานต์แห่งกัสติยาที่เป็นอาณาจักรบริวาร (vassal) ของราชอาณาจักรเลออน ชื่อ \"กัสติยา\" มาจากคำที่ว่าแปลว่าปราสาท เพราะในบริเวณนั้นมีปราสาทอยู่หลายปราสาท กัสติยาเป็นราชอาณาจักรหนึ่งที่ต่อมาก่อตั้งขึ้นเป็นราชบัลลังก์กัสติยาและราชบัลลังก์สเปนในที่สุด", "title": "ราชอาณาจักรกัสติยา" }, { "docid": "210015#1", "text": "พระเจ้าเฟอร์ดินานด์เป็นพระโอรสในพระเจ้าจอห์นที่ 2 แห่งอารากอน (ผู้มีสายแห่งราชวงศ์ตรัสตามารา) กับพระมเหสีพระองค์ที่ 2 โจแอนนา แอนรีเควสชาวกัสติยา เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอิซาเบลลาผู้เป็นพระขนิษฐาต่างพระมารดา และเป็นรัชทายาทสืบบัลลังก์ในพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งกัสติยา อภิเษกสมรสในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2012 ที่เมืองวัลลาโดลิดและได้กลายเป็นกษัตริย์ที่เป็นพระสวามีในพระราชินีนาถแห่งกัสติยาเมื่อเจ้าหญิงอิซาเบลลาได้ครองราชบัลลังก์กัสติยาในปี พ.ศ. 2017 พระนางอิซาเบลลาจึงได้เข้าร่วมในสมาชิกราชวงศ์ตรัสตามารา กษัตริย์ทั้งสองต้องทำสงครามกลางเมืองกับเจ้าหญิงโจนแห่งกัสติยา พระธิดาในพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งกัสติยาและได้ชัยชนะอย่างรวดเร็ว เมื่องพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ได้เป็นกษัตริย์แห่งอารากอนต่อจากพระบิดาในปี พ.ศ. 2022 มงกุฎแห่งกัสติยาและอารากอนได้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและได้ตั้งเป็นอาณาจักรขึ้นมาชื่อ \"เอสปันญา\" (สเปน) ซึ่งมาจากชื่อโบราณคือ ฮิสปาเนียแต่พอหลังจากศตวรรษที่ 18 อาณาจักรก็แยกออกจากกัน", "title": "พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน" }, { "docid": "37665#36", "text": "การสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 4 ในปี ค.ศ. 1474 ทำให้ราชบัลลังก์กัสติยาว่างลงเนื่องจากไม่มีรัชทายาท เกิดความขัดแย้งในการการอ้างสิทธิ์ขึ้นครองราชย์ระหว่างฝ่ายของเจ้าหญิงคัวนา ลาเบลตราเนคาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโปรตุเกสและฝรั่งเศส กับฝ่ายของเจ้าหญิงอิซาเบลลาที่ได้รับการสนับสนุนจากอารากอนและชนชั้นสูงของกัสติยา จนกระทั่งหลังจากสงครามการสืบราชบัลลังก์กัสติยาสิ้นสุดลง อิซาเบลลาก็ได้ขึ้นครองราชย์และเฉลิมพระนาม \"สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งกัสติยา\" (Isabella I of Castile; \"Isabel I de Castilla\") และทรงปกครองอาณาจักรร่วมกับพระราชสวามี (ซึ่งทรงอภิเษกสมรสกันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1469 ที่เมืองบายาโดลิด) คือ พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 5 แห่งกัสติยา ต่อมาในปี ค.ศ. 1479 พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 5 ได้ทรงขึ้นครองอาณาจักรอารากอนต่อจากพระเจ้าจอห์นที่ 2 ผู้เป็นพระราชบิดาด้วย และเฉลิมพระนาม \"พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอน\" (Ferdinand II of Aragon; \"Fernando II de Aragón\") การอภิเษกสมรสและครองราชย์ร่วมกันครั้งนี้ได้ทำให้ราชอาณาจักรกัสติยาและราชอาณาจักรอารากอนเข้ามารวมกัน เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเป็นราชอาณาจักรสเปนในเวลาต่อมา\nหลังจากที่สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาและพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 ทรงยึดเมืองกรานาดาคืนจากชาวมุสลิมได้สำเร็จเมื่อปี ค.ศ. 1492 (ถือเป็นจุดสิ้นสุดของการพิชิตดินแดนคืน) ก็ทรงเป็นที่รู้จักในพระนาม \"พระมหากษัตริย์คาทอลิก\" (Catholic Monarchs; \"Reyes Católicos\") ซึ่งเป็นฐานันดรศักดิ์ที่ทรงได้รับจากการแต่งตั้งของสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 นอกจากนี้ ในสมัยของพระองค์ทั้งสอง กัสติยาและอารากอนยังได้รับกรรมสิทธิ์ในการครอบครองหมู่เกาะคะแนรีในมหาสมุทรแอตแลนติกอย่างสมบูรณ์ พระองค์ทั้งสองทรงอนุมัติและสนับสนุนการสำรวจดินแดนของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ซึ่งเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ไปถึงโลกใหม่ (หากไม่นับเลฟ เอริกสัน) ซึ่งจะนำความมั่งคั่งเข้ามาสู่สเปนและเป็นทุนให้รัฐใหม่แห่งนี้กลายเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของยุโรปในอีกสองศตวรรษถัดมา", "title": "ประวัติศาสตร์สเปน" }, { "docid": "997999#0", "text": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 (; เลออน: ) หรือ พระเจ้าอัลฟอนโซผู้กล้าหาญ (; เลออน: ) เสด็จพระราชสมภพก่อนเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1040 สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 1109 ที่โตเลโด ราชอาณาจักรกัสติยา ทรงครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเลออนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1065 และเป็นกษัตริย์แห่งกัสติยาและเลออนที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1072 ต่อมาในปี ค.ศ. 1077 ทรงประกาศตนเป็น \"จักรพรรดิแห่งสเปนทั้งหมด\" การกดขี่ข้าราชบริพารชาวมุสลิมของพระองค์นำไปสู่การรุกรานสเปนในปี ค.ศ. 1086 ของกองทัพอัลโมราวิดที่มาจากแอฟริกาเหนือ", "title": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งเลออนและกัสติยา" }, { "docid": "204618#0", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา (; 22 เมษายน พ.ศ. 1994-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2047) เป็นพระราชินีนาถแห่งกัสติยาและเลออนในราชวงศ์ตรัสตามารา พระนางและพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน พระราชสวามี ได้วางรากฐานในการรวมสเปนให้สืบต่อไปจนถึงรุ่นหลาน คือจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทั้งสองได้เป็นขั้วอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในการยึดดินแดนสเปนกลับคืนมาจากชาวมัวร์และได้กระทำการรวมชาติสเปนเป็นปึกแผ่น พระนางทรงอนุมัติให้คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสไปแสวงหาดินแดนโพ้นทะเลและจนสำรวจพบทวีปอเมริกา พระนางจัดได้ว่าเป็นนักปกครองที่ได้รับการกล่าวชื่อในประวัติศาสตร์ พระนางได้ทำให้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเจริญอย่างมากในสเปนและพระนางทำให้กรานาดาในการปกครองของมุสลิมมัวร์ยินยอมส่งเครื่องบรรณาการต่อพระองค์ ต่อมาพระนางได้ทำการยึดครองกรานาดาได้สำเร็จ และยึดครองนาวาร์ได้ในปี พ.ศ. 2055 แล้ว คำว่า สเปน () ก็เริ่มถูกนำมาใช้เพื่อเรียกชื่อของราชอาณาจักรที่รวมกันใหม่นี้ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของราชอาณาจักรกัสติยา ราชอาณาจักรอารากอน และราชอาณาจักรนาวาร์ได้วางรากฐานให้กับการเกิดสเปนสมัยใหม่และจักรวรรดิสเปน (Spanish Empire) สเปนกลายเป็นผู้นำอำนาจของยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องมาจากการปรับปรุงด้านการเมือง สังคม และการทหารในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 การขยายตัวของผลผลิตที่ได้จากเหมืองแร่เงินในทวีปอเมริกาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็ยิ่งเสริมตำแหน่งมหาอำนาจให้มั่นคงขึ้นอีก", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา" }, { "docid": "1947#12", "text": "ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และ 13 อาณาจักรกัสติยาได้กลายเป็นผู้นำทางการเมืองและวัฒนธรรมเหนืออาณาจักรอื่น ๆ บนคาบสมุทร สถานการณ์นี้ช่วยกระตุ้นให้เกิดการวางมาตรฐานภาษากัสติยาเป็นภาษาเขียนอีกทางหนึ่ง เห็นได้ชัดในรัชสมัยของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 10 พระองค์ทรงรวบรวมนักเขียนและปราชญ์จากเมืองต่าง ๆ มาประชุมกันในราชสำนักเพื่อเขียนและแปลเอกสารที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ดาราศาสตร์ และกฎหมาย โดยผลงานต่าง ๆ ได้รับการบันทึกลงเป็นภาษากัสติยาแทนภาษาละติน เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้เหล่านั้นได้มากขึ้น", "title": "ภาษาสเปน" }, { "docid": "290642#6", "text": "พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 อภิเษกสมรสสามครั้ง ในปี ค.ศ. 1165 พระองค์อภิเษกสมรสกับอูร์รากาแห่งโปรตุเกส ทั้งคู่มีพระโอรสด้วยกันหนึ่งคน ทรงทอดทิ้งอูร์รากา การแต่งงานถูกประกาศให้เป็นโมฆะ หลังจากนั้นอูร์รากาก็กลายเป็นแม่ชี พระองค์อภิเษกสมรสครั้งที่สองกับเตเรซา เฟร์นันเดซ ซึ่งตั้งครรภ์พระโอรสธิดาของพระองค์ในปี ค.ศ. 1179 แต่สิ้นพระชนม์ในการคลอดในปีต่อมา ในปี ค.ศ. 1187 พระองค์อภิเษกสมรสกับอูร์รากา โลเปซ เด ฮาโร ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันสามคน เมื่อทรงสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1188 ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อคือพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 9 แห่งเลออนผู้เป็นพระโอรสคนโต ในปี ค.ศ. 1191 พระองค์อภิเษกสมรสกับเตเรซาแห่งโปรตุเกส ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันสามคน การอภิเษกสมรสถูกประกาศให้เป็นโมฆะในปี ค.ศ. 1195 วันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1197 พระองค์อภิเษกสมรสกับเบเรงเกลาแห่งกัสติยา และมีพระโอรสธิดาที่มีชีวิตรอดด้วยกันสี่คน เบเรงเกลาเป็นทายาทแห่งกัสติยา ราชอาณาจักรจึงจะถูกรวมเข้าด้วยกันอีกครั้ง แต่พระเจ้าอัลฟอนโซไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น พระองค์จึงยกเลออนให้พระธิดาสองคนจากการแต่งงานครั้งแรก เบเรงเกลาโน้มน้าวสองสาวให้สละสิทธิ์ในบัลลังก์เลออน และการราชาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งเลออนของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 แห่งกัสติยาได้รวมราชอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว", "title": "ราชอาณาจักรเลออน" }, { "docid": "998037#4", "text": "หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าเฟร์นันโดในปี ค.ศ. 1065 ราชอาณาจักรถูกแบ่งให้กับพระโอรสทั้งสาม ซันโชได้สืบทอดเป็นกษัตริย์แห่งกัสติยาต่อจากพระบิดา ขณะที่พระอนุชา อัลฟอนโซ กลายเป็นกษัตริย์แห่งเลออน และการ์ซิอา พระอนุชาคนเล็กกลายเป็นกษัตริย์ของราชอาณาจักรกาลิเซียที่ได้รับการสถาปนาขึ้นมาใหม่ (แยกตัวออกมาจากเลออน) สามพี่น้องถูกรายล้อมด้วยอิทธิพลของกลุ่มอาณาจักรไตฟา", "title": "พระเจ้าซันโชที่ 2 แห่งกัสติยาและเลออน" }, { "docid": "74526#0", "text": "กัสติยาและเลออน (), กัสติเอลยาและยิออง (เลออน: ) หรือ กัสแตลาและเลโอง () เป็นแคว้นปกครองตนเองแคว้นหนึ่งของประเทศสเปน อยู่ในบริเวณที่แต่เดิมเคยเป็นราชอาณาจักรเลออนและภูมิภาคกัสติยาเก่า () แคว้นกัสติยาและเลออนเป็นเขตการปกครองที่มีเนื้อที่กว้างขวางที่สุดในประเทศสเปนและใหญ่เกือบที่สุดในสหภาพยุโรป ครอบคลุมพื้นที่ 94,223 ตารางกิโลเมตร และมีจำนวนประชากรอย่างไม่เป็นทางการประมาณ 2.5 ล้านคน", "title": "แคว้นกัสติยาและเลออน" }, { "docid": "290642#0", "text": "ราชอาณาจักรเลออน () หรือ ราชอาณาจักรยิออง (เลออน: ) เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรไอบีเรีย สถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 910 โดย เจ้าชายคริสเตียนแห่งอัสตูเรียส ที่ล่มสลายลงไปก่อนหน้านี้ โดยเลออนเป็นหนึ่งในแกนนำที่ช่วยขับไล่ชาวมุสลิมออกไปจากสเปน และภายหลังได้รวมเป็นส่วนหนึ่งกับราชอาณาจักรกัสติยาในปี ค.ศ. 1230 ก่อนที่จะล่มสลายลงเพราะสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนในปี ค.ศ. 1301", "title": "ราชอาณาจักรเลออน" }, { "docid": "256463#1", "text": "ราชอาณาจักรกัสติยาถูกสถาปนาขึ้นในปี ค.ศ. 1065 โดยพระเจ้าซันโชที่ 2 แห่งเลออนและกัสติยา พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 1 แห่งเลออนเคยเป็นเคานต์แห่งกัสติยา ต่อมาพระองค์กลายเป็นกษัตริย์แห่งเลออนตามสิทธิ์ของภรรยา ซันชาแห่งเลออน ทรงกลายเป็นกษัตริย์แห่งเลออนและกัสติยาในปี ค.ศ. 1037 และเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1065 กัสติยาและเลออนถูกแบ่งให้กับพระโอรส ซันโชกลายเป็นกษัตริย์แห่งกัสติยา ขณะที่อัลฟอนโซเป็นกษัตริย์แห่งเลออน พระเจ้าซันโชยังเป็นกษัตริย์แห่งเลออนระยะสั้นๆ หลังปลดพระอนุชาออกจากตำแหน่ง ทำให้กลายเป็นกษัตริย์แห่งเลออนและกัสติยา แต่ในปี ค.ศ. 1065 สองราชอาณาจักรก็ไม่ได้รวมเป็นหนึ่งเดียวกันอีกต่อไป พระเจ้าซันโชอภิเษกสมรสกับอัลเบร์ตา แต่ข้อมูลของอัลเบร์ตามีไม่มาก ทั้งคู่ไม่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน ผู้สืบทอดต่อตำแหน่งของพระองค์คือพระอนุชา พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 คนเดียวกับที่พระองค์เคยปลดออกจากตำแหน่ง", "title": "ราชอาณาจักรกัสติยา" }, { "docid": "256463#4", "text": "พระเจ้าอัลฟอนโซอภิเษกสมรสกับเบเรงเกลาแห่งบาร์เซโลนาในปี ค.ศ. 1128 ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันแปดคน เบเรงเกลาสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1149 และพระองค์อภิเษกสมรสใหม่กับริเชซาแห่งโปแลนด์ ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันสองคน พระเจ้าอัลฟองโซนำธรรมเนียมการแบ่งราชอาณาจักรให้พระโอรสกลับมาใช้ ซันโชกลายเป็นพระเจ้าซันโชที่ 3 แห่งกัสติยา ขณะที่เฟร์นันโดกลายเป็นพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งเลออน พระเจ้าซันโชแต่งงานกับบลังกาแห่งนาวาร์ในปี ค.ศ. 1151 ทั้งคู่มีพระโอรสที่รอดชีวิตคนเดียว พระองค์สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระบิดาในปี ค.ศ. 1157 แต่เพียงหนึ่งปีต่อมาก็สิ้นพระชนม์ พระโอรสวัยสองพรรษากลายเป็นพระเจ้าอัลฟองโซที่ 8 แห่งกัสติยา การสำเร็จราชการแผ่นดินก่อให้เกิดความวุ่นวายและพรมแดนของพระองค์ส่วนหนึ่งถูดพระปิตุลาพิชิตไปได้ พระองค์ต้องการพันธมิตรที่แข็งแกร่งและทรงได้มาหนึ่งคน คือ พระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ เมื่อพระองค์อภิเษกสมรสกับเอเลนอร์แห่งอังกฤษ พระธิดาของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันสิบเอ็ดคน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีชีวิตรอดถึงวัยผู้ใหญ่ เมื่อพระเจ้าอัลฟองโซสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1214 ผู้สืบทอดต่อตำแหน่งคือพระเจ้าเอนริเก พระโอรสคนสุดท้องและพระโอรสคนเดียวที่มีชีวิตรอด พระองค์ไม่ได้อภิเษกสมรสและสิ้นพระชนม์ตอนพระชนมายุ 13 พรรษา ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์คือเบเรงเกลาผู้เป็นพระเชษฐภคินี เบเรงเกลาเคยแต่งงานกับคอนราดที่ 2 ดยุคแห่งสวาเบียในปี ค.ศ. 1187 แต่การแต่งงานไม่สมบูรณ์และคอนราดสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1196 ในปี ค.ศ. 1197 พระองค์อภิเษกสมรสกับพระเจ้าอัลฟองโซที่ 9 แห่งเลออน ลูกพี่ลูกน้องลำดับที่หนึ่งที่อยู่ห่างกันหนึ่งขั้น เพื่อรักษาสันติภาพระหว่างสองราชอาณาจักร สมเด็จพระสันตะปาปาไม่ยอมรับการแต่งงานด้วยเหตผลว่าเป็นการร่วมประเวณีกันของญาติใกล้ชิด ขณะกำลังต่อสู้กับพระสันตะปาปา ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันสี่คน สุดท้ายทั้งคู่ก็พ่ายแพ้เรื่องการแต่งงาน แต่พระโอรสธิดาของทั้งคู่ถูกพิจารณาว่าเป็นบุตรตามกฎหมาย เมื่อพระอนุชาสิ้นพระชนม์ เบเรงเกลากลัวว่าอดีตพระสวามีจะพยายามอ้างสิทธิ์ในบัลลังก์ พระองค์ตระหนักว่ากัสติยาจำเป็นต้องมีผู้นำทางทหารที่แท้จริงจึงทรงสละบัลลังก์ให้พระโอรสของพระองค์ในปีนั้น พระโอรสของพระองค์กลายเป็นพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 แห่งกัสติยา พระองค์ยังอยู่เคียงข้างพระโอรสในฐานะที่ปรึกษาของกษัตริย์ เมื่อพระสวามีสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1230 พระองค์พยายามยกราชอาณาจักรเลออนให้พระธิดาสองคนจากการแต่งงานครั้งแรก เบเรงเกลาเป็นคนเจรจาต่อรองและสุดท้ายพระธิดาทั้งสองก็ยอมรับเงินก้อนโตเพื่อแลกกับการสละสิทธิ์ในบัลลังก์ พระเจ้าเฟร์นันโดจึงกลายเป็นกษัตริย์แห่งเลออน", "title": "ราชอาณาจักรกัสติยา" }, { "docid": "69616#3", "text": "ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 อาณาจักรของชาวแฟรงก์ได้สถาปนาอาณาจักรเคานต์ขึ้นหลายแห่งในบริเวณภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนียและภูมิภาคชายแดนกอเทียเพื่อให้เป็นหน้าด่านป้องกันการรุกรานของชาวมุสลิม ต่อมาบรรดาอาณาจักรเคานต์ที่อยู่ทางทิศตะวันออกของภูมิภาคชายแดนทั้งสองได้รวมกันเป็นดินแดนเดียวภายใต้การปกครองของเคานต์แห่งบาร์เซโลนาซึ่งเป็นข้า (ในระบบเจ้าขุนมูลนาย) ขึ้นกับอาณาจักรชาวแฟรงก์ และต่อมาจะมีชื่อเรียกว่า \"กาตาลุญญา\" ในปี ค.ศ. 1137 กาตาลุญญาและราชอาณาจักรอารากอนได้รวมตัวกันเป็นราชบัลลังก์อารากอนผ่านการอภิเษกสมรสของผู้ปกครองดินแดนทั้งสอง กาตาลุญญากลายเป็นฐานหลักสำหรับการขยายอำนาจทางทะเลของอารากอนในแถบเมดิเตอร์เรเนียน วรรณกรรมกาตาลุญญาเฟื่องฟูในยุคกลางตอนปลาย ระหว่างปี ค.ศ. 1469–1516 กษัตริย์แห่งราชบัลลังก์อารากอนและสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชบัลลังก์กัสติยาได้อภิเษกสมรสและปกครองอาณาจักรทั้งสองร่วมกัน ทั้งนี้ กัสติยาและอารากอน (ซึ่งรวมกาตาลุญญาไว้ด้วย) ยังคงสถาบัน หน่วยงานนิติบัญญัติ และกฎหมายต่าง ๆ ของตนเองไว้ต่างหาก", "title": "แคว้นกาตาลุญญา" }, { "docid": "996150#1", "text": "อัลฟอนโซเป็นพระโอรสของพระเจ้าซันโชที่ 3 แห่งกัสติยาและบลังกาแห่งนาวาร์ เสด็จพระราชสมภพในโซเรียเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1155 พระองค์ทรงได้รับการตั้งชื่อตามพระอัยกาคือ พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7 แห่งเลออนและกัสติยา ผู้ทรงแบ่งราชอาณาจักรระหว่างพระโอรส ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในราชวงศ์ จนกระทั่งอาณาจักรถูกรวมเป็นหนึ่งอีกครั้งโดยพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 แห่งกัสติยา (พระนัดดาของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 8)", "title": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 8 แห่งกัสติยา" }, { "docid": "996294#4", "text": "การหมั้นหมายครั้งแรกของเบเรงเกลาบรรลุข้อตกลงในปี ค.ศ. 1187 เมื่อค็อนราท ดยุคแห่งโรเทินบวร์คและพระบุตรคนที่ห้าของจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์[6] ต้องการแต่งงานกับพระองค์ ปีต่อมาสัญญาว่าด้วยการแต่งงานได้รับการลงนามในเซลิงเกินชตัท หนึ่งในนั้นคือสินสอดจำนวน 42,000 เหรียญมาราเบดี[6] จากนั้นค็อนราทก็เดินทัพมากัสติยาที่มีการฉลองการหมั้นหมายกันในการ์ริยอนและค็อนราทได้รับแต่งตั้งเป็นอัศวิน[7] สถานะของเบเรงเกลาในฐานะทายาทแห่งกัสติยาเมื่อพระองค์ได้สืบทอดบัลลังก์เป็นส่วนหนึ่งในสนธิสัญญาและสัญญาว่าด้วยการแต่งงาน[8][9] ที่ระบุว่าพระองค์จะสืบทอดอาณาจักรต่อจากพระบิดาหรือพระอนุชาคนใด ๆ ก็ตามที่ไร้ทายาท[8] ค็อนราทจะได้เป็นเพียงผู้ปกครองร่วมในฐานะคู่สมรสของพระองค์ และกัสติยาจะไม่เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิ[6]", "title": "เบเรงเกลาแห่งกัสติยา" }, { "docid": "996150#0", "text": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 8 () เป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัสติยาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1158 จนสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1214 และเป็นกษัตริย์แห่งโตเลโด พระองค์เป็นที่จดจำที่สุดจากบทบาทในเรกองกิสตาและการล่มสลายของอาณาจักรกาหลิบอัลโมฮัด", "title": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 8 แห่งกัสติยา" }, { "docid": "997720#2", "text": "แม้จะอยู่ในช่วงที่ใกล้จะเป็นจักรวรรดิ แต่ความคิดที่จะแยกตัวออกจากกันยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องในคาบสมุทรไอบีเรีย พระเจ้าอัลฟอนโซไม่สามารถหยุดยั้งโปรตุเกสจากการสถาปนาตนเป็นราชอาณาจักรอิสระ ในพินัยกรรมพระองค์ได้ทำตามตามธรรมเนียมปฏิบัติของชาวสเปน แบ่งอาณาจักรให้กับพระโอรสทั้งสอง คือ พระเจ้าซันโชที่ 3 แห่งกัสติยาและพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งเลออน ซึ่งสุดท้ายแล้วการกระทำนี้ก็ได้ทำลายการเป็นจักรวรรดิของสเปนในสมัยกลาง", "title": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7 แห่งเลออนและกัสติยา" }, { "docid": "121614#1", "text": "โลกรอญโญเป็นที่ตั้งถิ่นฐานเก่าของชาวโรมันในช่วงแรกและชาวเคลต์ในช่วงต่อมา ในฐานะเมืองการค้าที่มีชื่อว่า \"วาเรย์อา (Vareia)\" จนกระทั่งในคริสต์ศตวรรษที่ 10 กษัตริย์แห่งนาวาร์และกษัตริย์แห่งกัสติยาต่างแย่งชิงอำนาจปกครองเหนือเมืองนี้ และในที่สุดก็ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรกัสติยา", "title": "โลกรอญโญ" }, { "docid": "1001205#2", "text": "ในปี ค.ศ. 1069 แอนเญ็สอภิเษกสมรสกับพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งเลออน ในตอนที่สิ้นพระชนม์ พระบิดาของพระเจ้าอัลฟอนโซได้แบ่งราชอาณาจักรของพระองค์ออกเป็นสามส่วน พระเจ้าอัลฟอนโซกับพระเจ้าซันโชที่ 2 แห่งกัสติยา พระเชษฐา ในตอนแรกนั้นร่วมมือกันแย่งชิงราชอาณาจักรกาลิเซียมาจากพระอนุชา พระเจ้าการ์เซียที่ 2 แห่งกาลิเซีย ก่อนจะหันมารบรากันเอง ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1072 พระเจ้าอัลฟอนโซ (และน่าจะแอนเญ็สด้วย) ถูกบีบให้หนี ส่วนพระเจ้าซันโชก็ยึดอาณาจักรทั้งหมดของพระบิดา ต่อมาพระเจ้าซันโชถูกลอบสังหารในปีเดียวกันนั้น พระเจ้าอัลฟอนโซจึงกลับมาราชาภิเษกเป็นกษัตริย์ของราชอาณาจักรของพระบิดาที่กลับมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้งในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1072 ซึ่งตอนนั้นพระองค์ได้อ้างตนเป็น \"จักรพรรดิแห่งสเปนทั้งหมด\" ด้วย", "title": "แอนเญ็สแห่งอากีแตน พระราชินีแห่งเลออนและกัสติยา" }, { "docid": "256463#6", "text": "ราชสำนักถูกผสานเข้าด้วยกันและถูกมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของราชบัลลังก์กัสติยา", "title": "ราชอาณาจักรกัสติยา" }, { "docid": "997999#2", "text": "การสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าซันโชทำให้อัลฟอนโซได้ราชอาณาจักรเลออนของพระองค์กลับคืนมาและได้สืบทอดต่อกัสติยาในปี ค.ศ. 1072 พระองค์ยังยึดกาลิเซียที่พระเจ้าซันโชเอามาจากการ์ซิอา พระอนุชา อัลฟอนโซจำคุกการ์ซิอาจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ เล่ากันว่าอัลฟอนโซได้กล่าวคำสาบานในโบสถ์ของนักบุญกาเดอาว่าพระองค์ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นในการฆาตกรรมพระเจ้าซันโช ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าชาวกัสติยาอาจยอมรับพระองค์เป็นกษัตริย์ด้วยความจำใจ", "title": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งเลออนและกัสติยา" }, { "docid": "997958#1", "text": "อัลฟอนโซเป็นพระโอรสคนที่สองของพระเจ้าซันโชที่ 5 รามิเรซ และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งของพระเจ้าเปโดรที่ 1 แห่งอารากอน (พระเชษฐา) พระองค์ทรงได้รับการทาบทามจากพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งเลออนและกัสติยาให้แต่งงานกับอูร์รากา ภรรยาม่ายของแรมงแห่งบูร์กอญที่ต่อมากลายเป็นพระราชินีผู้ปกครองกัสติยา เลออน และกาลิเซีย ภายหลังเมื่อพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1109 ราชอาณาจักรคริสเตียนทั้งสี่ คือ อารากอน นาวาร์ กัสติยา และเลออน ถูกรวมเป็นหนึ่งเดียวกันแต่เพียงในนาม และอัลฟอนโซที่ 1 สืบทอดตำแหน่งจักรพรรดิต่อจากพระสสุระ ทว่าการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวไม่ประสบผลสำเร็จเพราะเลออนและกัสติยาเกลียดชังจักรพรรดิชาวอารากอน, เพราะอูร์รากาชิงชังพระสวามีคนที่สองของตนเอง และเพราะแบร์นาร์ อาร์ชบิชอปชาวฝรั่งเศสสายกลูว์นีแห่งโตเลโดต้องการให้อัลฟอนโซ รามิเรซ พระโอรสเลี้ยงของพระองค์ (พระโอรสวัยทารกของอูร์รากากับพระสวามีคนแรกชาวบูร์กอญ) ครองบัลลังก์จักรพรรดิ ด้วยการกระตุ้นของแบร์นาร์ สมเด็จพระสันตะปาปาประกาศให้การแต่งงานของอัลฟอนโซกับอูร์รากาเป็นโมฆะ แต่พระเจ้าอัลฟอนโซยังคงมีส่วนร่วมในสงครามกลางเมืองในราชอาณาจักรตอนกลางต่อไปจนกระทั่งยอมวางมือจากการอ้างสิทธิ์เพื่อหลีกทางให้พระโอรสเลี้ยงในท้ายที่สุดหลังการสิ้นพระชนม์ของอูร์รากาในปี ค.ศ. 1126", "title": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 1 แห่งอารากอน" }, { "docid": "37665#34", "text": "ในขณะที่การยึดดินแดนคืนกำลังดำเนินอยู่นั้น ราชรัฐและราชอาณาจักรคริสต์ทางตอนเหนือก็พัฒนาขึ้นในเวลาเดียวกัน เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 อาณาจักรที่มีความสำคัญที่สุดในบรรดาอาณาจักรคริสต์เหล่านี้ได้แก่ ราชอาณาจักรกัสติยา (ครอบครองตอนกลางและตอนเหนือของคาบสมุทรไอบีเรีย) และราชอาณาจักรอารากอน (ครอบครองภาคตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทร) กษัตริย์ผู้ปกครองของอาณาจักรทั้งสองนี้เป็นพันธมิตรกับราชวงศ์ในโปรตุเกส (ซึ่งประกาศแยกตัวจากอาณาจักรกัสติยาและเลออนไปเป็นอิสระตั้งแต่ปี ค.ศ. 1129) ฝรั่งเศส และอาณาจักรใกล้เคียงอื่น ๆ บ่อยครั้งจะมีการอภิเษกสมรสระหว่างพระโอรสกับพระธิดาจากราชวงศ์ของอาณาจักรเหล่านี้ ทำให้ดินแดนที่ราชวงศ์เหล่านั้นปกครองได้เข้ามารวมกันอยู่เป็นอาณาจักรเดียว แต่ก็อาจจะแยกออกจากกันภายหลังได้เช่นกัน หากผู้ปกครองอาณาจักรนั้นสิ้นพระชนม์ลงและมีการแบ่งดินแดนให้พระโอรสและพระธิดาพระองค์ต่าง ๆ ปกครอง", "title": "ประวัติศาสตร์สเปน" }, { "docid": "997999#1", "text": "อัลฟอนโซเป็นพระโอรสคนที่สองของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 1 แห่งกัสติยากับพระมเหสี ซันชา พระองค์ได้รับการศึกษาจากไรมุนโดที่ต่อมาได้เป็นอาร์ชบิชอปแห่งปาเลนเซีย และเปโดร อันซูเรซ เคานต์แห่งการ์ริออน เมื่อพระเจ้าเฟร์นันโดสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1065 พระองค์ทิ้งราชอาณาจักรเลออนและบรรณาการที่ได้จากราชอาณาจักรมุสลิมโตเลโดไว้ให้อัลฟอนโซ ทำให้พระเจ้าซันโชที่ 2 พระเชษฐาที่ได้ราชอาณาจักรกัสติยาและบรรณาการจากซาราโกซาเป็นมรดกตั้งตนเป็นศัตรูด้วยความริษยา อัลฟอนโซพ่ายแพ้พระเชษฐาในการทำสมรภูมิสองครั้ง หลังการพ่ายแพ้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1068 ที่ยันตาดา พระองค์หาทางเอาราชอาณาจักรของตนกลับคืนมาได้ แต่หลังการพ่ายแพ้ที่โกลเปเฆราในปี ค.ศ. 1072 พระองค์ถูกจับกุมตัวและถูกขับไล่ออกจากประเทศ ทรงใช้ชีวิตช่วงสั้น ๆ ในเวลานั้นที่ราชสำนักของอัลมะอ์มูน กษัตริย์มุสลิมแห่งโตเลโด ผู้เป็นข้าราชบริวารของพระองค์ ต่อมาไม่นานอูร์รากา พระเชษฐภคินีของอัลฟอนโซ ก่อกบฏในเลออน พระเจ้าซันโชได้ปิดล้อมพระองค์ไว้ในเมืองซาราโกซาที่มีกำแพงล้อมรอบ ในช่วงที่ทำการปิดล้อม พระเจ้าซันโชถูกสังหาร อาจจะด้วยการยุยงของอูร์รากาซึ่งอยู่ฝั่งเดียวกับอัลฟอนโซอย่างชัดเจน นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ยังสันนิษฐานว่าทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันแบบผิดทำนองคลองธรรม", "title": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งเลออนและกัสติยา" }, { "docid": "276527#0", "text": "พระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยา (; ; ; , ) (22 กรกฎาคม ค.ศ. 1478 - 25 กันยายน ค.ศ. 1506) ฟิลิปผู้ได้รับพระฉายาว่า \"ฟิลิปผู้ทรงโฉม\" เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ แมรีแห่งเบอร์กันดี พระองค์ทรงได้รับดินแดนส่วนใหญ่ของดัชชีแห่งเบอร์กันดี และเนเธอร์แลนด์ของเบอร์กันดี (ในพระนาม \"ฟิลิปที่ 4 แห่งเบอร์กันดี\") จากพระราชมารดา และทรงได้ครองราชอาณาจักรกัสติยาอยู่ชั่วระยะหนึ่งเมื่อทรงเสกสมรสกับโจแอนนาแห่งกัสติยา ฟิลิปทรงเป็นราชตระกูลฮาพส์บวร์คพระองค์แรกที่ได้ครองสเปน และผู้ครองสเปนต่อมาทรงรู้จักพระองค์ในพระนามว่า \"พระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งสเปน\" แต่ฟิลิปไม่ทรงได้รับดินแดนอื่น ๆ ของพระราชบิดาหรือได้เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เพราะเสด็จสวรรคตเสียก่อน", "title": "พระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยา" }, { "docid": "998269#0", "text": "เฟร์นันโดที่ 1 (; เลออน: ) หรือ เฟร์นันโดมหาราช () เสด็จพระราชสมภพ ค.ศ. 1016/18 สิ้นพระชนม์ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1065 ที่เลออน ราชอาณาจักรเลออน ทรงเป็นผู้ปกครองคนแรกของกัสติยาที่ครองตำแหน่งกษัตริย์ ทั้งยังได้รับการสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิแห่งเลออน", "title": "พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 1 แห่งกัสติยา" }, { "docid": "997720#3", "text": "ในปี ค.ศ. 1111 ดิเอโก เฆลมิเรซ บิชอปแห่งกอมโปสเตลาและเคานต์แห่งตราบาได้รับการสวมมงกุฎและทำพิธี เป็นพระเจ้าอัลฟอนโซแห่งกาลิเซียในอาสนวิหารซานเตียโกเดกอมโปสเตลา พระองค์เป็นบุตรคนเดียว พระมารดาของพระองค์ได้สืบทอดต่อบัลลังก์เลออน-กัสติยา-กาลิเซียที่เป็นหนึ่งเดียวกันและต้องการการันตีตำแหน่งให้พระโอรสจึงเตรียมความพร้อมเพื่อให้พระโอรสได้สืบทอดตำแหน่งต่อ ในปี ค.ศ. 1125 พระองค์ได้สืบทอดราชอาณาจักรโตเลโดที่เคยเป็นของชาวมุสลิม ในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1126 หลังการสิ้นพระชนม์ของพระมารดา พระองค์ได้รับการสวมมงกุฎในเลออน และเริ่มการกอบกู้ราชอาณาจักรกัสติยาที่ตอนนั้นตกอยู่ภายใต้อำนาจของอัลฟอนโซเจ้าสมรภูมิกลับคืนมาทันที ตามสนธิสัญญาสันติภาพแตมาราในปี ค.ศ. 1127 เจ้าสมรภูมิให้การยอมรับว่าพระองค์คือพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7 แห่งกัสติยา ทว่าอาณาเขตที่อยู่ไกลออกไปทางตะวันออกของดินแดนของพระองค์มีอิสรภาพมากขึ้นในช่วงที่พระมารดาของพระองค์ปกครองและมีการก่อกบฏเกิดขึ้นหลายครั้ง หลังได้รับการยอมรับในกัสติยา อัลฟอนโซต่อสู้เพื่อจำกัดอำนาจของบารอนท้องถิ่น", "title": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7 แห่งเลออนและกัสติยา" }, { "docid": "998982#2", "text": "พระเจ้าอัลฟอนโซเสด็จพระราชสมภพในซาโมรา พระองค์เป็นพระโอรสคนเดียวของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งเลออนกับอูร์รากาแห่งโปรตุเกส พระบิดาของพระองค์เป็นพระโอรสคนสุดท้องของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7 แห่งเลออนและกัสติยาที่ได้รับส่วนแบ่งในการแบ่งราชอาณาจักร อันเป็นชนวนก่อเกิดความขัดแย้งขึ้นภายในตระกูลที่สิ้นสุดลงเมื่อพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 แห่งกัสติยา พระโอรสของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 9 รวมราชอาณาจักรเข้าด้วยกันอีกครั้ง", "title": "พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 9 แห่งเลออน" } ]
2127
สแกนดิเนเวีย คือที่ไหน ?
[ { "docid": "64147#0", "text": "สแกนดิเนเวีย (Scandinavia; Skandinavia; Skandinavien) เป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ มีศูนย์กลางอยู่ที่คาบสมุทรสแกนดิเนเวียในยุโรปเหนือ มาจากชื่อเดิมว่า มณฑลสกาเนียน (Scanian Province) ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ได้แก่ สวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก อาจรวมถึงประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มนอร์ดิก เช่น ประเทศไอซ์แลนด์ และประเทศฟินแลนด์ จากความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม", "title": "สแกนดิเนเวีย" }, { "docid": "64147#1", "text": "ในทางภาษาและวัฒนธรรม นิยามของสแกนดิเนเวียอาจขยายไปถึงดินแดนที่เคยมีการพูดภาษานอร์เวย์โบราณและดินแดนที่มีการพูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ ดังนั้น ในทางภาษาและวัฒนธรรม สแกนดิเนเวียจึงรวมถึงประเทศไอซ์แลนด์และหมู่เกาะแฟโร", "title": "สแกนดิเนเวีย" }, { "docid": "64147#2", "text": "นอกจากนี้ ในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สแกนดิเนเวียอาจรวมถึงฟินแลนด์ จากการที่ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนมายาวนาน ถึงแม้ว่าฟินแลนด์จะมีความเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรมกับชาติสแกนดิเนเวียอื่นๆ แต่ชาวฟินแลนด์มีเชื้อชาติและภาษาแบบฟินโน-ยูกริก ซึ่งมีลักษณะของทั้งยุโรปตะวันตกและตะวันออก", "title": "สแกนดิเนเวีย" }, { "docid": "64147#3", "text": "ถึงแม้ว่าความหมายของสแกนดิเนเวียอาจขึ้นอยู่กับบริบท \"กลุ่มนอร์ดิก\" นั้นหมายถึงนอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์ รวมถึงหมู่เกาะแฟโร กรีนแลนด์ และหมู่เกาะโอลันด์ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันทั้งในด้านการเมืองและด้านวัฒนธรรม", "title": "สแกนดิเนเวีย" } ]
[ { "docid": "70112#0", "text": "คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย () ตั้งอยู่บริเวณยุโรปเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 770,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่หลักๆคือดินแดนของประเทศสวีเดนและประเทศนอร์เวย์ เป็นคาบสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป มีความยาวประมาณ 1,000 กิโลเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 500 กิโลเมตร แกนกลางคาบสมุทรเป็นเทือกเขาสูงชัน ยอดเขาที่สูงที่สุดบนคาบสมุทรอยู่ในประเทศนอร์เวย์ สูงกว่า 2,400 เมตร ทิศเหนือของคาบสมุทรอยู่ในเขตอาร์กติก สามารถชมปรากฏการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืนได้ ทั้ง สวีเดน นอร์เวย์ และ ฟินแลนด์ แต่จุดชมที่สวยที่สุดอยู่ในนอร์เวย์บริเวณแหลมเหนือ ชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณคาบสมุทรมักจะอาศัยกระจุกตัวอยู่ทางทิศใต้ของคาบสมุทร เพราะมีอากาศที่อบอุ่นกว่า มีเมืองใหญ่ๆตั้งอยู่ อาทิเช่น สตอกโฮล์ม ออสโล เมลโม เฮลซิงบอร์ก เป็นต้น", "title": "คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย" }, { "docid": "80947#8", "text": "ต้นยุคราวปี ค.ศ. 839 เมื่อทูตชาวสวีเดนได้เข้าไปเจริญสัมพันธไมตรีครั้งแรกในบิแซนเทียม ช่วงนั้นชาวสแกนดิเนเวียเป็นทหารรับจ้างของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 หน่วยองครักษ์แห่งจักรวรรดิหน่วยใหม่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวสแกนดิเนเวีย รู้จักกันชื่อองครักษ์วารันเจียน คำว่า \"วารันเจียน (Varangian)\" อาจมาจากภาษานอร์สโบราณซึ่งหมายถึงคือชาวไวกิงและชาวนอร์ส แต่ในภาษาสลาฟและกรีกอาจหมายถึงชาวสแกนดิเนเวียหรือชาวแฟรงค์ ชาวสแกนดิเนเวียที่มีชื่อเสียงที่สุดในองครักษ์วารันเจียนคือฮาร์รัลด์ ฮาร์ดราด้า ผู้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งนอร์เวย์ (ค.ศ. 1047–66)", "title": "ชาวไวกิง" }, { "docid": "422533#4", "text": "เมืองเป็นเจ้าภาพงานหลายงานประจำปีซึ่งใหญ่ที่สุดในสแกนดิเนเวีย เทศกาลหนังกอเทนเบิร์กที่ถูกจัดในเดือนมกราคมมาตั้งแต่ ค.ศ. 1979 เป็นเทศกาลหนังแนวหน้าของแถบสแกนดิเนเวียที่มีผู้เข้าชมกว่า 155,000 คนต่อปี ในช่วงหน้าร้อน มักมีการจัดเทศกาลดนตรีขึ้นในเมือง เช่น และ", "title": "กอเทนเบิร์ก" }, { "docid": "683928#0", "text": "\"กลัวที่ไหน\" เป็นซิงเกิลของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ในปี พ.ศ. 2553 ในสตูดิโออัลบั้ม \"รักนะคะ\" ประพันธ์เนื้อร้องโดย กสิ นิพัฒน์ศิริผล, แต่งทำนองและเรียบเรียงโดย เรืองฤทธิ์ เอกะหิตานนท์ ออกจำหน่ายในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553", "title": "กลัวที่ไหน" }, { "docid": "28174#0", "text": "เทพปกรณัมนอร์สหรือเทพปกรณัมสแกนดิเนเวียเป็นเทพปกรณัมของชนเจอร์แมนิกเหนือ และเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาเก่าแก่ของชาวนอร์สซึ่งเป็นความเชื่อพหุเทวนิยม และยังคงเล่าสืบเนื่องกันมาแม้ภายหลังจากชาวสแกนดิเนเวียหันมานับถือศาสนาคริสต์ จนกลายมาเป็นคติชาวบ้านสแกนดิเนเวียแห่งสมัยใหม่ เทพปกรณัมนอร์สเป็นการกระจายขึ้นเหนือสุดของเทพปกรณัมเจอร์มานิก โดยประกอบด้วยนิทานเทวดา และวีรบุรุษต่าง ๆ จากแหล่งที่มาจำนวนมากทั้งก่อนและหลังยุคเพกัน ซึ่งรวมถึงวรรณกรรมของชาวไอซ์แลนด์ที่เขียนขึ้นในสมัยกลาง หลักฐานทางโบราณคดีและประเพณีพื้นบ้าน", "title": "เทพปกรณัมนอร์ส" }, { "docid": "14053#1", "text": "สิบปีต่อมา ลาร์ส เฟรดริก นิลสัน ได้ค้นพบธาตุชนิดใหม่ในแร่ยูซีไนต์ (euxenite) และ กาโดลิไนต์ (gadolinite) จากสแกนดิเนเวีย โดยเขาได้ สแกนเดียมออกไซด์ ที่มีความบริสุทธิ์สูงจำนวน 2 กรัม. นิลสัน ได้ตั้งชื่อ สแกนเดียม ซึ่งมีที่มาจากภาษาละตินในคำว่า สแกนเดีย (Scandia) ที่หมายถึง \"สแกนดิเนเวีย\"", "title": "สแกนเดียม" } ]
4066
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์เมื่อไหร่?
[ { "docid": "4249#1", "text": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชสมบัติในวันพุธ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ยังเป็นโทศก พ.ศ. 2394 รวมดำรงสิริราชสมบัติ 16 ปี 6 เดือน และมีพระราชโอรส - พระราชธิดารวมทั้งสิ้น 82 พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 สิริพระชนมายุ 64 พรรษา วัดประจำรัชกาลคือวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร", "title": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" } ]
[ { "docid": "39975#7", "text": "\"ตามรายงานนี้เห็นได้ชัดว่า เขาเตรียมจะใช้กำลังกับเราอยู่แล้ว เผอิญให้เกิดมีการสวรรคตและเปลี่ยนแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นมาเสวยราชย์ในเวลาที่ทรงทราบเหตุการณ์นอกประเทศดีอยู่แล้ว เพราะทรงมีเวลาศึกษาเพียงพอ ในเวลาที่ผนวชเป็นพระภิกษุถึง 27 ปี พอเสวยราชย์ได้ 4 ปี เซอร์จอน โบว์ริง (Sir John Bowring) เจ้าเมืองฮ่องกง ก็มีจดหมายส่วนตัวเข้ามากราบทูลว่า คราวนี้ตัวเขาจะเข้ามาเป็นราชทูตแทนพระองค์ควีน วิคตอเรีย ไม่ใช่เป็นแต่เพียงทูตมาจากผู้สำเร็จราชการอินเดียเช่นคนก่อน ๆ เพราะฉะนั้นจึงหวังว่าจะไม่มีเรื่องเดือดร้อนถึงต้องขัดใจกัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบข้อไขอันนี้ดี จึงเปิดประตูรับในฐานะมิตร และเป็นผลให้เราได้พ้นภัยมาได้แต่ผู้เดียวในทางตะวันออกประเทศนี้\"", "title": "พระสยามเทวาธิราช" }, { "docid": "551810#2", "text": "เจ้าพิมพิสารได้รับราชการมีบรรดาศักดิ์เป็น\"พระยาราชวงศ์\" เมื่อพระยาอินทวิไชยผู้เป็นราชมาตุลาถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2390 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็น\"พระยาแพร่\" ขณะมีชันษาได้ 34 ปี เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ พระยาพิมพิสารไม่ลงไปเข้าเฝ้า จึงไม่ได้รับพระราชทานนามใหม่ขึ้นเป็นเจ้าอย่างเจ้านครเชียงใหม่ เจ้านครลำพูน เจ้านครลำปาง และเจ้านครเมืองน่าน", "title": "พระยาพิมพิสารราชา" }, { "docid": "41622#0", "text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส หรือ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้านพวงศ์ วรองค์อรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส เป็นพระราชโอรสพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย (ธิดาพระอินทรอำไพ (สมเด็จเจ้าฟ้าทัศไภย) พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 แรม 10 ค่ำ ปีมะเมียจัตวาศก จ.ศ. 1184 ตรงกับวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2365 ในสมัย ร.2 พระองค์เจ้านพวงศ์ เป็นพระโอรสหนึ่งในสองพระองค์ที่ประสูติก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงขึ้นครองราชย์ (อีกพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร) แรกประสูติ เป็น หม่อมเจ้านพวงศ์ พระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ ในสมัย ร.4 จึงได้เป็น พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้า", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส" }, { "docid": "4249#10", "text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระราชวงศ์และเสนาบดีมีมติเห็นชอบให้ถวายราชสมบัติแก่พระมงกุฎ วชิรญาณะ จึงได้ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ไปเฝ้าพระมงกุฎ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร แต่พระองค์ยังไม่ทรงลาผนวชและตรัสว่าต้องอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นครองราชย์ด้วย เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นผู้ที่ควบคุมกำลังทหารเป็นอันมากได้", "title": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "41626#0", "text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร หรือ พระองค์เจ้าชายสุประดิษฐ วรฤทธิราชมกุฎ บุรุษยรัตนราชวโรรส มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมเจ้าน้อย ธิดาของพระอินทรอำไพ (สมเด็จเจ้าฟ้าทัศไภย พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี กับกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์) ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 6 แรม 14 ค่ำ ปีวอกฉศก จ.ศ. 1186 ตรงกับวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2367 ในสมัย ร.2 พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ เป็นพระโอรสหนึ่งในสองพระองค์ที่ประสูติก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะขึ้นครองราชย์ (อีกพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส) แรกประสูติ เป็น หม่อมเจ้าสุประดิษฐ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ ในสมัย ร.4 จึงได้เป็น พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้า", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร" }, { "docid": "53060#1", "text": "วัดป่าเลไลยก์วรวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ระดับวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่หน้าบันของวิหารวัดป่าเลไลยก์มีเครื่องหมายพระมหามกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จธุดงค์มาพบสมัยยังผนวชอยู่ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจึงทรงมาปฏิสังขรณ์", "title": "วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร" }, { "docid": "4219#8", "text": "ลำดับรูปพระนามขึ้นครองราชย์สิ้นสุดการครองราชย์รัชกาลที่ 1พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช6 เมษายน พ.ศ. 23257 กันยายน พ.ศ. 2352รัชกาลที่ 2พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย7 กันยายน พ.ศ. 235221 กรกฎาคม พ.ศ. 2367รัชกาลที่ 3พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว21 กรกฎาคม พ.ศ. 23672 เมษายน พ.ศ. 2394รัชกาลที่ 4พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว6 เมษายน พ.ศ. 23941 ตุลาคม พ.ศ. 2411รัชกาลที่ 5พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว1 ตุลาคม พ.ศ. 241123 ตุลาคม พ.ศ. 2453รัชกาลที่ 6พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว23 ตุลาคม พ.ศ. 245326 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468รัชกาลที่ 7พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว26 พฤศจิกายน พ.ศ. 24682 มีนาคม พ.ศ. 2477 (2478) (สละราชสมบัติ)รัชกาลที่ 8พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (2478)9 มิถุนายน พ.ศ. 2489รัชกาลที่ 9พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช9 มิถุนายน พ.ศ. 248913 ตุลาคม พ.ศ. 2559รัชกาลที่ 10สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร13 ตุลาคม พ.ศ. 2559ยังอยู่ในราชสมบัติ", "title": "ราชวงศ์จักรี" }, { "docid": "170064#2", "text": "ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เคยอยู่ในเพศบรรพชิตได้เสด็จมาพระราชทานผ้าป่าที่วัดนี้ ในคราวนั้น พระอธิการแก้วเจ้าอาวาสได้ทูลถวายพยากรณ์ว่า \"จะได้เป็นเจ้าชีวิตในเร็วๆนี้\" พระองค์จึงมีรับสั่งว่า \"ถ้าได้ครองแผ่นดินจริงจะมาสร้างวัดให้อยู่ใหม่\" หลังจากนั้นหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์จึงโปรดเกล้าฯให้สถาปนาวัดขึ้นใหม่ ในเวลาต่อมาจึงโปรดให้พระราชทานสมณะศักดิ์ พระอธิการแก้วเป็น \"พระมหาพฤฒาจารย์\" และโปรดให้สร้างพระอารามใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2397 จนถึง พ.ศ. 2409 โดยโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองในการสถาปนา ต่อมาเมื่อทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงโปรดฯ ให้สถาปนาขึ้นในพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า \"วัดมหาพฤฒาราม\"", "title": "วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร" }, { "docid": "596142#1", "text": "วัดบรมนิวาส เป็นวัดที่พระวชิรญาณเถระโปรดให้เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2377 ประกอบด้วยพระอุโบสถ พระเจดีย์ และกุฏิ 14 หลัง การก่อสร้างดังดำเนินมาจนกระทั่งพระวชิรญาณเถระลาผนวชและขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอารามได้รับการปฏิสังขรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่อีกครั้งในสมัยที่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นเจ้าอาวาส โดยเจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5 และพระราชโอรสธิดา เป็นผู้สนับสนุนทุนทรัพย์", "title": "วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร" }, { "docid": "9091#5", "text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวใกล้สวรรคต เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เดินทางไปเข้าเฝ้าสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งทรงผนวชอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร กราบทูลว่าจะเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์ สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎตรัสว่าท่านฟากข้างโน้น (หมายถึงเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์) มีพระชะตาแรงต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ให้ถวายราชสมบัติแก่ท่านนั้นด้วย เพราะหากพระองค์รับราชสมบัติเพียงพระองค์เดียวจะเกิดอัปมงคล ด้วยไปกีดกันบารมีของสมเด็จพระอนุชา ถ้ามีพระเจ้าแผ่นดินสองพระองค์เหมือนอย่างสมเด็จพระนเรศวรสถาปนาสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นพระเจ้าแผ่นดินด้วยก็จะพ้นจากอัปมงคล เจ้าพระยาพระคลังจึงไปเข้าเฝ้าเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ณ พระราชวังเดิมตามรับสั่ง[1] เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าทั้ง 2 พระองค์ได้เสด็จยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เหล่าขุนนางมาประชุมพร้อมกันแล้วกราบทูลเชิญทั้งสองพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ[11] เมื่อเสร็จสิ้นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว จึงมีพระราชดำริว่าสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ก็ทรงพระปรีชารอบรู้กิจการต่าง ๆ มีผู้ใหญ่ผู้น้อยนิยมนับถือมาก สมควรที่จะพระราชทานยศใหญ่กว่ากรมพระราชวังบวรสถานมงคลแต่ก่อน ๆ[12] แต่เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศฯ ยังไม่ได้รับพระสุพรรณบัฏตั้งพระนาม ทำให้ไม่มีพระนามเดิม ดูเป็นการต่ำทรามไป จึงพระราชทานพระสุพรรณบัฏตั้งพระนามเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอิศเรศจุฑามณี ชั้นหนึ่งก่อน[13] แล้วจึงพระราชทานพระสุพรรณบัฏในการพระราชพิธีบวรราชาภิเษกในวันที่ 25 พฤษภาคม ว่า", "title": "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "260409#4", "text": "จากที่กล่าวข้างต้นนี้ แสดงให้เห็นว่าวัดมณีฯ เป็นวัดที่มีความสำคัญ ด้วยเป็นวัดหลวง ที่ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์และด้วยเหตุที่สภาพภูมิประเทศเป็นเกาะ มีน้ำล้อมรอบ เหมาะแก่การเสด็จประพาสประทับพักผ่อนพระอิริยาบถ จึงทำให้มีเจ้านายชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศล และเสด็จมาประทับพักผ่อนหลายพระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เคยเสด็จท้องพรหมาสตร์เล่นสักวาเมื่อวันขึ้นสิบค่ำ เดือนสิบสอง ปีวอก ตรงกับ พ.ศ. 2415 ) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จพระราชทานกฐิน 2 ครั้ง คือเมื่อ พ.ศ. 2458 และ พ.ศ. 2469 การเสด็จแต่ละครั้งก็จะประทับ ณ พระตำหนักแพ กลางท้องพรหมาสตร์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เคยเสด็จเมื่อตอนลาผนวชก่อนขึ้นเสวยราชย์ หรือมีพระบรมวงศานุวงศ์ ได้แก่ เจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุ์วงศ์วรเดช และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็เคยเสด็จถวายพระกฐิน ณ วัดนี้เช่นกัน ", "title": "วัดมณีชลขัณฑ์" }, { "docid": "55065#4", "text": "เมื่อปี พ.ศ. 2411 เจ้าจอมอายุได้ 11 ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จสวรรคต และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว เจ้าจอมมารดาทับทิมก็ยังเป็นละครหลวงอยู่ และมีลีลาการฟ้อนรำเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป จนได้ชื่อว่าเป็นนางเอกละครหลวงที่ดีที่สุดคนหนึ่งต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ชุบเลี้ยงเจ้าจอมมารดาทับทิมเป็นเจ้าจอม ประจวบกับเจ้าจอมมารดาเที่ยงออกไปอยู่วังกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร พระองค์หญิงโสมาวดี (กรมหลวงสมรรัตน์สิริเชษฐ) พระราชธิดาองค์ใหญ่ ซึ่งครอบครองตำหนักต่อมา ทรงพระเมตตารับเจ้าจอมมารดาทับทิมจากสำนักท้าววรคณานันท์ และจัดเรือนในบริเวณตำหนักหลังหนึ่งกับทั้งคนสำหรับใช้สอย ให้ครอบครองสมกับบรรดาศักดิ์ สาเหตุที่ต้องสละการแสดงละครนั้น เพราะเหตุว่าเจ้าจอมมารดาทับทิมทรงครรภ์ พระเจ้าลูกเธอ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานตำหนักเจ้านายให้อยู่เป็นอิสระอย่างเจ้าจอมมารดา", "title": "เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5" }, { "docid": "189470#0", "text": "หอระฆัง ของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของพระอุโบสถ สร้างขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นใหม่โดยมีลักษณะคล้ายสถาปัตยกรรมไทย ย่อมุมไม้สิบสอง (สี่ด้าน ด้านละสามมุม) ประดับด้วยเครื่องถ้วยชามแบบจีน เป็นลวดลายต่างๆวิจิตรพิสดารอย่างยิ่ง ปัจจุบันได้มีการบูรณะซ่อมแซมใหม่เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 ", "title": "หอระฆัง (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)" }, { "docid": "4775#9", "text": "ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจนถึงแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ไทยยังคงทำสงครามกับพม่ามาโดยตลอดซึ่ง เจ้าเมืองและชาวเมืองเพชรบุรีก็ยังคงมีส่วนในการทำสงครามดังกล่าว จนเมื่อพม่าตกเป็นของอังกฤษ บทบาทของเมืองเพชรบุรีที่มีต่อเมืองหลวงและราชสำนักจึงค่อย ๆ เปลี่ยนไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีตั้งแต่ครั้งยังผนวชอยู่เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว โปรดให้สร้างพระราชวัง วัด และพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นบนเขาเตี้ย ๆ ใกล้กับตัวเมืองและพระราชทานนามว่า “พระนครคีรี” ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองเพชรบุรี คือ “พระรามราชนิเวศน์” หรือที่เรียกกันภาษาชาวบ้านว่า “วังบ้านปืน” และด้วยความเชื่อที่ว่าอากาศชายทะเลและน้ำทะเลอาจบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวัง “พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน” ขึ้นที่ชายหาดชะอำเพื่อใช้เป็นที่ประทับรักษาพระองค์", "title": "จังหวัดเพชรบุรี" }, { "docid": "6105#5", "text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งธรรมยุติกนิกาย ก็ได้ทรงเข้าถือธรรมเนียมนั้นตาม ทรงทำทัฬหีกรรม ณ นทีสีมา โดยมีพระสุเมธมุนี (ซาย พุทฺธวํโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงเป็นพระภิกษุเป็นพระกรรมวาจาจารย์ แล้วศึกษาพระปริยัติธรรมต่อในสำนักพระวิเชียรปรีชา (ภู่) แม้จะไม่เคยสอบพระปริยัติธรรม แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานตาลปัตรสำหรับพระเปรียญที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าทรงเคยรับ ให้ทรงใช้ต่อ", "title": "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์" }, { "docid": "40396#19", "text": "Family of Main Page 16. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย8. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว17. สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี4. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์18. หลวงอาสาสำแดง (แตง)9. สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม สุจริตกุล)19. ท้าวสุจริตธำรง (นาค)2. หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์20. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว10. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร21. เจ้าจอมมารดาพึ่ง อินทรวิมล5. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี11. หม่อมสุ่น คัคณางค์ ณ อยุธยา1. หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์24. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว12. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว25. สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี6. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต26. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว13. สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี27. เจ้าคุณจอมมารดาสำลี บุนนาค3. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานต์มณี28. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว14. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย29. เจ้าจอมมารดาห่วง7. หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร15. หม่อมกลีบ ชูกะวิโรจน์", "title": "หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์" }, { "docid": "4054#19", "text": "หลังจากลาสิกขาบท สุนทรภู่ได้รับพระอุปถัมภ์จากเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ รับราชการสนองพระเดชพระคุณทางด้านงานวรรณคดี สุนทรภู่แต่ง เสภาพระราชพงศาวดาร บทเห่กล่อมพระบรรทม และบทละครเรื่อง อภัยนุราช ถวาย รวมถึงยังแต่งเรื่อง พระอภัยมณี ถวายให้กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพด้วย เมื่อถึงปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาเจ้าฟ้าน้อยขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ช่วงระหว่างเวลานี้สุนทรภู่ได้แต่งนิราศเพิ่มอีก 2 เรื่อง คือ นิราศพระประธม และ นิราศเมืองเพชร", "title": "พระสุนทรโวหาร (ภู่)" }, { "docid": "158168#1", "text": "ในรัชสมัยของพระองค์กัมพูชาได้หลุดพ้นการตกอยู่ภายใต้การปกครองของสยามและกลายมาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ทำให้พระองค์ได้ทรงเป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชาองค์แรกที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส \nเมื่อพำนักในกรุงเทพฯ พระองค์มีสถานะเป็นพระราชบุตรบุญธรรมของกษัตริย์สยาม ผนวชในธรรมยุติกนิกาย 1 พรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เมื่อสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดีขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชาแล้ว พระองค์ได้ส่งพระราชโอรส คือ นักองค์ราชาวดี เข้ามาทำราชการที่กรุงเทพมหานครในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดีมีใบบอกเข้ามายังกรุงเทพมหานครว่า \"ตนมีชนมายุเจริญล่วงมากไปแล้ว ขอพระราชทานให้พระเจ้าแผ่นดินสยาม ทรงตั้งนักพระองค์ราชาวดี บุตรผู้ใหญ่เป็นมหาอุปราช นักพระองค์ศรีสวัสดิ์บุตรที่ 2 เป็นพระแก้วฟ้า ออกไปช่วยรักษาเมืองเขมร\" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นักพระองค์ราชาวดีมีนามว่า \"\"องค์พระนโรดมพรหมบริรักษ์มหาอุปราช\"\" ตั้งนักพระองค์ศรีสวัสดิ์เป็น \"\"องค์หริราชดะไนไกรแก้วฟ้า\"\" ตามที่พระเจ้ากรุงกัมพูชาทรงขอมา เมื่อ พ.ศ. 2400", "title": "พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร" }, { "docid": "5358#4", "text": "ในระยะราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 ละโว้หรือลพบุรีตกอยู่ภายใต้อำนาจทางการของอาณาจักรเขมรเป็นครั้งคราว ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 เกิดความอ่อนแอในอาณาจักรเขมร ทำให้รัฐต่าง ๆ ที่เคยอยู่ใต้อำนาจปลีกตัวเป็นอิสระ รวมทั้งละโว้ด้วย ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 ปรากฏหลักฐานว่าเมืองลพบุรีน่าจะเป็นเมืองที่พระเจ้าอู่ทองเคยครองราชย์มาก่อนที่จะย้ายไปสถาปนาอาณาจักรอยุธยา และในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้เองที่ลพบุรีเจริญรุ่งเรืองที่สุด เพราะสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) ได้สถาปนาลพบุรีเป็นราชธานีที่สอง หลังแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว ลพบุรีก็ขาดความสำคัญลงมากจนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดสถาปนาเมืองลพบุรีเป็นที่ประทับอีกแห่งหนึ่ง", "title": "จังหวัดลพบุรี" }, { "docid": "4236#22", "text": "พ.ศ. 2367 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมายุได้ 57 พรรษา ครองราชย์ได้ 15 ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดพิธีให้อุปราชาภิเษกพระองค์เจ้าอรุโณทัยขึ้นเป็นที่ \"กรมพระราชวังบวรสถานมงคล\" โปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไทยไปช่วยอังกฤษรบพม่า", "title": "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "193972#25", "text": "รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 1 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 2 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 3 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 4 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 5 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 6 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "7605#14", "text": "ปี พ.ศ. 2400 พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) ได้ถึงแก่พิราลัย ยังแต่พระศรีวรราช (เจ้าเหม็น) บุตรพระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) แลกรมการช่วยกันดูแลราชการบ้านเมืองอยู่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระศรีวรราช (เจ้าเหม็น) บุตรพระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) เป็นที่พระสุนทรราชวงศา มหาขัตติยชาติ ประเทศราชดำรงรักษ์ศักดิยศไกร ศรีพิไชยสงคราม เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทร คนที่ 4 (พ.ศ. 2400-2418) ปี พ.ศ. 2416 พระสุนทรราชวงศา (เจ้าเหม็น) พระศรีรราชสุพรหม ผู้เป็นบุตร พร้อมด้วยญาติวงศ์ แลไพร่พลได้พร้อมกันปฏิสังขรณ์วัดท่าแขกที่สร้างขึ้นในสมัยเจ้าฝ่ายบุต แล้วนิมนต์พระเกตุโล (เกตุ) วัดโสมนัสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ มาเป็นเจ้าอาวาส พร้อมตั้งวงศ์ธรรมยุติกนิกายในเมืองยศสุนทรเป็นครั้งแรก และให้ชื่อวัดใหม่ว่า \"วัดศรีธรรมารามหายโศรก\" (วัดศรีธรรมาราม) พระเกตุโล (เกตุ) ยังเป็นพระภิกษุที่ได้รับการอุปสมบทเป็นพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกายโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ จึงเป็นลูกศิษย์รุ่นแรกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนับว่าวัดศรีธรรมารามหายโศรกเป็นวัดธรรมยุติกนิกายแห่งแรกของเมืองยศสุนทร", "title": "จังหวัดยโสธร" }, { "docid": "32173#2", "text": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2393 มีพระราชปณิธานช่วยเหลือราษฎรด้านความเป็นอยู่ โดยมีพระราชดำริแตกต่างจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเชษฐา หลายอย่าง โดยทรงเห็นว่าการเปิดให้ค้าข้าวกับต่างประเทศได้อย่างเสรีจะสร้างประโยชน์แก่บ้านเมืองมหาศาล จะทำให้ข้าวราคาสูงขึ้น เพราะมีความต้องการซื้อข้าวจากต่างชาติ ชาวนาก็จะมีเงินมากขึ้น ข้าวจะกลายเป็นสินค้าส่งออกของไทย สร้างรายได้ให้แก่รัฐบาลเช่นกัน ตลอดจนทรงเห็นว่านโยบาย \"ปิดข้าว\" สร้างรายได้ให้แก่คนส่วนน้อย ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม", "title": "สนธิสัญญาเบาว์ริง" }, { "docid": "112394#28", "text": "ภายหลังการเสวยราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว พระองค์ทรงปรารถนาที่จะวางกฎเกณฑ์บรรดาศักดิ์แก่บรรดาเจ้าประเทศราชฝ่ายล้านช้างให้เป็นแบบแผน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สถาปนาฐานันดรศักดิ์สำหรับลูกท่านหลานเธอแห่งเจ้าผู้ครองนครประเทศราชฝ่ายล้านช้างหลวงพระบางและฝ่ายจำปาศักดิ์ (ยกเว้นนครเวียงจันทน์) ตลอดจนหัวเมืองฝ่ายอีสานบางเมืองขึ้นอีก เรียกว่า เจ้ายั้งขะหม่อม หรือ เจ้าย่ำกระหม่อม รวมเป็น ๑๑ ตำแหน่ง ดังนี้", "title": "อาญาสี่" }, { "docid": "538208#0", "text": "พระราชวังสมุทรปราการ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงโปรดฯ ในการเสด็จประพาสเมืองปากน้ำ(สมุทรปราการในปัจจุบัน) เพราะมีหาดทรายขาว ลำน้ำสงบนิ่ง มีธรรมชาติของแม่น้ำเจ้าพระยาที่สวยงาม (ครั้งยังไม่มีเรือใหญ่แล่นผ่าน) และที่สำคัญที่สุด คือ พระสมุทรเจดีย์ โดยเสด็จลงเรือข้ามจากฝั่งอำเภอเมือง ไปนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์หลายครั้ง บันทึกในพงศาวดารยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ทรงปฏิบัติเช่นว่านี้มาตั้งแต่ครั้งยังทรงผนวช\nเมื่อทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริในการปฏิสังขรณ์องค์พระสมุทรเจดีย์ให้ยิ่งใหญ่ด้วยความสูงถึง ๑๙ วา ๒ ศอก ครอบองค์พระเจดีย์ดั้งเดิมที่ก่อสร้างมาแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างการปรับปรุงพระสมุทรเจดีย์ขึ้นใหม่นี้เอง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวัง เพื่อทรงเตรียมไว้เป็นที่ประทับ ในยามเสด็จมาตรวจสอบความคืบหน้าของโครงการ พระราชวังใหม่สร้างขึ้นที่ฝั่งตัวเมือง (ฝั่งตลาด) ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตตั้งแต่บริเวณถนนด่านเก่า ไปจรดพื้นที่รอบตลาดวิบูลย์ศรีในปัจจุบัน ทรงใช้โอกาสในวันสมโภชพระสมุทรเจดีย์องค์ใหม่ พระราชทานนามว่า “พระราชวังสมุทรปราการ” ", "title": "พระราชวังเมืองสมุทรปราการ" }, { "docid": "62794#4", "text": "ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร คงมีนามเรียกเต็มว่า วัดหงสาราม ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือประชุมพงศารภาคที่ ๒๕ ตอนที่ ๓ เรื่องตำนานสถานที่ และวัสดุต่าง ๆ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณะ และมีความเกี่ยวเนื่องกับวัดหงส์ฯ ดังมีข้อความกล่าวไว้เป็นเชิงประวัติว่า วัดนี้นามเดิมว่า วัดเจ้าขรัวหงส์ แล้วเปลี่ยนมา เป็น วัดหงสาราม และในสำเนาเทศนาพระราชประวัติรัชกาลที่ ๒ ซึ่ง หม่อมเจ้าพระประภากร บวรวิสุทธิวงศ์ วัดบวรนิเวศน์วิหาร ทรงเทศนาถวาย ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้นามว่า วัดหงสาราม ในเรื่องเกี่ยวกับวัดหงส์ฯ แม้แต่ในพระอารามหลวงที่ เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร เรียบเรียงถวายรัชกาลที่ ๕ ได้กล่าวไว้เช่นเคียวกัน แต่กล่าวพิเศษออกไปว่า เรียกวัดหงสาราม มาแต่รัชกาลที่ ๑ เห็นจะเป็นว่าเมื่อเรียกโดยไม่มีพิธีรีตองสำคัญอะไร ก็คงเรียกวัดหงสาราม ทั้ง ๓ รัชกาล ก็เป็นได้ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) นี้ สมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ (พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้ทรงรับปฏิสังขรณ์จากการทรงชักชวนของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเกณฑ์ต่อให้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังดำรงพระยศ เจ้าฟ้ามงกุฎ ให้รื้อพระอุโบสถเก่าแปลงปลูกเป็นวิหาร แต่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงรับทำ จึงเป็นพระภาระของสมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ แต่พระองค์เดียว ส่วน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในครั้งแรกทรงรับพระภาระสร้างโรงธรรมตึกใหญ่ขึ้นใหม่ แต่ในครั้งหลังสมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์สิ้นพระชนม์ การยังไม่เสร็จ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงรับเป็นพระธุระทั้งพระอุโบสถ และพระวิหาร และสิ่งอื่นอีก", "title": "วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร" }, { "docid": "267041#9", "text": "ลำดับรูปรายพระนาม/รายนามระยะการดำรงตำแหน่งหมายเหตุ1สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาพ.ศ. 2468ผู้สำเร็จราชการในขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรเมื่อปลายรัชกาล ซึ่งภายหลังขึ้นครองราชย์เป็น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)", "title": "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "196664#2", "text": "เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 ได้ทรงบัญญัติคำนำพระนามพระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ และได้ใช้คำนำพระนามนี้มาจนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการให้เปลี่ยนเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ แทน", "title": "พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "4529#32", "text": "พระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) พระเจ้าประเทศราชผู้ครองนครศรีธรรมราชในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) หรือเจ้าพระยานครพัฒน์ อดีตเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เป็นพระโอรสในกรมหมื่นอินทรพิทักษ์ (พระราชโอรสในสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์) กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) พระมเหสีฝ่ายซ้ายในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นพระธิดาในพระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) กับหม่อมทองเหนี่ยว เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง พระสนมในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นพระธิดาพระองค์เล็กในพระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) และเป็นมารดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) หรือเจ้าพระยานครน้อย อดีตเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ต้นสกุล ณ นคร, โกมารกุล ณ นคร และจาตุรงคกุล เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี กับเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง และเป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) เจ้าพระยามหาศิริธรรม (น้อยใหญ่ โกมารกุล ณ นคร) บุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) ต้นสกุล โกมารกุล ณ นคร เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) อดีตเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช บุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) พระยาเสน่หามนตรี (น้อยเอียด ณ นคร) บุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) ต้นสกุล จาตุรงคกุล เจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่ พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระชนนีในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เป็นธิดาเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) กับท่านผู้หญิงชุ่ม เจ้าจอมมารดานุ้ยเล็ก พระสนมในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท และพระชนนีในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปัทมราช เป็นธิดาเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) กับท่านผู้หญิงชุ่ม เจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว พระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นธิดาพระยาจักรีเมืองนครศรีธรรมราช และพระชนนีในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอภัยทัต กรมหลวงเทพพลภักดิ์ และหม่อมไกรสร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ) เจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) และพระชนนีในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ เจ้าจอมน้อยเล็ก พระสนมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) เจ้าจอมมารดาบัว พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) และพระชนนีในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณเลิศ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย กรมขุนสิริธัชสังกาศ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดำรงฤทธิ์ เจ้าจอมหนูชี พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในเจ้าพระยามหาศิริธรรม (น้อยใหญ่ ณ นคร) เจ้าจอมอิ่ม พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) เจ้าจอมจับ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) เจ้าจอมเป้า พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยาบริรักษ์ภูธร (แสง ณ นคร) เจ้าจอมอำพัน พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระอุทัยธานี (ม่วง ณ นคร) เจ้าจอมกุหลาบ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระอุทัยธานี (ม่วง ณ นคร) เจ้าจอมเขียน พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยาเสนานุชิด (นุช ณ นคร) เจ้าจอมทับทิม พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยาเสนานุชิด (นุช ณ นคร) เจ้าจอมเกตุ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยาวิชิตสรไกร (กล่อม ณ นคร) เจ้าจอมสว่าง พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) และท่านผู้หญิงดาวเรือง เจ้าจอมนวล พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยาเสนานุชิด (นุช ณ นคร) เจ้าจอมเพิ่ม พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระอิศราธิไชย (กลิ่น ณ นคร) เจ้าจอมพิณ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระศรีสุพรรณดิษฐ์ (เสม ณ นคร) เจ้าจอมมิ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในนายสนิทยศสถาน (พร้อม จาตุรงคกุล) เจ้าจอมสุวรรณ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยากาญจนดิษฐบดี (พุ่ม ณ นคร)", "title": "จังหวัดนครศรีธรรมราช" }, { "docid": "4249#8", "text": "ในขณะที่ผนวชอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ พระองค์ทรงตัดสินพระทัยที่จะดำรงสมณเพศต่อไป ในระหว่างที่ผนวชอยู่นั้นได้เสด็จออกธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ทำให้ทรงคุ้นเคยกับสภาพความเป็นอยู่ของอาณาประชาราษฏร์อย่างแท้จริง พระองค์ทรงพระราชอุตสาหะวิริยะเรียนภาษาอังกฤษจนทรงเขียนได้ ตรัสได้ ทรงเป็นนักปราชญ์รอบรู้ ทำให้พระองค์ทรงมีความรอบรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ของโลกตะวันตกเป็นอย่างดี[1] พระองค์ทรงผนวชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2367 จนถึงลาผนวชเพื่อรับการขึ้นครองราชย์ เป็นเวลารวมที่บวชเป็นภิกษุทั้งสิ้น 27 พรรษา (ขณะนั้นพระชนมายุ 48 พรรษา) หมายเหตุ; เวลาที่ผนวชเป็นสามเณร 7 เดือน", "title": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" } ]
3413
พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อไหร่?
[ { "docid": "502295#1", "text": "\"พรีเคียว ออลล์สตาร์ส ดีลักซ์: พวกเราคือเพื่อนกัน☆การพบกันดั่งปาฏิหาริย์ที่ยิ่งใหญ่!\" (Precure All Stars DX: Everyone is Friends☆The Collection of Miracles!) ฉายในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2552 ในญี่ปุ่น", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" } ]
[ { "docid": "502295#0", "text": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่ (Precure All Stars The Movie) เป็นภาพยนตร์ของ พริตตี้เคียว ที่รวบรวมสมาชิกของพริตตี้เคียวตั้งแต่กลุ่มแรกจนถึงกลุ่ม มาโฮสึไค พรีเคียว! ส่วนหลังจากนี้ในภาคพรีเคียวดรีมสตาร์สเป็นต้นไปเลือกแค่ 3 กลุ่มเท่านั้น โดยกลุ่ม Go! พรินเซส พรีเคียว เป็นกลุ่มหลัก กลุ่ม มาโฮสึไค พรีเคียว! เป็นกลุ่มรองและกลุ่ม คิระคิระ☆พรีเคียว อะลาโหมด เป็นกลุ่มน้องใหม่ ต่อมาภาคพรีเคียวซูเปอร์สตาร์ส โดยคราวนี้กลุ่ม มาโฮสึไค พรีเคียว! ได้เป็นกลุ่มหลัก กลุ่ม คิระคิระ☆พรีเคียว อะลาโหมด เป็นกลุ่มรองและกลุ่ม ฮักโตะ! พรีเคียว เป็นกลุ่มน้องใหม่", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#23", "text": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส (เว็บไซต์หลัก)", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "155248#1", "text": "ช่องมูฟวี่ พลัส มีสโลแกนว่า \"มูฟวี่ พลัส มากกว่าที่เคยดู\" \nมูฟวี่ พลัส เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยการรวมเอาช่องภาพยนตร์ 2 ช่องคือ มูฟวี่ วัน (MOVIE 1) และ มูฟวี่ ทู (MOVIE 2) (โดย มูฟวี่ วัน จะฉายภาพยนตร์ฝรั่ง และ มูฟวี่ ทู จะฉายภาพยนตร์เอเชีย) มารวมกันทำเป็นช่องเดียวใช้ชื่อว่า มูฟวี่ พลัส ออกอากาศมาจนถึงทุกวันนี้\nหนังสั่นเพื่อพ่อ กำหนดออกอากาศเดือนธันวาคม 2550", "title": "มูฟวี่ พลัส" }, { "docid": "502295#19", "text": "\"พรีเคียว ออลล์สตาร์ส: งานรื่นเริงแห่งฤดูใบไม้ผลิ♪\" (Precure All Stars: Spring Carnival♪) ฉายวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558 ในญี่ปุ่น", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#21", "text": "1.\"พรีเคียว ออลล์สตาร์ส : โกโก ดรีม ไลฟ์\" (Precure All Stars : GoGo Dream Live) ฉายวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ในญี่ปุ่น", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#20", "text": "\"พรีเคียว ออลล์สตาร์ส : ร้องเพลงร่วมกับทุกคน♪ เวทมนตร์แห่งปาฏิหาริย์!\" (Precure All Stars: Singing with Everyone♪ Miraculous Magic!) ฉายวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559 ในญี่ปุ่น", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#22", "text": "2.\"พรีเคียว ออลล์สตาร์ส ดีลักซ์ : 3D เธียเตอร์\" (Precure All Stars DX : 3D Theatre) ฉายวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ในญี่ปุ่น", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#7", "text": "\"พรีเคียว ออลล์สตาร์ส นิวสเตจ: เพื่อนแห่งอนาคต\" (Precure All Stars New Stage: Friends of The Future) ฉายวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555 ในญี่ปุ่น", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#18", "text": "\"พรีเคียว ออลล์สตาร์ส นิวสเตจ 3: เพื่อนแห่งนิรันดร์\" (Precure All Stars New Stage 3: Forever Friends) ฉายวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2557 ในญี่ปุ่น", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#14", "text": "\"พรีเคียว ออลล์สตาร์ส นิวสเตจ 2: เพื่อนแห่งจิตใจ\" (Precure All Stars New Stage 2: Friends of the Heart) ฉายวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556 ในญี่ปุ่น", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" } ]
92
บีทีเอสเป็นวงที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "555281#0", "text": "บีทีเอส (English: BTS) หรือ พังทันโซ-นย็อนดัน (Korean:방탄소년단;Hanja:防彈少年團) เป็นกลุ่มดนตรีชายเกาหลีใต้แนวเคป็อปและฮิปฮอป สังกัดบิกฮิตเอนเตอร์เทนเมนต์ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนเจ็ดคนคือ จิน, ชูกา, เจ-โฮป, แร็ปมอนสเตอร์, จีมิน, วี และจ็องกุก เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 2013", "title": "บีทีเอส (กลุ่มนักร้อง)" } ]
[ { "docid": "545995#0", "text": "ที-สเกิ๊ต () มาร์, จอย, กิ๊ฟ วงดนตรีหญิงล้วนจากคีตา เรคคอร์ดส หรือ คีตา เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ เริ่มมีผลงานเพลงในปี พ.ศ. 2538 ออกอัลบั้มเพียงสองชุด เป็นที่รู้จักอย่างมากกับเพลง ไม่เท่าไหร่, เจ็บแทนได้ไหม, ฟ้องท่านเปา, เรื่องมันเศร้า, ปวดร้าว เป็นต้น", "title": "ที-สเกิ๊ต" }, { "docid": "808518#0", "text": "เอสเอ็มรุกกี้ (SM Rookies) เป็นกลุ่มพรีเดบิวต์โดยเอสเอ็มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ประกอบด้วยเด็กฝึกหัดที่ยังไม่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวงไอดอล \nก่อตั้งในปี 2013 โดยสมาชิกหลายคนได้เปิดตัวในวงต่างๆ เช่น เรดเวลเวต เอ็นซีที", "title": "เอสเอ็มรุกกีส์" }, { "docid": "447160#1", "text": "เคบีเอส เริ่มต้นก่อตั้งเป็น บริษัทกระจายเสียงคยองซอง(เจโอดีเค) ซึ่งก่อตั้งโดยรัฐบาลของญี่ปุ่นในเกาหลี เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 นี่คือสถานีวิทยุแห่งที่สองที่เริ่มใช้รหัสที่ใช้อ้างถึงตัวผู้พูดในการสื่อสารทางวิทยุ HLKA ในปี 2490 ภายหลังการก่อตั้งสาธารณรัฐเกาหลี ก็ใช้สัญญาณว่า HL ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ภายหลังจากการทำการกระจายเสียงไปทั่วประเทศ สถานีวิทยุก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีการะจายเสียงกลางโซล เมื่อปี 2491 การออกอากาศทางโทรทัศน์ของ สถานีกระจายเสียงโซล ทีวี (เคบีเอส ทีวี) ได้เริ่มออกอากาศตั้งแต่ปี 2504 สถานะของสถานีเคบีเอสจากที่เป็นของรัฐบาลเป็นองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2516 สำนักงานใหญ่ของเคบีเอสที่ยออิโด เริ่มทำการก่อสร้างในปี 2519 ในปี 2522 สถานีวิทยุเคบีออกเริ่มออกอากาศผ่านระบบคลื่นเอฟเอ็ม แตกต่างจากองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพที่อื่นซึ่งไม่มีการรับโฆษณา นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมทางโทรทัศน์ รายได้ของช่องเคบีเอสก็มาจากการโฆษณา โดยเคบีเอสเริ่มรับโฆษณาตั้งแต่ปี 2523 จากการรวบรวมสถานีกระจายเสียงเอกชนซึ่งมีขนาดเล็กกว่าจากความอิสระในการตัดสินใจของรัฐบาล ชอน ดูฮวาน จากการยับยั้งเสรีภาพในการสื่อสาร ภายหลังจากการยุบรวมกับบริษัทกระจายเสียงทงยัง (ทีบีซี) ซึ่งส่วนหนึ่งในปัจจุบันเป็น เจทีบีซี และ ระบบการกระจายเสียงดง-เอ (ดีบีเอส) เคบีเอสได้ปล่อย เคบีเอส เรดิโอ 2 (เอเอ็ม/เอฟเอ็ม) และสถานีโทรทัศน์ เคบีเอส ทีวี 2 ในปี 2523 เช่นเดียวกับ เคบีเอสทีวี 3 และ เอฟเอ็มเพื่อการศึกษา ในปี 2524 ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2523 เคบีเอส ทีวี 3 และเอฟเอ็มเพื่อการศึกษาได้แยกออกจาก เคบีเอส ไปในชื่อที่ว่า ระบบการกระจายเสียงเพื่อการศึกษา (อีบีเอส) ภายหลังจากการปรับปรุงใหม่เป็นระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในปี 2537 ช่อง เคบีเอส 1 ก็ไม่มีการแสดงโฆษณาอีก ", "title": "เคบีเอส" }, { "docid": "445824#0", "text": "เกิลส์เจเนอเรชัน-ทีทีเอส (, เป็นที่รู้จักในชื่อ ทีทีเอส, แททีซอ, หรือ เกิลส์เจเนอเรชัน-แททีซอ) คือกลุ่มย่อยกลุ่มแรกของวงเกิลส์เจเนอเรชัน ก่อตั้งโดยเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ ในปี 2012 สมาชิกได้แก่ แทย็อน, ทิฟฟานี และซอฮย็อน กลุ่มได้ออกอีพีทั้งหมดสามชุดคือ \"ทวิงเกิล\" (2012), \"ฮอลเลอร์\" (2014) และ \"เดียร์แซนตา\" (2015)", "title": "โซนยอชีแด-แททีซอ" }, { "docid": "278848#0", "text": "เอสคลับ () หรือ เอสคลับเซเวน () เป็นกลุ่มศิลปินป็อปสหราชอาณาจักร ก่อตั้งวงโดยอดีตผู้จัดการวงสไปซ์เกิลส์ ไซมอน ฟูลเลอร์ ประกอบด้วยสมาชิก ทีนา บาร์เรตต์, พอล แคตเตอร์โมล, จอน ลี, แบรดลีย์ แม็กอินทอช, โจ โอ'มีรา, ฮันนาห์ สเปียร์ริตต์ และราเชล สตีเวนส์ วงมีชื่อเสียงจากการแสดงในรายการซีรีส์ของตัวเองทางช่องซีบีบีซี ในรายการ \"Miami 7\" ในปี 1999 หลังจาก 4 ปีที่ทำงานด้วยกัน เอสคลับเซเวนมีซิงเกิลอันดับ 1 ในสหราชอาณาจักร 4 ซิงเกิล อัลบั้มอันดับ 1 อยู่ 1 อัลบั้ม นอกจากนี้ยังมีซิงเกิลอันดับ 1 ทั่วยุโรป มีซิงเกิลติดท็อป 10 ในสหรัฐอเมริกา เอเชีย ละตินอเมริกา และแอฟริกา พวกเขามีผลงานสตูดิโออัลบั้ม 4 ชุด มี 11 ซิงเกิล มียอดขายมากกว่า 17 ล้านชุดทั่วโลก อัลบั้มแรก \"S Club\" มีดนตรีแบบเพลงป็อปในยุคคริสต์ทศวรรษ 1990 คล้ายกับศิลปินอื่นในช่วงนั้น หลังจากนั้นแนวเพลงพวกเขาค่อย ๆ เปลี่ยนไปเริ่มผสมผสามเป็นเพลงแดนซ์มากขึ้นรวมถึงเพลงอาร์แอนด์บี ซึ่งมีมากในอัลบั้มชุดสุดท้ายของพวกเขาชุด \"Seeing Double\"", "title": "เอสคลับเซเวน" }, { "docid": "32661#26", "text": "ได้ปิดสถานีโทรทัศน์ไอทีวีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2550 ได้เปิดสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2550 และปิดตัวลงเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551 เวลา 00.08 น. ได้เปิดสถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอส (ปัจจุบันใช้ชื่อว่าสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551 และเปิดทำการออกอากาศเป็นครั้งแรกอย่างเต็มรูปแบบโดยอยู่ภายใต้องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551 จัดรายการที่ให้ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลให้แก่ประชาชน คือ รายการสายตรงทำเนียบ และรายการ เปิดบ้านพิษณุโลก ออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย", "title": "สุรยุทธ์ จุลานนท์" }, { "docid": "75976#1", "text": "เทกแดตรวมวงที่เมืองแมนเชสเตอร์ในปี 1990 พวกเขามียอดขายอัลบั้มและซิงเกิลรวมกว่า 30 ล้านก๊อปปี๊ระหว่างปี 1991 - 1996 ในระหว่างปี 1991 อันเป็นปีที่ซิงเกิลแรกของพวกเขาได้เผยแพร่สู่สาธารณชน จนกระทั่งถึงปี 1996 ที่พวกเขาแยกย้ายกันไปนั้น บีบีซีกล่าวถึงเทกแดตว่า \"เป็นวงดนตรีบริติชที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในสหราชอาณาจักรนับตั้งแต่วงเดอะบีทเทิลส์ อันเป็นที่รักของทั้งผู้สูงอายุ และวัยรุ่นโดยทั่วไป\" เพลงแนวแดนซ์ป๊อป และโซลของเทกแดตขึ้นชาร์ตมากมายในสหราชอาณาจักรในช่วงครึ่งทศวรรษแรกของคริสต์ทศวรรษที่ 1990 อัลบั้ม 2 ชุดที่ขายที่ที่ส่วนของพวกเขาคือ Everything Changes ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเมอร์คิวรีในปี 1994[1] และอัลบั้ม Greatest Hits ซึ่งออกจำหน่ายในปี 1996 โดยออลมิวสิกได้กล่าวไว้ว่า \"ณ เวลานี้พวกเขาคือซูเปอร์สตาร์ในยุโรป คำถามหลักๆไม่ใช่ต้องมุ่งประเด็นที่ทำอย่างไรถึงมีซิงเกิลยอดนิยม แต่ควรถามว่ามีซิงเกิลขึ้นสู่อันดับหนึ่งเท่าไหร่\"", "title": "เทกแดต" }, { "docid": "135238#0", "text": "อิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ (20 มีนาคม พ.ศ. 2490 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560) วิศวกร และนักธุรกิจสื่อมัลติมีเดีย ในอดีตเคยเป็นนักจัดรายการวิทยุ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทไนท์สปอต เป็นดีเจที่จัดรายการแบบสากลเป็นคนแรกของเมืองไทย และเป็นผู้สร้างวิทยุ 24 ชั่วโมงคลื่นแรก ก่อตั้งค่าย WEA Records Ltd., โซนีมิวสิก (ซีบีเอส) และบีเอ็มจีไทยแลนด์ ในประเทศไทย ต่อมาก่อตั้งบริษัทมีเดีย พลัส ทำงานด้านผลิตรายการวิทยุควบคู่ไปพร้อมกับงานจัดคอนเสิร์ตจากศิลปินต่างประเทศ อิทธิวัฒน์ บุกเบิกวงการเคเบิลทีวี ด้วยการผลิตรายการโทรทัศน์ 24 ชั่วโมงให้กับยูบีซีถึง 5 ช่อง ผลงานชิ้นเอกในยุคนี้ของคุณอิทธิวัฒน์คือการก่อตั้ง แชนแนลวีไทยแลนด์ นอกจากนั้นยังได้ก่อตั้งเอ็มทีวีไทยแลนด์ , วีเอชวัน และ เอฟทีวีไทยแลนด์ ", "title": "อิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ" }, { "docid": "559195#3", "text": "เข้าสู่วงการเพลง กิ๊ฟท์เป็นหนึ่งในศิลปินวง ที-สเกิ๊ต ประกอบสมาชิกคือ มาร์ อัสมา กฮาร์, กิ๊ฟท์ ธิติยา นพพงษากิจ และ จอย ดวงพร สนธิขันธ์ สังกัดคีตา เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ มีผลงาน 2 อัลบั้มเต็ม และ 1 อัลบั้มพิเศษ อัลบั้มชุดแรกภายใต้ชื่อ \"T-Skirt\" มีเพลงดังอย่าง ไม่เท่าไหร่, เจ็บแทนได้ไหม, เรื่องมันเศร้า และเพลง ฟ้องท่านเปา ", "title": "ธิติยา นพพงษากิจ" }, { "docid": "47225#7", "text": "แต่ภายหลังที่ได้แชมป์โลกแล้ว เขาค้อไม่สามารถที่จะป้องกันตำแหน่งไว้ได้เลยแม้สักครั้งเดียว โดยป้องกันตำแหน่งครั้งแรกก็แพ้แตก \"ไอ้ผมม้า\" มูน ซัง กิล นักมวยเกาหลีใต้ ถึงโซล ประเทศของผู้ท้าชิง และเมื่อได้โอกาสแก้มือ แม้สามารถเอาชนะไปได้ ได้แชมป์โลกกลับคืน เมื่อต้องป้องกันตำแหน่งครั้งแรก ในสมัยที่ 2 แพ้ทีเคโอ หลุยส์ ซีโต้ เอสปิโนซา นักมวยชาวฟิลิปปินส์ ไปในยกแรก แบบไม่น่าเชื่อ เพราะการชกยังไม่ทันได้เริ่มขึ้นเท่าไหร่ เขาค้อ จู่ ๆ ก็ล้มลงบนเวทีเสียเฉย ๆ โดยไม่ได้ถูกหมัดของคู่ชก และกรรมการก็ได้โบกมือยุติการชกทันที ด้วยเวลาเพียง 2.13 นาทีของยกแรกเท่านั้น", "title": "เขาค้อ แกแล็คซี่" }, { "docid": "654606#4", "text": "เรดเวลเวดได้เปิดตัวซิงเกิ้ลดิจิตอลเป็นครั้งที่สองด้วยเพลง \"บีแนชเจอเรล\" และมิวสิควิดีโอในวันที่ 13 ตุลาคม 2014 ซึ่งรวมถึงท่อนแร็ปภายในเพลง โดยสมาชิกเอ็นซีที แทยง โดยเป็นการรีเมคเพลงอีกครั้งของวง SES ที่แต่งขึ้นปี 2000 ซึ่งเป็นวงเกิร์ลกรุ๊ปวงแรกของเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ มิวสิกวิดีโอสำหรับเพลงกำกับโดย Kwon Soon-wook และ Shim Jae-won ออกแบบท่าเต้นโดย Kyle Hanagami ซึ่งรูปแบบแบบท่าเต้นได้มีการเปิดเผยให้เห็นก่อนหน้านี้ในทีเซอร์ของ ไอรีน และ ซึลกิ ระหว่างที่เยังป็นส่วนหนึ่งของเอสเอ็มรุกกี้ โดยวงเริ่มโปรโมตในวันที่ 9 ตุลาคม ด้วยการปรากฏตัวครั้งแรกในรายการเพลง M Countdown เพลงขึ้นยอดสูงสุดในอันดับที่ 33 บน Gaon Digital Chart และอันดับ 6 ของ Billboard's World Digital Songs chart", "title": "เรดเวลเวต (วงดนตรี)" }, { "docid": "532661#9", "text": "บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ เป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย โดยบริษัทได้ก่อตั้ง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เพื่อเข้ารับสัมปทานโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร สายอ่อนนุช - หมอชิต \n(รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน) และสนามกีฬาแห่งชาติ - สาทร (รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม) จากกรุงเทพมหานคร ซึ่งบริษัทได้ชำระหนี้สิ้นที่ผูกมัดกับโครงการทั้งหมดไปเมื่อ พ.ศ. 2553 และดำเนินการขายรายได้ในอนาคตเข้ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 ทำให้ปัจจุบันบริษัทอยู่ในสภาวะปลอดหนี้จากการลงทุนระบบขนส่งมวลชน", "title": "บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์" }, { "docid": "37703#3", "text": "หลังจากที่เข้าร่วมอย่างไม่ค่อยเต็มในเท่าไหร่ เธอก็ค่อยๆเปลี่ยนไปและเต็มใจจะอยู่กับฝ่ายนี้ในท้ายที่สุด เธอประมือกับทีม X-Men เธอเคยลอบสังหาร วุฒิสมาชิกเคลลี่ ด้วยแต่ก็ถูกขัดขวางไว้โดยมนุษย์กลายพันธุ์ฝ่ายดีทุกครั้ง แต่ยิ่งเธอใช้พลังมากเท่าไหร่ จิตใจของโร้คก็ยิ่งแตกสลายมากขึ้นเท่านั้น จนถึงขั้นที่เธอต้องเข้าพบจิตแพทย์ ฟางเส้นสุดท้ายของเธอกับมิสทีคขาดสะบั้นลง เมื่อโร้คตาสว่างพบว่าแท้จริงแล้วนี่คือแผนร้าย ที่อีกฝ่ายตั้งใจหลอกใช้กันมาตลอด เธอจึงหันหน้าเข้าหาศาสตราจารย์ทเอ็กซ์ และพลพรรคเอ็กซ์ทีม ขอร้องให้เธอควบคุมพลังให้ได้เสียที", "title": "โร้ค" }, { "docid": "532661#5", "text": "วันที่ 4 พฤษภาคม 2553 บริษัทฯ ได้ขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยการได้มาซึ่งหุ้นสามัญของบีทีเอสซี ร้อยละ 94.60 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบีทีเอสซี และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ทำให้ธุรกิจหลักของกลุ่มเปลี่ยนไปเป็นธุรกิจระบบขนส่งมวลชน", "title": "บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์" }, { "docid": "76701#7", "text": "ในปี 2011 เอเคบีโฟร์ตีเอต ได้ก่อตั้งวงน้องสาวนอกประเทศญี่ปุ่นวงแรกในชื่อ เจเคทีโฟร์ตีเอต (JKT48) ซึ่งประจำอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ตามด้วยวงน้องสาวที่ประเทศจีน เอสเอ็นเอชโฟร์ตีเอต (SNH48) ประจำเมืองเซี่ยงไฮ้ แต่ภายหลังเอเคบีได้ยกเลิกสัญญาไม่ให้เป็นวงน้องสาวอีกต่อไปตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2016 ซึ่งเอสเอ็นเอชก็ได้ประกาศเช่นกันว่าตนเองไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับเอเคบีมาตั้งแต่แรกและไม่เคยทำสัญญาใด ๆ กับทางวงมาก่อน นอกจากนี้ วงยังได้ประกาศจัดตั้งวงน้องสาววงใหม่อีก 3 วงด้วยกันในเดือนมีนาคม 2016 ได้แก่บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (BNK48) ประจำกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย, เอ็มเอ็นแอลโฟร์ตีเอต (MNL48) ประจำกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์, และทีพีอีโฟร์ตีเอต (TPE48) ประจำกรุงไทเป ประเทศไต้หวัน", "title": "เอเคบีโฟร์ตีเอต" }, { "docid": "578978#0", "text": "อัสมา กฮาร์ ชื่อเล่น มาร์ เป็นศิลปินชาวไทย และเป็นหนึ่งในศิลปิน วงที-สเกิ๊ต ภายใต้สังกัดคีตา เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ เจ้าของเพลงดังอย่าง ไม่เท่าไหร่, เจ็บแทนได้ไหม, ฟ้องท่านเปา, เรื่องมันเศร้า และเพลง ทักคนผิด เป็นต้น", "title": "อัสมา กฮาร" }, { "docid": "7931#1", "text": "รถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นระบบซึ่งดำเนินการแยกต่างหากจากรถไฟฟ้ามหานคร โดยเกิดขึ้นจากการอนุมัติของกรุงเทพมหานคร ในสมัยพลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เนื่องจากขณะนั้นในกรุงเทพมหานคร ไม่มีระบบขนส่งมวลชนทางราง มีการศึกษาโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าหลายระบบเช่น รถไฟฟ้าลาวาลิน แต่มีแนวโน้มไม่ได้รับการอนุมัติการก่อสร้างจาก คณะรัฐมนตรี ขณะที่การจราจรในกรุงเทพมหานคร ติดขัดอย่างหนัก เนื่องจากปริมาณรถยนต์ที่สะสมเพิ่มมากขึ้น เป็นผลมาจากการเปิดเสรีให้สามารถนำเข้ารถยนต์ใหม่จากต่างประเทศ ในรัฐบาล อานันท์ ปันยารชุน (ก่อนหน้านี้ การนำเข้ารถยนต์ใหม่จากต่างประเทศ ต้องเสียภาษีนำเข้าสูงถึงหลายเท่าของมูลค่ารถ)", "title": "รถไฟฟ้าบีทีเอส" }, { "docid": "816230#1", "text": "อาร์เอ็มเกิดเมื่อ 12 กันยายน ค.ศ.1994 ที่เขตอิลซาน เกาหลีใต้ ก่อนจะเปิดตัวกับวงบีทีเอสนั้น อาร์เอ็มเคยเป็นแร็ปเปอร์ใต้ดินภายใต้ชื่อ \"รันช์แรนดา\" (Runch Randa) และเคยร่วมงานกับซิโค สมาชิกวง บล็อกบี ในขณะที่ทั้งคู่ยังเป็นแร็ปเปอร์ใต้ดิน", "title": "อาร์เอ็ม (แร็ปเปอร์)" }, { "docid": "283336#1", "text": "แพตสเตเดียมเริ่มก่อสร้างพร้อมกับการก่อตั้งทีมเมื่อปี 2510 โดยหน้าตาสนามนั้นเดิมเป็นสนามฟุตบอล(ไม่มีลู่วิ่ง) ซึ่งเหมือนสนามทีโอที, ลีโอสเตเดียม และธันเดอร์โดมที่เป็นสนามบอลเก่าแก่ โดยอัฒจันทร์ด้านแรกที่เรียกว่าโซน A สร้างสูงจึงทำให้ไม่ค่อยน่าชมการแข่งขันสักเท่าไหร่ เนื่องจากว่าการก่อสร้างต้องการให้ชั้นล่างเป็นฟิตเนส และห้องนักข่าว", "title": "แพตสเตเดียม" }, { "docid": "943392#1", "text": "ดับเบิลยูเอเอสพี-104บีได้รับการยอมรับจากนักวิจัยว่ามันเป็นหนึ่งหนึ่งในดาวเคราะห์นอกระบบที่ดำที่สุดเท่าที่ค้นพบ พ.ศ. 2561 นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคีลได้กล่าวว่าผิวของมันดูดซับแสงได้มากกว่า 97% เพราะมีโซเดียมและโพแทสเซียมจำนวนมากบนชั้นบรรยากาศ หนังสือพิมพ์หกหน้าที่แผยแพร่ในหอสมุดมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์อธิบายเกี่ยวกับดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้ว่า \"ดำกว่าถ่าน\" และเห็นด้วยกับคำที่ว่า \"หนึ่งในดาวเคราะห์ที่สะท้อนแสงน้อยที่สุดเท่าที่พบในปัจจุบัน\" มีการพิจารณาว่ามีดาวเคราะห์อีกสองดวงที่ดำกว่าดับเบิลยูเอเอสพี-104บี คือทีอาร์อีเอส-2บีและดับเบิลยูเอเอสพี-12บี แสงดาวของมันถูกนำไปเปรียบเทียบกับดับเบิลยูเอเอสพี-12บีเพราะดับเบิลยูเอเอสพี-12บีสามารถดูดซับแสงได้ 94%", "title": "ดับเบิลยูเอเอสพี-104บี" }, { "docid": "674182#5", "text": "6025 ออกจากวงในช่วงเดือนมีนาคม 1979 ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่ค่อยดีและคิดว่าตนไม่เหมาะกับแนวเพลงนี้สักเท่าไหร่ ในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน , ทางวงได้ปล่อยซิงเกิ้ลของพวกเขาออกมา \"California Über Alles โดย Jello Biafra และ East Bay Ray ได้ก่อตั้งค่ายเพลงขึ้นมา independent label, Alternative Tentacles", "title": "เดดเคนเนดีส์" }, { "docid": "816230#0", "text": "คิม นัม-จุน (; เกิด 12 กันยายน ค.ศ. 1994) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ อาร์เอ็ม (ก่อนหน้าชื่อ แร็ปมอนสเตอร์) เป็นแร็ปเปอร์ นักแต่งเพลง และโปรดิวเซอร์เพลงชาวเกาหลีใต้ เขาเป็นแร็ปเปอร์หลักและหัวหน้าวง บีทีเอส ภายใต้สังกัดบิกฮิตเอนเตอร์เทนเมนต์ ในปี ค.ศ. 2015 เขาได้เปิดตัวมิกซ์เทปชุดแรกในชื่อ \"อาร์เอ็ม\" เขายังได้ร่วมงานกับศิลปินอื่นหลายซิงเกิล เช่น วาเล, วาร์เรนจี, แกโค, คริซซ์ กาลีโก, เอ็มเอฟบีทีวาย และไพร์เมอรี อีกด้วย ในฐานะที่เป็นนักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์หลักคนหนึ่งของวงบีทีเอส เขามีเพลงมากกว่า 100 เพลงที่ได้รับการรับรองจากสมาคมลิขสิทธิ์เพลงเกาหลี", "title": "อาร์เอ็ม (แร็ปเปอร์)" }, { "docid": "14871#0", "text": "โตเกียวบรอดแคสติงซิสเตม หรือ สถานีโทรทัศน์โตเกียว และ สถานีวิทยุโตเกียว (; ) เป็นกลุ่มบริษัทประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ในประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2494 ปัจจุบัน TBS มีบริษัทแม่คือ โตเกียวบรอดแคสติงซิสเตมโฮลดิงส์ (; ) โดยมีบริษัทลูกคือ ทีบีเอสเรดิโอแอนด์คอมมิวนิเคชันส์ รับหน้าที่กระจายเสียงวิทยุภายใต้ชื่อ ทีบีเอสเรดิโอ (ความถี่เอเอ็ม 954 กิโลเฮิร์ตซ์ และเอฟเอ็ม 90.5 เมกะเฮิร์ตซ์) และ ทีบีเอสเทเลวิชัน รับหน้าที่แพร่ภาพสถานีโทรทัศน์ในเขตภูมิภาคคันโต (ช่อง 6)", "title": "โตเกียวบรอดแคสติงซิสเตม" }, { "docid": "595593#17", "text": "สมัยนั้นนักร้องดังๆไม่ค่อยมีมากสักเท่าไหร่ การที่วงจันทร์ ไพโรจน์ ไปร้องที่ไหนก็ได้รับความสนใจจากแฟนเพลงทุกที่ จนกลายเป็นธรรมเนียมที่ทางเจ้าของงานที่จ้างวงไปแสดง จะต้องให้ค่าเหนื่อยกับเธอต่างหากอีก 500 บาท ทำให้ในการเดินสายแต่ละครั้ง วงจันทร์ ไพโรจน์ จะได้ค่าตัวรวมแล้วถึง 1,500 บาท", "title": "วงจันทร์ ไพโรจน์" }, { "docid": "9860#43", "text": "อนึ่ง กรุงเทพมหานคร ได้จัดการประชุมสอบถามความเห็นไปยังเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)​ หรือ บีทีเอสซี บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสกรุ๊ป บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด และ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เสียงจากเอกชนส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าควรให้กลุ่มบีทีเอสเป็นผู้รับสัมปทานแต่เพียงผู้เดียว เนื่องจากการมอบโครงการให้เอกชนรายอื่นเข้ามาบริหาร เกรงว่าจะเกิดความเสี่ยงต่อการดำเนินการ และอาจทำให้การดำเนินการในอนาคตมีปัญหาตามมา", "title": "รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท" }, { "docid": "824091#0", "text": "รักนิด ๆ คิดเท่าไหร่ เป็นละครโทรทัศน์แนวโรแมนติก-คอมเมดี้ บทประพันธ์ของ นุกูล บุญเอี่ยม, วัชระ ปานเอี่ยม บทโทรทัศน์โดย พิสุทธิ์ แพร่แสงเอี่ยม กำกับการแสดงโดย นุกูล บุญเอี่ยม ผลิตโดย บริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัดออกอากาศทุกวันเสาร์–อาทิตย์ เวลา 11.00–11.45 น. ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 นำแสดงโดย เคลลี่ ธนะพัฒน์, น้ำฝน โกมลฐิติ และนักแสดงชั้นนำอีกมากมาย", "title": "รักนิด ๆ คิดเท่าไหร่" }, { "docid": "76701#6", "text": "เอสเคอีโฟร์ตีเอต (SKE48) เป็นวงน้องสาววงแรกของเอเคบีโฟร์ตีเอต ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2008 และมีโรงละครประจำวงที่นาโงยะ ส่วนเอสดีเอ็นโฟร์ตีเอต (SDN48), เอ็นเอ็มบีโฟร์ตีเอต (NMB48) ที่นัมบะ, และเอชเคทีโฟร์ตีเอต (HKT48) ที่ฮากาตะ ได้ก่อตั้งขึ้นภายในเวลาต่อมา หลังจากนั้น เอ็นจีทีโฟร์ตีเอต (NGT48) ก็ได้ก่อตั้งขึ้นเช่นกันในปี 2015 ที่นีงาตะ ส่วนเอสทียูโฟร์ตีเอต (STU48) วงน้องสาวล่าสุด ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2016 ในงานแข่งขันจังเก็น (เป่ายิงฉุบ) ประจำปี ซึ่งวงนี้มีสถานที่ตั้งโรงละครไม่เหมือนกับวงอื่น โดยจะตั้งอยู่บนเรือแทนที่จะอยู่ในเมือง นอกจากนี้เอเคบีโฟร์ตีเอตยังได้สร้าง \"วงคู่แข่งอย่างเป็นทางการ\" ในชื่อโนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ (Nogizaka46) และวงน้องสาวของวงดังกล่าวในชื่อเคยากิซากะโฟร์ตีซิกซ์ (Keyakizaka46) เช่นกัน", "title": "เอเคบีโฟร์ตีเอต" }, { "docid": "578978#4", "text": "เริ่มมีผลงานเพลงตั้งแต่ปี 2538 โดยวงที-สเกิ๊ตนั้น ประกอบสมาชิก 3 คนด้วยกัน คือ อัสมา กฮาร (มาร์) ดวงพร สนธิขันธ์ (จอย) และ ธิติยา นพพงษากิจ (กิ๊ฟท์) มีผลงาน 2 อัลบั้มเต็ม และ 1 อัลบั้มพิเศษก่อนที่ทางค่ายคีตา เรคคอร์ดส จะปิดตัวลงไปเมื่อปี 2539 ผลงานเด่นคือเพลง ไม่เท่าไหร่, เจ็บแทนได้ไหม, ฟ้องท่านเปา, เรื่องมันเศร้า และเพลง ทักคนผิด เป็นต้น ผลงานอัลบั้มชุดแรกชื่อว่า \"T-Skirt\" ออกวางจำหน่ายกลางปี 2538 โดยรายชื่อเพลงมีดังนี้ 1.ไม่เท่าไหร่ 2.เจ็บแทนได้ไหม 3.เรื่องมันเศร้า 4.อย่าเล่นอย่างนี้ 5.ทักคนผิด 6.ฟ้องท่านเปา 7.วันที่ไม่เหงา 8.ทำให้เสร็จ 9.ซึ้ง ๆ หน่อย 10. เพื่อนกัน", "title": "อัสมา กฮาร" }, { "docid": "582150#4", "text": "เฟอร์รารี่ 599 จีทีโอ (Ferrari 599 GTO) เปิดตัวในวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2010 เป็นรุ่นจำกัดจำนวนเพียง 599 คันเท่านั้น นอกจากนี้ยังเคยได้รับการจัดอันดับให้เป็น รถวิ่งบนถนน ที่เร็วที่สุดเท่าที่เคยมีมา ด้วยการทดสอบที่สนามแข่งฟีโอราโน ใช้เวลาเพียง 1.24 นาที เท่านั้น ซึ่งเร็วกว่า เฟอร์รารี่ เอ็นโซ 599 จีทีโอ มีน้ำหนัก 1,605 กิโลกรัม ซึ่งเบากว่า จีทีบีทั่วๆไป รถสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 335 กม./ชม. (208 ไมล์/ชม.) และอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ด้วยเวลาเพียง 3.35 วินาที \nเฟอร์รารี่ 599 เอสเอ อเพอร์ตา (Ferrari 599 SA Aperta) เป็นรุ่นเปิดประทุน ของ 599 โดยตัวเครื่องนำมาจาก 599 จีทีโอ รถได้เปิดตัวครั้งแรกที่งานปารีสมอเตอร์โชว์ ปี ค.ศ. 2012 โดยคำว่า \"เอสเอ\" เป็นการให้เกียรตินักออกแบบรถยนต์ทั้ง 2 บุคคล ได้แก่ Sergio Pininfarina และ Andrea Pininfarina จะมีเพียง 80 คันเท่านั้น ที่จะถูกจำหน่ายลงสู่ตลาด", "title": "เฟอร์รารี่ 599 จีทีบี ฟีโอราโน" }, { "docid": "684369#2", "text": "มิวสิกวิดีโอนี้เผยแพร่ครั้งแรกในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ถ่ายที่สตูดิโอรัตนโกสินทร์ศก ย่านสี่พระยา โดยมี เอสเธอร์ สุปรีย์ลีลา มาเป็นนางมิวสิกวิดีโอนี้ เรื่องราวของกั้งแอบชอบเอสเธอร์มานาน แต่ก็ได้เก็บไว้ในใจ เพราะเอสเธอร์มีแฟนแล้ว จนวันนึงเอสเธอร์อกหัก กั้งเลยเข้าไปช่วยดูแล เพื่อช่วยให้เอสเธอร์ผ่านการออดิชั่นให้ได้ ในฉากของเอสเธอร์กำลังซ้อมเต้นอยู่คนเดียว แต่ว่าเต้นเท่าไหร่ ก็เต้นไม่ได้ซักที เพราะก็มีแต่ภาพแฟนเก่าตอนที่เคยเต้นด้วยกันเข้ามาในหัว กั้งมาเห็นเลยเข้าไปช่วยเป็นคู่เต้นให้เอสเธอร์แทน ก่อนถ่ายกั้งและเอสเธอร์ขอเวลานอกทวนท่ากับครูฝึกเพื่อความแม่นยำ กั้งและเอสเธอร์ก็โชว์ลีลาเต้นได้พริ้วสุดๆ แถมจังหวะที่ทั้งคู่ต้องยังจ้องตากันหวานเยิ้มก็ไม่สะดุด จนมาถึง กั้งเห็นความน่ารักของเอสเธอร์ ก็อดใจไม่ไหว เผลอตัวเผลอใจก้มลงจูบเอสเธอร์ งานนี้กั้งกลับเป็นฝ่ายตกม้าตายเพราะจู่ๆ ก็หลุดเขินสาวเอสเธอร์ขึ้นมาซะงั้น แต่สุดท้ายก็ผ่านไปได้ด้วยดี", "title": "ขอเป็นคนสุดท้าย" } ]
1640
เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์มีชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "8191#0", "text": "เนเธอร์แลนด์ (Dutch: Nederland [ˈneːdərˌlɑnt] เนเดอร์ลอนต์; English: Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (English: Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร[1] ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก[2] ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า \"ฮอลแลนด์\" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง[3][4] หรือไม่เป็นทางการ[5] ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ[6]", "title": "ประเทศเนเธอร์แลนด์" } ]
[ { "docid": "274768#0", "text": "ยูเทรกต์ () เป็นเมืองหลวงของจังหวัดยูเทรกต์ที่ตั้งอยู่ในตอนกลางของประเทศเนเธอร์แลนด์ ยูเทรกต์เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ของเนเธอร์แลนด์ที่มีประชากร 300,030 คนในปี ค.ศ. 2007", "title": "ยูเทรกต์ (เมือง)" }, { "docid": "33479#0", "text": "อัมสเตอร์ดัม (Dutch: Amsterdam, pronounced[ˌɑmstərˈdɑm]) เป็นเมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอัมสเติล (Amstel) เริ่มก่อตั้งประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12 ปัจจุบันเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ มีประชากรในเขตตัวเมืองประมาณ 742,000 คน แต่ถ้านับรวมประชากรในเขตเมืองโดยรอบทั้งหมด จะมีประมาณ 1.5 ล้านคน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2005)", "title": "อัมสเตอร์ดัม" }, { "docid": "492976#1", "text": "อาเจะฮ์ต้องสู้รบกับเนเธอร์แลนด์อย่างโดดเดี่ยวแม้จะทำสนธิสัญญาป้องกันประเทศกับอังกฤษไว้ แต่อังกฤษไม่ช่วยเพราะมีผลประโยชน์กับเนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกาประกาศวางตัวเป็นกลางในกรณีนี้ จักรวรรดิออตโตมันพยายามจะช่วยเหลืออาเจะฮ์ แต่ถูกชาติในยุโรปกดดันจนไม่อาจช่วยเหลือได้ เนเธอร์แลนด์พยายามโจมตีอาเจะฮ์อีกหลายครั้งแต่ไม่สามารถปราบอาเจะฮ์ให้ราบคาบได้ ใน พ.ศ. 2420 เนเธอร์แลนด์ยึดเมืองบันดาอาเจะฮ์ได้ แต่อาเจะฮ์ก็ยังไม่ยอมจำนน ใน พ.ศ. 2424 เนเธอร์แลนด์ประกาศชัยชนะเหนืออาเจะฮ์ แต่อาเจะฮ์ก็ยังคงสู้รบแบบกองโจรต่อไป ภายใต้การนำของอูลามา โดยผู้นำที่มีชื่อเสียงคือเต็งกู ดีติโร ซึ่งได้ประกาศให้สงครามครั้งนี้เป็นสงครามศักดิ์สิทธิ์เพื่อต่อต้านพวกนอกศาสนา แม้ใน พ.ศ. 2446 สุลต่านของอาเจะฮ์จะยอมจำนน แต่กองทัพกองโจรของอาเจะฮ์กลับย้ายฐานที่มั่นขึ้นไปบนเขาสูง และโจมตีเนเธอร์แลนด์ต่อไป จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เนเธอร์แลนด์ถูกเยอรมันรุกราน จนต้องพักรบกับอาเจะฮ์ กองโจรของอาเจะฮ์จึงขับไล่ทหารเนเธอร์แลนด์ให้ถอนกำลังออกไปจากอาเจะฮ์ได้ในที่สุด", "title": "สงครามอาเจะฮ์" }, { "docid": "394075#3", "text": "ทฤษฎีรับตำแหน่งโค้ชนักร้องโอเปร่าที่สถาบัน Opera Studio Nederland แห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่อายุ 18 ปี และเป็นวาทยกรไทยคนแรกที่ได้อำนวยเพลง ณ Concertgebouw ประเทศเนเธอร์แลนด์ หนึ่งในหอแสดงดนตรีคลาสสิคที่สำคัญที่สุดของโลก  จากนั้นได้รับเชิญจาก Dutch National Touring Opera ไปอำนวยเพลงในมหาอุปรากร La Cenerentola (ซินเดอเรลลา) ใน 12 เมืองทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์ และยังได้รับเชิญไปอำนวยเพลงในเทศกาลโอเปร่าระดับโลก Rossini Opera Festival ณ เมือง Pesaro ประเทศอิตาลีในปี 2552-2553 โดยถือเป็นวาทยกรรับเชิญที่อายุน้อยที่สุดในเทศกาลเป็นเวลา 2 ปีซ้อน นอกจากนี้ ทฤษฎียังเป็นวาทยกรไทยเพียงคนเดียวที่ได้ร่วมงานใกล้ชิดกับผู้กำกับการแสดงอุปรากรที่มีชื่อเสียงระดับโลก อาทิ Sir David McVicar, Harry Kupfer และ Pierre Audi", "title": "ทฤษฎี ณ พัทลุง" }, { "docid": "8191#2", "text": "ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า \"เมืองหลวงกฎหมายโลก\"[9] ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ[10] ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ \"ที่มีความสุขที่สุด\" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง[11]", "title": "ประเทศเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "616146#0", "text": "ซินต์มาร์เติน (, ) เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) แห่งหนึ่งภายในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ มีพื้นที่ครอบคลุมเฉพาะตอนใต้ของเกาะเซนต์มาร์ตินในทะเลแคริบเบียน ขณะที่พื้นที่อีกครึ่งทางตอนเหนือมีสถานะเป็นดินแดนโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส (มีชื่อว่า แซ็ง-มาร์แต็ง) ซินต์มาร์เตินมีประชากรประมาณ 37,000 คน บนเนื้อที่ 34 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงของดินแดนมีชื่อว่า ฟีลิปส์บืร์ค", "title": "ซินต์มาร์เติน" }, { "docid": "141991#0", "text": "อาบูจา () เป็นเมืองหลวงของประเทศไนจีเรีย เป็นเมืองที่สร้างใหม่ราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 80 กรุงอาบูจาเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในแอฟริกาในด้านของการผังเมือง โดยใช้แนวคิดของการสร้างกรุงบราซีเลียเมืองหลวงของประเทศบราซิลเป็นแบบอย่าง ได้รับการประกาศให้เป็นเมืองหลวงแทนที่นครเลกอสในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1991", "title": "อาบูจา" }, { "docid": "439612#0", "text": "เดอะเฮก หรือ กรุงเฮก (, \"แด็นฮาค\") หรือชื่อทางการภาษาดัตช์คือ สคราเฟินฮาเคอ () เป็นเมืองหลวงของจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมืองมีประชากร 500,000 คน (ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2011) ", "title": "เดอะเฮก" }, { "docid": "383197#0", "text": "เขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถานแห่งอิรัก (; หรือเคอร์ดิสถานใต้) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศอิรัก มีชายแดนติดต่อกับประเทศซีเรีย ตุรกีและอิหร่าน มีพื้นที่ 40,000 ตารางกิโลเมตร (ขนาดเทียบเท่ากับประเทศเนเธอร์แลนด์) ประกอบด้วยเขตปกครองตนเอง 3 เขต ได้แก่เมืองเอร์บีล (Erbil), โดฮูก (Dohuk) และ สุลัยมานียะฮ์ (Suleimaniah) มีเอร์บีล (Erbil) เป็นเมืองหลวง", "title": "เคอร์ดิสถานอิรัก" }, { "docid": "263626#2", "text": "อาณานิคมแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับเนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2367 ซึ่งเป็นข้อตกลงในการแบ่งเขตอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งเขตของอังกฤษจะอยู่ทางเหนือ และเขตของเนเธอร์แลนด์จะอยู่ทางใต้ โดยมีการและเปลี่ยนดินแดนระหว่างกัน คืออังกฤษจะต้องยกนิคมในเบงคูเลน (Bencoolen) ทางภาคตะวันตกของเกาะสุมาตราให้กับเนเธอร์แลนด์ โดยแลกกับมะละกาและสิงคโปร์ ทำให้เมืองหลวงของอาณานิคมย้ายจากเกาะปีนังมาสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2375", "title": "นิคมช่องแคบ" }, { "docid": "274721#0", "text": "เดรนเทอ () เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงอยู่ที่อาสเซิน จังหวัดเดรนเทอมีพรมแดนทางตอนใต้ติดกับจังหวัดโอเฟอไรส์เซิล ทางตะวันตกติดกับจังหวัดฟรีสลันด์ ทางเหนือติดกับจังหวัดโกรนิงเงิน และทางตะวันออกติดกับประเทศเยอรมนี", "title": "จังหวัดเดรนเทอ" }, { "docid": "258270#1", "text": "บริเวณที่ตั้งถิ่นฐานหลักของจังหวัดนี้ ได้แก่ กัสตราเวเตรา, โกโลเนียอุลเปียไตรยานา (ทั้งสองแห่งตั้งอยู่ใกล้กับเมืองซันเทินในเยอรมนี), โกรีโอวัลลุม (ปัจจุบันคือเฮร์เลินในเนเธอร์แลนด์), อัลบาเนียนา (อัลเฟินอานเดินเรนในเนเธอร์แลนด์), ลุกดูนุมบาตาโวรุม (คัทเวคในเนเธอร์แลนด์), โฟรุมฮาเดรียนี (โฟร์บูร์กในเนเธอร์แลนด์), อุลเปียโนวีโอมากุสบาตาโวรุม (เนเมเกินในเนเธอร์แลนด์), ไตรเยกตุม (อูเทรคท์ในเนเธอร์แลนด์), อาตูอาตูกาตุงโกรรุม (ทองเกเรินในเบลเยียม), โบนา (บอนน์ในเยอรมนี) รวมทั้งโกโลเนียอากริปปีเนนซิส (โคโลญในเยอรมนี) ซึ่งเป็นเมืองหลวง", "title": "โลว์เออร์เจอร์เมเนีย" }, { "docid": "485362#0", "text": "ลีแยฌ (), ลึททิช (), เลยก์ () เป็นเมืองและเทศบาลในประเทศเบลเยียมและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดลีแยฌ ตั้งอยู่ในหุบเขาริมแม่น้ำเมิส ใกล้กับพรมแดนทางตะวันออกของเบลเยียมซึ่งติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์และเยอรมนี ลีแยฌเป็นเมืองหลวงทางเศรษฐกิจของเขตวัลลูน มีประชากรประมาณ 197,000 คน มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ประมาณ 30,000 คน และมีประชากรบริเวณปริมณฑลประมาณ 600,000 คน ซึ่งถือได้ว่ามีผู้อยู่อาศัยมากที่สุดในวัลโลเนีย ลีแยฌเป็นเมืองใหญ่จากประชากรอันดับสามของประเทศเบลเยียมรองจากกรุงบรัสเซลส์และแอนต์เวิร์ป และเป็นเทศบาลใหญ่อันดับสี่รองจากแอนต์เวิร์ป เกนต์ และชาร์เลอรอย", "title": "ลีแยฌ" }, { "docid": "8191#10", "text": "ประเทศเนเธอร์แลนด์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 จังหวัด (provincie) โดยแต่ละจังหวัดจะมีเมืองหลวง ได้แก่", "title": "ประเทศเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "897943#0", "text": "มหาวิทยาลัยไลเดิน ( ย่อว่า LEI; ) ตั้งอยู่ที่เมืองไลเดิน เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศเนเธอร์แลนด์ มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี ค.ศ. 1575 โดยวิลเลียม เจ้าชายแห่งออเรนจ์ ผู้นำการปฏิวัติดัชต์ในสงครามแปดสิบปี ราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซาและมหาวิทยาลัยยังคงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ และสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ ทรงศึกษาจบที่นี่ มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงขึ้นมาในช่วงยุคทองของเนเธอร์แลนด์ มหาวิทยาลัยยังมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงอย่าง เรอเน เดการ์ต, แร็มบรันต์, คริสตียาน เฮยเคินส์, และบารุค สปิโนซา", "title": "มหาวิทยาลัยไลเดิน" }, { "docid": "258506#0", "text": "ยุคทองของเนเธอร์แลนด์ (, ) คือสมัยประวัติศาสตร์ของดัตช์ที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่เป็นสมัยที่ดัตช์มีความเจริญทางการค้าขาย ทางวิทยาศาสตร์ และทางศิลปะถึงจุดสูงสุด และมีชื่อเสียงที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง", "title": "ยุคทองของเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "274704#0", "text": "โกรนิงเงิน () เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงชื่อเดียวกันคือเมืองโกรนิงเงิน จังหวัดโกรนิงเงินมีพรมแดนทางตะวันออกติดกับรัฐโลว์เออร์แซกโซนีของประเทศเยอรมนี ทางตอนใต้ติดกับจังหวัดเดรนเทอ ทางตะวันตกติดกับจังหวัดฟรีสลันด์ และทางเหนือติดกับทะเลวัดเดิน", "title": "จังหวัดโกรนิงเงิน" }, { "docid": "803045#9", "text": "เนเธอร์แลนด์ขยายอิทธิพลจากเขตชายฝั่งเพื่อควบคุมพื้นที่ทั้งหมด สร้างทางรถไฟเชื่อมถึงเมืองหลวง ทำให้ประเทศสงบลงได้ใน พ.ศ. 2427 กระบวนการทางสันติภาพเชื่องช้าลงหลังจากนั้น แต่ก็ก้าวหน้าอีกครั้งระหว่าง พ.ศ. 2441–2446 ซึ่งเจ้าของที่ดินได้เซ็นสัญญาสงบศึกกับเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์สามารถจัดตั้งรัฐบาลในอาเจะฮ์ได้ และทำให้สุลต่านยอมมอบตัวใน พ.ศ. 2446 และได้ลี้ภัยใน พ.ศ. 2450 โดยไม่ได้ระบุนามรัชทายาท แต่ฝ่ายต่อต้านก็ยังสู้รบต่อจนถึง พ.ศ. 2455", "title": "รัฐสุลต่านอาเจะฮ์" }, { "docid": "467553#0", "text": "เซร์โทเคนบอส () เป็นเทศบาลในประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นเมืองหลวงของจังหวัดนอร์ทบราแบนต์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของประเทศ อยู่ห่างจากกรุงอัมสเตอร์ดัมราว 80 กม. ทางทิศใต้", "title": "เซร์โทเคนบอส" }, { "docid": "378056#2", "text": "หลังจากยุบเนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส ปัจจุบันกือราเซา มีสถานะเป็นประเทศปกครองตนเองที่ขึ้นตรงต่อราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เช่นเดียวกับประเทศเนเธอร์แลนด์,อารูบา และซินต์มาร์เติน มีพื้นที่ 444 ตารางกิโลเมตร (171 ตารางไมล์) และมีวิลเลมสตัดเป็นเมืองหลวง จากข้อมูลวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017 มีประชากร 160,337 คน พื้นที่ทั่วไปเป็นพื้นที่ราบ มีอุตสาหกรรมที่สำคัญคือ การกลั่นน้ำมันซึ่งนำน้ำมันดิบมาจากเวเนซุเอลา นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว เกาะกือราเซารวมกับเกาะไกลน์กือราเซา (ซึ่งไม่มีคนอาศัยอยู่) ", "title": "กือราเซา" }, { "docid": "8823#13", "text": "1 ตุลาคม - วันก่อตั้งสำนักงานกิจการยุติธรรม 6 ตุลาคม - เจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ พระราชสวามีใน สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ สวรรคตลง ด้วยพระชนม์มายุ 76 ชันษา ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม เมืองหลวงเนเธอร์แลนด์ 11 ตุลาคม - วันก่อตั้งพรรคเตลังคนะ ราษฏระ 12 ตุลาคม – เกิดเหตุลอบวางระเบิดขึ้นที่ไนต์คลับ 2 แห่ง บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิต 202 คน และบาดเจ็บอีกหลายร้อยคน ผู้เสียชีวิตจำนวนมากเป็นชาวต่างชาติ 15 ตุลาคม - พระบรมศพของ เจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ ถูกฝั่วไว้ ณ เมืองเดลฟท์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ 23-25 ตุลาคม - กบฏเชเชนจับประชาชนราว 700 คนเป็นตัวประกันในเหตุการณ์วิกฤติตัวประกันโรงละครมอสโก", "title": "พ.ศ. 2545" }, { "docid": "377256#0", "text": "ซโวลเลอ () เป็นเมืองในประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นเมืองหลวงของจังหวัดโอเฟอไรส์เซิล อยู่ห่างจากเมืองอัมสเตอร์ดัมทางตะวันออกเฉียงเหนือ 120 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำไอส์เซิล เป็นเมืองชุมทางรถไฟ มีอุตสาหกรรมต่อเรือและอุตสาหกรรมเหล็ก มีประชากรราว 120,000 คน", "title": "ซโวลเลอ" }, { "docid": "377253#0", "text": "มาสทริชท์ หรือ มาสตริคต์ () เป็นเมืองในประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ในจังหวัดลิมบูร์ก และเป็นเมืองหลวงของจังหวัด ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมาส ใกล้เขตแดนประเทศเบลเยียม เมืองมาสทริชท์เป็นที่รู้จักในฐานะเมืองแห่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน และการศึกษา ยังมีชื่อเสียงด้านการค้าขายและพักผ่อนของนักท่องเที่ยว ด้านอุตสาหกรรม มีการผลิตเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ซีเมนต์ กระดาษ แก้ว เครื่องปั้นเผา ซิการ์ เป็นตลาดค้าธัญพืชและเนยเหลว", "title": "มาสทริชท์" }, { "docid": "45475#0", "text": "เปียงยาง () คือเมืองหลวงของประเทศเกาหลีเหนือ เป็นเขตแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของประเทศเกาหลีเหนือ ในอดีตนั้นเคยเป็นเมืองหลวงของหลายอาณาจักร เช่น ใน 2333 ปีก่อนคริสต์ศักราชนั้นเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโชซ็อนโบราณ ในสมัยนั้นมีชื่อว่าเมืองวังก็อมซ็อง ในปี ค.ศ. 427 ได้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโคกูรยอ มีชื่อว่าเมืองเปียงยาง จนถึงปี ค.ศ. 668 ที่อาณาจักรโคกูรยอล่มสลายลง", "title": "เปียงยาง" }, { "docid": "756436#0", "text": "อันเดอร์เลคต์ () หรือ อ็องแดร์แล็กต์ (ตามการออกเสียงในภาษาฝรั่งเศส) เป็นเทศบาลที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ ติดต่อกับทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครบรัสเซลส์ ครอบคลุมพื้นที่ 17.74 ตารางกิโลเมตรและประชากรกว่า 115,000 คน ในแต่ละปีจะมีเทศกาลงานออกร้านซึ่งได้รับการรับรองจากพระเจ้าวิลเลิมที่ 2 แห่งเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 เป็นเทศกาลที่จัดการเฉลิมฉลองในหลายรูปแบบ รวมทั้งการแสดงของสัตว์ นิทรรศการกลางแจ้ง การแสดงดอกไม้ และขบวนแห่เพื่อเป็นเกียรติแด่นักบุญกาย ผู้เป็นนักบุญอุปถัมภ์ของเมือง นอกจากนี้อันเดอร์เลคต์ยังเป็นที่รู้จักจากแอร์.เอส.เซ. อันเดอร์เลคต์ ซึ่งเป็นสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงจากการแข่งขันทั้งในระดับทวีปและประเทศ", "title": "อันเดอร์เลคต์" }, { "docid": "524562#0", "text": "อาร์เนม () เป็นเมืองและเทศบาลทางตะวันออกของประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นเมืองหลวงของจังหวัดเกลเดอร์ลันด์ มีประชากรเกือบถึง 150,000 คน (ข้อมูล 1 มกราคม ค.ศ. 2012)", "title": "อาร์เนม" }, { "docid": "189420#1", "text": "นครรีโอเดจาเนโรเคยเป็นเมืองหลวงของประเทศบราซิลนานเกือบ 3 ศตวรรษ พื้นที่ติดชายฝั่งทะเลนี้ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ แต่ด้วยอาณาเขตที่อยู่ห่างไกลสุดขอบแผ่นดิน ทำให้รัฐบาลมีความคิดที่จะย้ายเมืองหลวงขยับเข้าไปใจกลางแผ่นดินมากขึ้น เพื่อกระจายความเจริญให้ทั่วถึงและป้องกันการโจมตีทางทะเลจากชาติต่าง ๆ เช่น โปรตุเกส ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ แผนการที่วางไว้ คือการทำให้บราซีเลียซึ่งตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของฝั่งตะวันตก กลายเป็นศูนย์กลางของที่ทำการรัฐบาล แผนการสร้างกรุงใหม่ได้รับการเสนอขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2366 และในที่สุด พื้นที่ 14,400 ตารางกิโลเมตรนี้ก็ได้กลายเป็นสถานที่ก่อสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ที่ชื่อว่า บราซีเลีย ในปี พ.ศ. 2499 รัฐบาลได้จัดการแข่งขันออกแบบผังเมืองใหม่และใช้ผังเมืองที่ชนะการแข่งขันเป็นต้นแบบในการก่อสร้าง ประธานาธิบดีฌูเซลีนู กูบีแชก (Juscelino Kubitschek) ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศในขณะนั้น ต้องการสร้างเมืองใหม่ให้แล้วเสร็จในขณะที่อยู่ยังในตำแหน่ง ทำให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างเร่งรีบโดยใช้เวลาเพียง 3 ปีครึ่ง รัฐบาลได้สถาปนากรุงบราซีเลียเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2503 แม้ว่าการก่อสร้างจะยังเสร็จไม่สมบูรณ์ก็ตาม", "title": "บราซีเลีย" }, { "docid": "243351#0", "text": "เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ซึ่งเป็นอดีตดินแดนปกครองตนเองของประเทศเนเธอร์แลนด์ ใช้เพลงเพลงหนึ่งซึ่งไม่มีชื่อเฉพาะเป็นเพลงชาติของตนเอง (ในภาษาดัตช์เรียกว่า แปลว่า เพลงชาติไม่มีชื่อ) ซึ่งเพลงนี้ประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองโดยซาฮิรา ฮิลิแมน (Zahira Hiliman) ชาวเกาะซินต์มาร์เติน (Sint Maarten) โดยบทร้องที่ประพันธ์ขึ้นครั้งแรกนั้นเป็นบทภาษาอังกฤษ ต่อมาได้มีการแปลเป็นภาษาปาเปียเมนโต (Papiamento language) ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นของดินแดนแห่งนี้ โดยลูซิลล์ เบร์รี-ฮาเซท (Lucille Berry-Haseth) ชาวเกาะกือราเซา เพลงนี้ได้รับการรับรองให้ใช้เป็นเพลงชาติประจำดินแดนเมื่อ พ.ศ. 2543 ทั้งนี้ ภาษาอังกฤษและภาษาปาปิอาเมนโตนับเป็นภาษาทางการของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสเช่นเดียวกับภาษาดัตช์", "title": "เพลงชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส" }, { "docid": "377248#0", "text": "เลลีสตัด () เป็นเมืองในประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นเมืองหลวงของจังหวัดเฟลโวลันด์ เป็นเมืองที่สร้างจากการถมทะเล ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1967 อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 5 เมตร", "title": "เลลีสตัด" } ]
3729
โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แห่งแรกของโลกอยู่ที่ไหน ?
[ { "docid": "20739#6", "text": "ไฟฟ้าถูกสร้างขึ้นโดยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เป็นครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน 1948 ด้วย'เครื่องปฏิกรณ์แกรไฟท์ X-10' ใน Oak Ridge รัฐเทนเนสซี ประเทศสหรัฐอเมริกาและเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เครื่องแรกที่จะให้กำลังไฟกับหลอดไฟดวงหนึ่ง[4][5][6]. การทดลองครั้งที่สองมีขนาดใหญ่กว่าเกิดขึ้นในวันที่ 20 ธันวาคม 1951 ที่สถานีทดลอง EBR-I ใกล้ Arco, รัฐไอดาโฮสหรัฐอเมริกา และเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 1954 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของโลกที่ผลิตไฟฟ้าสำหรับกริด (ไฟฟ้า) เริ่มดำเนินการที่เมือง Obninsk สหภาพโซเวียต[7]. สถานีไฟฟ้าเต็มรูปแบบแห่งแรกของโลกคือที่คาลเดอฮอลล์ในอังกฤษเปิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 1956[8].", "title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" } ]
[ { "docid": "6388#89", "text": "หลังจากภัยพิบัตินิวเคลียร์ Fukushima ที่ญี่ปุ่นในปี 2011 เจ้าหน้าที่ปิด 54 โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศ แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าหากญี่ปุ่นไม่เคยนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้, อุบัติเหตุและมลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือก๊าซอาจจะทำให้เกิดการเสียชีวิตมากกว่านี้[169]. เมื่อปี 2013 โรงไฟฟ้าที่ Fukushima ยังคงมีกัมมันตรังสีที่สูง, ประมาณ 160,000 คนที่ถูกอพยพยังคงอาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยชั่วคราว, และที่ดินบางส่วนจะไม่สามารถทำฟาร์มได้นานหลายศตวรรษ. การทำความสะอาดอาจต้องใช้เวลาถึง 40 ปีหรือมากกว่านั้นและต้องใช้ค่าใช้จ่ายนับพันล้านดอลลาร์[80][81].", "title": "พลังงานนิวเคลียร์" }, { "docid": "6388#41", "text": "สหรัฐอเมริกาผลิตพลังงานนิวเคลียร์มากที่สุดด้วยพลังงานนิวเคลียร์สูงถึง 19%[90] ของกระแสไฟฟ้าที่ใช้. ในขณะที่ฝรั่งเศสผลิตเป็นเปอร์เซ็นต์สูงสุดของพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถึง 80% ณ ปี 2006[91]. ในสหภาพยุโรปโดยรวม, พลังงานนิวเคลียร์ผลิตได้ 30% ของไฟฟ้า[92]. นโยบายพลังงานนิวเคลียร์มีความแตกต่างในระหว่างประเทศของสหภาพยุโรป และบางส่วนเช่น ออสเตรีย, เอสโตเนีย, ไอร์แลนด์ และอิตาลี ไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้งานอยู่. ในการเปรียบเทียบ ฝรั่งเศสมีโรงไฟฟ้าประเภทนี้จำนวนมาก, ที่มี 16 สถานีที่มีเครื่องปฏิกรมากกว่าหนึ่งเครื่องในการใช้งานในปัจจุบัน", "title": "พลังงานนิวเคลียร์" }, { "docid": "6388#38", "text": "ในปี 2011 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ผลิต 10% ของกระแสไฟฟ้าของโลก[84] ในปี 2007, IAEA รายงานว่า มีเครื่องปฏิกรณ์พลังงานนิวเคลียร์ 439 เครื่องกำลังปฏิบัติงานในโลก[85] ใน 31 ประเทศ[5]. แต่อย่างไรก็ตาม หลายประเทศในขณะนี้ได้หยุดการดำเนินงานอันเนื่องมาจากภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่ฟูกูชิม่า ในขณะที่พวกเขามีการประเมินในด้านความปลอดภัย. ในปี 2011 การผลิตพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลกลดลง 4.3 % เป็นการลดลง ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์, ตามหลังการลดลงอย่างรวดเร็วในญี่ปุ่น(-44.3%) และ เยอรมนี (-23.2%)[86].", "title": "พลังงานนิวเคลียร์" }, { "docid": "726765#5", "text": "ความคิดเห็นอิสระไม่ค่อยแสดงให้เห็นว่าโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์มีความจำเป็นต้องมีราคาแพงมาก แต่กลุ่มต่อต้านนิวเคลียร์ทำการผลิตรายงานบ่อยที่บอกว่าค่าใช้จ่ายของการใช้พลังงานนิวเคลียร์จะสูงอย่างจำกัด แม้จะมีความจริงที่ว่าค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ในฝรั่งเศสจะเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของที่ใช้ในประเทศเยอรมนีและเดนมาร์ก ในออนตาริโอ ไฟฟ้าจากพลังน้ำ () และจากนิวเคลียร์มีค่าใช้จ่ายทิ้งห่างในการผลิตที่ถูกที่สุดที่ 4.3c/kWh และ 5.9c/kWh ตามลำดับในขณะที่ค่าใช้จ่ายพลังงานแสงอาทิตย์มีราคาสูงถึง 50.4c/kWh ค่าใช้จ่ายของพลังงานนิวเคลียร์ยังต้องมีการเปรียบเทียบกับของทางเลือก ถ้ามันพิสูจน์ว่ามันเป็นไปได้ที่จะย้ายไปสู่​​เศรษฐกิจคาร์บอน ชุมชนจะต้องตอบสนองต่อค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแหล่งพลังงาน หลายประเทศรวมทั้งรัสเซีย, เกาหลีใต้, อินเดีย, และจีนได้ทำอย่างต่อเนื่องที่จะไล่ตามการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ทั่วโลก ณ เดือนมกราคมปี 2015 มีโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ 71 โรงอยู่ระหว่างการก่อสร้างใน 15 ประเทศ อ้างอิงตาม IAEA จีนมี 25 เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ระหว่างการก่อสร้างและมีแผนที่จะสร้างมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อ้างอิงถึงหน่วยวิจัยของรัฐบาล จีนต้องไม่สร้าง \"เครื่องปฏิกรณ์พลังงานนิวเคลียร์มากเกินไปอย่างเร็วเกินไป\" เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนเชื้อเพลิง อีกทั้งอุปกรณ์และคนงานโรงงานที่มีคุณภาพ", "title": "เศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่" }, { "docid": "6388#49", "text": "เช่นเดียวกับหลายโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนแบบเดิมที่ผลิตไฟฟ้าโดยการควบคุมพลังงานความร้อนที่ปล่อยออกมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล, โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แปลงพลังงานที่ปล่อยออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมผ่านทางนิวเคลียร์ฟิชชันที่เกิดขึ้นในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์. ความร้อนถูกย้ายออกจากแกนเครื่องปฏิกรณ์โดยระบบระบายความร้อนที่ใช้ความร้อนในการสร้างไอน้ำ, ไอน้ำจะไปขับกังหันไอน้ำที่เชื่อมต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตไฟฟ้าต่อไป", "title": "พลังงานนิวเคลียร์" }, { "docid": "20739#63", "text": "ฝ่ายเสนอยืนยันว่าพลังงานนิวเคลียร์เป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสามารถเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานถ้าการใช้ของมันสามารถทดแทน การพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงได้[63]. ฝ่ายเสนอให้แนวคิดเพิ่มเติมว่าพลังงานนิวเคลียร์แทบจะไม่ได้ผลิตมลพิษทางอากาศ, ในทางตรงกันข้ามกับทางเลือกที่ใช้งานอยู่ของเชื้อเพลิงฟอสซิลชั้นนำ. ฝ่ายเสนอยังเชื่อว่าพลังงานนิวเคลียร์เป็นแนงทางที่เป็นไปได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้นเพื่อที่จะบรรลุความเป็นอิสระด้านพลังงานสำหรับประเทศตะวันตกส่วนใหญ่. พวกเขาเน้นว่ามีความเสี่ยงทั้งหลายในการจัดเก็บขยะเป็นเรื่องเล็กน้อยและสามารถลดความเสี่ยงลงต่อไปได้อีกโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในเครื่องปฏิกรณ์รุ่นใหม่และความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในโลกตะวันตกได้รับการบันทึกว่าได้ผลเป็นเลิศเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ ที่สำคัญ[64].", "title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" }, { "docid": "20739#2", "text": "ข้อมูลของ IAEA ณ วันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2014 มีเครื่องปฏิกรณ์ทำงานอยู่ 435 เครื่อง[2]ใน 31 ประเทศทั่วโลก[3] รวมแล้วผลิตกำลังไฟฟ้าเป็น 1 ใน 6 ส่วนของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในโลก โดยสหรัฐอเมริกามีจำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มากที่สุด ตามมาด้วย ฝรั่งเศส", "title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" }, { "docid": "6388#80", "text": "เศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์แห่งใหม่เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันเพราะมีหลายมุมมองที่แปลกแยกในหัวข้อนี้และเกี่ยวพันกับการลงทุนหลายพันล้านดอลล่าร์สำหรับทางเลือกของแหล่งพลังงาน. โรงไฟฟ้​​าพลังงานนิวเคลียร์มักจะมีค่าใช้จ่ายเงินทุนสูงสำหรับการสร้างโรงงาน แต่ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงที่ต่ำ. ดังนั้น เมื่อเทียบกับวิธีการผลิตไฟฟ้าอื่น ๆ จะขึ้นอยู่เป็นอย่างยิ่งกับสมมติฐานเกี่ยวกับระยะเวลาการก่อสร้างและการจัดหาเงินทุนสำหรับโรงงานนิวเคลียร์รวมทั้งค่าใช้จ่ายในอนาคตของเชื้อเพลิงฟอสซิลและพลังงานหมุนเวียนเช่นเดียวกับโซลูชั่นการจัดเก็บพลังงานสำหรับแหล่งพลังงานที่ไม่สม่ำเสมอ. ประมาณการค่าใช้จ่ายยังต้องพิจารณาถึงการรื้อถอนโรงงานและต้นทุนการเก็บรักษากากนิวเคลียร์. ในทางกลับกัน มาตรการที่จะบรรเทาภาวะโลกร้อนเช่นการเก็บภาษีคาร์บอนหรือการซื้อขายมลพิษคาร์บอนอาจให้ประโยชน์กับเศรษฐศาสตร์ของพลังงานนิวเคลียร์.", "title": "พลังงานนิวเคลียร์" }, { "docid": "368028#56", "text": "หน่วยที่ 1 มีใบอนุญาตถูกแขวนชั่วคราวหลังจากดังต่อไปนี้เหตุการณ์เกิดขึ้นที่หน่วยที่ 2 แม้ว่าประชาชนในสามมณฑลรอบโรงไฟฟ้าได้โหวตด้วยเสียง 3:1 ให้ปลดระวางหน่วยที่ 1 อย่างถาวรก็ตาม มันก็ยังได้รับอนุญาตให้ดำเนินการต่อในปี 1985 บรรษัทสาธารณูปโภคทั่วไปที่เป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าได้ก่อตั้งบรรษัทสาธารณูปโภคนิวเคลียร์ทั่วไปคอร์ปอเรชั่น (GPUN) ให้เป็นบริษัทย่อยแห่งใหม่ที่จะเป็นเจ้าของและดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของบริษัท รวมทั้งที่เกาะทรีไมล์ โรงไฟฟ้าเคยถูกดำเนินการก่อนหน้านี้โดยบริษัทเมโทรโพลิตันเอดิสัน (Met-ED) ซึ่งเป็นหนึ่งใน บริษัทที่ดำเนินงานยูทิลิตี้ในภูมิภาคของ GPU ในปี 1996 บริษัทสาธารณูปโภคทั่วไปเปลี่ยนชื่อให้สั้นลงเป็น GPU อินค์ เกาาะทรีไมล์หน่วยที่ 1 ถูกขายให้กับบริษัทพลังงาน AmerGen ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัทไฟฟ้าฟิลาเดลเฟีย (PECO) และบริษัทพลังงานอังกฤษในปี 1998 ในปี 2000 PECO ได้ควบรวมกับ Unicom คอร์ปอเรชั่น ตั้งขึ้นเป็นบริษัท Exelon คอร์ปอเรชั่น ซึ่งซี้อกรรมสิทธิ์มาจากหุ้นของบริษัทพลังงานอังกฤษของ AmerGen ในปี 2003 วันนี้ AmerGen LLC เป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นเต็มของ Exelon Generation และเป็นเจ้าของ TMI หน่วยที่ 1 และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Oyster Creek และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คลินตัน ทั้งสามหน่วยนี้รวมกับหน่วยนิวเคลียร์อื่น ๆ ของ Exelon ถูกดำเนินการโดย Exelon นิวเคลียร์อินค์ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ Exelon ", "title": "อุบัติเหตุนิวเคลียร์เกาะทรีไมล์" }, { "docid": "670492#2", "text": "การใช้พลังงานฟอสซิลที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดใน พ.ศ. 2543 - 2551 ในเดือนตุลาคม 2555 สถาบันพลังงานระหว่างประเทศ พบว่าการใช้พลังงานถ่านหินมีศรึ่งในพลังงานที่ใช้กันทั้งโลก แต่การใชัพลังงานหมุนเวียนในปัจจุบันมีการใชัพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2522 อุบัติเหตุนิวเคลียร์เกาะทรีไมล์ และ พ.ศ. 2529 อุบัติเหตุนิวเคลียร์เชอร์โนบิล การสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใช้ทุนในการก่อสร้างสุง ปัจจุบันการใชัพลังงานนิวเคลียร์มีการใชัอัตราที่น้อยลง\n1 terawatt-hour (TWh) = 1 billion กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงs (kWh) = 10 วัตต์ต่อชั่วโมงs", "title": "การบริโภคพลังงานของโลก" }, { "docid": "6388#124", "text": "ในเดือนมีนาคม 2011 เหตุฉุกเฉินนิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิม่า I และการปิดสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆในโรงงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นทำให้เกิดคำถามในหมู่นักวิจารณ์บางคนเกี่ยวกับอนาคตของการฟื้นฟู[226][227][228][229][230]. Platts ได้รายงานว่า \"วิกฤตที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima ของญี่ปุ่นได้ย้ำเตือนประเทศชั้นนำต่างๆที่ใช้พลังงานให้ตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์ที่มีอยู่ของพวกเขาและตั้งข้อสงสัยกับความเร็วและขนาดของแผนการขยายทั่วโลก\"[231]. ในปี 2011 ซีเมนส์เดินออกจากภาคพลังงานนิวเคลียร์ตามหลังภัยพิบัติที่ Fukushima และการเปลี่ยนแปลงที่สืบเนื่องของนโยบายพลังงานของเยอรมันและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานของรัฐบาลเยอรมันที่วางแผนจะใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน[232]. จีน, เยอรมัน, สวิตเซอร์แลนด์, อิสราเอล, มาเลเซีย, ไทย, สหราชอาณาจักร, อิตาลี[233] และฟิลิปปินส์ ได้ทบทวนโครงการนิวเคลียร์ของพวกเขา. อินโดนีเซียและเวียดนามยังคงวางแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์[234][235][236][237]. ประเทศต่างๆเช่นออสเตรเลีย, ออสเตรีย, เดนมาร์ก, กรีซ, ไอร์แลนด์, ลัตเวีย, Liechtenstein, ลักเซมเบิร์ก, โปรตุเกส, อิสราเอล, มาเลเซีย, นิวซีแลนด์ และนอร์เวย์ยังคงคัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์. หลังการเกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ฟูกูชิม่า I, สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศได้ลดลงครึ่งหนึ่งของประมาณการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ที่สร้างในปี 2035[238].", "title": "พลังงานนิวเคลียร์" }, { "docid": "20739#80", "text": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะถูกใช้เป็นประจำในโหมด'ตามโหลด'ในขนาดที่ใหญ่ในประเทศฝรั่งเศส, แม้ว่า \"มันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่านี่ไม่ใช่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เหมาะสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์\"[87]. หน่วย A ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Biblis ของเยอรมันถูกออกแบบมาเพื่อให้มี-และลดการส่งออกพลังงานที่ 15% ต่อนาทีระหว่าง 40 และ 100% ของพลังงานโดยประมาณของมัน[88]. เครื่องปฏิกรณ์น้ำเดือดปกติมีความสามารถแบบ'ตามโหลด', ดำเนินการโดยการเปลี่ยนแปลงการไหลของน้ำหมุนเวียน.", "title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" }, { "docid": "6388#4", "text": "ปัจจุบัน ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ขององค์ประกอบใน actinide series[2] ของตารางธาตุได้ผลิตพลังงานนิวเคลียร์ส่วนใหญ่ในการให้บริการโดยตรงแก่มนุษย์, กับกระบวนการสลายตัวของ นิวเคลียร์ส่วนใหญ่ในรูปแบบของพลังงานความร้อนใต้พิภพและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเทอร์โม ไอโซโทป, สำหรับการนำไปใช้เฉพาะอย่างจะใช้ประโยชน์จากปฏิกิริยาที่เหลือ. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ฟิชชัน), ไม่รวมการใช้งานในกองทัพเรือ, ให้พลังงานประมาณ 5.7% ของพลังงาน ของโลกและ 13% ของกระแสไฟฟ้าของโลกในปี 2012.[3] ในปี 2013, หน่วยงานพลังงานปรมาณูนานาชาติ (English: International Atomic Energy Agency (IAEA)) รายงานว่ามี 437 เครื่องปฏิกรณ์พลังงานนิวเคลียร์กำลังใช้งานอยู่[4] ใน 31 ประเทศ[5] แม้ว่าจะมีบางเครื่องปฏิกรณ์ที่ไม่ได้ทำการผลิตไฟฟ้าอีกแล้ว[6]. นอกจากนี้ยังมีเรือประมาณ 140 ลำที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการขับเคลื่อนโดยเครื่องปฏิกรณ์ราว 180 เครื่อง.[7][8][9]. ขณะที่ในปี 2013, การได้รับพลังงานสุทธิจากเครื่องปฏิกรณ์ฟิวชั่นที่ยั่งยืน, ไม่รวมแหล่งพลังงานฟิวชั่นตามธรรมชาติเช่นจากดวงอาทิตย์, ยังคงเป็นพื้นที่ต่อเนื่องของการวิจัยด้านฟิสิกส์และวิศวกรรมระหว่างประเทศ. กว่า 60 ปีหลังจากความพยายามครั้งแรก, การผลิตพลังงานฟิวชั่นในเชิงพาณิชย์ยังคงไม่น่าจะเกิดขึ้นก่อนปี 2050[10].", "title": "พลังงานนิวเคลียร์" }, { "docid": "6388#33", "text": "พลังนิวเคลียร์ (Nuclear power) เป็นศัพท์คำหนึ่งที่มีความหมายสับสน เพราะโดยทั่วไปมักจะมีผู้นำไปใช้ปะปนกับคำว่า พลังงานนิวเคลียร์ โดยถือเอาว่าเป็นคำที่มีความหมายแทนกันได้ แต่ในทางวิศวกรรมนิวเคลียร์เราควรจะใช้คำว่าพลังนิวเคลียร์ เมื่อกล่าวถึงรูปแบบหรือวิธีการเปลี่ยนพลังงานจากรูปหนึ่งไปสู่อีกรูปหนึ่งเช่น โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ย่อมหมายถึง โรงงานที่ใช้เปลี่ยนรูปพลังงานนิวเคลียร์มาเป็นพลังงานไฟฟ้า หรือเรือขับเคลื่อนด้วยพลังนิวเคลียร์ ย่อมหมายถึงเรือที่ขับเคลื่อนโดยการเปลี่ยนรูปพลังงานนิวเคลียร์มาเป็นพลังงานกล เป็นต้น พลังนิวเคลียร์เป็นคำที่มาจาก Nuclear power ในภาษาอังกฤษ แต่ในภาษาอังกฤษเอง เมื่อกล่าวถึงเรื่องที่เกี่ยวกับดุลอำนาจระหว่างประเทศ (Nuclear power) กลับหมายถึง มหาอำนาจนิวเคลียร์ หรือประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์สะสมไว้เพียงพอที่จะใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ (โดยเฉพาะเมื่อใช้เป็นพหูพจน์) การเน้นให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างคำ พลังนิวเคลียร์ และ พลังงานนิวเคลียร์ ก็เพราะในด้านวิศวกรรม พลังควรมีความหมาย เช่นเดียวกับกำลัง ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงพลังในเชิงปริมาณ จะต้องใช้หน่วยที่เป็นหน่วยของกำลัง เช่น \"โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ ขนาด 600 เมกะวัตต์ (ไฟฟ้า) โรงนี้ใช้เครื่องปฏิกรณ์แบบน้ำเดือด (BWR) ขนาด 1,800 เมกะวัตต์ (ความร้อน) เป็นเครื่องกำเนิดไอน้ำแทนเตาน้ำมัน\" เป็นต้น", "title": "พลังงานนิวเคลียร์" }, { "docid": "20739#22", "text": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ส่วนใหญ่ต้องการแหล่งจ่ายไฟที่มีหม้อแปลงไฟฟ้าบริการจากสถานีจ่ายด้านนอกที่แตกต่างกันสองแห่งและอยู่ภายในพื้นที่ที่เป็น switchyard ของโรงงานที่อยู่ห่างกันพอสมควรและสามารถรับกระแสไฟฟ้าจากสายส่งหลายสาย นอกจากนี้ในบางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกังหันสามารถให้กำลังไฟกับโหลดบ้านของโรงงานในขณะที่โรงงานต่ออยู่กับหม้อแปลงบริการของสถานีซึ่งต่อพ่วงไฟฟ้ามาจากบัสบาร์เอาต์พุตของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก่อนที่จะถึง step-up transformer (โรงงานเหล่านี้ยังมีหม้อแปลงไฟฟ้าบริการของสถานีที่รับพลังงานนอกสถานที่โดยตรงจาก switchyard) แม้จะมีความซ้ำซ้อนของแหล่งพลังงานสองแหล่ง การสูญเสียพลังงานนอกสถานที่โดยรวมยังคงเป็นไปได้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีการติดตั้งระบบไฟฉุกเฉินเพื่อรักษาความปลอดภัยในกรณีที่มีการปิดหน่วยและการขาดหายของพลังงานนอกสถานที่ แบตเตอรี่ให้พลังงานสำรองกับเครื่องมือและระบบการควบคุมและวาล์วทั้งหลาย เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลฉุกเฉินให้ไฟ AC โดยตรงในการชาร์จแบตเตอรี่และเพื่อให้กำลังไฟกับระบบที่ต้องใช้ไฟ AC เช่นมอเตอร์ที่ขับเคลื่อนปั๊ม เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลฉุกเฉินไม่ได้กำลังไฟให้กับทุกระบบในโรงงาน เฉพาะระบบที่จำเป็นต้องปิดเครื่องปฏิกรณ์ลงอย่างปลอดภัย เอาความร้อนจากการสลายตัวของเครื่องปฏิกรณ์ออก ระบายความร้อนที่แกนในกรณีฉุกเฉิน, และในโรงงานบางชนิดใช้สำหรับระบายความร้อนในบ่อเชื้อเพลิงใช้แล้ว (English: spent fuel pool) ปั๊มผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่เช่นปั๊มจ่ายน้ำหลัก คอนเดนเสท น้ำหมุนเวียน และ (ในเครื่องปฏิกรณ์น้ำแรงดันสูง) ปั๊มตัวหล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์ไม่ได้รับการสำรองจากเครื่องยนต์ดีเซล", "title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" }, { "docid": "20739#85", "text": "รัสเซียได้เริ่มการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของโลกที่ลอยน้ำได้. เรือมูลค่า £ 100 ล้านชื่อ Lomonosov, เป็นโรงงานแรกในเจ็ดโรงงานที่ทางการมอสโกกล่าวว่า มันจะนำแหล่งทรัพยากรพลังงานที่สำคัญไปยังภูมิภาคของรัสเซียที่อยู่ห่างไกล[96].", "title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" }, { "docid": "2797#20", "text": "แนวโน้มลักษณะประชากรและการเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมที่มีมากขึ้นส่งผลให้ความต้องการกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 8% ต่อปี เป้าหมายของรัฐบาลที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าให้ได้วันละ 53,000 เมกะวัตต์ ภายใน พ.ศ. 2553 โดยการสร้างโรงไฟฟ้าพลังแก๊สและเพิ่มกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำและพลังงานนิวเคลียร์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์บูเชห์‎ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกในอิหร่านที่บูเชห์ เริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554", "title": "ประเทศอิหร่าน" }, { "docid": "20739#0", "text": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแบบหนึ่งที่ใช้แหล่งพลังงานความร้อนจากเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไอน้ำแรงดันสูงจ่ายให้กับกังหันไอน้ำ กังหันไอน้ำจะไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าออกมา โดยเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้ในการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบวิจัย (English: Research Reactor) ที่ใช้ประโยชน์จากนิวตรอนฟลักซ์ในการวิจัย และระบายความร้อนที่เกิดขึ้นออกสู่ชั้นบรรยากาศ และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลัง (English: Power Reactor) ที่ใช้พลังความร้อนที่เกิดขึ้นเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลัง มีขนาดใหญ่โตกว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเป็นอย่างมาก", "title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" }, { "docid": "6388#73", "text": "ในประเทศที่มีพลังงานนิวเคลียร์, กากกัมมันตรังสีประกอบด้วยของเสียที่เป็นพิษน้อยกว่า 1% ของของเสียที่เป็นพิษในภาคอุตสาหกรรมโดยรวม, ซึ่งส่วนมากยังคงเป็นอันตรายเป็นเวลานาน[134]. โดยรวมแล้ว พลังงานนิวเคลียร์ผลิตวัสดุของเสียน้อยโดยปริมาตรกว่าโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล[135]. โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าที่เผาถ่านหินมีข้อสังเกตในการผลิตเถ้าที่เป็นพิษและกัมมันตภาพรังสีอย่างอ่อนจำนวนมาก เนื่องจากถ่านหินมีการสะสมทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในโลหะและวัสดุกัมมันตรังสีอย่างอ่อน[136]. รายงานในปี 2008 จากห้องปฏิบัติการแห่งชาติ Oak Ridge สรุปได้ว่า ไฟฟ้าจากถ่านหินจริงๆแล้วจะส่งผลให้กัมมันตภาพรังสีถูกปล่อยออกมาในสภาพแวดล้อมมากกว่าการดำเนินงานของพลังงานนิวเคลียร์, และว่าค่าของยาที่มีผลกระทบต่อประชากรเทียบเท่า หรือปริมาณยาที่ให้กับประชาชนจากการแผ่รังสีจากโรงไฟฟ้าถ่านหินจะเป็น 100 เท่าของการดำเนินการของโรงงานนิวเคลียร์ในอุดมคติ[137]. อันที่จริง เถ้าถ่านหินมีกัมมันตรังสีน้อยกว่าเชื้อเพลิงใช้แล้วมากเมื่อเทียบน้ำหนักที่เท่ากัน, แต่เถ้าถ่านหินถูกผลิตในปริมาณที่มากกว่าต่อหน่วยของ พลังงานที่สร้างขึ้น, และเถ้าเหล่านี้ถูกปล่อยออกโดยตรงในสภาพแวดล้อมเป็นเถ้าลอยในอากาศ, ในขณะที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใช้สิ่งป้องกันเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมจากสารกัมมันตรังสี, เช่น ภาชนะเก็บถังแห้ง[138].", "title": "พลังงานนิวเคลียร์" }, { "docid": "7953#4", "text": "ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 - 2539) ได้มีการระบุไว้ในแผนพัฒนาพลังงานฯว่า \"…ให้มีการพิจารณาศึกษาความเหมาะสมในการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งทางเศรษฐศาสตร์ เทคโนโลยี และความปลอดภัย…\" ดังนั้น จังมีการพิจารณาที่จะนำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาใช้ในประเทศไทย โดยพิจารณาจากความจำเป็น 2 ประการ คือ\nดังนั้น จากเหตุผลที่กล่าวมา ประกอบกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำเป็นต้องใช้เวลาดำเนินการล่วงหน้าเป็นเวลานานประมาณ 12 ปี จึงจะสามารถก่อสร้างเสร็จเดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าให้ทันความต้องการได้ ในปัจจุบันจึงได้มีการพิจารณาที่จะนำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาใช้ภายในประเทศเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง และเพื่อให้เกิดความมั่นใจและภาคภูมิใจยิ่งขึ้นว่า หากเลือกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาใช้ในการแก้ปัญหาด้านพลังงานของชาติจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง จึงควรที่จะได้พิจารณาถึงปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมด้วย", "title": "พลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย" }, { "docid": "6388#132", "text": "ตามที่สมาคมนิวเคลียร์โลก, ทั่วโลกในช่วงปี 1980s เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใหม่หนึ่งตัวเริ่มก่อสร้างขึ้นทุก 17 วันโดยเฉลี่ย, และในปี 2015 อัตรานี้อาจเพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งต้วในทุกๆ 5 วัน[260]. เมื่อปี 2007 เครื่อง Watts Bar 1 ในเทนเนสซี, ซึ่งเริ่มออนไลน์ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ปี 1996, เป็นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของสหรัฐในเชิงพาณิชย์ตัวสุดท้ายที่ออนไลน์. เรื่องนี้มักจะถูกยกมาเป็นหลักฐานของการรณรงค์ทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จสำหรับการใช้พลังงานนิวเคลียร์ที่หยุดทำการ[261]. การขาดแคลนไฟฟ้า, ราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เพิ่มขึ้น, ภาวะโลกร้อน, และการปล่อยโลหะหนักจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล, เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่นโรงงานที่ปลอดภัยอย่างพาสซีฟ, และความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศอาจต่ออายุความต้องการสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์", "title": "พลังงานนิวเคลียร์" }, { "docid": "7953#8", "text": "สำหรับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมนั้น ดังได้กล่าวมาแล้ว ตั้งแต่ต้นว่า การใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ จะทำให้ปลอดภัยจากภาวะปฏิกิริยาเรือนกระจก ปลอดภัยจากภาวะฝนกรด ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในโลก ตลอดจนไม่ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นมากเหมือนอย่างการใช้เชื้อเพลิงอย่างอื่น นอกจากนี้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังใช้พื้นที่ในการก่อสร้างน้อยกว่าและไม่ทำลายพื้นที่ป่าเขา เหมือนอย่างการสร้างเขื่อนสำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ", "title": "พลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย" }, { "docid": "6388#40", "text": "การผลิตต่อปีของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยตั้งแต่ปี 2007, ลดลง 1.8% ในปี 2009 ลงมาที่ 2558 TWh หรือเพียง 13-14% ของความต้องการไฟฟ้าของโลก[89]. ปัจจัยหนึ่งในการลดลงของพลังงานนิวเคลียร์ตั้งแต่ปี 2007 คือเนื่องจากการปิดเป็นเวลานานของเครื่องปฏิกรณ์ขนาดใหญ่ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Kashiwazaki - Kariwa ในประเทศญี่ปุ่นหลังจากแผ่นดินไหวที่ นีงะตะ-Chuetsu-โอกิ.Kashiwazaki - Kariwa[89].", "title": "พลังงานนิวเคลียร์" }, { "docid": "665217#29", "text": "ปัจจุบันพลังงานนิวเคลียร์มีประมาณ 15.7% ของการผลิตไฟฟ้าของโลก (ในปี 2004) และถูกใช้ในการขับเคลื่อนเรือบรรทุกเครื่องบิน, เรือตัดน้ำแข็งและเรือดำน้ำ (นับถึงปัจจุบันเศรษฐศาสตร์และความกลัวในบางท่าเรือมีการหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในเรือขนส่ง). ทุกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใช้ปฏิกิริยาฟิชชัน. ยังไม่มีปฏิกิริยาฟิวชั่นที่มนุษย์สร้างขึ้นในการผลิตกระแสไฟฟ้า.", "title": "เทคโนโลยีนิวเคลียร์" }, { "docid": "725273#3", "text": "ในโรงไฟฟ้​​าพลังงานฟอสซิล พลังงานเคมีที่เก็บไว้ในเชื้อเพลิงฟอสซิลเช่นถ่านหิน น้ำมันเตา ก๊าซธรรมชาติ หรือหินน้ำมันและออกซิเจนในอากาศจะถูกแปลงอย่างต่อเนื่องให้เป็นพลังงานความร้อนจากนั้นก็เป็นพลังงานกลและพลังงานไฟฟ้าในที่สุด แต่ละโรงไฟฟ้​​าพลังงานฟอสซิลมีระบบที่ซับซ้อนและได้รับการออกแบบตามคำสั่ง ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างณ ปี 2004 อยู่ที่ US$ 1,300 ต่อกิโลวัตต์ หรือ $ 650 ล้าน สำหรับขนาด 500 MWe การสร้างหลายหน่วยผลิตไฟฟ้าในโรงงานเดียวกันจะเป็นการใช้ที่ดิน, ทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนใหญ่ของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนในโลกจะใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลมากกว่าความร้อนจากนิวเคลียร์, ความร้อนใต้พิภพ, ชีวมวล, หรือจากแสงอาทิตย์", "title": "โรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิล" }, { "docid": "6388#6", "text": "นับถึงปี 2012, ตามข้อมูลของ IAEA, ทั่วโลกมี 68 เครื่องปฏิกรณ์พลังงานนิวเคลียร์ในงานของพลเรือนอยู่ระหว่างการก่อสร้างใน 15 ประเทศ[4]. ประมาณ 28 แห่งในจำนวนนั้นอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน (PRC), ซึ่งเป็นเครื่องปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ล่าสุด, ซึ่งจะเชื่อมต่อเข้ากับกริด (ไฟฟ้า)ในเดือนพฤษภาคม 2013, ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ปี 2013 ได้เดนเครื่องในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Hongyanhe ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน[18]. ในสหรัฐอเมริกาเครื่องปฏิกรณ์ Generation III ตัวใหม่สองเครื่องอยู่ระหว่างการก่อสร้างใน Vogtle. เจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมนิวเคลียร์สหรัฐอเมริกาคาดหวังว่า เครื่องปฏิกรณ์ใหม่ 5 เครื่องจะนำมาให้บริการในปี 2020, ทุกเครื่องในโรงไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม[19]. ในปี 2013, เครื่องปฏิกรณ์เก่าและไม่มีประสิทธิภาพในการแข่งขันสี่เครื่องจะถูกปิดอย่างถาวร [20][21].", "title": "พลังงานนิวเคลียร์" }, { "docid": "1820#29", "text": "ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองลงมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา (59 เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ใน 19 โรงงานปรมาณูทั่วประเทศ) การผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศ 88% มาจากพลังงานนิวเคลียร์ ค่าไฟฟ้าในประเทศราคาถูกกว่าประเทศใกล้เคียง จึงมีการส่งออกกระแสไฟฟ้าไปยังประเทศอื่น [1]", "title": "ประเทศฝรั่งเศส" }, { "docid": "6388#15", "text": "เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 1954 โรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ Obninsk ของสหภาพโซเวียตเป็นโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าแห่งแรกของโลกสำหรับกริด (ไฟฟ้า), และผลิตพลังงานไฟฟ้าประมาณ 5 เมกะวัตต์[40][41].", "title": "พลังงานนิวเคลียร์" }, { "docid": "6388#125", "text": "สมาคมนิวเคลียร์โลกได้กล่าวว่า \"การผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์เดือดร้อนจากการตกต่ำหนึ่งปีที่ใหญ่ที่สุดที่เคยได้รับมาตลอดปี 2012 เมื่อกลุ่มของกองทัพเรือญี่ปุ่นยังคงอยู่แบบออฟไลน์ตลอดหนึ่งปีเต็ม\". ข้อมูลจากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศแสดงให้เห็นว่าโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลกผลิตไฟฟ้าได้ 2346 TWh ในปี 2012-7% น้อยกว่าในปี 2011\" ตัวเลขแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของหนึ่งปีเต็มที่เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของญี่ปุ่น 48 เครื่องไม่มีการผลิตไฟฟ้าเลย. การปิดถาวรของเครื่องปฏิกรณ์แปดหน่วยในประเทศเยอรมนียังเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง. ปัญหาที่คริสตัลริเวอร์, ฟอร์ทคาลฮูนและอีกสองหน่วยที่ซาน Onofre ในสหรัฐอเมริกาหมายถึงการที่พวกมันไม่ได้ผลิตพลังงานเลยทั้งปี, ในขณะที่เครื่อง Doel 3 และ Tihange 2 ของเบลเยียมออกจากการทำงานเป็นเวลาหกเดือน. เมื่อเทียบกับปี 2010, อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ที่ผลิตไฟฟ้าน้อยลง 11% ในปี 2012[225].", "title": "พลังงานนิวเคลียร์" }, { "docid": "364138#0", "text": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง () เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลโอกูมะ อำเภอฟูตาบะ จังหวัดฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีเครื่องปฏิกรณ์สำหรับผลิตไฟฟ้าหกหน่วย รวมกำลัง 4.7 กิกะวัตต์ โรงไฟฟ้าแห่งนี้เป็นหนึ่งใน 15 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกซึ่งได้รับการก่อสร้างและบริหารจัดการทั้งหมดโดยบริษัทพลังงานไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO) ", "title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง" } ]
389
จังหวัดใดที่อยู่เหนือสุดของประเทศ?
[ { "docid": "17494#2", "text": "ภูมิประเทศของภาคเหนือประกอบไปด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน และมีพื้นที่สำคัญของประเทศหลายจุด เช่น พื้นที่ทางด้านตะวันตกสุดของประเทศที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ทางด้านเหนือสุดของประเทศที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จุดสูงสุดของประเทศที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ ภาคเหนือยังเป็นพื้นที่แรกของประเทศที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน โดยจุดแรกที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศไทยอยู่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย", "title": "ภาคเหนือ (ประเทศไทย)" } ]
[ { "docid": "9655#1", "text": "การคำนวณเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คน ต้องคำนวณจากจำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 400 คน ส่วนจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีนั้น ให้นำจำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คนที่คำนวณได้มาเฉลี่ยจำนวนราษฎรในจังหวัดนั้น หากจังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คน ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 คน และจังหวัดใดที่มีราษฎรเกินเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คนก็ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นอีก 1 คน ทุกจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คน เมื่อได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละจังหวัดแล้ว ถ้าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ครบ 400 คน จังหวัดใดมีเศษเหลือจากการคำนวณมากที่สุดก็ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นอีก 1 คน และเพิ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามวิธีการดังกล่าวให้แก่จังหวัดที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณในลำดับรองลงมาตามลำดับจนครบ 400 คน", "title": "การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในประเทศไทย" }, { "docid": "651979#0", "text": "ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ (; ) เป็นหนึ่งในภูมิภาคของประเทศเวียดนาม ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซึ่งมีภูมิประเทศเป็นภูเขา ภาคนี้ประกอบด้วยสี่จังหวัดหลักคือ จังหวัดเดี่ยนเบียน, จังหวัดลายเจิว, จังหวัดเซินลา และจังหวัดฮหว่าบิ่ญ ส่วนอีกสองจังหวัดคือ จังหวัดหล่าวกายและจังหวัดเอียนบ๊าย บางครั้งจะได้รับการจัดเป็นส่วนหนึ่งของภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภูมิภาคนี้มีประชากรประมาณสองล้านห้าแสนคน ติดพรมแดนประเทศลาวและประเทศจีนและเป็นหนึ่งในสามทางภูมิศาสตร์ย่อยภูมิภาคตามธรรมชาติของภาคเหนือของเวียดนาม (อีกสองภูมิภาคย่อยเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง)", "title": "ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ (เวียดนาม)" }, { "docid": "63252#23", "text": "พ.ศ. 2554 ฤดูฝนในประเทศไทยมีระดับปริมาณน้ำฝนสูงที่สุดในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา[39] อุทกภัยเริ่มทางภาคเหนือของประเทศ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม หนึ่งสัปดาห์ก่อนที่ยิ่งลักษณ์จะเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[40] อุทกภัยลุกลามจากภาคเหนือ ไปยังที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทางภาคกลางอย่างรวดเร็ว และจนถึงต้นเดือนตุลาคม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาถูกน้ำท่วมเกือบทั้งหมด อุทกภัยในประเทศไทยครั้งนี้ นับว่าเลวร้ายที่สุดในรอบมากกว่า 50 ปี ยิ่งลักษณ์จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในส่วนกลาง ราวกลางเดือนตุลาคม และออกตรวจเยี่ยมจังหวัดที่ประสบภัย ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม[41] ยิ่งลักษณ์ยังให้สัญญาว่า จะลงทุนในโครงการป้องกันอุทกภัยระยะยาว รวมทั้งการก่อสร้างคลองระบายน้ำ มาตรการลดอุทกภัยถูกขัดขวาง โดยการพิพาทระหว่างประชาชน จากสองฝั่งของกำแพงกั้นน้ำ โดยฝั่งที่ถูกน้ำท่วมเข้าทำลายกำแพงกั้นน้ำในหลายกรณี และบางครั้งส่งผลให้เกิดการเผชิญหน้าด้วยอาวุธ[42][43] ผู้นำฝ่ายค้าน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และผู้นำทหาร เรียกร้องให้ยิ่งลักษณ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งให้อำนาจแก่ทหารมากขึ้น ในการรับมือกับปัญหาการทำลายกำแพงกั้นน้ำ[44] ยิ่งลักษณ์ปฏิเสธที่จะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยระบุว่าไม่ช่วยให้การจัดการอุทกภัยดีขึ้น เธอประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และออกประกาศให้พื้นที่ประสบอุทกภัยเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ ซึ่งให้อำนาจรัฐบาลมากขึ้น ในการจัดการการควบคุมอุทกภัยและการระบายน้ำแทน[45]อย่างไรก็ตามเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากเกี่ยวกับการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติเนื่องจากพื้นที่ใดเมื่อเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจะได้รับเงินและงบประมาณลงไปในการช่วยเหลือพื้นที่นั้น[46]", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "667956#0", "text": "ฮหว่าบิ่ญ () เป็นจังหวัดที่เป็นภูเขาของประเทศเวียดนาม ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ มีพรมแดนติดกับจังหวัดฟู้เถาะและจังหวัดเซินลาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับฮานอยทางทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับจังหวัดห่านามทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับจังหวัดนิญบิ่ญและจังหวัดทัญฮว้าทางทิศใต้ ในปี ค.ศ. 2004 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวของจังหวัดอยู่ที่ประมาณ 228 ดอลลาร์สหรัฐ (หรือเท่ากับ 3,600,000 ด่ง)", "title": "จังหวัดฮหว่าบิ่ญ" }, { "docid": "1937#30", "text": "การดำเนินนโยบายต่างประเทศของพระนโรดม สีหนุ เป็นการดำเนินนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่มีแนวโน้มเป็นปฏิปักษ์กับไทยและเวียดนามใต้ ในขณะที่เป็นมิตรกับจีนและสนับสนุนเวียดนามเหนือในสงครามเวียดนาม [15] กัมพูชาในสมัยนี้มีกรณีพิพาทกับไทย ทั้งกรณีพิพาทเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร และการกวาดล้างชาวไทยเกาะกงในจังหวัดเกาะกง การปกครองระบอบสังคมของพระองค์สิ้นสุดลงเมื่อถูกรัฐประหาร โดยลน นล เมื่อ พ.ศ. 2513 ซึ่งได้จัดตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐเขมรขึ้นแทน พระนโรดม สีหนุต้องลี้ภัยไปจัดตั้งรัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชาพลัดถิ่น ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน", "title": "ประเทศกัมพูชา" }, { "docid": "98897#7", "text": "ภายหลังจากถล่มหมู่บ้านสางเขียวและแย่งชิงตัวมาเรียกลับคืนมา มุ่งหน้าขึ้นเขาไปเรื่อย ๆ โดยเส้นทางถูกบีบบังคับให้แคบลง ตัดทิวเขาใหญ่มาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขาหัวแร้งและขึ้นเหนือไปทุ่งมรณะ ซึ่งในขณะนี้คณะเดินทางทั้งหมดอยู่เหนือรัฐกะยาซึ่งเป็นตอนใต้ของรัฐไทยใหญ่ ถ้าคณะเดินทางตั้งเข็มทิศไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ก็จะพบกับพรมแดนไทยส่วนใดส่วนหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่และพักที่เขาก็องกอยโดยตั้งใจจะลงจากเขาในวันมะรืนโดยที่รพินทร์วางแผนจะพาคณะเดินทางบ่ายหน้าขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ", "title": "เส้นทางการเดินทางในเพชรพระอุมา" }, { "docid": "899971#0", "text": "หลั่งเซิน () เป็นจังหวัดทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม อยู่ติดกับเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงของประเทศจีน เมืองหลักมีชื่อเดียวกับชื่อจังหวัด คือเมืองหลั่งเซิน ซึ่งเป็นเมืองสำคัญบริเวณชายแดนจีน อยู่ห่างจากฮานอยไปประมาณ เดินทางได้โดยทางถนนและรถไฟ จังหวัดหลั่งเซินติดกับประเทศจีนทางทิศเหนือ ติดกับจังหวัดกาวบั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับจังหวัดกว๋างนิญทางทิศใต้และตะวันออก และติดกับจังหวัดท้ายเงวียนทางทิศตะวันตก จังหวัดหลั่งเซินมีเนื้อที่ 8,327.6 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 759,000 คนในปี ค.ศ. 2008", "title": "จังหวัดหลั่งเซิน" }, { "docid": "5814#4", "text": "จังหวัดเพชรบูรณ์มีตำแหน่งทางอุตุนิยมวิทยาในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย โดยเกณฑ์การแบ่งภาคของราชบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดให้เพชรบูรณ์เป็นจังหวัดในภาคกลาง จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่มีแนวเขตติดต่อระหว่างภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประมาณเส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ กับเส้นแวง 101 องศาตะวันออก ส่วนที่กว้างที่สุดวัดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกยาว 55 กิโลเมตร ส่วนที่ยาวที่สุดวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ยาว 296 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 346 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21จังหวัดเพชรบูรณ์มีพื้นที่ประมาณ 12,668.416 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,917,760 ไร่ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 114 เมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของประเทศ ลักษณะทางกายภาพของจังหวัดเพชรบูรณ์นั้นเป็นพื้นที่ราบลุ่มแบบท้องกระทะ ประกอบด้วยเนินเขา ป่า และที่ราบเป็นตอน ๆ สลับกันไป พื้นที่มีลักษณะลาดชันจากเหนือลงไปใต้ ตอนเหนือมีทิวเขาสูง ตอนกลางเป็นพื้นที่ราบและมีเทือกเขาขนาบกันไปทั้งสองข้างมีลักษณะเป็นรูปเกือกม้า มีแม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสายสำคัญโดยไหลจากจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ผ่านไปสู่จังหวัดในภาคกลาง แล้วลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตามลำดับ จึงส่งผลให้พื้นที่ดีมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ดินมีสภาพอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชทำการเกษตร ", "title": "จังหวัดเพชรบูรณ์" }, { "docid": "652089#0", "text": "ชายฝั่งตอนกลางเหนือ (; ) เป็นหนึ่งในภูมิภาคของประเทศเวียดนาม ประกอบด้วย 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดทัญฮว้า, จังหวัดเหงะอาน, จังหวัดห่าติ๋ญ, จังหวัดกว๋างบิ่ญ, จังหวัดกว๋างจิ และจังหวัดเถื่อเทียน-เว้ สองจังหวัดหลังเป็นจังหวัดทางตอนเหนือสุดของประเทศเวียดนามใต้จนถึงปี ค.ศ. 1975", "title": "ชายฝั่งตอนกลางเหนือ" }, { "docid": "6419#2", "text": "จากการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ การศึกษาจากเอกสารและคำบอกเล่า รวมทั้งจากการสำรวจภาคสนาม พบที่ตั้งชุมชนโบราณในจังหวัดแพร่ จำนวน 24 แห่ง ชุมชนของคนกลุ่มน้อย จำนวน 4 แห่ง ชุมชนโบราณตั้งอยู่ในอำเภอต่าง ๆ ดังนี้เมืองแพร่ เป็นเมืองเก่าเมืองหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย ประวัติการสร้างเมือง ไม่มีจารึกในที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ การศึกษาเรื่องราวของเมืองแพร่จึงต้องอาศัยหลักฐานของเมืองอื่น เช่น พงศาวดารโยนก ตำนานเมืองเหนือ ตำนานพระธาตุลำปางหลวง และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นต้น\nจนถึงปี พ.ศ. 2440 ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เปลี่ยนการปกครองจากเจ้าผู้ครองนครเป็นมณฑลเทศาภิบาล และโปรดเกล้าให้พระยาไชยบูรณ์มาเป็นข้าหลวงเมืองแพร่คนแรก โดยมีเจ้าผู้ครองนครแพร่ คือ เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ ต่อมาเกิดเหตุการณ์กบฏเงี้ยวในปี พ.ศ. 2445 จึงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีนำทัพพร้อมหัวเมืองใกล้เคียงเข้าปราบกบฏเงี้ยวที่เมืองแพร่ พระยาไชยบูรณ์ถูกพวกเงี้ยวสังหาร ส่วนเจ้าพิริยเทพวงษ์เกรงพระราชอาญา จึงเสด็จหลี้ภัยการเมืองไปพำนักที่เมืองหลวงพระบาง หลังจากนั้นรัฐบาลสยามจึงยกเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครแพร่", "title": "จังหวัดแพร่" }, { "docid": "559464#1", "text": "ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่เข้าใจว่าทางภาคเหนือคงรับเอามาจากประเทศพม่า มีความเชื่อว่า พระอุปคุตซึ่งเป็นภิกษุที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นองค์อุปัชฌาย์ เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เสด็จลงไปจำศีลภาวนาอยู่ ณ สะดือทะเล ในรอบ ๑ ปี จะขึ้นมาโปรดชาวเมืองก่อนเวลารุ่งอรุณชาวพม่ามักตื่นแต่ดึก เพื่อเตรียมอาหารไว้ใส่บาตรพระอุปคุตโดยมีคติความเชื่อว่า หากผู้ใดได้ทำบุญตักบาตรพระอุปคุตแล้วจะได้บุญใหญ่หลวง เกิดโชคลาภและความเป็นสิริมงคลในชีวิต คติความเชื่อนี้จึงทำให้พุทธศาสนิกชนถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ ในประเทศไทยการใส่บาตรเที่ยงคืนนี้ชาวเหนือเชื่อกันว่าพระอุปคุตจะแปลงกายเป็นสามเณรออกมาโปรดสัตว์ถ้าผู้ใดได้ใส่บาตรกับพระอุปคุตแล้วบุคคลนั้น จะประสบแต่ความสุขร่ำรวยด้วยทรัพย์สินเงินทองได้อานิสงส์แรง ดังนั้นเมื่อถึงวันเพ็ญตรงกับวันพุธชาวเหนือทุกคนจะไปคอยใส่บาตรเป็นพิเศษ", "title": "วันเป็งปุ๊ด" }, { "docid": "445777#0", "text": "พย็องอันเหนือ เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศเกาหลีเหนือ มีเมืองเอกชื่อ ชินอึยจู เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเกาหลีจนถึง ค.ศ. 1945 หลังจากนั้น ก็ได้กลายเป็นจังหวัดหนึ่งของเกาหลีเหนือมาจนถึงปัจจุบัน", "title": "จังหวัดพย็องอันเหนือ" }, { "docid": "168924#7", "text": "พลเมืองที่อยู่ในเขตข้าทาสของพระเจ้าองค์ตื้อตั้งแต่เดิมมาต้องเสียส่วยสาอากรให้แก่ทางราชการ แต่เมื่อตกเป็นข้าทาสของพระเจ้าองค์ตื้อ โดยผู้ใดประกอบอาชีพทางใดก็ให้นำสิ่งนั้นมาเสียส่วยให้แก่วัดศรีชมพูองค์ตื้อทั้งสิ้น เช่น ผู้ใดเป็นช่างเหล็กก็ให้นำเครื่องเหล็กมาเสีย ผู้ใดทำนาก็ให้นำข้าวมาเสีย ผู้ใดทำนาเกลือก็ให้เอาเกลือมาเสียทางวัดก็มีพนักงานคอยเก็บรักษาและจำหน่ายประจำเสมอ ที่ด้านหน้าของพระวิหารมีตัวหนังสือไทยน้อยหรือหนังสือลาวเดี๋ยวนี้อยู่ด้วย แต่เวลานี้เก่าและลบเลือนมากอ่านไม่ได้ความติดต่อกัน พระเจ้าองค์ตื้อเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ฝีมือช่างฝ่ายเหนือและล้านช้างผสมกัน นับเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามมาก เป็นพระประธานซึ่งสร้างด้วยทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนั่งขัดสมาธิปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 3 เมตร 29 เชนติเมตร สูง 4 เมตร ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีชมภู องค์ตื้อ ตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีประชาชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง เคารพนับถือมาก", "title": "วัดศรีชมภูองค์ตื้อ" }, { "docid": "671844#0", "text": "มณฑลคีรี หรือ มวณฑวลกีรี () เป็นจังหวัดหนึ่งทางตะวันออกของประเทศกัมพูชา มีพรมแดนติดต่อกับจังหวัดกระแจะทางทิศตะวันตก จังหวัดสตึงแตรงทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จังหวัดรัตนคีรีทางทิศเหนือ และติดต่อกับประเทศเวียดนามทางทิศตะวันออกและทิศใต้ เป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรเบาบางที่สุดในประเทศ จังหวัดนี้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 โดยแยกออกมาจากจังหวัดกระแจะ เมืองหลักของจังหวัดคือเมืองแสนมโนรมย์", "title": "จังหวัดมณฑลคีรี" }, { "docid": "447685#5", "text": "จังหวัดคังว็อนมีพื้นที่ทางทิศตะวันตกติดกับจังหวัดคย็องกี ทางใต้ติดกับจังหวัดชุงชองเหนือ ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลญี่ปุ่น (ทะเลตะวันออก) ทางทิศเหนือติดกับจังหวัดคังว็อน ประเทศเกาหลีเหนือ ภูมิประเทศของจังหวัดส่วนใหญ่อยู่เทือกเขาแทแบ็ก (\"แทแบ็กซันแม็ก\") โดยทอดยาวจนเกือบถึงทะเล ซึ่งเป็นผลทำให้ชายฝั่งมีความลาดชัน", "title": "จังหวัดคังว็อน (ประเทศเกาหลีใต้)" }, { "docid": "456534#3", "text": "ด้าน นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการแบ่งขั้วอย่างชัดเจน ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ลงพื้นที่หาเสียงทั่วประเทศ แม้แต่ในพื้นที่ของเสื้อแดง หรือของพรรคเพื่อไทย หลายพื้นที่แม้ว่าจะถูกห้ามเข้าไปหาเสียงแต่ตนก็ได้เข้าไปทุกพื้นที่ และเกือบทุกพื้นที่ในภาคอสานและภาคเหนือ ก็จะมีกลุ่มก่อกวนโดยตลอด และจากการสอบถามชาวบ้านที่รักความเป็นธรรม ก็ได้บอกว่ากลุ่มก่อกวนไม่ได้เป็นคนในพื้นที่ แต่เป็นกลุ่มคนที่ได้ว่าจ้างมาเพื่อให้ก่อกวน ไม่ว่าตนหรือนายกรัฐมนตรี ไปที่ใดก็จะต้องตามรบกวนตลอด", "title": "จังหวัดตรังในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554" }, { "docid": "70992#26", "text": "การดำเนินนโยบายต่างประเทศของพระนโรดม สีหนุ เป็นการดำเนินนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่มีแนวโน้มเป็นปฏิปักษ์กับไทยและเวียดนามใต้ ในขณะที่เป็นมิตรกับจีนและสนับสนุนเวียดนามเหนือในสงครามเวียดนาม [2] กัมพูชาในสมัยนี้มีกรณีพิพาทกับไทย ทั้งกรณีพิพาทเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร และการกวาดล้างชาวไทยเกาะกงในจังหวัดเกาะกง การปกครองระบอบสังคมของพระองค์สิ้นสุดลงเมื่อถูกรัฐประหาร โดยลน นล เมื่อ พ.ศ. 2513 ซึ่งได้จัดตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐเขมรขึ้นแทน พระนโรดม สีหนุต้องลี้ภัยไปจัดตั้งรัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชาพลัดถิ่น ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน", "title": "ประวัติศาสตร์กัมพูชา" }, { "docid": "11719#3", "text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2505 จึงได้มีมติให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูง ด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเกษตรศาสตร์ขึ้น ที่จังหวัดขอนแก่น เสนอชื่อสถาบันแห่งนี้ว่า \"สถาบันเทคโนโลยีขอนแก่น\" และเสนอชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า \"Khon Kaen Institute of Technology\" มีชื่อย่อว่า K.I.T. หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อสถาบันนี้เป็น \"มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\" มีชื่อย่อว่า \"North-East University หรือ N.E.U\" เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีหน่วยราชการใด ที่จะรับผิดชอบการดำเนินการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยโดยตรง รัฐบาลจึงได้มีมติให้สภาการศึกษาแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบในด้านการหาสถานที่ จัดร่างหลักสูตร ตลอดจนการติดต่อความช่วยเหลือจากต่างประเทศ [5]", "title": "มหาวิทยาลัยขอนแก่น" }, { "docid": "992628#0", "text": "คิตายามะ () เป็นหมู่บ้านในจังหวัดวากายามะ ประเทศญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าจะอยู่ในการปกครองของจังหวัดวากายามะ แต่คิตายามะกลับไม่มีพื้นที่ส่วนใดที่ติดต่อกับส่วนอื่น ๆ ของจังหวัดวากายามะเลย โดยติดต่อกับจังหวัดนาระทางทิศเหนือและจังหวัดมิเอะทางทิศใต้ คิตายามะเป็นหมู่บ้านเพียงแห่งเดียวในจังหวัดวากายามะ และเป็นเขตการปกครองระดับเทศบาลเพียงแห่งเดียวของประเทศญี่ปุ่นที่มีลักษณะเป็นดินแดนส่วนแยก (exclave)", "title": "คิตายามะ" }, { "docid": "745039#0", "text": "จังหวัดชากัง () เป็นจังหวัดของประเทศเกาหลีเหนือ อยู่ทางทิศเหนือของประเทศติดกับประเทศจีน, ติดกับจังหวัดรยังกัง และ ฮัมกย็องใต้ ทางด้านตะวันออก, ติดกับจังหวัดพย็องอันใต้ ทางด้านทิศใต้, และ จังหวัดพย็องอันเหนือ ทางด้านทิศตะวันตก  จังหวัดชากัง ก่อตั้งขึ้นในปี 2542 เมืองหลวงชื่อกังแจ", "title": "จังหวัดชากัง" }, { "docid": "68509#0", "text": "จังหวัดบาดัคชาน เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศอัฟกานิสถานจังหวัดบาดัคชาน ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ทางเหนือติกับประเทศทาจิกิสถาน ทางตะวันออก ติดประเทศจีน (ทางเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์) ทิศใต้ติดกับประเทศปากีสถาน จังหวัดบาดัคชาน ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาฮินดูกูซ และเทือกเขาปามีร์\nและที่สำคัญคือ จังหวัดนี้ตั้งอยู่ในเส้นทางสายไหม", "title": "จังหวัดบาดัคชาน" }, { "docid": "5525#108", "text": "ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 หรือ ถนนมอเตอร์เวย์บางปะอิน-เชียงใหม่ (ช่วงเด่นชัยลำปาง และ มอเตอร์เวย์ลำปาง-เชียงใหม่) เป็นโครงข่ายการขยายเส้นทางการคมนาคมจากกรุงเทพมหานครสู่จังหวัดในกลุ่มภาคเหนือ โดยผ่าน จังหวัพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง ชัยนาถ นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง ลำพูน ไปสิ้นสุดที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยช่วงที่ผ่านจังหวัดลำปาง ได้ใช้เส้นทางร่วมกับ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 มาจากอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เข้าสู่จังหวัดลำปาง ผ่านอำเภอแม่ทะ จนมาถึงแยกโยนก หน้ามหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง อำเภอเมืองลำปาง แล้วเลี้ยวซ้าย ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 เดิม แล้วเปลี่ยน มาเป็นทางยกระดับ โดยใช้พื้นที่เกาะกลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ไปเรื่อย ๆ (ไม่มีทางขึ้น-ลงใด ๆ) จนมาถึงสี่แยกภาคเหนือ จุดตัด ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน เหนือ-ใต้ และ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 แนวออก-ตก", "title": "จังหวัดลำปาง" }, { "docid": "479053#6", "text": "มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบทั่วไปในอินเดีย พม่า จีนและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทย มักพบตามที่โล่งแจ้งในพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ พบขึ้นทั่วไปในพื้นที่ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 45-1058 เมตร ตามริมธารน้ำ เนินเขา บนแนวเทือกเขาเช่น อำเภอละงู จังหวัดสตูล อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ บ้านสานตม ตำบลสานตม อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และพบที่ป่าชุมชน บ้านสบลืน ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด", "title": "ตองกง" }, { "docid": "360835#7", "text": "ในประเทศไทยการกินแมลงพบได้ทุกส่วนของประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มีการกินแมลงกันมานาน ด้วยวิถีชีวิตของทั้งสองภาคต้องอาศัยพึ่งพาป่าและธรรมชาติ การดำรงชีวตประจำวันจะอาศัยของจากในป่าไม่ว่าเป็นไม้ที่ใช้การสร้างบ้านเรือน อาหารที่เป็นผักรวมทั้งแมลงเป็นวัฒนธรรมชาวบ้านแบบหนึ่งของชาวเหนือและชาวอีสาน โดยวัฒนธรรมนี้เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการค้นพบว่าแมลงชนิดใดที่สามารถนำมากินได้และมีวิธีการปรุงในรูปแบบใดจึงจะมีรสชาติที่ดี เช่น แมลงกินูน, แมลงดานา, มดแดงและไข่มดแดง ดักแด้ไหม แมลงกุดจี่, แมลงเม่า,จักจั่น และแมลงตับเต่า เป็นต้น", "title": "แมลงอุตสาหกรรม" }, { "docid": "658629#0", "text": "จังหวัดลายเจิว () เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม จังหวัดลายเจิวเป็นที่มีประชากรเบาบางมากที่สุดในเวียดนาม มีพรมแดนกับประเทศจีน ครั้งหนึ่งเคยเป็นรัฐกึ่งอิสระไทขาวหรือที่เรียกว่า \"สิบสองจุไท\" แต่ถูกยืดครองโดยฝรั่งเศสในยุคอินโดจีนฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2423 ต่อมาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเวียดนามใน พ.ศ. 2497 ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่การปกครองตนเองภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามหรือประเทศเวียดนามเหนือ ใน พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2518 เมื่อจังหวัดลายเจิวที่ได้รับการจัดตั้งขึ้น จังหวัดเดี่ยนเบียนได้รับการแบ่งแยกจากลายเจิวใน พ.ศ. 2547", "title": "จังหวัดลายเจิว" }, { "docid": "478554#7", "text": "ประเทศไทยและเกาหลีเหนือยังไม่มีความร่วมมือทางทหารที่เป็นทางการระหว่างกันแต่อย่างใด แต่ทั้งสองฝ่ายก็มีการติดต่อระหว่างกัน โดยนาย Oh Jin-U รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเกาหลีเหนือมาเยือนประเทศไทย เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2533 และเมื่อระหว่างวันที่ 18 - 21 สิงหาคม 2536 พล.อ. วิจิตร สุขมาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของประเทศไทยก็ได้ไปเยือนเกาหลีเหนือ", "title": "ความสัมพันธ์เกาหลีเหนือ–ไทย" }, { "docid": "17494#6", "text": "นอกจากการแบ่งตามราชบัณฑิตยสถานแล้ว ยังมีหน่วยงานที่เคยจัดแบ่งภูมิภาคของประเทศไทยขึ้นเพื่อกำหนดแผนบริหารงานด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นการแบ่งภูมิภาคอย่างไม่เป็นทางการได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยกำหนดให้ภาคเหนือมีทั้งหมด 17 จังหวัด[1] ประกอบด้วย 9 จังหวัดภาคเหนือข้างต้น กับอีก 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี", "title": "ภาคเหนือ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "332066#24", "text": "การวัดสถิติพายุแบ่งตามเดือน พฤษภาคม พายุส่วนใหญ่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันตกของประเทศ บริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือพื้นที่ของภาคเหนือตอนบนในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน และพื้นที่ของภาคกลางในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ต่อเนื่องกับจังหวัดตากและอุทัยธานี โดยคิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพายุทั้งหมดที่เข้าประเทศไทยในเดือนพฤษภาคมซึ่งมีทั้งหมด 6 ลูก มิถุนายน ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไปพายุเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออกของประเทศ ซึ่งในเดือนนี้บริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุด ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณจังหวัดนครพนม หนองคายและตอนบนของสกลนคร โดยคิดเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพายุทั้งหมดที่เข้าประเทศไทยในเดือนมิถุนายนซึ่งมีทั้งหมด 6 ลูก สิงหาคม บริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือ พื้นที่ทางด้านตะวันออกของภาคเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดน่าน พะเยา แพร่ ลำปาง เชียงรายและเชียงใหม่ รวมถึงพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภูและเลย โดยคิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพายุทั้งหมดที่เข้าประเทศไทยในเดือนสิงหาคมซึ่งมี 18 ลูก กันยายน เดือนนี้เป็นเดือนแรกที่พายุเริ่มมีโอกาสเคลื่อนตัวเข้ามาในภาคใต้ตอนบน แต่ยังมีโอกาสน้อย พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านยังคงเป็นประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนต่อกับภาคเหนือตอนล่าง บริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย อุตรดิตถ์ และพิษณุโลกมีพายุเคลื่อนผ่านเข้ามาคิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนเข้ามาในเดือนนี้ ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 39 ลูก ตุลาคม เป็นเดือนที่ศูนย์กลางพายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านประเทศไทยได้ทั้งในประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ โดยในเดือนนี้พายุเริ่มมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ตอนล่างได้บ้างแต่มีโอกาสน้อย ส่วนบริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกือบทั้งหมด ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่างต่อเนื่องถึงภาคใต้ตอนบน ซึ่งมีพายุเคลื่อนผ่านมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในเดือนนี้ซึ่งมีจำนวน 48 ลูก พฤศจิกายน พายุมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ได้มากกว่าประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชมีพายุเคลื่อนผ่านมากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในเดือนนี้ซึ่งมีจำนวน 28 ลูก บริเวณที่พายุเคลื่อนผ่านได้มากเป็นอันดับรองลงมา ได้แก่ พื้นที่ในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสงขลา ซึ่งมีศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่าน 10 - 25 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพายุทั้งหมด อย่างไรก็ตามบริเวณประเทศไทยตอนบน ยังมีบางพื้นที่ที่ศูนย์กลางพายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ต่อกับภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และสระแก้ว มีพายุเคลื่อนผ่าน 10 - 15 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพายุทั้งหมด ธันวาคม เดือนนี้เป็นเดือนที่ไม่มีพายุเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนพายุทั้งหมด จะเคลื่อนผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป โดยศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านบริเวณจังหวัดสงขลาและพัทลุงมากที่สุด คือ 75 เปอร์เซ็นต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในเดือนนี้จำนวน 7 ลูกด้วยกัน", "title": "ภูมิอากาศไทย" }, { "docid": "98340#4", "text": "เครื่อง 767 สูญเสียแรงยกและฉีกออกเป็นส่วน ๆ กลางอากาศที่ระดับความสูง 1,200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เมื่อเวลา 23.20 น. ซากเครื่องบินถูกพบที่ระดับความสูง 600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ในบริเวณซึ่งปัจจุบันเป็นอุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่มีผู้โดยสารและลูกเรือคนใดรอดชีวิต ในจำนวนนี้เป็นคนไทย 39 คน ชาวต่างชาติ 184 คน อุบัติเหตุครั้งนี้เป็นหายนะทางการเดินทางทางอากาศที่รุนแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจวบจนถึงปัจจุบัน ทีมกู้ภัยพบร่างของ Welch กัปตัน ยังคงติดอยู่กับที่นั่งของนักบิน หลังอุบัติเหตุ ได้มีผู้มาขโมยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอัญมณี ความสามารถในการขนส่งของสายการบินหายไปถึง 1 ใน 4 จากผลของการตก", "title": "เลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004" } ]
1714
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ก่อตั้งโดยใคร?
[ { "docid": "63535#1", "text": "วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตก่อตั้งโดยมติที่ประชุมกรรมการสภามหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2532 และทบวงมหาวิทยาลัยได้อนุญาตให้ดำเนินการรับนักศึกษาและเปิดการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2532 จึงถือเป็นคณะ/วิทยาลัยที่จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 12 ของมหาวิทยาลัยรังสิต และเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 9 ของประเทศไทย เริ่มเปิดรับนักศึกษาแพทย์ รุ่นที่ 1 ปีการศึกษา 2532 ซึ่งต่อมาแพทยสภาได้รับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในการประชุมคณะกรรมการแพทยสภา ครั้งที่ 2/2537 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2537 โดยกำหนดหลักการให้มีการจัดตั้งมูลนิธิเป็นเงื่อนไขในการเปิดดำเนินการของโรงเรียนแพทย์เอกชน โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ให้ผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มีคุณภาพตามที่กำหนด เป็นผลให้ในเวลาต่อมา ได้มีการลงนามข้อตกลงการร่วมผลิตแพทย์ภาคคลินิก ระหว่างกรมการแพทย์ และมหาวิทยาลัยรังสิต ในวันที่ 15 มีนาคม 2537 โดยร่วมกันจัดตั้งสถาบันร่วมผลิตแพทย์ระหว่างกรมการแพทย์ และมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อรับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนในภาควิชาคลินิก (นักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ชั้นปีที่ 4, 5 และ 6) ทั้งหมด และการจัดตั้งมูลนิธิสถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์และมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อเป็นกองทุนรับผิดชอบในการดำเนินการร่วมผลิตแพทย์ ของมหาวิทยาลัยรังสิต จึงถือเป็นสถาบันแพทยศาสตร์ของประเทศไทยโดยสมบูรณ์", "title": "วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต" } ]
[ { "docid": "63535#0", "text": "วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นสถาบันแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งเป็นสถาบันแพทยศาสตร์ลำดับที่ 9 ในจำนวนโรงเรียนแพทย์ทั่วประเทศ 21 สถาบัน ได้รับการรับรองจากแพทยสภาเปิดเป็นโรงเรียนแพทย์โดยสมบูรณ์ ด้วยปณิธานของมหาวิทยาลัยรังสิตที่จะผลิตผลิตบัณฑิตในสาขาที่ประเทศขาดแคลนต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อเพิ่มจำนวนแพทย์ให้เพียงพอโดยการร่วมกันผลิตแพทย์ระหว่างภาครัฐคือกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และเอกชน คือมหาวิทยาลัยรังสิต ในปัจจุบันวิทยาลัยนี้มีนักศึกษาจบไปแล้วทั้งสิ้น 19 รุ่น จำนวนกว่า 1200 คน (บัณฑิตแพทย์รุ่น 19 สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2555-56)", "title": "วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต" }, { "docid": "354360#1", "text": "วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ก่อตั้งขึ้นโดยดำริของท่านอธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เมื่อปี พ.ศ. 2531 ในชื่อของคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะผลิตบัณฑิตในสาขาขาดแคลน เพื่อที่จะออกมารับใช้สังคมอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป จึงจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นเพื่อผลิตวิศวกร ซึ่งนับว่ายังมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของประเทศ", "title": "วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต" }, { "docid": "63535#11", "text": "รายนามคณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้\nการรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต ของทางวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มีจำนวนทั้งสิ้น 4 โครงการ และอีก 1 โครงการย่อย ดังนี้เป็นการสอบเข้าโดยใช้ข้อสอบที่มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นผู้ออกข้อสอบเอง และจัดสอบเอง ไม่เกี่ยวข้องกับส่วนกลาง โดยจะเปิดรับสมัครประมาณเดือนกันยายน และจะทำการสอบในปลายเดือนตุลาคม ของทุกปีเป็นโครงการย่อยที่อยู่ในโครงการรับตรง ครั้งที่ 1 โดยจะรับสมัครนักเรียนที่จบหลักสูตรจากโรงเรียนนานาชาติ หรือต่างประเทศ โดยใช้ผลการเรียน การสัมภาษณ์ และการทำข้อสอบวิชาเฉพาะแพทย์ เพื่อคัดบุคคลเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยโครงการนี้จะรับนักศึกษาแพทย์ผ่านทาง สกอ. โดยที่จะใช้คะแนน [GAT 20%], [PAT2 30%] และ GPA ของนักศึกษาในการคิด ซึ่งจะคิดในระบบของวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากนั้นให้ยื่นผ่านทางระบบแอดมิสชั่น เข้าวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยปกติจะทำการสมัครในเดือนเมษายนของทุกปีเป็นโครงการที่เปิดเพิ่มเติมขึ้นมาอีกโครงการรบนักศึกษาแพทย์ ในปีการศึกษา 2550 โดยจะใช้คะแนน A-Net เป็นหลักในการคำนวณคะแนน และใช้คะแนน O-Net เป็นข้อบังคับพื้นฐาน 60% จากนั้นจะยื่นผ่าน กสพท. เข้ามา ในปกติจะรับสมัครในเดือนสิงหาคม และประกาศผลในเดือนเมษายน-พฤษภาคมของทุกปีลักษณะของโครงการรับนักศึกษาจะเหมือนกัน โครงการรับตรงผ่านการสอบเข้าของมหาวิทยาลัยรังสิต ครั้งที่ 1 แต่จะเปิดรับสมัครในเดือนพฤศจิกายน และทำการสอบในเดือนพฤษภาคม ของทุกปี", "title": "วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต" }, { "docid": "63535#15", "text": "วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มีพื้นที่ในส่วนต่างๆ ดังนี้ห้องสโมสรนักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยรังสิต อยู่ภายในอาคารรูปสี่เหลี่ยมที่ตั้งระหว่างอาคารวิทยาศาสตร์ (ตึก 4) และอาคารวิษณุรัตน์ (ตึก 5) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอาคารวิษณุรัตน์ (ตึก 5/1) โดยอาคารแห่งนี้สร้างเสร็จเมื่อปีการศึกษา 2550 เพื่อใช้เป็นห้องสโมสรของนักศึกษาคณะต่างๆ ทั้งสิ้น 4 คณะ โดยที่ทางมหาวิทยาลัยได้มอบห้องสโมสรนักศึกษาให้แก่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ ทั้งหมด 3 ห้อง เพื่อใช้ทำกิจกรรม, ประชุมงาน หรือเป็นที่อ่านหนังสือสำหรับนักศึกษาแพทย์โดยเฉพาะเป็นอาคารที่ใช้ร่วมกับคณะทันตแพทยศาสตร์ ซึ่งทางวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้พื้นที่ในส่วนด้านตะวันออก อาคารนี้สร้างเสร็จเมื่อปลายปีการศึกษา 2550 และพร้อมใช้งานได้ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 ที่จะถึงนี้ ซึ่งทางวิทยาลัยแพทยศาสตร์วางแผนที่จะเปิดสำนักงานถาวรของวิทยาลัยฯ ในอาคารนี้ และนอกจากนี้จะมีห้องไว้สำหรับอ่านหนังสือ, ประชุม, สืบค้นข้อมูล และอื่นๆ สำหรับนักศึกษาแพทย์อาคารสถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ หรือ \"อาคารประสิทธิ์ อุไรรัตน์\" เป็นสถานที่ของสถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ ไม่ได้ถือเป็นสถานที่ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์โดยตรง แต่สร้างโดยงบประมาณของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่มอบเป็นทุนประเดิมให้แก่ \"มูลนิธิสถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์-มหาวิทยาลัยรังสิต\"เพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนการสอน และประสานงานระหว่างกรมการแพทย์และมหาวิทยาลัยรังสิตเพื่อพัฒนาคุณภาพนักศึกษาแพทย์ ในระยะยาวที่ส่งเข้ามาเรียนในความรับผิดชอบของสถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ\nปัจจุบันตั้งอยู่ภายในเขต โรงพยาบาลราชวิถีบริเวณด้านฝั่งถนนพญาไท ติดกับทางด้านสถานีรถไฟฟ้าBTS สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีลักษณะโครงสร้างเป็นอาคารสูง 6 ชั้น หลังก่อสร้างเสร็จคุณพ่อประสิทธิ์ อุไรรัตน์ ได้มอบ พระพุทธรูปปางป่าเรไรประทานพร ประดิษฐานเป็นศูนย์รวมจิตใจของนักศึกษาแพทย์ ที่โถงชั้นล่างของอาคาร และแต่ละชั้นแบ่งพื้นที่การใช้สอยโดยโดยแบ่งดังนี้\nเมื่อแรกเริ่มมีการเรียนในภาคคลินิกในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการประชุมเพื่อแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในภาคคลินิก และจัดประชุมแพทยศาสตร์ศึกษาแห่งประเทศไทยขึ้น ซึ่งในสมัยนั้น มี นพ.ไพโรจน์ นิงสานนท์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.สุจินต์ ผลากรกุล อธิบดีกรมการแพทย์ ได้มีแนวคิดในการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อจัดการประสานความมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการผลิตแพทย์ตามรูปแบบแนวคิดการผลิตแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์เอกชนที่ร่วมมือในการผลิตแพทย์กับภาครัฐ และได้มีการประชุมประสานงานอีกหลายครั้ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2536 กรมการแพทย์และกระทรวงสาธารณสุขมีมติเห็นชอบให้มีการจัดตั้ง สถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์-มหาวิทยาลัยรังสิต ในขณะนั้น ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. 2536-2538) และได้มีการร่วมลงนามในข้อตกลงการร่วมผลิตแพทย์ระหว่างกรมการแพทย์ (โดย พล.รต.ศ.นพ.วิทุร แสงสิงแก้ว อธิบดีกรมการแพทย์ในสมัยนั้น) กับมหาวิทยาลัยรังสิต (โดยนายประสิทธิ์ อุไรรัตน์ นายกสภามหาวิทยาลัยรังสิต และผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเป็นผู้ลงนาม) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2537 ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาและเปิดดำเนินนการเรียนกการสอนในภาคคลินิกได้อย่างสมบูรณ์และผลิตแพทย์เอกชน ที่เปี่ยมด้วยคุณภาพจากอาจารย์ของกรมการแพทย์", "title": "วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต" }, { "docid": "368934#2", "text": "โครงการก่อตั้งวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขริเริ่มโดย นพ.ไพจิตร ปวะบุตร อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งนัดหมายให้มีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการในวันที่ 27 กรกฎาคม 2544 เรื่องการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี การประชุมครั้งนี้มีตัวแทนจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คือ ศ.ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ และ ศ.นพ.ประสิทธิ์ เพ็งสา ร่วมด้วยตัวแทนจากโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ คือ นพ.กวี ไชยศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพร้อมด้วยตัวแทนแพทย์จากโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์เข้าร่วมประชุมโดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้ที่ประชุมเห็นพร้อม ในการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ในวันที่ 3 กันยายน 2546 มีการบันทึกความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีในการผลิตบัณฑิตแพทย์ก่อนหน้านั้นในเดือนตุลาคม 2545 ศ.ดร.ประกอบ วิโรจน์กูฎ ได้ขออนุญาตให้ ศ.นพ.ประสิทธิ์ เพ็งสา มาช่วยปฏิบัติราชการ ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อร่วมก่อตั้งโครงการวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข จนกระทั่งสภามหาวิทยาลัยมีคำสั่งให้ ศ.นพ.ประสิทธิ์ เพ็งสา ดำรงตำแหน่งเป็น คณบดีผู้ก่อตั้งโครงการวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข", "title": "โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี" }, { "docid": "347730#3", "text": "ภายหลังกรุงเทพมหานครได้มีแนวคิดที่จะเปิดโรงเรียนแพทย์เป็นของตนเอง วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร จึงได้รับการก่อตั้งขึ้น ภายใต้สังกัด สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โดยมีการประกาศอย่างเป็นทางการลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2536 วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร ได้เข้าเป็นสถาบันสมทบของ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งนักศึกษาจะได้ศึกษาระดับปรีคลินิกที่ มหาวิทยาลัยมหิดล กำกับดูแลโดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในชั้นปีที่ 1 ถึง ภาดต้นของชั้นปีที่ 3 แล้วเข้ามาศึกษาระดับคลินิก ตั้งแต่ชั้นปีที่ 3 ภาคปลาย ที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล บัณฑิตแพทยศาสตร์จะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยมหิดล", "title": "คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช" }, { "docid": "63535#16", "text": "ด้วยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการร่วมกันระหว่างกรมการแพทย์ และมหาวิทยาลัยรังสิต จัดตั้งเป็น\"สถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์-มหาวิทยาลัยรังสิต\" โดยโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่ง ซึ่งสังกัดกรมการแพทย์ จึงเป็นสถานที่เรียนในภาคทฤษฎีและหัตถการต่างๆ ในภาคคลินิก พร้อมทั้งอาจารย์แพทย์ของโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่งจำนวนกว่า 258 ท่าน ได้อุทิศทุ่มเทกำลังเป็นหลักในการสอนนักศึกษาแพทย์จากมหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะที่บุคลากรของกรมการแพทย์ด้วยใจและจิตวิญญาณของความเป็นอาจารย์แพทย์ นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลอีก 4 แห่ง ที่ร่วมเป็นสถานที่ฝึกภาคสนามเฉพาะของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 (extern) ในต่างจังหวัด พร้อมทั้งมีอาจารย์แพทย์คอยถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาแพทย์ด้วยประสบการตรง ชึ่งจะเวียนออกฝึกภาคสนามเป็นผลัด ผลัดละ 2 เดือน ในปีการศึกษาสุดท้าย", "title": "วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต" }, { "docid": "181743#1", "text": "วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปีการศึกษา 2531 ตั้งแต่ครั้งยังเป็น \"วิทยาลัยรังสิต\" หลังจากที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ทบวงมหาวิทยาลัย ในขณะนั้น) ได้อนุญาตให้เปิดสอนใน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และ สาขาวิชาสารนิเทศ โดยได้รับโอนนักศึกษาสาขาวิชาการสื่อสารการแสดง ของคณะศิลปศาสตร์ ร่วมกับการรับโอนนักศึกษาจากคณะต่างๆ เช่น คณะศิลปกรรม (คณะศิลปะและการออกแบบ ในปัจจุบัน) ที่สมัครใจเข้าศึกษาใน 2 สาขาวิชาดังกล่าว โดยในปีนั้น มีอาจารย์ประจำ 4 ท่าน และนักศึกษาประมาณ 100 คน จากนั้นในปีการศึกษา 2534 เปิดสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ และในปีการศึกษา 2535 เปิดสาขาวิชาการโฆษณา และสาขาวิชาการหนังสือพิมพ์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสาขาวารสารศาสตร์)", "title": "วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต" }, { "docid": "63535#17", "text": "สโมรสรนักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต และคณะกรรมการประจำชั้นปี เป็นหน่วยงานหลักในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของวิทยาลัย ซึ่งมีทั้งกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยเป็นผู้จัด โดยมีวิทยาลัยแพทยศาสตร์เข้าร่วม, กิจกรรมและประเพณีอื่นๆ ที่จัดขึ้นโดยวิทยาลัยแพทยศาสตร์เอง และกิจกรรมที่เข้าร่วมกับสถาบันแพทยศาสตร์อื่นในประเทศไทย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้เป็นงานที่จัดโดยสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งจะจัดประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี ภายหลังจากเสร็จสิ้นการรับสมัครนักศึกษาแพทย์เรียบร้อยแล้ว โดยจะรวมเอานิสิตนักศึกษาแพทย์จากทุกสถาบันของประเทศไทย มาทำกิจกรรมสันทนาการและวิชาการร่วมกัน เพื่อให้รู้จักกันระหว่างสถาบันมากยิ่งขึ้น โดยจะจัดที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นกิจกรรมแรกหลังจากที่นักศึกษาแพทย์ได้เข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งปกติจะจัดในช่วง 1 เดือนแรกของภาคเรียน โดยจะมีพี่นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 เป็นหัวหน้าหลักในการทำกิจกรรมครั้งนี้ กิจกรรมส่วนใหญ่เน้นในด้านสันทนาการ อาจมีการแทรกวิชาการเข้ามาบ้างตามสมควรเป็นกิจกรรมที่จะจัดในวันสุดท้ายของกิจกรรมรับน้องใหม่ โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกคนจะไม่มีการเรียนการสอน เพื่อที่จะไปรับน้องทั้งมหาวิทยาลัยในตอนกลางวัน ซึ่งจะเป็นฐานกิจกรรมต่างๆ มากมาย ส่วนในตอนกลางคืนจะเป็นคอนเสิร์ตของศิลปินและดาราต่างๆ และจัดการประกวดดาว-เดือนของมหาวิทยาลัยค่ายนี้จะเป็นค่ายที่พี่นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 จัดขึ้นเพื่อรับน้องนอกสถานที่ ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม ซึ่งค่ายนี้ได้รับอนุญาตจากคณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ อย่างถูกต้อง จุดประสงค์หลักของค่ายนี้ คือ จัดเพื่อให้น้องได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ก่อให้เกิดสามัคคีขึ้นภายในชั้นปี อีกทั้งเพื่อให้นักศึกษาแพทย์ทุกชั้นปีได้ทำความรู้จักกันผ่านทางกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นภายในค่าย และนอกจากนี้ค่ายพันธกิจฯ ยังถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเวชศาสตร์การป้องกัน (Preventive Medicine) อีกด้วยเป็นงานที่สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย หรือ สพท. ได้จัดขึ้นเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนชั้นมัธยมที่สนใจจะเข้าศึกษาต่อในสาขาแพทยศาสตร์ ได้เข้ามารับประสบการณ์ตรงจากพี่ๆ จากทุกสถาบัน อีกทั้งยังมีการเปิดฉายวีดิทัศน์แนะนำแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งในปีนี้งานจัดที่โรงพยาบาลราชวิถีอีกด้วยงานนี้เป็นงานที่นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 จัดขึ้นเพื่อขอบคุณพี่ๆ นักศึกษาแพทย์ชั้นปีอื่นๆ ที่ช่วยกันรับน้องใหม่เข้าสู่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยภายในงานจะมีกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น การแสดงจากน้องปี 1 การแต่งชุดแฟนซี ตามคอนเซปต์หรือธีมที่กำหนดขึ้นในปีนั้นๆ การสังสรรไร้แอลกอฮอล์ และที่ขาดไม่ได้ อีกทั้งยังเป็นไฮไลท์ของงานคือ การประกวดมิสเมด (Miss Med) โดย ผู้เข้าประกวดจะเป็นน้องปี 1 ที่เป็นชาย แล้วแต่งกายเป็นหญิง มาแสดงความสามารถพิเศษให้พี่ๆ ได้เพลิดเพลินกัน โดยงานนี้จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน ของทุกปีค่ายนี้จัดขึ้นในภาคฤดูร้อน ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 และเป็นภาคปฏิบัติของวิชาเวชศาสตร์ชุมชน หนึ่งในวิชาเฉพาะของนักศึกษาแพทย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับชุมชน เรียนรู้วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น และเข้าใจความรู้สึก/ความคิดของคนในชุมชนทั่วๆ ไปเกี่ยวกับระบบการสาธารณสุขของไทยในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังได้ศึกษาดูงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขมูลฐานในระดับหมู่บ้านและตำบลอีกด้วยเป็นงานกีฬาที่มหาวิทยาลัยรังสิตจัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มาร่วมแข่งขันกีฬา โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคณะ/วิทยาลัยต่างๆ และนอกจากนี้ยังมีการแข่งขันประกวดสแตนเชียร์จากคณะต่างๆ อีกด้วย ซึ่งปกติจะจัดในช่วงของการรับน้องใหม่ในเดือนมิถุนายนของทุกปีงานกีฬาที่จัดขึ้นเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ภายในวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จัดขึ้นในภาคการศึกษาที่ 1 ของทุกปีเป็นงานกีฬาเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กันระหว่างวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กับคณะทันตแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะในสายงานเดียวกัน โดยจะจัดในช่วงภาคการเรียนที่ 1 ของทุกปีมหกรรมกีฬาที่ใหญ่ที่สุดของนักศึกษาแพทย์ เพราะเป็นการรวมนักศึกษาแพทย์จากทุกสถาบันมาแข่งกีฬา เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กันระหว่างมหาวิทยาลัย โดยที่เจ้าภาพการจัดการแข่งขันจะสลับเปลี่ยนหมุนเวียนไปทุกปี ซึ่งในปีการศึกษา 2553 จะมีวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าและวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยรังสิตช่วงเดือนมกราคม เป็นงานที่เปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา คณาจารย์ รวมทั้งผู้ประกอบการ เยี่ยมชมกิจกรรมทางวิชาการ งานวิจัยนวัตกรรม และผลงานต่างๆ โดยมุ่งเน้นการนำเสนอข้อมูลทางการศึกษา พร้อมกิจกรรมเสริมทักษะที่มีสีสันหลากหลายแนวทางของสาขาวิชาชีพ รวมทั้งปูพื้นฐานพร้อมสร้างทางเลือกให้แก่นักเรียนที่จะก้าวสู่ระดับอุดมศึกษาในอนาคตพิธีไหว้พระบิดาหรือพระบรมราชชนกเป็นพิธีที่สำคัญที่สุดพิธีหนึ่งของการมาเป็นนักศึกษาแพทย์ ซึ่งพระบรมราชชนกถือว่าเป็นบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน ทำให้นักศึกษาแพทย์ให้ความเคารพนับถือพระบิดาเป็นอย่างมาก โดยพิธีนี้จะจัดในวันพฤหัสช่วงการรับน้องใหม่ของมหาวิทยาลัยงานนี้ก็ถือว่าเป็นงานที่สำคัญที่สุดงานหนึ่งของการมาเป็นนักศึกษาแพทย์เช่นกัน โดยนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 ที่เรียนในวิชามหกายวิภาคศาสตร์ (หรือ Gross Anatomy) จะเป็นเจ้าภาพในการจัดงานครั้งนี้ โดยที่งานทำบุญอาจารย์ใหญ่จะจัดในช่วงก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ส่วนพิธีพระราชทานเพลิงศพอาจารย์ใหญ่จะจัดภายหลังจากเรียนวิชามหกายวิภาคศาสตร์จบแล้ว หรือประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี", "title": "วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต" } ]
3704
เฮลิคอปเตอร์โจมตี เอเอช-64 อาปาเช่ ถูกใช้งานครั้งแรกเมื่อไหร่?
[ { "docid": "76627#12", "text": "อาปาเช่ถูกใช้ต่อสู้ครั้งแรกในการรุกรานปานามาเมื่อพ.ศ. 2532 เอเอช-64เอ อาปาเช่และเอเอช-64ดี อาปาเช่ลองโบว์มีบทบาทสำคัญในสงครามในตะวันออกกลางซึ่งรวมทั้งสงครามอ่าวเปอร์เซีย ปฏิบัติการเอ็นดัวริงฟรีดอมในอัฟกานิสถาน และปฏิบัติการปลดปล่อยอิรัก อาปาเช่ถูกพิสูจน์ว่าเป็นนักล่ารถถังชั้นยอดและยังได้ทำลายยานเกราะนับร้อยซึ่งส่วนใหญ่เป็นของกองทัพอิรัก", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" } ]
[ { "docid": "76627#0", "text": "เอเอช-64 อาปาเช่ ([AH-64 Apache]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help)) (ออกเสียงในภาษาอังกฤษ สำเนียงอเมริกันว่า อ่า-พ้า-ชี่ แต่ชื่อเรียกในภาษาไทยที่รับรู้กันโดยทั่วไปคือ อาปาเช่ [1]) เป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีสองเครื่องยนต์ สี่ใบพัด พร้อมล้อสามล้อ และห้องนักบินแบบเรียงเดียวสำหรับสองที่นั่ง อาปาเช่ถูกพัฒนาในชื่อ โมเดล 77 โดยฮิวจ์ส เฮลิคอปเตอร์สให้กับโครงการของกองทัพบกสหรัฐเพื่อแทนที่เอเอช-1 คอบรา มันได้ทำการบินครั้งแรกในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2518 เอเอช-64 มีจุดเด่นที่ปืนกล เอ็ม230 ขนาด 30 ม.ม. คาลิเบอร์ที่จมูกของมัน เอเอช-64 ยังใช้เอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์และไฮดรา 70 สี่ตำแหน่งบนปีกทั้งสองข้าง เอเอช-64 ยังมีระบบการอยู่รอดที่ดีเยี่ยมสำหรับเครื่องบินและลูกเรือในการต่อสู้ เช่นเดียวกับในกรณีที่มันตกเพื่อช่วยเหลือนักบิน", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" }, { "docid": "76627#39", "text": "กองทัพอากาศคูเวตได้สั่งซื้อเอเอช64ดีจำนวน 16 ลำในปีพ.ศ. 2547[42] พร้อมกับมีเอเอช-64ดีจำนวน 6 ลำใช้งานในเดือนมกราคมพ.ศ. 2551[41]", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" }, { "docid": "76627#6", "text": "ในพ.ศ. 2524 เอเอช-64เอสามลำก่อนการสร้างถูกยื่นให้กับกองทัพบกสหรัฐฯ ให้ทำการทดสอบครั้งที่สอง การทดสอบของกองทัพบกนั้นสมบูรณ์แต่ก็ได้ทำารตัดสินใจให้พัฒนาเครื่องยนต์ ที700-จีอี-701 แบบใหม่ที่ให้กำลัง 1,690 แรงม้า[4] ในช่วงท้ายพ.ศ. 2524 เอเอช-64 ถูกตั้งชื่อว่า\"อาพาชี่\"ตามเผ่าพื้นเมืองของอเมริกัน ฮิวส์ถูกนำเข้าผลิตอย่างเต็มรูปแบบในปีพ.ศ. 2525[4] ในปีพ.ศ. 2526 เฮลิคอปเตอร์ทำการผลิตครั้งแรกถูกนำเสนอที่ฮิวส์ในรัฐอริโซน่า ในพ.ศ. 2527 ฮิวส์ เฮลิคอปเตอร์ถูกซื้อโดยแมคดอนเนลล์ ดักลาสด้วยเงินจำนวน 470 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] เฮลิคอปเตอร์ตอ่มากลายมาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทโบอิงด้วยผู้ประสานงานของโบอิงและแมคดอนเนลล์ในเดือนสิงหาคมพ.ศ. 2540 ในปี 2529 ราคาที่เพิ่มขึ้นหรือบานปลายของเอเอช-64 คือ 7.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และราคาประมาณอยู่ที่ 13.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [7]", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" }, { "docid": "76627#20", "text": "ในเดือนกันยายนพ.ศ. 2546 กรีซได้สั่งซื้อเอเอช-64ดีจำนวน 12 ลำโดยมีมูลค่าทั้งสิ้น 675 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (รวมทั้งอาวุธและอื่นๆ) โดยตกลำละ 56.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สิงคโปร์ได้ซื้อเอเอช-64ดี ลองโบว์อาปาเช่ทั้งสิ้น 20 ลำในระหว่างพ.ศ. 2542 และพ.ศ. 2544 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ซื้อเอเอช-64เอทั้งสิ้น 30 ลำในปีพ.ศ. 2534 และ 2537 ซึ่งพวกมันในตอนนี้ได้พัฒนาเป็นเอเอช-64ดี[28] คูเวตได้สั่งซื้อเฮลิคอปเตอร์ลองโบว์จำนวน 16 ลำ[29] ประเทศอื่นๆ ที่มีอาปาเช่ก็ได้แก่อียิปต์ ญี่ปุ่น และซาอุดิอาระเบีย[30]", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" }, { "docid": "76627#2", "text": "หลังจากการยกเลิกเอเอช-56 เชยีนตามโครงการของกองทัพอากาศและกองนาวิกโยธินสหรัฐฯ อย่างเอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 และแฮร์ริเออร์ จัมพ์ เจ็ท กองทัพบกสหรัฐฯ ได้มองหาอากาศยานที่จะมาทำหน้าที่ต่อต้านยานเกราะซึ่งอยู่ใต้คำสั่งของกองทัพบก ในข้อสัญญาคีย์เวสท์ในปีพ.ศ. 2491 ห้ามให้กองทัพบกบังคับการเครื่องบิน กองทัพบกต้องการอากาศยานที่ดีกว่าเอเอช-1 คอบราทั้งในด้านอำนาจการยิง การทำงาน และพิสัย มันอาจต้องสามารถบินเรียบตามพื้นได้[2] เมื่อมาถึงจุดนี้กองทัพบกสหรัฐฯ ได้ประกาศร้องขอเฮลิคอปเตอร์โจมตีใดๆ ก็ตามที่ทันสมัยขึ้นในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515[3]", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" }, { "docid": "76627#25", "text": "เฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้มีอาวุธเป็นปืนกล เอ็ม230 ขนาด 30 ม.ม.ซึ่งเชื่อมติดกับหมวกของพลปืน เอเอช-64เอจะบรรทุกสิ่งอื่นๆ ที่ปีกทั้งสองข้างของมันที่รวมทั้งขีปนาวุธต่อต้านรถถังแบบเอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์ จรวดไฮดรา 70 ขนาด 70 ม.ม. และขีปนาวุธอากาศสู่อากาศแบบเอไอเอ็ม-92 สติงเกอร์เพื่อป้องกันตัว", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" }, { "docid": "270643#0", "text": "อกุสต้าเวสท์แลนด์ อาพาชี่ () เป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีเอเอช-64ดี อาพาชี่ลองโบว์ของโบอิงที่ผลิตขึ้นมาภายใต้ใบอนุญาตให้กับกองทัพบกอังกฤษ เฮลิคอปเตอร์แปดลำแรกถูกสร้างขึ้นโดบโบอิง อีก 59 ลำที่เหลือประกอบโดยเวสท์แลนด์ เฮลิคอปเตอร์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอกุสต้าเวสท์แลนด์) โดยใช้ส่วนประกอบจากโบอิง สิ่งที่มันมีแตกต่างจากเอเอช-64ดีคือเครื่องยนต์โรลส์รอยซ์ ระบบอิเลคทรอนิกป้องกันแบบใหม่ และกลไลใบพัดที่ททำให้รุ่นนี้สามารถทำหน้าที่ได้จากบนเรือ เฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้ได้รับชื่อว่า\"ดับบลิวเอเอช-64\" ที่ตั้งโดยเวสท์แลดน์ เฮลิคอปเตอร์ มันใช้อีกชื่อหนึ่งว่า\"อาพาชี่ เอเอช มาร์ค1\" (\"Apache AH Mk 1\") หรือ\"อาพาชี่ เอเอช1\" โดยกระทรวงกลาโหมของสหราชอาณาจักร ", "title": "อกุสต้าเวสท์แลนด์ อาพาชี่" }, { "docid": "76627#18", "text": "สหราชอาณาจักรใช้อาปาเช่ลองโบว์รุ่นดัดแปลงที่เรียกว่าเวสท์แลนด์ ดับบลิวเอเอช-64 อาปาเช่และถูกเรียกว่าอาปาเช่ เอเอช มาร์ค1 โดยกองทัพบกอังกฤษ เวสท์แลนด์ได้สร้างดับบลิวเอเอช-64จำนวน 67 ลำ[22] ภายใต้ใบอนุญาตจากโบอิงที่แทนที่เครื่องยนต์ด้วยโรลส์-รอยซ์ที่ทรงพลังกว่า ใบพัดที่พับได้วำหรับการปฏิบัติการในกองทัพเรือเป็นอีกการเปลี่ยนแปลงหนึ่งที่สำคัญซึ่งทำให้อาปาเช่ของอังกฤษสามารถทำงานร่วมกับปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกได้โดยบินออกจากเรือที่บรรทุกมันมา เวสท์แบนด์อาปาเช่ได้เข้ามาแทนที่เวสท์แลนด์ลิงซ์ เอเอช7 ในฐานะเฮลิคอปเตอร์จู่โจมของกองทัพบกอังกฤษ ดับบลิวเอเอช-64 ในปัจจุบันถูกวางพลในอัฟกานิสถานที่ซึ่งพวกมันทำหน้าที่โดดเด่นในการสนับสนุนกองกำลังของสหราชอาณาจักรและรัฐบาลร่วมในทางตอนใต้ของประเทศ[23] ดับบลิวเอเอช-64 อาปาเช่ของอังกฤษใช้เรดาร์ควบคุมการยิงของลองโบว์ในอัฟกานิสถานโดยกล่าวว่ามันช่วยเพิ่มความระวังต่อสถานการณ์[24]", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" }, { "docid": "76627#13", "text": "ในปฏิบัติการดีเซิร์มสตอร์มเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2534 เอเอช-64เอจำนวนแปดลำที่นำทางโดยเอ็มเอช-53 เพฟโลว์สี่ลำ ถูกใช้เพื่อทำลายที่มั่นเรดาร์ของอิรักเพื่อทำให้เครื่องบินทิ้งระเบิดสามารถเข้าไปในอิรักได้โดยไม่ถูกตรวจจับ[4] นี่เป็นการโจมตีครั้งแรกของดีเซิร์มสตอร์ม[4] อาปาเช่บรรทุกจรวดแบบไฮดรา 70 เฮลไฟร์ และถังเชื้อเพลิงสำรอง[14] ในช่วง 100 ชั่วโมงของสงครามบนพื้นมีเอเอช-64 ทั้งสิ้น 277 ลำเข้าร่วม อาปาเช่ได้ทำลายรถถังกว่า 500 คัน ยานเกราะขนบุคคลและยานพาหนะอื่นๆ จำนวนมากในปฏิบัติการดีเซิร์ทสตอร์ม[4]", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" }, { "docid": "76627#44", "text": "ดูที่เวสท์แลนด์ ดับบลิวเอเอช-64 อาปาเช่", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" }, { "docid": "76627#1", "text": "กองทัพบกเลือกเอเอช-64 แทนที่จะเป็นเบลล์ วายเอเอช-63 ในปีพ.ศ. 2519 ทำให้ฮิวจ์ส เฮลิคอปเตอร์สนั้นรางวัลเป็นสัญญาในการสร้าง ในปีพ.ศ. 2525 กองทัพบกยืนยันการผลิตเต็มรูปแบบ แมคดอนเนลล์ ดักลาสยังทำการผลิตและพัฒนาต่อหลังจากที่ซื้อบริษัทฮิวจ์ส เฮลิคอปเตอร์สมาจากซัมมา คอร์เปอร์เรชั่นในปีพ.ศ. 2527 ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 235 เอเอช-64ดี อาปาเช่ลองโบว์</b>ลำแรกได้ทำการบินและการผลิตครั้งแรกนั้นก็ถูกส่งให้กับกองทัพบกในปีพ.ศ. 2540 ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 โบอิงและแมคดอนเนลล์ ดักลาสรวมเข้าด้วยกันเพื่อกลายเป็นบริษัทโบอิง คอมพานี ในปัจจุบันโบอิงได้ทำการผลิตเอเอช-64 ต่อไป", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" }, { "docid": "77668#3", "text": "เวอร์ทอลเริ่มงานกับเฮลิคอปเตอร์ใบพัดเรียงที่ใช้ชื่อว่าเวอร์ทอล โมเดล 107 หรือวี-107 ในปีพ.ศ. 2500 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2501 กองทัพอากาศได้ทำสัญญากับเวอร์ทอลเพื่อสร้างวายเอชซี-1เอขึ้นมา วายเอชซี-1เอถูกทดสอบโดยกองทัพบกเพื่อประเมินข้อมูลด้านกลไลและการปฏิบัติงาน เครื่องบินทั้งสามลำถูกสร้างขึ้นโดยขนทหารได้ 20 นาย อย่างไรก็ดีวายเอชซี-1เอถูกมองว่าหนักเกินไปที่จะใช้สำหรับการโจมตีและเบาเกินไปที่จะทำหน้าที่ขนส่ง การตัดสินใจเกิดขึ้นเพื่อให้เกิดเฮลิคอปเตอร์ขนส่งขนาดหนักและในเวลาเดียวกันก็ทำการพัฒนาฮิวอี้ให้เป็นยานลำเลียงทหารทางยุทธวิธี การตัดสินใจนั้นก็เพื่อคงรูปแบบของปฏิบัติการอากาศยานสำหรับทศวรรษถัดไป ผลที่ตามมาคือแนวคิดปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของกองทัพแตกต่างจากของนาวิกโยธิน เพราะว่ามีความต้องการด้านอุปกรณ์ที่แตกต่างกันในการใช้งาน วายเอชซี-1เอจึงถูกพัฒนาและกลายเป็นซีเอช-46 ซีไนท์สำหรับกองทัพเรือและนาวิกโยธินในปีพ.ศ. 2505", "title": "ซีเอช-47 ชีนุก" }, { "docid": "76627#4", "text": "แต่ละบริษัทสร้างเฮลิคอปเตอร์ต้นแบบและเข้าสู่โปรแกรมทดสอบการบิน แบบ 77/วายเอเอช-64เอของฮิวส์เริ่มทำการบินครั้งแรกในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2518 ในขณะที่แบบ 409/วายเอเอช-61เอของเบลล์ทำการบินในวันที่ 1 ตุลาคม[4] หลังจากประเมินผลการทดสอบกองทัพบกได้เลือกวายเอเอช-64เอของฮิวส์ในปีพ.ศ. 2519 เหตุผลที่เลือกวายเอเอช-64เอยังรวมทั้งใบพัดหลักสี่ใบที่ทนทานกว่าและความไม่เสถียรของวายเอเอช-63[5]", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" }, { "docid": "74737#26", "text": "ในตอนแรกนั้นเอ-10 ถูกต้อนรับไม่ค่อยดีนักจากมุมมองของคนใหญ่คนโตในกองทัพอากาศ เมื่อผู้นำอาวุโสของกองทัพอากาศส่วนมากเพิ่มขึ้นมาจากสังคมของนักบินขับไล่ กองทัพอากาศชอบเครื่องเอฟ-15 อีเกิลและเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอนมากกว่าและดื้อดึงที่จะทิ้งงานสกปรกในการเข้าสนับสนุนระยะใกล้ให้กับเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบก (การสร้างขีปนาวุธต่อต้านยานเกราะเอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์และเฮลิคอปเตอร์จู่โจมแบบเอเอช-64 อาพาชี่ทำให้กองทัพอากาศมีอากาศยานต่อต้านรถถัง) การพยายามย้ายเอ-10 เข้ากองทัพบกและนาวิกโยธินถูกห้ามในตอนแรกและจากนั้นมันก็ถูกยอมรับด้วยความน่าประทับใจของมันในสงครามอ่าวเมื่อปีพ.ศ. 2534", "title": "แฟร์ไชลด์รีพับลิค เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2" }, { "docid": "270643#6", "text": "ในกองทัพบกอังกฤษอาพาชี่ เอเอช มาร์ค1 จะเข้ามาแทนที่เฮลิคอปเตอร์ต่อต้านรถถังเวสท์แลนด์ ลิงซ์ เอเอช7 อาพาชี่ยังทำหน้าที่ในการโจมตีของกองทัพบกสหรัฐ อาพาชี่ทำสงครามครั้งแรกในสงครามอ่าวเมื่อปีพ.ศ. 2534 โดยทำลายการป้องกันทางอากาศส่วนใหญ่ลงไป อีกภารกิจหนึ่งคือการลาดตระเวนพร้อมอาวุธ เช่นเดียวกันกับเอเอช-64ดี อาพาชี่ลองโบว์ของสหรัฐ อาพาชี่ เอเอช มาร์ค1 จะมีเรดาร์ควบคุมการยิงและระบบอาร์เอฟไอที่ให้การตรวจตราแบบผสมและระบบการโจมตี เรดาร์ของลองโบว์จะมีรูปร่างเหมือนกระเปาะวงกลมที่อยู่เหนือแกนใบพัด ตำแหน่งของมันทำให้อาพาชี่สามารถร่อนอยู่หลังที่ซ่อนในขณะที่ทำการตรวจหาเป้าหมายโดยเผยแค่ส่วนเรดาร์เท่านั้น", "title": "อกุสต้าเวสท์แลนด์ อาพาชี่" }, { "docid": "229582#2", "text": "ในปีพ.ศ. 2539 กองนาวิกโยธินสหรัฐฯ ได้เปิดโครงการพัฒนาเอช-1 โดยทำสัญญากับบริษัทเบลล์ เฮลิคอปเตอร์เพื่อทำการพัฒนายูเอช-1เอ็น 100 ลำให้เป็นยูเอช-1วาย และทำการพัฒนาเอเอช-1ดับบลิว 180 ลำให้เป็นเอเอช-1ซี โครงการเอช-1 ได้สร้างเฮลิคอปเตอร์ใช้งานและโจมตีแบบทันสมัยพร้อมกับการออกแบบที่ลดค่าใช้จ่ายลง ยูเอช-1วายและเอเอช-1ซีมีหาง เครื่องยนต์ ระบบใบพัด ระบบอิเลคทรอนิกอากาศ ซอฟต์แวร์ การควบคุม และรูปลักษณ์เหมือนกันถึง 84% ", "title": "ยูเอช-1วาย วีนอม" }, { "docid": "76627#21", "text": "เกาหลีใต้กำลังทบทวนแผนในการซื้อเอเอช-64ดีจำนวน 36 ลำในขณะกำลังพัฒนาเฮลิคอปเตอร์โจมตีภายในประเทศโดยมีหุ้นส่วนจากยูโรคอปเตอร์ซึ่งเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวจะมีพื้นฐานมาจากยูโรคอปเตอร์ไทเกอร์[31]", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" }, { "docid": "76627#26", "text": "ในปีพ.ศ. 2534 หลังจากปฏิบัติการดีเซิร์มสตอร์มเอเอช-64บีเป็นการพัฒนาจากเอเอช-64เอจำนวน 254 ลำ การพัฒนารวมทั้งใบพัดแบบใหม่ ระบบจีพีเอส ระบบนำร่อง และวิทยุแบบใหม่ สภาได้อนุมัติเงินจำนวน 82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเริ่มการพัฒนาอาปาเช่ รุ่นบี โครงการบีถูกยกเลิกในปี 2535[4] วิทยุ การนำร่อง และจีพีเอสได้ถูกนำไปติดตั้งในอาปาเช่แบบเอในเวลาต่อมา", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" }, { "docid": "76627#10", "text": "เฮลิคอปเตอร์นี้ติดอาวุธเป็นปืนกล เอ็ม230 ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับหมวกของนักบินหรือควบคุมผ่านระบบมองกลางคืนได้ เอเอช-64 ยังติดตั้งอาวุธที่ปีกทั้งสองข้างของมันซึ่งจะประกอบด้วยขีปนาวุธต่อต้านรถถังแบบเอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์ จรวดไฮดรา 70 ขนาด 70 ม.ม.และขีปนาวุธอากาศสู่อากาศแบบเอไอเอ็ม-92 สติงเกอร์สำหรับป้องกันตัว[13]", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" }, { "docid": "76627#22", "text": "ญี่ปุ่นได้สั่งซื้อเอเอช-64ดีจำนวน 50 ลำ[32] พวกมันจะถูกสร้างภายใต้ใบอนุญาตโดยอุตาหกรรมฟูจิด้วยการส่งเฮลิคอปเตอร์ลำแรกให้กับญี่ปุ่นในปี 2549 [33][34] หลังจากที่เริ่มการส่งในปี 2548[35] อาพาชี่ที่สร้างโดยฟูจิจะใช้ชื่อว่า<i data-parsoid='{\"dsr\":[16572,16590,2,2]}'>เอเอช-64ดีเจบี[33]", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" }, { "docid": "76627#24", "text": "เอเอช-64เอเป็นรุ่นต้นตำหรับในการผลิตของเฮลิคอปเตอร์จู่โจม มันมีขุมกำลังเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์แบบจีอี ที700 ลูกเรือจะนั่งเรียงตามหลังกันในห้องนักบินที่หุ้มเกราะ", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" }, { "docid": "76627#16", "text": "เอเอช-64ดีของอเมริกันปัจจุบันบินในอิรักและอัฟกานิสถานโดยปราศจากเรดาร์ระยะไกลเนื่องจากไม่มีภัยคุกตามของยานเกราะต่อกองกำลังของรัฐบาลร่วม[20] อาปาเช่ส่วนมากที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักสามารถทำภารกิจต่อไปได้และบินกลับฐานอย่างปลอดภัย ตัวอย่างเช่น อาปาเช่ 33 ลำที่ใช้ในการโจมตีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2546 มี 30 ลำที่ได้รับความเสียหายจากการยิงของอิรักจนไม่สามารถซ่อมเแซมได้แต่มีเพียงลำเดียวเท่านั้นที่ไม่สามารถบินกลับฐาน[18] เมื่อถึงปี 2551 มีเฮลิคอปเตอร์อาปาเช่ 11 ลำที่ถูกยิงตกโดนศัตรูตลอดทั้งสงครามและอีก 15 ลำตกในอิรักเพราะสาเหตุอื่น", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" }, { "docid": "76627#15", "text": "ในปฏิบัติการปลดปล่อยอิรักมีอาปาเช่หลายลำได้รับความเสียหายในการต่อสู้ซึ่งรวมทั้งหนึ่งลำที่ถูกยึดได้โดยทหารอิรักใกล้กับคาบาร์ลาในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2546 และได้เผยแพร่ในโทรทัศน์ของอิรัก เฮลิคอปเตอร์ที่ถูกยึดถูกทำลายด้วยการโจมตีทางอากาศหนึ่งวันหลังจากที่มันตก[16] การโจมตีในวันที่ 24 มีนาคมเพื่อจัดการกับกองพลยานเกราะของริพับลิกันการ์ดไม่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทางการสหรัฐฯ อ้างว่ามันเป็นเพราะลูกเรือรถถังได้วางกับดักในภูมิประเทศที่ซับซ้อนโดยใช้ปืนกลหนักของพวกเขาให้ได้ผลอย่างดี[17][18] ในขณะที่ฝ่ายอิรักอ้างว่าอาปาเช่หนึ่งลำถูกยิงตกโดยชาวนาที่ใช้ปืนไรเฟิล[19] เฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวไม่เสียหายและทั้งนักบินและนักบินผู้ช่วยก็ไม่ได้รับบาดเจ็บ", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" }, { "docid": "76641#5", "text": "ในช่วงต้นปีพ.ศ. 2523 นาวิกโนธินสหรัฐฯ ได้มองหาเฮลิคอปเตอร์สำหรับกองทัพเรือแบบใหม่แต่ก็ถูกปฏิเสธที่จะมอบทุนในการซื้อเอเอช-64 อาปาเช่โดยสภาในปีพ.ศ. 2524 นาวิกโยธินหันกลับไปตามหาเอเอช-1ทีรุ่นที่ทรงพลังยิ่งขึ้นไปอีก การเปลี่ยนแปลงยังรวมทั้งการดัดแปลงระบบควบคุมการยิงเพื่อบรรทุกและยิงขีปนาวุธแบบเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์และเอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์ รุ่นใหม่นี้ได้รับทุนจากสภาและได้รับชื่อว่าเอเอช-1 ดับบลิวซึ่งผลิตออกมาอย่างน้อย 266 เครื่อง", "title": "เอเอช-1 ซูเปอร์คอบรา" }, { "docid": "270643#3", "text": "การสำรวรการป้องกันทางยุทธศาสตร์ของสหราชอาณาจักรต้องการอาพาชี่เพื่อรองรับภารกิจโจมตีที่ซับซ้อน โดยปฏิบัติการได้จากเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เรือหลวงโอเชี่ยน เป็นเรือบรรทุกอากาศยานชั้นอินวินซิเบิล เรือหลวงบุลวาร์ค และเรือหลวงอัลเบียน ดังนั้นความแตกต่างหลักระหว่างดับบลิวเอเอช-64 กับเอเอช-64 อาพาชี่คือระบบกลไกใบพัดที่พับเก็บได้ ซึ่งต้องทำให้เฮลิคอปเตอร์เล็กพอที่จะบรรทุกไปบนเรือ ", "title": "อกุสต้าเวสท์แลนด์ อาพาชี่" }, { "docid": "76627#19", "text": "กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ได้สั่งซื้อเอเอช-64ดี อาปาเช่จำนวน 30 ลำเมื่อปีพ.ศ. 2539[25] เอเอช-64ดีของเนเธอร์แลนด์นั้นไม่ใช้ลองโบว์ การใช้งานครั้งแรกของพวกเขาเกิดขึ้นในแอฟริกา พวกมันยังถูกวางพลร่วมกับเอเอช-64 ของสหรัฐฯ ในการเข้าสนับสนุนกองกำลังของนาโต้ในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ในปี 2547 เอเอช-64 ของเนเธอร์แลนด์ถูกวางพลในกองกำลังผสมที่อิรัก[26] ในเวลาเดียวกันอาปาเช่ของเนเธอร์แลนด์ถูกวางพลที่คาบูลเพื่อช่วยเหลือกองทัพอากาศอิสราเอล ในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2549 เนเธอร์แลนด์ได้ช่วยกองกำลังนาโต้ในอัฟกานิสถานด้วยการเพิ่มทหารขึ้นเป็น 1,400 นายและเอเอช-64 ก็ถูกส่งไปสนับสนุนเช่นกัน[27]", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" }, { "docid": "76627#23", "text": "สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) วางแผนที่จะซื้อเอเอช-64ดีจำนวน 30 ลำให้กับกองทัพบกในปี 2551[36] อินเดียได้ประกาศหาข้อเสนอสำหรับเฮลิคอปเตอร์จู่โจม 22 ลำให้กับกองทัพอากาศอินเดีย อาปาเช่ลองโบว์เป็นหนึ่งในหลายแบบที่เข้าแข่งขันในการสั่งซื้อของกองทัพอากาศอินเดีย[37] แต่โบอิงออกจากการแข่งขันในเดือนตุลาคมพ.ศ. 2551[38]", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" }, { "docid": "216660#1", "text": "เอเอช-1 เป็นกองกำลังหลักในกองบินเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกสหรัฐแต่ก็ถูกแทนที่โดยเอเอช-64 อาพาชี่ รุ่นที่พัฒนายังคงทำการบินต่อไปในหลายๆ ประเทศที่ใช้มัน เอเอช-1 แบบสองเครื่องยนต์ยังคงประจำการในกองนาวิกโยธินสหรัฐในฐานะเฮลิคอปเตอร์จู่โจมหลัก", "title": "เอเอช-1 คอบรา" }, { "docid": "77668#19", "text": "ปัจจุบันซีเอช-47ดีถูกใช้บ่อยครั้งในปฏิบัติการเอ็นดัวริ่งฟรีดอมในอัฟกานิสถานและปฏิบัติการปลดปล่อยอิรักในอิรัก ชีนุกถูกใช้ในภารกิจโจมตีทางอากาศ ส่งทหารเข้าฐานยิ่ง และส่งเสบียง มันยังทำหน้าที่ในการส่งคนเจ็บทางอากาศให้กับกองทัพอังกฤษอีกด้วย มันมักได้รับการคุ้มกันจากเฮลิคอปเตอร์โจมตีอย่างเอเอช-64 อาพาชี่ ซีเอช-47ดีมักมีประโยชน์ในบริเวณภูเขาของอัฟกานิสถานซึ่งความสูงและอุณหภูมิเป็นขีดจำกัดของยูเอช-60 แบล็กฮอว์ก", "title": "ซีเอช-47 ชีนุก" }, { "docid": "76627#17", "text": "กองทัพอากาศอิสราเอลใช้อาปาเช่เพื่อทำการโจมตีเป้าหมายมากมายด้วยขีปนาวุธนำวิถี เอเอช-64เอได้โจมตีและทำลายค่ายทหารบางส่วนของกลุ่มเฮซบอลลาห์ในเลบานอนเมื่อพ.ศ. 2533 เป็นการโจมตีในหลายสภาพอากาศและทั้งวันทั้งคืน ในอัล-อาซ่า อินทิฟาด้า กองทัพอิสราเอลได้ใช้อาปาเช่เพื่อสังหารกลุ่มผู้นำฮามาสอย่างอาห์เมด ยาซินและแอดนัน อัลกูลด้วยขีปนาวุธนำวิถี ในความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและเลบานอนในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมเมื่อปีพ.ศ. 2549 มีเฮลิคอปเตอร์อาปาเช่ของกองทัพอากาศอิสราเอลสองลำชนกันทำให้นักบินหนึ่งคนเสียชีวิตและอีกสามคนบาดเจ็บสาหัส อีกอุบัติเหตุหนึ่งคือเอเอช-64ดี ลองโบว์ของกองทัพอิสราเอลตกที่สังหารนักบินสองคนเนื่องมาจากการขัดข้องทางทคนิค[21]", "title": "เอเอช-64 อาพาชี" } ]
2755
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่เท่าไหร่ของไทย?
[ { "docid": "263349#0", "text": "ทักษิณ ชินวัตร (เกิด 26 กรกฎาคม 2492) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2549 เป็นพี่ชายของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 และ เป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะแห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ เคยเป็นนักธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสาร ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคมและการสื่อสารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน (ชั้นยศสูงสุดที่ นายกองใหญ่) อดีตข้าราชการตำรวจ (ชั้นยศสูงสุดที่ พันตำรวจโท) อดีตเจ้าของและประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี อดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ปัจจุบันถือสัญชาติมอนเตเนโกร", "title": "ทักษิณ ชินวัตร" }, { "docid": "362887#0", "text": "ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2544–2549 ระหว่างดำรงตำแหน่ง ทักษิณริเริ่มหลายนโยบายซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สาธารณสุข การศึกษา พลังงาน ยาเสพติดและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาชนะการเลือกตั้งถล่มทลายถึงสองสมัย นโยบายของทักษิณลดความยากจนในชนบทได้อย่างเด่นชัด และจัดบริการสาธารณสุขในราคาที่สามารถจ่ายได้ ด้วยเหตุนี้ ฐานเสียงสนับสนุนของเขาส่วนใหญ่จึงมาจากคนยากจนในชนบท", "title": "การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ ชินวัตร" } ]
[ { "docid": "8188#1", "text": "อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร และอดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนว่าเป็นผู้ที่สามารถอธิบายกฎหมายได้เข้าใจที่สุด จากการได้รับการยอมรับจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมือง", "title": "วิษณุ เครืองาม" }, { "docid": "79084#1", "text": "พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร (ยศขณะนั้น) เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2548 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 11 มีนาคม 2548 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากมีพระบรมราชโองการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่รักษาการจนกว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไป และมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามารับหน้าที่ต่อ", "title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 55" }, { "docid": "444670#17", "text": "ในเดือนกันยายน 2557 มีข่าวว่า ชื่อของอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ถูกลบออกจากแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ วินัย รอดจ่าย เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง แบบเรียนประวัติศาสตร์ใหม่ไม่กล่าวถึงรัฐบาลทักษิณและยิ่งลักษณ์ เพียงแต่ระบุว่ามีรัฐบาลหนึ่งที่ \"ได้ความนิยมจากประชาชนผ่านงบประมาณมหาศาล\" แต่กล่าวถึงการคัดค้านการปกครองของทักษิณ โดยอธิบายการประท้วงซึ่งเกิดก่อนการโค่นอำนาจเขาว่าเป็น \"ขบวนการประชาชนต่ออำนาจเผด็จการ การทุจริตและการยักยอก\"", "title": "การศึกษาในประเทศไทย" }, { "docid": "374060#4", "text": "ในปี พ.ศ. 2549 ศ.ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ เป็นผู้อ้างในงานสัมมนาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้อยู่เบื้องหลังแผนฟินแลนด์ หรือปฏิญญาฟินแลนด์ ต่อมา วันที่ 30 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ทักษิณ ชินวัตร พร้อมกับธนา เบญจาธิกุล ทนายความจากพรรคไทยรักไทย ได้ยื่นฟ้องสนธิ ลิ้มทองกุล บรรณาธิการ, ขุนทอง ลอเสรีวานิช คอลัมนิสต์, ศ.ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ ผู้บริหาร, เสาวลักษณ์ ธีรานุจรรงค์ และเว็บมาสเตอร์ ปัญจภัทร อังคสุวรรณ ในข้อหาหมิ่นประมาท การฟ้องร้องมีเนื้อหากล่าวหาว่าบทความดังกล่าวมีเจตนาทำลายพรรคไทยรักไทยและอนาคตทางการเมืองของทักษิณโดยการทำให้สาธารณชนเชื่อว่าพรรคมีแผนการล้มล้างระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่การฟ้องร้องดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์และอ้างว่า ทักษิณพยายามเซ็นเซอร์สื่อ", "title": "ปราโมทย์ นาครทรรพ" }, { "docid": "223012#3", "text": "สมัยที่สมยศดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมยศได้มีบทบาทชักนำประชาคมธรรมศาสตร์ออกมาเรียกร้องให้พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อันเนื่องมาจากกรณีขายหุ้นชินคอร์ปที่สะท้อนให้เห็นว่า พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร มีผลประโยชน์ทับซ้อนในการใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน โดยสมยศได้กล่าวปาฐกถาแสดงความเห็นในกรณีดังกล่าวว่า หลังจากที่ฝ่ายต่าง ๆ เตรียมตรวจสอบความไม่โปร่งใสของรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ทำให้พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ใชอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎร และกำหนดการเลือกตั้งใหม่อย่างกระชั้นชิดเกินไปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ตนได้กลับเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินอีกครั้ง เขากล่าวว่า", "title": "สมยศ เชื้อไทย" }, { "docid": "33865#0", "text": "พลตำรวจเอก นายกองใหญ่ ดร.ชิดชัย วรรณสถิตย์ (เกิด 13 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ที่จังหวัดอุบลราชธานี) อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี (คนที่ 1) สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งเนื่องจาก รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ในอดีตได้รับราชการเป็นรองผู้บัญชาการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2548 ได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และยังเคยดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีด้วย\nพล.ต.อ.ชิดชัย เข้ารับตำแหน่งเมื่อ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อมาในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2548 ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549", "title": "ชิดชัย วรรณสถิตย์" }, { "docid": "63261#0", "text": "เยาวเรศ ชินวัตร อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ คนที่ 20 อดีตนายกสภาประจำสถาบันราชภัฏอุบลราชธานีเป็นผู้ดูแลพื้นที่ภาคใต้ของพรรคเพื่อไทย และเป็นน้องสาวของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย และเป็นพี่สาวของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย", "title": "เยาวเรศ ชินวัตร" }, { "docid": "296109#0", "text": "ศันสนีย์ นาคพงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังธรรม, อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย, อดีตผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ซึ่งมีชื่อเสียงคู่กับจักรพันธุ์ ยมจินดา และเอกชัย นพจินดา", "title": "ศันสนีย์ นาคพงศ์" } ]
371
DNA ย่อมาจากอะไร?
[ { "docid": "3098#0", "text": "กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (English: deoxyribonucleic acid) หรือย่อเป็น ดีเอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิกที่มีคำสั่งพันธุกรรมซึ่งถูกใช้ในพัฒนาการและการทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเท่าที่ทราบ (ยกเว้นอาร์เอ็นเอไวรัส) ส่วนของดีเอ็นเอซึ่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมนี้เรียกว่า ยีน ทำนองเดียวกัน ลำดับดีเอ็นเออื่น ๆ มีความมุ่งหมายด้านโครงสร้าง หรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้ข้อมูลพันธุกรรมนี้ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอและโปรตีนเป็นหนึ่งในสามมหโมเลกุลหลักที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทราบ", "title": "ดีเอ็นเอ" } ]
[ { "docid": "18971#0", "text": "ซิโดวูดีน หรืออะซิโดไทมิดีน ( โดย INN หรือ azidothymidine มีชื่อย่อว่า - AZT) เป็นยาต้านรีโทรไวรัส (antiretroviral drug) เป็นยาตัวแรกที่ใช้เป็น ยาต้านไวรัส (antiviral drug) และใช้รักษา HIV ยาพวกนี้จำหน่ายในชื่อทางการค้าว่ายา AZT เป็นยาในกลุ่ม Nucleosides Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) มีลักษณะโครงสร้างคล้ายกับ thymidine ซึ่งเป็นหน่วยของสารพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต แต่จะแตกต่างกันที่โครงสร้างในตำแหน่งที่ 3 ของ AZT จะเป็น –N3 (azido group) แต่ของ thymidine จะเป็น –OH ยา AZT จะเข้าไปหยุดกระบวนเปลี่ยน RNA เป็น DNA (reverse transcription) โดยอาศัยโครงสร้างที่คล้ายกับหน่วยพันธุกรรมของมัน เข้าไปรวมตัวกับสาย DNA ที่ไวรัสสร้างขึ้น แต่เนื่องจากการมีหมู่ azido เข้ามาแทนที่ –OH ทำให้ไม่สามารถสร้างพันธะกับ nucleotide ตัวต่อไปได้ ทำให้เอนไซม์ Reverse Transcriptase ไม่สามารถนำ Nucleosides ตัวต่อไปมาเชื่อมต่อได้ ทำให้ไม่ได้ DNA ที่สมบูรณ์ กระบวนการจึงสิ้นสุดลง เมื่อ AZT เข้าสู่ร่างกายจะยังไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ทันที จำเป็นต้องผ่านเข้าเซลล์และถูกเติมหมู่ phosphate 3 หมู่ ก่อน โดย AZT จะถูกเติม phosphate โดยเอนไซม์ thymidine kinase, thymidylate kinase, และ diphosphate kinase ตามลำดับทำให้อยู่ในรูปที่เรียกว่า AZT-triphosphate ซึ่งเป็นรูปที่ออกฤทธิ์ได้ หลังจากนั้น AZT-triphosphate จะแย่งสารพันธุกรรมธรรมชาติในการจับกับเอนไซม์ reverse transcriptase ทำให้การเชื่อมต่อสาย DNA หยุดลง\nขนาดยา AZT สำหรับป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก (แรกเกิด-อายุ 4 สัปดาห์) ครบกำหนด 2 mg/kg ทุก 6 ชม. หรือ 4 mg/kg ทุก 12 ชม. 30-34 สัปดาห์ 2 mg/kg ทุก 12 ชม.จนอายุ 2 สัปดาห์จากนั้นเพิ่มเป็นทุก 8 ชม.จนครบ 4 สัปดาห์ <30 สัปดาห์ 2 mg/kg ทุก 12 ชม.ตลอด 4 สัปดาห์", "title": "ซิโดวูดีน" }, { "docid": "476145#0", "text": "เครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA Marker) หมายถึง ลำดับเบสช่วงหนึ่งของดีเอ็นเอที่ใช้เป็นเครื่องหมายบ่งชี้ความเป็นเอกลักษณ์ของสิ่งมีชีวิต โดยอาจมีตำแหน่งบนโครโมโซม ในนิวเคลียส (nuclear DNA) หรือใน ออร์แกเนลล์ (mitochondria DNA หรือ chloroplast DNA) และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ พืชแต่ละชนิดแต่ละสายพันธุ์ มีการจัดเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอที่เป็นเอกลักษณ์ ความแตกต่างหรือโพลีมอร์ฟิซึม การใช้ดีเอ็นเอเป็นเครื่องหมายในการบ่งบอกความแตกต่างของสิ่งมีชีวิต สามารถทำได้โดยการเปรียบเทียบลักษณะของดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ โดยเทคนิคทางอณูชีววิทยา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า(polymorphisms) ของลำดับเบสในโมเลกุลของดีเอ็นเอนี่เอง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตมีความแตกต่างกัน และสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องหมายโมเลกุลได้ “ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ” (DNA Fingerprinting) ซึ่งความแตกต่างที่เกิดขึ้น หมายถึง แบบแผนดีเอ็นเอที่จำเพาะของสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ นั่นเอง สามารถนำมาตรวจสอบความแตกต่างหรือโพลีมอร์ฟิซึมของสิ่งมีชีวิตหรือสายพันธุ์พืชที่ต้องการตรวจสอบได้", "title": "เครื่องหมายดีเอ็นเอ" }, { "docid": "137085#7", "text": "ในสารละลายที่เป็นกรด ( pH = 3 ) ในแฮลกอฮอล์หรือในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว ( nonpolar solvent ) DNA สามารถตกตะกอนได้เนื่องจากโมเลกุลมีขนาดใหญ่มากเมื่อไปทำการเซดิเมนต์ โดยใช้แรงเหวี่ยงสูงๆ ในสารละลายที่มีความหนาแน่นต่างกัน (density gradient) สามารถหาความหนาแน่นของ DNA ได้ ความหนาแน่นที่ได้จากวิธีนี้ เรียกว่าความหนาแน่นสำหรับการลอยตัว ( buoyant density ) จากการทดลองพบว่า DNA เส้นเดี่ยวมีความหนาแน่นมากกว่า DNA เส้นคู่ และ DNA ที่มีปริมาณเบสกวานีนกับไซโตซีนสูงมีค่าความหนาแน่นสำหรับการลอยตัวสูงด้วย เนื่องจากเพราะ กวานีนกับไซโทซีนแต่ละคู่ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไฮโดรเจนถึงสามพันธะ ขณะที่ไทมีนและอะดีนีนแต่ละคู่ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโฮโดรเจนเพียงสองพันธะ", "title": "กรดนิวคลีอิก" }, { "docid": "573814#0", "text": "จีโนมของมนุษย์คือชุดของข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของมนุษย์ ข้อมูลนี้อยู่ในลำดับดีเอ็นเอ(DNA) ซึ่งกระจายอยู่บนโครโมโซม 23 คู่ในนิวเคลียสของเซลล์แต่ละเซลล์ รวมทั้งในโมเลกุล DNA อีกส่วนหนึ่งที่อยู่ในไมโตคอนเดรีย ข้อมูลในจีโนมของมนุษย์มีทั้ง DNA ส่วนที่จะถูกถอดรหัสเป็นโปรตีน (coding DNA) และส่วนที่จะไม่ถูกถอดรหัสเป็นโปรตีน (noncoding DNA) ครึ่งหนึ่งหรือส่วนที่เป็นแฮพลอยด์ของจีโนมมนุษย์ (พบในเซลล์ไข่หรือเซลล์อสุจิ) มีจำนวนสามพันล้านคู่เบส ในขณะที่จีโนมทั้งหมดหรือดิพลอยด์ของจีโนม (พบในเซลล์โซมาติกทั่วไป) มีจำนวนคู่เบสดีเอ็นเอเป็น 2 เท่า", "title": "จีโนมมนุษย์" }, { "docid": "814494#2", "text": "ในกระบวนการถอดรหัสนั้น เอนไซม์ RNAP จะช่วยสังเคราะห์สาย RNA โดยอาศัยสาย DNA เป็นแม่แบบ โดยเริ่มต้นจาก RNAP จะจับเข้ากับสาย DNA ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งแบบหลวมๆ หลังจากนั้นเอนไซม์นี้จะเคลื่อนที่ไปตามสาย DNA เมื่อตรวจพบตำแหน่งบนสายที่เรียกว่าโปรโมเตอร์ (promoter) เอนไซม์ RNAP จะยึดตัวแน่นเข้ากับสาย DNA และคลายเกลียวของ DNA เฉพาะบริเวณนั้นออกจากกันเป็น DNA สายเดี่ยว 2 สาย ทั้งนี้เพื่อให้เบสของแต่ละสายที่จับกันด้วยพันธะไฮโดรเจนแยกออกจากกัน หลังจากนั้น RNAP จะเลือกสายใดสายหนึ่งเป็นสายต้นแบบ (template strand) เพื่อเริ่มต้นทำการสังเคราะห์สาย RNA", "title": "อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส" }, { "docid": "137085#2", "text": "รูปร่างของ DNA ในสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทแตกต่างกัน เช่น เซลล์โพรคาริโอต ไวรัส แบคทีเรีย รวมทั้งคลอโรพลาสต์และไมโทคอนเดรีย ที่มี DNA เป็นวงแหวนเกลียวคู่ ส่วนในยูคาริโอต มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่อยู่ในนิวเคลียส เรียก nuclear DNA อยู่ในรูปเกลียวคู่ปลายเปิด และชนิดที่อยู่ในไมโทคอนเดรียเรียก Mitochondrial DNA มีลักษณะเป็นวงแหวนเกลียวคู่ และขดตัวเป็นเกลียวคู่ยิ่งยวด ในพืชพบ DNA ทั้งในนิวเคลียสและคลอโรพลาสต์", "title": "กรดนิวคลีอิก" }, { "docid": "476142#0", "text": "วิธีการ อาร์เอฟแอลพี (; ตัวย่อ: RFLP) เป็นวิธีที่ใช้ดีเอ็นเอตรวจสอบ (DNA probe) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนดีเอ็นเอสายเดี่ยวขนาดเล็กที่ทราบลำดับเบสและทำการติดฉลากสารกัมมันตรังสีเพื่อใช้ในการติดตามผล นำมาทำปฏิกิริยากับดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตที่สนใจที่ถูกแยกเป็นเส้นเดี่ยว และถูกตัดย่อยด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ (restriction enzymes) โดยอาศัยความสามารถของดีเอ็นเอตรวจสอบที่สามารถเข้าคู่หรือจับกันกับสายดีเอ็นเอ เป้าหมายตรงตำแหน่งที่มีลำดับเบสเป็นคู่สม (DNA hybridization)กันได้", "title": "RFLP" }, { "docid": "814494#4", "text": "โมเลกุลของเอนไซม์ RNA polymerase ในเซลล์โพรแคริโอต หรือสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรีย จะมีส่วนประกอบ (subunit) ที่เรียกว่า ซิกมาแฟกเตอร์ (sigma factor หรือเขียนแทนด้วยอักษรกรีกว่า σ factor) ทำหน้าที่ในการตรวจจับตำแหน่งของโปรโมเตอร์บนสาย DNA เมื่อตรวจพบแล้ว โมเลกุลของ RNAP จะยึดเข้ากับสาย DNA เพื่อเริ่มทำการถอดรหัส หลังจากนั้นซิกมาแฟกเตอร์จะหลุดออกไป ทั้งนี้ เอนไซม์ RNAP จะทำงานต่อไปจนเสร็จสิ้นการถอดรหัสที่ตำแหน่งเทอร์มิเนเตอร์ หลังจากนั้น RNAP จะปล่อยตัวออกจากสาย DNA และเข้าจับกับซิกมาแฟกเตอร์อิสระเพื่อที่จะได้สามารถเริ่มต้นทำการถอดรหัสได้อีกครั้ง", "title": "อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส" }, { "docid": "4218#140", "text": "มีหลักฐาน (ค.ศ. 1997, 2004, 2008) โดยการหาลำดับดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรีย (mitochondrial DNA ตัวย่อ mtDNA) ที่แสดงว่า ไม่มีการแลกเปลี่ยนยีนโดยเป็นนัยสำคัญคือไม่มีการผสมพันธุ์กันระหว่าง H. neanderthalensis และ H. sapiens ดังนั้น สองกลุ่มนี้จึงเป็นสปีชีส์ที่แยกจากกันโดยมีบรรพบุรุษเดียวกันเมื่อประมาณ 500,000-600,000 ปีก่อน[108] โดยอาจมีบรรพบุรุษเป็น H. heidelbergensis/rhodesiensis[140] แต่ว่า งานหาลำดับดีเอ็นเอทั้งจีโนมของมนุษย์กลุ่มนี้ในปี ค.ศ. 2010 กลับแสดงว่า มีการผสมพันธุ์กับมนุษย์ปัจจุบันเมื่อประมาณ 45,000-80,000 ปีก่อน (ประมาณช่วงเวลาที่มนุษย์ปัจจุบันออกจากแอฟริกา แต่ก่อนที่จะไปตั้งถิ่นฐานในยุโรป เอเชีย และที่อื่น ๆ) มนุษย์ปัจจุบันที่ไม่ใช่คนแอฟริกาเกือบทั้งหมดมีดีเอ็นเอ 1-4% สืบมาจากมนุษย์กลุ่มนี้[185] ซึ่งเข้ากับงานวิจัยเร็ว ๆ นี้ที่แสดงว่า การแยกออกจากกันของอัลลีลในมนุษย์บางพวกเริ่มขึ้นที่ 1million years ago แต่ว่า การตีความหมายข้อมูลจากงานวิจัยทั้งสองที่แสดงผลแตกต่างกันนี้ ยังมีประเด็นที่น่าสงสัย[186][187]", "title": "วิวัฒนาการของมนุษย์" }, { "docid": "645979#12", "text": "งานวิจัยหนึ่งเสนอว่า การเก็บความจำระยะยาวในมนุษย์อาจจะมีการรักษาไว้โดยกระบวนการ DNA methylation (เป็นกระบวนการชีวเคมีที่เติมกลุ่ม Methyl หนึ่งลงใน cytosine DNA nucleotides หรือ adenine DNA nucleotides)\nหรือผ่านตัวพรีออน", "title": "ความจำ" }, { "docid": "330854#1", "text": "Probe ถูกเตรียมขึ้นโดยการ cloning บางส่วนของยีนที่สนใจเข้าไปใน vector ที่มี promoter SP6, T7 or T3 ซึ่งจะถูกจดจำจาก DNA dependent RNA polymerase Probe สามารถเตรียมให้มี radioactive โดยใช้ radioactive UTPs ในการเตรียม ดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอที่ไม่สามารถจับได้ด้วย probe (uncomplemented DNA หรือ RNA) จะถูกตัดโดย nuclease ซึ่งหากเป็น DNA probe จะถูกตัดโดย S1 nuclease แต่ถ้าเป็น RNA probe สามารถเลือกใช้ single-strand-specific ribonuclease ตัวใดก็ได้ โดยอาร์เอ็นเอที่ถูกจับด้วย probe (probe-mRNA complement) สามารถตรวจหาได้โดยใช้ autoradiography", "title": "Nuclease protection assay" }, { "docid": "5185#5", "text": "แยก Double Helical DNA (Native DNA) ด้วยการเพิ่มอุณหภูมิอย่างช้าๆจนกลายเป็น Single Stranded DNA (Denatured DNA) อุณหภูมิที่ใช้อยู่ในช่วง 90-95oc", "title": "อณูชีววิทยา" }, { "docid": "20555#1", "text": "ในขั้นตอนทรานสคริปชั่นสิ่งจำเป็นต้องใช้คือ DNA เพียงหนึ่งเส้นจากสองเส้นคู่ที่ไขว้กัน ซึ่งเรียกว่า เกลียวรหัส (coding strand) ทรานสคริปชั่นเริ่มที่เอนไซม์ อาร์เอ็นเอ พอลิเมอเรส (RNA polymerase) เชื่อมต่อกับ DNAตรงตำแหน่งเฉพาะซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่เรียกว่า โปรโมเตอร์ (promoter) ขณะที่ อาร์เอ็นเอ พอลิเมอเรส เชื่อมต่อกับโปรโมเตอร์ แถบเกลียว DNA ก็จะเริ่มคลายตัวและแยกออกจากกัน", "title": "ชีวสังเคราะห์โปรตีน" }, { "docid": "137085#3", "text": "Watsan และ Crick พบว่าโครงสร้างตามธรรมชาติของ DNA ในเซลล์ทุกชนิดเป็นเกลียวคู่ซึ่งมีโครงสร้างที่เสถียรที่สุด โดยมีเบสอยู่ด้านในระหว่างสายของ DNA ทั้ง 2 ในลักษณะที่ตั้งฉากกับแกนหลักและวางอยู่ในระนาบเดียวกัน การที่เบสวางอยู่ในสภาพเช่นนี้ทำให้เบสระหว่างอะดีนีนและไทมีนสามารถเกิดพันธะได้ 2 พันธะ และเบสระหว่างกวานีนกับไซโทซีนเกิดได้ 3 พันธะ ซึ่งการเข้าคู่กันนี้ถ้าสลับคู่กันจะทำให้พลังงานที่ยึดเหนี่ยวไม่เหมาะสมกับการเข้าคู่ เพื่อเกิดเกลียวคู่ของ DNA", "title": "กรดนิวคลีอิก" }, { "docid": "814494#3", "text": "ในการสังเคราะห์สาย RNA เอนไซม์ RNAP จะค่อยๆ เคลื่อนไปบน DNA สายต้นพร้อมกับคลายเกลียวสาย DNA ไปด้วย ระหว่างนั้น RNAP จะนำไรโบนิวคลีโอไทด์ที่มีเบสที่เข้าคู่กับเบสบนหน่วยย่อยของ DNA สายต้นแบบเข้ามาเชื่อมต่อกันทีละโมเลกุลจนเป็นสาย RNA (ส่วนสาย DNA บริเวณที่ RNAP เคลื่อนที่ผ่านไปแล้วจะกลับมาเป็นเกลียวคู่ตามเดิม) เมื่อ RNAP เคลื่อนไปถึงบริเวณของสาย DNA ที่เรียกว่า เทอร์มิเนเตอร์ (terminator) การสังเคราะห์จะหยุดลง เอนไซม์ RNAP จะแยกตัวออกจากสาย DNA ส่วนสาย RNA ที่สังเคราะห์ได้จะหลุดออกมา", "title": "อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส" }, { "docid": "78740#6", "text": "เริ่มแรกส่วน glycoprotein ที่ผิวของไวรัสจะจับกับโปรตีนบนเม็ดเลือดขาวอย่างจำเพาะและหลอมรวม envelope เข้ากับเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดขาวของ host ทำให้ capsid หลุดเข้าสู่ cytoplasm ของ host หลังจากนั้น RNA และเอนไซม์ต่าง ๆ ของ virus จะหลุดออกมาจาก capsid เมื่อเข้ามาสู่ cytoplasm แล้วเอนไซม์ Reverse transcriptase จะเปลี่ยน RNA ของไวรัสให้เป็น DNA โดยใช้ Nucleoside(หรือ nucleotides) ของ host เอง หลังจากนั้น DNA ของไวรัสจะรวมกับ DNA ของ host โดยเอนไซม์ integrase แล้วจะมีการกระตุ้นให้เกิดการ translation ในตำแหน่งที่ DNA ของไวรัสแทรกตัวอยู่ออกมาเป็นโปรตีนสายยาว ๆ ที่ทำหน้าที่ไม่ได้ของไวรัส หลังจากนั้นเอนไซม์ protease จะเข้ามาตัดโปรตีนสายยาวนี้ ทำให้ได้โปรตีนที่พร้อมจะประกอบเป็นตัวไวรัสตัวใหม่ขึ้น", "title": "เอชไอวี" }, { "docid": "297191#0", "text": "ในชีววิทยาโมเลกุลและชีวเคมีนั้น รีเวิร์สแทรนสคริปเทส () เป็นเอนไซม์ DNA polymerase ที่ถอดรหัส single-stranded RNA ให้เป็น double-stranded DNA นอกจากนั้นยังช่วยสร้าง double helix DNA หลังจากที่ RNA ถูก reverse transcribed ให้เป็น single stranded cDNA แล้วด้วย", "title": "รีเวิร์สแทรนสคริปเทส" }, { "docid": "78740#5", "text": "ด้านนอกสุดเป็นเปลือกหุ้มเรียกว่า envelope มีโครงสร้างแบบ lipid bilayer ซึ่งเป็น plasma membrane ของ host cell และมี envelope glycoprotein กระจายอยู่ลักษณะเป็นปุ่มยื่นออกมาโดยรอบเรียกว่า surface protein (gp 120) ส่วน core ประกอบด้วย capsid protein (gp 24) และมี RNA โดย RNA จะเป็น 2 copies ที่เหมือนกันอยู่ในไวรัสตัวเดียวกัน นอกจากนี้ภายใน capsid ยังประกอบด้วยเอนไซม์ต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ Reverse transcriptase(ทำหน้าที่เปลี่ยน RNA ของไวรัสเป็น DNA), integrase (ทำหน้าที่รวม DNA virus เข้ากับ DNA host) และ protease(ทำหน้าที่ตัดสายโปรตีนเพื่อให้เป็นองค์ประกอบที่สมบูรณ์ของไวรัส)", "title": "เอชไอวี" }, { "docid": "573810#0", "text": "การทดลองเฮอร์ชีย์–เชส () เป็นชุดของการทดลองที่ทำขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1952 โดยอัลเฟรด เฮอร์ชีย์และมาร์ธา เชส ซึ่งช่วยยืนยันว่า DNA คือสารพันธุกรรม แม้นักวิทยาศาสตร์จะรู้จัก DNA มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1869 แต่ในสมัยนั้นก็ยังเชื่อกันว่าสารพันธุกรรมที่เก็บข้อมูลในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนั้นเป็นโปรตีน ในการทดลองนี้ เฮอร์ชีย์และเชสได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเมื่อแบคเทริโอเฟจเข้าเกาะแบคทีเรียแล้ว DNA ของแบคเทริโอเฟจจะถูกส่งเข้าไปในแบคทีเรีย แต่โปรตีนที่เป็นเปลือกหุ้มนั้นไม่ถูกส่งเข้าไป", "title": "การทดลองเฮอร์ชีย์–เชส" }, { "docid": "20555#2", "text": "ต่อไปเป็นกระบวนการที่สองที่เรียกว่า อีลองเกชั่น (elongation) อาร์เอ็นเอ พอลิเมอเรสจะเคลื่อนตัวตลอดแนวแถบเกลียว DNA เพื่อสำเนารหัส DNAและได้เป็นแถบเกลียวรหัสที่เรียกว่าเมสเซนเจอร์อาร์เอ็นเอ (messengerRNA หรือ mRNA)นิวคลิโอไทด์ ซึ่งมีรหัสข้อมูลตรงข้ามกับ DNA", "title": "ชีวสังเคราะห์โปรตีน" }, { "docid": "413787#0", "text": "การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication) เป็นกระบวนการทางชีววิทยาที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเพื่อจำลองดีเอ็นเอของตนเอง กระบวนการนี้เริ่มจากดีเอ็นเอสายเดี่ยวสร้างดีเอ็นเออีกสายที่เป็นคู่สมของตนจนกลายเป็นดีเอ็นเอเกลียวคู่ กระบวนการเป็นแบบกึ่งอนุรักษ์ (semiconservative replication) มีการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการเพื่อป้องกันการกลายพันธุ์\nการจำลองตัวเองในยูคาริโอตมีความซับซ้อนกว่า โดยจุดเริ่มต้นนั้นจะมีโปรตีนที่จดจำตำแหน่งนี้โดยเฉพาะเข้ามากระตุ้นให้ดีเอ็นเอคลายตัว DNA polymerase มีหลายชนิด โดยในนิวเคลียสใช้ DNA polymerase α และ DNA polymerase δ โดย DNA polymerase α ทำหน้าที่คล้าย DNA polymerase III ในโปรคาริโอต DNA polymerase δ ทำหน้าที่คล้ายหน่วยเบตาของ DNA polymerase III และ DNA polymerase ε ทำหน้าที่คล้าย DNA polymerase I ในโปรคาริโอต การสิ้นสุดเรพลิเคชันในยูคาริโอต เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โครงสร้างพิเศษที่เรียกเทโลเมียร์ที่ตอนปลายของโครโมโซม", "title": "การถ่ายแบบดีเอ็นเอ" }, { "docid": "26355#14", "text": "เป็นที่รู้กันดีว่ายาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์อย่างนีโอมัยซินนั้นมีความสามารถจับกับอาร์เอ็นเอสายคู่ได้ด้วยความจำเพราะที่ค่อนข้างสูง[24] โดยค่าคงที่การแตกตัว (dissociationconstant,Kd) ของนีโอมัยซินต่อตำแหน่ง A-site บนอาร์เอ็นเออยู่ที่ช่วงประมาณ109M−1[25] อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่มีการค้นพบนีโอมัยซินมาเป็นระยะเวลามากกว่า50ปี กลไกการจับกับดีเอ็นเอของนีโอมัยซินนั้นก็ยังไม่สามารถทราบได้แน่ชัดเท่าใดนัก โดยพบว่านีโอมัยซินนั้นมีผลเพิ่มการคงสภาพทางความร้อนของTriple-stranded DNA โดยไม่มีผลหรือมีผลบ้างเล็กน้อยต่อการคงสภาพของ B-DNA duplex[26] นอกจากนี้นีโอมัยซินยังมีความสามารถจับกับโครงสร้างอื่นที่คล้ายกับโครงสร้างA-DNAได้ ซึ่ง triplex DNA ก็เป็นหนึ่งในโครงสร้างเหล่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น นีโอมัยซินยังสามารถเข้าจับเป็นสารประกอบเชิงซ้อนกับสารพันธุกรรมระหว่างการก่อตัวสายผสมสามสายของDNAและRNA (DNA:RNA hybrid triplex formation) ได้[27]", "title": "นีโอมัยซิน" }, { "docid": "814494#1", "text": "อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส (RNAP) ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับดีเอ็นเอพอลิเมอเรส (DNA polymerase หรือย่อว่า DNAP) ซึ่งทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาการสังเคราะห์สาย DNA อันเป็นปฏิกิริยาเคมีประเภทเดียวกันกับการสังเคราะห์สาย RNA อย่างไรก็ตาม เอนไซม์ 2 ชนิดนี้มีข้อแตกต่างที่สำคัญอยู่ดังต่อไปนี้", "title": "อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส" }, { "docid": "137085#6", "text": "โมเลกุลของ DNA มีลักษณะยาวมากเมื่อเทียบกับเส้นผ่าศูนย์กลาง มีผลทำให้สารละลายของ DNA มีความข้นเหนียวอย่างมาก แม้จะมี DNA ในปริมาณความเข้มข้นต่ำ ๆ", "title": "กรดนิวคลีอิก" }, { "docid": "310352#0", "text": "ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ (; ตัวย่อ: RT-PCR) เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสอีกแบบหนึ่ง เป็นเทคนิคทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมักจะใช้ในอณูชีววิทยา เพื่อใช้ในการสร้างสำเนาลำดับดีเอ็นเอขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเรียกว่า \"amplification\" อย่างไรก็ตาม ใน RT-PCR สายอาร์เอ็นเอจะถูกรีเวิร์สแทรนสคริปเทสไปสู่ Complementary DNA (cDNA) โดยใช้เอนไซม์รีเวิร์สแทรนสคริปเทส และผลของ cDNA จะถูกขยายขึ้นโดยการใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบเรียลไทม์ ", "title": "ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ" }, { "docid": "330871#0", "text": "ในพันธุศาสตร์ complementary DNA หรือ cDNA คือ ดีเอ็นเอที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นโดยใช้เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) เป็นต้นแบบโดยอาศัยเอนไซม์ reverse transcriptase และ DNA polymerase\ncDNA มักใช้สำหรับ clone ยีนของยูคาริโอตเข้าไปในโปรคาริโอต เมื่อนักวิทยาศาสตร์ต้องการให้มีการแสดงออกของโปรตีนที่ปกติจะไม่มีการแสดงในเซลล์นั้น พวกเขาสามารถนำ cDNA เข้าไปยังเซลล์ตัวรับ (recipient cell) ซึ่งจะทำให้เซลล์สามารถให้ (code) โปรตีนชนิดนั้นได้ นอกจากนี้ cDNA ยังสามารถสร้างขึ้นโดย retrovirus เช่น HIV-1, HIV-2, Simian Immunodeficiency Virus ซึ่งสามารถเข้าไปแทรกตัว (integrate) เข้าไปยัง host เพื่อสร้าง provirus อีกด้วย", "title": "Complementary DNA" }, { "docid": "573813#0", "text": "การหาลำดับ DNA คือกระบวนการที่ทำขึ้นเพื่อหาลำดับของนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุล DNA อย่างแม่นยำ ได้แก่ A(adenine) G(guanine) C(cytosine) และ T(thymine) ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคนิกที่ทำให้การหาลำดับ DNA ทำได้อย่างรวดเร็ว นำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ทางชีววิทยาและการแพทย์อย่างรวดเร็วก้าวกระโดด", "title": "การหาลำดับดีเอ็นเอ" }, { "docid": "814494#0", "text": "อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส () หรือใช้ตัวย่อว่า RNAP เป็นเอนไซม์ที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาการสังเคราะห์ RNA จากสาย DNA แม่แบบ ในกระบวนการถอดรหัส (transcription)", "title": "อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส" }, { "docid": "476130#0", "text": "เอเอฟแอลพี (; ตัวย่อ: AFLP) เป็นเทคนิคของเครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA marker) แบบหนึ่ง พื้นฐานของ AFLP คือการตรวจสอบชิ้นดีเอ็นเอที่ตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ โดยการเพิ่มปริมาณด้วยปฏิกิริยา PCR (Polymerase chain reaction) ดังนั้นจึงรวมเอาความน่าเชื่อถือของเทคนิค RFLP (Restriction fragment length polymorphism) และประสิทธิภาพของ PCR เข้าด้วยกัน เทคนิค AFLP พัฒนาขึ้นโดย Zabeau และ Vos นักวิจัยของบริษัท Keygene N.V. ประเทศเนเธอร์แลนด์ และได้จดสิทธิบัตรในปี ค.ศ.1993", "title": "เอเอฟแอลพี" }, { "docid": "137085#1", "text": "DNA () พบในนิวเคลียสของเซลล์และไวรัสบางชนิด เป็นสารพันธุกรรม ในธรรมชาติส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปเกลียวคู่ (Double stranded DNA) DNA ที่อยู่ในเซลล์มีจำนวนมากมักมีโครโมโซมเรียงตัวกันเป็นคู่หรือดิพลอยด์ มักพบบริเวณภายในนิวเคลียสของเซลล์", "title": "กรดนิวคลีอิก" } ]
2345
กลอนมารุ่งเรืองในยุครัตนโกสินทร์ ในรัชกาลใด?
[ { "docid": "19840#1", "text": "กลอน</b>มารุ่งเรืองในยุครัตนโกสินทร์ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีกวีสำคัญๆ ได้แก่ องค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่ กรมหลวงวรวงศาธิราชสนิท ฯลฯ โดยเฉพาะสุนทรภู่ เป็นกวีที่ทำให้ฉันทลักษณ์กลอนพัฒนาถึงระดับสูงสุด มีความลงตัวทางฉันทลักษณ์ทำให้กลอนลีลาแบบสุนทรภู่ได้รับการยอมรับว่าเป็นแบบฉบับของกลอนที่ไพเราะที่สุดและนิยมแต่งจนถึงปัจจุบัน[1]", "title": "กลอน" } ]
[ { "docid": "40784#9", "text": "การศึกษาความเป็นมาของอาหารไทยในยุครัตนโกสินทร์นี้ได้จำแนกตามยุคสมัยที่นักประวัติศาสตร์ได้กำหนดไว้ คือ ยุคที่ 1 ตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 และยุคที่ 2 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ดังนี้", "title": "อาหารไทย" }, { "docid": "19839#8", "text": "ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอน 6 พบครั้งแรกในกลบทศิริวิบุลกิตติ สมัยอยุธยาตอนปลาย นอกนั้นก็แทรกอยู่ในกลอนบทละคร แต่ที่ใช้แต่ตลอดเรื่องเริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ กนกนคร ของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)", "title": "กลอนสุภาพ" }, { "docid": "142465#15", "text": "สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในยุคแรก บ้านเมืองยังคงอยู่ในภาวะศึกสงคราม จึงมิได้สร้างพระเมรุมาศสูงใหญ่เทียบเท่าพระเมรุมาศสมัยกรุงศรีอยุธยา [8] ระหว่างรัชกาลที่ 1 - 4 พระเมรุมาศเริ่มเป็นทรงปราสาท พระเมรุมาศองค์แรกที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์คือ พระเมรุมาศถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิถวายพระราชบิดาหลังจากบ้านเมืองสงบศึก โดยทรงอนุสรณ์คำนึงว่า พระราชบิดาสิ้นพระชนม์ในระหว่างภาวะสงครามโดยมิได้ประทับร่วมกัน และเพื่อสนองพระคุณ จึงมีพระราชดำริจะบำเพ็ญพระราชกุศลถวาย[6] และยังมีการจัดงานพระศพเจ้านายสำคัญหลายพระองค์คือ งานพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท[12] ส่วนการพระราชพิธีในงาน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกยึดหลักอย่างประเพณีอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา เพื่อฟื้นฟูประเพณีให้กลับรุ่งเรืองสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ประชาชนและเป็นเกียรติยศแก่บ้านเมือง และยังมีการประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นคือ การประดิษฐ์เกรินบันไดนาค สำหรับเชิญพระโกศ คิดค้นโดยเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี[13]", "title": "พระเมรุมาศ" }, { "docid": "342810#1", "text": "วัดในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น มีรูปแบบดำเนินรอยตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา เช่น การสร้างโบสถ์วิหารให้มีฐานโค้ง การสร้างหอไตรหรือหอพระไตรปิฎกกลางน้ำ เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีการทำมาค้าขายกับต่างชาติมากขึ้น จึงได้รับอิทธิพล ที่เห็นได้ชัดคือ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ได้รับอิทธิพลจีน", "title": "สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์" }, { "docid": "19432#11", "text": "สมัยต้นรัตนโกสินทร์มีการนำรูปแบบสวนจีนมาสร้างในพระบรมมหาราชวังและวัดสำคัญ เรียกว่าเขามอ มีการสร้างสวนซ้ายสวนขวา เริ่มมีการสร้างสวนเพื่อความปีติในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสวนและมีรูปแบบของสวนปรากฏชัดเจนขึ้น มีการนำรูปแบบสวนยุโรปซึ่งกำลังผ่านความรุ่งเรืองของยุคเรนาซองส์ โดยมีนายช่างฝรั่งที่เข้ามารับราชการ เช่น นายเฮนรี อาลบาสเตอร์ หรือพระเศวตศิลา ต้นตระกูลเศวตศิลารวมทั้งคนอื่นๆ มาเป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างสวนหลายแห่ง อุทยานสราญรมย์เป็นตัวอย่างสวนที่ยังหลงเหลือและได้รับการบูรณะให้สวยงามในปัจจุบัน", "title": "ภูมิสถาปัตยกรรม" }, { "docid": "19839#2", "text": "คำประพันธ์กลอนสุภาพนิยมเล่นกันมากตั้งแต่สมัยอยุธยา จวบจนถึงปัจจุบัน ในต้นรัตนโกสินทร์นั้นงานกลอนสุภาพเด่นชัดในรัชกาลที่ 2 ซึ่งเฟื่องฟูถึงขนาดมีการแข่งขันต่อกลอนสด กลอนกระทู้ ตลอดรัชสมัยมีผลงานออกมามากมาย เช่น กลอนโขน กลอนนิทาน กลอนละคร กลอนตำราวัดโพธิ์ เป็นต้น บทพระราชนิพนธ์เรื่อง เงาะป่า ก็เกิดขึ้นในยุคนี้ ยังมีกวีท่านอื่นที่มีชื่อเสียง เช่น สุนทรภู่ เป็นต้น และในสมัยรัชกาลที่ 6 ก็มีปราชญ์กวีทางกลอนสุภาพที่สำคัญหลายท่านเช่นกัน พร่องตายย", "title": "กลอนสุภาพ" }, { "docid": "23110#53", "text": "ในช่วงยุครุ่งโรจน์ จักรพรรดิ 3 รัชกาลถือเป็นยุคทองอันรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์เกือบ 300 ปีของราชวงศ์ชิง และถือเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่ดีที่สุดของจีน ไม่ว่าจะเป็นด้านพื้นที่การทำไร่ทำนา จำนวนผลผลิตการเกษตร จำนวนประชากร ที่มีอย่างยากที่จะหายุคใดเปรียบเทียบได้ จากสถิติที่มีการบันทึก ในรัชกาลคังซีปีที่ 24 ทั่วประเทศมีพื้นที่สำหรับทำการเพาะปลูกถึง 600 ล้านไร่จีน เมื่อมาถึงช่วงปลายรัชกาลของเฉียนหลง ทั่วประเทศมีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มเป็น 1,050 ล้านไร่จีน ผลผลิตทางการเกษตรทั่วประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 204,000 ล้านชั่ง จนเป็นประเทศที่มีผลผลิตสูงที่สุดในโลกในสมัยนั้น ในขณะที่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจากปีค.ศ. 1700 ที่มีราว 150 ล้านคนมาเป็น 313 ล้านคนในปีค.ศ. 1794 หรือคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของทั่วโลกในเวลานั้น", "title": "ราชวงศ์ชิง" }, { "docid": "630521#6", "text": "ท่านเป็นต้นตำรับเพลงร้องแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเล่ากันต่อๆมาว่า เวลาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์บทละครต่าง ๆ โดยมี กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรส (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ท่านสุนทรภู่ ฯลฯ เป็นผู้ร่วมงานกวีนิพนธ์นั้น เมื่อแต่งเป็นกลอนเสร็จก็จะมีพระราชกระแสรับสั่งให้เจ้าจอมมารดาศิลา เป็นผู้บรรจุเพลงขับร้องถวายเป็นการทดลองก่อน ในขณะเดียวกันก็โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งพระฉายขนาดใหญ่ขึ้น แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพนมวัน พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลาทรงประดิษฐ์ท่ารำไปพร้อมกัน โดยทรงรำอยู่หน้าพระฉาย หากเพลงและกระบวนรำเข้ากันดีแล้ว ก็โปรด ฯ ให้บันทึกไว้นับเป็นแบบอย่างการแต่งบทละครที่สมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งเริ่มต้นในรัชกาลที่ ๒ ไม่มีหลักฐานยืนยันว่า เจ้าจอมมารดาศิลา ได้เรียนการขับร้องมาจากครูท่านใด แต่เมื่อทราบว่าเป็นชาวบางช้าง อันเป็นเมืองแห่งนักดนตรีแล้วก็เชื่อได้ว่า คงจะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในเพลงการมาตามแนวของบรรพบุรุษอย่างแน่นอน ศิษย์ของท่านคือ หม่อมศิลา และหม่อมเปรม ในพระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงค์ฤทธิ์ ทางขับร้องของเจ้าจอมมารดาศิลาตกทอดผ่านหม่อมศิลาผู้เป็นหลานสะใภ้ของท่านลงมายังนักร้องทุกคนในวังบ้านหม้อ อันได้แก่ หม่อมเจริญ หม่อมมาลัย หม่อมจันทร์ หม่อมคร้าม ฯลฯ ซึ่งเป็นหม่อมของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้ากรมมหรสพในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นเหลนของคุณจอมมารดานั่นเอง", "title": "เจ้าจอมมารดาศิลา ในรัชกาลที่ 2" }, { "docid": "23110#36", "text": "ยุครุ่งเรืองแห่งราชวงศ์ชิง เริ่มจากช่วงรัชกาลจักรพรรดิคังซีถึงจักรพรรดิเฉียนหลง จัดเป็นยุครุ่งเรืองสุดท้ายในประวัติศาสตร์ราชวงศ์จีน โดยกล่าวถึงรัชกาลของจักรพรรดิต้าชิง 3 พระองค์ ได้แก่ จักรพรรดิคังซี จักรพรรดิยงเจิ้ง และจักรพรรดิเฉียนหลง รวมเป็นระยะเวลากว่า 130 ปี ในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากการปกครองเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สามารถลดความขัดแย้งระหว่างชนชาติและชนชั้น ดำเนินนโยบายหนึ่งประเทศหลายเผ่าพันธุ์ทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้สังคมมีความสงบสุขเป็นระยะเวลาที่ยาวนานนับร้อยปี", "title": "ราชวงศ์ชิง" }, { "docid": "5262#21", "text": "อักษรย่อ: ชม ตราประจำจังหวัด: รูปช้างเผือกในเรือนแก้ว หมายถึงความสำคัญ 2 ประการของจังหวัด ช้างเผือกคือช้างที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่นำมาถวายแด่สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) และได้ขึ้นระวางเป็นช้างเผือกเอกในรัชกาล ส่วนเรือนแก้วคือดินแดนที่พุทธศาสนารุ่งเรืองสูงสุด ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นทองกวาว ([Butea monosperma]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกทองกวาว สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลากาหรือปลาเพี้ย ([Labeo chrysophekadion]error: {{lang}}: text has italic markup (help))", "title": "จังหวัดเชียงใหม่" }, { "docid": "269670#6", "text": "การเล่นสักวานี้สันนิษฐานว่าเป็นที่นิยมเล่นกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีปรากฏหลักฐานในเอกสารโบราณต่างๆ จนกระทั่งถึงในสมัยรัชกาลที่ 5", "title": "กลอนสักวา" }, { "docid": "19840#11", "text": "ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) กวีมีการพัฒนากลอนหก กลอนเจ็ด รวมถึงรูปแบบกลอนเพลงชาวบ้านมาใช้ในวรรณกรรม ในยุคนี้เริ่มมีการใช้เครื่องหมายวรรคตอนมาใช้ในกลอน เพื่อแสดงอารมณ์ ความรู้สึก หรือกำหนดจังหวะในการอ่าน", "title": "กลอน" }, { "docid": "4054#12", "text": "เมื่อแรกสุนทรภู่รับราชการเป็นอาลักษณ์ปลายแถว มีหน้าที่เฝ้าเวลาทรงพระอักษรเพื่อคอยรับใช้ แต่มีเหตุให้ได้แสดงฝีมือกลอนของตัว เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง \"รามเกียรติ์\" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น ขุนสุนทรโวหาร การต่อกลอนของสุนทรภู่คราวนี้เป็นที่รู้จักทั่วไป เนื่องจากปรากฏรายละเอียดอยู่ในพระนิพนธ์ ชีวิตและงานของสุนทรภู่ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บทกลอนในรามเกียรติ์ที่สุนทรภู่ได้แต่งในคราวนั้นคือ ตอนนางสีดาผูกคอตาย และตอนศึกสิบขุนสิบรถ ฉากบรรยายรถศึกของทศกัณฐ์[11] สุนทรภู่ได้เลื่อนยศเป็น หลวงสุนทรโวหาร ในเวลาต่อมา[12] ได้รับพระราชทานบ้านหลวงอยู่ที่ท่าช้าง ใกล้กับวังท่าพระ และมีตำแหน่งเข้าเฝ้าเป็นประจำ คอยถวายความเห็นเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์และพระนิพนธ์วรรณคดีเรื่องต่าง ๆ รวมถึงได้ร่วมในกิจการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเป็นหนึ่งในคณะร่วมแต่ง ขุนช้างขุนแผน ขึ้นใหม่", "title": "พระสุนทรโวหาร (ภู่)" }, { "docid": "351311#3", "text": "พระกริ่งในสมัยรัตนโกสินทร์เริ่มสร้างที่มีความโดดเด่นมากในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2382 จัดได้ว่าเป็นพระกริ่งยุคเริ่มบุกเบิกและมีพลังพุทธนุภาพแรงที่สุด พระกริ่งปวเรศเริ่มมีชื่อเสียงในวงแคบๆตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมาถึงยุคของรัชกาลที่ 5 พระกริ่งที่โด่งดังในอดีตล้วนแต่เป็นพระกริ่งที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ร่วมอธิษฐานจิต เนื่องจากพระกริ่ง และพระกริ่งปวเรศมีจำนวนการสร้างมากแต่จำนวนเกือบทั้งหมดถูกเก็บรักษาไว้ในกรุของวัดพระแก้ว (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) ทำให้บุคคลทั่วๆไปในยุคหลังสมัยรัชกาลที่ 5 แทบไม่เคยพบเห็นและรู้จัก", "title": "พระกริ่งปวเรศ" }, { "docid": "13573#10", "text": "หนังตะลุงเกิดขึ้นเมื่อใดนั้น ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด นักวิชาการสันนิษฐานว่าคงเป็นช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะกลอนหนังตะลุงนิยมแต่งเป็นกลอนแปด ซึ่งในสมัยอยุธยากลอนแปดไม่ได้เป็นที่นิยมแพร่หลาย ยิ่งในภาคใต้ วรรณกรรมพื้นบ้านรุ่นเก่าแก่ล้วนแต่งเป็นกาพย์ทั้งสิ้น กลอนแปดเพิ่งมาเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางก็เมื่อหลังสุนทรภู่แต่งเรื่องพระอภัยมณีออกเผยแพร่แล้วนี่เอง", "title": "หนังตะลุง" }, { "docid": "12130#6", "text": "สม้ยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นิราศส่วนใหญ่ยังนิยมแต่งด้วยคำโคลงมากกว่าอย่างอื่น เช่น นิราศนรินทร์ ของนายนรินทรธิเบศร์ ทว่าในสมัยต่อๆ มา เริ่มมีความนิยมแต่งนิราศคำกลอนมากขึ้น โดยเฉพาะนิราศของสุนทรภู่ นั้นส่วนใหญ่แต่งด้วยกลอนแปด หรือกลอนเพลงยาว หรือกลอนตลาด สุดแต่จะเรียก และกล่าวได้ว่า สุนทรภู่ เป็นกวีที่แต่งนิราศคำกลอนไว้มากที่สุดด้วย (สุนทรภู่มีนิราศคำโคลงหนึ่งเรื่อง คือนิราศสุพรรณ)", "title": "นิราศ" }, { "docid": "490627#21", "text": "ละครอิงประวัติศาสตร์ เป็นละครที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ ดำเนินเรื่องในช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ ให้ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์[25] ละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส มีเนื้อหาละครในช่วงยุคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช[26] เป็นละครที่ได้รับความนิยมสูงสุดนับตั้งแตประเทศไทยเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอลเมื่อปี 2558[27] ละครที่มีเรื่องราวในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา ช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ได้แก่ละครเรื่อง สายโลหิต และ ฟ้าใหม่[28] ละครเรื่อง รัตนโกสินทร์ ย้อนยุคไปในสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3[29] เรื่อง ข้าบดินทร์ มีเนื้อเรื่องเกิดขึ้นสมัยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[30] ละครที่เล่าเรื่องราวในช่วงรัชกาลที่ 5 ยุคที่ประเทศชาติบ้านเมืองมีการเปลี่ยนแปลง และประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำหลายอย่าง เช่น นางทาส, ลูกทาส, สี่แผ่นดิน, ร่มฉัตร และ ทวิภพ[31]", "title": "ละครโทรทัศน์ไทย" }, { "docid": "19840#8", "text": "ในสมัยรัตนโกสินทร์ รองอำมาตย์เอก หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) (พ.ศ. 2401 - พ.ศ. 2471) กวีคนสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 - 6 ได้แต่ตำราคำประพันธ์ ประชุมลำนำ โดยพัฒนาฉันทลักษณ์ของกลอนให้มีรูปแบบหลากหลายขึ้น ซึ่งได้กำหนดรูปแบบ บท และ ลำนำ ขึ้น โดยให้ บท เป็นกลอนที่มีคำขึ้นต้น ส่วน ลำนำ เป็นกลอนที่มีจำนวนคำวรรคคี่และวรรคคู่ไม่เท่ากัน หากกลอนที่มีลักษณะทั้งสองรวมกันจะเรียกว่า บทลำนำ นอกจากนี้ยังได้ค้นคว้าฉันทลักษณ์ของกลอนสุภาพและกลอนชาวบ้านอย่างละเอียด และได้จำแนกกลอนต่าง ๆ อย่างพิสดาร ได้แก่ กลอนสุภาพ บทกลอนสุภาพ ลำนำกลอนสุภาพ บทลำนำกลอนสุภาพ กลอนสังขลิก บทกลอนสังขลิก ลำนำกลอนสังขลิก บทลำนำกลอนสังขลิก กานต์ บทกานต์ ลำนำกานต์ และบทลำนำกานต์ แต่เสียดายที่ ประชุมลำนำ ซึ่งเสร็จในปี พ.ศ. 2470 ไม่ได้ถูกนำออกมาเผยแพร่ จนกระทั่งสำนักนายกรัฐมนตรีได้พิมพ์ออกเผยแพร่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2514 เป็นเหตุให้คำประพันธ์ชนิดต่าง ๆ ของหลวงธรรมาภิมณฑ์ไม่แพร่หลายเท่าที่ควร", "title": "กลอน" }, { "docid": "20838#91", "text": "ความจากหนังสือตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ดังกล่าวมานี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายเกี่ยวกับเค้าโครงของหนังสือนี้ว่ามีเค้าโครงมาจากสมัยสุโขทัยจริง แต่รายละเอียดบางส่วนอาจจะมีการแต่งเสริมกันขึ้นมาในสมัยอยุธยาหรือรัตนโกสินทร์[51] อย่างไรก็ดี จากหลักฐานดังกล่าว (แม้จะไม่แน่ชัด) การพิธีวิสาขบูชา ย่อมเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย เพราะในสมัยนั้นกรุงสุโขทัยได้สืบพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาจากลังกาประเทศ ซึ่งเป็นเมืองที่มั่นทางพระพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และขนาดของการจัดพิธีบูชาเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาของชาวศรีลังกานั้น นับเป็นพิธีใหญ่และสำคัญมากของอาณาจักรมาตั้งแต่แรกรับพระพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการจัดพิธีเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาของประเทศศรีลังกานั้นมีความสำคัญและส่งอิทธิพลต่อประเทศพุทธศาสนาอื่นเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาณาจักรสุโขทัยที่รับสืบพระพุทธศาสนามาจากประเทศศรีลังกาโดยตรง และหลังการเสื่อมอำนาจของอาณาจักรสุโขทัย จนถึงในสมัยอยุธยาก็สันนิษฐานว่าคงมีการปฏิบัติพิธีวิสาขบูชาอยู่ แต่ลดความสำคัญลงไปมาก จนไม่ปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารหรือจารึกใด จนมาในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พิธีวิสาขบูชาจึงได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง หลังจากความเสื่อมของพระพุทธศาสนาหลังยุคสุโขทัยล่มสลาย เพราะหลังจากสิ้นยุคอาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรอยุธยาได้ถูกครอบงำด้วยแนวคิดทางคติพราหมณ์ซึ่งได้รับจากการซึมซับวัฒนธรรมฮินดูแบบขอม (นครวัด)[52] จนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระองค์ได้มีพระราชประสงค์ให้ทำการฟื้นฟูการประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้น พระองค์ได้ทรงปรึกษากับ สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) ให้วางแนวปฏิบัติการพระราชพิธีวิสาขบูชา และพระราชพิธีวันวิสาขบูชาครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ได้จัดขึ้นเป็นการพระราชพิธีใหญ่ 3 วัน 3 คืน นับตั้งแต่วันศุกร์ ขึ้น 14 ค่ำ ถึง วันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 ปีฉลู นพศก จุลศักราช 1179 ( พ.ศ. 2360) ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงเพิ่มจัดให้มีการเทศน์ปฐมสมโพธิกถา (พระพุทธประวัติ) ในวันวิสาขบูชาด้วย ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการตั้งโต๊ะเครื่องบูชารอบระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ปรากฏหลักฐานว่าได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจุดดอกไม้เพลิงถวายเป็นพุทธบูชา และให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการฝ่ายใน และหน่วยราชการต่าง ๆ เดินเวียนเทียน จัดโคมประทีป และสวดมนต์ที่พระพุทธรัตนสถาน วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และมีการจัดพิธีวิสาขบูชาสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน", "title": "วันวิสาขบูชา" }, { "docid": "485593#2", "text": "วัดศรีโคมคำเป็นวัดที่สร้างขึ้นภายหลังจากการก่อสร้างพระเจ้าตนหลวง ตัววิหารหลังเดิม ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าผู้ใดสร้าง เนื่องจากเมืองพะเยามีการอพยพผู้คนจากภัยสงคราม ทำให้ตัวเมืองถูกปล่อยร้าง จนกระทั่งมีการฟื้นฟูเมืองขึ้นมาใหม่ หลังยุคที่กรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ตีเอาล้านนามาจากพม่า มาจนถึงช่วงที่พระยาประเทศอุดรทิศ เป็นผู้ครองเมืองพะเยาคนสุดท้าย ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนระบบการปกครองแบบหัวเมือง มาเป็นมณฑลเทศาภิบาลในสมัยรัชกาลที่ 5 ช่วงสมัยนี้ เริ่มมีการบูรณะวัดศรีโคมคำและพระเจ้าตนหลวงขึ้นมาอีกครั้ง หลังตัววัดและองค์พระมีสภาพทรุดโทรมมาเกือบ 60 ปี", "title": "วัดศรีโคมคำ" }, { "docid": "854741#2", "text": "เจ้าจอมเครือวัลย์ก็ได้ถวายตัวสนองพระเดชพระคุณเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยเช่นกัน แต่มิได้ประสูติพระราชบุตร ทั้งนี้เจ้าจอมเครือวัลย์มีใจศรัทธาในบวรพุทธศาสนาด้วยสร้างวัดและตั้งชื่อตามนามของเจ้าจอมเครือวัลย์ คือ วัดเครือวัลย์วรวิหาร ดังปรากฏใน \"พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3\" ความว่า \"...ในคลองมอญวัด ๑ เจ้าจอมเครือวัลย์ บุตรีเจ้าพระยาอภัยภูธร สร้างใหม่ การยังไม่แล้ว ก็ถึงแก่กรรมเสีย จึงโปรดให้ทำต่อไป แล้วพระราชทานชื่อ วัดเครือวัลย์วรวิหาร...\" พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิสังขรณ์พระอารามนี้เรื่อยมา พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นพระราชานุเคราะห์สร้างต่าง ๆ รวมทั้งได้เสด็จพระราชดำเนินทรงทอดผ้าพระกฐินเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2393 นอกจากนี้ยังปรากฏใน \"กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว\" ของนายมีมหาดเล็ก ที่กล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ในการก่อสร้างวัดนี้ ความว่า", "title": "เจ้าจอมเครือวัลย์ ในรัชกาลที่ 3" }, { "docid": "19840#15", "text": "การเลือกเสียงของคำท้ายวรรค กวีในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการพัฒนาการเลือกเสีงคำลงท้ายวรรคเพื่อช่วยให้ลีลาของกลอนมีความไพเราะรื่นหูยิ่งขึ้น โดยใน<b data-parsoid='{\"dsr\":[7251,7267,3,3]}'>ประชุมลำนำ ได้กล่าวถึงลักษณะบังคับเสียงท้ายวรรคของกลอนไว้ว่า ...มีบังคับไตรยางศในที่สุดของกลอนรับให้ใช้แต่อักษรสูง อย่าให้ใช้อักษรกลางแลอักษรต่ำที่เป็นสุภาพ ในที่สุดของกลอนรองแลกลอนส่งนั้นให้ใช้แต่อักษรกลางแลอักษรต่ำ นอกนั้นไม่บังคับ นอกจากนี้ยังอธิบายการใช้วรรณยุกต์ท้วยวรรคเพิ่มเติมว่า", "title": "กลอน" }, { "docid": "163328#0", "text": "สมัยเอลิซาเบธ หรือ สมัยพระราชินีนาถเอลิซาเบธ () เป็นระยะเวลาในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1558 ถึงปี ค.ศ. 1603 เป็นสมัยที่ถือกันว่าเป็นยุคทองในประวัติศาสตร์อังกฤษ เป็นสมัยสูงสุดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอังกฤษ ที่เห็นได้จากผลงานอันรุ่งเรืองทางโคลงกลอน วรรณคดี การละคร ของ วิลเลียม เชกสเปียร์ และนักประพันธ์คนอื่นๆ ลักษณะของละครมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ที่ต่างจากสมัยก่อนหน้านั้น นอกจากนั้นยังเป็นยุคที่มีการเดินทางไปสำรวจที่ต่างๆ ในต่างประเทศ และการการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ เริ่มเข้ามามีบทบาทในอังกฤษ", "title": "สมัยเอลิซาเบธ" }, { "docid": "342810#0", "text": "สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ คือสถาปัตยกรรมในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลปัจจุบัน) เป็นยุคที่ได้รับอิทธิพลจากจากตะวันตก วิชาชีพสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 6 เริ่มเป็นที่รู้จัก และถือได้ว่าการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมแผนใหม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งสถาบันการศึกษาสถาปัตยกรรมที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2476 โดยอาจารย์นารถ โพธิประสาท และการก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยามฯ ในปี พ.ศ. 2477", "title": "สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์" }, { "docid": "41285#8", "text": "การทำหัวโขน เป็นการสร้างสรรค์ของช่างทำหัวโขนที่มีความชำนาญ การสืบทอดวิชาแบบครูสอนศิษย์ ที่มีเอกลักษณ์หรือรูปแบบเฉพาะตัวของช่างไทยแบบโบราณ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการค้นพบศีรษะของพระครูและศีรษะของทศกัณฐ์ในคลังหลวงของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่า การทำหัวโขนนั้นเริ่มต้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 และเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในด้านของวรรณกรรมและนาฏศิลป์ของไทย", "title": "หัวโขน" }, { "docid": "107162#6", "text": "ยุคทองของการเดินทางด้วยเรือรุ่งเรืองถึงขีดสุดอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะแม่น้ำลำคลองไม่เพียงแต่เป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าและคมนาคม แต่ยังมีหน้าที่สำคัญในการเพาะปลูก การอุปโภค บริโภค และอื่น ๆ ในสมัยนี้จึงมีการขุดคลองเป็นจำนวนมากเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางด้วยเรือ ", "title": "เรือไทย" }, { "docid": "276879#0", "text": "พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสที่กรุงรัตนโกสินทร์จะมีอายุ บรรจบครบ 200 ปี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2525 ซึ่งรัฐบาลสมัย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า ในปีพ.ศ. 2525 กรุงรัตนโกสินทร์จะมีอายุได้ 200 ปี นับเป็นมหามงคลสมัยแสดงถึงความมั่นคงของบ้านเมือง ได้ผ่านพ้นภัยพิบัติต่างๆ มาโดยสวัสดี มีความร่มเย็นเป็นสุขด้วยพระบารมีของพระผู้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และด้วยพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ผู้สืบราชสันตติวงศ์ทุกรัชกาลโดยลำดับ รัฐบาลและปวงชนชาวไทยจึงมีความปีติยินดี พร้อมกันแสดงความกตเวทิตาคุณ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อ พระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ และบรรพชนไทยที่จรรโลงชาติให้มีความรุ่งเรืองสันติสุขสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้ ", "title": "พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี" }, { "docid": "11770#1", "text": "อุณรุทร้อยเรื่องเป็นกลอนบทละครที่แต่งด้วยอารมณ์ขัน ไม่ได้ตั้งใจที่จะใช้แต่งละครจริงๆ กวีได้นำตัวละครร้อยกว่าชื่อจากวรรณคดีเรื่องต่างๆ มาร้อยโยงเป็นเรื่องเดียวกัน โดยใช้สำนวนภาษาที่ไพเราะ เป็นที่รู้จักและท่องจำกันอย่างแพร่หลายในยุคที่แต่งนั้น ทว่าเวลาที่แต่งเรื่องไม่ปรากฏหลักฐาน แต่เชื่อกันว่าน่าจะแต่งในสมัยรัชกาลที่ 4 ช่วงต้นรัชกาล ", "title": "อุณรุทร้อยเรื่อง" }, { "docid": "50083#2", "text": "สำหรับเนื้อหาของขุนช้างขุนแผนในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้กวีในรัชสมัยของพระองค์ ตลอดจนพระองค์เองร่วมกันแต่งและทรงพระราชนิพนธ์ขี้นเป็นวรรณคดีที่มีค่าทั้งในด้านความไพเราะและในลีลาการแต่ง ตลอดจนเค้าโครงเรื่อง ได้รับการยกย่องตามพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสรในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าเป็นยอดของหนังสือประเภทกลอนเสภา และได้รับประทับราชลัญจกรรูปพระคเณศร์ไว้เป็นเครื่องหมายของการยกย่องนั้นด้วย หนังสือเรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ ไม่เพียงแต่เป็นวรรณคดีสำหรับอ่านกันเล่น เพื่อได้รับรสวรรณคดีเป็นเครื่องบันเทิงใจเท่านั้น หากแต่บางตอนในวรรณคดีเรื่องนี้ยังเป็นหลักฐานที่ให้ความรู้ในเรื่องราวความเป็นอยู่ของผู้คนและบ้านเมืองในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ สมกับที่มีคำกล่าวว่า วรรณคดีเป็นกระจกเงาสะท้อนภาพความเป็นไปของบ้านเมืองในยุคนั้น ๆ ให้คนรุ่นหลัง ๆ ได้ทราบด้วย", "title": "ขุนช้างขุนแผน" } ]
147
เมืองหลวงของสาธารณรัฐเช็กคืออะไร?
[ { "docid": "17189#1", "text": "เช็กเกียประกอบด้วยภูมิภาคที่เก่าแก่สองส่วน คือ โบฮีเมียและมอเรเวีย และส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่สาม เรียกว่า ไซลีเซีย ประเทศนี้ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เมืองหลวงของประเทศคือ ปราก เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วย เมืองสำคัญอื่น ๆ ของประเทศ ได้แก่ เบอร์โน, ออสตราวา, เปิลเซน, ฮราเดตส์กราลอเว, เชสเกบุดเยยอวีตเซ และอูสตีนัดลาเบม", "title": "ประเทศเช็กเกีย" } ]
[ { "docid": "11698#0", "text": "อันโตญีน ดโวชาก () เป็นคีตกวีชาวเช็ก เกิดเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2384 (ค.ศ. 1841) ที่เมืองมุลโฮเซน (ในภาษาเช็กคือเมืองเนลาโฮเซเวส) ห่างจากกรุงปรากออกไปทางตอนเหนือราว 20 กิโลเมตร ในแคว้นโบฮีเมีย (สาธารณรัฐเช็ก) และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ที่กรุงปราก ", "title": "อันโตญีน ดโวชาก" }, { "docid": "6152#0", "text": "ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน: , พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ [4] เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี ค.ศ. 2017 ทั่วกรุงเปย์จิงมีประชากร 21,107,000 คน[5] กรุงปักกิ่งเป็นศูนย์การเมือง วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การศึกษาและเขตชุมทางการคมนาคมทั่วประเทศจีนและก็เป็นเมืองท่อง เที่ยวที่มีชื่อดังทั้งในประเทศจีนและในโลก แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมีกำแพงเมืองจีน พระราชวังโบราณ หอสักการะฟ้าเทียนถัน สุสานจักรพรรดิสมัยราชวงศ์หมิง วังพักร้อนอี๋เหอหยวนและภูเขาเซียงซาน เป็นต้น ปัจจุบันปักกิ่งเป็นเขตการปกครองพิเศษแบบมหานคร 1 ใน 4 แห่งของจีน ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับมณฑลหลังจากปักกิ่งได้รับการจัดตั้งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949 โดยเฉพาะหลังจากสมัย 80 ศตวรรษที่ 20 เมืองปักกิ่งได้พัฒนาอย่างรวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ มีการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ ปัจจุบันนี้ปักกิ่งมีถนนที่สลับกัน ตึกสูงๆ โดยไม่เพียงแต่รักษาสภาพเมืองโบราณ และยังแสดงถึงสภาพเมืองที่ทันสมัย กลายเป็นเมืองใหญ่ของโลก", "title": "ปักกิ่ง" }, { "docid": "6152#7", "text": "ในเวลาต่อมาได้มีการสถาปนาราชวงศ์จิน และได้ย้ายเมืองหลวง มาอยู่ที่แย่นจิงในปี 2239 (ค.ศ. 1696) โดยเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น จงตู ต่อมาราชวงศ์จินถูกรุกรานโดยชาวมองโกล จึงได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เปี้ยนจิง (เมืองไคฟง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) หลังจากนั้น ราชวงศ์หยวนก็ได้สถาปนาขึ้นภายใต้การปกครองของชาวมองโกล และตั้งให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงในปี 2353 (ค.ศ. 1810) จากนั้นปักกิ่งก็ถูกตั้งให้เป็นเมืองหลวงเรื่อยมาในสมัยราชวงศ์หมิง และชิง จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2492 เมื่อจีนเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็ได้กำหนดให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศจนถึงปัจจุบัน โบราณสถานในปักกิ่งที่ตกทอดสืบต่อมาและมีปรากฏให้เห็นจนถึงทุกวันนี้มีมาก มาย เช่น พระราชวังต้องห้าม กำแพงเมืองจีน หอบูชาฟ้า พระราชวังฤดูร้อน สุสานสิบสามกษัตริย์ เป็นต้น สถานที่เหล่านี้ล้วนเป็นมรดกทางประศาสตร์อันสำคัญทั้งของจีน และของโลก", "title": "ปักกิ่ง" }, { "docid": "80031#4", "text": "สาธารณรัฐกาแลกติกใหม่ล่มสลายลงเนื่องจากเมืองหลวงของสาธารณรัฐคือ Hosnian Prime และดาวเคราะข้างเคียงในระบบ Hosnian ถูกลำแสงทำลายล้างที่ยิงมาจากฐานทัพสตาร์คิลเลอร์ โดยฝ่ายปฐมภาคี", "title": "สาธารณรัฐกาแลกติกใหม่" }, { "docid": "634055#0", "text": "สาธารณรัฐสังคมอิตาลี () เป็นรัฐหุ่นเชิดของนาซีเยอรมนีระหว่างช่วงหลังของสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการเกิดใหม่ของรัฐฟาสซิสต์อิตาลี นำโดย เบนิโต มุสโสลินีและพรรคฟาสซิสต์สาธารณรัฐนิยมปฏิรูปของเขา รัฐดังกล่าวประกาศว่ากรุงโรมเป็นเมืองหลวง แต่เนื่องจากโรมไม่อยู่ภายใต้การควบคุม โดยพฤตินัยจึงกระจุกอยู่รอบซาโล อันเป็นสำนักงานใหญ่ของมุสโสลินีและกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐสังคมอิตาลีมีอำนาจอธิปไตยในนามในทางเหนือของอิตาลี แต่ต้องพึ่งพาทหารเยอรมันเพื่อรักษาการควบคุมเป็นส่วนใหญ่", "title": "สาธารณรัฐสังคมอิตาลี" }, { "docid": "870519#1", "text": "ทีมชาติก่อตั้งขึ้นในปี 1901 ในสมัยราชอาณาจักรโบฮีเมียที่ถูกปกครองโดยจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ต่อมาได้ก่อตั้งเชโกสโลวาเกีย ก่อนจะแยกประเทศกับสโลวาเกียในปี 1992 การแข่งขันระหว่างประเทศของพวกเขาเป็นครั้งแรกที่สาธารณรัฐเช็กคือยูโร 1996 ที่พวกเขาเสร็จสิ้นการวิ่งขึ้นเสร็จที่ดีที่สุดของพวกเขาในการแข่งขันระหว่างประเทศใด ๆ แม้จะมีความสำเร็จแรกของพวกเขาที่พวกเขาได้ให้ความสำคัญเฉพาะในฟุตบอลโลก 2006 ทัวร์นาเมนต์ที่พวกเขาถูกกำจัดในรอบแรกของการแข่งขัน พวกเขาเผชิญชะตากรรมเดียวกันที่ ยูโร 2008 ลักษณะที่ปรากฏล่าสุดของพวกเขาในขั้นตอนสุดท้ายของการแข่งขันที่สำคัญ", "title": "ฟุตบอลทีมชาติเช็กเกีย" }, { "docid": "19824#0", "text": "ยูกันดา (English: Uganda) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐยูกันดา (English: Republic of Uganda) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกจดประเทศเคนยา ทางเหนือจดประเทศซูดานใต้ ทางตะวันตกจดสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม) ทางตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศรวันดา และทางใต้จดประเทศแทนซาเนีย ทางใต้ของประเทศรวมถึงบางส่วนของทะเลสาบวิกตอเรีย ซึ่งมีพรมแดนติดกับเคนยาและแทนซาเนียด้วย ยูกันดาได้ชื่อมาจากอาณาจักรบูกันดาซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมทางใต้ของประเทศ รวมถึงเมืองหลวง กัมปาลา นอกจากนี้ยังมีอาณาจักรอื่นคือ อาณาจักรโตโร อาณาจักรบุนโยโร-กิตารา อาณาจักรบูโซกา อาณาจักรอันโกเล อาณาจักรรเวนซูรูรู เมืองหลวงเก่าของประเทศนี้คือเอนเทบบี อันเป็นที่ตั้งของสนามบินแห่งชาติยูกันดาด้วย", "title": "ประเทศยูกันดา" }, { "docid": "127580#1", "text": "เชชเนียตั้งอยู่ในคอเคซัสเหนือ ตั้งอยู่ส่วนใต้สุดของยุโรปตะวันออก และอยู่ในรัศมี 100 กิโลเมตรจากทะเลแคสเปียน เมืองหลวงของสาธารณรัฐคือกรอซนืย ตามสำมะโน พ.ศ. 2553 สาธารณรัฐมีประชากร 1,268,989 คน", "title": "สาธารณรัฐเชเชน" }, { "docid": "855218#0", "text": "สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 2 (Second Philippine Republic) หรือสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (ภาษาญี่ปุ่น: フィリピン共和国, ภาษาฟิลิปิโน: Republika ng Pilipinas) หรือสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ญี่ปุ่นสนับสนุน (Japanese-sponsored Philippine Republic) เป็นรัฐหุ่นเชิด จัดตั้งเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ในช่วงที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครอง ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล เกซอน ได้ประกาศที่มะนิลา เมืองหลวงให้เป็นเมืองเปิด ปกครองโดยจอร์จ บี วาร์กัส ญี่ปุ่นเข้าเมืองได้เมื่อ 2 มกราคม พ.ศ. 2485 และตั้งมะนิลาเป็นเมืองหลวง ญี่ปุ่นเข้าสู่ฟิลิปปินส์อย่างเต็มที่เมื่อ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 หลังจากยุทธการคอร์เรกิดอร์\nนายพลมาซาฮารุ ฮอมมา ได้ประกาศสลายเครือจักรภพฟิลิปปินส์และจัดตั้งคณะกรรมการสูงสุดฟิลิปปินส์ (Komisyong Tagapagpaganap ng Pilipinas) และให้จอร์จ วาร์กัสเป็นประธานคนแรกในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 กาลิบาปีซึ่งเป็นตัวย่อในภาษาตากาล็อกขององค์กรบริหารแห่งฟิลิปปินส์ใหม่ (Kapisanan sa Paglilingkod sa Bagong Pilipinas) ก่อตั้งขึ้นโดยประกาศหมายเลข 109 ของคณะกรรมการสูงสุดฟิลิปปินส์ และประกาศเป็นกฎหมายเมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2485 คว่ำบาตรพรรคการเมืองทั้งหมดที่มีอยู่ และจัดตั้งพันธมิตรของรัฐบาลใหม่ พรรคกานับซึ่งเป็นพรรคนิยมญี่ปุ่นได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกาลิบาปี", "title": "สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 2" }, { "docid": "409141#11", "text": "การประชุมรัฐสภาสาธารณรัฐเทกซัสครั้งแรกเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม 1836 ที่เมืองโคลัมเบีย (เวสต์โคลัมเบียในปัจจุบัน) สตีเฟน เอฟ. ออสติน ผู้ได้รับสมญานาม “บิดาแห่งเทกซัส” ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1836 หลังจากดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สาธารณรัฐใหม่ได้เพียงแค่สองเดือน เนื่องจากในช่วงสถาปนารัฐ เกิดสงครามต่อสู้เพื่ออิสรภาพอยู่ จึงมีการกำหนดให้เมืองห้าแห่งมีหน้าที่เป็นเมืองหลวงชั่วคราวของเทกซัสในปี 1836 ได้แก่เมืองวอชิงตัน-ออน-เดอะ-แบรซัส, แฮร์ริสเบิร์ก, แกลวิสตัน, วิลาสโก และโคลัมเบีย ต่อมาได้มีการย้ายเมืองหลวงไปที่ฮิวสตัน ซึ่งเป็นเมืองสร้างใหม่ ในปี 1837 ในปี 1839 เมืองหลวงถูกย้ายอีกครั้งไปยังนิคมเล็กๆ บริเวณชายแดนเลียบแม่น้ำโคลาราโด ที่เรียกว่าวอเตอร์ลู ซึ่งได้มีการผังเมืองใหม่ที่เมืองดังกล่าว และทำการเปลี่ยนชื่อเสียใหม่เป็นเมืองหลวงชื่อว่าออสติน", "title": "สาธารณรัฐเทกซัส" }, { "docid": "431819#0", "text": "จูบา () เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐเซาท์ซูดานเมืองแห่งนี้ตั้งอยู่บนไวท์ไนล์\nในปี ค.ศ. 2011 ประชากรในเมืองหลวงจูบามีจำนวน 372,410 คน\nตารางแสดงการเปลี่ยนแปลงของประชากร", "title": "จูบา" }, { "docid": "431649#0", "text": "สาธารณรัฐคาเรเลีย () หรือ สาธารณรัฐคาเรลียา (, \"Respublika Kareliya\"; ) เป็นสาธารณรัฐในประเทศรัสเซีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรป มีเมืองหลวงคือ เปโตรซาวอดสค์ มีประชากร 643,548 คน (ค.ศ. 2010) มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายประเทศฟินแลนด์ ประกอบด้วยภูเขาเตี้ย ๆ มีทะเลสาบ ที่ลุ่มชื้นแฉะและธารน้ำอยู่ทั่วไป", "title": "สาธารณรัฐคาเรเลีย" }, { "docid": "25771#0", "text": "หนานจิง หรือรู้จักกันอีกชื่อว่า นานกิง () เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยหนานจิงเป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าของจีน ปัจจุบันหนานจิงเป็นเมืองใหญ่อันดับสองในภาคตะวันออกของจีน รองจากช่างไห่ และหนานจิงเป็นเมืองหลวงของจีนคณะชาติสมัยปฏิวัติล้มล้างจักรพรรดิจีน ราชวงศ์ชิงหรือแมนจู หนานจิง ที่แปลว่านครหลวงใต้ เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ จนได้รับสมญานามว่า เมืองหลวงสิบแผ่นดิน และยังเป็น 1 ใน 6 นครโบราณ อันได้แก่ ปักกิ่ง หนานจิง ซีอาน ลั่วหยาง หางโจว และ ไคเฟิง เป็นเมืองหลวงครั้งสุดท้ายระหว่างปี พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2492 โดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ซึ่งมีผู้นำขณะนั้น คือ นายพลเจียงไคเช็ค หลังสถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลใหม่จึงได้ย้ายเมืองหลวงกลับมายังปักกิ่งดังเดิม", "title": "หนานจิง" }, { "docid": "4427#1", "text": "ในภาษาไทย มีหลายคำที่ใช้ในความหมายนี้ เช่น กรุง หรือ พระนคร สำหรับคำว่าเมืองหลวงนั้นยังก็มีความหมายเป็นสองนัย กล่าวคือ หมายถึงเมืองใหญ่ (หลวง หมายถึง ใหญ่) หรือเมืองของหลวง (คือเมืองของพระเจ้าแผ่นดิน, เพราะเป็นที่ประทับของกษัตริย์) เมืองหลวงในบางประเทศ มีขนาดเล็กกว่าเมืองอื่น เช่นใน สหรัฐอเมริกา อินเดีย บราซิล สำหรับคำว่าเมืองหลวงนี้ อาจเป็นเมืองหลวงของรัฐ (ในประเทศที่ปกครองแบบสาธารณรัฐ เป็นต้น) หรือเมืองหลวงของเขตการปกครองระดับใดๆ ก็ได้ เช่น อำเภอเมือง เปรียบเหมือนเป็นเมืองหลวงของจังหวัด", "title": "เมืองหลวง" }, { "docid": "80139#4", "text": "สาธารณรัฐเกิดจากการลงนามในรัฐธรรมนูญกาแลกติกเมื่อ 25,000 ปีก่อนยุทธการยาวิน ในช่วงสงครามในการรวมกาแลกซี่ ในเวลานั้น มนุษย์และดูรอส ได้สลับขั้วเทคโนโลยีที่ใช้พลังของราคาทา จึงได้ประดิษฐ์ไฮเปอร์ไดรฟ์ขึ้น ทำให้คอรัสซังกลายมาเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐกาแลกติกและยังคงเป็นเช่นนั้นไปอีก 25,000 ปี สาธารณรัฐถูกสร้างขึ้นโดยผู้ก่อตั้งแกนหลัก ", "title": "สาธารณรัฐกาแลกติก" }, { "docid": "43297#8", "text": "เมื่อสาธารณรัฐตุรกีถูกก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) เมืองหลวงของประเทศย้ายจากอิสตันบูลไปที่เมืองอังการา นับระยะเวลาที่อิสตันบูลเป็นเมืองหลวงทั้งสิ้น 1,610 ปี", "title": "อิสตันบูล" }, { "docid": "938916#10", "text": "รหัสประเทศของสาธารณรัฐเช็กคือ 420 และอัตราการใช้กัญชาที่นั่นนั้นเป็นอันดับต้น ๆ ในโลก นักท่องเที่ยวต่างชาตินั้นคิดว่ากัญชาถูกกฎหมายในยุโรปกลาง แต่ว่าผู้เสพกัญชาในที่สาธารณะจะโดนปรับ และการถือครองกัญชามากกว่า 10 กรัมถือว่าเป็นอาชญากรรม ในปี 2016 สนูป ด็อกก์ได้แสดงความรู้เกี่ยวกับกัญชาในเกมโชว์ $100,000 \"Pyramid\" เขาตอบอย่างรวดเร็วว่ารหัสประเทศของสาธารณรัฐเช็กคือ 420", "title": "420 (วัฒนธรรมกัญชา)" }, { "docid": "227463#0", "text": "อินซฺวี () คือแหล่งมรดกโลกที่ตั้งอยู่ในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายของราชวงศ์ซาง โดยเป็นเมืองหลวงอยู่ 225 ปี มีจักรพรรดิปกครองอยู่ 12 พระองค์ ", "title": "อินซฺวี" }, { "docid": "665#19", "text": "หลังเยอรมนียอมจำนนแล้ว ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้แบ่งกรุงเบอร์ลินและประเทศเยอรมนีออกเป็น 4 เขตในยึดครองทางทหาร เขตฝั่งตะวันตกซึ่งควบคุมโดยฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ได้รวมกันและจัดตั้งขึ้นเป็นประเทศที่ชื่อว่า \"สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี\" เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1949 ส่วนเขตทางตะวันออกซึ่งอยู่ในควบคุมของสหภาพโซเวียตได้จัดตั้งขึ้นเป็นประเทศที่ชื่อว่า \"สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี\" เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ทั้งสองประเทศนี้ถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า \"ประเทศเยอรมนีตะวันตก\" มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงบ็อน และ \"ประเทศเยอรมนีตะวันออก\" มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงเบอร์ลินตะวันออก", "title": "ประเทศเยอรมนี" }, { "docid": "460117#0", "text": "บราซาวีล () เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐคองโก ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคองโก เชื่อมต่อกับชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก จากการสำรวจประชากรในปี ค.ศ. 2001 มีประชากร 1,018,541 คน และราว 1.5 ล้านคนหากรวมกับเขตชานเมือง ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามของกรุงกินชาซา เมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก กรุงบราซาวีลมีประชากรอาศัยอยู่ราว 1 ใน 3 ของประชากรประเทศ ยังเป็นเมืองศูนย์กลางการบริหารและเศรษฐกิจของประเทศ", "title": "บราซาวีล" }, { "docid": "999130#0", "text": "สาธารณรัฐโคมี (; ; ) เป็นหนึ่งในเขตการปกครองของประเทศรัสเซีย (สาธารณรัฐ) มีเมืองหลวงคือ ซึคตึฟคาร์ สาธารณรัฐมีประชากร 901,189 คน จากข้อมูลสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2010", "title": "สาธารณรัฐโคมี" }, { "docid": "756217#0", "text": "สาธารณรัฐบัชคอร์โตสถาน (; ) เป็นเขตการปกครองของประเทศรัสเซีย ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำวอลกากับเทือกเขายูรัล มีเมืองหลวงคืออูฟา มีประชากรทั้งหมด 4,072,292 คน และมีเนื้อที่ทั้งหมด 143,600 ตารางกิโลเมตร", "title": "สาธารณรัฐบัชคอร์โตสถาน" }, { "docid": "750919#3", "text": "ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2443 สหรัฐยอมให้มีการเลือกตั้งภายในสาธารณรัฐ ซึ่งมาเรียโน อาร์กิซาเป็นประธานาธิบดี แต่รัฐบาลของอาร์กิซาไม่ได้มีประสิทธิภาพและสิ้นสุดในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2445 สาธารณรัฐซัมโบอังกาสลายตัวไป ซัมโบอังกากลายเป็นเมืองหลวงของจังหวัดโมโร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตมินดาเนา", "title": "สาธารณรัฐซัมโบอังกา" }, { "docid": "739727#2", "text": "สาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนียยุติการดำรงอยู่อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1994 โดยรวมเข้ากับสหพันธรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (หน่วยการปกครองของสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา) หลังจากที่ทางการสาธารณรัฐโครเอเชียและทางการสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาร่วมลงนามในความตกลงวอชิงตัน เมืองหลวงอย่างเป็นทางการของเฮิร์ตเซก-บอสเนียคือเมืองมอสตาร์ส่วนตะวันตก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในขณะนั้นมอสตาร์อยู่ในพื้นที่สงคราม ศูนย์กลางการปกครองที่มีประสิทธิภาพจึงอยู่ที่เมืองกรูเด", "title": "สาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย" }, { "docid": "279810#3", "text": "ดัชชีมอนแฟร์ราโตมีเนื้อที่ 2750 ตารางกิโลเมตรที่แบ่งเป็นสองส่วนโดยมีพรมแดนติดกับดัชชีซาวอย, ดัชชีมิลาน และสาธารณรัฐเจนัว กาซาเลมอนแฟร์ราโตถือกันว่าเป็นเมืองหลวง แต่ในปัจจุบันอัสตีเป็นเมืองหลวงของมอนแฟร์ราโต", "title": "มอนแฟร์ราโต" }, { "docid": "409141#4", "text": "ในปี ค.ศ. 1836 มีเมืองห้าแห่งด้วยกันที่ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงชั่วคราวให้กับเทกซัส ได้แก่เมืองวอชิงตัน-ออน-เดอะ-แบรซัส, แฮร์ริสเบิร์ก, แกลวิสตัน, วิลาสโก และโคลัมเบีย ก่อนที่ประธานาธิบดีแซม ฮิวสตันจะย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองฮิวสตันในปี 1837 เมืองหลวงถูกย้ายไปที่เมืองสร้างใหม่ที่ชื่อว่าออสตินในปี 1839 โดยประธานาธิบดีคนต่อมา มิราโบ บี. ลามาร์ ธงชาติผืนแรกของสาธารณรัฐเทกซัสคือ “ธงเบอร์เน็ต” (Burnet Flag) มีลักษณะเป็นธงผืนน้ำเงินที่มีดาวทองอยู่ตรงกลาง ตามมาด้วยการประกาศใช้อย่างเป็นทางการของธงดาวเดียว (Lone Star Flag) ที่ยังเป็นธงประจำรัฐเทกซัสมาจนถึงทุกวันนี้", "title": "สาธารณรัฐเทกซัส" }, { "docid": "22071#3", "text": "สหพันธรัฐเซนต์คิตส์และเนวิสประกอบด้วย 2 เกาะ () \nสาธารณรัฐเซาท์ซูดานประกอบด้วย 28 รัฐ ()\nสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรียประกอบด้วย 36 รัฐ () และ 1 ดินแดน ()\nสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลประกอบด้วย 26 รัฐ () และ 1 เขตสหพันธ์ ()\nบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาประกอบด้วย 2 หน่วยการบริหาร () และ 1 เขต () ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลร่วมกันระหว่างหน่วยการบริหารทั้งสอง\nราชอาณาจักรเบลเยียมประกอบด้วย 3 เขต ()\nสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานประกอบด้วย 4 แคว้น (), 1 ดินแดน (), 1 ดินแดนเมืองหลวงสหพันธ์ () และยังมีอีก 2 ดินแดนปกครองตนเอง () ในบริเวณที่ยังเป็นกรณีพิพาทกับสาธารณรัฐอินเดีย", "title": "รายชื่อเขตการปกครอง" }, { "docid": "572877#0", "text": "สาธารณรัฐอะดีเกยา (; , \"Adıge Respublik\") เป็นสาธารณรัฐของประเทศรัสเซีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ เป็นดินแดนที่อยู่รอบล้อมด้วยดินแดนครัสโนดาร์ มีพื้นที่ 7,600 ตร.กม. (2,900 ตร.ไมล์) มีประชากร 439,996 คน (ค.ศ. 2010) เมืองหลวงคือเมือง ไมคอป", "title": "สาธารณรัฐอะดีเกยา" }, { "docid": "999144#0", "text": "สาธารณรัฐนอร์ทออสซีเชีย-อาลาเนีย (; , \"Respublikæ Cægat Iryston-Alani\", ; ) เป็นหนึ่งในเขตการปกครองของประเทศรัสเซีย (สาธารณรัฐ) จากการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2010 มีประชากร 712,980 คน มีเมืองหลวงคือ วลาดีคัฟคาซ", "title": "สาธารณรัฐนอร์ทออสซีเชีย-อาลาเนีย" }, { "docid": "92399#0", "text": "เทศมณฑลเผิงหู () คือหมู่เกาะชายฝั่งทางด้านตะวันตกของสาธารณรัฐจีน ซึ่งในอดีตปกครองสาธารณรัฐประชาชนจีนต่อจากราชวงศ์ชิง เกาะเล็กครอบคลุมพื้นที่ 141 ตารางกิโลเมตร เทศมณฑลเผิงหูถูกดำเนินการปกครองโดยสาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) เมืองหลวง Magong ซิตี้ เนื้อที่ทั้งหมด 141.052 ตารางกิโลเมตร ประชากรทั้งหมด 91,950 (ข้อมูลปี พ.ศ. 2550) ความหนาแน่นประชากร 724.79 คน/ตารางกิโลเมตร", "title": "เผิงหู" } ]
3141
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นโรงเรียนชายล้วนหรือไม่ ?
[ { "docid": "7078#0", "text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (อักษรย่อ: ส.ก. /S.K.) เป็นโรงเรียนชายล้วนในระดับชั้น มัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งโดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 88 ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บนเนื้อที่ 11 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 7 หลัง ห้องเรียนทั้งหมด 78 ห้อง นอกจากนี้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยยังโดดเด่นในเรื่องคุณภาพมาตรฐานของศิษย์เก่าที่จบไปโดยเฉพาะด้านวิชาการ ภาษา และความเป็นผู้นำ", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย" } ]
[ { "docid": "23996#0", "text": "โรงเรียนอัสสัมชัญ (บ้างเรียก อัสสัมชัญบางรัก หรือ อัสสัมชัญกรุงเทพ, ย่อ: อสช, AC) เป็นโรงเรียนเอกชนชายล้วนขนาดใหญ่ในกลุ่มจตุรมิตร ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, โรงเรียนเทพศิรินทร์, โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แผนกประถม ซึ่งตั้งอยู่ในซอยเซนต์หลุยส์ 3 ถนนสาทรใต้ และแผนกมัธยม ซึ่งตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก", "title": "โรงเรียนอัสสัมชัญ" }, { "docid": "7078#50", "text": "หมวดหมู่:โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย หมวดหมู่:โรงเรียนมาตรฐานสากล หมวดหมู่:โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย หมวดหมู่:โรงเรียนชายในประเทศไทย หมวดหมู่:โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง หมวดหมู่:โรงเรียนที่มีอายุเกิน 100 ปีในประเทศไทย", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย" }, { "docid": "199432#1", "text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี (สวนสระบุรี) เป็นหนึ่งในสถาบันสวนกุหลาบวิทยาลัย ทั้ง 11 สวน โดยบริหารจัดการภายใต้ธรรมนูญการศึกษาแห่งสถาบันสวนกุหลาบ ทั้งยังมีกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ และงานชุมนุมลูกเสือ - เนตรนารี สวนกุหลาบสัมพันธ์ ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี" }, { "docid": "37324#3", "text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ถือกำเนิดขึ้น โดยเจตจำนงของผาสุก และเง็ก มณีจักร คหบดีชาวปากเกร็ดสองสามีภรรยา ซึ่งมีบุตรชายและหลานชายเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย บริจาคที่ดินบริเวณใกล้กับถนนติวานนท์เป็นจำนวน 25 ไร่ 1 งาน 18 ตารางวา เพื่อสร้างโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อต้นปีการศึกษา 2520 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งคือ สุวรรณ จันทร์สม อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ผู้อำนวยการกองการมัธยมศึกษาในขณะนั้น, สมพงษ์ พูลสวัสดิ์ และกว้าง รอบคอบ อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา ขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนปากเกร็ด เป็นผู้ประสานงานจัดตั้ง\nในระยะเริ่มแรก โรงเรียนยังไม่มีอาคารเรียนถาวร มีเพียงที่ดินซึ่งกำลังถมและปรับสภาพ จึงต้องไปอาศัยใช้โรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ เป็นสถานที่ในการรับสมัครเข้าเรียน และเมื่อกระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งโรงเรียนฯ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2521 โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ๒ (ผาสุก มณีจักร) มีคณาจารย์ชุดแรก 22 คน นักเรียนชั้น ม.ศ.1 และ ม.1 รุ่นแรก จำนวน 12 ห้อง รวม 527 คน ครู-อาจารย์ 22 ท่าน ได้ฝากนักเรียนชายให้เรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และฝากนักเรียนหญิงให้เรียนที่โรงเรียนสตรีนนทบุรี โดยอยู่ในความดูแลของคณาจารย์ชายหญิง รวม 9 ท่าน ต่อมาในปีการศึกษา 2522 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว จำนวน 25 ห้องเรียน และอาคารเรียนถาวร จึงได้ย้ายนักเรียนกลับคืนมาทั้งหมด", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี" }, { "docid": "216678#5", "text": "ปีการศึกษา 2541 โรงเรียนร่วมกับโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัยสมุทรปราการ และ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัยปทุมธานี ขออนุญาตจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หล่อพระพุทธรูป “หลวงพ่อสวนกุหลาบ” ขนาดหน้าตักกว้าง 49 นิ้ว เพื่อประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียน โดยจำลองจากหลวงพ่อสวนกุหลาบ ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน ขนาดหน้าตัก 12 นิ้ว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างและพระราชทาน ให้เป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต" }, { "docid": "37324#21", "text": "จริยธรรมประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี แต่งขึ้นโดย นางอัมพา แสนทวีสุข อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนฯ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติสำหรับนักเรียนของโรงเรียนฯ มีทั้งหมด 3 ประการคือ\nโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ใช้เพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นเพลงประจำโรงเรียน ร่วมกับโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ทั้ง 10 แห่ง โดยหม่อมราชวงศ์เลื่อน สิงหรา เป็นผู้ประพันธ์คำร้อง จากทำนองแขกต่อยหม้อ จังหวะสองชั้นและในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งตรงกับวันสถาปนาโรงเรียน ครบรอบ 22 ปี นายสุโข วุฑฒิโชติ ผู้อำนวยการโรงเรียน ได้มีดำริในการจัดทำอัลบั้มเพลงของโรงเรียนขึ้น หนึ่งในจำนวนดังกล่าวนั้น คือเพลงมาร์ชสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อเป็นเพลงมาร์ชประจำโรงเรียนด้วยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ตั้งอยู่เลขที่ 51/4 หมู่ที่ 5 ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ใกล้กับห้าแยกปากเกร็ด โดยมาตามถนนติวานนท์ ทางที่มุ่งหน้าไปยังจังหวัดปทุมธานี ประมาณ 1 กิโลเมตร หรือหากมาจากสี่แยกสวนสมเด็จฯ ให้มาตามถนนติวานนท์ ทางที่มุ่งหน้าไปอำเภอปากเกร็ด ประมาณ 5 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางร่วมบริการ ของ ขสมก สาย 33 และ 90", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี" }, { "docid": "216678#1", "text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต (สวนรังสิต) เป็นหนึ่งในสถาบันสวนกุหลาบวิทยาลัย ทั้ง 11 สวน โดยบริหารจัดการภายใต้ธรรมนูญการศึกษาแห่งสถาบันสวนกุหลาบ ทั้งยังมีกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ และงานชุมนุมลูกเสือ - เนตรนารี สวนกุหลาบสัมพันธ์ ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต" }, { "docid": "279703#1", "text": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ประกาศจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2535 โดยเป็นโรงเรียน 1 ใน 9 โรงเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลสมัยที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมมายุ 60 พรรษา ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถว่า \"นวมินทราชินูทิศ\" และโดยที่กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้อยู่ในความดูแลของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในระยะเริ่มแรก กระทรวงศึกษาธิการจึงให้เติมต่อท้ายชื่อ ว่า \"โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี\" และได้รับมอบหมายให้นายผจง อุบลเลิศ ครูโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในขณะนั้นเป็นผู้ประสานการจัดตั้งและดูแล โดยต่อมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานีคนแรก", "title": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี" }, { "docid": "216678#36", "text": "ปัจจุบันโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมีสถานศึกษาในเครือที่ใช้ชื่อ “สวนกุหลาบวิทยาลัย” ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยทั้งหมด 11 แห่ง \nมีการสร้างพันธกิจสำคัญร่วมกันขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาโดยการบริหารจัดการขององค์กรเครือข่ายสวนกุหลาบ สร้างบรรทัดฐานการเรียนการสอนทั้ง 11 สวนไปในทิศทางเดียวกัน ได้แก่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต" }, { "docid": "279703#3", "text": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี เป็น 1 ใน 9 แห่งของกลุ่มโรงเรียน 9 นวมินทราชินูทิศ ซึ่งสถาปนาขึ้นเนื่องในวโรกาสมหามงคลที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้สถาปนาโรงเรียนในโครงการเฉลิมพระเกียรติขึ้นจำนวน 9 แห่ง โดยโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2535 บนพื้นที่ 20 ไร่ บริเวณโครงการวิคตอเรียปาร์ค ซึ่งได้รับการบริจาคจากคุณสมหมาย แก้วสวัสดิ์ การก่อตั้งโรงเรียนในระยะแรกนั้น กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นผู้ประสานงานการจัดตั้งโรงเรียน ดังนั้น จึงใช้ชื่อโรงเรียนว่า \"\"โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี\"\" ต่อมา เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถว่า \"นวมินทราชินูทิศ\" แล้ว จึงเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น \"\"โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี\"", "title": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี" }, { "docid": "377926#1", "text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี (สวนชล) เป็นหนึ่งในสถาบันสวนกุหลาบวิทยาลัย ทั้ง 11 สวน โดยบริหารจัดการภายใต้ธรรมนูญการศึกษาแห่งสถาบันสวนกุหลาบ ทั้งยังมีกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ และงานชุมนุมลูกเสือ - เนตรนารี สวนกุหลาบสัมพันธ์ ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี" }, { "docid": "24076#0", "text": "โรงเรียนเทพศิรินทร์ (English: Debsirin School, ย่อ: ท.ศ., DS) เป็นโรงเรียนรัฐบาลชายล้วนขนาดใหญ่ในกลุ่มจตุรมิตร ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ตั้งอยู่เลขที่ 1466 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร", "title": "โรงเรียนเทพศิรินทร์" }, { "docid": "377926#2", "text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยคุณวิกรม กรมดิษฐ์ เป็นผู้บริจาคพื้นที่ 25 ไร่ และเริ่มวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2542 โดยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้มอบหมายนายพูนทรัพย์ วัฒนไชย มาบริหารงานและต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคนแรก ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี\nปีการศึกษา 2542 เป็นการเปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังจากที่โรงเรียนอื่นๆเปิดไปแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ มีจำนวนนัก เรียนทั้งหมด22คน โดยใช้หลักสูตรการเรียนการสอนทุกอย่างเหมือน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และในปีแรกโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยส่งครูมาช่วสสอน3 วิชา และทางอมตะจ้างครูมาช่วยสอน สภาพโดยทั่วไปของโรงเรียน แห้งแล้ง เป็นป่าหญ้าคา ถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปา รวมถึงงบประมาณต่างๆก็ไม่มี ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากชุมชนบริเวณนี้ คอยอำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ\nปีการศึกษา 2543 เปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 100 คน ปีการศึกษานี้ได้รับ\nครูอัตราจ้างมาจำนวน 4 คน ส่วนอุปกรณ์การเรียนการสอนทั้งหมดจึงได้รับความอนุเคราะห์จากทางอมตะ และทางโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยรวมถึงชุมชนในบริเวณนี้ ทางอมตะและโรงงานช่วยสร้างโรงอาหารให้ 1 หลังปีการศึกษา 2544 เปิดรับนักเรียนชั้น ม. 1 จำนวน 160 คน ในปีการศึกษานี้ ได้ครูอัตราจ้างเพิ่มขึ้นอีก 8 อัตรา และทางโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ส่งครู มาช่วยสอน อีก 2 ท่าน และได้รับความร่วมมือจากท่านผู้ปกครองและชุมชนในการจัดทำห้องคอมพิวเตอร์ 1 ห้อง เพื่อใช้ในการเรียนการสอนให้กับนักเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักเรียน\nปีการศึกษา 2545 เปิดรับมัธยมศึกษา ปีที่ 1 จำนวน 4 ห้องเรียน และเป็นปีแรกที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 สายการเรียน คือ วิทย์-คณิต และสายศิลป์ – ภาษา ในปีการศึกษาได้มีอาคารชั่วคราวเพิ่มขึ้น อีก 1 หลัง จำนวน 6 ห้องเรียนอาคารห้องสมุด และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ 1 หลัง และห้องน้ำหญิง จำนวน 6 ห้องโดยท่านพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ บริจาคพร้อมโต๊ะ เก้าอี้ จากคุณสุรพล เตชะหรูวิจิตร\nปีการศึกษา 2546 ท่านพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มอบให้พลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์ พลโทเฉลียว อักษรดี พลโทเนาวรัตน์ ทองคำวงษ์ สร้างอาคารเรียน 4 ห้อง พร้อมสนามบาสเกตบอล 1 สนาม ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้น ม.5 จำนวน 2 แผนการเรียน คือ วิทย์ – คณิต และศิลป์ – ภาษา ม.4 จำนวน 3 แผนการเรียน คือวิทย์ – คณิต และศิลป์ – ภาษา และอังกฤษ- สังคม รับนักเรียนชั้น ม. 1 จำนวน 3 ห้องเรียน สร้างห้องดนตรีไทย 1 ห้อง และสนามวอลเลย์ 2 สนาม ในปีการศึกษา นี้มีครูจำนวน 24 คน และนักเรียนจำนวน 564 คน\nปีการศึกษา 2547 นายแพทย์ประสพ รัตนกร ได้มอบหมายให้ พลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ประสานงานกับ พลโทเนาวรัตน์ ทองคำวงษ์และนายพูนทรัพย์ วัฒนไชย ผู้บริหารโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี เรื่องพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษได้ให้ความอนุเคราะห์บริจาคเงินจำนวน 1,000,000 บาทเพื่อสร้างอาคารชั่วคราว 1 หลัง 5 ห้องเรียน และนายแพทย์ประสพ รัตนกร ได้ให้ชื่ออาคารเรียนนี้ว่า “อาคารศึกษาพัฒนามูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์” ต่อมาคณะผู้ปกครองนักเรียน ได้ให้ความอนุเคราะห์ร่วมจัดสร้างอาคารอเนกประสงค์ 1 เพื่ออำนวยความสะดวกทำกิจกรรมในร่มของนักเรียน พร้อมกันนี้ ได้จัดสร้างอ่างล้างหน้าจำนวน 24 อ่าง ให้กับนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี อีกด้วย\nปีการศึกษา 2548 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้รับความอนุเคราะห์จาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยการประสานงานของผู้อำนวยการสมหมาย วัฒนคีรี อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กับนายสิทธิรักษ์ จันทร์สว่าง ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเรื่องการสร้างอาคารอเนกประสงค์หลังเก่า ซึ่งโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้งบประมาณในการสร้างอาคารใหม่ จึงรื้ออาคารหลังเก่า แต่ด้วยความห่วงใย ที่ทราบว่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ยังไม่มีอาคารอเนกประสงค์เพียงพอที่จะรองรับการทำกิจกรรมให้กับนักเรียน จึงได้ขออาคารนี้ กับผู้รับเหมาให้กับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ซึ่งก่อนหน้านี้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ขายให้กับผู้รับเหมาไปแล้วทั้งนี้ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้รับความอนุเคราะห์เรื่องการขนย้าย โครงการอเนกประสงค์และอิฐตัวหนอน จากพลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์กับพลโทเนาวรัตน์ ทองคำวงศ์ ด้วยการนำทหารมาช่วยเหลือ ทำให้ภารกิจนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี\nปีการศึกษา 2551 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้รับงบในการสร้างอาคารเรียนถาวรจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 5,900,000 บาท ( ห้าล้านเก้าแสนบาทถ้วน)ในการสร้างอาคารเรียนถาวร 4 ชั้น 12 ห้องเรียน", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี" }, { "docid": "6349#27", "text": "ในปี พ.ศ. 2525 ทรงพระราชดำริให้ก่อตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับบุตรหลานข้าราชบริพารและประชาชนทั่วไป เปิดทำการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2525 โดยทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์ประธานกรรมการคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และทรงเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทุกครั้ง รวมถึงเสด็จพระราชดำเนินไปในงานปิดภาคเรียนของโรงเรียนทุกครั้ง เพื่อพระราชทานทุนพระราชทานส่งเสริมการเรียนดี และพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานจากสถานศึกษาต่าง ๆ คือ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ วิทยาลัยในวังชาย วิทยาลัยในวังหญิง โรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วิทยาลัยในวัง) กาญจนาภิเษกวิทยาลัย (ช่างทองหลวง)", "title": "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" }, { "docid": "199432#2", "text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยสระบุรี เดิมมีชื่อว่า โรงเรียนปากเพรียววิทยาคม สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 โดยเปิดสอนระดับมัธยม โดยเปิดเรียนวันแรก ในวันที่ 12 พฤษภาคมพ.ศ. 2537 มีนักเรียนจำนวน 109 คน ครูจำนวน 6 คน มีนายไพบูรย์ เพ็งพูล เป็นผู้บริหารคนแรกและบุกเบิกก่อตั้ง ในระยะแรกอาคารเรียนยังก่อตั้งไม่เสร็จ ได้ขออาศัยวัดสุวรรณคีรี ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามในปัจจุบันเป็นที่ทำการเรียนการสอนนักเรียนอยู่ประมาณ 2 ปีเศษ จึงได้ย้ายมาพื้นที่ปัจจบัน ตั้งแต่วันที่ 12 กันยนยน 2539 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนมีอาคารเรียน 3 อาคารต่อมาผู้อำนวยการ จตุรงค์ เกิดปั้น เป็นผู้นำสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาโรงเรียนครั้งสำคัญ จากโรงเรียนปากเพรียววิทยาคม\nจากมติที่ประชุมของโรงเรียน ซึ่งดำรงโดยผู้อำนวยการจตุรงค์ เกิดปั้น ได้ดำเนินการ สมาคมศิษย์เก่า และสมาคมครูผู้ปกครอง ในพระบรมราชูปถัมป์ พร้อมด้วยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มีมติให้โรงเรียนปากเพรียววิทยาคม เป็นเครือข่ายของโรงเรียน สวนกุหลาบวิทยาลัย ลำดับที่ 8 โดยให้ชื่อว่า \" โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี \" ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549ตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา โรงเรียนจึงเปลี่ยนชื่อย่างเป็นทางการว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี SuanKularb Wittayalai Saraburi โดยผู้อำนวยการ จตุรงค์ เกิดปั้น จนกระทั่งเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2552 ในปัจจุบันท่านที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี คือ ท่านผู้อำนวยการธนิต มูลสภา ", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี" }, { "docid": "284804#0", "text": "การแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 25 เป็นการแข่งขันฟุตบอลประเพณีของโรงเรียนชายล้วน 4 โรงเรียน โดยครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 25 มีโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพ ทำการแข่งขันในวันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน ถึง วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่สนามศุภชลาศัย ภายในสนามกีฬาแห่งชาติ", "title": "จตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 25" }, { "docid": "19655#0", "text": "โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (English: Bangkok Christian College ย่อ: ก.ท, BCC) เรียกอย่างย่อว่า กรุงเทพคริสเตียน หรือ คริสเตียน เป็นโรงเรียนเอกชนชายล้วนขนาดใหญ่ ได้รับการสถาปนาขึ้นโดยคณะมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2395 เป็นโรงเรียนแห่งแรกในเครือสภาคริสตจักรในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย 28 โรงเรียน กับ 2 มหาวิทยาลัย[1] ปัจจุบันโรงเรียนมีอายุ 166 ปี เป็นโรงเรียนที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย เป็นโรงเรียนโปรแตสแตนท์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ และเป็นโรงเรียนเพียงแห่งเดียวในปัจจุบันที่ก่อตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยตั้งอยู่ เลขที่ 35 ถนนประมวญ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร[2] โรงเรียนมีศิษย์เก่าเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคน ทั้งองคมนตรี 4 คน นายกรัฐมนตรีไทย 2 คน รัฐมนตรีหลายกระทรวง นักร้อง นักแสดง ผู้จัดรายการหลายคน และ อำนวย เสี่ยงไทร์ แพทย์ชื่อดังโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยเป็นโรงเรียนในเครือจตุรมิตร ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, โรงเรียนเทพศิรินทร์, โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย", "title": "โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย" }, { "docid": "390184#1", "text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช เป็นหนึ่งในสถาบันสวนกุหลาบวิทยาลัย ทั้ง 11 สวน โดยบริหารจัดการภายใต้ธรรมนูญการศึกษาแห่งสถาบันสวนกุหลาบ ทั้งยังมีกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ และงานชุมนุมลูกเสือ - เนตรนารี สวนกุหลาบสัมพันธ์ ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช" }, { "docid": "37324#45", "text": "กลุ่มโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม เพื่อเชื่อมความสามัคคีระหว่างสถาบันคือ \"งานชุมนุมลูกเสือ-เนตรนารี สวนกุหลาบสัมพันธ์\" ที่เป็นกิจกรรมเข้าค่ายพักแรมลูกเสือเนตรนารีร่วมกัน และ \"การแข่งขันกรีฑา สวนกุหลาบสัมพันธ์\" ซึ่งเป็นกิจกรรมแข่งขันกีฬาประเภทลู่และลานร่วมกัน\nปัจจุบันโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมีสถานศึกษาในเครือที่ใช้ชื่อ “สวนกุหลาบวิทยาลัย” ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยทั้งหมด 11 แห่ง \nมีการสร้างพันธกิจสำคัญร่วมกันขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาโดยการบริหารจัดการขององค์กรเครือข่ายสวนกุหลาบ สร้างบรรทัดฐานการเรียนการสอนทั้ง 11 สวนไปในทิศทางเดียวกัน ได้แก่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี" }, { "docid": "150540#2", "text": "เริ่มต้นอาชีพการเป็นครู เมื่อปี พ.ศ. 2506 ที่โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ย้ายเข้าสอนที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นเวลาถึง 17 ปีเต็ม จนถึงปี พ.ศ. 2534 จึงได้รับมอบหมายให้ประสานงานก่อตั้ง โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ และรับตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรก ในปีเดียวกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการคนที่ 8 และเป็นชายคนแรก ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี จนเกษียณอายุราชการ ในปี พ.ศ. 2545", "title": "สุโข วุฑฒิโชติ" }, { "docid": "390184#29", "text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช ใช้เพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นเพลงประจำโรงเรียน ร่วมกับโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ทั้ง 10 แห่ง โดยหม่อมราชวงศ์เลื่อน สิงหรา เป็นผู้ประพันธ์คำร้อง จากทำนองแขกต่อยหม้อ จังหวะสองชั้น และศิษย์เก่ารุ่นที่ 4 เฟื้องฟ้า ได้แต่งเพลงมาร์ชสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช (มาร์ชจากเหลืองแดงสู่ชมพูฟ้า) ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อเป็นเพลงมาร์ชประจำโรงเรียน นอกจากนี้ยังมีเพลงมาร์ชชมพูฟ้า เพลงกลิ่นกุหลาบ เพลงกุหลาบคืนสวน เพลงกุหลาบที่ไม่เคยโรย เพลงจากแดนสวน เพลงชมพู-ฟ้า อาลัย เพลงชมพู-ฟ้า คู่ใจ เพลงวันสมานมิตร เพลงสู่แดนสวน เพลงหอมกลิ่นกุหลาบ เพลงจตุรมิตร เพลงร้อยสิบปีที่เรารอคอย เพลงวันดอกกุหลาบ", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช" }, { "docid": "279703#0", "text": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี เป็นโรงเรียนในโครงการเฉลิมพระเกียรติ ในกลุ่มโรงเรียน 9 นวมินทราชินูทิศ และเป็นโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย แห่งที่ 4 เมื่อวันที่ 12-13 ตุลาคม พ.ศ. 2534 กรมสามัญศึกษาได้พิจารณาดำเนินการรับที่ดินไว้จัดตั้งเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในปี พ.ศ. 2535 กรมสามัญศึกษาได้มอบหมายให้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นผู้ประสานงานจัดตั้งโรงเรียนในโครงการ 1 ใน 9 โรงเรียน โดยใช้ที่ดินบริจาคของคุณสมหมาย แก้วสวัสดิ์ในโครงการวิคตอเรียปาร์ค จำนวน 20 ไร่ และใช้ชื่อโรงเรียนว่า \"\"โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี\"\"", "title": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี" }, { "docid": "192556#2", "text": "เมื่อปี พ.ศ. 2523 นายสำเริง นิลประดิษฐ์ มีดำริจะขยายโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ออกไปสี่มุมเมือง จึงได้ปรึกษากับ นายวัฒนา อัศวเหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น ให้จัดหาที่ดินสร้างโรงเรียน แต่ก็ติดปัญหาบางประการ จึงระงับโครงการไป ต่อมา กรมสามัญศึกษา ได้สั่งให้สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ รับสมัครนักเรียนในปีการศึกษา 2533 จำนวน 5 ห้องเรียน โดยฝากไว้ที่โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ 2 ห้อง และ โรงเรียนสมุทรปราการ 3 ห้อง รวมนักเรียนชาย–หญิง จำนวน 250 คน เมื่อประกาศจัดตั้งโรงเรียนแล้ว จึงนำนักเรียนที่ฝากไว้ มาเรียนที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ ทว่าเกิดปัญหาขัดข้องในเรื่องที่ดินสร้างโรงเรียน ทำให้ต้องยกนักเรียนที่ฝากไว้ ให้เป็นนักเรียนของโรงเรียนนั้นไป", "title": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ" }, { "docid": "956302#1", "text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์ (สวนเพชร) เป็นหนึ่งในสถาบันสวนกุหลาบวิทยาลัย ทั้ง 11 สวน โดยบริหารจัดการภายใต้ธรรมนูญการศึกษาแห่งสถาบันสวนกุหลาบ ทั้งยังมีกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ และงานชุมนุมลูกเสือ - เนตรนารี สวนกุหลาบสัมพันธ์ ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์" }, { "docid": "370765#1", "text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ (สวนจิรประวัติ) เป็นหนึ่งในสถาบันสวนกุหลาบวิทยาลัย ทั้ง 11 สวน โดยบริหารจัดการภายใต้ธรรมนูญการศึกษาแห่งสถาบันสวนกุหลาบ ทั้งยังมีกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ และงานชุมนุมลูกเสือ - เนตรนารี สวนกุหลาบสัมพันธ์ ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์" }, { "docid": "279703#4", "text": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ พร้อมกันนี้ พระองค์ได้พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อโรงเรียนมัธยมศึกษาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ว่า \"โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ\"และเนื่องจากในระยะเริ่มต้นของการก่อตั้งโรงเรียนนั้น กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นผู้ประสานงานการจัดตั้งโรงเรียน ดังนั้น โรงเรียนนวมินทราชินูทิศแห่งนี้ จึงลงท้ายชื่อโรงเรียนว่า \"สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี\" โดยความหมายของชื่อโรงเรียนนั้น สามารถแยกออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ \nดังนั้น นาม \"นวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี\" จึงมีความหมายว่า โรงเรียนสาขาแห่งสวนกุหลาบวิทยาลัย ณ จังหวัดปทุมธานี ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อถวายแด่พระราชินีแห่งพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9", "title": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี" }, { "docid": "390184#62", "text": "ปัจจุบันโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมีสถานศึกษาในเครือที่ใช้ชื่อ “สวนกุหลาบวิทยาลัย” ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยทั้งหมด 11 แห่ง มีการสร้างพันธกิจสำคัญร่วมกันขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาโดยการบริหารจัดการขององค์กรเครือข่ายสวนกุหลาบ สร้างบรรทัดฐานการเรียนการสอนทั้ง 11 สวนไปในทิศทางเดียวกัน ได้แก่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช" }, { "docid": "19833#0", "text": "การแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคี เป็นการแข่งขันฟุตบอลประเพณีระดับมัธยมศึกษาระหว่างโรงเรียนชายล้วนเก่าแก่สี่โรง ประกอบด้วยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, โรงเรียนเทพศิรินทร์, โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จัดขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี ณ สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ", "title": "จตุรมิตรสามัคคี" }, { "docid": "891725#1", "text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี (สวนธน) เป็นหนึ่งในสถาบันสวนกุหลาบวิทยาลัย ทั้ง 11 สวน โดยบริหารจัดการภายใต้ธรรมนูญการศึกษาแห่งสถาบันสวนกุหลาบ ทั้งยังมีกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ และงานชุมนุมลูกเสือ - เนตรนารี สวนกุหลาบสัมพันธ์ ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี" } ]
3221
บริษัท Alfa Romeo Automobiles S.p.A. ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกปีใด ?
[ { "docid": "51528#0", "text": "อัลฟาโรเมโอ (Alfa Romeo) ในนามบริษัท Alfa Romeo Automobiles S.p.A. บางครั้งก็นิยมเรียกชื่อสั้นๆเข้าใจง่ายว่า \"อัลฟา\" เป็นผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติอิตาลี แห่งเมืองมิลาน ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1910 สร้างชื่อเสียงมาจากการผลิตรถสปอร์ตราคาแพง และการแข่งขันกีฬามอเตอร์สปอร์ต ปัจจุบันอยู่ภายใต้การครอบครองของ FCA Italy S.p.A. ในเครือบริษัท Fiat Chrysler Automobiles, NV", "title": "อัลฟาโรเมโอ" } ]
[ { "docid": "54140#1", "text": "ในประเทศไทยมีการนำเข้ารถยนต์ อัลฟา 155 เข้ามาจำหน่ายเพียงรุ่นเดียวคือ Alfa Romeo 155 2.0 Twin Spark และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น Alfa Romeo 155 Super 2.0 Twin Spark-16Valve", "title": "อัลฟาโรเมโอ 155" }, { "docid": "259691#27", "text": "Alfa Romeo 8c Competizione - C (รุ่นต้นแบบ)", "title": "Test Drive Unlimited" }, { "docid": "51528#31", "text": "Alfa Romeo 4C (960)", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "51528#14", "text": "Octopussy - James Bond ในยุคของ Roger Moore ได้ขโมยรถ Alfa Romeo GTV6 และขับหลบหนีรถตำรวจ", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "51528#6", "text": "ปี ค.ศ. 1952 Alfa Romeo ได้ทำการทดลองผลิตรถขับเคลื่อนล้อหน้ารุ่นแรกในโปรเจกต์ “Project 13-61” ได้ถูกเรียกว่า Tipo 103 ซึ่งรูปแบบนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับรถรุ่นยอดนิยม Alfa Romeo Giulia 105 แต่ก็มีอันต้องปิดโปรเจกต์ เนื่องจากสภาวะปัญหาทางเศรษฐกิจในช่วงก่อนสงครามอิตาลี", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "51528#7", "text": "จากนั้นในปี ค.ศ. 1954 เริ่มหันกลับมาผลิตรถเล็กและเครื่องยนต์ Twin Cam ซึ่งล้ำสมัยมากในยุคนั้น หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1986 ก็เริ่มใช้เครื่องยนต์แบบ Twin Spark ที่เป็นเอกลักษณ์จากการใช้หัวเทียนแบบสองหัวต่อหนึ่งสูบ ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1960-1970 นั้น Alfa Romeo ได้ผลิตรถในนามของบริษัท Finmeccanica ซึ่งเป็นเจ้าของโดยรัฐบาลอิตาลี ต่อมาได้ขายบริษัทต่อให้กับบริษัท Fiat Group ในปี ค.ศ. 1986 จากนั้น Fiat Group ได้สร้างกลุ่มบริษัทใหม่ขึ้นมา Alfa Lancia Industriale S.p.A เพื่อที่รถ Alfa Romeo และ Lancia ได้ทำการพัฒนาร่วมกัน และได้รวบรวมความเป็น Alfa Romeo ให้เป็นรถที่มีทั้งสไตล์ที่ดูโฉบเฉี่ยว และความเป็นรถสปอร์ตที่ทันสมัย ตามสโลแกนในปีนั้น \"Cuore Sportivo\" (Sporting Heart)", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "51528#33", "text": "Alfa Romeo Giulia (952)", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "51528#18", "text": "S1m0ne - ภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 2002 Viktor Taransky รับบทโดย Al Pacino ให้ Alfa Romeo 2600 Touring Spider กับลูกสาวเป็นของขวัญในวันเครบรอบวันเกิดอายุ 16 ปีของเธอ", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "51528#5", "text": "Henry Ford ผู้ก่อตั้ง Ford ได้เคยพูดคุยกับ Ugo Gobbato วิศวกรของ Alfa Romeo เมื่อปี ค.ศ. 1939 ไว้ว่า \"เมื่อผมเห็น Alfa Romeo ขับผ่านไป ผมจะเปิดหมวก\" ซึ่งหากสวมหมวกอยู่การเปิดหมวก หรือเอามือแตะหมวกเป็นธรรมเนียมของชาวตะวันตกเพื่อแสดงความเคารพและให้เกียรติ", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "51528#34", "text": "Giulia ตัวแทนของ 159 เปิดตัวต่อสื่อมวลชน ในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 2015 วันครบรอบ 105 ปีของการก่อตั้งบริษัท ที่พิพิธภัณฑ์ของ อัลฟา โรมิโอ (Museo Storico Alfa Romeo) ในอเรเซ่ เมืองมิลาน โดยเปิดตัวด้วยรุ่น Quadrifoglio เครื่องยนต์ V6 ทำมุม 90 องศา ที่ใช้พื้นฐานของเครื่องยนต์ V8 F154 ของ Ferrari โดยมีขนาดความจุ 2.9 ลิตร ไบ-เทอร์โบ ให้กำลังสูงสุด 505 แรงม้า จากนั้นรุ่นปกติเปิดตัวตามออกมาภายหลัง", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "51528#16", "text": "The Graduate - Dustin Hoffman ซึ่งรับบท Ben Braddock ซิ่งรถ Alfa Romeo Spider \"Duetto\" ในภาพยนตร์เรื่องนี้", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "51528#4", "text": "“When I see an Alfa Romeo go by, I tip my hat.”—Henry Ford", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "51528#21", "text": "Angels & Demons - ภาพยนตร์สร้างจากนวนิยายของ Dan Brown โดยมี Alfa Romeo 159 เป็นรถตำรวจอิตาลี", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "51528#20", "text": "Quantum of Solace - Alfa Romeo 159 Ti สีดำ 3 คัน ปรากฏในฉากเปิดเรื่องของภาพยนตร์ โดยเป็นฝ่ายไล่ล่ารถ Aston Martin DBS ของ James Bond ที่รับบทโดย Daniel Craig และ Alfa Romeo 156 ซึ่งเป็นรถของตำรวจอิตาลี", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "51528#27", "text": "Alfa Romeo MiTo (955)", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "51528#25", "text": "Jeremy Clarkson อดีตพิธีกรชื่อดังจากรายการ Top Gear ทางช่อง BBC 2 ได้กล่าวกับรถ Alfa Romeo เอาไว้ว่า \"Nobody can call themselves a true petrolhead until they have owned one\" (ไม่มีใครสามารถเรียกตัวเองได้ว่าเป็นคนบ้ารถได้อย่างแท้จริง จนกว่าพวกเขาจะได้เป็นเจ้าของมัน) และในเทปที่ทำการทดสอบ Alfa Romeo 8C Competizione ยังกล่าวเอาไว้อีกว่า \"If I can liken the whole global car industry to the human body, Toyota is the brain, Aston Martin is the face, Cadillac is the stomach and Alfa Romeo... is the heart and soul\" (ถ้าผมสามารถเปรียบอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลกเสมือนกับร่างกายมนุษย์, โตโยต้าคือมันสมอง, แอสตัน มาร์ติน คือใบหน้า, คาดิลแลคคือกระเพาะอาหาร และอัลฟ่า โรมิโอ... คือหัวใจและจิตวิญญาณ) ซึ่งความหมายสอดคล้องกับสโลแกนในตอนนั้นของ อัลฟ่า โรมิโอ \"Without Heart We Would Be Mere Machines\" แปลความหมายซึ่งเป็นประโยคเปรียบเทียบกับรถยนต์อื่นๆได้ว่า \"ถ้าเราไม่มีหัวใจ ก็คงเป็นได้แค่เพียงเครื่องจักรเท่านั้น\"", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "51528#2", "text": "จากนั้นในปี ค.ศ. 1915 บริษัทได้อยู่ภายใต้การปกครองของผู้บริหารและวิศวกรคนใหม่ Nicola Romeo ผู้ที่เปลี่ยนแปลงบริษัทให้หันมาผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ของทหารอิตาลีและพันธมิตรในช่วงสงครามโลก ต่อมาเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Alfa Romeo และได้เปิดตัวรถรุ่น Torpedo 20-30 HP ซึ่งรถรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่ได้ใช้ชื่อของ Alfa Romeo อย่างเป็นทางการ โดยพัฒนามาจากรถรุ่นที่แรกที่ผลิตในปี 1910 ซึ่งในช่วงนี้บริษัทมีกระแสตอบรับที่ดีมาก", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "51528#12", "text": "ทางด้านวงการรถแข่ง Alfa Romeo มีชื่อเสียงโดยประสบความสำเร็จในการแข่งขันในมากมายหลายๆด้านในวงการ รวมถึง Grand Prix motor racing, Formula One, Sports car racing และ Rally Racing โดยเริ่มต้นประเดิมสนามในปี ค.ศ. 1911 ในนาม A.L.F.A. หลังจากที่ก่อตั้งบริษัทได้เพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น และเริ่มประสบความสำเร็จภายในสองปีต่อจากนั้น ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1929 ได้มีทีมแข่งเฉพาะกิจเป็นของตนเองชื่อว่า Alfa Corse และทีมที่ Enzo Ferrari หลังจากสมัยที่เขาทำงาน และเป็นนักแข่งรถให้กับ Alfa Romeo นั่นคือทีมที่มีชื่อว่า Scuderia Ferrari (ทีมแข่งของรถ Ferrari ในปัจจุบัน) ซึ่งก่อตั้งในปีเดียวกัน โดยในยุคแรกๆทีมของ Ferrari นั้นก่อตั้งเพื่อเป็นทีมแข่งโดยใช้รถ Alfa Romeo โดยเฉพาะ โดยในยุคต่อมาหลังจากที่ Ferrari ทำรถยนต์เป็นของตนเอง Alfa Romeo ก็มีทีมงานสำหรับการแข่งขันโดยเฉพาะอีกหนึ่งทีมโดยใช้ชื่อว่า Auto-Delta ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1961 โดย Alfa Romeo นั้นสามารถคว้าชัย World championship for Grand Prix ในปี ค.ศ. 1925 แชมป์รายการ World Championships 5 สมัย แชมป์ 24 Hours Le Mans 4 สมัย และรายการอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่ง Alfa Romeo ได้สร้างชื่อเสียงที่ดีในวงการมอเตอร์สปอร์ตมาตลอด อาจกล่าวได้ว่าไม่มีการแข่งรถประเภทใดในทวีปยุโรปที่ Alfa Romeo ลงแข่งขันแล้วไม่เคยชนะ", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "420174#0", "text": "ลัมโบร์กีนี ( บางครั้งเรียก \"แลมบอร์กินี\" ในภาษาอังกฤษ) ในนามบริษัท Automobili Lamborghini S.p.A. บริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติอิตาลี ก่อตั้งโดย Ferruccio Lamborghini ในปี ค.ศ. 1963 เน้นเจาะตลาดตลาดไปที่การผลิตรถสปอร์ต มีคู่แข่งทางตลาดที่สำคัญ คือเฟอร์รารี ซึ่งเป็นรถสัญชาติเดียวกัน ปัจจุบัน ลัมโบร์กีนี อยู่ในการครอบครองของเอาดี้ เอจี ในเครือโฟล์กสวาเกนกรุ๊ป", "title": "ลัมโบร์กีนี" }, { "docid": "51528#11", "text": "ส่วนตราสัญลักษณ์ Quadrifoglio Verde (ใบโคลเวอร์สี่กลีบ สีเขียว) เกิดจาก Ugo Sivocci นักแข่งรถของทีม ชนะการแข่งขัน 1923 Targa Florio กับรถแข่ง Alfa Romeo RL โดยที่เขาเพ้นท์รูปใบโคลเวอร์ 4 กลีบ เอาไว้ที่หัวของตัวรถ ตามความเชื่อของทางฝั่งตะวันตกที่มีความเชื่อว่า หากใครพบโคลเวอร์ 4 กลีบ จะประสบโชคดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะโดยปกติแล้วใบของต้นโคลเวอร์ทั่วไปจะมีเพียงแค่ 3 กลีบ ซึ่งว่ากันว่า ในต้นโคลเวอร์หนึ่งพันต้นนั้น จะพบใบโคลเวอร์ 4 กลีบได้เพียงใบเดียวเท่านั้น โอกาสพบใบโคลเวอร์ 4 กลีบจึงเป็นปรากฏการณ์ที่หาได้ยากมาก และยังถือเป็นเครื่องรางชนิดหนึ่งเลยทีเดียว จนต่อจากนั้นเกิดเป็นตราสัญลักษณ์นำโชค และนำมาใช้กับรถแข่งของ Alfa Romeo", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "51528#35", "text": "Alfa Romeo Stelvio (949)", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "51528#19", "text": "Ripley's Game - John Malkovich ในบท Tom Ripley ใช้รถ Alfa Romeo 156 Sportwagon สีแดงในภาพยนตร์เรื่องนี้", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "51528#29", "text": "Alfa Romeo Giulietta (940)", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "51528#8", "text": "จากนั้นในปี ค.ศ. 2007 บริษัท Fiat Group S.p.A. (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น FCA Italy S.p.A.) ได้ก่อตั้งบริษัทใหม่อีก 4 บริษัท คือ Fiat Automobiles S.p.A., Alfa Romeo Automobiles S.p.A., Lancia Automobiles S.p.A. และ Fiat Light Commercial Vehicles S.p.A. (ปัจจุบันชื่อว่า Fiat Professional S.p.A.)", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "54149#0", "text": "อัลฟาโรเมโอ 164 (Alfa Romeo 164) ออกขายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1987 ออกแบบโดย พินินฟารีนา (Pininfarina) เป็นรถขนาดใหญ่รุ่นแรกของอัลฟา นอกจากนั้นยังเป็นรถอัลฟาโรเมโอ รุ่นสุดท้ายที่ออกแบบและผลิตก่อนที่อัลฟาจะถูกเฟียตซื้อกิจการไป ", "title": "อัลฟาโรเมโอ 164" }, { "docid": "51528#24", "text": "Welcome to the Punch - James McAvoy นักแสดงนำใช้รถ Alfa Romeo 159 สีดำในภาพยนตร์", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "5637#23", "text": "บรรดารถยนต์ยี่ห้อต่างๆก็ได้ให้ความสำคัญกับไอพอด โดยมีการติดระบบการควบคุมไอพอดไว้ในรถยนต์รุ่นต่างๆของตัวเอง โดย BMW เป็นเจ้าแรกที่ได้นำระบบนี้มาใช้ในรถยนต์รุ่นต่างๆของตัวเอง และบริษัท Apple ได้ประกาศไว้ว่าจะมีการนำระบบนี้ไปติดตั้งในรถยนต์ยี่ห้อต่างๆด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Mercedes Benz, Volvo, Nissan, Alfa Romeo, Ferrari, Acura, Audi, Honda, Renault, Volkswagen และ Scion", "title": "ไอพอด" }, { "docid": "51528#3", "text": "จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1928 Nicola Romeo ตัดสินใจลาออกจาก Alfa Romeo เนื่องจากบริษัทประสบปัญหาทางการเงินจนไปต่อไม่ไหว จึงขายบริษัทให้กับรัฐบาลอิตาลี จากนั้นก็มีผลประกอบการที่ดีขึ้น และหันมาผลิตรถสำหรับเศรษฐีด้วยรถรุ่น Alfa Romeo 8C 2900 Type 35 ซึ่งทำให้ Alfa Romeo ประสบความสำเร็จที่สุดในยุคนั้น", "title": "อัลฟาโรเมโอ" }, { "docid": "51528#23", "text": "Trance - Alfa Romeo 156 ถูกใช้เป็นรถเด่นในภาพยนตร์ โดยมีชื่อเล่นว่า the red car (รถสีแดง)", "title": "อัลฟาโรเมโอ" } ]
2370
สังข์ พัธโนทัย เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "736634#1", "text": "นายสังข์ พัธโนทัย เป็นบุตรของนายเจริญ พัธโนทัยกับนาง หลวน พัธโนทัย เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 เป็นบุตรคนที่ 4 (คนสุดท้อง) จากพี่น้องทั้งหมด 4 คน ได้แก่ นายวิบูลย์ พัธโนทัย นายอุทัย พัธโนทัย นางสาวอุ่นทิพย์ พัธโนทัย", "title": "สังข์ พัธโนทัย" }, { "docid": "736634#0", "text": "สังข์ พัธโนทัย (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2529) อดีตที่ปรึกษาคนสนิท ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้บุกเบิกสัมพันธไมตรีไทย-สาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้เขียนสามก๊กฉบับพิชัยสงครามอดีตหัวหน้ากองหนังสือพิมพ์กรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์) อดีตผู้จัดรายการวิทยุ \"นายมั่น นายคง\" สมัยยุคสงครามโลกครั้งที่ 2", "title": "สังข์ พัธโนทัย" } ]
[ { "docid": "736634#3", "text": "สังข์ พัธโนทัย สมรสกับนางวิไล พัธโนทัย (นามสกุลเดิม ไชยกาญจน์) มีบุตรและธิดารวม 5 คน ได้แก่\nบรรพบุรุษของนายสังข์ อยู่ในประเทศจีน ที่อำเภอเท่งไฮ้ จ.แต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ณ ปากน้ำ เจ้าพระยา เมื่อปี พ.ศ. 2396 ระหว่างเกิดสงครามไท่ผิง ต้นตระกูลโดย นายเส็ง แซ่ลิ้ม ซึ่งเป็นบุตรของนายเอี๊ยะ แซ่ลิ้ม ได้อพยพมาอยู่ประเทศไทยและแต่งงานกับหญิงไทยชื่อ แช่ม และได้ให้กำเนิดบุตรชื่อนาย ฮะ (เจริญ) หรือผู้เป็นบิดาของนายสังข์ \nในสมัยเด็กนั้น ครอบครัวของนายสังข์กินอยู่ลำบากยากแค้นมาก ในช่วงวัยศึกษาเล่าเรียน ด้วยความจน นายสังข์ถึงกับต้องอาศัยน้ำกินแทนอาหารกลางวันเกือบทุกมื้อ จนเพื่อนๆตั้งฉายาว่า ไอ้อูฐ นายสังข์ขยันเรียนมาก และสามารถสอบข้ามชั้นมัธยม 4 ไปยังชั้นมัธยม 6 ได้ในทันที แต่การขยันเรียนหนังสือมากจนเกินไป ส่งผลให้สายตาเสีย เนื่องจากใช้เทียนไขส่องดู เพราะยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ทำให้นายสังข์ต้องสวมแว่นตาสั้นตั้งแต่อายุ 16 ปี \nนายสังข์เป็นเด็กบ้านนอกเข้ากรุงโดยแท้ ขนาดว่า สวมรองเท้ายังผิดข้าง และเพิ่งรู้จักการใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหาร ครั้งเมื่อมาศึกษาอยู่ที่วัดบวรฯ การที่นายสังข์ได้ศึกษาอยู่ที่วัดบวรฯ ทำให้นายสังข์ ได้มีโอกาสอ่านหนังสือดีๆในห้องสมุดของวัดมากมาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ นายสังข์ติดนิสัยชอบอ่านหนังสือและย่อเก็บเอาไว้ เพื่อนโดยทั่วไปจึงเรียกนายสังข์ว่า หนอนหนังสือ\nในปี 2474 รัฐบาลสมัยนั้นเห็นว่า ครูหลายคนชอบสอนการปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตย ตามแบบที่ ดร. ซุนยัดเซน โค้นล้มราชวงศ์แมนจูเมื่อ 20 ปี ก่อน ความระแวงดังกล่าว ทำให้รัฐบาลตัดสินใจย้ายโรงเรียนครู ไปยังพระราชวังสนามจันทร์ จ. นครปฐม และใน ปี 2475 และหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โรงเรียนก็ถูกทิ้งร้างโดยไม่มีครูใหญ่ดูแล สร้างความไม่พอใจให้แก่ครูและนักเรียนเป็นจำนวนมาก จนนำมาซึ่งการสไตร์ค ซึ่งนับเป็นการไตร์คของนักเรียนนักศึกษาครั้งแรกของประเทศไทย โดยนายสังข์ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้านำการไตร์ค โดยนายสังข์เดินทางออกจากนครปฐม เพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อคณะราษฎรและขอเข้าพบพันเอกพระยาพหลฯ นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ซึ่งผลจากการเจรจาของนายสังข์ประสบความสำเร็จ กระทรวงศึกษา ยินดีย้ายโรงเรียนฝึกหัดครูกลับมากรุงเทพฯ ตามเดิม แม้จะเป็นภารกิจแรกอันภาคภูมิใจของนายสังข์ หากแต่ความยากจนของนายสังข์ ทำให้นายสังข์ไม่มีสตางค์ค่ารถเดินทางกลับนครปฐม (ค่ารถไปนครปฐมสมัยนั้น 1.50 บาท) จึงต้องอาศัยนอนวัดไปก่อน รอเพื่อนๆที่นครปฐมช่วยเรี่ยไรเงินคนละ 20 สตางค์ มารับตัวนายสังข์กลับไป\nความใฝ่ฝันของวัยรุ่นจบใหม่ในสมัยนั้นคือ การได้มีชื่อเสียง ได้ใกล้ชิดนักปราชญ์ราชบัณฑิต ซึ่งการหาชื่อเสียงได้โดยทางลัดและรวดเร็ว ไม่มีอะไรดีเท่ากับการได้พูดในรายการวิทยุ เพราะวิทยุสมัยนั้นมีแค่เพียงสถานีเดียว (บริเวณพญาไท (โรงพยาบาลพระมงกุฎในปัจจุบัน) ขณะนั้นมีประกาศประกวดเรียงความทางวรรณคดี นายสังข์ได้ส่งเรียงความพรรณนาความบางตอนในหนังสือนิราศนรินทร์เข้าแข่งขัน และชนะเลิศ โดยเรียงความของนายสังข์ ได้ถูกนำไปออกอากาศในสถานีวิทยุ และเรียงความอื่นๆ ก็ถูกนำไปออกอากาศเป็นประจำ ทำให้นายสังข์มีรายได้เดือนละ 4-8 บาท และหลังจากนั้นไม่นานได้มีเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุท่านหนึ่งแจ้งว่า เสียงนายสังข์นุ่มนวลดี จึงได้ขอให้นายสังข์ไปออกวิทยุจัดรายการเป็นรายการประจำทุกเดือน โดยเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และสถานที่สำคัญต่างๆ ที่ดังมากในสมัยนั้นก็คือ การเอาเรื่องนิทานอีสปมาเล่าออกรายการ โดยมีการทำเสียงสิงสาราสัตว์ประกอบ ซึ่งถือเป็นปรากฏการใหม่ในวงการวิทยุเลยทีเดียว มีผู้ฟังติดตามกันงอมแงม ความโด่งดังอย่างรวดเร็ว ทำให้ครูใหญ่ของโรงเรียนหมั่นไส้ จึงได้ย้ายนายสังข์ข้ามไปอยู่โรงเรียนประจำที่ จ. สมุทรปราการ \nในวันที่ 24 มิถุนายน 2482 นายสังข์ได้จัดรายการ นายมั่น นายคง ขึ้น วัตถุประสงค์ในการจัด เพื่อพูดเกี่ยวกับความสำคัญของวันชาติ เนื่องจากเป็นปีแรกที่รัฐบาลจัดให้มีการฉลองวันชาติขึ้นเป็นครั้งแรก หากแต่หลังจากวันชาติไปแล้ว รายการนายมั่น นายคงก็ยังมีต่อไป แต่เปลี่ยนวัตถุประสงค์เป็นเพื่อชี้แจ้งนโยบายของรัฐบาล เพื่ออธิบายนโยบายของรัฐบาลให้ประชาชนฟังง่ายและเข้าใจง่าย ทำให้รายการดังกล่าว มีคนรับฟังทั่วประเทศทุกคืน เพราะมีสถานีเดียวและถ่ายทอดไปทั่วประเทศ ทำให้กลายเป็นรายการยอดฮิตที่สุดในยุคนั้น\nจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งตำแหน่งในขณะนั้น คือ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม รัฐมนตรีมหาดไทยและผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รับการสนับสนุนจากคณะราษฎรให้ดำรงตำแหน่งมีอำนาจทางการเมืองแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งขณะนั้นจอมพล ป. มีนโยบายเพื่อปลูกฝังความรู้สึกลัทธิชาตินิยมขึ้นในหมู่ประชาชน และมีอำนาจทั้งการทหารและทางการเมืองอย่างล้นฟ้า แต่ก็จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากมวลชน จอมพล ป.ฯ จึงจำเป็นต้องใช้สื่อมวลชนที่มีอิทธิพลสูงสุดในยุคนั้นในการเป็นกระบอกเสียง ซึ่งก็คือ รายการสนทนา นายมั่น นายคง ของนายสังข์ โดยจอมพล ป.ฯ ได้ใช้รายการนี้ เพื่อปลุกระดมความรู้สึกของประชาชนให้ลุกฮือเรียกร้องดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงจากฝรั่งเศส และปลุกชาวลาวและเขมรผู้รักชาติ ให้ลุกขึ้นต่อสู้ปลดแอกจากการปกครองของฝรั่งเศส รวมถึงนโยบายปฏิวัติวัฒนธรรมของจอมพล ป. ฯ ที่ใช้มาตลอด 5 ปี อาทิ การเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม มาเป็นไทย การประกวดแต่งเพลงชาติ การเลิกนุ่งผ้าม่วง ผ้าจูงกระเบน ผ้าถุง ผ้าซิ่น และให้มานุ่งกางเกง กระโปรง สวมรองเท้า สวมหมวก เลิกกินหมาก ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนมาจากการป่าวประกาศชี้แจงเชิญชวนจากนายสังข์ทั้งสิ้น รวมถึงช่วงมหาสงครามเอเชียบูรพา จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ให้นายสังข์ปลุกใจประชาชนให้เตรียมรับภัยสงครามอย่างเต็มที่และนายสังข์ ยังเป็นผู้อ่านแถลงการณ์รัฐบาลเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เพื่อสั่งให้ ทหาร ตำรวจ หยุดยิง อีกด้วย ทำให้ในทางต่างประเทศ ถือว่ารายการนายมั่น นายคง เป็นรายการแถลงนโยบายระดับชาติเลยทีเดียว\nหลังจากสงครามมหาเอเชียบูรพาสิ้นสุดลง จอมพล ป. พิบูลสงครามประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รายการสนทนา นายมั่น นายคง ก็ยุติลงด้วย จอมพล ป. ขยับไปดูเชิงทางการเมืองที่เขากระโจน ในกองทหารปืนใหญ่ที่ลพบุรี และได้ชักชวนให้นายสังข์ไปอยู่ด้วย รวมถึงมีบัญชาให้นายสังข์ เข้าทำงานที่สถานีวิทยุลพบุรี \nหลังจากสงครามมหาเอเชียบูรพาสงบลงในเดือน สิงหาคม 2488 เมื่อสหรัฐทิ้งระเบิดปรมาณูในฮิโรชิมาและนางาซากิ ญี่ปุ่นก็ยอมแพ้อย่างราบคาบและปราศจากเงื่อนไข ทหารญี่ปุ่นในไทยถูกปลดอาวุธ นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะหัวหน้าเสรีไทย ซึ่งมีอำนาจสูงสุดในแผ่นดินในขณะนั้น ได้ประกาศการประกาศสงครามของไทยต่อสหรัฐและอังกฤษให้เป็นโมฆะ และในฐานะที่จอมพล ป.ฯ เป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ทำให้จอมพล ป. และบริวาร รวมถึงนายสังข์ จะต้องตกอยู่ในฐานะอาชญากรสงครามโลก เช่นเดียวกับฮิตเลอร์และโตโจ ซึ่งขญะถูกจับกุมคุมขังนั้น นายสังข์มีอายุเพียง 29 ปีเท่านั้น โดยนายสังข์ถูกส่งตัวมาขังที่สันติบาล ส่วนจอมพล ป. ถูกขังอยู่ที่โรงพักศาลาแดง แต่ได้ขอไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้ช่วยส่งตัวนายสังข์มาคุมขังที่โรงพักศาลาแดงเพื่อมาอยู่เป็นเพื่อน ซึ่งหลังจากติดคุกอยู่ด้วยกันเพียงไม่กี่วัน ตำรวจก็ส่งตัวผู้ต้องขังทั้งหมดไปผลัดฟ้องศาล แล้วนำเข้าเรือนจำจังหวัดพระนคร – ธนบุรี การที่ประสบชะตาเดียวกันในคุก ทำให้จอมพล ป.ฯ และนายสังข์ รักใคร่สนิทสนมกันมากราวกับบิดาและบุตรเลยทีเดียว\nภายหลังที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในวันที่ 8 เมษายน 2491 จอมพล ป. ก็ได้เรียกนายสังข์มาช่วยงานอีกครั้งหนึ่ง ในฐานะคนสนิทและไว้วางใจมากที่สุดคนหนึ่ง โดยได้มอบหมายงานให้นายสังข์รับผิดชอบงานใหญ่จำนวน 2 ชิ้น คือ งานหนังสือพิมพ์ และงานเรื่องแรงงาน ซึ่งงานทั้ง 2 เกี่ยวข้องกับมวลชนทั้งสิ้น โดยนายสังข์ ได้ออกหนังสือพิมพ์ชื่อ ธรรมาธิปัตย์ และ Bangkok Tribune ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษอังกฤษรายวันทั้ง 2 ฉบับ ตั้งอยู่บริเวณ ถนนราชดำเนิน ตรงหัวมุมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในส่วนของเรื่องแรงงานนั้น เนื่องจากในสมัยนั้น ความรู้เรื่องแรงงานของคนไทยมีน้อยมาก เพราะยังไม่มีกฎหมายแรงงาน ไม่มีคำว่าสหภาพแรงงาน ซึ่งเป็นกลไกลทางกฎหมายที่แก้ไขปัญหาแรงงาน ฉะนั้นในสมัยนั้นเมื่อมีผู้ใช้แรงงานนัดหยุดงานหรือเรียกรองค่าจ้างและสวัสดิการ ก็มักจะถูกนายจ้างใช้กฎหมายอาญาและเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าปราบปราม ไม่มีใครรู้จักเรื่องแรงงานสัมพันธ์ ที่ใช้ปฏิบัติกันในโลกอุตสาหกรรมที่เจริญแล้ว นายสังข์ได้เดินทางไปศึกษาวิชาแรงงานด้วยตัวเอง ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ซึ่งถือเป็นคนไทยคนแรกๆที่ได้มีโอกาสเข้าศึกษาในวิชานี้ และหลังจากกลับมา ก็ได้ขอให้จอมพล ป. ฯ ออกกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทยตามแบบสากลในปี 2500 และได้ทุ่มเทชีวิตให้กับการพัฒนาขบวนการแรงงานของประเทศควบคู่ไปกับการเจริญทางอุตสาหกรรมของประเทศเรื่อยมา\nนายสังข์ได้หันความสนใจช่วงหนึ่งมาศึกษาศาสนา โดยเริ่มจากการเดินทางไปเที่ยวอาหม ที่แคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย เมื่อเดินทางกลับก็ได้เขียนเรื่อง “เยี่ยมไทยอาหม สายเลือดของเรา” และหลังจากนั้น ก็ยังได้เดินทางไปธรรมยาตรา เยือนลุมพินี ราชคฤท์ กุสินาราและนาลันทา ในประเทศอินเดียด้วย โดยนายสังข์ ได้ถ่ายหนังระหว่างเดินทางไปยังสถานที่แสวงบุญต่างๆกลับมาฉายให้ชาวพุทธในเมืองไทยได้ชม ซึ่งนับเป็นครั้งแรก ที่คนไทยได้มีโอกาสเห็นสถานที่สำคัญๆทางพระพุทธศาสนา จนเกิดปรากฏการการตื่นตัวไปธรรมยาตรากันนับแต่นั้นเป็นต้นมา และนายสังข์ก็ได้เขียนหนังสือยาว 5 เล่ม เรื่อง “ตามรอยบาทพระพุทธองค์” ขึ้น ซึ่งเนื้อหาในหนังสือเป็นการเสนอพุทธปรัชญาอย่างละเอียดอีกด้วย\nนายสังข์เป็นคนรักการอ่านหนังสือและทำงานด้านกรรมกรด้วยใจ ทำให้นายสังข์มองเห็นสังคมที่เหลื่อมล้ำต่ำสูง และในที่สุดก็ได้ซึมซาบลัทธิสังคมนิยมแบบเฟเบี้ยน (Fabian Socialism) คือการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้เป็นธรรม ด้วยวิธีสันติและในรูปของการออกกฎหมายช่วยคนที่ด้อยกว่าทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งก็คือผู้ใช้แรงงาน โดยไม่ใช้วิธีรุนแรงเพื่อโค่นล้มทุนนิยมแบบคอมมิวนิสต์ ขณะนั้นสหรัฐ ซึ่งเป็นศัตรูกับจีนเริ่มสังเกตว่า นายสังข์ ซึ่งเป็นบุคคลซึ่งใกล้ชิดที่สุดของจอมพล ป. มีหัวโน้มเอียงไปนิยมคอมมิวนิสต์ จอมพล ป. ฯ จึงเกรงว่า หากสหรัฐรู้เข้าจะต้องเป็นเรื่องใหญ่แน่ แต่นายสังข์ได้ชี้แจงแก่จอมพล ป. โดยยืนยันว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องสัมพันธ์กับจีนด้วย เพราะประเทศจีนอยู่ใกล้ชิดกับประเทศไทย และจีนได้รับการเปลี่ยนแปลงจากการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งนำโดยเหมาเจ๋อตงแล้ว ประเทศจีนจะต้องเป็นมหาอำนาจเทียบเท่าสหรัฐ รวมถึงเลือดเนื้อเชื้อไขของคนไทยกับคนจีน ก็เชื่อมโยงกันมาแต่ไหนแต่ไร จีนจะเป็นมหามิตรของชาติเราได้ดีกว่าชาติอื่น และยิ่งได้ทราบถึงไมตรีของโจวเอินไหล นายกรัฐมนตรีของจีน ซึ่งมีโอกาสได้พบปะกับพระองค์เจ้าวรรณไวทยากรวรรณ รัฐมนตรีต่างประเทศ ระหว่างเข้าร่วมประชุมกลุ่มประเทศเอเชียแอฟริกา (AFRO-ASIAN NATION) ที่นครบันดง ประเทศอินโดนีเซียว่า จีนหวังเป็นมิตรกับไทยด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้นายสังข์ยืนยันกับจอมพล ป.ฯ ว่าจะอย่างไรเสีย ไทยก็จำเป็นต้องสัมพันธ์กับจีน สุดท้ายจอมพล ป.ฯ จึงตัดสินใจมอบหมายให้นายสังข์เป็นคนติดต่อสัมพันธ์ลับๆกับจีน \nนายสังข์เป็นคนชอบอ่านหนังสือและศึกษาประวัติศาสตร์ทั้งของไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีนนั้น นายสังข์ สังเกตเห็นว่า สมัยจีนโบราณยุคที่จีนแตกเป็นรัฐ เป็นก๊ก ตามธรรมเนียมปฏิบัติเมื่อต้องการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างกัน มักส่งบุตรหรือธิดา ไปเป็นเครื่องประกันความจริงใจเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าว นายสังข์ จึงตัดสินใจแจ้งแก่จอมพล ป.ฯ ว่า เพื่อแสดงความจริงใจของรัฐบาลไทยว่ามิได้มีลับลมคมนัย นายสังข์จะขอส่งบุตรชายและบุตรสาวไปให้แก่รัฐบาลจีน เพื่อเป็นหลักประกันความจริงใจในการเชื่อมสัมพันธ์ในครั้งนี้ เมื่อจอมพล ป. ได้ฟังข้อเสนอดังกล่าว ถึงกลับตกใจว่า นายสังข์เล่นการเมืองใจใหญ่มาก ถึงขั้นส่งลูกในไส้ของตนไปเสี่ยง แต่แล้วนายสังข์ก็ยังยืนยัน และได้ส่งบุตรและธิดา คือ นายวรรณไว พัธโนทัย และ นางสาวสิรินทร์ พัธโนทัย ไปยังกรุงปักกิ่ง โดยได้รับการอุปการะเลี้ยงดูโดย นายโจว เอิน ไหล นายกรัฐมนตรีจีน ในฐานะบุตรบุญธรรม ซึ่งนายกรัฐมนตรี โจว เอิน ไหล ได้ให้การอุปการะแก่ทูตน้อยทั้ง 2 เป็นอย่างดี\nในวันที่ 16 กันยายน 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ได้ทำการปฏิวัติล้มรัฐบาลของจอมพล ป. ทำให้จอมพล ป. ต้องหนีลี้ภัยทางการเมืองออกนอกประเทศไปพักนักอยู่กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น ส่วนนายสังข์ ก็ได้รับเทียบเชิญจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ให้ไปเป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐบาลทหาร แต่นายสังข์ปฏิเสธ และยืนกรานว่า ตนไม่ใช่คนประเภทข้า 2 เจ้า บ่าว 2 นาย จึงถูกจอมพลสฤษดิ์จับกุมและยัดเยียดในข้อหาอันเป็นคอมมิวนิสต์ โดยถูกคุมขังร่วมกับปัญญาชนอีกจำนวนมาก นายสังข์ถูกขังลืมอยู่เป็นเวลา 7 ปี \nขณะนั้นจอมพลสฤษดิ์ เริ่มมีอาการป่วยและเจ็บหนัก ขณะที่บารมีของจอมพล ป. ในกองทัพยังคงมีอยู่มาก แม้จะลี้ภัยอยู่กรุงโตเกียวก็ตาม ขณะที่นายสังข์ยังอยู่ในคุกลาดยาว นายสังข์มองว่าช่วงเวลาดังกล่าว เป็นจังหวะเหมาะที่จะเชื่อมกับระหว่างจอมพล ป. กับนายปรีดี (ซึ่งลี้ภัยอยู่ที่กว่างโจว) ให้กลับมาคืนดีกันใหม่ หลังจากที่ร่วมกันก่อตั้งคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ด้วยกันมา แล้วต้องมาแตกกันในภายหลัง โดยนายสังข์มองว่า การร่วมมือกันอีกครั้งของทั้ง 2 จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างยิ่ง จึงได้เสนอให้คุณเจริญ กนกรัตน์ บรรณาธิการของ น.ส.พ. เสถียรภาพของนายสังข์ ซึ่งเป็นมิตรสนิทสนมกับครอบครัว รวมถึงเป็นคนที่ติดต่อกับทางการจีนมาโดยตลอด ไปพบนายปรีดีอย่างลับๆในปี 2506 โดยนายเจริญได้บินไปมาระหว่างกวางโจวกับโตเกียว 2-3 ครั้ง ในระยะเวลาเกือบ 1 ปี โดยใช้ชื่อรหัสของนายปรีดีว่า “โปรเฟสเซอร์หลิน” ส่วนจอมพล ป. ใช้รหัสชื่อว่า “มิสเตอร์วาตานาเบ้” ในการติดต่อระหว่างกันของทั้ง 2 ท่าน ผ่านทางโทรเลข เพื่อป้องกันมิให้สหรัฐจับได้ โดยทั้ง 2 ได้มีโอกาสติดต่อกันจนถึงขั้นล้อกันว่า คงมีโอกาสได้นัดพบกันอย่างลับๆในเร็วๆนี้ และคงจะได้มีโอกาสดื่มไวน์ดูบอเน่ต์ด้วยกันอีกครั้ง เหมือนสมัยเรียนหนังสือด้วยกันที่กรุงปารีส ซึ่งแน่นอนว่า การติดต่อกันระหว่างจอมพล ป. กับนายปรีดี ส่งผลต่อความวิตกกังวลให้แก่รัฐบาลของคณะทหารเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับรัฐบาลไทยให้กรมตำรวจปล่อยข่าวว่า สันติบาลได้ล้างห้องขังรอไว้แล้ว หากจอมพล ป. กลับมากรุงเทพฯ แต่แล้วในวันที่ 11 มิถุนายน 2507 หลังจากก่อนหน้านี้หนึ่งเดือนที่จอมพล. ป ได้ส่งโทรเลขอวยพรวันเกิดของนายปรีดีและหวังว่าจะได้พบกันในกรุงเทพฯ เร็วๆนี้ จอมพล ป. ก็ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ถือเป็นการปิดฉากบรรทัดหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยทิ้งคำถามไว้ว่า ถ้าจอมพล ป. กับนายปรีดีได้กลับมาเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง การเมืองไทยจะเป็นเช่นไร\nหลังจากที่นายสังข์ ติดคุกอยู่เรือนจำลาดยาว เป็นเวลากว่า 7 ปี ก็ได้รับการปล่อยตัวออกมาด้วยคำพิพากษาของศาลว่า นายสังข์มิได้มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ตามที่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ฟ้องร้อง เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2508 \nในช่วงนั้น เป็นช่วงที่สหรัฐกำลังจมปลักอยู่ในสงครามเวียดนามและต้องหาทางออกให้ได้ นาย Norman B Hannah อัครราชทูตที่ปรึกษาประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นเพื่อนอเมริกันเก่าแก่ของนายสังข์สมัยที่เป็นทูตแรงงานอยู่ในสถานทูตสหรัฐ ได้เชิญนายสังข์ไปเลี้ยงแสดงความยินดีที่ได้รับการปล่อยตัวที่สถานทูตสหรัฐฯ และระหว่างงานเลี้ยงดังกล่าว นาย Norman B Hannah ได้ปรารภกับนายสังข์ว่า สหรัฐฯยินดีจะพบปะเจรจา เพื่อขอยุติสงครามเวียดนามกับรัฐบาลจีน โดยสหรัฐฯพร้อมเจรจากับผู้แทนจีนในประเทศใดประเทศหนึ่งที่มีสถานทูตสหรัฐฯตั้งอยู่ก็ได้ เพราะนาย Norman B Hannah ทราบว่านายสังข์ มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับจีน โดยมีการส่งลูกไปอยู่กับจีนตั้งแต่เด็ก \nนายสังข์ ได้รับหนังสือเดินทางไทยให้เดินทางออกนอกประเทศ โดยใช้เส้นทางฮ่องกง มาเก๊า และดำดินเข้าประเทศจีนไปพร้อมกับนายสุวิทย์ เผดิมชิต อดีตประธานนักศึกษาธรรมศาสตร์ และได้พยายามติดต่อกับนายกรัฐมนตรี โจว เอิน ไหล ของจีน เพื่อเปิดการเจรจายุติสงครามเวียดนามขึ้นที่กรุงปักกิ่ง แต่เนื่องจากขณะที่นายสังข์เดินทางไปจีนนั้น การเมืองจีนกำลังวุ่นวายอย่างหนัก ประธานเหมาเจ๋อตง ประกาศการปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรม ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนหลายคนถูกออกจากตำแหน่ง แม้แต่นายกรัฐมนตรี โจว เอินไหล เอง ก็ถูกแก๊งอ๊อฟโฟร์ (Gang of four) พยายามริดรอนอำนาจ ส่งผลให้นายก โจว เอิน ไหล ไม่ทราบการเดินทางมาเยือนเมืองจีนของนายสังข์ พวกเรดการ์ด(Red Guards)ในกระทรวงต่างประเทศ จึงเปิดเจรจากับนายสังข์เสียเอง โดยอ้างว่า นายกฯโจวติดภารกิจยังไม่ว่างที่จะพบ การเจรจาในครั้งนั้นแม้จะล้มเหลว แต่ข่าวของสหรัฐที่นายสังข์นำไปรายงาน ก็ทำให้รัฐบาลจีนทราบ ส่งผลให้จีนแสดงท่าที่แข็งกร้าวกับสหรัฐฯอย่างรุนแรงโดยไม่ยอมประนีประนอมใดๆ ส่งผลให้สหรัฐพ่ายแพ้ในสงครามเวียดนามอย่างยับเยิน และพวกเรดการ์ดได้พยายามเกลี้ยกล่อมนายสังข์ให้อยู่ร่วมขบวนการปฏิวัติไทยของพรรคคอมมิวนิสต์ไทยในเมืองจีน แต่นายสังข์ปฏิเสธจึงถูกพวกเรดการ์ดส่งตัวออกจากประเทศจีนไป\nในปี 2521 มาดามเติ้ง หยิ่ง เชา ภรรยาของนายกรัฐมนตรีโจว เอิน ไหล ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานสภาประชาชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นตำแหน่งเทียบเท่ารองประธานาธิบดีของจีน ได้เชิญนายสังข์และครอบครัวไปเยือนประเทศจีนฉันมิตรเก่า ซึ่งขณะนั้นนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลของจีน ได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว 2 ปี \nการเดินทางเยือนจีนครั้งนั้น นายสังข์ได้ขอให้ทางจีนพาเยือนเมืองแต้จิ๋วด้วย เพราะอยากศึกษาค้นคว้าเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชาวแต้จิ๋วกับชาวไทยแต่โบราณ และเมื่อกลับมาถึงเมืองไทย นายสังข์ ได้ลงมือเขียนหนังสือเรื่อง “เที่ยวเมืองแต้จิ๋ว ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าตากสินกับพระเจ้ากรุงจีน” ลงนิตยสารประโคนชัย\nขณะกำลังใกล้จะเขียนหนังสือจบแล้วนั้น นายสังข์ก็เกิดล้มป่วยเป็นอัมพาต และรัฐบาลจีนได้เชิญตัวนายสังข์ให้ไปรักษาตัวที่ปักกิ่ง และเมื่อกลับจากรักษาตัวที่ปักกิ่งแล้ว นายสังข์ก็ได้เขียนหนังสือเรื่อง “ไปรักษาอัมพาตที่ปักกิ่ง” รวมถึงยังพยายามมานะเขียนสารคดีประวัติศาสตร์เรื่อง “เรื่องแปลกๆของท่านจอมพลแปลก” ลงเผยแพร่ในนิตยสารประโคนชัย แม้ขณะนั้นโรคหัวใจได้เริ่มเบียดเบียนอย่างหนักแล้วก็ตาม\nในบั้นปลายชีวิตนอกจากการอุทิศกำลังกายและกำลังปัญญาเพื่องานเขียนหนังสืออย่างเต็มที่แล้ว ยังช่วยงานกระชับมิตรภาพไทยจีนอยู่เป็นเนืองๆ รวมถึงยังทำงานเพื่อยุติการสู้รบกันระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ไทยกับรัฐบาล โดยเป็นตัวกลางติดต่อประสานงานให้บุคคลชั้นนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่นายสังข์รู้จักมาก่อน เข้ามาพบปะเจรจากับฝ่ายรัฐบาลอย่างลับๆ เพื่อหาทางยุติการฆ่าฟันระหว่างคนไทยด้วยกัน โดยบุคคลสำคัญของฝ่ายรัฐบาลที่นายสังข์ติดต่อประสานงานด้วยคือ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ พล.ต. สุดสาย หัสดิน และ พล.ต.ต. เกษม แสงมิตร ซึ่งนายสังข์กับพล.อ. ชวลิต ได้ตัดสินใจที่จะเสี่ยงเข้าไปเจรจากับฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ทางภาคอีสานด้วย \nนอกจากนี้ ยังได้ช่วยงานของขบวนการกู้ชาติเขมรเสรีของ ฯพณฯ ซอนซาน นายกรัฐมนตรีแห่งรัฐบาลประชาธิปไตยกัมพูชา เพื่อหวังให้กัมพูชา ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของไทย กลับคืนสู่ความเป็นปึกแผ่นและพ้นจากการครอบครองของเวียดนาม\nรวมถึงพยายามช่วยเหลือท่านอูนุ อดีตนายกรัฐมนตรีพม่าผู้เป็นประชาธิปไตย กลับคืนอำนาจ หลังจากถูก นายพลเนวิน นำทหารเข้าปฏิวัติรัฐประหาร โดยนายสังข์ ได้เป็นผู้จัดหาสถานที่ตั้งของพรรคและสถานที่ออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงให้แก่ท่านอูนุ เพื่อปลุกระดมชาวพม่าให้ลุกขึ้นกำจัดระบอบเผด็จการทหาร เพื่อฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยขึ้นใหม่ในพม่า\nนายสังข์ เริ่มล้มป่วยอีกครั้งด้วยโรคหัวใจ และในวันที่ 4 มิถุนายน 2529 หลังจากอาบน้ำรับประทานอาหารเช้า นายสังข์ ขอนิตยสารประโคนชัย ซึ่งตนเป็นผู้เขียนเองทั้งหมดจากนายมั่น พัธโนทัย เพื่อนำเข้าไปอ่านในห้องนอน และก็พบนอนเสียชีวิตอยู่กับพื้นห้อง โดยมีนิตยสารประโคนชัย ปิดอยู่ที่หน้าอก", "title": "สังข์ พัธโนทัย" }, { "docid": "483590#1", "text": "วรรณไว พัธโนทัย เป็นบุตรของนายสังข์ พัธโนทัย (ที่ปรึกษาคนสนิทของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม) กับนาง วิไล พัธโนทัย เกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2485 เป็นบุตรคนที่ 2 ของพี่น้องทั้งหมด 5 คน ได้แก่ นายมั่น พัธโนทัย นายวรรณไว พัธโนทัย นางสิรินทร์ ฮอร์น นางผ่องศรี ฟอร์น วังเด็กก์ และนางวิริยะวรรณ สาทิสสะรัต", "title": "วรรณไว พัธโนทัย" }, { "docid": "277061#1", "text": "มั่น พัธโนทัย หรือ ดร.มั่น พัธโนทัย เป็นบุตรของนายสังข์ พัธโนทัย (ที่ปรึกษาคนสนิทของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม)กับนาง วิไล พัธโนทัย เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2484 มีพี่น้องกัน 5 คน ได้แก่ นายมั่น พัธโนทัย นายวรรณไว พัธโนทัย(อดีตวุฒิสมาชิก) นางสิรินทร์ ฮอร์น นางผ่องศรี ฟอร์น วังเด็กก์ และนางวิริยะวรรณ สาทิสสะรัต", "title": "มั่น พัธโนทัย" }, { "docid": "736634#2", "text": "นายสังข์ พัธโนทัย เข้าศึกษาที่โรงเรียนมัธยมครู ต่อมาครูของโรงเรียนมัธยมครู ได้แนะนำให้นายสังข์ ไปเรียนต่อที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมที่กรุงเทพฯ และถูกส่งตัวเข้าโรงเรียนฝึกหัดครู ณ วัดบวรนิเวศ และเรียนจบวิชาครูประถม ในปี 2476 เมื่ออายุได้ 18 ปี ทั้งที่ใจอยากเรียนต่อวิชาครูมัธยม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ไม่มีทุน จึงได้ได้ตัดสินใจกลับปากน้ำ จ. สมุทรปราการ เพื่อรอรับการบรรจุให้เป็นครูที่นั้น และได้รับการบรรจุเป็นครูที่วัดทรงธรรม ฝั่งพระประแดง ได้เงินเดือนครั้งแรกในชีวิตจำนวน 45 บาท", "title": "สังข์ พัธโนทัย" }, { "docid": "483590#5", "text": "ในปี ค.ศ. 1966 (พ.ศ. 2509) ประเทศจีนเกิดการปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรมโดยการสนับสนุนของ ประธานเหมา เจ๋อตง แก๊งอ๊อฟโฟร์ (เจียงชิงภรรยาเหมา, หวังหงเหวิน, จางชุนเฉียว, เหยาเหวินหยวน) และพวกซ้ายจัดที่กุมอำนาจในจีน พยายามเข้าริดรอนอำนาจและทำร้ายเหล่านักปฏิวัติที่เคยร่วมต่อสู้มากับประธานเหมา เจ๋อตง อาทิ ประธานาธิบดี หลิวเส้าฉี, นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล, เติ้งเสี่ยวผิง ,จอมพลจูเต๋อ ฯลฯ รวมทั้งใช้นโยบายต่อต้านสหรัฐฯและสหภาพโซเวียตอย่างรุนแรง\nขณะนั้นสหรัฐกำลังปราชัยเสียฐานที่มั่นต่างๆหลายแห่งให้แก่พวกเวียดกงในสงครามเวียดนาม ซึ่งสหรัฐฯให้การสนับสนุนอยู่อย่างเต็มที่ จนสหรัฐฯเริ่มเหนื่อยหน่ายจากการสู้รบแบบยืดเยื้อ ของพวกเวียดกงซึ่งได้รับการหนุนหลังจากจีน สหรัฐฯจึงอยากยุติสงครามเวียดนามเต็มทน พอดีห้วงเวลาดังกล่าว ตรงกับช่วงที่ศาลยุติธรรมพิพากษาปล่อยตัวนายสังข์ พัธโนทัย พ้นข้อหาคดีมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ที่จอมพลสฤษดิ์ จับขังไว้เป็นเวลาถึง 7 ปี สหรัฐรู้ว่านายสังข์ พัธโนทัย มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับจีน โดยมีการส่งลูกไปอยู่กับจีนตั้งแต่เด็ก นายนอร์แมน บี ฮันน่า ที่ปรึกษาสถาทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย ซึ่งเคยเป็นเพื่อนกับนายสังข์มาก่อน ได้เชิญนายสังข์ไปเลี้ยงแสดงความยินดีที่ได้รับการปล่อยตัวที่สถานทูตสหรัฐฯ และได้ปรารภกับนายสังข์เรื่องนี้ โดยสหรัฐฯยินดีจะพบปะเจรจา เพื่อขอยุติสงครามเวียดนามกับรัฐบาลจีน โดยสหรัฐฯพร้อมเจรจากับผู้แทนจีนในประเทศใดประเทศหนึ่งที่มีสถานทูตสหรัฐฯตั้งอยู่ก็ได้ โดยนายฮันน่าฯ ได้นำเรื่องยุติปัญหาสงครามนี้ มาเป็นข้อแลกเปลี่ยนกับการออกหนังสือเดินทางไทยให้กับนายสังข์ ซึ่งต้องการจะไปเยี่ยมลูกที่ปักกิ่งที่ไม่ได้พบหน้ากันนานเป็นเวลา 10 ปีแล้ว", "title": "วรรณไว พัธโนทัย" }, { "docid": "711048#1", "text": "สมเด็จพระธีรญาณมุนี มีนามเดิมว่า สนิธ ทั่งจันทร์ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2453 แรม 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจอ เวลา 15:15 น. ชาติภูมิอยู่บ้านเบิกไพร ตำบลเบิกไพร อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โยมบิดาชื่อผล ทั่งจันทร์ เป็นชาวเบิกไพร อำเภอบ้านโป่ง โยมมารดาชื่อหลวน นามสกุลเดิมผลาภิรมย์ เป็นชาวตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา", "title": "สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิธ เขมจารี)" }, { "docid": "445603#1", "text": "สมโพธิ เกิดที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของชาวจีนโพ้นทะเลจากมณฑลกวางตุ้ง เดิมมีชื่อว่า \"เล็ก\" เนื่องจากเป็นบุตรชายคนเล็กของครอบครัว เป็นเด็กวัดตั้งแต่อายุเพียง 7 ขวบ โดยอาศัยอยู่ที่วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร ด้วยการขอพ่อแม่ออกไปอยู่เอง ด้วยความฝันที่อยากเป็นนักสร้างภาพยนตร์ตั้งแต่เด็ก โดยได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานการ์ตูนของประยูร จรรยาวงษ์ และภาพยนตร์เร่ที่มาฉายข้างวัด และที่วัดนี้เอง ที่เจ้าอาวาสได้เปลี่ยนชื่อให้เป็น \"สมโพธิ\" อย่างในปัจจุบัน โดยมีความหมายถึงสัมโพธิญาณ หรือการตรัสรู้ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า", "title": "สมโพธิ แสงเดือนฉาย" }, { "docid": "1001493#1", "text": "สุเทพเกิดเมื่อ พ.ศ. 2503 ที่ ตำบลจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีอายุห่างจากสังข์ทองถึง 12 ปีเริ่มต้นเข้าสู่วงการจากการชักชวนของสังข์ทองผู้เป็นพี่ชายที่กำลังโด่งดังให้เข้ามาอยู่ที่ วงดนตรีจุฬารัตน์ ของครู มงคล อมาตยกุล ด้วยกันในตำแหน่งตัวตลกจากนั้นจึงได้มีผลงานในวงการชิ้นแรกคือได้ร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่อง แม่ศรีไพร เมื่อ พ.ศ. 2514 ขณะอายุเพียง 11 ปีนอกจากนี้ยังเป็นผลงานการแสดงชิ้นแรกเช่นกันของ นาท ภูวนัย โดยแสดงร่วมกับ เพชรา เชาวราษฎร์ จากการกำกับของผู้กำกับชั้นบรมครูผู้ล่วงลับเจ้าของฉายา เศรษฐีตุ๊กตาทอง ครู วิจิตร คุณาวุฒิ จากการชักชวนของสังข์ทองที่ได้ร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้อีกเช่นกัน", "title": "สุเทพ สีใส" } ]
2012
ขุนศึกโจโฉ มีบุตรกกี่คน?
[ { "docid": "19644#8", "text": "โจโฉมีบุตรชายทั้งหมด 5 คน คนแรกชื่อโจงั่ง ซึ่งเกิดจากนางเล่าฮูหยิน แต่เสียชีวิตเมื่อครั้งเกิดศึกสงครามกับเตียวสิ้วพร้อมกับภรรยาอีกคนหนึ่งคือนางเอียนสี โจโฉยังมีบุตรชายกับภรรยาคนที่สองซึ่งภายหลังกลายเป็นภรรยาเอกคือนางเปี้ยนสี อีก 4 คนคือโจผี โจเจียง โจสิด และ โจหิม โจหิมป่วยหนัก และเสียชีวิตแต่ยังหนุ่ม บุตรชายที่เหลือทั้ง 3 ได้รับราชการและสร้างผลงานเอาไว้ชัดเจน ในบั้นปลายชีวิตโจโฉป่วยเป็นโรคประสาท มักปวดหัวเป็นประจำ ว่ากันว่าเกิดขึ้นหลังจากแม่ทัพกวนอูแห่งจ๊กก๊กได้ถูกตัดหัวด้วยฝีมือของซุนกวนแห่งง่อก๊ก ซุนกวนก็คิดที่จะส่งหัวของกวนอูไปให้โจโฉเพื่อให้เล่าปี่หันไปล้างแค้นกับโจโฉแทนที่จะมาล้างแค้นตน เมื่อกล่องใส่หัวของกวนอูมาถึงมือโจโฉ โจโฉเปิดกล่องมองดูหัวของกวนอูก็หัวเราะและทักทายแต่แล้วจู่ๆหัวของกวนอูก็เบิกตาโพลงอ้าปากค้างทำให้โจโฉตกใจจนตกจากเก้าอี้ หลังจากนั้นเมื่อได้ฟังเรื่องลิบองถูกวิญญาณของกวนอูเข้าสิงลุกขึ้นด่าซุนกวนจนกระอั่งเลือดตายก็เกิดความกลัวจนพูดว่า \"ขนาดกวนอูตอนเป็นยังดูน่ากลัว ตอนตายก็ดูน่ากลัวเข้าไปใหญ่อีก\"(และโจโฉก็รู้แผนของซุนกวนว่าปัดภัยมาให้ตน) จึงสั่งให้สลักร่างกายด้วยไม้หอมให้แก่กวนอูและฝังศพกวนอูทางทิศใต้ของเมืองลกเอี๋ยงและแต่งตั้งกวนอูเป็นอ๋องแห่งเกงจิ๋ว ตนก็จะไปเซ่นไหว้ให้แก่กวนอู หลังจากงานศพของกวนอูผ่านไป จิตใจของโจโฉก็อยู่ไม่เป็นสุขทุกคืนจึงคิดจะสร้างตำหนักใหม่แต่ขาดเสาเอก แต่ก็ได้พบมีศาลแห่งหนึ่งที่มีต้นสาลี่ใหญ่สูงกว่า 100 ศอกเหมาะที่จะเอามาทำเป็นเสาเอก โจโฉสั่งให้โค่นลงแต่คนตัดไม้ไม่สามารถโค่นลงได้จึงไปรายงานให้กับโจโฉ โจโฉจึงไปดูต้นสาลี่ด้วยตัวเอง เมื่อสำรวจแล้วก็สั่งให้คนตัดไม้โค่นอีกแต่ก็ได้รับเสียงค้ดคานจากชาวบ้านว่าต้นสาลี่นั้นศักดิ์สิทธิ์มีเทพคุ้มครองอยู่โค่นไม่ได้ แต่โจโฉหาได้ใส่ใจไม้และบอกกับชาวบ้านว่า\"ข้ากร่ำศึกมากกว่าสี่สิบปี ไม่เคยกลัวผู้ใด มีแต่ไพร่สามัญจนถึงฮ่องเต้ล้วนเกรงกลัวข้า ภูตผีที่ไหนกล้าขวางข้า\" จึงชักดาบฟันต้นสาลี่ทำให้มียางไม้ที่มีสีคล้ายเลือดพ่นออกมาถูกเสื้อ โจโฉก็เผ่นหนีไปด้วยความหวาดกลัว จากนั้นก็อาการปวดหัวหนักขึ้น ต่อมาหมอฮัวโต๋ได้มาทำการตรวจอาการของโจโฉก็พบว่าลมในสมองมันตีบซึ่งต้นเหตุมันอยู่ในกะโหลกและเสนอการรักษาด้วยการให้ผ่ากะโหลกศีรษะ โจโฉกลับคิดว่าฮัวโต๋จะฆ่าตนจึงสั่งให้จับไปขังคุกและทรมานสอบสวน แม้จะได้รับการคัดค้านจากที่ปรึกษาก็ไม่ฟัง ฮัวโต๋ก็ถูกจับขังคุกจนตาย ต่อมาโจโฉได่ก็ได้จัดงานเลี้ยงแม้จะปวดหัวก็ยังทนได้และได้รับจดหมายจากซุนกวนว่าขอให้โจโฉขึ้นมาเป็นฮ่องเต้ ปราบปรามเล่าปี่พิชิตเสฉวน เมื่อปราบได้ก็จะมาสวามิภักดิ์แต่โจโฉกลับไม่เชื่อ แต่เหล่าที่ปรึกษาและทหารของท่านก็กลับเห็นด้วยได้พากันอ้อนวอนขอให้ขึ้นมาเป็นฮ่องเต้แต่โจโฉไม่รับและขอเป็นวุยอ๋องก็พอแล้ว หลังจากนั้นอาการของโจโฉก็ทรุดหนักขึ้นเรื่อยๆจนซบเซานอนลงบนเตียง แต่ในขณะที่หลับฝันเห็นวิญญาณที่ตนเคยฆ่ามาก่อนตามทวงเอาชีวิตจนสะดุ้งตื่นขึ้นชักดาบจนทำให้เหล่านางกำนัลต้องเผ่นหนีกระเจิงไป ที่ปรึกษาก็ได้แนะนำให้เชิญนักพรตลัทธิเต๋ามาช่วยทำพิธีปัดรังควาน แต่โจโฉก็ได้พูดว่าฟ้าได้ลงโทษแล้ว ไม่อาจฏีกาหรือขอขมาได้เลย ตนหมดบุญเพียงเท่านี้แล้วไม่อาจช่วยได้แล้ว", "title": "โจโฉ" } ]
[ { "docid": "831869#0", "text": "ศึกหว่านเฉิง () สงครามครั้งหนึ่งในสมัย สามก๊ก ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 197 ในช่วงปลายสมัย ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ระหว่าง โจโฉ กับ เตียวสิ้ว โดยสงครามครั้งนี้เตียวสิ้วได้ชัยชนะขณะที่โจโฉพ่ายแพ้อย่างย่อยยับพร้อมกับสูญเสียบุตรชายคนโตคือ โจงั่ง และขุนศึกคู่ใจคือ เตียนอุย", "title": "ยุทธการที่หว่านเฉิง" }, { "docid": "177974#2", "text": "หลังจากพ่ายศึก เล่าปี่ได้ส่งขงเบ้งไปเจรจาขอเป็นพันธมิตรกับซุนกวนแห่งง่อก๊ก เพื่อร่วมมือกันต่อต้านโจโฉ แต่ซุนกวนยังสองจิตสองใจว่าจะร่วมสู้หรือสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ เนื่องด้วยคณะที่ปรึกษานำโดยเตียวเจียวได้เสนอให้ยอมสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ ขณะที่คณะขุนศึกนำโดยเทียเภาได้เสนอให้ร่วมมือกับเล่าปี่สู้โจโฉ แต่ด้วยความเห็นของขงเบ้ง และกุศโลบายการโน้มน้าวอย่างแยบคายของจิวยี่แม่ทัพใหญ่แห่งง่อก๊ก ซุนกวนจึงตัดสินใจประกาศสงครามกับโจโฉ โดยแต่งตั้งให้จิวยี่เป็นแม่ทัพในการสงคราม ขณะเดียวกัน ชัวมอและเตียวอุ๋นแห่งเกงจิ๋วได้มาสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ โจโฉตั้งให้ทั้งสองคนเป็นแม่ทัพเรือ", "title": "สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ" }, { "docid": "394774#1", "text": "เอียวสิ้วมักคบหากับโจสิด บุตรชายคนที่ 3 ของโจโฉที่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน และเฉลียวฉลาดเช่นกัน จึงมักเป็นที่ไม่พอใจแก่โจโฉ และโจโฉก็ได้เตือนโจสิดเสมอ ๆ ถึงเรื่องเอียวสิ้ว", "title": "เอียวสิ้ว" }, { "docid": "9800#79", "text": "Template:CJKV) เป็นชาวตำบลเจวินติ้ง เมืองฉางชาน มณฑลเหอเป่ย รูปร่างสูงใหญ่ ใบหน้าขาว บุคลิกนิสัยกล้าหาญ ซื่อสัตย์ภักดี มักสวมเกราะเงินและชำนาญการใช้ทวนเป็นอาวุธ แต่เดิมจูล่งเป็นทหารของอ้วนเสี้ยว แต่ทนกับนิสัยไม่มีสัจจะของอ้วนเสี้ยวไม่ได้จึงไปอยู่กับกองซุนจ้าน ภายหลังได้พบกับเล่าปี่และซาบซึ้งในคุณธรรมและความมีน้ำใจ เมื่อกองซุนจ้านตายจึงไปทำราชการด้วย จูล่งเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือของเล่าปี่และเป็นกำลังสำคัญในการทำศึกสงครามเกือบทุกครั้ง วีรกรรมสำคัญของจูล่งคือเมื่อเล่าปี่พ่ายแพ้โจโฉที่ฉางปั่น ครอบครัวเล่าปี่เกิดพลัดหลงในขณะหลบหนีไปทางใต้ จูล่งได้บุกตะลุยตีฝ่ากองทัพของโจโฉเพื่อค้นหาครอบครัวของเล่าปี่ และช่วยชีวิตอาเต๊าด้วยการนำมาใส่ไว้ในเกราะเสื้อที่บริเวณหน้าอก อาศัยกำลังตัวคนเดียวตีฝ่าตะลุยกองทัพ5แสนของโจโฉและนำอาเต๊ามาคืนให้แก่เล่าปี่ได้สำเร็จ จนเป็นที่เลื่องลือกล่าวขานไปทั่วแผ่นดินจนถึงปัจจุบัน เล่าปี่ยกย่องในความกล้าหาญและสัตย์ซื่อมาก ได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือ จูล่งเป็นขุนศึกนักรบตั้งแต่วัยหนุ่มจนถึงวัยชรา ออกรบโดยไม่เคยพ่ายแพ้ ก่อนพระเจ้าเล่าปี่สิ้นพระชนม์ ได้สั่งเสียให้จูล่งช่วยดูแลเล่าเสี้ยนและครอบครัวของตนต่อไป จากนั้นจึงคอยช่วยเหลือขงเบ้งปราบภาคใต้และภาคเหนือ เป็นนักรบชื่อดังไม่กี่คนในสามก๊กที่ได้นอนตายอย่างสงบที่บ้าน เมื่อรู้ว่าจูล่งตายแล้ว ขงเบ้งถึงกับร้องไห้หนักว่าเหมือนดั่งแขนซ้ายของตนเองขาด จูล่งเสียชีวิตในปีศักราชเจี้ยนซิ่ง ปีที่ 18 รวมอายุได้ 72 ปี", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "845509#0", "text": "งักหลิม ( ? — ค.ศ. 257) ขุนศึกแห่งวุยก๊กในช่วงปลายของ ยุคสามก๊ก เป็นบุตรชายของ งักจิ้น ยอดขุนศึกรุ่นแรกของ โจโฉ ผู้ก่อตั้งวุยก๊ก", "title": "งักหลิม" }, { "docid": "165988#0", "text": "ซุนฮก (; ) เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของโจโฉ เดิมอยู่รับใช้อ้วนเสี้ยว แต่ซุนฮกเห็นว่าอ้วนเสี้ยวใช้คนไม่เป็น จึงมาอยู่รับใช้โจโฉ คอยช่วยเหลือโจโฉตั้งแต่โจโฉยังเริ่มตั้งตัวในภาคตะวันออก จนได้เป็นมหาอุปราชแห่งองค์ฮ่องเต้ ซุนฮกคอยวางแผนในการรบให้โจโฉ จนโจโฉสามารถรวบรวมส่วนหนึ่งของจีนได้สำเร็จ", "title": "ซุนฮก" }, { "docid": "19644#18", "text": "แปะเฉีย พี่น้องร่วมสาบานของโจโก๋บิดาของโจโฉ ตอนแรกสังหารคนที่บ้านแปะเฉียเพราะเข้าใจผิด เมื่อหนีจากบ้านแปะเฉีย พบกับแปะเฉียระหว่างทาง จึงฆ่าแปะเฉียเสีย โฮงี โจรโพกผ้าเหลือง อุยเซียว โจรโพกผ้าเหลือง หันอิ้น ขุนนางของอ้วนสุด ที่ลิโป้ส่งให้มาตัดสินโทษ อองเฮา นายกองเสบียงของตนเอง ลิฮอง งักจิว ขุนพลอ้วนสุด เลียงกอง ขุนพลอ้วนสุด ตันกี๋ ขุนพลอ้วนสุด หลันเป้ง ขุนพลลิโป้ โกซุ่น ขุนพลของลิโป้ ตันก๋ง ที่ปรึกษาของลิโป้ ลิโป้ เอียวงัน เกียดเป๋ง แพทย์ประจำราชสำนัก คิดคบกับตังสินคิดฆ่าโจโฉ จึงวางแผนวางยาโจโฉ แต่โจโฉรู้ตัวก่อน เพราะบ่าวของตังสินมาบอกความลับ ตังสิน จูฮก ผู้ร่วมก่อการกับตังสิน จูลัน ผู้ร่วมก่อการกับตังสิน ตันอิบ ผู้ร่วมก่อการกับตังสิน โงห้วน ผู้ร่วมก่อการกับตังสิน พระสนมตังกุยฮุยและพระราชบุตรในครรภ์ น้องสาวของตังสิน พระสนมในสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเซี่ยนเต้ ซึ่งโจโฉกำจัดเพื่อไม่ให้เหลือไว้เป็นเสี้ยนหนามรวมถึงลูกในท้องที่ยังไม่เกิด แม้สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเซี่ยนเต้ขอชีวิตเด็กไว้ แต่โจโฉไม่ยอมละเว้นให้ ชีสิว ที่ปรึกษาของอ้วนเสี้ยว สิมโพย ที่ปรึกษาของอ้วนเสี้ยว ขงหยง ชัวมอ แม่ทัพของเล่าเปียวที่มาสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ ถูกโจโฉสั่งประหารด้วยอุบายของจิวยี่ เตียวอุ๋น แม่ทัพของเล่าเปียวที่มาสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ ถูกโจโฉสั่งประหารด้วยอุบายของจิวยี่เช่นเดียวกับชัวมอ ม้าฮิว บุตรชายของม้าเท้ง น้องชายของม้าเฉียว ม้าเท้ง อุยกุ๋ย เบียวเต๊ก ฮกอ้วน คิดก่อการสังหารโจโฉ แต่แผนรั่วไหลเสียก่อน พระนางฮกเฮา บุตรสาวของฮกอ้วน พระอัครมเหสี(ฮองเฮา)สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเซี่ยนเต้ บอกสุ้น ขันทีในราชสำนักที่ส่งจดหมายลับของพระนางฮกเฮาไปให้ฮกอ้วน เกงจี เอียวสิ้ว ฮัวโต๋ หมอเทวดา", "title": "โจโฉ" }, { "docid": "177974#1", "text": "ในฤดูร้อน ปี ค.ศ. 208 ยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก โจโฉสมุหนายกผู้พิชิตภาคเหนือและเมืองหลวง อ้างโองการของพระเจ้าเหี้ยนเต้ยกพลกว่า 800,000 และกองเรือกว่า 2,000 ลำ ลงสู่ภาคใต้ เพื่อปราบขุนศึกซุนกวนและเล่าปี่ เพื่อหวังยึดครองดินแดนของขุนศึกทั้งสอง โจโฉไดนำพลพิชิตเล่าปี่ได้อย่างง่ายดาย ทำให้เล่าปี่ต้องอพยพราษฎรออกจากเมืองซินเอี๋ย โจโฉได้นำทัพบุกโจมตีขบวนอพยพของเล่าปี่ แต่กวนอูและเตียวหุย น้องร่วมสาบานของเล่าปี่ได้นำทัพมาป้องกันระวังหลังไว้ได้ ส่วนจูล่ง ขุนพลอีกคนของเล่าปี่ได้ขี่ม้าไปช่วยเหลือครอบครัวของเล่าปี่ที่ตกอยู่ในวงล้อมของโจโฉ ถึงแม้จะช่วยภรรยาทั้งสองของเล่าปี่ไม่ได้ แต่จูล่งก็ช่วยทารกบุตรชายของเล่าปี่กลับมาหาเล่าปี่ได้สำเร็จ", "title": "สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ" }, { "docid": "843190#1", "text": "ต้านท่ายเป็นบุตรชายของ ตันกุ๋น () ที่ปรึกษาของ โจโฉ และเป็นหลานตาของ ซุนฮก () ที่ปรึกษาอีกคนหนึ่งของโจโฉเพราะตันกุ๋นแต่งงานกับบุตรสาวของซุนฮก", "title": "ต้านท่าย" }, { "docid": "9800#56", "text": "ช่วงปลายราชวงศ์ฮั่น ผู้ปกครองอ่อนแอ มีตั๋งโต๊ะ รวบอำนาจเสียเอง คอยเชิดหุ่น เหี้ยนเต้ ฮ่องเต้เด็ก ขุนนางและขุนพลทั่วแผ่นดินคับข้องใจ รวมตัว บุกราชธานีหวังพิชิต ตั๋งโต๊ะ แต่เจอลิโป้เข้าไปก็แพ้ตลอด มีคนออกอุบายให้ ลิโป้ แตกคอกับ ตั๋งโต๊ะ จน ลิโป้ ฆ่าตั๋งโต๊ะ ในที่สุด โจโฉ โค่นลิโป้ โจโฉ ขยายอำนาจ เหนือ แม่น้ำแยงซีเกียงเสียก่อน ด้วยการพิชิตอ้วนเสี้ยว ทำให้เป็นหนึ่ง ตอนบน เล่าปี่ อยากโค่นอำนาจ โจโฉ คืนอำนาจให้ พระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่ กองกำลังมีแค่หยิบมือ แต่ยินว่า จูกัดเหลียง ขงเบ้ง สามารถช่วยให้ฝันใหญ่ของคนเล็ก เป็นจริงได้ จึงไป ขอให้ขงเบ้งช่วย ขงเบ้งวางกลยุทธ์ หวังเบรก โจโฉ ที่มาจากตอนเหนือ ด้วยการ ใช้ ง่อก๊ก คานอำนาจ กันและกัน จนอ่อนล้า จากนั้น แนะนำให้เล่าปี่ ใช้ ค่อยๆขยายอำนาจ ในช่วง โจโฉ อ่อนแอแล้ว ดินแดน เสฉวน ทำให้แผ่นดิน มีเพียง สามก๊กใหญ่ กาลเป็นดังคาด ขงเบ้ง ยุยงให้ ง่อก๊ก รบกับ โจโฉ ที่ขยายอำนาจลงใต้ โจโฉ แตกพ่ายทัพเรือที่ผาแดง กลับขึ้นเหนือ ตอนใต้ เล่าปี่ ค่อยๆขยายอำนาจ ในดินแดนตอนใต้ และ เดินทาง เสฉวน ระหว่าง ขยายอำนาจ ซุนกวน ฆ่า กวนอู และ เตียวหุย ก็ตายตาม แต่กระนั้น เล่าปี่ ตั้งอาณาจักร จ๊กก๊ก ได้ แผ่นดินแบ่งเป็นสามก๊กชัดเจน ดุลอำนาจกันไปมา เล่าปี่ ตาย ลูกชาย อาเต๊า ครองราชย์แทน ขงเบ้งกุมอำนาจทุกอย่าง ทางตอนเหนือ โจโฉ แก่ตาย ถัดมา หลานชาย ขึ้นเป็น “วุยอ๋อง” แทนที่ รู้ว่า ภัยคุกคามหลักคือ กองทัพ ขงเบ้ง โจยอยมอบหมายให้สุมาอี้ ไปรบขงเบ้งที่กำลังขยายอำนาจ ขึ้นเหนือ รบกี่หนก็แพ้ แต่ที่สุด ขงเบ้ง ตาย จ๊กก๊ก เสฉวน ของ อาเต๊าอ่อนแอ ..โจยอยก็ตาย ลูกชายสุมาอี้ ชื่อ สุมาสู ยึดอำนาจจาก ตระกูล โจ แผ่นดินของ อาเต๊า เข้ากับ แผ่นดิน ตอนเหนือ ได้สำเร็จสุมาสู ตาย สุมาเอี๋ยน บุตรชาย ครองตำแหน่งวุยอ๋อง แทนที่ ผนวกแผ่นดิน สุดท้ายนั่นคือ ง่อก๊ก กังตั๋งทางตอนใต้ ที่อ่อนแอลงหลัง ซุนกวนตาย ที่สุด ก็เอาชนะ ผนวกทั้งแผ่นดิน เป็นหนึ่งเดียว", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "224346#0", "text": "ห้าทหารเสือแห่งวุยก๊ก(อังกฤษ:Five Wei Generals) ในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ห้าทหารเสือเป็นตำแหน่งเรียกขานขุนศึกผู้มีฝีมือเก่งกาจ เป็นที่เลื่องลือกล่าวขานทั่วทั้งแผ่นดินจำนวน 5 คนของโจโฉในสมัยยุคสามก๊ก ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทหารเสือที่เอกภายหลังจากโจโฉสถาปนาตนเองขึ้นเป็นวุยอ๋องแห่งวุยก๊ก ห้าทหารเสือที่ได้รับการแต่งตั้งได้แก่", "title": "ห้าทหารเสือแห่งวุยก๊ก" }, { "docid": "158965#1", "text": "โจฮวน ตอนเกิดชื่อ โจฮวง (Cao Huang 曹璜 ) เป็นบุตรของโจฮู (Cao Yu) ซึ่งเป็นบุตรคนที่ 3 ของโจโฉกับนางฮวนฮูหยิน (บุตรคนโตของโจโฉกับนางฮวนฮูหยินคือโจฉอง ซึ่งได้ชื่อว่ามีสติปัญญาคิดวิธีชั่งน้ำหนักช้างได้ แต่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก) ในปี ค.ศ. 258 ขณะโจฮวนทรงมีพระชนมายุได้ 12 พรรษา ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็น ดยุคแห่ง Changdao ( \"Duke of Changdao District\" (常道鄉公) ) ซึ่งอยู่ในเขตซานตง ().", "title": "โจฮวน" }, { "docid": "843855#1", "text": "แฮหัวฮุยเป็นบุตรชายคนที่ 6 ของ แฮหัวเอี๋ยน ขุนศึกคนสำคัญของ โจโฉ ผู้ก่อตั้งวุยก๊กมีความสามารถในการโต้วาทีตั้งแต่เด็กได้รับตำแหน่ง จอมพลแห่งวุยก๊ก ร่วมกับ แฮหัวโฮ () ผู้เป็นพี่ชาย", "title": "แฮหัวฮุย" }, { "docid": "894424#4", "text": "เมื่อปลายปี ค.ศ. 217 หรือต้นปี ค.ศ. 218 เกียดเป๋งวางแผนก่อกบฏในเมืองหลวงฮูโต๋ร่วมกับผู้ร่วมก่อการหลายคนได้แก่ เกงจี (耿紀 \"เกิ่งจี้\") อุยหลง (韋晃 เหวย์หฺว่าง) กิมหัน (金禕 \"จินอี\") และบุตรชายของเกียดเป๋งคือเกียดเมา (吉邈 \"จี๋เหมี่ยว\") ชื่อรอง เหวินหรัน (文然) และเกียดบก (吉穆 \"จี๋มู่\") ชื่อรอง ซือหรัน (思然) โดยมีแผนการจะสังหารอองปิด (王必 \"หวังปี้\") ขุนนางของโจโฉในตำแหน่งจ๋างสื่อ (長史) จากนั้นจะเข้าควบคุมพระเจ้าเหี้ยนเต้ โจมตีแคว้นวุยของโจโฉ และประสานกับเล่าปี่ ขุนศึกผู้ควบคุมดินแดนภาคตะวันตกของจีนที่เป็นศัตรูของโจโฉ ขณะนั้นกวนอูขุนพลของเล่าปี่กำลังได้เปรียบโจหยินขุนพลของโจโฉในการรบที่เมืองอ้วนเสีย ส่วนตัวโจโฉนั้นอยู่ไกลถึงเมืองเงียบกุ๋น และได้มอบหมายให้อองปิดรักษาเมืองฮูโต๋ ", "title": "เกียดเป๋ง" }, { "docid": "613708#0", "text": "เฉา ชง ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจฉอง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (; ค.ศ. 196–208) ชื่อรองว่า ชางชู () เมื่อสิ้นชีวิตแล้วได้เป็น อายหวัง (; \"องค์ชายอาย\") เป็นบุตรชายคนหนึ่งของเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกชาวจีนซึ่งเถลิงอำนาจในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นและวางรากฐานให้รัฐเว่ย์/วุย (魏) ในสมัยสามก๊ก", "title": "โจฉอง" }, { "docid": "842125#1", "text": "นางเปียนสีเกิดเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 159 ที่ไป่ถิงในครอบครัวที่มีฐานะยากจนทำให้นางต้องไปทำงานเป็นนางคณิกากระทั่ง โจโฉ ได้มาไถ่ตัวนางออกจากหอนางโลมจนกระทั่ง ค.ศ. 187 ขณะอายุได้ 28 ปีนางได้ให้กำเนิดบุตรชายคนที่ 2 ของโจโฉแต่เป็นบุตรชายคนแรกของนางคือ โจผี ทำให้ในปีต่อมาคือ ค.ศ. 188 โจโฉได้รับนางเป็นอนุภรรยาอย่างเป็นทางการ", "title": "เปียนสี" }, { "docid": "845674#1", "text": "บังโฮยเป็นบุตรชายของ บังเต๊ก ขุนศึกคนสำคัญของ โจโฉ มีบทบาทสำคัญเมื่อคราวสังหารหมู่ลูกหลานของ กวนอู จนหมดสิ้นภายหลังจาก จ๊กก๊กล่มสลาย เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 263 เพื่อเป็นการล้างแค้นให้กับบังเต๊กที่ถูกกวนอูสั่งประหารโดยหลังจากนั้นไม่ได้มีการกล่าวถึงบังโฮยอีกเลย", "title": "บังโฮย" }, { "docid": "837495#0", "text": "แปะเฉีย หรือ ลิแปะเฉีย มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า ลฺหวี่โป๋เชอ () เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นคนรู้จักของโจโฉ ขุนศึกผู้ขึ้นมามีอำนาจในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและสร้างรากฐานในการสถาปนาวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน ตามแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โจโฉสังหารครอบครัวของแปะเฉียในปี ค.ศ. 189 หรือ 190 เมื่อผ่านบ้านของแปะเฉียขณะที่เดินทางจะไปเมืองตันลิว (陳留 \"เฉินหลิว\"; ปัจจุบันอยู่บริเวณเมืองไคเฟิง มณฑลเหอหนาน) หลังจากหลบหนีออกจากเมืองหลวงลกเอี๋ยง แรงจูงใจในการฆ่าของโจโฉนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด แหล่งข้อมูลหนึ่งได้อ้างว่าที่โจโฉสังหารครอบครัวของแปะเฉียเพื่อป้องกันตัวเอง ขณะที่อีกสองแหล่งข้อมูลระบุว่าโจโฉสงสัยว่าครอบครัวของแปะเฉียวางแผนทำร้าย โจโฉจึงชิงลงมือสังหารครอบครัวของแปะเฉียเสียก่อน เหตุการณ์นี้ได้มีการกล่าวถึงในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก โดยระบุว่าตัวแปะเฉียก็ถูกโจโฉสังหารเช่นกัน", "title": "แปะเฉีย" }, { "docid": "843184#4", "text": "ใน ค.ศ. 206 โกกันได้ก่อกบฏต่อโจโฉที่ด่านหูกวน () และได้รบกับขุนศึกคนสำคัญ 2 คนคือ ลิเตียน และ งักจิ้น แต่ก็พ่ายแพ้และเสียเป๊งจิ๋วให้กับโจโหลังจากพ่ายแพ้แล้วโกกันได้หนีลงใต้ไปยังเกงจิ๋ว () แต่ถูกจับอย่างรวดเร็วโดยกองทัพโจโฉและถูกประหารชีวิต", "title": "โกกัน" }, { "docid": "115102#1", "text": "โจผีนั้นเป็นบุตรคนรอง แต่ก็ได้มีบทบาทในการสืบทอดอำนาจจากโจโฉ เนื่องจากบุตรชายคนโต คือ โจงั่ง ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังอายุน้อยในการติดตามโจโฉไปทำสงคราม ในนิยายสามก๊กได้ โจโฉได้กล่าวถึงโจผี ว่าเป็นคนมีปัญญา จิตใจหนักแน่น โอบอ้อมอารีย์ จึงสมควรจะเป็นสืบทอดอำนาจของตน โจผีเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแต่งกลอน กาพย์กวี เช่นเดียวกับโจโฉผู้บิดา และยังได้เคยติดตามบิดาออกไปทำสงครามบ่อยครั้ง ตั้งแต่ยังเยาว์ \nโจผีมีภรรยาหลวง คือนางเอียนสี ซึ่งได้ตัวมาเมื่อครั้งที่โจโฉทำสงครามกัวต๋อกับตระกูลอ้วน นางเอียนสีนั้นเป็นสาวงามที่มีชื่อว่า เป็นหญิงงามแห่งแผ่นดินทางเหนือ และยังเป็นภรรยาม่ายของอ้วนฮี บุตรชายของอ้วนเสี้ยว คู่ศึกของโจโฉ จึงย่อมถือเป็นเชลยศึก แต่โจผีก็ได้รับนางมาตกแต่งเป็นภรรยาหลวง ในขณะนั้นโจผีอายุได้ 17 ปี ขณะที่นางเอียนสีอายุมากกว่า คือ 22 ปี ซึ่งภายหลังเมื่อโจผีได้ขึ้นครองราชย์ ก็ได้สถาปนานางเป็นฮองเฮา", "title": "โจผี" }, { "docid": "19644#14", "text": "ในภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ของจีน สามก๊ก ขุนศึกเลือดมังกร กำกับโดย แดเนียล ลี และ สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ กำกับโดยจอห์น วู โจโฉได้มีบทบาทสำคัญในเรื่อง ในภาพยนตร์เรื่อง สามก๊ก ขุนศึกเลือดมังกร โจโฉรับบทโดยหลิวสงเหยิน ในภาพยนตร์เรื่องนี้ โจโฉได้ปรากฏตัวครั้งเดียวในศึกทุ่งเตียงปัน ขณะที่มองจูล่งที่กำลังฝ่าทัพของตนเพื่อช่วยเหลือลูกชายของเล่าปี่อย่างชื่นชม ในภาพยนตร์เรื่อง สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ โจโฉรับบทโดยจางเฟิงอี้ โดยในภาพยนตร์เรื่องนี้ โจโฉปรากฏตัวครั้งแรกในตอนที่ขอพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าเหี้ยนเต้ในการปราบปรามเล่าปี่และซุนกวน โจโฉได้นำทัพไปรบกับพันธมิตรเล่า-ซุนที่ผาแดง แต่พ่ายแพ้ จึงล่าถอยหนี ระหว่างทางถูกทหารข้าศึกล้อมจะจับตัวทุกเส้นทาง แต่ในเส้นทางถอยหนีสุดท้าย แม่ทัพกวนอูได้ไว้ชีวิตให้กลับไป เพราะสำนึกในบุญคุณที่โจโฉเคยรับอุปการะเลี้ยงเลี้ยงดูไว้เป็นอย่างดี ในภาพยนตร์เรื่อง สามก๊ก ตอน โจโฉ มหาอุปราชผู้หวังครองแผ่นดิน ซึ่งเคอ จุ้นสงได้รับบทนี้ และภาพยนตร์เรื่องนี้ได้กล่าวถึงชีวประวัติของโจโฉตั้งแต่ต้นจนถึงตอนเสียชีวิต ภาพยนตร์เรื่อง โจโฉ The Assassins (铜雀台) นำแสดงโดย โจว เหวินฟะ ซึ่งรับบทเป็นโจโฉ และมีเนื้อหาในช่วงเหตุการณ์ที่ พระเจ้าเหี้ยนเต้กับนางฮกเฮาคิดกำจัดโจโฉ", "title": "โจโฉ" }, { "docid": "844612#1", "text": "เตงหงีเกิดที่ตำบลเพ่ยเสี้ยนซึ่งเป็นนิวาสถานเดิมของ หลิวปัง ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิฮั่นเกา ปฐมจักรพรรดิแห่ง ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก โดยเตงหงีได้เข้ามารับใช้วุยก๊กและเกือบจะได้แต่งงานกับบุตรสาวคนหนึ่งของโจโฉแต่กลับถูก โจผี บุตรชายคนที่ 2 ของโจโฉขัดขวางเนื่องจากโจผีเห็นว่าเตงหงีตาบอดข้างหนึ่งไม่คู่ควรและให้แต่งงานกับ แฮหัวหลิม บุตรชายคนที่ 2 ของ แฮหัวตุ้น ขุนศึกคนสำคัญของโจโฉแทนทำให้เตงหงีไม่พอใจและได้เป็นที่ปรึกษาให้กับบุตรชายคนที่ 3 ของโจโฉคือโจสิด", "title": "เตงหงี" }, { "docid": "831869#1", "text": "ใน ค.ศ. 197 โจโฉ นำกำลังบุกไปโจมตี ที่ปกครองโดย เล่าเปียว ระหว่างทางได้ผ่านมายังเมืองหว่านเฉิงซึ่งขณะนั้น เตียวสิ้ว หลานชายของ เตียวเจ อดีตขุนศึกของ ตั๋งโต๊ะ เป็นผู้ปกครองระหว่างนั้น กาเซี่ยง ที่ปรึกษาของเตียวสิ้วได้แนะนำให้เตียวสิ้วยอมแพ้ต่อโจโฉซึ่งโจโฉยังคงให้เตียวสิ้วปกครองหว่านเฉิงตามเดิม", "title": "ยุทธการที่หว่านเฉิง" }, { "docid": "9800#64", "text": "Template:CJKV) มีชื่อรองเม่งเต๊กหรือเมิ่งเต๋อ เรียกชื่อเต็มว่า \"โจเม่งเต๊กโฉ\" เป็นลูกบุญธรรมของขันทีในวังหลวง แต่เดิมแซ่แฮหัวและคาดว่าน่าจะเกิดจากความแตกแยกในตระกูล ทำให้แยกออกมาเป็นแซ่โจ รูปร่างสูงใหญ่(บางตำราบอกว่าสูง 160 ซม.) คิ้วเล็ก หนวดยาว สติปัญญาเฉลียวฉลาด ชำนาญด้านอักษรศาสตร์และตำราพิชัยสงคราม ในวัยเด็กมีนิสัยเกเร ชอบเอาชนะผู้อื่นและตั้งตนเป็นหัวหน้าเสมอ มีหมอดูเคยทำนายโชคชะตะของโจโฉว่า \"โจโฉจะสามารถครอบครองโลกได้ แต่โลกก็จะลุกเป็นไฟเพราะความฉลาดปราดเปรื่องของตนเอง\" โจโฉอาศัยสถานการณ์ความวุ่นวายในแผ่นดินทำให้ผงาดขึ้นมาเป็นใหญ่ได้โดยการเข้าไปโอบอุ้มพระเจ้าเหี้ยนเต้ ทำให้ตนเองได้ครองตำแหน่งสมุหนายกอันเป็นตำแหน่งสูงสุดในการบริหาร กุมอำนาจเหนือจักรพรรดิ และยังแผ่อิทธิพลเข้าครอบครองดินแดนภาคกลางและเหนือของจีนไว้ได้จนหมด โจโฉมีความสามารถในการบัญชาการศึกมาก สามารถปราบปรามขุนศึกก๊กต่างๆ ตั้งแต่ ลิโป้ เตียวซิ่ว อ้วนสุด อ้วนเสี้ยว เล่าเปียว ม้าเท้ง เตียวลู่ ทำให้กลายเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน แม้ว่าต่อมาจะพ่ายแพ้ให้แก่เล่าปี่และซุนกวนในศึกที่ผาแดง แต่ก็ยังสามารถขึ้นสู่ตำแหน่งวุยอ๋อง และวางรากฐานให้ลูกหลานของตนเข้าแย่งชิงบัลลังก์ของราชวงศ์ฮั่นในภายหลัง โจโฉเสียชีวิตเมื่ออายุ 60 ปี โจผีบุตรชายถวายพระนามย้อนหลังให้เป็น พระเจ้าเว่ยหวู่ตี้ (Wei Wudi)", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "941761#0", "text": "ยุทธการที่เงียบกุ๋น (, ) สงครามที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 204 ในปลายยุค ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เป็นการต่อสู้กันระหว่างขุนศึก เฉาเชา หรือ โจโฉ และ อ้วนซง บุตรชายและผู้สืบทอดของคู่แข่งของโจโฉ ยฺเหวียนเซ่า หรือ อ้วนเสี้ยว ในเมืองที่เป็นฐานอำนาจของตระกูลอ้วน เมืองเงียบกุ๋น (ปัจจุบันคือ หานตาน มณฑลเหอเป่ย์) โจโฉเป็นพันธมิตรกับพี่ชายต่างมารดาของอ้วนซง อ้วนถำ ซึ่งก่อกบฏเนื่องจากความขัดแย้งเรื่องการสืบตำแหน่งและด้วยการร้องขอของอ้วนถำทำให้โจโฉยกทัพเข้าปิดล้อมเมืองเงียบกุ๋นซึ่งการปิดล้อมเมืองเงียบกุ๋นประสบความสำเร็จทำให้อ้วนซงสูญสิ้นอำนาจใน กิจิ๋ว และโจโฉในเวลาต่อมาได้ใช้เมืองเงียบกุ๋นเป็นฐานอำนาจทางการทหารของเขา", "title": "ยุทธการที่เงียบกุ๋น" }, { "docid": "613703#0", "text": "แต่เดิมซินผีเป็นที่ปรึกษาให้กับอ้วนเสี้ยว ขุนศึกผู้ทรงอิทธิพลทางภาคเหนือแต่หลังจากอ้วนเสี้ยวพ่ายแพ้ต่อโจโฉ ในศึกกัวต๋อ เมื่อปี ค.ศ. 200 ซินผีจึงได้ย้ายมาเป็นที่ปรึกษาให้กับวุยก๊กโดยเป็นที่ปรึกษาของโจสิด บุตรชายคนที่ 3 ของโจโฉและจักรพรรดิองค์ที่ 2 ของ ราชวงศ์วุย คือ พระเจ้าโจยอย", "title": "ซินผี" }, { "docid": "680372#1", "text": "พระสนมตังกุยฮุยเป็นลูกสาวของตังสินดำรงตำแหน่งเป็นนายพลทหารม้าในพระเจ้าฮั่นเลนเต้ หลังจากเคงต๋องคนใช้ใกล้ชิดโกรธที่ถูกตังสินโบยก็นำความไปบอกโจโฉ โจโฉจึงจับเอาตัวตังสินกับเพื่อนอีกสี่คน รวมทั้งบุตรภรรยา และสมัครพรรคพวกประมาณเจ็ดร้อยคนไปประหารชีวิตทั้งหมด เมื่อทราบว่าพระเจ้าเหี้ยนเต้ได้เป็นผู้ออกรับสั่งเอง จึงเหน็บกระบี่เข้าไปในวัง พบพระเจ้าฮั่นเลนเต้กำลังปรึกษาอยู่กับฮกเฮา ก็ไม่ถวายบังคม โดยถามว่าตังสินคิดร้ายต่อโจโฉ พระเจ้าเหี้ยนเต้แกล้งรับสั่งวกวน แต่โจโฉไม่ฟังคาดคั้นว่า พระองค์เขียนพระอักษรด้วยโลหิตให้ตังสินไปนั้น ลืมไปเสียแล้วหรือ พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงต้องนิ่งเงียบไป โจโฉจึงสั่งให้ตำรวจวังจับตัวนางตังกุยหุย สนมเอกที่เป็นน้องสาวของตังสินเอาไปฆ่าเสีย พระเจ้าเหี้ยนเต้ก็ขอร้องให้ไว้ชีวิตแก่ พระสนมตังกุยหุย เพราะมีครรภ์อยู่ได้ห้าเดือนแล้ว แต่โจโฉไม่ฟังโดยอ้างว่า สมเด็จพระจักรพรรดินั้นรับสั่งตังสินทำร้ายโจโฉ หาก พระสนมตังกุยหุยยังมีชีวิตอยู่ภายหน้าก็จะมีอันตรายแก่โจโฉแม้จักรพรรดินีจะช่วยทูลขอชีวิต ก็ไม่เป็นผล โดยโจโฉอ้างว่า หากนางบุตรแล้วจะพยาบาททำร้ายแก่โจโฉ พระสนมตังกุยหุยจึงขอความกรุณาเป็นครั้งสุดท้ายว่า หากโจโฉไม่ไว้ชีวิตแล้ว อย่าฆ่าด้วยอาวุธให้นำแพรขาวมารัดคอให้สิ้นชีพตามปกติ แล้วพระเจ้าเหี้ยนเต้กับพระเจ้าฮั่นเลนเต้และสนมเอก ก็กอดกันร้องไห้ร่ำไรด้วยความอาลัยอาวรณ์ โจโฉจึงตวาดเอาว่า \n\"...คบคิดกันจะทำร้ายเขา ครั้นเขาจับได้สิมาร้องไห้รักกันเล่า...\"\nแล้วก็เร่งให้ทหารของตัวเอาตัวสนมตังกุยหุยออกไปนอกวัง และรัดคอด้วยผ้าแพรขาวจนสิ้นใจตาย พระสนมตังกุยหุยผู้โชคร้าย จึงต้องสิ้นชีวิตลงพร้อมกับลูกในครรภ์ โดยมิได้กระทำความผิดแต่อย่างใด นอกจากความเป็นน้องของตังสิน เท่านั้นเอง.", "title": "พระสนมตังกุยฮุย" }, { "docid": "837801#0", "text": "สุสานหลวงของโจโฉ () สุสานที่ฝังศพของ โจโฉ ขุนศึกผู้มีชื่อเสียงช่วงปลายยุค ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และเป็นผู้ก่อตั้ง วุยก๊ก แห่ง ยุคสามก๊ก ", "title": "สุสานโจโฉ" }, { "docid": "831236#0", "text": "บุนเพ่ง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ เหวิน พิ่ง ตามสำเนียงกลาง () บุคคลใน ยุคสามก๊ก เป็นขุนศึกแห่งวุยก๊ก เดิมรับใช้ เล่าเปียว เจ้าเมืองเกงจิ๋วต่อมาเมื่อเล่าจ๋อง บุตรคนรองของเล่าเปียวซึ่งขึ้นครองเมืองเกงจิ๋วสืบต่อจากบิดาได้ยอมแพ้ต่อ โจโฉ ทำให้บุนเพ่งได้มารับใช้วุยก๊ก", "title": "บุนเพ่ง" } ]
1058
อินเทอร์เน็ต ใช้ที่ประเทศใดเป็นครั้งแรก ?
[ { "docid": "4274#1", "text": "อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้พัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน", "title": "อินเทอร์เน็ต" } ]
[ { "docid": "960947#2", "text": "ไซฟอนออกแบบโดยตรงเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ในประเทศที่พิจารณาว่าเป็น \"ศัตรูของอินเทอร์เน็ต\"\nบริษัทไซฟอนเป็นผู้พัฒนาและบำรุงรักษารหัสต้นฉบับ\nและยังเป็นผู้ดำเนินการระบบและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถหลีกเลี่ยงระบบกรองเนื้อหาที่ใช้โดยรัฐบาลเพื่อเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต", "title": "ไซฟอน" }, { "docid": "216955#0", "text": "รายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต", "title": "รายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "922420#6", "text": "นประเทศเช่นอิหร่านผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจะใช้อินเทอร์เน็ตในฐานะสื่อทางเลือก ตามรายงานของฟรีดอมเฮาส์เนื่องจากมีแนวโน้มมีผู้ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตมากขึ้น การปิดกั้นการใช้งานในรูปแบบต่างๆ อย่าง ฟิลเตอร์ริ่ง การโจมตีไซเบอร์ จับกุมบล็อกเกอร์จึงเข้มงวดขึ้นเช่นกัน ", "title": "สื่อในประเทศอิหร่าน" }, { "docid": "936#126", "text": "ในปี 2559 ประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รวมผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ 43.87 ล้านคน[208] รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2560 พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 6 ชั่วโมง 30 นาทีต่อวัน[209]:30 ในปี 2559 พบว่า ประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปใช้สมาร์ทโฟนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากที่สุด (90.4%) รองลงมาได้แก่ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (50.1%) คอมพิวเตอร์พกพา (24.9%) และแท็บเล็ด (15.2%)[210]:8", "title": "ประเทศไทย" }, { "docid": "562049#28", "text": "3) การเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless)\nระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีรูปแบบในการสื่อสารแบบไม่ใช้สาย โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ, ทะลุกำแพง, เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สายที่สำคัญก็คือ การที่ไม่ต้องใช้สายทำให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทำได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์\nประโยชน์ของระบบเครือข่ายไร้สาย \n1. mobility improves productivity & service มีความคล่องตัวสูง ดังนั้นไม่ว่าเราจะเคลื่อนที่ไปที่ไหน \nหรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปตำแหน่งใด ก็ยังมีการเชื่อมต่อ กับเครือข่ายตลอดเวลา ตราบใดที่ยังอยู่ใน\nระยะการส่งข้อมูล\n2. installation speed and simplicity สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งสายเคเบิล และไม่รกรุงรัง \n3. installation flexibility สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย เพราะเพียงแค่มี พีซีการ์ดมาต่อเข้ากับโน้ตบุ๊ค หรือพีซี ก็เข้าสู่เครือข่ายได้ทันที\n4. reduced cost- of-ownership ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม ที่ผู้ลงทุนต้องลงทุน ซึ่งมีราคาสูง เพราะในระยะยาวแล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษาและการขยายเครือข่ายก็ลงทุนน้อยกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องด้วยความง่ายในการติดตั้ง\n5. scalability เครือข่ายไร้สายทำให้องค์กรสามารถปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถโยกย้ายตำแหน่งการใช้งานโดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมระหว่างจุดต่อจุด เช่น ระหว่างตึก\nการประยุกต์ใช้งานการสื่อสารบรอดแบนด์\nการใช้งานระบบบรอดแบนด์ถูกใช้ สำหรับการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ซึ่งลักษณะของการสื่อสารข้อมูลเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ สื่อที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูลมีความหลากหลาย เช่น ชนิดใช้สายนำสัญญาณหรือผ่านคลื่นวิทยุในอากาศแบบไร้สาย ซึ่งอาจมีการผสมผสานสื่อต่างๆ เข้าด้วยกันในการใช้งานบรอดแบนด์ เช่น ผู้ส่งข้อมูลอยู่บนเครือข่ายไร้สายในขณะที่ผู้รับข้อมูลอาจอยู่บนเครือข่ายที่ใช้สายนำสัญญาณ การใช้งานโดยเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดความต้องการในการถ่ายโอนข้อมูลปริมาณมากจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นเอกสาร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียงและข้อมูลสื่อประสมต่างๆ ผ่านโปรแกรมสำหรับการท่องอินเทอร์เน็ต คือ \nเว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) หรือโปรแกรมประยุกต์อื่นๆ เช่นการใช้งานเพื่อการศึกษาโดยการส่งข้อมูลภาพการเรียนการสอนระยะไกล (Distance learning) หรือการแพทย์ระยะไกล (Telemedicine) เช่นการให้การวิเคราะห์รักษาผู้ป่วยโดยแพทย์จากระยะทางไกลจากผู้ป่วย ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีบรอดแบนด์ได้ถูกใช้ในด้านธุรกิจ เช่นการประชุม วีดิทัศน์ระยะไกล (Video teleconferencing) เป็นต้น", "title": "บรอดแบนด์" }, { "docid": "4817#56", "text": "อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายทั่วโลกของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถสื่อสารกันด้วยอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล คอมพิวเตอร์บนอินเทอร์เน็ตใด ๆ จะมี IP address ไม่ซ้ำกันที่จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ สามารถหาเส้นทางไปถึงได้ เครื่องที่ส่งจะมี IP address ของผู้ส่ง และ IP address ของผู้รับ ดังนั้น อินเทอร์เน็ตจึงเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน", "title": "โทรคมนาคม" }, { "docid": "510954#0", "text": "ในอินเทอร์เน็ต หุ่นเชิด () หมายถึงอัตลักษณ์ออนไลน์ที่ใช้เพื่อหลอกหลวงผู้อื่น คำว่าหุ่นเชิดมีที่มาจากการเคลื่อนไหวตุ๊กตาหุ่นเชิดด้วยมือไปมา และเดิมใช้อ้างถึงอัตลักษณ์ปลอมของบุคคลหนึ่งบุคคลใดในสังคมอินเตอร์เน็ตเพื่อกล่าวถึงหรือกล่าวโต้ตอบกับตัวเอง ประหนึ่งว่าหุ่นเชิดคือคนอีกคนหนึ่ง ปัจจุบันนี้ คำว่าหุ่นเชิดหมายความรวมถึงการใช้อัตลักษณ์ที่ไม่ถูกต้องเพื่อสนับสนุน ปกป้องหรือชื่นชมบุคคลที่สามหรือองค์กรอื่นใด หรือการใช้หุ่นเชิดเพื่อหลบเลี่ยงการถูกระงับการใช้งานหรือการถูกแบน ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างการใช้นามแฝง และการใช้หุ่นเชิดคือ หุ่นเชิดจะใช้ในทำนองว่าบุคคลนั้น ๆ เป็นบุคคลที่สามที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้เชิดหุ่น ในสังคมออนไลน์หลายแห่งมีนโยบายว่าด้วยการบล็อกหุ่นเชิดเพื่อป้องกันความเสียหายด้วย", "title": "หุ่นเชิด (อินเทอร์เน็ต)" }, { "docid": "242325#0", "text": "ต่อไปนี้เป็นรายชื่อรหัสสถานภาพในการตอบรับเอชทีทีพีจากเครื่องให้บริการ ซึ่งมีทั้งรหัสที่กำหนดโดยมาตรฐานอินเทอร์เน็ตของคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) และกำหนดโดยเอกสารขอความเห็น (RFC) เอกสารลักษณะเฉพาะอื่น ๆ และรหัสที่มีการใช้งานโดยทั่วไปเพิ่มเข้ามา ตัวเลขแรกของรหัสสถานภาพ (หลักร้อย) เป็นตัวระบุประเภทของการตอบรับหนึ่งในห้าประเภท ซึ่งเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีสามารถรับรู้ประเภททั้งห้านี้ได้เป็นอย่างน้อย อินเทอร์เน็ตอินฟอร์เมชันเซอร์วิสเซส (IIS) ของไมโครซอฟท์ใช้รหัสย่อยเป็นทศนิยมเพิ่มเติมเพื่อแสดงข้อมูลให้เจาะจงมากยิ่งขึ้น แต่จะไม่นำมาแสดงไว้ในนี้ วลีเหตุผลที่อยู่ถัดจากรหัสสถานภาพเป็นตัวอย่างมาตรฐาน ซึ่งสามารถเขียนหรือแปลให้เป็นอย่างอื่นเพื่อให้มนุษย์สามารถอ่านเข้าใจได้ ถ้าหากรหัสสถานภาพใดไม่มีการระบุหมายเหตุ แสดงว่ารหัสนั้นเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน HTTP/1.1", "title": "รายชื่อรหัสสถานภาพของเอชทีทีพี" }, { "docid": "334693#2", "text": "ในการเตรียมความพร้อมสำหรับการนำแท็บเล็ตไปปรับใช้ในการศึกษา ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านต่างๆ ต้องมีการเตรียมตัวเพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนสอนสอนด้วยแท็บเล็ตประสบความเร็จ โดยแบ่งการปรับความพร้อมเป็นด้านต่างๆ ดังนี้\nควรจัดตั้งหน่วยงานในระดับเขตพื้นที่การศึกษาในการให้บริการ ประสานงาน ซ่อมบำรุง และเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ซึ่งควรประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอน ทำหน้าที่คณะกรรมการของหน่วยงาน\nด้านสภาพแวดล้อม/โครงสร้างพื้นฐาน/\nการใช้งานแท็บเล็ตพีซีในการเรียนการสอนนั้น สามารถใช้งานได้ 2 ลักษณะดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น คือ แบบ mCAI และแบบ mWBI หรือแบบออฟไลน์และแบบออนไลน์นั้นเอง ซึ่ง mCAI เป็นการใช้แท็บเล็ตพีซีในการเรียนการสอนโดยบรรจุบทเรียนสำเร็จรูปและสื่อมัลติมีเดียไว้ในแท็บเล็ต เพื่อให้ผู้เรียนใช้ในการเรียนรู้โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ส่วนการใช้งานแบบ mWBI เป็นการใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นเครื่องมือในการสืบค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ ซึ่งจำเป็นต้องเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต ไร้สายความเร็วสูง ดังนั้นสถานศึกษาจึงต้องวางโครงสร้างระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายให้ครอบคลุมพื้นที่ โดยมีความเร็วมากพอในการดาวน์โหลดและอัปโหลด และต้องมีจุดปลั๊กไฟสำหรับชาร์ทแบตเตอรี่ที่เพียงพอ ด้วยข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานของสถานศึกษา และตัวอุปกรณ์แท็บเล็ต จึงทำให้ประเทศไทยใช้แท็บเล็ตพีซีในการจัดการเรียนการสอนแบบ mCAI เท่านั้น\nนอกจากนี้ ต้องมีการเตรียมผู้สอนทั้งด้านความสามารถในการใช้แท็บเล็ต และการออกแบบการจัดการเรียนการสอนผ่านแท็บเล็ต โดยการอบรม ให้ความรู้แก่ผู้สอน รวมทั้งนิเทศติดตามการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ ประเมินผล ดูแลรักษา และออกแบบการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสูงสุดต่อผู้เรียน ปัจจุบันรัฐบาลมอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ จัดการอบรมการใช้งานแท็บเล็ตพีซีให้แก่ผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรียบร้อยแล้ว แต่ในปีการศึกษา 2556 ซึ่งผู้เรียนได้เลื่อนชั้นไปยังชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ยังไม่มีการจัดการอบรมการใช้แท็บเล็ตในการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แต่อย่างใด", "title": "แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์" }, { "docid": "26787#0", "text": "ไวไฟ[1] (English: Wi-Fi หรือ WiFi) เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมที่ช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายโดยใช้คลื่นวิทยุ คำ ๆ นี้เป็นเครื่องหมายการค้าของ Wi-Fi Alliance ที่ได้ให้คำนิยามของไวไฟว่าหมายถึง \"ชุดผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่สามารถทำงานได้ตามมาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (แลนไร้สาย) ซึ่งอยู่บนมาตรฐาน IEEE 802.11\" อย่างไรก็ตามเนื่องจากแลนไร้สายที่ทันสมัยส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับมาตรฐานเหล่านี้ คำว่า \"ไวไฟ\" จึงนำมาใช้ในภาษาอังกฤษทั่วไปโดยเป็นคำพ้องสำหรับ \"แลนไร้สาย\" เดิมทีไวไฟออกแบบมาใช้สำหรับอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ และใช้เครือข่าย LAN เท่านั้น แต่ปัจจุบันนิยมใช้ไวไฟเพื่อต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ เช่นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เครื่องเล่นเกมส์ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต กล้องดิจิทัลและเครื่องเสียงดิจิทัล สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าแอคเซสพอยต์รือ ฮอตสปอต และบริเวณที่ระยะทำการของแอคเซสพอยต์ครอบคลุมอยู่ที่ประมาณ 20 ม.ในอาคาร แต่ระยะนี้จะไกลกว่าถ้าเป็นที่โล่งแจ้ง", "title": "ไวไฟ" }, { "docid": "128729#0", "text": "อาชญากรรม(ทาง)คอมพิวเตอร์ หรือ อาชญากรรมไซเบอร์ หมายถึงอาชญากรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อาชญากรรม(บน)อินเทอร์เน็ต ก็เป็นอีกคำหนึ่งซึ่งหมายถึงการแสวงหาผลประโยชน์อย่างผิดกฎหมายบนอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์นั้นอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือก่ออาชญากรรม หรืออาจตกเป็นเป้าหมายของการกระทำก็ได้ Dr. Debarati Halder และ Dr. K. Jaishankar ได้นิยามอาชญากรรมไซเบอร์ไว้ว่าเป็น \"ความผิดที่กระทำขึ้นต่อปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มของปัจเจกบุคคล ด้วยเหตุจูงใจทางอาญา ที่เจตนาทำให้เหยื่อเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือทำร้ายร่างกายหรือจิตใจของเหยื่อ โดยทางตรงหรือทางอ้อม โดยใช้เครือข่ายโทรคมนาคมสมัยใหม่ อาทิ อินเทอร์เน็ต (ห้องแช็ต อีเมล กระดานประกาศ และกลุ่มข่าว) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ (เอสเอ็มเอส/เอ็มเอ็มเอส)\" อาชญากรรมเช่นนั้นอาจคุกคามความมั่นคงและสภาวะทางการคลังของรัฐ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมชนิดนี้ได้กลายมาเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเจาะระบบเครือข่าย การละเมิดลิขสิทธิ์ สื่อลามกอนาจารเด็ก และการล่อลวงเด็ก นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัวเมื่อสารสนเทศที่เป็นความลับถูกสกัดกั้นหรือถูกเปิดเผย โดยทางกฎหมายหรือไม่ก็ตาม", "title": "อาชญากรรมคอมพิวเตอร์" }, { "docid": "563278#67", "text": "นโยบายของรัฐบาลมีบทบาทอย่างมากในการนำการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตว่าจะให้กับหรือจะจำกัดการเข้าถึงสำหรับกลุ่มด้อยโอกาศ, กลุ่มในภูมิภาคและในประเทศ ตัวอย่างเช่นในประเทศปากีสถานใฝ่ที่หานโยบายด้าน IT อย่างจริงจังโดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันเศรษฐกิจให้ทันสมัย, จำนวนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจาก 133,900 (0.1% ของประชากร) ในปี 2000 เป็น 31 ล้าน (17.6% ของประชากร) ในปี 2011 ในประเทศอื่น ๆ เช่นเกาหลีเหนือและคิวบามีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ค่อนข้างน้อยเพราะความกลัวของรัฐบาลในความไม่แน่นอนทางการเมืองที่อาจมาพร้อมกับประโยชน์ของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั่วโลก. การคว่ำบาตรการค้าสหรัฐเป็นอีกหนึ่ง อุปสรรคที่จำกัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในคิวบา. ", "title": "การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "20077#0", "text": "การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศจีน หรือที่สื่อมวลชนนอกประเทศจีนนิยมเรียกว่า เกรตไฟร์วอลล์ หรือ ด่านกันบุกรุกขนาดใหญ่ () เป็นการตรวจพิจารณาการใช้งานอินเทอร์เน็ตของพลเมืองในประเทศจีน ซึ่งรัฐบาลจีนได้ตรากฎหมายกำหนดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตมีหน้าที่ตรวจพิจารณาและสะกัดกั้นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภายในประเทศ โดยกฎหมายนี้ใช้บังคับแต่เฉพาะจีนแผ่นดินใหญ่ ไม่รวมถึงไต้หวัน ฮ่องกง และมาเก๊า", "title": "การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศจีน" }, { "docid": "54266#5", "text": "อย่างไรก็ดี ถึงแม้ในประเทศไทยการเข้าถึงหนังสือเดอะคิงเนเวอร์สไมลส์ยังคงเป็นสิ่งต้องห้ามโดยรัฐ แต่คงปรากฏว่าผู้ใช้งานส่วนหนึ่งยังสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยเยลและเว็บไซต์แอมะซอน.คอมดังกล่าวได้ตามปกติ ขึ้นอยู่กับว่าใช้บริการของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใด", "title": "เดอะคิงเนเวอร์สไมลส์" }, { "docid": "49907#5", "text": "KnowledgeVolution เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาในรูปแบบเผยแพร่รหัสต้นฉบับ (Source Code) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าโอเพนซอร์ซ ให้ผู้ที่สนใจไม่ว่าจะเป็นองค์กรใด ๆ สามารถนำไปติดตั้งใช้งานทั้งในเครือข่ายแบบอินทราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ", "title": "โกทูโนว์" }, { "docid": "4274#14", "text": "จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30 คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน) ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.99 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 28.2 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 10.96 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.2 [2]", "title": "อินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "2955#0", "text": "อินทราเน็ต (intranet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โพรโทคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ", "title": "อินทราเน็ต" }, { "docid": "226539#1", "text": "พลเมืองเครือข่ายอาจใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมของกลุ่มสังคมต่าง ๆ เช่นการแลกเปลี่ยนทัศนะ รวบรวมข้อมูล ใช้อินเทอร์เน็ตดั่งทรัพยากรทางปัญญาและทางสังคม และตัดสินใจในเรื่องสำหรับชุมชนที่รวมตัวกันเอง โดยทั่วไปแล้ว พลเมืองเครือข่ายจะเป็นผู้ใช้คนใดก็ได้ของเว็บบอร์ดบนอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่ทั่วโลก", "title": "พลเมืองเครือข่าย" }, { "docid": "262748#3", "text": "เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี รัฐบาลไทย โดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ได้จัดทำเครือข่ายคอมพิวเตอร์กาญจนาภิเษกขึ้นเพื่อถวายเป็นราชสักการะ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2539 ด้วยเหตุผลว่าแม้จะมีกิจกรรมร่วมเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษกในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่มีกิจกรรมหรือโครงการใดได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) อย่างเต็มที่ ซึ่งในช่วงเวลานั้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพขึ้นมาก ทางคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติเห็นควรว่า คงจะไม่มีของขวัญใดทัดเทียมกับการบันทึกพระราชกรณียกิจ ผลงานด้านการพัฒนาประเทศไทย และสาระความรู้ต่างๆ ลงในสื่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งประชาชนทุกเพศ ทุกวัย สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีดังกล่าว", "title": "เครือข่ายกาญจนาภิเษก" }, { "docid": "4274#6", "text": "-ด้านธุรกิจและพาณิชย์ การใช้อินเทอร์เน็ตกับงานธุรกิจณิชย์นั้นช่วยให้สามารถตัดสินใจซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างรวดเร็วและสะดวก นับว่าเป็นตลาดที่กว้างขวางและมีประสิทธิภาพในการติดต่อซื้อสินค้าและบริการ เพราะคนเราสมัยนี้นิยมความสะดวกสบายและรวดเร็วทันใจ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนโลกก็ตามก็สามารถเปิดเว็บไซต์เพื่อเลือกสินค้าหรือหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งปรึกษาก็ได้ฉับไว", "title": "อินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "337164#0", "text": "การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ต หรือ การเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต () คือการควบคุมหรือปราบปรามว่าสิ่งใดสามารถเข้าถึง เผยแพร่ หรือรับชมได้บนอินเทอร์เน็ตโดยผู้กำกับดูแล ทั้งนี้ปัจเจกบุคคลหรือองค์กรต่าง ๆ ยังสามารถตรวจพิจารณา (เซ็นเซอร์) ตนเอง (Self-censorship) ได้ด้วยเช่นกัน จากเหตุผลด้านจริยธรรม ศาสนา หรือทางธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานทางสังคมและหลีกเลี่ยงการคุกคามข่มขู่ หรือเนื่องจากเกรงกลัวผลทางกฎหมายหรือผลกระทบอื่น ๆ ที่จะตามมาในภายหลัง", "title": "การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "563278#27", "text": "วงจรเช่าเป็นการกำหนดให้สายเคเบิลสายใดสายหนึ่งให้ผู้เช่าได้ใช้แต่เพียงผู้เดียว ผู้ใช้อาจเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต, ธุรกิจและองค์กรขนาดใหญ่อื่น ๆ ใช้ในการเชื่อมต่อระบบแลนหรือเครือข่ายมหาวิทยาลัยเข้ากับอินเทอร์เน็ต โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายโทรศัพท์ทั่วไปหรือผู้ให้บริการอื่น ๆ สายเคเบิลดังกล่าว อาจเป็นลวดทองแดง, ใยแก้วนำแสงและวิทยุ, วงจรเช่าถูกนำมาใช้เพื่อให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยตรง", "title": "การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "200170#1", "text": "ในขณะที่ การตลาดแบบดั้งเดิม (Traditional Marketing) จะมีรูปแบบที่แตกต่างจาก E-Marketing อย่างชัดเจน โดยการตลาดแบบดั้งเดิมนั้นจะมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย จะไม่เน้นทำกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และมักจะใช้วิธี การแบ่งส่วนตลาด (Marketing Segmentation) โดย ใช้เกณฑ์สภาพประชากรศาสตร์ หรือสภาพภูมิศาสตร์ และสามารถครอบคลุมได้บางพื้นที่ ในขณะที่ถ้าเป็น E-Marketing จะสามารถครอบคลุมได้ทั่วโลกเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ธุรกิจต่างๆ จึงได้ให้ความสนใจกับอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างมาก รวมถึงได้มีการนำเอาแนวคิด E-Marketing มาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อทำการตลาดออนไลน์ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด", "title": "การตลาดบนอินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "294558#4", "text": "การ์ตูนดังกล่าวแสดงถึงความเข้าใจในความเป็นส่วนตัวในอินเทอร์เน็ตที่ให้ความสำคัญกับความสามารถที่ผู้ใช้จะรับหรือส่งข้อความแบบไม่ระบุตัวตน ลอเรนซ์ เลสซิก แนะว่า \"ไม่มีใครรู้\"เพราะชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตไม่ได้บังคับให้ผู้ใช้ระบุตัวตน แม้ว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตภายในพื้นที่ เช่น ในมหาวิทยาลัยของผู้ใช้อาจจะบังคับก็ตาม แต่การเข้าถึงก็จะเก็บสารสนเทศนี้ไว้เป็นส่วนตัว และไม่ได้เป็นเนื้อแท้ของธุรกรรมอินเทอร์เน็ตแต่อย่างใด", "title": "บนอินเทอร์เน็ต ไม่มีใครรู้ว่าคุณเป็นหมา" }, { "docid": "563278#69", "text": "การเข้าถึงคอมพิวเตอร์เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดระดับของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ในปี 2011, ในประเทศกำลังพัฒนา, 25% ของครัวเรือนจะมีคอมพิวเตอร์หนึ่งตัวและ 20% มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต, ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วตัวเลขเป็น 74% ของครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์หนึ่งตัวและ 71% มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต. เมื่อการมีคอมพิวเตอร์ถูกต้องตามกฎหมายในคิวบาในปี 2007 การเป็นเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นของส่วนตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก (มี 630,000 เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บนเกาะในปี 2008 เพิ่มขึ้น 23% จากปี 2007).\nอินเทอร์เน็ตมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการที่หลายคนคิดและได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคมของประชาชน การให้ผู้คนจำนวนมากในโลกได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตจะช่วยให้พวกเขาได้ใช้ประโยชน์จาก \"โอกาสทางการเมือง, สังคม, เศรษฐกิจ, การศึกษาและอาชีพ\" ที่มีอยู่ผ่านทางอินเทอร์เน็ต. หลายๆ หลักการที่ถูกพัฒนาในที่ประชุมสุดยอดระดับโลก เกี่ยวกับสังคมสารสนเทศที่มีขึ้นโดยสหประชาชาติในเจนีวาในปี 2003 ได้พูดถึงโดยตรงเกี่ยวกับการแบ่งดิจิทัล. ดังนั้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและการทำให้ลดลงของการแบ่งดิจิทัล, แผนบรอดแบนด์แห่งชาติกำลังถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความพร้อมใช้งานของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตราคาไม่แพงทั่วโลก", "title": "การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "359045#57", "text": "ไดอานาสิ้นพระชนม์ในช่วงที่การใช้อินเทอร์เน็ตกำลังเฟื่องฟูทั่วโลก และหนังสือพิมพ์ในอังกฤษหลายสำนักเพิ่งเปิดให้บริการเว็บไซต์ข่าวออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต ซึ่ง BBC News ได้นำเสนอข่าวการเลือกตั้งทั่วไปในอังกฤษตั้งแต่ต้นปี 2540 และความสนใจจากสื่อมวลชนและผู้คนมากมายที่มีต่อการสิ้นพระชนม์ของไดอานา ทำให้เว็บไซต์ BBC News ได้นำเสนอข่าวการสิ้นพระชนม์บนหน้าเว็บทันที และรายงานข่าวพิธีพระศพและเหตุการณ์อิ่น ๆ ที่เกิดขึ้นตามมา ข่าวการสิ้นพระชนม์ไดอานาทำให้สำนักงาน BBC News ได้ตระหนักว่าบริการข่าวสารออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตที่กำลังจะเปิดตัว มีความสำคัญเพียงใด และวันที่ 4 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน เว็บไซต์ BBC News ได้เปิดบริการข่าวสารออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มรูปแบบ", "title": "การสิ้นพระชนม์ของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์" }, { "docid": "4274#16", "text": "ประวัติอินเทอร์เน็ต รายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รายชื่อประเทศเรียงตามอันดับความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ย[4][5]", "title": "อินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "4274#10", "text": "ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 2.095 พันล้านคน หรือ 30.2 % ของประชากรทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือน มีนาคม 2554) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่าง ๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เอเชีย โดยคิดเป็น 44.0 % ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด และประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 384 ล้านคน", "title": "อินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "14556#6", "text": "ซึ่งสถานที่การทำงานที่ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ๆ และสามารถที่จะเข้าถึงได้ตลอดเวลาบนโลกคือ อินเทอร์เน็ตดังนั้น จึงเป็นการจำลองสำนักงานในโลกจริงไว้บนโลกของอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ทุกคนในหน่วยงานหรือสำนักงานได้เข้าทำงานได้ทุกทีทุกเวลา", "title": "การทำงานร่วมโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย" }, { "docid": "17149#13", "text": "คอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตก็ไม่จำเป็นต้องมีเลขที่อยู่ไอพีที่ไม่ซ้ำกับใครในโลก เช่นเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่สื่อสารระหว่างกันผ่านทีซีพี/ไอพีเป็นต้น ช่วงเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 จำนวน 3 ช่วงจึงถูกสงวนไว้ในอาร์เอฟซี 1918 สำหรับใช้กับเครือข่ายส่วนตัว เลขที่อยู่เหล่านี้จะไม่ถูกนำไปใช้จัดเส้นทางบนอินเทอร์เน็ต และการใช้งานเลขที่อยู่เหล่านี้ก็ไม่ต้องรายงานต่อหน่วยงานทะเบียนฯ แต่อย่างใด", "title": "เลขที่อยู่ไอพี" } ]
3071
บุคลิกวิปลาส เกิดขึ้นกับคนที่มีความผิดปกติด้านใด?
[ { "docid": "225932#0", "text": "บุคลิกวิปลาส (English: depersonalisation (บริติช) หรือ depersonalization (อเมริกัน)) เป็นอาการทางประสาทประเภทหนึ่ง เป็นภาวะที่เกิดตัวตนและบุคลิกภาพขึ้นในจิตใจของบุคคล ทั้ง ๆ ที่บุคคลนั้นมีตัวตนและบุคลิกภาพของตัวเองอยู่แล้ว โดยสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นั้นเป็นกระบวนการรู้จำซึ่งทำหน้าที่เป็นอิสระและแปลกแยกจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว บุคคลผู้นั้นจึงประหนึ่งนั่งมองการกระทำของตน แต่ไม่สามารถควบคุมการกระทำนั้นได้ รู้สึกว่าไม่ใช่การกระทำของตนแน่นอน แต่เป็นของใครก็ไม่รู้ พูดไม่ออกบอกไม่ถูก เป็นต้น[1] ภาวะนี้สามารถรักษาหาย อาจเป็นชั่วคราว หรือเรื้อรังจนเป็นโรคที่เรียก “โรคบุคลิกวิปลาส” (English: depersonalisation disorder) ได้", "title": "บุคลิกวิปลาส" } ]
[ { "docid": "605030#43", "text": "การทำงานผิดปกติของระบบการทรงตัวยังพบว่า มีสหสัมพันธ์กับความผิดปกติทางประชานและทางอารมณ์ รวมทั้งบุคลิกวิปลาสและ derealization\nการเห็นแกว่ง (oscillopsia) เป็นความผิดปกติในการเห็นที่วัตถุต่าง ๆ ในลานสายตาดูเหมือนจะแกว่งไกว (ซึ่งเป็นอัตวิสัยเท่านั้นคือไม่เป็นจริง)\nความรุนแรงเริ่มตั้งแต่เพียงมองไม่ชัด จนกระทั่งถึงเห็นวัตถุแกว่งไปมาอย่างรวดเร็วเป็นจังหวะ\nการเปลี่ยนการส่งกระแสประสาทเนื่องกับ vestibulo-ocular reflex เพราะโรคในระบบการทรงตัว ก็อาจทำให้เกิดอาการนี้เมื่อขยับศีรษะอย่างรวดเร็ว\nส่วน การเห็นแกว่งฉับพลัน (paroxysmal oscillopsia) อาจเกิดจากการทำงานเกินปกติของระบบกล้ามเนื้อตาหรือระบบการทรงตัวนอกประสาทกลาง", "title": "ระบบการทรงตัว" }, { "docid": "211514#0", "text": "คนวิกลจริต (; ) หมายถึง บุคคลมีความประพฤติหรือกิริยาผิดปรกติ หรือไม่สามารถแยกแยะผิดชอบชั่วดี เพราะสติวิปลาส กฎหมายหลายฉบับมักจะกล่าวถึงข้อยกเว้นหรือข้อห้ามสำหรับคนวิกลจริตอยู่เสมอ อนึ่งความบกพร่องทางจิตที่จะถือว่าวิกลจริตนั้นจะต้องเกิดขึ้นจริงโดยสภาพไม่ใช่เกิดขึ้นเพียงครั้งคราว เช่น การเสพยาเสพติด พิษไข้ หรือยา เป็นต้น", "title": "คนวิกลจริต" }, { "docid": "225932#9", "text": "หากกรณีเป็นไปในทางประสาทวิทยา สิ่งพึงกระทำอันดับแรกคือการวินิจฉัยและการรักษาอาการอย่างเจาะจง และภาวะบุคลิกวิปลาสอาจมีอาการเกี่ยวกับความรับรู้เช่นที่ปรากฏในโรคทางประสาทวิทยาบางโรคได้ เป็นต้นว่า ในภาวะสมองฝ่อกระด้าง (English: amyotrophic lateral sclerosis) โรคอัลซไฮเมอร์ (English: Alzheimer's) โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (English: multiple sclerosis) ภาวะสมองส่วนกลางผิดปรกติ (English: neuroborreliosis) หรือโรคอื่น ๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อสมอง อย่างไรก็ดี ผู้ที่ประสบภาวะบุคลิกวิปลาสพร้อมกับโรคปวดหัวข้างเดียว (English: migraine) นั้น พบว่าสามารถใช้ยาลามอทริจีน (English: lamotrigine) หรือยานอร์ทริปทีลีน (English: nortriptyline) บำบัดรักษาได้", "title": "บุคลิกวิปลาส" }, { "docid": "902240#0", "text": "กลุ่มอาการเทรเชอร์ คอลลินส์เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติของใบหู ตา กระดูกโหนกแก้ม และคาง โดยอาจมีความรุนแรงแตกต่างกันได้มาก ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เช่น ความผิดปกติในการหายใจ การมองเห็น เพดานปากโหว่ และการได้ยินผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีสติปัญญาเทียบเท่าคนปกติ", "title": "กลุ่มอาการเทรเชอร์ คอลลินส์" }, { "docid": "298291#2", "text": "สมัยก่อนที่จะเกิดฮัลค์ขึ้น ตอนนั้นมาร์เวลยังไม่มีตัวละครซูเปอร์ฮีโร่เด่นๆเลย แสตน ลีต้องการที่จะสร้างทีมซูเปอร์ฮีโร่แบบจัสติสลีก ออฟ อเมริกาของดีซีคอมิกส์ ลีจึงได้สร้างทีมซูเปอร์ฮีโร่ที่รวมทีมกันแต่แรกเลยนั่นก็คือแฟนแทสติกโฟร์ แต่เมื่อมันไม่ใช่สิ่งที่กองบรรณาธิการต้องการ ลีจึงสร้างตัวละครอสุรกายที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องวิปลาสของด็อกเตอร์จีคอลกับมิสเตอร์ไฮด์หรือหมอลามก ของโรเบิร์ต หลุยส์ สตีเวนสัน และเรื่องแฟรงเกนสไตน์ ของแมรี เชลลีย์ ซึ่งแรงบันดาลใจคือจุดเด่นตัวละครคือในเวลากลางวันตัวเอกจะเป็นแค่เพียงคนดีมีความสามารถที่น่ายกย่อง แต่ในเวลากลางคืนตัวเอกจะเปลี่ยนไปกลายเป็นผู้ที่ชั่วร้ายโหดร้าย เช่นเดียวกับตัวละครเอกในเวลากลางวันเป็นดร.แบนเนอร์ แต่พอตกกลางคืนก็จะกลายร่างเป็นอสุรกายฮัลค์ เนื้อเรื่องกล่าวถึงนักฟิสิกส์ชื่อ ดร. บรูซ แบนเนอร์ ที่ประสบอุบัติเหตุจากการทดลองจนถูกรังสีแกมมา และเกิดความผิดปกติกับร่างกาย กลายร่างเป็นมนุษย์ตัวสีเขียวที่มีพละกำลังมหาศาล แต่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้", "title": "ฮัลค์" }, { "docid": "225932#16", "text": "หมวดหมู่:ความผิดปกติทางจิต หมวดหมู่:ประสาทจิตวิทยา หมวดหมู่:โรคดิสโซสิเอทีฟ หมวดหมู่:ความผิดปกติทางประสาทวิทยา", "title": "บุคลิกวิปลาส" }, { "docid": "225932#1", "text": "ในภาษาไทยยังมีการเรียกภาวะนี้อย่างไม่เป็นทางการว่า “บุคลิกภาพแตกแยก” “สองบุคลิกภาพ” และ “บุคลิกภาพผิดปกติ” หรือ “บุคลิกภาพผิดปรกติ” อีกด้วย[2] [3]", "title": "บุคลิกวิปลาส" }, { "docid": "509883#0", "text": "ความผิดปกติทางจิต หรือ การป่วยทางจิต หรือ จิตพิการ เป็นรูปแบบทางจิตวิทยาหรือวิกลภาพ ซึ่งอาจสะท้อนออกมาทางพฤติกรรม ที่โดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับความทุกข์ทรมาน (distress) หรือความพิการ และไม่ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการปกติของวัฒนธรรมของบุคคล ความผิดปกติทางจิตโดยทั่วไปนิยามโดยการรวมว่าบุคคลรู้สึก กระทำ คิดหรือรับรู้อย่างไร ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับบริเวณใดบริเวณหนึ่งหรือการทำหน้าที่ของสมองหรือระบบประสาทส่วนที่เหลือ มักในบริบททางสังคม การยอมรับและการเข้าใจภาวะสุขภาพจิตเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและวัฒนธรรม และยังมีข้อแตกต่างในการนิยาม ประเมินและจำแนกอยู่บ้าง แม้เกณฑ์แนวปฏิบัติมาตรฐานจะใช้กันอย่างกว้างขวางก็ตาม ในหลายกรณี ดูเหมือนจะมีความต่อเนื่องระหว่างสุขภาพจิตและการป่วยทางจิต ทำให้การวินิจฉัยซับซ้อน ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ประชาชนกว่าหนึ่งในสามในประเทศส่วนใหญ่รายงานปัญหาที่เกิดขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งในชีวิตของเขา ซึ่งเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยประเภทความผิดปกติทางจิตที่พบทั่วไปหนึ่งชนิดหรือมากกว่า", "title": "ความผิดปกติทางจิต" }, { "docid": "136080#9", "text": "ปกติพวกภูติจะพูดคุยกับมนุษย์เจ้าของมันเท่านั้น หากก็สามารถสื่อสารกับมนุษย์คนอื่นหรือภูติตนอื่นได้เช่นกัน ในระหว่างช่วงวัยเยาว์ของมนุษย์ พวกภูติสามารถเปลี่ยนรูปร่างไปมาได้ตามใจชอบ แต่เมื่อใดที่เด็กเหล่านั้นได้เติบโตเป็นหนุ่มสาว ร่างของพวกภูติจะคงอยู่เพียงร่างเดียว รูปร่างสุดท้ายของพวกภูตินั้นจะสื่อถึงบุคลิกลักษณะนิสัยของมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งมีความหมายเป็นนัยว่าบุคลิกของเด็ก ๆ จะปรับตัวจนคงที่เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น ในโลกจินตนาการของพูลแมน การที่มนุษย์คนหนึ่งคนใดจะแตะต้องตัวภูติของคนอื่นถือว่าเป็นการเสียมารยาทอย่างร้ายแรง ส่วนการที่มนุษย์ไม่มีภูติก็เป็นเรื่องเลวร้ายน่ากลัวเหมือนกับเห็นคนไม่มีหัว ", "title": "ธุลีปริศนา" }, { "docid": "362883#7", "text": "ผู้ป่วย HRS ทั้งสองชนิดมีความผิดปกติหลักๆ เหมือนกัน 3 อย่าง ได้แก่ การทำงานของตับผิดปกติ การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ และมีไตวาย ความผิดปกติเหล่านี้อาจไม่ทำให้เกิดอาการหรืออาการแสดงใดๆ จนกว่าจะเป็นมาก ผู้ป่วย HRS มักได้รับการวินิจฉัยจากการตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผู้ป่วย HRS มากมีตับแข็งอยู่เดิม ซึ่งอาจมีอาการและอาการแสดงที่คล้ายกันได้ เช่น ดีซ่าน สภาพจิตเปลี่ยนแปลง มีอาการแสดงของภาวะทุพโภชนาการ และมีท้องมาน หากมีท้องมานที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาขับปัสสาวะจะมีความจำเพาะกับ HRS ชนิดที่ 2 มากขึ้น ภาวะปัสสาวะน้อยอาจเกิดเมื่อมีภาวะไตวายมากแล้ว อย่างไรก็ดีผู้ป่วย HRS บางคนอาจยังมีปริมาณปัสสาวะเป็นปกติได้ เนื่องจากทั้งอาการและอาการแสดงเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องปรากฏในผู้ป่วย HRS จึงไม่มีการบรรจุอาการและอาการแสดงเหล่านี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์วินิจฉัยไม่ว่าจะเป็นเกณฑ์หลักหรือเกณฑ์รอง ดังนั้นการวินิจฉัย HRS จึงอาศัยว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ ร่วมกับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจแยกการวินิจฉัยอื่นๆ ออก", "title": "กลุ่มอาการโรคไตเนื่องจากโรคตับ" }, { "docid": "225932#13", "text": "ในภาพยนตร์เรื่อง “นัมบ์” (English: Numb) ของนายมัททิว เพอร์รี (Matthew Perry) ตัวละครที่ชื่อ “ฮัดซัน มิลแบงก์” (Hudson Milbank) ประสบภาวะบุคลิกวิปลาส ลินคินพาร์ก (Linkin Park) วงดนตรีร็อกชื่อดัง ได้ร้องเพลงเกี่ยวกับภาวะบุคลิกวิปลาสไว้หลายเพลง เช่น เพลง “นัมบ์” และ เพลง “ครอวลิง” ในหนังสือเรื่อง “ออนคิลลิง” (English: On Killing) ของพันโทเดฟ กรอสมัน (Dave Grossman) ว่าการฝึกทหารนั้นมีเป้าประสงค์เพื่อทำให้ทหารประสบภาวะบุคลิกวิปลาส จะได้ไร้ตัวไร้ตน และส่งไปสังหารบุคคลอื่นง่ายขึ้น ปรัชญาสายอัตถิภาวนิยมใช้คำ “บุคลิกวิปลาส” (English: depersonalization) ในความหมายอื่น โดยใช้หมายถึงการปฏิบัติต่อผู้อื่นประหนึ่งว่าเขาเป็นวัตถุสิ่งของหรือโดยไม่สนความรู้สึกนึกคิดของเขา ส่วนนายโรนัลด์ เดวิด แล็ง (Ronald David Laing) ใช้คำนี้ไปในความหมายอื่นเช่นกัน โดยหมายถึงความกลัวว่าจะเสียภาวะอิสระในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไปเพราะความไม่มั่นคงทางภววิทยา นางซูซานนา เคย์ซัน (Susanna Kayson) เขียนไว้ในบันทึกความทรงจำของตนซึ่งต่อมาได้รับการพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือชื่อ “เกิร์ลอินเทอร์รัปเทด (English: Girl, Interrupted) เกี่ยวกับประสบการณ์ว่าด้วยสถานะทางจิตของเธอว่า เธอใช้สว่านเจาะไชมือตัวเอง เพื่อดูว่าเธอมีกระดูกหรือไม่ ก่อนได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าประสบภาวะบุคลิกวิปลาส ในหนังสือเรื่อง “อเมริกันไซโค” (English: American Psycho) ของนางเบรต อีสตัน เอลลิส (Bret Easton Ellis) ที่ได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ชื่อเรื่องเดียวกัน นายแพทริก เบตมัน (Patrick Bateman) มือสังหารต่อเนื่องซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่อง พูดกับตัวเองซ้ำ ๆ ว่าเขากำลังประสบภาวะบุคลิกวิปลาส และตลอดเรื่องก็ปรากฏว่ามีอาการข้างเคียงของภาวะดังกล่าว นายแอดัม ดูริตซ์ (Adam Duritz) นักร้องและนักประพันธ์ดนตรีวงเคาน์ทิงคราวส์ (English: Counting Crows) เป็นคนดังอีกคนที่ประสบภาวะบุคลิกวิปลาส ละครไทยเรื่อง “สาปภูษา” ที่ฉายทางช่อง 3 เมื่อ พ.ศ. 2552 ไหมพิม (อิศริยา สายสนั่น) นางเอกของเรื่อง ถูกผีเจ้าสีเกด (ธัญญาเรศ รามณรงค์) สิงให้กระทำการต่าง ๆ นานาโดยไม่รู้ตัวเอง ซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่าไหมพิมประสบภาวะบุคลิกวิปลาส[20] ในภาพยนตร์เรื่อง “บอดี้ ศพ19” ตัวละครที่ชื่อ “หมอสุธี” ประสบภาวะบุคลิกวิปลาส ละครไทยเรื่อง \"ล่า\" ที่ฉายทางช่องวัน เมื่อ พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2561 \"มธุสร\" (ลลิตา ปัญโญภาส) ตัวละครเอกของเรื่องประสบภาวะบุคลิกวิปลาส จากการถูกฉุดไปข่มขืนจนบอบช้ำทั้งร่างกายและจิตใจ จนนำไปสู่การคิดสั้นด้วยการฆ่าตัวตาย ซึ่งเหตุการณ์นั้นทำให้เธอสร้าง \"รุ้ง\" ซึ่งเป็นตัวตนอีกหนึ่งบุคลิกขึ้นในจิตใต้สำนึกโดยไม่ได้ตั้งใจ แพทย์ผู้รักษาลงความเห็นว่ามธุสรประสบภาวะบุคลิกวิปลาส", "title": "บุคลิกวิปลาส" }, { "docid": "225932#6", "text": "นอกจากนี้ ภาวะบุคลิกวิปลาสยังเป็นผลข้างเคียงของการยาแก้โรคจิตแตกแยก (English: dissociative drug) หรือเกิดจากสารก่อประสาทหลอน (English: hallucinogen) เช่น กาเฟอีน แอลกอฮอล์ หรือมิโนไซคลีน[8][9] [10] โดยเป็นกรณีต้นแบบของอาการขาดยาหลาย ๆ ประเภท[11] [12] [13] [14]", "title": "บุคลิกวิปลาส" }, { "docid": "650005#1", "text": "ความผิดปกติที่ทำให้เกิดอาการ MH มีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของยีนออโตโซมเด่นที่มีความสำคัญอย่างน้อย 6 จุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยีน ryanodine receptor (\"RYR1\"). ลักษณะความปกติ MH มักมีความเกี่ยวข้องทั้งทางกายภาพและทางพัธุกรรมกับ central core disease (CCD) ซึ่งเป็นความผิดปกติของยีนออโตโซมเด่นที่มีเอกลักษณ์เดียวกันทั้งอาการ MH และ myopathy. MH มักปรากฏในลักษณะของการไร้ความรู้สึก หรืออาการในลักษณะเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการวิเคราะห์โดยตรงประเภทใดที่บ่งชี้อาการ MH ได้อย่างชัดเจน", "title": "ไข้สูงอย่างร้าย" }, { "docid": "20583#1", "text": "ในมนุษย์ คำว่าโรคอาจมีความหมายกว้างถึงภาวะใด ๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด, การทำหน้าที่ผิดปกติ, ความกังวลใจ, ปัญหาสังคม หรือถึงแก่ความตาย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ได้รับผลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด โรคอาจถูกใช้เพื่อเรียกการบาดเจ็บ, ความพิการ, ความผิดปกติ, กลุ่มอาการ, การติดเชื้อ, อาการ, พฤติกรรมเบี่ยงเบน, และการเปลี่ยนแปรที่ผิดปกติของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานในประชากรมนุษย์", "title": "โรค" }, { "docid": "225932#4", "text": "ภาวะบุคลิกวิปลาสเป็นอาการทางจิตวิทยาที่เกิดขึ้นมากเป็นอันดับสามรองจากอาการวิตกกังวล (English: anxiety) ซึ่งเกิดมากเป็นอันดับแรก และภาวะซึมเศร้า (English: depression) อันดับสอง[6]", "title": "บุคลิกวิปลาส" }, { "docid": "225932#7", "text": "การที่บุคคลบางกลุ่มใช้ยาสงบประสาท เช่นยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน ติดต่อกันเป็นเวลายาวนานจนกระทั่งเกิด อาการติดยาสงบประสาทรอง (English: benzodiazepine dependence) สามารถทำให้ความรับรู้บกพร่องจนก่อภาวะบุคลิกวิปลาสเรื้อรังจนกลายเป็น \"โรคบุคลิกวิปลาส\" (English: depersonalisation disorder) ได้ นอกจากนี้ การใช้ยาทั่ว ๆ ไปเป็นรายวันอย่างต่อเนื่องก็เกิดอาการอย่างเดียวกับอาการติดยาสงบประสาทรอง และนำไปสู่ภาวะบุคลิกวิปลาสเรื้อรังได้เช่นกัน[15] [16]", "title": "บุคลิกวิปลาส" }, { "docid": "371909#9", "text": "มนุษย์ทุกคนมียีนฮันติงติน (HTT) อยู่เป็นปกติ ยีนนี้ทำหน้าที่สร้างโปรตีนฮันติงติน (Htt) ส่วนหนึ่งของยีนฮันฮิงตินนี้เป็นบริเวณที่มีคู่เบสลำดับซ้ำกันเป็นชุดสามเรียกว่า trinucleotide repeat ซึ่งมีความยาวแตกต่างกันไปในแต่ละคนและอาจมีการเปลี่ยนแปลงของความยาวได้เมื่อมีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เมื่อบริเวณนี้ของยีนมีความยาวมากถึงค่าหนึ่งจะทำให้การสร้างโปรตีนผิดปกติไป โดยสร้างเป็นโปรตีนฮันติงตินที่มีการกลายพันธุ์ (mutant Huntingtin protein) หรือ mHtt ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีคุณสมบัติแตกต่างกับ Htt ปกติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การเป็นโรคฮันติงตัน การกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นในโรคฮันติงตันนั้นมีการถ่ายทอดแบบลักษณะเด่นและมีเพเนแทรนซ์เกือบ 100% (หมายความว่าเมื่อได้รับยีนก่อโรคมาแล้ว จะมีโอกาสที่โรคจะแสดงอาการเกือบ 100%) โดยการกลายพันธุ์ของยีน HTT ยีนใดยีนหนึ่งในสองยีน ก็ทำให้เป็นโรคได้ทั้งสิ้น การถ่ายทอดของโรคฮันติงตันไม่เกี่ยวข้องกับเพศ แต่ความยาวของบริเวณลำดับซ้ำในยีนซึ่งขึ้นตรงกับความรุนแรงของโรคด้วยนั้นมีความสัมพันธ์กับการได้รับยีนที่เป็นโรคมาจากฝ่ายบิดาหรือมารดา[12]", "title": "โรคฮันติงตัน" }, { "docid": "194208#17", "text": "ในภาคภาพยนตร์จอเงิน ไลล์ได้กลับมาร่วมทีมกันดั้มไมสเตอร์อีกครั้ง และยังใช้กันดั้มของพี่ชายในการต่อสู้อยู่ เขาตัดสินใจอยู่ต่อไปในฐานะล็อกออนเพื่อสืบทอดเจตนารมย์ของพี่ชายกันดั้มไมสเตอร์ของกันดั้มคิวริออส เดิมเคยอยู่กับกองกำลังพันธมิตรฯ ในโครงการทหารดัดแปลง (ซูเปอร์โซลเจอร์) โดยมีรหัสเรียกชื่อว่า ตัวอย่างทดลองที่ E57 ซึ่งการดัดแปลงสมองของเขาเกิดความผิดพลาด ส่งผลให้เกิดบุคลิกซ้อนจนกลายเป็นอีกคนหนึ่งที่มีชื่อว่า \"ฮาเลลูย่า\" ปกติแล้ว อาเลลูย่าเป็นคนใจดี อ่อนโยนและเยือกเย็น แต่ในยามที่ฮาเลลูย่าออกมาควบคุมร่างของเขา เขาจะกลายเป็นคนมีบุคลิกอำมหิต และชื่นชอบการฆ่าอย่างเหี้ยมโหดราวกับเป็นคนละคน อย่างไรก็ตาม ทั้งอาเลลูย่าและฮาเลลูย่าสามารถควบคุมร่างพร้อมกันได้ ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถในการต่อสู้ในพุ่งสูงขึ้น เพียงแต่ฮาเลลูย่าจะมีคลื่นควอนตัมในสมองต่างกับอาเลลูย่า", "title": "รายชื่อตัวละครในกันดั้มดับเบิลโอ" }, { "docid": "225932#14", "text": "โรคบุคลิกวิปลาส (English: depersonalisation disorder) การแตกแยกของจิต (English: dissociation) โรคจิตแตกแยก (English: dissociative disorders) การตีตัวออกห่างสังคม (English: social alienation) ความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย (English: post-traumatic stress disorder) การบาดเจ็บทางจิตวิทยา (English: psychological trauma) การรู้ (English: cognition) ภาวะสับสนในสมอง (English: brain frog) โรคสูญเสียการรับรู้ถาวรเหตุประสาทหลอน (English: hallucinogen persisting perception disorder) ความเข้าใจวิปลาส (English: derealization) ประสบการณ์นอกกาย (English: out-of-body experience)", "title": "บุคลิกวิปลาส" }, { "docid": "630849#0", "text": "Intermetamorphosis (หมายความว่า อาการหลงผิดว่าเปลี่ยนรูปร่าง) เป็นกลุ่มอาการระบุผิดเพราะหลงผิด (delusional misidentification syndrome) ซึ่งสัมพันธ์กับภาวะเสียการระลึกรู้ (agnosia)\nอาการหลักก็คือคนไข้เชื่อว่า \nสามารถเห็นคนอื่นเปลี่ยนไปเป็นอีกคนหนึ่งทั้ง ๆ ที่มีรูปร่างต่างกันมีบุคลิกต่างกัน \nภาวะนี้มักเกิดร่วม (comorbidity) กับความผิดปกติทางประสาท (neurological disorder) หรือความผิดปกติทางจิต (mental disorder) อื่น ๆ", "title": "Intermetamorphosis" }, { "docid": "720648#5", "text": "เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2545 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกหนังสือที่ สธ 0605/375 รับรองว่าบุคคลรักเพศเดียวกันมิได้ถือเป็นผู้มีความผิดปกติทางจิตหรือป่วยเป็นโรคแต่อย่างใด โดยอ้างอิงถึงองค์การอนามัยโลก (WHO) และตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ICD-10 ฉบับแก้ไข ครั้งที่ 1 ไทย-อังกฤษ เล่มที่ 1 (ก) ตารางการจัดกลุ่มโรค องค์การอนามัยโลก ซึ่งได้เอาลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคนรักเพศเดียวกันออกจากกลุ่มคนที่มีความผิดปกติทางจิต", "title": "สิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย" }, { "docid": "225932#12", "text": "นอกจากนี้ บรรดานักศึกษาระดับปริญญาตรีในโลกตะวันพากันศึกษาเรื่องภาวะนี้อย่างขะมักเขม้น และจัดทำมาตรฐานวัดความแตกแยกของจิต (English: Dissociative Experiences Scale) ขึ้นเพื่อใช้วัด ความสุ่มเสี่ยงต่อการประสบภาวะบุคลิกวิปลาส โดยผู้อยู่ในระดับสูงของมาตรวัดภาวะบุคลิกวิปลาส จะมีการสนองของฮอร์โมนคอร์ทิซอล (English: cortisol) มากกว่าปรกติ หมายความว่าบุคคลนี้มีความสุ่มเสี่ยงสูงที่จะประสบภาวะบุคลิกวิปลาส ในขณะที่ผู้อยู่ในระดับสูงของมาตรวัดความหมกมุ่นซึ่งใช้วัดความเข้มข้นของความสามารถในการแยกแยะความรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบกาย จะมีการสนองของฮอร์โมนคอร์ทิซอลน้อยกว่า หมายความว่ามีความสุ่มเสี่ยงต่ำที่จะประสบภาวะบุคลิกวิปลาส[19]", "title": "บุคลิกวิปลาส" }, { "docid": "225932#11", "text": "การป้องกันการสบโอกาสเสี่ยงภัย (English: interoceptive exposure) เป็นวิธีการนอกเภสัชวิทยา ซึ่งสามารถช่วยลดภาวะบุคลิกวิปลาสได้[18] ส่วนการบำบัดรักษาภาวะบุคลิกวิปลาสเรื้อรังนั้น เป็นกรณีเดียวกับการรักษาโรคบุคลิกภาพวิปลาส (English: depersonalisation disorder)", "title": "บุคลิกวิปลาส" }, { "docid": "336642#0", "text": "ความผิดปกติของโครโมโซมหมายถึงการมีความผิดปกติไม่ว่าจะเป็นจำนวนหรือโครงสร้างของโครโมโซมอันใดอันหนึ่งหรือหลายอัน อาจสามารถเห็นได้จากการตรวจเทียบแคริโอไทป์ (โครโมโซมทั้งชุด) ของบุคคลนั้นๆ กับแคริโอไทป์ที่ปกติด้วยการตรวจทางพันธุศาสตร์ ความผิดปกติของโครโมโซมมักเกิดขึ้นจากความผิดพลาดในการแบ่งเซลล์ไม่ว่าจะเป็นไมโอซิสหรือไมโทซิส มีความผิดปกติของโครโมโซมอยู่หลายชนิด สามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่มหลักคือความผิดปกติทางจำนวนและความผิดปกติทางโครงสร้าง", "title": "ความผิดปกติของโครโมโซม" }, { "docid": "970970#3", "text": "ในปีหนึ่ง ประเทศพัฒนาแล้วพบความผิดปกติของการรับประทานแบบตะกละในหญิงประมาณร้อยละ 1.6 และชายร้อยละ 0.8 โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจพบในประชากรประมาณร้อยละ 0.4 และอาการหิวไม่หายในหญิงอายุน้อยประมาณร้อยละ 1.3 หญิงมากถึงร้อยละ 4 มีโรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ ร้อยละ 2 มีอาการหิวไม่หาย และร้อยละ 2 มีความผิดปกติของการรับประทานแบบตะกละในช่วงใดช่วงหนึ่ง โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจและอาการหิวไม่หายเกิดในหญิงมากกว่าชายเกือบ 10 เท่า ตรงแบบเริ่มในปลายวัยเด็กหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อัตราของความผิดปกติของการรับประทานแบบอื่นไม่ชัดเจน อัตราของความผิดปกติของการรับประทานดูพบน้อยกว่าในประเทศที่ด้อยพัฒนากว่า", "title": "ความผิดปกติของการรับประทาน" }, { "docid": "37738#0", "text": "สิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์ หรือ มิวแทนท์ (mutant) ซึ่งก่อนหน้านั้นนักพันธุศาสตร์ เรียกว่า\"อสูรกาย\" (\"monster\") คือสิ่งมีชีวิตที่มีความเฉพาะเจาะจงของลักษณะทางพันธุกรรม มีอวัยวะพิเศษ หรือมียีนส์ที่แปลกไป โดยพัฒนาหรือส่งผลจากการวิวัฒนาการ หรือการกลายพันธุ์ซึ่งเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ เชิงโครงสร้างภายในดีเอ็นเอของยีนส์ หรือสายพันธุกรรม ส่งผลให้เกิดบุคลิกลักษณะใหม่ ๆ หรือไม่เคยพบเห็นในรุ่นพ่อแม่ ในเชิงชีวภาพหรือลักษณะเฉพาะตัว บุคลิกใหม่ ๆ ที่กลายพันธุ์มาอาจจะยังเป็นปกติหรือไม่ปกติก็ได้ อาจจะไม่ส่งผลเชิงบวกหรือส่งผลในแง่ดี แต่มักจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรมเสียมากกว่า โดยมากการกลายพันธุ์ของยีนส์เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นขั้นตอนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตรูปแบบหนึ่ง ในมนุษย์จะเรียกว่ามนุษย์กลายพันธุ์", "title": "มนุษย์กลายพันธุ์" }, { "docid": "742137#0", "text": "รูปผิดปกติแต่กำเนิดของหัวใจ หรือ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด () คือภาวะที่มีความผิดปกติของโครงสร้างของหัวใจที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ผู้ป่วยอาจมีอาการและอาการแสดงได้หลากหลายตามแต่ชนิดของความผิดปกติ โดยอาจมีตั้งแต่ไม่มีอาการใด ๆ ไปจนถึงเสียชีวิตได้ทันทีหลังเกิด", "title": "โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด" }, { "docid": "225932#2", "text": "ผู้ประสบภาวะบุคลิกวิปลาสจะรู้สึกเหมือนถูกตัดขาดจากบุคลิกทางกายภาพของตนไปโดยสิ้นเชิง ประหนึ่งว่ากายสัมผัส อารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมของตนเหมือนไม่ใช่ของตนอีกต่อไป บุคคลผู้นั้นจึงประหนึ่งนั่งมองการกระทำของตน แต่ไม่สามารถควบคุมการกระทำนั้นได้ รู้สึกว่าไม่ใช่การกระทำของตนแน่นอน แต่เป็นของใครก็ไม่รู้ พูดไม่ออกบอกไม่ถูก เป็นต้น[4] ภาวะบุคลิกวิปลาสสามารถยังให้เกิดอาการวิตกกังวลในระดับสูง โดยผู้ประสบภาวะนี้มักกล่าวว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเหมือนภาพยนตร์ ไม่มีอยู่จริง เป็นไปไม่ได้ เป็นเรื่องคลุมเครือ บ้าบอคอแตก ไม่ใช่การกระทำของตนแน่ นับได้ว่าเป็นความสูญเสียการจำตัวเองได้ และเป็นที่มาของชื่อภาวะนี้[5]", "title": "บุคลิกวิปลาส" }, { "docid": "192124#30", "text": "วิถีของกระบวนการอะพอพโทซิสมีจำนวนมากมายซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบทางชีวเคมีจำนวนมาก ซึ่งหลายอย่างที่ยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน[1] อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติขององค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งมีผลกระทบต่อองค์ประกอบอื่นๆ ในวิถี ในสิ่งมีชีวิตความผิดปกติดังกล่าวจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงและเกิดโรคหรือความผิดปกติได้ การจะอธิบายทุกโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของวิถีอะพอพโทซิสนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่ทุกโรคนั้นมีหลักการของสาเหตุที่เหมือนกัน นั่นคือวิถีอะพอพโทซิสปกติถูกรบกวนทำให้เซลล์มีความผิดปกติในการเข้าสู่การตายแบบอะพอพโทซิสตามปกติ ซึ่งทำให้เซลล์นั้นเป็นอมตะและสามารถแบ่งตัวอย่างควบคุมไม่ได้และเพิ่มโอกาสเกิดความผิดปกติของสารพันธุกรรม เพิ่มโอกาสที่เซลล์นั้นจะกลายเป็นมะเร็งหรือก่อโรคได้", "title": "อะพอพโทซิส" } ]
1988
ธุดงค์นั้น เป็นศัพท์เฉพาะที่ปรากฏในที่ใด?
[ { "docid": "109849#2", "text": "ธุดงค์นั้น เป็นศัพท์เฉพาะที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเถรวาท โดยพระพุทธเจ้าตรัสแสดงธุดงค์ลักษณะต่าง ๆ ไว้หลายพระสูตร เมื่อรวมแล้วจึงได้ทั้งหมด 13 ข้อ", "title": "ธุดงค์" } ]
[ { "docid": "109849#7", "text": "ธุดงค์ ในภาษาไทย ใช้เรียกพระภิกษุแบกกลดเดินไปตามทางหรือเข้าป่าไปว่า เดินธุดงค์ หรือ ออกธุดงค์โดยการปฏิบัติที่ว่าด้วยการออกเดินทางนั้น เป็นข้อวัตรปฏิบัติพิเศษที่ชื่อว่า โมเนยยปฏิบัติ คือการอย่าเที่ยวภิกขาจารในที่เดิมซ้ำ อย่านอนในที่เดิมซ้ำ เพื่อไม่ตัดสินว่าใครดีชั่ว เพื่อไม่พิจารณาว่าสิ่งใดที่ไหนหยาบปราณีต เรียกภิกษุที่ปฏิบัติเช่นนั้นว่า พระธุดงค์ ธุดงค์ในภาษาไทยนี้จึงมีความหมายเฉพาะตัวตามประเพณีของพระวัดป่าของประเทศไทย", "title": "ธุดงค์" }, { "docid": "109849#8", "text": "ธุดงควัตร หมายถึงกิจวัตรของการธุดงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตมี 13 วิธีจัดเป็นข้อสมาทานละเว้น และข้อสมาทานปฏิบัติ คือ การจาริก ด้วยเท้า ของพระสงฆ์ในประเทศไทย มักเข้าใจปะปนกับคำว่า ธุดงค์ ทั้งนี้เนื่องจากบางข้อของธุดงควัตร เช่น อรัญญิกังคะ หมายถึงการอยู่ในบริเวณป่า ทำให้พระสงฆ์ที่ถือธุดงค์ข้อนี้จะต้องเดินทางไปหาที่วิเวกในบริเวณป่าและไม่อยู่ติดที่เป็นเวลานาน เพื่อให้ห่างไกลจากการรบกวนของผู้คน การทำเช่นนี้ของพระสงฆ์มีมาตั้งแต่พุทธกาล พระสงฆ์ในประเทศไทยคงได้ถือคตินี้และปฏิบัติมาแต่โบราณ ทำให้คนทั่วไปในปัจจุบันมักเรียกกิริยาเช่นนั้น (การจาริกเดินเท้าของพระสงฆ์โดยแบกบริขาร เช่น กรดย่าม และบาตร เพื่อเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ) ว่า พระเดินธุดงค์ หรือ การเดินธุดงค์ ซึ่งเป็นเพียงคำเรียกทั่วไป ที่หากพระสงฆ์ผู้เดินจาริกไม่ได้ถือสมาทานองค์คุณแห่งธุดงค์ข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ย่อมไม่ใช่ความหมายของคำว่าธุดงค์ตามนัยในพระไตรปิฎก", "title": "ธุดงค์" }, { "docid": "109849#1", "text": "โดยรูปศัพท์ ธุดงค์ แปลว่า องค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลส, องค์คุณของผู้กำจัดกิเลส หรือ การสมาทานเพื่อเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอันอันตรายต่อสัมมาปฏิบัติ", "title": "ธุดงค์" }, { "docid": "109849#0", "text": "ธุดงค์ (, ) เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติ เป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษยิ่งขึ้น ไม่สะสม เพื่อให้เบาสบายไปมาได้สะดวกด้วยไม่มีภาระมาก เหมือนนกที่มีเพียงปีกก็บินไป มิใช่เพื่อสะสมหรือเพื่อลาภสักการะและชื่อเสียง ถ้าทำเพื่อลาภ เพื่อชื่อเสียง ต้องอาบัติทุกกฎ", "title": "ธุดงค์" }, { "docid": "109849#5", "text": "ธุดงค์ คือวัตร หรือแนวทางการปฏิบัติจำนวน 13 ข้อ ที่พระพุทธเจ้าอนุญาตไว้ให้แก่พระสงฆ์สำหรับเลือกนำไปปฏิบัติ เพื่อมุ่งให้เป็นแนวปฏิบัติเพิ่มเติมของพระสงฆ์ที่ตั้งใจสมาทานความเพียรเพื่อมุ่งขัดเกลาทางจิตเพื่อกำจัดกิเลส โดยธุดงค์นี้เป็นเพียงวัตร หรือแนวทางการประพฤติ ที่ไม่ใช่ศีลของพระสงฆ์ พระสงฆ์จึงเลือกปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ และการปฏิบัติธุดงค์", "title": "ธุดงค์" }, { "docid": "60737#3", "text": "ทัณฑฆาตมักปรากฏในคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เช่น [ภาษาบาลี] [ภาษาสันสกฤต] [ภาษาอังกฤษ] เป็นต้น โดยใช้ทัณฑฆาตเพื่อคงรูปการสะกดของพยัญชนะต้นแบบเอาไว้ ตัวอย่างเช่นหลักการดูว่าคำไหนที่ควรจะใส่ทัณฑฆาต สามารถดูได้จากการออกเสียงคำนั้น ๆ ซึ่งคำที่มีทัณฑฆาตจะไม่ออกเสียงพยัญชนะที่มีทัณฑฆาตกำกับเอาไว้ เช่นคำว่า ดวงจันทร์ อ่านว่า ดวง-จัน ไม่อ่านว่า ดวง-จัน-ทอน เพราะพยัญชนะ \"ทร\" ข้างหลังเป็นพยัญชนะทัณฑฆาต สำหรับการอ่านพยัญชนะทัณฑฆาตที่ผิด ๆ เช่น พิ-เรน-ทอน ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยในการเขียนให้ถูกยิ่งขึ้น เพราะจะรู้ได้ว่าเป็น \"ทร์\" แต่ก็ควรทราบด้วยว่าความจริงในการอ่านที่ถูกต้องเป็นอย่างไร", "title": "ทัณฑฆาต" }, { "docid": "204978#5", "text": "ระดับที่สอง ผู้เยี่ยมชมทั่วไปสามารถโหวตนิยามคำศัพท์ที่ปรากฏในพจนานุกรมว่า \"เห็นด้วย/ถูกต้อง\" (up) หรือ \"ไม่เห็นด้วย/ไม่ถูกต้อง\" (down) โดยไม่จำเป็นต้องล็อกอิน สำหรับคำศัพท์คำเดียวกัน ความหมายจะปรากฏโดยลำดับที่มีคะแนนสุทธิที่สูงที่สุดมาก่อน ดังนั้นคำนิยามที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ก็คือความหมายที่ชัดเจนที่สุด", "title": "เออร์เบินดิกชันแนรี" }, { "docid": "11296#13", "text": "ฃ ( \"ข๋ะ\") ในภาษาไทยถิ่นเหนือยังคงมีการใช้กันอยู่ทั่วไป แต่พบว่าในคัมภีร์ใบลาน ไม่ปรากฏอักษร ฃ บ่อยครั้งนัก เพราะตัวอักษร ฃ ยังไม่เด่นชัด คาดว่าน่าจะเป็นเพราะ ฃ สามารถใช้อักษร ข หรือ ขร แทนได้ โดยไม่ทำให้เสียงหรือความหมายต่างกันมากนัก และในการเขียนก็ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัวว่าศัพท์ใดจะต้องใช้อักษร ฃ จึงเห็นได้ชัดว่ามีการเขียนที่ใช้อักษร ฃ และ ข สลับกันในศัพท์เดียวกันหรือข้อความที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้น ในพจนานุกรมภาษาล้านนาจึงอาจบันทึกได้ว่าเคยปรากฏการใช้อักษร ฃ นี้ในฐานะพยัญชนะต้นของคำในอดีต แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้วเหมือนกับภาษาไทยกลาง", "title": "ฃ" }, { "docid": "109849#6", "text": "ธุดงค์ ในภาษาไทย ใช้เรียกพระภิกษุแบกกลดเดินไปตามทางหรือเข้าป่าไปว่า เดินธุดงค์ หรือ ออกธุดงค์ เรียกภิกษุที่ปฏิบัติเช่นนั้นว่า พระธุดงค์", "title": "ธุดงค์" } ]
3974
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีสังกัดพรรคใด?
[ { "docid": "263349#1", "text": "ปี พ.ศ. 2537 ทักษิณเข้าสู่วงการเมืองสังกัดพรรคพลังธรรม โดยการชักนำของพลตรี จำลอง ศรีเมือง ต่อมาก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ในปี 2541 หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ซึ่งพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในสภา จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก ทักษิณใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ก่อนกำหนดเดิม[3] และดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อลดความยากจนในชนบท โดยสามารถลดความยากจนได้ถึงครึ่งหนึ่งภายในสี่ปี[4][5] ริเริ่มระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นครั้งแรกของประเทศ[6] ตลอดจนการกวาดล้างยาเสพติด ซึ่งทั้งหมดช่วยให้เขามีความนิยมอย่างสูง[7] ทักษิณเริ่มดำเนินโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนานใหญ่ รวมทั้งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หนี้สาธารณะลดลงจากร้อยละ 57 ของจีดีพีในเดือนมกราคม 2544 เหลือร้อยละ 41 ในเดือนกันยายน 2549[8][9] รวมทั้งระดับการฉ้อราษฎร์บังหลวงลดลง โดยดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เพิ่มขึ้นจาก 3.2 เป็น 3.8 ระหว่างปี 2544 และ 2549[10] ทักษิณดำรงตำแหน่งจนครบวาระสี่ปี เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งดำรงตำแหน่งจนครบวาระคนแรก และจากผลการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ทำให้ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ด้วยคะแนนเสียงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์[11][12]", "title": "ทักษิณ ชินวัตร" } ]
[ { "docid": "363014#14", "text": "ด้านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะตอบมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ โดยระบุว่ารัฐบาลชุดนี้มีตัวเลขการส่งออกและท่องเที่ยวสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ และรัฐบาลต้องกู้เงินเพราะผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสมัยพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล รัฐบาลบริหารหนี้สาธารณะได้ดีกว่าสมัยอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สำหรับประเด็นปัญหาราคาข้าว อภิสิทธิ์ย้อนถามมิ่งขวัญว่า บริหารข้าวอย่างไรจนถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ส่วนประเด็นกองทุนน้ำมันนั้น อภิสิทธิ์ระบุว่า กองทุนเคยเป็นหนี้ถึง 9 หมื่นล้านบาทสมัยอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรเช่นกัน และด้านปัญหาน้ำมันปาล์ม ชี้ว่า สมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทยขายน้ำมันปาล์มขวดละ 47.50 บาท แพงกว่าปัจจุบัน จึงเห็นว่า ข้อมูลที่มิ่งขวัญนำมาเสนอนี้เป็นการตัดต่อ", "title": "การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย มีนาคม พ.ศ. 2554" }, { "docid": "372115#9", "text": "พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2551 มีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นหัวหน้าพรรค โดยดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ต่อจากบัญญัติ บรรทัดฐาน ส่วนพรรคเพื่อไทยยังไม่เปิดเผยผู้สมัครท้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีชัดเจน จนกระทั่งวันที่ 16 พฤษภาคม เมื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวอดีตนายกรัฐมนตรีดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับมติเอกฉันท์จากที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 นอกจากนี้ยังมีการจัดผู้สมัครบัญชีรายชื่อ 2 ชุด คือบัญชีผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อเพื่อทำงานในสภา กับบัญชีผู้บริหารเพื่อทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีต่างๆ", "title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554" }, { "docid": "202656#2", "text": "ต่อมา ชัยสิทธิ์ได้สมรสกับคุณวีณา ชินวัตร (สุขสภา) มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวลัฆวี ชินวัตร และนายวีรสิทธิ์ ชินวัตร นอกจากนี้ พล.อ.ชัยสิทธิ์ยังเป็นญาติผู้พี่ของดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 28พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เคยมีกระแสข่าวว่าจะดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ในปี พ.ศ. 2554 ในปี พ.ศ. 2561 พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาพรรคพลังปวงชนไทย ส่วนนายนิคม บุญวิเศษเป็นหัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย ซึ่งถูกมองว่าเป็นนอมินีของพรรคเพื่อไทย", "title": "ชัยสิทธิ์ ชินวัตร" }, { "docid": "15237#1", "text": "เดิมเขาเคยเป็นผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร อย่างแข็งขัน แต่ต่อมาเป็นผู้นำขบวนการต่อต้านทักษิณ ช่วงต้น พ.ศ. 2549 สนธิเป็นหนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่นำการชุมนุมขับทักษิณ ชินวัตรจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก่อนยุติบทบาทหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ซึ่งโค่นรัฐบาลทักษิณ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 สนธิออกนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอีกครั้งในการประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง หลังรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ซึ่งเข้าฝ่ายทักษิณชนะการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป โดยนำกลุ่มพันธมิตรฯ ปะทะกับกำลังความมั่นคง ตลอดจนยึดทำเนียบรัฐบาล ท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิ สนธิเป็นผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์อยู่บ้าง และยุติการประท้วงของกลุ่มหลังอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี", "title": "สนธิ ลิ้มทองกุล" }, { "docid": "27822#11", "text": "จากนั้นเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าสู่วงการการเมืองครั้งแรก ก็ด้วยการสนับสนุนของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง. โดยในปี 2537 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังได้ดำ​​รงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในสังกัดพรรคพลังธรรมของพลตรี จำลอง อีกด้วย. พล.ต.จำลอง มีภาพของการเป็นผู้ที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เรื่อยมา. จากนั้น พล.ต.จำลอง ก็ลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพ ฯ อีกสมัยในปี พ.ศ. 2539 แต่ทว่าคราวนี้ พล.ต.จำลอง ไม่อาจชนะการเลือกตั้งได้เหมือนเมื่ออดีต เมื่อเป็นฝ่ายพ่ายการเลือกตั้งไปอย่างขาดลอย โดยแพ้ให้แก่ นายพิจิตต รัตตกุล อดีตผู้สมัครด้วยกัน. จากนั้นมาบทบาททางการเมืองของ พล.ต.จำลอง ศรีเมืองก็ค่อย ๆ ลดลง โดยเจ้าตัวได้ก่อตั้งโรงเรียนผู้นำ อบรมบุคลากรที่จะมีบทบาทเป็นผู้นำของสังคมต่อไปในอนาคตขึ้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อย่างสมถะอยู่ที่นั่น[3] แต่เมื่อมีข่าวคราวเกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พล.ต.จำลอง ก็ยังคงเป็นผู้ให้การสนับสนุนอยู่ เช่น คดีซุกหุ้น พล.ต.จำลอง ก็เป็นหนึ่งบุคคลที่เข้าร่วมฟังการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญในห้องพิพากษาด้วย.", "title": "จำลอง ศรีเมือง" }, { "docid": "182795#0", "text": "สุรนันทน์ เวชชาชีวะ เป็นอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคไทยรักไทย และเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง", "title": "สุรนันทน์ เวชชาชีวะ" }, { "docid": "349249#0", "text": "นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคไทยรักไทย", "title": "วิเชษฐ์ เกษมทองศรี" }, { "docid": "377440#0", "text": "ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตรองเลขาธิการพรรคชาติไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี และอดีตสมาชิก พรรคเพื่อไทย ปัจจุบัน เป็นสมาชิก พรรคชาติไทยพัฒนา", "title": "ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ" }, { "docid": "223814#1", "text": "ซึ่งพรรคพลังใหม่ เป็นพรรคการเมืองขนาดเล็ก แต่ได้รับการจับตามองอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นพรรคที่ถูกมองว่าเป็นแหล่งรวมนักการเมืองน้ำดี หรือนักการเมืองรุ่นใหม่ และเป็นพรรคที่เอนไปทางฝ่ายซ้าย หรือสังคมนิยม ทางพรรคได้ส่งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 ภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับ ปี พ.ศ. 2517 ซึ่งบังคับให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องสังกัดพรรคการเมือง มีสมาชิกพรรคพลังใหม่ได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 12 คน อาทิ นายเลิศ ชินวัตร บิดาของ ดร. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี, นายปรีดา พัฒนถาบุตร และนายชัชวาลย์ ชมภูแดง", "title": "พรรคพลังใหม่" }, { "docid": "63261#0", "text": "เยาวเรศ ชินวัตร อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ คนที่ 20 อดีตนายกสภาประจำสถาบันราชภัฏอุบลราชธานีเป็นผู้ดูแลพื้นที่ภาคใต้ของพรรคเพื่อไทย และเป็นน้องสาวของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย และเป็นพี่สาวของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย", "title": "เยาวเรศ ชินวัตร" }, { "docid": "961976#2", "text": "นคร มาฉิมกลับมาปรากฏเป็นข่าวอีกครั้งเมื่อนครโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวขอโทษ ดร.ทักษิณ ชินวัตร และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งตรงกับวันเกิดของ ทักษิณ โดยได้กล่าวยอมรับว่าเป็นส่วนในการล้มล้างรัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรีทั้งสอง และกล่าวถึงกลุ่มสมคบคิดเพื่อล้มล้างรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ซึ่งทำให้มีความพยายามจากพรรคประชาธิปัตย์ในการออกมาตอบโต้และกล่าวหาว่านครเอาความเท็จมานำเสนอ ", "title": "นคร มาฉิม" }, { "docid": "190640#0", "text": "ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2524 — ) ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นบุตรสาวของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี กับนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย และยังเป็นหลานสาวของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 28 ของไทย ปัจจุบันศึกษาปริญญาเอก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง", "title": "ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์" }, { "docid": "988110#3", "text": "จากนั้นในการประชุมใหญ่ของพรรคไทยรวมพลังเมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรคไทยรักษาชาติ พร้อมกับเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคอุดมการณ์ของพรรค และนโยบายของพรรค รวมถึงนายกมลได้ลาออกจากตำแหน่งรักษาการหัวหน้าพรรคโดยมีกระแสข่าวว่าพรรคไทยรักษาชาติเป็นพรรคสาขาของพรรคเพื่อไทยเพราะมีอดีต ส.ส. และอดีตรัฐมนตรีของ พรรคเพื่อไทย จำนวนหนึ่งได้เตรียมย้ายมาสังกัดและเข้ามาบริหารพรรคไทยรักษาชาติ นอกจากนี้ยังมีการตีความชื่อย่อของทางพรรคในช่วงแรกๆ ว่ามีนัยหมายถึงทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีอีกด้วย ", "title": "พรรคไทยรักษาชาติ" }, { "docid": "265885#7", "text": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคความหวังใหม่ อยู่ในลำดับที่ 11 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร และเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (ทักษิณ ชินวัตร)", "title": "กระแส ชนะวงศ์" }, { "docid": "272602#8", "text": "ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 มีกระแสข่าวว่า พล.ต.อ.พงศพัศ จะลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในสังกัดพรรคเพื่อไทย โดยการทาบทามของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่ในเวลาต่อมา พล.ต.อ.พงศพัศได้ปฏิเสธข่าวนี้ อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นยังคงมีกระแสข่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดย พล.ต.อ.พงศพัศ มีท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้ โดยกล่าวว่าอยู่ที่มติของคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย และการตัดสินใจของตัวเขาเอง", "title": "พงศพัศ พงษ์เจริญ" }, { "docid": "32631#1", "text": "การประท้วงทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง เป็นเหตุการณ์ในประเทศไทยที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2547 ในช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ 1 เมื่อมีการรวมตัวของกลุ่มคนในนาม กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ และมีการชุมนุมปราศรัยเพื่อขับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นครั้งแรก และเริ่มขยายเป็นวงกว้างขึ้นเมื่อถึงปลายปี พ.ศ. 2548 ส่วนหนึ่งจากการนำของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี และขยายตัวในวงกว้างไปยังบุคคลในหลายสาขาอาชีพในเวลาต่อมา ในการรณรงค์ขับนี้ มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมาก ในกลุ่มที่แสดงความคิดเห็นสนับสนุนให้นายกรัฐมนตรีลาออกก็มีความเห็นที่แตกต่างกันเป็นหลาย ๆ กลุ่ม ในเรื่องกระบวนการและประเด็นในการขับ ส่วนในกลุ่มที่สนับสนุน ซึ่งประกอบด้วยประชาชนจำนวนไม่น้อย รวมไปถึงกลุ่มคาราวานคนจน และขบวนรถอีแต๋นเดินทางมาจากต่างจังหวัด ก็ได้รวมตัวชุมนุมเพื่อสนับสนุนให้นายทักษิณ ชินวัตรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป โดยปักหลักอยู่ที่สวนจตุจักร และตามจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย ผลจากการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 ที่อดีตพรรคฝ่ายค้าน 3 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคมหาชนและพรรคชาติไทยไม่ได้ร่วมลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย ปรากฏว่าพรรคไทยรักไทย ซึ่ง พ.ต.ท. ทักษิณ เป็นหัวหน้าพรรค ยังคงได้รับคะแนนเสียงข้างมาก (56.45% ในผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ) แต่ในบางพื้นที่ของเขตซึ่งไม่มีผู้สมัครอื่นลงแข่งนั้น ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยได้คะแนนน้อยกว่าผู้ไม่ออกเสียงและบัตรเสีย แต่ในท้ายที่สุดการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้เป็นโมฆะ และได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ในวันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีกลุ่มเครือข่ายแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และอาจารย์มหาวิทยาลัย 43 องค์กร 11 มหาวิทยาลัย ล่าชื่อกว่า 92 คน ปลุกกระแส \"ต้านทักษิณ\" และออกแถลงการณ์ให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ยุติบทบาทจากการดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีทันที ซึ่งในการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องการร่วมกันแก้ไขวิกฤตปัญหาของบ้านเมือง ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการรวมตัวกันครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของแกนนำเครือข่ายการต่อต้าน การประท้วงขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร สิ้นสุดลง ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 หลังจากการก่อรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นำโดย พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ก่อนวันที่จะมีการชุมนุมอย่างยืดเยื้อของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเครือข่ายในวันที่ 20 กันยายน ขณะที่พ.ต.ท. ทักษิณชินวัตร กำลังเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก", "title": "การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง" }, { "docid": "195785#0", "text": "นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตนักแสดงละครโทรทัศน์ และพิธีกรรายการโทรทัศน์", "title": "เฉลิมชัย มหากิจศิริ" }, { "docid": "377506#0", "text": "ต่อพงษ์ ไชยสาส์น อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นบุตรชายของนายประจวบ ไชยสาส์น อดีตหัวหน้าพรรคเสรีธรรม", "title": "ต่อพงษ์ ไชยสาส์น" }, { "docid": "120486#2", "text": "จตุพร เป็นอดีตโฆษกพรรคไทยรักไทย และอดีต ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อของพรรค แจ้งเกิดทางการเมืองจากการเป็นผู้นำนักศึกษาช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 เมื่อเกิดการปราบปรามผู้ชุมนุมที่ ถนนราชดำเนิน และผู้ชุมนุมย้ายไปปักหลักที่รามคำแหง โดยมีจตุพรขึ้นเวทีปราศรัยด้วย โดยร่วมกับเพื่อนๆ นักศึกษาอีกหลายคน เช่น อุสมาน ลูกหยี วัชระ เพชรทอง[1] นายจตุพร ทำงานการเมืองโดยมีกลุ่มนักศึกษารามคำแหง พรรคศรัทธาธรรมที่ตัวเองเป็นผู้ก่อตั้ง จึงมีชื่อที่รู้จักกันดีในสมัยเรียนว่า ตู่ ศรัทธาธรรม เป็นฐานกำลังคอยเคลื่อนไหว เช่น การให้กำลังใจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร[2]การมอบดอกไม้ กกต. การเดินขบวนไปหน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ในสมัยที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนไหวขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี", "title": "จตุพร พรหมพันธุ์" }, { "docid": "63256#0", "text": "เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (ชื่อเล่น: แดง) อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ประธาน ส.ส.ภาคเหนือ พรรคเพื่อไทย vfu9เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ก่อตั้งบริษัท เอ็มลิงก์ เอเชีย คอรัปชั่น จำกัด อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และหัวหน้ากลุ่มวังบัวบาน พรรคไทยรักไทย เป็นภริยาของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 26 เป็นน้องสาวคนรองของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 และเป็นพี่สาวของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 28", "title": "เยาวภา วงศ์สวัสดิ์" }, { "docid": "8188#1", "text": "อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร และอดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนว่าเป็นผู้ที่สามารถอธิบายกฎหมายได้เข้าใจที่สุด จากการได้รับการยอมรับจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมือง", "title": "วิษณุ เครืองาม" }, { "docid": "65583#16", "text": "ไม่มีฝ่ายใดออกมาอ้างแสดงความรับผิดชอบในเหตุระเบิดดังกล่าว และทั้งพรรคไทยรักไทยและอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ต่างปฏิเสธความเกี่ยวข้อง[4] ในช่วงที่ยังไม่มีหลักฐานต่อสาธารณชนเป็นรูปธรรม ได้มีการออกมากล่าวถึงทฤษฎีมากมายเกี่ยวกับผู้ที่น่าจะอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว", "title": "เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549" }, { "docid": "65583#2", "text": "ชายคนหนึ่งถูกจับกุมในกรุงเทพมหานครเนื่องจากพกพาอุปกรณ์ระเบิด และตำรวจจังหวัดเชียงใหม่อ้างว่าภารโรงของมัสยิดที่เกิดระเบิดขึ้นนั้นยอมรับสารภาพว่าเป็นผู้ทำระเบิดขึ้น ไม่มีผู้ใดอ้างความรับผิดชอบต่อเหตุระเบิดดังกล่าว นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ กล่าวประณาม \"พวกอำนาจเก่า\" ว่าเป็นกลุ่มที่รับผิดชอบกับเหตุระเบิดที่เกิดขึ้น โดยหมายความถึงรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และกลุ่มผู้ที่สูญเสียอำนาจทางการเมืองจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549[3] ทั้งพรรคไทยรักไทย และอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิด[4] ในภายหลัง พล.อ.สุรยุทธ์ได้กลับคำและยอมรับการกล่าวถึงว่าพันธมิตรของทักษิณเป็นผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น \"เป็นเพียงการวิเคราะห์ด้านข่าวกรอง\" และไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลชัดเจนสนับสนุน[5]", "title": "เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549" }, { "docid": "188871#2", "text": "นางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคความหวังใหม่ สองสมัย ได้แก่ การเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 แต่ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยได้คะแนนเป็นอันดับ 2 รองจากนายวิทยา ทรงคำ ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย ซึ่งลำดับที่ 3 คือ นายขวัญชัย สกุลทอง จากพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนนายมอนอินทร์ รินคำ อดีต ส.ส. 2 สมัย ได้คะแนนเพียง 208 คะแนน แต่ได้รับแต่งตั้งเป็นประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต่อมาได้ย้ายเข้าสังกัดพรรคไทยรักไทย พร้อมกับสมาชิกส่วนใหญ่ของพรรคความหวังใหม่ในปี พ.ศ. 2545", "title": "กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่" }, { "docid": "296109#0", "text": "ศันสนีย์ นาคพงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังธรรม, อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย, อดีตผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ซึ่งมีชื่อเสียงคู่กับจักรพันธุ์ ยมจินดา และเอกชัย นพจินดา", "title": "ศันสนีย์ นาคพงศ์" }, { "docid": "57369#0", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง แกนนำพรรคเพื่อไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝั่งธนบุรีหลายสมัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อดีตรองนายกรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคมวลชน ระหว่างวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง 18 มีนาคม พ.ศ. 2557 เขาเป็นผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ ตามคำสั่งคำสั่งที่ พิเศษ 1/2557 เรื่องจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบ โดย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคยปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2556[1]", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "63252#24", "text": "นับแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 มีการชุมนุมคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. .... ซึ่งเดิมวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. เป็นผู้เสนอร่าง แต่ภายหลังมีการแก้ไขในชั้นกรรมาธิการ นำโดยประยุทธ์ ศิริพานิชย์ รองประธานกรรมาธิการ และอดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย จนมีการคัดค้านจากพรรคประชาธิปัตย์ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี[47]", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "331754#3", "text": "ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล เริ่มเข้าสู่งานการเมือง โดยการชักชวนของทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคพลังธรรมและได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 6 สังกัดพรรคพลังธรรม ต่อมา ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล จึงเข้าร่วมกับทักษิณ ชินวัตร ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และได้รับตำแหน่งเป็นโฆษกพรรคคนแรก (คณะกรรมการชุดที่ขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง) กระทั่งในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ ผู้แทนการค้าไทย และต่อมาจึงได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ", "title": "กันตธีร์ ศุภมงคล" }, { "docid": "15624#7", "text": "ในการเลือกตั้งครั้งต่อมา นายเสนาะ ได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และสนับสนุนให้ พตท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยรับตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรคไทยรักไทย และไม่รับตำแหน่งทางการเมือง โดยให้นางอุไรวรรณ เทียนทอง ภรรยา รับตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลในโควตากลุ่มวังน้ำเย็น ในระยะหลัง นายเสนาะถูกลดบทบาทความสำคัญในพรรค จนกระทั่งในการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นการสรรหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2548 นายเสนาะได้วิพากษ์วิจารณ์ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อย่างรุนแรง", "title": "เสนาะ เทียนทอง" }, { "docid": "50151#0", "text": "พานทองแท้ ชินวัตร ชื่อเล่น: โอ๊ค (2 ธันวาคม พ.ศ. 2522) นักธุรกิจชาวไทย สมาชิกพรรคเพื่อไทย บุตรชายของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย กับคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ เกิดที่เมืองฮันต์สวิลล์ ในรัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา มีน้องสาวสองคน คือพินทองทา และแพทองธาร", "title": "พานทองแท้ ชินวัตร" } ]
2700
ใครเป็นปฐมกษัตริย์แก่งกรุงรัตนโกสินทร์?
[ { "docid": "4226#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ขณะมีพระชนมายุได้ 46 พรรษา และทรงย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ", "title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช" } ]
[ { "docid": "5256#3", "text": "พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราช และย้ายราชธานีมายังกรุงธนบุรี รัชสมัยของพระองค์ถือเป็นช่วงเวลาของการทำสงครามและการฟื้นฟูความเจริญของชาติ อาณาจักรธนบุรีมีพระมหากษัตริย์ปกครองพระองค์เดียว กินระยะเวลาเพียง 15 ปี แล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 กรุงรัตนโกสินทร์ยังเผชิญกับภัยคุกคามจากประเทศเพื่อนบ้าน กระทั่งรัชกาลที่ 4", "title": "ประวัติศาสตร์ไทย" }, { "docid": "476288#2", "text": "ท่านได้รับราชการมาตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีบรรดาศักดิ์เป็นพระแม่กลอง เจ้าเมืองสมุทรสงครามคนแรก จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ในปี พ.ศ. 2325 ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาราชบุรี เป็นเจ้าเมืองราชบุรีคนแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์", "title": "เจ้าพระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์)" }, { "docid": "1919#6", "text": "ต่อมาเมื่อถึงคราวเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2310 หลังการกอบกู้อิสรภาพจากพม่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2313[6] ครั้นสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชดำริว่า ฟากตะวันออกของกรุงธนบุรีมีชัยภูมิดีกว่าตะวันตก เพราะมีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง หากข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนคร ก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าอยู่ข้างตะวันตก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยสืบทอดศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมจากพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา[6]", "title": "กรุงเทพมหานคร" }, { "docid": "5256#25", "text": "ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ขับไล่ทหารพม่าออกจากแผ่นดินไทย ทำการรวมชาติ และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัยอยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง อย่างไรก็ตาม ภายหลังสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้สถาปนาตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเทพมหานคร เริ่มยุคสมัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์", "title": "ประวัติศาสตร์ไทย" }, { "docid": "16485#0", "text": "ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325", "title": "อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)" }, { "docid": "17119#10", "text": "สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และโปรดเกล้าให้ย้ายราชธานีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และในต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า กรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระราชโอรสพระองค์โตในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์เช่นกัน", "title": "อาณาจักรธนบุรี" }, { "docid": "476288#3", "text": "เจ้าพระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์) เป็นญาติกับเศรษฐีทอง ชาวบ้านบางช้าง ตำบลอัมพวา แขวงเมืองแม่กลอง เมื่อครั้งที่พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยา โปรดให้มหาดเล็กคอยสืบเสาะหาสตรีรูปงามไปถวาย\nมหาดเล็กคนสนิทกราบทูลว่า มีสตรีรูปงามในแขวงบางช้างนางหนึ่งเป็นบุตรเศรษฐีบางช้าง จึงโปรดให้เจ้าเมืองราชบุรีไปสู่ขอต่อบิดา-มารดา ด้วยสมัยนั้นเมืองสมุทรสงครามเป็นหัวเมืองตรีขึ้นต่อเมืองราชบุรีส่วนเมืองราชบุรีเป็นหัวเมืองชั้นโท ท่านเศรษฐีทองและภรรยา ได้บ่ายเบี่ยงว่าขอถามความสมัครใจของธิดาก่อน แล้วนำความไปปรึกษาพระแม่กลองบุรี (เสม) เจ้าเมืองแม่กลองซึ่งเป็นญาติก่อน ธิดาของเศรษฐีทองไม่สมัครใจเป็นนางสนมในวัง เศรษฐีทองสงสารธิดา จึงพร้อมด้วยเจ้าเมืองสมุทรสงคราม นำความเข้าหารือกับหลวงพินิจอักษร(ทองดี) เสมียนตรากรมมหาด ไทย หลวงพินิจอักษรก็ได้เกิดปัญญาว่านายทองด้วงบุตรชายได้บวชเรียน แล้วยังไม่มีคู่ครอง หากได้ธิดาเศรษฐีทองมาเป็นภรรยาก็นับว่าเหมาะสมกันยิ่ง เพราะเป็นหญิงอุดมด้วยทรัพย์สมบัติและรูปสมบัติ ฝ่ายชายแลก็รูปงามมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด รับราชการในวังนับว่าเหมาะสมกันดียิ่งนัก ทั้งยังเป็นเกราะป้องกันมิให้ธิดาตกเป็นสนมในวัง เมื่อคิดอุบายได้ทั้งสองฝ่าย จึงเห็นดีด้วย จึงได้ทำฎีกากราบทูลว่าธิดาท่านเศรษฐีบางช้างตนได้สู่ ขอให้นายทองด้วงบุตรชายแล้วขอพระราชทานให้แก่บุตรชายของตนเสียเถิด\nพระเจ้าแผ่นดินได้ทราบเพียงกิตติศัพท์ความงามของนางนาก แต่ยังมิเคยได้ทอดพระเนตรรูปร่างหน้าตา จึงมิได้อาลัยและพระราชทานอนุญาตให้วิวาห์ได้ตามความประสงค์ ธิดาท่านเศรษฐีทองจึงได้วิวาห์มงคลกับนายทองด้วงมหาดเล็ก ซึ่งต่อมาได้ตำแหน่งหลวงอร่ามฤทธิ์ หลวงยกบัตรราชบุรี และเมืองสมุทรสงคราม รับราชการในกรุงธนบุรีได้เลื่อนเป็นพระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจซ้าย พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยายมราช เจ้าพระยาจักรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเมื่อหมดบุญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ธิดาของท่านเศรษฐีทองจึงได้เป็นพระอัครมเหสีขององค์ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์", "title": "เจ้าพระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์)" }, { "docid": "59325#22", "text": "พ.ศ. ๒๓๒๕ เกิดเหตุวุ่นวายในกรุงธนบุรี เป็นเหตุให้พระเจ้ากรุงธนบุรีสวรรคต เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินกรุงเทพฯ (รัชกาลที่ ๑) เปลี่ยนราชวงศ์ใหม่ \nเมืองสุวรรณภูมิจึงตกเป็นส่วนหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่นั้นมา", "title": "อำเภอสุวรรณภูมิ" }, { "docid": "40869#4", "text": "เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2416 เนื่องในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 90 ปี ให้ใช้แพรแถบสีชมพูอันเป็นสีของวันอังคาร ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพ โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า มีจำนวน 20 สำรับ และทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ มีจำนวน 100 ดวง ดังนั้น จำนวนท่านผู้หญิงจึงมีจำนวนไม่เกิน 120 คน", "title": "ท่านผู้หญิง" }, { "docid": "564086#2", "text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าจอมทองคำ ซึ่งเป็นพระราชภาคิไนยขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าฝ่ายในพระองค์หนึ่ง ประทับ ณ พระตำหนักเขียวเบื้องหลังหมู่พระมหามณเทียรร่วมกับพระมารดา พระองค์ไม่มีเจ้ากรมต่างหาก แต่เป็นสังกัดในกรมพระยาเทพสุดาวดี จนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั้นเอง แต่ไม่ปรากฏว่าเป็นปีใด", "title": "สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าทองคำ" }, { "docid": "936#14", "text": "อาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมอำนาจลงราวพุทธศตวรรษที่ 24 รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศถือเป็น \"สมัยบ้านเมืองดี\" ในกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย[19]:84 ความขัดแย้งภายในติด ๆ กันหลายรัชกาล และการสงครามกับราชวงศ์คองบอง (อลองพญา) จนส่งผลให้เสียกรุงครั้งที่สองเมื่อปี 2310 ซึ่งก่อนหน้านั้นกรุงศรีอยุธยาว่างเว้นจากศึกสงครามมากว่า 150 ปี[23]:22 หลังจากนั้นบ้านเมืองแตกออกเป็นก๊กเป็นเหล่ารวมทั้งสิ้น 5 ก๊ก ในปีเดียวกัน เจ้าตากได้รวบรวมไพร่พลขับไล่พม่า และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี พระองค์ทรงรวบรวมแผ่นดินให้อยู่ภายใต้พระองค์ ด้านสงครามภายนอก กองทัพธนบุรีสามารถขับไล่พม่าออกจากล้านนาได้ในปี 2319[22]:225 และยึดกรุงเวียงจันทน์ได้ในปี 2321[22]:227–8 อาณาจักรธนบุรีมีอายุเพียง 15 ปีและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียว หลังเกิดความขัดแย้งช่วงปลายรัชกาล พระองค์และพระราชโอรสทั้งหลายทรงถูกสำเร็จโทษโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ผู้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2325", "title": "ประเทศไทย" }, { "docid": "146325#0", "text": "สงครามเก้าทัพ เป็นสงครามระหว่างอาณาจักรพม่ากับราชอาณาจักรไทย หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งใหม่ เวลานั้นบ้านเมืองอยู่ในช่วงผ่านศึกสงครามมาใหม่ ๆ ประจวบทั้งการสร้างบ้านแปลงเมือง รวมทั้งปราสาทราชวังต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2328 พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่า หลังจากบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์อังวะแล้ว ทำสงครามรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยรวมถึงเมืองประเทศราชให้เป็นปึกแผ่น แล้วก็ได้ยกกองกำลังเข้ามา โดยมีจุดประสงค์ทำสงครามกับกรุงรัตนโกสินทร์", "title": "สงครามเก้าทัพ" }, { "docid": "92403#26", "text": "พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ครองราย์เมื่อ พ.ศ. 2325 โดยได้ยึดแบบแผนบ้านเมืองและการพระศาสนามาจากสมัยอยุธยา", "title": "การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย" }, { "docid": "313000#0", "text": "การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระมหากษัตริย์ไทยเพียงพระองค์เดียวในสมัยกรุงธนบุรี เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2325 เป็นเหตุการณ์ที่ไม่แน่ชัด ในหลักฐานส่วนใหญ่มักถือว่าพระองค์ทรงเสียพระสติ หรือสติฟั่นเฟือน จึงทรงถูกขบถแลสำเร็จโทษโดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) อันเป็นการสิ้นสุดสมัยธนบุรี พร้อมกับการเริ่มต้นของราชวงศ์จักรี และสมัยรัตนโกสินทร์ อย่างไรก็ตาม ยังปรากฏหลักฐานที่ชี้ว่าพระองค์สวรรคตด้วยสาเหตุอื่น", "title": "การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี" }, { "docid": "48127#2", "text": "กองอุทยานแห่งชาติได้รับรายงานจาก นายเดชาวุธ เศรษฐพรรค์ ตามหนังสือ ที่ กษ 0713/พิเศษ ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2532 เห็นสมควรใช้ชื่ออุทยานแห่งนี้ว่า \"อุทยานแห่งชาติคลองยัน\" เนื่องจากเป็นคลองสำคัญและเป็นจุดเด่นในพื้นที่ แต่กองอุทยานแห่งชาติได้พิจารณาเห็นว่า เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวรัฐบาลมีโครงการสร้างเขื่อนแก่งกรุง ประกอบกับชื่อแก่งกรุง เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย จึงเห็นสมควรใช้ชื่ออุทยานแห่งนี้ว่า \"อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง\" ", "title": "อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง" }, { "docid": "26149#29", "text": "ขุนหลวง - เป็นคำที่ราษฎรทั่วไปขาน พระเจ้าแผ่นดิน เนื่องด้วยการขานพระนามกันตรง ๆ มักไม่นิยม และมีความยาว พร้อมกับมีศัพท์ที่ไม่ใช้กันข้างนอก บางสันนิษฐานว่าเป็นคำลำลอง เหมือนที่เรียกขานปัจจุบันว่า \"ในหลวง\" เพราะ คำว่า \"ขุนหลวง\" มีใช้เฉพาะปลายกรุงศรีฯ โดยส่วนใหญ่จะเป็นพระราชวงศ์บ้านพลูหลวง นิยมขานพระมหากษัตริย์ ว่าขุนหลวงและตามด้วยพฤติกรรมหรืออุปนิสัยพระองค์นั้น ๆ อาทิ ขุนหลวงหาวัด พระเจ้าอุทุมพร เพราะผนวช, ขุนหลวงมะเดื่อ หรือขุนหลวงสรศักดิ์ พระนามเดิม และพระยศเดิมก่อนเป็นกษัตริย์ หลวงสรศักดิ์ เป็นต้น ดังนั้น คำว่า \"ขุนหลวง\" มิใช่พระยศอย่างที่เข้าใจ พอเข้าสู่กรุงรัตนโกสินทร์ ขุนหลวงมิมีใครขานอีก เลยออกพระนามกันใหม่ อาทิ ขุนหลวงเสือ เป็นพระเจ้าเสือ เพิ่มเติม เจ้านายพระองค์ใดเป็นชั้นลูกหลวง เมื่อพ้นรัชกาลแผ่นดินไปแล้ว มีจะมีคำนำ ก่อนอิสริยยศเป็นขั้นปฐม ว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ (สำหรับ เจ้าฟ้า) และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ (สำหรับ พระองค์เจ้า ยกเว้น พระราชกรุณาโปรดเกล้าเป็นอย่างอื่น ที่สูงกว่าหรือเกี่ยวข้องกับพระองค์โดยตรง อาทิ สมเด็จพระราชอนุชาฯ และสำหรับบางรัชกาล คำนำสกุลยศ ยังมี พระราชวงศ์เธอ พระองค์เจ้า อันเป็นเจ้านายชั้นสูงที่เทียบกับพระบรมวงศ์เธอ แต่มิใช่เจ้านายในวังหลวง แต่เป็นเจ้านายในวังชั้นสูง อาทิ วังหน้า, วังหลัง เป็นต้น", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "44547#3", "text": "มีบทบาทที่ชัดเจนแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475\nราชวงศ์ทิพย์จักร เป็นวงศ์ตระกูลในชนชั้นกษัตริย์ปกครองมาตั้งแต่ยุคของพระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งปกครองนครลำปางในฐานะนครรัฐอิสระในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในชั้นพระราชนัดดาหรือเจ้าเจ็ดพระองค์พี่น้อง (เจ้าเจ็ดตน) ได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยกองทัพสยามสู้รบกับกองทัพพม่า และช่วยขยายพระราชอาณาเขตทั้งในสมัยกรุงธนบุรีและสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ใน ปี พ.ศ. 2275 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละพระเจ้ากาวิละ พระเจ้าเชียงใหม่ ปกครอง 57 หัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราช ภายหลังการโปรดเกล้าฯ จากราชสำนักสยาม พระเจ้ากาวิละได้โปรดให้จัดพิธีเถลิงถวัลยราชสมบัติเข้าขึ้นครองอาณาจักรล้านนาตามราชประเพณีในราชวงศ์มังราย ในการนี้เจ้าเจ็ดพระองค์พี่น้องได้ทรงร่วมกันวางระบบการปกครองอาณาจักรฝ่ายเหนือ โดยแบ่งหัวเมืองฝ่ายเหนือออกเป็น 4 ระดับ (พ.ศ. 2275 - 2442) ดังนี้ ", "title": "เจ้านายฝ่ายเหนือ" }, { "docid": "312325#4", "text": "ในช่วงปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เกิดจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี พระยาสรรค์ได้ต้งตัวเป็นกบฏบังคับให้พระองค์ผนวช สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกซึ่งในขณะนั้นทำศึกอยู่ที่กัมพูชาได้ทราบข่าวจึงเสด็จกลับมาที่ กรุงธนบุรีและสืบสวนความจริงได้นำพวกพระยาสรรค์บุรีไปประหารชีวิต แลวได้สืบสวนหารือว่าควรสำเร็จโทษ(โดยข้อกล่าวหาว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีมีสติวิปลาส)และได้สำเร็จโทษในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325และเสด็จสวรรคต ต่อมาทางอาณาประชาราษฎร์ได้ทูลเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกให้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 แล้วสถาปนาราชวงศ์จักรี ขึ้นเป็นราชวงศ์ใหม่ แทนราชวงศ์ธนบุรี และสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีแห่งใหม่แทน กรุงธนบุรี พระราชโอรสพระองค์โตในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีถูกสำเร็จโทษและเสด็จสวรรคต จึงเป็นเหตุให้สิ้นสุดกรุงธนบุรี", "title": "ราชวงศ์ธนบุรี" }, { "docid": "174845#38", "text": "สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงกล่าวไว้ในหนังสือ \"อธิบายราชินิกุลบางช้าง\" ว่า พระญาติของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี เป็นราชินิกุลก่อนสกุลอื่น ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะสมเด็จพระ อมรินทราบรมราชินี ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงพระองค์แรก เมื่อสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระญาติของสมเด็จพระอมรินทร์ฯ ก็ขึ้นสู่ฐานะเป็นราชินิกุลตั้งแต่นั้นมา หรือถ้าว่าโดยการนิยม ราชินิกุลสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ มีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๒ เป็นปฐม และที่เรียกกันว่า \"ราชินิกุลบางช้าง\" เพราะพระญาติวงศ์ขององค์สมเด็จพระอมรินทร์ฯ โดยมาก ตั้งนิวาสสถานอยู่สืบกันมาในแขวงอำเภอบางช้าง เขตจังหวัดสมุทรสงคราม แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แม้องค์สมเด็จพระอมรินทร์ฯ ก็ทรงสมภพและได้ตั้งพระนิวาสสถานอยู่ ณ บางช้าง มาแต่เดิม ตรงที่ทรงสร้างวัดอัมพวันเจติยาราม ตำบลอัมพวา อำเภอบางช้าง", "title": "สกุลบุนนาค" }, { "docid": "45881#6", "text": "ต่อไปนี้คือพระนามาภิไธยสมเด็จพระราชินีนาถ พระมหากษัตริย์ บางประเทศ และบางพระองค์ที่สำคัญ\nหมายเหตุ : ตำแหน่งราชินีนาถของกรุงรัตนโกสินทร์หมายถึงสมเด็จพระบรมราชินีที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เท่านั้น โดยมีการถวายพระเกียรติยศบางประการเทียบเท่าพระมหากษัตริย์", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถ" }, { "docid": "19985#3", "text": "เจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครลำปาง พระโอรสพระองค์ใหญ่ของเจ้าฟ้าชายแก้ว ได้ร่วมกับพระอนุชาทั้ง 6 พระองค์ และ \"พระยาจ่าบ้าน\" เจ้านครเชียงใหม่ กอบกู้ล้านนาภายใต้การสนับสนุนจากทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ในปี พ.ศ. 2317 ซึ่งในครั้งนั้นได้โปรดฯ ให้ \"เจ้าพระยาจักรี\"และ \"เจ้าพระยาสุรสีห์\" ยกกองทัพไปช่วยปราบพม่า เมื่อยึดนครเชียงใหม่และนครลำปางได้แล้ว จึงโปรดฯ ให้พระยาจ่าบ้านเป็นพระยาวิเชียรปราการครองนครเชียงใหม่ และเจ้ากาวิละเป็นพระยานครลำปาง ในการรบครั้งนั้น เจ้าพระยาสุรสีห์ได้พบรักกับเจ้าศรีอโนชา พระขนิษฐาของพระยากาวิละ และได้ทูลขอจากเจ้าฟ้าชายแก้ว ซึ่งต่อมาเจ้าหญิงศรีอโนชาได้สร้างวีรกรรมสำคัญยิ่งในการปกป้องพระนครจากพระยาสรรค์ ซึ่งก่อการกบฏต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งขณะนั้นเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ พระสวามีติดการสงครามที่เขมร หลังจากปกป้องพระนครเสร็จ ได้เชิญเจ้าพระยาจักรีกลับพระนครและปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์", "title": "ราชวงศ์ทิพย์จักร" }, { "docid": "754626#0", "text": "มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม หรือ สุเหร่าเขียว ได้รับการขึ้นทะเบียนมัสยิดเลขหมายทะเบียน 5 มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลละหาร อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ณ ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492) โดยมีนายกาเซ็ม เจริญสุข เป็นอิหม่าม และเป็นมัสยิดสายซุนนี ที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี เรื่องราวของชุมชนมลายูมุสลิมบ้านสุเหร่าเขียว เป็นชุมชนที่เกิดต่อจากชุมชนมุสลิมบ้านปากลัด จังหวัดสมุทรปราการ และชุมชนบ้านท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ที่เกิดขึ้นตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกในราชวงศ์จักรี เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์", "title": "มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม" }, { "docid": "4226#7", "text": "ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 หลังจากได้สำเร็จโทษพระเจ้าตากสินแล้ว สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ขึ้นปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ขณะที่มีพระชนมายุได้ 46 พรรษา พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีราชธานีเดิมที่อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระองค์โปรดให้สร้างพระราชวังหลวงและโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาประดิษฐานยังวัดวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หลังจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉลองสมโภชพระนครเป็นเวลา 3 วัน ครั้งเสร็จการฉลองพระนครแล้ว พระองค์พระราชทานนามพระนครแห่งใหม่ให้ต้องกับนามพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรว่า \"กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์\" หรือเรียกอย่างสังเขปว่า \"กรุงเทพมหานคร\"", "title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช" }, { "docid": "125685#3", "text": "ความเป็นมาของนามท่าวังผานั้นคือ ลักษณะของเกาะแก่งในแม่น้ำน่าน ซึ่งมีแต่หินผาและเป็นวังน้ำอยู่มากมาย ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างเมืองปัวกับเมืองน่านในอดีต หากมุมมองด้านโบราณคดีแล้ว พบชุมชนโบราณต้นกำเนิดเมืองน่านซึ่งมีอายุกว่า 800 ปี สร้างในสมัยพญาภูคา ปฐมกษัตริย์น่านแห่งราชวงค์ภูคา อยู่ในท้องที่ตำบลยม (รวมจอมพระด้วย) ซึ่งในปัจจุบันยังคงสภาพสมบูรณ์อยู่ในท้องที่บ้านเสี้ยว บ้านลอมกลาง บ้านทุ่งฆ้อง บ้านนานิคม บ้านถ่อน จากสภาพชุมชนนั้นเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ เพราะมีการค้นพบกำแพงเมือง วัดร้าง และพระพุทธรูปเป็นจำนวนมากในบริเวณลุ่มแม่น้ำย่าง ฉะนั้นท่าวังผาในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของเมืองปัว จึงเป็นเมืองเก่าแก่ ยุคเดียวกับสุโขทัย", "title": "อำเภอท่าวังผา" }, { "docid": "276879#0", "text": "พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสที่กรุงรัตนโกสินทร์จะมีอายุ บรรจบครบ 200 ปี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2525 ซึ่งรัฐบาลสมัย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า ในปีพ.ศ. 2525 กรุงรัตนโกสินทร์จะมีอายุได้ 200 ปี นับเป็นมหามงคลสมัยแสดงถึงความมั่นคงของบ้านเมือง ได้ผ่านพ้นภัยพิบัติต่างๆ มาโดยสวัสดี มีความร่มเย็นเป็นสุขด้วยพระบารมีของพระผู้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และด้วยพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ผู้สืบราชสันตติวงศ์ทุกรัชกาลโดยลำดับ รัฐบาลและปวงชนชาวไทยจึงมีความปีติยินดี พร้อมกันแสดงความกตเวทิตาคุณ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อ พระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ และบรรพชนไทยที่จรรโลงชาติให้มีความรุ่งเรืองสันติสุขสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้ ", "title": "พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี" }, { "docid": "44052#1", "text": "สำเพ็งเริ่มต้นจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงสถาปนาสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นที่ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เป็นราชธานีแห่งใหม่แทนที่กรุงธนบุรี ในปี พ.ศ 2325 โดยมีพระบรมมหาราชวังตั้งขึ้นในพื้นที่ ๆ แต่เดิมเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวจีน และโปรดให้ย้ายชุมชนชาวจีนออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่นอกประตูพระนครทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขนานไปกับลำน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่คลองวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาส) ไปจนถึงคลองสามเพ็ง หรือสำเพ็ง", "title": "สำเพ็ง" }, { "docid": "194384#4", "text": "หลังจากสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว ด้วยความสัมพันธ์ในฐานะพระญาติระหว่างราชวงศ์จักรีและราชวงศ์ทิพย์จักร เนื่องด้วยเจ้าศรีอโนชา พระขนิษฐาในพระเจ้ากาวิละ ได้เป็นพระอัครชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กอปรกับพระเจ้ากาวิละและเจ้านายฝ่ายเหนือได้ถวายความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรีมาแต่ก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงสู้ขับไล่ข้าศึกพม่าให้พ้นแผ่นดินล้านนา ขยายขอบขัณฑสีมาอาณาจักรออกไปอย่างกว้างใหญ่ ได้กวาดต้อนผู้คนและสิ่งของจากหัวเมืองน้อยใหญ่ที่หนีภัยสงครามในช่วงที่พม่ายึดครอง และทรงสร้างบ้านแปงเมืองอาณาจักรล้านนาใหม่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระนามพระยากาวิละขึ้นเป็น \"พระบรมราชาธิบดี\" เป็นพระเจ้าประเทศราชปกครองเมืองเชียงใหม่และ 57 หัวเมืองล้านนา", "title": "นครเชียงใหม่" }, { "docid": "282014#1", "text": "คำนำพระนาม สมเด็จพระรามาธิบดี ใช้เป็นพระนามพระมหากษัตริย์เรื่อยมาจนถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนพระราชประเพณีโดยใช้คำอื่นนำพระนาม ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่าควรเฉลิมพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่ใช้คำนำพระนามว่า \"สมเด็จพระรามาธิบดี\" ทุกพระองค์ เปลี่ยนมาใช้คำนำพระนามว่า \"พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี\" ดังนี้", "title": "สมเด็จพระรามาธิบดี" }, { "docid": "42761#25", "text": "ในประวัติศาสตร์ไทย พระเจ้าเอกทัศเป็นพระมหากษัตริย์ที่ถูกกล่าวถึงในแง่ร้ายเรื่อยมา และถูกจดจำในฐานะ \"บุคคลที่ไม่มีใครอยากจะตกอยู่ในฐานะเดียวกัน\" เหตุเพราะไม่สามารถป้องกันกรุงศรีอยุธยาให้พ้นจากข้าศึก ทั้งนี้ คนไทยที่เหลือรอดมาถึงสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นถือเอาว่า พระองค์ควรรับผิดชอบการเสียกรุงครั้งที่สองร่วมกับพระเจ้าอุทุมพร[17]", "title": "สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์" } ]
1621
สมชาย เข็มกลัด เรียนจบจากที่ไหน ?
[ { "docid": "51658#1", "text": "เป็นชาวไทยเชื้อสายมอญที่เกิดในครอบครัวฐานะยากจน โดยมีผู้เป็นยายเลี้ยงดูมาตลอด เริ่มเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนท่าเรือวิทยา และได้ศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พ.ศ. 2544", "title": "สมชาย เข็มกลัด" } ]
[ { "docid": "404702#4", "text": "เพลย์บอยหนุ่มนาม เผดิมพงศ์ (สมชาย เข็มกลัด) ที่พ่อแม่ส่งไปเรียนต่างประเทศแต่ไม่จบเพราะมัวแต่รักสนุก โดยมี มณเฑียร (จตุรงค์ โกลิมาศ) เป็นคู่หู จนสุดท้าย ขุนโภคกิจ (มานพ อัศวเทพ) ผู้เป็นพ่อต้องดัดนิสัยด้วยการส่งไปดูแลกิจการค้ามะพร้าวที่เกาะสวาท ทำให้เขาได้พบ นภาพร (สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา) และตกหลุมรักทันที โดยไม่ทราบว่าเป็นลูกสาวของครอบครัวคู่อริท่ามกลางความอลเวงในการแข่งขันกันทางธุรกิจ", "title": "เกาะสวาท หาดสวรรค์" }, { "docid": "51658#10", "text": "\"สมชาย โอ.ที.\" ปี 2538", "title": "สมชาย เข็มกลัด" }, { "docid": "674789#0", "text": "\"คำตอบสุดท้าย\" เป็นซิงเกิลของวงแอร์บอร์น ประพันธ์เนื้อร้อง-แต่งทำนองและเรียบเรียงโดยนิพนธ์ ไทยเจริญ และมิวสิกวิดีโอนี้มีสมชาย เข็มกลัด มาร่วมแสดงด้วย เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ", "title": "คำตอบสุดท้าย" }, { "docid": "51658#5", "text": "รับเป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณา ให้กับสินค้ารถจักรยานยนต์ฮอนด้า สำหรับกลุ่มวัยรุ่นชายตั้งแต่เริ่มเข้าวงการใหม่ ๆ ในรุ่น ฮอนด้า โนวา จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 20 ปีแล้ว ก็ยังเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับรุ่น ฮอนด้า โซนิก ซึ่งเน้นจับกลุ่มลูกค้าที่เป็นวัยรุ่นชายเช่นกัน", "title": "สมชาย เข็มกลัด" }, { "docid": "136149#3", "text": "ขณะเดียวกัน คิด ไซเลนเซอร์ (สมชาย เข็มกลัด) มือปืนรุ่นใหม่ค่าตัวราคาแพง และทำงานคนเดียว ก็ได้รับการว่าจ้างให้ลงมือฆ่าตำรวจเหล็กคนนี้ด้วยเช่นกัน ", "title": "มือปืน/โลก/พระ/จัน" }, { "docid": "51658#15", "text": "on IMDb Facebook หลักอย่างเป็นทางการ", "title": "สมชาย เข็มกลัด" }, { "docid": "51658#9", "text": "\"เต๋า หัวโจก\" ปี 2536 \"สมชายจดปลายเท้า\" ปี 2538 \"สมชาย 100 แรงม้า\" ปี 2541", "title": "สมชาย เข็มกลัด" }, { "docid": "51658#11", "text": "\"อาร์เอส อันปลั๊ก ดนตรีนอกเวลา\" ปี 2537 \"ซูเปอร์ทีนส์\" ปี 2539 \"The Celebration (ฉลองครบรอบ 20 ปี อาร์เอส) \" ปี 2544", "title": "สมชาย เข็มกลัด" }, { "docid": "51658#13", "text": "โลกทั้งใบให้นายคนเดียว ปี 2538 ล่องจุ๊น ขอหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุน ปี 2539 แตก 4 รัก โลภ โกรธ เลว ปี 2542", "title": "สมชาย เข็มกลัด" }, { "docid": "727250#1", "text": "ต่อมาภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์และได้มีพิธีบวงสรวงในปี พ.ศ. 2558 กำกับการแสดงโดย กัญจน์ ภักดีวิจิตร ลูกชายคนเล็กของฉลอง ภักดีวิจิตรมีนักแสดงนำอาทิ ชนาธิป โพธิ์ทองคำ ลักษณ์นารา เปี้ยทา เปาวลี พรพิมล สมชาย เข็มกลัด และ เต๋า ภูศิลป์ ", "title": "สงครามเพลง (ภาพยนตร์ไทยปี พ.ศ. 2526)" }, { "docid": "31987#1", "text": "ชาย เมืองสิงห์ มีชื่อจริงว่า สมเศียร พานทอง เกิดวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2482 ที่อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี จบการศึกษาชั้นประถม 4 จากโรงเรียนวัดหัวว่าว จบชั้นมัธยมปลายจากจากโรงเรียนสิงหะวัฒนพาหะ (โรงเรียนสิงห์บุรี) ในจังหวัดบ้านเกิดในปี 2499 ก่อนจะเข้ามาเรียนต่อที่โรงเรียนเพาะช่างที่กรุงเทพฯ ในระหว่างนั้น เนื่องจากเป็นคนที่ชอบการร้องเพลง เมื่อเงินไม่พอใช้ก็จะอาศัยไปร้องเพลงเชียร์รำวง แต่เมื่อเรียนได้ถึงชั้นปีที่ 4 เขาก็ต้องเลิกเรียน เพราะทางบ้านประสบปัญหาทางด้านการเงินอย่างหนัก ชาย เมืองสิงห์ ที่ตัดสินใจสู้ชีวิตอยู่ในเมืองกรุง จึงต้องออกหางานทำ ซึ่งงานที่ว่าที่สุดยอดนักร้องลูกทุ่งเคยทำมาก็อย่างเช่นรับจ้างตากผัก เพื่อนำมาทำเป็นผักกาดกระป๋อง , กรรมกรตอกเสาเข็ม , รับจ้างเขียนป้าย และวาดรูป ต่อมาได้รับการอุปถัมภ์จาก อารมณ์ คงกะพัน ผู้กว้างขวางที่ขายของอยู่แถวตลาดพลู ที่คอยช่วยเหลือและผลักดันให้ชาย เมืองสิงห์ เข้าประกวดร้องเพลงตามที่ต่างๆ เช่น ผับ สถานบันเทิง\nต่างๆ", "title": "ชาย เมืองสิงห์" }, { "docid": "51658#6", "text": "รวมถึงเคยเป็นพิธีกรรายการ 4+1 ถึงจะเท่ห์ ร่วมกับ สายฟ้า เศรษฐบุตร, ปราโมทย์ แสงศร และจักรกฤษณ์ อำมะรัตน์[1]", "title": "สมชาย เข็มกลัด" }, { "docid": "62053#1", "text": "ผศ.สมเกียรติ อ่อนวิมล หรือ ผศ.ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล เกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2491 ที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม จังหวัดสุพรรณบุรี แล้วเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยครูจันทรเกษม (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม) ระหว่างนั้นก็ได้รับทุนจากมูลนิธิการศึกษาและวัฒนธรรมสัมพันธ์ไทย-นานาชาติ (เอเอฟเอส) เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนไปศึกษาที่รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา และกลับมาเรียนต่อจนจบ เมื่อปี พ.ศ. 2514 เข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ในคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อมาสอบชิงทุนของรัฐบาลสาธารณรัฐอินเดียได้ จึงลาออกไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยเดลี กรุงนิวเดลี จนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ และได้ทุนไปศึกษาปริญญาเอก สาขาการศึกษาภูมิภาคเอเชียใต้ ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา ชีวิตส่วนตัว สมเกียรติสมรสกับธัญญา (สกุลเดิม: ธัญญขันธ์) มีบุตรชายคนเดียวคือ ธัญญ์ อ่อนวิมล สมเกียรติชอบฟังเพลงลูกทุ่ง และเลี้ยงแมวในเวลาว่าง อนึ่ง เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558 เขาประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ บาดเจ็บขาซ้ายหัก และข้อมือซ้ายหัก", "title": "สมเกียรติ อ่อนวิมล" }, { "docid": "51658#14", "text": "รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติสุพรรณหงส์ ครั้งที่5 พ.ศ. 2538 รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จาก \"โลกทั้งใบให้นายคนเดียว\" รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่25 พ.ศ. 2544 รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จาก \"มือปืน/โลก/พระ/จัน\" สยามดาราสตาร์อวอร์ด 2010 รางวัลนักแสดงชายยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์ \"นาคปรก\"", "title": "สมชาย เข็มกลัด" }, { "docid": "52514#0", "text": "นายไชยวัฒน์ วรรณานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นศิลปินชาวไทย บุตรคนที่ 2 ของนายสมชายและนางเตื้อม วรรณานนท์ ภูมิลำเนาอยู่ที่ตำบลท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชีวิตในวัยต้น ได้เริ่มเรียนชั้นประถมปีที่ 1 - 3 ที่โรงเรียนวัดอินทารามตำบลท่าฉาง แล้วไปเรียนต่อที่โรงเรียนหาดเสี้ยว จังหวัดระนอง และจบชั้นประถมปีที่ 4 ที่นั่นเมื่อปี พ.ศ. 2501 ต่อมาได้กลับมาอยู่ที่บ้านและเรียนจบ ชั้นมัธยมปีที่ 1-3 ที่โรงเรียนท่าฉางวิทยา ตำบลท่าฉาง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเรียนชั้นมัธยมปี ที่ 4 ที่โรงเรียนเวียงไชยศึกษา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี หลังจากนั้นได้เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 ที่โรงเรียนบ้านนาสาร อำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่นั่นในปี พ.ศ. 2506", "title": "ไชยวัฒน์ วรรณานนท์" }, { "docid": "538984#1", "text": "สมหวัง มีชื่อเล่นว่า \"จอม\" เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ที่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ใกล้กับหาดราไวย์ เป็นบุตรชายของ สมนึก ปัทมคันธิน นักธุรกิจและนักสะสมเปลือกหอยชาวภูเก็ต จบการศึกษาจากโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย และคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เอกวิชาภาษาอังกฤษ โดยสำเร็จการศึกษาทั้งที่ไม่เคยไปเรียนถึงมหาวิทยาลัยเลย อาศัยการศึกษาเองผ่านทางสื่อประเภทต่าง ๆ ", "title": "สมหวัง ปัทมคันธิน" }, { "docid": "87999#5", "text": "และครั้งที่ 2 ใน \"อันธพาล\" ซึ่งมี จ๊อด เฮาดี้ และ แดง ไบเล่ เป็นตัวเอก ในคราวนี้ แดง ไบเล่ แสดงโดย สมชาย เข็มกลัด ในปี พ.ศ. 2555", "title": "แดง ไบเล่" }, { "docid": "51658#8", "text": "ในอดีต เคยใช้ชีวิตคู่กับ นัท มีเรียแต่ก็ไปกันไม่ได้ ต้องจดทะเบียนหย่า จนเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ได้จดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขตบางรัก กับอัฐมาศ อัศววิมล รองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดนิตยสารดิฉันและคอสโมโพลิแทน ปัจจุบันมีบุตรชาย 1 คน และบุตรสาว 1 คน ชื่อน้องสมใจ และน้องสุขใจ[3]", "title": "สมชาย เข็มกลัด" }, { "docid": "51658#7", "text": "นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นนักฟุตบอล เคยติดทีมชาติไทยชุดเยาวชนมาแล้ว[2]", "title": "สมชาย เข็มกลัด" }, { "docid": "145956#0", "text": "สะแด่วแห้ว ภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2535 กำกับโดย ประสรรค์ เพชรพงษ์ นำแสดงโดย ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ สมชาย เข็มกลัด และปราโมทย์ แสงศร", "title": "สะแด่วแห้ว" }, { "docid": "495141#1", "text": "วอยเติบโตมาในครอบครัวที่คุณพ่อรับราชการ คุณแม่ทำงานด้านโรงแรม เป็นลูกคนที่ 2 ในจำนวน 3 คน การศึกษา วอยได้เรียนอนุบาลที่โรงเรียนสุริยานุสรณ์ จากนั้นมาต่อประถมถึงมัธยมปลาย จากแผนกศิลป์-คำนวณโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กิจกรรมช่วงวัยเรียนของวอย ในช่วงมัธยม นอกจากเล่นฟุตบอลและบาสเกตบอล เขายังสนใจด้านการเล่นดนตรีและตั้งวงดนตรีร่วมกับเพื่อน ๆ มาตั้งแต่ชั้นมัธยม โดยสามารถเล่นกีต้าร์ กลอง เบส ร้องนำ เส้นทางในวงการบันเทิงของวอย ขณะที่เขาอายุ 16 ปี ได้รับการชักชวนถ่ายแบบครั้งแรกลงในนิตยสาร the boy จึงมีผลงานถ่ายแบบนิตยสารต่าง ๆ ตามมา รวมถึงโฆษณา อย่างโอวัลติน วอยได้รับการชักชวนให้ไปเทสต์เสียง และเซ็นสัญญาเป็นนักร้อง ในสังกัดอาร์เอสโปรโมชั่น โดยขณะที่ทำผลงานเพลงในอัลบั้มชุดแรก ในฐานะคู่หูดูโอกับเจอาร์ กิตติกุลวงศ์ และให้ร่วมแสดงภาพยนตร์ของอาร์เอสฟิล์ม ในเรื่อง ล่องจุ๊น ขอหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุน พ.ศ. 2539 ในบทบาทของ ลักกี้ น้องชายของล่องจุ๊น ที่รับบทโดย เต๋า-สมชาย เข็มกลัด นอกจากการแสดงภาพยนตร์เรื่อง ล่องจุ๊น ขอหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุน ยังมีผลงานหลังจากการเปิดตัวในฐานะสมาชิกของบริษัทอาร์เอสโปรโมชั่น ละครเรื่อง เพลงใบไม้ร่วง ในบทบาทพระเอกเต็มตัว ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 คู่กับโบว์ - ปรารถนา องค์ชัยศักดิ์", "title": "เกรียงไกร อังคุณชัย" }, { "docid": "51658#2", "text": "เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงจากการชักนำของ พจน์ อานนท์ ให้ไปถ่ายแบบลงหนังสือ เธอกับฉัน จากนั้นก็ก้าวสู่วงการจอแก้วในละครโทรทัศน์เรื่อง \"นางฟ้าสีรุ้ง\" ทางช่อง 7 เมื่อปี พ.ศ. 2533 ในฐานะตัวประกอบ และเข้าสู่บทบาทในจอเงินภายใต้ชื่อเรื่องว่า “สะแด่วแห้ว” จากนั้นได้เข้าเซ็นสัญญาเป็นนักร้องในสังกัด อาร์เอส โปรโมชั่น มีอัลบั้มเป็นของตัวเองชื่อ “เต๋า หัวโจก” ในปี พ.ศ. 2536 ซึ่งถือเป็นผลงานสร้างชื่อให้เต๋ากลายเป็นขวัญใจวัยรุ่นด้วยแฟชั่นผ้าโพกหัวและเสื้อลายสก๊อตจากมิวสิกวีดีโอเพลง \"บอดี้การ์ด\" คู่กับ สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา ซึ่งทำให้ทั้งคู่ต่อมาเหมือนเป็นดาราคู่ขวัญกัน ตามมาด้วยอัลบั้มชุดที่ 2 “สมชายจดปลายเท้า” และอัลบั้มพิเศษ “สมชายโอที” ในปี พ.ศ. 2538 และอัลบั้มชุดที่ 3 \"สมชาย 100 แรงม้า\" ในปี พ.ศ. 2541", "title": "สมชาย เข็มกลัด" }, { "docid": "51658#0", "text": "สมชาย เข็มกลัด เกิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2517 ที่กรุงเทพมหานคร นักร้อง นักแสดงชาวไทยที่มีชื่อเสียง", "title": "สมชาย เข็มกลัด" }, { "docid": "214330#1", "text": "ปราโมทย์ แสงศร (ชื่อเล่น โมทย์) เกิดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2517 เป็นนักแสดงชาวไทย จบการศึกษาจากคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม เอกโฆษณา มีผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกตั้งแต่อายุ 16 ปี โดยเข้าสู่วงการพร้อมนักแสดงรุ่นเดียวกัน เช่น ศรราม เทพพิทักษ์, สมชาย เข็มกลัด, ปฏิภาณ ปฐวีกานต์, โชคชัย เจริญสุข และ คัทลียา แมคอินทอช คือเรื่อง \"กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้\" รับบทเป็นรุ่นน้องที่โดนรุ่นพี่ตีหัว แล้วเข้าโรงพยาบาล ส่วนผลงานที่เป็นที่รู้จักเรื่องอื่นอย่าง \"สะแด่วแห้ว\" (2535) , \"แตก 4 รัก โลภ โกรธ เลว\" (2542), \"ผีสามบาท\" (2544) ", "title": "ปราโมทย์ แสงศร" }, { "docid": "952032#0", "text": "ตี๋ใหญ่ 2 ดับ เครื่อง ชน () เป็นละครโทรทัศน์แนวแอ็คชั่น, สืบสวน บทประพันธ์ของ นพชัย ชัยนาม บทโทรทัศน์โดย พิง ลำพระเพลิง, ปีเตอร์-นพชัย ชัยนาม, จิรสุดา แสงคำ กำกับการแสดงโดย นพชัย ชัยนาม ผลิตโดย บริษัท กลมกล่อม โปรดักชั่น จำกัด ออกอากาศทุกอาทิตย์ เวลา 14:55 - 16:55 น. ทาง ช่องโมโน 29 นำแสดงโดย สมชาย เข็มกลัด, รัชชานนท์ เรือนเพ็ชร์, กรกมล เจริญชัย, พชรณมน นนทภา, ปราโมทย์ แสงศร, ชญานิศฐ์ บุญโสพิศ, ทศพล หมายสุข และนักแสดงชั้นนำอีกมากมาย เริ่มตอนแรกวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561 โดยละครเรื่องนี้เป็นภาคต่อของละครเรื่อง ตี๋ใหญ่ ดับ ดาว โจร โดยมีเนื้อเรื่องเป็นเรื่องราวที่สานต่อจากภาคแรก หลังจากละครจบจะมีฉากเอนเครดิตว่า แรมไม่ตาย และเตรียมมีภาคต่อของ ตี๋ใหญ่ 3", "title": "ตี๋ใหญ่ 2 ดับ เครื่อง ชน" }, { "docid": "310750#2", "text": "\"สามารถ\" เป็นชื่อที่ผู้เขียนได้แรงดลบันดาลใจมาจากนักมวยชาวไทยซึ่งมีชื่อว่า สามารถ พยัคฆ์อรุณ ส่วนคำว่า \"เต๋า\" ที่เป็นชื่อเล่นนั้น ผู้เขียนได้นำมาจากชื่อเล่นของนักร้องชาวไทยชื่อ สมชาย เข็มกลัด", "title": "สามารถ ศรินทุ" }, { "docid": "135087#4", "text": "กัลเดอร์โรป (Garderobe) - โรงเรียนโอโตเมะ มีที่เดียวคือที่ อาณาจักรวินด์บลูม เด็กหญิงที่อยากเป็นโอโตเมะไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ตาม จะต้องมาเรียนที่วินด์บลูม จะรับเข้าสอบปีละครั้งไม่จำกัด และรับเพียง 100 คน เท่านั้น ผู้ที่ผ่านจะได้รับการฉีดยานาโนแมคชีน และจะได้รับคอรัลเจมมาเป็นของตัวเอง คอรัลโอโตเมะ 1 ปี ผ่านไปจะทำการสอบเรื่องเรียนที่สอนมาทั้งหมด และจะรับผ่านเพียง 50 คนเท่านั้นผ่านเป็นขั้น เพิร์ลโอโตเมะ ที่เหลือต้องออกจากกัลเดอร์โรป กลับบ้านไป พอจบอีก 1 ปี มีไม่กี่คนที่ได้เป็นไมสตาร์โอโตเมะหรือโอโตเมะเต็มตัวแท้ๆสมใจ", "title": "ไม-โอโตเมะ ศึกอัญมณีสาวน้อยแห่งดวงดาว" }, { "docid": "24378#20", "text": "ต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารว่า ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ทันใดนั้นธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วัน", "title": "สงกรานต์" }, { "docid": "51658#16", "text": "หมวดหมู่:บุคคลจากกรุงเทพมหานคร‎‎ หมวดหมู่:นักร้องไทยหมวดหมู่:นักฟุตบอลชาวไทย หมวดหมู่:นักแสดงไทย หมวดหมู่:ศิลปินสังกัดอาร์เอส หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ หมวดหมู่:บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายมอญ หมวดหมู่:นักแสดงภาพยนตร์ชายชาวไทย", "title": "สมชาย เข็มกลัด" }, { "docid": "267430#6", "text": "จากกรณีดังกล่าวได้มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อ \"ศพเด็ก 2002 ศพ\" กำกับโดย พจน์ อานนท์ นำแสดงโดย สมชาย เข็มกลัด และพิชญ์นาฏ สาขากร ซึ่งพิชญ์นาฏได้เล่าว่าตนรู้สึกขนหัวลุกขณะถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ ด้านสมชายระบุว่าต้องการให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ให้แก่สังคม", "title": "วัดไผ่เงินโชตนาราม" } ]
3519
กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 จัดการแข่งขันกีฬาทั้งหมดที่ชนิด?
[ { "docid": "988128#1", "text": "ในครั้งนี้มีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันรวมทั้งสิ้น 12,847 คน จาก 77 จังหวัด มีกีฬาที่แข่งขันทั้งหมด 41 ชนิดกีฬา ประกอบไปด้วย กีฬาบังคับ จำนวน 2 กีฬา, กีฬาสากล จำนวน 38 กีฬา และกีฬาอนุรักษ์ 1 กีฬา ซึ่งครั้งนี้ได้จัดการแข่งขันภายใน 28 สนาม ในจังหวัดเชียงราย และ 2 สนามในจังหวัดพะเยากับจังหวัดเชียงใหม่[3]", "title": "กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46" } ]
[ { "docid": "995910#0", "text": "กีฬาชักเย่อในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 23–27 พฤษจิกายน พ.ศ. 2561 ณ หอประชุมอำเภอเมืองเชียงราย โดยมีการแข่งขันอยู่ 2 ชนิดกีฬา ได้แก่ ประเภทชาย ทีม 4 คน และ 8 คนและประเภทหญิง ทีม 4 คน และ 8 คน", "title": "กีฬาชักเย่อในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46" }, { "docid": "465634#4", "text": "ในการจัดการแข่งขัน “มอดินแดงเกมส์” มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กำหนดชนิดกีฬาที่จะจัดแข่งขันทั้งหมด จำนวน 28 ชนิดกีฬาตามความพร้อมสนามแข่งขัน ที่สามารถจัดการแข่งขันได้ดังนี้\nสถาบันการศึกษาที่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 มีจำนวนทั้งสิ้น 124 สถาบัน ได้แก่สรุปเหรียญการแข่งขัน ได้แก่", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41" }, { "docid": "988128#4", "text": "มีพิธีการอัญเชิญไฟพระฤกษ์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 โดยอัญเชิญมาจากกรุงเทพมหานคร ได้นำไฟพระฤกษ์อัญเชิญไว้บนรถบุษบกเพื่อนำไปยังอำเภอแม่ลาว และอำเภออื่น ๆ ทั่วจังหวัดเชียงราย[4] ในส่วนของอำเภอพญาเม็งรายได้มีการจัดกิจกรรมวิ่งคบเพลิง เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์การแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 46 เจียงฮายเกมส์ ให้ประชาชนในอำเภอพญาเม็งรายได้รับรู้ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ซึ่งจังหวัดเชียงรายได้เป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ และได้ส่งมอบคบเพลิงให้กับตำบลหมู่บ้านต่าง ๆ ซึ่งจะให้ผู้นำชุมชนเป็นตัวแทนวิ่งในตำบลและหมู่บ้านของตนเอง และส่งมอบไปยังหมู่บ้านต่อไป รวมทั้งสิ้น 5 ตำบล 71 หมู่บ้าน โดยใช้เวลาการวิ่งทั้งสิ้น 10 วัน[5] ก่อนที่จะอัญเชิญเพื่อใช้จุดในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ", "title": "กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46" }, { "docid": "996111#0", "text": "กีฬาฮอกกี้ในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 18–27 พฤษจิกายน พ.ศ. 2561 ณ สนามฟุตบอลโรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฏร์) โดยมีการแข่งขันอยู่ 2 ชนิดกีฬา ได้แก่ ประเภทชาย และประเภทหญิง", "title": "กีฬาฮอกกี้ในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46" }, { "docid": "668259#3", "text": "กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 1 จัดการแข่งขันกีฬา 5 ชนิด\nในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 1 มีการแข่งขันกีฬาทั้งหมด 16 ชนิด รวมทั้งหมดคิดเป็น 103 ประเภท ได้แก่", "title": "กีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1" }, { "docid": "50512#9", "text": "วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 การประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย มีมติให้ปรับลดกำหนดแข่งขันจากจัดการแข่นขันทุก 1 ปี ไปเป็นทุก 2 ปี และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบด้วย เพื่อให้นักกีฬาได้มีเวลาในการเตรียมตัว ก่อนเข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ เนื่องจากปัจจุบันมีการแข่งขันกีฬาทั้งในและต่างประเทศหลายรายการ ทำให้การเตรียมตัวของนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันซ้ำซ้อนกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการฝึกซ้อมและงบประมาณในการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อความสอดคล้องกับการแข่งขันกีฬาหลายรายการทั้งในและต่างประเทศเหล่านั้น โดยจะเริ่มในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 เพื่อให้สลับกับกีฬาซีเกมส์[4]", "title": "กีฬาแห่งชาติ" }, { "docid": "845274#5", "text": "กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 33 ได้จัดการแข่งขันทั้งหมด 46 กีฬา ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่จัดการแข่งขันมา", "title": "กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 33" }, { "docid": "997717#0", "text": "กีฬายิงปืนรณยุทธในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 19–25 พฤษจิกายน พ.ศ. 2561 ณ สนามยิงปืนนครเชียงราย โดยมีการแข่งขันอยู่ 2 ชนิดกีฬา ได้แก่ บุคคลชาย และบุคคลหญิง", "title": "กีฬายิงปืนรณยุทธในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46" }, { "docid": "120483#9", "text": "โดยครั้งล่าสุด คือ กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 33 ประจำปีพ.ศ. 2560 ได้จัดการแข่งขันทั้งหมด 46 ชนิดกีฬา แบ่งเป็นกีฬาในโอลิมปิกทั้งหมด 25 กีฬา, กีฬาฤดูหนาวทั้งหมด 1 กีฬา และกีฬาชนิดอื่นๆที่เคยจัดในกีฬาระดับนานาชาติ และกีฬาอนุรักษ์ ทั้งหมด 20 กีฬา ดังนี้", "title": "กีฬาเยาวชนแห่งชาติ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "848080#0", "text": "กีฬากรีฑาในกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 33 จัดแข่งขันที่สนามกีฬากลางจังหวัดชุมพร อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร กำหนดแข่งขันระหว่างวันที่ 18 ถึง 20 มีนาคม พ.ศ. 2560 มีการชิงชัยทั้งหมด 46 เหรียญทอง", "title": "กีฬากรีฑาในกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 33" }, { "docid": "207561#0", "text": "กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 23 เป็นการแข่งขันกีฬาหลายชนิดของประเทศไทยในระดับเยาวชน โดยมีเจ้าภาพจัดการแข่งขันครั้งนี้คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กำหนดให้มีการแข่งขันระหว่างวันที่ 20 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2550 โดยมี ดร.นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานกรรมการจัดการแข่งขัน ใช้ชื่อในการจัดการแข่งขันว่า \"เมืองคนดีเกมส์\" แข่งขันทั้งหมด 28 ชนิดกีฬา มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน 5 ภาค จำนวน 8,115 คน", "title": "กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 23" }, { "docid": "988128#9", "text": "พิธีปิดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 46 หรือ เจียงฮายเกมส์ เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 18:15 น. มีการแสดงทั้งหมด 2 ชุด และอีก 1 ชุดของเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งต่อไปที่จะจัดขึ้นในจังหวัดศรีสะเกษ โดยเมื่อวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และประธานในพิธีมาถึงมีการแสดงชุดแรก คือ กี่ทอใจ ไหมเจียงฮาย นำโดยศิลปินแห่งชาติ แม่บัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ได้แสดงการแสดงพื้นบ้านของชาวจังหวัดเชียงราย[10] ต่อมาได้มีการเชิญธงจากตัวแทนนักกีฬาทั้งหมด 77 จังหวัดเข้าสู่สนาม ณัฐวุฒิ เรืองเวส รองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ฝ่ายกีฬาเป็นเลิศและวิทยาศาสตร์การกีฬา กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ ประธานในพิธีกล่าวปิดการแข่งขัน ได้มีการชักธงชาติ, ธงการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ และธงประจำจังหวัดเชียงรายลงจากเสา มีการแสดงชุดที่ 2 คือ สี่หู ห้าตา คานิว้าว พร้อมกับการดับไฟในกระถางคบเพลิงลง ณ ที่นี้มีการแสดงจากจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติใครั้งถัดไป[11]", "title": "กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46" }, { "docid": "300881#16", "text": "การเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจาการ์ตา จะเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ในด้านการขนส่ง ปาเลมบังจะเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งโดยการสร้างรถไฟฟ้ารางเบา 24.5 กิโลเมตร จากท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านมุฮัมหมัด บาดารูดดินที่ 2 ไปยังจากาบาริงสปอร์ตซิตี สิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งอื่น ๆ เช่น อุโมงค์, ทางยกระดับและสะพาน จะถูกสร้างขึ้นอยู่ในเมืองสมาชิกทั้งหมด 46 ประเทศของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชียจะเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ โดยได้มีการตกลงกันว่าประเทศเกาหลีเหนือและประเทศเกาหลีใต้จะเข้าร่วมแข่งขันในนามของทีมรวมเฉพาะกิจในบางชนิดกีฬา เช่นเดียวกับในโอลิมปิกฤดูหนาว 2018", "title": "เอเชียนเกมส์ 2018" }, { "docid": "999230#0", "text": "กีฬากอล์ฟในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 20–23 พฤษจิกายน พ.ศ. 2561 ณ สนามกอล์ฟสันติบุรี โดยมีการแข่งขันอยู่ 2 ชนิดกีฬา ได้แก่ บุคคลชาย และบุคคลหญิง", "title": "กีฬากอล์ฟในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46" }, { "docid": "998199#0", "text": "กีฬาหมากล้อมในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 19–27 พฤษจิกายน พ.ศ. 2561 ณ ห้องเอ็ม 3518 อาคารเอ็ม 3 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมีการแข่งขันอยู่ 2 ชนิดกีฬา ได้แก่ บุคคลชาย และบุคคลหญิง", "title": "กีฬาหมากล้อมในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46" }, { "docid": "869921#9", "text": "วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 การประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย มีมติให้ปรับลดกำหนดแข่งขันจากจัดการแข่นขันทุก 1 ปี ไปเป็นทุก 2 ปี และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบด้วย เพื่อให้นักกีฬาได้มีเวลาในการเตรียมตัว ก่อนเข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ เนื่องจากปัจจุบันมีการแข่งขันกีฬาทั้งในและต่างประเทศหลายรายการ ทำให้การเตรียมตัวของนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันซ้ำซ้อนกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการฝึกซ้อมและงบประมาณในการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อความสอดคล้องกับการแข่งขันกีฬาหลายรายการทั้งในและต่างประเทศเหล่านั้น โดยจะเริ่มในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 เพื่อให้สลับกับกีฬาซีเกมส์", "title": "กีฬาแห่งชาติ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "845283#1", "text": "ในครั้งนี้มีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันมากกว่า 12,000 คน จาก 77 จังหวัด มีการชิงชัยทั้งหมด 691 เหรียญทอง ใน 45 ชนิดกีฬา ประกอบด้วย กีฬาบังคับ จำนวน 2 กีฬา, กีฬาสากล จำนวน 42 กีฬา และกีฬาอนุรักษ์ 1 กีฬา นอกจากนี้ยังได้บรรจุปัญจกีฬาเป็นกีฬาสาธิตเป็นครั้งแรก ซึ่งครั้งนี้ได้จัดการแข่งขันภายใน 34 สนาม ในจังหวัดสงขลา และ 1 สนามในกรุงเทพมหานคร", "title": "กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 45" }, { "docid": "995579#0", "text": "กีฬากรีฑาในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 21–25 พฤษจิกายน พ.ศ. 2561 ณ สนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นสนามที่ใช้ในพิธีเปิดและปิดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติในครั้งนี้ โดยมีการแข่งขันอยู่ 2 ชนิดกีฬา ได้แก่ ประเภทชาย และประเภทหญิง", "title": "กีฬากรีฑาในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46" }, { "docid": "943264#0", "text": "กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 35 จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 35 จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 19-29 มีนาคม พ.ศ.2562 รวมชนิดกีฬาทั้งสิ้น 38 ชนิดกีฬา ซึ่งการแข่งขันจะใช้ชื่อการแข่งขัน “บุรีรัมย์เกมส์ และคำขวัญประจำการแข่งขัน คือ “กีฬาเยาวชน สร้างคน สร้างชาติ” และจังหวัดบุรีรัมย์ยังได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพกีฬาผู้สูงอายุแห่งชาติ ครั้งที่ 2 โดยใช้ชื่อการแข่งขันว่า “รมย์บุรีเกมส์” ซึ่งจะจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 1-7 พฤษภาคม 2562 อีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นการจัดการแข่งขันกีฬาระดับชาติครั้งแรกของจังหวัดบุรีรัมย์ อีกด้วย ", "title": "กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 35" }, { "docid": "330524#4", "text": "การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 39 จัดการแข่งขันกีฬาจำนวน 39 ชนิดกีฬา และกีฬาสาธิต 1 ชนิดกีฬา\nกีฬาสาธิต", "title": "กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 39" }, { "docid": "686114#0", "text": "กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 31 () หรือ จันทบูรเกมส์ เป็นการจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 31 โดยจังหวัดจันทบุรีเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขัน มีจังหวัดเข้าร่วมการแข่งขัน 77 จังหวัด และมีชนิดกีฬาที่จะแข่งขัน 43 ชนิดกีฬา จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-27 มีนาคม พ.ศ. 2558 \nการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 31 จันทบูรเกมส์ ใช้สัญลักษณ์นำโชคเป็นกระต่ายชื่อว่า \"น้องจันท์\" ที่สื่อถึงความสนุกสนาน ร่าเริง มีมิตรไมตรี เป็นสัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน\nการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 31 ได้กำหนดตราสัญลักษณ์การแข่งขันเป็นรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งเป็นสิ่งที่เคารพสักการบูชาของประชาชนโดยทั่วไปในพระปรีชาสามารถ สายน้ำและสัญลักษณ์ของการแข่งขันกีฬาหลัก ส่วนล่างของสัญลักษณ์มีตัวเลขไทยและตัวหนังสือของการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 31 \"จันทบูรเกมส์\" ", "title": "กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 31" }, { "docid": "50512#0", "text": "กีฬาแห่งชาติ (English: Thailand National Games) เป็นการแข่งขันมหกรรมกีฬาหลากหลายชนิดระหว่างภูมิภาคในประเทศไทย ซึ่งมีการจัดขึ้นในทุกหนึ่งปี เริ่มกำหนดการแข่งขันโดย องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อสกท) ตั้งแต่การแข่งขันครั้งแรก ถึง ครั้งที่ 19 และตั้งแต่กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 เป็นต้นมา บริหารจัดการแข่งขันโดย การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท) และยังถือได้ว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิด ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ", "title": "กีฬาแห่งชาติ" }, { "docid": "991704#1", "text": "การแข่งขันที่ใหญ่ที่สุดในประเทศกาตาร์ คือ เอเชียนเกมส์ 2006 ที่จัดขึ้นที่เมืองโดฮา มี 46 ชนิดกีฬา จากกีฬาทั้งหมด 39 กีฬา เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2010 ประเทศกาตาร์ได้รับสิทธิ์ให้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ถือว่าเป็นประเทศแถบอาหรับครั้งแรกที่ได้จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก", "title": "กีฬาในประเทศกาตาร์" }, { "docid": "997708#0", "text": "กีฬาบริดจ์ในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 19–25 พฤษจิกายน พ.ศ. 2561 ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย โดยมีการแข่งขันอยู่ 2 ชนิดกีฬา ได้แก่ คู่ และทีม", "title": "กีฬาบริดจ์ในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46" }, { "docid": "996333#0", "text": "กีฬาแฮนด์บอลในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 20–27 พฤษจิกายน พ.ศ. 2561 ณ ห้องประชุมกาสะลอง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยมีการแข่งขันอยู่ 2 ชนิดกีฬา ได้แก่ ประเภทชาย และประเภทหญิง", "title": "กีฬาแฮนด์บอลในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46" }, { "docid": "753421#0", "text": "กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 32 () หรือ สุพรรณบุรีเกมส์ เป็นการจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 32 โดยจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขัน มีจังหวัดเข้าร่วมการแข่งขัน 77 จังหวัด และมีชนิดกีฬาที่จะแข่งขัน 41 ชนิดกีฬา จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-19 มีนาคม พ.ศ. 2559", "title": "กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 32" }, { "docid": "991600#0", "text": "กีฬากาบัดดีในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 20–26 พฤษจิกายน พ.ศ. 2561 ณ โรงยิมส์โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น โดยมีการแข่งขันอยู่ 2 ชนิดกีฬา ได้แก่ ทีมชาย และทีมหญิง", "title": "กีฬากาบัดดี้ในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46" }, { "docid": "291974#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 26 หรือ นนทรีเกมส์ จัดการแข่งขันวันที่ 29 มกราคม - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดนครปฐม โดยมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน จัดการแข่งขัน 21 ชนิดกีฬา กีฬาสาธิต 2 ชนิดกีฬา มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมแข่งขัน 46 มหาวิทยาลัย", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 26" }, { "docid": "869921#0", "text": "กีฬาแห่งชาติ (ประเทศไทย) () เป็นการแข่งขันมหกรรมกีฬาหลากหลายชนิดระหว่างภูมิภาคในประเทศไทย ซึ่งมีการจัดขึ้นในทุกหนึ่งปี เริ่มกำหนดการแข่งขันโดย องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อสกท) ตั้งแต่การแข่งขันครั้งแรก ถึง ครั้งที่ 19 และตั้งแต่กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 เป็นต้นมา บริหารจัดการแข่งขันโดย การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท) และยังถือได้ว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิด ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ", "title": "กีฬาแห่งชาติ (ประเทศไทย)" } ]
2094
ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์ ออกอากาศตอนสุดท้ายเมื่อไหร่?
[ { "docid": "205316#0", "text": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์ หรือ ซามูไร เซนไท ชินเคนเจอร์ () เป็นภาพยนตร์แนวขบวนการนักสู้ลำดับที่ 33 ของประเทศญี่ปุ่น เริ่มออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 จนถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 ทางสถานีทีวีอาซาฮี ทุกเช้าวันอาทิตย์ เวลา 7.30-8.00 น. ในช่วงซูเปอร์ฮีโร่ ไทม์ โดยออกอากาศทั้งหมด 49 ตอน , ตอนพิเศษทางโรงภาพยนตร์อีก 3 ตอน คือ ซามูไร เซนไท ชินเคนเจอร์ ฉบับจอเงิน[1] , ซามูไร เซนไท ชินเคนเจอร์ VS โกออนเจอร์ ฉบับจอเงิน BANG![2][3] ฉายวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2010 และ เทนโซ เซนไท โกเซย์เจอร์ VS ชินเคนเจอร์ เอพพิค ON จอเงิน ตอนพิเศษทางโอวีเอ อีก1ตอน คือ คาเอรุเทคิตะ ซามูไร เซนไท ชินเคนเจอร์ โทคุเบทสึบาคุ (การกลับมาของซามูไร เซนไท ชินเคนเจอร์ ฉบับพิเศษ)ในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2010 และ รับเชิญในมาสค์ไรเดอร์ดีเคด ในตอนที่24 และ 25", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" } ]
[ { "docid": "205316#25", "text": "คาจิคิ ชินเคนโอ (カジキシンケンオー)", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#109", "text": "เทพพยนต์เสริมของชินเคนเจอร์ มีรูปร่างคล้ายเสือขาว ลำตัวสีขาว-เงิน ขาทั้งสี่จะมีลักษณะคล้ายกับสว่าน ใต้ท้องจะติดตั้งฮิเดน ดิสค์ เอาไว้เพื่อทำหน้าที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้กับโทระ โอริงามิมีหน้าที่คล้ายกับล้อรถยนต์", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#38", "text": "เทนคูชินเคนโอเกิดจากการรวมร่างของชินเคนโอ และ ไดเทนคู ทำให้ชินเคนเจอร์ สามารถโจมตีบนอากาศได้ โดยไดเทนคู จะทำหน้าที่เป็นหมวก (ใช้หมวกของโทระ ชินเคนโอเป็นหลัก) เกราะหน้าอก (ใช้ขาสว่านส่วนหน้าทั้ง 2 ข้างของโทระ โอริงามิ เป็นเกราะหน้าอก) เกราะหลัง และปีกให้กับชินเคนโอ", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#131", "text": "เทพพยนต์ของชินเคนเจอร์ มีลักษณะคล้ายกับวัว และ รถลาก มีขนาดใหญ่เท่ากับชินเคนโอ ลำตัวของอุชิ โอริงามิเป็นสีแดงขลิบทอง ส่วนรถลากเป็นรถสีดำคลิบทอง โจมตีด้วยพุ่งชนด้วยเขา การขวิด และ จรวดมิซไซล์จากส่วนบน สามารถบรรทุกชินเคนโอ", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#22", "text": "คาบูโตะ ชินเคนโอ (カブトシンケンオー)", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "134766#0", "text": "ขบวนการเอนจิน โกออนเจอร์ หรือ เอนจิน เซนไท โกออนเจอร์ () เป็นภาพยนตร์แนว ขบวนการนักสู้ ลำดับที่ 32 ของประเทศญี่ปุ่น เริ่มออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 ทางสถานี ทีวีอาซาฮี ทุกเช้าวันอาทิตย์ เวลา 7.30-8.00 น. และจบลงเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 โดยออกอากาศทั้งหมด 50 ตอน และมีภาพยนตร์ตอนพิเศษทางโรงภาพยนตร์มี 3 ตอนคือ ตอน BUNBUN BANBAN GekijoBANG ฉายเมื่อวันที่ วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2008 , เอนจิน เซนไท โกออนเจอร์ VS เกคิเรนเจอร์ ฉายเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2009 และ ซามูไร เซนไท ชินเคนเจอร์ VS โกออนเจอร์ ฉบับจอเงิน BANG! ฉายวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2010", "title": "ขบวนการเอนจิน โกออนเจอร์" }, { "docid": "205316#34", "text": "เคียวริว ชินเคนโอ (恐竜シンケンオー)", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#9", "text": "ชินเคนเรด ชิบะ ทาเครุ", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#128", "text": "เทพพยนต์เสริมของชินเคนเจอร์ มีลักษณะคล้ายกับไดโนเสาร์พันธุ์ Diplodocus ลำตัวสีแดงเข้ม (แดงเลือดหมู) โจมตีด้วยการกัดจากส่วนหัว เป็นเทพพยนต์รุ่นแรกที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ต่อกรกับเงโดวชูว มีอายุประมาณ 300 ปี", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#60", "text": "ซามูไร ฮาโอ (サムライ八オー)", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#63", "text": "ซามูไรฮาโอ ขับเคลื่อนด้วยล้อเกวียนที่ส่วนหลังของซามูไร ฮาโอ ซึ่งส่วนล้อเกวียนจะทำหน้าที่เป็นตัวห้ามล้อเมื่อถูกโจมตีและกระเด็นถอยหลัง ทำให้ลดอัตารความเสียหายของสภาพแวดล้อมโดยรอบที่เกิดจากการถูกโจมตี", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#143", "text": "ขุนพลคนที่ 4 ของเงโดวชูวเป็นคู่ปรับของชินเคนเรดตั้งแต่อดีตกาล โดยในยุคเอโดะนั้นเป็นซามูไรที่มีฝีมือดีแต่ด้วยชื่นชอบการต่อสู้จึงทำให้กลายเป็นจูโซแต่ว่าตัวตนเขาเสียชีวิตไป 300 ปี", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#99", "text": "เทพพยนต์เสริมของชินเคนเจอร์ มีรูปร่างคล้ายกับด้วงเซนเทารัส ลำตัวสีส้ม-เงิน สามารถโจมตีด้วยการบีบรัดจากคาบูโตะ ฮอร์น ที่ส่วนหัว นอกจากนี้ยังสามารถหมุนส่วนหัวเพื่อทำการเหวี่ยงศัตรูให้ล้ม บริเวณลำตัวจะติดตั้งฮิเดน ดิสค์ เอาไว้", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#7", "text": "บทขานชื่อของชินเคนเจอร์นั้น มีลักษณะคล้ายกับการประกาศตนของซามูไร โดยคนแรกที่พูดจะเอ่ยนามของตนเอง (ยศ และชื่อ-นามสกุล) และเมื่อคนถัดมาเอ่ยนามอย่างย่อตามลำดับตำแหน่ง เช่น", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#15", "text": "เหล่าซามูไร ที่ได้รับมอบหมายทั่วใต้หล้า ชินเคนเจอร์ มาแล้ว!", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#54", "text": "ไดไค ชินเคนโอ (ダイカイシンケンオー)", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#17", "text": "ฮิเดน ดิสค์ (秘伝ディスク) คือ อุปกรณ์รูปแบบแผ่นดิสค์ มีขนาดเท่ากับแผ่นซีดี ใช้ในการเดินพลังให้กับอาวุธและเทพพยนต์ของชินเคนเจอร์ ตัวแผ่นจะมีรูปสัตว์อยู่ในท่าทางเคลื่อนไหวทั้งหมด 8 ภาพคล้ายกับการทำอะนิเมะ โดยภาพจะเคลื่อนไหวก็ต่อเมื่อทำการหมุนและมีโลหะสะท้อนแสง เช่น ชินเคนมารุ เป็นต้น โดยปกติ ฮิเดน ดิสค์จะถูกเก็บไว้ในหัวเข็มขัดของชินเคนเจอร์ และเมื่อใช้งานจะสามารถขยายรูปร่างของดิสค์ ตามขนาดของอาวุธที่ใช้ในขณะนั้น , ฮิเดน ดิสค์ มีหลายรูปแบบโดยแตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ เช่น", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#1", "text": "ในประเทศไทย ลิขสิทธิ์ในการจัดจำหน่าย ชินเคนเจอร(ฉบับทีวีซีรีส์) คือ โรส มีเดียแอนด์เอนเตอร์เทนเมนต์ โดยใช้ชื่อว่า ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์ และออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในรายการแก๊งการ์ตูนทุกวันอาทิตย์เวลา7:10-7:40 น. เริ่มวันอาทิตย์ที่18 กันยายน 2554 - 26 สิงหาคม 2555 ปัจจุบันเปลี่ยนเวลาออกอากาศ เป็นทุกวันอาทิตย์ เวลา 6:15-6:45 น.", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#13", "text": "เมื่อขานชื่อของทุกคนเรียบร้อย จะกล่าวชื่อขบวนการโดยชินเคนเรดเป็นผู้นำกล่าวชื่อขบวนการ", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#164", "text": "หมวดหมู่:ขบวนการนักสู้", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#19", "text": "ชินเคนโอ (シンケンオー)", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#3", "text": "การต่อสู้ระหว่างเงโดวชูวและชินเคนเจอร์ ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนล่วงเลยมาถึงรุ่นที่ 18", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#31", "text": "อิกะ ชินเคนโอ (イカシンケンオー)", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#2", "text": "ในอดีตกาลได้มีปิศาจคอยทำร้ายมวลมนุษย์เพื่อต้องการครองโลกนาม เงโดวชูว พวกเขาปรากฏตัวจากอีกภพหนึ่งเพื่อแสวงหาพลังงงานและคอยกัดกินมนุษย์ จึงเป็นเหตุให้เกิดกลุ่มผู้พิทักษ์ขึ้นมา โดยรวบรวมนักดาบฝีมือดีจากตระกูลต่างๆของเหล่าซามูไรขึ้นมา นาม ชินเคนเจอร์ เพื่อต่อกรและขับไล่ปิศาจให้พ้นจากโลก", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#37", "text": "เทนคูชินเคนโอ (天空シンケンオー ,テンクウシンケンオー)", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "286016#0", "text": "ขบวนการเทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์ () เป็นภาพยนตร์แนวขบวนการนักสู้ลำดับที่ 34 ของประเทศญี่ปุ่น เริ่มออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 จนถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 ทางสถานีทีวีอาซาฮี ทุกเช้าวันอาทิตย์ เวลา 7.30-8.00 น. ในช่วงซูเปอร์ฮีโร่ ไทม์ มีตอนพิเศษทางโรงภาพยนตร์ทั้งหมด 4 ตอน ได้แก่ ขบวนการ ซามูไร ชินเคนเจอร์ VS โกออนเจอร์ THE MOVIE BANG! ฉายวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2010 , ขบวนการ เทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์ EPIC ON THE MOVIE (เอพพิค ออน เดอะ มูฟวี่) , เทนโซ เซนไท โกเซย์เจอร์ VS ชินเคนเจอร์ เอพพิค ON จอเงิน ฉายวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2011 และ โกไคเจอร์ โกเซย์เจอร์ ซูเปอร์เซนไท 199 ฮีโร่ ไดเคซเซน(ゴーカイジャー ゴセイジャー スーパー戦隊199ヒーロー 大決戦) ตอนพิเศษทางโอวีเอ อีก1ตอน คือ คาเอรุเทคิตะ เทนโซ เซนไท โกเซย์เจอร์ last epic (การกลับมาอีกครั้งของ เทนโซ เซนไท โกเซย์เจอร์ last epic)", "title": "ขบวนการเทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์" }, { "docid": "205316#155", "text": "ซาคามาตะ (サカマタ)", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#68", "text": "ชินเคน ไดโกโย", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "205316#28", "text": "โทระ ชินเคนโอ (トラシンケンオー)", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" } ]
1278
การสังหารหมู่นานกิง เกิดที่ประเทศอะไร ?
[ { "docid": "91580#0", "text": "การสังหารหมู่นานกิง (English: Nanking Massacre หรือ Nanjing Massacre) หรือรู้จักกันในนาม<b data-parsoid='{\"dsr\":[2562,2583,3,3]}'>การข่มขืนนานกิง (English: Rape of Nanking) เป็นการสังหารหมู่และการข่มขืนยามสงคราม (war rape) ซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลาหกสัปดาห์หลังญี่ปุ่นยึดนครนานกิง อดีตเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีน เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 1937 ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ในช่วงนี้ พลเรือนและทหารจีนที่ถูกปลดอาวุธหลายแสนคนถูกทหารกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นฆ่า[7][8] ทั้งยังเกิดการข่มขืนและฉกชิงทรัพย์อย่างกว้างขวาง[9][10] นักประวัติศาสตร์และพยานประเมินว่ามีผู้ถูกฆ่าระหว่าง 250,000 ถึง 300,000 คน[11] ผู้ก่อการสังหารหมู่หลายคน ซึ่งขณะนั้นถูกตราว่าเป็นอาชญากรรมสงคราม ภายหลังถูกไต่สวนและตัดสินว่ามีความผิด ณ ศาลชำนาญพิเศษอาชญากรรมสงครามนานกิง และถูกประหารชีวิต ในการนี้ เจ้าชายยะซุฮิโกะ อะซะกะ พระอนุวงศ์ญี่ปุ่น อันเป็นผู้ก่อการสำคัญคนหนึ่ง ทรงรอดจากการฟ้องคดีอาญา เพราะฝ่ายสัมพันธมิตรได้ให้ความคุ้มครองไว้ก่อน", "title": "การสังหารหมู่นานกิง" } ]
[ { "docid": "91580#23", "text": "แม้ว่าสงครามโลกครั้งที่สองจบลงไปแล้วด้วยความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิญี่ปุ่น แต่จากการกระทำสังหารหมู่ชาวจีนในนานกิงครั้งนั้นทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ญี่ปุ่นตกต่ำอย่างถาวรไม่อาจฟื้นฟูขึ้นมาได้เลย เพราะชาวจีนโกรธแค้นญี่ปุ่นเป็นอย่างมากจึงได้ทำการต่อต้านญี่ปุ่นตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ปัจจุบันญี่ปุ่นจะเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและรักสันติสุขมากขึ้นก็ตาม แม้ว่านายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นหรือจักรพรรดิญี่ปุ่นมากล่าวขอโทษด้วยตนเองก็ไม่อาจทำให้ชาวจีนยกโทษให้ ในเนื้อหาหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นยังถูกบิดเบือนด้วยการข้ามการกระทำอันโหดร้ายในนานกิงครั้งนั้นและบอกเพียงว่า เพียงแค่ยึดนานกิงเท่านั้น ทำให้ชาวจีนไม่พอใจและไม่ไว้ใจต่อญี่ปุ่นมาก", "title": "การสังหารหมู่นานกิง" }, { "docid": "91580#14", "text": "6 สิงหาคม ค.ศ. 1937 เนื่องจากกองทัพญี่ปุ่นไม่สามารถหาอาหารมาให้แก่เชลยศึกอย่างเพียงพอได้ จึงคิดทำการสังหารเชลยศึกเสีย แต่กฎหมายระหว่างประเทศในขณะนั้นได้ให้การคุ้มครองแก่เชลยศึกอยู่ จักรพรรดิฮิโรฮิโต จึงได้มีรับสั่งแก่ทหารทุกนายให้ยกเลิกการใช้คำว่า เชลยศึก กับชาวจีนที่ถูกจับได้ และนำเชลยศึกเหล่านั้นไปทำการสังหารที่บริเวณแม่น้ำแยงซี การสังหารเชลยศึกส่วนใหญ่เกิดขึ้นในวันที่ 18 ธันวาคม (ซึ่งถูกเรียกว่า String Gorge Massacre) ทหารญี่ปุ่นใช้เวลาในช่วงเช้าเพื่อมัดเชลยศึกเหล่านั้นเข้าด้วยกันเป็นจำนวนหลายแถว และเปิดฉากยิงใส่ด้วย ปืนกล เชลยศึกที่ถูกมัดอยู่ไม่สามารถหนีได้ ทำได้เพียงกรีดร้องเท่านั้น เชลยศึกราว 57,500 คนถูกสังหาร", "title": "การสังหารหมู่นานกิง" }, { "docid": "91580#20", "text": "หญิงในนานกิงถูกข่มขืนชนิดไม่เลือกที่และไม่เลือกเวลา ประมาณว่าหนึ่งในสามของการข่มขืนทั้งหมดเกิดขึ้นตอนกลางวันแสก ๆ และไม่มีสถานที่แห่งใดปลอดจากการข่มขืน เช่น คนท้อง หญิงชรา ในเรือนแม่ชี ในโบสถ์ แม้แต่ในโรงเรียน", "title": "การสังหารหมู่นานกิง" }, { "docid": "351379#11", "text": "อย่างไรก็ตาม นักประพันธ์และนักการเมืองชาตินิยมฝ่ายขวาญี่ปุ่นได้กล่าวอ้างว่าในระหว่างการสังหารหมู่นานกิง เขตปลอดภัยนานกิงเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีอยู่จริง พิพิธภัณฑ์ศาลเจ้ายะซุกุนิไม่ได้กล่าวถึงการสังหารหมู่นานกิงแต่อย่างใด และประกาศว่า \"ฝ่ายญี่ปุ่นได้จัดตั้งเขตปลอดภัยสำหรับพลเรือนชาวจีนและพยายามเป็นพิเศษที่จะป้องกันแหล่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ภายในเมือง ชาวเมืองสามารถหวนคืนสู่ชีวิตปกติสุขได้อีกครั้งหนึ่ง\"", "title": "เขตปลอดภัยนานกิง" }, { "docid": "351379#0", "text": "เขตปลอดภัยนานกิง (; ) เป็นเขตปลอดทหารสำหรับพลเรือนชาวจีนซึ่งจัดตั้งขึ้นก่อนหน้ายุทธการนานกิง (22 พฤศจิกายน 1937) โดยยึดเอาตัวอย่างจากหลวงพ่อพระเยซูอิตในเซี่ยงไฮ้ ชาวต่างชาติในนานกิงได้ก่อตั้งเขตปลอดภัยนานกิงขึ้น อยู่ภายใต้การจัดการโดยคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยเขตปลอดภัยนานกิง นำโดยนักธุรกิจชาวเยอรมันและสมาชิกพรรคนาซี ยอน ราเบอ เขตและกิจกรรมของคณะกรรมการดังกล่าวมีส่วนช่วยชีวิตพลเรือนชาวจีนหลายพันคนระหว่างการสังหารหมู่นานกิง", "title": "เขตปลอดภัยนานกิง" }, { "docid": "351221#7", "text": "การสังหารหมู่นานกิงได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับล้านคน ขณะที่ราเบอและผู้บริหารเขตปลอดภัยนานกิงพยายามอย่างกระวนกระวายเพื่อหยุดยั้งความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น เขาได้ใช้สถานภาพสมาชิกพรรคนาซีเพื่อรับรอง แต่ก็ทำได้แค่เพียงชะลอเหตุการณ์ออกไปเท่านั้น ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ลี้ภัยหลายพันคนหลบหนีไปได้ สารคดี \"นานกิง\" ได้ยกย่องเขาว่าได้ช่วยชีวิตพลเรือนชาวจีนกว่า 250,000 คน และกล่าวกันว่าราเบอได้ช่วยเหลือชาวจีนระหว่าง 200,000-250,000 คน", "title": "โยห์น ราเบอ" }, { "docid": "91580#5", "text": "ปลายเดือนพฤศจิกายน ทหารญี่ปุ่นสามกองทัพดาหน้าเข้าหานานกิง ทัพหนึ่งมุ่งตะวันตกทางฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำแยงซี ทหารกองนี้เข้ามาทางแม่น้ำไป๋เหมา ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเซี่ยงไฮ้ โดยเดินทัพมาทางรถไฟสายนานกิง-เซี่ยงไฮ้", "title": "การสังหารหมู่นานกิง" }, { "docid": "91580#19", "text": "พฤติกรรมเช่นนี้ไม่ได้กระทำกันเฉพาะในหมู่พลทหาร แม้ระดับนายทหารก็ไม่เว้น บางคนไม่เพียงสนับสนุนการข่มเหง แต่ยังเตือนให้พลทหารจัดการเหยื่อเมื่อเสร็จธุระเพื่อกำจัดหลักฐาน", "title": "การสังหารหมู่นานกิง" }, { "docid": "91580#15", "text": "เชลยศึกบางส่วน ถูกทหารญี่ปุ่นมัดเข้าด้วยกัน และให้เชลยศึกเหล่านั้นเหยียบ กับระเบิด เพื่อสังหารหมู่ บ้างก็มัดเชลยเหล่านั้นเข้าด้วยกันแล้วจุดไฟเผา", "title": "การสังหารหมู่นานกิง" }, { "docid": "351221#0", "text": "โยห์น ราเบอ (; 23 พฤศจิกายน 1882 — 5 มกราคม 1950) เป็นนักธุรกิจชาวเยอรมันผู้เป็นที่รู้จักกันในความพยายามที่จะหยุดยั้งการสังหารหมู่นานกิงของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นระหว่างการยึดครองนานกิง และการทำงานของเขาในการป้องกันและช่วยเหลือประชาชนจีนในช่วงเหตุการณ์การสังหารหมู่นานกิง เขตปลอดภัยนานกิงที่เขาช่วยสร้างขึ้นนั้น ได้กลายมาเป็นที่พำนักและช่วยให้ชาวจีนประมาณ 200,000 คน รอดจากการสังหารหมู่", "title": "โยห์น ราเบอ" }, { "docid": "91580#25", "text": "หมวดหมู่:เหตุการณ์ในประเทศจีน การสังหารหมู่นานกิง หมวดหมู่:การสังหารหมู่", "title": "การสังหารหมู่นานกิง" }, { "docid": "91580#22", "text": "เขตปลอดทหารสำหรับพลเรือนจีนจัดตั้งขึ้นเมื่อ (22 พฤศจิกายน 1937) วันพักรบของญี่ปุ่น ก่อนยุทธการนานกิงวันพักรบของญี่ปุ่น เขตปลอดทหารเพื่อความปลอดภัยถูกสร้างโดย ยอน ราเบอ นักธุรกิจเยอรมันสมาชิกพรรคนาซี ร่วมกับโรเบิร์ต โอ วิลสัน แพทย์ชาวอเมริกันและชาวตะวันตกคนอื่น ๆ โดยขอความร่วมมือจากนายกเทศมนตรีเมืองนานกิงให้อพยพชาวเมืองเข้าไปในเขตปลอดภัย เขตปลอดภัยมีหน้าที่ในการช่วยชีวิตของพลเรือนหลายพันคนของจีนให้รอดพ้นจากการถูกสังหารหมู่", "title": "การสังหารหมู่นานกิง" }, { "docid": "389194#5", "text": "ญี่ปุ่นเองก็ถูกหาว่า ฉาบปูนขาวใส่ประวัติศาสตร์ด้านการยุทธและจักรวรรดินิยมของตน โดยละทิ้งหรือลดทอนประเด็นหลาย ๆ ประเด็นในหนังสือเรียน เช่น ที่เกี่ยวกับการสังหารหมู่ที่นานกิง", "title": "การฉาบปูนขาว" }, { "docid": "345582#8", "text": "แม้ว่าในเมืองนานกิงที่มีการสังหารหมู่ชาวจีนไปทั่วทุกแห่ง แต่ได้มีการสร้างเขตปลอดทหารสำหรับพลเรือนจีนที่ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อ (22 พฤศจิกายน 1937) วันพักรบของญี่ปุ่นก่อนยุทธการนานกิง เขตปลอดทหารเพื่อความปลอดภัยถูกสร้างโดย ยอน ราเบอ นักธุรกิจเยอรมันสมาชิกพรรคนาซี ร่วมกับโรเบิร์ต โอ วิลสัน แพทย์ชาวอเมริกันและชาวตะวันตกคนอื่น ๆ โดยขอความร่วมมือจากนายกเทศมนตรีเมืองนานกิงให้อพยพชาวเมืองเข้าไปในเขตปลอดภัย เขตปลอดภัยมีหน้าที่ในการช่วยชีวิตของพลเรือนหลายพันคนของจีนให้รอดพ้นจากการถูกสังหารหมู่ ", "title": "ยุทธการที่นานกิง" }, { "docid": "345582#7", "text": "หลังจากที่นานกิงถูกกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นยึดครอง ทหารญี่ปุ่นได้จับกุมเชลยศึกทหารชาวจีนมาได้หลายคน ทางด้านผู้บัญชาการกองทัพได้มีคำสั่งให้มีการกำจัดเชลยศึกโดยได้รับคำสั่งจากจักรพรรดิฮิโรฮิโตทำให้เชลยศึกถูกสังหารอย่างโหดเหียม หลังจากนั้นทหารญี่ปุ่นก็ได้ทำการบุกเข้ายึดอาคารที่ทำการรัฐบาล ธนาคารและโรงเก็บสินค้า ยิงผู้คนตามท้องถนนอย่างไม่เลือกหน้า โดยใช้ทั้งปืนพก ปืนกล ปืนเล็กยาว ยิงเข้าไปในฝูงคนที่มีทั้งทหารที่บาดเจ็บ หญิงชรา และเด็ก ๆ โดยทหารญี่ปุ่นฆ่าพลเรือนทุกมุมเมือง ไม่ว่าจะตามตรอกเล็ก ๆ หรือถนนสายใหญ่ ในสนามเพลาะ หรือแม้แต่ในอาคารที่ทำการรัฐบาล นอกจากนั้นทหารญี่ปุ่นก็ได้กระทำทารุณชาวจีนด้วยวิธีต่างๆรวมทั้งกระทำข่มขืนหญิงชาวจีนเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 20,000 คน ไม่ว่าจะเป็นสาว คนท้อง หรือคนแก่ เหตุการณ์นี้ได้ถูกเรียกว่า การสังหารหมู่ที่นานกิง(Nanking Massacre) เป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนใจอย่างยิ่งต่อชาวจีนในสงครามโลกครั้งที่สอง", "title": "ยุทธการที่นานกิง" }, { "docid": "165970#54", "text": "ผลที่ตามมา กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นสามารถยึดเมืองหลวงของจีน คือ หนานจิง และกระทำความโหดร้ายทารุณ เป็นต้นว่า การสังหารหมู่ที่นานกิง", "title": "สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง" }, { "docid": "91580#1", "text": "เหตุการณ์นี้ยังเป็นประเด็นพิพาททางการเมือง เพราะนักลัทธิแก้ประวัติศาสตร์ (historical revisionist) และนักชาตินิยมญี่ปุ่นบางคนแย้งหลายแง่มุมของเหตุการณ์ดังกล่าว[8] โดยอ้างว่า การสังหารหมู่มีการบรรยายเกินจริงหรือแต่งขึ้นทั้งหมดเพื่อจุดประสงค์ด้านโฆษณาชวนเชื่อ ผลของความพยายามของนักชาตินิยมที่จะปฏิเสธหรืออ้างความชอบธรรมในอาชญากรรมสงคราม ทำให้เกิดข้อโต้เถียงเกี่ยวกับการสังหารหมู่ยังเป็นอุปสรรคในความสัมพันธ์จีน-ญี่ปุ่น ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับชาติอื่นในเอเชีย-แปซิฟิก เช่น เกาหลีใต้และฟิลิปปินส์", "title": "การสังหารหมู่นานกิง" }, { "docid": "91580#8", "text": "ก่อนที่จะบุกถึงนานกิงนั้นทหารญี่ปุ่นได้เข้าโจมตีเมืองซูโจวและฆ่าทุกคนที่พบ การบุกเข้าเมืองซูโจวครั้งนี้ทำให้จำนวนประชากรลดลงจาก 350,000 คนลงเหลือไม่ถึง 500 ชีวิต", "title": "การสังหารหมู่นานกิง" }, { "docid": "112388#20", "text": "นักประวัติศาสตร์ได้ประมาณการชาวจีนถึง 300,000 คนที่ถูกสังหารหมู่ในการสังหารหมู่นานกิงซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการล่มสลายของเมืองนานกิง ในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1937 ในขณะที่นักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นบางคนได้แก้ไขปรับปรุงประวัติศาสตร์ซึ่งได้ปฏิเสธการสังหารหมู่ของญี่ปุ่น", "title": "สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง" }, { "docid": "91580#9", "text": "จนถึงรุ่งสางของวันที่ 13 ธันวาคม กองทัพญี่ปุ่นสามารถบุกผ่านประตูเมืองนานกิงเข้ามาได้", "title": "การสังหารหมู่นานกิง" }, { "docid": "351379#8", "text": "ความโหดร้ายที่ทหารญี่ปุ่นกระทำในเขตปลอดภัยนั้นเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ในการสังหารหมู่นานกิงที่ใหญ่กว่ามาก คณะกรรมการระหว่างประเทศได้ร้องขอให้กองทัพญี่ปุ่นหยุดการกระทำดังกล่าวหลายครั้ง โดยราเบอได้ใช้สถานภาพสมาชิกพรรคนาซีรับรอง แต่ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด ในบางครั้ง ทหารญี่ปุ่นเข้ามาในเขตปลอดภัยตามใจชอบ โดยนำชายและหญิงหลายร้อยคนออกไป แล้วจึงประหารชีวิตพวกเขาหรือข่มขืนก่อนจะฆ่าทิ้ง กองทัพญี่ปุ่นกล่าวอ้างว่ามีทหารกองโจรอยู่ในเขตปลอดภัยและกล่าวหาราเบอที่อนุญาตให้ใครก็ตามที่ไม่ได้อยู่ในเครื่องแบบทหารเข้าไปในเขตปลอดภัยได้ ทหารญี่ปุ่นจึงฝ่าฝืนเข้าไปในเขตดังกล่าวด้วยเหตุผลนี้", "title": "เขตปลอดภัยนานกิง" }, { "docid": "91580#13", "text": "ทั้งหมดนี้ได้รับการปฏิบัติอย่างง่ายดายกว่าที่ฝ่ายญี่ปุ่นคาด การต่อต้านมีเพียงบางจุด เพราะทหารจีนส่วนใหญ่ทิ้งอาวุธและทิ้งเมืองไปก่อนแล้ว", "title": "การสังหารหมู่นานกิง" }, { "docid": "91580#24", "text": "ภาพยนตร์เรื่อง Black Sun: The Nanking Massacre สะท้อนถึงเหตุการณ์ของการสังหารหมู่นานกิงโดยกองทัพญี่ปุ่น ภาพยนตร์เรื่อง Don't Cry, Nanking หรือ สงครามอำมหิตปิดตาโลก เป็นภาพยนตร์ปี ค.ศ. 1995 บอกเล่าเรื่องราวความอำมหิตของกองทัพญี่ปุ่นที่กระทำต่อชาวนานกิงในช่วงปี ค.ศ. 1937 จนกลายเป็นหนึ่งในโศกนาฎกรรมของโลก โดยเล่าผ่านชีวิตครอบครัวของแพทย์ชาวจีนกับภรรยาตั้งครรถ์ชาวญี่ปุ่นพร้อมลูกสาวที่เดินทางกลับมายังเมืองนานกิง ก่อนจะพบว่าบ้านเมืองได้ถูกยึดครองทำลายและฆ่าล้างอย่างโหดร้ายโดยกองทัพญี่ปุ่น", "title": "การสังหารหมู่นานกิง" }, { "docid": "91580#3", "text": "แม้รัฐบาลญี่ปุ่นจะยอมรับการกระทำการฆ่าพลเรือนจำนวนมาก การฉกชิงทรัพย์และความรุนแรงอื่นโดยกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นหลังนานกิงแตก[15][16] ทว่า เสียงข้างน้อยกลุ่มเล็กแต่ทรงอิทธิพลทั้งในรัฐบาลและสังคมญี่ปุ่นแย้งว่า ยอดผู้เสียชีวิตนั้นแท้จริงเป็นทหารและไม่มีอาชญากรรมเกิดขึ้น การปฏิเสธการสังหารหมู่กลายเป็นส่วนสำคัญของลัทธิชาตินิยมญี่ปุ่น[17] ในญี่ปุ่น ความเห็นสาธารณะต่อการสังหารหมู่มีหลากหลาย และมีน้อยคนที่ปฏิเสธการสังหารหมู่ทั้งหมด[17] กระนั้น ความพยายามซ้ำแล้วซ้ำเล่าของนักลัทธิแก้ที่จะสนับสนุนประวัติศาสตร์เหตุการณ์ของลัทธิแก้ได้สร้างข้อโต้เถียงซึ่งปรากฏในสื่อระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในจีน เกาหลีใต้และชาติอื่นในเอเชียตะวันออก เป็นระยะ[18]", "title": "การสังหารหมู่นานกิง" }, { "docid": "91580#11", "text": "คำสั่งนั้นเป็นไปอย่างเป็นเหตุเป็นผลและเหี้ยมโหดโดยปราศจากเมตตาเพราะไม่สามารถหาอาหารให้เชลยทั้งหมดได้ โดยสามารถช่วยขจัดปัญหาเรื่องอาหาร และลดการตอบโต้ได้", "title": "การสังหารหมู่นานกิง" }, { "docid": "68851#18", "text": "สมรภูมิในจีน ซึ่งกองทัพบกญี่ปุ่นได้ดำเนินการมานานก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ โดยได้ทำการยึดครองเมืองและบริเวณชายฝั่งของจีนเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงการจัดตั้งประเทศแมนจูกัวซึ่งมีจักรพรรดิปูยีเป็นประมุข และได้ทำการยึดครองกรุงหนานจิง (นานกิง) ที่เป็นเมืองหลวงของจีน (ของรัฐบาลก๊กมินตั๋งในยุคนั้น) และได้ทำการสังหารหมู่ชาวจีนทีโด่งดังขึ้น ซึ่งรุนแรงมากจนกระทั่งทำให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ในเมืองนานกิงยังรับไม่ได้ ", "title": "จักรวรรดิญี่ปุ่น" }, { "docid": "351379#9", "text": "ปลายเดือนมกราคม ค.ศ. 1938 กองทัพญี่ปุ่นบังคับให้ผู้ลี้ภัยทั้งหมดในเขตปลอดภัยกลับบ้าน โดยอ้างว่าเป็น \"การฟื้นฟูระเบียบ\" วันที่ 18 กุมภาพันธ์ เขตปลอดภัยนานกิงถูกบังคับให้เปลี่ยนชื่อเป็น \"คณะกรรมการช่วยเหลือระหว่างประเทศนานกิง\" และเขตปลอดภัยได้สิ้นสุดการดำเนินการ ค่ายผู้ลี้ภัยค่ายสุดท้ายถูกปิดในเดือนพฤษภาคม ยอน ราเบอ และสมาชิกคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยเขตปลอดภัยนานกิงได้รับการบันทึกว่าช่วยชีวิตชาวจีนกว่า 50,000-250,000 คนระหว่างการสังหารหมู่", "title": "เขตปลอดภัยนานกิง" }, { "docid": "91580#2", "text": "การประเมินยอดผู้เสียชีวิตในการสังหารหมู่อย่างแม่นยำนั้นทำไม่ได้ เพราะบันทึกทหารญี่ปุ่นเกี่ยวกับการสังหารจำนวนมากถูกทำลายหรือเก็บไว้เป็นความลับโดยเจตนาไม่นานหลังการยอมจำนนของญี่ปุ่นในปี 1945 ศาลทหารพิเศษระหว่างประเทศภาคพื้นตะวันออกไกลประเมินว่ามีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์กว่า 200,000 คน[12] ทางการจีนประเมินว่ามีผู้เสียชีวิตราว 300,000 โดยอิงการประเมินของศาลชำนัญพิเศษอาชญากรรมสงครามนานกิง การประเมินจากนักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นมีหลากหลายตั้งแต่ 40,000 ถึง 200,000 คน นักลัทธิแก้ประวัติศาสตร์บางคนปฏิเสธว่าไม่มีการสังหารหมู่เป็นระบบกว้างขวางเกิดขึ้นเลย โดยอ้างว่าการเสียชีวิตทั้งหมดมีคำธิบายทางทหาร เป็นอุบัติเหตุ หรือเป็นเหตุการณ์ความทารุณที่ไม่ได้รับอนุญาตที่ไม่เกี่ยวข้องกัน[13][14]", "title": "การสังหารหมู่นานกิง" }, { "docid": "351221#2", "text": "มีชาวตะวันตกจำนวนมากอาศัยอยู่ในนานกิงระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายหรือเป็นคณะเผยแผ่ศาสนา เมื่อกองทัพญี่ปุ่นมาถึงนานกิงและเริ่มต้นการทิ้งระเบิดถล่มเมือง ชาวต่างชาติเกือบทั้งหมดได้หลบหนีออกจากเมือง เหลือเพียง 22 คน ร่วมกับมิชชันนารีและนักธุรกิจชาวอเมริกันและชาวยุโรปจำนวน 15 คนได้ก่อตั้งกลุ่มขึ้น วันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1937 เมื่อกองทัพญี่ปุ่นรุกคืบมายังนานกิง ราเบอร่วมกับชาวตะวันตกคนอื่น ๆ ได้จัดตั้งคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยเขตปลอดภัยนานกิง และก่อตั้งเขตปลอดภัยนานกิงเพื่อให้ที่พักและอาหารแก่ผู้ลี้ภัยชาวจีนจากการสังหารของทหารญี่ปุ่นอันจะเกิดขึ้นในไม่ช้า เขาได้อธิบายเหตุผลไว้ว่า:", "title": "โยห์น ราเบอ" } ]
1248
ประเทศญี่ปุ่นโดนระเบิดนิวเคลียร์ที่เมืองอะไร?
[ { "docid": "184506#0", "text": "การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ เป็นการโจมตีจักรวรรดิญี่ปุ่นด้วยอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่สอง โดยคำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮร์รี เอส. ทรูแมน เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม และวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากการโจมตีทิ้งระเบิดเพลิงตามเมืองต่าง ๆ 67 เมืองของญี่ปุ่นอย่างหนักหน่วงเป็นเวลาติดต่อกันถึง 6 เดือน สหรัฐอเมริกาจึงได้ทิ้ง \"ระเบิดปรมาณู\" หรือที่เรียกในปัจจุบันว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่มีชื่อเล่นเรียกว่า \"เด็กน้อย\" หรือ \"ลิตเติลบอย\" ใส่เมืองฮิโรชิมะในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ตามด้วย \"ชายอ้วน\" หรือ \"แฟตแมน\" ลูกที่สองใส่เมืองนางาซากิโดยให้จุดระเบิดที่ระดับสูงเหนือเมืองเล็กน้อย นับเป็นระเบิดนิวเคลียร์เพียง 2 ลูกเท่านั้นที่นำมาใช้ในประวัติศาสตร์การทำสงคราม", "title": "การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ" }, { "docid": "184506#6", "text": "ในระหว่างสงครามนั้น ญี่ปุ่นได้เกณฑ์แรงงานชาวเกาหลีไปใช้งานอย่างทาสในทั้งสองเมือง ทั้งฮิโรชิมะ และนางาซากิ ปัจจุบันคาดการณ์ว่ามีชาวเกาหลีที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดนิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น ที่เมืองฮิโรชิมะ ประมาณ 20,000 คน และอีกประมาณ 2,000 คน เสียชีวิตที่เมืองนางาซากิ ซึ่งประชากรเกาหลีที่เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้มากถึง 1 ใน 7 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ชาวเกาหลีพยายามต่อสู้เพื่อรับการดูแลรักษาผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ อย่างไรก็ตาม ทุกคนได้รับการเยียวยาภายใต้กฎหมายในปัจจุบัน", "title": "การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ" }, { "docid": "184506#5", "text": "ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดในครั้งนั้น เรียกจุดที่ระเบิดถูกทิ้งลงใส่ฮิโรชิมะ ว่า \"ฮิบะกุชะ\" ในภาษาญี่ปุ่นหรือแปลเป็นภาษาไทยว่า \"จุดระเบิดที่มีผลกระทบต่อชาวญี่ปุ่น\" ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงมีนโยบายต่อต้านการใช้ระเบิดปรมาณู ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และประกาศเจตนาให้โลกรู้ว่า ญี่ปุ่นมีนโยบายจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ ในวันที่ 31 เดือนมีนาคม 2551 \"ฮิบะกุชะ\" มีรายชื่อผู้เสียชีวิตจากทั้งสองเมืองของญี่ปุ่น ที่ถูกจารึกไว้ประมาณ 243,692 คน และในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน มีรายชื่อผู้เสียชีวิตที่ถูกจารึกไว้เพิ่มขึ้นมากกว่า 400,000 คน โดยแบ่งออกเป็นเมืองฮิโรชิมะ 258,310 คน และเมืองนางาซากิ 145,984 คน", "title": "การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ" } ]
[ { "docid": "947832#0", "text": "โตเกียวดิสนีย์รีสอร์ต () เป็นสวนสนุกและสถานพักตากอากาศที่อุระยะซุ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น เจ้าของและดำเนินการโดยบริษัทเดอะโอเรียนเต็ลแลนด์ ที่มีใบอนุญาตจากบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ เปิดบริการเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1983 มีสวนสนุก 2 แห่ง โรงแรมภายใต้กำกับการดูแลของดิสนีย์ 4 แห่ง โรงแรมภายใต้กำกับการดูแลโดยบุคคลภายนอก 6 แห่ง และศูนย์การค้า โตเกียวดิสนีย์แลนด์เป็นสวนสนุกของดิสนีย์แห่งแรกที่เปิดให้บริการนอกสหรัฐ", "title": "โตเกียวดิสนีย์รีสอร์ต" }, { "docid": "345548#0", "text": "ปฏิบัติการดาวน์ฟอล เป็นแผนการโดยรวมของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อบุกญี่ปุ่นในช่วงใกล้จะสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการถูกยกเลิกเมื่อญี่ปุ่นได้ยอมจำนนหลังจากโดนทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่เมืองฮิโระชิมะและนะงะซะกิ และสหภาพโซเวียตประกาศร่วมสงครามต่อต้านญี่ปุ่น", "title": "ปฏิบัติการดาวน์ฟอล" }, { "docid": "37020#0", "text": "โตเกียวดิสนีย์ซี (, ) เป็นโครงการที่เกิดขึ้นครั้งแรกในส่วนต่อขยายของโตเกียวดิสนีย์แลนด์รีสอร์ต ตั้งอยู่ในเขตชิบะ ประเทศญี่ปุ่น เปิดเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2544 ในพื้นที่รวมที่เรียกว่าโตเกียวดิสนีย์รีสอร์ท มีแนวคิดหลักของพื้นที่เกี่ยวกับน้ำ เช่น เมืองเวนีส ลำธารน้ำ ทะเล เรือไททานิก ถ้ำใต้น้ำในปล่องภูเขาไฟ เมืองในป่าดิบชื้นแถบอเมริกากลาง เงือกและเมืองบาดาล เป็นต้น", "title": "โตเกียวดิสนีย์ซี" }, { "docid": "504374#0", "text": "โทบุเวิลด์สแควร์ (, ) คือ สวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเมืองนิกโก จังหวัดโทะชิงิ ประเทศญี่ปุ่น เปิดทำการเมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1993 มีพื้นที่ 7.65 ตารางกิโลเมตร สวนแห่งนี้ประกอบด้วยสิ่งจำลองขนาด 1:25 ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียง รวมถึงสถานที่ที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมขององค์การยูเนสโก และหุ่นจำลองคนขนาดจิ๋วกว่า 140,000 คน โดยมีจุดประสงค์เพื่อปกป้องวัฒนธรรมและซากปรักหักพังของรูปแบบสถาปัตยกรรมทั่วโลก", "title": "โทบุเวิลด์สแควร์" }, { "docid": "19108#3", "text": "นินเท็นโดสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเกียวโต จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น นินเท็นโดอเมริกาตั้งอยู่ที่ เรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน (สำนักงานใหญ่สาขาอเมริกา), นอร์ธเบนด์ รัฐวอชิงตัน และ แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย นินเท็นโดแคนาดาตั้งอยู่ที่ ริชมอนด์ บริติชโคลัมเบีย และโทรอนโต นินเท็นโดออสเตรเลียตั้งอยู่ที่เมลเบิร์น รัฐวิกตอเรีย นินเท็นโดยุโรปตั้งอยู่ที่เมือง Großostheim ประเทศเยอรมนี นินเท็นโดจีนได้ร่วมกับ iQue และล่าสุดนินเท็นโดเกาหลี ก่อตั้งเมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2549", "title": "นินเท็นโด" }, { "docid": "869703#0", "text": "โอกินาวะโมโนเรล () หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ยูอิเรล () เป็นเส้นทางรถไฟรางเดี่ยวในเมืองนาฮะ จังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น ดำเนินกิจการโดยบริษัทโอกินาวะโมโนเรล () ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2546 และเป็นการขนส่งระบบรางสายแรกของจังหวัดโอกินาวะหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งนี้สถานีนาฮาคูโกเป็นสถานที่อยู่ตะวันตกสุด และสถานีอากามิเนะเป็นสถานีที่อยู่ใต้สุดของประเทศญี่ปุ่น หากเดินทางจะต้องใช้บัตรโอคีกา () บัตรเอนกประสงค์ไร้สัมผัสที่ใช้ในระบบขนส่งสาธารณะของโอกินาวะ", "title": "โอกินาวะโมโนเรล" }, { "docid": "8087#0", "text": "ซาดาโกะ ซาซากิ (; 7 มกราคม 2486 – 25 ตุลาคม 2498) เป็นเด็กหญิงชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ใกล้กับสะพานมิซาสะในจังหวัดฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ในขณะที่ระเบิดนิวเคลียร์ถูกทิ้งลงที่ฮิโรชิมะ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เธอมีอายุเพียงสองปีเท่านั้น จากเหตุการณ์นี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากมาย แต่ตัวเธอนั้น \"รอดชีวิต\" ซาดาโกะเป็นเด็กแข็งแรงอีกทั้งเป็นนักกีฬา อย่างไรก็ดีในปี พ.ศ. 2497 เมื่อมีอายุได้ 11 ปี ขณะกำลังซ้อมวิ่ง เธอรู้สึกมึนหัวแล้วล้มลง แพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นหนึ่งในผลสืบเนื่องจากระเบิดนิวเคลียร์", "title": "ซาดาโกะ ซาซากิ" } ]
1155
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต มีชื่อเดิมว่าอะไร?
[ { "docid": "85555#2", "text": "พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เดิมมีชื่อว่า มั่น แก่นแก้ว เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2413 ณ บ้านคำบง ตำบลสงยาง อำเภอโขงเจียม (ปัจจุบันคืออำเภอศรีเมืองใหม่) จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ \"นายคำด้วง แก่นแก้ว\" และมารดาชื่อ \"นางจันทร์ แก่นแก้ว\"", "title": "พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต" } ]
[ { "docid": "908995#6", "text": "ปี พ.ศ. 2458 หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้กลับจากเขาสาริกา จังหวัดนครนายก ไปพักจำพรรษา ณ วัดบูรพาราม จังหวัดอุบลราชธานี มีกิตติศัพท์ขจรไปว่า ท่านได้สำเร็จธรรมจากเขาสาริกา ดังนั้น พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม จึงได้ไปศึกษากรรมฐานกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านให้กรรมฐาน \"กายคตาสติ\" ข้อ \"ปัปผาสะ ปัญจกะ\" (คือ \"หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปิหกํ ปปฺผาสํ\") ให้เป็นบทบริกรรม ในช่วงปีนี้ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้ถวายตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พร้อมกับเพื่อนสหธรรมิกคือ พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล เมื่อได้ถวายตัวเป็นศิษย์และได้ฝึกทำสมาธิกับครูบาอาจารย์ จิตใจสงบดี มีความสังเวชสลดใจเกิดความเบื่อหน่ายในการประกอบคันถธุระ เชื่อแน่ว่ายังไม่หมดเขตสมัยมรรคผลนิพพาน เพราะหนทางการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีอยู่ จึงตกลงบำเพ็ญด้านวิปัสสนาธุระสืบไป และได้ออกธุดงค์ติดตาม หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต นับแต่นั้นมาไป ซึ่งท่านได้ธุดงค์วิเวกตามป่าเขาสถานที่ต่างๆในเขตจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดนครพนม จังหวัดหนองคาย", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "400045#2", "text": "หลวงปู่เขียน ฐิตสีโล ท่านมีนามเดิมว่า เขียน ภูสาหัส ท่านเกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2456 ณ บ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายสังข์ และนางค้อม ภูสาหัส เป็นพระเถราจารย์ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นที่น่าเคารพสักการบูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า เมื่อมีอายุได้ 15 ปี ท่านได้ออกบรรพชาเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ณ วัดสุทธจินดา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และอุปสมบทเมื่อมีอายุได้ 21 ปี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระโพธิวงศาจารย์ (สังข์ทอง นาควโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระญาณดิลก (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านก็ออกศึกษาวิชาความรู้เพิ่มเติมจากพระอาจารย์อีกหลายท่าน จนท่านสามารถสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ในสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร ในปี พ.ศ. 2485 \nในปี พ.ศ. 2487 หลวงปู่เขียน ได้เข้ากราบฟังธรรม ปฏิบัติธรรม ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต หลังจากที่สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยคใหม่ ๆ โดย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ได้นำไปฝาก ทั้งนี้ เพื่อประสงค์ให้หลวงปู่ท่านได้เป็นศาสนทายาทที่มีความหนักแน่นมั่นคง ทั้งด้านปริยัติธรรมและด้านปฏิบัติ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พระภิกษุสามเณรในภายภาคหน้า หลังจากที่ท่านได้ฟังธรรมและปฏิบัติได้ดีแล้ว ท่านจึงออกธุดงค์ กัมมัฏฐานไปตามป่าเขาลำเนาไพรในจังหวัดต่างๆ จนออกไปถึงประเทศลาว และแวะเวียนมาเข้ากราบฟังธรรมจากพระอาจารย์มั่นเป็นระยะ ๆ", "title": "พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล)" }, { "docid": "85555#12", "text": "พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้บรรลุธรรมอันสูงสุด ณ ถ้ำดอกคำ ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นท่านได้ธุดงค์ไปยังดอยนะโม ใกล้ดอยแม่ปั๋ง ท่านได้พูดกับลูกศิษย์คือหลวงปู่ขาว อนาลโย ว่า \"\"ผมหมดงานที่จะทำแล้ว ก็อยู่สานกระบุงตะกร้า พอช่วยเหลือพวกท่านและลูกศิษย์ลูกหาได้บ้างเท่านั้น\"\" ในกาลต่อมาท่านได้อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ให้บรรลุธรรมสูงสุดเป็นจำนวนมาก จนได้รับขนานนามว่า พระอาจารย์ใหญ่แห่งวงศ์พระกรรมฐานวัดป่า", "title": "พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต" }, { "docid": "85555#14", "text": "หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์พระกรรมฐานแห่งยุค ตำนานชีวิตของท่านถูกกล่าวขานกันไม่รู้จบ เป็นที่ประจักษ์แก่ศิษผู้ใกล้ชิดถึงญาณความรู้ของหลวงปู่มั่นกว้างขวางแม่นยำทุกด้านหาผู้เสมอเหมือนได้ยากยิ่ง ท่านสำเร็จปฏิสัมภิทานุศาสน์ 4 อย่าง คือโดยปฏิปทาที่ท่านยึดมั่นมาตลอดชีวิตนั้น คือธุดงค์ ซึ่งธุดงควัตรข้อสำคัญที่ท่านสามารถยึดมั่นมาตลอดจนวาระสุดท้ายของชีวิต มี 7 ประการ คือหลวงปู่มั่น ภูริทัตฺตมหาเถระ ละสังขารเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 อายุ 79 ปี 56 พรรษา ณ วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ซึ่งต่อมาอัฐิของท่านได้แปรสภาพกลายเป็นพระธาตุในหลายที่ได้มีการแจกตามจังหวัดต่างๆที่ได้ส่งตัวแทนมารับ", "title": "พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต" }, { "docid": "608622#3", "text": "หลังศึกษาพระธรรมระยะหนึ่ง ก็ออกธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ จนได้เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสนาภาคอีสาน เมื่อสิ้นบุญหลวงปู่มั่น หลวงปู่เพียรได้ตามหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนมาสร้างวัดป่าบ้านตาดจนแล้วเสร็จ ต่อมาได้ออกธุดงค์ไปจำวัดอยู่กับหลวงปู่บัว ปริปุณฺโณ วัดราษฎรสงเคราะห์ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี กระทั่งมาพบสถานที่สร้างวัดป่าหนองกอง เห็นว่าเป็นที่สงบเหมาะสร้างวัดปฏิบัติธรรม หลวงปู่เพียรจึงสร้างวัด ณ สถานที่แห่งนี้จนมั่นคงสืบมา", "title": "หลวงปู่เพียร วิริโย" }, { "docid": "85555#10", "text": "ปี พ.ศ. 2458 พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้กลับไปจังหวัดอุบลราชธานี และพักจำพรรษาที่วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี หลังจากออกพรรษาแล้ว ท่านได้ออกธุดงค์เพื่อไปติดตามหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำภูผากูด อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนมในขณะนั้น (ปัจจุปันคือจังหวัดมุกดาหาร) ซึ่งพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ตั้งใจจะอยู่จำพรรษากับหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ที่ถ้ำภูผากูดแห่งนี้ เพื่อสนทนาธรรมแลกเปลี่ยนอุบายแก้ไขจิตภาวนาซึ่งกันและกัน หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้พิจารณาถึงอริยสัจและตัดเสียซึ่งความสงสัยได้อย่างเด็ดขาดจนรู้แจ้งเห็นจริงซึ่งธรรมอันสูงสุด ณ ถ้ำภูผากูดแห่งนี้ และต่อมาพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จึงได้ออกธุดงค์วิเวกไปพำนักตามสถานที่ต่าง ๆ ในเขตจังหวัดเลย จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งการวิเวกในครั้งนี้ได้เริ่มเทศนาอบรมธรรมปฏิบัติจิตภาวนาให้แก่พระภิกษุสามเณรและฆราวาสญาติโยมจนมีคณะศิษย์ติดตามมากมาย", "title": "พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต" }, { "docid": "841089#0", "text": "“หลวงปู่สาม อกิญฺจโน” อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าไตรวิเวก ต.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์ พระป่าปฏิบัติศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่ดูลย์ อตุโล และหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม\nหลวงปู่สาม มีนามเดิมว่า สาม เกษแก้วสี เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 ตรงกับเดือนกันยายน พ.ศ. 2443 ณ บ้านนาสาม ต.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์ โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายปวม และนางถึง เกษแก้วสี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 11 คน ท่านเป็นบุตรคนโต (หัวปี)\nชีวิตในวัยเด็กนั้นสุดแสนยากลำบาก เพราะท่านต้องทำงานทุกอย่าง ลักษณะคล้ายผู้หญิงด้วยว่า น้องๆ ของท่านเป็นผู้ชายเสียหมด ไม่มีผู้หญิงเลย เมื่ออายุ 19 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร สายมหานิกาย ณ วัดบ้านนาสาม อันเป็นวัดใกล้บ้านเกิดของท่าน\nจนกระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระครูวิมลศีลพรต เป็นพระอุปัชฌาย์\nภายหลังอุปสมบท ท่านได้มุ่งมั่นศึกษาพระธรรมวินัย ต่อมาใน พ.ศ. 2467 เมื่อทราบข่าวและกิตติศัพท์ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล\nว่าได้กลับจากธุดงค์และจำพรรษาที่วัดป่าหนองเสม็ด ต.เฉนียง อ.เมือง จ.สุรินทร์ จึงได้ไปกราบขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน\nหลวงปู่ดูลย์ เห็นถึงความตั้งใจและความพากเพียรที่จะเอาดีทางด้านประพฤติปฏิบัติของศิษย์ จึงแนะนำให้ไปศึกษาธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่จังหวัดสกลนคร", "title": "หลวงปู่สาม อกิญฺจโน" }, { "docid": "907646#7", "text": "ปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ได้ออกธุดงค์เที่ยวหาเรียนวิชาอาคม หาของขลังและหาความรู้เพิ่มเติม ท่านได้เดินทางขึ้นไปทางสกลนคร นครพนม จึงได้พบกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่บ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เมื่อได้ฟังธรรมจากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต แล้ว จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาเชื่อว่าหลวงปู่มั่นเป็นผู้มีญาณวิเศษสำเร็จแล้ว เพราะทักท้วงได้อย่างถูกต้องเหมือนตาเห็นเป็นอัศจรรย์ จึงได้กราบขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ให้ช่วยชี้แนะแนวทางประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และได้จำพรรษาในเขตจังหวัดนครพนมและจังหวัดสกลนคร", "title": "พระอาจารย์ดี ฉนฺโน" }, { "docid": "363800#10", "text": "ปี พ.ศ. 2440 หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้พาศิษย์ของท่านคือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งยังเป็นพระนวกะบวชได้ 4 พรรษา ออกเดินธุดงค์จากวัดเลียบ ไปปฏิบัติภาวนาที่ภูหล่นซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโขงเจียมในขณะนั้น ปัจจุบันคือ วัดภูหล่น อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงตรงข้ามกับฝั่งประเทศลาว และได้ออกธุดงค์ไปตามลำแม่น้ำโขงทั้งฝั่งประเทศไทยและประเทศลาว", "title": "พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล)" }, { "docid": "28453#6", "text": "พระอาจารย์ศรี มหาวีโร จึงเข้าไปกราบนมัสการ พระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่สำนักป่าบ้านหนองผือ ขออนุญาต พำนักจำพรรษา และศึกษาธรรมกับท่าน ซึ่งหลวงปู่มั่น ก็เมตตาอนุญาต นับเป็นโอกาส อันเป็นมหามงคล ในชีวิตบรรพชิต ที่มีโอกาสศึกษาธรรม และอุปฏฺฐากพระบุพพาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต รวมทั้งมีโอกาสเจริญธรรม กับสหธรรมิกร่วมสำนัก ร่วมครูอาจารย์เดียวกัน เมื่อหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อาพาธพระอาจารย์ศรี ก็มีโอกาสถวายการปฏิบัติ เมื่อท่านพระอาจารย์ใหญ่ถึงแก่มรณภาพ ก็นำความวิโยคอาดูร มาสู่ผู้เป็นศิษย์ ผู้เคารพศรัทธาครูอาจารย์ อย่างสุดจิต สุดใจ พระอาจารย์ศรี มหาวีโร ได้ถวายสักการะ สรีระ หลวงปู่มั่น เป็นครั้งสุดท้าย ในงานถวายเพลิง ฌาปนกิจ ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร", "title": "พระเทพวิสุทธิมงคล (ศรี มหาวีโร)" } ]
641
แฮร์รี่ พอตเตอร์ มีทั้งหมดกี่ภาค ?
[ { "docid": "4336#3", "text": "หนังสือทั้งเจ็ดเล่มถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โดยวอร์เนอร์บราเธอร์สจำนวนแปดภาค โดยเนื้อเรื่องในหนังสือเล่มที่เจ็ด ผู้สร้างได้แบ่งออกเป็นสองตอน ภาพยนตร์ชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[5767,5787,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นชุดภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล นอกจากนี้ ยังได้มีการผลิตสินค้าควบคู่กันอีกจำนวนมาก ซึ่งทำให้ชื่อยี่ห้อแฮร์รี่ พอตเตอร์มีมูลค่ามากกว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 เนื้อหาที่ไม่ได้เปิดเผยในหนังสือได้เริ่มเผยแพร่ในรูปแบบอีบุ๊กผ่าน \"พอตเตอร์มอร์\"[11] ได้มีการต่อยอดความสำเร็จของแฮร์รี่ พอตเตอร์ไปในหลายรูปแบบ อาทิเช่น สวนสนุกโลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์, สตูดิโอทัวร์ในลอนดอน, ภาพยนตร์ภาคแยกซึ่งดัดแปลงมาจากเนื้อหาของหนังสือสัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ และภายหลังได้มีการดัดแปลงแฮร์รี่ พอตเตอร์สู่รูปแบบละครเวที ใช้ชื่อว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเด็กต้องคำสาป เปิดการแสดงในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ที่โรงละครพาเลซเธียเตอร์ เมืองลอนดอน โดยบทละครเวทียังได้ถูกพิมพ์จำหน่ายโดยสำนักพิมพ์ลิตเติ้ลบราวน์ ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์เดียวกันที่ตีพิมพ์นิยายผู้ใหญ่ของโรว์ลิ่งภายใต้ชื่อ โรเบิร์ต กัลเบรธอีกด้วย[12]", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" } ]
[ { "docid": "494668#18", "text": "ฮอร์ครักซ์ () เป็นหนึ่งในวัตถุเวทมนตร์ในวรรณกรรมเยาวชนชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ. เค. โรวลิ่ง หนึ่งในวัตถุศาสตร์มืดที่ถูกสร้างมาเพื่อรักษาความเป็นอมตะของเจ้าของไว้ \nแนวคิดของฮอร์ครักซ์ ปรากฏครั้งแรกในตอน \"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเจ้าชายเลือดผสม\" \nและการแสวงหาและทำลายฮอร์ครักซ์ของโวลเดอมอร์ก็เป็นประเด็นหลักของเนื้อเรื่องในสองเล่มสุดท้ายของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้แก่ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเจ้าชายเลือดผสม\" และ\"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต\"", "title": "วัตถุเวทมนตร์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "111005#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม เป็นหนังสือเล่มที่หกในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง ออกวางจำหน่ายเมื่อ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 หนังสือเล่มนี้ขายได้ถึง 9 ล้านเล่มภายใน 24 ชั่วโมงแรก ถือเป็นสถิติสูงสุดในขณะนั้น ซึ่งตอนนี้ภาคที่ตามมา แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ได้ทำลายสถิตินั้นลงไปเรียบร้อยแล้ว แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม ฉบับภาษาไทยแปลโดย \"สุมาลี\" จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม" }, { "docid": "156352#10", "text": "จินนี่ยังเป็นเชสเซอร์ของทีมกริฟฟินดอร์ โดยเธอยังสามารถเล่นตำแหน่งซีกเกอร์แทนแฮร์รี่ได้อีกด้วย ในภาค 5 จินนี่ได้เข้าร่วมกองทัพดัมเบิลดอร์และได้มีส่วนร่วมในการต่อสู้ที่กระทรวงเวทมนตร์ ในภาค 6 หนังสือได้บรรยายว่าจินนี่สวยขึ้นมากจนแฮร์รี่เริ่มสนใจเธอ เธอได้คบกับดีน โทมัสช่วงหนึ่งแต่ก็ได้เลิกรากันไป เธอได้คบกับแฮร์รี่ในที่สุด แต่ภายหลังการตายของดัมเบิลดอร์ แฮร์รี่ได้ตัดสินใจค้นหาฮอร์ครักซ์ที่เหลือเพื่อปราบโวลเดอมอร์ตามหน้าที่ที่ดัมเบิลดอร์มอบหมายให้ ทำให้เขาตัดสินใจยุติความสัมพันธ์กับจินนี่ในที่สุด จินนี่ได้กลับไปเรียนที่ฮอกวอตส์ในปีที่หกของเธอ ซึ่งฮอกวอตส์ได้ถูกควบคุมโดยผู้เสพความตายโดยสมบูรณ์ ทำให้เธอและเนวิลล์ได้เริ่มต้นตั้งกองทัพดัมเบิลดอร์ขึ้นอีกครั้งเพื่อฝึกสอนเวทมนตร์ในห้องต้องประสงค์ แฮร์รี่พบกับจินนี่อีกครั้งในสงครามฮอกวอตส์ จินนี่ได้เข้าร่วมการต่อสู้แม้อายุจะไม่ถึงเกณฑ์และเกือบถูกฆ่าตายโดยเบลาทริกซ์ เลสแตรงค์ แต่มอลลี่ แม่ของเธอได้เข้ามาช่วยและสังหารเบลาทริกซ์ได้ ภายหลังสงคราม จินนี่ได้เป็นนักควิดดิชอาชีพก่อนที่จะผันตัวเป็นคอลัมนิสของเดลี่พรอเฟ็ต หมวดกีฬา เธอแต่งงานกับแฮร์รี่และมีลูกด้วยกันสามคนคือ เจมส์ ซิเรียส พอตเตอร์,อัลบัส 'อัล' เซเวอร์รัส พอตเตอร์ และลิลี่ ลูน่า พอตเตอร์", "title": "กองทัพดัมเบิลดอร์" }, { "docid": "10882#29", "text": "ในภาคที่ 7 แฮร์รี่ได้สัญญากับรอนว่าจะเลิกพบจินนี่เพื่อไม่ให้ความหวังแก่เธอ ซึ่งตลอดทั้งเล่ม แฮร์รี่ทำได้แค่เฝ้ามองดูเธอ แต่ในท้ายที่สุดหลังจากโค่นโวลเดอมอร์ลงได้ แฮร์รี่ก็ได้แต่งงานกับเธอ และ 19 ปีต่อมาทั้งสองก็มีลูกด้วยกันสามคนคือ เจมส์ ซีเรียส พอตเตอร์ อัลบัส เซเวอร์รัส พอตเตอร์ และ ลิลี่ ลูน่า พอตเตอร์ ดังนั้นกล่าวได้ในท้ายที่สุดว่าจินนี่เป็นนางเอกเรื่องนี้ (ในทางที่จริงแล้ว..แฮร์รี่ไม่ควรที่จะยุติความสัมพันธ์ระหว่างเขากับจินนี่ เพราะนั่นจะทำให้ทุกคนคิดว่าแฮร์รี่นั้นโหดร้ายและไม่ยอมสละเวลาเพื่อความรัก)", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร)" }, { "docid": "4336#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นชุดนวนิยายแฟนตาซีจำนวนเจ็ดเล่ม ประพันธ์โดยนักเขียนชาวอังกฤษ เจ. เค. โรว์ลิง เป็นเรื่องราวการผจญภัยของพ่อมดวัยรุ่น แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเพื่อนสองคน รอน วีสลีย์ และ เฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ซึ่งทั้งหมดเป็นนักเรียนโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ โครงเรื่องหลักเกี่ยวกับภารกิจของแฮร์รี่ในการเอาชนะพ่อมดศาสตร์มืดที่ชั่วร้าย ลอร์ดโวลเดอมอร์ ผู้ที่ต้องการจะมีชีวิตอมตะ มีเป้าหมายเพื่อพิชิตมักเกิ้ล หรือประชากรที่ไม่มีอำนาจวิเศษ พิชิตโลกพ่อมดและทำลายทุกคนที่ขัดขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "165098#21", "text": "เป็นชื่อร้านของฝาแฝดวีสลีย์ เฟร็ดและจอร์จ ตั้งอยู่ที่ตรอกไดแอกอน ในเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งฝาแฝดวีสลีย์นั้น ได้เงินทุนตั้งร้านมาจากแฮร์รี่ในภาคที่ 4 ซึ่งเป็นรางวัลจากการประลองเวทไตรภาคี จำนวน 1,000 เกลเลียน หลังจากเปิดร้านได้ไม่นาน ฝาแฝดก็มีใบสั่งสินค้ายาวเป็นขบวนจากลูกค้า โดยพวกเค้าเร่งผลิตสินค้าออกจำหน่ายในช่วงหน้าร้อนปีที่ 4 ของแฮร์รี่ ที่เขามาพักที่บ้านโพรงกระต่าย โดยครั้งหนึ่งที่นางวิสลีย์ไปทำความสะอาดห้องของฝาแฝด และเจอใบสั่งของเข้า นางจึงเอาใบเผาทิ้งทั้งหมด และสั่งห้ามฝาแฝดรับใบสั่งของ แต่พวกเขาก็ยังดำเนินการต่อไป จนมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ หลังจากปีที่ 5 ของแฮร์รี่ ที่ฝาแฝดได้หนีออกไปสู่อิสรภาพ ก็ได้บังเกิด 'ร้านเกมกลวิเศษวิสลีย์' ขึ้น ภายในตรอกไดแอกอน ผ่านไป 1 ปี นางวีสลีย์ทำใจได้ และพาเด็ก ๆ มาซื้อของที่ร้านของฝาแฝด แต่แฮร์รี่ถึงขั้นประหลาดใจ เมื่อฝาแฝดหลายเป็นทำนองเจ้าสัว มีคนพนักงานร้านมากมาย และมีผู้คนมาจับจ่ายใช้สอยกันมากล้นหลาม แต่ในภาคที่ 7 ร้านรวงเกือบทุกร้านในตรอกไดแอกอน เป็นอันต้องปิดไป รวมทั้งร้านของฝาแฝด เนื่องจากระบอบการปกครองโดยพวกที่เรียกตนเองว่า เลือดบริสุทธิ์ หรือพวกผู้เสพความตาย นั่นเอง แต่หลังจากที่แฮร์รี่เอาชนะลอร์ดโวลเดอมอร์ได้ในสงครามฮอกวอตส์ ทุกอย่างก็กลับคืนสู่สภาวะปกติ แต่ว่าเฟร็ดได้เสียชีวิตลงในสงครามฮอกวอตส์ ทำให้จอร์จได้เป็นเจ้าของร้านแต่เพียงคนเดียวเท่านั้น", "title": "สถานที่ในแฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "197283#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ () เป็นภาพยนตร์แนวแฟนตาซีออกฉายเมื่อ ค.ศ. 2002 กำกับโดย Chris Columbus และจัดจำหน่ายโย Warner Bros. Pictures ดัดแปลงจากนวนิยายชื่อเดียวกันของ J. K. Rowling ซึ่งเคยตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1998 เป็นภาคต่อของ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์\" (2001) และเป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 2 ในชุดภาพยนตร์\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" เป็นผลงานการเขียนบทของ Steve Kloves และอำนวยการสร้างโดย David Heyman เล่าเรื่องการผจญภัยของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ในปีที่สองของการศึกษาในโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ ซึ่งทายาทของซัลลาซาร์ สลิธีริน ได้เปิดห้องแห่งความลับ และปลดปล่อยสัตว์ร้ายภายในออกมาทำให้ผู้คนในโรงเรียนกลายเป็นหิน นำแสดงโดย Daniel Radcliffe รับบทแฮร์รี่ พอตเตอร์ Rupert Grint รับบทรอน วีสลีย์ และ Emma Watson รับบทเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ นอกจากนี้ยังเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่ Richard Harris มารับบทเป็นศาสตราจารย์อัลบัส ดัมเบิลดอร์ ก่อนที่จะเสียชีวิตในปีเดียวกันกับที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉาย", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "4336#43", "text": "ความสำเร็จของนวนิยายชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้สร้างความมั่งคั่งให้แก่ เจ. เค. โรว์ลิง ผู้ประพันธ์ ตลอดไปจนถึงสำนักพิมพ์และผู้ถือสิทธิ์ด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ทั้งหมด โรว์ลิงได้รับผลตอบแทนมากจนกระทั่งนับได้ว่าเป็นนักเขียนเพียงคนเดียวที่ติดอันดับ \"มหาเศรษฐี\" ของโลก[80] มีการจำหน่ายหนังสือไปแล้วกว่า 400 ล้านเล่มทั่วโลก และช่วยนำกระแสนิยมให้แก่ภาพยนตร์ชุดดัดแปลงโดย วอร์เนอร์บราเธอร์ส ด้วย ภาพยนตร์ดัดแปลงในแต่ละตอนต่างประสบความสำเร็จไปตามกัน สามารถติดอันดับเป็นภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลในทุกภาคที่เข้าฉาย[81][82] ชุดภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นได้รับการต่อยอดไปสู่รูปแบบวิดีโอเกมและสินค้าจดลิขสิทธิ์กว่า 400 รายการ ซึ่งมูลค่าโดยประมาณของแบรนด์แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นมีมูลค่าสูงกว่ากว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] ทำให้โรว์ลิงกลายเป็นมหาเศรษฐีระดับพันล้าน[83] ในรายงานเปรียบเทียบบางแห่งยังกล่าวว่าเธอร่ำรวยกว่าสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเสียอีก[84][85] ทว่าโรว์ลิงชี้แจงว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง[86]", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "107269#7", "text": "ในภาคนี้ บรรดานักเรียนฮอกวอตส์ ปี 5 ต้อง สอบ ว.พ.ร.ส. (วิชาพ่อมดระดับสามัญ)นักเรียนทั้งหลายต่างกดดันเป็นที่สุดโดยเฉพาะแฮร์รี่ เมื่อกระทรวงเวทมนตร์เริ่มครอบงำโรงเรียนฮอกวอตส์ ไม่มีใครเชื่อว่า ลอร์ดโวลเดอมอร์ กำลังเข็มแข็งขึ้นเรื่อยมาหลังจากการประลองเวทไตรภาคี สิ้นสุดลง จนสุดท้ายแฮร์รี่ก็ต้องเจ็บปวดอีกครั้งเมื่อพบกับความสูญเสียครั้งสำคัญ(อีกครั้ง) ทางกระทรวงจะทราบความจริง หรือไม่ และความกดดันของโรงเรียนจะเป็นเช่นไร ต้องติดตาม...เดวิด เยตส์ ได้รับเลือกให้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ หลังจากที่ Mike Newell (ผู้กำกับภาพยนตร์\"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี\"), Jean-Pierre Jeunet, Matthew Vaughn, และ Mira Nair ปฏิเสธที่จะกำกับ เยตส์เชื่อว่าที่เขามีความเหมาะสมจะกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเพราะทางสตูดิโอเห็นว่าเขาสามารถกำกับภาพยนตร์ที่ \"มีความสุดขั้วและเต็มไปด้วยอารมณ์\" ซึ่งมี \"เบื้องหลังทางการเมือง\" ได้ดี จากผลงานเก่าของเขาคือละครโทรทัศน์เรื่อง \"Sex Traffic\" นอกจากนี้แล้ว Steve Kloves ผู้เขียนบทที่เคยเขียนบทภาพยนตร์\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" 4 ภาคก่อนหน้านี้ ติดภารกิจ จึงมีการจัดให้ Michael Goldenberg มาเขียนบทแทน", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "381610#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 () เป็นภาพยนตร์แฟนตาซี-ผจญภัยภาคต่อในปี พ.ศ. 2554 ที่ดัดแปลงจากบทประพันธ์ชื่อเดียวกันของเจ. เค. โรว์ลิ่ง อันเป็นตอนสุดท้ายของหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2" }, { "docid": "4336#62", "text": "โรว์ลิ่งได้เปิดเผยข้อมูลผ่านทวิตเตอร์ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ซึ่งตรงกับวันครบรอบการวางแผงหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มแรกว่าละครเวทีแฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นจะใช้ชื่อการแสดงว่า \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเด็กต้องคำสาป\"[130] โดยคาดการณ์ว่าจะเริ่มเปิดการแสดงในช่วงฤดูร้อนของปี พ.ศ. 2559 ที่โรงละครพาเลซเธียเตอร์[131] ซึ่งบัตรเข้าชมในช่วงสี่เดือนแรกหรือช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนถูกขายหมดในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังเปิดจำหน่าย[132] ภายหลังในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ได้มีการเปิดเผยผ่านเว็บไซต์พอตเตอร์มอร์ว่าบทละครจะถูกตีพิมพ์จำหน่ายในรูปแบบหนังสือหนึ่งวันหลังรอบปฐมทัศน์โลกของละครเวที และเหตุการณ์ในเรื่องจะเกิดขึ้นสิบเก้าปีให้หลังจากบทจบของแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต โดยบางกลุ่มได้จัดบทละครที่จะถูกตีพิมพ์นี้เป็นหนังสือเล่มที่แปด แม้จะไม่ได้ถูกเขียนโดยเจ. เค. โรว์ลิ่งที่ก็ตาม[133]", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "25299#2", "text": "เฮอร์ไมโอนี่เป็นเพื่อนสนิทของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งเป็นตัวละครเอกของเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ และรอน วีสลีย์ ที่โรงเรียนพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ เฮอร์ไมโอนี่และแฮร์รี่ พบกันครั้งแรกในหนังสือภาคแรก บนรถด่วนที่จะไปฮอกวอตส์โดยเฮอร์ไมโอนี่เข้ามาถามหาคางคกของเนวิลล์ ลองบัตท่อม", "title": "เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์" }, { "docid": "4336#58", "text": "และเมื่อภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 ซึ่งเป็นภาคสุดท้ายของภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์เข้าฉายก็ได้สร้างสถิติต่าง ๆ มากมาย อาทิ ภาพยนตร์ที่เปิดตัววันแรกสูงสุดตลอดการ ทำรายได้วันแรกสูงถึง 91 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำลายสถิติเดิมของแวมไพร์ ทไวไลท์ 2 นิวมูน[124] ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สุดสัปดาห์ที่สูงสุดทำลายสถิติของแบทแมน อัศวินรัตติกาล โดยทำรายได้สัปดาห์แรกที่ 169 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[125]ซึ่งต่อมาถูกทำลายสถิติโดยดิ อเวนเจอร์สและไอรอนแมน 3 และทำลายสถิติภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดทั่วโลกสัปดาห์แรกของที่แฮร์รี่ พอตเตอร์ภาคหกเคยทำไว้ โดยทำเงินรวมทั่วโลกในสัปดาห์แรกสูงถึง 483 ล้านดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์เปิดตัว[126] และทำรายได้ปิดที่ 1,341 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง ณ ตอนนั้นสามารถรั้งอยู่ในอันดับที่ 3 ของภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลเป็นรองเพียงแค่ภาพยนตร์เรื่องอวตารและไททานิกเท่านั้น นอกจากนั้นยังได้รับคำวิจารณ์ในด้านบวกอย่างล้นหลาม โดยเว็บไซต์ Rotten Tomatoes ได้ให้คะแนนภาพยนตร์เรื่องนี้ไว้สูงถึง 96%[127]ซึ่งเป็นคะแนนที่สูงที่สุดในภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ จึงถือว่าภาคสุดท้ายของภาพยนตร์ชุดนี้ประสบความสำเร็จทั้งรายได้และคำวิจารณ์ก็ว่าได้", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "144418#0", "text": "รูเพิร์ต อเล็กซานเดอร์ ลอยด์ กรินต์ ( เกิดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2531) เป็นนักแสดงชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงจากบทรอน วีสลีย์ หนึ่งในตัวละครหลักจากภาพยนตร์ชุด\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" กรินต์ได้รับเลือกให้เล่นบทรอน วีสลีย์เมื่ออายุ 11 ขวบ โดยก่อนหน้านั้นเขาเคยแสดงละครเวทีในโรงเรียนและในชมรมละครเวทีท้องถิ่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2554 เขาแสดงในภาพยนตร์\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\"ทั้งแปดภาคร่วมกับแดเนียล แรดคลิฟฟ์ รับบทแฮร์รี่ พอตเตอร์ และเอ็มมา วอตสัน รับบท เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์", "title": "รูเพิร์ต กรินต์" }, { "docid": "17410#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี คือหนังสือเล่มที่สี่ในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง และแปลโดยงามพรรณ เวชชาชีวะจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ตีพิมพ์และวางจำหน่ายเป็นฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 และเป็นฉบับภาษาไทยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544 วรรณกรรมชุดนี้ถือว่ายาวมากอย่างไม่น่าจะมีใครทำมาก่อน โดยในฉบับภาษาไทยมีความยาวทั้งหมดถึง 832 หน้า (ฉบับบลูมส์บูรี่มีความยาวทั้งหมด 636 หน้า) หนังสือเล่มนี้สร้างสถิติโดยเป็นหนังสือเล่มแรกที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมากกว่าชิ้นงานวรรณกรรมเยาวชนอื่นๆ มีเพียงหนังสือเล่มต่อๆ มาในชุดเดียวกันนี้เท่านั้นที่สามารถลบสถิตินี้ได้ นั่นคือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม โดยเฉพาะจากการที่ เจ. เค. โรว์ลิ่งออกมาเตือนผู้อ่านก่อนหนังสือจะตีพิมพ์ว่าจะมีตัวละครเสียชีวิตในเล่มนี้ ซึ่งสร้างกระแสของการคาดการณ์ว่าตัวละครใดจะเสียชีวิต และสร้างปรากฏการณ์ 'คลั่งแฮร์รี่ พอตเตอร์' ทั่วโลก", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี" }, { "docid": "898311#2", "text": "ภาพยนตร์เรื่องแรกของโลกเวทมนตร์นั้นคือ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์\" (2001) ซึ่งตามด้วยภาคต่ออีกเจ็ดภาค เริ่มจาก \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ\" ในปี ค.ศ. 2002 และจบที่ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2\" ในปี ค.ศ. 2011 ต่อมา ภาพยนตร์ชุด \"สัตว์มหัศจรรย์\" เริ่มจาก \"สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่\" (2016) เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่เป็นภาคแยกและภาคก่อนของภาพยนตร์ชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" และภาคต่อ \"\" ฉายเมื่อ ค.ศ. 2018 ขณะที่ยังมีภาพยนตร์อีกสามเรื่องอยู่ในขั้นตอนการผลิต โดยภาพยนตร์เรื่องถัดไปมีกำหนดฉายปี ค.ศ. 2020", "title": "โลกเวทมนตร์" }, { "docid": "4336#64", "text": "หลังจาก แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต วางแผงได้ไม่นานนัก ทางประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการวางแผนและทำแบบแปลนการสร้างสวนสนุกที่ยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ต เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา โดยจำลองสถานที่ต่าง ๆ ในวรรณกรรมแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เกี่ยวกับสถานที่ในโลกเวทมนตร์เช่น ฮอกวอตส์และหมู่บ้านฮอกส์มี้ด เป็นต้น สวนสนุกแห่งนี้วางแผนการสร้างโดย จิม ฮิล มีแบบจำลองปราสาทฮอกวอตส์ รวมไปถึงหมู่บ้านฮอกส์มีดส์อีกด้วย ผู้สร้างสวนสนุกยังได้เชิญ เจ. เค. โรว์ลิง ให้มาร่วมทำการเนรมิตสวนสนุกแห่งนี้ เพื่อทำให้เหมือนกับสถานที่ในหนังสือของเธอให้มากที่สุด ซึ่งโรว์ลิงก็ตอบตกลง สวนสนุกตั้งอยู่ในไอส์แลนด์ส ออฟ แอดเวนเจอร์ซึ่งเป็นเกาะรวมเครื่องเล่นแนวผจญภัยของยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ท โดยได้ใช้ชื่อว่าอย่างเป็นทางการว่าโลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์และเปิดให้เข้าชมในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553[135] โดยมีทั้งนักแสดงจากภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ อาทิ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ (แฮร์รี่ พอตเตอร์), ไมเคิล แกมบอน (ศาสตราจารย์ดัมเบิลดอร์), รูเพิร์ท กรินท์ (รอน วีสลีย์) แมทธิว ลิวอิส (เนวิลล์ ลองบัตท่อม) และทอม เฟลตัน (เดรโก มัลฟอย) รวมถึง เจ.เค. โรว์ลิ่ง และผู้ประพันธ์เพลงให้กับภาพยนตร์ 3 ภาคแรกอย่าง จอห์น วิลเลียมส์ มาร่วมงานครั้งนี้ด้วย", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "4336#54", "text": "ในปี พ.ศ. 2542 เจ. เค. โรว์ลิง ขายสิทธิ์การสร้างภาพยนตร์จากหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์สี่เล่มแรกให้กับวอร์เนอร์บราเธอร์ส ในราคาหนึ่งล้านปอนด์สเตอร์ลิง[112] โรว์ลิงยืนยันให้นักแสดงหลักเป็นชาวสหราชอาณาจักร รวมถึงต้องใช้ภาษาอังกฤษบริเตนในบทสนทนา ภาพยนตร์สองภาคแรกกำกับโดยคริส โคลัมบัส ภาคที่สามโดยอัลฟอนโซ กวารอน ภาคที่สี่โดยไมค์ นิวเวลล์ และภาคที่ห้าถึงภาคสุดท้ายโดยเดวิด เยตส์[113] บทภาพยนตร์ของสี่ภาคแรกเขียนโดยสตีฟ โคลฟ โดยร่วมงานกับโรว์ลิง บทภาพยนตร์มีความเปลี่ยนแปลงจากหนังสือบ้างตามรูปแบบการนำเสนอของภาพยนตร์และเงื่อนไขเวลา อย่างไรก็ตาม โรว์ลิงได้กล่าวว่าบทภาพยนตร์ของโคลฟนั้นมีความซื่อตรงต่อหนังสือ[114] ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ทุกภาค มีนักแสดงหลักคือแดเนียล แรดคลิฟฟ์ เอ็มม่า วัตสันและรูเพิร์ท กรินท์ แสดงเป็นแฮร์รี่ พอตเตอร์ เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ และรอน วีสลีย์ตามลำดับ โดยสามคนนี้ได้รับเลือกในปี พ.ศ. 2543 จากเด็กหลายพันคน[115]", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "222054#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1 () เป็นภาพยนตร์แฟนตาซี-ผจญภัยภาคต่อที่ดัดแปลงจากบทประพันธ์ของเจ. เค. โรว์ลิ่ง ซึ่งดัดแปลงมาจากนิยายเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ตอนที่ 7 ในชื่อ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ แต่เนื่องจากในภาคสุดท้ายนั้นมีรายละเอียดมากและทางผู้สร้างต้องการให้หนังจบลงอย่างสมบูรณ์แบบ จึงแบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูตตอนที่ 1 และตอนที่ 2 สำหรับตอนที่ 1 เริ่มถ่ายทำเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 และจะเข้าฉายในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ตอนที่ 2 จะเข้าฉายในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ภาพยนตร์มีนักแสดงนำได้แก่ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ รูเพิร์ท กรินท์ และเอ็มม่า วัตสัน กำกับการแสดงโดย เดวิด เยตส์ เขียนบทโดยสตีฟ โคลฟ อำนวยการสร้างโดย เดวิด เฮย์แมน และเดวิด แบร์รอน", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1" }, { "docid": "231183#35", "text": "วิลเลี่ยมส์ได้กลับมาร่วมงานกับโคลัมบัสอีกครั้ง ในปี ค.ศ.2001 ในผลงานภาพยนตร์ของ Warner Bros. เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ (Harry Potter and the Sorcerer's Stone) ที่ดัดแปลงมาจากนิยายอังกฤษชื่อดังที่ประพันธ์โดย เจ.เค. โรว์ลิง (J.K. Rowling) วิลเลี่ยมส์ทำดนตรีในภาคต่ออีกสองภาค คือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับ (Harry Potter and the Chamber of Secrets) ใน ค.ศ.2002 กับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับนักโทษแห่งอัซคาบัน (Harry Potter and the Prisoner of Azkaban) ใน ค.ศ.2004 ในปี ค.ศ.2005 วิลเลี่ยมส์จำเป็นต้องปฏิเสธที่จะทำดนตรีประกอบให้กับภาคต่อของแฮร์รี่ พอตเตอร์ เนื่องจากวิลเลี่ยมส์ กำลังทำดนตรีประกอบให้กับหนังเรื่องอื่นอยู่ ซึ่งในปีนั้นเอง วิลเลี่ยมส์มีงานทำดนตรีให้กับภาพยนตร์ถึง 4 เรื่อง (ขณะนั้นวิลเลี่ยมส์อายุ 73 ปี) ตั้งแต่ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ภาคที่ 4 แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี (Harry Potter and the Goblet of Fire) เป็นต้นมา จนถึงภาคสุดท้ายในปี ค.ศ.2011 วิลเลี่ยมส์ก็ไม่ได้กลับมาทำดนตรีประกอบให้อีกเลย แต่เพลง Hedwig's theme ที่วิลเลี่ยมส์ประพันธ์ขึ้น ก็ได้ถูกใช้เป็นเพลงธีมหลักในทุกภาคของแฮร์รี่ พอตเตอร์", "title": "จอห์น วิลเลียมส์" }, { "docid": "315583#10", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับการผจญภัยต้องห้าม (Harry Potter and the Forbidden Journey) เป็นชื่อกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวจะได้ผจญภัยไปกับแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดยจัดในปราสาทฮอกวอตส์ที่จำลองขึ้นมาจากปราสาทในภาพยนตร์ โดยลดความซับซ้อนลง แต่ภายในไม่ได้มีห้องอยู่ภายในห้องจำลองทั้งหมดถูกสร้างอยู่ใต้หน้าผา โดยภายนอกเป็นเพียงปราสาทที่จำลองขึ้นเท่านั้น ซึ่งประกอบไปด้วยหอคอยและอาคารหลักๆ ดังนี้", "title": "โลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ (ยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ต)" }, { "docid": "197263#1", "text": "ภาพยนตร์นำแสดงโดยแดเนียล แรดคลิฟฟ์ เป็นแฮร์รี่ พอตเตอร์ รูเพิร์ต กรินต์ เป็นรอน วีสลีย์ และเอ็มมา วัตสัน เป็นเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ภาพยนตร์มีภาคต่ออีก 7 ภาค เริ่มจาก \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ\"", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "4336#41", "text": "นวนิยายชุดนี้ยังสามารถครองใจกลุ่มนักอ่านผู้ใหญ่ได้ด้วย ทำให้มีการจัดพิมพ์หนังสือออกเป็น 2 ฉบับในแต่ละเล่ม ซึ่งในนั้นมีเนื้อหาเหมือนกันหมด เพียงแต่ฉบับหนึ่งทำปกสำหรับเด็ก อีกฉบับหนึ่งสำหรับผู้ใหญ่[68] นอกเหนือไปจากการพบปะกันออนไลน์ผ่านบล็อก พ็อตแคสต์และแฟนไซต์แล้ว แฟนผู้คลั่งไคล้แฮร์รี่ พอตเตอร์ยังสามารถพบปะกันที่สัมมนาแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้ด้วย คำว่า \"มักเกิ้ล\" (Muggle) ได้แพร่ออกไปนอกเหนือจากการใช้ในแฮร์รี่ พอตเตอร์ และกลายเป็นหนึ่งในคำวัฒนธรรมสมัยนิยมไม่กี่คำได้บรรจุลงพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด[69] แฟนแฮร์รี่ พอตเตอร์ฟังพ็อตแคสต์เป็นประจำ โดยมากทุกสัปดาห์ เพื่อเข้าใจการอภิปรายล่าสุดในหมู่แฟน ทั้งมักเกิ้ลแคสต์และพอตเตอร์แคสต์[70] ได้แตะระดับอันดับสูงสุดของไอทูนส์และได้รับการจัดอันดับอยู่ในพ็อตแคสต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 50 อันดับแรก[71]", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "197263#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ () เป็นภาพยนตร์แฟนตาซีออกฉายเมื่อ ค.ศ. 2001 กำกับโดย คริส โคลัมบัส และจัดจำหน่ายโดยวอร์เนอร์บราเธอส์พิกเจอส์ เนื้อเรื่องยึดจากนวนิยายในชื่อเดียวกันของเจ. เค. โรว์ลิง ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาคแรกในภาพยนตร์ชุด\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" เขียนเรื่องโดยสตีฟ โคลฟส์ และผลิตโดยเดวิด เฮย์แมน เนื้อเรื่องเล่าเกี่ยวกับการเรียนปีแรกของแฮร์รี่ พอตเตอร์ที่ฮอกวอตส์ ที่เขาพบว่าเขาเป็นพ่อมดที่มีชื่อเสียงและเริ่มศึกษาวิชาเวทมนตร์", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "4336#56", "text": "ภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ประสบความสำเร็จอย่างมากในเรื่องรายได้ของภาพยนตร์ทั้ง 8 ภาค ทำรายได้รวมมากกว่า 7,725 ล้านดอลลาร์สหรัฐและภาพยนตร์ชุดที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลเป็นอันดับที่สองรองจากจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล[118] โดยภาคที่ทำรายได้ไปมากที่สุดคือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 ซึ่งทำรายได้ไปกว่า 1,341 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[119]", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "91329#3", "text": "ได้มีการประกาศชื่อของหนังสือฉบับภาษาไทยของ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ภาค 7 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550 โดย น.ส.คิม จงสถิตย์วัฒนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ แถลงเปิดตัวชื่อภาษาไทยหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ เล่ม 7 (อวสาน) มีชื่อตอนว่า \"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต\" ซึ่งได้รับการอนุมัติรูปแบบตัวอักษรหน้าปก ฉบับภาษาไทยจากสำนักพิมพ์เจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ร่วมกับกรุงเทพมหานคร ได้จัดงานเปิดตัวหนังสือฉบับภาษาไทยและวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เวลา 24.00 น. ณ อุทยานเบญจสิริ ถ.สุขุมวิท", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต" }, { "docid": "338365#5", "text": "ภายในฤดูใบไม้ร่วงปี 2001 ทอมก็เริ่มเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกใน บทบาท เดรโก มัลฟอย เด็กชายอันธพาลที่เป็นคู่อริกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ใน ภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับ ศิลาอาถรรพ์ หลังจากนั้นทอมก็ได้ร่วมแสดงในทุกภาคของแฮร์รี่ พอตเตอร์ จนถึงปี 2009", "title": "ทอม เฟลตัน" }, { "docid": "222054#3", "text": "ส่วนในด้านของผู้กำกับการแสดงทางค่ายวอร์เนอร์ บราเดอร์สได้เลือกให้เดวิด เยตส์ ผู้กำกับจากภาค5และภาค6มารับหน้าที่การกำกับในตอนสุดท้ายของภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ทั้งสองตอน ทำให้เยตส์เป็นผู้กำกับที่รับหน้าที่กำกับการแสดงในภาพยนตร์ชุดนี้กว่า 4ภาค มากที่สุดในบรรดาผู้กำกับของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งในการเตรียมงานถ่ายทำทั้งหมดเป็นไปอย่างราบรื่น ทางผู้สร้างต้องสร้างป่าโบราณจำลองในสตูดิโอเพื่อถ่ายทำฉากกวางสาวสีเงิน ซึ่งกการเซ็ตฉากและสเปเชี่ยลเอ็ฟเฟ็คที่ใช้มีรายจ่ายที่สูงมาก ทำให้ภาพยนตร์ตอนแรกมีทุนสร้างถึง 250ล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว ในส่วนของการเตรียมงานทั้งหมดใช้เวลาไป 250 วัน ในขณะที่การถ่ายทำใช้เวลาไป 478 วัน", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1" }, { "docid": "10882#1", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ แสดงโดยแดเนียล แรดคลิฟฟ์ ในภาพยนตร์<i data-parsoid='{\"dsr\":[1081,1101,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์</i>ทุกภาคที่สร้างมา", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร)" } ]