query_id
stringlengths
1
4
query
stringlengths
11
185
positive_passages
listlengths
1
9
negative_passages
listlengths
1
30
3004
อันเนอ ฟรังค์ ทำอาชีพอะไร?
[ { "docid": "44795#0", "text": "อันเนอลีส มารี \"อันเนอ\" ฟรังค์ (Annelies Marie \"Anne\" Frank; 12 มิถุนายน 2472 – ประมาณมีนาคม 2488) หรือ<b data-parsoid='{\"dsr\":[623,641,3,3]}'>แอนน์ แฟรงค์ เป็นเด็กหญิงชาวยิว เกิดที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เธอมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะผู้เขียนบันทึกประจำวันซึ่งต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือ บรรยายเหตุการณ์ขณะหลบซ่อนตัวจากการล่าชาวยิวในประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างที่ถูกเยอรมนีเข้าครอบครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง", "title": "อันเนอ ฟรังค์" } ]
[ { "docid": "44795#49", "text": "ตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา มีภาพยนตร์เกี่ยวกับอันเนอ ฟรังค์ มากมาย ชีวิตและงานเขียนของเธอได้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่กลุ่มศิลปินและนักวิจารณ์สังคม มีการอ้างถึงเธอในแวดวงวรรณกรรม ดนตรี โทรทัศน์ และสื่ออื่น ๆ มากมาย ปี พ.ศ. 2542 นิตยสารไทมส์ ยกย่องอันเนอ ฟรังค์ เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 20 ในหมวดวีรบุรุษและสัญลักษณ์ โดยระบุว่า \"แม้หนังสือจะเก็บไว้เป็นความลับ แต่เธอมิได้หวาดเกรงพวกนาซีเลย กลับส่งเสียงอันอ่อนล้าออกไปก่อแรงใจให้ต่อสู้เพื่อเกียรติภูมิแห่งความเป็นมนุษย์\"[30]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#32", "text": "เอลินอร์ โรเซเวลต์ เขียนคำนำให้แก่ฉบับพิมพ์ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เธอบรรยายว่าหนังสือนี้เป็น \"หนึ่งในหนังสือซึ่งบรรยายถึงสงครามกับผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ที่มีชีวิตชีวาและเฉลียวฉลาดที่สุดเท่าที่ดิฉันเคยอ่าน\" จอห์น เอฟ. เคนเนดี เอ่ยถึงอันเนอ ฟรังค์ ในสุนทรพจน์เมื่อปี พ.ศ. 2504 ว่า \"ในบรรดาผู้คนมากมายตลอดห้วงประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงเกียรติภูมิแห่งความเป็นมนุษย์ ในช่วงเวลาอันแสนขมขื่นและการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ ไม่มีผู้ใดพรรณนาได้จับใจเท่าอันเนอ ฟรังค์\"[6] ในปีเดียวกันนั้น นักเขียนชาวโซเวียต อิลยา เอเรนบูร์ก เขียนถึงอันเนอว่า \"เสียงเสียงหนึ่งที่เอ่ยแทนผู้คนอีกหกล้าน - เสียงที่มิได้มาจากปราชญ์หรือกวี แต่มาจากเด็กหญิงธรรมดาตัวเล็ก ๆ คนหนึ่ง\"[16]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#23", "text": "ออทโท ฟรังค์ รอดชีวิตจากค่ายกักกันเอาชวิทซ์ หลังสงคราม เขากลับไปยังอัมสเตอร์ดัมและได้อาศัยพำนักอยู่กับยันและมีป คีส เพื่อติดตามค้นหาครอบครัวของเขา เขาได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของภรรยาแล้วตั้งแต่อยู่ที่เอาชวิทซ์ แต่ก็ยังมีความหวังว่าลูกสาวทั้งสองน่าจะรอดชีวิต หลังจากค้นหาอยู่หลายสัปดาห์เขาจึงได้ทราบว่า มาร์กอทและอันเนอเสียชีวิตแล้ว เขาติดตามสอบถามข่าวชะตากรรมของบรรดาสหายของบุตรสาวด้วย และได้ทราบว่าพวกเขาถูกสังหารจนหมด ซูซันเนอ เลเดอร์มันน์ เป็นหนึ่งในชื่อสหายที่ปรากฏบ่อยครั้งอยู่ในสมุดบันทึกของอันเนอ เธอถูกรมแก๊สเสียชีวิตพร้อมกับพ่อแม่ แต่บาร์บารา พี่สาวของซูซันเนอและเพื่อนสนิทของมาร์กอท รอดชีวิต[2] ยังมีเพื่อนร่วมโรงเรียนของพี่น้องฟรังค์อีกหลายคนที่รอดชีวิต เช่นเดียวกับญาติ ๆ อีกหลายคนของทั้งออทโทและเอดิท ฟรังค์ ที่หนีออกจากเยอรมนีในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1930 บางคนไปตั้งรกรากอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#47", "text": "เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 \"บัดดี\" เอลิยัส บริจาคเอกสารของตระกูลกว่า 25,000 ชิ้นให้แก่พิพิธภัณฑ์อันเนอ ฟรังค์ เฮาส์ ในเอกสารเก่าแก่เหล่านั้นมีภาพถ่ายของครอบครัวฟรังค์ทั้งในเยอรมนีและในฮอลแลนด์ รวมถึงจดหมายที่ออทโท ฟรังค์ เขียนไปถึงมารดาในปี พ.ศ. 2488 เพื่อแจ้งข่าวว่าภรรยาและลูก ๆ ของเขาเสียชีวิตแล้วในค่ายกักกันของนาซี[26]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#9", "text": "เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2485 มาร์กอท ฟรังค์ ได้รับจดหมายเรียกให้ไปรายงานตัวยังศูนย์กลางชาวยิวอพยพ เพื่อให้ย้ายที่อยู่ไปยังค่ายทำงาน ก่อนหน้านี้พ่อของอันเนอบอกเธอว่าครอบครัวจะต้องขึ้นไปซ่อนตัวอยู่บนห้องใต้หลังคาของที่ทำการบริษัทบนถนนปรินเซินครัคต์ (Prinsengracht) ที่ซึ่งพนักงานของออทโทที่เชื่อถือได้จำนวนหนึ่งจะให้การช่วยเหลือพวกเขา จดหมายเรียกตัวทำให้พวกเขาต้องรีบเร่งการซ่อนตัวเร็วกว่าที่คาดไว้หลายสัปดาห์[1]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "735189#0", "text": "แฮร์มีเนอ ซันทรูชิทซ์ (German: Hermine Santruschitz; 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 - 11 มกราคม พ.ศ. 2553) หรือเป็นที่รู้จักทั่วใปในภาษาดัตช์ว่า มีป คีส (Dutch: Miep Gies)[1] คือหนึ่งในชาวดัตช์ผู้ช่วยเหลืออันเนอ ฟรังค์, ครอบครัวของเธอ และชาวยิวอีกสี่คนในการหลบซ่อนตัวจากนาซีเยอรมัน ซึ่งทั้งหมดซ่อนตัวอยู่ในส่วนต่อเติมอาคารที่ทำการของบริษัทค้าขายของออทโท ฟรังค์ บิดาของอันเนอ ฟรังค์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เดิมทีมีป คีส ถือสัญชาติออสเตรียโดยกำเนิด แต่ในปี พ.ศ. 2463 ครอบครัวชาวดัตช์รายหนึ่งรับเธอมาอุปถัมภ์เป็นการชั่วคราวด้วยวัยเพียงเจ็ดขวบ ซึ่งในภายหลังเธอรู้สึกผูกพันกับครอบครัวนี้อย่างมาก เดิมทีครอบครัวรับอุปการะเธอเพียงหกเดือน และก็ถูกขยายออกไปเป็นหนึงปีเนื่องจากสุขภาพร่างกายที่เปราะบางของเธอ จนในที่สุดเธอเลือกที่จะอยู่กับครอบครัวดังกล่าวต่อไป และอาศัยอยู่ในเนเธอร์แลนด์ไปตลอดช่วงชีวิตที่เหลือ ในปี พ.ศ. 2476 เธอเริ่มทำงานให้กับออทโท ฟรังค์ นักธุรกิจเชื้อสายยิวผู้อพยพครอบครัวจากเยอรมนีมายังเนเธอร์แลนด์เพื่อหลีกเลี่ยงการปราบปรามชาวยิวโดยพรรคนาซี มีป คีส จึงกลายมาเป็นทั้งเพื่อนสนิทและเพื่อนที่ครอบครัวฟรังค์ไว้วางใจ รวมถึงเป็นกำลังสำคัญที่ให้การช่วยเหลือครอบครัวตลอดระยะเวลาสองปีของการหลบซ่อนตัว เธอคือคนที่เก็บกู้สมุดบันทึกประจำวันของอันเนอไว้ได้หลังจากที่ครอบครัวถูกจับกุม และรักษาสมุดดังกล่าวไว้ในที่ปลอดภัยจนกระทั่งออทโท ฟรังค์ รอดชีวิตกลับมาจากค่ายกักกันเอาชวิทซ์ในปี พ.ศ. 2488 ทำให้เธอได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของอันเนอ[2][3][4][5][6][7][8] นอกจากนี้เธอยังเป็นผู้ประพันธ์หนังสือ Anne Frank Remembered: The Story of the Woman Who Helped to Hide the Frank Family ร่วมกับแอลิสัน เลสลี โกลด์ และออกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530", "title": "มีป คีส" }, { "docid": "44795#34", "text": "ออทโท ฟรังค์ ใช้เวลาที่เหลือในชีวิตคอยดูแลอารักขาเกียรติยศชื่อเสียงของบุตรสาว เขากล่าวว่า \"มันเป็นเรื่องที่แปลก สำหรับครอบครัวทั่วไป ผู้เป็นลูกจะเป็นฝ่ายได้รับเกียรติยศจากการกระทำของพ่อแม่ และคอยรักษาเกียรติยศนั้นให้สืบต่อไป แต่สำหรับผมมันกลับตรงกันข้าม\" เขายังนึกถึงคำกล่าวของผู้จัดพิมพ์ที่อธิบายให้เขาฟังว่า เหตุใดบันทึกจึงเป็นที่นิยมอ่านโดยกว้างขวาง \"เขาบอกว่าบันทึกได้รวบรวมด้านต่าง ๆ ของชีวิตเอาไว้ ผู้อ่านแต่ละคนสามารถค้นพบบางสิ่งบางอย่างที่ตรงกับใจของตนเอง\"[2] ต่อมาภายหลัง ซีมอน วีเซินทัล ได้อธิบายแนวคิดคล้ายกันนี้ เขากล่าวว่าบันทึกของอันเนอ ฟรังค์ ทำให้เกิดความตื่นตัวทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องราวของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยโดดเด่นยิ่งกว่าเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่เนือร์นแบร์กเสียอีก ทั้งนี้เนื่องจาก \"เด็กคนนี้เป็นตัวตนที่เห็นได้เด่นชัดจากหมู่คนจำนวนมาก เป็นผลกระทบจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยตรง เธอมีครอบครัว เหมือนอย่างครอบครัวของผม เหมือนอย่างครอบครัวของคุณ คุณจึงเข้าใจความรู้สึกนี้ได้ง่าย\"[19]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#38", "text": "การต่อต้านหนังสือนี้ยังมีประเด็นอื่นอีกคือ ผู้เขียนบันทึกไม่ใช่เด็ก แต่น่าจะถูกสร้างขึ้นเป็นวาทกรรมที่โอนเอียงเข้าข้างชาวยิว ออทโท ฟรังค์ ถูกกล่าวหาว่าหลอกลวง ปี พ.ศ. 2502 ที่เมืองลือเบค ฟรังค์ฟ้องร้องต่อ โลทาร์ ชตีเลา ครูสอนหนังสือคนหนึ่งที่เคยเป็นสมาชิกยุวชนฮิตเลอร์ ในการตีพิมพ์บทความในโรงเรียนโจมตีว่าหนังสือบันทึกนี้สร้างเรื่องขึ้นมาเอง คดียังครอบคลุมถึงไฮน์ริช บุดเดอแกร์ก ซึ่งเขียนจดหมายไปสนับสนุนชตีเลาและได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ลือเบคด้วย ศาลได้ตรวจสอบหนังสือบันทึก และพิสูจน์ได้ว่าลายมือในบันทึกตรงกันกับจดหมายซึ่งเป็นที่ทราบดีว่าเขียนขึ้นโดยอันเนอ ฟรังค์ ปี พ.ศ. 2503 จึงมีการประกาศว่าบันทึกเป็นของจริง ชตีเลาต้องถอนบทความที่เคยเขียนไปทั้งหมด และออทโท ฟรังค์ ก็ไม่ได้ฟ้องร้องเขาต่อไปอีก[21]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#2", "text": "อันเนอ ฟรังค์ได้รับสมุดบันทึกเป็นของขวัญวันเกิดครบ 13 ขวบ เธอเริ่มเขียนบันทึกตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2485 และสิ้นสุดในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 บันทึกได้รับการแปลจากภาษาดัตช์ออกเป็นภาษาต่าง ๆ มากมายและกลายเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่มีผู้อ่านมากที่สุดในโลก นอกจากภาพยนตร์แล้วยังมีการนำเรื่องราวไปสร้างเป็นภาพยนตร์ชุดโทรทัศน์ ละครเวที และแม้แต่อุปรากร งานบันทึกของอันเนอ ฟรังค์ถือว่าเป็นการเขียนงานอย่างผู้ใหญ่เต็มตัวและเต็มไปด้วยความช่างคิด แสดงให้เห็นชีวิตประจำวันที่แท้จริงภายใต้อำนาจพวกนาซี เป็นการพรรณนาถึงเหยื่อของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่โด่งดังที่สุด อันเนอ ฟรังค์ ได้รับเลือกจากนิตยสารไทมส์ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 และกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อเกียรติภูมิของมนุษย์", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#5", "text": "ออทโท ฟรังค์ เริ่มทำงานที่บริษัทโอเพคทาซึ่งเป็นบริษัทจำหน่ายผลไม้ เขามีห้องพักอาศัยแห่งหนึ่งบริเวณจัตุรัสแมร์เวเดอ ([Merwedeplein]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ในกรุงอัมสเตอร์ดัม เอดิทกับลูก ๆ มาถึงอัมสเตอร์ดัมในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 จากนั้นเด็กหญิงทั้งสองจึงได้เข้าโรงเรียน มาร์กอทได้เข้าโรงเรียนรัฐแห่งหนึ่ง ส่วนอันเนอได้เข้าโรงเรียนแบบมอนเตสโซรี (Montessori) มาร์กอทมีความสามารถพิเศษด้านพีชคณิต ส่วนอันเนอชอบการอ่านและเขียนหนังสือ เพื่อนคนหนึ่งของเธอคือ ฮันเนอลี กอสลาร์ เล่าถึงเรื่องในวัยเด็กภายหลังว่า อันเนอมักเขียนหนังสืออยู่เสมอ เธอจะเอามือป้องบังงานของเธอเอาไว้และไม่ยอมพูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับงานเขียนของเธอเลย มาร์กอทกับอันเนอมีบุคลิกที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัด โดยที่มาร์กอทเป็นคนเรียบร้อย เก็บตัว ชอบศึกษาหาความรู้ ส่วนอันเนอเป็นคนช่างพูด กระตือรือร้น และชอบพบปะผู้คน[1]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#37", "text": "ปี พ.ศ. 2501 ซีมอน วีเซินทัล ถูกท้าทายจากกลุ่มผู้ต่อต้านขณะแสดงละคร The Diary of Anne Frank ที่กรุงเวียนนา พวกเขากล่าวหาว่า อันเนอ ฟรังค์ ไม่มีตัวตนจริง และท้าให้วีเซินทัลพิสูจน์ตัวตนของเธอโดยหาตัวคนที่จับกุมเธอ วีเซินทัลจึงเริ่มออกติดตามหาคาร์ล ซิลเบอร์เบาเออร์ ตำรวจในคณะจับกุม และพบตัวเขาในปี พ.ศ. 2506 จากการสัมภาษณ์ ซิลเบอร์เบาเออร์ยอมรับบทบาทของเขา และระบุตัวอันเนอ ฟรังค์ ได้จากภาพถ่ายว่าเป็นหนึ่งในคนที่เขาจับกุม เขาให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ในวันนั้น และเล่าถึงการค้นกระเป๋าใบหนึ่งที่เต็มไปด้วยกระดาษโดยการเทลงบนพื้น คำให้การของเขาสนับสนุนเรื่องราวลำดับเหตุการณ์ที่เล่าโดยพยานคนอื่นมาก่อนหน้านี้ เช่น ออทโท ฟรังค์[2]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#44", "text": "วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ประชาชนจำนวนหนึ่งรวมทั้งออทโท ฟรังค์ ได้ก่อตั้งกลุ่ม คนรักอันเนอ ฟรังค์ ขึ้น เพื่อพยายามป้องกันมิให้อาคารปรินเซินครัคต์ถูกทุบทิ้ง และพยายามให้อาคารแห่งนั้นเปิดต่อสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ อันเนอ ฟรังค์ เฮาส์ จึงได้ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 ประกอบด้วยพื้นที่คลังสินค้าของบริษัทโอเพคทา ส่วนสำนักงาน และส่วน อัคเตอร์เฮยส์ ไม่มีการตกแต่งภายใน เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถเดินผ่านห้องต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก ของส่วนตัวบางอย่างของผู้อยู่อาศัยเดิมยังคงประดับอยู่เช่นเดิม เช่นรูปภาพดารานักแสดงซึ่งอันเนอทากาวปิดไว้บนผนัง ขีดบนผนังที่ออทโทบันทึกส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นของลูกสาวทั้งสอง และแผนที่บนผนังที่เขาบันทึกการเคลื่อนที่คืบหน้าของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร ปัจจุบันทั้งหมดมีกระดาษใสเคลือบเอาไว้เพื่อรักษาสภาพ จากห้องเล็ก ๆ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นบ้านของเปเตอร์ ฟัน แป็ลส์ มีทางเดินเชื่อมต่อกับอาคารข้างเคียง มูลนิธิได้ซื้ออาคารนั้นไว้ด้วย ปัจจุบันใช้เก็บรักษาหนังสือบันทึก และจัดนิทรรศการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ รวมถึงความโหดร้ายทารุณในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก อันเนอ ฟรังค์ เฮาส์ กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในกรุงอัมสเตอร์ดัม ในปี พ.ศ. 2548 จำนวนผู้เยี่ยมชมก็สูงกว่า 965,000 คน อันเนอ ฟรังค์ เฮาส์ ยังเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตและจัดนิทรรศการเคลื่อนที่ไปยังที่ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมที่ไม่สะดวกจะเดินทางมายังอัมสเตอร์ดัม ในปี พ.ศ. 2548 มีการจัดนิทรรศการเคลื่อนที่ในประเทศต่าง ๆ 32 ประเทศ ทั้งในยุโรป เอเชีย อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้[24]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#3", "text": "อันเนอลีส มารี \"อันเนอ\" ฟรังค์ เกิดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2472 ที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เป็นบุตรีคนที่สองของออทโท ฟรังค์ (2432-2523) และเอดิท ฮอลเลนเดอร์ (2443-2488) มีพี่สาวชื่อ มาร์กอท ฟรังค์ (2469-2488) [1] ครอบครัวฟรังค์เป็นชาวยิวหัวก้าวหน้า อาศัยอยู่ในชุมชนผสมระหว่างชาวยิวกับพลเมืองอื่น ๆ ทำให้เด็ก ๆ เติบโตขึ้นมาในแวดล้อมของสหายกลุ่มต่าง ๆ ทั้งคาทอลิก, โปรเตสแตนต์ และชาวยิวเอง พวกเขาไม่ใคร่เคร่งครัดประเพณีในศาสนายูดายมากนัก เอดิทปกครองเด็ก ๆ อย่างเคร่งครัดมากกว่า ขณะที่ออทโทซึ่งเป็นนายทหารเยอรมันที่ได้รับเหรียญตราจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ให้ความสนใจกับความรู้วิชาการและมีห้องสมุดใหญ่เป็นของตัวเอง ทั้งพ่อและแม่ต่างสนับสนุนให้เด็ก ๆ อ่านหนังสือ[2]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#33", "text": "อันเนอ ฟรังค์ เริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นทั้งในฐานะที่เป็นนักเขียนและนักมนุษยนิยม มีการพูดถึงเธอทั่วไป โดยเฉพาะการเป็นสัญลักษณ์ของการถูกทำลายและเป็นตัวแทนของการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ฮิลลารี คลินตัน อ่านบันทึกของอันเนอ ฟรังค์ในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีมอบรางวัล Elie Wiesel Humanitarian Award เมื่อปี พ.ศ. 2537 ว่า \"เธอได้ปลุกพวกเราขึ้นจากความเขลา ให้แลเห็นความตายอันโหดร้ายที่พรากความเยาว์ของเราไปเสีย\" คลินตันเปรียบเทียบเรื่องของอันเนอกับเหตุการณ์ร่วมสมัยในเวลานั้น คือสงครามในซาราเยโว, โซมาเลีย และรวันดา[17] หลังจากที่เนลสัน แมนเดลา ได้รับรางวัลจากมูลนิธิอันเนอ ฟรังค์ เมื่อปี พ.ศ. 2537 เขาเอ่ยกับฝูงชนในเมืองโจฮันเนสเบิร์กว่า เขาอ่านบันทึกของอันเนอ ฟรังค์ ขณะที่อยู่ในคุก และ \"รู้สึกกล้าหาญขึ้นอย่างมาก\" เขาเปรียบเทียบการต่อสู้ของอันเนอกับพวกนาซี กับการต่อสู้ของเขาเพื่อต่อต้านการเหยียดผิวในแอฟริกาใต้ และว่าปรัชญาทั้งสองนี้เป็นสิ่งที่ขนานกัน \"เพราะความเชื่อพื้นฐานของมันผิดพลาด มันเคยผิดพลาดและยังคงผิดพลาดต่อไป ทว่าด้วยตัวอย่างจากอันเนอ ฟรังค์ การเหยียดผิวจักต้องพ่ายแพ้\"[18]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#36", "text": "หลังจากบันทึกเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 ก็มีการตีพิมพ์ข้อกล่าวหามากมายต่อต้านบันทึกนั้น การวิพากษ์วิจารณ์ในช่วงแรกเกิดขึ้นที่ประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ คำกล่าวหาข้อหนึ่งกล่าวว่า ผู้เขียนบันทึกนี้คือ ไมเยอร์ เลวิน ส่วนอันเนอ ฟรังค์ ไม่มีตัวตนจริง[21]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#50", "text": "5535 แอนน์แฟรงก์ - ดาวเคราะห์น้อยที่ตั้งชื่อตามอันเนอ ฟรังค์ ในปี ค.ศ. 1995", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#12", "text": "วันที่ 13 กรกฎาคม ครอบครัวฟัน แป็ลส์ ได้มาอาศัยร่วมกับครอบครัวฟรังค์ ได้แก่ แฮร์มันน์, เอากุสต์ และเปเตอร์ ลูกชายอายุ 16 ปี เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายนพวกเขาก็ได้ต้อนรับฟริทซ์ พเฟฟเฟอร์ ทันตแพทย์และเพื่อนของครอบครัว อันเนอบันทึกว่าเธอดีใจที่มีเพื่อนคุยด้วย แต่การมีคนจำนวนมากอยู่ร่วมกันในที่แคบ ๆ ทำให้เกิดความเครียด อันเนอใช้ห้องร่วมกับพเฟฟเฟอร์ เธอไม่สามารถทนเขาได้และรำคาญที่ต้องรับเขามาอยู่ด้วย เธอยังทะเลาะกับพเฟฟเฟอร์ซึ่งเธอให้ความเห็นว่าโง่เง่า เธอระบุว่าเขาเป็นคนเห็นแก่ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องปริมาณอาหารที่ได้รับแบ่งปัน[2] ในเวลาต่อมา เธอเริ่มญาติดีกับเปเตอร์ผู้ขี้อายและเชื่องช้า แล้วทั้งสองก็เริ่มตกหลุมรักกัน อันเนอได้จูบเขาเป็นครั้งแรก ทว่าความรู้สึกหลงใหลดูดดื่มของอันเนอค่อย ๆ เจือจางลง เธอตั้งคำถามกับตัวเองว่าความรู้สึกของเธอต่อเปเตอร์นั้นจริงแท้แค่ไหน หรือเป็นเพียงเพราะพวกเขาได้อยู่ร่วมในที่แห่งเดียวกันเท่านั้น อันเนอ ฟรังค์ สนิทสนมกับบรรดาผู้ให้ความช่วยเหลือพวกเขามาก ออทโท ฟรังค์ รำลึกเรื่องนี้ในภายหลังว่า เธอตื่นเต้นกระตือรือร้นที่จะได้พบพวกเขาทุก ๆ วัน เขายังสังเกตว่าเพื่อนสนิทที่สุดของอันเนอคือ แบ็ป โฟสเกยล์ \"เลขานุการสาวผู้นั้น... พวกเธอทั้งสองมักยืนกระซิบกระซาบกันอยู่ตรงมุมห้อง\"[2]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#30", "text": "กอร์เนลิส เซยก์ อดีตผู้อำนวยการมูลนิธิอันเนอ ฟรังค์ และประธานศูนย์สหรัฐอเมริกาของมูลนิธิการศึกษาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ประกาศในปี พ.ศ. 2542 ว่า เขาเป็นเจ้าของกระดาษบันทึก 5 แผ่น ซึ่งออทโท ฟรังค์ ดึงออกจากสมุดบันทึกก่อนจะนำไปตีพิมพ์ เซยก์อ้างว่าออทโท ฟรังค์ มอบกระดาษบันทึกเหล่านั้นให้เขาเอง ไม่นานก่อนที่ออทโทจะเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2523 เนื้อหาบันทึกส่วนที่หายไปเกี่ยวข้องกับการที่อันเนอ ฟรังค์ วิพากษ์วิจารณ์ชีวิตแต่งงานของพ่อแม่ของเธอ และยังพรรณนาความรู้สึกไม่พอใจต่อแม่ของเธอด้วย[12] ในเวลาต่อมาเรื่องนี้ก็กลายเป็นที่ถกเถียงกัน เพราะเซยก์เรียกร้องสิทธิ์ในการตีพิมพ์บันทึก 5 แผ่นนี้ และคิดจะนำไปขายเพื่อระดมทุนให้แก่ศูนย์สหรัฐอเมริกาของเขา สถาบันเอกสารหลักฐานสงครามแห่งเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นเจ้าของเดิมของต้นฉบับ เรียกร้องให้เขาคืนบันทึกทั้ง 5 แผ่นนี้ ในปี พ.ศ. 2543 กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์แห่งเนเธอร์แลนด์ ยินยอมบริจาคเงินจำนวน 300,000 เหรียญสหรัฐให้แก่มูลนิธิของเซยก์ แล้วบันทึกทั้ง 5 แผ่นจึงได้ส่งคืนในปี พ.ศ. 2544 หลังจากนั้นจึงได้นำบันทึกทั้ง 5 แผ่นผนวกรวมเข้าไปในหนังสือบันทึกฉบับพิมพ์ครั้งใหม่ ๆ ด้วย", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#35", "text": "ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 นิตยสารไทมส์ตีพิมพ์หนังสือฉบับพิเศษ ใช้ชื่อว่า \"Time 100: The Most Important People of the Century\" (100 บุคคลสำคัญแห่งศตวรรษ) อันเนอ ฟรังค์ ได้รับเลือกเป็นผู้หนึ่งในหมวด \"วีรบุรุษและสัญลักษณ์\" รอเจอร์ โรเซนแบลตต์ บรรยายถึงความเป็นตำนานของเธอว่า \"หนังสือเล่มนี้ส่งแรงบันดาลใจ ทำให้ทุกผู้คนรู้สึกเป็นเจ้าของอันเนอ ฟรังค์ เธอโดดเด่นขึ้นมาเหนือเหล่าผู้ถูกทำร้าย เหนือเหล่าชาวยิว เหนือความเยาว์วัย และอาจจะเหนือความดีงาม เธอกลายเป็นสัญลักษณ์บูชาในโลกยุคใหม่ ที่ซึ่งหัวใจแห่งศีลธรรมแต่ละดวงถูกรุมล้อมด้วยการทำลายล้างของเครื่องจักร เธอต่อสู้เพื่อสิทธิที่จะมีชีวิต ที่จะถาม และที่จะหวังถึงอนาคตแห่งมนุษยชาติทั้งปวง\" เขายังให้ความเห็นอีกว่า แม้ความกล้าหาญและการบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของเธอจะเป็นที่นิยมชมชอบ ทว่าแท้จริงแล้วปัจจัยที่ทำให้เธอน่าหลงใหล คือความสามารถในการวิเคราะห์ตัวเอง ประกอบกับทักษะการเขียนอันดียิ่ง เขาเขียนว่า \"ความเป็นอมตะของเธอเนื่องมาจากวรรณศิลป์อย่างแท้จริง เธอเป็นนักเขียนที่มีคุณวิเศษตลอดทุกยุคสมัย คุณภาพแห่งผลงานของเธอเป็นผลโดยตรงจากหัวใจอันซื่อตรงอย่างที่สุด\"[20]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#20", "text": "เมื่อถึงวันที่ 28 ตุลาคมก็มีการคัดเลือกผู้หญิงที่จะย้ายไปยังค่ายกักกันแบร์เกิน-เบลเซิน ผู้หญิงกว่า 8,000 คน รวมทั้งอันเนอและมาร์กอท ฟรังค์ และเอากุสต์ ฟัน แป็ลส์ ถูกย้ายไป แต่เอดิท ฟรังค์ไม่ได้ไปด้วย เธอเสียชีวิตในเวลาต่อมาเนื่องจากอดอาหาร[1] นักโทษจำนวนมากหลั่งไหลไปที่เบลเซินจนต้องมีการตั้งเต็นท์ชั่วคราวสำหรับเป็นที่พักอาศัย ผลจากจำนวนผู้อาศัยที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดโรคระบาดและอัตราเสียชีวิตก็สูงขึ้นอย่างมาก อันเนอได้พบกับเพื่อนเก่าสองคนคือ ฮันเนอลี กอสลาร์ และนาเนตต์ บลิตซ์ เป็นเวลาสั้น ๆ พวกเธอถูกกักกันอยู่ในคนละพื้นที่ของค่าย กอสลาร์กับบลิตซ์มีชีวิตรอดจนสงครามสิ้นสุด ในภายหลังพวกเธอทั้งสองได้เล่าถึงบทสนทนากับอันเนอเมื่อทั้งหมดได้คุยกันชั่วขณะผ่านรั้วกั้นแดน บลิตซ์บอกว่าอันเนอดูผอมมาก ศีรษะล้าน ตัวสั่นเทา ส่วนกอสลาร์เล่าว่าเอากุสต์ ฟัน แป็ลส์ ได้อยู่กับอันเนอและมาร์กอทด้วย ดูเหมือนเธอจะคอยดูแลสองพี่น้องที่กำลังป่วยหนัก คนทั้งสองไม่ได้พบกับมาร์กอท เนื่องจากเธออ่อนแอจนไม่สามารถลุกจากที่นอนได้ อันเนอบอกกับกอสลาร์และบลิตซ์ว่า เธอคิดว่าพ่อกับแม่คงจะตายไปแล้ว ด้วยเหตุนั้นเธอจึงไม่ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ต่อไป กอสลาร์คิดว่าช่วงที่พวกเขาได้พบกันน่าจะอยู่ในราวปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488[1]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#43", "text": "เดือนธันวาคม พ.ศ. 2536 อันเนอร์ ฟรังค์ เฮาส์ ที่อัมสเตอร์ดัม ร่วมกับมูลนิธิอันเนอ ฟรังค์ ในเมืองบาเซิล ได้ร่วมกันผลักดันให้มีกฎหมายห้ามการเผยแพร่หนังสือ The Diary of Anne Frank: A Critical Approach ในประเทศเนเธอร์แลนด์ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ศาลประจำกรุงอัมสเตอร์ดัมได้มีประกาศห้ามการต่อต้านความเป็นตัวจริงและความเป็นเจ้าของของหนังสือบันทึกนี้อีก รวมถึงห้ามการเผยแพร่สิ่งพิมพ์ใด ๆ ที่ทำให้เกิดผลดังกล่าว ผู้ฝ่าฝืนจะต้องถูกปรับเป็นเงิน 25,000 กิลเดอร์ต่อหนึ่งกรณี[23]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#25", "text": "ช่วงต้นของบันทึกของอันเนอ บรรยายความรู้สึกนึกคิดส่วนตัว และยังระบุหลายครั้งว่าเธอจะไม่ยอมให้ใครได้อ่านมันเลย เธอแอบเขียนบรรยายชีวิตของเธอ ของครอบครัว และเพื่อน ๆ ตลอดจนสถานะของพวกเขา ขณะเดียวกันเธอก็เริ่มมีความคาดหวังจะเขียนนิยายสำหรับพิมพ์เผยแพร่ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2487 อันเนอได้ยินประกาศทางวิทยุโดยแคร์ริต โบลเกอสไตน์ หนึ่งในคณะรัฐบาลพลัดถิ่นของเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่าหลังจากสงครามสิ้นสุด เขาจะจัดทำบันทึกสาธารณะขึ้นเพื่อรวบรวมสิ่งที่เกิดกับชาวดัตช์ระหว่างอยู่ภายใต้รัฐบาลเยอรมนี[4] เขาระบุถึงการเผยแพร่จดหมายและบันทึกต่าง ๆ ทำให้อันเนอตัดสินใจจะส่งงานเขียนของเธอไปร่วมด้วยเมื่อถึงเวลานั้น เธอเริ่มปรับปรุงแก้ไขงานเขียนของเธอ สลับ ย้ายเนื้อหา และเขียนขึ้นใหม่บางส่วน ด้วยมุมมองที่เหมาะสมสำหรับการตีพิมพ์ สมุดบันทึกเริ่มแรกของเธอสอดแทรกไว้ด้วยสมุดโน้ตเพิ่มเติมและกระดาษเป็นแผ่น ๆ อีกจำนวนมาก เธอคิดชื่อสมมุติขึ้นสำหรับสมาชิกในบ้านและบรรดาผู้ให้ความช่วยเหลือ โดยเปลี่ยนชื่อครอบครัวฟัน แป็ลส์เป็นแฮร์มันน์, เปโตรเนลลา และเปเตอร์ ฟัน ดาน และเปลี่ยนชื่อฟริทซ์ พเฟฟเฟอร์เป็นอัลแบร์ท ดึสเซิลล์ ในบันทึกฉบับปรับปรุงแก้ไขใหม่นี้ เธอเขียนถึง \"คิตตี\" ซึ่งเป็นตัวละครในนิยายเรื่อง โยปเตอร์เฮิล (Joop ter Heul) ของซิสซี ฟัน มากซ์เฟลต์ ซึ่งอันเนอชอบอ่านบ่อย ๆ ออทโท ฟรังค์ ใช้บันทึกฉบับดั้งเดิมของเธอซึ่งเรียกว่า \"ฉบับเอ\" รวมกับฉบับปรับปรุงแก้ไขที่เรียกว่า \"ฉบับบี\" มาเรียบเรียงใหม่เป็นฉบับตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก เขาตัดเนื้อหาบางส่วนออก โดยเฉพาะส่วนที่อันเนอวิจารณ์พ่อแม่ของเธอ (โดยมากเป็นแม่) และส่วนที่บรรยายถึงการเติบโตทางเพศของอันเนอเอง ออทโทเปลี่ยนส่วนที่ระบุชื่อสมาชิกในครอบครัวของเขาเองให้เป็นชื่อจริง แต่ยังคงใช้ชื่อสมมุติสำหรับบุคคลอื่น ๆ เอาไว้", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "194218#0", "text": "บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์ () เป็นหนังสือที่สร้างขึ้นจากสมุดบันทึกประจำวันของอันเนอ ฟรังค์ ขณะที่เธอและครอบครัวต้องหลบซ่อนตัวอยู่เป็นเวลาเกือบสองปี เพื่อหลบหนีการล่าชาวยิวในเนเธอร์แลนด์ขณะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของนาซีเยอรมนีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ครอบครัวของอันเนอ ฟรังค์ ถูกจับตัวได้ในปี ค.ศ. 1944 และส่งไปยังค่ายกักกันชาวยิว อันเนอผู้เขียนเสียชีวิตด้วยโรคไข้รากสาดใหญ่ในค่ายกักกันแบร์เกิน-เบลเซิน ต่อมาเมื่อสิ้นสุดสงคราม ออทโท ฟรังค์ พ่อของเธอ ซึ่งเป็นคนเดียวในครอบครัวที่รอดชีวิต ได้นำบันทึกนี้ออกเผยแพร่ต่อสาธารณะ", "title": "บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์" }, { "docid": "44795#19", "text": "อันเนอกับผู้หญิงคนอื่น ๆ ที่รอดจากการสังหารหมู่ทันทีที่มาถึง ถูกบังคับให้เปลือยกายและฆ่าเชื้อ พวกเธอถูกจับโกนผมและสักหมายเลขประจำตัวไว้บนแขน ในเวลากลางวัน พวกผู้หญิงจะถูกใช้งานเป็นทาส อันเนอต้องทลายหินและขุดพื้น เมื่อตกกลางคืนพวกเขาต้องเบียดเสียดกันอยู่ในคุกแคบ ๆ พยานหลายคนให้ปากคำในภายหลังว่า อันเนอจะหวาดผวาและร้องไห้ทุกครั้งที่เห็นเด็ก ๆ ถูกนำตัวไปยังห้องรมแก๊ส แต่ก็มีพยานอีกหลายคนบอกว่าบางครั้งเธอก็แสดงความกล้าหาญและความแข็งแกร่ง ความอารีและธรรมชาติความเป็นผู้นำในตัวเธอทำให้เธอมักได้รับส่วนแบ่งขนมปังเพิ่มขึ้นสำหรับให้เอดิท มาร์กอท และตัวเธอเอง ในค่ายสกปรกมาก ไม่ช้าเชื้อโรคก็แพร่ระบาด ผิวของอันเนอติดเชื้อหิดอย่างรุนแรง เธอกับมาร์กอทถูกแยกไปห้องผู้ป่วย ที่ซึ่งมีแต่ความมืดสลัวตลอดเวลา และเป็นที่อยู่ของหนู เอดิท ฟรังค์ เลิกกินอาหารส่วนของตน แต่เก็บเอาไว้เพื่อส่งไปให้ลูกสาวทั้งสอง โดยส่งผ่านรูเล็ก ๆ ที่เธอแอบเจาะไว้ทางด้านหลังกำแพงห้องผู้ป่วย[1]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#31", "text": "บันทึกของอันเนอได้รับคำยกย่องชมเชยในฐานะวรรณกรรมที่ดี ไมเยอร์ เลวิน ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธีการเขียนของอันเนอว่า \"รักษาความตึงเครียดของนวนิยายซึ่งเขียนโดยมีโครงสร้างอย่างดี\"[13] เขาประทับใจกับผลงานของเธอมากจนต้องร่วมงานกับออทโท ฟรังค์ ในการดัดแปลงบทประพันธ์เป็นบทละคร หลังจากหนังสือได้รับการตีพิมพ์ไม่นานนัก[14] จอห์น เบร์รีแมน กวีชาวอเมริกันเขียนถึงหนังสือนี้ว่า มีถ้อยความพรรณนาที่โดดเด่นมาก มิใช่เพียงแค่เรื่องราวของเด็กสาว แต่เป็น \"การก้าวย่างจากวัยเด็กสู่ผู้ใหญ่ ซึ่งเกิดจากความแม่นยำ ความเชื่อมั่น เป็นรูปแบบที่ชวนให้พรึงเพริดกับความสัตย์ซื่อของตัวอักษร\"[15]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#46", "text": "สำหรับห้องพักอาศัยเดิมที่จัตุรัสแมร์เวเดอซึ่งครอบครัวฟรังค์เคยอาศัยอยู่ระหว่างปี 2476 ถึง 2485 ยังคงอยู่โดยมีเจ้าของครอบครอง จนกระทั่งถึงช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 สารคดีทางโทรทัศน์รายการหนึ่งจับประเด็นที่อาคารแห่งนี้ว่าสมควรได้รับการเอาใจใส่จากสาธารณะ เนื่องจากชำรุดทรุดโทรมไปมาก องค์กรบ้านอยู่อาศัยของเนเธอร์แลนด์แห่งหนึ่งได้ซื้อห้องพักอาศัยนี้ไปในเวลาต่อมา แล้วปรับปรุงให้กลับคืนสภาพเดิมโดยอาศัยภาพถ่ายเก่าแก่ของครอบครัวฟรังค์ ประกอบกับคำบอกเล่าถึงลักษณะภายในห้องพักที่ปรากฏในจดหมายจำนวนหนึ่งซึ่งเขียนโดยอันเนอ ฟรังค์ ผู้บริหารพิพิธภัณฑ์อันเนอ ฟรังค์ คือ เตเรซีน ดา ซิลวา กับญาติของครอบครัวฟรังค์คือ แบร์นฮาร์ด \"บัดดี\" เอลิยัส ได้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูห้องพักในครั้งนี้ด้วย ห้องพักอาศัยเปิดขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานที่อันปลอดภัยสำหรับนักเขียนที่ไม่สามารถเขียนเรื่องราวได้อย่างปลอดภัยที่ประเทศบ้านเกิดของตัวเอง นักเขียนที่ผ่านการคัดสรรแล้วสามารถมาพำนักที่ห้องพักนี้เป็นเวลา 1 ปีเพื่อสร้างงานของเขา นักเขียนคนแรกที่ได้รับเลือกให้มาพำนักคือกวีและนักประพันธ์ชาวแอลจีเรีย ชื่อ El-Mahdi Acherchour[24]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#24", "text": "เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487 หลังจากกาชาดสากลยืนยันการเสียชีวิตของอันเนอและมาร์กอทแล้ว มีป คีส จึงมอบสมุดบันทึกและเศษกระดาษบันทึกของอันเนอที่เธอเก็บรักษาไว้ด้วยความตั้งใจจะคืนให้แก่อันเนอ ให้แก่ออทโท ฟรังค์ ออทโทบอกในภายหลังว่า เขาไม่เคยรู้มาก่อนว่าอันเนอได้จดบันทึกอย่างละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของพวกเขาระหว่างการซ่อนตัว ออทโทค่อย ๆ อ่านบันทึกด้วยความปวดร้าว ระลึกถึงแต่ละเหตุการณ์ที่ปรากฏอยู่ในบันทึก และนึกได้ว่าเขาเคยได้ยินเนื้อความบางส่วนที่ตลก ๆ ซึ่งบุตรสาวของเขาเคยอ่านให้ฟังมาก่อนแล้ว นอกจากนี้เขายังยอมรับว่า เพิ่งเคยได้ทราบความเป็นส่วนตัวบางอย่างของบุตรสาวเป็นครั้งแรก รวมถึงบางส่วนของบันทึกที่เธอไม่เคยพูดถึงกับใครมาก่อน ออทโทกล่าวว่า \"สำหรับผม มันเป็นการเปิดดวงตาครั้งใหญ่... ผมไม่เคยล่วงรู้ความรู้สึกนึกคิดของลูกมาก่อน... เธอเก็บความรู้สึกทั้งหมดนี้ไว้กับตัวเอง\"[2] อันเนอบันทึกความปรารถนาไว้หลายครั้งว่าอยากเป็นนักเขียน ดังนั้น ออทโทจึงเริ่มคิดว่า น่าจะนำบันทึกนี้ไปตีพิมพ์", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#42", "text": "ปี พ.ศ. 2534 รอแบร์ โฟรีซง และซีคฟรีด แฟร์เบเกอ ผู้ปฏิเสธไม่เชื่อเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ได้เขียนหนังสือเล็ก ๆ ขึ้นเล่มหนึ่งชื่อ The Diary of Anne Frank: A Critical Approach โดยกล่าวหาว่า ออทโท ฟรังค์ เป็นผู้เขียนบันทึกนั้นขึ้นเอง เนื่องจากรายละเอียดหลายอย่างในบันทึกขัดแย้งกันเอง การซ่อนตัวใน อัคเตอร์เฮยส์ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และว่าวิธีการเขียนร้อยแก้วกับลายมือของอันเนอ ฟรังค์ ไม่น่าที่เด็กวัยรุ่นจะทำได้[22]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#48", "text": "เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 มีการตกลงกันให้ตัดต้นไม้ของอันเนอ ฟรังค์ เพื่อป้องกันการโค่นลงทับอาคารข้างเคียง เนื่องจากรากต้นไม้ติดเชื้อราอย่างหนักและอาจล้มได้ทุกเมื่อ อาร์โนลด์ เฮร์เจอ นักเศรษฐศาสตร์ชาวดัตช์ซึ่งต้องหลบซ่อนตัวในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองเช่นกัน[27] กล่าวถึงต้นไม้นี้ว่า \"มันไม่ใช่เพียงต้นไม้ธรรมดา ต้นไม้ของอันเนอ ฟรังค์ เป็นศูนย์รวมการถูกทรมานของชาวยิว\"[28] มูลนิธิต้นไม้ซึ่งเป็นกลุ่มผู้อนุรักษ์ต้นไม้พยายามรณรงค์เพื่อป้องกันมิให้โค่นต้นเกาลัดต้นนี้ มีสื่อสากลให้ความสนใจเป็นอันมาก ศาลแห่งเนเธอร์แลนด์สั่งให้ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายผู้อนุรักษ์หาข้อมูลทางเลือกอื่น ๆ มาเสนอเพื่อหาข้อยุติ[29] ในที่สุดทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้โดยสร้างโครงสร้างเหล็กประคองต้นไม้ไว้ ซึ่งจะช่วยยืดอายุไปได้อีกอย่างน้อย 15 ปี[28]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" } ]
3354
คาร์ล เอมิล มักซิมิเลียน เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "4140#0", "text": "คาร์ล เอมิล มักซิมิเลียน \"มักซ์\" เวเบอร์ (German: Karl Emil Maximilian \"Max\" Weber) (21 เมษายน ค.ศ. 1864 – 14 มิถุนายน ค.ศ. 1920) เป็นนักเศรษฐศาสตร์การเมืองและนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ถือกันว่าเวเบอร์เป็นผู้ก่อตั้งวิชาสังคมวิทยาสมัยใหม่และรัฐประศาสนศาสตร์ งานชิ้นหลัก ๆ ของเขาเกี่ยวข้องกับสังคมวิทยาศาสนาและสังคมวิทยาการปกครอง นอกจากนี้เขายังมีงานเขียนอีกหลายชิ้นในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ งานที่ผู้คนจดจำได้มากที่สุดของเวเบอร์คือ ความเรียงเรื่อง จริยธรรมโปรเตสแตนต์และจิตวิญญาณแห่งทุนนิยม ซึ่งเป็นงานชิ้นแรกของเขาในสาขาสังคมวิทยาศาสนา ในงานชิ้นดังกล่าว เวเบอร์เสนอว่าศาสนาเป็นหนึ่งในสาเหตุหลัก ๆ ที่นำไปสู่เส้นทางการพัฒนาทางวัฒนธรรมที่ต่างกันระหว่างโลกประจิม (the Occident) กับโลกบูรพา (the Orient) ในงานที่มีชื่อเสียงอีกชิ้นหนึ่งของเขาที่ชื่อการเมืองในฐานะวิชาชีพ (Politik als Beruf) เวเบอร์นิยามรัฐว่ารัฐคือหน่วยองค์ (entity) ซึ่งผูกขาดการใช้กำลังทางกายภาพที่ถูกกฎหมาย ซึ่งนิยามนี้ได้กลายเป็นจุดศูนย์กลางในการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ในเวลาต่อมา", "title": "มักซ์ เวเบอร์" } ]
[ { "docid": "273927#1", "text": "มักซีมีเลียนเกิดที่มิวนิคเป็นบุตรคนโตของวิลเฮล์มที่ 5 ดยุกแห่งบาวาเรียและเรอนาตาแห่งลอร์แรน ได้รับการศึกษากับเยซูอิด มักซีมีเลียนก็เริ่มเข้ารับราชการในปี ค.ศ. 1591 ในปี ค.ศ. 1595 ก็สมรสกับลูกพี่ลูกน้องกันเอลิซาเบธ เรอนาตาบุตรีของชาร์ลส์ที่ 3 ดยุกแห่งลอร์แรน ในปี ค.ศ. 1597 มักซีมีเลียนก็ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นดยุกแห่งบาวาเรีย เมื่อวิลเฮล์มที่ 5 สละตำแหน่ง สองสามเดือนหลังจากการเสียชีวิตของเอลิซาเบธในปี ค.ศ. 1635 มักซีมีเลียนก็สมรสกับหลานสาวอายุ 25 ปี มาเรีย อันนาแห่งออสเตรียพระราชธิดาในสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับน้องสาวของมักซีมีเลียนมาเรีย อันนาแห่งบาวาเรีย", "title": "มักซีมีเลียนที่ 1 ผู้คัดเลือกแห่งบาวาเรีย" }, { "docid": "181210#1", "text": "คำว่า \"เฮลลาดิค\" \"ซิคละดีส\" และ \"มิโนอัน\" หมายถึงสถานที่ของที่มา ฉะนั้น สิ่งของจากมิโนอันสมัยกลางจึงอาจจะพบได้ที่ไซคลาดีส แต่ไม่ถือว่าเป็นไซคลาดีสสมัยกลาง การจัดระบบดังกล่าวมักจะไม่เหมาะกับบริเวณรอบทะเลอีเจียน เช่น พื้นที่ตะวันออกกลาง ซึ่งอาจมีเครื่องปั้นดินเผาที่เลียนแบบสไตล์ของเครื่องปั้นดินเผาเฮลลาดิคหรือมิโนอัน หากแต่เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตในท้องถิ่น", "title": "สมัยเฮลลาดิค" }, { "docid": "247131#0", "text": "จักรพรรดิมักซีมีเลียน(หรือมักซิมิเลียน) ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ () (เกิด 22 มีนาคม ค.ศ. 1459 - ตาย12 มกราคม ค.ศ. 1519) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1508 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1519 มักซีมีเลียนทรงปกครองร่วมกับพระราชบิดาระหว่างช่วงสิบปีสุดท้ายของรัชสมัยตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 1483 พระองค์ทรงขยายอิทธิพลของราชวงศ์ฮับส์บูร์กทั้งในด้านการเสกสมรสและการสงคราม แต่ก็ทรงเสียดินแดนออสเตรียในบริเวณที่เป็นสวิตเซอร์แลนด์ปัจจุบันในยุทธการที่ดอร์นาค (battle of Dornach) เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1499 เมื่อฝ่ายสวิสได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด มักซิมิเลียนไม่ทรงมีทางเลือกนอกจากจะทรงต้องยอมลงพระนามในสนธิสัญญาบาเซิล (Treaty of Basel) เมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1499 ที่มอบอิสรภาพให้แก่สวิตเซอร์แลนด์จากอำนาจของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก พระองค์ทรงมักจะได้รับการขนานพระนามว่า “อัศวินคนสุดท้าย” ", "title": "จักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์" }, { "docid": "64083#23", "text": "เจ้าหญิงมาร์กาเรเทแห่งปรัสเซีย (มาร์กาเรเท เบียทริซ ฟีโอดอรา; 22 เมษายน พ.ศ. 2415 - 22 มกราคม พ.ศ. 2497) ทรงอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2436 ณ โบสถ์ฟรีเด็นส์ เมืองพอทสดัม กับ เจ้าชายฟรีดริช คาร์ล ลุดวิก คอนสแตนตินแห่งเฮสส์-คาสเซิล (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2411 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 พระโอรสในเจ้าชายฟรีดริช คาร์ล ผู้ครองรัฐแห่งเฮสส์ และเจ้าหญิงแอนนาแห่งปรัสเซีย) ซึ่งดำรงพระอิสริยยศเป็น ผู้ปกครองรัฐแห่งเฮสส์-คาสเซิล (Landgrave of Hesse-Cassel) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2468 และมีพระโอรสคือ เจ้าชายฟรีดริช วิลเฮล์มแห่งเฮสส์-คาสเซิล (ฟรีดริช วิลเฮล์ม ซิกิสมุนด์ วิคเตอร์; 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 - 12 กันยายน พ.ศ. 2459) เจ้าชายแม็กซิมิเลียนแห่งเฮสส์-คาสเซิล (แม็กซิมิเลียน ฟรีดริช วิลเฮล์ม จอร์จ เอ็ดวาร์ด; 20 ตุลาคม พ.ศ. 2437 - 13 ตุลาคม พ.ศ. 2457) เจ้าชายฟิลิปป์ ผู้ปกครองรัฐแห่งเฮสส์ (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2523) สืบทอดพระอิสริยยศ ผู้ปกครองรัฐแห่งเฮสส์-คาสเซิล เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 อภิเษกสมรส 23 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองรักโกนิจี ประเทศอิตาลี กับ เจ้าหญิงมาฟาลดา มาเรีย เอลิซาเบ็ตตา แอนนา โรมานาแห่งซาวอย (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2487 พระราชธิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีวิกตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี และเจ้าหญิงเอเลนาแห่งมอนเตเนโกร) และมีพระโอรสธิดาคือ เจ้าชายโมริตซ์ ผู้ปกครองรัฐแห่งเฮสส์-คาสเซิล (โมริตซ์ ฟรีดริช คาร์ล เอมานูเอล ฮัมเบิร์ต; 6 สิงหาคม พ.ศ. 2469 - 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556) เจ้าชายไฮน์ริชแห่งเฮสส์ (ไฮน์ริช วิลเฮล์ม คอนสแตนติน วิกเตอร์ ฟรันซ์; 30 ตุลาคม พ.ศ. 2470 - 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542) เจ้าชายอ็อตโตแห่งเฮสส์ (อ็อตโต อดอล์ฟ; 3 มิถุนายน พ.ศ. 2480 - 3 มกราคม พ.ศ. 2541) เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเฮสส์ (เอลิซาเบธ มาร์กาเรเธ เอเลนา โยฮันนา มาเรีย โยลันดา โพลีซีนี; ประสูติ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483) เจ้าชายวอล์ฟกังแห่งเฮสส์-คาสเซิล (วอล์ฟกัง โมริตซ์; 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 - 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2532) อภิเษกสมรส (1) 17 กันยายน พ.ศ. 2467 ณ เมืองซาเล็ม แคว้นบาเดิน กับ เจ้าหญิงมารี อเล็กซานดรา ไธรา วิคตอเรีย หลุยซา คาโรลา ฮิลดาแห่งบาเดิน (1 สิงหาคม พ.ศ. 2445 - 29 มกราคม พ.ศ. 2487 พระธิดาในเจ้าชายแม็กซิมิเลียน ผู้ปกครองรัฐแห่งบาเดิน และเจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งฮาโนเวอร์) (ไม่มีพระโอรสและธิดา); (2) 7 กันยายน พ.ศ. 2491 ณ เมืองแฟรงค์เฟิร์ต กับ อ็อตติลี เมิลเลอร์ (24 มิถุนายน พ.ศ. 2446 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534) (ไม่มีพระโอรสและธิดา) เจ้าชายริชาร์ดแห่งเฮสส์-คาสเซิล (ริชาร์ด วิลเฮล์ม เลโอโพลด์; 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 - 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512) เจ้าชายคริสตอฟแห่งเฮสส์-คาสเซิล (คริสตอฟ แอร์นส์ ออกุสต์; 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2486) อภิเษกสมรส 15 ธันวาคม พ.ศ. 2473 ณ เมืองครอนแบร์ก กับ เจ้าหญิงโซฟีแห่งกรีซและเดนมาร์ก (26 มิถุนายน พ.ศ. 2457 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 พระธิดาในเจ้าชายแอนดรูว์แห่งกรีซและเดนมาร์ก และเจ้าหญิงอลิซแห่งบัทเทนแบร์ก) และมีพระโอรสธิดาคือ เจ้าหญิงคริสตินาแห่งเฮสส์ (คริสตินา มาร์กาเรเธ; 10 มกราคม พ.ศ. 2476 - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554) อภิเษกสมรส (ครั้งแรก) ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2499 (หย่าร้างในปี 2505) กับ เจ้าชายอันเดรจแห่งยูโกสลาเวีย (28 มิถุนายน พ.ศ. 2472 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2533) (ดูด้านล่าง) เจ้าหญิงโดโรเธียแห่งเฮสส์ (โดโรเธีย ชาร์ล็อต คาริน; ประสูติ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2477) เจ้าชายคาร์ลแห่งเฮสส์ (คาร์ล อดอล์ฟ อันเดรียส; ประสูติ 26 มีนาคม พ.ศ. 2480) เจ้าหญิงคลาริซซาแห่งเฮสส์ (คลาริซซา อลิซ; ประสูติ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487)", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "303923#1", "text": "ที่ทะเลทราย พรมแดนระหว่างสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก ฮาเวียร์ โรดวิเกวซ (เบนิซิโอ เดล โทโร่) นายตำรวจหนุ่มตงฉินชาวเม็กซิกัน และมาโนโล ซานเชส (เจคอบ วาร์กัซ) คู่หูอยู่ระหว่างการจับกุมแก๊งค์ค้ายาเสพย์ติดทั้งคู่สังกัดอยู่ในกรมตำรวจ ที่มี นายพลซาลาซ่า (โธมัส มิเลียน) ซึ่งเมื่อทั้งคู่สามารถจับแก๊งค์ค้ายาได้มากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้นายพลซาลาซ่ากระเทือนเท่านั้น เพราะแก๊งค์ค้ายาเหล่านี้ก็ตกอยู่ภายใต้การคุ้มครองของนายพลซาลาซ่า และเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความลุ่มหลง และละโมบ ฮาเวียร์จึงพยายามที่จะต่อต้าน แต่ยิ่งต่อต้านมากเท่าใด เขาก็พบว่า ตัวเองและเพื่อนคู่หู ถลำลึกลงไปในวังวนของความฉ้อฉลมากขึ้นเท่านั้น", "title": "คนไม่สะอาด อำนาจ อิทธิพล" }, { "docid": "643787#0", "text": "เอมิล เฮสกี้ย์ () เป็นอดีตนักฟุตบอลชาวอังกฤษเชื้อสายแอนติกาและบาร์บูดา ตำแหน่งกองหน้า เคยเล่นให้กับทีมชาติอังกฤษและผ่านการเล่นในระดับพรีเมียร์ลีกกับสโมสรเลสเตอร์ ซิตี, ลิเวอร์พูล, เบอร์มิงแฮม ซิตี, วีแกน แอทเลติก, แอสตัน วิลลา ก่อนจะไปเล่นฟุตบอลที่ประเทศออสเตรเลียกับสโมสรนิวคาสเซิล เจ็ทส์ ", "title": "เอมีล เฮสกีย์" }, { "docid": "399045#3", "text": "วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 เขาถูกเกสตาโปของเยอรมนีจับกุมและขังที่เรือนจำ Pawiak เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม เขาถูกโอนไปยังเอาชวิทซ์ เป็นนักโทษหมายเลข 16670\nปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1941 มีนักโทษสามคนหายไปจากค่าย ทำให้เฮาพท์สทุร์มฟือแรร์ของเอสเอส (ยศเทียบเท่าร้อยเอก) คาร์ล ฟรีทซช์ รองผู้บัญชาการค่าย เลือกชาย 10 คนมาอดอาหารจนตายในบังเกอร์ใต้ดินเพื่อขัดขวางมิให้มีความพยายามหลบหนีอีก เมื่อหนึ่งในชายที่ถูกเลือก Franciszek Gajowniczek ร้องมาว่า \"ภรรยาผม! ลูกผม!\" คอลบีได้อาสาถูกเลือกแทนเขา\nในห้องขังอดอาหารนั้น เขาทำพิธีมิสซาทุกวันนานเท่าที่เขาสามารถทำได้และทำพิธีศีลมหาสนิทแก่นักโทษอย่างลับ ๆ ระหว่างวัน ขนมปังที่ให้แก่นักโทษนั้นไม่ได้ใส่เชื้อฟูและสามารถใช้ในพิธีศีลมหาสนิทได้ ทหารยามที่มีใจสงสารมอบสิ่งของจำเป็นแก่เขา ซึ่งรวมถึงไวน์ ซึ่งเขาสามารถใช้ได้", "title": "แมกซิมิเลียน คอลบี" }, { "docid": "167365#2", "text": "เวซาเลียสเกิดที่เมืองบรัสเซลส์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของฮับส์บูร์กเนเธอร์แลนด์ (Habsburg Netherlands) ในครอบครัวแพทย์ ปู่ทวดของเขา ยาน ฟาน เวเซล (Jan van Wesel) ซึ่งน่าจะเกิดที่เวเซล จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยปาเวีย (University of Pavia) และได้สอนวิชาแพทยศาสตร์ในปี ค.ศ. 1428 และได้เป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยลอยเฟน (University of Leuven) ปู่ของเขา เอเฟอราร์ด ฟาน เวเซล (Everard van Wesel) เป็นแพทย์หลวงของจักรพรรดิแมกซิมิเลียนที่ 1 และบิดาของเขา อันดรีส ฟาน เวเซล (Andries van Wesel) เป็นนักปรุงยาหลวงของจักรพรรดิแมกซิมิเลียนและเป็นผู้รับใช้ (Valet de Chambre) ของจักรพรรดิชาร์ลส์ที่ 5 องค์รัชทายาท อันดรีสได้สนับสนุนให้บุตรชายได้ศึกษาวิชาแพทย์เหมือนกับบรรพบุรุษ และได้พาเวซาเลียสไปสมัครเข้าชุมชนชาวคริสต์ชื่อ Brethren of the Common Life ในบรัสเซลส์เพื่อให้เวซาเลียสได้ศึกษาภาษากรีกและภาษาละตินตามค่านิยมของสังคมในยุคนั้น", "title": "แอนเดรียส เวซาเลียส" }, { "docid": "12125#67", "text": "เอมิลลี ลุยส์ มารี ฟร็องซวส โฌซฟีน เปลลาปรา บุตรสาวของฟร็องซัวส-มารี เลอรัว คาร์ล ยูจัง ฟอน มูห์ลเฟลด์ บุตรชายของวิคตอเรีย โครส์ เอเลน นโปเลโอน โบนาปาร์ต บุตรสาวของเค้าน์เตสมองโตลอง จูลส์ บาร์เธเลมี-ซังต์-ติแลร์ (ชาตะ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1805 มรณะ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1895) โดยไม่ทราบว่ามารดาของเขาเป็นใคร", "title": "จักรพรรดินโปเลียนที่ 1" }, { "docid": "3852#13", "text": "ปีนั้นเอง ในยุโรปได้เกิดการลุกฮือครั้งยิ่งใหญ่ กลุ่มคนงานได้เข้ายึดอำนาจจากพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส และได้เชิญมากซ์กลับปารีส ต่อมาหลังจากที่รัฐบาลคนงานล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1849 (พ.ศ. 2392) มากซ์ได้ย้ายกลับไปยังโคโลญ และได้เริ่มพิมพ์หนังสือพิมพ์ \"Rheinische Zeitung\" ขึ้นมาใหม่ก่อนจะถูกสั่งปิดลงอีกครั้ง สุดท้ายมากซ์จึงย้ายไปอยู่ที่ลอนดอน ขณะที่อยู่ที่ลอนดอนนั้น มากซ์ทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าวฝั่งยุโรปให้กับหนังสือพิมพ์นิวยอร์กทรีบูน () ระหว่างปี ค.ศ. 1852 (พ.ศ. 2395) ถึง 1861 (พ.ศ. 2404) ในปี ค.ศ. 1852 นั้นเอง มากซ์ได้เขียนแผ่นพับ \"การปฏิวัติของหลุยส์ โบนาปาร์ต\" (\"\") เพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ที่หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต (หลานของนโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส) เข้ายึดอำนาจรัฐในฝรั่งเศสและสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ 3", "title": "คาร์ล มากซ์" }, { "docid": "858966#0", "text": "บารอน คาร์ล กุสตาฟ เอมิล มันเนอร์เฮม () เป็นเจ้าหน้าที่ทหาร และ รัฐบุรุษชาวฟินแลนด์ มันเนอร์เฮมเคยเป็น ผู้บัญชาการกองทัพฝ่ายขาวในช่วง สงครามกลางเมืองฟินแลนด์, ผู้สำเร็จราชการแห่งฟินแลนด์ (1918–1919), ผู้บัญชาการกองทัพฟินแลนด์ ในช่วง สงครามโลกครั้งที่สอง, จอมพลแห่งฟินแลนด์, และ ประธานาธิบดีคนที่ 6 ของฟินแลนด์ (1944–1946)", "title": "คาร์ล กุสตาฟ เอมิล มันเนอร์เฮม" }, { "docid": "77274#4", "text": "แม้ว่าพลังค์จะมีความสามารถด้านดนตรี ถึงขนาดร้องเพลง เล่นเปียโน, ออร์แกน, เชลโล หรือแม้กระทั่งแต่งเพลงได้ แต่เขากลับเลือกที่จะเรียนฟิสิกส์ แทนที่จะเป็นดนตรี พลังค์เข้าศึกษาต่อด้านฟิสิกส์ในมหาวิทยาลัยลุดวิจ-มักซีมีเลียนแห่งมิวนิก ต่อมาเมื่ออายุได้ 19 ปี เขาเดินทางไปกรุงเบอร์ลิน เพื่อศึกษากับนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงชื่อ แฮร์มันน์ ฟอน เฮล์มโฮลทซ์ กับกุสทาฟ คีร์ชฮอฟฟ์ และนักคณิตศาสตร์ชื่อ คาร์ล ไวแยร์สตราสส์ มักซ์เคยบันทึกไว้ว่า แฮร์มันน์เป็นคนที่ไม่ค่อยเตรียมตัว มักคำนวณเลขผิดอยู่เสมอ พูดจาเชื่องช้า แต่กุสตาฟเป็นคนที่ชอบวางแผนและมีบุคลิกเคร่งขรึม แต่ต่อมาพลังค์กลับได้เป็นเพื่อนสนิทกับแฮร์มันน์ นอกจากนี้พลังค์ยังศึกษางานเขียนของ รูดอล์ฟ เคลาซิอุส นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน จนทำให้เขาสนใจศึกษาในด้านทฤษฎีความร้อน", "title": "มักซ์ พลังค์" }, { "docid": "989012#1", "text": "ซิลเวนาเกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ณ เมืองแพลเซนเทีย รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ ประเทศแคนาดา เป็นธิดาของมักซีมีเลียน คาร์ล โทมาเซลลี () ชาวซาลซ์บูร์ก กับโจซิแอน เพรสเชซ () ", "title": "ซิลเวนา โทมาเซลลี" }, { "docid": "966542#0", "text": "เอมิล ซินเนอร์ (; 23 สิงหาคม ค.ศ. 1909, เบอร์โน – 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1942, ค่ายกักกันไมดาเนก) เป็นผู้เชี่ยวชาญหมากรุกสากลชาวเช็ก-ยิว", "title": "เอมิล ซินเนอร์" }, { "docid": "673358#2", "text": "เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง ที่ความรู้สึกของใครซักคน (หรืออาจจะทั้งคู่) ก้าวข้ามนิยามคำว่าเพื่อนไปมากกว่านั้นเมื­่อไหร่ ก็มักจะมีสัญญาณ (Sign) อะไรบางอย่างที่เกิดขึ้น อาทิเช่น คิดถึงอยากบอกให้รู้ (แต่ไม่กล้าบอก) สบตามองหน้ากันแล้วหวั่นไหว หัวใจเต้นด้วยจังหวะที่ไม่เหมือนเดิม อ่อนไหว อยากเทคแคร์เอาใจใส่ อาการเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้รู้ไว้เถอะว่า หัวใจได้ยึดอำนาจการปกครองสมองไปเรียบร้อย (รักประหาร) ", "title": "สัญญาณ (เพลงเจ็ตเซ็ตเตอร์)" }, { "docid": "570176#0", "text": "เอมิล ยอดนักสืบ (; ) เป็นผลงานวรรณกรรมเยาวชนที่มีชื่อเสียงโด่งดังของนักเขียนชาวเยอรมัน \"เอริช เคสท์เนอร์\" เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ \"เอมิล ทิชบายน์\" ที่ต้องเดินทางจากเมืองนอยชสตัดท์ไปยังกรุงเบอร์ลินเพื่อเยี่ยมคุณยาย ขณะเอมิลอยู่บนบนรถไฟได้เผลอหลับและเมื่อตื่นขึ้นมาซองเงินในกระเป๋าหายของเขาไป เขามั่นใจว่าชายคนหนึ่งที่นั่งอยู่รถไฟตู้เดียวกับเขาคือ \"ขโมย\" ปฏิบัติการไล่ล่าหัวโขมยจึงเกิดขึ้น", "title": "เอมิล ยอดนักสืบ" }, { "docid": "959807#0", "text": "พลเรือเอก เซอร์ วิลเลียม ซิดนีย์ สมิธ GCB, GCTE, KmstkSO, FRS (; เกิด 21 มิถุนายน ค.ศ. 1764 – 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1840) เป็นนายทหารระดับสูงของราชนาวีบริติซ เป็นผู้ที่เคยเข้าในสงครามการปฏิวัติของฝรั่งเศส และสหรัฐ ในช่วงปลาย ซิดนีย์ได้รับยศให้เป็นพลเรือเอกแห่งราชนาวีบริติซ\nนโปเลียน โบนาปร์ต ได้เคยกล่าวถึงซิดนีย์ว่า \"ชายผู้นั้นทำให้ผมนึกถึงโชคชะตากรรมของผม\"", "title": "ซิดนีย์ สมิธ" }, { "docid": "300763#1", "text": "มักซีมีเลียนผู้เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1662 ที่มิวนิคเป็นบุตรของเฟอร์ดินานด์ มาเรีย ผู้คัดเลือกแห่งบาวาเรียและเจ้าหญิงเฮนเรียตตา อเดลเลดแห่งซาวอย", "title": "มักซีมีเลียนที่ 2 เอมานูเอล ผู้คัดเลือกแห่งบาวาเรีย" }, { "docid": "966542#2", "text": "ซินเนอร์ทำหน้าที่เป็นผู้แข่งขันให้แก่เชโกสโลวาเกียในหมากรุกสากลโอลิมเปียดอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 3 ที่มิวนิกใน ค.ศ. 1936 และได้รับรางวัลเหรียญทองแดงที่บอร์ดสามด้วยผลการแข่ง +14 –5 =1 นอกจากนี้เขายังเข้าแข่งในหมากรุกสากลโอลิมเปียดครั้งที่ 7 ที่สต็อกโฮล์มใน ค.ศ. 1937 ที่บอร์ดสามด้วยผลการแข่ง +9 –4 =4", "title": "เอมิล ซินเนอร์" }, { "docid": "116165#4", "text": "มิสเตอร์บีนและสเตพานลงรถไฟที่สถานีถัดไปเพื่อรอเอมิล แต่รถไฟขบวนถัดมาเป็นรถด่วน และเอมิลเดินทางมุ่งตรงไปยังเมืองคานส์ เมื่อมิสเตอร์บีนและสเตพานขึ้นรถไฟขบวนต่อมา มิสเตอร์บีนลืมทั้งเงิน ทั้งตั๋ว และทั้งพาสปอร์ตเอาไว้ที่ชานชาลา พวกเขาจึงถูกไล่ลงจากรถไฟเพราะไม่มีตั๋ว ถูกทิ้งให้อยู่ในสภาพไม่มีเงินสักบาทอยู่ในฝรั่งเศส ", "title": "มิสเตอร์บีน พักร้อนนี้มีฮา" }, { "docid": "16249#0", "text": "โจเซฟ แมกซิมิเลียน เพทช์วอล () (6 มกราคม พ.ศ. 2350 – 17 กันยายน พ.ศ. 2434)", "title": "โจเซฟ แมกซิมิเลียน เพทช์วอล" }, { "docid": "225438#0", "text": "แอซิดเฮาส์ () เป็นแนวเพลงย่อยของดนตรีเฮาส์ที่เน้นจังหวะซ้ำแบบถูกสะกดจิต เหมือนกับดนตรีแทรนซ์ที่มักจะมีแซมเพิล หรือมีสายเสียงพูดแทนศิลปิน มีแกนเสียงดังผลัวะแบบอิเล็กทรอนิกส์ของแอซิดเฮาส์ และได้รับการพัฒนาในประมาณกลางยุค 1980 โดยเฉพาะอย่างยิ่งดีเจจากชิคาโก ผู้ทดลองกับ Roland TB-303 (เป็นเครื่องสังเคราะห์เสียง-ซีเควนเซอร์ อิเล็กทรอนิกส์) แอซิดเฮาส์ได้แพร่กระจายไปยังสหราชอาณาจักร และทวีปยุโรป ที่ถูกเล่นโดยดีเจในดนตรีแอซิดเฮาส์และต่อมาเป็นงานสังสรรค์เรฟ โดยในปลายทศวรรษ 1980 มีเพลงที่เลียนแบบ และแอซิดเฮาส์รีมิกซ์ที่นำแนวเพลงไปสู่กระแสหลัก ที่ยังมีบางอย่างที่ได้รับอิทธิพลจาก แนวป็อป และแดนซ์", "title": "แอซิดเฮาส์" }, { "docid": "956648#3", "text": "\"คุนสท์ฟอร์เมินแดร์นาทัวร์\" มีอิทธิพลมากในด้านศิลปะ สถาปัตยกรรม และการออกแบบช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยช่วยเชื่อมช่องว่างระหว่างวิทยาศาสตร์กับศิลปะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพของเฮ็คเคิลยังมีอิทธิพลต่อศิลปินหลายคนที่เกี่ยวข้องกับนวศิลป์ เช่น เรเน บิเน็ต (René Binet), คาร์ล บล็อสเฟ็ลท์ (Karl Blossfeldt), ฮันส์ คริสเตียนเซน (Hans Christiansen), และเอมิล กาเล (Émile Gallé) ตัวอย่างหนึ่งที่โดดเด่นก็คือตลาดโภคภัณฑ์อัมสเตอร์ดัม (Amsterdam Commodities Exchange) ที่เฮนดริก เพทรัส เบอร์ลาจ (Hendrik Petrus Berlage) ออกแบบโดยได้รับแรงบันดาลใจบางส่วนมาจากภาพในหนังสือ \"คุนสท์ฟอร์เมิน\" นี้", "title": "คุนสท์ฟอร์เมินแดร์นาทัวร์" }, { "docid": "159424#2", "text": "การแต่งงานลักษณะนี้ก็เช่นเดียวกันกับสตรีที่มียศศักดิ์สูงกว่าชาย แต่จะเกิดน้อยครั้งและโดยเฉพาะเมื่อสตรีส่วนใหญ่มักจะไม่มีตำแหน่งให้สืบทอดและมักจะมิได้เลือกสามีด้วยตนเอง ยกเว้นแต่ในกรณีของมารี หลุยส์ ดัชเชสแห่งพาร์มา (เมื่อแรกเกิดเป็นอาร์ชดัชเชสแห่งราชวงศ์แฮบสเบิร์ก) และเมื่อแต่งงานครั้งแรกกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 1ก็ได้เป็นจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส หลังจากนโปเลียนเสด็จสวรรคต ก็แต่งงานครั้งที่สองแบบมอร์แกนเนติคกับเคานท์ อีกกรณีหนึ่งคือมาเรีย คริสตีนาแห่งบูร์บง-ทูซิชิลีส์ พระราชินีแห่งสเปน (Maria Christina of Bourbon-Two Sicilies) ผู้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของพระราชธิดาพระราชินีนาถอิสซาเบลลาที่ 2 แห่งสเปนหลังจากที่พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 7 แห่งสเปนเสด็จสวรรคต ก็ทรงแต่งงานกับทหารรักษาพระองค์คนหนึ่งแบบมอร์แกนเนติคอย่างลับๆ", "title": "การแต่งงานต่างฐานันดร" }, { "docid": "49344#1", "text": "บาทหลวงเอมิล โอกุสต์ โกลงเบต์ หรือ เอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ ตามการออกเสียงที่คนไทยนิยมเรียก เกิดวันที่ 26 พฤษภาคม 1849 ที่เมืองกัป จังหวัดโอตซาลป์ ประเทศฝรั่งเศส วันที่ 23 ธันวาคม 1871 ได้รับศีลบวชเป็นบาทหลวงคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (MEP) จากนั้น ได้ออกเดินทางมามิสซังสยาม เมื่อ 31 มกราคม 1871 เดินทางถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ 5 เมษายน 1872 เป็นอาจารย์ที่เซมินารีบางนกแขวก (เป็นเวลา 2 ปี ) ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนพฤศจิกายน 1875 เป็นผู้ช่วยอธิการโบสถ์กาลหว่าร์ และทำหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้", "title": "เอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์" }, { "docid": "838434#1", "text": "มักซีมีเลียน อ็อสคาร์ เบียร์เชอร์-เบ็นเนอร์ เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2410 ในเมืองอาเรา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีบิดาชื่อ ไฮน์ริช เบียร์เชอร์ (Heinrich Bircher) และมารดาชื่อ แบร์ทา ครือซี (Berta Krüsi) เขาเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยซูริก เพื่อศึกษาทางด้านแพทยศาสตร์ จากนั้นเขาได้ก่อตั้งคลินิกโรคทั่วไปของตนเอง ในปีแรกที่เขาเปิดคลินิก เบียร์เชอร์-เบ็นเนอร์มีอาการของโรคดีซ่าน และเขาอ้างว่าเขาหายได้เพราะรับประทานแอปเปิลสด จากข้อสังเกตนี้ เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับผลกระทบที่อาหารสดมีต่อร่างกาย และได้ส่งเสริมการบริโภคมูสลี ที่ประกอบไปด้วยข้าวโอ๊ตดิบ ผลไม้ และถั่ว เบียร์เชอร์-เบ็นเนอร์ขยายงานวิจัยด้านโภชนาการของเขา และได้เปิดสถานพยาบาลชื่อ \"พลังชีวิต\" (Vital Force) ใน พ.ศ. 2440 เขาเชื่อว่าผลไม้และผักสดมีคุณค่าทางอาหารสูงสุด อาหารที่ผ่านการปรุงหรือกระบวนการอื่นๆ มีคุ่นค่าทางอาหารน้อยรองลงมา ส่วนเนื้อมีคุ่นค่าทางอาหารน้อยที่สุด เบียร์เชอร์-เบ็นเนอร์เลิกกินเนื้อในที่สุด แม้นักวิทยาศาสตร์คนอื่นในขณะนั้นไม่ค่อยเห็นด้วยกับสิ่งที่เขาเรียกว่า \"วิทยาศาสตร์การอาหารรูปแบบใหม่\" สักเท่าไหร่ ทว่าคนทั่วไปกลับติดใจในความคิดของเขาและได้ชี้นำทางทำให้เขาสามารถขยายสถานพยาบาลของเขา รูปแบบการรับประทานตามแบบโภชนาการของเขาได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2482 ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ด้วยวัย 71 ปี เบียร์เชอร์-เบ็นเนอร์เขียนหนังสือที่ชื่อว่า \"วิทยาศาสตร์การอาหารสำหรับทุกคน\" (\"Food Science for All\")", "title": "มักซีมีเลียน เบียร์เชอร์-เบ็นเนอร์" }, { "docid": "139614#2", "text": "การทำให้เป็นฆราวาสมีความหมายหลายระดับ ทั้งในทางทฤษฎีและกระบวนการทางประวัติศาสตร์ นักทฤษฎีสังคมอย่าง คาร์ล มากซ์, ซิกมุนด์ ฟรอยด์, มักซ์ เวเบอร์, และ เอมิล ดูร์ไกม์ ตั้งสมมุติฐานว่า การทำให้สังคมทันสมัยอาจรวมถึงการลดลงของขีดความเลื่อมใสในศาสนา การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าวเป็นไปเพื่อนิยามลักษณะหรือขอบเขตที่ถือว่า ลัทธิ จารีต หรือสถาบันทาง ศาสนา สิ้นความสำคัญทางสังคมลง นักทฤษฎีบางคนก็แย้งว่า การทำให้อารยธรรมสมัยใหม่มีความเป็นฆราวาสนั้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการไม่สามารถปรับความต้องการในทางจริยธรรมและจิตวิญญาณของหมู่มนุษย์ให้เข้ากับความก้าวหน้าอันเร็วรวดของวิทยศาสตร์กายภาพ", "title": "การทำให้เป็นฆราวาส" }, { "docid": "17294#14", "text": "ระหว่างปี ค.ศ. 1858 และ ค.ศ. 1861 เกิดสงครามภายในขึ้นระหว่างฝ่ายเสรีนิยมกับฝ่ายอนุรักษนิยม ในที่สุด เบนีโต คัวเรซ ผู้นำจากฝ่ายเสรีนิยมก็เป็นฝ่ายชนะและดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ในทศวรรษ 1860 ฝรั่งเศสได้เข้ารุกรานเม็กซิโกและสถาปนามักซีมีเลียนแห่งฮับสบูร์ก ขึ้นเป็นจักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1 แห่งจักรวรรดิเม็กซิโกที่ 2 แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับ ต่อมาพระองค์ทรงถูกสำเร็จโทษประหารหลังจากที่กองกำลังสาธารณรัฐสามารถยึดเมืองหลวงได้ในปี ค.ศ. 1867 และคัวเรซก็กลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งจนถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1872", "title": "ประเทศเม็กซิโก" }, { "docid": "20355#6", "text": "ผู้จัดการมิคามิและคาตางิริได้เลือกนักเตะเป็นทีมญี่ปุ่นไปแข่งระดับยุวชนนานาชาติ สึบาสะได้พบกับมิซากิที่ฝรั่งเศส ซึบาสะได้พบกับนักเตะยอดเยี่ยมหลายคนจากทั่วโลก อาทิเช่น ผู้รักษาประตูหัตถ์ทองคำ จิโน่ เฟอร์นันเดส มิดฟิลด์อัจฉริยะและคู่หู แวน ดิออส และ อลัน ปาสคอล กัปตันทีมฝรั่งเศสและดาวยิง เอล ซิด ปิแอร์ และ หลุยส์ นโปเลียน เสือดำแห่งอุรุกวัย วิคตอริโน และดาวเด่นทีมเยอรมัน คาร์ล ไฮนซ์ ชไนเดอร์ , มาร์คัส , ฟรานซ์ เชสเตอร์ , คัลซ์ และผู้รักษาประตูเงา ร่างยักษ์ ดิวเตอร์ มิลเลอร์ ท้ายที่สุดก็สามารถคว้าแชมป์ได้จากเยอรมันโดยลูกโอเวอร์เฮดคิก เมื่อชนะเลิศแล้ว โรแบร์โตที่มาอยู่ฝรั่งเศสเพราะคุมทีม เซาเปาโล จูเนียร์ ได้มาพบกับสึบาสะ และโรแบร์โตกลับมาขอร้องให้ซึบาสะไปบราซิลกับตนอีกครั้ง", "title": "โอโซระ ซึบาสะ" } ]
1696
ชื่อ ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี มีที่มาจากอะไร?
[ { "docid": "674576#2", "text": "แม้ว่าคาบสมุทรคัมชัตคานั้นจะมีนักสำรวจชาวคอสแซคของทางรัสเซียกลุ่มอื่นเข้ามาสำรวจและตั้งชุมชนอยู่อาศัยมาก่อนตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1700 หากแต่ด้วยชนพื้นเมืองซึ่งอยู่มาก่อนนั้นได้ทำการรบพุ่งกับฝ่ายรัสเซียซึ่งเข้ามาทางตอนเหนือขึ้นไปของคาบสมุทร[2]ทำให้ไม่มีชุมชนของฝ่ายรัสเซียในบริเวณนี้จนกระทั่งการเดินทางมาถึงของไวตัส เบริงพร้อมกับกองเรือสำรวจซึ่งเดินทางมาจากทะเลโอค็อตสค์ เพื่อไปสำรวจทะเลทางตะวันออกของคาบสมุทรคัมชัตคา โดยเบริงได้สั่งให้มีการสร้างชุมชนขึ้นบริเวณอ่าวอะวาชาในวันที่ 17 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1740 เพื่อให้เป็นฐานสำหรับการเตรียมการออกเรือสำรวจ โดยได้ตั้งชื่อชุมชน ณ อ่าวอะวาชานี้ว่า ปิตราปัฟลัฟสค์ จากชื่อเรือสองลำในกองเรือคือเรือเซนต์ปีเตอร์และเรือเซนต์พอล[1]", "title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี" } ]
[ { "docid": "674576#3", "text": "ด้วยว่าชื่อของเมืองนั้นตั้งมาจากชื่อของนักบุญสององค์ เมืองจึงได้นับถือนักบุญทั้งสองเป็นนักบุญประจำเมืองด้วยและใช้รูปของนักบุญทั้งสองในตราเมือง", "title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี" }, { "docid": "674576#12", "text": "ช่วงสงครามเย็น ทางโซเวียตได้เพิ่มการพัฒนาทางด้านการทหารในบริเวณคาบสมุทรอย่างมาก คัมชัตคาถูกประกาศให้เป็นเขตหวงห้ามทางการทหารที่แม้แต่ชาวรัสเซียเองก็มิสามารถเดินทางเข้ามาได้ง่าย มีการส่งเรือดำน้ำมาประจำการที่ฐานทัพเรือและหน่วยฝูงบินของกองทัพโซเวียตก็ประจำการอยู่ที่สนามบินหลักของเมืองรวมถึงมีเขตพื้นที่หวงห้ามเพื่อทดลองขีปนาวุธพิสัยไกลด้วย[6] ดังนั้นในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1983 โคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007ได้บังเอิญบินรุกล้ำเข้ามาในน่านฟ้าของคัมชัตคาใกล้กับเมืองปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกีจนถูกทางการโซเวียตสงสัยว่าเป็นการสอดแนมและถูกสั่งยิงตกเมื่อบินออกจากเขตคาบสมุทรไปถึงบริเวณเกาะซาฮาลินแล้ว", "title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี" }, { "docid": "674576#1", "text": "ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1740 เพื่อเป็นฐานตั้งต้นของการสำรวจทางทะเลของไวทัส เบริงนักเดินเรือเชื้อสายเดนมาร์กซึ่งมารับภารกิจสำรวจทางทะเลให้กับจักรวรรดิรัสเซีย[1] เมืองนี้มีบทบาทสำคัญทางทะเลด้านตะวันออกไกลให้แก่รัสเซียมาอย่างยาวนาน เป็นทั้งสมรภูมิด้านตะวันออกไกลในสงครามไครเมียเมื่อปี ค.ศ. 1854 และมีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่สองจนได้รับเกียรติยกย่องในรัสเซียเป็นหนึ่งในเหล่าเมืองเกียรติยศทางการทหาร (English: City of military glory; Russian: Город воинской славы) เป็นที่ตั้งของสนามบินพาณิชย์เพียงแห่งเดียวบนคาบสมุทรและยังมีฐานทัพของกองเรือแปซิฟิกของรัสเซียตั้งอยู่ด้วย", "title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี" }, { "docid": "674576#15", "text": "หมวดหมู่:เมืองในประเทศรัสเซีย", "title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี" }, { "docid": "102375#1", "text": "เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2507 แอโรฟลอต โซเวียต ได้ตั้งแผนกโดโมเดโดโว ยูไนเต็ดแอร์ ขึ้นมาเพื่อให้บริการเที่ยวบินภายในสหภาพโซเวียต โดยเน้นไปยังพื้นที่ฝั่งตะวันออก และประเทศเอเชียกลาง และในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2507 ก็ได้เริ่มให้บริการเป็นครั้งแรกด้วยเครื่องตูโปเลฟ ตู-114 เที่ยวบินจากโดโมเดโดโวไปยังคาบารอฟสค์ ในภาคตะวันออก จนในปี พ.ศ. 2521 ก็ได้เปิดเที่ยวบินภายในประเทศที่ไกลที่สุดในโลก จากมอสโกไปยังเปโตรปัฟลอฟสค์-คัมชัตสกี ซึ่งมีระยะทาง 6,800 กิโลเมตร ด้วยเครื่องบินอิลยูชิน อิล-62 ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โดโมเดโดโว ซาปา (รัสเซีย : Домодедовское производственное объединение гражданской авиации (ДПО ГА))", "title": "โดโมเดโดโวแอร์ไลน์" }, { "docid": "674576#0", "text": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี (Russian: Петропа́вловск-Камча́тский) เป็นเมืองใหญ่เพียงแห่งเดียวบนคาบสมุทรคัมชัตคาและเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของคัมชัตคาไครทางตะวันออกไกลของรัสเซีย มีประชากรราว ๆ 180,000 คนหรือกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรในดินแดนคัมชัตคาไครทั้งหมด", "title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี" }, { "docid": "51326#1", "text": "โรซิตสกี มีฉายาว่า \"\"โมสาร์ตน้อย\"\" ก่อนเริ่มฤดูกาล 2016–17 โรซิตสกีได้ประกาศเลิกเล่นฟุตบอลหลังจากในช่วงก่อนหน้านั้นได้รับบาดเจ็บแทบตลอด กอรปกับอายุที่มากขึ้น โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 โรซิตสกีอยู่ในฐานะผู้เล่นสำรองมาตลอด และเมื่อหลังจบฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ที่ฝรั่งเศส ซึ่งโรซิตสกีเป็นกัปตันทีม ตกรอบแรก โรซิตสกีก็ได้ประกาศเลิกเล่นทีมชาติด้วยเช่นกัน", "title": "โตมาช โรซิตสกี" }, { "docid": "756282#1", "text": "ดินแดนคัมชัตคามีเนื้อที่ทั้งหมด 472,300 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรทั้งหมด 322,079 คน โดยมีศูนย์กลางการบริหารคือ ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี", "title": "ดินแดนคัมชัตคา" }, { "docid": "674576#5", "text": "ภูมิอากาศของปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกีได้รับอิทธิพลจากความชื้นของมหาสมุทรแปซิฟิกค่อนข้างมาก ทำให้อากาศไม่ค่อยหนาวเย็นรุนแรงนักแม้จะอยู่ในไซบีเรีย มีอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคมเพียง -7 องศาเซลเซียส (ส่วนอื่นของไซบีเรียสามารถมีอุณหภูมิต่ำได้ถึง -30 องศาเซลเซียสในช่วงเดียวกัน) อากาศจะเริ่มหนาวเย็นลงได้ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกันยายนและเริ่มมีหิมะได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมและหิมะสามารถคงอยู่โดยไม่ละลายได้จนถึงราวกลางมิถุนายน ในบางช่วงของฤดูหนาวหิมะสามารถตกลงมาสะสมเป็นปริมาณที่สูงมากและน้ำทะเลในบางส่วนของอ่าวอะวาชาสามารถจับตัวเป็นน้ำแข็งได้ ช่วงหน้าร้อนจะมีเพียงระยะสั้นไม่เกินสามเดือนโดยอุณหภูมิจะเป็นแบบอบอุ่นเฉลี่ยระดับ 15-16 องศาเซลเซียส", "title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี" }, { "docid": "674576#13", "text": "แม้ว่าการล่มสลายลงของโซเวียตจะเป็นการเปิดเมืองให้ผู้คนสามารถเดินทางเข้ามาได้ง่ายขึ้น ทว่าหลังจากการล่มสลายของโซเวียตประชากรของเมืองกลับลดลงอย่างต่อเนื่องจากการย้ายถิ่นฐานออกไปยังที่อื่น ในขณะเดียวกับเศรษฐกิจของเมืองก็เริ่มเปลี่ยนทิศทางจากที่เดิมพึ่งพาการประมงและธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งทางเรือและการทหาร ในระยะหลัง ๆ นักท่องเที่ยวทั้งชาวรัสเซียและชาวต่างชาติบางส่วนเริ่มเข้ามาเที่ยวในคัมชัตคามากขึ้นและด้วยฐานะที่เป็นเมืองที่มีความเจริญมากที่สุดของคาบสมุทร ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกีจึงได้กลายเป็นจุดตั้งต้นของการเดินทางเที่ยวชมธรรมชาติของคาบสมุทร กระนั้นเมืองก็ไม่ค่อยได้รับการพัฒนามากเท่าในช่วงสงครามเย็น สภาพทั่วไปจึงค่อนข้างเสื่อมโทรมไม่มีการก่อสร้างอะไรใหม่มากไปจากสมัยโซเวียตนัก", "title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี" }, { "docid": "723995#3", "text": "มินสกี เป็นผู้ประดิษฐ์หน้าจอดิสเพลย์แสดงกราฟิกแบบสวมหัวเครื่องแรกของโลกในปี ค.ศ 1963 และกล้องคอนโฟคอลในปี ค.ศ. 1957 อันเป็นที่มาของกล้องกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนที่ใช้กันในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังได้พัฒนาหุ่นยนต์เต่า และเครื่อง SNARC เครื่องจักรที่เรียนรู้จากโครงข่ายประสาทเทียมแบบต่อสุ่มเครื่องแรกในปี ค.ศ. 1951", "title": "มาร์วิน มินสกี" }, { "docid": "251324#0", "text": "ปาลัซโซสกีฟาโนยา () เป็นวังตั้งอยู่ที่เมืองแฟร์ราราในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญาในประเทศอิตาลี เป็นวังที่สร้างสำหรับตระกูลเอสเต ชื่อของวัง \"Schifanoia\" เชื่อกันว่ามาจากคำว่า \"Schifanoia\" ที่มาจากคำว่า \"schivar la noia\" ที่แปลว่า \"หลบจากความน่าเบื่อ\" ซึ่งเป็นคำบรรยายที่ตรงกับความเป็นจริงของจุดหมายในการก่อสร้างแต่เดิม สิ่งที่สำคัญที่สุดที่มีชื่อเสียงของวังนี้คือจิตรกรรมฝาผนังอุปมานิทัศน์ของ \"วัฏจักรสิบสองเดือน\" (Cycle of the Year) ที่เขียนโดยฟรันเชสโก เดล กอสซา และโกซีโม ตูรา ระหว่างปี ค.ศ. 1469 ถึงปี ค.ศ. 1470", "title": "ปาลัซโซสกีฟาโนยา" }, { "docid": "674576#4", "text": "เมืองปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกีตั้งอยู่ค่อนลงมาทางด้านใต้ของคาบสมุทรคัมชัตคาทางด้านตะวันออก เวลาท้องถิ่นของเมืองนั้นไวกว่ามอสโกซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัสเซียที่อยู่ห่างกัน 6,766 กิโลเมตรถึง 9 ชั่วโมง สภาพแวดล้อมโดยรอบของเมืองเป็นแนวทิวเขาจนแทบไม่มีจุดใดจากในตัวเมืองสามารถมองเห็นเส้นขอบฟ้าได้ จุดที่เมืองตั้งเป็นบริเวณที่ราบขนาดแคบ ๆ ลาดลงสู่ทะเลสลับเนิน อ่าวอะวาชาซึ่งเป็นทางออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิกนั้นมีสภาพเกือบคล้ายลากูนด้วยมีช่องทางติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิกเพียงแคบ ๆ ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว ๆ 30 กิโลเมตรเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟสามลูกเรียงตัวกันในแนวตะวันตกไปยังตะวันออกคือ ภูเขาไฟคาเรียคสกี (Koryaksky Volcano) ภูเขาไฟอะวาชินสกี (Avachinsky Volcano) และ ภูเขาไฟคาเซลสกี (Kozelsky Volcano) โดยภูเขาไฟทั้งสามลูกนี้ไม่ค่อยปะทุบ่อยนักและถูกเรียกกันว่า Home Volcanoes ถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของเมืองซึ่งประกอบอยู่ในตราเมืองเช่นกัน", "title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี" }, { "docid": "258214#0", "text": "คาบสมุทรคัมชัตคา (; ) เป็นคาบสมุทรทางภาคตะวันออกของประเทศรัสเซีย มีพื้นที่ประมาณ 472,300 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิก (ทางทิศตะวันออก) และทะเลโอคอตสค์ (ทางทิศตะวันตก) คาบสมุทรมีความยาว 1,250 กิโลเมตรโดยประมาณ", "title": "คาบสมุทรคัมชัตคา" }, { "docid": "674576#9", "text": "ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของปิตราปัฟลัฟสค์ปรากฏขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ. 1854 ซึ่งรัสเซียกำลังทำสงครามไครเมียโดยอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับฝรั่งเศสและอังกฤษ เนืองจากในระยะนั้นทั้งสองชาติได้เริ่มมามีอาณานิคมในแถบเอเชียแล้วและเมืองปิตราปัฟลัฟสค์เองก็มีฐานะในยามนั้นเป็นฐานกำลังหลักของกองทัพเรือรัสเซียทางฝั่งแปซิฟิก ในเดือนสิงหาคมกองเรือของทั้งสองชาติได้แล่นมาจากจีนและทำการปิดล้อมโจมตีเมืองปิตราปัฟลัฟสค์ซึ่งในเวลานั้นมีคนในเมืองเพียง 988 คนกับปืนเพียง 68 กระบอก ทว่าฝ่ายรัสเซียสามารถต้านทานจากโจมตีด้วยจำนวนเรือ 6 ลำ ปืน 206 กระบอกและทหารราว ๆ 2,500 คนได้จนฝ่ายฝรั่งเศสและอังกฤษต้องจำล่าถอยไปด้วยเสบียงที่ร่อยหรอลงและใกล้เข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งทางฝ่ายรัสเซียได้ใช้โอกาสที่เข้าสู่ฤดูหนาวตัดสินใจอพยพทิ้งร้างเมือง เมื่อกองเรือของฝรั่งเศสและอังกฤษยกกำลังกลับมาอีกครั้งในฤดูร้อนปีถัดมาจึงพบเพียงเมืองร้างว่างเปล่าซึ่งก็ถูกยิงถล่มเสียหายก่อนจะถอนกำลังออกไป กระนั้นวีรกรรมของฝ่ายรัสเซียซึ่งสามารถปกป้องเมืองไม่ให้ถูกยึดครองโดยฝ่ายศัตรูก็ถูกยกย่องจนปิตราปัฟลัฟสค์ได้รับการขนานนามว่าเป็นเซวัสโตปอลแห่งตะวันออก", "title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี" }, { "docid": "117223#11", "text": "ในต้นปี ค.ศ. 2012 นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียพบวาฬเพชรฆาตตัวผู้ตัวหนึ่ง เป็นวาฬเพชฌฆาตเผือกที่นอกชายฝั่งคาบสมุทรคัมชัตคา ในรัสเซีย ซึ่งนับเป็นวาฬเพชฌฆาตเผือกโตเต็มวัยตัวแรกที่ถูกค้นพบ โดยก่อนหน้านั้นมีพบวาฬเพชฌฆาตเผือก 2 ตัวที่รัสเซีย แต่ยังไม่ใช่ตัวโตเต็มวัย แต่กับตัวนี้เป็นตัวโตเต็มวัย จึงคาดว่ามีอายุ 16 ปี หรือมากกว่า และตั้งชื่อให้ว่า \"ไอซ์เบิร์ก\" (ภูเขาน้ำแข็ง)[17]", "title": "วาฬเพชฌฆาต" }, { "docid": "114893#29", "text": "ในภาคตะวันออกไกล รัสเซียกระตือรือร้นอย่างมากในอุตสาหกรรมเครื่องขนสัตว์บนคาบสมุทรคัมชัตคาและบนเกาะคูริล กระตุ้นให้รัสเซียมีความสนใจในการค้าในทางใต้กับญี่ปุ่นเพื่อสรรหาวัตถุดิบและอาหาร ในปี ค.ศ. 1783 พายุได้พัดเรือของกัปตันไดโคคุยะ โคดะยู ล่มในทะเลจนเขาลอยมาขึ้นฝั่งบนเกาะอะลูเชียนซึ่งในช่วงเวลานั้นเป็นดินแดนของรัสเซีย ทางการท้องถิ่นของรัสเซียช่วยไดโคคุยะและคณะของเขาไว้ รัฐบาลรัสเซียจึงตัดสินใจใช้เขาเป็นราชทูตติดต่อทำการค้ากับญี่ปุ่น ในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1791 พระนางแคทเธอรีนพระราชทานโอกาสให้ไดโคคุยะเข้าเฝ้า ณ พระราชวังทีจักรพรรดิสกีซีโล (Tsarskoye Selo) ต่อมาในปี ค.ศ. 1792 รัฐบาลรัสเซียส่งคณะทูตไปเจรจาการค้ากับญี่ปุ่นภายใต้การนำของอดัม แลกซ์แมน รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะให้การตอนรับคณะทูตแต่การเจรจาประสบความล้มเหลว", "title": "เยกาเจรีนามหาราชินี" }, { "docid": "674576#7", "text": "จากนโยบายจากแสวงหาดินแดนใหม่ทางตะวันไกลของจักรวรรดิรัสเซีย คาบสมุทรคัมชัตคาได้ถูกเข้ามาสำรวจโดยคณะสำรวจของชาวรัสเซียตั้งแต่ปลายยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 หากแต่การจะเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของคัมชัตคามักถูกต่อต้านโดยเหล่าชาวพื้นเมืองของคาบสมุทรซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่มาก่อนเป็นเวลายาวนานโดยเฉพาะชาวคาเรียค (Koryaks) ซึ่งอยู่ทางด้านบนของตัวคาบสมุทรติดกับแผ่นดินใหญ่และส่วนตอนกลางและทางใต้นั้นเป็นถิ่นของชาวอิเทลเมน (Itelmens) หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งคือ ชาวคัมชาตดัล (Kamchatdals) หลังจากดำเนินการสู้รบกับฝ่ายรัสเซียมานานหลายสิบปี ในท้ายสุดชาวอิเทลเมนประสบกับโรคระบาดซึ่งมากับชาวรัสเซียที่มาครอบครองดินแดนจนทำให้ประชากรของชาวอิเทลเมนตายไปเป็นจำนวนมากและไม่สามารถลุกขึ้นต้านทานฝ่ายรัสเซียได้อีก และเริ่มมีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับฝ่ายรัสเซียจนแทบถูกกลืนหายไปหมดสิ้น ในปี ค.ศ. 1740 ไวตัส เบริง นักสำรวจทางทะเลเชื้อสายเดนมาร์กที่มารับราชการในกองทัพเรือรัสเซียได้เดินทางมาถึงบริเวณอ่าวอะวาชาจากทะเลโอค็อตสค์ก่อนเริ่มการสำรวจ Second Kamchatka Expedition (ซึ่งต่อมาจะเป็นการค้นพบอะแลสกาเป็นครั้งแรก) เนื่องจากเห็นว่าเป็นภูมิประเทศที่เหมาะสมจะให้ใช้เป็นจุดพักกำลังในการเดินเรือด้วยเป็นอ่าวเกือบปิดลึกเข้ามาจากมหาสมุทรแปซิฟิกจึงได้ให้มีการสร้างชุมชนขึ้นเพื่อเป็นจุดแวะสำหรับการเดินเรือในย่านนี้ด้วยไม่มีชุมชนใดสร้างใช้เป็นที่พักเรือได้เลยมาก่อน จากนั้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 เบริงได้เริ่มการสำรวจไปทางตะวันออกของคาบสมุทรคัมชัตคาจนเรือสองลำคือ เรือเซนต์ปีเตอร์ กับ เรือเซนต์พอล พลัดหลงจากกันเพราะทัศนวิสัยเลวร้ายกลางทะเล วันที่ 10 ตุลาคมปีนั้นเรือเซนต์พอลได้ล่องกลับมายังเมืองปิตราปัฟลัฟสค์ก่อน[4]เรือเซนต์ปีเตอร์ของเบริงซึ่งลอยลำไปสำรวจฝั่งตะวันตกของอะแลสกา สุดท้ายแล้วเบริงก็ได้เสียชีวิตลงที่เกาะร้างกลางทะเลก่อนจะสามารถล่องเรือกลับมาถึงเมืองได้ (ปัจจุบันเกาะที่เบริงเสียชีวิตคือ เกาะเบริง เป็นหนึ่งในเกาะของหมู่เกาะคอมมานเดอร์ (Commander Islands) นอกชายฝั่งคาบสมุทรคัมชัตคา)", "title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี" }, { "docid": "864615#32", "text": "ชอมสกีคัดค้านรูปแบบดันทุรังของลัทธิมากซ์หลายอย่าง และแม้แต่ลัทธิมากซ์เอง แต่ก็ยังชื่นชอบแนวคิดทางการเมืองที่มากซ์มอบให้\nโดยไม่เหมือนกับนักอนาธิปไตยบางพวก ชอมสกีไม่พิจารณาลัทธิบอลเชวิกว่าเป็น \"ลัทธิมากซ์ในระดับปฏิบัติการ\" แต่เขายอมรับว่า มากซ์เป็นคนเข้าใจได้ยากและมีไอเดียต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกัน\nแม้เขาจะยอมรับถึงระบอบเผด็จการที่แฝงเร้นในแนวคิดของมากซ์ เขาก็ยังชี้ลัทธิมารซ์แนวอิสรนิยมที่พัฒนาเป็นสภาคอมมิวนิสต์ (council communism) (ของโรซา ลุกเซมบวร์ก และ Anton Pannekoek)\nจุดยืนทางสังคมนิยมแบบอิสรนิยมของเขาทำให้เขาระบุตัวเองว่าเป็นนักอนาธิปไตยที่เอียงไปทางลัทธิมากซ์แบบสุดโด่ง ", "title": "มุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี" }, { "docid": "756282#0", "text": "ดินแดนคัมชัตคา () เป็นเขตการปกครองของประเทศรัสเซีย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โดยรวมตัวกันของแคว้นคัมชัตคากับเขตปกครองตนเองคาเรียค มีการออกเสียงประชามติในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2548", "title": "ดินแดนคัมชัตคา" }, { "docid": "85714#38", "text": "สำหรับรูปแบบล่าสุดที่พัฒนาขึ้นโดยราชนาวีอังกฤษนั้นจะมีลานบินที่ส่วนปลายเป็นทางลาดเอียงขึ้น ส่วนนี้ถูกเรียกว่าสกีจัมพ์ (Ski jump) มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำให้เครื่องบินประเภทบินขึ้นด้วยระยะสั้นและลงจอดในแนวดิ่งหรือสโทฟล์ปปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้ง่ายขึ้น เครื่องบินประเภทสโตฟล์เช่นซีแฮร์ริเออร์สามารถบินขึ้นพร้อมน้ำหนักที่มากขึ้นได้เมื่อใช้ลานบินบนเรือบรรทุกเครื่องบินแบบสโตบาร์ สกีจัมพ์ทำหน้าที่ด้วยการเปลี่ยนการเคลื่อนไหวไปทางด้านหน้าของเครื่องบินให้เป็นแรงกระโดดเมื่อเครื่องบินถึงสุดปลายทางดาดฟ้า เมื่อแรงกระโดดรวมเข้ากับแรงไอพ่นที่ดันเครื่องบินขึ้นจะทำให้เครื่องบินที่บรรทุกอาวุธและเชื้อเพลิงในจำนวนมากสามารถสร้างความเร็วลมและยกตัวให้อยู่ในระดับการบินปกติได้ หากไม่มีสกีจัมพ์แล้วเครื่องบินแฮร์ริเออร์ที่บรรทุกอาวุธเต็มอัตราจะไม่สามารถบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็กได้ แม้ว่าเครื่องบินประเภทสโตฟล์จะสามารถขึ้นบินในแนวดิ่งได้ แต่การใช้สกีจัมพ์นั้นจะช่วยประหยัดเชื้อเพลิงและให้การส่งที่ดีกว่าเมื่อต้องบรรทุกอาวุธขนาดหนัก การใช้เครื่องดีดนั้นก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็น เรือบรรทุกเครื่องบินที่มีสกีจัมพ์จึงสามารถลดน้ำหนัก ความยุ่งยาก และพื้นที่ที่ต้องใช้กับอุปกรณ์ไอน้ำหรือแม่เหล็กไฟฟ้าลงไปได้ อากาศยานที่ขึ้นลงในแนวดิ่งเองไม่จำเป็นต้องใช้สายสลิงเวลาลงจอดอีกด้วย เรือบรรทุกเครื่องบินของรัสเซีย จีน และอินเดียจะติดตั้งสกีจัมพ์เข้าไปแต่มีสายสลิงด้วยเช่นกัน", "title": "เรือบรรทุกอากาศยาน" }, { "docid": "674576#14", "text": "ปัจจุบันนี้แม้ว่าจะสิ้นสุดยุคการเป็นเมืองปิดทางการทหารแล้ว ทว่าก็ยังคงมีกิจกรรมทางการทหารเกิดขึ้นรอบ ๆ เมืองอยู่เสมอ ฝูงบินของกองทัพรัสเซียก็ยังคงประจำการอยู่ที่สนามบินปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี ฐานทัพเรือของกองเรือแปซิฟิกก็ยังคงมีการซ้อมรบนอกชายฝั่งรวมถึงมีการเสริมกำลังยุทโธปกรณ์ใหม่ ๆ อยู่ในทุกวันนี้[7]", "title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี" }, { "docid": "304098#0", "text": "ทะเลโอคอตสค์ (; ) เป็นส่วนหนึ่งหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก อยู่ระหว่างคาบสมุทรคัมชัตคาที่อยู่ทางตะวันออก, หมู่เกาะคูริลทางตะวันออกเฉียงใต้, เกาะฮกไกโดทางใต้, เกาะซาฮาลินทางตะวันตก รวมไปถึงแนวยาวของชายฝั่งไซบีเรียตะวันออก (รวมถึงเกาะชานตาร์) ตั้งอยู่ทางตะวันตกและเหนือ ส่วนมุมตะวันออกเฉียงเหนือคืออ่าวเชลีคอฟ ชื่อตั้งตามโอคอตสค์ เมืองรัสเซียแห่งแรกที่ตะวันออกไกล", "title": "ทะเลโอค็อตสค์" }, { "docid": "674576#8", "text": "หลังจากนั้นปิตราปัฟลัฟสค์ได้กลายเป็นจุดพักเรือของการสำรวจทางมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งเริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น โดยในปี ค.ศ. 1779 เจมส์ คุก ได้มาหยุดเรือที่ปิตราปัฟลัฟสค์ ต่อมา ค.ศ. 1787 ฌ็อง-ฟร็องซัว เดอ ลา เปรูซ (Jean-François de La Pérouse) นักเดินเรือของฝรั่งเศสก็ได้มาหยุดแวะที่เมืองเช่นกันก่อนการสำรวจมหาสมุทรแปซิฟิกทางใต้ ทว่าเมืองไม่ได้เติบโตขึ้นจากที่เป็นเพียงชุมชนเล็ก ๆ มีคนอยู่ไม่ถึงพันคนไปอีกนับร้อยปี", "title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี" }, { "docid": "674576#10", "text": "หลังจากนั้นคัมชัตคาได้กลายเป็นจุดหมายของนักโทษซึ่งถูกเนรเทศมาจากทางตะวันตกของประเทศ ทำให้อัตราประชากรเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ จนในที่สุดชาวรัสเซียได้กลายเป็นประชากรส่วนของทั้งเมืองและตัวคาบสมุทรคัมชัตคา", "title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี" }, { "docid": "258214#1", "text": "คาบสมุทรคัมชัตคาเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนคัมชัตคา ซึ่งเป็นเขตการปกครองเขตหนึ่งของรัสเซีย โดยคาบสมุทรกินพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตการปกครองนั้น", "title": "คาบสมุทรคัมชัตคา" }, { "docid": "166270#0", "text": "จำนวนสกีว () ตั้งชื่อตามชื่อของ สแตนลีย์ สกีว นักคณิตศาสตร์ชาวแอฟริกาใต้ เป็นขอบเขตบนของจำนวนนับ \"x\" ที่มีค่าน้อยที่สุด ซึ่ง", "title": "จำนวนสกีว" }, { "docid": "674576#11", "text": "ในระยะนี้ประชากรของเมืองได้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากการย้ายกำลังทหารมาประจำในฐานทัพต่าง ๆ รอบอ่าวอะวาชาอย่างเนืองแน่น ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกีได้กลายเป็นหนึ่งในเมืองกำลังหลักของการส่งเรือรบและเครื่องบินไปต่อสู้กับทางญี่ปุ่นเพื่อแย่งชิงหมู่เกาะคูริล จนทำให้ได้รับยกย่องเป็นเมืองเกียรติยศทางการทหารเมื่อปี ค.ศ. 2011[5]", "title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี" }, { "docid": "674576#6", "text": "ด้านธรณีวิทยา เมืองเคยได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวบ่อยครั้งเนื่องจากอยู่ในแนวขนานกับรอยเลื่อนคูริล-คัมชัตคา (English: Kuril–Kamchatka Trench) ที่อยู่ใต้มหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งวางตัวในแนวเหนือ-ใต้จากหมู่เกาะคูริลทางด้านใต้ของคาบสมุทรขนานมาจนถึงครึ่งนึ่งของความยาวคาบสมุทรทั้งหมด ที่ผ่านมาบางครั้งเคยเกิดแผ่นดินไหวระดับมากกว่า 7 ริกเตอร์ในมหาสมุทรแปซิฟิกไม่ห่างจากเมืองมากนัก[3] ด้วยเหตุนั้นอาคารต่าง ๆ ในเมืองนอกจากไม่สร้างให้มีความสูงมากแล้วยังต้องสร้างให้รับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้ด้วย", "title": "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี" } ]
2898
จังหวัดจันทบุรีมีต้นไม้ประจำจังหวัดคือต้นอะไร?
[ { "docid": "5964#11", "text": "สำหรับพืชที่ค้นพบในจังหวัดจันทบุรีมีอยู่หลายประเภท ที่สำคัญคือสำรองและจัน ซึ่งถือเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดของจันทบุรี ในส่วนของพืชชนิดอื่น ๆ ที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ สอยดาว ชะมวง กฤษณา กระวานและเหลืองจันทบูรอันเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด[1][24] นอกจากนี้แล้วในจังหวัดจันทบุรียังค้นพบพืชเฉพาะถิ่นอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น เนตรม่วง (Microchirita purpurea) ซึ่งพบได้เฉพาะในเขตอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น[25] เป็นต้น", "title": "จังหวัดจันทบุรี" } ]
[ { "docid": "6523#11", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: อุทัยธานี เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้ำตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นสะเดา ([Azadirachta indica var. siamensis]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกสุพรรณิการ์ ([Cochlospermum regium]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลาแรด ([Osphronemus goramy]error: {{lang}}: text has italic markup (help))", "title": "จังหวัดอุทัยธานี" }, { "docid": "5262#21", "text": "อักษรย่อ: ชม ตราประจำจังหวัด: รูปช้างเผือกในเรือนแก้ว หมายถึงความสำคัญ 2 ประการของจังหวัด ช้างเผือกคือช้างที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่นำมาถวายแด่สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) และได้ขึ้นระวางเป็นช้างเผือกเอกในรัชกาล ส่วนเรือนแก้วคือดินแดนที่พุทธศาสนารุ่งเรืองสูงสุด ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นทองกวาว ([Butea monosperma]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกทองกวาว สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลากาหรือปลาเพี้ย ([Labeo chrysophekadion]error: {{lang}}: text has italic markup (help))", "title": "จังหวัดเชียงใหม่" }, { "docid": "67570#2", "text": "ต้นปี พ.ศ. 2454 ขุนวิภาชวิทยาสิทธิ์ (สังข์ พุกกะเวส) ธรรมการมณฑลจันทบุรี (ภายหลังได้เลื่อนเป็น พระวิภาชวิทยาสิทธิ์) และครูพูล (ขาว) ผู้ช่วยข้าหลวงธรรมการมณฑลจันทบุรี (ภายหลังได้บรรดาศักดิ์เป็นขุนชำนิอนุสรณ์ ตำแหน่งธรรมการจังหวัดจันทบุรี) ได้ร่วมกันพิจารณาหาที่ตั้งโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลจันทบุรี (มณฑลจันทบุรี ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด) เมื่อพิจารณาแล้ว เห็นว่า วัดจันทนารามตั้งอยู่ริมแม่น้ำ มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม การเดินทางต้องลงเรือ ส่วนวัดกลาง อยู่บนเนินสูง น้ำไม่ท่วม นักเรียนสัญจรไปมาสะดวก ทั้งมีบริเวณกว้างขวาง และในขณะนั้นวัดกลางเป็นวัดร้าง มีพระภิกษุรูปเดียว มีศาลาการเปรียญ 1 หลัง กุฏิ 3 หลัง ซึ่งพระภิกษุอาศัยอยู่ 1 หลัง กุฏิอีก 2 หลัง สามารถใช้เป็นอาคารเรียนชั่วคราวได้ เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นโรงเรียนประจำมณฑลต่อไป", "title": "โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี" }, { "docid": "6522#8", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม ตราประจำจังหวัด: รูปพระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำ ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นสารภี ([Mammea siamensis]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกสารภี", "title": "จังหวัดพะเยา" }, { "docid": "4475#6", "text": "ตราประจำจังหวัด: พระบรมธาตุไชยา ซึ่งมีศิลปะแบบศรีวิชัย ตั้งอยู่ ณ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร โดยสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14 ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นเคี่ยม (Cotylelobium melanoxylon) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกบัวผุด (Rafflesia kerrii) สัตว์นํ้าประจำจังหวัด: ปลาตะพัดเขียว (Scleropages formosus) คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ คำขวัญประจำจังหวัดในอดีต: สะตอวัดประดู่ พลูคลองยัน ทุเรียนหวานมันคลองพระแสง ย่านดินแดงของป่า เคียนซาบ่อถ่านหิน พุนพินมีท่าข้ามแม่น้ำตาปี ไม้แก้วดีเขาประสงค์ กระแดะดงลางสาด สิ่งประหลาดอำเภอพนม เงาะอุดมบ้านส้อง จากและคลองในบาง ท่าฉางต้นตาล บ้านนาสารแร่ ท่าอุแทวัดเก่า อ่าวบ้านดอนปลา ไชยาข้าว มะพร้าวเกาะสมุย (แต่งโดยพระเทพรัตนกวี (ก.ธรรมวร) อดีตเจ้าคณะจังหวัด) ธงประจำจังหวัด: คือ มี 2 แถบสี ได้ แถบบนสีแสด แถบล่างสีเหลือง และมีตราประจำจังหวัดกลางผืนธง ตัวอักษรย่อของชื่อจังหวัด: สฎ ลักษณะรูปร่างของจังหวัด: ลักษณะรูปร่างของจังหวัดมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับ \"ผีเสื้อที่กำลังกางปีกโบยบินอยู่\" เพลงประจำจังหวัด:", "title": "จังหวัดสุราษฎร์ธานี" }, { "docid": "6993#38", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองแรกมวยโอลิมปิก ตราประจำจังหวัด: รูปพระธาตุตั้งอยู่บนตอมะขาม ขนาบสองข้างด้วยต้นไม้ ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นกัลปพฤกษ์ ([Cassia bakeriana]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกราชพฤกษ์หรือดอกคูน ([Cassia fistula]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลาพรมหรือปลาตาแดง ([Osteochilus melanopleurus]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) วิสัยทัศน์จังหวัด: ขอนแก่นเมืองน่าอยู่ มุ่งสู่มหานครแห่งอาเซียน ลักษณะรูปร่างของจังหวัด: ลักษณะรูปร่างของจังหวัดขอนแก่นมีรูปร่างคล้ายกับไม้ตะขอที่ใช้คล้องช้าง", "title": "จังหวัดขอนแก่น" }, { "docid": "4203#5", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา เลอคุณค่ามรดกโลก ตราประจำจังหวัด: รูปสังข์ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพานแว่นฟ้าภายในปราสาทใต้ต้นหมัน ซึ่งนับถือกัน ว่าเป็นสัญลักษณ์อันประเสริฐ ต้นไม้ประจำจังหวัด: หมัน ([Cordia dichotoma]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกโสน (สะ-โหน) ([Sesbania aculeata]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) สัตว์น้ำประจำจังหวัด: กุ้งก้ามกรามหรือกุ้งสมเด็จ ([Macrobrachium rosenbergii]error: {{lang}}: text has italic markup (help))", "title": "จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" }, { "docid": "6803#26", "text": "ตราประจำจังหวัดนนทบุรี ต้นนนทรี ต้นไม้ประจำจังหวัด ดอกนนทรี ดอกไม้ประจำจังหวัด ปลาเทพา สัตว์น้ำประจำจังหวัด", "title": "จังหวัดนนทบุรี" }, { "docid": "6803#25", "text": "ตัวอักษรย่อ จังหวัดนนทบุรีใช้อักษรย่อ \"นบ\" คำขวัญประจำจังหวัด พระตำหนักสง่างาม ลือนามสวนสมเด็จ เกาะเกร็ดแหล่งดินเผา วัดเก่านามระบือ เลื่องลือทุเรียนนนท์ งามน่ายลศูนย์ราชการ ตราประจำจังหวัด รูปหม้อน้ำลายวิจิตร หมายถึง ชาวจังหวัดนนทบุรีมีอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งยึดถือเป็นอาชีพและมีชื่อเสียงมาช้านาน ต้นไม้ประจำจังหวัด ต้นนนทรี ([Peltophorum pterocarpum]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด ดอกนนทรี สัตว์น้ำประจำจังหวัด ปลาเทพา ([Pangasius sanitwongsei]error: {{lang}}: text has italic markup (help))", "title": "จังหวัดนนทบุรี" }, { "docid": "7821#34", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: หลวงพ่อโตคู่บ้าน ถิ่นฐานปราสาทขอม ข้าว หอม กระเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี ตราประจำจังหวัด: รูปปรางค์กู่มีดอกลำดวน 6 กลีบอยู่เบื้องล่าง (เดิมใช้ภาพปราสาทหินเขาพระวิหารเป็นตราประจำจังหวัด มาเปลี่ยนเป็นตราปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2512[28] ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นลำดวน ([Melodorum fruticosum]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกลำดวน สัตว์น้ำประจำจังหวัด: กบนา ([Hoplobatrachus rugulosus]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัด: ด้านหน้าภาพปราสาทสระกำแพงใหญ่, ด้านหลังภาพ ปรางค์กู่และดอกลำดวน", "title": "จังหวัดศรีสะเกษ" }, { "docid": "4047#2", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล ตราประจำจังหวัด: รูปดอกบัวบานชูช่อพ้นน้ำ ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นยางนา ([Dipterocarpus alatus]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกบัว สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลาเทโพหรือปลาปึ่ง ([Pangasius larnaudii]error: {{lang}}: text has italic markup (help))", "title": "จังหวัดอุบลราชธานี" }, { "docid": "5487#8", "text": "ธงประจำจังหวัดสุโขทัย ตราประจำจังหวัดสุโขทัย ต้นมะค่า พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสุโขทัย ต้นตาล ต้นไม้ประจำจังหวัดสุโขทัย ดอกบัวหลวง ดอกไม้ประจำจังหวัดสุโขทัย ปลาก้างพระร่วง สัตว์น้ำประจำจังหวัดสุโขทัย ตราผ้าผูกคอลูกเสือประจำจังหวัดสุโขทัย", "title": "จังหวัดสุโขทัย" }, { "docid": "7860#1", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร ตราประจำจังหวัด: รูปต้นรังใหญ่ (มาจากคำว่า มหาสาละ ในชื่อจังหวัดมหาสารคาม) กับทุ่ง ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นพฤกษ์หรือต้นมะรุมป่า ([Albizia lebbeck]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกลั่นทมขาวหรือดอกจำปาขาว ([Plumeria alba]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปูทูลกระหม่อมหรือปูแป้ง ([Thaipotamon chulabhorn]error: {{lang}}: text has italic markup (help))", "title": "จังหวัดมหาสารคาม" }, { "docid": "2810#5", "text": "อักษรย่อ: จังหวัดสมุทรปราการใช้อักษรย่อ สป ตราประจำจังหวัด: พระสมุทรเจดีย์ ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นโพทะเล ([Thespesia populnea]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกดาวเรือง ([Tagetes erecta]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลาสลิด ([Trichopodus pectoralis]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) คำขวัญประจำจังหวัด: ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม", "title": "จังหวัดสมุทรปราการ" }, { "docid": "414974#1", "text": "มีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับจิ้งจกในสกุล \"Hemidactylus\" หรือจิ้งจกบ้าน แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย มีจุดเด่น คือ มีแผ่นหนังระหว่างนิ้วเท้าและมีแผ่นหนังด้านข้างลำตัว ใช้สำหรับในการร่อนจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังต้นหนึ่ง ที่อยู่ในระดับต่ำกว่า ด้วยการแผ่กางแผ่นหนังทั้งหมดออกและลงสู่เป้าหมายด้วยมุมที่น้อยกว่า 40° โดยสามารถร่อนได้ไกลถึง 200 ฟุต หรือ 60 เมตร\nตุ๊กแกบิน อาศัยอยู่ในป่าดิบและบริเวณที่มนุษย์อยู่อาศัย ส่วนใหญ่พบตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ของไทย ไปจรดถึงแหลมมลายู จนถึงอินโดนีเซีย แต่ก็มีรายงานพบที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ในภาคเหนือ รวมถึงที่ปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ในภาคตะวันออก และพื้นที่ป่าสะแกราช อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ในภาคอีสานของไทยด้วย ออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินแมลงเป็นอาหารหลัก", "title": "ตุ๊กแกบิน" }, { "docid": "2854#13", "text": "ตราประจำจังหวัด: รูปปราสาทสองนางสถิตย์ ประดิษฐานแก้วมณีมุกดาหาร ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นตานเหลืองหรือช้างน้าว (Ochna integerrima) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกตานเหลืองหรือช้างน้าว (Ochna integerrima) คำขวัญประจำจังหวัด: หอแก้วสูงเสียดฟ้า ผาเทิบแก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน", "title": "จังหวัดมุกดาหาร" }, { "docid": "7821#35", "text": "ตราปราสาทพระวิหาร ตราประจำจังหวัดศรีสะเกษระหว่าง พ.ศ. 2483 - 2512 ตราประจำจังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบัน ต้นลำดวน ต้นไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ ดอกลำดวน ดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ", "title": "จังหวัดศรีสะเกษ" }, { "docid": "7585#5", "text": "เอกสารบรรยายสรุปจังหวัดสุรินทร์ ประจำปี พ.ศ. 2540 มีการตัดไม้ทำลายป่าค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการบุกรุก แผ้วถาง เพื่อการเกษตรกรรม ป่าไม้ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ในเขตอำเภอสังขะ อำเภอบัวเชด อำเภอกาบเชิง และอำเภอพนมดงรัก และยังมีป่าไม้กระจัดกระจายเป็นหย่อม ๆ ในเขตอำเภอปราสาท อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี อำเภอลำดวน และอำเภอศีขรภูมิ ต้นไม้ที่มีอยู่โดยทั่วไปในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ ต้นเต็ง รัง ยาง ประดู่ พะยูง ตาด แดง กะบาก และอื่น ๆ รวมทั้ง ต้นมันปลา หรือต้นกันเกรา ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์ จากการที่ป่าไม้ถูกทำลายมาก จึงมีการปลูกป่าทดแทน หรือปลูกไม้โตเร็วเพื่อการใช้สอย เช่น ต้นกระถินณรงค์ ต้นยางพารา ต้นตะกู และต้นยูคาลิปตัส เป็นต้น (พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในความดูแลของ ออป. (องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ", "title": "จังหวัดสุรินทร์" }, { "docid": "6840#7", "text": "ตราประจำจังหวัด: ภาพกระโจมไฟและภาพลูกคลื่น ภาพกระโจมไฟหมายถึง จังหวัดตรังเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ ภาพลูกคลื่นหมายถึง ลักษณะพื้นที่ของจังหวัดตรัง เป็นเนินเล็ก ๆ สูง ๆ ต่ำ ๆ คล้ายลูกคลื่น ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นศรีตรังชนิด Jacaranda filicifolia ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia คำขวัญประจำจังหวัด: ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี คำขวัญส่งเสริมการท่องเที่ยว: เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา", "title": "จังหวัดตรัง" }, { "docid": "112288#6", "text": "ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นฝ้ายคำ หรือ ต้นสุพรรณิการ์ ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศทางตะวันตก แต่สามารถขยายพันธุ์และเติบโตแข็งแรงได้ในต่างถิ่น มีดอกสีเหลืองทอง กลีบอ่อนนุ่มซ้อนกัน 5 กลีบ ", "title": "มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ" }, { "docid": "2810#6", "text": "ตราประจำจังหวัดสมุทรปราการ ต้นโพทะเล ต้นไม้ประจำจังหวัด ดอกดาวเรือง ดอกไม้ประจำจังหวัด ปลาสลิด สัตว์น้ำประจำจังหวัด", "title": "จังหวัดสมุทรปราการ" }, { "docid": "5331#11", "text": "อักษรย่อ รบ คำขวัญประจำจังหวัด: คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นโมกมัน ([Wrightia tomentosa]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกกัลปพฤกษ์ ([Cassia bakeriana]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลายี่สก ([Probarbus jullieni]error: {{lang}}: text has italic markup (help))", "title": "จังหวัดราชบุรี" }, { "docid": "5525#49", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก ตราประจำจังหวัด: ไก่สีขาวยืนอยู่ในซุ้มประตูพระธาตุลำปางหลวง ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นกระเชาหรือในภาษาถิ่นว่า ขจาว ([Holoptelea integrifolia]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพุทธรักษาญี่ปุ่นหรือธรรมรักษา ([Heliconia psittacorum]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลารากกล้วยชนิด [Acantopsis choirorhynchos]error: {{lang}}: text has italic markup (help)", "title": "จังหวัดลำปาง" }, { "docid": "5114#2", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ตราประจำจังหวัด: รูปอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีหน้าประตูชุมพล ธงประจำจังหวัด: รูปอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีหน้าประตูชุมพล ในพื้นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแสด ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นสาธร ([Millettia leucantha]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกสาธร สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลาบ้าหรือปลาพวง ([Leptobarbus hoevenii]error: {{lang}}: text has italic markup (help))", "title": "จังหวัดนครราชสีมา" }, { "docid": "6266#15", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นจั่นหรือกระพี้จั่น ([Millettia brandisiana]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกบัวตองหรือพอหมื่อนี่ ([Tithonia diversifolia]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) สัตว์น้ำประจำจังหวัด: กบทูดหรือเขียดแลว ([Limnonectes blythii]error: {{lang}}: text has italic markup (help))", "title": "จังหวัดแม่ฮ่องสอน" }, { "docid": "6263#11", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม ตราประจำจังหวัด: รูปกลองลอยน้ำ ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นจิกเล ([Barringtonia asiatica]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกจิกเล สัตว์น้ำประจำจังหวัด: หอยหลอดชนิด [Solen regularis]error: {{lang}}: text has italic markup (help) ลักษณะรูปร่างของจังหวัด: ลักษณะรูปร่างของจังหวัดสมุทรสงครามมีรูปร่างคล้ายกับหัวของสมเสร็จ", "title": "จังหวัดสมุทรสงคราม" }, { "docid": "5358#23", "text": "ตราประจำจังหวัดลพบุรี ตราประจำจังหวัดลพบุรี ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัดลพบุรีคือ ต้นพิกุล และดอกพิกุล", "title": "จังหวัดลพบุรี" }, { "docid": "7605#2", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ ตราประจำจังหวัด: รูปพระธาตุอานนท์ ปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดยโสธร ขนาบด้วยรูปสิงห์ 2 ตัว เบื้องล่างของภาพดังกล่าวรองรับด้วยรูปดอกบัวบานเป็นการแสดงถึงการที่จังหวัดยโสธรแยกออกมาจากจังหวัดอุบลราชธานี พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด: ต้นกระบาก ([Anisoptera costata]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นยางนา ([Dipterocarpus alatus]error: {{lang}}: text has italic markup (help))[2] ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกบัวแดง ([Nymphaea rubra]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลาชะโอนหรือปลาเซียม ([Ompok bimaculatus]error: {{lang}}: text has italic markup (help))", "title": "จังหวัดยโสธร" }, { "docid": "5419#31", "text": "ธงประจำจังหวัดพิษณุโลก ตราประจำจังหวัดพิษณุโลก ต้นปีบ ต้นไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลก ดอกนนทรี ดอกไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลก ตราผ้าผูกคอลูกเสือประจำจังหวัดพิษณุโลก", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" } ]
3187
ยุขันได้รับอิทธิพลมาจากนิทานเรื่องอะไร?
[ { "docid": "53376#0", "text": "ยุขัน เป็นบทละครนอกที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทกลอนบทละคร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งเมื่อใดและผู้แต่งเป็นใคร สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากนิทานสุภาษิตเปอร์เซียเรื่องอิหร่านราชธรรม หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สิบสองเหลี่ยม เนื่องจากปรากฏข้อความบนทะเบียนเก่าของหอสมุดวชิรญาณ", "title": "ยุขัน" } ]
[ { "docid": "53376#2", "text": "บทละครนอกเรื่อง ยุขัน พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ จุลศักราช 1240 (พ.ศ. 2421) เป็นการพิมพ์รวมเล่มสมุดไทยตั้งแต่เล่มที่ 1-23 และมิได้มีการพิมพ์เผยแพร่อีก จนกระทั่งในปีพุทธศักราช 2548 กรมศิลปากรพิจารณาเห็นว่า บทละครเรื่องยุขันมีคุณค่าต่อการศึกษาวรรณกรรมไทยในแง่ของการได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมต่างชาติ จึงได้มีการตรวจสอบชำระ และจัดพิมพ์เผยแพร่ขึ้นมาอีกครั้ง", "title": "ยุขัน" }, { "docid": "479777#1", "text": "เรื่องเล่าที่เป็นที่นิยมในกัมพูชาส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย เช่น รามายณะ มหาภารตะ และนิทานชาดกของพุทธศาสนา และได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมไทยมาก ตัวอย่างเรื่องที่เป็นที่นิยมคือพระวรวงศ์และสรวงศ์ ซึ่งเป็นเรื่องของเจ้าชายเขมรสององค์ที่ถูกขัไล่แล้วกลับคืนสถานะเดิมของตนได้ เรื่องนี้ต่อมาได้นำไปสร้างเป็นบัลเลต์หลวงของกัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2549", "title": "วรรณคดีกัมพูชา" }, { "docid": "53376#1", "text": "ยุขัน มีชื่อระบุในสมุดไทยว่า ยุขัน (สิบสองเหลี่ยม) อีกทั้งเนื้อเรื่องตอนต้นก็ได้กล่าวถึงเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นในเมืองสิบสองเหลี่ยม แต่กระนั้น ก็มีอิทธิพลของชวา และบทละครเรื่อง อิเหนาเข้ามาปะปนอยู่ด้วย เช่น ชื่อของตัวละคร หรือตำแหน่งต่างๆ เช่น \"ประไหมสุหรี\" เป็นต้น", "title": "ยุขัน" }, { "docid": "414995#7", "text": "นอกจากนั้น ด้วยอุปนิสัยที่รักทางขอมอักขระ อาคม ซึ่งแถบอีสานใต้นั้นศิลปวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณได้มีอิทธิพลเจริญรุงเรืองมาเป็นเวลาช้านาน พระภิกษุมุมจึงเข้ารับการถ่ายทอดจากพระอาจารย์ชาวเขมรบ้าง ชาวลาวบ้าง โดยได้เอาใจใส่ฝึกฝนกับพระอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นจนเจนจัดเชี่ยวชาญทางด้านวิปัสนากรรมฐานฝึกจิตให้กล้าแข็งมีสมาธิแน่วแน่ และได้นำมาสั่งสอนศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนผู้ที่ศรัทธา \nเมื่อศึกษากับหลวงพ่อโฮมจนแตกฉานแล้วจึงออกออกธุดงค์ต่อไปอีก ผ่านป่าดงดิบไปสู่เขตจังหวัดสระบุรี เพื่อกราบสักการะรอยพระพุทธบาท พระพุทธฉาย ที่วัดพระพุทธบาท แล้วล่องต่อมาจนถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าจำพรรษาอยู่หลายวัด ก่อนจะต่อไปยังจังหวัดสุพรรณบุรี เข้าสู่เขตอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ต่อเนื่องไปยังพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย อาณาจักรล้านช้าง เมืองเวียงจันทน์ ท่าแขก และสุวรรณเขต ตลอดระยะเวลาและเส้นทางในช่วงที่ท่านธุดงค์มานั้นก็ได้พบกับพระอาจารย์ที่มีวิชาอาคมเก่งกล้าหลายๆท่าน พระมุมได้ปวารณาตนเป็นศิษย์ ขอศึกษาเล่าเรียนและแลกเปลี่ยนความรู้วิชาต่างๆมากมาย จนได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์เหล่านั้น ให้ไปหาสมเด็จลุน เกจิอาจารย์แห่งนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ท่านจึงธุดงค์ต่อไปเพื่อไปหาสมเด็จลุน แต่ต้องผิดหวังเพราะสมเด็จลุนเดินทางไปยังจังหวัดอุบลราชธานี พระมุมจึงได้ตามไปที่จังหวัดอุบลราชธานี จนพบกับสมเด็จลุนและฝากตัวเป็นศิษย์ติดตามกลับเข้าไปนครจำปาศักดิ์อีกครั้ง ได้ศึกษาความรู้ทางอาคมขลัง เลขยันต์ต่างๆ สมเด็จลุนยังได้มอบตำราวิทยาคมไสยเวทย์ให้กับท่านเพื่อนำมาศึกษาเพิ่มเติม จากนั้น พระมุมได้ลาสมเด็จลุนออกจากจำปาศักดิ์เดินทางกลับมาทางจังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างนั้นได้พบพระอาจารย์ดีๆในตัวเมืองอุบลราชธานีระยะหนึ่ง แล้วจึงเดินทางต่อไปยังเมืองขุขันธ์ จนกลับถึงบ้านเกิดอีกครั้ง", "title": "พระครูประสาธน์ขันธคุณ (มุม อินทปญโญ)" }, { "docid": "10022#2", "text": "นอกจากเรื่องนี้จะได้รับอิทธิพลจากเรื่องอื่นแล้ว นิยายเรื่องนี้ก็มีผลกระทบต่องานเขียนยุคหลังของกิมย้งอย่างมากเช่นกัน โดยเฉพาะกระบี่เย้ยยุทธจักร และอุ้ยเสี่ยวป้อ แต่ที่เห็นชัดที่สุดก็คือ \"กระบี่เย้ยยุทธจักร\" ที่ตัวเอกอย่างเหล่งฮู้ชงก็มีศิษย์น้องหญิง เจอเหตุการณ์ใส่ร้ายป้ายสี และถูกจองจำเหมือนกันเกือบทุกประการ แตกต่างกันที่นิสัยของเหล่งฮู้ชงนั้นเข้าใจโลกมากกว่าเต็กฮุ้น อีกทั้งกระบี่เย้ยยุทธจักรนั้นโครงเรื่องที่กว้างมากกว่ากระบี่ใจพิสุทธ์อีกด้วย แต่ถึงกระนั้นกระบี่ใจพิสุทธิ์ก็ถือเป็นต้นแบบของความสำเร็จอย่างมากของกระบี่เย้ยยุทธจักร", "title": "กระบี่ใจพิสุทธิ์" }, { "docid": "575813#12", "text": "ความหยาบของเส้นทำให้นึกถึงการต่องสู้ที่คึกโครม เรามักได้ยินว่าภาพ \"การขุด\" นี้ได้รับอิทธิพลมาจากภาพต่อต้านสงคราวอย่างภาพ \"เกร์นีกา\" ของปีกัสโซ อีกทั้งฉากภาพยนตร์ขาวดำที่โด่งดังเรื่อง \"รีโซอามาโร\" รวมถึงเดอ โกนิงยังได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ในชีวิตทั่ว ๆ ไป เช่น การขุดเจาะในนิวยอร์ก ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เขาตั้งชื่อผลงานนี้ด้วย ภาพ \"การขุด\" เป็นการแสดงถึงความประทับใจที่มีต่อภาพยุคก่อน ๆ ซึ่งได้มาจากการขุดค้นทางประวัติศาสตร์อันเป็นหลักฐานการล่มสลายของมนุษย์สมัยโบราณ โดยศิลปินมีบทบาทในการขุดภาพนั้นขึ้นมาอีกครั้ง เนื่องจากต้องประสบกับฉากการทำลายล้างที่หดหู่ของสงครามโลกครั้งที่ 2 ศิลปินในลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรมจึงหันมาสนในกับศิลปะดั้งเดิมเช่นกัน", "title": "วิลเลิม เดอ โกนิง" }, { "docid": "53376#15", "text": "ฝ่ายยุขันหลังจากแยกทางกับพระเชษฐาแล้ว ก็รอนแรมมาในป่าจนกระทั่งพบกับอาศรมของพระรักขิตมหาฤๅษีตามที่ในจารึกบอกไว้ จึงเข้าไปกราบแล้วเล่าเรื่องราวของตนแล้วถามทางไปเมืองอุเรเซ็น พระฤๅษีทราบเรื่องก็เกิดความเมตตาจึงกล่าวว่า อันหนทางจะไปเมืองอุเรเซ้นนั้น เต็มไปด้วยอันตรายมากมาย มีทั้งยักษ์มาร และแม่น้ำที่ลึกและกว้าง เมื่อเห็นว่าพลัดพรากจากพระเชษฐาจึงร่ายเวทย์ชุบคนขึ้นมาต่างหน้าพี่ชายไว้เป็นเพื่อนเดินทางแล้วตั้งชื่อให้ว่า เจ้าลิขิต ทั้งสองจึงฝากตัวเป็นศิษย์ของฤๅษี ก่อนออกเดินทางพระฤๅษีจึงได้มอบพระขรรค์แก้วให้กับเจ้าลิขิต และมอบธนูกับศรวิเศษให้กับยุขัน แล้วทั้งสั่งสอนว่าทางข้างหน้าอันตรายให้อยู่ช่วยดูแลกันและกันอย่าประมาท จากนั้นก็จึงอวยพรและชี้ทางให้ ทั้งสองเดินทางเรื่อยมาจนล่วงเข้าเขตที่อยู่ของยักษ์มัตตะริมซึ่งอาศัยอยู่ปราสาททิพย์กลางป่า และมีอาวุธวิเศษคือกระบองแก้วสุริยกานต์อันมีฤทธิ์คือหากกวัดแก่วง ก็จะขอสิ่งที่อยากได้ตามใจนึก นอกจากนี้ยังมีอสูรทหารเอก ซึ่งคอยเผ้าหน้าด่านในป่าอยู่ถึงสามชั้นคือ อสุรปานัน, วายุกันยักษ์ และ นันทสูร อยู่มาวันหนึ่ง อสูรมัตตะริมนั้นเกิดเปล่าเปลี่ยวจิต คิดหาคู่ครองจึงควงอาวุธเหาะหาสาวงามจนล่วงไปถึงเมืองไอสุริยา", "title": "ยุขัน" }, { "docid": "837362#20", "text": "มุกตลกจีนปัจจุบันได้รับอิทธิพลไม่ใช่จากวัฒนธรรมดั้งเดิมเท่านั้น แต่ยังได้จากชาวต่างชาติ ผ่านวรรณกรรม ภาพยนตร์ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต\nในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ \"humor\" เป็นคำจีน ก็กลายเป็นศัพท์ใหม่สำหรับความหมายนี้ ทำให้เกิดแฟชั่นสมัยนิยมในวรรณกรรมตลก และข้อขัดแย้งที่เผ็ดร้อนว่า รูปแบบตลกเช่นไรเหมาะกับประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่จน อ่อนแอ ที่อยู่ใต้การปกครองของประเทศอื่นเป็นบางส่วน\nแม้ว่าจะมีสุขนาฏกรรมที่อนุญาตในสมัยของนายเหมา เจ๋อตง แต่เรื่องขำขันในหลาย ๆ เรื่องก็ยังเป็นของต้องห้าม\nแต่ว่า การผ่อนคลายนโยบายทางสังคมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980, การค้าขายที่มีผลต่อวัฒนธรรมในช่วงทศวรรษ 1990, และการเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ต ช่วยให้เกิดรูปแบบตลกใหม่ ๆ ในประเทศจีนในทศวรรษหลัง ๆ แม้ว่ารัฐยังตรวจพิจารณาสื่ออย่างเข้มงวด", "title": "ความตลกขบขัน" }, { "docid": "53376#3", "text": "บทะครนอกเรื่องยุขัน แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนต้นเรื่องกล่าวถึงกำเนิดของ \"นางประวะลิ่ม\" ซึ่งเป็นนางเอกของเรื่อง ส่วนตอนที่สอง กล่าวถึงการผจญภัยของ \"ยุขัน\" ซึ่งมีความยืดยาวและพิสดารมาก เริ่มตั้งแต่ออกตามหานกวิเศษชื่อ \"หัสรังสี\" และพบ \"นางประวะลิ่ม\" จนกระทั่งจบถึงตอนยุขันจัดเตรียมเครื่องบรรณาการไปกราบพระดาหลีมหามุณี และเดินทางไปกราบพระบรมศพพระเจ้าอุรังยิดที่เมืองอุรังยิด", "title": "ยุขัน" } ]
2381
เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส โดยมีสถานที่ที่มีอยู่จริงกี่สถานที่?
[ { "docid": "281173#1", "text": "สำหรับในภาคเสริมเวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ก่อนหน้านี้เคยมีภาคเสริมที่เกี่ยวกับการพักร้อนมาก่อนหน้านี้แล้วคือ \"เดอะซิมส์ วัยรักพักร้อน\" และ \"เดอะซิมส์ 2 ทริปซ่าส์\" แต่ในภาคเสริมเวิลด์ แอดเวนเจอร์สไม่เหมือนกับภาคเสริมที่แล้วมา เพราะภาคเสริมเวิลด์ แอดเวนเจอร์ส จะเน้นไปที่การผจญภัยหาสมบัติมากกว่าการที่จะพาชาวซิมส์ไปพักร้อน โดยมีสถานที่ที่มีอยู่จริง 3 สถานที่ ไม่ว่าจะเป็น ประเทศอียิปต์,ประเทศจีน และประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังสามารถพาชาวซิมส์ไปเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ๆ พัฒนาทักษะการฝึกป้องกันตัว ทักษะการถ่ายภาพ และทักษะการทำไวน์ อีกทั้งยังเข้าไปพบปะพูดคุยกับชาวซิมส์ที่อยู่ในประเทศนั้นๆได้ แต่มีอีกอย่างที่เพิ่มเข้ามาคือโหมดสร้างชั้นใต้ดิน โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปปรับระดับของพื้นดินเลย และระดับวีซ่าจะมีผลต่อวันที่ชาวซิมส์จะมาเที่ยว ระดับวีซ่าจะเพิ่มก็ต่อเมื่อพาชาวซิมส์ไปผจญภัยในที่ต่างๆ [1]", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" } ]
[ { "docid": "281173#5", "text": "ภาคเสริมเวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ได้เปิดโอกาสให้ผู้เล่นสามารถพาชาวซิมส์ไปยังประเทศอียิปต์,ประเทศฝรั่งเศส และ ประเทศจีน ชาวซิมส์สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรมขึ้นอยู่กับสถานที่ที่ชาวซิมส์ไป ในประเทศอียิปต์ ชาวซิมส์ สามารถเยี่ยมชมปิรามิดและพบกับปริศนาที่ซ่อนไว้ให้ปิรามิด ในประเทศจีน เยี่ยมชมดอกไม้ไฟรวมทั้งการกินและศิลปะการต่อสู้ และในประเทศฝรั่งเศส ชาวซิมส์สามารถมีส่วนร่วมในการทำไวน์รสชาติกลมกล่อม ระยะเวลาที่ชาวซิมส์จะสามารถอยู่ในประเทศที่ชาวซิมส์เที่ยวได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับวีซ่า ระดับวีซ่านี้จะเพิ่มขึ้นไปในการผจญภัยต่างๆ ถ้ามีระดับวีซ่ามากขึ้นเท่าไร ชาวซิมส์จะสามารถซื้อบ้านพักตากอากาศเป็นของตัวเองและขยายเวลาการมาพักร้อนได้เท่านั้น [4][5]", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "281173#6", "text": "รูปแบบการเล่นของภาคเสริม เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส คือการหาเควสต่างๆ หรือที่เรียกว่าการผจญภัย ซึ่งการผจญภัยจะประกอบด้วยเป้าหมายต่างๆเชื่อมโยงกันในเรื่องราว ซึ่งมีเป้าหมายทั่วไปรวมถึงการสำรวจสุสานต่างๆหาของมีค่าและพูดคุยกับชาวซิมส์คนอื่นๆ เพื่อสร้างสังคมของซิมส์ เมื่อสำรวจสุสาน ซิมส์ของคุณจะต้องฝ่าฝันอุปสรรคต่างๆ เพื่อปลดล็อกห้องถัดไป เมื่อชาวซิมส์เข้าไปในสุสานครั้งแรก จะเกิดหมอกสงครามขึ้น หมอกสงครามจะหายไปเมื่อชาวซิมส์เดินผ่านห้องต่างๆที่เกิดหมอกสงครามอยู่ ซึ่งสุสานต่างก็มีปริศนาลี้ลับซ่อนเงื่อน เช่น กับดัก, หลุมดำ และสวิทช์เปิดบันได เป็นต้น", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "281173#10", "text": "ทักษะการถ่ายภาพขึ้นอยู่กับการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิทัลพกพา ภาพถ่ายที่ถ่ายโดยใช้มุมมองบุคคลที่หนึ่ง เกมสามารถตรวจสอบเรื่องการถ่ายภาพ เกมมีเป้าหมายให้ผู้เล่นในรูปแบบของทักษะการถ่ายภาพสำหรับชาวซิมส์นั้น นอกจากนี้ผู้เล่นสามารถเลือกรูปแบบภาพต่างๆเช่น รูปแบบทัศนียภาพและโทนสีซีเปียเป็นต้น", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "248717#22", "text": "Nelly Furtado ได้ร้องเพลง \"Manos al Aire\" เป็นภาษาซิมส์สำหรับ เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ซึ่งตอนนี้มิวสิกวิดีโอเพลงได้อัปโหลดลงยูทูบแล้ว . นอกจากนี้ Katie Melua ยังได้ร้องเพลง \"If the Lights go out\" (ซึ่งต้นฉบับนั้นได้ร้องโดย The Hollies) ในภาคเสริม \"เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส\" และขณะนี้เพลงดังกล่าวได้อัปโหลดลง ยูทูบแล้ว", "title": "ภาษาซิมส์" }, { "docid": "673582#1", "text": "ชุดเกมเสริม เอาต์ดอร์รีทรีต มีรูปแบบคล้ายคลึงกับ เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส, เดอะซิมส์ 2 ทริปซ่าส์ และ เดอะซิมส์ วัยรักพักร้อน เพียงแต่เน้นในเรื่องการเข้าค่ายพักแรม และการพักผ่อนเป็นหลัก\nเซอร์ไพรส์ครั้งใหม่กำลังรอซิมของคุณอยู่ในป่า ออกสำรวจที่หมายแห่งใหม่ Granite Falls (แกรนิต ฟอลส์) ซิมของคุณจะได้ตั้งแคมป์ ร้องเพลง หรือเล่าเรื่องผีรอบกองไฟ และสนุกกับกิจกรรมใหม่ทุกรูปแบบที่มีให้! เช็ก, เดนมาร์ก, เยอรมัน (DE), อังกฤษ (US), สเปน (ES), ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส (FR), อิตาลี, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์, โปแลนด์, โปรตุเกส (BR), รัสเซีย, สวีเดน, จีนกลาง", "title": "เดอะซิมส์ 4 เอาต์ดอร์รีทรีต" }, { "docid": "281173#8", "text": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ภาคนี้ ยังเพิ่มทักษะสามทักษะที่มีเป้าหมายใหม่และความท้าทายต่อผู้เล่น ทักษะศิลปะป้องกันตัวซึ่งสามารถฝึกได้กับหุ่นโชว์ เมื่อฝึกไปได้สักพักชาวซิมส์ก็จะสามารถสับไม้และวัตถุอื่นๆ โดยใช้อิฐสองบล็อกเป็นตัวตั้งวัตถุได้ อีกทั้งซิมส์ของคุณยังสามารถร่วมการแข่งขันประลองฝีมือต่างๆเพื่อเพิ่มอันดับของซิมส์ ระดับทักษะของชาวซิมส์จะเห็นได้ตามสายคาดและสีเสื้อที่ชาวซิมส์ใส่อยู่ ตัวอย่างเช่น ถ้าอยู่ในระดับแรก สีของเสื้อจะเป็นสีขาว สายคาดสีดำ แต่พอฝึกไปได้สักพัก สีของเสื้อและสาดคาดจะเปลี่ยนไปเป็นสีอื่นๆ ตามระดับทักษะที่ได้ฝึกไว้ เป็นต้น", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "281173#7", "text": "นอกจากนี้ ตัวเกมยังเปิดโอกาสให้ผู้เล่นสามารถใช้เครื่องมือเข้าไปสร้างหรือปรับแต่งหลุมศพได้ นอกจากนี้ผู้เล่นยังสามารถเข้าไปเพิ่มลักษณะการเล่นเฉพาะวัตถุสำหรับสุสานได้ และยังเพิ่มลักษณะพิเศษต่างๆเพื่อให้เกิดความเร้าใจในการผจญภัยได้", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "281173#18", "text": "เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ได้นำนักร้อง Nelly Furtado, Pixie Lott, Stefanie Heinzmann, Matt and Kim และ Young Punx มาขับร้องเป็น ภาษาซิมส์ สำหรับใช้ในเกมนี้.[13] โดยเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ยังมีศิลปินนักร้องอีกมากมายที่มาขับร้องเพลงในภาคเสริมตัวนี้[14]", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "281173#22", "text": "สำหรับเดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ภาคเสริม เป็นแกมที่เจ็ดในการจัดอันดับ 10 เกมที่ขายดีที่สุดตามการจัดอันดับของ เอ็นพีดี และนอกจากนี้เกม เดอะซิมส์ 3 ยังได้ชื่อว่าเป็นเกมที่ขายดีที่สุดแห่งปี 2009[21]", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "281173#20", "text": "Audrye Sessions - \"Turn Me Off\" Broken Hearts Club - \"Na Na Na\" Esmee Denters - \"Outta Here\" Fefe Dobson - \"I Want You\" Friday Night Boys - \"Can't Take That Away\" Nelly Furtado - \"Manos al Aire\" Stefanie Heinzmann - \"No One (Can Ever Change My Mind)\" Pixie Lott - \"Mama Do\" Madina Lake - \"Lets Get Outta Here\" Manchester Orchestra - \"I've Got Friends\" Matt and Kim- \"Daylight\" Katie Melua - \"If the Lights Go Out\" Metalkpretty - \"Wake Up, Wake Up\" Natalie Portman's Shaved Head - \"Me + Yr Daughter\" Hot Chelle Rae - \"Say\" LeAnn Rimes - \"You've Ruined Me\" Cassie Steele - \"Summer Nights\" Evan Taubenfeld - \"Pumpkin Pie\" Young Punx - \"Juice and Sim\"", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "281173#23", "text": "หมวดหมู่:ภาคเสริม * หมวดหมู่:เกมสำหรับวินโดวส์ หมวดหมู่:เกมในระบบแมคโอเอสเท็น หมวดหมู่:เกมในโทรศัพท์มือถือไอโฟน หมวดหมู่:เกมสำหรับไอโอเอส หมวดหมู่:วิดีโอเกมที่มีฉากในประเทศอียิปต์ หมวดหมู่:วิดีโอเกมที่มีฉากในประเทศจีน", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "281173#3", "text": "ในช่วงแรกที่เดอะซิมส์ 3 ภาคเสริมเวิลด์ แอดเวนเจอร์สออกวางจำหน่าย เกมนี้ได้รับการตอบรับในด้านบวกจากหลายสำนักเช่น ในเกมโปร วันอัพดอตคอม รวมไปถึงเมตะคริติค โดยได้รับคะแนนการวิจารณ์เกมจาก เมตะคริติค 81 คะแนน[3]", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "281173#11", "text": "สิ่งมีชีวิตในเกมเป็นผีมัมมี่ที่มีความสามารถหลายอย่าง เช่น ไม่ต้องไปนอน พบได้ในสุสาน ผู้เล่นอาจถูกผีมัมมี่ต้องคำสาปได้ถ้าหากไปทำร้ายหรือขัดขืน", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "246159#8", "text": "ภาคเสริมตัวแรกของเดอะซิมส์ 3 มีชื่อว่า เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ซึ่งพัฒนาโดย The Sims Division ได้วางจำหน่ายแล้ว รวมถึงชุดไอเท็มเสริม ไฮ-เอนด์ ลอฟท์ ซึ่งเป็นชุดไอเท็มเสริมที่ครบรอบ 10 ปี เกมเดอะซิมส์ ได้แถมไอเท็มจากเดอะซิมส์ และเดอะซิมส์ 2 ได้วางจำหน่ายแล้ว และภาคเสริมล่าสุดคือ เดอะซิมส์ 3 แอมบิชันส์ และนอกจากนี้ยังมีสิ่งของเพิ่มเติมให้ดาวน์โหลดอีกใน The Sims 3 Store", "title": "เดอะซิมส์ (ชุดวิดีโอเกม)" }, { "docid": "281173#9", "text": "ทักษะการทำไวน์จะขึ้นอยู่กับส่วนผสมของผลไม้ที่จะใส่ลงในเครื่องทำไวน์ คุณภาพของไวน์ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผลไม้ที่นำไปใส่ลงเครื่องทำไวน์รวมทั้งวิธีการผลิตไวน์ มูลค่าของไวน์จะเพิ่มขึ้นโดยการนำขวดไวน์ไปใส่ในห้องใต้ดินและเก็บไว้ให้นานที่สุด ยิ่งเก็บไวน์ได้นานเท่าไร ก็จะยิ่งมีมูลค่าของไวน์มากขึ้นเท่านั้น", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "281173#14", "text": "โดยได้สัมภาษณ์ ลินเซย์ เพียร์สัน ผู้ผลิตเกมนี้ได้กล่าวว่า จะเป็นเมืองที่นำมาจากสถานที่จริงและให้ผู้เล่นสามารถปรับแต่งสิ่งปลูกสร้างต่างๆเพื่อแลกเปลี่ยนกันได้ ภาคเสริมนี้แสดงความต้องการที่เธอกล่าวไว้ว่าลักษณะของภาคเสริมนี้แตกต่างจากแต่ก่อน[9]", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "281173#2", "text": "มีการประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ทางเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของเดอะซิมส์ 3 เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 และได้กำหนดวันวางจำหน่ายในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 สำหรับทวีปอเมริกาเหนือ และวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 สำหรับทวีปยุโรป สำหรับในประเทศไทยมีกำหนดวันวางจำหน่ายในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552[2]", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "281173#12", "text": "นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือสร้างชั้นใต้ดินใหม่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำการปรับระดับของพื้นดินแต่อย่างใด ซึ่งสามารถสร้างชั้นใต้ดินได้สูงสุดถึง 4 ชั้น", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "339935#3", "text": "สำหรับอพาร์ตเมนต์ในภาคเสริมตัวนี้จะแตกต่างจาก เดอะซิมส์ 2 ร่วมหอ (ไม่) ลงโรง เป็นอย่างมาก ในเดอะซิมส์ 2 ผู้เล่นสามารถนำซิมส์มาอยู่ในอพาร์ตเมนต์ได้สูงสุด 4 ครอบครัว แต่สำหรับเดอะซิมส์ 3 เลท ไนท์ สามารถนำซิมส์มาอยู่ในอพาร์ตเมนต์ได้เพียง 1 ครอบครัวเท่านั้น ส่วนราคาในการอาศัยอยู่นั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดของห้องและสถานที่ท่องเที่ยวในบริเวณนั้น หากอยู่ในสถานที่ที่ไกลจากบริเวณในเมือง ราคาจะถูก แต่ถ้าอยู่ในสถานที่ที่ใกล้บริเวณท่องเที่ยวและมีขนาดห้องที่ใหญ่ ราคาจะแพงขึ้น เมื่อซิมส์เข้าไปอยู่ในอพาร์ตเมนต์ก็จะมีครอบครัวอื่นย้ายเข้ามาด้วย แต่เราจะไม่ได้เห็นการกระทำของซิมส์คนอื่นๆที่ไม่ใช่ครอบครัวที่เล่นอยู่ (คล้ายๆกับที่มีใน เดอะซิมส์ 2 ร่วมหอ (ไม่) ลงโรง ) ", "title": "เดอะซิมส์ 3 เลท ไนท์" }, { "docid": "281173#0", "text": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส (English: The Sims 3 World Adventures) เป็นภาคเสริมตัวแรกของเกมเดอะซิมส์ 3 พัฒนาโดย อีเอแบล็คบอกซ์และเดอะซิมส์ดิวิชัน จัดจำหน่ายโดยอิเล็กโทรนิคอาร์ต", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "325081#0", "text": "วินโดวส์ ออฟ เดอะ เวิลด์ เซินเจิ้น () ตั้งอยู่ในทางทิศตะวันตก ของเมืองเซินเจิ้น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2536 เป็นสถานจำลองสถานที่ต่างๆจากทั่วโลก", "title": "วินโดวส์ ออฟ เดอะ เวิลด์ เซินเจิ้น" }, { "docid": "281173#17", "text": "ผู้ที่ประพันธ์เพลงให้กับเกม เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส คือ Steve Jablonsky ก่อนหน้านี้เขาได้ประพันธ์เพลงให้กับเกม เดอะซิมส์ 3 ตัวหลักมาก่อนหน้าแล้ว เขาประพันธ์เพลงโดยใช้เครื่องดนตรีทั้งหมด 35 ชิ้นบรรเลงเพลง และใช้วงดนตรีทั้งคณะ และบันทึกเสียงที่ Eastwest Studios ในย่านฮอลลิวูด [12]", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "281173#21", "text": "ภาคเสริมนี้ได้รับการตอบรับมาเป็นอย่างดี สำหรับการวิจารณ์เกมโดย เรชูล มัวร์ จาก เกมโปร วิจารณ์เกมนี้ว่าคุณสมบัติของเกมนี้ดีมาก เพราะเหตุนี้เองสามารถทำให้ผู้เล่นเสียเวลาหลายชั่วโมงไปกับการเล่นเกม[17] สำหรับการวิจารณ์เกมโดย สตีฟ บัทส์ จาก ไอจีเอ็น ได้วิจารณ์เกมนี้ว่า เป็นเกมผจญภัยที่ใช้ทักษะและการแก้ไขปัญหาของการผจญภัย และการพักผ่อนของครอบครัว แต่ในข้อสรุปของเขากล่าวว่า \"ผมหวังว่าในภาคเสริม เวิลด์ แอดเวนเจอร์สนี้ อาจจะเป็นต้นแบบสำหรับภาคเสริมเดอะซิมส์ในอนาคต\"[20]", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "281173#16", "text": "สำหรับเวอร์ชันโทรศัพท์มือถือ ขณะนี้ได้ปล่อยให้ดาวน์โหลดแล้ว ส่วนเวอร์ชันไอโฟน ก่อนหน้านี้จะะปล่อยให้ดาวน์โหลดผ่าน App Store ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 แต่ได้ถูกเลื่อนออกไป เนื่องจากปรับปรุงแก้ไขปัญหาบางส่วนที่เกิดขึ้น โดยกำหนดวันปล่อยให้ดาวน์โหลดผ่าน App Store ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553 ซึ่งตอนนี้ได้ปล่อยให้ดาวน์โหลดผ่าน App Store เรียบร้อยแล้ว[11]", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "281173#13", "text": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552[6] ซึ่งเป็นภาคเสริมของ \"เดอะซิมส์ 3\" โดยแน่นอนได้เลยว่าจะมีการผลิตเหมือนกับ \"เดอะซิมส์\" และ \"เดอะซิมส์\" 2 อย่างแน่นอน [7] โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบที่ให้ชาวซิมส์มีสัตว์เลี้ยง ดาวน์ทาวน์และสถานที่พักผ่อน ซึ่งเหมือนกับภาคเสริมที่ผ่านมา คาดว่าอาจจะได้รวมอยู่ในชุดภาคเสริมในอนาคต เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ได้ประกาศว่าเกมนี้เป็นเกมทองของปีนี้[8]", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "246159#17", "text": "เดอะซิมส์ 3 และ เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ได้เปิดตัวแล้วบนเครื่อง ไอโฟน และ ไอพอดทัช ส่วนเกมเดอะซิมส์ 3 บนเครื่อง นินเทนโด วี, เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360 และ นินเทนโด ดีเอส กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาเกม", "title": "เดอะซิมส์ (ชุดวิดีโอเกม)" }, { "docid": "281173#15", "text": "อีกทั้งยังีการประกาศออกมาว่าจะมีไอเท็มพิเศษปล่อยให้ดาวน์โหลดที่ The Sims 3 Store เมื่อภาคเสริมวางจำหน่ายแล้ว เพราะเหตุนี้จึงเป็นการสร้างแรงจูงใจพิเศษสำหรับผู้เล่นที่จะซื้อเกม ลินเซย์ เพียร์สัน ยังกล่าวอีกว่า เมื่อมีภาคเสริมแล้วก็จะให้ของสมนาคุณด้วยการให้เงินสำหรับซื้อของผ่าน The Sims 3 Store [9] USD$10 (£6) SimPoints ซึ่งจะมีให้สำหรับผู้ที่ซื้อภาคเสริมเท่านั้น[10]", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "281173#19", "text": "ด้านล่างนี้คือรายชื่อศิลปินที่มาขับร้องเพลงให้กับภาคเสริม", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "281173#4", "text": "รูปแบบการเล่นของภาคเสริมเดอะซิมส์ 3 นี้เป็นการให้ผู้เล่นได้สัมผัสประเทศใหม่ๆ ตามที่มีอยู่ในความจริง นอกจากนี้ยังพาชาวซิมส์ไปผจญภัย หาขุมทรัพย์ที่ซ่อนตามประเทศต่างๆได้ ผู้เล่นสามารถให้ชาวซิมส์เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ พัฒนาความสัมพันธ์กับชาวต่างชาติได้", "title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส" } ]
2047
มหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งอยู่จังหวัดใด ?
[ { "docid": "53666#1", "text": "ใน พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยศิลปากร มีนโยบายในการขยายโอกาสทางการศึกษาไปยังจังหวัดใกล้เคียงกับที่ตั้งมหาวิทยาลัยเดิม (วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร และวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม) ผู้บริหารในขณะนั้นนำโดย ไขศรี ศรีอรุณ จึงพิจารณาหาพื้นที่ตั้งวิทยาเขตใหม่ ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอนครชัยศรี จังหวัดราชบุรี และจังหวัดเพชรบุรี จนในที่สุดเหลือเฉพาะที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้งวิทยาเขตใหม่ที่จังหวัดราชบุรี และมีแนวทางจัดตั้งคณะวิชาต่าง ๆ รวมทั้ง \"คณะอุตสาหกรรมเกษตร\" ซึ่งต่อมามหาวิทยาลัยได้จัดสัมมนาผู้เกี่ยวข้องทั้งของจังหวัดราชบุรีและของมหาวิทยาลัยเพื่อทราบความต้องการของท้องถิ่น แต่ผลความต้องการของบุคลากรในพื้นที่ไม่ตรงกับแผนพัฒนาเดิมที่ ทบวงมหาวิทยาลัย ได้อนุมัติไว้ โครงการดังกล่าวจึงชะลอไป จนในที่สุดปี 2542 ตรึงใจ บูรณสมภพ อธิการบดีในขณะนั้น จึงขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในการย้ายวิทยาเขตใหม่ไปที่ หมู่ที่ 1 หมู่บ้านไร่ใหม่พัฒนา ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และมีแผนในการจัดตั้ง \"คณะสัตวศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร\" ขึ้นเป็นคณะแรก เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าพื้นที่โดยรอบมีประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มหาวิทยาลัยจะได้ให้บริการได้โดยตรง จากการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 1/2544 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2544 ได้อนุมัติโครงการจัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร พร้อมทั้งให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง สุภสร ชโยวรรณ เป็นผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร", "title": "คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร" }, { "docid": "11674#3", "text": "พ.ศ. 2509 มหาวิทยาลัยศิลปากร มีนโยบายที่จะเปิดคณะวิชาและสาขาวิชาที่หลากหลายขึ้น แต่เนื่องจากบริเวณพื้นที่ใน วังท่าพระ คับแคบมาก ไม่สามารถจะขยายพื้นที่ออกไปได้ จึงได้ขยายเขตการศึกษาไปยัง พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยจัดตั้ง คณะอักษรศาสตร์ พ.ศ. 2511 คณะศึกษาศาสตร์ พ.ศ. 2513 และ คณะวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2515 ตามลำดับ หลังจากนั้น จัดตั้ง คณะเภสัชศาสตร์ พ.ศ. 2529 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ปัจจุบันคือ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทศโนโลยีอุตสาหกรรม) พ.ศ. 2535 และจัดตั้ง คณะดุริยางคศาสตร์ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2542 เพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความสมบูรณ์ทางด้านศิลปะมากยิ่งขึ้น", "title": "มหาวิทยาลัยศิลปากร" } ]
[ { "docid": "11674#20", "text": "สาเหตุที่เลือกจังหวัดนครปฐมเป็นที่ตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ พระราชวังสนามจันทร์ เหมาะสมที่จะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วยเหตุผลดังนี้สืบเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาคของประเทศไทยในรูปแบบของวิทยาเขตสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงมีปณิธานและปรัชญาการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่พื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศ โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ ให้ใช้ที่ราชพัสดุ ณ ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 621 ไร่ และได้รับอนุญาตจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี โดยกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้ใช้พื้นที่เพิ่มเติม จำนวน 200 ไร่ เพื่อรองรับการเรียนการสอนของ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร", "title": "มหาวิทยาลัยศิลปากร" }, { "docid": "308706#7", "text": "ปัจจุบันบัณฑิตวิทยาลัย มีที่ทำการตั้งอยู่ที่ ชั้น 7 อาคาร 50 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ และชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน ต่อมาใน พ.ศ. 2556 ได้ขยายพื้นที่ทำการเพื่อบริการคณาจารย์และนักศึกษาเพิ่มเติมอีกจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ ชั้น 2 อาคารหอประชุม และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร เพชรบุรี ตั้งอยู่ที่ ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี เพชรบุรีบัณฑิตวิทยาลัย ร่วมกับคณะวิชาต่าง ๆ", "title": "บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร" }, { "docid": "16233#1", "text": "\"คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร\" จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2528 และเปิดรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2529 นับเป็น คณะเภสัชศาสตร์ ลำดับที่ 6 ของประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณ พระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยมี ประโชติ เปล่งวิทยา ดำรงตำแหน่งคณบดีในสมัยนั้น นับเป็นคณบดีผู้ประศาสน์การ ผู้ก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองต่อความต้องการในการพัฒนาศักยภาพกำลังคนในสายงานเภสัชกรรมและสายงานด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ รวมถึงการพัฒนาให้เกิดภารกิจเชิงรุกในการให้บริการด้านเภสัชศาสตร์", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร" }, { "docid": "11674#18", "text": "เป็นที่รู้จักในชื่อว่า \"ม.ทับแก้ว\" ตั้งอยู่ในบริเวณ พระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ซึ่งเคยเป็นพระราชวังของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพื้นที่ประมาณ 888 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา แต่ใช้เป็นที่ก่อสร้างอาคารของมหาวิทยาลัยเพียง 428 ไร่", "title": "มหาวิทยาลัยศิลปากร" }, { "docid": "669#42", "text": "ศูนย์รังสิตเป็นศูนย์ที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ 1,757 ไร่ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางเหนือประมาณ 42 กิโลเมตร อยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า “กลุ่มวิสาหกิจเทคโนโลยีกรุงเทพตอนบน” โดยมีสถาบันที่อยู่ใกล้เคียงได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียและอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีสวนอุตสาหกรรมจำนวนมากในพื้นที่ใกล้เคียง", "title": "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" }, { "docid": "206202#1", "text": "โรงเรียนหาดใหญ่พิทยาคม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16 สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ประกาศจัดตั้งโดยกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2538 ณ บ้านพรุเตาะ หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในพื้นที่รกร้างว่างเปล่า จำนวน 59 ไร่ 17 ตารางวา ซึ่งได้รับการสนับสนุนและผลักดัน ให้ใช้เป็นสถานที่จัดตั้งโรงเรียนโดย นายเฉลียว แก้วสิ้นสุด กำนันตำบลทุ่งใหญ่ นายสมพร ช่วยกุลผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งใหญ่และสมาชิกตำบลทุ่งใหญ่", "title": "โรงเรียนหาดใหญ่พิทยาคม" }, { "docid": "316832#1", "text": "โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ตั้งอยู่เลขที่ 472 หมู่ที่ 3 บ้านควนจีน ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นเลขที่ 1663 หมู่ 6 ถนนสนามบิน-พาณิชย์ ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา\nก่อนปีพ.ศ. 2521 ในอำเภอหาดใหญ่มีโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เป็นของรัฐบาลเพียงโรงเดียวคือโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย (ญ.ว.) \nต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2521 การศึกษาในอำเภอหาดใหญ่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงทำให้โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยไม่สามารถรองรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาได้ \nสภาตำบลควนลังโดยมีกำนันอิ้น วงศ์ชนะ เป็นประธานและอาจารย์เชื้อ ศรีระสันต์ เป็นเลขานุการสภาได้ประสานกับกรมสามัญศึกษาขอเปิดโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้นที่ตำบลควนลัง โดยทางสภาตำบลได้จัดสรรที่ดินซึ่งเป็นที่สงวนสำหรับสัตว์เลี้ยงจำนวน 120 ไร่ เป็นที่ตั้งโรงเรียนแห่งนี้\nประมาณเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งให้จังหวัดสงขลาดำเนินการเปิดโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้นในที่ดินสงวนดังกล่าว โดยนายสมพร พิชญาภรณ์ ศึกษาธิการอำเภอหาดใหญ่ร่วมกับนายสมบูรณ์ ศรีสุทธิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ได้เปิดรับนักเรียนเพื่อเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้\nปรากฏว่ามีผู้มาสมัครเรียนในชั้น ม.ศ.1 จำนวน 8 ห้อง ด้วยความกรุณาของอาจารย์เชื้อ ศรีระสันต์และพระครูพิศาลธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดควนลังได้อนุเคราะห์ให้ใช้สถานที่ของวัดควนลัง\nชาวบ้านตำบลควนลังจึงช่วยกันสร้างอาคารเรียนชั่วคราวหลังแรกจำนวน 10 ห้องเรียน ภายในระยะเวลา 10 วัน และใช้ใต้กุฏิบางส่วนเป็นสถานที่เรียนชั่วคราว\nเปิดเรียนอย่างเป็นทางการวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2521 โดยใช้ชื่อโรงเรียนในขณะนั้นว่า “โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2” ซึ่งมีนายสุวิทย์ ศรีทิพยราษฎร์ เป็นครูใหญ่\nพ.ศ. 2523 ได้ย้ายโรงเรียนจากวัดควนลังมายังสถานที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบันและเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์” \nและในปีการศึกษา 2525 เปิดเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย \nคณะสีมี 6 คณะสี ได้แก่", "title": "โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์" }, { "docid": "391047#1", "text": "วิทยาลัยเทคโนโลยีอุดมศึกษาพณิชยการ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 4/10 ตารางวา ตามหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน เลขที่ 47810 เลขที่ดิน 1689 หน้าสำรวจ 21837 ที่ตั้ง ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนจากกระทรวงศึกษาธิการตามใบอนุญาตเลขที่ 6/2524 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2524 ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี โดยมีนายกระจ่าง จันทราช เป็นผู้รับใบอนุญาต", "title": "วิทยาลัยเทคโนโลยีอุดมศึกษาพณิชยการ" }, { "docid": "284895#2", "text": "พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์ตั้งอยู่ภายในวัดเชิงท่า (ลพบุรี) ตั้งอยู่ในตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2540 ด้วยความดำริของพระครูโสภณธรรมรัต (หลวงพ่อถม) (อาศรมธมฺมทีโป)เจ้าอาวาสวัดเชิงท่า (ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ปัจจุบัน) เพื่อเป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่าทางศาสนา ศิลปกรรมประวัติศาสตร์และโบราณคดี อันเป็นสมบัติเก่าแก่ของวัดเชิงท่าบ้าง และเป็นสมบัติส่วนตัวของท่าน พระครูโสภณธรรมรัตบ้าง ด้วยความมุ่งหวังให้ผู้ที่สนใจศึกษาได้ชื่นชมกับงานศิลปกรรมที่งดงาม รวมทั้งได้รับความรู้ในเวลาเดียวกัน การจัดแสดงศิลปกรรมโบราณวัตถุเริ่มเมื่อพ.ศ. 2542 และสำเร็จเรียบร้อยในพ.ศ. 2544ถือได้ว่าเป็นหนึ่งใน ‘พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น’ ที่ดีที่สุดในประเทศ", "title": "พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์" } ]
350
เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ เป็นเรื่องที่ได้รางวัล อะไร?
[ { "docid": "339665#0", "text": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ เป็นนิยายไลท์โนเวล จากประเทศญี่ปุ่น เนื้อเรื่องโดย มันตะ ไอโซระ วาดภาพประกอบโดย โคอิน ตีพิมพ์โดยGAบุงโกะ ปัจจุบันมีการเผยแพร่แล้วทั้งหมด 8 เล่ม ลิขสิทธิ์ในประเทศไทยเป็นของรักพิมพ์ พับลิชชิ่ง เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ เป็นเรื่องที่ได้รางวัล GAบุงโกะไทโช ครั้งที่1[1] และGAแม็กกาซีนก็ได้เริ่มตีพิมพ์เรื่องนี้ตั้งแต่ฉบับที่2[2] เนื้อหาของเรื่องนั้นเป็นแนวตลกแบบตลกเจ็บตัว(slapstick)ผสมกับเลิฟคอมมีดี โดยหลักๆแล้วจะล้อเลียนงานประพันธ์ชุดตำนานคธูลู แต่ก็มีผสมส่วนที่ล้อเลียนอนิเมะหรือมังงะอย่างโจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษและโทคุซัทสึโดยเฉพาะมาสค์ไรเดอร์เดนโอและมาสค์ไรเดอร์ดีเคดเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์มากขึ้น[3] โดยในประเทศไทย ฉบับอนิเมะทั้ง 2 ภาค TIGA เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" } ]
[ { "docid": "339665#1", "text": "มาฮิโระ ยาซากะ นักเรียนธรรมดาได้พบกับสาวน้อยลึกลับซึ่งช่วยเขาจากสัตว์ประหลาดในยามราตรี สาวน้อยคนนั้นอ้างว่าตนคือเนียร์ลาโธเทปและเธอมาเพื่อคุ้มครองมาฮิโระจากเหล่ามนุษย์ต่างดาวที่จ้องเล่นงานเขาอยู่ จึงต้องเข้ามาอาศัยในบ้านของมาฮิโระ อย่างเต็มใจ รวมไปถึงเหล่า คทุกกา และฮัสเทอร์", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#9", "text": "ลูฮี ซิสตัน (ルーヒー・ジストーン) พากย์เสียงโดย - มาริโกะ โคดะ ชาวเผ่าคธูลิ เป็นนักพัฒนาเกมของบริษัทรุลูเยห์แลนด์ มีผมเหมือนหนวดหมึกและเกลียดชังชาวเผ่าฮัสเทอร์มาก หลังจากถูกบริษัทไล่ออกก็ได้เปิดแผงขายทาโกะยากิระหว่างทางไปโรงเรียนของมาฮิโระ รวมทั้งยังรับงานแสดงเป็นสาวน้อยเวทมนตร์ด้วย", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#14", "text": "หัวหน้าใหญ่ (大首領) คนขององค์กร ไชลด์การ์ด และเป็นหัวหน้าของอิสึรุกิจากอนาคตและคิดทำลายโลกเนื่องจากวัฒนธรรมความบันเทิงของโลกนั้นขัดกับกฎหมายคุ้มครองเยาวชนแห่งอวกาศในอนาคต", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#23", "text": "นัคโกะ (ナッ子) ตัวละครเฉพาะในภาคการ์ตูนสี่ช่อง เป็นไนท์กอนท์ที่กลายร่างเป็นเด็กผู้หญิงและติดอยู่บนโลกหลังจากที่นอเดนส์พ่ายแพ้ไปแล้ว", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#25", "text": "ทุลโกะ (ツル子) พากย์เสียงโดย - ซากิ ยามาคิตะ ตัวละครเฉพาะในภาค W เป็นมนุษย์ดาวอูทุล-เฮเออร์ เป็นหนึ่งในเซอเคิลจตุรเทพที่เขียนโดจินชิแนวยาโออิซึ่งมีมาฮิโระเป็นตัวเอก และยังเป็นสมาชิกคนหนึ่งของกลุ่มเมดคอสเพลย์ \"หน่วยพริตตีพริตตีเบลเมด\"อีกด้วย", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#8", "text": "โยริโกะ ยาซากะ (八坂頼子) พากษ์เสียงโดย - คิคุโกะ อิโนอุเอะ (ดราม่าซีดี), อะยะ ฮิซะกะวะ (ภาคโทรทัศน์ พ.ศ. 2555) แม่ของมาฮิโระ ไม่ทราบอายุ แต่ดูสาวมากสำหรับคนที่มีลูกเป็นนักเรียนมัทยมปลายแล้ว แท้จริงแล้วเธอเป็นนักล่าสัตว์ประหลาดที่ออกไปทำงานทุกปีในวาระคล้ายวันแต่งงาน ชอบเล่นวิดีโอเกมและมักซื้อเครื่องเกมรุ่นเก่ากลับมาฝากลูกชายเสมอ ความสามารถในการใช้ส้อมเป็นอาวุธของมาฮิโระนั้นก็ได้มาจากแม่นี่เอง", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#13", "text": "อิสึรุกิ (イス動) มนุษย์ต่างดาวเผ่ายิธเธียนจากอนาคต ใช้วิทยาการสลับร่างกับมนุษย์โลกเพื่อยึดอุตสาหกรรมบันเทิง ใช้ร่างของโยอิจิเป็นตัวประกัน แต่ก็หันมาช่วยพวกเนียลโกะเมื่อทราบว่าจริงๆแล้วหัวหน้าของตนเป็นพวกไชลด์การ์ด", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#24", "text": "กุทาทัน (グタタン) พากย์เสียงโดย - ชิโอริ มิคามิ ตัวละครเฉพาะในภาคโทรทัศน์พ.ศ. 2555 เป็นเด็กหญิงจากดาวกาทาโนทอ", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#27", "text": "ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ได้สร้างภาคใหม่อีกครั้งโดยซีเบค โดยครั้งนี้เป็นเนื้อเรื่องเดียวกับภาคไลท์โนเวลและฉายทางโทรทัศน์ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555 ถึง วันที่ 25 มิถุนายน ของปีเดียวกัน ความยาวทั้งหมด 12 ตอน และในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556 ก็ได้เริ่มฉายภาคใหม่คือ ไฮโยเระ! เนียลโกะซัง W", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#2", "text": "เนียร์ลาโธเทป / เนียลโกะ (ニャルラトホテプ / ニャル子) พากย์เสียงโดย - คานะ อะสึมิ เด็กสาวผมเงิน เป็นตัวเอกของเรื่อง มีนิสัยป่าเถื่อนและโหดร้ายเป็นจุดเด่น เธอเป็นสมาชิกของสหพันธ์อวกาศ องค์กรคุ้มครองดาวเคราะห์ ทำหน้าที่คุ้มครองมาฮิโระจากมนุษย์ต่างดาว ชอบอนิเมะและเกมของมนุษย์โลกมากโดยเฉพาะมังงะจนเรียกได้ว่าเป็นโอตาคุ นอกจากนั้นยังมีความรู้ไร้สาระเกี่ยวกับภาพยนตร์เก่าๆเป็นอย่างดีอีกด้วย อาศัยอยู่กับมาฮิโระและไปโรงเรียนเดียวกันโดยใช้ชื่อปลอมว่าเนียร์ลาโธเทป ยาซากะ เธอเลือกที่จะมาคุ้มครองมาฮิโระเองโดยให้เหตุผลว่าเป็นรักแรกพบ เนื่องจากเป็นชาวเผ่าเนียร์ลาโธเทปจึงสามารถแปลงร่างเป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[4150,4169,3,3]}'>ฟุลฟอร์ซฟอร์ม</b>ที่คล้ายกับฮีโร่ในโทคุซัทสึเพื่อต่อสู้กับศัตรูได้ เธอยังเป็นผู้เชี่ยวชาญศิลปะการต่อสู้แบบมนุษย์ต่างดาวอีกด้วย (ท่าถนัดก็คิอ ขว้างระเบิดมือ) บางครั้งจะใช้อาวุธคล้ายกับชะแลง ในตำนานคธูลูนั้น ไนอาลาโธเทปเป็นเทพที่มีร่างแปลงมากมาย แต่ในเรื่องนี้ ชื่อเนียร์ลาโธเทปเป็นชื่อของเผ่ามนุษย์ต่างดาวและไนอาลาโธเทปในตำนานคธูลูก็เป็นคนละคนกับเนียลโกะ", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#11", "text": "นอเดนส์ (ノーデンス) พากย์เสียงโดย - บิน ชิมาดะ หัวหน้าของเหล่าไนท์กอนท์และเป็นคนที่หมายตามาฮิโระอยู่ เป็นชาวเผ่านอเดนส์ซึ่งปกติแล้วจะเป็นมิตรกับมนุษย์ แต่ตัวนี้เนียลโกะบอกว่าเป็นพวกไม่รักดี นอเดนส์นั้นจ้องจะลักพาตัวมาฮิโระ เนื่องจากโปรดิวเซอร์ละครของอุบโบซาธลาเน็ตเวิร์คต้องการสนองความนิยมของหนังสือการ์ตูนแนวบอยเลิฟของโลกและต้องการตัวมาฮิโระไปร่วมแสดงด้วย จริงๆแล้วดูเหมือนว่านอเดนส์จะเป็นแค่สมาชิกชั้นล่างขององค์การร้ายนี้เท่านั้น", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#30", "text": "ไฮโยเระ! เนียลโกะซัง วางจำหน่ายเมื่อ23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ไฮโยเระ! เนียลโกะซัง EX ~ดรีมมี ดรีมเมอร์~ วางจำหน่ายเมื่อ25 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ไฮโยเระ! เนียลโกะซัง DX ~วินเทอร์วอร์ส~ วางจำหน่ายเมื่อ24 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ไฮโยเระ! เนียลโกะซัง GX ~เฟทัลแอทแทรคชัน~ วางจำหน่ายเมื่อ25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#12", "text": "เนียลโอะ (ニャル夫) พากย์เสียงโดย - ไดสุเกะ ฮิราคาวะ (ดราม่าซีดี), ทะเกะชิ คุซะโอะ (ภาคโทรทัศน์ พ.ศ. 2555) ชาวเผ่าเนียร์ลาโธเทปอีกคน เป็นพี่ชายของเนียลโกะ เป็นคนที่มีผลการเรียนย่ำแย่ผิดกับน้องสาวจนกระทั่งหนีออกจากบ้านไป (ซึ่งเป็นผลมาจากที่เคยถูกเนียลโกะฟาดลูกบอลใส่ตอนเล่นเกทบอลอวกาศ) เขากลับมาต่อสู้กับเนียลโกะเพื่อจะพิสูจน์ว่าตัวเองเหนือกว่าเนียลโกะแล้วหลังจากฝึกฝนอย่างหนักจนสามารถแปลงร่างเป็นฟุลฟอร์ซฟอร์มได้ ในที่สุดก็ถูกจับกุมไป", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#10", "text": "ในผลงานอีกเรื่องของมันตะ ไอโซระ มิยะมะซันจิ โนะ เบลทีนนั้น เนียลโกะกับมาฮิโระมีบทบาทเล็กๆในฐานะผู้ร่วมสนุกในรายการวิทยุ โดยเนียลโกะใช้นามปากกาว่า ครอว์ลิงเคออส ส่วนมาฮิโระใช้ว่า G-838 และโยริโกะก็ปรากฏตัวเป็น รุ่นพี่โยริโยริ ที่มหาวิทยาลัย", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#32", "text": "หมวดหมู่:อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2556", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#20", "text": "แอทโกะ ชิโรงาเนะ (銀アト子) พากย์เสียงโดย - อาซึสะ คาตาโอกะ มนุษย์ต่างดาวเผ่าแอทลัค นาชา เป็นเพื่อนสมัยเรียนมัทยมของเนียลโกะ ดำรงตำแหน่งประธานบริษัทผลิตเครื่องนุ่งห่มแห่งอวกาศ ผมยาว มักแต่งกายด้วยชุดกิโมโนที่เป็นลายใยแมงมุม ท่าทางเรียบร้อยแต่จริงๆแล้วเป็นพวกทะลึ่งเข้าขั้นลามกเลยทีเดียว", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#29", "text": "ดราม่าซีดีของเรื่องนี้จัดจำหน่ายโดยHOBiRECORDS ปัจจุบันออกมาแล้วทั้งหมด 4 ตอน", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#3", "text": "มาฮิโระ ยาซากะ (八坂 真尋) พากย์เสียงโดย - เอริ คิทามุระ นักเรียนมัธยมปลายชาวโลกที่ถูกเนียลโกะและองค์การร้ายของมนุษย์ต่างดาวหมายตาไว้ มาฮิโระนั้นเป็นแฟนของเรื่องชุดตำนานคธูลู จึงมีบ่อยครั้งที่รู้สึกผิดคาดเมื่อพบว่าอะไรๆมันต่างจากที่รู้มา เนื่องจากพ่อแม่มักไปฉลองครบรอบวันแต่งงานกันครั้งละนานๆทำให้ต้องอยู่คนเดียวบ่อย จึงเก่งงานบ้านโดยเฉพาะการทำอาหาร แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วจะช่วยตัวเองไม่ได้ แต่จริงๆแล้วเขาสามารถกำหราบเนียลโกะกับคูโกะได้อยู่หมัดด้วยการใช้ส้อมจิ้ม จริงๆแล้วเขาก็ชอบเนียลโกะอยู่แต่มักแสดงออกแบบซึนเดเระ หลังจากที่มีฮัสตะเพิ่มมาอีกคน มาฮิโระก็เริ่มรู้สึกว่าตัวเองชินกับการที่ต้องใช้ชีวิตอยู่กับมนุษย์ต่างดาวแล้ว แม้ว่าจะยังอยากกลับไปหาชีวิตที่สงบแบบเดิมอยู่", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#26", "text": "เรื่องนี้เคยมีอนิเมะแฟลชสั้นๆโดยใช้ชื่อว่า ไฮโยเระ! เนียลอะนิ มีความยาวทั้งหมด 9 ตอน และฉบับความยาว11ตอนสำหรับฉายทางโทรทัศน์ โดยใช้ชื่อว่า ไฮโยรุ! เนียลอะนิ รีเมมเบอร์ มาย เลิฟ(คราฟท์เซนเซย์) (這いよる! ニャルアニ リメンバー・マイ・ラブ(クラフト先生)) ซึ่งเริ่มฉายในวันที่10 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ทางช่อง BS11 โดยตอนจบซึ่งเป็นตอนที่ 12นั้นไม่ได้ฉายทางโทรทัศน์", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#7", "text": "ทามาโอะ คุเรย์ (暮井 珠緒) พากย์เสียงโดย - โยโกะ ฮิคาสะ (ดราม่าซีดี), โอสึโบะ ยูกะ (ภาคโทรทัศน์ พ.ศ. 2555) เพื่อนร่วมชั้นหญิงของมาฮิโระ มีฉายาว่า\"ลำโพงเดินได้\"เพราะเป็นนักแพร่ข่าวลือตัวยง เคยถูกอิซุกะสลับร่างไปเพื่อหาทางหยุดอิซุรุกิ มีความสามารถในการหาของแปลกๆสารพัด แท้จริงแล้วเธอเองก็แอบชอบมาฮิโระอยู่ แต่เมื่อพบกับเนียลโกะที่ประกาศตัวอย่างชัดเจนกว่ามากทำให้เธอไม่ได้แสดงออกอะไร เนียลโกะมักจะปรึกษาเธอเรื่องความรัก ซึ่งทามาโอะก็มักยุให้เป็นฝ่ายรุกแบบเต็มที่เหมือนเป็นการขัดขวางกลายๆ", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#31", "text": "ภาคมังงะของเรื่องนี้เริ่มตีพิมพ์ในนิตยสารมิราเคิลจั๊มป์ ฉบับที่ 3 (พฤษภาคม พ.ศ. 2554) วาดโดยเคย์ อาคาชิกิ[4] และภาคการ์ตูนสี่ช่องชื่อ ไฮโยเระ! ซูเปอร์เนียลโกะจังไทม์ ซึ่งลงตีพิมพ์ใน FlexComix บลัดตั้งแต่ฉบับเดือนตุลาคม。[5][6]", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#22", "text": "คูเนะ (クー音) พากย์เสียงโดย - เรียวกะ ยูซึกิ ลูกพี่ลูกน้องของคูโกะ มีพฤติกรรมแบบซิสคอน เคยเรียนหนังสือชั้นปีเดียวกับลูฮี", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#6", "text": "ชานทัคคุง (シャンタッ君) พากษ์เสียงโดย - โทโมโกะ คาเนดะ (ดราม่าซีดี), ซะโตะมิ อะระอิ (ภาคโทรทัศน์ พ.ศ. 2555) สัตว์เลี้ยงแคปซูลของเนียลโกะ เป็นตัวแชนแทค หลังการต่อสู้กับไนท์กอนท์แล้วก็สูญเสียพลังไปจนตัวหดลงเหลือนิดเดียวและกลายเป็นสัตว์เลี้ยงของบ้านยาซากะไป สามารถแปลงร่างเป็นยานอวกาศหรือมอเตอร์ไซค์ มาชีนแชนแทคเกอร์ ได้ อาหารโปรดคือแครอท เวลาแปลงร่างเป็นมนุษย์จะเป็นเด็กหญิงผมสีน้ำเงิน", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#21", "text": "เนียลเอะ (ニャル恵) พากย์เสียงโดย - ซายูริ ฮาระ ตัวละครเฉพาะในภาคโทรทัศน์ พ.ศ. 2554 เนียลเอะเป็นชาวเผ่าเนียร์ลาโธเทปอีกคนและเป็นเพื่อนสมัยเรียนมัทยมของเนียลโกะ มีจุดเด่นที่สวมแว่นและถือไม้เบสบอลเสมอ มีนิสัยคิดเองเออเอง", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#18", "text": "โยอิจิ ทาเคฮิโกะ (余市 健彦) พากย์เสียงโดย - โยชิฮิสะ คาวาฮาระ (ดราม่าซีดี), วาตารุ ฮาตะโนะ (ภาคโทรทัศน์ พ.ศ. 2555) เพื่อนร่วมชั้นและหัวหน้าห้องที่สนิทกับมาฮิโระ นิสัยสุภาพเรียบร้อย สวมแว่น เคยถูกอิซุรุกิสลับร่างไปเพื่อใช้เป็นตัวประกัน", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#17", "text": "ลอย ฟอกเกอร์ (ロイ・フォガー) พากย์เสียงโดย - นาคาตะ โจจิ ตัวละครเฉพาะในภาคอนิเมะพ.ศ. 2555 เป็นสัตว์ประหลาดสายพันธุ์ลอยกอร์และคนรับใช้ของกุทาทัน มีแผนการยึดครองเอโรเกะทั้งหมดในโลกนี้", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#16", "text": "วานรอาลาโอะ (アラオ猿) พากย์เสียงโดย - ซาโตชิ โบ วานรยักษ์ที่Zลอยกอร์ใช้สมุดบันทึกแห่งเทพมารเรียกออกมา เวลาโกรธนั้นขนจะเปลี่ยนเป็นสีทองและแข็งแกร่งขึ้น", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#15", "text": "ชาร์ (ツァール) กับ ลอยกอร์ (ロイガー) พากย์เสียงโดย - ทากามาสะ โอฮาชิ (ลอยกอร์), โอโทชิ อิมารุโอกะ (ชาร์) มนุษย์ต่างดาวฝาแฝดจากดาวชาร์ เป็นสมาชิกขององค์กรพิทักษ์สัตว์ \"สเปซทินดาลอส\" ที่โจมตีหอสมุดโบราณเซลาเอโนเพื่อชิงสมุดบันทึกแห่งเทพมาร ลอยกอร์นั้นมีความสามารถในการยืดร่างกายของตนเอง ส่วนชาร์สามารถแยกร่างเป็นส่วนๆได้ ทั้งคู่ยังสามารถรวมร่างกันเป็นZลอยกอร์ได้", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" }, { "docid": "339665#19", "text": "อิสึกะ (イス香) พากย์เสียงโดย - ซะโตะมิ อะระอิ มนุษย์ต่างดาวเผ่ายิธเธียนอีกคนที่พยายามหยุดอิสึรุกิ โดยตอนแรกจะสลับร่างกับเนียลโกะ แต่กลับกลายเป็นว่าทำให้เนียลโกะสลับร่างกับมาฮิโระไปแทน ตอนอยู่บนโลกนั้นใช้ร่างของทามาโอะ นิสัยซุ่มซ่ามและท่าดีทีเหลว", "title": "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" } ]
2302
อาสนวิหารอ็องกูแลม ถูกสร้างในปีใด?
[ { "docid": "298882#1", "text": "อาสนวิหารแรกที่สร้างสร้างบนสถานที่เดิมเป็นศาสนสถานก่อนสมัยศาสนาคริสต์ ในอาสนวิหารอ็องกูแลมใช้เวลาสร้างทั้งหมดเริ่มสร้างเป็นครั้งแรกเมื่อปี ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 วัดถูกทำลายเมื่อโคลวิสที่ 1 เข้ามายึดเมืองหลังจากยุทธการที่วูเย ในปี ค.ศ. 507 อาสนวิหารต่อมาได้รับการสถาปนาในปี ค.ศ. 560 แต่ก็มาถูกเผาโดยชาวไวกิงและนอร์มันราวสองร้อยปีต่อมา", "title": "อาสนวิหารอ็องกูแลม" } ]
[ { "docid": "298882#2", "text": "อาสนวิหารที่สามสร้างขึ้นภาพใต้การอำนวยการของบิชอปกรีมออาร์ อธิการอารามแซ็ง-ปีแยร์แห่งบร็องโตม และได้รับเสกในปี ค.ศ. 1017 เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 ประชาชนเห็นพ้องกันว่าโบสถ์มีขนาดเล็กไปกว่าฐานะของเมือง การออกแบบอาสนวิหารใหม่ทำโดยบิชอปเฌราร์ที่ 2 ผู้เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของฝรั่งเศสในยุคนั้นผู้เป็น ศาสตราจารย์ สมณทูตสี่พระองค์ และเป็นศิลปินผู้มีฝีมือด้วย งานสร้างอาสนวิหารเริ่มขึ้นราวปี ค.ศ. 1110 และสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1128", "title": "อาสนวิหารอ็องกูแลม" }, { "docid": "298882#3", "text": "ลักษณะรูปทรงของอาสนวิหารก็ได้เปลี่ยนแปลงไปจากการซ่อมแซมและขยายตัวในช่วงหลายร้อยปีที่ตามมา เช่นหอระฆังที่ถูกทำลายไประหว่างสงครามศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นอกจากนั้นก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างการบูรณปฏิสังขรณ์โดยปอล อาบาดีระหว่างปี ค.ศ. 1866–1885 ที่รวมทั้งการสร้างหอใหม่สองหอที่คลุมด้วยหลังคาทรงกรวย จะมีก็แต่มุขด้านตะวันตกหรือด้านหน้าเท่านั้นที่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นสถาปัตยกรรมยุคกลาง", "title": "อาสนวิหารอ็องกูแลม" }, { "docid": "298882#0", "text": "อาสนวิหารอ็องกูแลม () หรือชื่อเต็มคือ อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งอ็องกูแลม () เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก ประจำมุขมณฑลอ็องกูแลม ตั้งอยู่ที่เมืองอ็องกูแลม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมาเนสก์ อาสนวิหารอ็องกูแลมซึ่งเป็นอาสนวิหารตัวอย่างโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ได้รับการสถาปนาเป็นอาสนวิหารในปี ค.ศ. 1017", "title": "อาสนวิหารอ็องกูแลม" }, { "docid": "526237#3", "text": "ช่วงหลังจากสงครามร้อยปี บริเวณกลางโบสถ์สองช่วงแรกก็สร้างเสร็จระหว่างปี ค.ศ. 1458–1499 ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1516–1541 มุขนายกฌ็อง เดอ ล็องฌัก ก็ได้สร้างส่วนแขนกางเขนและซุ้มประตูนักบุญยอห์น ซึ่งถือเป็นงานชิ้นเอกในแบบกอธิกฟล็องบัวย็อง แต่ต่อมาการก่อสร้างก็ได้หยุดชะงักลงเป็นครั้งที่สองเมื่อมุขนายกในขณะนั้นได้ถึงแก่กรรมลง บริเวณกลางโบสถ์ที่เหลืออีกสามช่วงสุดท้ายเพิ่งจะมาเสร็จสิ้นโดยต่อเข้ากับหอระฆังโดยสมบูรณ์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เท่านั้นเอง", "title": "อาสนวิหารลีมอฌ" }, { "docid": "303339#12", "text": "อาสนวิหารมิได้สร้างเสร็จจนกระทั่งปี ค.ศ. 1866 ตามผังที่วางไว้โดยเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก และสร้างโดยลูกศิษย์อานาตอล เดอ โบโด ในปี ค.ศ. 1884 ด้านหน้าด้านตะวันตกพร้อมด้วยหอยอดแหลม และ ทางเดินกลางช่วงสุดท้ายก็สร้างเสร็จตามแบบฉบับของการก่อสร้างแบบยุคกลาง", "title": "อาสนวิหารแกลร์มง-แฟร็อง" }, { "docid": "303339#10", "text": "หน้าต่างประดับกระจกสีสีน้ำเงินหลักเหนือประตูทางด้านเหนือและสีส้มเหนือประตูทางด้านใต้สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ทั้งสองหน้าต่างบรรจุอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมที่กว้าง 8.50 เมตร ระหว่างปี ค.ศ. 1444 – ค.ศ. 1474 ก็ได้มีการสร้าง \"clocher du retour\" ที่เป็นมณฑปบนหลังคาเหนือบริเวณร้องเพลงสวดแต่มาถูกรื้อทิ้งหลังปี ค.ศ. 1741 ระหว่างปี ค.ศ. 1507 – ค.ศ. 1512 ก็ได้มีการยกหลังคาให้สูงขึ้นและปูด้วยตะกั่วแทนหลังคาเดิม แต่ทางอาสนวิหารไม่ตกลงเรื่องการสร้างด้านหน้าอาสนวิหารเป็นแบบหางนกยูงฝรั่งเพราะราคาค่าก่อสร้างสูง", "title": "อาสนวิหารแกลร์มง-แฟร็อง" }, { "docid": "527910#0", "text": "อาสนวิหารอาวร็องช์ () เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญอันดรูว์แห่งอาวร็องช์ () ก่อนถูกทำลายลงในเดือนเมษายน ค.ศ. 1794 เคยมีฐานะเป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลอาวร็องช์ซึ่งได้ถูกยุบรวมกับมุขมณฑลกูต็องส์ในปี ค.ศ. 1790 และลดฐานะเป็นเพียงโบสถ์ประจำเขตแพริชจนกระทั่งถูกทำลายในที่สุด ตั้งอยู่บริเวณยอดเนินเขาบริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเขตเมืองเก่าอาวร็องช์ จังหวัดม็องช์ แคว้นนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญอันดรูว์", "title": "อาสนวิหารอาวร็องช์" }, { "docid": "532099#7", "text": "ในปี ค.ศ. 1746 บริเวณหน้าบันฝั่งทิศตะวันตกอยู่ในสภาพชำรุดและใกล้จะถล่ม จึงมีความเห็นให้ทุบบริเวณส่วนนั้นทิ้ง และได้สร้างใหม่ระหว่างปี ค.ศ. 1761–1786 ในแบบสถาปัตยกรรมคลาสสิก ตามแบบของสถาปนิกโกลด-หลุยส์ ดาวีเล ที่เคยเสนอไว้เมื่อปี ค.ศ. 1758 และได้สร้างด้วยฝีมือของสถาปนิกฌ็อง-อ็องตวน การิสตี จนสำเร็จ ต่อมาในปี ค.ศ. 1790 อาสนวิหารได้ถูกปิดลงท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของคริสตจักรในประเทศฝรั่งเศส และได้เปิดขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ. 1791 หลังจากมีการแต่งตั้งมุขนายกองค์ใหม่ อูว์แบร์-อ็องตวน ว็องเดอแล็งกูร์ ซึ่งเป็นผู้ที่สั่งให้ทำลายฉากกางเขนลงในปี ค.ศ. 1792", "title": "อาสนวิหารล็องกร์" }, { "docid": "524875#1", "text": "อาสนวิหารแห่งนี้ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ถึง 3 ด้าน ด้วยความยาวถึง 102 เมตร และกว้าง 35 เมตร เริ่มการก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1489 โดยการสนับสนุนของฟร็องซัว เดอ ซาวัว โดยสร้างบนซากปรักหักพังของอาสนวิหารโรมาเนสก์เก่าซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของอาสนวิหารนักบุญอ็อสแต็งด์ และมีการเสกขึ้นเป็นอาสนวิหารเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1548 ในขณะที่งานก่อสร้างทั้งหมดยังไม่เสร็จสิ้น จนกระทั่งอีกราวสองร้อยกว่าปีต่อมา", "title": "อาสนวิหารอ็อช" } ]
2032
ลิ้นมนุษย์รับได้กี่รส ?
[ { "docid": "38834#1", "text": "มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ\nซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน\nส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ", "title": "การรับรู้รส" }, { "docid": "38834#8", "text": "รสชาติ 5 อย่างที่หน่วยรับรสสามารถรู้ได้รวมทั้งเค็ม หวาน ขม เปรี้ยว และอุมะมิ ซึ่งเป็นคำภาษาญี่ปุ่นซึ่งสามารถแปลเป็น \"อร่อย\"\nอาหารรสขมและรสเปรี้ยวโดยทั่วไปจะไม่น่าชอบใจ ในขณะที่รสเค็ม หวาน และอุมะมิโดยทั่วไปเป็นรสที่ดี\nเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักสรีรวิทยาและนักจิตวิทยาชาวตะวันตกได้เชื่อว่ามีรสชาติพื้นฐานอยู่ 4 อย่าง คือ หวาน เปรี้ยว เค็ม และขม\nในเวลานั้น ยังไม่มีใครค้นพบรสอุมะมิ\nแต่ปัจจุบันผู้ชำนาญการโดยมากได้ยอมรับมันว่าเป็นรสชาติที่ห้า", "title": "การรับรู้รส" } ]
[ { "docid": "38834#61", "text": "การได้รสเหมือนชอล์กได้แสดงแล้วว่า มาจากแคลเซียมซึ่งอยู่ในวัตถุนั้น\nในปี 2008 นักพันธุศาสตร์ได้ค้นพบหน่วยรับสองชนิดที่รู้รสแคลเซียมที่ลิ้นของหนูหริ่ง\nคือหน่วยรับ CaSR ซึ่งปกติพบได้อย่างสามัญที่ทางเดินอาหาร ไต และสมอง\nและหน่วยรับรสหวาน คือ T1R3 \nถึงกระนั้น แม้จะเป็นยีนที่สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดระหว่างหนูหริ่งกับมนุษย์ ก็ยังไม่ชัดเจนว่ามนุษย์มีหน่วยรับ CaSR ที่ลิ้นหรือไม่", "title": "การรับรู้รส" }, { "docid": "38834#89", "text": "ปุ่มลิ้นเป็นผิวลิ้นที่ยื่นออกคล้ายหัวนม โดยมีรูปร่างและการกระจายตัวบนลิ้นที่แตกต่างกัน รวมทั้ง \nในมนุษย์ รสชาติจะส่งไปทางประสาทสมอง 3 เส้นจาก 12 เส้น\nสาขา chorda tympani และ greater superior petrosal ของเส้นประสาทเฟเชียล (VII) จากปมประสาท geniculate ganglion ส่งข้อมูลรสชาติจากลิ้นด้านหน้าประมาณ 2/3\nส่วนสาขา lingual branch ของประสาทลิ้นคอหอย (glossopharyngeal nerve, IX) จากปมประสาท petrosal ganglion/inferior ganglion of glossopharyngeal nerve ส่งข้อมูลจากลิ้นด้านหลังประมาณ 1/3 รวมทั้งปุ่มเซอร์คัมแวลเลต\nในขณะที่สาขา superior lingual branch ของประสาทเวกัส (vagus nerve, X) จากปมประสาท nodose ganglion/inferior ganglion of vagus nerve ส่งข้อมูลรสไปจากส่วนต่าง ๆ ด้านหลังของช่องปากรวมทั้งเพดาน คอหอย ฝากล่องเสียง \nและ 1/3 ส่วนต้นของหลอดอาหาร\nโดยประสาททั้งหมดจะส่งไปยัง solitary nucleus (NST) ทางด้านหน้าส่วนข้าง (rostral and lateral) ซึ่งเป็นส่วนที่เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า gustatory nucleus of NST โดยอยู่ในก้านสมองส่วนท้าย (medulla oblongata)", "title": "การรับรู้รส" }, { "docid": "38834#5", "text": "สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี \nเพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง\nทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย\nมนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia", "title": "การรับรู้รส" }, { "docid": "38834#7", "text": "รสชาติทำให้มนุษย์สามารถแยกแยะอาหารที่ปลอดภัยและเป็นอันตราย และประเมินคุณค่าทางโภชนาการได้\nเอนไซม์ย่อยอาหารในน้ำลายจะเริ่มย่อยละลายอาหารให้เป็นสารเคมีพื้นฐาน ที่ท่วมปุ่มลิ้นให้ตุ่มรับรสตรวจจับรสชาติได้\nถ้าไม่มีน้ำลาย น้ำตาลหรือเกลือจะไม่มีรสชาติอะไร ๆ\nลิ้นเต็มไปด้วยปุ่มลิ้นเล็ก ๆ (lingual papillae) เป็นพัน ๆ ซึ่งมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า\nแต่ละปุ่มจะมีตุ่มรับรส (taste bud) เป็นร้อย ๆ\nยกเว้นปุ่มรูปด้าย (filiform papillae) ซึ่งไม่มีตุ่มรับรส\nมีตุ่มรับรสจำนวนระหว่าง 2,000-5,000 ที่ด้านหน้าและหลังของลิ้น\nและยังอยู่ที่เพดาน ข้าง ๆ และหลังปาก และในคออีกด้วย\nตุ่มรับรสแต่ละตุ่มจะมีเซลล์รับรส 40-60 เซลล์\nและหน่วยรับรสที่เป็นจุดเริ่มการรู้รสชาติก็จะอยู่ที่เยื่อหุ้มของเซลล์รับรส", "title": "การรับรู้รส" }, { "docid": "38834#11", "text": "รสขมปกติจะไม่น่ายินดีต่อมนุษย์เกือบทั้งหมด\nเพราะโมเลกุลอินทรีย์หลายประเภทที่มีไนโตรเจน จะมีผลทางเภสัชวิทยาที่ทำให้รู้สึกขม\nรวมทั้งกาเฟอีน นิโคติน strychnine (สารพิษไร้สีชนิดหนึ่ง) ซึ่งตามลำดับเป็นส่วนประกอบของสารกระตุ้นในกาแฟ สารเสพติดในบุหรี่ สารประกอบออกฤทธิ์ของยาฆ่าศัตรูพืชและสัตว์จำนวนมาก และอาหารที่เสีย\nแต่ก็ปรากฏว่า มีกระบวนการทางจิตใจบางอย่างที่ทำให้มนุษย์สามารถข้ามความรังเกียจตามธรรมชาติที่มีต่อรสขม ดังที่พบว่ากาแฟเป็นสิ่งบริโภคที่คนชอบทั่วโลก\nเป็นเรื่องน่าสนใจด้วยว่า ยาสามัญต่าง ๆ จะมีรสขมถ้าเคี้ยว\nซึ่งระบบรู้รสดูเหมือนจะตีความสารเหล่านี้ว่าเป็นพิษ\nเพราะเหตุนี้ ความรู้สึกไม่ชอบใจในรสขมอาจเป็นระบบเตือนภัยขั้นสุดท้ายก่อนจะบริโภคสิ่งที่อาจเป็นอันตราย", "title": "การรับรู้รส" }, { "docid": "38834#67", "text": "ในระหว่างการย่อยอาหาร ไตรกลีเซอไรด์จะสลายด้วยน้ำอาศัยเอนไซม์ลิเพส (lipase) ให้กลายเป็นกรดไขมันย่อย ๆ\nซึ่งให้รสชาติที่ไม่น่าชอบใจอีกอย่างหนึ่งในมนุษย์นอกเหนือจากรสขมและเปรี้ยว\nแต่นักวิชาการในงานศึกษาก็ได้อธิบายว่า ระดับเจือจางของกรดไขมันเช่นนี้ อาจเพิ่มรสชาติอาหาร คล้ายกับรสขมหน่อย ๆ ที่ทำให้อาหารบางอย่างมีรสชาติกลมกล่อมดีขึ้น\nอย่างไรก็ดี กรดไขมันในระดับความเข้มข้นสูงในอาหารบางอย่างพิจารณาว่า ทานไม่ลง", "title": "การรับรู้รส" }, { "docid": "899104#3", "text": "ลายสิงห์ (พุฒ พุฒิชัย) หนุ่มโสด เจ้าของร้าน สิงห์ดอกไม้ ในขณะที่บรรดาพี่น้อง 4 คน ได้แก่ เครือเถา, ข้าวบิณฑ์ (แจ๊บ เพ็ญเพชร), ดาวจงกล (ดิว อริสรา) และ แก้วกุดั่น (วีวี่ สรัณณัฏฐ์) ต่างก็มีครอบครัวและมีคู่หมั้นหมายกันไปหมด ลายสิงห์ก็ยึดมั่นในความสุขแบบที่ไม่ต้องมีคู่รักแบบที่ตัวเองเป็นอยู่ตอนนี้มากกว่า แค่ทุกวันนี้มีร้านดอกไม้ที่เขาได้ใช้ความปราณีตซึ่งตกทอดมาจากคุณปู่ มาแสดงฝีมือในงานที่ตัวเองรักจนลายสิงห์ขึ้นชื่อเป็นช่างจัดดอกไม้แถวหน้าของเมืองไทย", "title": "แหวนดอกไม้" }, { "docid": "62699#1", "text": "เมื่อถูกยุง \"Anopheles\" เพศเมียกัดจะนำเชื้อปรสิตจากน้ำลายของยุงเข้าสู่เลือดของบุคคล ปรสิตจะไปตับซึ่งจะเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ มนุษย์สามารถติดเชื้อและส่งต่อ \"Plasmodium\" ห้าสปีชีส์ ผู้เสียชีวิตส่วนมากเกิดจากเชื้อ \"P. falciparum\" เพราะ \"P. vivax\", \"P. ovale\" และ \"P. malariae\" โดยทั่วไปก่อให้เกิดมาลาเรียแบบที่รุนแรงน้อยกว่า สปีชีส์รับจากสัตว์ \"P. knowlesi\" พบมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การวินิจฉัยมาลาเรียตรงแบบทำโดยการตรวจเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยใช้ฟิล์มเลือดหรือการวินิจฉัยชนิดรวดเร็ว (rapid diagnostic test) ที่อาศัยแอนติเจน มีการพัฒนาวิธีซึ่งใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสเพื่อตรวจจับดีเอ็นเอของปรสิต แต่ยังไม่มีใช้แพร่หลายในพื้นที่ซึ่งมีโรคมาลาเรียทั่วไปเนื่องจากราคาแพงและซับซ้อน", "title": "มาลาเรีย" }, { "docid": "685230#3", "text": "ผลเป็นพิษต่อมนุษย์เมื่อรับประทานในปริมาณหนึ่ง แต่เป็นพิษของมันไม่เป็นอันตรายกับนก นกจึงกินผลและช่วยกระจายเมล็ดได้ สารพิษนั้นเป็นพิษต่อระบบประสาทและเรซินที่ไม่ได้จำแนกชนิด ส่วนใหญ่พบในผล อาการจะเกิดขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังการย่อย อาการได้แก่ กระหายน้ำ อาเจียน ท้องผูกหรือท้องเสีย อุจจาระเป็นเลือด ปวดท้อง หายใจขัด หัวใจหยุดเต้น เสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง มีสารเคมีที่คล้ายอาซาดิเรซติน ซึ่งเป็นสารหลักในน้ำมันสะเดา สารเหล่านี้อาจทำให้เนื้อไม้และเมล็ดทนทานต่อศัตรูพืช ใบใช้เป็นสารกำจัดแมลง มักจะไม่รับประทานเพราะเป็นพิษ สารละลายเจือจางของใบเคยใช้เป็นยาทำให้มดลูกคลายตัว", "title": "เลี่ยน" }, { "docid": "38834#6", "text": "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน\nสัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้", "title": "การรับรู้รส" }, { "docid": "38834#78", "text": "การรู้รสเป็นรูปแบบหนึ่งของการรับรู้สารเคมี (chemoreception) โดยเกิดที่หน่วยรับรส (taste receptor) ภายในปาก\nรวมทั้งที่ลิ้น แก้ม เพดานอ่อน คอหอย และฝากล่องเสียง\nในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้ระบุหน่วยรับรส 5 อย่างแล้ว คือที่รู้รสเค็ม หวาน เปรี้ยว ขม และอุมะมิ\nหน่วยรับรสสามารถรับรสต่าง ๆ กัน คือสามารถตรวจจับสารประกอบบางอย่าง แล้วเริ่มศักยะงานเพื่อส่งไปยังสมอง\nหน่วยรับรสอยู่ที่เซลล์รับรส (taste receptor cell/taste cell) ซึ่งเป็นเซลล์เนื้อเยื่อประสาทบุผิว (neuroepithelial cell) ที่มีรูปกล้วย/รูปกระสวยโดยยาวไปตลอดตุ่มรับรส และมีขนที่ส่วนยอดแบบ microvilli ที่เรียกได้ว่า ขนรับกลิ่น (gustatory/taste hairs) ซึ่งทำหน้าที่เป็นพื้นผิวให้หน่วยรับรสทำปฏิกิริยากับโมเลกุลมีรสได้ โดยขนจะยื่นเข้าไปในรูรับรส (taste pore) ซึ่งกว้างประมาณ 1 มม. และอยู่ที่ผิวลิ้น \nโดยทั่วไปแล้ว เซลล์รับรสมีหน้าที่ถ่ายโอนข้อมูลรสเป็นกระแสประสาท โดยเข้ารหัสข้อมูลว่าเป็นรสอะไร เข้มข้นแค่ไหน น่าชอบใจไม่น่าชอบใจ เป็นอันตรายหรือไม่ของรส\nและส่งข้อมูลผ่านไซแนปส์ที่ฐานเซลล์ผ่านสารสื่อประสาทต่าง ๆ เช่นเซโรโทนินเป็นต้น\nไปยังใยประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve fiber) ซึ่งก็จะส่งข้อมูลต่อไปยังระบบประสาทกลาง", "title": "การรับรู้รส" }, { "docid": "38834#2", "text": "การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น \nทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส\nรสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส\nส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส\nในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง \nสมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส", "title": "การรับรู้รส" } ]
31
ช่อง 7 เอชดี เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่เท่าไหร่ของประเทศไทย?
[ { "docid": "59413#0", "text": "ช่อง 7 เอชดี (Channel 7 HD) (ชื่อเดิม: สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินซึ่งออกอากาศด้วยระบบภาพสีแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่ 3 ของประเทศไทย ดำเนินกิจการภายใต้สัญญาสัมปทานกับกองทัพบก เริ่มแพร่ภาพเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 9 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นระบบภาพสี และย้ายการออกอากาศ ไปทางช่องสัญญาณที่ 7 จนถึงปัจจุบัน มีกฤตย์ รัตนรักษ์ เป็นประธานกรรมการบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด และสมเกียรติ เจริญภิญโญยิ่ง เป็นกรรมการผู้จัดการ", "title": "ช่อง 7 เอชดี" } ]
[ { "docid": "321758#0", "text": "ฝ่ายข่าว ช่อง 7 เอชดี ()เป็นหน่วยงานย่อยของบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด หรือ ช่อง 7 เอชดี ทำหน้าที่ผลิตข้อมูลข่าวสารทุกประเภท ในรูปของเนื้อหาข่าวสำหรับโทรทัศน์ และภาพวิดีโอข่าวสำหรับโทรทัศน์ หรือภาพนิ่งในบางกรณี เพื่อสนับสนุนกับรายการโทรทัศน์ ประเภทข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน ที่สถานีฯ ผลิตขึ้นเอง รวมถึงสื่อประเภทอื่นของช่อง 7 เอชดี เช่น เว็บไซต์ หรือ สื่อสังคมออนไลน์ของสถานีฯ ก่อตั้งขึ้นในช่วงระยะแรกของการก่อตั้งสถานีฯ", "title": "ข่าวช่อง 7 เอชดี" }, { "docid": "168009#0", "text": "ช่อง 7 เอชดี (ชื่อเดิม:สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7) เป็นช่องโทรทัศน์ที่มีรายการต่าง ๆ มากมาย รวมไปถึงละครที่มีมากมายหลายเรื่องและหลายช่วงเวลา เมื่อมีละครเรื่องหนึ่งจบหรืออวสานไปก็จะมีละครเรื่องใหม่มาออกอากาศแทน โดยละครแต่ละเรื่องจะมีนักแสดงนำและบทละครที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ ละครทางช่อง 7 สีที่อวสานไปเมื่อประมาณ 1 ปีครึ่ง ถึง 3 ปีที่แล้ว จะถูกนำมาออกอากาศอีกครั้งในช่วงเวลาตอนบ่ายในวันจันทร์ถึงศุกร์ด้วย", "title": "รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เอชดี" }, { "docid": "4801#0", "text": "สถานีโทรทัศน์เอ็มคอตเอชดี (; ชื่อเดิม: สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 บางลำพู, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท., สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี) หรือ ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี () เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) แห่งแรกของประเทศไทย ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 4 ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 จึงย้ายมาออกอากาศด้วยภาพสี ทางช่องสัญญาณที่ 9 จนถึงปัจจุบัน สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล มีพลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เป็นประธานกรรมการบริษัท และนายเขมทัตต์ พลเดชเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่", "title": "เอ็มคอตเอชดี" }, { "docid": "43460#9", "text": "\"สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3\" (ชื่อสากล: HS-TV 3) เป็นสถานีโทรทัศน์เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ออกอากาศโดยใช้ช่องความถี่ต่ำ ในระบบวีเอชเอฟ คือช่อง 2 ถึงช่อง 4 โดยในระยะเริ่มแรก ใช้เครื่องส่งโทรทัศน์สีขนาด 25 กิโลวัตต์ จำนวนสองเครื่องขนานกัน รวมกำลังส่งเป็น 50 กิโลวัตต์ อัตราการขยายสายอากาศ 13 เท่า กำลังออกอากาศที่ปลายเสาอยู่ที่ 650 กิโลวัตต์ เสาอากาศเครื่องส่งมีความสูง 250 เมตร ความถี่คลื่นอยู่ระหว่าง 54-61 เมกะเฮิร์ตซ์ ใช้ระบบ ซีซีไออาร์ พาล (CCIR PAL) 625 เส้น เป็นแห่งแรกของไทย โดยส่งออกอากาศทางช่องสัญญาณที่ 3 ซึ่งสามารถให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งหมด 18 จังหวัดเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 20.64 ของพื้นที่ประเทศไทย นับเป็นสถานีโทรทัศน์สีแห่งที่สองของไทย ต่อจากสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7", "title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3" }, { "docid": "59413#9", "text": "ช่อง 7 HD จัดตั้งฝ่ายข่าวขึ้น พร้อมกับการเปิดดำเนินงานของสถานีฯ มีบทบาทในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทางวิทยุโทรทัศน์ ด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชน อย่างรวดเร็ว ฉับไว และเที่ยงตรง ปัจจุบัน รายการข่าวของช่อง 7 ที่นิยมเรียกกันว่า \"ข่าวเด็ดเจ็ดสี\" (หรือชื่อ \"ข่าวเจ็ดเอชดี\" ในปัจจุบัน) นำเสนอข่าวสาร แบบเกาะติดสถานการณ์ตลอดทั้งวัน ผ่านช่วงเช้าข่าว 7 สี ห้องข่าวภาคเที่ยง เจาะประเด็นข่าวค่ำ ข่าวดึก 7HD รวมถึงข่าวสั้น ซึ่งทำหน้าที่กระจกเงา สะท้อนวิถีชีวิตและสภาพปัญหา ของประชาชนในทั่วทุกภาคของประเทศ ผ่านรายงานข่าวต่างๆ เช่น สกู๊ปชีวิต ข่าวช่วยชาวบ้าน โดยป๋าแหงม-ศักดินา รักษ์อุดมการณ์ ด้วยลำแข้ง รายงานของคำรณ หว่างหวังศรี (ต่อมาทั้งสองคนย้ายไปทำรายการข่าวแนวเดิมทางไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งในปัจจุบันคำรณก็ยังคงอยู่ที่ช่อง 3 แต่สำหรับศักดินาได้ย้ายไปอยู่ที่ไบรท์ทีวี) ตลอดจนช่วงสะเก็ดข่าว และภาพกีฬามันมันส์ในข่าวภาคค่ำ ซึ่งล้วนแต่มีเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งยังได้รับความนิยมจากผู้ชม", "title": "ช่อง 7 เอชดี" }, { "docid": "59413#13", "text": "ช่อง 7 HD ถือเป็นผู้นำของการนำเสนอรายการละครโทรทัศน์ในประเทศไทย โดยเริ่มต้นด้วยการนำเสนอละครพื้นบ้านในช่วงเช้าวันสุดสัปดาห์ จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงมาเป็น การนำบทประพันธ์ของนักเขียนชื่อดัง ตลอดจนบทละครที่เขียนขึ้นใหม่ มาสร้างเป็นละครเพื่อนำเสนอในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ 20.30 น. ช่วงเย็นประมาณ 18.30 น. ภายหลังได้มีละครเยาวชนเพิ่มอีกในเวลา 18.00 น. และมีเวลาของละครซิตคอมในวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00 น. และเวลา 13.00 น. นอกจากนี้ ก่อนออกอากาศละครภาคเย็นและภาคค่ำ ยังมีข้อความแสดงคำเตือนเรื่องลิขสิทธิ์ เป็นสถานีฯ แรกด้วย", "title": "ช่อง 7 เอชดี" }, { "docid": "59413#7", "text": "เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553 เวลา 04.30 เป็นแอนิเมชั่นภาพทดสอบ ค่อยๆ แยกส่วนจนเหลือเพียงกล่องล่าง และกล่องล่างค่อยๆ ขยาย และมีข้อความเขียนว่า \"เชิญรับชม ช่อง 7 สี ได้ตลอด 24 ชั่วโมง\" และ slideshow ของสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย โดยขั้นตอนการแยกส่วนมีดังนี้\nสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มดำเนินการจัดตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณระบบแอนะล็อกในส่วนภูมิภาค มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 นับจนถึงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นการยุติระบบแอนะล็อก มีจำนวนทั้งสิ้น 37 สถานีฯ ดังต่อไปนี้ *เฟสที่1 (1 สิงหาคม 2560) **เฟสที่2 (31 ธันวาคม 2560) ***เฟสที่3 (16 มิถุนายน 2561) ทั้ง 3 เฟส ได้ยุติระบบเดิมแล้ว", "title": "ช่อง 7 เอชดี" }, { "docid": "4801#38", "text": "ทั้งนี้ สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ส่วนภูมิภาค เป็นหนึ่งในกลุ่มสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินในเครือข่ายท้องถื่นแห่งเดียวของประเทศไทย เริ่มดำเนินการจัดสถานีถ่ายทอดสัญญาณแอนะล็อกและดิจิทัลทั่วประเทศ (รวมไปถึงศูนย์ข่าวจากสำนักข่าวไทย) โดยมีการแพร่ภาพระหว่างออกอากาศในต่างจังหวัดเพิ่มเติมละ 36 สถานี ได้แก่", "title": "เอ็มคอตเอชดี" }, { "docid": "59413#12", "text": "อนึ่ง ช่วงเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2532 โดยฝ่ายข่าวช่อง 7 สี ถือได้เป็นสถานีแห่งแรก ที่ริเริ่มการถ่ายทอดการรายงานความเคลื่อนไหวข้อมูลซื้อขายหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผ่านการรายงานสดจากห้องค้าหลักทรัพย์ที่อาคารสินธร ถนนวิทยุ ตลอดเวลาทำการตลาดหลักทรัพย์ฯ และมีเชื้อเชิญนักวิเคราะห์หลักทรัพย์มาร่วมประเมินสถานการณ์ตลาดหุ้นด้วย", "title": "ช่อง 7 เอชดี" }, { "docid": "59413#2", "text": "ในระยะเดียวกัน จอมพลประภาส ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก มีนโยบายให้ คณะกรรมการควบคุมวิทยุและโทรทัศน์กองทัพบก ลงมติอนุมัติให้ร่วมกับ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ดำเนินการติดต่อให้นำเครื่องส่งโทรทัศน์สี ของบริษัทฟิลิปส์แห่งฮอลแลนด์ ระบบแพร่ภาพ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที มาทดลองใช้งาน โดยบันทึกภาพการประกวดนางสาวไทย ภายในงานวชิราวุธานุสรณ์ ที่พระราชวังสราญรมย์ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน มาถ่ายทอดผ่านคลื่นวิทยุ ในย่านความถี่สูงมาก ทางช่องสัญญาณที่ 7 และออกอากาศคู่ขนาน ด้วยระบบแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ทางช่องสัญญาณที่ 9 ในอีกสองวันถัดมา คือวันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน หลังจากนั้น ก็ยุติการแพร่ภาพชั่วคราว เพื่อดำเนินการในทางเทคนิค โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม มีการประกอบพิธีสถาปนา บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ อย่างเป็นทางการ โดยในปีถัดมา (พ.ศ. 2511) ผู้ถือหุ้นมีมติให้เฑียร์ ลาออกจากตำแหน่ง กรรมการบริษัท, หัวหน้าฝ่ายรายการ และหัวหน้าฝ่ายเทคนิค โดยแต่งตั้งให้สุรางค์ เปรมปรีดิ์ เข้าเป็นกรรมการแทน พร้อมถือ 80 หุ้น และในปีเดียวกัน คณะกรรมการฯ ทำสัญญาร่วมกับทาง บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ซึ่งกำหนดให้บริษัทฯ จัดสร้างอาคารที่ตั้ง \"สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7\" ภายในบริเวณที่ทำการ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.) สนามเป้า พร้อมติดตั้งเครื่องส่งโทรทัศน์สี กำลังออกอากาศ 500 วัตต์ เพื่อมอบทั้งหมดให้แก่ ททบ.5 แล้วจึงทำสัญญาเช่าช่วงจาก ททบ.เป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อเข้าบริหารงานอีกทอดหนึ่ง โดยในระยะสองปีแรก ใช้บุคลากรและห้องส่ง ร่วมกับ ททบ. พร้อมทั้งนำรถประจำทางเก่าสามคัน เข้าไปจอดไว้ภายในที่ทำการ ททบ5.สนามเป้า แล้วรื้อที่นั่งออกทั้งหมด เพื่อใช้ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ไปพลางก่อน", "title": "ช่อง 7 เอชดี" } ]
2546
วอลแตร์เริ่มเขียนงาน ซาดีก ชิ้นนี้ในปี พ.ศ.ใด?
[ { "docid": "27793#1", "text": "วอลแตร์เริ่มเขียนงานชิ้นนี้ในปี พ.ศ. 2288 โดยเริ่มแรกใช้ชื่อว่า “เม็มนง” และตีพิมพ์ครั้งแรกที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพราะเรื่องนี้ไม่สามารถตีพิมพ์ในประเทศฝรั่งเศสได้ เนื่องจากมี เนื้อหาที่เสียดสีสังคมชั้นสูงคือชนชั้นพระและขุนนาง แม้จะเป็นการสมมติเรื่องว่าเกิดในตะวันออกก็ตาม", "title": "ซาดีก" } ]
[ { "docid": "27793#2", "text": "อีก 2 ปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2290 \"เม็มนง ซาดีก\" เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในประเทศฝรั่งเศส และในปี พ.ศ. 2291 \"ซาดีก หรือ ชะตาลิขิต\" (Zadig ou la destinée) ก็ได้ออกเผยแพร่ต่อหน้าสาธารณชน โดย ตอนแรกวอลแตร์ไม่ยอมรับว่าเป็นผู้แต่ง แต่หลังจากที่ซาดีกประสบความสำเร็จ เขาจึงยอมรับว่าเป็นผู้แต่ง ภายหลังในปี พ.ศ. 2295 - พ.ศ. 2299 วอลแตร์ได้เขียนเพิ่มขึ้นอีก 2 บท คือการเต้นรำและนัยน์ตาสีฟ้า ซึ่งสองบทหลังนี้ตอนแรกไม่ได้นำมารวมกับเรื่องซาดีก เนื่องจากโครงสร้างเรื่องที่มีอยู่ 19 บทนี่ดีอยู่แล้ว แต่ภายหลังจากที่วอลแตร์ได้เสียชีวิตแล้ว สองบทหลังนี่ก็ได้ถูกนำมาเผยแพร่ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2328", "title": "ซาดีก" }, { "docid": "879354#31", "text": "การเขียนที่มีชีวิตชีวาของไลเอ็ลล์ได้จุดชนวนจินตนาการของสาธารณชน เป็นแรงดลใจให้ฌูล แวร์น ได้เขียนนิยาย \"การเดินทางไปยังศูนย์กลางโลก (Journey to the Center of the Earth)\" ปี 2407 (ที่เป็นต้นเรื่องของภาพยนตร์ \"ดิ่งทะลุสะดือโลก\") และนิยายฉบับพิมพ์ที่สองเรื่อง \"โลกก่อนน้ำท่วม (La Terre avant le déluge)\" ปี 2410 ของ Louis Figuier \nซึ่งมีภาพวาดแสดงชายหญิงป่าเถื่อนผู้นุ่งหนังสัตว์และแกว่งขวานหิน แทนที่สวนเอเดนที่เป็นภาพประกอบในฉบับพิมพ์แรก\nดังนั้น แนวคิดในเรื่อง \"ห่วงลูกโซ่ที่ยังขาด\" ระหว่างมนุษย์กับ \"สัตว์ที่ต่ำกว่า\" ก็ยังคงเหลือค้างในจินตนาการของสาธารณชน", "title": "ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ" }, { "docid": "27793#0", "text": "ซาดีก () หรือ ซาดีกูลาแด็สตีเน () หรือ ชะตาลิขิต เป็นนวนิยายเชิงปรัชญาซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของวอลแตร์ ผลงานชิ้นนี้มีชื่อเสียงมากพอกับนวนิยายปรัชญาเรื่องอื่น ๆ แห่งยุค วอลแตร์ได้อาศัยจินตนาการจากนวนิยายตะวันออก ทั้งนี้เพื่อง่ายต่อการเสียดสีและวิจารณ์สังคมฝรั่งเศสสมัยนั้น ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า นวนิยายปรัชญาเรื่องซาดีกนี้เขาได้แรงบันดาลใจจากชะตาชีวิตที่ผกผันของเขาในราชสำนักระหว่างปี พ.ศ. 2286 - 2290 ที่เกิดจากประสบการณ์อันขมขื่นของวอลแตร์ในราชสำนักแวร์ซาย (Versailles) ก็คงไม่ผิด เนื่องจากในเรื่องนี้วอลแตร์ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ของตัวเองผ่านตัวละครเอกของเรื่อง ซึ่งก็คือ ซาดีก", "title": "ซาดีก" }, { "docid": "159070#11", "text": "ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2001 ซิลเวอร์แชร์เข้าสตูดิโอในซิดนีย์กับโปรดิวเซอร์ เดวิด บ็อททริลล์ (เคยทำงานร่วมกับ ทูล ,ปีเตอร์ แกเบรียล, คิง คริมสัน) เริ่มทำงานอัลบั้มชุดที่ 4 \"Diorama\" โดยหนนี้ ดาเนียล จอห์นส รับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ร่วม อัลบั้มนี้จอห์นสอธิบายไว้ว่า \"เป็นโลกในอีกโลก\"\" มาจากการค้นพบการเขียนเพลงวิธีใหม่ ที่มาจากการใช้เปียโน เป็นเทคนิกที่เขาพัฒนาระหว่างช่วงพัก และยังมีนักดนตรีหลายคนร่วมได้มาทำงานร่วมในอัลบั้ม Diorama ไม่ว่าจะเป็น แวน ไดค์ พาร์กส ที่เรียบเรียงออร์เครสตราให้กับเพลง \"Tuna in the Brine\", \"Luv Your Life\" และ \"Across the Night\" และยังมีพอล แม็ก จิม โมจินี และ ยอน การ์เฟียส ก็ร่วมงานกับวงด้วย ขณะที่บันทึกเสียงอัลบั้ม Diorama จอห์นสกล่าวว่าเขาเหมือนเป็นศิลปินคนหนึ่ง มากกว่าสมาชิกวงร็อกวงหนึ่ง และหลังจากอัลบั้มออก คำวิจารณ์ต่ออัลบั้มมีว่าเป็นอัลบั้มที่มีศิลปะมากกว่างานชิ้นก่อน ๆ", "title": "ซิลเวอร์แชร์" }, { "docid": "288363#8", "text": "งานเขียนภาพเหมือนชิ้นสำคัญชิ้นแรกที่ซาร์เจนท์เขียนคือภาพเหมือนของแฟนนี วัตตส์ที่เขียนในปี ค.ศ. 1877 ซึ่งเป็นงานเขียนสำหรับงานแสดงนิทรรศการเป็นครั้งแรกด้วย ภาพเหมือนภาพนี้เป็นภาพที่เขียนด้วยความมีฝีมือที่สร้างความสนใจและความพึงพอใจให้แก่ผู้เข้าชมไปด้วยในขณะเดียวกัน ภาพที่สองที่ได้รับเข้าแสดงในงานแสดงนิทรรศการคือภาพ “คนเก็บหอยที่คองซาล” (Oyster Gatherers of Cançale) ซึ่งเป็นภาพเขียนแบบอิมเพรสชันนิสม์ที่ซาร์เจนท์เขียนสองภาพ", "title": "จอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์" }, { "docid": "356591#4", "text": "วากเนอร์เริ่มร่างเค้าโครงเรื่อง \"ทันฮ็อยเซอร์\" ระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ค.ศ. 1842 และเขียนบทร้องเสร็จในเดือนเมษายนปีถัดมา จากนั้นจึงเริ่มประพันธ์ดนตรีจนแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1845 โดยท่อนโอเวอร์เชอร์ที่มีชื่อเสียงได้รับการประพันธ์แยกต่างหาก แล้วเสร็จหลังสุด รอบปฐมทัศน์จัดแสดงเป็นครั้งแรกที่เมืองเดรสเดินในวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1845 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าเรื่อง \"รีเอ็นท์ซี\" ผลงานชิ้นก่อนหน้าของวากเนอร์", "title": "ทันฮ็อยเซอร์" }, { "docid": "198143#0", "text": "ซินเดอเรลล่า () เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่สร้างโดยทีมงาน วอลท์ ดิสนีย์ ในปี พ.ศ. 2493 พื้นเรื่องมาจากเทพนิยายเรื่อง \"ซินเดอเรลลา\" ของชาร์ลส แปร์โรลต์\nเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ 12 ในซี่รี่ย์การ์ตูนคลาสสิกของวอลต์ ดิสนีย์ การ์ตูนเรื่องนี้ได้ถูกจำกัดการปล่อยในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2493 โดย RKO Radio Pictures \nมีผู้กำกับคือ ไคลด์ เจอโรมินิ,แฮมิลตัน ลัสก์ และ วิลเฟรด แจ็คสัน บทเพลงโดย แม็ค เดวิด,เจอร์รี่ ลิฟวิงสตัน และ อัล ฮอฟแมน\nการ์ตูนเรื่องนี้ได้รับรางวัลอะคาเดมี 3 รางวัล คือ Best Sound, Original Music Score และ Best Song", "title": "ซินเดอเรลล่า (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2493)" }, { "docid": "140805#3", "text": "งานชิ้นเอกสองชิ้น “ฤดูใบไม้ผลิ” (Primavera) ที่เขียนราวปี ค.ศ. 1478 และ “กำเนิดวีนัส” (The Birth of Venus) ที่เขียนราว ปี ค.ศ. 1485 เป็นงานที่วาซาริเห็นที่คฤหาสน์ของลอเรนโซ ดิ เปียร์ฟรานเชสโก เดอ เมดิชิที่เมืองคาสเตลโลราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และเป็นที่เชื่อกันมาจนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ว่าเป็นงานเขียนที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะสำหรับคฤหาสน์ที่คาสเตลโล แต่ผู้เชี่ยวชาญเมื่อไม่นานมานี้เชื่อว่าภาพ “ฤดูใบไม้ผลิ” เขียนสำหรับคฤหาสน์ของเมดิชิในฟลอเรนซ์ และภาพ “กำเนิดวีนัส” เขียนสำหรับผู้จ้างคนอื่นสำหรับสถานที่อื่น แต่เมื่อราวปี ค.ศ. 1499 สองภาพนี้ก็ได้มาตั้งที่คฤหาสน์ที่คาสเตลโล", "title": "ซันโดร บอตตีเชลลี" }, { "docid": "3759#2", "text": "เมื่อ ค.ศ. 1767 โมทซาร์ทได้ประพันธ์อุปรากรเรื่องแรก ตั้งแต่อายุได้ 11 ปี ชื่อเรื่อง \"อพอลโลกับไฮยาซิน\" (K. 38) เป็นบันเทิงคดีภาษาละติน ที่แต่งให้เปิดแสดงโดยคณะนักเรียน ของโรงเรียนมัธยม ที่ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยแห่งเมืองซาลซ์บูร์ก เมื่อเขาเดินทางกลับถึงประเทศออสเตรีย เขาได้เดินทางไปยังกรุงวียนนาบ่อยครั้ง และได้แต่งอุปรากรสองเรื่องแรก ได้แก่ \"นายบาสเตียนกับนางบาสเตียน\" และ \"ผู้โง่เขลาจอมปลอม\" ตลอดช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 1768 เมื่อมีอายุได้ 12 ปี\nในปีถัดมา เขาได้รับการแต่งตั้งจากอัครมุขนายกให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคอนเสิร์ต บิดาของเขาได้ขอลาพักงานโดยไม่รับเงินเดือนเพื่อพาเขาไปท่องเที่ยวที่ประเทศอิตาลีตั้งแต่ ค.ศ. 1769 ถึง ค.ศ. 1773 โมทซาร์ทได้เดินทางไปอิตาลีหลายครั้งเพื่อไปศึกษาเกี่ยวกับอุปรากร อันเป็นรูปแบบดนตรีที่เขาใช้ประพันธ์ \"งานแต่งงานของฟีกาโร\", \"ดอน โจวันนี\", \"โคซิฟันตุตเต\", \"ขลุ่ยวิเศษ\" ฯลฯ เขาสามารถนำเสียงดนตรีอันสูงส่งเหล่านี้ออกมาสู่โลกได้ จากความใส่ใจในความกลมกลืนของเสียงร้อง และความสามารถในการควบคุมเสียง อันเกิดจากเครื่องดนตรีหลากชิ้น", "title": "ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท" } ]
1407
ภาพยนตร์ เรื่องพระเจ้าช้างเผือก ออกฉายครั้งแรกเมื่อไหร่?
[ { "docid": "101759#0", "text": "พระเจ้าช้างเผือก (English: The King of the White Elephant) เป็นภาพยนตร์ไทยขาวดำ ในระบบ 35 มม.[1] บันทึกเสียงขณะถ่ายทำ ให้เสียงเป็นภาษาอังกฤษทั้งเรื่อง สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2483 เพื่อส่งไปประกวดรางวัลสันติภาพเพื่อรางวัลโนเบิล (Noble Prize for Peace) ที่สหรัฐอเมริกา ออกฉายเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2484 โดยฉายรอบปฐมทัศน์พร้อมกันที่ ศาลาเฉลิมกรุง สิงคโปร์ และ นิวยอร์ก อำนวยการสร้างและเขียนบทโดย ปรีดี พนมยงค์ กำกับโดย สันธ์ วสุธาร กำกับภาพโดย ประสาท สุขุม", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" } ]
[ { "docid": "101759#20", "text": "ต้นฉบับเดิมที่ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2484 โดยฉายรอบปฐมทัศน์พร้อมกันที่ ศาลาเฉลิมกรุง สิงคโปร์ และ นิวยอร์ก เป็นภาพยนตร์ไทยพูดด้วยภาษาอังกฤษทั้งเรื่อง เพื่อประชาสัมพันธ์ประเทศไทยให้ต่างชาติได้รู้จัก ใช้ทุนสร้างสูง มีฉากที่ยิ่งใหญ่ เช่น การนำช้างกว่า 150 เชือกเข้าสู่ฉากคล้องช้าง และฉากยุทธหัตถี โดยได้รักความร่วมมือเอื้อเฟื้อจัดหาช้างโดยไม่คิดมูลค่าจากเจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ เป็นต้น แต่การฉายที่สหรัฐอเมริกากลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ฉายได้เพียง 7 วันเท่านั้นก็ยกเลิก เนื่องจากไม่มีคนดู", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "101759#23", "text": "ปัจจุบัน ฟิล์มภาพยนตร์ ยังเก็บและรักษาไว้อยู่ที่ หอภาพยนตร์แห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์ และนำออกฉายบ่อยครั้งทั้งในประเทศและส่งออกไปฉายที่ต่างประเทศ[11]", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "137985#2", "text": "ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่มีโอกาสได้ออกฉาย เนื่องจากฟิล์มต้นฉบับเสียหายไปทั้งหมดเมื่อโรงเก็บฟิล์มภาพยนตร์ ของกองภาพยนตร์ทหารอากาศ ทุ่งมหาเมฆ ถูกระเบิดไฟไหม้ก่อนสิ้นสุดสงครามไม่นาน พร้อมกับฟิล์มภาพยนตร์เรื่อง บ้านไร่นาเรา และพระเจ้าช้างเผือก", "title": "สงครามเขตหลัง" }, { "docid": "101759#26", "text": "พระเจ้าช้างเผือกได้ถูกฉายทางสถานีโทรทัศน์สาธารณะ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ในรายการแกะกล่องหนังไทย ทางทีวีไทย[15]", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "101759#37", "text": "หมวดหมู่:ภาพยนตร์ไทย หมวดหมู่:ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2484 หมวดหมู่:ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ หมวดหมู่:ภาพยนตร์ขาวดำ หมวดหมู่:ภาพยนตร์สงคราม", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "69166#9", "text": "ยุทธหัตถีในวัฒนธรรมสมัยนิยมหรือวัฒนธรรมร่วมสมัย ปรากฏครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง \"พระเจ้าช้างเผือก\" ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2484 ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ใช้ทุนสร้างสูงมากโดยมีจุดมุ่งหมายในแนวชาตินิยมเพื่อปลุกใจคนไทยให้รักชาติ เนื่องจากเป็นสถานการณ์ตรงกับสงครามโลกครั้งที่สอง อำนวยการสร้างโดย นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในขณะนั้น ", "title": "ยุทธหัตถี" }, { "docid": "101759#28", "text": "บทภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือกถูกจัดพิมพ์เป็นหนังสือครั้งแรกเมื่อ 10 เมษายน พ.ศ. 2484 โดยเป็นภาษาอังกฤษทั้งเล่ม ใช้ชื่อหนังสือว่า \"The King of The White Elephant by Pridi Banomyong\" พิมพ์ที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง โดย Prasit Lulitananda เป็นผู้พิมพ์โฆษณา[18]ต่อมาจึงได้มีการแปลและจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยเมื่อ 16 สิงหาคม พ.ศ.​ 2533 และจัดพิมพ์ครั้งที่สองเมื่อปี พ.ศ. 2542 [19]", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "101759#15", "text": "พระเจ้าช้างเผือกเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทางนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 ประสงค์ให้เป็นภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ความเป็นชาติรัฐของไทยในช่วงเวลานั้น เพื่อปลุกใจให้คนไทยรักชาติ เนื่องจากภาวะของประเทศที่ใกล้เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง เนื้อเรื่องเกี่ยวกับบุญบารมีขององค์พระมหากษัตริย์ไทย พระเจ้าช้างเผือก หรือ พระเจ้าจักรา กษัตริย์ไทย กระทำยุทธหัตถีชนะพระเจ้าหงสา ฯ กษัตริย์พม่า ซึ่งเป็นเรื่องราวที่คาบเกี่ยวในประวัติศาสตร์ไทยถึง 2 รัชกาล คือ รัชกาลของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ถ่ายทำที่โรงถ่ายไทยฟิล์ม, ทุ่งมหาเมฆ และจังหวัดแพร่ ได้รับความร่วมมือจากนักศึกษามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองจำนวนมากซึ่งสละเวลาช่วยท่านผู้ประศาสน์การโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "101759#8", "text": "พระเจ้าจักราทรงมีพระราชจริยาวัตรตื่นแต่เช้าตรู่ และเสด็จไปในอุทยานแห่งวิหารเทพีธรรมเพื่อทรงรับอากาศบริสุทธิ์ วันหนึ่งพระองค์ทรงไม่พอพระทัยอย่างยิ่งเมื่อเด็กๆ ที่รอเรียนหนังสือในวัดนั้นเล่นส่งเสียงดังน่ารำคาญ พระเจ้าจักราเกือบจะทรงตักเตือนเด็กเหล่านี้ด้วยพระองค์เอง แต่ก็มีสตรีนางหนึ่งเข้ามาตักเตือนเสียก่อน พระเจ้าจักราจึงแฝงพระองค์แอบฟัง สตรีนางนั้นได้ยกชาดกเรื่องเต่าช่างพูดมาตักเตือน เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าจักราเป็นอันมาก และทรงระลึกได้ว่าสตรีนางนั้นก็คือ เรณู บุตรีของสมุหราชมณเฑียร", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "101759#30", "text": "ภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือกหลังจากการออกฉายในครั้งแรก ถูกวิจารณ์อย่างแรงจากผู้ชมบางส่วน รวมถึงนักวิจารณ์ชาวตะวันตกว่า \"เป็นผลงานของนักทำหนังสมัครเล่นที่พยายามจะพูดถึงเรื่องราวระดับมนุษยชาติ การถ่ายทำก็เลียนแบบหนังมหากาพย์ของอเมริกัน\" แต่ต่อมาหลังการศึกษาอย่างละเอียดพบว่า เปี่ยมไปด้วยคุณค่าอย่างหลากหลายทางด้านศิลปะ ประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรมและคุณธรรม และต่อมาในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2550 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) สำนักงานใหญ่ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีมติมอบรางวัลเฟลลินี (The Fellini Silver Medal Award) เหรียญเงินเพื่อเชิดชูเกียรติผู้กำกับและองค์กรสร้างสรรค์ผลงานอนุรักษ์ศิลปะภาพยนตร์ให้แก่หอภาพยนตร์แห่งชาติ กรมศิลปากร[20]", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "101759#19", "text": "นอกจากนี้ งานดุริยางค์สากล กรมศิลปากรได้นำเพลงศรีอยุธยาและเพลงไทยในภาพยนตร์มาเรียบเรียงเป็นเพลงเรื่อง ประกอบด้วยสายสมร, ขับไม้บัณเฑาวะว์, อโยธยาคู่ฟ้า ใช้บรรเลงในการแสดงคอนเสิร์ตและรายการโทรทัศน์ [7] [8]", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "461713#6", "text": "ปี 2004 คิม แร-ว็อน กลับมากับงานละครเรื่อง Say 'I Love You' To Me ทางสถานีโทรทัศน์ MBC โดยได้รับบทเป็น Kim Byung-Soo ชายหนุ่มที่ใสซื่อและอ่อนต่อโลก หลังจากนั้นเมษายนภาพยนตร์แนวตลกสุดน่ารักเรื่อง My Little Bride ที่เขาได้ร่วมแสดงกับ Moon Geun-Young จากภาพยนตร์เรื่อง A Tale of Two Sisters ก็เข้าฉายที่เกาหลี ในภาพยนตร์เรื่อง My Little Bride เป็นเรื่องราวของครอบครัว 2 ครอบครัวที่ พ่อ แม่ ของแต่ละครอบครัว เคยเป็นเพื่อนสนิทกันมาก่อน และได้ให้สัญญาระหว่างกันไว้ว่า ถ้าครอบครัวพวกเขามีลูกเมื่อไหร่ จะให้ลูกๆของพวกเขานั้นแต่งงานกัน เพื่อจะให้ครอบครัว 2 ครอบครัวนี้สนิทกันยิ่งขึ้น ซึ่งบทลูกๆของ 2 ครอบครัวนี้นำแสดงโดย คิม แร-ว็อน และ Moon Geun-Young แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าลูกๆของพวกเขานั้น ไม่ค่อยถูกชะตากันเท่าที่ควรนัก", "title": "คิม แร-ว็อน" }, { "docid": "101759#36", "text": "ในปี พ.ศ. 2554 มีการจัดจำหน่ายในรูปแบบดีวีดีแบบแผ่นเดียวในฉบับ 70 ปีพระเจ้าช้างเผือก มีความยาว 95 นาที มีเมนูเพิ่มใหม่ให้เลือกฟังเวอร์ชันพากย์ไทยได้", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "101759#34", "text": "ดีวีดีภาพยนตร์ มีสองแผ่น สองรูปแบบ แผ่นแรกเป็นฉบับเต็มที่ฉายทั่วไป ความยาว 100 นาที พร้อมเมนูเฉพาะดูหนัง,บรรยายภาษาไทย และ เลือกฉาก เท่านั้น ส่วนแผ่นที่สองเป็นฉบับตัดต่อที่ฉายในอเมริกาและต่างประเทศ ความยาว 52 นาที พร้อมเมนู ดูหนัง, บรรยายภาษาไทย, เลือกฉาก และของเสริม ได้แก่ ภาพหลักฉากการถ่ายทำ, ภาพนิ่งจากภาพยนตร์, โปสการ์ด โปสเตอร์ และงานออกแบบ, แนะนำภาพยนตร์โดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ บางคำจาก ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "39684#26", "text": "ปัจจุบัน มูลนิธิหนังไทย เจ้าของลิขสิทธิ์ ได้จัดทำดีวีดีภาพยนตร์ของรัตน์ รวม 5 เรื่อง ได้แก่ \"ชั่วฟ้าดินสลาย (2498), โรงแรมนรก (2500), สวรรค์มืด (2501), แพรดำ (2504), น้ำตาลไม่หวาน (2507\") พร้อมกับดีวีดีภาพยนตร์ของผู้สร้างอื่นๆ เรื่อง \"พระเจ้าช้างเผือก (2484), เงิน เงิน เงิน (2508) และ เกาะสวาทหาดสวรรค์ (2512)\" สั่งซื้อได้ที่เว็บไซต์ของ มูลนิธิหนังไทย", "title": "รัตน์ เปสตันยี" }, { "docid": "204546#7", "text": "แต่เมื่อภาพยนตร์เข้าฉาย ปรากฏว่าชยามาลานพยายามที่จะดำเนินเรื่องราวด้วยวิธีการตามแบบ \"The Sixth Sense\" ที่แม้แต่ให้นักแสดงคนเดิม คือ บรูซ วิลลิส รับบทนำและมีตัวละครเด็กผู้ชาย อย่าง โจเซฟ คล้ายกับ โคล เซียร์ ใน \"The Sixth Sense\" แต่ \"Unbreakable\" ทำได้น่าเบื่อและไม่น่าติดตามเท่า อีกทั้งการหักมุมตอนท้ายเรื่องก็ไม่มีอะไรน่าแปลกใจเท่าที่ควร ทำให้เสียงวิจารณ์ออกมาในลักษณะที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ โดยบรูซ วิลลิส มีบทรับเชิญท้ายเครดิตของหนังเรื่อง split และ glass จะเป็นการมาเจอกันอีกครั้งของ บรูซ วิลลิส และ ซามูเอล แอล แจ็กสัน และ เจมส์ แม็คอวอย มาร่วมกันแสดงด้วยกัน", "title": "เฉียดชะตา...สยอง" }, { "docid": "101759#2", "text": "ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างขึ้นโดยบุคคลสำคัญของบ้านเมือง คือ นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีหลวงพิบูลสงคราม คุณค่าในนวนิยายและภาพยนตร์เรื่องนี้มีมากมาย นอกจากจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญของไทย ในวงวรรณกรรม และภาพยนตร์ที่ชูประเด็นสันติภาพ ซึ่งเป็นหลักใหญ่ของมนุษยชาติแล้ว ในแง่ความเป็นศิลปะภาพยนตร์ ได้ก้าวข้ามพรมแดนแห่งความสมจริงไปสู่แก่นแกนความคิด ผสานจินตนการของผู้ประพันธ์ และอำนวยการสร้าง กล่าวได้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้คือ มรดกทางศิลปวัฒนธรรมชิ้นสำคัญที่ชูหลักสันติธรรมให้สูง ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์[3][4]", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "45228#2", "text": "ประสาทสุขุมยังเป็นผู้กำกับภาพในภาพยนตร์เรื่อง พระเจ้าช้างเผือก", "title": "ประสาท สุขุม" }, { "docid": "101759#1", "text": "เรื่องของสงครามระหว่างเจ้ากรุงอโยธยา กับ เจ้ากรุงหงสาวดี ที่เกิดขึ้นจากความโลภของกษัตริย์เพียงองค์เดียวทำให้เดือดร้อนไพร่ฟ้าทั้งแผ่นดิน ซึ่งเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องยาวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพียงเรื่องเดียวที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ ถือได้ว่าเป็นช้างเผือกด้วยความที่หามาได้ยากเย็นแสนเข็ญ และคุณค่าความศักดิ์สิทธิ์ในตัวมันเอง สร้างสรรค์โดยบุคคลสำคัญระดับผู้นำของชาติ[2]คือ นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีหลวงพิบูลสงคราม ร่วมด้วยบุคลากรชั้นยอดของวงการภาพยนตร์ไทย", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "221857#16", "text": "เมื่อพระเจ้าพรหมทัตได้พบกับบุตรชายของเอื้อยและได้เห็นพวงมาลัย ก็จำได้ว่าเป็นฝีมือของเอื้อย พระองค์จึงขอให้เด็กชายเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังว่าได้มาลัยนี้มาได้อย่างไร เด็กน้อยจึงเล่าเรื่องที่ได้ฟังจากแม่ให้พระองค์สดับ เมื่อพระเจ้าพรมทัตได้ทราบเรื่องทั้งหมด จึงได้ทรงสั่งประหารชีวิตอ้าย อี่ และนางขนิษฐีจนหมดสิ้น และเสด็จไปรับเอื้อยกลับมาครองรักด้วยกันอีกครั้งอย่างมีความสุขตลอดไป\nปลาบู่ทองถูกนำมาสร้างครั้งแรกเป็นภาพยนตร์ 16 มม. สร้างโดย เทพกรภาพยนตร์ โดย กิติมา เศรษฐภักดี เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับโดย อำนวย กลัสนิมิ (ครูเนรมิต) ออกฉายครั้งแรกวันที่ 20 สิงหาคม 2508 ที่โรงหนังเฉลิมบุรี ต่อมาปลาบู่ทองถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์จักรๆวงศ์ๆครั้งแรกทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2510 เป็นภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่องแรกของ ดาราฟิล์ม กำกับโดย ไพรัช สังวริบุตร บทโดย ประสม สง่าเนตร มีเพลงนำเรื่องขับร้องโดย เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 นำมาเป็นภาพยนตร์ 35 มม. ออกฉายในชื่อเรื่อง \"แม่ปลาบู่\" โดย วนิชศิลปภาพยนตร์ ของ อนันต์ ชลวนิช ออกฉายวันที่ 14 พฤศจิกายน 2515 โดยฉายที่โรงภาพยนตร์นิวบรอดเวย์", "title": "ปลาบู่ทอง" }, { "docid": "101759#3", "text": "ภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้นำกลับมาฉายใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2496 และนำมาจัดจำหน่ายในรูปแบบดีวีดี เมื่อปี พ.ศ. 2548", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "102526#16", "text": "ช้างเผือกถือเป็นสิ่งสำคัญของชาติไทย เริ่มจากการนำรูปช้างเผือกติดไว้บนธงสีแดง ซึ่งเดิมถือเป็นธงประจำชาติไทย ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นธงไตรรงค์ การกำหนดไว้ในเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกทั้ง 8 ชั้น ชั้นสูงสุด คือ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) การสร้างเหรียญกษาปณ์ไทย ธนบัตรรูปช้างสามเศียร และแสตมป์ที่มีรูปช้าง การสร้างภาพยนตร์ไทยเรื่องพระเจ้าช้างเผือก ตราสมาคมต่างๆ นอกจากนี้ตราช้างเผือกยังได้รับราชทานพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ 6 ให้ใช้เป็นตราประจำกองลูกเสือของอังกฤษ \"King of Siam's Own Troop of Boy Scouts\" หรือ \"K.S.O.\" อีกด้วย", "title": "ช้างเผือก" }, { "docid": "101759#9", "text": "การคล้องช้างสำเร็จลุล่วงด้วยดี ได้ช้างเผือกมาด้วยเชือกหนึ่ง ซึ่งเป็นมหามงคลยิ่งในรัชสมัยของพระเจ้าจักรา จึงจัดให้ทำธงแดงมีช้างเผือกอยู่บนธงใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งพระราชอาณาจักรสืบไป ข่าวลุไปถึงพระกรรณพระเจ้าหงสา พระเจ้าหงสาจึงได้ฉีก \"สนธิสัญญาว่าด้วยการยุติความขัดแย้งโดยมีผู้ไกล่เกลี่ยอย่างสันติระหว่างหงสากับอโยธยา\" ทิ้ง และเรียกร้องอโยธยาให้มอบช้างเผือกให้ แต่อโยธยาไม่ยอม จึงใช้เป็นข้ออ้างในการทำสงคราม", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "101759#27", "text": "ปี พ.ศ. 2554 หอภาพยนตร์ฉลองครบรอบ 70 ปี พระเจ้าช้างเผือก การออกฉายภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือก หอภาพยนตร์ฯ จึงเลือกวันสวนสนามเสรีไทย ในการเฉลิมฉลองความยิ่งใหญ่และความสำคัญของภาพยนตร์เรื่องนี้ รวมทั้งเปิดฉายภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือกเวอร์ชันพากย์ไทยเป็นครั้งแรก วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา หอภาพยนตร์[16][17]", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "101759#24", "text": "ต้นปี พ.ศ. 2544 ได้กลับมาฉายอีกครั้งและมีการผลิตวีซีดีออกจำหน่ายในโครงการ \"หนังไทยรักชาติ\" ของบริษัท สหมงคลฟิล์ม จำกัด พร้อมกับเรื่องอื่นในแนวเดียวกัน เช่น มหาราชดำ (พ.ศ. 2522), ขุนศึก (พ.ศ. 2495), พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ (พ.ศ. 2518), ยุวชนทหาร เปิดเทอมไปรบ (พ.ศ. 2543) เป็นต้น", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "101759#32", "text": "ในปี พ.ศ. 2550 มูลนิธิหนังไทย ร่วมกับ เทคนิคคัลเลอร์ (ประเทศไทย) และหอภาพยนตร์แห่งชาติ ได้บูรณะฟิล์มภาพยนตร์โดยใช้เทคโนโลยีดิจิตัล พร้อมกับภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือก โดยใช้เทคโนโลยีดิจิตัล พร้อมกับภาพยนตร์เรื่อง เรือนแพ ปี พ.ศ. 2504 ด้วยการสนับสนุนของ บริษัท เทคนิคคัลเลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2548 ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ ได้เลือกให้บูรณะฟิล์มใหม่อีกครั้ง เมื่อบูรณะฟิล์มภาพยนตร์สำเร็จ พร้อมที่จะส่งมอบคืนแก่หอภาพยนตร์แห่งชาติแล้วทำพิธีส่งมอบฟิล์มคืนแก่หอภาพยนตร์แห่งชาติ ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่จังหวัดภูเก็ต แล้วนำมาผลิตเป็นวีซีดีและดีวีดี ในปัจจุบัน", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "749#39", "text": "ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะอุบัติขึ้น ปรีดี พนมยงค์ เล็งเห็นว่าลัทธิเผด็จการทหารกำลังจะจุดชนวนให้เกิดสงครามโลก จึงอำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง \"พระเจ้าช้างเผือก\" เพื่อสื่อทัศนะสันติภาพและคัดค้านการทำสงครามผ่านไปยังนานาประเทศ โดยแสดงจุดยืนอย่างแจ่มชัดด้วยพุทธภาษิตที่ปรากฏในภาพยนตร์ที่ว่า \"นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ\" (ไม่มีสุขใดเสมอด้วยความสงบสันติ) ยิ่งไปกว่านั้นเขายังสื่อให้เห็นว่าชาวสยามพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อต่อด้านสงครามรุกรานอย่างมีศักดิ์ศรี", "title": "ปรีดี พนมยงค์" }, { "docid": "101759#22", "text": "27 ปีต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2523 มีการจัดฉายพิเศษซึ่งเป็นการกลับมาของภาพยนตร์อีกครั้งที่ สยามสมาคม (ติดกับโรงภาพยนตร์ที่เคยเป็นโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ต้นถนนอโศก แยกจากถนนสุขุมวิท) แต่คาดว่าเป็นสำเนา 16 มม.คนละฉบับกับที่หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน เพราะไตเติ้ลคนละแบบและความยาวที่แตกต่างกันมากเกือบครึ่งหนึ่งของต้นฉบับเดิม[10]", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "101759#29", "text": "พระเจ้าช้างเผือก เป็นงานเขียนเชิงนวนิยายเล่มแรกและเล่มเดียวของนายปรีดี พนมยงค์ และเป็นนวนิยายไทยเล่มแรกที่เขียนต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ[19]", "title": "พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)" } ]
3152
วันเข้าพรรษาตรงกับแรมกี่ค่ำของทุกปี?
[ { "docid": "40830#1", "text": "วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลหวังหวังหวังเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางศาสนาพุทธที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย", "title": "วันเข้าพรรษา" }, { "docid": "40830#0", "text": "วันเข้าพรรษา (, , , เขมร: វស្សា, พม่า: ဝါဆို) เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่งที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดระยะเวลา 3 เดือนตามที่พระวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือภาษาปากว่า จำพรรษา (\"พรรษา\" แปลว่า ฤดูฝน, \"จำ\" แปลว่า พักอยู่) การเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง พระสงฆ์จะไม่จำพรรษาไม่ได้ เนื่องจากรูปใดไม่จำพรรษาถือว่าต้องอาบัติทุกกฏตามพระวินัย การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา", "title": "วันเข้าพรรษา" } ]
[ { "docid": "40830#36", "text": "ผ้าจำนำพรรษา หรือ ผ้าวัสสาวาสิกสาฎก เป็นผ้าไตรจีวรที่ถวายแก่พระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ที่ผ่านวันปวารณาไปแล้ว หรือที่ผ่านวันปวารณาและได้กรานและอนุโมทนากฐินแล้ว ซึ่งผ้าจำนำพรรษานี้พระสงฆ์สามารถรับได้ภายในกำหนด 5 เดือน ที่เป็นเขตอานิสงส์กฐิน คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4", "title": "วันเข้าพรรษา" }, { "docid": "104828#16", "text": "วันที่ 1 ของเดือน เรียกว่า วันขึ้น 1 ค่ำ หรือ ออก 1 ค่ำ (ขึ้นหรือออก แปลว่า ดวงจันทร์ กำลังสว่างเพิ่มขึ้น) วันที่ 16 ไม่ได้เรียกว่า วันขึ้น 16 ค่ำ หรือ ออก 16 ค่ำ แต่เรียกว่า วันแรม 1 ค่ำ (แรม หมายถึง ดวงจันทร์ กำลังสว่างลดลง) ในเดือนที่มี 29วันนี้ ก็จะมีสิ้นสุดแค่วันแรม 14 ค่ำ (ไม่มี วันแรม 15 ค่ำ)\nเวลาที่ใช้เปลี่ยนวันทางปฏิทินจันทรคติของไทย คือ เวลารุ่งเช้าของวันถัดไป ไม่ใช่เที่ยงคืน โดยมีการเสนอว่า ควรให้นิยามที่ชัดเจนของคำว่า “รุ่งเช้า” นี้ และเสนอว่า ควรใช้ค่าเฉลี่ยที่เวลาดวงอาทิตย์ขึ้น หรือเวลา 6 น. ของเส้นลองจิจูด 100 องศา ตะวันออก นั่นคือ เวลา 6:20 น. ตามเวลามาตรฐานของไทย\nวันพระ หรือธรรมสวนะ จัดขึ้น 4 วันในเดือนหนึ่ง ๆ คือ วันขึ้น 8 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ แรม 8 ค่ำ และวันแรม สุดท้ายของเดือน", "title": "ปฏิทินไทย" }, { "docid": "17017#0", "text": "...เพื่อความเข้าใจ: วันสุดท้ายของการอยู่จำพรรษา 3 เดือน ของพระภิกษุ ตามคัมภีร์เรียกว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา นั้น ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เราเรียกกันว่า \"วันออกพรรษา\" ตามที่เข้าใจกันทั่วไป แต่ตามพระวินัยบัญญัติ พระภิกษุทั้งหลายยังต้องอยู่ในจำพรรษาในคืนวันนั้น (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) อีกคืนหนึ่ง จะไปค้างแรมที่อื่นเลยไม่ได้ ต้องให้ผ่านอรุณเข้าวันใหม่ (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) เสียก่อนสรุปว่า \"วันออกพรรษา\" ตามที่เรียกและเข้าใจกันทั่วไป (และจะกล่าวถึงต่อไปในบทความนี้) คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ส่วน \"วันออกพรรษาจริง\" ตามพระวินัย คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11", "title": "วันออกพรรษา" }, { "docid": "399643#3", "text": "ประจำทุกปี โดยยึดถือเอาวันแรม 7 ค่ำ 8 ค่ำ หลังวันวิสาขบูชาทุกปี เป็นวันสรงน้ำพระธาตุ ซึ่งถือว่าเป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธศรีระของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน) ถือเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน 6 ของไทย) ทางวัดพระธาตุดอยคำ จึงยึดถือเอาวันนี้จัดงาน และพิธีสรงน้ำเพื่อรำลึกนึกถึง พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ที่ท่านได้สร้างเผยแพร่พระพุทธศาสนาเอาไว้", "title": "วัดพระธาตุดอยคำ" }, { "docid": "155067#2", "text": "ในปีทางจันทรคติ จะมี 12 เดือน ได้แก่ เดือนอ้าย เดือนยี่ เดือนสาม เดือนสี่ เดือนห้า เดือนหก เดือนเจ็ด เดือนแปด เดือนเก้า เดือนสิบ เดือนสิบเอ็ด เดือนสิบสอง โดยเดือนคู่จะมี 30 วัน คือวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ ถึง วันแรม 15 ค่ำ ส่วนเดือนคี่มี 29 วัน คือวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ ถึง วันแรม 14 ค่ำ นอกจากนี้ยังมีบางปีที่มีวันแรม 15 ค่ำ เดือน 7 เรียกว่าอธิกวาร โดยจะมีในปีที่ 6, 12, 17, 22, 28, 33 และ 38 ทั้งนี้ เพื่อให้เดือนแต่ละเดือนมีค่าเฉลี่ยของวันในเดือนเข้าใกล้ 29.530588 วันมากที่สุด", "title": "ปฏิทินจันทรคติ" }, { "docid": "129615#71", "text": "ตามจารีตประเพณีแต่ดั้งเดิมของไทยถือเอาวันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นการสอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนาซึ่งถีอเอาฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี แต่ต่อมาได้ถือว่าวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้าเป็นวันขึ้นปีใหม่ (ตรุษไทย) ซึ่งถึอตามปฏิทินทางจันทรคติและยึดถือมา จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าไทยได้ติดต่อกับประเทศต่าง ๆ มากขึ้น การใช้ปฏิทินทางจันทรคติไม่เหมาะสมและไม่สะดวก เพราะไม่ลงรอยกับปฏิทินสากล จึงประกาศให้ใช้วันทางสุริยคติตามแบบสากลแทน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432 เป็นต้นมา และถือเอาวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ด้วย แต่ชาวคุ้งตะเภายังคงรักษาธรรมเนียมตรุษไทยไว้โดยจัดทำบุญติดต่อกัน 2 วัน คือ วันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 ถึง วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 ในสมัยโบราณจะมีการ \"กวนข้าวแดง\" ซึ่งส่วนประกอบหลัก ๆ ของข้าวแดงก็มี ข้าว อ้อย น้ำตาล ฯลฯ โดยมีการรวมตัวคนในหมู่บ้านมาช่วยกวนข้าวแดงด้วยกันเพื่อนำไปแจกจ่ายคนในหมู่บ้านและถวายพระสงฆ์ ซึ่งนอกจากข้าวแดงแล้วยังมี ขนมต้ม และขนมจีนซึ่งแต่ละบ้านจะทำกันเองและนำมาแจกจ่ายกันในวันทำบุญ", "title": "หมู่บ้านคุ้งตะเภา" }, { "docid": "33778#0", "text": "ปีใหม่ม้ง ที่หมู่บ้านของชาวไทยม้งประเพณีปีใหม่ของพวกเขาตรงกับ วัน ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 ของม้ง ซึ่งตรงกับปฏิทินไทยคือ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 หรือ ปฏิทินจีน คือ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะเวลาระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคมของทุกปี ซึ่งในวันปีใหม่นี้ของชาวม้งจัดเป็นงานประเพณีที่ชาวม้งรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ เนื่องจากจะเป็นการพบปะกันระหว่างกลุ่มญาติมีประเพณีขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์และผู้อาวุโส เป็นวันที่หนุ่มๆสาวๆในหมู่บ้านจะได้เลือกคู่ มีการจัดการแข่งขันกีฬาประเพณีและการละเล่นต่างๆ เช่น ลูกข่าง ลูกช่วง และยังมีการแข่งขันล้อเลื่อนไม้ชิงแชมป์ประเทศไทยซึ่งเป็นกีฬาที่ท้าทายน่าสนใจเป็นอย่างมาก\nแต่นอกการละเล่นที่สร้างความสนุกสนานแล้วชาวม้งก็ไม่ลืมที่จะทำพิธีกรรมต้อนรับปีใหม่ซึ่งจัดเป็นพิธีกรรมที่ชาวม้งให้ความสำคัญกันมากโดยมี 4 อย่างดังนี้", "title": "ปีใหม่ม้ง" }, { "docid": "33778#1", "text": "หรือ แรม 15 ค่ำ เดือน 12 (ตามปฏิทินม้ง วัน 30 ค่ำ) ชาวม้งจะมีการเตรียมต้อนรับปีใหม่โดยทุกบ้านจะทำความสะอาดบ้านโดยใช้ใบไผ่กวาดบ้านเพื่อเอาสิ่งไม่ดีไปกับปีเก่า และจะมีพิธีเรียกขวัญโดยนำไก่ 1 คู่ (ตัวผู้และตัวเมีย) พร้อมกับไข่เท่าจำนวนสมาชิกในบ้าน มาทำพิธีเรียกขวัญเงิน ขวัญทอง ขวัญไร่ ขวัญนา โดยระหว่างงานปีใหม่นี้จะจุดธูปหรือตะเกียงไว้กลางบ้านตลอดเพื่อให้เริ่มต้นมีแต่แสงสว่างและสิ่งดีๆ โดยนำไก่ตัวผู้อีกตัวต้มสุกมาแขวนไว้ที่ฝาผนังบ้าน แต่ละแซ่จะสอนสิ่งดีๆให้กับลูกหลาน ระหว่างที่สอนจะนำเม็ดข้าวโพดใส่ในกระด้งแล้วโยกไปมา ทุกวันของวันปีใหม่จะมีการจัดเลี้ยง แต่วันดาจะเป็นวันที่ดื่มเหล้ากันมากที่สุด กลางคืนของวันดานี้ทุกคนจะเฝ้ารอเสียงสัตว์ร้อง เพราะเสียงสัตว์ร้องเสียงแรกจะถือเป็นเวลาที่เริ่มต้นของวันปีใหม่ ถ้าเป็นเสียงไก่ร้องจะถือว่าดีที่สุด ทันทีที่ได้ยินเสียงสัตว์ร้องเสียงแรก ผู้ชายของทุกบ้านจะยิงปืนต้อนรับปีใหม่ และในเวลา 01.00 น. จะเทภาชนะที่บรรจุน้ำภายในบ้านทิ้งและตวงน้ำใส่ใหม่ ผู้หญิงจะเริ่มตำข้าวหุงข้าวเพื่อเตรียมเลี้ยงงานปีใหม่", "title": "ปีใหม่ม้ง" } ]
1668
อนิเมชั่นเรื่อง คนลึกไขปริศนาลับ ออกอากาศตอนแรกเมื่อไหร่?
[ { "docid": "239387#0", "text": "คนลึกไขปริศนาลับ (; English: Black Butler) เป็นมังงะที่เขียนขึ้นโดย Yana Toboso โดยได้รับความนิยมจนถูกดัดแปลงสร้างขึ้นในฉบับอนิเมะ เนื้อเรื่องกล่าวถึงตระกูลแฟนทอมไฮฟ์ ในยุควิคตอเรีย (1889) โดยมีตัวละครหลัก เซบาสเตียน มิคาเอลิส เป็นตัวละครดำเนินเรื่อง ออกวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยตีพิมพ์ในหนังสือโซเน็นแมกกาซีน (English: Shonen manga magazine) [1][2] ถูกดัดแปลงในฉบับอนิเมะ มิถุนายน พ.ศ. 2551 โดยผู้กำกับ โซโนนฮาระ โทซิยะ (English: Shinohara Toshiya) โดยมีทีมสร้างคือ A-1 Pictures ภาคแรกออกฉายครั้งแรกในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2551 มีทั้งสิ้น 24 ตอนจบ[3][4][5][6]", "title": "คนลึกไขปริศนาลับ" } ]
[ { "docid": "239390#0", "text": "เซบัสเตียน มิวเซลเลียน\nตัวละครจากหนังสือการตูนmangaเรื่อง\"คนลึกไขปริศนาลับ\"โดยการเขียนของ ยานะ โทโบโซYana Toboso และทีมSquare Enix's \"Monthly GFantasy\" โดยตีพิมพ์ครั้งแรกในเดือนตุลาคม 25548 โดยในประเทศไทยนั้นได้มีสำนักพิมพ์ สยามอินเตอร์ คอมมิก จัดจำหน่ายในประเทศแล้วตั้งแต่เล่มที่ 1-3 \nโดยในฉบับญี่ปุ่นนั้นได้วางจำหน่ายถึงเล่มที่ 6 แล้ว", "title": "รายชื่อตอนหนังสือการ์ตูนคนลึกไขปริศนาลับ" }, { "docid": "239387#5", "text": "(in Japanese) (in Japanese)", "title": "คนลึกไขปริศนาลับ" }, { "docid": "337696#11", "text": "หลังจากผ่านเหตุการณ์ร้ายๆ มาไม่นาน ถึงเวลาแล้วที่สาวกคนต่อไปจะเริ่มแผนการณ์ที่น่าสะพรึงกลัวยิ่งกว่าครั้งไหน \nเริ่มต้นจากการพบศพ ของหนึ่งในนักโทษคดียาเสพติดทั้ง 6 คนที่ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ ถูกฆ่าอย่างเลือดเย็น โดยสภาพเหยื่อถูกทรมาณอย่างหนัก ภายหลังมีการพบศีรษะผู้เคราะห์ร้ายถูกซ่อนไว้ในเค้กงานแต่งงานที่ทั้ง การิน ลัลทริมา และรุทร ไปร่วมงาน ในช่วงเวลาพร้อมกันนั้นเอง ทั้งสามก็ได้เผชิญหน้ากับ ปีศาจร้าย ที่เข้ามาท้าทายพวกเขา และยังถูกมันคุกคามอย่างหนักรุณแรงขึ้นเรื่อยๆ จนแทบเอาชีวิตไม่รอด ส่งผลร้ายถึงสภาพจิตใจอันบอบชํ้าอย่างหนักเกือบถึงขีดสุด กับสิ่งที่ไม่สามารถเอาชนะได้ ทางเดียวที่เหลืออยู่ก็คือ การไขปริศนาเกี่ยวกับ \nทัณฑ์วิญญาณสถาน หรือการที่ทรมาณศพของคนตายเพื่อให้วิญญาณสับสนและหลงทาง ศพทุกศพที่ผ่านไปได้เปิดเผยถึงความจริงอันมากมายถึงเบื่องหลังการฆาตกรรม แต่กลับกันแม้ยิ่งเผชิญกับมันมากขึ้นเท่าไหร่ ตัวของการินเอง ก็ยิ่งดำดิ่งสู่ความมืดมากขึ้นเท่านั้น สถานการณ์จึงบีบเขา ให้จำเป็นต้องเลือกระหว่างหยุดพิธีกรรมนี้ หรือ เผชิญกับอันตรายอีกครั้งเพื่อทวงชัยชนะกลับมาให้จงได้", "title": "รายชื่อตอนในการิน ปริศนาคดีอาถรรพ์" }, { "docid": "465968#7", "text": "เพลงประกอบอะนิเมะ\n1.Monochrome no Kiss ประกอบเรื่อง คนลึกไขปริศนาลับ เพลงเปิดที่ 1", "title": "ชิโดะ" }, { "docid": "46956#17", "text": "รหัสลับอัจฉริยะ คือ รหัสลับที่อยู่ในรายการเรียลลิตี้เกมโชว์ควิซโชว์ อัจฉริยะข้ามคืน ซึ่งออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 22.30 - 24.00 น. ทางไทยทีวีสีช่อง 3 ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอนเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินรายการโดย แทนคุณ จิตต์อิสระ และ ปัญญา นิรันดร์กุล โดยตามปกติ รหัสลับอัจฉริยะจะปรากฏในรายการในภารกิจที่ 3 ที่อัจฉริยะ 4 คนสุดท้ายจะต้องไขรหัสลับที่อยู่ในกล่องปริศนาให้ได้เป็นเลข 4 หลัก เพื่อใช้เปิดตู้เซฟและตอบคำถามสุดท้ายที่อยู่ในเซฟของตนให้ถูกต้อง เพื่อผ่านเข้าไปสู่ภารกิจสุดท้าย (ทั้งนี้ ในอัจฉริยะข้ามคืนตอนพิเศษ รหัสลับอัจฉริยะอาจอยู่ในภารกิจอื่น ที่นอกเหนือไปจากภารกิจที่ 3 ได้ และ รหัสลับอัจฉริยะอาจจะเป็นเลข 3, 4, 5 และ 6 หลัก แล้วแต่รหัส) รหัสลับอัจฉริยะ สร้างสรรค์โดย รุ่งธรรม พุ่มสีนิล ซึ่งได้แนวความคิดมาจากการตีเลขหวยจากความฝัน", "title": "อัจฉริยะข้ามคืน" }, { "docid": "372131#2", "text": "เอมี่และแดนปฏิเสธเงินและเข้าร่วมเป็น 1 ใน 7 กลุ่มตามล่า 39 คำไขปริศนา ซึ่งทำให้พวกเขาถลำลึกเข้าหาความลับของคาฮิลล์มากขึ้น ขณะเดียวกันทั้งสองต้องต่อกรกับญาติ ๆ อีก 6 กลุ่มที่มีอำนาจ ทุนทรัพย์ และสติปัญญามากกว่า", "title": "ปริศนาสมบัติอัจฉริยะ" }, { "docid": "146645#0", "text": "คันดะ ยู () เป็นตัวละครในหนังสือการ์ตูนและแอนิเมชั่นเรื่อง ดี.เกรย์แมน ของ คาสึระ โฮชิโนะ ให้เสียงพากย์ภาษาญี่ปุ่นโดย ทากาฮิโระ ซากุระอิ ให้เสียงพากย์ภาษาไทยโดย กริน อักษรดี (TIGA) และ สัจจะ กาญจน์นิรันดร์ (ทรูวิชั่นส์)คันดะ ยู อายุ 18 ปี เป็นลูกศิษย์ของเสนาธิการทีเอดอล เป็นอีกหนึ่งเอ็กโซซิสท์ที่มีความสามารถมาก และมีหน้าตาสะสวยกว่าคนอื่นๆ ศาตราวุธกำราบอาคุม่าคือดาบ\"มุเก็น\"(หกมายา) คันดะมีพลังประหลาด เมื่อเขาบาดเจ็บบาดแผลจะหายอย่างรวดเร็ว และมีรอยสักปริศนาที่บริเวณหัวใจด้วย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับนาฬิกาทรายที่มีสัญลักษณ์ดอกบัวที่อยู่ในห้องของคันดะ คันดะมีภาพลักษณ์เหมือนเป็นคนขี้หงุดหงิด เย็นชาและปากเสีย มักเรียก อเลน วอคเกอร์ ว่าเจ้าถั่วงอก", "title": "คันดะ ยู" }, { "docid": "239391#5", "text": "เมด(สาวใช้)หุ่นดีกับหน้าตาดีของตระกูลแฟนทอมไฮฟ์ มีสายตาที่ยาวมาก(คาดว่าน่าจะเกิน2000)ปกติด้วยปัญหาสายตาทำให้เมลินทำของพังบ่อยๆ มีความสามารถในการลอบสังหารระดับสูงมาก สามารถยิงปืนไรเฟิลได้อย่างแม่นยำโดยไม่ต้องพึ่งสโคปในการเล็ง นอกจากนี้เมลินยังใช้ไรเฟิล 2มือได้เหมือนปืนสั้นอีกด้วย แบบยิงทีนัดนึงเปลียนปืนไปใช้ปืนไรเฟิลกระบอกอื่นทันที เคยเป็นนักฆ่าที่ถูกสั่งให้มาฆ่าชิเอล แต่พอทำงานพลาดกับถูกชวนมาเป็นเมด เมรินเป็นคนหัวอ่อน อ่อนโยน และไม่มีความมั่นใจในตัวเอง เธอยังแอบปลื้มเซบาสเตียนอีกด้วย", "title": "รายชื่อตัวละครในคนลึกไขปริศนาลับ" }, { "docid": "239387#6", "text": "หมวดหมู่:การ์ตูนญี่ปุ่น หมวดหมู่:การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง หมวดหมู่:มังงะที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2549 หมวดหมู่:อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2551 หมวดหมู่:เกมสำหรับนินเท็นโดดีเอส", "title": "คนลึกไขปริศนาลับ" }, { "docid": "46956#15", "text": "ภารกิจที่ 3 อัจฉริยะทั้ง 4 ท่านที่เหลือ จะต้องไขปริศนาที่อยู่ในชุดยังชีพของตนหรือที่ได้รับซึ่งได้มาตั้งแต่ตอนเริ่มการแข่งขันหรือในบางสัปดาห์จะมีสิ่งที่กำหนดเพิ่อการเลือกกล่องโดยไม่ต้องไขปริศนาหรือให้ปริศนาก่อนเข้าสู่ภารกิจ แล้วนำไปหากล่องปริศนาที่ถูกต้องจากทั้งหมด 100 ใบ โดยในกล่องปริศนานั้นจะมีรหัสลับเป็นข้อความในการถอดรหัส แต่หากไปหากล่องที่ไม่ถูกต้อง จะพบข้อความว่า \"ตกรอบ\" ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตกรอบทันที ซึ่งอัจฉริยะจะต้องถอดข้อความนั้นให้เป็นตัวเลข 4 หลัก เพื่อใช้เปิดตู้เซฟโดยการเลือกตู้เซฟดูตามสีของแผ่นข้อความถอดรหัส กับสีของตู้เซฟ แต่ถ้าตู้เซฟผิดก็จะตกรอบเช่นเดียวกัน เมื่อเปิดตู้เซฟได้แล้วจะพบกับคำถามสุดท้าย โดยต้องไปตอบคำถามให้ถูก แต่ถ้าตอบผิดก็ตกรอบเช่นเดียวกัน อัจฉริยะ 2 ท่านแรกที่สามารถตอบคำถามสุดท้ายได้ถูกต้อง จะเข้ารอบไปชิง 1 ล้านบาททันที โดยรถยนต์จากเบนซ์เอ็นเค จะพาอัจฉริยะ 2 ท่านสุดท้าย เดินทางไปยังสถานที่แข่งขันภารกิจสุดท้าย นั่นคือ เวิร์คพอยท์สตูดิโอ แต่ถ้ามีการตอบผิดครบ 2 คน คนที่เหลือก็จะเข้ารอบทันที", "title": "อัจฉริยะข้ามคืน" }, { "docid": "239390#1", "text": "ในประเทศไทยได้มีการวางจำหน่ายถึงเล่มที่ 4 แล้ว", "title": "รายชื่อตอนหนังสือการ์ตูนคนลึกไขปริศนาลับ" }, { "docid": "239391#6", "text": "เชฟของตระกูลแฟนทอมไฮฟ์ชาวอเมริกา เคยเป็นทหารผ่านศึกมาก่อน แต่พอเพื่อนฝูงตายในตอนรบหมดมีแต่บัลโดคนเดียวที่รอด จึงถูกชิเอลชวนมาเป็นเชฟและมักชอบซ่อนกับสั่งอาวุธสงครามมากมายจากนอกมาเอาไว้ในครัว เช่น ปืนกลหนักประทับยิง นำเข้าโดยตรงจากอเมริกา และเครื่องพ่นไฟซึ่งบัลโดจะใช้เจ้าเครื่องพ่นไฟกับอาวุธเหล่านี้ในการทำอาหารและก่อให้เกิดการระเบิดอยู่บ่อยครั้ง อาหารทุกอย่างที่บัลโดทำทีไรจะระเบิด แบบเอาใช้เป็นอาวุธในสงครามได้ ขนาดเอาแยมกระป๋องมาทำเป็นระเบิดกระป๋องพกพาได้สบาย โดยตอนสู้จะสู้แบบทหาร แม้ว่าจะอ่อนแอที่สุดในบรรดาคนรับใช้ก็ตาม แต่ก็มีปรสบการณ์ทางทหารกับมีความเป็นผู้ในการรบกับวางกลยุทธ์", "title": "รายชื่อตัวละครในคนลึกไขปริศนาลับ" }, { "docid": "239387#1", "text": "ครอบครัวของชิเอลแฟนธอมไฮฟ์ถูกสังหารโดยใครสักคนหนึ่งเมื่อตอนเขาอายุ10ปี เขาได้ทำสัญญากับปีศาจตนหนึ่ง เขาถูกเจออีกครั้งในวัย13ปีพร้อมพ่อบ้านปริศนาในชุดดำ", "title": "คนลึกไขปริศนาลับ" }, { "docid": "372131#22", "text": "เขียนโดย ริก ไรออร์แดน วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 เริ่มเรื่องด้วยฉากงานศพของเกรซ คาฮิลล์ ผู้เป็นยายของแดน และเอมี่ คาฮิลล์ เกรซได้มอบทางเลือกให้ญาติแต่ละคนที่มาเข้าร่วมงานศพสองทางเลือก หนึ่งคือรับเงินสองล้านดอลลาร์แล้วกลับบ้านไป และสองคือร่วมเกมปริศนาตามล่าสมบัติที่จะทำให้ผู้ที่ได้รับยิ่งใกญ่กว่าใครในโลก แดนและเอมี่เลือกที่จะเข้าร่วมเกมในครั้งนี้ ทั้งสองได้พบเงื่อนงำแรกจาก 39 เงื่อนงำ ทั้งสองเข้าไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมในคฤหาสน์ของเกรซ โดยทั้งคู่ได้พบกับอลิสแตร์ โอลุงชาวเกาหลี ทั้งสามค้นพบห้องสมุดลับในคฤหาสน์และซาลาดิน แมวที่หายไป แต่ไม่ทันไรก็เกิดไปไหม้คฤหาสน์ขึ้น อลิสแตร์หายตัวไป ทิ้งให้เอมี่กับแดนต้องเอาชีวิตรอด เอมี่ค้นพบว่าเงื่อนงำแรกนำไปสู่บุคคลในประวัติศาสตร์ท่านหนึ่ง คือ เบนจามิน แฟรงคลิน ซึ่งภายหลังได้ค้นพบว่าเขาเป็นหนึ่งในสายตระกูลลูเซี่ยน เมื่อสองพี่น้องรอดมาจากการวางเพลิงได้ ทั้งคู่ซมซานไปหาเนลลี่ โกเมซ พี่เลี้ยงของพวกเขา ผู้ใหญ่คนเดียวในตอนนี้ที่ทั้งสองไว้ใจ เงื่อนงำทั้งหมดพาไปสู่ความลับในสุสานกระดูกใต้กรุงปารีส คำไขปริศนาคือ \"เหล็กละลาย\"", "title": "ปริศนาสมบัติอัจฉริยะ" }, { "docid": "145670#3", "text": "ภาพยนตร์ตอนนี้เป็นการปรากฏตัวครั้งแรกในซีรีส์ภาพยนตร์ ของจอมโจรคิด ไฮบาระ ไอ ฮัตโตริ เฮย์จิ และสารวัตรนากาโมริ กินโซ\nคดีฆาตกรรมนัยน์ตามรณะ () ; () เป็นตอนพิเศษของภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ตอนที่ 4 ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2543 และในประเทศไทยออกอากาศทางฟรีทีวีทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี ในวันหยุดนักขัตฤกษ์ 2 ครั้ง ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2547 เวลา 09.30-11.30 น. และในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เวลา 08.00-10.00 น. ในตอนนี้เกิดการฆาตกกรมตำรวจสองนายที่เคยทำคดีร่วมกัน ต่อมาในงานแต่งงานของน้องสาวสารวัตรชิราโทริ นินซาบุโร่ ก็เกิดเหตุลอบสังหารผู้หมวดซาโต้ในห้องน้ำ รันซึ่งเห็นเหตุการณ์ความจำเสื่อม ในขณะที่คนร้ายกำลังจ้องเอาชีวิตรัน โคนันจึงต้องไขคดีฆาตกรรมและปกป้องรันจากคนร้าย ภาพยนตร์ตอนนี้ยังคงกำกับและเขียนบทโดยโคดามะ คาเน็ทสึกุ และโคอุจิ คาซึนาริ และทำเงินได้รวม 2,500 ล้านเยนในประเทศญี่ปุ่นคดีปริศนาเส้นตายสู่สวรรค์ () ; () เป็นตอนพิเศษของภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน ตอนที่ 5 ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2544 และในประเทศไทยออกอากาศทางฟรีทีวีทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี ในวันหยุดนักขัตฤกษ์ 2 ครั้ง ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2547 เวลา 08.00-10.00 น. และวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เวลา 08.00-10.00 น. ในตอนนี้ที่เมืองนิชิตะมาจิ ณ ตึกทวินทาวเวอร์ ตึกแฝดที่สูงที่สุดในเมือง กำลังจะมีงานเปิดตัวตึก แต่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับตึกกลับถูกสังหารไปทีละคน ๆ นอกจากนี้องค์กรชุดดำที่ตามรอยเชอรี่ มาได้ก็มาที่ตึกทวินทาวเวอร์เช่นกัน ต่อมามีการระเบิดตึกทวินทาวเวอร์ นอกจากโคนันต้องไขคดีฆาตกรรมที่เกิดขึ้นแล้ว โคนันยังต้องหลบหนีจากองค์กรชุดดำอีกด้วย ภาพยนตร์ตอนนี้เขียนบทและกำกับโดยทีมงานชุดเดียวกับ 3 ตอนก่อนหน้า และทำเงินได้รวม 2,900 ล้านเยนในประเทศญี่ปุ่น ปริศนาบนถนนสายมรณะ () ; () เป็นตอนพิเศษของภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน ตอนที่ 6 ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2545 ในตอนนี้เกิดคดีฆาตกรรมผู้พัฒนาเกมโคคูนในงานเปิดตัวเกมโคคูน ขณะที่ในโคคูน โปรแกรม Noah's Ark เข้าควบคุมกลไกของโคคูนและปิดทางเข้าออกของเด็ก ๆ ผู้เล่นต้องไขปริศนาและจบเกมให้ได้ หากไม่มีใครทำได้ ผู้เล่นทั้งหมดจะต้องตาย โคนันต้องเอาตัวรอดจากเกมมรณะนี้ ในขณะที่ในโลกแห่งความเป็นจริง คุโด้ ยูซากุ ต้องไขคดีฆาตกรรมที่เกิดขึ้น ภาพยนตร์ตอนนี้ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2545 กำกับโดยโคดามะ คาเน็ทสึกุ เขียนบทโดยโนซาว่า ฮิซาชิ และทำรายได้ในประเทศญี่ปุ่นรวมทั้งสิ้น 3,400 ล้านเยน ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากที่สุดในภาคพิเศษทุกภาค และครองสถิตินี้ไว้นาน 7 ปีก่อนที่จะถูกลบสถิติในภาค ปริศนานักล่าทรชนทมิฬ ที่ทำรายได้ไป 3,500 ล้านเยน\nคดีฆาตกรรมแห่งเมืองปริศนา () ; () เป็นตอนพิเศษของภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน ตอนที่ 7 ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2546 ในประเทศไทยออกอากาศทางฟรีทีวีทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี ในวันหยุดนักขัตฤกษ์ 2 ครั้ง ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เวลา 08.00-10.00 น. และ วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2550 เวลา 08.00-10.00 น. ในตอนนี้เกิดการฆาตกรรมที่ผู้ตายมีหนังสือบันทึกโยชิซึเนะ (กิเคคิ) ที่มีปริศนาระบุสถานที่ซ่อนพระพุทธรูปที่หายไปจากวัดซันโน นอกจากนี้ยังมีเรื่องเกี่ยวกับฮัตโตริ เฮย์จิ ที่เข้ามาสืบคดีนี้เพื่อหาหญิงสาวที่เป็นรักแรกของเขาที่เป็นเจ้าของอัญมณีที่เป็นเป้าหมายของฆาตกร ภาพยนตร์ตอนนี้กำกับโดย โคดามะ คาเน็ทสึกุ เขียนบทโดยโคอุจิ คาซึนาริ และทำรายได้ในประเทศญี่ปุ่นรวมทั้งสิ้น 3,200 ล้านเยน\nมนตราแห่งรัตติกาลสีเงิน () ; () เป็นตอนพิเศษของภาพยนตร์เรื่องยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน ตอนที่ 8 ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2547 และออกฉายในประเทศไทยในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ที่โรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน และออกอากาศทางฟรีทีวีทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในช่วงหนังรอบเช้าวันหยุด วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เวลา 08.00-10.00 น. ในตอนนี้จอมโจรคิดหมายจะขโมยแหวนแห่งพรหมลิขิต ต่อมาในเที่ยวบินพิเศษมุ่งหน้าสู่ฮาโกดาเตะ เกิดคดีฆาตกรรมนักแสดงสาวโดยการวางยาพิษด้วยกลอุบายจากคนใกล้ชิด ไม่เพียงเท่านั้น นักบิน และผู้ช่วยนักบินก็โดนพิษเช่นกันจนไม่สามารถนำเครื่องลงจอดได้ ภาพยนตร์ตอนนี้เป็นการกำกับครั้งแรกของยามาโมโตะ ยาสุอิจิโร่ เขียนบทโดยโคอุจิ คาซึนาริ และทำรายได้ในประเทศญี่ปุ่นรวมทั้งสิ้น 2,800 ล้านเยน \nยุทธการเหนือห้วงทะเลลึก () ; () เป็นตอนพิเศษของภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน ตอนที่ 9 ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2548 และออกฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 มีนาคม และ 25 มีนาคม พ.ศ. 2549 ที่แกรนด์ อีจีวี เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ รังสิต และเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ปิ่นเกล้า ในตอนนี้ระหว่างการเดินทางของเรืออโฟรไดท์ เรือสำราญอันหรูหรา เกิดคดีฆาตกรรมขึ้น นอกจากนี้คนร้ายยังระเบิดเรือที่มีผู้โดยสารหลายร้อยชีวิต โคนันต้องไขคดีฆาตกรรมที่เกิดขึ้นและช่วยรันที่ติดอยู่ในเรือ ภาพยนตร์ตอนนี้ยังคงทีมงานชุดเดียวกับตอนก่อนหน้า และทำรายได้ในประเทศญี่ปุ่นรวมทั้งสิ้น 2,150 ล้านเยน\nบทเพลงมรณะแด่เหล่านักสืบ () ; () เป็นตอนพิเศษของภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน ตอนที่ 10 ฉายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2549 และฉายในประเทศไทยที่โรงภาพยนตร์เซ็นจูรี่เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และออกอากาศทางฟรีทีวีทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในช่วงหนังรอบเช้า วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554 เวลา 08.30-10.25 น. ในตอนนี้ผู้จ้างวานปริศนาได้ขอให้โคโกโร่กับโคนันช่วยไขคดีให้ โดยจับรันและเด็ก ๆ ไว้เป็นตัวประกัน หากทำไม่ได้ ทุกคนจะต้องตาย ภาพยนตร์ตอนนี้กำกับโดยยามาโมโตะ ยาสุอิจิโร่ เขียนบทโดย คาชิวาบาระ ฮิโรชิ โดยตอนนี้มีการประกาศออกมาผ่านทางหน้าเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของภาพยนตร์เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2548 เมื่อภาพยนตร์ออกฉาย ภาพยนตร์ทำรายรับได้ 4,685,246 ดอลลาร์สหรัฐ และทำรายได้รวมทั้งสิ้น 3,030 ล้านเยนปริศนามหาขุมทรัพย์โจรสลัด () ; () เป็นภาพยนตร์การ์ตูน ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ฉบับภาพยนตร์ตอนที่ 11 โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 21 เมษายน พ.ศ. 2550 และในประเทศไทยฉายที่โรงภาพยนตร์เซ็นจูรี่ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และออกอากาศทางฟรีทีวีทางช่อง 7 ในช่วงหนังรอบเช้า วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เวลา 08.30-10.25 น.มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกาะเทพแห่งทะเลอันสวยงามที่ตั้งอยู่บนมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ว่ากันว่าโจรสลัดสาวสองคนคือ แอน โบนี่ และ แมรี่ รีดนั้นฝังสมบัติมีค่าเอาไว้ที่เกาะนั้นเมื่อ 300 ปีก่อนในประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างนั้นนักล่าสมบัติที่ลงไปค้นหาสมบัติยังใต้ทะเลก็ถูกฉลามกัดเสียชีวิต ภาพยนตร์ตอนนี้เขียนบทโดยคาชิวาบาระ ฮิโรชิ กำกับโดยยามาโมโตะ ยาสุอิจิโร่ และทำรายได้ไปทั้งสิ้น 2,530 ล้านเยนบทบรรเลงแห่งความตาย () ; () เป็นตอนพิเศษของภาพยนตร์การ์ตูน ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ตอนที่ 12 โดยภาคนี้ออกฉายในประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2551 และออกฉายในประเทศไทยในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ในภาคนี้เกิดเหตุฆาตกรรมและทำร้ายนักดนตรีที่เป็นศิษย์ของนักเปียโน ระหว่างนั้นพวกโคนันได้รับเชิญให้ไปร่วมงานเปิดตัวโดโมโตะฮอลล์ที่สร้างโดยนักเปียโนคนนั้น แต่ในวันงานโคนันกลับถูกลอบทำร้าย และเกิดระเบิดขึ้นที่ฮอลล์นั้น ภาพยนตร์ตอนนี้มีการประกาศออกมาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และเมื่อภาพยนตร์ออกฉายในโรงภาพยนตร์ 335 แห่ง ภาพยนตร์ตอนนี้ก็ติดอันดับหนึ่งของ Box Office ประเทศญี่ปุ่นในทันทีด้วยรายรับ 420.03 ล้านเยนหรือประมาณ 4,124,013 ดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์แรก มีรายงานว่าภาพยนตร์ตอนนี้ไม่มีการโปรโมตที่กว้างขวางนัก แต่ก็ยังมีแฟน ๆ กว่า 350,000 คนชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ในรอบปี พ.ศ. 2551ภาพยนตร์ตอนนี้ทำรายรับได้รวมทั้งสิ้น 2,420 ล้านเยน หรือประมาณ 26.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐปริศนานักล่าทรชนทมิฬ () ; () เป็นตอนพิเศษของภาพยนตร์การ์ตูน ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ตอนที่ 13 โดยภาคนี้มีกำหนดออกฉายในประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2552 สำหรับในประเทศไทยเข้าฉายเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ที่โรงภาพยนตร์เซ็นจูรี่ ในตอนนี้มีคดีฆาตกรรมต่อเนื่องในหลายพื้นที่ในแถบคันโต ตำรวจในแถบนั้นได้รับเชิญให้เข้าประชุมเรื่องนี้ แต่หลังจากประชุมเสร็จมีคนในตำรวจคนหนึ่งขึ้นรถคันโปรดของยินไป ซึ่งกล่าวได้ว่าโคนันต้องเผชิญหน้ากับองค์กรชุดดำอีกครั้ง สำหรับภาพยนตร์ตอนนี้มีการเปิดเผยชื่อเรื่องและเนื้อเรื่องคร่าว ๆ ตั้งแต่ประมาณช่วงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เมื่อภาพยนตร์ออกฉาย ก็สามารถทำรายได้ได้สูงเป็นอันดับหนึ่งในช่วงสุดสัปดาห์ที่ภาพยนตร์ออกฉาย (วันที่ 18-19 เมษายน) และสามารถทำลายสถิติของภาพยนตร์ชุดโคนันที่ทำรายได้มากที่สุดจากการสรุปรายได้ประจำปีของ RIAJ ด้วยรายได้ 3,500 ล้านเยน แซงหน้าสถิติเดิมที่ภาพยนตร์ตอน ปริศนาบนถนนสายมรณะเคยทำไว้เดิมที่ 3,400 ล้านเยนปริศนามรณะเหนือน่านฟ้า () () เป็นตอนพิเศษของภาพยนตร์การ์ตูน ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ตอนที่ 14 โดยภาคนี้ออกฉายในประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553 วันเดียวกับที่อนิเมะของจอมโจรอัจฉริยะที่สร้างโดยทีเอ็มเอสเอ็นเตอร์เทนเมนต์และแอนิแมกซ์ออกฉายทางโทรทัศน์ เมื่อภาพยนตร์ตอนดังกล่าวออกฉาย ภาพยนตร์ดังกล่าวติดชาร์ดของ Kogyo Tsushinsha ที่อันดับสอง และชาร์ตของ Box Office Mojo ที่อันดับสาม โดยเปิดตัวที่รายได้ 5,990,036 ดอลลาร์สหรัฐจากการลงโรงฉาย 352 โรงฉาย และยังยืนชาร์ตด้วยอันดับเดิมมาอีกหนึ่งอาทิตย์15 นาทีเฉียดวิกฤติมรณะ() () เป็นยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับภาพยนตร์ที่ 15 ได้เริ่มเข้าฉายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554", "title": "ยอดนักสืบจิ๋วโคนันเดอะมูฟวี่" }, { "docid": "465968#11", "text": "5.Enamel ประกอบเรื่อง คนลึกไขปริศนาลับ เพลงเปิดที่ 3", "title": "ชิโดะ" }, { "docid": "239391#3", "text": "หัวหน้าคนรับใช้(พ่อบ้าน)ของตระกูลแฟนทอมไฮฟ์ เซบาสเตียนมีความสามารถรอบด้านไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร ศิลปะ ดนตรี การต่อสู้และอื่นๆอีกมากมาย เซบาสเตียนมีคำพูดติดปากคือ \"เป็นพ่อบ้านของตระกูลแฟนทอมไฮฟ์ทั้งที ถ้าทำเรื่องแค่นี้ไม่ได้ จะไปทำอะไรได้ล่ะขอรับ\"เซบาสเตียนทำงานทุกอย่างแทนบรรดาคนรับใช้ที่ไม่ได้ความและต้องคอยแก้ปัญหาที่คนพวกนั้นก่อขึ้น เซบาสเตียนมีรสนิยมแปลกๆคือ หลงใหลในสัตว์ประเภทแมวจนถอนตัวไม่ขึ้น(แม้ว่าเจ้านายของเขาจะแพ้ขนแมวก็ตาม) ถึงขนาดเอาแมวจำนวนมากยัดเก็บเอาไปเลี้ยงในตู้เสื้อผ้าของห้องนอนตนเต็มไปหมด\nแท้จริงเซบาสเตียนเป็นซาตานที่ถูกเรียกออกมากับหาวิญญาณของคนที่ทำสัญญามาเป็นอาหาร คือชิเอล และรับใช้ชิเอลด้วย\"สัญญา\"ซึ่งตราสัญญาอยู่ที่มือซ้ายเซบาสเตียนเอาไว้ที่หลังมือซ้าย ทำหน้าที่เป็นพ่อบ้านตลอดช่วงแรกใช้พลังสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา แต่ชิเอลเห็นว่าถ้าทำจะมีคนสงสัย เซบาสเตียนจึงเริ่มทำเป็นค่อยเป็นค่อยไปในแบบมนุษย์ แต่พอตอนสู้ ก็ใช้เครื่องเงินของบ้านเป็นอาวุธ กับตอนจวนตัวจริงๆจะใช้วิธีแบบซาตาน คือใช้ความสามารถแบบทักษะกับความเร็วและพละกำลัง ในการปฏิบัติภารกิจ ซึ่งช่วงหลังของเรื่องตั้งแต่เจอกับยมทูตเริ่มใช้พลังของซาตานขึ้นทุกที\nโดยมีเงื่อนไขว่า หากชิเอลบรรลุเป้าหมายของเขาแล้ว เซบาสเตียนจะรับวิญญาณของชิเอลไปเป็นอาหาร ในฉบับมังงะ เซบาสเตียนได้เสียชีวิตลงในเล่ม 9 โดยฝีมือของเอริ์ล ชาร์ล เกร์ย แต่ความจริงแล้วเป็นแผนที่เขาจงใจทำเพื่อให้ทุกคนเห็นว่าตัวเองตายไปแล้ว เพื่อทำภารกิจลับ\nร่างจริงของเซบาสเตียนยังเป็นปริศนา คนที่เคยเห็นมีแต่ชิเอล ซ฿ึ่งครั้งแรกตอนเจอกันเซบาสเตียนเป็นซาตานถูกอัญเชิญขึ้นมาในพิธีกรรมของงานประมูลทาส โดยซาตานได้เลือกชิเอลให้เป็นเจ้านาย จากนั้นกลายร่างเป็นมนุษย์ที่มีรูปร่างคล้ายพ่อของชิเอลที่ชื่อวินเซน โดยเมื่อเผยร่างจริงให้เห็นเมื่อตอนเอาวิญญาณชิเอล หรือตอนขู่คน ตอนที่ชิเอลโดนอาวุธเคมีจนสภาพจิตใจชิเอลแทบคลั่ง เซบาสเตียนเผยร่างจริงพยายามกินชิเอล แต่ชิเอลก็ได้สติก่อนโดนกิน", "title": "รายชื่อตัวละครในคนลึกไขปริศนาลับ" }, { "docid": "465968#14", "text": "8.Garasu no Hitomi ประกอบเรื่อง คนลึกไขปริศนาลับ ฉบับภาพยนตร์ ภาค Book of Atlantic", "title": "ชิโดะ" }, { "docid": "768#23", "text": "ตอน \"คุณยายของผม\" ตอน \"คืนก่อนแต่งงานของโนบิตะ\" ตอน \"โจรลึกลับโดราแปงกับสารท้าประลอง\" ตอน \"โดเรมี่ อาราระกับเหล่าเยาวชนในอดีต\" ตอน \"ปีศาจเจ้าปัญหา\" ตอน \"ย้อนอดีตหาโมโมทาโร่\" ตอน \"เหรียญทองในความฝันของโนบิตะ\" ตอน \"7 โดราเอมอนกับแมลงหุ่นยนต์\" ตอน \"ความลับของโดเรมี่\" ตอน \"ฉลองครบรอบ 25 ปีโดราเอมอน\" ตอน \"กำเนิดโดราเอมอน\" ตอน \"ผจญภัยใต้ทะเลลึก\" ตอน \"สงครามตะลุยอวกาศ\" ตอน \"เรื่องประหลาดกำเนิดโดราเอมอน\" ตอน \"ช้างน้อยฮานะจัง\" ตอน \"ช้างกับคุณลุง\" ตอน \"หลุมทิ้งขยะต่างมิติ\" ตอน \"ลูกตุ้มแห่งโชคลาภ\" ตอน \"ผีดุที่วัดหลังเขา\" ตอน \"ไขปริศนาตำนานอุราชิม่าทาโร่\"", "title": "โดราเอมอน" }, { "docid": "239391#2", "text": "ชื่อชิเอลแปลว่าท้องฟ้าในภาษาฝรั่งเศส เขาเกิดวันที่ 14 ธันวาคม ปี 1875", "title": "รายชื่อตัวละครในคนลึกไขปริศนาลับ" }, { "docid": "239391#4", "text": "คนสวนในตระกูลแฟนทอมไฮฟ์ อดีตเคยเป็นมนุษย์ที่ถูกทดลองในโครงการลับของทหารกับเกิดและถูกสร้างที่นั่นให้เป็นยอดมนุษย์ โดยฟินีเป็นหนูทดลองตัวสุดท้ายที่รอดชีวิตออกมา ชิเอลจึงพามาเป็นคนรับใช้ในฐานะคนสวน ฟีนี่มีแรงมหาศาลถึงขนาดสามารถขว้างรูปปั้นสูง2เมตรใส่\"หนู\"จากคณะละครสัตว์ได้ กับวิ่งชนต้นไม้ล้มได้สบาย แต่ปกติเพราะแรงของฟีนี่ที่บวกความซุ่มซ่ามเข้าไปทำให้ฟีนี่ทำของพัง(ไม้เท้าหัก ต้นไม้โค่น หญ้าตายทั้งสนาม) เป็นมิตรกับสัตว์เกือบทุกชนิด (ไม่เว้นแม้กระทั่งงู) ฟินี่เป็นคนอ่อนโยน ช่างสังเกตและใส่ใจความรู้สึกของคนอื่นอยู่เสมอ", "title": "รายชื่อตัวละครในคนลึกไขปริศนาลับ" }, { "docid": "10983#7", "text": "แอนิเมชั่นแต่ละเรื่องในยุคแรกๆนั้นจะดัดแปลงจากภาพยนตร์เงียบ ที่ยุโรปในปี 1908 แอนิเมชันก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในโลก นั่นก็คือเรื่อง Fantasmagorie ของ Emile Courtet ผู้กำกับชาวฝรั่งเศส ส่วนภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องยาวเรื่องแรกของโลก นั่นก็คือ Satire du Pt Irigoyen ของอาร์เจนตินา ในปี 1917 และตามด้วย The Adventure of Prince Achmed\nในขณะเดียวกัน ที่สหรัฐฯ ก็มีการเริ่มต้นพัฒนาด้านแอนิเมชันซึ่งหนังในช่วงแรกๆก็มี Koko the Clown และ แมวฟิลิกซ์ ในปี 1923 วอลต์ ดิสนีย์ ก็ถือกำเนิดขึ้นด้วย\nหลังจากที่วอล์ท ดิสนี่ย์ได้กำเนิดขึ้น ก็ทำให้เกิดยุคทองหนังแอนิเมชันของดิสนี่ย์ในช่วงระยะเวลาถึง20ปีเลยทีเดียว ในปี1928 มิกกี้ เมาส์ก็ถือกำเนิดขึ้น ตามด้วย พลูโต กู๊ฟฟี่ โดนัลด์ ดั๊ก เป็นต้น และในปี 1937 สโนว์ไวท์และคนแคระทั้ง7 ก็เป็นแอนิเมชั่นเรื่องยาวเรื่องแรกของ ดิสนี่ย์ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และทยอยมีแอนิเมชันเรื่องอื่นๆตามมา เช่น หุ่นไม้พินอคคิโอ, แฟนเทเชีย ,ดัมโบ้, กวางน้อย...แบมบี้ , อลิซท่องแดนมหัศจรรย์, ปีเตอร์ แพน จากนั้นก็มีการตั้งสตูดิโอของ วอร์เนอร์ บราเธอร์ส,MGM และ UPA\nในช่วงปี 1960 หลังจากที่ภาพยนตร์แอนิเมชั่นประสบความสำเร็จ ก็ก่อให้เกิดธุรกิจแอนิเมชันบนจอโทรทัศน์ขึ้นมา ซึ่งมีทั้งการ์ตูนของดิสนีย์ และการ์ตูนพวกฮีโร่ทั้งหลายแหล่อย่าง ซูเปอร์แมน แบทแมน ฯลฯ และในขณะเดียวกัน ก็มีการศึกษาการทำแอนิเมชั่น3มิติอีกด้วย\nเวลาก็ได้ล่วงมาถึง ช่วงปี 1980 ภาพยนตร์ของดิสนีย์ก็ถึงคราวซบเซา แต่ทว่าในปี 1986 The Great Mouse Detective ก็เป็นแอนิเมชั่นเรื่องแรกของโลก ที่นำเอา 3D แอนิเมชั่นมาใช้ด้วย ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้แอนิเมชั่นของดิสนีย์กลับมา ได้รับความนิยมใหม่อีกครั้งหนึ่ง ทั้ง โฉมงามกับเจ้าชายอสูร,อะลาดินกับตะเกียงวิเศษ ,เดอะ ไลอ้อน คิง ในปี 1995 ภาพยนตรแอนิเมชั่น3มิติเรื่องแรกของโลก อย่าง ทอย สตอรี่ ก็ถือกำเนิดขึ้น และ ทำให้มีการสร้างสรรงานแอนิเมชัน3มิติอีกหลายๆงานต่อมาจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึง มีการทำแอนิเมชันเพื่อจับกลุ่มคนดูที่เป็นผู้ใหญ่ด้วย อย่างเช่น เดอะซิมป์สัน ,เซาท์พาร์ก และมีการยอมรับแอนิเมชั่นจากประเทศอื่นๆมากขึ้นอีกด้วย", "title": "การ์ตูน" }, { "docid": "684680#1", "text": "เริ่มเรื่องด้วยฉากงานศพของเกรซ คาฮิลล์ ผู้เป็นยายของแดน และเอมี่ คาฮิลล์ เกรซได้มอบทางเลือกให้ญาติแต่ละคนที่มาเข้าร่วมงานศพสองทางเลือก หนึ่งคือรับเงินสองล้านดอลลาร์แล้วกลับบ้านไป และสองคือร่วมเกมปริศนาตามล่าสมบัติที่จะทำให้ผู้ที่ได้รับยิ่งใหญ่กว่าใครในโลก แดนและเอมี่เลือกที่จะเข้าร่วมเกมในครั้งนี้ ทั้งสองได้พบเงื่อนงำแรกจาก 39 เงื่อนงำ ทั้งสองเข้าไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมในคฤหาสน์ของเกรซ โดยทั้งคู่ได้พบกับอลิสแตร์ โอลุงชาวเกาหลี ทั้งสามค้นพบห้องสมุดลับในคฤหาสน์และซาลาดิน แมวที่หายไป แต่ไม่ทันไรก็เกิดไปไหม้คฤหาสน์ขึ้น อลิสแตร์หายตัวไป ทิ้งให้เอมี่กับแดนต้องเอาชีวิตรอด เอมี่ค้นพบว่าเงื่อนงำแรกนำไปสู่บุคคลในประวัติศาสตร์ท่านหนึ่ง คือ เบนจามิน แฟรงคลิน ซึ่งภายหลังได้ค้นพบว่าเขาเป็นหนึ่งในสายตระกูลลูเซี่ยน เมื่อสองพี่น้องรอดมาจากการวางเพลิงได้ ทั้งคู่ซมซานไปหาเนลลี่ โกเมซ พี่เลี้ยงของพวกเขา ผู้ใหญ่คนเดียวในตอนนี้ที่ทั้งสองไว้ใจ เงื่อนงำทั้งหมดพาไปสู่ความลับในสุสานกระดูกใต้กรุงปารีส คำไขปริศนาคือ \"\"เหล็กละลาย\"\"", "title": "ปริศนาสมบัติอัจฉริยะ ตอน ผจญค่ายกลกระดูก" }, { "docid": "239391#8", "text": "คนรับใช้คนล่าสุดของตระกูลแฟนท่อมไฮฟ์ เป็นลูกผสมของมนุษย์กับงู มีสามารถคุยกับงู และควบคุมได้ ปกติจะมีงูติดตัวตลอด โดยปกติจะไม่พูดอะไรมากนอกจากตอนงูพูด สเนคจะแปลออกมา กับลงท้ายว่างูตัวไหนพูด อดีตสมาชิกของคณะละครสัตว์โนอาห์ กลับมาแก้แค้นแทนพรรคพวกด้วยการฆ่าชิเอล โดยเป็นฆาตรกรตัวจริงที่ฆ่าเฟลส์ป แต่ถูกเซบาสเตียนจับมัดขังไว้ในกล่องได้ ชิเอลปิดบังสเนคเรื่องที่พวกเขาฆ่าคนในโนอาห์อาร์กทั้งหมด โดยบอกว่าโนอาอาร์กนั้นเป็นคนร้ายในคดีลักพาตัวเด็กแถวที่จัดแสดงไป และบอกว่าเขากำลังตามหาคนเหล่านั้นอยู่เหมือนกัน สุดท้ายชิเอลก็รับสเน็คมาทำงานเป็นคนรับใช้ชาย ด้วยเหตุผลที่ว่า \"ดีกว่าจะปล่อยให้มาแว้งกัดบ่อยๆ และกำลังอยากได้สัตว์เลี้ยงอยู่พอดี\" โดยสเน็คยังคงเรียกชิเอลว่า \"สไมล์\" กับเรียกเซบาสเตียนว่า \"แบล็ค\" เหมือนเดิม โดยสเนคนั้นพกงูติดตัวไว้มากกว่า 9 ตัว โดยแต่ละตัวสเนคตั้งชื่อไว้ ออสก้า บรอนเต้ เอมิลี่ วาสเวิร์ด คีธ เวปส์เตอร์ โกลที ไวล์ ดอนเน่", "title": "รายชื่อตัวละครในคนลึกไขปริศนาลับ" }, { "docid": "239387#4", "text": "ภาค 1 ตอน 1: พ่อบ้านคนนั้น มีความสามารถ", "title": "คนลึกไขปริศนาลับ" }, { "docid": "229946#36", "text": "เมื่อจบการออกอากาศแอนิเมชั่นชุด \"โยรินุกิ กินทามะ-ซัง\" ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554 แล้ว ในสัปดาห์ถัดมา ซึ่งตรงกับวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554 สถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียวจึงเริ่มการแพร่ภาพแอนิเมชั่นเรื่องกินทามะชุดใหม่ ภายใต้ชื่อ กินทามะ ( มีการเพิ่มเครื่องหมายอะพอสทรอฟีไว้หลังชื่อ) ซึ่งเป็นแอนิเมชั่นเรื่องกินทามะชุดล่าสุดที่กำลังออกอากาศในขณะนี้ ทีมงานในการผลิตยังคงใช้ทีมงานชุดเดียวกันกับใน 4 ภาคก่อนหน้า โดยมีโยอิจิ ฟูจิตะ เป็นผู้กำกับรายการ สำหรับดีวีดีชุดแรกจากแอนิเมชั่นชุดนี้จะเริ่มจัดจัดจำหน่ายในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554", "title": "กินทามะ" }, { "docid": "46956#6", "text": "ภารกิจที่ 3 อัจฉริยะทั้ง 4 ท่านที่เหลือ จะต้องไขปริศนาที่อยู่ในถุงยังชีพของตนซึ่งได้มาตั้งแต่ตอนเริ่มการแข่งขันหรือในบางสัปดาห์จะมีสิ่งที่กำหนดเพิ่อการเลือกกล่องโดยไม่ต้องไขปริศนา แล้วนำไปหากล่องปริศนาที่ถูกต้องจากทั้งหมด 100 ใบ โดยในกล่องปริศนานั้นจะมีรหัสลับเป็นข้อความในการถอดรหัส แต่หากไปหากล่องที่ไม่ถูกต้อง จะพบป้ายข้อความว่า\"ตกรอบ\"ผู้เข้าแข่งขันท่านนั้นจะต้องตกรอบทันที (ป้ายข้อความ \"ตกรอบ\" ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในศึกอัจฉริยะแห่งอัจฉริยะข้ามคืนครั้งที่ 1 และตั้งแต่ล้านที่ 29 เป็นต้นไป) ซึ่งอัจฉริยะจะต้องถอดข้อความนั้นให้เป็นตัวเลข 4 หลักที่เรียกว่า รหัสลับอัจฉริยะ เพื่อใช้เปิดตู้เซฟโดยการเลือกตู้เซฟจะต้องดูตามสีของแผ่นข้อความถอดรหัส กับสีของตู้เซฟ แต่ถ้าตู้เซฟผิดก็จะตกรอบเช่นเดียวกัน เมื่อเปิดตู้เซฟได้แล้วจะพบกับคำถามสุดท้าย โดยต้องไปตอบคำถามให้ถูก แต่ถ้าตอบผิดก็ตกรอบทันทีเช่นเดียวกัน อัจฉริยะ 2 ท่านแรกที่สามารถตอบคำถามสุดท้ายได้ถูกต้อง จะเข้ารอบไปชิง 1 ล้านบาท ณ เวิร์คพอยท์สตูดิโอ ทันที แต่ถ้ามีการตอบผิดครบ 2 คน คนที่เหลือก็จะเข้ารอบทันที โดยเกมถอดรหัสดังกล่าว สร้างสรรค์โดย รุ่งธรรม พุ่มสีนิล ซึ่งได้แนวความคิดมาจากการตีเลขหวยจากความฝัน[1]", "title": "อัจฉริยะข้ามคืน" }, { "docid": "306252#37", "text": "คนลึกไขปริศนาลับ (โรส) รับบทเป็น เซบาสเตียน มิคาเอรีส", "title": "กริน อักษรดี" }, { "docid": "239391#7", "text": "คนดูแลบ้านของตระกูลแฟนทอมไฮฟ์ ปกติจะดื่มชาญี่ปุ่นและนั่งอยู่เฉยๆโดยไม่มีงานทำแต่ในเล่ม 9 เขาได้เป็นหัวหน้าคนรับใช้ชั่วคราวแทนเซบาสเตียนที่ตายไปและเขายังเคยเป็นพ่อบ้านของวินเซนท์ แฟนทอมไฮฟ์ พ่อของซิเอลอีกด้วย ตอนตระกูลแฟนทอมไฮฟ์ถูกฆ่าทั้งตระกูลทานาะก็รอดแต่เจ็บหนักพักรักษาอยู่โรงพยาบาล โดยเจ้าตัวเสียใจที่ตนทำอะไรไม่ได้ พอชิเอลกลับมาก็ดีใจมาทำงานอีกครั้ง มีฝีมือในด้านการฟันดาบแบบญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก เขาเป็นคนใกล้ชิดที่สุดที่ชิเอลไว้วางใจ", "title": "รายชื่อตัวละครในคนลึกไขปริศนาลับ" } ]
3782
ใครคือนายกรัฐมนตรีของประเทศมาเลเซียในปีพ.ศ.2561?
[ { "docid": "121827#0", "text": "ตุน ดกโตร์ มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด (Malay: Tun Dr. Mahathir bin Mohamad, محضير بن محمد) เป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศมาเลเซีย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการหลายกระทรวง ได้แก่ กระทรวงการคลัง, มหาดไทย, กลาโหม, การค้าและอุตสาหกรรม และศึกษาธิการ เขาชนะการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2561", "title": "มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด" } ]
[ { "docid": "238574#2", "text": "ต่อมาในวันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง และ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เข้าร่วมพิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย-มาเลเซีย กับนายนาจิบ ราซะก์ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้มีพิธีตั้งชื่อสะพานแห่งนี้ว่า สะพานมิตรภาพ () และลงนามความตกลงว่าด้วยการบริหารจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้งานสะพานมิตรภาพ", "title": "สะพานมิตรภาพ (ไทย–มาเลเซีย)" }, { "docid": "735538#0", "text": "พรรคยุติธรรมประชาชน (; ) เป็นพรรคการเมืองที่เป็นกลางในมาเลเซีย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2546 โดยการรวมตัวระหว่างพรรคยุติธรรมแห่งชาติกับพรรคประชาชนมาเลเซีย หัวหน้าพรรคคือ วัน อาซิซะห์ วัน อิสมาอิล ภรรยาของอันวาร์ อิบราฮิม และมีสมาชิกสภาในสังกัดถึง 31 คน ใน พ.ศ. 2551 นโยบายของพรรคเน้นความยุติธรรมในสังคมและต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง ต้องการให้เลิกนโยบายเศรษฐกิจใหม่ เน้นการให้การศึกษาที่ไม่เกี่ยวข้องกับชนชาติ และแก้ไขความไม่เท่าเทียมกันทางเชื้อชาติ\nใน พ.ศ. 2540 เศรษฐกิจของมาเลเซียได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อันวาร์ อิบราฮิมได้เปลี่ยนรูปแบบทางเศรษฐกิจและเพิ่มอำนาจคณะกรรมการต่อต้านการ้อราษฎร์บังหลวง นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นคือ มหาธีร์ โมฮัมหมัดไม่เห็นด้วยและปลดเขาออก", "title": "พรรคยุติธรรมประชาชน (มาเลเซีย)" }, { "docid": "942298#3", "text": "นับเป็นความปราชัยครั้งประวัติศาสตร์สำหรับพรรครัฐบาลแนวร่วมแห่งชาติ ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลมาเลเซียมาตลอด 61 ปีนับแต่ประเทศได้รับเอกราชในปี 2500 และยังจะทำให้มาฮาดีร์ บิน โมฮามัดเป็นนายกรัฐมนตรีคนถัดไปของประเทศมาเลเซีย และเป็นหัวหน้ารัฐบาลอาวุโสที่สุดในโลกในวัย 92 ปี อย่างไรก็ดี เขาชี้ว่าจะเปิดทางให้ผู้นำฝ่ายค้าน อันวาร์ อิบราฮิม ที่กำลังถูกจำคุกโดยจะขอพระราชทานอภัยโทษให้", "title": "การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2561" }, { "docid": "41459#7", "text": "เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2542 สุลต่านอาหมัด ชาห์แห่งรัฐปะหัง ประเทศมาเลเซีย ประธานสมาพันธ์ฟุตบอลอาเชียน(เอเอฟเอฟ) และนายกสมาคมฟุตบอลแห่งมาเลเซีย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเข็ม และสายสะพาย ตำแหน่ง\"ดาโต๊ะ\" แก่นายวิจิตร โดยพิธีดังกล่าว จัดขึ้นที่ ดิ ลาเลรัง เสรี, อิสตาน่า อาบู บาการ์, เปกัน, ปะหัง ดารุล มากมูร์ ในรัฐปะหัง ประเทศมาเลเซีย ซึ่งนายวิจิตร เป็นบุคคลที่ 3 ที่ได้รับพระราชทานตำแหน่งดาโต๊ะ ต่อจาก ดร.โจอัว ฮาเวลานจ์ อดีตประธานฟีฟ่า และเซปป์ แบล๊ตเตอร์ ประธานฟีฟ่าคนปัจจุบัน โดยนายวิจิตรให้สัมภาษณ์หลังรับพระราชทานตำแหน่งดาโต๊ะว่า \"ตลอดเวลา 30 กว่าปี ที่ผมอยู่กับวงการฟุตบอลมา มีหลายเรื่องที่ผมโดนกลั่นแกล้ง โดนปรักปรำ โดนใส่ร้าย ใส่ความมาตลอด ซึ่งผมไม่เคยปริปากเอ่ยให้ใครฟัง มาวันนี้สวรรค์มีตา หากผมเป็นคนไม่ดีจริง คงไม่มีใครมอบรางวัลที่มีเกียรติอย่างดาโต๊ะให้หรอก\"", "title": "วิจิตร เกตุแก้ว" }, { "docid": "942298#1", "text": "รัฐธรรมนูญแห่งมาเลเซียกำหนดให้จัดการเลือกตั้งในปีปฏิทินที่ห้ายกเว้นสมเด็จพระราชาธิบดีมาเลเซียทรงยุบสภาผู้แทนราษฎรเนื่องจากญัตติไม่ไว้วางใจหรือตามคำร้องของนายกรัฐมนตรี", "title": "การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2561" }, { "docid": "460742#0", "text": "พรรคยุติธรรมแห่งชาติ () ก่อตั้งเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 โดย วัน อีซีซะห์ วัน อิสมาอีล ภรรยาของอันวาร์ อิบราฮิม พรรคนี้ก่อตั้งขึ้นก่อนที่อิบราฮิมจะถูกตัดสินจำคุก 6 ปี พรรคนี้มีฐานะเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนอิบราฮิมและต่อต้านนายกรัฐมนตรีมหาธีร์ โมฮัมหมัด ในอีก 2 เดือนต่อมา พรรคได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย พรรคกิจประชาธิปไตยและพรรคประชาชนมาเลเซียในการต่อสู้กับแนวร่วมแห่งชาติ ในการเลือกตั้งเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2542 พรรคนี้ได้ 5 ที่นั่งในรัฐสภาสหพันธรัฐและมีบทบาทในสภาร่วมกับกลุ่มฝ่ายค้านคือแนวร่วมทางเลือก อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2543 ได้เริ่มเกิดความแตกแยกในพรรคขึ้น", "title": "พรรคยุติธรรมแห่งชาติ" }, { "docid": "715777#0", "text": "โครงการรถไฟความเร็วสูงกัวลาลัมเปอร์–สิงคโปร์ () เป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงระหว่างกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กับประเทศสิงคโปร์ คิดค้นขึ้นโดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2010 และทั้งสองประเทศ ได้ร่วมมือกันตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 เมื่อโครงการก่อสร้างเสร็จ จะเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 2020", "title": "รถไฟความเร็วสูงกัวลาลัมเปอร์–สิงคโปร์" }, { "docid": "78613#3", "text": "ต่อมาเมื่อจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ล่องใต้มาตรวจราชการที่ ตำบลสุไหงโก-ลก นายวงศ์ ไชยสุวรรณ ร้องขอให้ตั้งเป็นเทศบาล ฯ พณ ฯ นายกรัฐมนตรีเห็นด้วย ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะตำบลสุไหงโก-ลก เป็นเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2483 มีนายวงศ์ ไชยสุวรรณ เป็นนายกเทศมนตรีคนแรก เหตุการณ์นี้พระครูสุนทรธรรมภาณีได้เขียนคำกลอนบันทึกไว้ว่า\nใน พ.ศ. สองสี่แปดสิบสาม นายกนามจอมพล ป. พิบูลย์ศรี \nออกเที่ยวตรวจราชการงานที่มี มาถึงแดนโก-ลก โชคดีแรง \nกำนันวงศ์ร้องขอต่อ พณ,ท่าน ขอเปิดการเทศบาลขึ้นในแขวง \nจอมพล ป. เห็นตามความชี้แจง คุณวงศ์แต่งเปิดเขตเทศบาล \nฯลฯ \nในเจ็ดปีที่คุณวงศ์เป็นนายก สร้างโก-ลกให้สง่าหรูหราแสน \nทำประโยชน์มากมายเมืองชายแดน ตามแบบแปลนที่จะเล่ากล่าวต่อไป \nหนึ่งขอตั้งไปรษณีย์โทรเลข งานชิ้นเอกสร้างสรรค์ทันสมัย \nเรื่องที่สองร้องขอตั้งต่อไป โรงเรียนใหม่ถึงขั้นชั้นมัธยม \nทางกระทรวงศึกษาอนุญาต ความมุ่งมาตรมั่นหมายก็ได้ผล \nฯลฯ \nประการสี่มีข้อขอเสนอ ตั้งเป็นอำเภอปรารถนา \nเพราะโก-ลกคนมากหากเป็นป่า กิจธุระต้องไปสุไหงปาดี \nรัฐบาลเห็นพ้องอนุญาต แจ้งประกาศบอกกระบวนมาถ้วนถี่ \nให้ตั้งก่อนเป็นกิ่งจึงจะดี แต่บัดนี้เป็นอำเภอเสมอกัน \nหลังจากตั้งเทศบาลแล้ว 8 ปี ตำบลสุไหงโก-ลกจึงได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้นกับอำเภอสุไหงปาดี โดยมีเขตปกครอง 4 ตำบล คือ ตำบลสุไหงโก-ลก ตำบลปูโยะ ตำบลปาเสมัส และตำบลมูโนะ (โอนมาจากอำเภอตากใบ) กระทั่งวันที่ 1 มกราคม 2496 จึงได้ยกฐานะเป็นอำเภอสุไหงโก-ลก มีนายนอบ นพสงศ์ เป็นนายอำเภอคนแรก เขตการปกครอง 4 ตำบลเท่าเดิม ส่วนตำบลสุไหงโก-ลกเป็นเทศบาล ความน่าภูมิใจของเทศบาลนี้คือ เป็นเทศบาลเดียวในประเทศไทยที่จัดตั้งก่อนอำเภอถึง 13 ปีและเกิดจากความต้องการของประชาชน ปัจจุบันเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลกได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกเมื่อ ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา\nประดิษฐานอยู่ ณ บริเวณใจกลางสวนภูมินทร์ ( สวนรถไฟ ) เป็นพระบรมรูปหล่อสำฤทธิ์สีดำขนาดเท่าพระองค์จริง จัดสร้างโดยกรมศิลปากร เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก และประชาชนชาวจังหวัดนราธิวาส เมื่อ ประมาณ ปี พ.ศ. 2510 โดยจัดสร้างหันหน้าพระพักต์ไปทางประเทศมาเลเซียแสดงถึงพระบารมีเมตตาเหนือประชาชนชาวสยามที่จะทรงปกป้องแผ่นดินไทยตลอดไปถึงแม้สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจะเสด็จสวรรคตไปกว่าร้อยปีแล้วแต่พระบารมีเมตตายังทรงคุ้มครอบประชาชนชาวไทยอยู่ ปัจจุบันเป็นที่เคารพรักและสักการะของชาวเมืองและนักท่องเที่ยวทั่วไป\nเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ตั้งอยู่สุดปลายริมแม่น้ำโก-ลก มีทัศนียภาพที่สวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ยามพักผ่อน ออกกำลังกายของประชาชนทั่วไป มีน้ำพุกลางสระน้ำขนาดใหญ่ สวนสุขภาพ เวทีเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ลานออกกำลังแอโรบิก และสวนพันธ์ไม้หายากต่างๆ\nด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก ถือเป็นด่านการค้าชายแดน ระหว่างประเทศ ( ประเทศไทย และ ประเทศมาเลเซีย ) ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำสุไหงโก-ลก สุดปลายถนนเอเชีย 18 โดยมีสะพานมิตรภาพเชื่อมไปยังเมืองลันตูปันจัง ประเทศมาเลเซีย ก่อสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2530 ด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก ถือเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้าสไคญของจังหวัดนราธิวาส และมีขนาดใหญ่รองจากด่านสะเดา ที่จังหวัดสงขลา เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการสำคัญเช่น ด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก ที่ 1 ด่านตรวจพืช ด่านตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์บริการท่องเที่ยว สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาคใต้เขต 3 และถือเป็นจุดผ่านแดนแห่งที่2 ที่มีสะพานข้ามทางรถไฟเชื่อมไปยังประเทศมาเลเซียอีกด้วย โดยมีเขตสถานีรถไฟอยู่ในประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ( ปัจจุบันหยุดเดินรถไปแล้ว เนื่องจากปัญหาการเดินรถ )ภายในเขตเทศบาลฯ มีบริการรถจักรยานยนต์รับจ้างสำหรับโดยสารภายในเมือง ส่วนระหว่างอำเภอมีบริการรถสองแถว รถตู้ รถโดยสารประจำทาง", "title": "เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก" }, { "docid": "535321#0", "text": "พรรคซาบะฮ์ก้าวหน้า () เป็นพรรคการเมืองที่มีฐานที่มั่นในรัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย จดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองเมื่อ 21 มกราคม พ.ศ. 2537 ผู้นำพรรคคือ ยง เตกลี อดีตมุขมนตรีของรัฐซาบะฮ์และเคยสังกัดพรรคสหซาบะฮ์มาก่อน พรรคนี้เคยร่วมกับแนวร่วมแห่งชาติ ก่อนที่จะถอนตัวออกมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ใน พ.ศ. 2553 พรรคนี้มีตัวแทนในสภาแห่งชาติ 2 คน ในสภาของรัฐซาบะฮ์ 2 คน พรรคนี้ได้เรียกร้องให้รัฐซาบะฮ์ได้ปกครองตนเองแบบหนึ่งประเทศสองระบบ\nในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 8 มีนาคม พ.ศ. 2551 พรรคได้รับเลือก 2 ที่นั่ง หลังจากการเลือกตั้ง หัวหน้าพรรคคือ ยง เต็กลีได้ประกาศว่าพรรคไม่ไว้วางใจและต่อต้านนายกรัฐมนตรี อับดุลละห์ อะห์มัด บาดาวี เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก เพราะรัฐบาลไม่ได้สนใจปัญหาของซาบะฮ์ ที่ต้องการปกครองตนเอง นำลาบวนมารวมกับซาบะฮ์ และได้ส่วนแบ่ง 20% ของรายได้จากน้ำมัน มีปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวงและใช้อำนาจในทางที่ผิด แนวร่วมแห่งชาติได้ขอให้พรรคซาบะฮ์ก้าวหน้ายุติการกระทำดังกล่าว พรรคจึงตัดสินใจลาออกจากแนวร่วมแห่งชาติสมาชิกพรรคซาบะฮ์ก้าวหน้าบางส่วนไม่เห็นด้วยกับการลาออกจากแนวร่วมแห่งชาติ ได้ลาออกจากพรรคไป", "title": "พรรคซาบะฮ์ก้าวหน้า" }, { "docid": "181196#0", "text": "ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน ปูตรา อัล-ฮัจ อิบนี อัลมาร์ฮุม ซุลตัน อับดุล ฮามิด ฮาลิม ชะฮ์ที่ 2 () หรือ ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน (8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2533) เป็นผู้นำการเรียกร้องเอกราชและนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศมาเลเซีย ได้รับยกย่องเป็นบิดาแห่งประเทศมาเลเซียหรือ Bapa of Malaysia ", "title": "ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน" }, { "docid": "150504#0", "text": "โปรตอน โฮลดิงส์ (PROTON Holdings) เป็นบริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติมาเลเซีย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2526 ด้วยดำริของนายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮัมหมัด ในปี พ.ศ. 2560 บริษัทจีลี่ ออโตโมบิล จากประเทศจีนเข้ามาถือหุ้น 51% ในโปรตอน ", "title": "โปรตอน โฮลดิงส์" }, { "docid": "137845#10", "text": "ตอนที่เขาเริ่มงานที่ฮุนไดในปี ค.ศ. 1965 ในขณะนั้นมีพนักงานอยู่ 90 คน แต่เมื่อเขาดำรงตำแหน่งประธานบริษัทผ่านไป 27 ปี ได้มีพนักงานเพิ่มมากกว่า 160,000 คน\nเขาทำหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์ของเกาหลีใต้กับกลุ่ม USSR ให้เข้าสู่ภาวะปกติ นอกจากนั้นเขา ยังสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบรรดาผู้นำชาติต่างๆ รวมไปถึงอดีตนายกรัฐมนตรีลี กวนยู ของสิงคโปร์ นายกรัฐมนตรีฮุนเซน ของประเทศกัมพูชา อดีตนายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮัมหมัด ของมาเลเซีย อดีตประธานาธิบดี เจียง ซีมิน ของจีน และอดีตผู้นำ มิคาอิล กอร์บาเชพ ของสหภาพโซเวียต หลังจากที่เขาทำงานกับฮุนไดเป็นเวลาถึง 27 ปี เขาก็ตัดสินใจที่จะเข้าร่วมการเมือง ", "title": "อี มย็อง-บัก" }, { "docid": "95037#1", "text": "สายการบินนี้เริ่มเปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2490 ในชื่อว่า มาลายันแอร์เวย์ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นมาเลเซียนแอร์เวย์หลังจากมาเลเซียประกาศเอกราช และเมื่อสิงคโปร์ประกาศแยกตัวเป็นเอกราชจากมาเลเซีย สายการบินมาเลเซียนแอร์เวย์ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมาเลเซีย-สิงคโปร์แอร์ไลน์ ต่อมาเกิดปัญหาทางการเมืองระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ ทำให้ทางสายการบินแยกตัวออกเป็น 2 บริษัท คือ มาเลเซียแอร์ไลน์ซิสเต็ม และสิงคโปร์แอร์ไลน์ และในปี พ.ศ. 2530 มาเลเซียแอร์ไลน์ซิสเต็ม ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมาเลเซียแอร์ไลน์หมายเลขเที่ยวบินของมาเลเซียแอร์ไลน์จะถูกแบ่งตามพื้นที่ของภูมิภาคต่างๆ โดยปกติแล้ว หมายเลขที่เป็นเลขคู่จะเป็นเที่ยวบินที่ออกจากมาเลเซีย", "title": "มาเลเซียแอร์ไลน์" }, { "docid": "763395#2", "text": "ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งมีการจัดการประชุมของสหพันธ์กีฬาซีเกมส์ ที่ประเทศพม่า โดยมีการยืนยันว่า ประเทศมาเลเซีย เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ในปี ค.ศ. 2017 (พ.ศ. 2560) ขณะที่ประเทศสมาชิกอื่นๆไม่มีความพร้อมการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ได้ ซึ่งเลขาธิการของสภาโอลิมปิกแห่งมาเลเซีย เซียห์ ก๊ก ชิ, กล่าวในที่ประชุมว่า ประเทศพม่า กำลังได้เป็นเจ้าภาพในปี ค.ศ. 2013 (พ.ศ. 2556) ตามด้วยประเทศสิงคโปร์ ที่ได้เป็นเจ้าภาพในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) จากนั้นจะเป็นประเทศบรูไน ที่เป็นเจ้าภาพ แต่ประเทศบรูไน สนใจที่จะจัดในปี ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) มากกว่า ดั้งนั้นจากเหตุผลต่างๆ ทำให้ประเทศมาเลเซีย เป็นเจ้าภาพในครั้งนี้", "title": "ซีเกมส์ 2017" }, { "docid": "426871#0", "text": "ดาโตะก์ ซรี ฮาจี โมฮัมมัด นาจิบ บิน ตุน ฮาจี อับดุล ราซัก () หรือ นาจิบ ราซัก เป็นนักการเมืองมาเลเซียจากพรรคอัมโน เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย โดยดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2552 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2561 โดยได้ดำรงตำแหน่งต่อจากอับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี เขาเป็นบุตรชายของอับดุล ราซัก ฮุซเซน นายกรัฐมนตรีคนที่ 2", "title": "นาจิบ ราซัก" }, { "docid": "1924#2", "text": "มาเลเซียเป็นประเทศพหุชาติพันธุ์และพหุวัฒนธรรมซึ่งมีบทบาทอย่างมากในด้านการเมือง ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดมีเชื้อสายมลายู โดยมีชนกลุ่มน้อยกลุ่มสำคัญคือ ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน ชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย และชนพื้นเมืองดั้งเดิมกลุ่มต่าง ๆ รัฐธรรมนูญประกาศให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ก็ยังให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ผู้ที่ไม่ใช่ชาวมุสลิม ระบบรัฐบาลมีรูปแบบคล้ายคลึงกับระบบรัฐสภาเวสต์มินสเตอร์ ระบบกฎหมายมีพื้นฐานอยู่บนระบบคอมมอนลอว์ ประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์หรือที่เรียกว่ายังดีเปอร์ตวนอากง ทรงได้รับเลือกจากบรรดาเจ้าผู้ครองรัฐในมาเลเซียตะวันตก 9 รัฐ โดยทรงดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ส่วนหัวหน้ารัฐบาลคือนายกรัฐมนตรี", "title": "ประเทศมาเลเซีย" }, { "docid": "1989#15", "text": "ระบอบการปกครองของสิงคโปร์ คือ ระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นางฮาลิมาห์ ยาคอบ[2] เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560 ส่วนนายกรัฐมนตรีคือ นายลี เซียน ลุง ซึ่งรับตำแหน่งต่อจากนายโก๊ะ จ๊กตง และนายลี กวน ยูซึ่งมีฐานะเป็นบิดาของนาย ลี เซียน ลุง สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซียเมื่อปี พ.ศ. 2508 มีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขทางพิธีการ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขทางด้านบริหาร สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมืองมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก เพราะนับแต่ตั้งประเทศเป็นต้นมา มีรัฐบาลที่มาจากพรรคเดียวและเป็นรัฐบาลเสียงข้างมาก และมีการควบคุมสิทธิเสรีภาพของสื่อสารมวลชนและประชาชนในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างค่อนข้างเข้มงวด", "title": "ประเทศสิงคโปร์" }, { "docid": "715777#4", "text": "นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และสิงคโปร์ ได้พบปะหารือเพื่อประชุมเกี่ยวกับโครงการนี้ ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 ทางมาเลเซีย และสิงคโปร์ ได้ประกาศว่า โครงการนี้จะศึกษาเสร็จในปลายปี ค.ศ. 2014 และโครงการนี้จะสำเร็จในปี ค.ศ. 2020", "title": "รถไฟความเร็วสูงกัวลาลัมเปอร์–สิงคโปร์" }, { "docid": "628648#0", "text": "เมนารา เทเลคอม () คือตึกระฟ้าแห่งหนึ่งในกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย สร้างในช่วง พ.ศ. 2542-2544 โดยแดวู คอนสตรัคชั่น ด้วยความสูง 310 เมตร (1,017 ฟุต) 55 ชั้น อาคารถูกเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 โดยนายกรัฐมนตรีคนที่สี่ของมาเลเซีย ดอกเตอร์มหาเธร์ โมฮัมหมัด", "title": "เมนารา เทเลคอม" }, { "docid": "1924#22", "text": "กองทัพไทยกับมาเลเซียมีการฝึกทางทหารระหว่างกันเป็นประจำ ได้แก่ (1) LAND EX THAMAL ซึ่งเป็นการฝึกประจำปีเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2536 (2) THALAY LAUT ซึ่งมีการฝึกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2523 จัดขึ้นทุก 2 ปี โดยไทยกับมาเลเซียสลับกันเป็นเจ้าภาพ (3) SEA EX THAMAL เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2522 มีพื้นที่ฝึกบริเวณพื้นที่ปฏิบัติการร่วมชายแดนทางทะเลระหว่างไทย–มาเลเซียทั้งด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามัน (4) AIR THAMAL เป็นการฝึกการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีตามบริเวณชายแดนไทย–มาเลเซีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 โดยทำการฝึกทุกปี ประกอบด้วยการฝึกภาคสนามสลับกับการฝึกปัญหาที่บังคับการ และสลับกันเป็นเจ้าภาพ และ (5) JCEX THAMAL เป็นการฝึกร่วม/ผสมภายใต้กรอบการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงครามในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ และการช่วยเหลือประชาชน", "title": "ประเทศมาเลเซีย" }, { "docid": "121827#1", "text": "มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด เกิดที่รัฐเกอดะฮ์ (ไทรบุรี) วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของมาเลเซีย ภายใต้พรรครัฐบาลที่เขาจัดตั้งขึ้นรวมระยะเวลาทั้งสิ้น 22 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 จนถึง พ.ศ. 2546 ทำให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในวาระที่นานที่สุดของมาเลเซีย เขาจบคณะแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศมาเลเซีย เมื่อ พ.ศ. 2498 ทำงานเป็นแพทย์ได้ 2 ปี ก่อนลาออกจากราชการ สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่รัฐบ้านเกิด เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ 14 ปี ก่อนที่จะเข้าสู่รัฐสภาในปี พ.ศ. 2507 เขาทำหน้าที่อยู่ระยะนึงก่อนที่จะสูญเสียตำแหน่ง ส.ส ที่บ้านเกิดของเขาเอง หลังจากนั้น มาฮาดีร์ก็ถูกไล่ออกจากพรรคพันธมิตรอัมโนเมื่อ พ.ศ. 2512 เมื่ออับดุล ราซัก ฮุซเซน เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วกลับมาในพรรคอัมโนอีกครั้งหลังจากที่อับดุล ราซัก ฮุซเซน ลาออก และหลังจากนั้นก็ได้รับเลื่อนตำแหน่งให้เป็นรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2519 และต่อมาก็ได้รับเลือกให้เป็นรองนายกรัฐมนตรี และต่อมาในปี พ.ศ. 2524 มาฮาดีร์ก็ได้เข้าพิธีสาบานตนเป็นนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย หลังจากการลาออกของฮุซเซน อน ถือเป็นการเปิดฉากเริ่มต้นการเป็นนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในตำแหน่งที่นานที่สุดของมาเลเซีย", "title": "มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด" }, { "docid": "536923#0", "text": "ประเทศมาเลเซียจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2556 หลังนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556 โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภานิติบัญญัติรัฐ 12 จาก 13 รัฐ (ยกเว้นรัฐซาราวะก์) หลังธรรมเนียมปฏิบัติที่เริ่มตั้งแต่ปี 2547 ให้จัดการเลือกตั้งเหล่านี้พร้อมกัน ", "title": "การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2556" }, { "docid": "149134#4", "text": "1 ปีผ่านไป ของการเป็นจักรพรรดิ พระองค์ได้รับคำแนะนำของเจ้าชายเฟลิกซ์แห่งชวาร์เซ็นเบิร์ก นายกรัฐมนตรีของออสเตรีย ซึ่งแนะนำให้พระองค์ทรงระมัดระวัง ที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งในเวลาเดียวกันนั้นเอง ทหารได้เข้าจับกุมชาวฮังการีกลุ่มหนึ่งซึ่งก่อการกบฏ โดยมุ่งหมายที่จะล้มล้างและโจมตีราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ทำให้พระองค์ทรงได้เผชิญหน้าทำสงครามกับสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์โล อัลเบอร์โตแห่งซาร์ดิเนีย ซึ่งทรงชวนฮังการีมาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย เมื่อจักรพรรดิทรงทราบ พระองค์จึงทรงทำสงครามกับซาร์ดิเนียในสมรภูมิคัสโตซ่า เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2392 ผลของสงครามครั้งนี้คือ ฝ่ายออสเตรียเป็นฝ่ายชนะ และกษัตริย์แห่งซาร์ดิเนียสิ้นพระชนม์ในสมรภูมิรบด้วย เมื่อเสร็จสิ้นสงครามแล้ว พระองค์ก็ยังทรงต้องสะสางปัญหาทั้งหมดในจักรวรรดิ คือ การปฏิวัติในฮังการีเมื่อปีค.ศ. 1848 ซึ่งชาวแม็กยาร์ (ฮังการี) ได้เรียกร้องเอกราชจากออสเตรีย พระองค์จึงทรงเจรจากับผู้นำปฏิวัติให้มั่นใจในระบอบการปกครองของพระองค์ ซึ่งผลจากการเจรจาก็คือ ฮังการียอมสลายการปฏิวัติและจงรักภักดีต่อพระองค์และพระราชวงศ์ แต่ปัญหาใหม่ก็มาคือ ปรัสเซียได้กีดกันออสเตรียไม่ให้ร่วมสมาชิกสหพันธรัฐเยอรมัน (German Ferderation) ซึ่งปรัสเซียเป็นผู้นำ ซึ่งการกีดกันไม่ให้ออสเตรียเป็นสมาชิกนี้ มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของออสเตรียและประเทศอื่นๆด้วย แต่ออสเตรียก็ยังเป็นสมาชิกสมาพันธรัฐเยอรมัน (German Confederation) โดยเมื่อพ.ศ. 2395 เจ้าชายชวาร์เซ็นเบิร์ก นายกรัฐมนตรีออสเตรียถึงแก่อสัญกรรม และไม่มีใครมาดำรงตำแหน่งแทน และไม่สามารถหาคนอื่นมาดำรงตำแหน่งแทนได้ พระองค์จึงทรงเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเสียเอง โดยต่อจากนี้ไปพระองค์จะทรงมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งหมด...", "title": "จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย" }, { "docid": "714526#33", "text": "วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2561 มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด นายกรัฐมนตรีแห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลไทย และแสดงบรรยายพิเศษ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย และตอบคำถามอื่น ๆ จากผู้เข้าร่วมงาน โดยอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินรายการ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถานที่จัดกิจกรรมครั้งนี้และถือเป็นการทำหน้าที่รับรองผู้นำรัฐบาลต่างประเทศครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[24][25]", "title": "หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "763395#0", "text": "กีฬาซีเกมส์ 2017 (พ.ศ. 2560) () เป็นการจัดการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 29 จัดขึ้นโดยมีกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ โดยเป็นการจัดการแข่งขันที่มีนักกีฬาทั้งหมดจาก 11 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เข้าร่วมแข่งขัน จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 19–30 สิงหาคม พ.ศ. 2560 โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 6 ของประเทศมาเลเซีย หลังจากที่เป็นเจ้าภาพในปี 1965, 1971, 1977, 1989 และ 2001 ตามลำดับ ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้เป็นการจัดการแข่งขันในรอบ 16 ปี ของประเทศมาเลเซีย", "title": "ซีเกมส์ 2017" }, { "docid": "1924#1", "text": "มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี พ.ศ. 2489 มาลายาถูกปรับโครงสร้างเป็นสหพันธรัฐมาลายาในปี พ.ศ. 2491 และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 มาลายารวมกับบอร์เนียวเหนือ ซาราวัก และสิงคโปร์เป็นมาเลเซียเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2506 แต่ไม่ถึงสองปีถัดมา คือในปี พ.ศ. 2508 สิงคโปร์ก็ถูกขับออกจากสหพันธ์[1]", "title": "ประเทศมาเลเซีย" }, { "docid": "230811#0", "text": "ดาโต๊ะ ซรี อันวาร์ บิน อิบราฮิม (เกิด 10 สิงหาคม พ.ศ. 2490) เป็นนักการเมืองมาเลเซีย ผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซียตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ถึง 2541 ในการทำงานการเมืองช่วงแรก เขาเป็นพันธมิตรใกล้ชิดของนายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮัมหมัด แต่ภายหลังได้กลายเป็นนักวิจารณ์รัฐบาลมหาเธร์คนสำคัญที่สุด", "title": "อันวาร์ อิบราฮิม" }, { "docid": "351586#0", "text": "ดาติน ปาดูกา ซรี ฮัจจะฮ์ รซมะฮ์ บินตี มันโซร์ (; เกิด: 10 ธันวาคม ค.ศ. 1951) อดีตสตรีหมายเลขหนึ่งของประเทศมาเลเซีย ภรรยาของนาจิบ ราซัก อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศมาเลเซีย", "title": "รซมะฮ์ มันโซร์" }, { "docid": "309050#3", "text": "พระอัยกา Sultan Abdul Hamid Halim Shah มีบุตรหลายคน บุตรชายอีกคนหนึ่งคือ ตนกู อับดุล ราห์มาน (Tunku Abdul Rahman, 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2533) ซึ่งเกิดจากคุณหญิง เนื่อง นนทนาคร ( บุตรีของหลวงบุรานุรักษ์ (เกล็บ นนทะนาคร ) เจ้าเมืองนนทบุรีและหลานพระรามัญนนทเขตต์คดี ( เนียม นนทนาคร ) นายอำเภอปากเกร็ดคนแรก ) ซึ่งเป็นผู้นำการเรียกร้องเอกราช และนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศมาเลเซีย ได้รับยกย่องเป็นบิดาแห่งประเทศมาเลเซียหรือ Bapa of Malaysia ผู้เจรจาให้อังกฤษคืนเอกราชให้มาเลเซีย และเป็นผู้เจรจาให้ชนชาติต่างๆ รวมกันเป็นชาติ ร่วมสร้างประเทศสหพันธ์มลายูด้วยกัน รวมทั้งยังเจรจาให้สุลต่านทั้ง 9 รัฐ สลับกันขึ้นเป็นประมุขของชาติ ", "title": "สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์" } ]
2520
เคียวจูโทคุโซ จัสเปี้ยน มีกี่ตอน?
[ { "docid": "154932#0", "text": "เคียวจูโทคุโซ จัสเปี้ยน หรือ มือปราบสัตว์ประหลาดจัสเปี้ยน () เป็นภาพยนตร์โทคุซัทสึ แนว เมทัลฮีโร ลำดับที่ 4 ออกอากาศเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1985 ถึง 24 มีนาคม ค.ศ. 1986 รวมทั้งสิ้น 46 ตอน", "title": "จิ้งจอกอวกาศจัสเปี้ยน" } ]
[ { "docid": "497806#0", "text": "ขบวนการไดโนเสาร์ไฟฟ้า เคียวริวเจอร์ หรือ จูเดน เซนไท เคียวริวเจอร์ () เป็นภาพยนตร์แนวขบวนการนักสู้ลำดับที่ 37 เริ่มออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 ทางสถานีทีวีอาซาฮี ทุกเช้าวันอาทิตย์ เวลา 7.30 - 8.00 น. ในช่วงซูเปอร์ฮีโร่ ไทม์ มีตอนพิเศษ 4 ตอน ได้แก่ โทคุเมย์ เซนไท โกบัสเตอร์ vs ไคโซคุ เซนไท โกไคเจอร์ THE MOVIE (特命戦隊ゴーバスターズVS海賊戦隊ゴーカイジャー THE MOVIE) , มาสค์ไรเดอร์ x ซูเปอร์เซนไท x ตำรวจอวกาศ ซูเปอร์ฮีโร่ไทเซน Z (仮面ライダー×スーパー戦隊×宇宙刑事 スーパーヒーロー大戦Z) , จูเดน เซนไท เคียวริวเจอร์ กาบุรินโชว OF มิวสิก , จูเดน เซนไท เคียวริวเจอร์ vs โกบัสเตอร์ส ศึกใหญ่ไดโนเสาร์ เพื่อนกันตลอดไป (劇場版-キョウリュウジャーvsゴーバスターズ-恐竜大作戦-さらば永遠の友よ) และ การกลับมาของ จูเดน เซนไท เคียวริวเจอร์ 100 Years After", "title": "ขบวนการไดโนเสาร์ไฟฟ้า เคียวริวเจอร์" }, { "docid": "928221#0", "text": "จูราสสิค เวิลด์ อาณาจักรล่มสลาย () เป็นภาพยนตร์บันเทิงคดีวิทยาศาสตร์แนวผจญภัยจากประเทศสหรัฐอเมริกา ออกฉายในปีพ.ศ. 2561 กำกับโดย J. A. Bayona เป็นภาคต่อของ \"จูราสสิค เวิลด์\" (พ.ศ. 2558) และเป็นภาพยนตร์ลำดับที่ห้าในภาพยนตร์ชุด \"จูราสสิค ปาร์ค\" เขียนบทโดย Derek Connolly และโคลิน เทรวอร์โรว์ (ผู้กำกับภาพยนตร์ \"จูราสสิค เวิลด์\") โดยมีสตีเวน สปีลเบิร์ก (ผู้กำกับภาพยนตร์ \"จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์\") มารับหน้าที่ผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร", "title": "จูราสสิค เวิลด์ อาณาจักรล่มสลาย" }, { "docid": "718576#0", "text": "จูราสสิค เวิลด์ ()  เป็นภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ผจญภัย กำกับโดยโคลิน เทรวอร์โรว์ ออกฉายในกลางปี ค.ศ. 2015 เป็นภาพยนตร์ลำดับที่สี่ในชุด จูราสสิค พาร์ค บทภาพยนตร์เป็นผลงานการเขียนร่วมกันโดยริค แจฟฟา, อแมนดา ซิลเวอร์, ดีเรค คอนนอลลี และเทรวอร์โรว์ นำแสดงโดยคริส แพร็ตต์, ไบรซ์ ดัลลาส โฮเวิร์ด, วินเซนต์ ดิโอโนฟริโอ, ไท ซิมป์สกินส์, นิก รอบินสัน, โอมาร์ ไซ, บี ดี วองและอีร์ฟาน ข่านโดยวองเป็นนักแสดงเพียงคนเดียวที่เคยร่วมแสดงในภาพยนตร์ชุดจูราสสิค พาร์คมาก่อน ในภาพยนตร์เรื่องนี้ สวนสนุกไดโนเสาร์เปิดทำการเต็มรูปแบบบนเกาะอิสลานูบลาร์ (ที่เดียวกับในจูราสสิค พาร์ค ภาคแรก) แต่ก็เกิดเรื่องโกลาหลเมื่อไดโนเสาร์ตัดต่อพันธุกรรมอินดอมินัส เร็กซ์หลุดออกมาและออกอาละวาดไปทั่วสวน", "title": "จูราสสิค เวิลด์" }, { "docid": "753619#0", "text": "จับร็อคซ่าส์มาโชว์เฟี้ยว () เป็นภาพยนตร์ตลกอเมริกัน เขียน ผลิตและกำกับโดยนิโคลัส สตอลเลอร์ และนำแสดงโดยรัสเซลล์ แบรนด์ และโจนาห์ ฮิลล์ ออกฉายในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 2010 เป็นภาคแยกของภาพยนตร๋เรื่อง \"โอ๊ย! หัวใจรุ่งริ่ง โดนทิ้งครับผม\" (2008) ของสตอลเลอร์เช่นกัน เป็นการกลับมารวมตัวกันอีกครั้งระหว่างสตอลเลอร์ ฮิลล์ และแบรนด์ แบรนด์กลับมารับบทอัลดัส สโนว์ จากภาพยนตร์\"โอ๊ย! หัวใจรุ่งริ่ง โดนทิ้งครับผม\" ขณะที่ฮิลล์รับบทตัวละครตัวใหม่ ภาพยนตร์ยังแสดงโดยเอลิซาเบธ มอสส์ โรส เบิร์น ฌอน \"ดิดดี\" โคมส์ และโคล์ม มีนีย์", "title": "จับร็อคซ่าส์มาโชว์เฟี้ยว" }, { "docid": "456776#0", "text": "เอคโค่ จิ๋วก้องโลก () เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันสามมิติ สร้างโดย กันตนา ผลงานกำกับโดย คมภิญญ์ เข็มกำเนิด จากบทภาพยนตร์ของ วรัญญู อุดมกาญจนานนท์ และ คงเดช จาตุรันต์รัศมี เป็นเรื่องราวการผจญภัยของเด็ก 3 คนจาก 2 มุมโลก คือ มหานครนิวซีตี้ แคปิตัลสเตท และจากหมู่บ้านกะเหรี่ยงทางภาคเหนือของประเทศไทย ที่ช่วยกันกอบกู้โลกจากหายนภัยเนื่องจากภาวะโลกร้อน", "title": "เอคโค่ จิ๋วก้องโลก" }, { "docid": "850074#0", "text": "สกูบี้-ดู ผจญภัยไซเบอร์สเปซ () เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันหนังแผ่นแนวนวนิยายการ์ตูนวิทยาศาสตร์ ลึกลับในปี ค.ศ. 2001 และเป็นภาพยนตร์ชุดที่สี่ของซีรีส์ \"สกูบี้-ดู\" โดยมีเรื่องราวเกี่ยวกับวัยรุ่นสี่คน แชกกี, เฟรดดี, แดฟนี, เวลมา และสุนัขพันธุ์เกรตเดนสีน้ำตาล สกูบี้-ดู ที่ถูกดูดเข้าไปในเกมซึ่งอิงจากการไขปริศนาของพวกเขา และจะกลับสู่โลกได้ก็ต่อเมื่อพวกเขาผ่านด่านในเกมทั้งหมด โดยมีไวรัสคอมพิวเตอร์มาขัดขวางในแต่ละด่าน", "title": "สกูบี้-ดู ผจญภัยไซเบอร์สเปซ" }, { "docid": "849360#1", "text": "เนื้อเรื่องเริ่มขึ้นหลังเหตุการณ์ภาคที่แล้วหกปี \"จัสต์คอส 3\" เล่าเกี่ยวกับตัวเอก ริโก โรดริเกซ ขณะเขาเดินทางกลับมาที่ เมดิชี เมืองสมมุติแถบเมดิเตอร์เรเนียน บ้านเกิดของเขา ภายใต้การปกครองของนายพลเซบาสเตียโน ดี ราเบโย ผู้นำเผด็จการ เกมเล่นด้วยมุมมองบุคคลที่สาม และให้ผู้เล่นสำรวจเกาะเมดิชีในสภาพแวดล้อมแบบปลายเปิด", "title": "จัสต์คอส 3" }, { "docid": "73091#10", "text": "\"โค้ด กีอัส อากิโตะผู้ถูกเนรเทศ\" เป็นภาคเสริมแบบฉายโรง มีทั้งหมด 5 ตอน เนื้อเรื่องในภาคนี้อยู่ในระหว่างโค้ดกีอัสในภาคแรกและภาค R2 เป็นเรื่องราวของเด็กหนุ่มชาวญี่ปุ่นนาม ฮีวงะ อากิโตะ ซึ่งเป็นทหารในกองทัพสหพันธ์ยุโรปและทำสงครามกับยูโรบริทาเนีย ในภาคนี้ลูลูชที่สูญเสียความทรงจำได้ปรากฏตัวในชื่อ จูเลียส คิงส์เลย์ เสนาธิการที่จักรพรรดิชาลส์ส่งมาบัญชากองทัพยูโรบริทาเนีย โดยมีซูซาคุในฐานะอัศวินแห่งราวด์คอยตามประกบลูลูช", "title": "โค้ด กีอัส" }, { "docid": "409764#0", "text": "ขบวนการจารชน โกบัสเตอร์ส หรือ โทคุเมย์ เซนไท โกบัสเตอร์ส () เป็นซีรีส์แนวขบวนการนักสู้ลำดับที่ 36 เริ่มออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 ทางสถานีทีวีอาซาฮี ทุกเช้าวันอาทิตย์ เวลา 7.30-8.00 น. ในช่วงซูเปอร์ฮีโร่ ไทม์ มีตอนพิเศษอีก 7 ตอน โดย รูปแบบโรงภาพยนตร์ทั้งหมด 5 ตอน ได่แก่ ขบวนการโจรสลัด โกไคเจอร์ vs. ตำรวจอวกาศเกียบัน , คาเมนไรเดอร์ x ซูเปอร์เซนไท มหาศึกรวมพลังฮีโร่ , ขบวนการจารชน โกบัสเตอร์ส THE MOVIE ปฏิบัติการปกป้องโตเกียวเอเนทาวเวอร์  (特命戦隊ゴーバスターズ THE MOVIE 東京エネタワーを守れ!) , ขบวนการจารชน โกบัสเตอร์ส VS ขบวนการโจรสลัด โกไคเจอร์ THE MOVIE และ คาเมนไรเดอร์ x ซูเปอร์เซนไท x ตำรวจอวกาศ ซูเปอร์ฮีโร่ไทเซน Z (仮面ライダー×スーパー戦隊×宇宙刑事 スーパーヒーロー大戦Z) และ รูปแบบOVA จำนวน 2 ตอน ได้แก่ ขบวนการจารชน โกบัสเตอร์ส vs บีสบัสเตอร์ vs J (特命戦隊ゴーバスターズVSビートバスターVS・J) และ การกลับมาของ ขบวนการจารชน โกบัสเตอร์ส vs ขบวนการสัตว์ป่า โกบัสเตอร์ส (帰ってきた特命戦隊ゴーバスターズ VS 動物戦隊ゴーバスターズ)", "title": "ขบวนการสายลับ โกบัสเตอร์ส" } ]
2717
ใครเป็นผู้ผลิตเกม เมทัลเกียร์ โซลิด 3?
[ { "docid": "39096#0", "text": "เมทัลเกียร์ ([Metal Gear]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help)) เป็นเกมแนวลอบฆ่า ออกแบบโดยฮิเดะโอะ โคะจิมะ พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยบริษัทโคนามิ ออกจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1987 สำหรับเครื่อง MSX2 โดยผู้เล่นจะได้รับบทบาทเป็นโซลิด สเน็ค เจ้าหน้าที่หน่วยรบพิเศษ FOXHOUND ที่ต้องไปสืบหาอาวุธที่มีชื่อว่าเมทัลเกียร์ ซึ่งเป็น \"รถถังเดินได้\" ที่มีความสามารถในยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์", "title": "เมทัลเกียร์" } ]
[ { "docid": "19727#27", "text": "แม้ว่าเอกซ์บอกซ์จะได้รับการสนับสนุนจากบริษัทภายนอกที่แข็งแกร่งตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง แต่เกมเอกซ์บอกซ์ในช่วงต้นจำนวนมากไม่ได้ใช้ฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพจนเต็มที่แม้ว่าจะวางจำหน่ายไปเป็นปี โดยเกมเวอร์ชันเอกซ์บอกซ์ของเกมที่ลงให้กับเครื่องเล่นวิดีโอเกมหลายเครื่องนั้นมักจะมาพร้อมกับการเพิ่มคุณสมบัติเล็กน้อยหรือการปรับปรุงด้านกราฟิกเพื่อแยกความแตกต่างจากเครื่องเพลย์สเตช้น 2 และเกมคิวบ์ ซึ่งทำให้จุดขายหลักของเอกซ์บอกซ์ไม่ได้รับการใส่ใจมาก ในช่วงเวลาสั้น ๆ โซนีโต้กลับเอกซ์บอกซ์ด้วยการรักษาเกมที่เป็นที่รอคอยอย่างมากให้เป็นเกมที่ลงเฉพาะเพลย์สเตชัน 2 ในช่วงเวลาหนึ่งอย่างเกมชุด \"แกรนด์เธฟต์ออโต\" และเกมชุด \"เมทัลเกียร์\" เช่นเดียวกับนินเทนโดที่รักษาเกมชุด \"เรซิเดนต์อีวิล\" ให้เป็นเกมเฉพาะเครื่องเกมคิวบ์ โดยบริษัทภายนอกเด่น ๆ ที่สนับสนุนเอกซ์บอกซ์คือเซก้า ซึ่งประกาศว่ามีเกมจำนวน 11 เกมลงเฉพาะบนเอกซ์บอกซ์ในงาน โตเกียวเกมโชว์ เซก้า วางจำหน่ายเกมเฉพาะ \"เพนเซอร์ดรากูลออต้า\" และ \"เจ็ตเซ็ตเรดิโอฟิวเจอร์\" ซึ่งได้รับคำชมจากนักวิจารณ์", "title": "เอกซ์บอกซ์" }, { "docid": "85470#0", "text": "โซนิคแบทเทิล (; ) เป็นเกมต่อสู้สองมิติสำหรับเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ ผลิตโดยบริษัท Dimps (ภายใต้ชื่อโซนิคทีม) จัดจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาโดย THQ โดยเกมนี้เป็นหนึ่งในเกมชุดโซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก เกมโซนิคแบทเทิ้ลส์ได้นำตัวละครหลักๆจากตระกูลโซนิคมาทั้งหมดซึ่งแต่ละคนจะมีท่าต่อสู้และความสามารถที่ต่างกันออกไป ฉากในเกมจะถูกสร้างมาในแบบกึ่ง 3 มิติ หรือก็คือฉากจะมีความกว้าง,ยาว, สูง เป็นแบบ 3 มิติ สามารถหมุนฉากได้ แต่ไม่อิสระมากนัก", "title": "โซนิคแบทเทิล" }, { "docid": "134773#0", "text": "โซนิดเคอะเฮดจ์ฮ็อก (; ) เป็นเกมแอ็กชั่นแพลทฟอร์ม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเกมชุดโซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก ผลิตโดยโซนิคทีม จำหน่ายโดย เซก้า วางจำหน่ายบนเครื่องเมก้าไดรฟ์ ในช่วงปี ค.ศ. 1991 และได้รับความนิยมอย่างสูงไปทั่วโลก", "title": "โซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก (วิดีโอเกม)" }, { "docid": "911215#38", "text": "สารประกอบฟาร์มาโคฟอร์ออกซาโซลิไดโอนถือเป็นโครงสร้างหลักที่มีความจำเป็นต่อการออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของไลนิโซลิด โดยโครงสร้างของไลนิโซลิดนั้นจะประกอบไปด้วยส่วนของโมเลกุล 1,3-oxazolidin-2-one ที่ม่หมู่แอริล (aryl) ที่ตำแหน่งที่ 3 โดยมีหมู่ S-เมธิลแทนที่อะตอมคาร์บอนในตำแหน่งดังกล่าว ในตำแหน่งที่ 5 จะมีหมู่ฟังก์ชันอื่นมาเกาะอยู่ (R-enantiomer ของยากลุ่มออกซาโซลิไดโอนทั้งหมดนั้นไม่มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย)[100] ทั้งนี้ จากโครงสร้างดังข้างต้น เนื่องจากไลนิโซลิดนั้นมีหมู่ฟังก์ชันหลายชนิดที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้ยา โดยหมู่อะเซตาไมด์ (en) ตรงตำแหน่งหมู่ 5-methyl เป็นตำแหน่งที่ดีที่สุดที่ช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการต้านเชื้อแบคทีเรียของยานี้ และยังคงถูกใช้ในการพัฒนายากลุ่มออกซาโซลิไดโอนชนิดอื่นๆต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหมู่อะเซตาไมด์ออกไปจากตำแหน่งนี้จะทำให้ยาสูญเสียความสามารถในการต้านเชื้อแบคทีเรียลง แต่ก็ยังสามารถออกฤทธิ์ได้เล็กน้อยถึงปานกลางเนื่องจากยังมีคุณสมบัติเป็น Bioisosteres ส่วนอะตอมฟลูออรีน ณ ตำแหน่งที่ 3′ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการต้านเชื้อแบคทีเรียของยาได้เป็น 2 เท่าทั้งการทดลองในมนุษย์ (in vivo) และนอกร่างกายมนุษย์ (in vitro) นอกจากนี้ ตัวให้อิเล็กตรอน (en) อย่างอะตอมไนโตรเจนในวงมอร์โฟลีนจะช่วยคงสภาพความแรง (potency) ของตัวยา รวมไปถึงความปลอดภัยจากการใช้ยานี้ด้วย[29][100]", "title": "ไลนิโซลิด" }, { "docid": "911215#40", "text": "ในปัจจุบัน ไลเนโวลิดนั้นจะมาจากการสังเคราะห์ทั้งหมด เนื่องจากไม่สามารถพบสารประกอบนี้ได้ในธรรมชาติ (ซึ่งต่างจากยาปฏิชีวนะชนิดอื่นๆ) และไม่ได้ถูกพัฒนามาจากโครงสร้างของสารประกอบฟาร์มาโคฟอร์ที่ได้มาจากธรรมชาติ (ซึ่งมักพบในการสังเคราะห์ยาปฏิชีวนะกลุ่มเบตาแลคแตม ซึ่งเป็นยากึ่งสังเคราะห์) โดยการสังเคราะห์ออกซาโซลิไดโอนนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี และช่องทองการสังเคราะห์ไลนิโซลิดนั้นก็มีความหลากหลายมากเช่นเดียวกัน[100][102] ถึงแม้การผลิตไลนิโซลิดออกจำหน่ายในตลาดจะได้รับผลตอบแทนค่อนข้างสูง แต่กระบวนการผลิตแบบดั้งเดิม (ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทอัพจอห์น (Upjohn) เพื่อทดลองผลิตไลนิโซลิดและอีพีเรโซลิด (eperezolid) ผลิตก่อนที่จะผลิตเพื่อจำหน่ายในท้องตลาด) นั้นต้องใช้ระยะเวลาผลิตที่ยาวนาน และสารเคมีตั้งต้นนั้นมีราคาแพง เช่น แพลเลเดียมบนถ่านกัมมันต์ (en), ตัวทำปฏิกิริยาความไวสูงมีเธนซัลโฟนิลคลอไรด์ (en) และ n-butyllithium และการสังเคราะห์จำเป็นต้องทำในสภาพที่มีอุณหภูมิต่ำ[100][102][103] ก้วยเหตุที่กระบวนการสังเคราะห์ไลนิโซลิดนั้นมีต้นทุนที่สูงทำให้ราคายาตามท้องตลาดนั้นอยู่ในระดับที่สูงมากเช่นกัน[103] อย่างไรก็ตาม บริษัทอัพจอห์นสามารถคิดค้นกระบวนการผลิตที่ใช้ระยะเวลาและต้นทุนน้อยลงกว่าวิธีดั้งเดิมสำเร็จ ซึ่งเหมาะสำหรับการผลิตในระดับอุตสาหกรรม และทางบริษัทได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรกระบวนการการผลิตดังกล่าวในปี ค.ศ. 1998[29][104]", "title": "ไลนิโซลิด" }, { "docid": "93508#1", "text": "ด้วยระบบการเล่นในแบบ Steal-Base ที่ชัดเจนมากขึ้นโดยการใช้ระบบพรางตัวของทหาร (Camouflage) ซึ่งอ้างอิงจากข้อมูลจริงๆมาใช้แทนที่ระบบเรดาร์ของเกมภาคก่อน นอกจากนี้ ตัวเกมยังสอดแทรกมุขและอารมณ์ขันต่างๆตามแบบฉบับของฮิเดะโอะ โคะจิมะ ลงในรายละเอียดและบทสนทนาต่าง ๆ เช่นเดียวกับที่เคยปรากฏมาแล้วในภาคก่อน ๆ ทำให้เกมภาคนี้ได้เสียงตอบรับจากผู้เล่นเป็นอย่างดี", "title": "เมทัลเกียร์โซลิด 3: สเนกอีตเตอร์" }, { "docid": "850480#6", "text": "จารชนฝึกหัดมีเวลา 3 นาทีในการไขรหัสและเปิดตู้เซฟ หากมั่นใจก็สามารถเดินออกจากโซนคิดเพื่อมากดรหัสเปิดตู้เซฟได้ โดยเวลาจะหยุดชั่วคราวทุกครั้งที่มีจารชนฝึกหัดท่านใดท่านหนึ่งออกมากดรหัสตู้เซฟ โดยจารชนฝึกหัดแต่ละท่านจะมีสิทธิ์ออกจากโซนคิดมาไขรหัสได้ตามคะแนนที่แต่ละท่านที่สะสมมาจากรอบเลขอันตรายและใบ้ บน บ่อ เช่น มีคะแนนสะสม 4 คะแนน จะมีสิทธิ์ออกจากโซนคิดเพื่อมากดรหัสตู้เซฟได้ 4 ครั้ง เป็นต้น\nจารชนฝึกหัดท่านใดที่สามารถไขรหัสอัจฉริยะได้ถูกต้องและเปิดตู้เซฟได้เป็นคนแรกจะเป็นผู้ชนะ และได้รับตำแหน่งสุดยอดจารชนประจำสัปดาห์ พร้อมทั้งได้รับประกาศนียบัตรที่อยู่ในตู้เซฟไปด้วย ส่วนผู้แข่งขันที่เหลือจะถูกลงโทษโดยการโดนละเลงแป้งจากด้านบนและจะมีสัตว์ประหลาดที่น่ากลัวละเลงแถมมาด้วย แต่ถ้าไม่มีใครสามารถถอดรหัสอัจฉริยะได้ภายในเวลา 3 นาทีหรือภายในจำนวนสิทธิ์ที่มีอยู่ จารชนฝึกหัดที่เข้ารอบทั้งหมดก็จะถูกทางรายการลงโทษและไม่มีใครได้เป็นสุดยอดจารชนประจำสัปดาห์", "title": "เกมจารชน คู่หูอันตราย" }, { "docid": "165997#0", "text": "เมทัลเกียร์โซลิด 2: ซันส์ออฟลิเบอร์ตี เป็นวิดีโอเกม", "title": "เมทัลเกียร์โซลิด 2: ซันส์ออฟลิเบอร์ตี" }, { "docid": "60792#4", "text": "การมาถึงของเครื่องซูเปอร์นินเทนโดก่อให้เกิดการแข่งขันกันระหว่างนินเทนโดและเซก้า ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นสงครามคอนโซลที่ดุเดือดมากที่สุดในประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมเกมคอนโซล เซก้าได้เจาะกลุ่มตลาดวัยรุ่นโดยมุ่งหมายให้เครื่องเมกะไดรฟ์ของตนมีเกมที่เจาะกลุ่มตลาดที่เป็นผู้ใหญ่กว่า และดีไซน์และเน้นความ\"เท่ห์\" ยอดขายของเครื่องซูเปอร์นินเทนโดและเมกะไดรฟ์เสมอกันในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1992 โดยที่ไม่มีใครเป็นผู้นำตลาดอย่างถาวรเป็นเวลาหลายปี จนในที่สุดนินเทนโดก็เป็นผู้ชนะ สามารถครอบครองตลาดเครื่องเกมคอนโซลของประเทศสหรัฐอเมริกาไว้ได้ ", "title": "ซูเปอร์แฟมิคอม" }, { "docid": "165997#3", "text": "สเนคพบว่าเมทัลเกียร์ เรย์ มีอยู่จริง แต่หลังจากส่งภาพถ่ายให้โอตาคอนผ่านทางเครื่องเน็ตเวิร์คแล้ว กองกำลังของผู้การเซอร์กีกลับถูกหักหลังโดยรีวอลเวอร์ โอเซล็อต ซึ่งบัดนี้ได้รับแขนขวาข้างใหม่มาจากศพของลิควิด สเนค ที่เสียชีวิตไปในเหตุการณ์ที่เกาะชาโดว์โมเสส โอเซล็อตสังหารเซอร์กีและกำลังจะยึดเรือ ทันใดนั้นเองเขาก็เกิดอาการประสาทหลอนขึ้น และถูกจิตใจของลิควิดที่ยังหลงเหลืออยู่ควบคุมร่างกายทั้งหมด โอเซล็อตเข้าขับเมทัลเกียร์ เรย์ พังท้องเรือหนีออกมา ปล่อยให้เรือ U.S.S. Discovery จมหายไปในแม่น้ำ ก่อนจะบินหนีไป ส่วนโซลิดสเนคนั้นได้หายสาบสูญไปคนที่ส่งมาเพื่อสืบหา Metal gear ที่เขาสืบมาว่าเก็บไว้ในบางแห่งของ Big shell ร่วมมือ กับ Otacon เหมือนเดิม", "title": "เมทัลเกียร์โซลิด 2: ซันส์ออฟลิเบอร์ตี" }, { "docid": "93508#3", "text": "หลายชั่วโมงต่อมา สเนคได้รับการช่วยเหลือกลับฐานทัพ และถูกสอบสวนอย่างหนักเกี่ยวกับความผิดพลาดในปฏิบัติการนี้ เนื่องจากทางโซเวียตได้กล่าวหาว่าอเมริกาทำการยิงอาวุธนิวเคลียร์เข้าพรมแดนสหภาพโซเวียต ผู้นำโซเวียตในขณะนั้นคือนิกิต้า ครุสเชฟ (Nikita Krushchev) ได้เข้าหารือกับลินดอน จอห์นสัน (Lyndon Johnson) ประธานาธิบดีสหรัฐทันที หลังจากนั้นประมาณหนึ่งสัปดาห์ สเนคถูกส่งกลับเข้าประจำการอีกครั้ง เพื่อปฏิบัติภารกิจยืนยันความบริสุทธิ์ของอเมริกา ภายใต้ชื่อปฏิบัติการเขมือบอสรพิษ (Operation Snake Eater) โดยมีภารกิจหลักที่ต้องทำสามอย่างคือ ทำลายฐานทัพของโวลกิ้นและชาโกฮอด ช่วยเหลือโซโคลอฟ และท้ายสุด สังหารเดอะบอสผู้ทรยศให้จงได้", "title": "เมทัลเกียร์โซลิด 3: สเนกอีตเตอร์" }, { "docid": "411873#0", "text": "เมทัลเกียร์ ไรซิ่ง : รีเวนเจนซ์ (; ) เป็นเกมแอ็คชันลำดับถัดไปในซีรีส์เมทัลเกียร์ พัฒนาโดยแพล็ตตินัมเกมส์ และคุมการผลิตโดยฮิเดะโอะ โคะจิมะ สำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน 3 เพลย์สเตชันวิต้า เอ็กซ์บ็อกซ์ 360 และวินโดวส์ ในช่วงแรกเกมนี้มีการประกาศผู้พัฒนาคือโคะจิมะโปรดักชันส์ ในชื่อว่าเมทัลเกียร์โซลิด:ไรซิง ซึ่งจะเป็นเกมแนวลอบเร้นผสมแอ็คชัน และมีเนื้อหาที่คาบเกี่ยวระหว่างเหตุการณ์ในภาคซันส์ออฟลิเบอร์ตี และกันส์ออฟเดอะเพทริออต ล่าสุดในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2011 ก็ได้มีการแถลงข่าวถึงการเปลี่ยนชื่อเกม เนื้อหาหลัก และเปลี่ยนผู้พัฒนาเป็นแพลตตินัมเกมส์แทน", "title": "Metal Gear Rising: Revengeance" }, { "docid": "97879#14", "text": "นอกจากผลงานที่เกี่ยวกับเกมแพลตฟอร์มและเกมเสริมแล้ว มาริโอยังปรากฏในวิดีโอเกมอื่น ๆ เช่น ไมค์ไทสันสพันช์เอาต์ โดยมาริโอเป็นกรรมการห้ามมวย[39] มาริโอยังปรากฏในฐานะตัวละครที่เล่นได้ในเกม เอ็นบีเอสตรีตวี3[40] และ เอสเอสเอ็กซ์ออนทัวร์[41] ของอิเล็กทรอนิกส์อาร์ตทั้งสองเกม เขาปรากฏตัวอยู่ในภาพวาดในเกมเดอะเลเจนด์ออฟเซลด้า: อะลิงก์ทูเดอะพาสต์ และ เดอะเลเจนด์ออฟเซลด้า: โอคาริน่าออฟไทม์ และในเกม เมทัลเกียร์โซลิด: เดอะทวินสเนคส์ เขาปรากฏตัวเป็นรูปปั้นขนาดเล็ก", "title": "มาริโอ (ตัวละคร)" }, { "docid": "39096#5", "text": "หมวดหมู่:เกมชุดเมทัลเกียร์", "title": "เมทัลเกียร์" }, { "docid": "93508#0", "text": "เมทัลเกียร์ โซลิด 3:สเนค อีทเตอร์ (; ) เป็นเกมภาคต่อชุดที่สาม ในซีรีส์เมทัลเกียร์โซลิด (และนับเป็นภาคต่อชุดที่ห้า ในซีรีส์เมทัลเกียร์) วางจำหน่ายครั้งแรกในปี ค.ศ. 2004 บนเครื่องเพลย์สเตชัน 2 โดยมีฮิเดะโอะ โคะจิมะ เป็นผู้อำนวยการสร้างดังเช่นที่ผ่านมา เนื้อหาภาคนี้ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของซีรีส์ทั้งหมด ในช่วงปี 1964 ซึ่งเป็นยุคของสงครามเย็น เรื่องราวของเน็คเค็ดสเนค (Naked Snake) ซึ่งได้รับคำสั่งให้ช่วยเหลือนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียนามนิโคไล โซโคลอฟ ผู้ออกแบบสร้างเครื่องจักรอันเป็นต้นกำเนิดของเมทัลเกียร์ ก่อนจะได้รับฉายา บิ๊กบอส (Big Boss) นักรบในตำนานซึ่งรวบรวมกองทัพของตนก่อเป็นเหตุการณ์ในเมทัลเกียร์ตั้งแต่ภาคแรก", "title": "เมทัลเกียร์โซลิด 3: สเนกอีตเตอร์" }, { "docid": "301280#13", "text": "ความที่ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม มีกราฟิกลักษณะพิเศษที่เหมาะกับเครื่องวีโดยเฉพาะ อาจทำให้การผลิตเกมนี้สำหรับเครื่องคอนโซลอื่นจำเป็นต้องสร้างเกมนี้ขึ้นมาใหม่อย่างละเอียดสำหรับคอนโซลนั้น ๆ ตามที่ทางผู้ผลิตได้วางแผนไว้ในเบื้องต้น และแคปคอมจะเพิ่มการวัดผลสำรวจถึงกระแสตอบรับที่มีต่อตัวเกมสำหรับระบบวีนี้ด้วย พวกเขาคิดว่าเหล่าเกมเมอร์คงจะลงทุนซื้อ \"อาเขตจอยสติ๊ก\" (จอยโยก) มาใช้เล่นในเกมนี้", "title": "ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส" }, { "docid": "526820#14", "text": "เควิน กิฟฟอร์ด (จาก\"เกมโปร\" และวันอัป.คอม) และ John Szczepaniak (จาก\"เรโทรเกมเมอร์\" และ\"ดิเอสเกพิสต์\") มองว่าเกม \"ชิริว เซนเซน: วอร์ออฟเดอะเดด\" ค.ศ. 1987 พัฒนาโดยฟันแฟกทอรี และจำหน่ายโดยวิกเตอร์มิวสิกอินดัสตรีส์ สำหรับเครื่อง MSX2, PC-88 และพีซีเอนจิน เป็นเกมสยองขวัญเอาชีวิตรอดจริง ๆ เกมแรก เกมออกแบบโดยคัตสึยะ อิวาโมโตะ เป็นเกมแอ็กชันสวมบทบาท เกี่ยวพันกับสาวสมาชิกหน่วย SWAT ชื่อ ไลลา ช่วยผู้รอดชีวิตจากเมืองที่เต็มไปด้วยสัตว์ประหลาด และพาไปหลบภัยในโบสถ์ เกมมีสภาพแวดล้อมแบบเปิดเหมือนเกม\"ดรากอนเควสต์\" และเป็นเกมต่อสู้เรียลไทม์แบบมองจากด้านข้างเหมือน\"\" แต่ \"วอร์ออฟเดอะเดด\" จะแตกต่างจากเกมสวมบทบาทเกมอื่น เนื่องจากเกมมีบรรยากาศมืดและน่าขนลุก ตลอดทั้งการดำเนินเรื่อง กราฟิก และดนตรีประกอบ ตัวละครของผู้เล่นมีกระสุนปืนจำกัด แต่ผู้เล่นสามารถต่อยหรือใช้มีดแทนได้หากกระสุนหมด เกมมีช่องเก็บสิ่งของจำกัด และนำเสนอวัฏจักรกลางวันกลางคืน ผู้เล่นสามารถนอนหลับเพื่อฟื้นฟูพลังชีวิต และจะถูกเก็บเป็นสถิติว่าผู้เล่นรอดชีวิตมาแล้วกี่วัน เนื้อเรื่องต่อมาเกี่ยวพันกับประตูมิติไปสู่อีกโลกหนึ่ง ใน ค.ศ. 1988 \"วอร์ออฟเดอะเดดพาร์ต 2\" สำหรับเครื่อง MSX2 และ PC-88 ทิ้งความเป็นเกมสวมบทบาท เช่น การเผชิญหน้าแบบสุ่ม ออกไปจากภาคก่อน และนำองค์ประกอบแนวแอ็กชันผจญภัยจากเกม\"เมทัลเกียร์\"มาปรับใช้แทน แต่ยังคงเหลือบรรยากาศสยองขวัญแบบภาคก่อนอยู่", "title": "สยองขวัญเอาชีวิตรอด" }, { "docid": "72768#18", "text": "ยูจิ นากะ เคยกล่าวไว้ว่าเคยขอให้นินเทนโดนำโซนิคเข้าไปในเกม ซูเปอร์สแมชบราเธอร์เมเล แต่ไม่สำเร็จเพราะจะเวลาไม่ทันสำหรับวางตลาด แต่ล่าสุดมีการยืนยันจากงานแถงการณ์ของบริษัทนินเทนโดว่า โซนิคจะปรากฏตัวมาเป็นตัวละครเลือกเล่นได้ตัวหนึ่งในเกมซูเปอร์สแมชบราเธอร์บรอวล์บนวีและสามารถเปลี่ยนร่างเป็นซูเปอร์โซนิคได้และนับเป็นตัวละครตัวที่สองจากค่ายอื่นที่มาร่วมในเกมนี้ (ซึ่งคนแรกคือโซลิด สเนค จากเกม เมทัลเกียร์)", "title": "โซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก (ตัวละคร)" }, { "docid": "824788#0", "text": "เมทัลเกียร์ โซลิด 5: เดอะ แฟนท่อมเพน () เป็นวิดีโอเกมแนวแอกชั่นผจญภัย และลอบฆ่าที่พัฒนาโดยโคจิมะโปรดักชันส์ และเผยแพร่โดยโคนามิ เป็นเกมสำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์, เพลย์สเตชัน 3, เพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บอกซ์ 360 และเอกซ์บอกซ์ วัน ตัวเกมวางจำหน่ายในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2015", "title": "เมทัลเกียร์ โซลิด 5: เดอะ แฟนท่อมเพน" }, { "docid": "645645#1", "text": "เกมยุคแรก ๆ บางเกมที่เน้นการลักลอบ คือ \"005\" (1981), \"แคสเซิล วูล์เฟนสไตน์\" (1981), \"อินฟิลเทรเตอร์\" (1986), \"เมทัลเกียร์\" (1987), และ \"\" (1990) เกมแนวนี้ได้รับความนิยมในปี ค.ศ. 1998 จากความสำเร็จกระแสหลักของเกม\"เมทัลเกียร์ซอลิด\" รวมถึง \"\" และ \"\" เท็นชูเป็นเกมแนวลอบฆ่าที่เป็นสามมิติเกมแรก ขณะที่\"เมทัลเกียร์ซอลิด\"ออกจำหน่ายในไม่กี่เดือนต่อมา ทำให้เกมชุดเมทัลเกียร์เปลี่ยนจากเกมที่ไม่โดดเด่นเป็นเกมที่ได้รับคำชมอย่างล้นหลาม มีแฟรนไชส์ที่ให้กำไรจากภาคต่อจำนวนมาก ขณะที่เกม \"ธีฟ\" บุกเบิกเกมแนวลอบฆ่าสามมิติบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ต่อมามีเกมลอบฆ่าออกมามากมาย เช่น \"ฮิตแมน\" และ\"สปลินเตอร์เซลล์\" เกมแนวนี้ในยุคหลังอนุญาตให้ผู้เล่นเลือกระหว่างกลยุทธ์ลอบฆ่าและการเผชิญหน้าโดยตรง หรือผสมกัน", "title": "เกมแนวลอบฆ่า" }, { "docid": "93508#2", "text": "ในช่วงปี 1964 (พ.ศ. 2507) โลกกำลังอยู่ในภาวะวิกฤตการณ์สงครามเย็น ซึ่งเต็มไปด้วยการทำลายล้างโดยอาวุธนิวเคลียร์ ทหารรับจ้างฝีมือดีอย่าง เน็คเค็ด สเนค (Naked Snake) ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียนาม นิโคไล โซโคลอฟ (Nicolai Sokolov) ที่มีส่วนร่วมในการคิดค้นเชโกฮาด (Shagohod) อาวุธนิวเคลียร์รูปแบบใหม่ สเนคได้พบกับโซโคลอฟที่ค่ายทหารในป่าแห่งหนึ่งของสหภาพโซเวียต แต่ขณะที่สเนคกำลังจะนำตัวโซโคลอฟหนีออกมาได้นั้น พันเอกโวลกิ้น (Colonal Volgin และหน่วยคอบบร้า (Cobra Unit) นำโดย เดอะบอส (The Boss) อดีตครูฝึกของสเนค ซึ่งบัดนี้ได้แปรพักตร์ไปเข้าร่วมกับโวลกิ้นแล้ว ได้ชิงตัวโซโคลอฟไปจากสเนค และทำร้ายสเนคจนพลัดตกจากสะพานแขวนลงสู่แม่น้ำเบื้องล่าง ก่อนจะหลบหนีไป โวลกิ้นได้ทำการยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ขนาดเล็กที่นำมาด้วยออกไปตกในบริเวณใกล้เคียง", "title": "เมทัลเกียร์โซลิด 3: สเนกอีตเตอร์" }, { "docid": "824941#1", "text": "โคจิมะเป็นทั้งผู้สร้าง, ผู้กำกับ และผู้เขียนวิดีโอเกมจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงซีรีส์เกมแนวลอบฆ่าอย่าง\"เมทัลเกียร์\" ตลอดจนเกมผจญภัยอย่าง\"สแนชเชอร์\" และ\"โปลิศนอทส์\" นอกจากนี้ เขายังกำกับหรือผลิตเกมในซีรีส์อื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วย\"โซนออฟดิเอนเดอร์\", \"บอกไท\" และ\"\"", "title": "ฮิเดโอะ โคจิมะ" }, { "docid": "112750#2", "text": "เคยมีข่าวลือว่าบ็อลมีโครงการจะสร้างภาพยนตร์เรื่องเมทัลเกียร์โซลิด แต่ไม่นาน ฮิเดโอะ โคจิมะ ก็รีบออกมาประกาศผ่านทางบล็อกของเขาว่าไม่เคยคิดจะทำภาพยนตร์ร่วมกับบ็อล", "title": "อูเวอ บ็อล" }, { "docid": "911215#47", "text": "ในช่วงทศวรรษที่ 1990 บริษัทฟาร์มาเซียแอนด์อัพจอห์น (Pharmacia & Upjohn) ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของไฟเซอร์ ได้เริ่มโครงการวิจัยและพัฒนายากลุ่มออกซาโซลิไดโอนขึ้น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและการออกฤทธิ์ของสารประกอบกลุ่มดังกล่าวนำไปสู่การพัฒนายาในกลุ่มย่อยของอนุพันธ์ออกซาโซลิไดโอนหลากหลายชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรียและความปลอดภัยแตกต่างกัน จนท้ายที่สุดได้สารประกอบสองชนิดที่มีความเหมาะสมที่จะพัฒนาต่อเป็นยาปฏิชีวนะได้ คือ อีพีริโซลิด (en) (ชื่อรหัส PNU-100592) และไลนิโซลิด (PNU-100766).[29][67] ในการพัฒนาช่วงก่อนการทดลองในมนุษย์ ยาทั้งสองชนิดนั้นมีความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการต้านเชื้อแบคทีเรียคล้ายคลึงกัน แต่เมื่อเข้าสู่การวิจัยทางคลินิกในขั้นที่ 1 เพื่อจำแนกความแตกต่างทางด้านเภสัชจลนศาสตร์ของยาทั้งสอง[66][120] พบว่าไลนิโซลิดมีคุณสมบัติด้านเภสัชจลนศาสตร์ที่ดีกว่า คือ มีความถี่ในการบริหารยาเพียงวันละ 2 ครั้ง ขณะที่อีพีริโซลิดนั้นต้องบริหารยาวันละ 3 ครั้งถึงจะมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับไลนิโซลิด ดังนั้นไลนิโซลิดจึงได้รับการพัฒนาต่อในการวิจัยทางคลินิกขั้นต่อไป[29] หลังสิ้นสุดกระบวนศึกษาทางคลินิกต่างๆครบถ้วนแล้ว องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ขึ้นทะเบียนไลนิโซลิดเป็นยาปฏิชีวนะในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2000[121] ตามด้วยบราซิลในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน,[122] สหราชอาณาจักร (มกราคม 2001),[16][67] ญี่ปุ่นและแคนาดา (มีนาคม 2001),[123][124][125] ยุโรป (ตลอดปี 2001),[126] และประเทศอื่นอีกหลายประเทศทั้งในละตินอเมริกาและเอเชีย[124]", "title": "ไลนิโซลิด" }, { "docid": "183715#0", "text": "คอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ท 3 เป็นเกมวางแผนการรบเรียลไทม์ ใน ประกาศเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 พัฒนาโดย อีเอ ลอสแอนเจลิส วางจำหน่ายแพลตฟอล์ม วินโดวส์\nเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551 และวางจำหน่ายในยุโรปเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เวอร์ชันคอนโซล ได้แก่เครื่อง เอกซ์บอกซ์ 360 และ เพลย์สเตชัน 3 ซึ่งในเวอร์ชันของเครื่องเพลย์สเตชัน 3 นั้นวางจำหน่ายช้ากว่าเครื่องอื่นๆ เนื่องจากระบบสถาปัตยกรรมของเครื่องเพลย์สเตชัน 3 ต่างจากเครื่องอื่นๆ ในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552 อีเอได้ประกาศอย่างเป็นทางการสำหรับการวางจำหน่ายของ \"คอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ท 3 - อัลติเมต อิดิชัน\" ซึ่งเวอร์ชันของเครื่องเพลย์สเตชัน 3 โดยจะประกอบไปด้วยโบนัสต่างๆมากมาย มากกว่าในเวอร์ชันของเอกซ์บอกซ์ 360 และ พีซี โดยวางจำหน่ายไปเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552 จากนั้นก็ยังประกาศเวอร์ชันของเครื่องแมคโอเอสอีกด้วย ซึ่งพอร์ตโดย TransGaming และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ทาง อีเอ ลอสแอนเจลิส ได้ประกาศเกมภาคเสริมของ เรดอเลิร์ท 3 โดยใช่ชื่อว่า \"\" โดยวางจำหน่ายสำหรับแพล์ตฟอร์ม วินโดวส์ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 ในรูปแบบดิจิตอลดาวน์โหลด\nเมื่อสหภาพโซเวียตได้เข้าสู่ภาวะวิกฤตใกล้จะล่มสลาย ทำให้ผู้นำแห่งโซเวียตได้ใช้วิธีลับเพื่อให้มีอำนาจเหนือพันธมิตรอีกครั้ง คือการย้อนเวลาไปหาไอน์สไตน์ เพื่อให้เขาเป็นพวกเดียวกันกับโซเวียต แต่ความบังเอิญทำให้ไอน์สไตน์หายไปจากกาลเวลา จึงไม่มีใครสร้างเทคโนโลยีให้แก่พันธมิตร หลังจากได้กลับมาจากการย้อนเวลาทำให้สหภาพโซเวียตกลับมามีอำนาจอีกครั้ง แล้วบุกยึดยุโรปจนเหลือสหราชอาณาจักร ทางด้านพันธมิตรที่ได้ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯคนใหม่เริ่มใช้นโยบายใหม่ในการปราบปรามสหภาพโซเวียต ในขณะเดียวกันก็ได้ผู้เข้าร่วมสงครามนั่นก็คือ จักรวรรดิแห่งแดนอาทิตย์อุทัย ที่ต้องการจะยึดครองโลกและคิดกำจัดทั้งพันธมิตรและสหภาพโซเวียต แล้วใครจะได้เป็นเจ้าโลก สหภาพโซเวียตหรือพันธมิตรหรือจักรวรรดิฯ", "title": "คอมมานด์ &amp; คองเคอร์: เรดอเลิร์ท 3" }, { "docid": "165997#1", "text": "Prologue - Tanker (บทนำ)", "title": "เมทัลเกียร์โซลิด 2: ซันส์ออฟลิเบอร์ตี" }, { "docid": "104595#7", "text": "เหมือนกับ\"โซนิคแอดวานซ์ 2\"และ\"โซนิคพินบอลปาร์ตี้\" ใน\"โซนิคแอดวานซ์\"ได้บรรจุระบบสวนเชาเอาไว้ด้วย ซึ่งสวนเชาในโซนิคแอดวานซ์นี้ทำหน้าที่ส่งเชาระหว่างเกมโซนิคแอดเวนเจอร์และโซนิคแอดเวนเจอร์ 2 บนเกมคิวบ์ โดยสามารถส่งเชาไปให้เกมคิวบ์และส่งกลับให้มาเลี้ยงในเกมบอยแอดวานซ์ได้ อย่างไรก็ตามสวนเชาในเกมบอยแอดวานซ์มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก เช่น เชาจะไม่มีอายุและสามารถเพิ่มค่าสถานะจากผลไม้ได้เท่านั้น (ซึ่งหาซื้อได้โดยการรวบรวมแหวน ซึ่งได้จากการเล่นเกมปกติเมื่อผ่านด่าน แหวนจะถูกรวมอยู่ในสวนเชา รวมทั้งการเล่นมินิเกมด้วย) อย่างไรก็ดีเป้าหมายสำคัญในระบบสวนเชานี้ มีไว้เพื่อให้ผู้เล่นที่เล่นภาคแอดเวนเจอร์ สามารถนำเชาของเขาพกพาออกมาเลี้ยงข้างนอกได้นั่นเอง ซึ่งหลังจากเลี้ยงแล้วพวกเขาก็สามารถนำพวกเชากลับไปใช้เล่นและแข่งขันในภาคแอดแวนเจอร์บนเกมคิวบ์\"โซนิคแอดวานซ์\"ถือว่าเป็นการกลับมาของโซนิคในรูปแบบสองมิติอีกครั้ง (หลังจากห่างหายนานถึง 7 ปี) ซึ่งในภาคนี้ถือได้ว่าเป็นเกมโซนิคเกมใหม่เกมแรกบนเครื่องเกมของนินเทนโด (ซึ่งก่อนหน้านี้คือโซนิคแอดเวนเจอร์เป็นการรีเมค) ซึ่งในอดีตนินเทนโดกับเซก้าเคยแข่งขันกันมาตลอด เกมนี้ได้รับคะแนนวิจารณ์ในด้านบวกและแฟนๆโซนิคก็ยอมรับในตัวเกม ถึงแม้บางคนจะบอกว่าตัวเกมช้าไปหน่อย อย่างไรก็ดีจากความสำเร็จทำให้ทางเซก้ายังคงผลิตเกมโซนิคให้กับเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ต่อไปอีก 4 เกมคือโซนิคแอดวานซ์ 2, โซนิคแอดวานซ์ 3, โซนิคแบทเทิ่ลและโซนิคพินบอลปาร์ตี้", "title": "โซนิคแอดวานซ์" }, { "docid": "165997#2", "text": "หลังจากเหตุการณ์ที่เกาะชาโดว์โมเสส (เหตุการณ์ในMGS ภาคแรก) โซลิดสเนคและโอตาคอนได้ก่อตั้งองค์กรอิสระเพื่อต่อต้านเมทัลเกียร์ขึ้น ปัจจุบัน ปี 2007 ณ สะพานจอร์จ วอชิงตัน เรือ U.S.S.Discovery ซึ่งถูกกลุ่มก่อการร้ายชาวรัสเซียเข้ายึดไว้ ภายใต้การนำของผู้การเซอร์กี เกอร์ลุคโควิช โซลิดสเนคได้รับมอบหมายภารกิจให้แฝงตัวเข้ามาถ่ายภาพยืนยันการมีอยู่ของ Metal Gear Ray ซึ่งเป็นเมทัลเกียร์รุ่นล่าสุดที่กำลังพัฒนาอยู่ และส่งกลับไปหาโอตาคอนเพื่อทำการเผยแพร่สู่สาธารณชนต่อไป สเนคได้ปะทะกับออลก้า บุตรสาวของผู้การเซอร์กี ซึ่งยืนยันจะเข้าร่วมกองกำลังแม้ว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่ก็ตาม สเนคเอาชนะได้เธอได้โดยการยิงปืนยาสลบใส่ และลักลอบเข้าสู่ท้องเรือได้สำเร็จ", "title": "เมทัลเกียร์โซลิด 2: ซันส์ออฟลิเบอร์ตี" }, { "docid": "555664#2", "text": "\"อาร์บีไอเบสบอล\" เป็นเกมคอนโซลชุดแรกที่ได้รับการอนุญาตจากสมาคมผู้เล่นเมเจอร์ลีกเบสบอล (เอ็มแอลบีพีเอ) และได้ใช้ชื่อผู้เล่นเอ็มแอลบีที่มีอยู่จริง ซึ่งแตกต่างจากวิดีโอเกมเบสบอลอื่น ๆ ที่มีอยู่ในช่วงปลายยุค 1980 อย่างไรก็ตาม เกมนี้ไม่ได้รับลิขสิทธิ์ชื่อทีมจากเมเจอร์ลีกเบสบอล (เอ็มแอลบี) สำหรับใช้ในเกม และด้วยเหตุนี้จึงไม่ได้ใช้ชื่อของทีมหรือโลโก้ หากแต่สิ่งที่ใช้แทนคือรายชื่อของ 8 ทีมที่เป็นชื่อเมืองเท่านั้น ซึ่งได้แก่: บอสตัน, แคลิฟอร์เนีย, ดีทรอยต์, ฮิวสตัน, มินนิโซตา, นิวยอร์ก, เซนต์หลุยส์ และซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นเมืองต้นสังกัดตรงตามชีวิตจริงของพวกเขา โดยคล้ายกับเมเจอร์ลีกเบสบอลตามทีมที่ได้อันดับต้น ๆ ของในแต่ละดิวิชันในฤดูกาล 1986 (บอสตัน, แคลิฟอร์เนีย, ฮิวสตัน, นิวยอร์ก) และ 1987 (ดีทรอยต์, มินนิโซตา, เซนต์หลุยส์, ซานฟรานซิสโก) เกมนี้ยังได้อวดสองทีมลีกออลสตาร์ ทั้งจากอเมริกันลีกและเนชันแนลลีก โดยทั้งสองรายการได้มีการปรากฏตัวของนักเบสบอลผู้มากด้วยประสบการณ์ ดังเช่น จอร์จ เบรตต์, เดล เมอร์ฟี และอังเดร ดอว์สัน ซึ่งไม่มีใครปรากฏตัวขึ้นในอีกแปดทีม รวมถึงผู้เล่นที่จะมีชื่อเสียงในอนาคตอย่างมาร์ค แมคไกวร์, อันเดรส กาลาร์รากา, เควิน ไซท์เซอร์ และโคเซ กังเซโก", "title": "อาร์บีไอเบสบอล" } ]
3016
สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆใช่หรือไม่?
[ { "docid": "40830#2", "text": "สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย", "title": "วันเข้าพรรษา" } ]
[ { "docid": "96473#1", "text": "วัดหนองปล้อง เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนพื้นที่เนินเขาเตี้ย ๆ ห่างจากหนองน้ำประจำหมู่บ้านประมาณ 300 เมตร หนองน้ำนั้นชาวบ้านได้เรียกชื่อว่า “หนองปล้อง” เพราะว่ามีหญ้าปล้องขึ้นเต็มหนองน้ำนั้น ต่อมามีผู้คนมาอยู่อาศัย ทำมาหากิน และอยู่กันเป็นปึกแผ่น ได้รวมตัวกันตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นมา และเอาชื่อหนองน้ำนั้นเป็นชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านหนองปล้อง” จนถึงทุกวันนี้ และชาวบ้านมี ความเห็นรวมกันว่าควรมีที่สะดวกในการบำเพ็ญกุศลใกล้ ๆ หมู่บ้าน จึงจัดการก่อสร้างที่พักสงฆ์ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2523 บนเนินเขาเตี้ยใกล้หมู่บ้าน และได้นิมนต์พระสงฆ์มาจำพรรษาฉลองศรัทธาชาวบ้าน โดยเรียกชื่อที่พักสงฆ์นี้ว่าที่พักสงฆ์พุทธสุวรรณหงษ์บรรพต หลังจากนั้นมาก็มีพระสงฆ์จำพรรษา ตลอดมามิได้ขาดทุกปี ภายหลังชาวบ้านมีความเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรตั้งชื่อที่พักสงฆ์เสียใหม่ว่า ที่พักสงฆ์หนองปล้อง ให้สอดคล้องกับหมู่บ้าน ต่อมานายสมคิด แย้มนุช (ผู้ใหญ่บ้าน) และ แม่ชีกิมลี้ อักษรนิติ (ผู้อุปถัมภ์วัด) พร้อมด้วยชาวบ้านได้พิจารณาว่า ที่พักสงฆ์หนองปล้องนั้นยังไม่เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย จึงให้ นายสมคิด แย้มนุช ทำเรื่องขออนุญาตสร้างวัด และได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2533 แล้วได้ไปนิมนต์พระสมศักดิ์ สิรินฺธโร จากจากวัดป่าคา ตำบลประดู่ยืน อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี มาจำพรรษาพร้อมทั้งปกครองวัดนี้ (นิมนต์มาเมื่อปี พ.ศ. 2530) และได้ก่อสร้างเสนาสนะเรื่อยมา หลังจากได้รับอนุญาตให้สร้างวัดแล้ว ต่อมาได้ดำเนินการขอตั้งวัดในพระพุทธศาสนา ซึ่งได้รับประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนา มีนามว่า “วัดหนองปล้อง” เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2541", "title": "วัดหนองปล้อง" }, { "docid": "40830#22", "text": "เมื่อถึงวันเข้าพรรษา ส่วนใหญ่พระสงฆ์จะลงประกอบพิธีอธิษฐานจำพรรษาหลังสวดมนต์ทำวัตรเย็นเป็นพิธีเฉพาะของพระสงฆ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะลงประกอบพิธี ณ อุโบสถ หรือสถานที่ใดตามแต่จะสมควรภายในอาวาสที่จะจำพรรษา โดยเมื่อทำวัตรเย็นประจำวันเสร็จแล้วเจ้าอาวาสจะประกาศเรื่อง วัสสูปนายิกา คือการกำหนดบอกให้ให้พระสงฆ์ทั้งปวงรู้ถึงข้อกำหนดในการเข้าพรรษา[14] โดยมีสาระสำคัญดังนี้", "title": "วันเข้าพรรษา" }, { "docid": "266473#3", "text": "โมเนยยปฏิบัตินั้น หากประพฤติอย่างต่อเนื่อง โดยปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์ ผู้ปฏิบัติก็จะคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้เพียง 7 เดือน ถ้าปฏิบัติเป็นมัชฌิมะปานกลาง ก็จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ 7 ปี ถ้าปฏิบัติเป็นมันทะ คือ อย่างอ่อน ก็คงจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้นานถึง 16 ปี แต่โมเนยยปฏิบัติเป็นวัตรปฏิบัติพิเศษที่ไม่ทรงบังคับ แต่ตรัสเตือนไว้ว่าถ้าประพฤติต่อเนื่องโดยไม่หยุดพักเลยมากเกินไปจะเสียชีวิตได้ จึงควรหยุดพักเพื่อฟื้นฟูร่างกาย อย่าโหมเดินทางจาริกเกินไป แต่ก็เป็นข้อวัตรปฏิบัติสำคัญในการขัดเกลากิเลส และเป็นการอนุเคราะสัตว์โลก ถึงขนาดว่าในเรื่องโกลาหล 5 มีโมเนยยปฏิบัติอยู่ด้วย เพราะเพียงเทวดาได้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าจะตรัสบอกโมเนยยปฏิบัติในอีก 7 ปีข้างหน้า สวรรค์ถึงกับโกลาหล เพราะโมเนยยปฏิบัติเป็นวัตรปฏิบัติพิเศษที่กำหนดให้พระภิกษุต้องออกเดินทางไปในที่ต่างๆ ทำให้คนมีโอกาสทำบุญมากมายจนมาเกิดเป็นเทวดาได้มากมาย โมเนยยปฏิบัติเมื่อเริ่มตั้งใจอธิษฐานฝึกแล้วจะรับบิณฑบาตจากสถานที่ใดก็รับที่นั้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ไม่อาจจะรับครั้งที่สองอีก, เทศนาให้ใครฟังจะไม่เทศน์ในสถานที่นั้นฟังซ้ำอีกเป็นครั้งที่สอง เพราะต้องเดินทางเปลี่ยนสถานที่ต่อไป, ไปพักใต้โคนไม้ที่ไหน หรือกุฏิไหนก็พักได้แค่คืนเดียว จะไม่หวนกลับมาพักครั้งที่สองอีก ฯลฯ ประพฤติแบบนี้ไปตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นจึงต้องสัญจรเร่ร่อนไปเรื่อยๆ และกลับมาซ้ำที่เดิมอีกก็ไม่ได้, พระเจ้าอโศกมหาราช องค์ที่ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 3 ในอินเดีย (ของฝ่ายเถรวาท) เมื่อ พ.ศ. 235 นั้น พระองค์ท่านทรงพอพระทัยและตรัสสรรเสริญวิธีการฝึกแบบโมเนยยะนี้มากที่สุด ถึงกับมีพระราชโองการออกมาว่า พระภิกษุสงฆ์ในศาสนาพุทธควรจะประพฤติตนตามหลักการแห่งโมเนยยปฏิปทานี้.", "title": "พระนาลกะ" }, { "docid": "215826#1", "text": "มีตำนานเล่าสืบกันมาว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาที่ดอยสะแล่งแก้วดอนมูล หรือดอยสะแล่งหลวง เจ้าเมืองและชาวบ้าน ต่างพากันไปถวายบิณฑบาตแก่พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์สาวก เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยพระกระยาหารแล้ว ชายาเจ้าเมืองได้ถวายดอกสะแล่งดอกไม้ป่าชนิดหนึ่ง มีดอกสีขาวนวลเป็นพุทธบูชา พระพุทธเจ้าทรงรับและอนุโมทนา แล้วทรงมีพุทธฎีกาพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล สถานที่แห่งนี้จะเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุของพระองค์ และสถานที่แห่งนี้จะมีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป จากการที่ชายาเจ้าเมืองถวายดอกสะแล่งเป็นพุทธบูชา และดอยแห่งนี้มีต้นสะแล่งอยู่ วัดนี้จึงมีชื่อว่า \"วัดสะแล่ง\"\nประวัติความเป็นมา\nเมื่อครั้งพระนางจามเทวีได้เสด็จมาครองเมืองหริภุญชัย ขบวนเสด็จได้ผ่านเมืองกุกกุฏไก่เอิก(อำเภอลอง อำเภอวังชิ้น และบางส่วนของอำเภอเด่นชัยในปัจจุบัน) ได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ ต่อมาได้มีการบูรณะปรับปรุง เปลี่ยนแปลงวัดมาหลายยุคสมัย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2506 พระครูวิจิตรนวการโกศล (ครูบาสมจิต จิตฺตคุตโต) พร้อมด้วยพระครูสีลสังวราภิรัต (ครูบามิ่ง จิตฺตสํวโร) ขณะยังนั้นเป็นสามเณรมิ่ง เต็มใจ ได้เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์ ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2527 ได้รับประกาศให้วัดสะแล่งพ้นจากวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์ วัดสะแล่งได้แบ่งเขตวัดเป็นเขตพุทธาวาสเก่าและเขตพุทธาวาสใหม่ ซึ่งมีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อยู่เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันจึงได้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์วัดสะแล่ง\" ขึ้นมาทางด้านหลังของวัดมีเรือนรับรองอาคันตุกะ บ่อน้ำพุร้อน สถานที่อาบน้ำแร่ ลานกีฬา ไว้สำหรับบริการ ประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ ทางเนินเขาด้านหลังวัด (ดอยโป่งมื่น) ยังมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ สวนสมุนไพร และเสนาสนะต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก วัดสะแล่งจึงเป็นทั้งพุทธสถานและแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งของจังหวัดแพร่", "title": "วัดสะแล่ง" }, { "docid": "40830#21", "text": "การเข้าจำพรรษาคือการตั้งใจเพื่ออยู่จำ ณ อาวาสใดอาวาสหนึ่งหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเป็นประจำตลอดพรรษา 3 เดือน[12] ดังนั้นก่อนเข้าจำพรรษาพระสงฆ์ในวัดจะเตรียมตัวโดยการซ่อมแซมเสนาสนะปัดกวาดเช็ดถูให้เรียบร้อยก่อนถึงวันเข้าพรรษา[13]", "title": "วันเข้าพรรษา" }, { "docid": "40830#23", "text": "แจ้งให้ทราบเรื่องการเข้าจำพรรษาแก่พระสงฆ์ในอาราม แสดงความเป็นมาและเนื้อหาของวัสสูปนายิกาตามพระวินัยปิฏก กำหนดบอกอาณาเขตของวัด ที่พระสงฆ์จะรักษาอรุณ หรือรักษาพรรษาให้ชัดเจน (รักษาอรุณคือต้องอยู่ในอาวาสที่กำหนดก่อนอรุณขึ้น จึงจะไม่ขาดพรรษา) หากมีภิกษุผู้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ก็ทำการสมมุติเสนาสนคาหาปกะ (เจ้าหน้าที่สงฆ์) เพื่อให้เป็นผู้กำหนดให้พระสงฆ์รูปใดจำพรรษา ณ สถานที่ใดในวัด", "title": "วันเข้าพรรษา" }, { "docid": "687068#1", "text": "พันธกิจทางพระพุทธศาสนาประการหนึ่ง คือการให้การสงเคราะห์แก่ประชาชน ตามหลักสังหวัตถุ การจัดการศึกษาถือว่าเป็นการะงานหนึ่งในการบริการสงคมของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จึงถือเป็นภาระงานร่วม ที่มีการดำเนินการจัดการศึกษาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน พระภิกษุ ตั้งแต่ระดับเจ้าอาวาส ผู้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียน หรือมอบที่ดิน หรืออนุญาตให้ใช้ที่ดินของวัดเพื่อการจัดตั้งโรงเรียน ทั้งในส่วนที่เป็นโรงเรียนวัด (ภายใต้การบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐ) และจัดตั้งโรงเรียนการกุศลที่สังกัดการศึกษาเอกชน บริหารงานโดยคณะสงฆ์ และรัฐเป็นผู้ให้การอุปถัมภ์ และสนับสนุน ดังนั้นโรงเรียนการกุศลของวัดจึงถูกจัดเป็นภาระงานหนึ่งของคณะสงฆ์ในการ ให้การสงเคราะห์สังคม และประชาชน เป็นสถานศึกษาของพระพุทธศาสนา เป็นโรงเรียนของพระพุทธเจ้าดังคำที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มาเป็นประธานประกอบพิธีเปิดการสัมมนาโรงเรียนการกุศลของวัด ณ โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์ อ.เมือง จ.ลพบุรี เมื่อวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา \"โรงเรียนการกุศลของวัด เป็นโรงเรียนของพระพุทธเจ้า นักเรียนทุกคนจึงเป็นลูกของพระพุทธเจ้า มีพระเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า ที่นำคำสอนสู่นักเรียน ยิ่งนักเรียนมีความเข้าเรื่องหลักธรรม นำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามากใช้เท่าไร จะนำมาซึ่งความมั่นคงของสถาบันหลักทั้ง 3 สถาบัน ไม่เฉพาะแต่สถาบันพระพุทธศาสนาเท่านั้น ทำอย่างไรโรงเรียนการกุศลของวัดที่มีอยู่เกือบ 100 แห่ง จะประสานการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน ภายใต้แนวความคิดที่ว่า โรงเรียนการกุศลของวัด เป็นโรงเรียนของพระพุทธเจ้า\" [1]", "title": "โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา" }, { "docid": "48108#45", "text": "ธรรมเมกขสถูป สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาและประกาศส่งพระสาวกไปเผยแพร่พระศาสนา ยสสถูป สถานที่พระพุทธเจ้าทรงพบท่านยสะ ซึ่งต่อมาได้บรรลุเป็นพระอรหันตสาวกองค์ที่ 6 ในโลก[31] รากฐานธรรมราชิกสถูป สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงอนัตตลักขณะสูตร และสถานที่เคยประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระมูลคันธกุฏี พระคันธกุฏีที่ประทับจำพรรษาของพระพุทธองค์ในพรรษาแรก[32] ซากเสาพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งหักเป็น 5 ท่อน ในอดีตเสานี้เคยมีความสูงถึง 70 ฟุต และบนยอดเสามีรูปสิงห์ 4 หัวอีกด้วย ปัจจุบันสิงห์ 4 หัว ได้เหลือรอดจากการทำลายและรัฐบาลอินเดียได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สารนาถ โดยสิงห์ 4 หัวนี้ ได้ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศอินเดีย และข้อความจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชที่จารึกไว้ใต้รูปสิงห์ดังกล่าวคือ \"สตฺยเมว ชยเต\" (เทวนาครี: सत्यमेव जयते) หมายถึง \"ความจริงชนะทุกสิ่ง\"[33]) และได้ถูกนำมาเป็นคำขวัญประจำชาติของประเทศอินเดียอีกด้วย", "title": "สังเวชนียสถาน" }, { "docid": "32647#41", "text": "ธรรมเมกขสถูป สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาและประกาศส่งพระสาวกไปเผยแพร่พระศาสนา ยสสถูป สถานที่พระพุทธเจ้าทรงพบท่านยสะ ซึ่งต่อมาได้บรรลุเป็นพระอรหันตสาวกองค์ที่ 6 ในโลก[39] รากฐานธรรมราชิกสถูป สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงอนัตตลักขณะสูตร และสถานที่เคยประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระมูลคันธกุฏี พระคันธกุฏีที่ประทับจำพรรษาของพระพุทธองค์ในพรรษาแรก[40] ซากเสาพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งหักเป็น 5 ท่อน ในอดีตเสานี้เคยมีความสูงถึง 70 ฟุต และบนยอดเสามีรูปสิงห์ 4 หัวอีกด้วย ปัจจุบันสิงห์ 4 หัว ได้เหลือรอดจากการทำลายและรัฐบาลอินเดียได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สารนาถ โดยสิงห์ 4 หัวนี้ ได้ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศอินเดีย และข้อความจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชที่จารึกไว้ใต้รูปสิงห์ดังกล่าวคือ \"สตฺยเมว ชยเต\" (เทวนาครี: सत्यमेव जयते) หมายถึง \"ความจริงชนะทุกสิ่ง\"[41]) และได้ถูกนำมาเป็นคำขวัญประจำชาติของประเทศอินเดียอีกด้วย", "title": "วันอาสาฬหบูชา" }, { "docid": "657144#10", "text": "เนื่องจากความที่ท่านเป็นผู้ชอบแสวงหา และเป็นผู้ใฝ่ในความรู้จึงเกิดความคิดที่จะออกแสวงหาพระอาจารย์ ผู้ที่จะประสิทธิ์ประสาทความรู้ต่อไปอีก ในพรรษาที่ ๕ จึงได้ออกเดินทางธุดงค์ ไปตามสถานที่ต่าง ๆ จึงเดินทางไปหาหลวงพ่อแก้ว วัดหัวนา จังหวัดเพชรบุรี ได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์ เพื่อขอเรียนธรรมปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน และวิชาอาคมต่าง ๆ และหลวงพ่อแก้ว มีจิตเมตตา สั่งสอนวิชาอาคมต่าง ๆ และยังได้แนะนำให้ฝากตัวเป็นศิษย์กับ หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งในขณะนั้นหลวงปู่บุดดา ได้ปฏิบัติเจริญสมณะธรรม อยู่ที่วัดบุญทวี ถ้ำแกลบ ตำบลธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี และได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบุญทวี ถ้ำแกลบ หลังจากการปฏิบัติธรรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน กับหลวงปู่บุดดา แล้วได้ออกเดินทางธุดงค์ ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้เข้าไปนมัสการ ขอฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อสงฆ์ วัดแก้วฟ้าศาลาลอย จังหวัดชุมพร ในขณะที่หลวงพ่อสงฆ์ เดินธุดงค์มาปฏิบัติธรรมที่เขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งหลวงพ่อสงฆ์นั้น เป็นพระเกจิชื่อดังของภาคใต้รูปหนึ่ง ซึ่งมีวิชาอาคมสูง จากนั้นหลวงพ่อหวล ก็ได้ออกธุดงค์ไปสถานที่สำคัญต่าง ๆ ของพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย หรือ พม่า ลาว จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๔ จึงได้เดินทางกลับมาที่วัดชาวเหนือบ้านเกิดอีกครั้ง พร้อมกับได้ทำการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ และพัฒนาวัดเรื่อยมา ตลอดเวลาที่หลวงพ่อท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดชาวเหนือนั้นได้มีโอกาสเล่าเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติมจาก หลวงพ่อสาย เกจิอาจารย์ชื่อดัง วัดหนองสองห้อง อำเภอบ้านแพร้ว จังหวัดสมุทรสาคร และได้นำวิชาความรู้ต่างๆ ที่สมารถนำมาช่วยเหลือ พุทธศาสนิกชนทุกคนทุกท่านตลอดมา", "title": "วัดชาวเหนือ" }, { "docid": "975264#101", "text": "ด้วยเหตุดังกล่าว สถานที่นี้จึงได้ชื่อต่อมาว่า เมืองฮอด และได้มีการหยุดประทับแรมกันเป็นครั้งสุดท้ายที่ท่าเชียงทองนั้นเอง พระนางจามเทวีทรงมีพระดำริว่าแม้จะใกล้ชานเมืองลำพูนแล้ว แต่ก็ควรจะหยุดพักกระบวนเรือและตั้งเวียงเล็กขึ้นบริเวณนอกเมืองเสียก่อน ไม่ควรรีบร้อนเข้าไปในเมือง จากนั้นทรงปรึกษากับข้าราชบริพารทั้งหลายเพื่อกำหนดสถานที่ตั้งค่ายประทับ แรม โหราจารย์ได้ถวายความเห็นให้ทรงเสี่ยงธนูดูตามประเพณีที่มีมาแต่ก่อน จึงโปรดฯ ให้กระทำดังนั้น ปรากฏว่านายขมังธนูน้าวคันศรส่งลูกธนูไปทางทิศเหนือด้วยกำลังแรง ลูกธนูไปตกอยู่ ณ สถานที่แห่งหนึ่งเป็นชัยภูมิอันเหมาะสม พระสงฆ์ทั้งหลายจึงเจริญพระพรว่าพระนางควรจะหยั่งรากพระศาสนาลง ณ ที่นั้นเป็นเบื้องแรก พระนางจึงโปรดฯ ให้ก่อพระอารามขึ้น พร้อมด้วยพระมหาเจดีย์ยังจุดที่ลูกธนูตก และยังโปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปเท่าพระองค์บรรจุพระบรมธาตุประดิษฐานไว้ในพระอารามตามที่ บรรดาพระเถระทั้ง ๕๐๐ ได้ถวายพระพร พระมหาเจดีย์นั้นปัจจุบันอยู่ในวัดละโว้ ส่วนพระพุทธรูปนั้นต่อมาก็มีปาฏิหาริย์ศักดิ์สิทธิ์ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ คนทั้งหลายจึงเรียกว่า “พระยา” มาจนทุกวันนี้", "title": "ฤๅษีวาสุเทพ" }, { "docid": "657124#1", "text": "วัดโขลงสุวรรณคีรี ตั้งเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ หลวงพ่อธรรม สิริจนฺโท ได้ไปสร้างที่พักสงฆ์ มูลดินลักษณะคล้ายภูเขาขนาดย่อม (ปัจจุบันคือโบราณสถานสมัยทวาราวดี หมายเลข ๑๘) สภาพเดิมมีต้นไม้ขึ้นปกคลุม รกทึบ มีพระพุทธรูปหินแดง ๓ องค์ ประดิษฐานอยู่บนแท่นปูน มีเสาไม้แก่นเก่าๆ ไม่มีหลังคา ชาวบ้านเรียกสถานนี้ว่า “วัดโขลง” มาแต่เดิม พระพุทธรูป ๓ องค์ นี้สัณฐานตามพุทธลักษณะแล้วอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น จึงสันนิษฐานว่า “วัดโขลง” น่าจะเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นด้วยเช่นกัน แต่ตอนที่หลวงพ่อธรรมไปสร้างที่พักสงฆ์นั้น มีพระพุทธรูปเหลือเพียงองค์เดียว ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อแดง” หลังจากหลวงพ่อธรรม สิริจนฺโท ได้สร้างที่พักสงฆ์ และจำพรรษาอยู่ที่วัดโขลงสุวรรณคีรีแล้วจึงได้มีพระสงฆ์มาจำพรรษาเพิ่มขึ้น จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๐๔ กรมศิลปากร ได้ค้นพบโบราณสถานบ้านคูบัว จึงได้ดำเนินการขุดแต่ง และบูรณะโบราณสถานบ้านคูบัวทั้งหมด หลวงพ่อธรรม พร้อมด้วยชาวบ้านจึงได้เคลื่อนย้ายสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งตั้งอยู่บนมูลดินซาก โบราณสถานลงมาปลูกบนพื้นราบรอบๆ โบราณสถาน พร้อมได้เคลื่อนย้าย “หลวงพ่อแดง” ลงมาประดิษฐานไว้ในวิหาร วัดได้เจริญขึ้นตามลำดับมีสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้น หลวงพ่อธรรม สิริจนฺโท ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระครูเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท ที่ “พระครูสิริธรรมาภิรักษ์” จนถึง พ.ศ. ๒๕๓๔ ท่านได้มรณภาพ ต่อจากนั้นเจ้าคณะจังหวัดราชบุรีได้แต่งตั้ง “พระครูสิทธิวชิราธร” เป็นเจ้าอาวาสวัดโขลงสุวรรณคีรี ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากวัดนี้เป็นวัดร้างมาก่อน โดยมาเริ่มฟื้นฟูเป็นที่พักสงฆ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งอายุของวัดนับได้เพียง ๕๙ ปีเท่านั้น กอปรกับสถานที่ตั้งวัดอยู่ห่างจากหมู่บ้าน ทำให้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัดไม่อยู่ในสภาพที่ถาวรและสวยงามเท่าที่ควร แต่ชาวบ้านต่างก็ภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยอนุรักษ์ ดูแลโบราณสถานสำคัญ คือ โบราณสถานสมัยทวาราวดี ทางวัดได้มอบที่ดินของวัดส่วนหนึ่งใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน โดยประชาชนชาวคูบัวร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรีร่วมกันก่อสร้าง", "title": "วัดโขลงสุวรรณคีรี" }, { "docid": "384217#2", "text": "ประวัติการสร้างวัดเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการตั้งถิ่นฐานของชาวพุทธ ประมาณ 200 ครัวเรือน ณ บ้านปากน้ำ ในปี พ.ศ. 2430 ชาวบ้านได้สร้างพำนักสงฆ์ขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา เรียกว่า “พำนักสงฆ์ปากน้ำ” เมื่อมีพระสงฆ์มาจำพรรษามากขึ้น จึงสร้างศาลา และกุฏิเพิ่มขึ้นตามลำดับ ให้พระสงฆ์มีที่จำพรรษา และได้ขนานนามว่า \"วัดแก้วโกรวาราม\" ในเวลาต่อมา", "title": "วัดแก้วโกรวาราม" }, { "docid": "40830#8", "text": "ต่อมาเมื่อมีพระสงฆ์มากขึ้น และด้วยพระพุทธจริยาที่พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงบัญญัติพระวินัยล่วงหน้า ทำให้พระพุทธเจ้าจึงไม่ได้ทรงบัญญัติเรื่องให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษาไว้ด้วย จึงเกิดเหตุการณ์กลุ่มพระสงฆ์ฉัพพัคคีย์พากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่าง ๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ทำให้ชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง เป็นเวลา 3 เดือนดังกล่าว[5]", "title": "วันเข้าพรรษา" }, { "docid": "40830#0", "text": "วันเข้าพรรษา (Pali: วสฺส, Sanskrit: วรฺษ, English: Vassa, เขมร: វស្សា, พม่า: ဝါဆို) เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่งที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดระยะเวลา 3 เดือนตามที่พระวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือภาษาปากว่า จำพรรษา (\"พรรษา\" แปลว่า ฤดูฝน, \"จำ\" แปลว่า พักอยู่) การเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง พระสงฆ์จะไม่จำพรรษาไม่ได้ เนื่องจากรูปใดไม่จำพรรษาถือว่าต้องอาบัติทุกกฏตามพระวินัย[1] การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา", "title": "วันเข้าพรรษา" }, { "docid": "718510#9", "text": "การเกิดเหตุอัศจรรย์ดังกล่าวทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันของชาวเมืองและขุนนางข้าราชการไปต่างๆ นานา บ้างก็ว่าเป็นอาเพศบ้านเมืองจะทุกข์ร้อน บ้างก็ว่าเป็นลางบอกเหตุว่าพระเสริมต้องการเสด็จไปวัดอื่น บ้างก็ว่าวัดหอก่องเป็นวัดเล็กไม่เหมาะสมที่จะนำพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์เวียงจันทน์ทรงสร้างมาประดิษฐานไว้ในที่แคบๆ เช่นนี้ เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนั้นพระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) ผู้เป็นเจ้าเมืองและกรมการเมืองหนองคายจึงได้ปรึกษากันว่าจะทำอย่างไร ในที่สุดก็มีมติว่าจะต้องหาสถานที่เพื่อสร้างเป็นวัดใหญ่ และอัญเชิญพระเสริมไปประดิษฐานอยู่ซึ่งสถานที่ดังกล่าวก็คือ วัดผีผิว วัดผีผิวเป็นวัดร้างที่มีความสำคัญมาแต่ครั้งอดีต ภายในประดิษฐานพระธาตุเจดีย์ลาวโบราณที่งดงาม และไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ดังนั้น จึงมีมติในการบูรณะวัดผีผิวและเปลี่ยนนามใหม่เป็น วัดโพธิ์ชัย เมื่อกรมเมืองหนองคายมีมติดังกล่าวแล้ว พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) ผู้เป็นเจ้าเมืองก็ได้นำความเข้าปรึกษากับท่านญาครูหลักคำผู้เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่สุดของเมืองหนองคาย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๘๒ พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) เจ้าเมืองหนองคาย จึงเป็นประธานฝ่ายฆราวาสโดยมีท่านญาคูหลักคำเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทำการยกวัดโพธิ์ชัย คือการยกฐานะจากวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา พร้อมกับบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่เป็นที่จำพรรษาของพระภิกษุและสามเณรขึ้น เมื่อวันที่ ๒๑ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๘๒ ดังปรากฏในพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ว่า", "title": "พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย)" }, { "docid": "40830#14", "text": "แม้การเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระภิกษุโดยตรง ที่จะละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม แต่ว่าในการจำพรรษาของพระสงฆ์ในระหว่างพรรษานั้น อาจมีกรณีจำเป็นบางอย่าง ทำให้พระภิกษุผู้จำพรรษาต้องออกจากสถานที่จำพรรษาเพื่อไปค้างที่อื่น พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษาโดยมีเหตุจำเป็นเฉพาะกรณี ๆ ไป ตามที่ทรงระบุไว้ในพระไตรปิฎก ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการพระศาสนาหรือการอุปัฏฐานบิดามารดา แต่ทั้งนี้ก็จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน การออกนอกที่จำพรรษาล่วงวันเช่นนี้เรียกว่า \"สัตตาหกรณียะ\" ซึ่งเหตุที่ทรงระบุว่าจะออกจากที่จำพรรษาไปได้ชั่วคราวนั้นเช่น", "title": "วันเข้าพรรษา" }, { "docid": "40830#7", "text": "ในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงวางระเบียบเรื่องการเข้าพรรษาไว้ แต่การเข้าพรรษานั้นเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์และพระสงฆ์สาวกปฏิบัติกันมาโดยปกติเนื่องด้วยพุทธจริยาวัตรในอันที่จะไม่ออกไปจาริกตามสถานที่ต่าง ๆ ในช่วงฤดูฝนอยู่แล้ว เพราะการคมนาคมมีความลำบาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสงฆ์ในช่วงต้นพุทธกาลมีจำนวนน้อยและส่วนใหญ่เป็นพระอริยะบุคคล จึงทราบดีว่าสิ่งใดที่พระสงฆ์ควรหรือไม่ควรกระทำ", "title": "วันเข้าพรรษา" }, { "docid": "188001#4", "text": "เมืองสาวัตถีมีความเจริญรุ่งเรืองในฐานะเมืองหลวงของแคว้นโกศลมาแต่ก่อนพุทธกาล ในสมัยพุทธกาลเมืองสาวัตถีมีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครอง เมืองสาวัตถีในการปกครองของพระเจ้าปเสนทิโกศลมีความสงบและรุ่งเรืองมาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับจำพรรษาที่เมืองแห่งนี้มากที่สุดกว่า 25 พรรษา สาเหตุสำคัญที่พระพุทธเจ้าเลือกเมืองนี้เป็นสถานที่จำพรรษานานที่สุดเพราะว่าพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นพระญาติกับพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ โดยพระนางเวเทหิอัครมเหสี ของพระเจ้าพิมพิสาร เป็นพระภคินีของพระองค์เอง (พระเจ้ามหาโกศล พระราชบิดาของพระเจ้าปเสนทิโกศล ส่งพระนางเวเทหิไปอภิเษกสมรสกับพระเจ้าพิมพิสาร และมอบเมืองในแคว้นกาสีให้พระเจ้าพิมพิสารเพื่อเป็นของขวัญ ทำให้เมืองสาวัตถีและเมืองราชคฤห์เป็นไมตรีกันจนสิ้นรัชกาลของพระเจ้าพิมพิสาร) ทำให้พระพุทธเจ้าสามารถมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีได้สะดวก เพราะพระเจ้าปเสนทิโกศลย่อมมีความเกรงใจในพระศาสดาของพระเจ้าพิมพิสารซึ่งเป็นพระญาติของพระองค์เอง ซึ่งต่อมาคัมภีร์พระพุทธศาสนากล่าวว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลได้สดับพระธรรมเทศนาจนบรรลุเป็นพระโสดาบัน และเป็นองค์อัครพุทธศาสนูปถัมภกที่สำคัญองค์หนึ่ง โดยเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นสหชาติ (คือเกิดปีเดียวกันกับพระพุทธเจ้า) และมีความรักเคารพและมีความสนิทสนมกับพระพุทธองค์มาก โดยทรงสร้างมหาสังฆารามถวายคือ ราชการามมหาวิหาร ซึ่งความสนิทสนมของพระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระพุทธองค์นั้น ปรากฏในหลายเหตุการณ์เช่น ทรงเข้ามาจูบกอดพระบาทของพระพุทธเจ้า (ส่วนใหญ่เหตุการณ์เหล่านี้ได้ถูกบันทึกไว้ใน ธรรมเจดีย์สูตร โดยพระราชดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลทั้งพระสูตร แสดงถึงเหตุผลที่พระองค์ทรงรักและเคารพพระพุทธเจ้า โดยเปรียบเทียบกับลัทธิศาสนาอื่นไปด้วย) หรือตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเคยกล่าวตักเตือนพระเจ้าปเสนทิโกศลว่ากินจุเหมือนหมู ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงความสนิทสนมกับพระพุทธองค์ได้อย่างดี และถึงแม้พระเจ้าปเสนทิโกศลจะศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า แต่ทว่าพระองค์ไม่ได้กีดกั้นผู้นับถือศาสนาอื่นแต่อย่างใด และยังคงให้ความอุปถัมภ์บำรุงศาสนาอื่นเป็นอย่างดี", "title": "สาวัตถี" }, { "docid": "48082#1", "text": "คำว่า เวฬุวัน แปลว่าสวนไผ่ เดิมอารามแห่งนี้เป็นพระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แคว้นมคธ ตั้งอยู่นอกเมืองราชคฤห์ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้เสด็จไปยังเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยข้าราชบริพารเข้าไปเฝ้า หลังจากทรงสดับธรรมแล้วทรงเลื่อมใสจึงถวายสวนเวฬุวันเป็นพุทธบูชา ด้วยทรงเห็นว่าเป็นที่สงบร่มรื่น เหมาะสำหรับอยู่บำเพ็ญธรรมของพระสงฆ์ ถือกันต่อมาว่าสถานที่นี้เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เรียกว่า วัดเวฬุวันมหาวิหาร นอกจากนี้วัดนี้ยังเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่พระสาวกจำนวน 1,250 รูป แล้วส่งไปเป็นพระธรรมทูตประกาศพระศาสนา อันเป็นที่มาของวันมาฆบูชา[3]", "title": "วัดเวฬุวันมหาวิหาร" }, { "docid": "374065#9", "text": "ในพุทธศาสนาเคลอจีจะหมายถึงพระสงฆ์ ซึ่งประกอบด้วยภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ คณะสงฆ์นี้พระพุทธเจ้าทรงก่อตั้งขึ้นเมื่อราวศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช ตามที่คัมภีร์บันทึกไว้ ระบุว่าภิกษุและภิกษุณีในสมัยพุทธกาลจะต้องอยู่โสด ใช้ชีวิตสมถะเรียบง่าย เน้นการเจริญสมาธิภาวนา ถือพรตจาริกไปเรื่อยๆ เป็นเวลา 9 เดือน และอยู่จำพรรษาอีก 3 เดือนในช่วงเข้าพรรษา แต่ในปัจจุบันบทบาทของคณะสงฆ์เปลี่ยนแปลงไปในบางประเทศ เช่น ในญี่ปุ่นและบางนิกายในเกาหลี อนุญาตให้นักบวชในพุทธศาสนาแต่งงานได้ นักบวชดังกล่าวจึงไม่ถือวัตรอย่างนักพรต (แต่ชีส่วนมากยังคงถือพรหมจรรย์) ส่วนนิกายเถรวาท เช่น พุทธศาสนาในประเทศไทย พม่า กัมพูชา และศรีลังกา ยังคงให้พระสงฆ์ใช้ชีวิตอย่างนักพรต (เรียกว่า ชีวิตอารามวาสี) โดยเฉพาะห้ามมิให้พระภิกษุแตะต้องกายสตรี หรือแม้แต่ทำงานอย่างทางโลก", "title": "เคลอจี" }, { "docid": "40830#6", "text": "ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์ หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึงวันออกพรรษา เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา", "title": "วันเข้าพรรษา" }, { "docid": "236364#0", "text": "วันมหาปวารณา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนา ตรงกับวันสุดท้ายของการอยู่จำพรรษา 3 เดือน คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุทำการปวารณา คือ ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกัน หมายถึงยอมมอบตนให้สงฆ์กล่าวตักเตือน ในข้อบกพร่องที่ภิกษุทั้งหลายได้เห็นได้ยิน หรือมีข้อสงสัย ด้วยจิตเมตตา เพื่อจักได้สำรวมระวังปรับปรุงแก้ไขตนเอง เพื่อความเจริญของพระธรรมวินัยและความผาสุกในการอยู่ร่วมกัน", "title": "มหาปวารณา" }, { "docid": "60540#13", "text": "ทรงตั้งธรรมเนียมนมัสการพระเช้าค่ำ ที่เรียกว่าทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ เป็นประจำ และทรงพระราชนิพนธ์บทสวดเป็นภาษาบาลี เป็นคาถา เป็น จุณณิยบท ซึ่งใช้แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนี้ มีการรักษาศีลอุโบสถ และแสดงพระธรรมเทศนาเวลาสามโมงเช้าและบ่ายสามโมง ในวันธรรมสวนะและวันอุโบสถ เดือนละ 4 ครั้ง ทรงปฏิรูปการเทศน์และการอธิบายธรรมทรงเริ่มการเทศนาด้วยฝีพระโอษฐ์ ชวนให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายและเกิดศรัทธา ไม่โปรดเขียนหนังสือไว้เทศน์นอกจากนี้ยังทรงฝึกหัดศิษย์ให้ปฏิบัติตาม ทรงอธิบายเพื่อให้คนเข้าใจในเนื้อหาของหลักธรรม เผยแพร่หลักธรรมสู่ราษฎร อธิบายหลักอันยุ่งยากซับซ้อน คณะสงฆ์ธรรมยุติได้เพิ่มบทสวดมนต์ภาษาไทยลงไป ทำให้คนนิยมฟังเป็นอันมาก ทรงกำหนดวันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญทางศาสนาเพิ่มขึ้นจากวันวิสาขบูชา ทรงพระราชนิพนธ์คำบูชา และวางระเบียบให้เดินเวียนเทียนและสดับพระธรรมเทศนา ทรงชักนำให้บำเพ็ญกุศลตามเทศกาลต่าง ๆ เช่น ถวายสลากภัตร ตักบาตรน้ำผึ้ง ถวายผ้าจำนำพรรษา ทรงแก้ไขการรับผ้ากฐินให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ คือเริ่มแต่การซัก ตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จภายในวันเดียวกัน ทรงแก้ไขการขอบรรพชา และการสวดกรรมวาจาในอุปสมบทกรรมให้ถูกต้องยิ่งขึ้น เช่น ระบุนามอุปสัมปทา และนามอุปัชฌายะ ซึ่งเป็นภาษาบาลีในกรรมวาจา การออกเสียง อักษรบาลี ทรงให้ถือหลักการออกเสียงให้ถูกฐานกรณ์ของอักขระตามหลักบาลีไวยากรณ์ ทรงวางระเบียบการครองผ้า คือการนุ่งห่มของภิกษุสามเณร ให้ปฏิบัติไปตามหลักเสขิยวัตรในพระวินัยเพื่อให้สุภาพเรียบร้อย (เดิมพระธรรมยุติครองจีวรห่มม้วนซ้าย แต่ตอนปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนมาห่มห่มม้วนขวา (ห่มมังกร) ตามแบบพระสงฆ์มหานิกาย ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์ จึงได้กลับมาห่มม้วนซ้ายตามเดิม) ทรงวางระเบียบการกราบไหว้ของพระภิกษุสามเณร และระเบียบอาจารยะมารยาท ต้องวางตัวให้น่าเลื่อมใสศรัทธา สังวรในกิริยามารยาทและขนบธรรมเนียม ทรงให้พระสงฆ์ธรรมยุติ ศึกษาพระปริยัติธรรมให้แตกฉาน สามารถแสดงธรรมเทศนา สั่งสอน สามารถแยกระหว่างความเชื่อที่มีเหตุผล และความเชื่อในสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้ การศึกษาในด้านวิปัสสนาธุระ ไม่ใช่รับรู้เฉพาะสมถะวิธีอันเป็นเบื้องต้น แต่ให้รับรู้ไปถึงขั้นวิปัสสนากรรมฐาน การปฏิบัติตามพระวินัย ทรงให้ถือหลักว่าสิ่งใดที่สงสัยและน่ารังเกียจไม่ควรกระทำโดยเด็ดขาด พึงเคารพพระวินัยอย่างเคร่งครัด ทรงเห็นความสำคัญในการศึกษาหา ความรู้สาขาอื่น ๆ ของพระสงฆ์ จึงทรงอนุญาตให้พระสงฆ์เข้าศึกษาภาษาอังกฤษกับหมอแคสเวล (Reverend Jesse Caswell) ตามความสนใจ ทำให้มีการสืบสานการเข้าศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมของพระสงฆ์มาจนถึงปัจจุบัน", "title": "ธรรมยุติกนิกาย" }, { "docid": "934#32", "text": "วัดอันเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวพุทธ ซึ่งเป็นสถานที่อยู่อาศัย หรือ ที่จำพรรษา ของ พระภิกษุ สามเณรตลอดจน แม่ชี เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมประจำวันของพระภิกษุสงฆ์ เช่น การทำวัตรเช้าและเย็น และสังฆกรรมในพระอุโบสถ อีกทั้ง ยังใช้ประกอบพิธีกรรมเช่นการเวียนเทียนเป็นต้นในวันสำคัญทางศาสนาพุทธ และยังเป็นศูนย์รวมในการมาร่วมกันทำกิจกรรมในทางช่วยกันส่งเสริมพุทธศาสนาเช่นการมาทำบุญในวันพระของแต่ละท้องถิ่นของพุทธศาสนิกชน อีกด้วย", "title": "ศาสนาพุทธ" }, { "docid": "12091#0", "text": "โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็น \"ปาติโมกข์\" ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงตลอดปฐมโพธิกาล คือ 20 พรรษาแรก เฉพาะครั้งแรกในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน 3) หลังจากตรัสรู้แล้ว 9 เดือน เป็นการแสดงปาติโมกข์ที่ประกอบด้วยองค์ 4 เรียกว่า \"จาตุรงคสันนิบาต\" ซึ่งมีเพียงครั้งเดียวในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งๆ หรือจะเรียกว่าเป็นการประกาศตั้งศาสนาก็ได้ (อรรถกถาแสดงไว้ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดง \"โอวาทปาติโมกข์\" นี้ ด้วยพระองค์เอง ท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ตลอด 20 พรรษาแรก หลังจากนั้นทรงบัญญัติให้พระสงฆ์แสดง \"อาณาปาติโมกข์\" แทน) ", "title": "โอวาทปาติโมกข์" }, { "docid": "108021#0", "text": "อนุโมทนากถา เป็นบทสวดมนต์ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ที่สวดเพื่อมุ่งประสงค์ให้ผู้ถวายทานแก่พระสงฆ์เกิดความยินดีในทาน หรือเพื่อแสดงธรรมแก่ผู้ถวาย ในสมัยพุทธกาล พระสูตรสำคัญ ๆ เกิดจากคำอนุโมทนากถาของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงแก่ผู้ถวายทานตามสถานที่ต่าง ๆ ที่พระองค์เสด็จไปรับบิณฑบาต ปัจจุบันพระสงฆ์มีบทสวดสำหรับอนุโมทนาโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่จะตัดตอนมาจากพระสูตรในพระไตรปิฎก ซึ่งมีบทที่พระสงฆ์ใช้สวดเป็นประจำไม่กี่พระสูตร แต่บทที่พระสงฆ์สวดนำเป็นปกติทุกครั้งก่อนที่จะสวดเนื้อหาในพระสูตรคือบทอนุโมทนารัมภกถา และบทสามัญญานุโมทนากถา (แปลว่าบทสวดเริ่มต้นและบทสวดปกติ) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า ยถา-สัพพี ซึ่งเป็นบทสวดที่ไม่ใช่พระพุทธพจน์ โดยบทยถาเป็นการให้พรอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว บทสัพพีมีเนื้อหากล่าวถึงการอำนวยมงคลและอวยพรให้ผู้ถวายทานปราศจากอันตรายทั้งหลาย", "title": "อนุโมทนากถา" }, { "docid": "48066#4", "text": "สถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา เกิดในบริเวณที่ตั้งของ กลุ่มพุทธสถานสารนาถ ภายในอาณาบริเวณของป่าอิสิปตนมฤคทายวัน 9 กิโลเมตรเศษ ทางเหนือของเมืองพาราณสี (เมืองศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาฮินดู) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือ แคว้นกาสี ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล) สารนาถ จัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 (1 ใน 4 แห่งของชาวพุทธ) เหตุที่ได้ชื่อว่าสารนาถเนื่องมาจากสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่พึ่งแก่มหาชนทั้งหลาย (บ้างก็ว่ามาจากศัพท์ว่า สารงฺค+นารถ = ที่อยู่ของสัตว์จำพวกกวาง) ภายในอาณาบริเวณสารนาถมี ธรรมเมกขสถูป เป็นพุทธสถานขนาดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด เนื่องจากสันนิษฐานว่าบริเวณที่ตั้งของธรรมเมกขสถูป เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศพระสัจจธรรมเป็นครั้งแรกที่นี่", "title": "สารนาถ" }, { "docid": "80018#54", "text": "ในวันที่พระสารีบุตรบรรลุพระอรหันต์ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนมาฆะ (วันมาฆบูชา) ในตอนบ่ายพระพุทธเจ้าทรงประกาศแต่งตั้งพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวาเลิศกว่าผู้อื่นในทางปัญญา พระมหาโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายเลิศกว่าภิกษุรูปอื่นในฐานะมีฤทธิ์ล้ำเลิศ เมื่อล่วงค่ำพระสงฆ์ 1,250 รูปจึงมาถึงวัดพระเวฬุวัน พระพุทธเจ้าจึงทรงประทานโอวาทปาติโมกข์แก่ทั้งหมด รวมทั้งอัครสาวกทั้ง 2 พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระสารีบุตรว่าเป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุรูปอื่นในทางปัญญา เป็นผู้สามารถจะแสดงพระธรรมจักรและพระจตุราริยสัจให้กว้างขวางพิสดารเสมอพระองค์ เมื่อมีภิกษุมาทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อจะเที่ยวจาริกไป พระพุทธเจ้ามักจะตรัสให้ภิกษุที่มาทูลลา ไปลาพระสารีบุตรก่อน เพื่อให้พระสารีบุตรได้สั่งสอน เช่นครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เมืองเทวทหะ ภิกษุเป็นจำนวนมากได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทูลลาไปชนบท พระพุทธเจ้าก็ตรัสสั่งให้ไปลาพระสารีบุตร แล้วทรงยกย่องว่าพระสารีบุตรเป็นผู้มีปัญญา อนุเคราะห์เพื่อนบรรพชิตทั้งหลาย เปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิด ย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พระสารีบุตรได้รับการยกย่องมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า \"พระธรรมเสนาบดี\" พระสงฆ์ผู้ประกาศพระศาสนา ได้ชื่อว่าธรรมเสนา เป็นกองทัพธรรมที่ประกาศเผยแผ่ธรรม เมื่อไปถึงที่ไหน ก็ทำให้เกิดประโยชน์และความสุขที่นั่น พระพุทธเจ้าเป็นจอมธรรมเสนา เรียกว่า \"พระธรรมราชา\" โดยมีพระสารีบุตรเป็นพระธรรมเสนาบดี หรือแม่ทัพฝ่ายธรรม", "title": "พระโคตมพุทธเจ้า" } ]
2214
กัมพูชามีขนาดพื้นที่ประเทศเท่าไหร่?
[ { "docid": "486002#0", "text": "กัมพูชาเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ติดกับอ่าวไทย มีพรมแดนติดกับลาว ไทยและเวียดนาม แนวชายแดนมีความยาวทั้งหมด 2,572 กิโลเมตร โดยติดกับเวียดนาม 1,228 กิโลเมตร ไทย 803 กิโลเมตร และลาว 541 กิโลเมตร เป็นแนวชายฝั่ง 443 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 181,040 ตารางกิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอินโดจีน อยู่ในเขตร้อนชื้น ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ ใจกลางของประเทศเป็นทะเลสาบโตนเลสาบ และมีแม่น้ำโขงไหลผ่านจากเหนือไปใต้", "title": "ภูมิศาสตร์กัมพูชา" }, { "docid": "1937#0", "text": "กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย () ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย () เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย", "title": "ประเทศกัมพูชา" } ]
[ { "docid": "572345#5", "text": "แขวงจำปาศักดิ์ มีพื้นที่ทั้งหมด 15,415 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศไทยและกัมพูชา ตำแหน่งที่ชายแดนทั้ง 3 ประเทศบรรจบกันเรียกว่า \"สามเหลี่ยมมรกต\" สภาพพื้นที่ประกอบด้วยพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงและแม่น้ำเซโดนบริเวณตอนกลาง มีแนวเทือกเขาสูงทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และติดต่อกับที่ราบสูงบอละเวนทางทิศตะวันออก ซึ่งมีความสูงประมาณ 1,500-1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่โดยทั่วไปมีความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร", "title": "แขวงจำปาศักดิ์" }, { "docid": "353070#3", "text": "น้ำ ข้าว และปลาน้ำจืดเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลมากต่ออาหารกัมพูชา แม่น้ำโขงไหลผ่านใจกลางประเทศกัมพูชา เมืองหลวงของประเทศคือพนมเปญตั้งอยู่ระหว่างจุดตัดของแม่น้ำโขงกับแม่น้ำโตนเลสาบและแม่น้ำบาสัก ทำให้กัมพูชามีปลาน้ำจืดอุดมสมบูรณ์ และเหมาะสมต่อการปลูกข้าว ในปัจจุบันอาหารกัมพูชามีความใกล้เคียงกับอาหารของประเทศเพื่อนบ้านคืออาหารไทยในด้านการใช้พริก น้ำตาลหรือกะทิ และอาหารเวียดนามในด้านที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารฝรั่งเศสเช่นกัน และยังได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนอีกด้วย โดยเฉพาะอาหารจำพวกที่ใช้เส้นก๋วยเตี๋ยว อาหารจำพวกแกงที่ในภาษาเขมรเรียกว่า \"การี\" (ការី) แสดงถึงอิทธิพลของอาหารอินเดีย และยังมีอิทธิพลบางส่วนจากอาหารโปรตุเกสและอาหารสเปน ซึ่งเป็นผลจากการติดต่อค้าขาย อย่างไรก็ตามอาหารกัมพูชาไม่ได้มีรสจัดเท่าอาหารไทย อาหารลาว และอาหารมาเลเซีย", "title": "อาหารกัมพูชา" }, { "docid": "41783#0", "text": "ทะเลสาบเขมร หรือ โตนเลสาบ ( \"บึงทนฺเลสาบ\") เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของประเทศกัมพูชา มีพื้นที่ ประมาณ 7,500 ตารางกิโลเมตร หรือใหญ่กว่ากรุงเทพฯ ประมาณ 7 เท่า ความลึกโดยเฉลี่ย อยู่ที่ 10 เมตร และเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมพื้นที่บริเวณรอบ ๆ ทำให้โตนเลสาบขยายตัวออกกว้างมากถึง 6 เท่า ทะเลสาบเขมรเกิดจากแม่น้ำโขง ซึ่งแม่น้ำโขงไหลผ่านมีความยาวถึง 500 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดของกัมพูชา ได้แก่ กำปงธม กำปงชนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมราฐ เป็นทะเลสาบที่มีปลาน้ำจืดชุกชุมมากแห่งหนึ่งประมาณ 300 ชนิด จึงมีชาวกัมพูชาเป็นจำนวนมากที่ประกอบอาชีพประมงในบริเวณทะเลสาบแห่งนี้", "title": "โตนเลสาบ" }, { "docid": "17473#1", "text": "มีพื้นที่ประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร เทียบกับประเทศไทยแล้วเล็กกว่ากันถึง 10 เท่า มีจำนวนประชากรเพียง 5 ล้านคน เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ทำให้มีพืชพันธุ์ไม้อุดมสมบูรณ์ที่ไม่สามารถพบได้ในประเทศอื่น มีพื้นที่เป็นเขตป่าสงวนมากถึงร้อยละ 25 ของประเทศ และถือเป็นประเทศแรกในทวีปอเมริกาที่ออกกฎหมายห้ามล่าสัตว์ทุกชนิด และเคยถูกมูลนิธินิวอีโคโนมิค (NEF) ประกาศให้เป็นประเทศที่มีความเขียวชอุ่ม หรือมีป่าไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลกอีกด้วย", "title": "ประเทศคอสตาริกา" }, { "docid": "472341#0", "text": "กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกัมพูชาคือชาวเขมร สำหรับชนกลุ่มน้อยที่มีมากที่สุดคือชาวเวียดนาม อีกจำนวนหนึ่งเป็นลูกหลานของพ่อค้าชาวจีน และกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองเช่นชาวม้ง พนองและไทรวมทั้งกลุ่มอื่นๆที่เรียกชาวเขมรบนหรือแขมร์เลอ. กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยในที่ลุ่มร่วมกับชาวเขมรคือชาวจาม ชาวจีน และชาวเวียดนาม\nชาวเขมรเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณนี้ คาดว่าเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังจากชาวมอญไม่นาน โดยเข้ามาแทนที่กลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาในกลุ่มภาษามอญ-เขมรและตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและสร้างจักรวรรดิเขมรขึ้นในอดีต ชาวเขมรยังแบ่งได้เป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่มตามประเทศและภาษาที่ใช้คือชาวเขมรในกัมพูชา พูดภาษาเขมร ชาวเขมรเหนือหรือเขมรสุรินทร์อยู่ในประเทศไทยและพูดภาษาเขมรที่เป็นสำเนียงของตนเองและพูดภาษาไทยด้วย ชาวขแมร์กรอมเป็นชาวเขมรที่อยู่ทางภาคใต้ของเวียดนาม พูดภาษาเขมรที่เป็นสำเนียงของตนเองและพูดภาษาเวียดนาม บางส่วนอพยพเข้าสู่กัมพูชาเพราะถูกบังคับหรือหนีระบอบคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม\nมีประมาณร้อยละ 1 ของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่เข้ามาตั้งรกรากเมื่อพุทธศตวรรษที่ 23-24 เพื่อมาค้าขาย แบ่งตามภาษาพูดได้เป็น 5 กลุ่มคือ จีนแต้จิ๋ว (60%) จีนกวางตุ้ง (20%) จีนฮกเกี้ยน (7%) จีนฮากกาและจีนไหหลำอย่างละ 4% การแต่งงานระหว่างชาวเขมรและชาวจีนเป็นเรื่องปกติ มีการหลอมรวมเข้ากับสังคมเขมร และยังคงเหลือวัฒนธรรมจีนบางส่วนไว้ ชาวจีนจำนวนมากถูกฆ่าตายในสมัยพล พต แม้จะไม่ใช่กลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นเป้าหมายโดยตรง แต่จะถูกฆ่าไปพร้อมกับชนชั้นสูงของกัมพูชา\nชาวเวียดนามเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีมากที่สุดในกัมพูชา มีผู้อพยพชาวเวียดนามประมาณ 2 ล้านคน ในพื้นที่ต่างๆ ชาวเวียดนามมีความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมกับชาวเขมรน้อยแม้จะพูดภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกเช่นกัน ชาวเขมรรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากอินเดีย ในขณะที่ชาวเวียดนามรับอิทธิพลมาจากจีน ความตึงเครียดระหว่างทั้งสองชาติเกิดขึ้นเนื่องจากเวียดนามเคยพยายามเข้ายึดครองกัมพูชาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 23-24 ซึ่งเป็นช่วงที่กัมพูชาอ่อนแอ ต้องพึ่งพาทั้งไทยและเวียดนาม แต่การดำเนินนโยบายของเวียดนามแข็งกร้าวกว่าเพราะต้องการจัดตั้งรัฐบาลที่ควบคุมโดยเวียดนามปกครองกัมพูชา ต้องการให้ชาวเขมรเปลี่ยนการแต่งกายและภาษาพูด ลูกหลานของชาวเวียดนามในกัมพูชาส่วนใหญ่เป็นผู้ที่บรรพบุรุษมาตั้งถิ่นฐานเมื่อพุทธศตวรรษที่ 25 ไม่ได้พูดภาษาเวียดนามเพียงภาษาเดียวแต่ได้สร้างวัฒนธรรมผสมขึ้น ส่วนใหญ่ทำอาชีพประมงและยังคงเอกลักษณ์ของตนเองไว้\nมีทั้งชาวไทย ชาวลาว ชาวไทใหญ่และกุลา มีเป็นชนส่วนน้อยในกัมพูชา ชาวไทยส่วนใหญ่อยู่ในพนมเปญและชาวไทยเกาะกงในจังหวัดเกาะกง ชาวลาวมักอยู่กับขนกลุ่มน้อยทางภาคเหนือ ชาวไทใหญ่และกุลาอยู่ในไพลิน ซึ่งภาษาเขมรสำเนียงที่พูดในบริเวณนี้จะได้รับอิทธิพลด้านการออกเสียงและวรรณยุกต์จากภาษาพม่าหรือภาษาไทใหญ่ ชนทั้งสองกลุ่มนี้ มีบทบาทในการค้าพลอย", "title": "กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศกัมพูชา" }, { "docid": "181765#0", "text": "สามเหลี่ยมมรกต หรือ ช่องบก () เป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างชายแดนไทย ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา มีพื้นที่ประมาณ 12 ตารางกิโลเมตร สำหรับพื้นที่ส่วนที่อยู่ในประเทศไทยคือ พื้นที่ในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ในเขตประเทศลาวคือเมืองมูลประโมกข์ แขวงจำปาศักดิ์ ส่วนพื้นที่ในประเทศกัมพูชาคือเมืองจอมกระสานต์ จังหวัดพระวิหาร สามเหลี่ยมมรกตตั้งชื่อเลียนแบบสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อของไทย ลาว และพม่า ในภาคเหนือ", "title": "สามเหลี่ยมมรกต" }, { "docid": "818933#7", "text": "จังหวัดไพรแวงมีพื้นที่ทั้งสิ้น 4,883 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 2.7 ของพื้นที่ประเทศกัมพูชา (181,035 ตารางกิโลเมตร) พื้นที่กว่า 3,100 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 63.5 ของพื้นที่จังหวัดเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ส่วนพื้นที่ป่าไม้มีเพียง 194.61 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 4 ของพื้นที่จังหวัด นอกเหนือจากนี้เป็นพื้นทีที่มีการตั้งถิ่นฐาน โครงสร้างพื้นฐาน พื้นที่สาธารณะ แหล่งน้ำ และพื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์", "title": "จังหวัดไพรแวง" }, { "docid": "17188#12", "text": "ลักเซมเบิร์กเป็นหนึ่งในประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดในยุโรป และมีขนาดเป็นอันดับ 167 ของโลก พื้นที่ทั่วประเทศ 2,586 ตารางกิโลเมตร ทางตะวันตกของประเทศ มีพรมแดนติดกับจังหวัดลักเซมเบิร์กของเบลเยียม ซึ่งมีพื้นที่ใหญ่ (4,443 ตารางกิโลเมตร) เกือบสองเท่าของประเทศลักเซมเบิร์ก", "title": "ประเทศลักเซมเบิร์ก" } ]
2692
ตัวเอกในเรื่องโปเกมอน มีชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "226058#0", "text": "ซาโตชิ (Japanese: サトシ Satoshi) หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า แอช เคตชัม (English: Ash Ketchum) เป็นตัวละครเอกของโปเกมอนฉบับอนิเมะและฉบับมังงะที่ชื่อ \"Electric Tale of Pikachu\" ตัวของซาโตชินั้นมาจากตัวละครหลักที่ชื่อ เรด ในเกมโปเกมอนภาคเรดและบลู ชื่อของเขาเป็นชื่อเดียวกับผู้สร้างแฟรนไชส์โปเกมอนที่ชื่อ ซะโตะชิ ทะจิริ โดยชื่อซาโตชินั้นอาจแปลได้ว่า \"ปัญญา\" หรือ \"เหตุผล\" ส่วนชื่อภาษาอังกฤษของเขานั้นมีหลายความหมาย ชื่อท้ายภาษาอังกฤษมาจากการเล่นคำจากคำว่า \"Gotta Catch 'em All!\" ซึ่งเป็นสโลแกนของโปเกมอนภาคแรก สำหรับชื่อแรกของเขานั้น แอช (Ash) มีตัวอักษรเหมือนกับชื่อ (S<b data-parsoid='{\"dsr\":[1388,1395,3,3]}'>a</b>to<b data-parsoid='{\"dsr\":[1397,1405,3,3]}'>sh</b>i) ยังมีคนอีกกลุ่มที่บอกว่าต้นไม้ที่ชื่อ แอช (Ash Tree) อาจเป็นที่มาของชื่อนี้ก็ได้", "title": "ซาโตชิ (โปเกมอน)" } ]
[ { "docid": "747246#8", "text": "การปรากฏตัวหลัก ๆ ของมิวในอะนิเมะโปเกมอนคือในภาพยนตร์เรื่องโปเกมอน มูฟวี ตอน ความแค้นของมิวทู ซึ่งมิวรับบทเป็นหนึ่งในตัวละครหลัก เชื่อกันว่ามิวเป็นโปเกมอนในตำนานที่หายสาบสูญไปนาน และเป็นโปเกมอนหายากที่แข็งแกร่งที่สุด[12] หลังจากการวิจัยหลายปี นักวิทยาศาสตร์ใช้ดีเอ็นเอของมิวมาผสมกันเพื่อสร้างมิวทู[17] ซึ่งเป็นมิวในร่างโคลนที่ถูกปรับแต่งทางพันธุกรรมและกลายเป็นตัวเอกของภาพยนตร์[12] ภูมิหลังของภาพยนตร์เรื่องโปเกมอน มูฟวี่ ตอน มิวและอัศวินคลื่นพลัง เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ลึกลับและที่มาของความแข็งแกร่งของมิว[26] ในภาพยนตร์ แสดง \"แผนภูมิลำดับเครือญาติ\" ของโปเกมอน[27] โดยโปเกมอนตัวแรกในแผนภูมิคือมิว และตัวสุดท้ายคือโฮโอ[26]", "title": "มิว (โปเกมอน)" }, { "docid": "747246#9", "text": "มิวปรากฏในมังงะ<i data-parsoid='{\"dsr\":[12900,12911,2,2]}'>โปเกมอนชุดโปเกมอนสเปเชียล มิวมีชื่อว่าเป็น \"โปเกมอนลวงตา\" (Phantom Pokémon) ในมังงะ ปรากฏในบทแรกเมื่อแก๊งร็อกเก็ต องค์กรอาชญากรรม พยายามจับมิว โปเกมอนเทรนเนอร์ชื่อเรดก็พยายามจับมิว แต่ถูกมิวเอาชนะอย่างง่ายดาย[28] ในบทต่อมา มีการเปิดเผยว่าแก๊งร็อกเก็ตต้องการดีเอ็นเอของมิวเพื่อสร้างมิวทูให้สำเร็จ ส่วนเรดและโปเกมอนเทรนเนอร์ชื่อกรีน ร่วมมือกันปกป้องไม่ให้มิวถูกจับตัว[29][30]", "title": "มิว (โปเกมอน)" }, { "docid": "706928#45", "text": "ตั้งแต่ไรจูปรากฏตัวในซีรีส์\"โปเกมอน\" ไรจูได้รับการตอบรับอย่างดี มันปรากฏเป็นสินค้าหลายชิ้น เช่น ตุ๊กตา จุลประติมากรรม และโปเกมอนเทรดดิงการ์ดเกม ไรจูยังเป็นส่วนหนึ่งของชุดมื้ออาหารบิกคิดส์มีล ของเบอร์เกอร์คิงด้วย หนังสือพิมพ์\"ชิคาโกซันไทม์\" เรียกพิกะจูว่า \"ของโปรดตัวเก่า\" (old favorite) ลอเรดานา ลิปเปรีนี ผู้เขียนหนังสือ \"เจเนราซีโอเน โปเกมอน: อี บัมบีนี เอ อินวาซีโอเน พลาเนตาเรีย เด นูโอวี\" ' ให้ความเห็นว่าไรจูไม่ได้มีชื่อเสียงยิ่งใหญ่เท่าพิกะจู ไรอัน โอเมกา ผู้เขียนหนังสือ \"Anime trivia quizbook: from easy to otaku obscure, episode 1\" ให้ความเห็นว่าไรจู \"ไม่ได้น่ารักขนาดนั้น\" และนี่คือสาเหตุที่ซาโตชิไม่ต้องการให้พิกะจูของเขาพัฒนาร่าง ปิแอร์ บรูโน ผู้เขียนหนังสือ \"ลา คูจัวร์ เดอ อ็องฟอนซ์ อา เออ เดอ ลา มงดีอาลีซาซียง\" (; ) เปรียบเทียบการต่อสู้ระหว่างไรจูของผู้หมวดมาชิสุและพิกะจูของซาโตชิ กับเรื่อง \"David and Goliath\" บรรณาธิการจากไอจีเอ็น ในคอลัมน์ \"Pokémon of the Day Chick\" ชี้ว่าไรจู \"เป็นที่รักของคนหลายคน และเป็นที่รังเกียจของคนอีกหลายคน\" แม้เธอจะให้ความกระจ่างว่า ความเกลียดที่มีต่อไรจูนั้นต่างจากความเกลียดที่มีต่อพิกะจูมาก เธอยังบรรยายไรจูอีกว่า \"ดูโง่\" (stupid-looking) บรรณาธิการเว็บไซต์เกมส์เรดาร์ เบร็ตต์ เอลสตัน ให้ความเห็นว่าเนื่องจากมีการพูดถึงพิกะจูเป็นจำนวนมาก ทำให้ \"ลืมว่ามีไรจูอยู่จริงได้ง่าย ๆ\"", "title": "รายชื่อโปเกมอน (1–51)" }, { "docid": "679391#1", "text": "เนื้อ เรื่องของโปเกมอนซีรีส์นี้ดำเนินตรงช่วงกลางระหว่างซีซันแรก (Indigo League) และการผจญภัยในเขตโจโต (Johto saga) ที่มีชื่อซีรีส์ว่า Pokémon: The Johto Journeys เนื้อเรื่องในซีรีส์การผจญภัยในหมู่เกาะออเร้นจ์นี้ผลิตขึ้นเพื่อรอให้พัฒนาเกมโปเกมอนภาคโกลด์และซิลเวอร์ผลิตให้สำเร็จสมบูรณ์ก่อนซึ่งเนื้อเรื่องใน เขตโจโตจะอิงจากเกมภาคนี้", "title": "รายชื่อตอนโปเกมอน การผจญภัยในหมู่เกาะออเร้นจ์" }, { "docid": "679055#2", "text": "โปเกมอนฉบับอนิเมะรวมถึงภาพยนตร์ดำเนินเนื้อเรื่องโดยแยกออกจากการผจญภัยต่าง ๆ ในวิดีโอเกม (ยกเว้นภาคเยลโล่ว์ ที่ดำเนินเรื่องตามเนื้อเรื่องอนิเมะ) โปเกมอนฉบับอนิเมะเป็นเรื่องราวภารกิจอันยิ่งใหญ่ของตัวละครหลัก \"ซาโตชิ\" หรือ \"แอช แคทชัม\" (Ash Ketchum) เพื่อจะเป็นโปเกมอนมาสเตอร์ในเรื่องการฝึกโปเกมอน เขาและเพื่อนกลุ่มเล็ก ๆ เดินทางตามโลกที่มีโปเกมอนเต็มไปหมด ในภาคแรก (original series) ในเขตภูมิภาคคันโต เริ่มต้นในวันซาโตชิได้เป็นนักฝึกโปเกมอนวันแรก โปเกมอนตัวแรกซึ่งเป็นโปเกมอนคู่หูคือพิกะจู ซึ่งแตกต่างจากเกมที่จะได้เลือกฟุชิงิดาเนะ ฮิโตะคาเงะ และเซนิกาเมะ ซีรีส์นี้ดำเนินไปตามเนื้อเรื่องของเกมโปเกมอนภาคเร้ดและบลู ในเขตภูมิภาคที่ชื่อว่าคันโต ร่วมเดินทางไปกับ \"ทาเคชิ\" หรือ \"บร็อก\" (Brock) หัวหน้ายิมของเมืองนิบิ หรือพิวเตอร์ซิตี (Pewter City) และ \"คาสึมิ\" น้องสาวคนสุดท้องของกลุ่มพี่น้องหัวหน้ายิมในยิมของเมืองฮานาดะ หรือเซรูเลียนซิตี (Cerulean City) ซีซันต่อมาคือ Pokémon: Adventures on the Orange Islands ซึ่งเป็นการผจญภัยในหมู่เกาะออเร้นจ์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่เป็นเอกลักษณ์ของเรื่อง และเปลี่ยนตัวละครจากทาเคชิเป็น \"เค็นจิ\" หรือ \"เทรซีย์\" (Tracey) จิตรกรและผู้ดูแลโปเกมอน ซีซันต่อมา เป็นเนื้อเรื่องของโปเกมอนรุ่นที่สอง ประกอบด้วย Pokémon: The Johto Journeys, Pokémon: Johto League Champions และ Pokémon: Master Quest ดำเนินเรื่องในเขตภูมิภาคโจโต มีตัวละครสามคนคือซาโตชิ ทาเคชิ และคาสึมิ เช่นเดิม", "title": "โปเกมอน (อนิเมะ)" }, { "docid": "819549#0", "text": "นักรบสมองกลโพลีกอน () เป็นโปเกมอนตอนที่ 38 ซีซั่นแรก ออกอากาศเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2540 เวลา 18:30 น. เวลามาตรฐานญี่ปุ่น ซึ่งเป็นฉากที่พิกะจูโจมตีด้วนสายฟ้าทำให้เกิดการระเบิดใหญ่เป็นแสงกระพริบสีแดงและสีฟ้า ซึ่งแสงที่ว่ามันเข้มข้นมาก(กระพริบอัตราประมาณ 12 Hz ประมาณ 4 วินาที) และจุดนี้เองทำให้ผู้ชมที่ส่วนมากเป็นเด็กเกิดอาการปวดหัววิเวียนศีรษะ คลื่นไส้ บางคนมีอาการชัก ตาบอด และหมดสติ ผู้ชมชาวญี่ปุ่นจำนวน 700 คนถูกส่งเข้าโรงพยาบาลหลังมีอาการลมชักกะทันหัน ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชักแสง(โรคลมชักแสงเป็นอาการหนึ่งของโรคลมบ้าหมู โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีแสงกระพริบกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ เช่น แสงไฟ วูบๆ วาบๆ เป็นจังหวะ) เหตุการณ์นี้เป็นข่าวดังไปทั่วโลก ทางทีวีโตเกียวต้องออกมาขอโทษและระงับการฉายโปเกมอนชั่วคราวเพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้น ผู้รับผิดชอบหลายหน่วยงานต่างออกมาตรวจสอบออกมาวิเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปจนถึงกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการที่ต้องจัดประชุมฉุกเฉินหารือในการรวบรวมข้อมูลไปจนถึงการทำลายวีดีโอโปเกมอนจากร้านเช่าทั่วญี่ปุ่นเลยทีเดียว หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นทางรัฐบาลญี่ปุ่นออกคำสั่งไม่ให้โปเกมอนตอนที่ 38 ห้ามออกอากาศเด็ดขาดไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่นหรือนอกประเทศรวมถึงประเทศไทย จากเหตุการณ์นี้ทำให้มีสื่อล้อเลียนโปเกมอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยปรากฏการเย้ยหยันในเรื่องเดอะซิมป์สันส์ ตอน Thirty Minutes over Tokyo และเรื่องเซาท์พาร์ก ตอน Chinpokomon\nซาโตชิ, คาสึมิ, ทาเคชิ และ พิกะจู ไปที่โปเกมอนเซ็นเตอร์ แต่เครื่องส่งโปเกมอนไม่หยุดทำงานเป็นทีไวรัสคอมพิวเตอร์ฝีมือของแก๊งร็อคเก็ต (สามารถเพิ่มเติมในวิกิพีเดียได้ไปที่แก้ไขต้นฉบับ)", "title": "นักรบสมองกลโพลีกอน (โปเกมอน)" }, { "docid": "107756#60", "text": "เนื่องจากความนิยมของโปเกมอน ส่งผลให้มีโปเกมอนเป็นเครื่องหมายอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมสมัยนิยม ตัวละครของโปเกมอนกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่นบอลลูนรูปพิกะจูในขบวนพาเหรดวันขอบคุณพระเจ้าของเมซี่ (Macy's Thanksgiving Day Parade) เครื่องบินโบอิง 747-400 รูปโปเกมอน สินค้าโปเกมอนนับพัน และสวนสนุกโปเกมอนในเมืองนาโกยะ ประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 2005 และในไทเป ค.ศ. 2006 โปเกมอนยังปรากฏบนปกของนิตยสารไทม์ของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1999 การแสดงตลกชื่อ Drawn Together มีตัวละครชื่อ ลิงลิง (Ling-Ling) ที่มีลักษณะล้อเลียนพิกะจู[50] และการแสดงอื่น ๆ อีกหลายการแสดงเช่น ReBoot เดอะซิมป์สันส์ South Park The Grim Adventures of Billy and Mandy และ All Grown Up! ที่ได้อ้างถึงโปเกมอนระหว่างเนื้อเรื่อง โปเกมอนยังถูกนำเสนอในรายการ I Love the '90s: Part Deux ของสถานีโทรทัศน์ VH1 อีกด้วย การแสดงสดชื่อว่า โปเกมอนไลฟ์ (Pokémon Live!) ได้ทัวร์ไปในสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายปี ค.ศ. 2000 โดยแสดงตามเนื้อเรื่องโปเกมอนฉบับอนิเมะ แต่มีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับต่อเนื่องของเนื้อเรื่องในการแสดงนี้ จิม บุทเชอร์ กล่าวถึงโปเกมอนว่าเป็นแรงบันดาลใจในซีรีส์นวนิยายเรื่อง Codex Alera", "title": "โปเกมอน" }, { "docid": "778464#5", "text": "มีข้อยกเว้นใน\"โปเกมอนภาคเยลโลว์\" โดยผู้เล่นจะได้รับพิกะจู โปเกมอนหนูประเภทไฟฟ้าที่มีชื่อเสียงเป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ของแฟรนไชส์โปเกมอน คอยเดินตามหลังผู้เล่น คู่แข่งจะได้รับอีวุย โปเกมอนประเภทปกติ อีวุยจะพัฒนาร่างเป็นหนึ่งในสามร่างที่เป็นไปได้ (ในขณะนั้น) ขึ้นกับเงื่อนไขว่าผู้เล่นต่อสู้ชนะหรือแพ้คู่แข่งอย่างไรในตอนเริ่มเกม", "title": "ระบบเกมโปเกมอน" }, { "docid": "226058#4", "text": "ซาโตชิมีการเปลี่ยนแปลงมากมายตลอดทั้งเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทักษะการฝึกโปเกมอน แต่ความกระตือรือร้นและความมุ่งมั่นยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ซาโตชิเป็นคนซื่อสัตย์ และไม่เคยทอดทิ้งเพื่อน ครอบครัว และผู้ช่วยเหลือต่าง ๆ ยกเว้นโปเกมอนบางตัวของเขา ซาโตชิกลายเป็นผู้ฝึกที่เก่งกล้าได้จากการค้นหาและใช้ความแข็งแกร่งของโปเก มอนโดยอาศัยความผูกพันใกล้ชิดและค้นหาที่ที่ความสามารถนั้น ๆ ซ่อนอยู่ รวมทั้งใช้ยุทธวิธีแปลกใหม่ในการต่อสู้กับคู่ต่อสู้ เช่น ซาโตชิใช้ความเร็วของพิกะจูเอาชนะโปเกมอนตัวใหญ่กว่าและมีพลังโจมตีมากกว่า หรือได้เปรียบ และการใช้ลิซาด้อนเอาชนะคาเม็กซ์ของ ชิเงรุโดยการทำให้สนามแข่งร้อน และเข้าต่อสู้ระยะประชิดขณะที่คาเม็กซ์ลายตาจากไอที่ระเหยออกมา ซาโตชิยังสามารถฝึกโปเกมอนของเขาให้เก่งได้โดยไม่จำเป็นต้องพัฒนาร่าง ซาโตชิยังรู้สึกลังเลใจว่าจะยอมให้โปเกมอนของเขาพัฒนาเพื่อให้แข็งแกร่งขึ้น ดีหรือไม่ อย่างที่ปรากฏตอนที่เขาทำกับไกลเกอร์ ในตอน Fighting Fear With Fear! (Japanese: グライガー! 友情の翼!Gliger! Wings of Friendship!: DP085)", "title": "ซาโตชิ (โปเกมอน)" }, { "docid": "748117#11", "text": "ข้อมูลของภาคโกลด์และซิลเวอร์ออกแสดงครั้งแรก ในงานนินเท็นโด สเปซเวิลด์ เอ็กซ์โปในญี่ปุ่นปีค.ศ.1997 ซึ่งเป็นงานจัดแสดงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของทั้งหมด และแตกต่างจากเกมภาคก่อนหน้านี้อย่างโปเกมอน ภาคเยลโลว์ มีการตั้งชื่อภาคใหม่ให้ดูดีกว่า\"โปเกมอน ภาคเรดและบลู\" และทางทีมงานก็ได้แต่งเนื้อเรื่องในเกมขึ้นใหม่ ในทวีปใหม่ และโปเกมอนสายพันธุ์ใหม่ ภาคโกลด์และซิลเวอร์ได้รับการออกแบบมาสำหรับเล่นในเครื่องเกมบอยคัลเลอร์ ทำให้พวกเขาให้การสนับสนุนในการใส่สีลงในเกมอย่างเต็มรูปแบบ และรายละเอียดเพิ่มเติมอื่นๆเพิ่มเติมในสไปรต์ ซึ่งรวมถึงสีของโปเกมอนแต่ละสายพันธุ์ ไอเทมใหม่ของเกมได้ใช้ระบบเกมแกดเจ็ต มีชื่อว่าโปเกเกียร์ ซึ่งได้เลียนแบบระบบจริงๆของนาฬิกาและสามารถใช้ได้ร่วมกันกับระบบของภาคก่อนๆได้", "title": "โปเกมอน โกลด์และซิลเวอร์" }, { "docid": "226058#12", "text": "สำหรับพ่อของซาโตชิยังไม่มีการแนะนำในอะนิเมะ บอกเป็นนัย ๆ ไว้ว่าพ่อของซาโตชิครั้งหนึ่งเป็นผู้ฝึกโปเกมอนที่เริ่มเดินทางจากเมืองมาซาระ แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเขายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ในแวดวงแฟนคลับโปเกมอนมีการพูดคุยอภิปรายกันถึงบุคลิกลักษณะของพ่อของซาโตชิ ทั้ง ๆ ที่ผู้เขียนเรื่องนี้ไม่ได้มุ่งความสนใจไปที่ลักษณะมุมมองชีวิตของซาโตชิ ตัวละครในเรื่องโปเกมอนที่แฟนคลับวางตัวไว้ให้เป็นพ่อของซาโตชิมีหลายตัว เช่น ซาคากิ (บอสของแก๊งร็อคเก็ต) ดร.ออคิดส์ และซิลเวอร์ ซึ่งปรากฏตัวใน Pokémon Chronicles ตอน The Search for the Legend (Japanese: 天駆ける伝説 ヒロシとファイヤー!The Heavenly Legend, Hiroshi and Fire!: H018)", "title": "ซาโตชิ (โปเกมอน)" }, { "docid": "107756#58", "text": "เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1997 เด็ก ๆ ชาวญี่ปุ่น 700 คนถูกส่งเข้าโรงพยาบาลหลังมีอาการลมชักกะทันหัน ซึ่งพบว่าเกิดขึ้นจากการดูการ์ตูนโปเกมอนตอนที่ 38 ตอน นักรบสมองกลโพลีกอน (Japanese: でんのうせんしポリゴン Dennō Senshi Porigon: EP038) เป็นผลให้ตอนนี้ไม่ได้ออกอากาศอีก ในโปเกมอนตอนนี้ จะมีการระเบิดขึ้นและมีแสงสีแดงกับสีน้ำเงินสลับกันอย่างรวดเร็ว[45] และสิ่งนี้เรียกว่า \"paka-paka\"[46] ซึ่งมีการระบุว่าแสงเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดอาการลมชัก แม้ว่าคน ๆ นั้นจะไม่เคยมีประวัติของโรคนี้มาก่อนก็ตาม[47] จากเหตุการณ์นี้ทำให้มีสื่อล้อเลียนโปเกมอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยปรากฏการเย้ยหยันในเรื่องเดอะซิมป์สันส์ ตอน Thirty Minutes over Tokyo[48] และเรื่องเซาท์พาร์ก ตอน Chinpokomon[49]", "title": "โปเกมอน" }, { "docid": "107756#13", "text": "แกนหลักของซีรีส์เกมโปเกมอนนั้นพัวพันกับการจับและการต่อสู้กับโปเกมอน เริ่มจากโปเกมอนเริ่มต้น ผู้เล่นสามารถจับโปเกมอนป่าโดยทำให้มันอ่อนแอและจับมันด้วยโปเกบอล ในทางกลับกัน พวกเขาสามารถเลือกที่จะต่อสู้กับมันให้ชนะแล้วโปเกมอนจะได้รับค่าประสบการณ์ เป็นการเพิ่มระดับหรือเลเวลและสอนท่าใหม่ ๆ ให้กับมัน โปเกมอนตัวหนึ่งสามารถวิวัฒนาการไปเป็นร่างใหม่ที่แข็งแกร่งขึ้นได้ด้วยการเพิ่มระดับหรือด้วยการใช้ไอเทมที่เกมกำหนด ตลอดการเล่นเกม ผู้เล่นจะต้องต่อสู้กับนักฝึกโปเกมอนเพื่อดำเนินเรื่อง ด้วยเป้าหมายหลักคือหัวหน้ายิมที่หลากหลายและได้สิทธิในการเป็นแชมป์เปียนในทัวร์นาเมนต์ เกมภาคต่อๆมาได้เปิดตัวภารกิจรองมากมาย รวมถึงแบทเทิลฟรอนเทียร์ที่มีรูปแบบการต่อสู้ที่เป็นเอกลักษณ์ และการประกวดโปเกมอนที่จะได้เห็นการแสดงของโปเกมอนบนจอ", "title": "โปเกมอน" }, { "docid": "198698#1", "text": "ลิซาด้อนปรากฏในซีรีส์อนิเมะโปเกมอนร่วมกับตัวละครหลัก ซาโตชิ หรือแอช แคตชัม ภาพลิซาด้อนยังปรากฏในปกมังงะ \"โปเกมอนแอดเวนเชอส์\" เป็นโปเกมอนของบลู หนึ่งในตัวละครหลักของเรื่อง นอกจากนี้ เรดก็ยังเป็นเจ้าของลิซาด้อนอีกหนึ่งตัว ในอนิเมะโปเกมอนออริจินส์ เขาได้มาจากศาสตรจารย์ออคิดส์ตั้งแต่ยังเป็นฮิโตะคาเงะ ลิซาดงได้รับการตอบรับอย่างดีจากสื่อ เว็บไซต์เกมส์เรดาร์ บรรยายว่าเป็น \"หนึ่งในโปเกมอนที่เจ๋งที่สุด\" ลิซาด้อนเป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ของเกมโปเกมอนภาคเรด และไฟร์เรด และปรากฏที่หน้ากล่องเกม\"โปเกมอนสเตเดียม\" \"โปเกมอนเรนเจอร์\" \"\" และ\"\"", "title": "ลิซาร์ดอน" }, { "docid": "107756#64", "text": "ประวัติศาสตร์ของ<i data-parsoid='{\"dsr\":[55224,55235,2,2]}'>โปเกมอน</i>เกิดขึ้นพร้อมกับคู่แข่งอย่างแฟรนไชส์ ดิจิมอน ที่เปิดตัวในเวลาไล่เลี่ยกัน ฮวาน แคสโทร จากไอจีเอ็น ซึ่งกล่าวถึงดิจิมอนว่าเป็นอีก \"มอน\" หนึ่ง เขากล่าวว่าดิจิมอนไม่ได้รับความนิยมหรือความสำเร็จอยู่ในระดับเดียวกับ<i data-parsoid='{\"dsr\":[55454,55465,2,2]}'>โปเกมอน แต่ก็มียังแฟนคลับที่อุทิศตนให้[57] ลูคัส เอ็ม. โธมัส จากไอจีเอ็นกล่าวว่า โปเกมอน</i>เป็น \"การแข่งขันและการเปรียบเทียบเสมอมา\" ของ<i data-parsoid='{\"dsr\":[55856,55867,2,2]}'>ดิจิมอน อ้างว่าความสำเร็จของโปเกมอนมจากความง่ายของกลไกวิวัฒนาการเมื่อเทียบกับดิจิโวลูชัน[58] แหล่งข้อมูลเช่น เกมโซน (GameZone)[59] มองว่า สองแฟรนไชส์นี้มีแนวคิดและรูปแบบที่คล้ายกัน การโต้วาทีระหว่างแฟนคลับในเรื่องแฟรนไชส์ใดเกิดขึ้นก่อนยังคงมีอยู่[60] ในความจริง สื่อแรกของ<i data-parsoid='{\"dsr\":[56879,56890,2,2]}'>โปเกมอน นั่นคือโปเกมอน<i data-parsoid='{\"dsr\":[56905,56913,2,2]}'>เร้ด และ กรีน ออกจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996[61] ขณะที่ สัตว์เลี้ยงเสมือนจริงของ<i data-parsoid='{\"dsr\":[57376,57387,2,2]}'>ดิจิมอนออกจำหน่ายในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1997", "title": "โปเกมอน" }, { "docid": "331602#2", "text": "โปเกมอน ไดมอนด์ แอนด์ เพิร์ล เป็นซีรีส์ที่นำมาจากเกม โปเกมอน ไดมอนด์และเพิร์ล โดยใช้ชื่อเวอร์ชันเกมจากเจนเนเรชันที่ 4 และอิงเขตประเทศที่ปรากฏในเกม โดยเขตในภาคนี้มีชื่อว่า ชินโอ ในซีรีส์นี้ ฮารุกะ และ มาซาโตะ ไม่ได้ร่วมเดินทางกับซาโตชิแล้ว หลังจากที่ร่วมทีมกับซาโตชิต่อเนื่องเป็นเวลานานในซีรีส์ที่ผ่านมา และมีตัวละครหลักตัวใหม่คือ ฮิคาริ ผู้ฝึกโปเกมอนมือใหม่ที่มุ่งหวังอยากจะเป็น โปเกมอน โคออดิเนเตอร์ เธอมาจากเมืองฟุตาบะ และตัวละครอีกคนคือ ทาเคชิ เพื่อนของซาโตชิที่คอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดมาตั้งแต่ตอนแรก ๆ ของเรื่อง ได้กลับมาร่วมทีมอีกครั้งในช่วงเริ่มต้นซีรีส์ ส่วนฮารุกะเองนั้นได้ปรากฏตัวในซีรีส์นี้แค่ 1 ครั้ง เท่านั้นโดยฮารุกะปรากฏด้วยเสื้อผ้าชุดใหม่", "title": "พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ ไดมอนด์ &amp; เพิร์ล" }, { "docid": "107756#62", "text": "โจเซฟ เจ โทบินตั้งทฤษฎีว่าความสำเร็จของแฟรนไชส์โปเกมอนส่วนใหญ่มาจากรายชื่อยาวเหยียดที่เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้และพูดถึงซ้ำ ๆ ในกลุ่มเพื่อนของตน โลกของเรื่องสมมุติมีโอกาสมากมายให้อภิปรายและสาธิตความรู้ต่อหน้าเพื่อน ๆ ในเวอร์ชันภาษาฝรั่งเศส นินเทนโดได้ใส่ใจโดยแปลชื่อของโปเกมอนเพื่อสะท้อนถึงวัฒนธรรมและภาษาของฝรั่งเศส ชื่อโปเกมอนทุกชื่อแสดงความเป็นตัวตน ที่ทำให้เด็กเชื่อว่าชื่อนั้นมีอำนาจเชิงสัญลักษณ์ เด็ก ๆ สามารถเลือกโปเกมอนตัวโปรดและใช้แสดงความเป็นตัวเอง ขณะที่ในเวลาเดียวกันก็สนับสนุนความสอดคล้องเหมือนกันภายในกลุ่ม และแบ่งแยกกลุ่มของตนจากเด็กกลุ่มอื่นโดยประเมินจากสิ่งที่พวกเขาชอบและสิ่งที่ไม่ชอบจากทุก ๆ ตอน โปเกมอนได้รับความนิยมเพราะโปเกมอนให้ความเป็นอัตลักษณ์กับกลุ่มของเด็ก ๆ ในวงกว้างได้ และเสียมันไปได้อย่างรวดเร็วเมื่อเด็ก ๆ กลุ่มนั้นพบว่ากลุ่มอัตลักษณ์นั้นใหญ่เกินไปและตามหาอัตลักษณ์อื่น ๆ ที่จะแยกเขาออกมาอยู่ในกลุ่มที่เล็กลงได้[55]", "title": "โปเกมอน" }, { "docid": "107756#20", "text": "โปเกมอนฉบับอนิเมะรวมถึงภาพยนตร์ดำเนินเนื้อเรื่องโดยแยกออกจากการผจญภัยต่าง ๆ ในวิดีโอเกม (ยกเว้นภาคเยลโล่ว์ ที่ดำเนินเรื่องตามเนื้อเรื่องอนิเมะ) โปเกมอนฉบับอนิเมะเป็นเรื่องราวภารกิจอันยิ่งใหญ่ของตัวละครหลัก \"ซาโตชิ\" หรือ \"แอช แคทชัม\" (Ash Ketchum) เพื่อจะเป็นโปเกมอนมาสเตอร์ในเรื่องการฝึกโปเกมอน เขาและเพื่อนกลุ่มเล็ก ๆ เดินทางตามโลกที่มีโปเกมอนเต็มไปหมด ในภาคแรก (original series) ในเขตภูมิภาคคันโต เริ่มต้นในวันซาโตชิได้เป็นนักฝึกโปเกมอนวันแรก โปเกมอนตัวแรกซึ่งเป็นโปเกมอนคู่หูคือพิกะจู ซึ่งแตกต่างจากเกมที่จะได้เลือกฟุชิงิดาเนะ ฮิโตะคาเงะ และเซนิกาเมะ ซีรีส์นี้ดำเนินไปตามเนื้อเรื่องของเกมโปเกมอนภาคเร้ดและบลู ในเขตภูมิภาคที่ชื่อว่าคันโต ร่วมเดินทางไปกับ \"ทาเคชิ\" หรือ \"บร็อก\" (Brock) หัวหน้ายิมของเมืองนิบิ หรือพิวเตอร์ซิตี (Pewter City) และ \"คาสึมิ\" น้องสาวคนสุดท้องของกลุ่มพี่น้องหัวหน้ายิมในยิมของเมืองฮานาดะ หรือเซรูเลียนซิตี (Cerulean City) ซีซันต่อมาคือ Pokémon: Adventures on the Orange Islands ซึ่งเป็นการผจญภัยในหมู่เกาะออเร้นจ์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่เป็นเอกลักษณ์ของเรื่อง และเปลี่ยนตัวละครจากทาเคชิเป็น \"เค็นจิ\" หรือ \"เทรซีย์\" (Tracey) จิตรกรและผู้ดูแลโปเกมอน ซีซันต่อมา เป็นเนื้อเรื่องของโปเกมอนรุ่นที่สอง ประกอบด้วย Pokémon: The Johto Journeys, Pokémon: Johto League Champions และ Pokémon: Master Quest ดำเนินเรื่องในเขตภูมิภาคโจโต มีตัวละครสามคนคือซาโตชิ ทาเคชิ และคาสึมิ เช่นเดิม", "title": "โปเกมอน" }, { "docid": "215267#2", "text": "ในซีรีส์นี้ คาสึมิไม่ได้ร่วมเดินทางกับซาโตชิแล้ว หลังจากที่ร่วมทีมกับซาโตชิต่อเนื่องเป็นเวลานานในซีรีส์แรก และมีตัวละครหลักตัวใหม่คือ ฮารุกะ ผู้ฝึกโปเกมอนมือใหม่ที่ในตอนแรกนั้นเพียงแค่ต้องการออกเดินทาง เธอมาจากเมืองโทกะ ในที่สุดเธอได้รู้จักกับการประกวดโปเกมอนและประกาศตนว่าเป็น โปเกมอน โคออดิเนเตอร์ หรือผู้ที่นำโปเกมอนลงประกวดโปเกมอน ตัวละครใหม่อีกตัวคือ มาซาโตะ น้องชายของฮารุกะ ที่ร่วมเดินกับไปกับซาโตชิด้วย เขาคอยช่วยพวกซาโตชิค้นหาเส้นทางการเดินโดยใช้เครื่องโปเกนาวี มาซาโตะไม่มีโปเกมอนเป็นของตัวเองเพราะเขายังเด็กเกินไป และตัวละครอีกคนคือ ทาเคชิ เพื่อนของซาโตชิที่เคยคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดมาตั้งแต่ตอนแรก ๆ ของเรื่อง ได้กลับมาร่วมทีมอีกครั้งในช่วงเริ่มต้นซีรีส์ ส่วนคาสึมิเองนั้นได้ปรากฏตัวในซีรีส์นี้แค่ 2 ครั้ง เท่านั้นโดยคาสึมิปรากฏด้วยเสื้อผ้าชุดใหม่", "title": "พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ แอดวานซ์ เจเนอเรชัน" }, { "docid": "107756#48", "text": "โปเกมอนฉบับมังงะ (หนังสือการ์ตูน) ผลัตสำนักพิมพ์โชงะกุกัง นั้นมีหลากหลาย โดยผู้ที่ผลิตวางขายในภาษาอังกฤษคือ Viz Communications (พิมพ์และจำหน่ายในภาษาอังกฤษในประเทศสิงคโปร์สำนักพิมพ์เก่า Chuang Yi ปัจจุบันเปลียนสำนักพิมพ์ใหม่ (โชงะกุกัง เอเชีย)) มังงะนั้นแตกต่างจากวิดีโอเกมและการ์ตูนมากในเรื่องของนักฝึกโปเกมอน สามารถฆ่าโปเกมอนของฝ่ายตรงข้ามได้", "title": "โปเกมอน" }, { "docid": "706928#33", "text": "ในตอนแรก ๆ ของอะนิเมะโปเกมอน (ตอน \"โปเกมอน! ฉันเลือกนายนี่แหละ!\") ตัวเอก ซาโตชิ พยายามจับโอนิสุซุเมะตัวหนึ่งที่นอกเมืองมาซาระ บ้านเกิดของเขา โดยที่พิกะจูของเขาไม่ยอมช่วย เขาทำได้เพียงขว้างก้อนกรวดไปที่โอนิสุซุเมะ ทำให้มันโกรธ โอนิสุซุเมะเรียกฝูงพวกมันออกมา ไล่ตามซาโตชิและพิกะจู ในที่พิกะจูก็โจมตีด้วยท่าฟ้าผ่า (Thunder) ทำให้ฝูงหนีไปได้ โดยซาโตชิยอมเอาชีวิตตนเองเข้าเสี่ยงเพื่อให้พิกะจูปลอดภัย ซาโตชิต้องกลับมารับมือกับฝูงเดิมอีกครั้งเมื่อเขากลับมาเมืองมาซาระ และพบว่าโอนิสุซุเมะที่เขาเคยพยายามจะจับได้กลายเป็นโอนิดริลแล้ว ฝูงดังกล่าวปรากฏอีกครั้งในภาพนึก ซึ่งซาโตชินึกถึงในตอน \"\" ศาสตราจารย์โอคิโดะเคยมีโอนิสุซุเมะหนึ่งตัวในมังงะ\"โปเกมอนสเปเชียล\" เขาใช้มันต่อสู้กับกรีนในโปเกมอนลีก จากนั้นมันก็พัฒนาร่างเป็นโอนิดริล", "title": "รายชื่อโปเกมอน (1–51)" }, { "docid": "190038#2", "text": "มนุษย์จับและฝึกฝนพิคาชูเพื่อต่อสู้โปเกมอนตัวอื่นเป็นการแข่งขัน เช่นเดียวกับโปเกมอนสายพันธุ์อื่น ๆ พิคาชูเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดตัวหนึ่ง เหตุเพราะพิคาชูเป็นตัวละครหลักในอนิเมะเรื่อง<i data-parsoid='{\"dsr\":[2172,2183,2,2]}'>โปเกมอน พิคาชูถือว่าเป็นตัวละครหลัก และการ์ตูนสัญลักษณ์ของแฟรนไชส์โปเกมอน และกลายเป็นสัญรูปในวัฒนธรรมสมัยนิยมญี่ปุ่นเมื่อช่วงหลายปีที่ผ่านมา", "title": "พิคาชู" }, { "docid": "107756#18", "text": "กลุ่มองค์กรที่เป็นเหล่าเทรนเนอร์ ที่คอยจับโปเกมอน กับทำเรื่องผิดกฎหมาย โดยรวบรวมโปเกมอนในเขตเพื่อสร้างกองทัพโปเกมอนเพื่อยึดครองโลก แต่ล้มเหลว เพราะต้องยึดครองเขตที่ตนอยู่ให้ได้ก่อน", "title": "โปเกมอน" }, { "docid": "748117#6", "text": "โปเกมอน ภาคโกลด์และซิลเวอร์ยังคงรักษากลไกพื้นฐานอย่างการควบคุม,การต่อสู้และการพัฒนาร่าง คุณสมบัติใหม่ที่ถูกเพิ่มขึ้นในเกมนี้คือระบบเวลา ซึ่งใช้ระบบเวลาจริงๆที่เป็นวัน,สัปดาห์ รวมทั้งยังมีการบันทึกเหตุการณ์บางอย่าง เช่นการปรากฏตัวของโปเกมอนใหม่ๆ ซึ่งก็ส่งผลต่อเกมนี้ และมีการเพิ่มไอเทมใหม่เพื่อที่ผู้เล่นจะได้นำมาใช้ประโยชน์: มีไอเทมฟื้นฟูสำหรับโปเกมอนดังนี้ มีไอเทมใหม่ซึ่งก็คือเบอร์รี่ ซึ่งสามารถฟื้นฟูพลังชีวิตหรือรักษาผลแทรกซ้อนอื่นๆให้กับโปเกมอนในระหว่างการต่อสู้ ได้มีการเพิ่มเติมชนิดของโปเกบอล และก็ทำให้จับโปเกมอนได้ง่ายขึ้นได้ง่ายในบางสถานการณ์ ซึ่งไดมีไอเทมใหม่โปเกเกียร์ () ซึ่งมีหน้าที่เป็นนาฬิกา,แผนที่,วิทยุ,โทรศัพท์, ช่วยให้ผู้เล่นสามารถคุยกับตัวละครอื่นๆได้ รวมทั้งยังมีหมายเลขโทรศัพท์ของตนเอง และผู้อื่น และตัวละครอื่นก็สมารถโทรบอกเรื่องที่เกี่ยวกับโปเกมอนหายากที่สามารถจับได้ในบางพื้นที่", "title": "โปเกมอน โกลด์และซิลเวอร์" }, { "docid": "747713#0", "text": "เค็น ซุงิโมะริ ( เกิด 27 มกราคม ค.ศ. 1966) เป็นนักออกแบบวิดีโอเกม นักวาดภาพ ศิลปินมังงะ และผู้กำกับชาวญี่ปุ่น เขามีชื่อเสียงโดดเด่นจากการเป็นผู้ออกแบบและกำกับศิลป์ให้กับแฟรนไชส์\"โปเกมอน\" ซุงิโมะริยังได้รับเครดิตเป็นผู้กำกับศิลป์ให้กับแฟรนไชส์อื่น ๆ เช่น \"พัลส์แมน\" ด้วย ซุงิโมะริออกแบบและวาดโปเกมอนดั้งเดิม 151 ตัวด้วยตนเอง เขาทำงานให้กับภาพยนตร์\"โปเกมอน\"หลายเรื่อง การ์ดเกม และเกมอื่น ๆ เช่น เกมชุด\"ซูเปอร์สแมชบราเธอส์\"", "title": "เค็น ซุงิโมะริ" }, { "docid": "747944#24", "text": "เกมได้รับเครดิตในเรื่องการเริ่มเปิดทางสู่การเป็นเกมชุดที่ประสบความสำเร็จระดับหลายพันล้านดอลลาร์ หลังภาค\"เรด\"และ\"บลู\"ออกจำหน่ายห้าปี นินเท็นโดเฉลิมฉลอง \"โปเกโมนิเวอร์แซรี\" (Pokémoniversary) จอร์จ แฮร์ริสัน รองประธานอาวุโสของฝ่ายสื่อสารและการตลาดของนินเท็นโดอเมริกา กล่าวว่า \"อัญมณีเลอค่าเหล่านั้น [โปเกมอนเรดและบลู] ได้พัฒนาเป็นภาค\"รูบี\"และ\"แซฟไฟร์\" การออกจำหน่ายเกม\"โปเกมอนพินบอล\"เริ่มการเดินทางโปเกมอนครั้งใหม่ที่จะเปิดตัวในไม่กี่เดือนที่จะมาถึง\" เกมชุดนี้ขายได้มากกว่า 175 ล้านเกมแล้ว ทั้งหมดเป็นผลมาจากโปเกมอน\"เรด\"และ\"บลู\"ประสบความสำเร็จอย่างมาก", "title": "โปเกมอน เรดและบลู" }, { "docid": "190038#7", "text": "ในโปเกมอนภาคเอเมอรัลด์ พิคาชูและสายวิวัฒนาการจะมีท่า โวลต์แทกเคิล (Volt Tackle) เป็นท่าลายเซ็น เรียนรู้จากพิชูที่ฟักจากไข่ที่เกิดจากพิคาชูหรือไรชูที่ถือไลต์บอล หรือเรียนรู้จากอีเวนต์และครูสอนท่า ณ อีเวนต์ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 อนุญาตให้ผู้เล่นโปเกมอน<i data-parsoid='{\"dsr\":[10529,10543,2,2]}'>ฮาร์ตโกลด์ และ<i data-parsoid='{\"dsr\":[10547,10562,2,2]}'>โซลซิลเวอร์ เข้าไปในเส้นทางผ่านเครื่องโปเกวอล์กเกอร์ ซึ่งจะมีพิคาชูที่จดจำท่าโจมตีที่ปกติจะไม่สามารถจดจำได้ นั่นคือ โต้คลื่น (Surf) และ บินโฉบ (Fly) [20] ทั้งสองท่านี้เป็นตัวช่วยเดินทาง สามารถใช้นอกการต่อสู้ได้ พิคาชูสวมหมวกแก๊ปเจ็ดแบบ ซึ่งเป็นหมวกแก๊ปของซาโตชิ ตัวเอกจากอนิเมะตลอดซีซัน จำหน่ายกับเกมโปเกมอนภาคซันและมูน และโปเกมอนภาคอัลตราซันและอัลตรามูน[21] เกมยังออกซีคริสตัลสองชิ้น ออกพิเศษสำหรับพิคาชู มีชื่อว่า พิคาเนียม ซี ซึ่งอัปเกรดท่าโวลต์แทกเคิลเป็นคาทาสโตรพิกา (Catastropika) และพิคาชูเนียม ซี[22] ซึ่งอัปเกรดท่าธันเดอร์โบลต์ เป็นท่า ธันเดอร์โบลต์ 10,000,000 โวลต์ เมื่อให้พิคาชูสวมหมวกแก๊ปถือไว้", "title": "พิคาชู" }, { "docid": "107756#53", "text": "โปเกมอนได้รับคำวิจารณ์จากศาสนิกชนของศาสนาคริสต์ ยูดาย ชาวคริสต์เห็นว่าเกี่ยวกับความลึกลับและรุนแรงของโปเกมอน รวมถึงโปเกมอนวิวัฒนาการของโปเกมอน (แม้ว่าจะคล้ายกับการลอกคราบมากกว่า แต่โครงการ ChildCare Action Project เชื่อมโยงมันเข้ากับเรื่องทฤษฎีวิวัฒนาการ) ซึ่งเขาอ้างว่าขัดแย้งกับการกำเนิดทางไบเบิลของสรรพสิ่งที่รุนแรง[34] ซึ่งคนส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ จึงไม่เชื่อเรื่องนี้[35][36] อย่างไรก็ตาม สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมในวาติกันแย้งว่าโปเกมอนเทรดดิงการ์ด และวิดีโอเกมนั้น \"มีจินตนาการสร้างสรรค์อย่างเต็มเปี่ยม\" และ \"ไม่มีผลกระทบข้างเคียงในเรื่องหลักศีลธรรมเลย\"[37] ในสหราชอาณาจักร เกม \"คริสเตียน เพาเวอร์ การ์ด\" ได้เปิดตัวในปี ค.ศ. 1999 โดยเดวิด เทต ซึ่งกล่าวว่า \"บางคนไม่ชอบโปเกมอนและต้องการทางเลือกอื่น พวกเขาเพียงต้องการเกมของคริสต์ศาสนิกชนเท่านั้น\" เกมนี้ดูคล้ายกับโปเกมอนเทรดดิงการ์ดแต่ตัวละครสำคัญบนการ์ดมาจากคัมภีร์ไบเบิล[38]", "title": "โปเกมอน" }, { "docid": "828895#0", "text": "รายชื่อภาพยนตร์โปเกมอน หรือ โปเกมอน เดอะมูฟวี่ เป็นภาพยนตร์ตอนพิเศษของภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง โปเกมอน (อนิเมะ) โดยภาพยนตร์ชุดนี้จะออกฉายในโรงภาพยนตร์ในประเทศญี่ปุ่น ในปัจจุบันมีทั้งหมด 21 ภาคในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งฉายไปแล้ว 21 ภาค และทางไรท์บียอนด์ ทรู คอร์ปอเรชั่นและทรูวิชันส์ ซึ่งเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์นำมาจำหน่าย 20 ภาค (ไม่รวมภาคแรก)", "title": "รายชื่อภาพยนตร์โปเกมอน" }, { "docid": "747944#14", "text": "ทีแรกเกมมีชื่อว่า \"แคปซูลมอนสเตอส์\" (Capsule Monsters) และเนื่องจากความลำบากเรื่องเครื่องหมายการค้า เมื่อชื่อเกมผ่านการซื้อขายหลายธุรกรรมมาก ทำให้ชื่อกลายเป็น\"คาปูมอน\" (CapuMon และ KapuMon) ก่อนจะได้ชื่อเป็น\"พ็อกเก็ตมอนสเตอส์\" (Pocket Monsters) ทะจิริมักคิดเสมอว่านินเท็นโดจะปฏิเสธเกมของเขา เนื่องจากบริษัทยังไม่เข้าใจแนวคิดของเกมอย่างแท้จริงตั้งแต่แรก อย่างไรก็ตาม เกมกลายเป็นความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ เป็นสิ่งที่ทะจิริและนินเท็นโดไม่เคยคาดคิด เพราะขณะนั้นความนิยมของเกมบอยเริ่มลดลงแล้ว เมื่อได้ยินแนวคิดเกมโปเกมอน มิยะโมะโตะแนะว่าให้ทำให้โปเกมอนแต่ละตลับมีโปเกมอนไม่เหมือนกัน เพื่อที่จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนโปเกมอนได้", "title": "โปเกมอน เรดและบลู" } ]
1962
อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์ เกิดที่ไหน ?
[ { "docid": "764#6", "text": "ไอน์สไตน์เกิดในเมืองอูล์ม ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค สมัยจักรวรรดิเยอรมัน ห่างจากเมืองชตุทท์การ์ทไปทางตะวันออกประมาณ 100 กิโลเมตร ซึ่งในปัจจุบันคือรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ประเทศเยอรมนี บิดาของเขาชื่อว่า แฮร์มานน์ ไอน์สไตน์ เป็นพนักงานขายทั่วไปซึ่งกำลังทำการทดลองเกี่ยวกับเคมีไฟฟ้า มารดาชื่อว่า พอลลีน โดยมีคนรับใช้หนึ่งคนชื่อ คอช ทั้งคู่แต่งงานกันในโบสถ์ในสตุ๊ทการ์ท (เยอรมัน: Stuttgart-Bad Cannstatt) ครอบครัวของเขาเป็นชาวยิว (แต่ไม่เคร่งครัดนัก) อัลเบิร์ตเข้าเรียนในโรงเรียนประถมคาธอลิก และเข้าเรียนไวโอลิน ตามความต้องการของแม่ของเขาที่ยืนยันให้เขาได้เรียน", "title": "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" } ]
[ { "docid": "10334#52", "text": "รัฐบาลฮิตเลอร์สนับสนุนสถาปัตยกรรมอย่างกว้างขวาง อัลแบร์ท สเพร์ ผู้นำการตีความแบบคลาสสิกของฮิตเลอร์นำไปปรับกับวัฒนธรรมเยอรมัน ถูกกำหนดให้รับผิดชอบการปฏิสังขรณ์สถาปัตยกรรมในเบอร์ลิน[175] ฮิตเลอร์เปิดกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนในเบอร์ลิน", "title": "อดอล์ฟ ฮิตเลอร์" }, { "docid": "16801#4", "text": "ภาษามลายูปัตตานีนิยมเรียงประโยคแบบภาษาไทยคือใช้รูปประธานกระทำ ส่วนภาษามาเลเซียใช้ประโยคแบบประธานถูกกระทำ เช่น ภาษามลายูใช้ ตูวัน ดีเปอรานะกัน ตีมานา (ท่านถูกเกิดที่ไหน) ภาษามลายูปัตตานีใช้ ตูแว บือราเนาะ ดีมานอ (ท่านเกิดที่ไหน)", "title": "ภาษามลายูปัตตานี" }, { "docid": "764#19", "text": "ในช่วงปลายทางของชีวิตไอน์ชไตน์พยายามคิดค้นทฤษฎีที่จะสามารถอธิบายแรงพื้นฐานธรรมชาติทุกชนิดได้ภายในทฤษฏีเดียวเรียกว่าทฤษฎีสนามรวม (Unified field theory) แต่ไม่สำเร็จ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2498 อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์ (Albert Einstein) นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 20 เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวาย ที่เมืองพรินซ์ตัน รัฐนิวเจอร์ซี สหรัฐอเมริกา ด้วยวัย 76 ปี ทฤษฎีในฝันของไอน์ชไตน์คงต้องรอยอดอัจฉริยะคนใหม่มาสานงานต่อให้ลุล่วง แต่ผลงานของเขานั้นมากมายและยิ่งใหญ่มากแทบไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์คนหนึ่งจะทำได้", "title": "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" }, { "docid": "764#17", "text": "ไอน์สไตน์แต่งงานกับมิเลวาเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2446 แม้จะถูกมารดาคัดค้านเพราะนางมีอคติกับชาวเซิร์บ และคิดว่ามาริคนั้น \"แก่เกินไป\" ทั้งยัง \"หน้าตาอัปลักษณ์\"[10][11] ความสัมพันธ์ของคนทั้งสองค่อนข้างจะเป็นส่วนตัวและเป็นคู่ชีวิตที่มีสติปัญญา ในจดหมายฉบับหนึ่งถึงหล่อน ไอน์ชไตน์เรียกมาริคว่า \"สิ่งมีชีวิตที่เสมอกันกับผม ผู้ซึ่งแข็งแรงและมีอิสระเฉกเช่นเดียวกัน\"[12] มีการถกเถียงกันอยู่เป็นบางคราวว่า มาริคมีอิทธิพลต่องานของไอน์ชไตน์บ้างหรือไม่ อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ต่างลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า ไม่มี[13][14][15] บุตรคนแรกของไอน์ชไตน์กับมิเลวา คือ ฮันส์ อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์ เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 ที่กรุงแบร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ บุตรคนที่สองคือ เอดูอาร์ด เกิดที่ซูริกเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2453", "title": "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" }, { "docid": "764#36", "text": "ระหว่างที่เดินทางท่องเที่ยว ไอน์ชไตน์ได้เขียนบันทึกประจำวันส่งให้ภรรยาของเขา คือเอลซา กับบุตรบุญธรรมอีกสองคนคือมาร์ก็อตและอิลซา จดหมายเหล่านี้รวมอยู่ในเอกสารที่ยกให้แก่มหาวิทยาลัยฮีบรู มาร์ก็อต ไอน์ชไตน์ อนุญาตให้เผยแพร่จดหมายส่วนตัวแก่สาธารณชนได้ แต่จะต้องเป็นเวลา 20 ปีหลังจากเธอเสียชีวิตแล้วเท่านั้น (มาร์ก็อตเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2529[30]) บาร์บารา โวลฟ์ ผู้ดูแลรักษาเอกสารของไอน์ชไตน์ที่มหาวิทยาลัยฮีบรู ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์บีบีซีว่า มีจดหมายติดต่อส่วนตัวระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2455-2498 เป็นจำนวนมากกว่า 3,500 หน้า[31]", "title": "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" }, { "docid": "764#18", "text": "อัลแบร์ทกับมาริคหย่ากันเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 หลังจากแยกกันอยู่ 5 ปี ในวันที่ 2 มิถุนายนปีเดียวกันนั้น ไอน์ชไตน์แต่งงานกับ เอลซา โลเวนธาล (นี ไอน์ชไตน์) นางพยาบาลที่ช่วยดูแลอภิบาลระหว่างที่เขาป่วย เอลซาเป็นญาติห่างๆ ทั้งทางฝั่งพ่อและฝั่งแม่ของไอน์ชไตน์ ครอบครัวไอน์ชไตน์ช่วยกันเลี้ยงดู มาร์ก็อต และ อิลเซ ลูกสาวของเอลซาจากการแต่งงานครั้งแรกของเธอ[16] แต่ทั้งสองคนไม่มีลูกด้วยกัน อยู่ด้วยกันตลอดจนเธอป่วยเสียชีวิตในปีคศ 1936", "title": "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" }, { "docid": "764#39", "text": "พ.ศ. 2542 อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์ ได้รับยกย่องเป็น \"บุคคลแห่งศตวรรษ\" โดยนิตยสารไทม์[34][35] กัลลัพโพล ได้บันทึกว่าเขาเป็นบุคคลผู้ได้รับการยกย่องสูงที่สุดอันดับ 4 แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20[36] และจากการจัดอันดับ 100 บุคคลผู้มีอิทธิพลอย่างสูงในประวัติศาสตร์ ไอน์ชไตน์เป็น \"นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 และหนึ่งในสุดยอดอัจฉริยะตลอดกาล\"[37]", "title": "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" }, { "docid": "764#48", "text": "หมวดหมู่:อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์ หมวดหมู่:ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ หมวดหมู่:นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักฟิสิกส์ชาวยิว หมวดหมู่:นักฟิสิกส์ชาวสวิส หมวดหมู่:นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน หมวดหมู่:บุคคลจากเบอร์ลิน หมวดหมู่:บุคคลจากแบร์น หมวดหมู่:บุคคลจากมิวนิก หมวดหมู่:บุคคลจากซูริก หมวดหมู่:บุคคลจากอูล์ม หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐนิวเจอร์ซีย์ หมวดหมู่:ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว", "title": "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" }, { "docid": "764#0", "text": "อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์ (German: Albert Einstein) หรือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์และนักฟิสิกส์ทฤษฎี ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม กลศาสตร์สถิติ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน พ.ศ. 2464 จากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก และจาก\"การทำประโยชน์แก่ฟิสิกส์ทฤษฎี\"", "title": "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" }, { "docid": "97647#0", "text": "สัญชาติ () หมายถึง ประเทศที่ที่บุคคลคนนั้นเกิด โดยไม่นับเชื้อชาติ การเปลี่ยนสัญชาตินั้นทำได้ แต่ต้องว่าตามกฎหมายของแต่ละประเทศ สัญชาตินั้นสำคัญมากเพราะจะทำให้คนอื่นรู้ว่าคุณเกิดที่ไหน ดังนั้นในแบบกรอกหลายอย่าง จึงมีช่องสัญชาติให้เติม สำหรับหนังสือเดินทาง จะต้องมีสัญชาติติดตัวอยู่ เพื่อที่จะได้รู้ว่าเดินทางมาจากประเทศอะไร", "title": "สัญชาติ" }, { "docid": "146628#2", "text": "นอกจากนี้ เหตุการณ์แม่พระรับสารเกิดที่ไหนก็ไม่มีใครทราบได้ ทว่าฝ่ายออร์ทอดอกซ์เชื่อว่าเกิดที่เมืองนาซาเรธ ประเทศอิสราเอล ที่ \"โบสถ์ออร์ทอดอกซ์แม่พระรับสาร\" (Orthodox Church of the Annunciation) ส่วนฝ่ายโรมันคาทอลิกก็เชื่อว่าเกิดที่เมืองนาซาเรธนั้น และเกิดที่ \"โบสถ์แม่พระรับสาร\" (Church of the Annunciation)", "title": "แม่พระรับสาร" }, { "docid": "28282#7", "text": "\" ศีลบารมีล่ะ คนเราเพียงแต่รับศีลไม่ได้รักษาศีล เข้าใจว่า ศีลนั้นเป็นของพระถ้าพระไม่ให้แล้ว ก็ว่าเราไม่ได้ ศีลอย่างนี้ เป็นสีลัพพตปรามาส เพียงแต่ลูบคลำศีลแท้ที่จริงนั้น ศีลของเรา เกิดมาพร้อมกับเรา ศีลห้าบริบูรณ์ตั้งแต่เกิดขาสอง แขนสอง ศีรษะหนึ่ง อันนี้คือตัวศีลห้า เราได้จากมารดาของเรา เกิดมาก็มีพร้อมแล้ว เมื่อเรามีศีลห้าบริสุทธิ์อย่างนี้ ก็ให้เรารักษาอันนี้หละ รักษากายของเรา รักษาวาจา รักษาใจให้เรียบร้อยอย่าไปกระทำโทษน้อยใหญ่ ทางกาย ทางวาจา ทางใจของเรา โทษห้าคืออะไร คือ ปาณาติปาตา ท่านให้งดเว้น อย่าไปทำ นั่นเป็นโทษ ไม่ใช่ศีลอทินนาทานา นั่นก็เป็นโทษ ไม่ใช่ศีลกาเมสุมิจฉาจารา นั่นก็ไม่ใช่ศีล เป็นแต่โทษมุสาวาทา ท่านให้งดเว้น มันเป็นโทษ ไม่ใช่ศีลสุราเมรยมชฺชฯ อันนี้ก็เป็นแต่โทษถ้าเราไม่ได้ทำความผิดห้าอย่างนี้ อยู่ที่ไหนเราก็มีศีล อยู่ในป่าในดง ก็มีศีล อยู่ในรถในรา เราก็มีศีลให้เข้าใจศีลตามนี้ ที่คอยจะรับจากพระ นั่นไม่ใช่ ท่านก็บอกว่า อย่าไปทำ ห้าอย่างนั้นให้ละเว้น เมื่อเราละเว้นแล้ว อยู่ที่ไหนก็มีศีล เราก็เป็นคนบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ศีลห้า อย่างนั้น เราไม่อยากได้ ไม่ปรารถนาเหตุฉันใด จึงว่าไม่อยากได้ พิจารณาดูซี่ สมมติว่ามีคนมาฆ่า หรือ มาฆ่าพี่ฆ่าน้อง ญาติพงษ์ ของเรา เราดีใจไหมล่ะ เราไปฆ่าเขาล่ะ เขาดีใจไหม พิจารณาดูซี่ เราไม่ต้องการอย่างนั้นไม่ใช่เหรอถ้าเราไม่ทำอย่างนั้นแล้ว โทษของเรา ก็ไม่มี เกิดมาอายุก็ยืนนาน ไม่ตายแต่น้อย แต่หนุมก็เพราะเราไม่ได้ทำปาณาติบาตไว้ ในหลายภพหลายชาติแม้ในชาตินี้ก็เหมือนกัน เราฟังธรรม ก็ฟังในชาตินี้ แล้วก็ปฏิบัติในปัจจุบันนี้ เราไม่ต้องคำนึงถึงอดีตอนาคต เรากำหนดให้รู้เดี๋ยวนี้ เรานั่งอยู่นี่ ก็เป็นศีลอยู่ นี่ข้อสำคัญ \"", "title": "หลวงปู่ฝั้น อาจาโร" }, { "docid": "945590#1", "text": "สเติร์นเกิดในครอบครัวชาวยิว เป็นบุตรของออสการ์ (Oskar Stern) ชแตร์น และยูเฌเนีย ชแตร์น (Eugenia Stern) (นามสกุลเดิม โรเซินทัล (Rosenthal)) ที่เมืองโซห์เรา ราชอาณาจักรปรัสเซีย (ปัจจุบันคือ ซอรือ ประเทศโปแลนด์) เขาศึกษาที่ไฟรบวร์คอิมไบรส์เกา และที่มหาวิทยาลัยเบรสเลา โดยทำงานร่วมกับออทโท ซัคคัวร์ (Otto Sackur) ในหัวข้อทฤษฎีจลน์ของความดันออสโมติกในสารละลายเข้มข้น ต่อมาสเติร์นทำงานร่วมกับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (หรืออัลแบร์ท ไอน์ชไตน์) ที่มหาวิทยาลัยคาร์ลอวา (หรือชาลส์) ณ กรุงปราก ครั้นปี พ.ศ.2456 สเติร์นย้ายไปทำงานที่สถาบันเทคโนโลยีเอเทฮาซือริช ณ เมืองซือริช (หรือซูริก) เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเริ่มต้น สเติร์นทำงานด้านอุตุนิยมวิทยาในแนวหน้าติดรัสเซีย ในขณะที่ศึกษาต่อ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2458 เขาเข้าเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยฟรังค์ฟูร์ท (หรือแฟรงก์เฟิร์ต) หกปีต่อมา เขาได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยรอสตอคและทำงานเป็นเวลาสองปี ก่อนจะไปเป็นผู้อำนวยการสถาบันเคมีเชิงฟิสิกส์ ณ มหาวิทยาลัยฮัมบวร์ค", "title": "ออตโต สเติร์น" }, { "docid": "764#5", "text": "ไอน์ชไตน์ได้ตีพิมพ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 300 ชิ้น และงานอื่นที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์อีกกว่า 150 ชิ้น[1][2] ปี พ.ศ. 2542 นิตยสารไทมส์ ยกย่องให้เขาเป็น \"บุรุษแห่งศตวรรษ\" ผู้เขียนชีวประวัติของเขาเอ่ยถึงเขาว่า \"สำหรับความหมายในทางวิทยาศาสตร์ และต่อมาเป็นความหมายต่อสาธารณะ ไอน์ชไตน์ มีความหมายเดียวกันกับ อัจฉริยะ\"[3]", "title": "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" }, { "docid": "94905#16", "text": "เบียทริกซ์เดินทางมายังเม็กซิโกเพื่อมาหาเอสเตบัน วิฮาโญ่ (ไมเคิล พาค) พ่อเล้าแก่ผู้หนึ่งซึ่งเป็นคนเลี้ยงดูบิลมาตั้งแต่เด็ก และเอสเตบันคือกุญแจที่จะไขปริศนาว่าบิวล์อยู่ที่ไหน และเมื่อเบียทริกซ์รู้ว่าบิวล์อยู่ที่ไหนเธอก็ไม่รีรอที่จะปิดบัญชีแค้นคนสุดท้ายของเธอ แต่เมื่อเธอไปถึงบ้านของบิวล์ สิ่งที่คาดไม่ถึงก็เกิดขึ้น เมื่อเบียทริกซ์ได้พบกับ บีบี ลูกสาวแท้ๆ วัยสี่ขวบของเธอนั้นเอง ซึ่งกำลังหยอกเย้าอยู่กับบิวล์ผู้เป็นพ่อของบีบีแท้ๆ แต่เบียทริกซ์ก็พยายามเก็บความรู้สึกแค้น และเล่นกับบีบีอย่างสนุกสนานจนบีบีนอนหลับไป", "title": "คิลบิล" }, { "docid": "764#43", "text": "งานเขียนของไอน์ชไตน์ที่แสดงไว้ที่นี้ คืองานเขียนที่ใช้ในการอ้างอิงภายในบทความ สำหรับรายชื่อผลงานตีพิมพ์ทั้งหมดของเขา ดูที่ รายชื่องานตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ของอัลแบร์ท ไอน์ชไตน์", "title": "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" }, { "docid": "810357#0", "text": "แบร์โทลด์ คอนราด แฮร์มันน์ อัลแบร์ท ชเปียร์ (; ; 19 มีนาคม ค.ศ. 1905 – 1 กันยายน ค.ศ. 1981) เป็นสถาปนิกชาวเยอรมัน เป็นหัวหน้าสถาปนิกของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ก่อนได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงสรรพาวุธของนาซีเยอรมนี ชเปียร์ยอมรับผิดในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ทำให้ได้รับฉายา \"นาซีผู้กล่าวคำขอโทษ\" (the Nazi who said sorry) อย่างไรก็ตาม ชเปียร์ปฏิเสธไม่รู้เห็นเกี่ยวกับฮอโลคอสต์", "title": "อัลแบร์ท ชเปียร์" }, { "docid": "824383#0", "text": "อัลแบร์ท เค็สเซิลริง (; 30 พฤศจิกายน 1885 – 16 กรกฏาคม 1960) เป็นจอมพลชาวเยอรมันแห่งกองทัพอากาศลุฟท์วัฟเฟอ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ในอาชีพทหารที่มีมาในสงครามโลกทั้งสองครั้ง เค็สเซิลริงได้กลายเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการที่มีพรสวรรค์มากที่สุดของนาซีเยอรมนี และเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด เป็นหนึ่งในนายทหารที่ได้รับรางวัลเหรียญกางเขนเหล็กกางเขนอัศวินประดับด้วยใบโอ๊กและดาบประดับเพชร มีชื่อเล่นว่า \"อัลแบร์ทอมยิ้ม\" (Smiling Albert) โดยฝ่ายสัมพันธมิตร และ \"ลุงอัลแบร์ท\" โดยทหารของเขา เขาเป็นหนึ่งในนายพลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองด้วยทหารระดับชั้นต่ำกว่าสัญญาบัตร (rank and file)", "title": "อัลแบร์ท เค็สเซิลริง" }, { "docid": "821892#11", "text": "ชิ้นผ้าแดง มีทุกงานประกวด เป็นการผูกผ้าแดงให้กับชิ้นที่ผ่าน เกิดจากเอาแพรแดงผูกทำขวัญเครื่องลายครามในงานตั้งโต๊ะบ้านสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ชิ้นผ้าชมพู เป็นชิ้นที่ผ่านการพิจารณาแล้วว่าดีเหมือนชิ้นผ้าแดง แต่ชำรุดบางส่วน ชิ้นเต๊กซ้วน เป็นรางวัลเฉพาะในงานเถลิงพลับพลาสวนดุสิต เป็นชิ้นที่พิจารณาว่าดีแต่ไม่ถึงชิ้นเซี่งฮ้อ ก็ให้เป็นชิ้นเตีกซ้วน ติดแพรเขียวตัดเป็นรูปเมล็ดขนุน มีลายทองตัวอักษรจีนว่าเต๊กซ้วน ประทับพระราชลัญจกรประจำครั่งแดง ชิ้นเต๊กอี๋ เป็นรางวัลเฉพาะในงานเถลิงพลับพลาสวนดุสิต เป็นชิ้นที่พิจารณาว่าไม่ดี แต่เพราะเจ้าของโต๊ะเอาเครื่องโต๊ะมาตั้งช่วยตั้งจึงให้รางวัล ติดแพรสีน้ำตาลตัดเป็นรูปเมล็ดขนุน มีลายทองตัวอักษรจีนว่าเต๊กอี๋ ประทับพระราชลัญจกรประจำครั่งแดง เมื่อเอาไปตั้งประกวดที่ไหนต้องเรียกผ้าแดงมาผูกทุกงาน ชิ้นเซี่ยงฮ้อ เป็นชิ้นที่กรรมการพิจารณาตัดสินแล้วว่าเป็นของดี และไม่มีใครมีชิ้นลายแบบนี้ แบ่งชั้นเป็นเซี่ยงฮ้อทอง,เซี่ยงฮ้อเงิน,เซี่ยงฮ้อเหลือง,เซี่ยงฮ้อแดง,เซี่ยงฮ้อชมพู,เซี่ยงฮ้อเขียว,เซี่ยงฮ้อม่วง แต่ละชั้นติดแพรสีตามชั้นของเซี่ยงฮ้อตัดเป็นรูปใบพร มีลายทองตัวอักษรจีนว่าเซี่ยงฮ้อ ประทับพระราชลัญจกรประจำครั่งดำ เมื่อเอาไปตั้งประกวดที่ไหนต้องเรียกผ้าแดงมาผูกทุกงาน ชิ้นไหมทอง เป็นรางวัลใหญ่สุด เพราะเป็นรางวัลพระราชทาน แบ่งชั้นเป็นไหมทองใหญ่,ไหมทองเล็ก ประทับพระราชลัญจกรครั่งแดง เมื่อเอาไปตั้งประกวดที่ไหนต้องผูกผ้าแดงทุกงาน[2]", "title": "เครื่องโต๊ะ" }, { "docid": "764#29", "text": "พ.ศ. 2469 ไอน์ชไตน์กับลูกศิษย์เก่าคนหนึ่งคือ ลีโอ ซีลาร์ด นักฟิสิกส์ชาวฮังการีผู้ต่อมาได้ร่วมในโครงการแมนฮัตตัน และได้รับยกย่องในฐานะผู้ค้นพบห่วงโซ่ปฏิกิริยา ทั้งสองได้ร่วมกันประดิษฐ์ ตู้เย็นไอน์ชไตน์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีชิ้นส่วนเคลื่อนไหวเลย และใช้พลังงานนำเข้าเพียงอย่างเดียวคือพลังงานความร้อน สิ่งประดิษฐ์นี้ได้จดสิทธิบัตรในปี พ.ศ. 2473[22][23]", "title": "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" }, { "docid": "764#1", "text": "หลังจากที่ไอน์ชไตน์ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ในปี พ.ศ. 2458 เขาก็กลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยธรรมดานักสำหรับนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง ในปีต่อ ๆ มา ชื่อเสียงของเขาได้ขยายออกไปมากกว่านักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ ไอน์ชไตน์ ได้กลายมาเป็นแบบอย่างของความฉลาดหรืออัจฉริยะความนิยมในตัวของเขาทำให้มีการใช้ชื่อไอน์ชไตน์ในการโฆษณา หรือแม้แต่การจดทะเบียนชื่อ \"อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์\" ให้เป็นเครื่องหมายการค้า", "title": "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" }, { "docid": "810357#1", "text": "ชเปียร์เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1905 ที่เมืองมันไฮม์ เป็นบุตรคนที่สองจากทั้งหมดสามคนของอัลแบร์ท ฟรีดริช ชเปียร์และลุยส์ มาทิลเดอ วิลเฮล์มีน (นามสกุลเดิม ฮอมเมิล) เดิมชเปียร์อยากเป็นนักคณิตศาสตร์ แต่ต่อมาเปลี่ยนมาเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์ตามบิดาและปู่ โดยเข้าเรียนที่สถาบันเทคโนโลยีคาร์ลสรูเออ ก่อนจะย้ายไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งมิวนิกและย้ายไปเรียนอีกครั้งที่มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเบอร์ลิน หลังจากนั้นเขาทำงานเป็นผู้ช่วยของไฮน์ริช เทสเซอนาว ในปี ค.ศ. 1928 ชเปียร์แต่งงานกับมาร์การีท เวเบอร์", "title": "อัลแบร์ท ชเปียร์" }, { "docid": "764#31", "text": "ไอน์ชไตน์ไม่เคยพอใจกับสิ่งที่เขาได้รับรู้เกี่ยวกับการอธิบายถึงธรรมชาติที่ไม่สมบูรณ์ในทฤษฎีควอนตัม ในปี พ.ศ. 2478 เขาค้นคว้าเพิ่มเติมในประเด็นเหล่านี้ร่วมกับเพื่อนร่วมงานอีก 2 คน คือ บอริส โพโดลสกี และ นาธาน โรเซน และตั้งข้อสังเกตว่า ทฤษฎีดังกล่าวดูจะต้องอาศัยอันตรกิริยาแบบไม่แบ่งแยกถิ่น ต่อมาเรียกข้อโต้แย้งนี้ว่า EPR พาราด็อกซ์ (มาจากนามสกุลของไอน์ชไตน์ โพโดลสกี และโรเซน) การทดลอง EPR ได้จัดทำขึ้นในเวลาต่อมา และได้ผลลัพธ์ที่ช่วยยืนยันการคาดการณ์ตามทฤษฎีควอนตัม[25]", "title": "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" }, { "docid": "978593#3", "text": "นอกจากนี้ คิวต์เชฟยังเป็นเครื่องหมายการันตีของความอร่อย ผ่านมาตรฐานความสนุกของไอดอลชาย เพื่อที่จะไปคัดสรรหาความอร่อยของร้านอาหาร และอาหารในเมืองไทย ที่ไหนที่ว่าอร่อย ที่ไหนที่ต้องบอกต่อความอร่อย หรือที่ไหนที่ต้องการพัฒนาเพื่อกระตุ้นยอดขายในเชิงการตลาด คิวต์เชฟจะให้ความสำคัญมากในสิ่งนี้", "title": "คิวต์เชฟ" }, { "docid": "766#12", "text": "การศึกษาประวัติศาสตร์เริ่มจากการตั้งคำถามพื้นฐานหลัก 5 คำถาม คือ \"เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในอดีต\" (What), \"เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่\" (When), \"เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน\" (Where), \"ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น\" (Why), และ \"เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร\" (How) วิธีการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่", "title": "ประวัติศาสตร์" }, { "docid": "772226#2", "text": "ในปี ค.ศ. 1953 ลิพมันได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ร่วมกับฮันส์ อดอล์ฟ เครบส์ จากผลงานการค้นพบโคเอนไซม์เอ", "title": "ฟริทซ์ อัลแบร์ท ลิพมัน" }, { "docid": "764#37", "text": "สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา จัดสร้างรูปปั้นอนุสรณ์อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์ เป็นทองแดงและหินอ่อนและสลักโดยโรเบิร์ต เบิร์คส์ ในปี พ.ศ. 2522 ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี ใกล้กับ National Mall", "title": "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" }, { "docid": "764#41", "text": "สหพันธ์นานาชาติฟิสิกส์บริสุทธิ์และฟิสิกส์ประยุกต์ ได้กำหนดให้ปี พ.ศ. 2548 เป็น \"ปีฟิสิกส์โลก\" เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง 100 ปีครบรอบการตีพิมพ์ Annus Mirabilis Papers[38] สถาบันอัลแบร์ท ไอน์ชไตน์ อนุสรณ์สถานอัลแบร์ท ไอน์ชไตน์ โดย โรเบิร์ต เบิร์คส์ หน่วยวัดในวิชาโฟโตเคมี ชื่อว่า ไอน์ชไตน์ เคมีธาตุลำดับที่ 99 ชื่อ ไอน์สไตเนียม (einsteinium) ดาวเคราะห์น้อย 2001 ไอน์ชไตน์ รางวัลไอน์ชไตน์ รางวัลสันติภาพไอน์ชไตน์", "title": "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" }, { "docid": "772226#0", "text": "ฟริทซ์ อัลแบร์ท ลิพมัน (; 12 มิถุนายน ค.ศ. 1899 – 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1986) เป็นนักชีวเคมีชาวเยอรมัน/อเมริกัน เกิดที่เมืองเคอนิชส์แบร์ค (ปัจจุบันคือเมืองคาลีนินกราด ประเทศรัสเซีย) ในครอบครัวชาวยิว เป็นบุตรของเลโอพ็อลท์และแกร์ทรูท (นามสกุลเดิม ลัคมันสกี) ลิพมัน ลิพมันเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเคอนิชส์แบร์ค มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน และมหาวิทยาลัยมิวนิก แล้วเรียนต่อด้านเคมีกับศาสตราจารย์ฮันส์ แมร์ไวน์ ในปี ค.ศ. 1926 ลิพมันทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่สถาบันไคเซอร์วิลเฮ็ล์ม และรู้จักกับอ็อทโท ฟริทซ์ ไมเออร์โฮฟ ต่อมาลิพมันและไมเออร์โฮฟเดินทางไปทำงานที่สถาบันไคเซอร์วิลเฮ็ล์มเพื่อการวิจัยทางการแพทย์ที่เมืองไฮเดิลแบร์ค", "title": "ฟริทซ์ อัลแบร์ท ลิพมัน" }, { "docid": "60632#15", "text": "รูปร่าง โครงสร้าง และเนื้อหินของหินบะซอลต์ทำให้เราทราบได้ว่ามันปะทุขึ้นมาอย่างไรและที่ไหน รู้ได้ว่ามันเกิดขึ้นในทะเล ปะทุขึ้นมาเป็นเถ้าภูเขาไฟ หรือไหลบ่าแบบพาโฮโฮซึ่งเป็นภาพลักษณ์ของการเกิดหินบะซอลต์ในฮาวาย", "title": "หินบะซอลต์" } ]
2121
เนเธอร์แลนด์เรียกอีกชื่อได้ว่าฮอลแลนด์ใช่หรือไม่ ?
[ { "docid": "8191#0", "text": "เนเธอร์แลนด์ (Dutch: Nederland [ˈneːdərˌlɑnt] เนเดอร์ลอนต์; English: Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (English: Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร[1] ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก[2] ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า \"ฮอลแลนด์\" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง[3][4] หรือไม่เป็นทางการ[5] ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ[6]", "title": "ประเทศเนเธอร์แลนด์" } ]
[ { "docid": "278960#42", "text": "จิตรกรดัตช์และเฟล็มมิชหลายคนทำงานในต่างประเทศหรือส่งงานออกนอกประเทศ การพิมพ์ก็เป็นกิจการส่งออกอีกแขนงหนึ่งที่เป็นที่นิยม ที่ทำให้แรมบรังด์มีชื่อเสียงไปทั่วยุโรป ของขวัญดัตช์ที่ถวายแก่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษโดยรัฐสภาแห่งเนเธอร์แลนด์ (States-General of the Netherlands) ในปี ค.ศ. 1660 รวมภาพเขียนร่วมสมัยสี่ภาพ จิตรกรรมอังกฤษขณะนั้นต้องพึ่งจิตรกรดัตช์ เมื่อเซอร์ปีเตอร์ เลลี (Peter Lely) ตามด้วยกอดฟรีย์ คเนลเลอร์ (Godfrey Kneller) วิวัฒนาการการเขียนภาพเหมือนของอังกฤษจากลักษณะการเขียนภาพเหมือนของจิตรกรเฟล็มมิชแอนโทนี แวน ไดค์ที่สร้างไว้ก่อนหน้าสงครามกลางเมืองอังกฤษ จิตรกรทะเลทัศน์ฟาน เดอร์ เวลเดอพ่อลูก วิลเล็ม ฟาน เดอร์ เวลเดอ (ผู้อาวุโส) และ วิลเล็ม ฟาน เดอร์ เวลเดอ (ผู้เยาว์) เป็นจิตรกรในหมู่จิตรกรผู้ย้ายออกจากฮอลแลนด์เมื่อฝรั่งเศสเข้ามารุกรานในปี ค.ศ. 1672 ที่เป็นผลให้ตลาดศิลปะทรุด ฟาน เดอร์ เวลเดอย้ายไปอังกฤษในช่วงที่มีการเริ่มเขียนภาพภูมิทัศน์อังกฤษโดยจิตรกรดัตช์ชั้นรองเช่นเฮ็นดริค ดังค์เคิร์ทส์ หรือกลุ่มที่ไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ในอิตาลีที่เรียกตนเองว่า บัมโบชานติ (Bamboccianti) ผู้ไปก่อตั้งการเขียนภาพชีวิตประจำวันในอิตาลีขึ้น ยาน วีนิกซ์ และ เมลคัวร์ โดนเดอเคอเทอร์ (Melchior d'Hondecoeter) ผู้มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพสัตว์กินเนื้อและนกไม่ว่าจะเป็นหรือตายกลายเป็นจิตรกรผู้เป็นที่นิยมกันในสังคมของผู้มีคฤหาสน์ชนบท หรือ สังคมวงการการล่าสัตว์ในยุโรปตอนเหนือ ส่วนฟรันส์ โพสต์ (Frans Post) จิตรกรภูมิทัศน์ และ อัลเบิร์ต เอ็คฮูท (Albert Eckhout) จิตรกรภาพนิ่งก็หันไปเขียนภาพเขียนชาวพื้นเมือง และถูกส่งตัวไปยังบราซิลของเนเธอร์แลนด์อยู่ระยะหนึ่ง แต่อาณานิคมที่สำคัญกว่าหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ไม่ได้รับการเขียนเท่าใดนัก", "title": "จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "52806#3", "text": "ต่อมา พ.ศ. 2052 โปรตุเกสเดินทางมาถึงมะละกาเพื่อขอตั้งสถานีการค้าแต่ถูกปฏิเสธ จนนำไปสู่สงครามระหว่างโปรตุเกส-มะละกา ซึ่งโปรตุเกสเป็นฝ่ายชนะเมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2054 มะละกาถูกเนเธอร์แลนด์ยึดครองเมื่อ พ.ศ. 2184 หลังจากเนเธอร์แลนด์ขับไล่โปรตุเกสออกไป ต่อมามะละกากลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษตามสนธิสัญญาแองโกล-ดัตซ์ หรือสนธิสัญญาอังกฤษ-ฮอลแลนด์ พ.ศ. 2367", "title": "รัฐมะละกา" }, { "docid": "419955#0", "text": "ทีดับบลิวสตีล () เป็นผู้ผลิตนาฬิกาเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นที่รู้จักในภาพลักษณ์ของนาฬิกากับโครโนกราฟขนาดใหญ่ บริษัทก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 2005 โดยทีมสองพ่อลูกที่มีชื่อว่า ยอดี และ ตง โคเบเลนส์ ในฮอลแลนด์", "title": "ทีดับบลิวสตีล" }, { "docid": "221104#4", "text": "ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เขตแดนประเทศในยุโรปทางตะวันตกเฉียงเหนือเช่นที่เห็นกันในปัจจุบันของประเทศฝรั่งเศส, ประเทศเยอรมนี, ประเทศเบลเยียม และประเทศเนเธอร์แลนด์ ยังไม่เกิดขึ้น ฟลานเดอส์ที่ในปัจจุบันหมายถึงเขตหนึ่งของประเทศเบลเยียมและบริเวณอื่นๆ ในแถบนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของเบอร์กันดีเนเธอร์แลนด์ และต่อมาสหสิบเจ็ดจังหวัด การที่บรูชและเกนต์ (ซึ่งเป็นเมืองในภูมิภาคฟลานเดอส์ทั้งสองเมือง) กลายมาเป็นศูนย์กลางของการธนาคารนานาชาติ การค้า และศิลปะในบริเวณนั้นจึงเป็นการทำให้เป็นบริเวณนี้กลายเป็นที่ชุมนุมของจิตรกรและพ่อค้าที่ไม่แต่เป็นผู้มีที่อยู่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นแต่ยังรวมทั้งผู้ที่มาจากดินแดนอื่น ๆ ด้วย ที่เป็นผลทำให้คำว่า \"ฟลานเดอส์\" และ \"เนเธอร์แลนด์\" เป็นคำที่ใช้แทนกันได้ (ที่หมายถึง \"จากกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ\") ที่มาจากที่ตั้งของเมืองที่เป็นศูนย์กลาง นอกจากนั้นนักประวัติศาสตร์ศิลปะมักจะรวมศิลปะการเขียนจากโคโลญ และบริเวณโลเวอร์ไรน์ในกลุ่มนี้ด้วย ตัวอย่างเช่นจิตรกรเช่นเกียร์ตเก็น ทท ซิงท์ ยานส์ (Geertgen tot Sint Jans) ที่ทำงานอยู่ทางเหนือของเนเธอร์แลนด์ที่ไม่ใช่ในฟลานเดอส์ ปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่งที่ยังเป็นที่ขัดแย้งกัน และยังเป็นปัญหาในเบลเยียมคือต้นกำเนิดของจิตรกรที่พูดภาษาฝรั่งเศสของจิตรกรหลายคนเช่นโรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน จิตรกรเยอรมันฮันส์ เม็มลิง และเอสโตเนีย มิเคล ซิตเตาว์ (Michael Sittow) เป็นตัวอย่างของจิตรกรที่ย้ายมาจากบริเวณอื่นมาทำงานในเนเธอแลนด์และสร้างงานแบบเนเธอแลนด์เต็มที่ การใช้คำว่า \"จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก\" และคำที่กว้างกว่าเช่น \"ศิลปะใหม่\" (Ars nova) และคำที่แคบกว่าเช่น \"ศิลปะยุคเรอเนสซองซ์เหนือ\" ทำให้ความหมายครอบคลุมงานเขียนที่กว้างขึ้นในยุคนั้นกว่าการที่จะใช้คำว่า \"ฟลานเดอส์\" ที่จำกัดการเขียนในบริเวณที่แคบกว่ามาก นอกจากนั้นเช่นเดียวกับการเรียกสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีการใช้คำว่า \"จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก\" เป็นการเน้นการกำเนิดของจิตรกรรมยุคใหม่แทนที่จะเป็นการวิวัฒนาการมาจากยุคก่อนหน้านั้น", "title": "จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก" }, { "docid": "40143#1", "text": "ทีมชาติเนเธอร์แลนด์ได้รับฉายาว่า \"Clockwork Orange\" ในช่วงที่ได้ชื่อว่าเล่นได้ตามกลยุทธ์โททัลฟุตบอลที่มีการต่อบอลได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ทีมชาติเนเธอร์แลนด์ยังเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ \"ทีมชาติฮอลแลนด์\"", "title": "ฟุตบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "324190#0", "text": "นิวฮอลแลนด์ เป็นชื่อเรียกในประวัติศาสตร์ของทวีปเกาะออสเตรเลีย ชื่อดังกล่าวได้ถูกใช้หมายถึงออสเตรเลียเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1644 โดยนักเดินเรือชาวดัตช์ แอเบล แทสมัน ว่า \"โนวา ฮัลลันเดีย\" ตั้งชื่อตามจังหวัดหนึ่งของฮอลแลนด์ และเป็นชื่อที่ใช้กันมานานถึง 180 ปี ในปูมการสำรวจภูมิภาคของวิลเลียม แดมเปียร์ ก็ได้ใช้ชื่อนี้ด้วยเช่นกัน", "title": "นิวฮอลแลนด์ (ออสเตรเลีย)" }, { "docid": "484048#1", "text": "ในสมัยอยุธยา ชาวสยามใช้คำว่า \"วิลันดา\" หมายถึง เนเธอร์แลนด์หรือชาวดัตช์ มาจากคำภาษามลายูว่า \"โอรังเบอลันดา\" หมายถึง ชาวดัตช์ในชวาและที่อื่น ๆ ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก (อินโดนีเซียในปัจจุบัน) คำว่า \"เบอลันดา\" เองอาจมาจากคำภาษาโปรตุเกสว่า \"ออลันดา\" (ฮอลแลนด์) ", "title": "หมู่บ้านฮอลันดา" }, { "docid": "324190#2", "text": "ชื่อดังกล่าวเลิกใช้ หลังจากแมธธิว ฟลินเดอร์สได้ใช้คำว่าออสเตรเลียเรียกทวีปดังกล่าว และได้แนะนำให้ปรับใช้อย่างเป็นทางการ ในตอนแรก ข้อแนะนำดังกล่าวถูกปฏิเสธ แต่ในปี ค.ศ. 1824 การเปลี่ยนชื่อได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการจากสหราชอาณาจักร แต่ในเนเธอร์แลนด์ \"Nieuw Holland\" ยังคงเป็นชื่อเรียกโดยตัวไปของภูมิภาคแห่งนี้จนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ในปัจจุบัน ไม่มีการใช้คำนี้อีกแล้ว โดยใช้คำว่า \"Australië\" ในความหมายถึงออสเตรเลียในปัจจุบัน", "title": "นิวฮอลแลนด์ (ออสเตรเลีย)" }, { "docid": "274041#0", "text": "ราชอาณาจักรฮอลแลนด์ (, , ) เป็นรัฐที่ก่อตั้งขึ้นโดยนโปเลียนสำหรับพระอนุชาหลุยส์ โบนาปาร์ตเพื่อให้ปกครองเนเธอร์แลนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ชื่อของราชอาณาจักรมาจากชื่อจังหวัดฮอลแลนด์ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีอิทธิพลที่สุดในสาธารณรัฐดัตช์ ในปี ค.ศ. 1807 ฟรีเซีย และ เยเวอร์ของปรัสเซียก็ได้รับการรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร แต่ในปี ค.ศ. 1809 หลังจากการรุกรานของอังกฤษ ฮอลแลนด์ก็เสียดินแดนทางใต้ของแม่น้ำไรน์ทั้งหมดให้แก่ฝรั่งเศส", "title": "ราชอาณาจักรฮอลแลนด์" }, { "docid": "8198#1", "text": "Sijs, Nicoline van der, 2006, De geschiedenis van het Nederlands in een notendop, Amsterdam, Uitgeverij Bert Bakker\nสัญลักษณ์ของประเทศเนเธอร์แลนด์ คือ ดอกทิวลิป และกังหันลม", "title": "ฮอลแลนด์" }, { "docid": "445918#0", "text": "ซูเมีย อบัลฮาจา (; 14 มีนาคม ค.ศ. 1988 — ) เป็นนางแบบ และนักมวยไทยชาวดัตช์-โมร็อกโก ซึ่งเป็นแชมป์จากประเทศฮอลแลนด์ และสื่อต่างๆมักเรียกเฉพาะชื่อแรกของเธอ นั่นคือ ซูเมีย", "title": "ซูเมีย อบัลฮาจา" }, { "docid": "285477#9", "text": "อุโมงค์ข้ามน้ำที่ถูกสร้างขึ้นแทนสะพานได้แก่อุโมงค์ฮอลแลนด์และอุโมงค์ลินคอล์นระหว่างรัฐนิวเจอร์ซีย์กับเมืองแมนฮัตตันในนิวยอร์กซิตี้ อุโมงค์ควีนมิดทาวน์ระหว่างแมนฮัตตันกับเมืองบอโรของเมืองควีนส์ที่ลองไอส์แลนด์ และอุโมงค์แม่น้ำแอลิซาเบธระหว่างนอร์โฟล์คกับพอร์ตสมัธเวอร์จิเนีย อุโมงค์ Queensway 1934 ลอดใต้ถนนแม่น้ำเมอร์ซี่ อุโมงค์เวสเทิร์น Scheldt ในเซลันด์เนเธอร์แลนด์และอุโมงค์ North Shore Connector ในพิตส์เบิร์กเพนซิลเวเนีย", "title": "อุโมงค์" }, { "docid": "294597#0", "text": "\"ฮีตเวฟ\" () เป็นซิงเกิ้ลฮิตในปี 1963 แต่งโดย ฮอลแลนด์-โดซิเออร์-ฮอลแลนด์ ขับร้องโดยเกิร์ลกรุปจากโมทาวน์ มาร์ธาแอนด์เดอะแวนเดลลาส และต่อมานักร้องเพลงร็อกหญิง ลินดา รอนสตัดต์ นำมาร้องใหม่อยู่ในผลงานระดับแผ่นเสียงทองคำขาวชุด \"Prisoner In Disguise\" และในบางครั้งเพลงนี้จะเรียกว่า \"(เลิฟอีสไลก์อะ) ฮีตเวฟ\" ถึงแม้ว่าตอนออกซิงเกิ้ลในปี 1963 จะไม่ได้ใช้ชื่อนี้", "title": "(เลิฟอีสไลก์อะ) ฮีตเวฟ" }, { "docid": "659450#7", "text": "อัญมณีที่น่าประทับใจมากที่สุดในชุดคือเพชรอินเดียเจียระไนรูปกลีบกุหลาบทรงหยดน้ำที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นของเจ้าหญิงแมรี พระราชกุมารีและเจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ มันถูกอธิบายว่า \"มีขนาดใหญ่เท่ากับไข่นกพิราบและโปร่งใสราวกับน้ำ\" ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับการสวมใส่และน้ำหนักยังไม่เป็นที่ทราบโดยแน่ชัด ทั้งนี้ไม่มีชื่อเรียกที่แน่นอนสำหรับเพชรดังกล่าว แต่ในอดีตถูกอ้างถึงในชื่อเพชร \"สจวร์ต\" หรือ \"ฮอลแลนด์\"", "title": "เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "219355#3", "text": "ความมั่งคั่งของฮอลแลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ทำให้เกิดการเขียนภาพกันเป็นจำนวนมากที่เป็นภาพเขียนในหัวข้อที่เกี่ยวกับภาพชีวิตประจำวัน, ภูมิทัศน์, ภาพนิ่ง, ภาพเหมือน หรือ จิตรกรรมประวัติศาสตร์ มาตรฐานการเขียนก็สูงขึ้นและจิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์กลายมาเป็นพื้นฐานที่มีอิทธิพลต่อมมาจนกระทั่งถึงยุคสมัยใหม่นิยม", "title": "จิตรกรรมบาโรก" }, { "docid": "286487#21", "text": "ในกรณีของการบังคับย้าย ก็มีข้อยกเว้นที่เกิดขึ้นกับเชอโรคีราวหนึ่งร้อยคนที่หลบหนีจากทหารอเมริกัน และไปหากินในจอร์เจียและรัฐอื่นๆ ชาวเชอโรคีผู้อาศัยอยู่บนที่ดินที่เป็นของตนเอง (ไม่ใช่ที่ดินที่เป็นเจ้าของร่วมกันโดยหมู่ชน) ไม่อยู่ในข่ายของการถูกโยกย้าย ใน นอร์ทแคโรไลนาเชอโรคีราว 400 คนที่เรียกว่าเชอโรคี Oconaluftee ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เกรตสโมคีเมาเทนที่เป็นของคนผิวขาวชื่อวิลเลียม ฮอลแลนด์ ทอมัส (ผู้ที่เชอโรคีเลี้ยงเป็นลูกมาตั้งแต่เด็ก) ก็ไม่อยู่ในข่ายของการถูกโยกย้าย นอกจากนั้นก็ยังมีเชอโรคีอีกราว 200 คนจากบริเวณนันทาฮาลาที่ได้รับการอนุญาตให้อยู่หลังจากที่ได้ช่วยกองทัพสหรัฐในการล่าตัวศาสดาซาลี (Tsali) ชาวเชอโรคีในนอร์ทแคโรไลนากลายมาเป็นกลุ่มชาติเชอโรคีตะวันออก (Eastern Band of Cherokee Indians)", "title": "เส้นทางธารน้ำตา" }, { "docid": "40143#2", "text": "ชาวอังกฤษนำกีฬาฟุตบอลเข้ามาเผยแพร่ในเนเธอร์แลนด์หรือฮอลแลนด์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1865 และจากนั้นมาพวกเขาก็คิดในเรื่องเกมการเล่นของตัวเองที่แตกต่างออกไป รวมทั้งสร้างนักเตะที่เป็นตำนานขึ้นมาอย่างมากมาย หลังจากที่สมาคมฟุตบอลเนเธอร์แลนด์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1879 และมีการลงสนามเกมนานาชาติครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1905 ด้วยการบุกไปเอาชนะเบลเยียมเพื่อนบ้าน 4-1 ซึ่งแอ็ดดี เดอ เนเฟอ ยิงไปคนเดียว 4 ประตู ", "title": "ฟุตบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "277096#0", "text": "อาณาจักรเคานท์แห่งฮอลแลนด์ (, ) เป็นอที่ปกครองโดยเคานท์แห่งฮอลแลนด์ อาณาจักรเคานท์แห่งฮอลแลนด์ก่อตั้งขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 และมาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1795 ที่ตั้งของอาณาจักรใกล้เคียงกับบริเวณจังหวัดฮอลแลนด์เหนือและฮอลแลนด์ใต้ของประเทศเนเธอร์แลนด์ปัจจุบัน และรวมทั้งเกาะ Terschelling, Vlieland, Urk และ Schokland แต่ไม่รวมเกาะต่างๆ ของฮอลแลนด์ใต้ เมืองหลวงของอาณาจักรอยู่ที่เฮก", "title": "เคาน์ตีฮอลแลนด์" }, { "docid": "279563#5", "text": "จากนั้นดยุกแห่งอองชูก็เดินทางไปยังเนเธอร์แลนด์แต่ไม่ได้ไปถึงจนกระทั่งวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1582 เมื่อได้รับการต้อนรับอย่างเป็นทางการโดยวิลเลียมเดอะไซเล้นท์ฝ่ายเนเธอร์แลนด์ที่ฟลัชชิง แม้ว่าการเข้าเมืองบรูจส์และเก้นท์จะเป็นไปด้วยดี และการได้รับการแต่งตั้งให้เป็นดยุกแห่งบราบองต์ และ เคานท์แห่งฟลานเดอร์ส แต่ฟรองซัวส์ก็ไม่เป็นที่นิยมในบรรดาชาวดัตช์และชาวเฟลมมิช ผู้ยังเห็นว่าคาทอลิกฝรั่งเศสยังคงเป็นศัตรู จังหวัดเซแลนด์และฮอลแลนด์ไม่ยอมรับฟรองซัวส์เป็นประมุข และวิลเลียมผู้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพยายามลดความแตกแยกทางศาสนาถูกวิจารณ์ว่าเล่นการเมืองฝรั่งเศส ในปัจจุบันเชื่อกันว่าวิลเลียมเดอะไซเล้นท์เป็นบุคคลที่จ้างให้ทำ \"พรมทอแขวนผนังวาลัวส์\" (Valois tapestries) เพื่อถวายพระราชินีนาถแคทเธอรีน เมื่อกองทัพฝรั่งเศสของฟรองซัวส์มาถึงในปี ค.ศ. 1582 แผนของวิลเลียมก็ดูเหมือนจะสมตามที่คาดไว้ ที่ทำให้แม้แต่ดยุกแห่งพาร์มาก็ยังเกรงว่าดัตช์จะเป็นฝ่ายได้เปรียบขึ้นมา", "title": "ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌู" }, { "docid": "216950#1", "text": "ในช่วง พ.ศ. 2102 ถึง พ.ศ. 2338 เป็นช่วงของสาธารณรัฐดัตช์ ต้นกำเนิดของพระมหากษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์สามารถย้อนกลับไปถึงการแต่งตั้งวิลเลิมแห่งราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา ขึ้นเป็นสตัดเฮาเดอร์แห่งฮอลแลนด์ เซลันด์ และยูเทรกต์ ในปี พ.ศ. 2102 โดยพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงถูกถอดออกจากตำแหน่งและกลายเป็นผู้นำในการลุกฮือของดัตช์ ตามมาด้วยการที่ผู้สำเร็จราชการแทนได้แต่งตั้งให้พระองค์ทรงเป็นสตัดเฮาเดอร์ของจังหวัดที่เกิดการลุกฮือต่อต้านในปี พ.ศ. 2115 และสตัดเฮาเดอร์พระองค์ถัดมาทุกพระองค์ล้วนสืบเชื้อสายมาจากวิลเลิมแห่งออเรนจ์-นัสเซาหรือจากพระอนุชาของพระองค์ วิลเลิมที่ 6 เป็นพระโอรสในสตัดเฮาเดอร์พระองค์สุดท้าย ซึ่งต่อมาพระองค์ทรงทำสงครามชนะนโปเลียนที่ 1 ในปี พ.ศ. 2356 พระองค์ก็ทรงเข้ารับการสาบานพระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และทรงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิมที่ 1", "title": "รายพระนามพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "325512#3", "text": "หลังจากช่วยทีมนาโงยะ มาเป็นกว่า 3 ปี ฮนดะก็มีโอกาสย้ายไปค้าแข้งยังต่างแดนเป็นครั้งแรกกับสโมสร VVV-Venlo ในวันที่ 16 มกราคม 2008 โดยเขาเซ็นสัญญาเป็นเวลา 2 ปีครึ่ง และในฤดูกาลแรกของเขาบนแผ่นดินแดนกังหันลม เขาได้ลงสนามไปทั้งสิ้น 14 นัด ทำได้ 2 ประตู ซึ่งประตูแรกของเขาเกิดขึ้นในเกมที่พบกับ เฟเยนูร์ด เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2008 โดยเป็นลูกฟรีคิก\nตลอดระยะเวลาสั้นๆในทีม VVV-Venlo สื่อต่าง ๆ ในฮอลแลนด์ยกย่องให้เขาเป็น \"Keiser Keisuke\" หรือจอมทัพไคซูเกะ เขาได้รับการยอมรับอย่างสูงไม่ใช่แค่ในญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังได้รับชื่อเสียงในฮอลแลนด์ด้วย เนื่องจากความสำเร็จของเขากับสโมสร VVV-Venlo นั่นเอง", "title": "เคซูเกะ ฮนดะ" }, { "docid": "776228#0", "text": "นิวกินีของเนเธอร์แลนด์ (; ) เป็นชื่อเรียกภูมิภาคปาปัวตะวันตกในช่วงที่มีฐานะเป็นดินแดนโพ้นทะเลของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 ถึง พ.ศ. 2505 (ก่อนปี พ.ศ. 2492 ดินแดนนี้เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์) หลังจากที่อินเดียตะวันออกได้รับเอกราชเป็นประเทศอินโดนีเซียก็ได้เรียกร้องดินแดนส่วนนี้ด้วย แต่เนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมโดยอ้างว่า ชนพื้นเมืองบนเกาะนิวกินีเป็นคนละกลุ่มชาติพันธุ์กับประชากรบนเกาะอื่น ๆ ของอินโดนีเซีย จึงไม่ควรถูกผนวกเข้ากับรัฐอินโดนีเซียที่ตั้งขึ้นใหม่ ส่วนอินโดนีเซียอ้างว่านิวกินีของเนเธอร์แลนด์อยู่ในขอบเขตดินแดนทางธรรมชาติของตน จึงพยายามใช้มาตรการทางการทูตและการเมืองระหว่างประเทศกดดัน รวมทั้งขู่จะบุกยึดครองโดยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต ทำให้เนเธอร์แลนด์ยอมถอนตัวออกไปในที่สุด สหประชาชาติได้เข้ามาบริหารดินแดนนี้ชั่วคราวก่อนจะโอนให้อินโดนีเซียในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2506", "title": "นิวกินีของเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "8198#0", "text": "ฮอลแลนด์ () เป็นชื่อที่ใช้เรียกภูมิภาคทางตะวันตกของเนเธอร์แลนด์ นอกจากนั้นคำว่า \"ฮอลแลนด์\" ใช้ในการเรียกเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดด้วยแต่ตามทางการแล้วไม่ถือว่าถูกต้อง ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 จนถึง 16 ฮอลแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนทางการเมืองในภูมิภาค เป็นรัฐเคานต์ที่ปกครองโดยเคานต์แห่งฮอลแลนด์ เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฮอลแลนด์ก็รุ่งเรืองขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและการค้าทางทะเลที่รุ่งเรืองกว่าบรรดาจังหวัดอื่น ๆ ในสาธารณรัฐดัตช์ ในปัจจุบัน อดีตรัฐเคานต์แห่งฮอลแลนด์ประกอบด้วยสองจังหวัด คือ จังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ ที่เป็นที่ตั้งของเมืองสามเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ อัมสเตอร์ดัม เฮก และรอตเทอร์ดาม", "title": "ฮอลแลนด์" }, { "docid": "274041#1", "text": "พระเจ้าหลุยส์มิได้ปกครองตามนโยบายของนโปเลียน แต่ทรงพยายามรักษาผลประโยชน์ของดัตช์แทนที่ ราชอาณาจักรถูกยุบในปี ค.ศ. 1810 หลังจากนั้นเนเธอร์แลนด์ก็ถูกผนวกโดยฝรั่งเศสจนกระทั่งปี ค.ศ. 1813 ราชอาณาจักรฮอลแลนด์ครอบคลุมบริเวณที่ปัจจุบันคือประเทศเนเธอร์แลนด์ ยกเว้นจังหวัดลิมบวร์ก, และบางส่วนของเซแลนด์ซึ่งเป็นดินแดนของฝรั่งเศส ฟรีเซียตะวันออก (ในเยอรมนีปัจจุบัน) ก็เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร", "title": "ราชอาณาจักรฮอลแลนด์" }, { "docid": "274528#0", "text": "สงครามแปดสิบปี หรือ สงครามอิสรภาพเนเธอร์แลนด์ () เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1566 จนถึงปี ค.ศ. 1648 ระหว่าง สาธารณรัฐดัตช์ และ จักรวรรดิสเปน สงครามเริ่มจากการเป็นการปฏิวัติต่อต้านสมเด็จพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปนผู้เป็นประมุขของเนเธอร์แลนด์ของฮับส์บวร์กในหลายจังหวัดทางตอนเหนือ ที่เริ่มขึ้นในฮอลแลนด์ และ เซแลนด์ สงครามจบลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย ผลของสงครามในที่สุดก็นำไปสู่การแยกตัวของเจ็ดจังหวัดที่มารวมตัวกันเป็นสาธารณรัฐดัตช์ จังหวัดต่อต้านฟลานเดอร์ส และ บราบองต์ต่อมากลายเป็นเบลเยียมปัจจุบัน", "title": "สงครามแปดสิบปี" }, { "docid": "276773#2", "text": "ดินแดนเบอร์กันดีมาขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเริ่มจากการได้อาณาจักรเคานท์แห่งนาเมอร์ในปี ค.ศ. 1421, อาณาจักรดยุคแห่งบราบองต์ และ อาณาจักรดยุคแห่งลิมบวร์กในปี ค.ศ. 1430, อาณาจักรเคานท์แห่งเอโนต์, อาณาจักรเคานท์แห่งฮอลแลนด์ และ เซแลนด์ในปี ค.ศ. 1432, อาณาจักรดยุคแห่งลักเซมเบิร์กในปี ค.ศ. 1441 และอาณาจักรดยุคแห่งเกลเดอร์สในปี ค.ศ. 1473", "title": "เนเธอร์แลนด์ของเบอร์กันดี" }, { "docid": "279563#3", "text": "ในปี ค.ศ. 1576 ฟรองซัวส์ทำการเจรจากต่อรองข้อตกลงในพระราชกฤษฎีกาบิวลี (Edict of Beaulieu)ระหว่างสงครามศาสนาของฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1579 ก็ได้รับเชิญให้เป็นประมุขสืบสาย (hereditary sovereign) ของสหจังหวัดแห่งเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1580 รัฐสภาแห่งแห่งเนเธอร์แลนด์ (ยกเว้นเซแลนด์และฮอลแลนด์) ลงนามในสนธิสัญญาเพลซีส-เลอส์-ตูร์ (Treaty of Plessis-les-Tours) กับฟรองซัวส์ ที่ระบุให้ฟรองซัวส์มีตำแหน่งเป็น \"ผู้พิทักษ์เสรีภาพแห่งเนเธอร์แลนด์\" และเป็นกษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์", "title": "ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌู" }, { "docid": "12125#0", "text": "นโปเลียน โบนาปาร์ต (French: Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1799 และได้กลายเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศสระหว่างปี ค.ศ. 1804 ถึง 1814 ภายใต้พระนามว่า จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงมีชัยและปกครองดินแดนส่วนใหญ่ของทวีปยุโรป และได้แต่งตั้งให้แม่ทัพและพี่น้องของเขาขึ้นครองบัลลังก์ในรัฐและอาณาจักรในยุโรปหลายแห่งด้วยกัน เช่น ราชอาณาจักรสเปน, ราชอาณาจักรเนเปิลส์, ราชอาณาจักรอิตาลี, ราชอาณาจักรฮอลแลนด์ (เนเธอร์แลนด์), ราชอาณาจักรสวีเดน", "title": "จักรพรรดินโปเลียนที่ 1" }, { "docid": "446777#1", "text": "ออล็องด์เกิดในเมืองรูอ็องในจังหวัดแซน-มารีตีม แคว้นโอต-นอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส เขาเกิดในครอบครัวชนชั้นกลางคาทอลิก แม่ของเขาเป็นนักสังคมสงเคราะห์ ส่วนพ่อเป็นหมอหู คอ จมูกที่เคยลงสมัครเป็นผู้สมัครฝ่ายขวาจัดในการเมืองท้องถิ่น เชื่อกันว่านามสกุลออล็องด์ของเขามาจากบรรพบุรุษที่หลบหนีมาจากฮอลแลนด์ (เนเธอร์แลนด์ในปัจจุบัน) ในช่วงศตวรรษที่ 16 และนำชื่อประเทศมาเป็นนามสกุล", "title": "ฟร็องซัว ออล็องด์" } ]
3732
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ลำดับที่เท่าไหร่ของไทย?
[ { "docid": "4261#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ปีฉลู รวมพระชนมายุ 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี", "title": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว" } ]
[ { "docid": "70081#9", "text": "ในกาลต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนา หม่อมเจ้าวัลลภาเทวี ขึ้นเป็น พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ในฐานะพระคู่หมั้นในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน[7] แต่กระนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าก็ทรงคบหากับหม่อมเจ้าลักษมีลาวัณ พระขนิษฐาของพระวรกัญญาปทานอย่างเปิดเผย ทั้ง ๆ ที่อยู่ระหว่างที่ทรงหมั้นอยู่[8] และพบว่าทรงติดต่อกันทางจดหมายเพื่อระบายความทุกข์ส่วนพระองค์[9] และหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถอนหมั้นกับพระวรกัญญาปทาน ได้ทรงมีพระราชนิพนธ์ถึงหม่อมเจ้าลักษมีลาวัณอยู่เสมอ เช่น[9]", "title": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "8726#1", "text": "หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และโปรดเกล้าสถาปนาสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าพระยาสุรสีห์ ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท)[1] ได้มีการย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมายังกรุงเทพมหานคร และโปรดเกล้าให้สร้างพระบรมมหาราชวังและพระราชวังบวรสถานมงคลขึ้นในคราวเดียวกัน[2]", "title": "พระราชวังบวรสถานมงคล" }, { "docid": "43247#1", "text": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยในหลายด้าน แต่การปฏิรูปรัฐธรรมนูญกลับเป็นไปอย่างเชื่องช้าซึ่งสร้างความไม่พอใจในหมู่พวกหัวก้าวหน้าและเสรีนิยม[2] ในปี พ.ศ. 2454 ได้เกิดกบฏ ร.ศ. 130 ซึ่งดำเนินการโดยคณะนายทหารหนุ่ม เป้าหมายของคณะคือเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองและล้มล้างระบอบเก่าและแทนที่ด้วยระบบรัฐธรรมนูญตะวันตกที่ทันสมัย และอาจต้องการยกพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นเป็นพระมหากษัตริย์แทนด้วย[3] อาจกล่าวได้ว่ากบฏ ร.ศ. 130 เป็นแรงขับดันให้คณะราษฎรปฏิวัติ โดยภายหลังยึดอำนาจแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เชิญผู้นำการกบฏ ร.ศ. 130 ไปพบและกล่าวกับขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ว่า \"ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม\" และหลวงประดิษฐ์มนูธรรมก็ได้กล่าวในโอกาสเดียวกันว่า \"พวกผมถือว่าการปฏิวัติครั้งนี้เป็นการกระทำต่อเนื่องจากการกระทำเมื่อ ร.ศ. 130\"[4] การปฏิวัติดังกล่าวล้มเหลวและผู้ก่อการถูกจำคุก นับแต่นั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลิกความพยายามส่วนใหญ่ในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญและทรงปกครองประเทศต่อไปภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีข้อยกเว้นบ้างที่โปรดฯ แต่งตั้งสามัญชนบางคนสู่สภาองคมนตรีและรัฐบาล[5] ต่อมาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ทรงสืบราชสมบัติสืบต่อจากพระเชษฐาเป็นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระองค์ทรงสืบช่วงปกครองประเทศในวิกฤตการณ์ พระเชษฐาของพระองค์ทรงได้ทำให้สถานะของประเทศเกือบจะล้มละลาย เพราะทรงมักจะใช้เงินจากกองคลังมาปกปิดการขาดดุลของท้องพระคลังข้างที่ และข้อเท็จจริงยังมีว่ารัฐและประชาชนถูกบังคับให้จ่ายเงินแก่พระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ซึ่งมีวิถีชีวิตอันหรูหราฟุ่มเฟือย พระองค์ทรงรีบจัดตั้งอภิรัฐมนตรีสภาขึ้นเป็นองค์กรหลักในการปกครองรัฐ เพื่อพยายามแก้ไขปัญหาที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ สภานั้นประกอบด้วยเจ้านายอาวุโสมีประสบการณ์ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลก่อนมาแล้ว เจ้านายเหล่านั้นเร่งเปลี่ยนตัวสามัญชนที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในข้าราชการพลเรือนและทหารแล้วแทนที่ด้วยคนของพวกตน สภาถูกครอบงำโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ผู้ทรงได้รับการศึกษาจากเยอรมนี และเป็นพระเชษฐาร่วมสมเด็จพระบรมชนกนาถของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ยังเป็นรัชทายาทด้วย ตามกฎหมายการสืบราชสันตติวงศ์อันซับซ้อนของราชวงศ์จักรี กลายเป็นว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เห็นอกเห็นใจ ทรงตัดรายจ่ายในพระราชวังและเสด็จพระราชดำเนินทั่วประเทศอย่างกว้างขวาง และเมื่อเสด็จกลับมายังพระนคร พระองค์ทรงทำให้เป็นที่ยอมรับและโดดเด่นแก่หมู่ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานครซึ่งเติบโตขึ้นกว่าแต่ก่อนโดยทรงประกอบพระราชกรณียกิจสาธารณะหลายอย่าง จนถึงเวลานี้ นักเรียนหลายคนที่ถูกส่งไปศึกษาต่างประเทศเมื่อหลายทศวรรษก่อนเริ่มเดินทางกลับประเทศแล้ว แต่นักเรียนเหล่านี้กลับขาดโอกาส การยึดมั่นของเจ้านายและความล้าหลังเปรียบเทียบของประเทศ ส่วนมากจึงหูตาสว่างกับสถานะเดิม[6]", "title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475" }, { "docid": "18164#8", "text": "และปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งกรรมการที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่สำคัญ คือ ประธานกรรมการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า, ประธานอนุกรรมการเครือข่ายสถาบันการศึกษาในรัชกาลที่ 6, และกรรมการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "ธงทอง จันทรางศุ" }, { "docid": "311894#1", "text": "ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาเหรียญราชรุจิ ประจำรัชกาลของพระองค์ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2454 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาในปี พ.ศ. 2470 และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสถาปนาสำหรับหรับรัชกาลของแต่ละพระองค์ในปี พ.ศ. 2502 ส่วนพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (รัชกาลที่ 8) ไม่ได้พระราชทานไว้", "title": "เหรียญราชรุจิ" }, { "docid": "9091#10", "text": "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาสามารถมาก ทรงรอบรู้งานใน ด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น งานด้านกองทัพบก กองทัพเรือ ด้านต่างประเทศ วิชาช่างจักรกล และวิชาการปืนใหญ่ ทรงรอบรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีจนสามารถที่จะทรงเขียนโต้ตอบจดหมายเป็นภาษาอังกฤษ กับ เซอร์ จอห์น เบาริง ราชทูตอังกฤษ ที่เดินทางมาเจริญพระราชไมตรีกับประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) ซึ่งข้อความในสนธิสัญญานั้น ถ้าเอ่ยถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมีคำกำกับว่า The First King ส่วนพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมีคำกำกับว่า The Second King สำหรับในภาษาไทยนั้น ตามสนธิสัญญา ทางไมตรีกับประเทศอังกฤษ ในบทภาค ภาษาไทยจะแปลคำว่า The First King ว่า พระเจ้าแผ่นดินสยามพระองค์เอก ส่วนคำว่า The Second King นั้นจะแปลว่า พระเจ้าประเทศสยามพระองค์ที่ 2 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระนามปรากฏอยู่ในประกาศในอารัมภบทให้ดำเนินการเจรจาทำสนธิสัญญาฉบับนี้ด้วย ในฐานะพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 คู่กับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีสายพระเนตรที่กว้างไกล ในด้านการ ต่างประเทศ ทรงรอบรู้ข่าวสารในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นอย่างดี ทรงทราบพระราชหฤทัยดีว่า ถ้าหากทรง ดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวแล้วไซร้ ไทยเราจะเสียประโยชน์ ส่วนบรรดาฝรั่งที่รู้จักมักคุ้นกับวังหน้ามักจะยกย่องชมเชยว่า ทรงเป็นสุภาพบุรุษเพราะพระองค์มีพระนิสัยสุภาพ โดยเฉพาะกับพระราชชนนี กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ด้วยแล้ว ทรงแสดงความเคารพเกรงกลัวเป็นอันมาก", "title": "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "841561#0", "text": "การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการเสด็จพระราชดำเนินไปยังต่างประเทศในทวีปยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสานสัมพันธไมตรีแก่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป เพื่อให้ประเทศที่พระองค์เสด็จประพาสเหล่านั้นมองเห็นว่าประเทศสยามเป็นประเทศที่มีการพัฒนาตนเองและไม่ได้ล้าหลังป่าเถื่อน และเพื่อโอกาสในการร่วมกันแก้ไขปัญหาความมั่นคงและส่งเสริมความเป็นเอกราชของประเทศสยาม แม้จะอยู่ในช่วงท่ามกลางยุคล่าอาณานิคมก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะมีมูลเหตุมาจากกรณีพิพาทระหว่างสยามกับฝรั่งเศสในเหตุการณ์วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 หรือในปี พ.ศ. 2436 ที่ทำให้สยามเสียดินแดนมากที่สุดเท่าที่มีการเสียดินแดนให้แก่ชาติตะวันตก ผลจากการเสด็จพระราชดำเนินดังกล่าวนั้นทำให้พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่มาจากทวีปเอเชียที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนทวีปยุโรปอย่างจริงจังโดยทรงรู้จักแฝงแนวความคิดจิตวิทยาและการปฏิบัติตามธรรมเนียมยุโรปอีกด้วย", "title": "การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "28869#1", "text": "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สร้างขึ้นตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพร้อมด้วยพระราชภาดาและภคินี เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์ ด้วยเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระชนม์อยู่นั้น ได้ทรงพระราชดำริจัดตั้ง สภากาชาดไทย ซึ่งเรียกในเวลานั้นว่า สภาอุณาโลมแดง ขึ้นไว้ โดยรับการรักษาพยาบาลผู้เจ็บไข้ได้ป่วย ตามคติของนานาชาติที่เจริญแล้ว แต่การสภากาชาดไทยยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ ถ้าจะบริจาคทรัพย์สร้างโรงพยาบาลสภากาชาดขึ้น ก็จะเป็นพระกุศล อันประกอบด้วยถาวรประโยชน์อนุโลม ตามพระราชประสงค์แห่งองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ และเป็นเกียรติแก่ราชอาณาจักรโดยทรงพระดำริเห็นพ้องกัน บรรดาพระราชโอรส พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงบริจาคทรัพย์รวมกันเป็นจำนวนเงิน 122,910 บาท สมทบกับทุนของสภากาชาด สร้างโรงพยาบาลขึ้น และพระราชทานนามตามพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์รำลึงถึงพระบรมชนกนารถ โรงพยาบาลของกาชาดนี้จึงมีนามว่า \"โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์\" เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2457 ตามแจ้งความสภากาชาดสยาม ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2457 ได้กำหนดจุดมุ่งหมายให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นโรงพยาบาลที่ดีจริงต้องตามวิทยาศาสตร์แผ่พระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวกับทั้งแพร่เกียรติยศของชาติไทย บริการรักษาพยาบาลช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ให้บริการรักษาผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยไข้ทั้งในยามสงครามและปกติ โดยยึดมั่นในปณิธาณอันแน่วแน่ที่จะให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บทั่วไป โดยไม่เลือกชาติ ชั้น วรรณะ ลัทธิ ศาสนา หรือความคิดเห็นทางการเมือง \nเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรเสด็จพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) พระองค์ท่านได้พระราชทานพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า \"...พระองค์มีพระราชประสงค์ให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ผลิตแพทย์ผู้ได้สำเร็จหลักสูตรให้มีปริมาณมากขึ้น เพื่อออกมาช่วยเหลือประเทศชาติ...\" โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งถือเป็นโรงพยาบาลที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นโรงเรียนแพทย์จึงได้รับการประสานงานจากรัฐบาลให้เป็นที่ตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งที่สองของประเทศไทย โรงเรียนแพทย์แห่งใหม่นี้ถือกำเนิดในนาม \"คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์\" จนกระทั่งมีมติให้โอนคณะที่ซ้ำซ้อนของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ให้กับมหาวิทยาลัยเดิมที่เป็นรากฐานของคณะนั้น ๆ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จึงถูกโอนมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในนามใหม่ว่า \"คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย\" ", "title": "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" }, { "docid": "46649#1", "text": "การศึกษาในสาขารัฐศาสตร์นั้น เริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงจัดตั้ง \"โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน\" ขึ้น เพื่อฝึกหัดนักเรียนให้รับการศึกษาเพื่อเข้ารับราชการตามกระทรวงต่าง ๆ ต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสถาปนา \"จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย\" ขึ้น โดย \"คณะรัฐประศาสนศาสตร์\" เป็น 1 ใน 4 คณะแรกตั้งของมหาวิทยาลัย หลังจากนั้น ได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์\" และโอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และในที่สุดก็กลับมาจัดตั้งใหม่อีกครั้งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2491 หลังจากนั้น สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ก็ได้เปิดสอนในหลายมหาวิทยาลัย ดังต่อไปนี้ (\"หมายเหตุ : นับเฉพาะหลักสูตรปริญญาตรี ข้อมูล ณ วันที่ 1 มี.ค. 56\")", "title": "คณะรัฐศาสตร์ในประเทศไทย" }, { "docid": "17648#35", "text": "อีกประการหนึ่ง มีบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องรายงานการประชุมปาลิเมนต์สยาม เป็น \"ปฏิกิริยา\" ที่พระองค์ทรงมีต่อข้อเรียกร้องของเทียนวรรณที่จะให้ประเทศไทยมีรัฐสภาเหมือนกับชาติอื่น ๆ เทียนวรรณได้เขียนบทความโดยอ้างว่าได้ฝันไปหรือได้ฝันทั้ง ๆ ที่กำลังตื่นอยู่ ดังนั้นพระราชนิพนธ์รายงานการประชุมปาลิเมนต์สยามจึงเป็นบทความล้อเลียนเทียนวรรณคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระสุบินไปว่า ประเทศไทยมีรัฐสภาแล้ว มีสมาชิกรัฐสภา 2 ท่าน ชื่อ นายเกศร์ ซึ่งอาจเป็น ก.ศ.ร กุหลาบ และนายทวน คงจะเป็นเทียนวรรณเสนอความเห็นในรัฐสภา แล้วเป็นการพูดนอกประเด็น", "title": "ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม" }, { "docid": "86481#4", "text": "แต่เมื่อรัชกาลที่ 7 เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระองค์ก็ทรงประกาศให้การใช้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์กลับไปเป็นตามแบบพระราชนิยมของรัชกาลที่ 4 เช่นเดิม เว้นแต่พระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ยังคงใช้ว่าพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ และใช้มาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การใช้คำว่า \"Rama\" แล้วตามด้วยหมายเลขลำดับรัชกาล เพื่อสื่อถึงพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ยังคงใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน", "title": "พระปรมาภิไธย (พระมหากษัตริย์ไทย)" }, { "docid": "116945#0", "text": "เรือหลวงพระร่วง เป็นเรือหลวงลำแรกในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งข้าราชการและประชาชนผู้มีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เรี่ยไรทุนทรัพย์ซื้อเรือรบถวายเป็นราชพลี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จากการจัดตั้งจัดตั้ง ราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ (The Royal Navy League of Siam) ขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความยินดีและเห็นชอบ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามเรือนี้ว่า \"พระร่วง\" อันเป็นสิริมงคลตามวีรกษัตริย์อันเป็นที่นับถือของชาวไทยทั่วไป", "title": "เรือหลวงพระร่วง" }, { "docid": "37967#24", "text": "\"...ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งประชวรกระเสาะกระแสะมาตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงสวรรคต ประชวรมากขึ้น และเสด็จไปประทับอยู่ ณ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน ครั้งหนึ่งสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี และพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ซึ่งล้วนแต่เป็นพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยกัน และเป็นพระมเหสีเทวีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงด้วย เสด็จขึ้นไปทรงเยี่ยมพระอาการประชวรในท้องพระโรงพระที่นั่งวโรภาษพิมาน ทรงสนทนากันสามพระองค์พี่น้องถึงความหลังครั้งเก่า แล้วสมเด็จพระพันปีหลวงก็ทรงกราบลงที่พระบาทสมเด็จฯ ก็ที่ใคร ๆ จะรู้สึกพระองค์ เป็นนัยว่าทรงขอพระราชทานอภัยในความหลังดั้งเดิมทั้งหมด ฝ่ายพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี เมื่อทอดพระเนตรเห็นดังนั้นก็ทรงเบี่ยงพระองค์ชักพระบาทหลบ เห็นด้วยเกรงว่าสมเด็จพระพันปีจะกราบมาถึงท่านอีกพระองค์ เสร็จจากทรงกราบที่พระบาทสมเด็จฯ แล้ว สมเด็จพระพันปีก็ทรงคลานอ้อมมานิดหนึ่ง แล้วก็ทรงกราบลงที่พระบาทพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีได้ แล้วก็ทรงกราบลงพร้อม ๆ กับที่พระกันแสงกันทั้งสามพระองค์ ทำให้ข้าหลวงแถว ๆ นั้นอดกลั้นน้ำตามิได้ไปตาม ๆ กัน...\"", "title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" }, { "docid": "325706#0", "text": "กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (คำย่อ: ร.1 พัน.3 รอ.) เป็นหน่วยที่ตั้งขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว กองพันนี้ได้ถือกำเนิดมาจากกองทหารรักษาวัง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริว่า \"การทหารวังนั้น มิใช่มีหน้าที่เฉพาะของทหาร แต่เป็นหน้าที่ของกรมวังนอก\" ซึ่งเป็นกรมพลเรือนในเขตพระราชฐาน และกองพันนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งขึ้นด้วยพระองค์เอง และพระราชทานเครื่องแบบให้หน่วยนี้ โดยใช้สีบานเย็นเป็นหลัก", "title": "กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์" }, { "docid": "101624#0", "text": "วัง อาจหมายถึง\n_.กูชื่อ วุฒิชัยไมหมาด เลขบัตรประชาชน_1-8204-0004-8435_ชื่อจริง สมเด็จเจ้ายุหัวพระมหาธีรราชเจ้าในสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้ายุหัว อายุตอนนี้_26_27_ปี_ ราชกาลที่6.แห่งนครรัฐสลามสยาม จังหวังพังงา ประเทศไทย ไม่เคยได้รับเงินรับทองจากพ่อยุหัวมงกุฏเกล้าเจ้าหัวเลยแม้แต่บาทเดียว_เมื่อตั้งแต่_แม่โสมเสาวนีเสียชีวิตตั้งแต่_พุทธศักราช_2534ปลายปี_และพ่อมงกุฏเกล้าไม่เคยเสด็จกลับมาอีกเลย_ตอนนี้ลำบากมากมีแต่รูปถ่าย_ของกระผมตอนขึ้นครองราชเท่านั้น_ณ.ราชอณาจักรสยามประเทศหลังส่วน จังหวัดประจวบชุมพร เขต วังหลวงราชอณาจักรสยามประเทศ (เงินทองของใช้ส่วนตัวถูกลักทรัพย์หมดตั้งแต่แม่กระผมโสมเสาวนีลูกท้าวเทพกษัตริย์ตรีเสียชีวิต_ตั้งแต่_พุทธศักราช_2534ปลายปี", "title": "วัง (แก้ความกำกวม)" }, { "docid": "33758#12", "text": "เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ได้รับพระราชทานนามสกุล ณ ลำปาง () ซึ่งเป็นนามสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 1,166 จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2457 โดยพระราชทานให้แก่ผู้สืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษที่มีนิวาสถานตั้งอยู่ในที่แห่งนั้นเป็นเวลานานมาก มีผู้คนรู้จัก และนับถือโดยมาก โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตใช้คำว่า \"ณ\" นำหน้าสกุลเป็นอันขาด ต่อมาภายหลังตระกูล ณ ลำปาง เป็นหนึ่งในสิบตระกูลที่ได้เข้าเฝ้าในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช\n (เดิมชื่มหาวราภรณ์)\n (เดิมชื่อมหาสุราภรณ์)", "title": "เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต" }, { "docid": "4261#42", "text": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการประกาศสงครามกับประเทศฝ่ายเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460[82] โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียเป็นผู้นำ พร้อมทั้งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งทหารไทยอาสาสมัครไปร่วมรบในสมรภูมิยุโรปด้วย ผลของสงครามประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเจรจากับประเทศมหาอำนาจหลายประเทศ ในการแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เช่น สนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต สนธิสัญญาจำกัดอำนาจการเก็บภาษีของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สนธิสัญญาจำกัดอำนาจกลางประเทศไทย[83]", "title": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "4219#4", "text": "พระบรมวงศานุวงศ์ไทยในปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ต้นราชสกุลมหิดล[1] กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สังวาลย์ ตะละภัฏ) โดยสมเด็จพระบรมราชชนกนั้นเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี) ถือเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "ราชวงศ์จักรี" }, { "docid": "42942#2", "text": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระดำริว่า ถ้าได้จัดโรงพยาบาลของกาชาด ก็จะเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง พระองค์จึงได้ร่วมกับพระราชภราดาภคินี ทรงบริจาคทรัพย์รวมกับทุนของสภาอุณาโลมแดง สร้างโรงพยาบาลขึ้นในที่ดินส่วนพระองค์ แล้วโปรดเกล้าฯ ขนานนามตามพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า \"โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์\" เพื่อเป็นอนุสรณ์ในพระราชบิดา และให้โรงพยาบาลนี้เป็นของสภากาชาดสยาม พ.ศ. 2463 สภากาชาดไทยได้รับการรับรองจาก \"ส่วนการรับรองระหว่างประเทศ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ\" พ.ศ. 2464 สภากาชาดไทยเข้าเป็นสมาชิกของ \"สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ\"", "title": "สภากาชาดไทย" }, { "docid": "608211#8", "text": "หลังสิ้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์องค์ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงรับคะนังไว้ในราชการเป็นพลเสือป่า กรมเสือป่าพรานหลวงรักษาพระองค์ และประจำกรมพิณพาทย์หลวง และพระราชทานนามสกุลให้ด้วยว่า กิราตกะ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2457", "title": "คะนัง กิราตกะ" }, { "docid": "19998#4", "text": "ปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระยาสุรสีห์ วิสิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร)ขึ้นมารับราชการตำแหน่ง ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ โดยเฉพาะทางด้านการศึกษานั้น พระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์พยายามดำเนินการทุกวิถีทางในอันที่จะใช้ \"การศึกษาแผนใหม่\" เป็นเครื่องช่วยในการปฏิรูป มณฑลพายัพ โดยเริ่มจากการสร้างโรงเรียน ท่านได้มอบหมายให้ขุนอุปกรณ์ศิลปศาสตร์ ข้าหลวงธรรมการมณฑลพายัพ เป็นหัวหน้าบอกบุญเรี่ยรายเงิน จากเจ้านายฝ่ายเหนือและข้าราชการมณฑล ได้เงินจำนวนมาก การก่อสร้างโรงเรียนที่ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงค์ได้ก่อสร้างค้างไว ้จึงได้เริ่มดำเนินการต่อ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2448\nเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ครั้งยังดำรงพระอิสริยศเป็นสมเด็จพระบรม โอรสาธิราช สยามมงกุฏราชกุมาร ได้เสด็จประพาสมณฑลพายัพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จเยี่ยมโรงเรียนเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2448 ดังความปรากฏในลิลิตพายัพ ความว่า \"…ครั้นรุ่งขึ้นพระองค์ทรงรัถยานขับรี่ สู่ที่ตั้งโรงเรียน อ่านเขียนหนังสือสยาม เล่าบ่นตามกำหนด หมดทั้งเลขวิทยา ราชาทอดพระเนตรเสร็จ ผันพักตร์เสด็จโดยบาท สู่อาวาสเจดีย์หลวง…\" ในการเสด็จประพาสมณฑลพายัพครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรด พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 500 บาท สมทบการสร้างโรงเรียน และได้พระราชทานนามโรงเรียน ที่ก่อสร้างใหม่ว่า โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ซึ่งมีความหมายว่าเป็นโรงเรียนของสมเด็จพระยุพราช นั่นเอง", "title": "โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย" }, { "docid": "86481#2", "text": "ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระราชดำริว่าพระนามของพระมหากษัตริย์สืบไปภายหน้าควรใช้แตกต่างกันทุกรัชกาล เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการออกนามแผ่นดินเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว จึงทรงถวายพระนามแก่สมเด็จพระบูรพกษัตริย์รัชกาลก่อนหน้าพระองค์ทั้งสามรัชกาลดังนี้นอกจากนี้ยังทรงกำหนดหลักการเฉลิมพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ตามลำดับรัชกาล โดยรัชกาลที่เป็นเลขคี่ให้ใช้คำว่า \"ปรมินทร\" รัชกาลเลขคู่ให้ใช้คำว่า \"ปรเมนทร\" เป็นเครื่องหมายสังเกต พระนามพระมหากษัตริย์ไทยตามหลักพระราชนิยมดังกล่าวตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมามีดังนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีโดยใช้คำนำหน้าพระนามว่า \"รามาธิบดีศรีสินทร\" ทุกรัชกาล เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 ดังนี้", "title": "พระปรมาภิไธย (พระมหากษัตริย์ไทย)" }, { "docid": "175304#0", "text": "เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เกิดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงเรียกว่า \"เครื่องราชอิสริยยศ\" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างเครื่องราชอิสริยยศขึ้นอีกหลายตระกูล และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด กระหม่อมให้เปลี่ยนมาเรียกว่า \"เครื่องราชอิสริยาภรณ์\" สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดีให้แก่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทั้งที่เป็นบุรุษและสตรี โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญราชอิสริยาภรณ์มีรายชื่อและลำดับเกียรติ ดังต่อไปนี้", "title": "รายชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย" }, { "docid": "64532#3", "text": "แต่แล้วในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มีการสร้างต่อไปยังสุไหงโกลก", "title": "สถานีรถไฟเพชรบุรี" }, { "docid": "107157#30", "text": "ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสร้างพระที่นั่งองค์ใหม่เพื่อพระราชทานเป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์ได้นำชื่อ \"พระที่นั่งภานุมาศจำรูญ\" มาตั้งเป็นชื่อพระที่นั่งองค์นี้ ซึ่งภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามพระที่นั่งใหม่เป็น พระที่นั่งบรมพิมาน ดังเช่นปัจจุบัน", "title": "พระอภิเนาว์นิเวศน์" }, { "docid": "29808#3", "text": "ชั้นล่างของพระที่นั่งเวหาศจำรูญนั้น ใช้เป็นห้องพระบรรทมพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะอยู่ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่ง และใช้เป็นท้องพระโรง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ท้องพระโรงล่าง และท้องพระโรงบน โดยบริเวณทางขึ้นท้องพระโรงบนนั้นมีแผ่นหินอ่อนเป็นตราสัญลักษณ์ลัทธิเต๋าของจีน รูปหยินหยางประดับไว้ มีพระราชอาสน์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่ตรงกลาง นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้คัดลอกแผ่นป้ายคำโคลงสรรเสริญข้าราชการที่ทำคุณความดี 9 บท 17 แผ่นป้าย มาประดับไว้ด้วย ส่วนท้องพระโรงบนนั้น เป็นห้องประชุมเสนาบดี และใช้เป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 5 โดยมีการตั้งป้าย 8 เหลี่ยมซึ่งเขียนเป็นภาษาจีนว่า \"เทียน เหมง เต้ย\" และ \"ว่าน ว่าน ซุย\" ซึ่งแปลว่า ทรงพระเจริญหมื่น ๆ ปี และที่เพดานท้องพระโรงมีอักษรไทยที่เขียนเลียนแบบอักษรจีนเป็นคำว่า \"กิม หลวน เต้ย\" ซึ่งแปลว่า โอรสจากสวรรค์", "title": "พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ" }, { "docid": "37967#1", "text": "พระองค์เป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งเป็นสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของไทย เป็นสมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมเด็จพระอัยยิกาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช", "title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" }, { "docid": "5519#16", "text": "พระเกี้ยว เป็นพิจิตรเรขา (สัญลักษณ์) ประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงเรียนมหาดเล็กซึ่งเป็นต้นกำเนิดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกราบบังคมทูลขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายของโรงเรียน และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจนกระทั่งโรงเรียนได้รับการสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[52][53] เพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 พระราชทานให้เป็นเพลงประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[54][55][56] เสื้อครุยพระราชทาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ใช้เสื้อครุยได้ โดยสีพื้นของสำรด นั้นแบ่งออกเป็น 3 สี[57][58] ได้แก่", "title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "29808#5", "text": "ห้องทรงพระอักษรตั้งอยู่ในทางทิศใต้ของพระที่นั่ง ภายในห้องมีโต๊ะทรงพระอักษรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่ ปัจจุบัน ใช้เป็นที่เก็บหนังสือภาษาจีนในรัชสมัยรัชกาลที่ 5", "title": "พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ" }, { "docid": "70063#11", "text": "ส่วนเรื่องการทรงครรภ์ พระองค์ตกเสียสองครั้ง เนื่องจากพระองค์ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวตลอดไม่ได้หยุด จึงทำให้ตก และมีครั้งหนึ่งที่มีพระประสูติกาลก่อนกำหนด (ประมาณ 6 เดือน) เป็นพระราชโอรส พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรแล้วถึงกับน้ำพระเนตรไหล กระนั้นก็ยังทรงมีพระเมตตาต่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนี ทรงอ่านหนังสือพระราชทาน ทรงประคองและดูแลเป็นอย่างดี แต่ด้วยเหตุที่ไม่อาจฉลองพระเดชพระคุณในฐานะสมเด็จพระบรมราชินีได้อย่างสมบูรณ์ จึงมีพระบรมราชโองการให้เปลี่ยนพระราชอิสริยยศลง[11]", "title": "สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา" } ]
2542
รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อไหร่?
[ { "docid": "142881#7", "text": "กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการจราจรและขนส่ง ได้จัดทำแผนการพัฒนาระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษเช่นเดียวกันกับ สนข. ตามนโยบายของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น ในชื่อโครงการ บางกอกบีอาร์ที ()และอีก 10 เส้นทางที่เดิมคาดว่าจะเปิดใช้ได้ในปี พ.ศ. 2551 ได้แก่จากเส้นทางในแผนแม่บทของกรุงเทพมหานครทั้งหมด มีเพียงสายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ เส้นทางเดียวที่สามารถก่อสร้างเป็นเส้นทางนำร่องได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2552 นอกจากนี้ยังมีโครงการสายหมอชิต-ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อรองรับการเปิดใช้ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร บนถนนแจ้งวัฒนะ และจะก่อสร้างเป็นสายที่ 2 ต่อไป", "title": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" }, { "docid": "142881#8", "text": "เป็นเส้นทางนำร่อง พัฒนามาจากเส้นทางช่องนนทรี-สะพานกรุงเทพ และสุรวงศ์-ราชพฤกษ์ ดำเนินการโดยทางกรุงเทพมหานครลงทุนทั้งหมด แล้วให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ตั้งบริษัทลูกมาบริหารจัดการ จัดซื้อรถ และจัดหาพนักงานมาปฏิบัติการ แต่ไม่มีส่วนเข้ามาลงทุน และไม่มีส่วนในการแบ่งผลกำไร ปัจจุบันงานโยธาก่อสร้างแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ และการจัดหารถโดยสาร มีกำหนดเปิดใช้วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งล่าช้าจากกำหนดการเดิมในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เนื่องจากการจัดซื้อรถอยู่ภายใต้การตรวจสอบความโปร่งใสของกรมสอบสวนคดีพิเศษ", "title": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" } ]
[ { "docid": "253441#0", "text": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ สายหมอชิต-ปากเกร็ด หรือ รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ สายหมอชิต-ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร เป็นโครงการก่อสร้างระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (BRT) ของกรุงเทพมหานคร จำนวน 7 สถานี เกิดแนวคิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2551 ในสมัยของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มุ่งหวังรองรับบริการข้าราชการกว่า 30,000 คนที่ทำงานภายในศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร และเมืองทองธานี คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสาร 56,000 คนต่อวัน และใช้เงินลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท", "title": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ สายหมอชิต-ปากเกร็ด" }, { "docid": "142881#5", "text": "จากการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ได้มีมติให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นผู้ออกแบบรายละเอียดของระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ ซึ่ง สนข. ได้ลงนามว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาให้ดำเนินการศึกษาออกแบบเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2547 มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาระบบรถโดยสารประจำทางให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และส่งเสริมให้ประชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะโดยเฉพาะรถโดยสารประจำทาง", "title": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" }, { "docid": "142881#3", "text": "แนวทางหนึ่งของการพัฒนาระบบรถประจำทางที่เหมาะสม คือการสร้างระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ ที่มีคุณภาพเทียบเท่าระบบราง มีลักษณะเฉพาะได้แก่ ใช้มาตรการการให้สิทธิพิเศษแก่รถโดยสารประจำทาง โดยออกแบบช่องทางพิเศษเฉพาะในรูปแบบชิดเกาะกลางถนน เพื่อแยกการเดินรถออกจากระบบจราจรอื่น ๆ มีสถานีเฉพาะที่อำนวยความสะดวก มีศูนย์ควบคุมและบริหารจัดการการเดินรถ โดยใช้ระบบขนส่งอัจฉริยะ ( หรือ ITS) ที่มีตารางเวลาการเดินรถค่อนข้างแน่นอน เพื่อความตรงต่อเวลาและความปลอดภัย ขณะที่เส้นทางการเดินรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษมีความยืดหยุ่นมากกว่าระบบราง และใช้ค่าก่อสร้างเพียง 80-120 ล้านบาทต่อกิโลเมตร หรือประมาณ 8% ของต้นทุนระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ใช้เงินลงทุนถึง 1,400 ล้านบาทต่อกิโลเมตร และถูกกว่ารถไฟฟ้าใต้ดิน ที่ใช้เงินลงทุนสูงถึง 3,000 ล้านบาทต่อกิโลเมตร ทั้งยังสามารถก่อสร้างได้รวดเร็วไม่เกิน 1 ปีต่อเส้นทาง หรือเร็วกว่ารถไฟฟ้าถึง 3 เท่า", "title": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" }, { "docid": "140610#0", "text": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ หรือสายช่องนนทรี–ราชพฤกษ์ เป็นระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือ\"บีอาร์ที\" (BRT) สายนำร่องของกรุงเทพมหานคร และเป็นสายแรกของประเทศไทย เดินรถบนถนนนราธิวาสราชนครินทร์, ถนนพระรามที่ 3, สะพานพระราม 3 และถนนรัชดาภิเษก–ท่าพระ ระยะทาง 15.9 กิโลเมตร มีจุดจอดรับส่งผู้โดยสาร 12 สถานี โดยจัดช่องทางการเดินรถแยกจากช่องทางปกติบนพื้นถนนเดิมในทิศทางเดียวกัน ยกเว้นบนสะพานข้ามทางแยกและสะพานพระราม 3ที่เดินรถในช่องเดินรถมวลชน (high-occupancy vehicle/HOV lane) ร่วมกับรถยนต์ที่มีผู้โดยสารตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป และบริเวณทางแยกบางจุดที่ใช้ช่องทางร่วมกับรถทั่วไป", "title": "รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์" }, { "docid": "142881#0", "text": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นแผนงานโครงข่ายระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือบีอาร์ที (BRT) ที่ภาครัฐพยายามนำมาใช้เสริมโครงข่ายระบบขนส่งมวลชน เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะโดยเฉพาะระบบรถประจำทาง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จัดทำโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร", "title": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" }, { "docid": "142881#4", "text": "สำหรับในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีการศึกษาแผนการพัฒนาระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษจากหน่วยงาน 2 แห่งในเวลาเดียวกัน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ซึ่งเคยมีข้อเสนอแนะให้รวมแผนการพัฒนาของทั้ง 2 องค์กรเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อให้การพัฒนาระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น", "title": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" }, { "docid": "710376#1", "text": "รถด่วนพิเศษนครพิงค์ ในอดีตคือรถด่วนนครพิงค์ เป็นรถโดยสารปรับอากาศล้วน เปิดเดินรถครั้งแรกในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2530 และเป็นขบวนรถด่วนที่วิ่งคู่กับรถด่วนขบวนที่ 13/14 ซึ่งเปิดทำการมาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 โดยใช้รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่ 1 รุ่นฮุนได 24 ที่นั่งและนอน ที่นำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ เมือปี พ.ศ. 2539 และรถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่ 2 รุ่นแดวู 40 ที่นั่งและนอน ที่นำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ เมือปี พ.ศ. 2539 เช่นเดียวกับรถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่ 1 และมีรถนั่งปรับอากาศชั้นที่ 2 ที่รองรับผู้โดยสารที่เป็นคนพิการ มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้พิการ รวมทั้งห้องน้ำกว้างกว่ารถโดยสารปกติ โดยดัดแปลงมาจากรถนั่งปรับอากาศชั้น 3 เดิมจาก JR-west ประเทศญี่ปุ่น และมีตู้สำหรับสุภาพสตรีและเด็กอยู่ที่คันที่ 11 ในเที่ยวไป และคันที่ 3 ในเที่ยวกลับ", "title": "รถด่วนพิเศษนครพิงค์" }, { "docid": "114430#0", "text": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือ บีอาร์ที เป็นระบบขนส่งมวลชนรูปแบบหนึ่งที่ใช้รถโดยสาร ให้บริการเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากรถโดยสารประจำทางทั่วไป โดยพัฒนารูปแบบการเดินรถ ตัวรถโดยสาร ตารางการเดินรถ ระบบขนส่งอัจฉริยะ และที่สำคัญคือจะมีช่องทางวิ่งแยกออกมาจากถนนปกติเป็นช่องทางเฉพาะ โดยมีจุดมุ่งหมายให้มีคุณภาพของบริการเทียบเท่ากับระบบขนส่งมวลชนระบบราง ในความเร็วและความจุผู้โดยสารที่เทียบเท่ากับระบบรถไฟฟ้ารางเบา ในขณะที่ต้นทุนการก่อสร้างและการเดินรถโดยสารประจำทางที่ประหยัดกว่า ทั้งยังสามารถจัดเส้นทางการเดินรถได้ยืดหยุ่นมากกว่าระบบราง", "title": "รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ" }, { "docid": "140610#1", "text": "โครงการนี้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 ในสมัยของอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้วยงบประมาณ 1,400 ล้านบาท หลังจากได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2550 เริ่มก่อสร้างจริงเมื่อปี พ.ศ. 2550 และมีกำหนดเปิดให้บริการในช่วงปี พ.ศ. 2551–2552 แต่ได้เกิดความล่าช้ามาอย่างต่อเนื่อง แม้การก่อสร้างสถานีเสร็จสมบูรณ์ไปก่อนหน้านั้นแล้ว เนื่องจากการจัดหาตัวรถหยุดชะงักไปถึง 9 เดือนภายใต้กระบวนการตรวจสอบความโปร่งใสของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รวมไปถึงความล่าช้าในกระบวนการจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งอัจฉริยะ, การก่อสร้างทางเดินเชื่อมสถานีสาทรกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ช่องนนทรีที่แยกสาทร–นราธิวาส และการก่อสร้างช่องทางเดินรถเฉพาะสำหรับบีอาร์ที แต่ในภายหลังสามารถเปิดให้บริการได้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553", "title": "รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์" } ]
3255
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือรัชกาลที่เท่าไหร่ของไทย ?
[ { "docid": "4249#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า \"เจ้าฟ้ามงกุฎ\" เสด็จพระราชสมภพ ณ พระราชวังเดิม เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช[1] เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 43 และเป็นลำดับที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี", "title": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" } ]
[ { "docid": "5419#21", "text": "พ.ศ. 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระอุตสาหะเสด็จประพาสเมืองเหนืออีกครั้งหนึ่ง โดยเสด็จทางเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะนั้นกำลังผนวชเป็นสามเณรก็ได้ตามเสด็จมาด้วย เมื่อเสด็จถึง ก็ได้ทรงประทับและทรงสมโภชพระพุทธชินราชอยู่ 2 วันจึงเสด็จกลับ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช) ได้เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลกทุกพระองค์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ที่พระองค์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรในระหว่างเสด็จประพาส เช่น เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราชและเรื่องลิลิตพายัพ เป็นต้น เอกสารดังกล่าวเหล่านี้ปัจจุบันมีคุณค่าอย่างยิ่งทางด้านประวัติศาสตร์ ส่วนรัชกาลที่ 5 นั้น พระองค์ทรงประทับพระทัยในความศักดิ์สิทธิ์และความสวยงามขององค์พระพุทธชินราช ถึงกับโปรดเกล้าฯ ให้จำลองพระพุทธรูปพระพุทธชินราชไปเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นในสมัยนั้น", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "108026#1", "text": "เมื่อราว พ.ศ. 2391 มีผู้นำมาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งขณะนั้นยังผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร และอยู่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระไพรีพินาศองค์นี้ทรงแสดงอภินิหารให้ปรากฏอริราช ศัตรูที่คิดปองร้าย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต่างมีอันเป็นไป และพ่ายแพ้ภัยตนเอง พระองค์จึงโปรดให้ถวาย พระนามของพระพุทธ รูปองค์สำคัญนี้ว่า \"พระไพรีพินาศ\" โดยมีหลักฐานเป็นกระดาษซึ่งพบในพระไพรีพินาศเจดีย์ มีอักษรเขียนว่า \"พระสถูปเจดียสิลาบัลลังองค์ จงมีนามว่า พระไพรีพินาศเจดียเทิญ\" และอีกด้านเขียนว่า \"เพราะตั้งแต่ทำแล้วมา คนไพรีก็วุ่นวายยับเยินไปโดยลำดับ\" หลักฐานดังกล่าวได้ค้นพบเมื่อวันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 ระหว่างการซ่อมแซมพระเจดีย์ 96 ปี วัดบวรนิเวศวิหาร", "title": "พระไพรีพินาศ" }, { "docid": "6744#2", "text": "ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงโปรดให้เปลี่ยนชื่อเมืองสาครบุรีเป็น เมืองสมุทรสาคร ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีพระราชดำริที่จะทรงปฏิรูปการปกครองบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นมณฑลเทศาภิบาล และมีพระราชดำริที่จะสร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่น โดยใช้รูปแบบการปกครองแบบสุขาภิบาล และเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2448 มีพระบรมราชโองการให้ยกฐานะตำบลท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาล โดยเรียกว่า สุขาภิบาลท่าฉลอม ถือได้ว่าเป็นสุขาภิบาลที่ตั้งขึ้นในหัวเมืองเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) (พ.ศ. 2456) โปรดเกล้าให้ทางราชการเปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” ทั่วทุกแห่งในพระราชอาณาจักร “เมืองสมุทรสาคร” จึงได้เปลี่ยนเป็น จังหวัดสมุทรสาคร มาจวบจนปัจจุบัน[1]", "title": "จังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "148890#0", "text": "เจ้าพระยาปราบไตรจักร (พลายหอมจัน) ช้างต้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชื่อเดิมว่า พลายหอมจัน หรือ พลายหอม ได้มาจากเมืองด่านซ้าย ในรัชกาลที่ 3", "title": "เจ้าพระยาปราบไตรจักร (พลายหอมจัน)" }, { "docid": "850490#1", "text": "พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น คือ \"จุฬาลงกรณ์\" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นคือ \"มงกุฎ\" อีกทั้ง พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีหมายความว่า \"พระจอมเกล้าน้อย\" อีกด้วย เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความหมายว่าพระเกี้ยว หรือจุลมงกุฎ จึงได้ใช้พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎวางบนเบาะ เป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลของพระองค์ที่พื้นที่ 108 ไร่  2 งาน 22 ตารางวา เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวนนักเรียน 863 คน ", "title": "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ร้อยเอ็ด" }, { "docid": "9097#1", "text": "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีจำนวนประมาณ 99 องค์[5] พระเจดีย์ที่สำคัญ คือ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร" }, { "docid": "32760#2", "text": "ภายในวัดมีจิตรกรรมฝาผนังรูปยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ต้นฉบับที่เคยเห็นกันในหนังสือเรียน วาดโดยพระยาอนุศาสน์จิตรกร จิตรกรเอกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ด้านบนของผนังภายในพระอุโบสถรายล้อมไปด้วยภาพเทพพนมนับร้อยองค์ลอยอยู่ในวิมาน ที่มีขนาดลดหลั่นกันตามระยะใกล้-ไกล ตามลักษณะของทัศนียภาพแบบตะวันตก ที่เคยมีการวาดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ส่วนด้านล่างของผนังเป็นภาพเรื่องราวของมหาเวสสันดรชาดกและสุวรรณสามชาดก", "title": "วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร" }, { "docid": "318008#11", "text": "เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ทรงมีพระชนม์และถึงพิราลัยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ได้เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖ พร้อมกับพระศพของพระขนิษฐภคินีคือ เจ้าจอมมารดาดวงคำ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)", "title": "เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์" }, { "docid": "36490#0", "text": "พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น คือ \"จุฬาลงกรณ์\" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นคือ \"มงกุฎ\" อีกทั้ง พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีหมายความว่า \"พระจอมเกล้าน้อย\" อีกด้วย เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความหมายว่าพระเกี้ยว หรือจุลมงกุฎ จึงได้ใช้พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎวางบนเบาะ เป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลของพระองค์", "title": "พระเกี้ยว" }, { "docid": "4219#8", "text": "ลำดับรูปพระนามขึ้นครองราชย์สิ้นสุดการครองราชย์รัชกาลที่ 1พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช6 เมษายน พ.ศ. 23257 กันยายน พ.ศ. 2352รัชกาลที่ 2พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย7 กันยายน พ.ศ. 235221 กรกฎาคม พ.ศ. 2367รัชกาลที่ 3พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว21 กรกฎาคม พ.ศ. 23672 เมษายน พ.ศ. 2394รัชกาลที่ 4พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว6 เมษายน พ.ศ. 23941 ตุลาคม พ.ศ. 2411รัชกาลที่ 5พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว1 ตุลาคม พ.ศ. 241123 ตุลาคม พ.ศ. 2453รัชกาลที่ 6พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว23 ตุลาคม พ.ศ. 245326 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468รัชกาลที่ 7พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว26 พฤศจิกายน พ.ศ. 24682 มีนาคม พ.ศ. 2477 (2478) (สละราชสมบัติ)รัชกาลที่ 8พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (2478)9 มิถุนายน พ.ศ. 2489รัชกาลที่ 9พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช9 มิถุนายน พ.ศ. 248913 ตุลาคม พ.ศ. 2559รัชกาลที่ 10สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร13 ตุลาคม พ.ศ. 2559ยังอยู่ในราชสมบัติ", "title": "ราชวงศ์จักรี" }, { "docid": "63904#28", "text": "รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปรับปรุงการทหารให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยจัดให้มีการจัดหน่วยทหารราบและทหารปืนใหญ่ขึ้น เป็นหน่วยประจำการ มีการนำชาวรามัญ จากเมืองนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง) และเมืองปทุมธานี  มาฝึกหัดเป็นทหารซีปอย ที่ริเริ่มมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และมีการจัดพวกญวนมาฝึกหัดเป็นทหารปืนใหญ่ โดยให้แต่งการแบบทหารซีปอย นอกจากนี้ เพื่อป้องกันข้าศึกที่ยกมาทางบก ณ บริเวณพื้นที่ชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านคือ ทางด้านตะวันออกติดกับกัมพูชา ทางด้านใต้ติดกับมะลายู และทางด้านตะวันตกติดกับพม่า จึงได้มีการสร้างป้อมปราการขึ้นใน 3 ทิศ ดังนี้รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศสยามได้เผชิญกับการคุกคามจากชาติตะวันตก มีการบีบบังคับให้เซ็นสนธิสัญญาทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม มีการส่งเรือรบมาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยาในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 มีการสู้รบและเกิดการปิดล้อมกรุงเทพ ประเทศสยามต้องสูญเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และดินแดนส่วนอื่นๆให้กับชาติตะวันตก ดังนั้นในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองรัชกาลนี้ ได้มีการปฏิรูปการทหารครั้งใหญ่ให้ทันสมัย และเป็นแบบอย่างตะวันตก การปฏิรูปการทหารบกของไทยเป็นแบบตะวันตก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือต้นแบบของกิจการทหารบกสมัยปัจจุบัน", "title": "กองทัพบกไทย" }, { "docid": "87953#2", "text": "พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่จะได้ทรงกรมจากสมเด็จพระบรมชนกนาถนั้นมักจะเป็นพระราชโอรสที่ประสูติก่อนบรมราชาภิเษก ส่วนพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติภายหลังบรมราชาภิเษกนั้นจะมักจะได้โปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมโดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรสและพระราชธิดาในรัชกาลที่ 2 ที่ทรงกรมมี 21 พระองค์ โดยได้ทรงกรมรัชกาลที่ 2 มี 18 พระองค์ และได้ทรงกรมในรัชกาลที่ 3 อีก 3 พระองค์", "title": "พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย" }, { "docid": "985025#0", "text": "ที่ชา คือการเล่นเครื่องน้ำชาอย่างไทย ที่ใช้ถ้วยชาและปั้นชาอย่างจีน โดยกำหนดวิธีการเล่นแบบไทยโดยเฉพาะ เหมือนกับการเล่นปั้นชา และ เครื่องโต๊ะ\nที่ชาและถ้วยชาที่นิยมเล่นในไทยนั้น สันนิฐานว่าเข้ามาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว ในสมัยรัตนโกสินทร์ ในระหว่าง รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนถึง รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้วยน้ำชาที่เข้ามานั้น ส่วนมากเป็นลายสีและลายน้ำทอง ถ้วยลายครามมีน้อยมาก ถ้วยชง(ถ้วยไก้หว่าน 蓋碗)มักเป็นทรงถ้วยน้ำพริก ถ้วยตวง(จอกชา 品茗杯)มักเป็นทรงบัว ส่วนถ้วยตวงที่มีฝาเป็นของที่ไทยสั่ง ถ้วยในยุคนี้ที่นับถือว่าวิเศษสุด คือ ถ้วยชุด4 เป็นของราชบรรณาการจากจักรพรดิจีนถวายมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นถ้วยชาอย่างที่เรียกว่า เครื่องเปลือกไข่ คือบางเกือบจะเท่าเปลือกไข่ ทรงโอพื้นขาว เขียนลายหนังสือเล็กเส้นหมึกขอบแดง ภายหลังพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเก็บรักษาไว้ตลอดรัชกาล แล้วตกไปเป็นของผู้อื่น แล้วนำมาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้วยชาแตกไป1ใบ จึงเอาทองคำทำแทนเนื้อที่แตกแทน", "title": "ที่ชา" }, { "docid": "876120#2", "text": "พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น คือ \"จุฬาลงกรณ์\" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นคือ \"มงกุฎ\" อีกทั้ง พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีหมายความว่า \"พระจอมเกล้าน้อย\" อีกด้วย เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความหมายว่าพระเกี้ยว หรือจุลมงกุฎ จึงได้ใช้พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎวางบนเบาะ เป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลของพระองค์", "title": "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ขอนแก่น" }, { "docid": "73441#6", "text": "ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ชุบเลี้ยงพระองค์เข้ารับราชการฝ่ายใน และหลังจากที่สมเด็จพระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ พระเชษฐภคินีของพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว พระองค์จึงเป็นพระมเหสีเพียงพระองค์เดียวจนตลอดรัชกาล และได้ทรงปกครองฝ่ายในสืบมา สังเกตได้จากการเสด็จออกรับแขกเมืองในฐานะ \"\"ควีน\"\" (รัชกาลที่ 4 ทรงใช้คำว่าเจ้าฝ่ายใน) แต่อย่างไรก็ตามไม่มีการเฉลิมพระอิสริยยศให้สูงขึ้นแต่อย่างใด ทรงมีประสูติกาลพระราชบุตรในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสองพระองค์ คือ", "title": "พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย" }, { "docid": "193972#0", "text": "ในส่วนนี้จะเป็นรายพระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี", "title": "พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "133203#2", "text": "ต่อมาทรงเข้ารับราชการในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำกับกรมหมอหลวง และทรงศึกษาวิชาการแพทย์สมัยใหม่จากมิชชันนารีชาวอเมริกัน โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น\"กรมหมื่นวงศาสนิท\" เมื่อครั้นปี พ.ศ. 2392 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชปรารภ ถึงความเสื่อมโทรมของภาษาไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้านวม ทรงแต่งตำราภาษาไทยขึ้นใหม่ เพื่ออนุรักษ์ภาษาไทย พระนิพนธ์เรื่อง “จินดามณี เล่ม 2” ซึ่งทรงดัดแปลงจากตำราเดิมสมัยอยุธยา อธิบายหลักเกณฑ์ภาษาไทยให้เข้าใจง่ายกว่าเดิม ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเป็น\"กรมหลวงวงศาธิราชสนิท\" ทรงกำกับราชการมหาดไทย ว่าพระคลังสินค้า และเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ทรงเป็นเจ้านายหนึ่งในสี่พระองค์ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหมายจะให้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท" }, { "docid": "37066#21", "text": "เป็นอาคารทรงไทยชั้นเดียว ก่ออิฐถือปูน ยกพื้นสูงสองหลัง ประตูทางเข้าอยู่ทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก ตำหนักหลังนี้สร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเป็นเรือนพักเจ้าจอมมารดาหุ่น ต่อมามีตำแหน่งท้าวทรงกันดาล บางครั้งเรียกว่าคลังผ้าเหลือง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้สร้างตำหนักไม้เพิ่มขึ้นที่ลานกลางแล้วพระราชทานให้เป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรลักษณาวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสุด", "title": "เขตพระราชฐานชั้นใน (พระบรมมหาราชวัง)" }, { "docid": "858928#4", "text": "พ.ศ. 2399 ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์เจ้าดวงจันทร์ มีพระชันษาได้ 73 ปีเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ทรงมีพระชันษายืนนานเท่ารัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยินดี เสด็จไปพระราชทานเครื่องสักการะกับต้นไม้เงินต้นไม้ทองคู่หนึ่ง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระองค์เจ้าดวงจันทร์ถึงในพระราชวังบวร แต่นั้นก็เป็นราชประเพณีถ้าเจ้านายมีพระชันษยืนเท่าพระชนมายุของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็จะทรงพระกรุณาพระราชทานเครื่องสักการะ ถ้าเป็นเจ้านายทรงศักดิ์สูงก็จะพระราชทานต้นไม้เงินต้นไม้ทองด้วยเฉลิมพระเกียรติด้วย แล้วเลยเป็นประเพณีสืบมาถึงรัชกาลอื่นภายหลัง แต่ในรัชกาลที่ 4 มีเพียงพระองค์เจ้าดวงจันทร์พระองค์เดียว ที่ได้รับพระราชทานเครื่องสักการะ", "title": "พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงจันทร์ (ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท)" }, { "docid": "183092#8", "text": "พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศา หรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเรขา (สัญลักษณ์) ประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ \"จุฬาลงกรณ์\" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ \"มงกุฎ\" อีกทั้ง พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีหมายความว่า \"พระจอมเกล้าน้อย\" อีกด้วย", "title": "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา" }, { "docid": "37634#1", "text": "พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น คือ \"จุฬาลงกรณ์\" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นคือ \"มงกุฎ\" อีกทั้ง พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีหมายความว่า \"พระจอมเกล้าน้อย\" อีกด้วย เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความหมายว่าพระเกี้ยว หรือจุลมงกุฎ จึงได้ใช้พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎวางบนเบาะ เป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลของพระองค์", "title": "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า" }, { "docid": "7137#9", "text": "ตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมืองชุมพรเป็นเมืองท่าค้าขายสำคัญ จนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ชาวจามยังมีบทบาทในดินแดนแทบนี้ ต่อมา รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็น มณฑลชุมพร ต่อมามีการยุบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลเป็นจังหวัด ชุมพรจึงมีฐานะเป็นจังหวัด และเมื่อ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สามารถเดินเรือได้เอง ชาวจามก็หมดบทบาทลงในเวลาต่อมา", "title": "จังหวัดชุมพร" }, { "docid": "391816#1", "text": "ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2503 ท่านเจ้ากรับนายโรงละครซึ่งเป็นเจ้าของโรงละครนอกที่มีชื่อเสียงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ สืบเนื่องจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เป็นผู้บริจาคที่ดิน เจ้ากรับละครเป็นทั้งครูสอนและนายโรงละคร (เจ้าของโรงละคร) รับงานแสดงละครจนมีฐานะร่ำรวย จึงนำเงินที่ได้จากการแสดงละครมาสร้างวัดใกล้ๆ บ้านขึ้น และได้ตั้งชื่อตามคำเรียกของชาวบ้านให้ว่า วัดนายโรง วัดนายโรงเดิมมีชื่อเรียกหลายๆ ชื่อด้วยกัน บ้างก็เรียกว่า วัดเจ้ากรับ หรือ วัดเจ้ากรับละคร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวัดนายโรงใหม่ว่า วัดสัมมัชชผล แต่ประชาชนไม่นิยมจึงเรียกติดปากกันว่าวัดนายโรง สถานที่นี้มีโบราณสถาน โบราณวัตถุที่สวยงาม และมีความสงบร่มรื่น ในอดีตเคยเป็นที่พำนักของ หลวงปู่รอด ซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านการสอนวิปัสสนากรรมฐาน ด้านวิทยาคมและวัตถุมงคล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เบี้ยแก้ และลูกอมชานหมาก ", "title": "โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง" }, { "docid": "86481#2", "text": "ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระราชดำริว่าพระนามของพระมหากษัตริย์สืบไปภายหน้าควรใช้แตกต่างกันทุกรัชกาล เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการออกนามแผ่นดินเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว จึงทรงถวายพระนามแก่สมเด็จพระบูรพกษัตริย์รัชกาลก่อนหน้าพระองค์ทั้งสามรัชกาลดังนี้นอกจากนี้ยังทรงกำหนดหลักการเฉลิมพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ตามลำดับรัชกาล โดยรัชกาลที่เป็นเลขคี่ให้ใช้คำว่า \"ปรมินทร\" รัชกาลเลขคู่ให้ใช้คำว่า \"ปรเมนทร\" เป็นเครื่องหมายสังเกต พระนามพระมหากษัตริย์ไทยตามหลักพระราชนิยมดังกล่าวตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมามีดังนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีโดยใช้คำนำหน้าพระนามว่า \"รามาธิบดีศรีสินทร\" ทุกรัชกาล เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 ดังนี้", "title": "พระปรมาภิไธย (พระมหากษัตริย์ไทย)" }, { "docid": "193972#25", "text": "รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 1 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 2 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 3 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 4 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 5 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 6 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "113240#4", "text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี ทรงดำรงพระชนม์ชีพเป็นองค์สุดท้ายและมีพระชนมายุมากที่สุดในจำนวนพระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไปที่พระชนมายุยืนที่สุดในพระราชวงศ์จักรี โดยมีพระชนมายุยืนยาวถึง 6 แผ่นดิน ตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี" }, { "docid": "62794#4", "text": "ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร คงมีนามเรียกเต็มว่า วัดหงสาราม ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือประชุมพงศารภาคที่ ๒๕ ตอนที่ ๓ เรื่องตำนานสถานที่ และวัสดุต่าง ๆ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณะ และมีความเกี่ยวเนื่องกับวัดหงส์ฯ ดังมีข้อความกล่าวไว้เป็นเชิงประวัติว่า วัดนี้นามเดิมว่า วัดเจ้าขรัวหงส์ แล้วเปลี่ยนมา เป็น วัดหงสาราม และในสำเนาเทศนาพระราชประวัติรัชกาลที่ ๒ ซึ่ง หม่อมเจ้าพระประภากร บวรวิสุทธิวงศ์ วัดบวรนิเวศน์วิหาร ทรงเทศนาถวาย ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้นามว่า วัดหงสาราม ในเรื่องเกี่ยวกับวัดหงส์ฯ แม้แต่ในพระอารามหลวงที่ เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร เรียบเรียงถวายรัชกาลที่ ๕ ได้กล่าวไว้เช่นเคียวกัน แต่กล่าวพิเศษออกไปว่า เรียกวัดหงสาราม มาแต่รัชกาลที่ ๑ เห็นจะเป็นว่าเมื่อเรียกโดยไม่มีพิธีรีตองสำคัญอะไร ก็คงเรียกวัดหงสาราม ทั้ง ๓ รัชกาล ก็เป็นได้ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) นี้ สมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ (พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้ทรงรับปฏิสังขรณ์จากการทรงชักชวนของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเกณฑ์ต่อให้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังดำรงพระยศ เจ้าฟ้ามงกุฎ ให้รื้อพระอุโบสถเก่าแปลงปลูกเป็นวิหาร แต่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงรับทำ จึงเป็นพระภาระของสมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ แต่พระองค์เดียว ส่วน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในครั้งแรกทรงรับพระภาระสร้างโรงธรรมตึกใหญ่ขึ้นใหม่ แต่ในครั้งหลังสมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์สิ้นพระชนม์ การยังไม่เสร็จ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงรับเป็นพระธุระทั้งพระอุโบสถ และพระวิหาร และสิ่งอื่นอีก", "title": "วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร" }, { "docid": "419767#3", "text": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยึดถือพระแก้วเชียงแสนเป็นพระแก้วประจำรัชกาล ดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำรัสว่า จากพระราชดำรัสข้างต้นจึงสรุปได้ว่าพระแก้วประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ พระแก้วเชียงแสนพระองค์นี้ ", "title": "พระแก้วเชียงแสน" }, { "docid": "196664#2", "text": "เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 ได้ทรงบัญญัติคำนำพระนามพระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ และได้ใช้คำนำพระนามนี้มาจนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการให้เปลี่ยนเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ แทน", "title": "พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" } ]
1824
บึงบอระเพ็ดอยู่ในจังหวัดอะไร?
[ { "docid": "54115#0", "text": "บึงบอระเพ็ด เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย และเป็นบึงทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีเนื้อที่ 132,737 ไร่ อยู่ในท้องที่สามอำเภอของจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอท่าตะโก และอำเภอชุมแสง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ กลางบึงมีตำหนักแพที่สร้างขึ้นครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน", "title": "บึงบอระเพ็ด" }, { "docid": "54115#2", "text": "บึงบอระเพ็ดตั้งอยู่ ณ. ตำแหน่งภูมิศาสตร์ที่ละติจูด 15 องศา 40 ลิปดา ถึง 15 องศา 45 ลิปดาเหนือ และ ลองจิจูด 100 องศา 10 ลิปดา ถึง 100 องศา 23 ลิปดาตะวันออก มีพื้นที่ประมาณ 132, 737 ไร่ หรือ (212.3792 ตารางกิโลเมตร) อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดนครสวรรค์ รวม 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอชุมแสง และอำเภอท่าตะโก ซึ่งทั้ง 3 อำเภอได้แบ่งเขตที่กลางบึงบอระเพ็ด โดยมีอาณาเขต ดังนี้", "title": "บึงบอระเพ็ด" } ]
[ { "docid": "333055#0", "text": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 สายแยกบึงบอระเพ็ด–ชัยภูมิ เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มต้นที่สามแยกบึงบอระเพ็ด ตัดกับถนนพหลโยธินก่อนขึ้นสะพานเดชาติวงศ์ ตัดผ่าน อำเภอชุมแสง อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอบึงสามพันและอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ขึ้นไปสู่จังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเทพสถิต อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอบ้านเขว้า และสิ้นสุดที่วงเวียนอนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ระยะทางยาวประมาณ 268 กิโลเมตรเป็นทางหลวง 2 จราจรสวนกัน และบางช่วงเป็น 4 ช่องจราจร", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225" }, { "docid": "54115#3", "text": "พื้นที่ของบึงบอระเพ็ดในอดีตนั้นเป็นที่ราบลุ่ม แวดล้อมไปด้วยป่าไม้เบญจพรรณอันอุดมสมบูรณ์ มีลำคลองเล็กๆ ไหลผ่านและประกอบไปด้วยหนองน้ำหลายแห่ง เมื่อถึงฤดูฝนจะมีน้ำทางเหนือไหลหลากทำให้บริเวณบึงบอระเพ็ดมีน้ำท่วมเป็น บริเวณกว้างจนกลายเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ อุดมไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด ทั้งพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ จระเข้ กุ้งก้ามกรามและตะพาบน้ำ", "title": "บึงบอระเพ็ด" }, { "docid": "410836#5", "text": "เทศบาลตำบลไพรบึงตั้งอยู่ในพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดศรีสะเกษ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม สลับกับลูกคลื่นลอนลาด มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญได้แก่หนองใหญ่หรือบึงนกเป็ดน้ำไพรบึง และบางส่วนของลำห้วยชลัง ซึ่งไหลผ่านทางด้านทิศตะวันออกของเขตเทศบาล สภาพดินเหมาะสมสำหรับการเกษตรกรรมทั้งการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์", "title": "เทศบาลตำบลไพรบึง" }, { "docid": "414076#0", "text": "พระพุทธเจดีย์ไพรบึง หรือที่ชาวไพรบึงโดยทั่วไปเรียกว่า พระธาตุไพรบึง ประดิษฐานอยู่ภายในวัดไพรบึง(วัดจำปาสุรภีย์) อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลไพรบึงทางตอนเหนือ ใกล้กับสวนสาธารณะบึงนกเป็ดน้ำไพรบึง เป็นพระธาตุเจดีย์สำคัญของจังหวัดศรีสะเกษ มีขนาดสูงใหญ่ ความสูงจากฐานถึงยอดฉัตร ประมาณ 60 เมตร สร้างขึ้นตามรูปแบบศิลปะอินเดีย แบบเจดีย์พุทธคยา ส่วนยอดฉัตรด้านบนสุดของพระเจดีย์เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย พระพุทธเจดีย์องค์นี้จึงถือเป็นมรดกทางพุทธศาสนา อันเป็นปูชนียสถานที่เคารพสักการะมากที่สุดแห่งหนึ่งของชาวจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียง อนึ่ง วัดไพรบึง เป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุตั้งแต่ พ.ศ.2100", "title": "พระพุทธเจดีย์ไพรบึง" }, { "docid": "272586#0", "text": "บึงกะโล่ หรือ บึงทุ่งกะโล่ เป็นแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่เพื่อการเกษตรของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่บนพื้นที่สาธารณประโยชน์ ในเขตตำบลป่าเซ่า ครอบคลุมบางส่วนถึงตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ประมาณ 2 กิโลเมตร มีเนื้อที่รวมประมาณ 7,500 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ มีพื้นที่เก็บกักน้ำถูกขุดลอกเพื่อใช้ในภาคการเกษตรและอุปโภคบริโภคอยู่ด้านทิศตะวันออก", "title": "บึงกะโล่" }, { "docid": "76651#0", "text": "บึงพลาญชัย ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด มีลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2 แสนตารางเมตร เป็นบึงที่เกิดจากพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (เจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนแรก) นำชาวบ้าน 40,000 คน ขุดขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2469 เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งเป็นสวนไม้ดอกขนาดใหญ่ มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ร่มรื่น และในบึงน้ำมีปลาชนิดต่าง ๆ หลายพันธุ์ มีเรือจักรยานน้ำและเรือพายไว้บริการประชาชนพายเล่นในบึง นอกจากนั้นยังใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลของจังหวัด รวมทั้งจัดมหรสพต่าง ๆ ภายในบึงพลาญชัยยังมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจคือ", "title": "บึงพลาญชัย" }, { "docid": "12203#0", "text": "บึงสีไฟ เป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดพิจิตร โดยเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่เป็นอันดับสาม หรืออันดับห้าของประเทศ รองจาก บึงบอระเพ็ด ทะเลสาบหนองหาน บึงละหานและ กว๊านพะเยา ตามลำดับ โดยบึงสีไฟมีเนื้อที่ 5,390 ไร่ ซึ่งลดลงมาภายหลังจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ ที่เดิมบึงสีไฟมีเนื้อที่มากกว่า 10,000 ไร่ บึงสีไฟเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด แหล่งอาศัยของนกหลายชนิด และยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญของจังหวัดพิจิตรด้วย", "title": "บึงสีไฟ" }, { "docid": "273205#1", "text": "ต่อมาเกิดโรคระบาดจึงได้ได้แบ่งออกเป็นหลาย 4 กลุ่ม ย้ายถิ่นที่อยู่ใหม่ กลุ่มแรก เดินทางไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองปราสาทเยอ ซึ่งในปัจจุบัน คือบ้านปราสาทเยอ ตั้งอยู่ใน อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มที่ 2 ได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใน อำเภออุทุมพรพิสัย และอำเภอห้วยทับทัน ส่วนกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 อาศัยอยู่ใน อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ในปัจจุบัน ชื่อหมู่บ้านว่า บ้านขมิ้น อยู่ใน ตำบลทุ่ม อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ และบ้านโพนค้อ ตำบลโพนค้อ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ", "title": "เยอ" } ]
1803
ใครเป็นผู้สร้างรายการดิ อะเมซิ่ง เรซ?
[ { "docid": "73009#1", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ ในเวอร์ชันสหรัฐอเมริกา สร้างโดย อลิส ดอร์แกนเลอร์ และ เบ็นตั้น แวนด์ มัสเตอร์ และได้ออกอากาศในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ ค.ศ. 2001 มีพิธีกรชื่อดังระดับรางวัลเอ็มมี ชาวนิวซีแลนด์ ฟิล คีโอแกน เป็นพิธีกรของรายการตั้งแต่ซีซั่นแรก และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ระดับ ฮอลลีวูด เจอร์รี บรัคไฮเมอร์ เป็นผู้อำนวยการสร้างหลักของรายการ นอกจากนี้รายการนี้ยังมีการซื้อลิขสิทธิ์ ไปสร้างในหลาย ๆ ประเทศ โดยยังคงรูปแบบหลัก ๆ ของรายการอยู่ ส่วนเนื้อหาในบทความนี้จะใช้เกณฑ์และเนื้อหาของฉบับอเมริกาเป็นส่วนใหญ่", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ" } ]
[ { "docid": "193465#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 13 (English: The Amazing Race 13) เป็นฤดูกาลที่ 13 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 13" }, { "docid": "186328#4", "text": "ผู้เข้าแข่งขันใน ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย จะประกอบไปด้วยผู้เข้าแข่งขัน 10 ทีม ทีมละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว สำหรับใน ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย มีผู้เกี่ยวข้องและทีมงานที่ถ่ายทำเพียง 30 คนเท่านั้นที่เข้าร่วมในแต่ละซีซั่นของดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย ซึ่งถือเป็นดิ อะเมซิ่ง เรซที่มีผู้เกี่ยวข้องน้อยที่สุด ในบรรดาดิ อะเมซิ่ง เรซ ต่าง ๆ ทั่วโลก เพราะในฉบับอเมริกานั้น มีทีมงานประสานงานกันอีกมากกว่า 50 คนเป็นอย่างน้อย", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซเอเชีย" }, { "docid": "209604#2", "text": "นอกจากนี้ ภารกิจที่เกิดขึ้นในรายการบางส่วน เป็นภารกิจที่นำมาจากแฟรนไชส์ ของ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ทั้ง เวอร์ชันอเมริกา และ เวอร์ชันเอเชีย โดยอาจมีการดัดแปลงบางส่วน เช่น ภารกิจอุปสรรคบังคับควายที่เกิดขึ้นในเลก 4 นำมาจากเลก 2 ของ ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 2 ทางแยกในเลก 5 (สอนหรือเรียนภาษาญี่ปุ่น) ดัดแปลงจากเลก 3 ของ ดิ อะเมซิ่ง เรซ 12 เป็นต้น ไม่เพียงเท่านั้น เวอร์ชันอิสราเอลมีการเปลี่ยนชื่อคำสั่ง Detour (ทางแยก) และ Fast Forward (ทางด่วน) เล็กน้อย", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ: Ha'Merotz La'Million" }, { "docid": "202188#0", "text": "ดิ อะเมซิง เรซ เซ็นทรัล ยุโรป () เป็นรายการเรียลลิตี้เกมส์โชว์ทางโทรทัศน์ที่สร้างจากเรียลลิตี้โชว์ของสหรัฐอเมริกาชื่อดังที่ชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซเซ็นทรัลยุโรป" }, { "docid": "196011#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 12 (English: The Amazing Race 12) เป็นฤดูกาลที่ 12 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 12" }, { "docid": "498318#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 22 () เป็นฤดูกาลที่ 22 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 9 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก ทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 22" }, { "docid": "300104#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 4 เป็นปีที่สี่ของรายการดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้ทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขัน 10 ทีม ทีมละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบทวีปเอเชียและโอเชียเนีย ทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 100,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา สำหรับความนิยมของรายการนี้ เนื่องจากฉายไปทั่วเอเชียจึงทำให้มีการประมาณกันว่ามีผู้ชมมากถึงเกือบร้อยล้านคน ทำให้มีแผนการที่จะผลิตออกมาเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับฉบับอเมริกา การรับสมัครมีขึ้นทางเว็บไซด์ของ AXN Asia โดยจะสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553 และคัดตัวรอบสุดท้ายในเดือนเมษายน ส่วนการถ่ายทำจะมีขึ้นในราวเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซเอเชีย 4" }, { "docid": "73009#15", "text": "เวอร์ชันต้นฉบับของ ดิ อะเมซิ่ง เรซ คือเวอร์ชันของสหรัฐอเมริกา ซึ่งออกอากาศครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส ในเดือน พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 โดยในเดิอนตุลาคม ค.ศ. 2005 ซีบีเอส ให้เอกสิทธิ์ประเทศอื่นในการทำ ดิ อะเมซิ่ง เรซ เป็นของตนเอง โดยบัวนาวิสต้า อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย-แปซิฟิก (BVITV-AP) และ โซนี่ พิกเจอร์ส เอนเตอร์เทนเมนต์ เอเชีย (บริษัทแม่ของ เอเอกซ์เอ็น เอเชีย) ได้ผลิตดิ อะเมซิ่ง เรซ ในเวอร์ชันเอเชีย โดยมีชื่อว่า ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชียในเดือนเดียวกันนั้นเอง [19] โดยซีซั่นแรกเริ่มรับสมัครตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ จนถึงปลายเดือน มีนาคม ค.ศ. 2006[20] เริ่มถ่ายทำในเดือนมิถุนายน และฤดูกาลแรกออกอากาศตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ถึง 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 หลังจากนั้นเองยังมี ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย ตามอีก 2 ฤดูกาล", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ" }, { "docid": "195995#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 7 () เป็นฤดูกาลที่ 7 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 7" }, { "docid": "196007#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 10 () เป็นฤดูกาลที่ 10 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีม ๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 10" }, { "docid": "412853#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 20 (English: The Amazing Race 20) เป็นฤดูกาลที่ 20 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 20" }, { "docid": "357620#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 19 () เป็นฤดูกาลที่ 19 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 19" }, { "docid": "186328#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย (English: The Amazing Race Asia) เป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้ทางโทรทัศน์ที่สร้างมาจากเรียลลิตี้โชว์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกา ที่ชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซเอเชีย" }, { "docid": "192288#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 3 () เป็นฤดูกาลที่ 3 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 3" }, { "docid": "351636#3", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 18 ใช้เวลาถ่ายทำ 23 วันและจะเป็นฤดูกาลแรกของเวอร์ชันอเมริกาที่จะถ่ายทำและออกอากาศในระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง[1] ในขณะที่หลายๆ รายการในช่วงพรามไทม์ได้เปลี่ยนการออกอากาศเป็นโทรทัศน์ความละเอียดสูงแล้ว ดิ อะเมซิ่ง เรซ ยังคงใช้โทรทัศน์ความละเอียดมาตรฐานอยู่ เนื่องจากปัญหาหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านค่าใช้จ่ายหรือแม้กระทั่งความยากลำบากในการถ่ายทำและภาพที่อยู่ในแฟ้มภาพไม่ได้เป็น HD จึงใช้เวลาเป็นอันมากกว่าจะสามารถทำให้เป็นระบบ HD ได้[2] อย่างไรก็ตามถึงจะช้าไปบ้างนี่ก็จะเป็นฤดูกาลแรกของ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ที่จะออกอากาศในระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 18" }, { "docid": "195991#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 6 () เป็นฤดูกาลที่ 6 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 6" }, { "docid": "134699#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 2 (English: The Amazing Race Asia 2) เป็นปีที่สองของรายการเรียลลิตี้โชว์ทางโทรทัศน์ที่ชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขัน 10 ทีม ทีมละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซเอเชีย 2" }, { "docid": "193465#29", "text": "สำหรับงานทางด่วน (Fast Forward) ในเลกนี้ คล้ายกับงานอุปสรรค (Roadblock) ใน เลก 5 ของ ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 1 โดยเป้าหมายของงานนั้นเหมือนกัน คือ ขึ้นไปถึงยอดของสกายทาวเวอร์ แตกต่างกันที่ในดิ อะเมซิ่ง เรซ 13 งานนี้เป็นงาน Fast Forward และทั้งสองคนจะต้องปีนขึ้นไป แต่ในดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 1 งานนี้เป็นงาน Roadblock ซึ่งจะมีผู้ปีนขึ้นไปเพียงคนเดียว", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 13" }, { "docid": "351636#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 18 (English: The Amazing Race 18) เป็นฤดูกาลที่ 18 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส ในฤดูกาลนี้ทำลักษณะแบบ ทีมรวมดารา โดยเอาทีมต่างๆ จากฤดูกาลที่ 12-17 มาแข่งขันกันใหม่ จากฤดูกาลที่ 11 ใช้ชื่อว่า The Amazing Race: All-Stars (ดิ อะเมซิ่ง เรซ รวมดารา) แต่ในฤดูกาลนี้จะใช้ชื่อว่า The Amazing Race: Unfinished Business (ดิ อะเมซิ่ง เรซ ธุรกิจนี้ยังสะสางไม่เสร็จ) ซึ่งซีบีเอสได้โปรโมทฤดูกาลนี้ทันที โดยอยู่ภายในตอนสุดท้ายของฤดูกาลที่ 17 เลยและรวมถึงฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลแรกที่จะถ่ายทำในระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงอีกด้วย แต่เป็นที่ทราบกันดีว่ารายการนี้ถ่ายทำยากมาก เนื่องจากช่างกล้องจะต้องวิ่งตามผู้เข้าแข่งขันตลอดและภาพบางภาพในรายการใช้การตัดต่อหรือดึงภาพจากแฟ้มข้อมูลที่เคยมีไว้มาตัดต่อลงไปทำให้อาจมีภาพแบบขนาดความละเอียดมาตรฐานปนอยู่บ้าง โดยทางผู้ผลิตได้กล่าววาจะจัดการปัญหาตรงจุดนี้ให้เหมาะสมอย่างสมดุลและออกอากาศในแบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงอย่างแน่นอน", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 18" }, { "docid": "184536#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 3 เป็นปีที่สามของรายการดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้ทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขัน 10 ทีม ทีมละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก ทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 100,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา สำหรับความนิยมของรายการนี้ เนื่องจากฉายไปทั่วเอเชียจึงทำให้มีการประมาณกันว่ามีผู้ชมมากถึง 83 ล้านคนทั่วเอเชีย (มาจากจีน 40 ล้านคน) ทำให้มีแผนการที่จะผลิตออกมาเรื่อยๆ เช่นเดียวกับฉบับอเมริกา", "title": "ดิ อะเมซิ่งเรซเอเชีย 3" }, { "docid": "196005#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 9 () เป็นฤดูกาลที่ 9 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีม ๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 9" }, { "docid": "450114#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 21 () เป็นฤดูกาลที่ 21 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก ทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 21" }, { "docid": "195155#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 5 () เป็นฤดูกาลที่ 5 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 5" }, { "docid": "242909#33", "text": "สำหรับอุปสรรคของเลกนี้ จัดเป็นสวิตซ์แบคของงานอุปสรรคอย่างมีชื่อเสียงในทางไม่ดี (การมาทำงานอุปสรรคอันก่อนของรายการดิ อะเมซิ่ง เรซ) จากเลก 3 ที่สวีเดนของดิ อะเมซิ่ง เรซ 6 นั่นเอง โดยในฤดูกาลที่ 6 จะแตกต่างเล็กน้อยโดยมีม้วนฟางอยู่ 270 กองแต่มีคำใบ้อยู่ 20 อันแต่ในเลกนี้จะมีม้วนฟางอยู่ 186 กองและมีคำใบ้อยู่ 7 อัน ซึ่งสมาชิกที่ทำอุปสรรค จะต้องแกะตาข่ายที่พันรอบม้วนฟาง แล้วกลิ้งม้วนฟางที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ 186 อัน เพื่อค้นหาธงสีเหลือง-แดงที่ซ่อนอยู่ 1 ใน 7 อันจาก 186 ม้วนฟาง (สำหรับในฤดูกาลที่ 6 นั้น มีคู่พี่น้องสาว ลีน่ากับคริสตี้ใช้เวลาในการหาคำใบ้ร่วมกว่า 10 ชั่วโมง) ก่อนที่จะเดินไปเข้าจุดหยุดพักในบริเวณใกล้เคียง ที่มีวงดนตรีท้องถื่นเล่นอยู่ ส่วนทางแยกของเลกนี้ ทีมจะต้องเลือกระหว่างไดนาไมต์ของโนเบล (Nobel Dynamite) กับ<b data-parsoid='{\"dsr\":[32257,32284,3,3]}'>ตัวอักษรของไวกิ้ง (Viking Alphabet) โดยทีมที่เลือกไดมาไมต์ของโนเบล จะต้องเดินทางมายังเหมืองหินที่สค็อกลูซเซอร์ แล้วสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตัวให้เรียบร้อย (แว่นตานิรภัย หมวกนิรภัยและที่อุดหู) จากนั้นก็ขุดดินใส่เข้าในถุงแล้วก่อเป็นชั้นๆ เพื่อทำเป็นเกราะป้องกันตัวให้ตัวเอง แล้วจึงทำการระเบิดด้วยระเบิดไดนาไมต์ ที่ประดิษฐ์คิดค้นโดยอัลเฟรด โนเบล แล้วเดินไปยังบริเวณที่มีการระเบิด โดยจะพบเศษหินเศษปูน แล้วในบริเวณนั้นจะมีกล่องเหล็กที่บรรจุคำใบ้ต่อไป ส่วนทีมที่เลือกตัวอักษรของไวกิ้ง จะต้องแปลรหัสข้อความบนหินรูที่เป็นภาษาไวกิ้ง ซึ่งสามารถแปลความไดว่า \"ค้นหาชาวไวกิ้งที่ทรงพลัง\" เพื่อที่จะได้รับคำใบ้ต่อไปของพวกเขา", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 15" }, { "docid": "412853#36", "text": "สำหรับทางด่วนครั้งที่สามและครั้งสุดท้ายของซีซั่นนี้ จัดเป็นสวิตซ์แบคของงานทางด่วน (การมาทำงานทางด่วนอันก่อนของรายการดิ อะเมซิ่ง เรซ) จากเลก 8 ที่อินเดียของดิ อะเมซิ่ง เรซ 7นั่นเอง ซึ่งสมาชิกทั้งสองคนในทีมจะต้องโกนหัว โดยเป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูว่าโกนหัวแล้วจะโชคดี) ทีมที่แรกจะโกนหัวเสร็จแล้ว จะถือว่าชนะทางด่วนในเลกนี้ (สำหรับซีซั่นที่ 7 ยูเชนน่ากับจ้อยช์เลือกที่จะทำทางด่วนนี้ในครึ่งหลังของเลก 8 และทำให้พวกเขาเข้าเส้นชัยเป็นทีมแรก) สำหรับงานเพิ่มเติมของบ็อปเปอร์กับมาร์ค พวกเขาจะต้องวาดรูปและระบายสีเป็นรูปหน้าเสือบนหน้าท้องของนักเต้นพูลี่ คาลี่ ถ้าพราหมณ์พอใจ พวกเขาจึงจะได้รับอนุญาตให้แข่งขันต่อไป ในอุปสรรคของเลกนี้ สมาชิกที่ทำอุปสรรคจะต้องเลือกคุณครูสอนและเรียนการปั่นเชือกใยมะพร้าวที่มีความยาว 40 ฟุต (12 เมตร) จากนั้นใช้แกนม้วนม้วนใยทั้ง 4 ม้วน เพื่อรับคำใบ้ถัดไป และทางแยกของเลกนี้ทีมจะต้องเลือกิจกรรมที่อยู่ในประวัติศาสตร์อินเดียระหว่าง ตกแต่งช้าง (Pachyderm) กับ<b data-parsoid='{\"dsr\":[29206,29229,3,3]}'>แพคเครื่องเทศ (Pack a Box)ทีมที่เลือกตกแต่งช้าง จะต้องใช้อุปกรณ์นำมาตกแต่งช้าง เมื่อนักบวชพอใจแล้ว ทีมจะต้องเข็นมูลช้างโดยรถเข็นไปยังรถบรรทุกที่จอดอยู่ใกล้ๆ ให้ครบ 15 ครั้ง เพื่อรับคำใบ้ถัดไป ส่วนทีมที่เลือกแพคเครื่องเทศ จะต้องทาสีตัวอักษรโดยพิมพ์ทั้ง 10 กล่อง จากนั้นทีมจะต้องใช้ที่กรองขิงแล้วนำใส่กล่องแล้วชั่งบนตาชั่งเมื่อน้ำหนักถูกต้องตามมาตรฐาน ทีมจะต้องปิดฝาทำแบบนี้ไปจนครบทั้ง 10 กล่อง จากนั้นที่จะต้องบรรจุใส่รถเข็นเพื่อไปยังโรงงานส่งออก เมื่อเครื่องเทศพร้อมที่จะส่งออก เจ้าของโรงงานจะมอบคำใบ้ถัดไป", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 20" }, { "docid": "192160#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 2 () เป็นฤดูกาลที่ 2 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 2" }, { "docid": "202175#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอ็น ดิสคัฟเวอรี แชนแนล (; หรือในบางครั้งรู้จักกันในชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ลาติน อเมริกา) เป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้ทางโทรทัศน์ในเวอร์ชันของ ลาติน อเมริกา ที่สร้างมาจากเรียลลิตี้โชว์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกา ที่ชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ โดย ดิสคัฟเวอรี แชนแนล ลาตินอเมริกา ด้วยความร่วมมือของดิสนีย์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขัน 11 ทีม ทีมละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบ โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 250,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ข้อแตกต่างเล็กน้อยสำหรับเวอร์ชันนี้คือ Routmaker ได้ถูกเปลี่ยนเป็นสี น้ำเงิน-ดำและซองคำใบ้ได้ถูกเปลี่ยนเป็นสีน้ำงินแทนสีเหลืองดั่งเดิม รวมถึงชื่อทีมที่ขึ้นในรายการจะตามด้วยธงประเทศของตนเองด้วย การเดิทางทั้งหมดผ่าน 1 ทวีปโดยไม่ได้ออกนอกทวีปอเมริกาใต้แต่อย่างใด รวมถึงเป็น ดิ อะเมซิ่ง เรซ เวอร์ชันที่ 3 ถัดจากบราซิลและอิสราเอล ที่เส้นชัยนั้นไม่ได้อยู่ในประเทศแรกที่ออกเดินทาง ปัจจุบันยังคงผลิตฤดูกาลถัดๆ มาอยู่เรื่อยๆ และในฤดูกาลที่ 3 หลังจากเปลี่ยนช่องที่ทำการออกอากาศในฤดูกาลที่ 3 เป็นต้นมารายการจึงได้กลับไปใช้ Routmaker สีมาตรฐานของต้นฉบับ คือ เหลือง-แดงและซองคำใบ้สีเหลือง", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซเอ็นดิสคัฟเวอรีแชนแนล" }, { "docid": "249925#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 16 () เป็นฤดูกาลที่ 16 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 16" }, { "docid": "14962#0", "text": "ดิ อะเมซซิง เรซ 8 () เป็นฤดูกาลที่ 8 ของรายการยอดนิยม ดิ อะเมซิ่ง เรซ โดยจะมีความแตกต่างจากดิ อะเมซิง เรซ ในฤดูกาลที่ผ่าน ๆ มา จากเดิมแต่ละทีมมีเพียงผู้ใหญ่แข่งเป็นคู่ แต่ในฤดูกาลนี้การแข่งขันจะเป็นแบบครอบครัวที่มี 4 คน และอนุญาตให้มีบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะอีกด้วย (ต่ำกว่า 8 ปี) เป็นฉบับครอบครัวโดยใช้ชื่อในการแข่งขันว่า The Amazing Race : Family Edition อย่างไรก็ตาม การแข่งขันจะกลับมามีผู้เข้าแข่งขันเพียงทีมละสองคนในดิ อะเมซิ่ง เรซ 9", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 8" }, { "docid": "202109#2", "text": "\"ดิ อะเมซิ่ง เรซ: A Corrida Milionária\" เดินทางเป็นระยะทางทั้งสิ้น 15,000 กิโลเมตร ใน 33 วัน โดยการเดินทางเกือบทั้งหมดอยู่ในประเทศบราซิล แต่ใน 2 เลกสุดท้ายเดินทางไปยังประเทศชิลี ทำให้ A Corrida Milionária เป็นดิ อะเมซิ่ง เรซที่มีการเดินทางผ่านประเทศน้อยที่สุดในบรรดาดิ อะเมซิ่ง เรซ ทั้งหมด", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ: A Corrida Milionária" } ]
4116
พระยศเจ้านาย คืออะไร ?
[ { "docid": "26149#0", "text": "พระยศเจ้านาย ในราชสกุลมี 2 ประเภทคือ สกุลยศ คือ ยศที่เกิดเป็นเจ้าชั้นใดในเบื้องต้น เจ้านายที่เกิดในสกุลยศชั้นใด ก็อยู่ในชั้นยศชั้นนั้น เป็นยศที่ได้โดยการเกิด และ \"อิสริยยศ\" คือยศที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาแต่งตั้งให้ทางราชการในภายหลัง และ \"ยศทางสกุล\" โดยชั้นข้าหลวงให้นำหน้าสกุลว่า \"วงค์\" (เมื่อสิ้นสุดรัชกาล สำหรับเมื่อเป็นสามัญชน) เช่น วงค์ปินตา วงค์สมบูรณ์ วงค์บวรคง วงค์ปิ่นแก้ว ฯลฯ", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" } ]
[ { "docid": "26149#4", "text": "2. พระองค์เจ้า มีความแตกต่างกัน 3 ชั้น คือ พระองค์เจ้าชั้นเอก​ เรียกลำลองว่า​ \"เสด็จ</i>พระองค์ชาย/หญิง\" เจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ เป็น<i data-parsoid='{\"dsr\":[5257,5296,2,2]}'>พระราชโอรสหรือพระราชธิดาของกษัตริย์ อันเกิดด้วยพระสนม (หม่อมเจ้าลงไปถึงเจ้าจอมมารดา) ตรงกับที่เรียกในกฎมณเทียรบาลว่า \"พระเยาวราช\" ใช้คำนำสกุลยศว่าหรืออิสริยยศ \"พระเจ้าลูกยาเธอ, พระเจ้าลูกเธอ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ​ เรียกลำลองว่า​ \"เสด็จ\" เช่น​ เสด็จพระองค์ชายจิตรเจริญ​ (พระเจ้าลูกยาเธอ​ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ พระราชโอรสใน ร.4​ กับ​ หม่อมเจ้าพรรณราย)​ ถ้าทรงกรม​ เรียกลำลอง​ \"เสด็จในกรม\" อาทิ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ) พระองค์เจ้า​ชั้นลูกหลวงนี้ไม่มีคำว่า \"สมเด็จ\" นำพระอิสริยยศ ยกเว้นทรงได้รับพระราชทาน \"สมเด็จ\" แล้วจึง เรียกลำลองว่า ​\"สมเด็จฯ\" อาทิ​เช่น \"สมเด็จ​ฯ​ กรมพระสวัสดิ\" (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ​ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์)​ หรือ​ ได้รับพระอิสริยยศ​ทรงกรมสูงสุด เป็น สมเด็จฯ​ กรมพระยา​ อาทิ​ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ​ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ (สมเด็จฯ​ กรมพระยาเทววงศ์) (ถือได้ว่าเป็นพระยศพระองค์เจ้าชั้นสูงสุดในบรรดาสกุลยศพระองค์เจ้าทั้งมวล และเป็นกลุ่มเจ้านาย ในชั้นพระบรมวงศ์) ในรัชกาลปัจจุบันไม่มีสกุลยศในชั้นนี้แล้ว เนื่องด้วยทรงไม่ได้รับพระสนม (เจ้าจอมมารดา) อนึ่งเจ้านายฝ่ายในชั้นนี้ หากพระมหากษัตริย์รับสนองเป็นภรรยาเจ้า พระราชโอรสธิดาที่ถือประสูติมาเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอกทั้งสิ้น (ทูลกระหม่อม) เพราะพระมารดาเป็นชั้นลูกหลวงหรือพระบรมวงศ์ พระองค์เจ้าชั้นโท เรียกลำลอง \"พระองค์ชาย/หญิง\" เจ้านายชั้นอนุวงศ์ เป็น<i data-parsoid='{\"dsr\":[6523,6558,2,2]}'>พระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์ และ พระอิสริยยศที่พระมหากษัตริย์ สถาปนาขึ้น", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "33187#0", "text": "ในประเทศไทย พระยศเจ้านาย[1] คือพระอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์", "title": "พระยศเจ้านายไทย" }, { "docid": "438321#0", "text": "โปแลนด์ถูกปกครองโดยผู้ปกครองที่มีพระยศต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นดยุค (คริสต์ศตวรรษที่ 10-14)หรือพระมหากษัตริย์(คริสต์ศตวรรษที่ 10-18) ในภายหลังพระยศ พระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์ (ในภายหลังควบรวมพระยศแกรนด์ดยุคแห่งลิทัวเนียด้วย) กลายเป็นตำแหน่งที่เลือกตั้งมาโดยขุนนางและสภา โดยการคัดเลือกจะมาจากขุนนางชาวโปแลนด์-ลิทัวเนียหรือเจ้านายต่างชาติ", "title": "รายพระนามพระมหากษัตริย์โปแลนด์" }, { "docid": "26149#11", "text": "ร.6 ทรงสถาปนา หม่อมเจ้าจุลจักร​พงษ์ จักรพงษ์​ (สกุลยศ หม่อมเจ้า​ชั้นเอก หลานหลวงในร.5) เพิ่มพระอิสริยยศตั้งขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ (พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ​ กับหม่อมคัทริน จักรพงษ์ ณ อยุธยา​ สะไภ้หลวง) ​ร. 6 ทรงสถาปนาให้ดำรงพระอิสริยยศ (ไม่ใช่สกุลยศ) ตั้งเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้า เป็นพระองค์เจ้าชั้นโทเป็นกาลพิเศษ​เฉพาะพระองค์ แต่พระองค์ก็ยังมีสกุลยศเสมอพระยศหม่อมเจ้า เพราะมีพระธิดามีสกุลยศ หม่อมราชวงศ์​ คือ​ หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#7", "text": "3) พระอิสริยยศที่พระมหากษัตริย์ สถาปนาขึ้น (เจ้านายที่สถาปนาให้เทียบชั้นพระองค์เจ้าชั้นโท) ใช้คำนำสกุลยศ​ \"พระเจ้าวรวงศ์เธอ\" อาทิ", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "828796#2", "text": "โฮงอันเป็นที่ประทับของเจ้านายชั้นรองลงมาตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์นิยมเรียกว่า โฮง เฉยๆ หรือเรียกว่า โฮงเจ้า โฮงท้าว (กรณีที่เจ้านายพระองค์นั้นเป็นบุรุษ) โฮงนาง (กรณีที่เจ้านายพระองค์นั้นเป็นสตรี) หรือต่อท้ายชื่อโฮงด้วยพระยศหรือบรรดาศักดิ์ของเจ้านาย เช่น โฮงเจ้ามหาอุปฮาต โฮงอุปฮาต โฮงราชบุตร โฮงราชวงศ์ หรือต่อท้ายด้วยพระนามของเจ้านาย เช่น โฮงเจ้าเพชรราช (วังเชียงแก้ว แขวงหลวงพระบาง) เป็นต้น", "title": "โฮง" }, { "docid": "33187#13", "text": "ราชสกุล การเฉลิมพระยศเจ้านาย รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รายพระนามเจ้านายไทยที่ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์", "title": "พระยศเจ้านายไทย" }, { "docid": "26149#40", "text": "พระสุพรรณบัฎ คือ แผ่นทองจารึกพระนามของเจ้านายพระองค์นั้น และจะพระราชทานจากพระหัตถ์ ให้แก่เจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศ", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#15", "text": "พระองค์เจ้าชั้นตรี เป็นพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์ ใช้คำนำสกุลยศ \"พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า\" เรียกลำลอง​ \"ท่านพระองค์\" เป็นเจ้านายชั้นอนุวงศ์​ (พระองค์เจ้าชั้นนี้เทียบเสมอสกุลยศ หม่อมเจ้า เพราะพระโอรสธิดามีสกุลยศ หม่อมราชวงศ์)", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#34", "text": "ชั้นที่ 1 กรมพระ เป็นอิสริยยศสำหรับ พระพันปีหลวง (พระราชมารดา) พระมหาอุปราช และวังหลัง ชั้นที่ 2 กรมหลวง เป็นอิสริยยศ สำหรับ พระมเหสี โดยมากกรมหลวงมักมีแต่ เจ้านายฝ่ายในที่ดำรงพระยศนี้เป็นที่สุด ชั้นที่ 3 กรมขุน เป็นอิสริยยศสำหรับ เจ้าฟ้าราชกุมาร ชั้นที่ 4 กรมหมื่น เป็นอิสริยยศสำหรับ พระองค์เจ้า", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#32", "text": "ประเพณีเรียกพระนามเจ้านายเป็นกรมต่าง ๆ อย่างในทุกวันนี้ ปรากฏขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งแต่ทรงสถาปนาพระน้องนางเธอ เจ้าฟ้าศรีสุพรรณ เป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[17853,17877,3,3]}'>เจ้ากรมหลวงโยธาทิพ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงสุดาวดี เป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[17924,17948,3,3]}'>เจ้ากรมหลวงโยธาเทพ นับเป็นครั้งแรกที่เรียกการพระนามอิสริยยศเจ้านายตามกรมใช้เป็นแบบแผนนับแต่นั้นมา สาเหตุที่มีการเปลี่ยนแปลงการสถาปนาอิสริยยศเจ้านายขึ้นเป็น \"พระ\" ตามประเพณีเดิมนั้น เนื่องจากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ทรงเป็นอริกับเจ้าฟ้าชายหลายพระองค์ที่มีมาตั้งแต่ยุคสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง จึงมิได้ทรงยกย่องเจ้าฟ้าผู้ใดให้มียศสูงขึ้นตลอดรัชกาล จากจดหมายเหตุของมองสิเออร์ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศส กล่าวว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงยกย่องพระราชธิดาให้มีข้าคนบริวารและมีเมืองส่วยขึ้นเท่ากับพระอัครมเหสี ดังนั้น การสถาปนาเจ้าหญิงทั้งสองพระองค์นี้ ในแต่เดิม ไม่ได้เป็นการสถาปนาพระอิสริยยศ แต่เป็นการรวบรวมกำลังคนในระบบไพร่ ตั้งกรมใหม่ขึ้นสองกรม คือ กรมที่มีหลวงโยธาทิพ และหลวงโยธาเทพ เป็นเจ้ากรม และโปรดให้ไปขึ้นกับ เจ้าฟ้าหญิงทั้งสองพระองค์นั้น และคนไทยโบราณ ไม่นิยมเรียกชื่อ เจ้านาย ตรง ๆ จึงเรียกเป็น กรมหลวงโยธาทิพ หรือ กรมหลวงโยธาเทพเป็นต้น การทรงกรม จึงเทียบได้กับ การกินเมือง (การกินเมือง คือ การมีเมืองส่วยขึ้นในพระองค์เจ้านาย ประชาชนในอาณาเขตของเมืองนั้นๆ ต้องส่งส่วยแก่เจ้านาย) ในสมัยโบราณ คือแทนที่จะส่งเจ้านายไปปกครองหัวเมืองต่างๆ ก็ทรงให้อยู่ในพระนคร และให้มีกรมขึ้นเพื่อเป็นรายได้ ของเจ้านายนั้นๆ", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#2", "text": "1. เจ้าฟ้า มีความแตกต่างกัน 3 ชั้น คือ เจ้าฟ้าชั้นเอก เรียกลำลองว่า \"ทูลกระหม่อม\" เจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ ใช้คำนำสกุลยศ \"สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, ลูกเธอ และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ\" และต้องถือประสูติข้างพระมารดาเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีหรือพระภรรยาเจ้าชั้นสูง (สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมราชเทวี, สมเด็จพระอัครราชเทวี) หรือพระมารดาพระยศ​โดยประสูติเดิมเป็นพระราชธิดา ในพระมหากษัตริย์ (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง, พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิง แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะไม่พระราชทานเลื่อนพระอิสริยยศชั้นพระมเหสีใด ๆ แด่พระมารดา พระราชโอรสธิดาก็ได้รับสกุลยศเจ้าฟ้าในชั้นนี้โดยปริยายเช่นกัน เพราะถือว่าพระมารดาดำรงพระยศพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงอยู่แล้วหรือจะเรียกได้ว่า \"ผู้คู่ควรมีบุตรเป็นเจ้าฟ้าโดยสกุลยศ\") บางแห่งเรียกเจ้าฟ้าชั้นนี้ว่า พระหน่อพุทธเจ้า หรือเจ้านายหมู่สืบสันตติวงศ์ (องค์รัชทายาท)ในส่วนเจ้านายฝ่ายในชั้นนี้ ในโบราณกาลมักนิยมขอพระราชทานไปดำรงตำแหน่งพระมเหสี เพื่อหมายให้ทายาทที่ถือประสูติแด่พระนางนั้นได้มีสิทธิ์ในการเป็นรัชทายาทฝ่ายพระมารดาด้วย ดังนั้นถือว่าการสืบสายข้างพระมารดามีศักดิ์สูงยิ่งมีความสำคัญ และมักให้ความสำคัญเสมอหากต้อง พระราชทานแก่พระเจ้าเมืองใด ต้องมีการปรึกษาหารือกับเสนาอามาตย์เสียก่อน นับเป็นเรื่องใหญ่ เจ้าฟ้าชั้นโท เรียกลำลอง​ \"สมเด็จ\" เจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ ใช้คำนำสกุลยศ \"สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, ลูกเธอ และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ\" มีพระมารดาทรงศักดิ์รองลงมาหรือพระภรรยาเจ้าชั้นรอง (พระราชเทวี, พระนางเจ้า, พระนางเธอ, พระอัครชายา, พระราชชายา) หรือ เป็นพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, หม่อมเจ้า (ต้องรับสถาปนาเพิ่มอิสริยยศเป็นพระองค์เจ้าก่อน) แรกประสูติของพระราชโอรสธิดา ยังไม่ได้รับพระราชทาน \"สมเด็จ\" เมื่อเจริญพระชันษาขึ้น จะได้รับสมเด็จ​ อาทิ​ \"สมเด็จชาย\" สมเด้จฯเจ้าฟ้ายุคล​ พระราชโอรสในร.5 และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดา ใน รัชกาลที่ 6 ที่ถือประสูติแต่ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี (ยกเว้นในกรณี พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ที่มีพระราชโอรสธิดา เป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก เนื่องจากพระองค์เองดำรงพระอิสริยยศสกุลยศ \"พระองค์เจ้าลูกหลวง\" พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชธิดาในพระมหากษัตริย์ร.4 แต่ตำแหน่งพระนางเจ้า​ พระราชเทวี เป็นการเลื่อนพระยศให้สูงขึ้นทรงดำรงตำแหน่งมเหสีในร.5 และต่อมา​ รัชกาลที่ 7 สถาปนา\"รับสมเด็จ\" เป็น สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ตามลำดับ) อนึ่งเจ้าฟ้าชั้นโท ยังนับรวมเจ้านายที่ดำรงพระยศเป็น พระเชษฐา (พี่ชาย) พระภคินี (พี่สาว) พระอนุชาและพระขนิฐา (น้องชายและน้องสาว) ของกษัตริย์ที่ถือประสูติร่วมพระราชชนนีเดียวกัน (พระราชมารดา) กับพระมหากษัตริย์ และไม่ได้ดำรงสกุลยศเจ้าฟ้ามาก่อน อาทิ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งมีสกุลยศและอิสริยยศเดิม หม่อมเจ้าหญิง และ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง ตามลำดับมาก่อน เจ้าฟ้าชั้นตรี เจ้านายชั้นอนุวงศ์ (เจ้านายชั้นอนุวงศ์สูงสุด) เป็นพระยศที่พระเจ้าแผ่นดินจะพระราชทานเป็นกรณีพิเศษและมักไม่ค่อยถือประสูติมากนักหรือไม่มีเลย ส่วนใหญ่จะเป็นชั้นหลานหลวง \"พระเจ้าหลานเธอหรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ หรือ พระวรวงศ์เธอ\" โดยอาศัยการตั้งราชวงศ์ (ปฐมราชวงศ์ครั้งแรก) หรืออีกนัยหนึ่งต้องถือประสูติจากจากพระบิดาดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า (ลูกหลวง) และพระมารดามีพระยศเป็นเจ้าฟ้าด้วยกันหรือพระมารดาดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า (ลูกหลวง) พระบิดาเป็นพระองค์เจ้า เจ้าฟ้าชั้นนี้เสมอพระยศพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง แต่เวลาพระดำเนินตามหลังพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง และพระยศเจ้าฟ้าชั้นนี้เป็นเจ้านายกลุ่มชั้นอนุวงศ์มิใช่กลุ่มพระบรมวงศ์เท่าชั้นพระองค์เจ้าลูกหลวง และเจ้าฟ้าชั้นตรีมีปรากฏในต้นแผ่นดินรัตนโกสินทร์ช่วงสมัยรัชกาลที่​ 1 เท่านั้น​ อาทิ​ เจ้าฟ้ามงกุฏ​ (ร.4)​ พระโอรส​ เจ้าฟ้าฉิม (ร.2)​ กับ​ เจ้าฟ้าบุญรอด (มีคำเรียกที่ว่า พระกำเนิดเป็นอุภโตสุชาติ = มีชาติพระกำเนิดที่ประเสริฐทั้งสองฝ่าย) เรียกลำลองว่า \"เจ้าฟ้า​ หรือหากได้รับสมเด็จ เรียกว่า สมเด็จเจ้าฟ้า\"", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "630373#0", "text": "รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงธนบุรี", "title": "รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงธนบุรี" }, { "docid": "443427#0", "text": "รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงศรีอยุธยา", "title": "รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงศรีอยุธยา" }, { "docid": "26149#41", "text": "การเฉลิมพระยศเจ้านายนั้น ถือเอาการ จารึกพระสุพรรณบัฏ เป็นสำคัญ โดยจะต้องทำพิธีสำคัญดังต่อไปนี้", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#29", "text": "ขุนหลวง - เป็นคำที่ราษฎรทั่วไปขาน พระเจ้าแผ่นดิน เนื่องด้วยการขานพระนามกันตรง ๆ มักไม่นิยม และมีความยาว พร้อมกับมีศัพท์ที่ไม่ใช้กันข้างนอก บางสันนิษฐานว่าเป็นคำลำลอง เหมือนที่เรียกขานปัจจุบันว่า \"ในหลวง\" เพราะ คำว่า \"ขุนหลวง\" มีใช้เฉพาะปลายกรุงศรีฯ โดยส่วนใหญ่จะเป็นพระราชวงศ์บ้านพลูหลวง นิยมขานพระมหากษัตริย์ ว่าขุนหลวงและตามด้วยพฤติกรรมหรืออุปนิสัยพระองค์นั้น ๆ อาทิ ขุนหลวงหาวัด พระเจ้าอุทุมพร เพราะผนวช, ขุนหลวงมะเดื่อ หรือขุนหลวงสรศักดิ์ พระนามเดิม และพระยศเดิมก่อนเป็นกษัตริย์ หลวงสรศักดิ์ เป็นต้น ดังนั้น คำว่า \"ขุนหลวง\" มิใช่พระยศอย่างที่เข้าใจ พอเข้าสู่กรุงรัตนโกสินทร์ ขุนหลวงมิมีใครขานอีก เลยออกพระนามกันใหม่ อาทิ ขุนหลวงเสือ เป็นพระเจ้าเสือ เพิ่มเติม เจ้านายพระองค์ใดเป็นชั้นลูกหลวง เมื่อพ้นรัชกาลแผ่นดินไปแล้ว มีจะมีคำนำ ก่อนอิสริยยศเป็นขั้นปฐม ว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ (สำหรับ เจ้าฟ้า) และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ (สำหรับ พระองค์เจ้า ยกเว้น พระราชกรุณาโปรดเกล้าเป็นอย่างอื่น ที่สูงกว่าหรือเกี่ยวข้องกับพระองค์โดยตรง อาทิ สมเด็จพระราชอนุชาฯ และสำหรับบางรัชกาล คำนำสกุลยศ ยังมี พระราชวงศ์เธอ พระองค์เจ้า อันเป็นเจ้านายชั้นสูงที่เทียบกับพระบรมวงศ์เธอ แต่มิใช่เจ้านายในวังหลวง แต่เป็นเจ้านายในวังชั้นสูง อาทิ วังหน้า, วังหลัง เป็นต้น", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#35", "text": "ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่มีการเลื่อนชั้น อิสริยยศเจ้านาย จากที่ได้รับแต่เดิมแต่ประการใด (ยกเว้นการเลื่อนกรมพระราชมารดา หรือผู้ที่ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชขึ้นเป็น กรมพระ) ประเพณี การเลื่อนอิสริยยศเจ้านายเกิดขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชการที่ 2 ให้เรียก กรมของสมเด็จพระบรมราชชนนีว่า \"กรมสมเด็จพระ\" ต่อมาในรัชกาลที่ 3 โปรดให้ พระองค์เจ้าทรงกรมชั้นผู้ใหญ่เลื่อนขึ้นไปได้เป็น \"กรมสมเด็จพระ\" สูงกว่า \"กรมพระ\" เดิม และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ให้แก้ไข \"กรมสมเด็จพระ\" เป็น \"กรมพระยา\" ดังนั้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทธิ์ อิสริยยศเจ้านายจึงมี 5 ชั้นคือ", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#22", "text": "3.หม่อมเจ้า เจ้านายชั้นอนุวงศ์ เรียกลำลองว่า \"ท่านชาย/หญิง\" (นับได้ว่าเป็นพระยศชั้นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสุดท้าย ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์) มีความแตกต่างกัน 2 ชั้น คือ", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "33187#5", "text": "พระบรมวงศานุวงศ์ คือ ญาติของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งมีพระยศเป็นเจ้า แบ่งออกเป็นสองชั้นคือ", "title": "พระยศเจ้านายไทย" }, { "docid": "26149#43", "text": "ในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากทรงยกเลิกระบบไพร่แล้ว การ \"ทรงกรม\" ของเจ้านาย จึงเป็นเพียงแต่การให้พระเกียรติยศ แก่เจ้านายพระองค์นั้น แต่ไม่มีไพร่สังกัดกรมแต่อย่างใด ส่วนพระนามของเจ้านายที่ทรงกรมได้แบบธรรมเนียมมาจากยุโรป โดยทรงตั้งพระนามเจ้านายที่ทรงกรมตามชื่อเมืองต่าง ๆ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ หรือ สมเด็จเจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ เป็นต้น", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#38", "text": "ประเพณีการเฉลิมพระยศ เจ้านายแต่โบราณ ถือเอาการสองอย่างเป็นหลัก คือ การอภิเษกอย่างหนึ่ง และ การจารึกพระสุพรรณบัฎอย่างหนึ่ง", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "194384#15", "text": "ในฐานะพระเจ้าอธิราช กษัตริย์สยามมีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งเจ้านายต่าง ๆ และเจ้านายตำแหน่งสำคัญ ๆ ของเมืองต่าง ๆ ส่งผลให้สยามสร้างอิทธิพลเหนือเจ้านายและขุนนางล้านนา เพราะทุกครั้งที่มีการแต่งตั้งเจ้าหลวงและเจ้านายสำคัญ เจ้าตัวจะต้องลงไปเฝ้าที่กรุงเทพฯ ด้วยตนเอง เป็นการแสดงความภักดี แม้การแต่งตั้ง จะเป็นไปตามที่ทางหัวเมืองประเทศราชเสนอมา แต่การแต่งตั้งโดยกษัตริย์สยาม ก็เป็นการรับรองสิทธิธรรมในการปกครองของเจ้านายอีกชั้นหนึ่ง และเพื่อยืนยันฐานะของเจ้านายที่ได้รับแต่งตั้ง กษัตริย์สยามจะพระราชทานเครื่องยศ ที่เป็นสัญลักษณ์ปกครอง เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระราชทาน พระสัปตปฎลเศวตฉัตร กางเหนือพระแท่นของพระเจ้ากาวิละในหอคำหลวง ซึ่งแสดงถึงฐานันดรศักดิ์เทียบชั้นพระอุปราชแห่งสยาม", "title": "นครเชียงใหม่" }, { "docid": "26149#30", "text": "อิสริยยศ คือ ยศที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาเจ้านายให้มีศักดิ์สูงขึ้น อิสริยยศชั้นสูงสุด คือ พระราชกุมารที่จะรับราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์สืบต่อไป โดยในกฎมณเฑียรบาลซึ่งตั้งในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อปี พ.ศ. 2001 บัญญัติไว้ว่า พระราชกุมารอันเกิดด้วยพระอัครมเหสี (มียศ) เป็นสมเด็จหน่อพุทธเจ้า พระราชกุมารอันเกิดแต่พระแม่ยั่วเมืองเป็นพระมหาอุปราช</b>และอิสริยยศยังรวมถึง พระยศที่ได้มาหลังจากประสูติด้วย ในราชวงศ์จักรี มีการสถาปนาเจ้านาย ชั้นหม่อมเจ้า เป็นพระองค์เจ้า ,หรือ พระมเหสีเทวี อาทิ หม่อมเจ้าจุลจักรพงษ์ จักรพงษ์ เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ สกุลยศ หม่อมเจ้า อิสริยยศ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า หรือ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี และ พระบรมราชินีนาถ ตามลำดับ สกุลยศ หม่อมราชวงศ์ อิสริยยศ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และพระบรมราชินีนาถ", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#45", "text": "กรมศิลปากร. เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านาย ฉะบับมีพระรูป (เล่ม 1). บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). พิมพ์ครั้งที่ 2. 2538. กรมศิลปากร. เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านาย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (เล่ม 2). โรงพิมพ์กรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 3 (กองทัพเรือจัดพิมพ์ถวาย). 2538.", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "306083#0", "text": "เมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระอิสริยยศเจ้านายในพระราชวงศ์ ก็ทรงตั้งเป็นต่างกรมตามชั้นยศซึ่งบัญญัติมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่มีผิดกันบ้างเล็กน้อย มีการสถาปนาเจ้านายในพระราชวงศ์เรื่อยมาในทุกรัชกาล โดยครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2548 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเจ้านายในพระราชวงศ์จักรี จำนวน 3 พระองค์ คือ", "title": "รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์" }, { "docid": "26149#46", "text": "ยศของขุนนางไทย ดูได้ที่ บรรดาศักดิ์ไทย จำนวนศักดินาของคนสยาม ดูได้ที่ พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงศรีอยุธยา รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงธนบุรี รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#1", "text": "สกุลยศของเจ้านายนั้น บรรดาผู้ที่เกิดในราชตระกูลจะเป็นราชบุตร ราชธิดา หรือราชนัดดาก็ตาม จะเรียกว่า เจ้า สกุลยศนั้น แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#20", "text": "4) พระอิสริยยศที่พระมหากษัตริย์ สถาปนาขึ้น (เจ้านายที่สถาปนาให้เทียบชั้นพระองค์เจ้าชั้นตรี) ใช้คำนำสกุลยศ​ \"พระวรวงศ์เธอ\" อาทิ ร.4 ทรงสถาปนา หม่อมเจ้าจิตราภรณ์ นพวงศ์ (สกุลยศ หม่อมเจ้า​ชั้นเอก หลานหลวงองค์ใหญ่ในร.4) พระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส เพิ่มพระอิสริยยศขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิตราภรณ์ และได้ทรงยกพระโอรสธิดาของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิตราภรณ์ เป็นหม่อมเจ้า (เดิม หม่อมราชวงศ์) อีกด้วย เป็นกรณีพิเศษเฉพาะพระองค์", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#3", "text": "หมายเหตุ เจ้านายที่จะสามารถดำรงสกุลยศชั้นเจ้าฟ้าได้ต้องถือประสูติจากพระมารดามีพระยศเป็นพระองค์เจ้าในเบื้องต้น เจ้าฟ้าที่ดำรงพระยศชั้นลูกหลวงจะมีสร้อยพระนามท้ายที่ระบุว่าเป็นพระราชโอรสหรือธิดาแห่งกษัตริย์ อาทิ ราชกุมาร/กุมารี ราชสุดา อัครราชกุมาร/กุมารี หรือราชกัญญา เป็นต้น หากไม่มีสร้อยพระนามนี้ถือว่าเป็นเจ้าฟ้าชั้นโทและตรีที่ไม่ใช่ลูกกษัตริย์ และจากข้อสังเกตและประวัติเจ้านายชั้นตรีหลายพระองค์ซึ่งเคยดำรงพระยศ เจ้าฟ้าชั้นตรีหรือเจ้าฟ้าชั้นหลานหลวง จะสืบสายข้างพระมารดาที่มีพระยศเป็นเจ้าฟ้าเป็นปฐม อีกนัยจะกล่าวว่า เจ้าฟ้าชั้นตรี เป็นเจ้าฟ้าตามศักดิ์แห่งพระมารดาแม้ทรงมีพระบิดาชั้นพระองค์เจ้าก็ตาม (พระมารดาเป็นเจ้าฟ้าบิดาเป็นพระองค์เจ้า) ซึ่งบางท่านงง ว่าแล้วเมื่อมีพระบิดาเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก พระมารดาเป็นพระองค์เจ้า ทำไม จึงเป็นเพียงพระองค์เจ้า ชั้นโท นั้นยิ่งแสดงได้ชัดเจนว่า เจ้าฟ้าชั้นตรีเป็นสกุลยศผู้จะสืบยศเจ้าฟ้าข้างพระมารดาเป็นเกณฑ์", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" } ]
452
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลกสร้างขึ่นเมื่อใด ?
[ { "docid": "61381#1", "text": "พระพุทธชินราช ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด คงมีแต่พงศาวดารเหนือ ซึ่งเป็นเอกสารที่เล่าถึงตำนานเมืองเหนือเรื่องต่าง ๆ สมัยกรุงศรีอยุธยา ถูกเรียบเรียงขึ้นใหม่โดยพระวิเชียรปรีชา (น้อย) ในปี พ.ศ. 2350 ที่อ้างถึงกษัตริย์เชียงแสนพระนามพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกเป็นผู้สร้าง พร้อมกับการสร้างเมืองพิษณุโลกและพระพุทธรูปอีก 2 องค์คือพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา", "title": "พระพุทธชินราช" } ]
[ { "docid": "116368#6", "text": "อีกเรื่องหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้มีการหล่อพระพุทธชินราช (จำลอง) ขึ้นที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก โปรดเกล้าให้พระยาชลยุทธโยธินทร์ อัญเชิญนำขึ้นแพ ล่องเรือมาคุมองค์และแต่งที่กรมทหารเรือ โดยเป็นผู้ควบคุมการแต่งองค์พระ เสร็จแล้วเชิญลงเรือมณฑปแห่ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ปีเดียวกัน", "title": "พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ)" }, { "docid": "61387#0", "text": "พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย นั่งสมาธิราบ จำลองแบบจากพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร", "title": "พระพุทธชินราช (จำลอง)" }, { "docid": "5419#4", "text": "ครั้นสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ได้เสด็จมาประทับที่เมืองสองแคว พระองค์ได้เอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงนำความเจริญเป็นอย่างยิ่ง เช่น การสร้างเหมืองฝาย สนับสนุนให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก สร้างทางคมนาคมจากเมืองพิษณุโลกไปเมืองสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา เพื่อประดิษฐานไว้ใน พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่)", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "419833#0", "text": "พระศรีศาสดา หรือ พระศาสดา เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วิหารด้านทิศใต้ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันประดิษฐานอยู ณ มุขหน้าวิหารพระศาสดาคู่กับพระพุทธไสยา ที่ประดิษฐานอยู่ ณ มุขหลัง วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สันนิษฐานกันว่าน่าจะสร้างขึ้นสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) พร้อมกับ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระเหลือ ", "title": "พระศรีศาสดา" }, { "docid": "64140#4", "text": "ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2458 ปัจจุบันจึงมีชื่อเต็มว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "64140#2", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ไม่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่า<b data-parsoid='{\"dsr\":[1776,1806,3,3]}'>สร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย และเป็นพระอารามหลวงมาแต่เดิม เพราะได้พบหลักฐานศิลาจารึกสุโขทัยมีความว่า พ่อขุนศรีนาวนำถมทรงสร้างพระทันตธาตุสุคนธเจดีย์ ...", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "423150#0", "text": "ในปี พ.ศ. 2511คณะกรรมการพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก นำโดยนายละเมียด อัมพวะศิริ นายกพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก และนายเนียม สุขแก้ว เลขานุการพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก ทราบว่า ท่านพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) เจ้าอาวาสวัดสระแก้วปทุมทอง และเจ้าคณะอำเภอเมืองพิษณุโลก เป็นพระเถราจารย์ในภาคเหนือตอนล่างที่เก็บสะสมมวลสารโบราณไว้มากมายทั้งยังครอบครองดูแลวัตถุโบราณหายากอันทรงคุณค่า และเป็นผู้นำเอาดินก้นกรุและโอ่งใต้ฐานสมเด็จพระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลกมาเก็บไว้ คณะกรรมการพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก และพลเอกสำราญ แพทยกุล แม่ทัพกองทัพภาคที่ 3 ในขณะนั้นจึงได้กราบนิมนต์ ท่านพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) เป็นแม่งานรับผิดชอบในการจัดสร้างพระพิมพ์ชนิดผง และดินผสมผงเก่า เพื่อใช้ในการประกอบพิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก วันที่ 19 – 20 มกราคม 2515 ณ พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร (วัดใหญ่) พิษณุโลก ตามคำเสนอแนะของเจ้าคุณพระพิษณุบุราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ในสมัยนั้น", "title": "พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ" }, { "docid": "5419#19", "text": "พม่าล้อมเมืองพิษณุโลกนานถึง 4 เดือน เมื่อเข้าเมืองได้ ก็พบแต่เมืองร้าง อะแซหวุ่นกี้จึงสั่งเผาผลาญทำลายบ้านเมืองพิษณุโลกพินาศจนหมดสิ้น คงเหลือเฉพาะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเท่านั้น", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "8726#16", "text": "นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงให้สร้างพระที่นั่งเครื่องไม้ ขนานนามว่าพระที่นั่งรังสรรค์จุฬาโลก ขึ้นบริเวณสระน้ำที่เป็นที่ตั้งของพระที่นั่งพิมานดุสิตา ภายหลังหักพังเสียหมด และสร้างวัดพระแก้ววังหน้า ขึ้น โดยโปรดให้อัญเชิญพระพุทธชินสีห์ จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก มาประดิษฐานที่พระอุโบสถของวัด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า วัดบวรสถานสุทธาวาส[8]", "title": "พระราชวังบวรสถานมงคล" }, { "docid": "5419#12", "text": "ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารวัดจุฬามณีขึ้นในปี พ.ศ. 2007 และพระองค์ได้ทรงสละราชสมบัติออกผนวช ณ วัดจุฬามณี อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ. 2008 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน มีข้าราชบริพารตามเสด็จออกบวชถึง 2,348 คน และในปี พ.ศ. 2025 มีพระบรมราชโองการให้บูรณะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุและให้มีการสมโภชถึง 15 วัน พร้อมกันนั้นได้โปรดให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวง จบ 13 กัณฑ์บริบูรณ์ด้วย ต่อมาในสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองเมื่อ พ.ศ. 2222 และโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ วัดจุฬามณี พร้อมทั้งจารึกเหตุการณ์สำคัญทางศาสนาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถไว้บนแผ่นศิลาด้วย", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "5419#2", "text": "thumbnail|left|วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เดิมเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่สมัยขอม โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในศิลาจารึก ตำนาน นิทาน และพงศาวดาร เช่น สองแคว สองแควทวิสาขะ และไทยวนที เมืองอยู่ห่างจากที่ตั้งเมืองปัจจุบันลงไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร เรียกว่า \"เมืองสองแคว\" ที่เรียกเช่นนี้ เพราะตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำน่าน กับแม่น้ำแควน้อย แต่ปัจจุบันแม่น้ำแควน้อยเปลี่ยนทางเดินออกห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 10 กิโลเมตร", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "64140#3", "text": "ส่วนในพงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่า \" ในราวพุทธศักราช ๑๙๐๐ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก (พระมหาธรรมราชาลิไท) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย ทรงมีศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ศาสนาอื่น ๆ จนช่ำชองแตกฉาน หาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก พระองค์ได้ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน มีพระปรางค์อยู่กลาง มีพระวิหาร ๔ ทิศ มีพระระเบียง ๒ ชั้นและทรงรับสั่งให้ปั้นหุ่นหล่อพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทั้ง ๓ หลัง\"", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "727160#0", "text": "พระเสสันตปฏิมากร (พระราชทานชื่อโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) หรือพระเหลือ ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารน้อย บริเวณโพธิ์สามเส้า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศักราช ๑๙๐๐ ตรงกับรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย จากเศษสำริดที่เหลือหลังการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา พร้อมกับพระอัครสาวกอีก ๑ คู่ ", "title": "พระเหลือ" }, { "docid": "61381#0", "text": "พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารด้านตะวันตกในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1900 ตรงกับรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย พร้อมกับพระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระเหลือ พระพุทธชินราชได้รับการยอมรับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่งและยังเป็นพระพุทธรูปที่นิยมจำลองกันมากที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นพระพุทธรูปที่ประชาชนชาวไทยศรัทธาและนิยมเดินทางมากราบไหว้มากที่สุดองค์หนึ่งด้วย", "title": "พระพุทธชินราช" }, { "docid": "5419#47", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พระราชวังจันทน์ (ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) มหาวิหารสมเด็จองค์ปฐม (วัดจันทร์ตะวันตก) พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี (จ่าสิบเอกทวี-พิมพ์ บูรณเขตต์) โรงหล่อพระบูรณะไทย สวนนกไทยศึกษา เซ็นทรัลพลาซ่าพิษณุโลก วัดนางพญา สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา บริเวณแยกเรือนแพ (สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ) พิษณุโลก เซ็นทรัลปาร์ค บริเวณสถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลก (สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้าง)", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "400929#5", "text": "(2) พระศรีรัตนมุนี (ขวัญรัก ป.ธ.9) เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก (ตามมติประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 05/2561 มติที่ 125/2561 เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ การเสนอแต่งตั้ง พระศรีรัตนมุนี ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก ได้รับตราตั้งพระบัญชาฯ วันที่ 2 พฤษภาคม 2561 ) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ", "title": "เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "64140#0", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า \"วัดใหญ่\" ตั้งอยู่ที่ ถนนพุทธบูชา ริมฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในฐานะสถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "234477#0", "text": "สะพานนเรศวร เป็นสะพานที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นสะพานข้ามแม่น้ำน่าน ระหว่างฝั่งศาลากลาง จ.พิษณุโลก และฝั่งวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร บนสะพานนเรศวรสามารถชมวิวแม่น้ำน่านที่ไหลผ่านใต้สะพานได้อย่างงดงาม", "title": "สะพานนเรศวร" }, { "docid": "202004#2", "text": "เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สรภพเข้าสู่พิธีอุปสมบท เพื่อทดแทนบุญคุณบิดามารดา ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เนื่องจากพุ่มพวงมีความศรัทธาในวัดแห่งนี้ โดยได้รับฉายา \"สรภโว\" ซึ่งมาจากชื่อพระสรภพ ที่มีความหมายว่า เกิดมาเพื่อความแกล้วกล้า และภายในงานปลงผมนาคสรภพ มีแฟนเพลงร่วมบริจาคเงินเพื่อสร้างหุ่นขี้ผึ้งพุ่มพวง ที่มีความตั้งใจจะสร้างให้เหมือนเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ให้มากที่สุด โดยผู้ร่วมทำบุญด้วยจำนวนเงิน 100 บาท ขึ้นไป จะได้รับแจกซีดีเพลงของพระเพชร และการแสดงสดครั้งสุดท้ายของพุ่มพวง ที่จังหวัดพิษณุโลก", "title": "ภัควรรธน์ พิสิษวุฒิรัชต์" }, { "docid": "124055#2", "text": "ในปี พ.ศ. 2438 ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองพิษณุโลกได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมณฑลพิษณุโลก โดยมีเจ้าพระยาสุรสีห์สิทธิศักดิ์ เป็นสมุหเทศาภิบาลคนแรก ได้อาราธนา พระครูอ่อน จากสำนักวัดอนงคาราม จังหวัดธนบุรี(เดิม) มาว่าการพระศาสนาประจำอยู่ ณ วัดนางพญา ท่านพระครูอ่อน มีความสนใจในการศึกษามากจึงได้เริ่มก่อตั้งสำนักศึกษาขึ้นที่วัดนางพญา ศาลาโรงโขน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุบริเวณเชิงสะพานนเรศวรด้านตะวันออกต่อมาพระครูอ่อนได้เลื่อน สมณศักดิ์เป็นพระครูโลกเชษฐ์ชินราชบริบาล ในปี พ.ศ. 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงได้ทรงจัดตั้ง โรงเรียนขึ้นทั่วพระราชอาณาจักร ทางราชการเห็นว่าสำนักศึกษา ของพระครูโลกเชษฐ์ชินราชบริบาล มีความเป็นปึกแผ่นดี จึงได้ยกฐานะสำนักศึกษาแห่งนี้ เป็นโรงเรียน มีชื่อว่า “โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลพิษณุโลก”และสร้างตัวโรงเรียนขึ้นใหม่ บริเวณทางใต้ของศาลาโรงโขนวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เขตติดต่อวัดนางพญา (มีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา) โดยมีพระครูโลกเชษฐ์ชินราชบริบาลเป็น “ครูใหญ่คนแรก” จึงนับได้ว่าโรงเรียนมีกำเนิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2442", "title": "โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม" }, { "docid": "31502#2", "text": "พระประธานในพระอารามนี้มีความแตกต่างจากวัดอื่นๆ โดยทั่วไป คือ มีพระประธาน 2 องค์ และล้วนมีความสำคัญเนืองจากเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่โบราณ ได้แก่ พระพุทธชินสีห์ ซึ่งอัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก โดยอัญเชิญมาทั้งองค์ราวปี พ.ศ. 2373[3] และพระสุวรรณเขต หรือ \"พระโต\" หรือ หลวงพ่อเพชร พระประธานองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานไว้เบื้องหลังพระพุทธชินสีห์ เป็นพระประธานองค์แรกของอุโบสถวัดนี้ ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี[4]", "title": "วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร" }, { "docid": "5419#10", "text": "แม้ว่าเมืองพิษณุโลกจะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในสงครามระหว่างอยุธยากับล้านนาและอยุธยากับพม่ามาตลอด แต่การศาสนาก็มิได้ถูกละเลย ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถานชี้ให้เห็นชัดเจนว่า พระพุทธรูปและวัดปรากฏในปัจจุบันเช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) วัดจุฬามณี วัดอรัญญิก วัดนางพญา วัดราชบูรณะ วัดสระแก้วปทุมทอง วัดเจดีย์ยอดทอง วัดสุดสวาสดิ์ และวัดวังหิน ล้วนเป็นศิลปวัฒนธรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือมิฉะนั้นก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ของเดิมที่มีมาครั้งกรุงสุโขทัย แสดงว่าด้านพระศาสนาได้มีการบำรุงมาโดยตลอด", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "127325#11", "text": "เลขที่ 28 ถนนพุทธบูชา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000 ด้านหน้าของโรงเรียนหันไปทางแม่น้ำน่าน และตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯนัก", "title": "โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี" }, { "docid": "64140#12", "text": "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงกล่าวถึงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารไว้ว่า \" เป็นวัดใหญ่และเป็นวัดที่สำคัญกว่าวัดอื่นในเมืองพิษณุโลก มีพระมหาธาตุอยู่กลางเห็นจะสร้างตั้งแต่สุโขทัยเป็นราชธานี หากแต่ซ่อมแซมมาหลายครั้งหลายสมัย\"", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "117903#0", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดอารามใน ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสถานีรถไฟลพบุรี สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่มีการปรับปรุงซ่อมแซมหลายครั้งทั้งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระราเมศวร และสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี" }, { "docid": "400929#3", "text": "(2) พระศรีรัตนมุนี (ขวัญรัก ป.ธ.9) เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก (ตามมติประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 05/2561 มติที่ 125/2561 เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ การเสนอแต่งตั้ง พระศรีรัตนมุนี ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก ได้รับตราตั้งพระบัญชาฯ วันที่ 2 พฤษภาคม 2561 ) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ", "title": "เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "64140#1", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และประติมากรรมที่งดงามยิ่ง ถือได้ว่าเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าของเมืองพิษณุโลก", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "64704#30", "text": "2 มิถุนายน 2552 นายสรภพ ลูกชายพุ่มพวงอุปสมบทให้พุ่มพวง ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จ.พิษณุโลก มี นางสุพรรณี สุประการ มารดาบุญธรรม และนางบุญ สุประการ ผู้เป็นยาย ร่วมเป็นเจ้าภาพในพิธีอุปสมบท โดยในงานมีการตั้งโต๊ะรับบริจาคเงินสมทบทุนสร้างหุ่นขี้ผึ้ง “พุ่มพวง ดวงจันทร์” หุ่นที่ 7 โดยประชาชนที่บริจาคเงิน 100 บาท จะได้รับ แผ่นซีดีเพลงที่ นายสรภพ ขับร้องไว้ในชื่ออัลบั้ม “บทเพลงเพื่อแม่ผึ้ง” และมีเพลงที่พุ่มพวงร้องสดเป็นครั้งสุดท้าย[13] ทั้งนี้สรภพเกิดเรื่องขัดแย้งกับบิดาและญาติฝ่ายพุ่มพวง โดยเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552 พระสรภพ พบกับนายไกรสรและญาติพี่น้องของพุ่มพวง ที่วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และเกิดการโต้เถียงอย่างรุนแรง ในกรณีการจัดสร้างหุ่นขี้ผึ้งพุ่มพวง[14]", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "31502#4", "text": "วัดบวรนิเวศวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ 2 องค์เป็นพระประธาน คือ พระพุทธสุวรรณเขต (หลวงพ่อโต) ที่อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี และพระพุทธชินสีห์ อัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเคยผนวช ณ วัดนี้เมื่อยังทรงดำรงพระอิสริยยศที่สยามมกุฎราชกุมาร", "title": "วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร" }, { "docid": "56255#22", "text": "วัดพระปฐมเจดีย์ วัดสุวรรณดาราราม วัดนิเวศธรรมประวัติ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (พิษณุโลก)", "title": "กฐิน" } ]
3634
ประเทศรัสเซียเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกหรือไม่ ?
[ { "docid": "5449#0", "text": "รัสเซีย (English: Russia; Russian: Росси́я, pronounced[rɐˈsʲijə](listen)) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (English: Russian Federation; Russian:Росси́йская Федера́ция,IPA:[rɐˈsʲijskəjə fʲɪdʲɪˈratsɨjə](listen))[1] เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน[2][3] รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก[4] และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก[5] เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก[6] รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก[7]", "title": "ประเทศรัสเซีย" } ]
[ { "docid": "5449#15", "text": "การตัดสินใจเขาร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของซาร์นิโคลัสที่ 2 นั้นนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ทั้งชีวิตของทหารและชาวรัสเซียนับล้านที่เมื่อรัสเซียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ การจลาจลเกิดขึ้นทั่วเมือง ในที่สุดปี 1917 จึงเกิดการปฏิวัติล้มล้างระบบซาร์ พระเจ้านิโคลัสที่ 2 สละราชสมบัติ มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลเฉพาะกิจเคอเรนสกีขึ้นบริหารประเทศ แต่พรรคบอลเชวิค (Bolshevik) นำโดยวลาดีมีร์ เลนินก็ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการบริหารประเทศไว้ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งประกาศให้ประเทศเป็น สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Union of Soviet Socialist Repubilcs หรือ USSR)", "title": "ประเทศรัสเซีย" }, { "docid": "5449#4", "text": "ดินแดนอันกว้างใหญ่ของสหพันธรัฐรัสเซียครอบคลุมพื้นที่แถบตะวันออกเฉียงเหนือเหนือของทวีปยูเรเชีย จุดที่ห่างไกลกันที่สุดของรัสเซีย ซึ่งได้แก่ชายแดนที่ติดต่อกับโปแลนด์และหมู่เกาะคูริล มีระยะห่างถึง 8,000 กิโลเมตร ทำให้รัสเซียมีถึง 11 เขตเวลา[18] รัสเซียมีเขตป่าสงวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก[7] และถูกเรียกว่าเป็น \"ปอดของยุโรป\"[19] เพราะปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดูดซึมนั้นเป็นรองเพียงแค่ป่าดิบชื้นแอมะซอนเท่านั้น[19] รัสเซียมีทางออกสู่มหาสมุทรถึงสามแห่ง ได้แก่มหาสมุทรแอตแลนติก อาร์กติก และแปซิฟิก จึงทำให้รัสเซียเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่ออุปทานของสินค้าประมงในโลก[20]", "title": "ประเทศรัสเซีย" }, { "docid": "2867#39", "text": "ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจของรัสเซีย คาซัคสถานได้รับการกล่าวถึงจากนานาชาติค่อนข้างดี ในแง่ของความพยายามและผลของการพัฒนาประเทศ แต่โดยที่รัสเซียเป็นประเทศคู่ค้าหลักของคาซัคสถาน จึงทำให้คาซัคสถานได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ด้วย โดยเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2542 รัฐบาลและธนาคารชาติคาซัคสถานได้ประกาศจะยุติการแทรกแซงเพื่อพยุงอัตราการแลกเปลี่ยนของเงินเต็งเก (Tenge) และปล่อยค่าเงินลอยตัว เพื่อให้สินค้าของคาซัคสถานสามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่นที่ได้ลดค่าเงินในตลาดโลกได้ ทั้งนี้ ค่าเงินเต็งเกอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง จากอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 88 เต็งเก ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 จนเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2546 อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 146.37 เต็งเก", "title": "ประเทศคาซัคสถาน" }, { "docid": "8375#28", "text": "จากมาตรการลงโทษต่างๆต่อรัสเซียประกอบกับการที่ราคาน้ำมันโลกลดลงอย่างมากทำให้รัสเซียเผชิญกับกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่จากการที่รัสเซียเป็นคู่ค้าอันดับสามของสหภาพยุโรปและเป็นแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ของยุโรป การลงโทษต่อรัสเซียก็ทำให้เศรษฐกิจในยุโรปถดถอยและเผชิญกับความเสี่ยงด้านวิกฤตพลังงาน", "title": "วลาดีมีร์ ปูติน" }, { "docid": "60933#1", "text": "ดาวเทียมได้ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2500 ดาวเทียมดังกล่าวมีชื่อว่า \"สปุตนิก (Sputnik)\" โดยรัสเซียเป็นผู้ส่งขึ้นไปโคจร สปุตนิกทำหน้าที่ตรวจสอบการแผ่รังสีของชั้นบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟีย ในปี พ.ศ. 2501 สหรัฐได้ส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรบ้างมีชื่อว่า \"Explorer\" ทำให้รัสเซียและสหรัฐเป็น 2 ประเทศผู้นำทางด้านการสำรวจทางอวกาศ และการแข่งขันกันระหว่างทั้งคู่ได้เริ่มขึ้นในเวลาต่อมา", "title": "ดาวเทียม" }, { "docid": "702010#0", "text": "ทางหลวงเอเชียสาย 6 (AH6) เป็นถนนในโครงข่ายทางหลวงสายเอเชีย เริ่มต้นจากทางหลวงเอเชียสาย 1 ที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ไปจนถึงพรมแดนระหว่างประเทศรัสเซียกับประเทศเบลารุส มีระยะทางตลอดทั้งสาย 10,533 กิโลเมตร โดยผ่านประเทศรัสเซียเป็นระยะทางยาวที่สุด ใช้เส้นทางร่วมกับทางหลวงทรานส์ไซบีเรีย ผ่านไปยังทางหลวงฝั่งทิศตะวันตกของเทือกเขายูรัลของรัสเซีย", "title": "ทางหลวงเอเชียสาย 6" }, { "docid": "3680#6", "text": "ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 ประเทศในกลุ่มกติกาสัญญาวอร์ซอและประเทศที่อยู่ในสหภาพโซเวียต ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาในโรงเรียน เช่นในโปแลนด์ บัลแกเรีย เช็กเกีย สโลวาเกีย ฮังการี โรมาเนีย แอลเบเนีย และคิวบา แต่คนรุ่นต่อมาเริ่มใช้ภาษารัสเซียน้อยลง นอกจากนั้นมีชาวยิวในอิสราเอลที่พูดภาษารัสเซียอีกราว 750,000 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่อพยพไปจากรัสเซีย ในอเมริกาเหนือ พบผู้พูดภาษารัสเซียแพร่กระจายทั่วไปในช่วงก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ผู้พูดเหล่านี้ส่วนมากเป็นชาวยิวที่อพยพมาจากรัสเซีย ในยุโรปตะวันตกมีผู้พูดภาษารัสเซียซึ่งอพยพออกจากรัสเซียในพุทธศตวรรษที่ 25", "title": "ภาษารัสเซีย" }, { "docid": "251916#3", "text": "ต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อนุญาตให้ทรูโฟร์ยูสามารถออกอากาศรายการในรูปแบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงบางช่วงเวลา เพื่อรองรับการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้ายซึ่งประเทศรัสเซียเป็นเจ้าภาพ", "title": "ทรูโฟร์ยู" }, { "docid": "3680#7", "text": "ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการของรัสเซีย และเป็นภาษาราชการร่วมในเบลารุส คาซัคสถาน และคีร์กิซสถาน เป็น 1 ใน 6 ภาษาราชการของสหประชาชาติ มีการเรียนการสอนเป็นภาษารัสเซียในฐานะภาษาที่สองในหลายประเทศ โดยมากเป็นประเทศที่เคยอยู่ในสหภาพโซเวียตมาก่อน", "title": "ภาษารัสเซีย" }, { "docid": "5449#3", "text": "รัสเซียมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดอันดับที่ 11 ของโลกโดยจีดีพีมูลค่าตลาด หรือใหญ่ที่สุดอันดับที่ 6 โดยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ โดยมีงบประมาณทางทหารมากที่สุดอันดับที่ 5 ของโลก ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจธุรกิจจัดอันดับรัสเซียเป็นเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับที่ 9 ของโลกใน พ.ศ. 2554 ขึ้นจากอันดับที่ 10 ใน พ.ศ. 2553 รัสเซียเป็นหนึ่งในห้ารัฐอาวุธนิวเคลียร์ที่ได้รับการรับรองและครอบครองคลังแสงอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงใหญ่ที่สุดในโลก[17] รัสเซียเป็นมหาอำนาจและสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมาชิกจี 8 จี 20 สภายุโรปและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป องค์การการค้าโลก และเป็นสมาชิกผู้นำเครือจักรภพรัฐเอกราช", "title": "ประเทศรัสเซีย" }, { "docid": "951325#1", "text": "เส้นทางท่องเที่ยวหลัก ๆ ในประเทศรัสเซีย ได้แก่ การเดินทางรอบ ๆ Golden Ring ของเมืองโบราณ, การล่องเรือบนแม่น้ำสายใหญ่รวมถึงแม่น้ำวอลกา และการเดินทางที่ยาวนานของทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรียที่มีชื่อเสียง ภูมิภาคหลากหลายและวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ในประเทศรัสเซียมีอาหารและของที่ระลึกมากมายและแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของขนบธรรมเนียมประเพณีในประเทศรัสเซีย ได้แก่ ซาวน่าแบบรัสเซีย (Banya), Khokhloma และ ตุ๊กตาแม่ลูกดก แห่งนิจนีนอฟโกรอด, เทศการฤดูร้อน Sabantuy ของชาวตาตาร์ หรือพิธีกรรมของนักบวชในไซบีเรีย ในปี 2013 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเยือนประเทศรัสเซียเป็นจำนวน 33 ล้านคน ส่งผลให้ประเทศนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับที่ 9 ของโลกและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับที่ 7 ของยุโรป", "title": "การท่องเที่ยวในประเทศรัสเซีย" }, { "docid": "62037#5", "text": "พลพรรคบอลเชวิคภายใต้การนำของเลนิน ได้นำกำลังเข้ายึดอำนาจการปกครองในรัสเซียระหว่างการปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ. 1917 สถาปนารัสเซียเป็นประเทศสังคมนิยมประเทศแรกของโลกและต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพโซเวียต เดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 ในการประชุมใหญ่ครั้งที่ 7 ของพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย (บอลเชวิค) มีมติเปลี่ยนชื่อพรรคเป็นพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย (บอลเชวิค) เพื่อให้แตกต่างชัดเจนจากพรรคอดีตกลุ่มในพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซียที่ยังเหลืออยู่ หลังการเปลี่ยนชื่อพรรคก็ถูกเรียกติดปากแค่พรรคคอมมิวนิสต์และต่อมาเมื่อประเทศกลายมาเป็นสหภาพโซเวียต และพรรคไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะคนรัสเซียเท่านั้น ดั้งนั้นใน ค.ศ. 1925 จึงเปลี่ยนชื่อพรรคอีกครั้งเป็นพรรคคอมมิวนิสต์มวลสหภาพ (บอลเชวิค) ( ) จนในการประชุมใหญ่พรรคครั้งที่ 19 ปี ค.ศ. 1952 พรรคจึงเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตและใช้ต่อมาจนสหภาพโซเวียตล่มสลาย", "title": "บอลเชวิค" }, { "docid": "3680#5", "text": "ภาษารัสเซียใช้พูดในรัสเซียเป็นหลัก ประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษารัสเซียมักเป็นประเทศที่เคยรวมอยู่ในสหภาพโซเวียต ซึ่งใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษากลางตั้งแต่ พ.ศ. 2460 จนเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายไปเมื่อ พ.ศ. 2534 ประเทศเหล่านั้นจึงกลับไปใช้ภาษาของตนเอง", "title": "ภาษารัสเซีย" }, { "docid": "160225#0", "text": "มีไฮล์ โรมานอฟ (, 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2139 - 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2188) เป็นซาร์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์โรมานอฟของราชอาณาจักรรัสเซีย (ซึ่งในขณะนั้นประเทศรัสเซียยังคงเป็นราชอาณาจักรรัสเซีย ก่อนที่ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 หรือซาร์ปีเตอร์มหาราช จะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบกษัตริย์เป็นระบอบจักรพรรดิ และเปลี่ยนชื่อประเทศจากราชอาณาจักรรัสเซียเป็นจักรวรรดิรัสเซียแทน)", "title": "ซาร์มีไฮล์ที่ 1 แห่งรัสเซีย" }, { "docid": "3680#2", "text": "ในปัจจุบัน ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการใช้นอกประเทศรัสเซียด้วย มีเอกสารทางวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซีย รวมทั้งความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางการเมืองในยุคที่สหภาพโซเวียตเรืองอำนาจและยังเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของสหประชาชาติ", "title": "ภาษารัสเซีย" }, { "docid": "5449#5", "text": "พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัสเซียเป็นที่ราบกว้างใหญ่ ทางตอนใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสเตปป์ มีป่าไม้มากทางตอนเหนือ และมีพื้นที่แบบทุนดราตามชายฝั่งทางเหนือ เทือกเขาจะอยู่ตามชายแดนทางใต้ เช่นเทือกเขาคอเคซัส ซึ่งมียอดเขาเอลบรุส ที่มีความสูง 5,642 เมตรและเป็นจุดสูงสุดของรัสเซียและยุโรป หรือเทือกเขาอัลไต และทางตะวันออก เช่นเทือกเขาเวอร์โฮยันสค์ หรือภูเขาไฟในแหลมคัมชัตคา เทือกเขาอูรัลทางตะวันตกวางตัวเหนือใต้และเป็นเขตแดนทางธรรมชาติของทวีปเอเชียและทวีปยุโรป", "title": "ประเทศรัสเซีย" }, { "docid": "71895#0", "text": "ทะเลสาบไบคาล (อักษรโรมัน: Lake Baikal, อักษรซีริลลิก: о́зеро Байка́л) ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของไซบีเรีย ประเทศรัสเซียเป็นทะเลสาบน้ำจืด ที่ลึกที่สุดในโลก จุดที่ลึกที่สุดมีความลึกกว่า 1,640 เมตร ทะเลสาบไบคาลเกิดจากการที่น้ำเอ่อล้นเข้ามาจนเต็มรอยเปลือกโลกที่แตกเมื่อ 25 ล้านปีที่แล้ว ทะเลสาบมีความยาวประมาณ 650 กิโลเมตร กว้างโดยเฉลี่ย 50 กิโลเมตร มีพื้นที่ 31,722 ตารางกิโลเมตร หรือ 19,826,250 ไร่ และมีปริมาตร 23,615 ลูกบาศก์กิโลเมตร", "title": "ทะเลสาบไบคาล" }, { "docid": "8538#47", "text": "ชัยชนะของญี่ปุ่นในครั้งนี้ ถือเป็นชัยชนะในสงครามใหญ่ครั้งแรกของชาติตะวันออกในยุคใหม่ที่มีเหนือชาติยุโรป ข่าวการพ่ายแพ้ของรัสเซียได้สร้างความตื่นตะลึงไปทั่วทั้งยุโรปตลอดจนอาณานิคมต่างๆ ชื่อเสียงและบารมีของญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในเวทีโลก และเริ่มได้รับการยอมรับในฐานะประเทศทันสมัย ขณะเดียวกัน รัสเซียที่สูญเสียกองเรือบอลติกนั้น แทบจะหมดความภาคภูมิและความน่ายำเกรงต่อชาติอื่นๆในยุโรป ย้อนไปเมื่อครั้งก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่ตอนนั้นรัสเซียเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งกับฝรั่งเศสและเซอร์เบีย การพ่ายแพ้ของรัสเซียในครั้งนี้ ถือเป็นข่าวดีสำหรับจักรวรรดิเยอรมันและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เพื่อที่จะวางแผนทำสงครามต่อฝรั่งเศสและเซอร์เบีย", "title": "สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น" }, { "docid": "446245#4", "text": "ใน ค.ศ. 2009 มีการขุดแร่ใยหินราว 2 ล้านตันทั่วโลก โดยรัสเซียเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด (50%) รองลงมาเป็นจีน (14%) บราซิล (12.5%) คาซัคสถาน (10.5%) และแคนาดา (9%).", "title": "แร่ใยหิน" }, { "docid": "1821#2", "text": "ยุโรปมีพื้นที่ประมาณ 10,180,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2% ของผิวโลก (6.8% ของผืนดิน) ในทางการเมืองยุโรปมีรัฐอธิปไตยและเขตปกครองกว่า 50 รัฐ ซึ่งมีรัสเซียเป็นประเทศที่ใหญ่และมีประชากรมากที่สุด โดยกินพื้นที่ทวีปยุโรป 39% และมีประชากรทั้งหมด 15% ของทวีป ใน 2016 ยุโรปมีประชากรประมาณ 741ล้านคน[2] (หรือ 11% ของประชากรโลก) ภูมิอากาศยุโรปส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแอตแลนติกทำให้ภายในทวีปจะมีอากาศหนาวจัดในฤดูหนาวและร้อนในฤดูร้อนแม้ในละติจูดเดียวกันในเอเชียกับอเมริกาเหนือจะมีสภาพอากาศที่รุนแรง ยุโรปภาคพื้นทวีปจะเห็นความแตกต่างตามฤดูกาลได้ชัดเจนกว่าบริเวณชายฝั่ง", "title": "ทวีปยุโรป" }, { "docid": "5147#11", "text": "เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2007 เครื่องบินขับไล่ SU-25 จำนวน 2 ลำ ได้บินเข้าไปในน่านฟ้าจอร์เจีย พร้อมกับยิงขีปนาวุธ 1 ลูกไปที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจาก South Ossetia ทางการจอร์เจียเชื่อว่าเป็นการกระทำของรัสเซีย ส่วนทางฝ่ายรัสเซียปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว และระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่เครื่องบินขับไล่เป็นของจอร์เจียที่ต้องการยั่วยุให้เกิดความตึงเครียดขึ้นในพื้นที่ South Ossetia เพื่อโน้มน้าวให้สหภาพยุโรปและ NATO เห็นว่า รัสเซียเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาคและเข้ามาให้ความช่วยเหลือจอร์เจียในกรณีที่มีความขัดแย้งกับรัสเซีย \nอย่างไรก็ดี ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2551 ประธานาธิบดี Saakashvili ได้ให้สัมภาษณ์แก่รายการโทรทัศน์รัสเซีย ประกาศว่า “การมีความสัมพันธ์ฉันมิตรกับรัสเซียถือเป็นผลประโยชน์แก่จอร์เจีย” และเชื่อว่าการเข้าร่วม NATO ของจอร์เจียจะไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับรัสเซีย นอกจากนี้ ยังให้ความเห็นของตนเกี่ยวกับการเมืองในบริบทโลกว่า จะสนับสนุนความสัมพันธ์กับทั้ง NATO และประเทศอื่น ๆ ทั้งตะวันออกและตะวันตก และเชื่อว่านโยบายต่างประเทศของจอร์เจียควรจะมีหลายมิติ", "title": "ประเทศจอร์เจีย" }, { "docid": "935566#0", "text": "การโฆษณาชวนเชื่อรัสเซียเป็นสื่อมวลชนหรือการสื่อสารแบบมุ่งเป้าที่ส่งเสริมมุมมอง ทัศนะหรือวาระของรัฐบาลรัสเซีย สื่อดังกล่าวได้แก่ ช่องทาง (outlet) และเทคโนโลยีออนไลน์ที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ ปลายปี 2551 เลฟ กุดคอฟ ซึ่งอาศัยข้อมูลสำรวจความเห็นศูนย์เลวาดา ชี้การเกือบหมดไปของมติมหาชนในฐานะสถาบันทางสังคมการเมืองในประเทศรัสเซียร่วมสมัยและมีการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐที่ยังให้ผลตามต้องการอยู่", "title": "การโฆษณาชวนเชื่อในประเทศรัสเซีย" }, { "docid": "877479#0", "text": "ประเทศรัสเซีย มี พรมแดนระหว่างประเทศ ถึง 16 ประเทศ รวมถึงพรมแดนทางน้ำอีกสองประเทศ (สหรัฐ, ญี่ปุ่น) นอกจากนี่ยังติดกับ ประเทศที่ไม่ได้รับการรับรอง อย่าง เซาท์ออสซีเชีย และ อับคาเซีย โดยพรมแดนภาคพื้นดินมีความยาวโดยรวมถึง รัสเซียเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดกับทุกประเทศรองจากจีน", "title": "พรมแดนของประเทศรัสเซีย" }, { "docid": "306914#0", "text": "ฟุตบอลโลก 2018 (; ) เป็นการแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลก ที่จัดขึ้นในปี ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 2561) โดยประเทศรัสเซียเป็นเจ้าภาพ นับเป็นการจัดครั้งแรกของรัสเซียและยุโรปตะวันออก และเป็นครั้งแรกที่ประเทศเจ้าภาพคาบเกี่ยวระหว่างสองทวีป คือ ยุโรปกับเอเชีย โดยการประกาศประเทศเจ้าภาพอย่างเป็นทางการมีขึ้นในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ณ นครซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมกับการประกาศประเทศเจ้าภาพ ปี 2022", "title": "ฟุตบอลโลก 2018" }, { "docid": "5449#31", "text": "ประเทศรัสเซียมีคลังอาวุธนิวเคลียร์ใหญ่ที่สุดในโลก และมีกองเรือดำน้ำขีปนาวุธใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสอง และเป็นประเทศเดียวนอกจากสหรัฐอเมริกาที่มีกองกำลังเครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์สมัยใหม่[17][37] กองกำลังรถถังของรัสเซียใหญ่ที่สุดในโลก และกองทัพเรือผิวน้ำและกองทัพอากาศใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก", "title": "ประเทศรัสเซีย" }, { "docid": "5449#37", "text": "รัสเซียมีแหล่งทรัพยากรแก๊สธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก[55] มีแหล่งทรัพยากรถ่านหินใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และมีแหล่งทรัพยากรน้ำมันที่ใหญ่เป็นอันดับแปดของโลก[56] รัสเซียเป็นประเทศที่ส่งออกแก๊สธรรมชาติมากเป็นอันดับหนึ่ง[57] และส่งออกน้ำมันมากเป็นอันดับสองของโลก[55] น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ โลหะ และไม้ เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญและมีมูลค่ามากถึงร้อยละ 80 ของการส่งออกทั้งหมด[21][58]แต่หลังปี 2003 การส่งออกทรัพยากรธรรมชาติก็เริ่มลดความสำคัญลงเพราะตลาดภายในประเทศขยายตัวขึ้นอย่างมาก แม้ว่าราคาทรัพยากรด้านพลังงานจะสูงขึ้นมาก แต่น้ำมันและแก๊สธรรมชาติก็มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5.7 ของจีดีพี และรัฐบาลคาดการณ์ว่าสัดส่วนนี้จะลดลงเหลือร้อยละ 3.7 ภายในปี 2011[59] รัสเซียยังนับว่าเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ดีกว่าประเทศที่ร่ำรวยทรัพยากรอื่น ๆ[47] รัสเซียมีจำนวนประชากรที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษามากกว่าประเทศอื่นในทวีปยุโรป[60]", "title": "ประเทศรัสเซีย" }, { "docid": "22127#2", "text": "เดิมทีปรัสเซียเป็นรัฐบริวารของโปแลนด์ ก่อนที่ในปี 1651 ปรัสเซียจำยอมต้องโอนอ่อนหันไปอยู่กับจักรวรรดิสวีเดน แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปีก็เกิดสงครามเหนือครั้งที่สองขึ้น ปรัสเซียฉวยโอกาสต่อรองกับสวีเดน ว่าจะยอมช่วยสวีเดนทำศึกแลกกับการให้เอกราชแก่ปรัสเซีย หลังปรัสเซียได้รับเอกราชแล้วก็เริ่มผงาดตนเองขึ้นมาจนสามารถสถาปนาเป็นราชอาณาจักรในปี 1701 และมีอิทธิพลสูงที่สุดในศตวรรษที่ 18 ถึง 19 ปรัสเซียรุ่งเรืองอย่างก้าวกระโดดและกลายเป็นมหาอำนาจในสมัยพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 มหาราช โดยขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีกองทัพบกที่ทรงแสนยานุภาพมากที่สุดในโลก และยิ่งเรืองอำนาจขึ้นอีกในสมัยมุขมนตรี ออทโท ฟอน บิสมาร์ค ชัยชนะของปรัสเซียในสงครามสามครั้งได้แก่ สงครามชเลสวิจครั้งที่สองกับเดนมาร์กในปี 1864, สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียในปี 1866 และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียในปี 1870–71 ทำให้บิสมาร์คสามารถรวมรัฐเยอรมันเล็กน้อยต่างๆเข้าด้วยกันเป็นสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ โดยกีดจักรวรรดิออสเตรีย (ซึ่งถือเป็นรัฐเยอรมันเช่นกัน) ออกไป", "title": "ปรัสเซีย" }, { "docid": "951325#0", "text": "การท่องเที่ยวในประเทศรัสเซียมีการเติบโตอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ช่วงปลายยุคโซเวียต ถือเป็นการท่องเที่ยวภายในประเทศครั้งแรกและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศอีกด้วย มรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลายและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ทำให้ประเทศรัสเซียเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ไม่รวมไครเมีย ประเทศรัสเซียมีสถานที่ 23 แห่งที่ได้รับการจารึกไว้ในรายชื่อแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก ขณะที่อีกหลายแห่งอยู่ในรายชื่อเบื้องต้นของยูเนสโก", "title": "การท่องเที่ยวในประเทศรัสเซีย" }, { "docid": "5449#32", "text": "ประเทศรัสเซียมีอุตสาหกรรมอาวุธขนาดใหญ่และผลิตในประเทศทั้งหมด โดยผลิตยุทโธปกรณ์ส่วนใหญ่เองโดยมีการนำเข้าอาวุธไม่กี่ชนิด ประเทศรัสเซียเป็นผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลกมาตั้งแต่ปี 2544 โดยมีการขายอาวุธคิดเป็นราว 30% ของทั่วโลก[38] และมีการส่งออกไปประมาณ 80 ประเทศ[39]", "title": "ประเทศรัสเซีย" } ]
364
ไอแซก นิวตัน เสียชีวิตเมื่อไหร่?
[ { "docid": "2122#0", "text": "เซอร์ไอแซก นิวตัน (English: Isaac Newton) (25 ธันวาคม ค.ศ. 1641 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1725 ตามปฏิทินจูเลียน) นักฟิสิกส์ นัก คณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยาชาวอังกฤษ​", "title": "ไอแซก นิวตัน" } ]
[ { "docid": "2122#5", "text": "ไอแซก นิวตัน ได้รับยกย่องจากปราชญ์และสมาชิกสมาคมต่างๆ ว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ", "title": "ไอแซก นิวตัน" }, { "docid": "617485#20", "text": "ความงดงามของระบบที่ประกอบไปด้วยดวงอาทิตย์, ดาวเคราะห์, และเหล่าดาวหางต่างๆ นั้นสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยภายใต้การควบคุมของสิ่งมีชีวิตอันชาญฉลาด พระเจ้าเป็นผู้ควบคุมทุกสิ่ง ไม่เพียงแต่เป็นแค่จิตวิญญาณของโลก แต่ยังเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าสำหรับทุกสิ่ง และเนื่องจากการที่พระองค์ปกครองนั้น ท่านจะถูกเรียกว่า \"องค์พระผู้เป็นเจ้า\" παντοκρατωρ [pantokratōr], หรือ \"ผู้ปกครองแห่งสากลโลก\". [...] พระเจ้าสูงสุดนี้เป็นผู้ที่ดำรงอยู่นิจนิรันดร์, นิวตันเองก็อาจมีความสนใจในความคิดแบบ[]เช่นกัน เพราะเขาเขียนเกี่ยวกับ[]และ[]ในหนังสือของเขาชื่อ จากหนังสือที่เขาเขียนขึ้นในปี 1704 เขาได้อธิบายถึงความพยายามที่จะดึงข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ออกมาจากไบเบิ้ล โดยเขาคาดการณ์ว่าโลกจะถึงจุดจบในปี 2060. ในการทำนายนี้เขาได้กล่าวว่า \"นี่ผมไม่ได้กล่าวว่าเวลาที่สิ้นสุดจะเป็นเมื่อไหร่ แต่เพื่อจะหยุดการคาดเดาไปต่างๆ นานาของพวกที่จินตนาการไปเรื่อยถึงวันที่สิ้นสุดของโลก เพราะการกระทำดังกล่าวได้ลดทอนความน่าเชื่อถือของคำพยากรณ์อันศักดิ์สิทธิ์และบ่อยครั้งคำทำนายของพวกเขาก็ล้มเหลว\"[38]", "title": "ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน" }, { "docid": "2122#24", "text": "สมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอนหลายคน (สมาคมซึ่งนิวตันเป็นสมาชิกอยู่ด้วย) เริ่มกล่าวหาไลบ์นิซว่าลอกเลียนผลงานของนิวตันในปี พ.ศ. 2242 ข้อโต้แย้งรุนแรงขึ้นถึงขั้นแตกหักในปี 2254 เมื่อทางราชสมาคมฯ ประกาศในงานศึกษาชิ้นหนึ่งว่า นิวตันคือผู้ค้นพบแคลคูลัสที่แท้จริง และตราหน้าไลบ์นิซว่าเป็นจอมหลอกลวง งานศึกษาชิ้นนั้นกลายเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยเมื่อพบในภายหลังว่าตัวนิวตันนั่นเองที่เป็นคนเขียนบทสรุปของงานโดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับไลบ์นิซ ข้อขัดแย้งในเรื่องนี้กลายเป็นรอยด่างพร้อยในชีวิตของทั้งนิวตันและไลบ์นิซตราบจนกระทั่งไลบ์นิซเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2259[31]", "title": "ไอแซก นิวตัน" }, { "docid": "2122#23", "text": "นิวตันลังเลในการเผยแพร่แคลคูลัสของเขาก็เพราะเขากลัวข้อโต้แย้งและคำวิพากษ์วิจารณ์[29] เขาเคยสนิทสนมกับนักคณิตศาสตร์ชาวสวิส Nicolas Fatio de Duillier ครั้นปี 2234 ดุยลิเยร์เริ่มต้นเขียน Principia ของนิวตันขึ้นในรูปแบบใหม่ และติดต่อกับไลบ์นิซ[30] มิตรภาพระหว่างดุยลิเยร์กับนิวตันเริ่มเสื่อมลงตั้งแต่ปี 2236 และหนังสือนั้นก็เลยเขียนไม่เสร็จ", "title": "ไอแซก นิวตัน" }, { "docid": "2122#18", "text": "เซอร์ไอแซก นิวตัน</b>มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือพระเจ้าท้ายสระแห่งสมัยกรุงศรีอยุธยา", "title": "ไอแซก นิวตัน" }, { "docid": "2122#32", "text": "มีบันทึกในช่วงหลัง นิวตันเขียนว่า:", "title": "ไอแซก นิวตัน" }, { "docid": "2122#11", "text": "งานสำคัญชิ้นนี้ซึ่งถูกหยุดไม่ได้พิมพ์อยู่หลายปีได้ทำให้นิวตันได้รับการยอมรับว่าเป็นนักฟิสิกส์กายภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ผลกระทบมีสูงมาก นิวตันได้เปลี่ยนโฉมวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทห์วัตถุที่มีมาแต่เดิมโดยสิ้นเชิง นิวตันได้ทำให้งานที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยกลางและได้รับการเสริมต่อโดยความพยายามของกาลิเลโอเป็นผลสำเร็จลง และ “กฎการเคลื่อนที่” นี้ได้กลายเป็นพื้นฐานของงานสำคัญทั้งหมดในสมัยต่อๆ มา", "title": "ไอแซก นิวตัน" }, { "docid": "2122#35", "text": "ในช่วงชีวิตของนิวตัน มีการใช้งานปฏิทินอยู่ 2 ชนิดในยุโรป คือ ปฏิทินจูเลียน หรือ'ปฏิทินแบบเก่า' กับ ปฏิทินเกรกอเรียน หรือ 'ปฏิทินแบบใหม่' ซึ่งใช้กันในประเทศยุโรปที่นับถือโรมันคาทอลิก และที่อื่นๆ ตอนที่นิวตันเกิด วันที่ในปฏิทินเกรกอเรียนจะนำหน้าปฏิทินจูเลียนอยู่ 10 วัน ดังนั้น นิวตันจึงเกิดในวันคริสต์มาส หรือ 25 ธันวาคม 2185 ตามปฏิทินจูเลียน แต่เกิดวันที่ 4 มกราคม 2186 ตามปฏิทินเกรกอเรียน เมื่อถึงวันที่เสียชีวิต ปฏิทินทั้งสองมีความแตกต่างกันเพิ่มเป็น 11 วัน นอกจากนี้ ก่อนที่อังกฤษจะรับเอาปฏิทินเกรกอเรียนเข้ามาใช้ในปี พ.ศ. 2295 วันขึ้นปีใหม่ของอังกฤษเริ่มในวันที่ 25 มีนาคม (หรือ 'วันสุภาพสตรี' (Lady Day) ทั้งตามกฎหมายและตามประเพณีท้องถิ่น) มิใช่วันที่ 1 มกราคม หากมิได้มีการระบุไว้เป็นอย่างอื่น วันที่ทั้งหลายที่ปรากฏในบทความนี้จะเป็นวันที่ตามปฏิทินจูเลียน", "title": "ไอแซก นิวตัน" }, { "docid": "51301#12", "text": "ใน ค.ศ. 1687 ไอแซก นิวตัน ตีพิมพ์ \"Principia Mathematica,\" อันมีรายละเอียดของทฤษฎีสองข้อที่ครอบคลุมและประสบความสำเร็จ คือ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน จากสิ่งที่ทำให้เกิด กลศาสตร์คลาสสิก และ กฎความโน้มถ่วงของนิวตัน ซึ่งบรรยาย แรงพื้นฐาน ของ ความโน้มถ่วง ทั้งสองทฤษฎีเข้ากับผลการทดลองได้ดี กฎความโน้มอ่วงนำไปสู่สาขาวิชา astrophysics ซึ่งบรรยายปรากฏการณ์ทาง ดาราศาสตร์ โดยใช้ทฤษฎีทางฟิสิกส์", "title": "ประวัติศาสตร์ฟิสิกส์" }, { "docid": "34374#1", "text": "ไอแซก นิวตัน ได้ทำการรวบรวมกฎการเคลื่อนที่ทั้งสามข้อไว้ในหนังสือ (Mathematical Principles of Natural Philosophy) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1687 นิวตันใช้เพื่ออธิบายและตรวจสอบการเคลื่อนที่ของวัตถุและระบบทางกายภาพ ยกตัวอย่างเช่นในเล่มที่สามของตำรา นิวตันแสดงให้เห็นว่ากฎการเคลื่อนที่เหล่านี้รวมกับกฎความโน้มถ่วงสากล และสามารถอธิบายกฎของเคปเลอร์เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์", "title": "กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน" }, { "docid": "2122#16", "text": "ชีวิตส่วนใหญ่ของนิวตันอยู่กับความขัดแย้งกับบรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ โดยเฉพาะฮุก, ไลบ์นิซ และเฟลมสตีด ซึ่งนิวตันแก้เผ็ดโดยวิธีลบเรื่องหรือข้อความที่เป็นจินตนาการหรือไม่ค่อยเป็นจริงที่ได้อ้างอิงว่าเป็นการช่วยเหลือของพวกเหล่านั้นออกจากงานของนิวตันเอง นิวตันตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์งานของตนอย่างดุเดือดเสมอ และมักมีความปริวิตกอยู่เป็นนิจจนเชื่อกันว่าเกิดจากการถูกมารดาทอดทิ้งในสมัยที่เป็นเด็ก และความบ้าคลั่งดังกล่าวแสดงนี้มีให้เห็นตลอดการมีชีวิต อาการสติแตกของนิวตันในปี พ.ศ. 2236 ถือเป็นการป่าวประกาศยุติการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของนิวตัน หลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางระดับเซอร์ในปี พ.ศ. 2248 นิวตันใช้ชีวิตในบั้นปลายภายใต้การดูแลของหลานสาว นิวตันไม่ได้แต่งงาน แต่ก็มีความสุขเป็นอย่างมากในการอุปการะนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลัง ๆ และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2246 เป็นต้นมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต นิวตันดำรงตำแหน่งเป็นนายกราชสมาคมแห่งลอนดอนที่ได้รับสมญา “นายกสภาผู้กดขี่”", "title": "ไอแซก นิวตัน" }, { "docid": "2122#15", "text": "นิวตันมีมิตรภาพอันสนิทสนมกับนักคณิตศาสตร์ชาวสวิส Nicolas Fatio de Duillier ซึ่งเขาพบในลอนดอนราวปี 1690[19] แต่มิตรภาพนี้กลับสิ้นสุดลงเสียเฉยๆ ในปี 1693 จดหมายติดต่อระหว่างคนทั้งคู่บางส่วนยังคงเหลือรอดมาถึงปัจจุบัน", "title": "ไอแซก นิวตัน" }, { "docid": "2122#33", "text": "นิวตันยังคงมีอิทธิพลต่อนักวิทยาศาสตร์มาตลอด เห็นได้จากการสำรวจความคิดเห็นสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน (ซึ่งนิวตันเคยเป็นประธาน) เมื่อปี พ.ศ. 2548 โดยถามว่า ใครเป็นผู้มีอิทธิพลยิ่งใหญ่ต่อประวัติศาสตร์แห่งวิทยาศาสตร์มากกว่ากันระหว่างนิวตันกับไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์แห่งราชสมาคมฯ ให้ความเห็นโดยส่วนใหญ่แก่นิวตันมากกว่า[41] ปี พ.ศ. 2542 มีการสำรวจความคิดเห็นจากนักฟิสิกส์ชั้นนำของโลกปัจจุบัน 100 คน ลงคะแนนให้ไอน์สไตน์เป็น \"นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล\" โดยมีนิวตันตามมาเป็นอันดับสอง ในเวลาใกล้เคียงกันมีการสำรวจโดยเว็บไซต์ PhysicsWeb ให้คะแนนนิวตันมาเป็นอันดับหนึ่ง[42]", "title": "ไอแซก นิวตัน" }, { "docid": "372793#0", "text": "กฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตัน () ระบุว่า แต่ละจุดมวลในเอกภพจะดึงดูดจุดมวลอื่นๆ ด้วยแรงที่มีขนาดเป็นสัดส่วนโดยตรงกับผลคูณของมวลทั้งสอง และเป็นสัดส่วนผกผันกับค่ากำลังสองของระยะห่างระหว่างกัน นี่คือกฎฟิสิกส์ทั่วไปที่ได้จากการสังเกตการณ์ของไอแซก นิวตัน เป็นส่วนหนึ่งของกลศาสตร์ดั้งเดิม และเป็นส่วนสำคัญอยู่ในงานของนิวตันชื่อ \"Philosophiae Naturalis Principia Mathematica\" (\"the Principia\") ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1687", "title": "กฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตัน" }, { "docid": "2122#19", "text": "กล่าวกันว่า ผลงานของนิวตันเป็น \"ความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ในทุกสาขาของคณิตศาสตร์ในยุคนั้น[20] ผลงานที่เขาเรียกว่า Fluxion หรือแคลคูลัส ซึ่งปรากฏอยู่ในงานเขียนชุดหนึ่งเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1666 ในปัจจุบันได้รับการตีพิมพ์อยู่รวมกับงานด้านคณิตศาสตร์อื่นๆ ของนิวตัน[21] ในจดหมายที่ไอแซก แบร์โรว์ ส่งไปให้จอห์น คอลลินส์เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1669 กล่าวถึงผู้เขียนต้นฉบับ De analysi per aequationes numero terminorum infinitas ที่เขาส่งไปให้คอลลินส์เมื่อเดือนมิถุนายนปีเดียวกันนั้นว่า[22]", "title": "ไอแซก นิวตัน" }, { "docid": "2122#30", "text": "แต่ตัวนิวตันเองค่อนข้างจะถ่อมตัวกับความสำเร็จของตัวเอง ครั้งหนึ่งเขาเขียนจดหมายถึงโรเบิร์ต ฮุก ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2219 ว่า:", "title": "ไอแซก นิวตัน" }, { "docid": "2646#39", "text": "ไอแซก นิวตัน ได้อธิบายลักษณะของดาวหางไว้ว่าเป็นวัตถุแข็งทนทานเคลื่อนที่ไปด้วยวงโคจรโค้งรี หางของมันเป็นแนวละอองไอบาง ๆ ที่แผ่ออกมาจากนิวเคลียส สามารถจุดติดไฟขึ้นได้ด้วยความร้อนจากดวงอาทิตย์ นิวตันสงสัยว่าดาวหางเป็นต้นกำเนิดขององค์ประกอบอันจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต และยังเชื่อว่าไอระเหยของดาวหางเป็นต้นกำเนิดของน้ำบนดาวเคราะห์ (ซึ่งต่อมาทำให้เกิดดินจากการเติบโตและเน่าเปื่อยของพืช) ส่วนดวงอาทิตย์เป็นแหล่งเชื้อเพลิง", "title": "ดาวหาง" }, { "docid": "2122#4", "text": "นิวตันไม่เชื่อเรื่องศาสนา เขาเป็นคริสเตียนนอกนิกายออร์โธดอกซ์ และยังเขียนงานตีความคัมภีร์ไบเบิลกับงานศึกษาด้านไสยศาสตร์มากกว่างานด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เสียอีก เขาต่อต้านแนวคิดตรีเอกภาพอย่างลับๆ และเกรงกลัวในการถูกกล่าวหาเนื่องจากปฏิเสธการถือบวช", "title": "ไอแซก นิวตัน" }, { "docid": "2122#17", "text": "เมื่อนิวตันเสียชีวิตลง พิธีศพของเขาจัดอย่างยิ่งใหญ่เทียบเท่ากษัตริย์ ศพของเขาฝังอยู่ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ เช่นเดียวกับกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงของอังกฤษ", "title": "ไอแซก นิวตัน" }, { "docid": "88863#0", "text": "ลูกกระสุนปืนใหญ่ของนิวตัน () เป็นการทดลองทางความคิดที่ ไอแซก นิวตัน ใช้ตั้งสมมติฐานว่า แรงของความโน้มถ่วงนั้นใช้ได้ทั่วไปและเป็นแรงสำคัญสำหรับการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์", "title": "ลูกกระสุนปืนใหญ่ของนิวตัน" }, { "docid": "2122#6", "text": "ไอแซก นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2186 (หรือ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2185 ตามปฏิทินเก่า) ที่วูลส์ธอร์พแมนเนอร์ ท้องถิ่นชนบทแห่งหนึ่งในลินคอล์นเชียร์ ตอนที่นิวตันเกิดนั้นประเทศอังกฤษยังไม่ยอมรับปฏิทินเกรกอเรียน ดังนั้นวันเกิดของเขาจึงบันทึกเอาไว้ว่าเป็นวันที่ 25 ธันวาคม 2185 บิดาของนิวตัน (ชื่อเดียวกัน) ซึ่งเป็นชาวนาผู้มั่งคั่งเสียชีวิตก่อนเขาเกิด 3 เดือน เมื่อแรกเกิดนิวตันตัวเล็กมาก เขาเป็นทารกคลอดก่อนกำหนดที่ไม่มีผู้ใดคาดว่าจะรอดชีวิตได้ มารดาของเขาคือ นางฮานนาห์ อายสคัฟ บอกว่าเอานิวตันใส่ในเหยือกควอร์ทยังได้ (ขนาดประมาณ 1.1 ลิตร) เมื่อนิวตันอายุได้ 3 ขวบ มารดาของเขาแต่งงานใหม่กับสาธุคุณบาร์นาบัส สมิธ และได้ทิ้งนิวตันไว้ให้มาร์เกรี อายส์คัฟ ยายของนิวตันเลี้ยง นิวตันไม่ชอบพ่อเลี้ยง และเป็นอริกับมารดาไปด้วยฐานแต่งงานกับเขา ความรู้สึกนี้ปรากฏในงานเขียนสารภาพบาปที่เขาเขียนเมื่ออายุ 19: \"ขอให้พ่อกับแม่สมิธรวมทั้งบ้านของพวกเขาถูกไฟผลาญ\"[2] นิวตันเคยหมั้นครั้งหนึ่งในช่วงปลายวัยรุ่น แต่เขาไม่เคยแต่งงานเลย เพราะอุทิศเวลาทั้งหมดให้กับการศึกษาและการทำงาน[3][4][5]", "title": "ไอแซก นิวตัน" }, { "docid": "617485#22", "text": "นิวตันใช้เวลาเป็นอย่างมากในความพยายามที่จะค้นคว้า[]. หลังปี 1690, นิวตันได้เขียน[]ที่เกี่ยวข้องกับการตีความตัวอักษรใน[]. ในบทความที่นิวตันเขียนในปี 1704 เขาได้อธิบายความพยายามที่จะดึงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ออกมาจากไบเบิ้ล. เขาประมาณการว่าโลกจะไม่พบกับจุดจบภายในปี 2060. ในการทำนายนี้เขากล่าว \"นี่ผมไม่ได้กล่าวว่าเวลาที่สิ้นสุดจะเป็นเมื่อไหร่ แต่เพื่อจะหยุดการคาดเดาไปต่างๆ นานาของพวกที่จินตนาการไปเรื่อยถึงวันที่สิ้นสุดของโลก เพราะการกระทำดังกล่าวได้ลดทอนความน่าเชื่อถือของคำพยากรณ์อันศักดิ์สิทธิ์และบ่อยครั้งคำทำนายของพวกเขาก็ล้มเหลว\" [38]", "title": "ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน" }, { "docid": "617485#1", "text": "ไอแซก นิวตัน (25 ธันวาคม 1642 – 20 มีนาคม 1727)[1] เป็นนักศาสนศาตร์ที่มีความรู้และความเชียวชาญ (ตามความเห็นของบุคคลที่อยู่ในยุคเดียวกัน).[2][3][4] เขาเขียนผลงานขึ้นหลายฉบับซึ่งปัจจุบันอาจถูกจัดได้ว่าเป็น การเรียนรู้เกี่ยวกับเวทมนตร์ และ บทความทางด้านศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการตีความคัมภีร์ไบเบิล.[5]", "title": "ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน" }, { "docid": "617485#8", "text": "เช่นเดียวกับบุคคลร่วมสมัยหลายท่าน (เช่น []) เขาใช้ชีวิตตั้งอยู่บนความเสี่ยงต่อการถูกลงโทษอย่างร้ายแรงหากเขาเปิดเผยความเชื่อทางศาสนาของเขา. คำกล่าวหาว่าเป็นบุคคลนอกรีตนั้นเป็นอาชญกรรมร้ายแรง ซึงบทลงโทษนั้นอาจหมายถึงการสูญเสียทรัพย์สมบัติทั้งหมด ศักดินาที่เคยมี หรือแม้กระทั่งถึงขั้นรับโทษประหาร (ดู, ตัวอย่าง, []). และเนื่องจากความลับที่เขามีต่อความเชื่อทางศาสนา นิวตันถูกตั้งฉายาว่าเป็นชาว[].[9]", "title": "ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน" }, { "docid": "2122#29", "text": "นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส โจเซฟ-หลุยส์ ลากรองจ์ มักพูดบ่อยๆ ว่านิวตันเป็นอัจฉริยะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยมีมา มีอยู่ครั้งหนึ่งเขากล่าวว่า นิวตันนั้น \"โชคดีที่สุด เพราะเราไม่อาจค้นพบระบบของโลกได้มากกว่า 1 ครั้ง\"[38] กวีชาวอังกฤษ อเล็กซานเดอร์ โพพ ได้รับแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของนิวตัน และเขียนบทกวีที่โด่งดังมาก ดังนี้:", "title": "ไอแซก นิวตัน" }, { "docid": "617485#3", "text": "นิวตันถือกำเนิดขึ้นในครอบครัวที่นับถือนิกายแองกลิกันสามเดือนหลังจากที่พ่อของเขาเสียชีวิต, พ่อของเขาเป็นชาวนาที่ร่ำรวยและชื่อไอแซ็ค นิวตันเช่นกัน. เมื่อนิวตันอายุสามปี แม่ของเขาแต่งงานกับพระอธิการซึ่งอาศัยอยู่ใกล้บ้านในย่านนอร์ธ วิทแฮม และได้ย้ายไปอาศัยกับสามีใหม่ของเธอ, ชื่อหลวงพ่อบารนาบัส สมิธ, โดยปล่อยให้ลูกของเธออยู่ในความเลี้ยงดูของแม่ยาย, มาร์เจรี่ ไอสคอช.[10] ไอแซคนั้นเห็นได้ชัดว่าไม่ชอบหลวงพ่อสมิธและไม่มีความสัมพันธ์กับเขาในช่วงวัยเด็ก.[8] ลุงของไอแซค, พระอธิการผู้รับใช้ในเบอร์ตัน ค็อกเกิ้ลส์,[11] มีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูไอแซคขึ้นมา. บาทหลวงไอสคอชเคยศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยตรินิตี้.[12]", "title": "ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน" }, { "docid": "2122#3", "text": "ในทางคณิตศาสตร์ นิวตันกับก็อตฟรีด ไลบ์นิซ ได้ร่วมกันพัฒนาทฤษฎีแคลคูลัสเชิงปริพันธ์และอนุพันธ์ เขายังสาธิตทฤษฎีบททวินาม และพัฒนากระบวนวิธีของนิวตันขึ้นเพื่อการประมาณค่ารากของฟังก์ชัน รวมถึงมีส่วนร่วมในการศึกษาอนุกรมกำลัง", "title": "ไอแซก นิวตัน" }, { "docid": "617485#24", "text": "การเผยแพร่บทความ สิ่งที่พบจากคำทำนายของดาเนียลและคำพยากรณ์ของเซนต์ยอห์น หลังจากที่นิวตันเสียชีวิต, นิวตันได้บรรยายความรู้สึกต่อความเชื่อของเขาว่าคำพยากรณ์ที่ปรากฏในพระคัมภีร์นั้นจะไม่สามารถเข้าใจได้จนกว่าจะ \"ถึงวาระสุดท้าย\" และเมื่อถึงเวลานั้นแล้วก็ตาม \"จะไม่มีคนชั่วคนใดเข้าใจได้เลย\" เมื่ออ้างถึงสิ่งนั้นที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (\"ยุคสุดท้าย, ยุคที่จะเปิดเผยสิ่งต่างๆ , กำลังเข้าใกล้เข้ามา\") นิวตันยังได้คาดการณ์ว่า \"วาระแห่งการประกาศข่าวประเสริฐที่จะพบได้ทั่วไปนั้นใกล้เข้ามาแล้ว\" และ \"ข่าวประเสริฐจะต้องถูกเผยแพร่ไปยังชนชาติต่างๆ ก่อนที่เหตุการณ์เลวร้ายครั้งใหญ่จะตามมา และนั้นคือวาระสุดท้ายของโลก\".[41]", "title": "ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน" }, { "docid": "2122#2", "text": "นิวตันสร้างกล้องโทรทรรศน์สะท้ อนแสงที่สามารถใช้งานจริงได้เป็นเครื่องแรก[1] และพัฒนาทฤษฎีสีโดยอ้างอิงจากผลสังเกตการณ์ว่า ปริซึมสามเหลี่ยมสามารถแยกแสงสีขาวออกมาเป็นหลายๆ สีได้ ซึ่งเป็นที่มาของสเปกตรัมแสงที่มองเห็น เขายังคิดค้นกฎการเย็นตัวของนิวตัน และศึกษาความเร็วของเสียง", "title": "ไอแซก นิวตัน" } ]
1953
วิตนีย์ ฮิวสตัน เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "83623#0", "text": "วิตนีย์ ฮิวสตัน (English: Whitney Houston) หรือชื่อจริงว่า วิตนีย์ เอลิซาเบธ ฮิวสตัน (Whitney Elizabeth Houston; 9 สิงหาคม 2506 — 11 กุมภาพันธ์ 2555) เป็นนักร้องอเมริกัน , นักแสดง , โปรดิวเซอร์ , และนางแบบในปี พ.ศ. 2552 , บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ อ้างถึงในฐานะที่เป็นหญิงที่ได้รับรางวัลมากที่สุด[1] ฮิวสตัน ยังเป็นหนึ่งในนักร้องเพลงป็อปที่มียอดขายดีตลอดกาล โดยประมาณ 170-200 ล้านแผ่นเสียง[2][3] โดยเธอเองมีผลงานสตูดิโออัลบั้มหกอัลบั้ม , โดยมีอัลบั้มเทศกาลพิเศษ One Wish: The Holiday Album (อัลบั้มฉลองปีใหม่) และสามอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ , โดยทั้งหมดที่กล่าวมายังได้รับรางวัลอัลบั้มแผ่นเสียงเพชร , รางวัลยอดการขายยอดเยี่ยม , แพลตินัมและอัลบั้มคุณภาพ ฮิวสตันก้าวข้ามและติดชาร์จเพลงฮิตจำนวนมาก ,เช่นเดียวกับความโดดเด่นของเธอใน เอ็มทีวี , เริ่มต้นด้วยวิดิโอมิวสิกเพลง How Will I Know[4] และส่งผลให้เป็นแรงบันดาลใจแก่ศิลปินหญิงแอฟริกันอเมริกันจำนวนมากที่เดินตามรอยเท้าเธอ.[5][6]", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" } ]
[ { "docid": "401919#0", "text": "แซมูเอล ฮิวสตัน () หรือที่รู้จักกันว่า แซม ฮิวสตัน (, 2 มีนาคม ค.ศ. 1793 - 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1863) เป็นรัฐบุรุษ นักการเมืองและทหารชาวอเมริกันในคริสต์ศวรรษที่ 19 เขาเกิดในทิมเบอร์ริจในหุบเขาชีนันโด รัฐเวอร์จิเนีย โดยมีเชื้อสายสกอต-ไอริช ฮิวสตันกลายมาเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์เท็กซัส และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเท็กซัสคนแรกและคนที่สาม และสมาชิกวุฒิสภารัฐเท็กซัสหลังเท็กซัสเข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ว่าการรัฐในท้ายที่สุด เขาปฏิเสธจะสาบานความจงรักภักดีต่อฝ่ายสมาพันธรัฐเมื่อเท็กซัสแยกตัวออกจากฝ่ายสหภาพ และลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าการรัฐ เพื่อหลีกเลี่ยงการหลั่งเลือด เขาปฏิเสธข้อเสนอของกองทัพฝ่ายสหภาพเพื่อปราบปรามกบฏสมาพันธรัฐ และเขาหันไปเกษียณในฮันท์สวิลล์ เท็กซัส ที่ซึ่งเขาถึงแก่อนิจกรรมก่อนสงครามกลางเมืองอเมริกันยุติ", "title": "แซม ฮิวสตัน" }, { "docid": "83623#12", "text": "Whitney: The Greatest Hits - 2000 I Will Always Love You: The Best of Whitney Houston - 2012", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "939509#0", "text": "อินเตอร์สเตต 45 () เป็นทางหลวงอินเตอร์สเตตสายสั้น ๆ ที่มีเส้นทางตลอดทั้งสายอยู่ในรัฐเท็กซัส ในขณะที่เส้นทางอินเตอร์สเตตที่ลงท้ายด้วยหมายเลข 5 ส่วนใหญ่เป็นเส้นทางในแนวเหนือ–ใต้เส้นหลักผ่านหลายรัฐของประเทศ อินเตอร์สเตต 45 มีเส้นทางเชื่อมต่อนครแดลลัสกับนครฮิวสตัน และมุ่งหน้าไปยังตะวันออกเฉียงใต้จากฮิวสตันไปยังนครแกลวิสตัน โดยผ่านแกลวิสตันคอสเวย์ (Galveston Causeway) ไปยังอ่าวเม็กซิโก", "title": "อินเตอร์สเตต 45" }, { "docid": "83623#13", "text": "หมวดหมู่:นักร้องอเมริกัน หมวดหมู่:นักแสดงอเมริกัน หมวดหมู่:ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน หมวดหมู่:โปรดิวเซอร์เพลงชาวอเมริกัน หมวดหมู่:ศิลปินสังกัดแอริสตาเรเคิดส์ หมวดหมู่:ผู้ที่ได้รับรางวัลแกรมมี หมวดหมู่:นักร้องเสียงเมซโซ-โซปราโน หมวดหมู่:บุคคลจากนวร์ก หมวดหมู่:เสียชีวิตจากการจมน้ำ หมวดหมู่:นักร้องหญิงชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "83623#5", "text": "เมื่ออายุ 11 , ฮุสตันเริ่มการแสดงในฐานะศิลปะเดี่ยวกับคณะประสานเสียงกลุ่ม กอสเปล ในโบสถ์ New hope baptist ในนครนวร์ก ซึ่งเธอก็ได้รับการเรียนรู้เปียโนด้วย[23] ผลงานการแสดงของเธอในโบสถ์คือเพลง \"Guide Me, O Thou Great Jehovah\"[24] เมื่อฮูสตันเข้าสู่วัยรุ่น , เธอได้เข้าเรียนที่ Mount Saint Dominic Academy เด็กสาวคาทอลิกในโรงเรียนมํธยมที่เคสเวตย์ , นิวเจอร์ซี เมื่อเธอพบกับเพื่อนที่ดีที่สุดของเธอ ร็อบบิ้น แคลทฟอร์ด ซึ่งเธออธิบายว่า เธอไม่เคยมีน้องสาว[25] เมื่อตอนที่ฮุสตันยังเรียนหนังสือ , แม่ของเธอสอนเธอร้องเพลง[5] และฮุสตันยังได้สัมผัสกับเพลงต่างอาทิ ชากา คาน , แกลดีส์ ไนต์ และ โรเบอร์ตา แฟล็ก ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมามีอิทธิพลต่อเธอในฐานะนักร้องและนักดนตรีอย่างมาก[26]", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "83623#7", "text": "ในต้นยุค 1980s ฮิวสตันทำงานเป็นนางแบบหลังจากที่มีตากล้องไปเห็นเธอใน Carnegie Hall ร้องเพลงกับแม่ ทำให้เธอได้ถูกติดอยู่ในแม็กกาซีน เซเว่นทีน[30] และกลายเป็นหนึ่งในผู้หญิงคนแรกผิวสีที่สง่างามในหน้าปกของนิตยสาร[31] เธอยังเป็นจุดเด่นในหน้าแม็กกาซีน Glamour, Cosmopolitan , Young Miss และปรากฏในโฆษณาเครื่องดิ่ม Canada Dry.[28] รูปลักษณ์และความมีเสนห์ของเธอทำให้กลายเป็นหนึ่งในนางแบบวัยรุ่นในช่วงเวลาขณะนั้น[28] ในขณะเป็นนางแบบ , เธอก็ยังเดินหน้าอัดเพลงโดยมีโปรดิวเซอร์ ไมเคิล เบออินฮอน บิล รัสเวล และ มาร์ติน บิซี ซึ่งเป็นอัลบั้มหัวหอกของพวกเขา One Down จากคณะวง เมททีเรียล หลังโปรเจกต์นั้น , ฮุสตันมีส่วนในเพลง Memerois เพลงโคฟเวอร์โดย ฮิฟ โฮปเปอร์ จากวงซอฟทแมชชีน โรเบริ์ต คริสเกิล จากวง ดิ วิลเลท์ วอยซ์ เรียกผลงานของเธอว่า หนึ่งในเพลงที่งดงามที่คุณเคยได้ยิน\"[32] เธอยังได้ร่วมร้องเพลงในอัลบั้ม พอล จูบาราและพ้องเพื่อน ซึ่งเป็นอัลบั้มชุดที่ 4 ของพอล จูบารา วางจำหน่ายโดยค่ายเพลง โคลัมเบีย เรดคอร์ดส เมื่อปี 2526[33]", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "83623#9", "text": "ผู้มีชื่อเสียงจากหลากหลายแขนงต่างร่วมแสดงความเสียใจต่อการตายของวิทนีย์ เช่น ดอลลี พาร์ตันผู้ที่ร้องเพลง ไอวิลออลเวย์สเลิฟยู ซึ่งวิทนีย์นำมาร้องคัฟเวอร์ใหม่แสดงความเห็นว่า \"จะยังคงรู้สึกสำนึกและเกรงขามต่อการแสดงอันน่าตื่นตะลึงที่เธอได้กระทำกับเพลงของฉัน และขอพูดมันจากก้นบึ้งของหัวใจ 'วิทนีย์ ฉันจะยังคงรักคุณเสมอไป คุณจะยังคงเป็นที่โหยหาจากผู้คน'.\" ส่วนแม่บุญธรรมของวิทนีย์ อาเรธา แฟรงคลิน กล่าวว่า \"มันเป็นเรื่องที่น่าเหลือเชื่อและชวนตกตะลึง ฉันไม่อยากจะเชื่อว่าตัวเองเพิ่งจะได้อ่านข่าวนี้ผ่านหน้าจอโทรทัศน์ไป\"[35]", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "213857#29", "text": "ในเดือนเมษายน 2018 มีการยืนยันว่าสวิฟต์จะร้องรับเชิญในเพลง \"เบบ\" ของชูการ์แลนด์ จากอัลบัม บิกเกอร์ [lower-alpha 1] สวิฟต์ทัวร์คอนเสิร์ตในชื่อ เทย์เลอร์ สวิฟต์ เรพิวเทชันสเตเดียมทัวร์ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2018 เพื่อส่งเสริมอัลบัม<i data-parsoid='{\"dsr\":[115287,115301,2,2]}'>เรพิวเทชัน[190] ในงานประกาศรางวัลอเมริกันมิวสิกอะวอร์ด 2018 สวิฟต์ได้รับรางวัลทัวร์แห่งปีจากทัวร์ล่าสุด ศิลปินแห่งปี ศิลปินป็อป/ร็อกหญิงชมเชย และอัลบัมเพลงป็อป/ร็อกชมเชยจากอัลบัม<i data-parsoid='{\"dsr\":[115947,115961,2,2]}'>เรพิวเทชัน จากจำนวนรางวัล 23 รางวัล สวิฟต์จึงเป็นผู้ชนะรางวัลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของรางวัลอเมริกันมิวสิกอะวอร์ด สถิติเดิมคือวิตนีย์ ฮิวสตัน[191]", "title": "เทย์เลอร์ สวิฟต์" }, { "docid": "83623#8", "text": "ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 วิทนีย์ถูกพบเสียชีวิตที่โรงแรมเบเวอร์ลีฮิลตัน ในเบเวอร์ลี ฮิลส์, รัฐแคลิฟอร์เนีย ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตยังคงไม่เป็นที่แน่ชัด เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของเบเวอร์ลีฮิลส์ระบุว่าพบนักร้องสาวในร่างซึ่งไร้การตอบสนองและได้ทำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพเป็นเวลาประมาณ 20 นาที ก่อนที่จะประกาศว่าเธอได้เสียชีวิตลงแล้ว ณ เวลา 15:55 นาฬิกา[34] ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า \"ไม่มีข้อบ่งชี้ใดที่แน่ชัดว่าการเสียชีวิตเป็นเหตุอาชญากรรม\"", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "83623#1", "text": "วิตนีย์ ฮิวสตันเป็นนักร้องคนเดียวที่ติดชาร์จอันดับที่ 1 ติดต่อกัน 7 เพลงใน บิลบอร์ดฮอต 100[7] เธอยังเป็นนักร้องอันดับที่ 2 รองจาก เอลตัน จอห์น และยังเป็นผู้หญิงคนเดียวที่ได้อันดับ 1 ติดต่อกัน 2 ครั้งใน บิลบอร์ด 200 และได้รับรางวัลอัลบั้มโดดเด่นในบิลบอร์ดแม็กกาซีนชาร์จสิ้นปี [8] อัลบั้มเปิดตัวของเธอ Whitney Houston กลายเป็นอัลบั้มเปิดตัวที่ขายดีที่สุดของนักร้องหญิงในประวัติศาสตร์ [9] นิตรสาร โรลลิงสโตน บอกว่าเป็นอัลบั้มที่ขายดีในปี 2529 และยังติดใน 500 อัลบั้มที่ดีที่สุดตลอดกาล และติดอยู่ในอันดับ 254 ซึ่งจัดโดยแม็กกาซีนโรลลิงสโตน[9] อัลบั้มสตูดิโอที่สองของเธอ Whitney (2530) กลายเป็นอัลบั้มแรกของนักร้องหญิงที่ขึ้นแท่นอันดับหนึ่งในบิลบอร์ด 200 [9]", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "56517#3", "text": "แทมมารีนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในการแข่งขันนัดแรกของ สนามอาร์เธอร์ แอช เซ็นเตอร์คอร์ตที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ เพื่อเป็นเกียรติแก่อาร์เธอร์ แอช นักเทนนิสผิวดำชาวอเมริกันผู้เคยเป็นมือหนึ่งของโลกช่วงทศวรรษ 1970 ในการแข่งขันยูเอสโอเพ่น 1997 นัดเปิดสนามเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2540 ก่อนการแข่งขันมีการแสดงดนตรีโดยวิตนีย์ ฮิวสตัน เป็นที่คาดหมายกันว่า ผู้เล่นในนัดแรกควรจะเป็นนักเทนนิสผิวดำ คือ วีนัส วิลเลียมส์ และชานดา รูบิน (Chanda Rubin) นักเทนนิสดาวรุ่งสหรัฐ แต่แล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงตารางผู้เล่นจากวิลเลียมส์เป็นแทมมารีนแทน ผลการแข่งขันปรากฏว่าแทมมารีนเอาชนะรูบินได้ 6-4, 6-0 อย่างพลิกความคาดหมายและกลายเป็นข่าวใหญ่ การแข่งขันครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่แทมมารีนได้เล่นในเซ็นเตอร์คอร์ตของรายการใหญ่และมีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก ", "title": "แทมมารีน ธนสุกาญจน์" }, { "docid": "83623#6", "text": "ฮุสตันในช่วงวัยรุ่นได้ใช่เวลาบางส่วนไปพับที่แม่ของเธอซิสซี่ได้ดำเนินการไว้ , และเธอมักจะได้รับการขึ้นเวทีและการแสดงเป็นบางครั้งบางคราว , ในปี 2520 ขณะอายุ 14 เธอเป็นแบ็คอัพในการร้องให้กับวงไมเคิล เซเจอร์ ในซิงเกิ้ลเพลง \"Life's a Party\"[27] ในปี 2521 ขณะอายุ 15 เธอได้ร่วมร้องประสานในซิงเกิ้ลเพลง I'm Every Woman ของ ชากา คาน โดยเพลงนั้นได้เริ่มทำให้เป็นที่รู้จักตัวของวิตนีย์และมียอดขายที่สูงสำหรับเพลงประกอบภาพยนตร์ เดอะ บอดี้การ์ด[28][29] เธอยังร้องแบ็คอัพให้กับอัลบั้มของ Lou Rawls และ Jermaine Jackson[28]", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "83623#11", "text": "Whitney Houston (อัลบั้ม) - (พ.ศ. 2528) Whitney (อัลบั้ม) - (พ.ศ. 2530) I'm Your Baby Tonight (อัลบั้ม) - (พ.ศ. 2533) My Love Is Your Love (อัลบั้ม) - (พ.ศ. 2541) Just Whitney... (อัลบั้ม) - (พ.ศ. 2545) I Look to You (อัลบั้ม) (พ.ศ. 2552)", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "61545#12", "text": "ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2011 บริตนีย์ได้ออกอัลบั้มที่ 7 ของเธอ \"Femme Fatale ฟามฟาเตล]]\" โดยมี Max Martin แม็กซ์มาติน และ Dr. Luke ด็อกเตอร์ลุค เป็นโปรดิวเซอร์ในอัลบั้มนี้ ซิงเกิลแรก \"Hold It Against Me โฮลด์อิตอะเกนต์มี\" ขึ้นอันดับ 1 บิลบอร์ดฮอต 100 ทำให้ซิงเกิลนี้เป็นซิงเกิลที่ 4 ที่สามารถเปิดตัวที่อันดับ 1 ได้ อัลบั้มนี้มียอดขายอันดับ 1 ในสหรัฐอเมริกา (มียอดขาย 276,000 ก๊อปปี้ในสัปดาห์แรก) ส่งผลให้บริตนีย์เป็นหนึ่งใน 3 ศิลปินหญิงที่มีซิงเกิลติดชาร์ตอันดับ 1 มากที่สุด ซึ่งได้แก่ Mariah Carey มารายห์ แคร์รี่ Janet Jackson เจเน็ต แจ็คสัน และ \"Britney Spears บริตนีย์ สเปียส์\" นักวิจารณ์มองว่าอัลบั้มฟามฟาเตล เป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดอัลบั้มหนึ่งของบริตนีย์ หลังจากที่ริอานนาทวิตถามแฟน ๆ ว่าอยากให้ศิลปินคนใดมาร่วมร้องเพลงกับเธอ ในที่สุดเดือนเมษายน ค.ศ. 2011 บริตนีย์ก็ได้ร่วมฟีเจอร์ริงกับ \"Rihanna ริอานน่า\" ในเพลง \"S&M เอสแอนด์เอ็ม\" ซิงเกิลนี้ขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในอเมริกา ทำให้บริตนีย์มีซิงเกิลที่ 5 ที่ติดชาร์ตอันดับ 1 ในบิลบอร์ดชาร์ต ต้นเดือนพฤษภาคม ซิงเกิลที่ 2 จากอัลบั้มฟามฟาเตล \"Till The World Ends ทิลเดอะเวิร์ลเอนด์\" ติดชาร์ตอันดับที่ 3 ในบิลบอร์ดฮอต 100 และได้รับความนิยมจากผู้ฟังสูงที่สุดในสัปดาห์จากตลอดระยะเวลา 13 ปีที่เพลงของบริตนีย์อยู่ในบิลบอร์ดชาร์ต\nเพลงไอวอนนาโก I Wanna Go ซิงเกิลที่ 3 ในอัลบั้มฟามฟาเตล ติดท๊อป 40 บนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011 และในเดือนสิงหาคม ซิงเกิลนี้ก็ติดท๊อปเทน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่บริตนียมีทั้ง 3 ซิงเกิลในอัลบั้มติดท๊อปเทนทั้ง 3 เพลง เพลงไอวอนนาโก ขยับจากอันดับ 2 ขึ้นอันดับ 1 ได้ในวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2011 ส่งผลให้เพลงไอวอนนาโกเป็นเพลงที่ 6 ของบริตนีย์ที่สามารถขึ้นสู่อันดับ 1 ในบิลบอร์ดชาร์ตได้สำเร็จ ทำให้บริตนีย์เป็นศิลปินที่ออกเพลงแล้วติดชาร์ตอันดับ 1 ยาวนานตลอดทั้ง 12 ปี ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2011 มิวสิกวิดีโอเพลง \"Criminal คริมินัล\" ซึ่งเป็นซิงเกิลที่ 4 ในอัลบั้มฟามฟาเตล เกิดข้อพิพาทกรณีที่บริตนีย์ใช้ปืนประกอบการถ่ายทำมิวสิกวิดีโอเพลงนี้ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งในขณะนั้นเกิดสถานการณ์ไม่สงบขึ้น โดยนักการเมืองในอังกฤษตำหนิการกระทำนี้ว่าเป็นการทำให้เกิดกระแสการใช้ปืนข่มขู่กรรโชกทรัพย์ และบริตนีย์ควรแสดงความรับผิดชอบโดยการบริจาคเงินให้มูลนิธิ Hackney charity ผู้จัดการของบริตนีย์กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่า มิวสิกวิดีโอนี้เป็นเรื่องราวที่แต่งขึ้น โดยมีบริตนีย์และเจสัน ทราวิคแสดง และเพลงนี้แต่งขึ้นเมื่อ 3 ปีที่แล้วก่อนที่จะมีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นในลอนดอนเสียอีก จากความนิยมในตัวบริตนีย์ หลังจากนั้นไม่นานบริตนีย์เป็นศิลปินคนที่ 7 ที่ได้ยอดวิวรวมในช่องวีโว Vevo ครบ 1 พันล้านวิว ในปี ค.ศ. 2011 บิลบอร์ดจัดตำแหน่งให้บริตนีย์เป็นศิลปินแห่งปี ลำดับที่ 14 และ นิตยสารโรลลิงสโตน ขนานนามให้เพลง \"Till the World Ends\" เป็นเพลงที่ดีที่สุดแห่งปี เดือนมีนาคม ค.ศ. 2011 บริตนีย์ประกาศว่าเธอจะแสดงคอนเสิร์ตทั่วสหรัฐอเมริกาตลอดช่วงฤดูร้อนนี้ ฟามฟาเตลทัวร์เปิดแสดงรอบแรกในวันที่ 16 มิถุนายน ที่ the Power Balance Pavillion เดอะพาวเวอร์ บาลานซ์ พาวิลเลียน ใน Sacramento ซาคราเมนโต California รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งได้รับคำวิจารณ์ในทางบวก เพื่อลบคำครหาว่าเธอเป็นนักร้องที่เอาแต่งร้องลิปซิง บริตนีย์ร้องสดมากขึ้น ในคอนเสิร์ตเดอะเซอคัสสตาร์ริ่งบริตนีย์เสปียรส์ และในขณะเดียวกันเธอก็เต้นได้ดี นักวิจารณ์ส่วนใหญ่ยกให้ปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ดีที่สุดของเธอ ทัวร์นี้แสดงทั้งหมด 79 รอบ สิ้นสุดในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2011 ใน Puerto Rico เปอร์โตริโก และได้มีการบันทึกเป็นดีวีดีออกใน วันที่ 21 พฤศจิกายน มียอดขายมากกว่า 19,000 ก๊อปปี้ และเปิดตัวติดชาร์ตอันดับ 2 ในบิลบอร์ดดีวีดีชาร์ต รองจาก Lady Gaga’s The Monster Ball Tour: At Madison Square Garden วันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2011 บิลบอร์ดประกาศว่า Jive Label Group ได้รวมสังกัดเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับบริษัท RCA Records ในเดือนสิงหาคม ได้มีการประกาศว่าบริตนีย์ได้ย้ายเข้าเป็นศิลปินในสังกัด RCA วันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2011 ในงาน MTV Video Music Awards เอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอร์ด เอ็มทีวีได้จัดให้มีการแสดงโชว์เพื่อยกย่องและเป็นเกียรติให้บริตนีย์ในการกลับเข้าสู่วงการเพลงอีกครั้ง ในโชว์มีแดนซ์เซอร์แต่งกายคล้ายบริตนีย์เต้นเพลงต่าง ๆ ในมิวสิกวิดีโอและโชว์ที่ผ่านมาทั้งหมดของบริตนีย์ ทางเอ็มทีวีได้มอบรางวัล \"MTV Video Vanguard Award เอ็มทีวีวิดีโอแวงการ์ดอะวอร์ด\" ให้กับบริตนีย์ ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับศิลปินที่มีผลงานระดับแนวหน้ามายาวนาน โดย เลดี้กาก้า ได้รับเกียรติเป็นผู้มอบรางวัล เลดี้กาก้ากล่าวในงานประกาศรางวัลในครั้งนั้นว่า", "title": "บริตนีย์ สเปียส์" }, { "docid": "364382#2", "text": "ต้นสังกัดของบริทนี่ย์ ได้ปล่อยซิงเกิลแรกออกมาจากอัลบั้มสตูดิโอที่ 7 ของ บริตนีย์ สเปียรส์ ในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 2011 ก็ได้รับกระแสที่ค่อนข้างดีมาก ปล่อยในวันแรกก็ทำให้ บริตนีย์ สเปียรส์ ได้ติดในชาร์ตบิลบอร์ดที่อันดับ 1 สร้างความตะลึงให้กับแฟนคลับเลยทีเดียว และเป็นเพลงที่เปิดตัวในชาร์ตบิลบอร์ดที่สูงที่สุดของบริทนี่ย์ และเพลงนี้ยังขึ้นอันดับ 1 บน iTunes Songs Chart กว่า 20 ประเทศทั่วโลก ต่อมาก็ได้ปล่อยมิวสิกวิดีโอของเธอออกมา แต่ก็ทำให้แฟนๆเพลงผิดหวังและสับสนกันอย่างมาก เนื่องจากมิวสิกวิดีโอของเธอนั้น ได้มีการโฆษณาขายของต่างๆเช่น น้ำหอม, เครื่องสำอาง หรือแม้กระทั่ง เครื่องสารสนเทศ ต่างๆ และตัดต่อวิดิโอออกมา ทำให้แฟนๆปวดหัวกันมาก แต่รวมๆแล้ว จะเห็นได้ว่า บริตนีย์ สเปียรส์ มีการพัฒนาเป็นอย่างมาก", "title": "ฟามฟาเตล (อัลบั้มของบริตนีย์ สเปียส์)" }, { "docid": "940469#1", "text": "\"ไอวิลออลเวย์เลิฟยู\" ฉบับของพาร์ตัน ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ ขึ้นสูงสุดอันดับหนึ่งบนชาร์ต\"บิลบอร์ด\" ฮอตคันทรีซองส์ ถึงสองครั้ง ครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1974 และครั้งที่สองในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1982 ต่อมาเธอได้บันทึกเสียงซ้ำเพื่อรวมอยู่ในอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง \"เดอะเบสต์ลิตเทิลฮอร์เฮาส์อินเท็กซัส\" ทำให้พาร์ตันกลายเป็นนักร้องคนแรกที่มีเพลงขึ้นอันดับหนึ่งถึงสองครั้งจากเพลงเดียวกัน ต่อมาวิตนีย์ ฮิวสตันได้นำไปขับร้องใหม่ในแนวบัลลาดสำหรับประกอบภาพยนตร์ปี ค.ศ. 1992 เรื่อง \"เดอะ บอดี้การ์ด เกิดมาเจ็บเพื่อเธอ\" เพลงอยู่ในอันดับหนึ่งนาน 14 สัปดาห์บนชาร์ต \"บิลบอร์ด\" ฮอต 100 กลายเป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ขายดีที่สุดตลอดกาล และถือเป็นซิงเกิลที่ขายดีที่สุดของนักร้องหญิงในประวัติศาสตร์เพลง \"ไอวิลออเวย์เลิฟยู\" ฉบับของฮิวสตัน กลับเข้าชาร์ต \"บิลบอร์ด\" ฮอต 100 หลังจากที่เธอเสียชีวิตในปี ค.ศ. 2012 กลายเป็นเพลงที่กลับเข้าชาร์ตใหม่สูงสุดที่อันดับสาม", "title": "ไอวิลออลเวส์เลิฟยู" }, { "docid": "224858#23", "text": "นี-โย ยังเขียนเพลงให้กับวิตนีย์ ฮิวสตัน, เซลีน ดิออน, คอร์บิน โบ และเอนรีเก อีเกลเซียส[3][44] เขายังร่วมงานกับลินด์เซย์ โลฮาน ในเพลงในอัลบั้ม สปิริตอินเดอะดาร์ก กับซิงเกิล \"บอสซี\"[45] นี-โย ยืนยันว่าได้รับการติดต่อจากวิลล์.ไอ.แอม ในการร่วมงานกับอัลบั้มที่จะออกใหม่ของไมเคิล แจ็กสันอีกด้วย[46]", "title": "นี-โย" }, { "docid": "83623#3", "text": "ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2555 ฮิวสตันเสียชีวิตในห้องพักของเธอที่เบเวอร์ลีฮิลตันโฮเทล ซึ่งตั้งอยู่ในเบเวอร์ลีฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย รายงานการชันสูตรศพได้พิจารณาแล้วว่าเธอจมน้ำในอ่างอาบน้ำ อีกทั้งเธอเองก็เป็นโรคหัวใจและยังมีการใช้โคเคน ซึ่งคาดว่าเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบ[11] ข่าวการเสียชีวิตเธอก่อนจะประกาศผลรางวัลแกรมมี่อวอร์ดครั้งที่ 54 ในอีกวัน ซึ่งสื่ออเมริกาและต่างประเทศต่างนำเสนอข่าวการเสียชีวิตของวิตนีย์ ฮิวสตัน[12]", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "536047#7", "text": "เคนนี จี เซ็นสัญญากับอริสต้า เรคคอร์ด (Arista Records) ในฐานะศิลปินเดี่ยวในปี 1982, หลังจากประธานอริสต้า เรคคอร์ด ไคลฟ์ เดวิส(Clive Davis) ได้ยินการตีความของเพลง \"แดนซ์ซิง ควีน(Dancing Queen)\"[12] เขาได้ออกอัลบั้มเดี่ยวเป็นจำนวนมาก(solo albums) และมีโอกาสร่วมกับศิลปินมากมายรวมถึงอันเดรอา โบเชลลี, วิตนีย์ ฮิวสตัน,[14] พีโบ ไบรสัน, อารอน นิววิว (Aaron Neville), โทนี แบรกซ์ตัน, ดีเจแจ๊สซี่ แจฟ แอนด์เดอะเฟรชปริ้น (DJ Jazzy Jeff & The Fresh Prince),[15] นาตาลี โคล,[16] สตีฟ มิลเลอร์ (Steve Miller),[17] วีเซอร์, ดัสลี่ มัวร์ (Dudley Moore), ลี ริทนาวร์ (Lee Ritenour), เดอะริฟพิงตัน (The Rippingtons), ไมเคิล โบลตัน, เซลีน ดิออน, แฟรงก์ ซินาตรา, สโมกีย์ โรบินสัน, เบเบิ้ล กลิลเบอร์โต้ (Bebel Gilberto), จอร์จ เบนสัน, แชนซ์ มัวส์ (Chante Moore) และอารีธา แฟรงคลิน[14] ที่มีอิทธิพลมาจากแซกโซโฟน กอร์เวอร์ วอชิงตัน จูเนียร์ (Grover Washington, Jr)[10] และอัลบั้มของเขาถูกจัดอยู่ในสมูทแจ๊ส.", "title": "เคนนี จี" }, { "docid": "763446#11", "text": "กลินน์กล่าวถึงแซม คุก, เดสทินีส์ไชลด์, มารายห์ แครี, วิตนีย์ ฮิวสตัน, อารีธา แฟรงคลิน และเอตตา เจมส์ ว่าเป็นแรงบันดาลใจในรูปแบบการร้องเพลงของเธอ เช่นเดียวกับ เคนดริก ลามาร์, เจย์-ซี, แฟรงก์ โอเชียน และเอ็มมิเน็ม ในรูปแบบการแร็ป กลินน์ยังมีศิลปินคนอื่น ๆ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้แก่เธอ ได้แก่ บียอนเซ่ แมรี เจ. ไบลจ์ และอินเดีย อารี", "title": "เจสส์ กลินน์" }, { "docid": "83623#2", "text": "ฮิวสตันยังได้แสดงภาพยนตร์ครั้งแรกใน The Bodyguard' (2535) (ชื่อไทย: เดอะบอดี้การ์ด เกิดมาเจ็บ เพื่อเธอ) โดยวิตนิย์ยังได้รางวัล รางวัลแกรมมี จากภาพยนตร์เรื่องนี้ จากเพลงประกอบภาพยนตร์ ใน รางวัลแกรมมี สาขาอัลบั้มแห่งปี โดยมีเพลงโดดเด่นคือ I Will Always Love You , ส่งผลให้กลายเป็นซิงเกิ้ลที่ขายดีโดยนักร้องหญิงในประวัติศาสตร์เพลง ในอัลบั้ม , ฮิวสตันยังแสดงบทบาทผลงานเดี่ยว และคณะกลุ่มผู้ชายและหญิง และขายได้มากกว่าล้านแผ่นเสียงของอัลบั้มในสัปดาห์เดียวภายใต้การตรวจสอบของระบบ Nielsen SoundScan[9] โดยอัลบั้มนี้ยังทำให้เธอติดอันดับความชั้นนำของนักร้องหญิงในท็อป 10 อันดับของยอดการขายที่ดีที่สุดตลอดการ , เธอติดอันดับที่ 4 , ฮิวสตันยังเริ่มต้นงานการแสดงอย่างต่อเนื่องและยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับผลงานเพลงพวกเขา , เช่นภาพยนตร์ Waiting to Exhale (2538) และ The Preacher's Wife (2539) อีกทั้งเพลงประกอบ The Preacher's Wife กลายเป็นอัลบั้มขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของแนวเพลง กอสเปล[10]", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "763446#10", "text": "ในวัยเยาว์กลินน์ได้รับอิทธิพลของดนตรีตอนเธออายุประมาณ 10 ปี หลังจากพ่อของเธอเปิดเพลงจากอัลบั้มของอีวา แคสซิดี \"ซองเบิร์ด\" ซึ่งเธอรู้สึกสัมผัสถึงอารมณ์ของเพลงได้ เธอจึงหลงรักในดนตรีเป็นอย่างมาก โดยเฉาะเพลงของมารายห์ แครี วิตนีย์ ฮิวสตัน และอารีธา แฟรงคลิน โดยเพลง \"ฮีโร\" ของแครีนั้น เป็นแรงผลักดันให้เธอร้องเพลงนี้ในการแสดงความสามารถครั้งแรกที่โรงเรียนมัธยมศึกษาของเธอ นอกจากนี้เธอยังชื่นชอบผลงานของทิมบาแลนด์และจัสติน ทิมเบอร์เลกด้วย กลินน์ตัดสินใจทำงานอาชีพดนตรี เพราะเธอได้รับแรงบันดาลใจหลักมาจากเอมี ไวน์เฮาส์ หลังจากฟังอัลบั้ม \"แฟรงก์\" กลินน์กล่าวว่า \"พวกเราเหมือนพี่น้องกัน [มีเชื้อสายยิวเหมือนกัน] ถ้าเธอ [ไวน์เฮาส์] ทำงานดนตรีได้ ฉันก็ทำได้ เธอคือต้นแบบของการทำด้วยตัวเอง\" หลังจากกลินน์เป็นศิลปินแล้ว เธอก็ได้รับแรงผลักดันในการเริ่มเขียนเพลงจากอิทธิพลจากอัลบั้ม \"เดอะมิสเซดูเคชันออฟลอรีนฮิลล์\" ของลอรีน ฮิลล์ กลินน์ยังยกย่องแฟรงก์ โอเชียน เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจหลักในการทำงาน โดยเธอให้เหตุผลว่าโอเชียนมีแนวทางการทำเพลงให้ออกมามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเพลงของโอเชียนเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจร่วมกับเพลงของพรินซ์และเมวิส สเตเปิลส์ ระหว่างกลินน์ทำอัลบั้ม \"ไอครายเวนไอลาฟ\"", "title": "เจสส์ กลินน์" }, { "docid": "61435#6", "text": "เมื่ออายุได้ได้ 8 ปี โนวส์ได้พบกับ ลาทาเวีย โรเบอร์ซัน ในขณะที่มีการออดิชั่นวงดนตรีหญิงล้วน[13] พวกเธอและเพื่อนของโนวส์ เคลลี โรว์แลนด์ ถูกจัดให้เป็นกลุ่มที่เน้นการเต้นและร้องเพลงแร็ป ใช้ชื่อว่า เกิร์ลสไทม์[8] ในที่สุดพวกเขาก็ได้คัดให้เหลือสมาชิก 6 คน[7] ด้วยโนวส์และโรว์แลนด์ เกิร์ลสไทม์ จึงได้ดึงดูดผู้ชมทั่วประเทศเป็นอย่างมาก เวสต์ คอส โปรดิวเซอร์เพลงแนวอาร์แอนด์บีและอาร์น ฟราเจอร์ ได้เข้าไปในฮิวสตันเพื่อดูแลพวกเธอ และเขาก็ได้พาพวกเธอไปยังสตูดิโอเพลงของเขา เดอะแพลนต์เรเคิดดิงสตูดิโอส์ ในภาคเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนีย ด้วยน้ำเสียงของโนวส์ ทำให้ฟราเจอร์คิดว่าเธอเป็นผู้มีบุคลิกภาพและความสามารถในการร้องเพลง[7] ด้วยความพยายามที่จะให้เกิร์ลสไทม์เป็นกลุ่มดนตรีแนวหน้าในอุตสาหกรรมดนตรี ฟราเจอร์ได้ส่งพวกเธอไปในรายการ สตาร์เสรช[14] ซึ่งเป็นรายการประกวดร้องเพลงที่ดังที่สุดในอเมริกาในขณะนั้น[7] แต่ผลออกมาไม่ค่อยดี เพราะเพลงที่พวกเธอแสดงยังไม่ค่อยสมบูรณ์แบบเท่าไหร่นัก[15][16] โนวส์ได้กล่าวไว้ โนวส์ได้รู้สึกถึงการเสื่อมถ้อยในอาชีพของเธอเป็นครั้งแรกหลังจากที่ไม่ชนะรายการนี้ แต่เธอก็เริ่มกลับมามีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นหลังจากที่ได้เรียนรู้จากบริตนีย์ สเปียรส์ และจัสติน ทิมเบอร์เลค ที่ได้มีมีประสบการณ์เดียวกันกับพวกเธอ[7]", "title": "บียอนเซ่ โนวส์" }, { "docid": "101497#22", "text": "การเล่นเป็นเพลงสมัยนิยมครั้งแรกต่อคนสาธารณชนในอเมริกาเริ่มโดยนักร้องและนักกีตาร์ชาวเปอร์โตริโกโฮเซ เฟลีเซียโน ซึ่งสร้างความโกลาหลทั่วประเทศเมื่อเขาดีดกีตาร์เสียงเพลงอย่างช้า ๆ ในรูปแบบดนตรีบลูส์ ที่สนามกีฬาไทเกอร์แห่งนครดีทรอยต์ก่อนเกมที่ 5 ของ 1968 World Series ระหว่าง Detroit Tigers กับ St. Louis Cardinals เป็นตัวการเริ่มข้อถกเถียงเรื่อง \"ธงอันแพรวพราวด้วยดารา\" สมัยปัจจุบัน โดยได้รับการตอบสนองในเชิงลบจากคนอเมริกันโดยทั่วไปท่ามกลางบรรยากาศแห่งสงครามเวียดนาม ถึงอย่างไรก็ดี การเล่นเพลงของเฟลีเซียโนได้เปิดประตูให้ตีความเพลงในรูปแบบต่าง ๆ เป็นจำนวนมากต่อ ๆ มา\nอาทิตย์หนึ่งหลังการเล่นของเฟลีเซียโน เพลงชาติก็สร้างข่าวอีกเมื่อนักกีฬาโอลิมปิกชาวอเมริกันทอมมี่ สมิธ และจอห์น คาร์ลอส ยกกำปั้นขึ้นเมื่อเล่นเพลง ต่อมา นักร้องมาร์วิน เกย์ได้ร้องเพลงผสมสไตล์โซลในการเปิดการแข่งกีฬา 1983 (ปี 2526) NBA All-Star Game และนักร้องวิตนีย์ ฮิวสตันร้องเพลงในสไตล์เดียวกันก่อนงานซูเปอร์โบวล์ครั้งที่ 25 ในปี 2534 และต่อมาออกแผ่นเป็นเพลงเดี่ยวที่ติดอันดับ 20 ในบิลบอร์ดฮอต 100 ในปี 2534 และอันดับที่ 6 ในปี 2544 ซึ่งร่วมกับโฮเซ เฟลีเซียโน เป็นช่วง ๆ เดียวที่เพลงชาติติดบิลบอร์ด", "title": "เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์" }, { "docid": "61450#4", "text": "เสียงร้องของคริสติน่า อยู่ในช่วงของโซปราโน และมีช่วงเสียงร้องกว้าง 4 ออกเตฟ (Eb2 - C#7) นักวิจารณ์มักจะจับเสียงร้องเธอไปเปรียบเทียบกับวิตนีย์ ฮิวสตัน และ มารายห์ แครี อยู่เสมอ ต้นแบบด้านเสียงร้องของเธอนั้นมาจาก เอตตา เจมส์ นักร้องเพลงบูลส์ระดับตำนาน และเจ้าของเพลง \"At Last\" ที่คริสติน่าร้องมาโดยตลอดช่วงชีวิตการเป็นนักร้องของเธอ เธอกล่าวว่า \"เอตตาคือศิลปินที่ฉันชอบมากที่สุด ฉันกล่าวแบบนี้มาตลอด 7 ปี ตั้งแต่ฉันออกอัลบั้มแรก และทุกๆการสัมภาษณ์\" โดยในงานศพของเอตต้านั้น คริสติน่าได้ขึ้นโชว์เพลง At Last เพื่อรำลึกถึงเอตต้าด้วย นอกจากเอตตา เจมส์แล้ว คริสติน่ายังมีต้นแบบของเธออีกคือ วิตนีย์ ฮิวสตัน มารายห์ แครี มาดอนน่า เจเน็ต แจ็กสัน อารีธา แฟรงคลิน และ นิน่า ซิโมน", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "83623#4", "text": "วิสนีย์ ฮุสตันเกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2506 ในครอบครัวที่มีรายได้ปานกลางในเมืองนวร์ก รัฐนิวเจอร์ซีย์[13] เธอเป็นลูกสาวทหารและผู้บริหาร จอร์จ รัสเซล ฮุตตัส จูเนียร์ (13 กันยายน 2460 - 2 กุมภาพันธ์ 2546) และเป็นลูกของนักร้องกอสเปล เอมิลี ซิสซี ฮิวสตัน [14] พี่ชายของเธอชื่อไมเคิลเป็นนักร้อง และพี่น้องร่วมบิดายังเป็นอดีตผู้เล่นบาสเก็ตบอล แกรี่ กาแลนด์[15][16] พ่อแม่ของเธอทั้งสองคนเป็นแอฟริกันอเมริกัน โดยเธอมีเชื้อสายอเมริกาและดัตซ์[17] ฮิวสตันเป็นลูกพี่ลูกน้องของนักร้อง ดิออน วอร์วิค และดีดี วอร์วิกเมื่อนับจากฝ่ายมารดา ส่วนแม่อุปถัมภ์ของเธอคือ ดารลีน เลิฟ[18] และป้ากิตติมศักดิ์ของเธอเป็น อารีธา แฟรงคลิน [19][20] เธอได้พบกับป้ากิตติมศักดิ์เมื่อเธออายุ 8 - 9 ขวบ เมื่อแม่ของเธอพาเธอยังห้องอัดเพลง[21] แต่ก็ยังสัมผัสกับโบสถ์ของคริสต์ หลังเกิดจลาจลในนครนวร์กเมื่อปี 2510 ทำให้ครอบครัวต้องย้ายไปยังอีสต์ออเรนจ์ , นิวเจอร์ซี เมื่อเธออายุสี่ขวบ[22]", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "260458#0", "text": "\"ไอวอนนาแดนซ์วิธซัมบอดี (ฮูเลิฟส์มี)\" () เป็นซิงเกิลแรกจากผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 2 ของวิตนีย์ ฮูสตัน ชุด \"Whitney\" มีโปรดิวเซอร์คือนาราดา ไมเคิล วอลเดน และเขียนโดยจอร์จ เมอร์ริลล์และแชนนอน รูบีแคม จากวงบอยมีตส์เกิร์ล ที่เคยแต่งเพลงอันดับ 1 ก่อนหน้านี้ของวิตนีย์ ฮูสตันคือ \"ฮาววิลล์ไอโนว์\" เพลงที่เรียบเรียงดั้งเดิมจะมีความเป็นคันทรีกว่าแต่ถูกดัดแปลงให้กลายเป็นเพลงเต้นรำโดยวอลเดน", "title": "ไอวอนนาแดนซ์วิธซัมบอดี (ฮูเลิฟส์มี)" }, { "docid": "355087#0", "text": "วิตนีย์ () คืออัลบั้มที่ 2 ของศิลปินหญิงชาวอเมริกัน วิตนีย์ ฮูสตัน ออกวางขายในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2530 โดย อริสต้า ในอัลบั้มนี้จะมีเพลงดังอย่างเพลง I Wanna Dance with Somebody (Who Loves Me), Didn't We Almost Have It All, So Emotional และ Where Do Broken Hearts Go", "title": "วิตนีย์" }, { "docid": "83623#10", "text": "ทางด้านอดีตสามีของวิทนีย์อย่าง บ็อบบี้ บราวน์ ระบุว่าเขา \"ร้องไห้ไม่หยุด\" หลังจากที่ได้รับทราบข่าวการเสียชีวิต เขาไม่ได้ยกเลิกตารางการแสดงของตัวเองที่กำลังดำเนินอยู่ ภายในหนึ่งชั่วโมงของการตาย บ็อบบี้ได้จุมพิตแล้วโบกไปยังท้องฟ้าพร้อมกับหลั่งน้ำตาก่อนจะพูดว่า \"วิทนีย์, ผมรักคุณ\" ซึ่งผู้ชมการแสดงของเขาในมิสซิสซิปปีต่างร่วมเป็นสักขีพยาน[36][37][38][39]", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" } ]
2794
รัตนชาติมีกี่ประเภท?
[ { "docid": "58828#0", "text": "รัตนชาติหรือหินอัญมณี () เป็นกลุ่มประเภทของแร่ประเภทหนึ่ง โดยหมายถึง แร่หรือหินบางชนิด หรืออินทรียวัตถุธรรมชาติที่นำมาเจียระไน ตกแต่ง หรือแกะสลัก เพื่อใช้เป็นเครื่องประดับ มีความงาม ทนทาน และหายาก โดยปกติแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ เพชร และพลอย ซึ่งหมายถึง อัญมณีทุกชนิดยกเว้นเพชร หากผ่านการตกแต่งหรือเจียระไนแล้ว เรียกว่า อัญมณี\nนอกจากนี้ สารประกอบที่ได้จากสิ่งมีชีวิตที่อาจจัดเป็นรัตนชาติได้แก่ ไข่มุก และปะการังและอำพัน", "title": "รัตนชาติ" } ]
[ { "docid": "58828#22", "text": "จากหลักโหราศาสตร์โบราณของเอเชีย ชีวิตบนโลกล้วนขึ้นอยู่กับนพเคราะห์ หรือ ๙ อิทธิพล ซึ่งตำแหน่งที่สถิตของนพเคราะห์ในแผนภูมิดวงชะตาของแต่ละบุคคล ล้วนส่งอิทธิพล ต่อดวงชีวิตของคนๆนั้น กล่าวกันว่าการสวมใส่ ๙ รัตนชาติ จะช่วยให้ดวงดาวตามโหราศาสตร์สมดุล และมีสิริมงคลต่อผู้สวมใส่ ทางโหราศาสตร์เอเชียโบราณยังกล่าวว่าพลังรัตนชาติเหล่านี้ยังผลดีและผลลบต่อชีวิตมนุษย์เช่นกัน ดังนั้น ก่อนการสวมใส่ดารารัตนชาติ จึงควรจำเป็นต้องปรึกษาโหรโบราณ ระบบพระเวท ควรเป็นผู้ที่ศึกษาและเชี่ยวชาญทางดารารัตนชาติเพื่อให้ต้องโฉลกต่อพื้นฐานดวงชะตาของแต่ละบุคคล แม้ว่าจะเป็นเพียงรัตนเดี่ยวๆหรือการแนะนำให้ประดับรัตนที่สมพงษ์ร่วมในเรือนเดียวกัน", "title": "รัตนชาติ" }, { "docid": "58828#4", "text": "หากจะแปลตามตัว รัตนชาติ ที่เดิมเขียนกันว่า รัตนชาต ก็จะแปลไว้ว่า สิ่งที่ถือกำเนิดมาเป็นแก้ว (รัตน=แก้ว ชาต=เกิด)\nซึ่งในประเทศไทยเอง ก็พบว่ามีรัตนชาต 9 อย่างอันเป็นมิ่งมงคล แต่บางชนิดหายากหรือหาไม่พบในประเทศไทยปัจจุบันแล้ว", "title": "รัตนชาติ" }, { "docid": "58828#13", "text": "\"\"ทับทิมบริสุทธิ์ เป็นรัตนของอาทิตย์ ไข่มุกที่ขาวบริสุทธิ์โดยแท้ธรรมชาติ เป็นรัตนของจันทร์ ปะการังแก้วประวาล เป็นรัตนของอังคาร มรกต เป็นรัตนของพุธ บุษราคัม เป็นรัตนของพฤหัสบดี เพชร เป็นรัตนของศุกร์ ไพลิน เป็นรัตนของเสาร์ โกเมนเอก เป็นรัตนของราหู และไพฑูรย์ เป็นรัตนของเกตุฯ\"\"\nกล่าวคือ", "title": "รัตนชาติ" }, { "docid": "58828#6", "text": "ซึ่งตามคำกลอนดังกล่าว ไม่ได้เรียงตามระดับราคาหรือค่าความแข็งแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้พบว่าชื่อเรียกในโบราณนั้น ปัจจุบันสามารถหมายถึงรัตนชาตชนิดอื่นได้เช่นกัน ถ้าอ้างอิงตามกลอนบทนี้ สามารถถอดความเป็นรัตนชาต 9 อย่างได้ดังนี้นพรัตน ความหมายตามภาษาสันสกฤตหมายถึง \"๙ รัตนชาติ\"", "title": "รัตนชาติ" }, { "docid": "26658#8", "text": "สำหรับภาพยนตร์เรื่องที่สี่ หรือ เรื่องรัก น้อยนิด มหาศาล เป็นเอกได้ร่วมงานกับปราบดา หยุ่น คริสโตเฟอร์ ดอยล์ และอาซาโน่ ทาดาโนบุรวมทั้งได้ทากาชิ มิอิเกะมารับบทเล็กๆ ในเรื่องด้วย ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคัดเลือกให้เข้าแข่งชิงรางวัลที่เทศกาลภาพยนตร์รอตเทอร์ดาม ได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส และเป็นภาพยนตร์ที่ประเทศไทยส่งไปชิงรางวัลออสการ์ใน พ.ศ. 2546", "title": "เป็นเอก รัตนเรือง" }, { "docid": "58828#23", "text": "ข้อคิดเห็นที่ไม่มีหลักฐานอ้างอิง เช่น การระบุขนาด-น้ำหนักของรัตนชาติ เพื่อการสวมใส่,หรือรัตนต้องสัมผัสผิวผู้สวมใส่,หรือควรสวมใส่รัตนชาติให้กับดวงดาวที่ให้โทษ,หรือดวงดาวที่เป็นมงคล,หรือการยอมรับรัตนที่มีตำหนิ,หรือรัตนที่ผ่านการเผาแล้วไม่มีพลัง,การยอมรับว่าไข่มุกเลี้ยงคือมุกแท้,หรือ\nการทำบุญอุทิศรัตน เพื่อมงคลในชีวิต,หรือรัตนต้องประดับกับโลหะที่ในทางปฏิบัติทำได้ยาก มิฉะนั้นจะไม่มีพลัง,ฯลฯ เหล่านี้ล้วนยังไม่สามารถเป็นข้อเท็จจริงได้เพราะไม่มีข้ออ้างอิงหรือคัมภีร์บัญญัติไว้เป็นหลักฐานว่า สิ่งเหล่านี้คือข้อเท็จจริง แต่อาจกล่าวได้ว่า \"ผู้ให้คำแนะนำทางดารารัตน\"เป็นเจ้าของความคิดเห็นเหล่านี้ แม้ว่าจะไม่มีหลักคัมภีร์และหลักฐานทางตำรามาสนับสนุนก็ตาม โดยที่นับถือกันว่า \"รัตนชาติ\"สะท้อนพลังงานทางธรรมชาติหรือทางโหราศาสตร์ แต่การพิสูจน์ถึง\"พลัง\"ให้รัตนแสดงค่าบ่งชี้และวัดผลได้นั้น จึงจะถือเป็นก้าวแรกของการยอมรับทางวิทยาศาสตร์", "title": "รัตนชาติ" }, { "docid": "58828#7", "text": "นพรัตน หรือ นวรัตน และ เนาวรัตน จากภาษาสันกฤต ซึ่งพ้องเสียงกับอีกหลายๆ ประเทศในดินแดนเอเชีย สืบทอดต่อกันมาแต่ครั้งบุรพกาล ความสำคัญทั่วแดนสุวรรณภูมินับถือตรงกันว่า เป็นรัตนศักดิ์สิทธิ์ชั้นสูง ซึ่งนอกเหนือจากศาสนาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป \nเข้าใจว่าชนเอเชียทั้งหลายให้การยอมรับและนับถือในสิริมงคลแห่งนพรัตน์", "title": "รัตนชาติ" }, { "docid": "299708#0", "text": "แคลเซโดนี () เป็นแร่รัตนชาติซึ่งจัดอยู่ในประเภท ควอตซ์ มีลักษณะเป็นผลึกรวมซ่อนรูป (Cryptocrystalline) ของซิลิกา มีความวาวแบบแก้วและแบบยางสน มีหลากหลายสี แต่ที่พบมากที่สุดคือ สีขาว-เทา สีเทาน้ำเงิน หรือสีน้ำตาลจนถึงดำ", "title": "แคลเซโดนี" }, { "docid": "58828#9", "text": "เกือบทุกประเทศในแถบเอเชียนับถือว่าเป็นรัตนสูงส่งของเทพ ซึ่งตกทอดสืบต่อกันมา ทั้งในประเทศอินเดีย เนปาล ศรีลังกา สิงคโปร์ พม่า กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย และมาเลเซีย (โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมและศาสนา)\nและในประเทศดังกล่าว ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ให้ความสำคัญอย่างเป็นทางการ\nและยกย่องให้นพรัตนเป็นรัตนมงคลโบราณแห่งแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ บัญญัติว่าเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องประดับสำหรับยศแห่งพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว \nต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา\nโปรดเกล้าฯให้สร้างดวงตรามหานพรัตน สำหรับห้อยสายสะพายขึ้นเป็นครั้งแรกของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย", "title": "รัตนชาติ" } ]
3254
กรุงศรีอยุธยาล่มสลายลงเมื่อไหร่?
[ { "docid": "44328#0", "text": "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง</b>หรือ สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นความขัดแย้งทางทหารครั้งที่สองระหว่างราชวงศ์โกนบองแห่งพม่า กับราชวงศ์บ้านพลูหลวงแห่งอยุธยา ในการทัพครั้งนี้ กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีคนไทยเกือบสี่ศตวรรษได้เสียแก่พม่าและถึงกาลสิ้นสุดลงไปด้วย เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310[I]", "title": "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง" } ]
[ { "docid": "246628#0", "text": "วุฒิสภาโรมัน () เป็นสถาบันทางการเมืองของโรมันโบราณที่ก่อตั้งก่อนที่พระมหากษัตริย์แห่งโรมพระองค์แรกจะขึ้นครองราชย์ (ที่กล่าวกันว่าเป็นเวลา 753 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ระบบนี้รอดการล่มสลายของราชอาณาจักรโรมันเมื่อ 509 ปีก่อนคริสต์ศักราช, การล่มสลายของสาธารณรัฐโรมันเมื่อ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราช และการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 ระหว่างสมัยราชอาณาจักรวุฒิสภาก็เป็นเพียงคณะที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์แห่งโรมองค์สุดท้ายผู้โหดร้ายลูซิอัส ทาร์ควินิอัส ซูเพอร์บัส (Lucius Tarquinius Superbus) ถูกโค่นอำนาจโดยวุฒิสภาที่นำโดยลูซิอัส จูนิอัส บรูตัส (Lucius Junius Brutus) ", "title": "วุฒิสภาโรมัน" }, { "docid": "5256#2", "text": "อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่ง เป็นศูนย์กลางการค้าระดับนานาชาติ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครอง ซึ่งบางส่วนใช้สืบมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังทรงตราพระราชกำหนดศักดินา ทำให้อยุธยาเป็นสังคมศักดินา อยุธยาเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตกเมื่อ พ.ศ. 2054 หลังโปรตุเกสยึดครองมะละกา หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2112 กรุงศรีอยุธยาตกเป็นประเทศราชของราชวงศ์ตองอูแห่งพม่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพในอีก 15 ปีให้หลัง อาณาจักรอยุธยาเจริญถึงขีดสุดหลังจากนั้น ทั้งความสัมพันธ์กับต่างประเทศก็รุ่งเรืองมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมลง จนล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงใน พ.ศ. 2310", "title": "ประวัติศาสตร์ไทย" }, { "docid": "399537#13", "text": "ไม่ว่ารัฐบาลและธนาคารกลางจะทำอย่างไร แต่ก็ดูจะเริ่มไร้ประโยชน์ ความน่าเชื่อถือในเงินสกุลนี้หายไปแล้ว เศรษฐีที่มีเงินแสนล้าน เมื่อสองปีก่อน กลับจะเหลือทรัพย์สินเพียงสิบ มีรายงานว่าชาวซิมบับเวบางส่วนเลิกประกอบอาชีพทั้งหมด ไปร่อนทองในแม่น้ำ เพื่อนำเศษทองที่ร่อนได้ไปแลกอาหารประทังชีวิตเป็นรายวัน ส่วนระบบที่ไม่สามารถเปลี่ยนไปใช้เงินสกุลอื่นได้ล่มสลายไปโดยปริยาย แรงงานในสาขาอาชีพต่างๆ อพยพไปทำงานในประเทศอื่นถึงร้อยละ 10 ของประเทศ แม้แต่แพทย์-พยาบาล ยังได้อพยพไปทำงานในประเทศอื่นๆ มากกว่าครึ่ง ระบบสาธารณสุขล่มสลายโดยปริยาย อัตราการว่างงานพุ่งสูงถึงร้อยละ 80 อัตราการติดเชื่อเอดส์ สูงถึงร้อยละ 20 เป็นความล่มสลายทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างสิ้นเชิง", "title": "ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดในประเทศซิมบับเว" }, { "docid": "842810#2", "text": "ใน ค.ศ. 263 ก่อนที่จ๊กก๊กจะล่มสลายเจียวจิ๋วผู้นี้ได้ถวายคำแนะนำให้พระเจ้าเล่าเสี้ยนไหว้คำนับ สุมาเจียว มหาอุปราชแห่ง วุยก๊ก ซึ่งเท่ากับเป็นการยอมแพ้ต่อวุยก๊กทำให้จ๊กก๊กที่ปกครองเสฉวนมานานถึง 42 ปีนับตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าเล่าปี่เมื่อ ค.ศ. 221 ต้องล่มสลายลง", "title": "เจียวจิ๋ว" }, { "docid": "224477#33", "text": "เมื่อกรุงศรีอยุธยาล่มสลายในปีพ.ศ. 2310 ก่อให้เกิดความแตกแยกกันขึ้นในระหว่างข้าราชการและขุนนาง ฝ่ายเมืองนครศรีธรรมราชนั้น เจ้าพระยานครพระยาไชยาธิเบศร์ก็ถูกเรียกตัวเข้าไปช่วยราชการงานศึกที่กรุงศรีอยุธยา แล้วถึงแก่อนิจกรรมไม่ได้กลับมาที่นครศรีธรรมราชอีก พระปลัด (หนู)จึงเห็นเป็นโอกาสเหมาะที่จะประกาศอิสรภาพแก่นครศรีธรรมราช ซึ่งเคยเป็นเมืองอิสระแต่ครั้นโบราณกาล จึงตั้งตนเป็นใหญ่ขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2307 และได้เกลี้ยกล่อมหัวเมืองปักษ์ใต้ให้เข้าเป็นพวกด้วย", "title": "ประวัติศาสตร์จังหวัดภูเก็ต" }, { "docid": "6993#15", "text": "พ.ศ. ๒๓๑๐ กองทัพพระเจ้ามังระก็ตีกรุงศรีอยุธยาแตกเป็นเหตุให้อาณาจักรอยุธยาล่มสลาย แต่ไม่นานในปลายปีเดียวกันพระยาตากขุนนางของกรุงศรีอยุธยาก็รวบรวมกองทัพขับไล่กองกำลังของพระเจ้ามังระที่ประจำอยู่ในอยุธยาแตกหนีกลับไปได้ และพระยาตากก็สถาปนาราชวงศ์ใหม่และย้ายเมืองหลวงมายังกรุงธนบุรี", "title": "จังหวัดขอนแก่น" }, { "docid": "840863#3", "text": "หลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันในช่วงศตวรรษที่ 5 หลักปฏิบัติด้านการคุมกำเนิดไม่ได้ถูกใช้ในยุโรป ยกตัวอย่างเช่น การใช้วงแหวนพยุงในช่องคลอดไม่ได้อยู่ในบันทึกจนศตวรรษที่ 15 หากการหลั่งนอกถูกใช้ในจักรวรรดิโรมัน ความรู้เกี่ยวกับหลักปฏิบัติอาจสูญหายไปเมื่อจักรวรรดิล่มสลาย", "title": "การหลั่งนอกช่องคลอด" }, { "docid": "44328#2", "text": "การเสียกรุงครั้งนี้ นอกจากจะส่งผลให้อาณาจักรอยุธยาล่มสลายลงแล้ว ตะนาวศรีตอนใต้ยังได้ตกเป็นของพม่าเป็นการถาวร[2] และเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองในระดับต่าง ๆ จนแทบนำไปสู่การล่มสลายของรัฐไทย[9] อย่างไรก็ดี พม่าจำต้องถอนกำลังส่วนใหญ่ในอาณาจักรอยุธยาเดิมกลับคืนประเทศไปเมื่อถูกจีนบุกครอง จึงเป็นเหตุให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเถลิงอำนาจและตั้งอาณาจักรของคนไทยใหม่", "title": "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง" }, { "docid": "13251#18", "text": "วันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1905 รัฐสภาประกาศว่ากษัตริย์แห่งสวีเดนไม่ได้เป็นกษัตริย์ของนอร์เวย์อีกต่อไป และสหภาพกับสวีเดนก็ล่มสลายตามา ปฏิกิริยาตอบกลับในสวีเดนรุนแรงและสงครามระหว่างนอร์เวย์และสวีเดนใกล้จะเริ่มขึ้น เนื่องมากจากการลงประชามติสองครั้งเกิดขึ้นในปีเดียวกัน จึงเป็นตัวกำหนดให้สหภาพกับสวีเดนล่มสลายและชาติใหม่ของนอร์เวย์เป็นการปกครองโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข", "title": "ประเทศนอร์เวย์" }, { "docid": "17119#0", "text": "อาณาจักรธนบุรี เป็นอาณาจักรที่มีระยะเวลาสั้นที่สุดของไทย คือระหว่าง พ.ศ. 2310 - 2325 ระยะเวลา 15 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ภายหลังอาณาจักรอยุธยาล่มสลายไปพร้อมกับการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ทว่า ในเวลาต่อมา สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และทรงย้ายเมืองหลวงไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน", "title": "อาณาจักรธนบุรี" }, { "docid": "224477#29", "text": "ขณะนั้นกรุงศรีอยุธยากำลังระส่ำระสายด้วยการผลัดแผ่นดินจากสมเด็จพระเจ้าบรมโกศเป็นพระเจ้าอุทุมพร แล้วเปลี่ยนเป็นพระเจ้าเอกทัศและกลับเปลี่ยนเป็นพระเจ้าอุทุมพรอีกครั้งหนึ่ง เพื่อทำการสู้ศึกกับพม่า ซึ่งยกทัพเข้ามาโจมตีกรุงศรีอยุธยายืดเยื้อติดต่อกันนับตั้งแต่พ.ศ. 2301 จนถึงพ.ศ. 2310 อันเป็นปีที่กรุงศรีอยุธยาล่มสลาย", "title": "ประวัติศาสตร์จังหวัดภูเก็ต" }, { "docid": "59325#19", "text": "พ.ศ. ๒๓๑๐ กองทัพพระเจ้ามังระก็ตีกรุงศรีอยุธยาแตกเป็นเหตุให้อาณาจักรอยุธยาล่มสลาย แต่ไม่นานในปลายปีเดียวกันพระยาตากขุนนางของกรุงศรีอยุธยาก็รวบรวมกองทัพขับไล่กองกำลังของพระเจ้ามังระที่ประจำอยู่ในอยุธยาแตกหนีกลับไปได้ และพระยาตากก็สถาปนาราชวงศ์ใหม่และย้ายเมืองหลวงมายังกรุงธนบุรี", "title": "อำเภอสุวรรณภูมิ" }, { "docid": "10574#16", "text": "จ.ศ. 12068 นักคณิตศาสตร์ฮาริ เซลดอน พยากรณ์ถึงการล่มสลายของจักรวรรดิด้วยวิชาอนาคตประวัติศาสตร์ (Psychohistory) ว่าจะล่มสลายภายใน 300 ปี และจักรวรรดิใหม่ต้องใช้เวลาอีก 30,000 ปีกว่าจะฟื้นตัวได้ดังเดิม", "title": "จักรวรรดิสากลจักรวาล" }, { "docid": "322783#1", "text": "ถึงแม้ว่าตัวอย่างของการให้เอกราชจะพบได้นับแต่สมัยโบราณเป็นต้นมา ในช่วงเวลาสมัยใหม่ มีช่วงเวลาการให้เอกราชที่เฉพาะเป็นจำนวนมาก อาทิ การล่มสลายของจักรวรรดิสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 19 การล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิออตโตมัน และจักรวรรดิรัสเซียภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การล่มสลายของจักรวรรดิอังกฤษ จักรวรรดิฝรั่งเศส จักรวรรดิเยอรมัน และจักรวรรดิอาณานิคมอิตาลี ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง และการล่มสลายของสหภาพโซเวียตภายหลังกำแพงเบอร์ลินถูกพังทลาย ในปี ค.ศ. 1989", "title": "การให้เอกราช" }, { "docid": "399346#1", "text": "เป็นเวลากว่าร้อยปีมาแล้ว ที่มนุษย์เริ่มต้นใช้ชีวิตในอวกาศ จนกระทั่ง ปี A.G. 101 ศัตรูลึกลับ UE (Unknown Enemy) ได้โจมตีโคโลนี่ \"แองเจิล\" จนล่มสลาย เหตุการณ์ในวันนั้นต่างก็เรียกขานกันว่า \"วันแห่งการล่มสลายของนางฟ้า\" และสงครามก็ได้เริ่มขึ้น", "title": "กันดั้มเอจ" }, { "docid": "44328#50", "text": "ภายหลังจากการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา เพื่อความอยู่รอด ทำให้เกิดชุมนุมทางการเมืองในระดับต่าง ๆ ซึ่งเป็น \"รัฐบาลธรรมชาติ\" ขึ้นมาในท้องถิ่นทันที ส่วนรัฐบาลธรรมชาติเหล่านี้เกิดจากการที่บรรดาเจ้าเมืองขนาดใหญ่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามมากนักได้ตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน เรียกว่า \"ชุมนุม\" หรือ \"ก๊ก\" ซึ่งมีจำนวน 4-6 แห่ง นับว่ารัฐไทยเกือบสิ้นสลายไปเพราะไม่อาจรวมกันเป็นปึกแผ่นได้อีก[9]", "title": "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง" }, { "docid": "80088#5", "text": "นักประวัติศาสตร์หลายคนยกตัวอย่างเช่น ได้เขียนยืนกรานในหนังสือเรื่องวิวัฒนาการของอารยธรรม ว่าอารยธรรมตะวันตกเกิดขึ้นเมื่อประมาณปีค.ศ. 500 หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกโดยการล่มสลายนี้ทำให้เกิดพื้นที่ว่างสำหรับการเบ่งบานของความคิดใหม่ๆที่เป็นไปไม่ได้ในสังคมสมัยคลาสสิก แต่ไม่ว่าอารยธรรมตะวันตกจะเกิดขึ้นเมื่อใดจะเห็นได้ว่าตั้งแต่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกจนถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา โลกตะวันตกได้พบกับความเสื่อมที่มากพอสมควรในช่วงแรก ตามด้วยการปรับตัว เปลี่ยนแปลงและท้ายที่สุดการพัฒนาทางวัตถุ เทคโนโลยีและการเมือง ช่วงเวลาที่กล่าวถึงนี้กินเวลาประมาณหนึ่งพันปีและได้ถูกเรียกว่ายุคสมัยกลาง โดยส่วนเริ่มต้นของสมัยกลางทำให้เกิด \"ยุคมืด\" และจุดจบของสมัยกลางถือเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ", "title": "โลกตะวันตก" }, { "docid": "822#1", "text": "เนื้อหาของชุดนิยายเป็นเรื่องในช่วงเวลาที่มนุษยชาติได้กระจายอาศัยอยู่ทั่วไปในจักรวาล เนื้อเรื่องบอกเล่าถึงการล่มสลายของจักรวรรดิ และความพยายามของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ที่ต้องการจะช่วยให้มนุษยชาติ กลับจากภาวะล่มสลายให้ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยการรวมรวบความรู้ต่าง ๆ เก็บไว้ในสานานุกรม ซึ่งจัดทำโดยสถาบันสถาปนา", "title": "สถาบันสถาปนา" }, { "docid": "671#23", "text": "อย่างไรก็ตาม อาณาจักรอยุธยาสามารถรวบรวมอำนาจบางกลุ่มผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งเดียวกับตนได้สำเร็จ โดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงใช้กุศโลบายต่าง ๆ ทั้งความสัมพันธ์เครือญาติ การปฏิรูปการปกครองไปจนถึงการใช้กำลังทหาร เพื่อผนวกเอาแคว้นสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา สมัยดังกล่าวยังมีการปกครองที่เป็นปึกแผ่นมากขึ้น กระทั่งการล่มสลายอย่างสิ้นเชิงก็ไม่สามารถทำลายความรู้สึกของผู้คนตามไปด้วยได้ จึงนำไปสู่การเกิดใหม่ของกรุงศรีอยุธยาเป็นกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์", "title": "การเมืองไทย" }, { "docid": "96288#43", "text": "นอกจากนี้พวกมันยังสามารถได้รับการออกแบบด้วยทฤษฎีเส้นผลตอบแทน (), ในที่ซึ่งกลไกการล่มสลายที่ได้สันนิษฐานไว้มีการวิเคราะห์เพื่อให้ขอบเขตด้านบน () บนโหลดที่ล่มสลาย (ดู Plasticity). เทคนิคนี้ถูกนำมาใช้ในทางปฏิบัติ แต่เพราะวิธีการนี้จะให้ ขอบเขตด้านบน, เช่นการคาดการณ์ที่ไม่ปลอดภัยของการโหลดที่ล่มสลาย, สำหรับกลไกการล่มสลายที่ถูกคิดขึนอย่างไม่ดี การดูแลอย่างมากเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่ากลไกการล่มสลายที่สันนิษฐานไว้จะเป็นจริง.", "title": "วิศวกรรมโครงสร้าง" }, { "docid": "37703#3", "text": "หลังจากที่เข้าร่วมอย่างไม่ค่อยเต็มในเท่าไหร่ เธอก็ค่อยๆเปลี่ยนไปและเต็มใจจะอยู่กับฝ่ายนี้ในท้ายที่สุด เธอประมือกับทีม X-Men เธอเคยลอบสังหาร วุฒิสมาชิกเคลลี่ ด้วยแต่ก็ถูกขัดขวางไว้โดยมนุษย์กลายพันธุ์ฝ่ายดีทุกครั้ง แต่ยิ่งเธอใช้พลังมากเท่าไหร่ จิตใจของโร้คก็ยิ่งแตกสลายมากขึ้นเท่านั้น จนถึงขั้นที่เธอต้องเข้าพบจิตแพทย์ ฟางเส้นสุดท้ายของเธอกับมิสทีคขาดสะบั้นลง เมื่อโร้คตาสว่างพบว่าแท้จริงแล้วนี่คือแผนร้าย ที่อีกฝ่ายตั้งใจหลอกใช้กันมาตลอด เธอจึงหันหน้าเข้าหาศาสตราจารย์ทเอ็กซ์ และพลพรรคเอ็กซ์ทีม ขอร้องให้เธอควบคุมพลังให้ได้เสียที", "title": "โร้ค" }, { "docid": "5256#7", "text": "การจัดแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ของไทยนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแสดงพระทัศนะไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง \"ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร\" ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเมื่อ พ.ศ. 2457 ถึงการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของไทยไว้ว่า \"เรื่องพระราชพงศาวดารสยาม ควรจัดแบ่งเป็น 3 ยุค คือ เมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานียุค 1\"[2] ซึ่งการลำดับสมัยทางประวัติศาสตร์แบบเส้นตรง (Linear) โดยวางโครงเรื่องผูกกับกำเนิดและการล่มสลายของรัฐ กล่าวคือใช้รัฐหรือราชธานีเป็นศูนย์กลางเช่นนี้ ยังคงมีอิทธิพลอยู่มากต่อการเข้าใจประวัติศาสตร์ไทยในปัจจุบัน", "title": "ประวัติศาสตร์ไทย" }, { "docid": "939125#1", "text": "สงครามนี้เริ่มในเดือนเมษายน ค.ศ. 1752 ในสภาพขบวนการอิสระต่อต้านอำนาจกองทัพหงสาวดีที่เพิ่งยึดอำนาจจากราชอาณาจักรตองอู การต่อต้านดังกล่าวมีผู้นำคือพระเจ้าอลองพญาผู้ก่อตั้งราชอาณาจักรโกนบอง พระองค์สามารถเอาชัยในพื้นที่พม่าตอนบนได้ทั้งหมดเมื่อสิ้น ค.ศ. 1753 หงสาวดีจากภาคใต้จึงรุกรานกลับอย่างเต็มรูปแบบใน ค.ศ. 1754 แต่ไม่สำเร็จ เมื่อเวลาผ่านไป สงครามก็มีลักษณะทางชาติพันธุ์มากขึ้น เพราะเป็นการสู้กันของพม่าจากทางเหนือกับมอญจากทางใต้ กองทัพโกนบองเข้าสู่พม่าตอนล่างในเดือนมกราคม ค.ศ. 1755 ยึดดินดอนสามเหลี่ยมอิรวดีและเมืองดะโกนเป็นผลสำเร็จในเดือนพฤษภาคมของปีนั้น เมืองท่าสิเรียมที่อยู่ในความพิทักษ์ของกลุ่มฝรั่งเศสยื้อสงครามออกไปอีก 14 เดือน แต่ถูกตีแตกในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1756 ทำให้ฝรั่งเศสยุติบทบาทในสงครามครั้งนี้ ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1757 ฝ่ายโกนบองยึดพะโคเมืองหลวงของหงสาวดีไว้ได้ ราชอาณาจักรหงสาวดีที่ตั้งมาได้ 16 ปีจึงล่มสลายลง กองกำลังมอญแห่งหงสาวดีถอยไปตั้งตัวในคาบสมุทรตะนาวศรีอยู่หลายปีโดยได้ความช่วยเหลือจากกรุงศรีอยุธยา แต่พม่าแห่งโกนบองยึดคาบสมุทรดังกล่าวคืนจากกรุงศรีอยุธยาและขับไล่มอญออกไปได้ใน ค.ศ. 1765", "title": "สงครามโกนบอง–หงสาวดี" }, { "docid": "27551#3", "text": "พงศาวดารเรื่องราชาธิราชได้มีการแปลจากฉบับภาษามอญเป็นภาษาไทยครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งฉบับแปลครั้งแรกนั้นได้สูญหายไปเมื่อกรุงศรีอยุธยาล่มสลายในปี พ.ศ. 2310 ต่อมาในปี พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระราชดำริว่า หนังสือเรื่องราชาธิราชเป็นหนังสือดี เคยได้รับการยกย่องมาแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแปลและเรียบเรียงใหม่ โดยมีเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นแม่กองกำกับการแปล ร่วมกับพระยาอินทรอัครราช พระภิรมรัศมี และพระศรีภูริปรีชา ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกที่โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ เมื่อ พ.ศ. 2423", "title": "ราชาธิราช" }, { "docid": "77808#3", "text": "จักรวรรดิถูกแบ่งออกเป็นฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกในสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน และถือว่าจักรวรรดิโรมันล่มสลายลงในช่วงเวลาประมาณวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 476 เมื่อจักรพรรดิโรมิวลุส ออกุสตุส จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกขับไล่และเกิดการจลาจลขึ้นในโรม (ดูในการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน) อย่างไรก็ตาม จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือที่รู้จักกันในชื่อจักรวรรดิไบแซนไทน์ ก็ได้รักษากฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบกรีก-โรมัน รวมถึงศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์ไว้ได้ในอีกสหัสวรรษต่อมา จนถึงการล่มสลายเมื่อเสียกรุงคอนแสตนติโนเปิลให้กับจักรวรรดิออตโตมัน ในปีค.ศ. 1453", "title": "จักรวรรดิโรมัน" }, { "docid": "233878#2", "text": "พ.ศ. 1896 ในสมัยพระเจ้าอู่ทองแห่งกรุงศรีอยุธยา อาณาจักรเขมรก็ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยานำโดยขุนหลวงพระงั่วซึ่งเป็นพี่เมียของพระเจ้าอู่ทองยกทัพโจมตียึดเป็นเมืองขึ้น กองทัพไทยจากพระนครศรีอยุธยาไปรวมกำลังที่นครโคราปุระหรือโคราชหรือนครราชสีมา แล้วแยกกองทัพลงไปโจมตีกัมพูชาเป็น 3 ทางมีทหารไทย มอญ ลาวรวมกันประมาณ 50,000 คนและสามารถทำให้อาณาจักรขอมแตกได้ อาณาจักรเขมรจึงกลายเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา เป็นผลให้อาณาจักรเขมรล่มสลายอย่างสิ้นเชิง จนไม่สามารถฟื้นฟูอาณาจักรให้กลับมายิ่งใหญ่ตามเดิมได้", "title": "ยุคมืดของกัมพูชา" }, { "docid": "923740#0", "text": "การล้อมคะมะกุระ () สงครามครั้งสำคัญซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ สงครามปีเก็งโก ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1333 อันเป็นหมุดหมายสำคัญที่นำไปสู่การล่มสลายของ ตระกูลโฮโจ ตระกูลที่ทำหน้าที่เป็น ชิกเก็ง หรือผู้สำเร็จราชการแทนโชกุนมานับร้อยปีกองทัพที่จงรักภักดีต่อ จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ ภายใต้การนำของ นิตตะ โยะชิซะดะ ได้บุกเข้ายึดเมืองคะมะกุระและทำลายเมืองจนราบคาบทำให้ รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ ล่มสลายลงและผู้นำตระกูลโฮโจคนสุดท้ายคือ โฮโจ ทะกะโตะกิ ได้หนีไปยัง วัดโทโช อันเป็นวัดประจำตระกูลโฮโจพร้อมกับทำ เซ็ปปุกุ หรือการฆ่าตัวตายส่งผลให้ตระกูลโฮโจล่มสลายลง", "title": "การล้อมคะมะกุระ (ค.ศ. 1333)" }, { "docid": "537713#9", "text": "ปลายพุทธศตวรรษที่ 20 บรรดาแว่นแคว้นและนครรัฐต่าง ๆ ค่อย ๆ ถูกรัฐที่ใหญ่กว่าผนวก อาณาจักรสุโขทัยล่มสลายและรวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 1981 แต่นครรัฐน่านที่ห่างไกลยังคงเป็นนครรัฐอิสระขนาดเล็กอยู่อย่างโดดเดี่ยว ก่อนถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรล้านนาใน ปี พ.ศ. 1992 ใน พื้นเมืองน่าน กล่าวว่าพระเจ้าติโลกราชทรงยกทัพจากพะเยามาทางเมืองปง เมืองควร เข้าล้อมเมืองน่าน และ \"ตั้งอม็อกสินาดยิงเข้าทางประตูอุทยาน โห่ร้องเข้าคุ้มเวียง\"[16] อินทแก่นท้าวหนีไปพึ่งพระยาเชลียง พระเจ้าติโลกราชจึงแต่งตั้งท้าวผาแสงพระโอรสเจ้าแพงกินเมืองสืบมา ครั้นสิ้นท้าวผาแสงก็หาขุนนางมากินเมืองแทน ดังปรากฏ ความว่า \"...แต่นั้นมาชื่อว่าพระญาบ่มีแลย่อมว่าเจ้าเมืองว่าอั้นมาแล...\"[5]", "title": "นครรัฐน่าน" }, { "docid": "22602#0", "text": "สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นการอธิบายถึงความแตกแยกระหว่างกลุ่มการเมืองน้อยใหญ่ในอาณาจักรอยุธยาเดิม ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2310 โดยในทัศนะของนิธิ เอียวศรีวงศ์ สภาวะดังกล่าวแทบจะทำให้รัฐไทยล่มสลายลงไปตามเจตนาของพม่าในการรุกรานอาณาจักรอยุธยาเลยทีเดียว สภาวะดังกล่าวยังคงดำเนินอยู่ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ก่อนที่บ้านเมืองอันเป็นปึกแผ่นอย่างแท้จริงจะถูกสถาปนาขึ้นอีกครั้งหลังจากการปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก", "title": "สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง" }, { "docid": "96288#14", "text": "ประวัติศาสตร์ของวิศวกรรมโครงสร้างประกอบด้วยการพังทลายลงมาและความล้มเหลวจำนวนมาก. บางครั้งเรื่องเหล่านี้เกิดจากความประมาทที่เห็นได้ชัด, เช่นในกรณีของการล่มสลายในโรงเรียน Petionville, ที่ท่านสาธุคุณ Fortin Augustin กล่าวว่า \"เขาสร้างอาคารทั้งหมดด้วยตัวเขาเอง, เขาพูดว่าเขาไม่ต้องการวิศวกรสักคนเพราะเขามีความรู้ที่ดีในการก่อสร้าง\" หลังจากการล่มสลายบางส่วนของโรงเรียนขนาดสามชั้นที่ส่งเพื่อนบ้านวิ่งหนีอลหม่าน. สุดท้ายการล่มสลายเสียชีวิต 94 คน, ส่วนใหญ่เป็นเด็ก.", "title": "วิศวกรรมโครงสร้าง" } ]
3136
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "14722#3", "text": "ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี มีนามเดิมว่าคอร์ราโด เฟโรชี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ในเขตซานโจวันนี (San Giovanni) เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เป็นบุตรของนายอาตูโด เฟโรชีและนางซานตินา เฟโรชี ซึ่งประกอบธุรกิจการค้า และเนื่องจากเกิดและอาศัยอยู่ ณ เมืองฟลอเรนซ์ นครแห่งการกำเนิดศิลปะเรอเนซองส์ชื่อก้องของอิตาลี คอร์ราโดจึงมีความสนใจในวิชาศิลปะมาตั้งแต่วัยเด็ก คอร์ราโดนั้นมีความสนใจและชื่นชอบในผลงานประติมากรรมของมิเกลันเจโลและโลเรนโซ กีแบร์ตีในมหาวิหารฟลอเรนซ์เป็นอย่างมาก จึงได้สมัครเป็นลูกมือช่วยงานศิลปินที่มีชื่อเสียงตามสตูดิโอต่างๆของเมืองฟลอเรนซ์ เขามีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะศึกษาวิชาศิลปะและเป็นศิลปินให้ได้ อย่างไรก็ตามบิดามารดาของคอร์ราโดกลับไม่เห็นด้วยกับความคิดของเขาเพราะต้องการให้มาสืบทอดธุรกิจของครอบครัวต่อไปมากกว่า แต่คอร์ราโดมีความตั้งใจที่จะศึกษาศิลปะอย่างแรงกล้า จึงได้เก็บสะสมเงินและเข้าศึกษาในสถาบันศิลปแห่งนครฟลอเรนซ์ (Accademia di Belle Arti di Firenze) หลักสูตร 7 ปี ในปีพ.ศ. 2451 และจบการศึกษาในปีพ.ศ. 2458 ในขณะที่มีอายุ 23 ปีด้วยเกียรตินิยมอันดับที่หนึ่ง และได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียน ต่อมาได้สอบคัดเลือกและได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ประจำราชวิทยาลัย ศาสตราจารย์คอร์ราโดมีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ วิจารณ์ศิลป์และปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรมเป็นอย่างสูง ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะไว้มากมายและได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดออกแบบอนุสาวรีย์จากรัฐบาลหลายครั้ง อาทิเช่น ผลงานอนุสาวรีย์ผู้กล้าในสงครามโลกครั้งที่ 1 บนเกาะเอลบา เป็นต้น", "title": "ศิลป์ พีระศรี" } ]
[ { "docid": "14722#21", "text": "นอกเหนือไปจากการจัดทำอนุสาวรีย์แล้วยังได้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อเป็นเสมือนอนุสรณ์สถานแก่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี โดยใช้ชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ โดยเป็นความร่วมมือกันระหว่างบรรดาลูกศิษย์และผู้ใกล้ชิดศาสตราจารย์ศิลป์ เพื่อรำลึกถึงคุณูปการของท่าน ตั้งอยู่ในกรมศิลปากร มีการทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2527 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 92 ปี ของท่าน โดยนายชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้นมาเป็นประธานในพิธี ซึ่งปัจจุบันพิพิธภัณฑ์แห่งนี้สังกัดในสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ในเครือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ภายในตัวอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวร มีการแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 2 ห้องจัดแสดง คือห้องชั้นนอกตรงทางเข้าพิพิธภัณฑ์จัดแสดงผลงานศิลปะของลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด อาทิเช่น ผลงานของ เฟื้อ หริพิทักษ์, ชลูด นิ่มเสมอ, เขียน ยิ้มศิริ และ สวัสดิ์ ตันติสุข ซึ่งถือเป็นศิลปินรุ่นแรก ๆ ของศิลปะไทยแบบสมัยใหม่ที่ได้สืบทอดความรู้ ความคิดสร้างสรรค์และอุดมการณ์ที่ศาสตราจารย์ศิลป์ได้วางรากฐานไว้ให้ ในส่วนของห้องที่สองหรือห้องชั้นใน จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ของศาสตราจารย์ศิลป์ในช่วงที่ท่านยังมีชีวิต เช่น โต๊ะทำงาน เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องมือปั้น เป็นต้น โดยในห้องที่สองนี้ได้มีการจำลองห้องทำงานแบบดั้งเดิมในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ รวมไปถึงแบบร่างอนุสาวรีย์และประติมากรรมชิ้นสำคัญและหนังสือหายากที่ศาสตราจารย์ศิลป์เคยใช้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะตะวันตกซึ่งให้บริการแก่ผู้เข้าชมอีกด้วย", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "27824#3", "text": "การออกแบบอนุสาวรีย์ของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล มีแรงบันดาลใจสี่ประการ คือประติมากรรมทหาร 5 เหล่าหม่อมหลวงปิ่นใช้ดาบปลายปืน ซึ่งเป็นอาวุธประจำกายทหาร โดยใช้ดาบปลายปืนห้าเล่มรวมกัน จัดตั้งเป็นกลีบแบบลูกมะเฟือง ปลายดาบชี้ขึ้นบน ส่วนคมของดาบหันออก ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับหินอ่อน มีความสูงประมาณ 50 เมตร ดาบปลายปืนส่วนด้ามตั้งเหนือเพดานห้องโถงใหญ่ ซึ่งใช้เก็บกระสุนปืนใหญ่บรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสด้านนอกตอนโคนดาบปลายปืน มีรูปปั้นหล่อทองแดง ขนาดสองเท่าคนธรรมดา ของนักรบ 5 เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน ศิลปินผู้ปั้นรูปเหล่านี้เป็นลูกศิษย์ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เช่น สิทธิเดช แสงหิรัญ, อนุจิตร แสงเดือน, พิมาน มูลประสุข, แช่ม ขาวมีชื่อ ภายใต้การควบคุมของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีด้านนอกของผนังห้องโถง เป็นแผ่นทองแดงจารึกนามผู้เสียชีวิต รายนามผู้ที่ได้รับการจารึกไว้มีทั้งสิ้น 160 นาย เป็นทหารบก 94 นาย ทหารเรือ 41 นาย ทหารอากาศ 13 นาย และตำรวจสนาม 12 นาย จนถึงปัจจุบันแผ่นทองแดงจารึกรายนามผู้เสียชีวิต และผู้สละชีพเพื่อชาติจากสงครามต่าง ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2483-พ.ศ. 2497 รวมทั้งสิ้น 801 นายความสำคัญอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิยามค่ำคืนาติจากสงครามต่าง ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2483-พ.ศ. 2497 รวมทั้งสิ้น 801 นาย.", "title": "อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ" }, { "docid": "11674#58", "text": "ด้วยคุณูปการที่ ศิลป์ พีระศรี มีให้ต่อประเทศไทย ทำให้มีการรำลึกถึงท่านทุกวันที่ 15 กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายเกิดของท่าน เรียกกันว่า \"วันศิลป์ พีระศรี\" โดยถือเป็นวันสำคัญของวงการศิลปะไทยและนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ในวันศิลป์ พีระศรีนั้น มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระจะจัดกิจกรรมขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อให้ศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่าหรือผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน มีการวางดอกไม้เป็นการรำลึกถึงท่านที่ลานอนุสาวรีย์ศิลป์ พีระศรี ที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ โดยนักศึกษาจะเปิดร้านขายของที่ระลึกและมีการแสดงดนตรีสดตลอดทั้งวัน นอกจากนั้นยังมีการเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมแสดงความเคารพต่ออัฐิของท่านในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ และพิธีสำคัญจะเริ่มขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งทุ่ม ซึ่งจะเป็นการจุดเทียนที่ลานอนุสาวรีย์ศิลป์ พีระศรี พร้อมไปกับการร้องเพลงซานตาลูชีอา และเพลงศิลปากรนิยม เพื่อเป็นการรำลึกถึงท่านในวันสำคัญนี้", "title": "มหาวิทยาลัยศิลปากร" }, { "docid": "14722#9", "text": "ในช่วงบั้นปลายชีวิตของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ท่านได้อุทิศเวลาที่เหลือให้กับวงการศิลปะไทย ทั้งการสอน การสร้างสรรค์ผลงาน รวมไปถึงการได้ศึกษาศิลปะไทยอย่างลึกซึ้ง เพื่อการสร้างสรรค์งานศิลปะไทยสมัยใหม่ที่ควรจะมีเอกลักษณ์ของไทยไว้ให้สืบต่อไปแม้ความรู้ด้านศิลปะตะวันตกเริ่มแพร่หลายแล้วก็ตาม งานของศาสตรจารย์ศิลป์จึงถือเป็นงานแรกเริ่มของศิลปะไทยสมัยใหม่ที่แม้จะได้รับอิทธิพลตะวันตกแต่ก็ผสมผสานศิลปะแบบไทยประเพณีไว้อย่างกลมกลืน", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "211151#0", "text": "ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ เกิดเมื่อ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ที่จังหวัดธนบุรี เป็นศิลปินผู้มีความเชี่ยวชาญในการสร้างงานหลายประเภท จบการศึกษาจาก วิทยาลัยเพาะช่าง, มหาวิทยาลัยศิลปากร และ ประกาศนียบัตร Diploma of Fine Arts จากสถาบันศิลปะ Accademia di Belle Arti แห่งกรุงโรม อิตาลี โดยในสมัยเรียนที่ศิลปากรนับได้ว่าเป็นศิษย์รุ่นแรกๆของ ศ.ศิลป์ พีระศรี ผลงานที่โดดเด่นได้แก่ ประติมากรรม \"โลกุตระ\" ด้านหน้าทางเข้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ประติมากรรม \"เงินพดด้วง\" ที่จัดแสดงหน้าอาคารธนาคารกสิกรไทย สำนักพหลโยธิน และประติมากรรม \"พระบรมโพธิสมภาร\" ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ศาสตราจารย์ชลูดได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) ประจำปี พ.ศ. 2541", "title": "ชลูด นิ่มเสมอ" }, { "docid": "14722#18", "text": "สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (เฉพาะพระเศียร) - ทำจากสำริด ถือเป็นผลงานชิ้นแรกที่ทำให้ศาสตราจาย์ศิลป์เป็นที่รู้จัก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (เฉพาะพระเศียร) - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างมากหลังได้เห็นพระบรมรูปของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครึ่งพระองค์) - ทำปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล 2 องค์ - ทำปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่กองหัตถศิลป์ พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า - เป็นประติมากรรมนูนต่ำด้วยปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่หอศิลปแห่งชาติ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ครึ่งพระองค์) - ทำจากปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาส (ครึ่งองค์) - ปัจจุบันอยู่ในกรมศิลปากร พระญาณนายก (ปลื้ม จันโทภาโส มณีนาค) วัดอุดมธานี จังหวัดนครนายก - เป็นประติมากรรมนูนสูง ทำจากปูนพลาสเตอร์ หลวงวิจิตรวาทการ (ครึ่งตัว) - ทำจากปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่กรมศิลปากร ม.ร.ว.สาทิศ กฤดากร (เฉพาะศีรษะ) - ทำจากบรอนซ์ เจ้าของคือม.จ.รัสสาทิศ กฤดากร นางมาลินี พีระศรี (เฉพาะศีรษะ) - ปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ กรุงเทพมหานคร โรมาโน (ลูกชาย ภาพร่างไม่เสร็จ) - ปัจจุบันอยู่ที่กรมศิลปากร นางมีเซียม ยิบอินซอย (รูปเหมือนครึ่งตัว) - ทำจากบรอนซ์ ปัจจุบันอยู่ที่หอศิลปแห่งชาติ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (เฉพาะพระเศียร) พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช - ครึ่งพระองค์ ปั้นไม่เสร็จ เพราะศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "14722#0", "text": "ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (15 กันยายน พ.ศ. 2435 — 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) เดิมชื่อ คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) ชาวอิตาลีสัญชาติไทย เป็นประติมากรจากเมืองฟลอเรนซ์ที่เข้ามารับราชการในประเทศไทยตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยถือเป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทยที่ได้สร้างคุณูปการในทางศิลปะและมีผลงานที่เป็นที่กล่าวขานจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งและอาจารย์สอนวิชาศิลปะที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ซึ่งภายหลังได้รับการยกฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยศาสตราจารย์ศิลป์ได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัย มีความรักใคร่ ห่วงใยและปรารถนาดีต่อลูกศิษย์อยู่ตลอดจนเป็นที่รักและนับถือทั้งในหมู่ศิษย์และอาจารย์ด้วยกัน", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "69187#21", "text": "อนึ่ง ครูชลหมู่ ชลานุเคราะห์ อดีตผู้อำนวยเพลงวงดุริยางค์สากลกรมศิลปากร ศิษย์ของศาสตราจารย์พระเจนดุริยางค์ (ผู้ประพันธ์เพลงประจำตราบริษัท / แฟนแฟร์) กล่าวถึงองค์พระปรางค์จำลองดังกล่าว อาจเป็นผลงานของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี", "title": "พระปรางค์สามยอด" }, { "docid": "648406#3", "text": "การเรียนของท่านดำเนินไปด้วยดีจนได้รับความไว้วางใจจากท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ให้ช่วยสอนวิชาพื้นฐานทางศิลปะในขณะที่ท่านยังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 10 และเมื่อท่านจบการศึกษาแล้ว ท่านก็ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยศิลปากร", "title": "ประหยัด พงษ์ดำ" }, { "docid": "14722#16", "text": "นอกไปจากนั้นแล้วศาสตราจารย์ศิลป์ยังได้เป็นกำลังหลักในการผลักดันให้เกิดการประกวดวาดเส้น จิตรกรรมและประติมากรรม จนเกิดเป็นงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติเกิดขึ้น มีจุดประสงค์ให้ศิลปินไทยเกิดการแข่งขันในการสร้างสรรค์ผลงานที่ดีออกสู่สาธารณชนและช่วยให้ศิลปะไทยมีความก้าวหน้าต่อไปได้อย่างไม่มีหยุด และเล็งเห็นต่องานช่างและงานศิลปะไทยในสาขาอื่นๆจึงได้ส่งเสริมให้มีการก่อตั้งคณะในมหาวิทยาลัยศิลปากรเพิ่มคือคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะโบราณคดี และคณะมัณฑนศิลป์ ด้วยคุณูประการนานัประการนี้ศาสตราจารย์ศิลป์จึงได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของศิลปะไทยสมัยใหม่ที่ได้พลิกโฉมรูปแบบศิลปะไทยแบบเดิมให้มีความก้าวหน้าไปอย่างสูงทัดเทียมสากล เกิดศิลปินและผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากที่สามารถสืบทอดงานศิลปะไทยต่อไปได้นานเท่านาน ไม่เพียงแต่งานด้านจิตรกรรม ประติมากรรมแต่ยังรวมไปถึงงานด้านสถาปัตยกรรม โบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะ รวมไปถึงมัณฑนศิลป์อีกด้วย", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "14722#2", "text": "ด้วยคุณูปการนี้ศาสตราจารย์ศิลป์จึงได้รับการยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคลของมหาวิทยาลัยศิลปากรและของประเทศไทย โดยเฉพาะในงานประติมากรรมที่ได้มีผลงานที่โดดเด่นมากมายที่สร้างไว้แก่ประเทศไทย ได้แก่ พระพุทธรูปประธานที่พุทธมณฑล, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และรวมไปถึง พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่วงเวียนใหญ่, พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช, อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และพระบรมราชานุสาวรีย์ของกษัตริย์ไทยอีกหลายพระองค์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ศาสตรจารย์ศิลป์จงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทยและเป็นบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยในวันที่ 15 กันยายน ของทุกปีจะถือเป็นวันศิลป์ พีระศรี ซึ่งมหาวิทยาลัยจะจัดงานรำลึกขึ้นทุกปีเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของศาสตราจารย์ศิลป์ที่มีต่อมหาวิทยาลัยและประเทศไทยหลายประการ", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "14722#8", "text": "แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงอย่างมากภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ค่าครองชีพในประเทศไทยสูงขึ้น ทำให้สถานะทางการเงินของท่านได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก โดยศาสตราจารย์ศิลป์จำต้องขายทั้งรถยนต์และบ้าน รวมถึงที่ดิน เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตทางการเงิน แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ในท้ายที่สุด ศาสตราจารย์ศิลป์จึงจำเป็นต้องเดินทางกลับไปยังอิตาลี ประเทศบ้านเกิดพร้อมกับครอบครัวหรือก็คือการลาออกจากราชการนั่นเอง แต่เนื่องจากงานในประเทศไทยที่ยังคงติดค้างอยู่มาก รวมไปถึงความรักในประเทศไทยและอุดมการณ์ในการพัฒนาวงการศิลปะไทยของท่าน ทำให้ศาสตราจารย์ศิลป์ตัดสินใจเดินทางกลับมารับราชการและรับตำแหน่งเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรอีกครั้งในพ.ศ. 2492 แต่ในครั้งนี้นางแฟนนี อิซาเบลลาและโรมาโน(ลูกชายที่เกิดในประเทศไทย) นั้นไม่ได้เดินทางกลับมาด้วย ทำให้อาจารย์ศิลป์ต้องจากครอบครัวและหยุดชีวิตสมรสของท่านลงเช่นกัน", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "14722#17", "text": "ตลอดชีวิตการทำงานของศาสตราจารย์ศิลป์ ท่านได้สร้างผลงานประติมากรรมไว้มากมาย โดยผลงานที่ยังมีอยู่มาจนถึงปัจจุบันก็อาทิเช่น", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "13089#5", "text": "เมื่อจบชั้นมัธยม 6 ที่เชียงราย ถวัลย์ก็ได้รับทุนมาเรียนต่อที่ โรงเรียนเพาะช่าง และได้เป็นนักเรียนดีเด่น ด้วยฝีมือการวาดรูปที่แม่นยำ เฉียบคม ฉับไว จึงเป็นหนึ่งในนักเรียนเพาะช่างดีเด่นด้านจิตรกรรม ที่ผลงานได้รับการคัดเลือกไปแสดงในหอศิลป์แห่งชาติ นครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้น ถวัลย์ ดัชนี จึงเข้าศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้เป็น \"ศิษย์รุ่นท้ายๆ ของ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี\"", "title": "ถวัลย์ ดัชนี" }, { "docid": "13089#7", "text": "คำวิจารณ์ของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ดังกล่าวนี้ทำให้ถวัลย์ ดัชนี เปลี่ยนแปลงการทำงานทุกอย่างใหม่หมด เมื่อคิดและดำรงอยู่ในวิถีทางแห่งศิลปะได้แล้ว เขาจึงได้รับการสนับสนุนจากศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ให้สอบชิงทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้านสาขาจิตรกรรมฝาผนัง อนุสาวรีย์ ผังเมือง และในระดับปริญญาเอก สาขาอภิปรัชญา และสุนทรียศาสตร์ ที่ราชวิทยาลัยศิลปะอัมสเตอร์ดัม ที่แห่งนี้เองที่ถวัลย์ได้เรียนร่วมชั้นเดียวกันกับนักเรียนต่างชาติ ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีศิลปินแห่งชาติเกิดขึ้น 3 คนจากสถาบันแห่งนี้ นั่นคือ ศิลปินแห่งชาติของอินโดนีเซีย ด้านการแกะสลัก, ศิลปินแห่งชาติของอเมริกา ชาวสวิตเซอร์แลนด์ นามว่า Giger (ไกเกอร์ หรือ กีเกอร์ ถ้าอ่านแบบเยอรมัน) ซึ่งเป็นศิลปินที่วาดรูปออกแนวอวกาศและเป็นผู้ออกแบบเอเลี่ยน และศิลปินแห่งชาติของไทย ถวัลย์ ดัชนี", "title": "ถวัลย์ ดัชนี" }, { "docid": "60397#5", "text": "ตามหลักฐานระบุว่าวัดแห่งนี้ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าลิไท และมีการดูแลบูรณะเรื่อยมา สันนิษฐานว่าวัดนี้ได้ถูกทิ้งร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย จนกระทั่งในสมัย รัชกาลที่ 9 ได้มีโครงการบูรณปฏิสังขรณ์ ในปี พ.ศ. 2495 โดยเริ่มมีการบูรณะพระพุทธรูปพระอจนะ โดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และอาจารย์เขียน ยิ้มสิริ วัดจึงอยู่ในสภาพที่เห็นในปัจจุบัน", "title": "วัดศรีชุม (จังหวัดสุโขทัย)" }, { "docid": "14722#19", "text": "ด้วยคุณูปการที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีมีให้ต่อประเทศไทย ทำให้มีการรำลึกถึงท่านทุกวันที่ 15 กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายเกิดของท่าน เรียกกันว่าวันศิลป์ พีระศรี โดยถือเป็นวันสำคัญของวงการศิลปะไทยและนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ในวันศิลป์ พีระศรีนั้นมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระจะจัดกิจกรรมขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อให้ศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่าหรือผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน มีการวางดอกไม้เป็นการรำลึกถึงท่านที่ลานอนุสาวรีย์ที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ โดยนักศึกษาจะเปิดร้านขายของที่ระลึกและมีการแสดงดนตรีสดตลอดทั้งวัน นอกจากนั้นยังมีการเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมแสดงความเคารพต่ออัฐิของท่านในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ และพิธีสำคัญจะเริ่มขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งทุ่ม ซึ่งจะเป็นการจุดเทียนที่ลานอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์พร้อมไปกับการร้องเพลงSanta Lucia และเพลงศิลปากรนิยมเพื่อเป็นการรำลึกถึงท่านในวันสำคัญนี้", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "14722#1", "text": "ศาสตราจารย์ศิลป์ยังเป็นผู้วางรากฐานที่เข้มแข็งให้แก่วงการศิลปะไทยสมัยใหม่จากการที่ได้พร่ำสอนและผลักดันลูกศิษย์ให้ได้มีความรู้ความสามารถในวิชาศิลปะทั้งงานจิตรกรรมและงานช่าง มีจุดประสงค์ให้คนไทยมีความรู้ความเข้าใจในศิลปะและสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะได้ด้วยความสามารถของบุคลากรของตนเอง การก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรจึงเปรียบเสมือนการหว่านเมล็ดพันธุ์ให้แก่คนไทยเพื่อที่จะออกไปสร้างศิลปะเพื่อแผ่นดินของตน และถึงแม้จะริเริ่มรากฐานของความรู้ด้านศิลปะตะวันตกในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันศาสตรจารย์ศิลป์ก็ได้ศึกษาศิลปะไทยอย่างลึกซึ้ง เนื่องจากต้องการให้คนไทยรักษาความงามของศิลปะไทยเอาไว้ จึงได้เกิดการสร้างลูกศิษย์ที่มีความรู้ทั้งงานศิลปะตะวันตกและศิลปะไทยออกไปเป็นกำลังสำคัญให้แก่วงการศิลปะไทยเป็นจำนวนมาก และเกิดรูปแบบงานศิลปะไทยสมัยใหม่ในที่สุด", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "14722#24", "text": "มหาวิทยาลัยศิลปากร วันศิลป์ พีระศรี", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "14722#7", "text": "ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2485 ประเทศอิตาลียอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวอิตาลี ในประเทศไทยจึงตกอยู่ภายใต้การควบคุมตัวของญี่ปุ่น เนื่องจากฝ่ายญี่ปุ่นเองต้องการสืบให้ทราบว่าชาวอิตาลีกลุ่มนี้ภักดีต่อกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซาวอยผู้ซึ่งประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรหรือสนับสนุนฝ่ายสาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลีที่ประกาศขอสู้ต่อกันแน่ ทำให้ศาสราจารย์คอร์ราโดเองก็ถูกควบคุมตัวไว้เช่นกัน แต่รัฐบาลไทยได้เล็งเห็นถึงความสามารถท่านและได้ขอควบคุมตัวศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรจีเอาไว้เองเพื่อคุ้มครองท่านไว้ ไม่ต้องไปถูกเกณฑ์เป็นเชลยศึกให้สร้าง ทางรถไฟสายมรณะ และสะพานข้ามแม่น้ำแคว เมืองกาญจนบุรี โดยหลวงวิจิตรวาทการ ได้ดำเนินการทำเรื่องราวขอโอนสัญชาติจากอิตาเลียนมาเป็นสัญชาติไทย โดยเปลี่ยนชื่อของท่านจากนายคอร์ราโด เฟโรจีให้มาเป็น \"นายศิลป์ พีระศรี\" นับแต่นั้นเป็นต้นมา", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "29015#5", "text": "การก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเริ่มต้นขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2482 โดยรัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการการก่อสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเพื่อควบคุมกำกับการก่อสร้าง โดยมีศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างและ สิทธิเดช แสงหิรัญ เป็นผู้ช่วยปั้นอนุสาวรีย์[1] ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 250,000 บาท[2]", "title": "อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย" }, { "docid": "110187#5", "text": "ภายหลังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เสด็จไปประทับตำหนักปลายเนินแล้ว ทายาทของพระองค์จึงขายวังให้กับทางราชการ และศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้สร้างสถานศึกษาสำหรับวิชาศิลปะตามแบบยุโรปขึ้น ได้ใช้วังนี้เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ จวบจนปัจจุบัน", "title": "วังท่าพระ" }, { "docid": "14722#14", "text": "ศาสตราจารย์ศิลป์นั้นมีอุดมการณ์ที่จะต้องการพัฒนาวงการศิลปะไทยให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นไปอีก และในยุคที่ศิลปะตะวันตกกำลังรุ่งเรืองในประเทศไทย สิ่งที่ท่านเล็งเห็นก็คือการทำอย่างไรให้คนไทยสามารถสร้างผลงานรูปแบบตะวันตกได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องว่าจ้างช่างตะวันตก และมีงานศิลปะที่เป็นตัวของตัวเองไม่ลอกเลียนแบบตะวันตกไปเสียหมด ด้วยแนวคิดนี้จึงเกิดโรงเรียนประณีตศิลปกรรมขึ้นเพื่อเพาะพันธุ์เมล็ดศิลปินที่จะเติบโตไปเป็นช่างแห่งกรุงสยามในภายภาคหน้า อีกสาเหตุหนึ่งที่ท่านตัดสินใจตั้งโรงเรียนขึ้นก็เพราะท่านมองว่าการเปิดโรงเรียนสอนเพื่อผลิตศิลปินนั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อวงการศิลปะมากกว่าการสร้างสรรค์งานแต่ตัวท่านเพียงลำพัง นอกจากนี้ศาสตราจารย์ศิลป์ยังได้มีส่วนช่วยในการจัดหาทุนทรัพย์และทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาศิลปะชาวไทยเพื่อรักษาให้ชาติยังคงมีศิลปินหน้าใหม่เกิดขึ้นต่อไป เนื่องจากในยุคข้าวยากหมากแพงนั้นผู้ปกครองแทบทุกคนไม่สนับสนุนให้ลูกของตนเรียนวิชาศิลปะ ศาสตราจารย์ศิลป์จึงได้พยายามอย่างสุดความสามารถให้ไทยสามารถมีช่างที่มีฝีมือได้ต่อไป ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเพราะบรรดาลูกศิษย์ของท่านเริ่มเป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "14722#12", "text": "ศาสตราจารย์ศิลป์ถือเป็นบุคคลที่มีใจรักในศิลปะมาตั้งแต่เด็ก เป็นสิ่งทีท่านให้ความสนใจมากกว่าสิ่งอื่นใด ท่านก็สามารถส่งเสียตัวเองจนเรียนจบด้วยเกียรตินิยมอันดับที่ 1 และสามารถสอบเข้าเป็นศาสตราจารย์ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย แต่งงานครั้งแรกกับนางพาโอล่า แองเจลินี แต่ก็ได้ขอแยกทางตามคำสั่งศาลในหนึ่งปีให้หลัง จากนั้นท่านแต่งงานใหม่กับ แฟนนี วิเวียนนี มีบุตรสองคน บุตรสาวชื่อ อิซาเบลลา ส่วนบุตรชายชื่อ โรมาโน () เมื่อเข้ารับราชการในประเทศไทยท่านได้รับเงินเดือนที่เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัวของท่าน ศาสตราจารย์ศิลป์มีนิสัยรักธรรมชาติ ชอบความเรียบง่ายและหลงรักในวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก มีความตั้งใจจริงที่จะช่วยพัฒนาวงการศิลปะไทยให้ก้าวหน้า ในมุมมองของลูกศิษย์นั้น ศาสตราจารย์ศิลป์เป็นคนที่มีความรักใคร่ ห่วงใยละปรารถนาดีต่อลูกศิษย์เป็นอย่างมาก ในเวลาสอนศาสตราจารย์ศิลป์จะจริงจังและเป็นคนที่มีความตรงต่อเวลา สอนด้วยความเข้มงวดและมักจะพร่ำสอนให้นักศึกษาทำงานหนักอยู่เป็นประจำ เพราะงานศิลปะที่ดีนั้นย่อมมาจากการฝึกฝนอย่างหนัก โดยท่านยังมีความเป็นกันเองกับนักศึกษา มักจะแทนตัวเองว่า “ฉัน” และแทนนักศึกษาว่า “นาย” เมื่อนักศึกษาคนไหนขาดแคลนทุนทรัพย์ท่านก็มักจะช่วยเหลือเสมอ[1] ท่านยังโปรดปรานการฟังเพลงเป็นอย่างมาก โดยเพลงที่ท่านมักจะฮัมเวลาทำงานอยู่บ่อยๆก็คือเพลงซานตา ลูเชีย เพลงพื้นเมืองภาษาอิตาลีซึ่งภายหลังได้กลายมาเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "14722#10", "text": "ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้แต่งงานใหม่กับนางมาลินี เคนนี่ในปีพ.ศ. 2502 แต่ไม่ได้มีบุตรด้วยกัน ศาสตราจารย์ศิลป์ยังคงทุ่มเทเวลาและอุทิศชีวิตให้กับวงการศิลปะไทยเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2505 ซึ่งท่านได้ล้มป่วยลงจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก่อนที่จะถึงแก่อนิจกรรมในวันที่14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวภายหลังการเข้ารับการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมสิริอายุได้ 69 ปี 7เดือน 29 วัน โดยมีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดเทพศิรินทราวาสเมื่อวันที่17 มกราคม พ.ศ. 2506 ซึ่งอัฐิถูกแยกไปสามส่วนด้วยกันคือที่สุสานชิมิเตโร เดญลี อัลลอรี เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ส่วนที่สองถูกบรรจุในอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ณ ลานศาสตรจารย์ศิลป์ พีระศรี ในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ และส่วนที่สามถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ในกรมศิลปากร", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "14722#15", "text": "จากความรู้ในด้านศิลปะตะวันตกที่ท่านได้พร่ำสอนให้แก่ลูกศิษย์นี้เองทำให้วงการศิลปะไทยเกิดศิลปินหน้าใหม่ที่มีฝีมือและรูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ออกมาได้ ศาสตราจารย์ศิลป์ได้รับมอบหมายให้สร้างพระบรมราชนุเสาวรีย์และอนุสาวรีย์สำคัญของไทยมากมายหลายแห่ง ซึ่งท่านได้ใช้ความรู้ในด้านศิลปะตะวันตกสร้างงานแต่ก็ยังมิได้ละทิ้งความงามของศิลปะไทยหรือที่เรียกกันว่า ศิลปะแบบไทยประเพณีไป ทั้งนี้เพราะท่านได้เล็งเห็นว่าศิลปะไทยก็มีความงามและเอกลักษณ์เป็นของตน อีกทั้งช่างไทยยังได้มีการสืบทอดความรู้วิชาในด้านศิลปะไทยมายอย่างยาวนาน การที่จะทำให้วงการศิลปะไทยก้าวหน้าก็ต้องไม่ลืมรากเหง้าเดิมของไทยที่มีมาแต่โบราณ ท่านจึงได้ทำการศึกษาศิลปะไทยอย่างละเอียดโดยเฉพาะการศึกษาพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัยที่ท่านได้ยกย่องไว้ว่ามีความงดงามเป็นที่สุด ได้มีการศึกษารูปแบบศิลปะของพระพุทธรูปและมีบทความวิชาการตีพิมพ์ออกมามากมาย ก่อนที่จะประสบความสำเร็จในการออกแบบพระพุทธรูปพระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดของความงามของศิลปะไทย มีการนำความรู้ใหม่คือศิลปะตะวันตกในลัทธิสัจนิยมที่เชื่อในเรื่องของความสมจริงมาผนวกใช้กับความงามแบบดั้งเดิมของศิลปะสุโขทัย ที่สร้างแบบศิลปะไทยประเพณีจนก่อให้เกิดความงามรูปแบบใหม่ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นต้นแบบของศิลปะไทยสมัยใหม่อย่างแท้จริง เนื่องจากศาสตราจารย์ศิลป์ได้เป็นผู้วางรากฐานให้อย่างมั่นคง จึงส่งผลให้ศิลปินรุ่นหลังสามารถสืบทอดงานศิลปะไทยออกไปได้อย่างเต็มที่", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "712964#4", "text": "ผู้ออกแบบเหรียญคือ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี", "title": "เหรียญศานติมาลา" }, { "docid": "14722#20", "text": "หลังจากศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีถึงแก่อนิจกรรมไปแล้ว เหล่าลูกศิษย์ก็ได้มีความพยายามที่จะจัดสร้างอนุสาวรีย์ของศาสตราจารย์ศิลป์เพื่อเป็นเกียรติแด่ท่านที่ได้มีคุณูปการต่อศิลปะไทยและเป็นผู้ก่อตั้งและวางรากฐานให้แก่มหาวิทยาลัยศิลปากร แต่เนื่องด้วยกฎหมายของประเทศไทยในตอนนั้นไม่อนุญาตให้มีการจัดตั้งอนุสาวรีย์ของคนต่างชาติในประเทศได้ ถึงอย่างนั้นอาจารย์สนั่น ศิลากรณ์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์รุ่นแรก ๆ ของศาสตราจารย์ศิลป์ ได้แอบสร้างอนุสาวรีย์ของศาสตราจารย์ศิลป์ขนาดเท่าคนจริงขึ้น แต่ก็ไม่มีที่ที่จะสามารถจัดตั้งได้จึงจำเป็นต้องเก็บเอาไว้ในห้องคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ จนกระทั่งในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ นำโดยพิษณุ ศุภนิมิตร ได้เข้าไปนำอนุสาวรีย์ออกมาจากห้องคณบดี ก่อฐานแล้วทำการติดตั้งอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์โดยไม่เกรงกลัวกับการโดนจับ ซึ่งในปัจจุบันอนุสาวรีย์นี้ก็ยังคงตั้งอยู่เช่นเดิม โดยลานแห่งนี้มีชื่อเรียกกันในหมู่นักศึกษาว่า ลานอาจารย์ศิลป์ และยังมีการสร้างเพิ่มเติมในภายหลังที่วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์และวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีอีกด้วย", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "62007#1", "text": "เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 คณะมัณฑนศิลป์ ได้ถือกำเนิดขึ้น ด้วยดำริของ ศิลป์ พีระศรี และดำเนินการเปิดสอนในสาขาวิชาศิลปตกแต่ง (Decorative Arts) ในปีการศึกษานั้น โดย พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) ได้บัญญัติชื่อภาษาไทยว่า \"คณะมัณฑนะศิลป์\" แต่ต่อมาใน พ.ศ. 2517 ได้มีการดำเนินการปรับแก้ให้ถูกต้องกับภาษาเขียนเป็น \"คณะมัณฑนศิลป์\" และศิลป์ พีระศรี ได้จัดสร้างหลักสูตรสาขาวิชาศิลปตกแต่ง 4 ปี (อนุปริญญา 3 ปี ปริญญาตรี 4 ปี) มีศิลป์ พีระศรี รักษาการในตำแหน่งคณบดี และ หลวงวิเชียร แพทยาคม (อธิบดีกรม กรมศิลปากร ในเวลานั้น) รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (เทียบเท่าอธิการบดีมหาวิทยาลัย)", "title": "คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร" } ]
555
ปฏิญญาของงานประชุมโลกใหญ่ต้านการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็กประชุมที่เมืองอะไร?
[ { "docid": "764140#1", "text": "ปฏิญญาของงานประชุมโลกใหญ่ต้านการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก (Declaration of the First World Congress against Commercial Sexual Exploitation of Children) ที่ประชุมในเมืองสตอกโฮล์มปี 2539 นิยาม CSEC ว่า", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" } ]
[ { "docid": "767578#18", "text": "กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐรายงานว่า ทัวร์เซ็กซ์เด็กเป็นปัญหาอย่างหนึ่งในประเทศอาร์เจนตินา โดยเฉพาะที่ชายแดนและในกรุงบัวโนสไอเรส กฎหมายอาญาของประเทศก็ไม่ได้ห้ามทัวร์เซ็กซ์เด็กไว้โดยเฉพาะ และไม่มีการดำเนินคดีเซ็กซ์กับเด็กในระหว่างปี 2552-2553 แต่ว่าโดยหวังที่จะลดทัวร์เซ็กซ์เด็ก หน่วยงานของรัฐได้ออกกฎหมายบังคับให้ตำรวจปิดซ่องทุกแห่งที่ NGO รายงาน แต่เป็นวิธีที่ไม่ได้ผลเพราะตำรวจมักจะบอกซ่องล่วงหน้าก่อนที่ตำรวจจะเข้าไปดำเนินการจับกุม การมีสื่อลามกอนาจารเด็กโดยจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ และการทำสื่อลามกเด็กเป็นเรื่องผิดกฎหมาย\nกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐรายงานว่า ทัวร์เซ็กซ์เด็กยังเป็นปัญหาหนักอย่างหนึ่งในประเทศบราซิล โดยเฉพาะเขตท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คนท่องเที่ยวเซ็กซ์เด็กโดยมากมาจากยุโรป และบางพวกมาจากสหรัฐ เจ้าหน้าที่ไม่มีส่วนร่วมโดยตรงกับการดำเนินคดีนักท่องเที่ยวเซ็กซ์ และอนุญาตให้ NGO ดำเนินคดีแทน โดยมีกฎหมายที่พึ่งออกใหม่เมื่อปี 2543 ที่กำหนดว่า \"การให้เด็กหรือวัยรุ่น ดังที่กำหนดในมาตรา 2 (คือเด็กมีอายุต่ำกว่า 12 ขวบ วัยรุ่นหระว่าง 12-18) ร่วมในการค้าประเวณีหรือการฉวยประโยชน์ทางเพศมีโทษจำคุก 4-10 ปีและโทษปรับ\"\nกฎหมายอาญาของประเทศโคลอมเบียกำหนดห้าม \"การจัดหรืออำนวยเซ็กซ์ทัวร์และมีกำหนดโทษจำคุก 3-8 ปี\" แต่ยังไม่มีรายงานว่ามีการดำเนินคดีหรือตัดสินความผิดของนักท่องเที่ยวทัวร์เซ็กซ์เด็ก ในปีที่ผ่าน ๆ มา โคลอมเบียได้เพิ่มกำหนดกฎหมายเพื่อควบคุมการค้าเด็ก แต่ว่าก็ยังมีกฎหมายหนึ่งที่รอการพิจารณาเกี่ยวกับเด็กและวัยรุ่น ซึ่งกำหนดสิทธิของเด็กและวัยรุ่นที่ตกเป็นเหยื่อการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศ\nในประเทศเอกวาดอร์ ทัวร์เซ็กซ์เด็กมักจะเกิดในเมือง และในแหล่งท่องเที่ยวเช่นหมู่เกาะกาลาปาโกส\nในประเทศเปรู ทัวร์เซ็กซ์เด็กมีแหล่งในเมืองอีกีโตส และ Madre de Dios และการค้าเด็กก็มีรายงานในเขตที่รัฐบาลไม่มีกำลังคุ้มครอง แม้ว่าจะมีแหล่งต่าง ๆ ในประเทศที่เป็นที่นิยมของทัวร์เซ็กซ์เด็ก และกฎหมายของเปรูก็ห้ามการกระทำดังกล่าว แต่ก็ยังไม่มีการตัดสินลงโทษนักท่องเที่ยวทัวร์เซ็กซ์ รัฐบาลได้ฝึกเจ้าหน้าที่ 710 คนและผู้ที่ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวเกี่ยวกับทัวร์เซ็กซ์เด็ก ได้รณรงค์ให้ประชาชนรับรู้ในประเด็นปัญหา และได้พยายามติดต่อให้ข้อมูลกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเรื่องปัญหาทัวร์เซ็กซ์เด็ก จนกระทั่งปี 2553 มีธุรกิจ 60 แห่งทั่วประเทศที่ได้เซ็นหนังสือจรรยาบรรณ\nรัฐบาลอุรุกวัยได้พยายามติดต่อให้ข้อมูลกับคนทำงานในโรงแรมและบุคคลอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับเซ็กซ์ทัวร์เด็กและการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก ระบบการศึกษาของประเทศให้ข้อมูลเกี่ยวกับการค้ามนุษย์กับเด็กจนกระทั่งถึงมัธยมปลาย", "title": "เซ็กซ์ทัวร์เด็ก" }, { "docid": "767578#16", "text": "รัฐบาลบาร์เบโดสได้พยายามทำการเพื่อลดความต้องการของเซ็กซ์เพื่อการค้า แม้ว่าการวิจารณ์ของสังคมเกี่ยวกับปัญหาทัวร์เซ็กซ์ รวมทั้งของเด็ก ก็ยังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ\nมีรายงานที่แสดงว่าทัวร์เซ็กซ์เด็กเป็นปัญหาที่ยังมีอยู่ในปัจจุบันในสาธารณรัฐโดมินิกัน โดยเฉพาะในเขตท่องเที่ยวชายทะเล โดยมีนักท่องเที่ยวเซ็กซ์เด็กที่มาจากประเทศต่าง ๆ ทั้งปี นอกจากนั้นแล้ว ยังมีรายงานด้วยว่า กฎหมายปัจจุบันไม่สอดคล้องกันและมีจุดบกพร่อง ที่อาจจะทำให้ยากที่จะตีความและประยุกต์ใช้ กฎหมายป้องกันสิทธิของเด็กและวัยรุ่นทำการใช้เด็กและวัยรุ่นในกิจกรรมทางเพศเพื่อการค้าให้เป็นอาชญากรรม แต่ว่ามีรูปแบบการผลิตและการเผยแพร่สื่อลามกบางอย่างเท่านั้นที่จัดว่าเป็นอาชญากรรม และการมีสื่อลามกก็ไม่ผิดกฎหมาย\nรายงานการค้าบุคคลปี 2553 แสดงว่า รัฐบาลคิวบาไม่มีปฏิบัติการเพื่อลดความต้องการของการค้าทางเพศ นอกจากนั้นแล้ว ยังมีรายงานด้วยว่า รัฐบาลไม่ยอมรับว่ามีปัญหาทัวร์เซ็กซ์เด็กแม้ว่าจะได้ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีจากไนต์คลับเมื่อไม่นานมานี้ แต่ตามเอกสารของรัฐบาล มีการฝึกบุคคลที่อยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อให้ระบุและรายงานบุคคลที่อาจจะเป็นนักท่องเที่ยวเพื่อเซ็กซ์\n1/3 ของเด็กที่ถูกฉวยประโยชน์ทางเพศอายุระหว่าง 14-17 ปีในประเทศเอลซัลวาดอร์เป็นผู้ชาย อายุมัธยฐานที่เริ่มขายประเวณีของเด็กที่สัมภาษณ์อยู่ที่ 13 ปี และทำงานโดยเฉลี่ย 5 วันต่ออาทิตย์ แต่มีเกือบ 10% ที่แจ้งว่าทำงานทั้งอาทิตย์ เร็ว ๆ นี้ ปัญหาเริ่มร้ายแรงขึ้น เพราะเหตุของการย้ายถิ่นฐาน คือเด็กจะถูกหลอกว่ามีงาน แล้วถูกลักพาตัวและส่งไปในประเทศในอเมริกาเหนือ โดยชาวต่างชาติจากเม็กซิโกหรือจากประเทศเพื่อนบ้าน เหยื่อเด็กชาวเอลซัลวาดอร์โดยมากมาจากเขตชนบทแล้ว ถูกฉวยผลประโยชน์การค้าทางเพศในเมือง", "title": "เซ็กซ์ทัวร์เด็ก" }, { "docid": "764140#17", "text": "แม้ว่าจะไม่สามารถรู้ขอบเขตปัญหาที่แท้จริงได้ เพราะเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ข้อมูลแรงงานเด็กทั่วโลกปี 2546 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ประมาณว่า มีเด็กเกือบถึง 1.8 ล้านคนที่ถูกฉวยผลประโยชน์โดยการค้าประเวณีและสื่อลามกทั่วโลก[13]", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" }, { "docid": "764158#24", "text": "นักมานุษยวิทยาคนหนึ่งกล่าวว่า สังคมโดยมากมีความเห็นเชิงลบเกี่ยวกับการค้าประเวณีเด็ก ส่วนหนึ่งเพราะมองว่าเด็กถูกทอดทิ้งหรือขายโดยผู้ปกครองและครอบครัว\nองค์การแรงงานระหว่างประเทศรวมการค้าประเวณีเด็กในรายการ \"รูปแบบแรงงานเด็กที่แย่ที่สุด\"\nงานประชุมโลกใหญ่ต้านการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็กในปี 1996 เรียกการค้าประเวณีเด็กว่า \"อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ\" \"การทรมาน\" และ \"การเป็นทาส\"\nผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์รัฐบาลกลางสหรัฐผู้เชี่ยวชาญเรื่องการฉวยประโยชน์จากเด็กและการค้ามนุษย์ พร้อมกับผู้ร่วมเขียนที่เป็นศาสตราจารย์ทางกฎหมายกล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสะเทือนอารมณ์ที่มีมุมมองหลายด้านเกี่ยวกับการป้องกัน คือ\nนักข่าวสืบสวนคนหนึ่งกล่าวว่า การเหมารวมเรื่องการค้าประเวณีเด็กดำเนินมาเรื่อย ๆ จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1990\nจนกระทั่งเมื่อเกิดองค์กรต่อต้านขึ้นองค์กรแรก และเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเริ่มทำการเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด\nนักอาชญาวิทยาคนหนึ่งกล่าวว่า ความเป็นห่วงเรื่องโรคใคร่เด็กและการทารุณเด็กทางเพศ และทัศนคติเกี่ยวกับเยาวชนที่เปลี่ยนไป ทำให้ประชาชนเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างการค้าประเวณีของผู้ใหญ่กับของเด็ก\nคือ แม้ว่าประชาชนจะไม่ชอบใจการค้าประเวณีของผู้ใหญ่ แต่เห็นการค้าของเด็กว่ารับไม่ได้\nนอกจากนั้นแล้ว เด็กยังมองว่าเป็นผู้ \"ไร้เดียงสา\" หรือ \"บริสุทธิ์\" และการถูกค้าประเวณีจึงเทียมเท่ากับถูกจับเป็นทาส\nโดยทัศนคติที่เปลี่ยนไปเช่นนี้ ประชาชนจึงเริ่มเห็นเด็กในการค้าเพศว่าเป็นเหยื่อแทนที่จะเป็นผู้กระทำผิด\nเป็นผู้ควรที่จะฟื้นฟูสภาพแทนที่จะลงโทษ", "title": "การค้าประเวณีเด็ก" }, { "docid": "764140#4", "text": "ศูนย์เพื่อเด็กหายและถูกฉวยผลประโยชน์แห่งชาติ (National Center for Missing and Exploited Children) ซึ่งเป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรเอกชน (แต่เบื้องต้นจัดตั้งโดยรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา) กล่าวว่า เด็กหญิง 1 ใน 5 และเด็กชาย 1 ใน 10 จะถูกฉวยประโยชน์หรือทารุณกรรมทางเพศก่อนจะโตเป็นผู้หใญ่[4] ส่วนกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) กล่าวว่า การฉวยประโยชน์ทางเพศจากเด็กเป็น \"การล่วงละเมิดสิทธิที่รุนแรงที่สุดที่เด็กคนหนึ่งอาจจะต้องอดทนอดกลั้น\"[3]", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" }, { "docid": "764140#35", "text": "ECPAT ย่อความหมายจากคำคือ End Child Prostitution, Child Pornography and Trafficking of Children for Sexual Purposes (หยุดการค้าประเวณีเด็ก สื่อลามกเด็ก และการค้าเด็กเพื่อเซ็กซ์) เป็นองค์การนอกภาครัฐที่อุทิศตนในการหยุด CSEC ที่ปรากฏโดย 4 รูปแบบคือ สื่อลามกเด็ก (คือสื่อทารุณกรรมทางเพศต่อเด็ก) การฉวยประโยชน์จากเด็กในการค้าประเวณี การลักลอบพาเด็กเพื่อการค้าทางเพศ และการฉวยประโยชน์ทางเพศจากเด็กในการเดินทางและเซ็กซ์ทัวร์ โดยงานชิ้นแรกเป็นบทบาทในงานประชุมโลกใหญ่ต้านการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก (Declaration of the First World Congress against Commercial Sexual Exploitation of Children) ดังที่รัฐบาลประเทศสวีเดนได้เป็นเจ้าภาพ และสภาก็ได้ออกระเบียบการปฏิบัติการซึ่งอยู่ในกรอบของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของเด็ก (Convention on the Rights of the Child ตัวย่อ CRC)[32]", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" }, { "docid": "764140#37", "text": "ECPAT เปิดโอกาสหลายอย่างให้ร่วมมือกับองค์กร คือสนับสนุนให้คนทั่วโลกบริจาคหรือรณรงค์หาเงิน เพื่อเพิ่มทุนในการช่วยชีวิตเด็กและในการทำงานวิจัยเพิ่ม เว็บเพจขององค์กร มีที่ที่จะแจ้งการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก ส่วนสำหรับนักท่องเที่ยวชาวตะวันตก องค์กรสนับสนุนให้จองบริการต่าง ๆ เกี่ยวกับการเดินทางกับบริษัทที่ยอมรับ “จรรยาบรรณเพื่อป้องกันเด็กจากการฉวยประโยชน์ทางเพศในการเดินทางและการท่องเที่ยว (Code of Conduct for the protection of children from sexual exploitation in travel and tourism)[35] ธุรกิจและองค์กรบางอย่างอาจร่วมเป็นสมาชิกของ ECPAT ได้ ซึ่งจะช่วยการดำเนินงานขององค์กรต่อต้านการฉวยประโยชน์จากเด็ก ที่สำคัญที่สุดก็คือ องค์กรสนับสนุนให้ทุกคนตาดูหูฟังในประเด็นปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหานี้[35]", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" }, { "docid": "405824#24", "text": "ประกาศของงานประชุมโลกใหญ่ต้านการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก (Declaration of the First World Congress against Commercial Sexual Exploitation of Children) ที่ประชุมในเมืองสตอกโฮล์มปี 1996 นิยาม \"การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก\" (Commercial sexual exploitation of children ตัวย่อ CSEC) ว่า \"การทารุณทางเพศโดยผู้ใหญ่ที่ประกอบด้วยผลตอบแทนเป็นเงินสดหรือการตอบแทนเช่นกัน ที่ให้แก่เด็กหรือแก่บุคคลที่ 3\"[99] CSEC มักจะอยู่ในรูปแบบของการค้าประเวณี หรือสื่อลามกอนาจาร และมักจะอำนวยโดยระบบการท่องเที่ยวเพื่อเพศสัมพันธ์กับเด็ก (child sex tourism) เป็นปัญหาโดยเฉพาะกับประเทศกำลังพัฒนาในเขตเอเชีย[100][101] ในปีที่ผ่าน ๆ มาไม่นานนี้ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ช่วยอำนวยการค้าขายสื่อลามกอนาจารเด็กทางอินเทอร์เน็ต[102]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "764140#30", "text": "มีเด็กเนปาลโดยมากเพศหญิงถูกลักลอบพาตัวไปเพื่อฉวยประโยชน์การค้าทางเพศแต่ละปีภายในประเทศ หรือไปยังซ่องในประเทศอินเดียหรือประเทศอื่น ๆ ประมาณ 12,000 คนต่อปี[13]", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" }, { "docid": "764140#42", "text": "วิธีช่วยป้องกันการฉวยประโยชน์จากเด็กอย่างหนึ่งก็คือการให้การศึกษา World Vision เป็นองค์กรแนวหน้าที่ให้การศึกษาแก่เด็กหญิงเกี่ยวกับอันตรายจากการค้าเด็ก และเกี่ยวกับสิ่งที่ตนจะเข้าไปพัวพันด้วยเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้[36] มีโปรแกรมอื่น ๆ ที่ให้การศึกษาแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ สมาคมการวางแผนครอบครัวของประเทศเนปาลได้ตั้งประชุมการฝึกให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ เพื่อเรียนรู้วิธีการจัดการสถานการณ์การค้าบุคคล และการระบุหญิงและเด็กที่ตกอยู่ใต้สถานการณ์ถูกฉวยประโยชน์ทางเพศ[38] การให้การศึกษาแก่สาธารณชนก็เป็นเรื่องจำเป็นด้วย เพราะว่า การฉวยประโยชน์ทางเพศจากเด็กมีเหตุมาจากความต้องการทางตลาด ดังนั้น \"จึงจำเป็นมากที่จะเพิ่มการตระหนักรู้ของผู้บริโภคเกี่ยวกับความเสียหายที่มันเป็นเหตุ\"[39] มีการเสนอว่าการประท้วงต่อผู้ที่ดำเนินการทำเซ็กซ์ทัวร์อาจช่วยเพิ่มเป็นตัวขัดขวาง[39] มีโปรแกรมอื่น ๆ ที่ให้การศึกษากับบุคคลที่มีโอกาสเป็นเหยื่อ เกี่ยวกับเล่ห์กลที่นายหน้าผู้ชักชวนมักจะใช้[39] อนุสัญญาที่เพิ่งว่ามา บังคับให้ประเทศผู้ร่วมสัญญาทำมาตรการป้องกันต่อต้านการฉวยประโยชน์จากเด็กทางเพศ มาตรการรวมทั้งการให้การศึกษาแก่สาธารณชน โดยเฉพาะครอบครัวของเด็ก เกี่ยวกับอันตรายของเซ็กซ์ทัวร์และการค้ามนุษย์", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" }, { "docid": "764140#40", "text": "เนื่องจากปัญหาที่พบเช่นในกองทัพสหรัฐ สหประชาชาติได้เริ่มดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาเอง พิธีสารที่เลือกได้เกี่ยวกับการขายเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกอนาจารเด็ก (Optional Protocol on the Sale of Children, Child Prostitution, and Child Pornography) กำหนดหน้าที่ให้รัฐบาลต่าง ๆ รับผิดชอบป้องกันเด็กจากการฉวยผลประโยชน์ทางเพศ และบังคับให้ประเทศต่าง ๆ ทำการป้องกันโดยเน้นความสำคัญในบริบทของโลกาภิวัตน์[32] มีคู่มือเกี่ยวกับพิธีสารนี้ ที่ร่วมทำกับ UNICEF ซึ่งแสดงว่า “กระบวนการรายงานและตรวจสอบของพิธีสาร ควรจะโปรโหมตทัศนคติระดับโลกเกี่ยวกับการป้องกันเด็ก[32]” คณะกรรมการที่ดำเนินการออกพิธีสาร ได้พยายามที่จะหาข้อมูลที่แม่นยำยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการฉวยผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กด้วย ในรายงานโลกเกี่ยวกับการค้าบุคคล (Global Report on Trafficking in Persons) ปี 2555 แสดงว่า พิธีสารมีผลให้ประเทศที่ไม่มีกฎหมายอาญาเกี่ยวกับการฉวยประโยชน์ทางเพศจากเด็กลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง และมีการตัดสินลงโทษเพราะละเมิดกฎหมายการค้าเด็กเพิ่มขึ้น[37]", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" }, { "docid": "764140#24", "text": "ในปี 2544 มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียคณะงานสังคมสงเคราะห์ พิมพ์งานศึกษาเรื่อง CSEC ที่ทำในเมือง 17 เมืองทั่วประเทศ แม้ว่าผู้ทำงานจะไม่ได้สัมภาษณ์วัยรุ่นที่เป็นประเด็นการศึกษาโดยตรง แต่นักวิจัยประเมินจากตัวเลขจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ว่า มีเยาวชนอาจถึง 300,000 คนที่เสี่ยงต่อการถูกฉวยผลประโยชน์ทางเพศ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง[16] แต่ว่า จำนวนจริง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณีน่าจะน้อยกว่านั้นมาก เพราะว่า ภายใน 10 ปี เจ้าหน้าที่ตำรวจรับแจ้งความเพียงแค่ 827 คดีเท่านั้น[17] ส่วนงานวิจัยปี 2551 ขององค์กร SNRG-NYC ที่ให้ทุนโดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐใช้วิธีการต่าง ๆ รวมทั้งการวิเคราะห์เครือข่ายสังคม ประเมินความแพร่หลายของปัญหาว่าน้อยกว่า 300,000 คนและมากกว่า 827 คนซึ่งเป็นตัวเลขสองตัวที่อ้างอิงกันมากที่สุด[18]", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" }, { "docid": "767578#6", "text": "ทัวร์เซ็กซ์ที่ตั้งเป้าหมายที่เด็ก เป็นแรงจูงใจทางการเงินระดับสูงต่อผู้ค้าเด็ก การค้ามนุษย์ทุกอย่างมีผลกระทบต่อเด็กประมาณ 1.2 ล้านคนต่อปี\nสำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) กล่าวในปี 2552 ว่า การค้ามนุษย์ 79% ทั่วโลกเป็นไปเพื่อการฉวยประโยชน์ทางเพศ ซึ่งเป็นอาชญากรรมที่เติบโตเร็วที่สุดอย่างหนึ่งของโลก", "title": "เซ็กซ์ทัวร์เด็ก" }, { "docid": "764140#41", "text": "ในปี 2532 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติผ่านอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของเด็ก โดยมาตราที่ 34 กล่าวว่า “รัฐผู้ร่วมอนุสัญญาจะดำเนินการป้องกันเด็กจากการฉวยประโยชน์และทารุณกรรมทางเพศทุกรูปแบบ เพื่อจุดประสงค์เช่นนี้ รัฐผู้ร่วมอนุสัญญาจะใช้มาตรการระดับชาติ ทวิภาคี และพหุภาคีทุกอย่างเพื่อป้องกัน ก) การชักชวนหรือการบีบบังคับให้เด็กร่วมกิจกรรมทางเพศที่ผิดกฎหมาย ข) การฉวยผลประโยชน์จากเด็กในการค้าประเวณีหรือข้อปฏิบัติทางเพศอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมาย ค) การฉวยผลประโยชน์จากเด็กในการแสดงอนาจารและสื่ออนาจาร[33]”", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" }, { "docid": "339055#8", "text": "เด็กทุกวัย แม้กระทั่งเด็กทารก\nถูกทารุณเนื่องด้วยการผลิตสื่อลามก\nกระทรวงยุติธรรมสหรัฐประเมินว่า ผู้ทำสื่อได้บันทึกทารุณกรรมต่อเด็กกว่า 1 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว\nมีแนวโน้มที่จะใช้เด็กที่อายุน้อยกว่าหรือว่าแสดงความรุนแรงมากกว่า\nตามผู้สืบสวนของหน่วยอาชญากรรมอินเทอร์เน็ตต่อเด็ก (Internet Crimes Against Children) ของรัฐบาลกลาง\n\"คนพวกนี้ข่มขืนทั้งเด็กทารกและเด็กกำลังเดิน คุณสามารถได้ยินเสียงเด็กร้องไห้และร้องขอความช่วยเหลือในวิดีโอ นี่เป็นเรื่องร้ายกาจมาก\"\nตามงานประชุมโลกใหญ่ต้านการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก \"แม้ว่าจะเป็นไปไม่ได้ที่จะได้ข้อมูลที่แม่นยำ การตรวจดูสื่อลามกอนาจารเด็กที่มีทั่วไปในตลาดนานาชาติอย่างคร่าว ๆ แสดงว่า มีเด็กเป็นจำนวนสำคัญที่กำลังถูกฉวยประโยชน์ทางเพศผ่านทางสื่อ (อินเทอร์เน็ต) นี้\"\nองค์กรการกุศลเพื่อเด็ก Action for Children ในสหราชอาณาจักรกล่าวว่า ความต้องการเกี่ยวกับสื่อลามกเด็กได้เพิ่มคดีทารุณทางเพศ เนื่องจากมีเด็กมากขึ้นที่ถูกทารุณเพื่อผลิตสื่อ", "title": "สื่อลามกอนาจารเด็ก" }, { "docid": "767578#13", "text": "รายงานการค้าบุคคลปี 2553 แสดงว่า การขายเด็กหญิงพรหมจรรย์ยังเป็นปัญหาหนักในประเทศกัมพูชา และมีชายชาวเอเชียและต่างชาติอื่น ๆ ที่เดินทางไปกัมพูชาเพื่อเที่ยวทัวร์เซ็กซ์เด็ก กฎหมายปราบปรามการลักพาตัว การค้า และการฉวยประโยชน์ของมนุษย์ปี 2539 ของกัมพูชา มีมาตราต่อต้านการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก และแม้ว่ากฎหมายจะพุ่งความสนใจไปที่การค้ามนุษย์ แต่ก็ยังมีกฎเกี่ยวกับการค้าประเวณีด้วย อายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้ในกัมพูชาอยู่ที่ 15 ปี แต่ว่าไม่ได้กำหนดหรือห้ามการค้าประเวณีเด็กเป็นพิเศษ มีการประเมินว่า 1/3 ของโสเภณีในกัมพูชาเป็นเด็ก\nรายงานการค้าบุคคลปี 2553 แสดงว่า รัฐบาลจีนไม่ได้ทำการเพียงพอที่จะลดความต้องการของการใช้แรงงานบังคับ กิจกรรมทางเพศเพื่อการค้า และทัวร์เซ็กซ์เด็ก\nรายงานการค้าบุคคลปี 2553 แสดงว่า ทัวร์เซ็กซ์เด็กมีอย่างแพร่หลายทั่วไปในเมืองและในเขตท่องเที่ยวในประเทศอินโดนีเซีย เช่น เกาะบาหลี หมู่เกาะเรียว คือในเร็ว ๆ นี้เกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซียได้กลายเป็นแหล่งทัวร์เซ็กซ์เด็ก และเป็นแหล่งการค้ามนุษย์ทางเพศด้วย ตามกฎหมายอาญาของประเทศ ชาวอินโดนีเซียสามารถต้องโทษฐานผิดกฎหมายป้องกันเด็กหรือกฎหมายอาญา ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกประเทศ โดยมีกฎหมายป้องกันเด็กที่ 28 เป็นกฎหมายทั่วไปเพื่อป้องกันสิทธิต่าง ๆ ของเด็ก มีบางมาตราที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการปฏิบัติผิดทางเพศต่อเด็ก เช่นมาตราหนึ่งแสดงว่า ผิดกฎหมายที่จะใช้เด็กเพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือประโยชน์ทางการค้า ถ้าไม่ทำตามกฎหมายนี้ บทลงโทษรวมทั้งการจำถึง 10 ปี หรือการปรับเป็นเงิน 200 ล้านรูเปียห์ (531,000 บาทต้นปี 2559)\nชายชาวเกาหลีใต้ได้เป็นต้นเหตุสำคัญของทัวร์เซ็กซ์เด็กในเอเชียเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว\nในปี 2548 หนังสือพิมพ์ \"The Korea Times\" รายงานว่า มีการประชุมเอกสารัตถ์นานาชาติเรื่องกลยุทธ์ในการลดนักท่องเที่ยวเซ็กซ์เด็กชาวเกาหลีที่เดินทางไปยังเอเชียอาคเนย์ เป็นงานประชุมที่มื่ชื่อว่า \"สถานะและการป้องกันเซ็กซ์ทัวร์เด็กและเยาวชนในต่างประเทศของชายชาวเกาหลี\" ที่กล่าวถึงประเด็นที่ชายชาวเกาหลีเป็นเหตุการค้าประเวณีเด็กทั่วเอเชีย โดยมีกัมพูชาและฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่น่าเป็นห่วงที่สุด ผู้ร่วมประชุมกล่าวว่า เชื่อว่า นักท่องเที่ยวชายชาวเกาหลีทารุณเด็กยากจนชาวกัมพูชาโดยฉวยประโยชน์จากสถานการณ์ทางครอบครัวที่ไม่ดี เป็นเด็กผู้ถูกบังคับให้ขายเซ็กซ์เพื่อช่วยครอบครัว ส่วนสำหรับฟิลิปปินส์ รายงานให้ข้อสังเกตว่า \"คนเกาหลีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซื้อเซ็กซ์ในประเทศฟิลิปปินส์ โดยบางครั้งทารุณหญิงโสเภณี รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้กระตุ้นให้รัฐบาลเกาหลีทำการให้เข้มแข็งในเรื่องชาวเกาหลีจัดหาโสเภณี โดยเฉพาะการซื้อเซ็กซ์จากเด็ก\"", "title": "เซ็กซ์ทัวร์เด็ก" }, { "docid": "764140#0", "text": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก (English: Commercial sexual exploitation of children ตัวย่อ CSEC) เป็นธุรกรรมทางการค้าที่อาศัยการฉวยประโยชน์ทางเพศ (sexual exploitation) จากเด็ก เช่นการค้าประเวณี และสื่อลามกอนาจาร[1] อาจจะมีการบีบบังคับและการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก เท่ากับเป็นแรงงานบังคับและเป็นรูปแบบความเป็นทาสยุคปัจจุบัน[1][2] รวมทั้งการให้บริการทางเพศของเด็กเพื่อผลประโยชน์แลกเปลี่ยน จะเป็นเงินทองหรืออะไรอย่างอื่นก็ดี[3]", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" }, { "docid": "764158#5", "text": "ตาม ILO ณ กรุงเจนีวา การค้าประเวณีและสื่อลามกอนาจารเด็กเป็นรูปแบบหลักของการฉวยประโยชน์ทางเพศจากเด็ก ซึ่งมักจะกล้ำกัน\nโดยการค้าประเวณีบางครั้งใช้อธิบายเป็นส่วนของรูปแบบที่กว้างกว่าของการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก (CSEC)\nโดยไม่รวมเอาแบบที่ปรากฏอื่น ๆ ของ CSEC เช่นการแต่งงานเด็ก การใช้แรงงานเด็กในบ้าน และการค้าเด็กเพื่อเซ็กซ์ (การลักลอบพาเด็กเพื่อค้าเซ็กซ์)", "title": "การค้าประเวณีเด็ก" }, { "docid": "764140#36", "text": "นอกจากนั้นแล้ว ECPAT ยังได้ช่วยให้ทุนกับองค์การนอกภาครัฐอื่น ๆ เพื่อตั้งโปรแกรมป้องกันในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโล[33] และตีพิมพ์งานวิจัยเกี่ยวกับสถานะของการฉวยผลประโยชน์ทางเพศจากเด็ก[34]", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" }, { "docid": "764140#23", "text": "ในประเทศเอลซัลวาดอร์ 1 ใน 3 ของเด็กที่ถูกฉวยประโยชน์ทางเพศวัย 14-17 ปี เป็นชาย อายุมัธยฐานที่เข้าสู่อาชีพค้าประเวณีในเด็กทั้งหมดที่สัมภาษณ์อยู่ที่ 13 ปี และทำงานโดยเฉลี่ย 5 วันต่ออาทิตย์ แต่มีเกือบ 10% ที่แจ้งว่าทำงานทั้งอาทิตย์[13]", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" }, { "docid": "339055#6", "text": "ในคริสต์ทศวรรษ 2000 ทั้งนักวิชาการและเจ้าหน้าที่ทางกฎหมายเริ่มใช้คำว่า \"child abuse images\" (ภาพทารุณเด็ก) แทนคำว่า \"child pornorgaphy\" เพิ่มขึ้นเพราะว่า คำว่า \"pornorgaphy\" แสดงนัยที่ไม่ถูกต้องว่ามีการยินยอมพร้อมใจ และเพื่อแยกสิ่งที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกให้ห่างจากกัน\nนอกจากนั้นแล้ว ก็ยังมีการใช้คำอื่น ๆ เช่น \"child abuse material\" (สื่อทารุณเด็ก), \"child sexual abuse material\" (สื่อทารุณเด็กทางเพศ), \"documented child sexual abuse\" (บันทึกการทารุณเด็กทางเพศ), และ \"depicted child sexual abuse\" (ภาพทารุณเด็กทางเพศ) รวมทั้งตัวย่อคือ CAM (child abuse material) และ CAI (child abuse image)\nแต่คำว่า \"child pornography\" ก็ยังเป็นคำที่ใช้ในกฎหมายของประเทศต่าง ๆ ร่วมกับคำอื่น ๆ เช่น \"indecent photographs of a child\" (ภาพถ่ายอนาจารเด็ก)\nงานประชุมโลกใหญ่ต้านการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็กและวัยรุ่นครั้งที่ 3 (World Congress III against the Sexual Exploitation of Children and Adolescents) ปี 2551 ยอมรับข้อความว่า \"คำว่า 'child abuse images' เริ่มใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยหมายถึงการฉวยประโยชน์ทางเพศจากเด็กและวัยรุ่นในการทำสื่อลามกอนาจาร\nเพื่อที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความร้ายแรงของปรากฏการณ์นี้ และเพื่อเน้นว่า ภาพลามกอนาจารของเด็กจริง ๆ เป็นการบันทึกการละเมิดทางอาชญากรรม\"", "title": "สื่อลามกอนาจารเด็ก" }, { "docid": "764158#8", "text": "การค้าประเวณีมักจะเกิดขึ้นในที่ต่าง ๆ รวมทั้งซ่องโสเภณี บาร์ ไนต์คลับ บ้าน ตามถนนหรือเขตชุมชนต่าง ๆ\nตามงานศึกษาหนึ่ง เด็กโสเภณีประมาณ 10% มีแมงดา และมากกว่า 45% เริ่มทำงานเพราะเพื่อน\nนักวิชาการในสำนักงานแรงงานเด็กสากลมอรีน แจ็ฟ และซ็อนเนีย โรเซ็น กล่าวว่า กรณีต่าง ๆ กันมาก\nสำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) นิยามคำว่า \"การค้ามนุษย์\" (human trafficking) ว่า \"การสรรหาชักชวน การขนส่ง การย้าย การให้ที่ซ่อนเร้น และการรับบุคคล โดยใช้วิธีต่าง ๆ เช่นการข่มขู่หรือใช้กำลังหรือวิธีบีบบังคับอื่น ๆ การลักพาตัว การฉ้อฉลหรือการหลอกลวง เพื่อจะฉวยเอาประโยชน์\"\nUNODC ประเมินจำนวนเหยื่อทั่วโลกที่ 2.5 ล้านคน\nUNICEF รายงานว่าตั้งแต่ปี 1982 มีเด็กถูกค้าประมาณ 30 ล้านคน\nการค้ามนุษย์เพื่อเป็นทาสทางเพศอยู่ในอัตรา 79% ของกรณีค้ามนุษย์ทั้งหมด โดยเหยื่อส่วนใหญ่เป็นหญิง และประมาณ 20% ของเหยื่อเป็นเด็ก ผู้กระทำผิดบ่อยครั้งก็เป็นหญิงด้วย", "title": "การค้าประเวณีเด็ก" }, { "docid": "764140#16", "text": "มีคนหลายพวกที่เกี่ยวข้องกับการฉวยประโยชน์จากเด็กทางเพศ เช่นต้องใช้คนหลายคนในการดำเนินงานของซ่อง มีการแบ่งชนที่เกี่ยวข้องกับการขายเด็กออกเป็น 4 จำพวก คือ ผู้ทำผิด ผู้ขาย ผู้อำนวย และเด็ก ผู้ทำผิดคือคนที่เข้าร่วมเซ็กซ์ทัวร์ หรือมีส่วนในการค้าเด็กเพื่อเซ็กซ์ บ่อยครั้งเป็นชายที่หาเรื่องแก้ตัวที่จะมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก[6] ผู้ขายคือคนที่ซื้อและเป็นแมงดาของเด็ก ผู้พยายามหาผลกำไรให้มากที่สุด ซึ่งถ้าปราศจากชนกลุ่มนี้จะไม่มีการค้าเด็ก ผู้อำนวยก็คือคนที่อำนวยอนุญาตให้การค้าเด็กเป็นไปได้ ผู้ปกครองที่ขายลูกสาวจัดอยู่ในประเภทนี้ เด็กเป็นคนสำคัญที่สุดในกระบวนการนี้ แต่คำว่า \"เด็ก\" มีกำหนดที่ไม่แน่นอน เพราะมีนิยามต่าง ๆ กันทั่วโลก การแยกแยะว่ากรณีไหนเป็นทารุณกรรมทางเพศต่อเด็ก กรณีไหนเป็นการค้าประเวณีเด็ก เป็นเรื่องยาก นอกจากนั้นแล้ว วัฒนธรรมต่าง ๆ ก็ต่างกันในการพิจารณ์ว่า เมื่อไรเด็กกลายเป็นผู้ใหญ่", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" }, { "docid": "767578#7", "text": "กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ให้ข้อสังเกตว่า กิจกรรมทางเพศบ่อยครั้งมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ทำให้ชุมชนไม่อยากจะเข้าไปแซกแทรงในกรณีฉวยประโยชน์ทางเพศ\nแต่ทัศนคติเช่นนี้ทำให้เด็กมีจุดอ่อนเพิ่มขึ้นในการถูกฉวยประโยชน์\nทั้งคนในพื้นที่และผู้ท่องเที่ยวเซ็กซ์ ฉวยประโยน์ทางเพศจากเด็กผู้ที่ถูกสูบเข้าไปในการค้าทางเพศของผู้ใหญ่\nและอินเทอร์เน็ตก็เป็นอุปกรณ์การติดต่อที่มีประสิทธิภาพสำหรับบุคคลต่าง ๆ ที่จะแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับจุดหมายปลายทางและการหาซื้อเด็ก", "title": "เซ็กซ์ทัวร์เด็ก" }, { "docid": "764140#25", "text": "เด็กที่เสี่ยงที่สุดคือเด็กจรจัดและที่หนีจากบ้าน องค์กรของรัฐที่ช่วยเหลือเด็กจรจัดและเด็กหนีจากบ้าน National Runaway Safeline กล่าวในปี 2552 ว่า เยาวชนที่หนีออกจากบ้านในสหรัฐ 1 ใน 3 จะถูกหลอกให้เข้าสู่อาชีพค้าประเวณีภายใน 48 ชม. ที่ออกจากบ้าน[19] มีงานศึกษาที่คัดค้านมุมมองทั่วไปว่า แมงดา-ผู้ฉวยประโยชน์และบุคคลที่ขายเด็กเพื่อเซ็กซ์อื่น ๆ เป็นตัวขับเคลื่อนการค้าประเวณีของวัยรุ่นในสหรัฐ คืองานปี 2551 ในนครนิวยอร์กที่สัมภาษณ์หญิงโสเภณีที่ยังเป็นผู้เยาว์พบว่า 10% เท่านั้นที่แจ้งว่าตนมีแมงดา ส่วนงานปี 2555 ในเมืองแอตแลนติกซิตี้ รัฐนิวเจอร์ซีย์ โดยกลุ่มเดียวกัน[20][21] พบว่า วันรุ่นที่มีแมงดาอยู่ที่อัตรา 14% เพียงเท่านั้น และเป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนอาศัยกันและกัน และมีความเป็นเพื่อนกัน มากกว่าที่รายงานโดยเจ้าหน้าที่บริการทางสังคม องค์การไม่แสวงหาผลกำไร และสื่อมวลชนโดยมาก[22]", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" }, { "docid": "767578#11", "text": "ในปีที่ผ่าน ๆ มา มีการดำเนินคดีเกี่ยวกับทัวร์เซ็กซ์เด็กเพิ่มขึ้น\nมีประเทศอย่างน้อย 38 ประเทศที่มีกฎหมายนอกอาณาเขตที่สามารถให้ดำเนินคดีประชาชนของตน โดยเฉพาะในเรื่องการทารุณเด็กทางเพศที่ทำเมื่ออยู่นอกประเทศ\nและก็มีอีก 31 ประเทศอื่นอีกที่มีกฎหมายนอกอาณาเขต ที่สามารถให้ดำเนินคดีสำหรับอาชญากรรมที่ทำระหว่างทัวร์เซ็กซ์\nเพื่อตอบสนองต่อปัญหานี้ องค์การนอกภาครัฐ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และรัฐบาลต่าง ๆ ได้เริ่มที่จะแก้ปัญหานี้\nองค์การท่องเที่ยวแห่งโลก (World Tourism Organization) ได้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อแก้ปัญหานี้\nและองค์การการค้าโลก, องค์การต่อต้านการฉวยประโยชน์จากเด็ก ECPAT, และกลุ่มจัดการท่องเที่ยวในยุโรปเหนือได้ตั้ง “จรรยาบรรณเพื่อป้องกันเด็กจากการฉวยประโยชน์ทางเพศในการเดินทางและการท่องเที่ยว (Code of Conduct for the protection of children from sexual exploitation in travel and tourism)\" ขึ้นในปี 2539\nโดยเดือนเมษายน 2556 มีบริษัททราเวลเอเจนซี่กว่า 1,200 บริษัทใน 40 ประเทศที่ได้ลงนามใช้จรรยาบรรณชุดนี้", "title": "เซ็กซ์ทัวร์เด็ก" }, { "docid": "764140#6", "text": "ชนบางกลุ่มเดินทางมีจุดประสงค์เพื่อเที่ยวเซ็กซ์ทัวร์เด็ก[8] ทั้งเซ็กซ์ทัวร์และการค้าเซ็กซ์นำเงินเข้าสู่ประเทศ[5] การสนับสนุนจากรัฐเช่นดังที่มีการอ้างว่า “รองนายกรัฐมนตรีไทยได้ขอผู้ว่าราชการจังหวัดให้ ‘คิดถึงงานที่จะเกิดขึ้น’” สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมบางประเทศจึงมีค่าปรับและการลงโทษที่ต่ำสำหรับผู้ทำผิดในเรื่องค้าขายทางเพศ มีสำนักงานท่องเที่ยวที่ให้ข้อมูลและคำแนะนำในเรื่องการหาความบันเทิงแบบตื่นเต้นแปลก ๆ ที่สนับสนุนให้ชายเดินทางเพื่อเซ็กซ์[9] ทัวร์เซ็กซ์จึงนำรายได้มาสู่ประเทศที่มีเศรษฐกิจยังไม่พัฒนาและต้องอาศัยการฉวยประโยชน์จากหญิงและเด็ก[5]", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" }, { "docid": "764140#7", "text": "การค้าเด็ก (trafficking) และ CSEC บางครั้งจะล้ำกัน แต่ว่า การลอบพาเด็กเข้าประเทศบางครั้งก็เพื่อใช้ในกิจ CSEC แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด คือ อาจจะมีการลักพาเด็กเข้าประเทศเพื่องานประเภทอื่น ถ้าเด็กถูกทารุณกรรมทางเพศในงาน นี่อาจจะไม่ใช่ CSEC ในบางประเทศเช่นสหรัฐอเมริกา นิยามของการค้าบุคคลแบบรุนแรงรวมกิจกรรมทางเพศเพื่อการค้าของบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี ดังนั้นเด็กที่ถูกฉวยประโยชน์ทางเพศเพื่อการค้า ก็จะจัดว่าเป็นเหยื่อการค้าเด็กเหมือนกันถึงแม้ว่าอาจจะไม่มีการพาเด็กไปในที่ไหน ๆ[10] CSEC เป็นการทารุณเด็กทางเพศโดยเฉพาะแบบหนึ่ง เพราะว่า การข่มขืนเด็กหรือการใช้ความรุนแรงในบ้านไม่จัดเป็น CSEC", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" }, { "docid": "767578#0", "text": "เซ็กซ์ทัวร์เด็ก เป็นเซ็กซ์ทัวร์ที่มีจุดหมายเพื่อใช้บริการในการค้าประเวณีเด็ก ซึ่งเป็นรูปแบบของการทารุณเด็กทางเพศที่อำนวยโดยระบบการค้า\nเซ็กซ์ทัวร์เด็กอาจมีผลทั้งทางกายและใจต่อเด็กที่ถูกฉวยประโยชน์ รวมทั้ง \"โรค (รวมทั้งเอชไอวีหรือเอดส์) การติดสารเสพติด การตั้งครรภ์ ทุพโภชนาการ รอยด่างทางสังคม และอาจถึงตาย\"\nเซ็กซ์ทัวร์เด็กเป็นส่วนของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีค่าหลายหมื่นล้านบาท เป็นการค้าประเวณีเด็กซึ่งเป็นส่วนของปัญหาการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก (CSEC) ที่กว้างขวางครอบคลุมกว่า\nโดยมีเด็กเป็นเหยื่อจากเซ็กซ์ทัวร์ประมาณ 2 ล้านคนทั่วโลก\nเด็กโสเภณีในทัวร์เซ็กซ์บ่อยครั้งถูกหลอกหรือถูกลักพาตัวบังคับให้กลายเป็นทาสทางเพศ", "title": "เซ็กซ์ทัวร์เด็ก" } ]
2487
DNA ย่อมาจากคำว่าอะไร?
[ { "docid": "3098#0", "text": "กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก () หรือย่อเป็น ดีเอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิกที่มีคำสั่งพันธุกรรมซึ่งถูกใช้ในพัฒนาการและการทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเท่าที่ทราบ (ยกเว้นอาร์เอ็นเอไวรัส) ส่วนของดีเอ็นเอซึ่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมนี้เรียกว่า ยีน ทำนองเดียวกัน ลำดับดีเอ็นเออื่น ๆ มีความมุ่งหมายด้านโครงสร้าง หรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้ข้อมูลพันธุกรรมนี้ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอและโปรตีนเป็นหนึ่งในสามมหโมเลกุลหลักที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทราบ", "title": "ดีเอ็นเอ" } ]
[ { "docid": "330871#0", "text": "ในพันธุศาสตร์ complementary DNA หรือ cDNA คือ ดีเอ็นเอที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นโดยใช้เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) เป็นต้นแบบโดยอาศัยเอนไซม์ reverse transcriptase และ DNA polymerase\ncDNA มักใช้สำหรับ clone ยีนของยูคาริโอตเข้าไปในโปรคาริโอต เมื่อนักวิทยาศาสตร์ต้องการให้มีการแสดงออกของโปรตีนที่ปกติจะไม่มีการแสดงในเซลล์นั้น พวกเขาสามารถนำ cDNA เข้าไปยังเซลล์ตัวรับ (recipient cell) ซึ่งจะทำให้เซลล์สามารถให้ (code) โปรตีนชนิดนั้นได้ นอกจากนี้ cDNA ยังสามารถสร้างขึ้นโดย retrovirus เช่น HIV-1, HIV-2, Simian Immunodeficiency Virus ซึ่งสามารถเข้าไปแทรกตัว (integrate) เข้าไปยัง host เพื่อสร้าง provirus อีกด้วย", "title": "Complementary DNA" }, { "docid": "814494#1", "text": "อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส (RNAP) ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับดีเอ็นเอพอลิเมอเรส (DNA polymerase หรือย่อว่า DNAP) ซึ่งทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาการสังเคราะห์สาย DNA อันเป็นปฏิกิริยาเคมีประเภทเดียวกันกับการสังเคราะห์สาย RNA อย่างไรก็ตาม เอนไซม์ 2 ชนิดนี้มีข้อแตกต่างที่สำคัญอยู่ดังต่อไปนี้", "title": "อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส" }, { "docid": "4218#111", "text": "มีหลักฐาน (ค.ศ. 1997, 2004, 2008) โดยการหาลำดับดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรีย (mitochondrial DNA ตัวย่อ mtDNA) ที่แสดงว่า ไม่มีการแลกเปลี่ยนยีนโดยเป็นนัยสำคัญคือไม่มีการผสมพันธุ์กันระหว่าง \"H. neanderthalensis\" และ \"H. sapiens\"\nดังนั้น สองกลุ่มนี้จึงเป็นสปีชีส์ที่แยกจากกันโดยมีบรรพบุรุษเดียวกันเมื่อประมาณ 500,000-600,000 ปีก่อน\nโดยอาจมีบรรพบุรุษเป็น \"H. heidelbergensis/rhodesiensis\"\nแต่ว่า งานหาลำดับดีเอ็นเอทั้งจีโนมของมนุษย์กลุ่มนี้ในปี ค.ศ. 2010 กลับแสดงว่า มีการผสมพันธุ์กับมนุษย์ปัจจุบันเมื่อประมาณ 45,000-80,000 ปีก่อน\nมนุษย์ปัจจุบันที่ไม่ใช่คนแอฟริกาเกือบทั้งหมดมีดีเอ็นเอ 1-4% สืบมาจากมนุษย์กลุ่มนี้\nซึ่งเข้ากับงานวิจัยเร็ว ๆ นี้ที่แสดงว่า การแยกออกจากกันของอัลลีลในมนุษย์บางพวกเริ่มขึ้นที่ \nแต่ว่า การตีความหมายข้อมูลจากงานวิจัยทั้งสองที่แสดงผลแตกต่างกันนี้ ยังมีประเด็นที่น่าสงสัย", "title": "วิวัฒนาการของมนุษย์" }, { "docid": "573810#0", "text": "การทดลองเฮอร์ชีย์–เชส () เป็นชุดของการทดลองที่ทำขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1952 โดยอัลเฟรด เฮอร์ชีย์และมาร์ธา เชส ซึ่งช่วยยืนยันว่า DNA คือสารพันธุกรรม แม้นักวิทยาศาสตร์จะรู้จัก DNA มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1869 แต่ในสมัยนั้นก็ยังเชื่อกันว่าสารพันธุกรรมที่เก็บข้อมูลในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนั้นเป็นโปรตีน ในการทดลองนี้ เฮอร์ชีย์และเชสได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเมื่อแบคเทริโอเฟจเข้าเกาะแบคทีเรียแล้ว DNA ของแบคเทริโอเฟจจะถูกส่งเข้าไปในแบคทีเรีย แต่โปรตีนที่เป็นเปลือกหุ้มนั้นไม่ถูกส่งเข้าไป", "title": "การทดลองเฮอร์ชีย์–เชส" }, { "docid": "364021#0", "text": "คำว่า MENA ย่อมาจาก \"ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ\" เป็นอักษรย่อซึ่งมักถูกใช้ในการงานเชิงวิชาการและธุรกิจ คำดังกล่าวครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างขวาง นับตั้งแต่โมร็อกโกไปจนถึงอิหร่าน รวมไปถึงประเทศตะวันออกกลางและมาเกร็บส่วนใหญ่ คำดังกล่าวเกือบจะมีความหมายเหมือนกันกับคำว่า \"มหาตะวันออกกลาง\" (แต่บางครั้งคำดังกล่าวถูกใช้โดยรวมปากีสถาน อัฟกานิสถาน หรือทั้งสองประเทศเข้าไปด้วย)", "title": "MENA" }, { "docid": "137085#2", "text": "รูปร่างของ DNA ในสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทแตกต่างกัน เช่น เซลล์โพรคาริโอต ไวรัส แบคทีเรีย รวมทั้งคลอโรพลาสต์และไมโทคอนเดรีย ที่มี DNA เป็นวงแหวนเกลียวคู่ ส่วนในยูคาริโอต มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่อยู่ในนิวเคลียส เรียก nuclear DNA อยู่ในรูปเกลียวคู่ปลายเปิด และชนิดที่อยู่ในไมโทคอนเดรียเรียก Mitochondrial DNA มีลักษณะเป็นวงแหวนเกลียวคู่ และขดตัวเป็นเกลียวคู่ยิ่งยวด ในพืชพบ DNA ทั้งในนิวเคลียสและคลอโรพลาสต์", "title": "กรดนิวคลีอิก" }, { "docid": "5186#6", "text": "ในปัจจุบัน นิยามของยีนหรือหน่วยพันธุกรรม คือส่วนหนึ่ง (หรือ ลำดับ) ของ DNA ที่สามารถถูกถอดรหัสออกมาเป็นชุดของกระบวนการหรือคำสั่งการทำงานของเซลล์ได้ (เช่น กระบวนการเพื่อ \"สร้างโมเลกุลเมลานิน\" เป็นต้น) อาจสามารถเปรียบ \"ยีน\" หนึ่ง ๆ ได้กับ \"คำ\" หนึ่ง ๆ ในภาษา โดยนิวคลีโอไทด์แต่ละตัวที่ประกอบขึ้นมาเป็นยีน เปรียบได้กับ \"ตัวอักษร\" ที่ประกอบขึ้นมาเป็น \"คำ\"", "title": "พันธุศาสตร์" }, { "docid": "11774#5", "text": "ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Deutsche Demokratische Republik (สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี) มักจะย่อด้วยคำว่า DDR ทั้งสองคำจะถูกใช้ในเยอรมนีตะวันออก ด้วยการใช้ที่เพิ่มมากขึ่นของรูปแบบย่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่เยอรมนีตะวันออกได้ถือว่าชาวเยอรมันตะวันตกและชาวเบอร์ลินตะวันตกเป็นชาวต่างชาติหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่สองในปี ค.ศ. 1968 ชาวเยอรมันตะวันตกและรัฐบุรุษต่างได้หลีกเลี่ยงการใช้ชื่ออย่างเป็นทางการและใช้คำย่อ แทนที่จะใช้คำอื่นๆ เช่น ออสโซน (โซนตะวันออก) \"Sowjetische Besatzungszone\" (เขตการยึดครองของโซเวียต; มักจะย่อด้วยคำว่า SBZ) และ sogenannte DDR (หรือ \"เรียกว่า GDR\")", "title": "ประเทศเยอรมนีตะวันออก" }, { "docid": "476145#0", "text": "เครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA Marker) หมายถึง ลำดับเบสช่วงหนึ่งของดีเอ็นเอที่ใช้เป็นเครื่องหมายบ่งชี้ความเป็นเอกลักษณ์ของสิ่งมีชีวิต โดยอาจมีตำแหน่งบนโครโมโซม ในนิวเคลียส (nuclear DNA) หรือใน ออร์แกเนลล์ (mitochondria DNA หรือ chloroplast DNA) และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ พืชแต่ละชนิดแต่ละสายพันธุ์ มีการจัดเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอที่เป็นเอกลักษณ์ ความแตกต่างหรือโพลีมอร์ฟิซึม การใช้ดีเอ็นเอเป็นเครื่องหมายในการบ่งบอกความแตกต่างของสิ่งมีชีวิต สามารถทำได้โดยการเปรียบเทียบลักษณะของดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ โดยเทคนิคทางอณูชีววิทยา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า(polymorphisms) ของลำดับเบสในโมเลกุลของดีเอ็นเอนี่เอง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตมีความแตกต่างกัน และสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องหมายโมเลกุลได้ “ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ” (DNA Fingerprinting) ซึ่งความแตกต่างที่เกิดขึ้น หมายถึง แบบแผนดีเอ็นเอที่จำเพาะของสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ นั่นเอง สามารถนำมาตรวจสอบความแตกต่างหรือโพลีมอร์ฟิซึมของสิ่งมีชีวิตหรือสายพันธุ์พืชที่ต้องการตรวจสอบได้", "title": "เครื่องหมายดีเอ็นเอ" }, { "docid": "137085#1", "text": "DNA () พบในนิวเคลียสของเซลล์และไวรัสบางชนิด เป็นสารพันธุกรรม ในธรรมชาติส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปเกลียวคู่ (Double stranded DNA) DNA ที่อยู่ในเซลล์มีจำนวนมากมักมีโครโมโซมเรียงตัวกันเป็นคู่หรือดิพลอยด์ มักพบบริเวณภายในนิวเคลียสของเซลล์", "title": "กรดนิวคลีอิก" }, { "docid": "3098#1", "text": "ดีเอ็นเอประกอบด้วยพอลิเมอร์สองสายยาวประกอบจากหน่วยย่อย เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ โดยมีแกนกลางเป็นน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเอสเทอร์ ทั้งสองสายนี้จัดเรียงในทิศทางตรงกันข้าม จึงเป็น antiparallel น้ำตาลแต่ละตัวมีโมเลกุลหนึ่งในสี่ชนิดเกาะอยู่ คือ นิวคลีโอเบส หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เบส ลำดับของนิวคลีโอเบสทั้งสี่ชนิดนี้ตามแกนกลางที่เข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลนี้อ่านโดยใช้รหัสพันธุกรรม ซึ่งกำหนดลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีน รหัสนี้ถูกอ่านโดยการคัดลอกดีเอ็นเอเป็นกรดนิวคลีอิกอาร์เอ็นเอที่เกี่ยวข้องในขบวนการที่เรียกว่า การถอดรหัส", "title": "ดีเอ็นเอ" } ]
1143
สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ ก่อตั้งปีใด ?
[ { "docid": "36479#1", "text": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ หรือ ซีไอดีไอชนาพัฒน์ (Chanapatana International Design Institute: CIDI) เดิมชื่อ \"สถาบันชนาพัฒน์\" ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2543 ตามดำริของพระธรรมมงคลญาณ หรือ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล มีพันธกิจหลักเพื่อพัฒนานักออกแบบไทยให้สามารถพัฒนาฝีมือการออกแบบให้มีความทัดเทียมและสามารถแข่งขันกับชาวต่างชาติได้โดยใช้หลักสูตรจากประเทศอิตาลี และเริ่มการเรียนการสอนเป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2544 มีจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น 35 คน", "title": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์" } ]
[ { "docid": "36479#19", "text": "หมวดหมู่:สถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:สถาบันอุดมศึกษาเอกชน", "title": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์" }, { "docid": "36479#4", "text": "และเพื่อให้โอกาสทางการศึกษานี้เปิดกว้างที่สุดสำหรับคนไทย จึงไม่คิดแต่เพียงการมอบทุนการศึกษาให้กับผู้ที่สนใจไปศึกษาต่อที่ประเทศอิตาลี แต่พระธรรมมงคลญาณได้ทำให้ในสิ่งที่เรียกว่า “หาคนอิตาลีมาฝึกความปราดเปรื่องของคนไทยได้ โดยไม่ต้องไปประเทศอิตาลี” คือการตกลงร่วมมือกับสถาบันออกแบบชั้นนำที่ตั้งอยู่ ณ กรุงฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ซึ่งจากการที่หลวงพ่อได้ไปสัมผัสสถาบันแห่งนี้ พบว่า “มีนักศึกษามาเรียนกันทั่วโลก ทั้งญี่ปุ่น, จีน, ไทย, เยอรมัน, อังกฤษ, ฮอลแลนด์, สวีเดน, ฟินแลนด์ คนเหล่านี้เค้ามีความภูมิใจที่ได้มาเรียนที่สถาบันแห่งนี้ ทุกคนยอมรับ มิหนำซ้ำรัฐบาลของฟินแลนด์, ยูเครน, สวีเดนให้ทุนกับนักศึกษามาเรียนที่นี่ด้วย” ในวันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 จึงได้มีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการเพื่อให้มีการเรียนการสอน ณ วัดธรรมมงคล ภายใต้หลักสูตรและคณาจารย์ของสถาบันจากอิตาลีทั้งหมด การดำเนินการครั้งนี้นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีและถือว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในการจัดการศึกษาด้านการออกแบบโดยความร่วมมือกับสถาบันต่างชาติ ดังจะเห็นได้ว่ามีสถาบันอื่นๆ ดำเนินการในรูปแบบเดียวกันนี้อีกมากมายในช่วงเวลาต่อมา", "title": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์" }, { "docid": "75178#4", "text": "ศ. (พิศษ) ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ เริ่มต้นชีวิตการทำงานเป็นอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เมื่อภาระงานทางธุรกิจมากขึ้นจึงได้ผันตัวเองมาทำงานด้านธุรกิจเป็นหลักและงานด้านการสอนตลอดจนงานการกุศลอื่นเป็นงานรอง ก่อนหน้าที่จะดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ที่บริษัทเงินทุน กรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน) หรือ BFIT นั้น ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ ได้ดำรงตำแหน่งในระดับบริหารในบริษัทจำกัดกว่า 10 บริษัท ทั้งที่เป็นกรรมการผู้จัดการ, กรรมการ , กรรมการผู้อำนวยการ หรือแม้กระทั่งผู้บริหาร ส่วนที่เป็นงานการกุศลก็อีกประมาณ 2-3 แห่งด้วยกัน อาทิ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป ร้านภูฟ้า (โครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) กรรมการมูลนิธิรามาธิบดี และผู้อำนวยการ สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ นอกจากนั้นยังคงทำงานทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง อาทิ เป็นอาจารย์พิเศษ ด้านการจัดการ ณ และ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสอนมากว่า 20 ปี และ ณ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมทั้งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยเนชั่นอีกด้วย", "title": "สาคร สุขศรีวงศ์" }, { "docid": "353199#0", "text": "วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา () เดิมชื่อ \"วิทยาลัยเซนต์เทเรซา-อินติ\" เป็นสถาบันอุดมศึกษานานาชาติ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาของประเทศไทย เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 ตั้งอยู่ในเขตอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก วิทยาลัยฯเริ่มก่อตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือกับ Inti Group of Colleges ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งปัจจุบันคือ Inti International Universities ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Laureate International Universities ซึ่งเป็นองค์กรนานาชาติ ที่มีมหาวิทยาลัยในเครืออยู่ทั่วโลก \nวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาด้วยหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรสองภาษา โดยมี ดร.ปิยะดา วรรธนะสาร เป็นอธิการบดี\nวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทหลายหลักสูตร ภายใต้ 5 คณะวิชา ได้แก่", "title": "วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา" }, { "docid": "36479#14", "text": "รุ่นที่ 2 2gether (ปี 2547 ณ สยามเซ็นเตอร์) รุ่นที่ 3 Take Three (ปี 2548 ณ สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์) รุ่นที่ 4 4mula Uno (ปี 2549 ณ สยามเซ็นเตอร์) รุ่นที่ 5 Flip 5 (ปี 2550 ณ สยามเซ็นเตอร์) รุ่นที่ 6 Signature (ปี 2551 ณ เซ็นทรัลเวิลด์) รุ่นที่ 7 Seven Sins (ปี 2552 ณ สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์และสยามเซ็นเตอร์) รุ่นที่ 8 Infinity (ปี 2553 ณ สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์) รุ่นที่ 9 Hybrid (ปี 2554 ณ สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์และสยามเซ็นเตอร์) รุ่นที่ 10 eXtension (ปี 2555 ณ สยามพารากอน) รุ่นที่ 11 New Beginning (ปี 2556) รุ่นที่ 12 Back to Future (ปี 2557 ณ สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์) รุ่นที่ 13 ECHO (ปี 2558 ณ เซ็นทรัลเวิลด์)", "title": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์" }, { "docid": "155773#12", "text": "นอกจากหลักสูตรปริญญาตรีที่ได้กล่าวมายังมีหลักสูตรออกแบบภายในที่เป็นหลักสูตรนานาชาติอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น หลักสูตรสาขาออกแบบตกแต่งภายในและผลิตภัณฑ์ สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ เป็นต้น", "title": "หลักสูตรออกแบบตกแต่งภายในในประเทศไทย" }, { "docid": "344266#0", "text": "ฉัตรารัศมิ์ แก้วมรกต รู้จักกันในนามปากกา ร่มแก้ว (เกิด 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523) เป็นนักเขียนชาวไทย และเป็นอดีตนักข่าวเนชั่นทีวี เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟ ทิพวัล ต่อชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ก่อนจะย้ายมาเรียนชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และศึกษาต่อจนจบปริญญาตรีจากคณะนิเทศศาสตร์ เอกวารสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นในปี 2544 เข้าทำงานเป็นผู้สื่อข่าวที่หนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น รับผิดชอบข่าวทั่วไปและสกู๊ปข่าวด้านสังคม ก่อนจะย้ายมาทำงานด้านประชาสัมพันธ์ให้กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จากนั้นในปี 2557 ได้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรออกแบบตกแต่งภายในและผลิตภัณฑ์ จากสถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ หรือ CIDI ปัจจุบันทำงานด้านการออกแบบควบคู่ไปกับการเขียนหนังสือ ", "title": "ฉัตรารัศมิ์ แก้วมรกต" }, { "docid": "36479#12", "text": "และจนถึงปัจจุบัน สถาบันได้ดำรงปณิธานอันแน่วแน่ในการสร้างนักออกแบบไทย ให้สามารถพัฒนาฝีมือการออกแบบให้มีความทัดเทียมและสามารถแข่งขันกับชาวต่างชาติได้ รวมไปถึงการมุ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้สินค้าแบรนด์ ไทยมีการออกแบบไม่แพ้สินค้าจากต่างประเทศ ในปัจจุบันสถาบันเปิดทำการสอน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรออกแบบตกแต่งภายในและผลิตภัณฑ์ และ หลักสูตรออกแบบแฟชั่น", "title": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์" }, { "docid": "135028#4", "text": "ดร.ทันกวินท์มีประสบการณ์ด้านการบริหารการศึกษา ได้แก่ เป็นผู้อำนวยการหลักสูตร (2554) ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ (2555) และ กรรมการพัฒนาองค์กร (2556)สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ (CIDI) เป็นรักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น จ.ลำปาง เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย เลขานุการสภามหาวิทยาลัย ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายแผนงาน และ ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยโยนก จ.ลำปาง และเป็นวิทยากรพิเศษด้านการบริหารธุรกิจบรรยายในหัวข้อทางการจัดการ การบริหารเชิงกลยุทธ์ และการวางแผนธุรกิจ ", "title": "ทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร" }, { "docid": "36479#10", "text": "ผลงานที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่พิสูจน์คุณภาพการจัดการศึกษาของสถาบันคือ การที่นักศึกษาของสถาบันได้รับรางวัลด้านการออกแบบระดับประเทศจากการประกวดในรายการต่างๆ มากมาย อาทิ ชนะเลิศงานประกวดงาน Sakura Collection 2014 และ 2015พร้อมได้นำผลงานจัดแสดงในประเทศญี่ปุ่น ชนะเลิศการประกวด Thailand Innofashion Award 2016 สาขาเครื่องหนัง ชนะเลิศการประกวด Star Fashion Search 2014 สาขาเครื่องหนัง รางวัลรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์ของร้านภูฟ้า, รางวัลจากการประกวดผลิตภัณฑ์นานาชาติ (โคมไฟ) ในงาน Echi di Luce 03 ประเทศอิตาลี, รางวัลจากการประกวดเฟอร์นิเจอร์ในรายการ Gruppo Sintesi's 2nd Shapping up intelligence ประเทศอิตาลี, รางวัลจากการประกวด Modernform Design Contest 2011, รางวัลจากการประกวด Yamaha Young Designer Contest 2008,รางวัลจากการประกวด Made Jeans Be Me, Cotton Design Challenge 2007, รางวัลจากการประกวดโครงการ Men Intrend Young Creative Bag & Shoes Design Contest โดยสมาคมเครื่องหนังไทย และเดอะ มอลล์ กรุ๊ป, รางวัลจากการประกวด Thailand Wedding Designer Award 2004, รางวัลจากการประกวด Leather Goods Designing Contest 2004 จัดโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ผลงานของนักศึกษายังได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมแสดงในงานสำคัญขององค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ งานแชนแนลวีไทยแลนด์ มิวสิกวิดีโอ อวอร์ด, งานแม่แห่งแผ่นดิน 77 พรรษามหาราชินี, งานรัตนะแห่งแผ่นดิน 54 พรรษา เจ้าฟ้าในดวงใจ, งาน Bangkok International Fashion Week ภายใต้แบรนด์ Cotton Chitralada by CIDI ร่วมกับร้านจิตรลดา ทั้งนี้ยังได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระดับประเทศของรัฐบาลด้วย อาทิ โครงการ Bangkok Fashion Week 2005 และ 2006 และ งาน ASEAN Tourism Forum 2007 ที่ประเทศสิงคโปร์", "title": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์" }, { "docid": "257266#6", "text": "ธนพลเป็นผู้หนึ่งที่ผลักดันให้สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ ซึ่งเป็นสถาบันออกแบบภายใต้มูลนิธิหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโรเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 15 ปีที่ผ่านมา โดยดำรงตำแหน่งรองผุ้อำนวยการอาวุโส", "title": "ธนพล ศิริธนชัย" }, { "docid": "257266#0", "text": "ธนพล ศิริธนชัยเป็นผู้บริหารบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)ตำแหน่งประธานอำนวยการ ในช่วงภายหลังการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่มีกลุ่มสิริวัฒนภักดีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ธนพลยังร่วมงานการกุศลกับอีกหลายหน่วยงาน รวมถึงดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการอาวุโส สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ และเป็นประธานกรรมการจัดงานฝ่ายคฤหัสถ์ โครงการอุปสมบทหมู่เฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชาโลก\nธนพล ศิริธนชัย เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2510 มีชื่อเล่นว่า \"วู้ดดี้\" จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เข้าศึกษาระดับปริญญาตรีที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 68 เมื่อปี พ.ศ. 2527 และเข้าศึกษาระดับปริญญาโทหลักสูตร MBA ที่มหาวิทยาลัยเทกซัส ออสติน ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2532 นอกจากนี้ยังเข้าร่วมอบรมหลักสูตร Advanced Management Program มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หลักสูตร Director Certification Program รุ่นที่ 39 หลักสูตร Directors Accreditation Program รุ่นที่ 10 หลักสูตรการบริหารเศรษฐกิจสาธารณะสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 6 สถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 7 สถาบันวิทยาการตลาดทุน (Capital Market Academy Leadership Program) และหลักสูตรภูมิพลังแผ่นดิน สำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย", "title": "ธนพล ศิริธนชัย" }, { "docid": "932094#0", "text": "สถาบันการศึกษานานาชาติบริดจ์ เป็นเครือข่ายโรงเรียนอนุบาลและประถม มีสาขาแรกที่ประเทศเคนยา และต่อมาได้ขยายสาขาไปอีก 4 ประเทศ ได้แก่ ไลบีเรีย, ไนจีเรีย, อูกานดา, และอินเดีย ปัจจุบันบริดจ์มีสาขาประมาณ 500 สาขา และมีนักเรียนกว่า 80,000 คน ก่อตั้งโดยแชนอน เมย์, จิม คิมเมลแมน, และฟิล เฟรย์ เมื่อปี 2008 ", "title": "สถาบันการศึกษานานาชาติบริดจ์" }, { "docid": "36479#2", "text": "ดำริเริ่มแรกในการสร้างสถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์แห่งนี้ มีจุดเริ่มต้นมาจากพระญาณวิริยาจารย์ (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) ที่เล็งเห็นถึงศักยภาพในด้านต่างๆ ของคนไทย และต้องการที่จะพัฒนาและสนับสนุนคนไทยให้มีความสามารถทัดเทียมกับนานาประเทศ ซึ่งท่านได้กล่าวไว้ว่า “ประเทศไทยของเรามีทั้งมันสมอง มีทั้งสติและมีทั้งปัญญา มีทั้งทรัพยากร มีทั้งโอกาสหลายๆ โอกาส ทำไมไม่ใช้โอกาสเหล่านี้พัฒนาให้เข้าขั้นหรือถึงขั้น อันนี้มิใช่จะดูถูกคนไทย เพราะคนไทยเรารักสงบและมีความสงบสุข แม้จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ประเทศไทยก็ไม่ได้รับความกระทบกระเทือนมากเกินไป ก็ได้รับความสงบสุขตลอดมาและประเทศไทยมีปัญญาชนที่มีสมองที่ปราดเปรื่อง ยังแต่ว่าจะทำอย่างไรจะหาเครื่องช่วยสนับสนุนความปราดเปรื่องอันนี้ให้บรรลุจุดหมายได้ เพราะศักยภาพคนไทยพัฒนาได้ไม่แพ้ใคร” ความคิดนี้สืบเนื่องมาจากช่วงเวลาที่ประเทศไทยในขณะนั้นประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจ ค่าเงินบาทลอยตัว ประชาชนชาวไทยประสบกับความเดือดร้อน เกิดปัญหาว่างงาน จึงทำให้พระเทพเจติยาจารย์เกิดความห่วงใย แม้ในฐานะแห่งพระภิกษุรูปหนึ่ง ตามที่ได้ดำริว่า “อาตมามีความเป็นห่วงใยประเทศชาติ คือ ประเทศไทยไม่น้อยหน้าไปกว่าท่านอื่นๆ ที่ห่วงใยประเทศไทย แม้ว่าอาตมาเองจะเป็นพระสงฆ์รูปหนึ่งก็มีหน้าที่พระสงฆ์ ที่จะต้องสวดมนต์ภาวนา สอนสมาธิและวิปัสสนา แต่ว่าพระสงฆ์อย่างที่อาตมาเป็นพระสงฆ์อยู่ในขณะนี้ อาตมามาคำนึงถึงว่า อาตมาเป็นพระสงฆ์ อาตมาก็เป็นคนไทยคนหนึ่ง ซึ่งก็มีสิทธิที่จะรักประเทศชาติ เช่นเดี่ยวกับคนอื่นๆ เมื่อเป็นเช่นนั้นอาตมาก็มองไปโดยรอบว่า ส่วนใดของประเทศไทยที่ขาดตกบกพร่องบ้าง หรือว่ามีอะไรที่จะส่งเสริมให้ประเทศไทยเจริญก้าวหน้าก็คอยจับตามองและคอยช่วยเหลือมาตลอด”", "title": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์" }, { "docid": "77294#1", "text": "สหพันธ์มวยนานาชาติ (, ตัวย่อ: IBF) สถาบันที่ดูแลและควบคุมการชกมวยสากลในระดับโลก สหพันธ์มวยนานาชาติได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2526 โดย นายโรเบิร์ต ดับเบิลยู. ลี อดีตประธานสมาคมมวยโลกชาวอเมริกัน สหพันธ์มวยนานาชาติได้รับความนิยมอย่างมากในวงการมวยสหรัฐอเมริกา ด้วยเพราะตัวสถาบันและประธานจะเป็นชาวอเมริกัน จึงให้การสนับสนุนนักมวยโดยเฉพาะนักมวยอเมริกันเป็นพิเศษ โดยมีสถาบันสมาคมมวยสหรัฐ (United State Boxing Association - USBA) อยู่ในสังกัดด้วย จึงมีนักมวยชาวอเมริกันเป็นแชมป์มากมาย แต่กระนั้น สหพันธ์มวยนานาชาติ ก็ได้รับการยอมรับว่าเป็น 1 ใน 3 สถาบันมวยระดับโลกเทียบเท่ากับสภามวยโลก (WBC) และสมาคมมวยโลก (WBA) ปัจจุบันมี นายดาริล เจ.พีเพิลส์ ชาวอเมริกันเป็นประธาน มีที่ตั้งอยู่ที่รัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา", "title": "สหพันธ์มวยนานาชาติ" }, { "docid": "36479#6", "text": "รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม เป็น รูปทรงพื้นฐานในเราขาคณิต แทนค่า พื้นฐานแห่งการออกแบบ สีส้ม แทนค่า ความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ", "title": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์" }, { "docid": "36479#17", "text": "สถาบันได้จัดพิธีเปิดอาคารเรียนอย่างเป็นทางการในวันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555 และได้ย้ายการเรียนการสอนทั้งหมดมา ณ อาคารเรียนแห่งนี้", "title": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์" }, { "docid": "36479#15", "text": "วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554 เวลา 9.27 น. สถาบันได้จัดให้มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนหลังใหม่ CIDI world ซึ่งเป็นอาคารเรียน 4 ชั้นมีพื้นที่ใช้สอยกว่า 5,700 ตารางเมตร โดย พระธรรมมงคลญาณ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล และ ฯพณฯ สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี", "title": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์" }, { "docid": "33465#0", "text": "โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษานานาชาติ () เป็นเครือข่ายของสถาบันอุดมศึกษานานาชาติ มีจุดมุ่งหมายในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา เพื่อการศึกษาในต่างประเทศ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2522 ในปัจจุบัน (2548) มีนักศึกษาในโครงการมากกว่า 24,000 คนทั่วโลก", "title": "โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษานานาชาติ" }, { "docid": "36479#9", "text": "การดำเนินการของสถาบันได้รับการพัฒนาและมีความเติบโตอย่างต่อเนื่อง กระทั่งปัจจุบันสถาบันได้ผลิตนักออกแบบกว่า 700 คน สำหรับการพัฒนาด้านวิชาการ สถาบันได้มีการทำความร่วมมือทางทางวิชาการกับ 2 สถาบันชั้นแนวหน้าของโลก คือ สถาบัน NABA ซึ่งเป็นเจ้าของ Domus Academy เมือง Milan ประเทศอิตาลี และInterior Design Program, Royal College of Art กรุง London ประเทศอังกฤษอันนับว่าเป็นความก้าวหน้าทางวิชาการที่สำคัญยิ่งของสถาบันด้วย", "title": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์" }, { "docid": "36479#18", "text": "ศิรพันธ์ วัฒนจินดา นุ่น นักแสดงจากเรื่องเพื่อนสนิท เสฏฐวุฒิ ชนะศรีโยธิน โจ้ AF4 นักร้อง ศิลปินสังกัดทรูแฟนเทเชีย ฉัตรารัศมิ์ แก้วมรกต หรือ ร่มแก้ว ผู้แต่งนวนิยายที่ทำเป็นละครโทรทัศน์ อาทิ สุภาพบุรุษจุฑาเทพ เรื่องคุณชายปวรรุจ และแอบรักออนไลน์", "title": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์" }, { "docid": "36479#3", "text": "ด้วยดำริดังกล่าวนี้ พระธรรมมงคลญาณได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาคนไทย โดยได้กำหนดให้มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด คือ ให้มีการเรียนรู้จากผู้ที่เป็นยอดอยู่แล้วในสาขานั้น ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่าประเทศอิตาลีคือผู้นำด้านการออกแบบของโลก โดยท่านได้อรรถาธิบายแนวทางดังกล่าวนี้ไว้ ดังนี้ “ถ้าเราจะดันทุรังไม่ฟังเสียงของชาวโลก มุ่งมั่นทำผลงานของเราเรื่อยไปก็ย่อมได้ แต่จะต้องใช้เวลาอันยาวนานเปรียบดังคนไม่มีชื่อเสียงในสังคมโลก กว่าจะสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับหรือเด่นดังขึ้นมามิใช่เรื่องง่าย แต่ถ้ามีใครชื่อเสียงโด่งดังในสังคมโลก เขาจะทำอะไรก็เป็นที่สนใจของชาวโลกเกิดค่านิยมชมชอบ เป็นที่ยอมรับในสังคม ใครๆ ได้อยู่ใกล้ก็พลอยมีชื่อเสียงโด่งดังไปด้วย เพราะฉะนั้น อาตมาต้องการให้คนไทยมีชื่อเสียงในเรื่องการออกแบบต่างๆ และไม่ต้องไปเรียนที่ประเทศอิตาลีให้เสียงเงินทองมากมาย”", "title": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์" }, { "docid": "36479#16", "text": "ชื่อ CIDI world ประพันธ์โดย พระธรรมมงคลญาณ มีความหมายว่า แวดวงวิวัฒนาการออกแบบแห่งโลก ซึ่งตัวอาคารมีแนวทางในการออกแบบให้เป็นอาคารที่เรียบง่าย แต่มีเอกลักษณ์ในการผสมผสานระหว่าง ความเป็น International คือความร่วมสมัย (Contemporary & Modern) กับจุดกำเนิดของสถาบัน คือความเป็นวัด", "title": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์" }, { "docid": "36479#0", "text": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ เป็นสถาบันการศึกษาที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ เป็นผู้อำนวยการ ชื่อ \"ชนาพัฒน์\" ประพันธ์โดย พระธรรมมงคลญาณ(หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) ซึ่งหมายถึง พัฒนาประชาชน มีพันธกิจหลักคือ มุ่งพัฒนานักออกแบบไทยให้สามารถพัฒนาฝีมือการออกแบบให้มีความทัดเทียมและสามารถแข่งขันกับชาวต่างชาติได้ ปัจจุบันสถาบันเปิดทำการสอน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรออกแบบแฟชั่น (Fashion Design) และ หลักสูตรออกแบบตกแต่งภายในและผลิตภัณฑ์ (Interior and Product Design)โดยมีความร่วมมือทางวิชาการกับ 2 สถาบันชั้นแนวหน้าของโลก คือ สถาบัน NABA ซึ่งเป็นเจ้าของ Domus Academy เมือง Milan ประเทศอิตาลี และ ความร่วมมือทางวิชาการกับInterior Design Program, Royal College of Art กรุง London ประเทศอังกฤษ", "title": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์" }, { "docid": "916328#1", "text": "Raffles International College หรือ วิทยาลัยนานาชาติราฟเฟิลส์ กรุงเทพฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2546 ส่วนหนึ่งของ Raffles Education Corporation และเป็นสถาบันชั้นนำทางด้านการศึกษาที่มีสาขาอยู่ใน 13 ประเทศทั่วโลก อาทิ ประเทศออสเตรเลีย อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ จีน อินเดีย สิงคโปร์ ฯลฯ รวมถึงประเทศไทย โดยเปิดการเรียนการสอนในหลายสาขาวิชาด้วยหลักสูตรภาษาอังกฤษทั้งหมด วิทยาลัยนานาชาติราฟเฟิลส์ สถาบันชั้นนำทางด้านความคิดและการออกแบบ ซึ่งได้รับรางวัลชั้นนำระดับนานาชาติหลายรางวัล เปิดการเรียนการสอนทางด้านการออกแบบ อาทิ สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่น สาขาวิชาการตลาดแฟชั่น สาขาวิชาการออกแบบกราฟิก สาขาวิชาการออกแบบและตกแต่งภายใน สาขาวิชาการออกแบบมัลติมีเดีย และสาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ และสาขาวิชาทางด้านการบริหารธุรกิจอีก 5 สาขาวิชา ตั้งอยู่ที่ 15 หมู่ 15 ต.บางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540", "title": "วิทยาลัยนานาชาติราฟเฟิลส์" }, { "docid": "36479#7", "text": "หลักสูตร International Diploma Program (ระยะเวลา 2 ปี) หลักสูตรออกแบบตกแต่งภายในและผลิตภัณฑ์ หลักสูตรออกแบบแฟชั่น", "title": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์" }, { "docid": "36479#13", "text": "ทุกปีสถาบันจะมีการจัดงานศิลปนิพนธ์ประจำปีในรูปแบบนิทรรศการมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำผลงานแสดงสู่สายตาบุคคลภายนอกและผู้ที่สนใจทั่วไป ในแต่ละปีจะมีการกำหนดแนวคิดหลักของงานให้สอดคล้องกับรุ่นของนักศึกษา อาทิ", "title": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์" }, { "docid": "36479#11", "text": "ความคิดริเริ่มของพระธรรมมงคลญาณในการสร้างสถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์นั้น มิเพียงแต่จะได้รับการยอมรับจากสถาบันต่างๆ ภายในประเทศเท่านั้น ในวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2549 รัฐบาลแห่งประเทศสาธารณรัฐอิตาลีโดยเอกอัครราชทูตอิตาลี ประจำประเทศไทย ได้ทำพิธีถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Order of the Star of Italian Solidarity แด่พระธรรมมงคลญาณ เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติแห่งผลงานที่ได้สร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศอิตาลีอย่างดียิ่ง", "title": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์" }, { "docid": "36479#5", "text": "การปฐมนิเทศนักศึกษารุ่นที่ 1 มีขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2544 ณ ห้องประชุมวัดธรรมมงคล นักศึกษาในรุ่นที่ 1 นี้ทั้งหมด 35 คน โดยแต่เดิมมีการเรียนการสอนเป็นภาษาอิตาลี นักศึกษาจึงจะต้องไปศึกษาหลักสูตรภาษาอิตาลีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสียก่อน จึงจะมาเริ่มศึกษาหลักสูตรการออกแบบ และมีการเรียนการสอนใน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรการออกแบบตกแต่งภายใน หลักสูตรออกแบบแฟชั่น และหลักสูตรออกแบบเครื่องหนัง ภายหลังเมื่อมีการรับสมัครนักศึกษารุ่นต่อมา ได้มีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้สอดคล้องกับสังคมไทยมากขึ้น จึงมีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษใน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรการออกแบบตกแต่งภายในและผลิตภัณฑ์ และหลักสูตรออกแบบแฟชั่น", "title": "สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์" } ]
2909
ชิงร้อยชิงล้านออกครั้งแรกที่ช่องใด?
[ { "docid": "82514#1", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน เป็นรายการโทรทัศน์ลำดับที่ 2 ที่ผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2533 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 หลังจากนั้นได้ย้ายไปออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2541 หลังจากนั้นได้ย้ายไปออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ตั้งแต่วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 และกลับมาออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 อีกครั้ง เมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2549 โดยมี บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) ร่วมผลิตด้วยจนถึง พ.ศ. 2552 และกลับมาออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อีกครั้ง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 จนปัจจุบันได้ย้ายมาออกอากาศทาง ช่องเวิร์คพอยท์ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน" }, { "docid": "82514#0", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน เป็นรายการเกมโชว์ในประเทศไทยออกอากาศครั้งแรกเมื่อ วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2533 เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ที่ออกอากาศยาวนานที่สุดในประเทศไทยปัจจุบันเป็นรายการวาไรตี้โชว์ ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) พิธีกรในปัจจุบัน คือ วรัทยา นิลคูหา และ ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ ปัจจุบันออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 14:30 - 16:00 น. ทางช่องเวิร์คพอยท์", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน" }, { "docid": "206266#1", "text": "ชิงร้อยชิงล้านออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นรายการลำดับที่ 2 ของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) และเป็นรายการแรกที่มี Jackpot เงินรางวัลสูงสุดในบรรดาเกมโชว์ทั้งหมด (ในสมัยนั้น) คือเงินรางวัล 1,000,000 บาท โดยเปิดโอกาสให้เพื่อนสนิท, พ่อ-ลูก, แม่-ลูก, พระเอก-นางเอก, พี่น้อง และ คู่รักดารา มาเล่นเกมเพื่อลุ้นเงินรางวัล 1,000,000 บาท", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน (ยุคแรก)" }, { "docid": "206266#0", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน เป็นรายการเกมโชว์และเป็นรายการลำดับที่ 2 ของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)ออกอากาศในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2533 - 15 กันยายน พ.ศ. 2536 ออกอากาศทุกวันพุธ ตั้งแต่เวลา 22.00 - 23.00 น. (2533-2534) 22.15 - 23.15 น. (2535-2536) ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน (ยุคแรก)" } ]
[ { "docid": "415551#1", "text": "รายการชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า ออกอากาศเป็นครั้งสุดท้ายทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554 หลังจากนั้นเมื่อขึ้นปี พ.ศ. 2555 รายการชุดชิงร้อยชิงล้านก็เปลี่ยนชื่อเป็น \"ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์ เดย์\" รวมถึงปรับปรุงรูปแบบและฉากใหม่ โดยย้ายไปออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 ในทุกวันอาทิตย์ ระหว่างเวลา 14.50 - 16.40 น. นับเป็นครั้งแรกที่รายการชุดชิงร้อยชิงล้านภาคปกติ ออกอากาศในช่วงเวลากลางวัน เนื่องจากที่ผ่านมา ออกอากาศในช่วงกลางคืน หลังจากเวลา 22:00 น. มาตลอดระยะเวลา 22 ปี ในกลางปี พ.ศ. 2558 ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์ เดย์ ก็ได้การออกอากาศจากช่อง 3 ไปยังช่องเวิร์คพอยท์ทีวี เพราะว่า \"เวิร์คพอยท์มีบ้านของตัวเอง รายการก็ต้องกลับมาอยู่ที่บ้าน เหมือนอย่างค่ายอื่นที่มีช่องของตัวเอง ก็ออกมาจากช่องต่างๆ เพื่อกลับมาอยู่ที่ช่องตัวเองแล้วเหมือนกัน\"", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์ เดย์" }, { "docid": "207875#1", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน ฮา ฮอลิเดย์ เริ่มออกอากาศครั้งแรกในชื่อ ชิงร้อยชิงล้าน ฮามหัศจรรย์วันหยุด เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2548 (วันปิยมหาราช) ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในช่วงเวลาเดิมของรายการ ระเบิดเถิดเทิง วันหยุด และเมื่อรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า ย้ายมาออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ชิงร้อยชิงล้าน ฮามหัศจรรย์วันหยุด ก็ย้ายมาออกอากาศทางช่องเดียวกันด้วย เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2549 (วันจักรี) และในช่วงปี พ.ศ. 2552 รายการได้ปรับเปลี่ยนชื่อโดยตัดคำว่า \"ฮา\" ออก เหลือแต่เพียง ชิงร้อยชิงล้าน มหัศจรรย์วันหยุด เท่านั้น และออกอากาศเรื่อยมาจนถึง 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554 (วันชดเชยวันรัฐธรรมนูญ) กระทั่งเมื่อ ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า ย้ายมาออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น ชิงร้อยชิงล้าน Sunshine Day ชิงร้อยชิงล้าน มหัศจรรย์วันหยุด จึงได้ย้ายไปออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 ด้วย พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น ชิงร้อยชิงล้าน ฮา ฮอลิเดย์ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555 (วันมาฆบูชา) ในเวลา 10.40 - 11.40 น. แต่ภายหลังได้มาออกอากาศในเวลา 10.00 - 11.00 น. จนถึงปัจจุบัน", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ฮาฮอลิเดย์" }, { "docid": "206434#0", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า เป็นรายการเกมโชว์ที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบมาจากรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม โดยออกอากาศครั้งแรกทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2541 และย้ายไปออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เมื่อวันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 และกลับมาออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 อีกครั้ง เมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา และตั้งแต่วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ชื่อที่เรียกใช้ในรายการจะเหลือแค่คำว่า ชิงร้อยชิงล้าน เท่านั้น และในปี พ.ศ. 2555 ได้ย้ายกลับไป สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อีกครั้ง ในชื่อใหม่ ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์ เดย์ ฉากใหม่และวันเวลาใหม่", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า" }, { "docid": "207875#0", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน ฮา ฮอลิเดย์ เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทปกิณกะบันเทิง ที่รวบรวมเอาฉากสำคัญจากรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า ที่เคยออกอากาศไปแล้วมารวบรวม และนำเสนอ ออกอากาศทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2548 (วันปิยมหาราช) ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 โดยใช้ชื่อว่า ชิงร้อยชิงล้าน ฮามหัศจรรย์วันหยุด ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็น ชิงร้อยชิงล้าน มหัศจรรย์วันหยุด ประมาณปี พ.ศ. 2552 และใช้ชื่อดังกล่าวมาจนถึงวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554 (วันหยุดชดเชยวันรัฐธรรมนูญ) ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบัน ทั้งนี้ รายการชิงร้อยชิงล้าน ฮา ฮอลิเดย์ ออกอากาศทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 - 11.00 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ฮาฮอลิเดย์" }, { "docid": "206434#77", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ยุคที่2 - วงดนตรีจะอยู่ฝั่งซ้ายติดกับฉากและแท่นโพเดียมผู้เข้าแข่งขันตั้งแต่ยุคที่ 3 เป็นต้นมา ได้ย้ายมาออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7\nในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ได้มีวีซีดีโดยส่วนมากจะเป็นละครของแก๊งสามช่าและแข่งท้าผู้กล้าด้วยโดยผู้ผลิตและผู้ถือลิขสิทธิ์ในช่วงแรกคือ บริษัท อีวีเอส เอนเทอร์เทนเมนท์ จำกัด โดยจะมีละครแก๊งสามช่าอยู่ 2 ตอนและแข่งท้าผู้กล้ามีอยู่ 1 ตอนปัจจุบันผู้ที่ถือลิขสิทธิ์คือ บริษัท พี.เอ็ม. เอนเทอร์เทนเมนท์ จำกัด ส่วนผู้จัดจำหน่ายเป็นของ บริษัท อีวีเอส เอนเทอร์เทนเมนท์ จำกัด โดยเพิ่มช่วงท้าแข่งผู้กล้าอีก 1 ตอน", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า" }, { "docid": "206434#4", "text": "โดยรูปแบบรายการของช่วงแรก ในปี พ.ศ. 2541 ได้แนวคิดมาจากการแสดงคาบาเรต์โชว์และสีสันของลาส เวกัสในประเทศสหรัฐอเมริกา และรูปแบบที่ 2 ในปี พ.ศ. 2545 ได้ปรับเปลี่ยนแนวโชว์จริง ๆ และเพิ่มโรงละครแก๊งสามช่า เพื่อความสนุกสนานต่อผู้ชม โดยชื่อ \"ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า\" เป็นชื่อที่ถูกใช้ยาวนานมากที่สุด รวมระยะเวลามากกว่า 10 ปี ของรายการโทรทัศน์เกมโชว์ในประเทศไทย", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า" } ]
3510
ดร.ทักษิณ ชินวัตร มีพี่น้องกี่คน ?
[ { "docid": "263349#5", "text": "ทักษิณ ชินวัตร เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่สอง ในจำนวน 10 คนของนายเลิศ และนางยินดี ชินวัตร ธิดาของเจ้าจันทร์ทิพย์ (ณ เชียงใหม่) ระมิงค์วงศ์[29] ผู้เป็นธิดาในเจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่)", "title": "ทักษิณ ชินวัตร" } ]
[ { "docid": "268699#0", "text": "สกุลชินวัตร เป็นสกุลที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองและธุรกิจมากมายในปัจจุบัน โดยมีเส็ง แซ่คูเป็นต้นตระกูล ซึ่งอพยพย้ายถิ่นฐานมาจากสาธารณรัฐจีน (ในขณะนั้น)​มายังจังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย ต่อมาได้ย้ายไปตั้งรกรากที่จังหวัดเชียงใหม่ ในพ.ศ. 2454 เชียง แซ่คู บุตรชายคนโตของครอบครัวได้เริ่มต้นธุรกิจทอผ้าไหมในจังหวัดเชียงใหม่ จนในปัจจุบันเป็นกิจการผ้าไหมที่มีมายาวนานที่สุดของประเทศไทย สกุลชินวัตรเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นเมื่อ ดร.ทักษิณ ชินวัตร สมาชิกรุ่นที่ 3 ได้ดำเนินธุรกิจต่างๆ อาทิเช่น เครือค่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เอไอเอส จนประสบความสำเร็จ และได้เข้าสู่การเมืองในเวลาต่อมา พร้อมทั้งมีสมาชิกคนอื่นๆ ตามมา ซึ่งทำให้สกุลชินวัตรเป็นที่รู้จักมากในด้านของการเมืองในปัจจุบัน", "title": "สกุลชินวัตร" }, { "docid": "263349#18", "text": "หลังจากความสำเร็จในการประกอบธุรกิจโทรคมนาคม ดร.ทักษิณ ชินวัตรได้ตัดสินใจนำบริษัทในกลุ่มชินวัตรเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในระหว่างปี 2533 – 2537 อาทิ", "title": "ทักษิณ ชินวัตร" }, { "docid": "263413#1", "text": "ดร.สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นญาติของดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เนื่องจากสุมาลี โตวิจักษณ์ชัยกุล น้าของสุรพงษ์ แต่งงานกับเสถียร ชินวัตร อาของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ดร.สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เคยสมรสกับอัญชลี โตวิจักษณ์ชัยกุล มีบุตร 2 คน คือ ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล และศุภิสรา โตวิจักษณ์ชัยกุล ", "title": "สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล" }, { "docid": "230224#0", "text": "รู้ทันทักษิณ เป็นหนังสือที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยเสนอในรูปแบบของมุมมอง ความคิดเห็นของนักวิชาการชั้นนำหรือคนที่รู้จักทักษิณผ่านบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เพี่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคทักษิณ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยมีบรรณาธิการคือ รองศาสตราจารย์ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตเป็นสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร และมีสำนักพิมพ์คือฃอคิดด้วยฅน หนังสือรู้ทันทักษิณมีทั้งหมด 5 เล่ม โดยได้แถลงเปิดตัวอย่างเป็นทางการเล่มแรก เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2547 ", "title": "รู้ทันทักษิณ" }, { "docid": "263039#1", "text": "พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อเล่นว่าอ๊อบ เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของพลตำรวจโท เสมอ ดามาพงศ์ อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ กับคุณหญิงพจนีย์ ณ ป้อมเพชร มีพี่น้อง 3 คนคือ พงศ์เพชร ดามาพงศ์ อดีตผู้อำนวยการการเลือกตั้งพรรคไทยรักไทย จังหวัดเชียงราย, พลตำรวจโท นายแพทย์ พีระพงศ์ ดามาพงศ์ อดีตผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ และคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยา ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และมีพี่ชายบุญธรรมคนโตอีก 1 คนคือ บรรณพจน์ ดามาพงศ์", "title": "เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์" }, { "docid": "202656#2", "text": "ต่อมา ชัยสิทธิ์ได้สมรสกับคุณวีณา ชินวัตร (สุขสภา) มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวลัฆวี ชินวัตร และนายวีรสิทธิ์ ชินวัตร นอกจากนี้ พล.อ.ชัยสิทธิ์ยังเป็นญาติผู้พี่ของดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 28พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เคยมีกระแสข่าวว่าจะดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ในปี พ.ศ. 2554 ในปี พ.ศ. 2561 พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาพรรคพลังปวงชนไทย ส่วนนายนิคม บุญวิเศษเป็นหัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย ซึ่งถูกมองว่าเป็นนอมินีของพรรคเพื่อไทย", "title": "ชัยสิทธิ์ ชินวัตร" }, { "docid": "63544#0", "text": "นายพายัพ ชินวัตร (เกิด 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500) เป็นผู้ดูแลภาคอีสานของพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ น้องชายคนเดียวของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร", "title": "พายัพ ชินวัตร" }, { "docid": "323470#2", "text": "สุรพันธ์ ชินวัตร เป็นน้องชายของนายบุญเลิศ ชินวัตร บิดาของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย", "title": "สุรพันธ์ ชินวัตร" }, { "docid": "577436#1", "text": "ชยาภาเกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 เป็นธิดาคนสุดท้อง ของสมชาย (บิดา) นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 26 กับเยาวภา (มารดา; นามสกุลเดิม: ชินวัตร) จึงเป็นหลานสาวของ ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 23 ด้วย ชยาภามีพี่ชาย 1 คนคือ ยศชนัน (เชน) และพี่สาว 1 คนคือ ชินณิชา (เชียร์)", "title": "ชยาภา วงศ์สวัสดิ์" }, { "docid": "216124#3", "text": "ภายหลังเสร็จสิ้นการลงคะแนน นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ประกาศผลการนับคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้รับความเห็นชอบ จำนวน 377 คะแนน ไม่เห็นชอบ 1 คะแนน (คือ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์) และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรงดออกเสียง 116 คะแนน จึงถือได้ว่าพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาแล้ว จึงถือได้ว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้รับความเห็นชอบตามมติของสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี", "title": "การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย มีนาคม พ.ศ. 2548" }, { "docid": "65854#0", "text": "แพทองธาร ชินวัตร (ชื่อเล่น: อุ๊งอิ๊งค์; เกิด: 21 สิงหาคม พ.ศ. 2529) บุตรสาวคนสุดท้อง ของดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร ", "title": "แพทองธาร ชินวัตร" }, { "docid": "306281#0", "text": "เลิศ ชินวัตร (พ.ศ. 2462-23 ตุลาคม พ.ศ. 2540) อดีตนักการเมืองชาวเชียงใหม่ เป็นบิดาของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 23 และนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ", "title": "เลิศ ชินวัตร" }, { "docid": "277370#1", "text": "มนตรี พงษ์พานิช เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 เป็นบุตรของนายจำรัส กับนางพริ้ง พงษ์พานิช มีพี่น้อง 9 คน มีน้องชายคนหนึ่ง คือ เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล ดร.ทักษิณ ชินวัตร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง) จาก Staatliche Ingenieur Institute Konstanz ประเทศเยอรมัน สมรสกับคุณหญิงธิดา พงษ์พานิช (สกุลเดิม:หงษ์ทอง) มีบุตร-ธิดา 2 คน", "title": "มนตรี พงษ์พานิช" }, { "docid": "61561#5", "text": "ร.ต.อ.ปุระชัย คัดค้านที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีมติเห็นชอบ \"ร่างพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ….\" ที่พยายามช่วยเหลือ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นความผิด โดยยืนยันว่า ดร.ทักษิณ ชินวัตร ควรที่ต้องรับโทษตามกฎหมายคดีทุจริตคอรัปชันก่อน ถึงจะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับการอภัยโทษความผิดที่ทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อรัฐ", "title": "ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์" }, { "docid": "530858#1", "text": "เยาวลักษณ์ ชินวัตร เกิดวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เป็นบุตรคนโตของนายเลิศ ชินวัตร กับนางยินดี ชินวัตร มีน้อง 9 คน ได้แก่ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (สมรสกับคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร), นางเยาวเรศ ชินวัตร (สมรสกับนายวีระชัย วงศ์นภาจันทร์), นางปิยนุช (สมรสกับนายสง่า ลิ้มพัฒนาชาติ), นายอุดร ชินวัตร, นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (สมรสกับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์), นายพายัพ ชินวัตร (สมรสกับนางพอฤทัย จันทรพันธ์), นางมณฑาทิพย์ (สมรสกับนายแพทย์สมชัย โกวิทเจริญกุล), นางทัศนีย์ ชินวัตร และ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (สมรสกับนายอนุสรณ์ อมรฉัตร) ", "title": "เยาวลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "263349#15", "text": "หลังจากการประกอบธุรกิจมาหลายประเภท ดร.ทักษิณ ชินวัตรได้ตัดสินใจเข้าสู่ธุรกิจด้านข้อมูลข่าวสารด้วยการก่อตั้งบริษัทชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด(เดิมชื่อ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอซีเอสไอ (ICSI) ) ในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2526 เพื่อประกอบธุรกิจให้เช่าเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมจาก IBM และต่อมาได้เริ่มธุรกิจวิทยุติดตามตัวยี่ห้อ Phonelink ที่ได้กลายเป็นแท่นกระโดดสู่ธุรกิจโทรคมนาคมเต็มตัว", "title": "ทักษิณ ชินวัตร" }, { "docid": "198644#26", "text": "ต่อมาเวลาประมาณ 20.00 น. พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โฟนอินเข้ามาโดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณกล่าวว่าขอบคุณพี่น้องชาวไทยและชาวเชียงรายที่รักและสนันสนุนตน ทุกคนต้องต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยที่แท้จริงกลับคืนมา หากตนยังทำงานอยู่จะไม่มีการกู้เงิน แต่จะเนรมิตเงินนำมาสร้างงานสร้างชาติ ขณะนี้เป็นห่วงเศรษฐกิจตกต่ำจะพูดที่จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 22 มีนาคม และวันที่ 27 มีนาคม จะพูดที่กรุงเทพมหานคร เรื่องทางออกของประเทศไทย พี่น้องต้องรักกันสามัคคีกัน หากตนกลับมาจะแก้ไขปัญหาทั้งหมด", "title": "การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน" }, { "docid": "153727#10", "text": "นายกษิต ภิรมย์ เป็นเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศที่ได้รับความเชื่อถือจาก นายชวน หลีกภัย อย่างต่อเนื่อง\nปี 2537 นายกษิต ขณะดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ จาการ์ตาได้ต้อนรับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชิณวัตร ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หลังจากนั้น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ติดต่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางการเมืองกับ\nนายกษิต จนกระทั่งมีความสนิทสนมคุ้นเคยกัน เมื่อพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจึงได้ให้นายกษิต ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำกระทรวงเพื่อไปช่วยราชการที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี\nต่อมาเมื่อพบว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีการบริหารราชการที่แตกต่างจากที่ได้เคยหารือกันไว้ ได้สัมผัสกับวิธีคิดและวิธีทำงานของพ.ต.ท. ดร.ทักษิณ อย่างใกล้ชิด นายกษิต ภิรมย์ จึงเริ่มออกห่างจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และในเดือน พฤศจิกายน 2544 ได้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น", "title": "กษิต ภิรมย์" }, { "docid": "7592#3", "text": "คุณหญิง ดร.สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เข้าสู่แวดวงการเมืองครั้งแรกในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ได้เป็น ส.ส. ในเขตกรุงเทพมหานคร ในเขต 12 (มีนบุรี, บางเขน, หนองจอก, ดอนเมือง ยกเว้นแขวงทุ่งสองห้อง) ของพรรคพลังธรรม แต่หลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้วางมือทางการเมืองแล้ว พรรคพลังธรรมก็ได้ผลัดเปลี่ยนหัวหน้าพรรคหลายคน มาจนถึง ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค คุณหญิงสุดารัตน์ก็ได้สนิทสนมกับ ดร.ทักษิณ ชินวัตร พร้อมกับสมาชิกพรรคอีกหลายคนซึ่งส่วนใหญ่เป็น ส.ส. ในกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2539 พรรคพลังธรรมมี ส.ส. เหลือเพียงคนเดียว คือ คุณหญิงสุดารัตน์นี่เอง และในปี พ.ศ. 2541 เมื่อ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้ออกมาก่อตั้งพรรคไทยรักไทย คุณหญิงสุดารัตน์ก็เป็นหนึ่งใน 23 บุคคลที่ร่วมก่อตั้งพรรคด้วย และก็ได้ร่วมงานกับทางพรรคมาจนบัดนั้น", "title": "สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์" }, { "docid": "190640#1", "text": "ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ มีชื่อเล่นว่า \"เชียร์\" เกิดเมื่อวันที่ เป็นบุตรสาวของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี คนที่ 26 ของประเทศไทย กับนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน และยังเป็นหลานสาวของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อีกด้วย", "title": "ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์" }, { "docid": "192027#6", "text": "ภายหลังจบการศึกษาและทำงานราชการ ต่อมาพรรคพวกเครือข่ายคนเดือนตุลาที่ไปช่วยงาน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร แนะนำให้ดึงตัวนายแพทย์พรหมินทร์เข้ามาช่วยงานด้านกลยุทธ์ และได้เข้าร่วมทำงานกับกลุ่มบริษัทชินวัตร จนตำแหน่งสุดท้ายคือซีอีโอ ของบริษัทชินแซทเทิลไลท์ คอมมิวนิเคชั่นส์", "title": "พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช" }, { "docid": "50151#3", "text": "นับตั้งแต่การเคลื่อนไหวต่อต้าน ดร.ทักษิณ ชินวัตร ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พานทองแท้ก็ถูกโจมตีและเผยแพร่ข่าวลือด้านลบมาโดยตลอดโดยกลุ่มผู้ต่อต้านทักษิณ พานทองแท้เริ่มมีบทบาททางการเมืองเด่นชัดนับจากปี 2555 จากกรณีการกล่าวหาว่าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หนีทหาร และจากนั้นพานทองแท้ก็ได้แสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยการจ้างคอลัมนิสต์เขียนผ่านทางเฟสบุ๊คของตัวเอง และเป็นประเด็นในสื่อกระแสหลักเรื่อยมา หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาถูกทหารควบคุมตัว ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ณ ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่\nและปรากฏข้อมูลในเอกสารคำร้องฝากขังกลุ่มแอดมินเพจ “เรารักพล.อ.ประยุทธ์” ระบุว่า นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้เงินสนับสนุน", "title": "พานทองแท้ ชินวัตร" }, { "docid": "331754#3", "text": "ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล เริ่มเข้าสู่งานการเมือง โดยการชักชวนของทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคพลังธรรมและได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 6 สังกัดพรรคพลังธรรม ต่อมา ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล จึงเข้าร่วมกับทักษิณ ชินวัตร ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และได้รับตำแหน่งเป็นโฆษกพรรคคนแรก (คณะกรรมการชุดที่ขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง) กระทั่งในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ ผู้แทนการค้าไทย และต่อมาจึงได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ", "title": "กันตธีร์ ศุภมงคล" }, { "docid": "362887#0", "text": "ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2544–2549 ระหว่างดำรงตำแหน่ง ทักษิณริเริ่มหลายนโยบายซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สาธารณสุข การศึกษา พลังงาน ยาเสพติดและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาชนะการเลือกตั้งถล่มทลายถึงสองสมัย[1] นโยบายของทักษิณลดความยากจนในชนบทได้อย่างเด่นชัด[2] และจัดบริการสาธารณสุขในราคาที่สามารถจ่ายได้ ด้วยเหตุนี้ ฐานเสียงสนับสนุนของเขาส่วนใหญ่จึงมาจากคนยากจนในชนบท[1]", "title": "การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ ชินวัตร" }, { "docid": "7673#2", "text": "มีบุตร 3 คน ได้แก่ นายณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ สมรส กับ อาจารย์ วณิศรา บุญยะลีพรรณ นายณพล จาตุศรีพิทักษ์ และเด็กชายณฉัตร จาตุศรีพิทักษ์ เขาเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อภิรดี ตันตราภรณ์ อีกด้วย\nดร.สมคิด ได้ชื่อว่าเป็นขุนพลเศรษฐกิจคนสำคัญของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่นโยบายประชานิยมหรือนโยบายเศรษฐกิจหลายอย่างก็มาจากแนวความคิดของ ดร.สมคิดเอง ในระหว่างการทำงานการเมืองได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีภาพลักษณ์ดี เพราะเก่งกาจ มีความเชี่ยวชาญสามารถคนหนึ่ง และได้ชื่อว่าบางครั้งก็ไม่ทำตามนโยบายหรือแนวทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำหนดไว้เสมอไป", "title": "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" }, { "docid": "530858#0", "text": "นางเยาวลักษณ์ ชินวัตร หรือ นางเยาวลักษณ์ คล่องคำนวณการ พี่สาวคนโตของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย และอดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2529", "title": "เยาวลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "263349#41", "text": "วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2549 ระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ของทักษิณ ครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ ขายหุ้นของ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ที่ครอบครองอยู่ทั้งหมด ให้แก่บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ จำกัด (พีทีอี) ซึ่งทักษิณชี้แจงว่า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน แต่กลับมีบุคคลบางกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง เนื่องจากเห็นว่าการแก้ไขกฎหมายที่ว่าด้วยการขายหุ้นในช่วงไม่กี่วันก่อนหน้านั้น เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกรณีดังกล่าว รวมทั้งการไม่ต้องเสียภาษีรายได้จากผลกำไรในการขายหุ้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ใช้กับทุกคนอย่างเสมอภาคกัน เหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นจุดสำคัญที่ทำให้กระแสการขับทักษิณออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งนำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขยายตัวออกไปในวงกว้าง", "title": "ทักษิณ ชินวัตร" }, { "docid": "63252#5", "text": "ยิ่งลักษณ์เป็นบุตรสาวคนสุดท้องของเลิศ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ และยินดี ชินวัตร ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าจันทร์ทิพย์ ระมิงค์วงศ์ (หลานตาของเจ้าไชยสงคราม สมพมิตร ณ เชียงใหม่ ซึ่งสืบเชื้อสายจากพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา พระเจ้านครเชียงใหม่) ยิ่งลักษณ์มีพี่น้อง 10 คน เช่น พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี, เยาวเรศ ชินวัตร อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติ, เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ และพายัพ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งยังเป็นน้องสะใภ้ของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ผ่านทางเยาวภาผู้เป็นพี่สาว", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "50151#0", "text": "พานทองแท้ ชินวัตร ชื่อเล่น: โอ๊ค (2 ธันวาคม พ.ศ. 2522) นักธุรกิจชาวไทย สมาชิกพรรคเพื่อไทย บุตรชายของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย กับคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ เกิดที่เมืองฮันต์สวิลล์ ในรัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา มีน้องสาวสองคน คือพินทองทา และแพทองธาร", "title": "พานทองแท้ ชินวัตร" }, { "docid": "198644#4", "text": "โดยช่วงสำคัญของงานครั้งนี้ อยู่ที่การปราศรัยทางโทรศัพท์ ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร โดยมีนายวีระ เป็นผู้สัมภาษณ์บนเวที โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้กล่าวถึง การสร้างความสามัคคี ว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนควรปฏิบัติ", "title": "การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน" } ]
2449
ท่านอิมามอาลี อิบนิ อะบีฏอลิบ เกิดที่ไหน ?
[ { "docid": "16812#1", "text": "อะลีกำเนิดในกะอ์บะฮ์ มหานครมักกะฮ์ วันที่ 13 เดือนเราะญับ ปีช้างที่ 30 ตรงกับวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 599 หรือปีที่ 10 ก่อนมับอัษการแต่งตั้งศาสดามุฮัมมัด", "title": "อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ" } ]
[ { "docid": "911238#0", "text": "นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คือตำราที่รวบรวมธรรมเทศนา สาสน์และสุนทโรวาทสั้น ๆ จากท่านอิมามอาลี อิบนิ อะบีฏอลิบ (อฺ) โดยการรวบรวมของท่านซัยยิด รอฎี ในศตวรรษที่ ๔ ของฮิจเราะฮฺศักราช เนื่องจากความสนใจที่ท่านมีไปยังสำนวนโวหารที่ไพเราะของท่านอิมามอาลี (อฺ) ในจดหมายและธรรมเทศนา ซึ่งได้มีการแปลตำราฉบับดังกล่าวออกมาเป็นหลายภาษา", "title": "นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ" }, { "docid": "220848#2", "text": "ภายหลังจากที่ท่านอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ เคาะลีฟะฮ์รอชิดีนคนที่ 4 เสียชีวิต ท่านหะสัน อิบนุ อะลี บุตรของท่านอาลีได้รับเลือกตั้งเป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป แต่ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ได้ไม่กี่เดือนก็ยอมสละตำแหน่งให้แก่ท่านมุอาวียะฮ์ อิบนุ อบี สุฟยาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในรัฐอิสลาม พร้อมกับหลีกเลี่ยงความแตกแยกและการสูญเสียเลือดระหว่างชาวมุสลิมด้วยกันมากกว่านี้", "title": "รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์" }, { "docid": "984053#2", "text": "อบูฏอลิบเป็นพี่ชายของอับดุลลอฮ์ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบผู้เป็นพ่อของมุฮัมหมัดที่เสียชีวิตก่อนที่มุฮัมหมัดเกิด หลังจากอามีนะฮ์ บินต์ วาฮับแม่ของมุฮัมหมัดเสียชีวิตตอนอายุ 6 ขวบ อับดุลมุฏฏอลิบจึงรับเลี้ยงต่อและเสียชีวิตตอนที่มุฮัมหมัดอายุ 8 ขวบ. อัล-ฮาริษไม่มีรายได้มากพอที่จะเลี้ยงดูเขา อบูฏอลิบจึงรับเลี้ยงเขาเพราะความเอื้ออาทรของเขา", "title": "อบูฏอลิบ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ" }, { "docid": "984053#13", "text": "ชาวชีอะฮ์เชื่อว่าบรรพบุรุษของอบูฏอลิบเป็นมุสลิม เพราะเขาเป็นลูกหลานของอิสมาอิล อิบน์ อิบรอฮีม อย่างไรก็ตาม รายงานจากซูเราะฮ์ที่ 6 ,9 และ 19 ของอัลกุรอ่าน อะซัร \"พ่อ\"ของอิบรอฮีม () นับถือลัทธิพหุเทวนิยม และเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา นับตั้งแต่ \"อับ\" ถูกใช้ในฐานะลุงของชาวอาหรับ แต่ชาวชีอะฮ์บางคน บอกว่าอะซัรไม่ใช่พ่อแท้ๆ ของอิบรอฮีม ส่วนพ่อแท้ๆ ของท่านคือเตราห์ในคัมภีร์ไบเบิล ผู้ที่นับถือลัทธิพหุเทวนิยม", "title": "อบูฏอลิบ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ" }, { "docid": "377828#0", "text": "อัยมัน มุฮัมมัด เราะบี อัซเซาะวาฮิรี (, ; เกิด 19 มิถุนายน พ.ศ. 2494) เป็นนักเทววิทยาอิสลามชาวอียิปต์ ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำของกลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์ ก่อนหน้านั้นเขาเคยเป็น \"เอมีร์\" (emir) คนที่สองและคนสุดท้ายของญิฮาดอิสลามอียิปต์ โดยสืบทอดตำแหน่งเอมีร์สืบต่อจากอับบัด อัล-ซูมาร์ เมื่อเขาถูกทางการอียิปต์ตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ภรรยาของอัซเซาะวาฮิรีและลูกสามคนจากทั้งหมดหกคนถูกสังหารในการโจมตีทางอากาศในอัฟกานิสถานโดยกองทัพสหรัฐเมื่อปลายปี พ.ศ. 2544 หลังเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 จนถึงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เขาได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นหัวหน้าในนามของกลุ่มอัลกออิดะฮ์ภายหลังการเสียชีวิตของอุซามะฮ์ บิน ลาดิน ซึ่งรายงานดังกล่าวได้รับการยืนยันจากข้อมูลข่าวของกองบัญชาการใหญ่อัลกออิดะฮ์เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน หลังจากเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเสนอเงินรางวัล 25 ล้านดอลล่าร์สหรัฐสำหรับข้อมูลที่จะนำไปสู่การจับกุมตัวอัซเซาะวาฮิรี", "title": "อัยมัน อัซเซาะวาฮิรี" }, { "docid": "18291#0", "text": "มุฮัมมัด อิบนุลฮะนะฟียะหฺ () เป็นบุตรชายของท่านอิมามอะลีย์กับนางเคาละหฺ บินตุญะอฺฟัร แห่งเผ่าฮะนีฟะหฺ นางจึงได้รับการเรียกขานว่า อัลฮะนะฟียะหฺ (สตรีแห่งเผ่าฮะนีฟะหฺ) เมื่อครั้งที่ชาวยะมามะหฺ ถูกกองทัพของอะบูบักรฺโจมตี ฐานละเมิดกฎบัญญัติศาสนา ไม่จ่ายซะกาต พวกเขาถูกจับเป็นเชลยมาที่เมืองมะดีนะหฺ ในนั้นมีนางเคาละหฺร่วมอยู่ด้วย ผู้คนในเผ่าฮะนีฟะห์จึงขอร้องอิมามอะลีย์ให้ช่วยเหลือนางไม่ให้ถูกขายเป็นทาส อิมามอะลีย์จึงไถ่นางให้พ้นจากมือของพวกที่จับกุมนาง และสมรสกับนางในเวลาต่อมาจนกระทั่งนางได้บุตรกับอิมามอะลีย์นั่นคือมุฮัมมัด อิบนุลฮะนะฟียะหฺ", "title": "มุฮัมมัด อิบนุลฮะนะฟียะหฺ" }, { "docid": "885652#2", "text": "ณ เมืองกูฟะฮ์ อับดุรเราะห์มาน ก็เข้าพบบรรดาบุรุษจากเผ่ากินดะฮ์ของเขา แต่ก็ไม่เปิดเผยความตั้งใจของเขาเนื่องจากกลัวว่า ข่าวจะรั่วไหลและแพร่สะพัดไปทั่ว วันหนึ่งเขาเห็นเผ่า ตีมุรรอบาบ กำลังไว้อาลัยแก่บรรดาผู้ที่ถูกสังหารในสงครามนะฮ์รอวาน ในระหว่างนั้นก็เห็นและชอบพอสตรีงดงามนางหนึ่ง ชื่อว่า กุฏอมะฮ์ บินติ ชัจนะฮ์ จึงสู่ขอนาง โดยนางได้วางสินสอนเป็นเงิน 3000 ดิรฮัม  ทาสหญิงหนึ่งคน ทาสชายหนึ่งคน และการฆาตกรรมอะลี นางมีความอาฆาตแค้นอะลี เนื่องจากพ่อและพี่ชายของนางถูกฆ่าในสงครามนะฮ์รอวาน นางไม่เพียงยุยงอับดุรเราะห์มานในการนี้ ทว่ายังสนับสนุนและให้การช่วยเหลือ โดยส่งคนหนึ่งจากเผ่าของนาง ชื่อว่า วัรดาน เดินทางไปกับเขาด้วย ส่วนอับดุรเราะห์มานก็ขอความช่วยเหลือจาก ชะบีบ บิน บัจเราะฮ์ จากเผ่าบะนีอัชญะอ์ คืนก่อนเหตุการณ์ กุฏอมะฮ์ได้นัดพบกับชายทั้งสามคน ณ มัสยิดกูฟะฮ์ แล้วได้นำผ้าไหมมาผูกไว้ที่่หน้าอกของพวกเขา (ในแหล่งอ้างอิงไม่ได้อธิบายการกระทำที่น่าแปลกนี้เอาไว้) ทั่งสามได้ซ่อนดาบที่อาบยาพิษนอนอยู่ข้าง ๆ มัสยิด เพื่อรออะลี มานมาซซุบห์ที่มัสยิด มีเพียงอิบน์ มุลญิม เท่านั้นที่ทำการนี้สำเร็จ โดยตะโกนว่า การตัดสินเป็นของอัลลอฮ์แต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ไม่ใช่ท่านและสหายของท่าน พร้อมกับฟันไปที่ศรีษะของอะลี จากนั้นก็ต้องการหนี แต่ก็ถูกจับตัวไว้ได้ และนำตัวเขาไปยังที่บ้านของอะลี เขากล่าวต่อหน้าอะลีว่า  ฉันลับดาบเล่มนี้ให้คมกริบอยู่ 40 วัน และขอต่อพระองค์ว่าขอให้ดาบนี้ฟันสิ่งถูกสร้างที่เลวร้ายที่สุดของพระองค์ อะลี ได้ตอบแก่เขาว่า ดาบเล่มนี้จะสังหารอิบน์ มุลญิม เอง และเรียกเขาว่า สิ่งถูกสร้างที่เลวร้ายที่สุดของพระองค์", "title": "อับดุรเราะห์มาน อิบน์ มุลญิม" }, { "docid": "156422#0", "text": "เซอร์มูฮัมมัด อิกบาล () (9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1877 - 21 เมษายน ค.ศ. 1938) มักเรียกว่า อัลลามา อิกบาล เป็นกวีและนักปรัญชาเกิดในเซียลคอต ซึ่งขณะนั้นอยู่ในแคว้นปัญจาบ บริติชอินเดีย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในปากีสถาน อิกบาล ผู้เขียนบทกวีในภาษาอุรดูและภาษาเปอร์เซีย ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในบุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ (icon) ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยใหม่\nหลังศึกษาในอังกฤษและเยอรมนี อิกบาลได้ทำงานด้านกฎหมาย แต่ยังมุ่งสนใจงานเขียนผลงานเชิงวิชาการว่าด้วยการเมือง เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญาและศาสนาเป็นหลัก ผลงานที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดเป็นงานด้านบทกวี", "title": "มูฮัมมัด อิกบาล" }, { "docid": "16812#0", "text": "อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ (; ) เป็นบุตรเขยของศาสนทูตมุฮัมมัด อิมามที่ 1 ตามทัศนะชีอะฮ์ อย่างไรก็ตามทัศนะของมัซฮับซุนนี อิมามอะลีเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่ 4 และศูฟีย์เกือบทุกสายถือว่าเป็นปฐมาจารย์ ต่างก็ยกย่อง อะลี ว่าเป็นสาวกผู้ทรงธรรมและเป็นปราชญ์ผู้ประเสริฐเลิศ", "title": "อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ" }, { "docid": "17650#6", "text": "ท่านอุซามะหฺยังคงยืนหยัดต่อสู้แม้ว่ารองแม่ทัพคนที่ 1 คือ ญะอฺฟัร บินอะบีฏอลิบ (พี่ชายของอะลีย์ บินอะบีฏอลิบ) และรองแม่ทัพคนที่ 2 คือ อับดุลลอหฺ บินรอวาฮะหฺจะถูกสังหารสิ้นชีวิตไปอีกสองคน และท่านก็ยังสู้ต่อไป ภายใต้การนำของรองแม่ทัพคนที่ 3 คือ คอลิด อิบนุลวะลีด และในที่สุด คอลิด ก็ได้สถานการณ์นำทหารจำนวนน้อยถอยทัพกลับมาได้ ท่านอุซามะหฺต้องสูญเสียบิดาที่สนามรบ มุอ์ตะห และท่านก็ขี่ม้าสงครามตัวที่บิดาใช้ขี่เข้าประจัญบานจนถึงแก่ชีวิตนั้นกลับเข้าเมืองมะดีนะหฺ", "title": "อุซามะหฺ บินเซด" } ]
3830
การเห็นรูปสัตว์หรือใบหน้าในก้อนเมฆ คือ แพริโดเลีย ใช่หรือไม่?
[ { "docid": "472991#0", "text": "แพริโดเลีย[1] หรือ แพไรโดเลีย[2][3][4] (English: Pareidolia, /pær[invalid input: 'ɨ']ˈdoʊliə/, parr-i-DOH-lee-ə) เป็นปรากฏการณ์ทางจิต ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้สิ่งเร้าเช่นภาพหรือเสียงที่ไม่ชัดเจนและไม่มีรูปแบบ (คือบังเอิญ สุ่ม) ว่ามีความหมายมีความสำคัญ เป็นการรับรู้แบบหนึ่งของ apophenia ซึ่งเป็นการเห็นรูปแบบหรือความสัมพันธ์กันในข้อมูลสุ่มที่ไม่มีความหมาย ตัวอย่างที่สามัญอย่างหนึ่งคือการเห็นรูปสัตว์หรือใบหน้าในก้อนเมฆ ชายบนดวงจันทร์ กระต่ายบนดวงจันทร์ และการได้ยินข้อความที่ซ่อนไว้บนแผ่นเสียงไวนิลที่เล่นย้อนทาง", "title": "แพริโดเลีย" } ]
[ { "docid": "814032#4", "text": "ได้มีการนำภาพยนตร์นี้ไปขยายเพื่อวิเคราะห์ให้เห็นชัด แต่ไม่ปรากฏพบตะเข็บหรือรอยต่อของชุด แต่เห็นว่ามีกล้ามเนื้อไบเซ็ปขนาดใหญ่ที่ต้นขากระเพื่อมขณะที่มันเดิน นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องความรู้สึกและการเคลื่อนไหวของมนุษย์ แห่งมหาวิทยาลัยมินนิโซตา ในปี ค.ศ. 2004 ได้ทดสอบร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ด้วยการให้อาสาสมัครที่เป็นนักกีฬาที่มีกล้ามเนื้อยืดหยุ่นทดลองเดินแบบสัตว์ในภาพยนตร์ดูบ้าง และสังเกตแบบเฟรมต่อเฟรม สรุปได้ว่า มนุษย์ธรรมดาไม่สามารถเดินด้วยท่าทางแบบนั้นหรือทำซ้ำได้ เพราะมีการพลิกของกล้ามเนื้อด้านข้างของส่วนขาและเท้าที่ค่อนข้างแปลก รวมถึงไม่ใช่ท่าเดินของสัตว์จำพวกลิงเท่าที่รู้จักในปัจจุบันนี้ด้วย และภาพยนตร์ชุดนี้ยังได้นำไปทดสอบต่อ โดยการใช้ฟิล์มต้นฉบับถ่ายซ้ำด้วยกล้องดิจิทัลเพื่อขยายให้เห็นชัด โดยผู้ค้นคว้าเรื่องบิ๊กฟุตและนักวานรวิทยาอีกกลุ่ม แต่ทว่าภาพที่ได้แตกพร่าเกินไป แต่เมื่อนำฟิล์มดิจิทัลที่ถ่ายฟิล์มต้นฉบับมาดู ก็เห็นชัดขึ้น สามารถเห็นถึงลักษณะรายละเอียดของใบหน้า ว่ามีรูจมูก และปาก มีกล้ามเนื้อวงรอบหน้า และกล้ามเนื้อมุมขากรรไกรที่พัฒนามาเป็นอย่างดีใช้สำหรับขยับกราม เห็นปากขยับเปิดออกและปิดลง รวมถึงมีความเหมือนของตำแหน่งปากกับชิมแปนซี ขณะที่กิมลินบอกว่า ในวันนั้นเขาเห็นใบหน้าของมันชัดเจน", "title": "ภาพยนตร์ของแพตเตอร์สัน–กิมลิน" }, { "docid": "759478#6", "text": "ฮาร์วีย์รายงานว่าไอนสไตน์ไม่มี (parietal operculum) ในทั้งสองซีกสมอง ทว่าการค้นพบนี้ถูกโต้เถียงFalk, D.; Lepore, F. E.; Noe, A. (2012).  รูปของสมองแสดงให้เห็นร่องด้านข้างทีถูกขยาย ในปีค.ศ. 1999 โดยทีมงาน ณ มหาวิทยาลัยเม็คมาสเตอร์ ใน แฮมิลตัน รัฐออนตาริโอ พบว่าส่วนของแพริเอตทัลโอเพอร์คิวลัมในรอยนูนสมองกลีบหน้าด้านล่าง (Inferior frontal gyrus) ในสมองกลีบหน้านั้นว่างอยู่ นอกจากนั้นส่วนนึงของขอบที่เรียกว่าร่องด้านข้าง (Sylvian fissure) ยังหายไป นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเม็คมาสเตอร์ได้พิจารณาว่าการว่างที่เกิดขึ้นอาจทำให้เซลล์ประสาทในส่วนนี้ของสมองสื่อสารกันได้ดีมากขึ้น \"กายวิภาคสมองนี้...[การหายไปของร่องด้านข้าง]...อาจเป็นคำอธิบายว่าทำไมไอนสไตน์ถึงคิดแบบที่เขาคิด\" ศาสตราจารย์ แซนดรา วิเทลซัน ซึ่งนำการวิจัยที่ตีพิมพ์ลงใน \"เดอะ แลนเซ็ต\" ได้กล่าวไว้ การศึกษานี้อยู่บนฐานของรูปถ่ายของสมองทั้งก้อนซึ่งถูกถ่ายไว้ในการชันสูตร ปี 1955 โดยฮาร์วีย์ ไม่ใช่จากการตรวจสอบสมองอย่างละเอียด ไอนสไตน์เองอ้างว่าเขาคิดผ่านการมองเห็นแทนที่คำพูด", "title": "สมองของอัลเบิร์ต ไอนสไตน์" }, { "docid": "472991#14", "text": "เมื่อรวมกับปรากฏการณ์ Apophenia (คือการระบุรูปแบบในข้อมูลที่ไม่มีรูปแบบ) และ hierophany (การปรากฏประจักษ์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์) ปรากฏการณ์แพริโดเลียอาจจะช่วยสังคมมนุษย์ในยุคต้น ๆ จัดระเบียบให้กับธรรมชาติที่สับสนและทำให้เข้าใจเหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลกได้[23][24]", "title": "แพริโดเลีย" }, { "docid": "472991#2", "text": "ในสมุดบันทึกของเขา ยอดนักศิลป์ เลโอนาร์โด ดา วินชี กล่าวถึงแพริโดเลียว่าเป็นเทคนิคสำหรับจิตรกร คือเขียนไว้ว่า \"ถ้าเราดูผนังที่เป็นจุด ๆ ด้วยรอยต่าง ๆ หรือผนังที่ประกอบด้วยก้อนหินต่าง ๆ ที่ผสมผสานกัน และถ้าเรากำลังคิดประดิษฐ์ฉากรูปภาพ เราอาจจะเห็นผนังนั้นเหมือนกับทิวทัศน์ต่าง ๆ ประดับไปด้วยทิวเขา แม่น้ำ ก้อนหิน ต้นไม้ ทุ่งกว้าง หุบเขาที่กว้างขวาง และกลุ่มเนินเขาต่าง ๆ และอาจจะเห็นสงครามในรูปแบบต่าง ๆ และคนสัตว์ต่าง ๆ ที่มีการเคลื่อนไหวไปอย่างรวดเร็ว เห็นทั้งการแสดงอารมณ์ทางใบหน้าที่แปลก ๆ และเครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ ที่ตระการตา และสิ่งอื่น ๆ อันหาจำนวนไม่ได้ซึ่งเราสามารถจะกำหนดให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ ที่เป็นต่างหากและชัดเจน\"[5]", "title": "แพริโดเลีย" }, { "docid": "10878#3", "text": "แต่ความจริงแล้วภาพนี้แท้จริงเป็นแพริโดเลียประการหนึ่ง ที่ทำให้มองว่าคล้ายใบหน้ามนุษย์ ซึ่งที่จริงเป็นแสงและเงาที่ตกกระกันบนภูเขาของดาวอังคาร เมื่อถ่ายอีกครั้ง ณ สถานที่เดิมก็ไม่ปรากฏภาพในลักษณะเช่นนี้อีก", "title": "ใบหน้าบนดาวอังคาร" }, { "docid": "472991#3", "text": "มีรายงานมากมายเกี่ยวกับการเห็นภาพและรูปร่างต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบหน้าของบุคคลสำคัญ ที่ปรากฏขึ้นในสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ และรายงานมากมายเป็นการเห็นภาพของพระเยซู[6] แม่พรหมจรรย์มารีย์[7] คำเขียนว่าอัลลอฮ์[8] หรือปรากฏการณ์ทางศาสนาอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 ในประเทศสิงคโปร์ มีแคลลัส[9]บนต้นไม้ต้นหนึ่งที่ปรากฏรูปร่างเหมือนกับลิง เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีผลให้ผู้ที่ศรัทธาเดินทางมาบูชาเจ้าแห่งลิง (โดยถือเอาเป็นหนุมานหรือเห้งเจีย)[10]", "title": "แพริโดเลีย" }, { "docid": "472991#10", "text": "นักดาราศาสตร์ คาร์ล เซแกน ตั้งสมมุติฐานว่า โดยกรรมพันธุ์ มนุษย์มีความสามารถในการระบุใบหน้ามนุษย์ตั้งแต่กำเนิดเพราะเป็นทักษะที่ต้องมีเพื่อการรอดชีวิต ความสามารถนี้ทำให้มนุษย์สามารถระบุใบหน้าแม้จะมีรายละเอียดเพียงเล็กน้อยจากที่ไกล ๆ หรือที่เห็นได้ไม่ชัด แต่ก็ทำให้เกิดการตีความหมายรูปภาพที่จริง ๆ ไม่เหมือนอะไร หรือแสงและเงาที่ปรากฏในบางรูปแบบว่าเป็นใบหน้า[18] ข้อได้เปรียบทางวิวัฒนาการในการแยกแยะใบหน้าของมิตรหรือศัตรูอย่างรวดเร็ว (ไม่ถึงวินาที) อย่างแม่นยำมีมากมาย เช่น มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ (หรือแม้แต่มนุษย์ปัจจุบัน) ผู้ระบุศัตรูว่าเป็นมิตรอย่างไม่ได้ตั้งใจอาจประสบผลที่ทำให้ถึงตายเพราะความผิดพลาดนั้น นี้เป็นความกดดันทางวิวัฒนาการเพียงประเด็นหนึ่งในหลายประเด็น ที่มีผลเป็นการพัฒนาความสามารถในการรู้จำใบหน้าของมนุษย์ปัจจุบัน[19]", "title": "แพริโดเลีย" }, { "docid": "949617#0", "text": "วลาหก(Vlahok) เป็นสัตว์หิมพานต์ตระกูลม้า ลักษณะภายนอกจะเป็นม้ามีหางเป็นปลาตัวสีขาวนวล ช่วงหัวสีดำ ปากและเท้าทั้งสี่มีสีแดง อาศัยอยู่ในบนท้องฟ้า บนก้อนเมฆ คำว่าวลาหกหมายถึงม้าเมฆ รากศัพท์มาจากคำว่า วลาหก หมายถึง ม้า พันธุ์ดีจากท้องฟ้าเมฆ วลาหกเป็นหนึ่งในสัตว์หิมพานต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อประดับสระอโนดาตบริเวณพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช", "title": "วลาหก" }, { "docid": "686167#27", "text": "ก้อนโปรตีนถั่วเหลือง () จะทำขึ้นโดยการขึ้นรูปให้เป็นแป้งโดจากกากถั่วเหลืองกับน้ำในเครื่องอัดรีดแบบเกลียวและให้ความร้อนด้วยไอน้ำหรือไม่ใช้ไอน้ำ แป้งโดจะผ่านเครื่องออกมาเป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามต้องการและถูกทำให้แห้งในเตาอบ เทคโนโลยีการอัดขึ้นรูปจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโปรตีนถั่วเหลืองส่งผลให้เป็นเส้นไฟเบอร์ เป็นรูพรุนคล้ายกับเนื้อสัตว์ TSP ถูกนำมาใช้แทนผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และสัตว์ปีกต้นทุนต่ำ", "title": "อาหารดัดแปรพันธุกรรม" }, { "docid": "472991#8", "text": "ในปี ค.ศ. 1971 นักเขียนชาวลัตเวีย Konstantīns Raudive พิมพ์หนังสือ Breakthrough (การค้นพบ) ให้รายละเอียดกับสิ่งที่ขาเชื่อว่าเป็นการค้นพบ electronic voice phenomenon (ปรากฏการณ์เสียงอิเล็กทรอนิกส์ ตัวย่อ EVP) ซึ่งต่อมาได้รับคำอธิบายว่าเป็นปรากฏการณ์แพริโดเลียทางหู[6]", "title": "แพริโดเลีย" }, { "docid": "472991#18", "text": "33 ตัวอย่างของ ปรากฏการณ์แพริโดเลียที่เกิดจากอุกกาบาต Skeptic's Dictionary definition of pareidolia ใบหน้าของซาตานที่เห็นในควันจากเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์", "title": "แพริโดเลีย" }, { "docid": "472991#19", "text": "หมวดหมู่:ความเอนเอียงทางประชาน หมวดหมู่:การรับรู้ หมวดหมู่:การรับรู้ทางตา หมวดหมู่:ภาพลวงตา หมวดหมู่:เสียงลวงหู", "title": "แพริโดเลีย" }, { "docid": "472991#16", "text": "สฟิงซ์โรมาเนียในเทือกเขา Bucegi หน้าคนบนภูเขา Pedra da Gavea ที่เมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิลที่รู้จักกันว่า \"พระเศียรจักรพรรดิ\" \"La Gardienne des Gorges\" เป็นรูปโครงของหญิงใส่หมวกที่อยู่ในหุบเขา Georges de Daluis ในประเทศฝรั่งเศส \"มนุษย์หน้าสยิ้ว\" ทำด้วยแผ่นหินแดง อยู่ที่ลำแม่น้ำ Cians ของอุทยานแห่งชาติ Mercantour ประเทศฝรั่งเศส \"ชายแก่ประจำภูเขา\" ในเมืองฟรังโกเนีย รัฐนิวแฮมป์เชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทลายไปแล้วเมื่อปี ค.ศ. 2003 ผีป่า Baba Yaga ที่อุทยานแห่งชาติ Bayanaul ในประเทศคาซัคสถาน ใบหน้ามีรอยยิ้มในแอ่ง Galle บนดาวอังคาร", "title": "แพริโดเลีย" }, { "docid": "2795#32", "text": "หญ้าเลี้ยงขนม [24] ไม่ว่าขนมอะไรก็ชอบหญ้าชนิดนี้กันทั้งนั้น ยิ่งกิน ขนมก็ยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้น หน่อสนประดับ ถ้าเราปลูกหน่ออ่อนนี้ไว้ในฤดูใบไม้ผลิ พอถึงปีใหม่มันจะกลายเป็นหน่อสนประดับต้อนรับปีใหม่ หนามเสร็จสมบูรณ์ [43] ไม่มีข้อมูล หนังสือเดินทางของมารร้าย ถ้าให้ใครดูแล้ว จะขออนุญาตให้ทำชั่วแบบไหนก็ได้ ในความจริงแล้วเป็นหนังสือเดินทางที่น่ากลัวมาก หนังสือทำโมเดลกระดาษ ถ้าท่านใช้กรรไกรตัดกับสิ่งที่ต้องการ มันก็จะเสมือนจริง หนังสือภาพถ่ายทอดความจริง หนังสือนี้สามารถถ่ายทอดสิ่งต่างๆ ได้คล้ายกับภาพยนตร์ หมวกก้อนหินริมทาง [4] เมื่อสวมหมวกนี้แล้ว ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ที่ไหนก็ไม่มีใครให้ความสนใจ เหมือนกับก้อนหินที่ตกอยู่ริมทาง เป็นของวิเศษที่ถูกนำมาใช้บ่อยๆ ใน โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ เวลาที่ต้องหนีจากศัตรูตัวร้าย หมวกกะจิดริด หมวกนี้มีขนาดเล็ก ถ้าคุณสวมหมวกนี้เข้า ตัวจะเล็กลงทันที หมวกคนส่งของ [44] หากใครได้สวมหมวกนี้ก็จะกลายเป็นคนส่งของ ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะกลายเป็นการส่งของไปโดยอัตโนมัติ หมวกช่วยเหลือ [26] ไม่มีข้อมูล หมวกตั้งแคมป์ [พิเศษ 3] เมื่อกดปุ่มบนหมวก หมวกจะขยายออกเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราว ทางเข้าออกอยู่ด้านบนเพื่อป้องกันสัตว์ร้าย หมวกนักขว้างมือฉมัง [6] เมื่อสวมหมวกนี้ ไม่ว่าขว้างอะไรก็จะถูกเป้าที่ต้องการเสมอไม่ว่าจะฝีมือแย่แค่ไหน หมวกมั่นใจ ถ้าใครสวมหมวกใบนี้ละก็ จะรู้สึกว่าโลกนี้เป็นของตนแต่เพียงผู้เดียว หมวกยืนฝัน พอสวมเครื่องนี้ไว้บนศีรษะ แล้วก็จะสนุกกับความฝันได้ทุกรูปแบบ คุณอยากฝันแบบไหน ก็ปรับได้ตามใจชอบ หมวกสำรวจอวกาศ เมื่อสวมหมวกนี้แล้ว จะเห็นทิวทัศน์ที่เป็นอวกาศ หมวกแฟชั่น Bird Cap เป็นหมวกที่มีรูปร่างเป็นรูปนก เมื่อสวมหมวกแล้ว จะมีปีกงอกออกมาจากหลัง และจะสามารถบินได้ จะเป็นปีกของพันธุ์อะไรก็ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่สวมอยู่ ปรากฏครั้งแรกในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ตอนโนบิตะและอัศวินแดนวิหค เพื่อใช้พรางตัวโดราเอมอน โนบิตะ ชิซุกะ ไจแอนท์ และซูเนโอะ เพื่อไม่ให้กลุ่มต่อต้านมนุษย์ในเบิร์ดโดเปียจำได้ว่าเป็นมนุษย์ หมอนความฝัน ถ้าหมุนลูกบิดให้ตรงกับวัน เวลา เดือน หรือปีที่ต้องการ ท่านสามารถฝันเห็นเหตุการณ์นั้นๆ ได้เลย หมัดแก้แค้น หมัดเทียมนี้จะช่วยแก้แค้นคนที่แกล้งเราให้หนักมากขึ้น 3 เท่า หมากฝรั่งตัวตายตัวแทน [6] ถ้ามีเรื่องลำบากใจ ไม่รู้จะพูดยังไง หมากฝรั่งตัวตายตัวแทนช่วยคุณได้ เพียงแค่เคี้ยวไป พูดข้อความที่ต้องการไป แล้วโยนไปแปะคนที่ต้องการให้พูดแทน หมากฝรั่งแบ่งปัน [11] ถ้าแบ่งหมากฝรั่งครึ่งหนึ่งให้อีกคนปุ๊บ ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งทานอะไร เราก็จะอิ่มไปด้วยครึ่งหนึ่ง หลอดอากาศ,จุกสูดอากาศ [พิเศษ1] ใส่ไว้ในจมูกจะทำให้หายใจในน้ำและในอวกาศได้ หลอดจรวด เมื่อใส่เข้าไปในปาก แล้วเป่าลมออกมา จะมีแรงเท่ากับก๊าซของจรวดออกมา สามารถปรับทิศทางและความแรงของลมเป่า ก็จะสามารถไปในท้องฟ้าได้อย่างอิสระ หลอดดูดแตงโม นี่คือหลอดชนิดพิเศษ จะดูดแต่เนื้อและน้ำแตงโมหวานๆ ออกมาเท่านั้น หลุมดำขนาดจิ๋ว [26] ไม่มีข้อมูล หลุมเด้งดึ๋ง ถ้าตกลงไปในนี้เราจะถูกเด้งดึ๋งออกมา ต่างไปจากหลุมพรางสำเร็จรูป หลุมทิ้งขยะลับ [36] รูปลักษณ์เหมือนจานบิน หากท่านตกลงไป นั่นคือไทม์แมชชีนขยะนั่นเอง ห่วงแปลงร่าง [41] นิยมใช้กับการ์ด ถ้าใส่การ์ดลงไปในช่อง มันจะแปลงร่างได้ มีฤทธิ์แค่ 15 นาที (ตอน สัตว์ประหลาดยักษ์บนเกาะร้าง) ห่วงผ่านตลอด ใช้ผ่านกำแพง ผนัง หรือสิ่งกีดขวางไปได้ทุกที่ โดยแปะห่วงนี้เข้ากับผนังหรือกำแพง จะเกิดเป็นโพรงขึ้นชั่วคราวทำให้สามารถลอดผ่านไปได้ ห่วงยางหม่ำได้ พอกินห่วงยางเข้าไป มันจะไปพองในท้อง รับรองว่าไม่จมน้ำ ห้างสรรพสินค้าที่บ้าน [23] ไม่มีข้อมูล หินแรงตั้งใจที่หนักแน่น [43] ไม่มีข้อมูล หุ่นยนต์ทำความสะอาด มันจะมีเครื่องทำความสะอาดสารพัดนึก เร็ว และสะดวกด้วย หุ่นยนต์บ้าน ถ้าติดตั้งไว้ใจกลางบ้านของเรา บ้านนี้จะกลายเป็นหุ่นยนต์ทันที หุ่นยนต์ปลอมตัว [1] สามารถให้เปลี่ยนร่างให้เหมือนกับร่างเป้าหมาย และสามารถบังคับเสียงพูดผ่านไมค์ลอยได้ (แต่ในรุ่นแรกๆ หุ่นจะพูดได้เอง) หุ่นยนต์ปลุกผักสารพัดนึก ถ้าท่านกดปุ่มขุด มันก็จะขุดเป็นแปลงปลูกผัก ถ้ากดปุ่มเมฆฝน มันก็จะฝนตกขึ้นมา (เฉพาะส่วน) หุ่นยนต์สำเร็จรูป [29] ไม่มีข้อมูล หุ่นยนต์หมากรุก ถึงไม่มีคู่เล่น เราก็เล่นกับเครื่องนี้ได้ แถมปรับระดับฝีมือได้อีกต่างหาก อยากจะแข่งกับเซียนหรืออยากจะแข่งกับหมู ก็เลือกได้ตามใจชอบ เหรียญทองกาฝาก ถ้าเอาไปติดไว้ที่หลัง ใครเดินผ่านมาก็สามารถไปเกาะหลังของคนๆ นั้น ได้", "title": "รายชื่อของวิเศษของโดราเอมอน" }, { "docid": "472991#13", "text": "งานวิจัยเหล่านี้ช่วยอธิบายว่า ทำไมมนุษย์จึงระบุรูปที่มีวงกลมไม่กี่วงและเส้น ๆ หนึ่งว่า เป็นใบหน้า อย่างรวดเร็วโดยไม่มีการลังเล คือจะมีกระบวนการทางประชาน (cognitive processes) ที่เกิดการทำงานเมื่อเห็นวัตถุที่คล้ายใบหน้า ซึ่งบอกผู้เห็นว่าคือใครและคนนั้นมีอารมณ์เป็นอย่างไร เป็นกระบวนการที่เป็นไปก่อนที่ระบบการรับรู้เหนือจิตใจจะเกิดการทำงาน หรือก่อนแม้จะได้รับข้อมูลเสียอีก เช่น รูปใบหน้าเชิงเส้น แม้ว่าจะมีความง่ายดาย แต่ก็สามารถสื่อข้อมูลเกี่ยวกับอารมณ์ในใบหน้า ซึ่งในกรณีนี้ เป็นความผิดหวังหรือความไม่แฮ็ปปี้แบบเล็กน้อย นอกจากนั้นแล้ว ยังสามารถวาดรูปหน้าเชิงเส้นอย่างง่าย ๆ ที่จะสื่อความดุหรือความเป็นศัตรูได้ ความสามารถที่ละเอียดอ่อนที่มีกำลังเช่นนี้เป็นผลของการคัดเลือกโดยธรรมชาติเป็นระยะเวลายาวนาน ที่เลือกบุคคลที่มีความสามารถมากที่สุดในการระบุอารมณ์ของคนอื่น เช่นบุคคลที่เป็นภัย เพื่อที่จะให้โอกาสบุคคลนั้นในการหลบหนีไปหรือในการจู่โจมก่อน กล่าวโดยอีกนัยหนึ่ง การประมวลข้อมูลเช่นนี้ในระบบใต้คอร์เทกซ์ (subcortical ดังนั้น จึงเป็นการประมวลผลอย่างที่ไม่ต้องรู้ตัว) ก่อนที่จะส่งข้อมูลต่อไปยังเขตสมองที่เหลือเพื่อประมวลผลขั้นละเอียดยิ่ง ๆ ขึ้นไป ทำให้บุคคลรนั้นสามารถตัดสินใจได้เร็วขึ้นในกรณีที่ความปราดเปรียวว่องไวมีความสำคัญอย่างยิ่ง[19] ความสามารถนี้ แม้ว่าจะมีหน้าที่ที่เฉพาะเจาะจงต่องการประมวลผลและการรู้จำอารมณ์ของมนุษย์ ก็ยังสามารถกำหนดอากัปกิริยาของสัตว์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย[22]", "title": "แพริโดเลีย" }, { "docid": "472991#9", "text": "ในปี ค.ศ. 1982 มีเสียงดนตรีร็อกที่เมื่อเล่น<i data-parsoid='{\"dsr\":[8995,9006,2,2]}'>ถอยหลัง</i>แล้ว สามารถได้ยินข้อความที่ลือว่าเป็นของซาตาน คนบางพวกเชื่อว่าข้อความเช่นนี้สามารถมีอิทธิพลต่อจิตใต้สำนึกได้แม้ว่าจะเล่นเสียงดนตรีนั้น<i data-parsoid='{\"dsr\":[9146,9158,2,2]}'>ตามปกติ เหตุการณ์นี้มีผลให้หลายรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกาออกกฎหมายห้ามการอัดเสียงที่ซ่อนข้อความเช่นนี้ การได้ยินข้อความ \"ลับ\" ที่เกิดจากการอัดเสียงถอยหลังอย่างนี้ได้รับการอธิบายจากนักวิชาการว่าเป็นปรากฏการณ์แพริโดเลียทางหู[6][17]", "title": "แพริโดเลีย" }, { "docid": "472991#7", "text": "การทดสอบ Rorschach inkblot test เป็นเทคนิคที่ใช้ แพริโดเลีย เพื่อที่จะเข้าใจสภาพจิตใจของบุคคล การทดสอบนี้เป็นการให้แสดงออกซึ่งบุคคลิกภาพ (projective test) โดยให้ผู้รับการทดสอบบอกความคิดหรือความรู้สึกของตน เกี่ยวกับภาพจุดหมึกที่ไม่ปรากฏว่าเป็นอะไรอย่างชัดเจน การแสดงออกเช่นนี้เป็นปรากฏการณ์แพริโดเลียแบบตามสั่ง เพราะว่า รูปต่าง ๆ เหล่านี้จริง ๆ แล้วออกแบบโดยเฉพาะเพื่อไม่ให้เหมือนกับอะไร ๆ[6]", "title": "แพริโดเลีย" }, { "docid": "146831#68", "text": "โกริ บีสต์ (ตอนที่1) สัตว์โลกปีศาจตัวแรกของซีรี่ย์ มีแผ่นเปลือกแข็งเลื่อนมาปิดส่วนหัวเพื่อป้องกันได้ สามารถแปลงเป็นลูกบอลติดใบเลื่อยกลิ้งเข้าใส่ศัตรูได้ มีดาบและขวานด้ามยาวเป็นอาวุธ เอย์ บีสต์ (ตอนที่2) สัตว์โลกปีศาจรูปร่างเหมือนปลากระเบนสามารถใช้ปีกร่อนไปมาได้ มีหอกเป็นอาวุธ ร่วมในแผนการสร้างภาพหลอนสุดสะพรึงในนิวทาวน์ คิบะ บีสต์ (ตอนที่3) สัตว์โลกปีศาจที่มีเขี้ยวโผล่ตามตัว สามารถยิงแสงจากตาได้และมีหอกสองง่ามเป็นอาวุธ ดูแลคุ้มกันโรงงานสาร้งจรวดมิซไซส์เพื่อถล่มยานแกรนด์เบิร์ส ไมคอน บีสต์ (ตอนที่4) สัตว์โลกปีศาจที่มีคอมพิวเตอร์ในตัว ร่วมแผนการชักจูงเด็กๆผ่านการเรียนการสอนผ่านคอมพิวเตอร์ มีอาวุธคล้ายคีมจับด้ามยาว ซาวด์ บีสต์ (ตอนที่5) สัตว์โลกปีศาจที่เด่นด้านการใช้พลังจิต แปลงตัวเป็นชายที่สามารถส่งพลังจิตผ่านการเป่าขลุ่ยได้เพื่อรวบรวมเหล่าผู้มีพลังจิตมาเป็นกองกำลัง มีง้าวด้ามยาวเป็นอาวุธ ยามางามิ บีสต์ (ตอนที่6) สัตว์โลกปีศาจร่างผสมที่ล่อลวงชาลีบันมาติดกับด้วยการจับและทรมานสัตว์ในป่าจนเกียบันต้องตามมาช่วย มีหอกเป็นอาวุธ ดับเบิล บีสต์ (ตอนที่7) สัตว์โลกปีศาจที่เข้าสิงเด็กสาวที่มีพลังจิตมาใช้ประโยชน์โดยแฝงเป็นบุคลิกซ่อนเร้น มีหอกปลายกรงเล็บและคบไฟระเบิดเป็นอาวุธ โดคุ บีสต์ (ตอนที่8) สัตว์โลกปีศาจหัวกะโหลกที่ดูแลโรงงานผลิตสารไดออกซิน สามารถพ่นแก๊สพิษไดออกซินมีเคียวด้ามยาวเป็นอาวุธ แคช บีสต์ (ตอนที่9) สัตว์โลกปีศาจหน้าตาประหลาดที่ดูแลการพิมพ์ธนบัตรปลอมของมาโด ปลอมเป็นลุงแก่ในบ้านที่พรางเป็นโรงงาน มีลูกตุ้มหนามเป็นอาวุธ ยูโฟ บีสต์ (ตอนที่10) สัตว์โลกปีศาจรูปแบบนักบินอวกาศที่มีส่วนหัวเป็นจานบิน สามารถถอดส่วนหัวนี้ออกจากตัวได้และเปลี่ยนแขนเป็นก้ามปูได้ด้วย ถูกส่งมาเล่นงานโคจิโร่ที่บังเอิญถ่ายภาพยานบินของมาโดได้ มีตุ้มเหล็กด้ามยาวเป็นอาวุธ โชริ บีสต์ (ตอนที่11) สัตว์โลกปีศาจผมยาวรุงรังมีปากแหลมที่ถูกสร้างขึ้นมาจากการวิเคราะห์ข้อมูลการต่อสู้ของชาลีบันที่ถูกพี่น้องเบงกัลรวบรวมมาได้ นอกจากจะมีความแข็งแกร่งแล้วยังมีทักษะการต่อสู้ที่ตอบโต้ชาลีบันได้ทุกรูปแบบจนเกือบเล่นงานชาลีบันได้ มีหอกปลายแหลมที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าได้และพ่นไฟได้เป็นอาวุธ โอคาริน่า บีสต์ (ตอนที่12) สัตว์ปีศาจที่มีรูปร่างเป็นมนุษย์ต่างดาวท่าทางใจดีและเป่าโอคาริน่าเพื่อการสะกดจิต แสแสร้งทำทีเป็นติดต่อกับชาวโลกอย่างเป็นมิตรแต่ก็ถูกชาลีบันขัดขวางจนเผยหน้าตาดุร้ายออกมา มีหอกปลายฉมวกเป็นอาวุธ บ๊อกเซอร์ บีสต์ (ตอนที่13) สัตว์โลกปีศาจที่แปลงร่างเป็นโค้ชนักมวยเพื่อล่อลวงเหล่านักกีฬามาเป็นพวก มีนวมที่แขนซ้ายซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นตุ้มเหล็กด้ามยาวเป็นอาวุธ คิลเลอร์ บีสต์ (ตอนที่14) สัตว์โลกปีศาจที่แปลงร่างเป็นนายหน้าค้าที่ดินที่ตามตื้อขอซื้อที่ดินของคุณยายคนนึงเพื่อตามหาสมบัติลับ เมื่อไม่ได้ดั่งใจก็ใช้พลังจิตสร้างภาพหลอนตามรังควาญเพื่อให้คุญยายยอมขายที่ สามารถถอดหัวที่ราวกับปักเทียนสาปแช่งออกมาหลอกหลอนและมีง้าวใหญ่เป็นอาวุธ ชิคาเกะ บีสต์ (ตอนที่15) สัตว์โลกปีศาจรูปแบบกิ้งก่าคาเมเลี่ยน สามารถแปลงโฉมและพรางตาได้อย่างแนบเนียน นอกจากนี้ยังแปลงเป็นก้อนหินกลิ้งทับ พ่นควันจากปากและแลบลิ้นยาวๆเป็นอาวุธโจมตีได้ ร่วมในแผนการจับตัวซึคิโกะไปเพื่อบังคับให้เกียบันมอบแบบโครงสร้างของพลังงานพลาสม่าที่ใช้กับยานแกรนด์เบิร์ส มีลูกตุ้มเหล็กด้ามยาวเป็นอาวุธ มาโบโรชิ บีสต์ (ตอนที่16) สัตว์โลกปีศาจที่แปลงร่างเป็นผู้จัดการของนักร้องไอดอลสาวที่ถูกมาโดดัดแปลงเป็นไซบอร์กแล้วใส่กล่องเสียงเทียมที่มีฤทธิ์ส่งคลื่นเสียงหลอนประสาทเอาไว้ สามารถยืดหน้าออกมากระแทกในระยะประชิดได้เหมือนสปริงมีง้าวใหญ่เป็นอาวุธ แมกม่า บีสต์ (ตอนที่17) สัตว์โลกปีศาจที่สามารถพ่นลาวาเป็นอาวุธได้ ดูแลแผนการขุดเจาะหาแหล่งแร่ยูเรเนียมของมาโด มีหอกและดาบเป็นอาวุธ ซาเมะ บีสต์ (ตอนที่18) สัตว์โลกปีศาจรูปแบบฉลามที่ร่วมแผนการขุดแร่ยูเรเนียมต่อจากแมกม่า บีสต์โดยเป็นตัวล่อเพื่อให้มาโดใช้จรวดมิซไซส์ขนาดใหญ่ถล่มเปิดทางสู้แหล่งแร่โดยเร็ว สามารถใช้ครีบบริเวณหัวเปลี่ยนเป็นตุ้มเหล็กด้ามยาวได้ คาตาริเบะ บีสต์ (ตอนที่19-20) สัตว์โลกปีศาจรูปร่างคล้ายมนุษย์วานรที่แปลงกายมาหลายร่างเพื่อร่วมแผนการค้นหา \"อิกะ คริสตัล\" ใช้ไม้เท้าเป็นอาวุธ รวมทั้งขว้างระเบิดเป็นอาวุธได้ อุตซึโบะ บีสต์ (ตอนที่21) สัตว์โลกปีศาจที่มีรูปร่างคล้ายปลาไหลมอร์เรย์ เกาะติดไปกับโมโตซาเลียนในรูปแบบดักแด้ลอบขึ้นยานแกรนด์เบิร์สเพื่อวินาศกรรม มีฟันอันแหลมคมและตุ้มหนามด้ามยาวเป็นอาวุธ ชินิงามิ บีสต์ (ตอนที่22) สัตว์โลกปีศาจเพศหญิงตัวแรก มีรูปแบบคล้ายยมทูต แปลงตัวเป็นแม่หมอดูไพ่ทาโรต์เพื่อล่อลวงให้บุคคลที่เป็นไอดอลพากันฆ่าตัวตาย มีเคียวที่เปลี่ยนดาบได้เป็นอาวุธ นิเมน บีสต์ (ตอนที่23) สัตว์โลกปีศาจสองหน้าที่หมุนไปมาได้ ดำเนินแผนการโคลนนิ่งเพื่อสร้างแฝดชั่วร้ายของมนุษย์ขึ้นมา มีหอกเป็นอาวุธ ไวรัส บีสต์ (ตอนที่24) สัตว์โลกปีศาจรูปร่างแมลงกว่างขนาดใหญ่ที่แพร่เชื้อขี้เกียจผ่านตัวด้วงที่แจกจ่ายให้แก่ผู้คนเป็นพาหะ มีหอกเขี้ยวสองง่ามเป็นอาวุธ ฮาร์ด บีสต์ (ตอนที่25) สัตว์โลกปีศาจที่แปลงกายร่วมในแผนมอมเมาเหล่าผู้มีอำนาจทางการเงินให้สนับสนุนมาโด และยังแปลงเป็นกลาดิเอเตอร์สร้างความบันเทิงด้วย มีหอกปลายตะขอกับดาบเล่มใหญ่เป็นอาวุธ ไคคิ บีสต์ (ตอนที่26) สัตว์โลกปีศาจที่แปลงร่างหลากหลายแฝงตัวในสวนสนุกเพื่องกำจัดชาลีบัน มีขวานเป็นอาวุธ อุรากิริ บีสต์ (ตอนที่27) สัตว์โลกปีศาจรูปแบบเพชฆาตที่ตามล่ามาริโอที่หลบหนีจากมาโด มีขวานด้ามใหญ่เป็นอาวุธ แคมปัส บีสต์ (ตอนที่28) สัตว์โลกปีศาจที่ปลอมตัวเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่น่านับถือเพื่อล่อลวงนักวิชาการหลากสาขามาเพื่อผ่าตัดเก็บสมองไว้ให้มาโดใช้ประโยชน์ มีอาวุธคล้ายใบไม้ขนาดใหญ่และแยกร่างเป็นนักกีฬาหลากประเภทเพื่อโจมตีชาลีบัน เฮย์คิ บีสต์ (ตอนที่29) สัตว์โลกปีศาจจักรกลที่ติดตั้งอาวุธสงครามไว้มากมาย จำแลงร่างเป็นนักวิชาการที่น่านับถือแต่เบื้องหลังกลับชักใยเหล่าผู้ค้าอาวุธสงคราม มีดาบเล่มใหญ่เป็นอาวุธ อีกทั้งติดตั้งจรวดมิซไซส์ไว้ที่บ่าอีกด้วย เฮนชิน บีสต์ (ตอนที่30) สัตว์โลกปีศาจเพศหญิงนำแฟชั่นทั้งแว่นตากันแดดและหมวก จำแลงร่างเป็นพนักงานในสถานเสริมความงามแต่พร้อมกันนั้นก็ล้างสมองบรรดาแม่ๆให้ละลิ้งลูกเต้าเพื่อความงามมีง้าวใหญ่เป็นอาวุธ โคได บีสต์ (ตอนที่31) สัตว์โลกปีศาจทรงพลังที่มีเขาขนาดใหญ่ มีหอกเป็นอาวุธและสามารถเรียกหินมาทุ่มใส่ได้ ร่วมในแผนส่งตัวชาลีบันไปยังมิติเวลาต่างๆเพื่อกำจัดด้วยเครื่องเคลื่อนย้ายข้ามมิติที่ไม่สมบูรณ์นักจนชาลีบันถูกส่งไปที่ต่างๆแบบสุ่มไปเรื่อยจนได้พบกับพวกมิยูกิกับกามาก้อน ไดโอ ชั่วครู่ เจกิลไฮด์ บีสต์ (ตอนที่32) สัตว์โลกปีศาจที่ล่อลวงเด็กๆมาด้วยน้ำส้มที่สามารถเปลี่ยนร่างกายและจิตใจของเด็กให้กลายเป็นสัตว์โลกปีศาจได้ มีขวานที่เปลี่ยนเป็นดาบได้เป็นอาวุธ ชุนคัน บีสต์ (ตอนที่33) สัตว์โลกปีศาจที่รับหน้าที่ตามหาแร่ที่ใช้กับอุปกรณ์เทเลพอร์ตของดอกเตอร์พอลเตอร์ ใช้พลังจิตได้และมีโล่ห์ที่ไหลกับดาบเป็นอาวุธ เฮียกคุเมะ บีสต์ (ตอนที่34) สัตว์โลกปีศาจรูปแบบเขียดที่มีตา 100 ดวงทั่วร่างสามารถแลบลิ้นยาวๆใช้โจมตีได้ มีหอกกับดาบเป็นอาวุธ ถูกพี่น้องคุเดต้าส่งไปกำจัดชาลีบันเพื่อชิงตัดหน้าเลด้าที่เพิ่งเสนอตัวเข้าร่วมด้วยการกำจัดชาลีบัน วาชิ บีสต์ (ตอนที่35) สัตว์โลกปีศาจรูปแบบเหยี่ยวใหญ่ที่สามารถบินไปมาด้วยปีกขนาดใหญ่ สามารถส่งคลื่นรบกวนได้ มีหอกเป็นอาวุธ บุนริ บีสต์ (ตอนที่36) สัตว์โลกปีศาจที่สามารถแยกร่างได้เป็น 2 ส่วนคือส่วนที่เป็นสัตว์กับส่วนที่เป็นพืช มีรยางค์เถาวัลย์และหอกที่เปลี่ยนเป็นดาบได้เป็นอาวุธ ถูกส่งมาจัดการกับพี่น้องเบลและเป็นผู้สังหารบิลลี่ลงได้ คุม่า บีสต์ (ตอนที่37) สัตว์โลกปีศาจรูปแบบหมีใหญ่ที่มีกรงเล็บแหลมคมขนาดใหญ่จำแลงร่างเป็นพรานป่าเพื่อตามหาดอกไม้ลึกลับที่ออกเมล็ดซึ่งมีผลสามารถสิ่งมีชีวิตที่กินเข้าไปบ้าคลั่ง มีเคียวด้ามยาวเป็นอาวุธ อาชูร่า บีสต์ (ตอนที่38) สัตว์โลกปีศาจรูปแบบเทวรูปที่ถูกส่งออกไปจัดการกับชาลีบันระหว่างที่พี่น้องคุเดต้าถูกเลด้าปั่นหัวจนเสียสติ มีหอกคบไฟและผืนผ้าเป็นอาวุธ ดอล บีสต์ (ตอนที่39) สัตว์โลกปีศาจเพศหญิงที่แปลงเป็นตุ๊กตาเพื่อปั่นหัวเฮเลน เบล มีอาวุธรูปร่างคล้ายแปรงหวีผมอันใหญ่และระเบิดตุ๊กตาเป็นอาวุธ สามารถถอดหัวออกจากตัวได้ โยเก็น บีสต์ (ตอนที่40) สัตว์โลกปีศาจที่จำแลงร่างเป็นหมอดูลวงโลกที่ทำนายเกี่ยวกับภัยพิบัติต่างๆอย่างแม่นยำเพื่อล่อให้ชาลีบันมาติดกับ จุดประสงค์เพื่อแยกโมโตซาเลี่ยนมาเพื่อหาทางทำลาย มีหอกสามง่ามที่เปลี่ยนดาบได้เป็นอาวุธ อะนาโฮริ บีสต์ (ตอนที่41) สัตว์โลกปีศาจที่มีอุปกรณ์ขุดเจาะทั้งสว่านและที่ตักดิน คอยคุ้มกันการสร้างฐานทัพใต้ดินผ่านเครือข่ายของทางรถไฟใต้ดินของมาโด มุคุโร่ บีสต์ (ตอนที่42) สัตว์โลกปีศาจที่ร่วมกันรุมเล่นงานเฮเลน เบลที่กำลังเสียท่าให้กับมือสังหารเลซ่าโดยช่วยมิสอาคุมะ 1 และ 2 รุมเล่นงานเฮเลนด้วยไม้เท้าจนเสียชีวิต เรไค บีสต์ (ตอนที่43) สัตว์โลกปีศาจตัวเดียวที่ปฏิบัติงานตามคำสั่งของเลด้า เข้าสวมรอยกับวิญญาณที่ยังไม่ไปสู่สุคติเพื่อเล่นงานชาลีบัน มีไม้เท้าหัวกะโหลกเป็นอาวุธและสามารถเรียกวิญญาณของสัตว์โลกปีศาจตัวอื่นมาช่วยได้ อังโค บีสต์ (ตอนที่44) สัตว์โลกปีศาจรูปแบบปลาตกเบ็ดซึ่งสามารถยืดรยางค์ที่ส่วนหัวเพื่อลอบเข้าไปปล่อยแก๊สกล่อมประสาทในหอพักหญิงและมีแสงจากดวงตาที่สามารถสะกดเหยื่อให้หลับได้ มีเคียวด้ามยาวเป็นอาวุธ ยูไค บีสต์ (ตอนที่45) สัตว์โลกปีศาจที่ถูกดอกเตอร์พอลเตอร์ใช้ให้ไปรวบรวมเด็กๆมาเป็นเหยื่อสังเวยผ่านการออดิชั่น โดยเป็นแผนของเลด้าที่แกล้งให้ดอกเตอร์พอลเตอร์เสียสติจนต้องพึ่งคุณไสยมาแก้เพื่อให้ถูกชาลีบันกำจัดแต่ดอกเตอร์พอลเตอร์ก็รอดไปได้อย่างหวุดหวิด ยูไคบีสต์มีหอกสามง่ามเป็นอาวุธหลัก เพรเซ็นต์ บีสต์ (ตอนที่46) สัตว์โลกปีศาจหน้าตาเป็นห่อของขวัญ ถูกส่งไปตามล่าช่างภาพอิสระที่ถ่ายภาพฐานทัพลับของมาโดโดยบังเอิญ มีหอกเป็นอาวุธ เคนเคียกคุ บีสต์ (ตอนที่47) สัตว์โลกปีศาจรูปแบบนักดาบที่ถูกส่งไปตามหาดาบต้องสาปที่มีพลังทัดเทียมเลเซอร์เบลดของชาลีบัน จนชาลีบันต้องใช้ดาบคุณธรรมมาช่วยรับมือเลยทีเดียว", "title": "ตำรวจอวกาศชาลีบัน" }, { "docid": "576090#15", "text": "ผลงานของมากริตนั้นอยู่ในรูปแบบของเซอร์เรียลลิซึม ดังนั้นภาพวาดของมากริตจึงมักจะขัดแย้งกับความเป็นจริง รวมไปถึงทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์ด้วย โดย A.M.Hammacher ได้ยกตัวอย่างจากผลงานของมากริต อย่างเช่นภาพ The False Mirror ที่แสดงให้เห็นถึงความจงใจที่จะลดทอนการทำงานตามธรรมชาติของลูกตา จุดที่น่าสังเกตก็คือ ลูกตานั้นไม่ได้มองมาที่ผู้ชม แต่นี่เป็นเพราะมากริตหลีกเลี่ยงการทำงานที่แท้จริงของลูกตา ซึ่งก็คือ การมองเห็น แต่กลับแสดงแค่การสะท้อนกลับของมันเท่านั้น คือการสะท้อนกลับของท้องฟ้าและก้อนเมฆที่อยู่ในส่วนกระจกตา หรืออย่างภาพ The Castle in the Pyrenees ที่มากริตพยายามจะหักล้างทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก โดยสร้างสรรค์ออกมาเป็นปราสาทที่อยู่บนก้อนหินยักษ์ที่ลอยได้อย่างเหนือธรรมชาติ ซึ่งการวาดภาพของมากริตนั้น เป็นเหมือนกับการแสดงออกทางปรัชญาของขบวนการที่เขาเข้าร่วมอย่างเซอร์เรียลลิซึม", "title": "เรอเน มากริต" }, { "docid": "472991#5", "text": "มีวิธีการพยากรณ์อนาคตแบบโบราณของชาวยุโรปหลายอย่างที่ตีความหมายเงาต่าง ๆ ของวัตถุ ยกตัวอย่างเช่น ในศาสตร์ molybdomancy มีการตีความหมายเงาของรูปร่างแบบสุ่มที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเทดีบุกหลอมลงไปในน้ำเย็นภายใต้แสงเทียน", "title": "แพริโดเลีย" }, { "docid": "37388#0", "text": "เมฆรูปเห็ด เป็นเมฆที่มีลักษณะรูปทรงคล้ายเห็ด เกิดจากควัน ไฟ หรือเถ้าถ่าน เกิดเนื่องจากแรงระเบิดอย่างมหาศาลที่เกิดจากแรงระเบิดไปกระตุ้นให้กากยูเรเนียมและพลูโตเนียมมาจับและเกาะกันเป็นกลุ่มก้อน มวลของอากาศส่งผลทำให้แรงระเบิดนิวเคลียร์สร้างกลุ่มก๊าซฮีเลียมจำนวน 800 ล้านล้านตันต่อวินาที ก้อนเมฆที่จับกันเป็นก้อนก็จะสร้างพันธะในสภาวะที่อิเล็กตรอนเป็นประจุ ก้อนเมฆจึงมารวมกับก๊าซฮีเลียมทำให้เกิดเป็นรูปดอกเห็ด", "title": "เมฆรูปเห็ด" }, { "docid": "2795#14", "text": "ถังประกอบภาพ [4] เป็นของวิเศษที่สามารถเปลี่ยนชิ้นส่วนอวัยวะบนใบหน้าคน ทั้งหู ตา จมูก ปาก หน้าตา และทรงผมได้ตามต้องการ โดยการเลือกรหัสชิ้นส่วนจากรูปถ่ายใบหน้าคนมากมาย และเมื่อกดปุ่มตามหมายเลขรหัส ใบหน้าของผู้ใช้ก็จะเปลี่ยนไปตามชิ้นส่วนที่เลือกไว้ ถังลูกสูบพลังงานอารมณ์ [42] ไม่มีข้อมูล ถุงปลอดภัย ถ้าอยู่ในถุงใบนี้ละก็ ต่อให้ข้างนอกเกิดเหตุการณ์รุนแรงแค่ไหนก็ไม่สะดุ้งสะเทือน ถุงมือจั๊กจี้ เมื่อใส่ถุงมือนี้แล้ว สามารถทำให้ผู้อื่นเกิดอาการจั๊กจี้ได้ ถึงแม้จะไม่โดนตัวก็ตาม แต่ต้องอยู่ภายในรัศมี 5 เมตรเท่านั้น ถุงมือเชียร์ลีดเดอร์ โยนถุงมือนี้ให้ผู้หญิงแล้วไม่ว่าผู้โยนจะทำอะไรก็จะชนะหมดเลย[23] ถุงมือซูเปอร์ [พิเศษ 3] เมื่อใส่แล้วมือจะมีพลังกำลังมาก ถุงมือแตะ ถ้าคุณทำความผิด แล้วใส่ถุงมือนี้ไปแตะคนอื่น คนๆ นั้นก็จะถูกด่าแทนเรา ถุงมือทำให้เชื่อง ถึงแม้จะเป็นเป็นสัตว์ป่าดุร้ายแค่ไหน ถ้าเจอถุงมือข้างนี้เกาใต้คางละก็ สัตว์ตัวนั้นจะเชื่องทันที ถุงมือนักฝึกสัตว์ ถ้าคุณกลัวสัตว์ชนิดไหนคุณแค่ใส่ถุงมือคุณแล้วนำไปลูบคางสัตว์หรือคนนั้นก็จะเชื่องเหมือนสัตว์ที่เชื่องและเชื่อเราแต่มีผลแค่ 5 นาที", "title": "รายชื่อของวิเศษของโดราเอมอน" }, { "docid": "472991#15", "text": "แพริโดเลียอาจมีความสัมพันธ์กับโรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder) ซึ่งพบในกรณีหนึ่งในคนไข้หญิง[25]", "title": "แพริโดเลีย" }, { "docid": "472991#1", "text": "คำว่า Pareidolia มาจากคำในภาษากรีกว่า para- (παρά, แปลว่า \"ข้าง ๆ, ไปเป็นหน้ากระดาน, แทนที่\") ซึ่งในที่นี้หมายถึงอะไรที่บกพร่อง ผิดพลาด หรือเกิดขึ้นแทนที่ และคำนามว่า eidōlon (εἴδωλον แปลว่า \"ภาพ, รูปร่าง, สัณฐาน\") ซึ่งมีความหมายเป็นส่วนย่อยของคำว่า eidos. แพไรโดเลียเป็นประเภทหนึ่งของ apophenia ซึ่งเป็นการเห็นรูปแบบในข้อมูลที่ไม่มีแบบแผน", "title": "แพริโดเลีย" }, { "docid": "472991#12", "text": "ในงานวิจัยปี ค.ศ. 2011 ที่ใช้ fMRI แสดงว่า การให้ดูรูปร่างใหม่ ๆ ที่คล้ายใบหน้าบ่อย ๆ ที่มีผลเป็นการตีความหมายว่าสำคัญ นำไปสู่การตอบสนองที่ลดลงเมื่อแสดงใบหน้าจริง ๆ นี่เป็นผลที่แสดงว่า การตีความหมายสิ่งเร้าที่คลุมเครือต้องอาศัยกระบวนการที่คล้าย ๆ กันกับที่เกิดขึ้นเมื่อประสบกับวัตถุแท้ (คือกระบวนการที่รับรู้วัตถุที่ไม่ใช่ใบหน้าว่าเป็นใบหน้าจะมีความคล้ายคลึงกับกระบวนการที่รับรู้ใบหน้าจริง ๆ)[21]", "title": "แพริโดเลีย" }, { "docid": "472991#17", "text": "กลุ่มดาว การกุเหตุความจำเสื่อม ผี โดยการเห็นที่เป็นผลของปรากฏการณ์แพริโดเลีย ปูไฮเกะ", "title": "แพริโดเลีย" }, { "docid": "654989#4", "text": "3.ฟ้าผ่าจากฐานเมฆลงสู่พื้น หรือฟ้าผ่าแบบลบ\nเกิดจากการปลดปล่อยประจุลบออกจากก้อนเมฆ จึงเรียกว่า ฟ้าผ่าแบบ ลบ (negative lightning) และเป็นอันตรายต่อ คน สัตว์\nและสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่บนพื้นนั้นมีเพราะจะมีระยะผ่าลงบริเวณใต้เงาของเมฆฟ้าฝนคะนองเพราะพื้นที่ดังกล่าวถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาพเป็นประจุบวก", "title": "ฟ้าผ่า" }, { "docid": "472991#11", "text": "ผลงานวิจัยในปี ค.ศ. 2009 ที่ใช้ magnetoencephalography เช็คค่าการทำงานของสมอง พบว่า วัตถุที่ได้รับการระบุว่าเป็นใบหน้าโดยบังเอิญ ก่อให้เกิดการทำงานอย่างรวดเร็ว (ภายใน 165 มิลลิวินาที) ใน ventral fusiform cortex (รอยนูนรูปกระสวยด้านล่าง) ซึ่งเป็นเวลาและตำแหน่งการทำงานในสมองที่เหมือนกับเมื่อเกิดการเห็นใบหน้าจริง ๆ เปรียบเทียบกับวัตถุสามัญอื่น ๆ ที่ไม่ทำให้เกิดการทำงานอย่างนี้ สำหรับรูปใบหน้าจริง ๆ การทำงานจะเกิดขึ้นได้เร็วกว่านั้นเพียงเล็กน้อยคือที่ 130 มิลลิวินาที นักวิจัยได้เสนอว่า การรับรู้ใบหน้าที่เกิดในวัตถุที่คล้ายใบหน้าเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่เป็นปรากฏการณ์ตีความหมายโดยระบบทางประชานที่เกิดขึ้นช้ากว่า[20]", "title": "แพริโดเลีย" }, { "docid": "472991#4", "text": "ความโด่งดังของเรื่องการเห็นรูปภาพทางศาสนาต่าง ๆ และรูปแปลก ๆ อื่น ๆ ที่อยู่ในวัตถุสามัญทั่วไป ได้สร้างตลาดให้กับวัตถุต่าง ๆ เหล่านี้ในเว็บไซต์การประมูลเช่นอีเบย์ ตัวอย่างที่โด่งดังที่สุดอย่างหนึ่งก็คือแซนด์วิชชีสปิ้งที่มีรูปใบหน้าของแม่พรหมจรรย์มารีย์ ซึ่งได้มีการซื้อขายผ่านการประมูลได้ราคาถึง 28,000 ดอลลาร์สหรัฐ[11] (ประมาณ 1,100,000 บาทในช่วงเวลานั้น)", "title": "แพริโดเลีย" } ]
2450
พระโคตมพุทธเจ้า ตรัสรู้เมื่อไหร่?
[ { "docid": "80018#24", "text": "ทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ผินพระพักตรสู่เบื้องบูรพาทิศ ตั้งจิตแน่แน่วว่า ตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาน จักไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ ในคืนนั้น ท้าววสวัตตีเข้าทำการขัดขวางการบำเพ็ญเพียรของพระมหาบุรุษ แต่ก็พ่ายแพ้ไป พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้าฌาน เพื่อเป็นบาทของวิปัสสนาญาณ จนเวลาผ่านไปพระองค์ได้บรรลุถึงญาณต่าง ๆ ดังนี้พระองค์จึงพบกับความสุขสว่างอย่างแท้จริง ซึ่งเรียกกันว่าทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลก ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ณ พุทธคยา กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา", "title": "พระโคตมพุทธเจ้า" } ]
[ { "docid": "80018#60", "text": "ลัทธิอนุตตรธรรมเชื่อว่า พระเป็นเจ้าคือพระแม่องค์ธรรมได้ส่งพระศากยมุนีพุทธเจ้ามาตรัสรู้บนโลกเพื่อทำหน้าที่ฉุดช่วยนำพาวิญญาณเวไนยสัตว์ทั้งหลายให้กลับสู่แดนนิพพาน ซึ่งเป็นบ้านเดิมของวิญญาณทุกดวง ลัทธินี้เชื่อว่าเมื่อพระโคดมตั้งปณิธานได้ 7 วันว่าถ้าหากไม่ได้ตรัสรู้ก็จะไม่ลุกจากที่นั่ง พระแม่องค์ธรรมสงสารพระโคดมที่ลำบากบำเพ็ญเพียรมา 6 ปียังไม่บรรลุ จึงให้พระทีปังกรพุทธเจ้าจำแลงเป็นดาวประกายพรึกมาเปิดจุดญาณทวารให้ พระโคดมจึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า", "title": "พระโคตมพุทธเจ้า" }, { "docid": "80018#25", "text": "หลังจากที่พระโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ประทับเสวยวิมุตติสุข (สุขที่เกิดจากความหลุดพ้น) ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ 7 วัน เพื่อพิจารณาปฏิจจสมุปบาททั้งสายเกิดและสายดับ จากนั้นในสัปดาห์ที่ 2 ได้เสด็จไปทรงยืนอยู่กลางแจ้งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงทำอุปหาร คือ ยืนทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์โดยไม่กระพริบพระเนตรตลอด 7 วัน สถานที่เสด็จมาทรงยืนทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้นได้นามว่าอนิมิสเจดีย์", "title": "พระโคตมพุทธเจ้า" }, { "docid": "80018#27", "text": "ในสัปดาห์ที่ 4 จากวันที่ตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ ณ เรือนแก้วที่เทวดาเนรมิตถวายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้นศรีมหาโพธิ์ ทรงพิจารณาธรรมตลอดเวลา ๗ วัน สถานที่นั้นเรียกว่า รัตนฆรเจดีย์ ในหนังสือพระปฐมสมโพธิกถา กล่าวว่าในสัปดาห์ที่ 1-3 พระฉัพพรรณรังสี (รัศมี 6 ประการ) ยังมิได้โอภาสออกจากพระวรกาย จนในสัปดาห์ที่ 4 เมื่อเสด็จประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ ทรงพิจารณาธรรมในเรือนแก้วแล้ว พระฉัพพรรณรังสีจึงมีโอภาสออกมาจากพระวรกาย", "title": "พระโคตมพุทธเจ้า" }, { "docid": "80018#31", "text": "หลังจากพระพุทธเจ้า ตรัสรู้แล้ว 49 วัน พ่อค้าสองพี่น้องชื่อ ตปุสสะและภัลลิกะ ได้รับคำแนะนำจากเทวดาซึ่งเคยเป็นญาติกับพ่อค้าทั้งสองในอดีตชาติ ให้นำภัตตาหารน้อมถวายแด่พระพุทธองค์ เพื่อประโยชน์สุขแก่ทั้งสองสิ้นกาลนาน เมื่อตปุสสะและภัลลิกะเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ร่มไม้เกด ต่างมีจิตเลื่อมใสศรัทธา จึงเข้าไปทำการอภิวาทและถวายข้าวสัตตุก้อนสัตตุผง พระพุทธองค์มีพระประสงค์จะรับ แต่บาตรที่ฆฏิการพรหมถวายในวันเสด็จออกบรรพชาได้อันตรธานไป ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 จึงได้เหาะนำบาตรศิลามาถวายองค์ละใบ พระองค์จึงทรงประสานบาตรทั้ง 4 ใบนั้นเป็นใบเดียวกัน แล้วใช้รับข้าวสัตตุก้อนสัตตุผง", "title": "พระโคตมพุทธเจ้า" }, { "docid": "281683#2", "text": "โพเป็นต้นไม้ที่ได้รับการสักการะในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนาเชน และ พระพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้จึงมีชื่อว่า \"Sacred fig\" พระโคตมพุทธเจ้าก็ได้ตรัสรู้เมื่อนั่งอยู่ใต้ต้นโพเช่นกัน โดยต้นโพที่พระโคตมพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นชื่อ \"ต้นพระศรีมหาโพธิ์\" ปัจจุบันยังคงมีชีวิตอยู่ที่ประเทศอินเดีย จึงเชื่อกันว่าโพเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุข, ความสำเร็จ, อายุยืน และ ความโชคดี และเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดปราจีนบุรี", "title": "โพ" }, { "docid": "586104#0", "text": "พระวิปัสสีพุทธเจ้า (; ; ) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 19 ในพุทธวงศ์ของพระโคตมพุทธเจ้า ตรัสรู้เมื่อ 91 มหากัปที่แล้ว", "title": "พระวิปัสสีพุทธเจ้า" }, { "docid": "45204#2", "text": "ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สัมมาสัมพุทธสูตร พระโคตมพุทธเจ้าตรัสว่า เพราะพระองค์ได้ตรัสรู้อริยสัจ 4 ประการตามความเป็นจริง พระองค์จึงเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า และในอรหันตสูตร ตรัสว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมด ทั้งในอดีตกาล อนาคตกาล และในปัจจุบันกาล ล้วนตรัสรู้ซึ่งอริยสัจ 4 เดียวกันนี้ตามความเป็นจริง", "title": "ตรัสรู้" }, { "docid": "628298#0", "text": "พระเวสสภูพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้เมื่อ 31 กัปที่แล้ว นับเป็นพระองค์ที่ 21 ในพุทธวงศ์ของพระโคตมพุทธเจ้า", "title": "พระเวสสภูพุทธเจ้า" }, { "docid": "628286#0", "text": "พระสิขีพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้เมื่อ 31 กัปที่แล้ว นับเป็นพระองค์ที่ 20 ในพุทธวงศ์ของพระโคตมพุทธเจ้า", "title": "พระสิขีพุทธเจ้า" }, { "docid": "845318#0", "text": "พระสิทธัตถพุทธเจ้า () เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 16 ในพุทธวงศ์ของพระโคตมพุทธเจ้า ตรัสรู้เมื่อ 94 มหากัปที่แล้ว", "title": "พระสิทธัตถพุทธเจ้า" } ]
3128
โรงเรียนเทพลีลา ตั้งอยู่ที่จังหวัดใด ?
[ { "docid": "187489#0", "text": "โรงเรียนเทพลีลา (อักษรย่อ: ท.ล, T.L.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประเภทสหศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อ 17 พฤษภาคม 2505 โดยดำริของหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 281 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร สหวิทยาเขตวังทองหลาง", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" } ]
[ { "docid": "187489#5", "text": "พินิจวรรณกรรมซีไรต์[1] วรรณกรรม, วรรณคดีไทยในสื่อภาพยนตร์ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับวรรณกรรมไทยวรรณคดีไทยและภาพยนตร์ กิจกรรมสื่อมวลชนน้อย ศูนย์ข่าวเยาวชนไทย โรงเรียนเทพลีลา เทพลีลาศึกษา", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" }, { "docid": "670892#1", "text": "โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี) เริ่มเปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2530 ในระดับชั้นเด็กเล็ก และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยได้รับความอนุเคราะห์จากพระครูอาทรสุทธิวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดเทพลีลาให้ใช้ศาลาการเปรียญวัดเทพลีลา ใช้เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว มีนักเรียน 222 คน ครู 9 คน และต่อมาเมื่ออาคารเรียนสร้างเสร็จ โรงเรียนได้ย้ายมาตั้ง ณ เลขที่ 70/8 ซอยคุณประสะนี แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310 เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2531 จนถึงปัจจุบัน", "title": "โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี)" }, { "docid": "136412#3", "text": "แอนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนเทพลีลา และมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนบางกะปิ จบการศึกษา ระดับปริญญาตรี จากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และระดับปริญญาโท คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สาขาการบริหารสื่อสารมวลชน) ", "title": "แอน ทองประสม" }, { "docid": "187489#17", "text": "โรงเรียนเทพลีลา มีประตูทางเข้าออก 2 เส้นทาง[6] สามารถเดินทางมาโดยรถโดยสารสาธารณะดังนี้", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" }, { "docid": "187489#11", "text": "3.สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงเรียน", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" }, { "docid": "187489#19", "text": "ในปัจจุบัน โรงเรียนเทพลีลา ได้มีการพัฒนาไปมาก จึงมีอาคารภายในโรงเรียนทั้งสิ้น 6 อาคารเรียน 1 อาคารโรงฝึกงาน และ1 ที่พักข้าราชการ", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" }, { "docid": "187489#21", "text": "2.อาคาร เทพธรรมมา มีจำนวนทั้งสิ้น 5 ชั้น ใช้เป็นห้องเรียนที่จัดการเรียนการสอนต่างๆ จำนวน 13 ห้อง และ เป็นห้องพักคณาจารย์กลุ่มสาระ ศูนย์การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" }, { "docid": "60785#1", "text": "ร้อยเอกหญิง ปวีณา ทองสุก เกิดเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2522 ที่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เป็นลูกคนที่ 2 ของนายนิรันดร์-นางสุกรี ทองสุก จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนบ้านสว่าง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย จังหวัดสุรินทร์ มัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนเทพลีลา กรุงเทพฯ และปริญญาตรี วิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้รับการชักชวนให้มาเล่นกีฬายกน้ำหนัก ขณะยังเรียนอยู่ชั้น ม.2 โดยมี อาจารย์วินัย คำจีนศรี เป็นผู้ฝึกสอน เข้าแข่งขันระดับนานาชาติครั้งแรก ในเอเชียนเกมส์ 1998 ที่กรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้รับเหรียญรางวัล", "title": "ปวีณา ทองสุก" }, { "docid": "36498#9", "text": "จากผลงานและคุณงามความดีที่ปรากฏต่อประเทศชาติ ทำให้อนุชนรุ่นหลังสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นเพื่อเคารพสักการะและระลึกถึงพระคุณของท่านหลายแห่ง เช่น เมืองอุดงมีชัย ประเทศกัมพูชา, วัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม), โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี), โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒, โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา, โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔, โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี, โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมุทรปราการ, โรงเรียนเทพลีลา, โรงเรียนพระปริยัติธรรมเจ้าพระยาบดินทรเดชา จังหวัดยโสธร, วัดมหาธาตุ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร, ค่ายบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 11 อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี, ค่ายเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี), กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 12 อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว, ค่ายบดินทรเดชา กรมทหารราบที่ 16 อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร, สถานีตำรวจภูธรโพธิ์ตาก อำเภอโพธิ์ตาก และองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย", "title": "เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)" }, { "docid": "187489#8", "text": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานเปลี่ยนนามวัดตึกคลองตันเป็นวัดเทพลีลา ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)สั่งให้ทำการขุดคลองขึ้น ภายหลังคลองนี้ชื่อแสนแสบ เพราะยุงชุม ต่อมาเมื่อขุดเลาะคลองแล้วได้พบพระพุทธรูปปางลีลาในคลองนั้นขณะเดินทางไปทำศึก ต่อมาที่ดินธรณีสงฆ์ของเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)ได้สร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้น ได้ใช้ชื่อว่า \"โรงเรียนเทพลีลา\" จึงถือว่านามของโรงเรียนเป็นมงคลนามพระราชทาน", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" }, { "docid": "187489#29", "text": "สนามกีฬาโรงเรียนเทพลีลา เป็นสนามฟุตบอล สนามตะกร้อ สนามบาสเก็ตบอล และกีฬาทุกประเภท สวนหย่อมโรงเรียนเทพลีลา อยู่ในบริเวณหลังอาคารเทพธรรมมา เป็นสวนพืช และต้นไม้ประจำโรงเรียน และ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่อง \"น้ำหมักชีวภาพ\" ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ลานใต้อาคารเทพธรรมมา เป็นลานที่ใช้ทำกิจกรรมการเรียนการสอน และเป็นลานสำหรับนั่งพักผ่อน", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" }, { "docid": "187489#7", "text": "1.ที่มาของชื่อโรงเรียน", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" }, { "docid": "187489#6", "text": "สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเทพลีลา สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเทพลีลา วัดเทพลีลาพระอารามหลวง", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" }, { "docid": "187489#20", "text": "1.อาคาร เฉลิมพระเกียรติ๖รอบพระชนมพรรษา หรือ อาคารเทพเมธา อาคาร 4 ชั้น ในอดีต มีจำนวนทั้งสิ้น 7 ชั้น ใช้เป็น ห้องเรียนที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่างๆ จำนวน 5 ชั้น รวม ห้องพักคณาจารย์กลุ่มสาระ ห้องเรียนMEP-EP ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องประชุมโรงอาหาร และโรงอาหารของโรงเรียน นอกจากนี้ บริเวณดาดฟ้าของอาคารยังใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ \"สวนผักลอยฟ้า\" ของโรงเรียนเทพลีลาอีกด้วย", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" }, { "docid": "415826#0", "text": "นรินทร์ โรเจอร์ หรือ จิลล์ เกิดเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2532 เป็นนักแสดงหญิงชาวไทยเชื้อสายอังกฤษ จบการศึกษาระดับมัธยม จากโรงเรียนเทพลีลา ระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม สาขาวิชาการโฆษณา คุณพ่อเป็นชาวอังกฤษ คุณแม่เป็นคนไทย เกิดและโตที่จังหวัดชลบุรี ก่อนที่จะย้ายมาเรียนที่กรุงเทพฯ กระทั่งพี่สาวแท้ๆเข้าวงการบันเทิง เธอจึงได้เข้าสู่วงการบันเทิง โดยได้เป็นนักแสดงของบริษัท โคลีเซี่ยม อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด", "title": "จิลล์ โรเจอร์" }, { "docid": "187489#13", "text": "4.คณะสีของโรงเรียนเทพลีลา", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" }, { "docid": "2372#0", "text": "พันตรีหญิง อุดมพร พลศักดิ์ ชื่อเล่นอร (เกิด 6 ตุลาตม พ.ศ. 2524) อดีตนักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทย เป็นนักกีฬาหญิงคนแรกของประเทศไทย ที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก โดยได้จากการแข่งขันโอลิมปิก ปี 2004 ที่กรุงเอเธนส์, เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ในการแข่งขันยกน้ำหนัก รุ่นไม่เกิน 53 กก. โดยยกในท่าสแนชได้ 97.5 กก. ท่าคลีนแอนด์เจิร์กได้ 125 กก. รวม 222.5 กก. โดยเป็นการทำลายสถิติโอลิมปิก ในท่าคลีนแอนด์เจิร์กของประเภทนี้ด้วย\nอุดมพร เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2524 ที่จังหวัดนครราชสีมา เริ่มเข้ารับการศึกษาในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนสวนหม่อน และศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนบุญวัฒนา และโรงเรียนเทพลีลา ก่อนจะมาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่วิทยาลัยพลศึกษากรุงเทพจนจบปริญญาตรี", "title": "อุดมพร พลศักดิ์" }, { "docid": "187489#1", "text": "โรงเรียนเทพลีลาตั้งอยู่ ณ เลขที่ 281 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานครเป็นโรงเรียนมัธยมประเภทสหศึกษาสังกัด กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้นเป็นปีที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดแสดงสินค้านานาชาติและจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่๑ มีการปรับแต่งภูมิทัศน์พระนครเพื่อเป็นสถานที่จัดงานในบริเวณพื้นที่บริเวณนั้นเป็นที่ว่างเปล่าทางประเทศไทยจึงให้ความสำคัญต่อการศึกษาโดยเป็นนโยบายของหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยที่ พระครูสุวรรสุทธิการ(ปลัดทองสุข สีลวณโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพลีลาพระอารามหลวงได้มอบที่ดินของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) จำนวน 6 ไร่ 1 งานให้เป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนตามนโยบายการขยายโรงเรียนมัธยมศึกษาไปสู่ชานเมือง ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่ง หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 โรงเรียนเทพลีลาเปิดสอนครั้งแรกโดยอาศัยศาลาการเปรียญของวัด เป็นสถานที่เรียนกระทั่งอาคารเรียนหลังแรกเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 4 ตุลาคม 2505 มีนักเรียนกลุ่มแรกจำนวน 2 คน ครู 4 คน โดยมี นายทิม ผลภาค เป็นครูใหญ่คนแรก โรงเรียนเทพลีลาได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยความสามารถของผู้บริหารที่ประสานความร่วมมือกับชุมชนและสถาบันเอกชนต่างๆ อย่างดีเยี่ยม ทั้งนี้สมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนเทพลีลา ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปีการศึกษา 2514 มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโรงเรียนอย่างยิ่ง ในปีการศึกษา 2542 การก่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 7ชั้น ได้แล้วเสร็จทำให้โรงเรียนเทพลีลามีสภาพทั่วไปที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอนและมีความพร้อมในการให้บริการ ด้านการศึกษาแก่ชุมชนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ปัจจุบัน โรงเรียนเทพลีลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนช่วงชั้นที่ 3 - 4 (หรือช่วงชั้นที่ 3 ตามหลักสูตรใหม่)โรงเรียนเทพลีลาเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับย่านรามคำแหง ทั้งด้านสภาพภูมิทัศน์องค์ประกอบต่างๆทุกอาณาบริเวณล้วนเอื้ออำนวย ด้านการเรียนการสอน ด้านการเดินทางหรือแม้แต่สิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครันและในปี พ.ศ. 2554 ประวัติโรงเรียนในแต่ละช่วง วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ โรงเรียนเทพลีลาได้เปิดทำการเป็นวันแรก โดยอาศัยศาลาการเปรียญของวัดเทพลีลา เป็นสถานที่เรียน โดยมีนักเรียนรุ่นแรกจำนวน ๒ คน ครู ๔ คน โดยมีนายทิม ผลภาคเป็นครูใหญ่คนแรก พ.ศ. ๒๕๐๖- พ.ศ ๒๕๐๘ จัดสร้างประตูไม้หน้าโรงเรียนชั่วคราว และเป็นปีที่ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพในการจัดแสดงสินค้านานาชาติและจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ ๑ ซึ่งจัดบริเวณฝั่งตรงข้ามของโรงเรียน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยรามคำแหงในปัจจุบัน พร้อมได้รับงบประ- มาณในการทาสีโรงเรียน เดินสายไฟและประดับโคมไฟอาคาเรียนหลังแรก พร้อมทั้งถมที่ดินบริเวณ โดยรอบโรงเรียน พ.ศ. ๒๕๑๐ - พ.ศ. ๒๕๑๘ จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนชุดแรกนำโดย ๑๐ ท่านนำโดย นายสำราญ สารสุวรรณ , นายหุน หรั่งศรี , ผู้ใหญ่เขียน สันประเสริฐ , ผู้ใหญ่หวัง วงษ์สัน ฮัจญีเต๊ะ ขำวิไล , น.ส.อังคณา นันทวิทยา , นายหมัด ทองสุข , นายอิน มูป และนาย สง่า ทีวรัตน ์ และโรงเรียนได้รับงบประมาณ ๑๗๒,๐๐๐ บาท สร้างหอประชุมและโรงอาหารพร้อมโต๊ะอาหาร ๒๒ ชุด ปลายปีงบประมาณและต่อเติม อาคารเรียน ๓ ชั้น เพิ่มอีกเป็นจำนวน ๒๑ ห้องเรียน พร้อมคุรุภัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ - พ.ศ. ๒๕๒๗ สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเทพลีลาได้เทพื้นถนน และเท คอนกรีต และเทคอนกรีตสร้างสนามบาสเก็ตบอล สนามวอลเล่ย์บอล และจัดซื้อรถยนต์ปิ๊กอัพไว้ใช้ใน โรงเรียน ๑ คัน แล้วได้จัดสรรเงิน สมาคมสร้างรั้ว คอนกรีต แทน สังกะสี พ.ศ. ๒๕๒๘ - พ.ศ. ๒๕๓๔ พระราชปัญญาโกศล รองเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์ ได้มอบ พระพุทธรูปยืน ปางเทพลีลา สูง ๔๘ นิ้ว มาเป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียน และปีต่อมา ทุบตึกเรียน ๔ ชั้นพ.ศ. ๒๕๓๕ - พ.ศ. ๒๕๔๒ สร้างอาคาร ๗ ชั้น และ อาคาร ๗ ชั้น ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามอาคารหลังนี้ว่า \"อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา\" และได้ทำการเปิดอาคารนี้ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๒ นับเป็นเกียรติประวัติ อย่างสูงของชาวเทพลีลา พ.ศ. ๒๕๔๒ - ปัจจุบัน สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเทพลีลา โดยการนำของ นายสมหวัง บุญสมบัติ นายกสมาคมฯ และนายสำเนา แสงมณี ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพลีลา ขณะนั้นริเริ่มดำเนินการเปิดตลาดนัดขายของเพื่อสนอง นโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหา เศรษฐกิจ และช่วยเหลือประชาชนให้มีรายได้และซื้อของถูกช่วงปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งกิจการดังกล่าวนี้ ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่ง ท่านผู้อำนวยการ ดร.ธงชาติ วงษ์สวรรค์ ได้มีการปรับปรุงและพัฒนา สิ่งแวดล้อม เพื่อปรับภูมิทัศน์ให้เหมาะกับการเรียนการสอน และปรับปรุงห้องต่างๆทำห้องเรียน ให้เหมาะกับสภาพการเรียนการสอนจนมาถึงปัจจุบัน", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" }, { "docid": "187489#30", "text": "ท หมวดหมู่:โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง หมวดหมู่:เขตบางกะปิ หมวดหมู่:โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" }, { "docid": "187489#18", "text": "ประตูถนนรามคำแหง (ประตูหลัก) รถโดยสารประจำทางที่ผ่านหน้าโรงเรียน ได้แก่ สาย 22, 36 ก, 58, 60, 71, 92 , 93 , 95 , 99 ,109 ,113 ,115 , 122 , 126 , 137 ,168 , 207 ประตูซอยรามคำแหง 39 (ประตูด้านหลังอาคารกิจกรรมและ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบเฉลิมพระชนมพรรษา) รถสองแถว \"วัดเทพลีลา ตลาดห้วยขวาง\" และรถประจำทางที่ผ่านคือสาย 122 รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีพระโขนง แล้วต่อรถโดยสารประจำทางสาย 71,40,115 มาลงที่ หน้าประตูโรงเรียน รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ SRTET สถานีรามคำแหง แล้วต่อรถโดยสารประจำทางสาย 71,40,115 หรือสายอื่นๆ มาลงที่ หน้าประตูโรงเรียน หรือต่อเรือโดยสารคลองแสนแสบ จาก ท่าเรือรามหนึ่ง มาลง ณ ท่าวัดเทพลีลา เรือโดยสารคลองแสนแสบ ท่าวัดเทพลีลา รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลสถานีเพชรบุรี แล้วต่อเรือโดยสารสาธารณะคลองแสนแสบ มาลง ณ ท่าวัดเทพลีลา รถไฟฟ้าโมโนเรล สายรามคำแหง-ทองหล่อ สถานีมหาวิทยาลัยรามคำแหง *กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม สถานีรามคำแหง *กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" }, { "docid": "187489#24", "text": "5.อาคาร กาญจนาภิเษก มีจำนวนทั้งสิ้น 2 ชั้น เป็นอาคารที่ตั้งของหน่วยงานศูนย์กลางของโรงเรียน เช่น ห้องประชาสัมพันธ์ , ห้องกลุ่มบริหารงานบุคคล และยังเป็นที่ประดิษฐานของ พระพุทธรูปประจำโรงเรียน คือ พระเทพลีลาเมตตาประชานาถ ตลอดจนประดิษฐานอนุสาวรีย์ เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนีย์)", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" }, { "docid": "106310#1", "text": "นัยนา ชีวานันท์ มีชื่อจริงว่า มะลิ ชีวานันท์ เกิดที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดเทพสถาพร เข้าสู่วงการจากการประกวดนางงามในจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2512 ได้ตำแหน่ง \"ขวัญใจ ชาวไร่-ชาวนา\" ต่อมา ประวิทย์ ลีลาไว ได้ส่งเธอเข้าประกวดนางงามยาสระผมแฟซ่าที่จังหวัดนครสวรรค์ จนได้ตำแหน่งนางงามแฟซ่าประจำจังหวัด พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อจาก \"มะลิ\" เป็น \"นัยนา\" จากนั้นจึงได้ถูกส่งตัวเข้ามาประกวดต่อยังเวทีใหญ่ที่สนามมวยลุมพินีเพื่อเข้าไปประกวดมิสแฟซ่าในระดับประเทศ จนได้ตำแหน่งรองนางงามและขวัญใจช่างภาพ และได้ขึ้นแบบถ่ายปกนิตยสารต่างๆ เช่น สกุลไทย, กุลสตรี เป็นต้น", "title": "นัยนา ชีวานันท์" }, { "docid": "294005#1", "text": "ปภัสรา เตชะไพบูลย์ หรือ ดร.ปภัสรา เตชะไพบูลย์ เดิมชื่อ ทวีพร หุ่นศิลป์ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นปภัสรา ชุตานุพงษ์เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 7 คน เป็นชาย 5 คน หญิง 2 คน มีภูมิลำเนา อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ปภัสราใช้ชีวิตคู่กับ นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มีธิดา 1 คน ชื่อนางสาวดิสรยา เตชะไพบูลย์ หรือเหนือ ด้านการศึกษา ศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ โรงเรียนเทพลีลา ปัจจุบันจบปริญญาเอก สาขาพุทธศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย", "title": "ปภัสรา เตชะไพบูลย์" }, { "docid": "187489#9", "text": "2.ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" }, { "docid": "187489#10", "text": "ตราองค์เทพลีลาถือตรีก้าวมาเหนือหมู่เมฆอยู่ภายในอาร์มมีกอไผ่(ต้นไม้ประจำโรงเรียน)ทั้งสองข้างแสดงถึงความสามัคคี ปรัชญาโรงเรียน สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี และมงคลนามพระราชทาน\"โรงเรียนเทพลีลา\"", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" }, { "docid": "187489#28", "text": "ลานกิจกรรมกีฬาและสวนพักผ่อนหย่อนใจ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" }, { "docid": "187489#12", "text": "พระพุทธรูปประจำโรงเรียน: \"พระเทพลีลาเมตตาประชานาถ\" พระพุทธรูปปางลีลา ได้รับมอบจากพระราชปัญญาโกศล รองเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร อนุสาวรีย์: อนุสาวรีย์เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) ตั้งอยู่หน้าอาคารกาญจนาภิเษก ทางเข้าโรงเรียน ศาล: ศาลพระภูมิเจ้าที่ ตั้งอยู่บริเวณอาคารกาญจนาภิเษก", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" }, { "docid": "187489#22", "text": "3.อาคาร เทพพิทยา มีจำนวนทั้งสิ้น 3 ชั้น เป็นอาคารที่ตั้งของหน่วยงานต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่น สำนักงานผู้อำนวยการ , สำนักงานกลุ่มบริหารวิชาการ , ห้องสมุด , ห้องทำงานศูนย์ข่าวเยาวชนไทย โรงเรียนเทพลีลา , ห้องประชุมพิพัฒน์ปริยัติสุนทร , ห้อง Multimedia , ห้องสำนักงานกลุ่มบริหารงานทั่วไป , สำนักงานกลุ่มบริหารงบประมาณ , ห้องวัดผลและประเมินผล และ ห้องประชุมเกียรติยศ , ห้องสมุดอิเล็คทรอนิกส์ (สื่อทัศน์รัฐประสิทธิ์)", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" }, { "docid": "187489#15", "text": "โรงเรียนเทพลีลา ได้รับรางวัลชนะเลิศ การแข่งขัน Color Guard รายการ The 10th Thailand Indoor Marching Competition 2018 รับถ้วยประทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ รางวัลชนะเลิศอันดับ1แชมป์ประเทศไทยการประกวดวงโยธวาทิต ประเภทนั่งบรรเลง ประเภทเพลงไทย ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพฯ นักเรียนโรงเรียนเทพลีลาเป็นส่วนหนึ่งในการต่อตัวเป็นต้นคริสมาสต์ทำลายสถิติโลกในจำนวน852คน ศูนย์ข่าวเยาวชนไทยและ\"ศูนย์ข่าวเยาวชนไทยโรงเรียนเทพลีลา\"ได้รับรางวัล\"รางวัล EMMY AWARD\"ผลิตสกู๊ปข่าวรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ของโลก[2] ศูนย์ข่าวเยาวชนไทยและ\"ศูนย์ข่าวเยาวชนไทยโรงเรียนเทพลีลา\"ได้รับรางวัล\"รางวัล EMMY AWARD\"ผลิตสกู๊ปข่าวรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 แห่งเอเชีย[2] โรงเรียนมีความดีเด่นด้านภาษาญี่ปุ่นจึงเป็น โรงเรียนศูนย์พัฒนาเครือข่ายการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น ศูนย์ภาษาญี่ปุ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2[3] ชนะเลิศการแข่งขันเต้นcoverชิงแชมป์ประเทศไทยชิงถ้วยพระราชทานจากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาศิริวัฒนาพรรณวดีประจำปี2553 ชนะเลิศการแข่งขันเชียร์ลีดเดอร์ชิงแชมป์ประเทศไทยครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2543 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รองชนะเลิศการแข่งขันทักษะภาษาญี่ปุ่นชิงแชมป์ประเทศไทยระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2551 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ๒โครงงานวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ (ภาคกลาง) โรงเรียนในโครงการพระราชดำริ \"โรงเรียนพี่ โรงเรียนน้อง\" (Sister Schools Project School Twinning) ณ โรงเรียนบ้านสบปืน จ.น่าน ได้รับรางวัลโรงเรียนที่มีผู้อำนวยการและครูผู้สอนดีเด่นด้านการสอน กระทรวงศึกษาธิการ ศูนย์ข่าวเยาวชนไทยโรงเรียนเทพลีลาได้รับรางวัล \"ระฆังทอง\"[4] รางวัลโรงเรียนห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติดีเด่น ปี 2535 รับรางวัลโรงเรียนอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ชนะเลิศการแข่งขันวงดนตรีลูกทุ่งรายการแชมป์เยาวชน ประจำสัปดาห์และประจำเดือน รางวัลชนะเลิศการแข่งขันเต้นโซรันประจำเขต๒ กทม. ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓ รางวัลชนะเลิศการแข่งขันแอโรบิกมวยไทยประจำเขต๒ กทม. ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓ โรงเรียนยอดนิยมอย่างสูงของประเทศ (1 in 326 โรงเรียน)[5] โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง 1 in 26 โรงเรียนในกรุงเทพมหานครเขต2 โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงติดอันดับของประเทศไทย 1 in 288 จากทั้งประเทศ 32364 โรงเรียน เป็น1ใน12โรงเรียนช้างเผือกเมืองไทยด้านดนตรีไทยผสมสากลได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 12 วงดนตรีทั่วประเทศเข้าร่วมแข่งขันรายการคุณพระช่วย ช่วงช้างเผือกคุณพระ โดยมีการประพันธ์เพลงขึ้นมาใหม่ คือ<b data-parsoid='{\"dsr\":[12768,12781,3,3]}'>เพลงไผ่ ซึ่งประพันธ์คำร้องโดย นางอุมาพร ไชยฤกษ์ และทำนอง ใช้ทำนองเพลงใบไผ่ สำหรับดนตรีที่ประพันธ์ในรูปแบบของวงดนตรีไทยร่วมสมัย คือ ร้อยเอกประทีป สุพรรณโรจน์ ข้าราชการกองดุริยางค์ทหารบก และนายวัชรวีร์ ธีระเดชโชติ ครูผู้ควบคุมวงดนตรีโรงเรียนเทพลีลา วงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนเทพลีลาเข้าร่วมแข่งขันลูกทุ่งประชาธิปไตย จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ โดยมีการประพันธ์บทเพลงขึ้นมาใหม่คือ เพลงประชาธิปไตยไชโย ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย นายวัชรวีร์ ธีระเดชโชติ ครูผู้ควบคุมวงดนตรี' โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงสุดในกรุงเทพมหานคร 1 in 57 พ.ศ. 2557 ได้รับเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรศึกษารุ่นที่ 2 ได้รับเลือกจากกรมสามัญศึกษา เป็นโรงเรียนปฏิบัติตัวอย่างงานนิเทศวิชาการภายในโรงเรียน ปี 2530 ได้รับการคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่นในกรุงเทพมหานคร ปี 2530 ชมรมดนตรีไทย ร.ร.เทพลีลาได้รับรางวัลระดับเหรียญทองจาก \"การประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยเพื่อพัฒนาทักษะแก่เยาวชน ระดับชาติ ครั้งที่ 4 \" ณ มรภ.อุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์", "title": "โรงเรียนเทพลีลา" } ]
1194
เหตุการณ์ 14 ตุลา ยุติลงเมื่อวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "24830#0", "text": "เหตุการณ์ 14 ตุลา หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์การเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เป็นเหตุการณ์ที่มีนักศึกษาและประชาชนมากกว่า 5 แสนคนชุมนุมเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร นำไปสู่คำสั่งของรัฐบาลให้ใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม ระหว่างวันที่ 14 ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก", "title": "เหตุการณ์ 14 ตุลา" } ]
[ { "docid": "24830#19", "text": "ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ ได้เปิดตัวหนังสือมา 2 เล่ม ชื่อ \"\"ลอกคราบ 14 ตุลา ดักแด้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย\"\" และ \"\"พันเอกณรงค์ กิตติขจร 30 ปี 14 ตุลา ข้อกล่าวหาที่ไม่สิ้นสุด\"\" โดยมีเนื้อหาอ้างอิงจากเอกสารราชการลับในเหตุการณ์ 14 ตุลา ซึ่งมีเนื้อหาว่าทั้ง พ.อ.ณรงค์ และจอมพลถนอม มิได้เป็นผู้สั่งการในเหตุการณ์ 14 ตุลา และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ยังได้กล่าวอีกว่า พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่นิสิต นักศึกษา และประชาชนในการชุมนุม แต่ก็เป็นการชี้แจงหลังเกิดเหตุมาเกือบ 30 ปี และเป็นการชี้แจงเพียงฝ่ายเดียวโดยที่ฝ่ายครอบครัวของทาง พล.อ.กฤษณ์มิได้มีโอกาสชี้แจงกลับ คำกล่าวของพ.อ.ณรงค์ ขัดแย้งกับ นายโอสถ โกศิน อดีตรัฐมนตรีที่ใกล้ชิดกับ พล.อ.กฤษณ์ ซึ่งระบุว่า พล.อ.กฤษณ์ เป็นบุคคลสำคัญที่ไม่ยอมให้มีการปฏิบัติการขั้นรุนแรงแก่นักศึกษา", "title": "เหตุการณ์ 14 ตุลา" }, { "docid": "33634#3", "text": "ก่อนปี พ.ศ. 2516 ทหารครอบงำรัฐบาลมานานหลายทศวรรษ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา มีการเดินขบวนเรียกร้องรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นผลให้จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ประภาส จารุเสถียร และพันเอก ณรงค์ กิตติขจร ต้องหนีออกนอกประเทศ ในระหว่าง มกราคม พ.ศ. 2517 ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2519 ได้เกิดเหตุการณ์ กลุ่มแกนนำ นักศึกษา ผู้นำกรรมการ ผู้นำชาวนา ถูกสังหารด้วยอาวุธปืนและระเบิด อีก อย่างน้อย 85 ราย อาทิ ดร. บุญสนอง บุณโยทยาน ต่อมา องคมนตรี สัญญา ธรรมศักดิ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2517 ผู้คบคิดรัฐประหารนำจอมพล ถนอม กิตติขจร เดินทางกลับประเทศไทย แต่เขาต้องออกนอกประเทศแทบทันที เพราะมติมหาชนคัดค้านการหวนกลับของระบอบทหารในขณะนั้นอย่างหนักแน่น", "title": "เหตุการณ์ 6 ตุลา" }, { "docid": "24830#1", "text": "เหตุการณ์ครั้งนี้ได้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่สะสมก่อนหน้านี้หลายประการทั้ง ข่าวการทุจริตในรัฐบาล การพบซากสัตว์ป่าจากอุทยานในเฮลิคอปเตอร์ทหาร การถ่ายโอนอำนาจของจอมพลถนอม กิตติขจรต่อจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลทหารเข้าปกครองประเทศนานเกือบ 15 ปี และรวมถึงการรัฐประหารตัวเอง พ.ศ. 2514 ซึ่งเป็นชนวนเหตุที่ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการปกครองในระบอบเผด็จการทหารและต้องการเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยขึ้น", "title": "เหตุการณ์ 14 ตุลา" }, { "docid": "78165#7", "text": "ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ ได้เปิดตัวหนังสือมา 2 เล่ม ชื่อ \"\"ลอกคราบ 14 ตุลา ดักแด้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย\"\" และ \"\"พันเอกณรงค์ กิตติขจร 30 ปี 14 ตุลา ข้อกล่าวหาที่ไม่สิ้นสุด\"\" โดยมีเนื้อหาอ้างอิงจากเอกสารราชการลับในเหตุการณ์ 14 ตุลา ซึ่งมีเนื้อหาว่าทั้ง พ.อ.ณรงค์ และจอมพลถนอม มิได้เป็นผู้สั่งการในเหตุการณ์ 14 ตุลา", "title": "ณรงค์ กิตติขจร" }, { "docid": "33634#30", "text": "ทว่าในระยะแรก การชุมนุมต่อต้านของฝ่ายนิสิตนักศึกษาที่ลานโพ หน้าอาคารคณะศิลปศาสตร์ กลับมีประชาชนทั่วไปเข้าร่วมไม่มากเมื่อเทียบกับเมื่อครั้งเหตุการณ์ 14 ตุลา แม้จะมีกิจกรรมแสดงละครล้อการเมืองเพื่อเรียกความสนใจให้ผู้เข้าร่วมชุมนุม กิจกรรมต่อต้านหนึ่งของนิสิตนักศึกษาคือการปิดโปสเตอร์แสดงจุดยืนและเชิญชวนให้เข้าร่วมการชุมนุมทั่วกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดทั่วประเทศ เป็นเหตุให้นักศึกษาและแนวร่วมซึ่งออกปิดโปสเตอร์ดังกล่าวถูกลอบทำร้ายบาดเจ็บหลายครั้ง จนเกิดคดีที่พนักงานการไฟฟ้า 2 คน นาย วิชัย เกษศรีพงษา และ นาย ชุมพร ทุมไมยง ซึ่งร่วมปิดโปสเตอร์ประท้วงที่ตำบลพระประโทน จังหวัดนครปฐม ถูกทำร้ายจนเสียชีวิตแล้วนำศพไปแขวนคอไว้หน้าประตูทางเข้าที่ดินจัดสรรแห่งหนึ่ง แต่ตำรวจไม่สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดได้", "title": "เหตุการณ์ 6 ตุลา" }, { "docid": "24830#18", "text": "นอกจากนี้ เหตุการณ์ 14 ตุลา ยังนับเป็นการลุกฮือของประชาชนครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จในยุคศตวรรษที่ 20 และยังเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ภาคประชาชนในประเทศอื่น ๆ ทำตามในเวลาต่อมา เช่น ที่ เกาหลีใต้ในเหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู เป็นต้น", "title": "เหตุการณ์ 14 ตุลา" }, { "docid": "24830#2", "text": "การประท้วงเริ่มขึ้นอย่างเด่นชัดเมื่อมีการตีพิมพ์ \"บันทึกลับจากทุ่งใหญ่\" ออกเผยแพร่ทำให้เกิดความสนใจในหมู่ประชาชน สู่การเดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษาในสถานที่ต่างๆในกรุงเทพฯ จนถูกทหารควบคุมตัว ภายหลังเป็นที่รู้จักกันในฐานะ \"13 ขบถรัฐธรรมนูญ\" ทำให้เกิดความไม่พอใจครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนเป็นอย่างมาก เกิดการประท้วงเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่การเดินประท้วงในถนนราชดำเนิน โดยมีประชาชนทยอยเข้าร่วมจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลได้ทำการสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้มีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ ในเวลาต่อมาจอมพลถนอม กิตติขจรก็ได้ประกาศลาออกและได้เดินทางออกต่างประเทศรวมถึง พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร กลุ่มบุคคลที่ประชาชนในสมัยนั้นเรียกว่า \"3 ทรราช\"", "title": "เหตุการณ์ 14 ตุลา" }, { "docid": "24830#13", "text": "หลังจากนั้นการเกิดเหตุการณ์ปราบปรามประชาชนเกิดขึ้นโดย ในวันที่ 24 มกราคม 2517 มีการเผาหมู่บ้านนาทราย ที่อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย มีผู้เสียชีวิต 3 รายเหตุการณ์ครั้งใหญ่ได้แก่เหตุการณ์จลาจลแยกพลับพลาไชย ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ถึง 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 การจลาจล ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 27 ราย และเหตุการณ์ร้ายแรงที่รองลงมาเกิดขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ที่ศาลากลางจังหวัดพังงา ได้มีผู้ก่อการร้ายโยนระเบิดเข้าไปในกลุ่มผู้ประท้วง ส่งผลให้ มีประชาชนเสียชีวิต 15 ราย บาดเจ็บ 17 ราย และในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2519 มีการเดินขบวนใหญ่ของนักศึกษาประชาชนนับแสนคน จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปยังสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ที่ถนนวิทยุ กรณีนี้ได้กลายเป็นเหตุรุนแรงเมื่อคนร้ายโยนระเบิดใส่ขบวนแถวของประชาชนเมื่อเคลื่อนไปถึงหน้าบริเวณโรงภาพยนตร์สยาม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน", "title": "เหตุการณ์ 14 ตุลา" }, { "docid": "936#20", "text": "หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา มีการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองและเสรีภาพในการแสดงออกอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน รวมทั้งการแพร่หลายของวรรณกรรมคอมมิวนิสต์ ในช่วงนั้น รัฐบาลผสมหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชไม่มั่นคงและคอมมิวนิสต์ชนะทั้งในเวียดนาม ลาวและกัมพูชา สถาบันพระมหากษัตริย์ ชนชั้นนำและชนชั้นกลางจำนวนมากมองว่านักศึกษาฝ่ายซ้ายถูกคอมมิวนิสต์ชี้นำ ทำให้มีการสนับสนุนองค์การฝ่ายขวาต่าง ๆ ปลายปี 2519 เกิดการสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใน \"เหตุการณ์ 6 ตุลา\" เป็นการปิดฉากการทดลองทางประชาธิปไตย กองทัพกลับเข้ามามีอำนาจ และการแสดงออกถูกปิดกั้น หลังจากนั้น รัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร \"กลับไปใช้อำนาจนิยมยิ่งกว่าสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช\" การสู้รบกับคอมมิวนิสต์ยุติลงอย่างสิ้นเชิงเมื่อปี 2523 ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531", "title": "ประเทศไทย" } ]
1000
กรุสมบัติแปลตรงตามตัวอักษรว่า “สมบัติที่พบ” คำนี้ในภาษาอังกฤษแผลงมาจากคำว่าอะไร?
[ { "docid": "317162#2", "text": "กรุสมบัติแปลตรงตามตัวอักษรว่า “สมบัติที่พบ” คำนี้ในภาษาอังกฤษแผลงมาจากคำว่า “tresor trové” ของภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศส[1] ที่เทียบเท่ากับคำในภาษากฎหมายของภาษาละตินว่า “thesaurus inventus” ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ของอังกฤษคำภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศสได้รับการแปลว่า “treasure found” (สมบัติที่พบ) แต่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็เริ่มมีการพ่วงด้วยคำภาษาฝรั่งเศสว่า “trové” ที่แผลงเป็นภาษาอังกฤษเป็น “trovey”, “trouve” หรือ “trove”[2]", "title": "กรุสมบัติ" } ]
[ { "docid": "4797#5", "text": "กรณีการแปลภาษาไทยเป็นภาษาอื่นๆ สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงคือคำกริยาภาษาไทยมีการนำกริยาหลายตัวมาเรียงลำดับติดต่อกันได้มากกว่า 2 ตัว แต่ไม่เกิน 7 ตัว การวิเคราะห์จึงต้องมีความละเอียดอ่อนเป็นพิเศษ นอกจากนั้น การที่ภาษาไทยไม่มีกลุ่มคำที่เรียกว่า \"คำคุณศัพท์\" เหมือนในภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศส มีแต่คำว่า \"คำวิเศษณ์\" ซึ่งมีพฤติกรรมการใช้งานตรงกับรูปคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ทำให้การวิเคราะห์กลุ่มคำที่ทำหน้าเป็นคำกริยา verbal phrase มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น", "title": "การแปลด้วยเครื่อง" }, { "docid": "104220#3", "text": "ในภาษาไทย มีการแผลงคำ \"มกร\" เป็น \"มังกร\" เพื่อใช้เรียกสัตว์สมมติอันตรงกับคำว่า \"Dragon\" ในภาษาอังกฤษ หรือ \"หลง\" (อักษรจีนตัวเต็ม: 龍; อักษรจีนตัวย่อ: 龙; พินอิน: lóng; ฮกเกี้ยน: และแต้จิ๋ว: เล้ง) ในภาษาจีนกลาง", "title": "มกร" }, { "docid": "74018#2", "text": "คำว่า \"ชีตาห์\" แผลงมาจากคำภาษาฮินดีว่า จีตา (चीता)[5] ซึ่งแผลงมาจากคำภาษาสันสกฤตว่า จิตรกายะ อีกทอดหนึ่ง (จิตฺรกาย चित्रकाय มาจากคำว่า จิตฺร चित्र แปลว่า \"สดใส\", \"เด่นชัด\" หรือ \"เป็นรอยด่าง\" สมาสกับคำว่า กาย काय แปลว่า \"ร่างกาย\" รวมแล้วจึงแปลว่า \"ร่างที่มีจุดด่าง\") ขณะที่ในภาษาสวาฮีลีเรียกเสือชีตาห์ว่า \"ดูมา\" (Duma)[6]", "title": "เสือชีตาห์" }, { "docid": "120488#12", "text": "นายแพทย์เหวงกล่าวว่าชื่อของตัวนั้นแผลงมาจากภาษาจีน หมายถึง สว่างไสว แม้ศัพท์คำว่า \"เหวง\" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแปลว่า \"มาก\" โดยใช้เป็นคำใช้ประกอบคำ เช่น เบา เป็น เบาเหวง หมายความว่าเบามาก และเมื่อขยายความเพิ่มเติมพบว่า ในภาษาเขมรนั้น คำว่า \"เหวง\" แปลว่า \"หลงทาง\" เช่น \"ขะยมอัมเหวง\" แปลว่า \"ดิฉันหลงทาง\" ก็ตามพร้อมกับตำหนิผู้ที่ใช้คำนี้ด้วย พร้อมยืนยันว่าตนไม่ได้พูดไม่รู้เรื่อง\nศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต ระบุว่า คำและความหมายของคำว่า \"เหวง\" มีสิทธิ์ขึ้นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเล่มหลักที่กำลังจะตีพิมพ์ใหม่อีกด้วย เนื่องจากความแรงของคำว่า \"เหวง\" วันนี้เป็นคำที่มีความหมาย ซึ่งคนสังคมส่วนมากเข้าใจได้ว่า หมายถึง อาการพูดจา ไม่รู้เรื่อง ฟังไม่ได้ศัพท์ แตกต่างไปจาก \"เหวง\" ซึ่งเป็นคำวิเศษณ์ ", "title": "เหวง โตจิราการ" }, { "docid": "142061#14", "text": "แรกเริ่มโรงเรียนของคุณพ่อกอลมเบต์ (บาทหลวงเอมิล กอลมเบต์) ได้ใช้ชื่อเป็น ภาษาฝรั่งเศส \"Le College De L'Assomption\" ซึ่งคุณพ่อได้ใช้ชื่อในภาษาไทยว่า \"โรงเรียนอาซมซาน กอเล็ศ\" แต่คนทั่ว ๆ ไปมักเรียก และเขียนผิด ๆ กันไปตามถนัด ดังนั้นในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2453 ภราดาฮีแลร์จึงได้มี จดหมายไปยังกระทรวงธรรมการ กรมคึกษา ขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น \"อาศรมชัญ\" เพื่อให้เป็นภาษาไทย ตามนโยบายของทางกรมฯ วันที่ 26 กันยายน 2453 พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ อธิบดีกรมศึกษาก็ได้ตอบกลับมา ว่า ควรเปลี่ยนเป็น\"อัสสัมชัญ\"เพราะได้เสียงใกล้เคียง ของเดิม และความ หมายก็คงไว้ตาม \"อาศรมชัญ\" ดังนั้นชื่อ \"อัสสัมชัญ\" จึงได้เริ่มใช้กัน ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2453 เป็นต้นมา ซึ่งคำๆนี้ให้เสียงเป็นคำไทย และ คล้ายกับภาษาอังกฤษว่า \"Assumption\" ซึ่งทั้งคำแปลก็เหมาะ สมที่จะเป็นชื่อ ของโรงเรียน โรงสวดกุฏิที่ถือศีลเป็นอันมากเพราะคำว่า \"อัสสัมชัญ\" ก็ได้แก่ ศัพท์ในภาษาบาลี มคธว่า \"อัสสโม\" แผลงเป็นไทยว่า \"อาศรม\" ซึ่งหมายความถึง \"กุฏิที่ถือศีลกินพรต\" ส่วนคำว่า \"ชัญ\" ก็ จะแยกตาม ชาติศัพท์เดิม ก็ได้แก่ ่ธาตุศัพท์ว่า\"ช\" ซึ่งแปลว่า เกิด และ \"ญ\" ซึ่งแปลว่าญาณ ความรู้ รวมความได้ว่า \"ชัญ\" คือที่สำหรับเกิด ญาณความรู้ ครั้นรวมสองศัพท์ มาเป็นศัพท์เดียวกันแล้ว ได้ว่า \"อัสสัมชัญ\" คือ \"ตำแหน่งที่สำหรับระงับบาปและหาวิชาความรู้\" นั่นเอง และความหมาย คำว่า อัสสัมชัญ ภาษาอังกฤษ แปลว่า แม่พระได้รับเกรียติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายละวิญญาณ ซึ่งตรงกับวันที่ 15 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันหยุดของโรงเรียนอัสสัมชัญ ทุกปีเครื่องหมายโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมามีลักษณะ เป็นตราโล่ (Arm) สีแดงคาดสีขาวตรงกลาง \nมีตัวอักษร ACN สีน้ำเงินไขว้กันอยู่ตรงกลาง และปีคริสต์ศักราช 1967 สีนำเงินอยู่ใต้ตัวอักษร ซึ่งเป็นปีที่ก่อตั้งโรงเรียน", "title": "โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา" }, { "docid": "21913#4", "text": "คำว่า '\"Christmas\" ในภาษาอังกฤษ เกิดขึ้นเป็นคำประสมหมายถึง \"พิธีมิสซาของพระคริสต์\" มาจากคำในภาษาอังกฤษสมัยกลาง \"Christemasse\" ซึ่งมาจากคำว่า \"Cristes mæsse\" ในภาษาอังกฤษเก่าอีกทอดหนึ่ง คำนี้พบครั้งแรกในเอกสารที่บันทึกใน ค.ศ. 1038 คำว่า \"Crīst\" (แสดงความเป็นเจ้าของ \"Crīstes\") มาจากภาษากรีก \"Christos\" ซึ่งเป็นคำแปลของ \"Māšîaḥ\" (เมสสิยาห์) ในภาษาฮีบรู และ \"mæsse\" มาจากภาษาละติน \"missa\" คือ การเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท รูปแบบ \"Christenmas\" ยังพบใช้ในอดีตเช่นกัน แต่ปัจจุบันถูกมองว่าโบราณและเฉพาะถิ่น คำดังกล่าวมาจากภาษาอังกฤษกลางว่า \"Cristenmasse\" อันมีความหมายตามอักษรว่า \"มิสซาคริสเตียน\" \"Xmas\" เป็นการย่อคำว่า คริสต์มาส ส่วนใหญ่พบในสื่อตีพิมพ์ มาจากอักษรตัวแรก \"Χ\" ในคำว่า \"Khrīstos\" (Χριστός) ภาษากรีก ซึ่งหมายถึง \"คริสต์\" แม้รูปแบบการเขียนหลายแห่งไม่สนับสนุนการใช้ การใช้นี้มีแบบอย่างในภาษาอังกฤษกลาง \"Χρ̄es masse\" (โดยที่ \"Χρ̄\" เป็นการย่อ Χριστός) ", "title": "คริสต์มาส" }, { "docid": "282576#26", "text": "ซึ่งนักวิพากษ์กล่าวว่าภาษาอังกฤษที่แปลมาไม่ตรงกับความหมายในภาษาเยอรมันเท่าใดนักเพราะคำว่า “Ungeziefer” ตามความเห็นของคัฟคามิได้มีความตรงตัวตามตัวอักษรในพจนานุกรม หรือการวางคำกิริยาสำคัญ “verwandelt” ไว้ท้ายประโยคซึ่งไม่สามารถจะทำได้ในภาษาอังกฤษ", "title": "ฟรันทซ์ คัฟคา" }, { "docid": "282576#27", "text": "อีกตัวอย่างหนึ่งของคำที่มีความหมายสองแง่คือการใช้คำนาม “Verkehr” ในประโยคสุดท้ายของ The Judgment คำว่า “Verkehr” ตามตัวอักษรในกรณีนี้แปลว่า “intercourse” (การร่วมเพศ) ซึ่งเช่นเดียวกับในภาษาอังกฤษอาจจะเป็นความหมายที่อาจจะใช้สำหรับทางเพศหรือไม่ใช่ทางเพศก็ได้ นอกจากนั้นก็ยังแปลว่าการจราจรได้ ประโยคนี้มาแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า \"At that moment an unending stream of traffic crossed over the bridge.\"[15] สิ่งที่ทำให้มีน้ำหนักว่าคำว่า “Verkehr” มีความหมายสองแง่มาจากคำสารภาพของคัฟคาเองกับโบรดว่าเมื่อเขียนประโยคสุดท้าย ตนเองกำลังคิดถึง \"a violent ejaculation\" (การหลั่งน้ำอสุจิอันรุนแรง)[16] ในการแปลเป็นภาษาอังกฤษก็มีทางเดียวที่จะแปล 'Verkehr' ได้ก็แต่แปลเป็น \"การจราจร?\"[17]", "title": "ฟรันทซ์ คัฟคา" }, { "docid": "58914#3", "text": "โบราณาจารย์บอกว่านาลันทา เลือนมาจากประโยคว่า น อลม ทา แปลว่า ฉันจะไม่ให้ มีตำนานเสริมว่าสมัยหนึ่งพระโพธิสัตว์บำเพ็ญทานบารมี เป็นที่รู้จักกันดี จนไม่มีใครได้ยินคำว่า ฉันจะไม่ให้ นาลันทา มาจากคำ 2 คำ คือ นาลัน แปลว่า ดอกบัว และ ทา แปลว่า ให้ หมายถึง ให้ดอกบัว มีตำนานเสริมว่าบริเวณนี้มีดอกบัวมาก แม้ปัจจุบันก็ยังมี ดอกบัวมากอยู่ จึงเป็นเหมือนสถานที่ให้ดอกบัว นาลันทา เป็นชื่อพญานาคซึ่งอาศัยอยู่ในสระบัวใหญ่ ณ บริเวณมหาวิทยาลัยนาลันทาปัจจุบัน ตรงกับคตินิยมของชาวอินเดียในปัจจุบันที่บูชางู มีพิธีเรียกว่านาคปัญจมี มีเมืองชื่อ นาคปุระ๘ นาลันทา ประกอบด้วยคำ 3 คำ คือ น, อลัง, และ ทา แปลตามตัวอักษรว่า ให้ไม่พอ แต่ความหมายก็คือ ให้ไม่รู้จักพอ สมณะอี้จิงบันทึกไว้ว่า นาลันทา แผลงมาจากคำว่า นาคนันทะ ซึ่งอาจตั้งชื่อตามชื่อพญานาคที่ยึดครองที่นั้นและต่อมา พญานาคนี้เป็นที่รู้จักกันดีว่า นาคแห่งนาลันทา หรือ นาลันทานาค ท่านธรรมสวามีชาวทิเบตซึ่งเดินทางมาเยี่ยมที่นี้เมื่อ พ.ศ. 1777 บันทึกไว้ว่า คำว่า นาลันทา หมายถึง เจ้าแห่งมนุษย์ (Lord of men)", "title": "นาลันทา" }, { "docid": "357537#1", "text": "คำว่า \"สัจพจน์\" มาจากคำ ἀξίωμα (axioma) ในภาษากรีกซึ่งแปลว่า \"ยกให้มีค่ายิ่ง\" หรือ \"ต้องการอย่างยิ่ง\" \nซึ่งแผลงมาจากคำว่า ἄξιος (axsios) และ ἄγω (ago) ตามลำดับ โดยรากศัพท์เริ่มต้น ἄγω (ago) นั้นเป็นรากศัพท์\nในตระกูลภาษาก่อนอินโดยูโรเปียน ตรงกับคำว่า अजति (ago) ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีความหมายเหมือน\nกันคือ \"การนำ\" หรือ \"การทำให้มีค่า\" ต่อมานักปรัชญากรีกจึงใช้คำว่า axiom ในความหมายว่า ข้อความที่ยอมรับว่าเป็นจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์", "title": "สัจพจน์" }, { "docid": "39640#6", "text": "คำว่า \"เหี้ย\" นั้นมักใช้เป็นคำด่าและเป็นคำหยาบคายที่หรือภาษาที่ไม่สุภาพสำหรับสามัญชนทั่วไปในภาษาไทย บางครั้งจึงเลี่ยงไปใช้คำว่า ตัวเงินตัวทอง หรือ ตัวกินไก่ หรือ น้องจระเข้ แทน หรือบางครั้งก็ใช้คำว่า ตะกวด (ซึ่งในเชิงอนุกรมวิธานแล้วตะกวดเป็นสัตว์คนละชนิดกับเหี้ย) คำว่า เหี้ย ในเชิงการใช้คำศัพท์แบบที่ใช้กับคน มักจะใช้กับเพื่อนสนิทมาก ๆ พูดเป็นคำสร้อยนำหน้าชื่อก็มี สันนิษฐานว่าคำว่า \"เหี้ย\" มาจากภาษาบาลี \"หีน\" ที่แปลว่าต่ำช้า กร่อนเหลือ \"หี\" แล้วแผลงเป็นเหี้ย ภาคอีสานของไทยเรียก แลน", "title": "เหี้ย" }, { "docid": "307017#0", "text": "การแผลงเป็นอังกฤษ หรือ การถ่ายเสียงและถอดอักษรเป็นอังกฤษ () คือกระบวนการในการเปลี่ยนภาษาพูดหรือภาษาเขียนของภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ มาเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ในภาษาอังกฤษสำหรับผู้พูดภาษาอังกฤษ หรือโดยนัยทั่วไปคือ การเปลี่ยนคำในภาษาอื่นให้กลายเป็นคำในภาษาอังกฤษตามรูปแบบหรือตัวอักษร", "title": "การแผลงเป็นอังกฤษ" }, { "docid": "23096#4", "text": "ที่มาของคำแสดงถึงการแพร่หลายของโภคภัณฑ์ คำภาษาอังกฤษ \"sugar\" แผลงมาจากคำภาษาสันสกฤตว่า शर्करा \"śarkarā\" ซึ่งมาจากภาษาเปอร์เซียว่า شکر \"shakkar\" มีความเป็นไปได้สูงว่าแพร่มาถึงประเทศอังกฤษโดยพ่อค้าชาวอิตาลี คำภาษาอิตาลีว่า zucchero ขณะที่คำภาษาสเปนและโปรตุเกส ใช้คำว่า azúcar และ açúcar ตามลำดับ ต่างมีรากมาจากคำนำหน้าของภาษาอาหรับเหมือนกัน คำภาษาฝรั่งเศสยุคเก่าคือ zuchre คำภาษาฝรั่งเศสร่วมสมัยคือ sucre คำภาษากรีกยุคแรกสุด σάκχαρις (sákkʰaris) ที่มาที่เป็นที่ยอมรับอธิบายว่าการแพร่หลายของคำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ คำภาษาอังกฤษว่า \"jaggery\" ที่แปลว่าน้ำตาลผงหยาบทำจากน้ำเลี้ยงของอินทผลัม หรือน้ำอ้อยคั้น มีแหล่งกำเนิดของคำที่คล้าย ๆ กันกับคำภาษาโปรตุเกส \"xagara\" หรือ \"jagara\" แผลงมาจากภาษาสันสกฤต \"śarkarā\"", "title": "น้ำตาล" }, { "docid": "1010#2", "text": "คำว่า \"เยซู\" มาจากคำในภาษากรีกคือ \"เยซุส\" Ιησους [Iēsoûs] ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua [เยชูวา] ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า \"ยาซูอฺ\" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า \"อีซา\" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ \"ผู้ช่วยให้รอด\" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า \"คริสต์\" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า \"คริสตอส\" Χριστός [Christos] ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง \"ผู้ได้รับการเจิม\" ชาวอาหรับเรียกว่า \"มะซีฮฺ\" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น", "title": "พระเยซู" }, { "docid": "23996#34", "text": "คำว่า \"อัสสัมชัญ\" นี้ออกเสียงคล้ายกับภาษาอังกฤษว่า \"Assumption\" และยังมีคำในภาษาบาลีว่า \"อัสสโม\" แผลงเป็นไทยว่า \"อาศรม\" ซึ่งหมายความถึง \"กุฏิที่ถือศีลกินพรต\" ส่วนคำว่า \"ชัญ\" ก็ จะแยกตาม ชาติศัพท์เดิม ก็ได้แก่ ธาตุศัพท์ว่า \"ช\" ซึ่งแปลว่า เกิด และ \"ญ\" ซึ่งแปลว่าญาณ ความรู้ รวมความได้ว่า \"ชัญ\" คือที่สำหรับเกิด ญาณความรู้ เมื่อรวมสองศัพท์ มาเป็นศัพท์เดียวกันแล้ว ได้ว่า \"อัสสัมชัญ\" คือ \"ที่สำหรับระงับบาปและหาวิชาความรู้\"", "title": "โรงเรียนอัสสัมชัญ" }, { "docid": "317162#16", "text": "พระราชบัญญัติใช้คำว่า “สมบัติ” แทนคำว่า “กรุสมบัติ” คำหลังในปัจจุบันจำกัดใช้เฉพาะสำหรับสิ่งที่ค้นพบก่อนนหน้าที่จะมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ สิ่งที่อยู่ในข่าย “สมบัติ” ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็ได้แก่[33][34]", "title": "กรุสมบัติ" }, { "docid": "164855#6", "text": "ชื่ออัสสัมชัญคอนแวนต์ เดิมเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า \"COUVENT DE L'ASSOMPTION\" ภายหลังเปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษว่า \"ASSUMPTION CONVENT\" คำว่า ASSUMPTION (AS+SUMP+TION) มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน แปลว่าการยกขึ้น ส่วนคำว่า COUVENT หมายถึงสถานที่ซึ่งภคินีพำนักอยู่รวมกัน การใช้ชื่อโรงเรียนว่าอัสสัมชัญคอนแวนต์เพราะสถานที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ในบริเวณอาสนวิหารอัสสัมชัญ (Assumption Catherdral) แห่งมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการถวายเกียรติแด่การที่แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เป็นการขอความคุ้มครองอารักขาและพระพรจากพระนางมารีพรหมจารีพระมารดาของพระเยซู นอกจากนี้ เจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ ยังได้อธิบายคำ \"อัสสัมชัญ\" ไว้ในอีกลักษณะหนึ่ง โดยการอ้างอิงภาษาบาลีและสันสกฤตว่า \"อัสสัม\" แผลงเป็นไทยว่า \"อาศรม\" ซึ่งแปลว่า ที่อยู่ ส่วน \"ชัญ\" แผลงมาจาก \"ชญญ\" แปลว่า ความรู้ เมื่อนำมารวมกันจะได้ความหมายว่า \"สถานที่อยู่ของความรู้\" หรือ \"สถานที่ก่อให้เกิดความรู้\" ดังนั้นชื่ออัสสัมชัญคอนแวนต์จึงเป็นชื่อที่มีความหมายพิเศษ", "title": "โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์" }, { "docid": "49500#1", "text": "ยูโกสลาเวีย, ที่ใช้ในภาษาไทยนั้นทับศัพท์จากปริวรรตเป็นอักษรละตินว่า \"Jugoslavija\", โดยการแยกคำดังนี้ jug (ภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชีย \"j\" ปริวรรตเป็นอักษรภาษาอังกฤษตรงกับ \"y\") และ slavija. คำแปลในภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชีย ภาษามาซิโดเนีย, และ ภาษาสโลวีเนีย คำว่า \"jug\" หมายถึง \"ทิศใต้\", ส่วนคำว่า \"slavija\" (\"สลาเวีย\") หมายถึง (\"ดินแดนสลาฟ\"). คำว่า \"Jugoslavija\" \"หมายถึง\" \"สลาฟ-ใต้\" หรือ \"ดินแดนแห่งชาวสลาฟตอนใต้\". เป็นการรวมตัวของ 6 ชนชาติในดินแดนสลาฟใต้ ซึ่งประกอบด้วย: ชาวโครเอเชีย, ชาวมาซิโดเนีย, ชาวมอนเตรเนโกร, ชาวบอสเนีย, ชาวเซิร์บ และ ชาวสโลวีน. ยูโกสลาเวีย ได้ประกาศใช้เป็นชื่อประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ. 1945 จนถึง ค.ศ. 1992.", "title": "สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย" }, { "docid": "2818#2", "text": "ภาษาอังกฤษเรียกภาษานี้ว่า Mandarin (แมนดาริน) ซึ่งมีรากจากคำในภาษาสันสกฤษว่า มันตริน หรือเทียบตรงกับคำไทยว่า มนตรี และคำว่า กว่านฮว่า (อักษรจีน: 官話) กว่าน (อักษรจีน: 官) แปลว่าราชสำนักและ ฮว่า (อักษรจีน: 話) แปลว่าพูด เป็นชื่อโบราณที่ใช้เรียกภาษานี้ ปัจจุบันใช้ในเชิงวิชาการเพื่อแยกว่าไม่ใช่ภาษาจีนกลุ่มอื่นเช่น ภาษาแต้จิ๋ว, ภาษาฮกเกี้ยน, ภาษากวางตุ้ง เป็นต้น", "title": "ภาษาจีนกลาง" }, { "docid": "119973#3", "text": "ในภาษาอังกฤษคำว่า “Moat” แผลงมาจากคำในภาษาอังกฤษกลางที่แผลงมาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า “motte” ที่แปลว่า “เนิน” ที่เดิมหมายถึงเนินกลางปราสาทที่เป็นที่ตั้งป้อม ต่อมาคำนี้แผลงมามีความหมายว่าวงคูแห้งที่ขุดขึ้นรอบปราสาท นอกจากนั้นคำว่า “Moat” ก็ยังหมายถึงภูมิสัณฐานที่คล้ายกับสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือ รูปทรงทางสถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกับคูล้อม", "title": "คูเมือง" }, { "docid": "245430#1", "text": "ที่มาของคำว่า “ระเบียงเหนือทางเดินข้าง” ที่มาจากภาษาอังกฤษ “Triforium” ไม่เป็นที่ทราบแต่สันนิษฐานว่าอาจจะมาจากคำว่า “thoroughfarum” เพราะเป็นทางเดินจากหัวตึกไปถึงท้ายตึก อาจจะเป็นคำที่แผลงมาจากภาษาละตินว่า “tres” ที่แปลว่า “สาม” และ “foris” ที่แปลว่า “ประตู” หรือ “ทางเข้า” อาจจะเป็นได้ว่าทางผ่านอาจจะเคยเป็นลักษณะสามเหลี่ยมตามรูปทรงของหลังคาที่ลาดลงมาด้านหนึ่ง (ดูรูประหว่างลูกศร)", "title": "ระเบียงเหนือทางเดินข้าง" }, { "docid": "686078#1", "text": "กล่าวถึงการผจญภัยของสองพี่น้องคาฮิลล์ในเวียนนา และเวนิส เพื่อตามหาคำไขปริศนาที่โมซาร์ทและพี่สาวเก็บไว้ ทั้งสามค้นพบสามหน้าที่หายไปจากสมุดบันทึกของแนนเนิร์ลพี่สาวของโมซาร์ท ซึ่งแท้จริงแล้วแนนเนิร์ลเองมีพรสวรรค์ทางด้านดนตรีไม่แพ้น้องชาย แต่ด้วยความเป็นหญิงจึงถูกกีดกัน สมุดบันทึกของแนนเนิร์ลเขียนไว้ว่าโมซาร์ทสั่งซื้อสินค้าจำนวนมากจากฟิเดลิโอ รัคโค่ และยังค้นพบอีกว่าแท้จริงแล้วประโยคของพระนางมารี อังตัวเนตที่พูดกับชาวนาว่าให้ไปกินเค้กแทนนั้น จริง ๆ แล้วพระนางใช้คำว่า \"gataux\" (กาโต้) แทนคำว่าเค้ก ซึ่งเมื่อตัดตัวอักษรภาษาอังกฤษที่แทนด้วยตัวโน้ตออกแล้ว (C D E F G A B) ก็จะได้คำว่า TU ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ธาตุของทังสเตนนั่นเอง คำไขปริศนาที่สามคือ \"ทังสเตน\"", "title": "ปริศนาสมบัติอัจฉริยะ ตอน หนึ่งโน้ตมรณะ" }, { "docid": "317162#4", "text": "ในกฎหมายโรมันกรุสมบัติเรียกว่า “thesaurus” ที่แปลว่าสมบัติ และนิยามโดยนักกฎมายโรมันจูเลียส พอลลัส พรูเดนทิสซิมัสว่าเป็น “vetus quædam depositio pecuniæ, cujus non extat memoria, ut jam dominum non habeat”[4] (ที่บรรจุโบราณของเงินที่ไม่อยู่ในความทรงจำของผู้ใด ซึ่งเท่ากับไม่มีเจ้าของในปัจจุบัน[5] อาร์. ดับเบิลยู. ลีออกความเห็นใน “The Elements of Roman Law” (ฉบับที่ 4 ค.ศ. 1956) ให้ความเห็นว่าคำนิยามนี้เป็นคำนิยามที่ “ไม่เป็นที่น่าพอใจ” เพราะสมบัติมิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะเงินตราเท่านั้น หรือเป็นสิ่งที่ทิ้งโดยเจ้าของ[5] ภายใต้กฎหมายโรมัน ถ้าผู้ใดพบสมบัติในบริเวณที่ดินของตนเอง หรือ บนที่ดินที่เป็นเทวสถาน ผู้พบสมบัติดังว่าก็มีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของ แต่ถ้าเป็นสมบัติที่พบโดยบังเอิญ และ โดยมิได้จงใจที่จะหาในที่ดินของผู้พบ กึ่งหนึ่งของสมบัติก็จะเป็นของผู้พบ และอีกกึ่งหนึ่งจะตกไปเป็นของเจ้าของที่ดินที่อาจจะเป็นพระมหาจักรพรรดิ, เจ้าหน้าที่การคลัง, เมือง หรือเจ้าของกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง[6] ตามความเห็นของนักกฎหมายดัตช์ฮูโก โกรเทียส (ค.ศ. 1583–ค.ศ. 1645) กล่าวว่าเมื่อระบบศักดินาแพร่ขยายไปทั่วยุโรป เจ้านายก็ถือกันว่าเป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมด สิทธิในการเป็นเจ้าของกรุสมบัติจึงกลายเป็น “jus commune et quasi gentium” (สิทธิสามัญและกึ่งสากล) ในอังกฤษ, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, สเปน และ เดนมาร์ก[7]", "title": "กรุสมบัติ" }, { "docid": "53950#8", "text": "แรกเริ่มโรงเรียนของบาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ ได้ใช้ชื่อเป็น ภาษาฝรั่งเศส \"Le Collège De L'Assomption\" (เลอ โกแลช เดอ ลัซซงซิอง) ซึ่งคุณพ่อได้ใช้ชื่อในภาษาไทยว่า \"โรงเรียนอาซมซาน กอเล็ศ\" แต่คนทั่ว ๆ ไปมักเรียก และเขียนผิด ๆ กันไปตามถนัด ดังนั้นในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2453 ภราดาฮีแลร์จึงได้มี จดหมายไปยังกระทรวงธรรมการ กรมคึกษา ขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น \"อาศรมชัญ\" เพื่อให้เป็นภาษาไทย ตามนโยบายของทางกรมฯ วันที่ 26 กันยายน 2453 พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ อธิบดีกรมศึกษาก็ได้ตอบกลับมา ว่า ควรเปลี่ยนเป็น\"อัสสัมชัญ\"เพราะได้เสียงใกล้เคียง ของเดิม และความ หมายก็คงไว้ตาม \"อาศรมชัญ\" ดังนั้นชื่อ \"อัสสัมชัญ\" จึงได้เริ่มใช้กัน ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2453 เป็นต้นมา ซึ่งคำๆนี้ให้เสียงเป็นคำไทย และ คล้ายกับภาษาอังกฤษว่า \"Assumption\" ซึ่งทั้งคำแปลก็เหมาะ สมที่จะเป็นชื่อ ของโรงเรียน โรงสวดกุฏิที่ถือศีลเป็นอันมากเพราะคำว่า \"อัสสัมชัญ\" ก็ได้แก่ ศัพท์ในภาษาบาลีว่า \"อัสสโม\" แผลงเป็นไทยว่า \"อาศรม\" ซึ่งหมายความถึง \"กุฏิที่ถือศีลกินพรต\" ส่วนคำว่า \"ชัญ\" ก็ จะแยกตาม ชาติศัพท์เดิม ก็ได้แก่ ธาตุศัพท์ว่า\"ช\" ซึ่งแปลว่า เกิด และ \"ญ\" ซึ่งแปลว่าญาณ ความรู้ รวมความได้ว่า \"ชัญ\" คือที่สำหรับเกิด ญาณความรู้ ครั้นรวมสองศัพท์ มาเป็นศัพท์เดียวกันแล้ว ได้ว่า \"อัสสัมชัญ\" คือ \"ตำแหน่งที่สำหรับระงับบาปและหาวิชาความรู้\" นั่นเอง และความหมาย คำว่า อัสสัมชัญ ภาษาอังกฤษ แปลว่า แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายละวิญญาณ ซึ่งตรงกับวันที่ 15 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันหยุดของโรงเรียนอัสสัมชัญทุกปี", "title": "คณะภราดาเซนต์คาเบรียล" }, { "docid": "372131#23", "text": "เขียนโดย กอร์ดอน คอร์แมน วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 กล่าวถึงการผจญภัยของสองพี่น้องคาฮิลล์ในเวียนนา และเวนิส เพื่อตามหาคำไขปริศนาที่โมซาร์ทและพี่สาวเก็บไว้ ทั้งสามค้นพบสามหน้าที่หายไปจากสมุดบันทึกของมาเรีย แอนนา โมซาร์ทผู้เป็นพี่สาวของโมซาร์ท ซึ่งแท้จริงแล้วมาเรียเองมีพรสวรรค์ทางด้านดนตรีไม่แพ้น้องชาย แต่ด้วยความเป็นหญิงจึงถูกกีดกัน สมุดบันทึกของมาเรียเขียนไว้ว่าโมซาร์ทสั่งซื้อสินค้าจำนวนมากจากฟิเดลิโอ รัคโค่ และยังค้นพบอีกว่าแท้จริงแล้วประโยคของพระนางมารี อังตัวเนตที่พูดกับชาวนาว่าให้ไปกินเค้กแทนนั้น จริง ๆ แล้วพระนางใช้คำว่า \"gataux\" (กาโต้) แทนคำว่าเค้ก ซึ่งเมื่อตัดตัวอักษรภาษาอังกฤษที่แทนด้วยตัวโน้ตออกแล้ว (C D E F G A B) ก็จะได้คำว่า TU ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ธาตุของทังสเตนนั่นเอง คำไขปริศนาที่สามคือ \"ทังสเตน\"", "title": "ปริศนาสมบัติอัจฉริยะ" }, { "docid": "317162#5", "text": "เป็นที่กล่าวกันว่าความคิดเกี่ยวกับกรุสมบัติในกฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษมีมาตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ (ราว ค.ศ. 1003/1004 – ค.ศ. 1066) [8] ภายใต้กฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษกรุสมบัติหมายถึงทองหรือเงินในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ, จาน หรือเครื่องช้อนส้อม[9] หรือแท่งเงิน หรือแท่งทอง[10][11] ที่ถูกซ่อนและมาพบในภายหลัง และไม่อาจที่จะพิสูจน์ได้ว่าผู้ใดเป็นเจ้าของ ถ้าต่อมาพบผู้เป็นเจ้าของ กรุสมบัติก็จะตกไปเป็นของเจ้าของ[12][13] หรือผู้สืบเชื้อสายมาจากเจ้าของเดิม การที่จะถือว่าเป็นกรุสมบัติ สิ่งของในกรุต้องมีจำนวนพอสมควร ที่ประกอบด้วยทองหรือเงินจำนวนกึ่งหนึ่ง[14]", "title": "กรุสมบัติ" }, { "docid": "239649#1", "text": "คำว่า “Merlon” ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาฝรั่งเศสที่มาจากภาษาอิตาลี “merlone” ที่อาจจะย่อมาจากคำว่า “mergola” ที่แผลงมาจากภาษาละติน “mergae” ที่แปลว่าคราด หรือแผลงมาจาก “moerulus” ที่มาจากคำว่า “murus” หรือ “merulus” ที่แปลว่ากำแพง อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่ามาจากภาษาละติน “merulus” (กล่าวถึงในคริสต์ศตวรรษที่ 10) ที่ย่อเป็น “merle” ที่ทำให้เห็นภาพพจน์ของนกดำเกาะบนกำแพง", "title": "ใบสอ" }, { "docid": "317162#3", "text": "ความหมายอีกความหมายหนึ่งของคำว่า “กรุสมบัติ” เป็นการใช้อย่างเป็นอุปมาที่แปลว่า “สิ่งของที่มีค่าที่พบ” ฉะนั้นก็เท่ากับเป็นแหล่งของมีค่า หรือ ที่เก็บรักษาสิ่งของมีค่า[3]", "title": "กรุสมบัติ" }, { "docid": "317162#1", "text": "นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้เป็นคำอุปมาอีกด้วย เช่นงานเขียนที่เป็นการรวบรวมเรื่องต่างๆ ก็อาจจะใช้ชื่อคำว่า “กรุสมบัติ” นำหน้าเช่น “กรุสมบัติแห่งวิทยาศาสตร์” นอกจากนั้นก็ยังเป็นที่นิยมกันในการตั้งชื่อวรรณกรรมสำหรับเยาวชนเมื่อต้นถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20", "title": "กรุสมบัติ" } ]
2188
ตลาดเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนในไทยที่มีผู้ประกอบการหลักกี่ราย?
[ { "docid": "915552#10", "text": "ปัจจุบันตลาดเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มีผู้ประกอบการหลัก 3 รายและมีอัตราการเติบโตสูงถึง 136% โดยปัจจุบันผู้ให้บริการเครือข่ายหลักๆ จะใช้เทคโนโลยีของกลุ่ม GSM และ 3GPP ได้แก่ GSM, EDGE, UTMS และ LTE ส่วนตลาดโทรทัศน์ในประเทศปัจจุบันแบ่งเป็นโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเดิม 6 ช่อง และโทรทัศน์ระบบสัญญาณดิจิทัลจำนวน 26 ช่อง", "title": "โทรคมนาคมในประเทศไทย" } ]
[ { "docid": "915552#14", "text": "ในไตรมาสที่ 4 ของปีพ.ศ. 2557 มีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยที่ 97.6 ล้านเลขหมาย คิดเป็นอัตราการเติบโตถึง 146% แบ่งเป็นผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน 84.8 ล้านเลขหมาย โดย 99% ของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้ผู้ให้บริการหลัก 3 ราย (รวมถึงผู้ให้บริการในเครือด้วย) ได้แก่ เอไอเอส มีสัดส่วนผู้ใช้บริการอยู่ที่ 46.52% รองลงมาได้แก่ ดีแทค 28.50% และทรูมูฟ เอช 24.26% ส่วนผู้ให้บริการรายอื่นรวมถึงรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ ทีโอที 0.57% และ กสท. โทรคมนาคม 0.15% รวมถึงผู้ประกอบการกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนโครงข่ายเสมือน (MVNO)", "title": "โทรคมนาคมในประเทศไทย" }, { "docid": "16719#10", "text": "ปี 2526-2527: ผู้ช่วยผู้จัดการร้านฝึกหัด (Management Trainee) บริษัท พิซซ่าฮัท ไทยแลนด์ จำกัด[8] ปี 2528-2530: Account Executive บริษัท Lintas Worldwide มีลูกค้าหลักคือ ลีเวอร์ บราเธอร์ส ปี 2530-2532: Account Director บุกเบิกก่อตั้ง บริษัท ดามาร์กส์ แอ๊ดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด (Damask Advertising) ปี 2532-2537: ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัทเป๊ปซี่-โคล่า อินเตอร์เนชั่นแนล ไทยแลนด์ จากนั้นขึ้นเป็นผู้อำนวยการขายและการตลาดของเป๊ปซี่ ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2537-2543: กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟริโต-เลย์ ไทยแลนด์ ปี 2543-2545: กรรมการผู้จัดการ CEO บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ปี 2545-2547: กรรมการผู้จัดการใหญ่ร่วม หรือ Co-CEO บริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ จำกัด (คู่กับ นายศุภชัย เจียรวนนท์) ประธานกลุ่มการตลาดและบริหารงานสื่อ กลุ่มบริษัทในเครือเทเลคอมเอเชีย จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันคือ ทรู คอร์ปอเรชั่น) กรรมการ บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ปี 2547: ลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในโทรศัพท์มือถือเครือข่าย ออเร้นจ์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ทรูมูฟ) เพื่อลงสมัคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนน 911,441 เสียง ปี 2548: รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ปี 2549-2551: ประธานคณะกรรมการอำนวยการกิจการกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ปี 2551: ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมัยที่ 2 ด้วยคะแนนเสียง 991,018 คะแนน คิดเป็น 45.93 % ปี 2552-2553 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปี 2553-2554: ส.ส. เขต 2 กรุงเทพมหานคร (ยานนาวา, สาทร, บางคอแหลม, คลองเตย, วัฒนา) ด้วยคะแนนเสียง 71,072 (เลือกตั้งซ่อม) กรรมาธิการ คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ปัจจุบัน: ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 8 พรรคประชาธิปัตย์, รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, รัฐมนตรีพาณิชย์เงา พรรคประชาธิปัตย์ กรรมาธิการที่ปรึกษา คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ประธานคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาเรื่องการเตรียมความพร้อมและการปรับตัวของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2558 เป็น 1 ในผู้บริหารตำแหน่งกรรมการ บริษัท วี ฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งปี 2557 ด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท[9] เป็น 1 ในผู้บริหารตำแหน่งกรรมการ บริษัท วี ฟู้ดส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ก่อตั้งปี 2558 ด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท[10]", "title": "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" }, { "docid": "562049#28", "text": "3) การเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless)\nระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีรูปแบบในการสื่อสารแบบไม่ใช้สาย โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ, ทะลุกำแพง, เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สายที่สำคัญก็คือ การที่ไม่ต้องใช้สายทำให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทำได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์\nประโยชน์ของระบบเครือข่ายไร้สาย \n1. mobility improves productivity & service มีความคล่องตัวสูง ดังนั้นไม่ว่าเราจะเคลื่อนที่ไปที่ไหน \nหรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปตำแหน่งใด ก็ยังมีการเชื่อมต่อ กับเครือข่ายตลอดเวลา ตราบใดที่ยังอยู่ใน\nระยะการส่งข้อมูล\n2. installation speed and simplicity สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งสายเคเบิล และไม่รกรุงรัง \n3. installation flexibility สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย เพราะเพียงแค่มี พีซีการ์ดมาต่อเข้ากับโน้ตบุ๊ค หรือพีซี ก็เข้าสู่เครือข่ายได้ทันที\n4. reduced cost- of-ownership ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม ที่ผู้ลงทุนต้องลงทุน ซึ่งมีราคาสูง เพราะในระยะยาวแล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษาและการขยายเครือข่ายก็ลงทุนน้อยกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องด้วยความง่ายในการติดตั้ง\n5. scalability เครือข่ายไร้สายทำให้องค์กรสามารถปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถโยกย้ายตำแหน่งการใช้งานโดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมระหว่างจุดต่อจุด เช่น ระหว่างตึก\nการประยุกต์ใช้งานการสื่อสารบรอดแบนด์\nการใช้งานระบบบรอดแบนด์ถูกใช้ สำหรับการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ซึ่งลักษณะของการสื่อสารข้อมูลเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ สื่อที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูลมีความหลากหลาย เช่น ชนิดใช้สายนำสัญญาณหรือผ่านคลื่นวิทยุในอากาศแบบไร้สาย ซึ่งอาจมีการผสมผสานสื่อต่างๆ เข้าด้วยกันในการใช้งานบรอดแบนด์ เช่น ผู้ส่งข้อมูลอยู่บนเครือข่ายไร้สายในขณะที่ผู้รับข้อมูลอาจอยู่บนเครือข่ายที่ใช้สายนำสัญญาณ การใช้งานโดยเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดความต้องการในการถ่ายโอนข้อมูลปริมาณมากจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นเอกสาร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียงและข้อมูลสื่อประสมต่างๆ ผ่านโปรแกรมสำหรับการท่องอินเทอร์เน็ต คือ \nเว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) หรือโปรแกรมประยุกต์อื่นๆ เช่นการใช้งานเพื่อการศึกษาโดยการส่งข้อมูลภาพการเรียนการสอนระยะไกล (Distance learning) หรือการแพทย์ระยะไกล (Telemedicine) เช่นการให้การวิเคราะห์รักษาผู้ป่วยโดยแพทย์จากระยะทางไกลจากผู้ป่วย ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีบรอดแบนด์ได้ถูกใช้ในด้านธุรกิจ เช่นการประชุม วีดิทัศน์ระยะไกล (Video teleconferencing) เป็นต้น", "title": "บรอดแบนด์" }, { "docid": "618657#194", "text": "โทรศัพท์ไร้สาย เป็นโทรศัพท์ที่ไม่มีสายเชื่อมระหว่างส่วนมือจับ(English: handset)กับสถานีฐาน(English: base station). ส่วนมือจับสามารถสื่อสารกับสถานีฐานได้ด้วยคลื่นวิทยุ, โดยที่สถานีฐานจะเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการโทรศัพท์แบบอยู่กับที่ตามปกติ. ระยะห่างของส่วนมือจับมักจะอยู่ในระยะที่จำกัดของสถานีฐาน. สถานีฐานจะอยู่ในสถานที่ของผู้ใช้บริการ และติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์แบบเดียวกับที่โทรศัพท์แบบมีสาย. ใน ปี 1965 หญิงอเมริกัน ชื่อ Teri พอล ได้คิดค้นโทรศัพท์ไร้สายแต่เนื่องจากความยากลำบากของการตลาด, พอลไม่เคยจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของเธอ. จอร์จ Sweigert แห่ง Euclid, โอไฮโอ ประสพความสำเร็จมากกว่าจึงได้รับสิทธิบัตรสำหรับโทรศัพท์ไร้สายในปี 1969.[170]", "title": "ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)" }, { "docid": "2937#38", "text": "เครือข่ายซ้อนทับเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เสมือนที่ถูกสร้างขึ้นทับบนเครือข่ายอื่น โหนดในเครือข่ายซ้อนทับจะถูกลิงค์เข้าด้วยกันแบบเสมือนหรือแบบลอจิก ที่ซึ่งแต่ละลิงค์จะสอดคล้องกับเส้นทางในเครือข่ายหลักด้านล่าง ที่อาจจะผ่านการลิงค์ทางกายภาพหลายลิงค์ โทโพโลยีของเครือข่ายซ้อนทับอาจ (และมักจะ) แตกต่างจากของเครือข่ายด้านล่าง. เช่น เครือข่ายแบบ peer-to-peer หลายเครือข่ายเป็นเครื่อข่ายซ้อนทับ พวกมันจะถูกจัดให้เป็นโหนดของระบบเสมือนจริงของลิงค์ที่ทำงานบนอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตถูกสร้างขึ้นครั้งแรกเป็นภาพซ้อนทับบนเครือข่ายโทรศัพท์.", "title": "เครือข่ายคอมพิวเตอร์" }, { "docid": "286764#2", "text": "ในปีพ.ศ.2554 แบล็คเบอร์รี่ กินส่วนแบ่งตลาด โทรศัพท์มือถือ ทั่วโลกได้ 3% กลายเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถืออันดับ 6 ของโลก ระบบอินเทอร์เน็ตของแบล็คเบอร์รี่เปิดให้บริการใน 91 ประเทศ ภายใต้ผู้ให้บริการเครือข่ายกว่า 500 ราย ในเดือนกันยายน พ.ศ.2555 มีผู้ใช้แบล็คเบอร์รี่ถึง 80 ล้านเครื่องทั่วโลก ในปีพ.ศ.2554 ผู้คนกลุ่มประเทศแคริบเบียนและละตินอเมริกาใช้แบล็คเบอร์รี่มากที่สุด คิดเป็น 45% ของจำนวนเครื่องแบล็คเบอร์รี่ทั่วโลก ", "title": "แบล็คเบอร์รี (โทรศัพท์มือถือ)" }, { "docid": "567370#3", "text": "ในสมัยใหม่(ดูภาพประกอบ) เครื่องโทรศัพท์ส่วนใหญ่จะเสียบเข้ากับแจ็คโทรศัพท์ แจ็คจะเชื่อมต่อกับ drop wire ด้วยสายภายใน, drop wire จะเชื่อมต่อระหว่างอาคารกับสายเคเบิลภายนอก. สายเคเบิล ภายนอกปลายด้านหนึ่งจะต่อเข้ากับ drop wire จำนวนมากจากทั่วทุกพื้นที่บริการ ปลายอีกด้านหนึ่งต่อเข้าไปที่ชุมสายโทรศัพท์ท้องถิ่น เมื่อผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์ต้องการที่จะโทรออก, อุปกรณ์ที่ชุมสายจะตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ที่โทรออก และเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ไปยังอีก เครื่องที่อยู่ในชุมสายเดียวกัน หรือไปยัง trunk ที่ไปชุมสายอื่น ชุมสายส่วนใหญ่ในโลกมีการเชื่อมต่อถึงกันทำรูปแบบเป็นเครือข่ายชุมสายโทรศัพท์สาธารณะ () หรือ PSTN ในตอนท้ายของศตวรรษที่ 20 ชุมสายเกือบทั้งหมดทำงานแบบ stored program control หรือ SPC\nหลังจากช่วงกลางของศตวรรษที่ 20, โทรสารและข้อมูลกลายเป็นผู้ใช้ที่สำคัญอันดับสองของเครือข่ายที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อขนส่งเสียงและ ในช่วงปลายศตวรรษ บางส่วนของเครือข่ายได้รับการอัพเกรดด้วย ISDN และ DSL เพื่อปรับปรุงการจัดการการจราจรดังกล่าว", "title": "ระบบโทรศัพท์" }, { "docid": "52015#6", "text": "บริษัท ข่าวสด จำกัด (บมจ.มติชน ถือหุ้นร้อยละ 99.99) - ประกอบกิจการผลิตและจำหน่าย หนังสือพิมพ์รายวัน ข่าวสด (โดยจ้าง บมจ.มติชน เป็นผู้พิมพ์) ที่สามารถเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดหนังสือพิมพ์ จนมียอดจำหน่ายเป็นอันดับที่สามของประเทศ ในกลุ่มหนังสือพิมพ์รายวัน ด้วยระยะเวลาดำเนินงานเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น นอกจากนี้ บจก.ข่าวสด ยังผลิตและจำหน่ายหนังสือเป็นการเฉพาะกิจด้วย บริษัท งานดี จำกัด (บมจ.มติชน ถือหุ้นร้อยละ 99.5) - ประกอบกิจการจัดจำหน่ายหนังสือในเครือ บมจ.มติชน และของสำนักพิมพ์อื่น ๆ ไปสู่เอเย่นต์ต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด โดยวิธีการขนส่ง ทั้งทางบก และทางอากาศ บจก.งานดี มีเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายหนังสือพิมพ์ในเครือมติชน อยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศโดยใช้ระบบการจัดจำหน่ายประเภทขายฝาก แก่ผู้แทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตจากบริษัท แล้วจึงรับช่วงขายต่อแก่ร้านค้าต่อไป", "title": "มติชน" }, { "docid": "85111#0", "text": "บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (; ชื่อย่อ: TAC) หรือในชื่อการค้าว่า \"ดีแทค\" (dtac) เป็นผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย เดิมเป็นบริษัทในเครือยูคอม ปัจจุบันถือหุ้นใหญ่โดย บีซีทีเอ็น โฮลดิง", "title": "โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น" }, { "docid": "4817#49", "text": "โทรศัพท์มือถือมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในเครือข่ายโทรศัพท์ สมาชิกโทรศัพท์มือถือในขณะนี้มีจำนวนมากกว่าสมาชิกพื้นฐานอยู่กับที่ในหลายตลาด ยอดขายของโทรศัพท์มือถือในปี 2012 รวม 1,495 ล้านเครื่อง โดยแบ่งเป็นประเทศในแอฟริกา 56 ล้าน, เอเซีย/แปซิฟิก 652 ล้าน, ทวีปอเมริกา 358 ล้าน และยุโรป 366 ล้าน[31] โทรศัพท์เหล่านี้จะได้รับการบริการโดยระบบเสียงที่มีเนื้อหาและมีการส่งแบบดิจิทัล เช่น GSM หรือ W- CDMA ที่มีการตลาดจำนวนมากเลือกที่จะลดลงของระบบอนาล็อก เช่น AMPS", "title": "โทรคมนาคม" }, { "docid": "234045#8", "text": "ทั้งนี้ทั้งนายกรณ์ และนายอภิสิทธิ์ได้ขึ้นชี้แจงในประเด็นดังกล่าวไปในทางเดียวกันว่า การส่งเอสเอ็มเอส ดังกล่าวนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ อีกทั้งรัฐไม่ได้เสียงบประมาณใดๆ เนื่องจากเป็นการขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการเอกชน ส่วนที่ว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลนั้น นายกรณ์กล่าวว่าเป็นการส่งเฉพาะเบอร์โทรศัพท์ในเครือข่าย ไม่ได้มีข้อมูลส่วนบุคคลว่าเป็นเบอร์ของใคร", "title": "การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2552" }, { "docid": "8211#10", "text": "เมื่อมกราคม 2005, ผู้ใช้บริการโทรศัพท์ในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จำนวนสูงถึง 10 % ได้ เปลี่ยนมาใช้บริการโทรศัพท์แบบดิจิทัลนี้ ในเดือนเดียวกัน บทความของนิวสวีคชี้ให้เห็นว่า โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตอาจจะ \"สิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่อไป\" ในปี 2006 บริษัทหลายแห่งให้บริการ VoIP กับผู้บริโภคและธุรกิจ\nจากมุมมองของลูกค้า, ระบบโทรศัพท์ IP ใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบนด์วิธสูง และต้องการอุปกรณ์สถานที่ลูกค้า () หรือ CPE ที่มีลักษณะพิเศษในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต, หรือผ่านเครือข่าย​​ข้อมูลส่วนตัวอื่นๆที่ทันสมัย จริงๆแล้ว อุปกรณ์ของลูกค้าอาจจะเป็นเพียง อะแดปเตอร์โทรศัพท์แอนะล็อก ( ATA ) ซึ่งใช้เชื่อมต่อเครื่องโทรศัพท์แบบอนาล็อกแบบเก่าเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย IP, หรืออาจเป็นเครื่องโทรศัพท์ไอพีที่มีเทคโนโลยีเครือข่ายและอินเตอร์เฟซที่สร้างขึ้นในชุดตั้งโต๊ะ ที่ทำงานเหมือนโทรศัพท์ที่คุ้นเคยแบบเดิม ", "title": "เครื่องโทรศัพท์" }, { "docid": "567370#8", "text": "โทรศัพท์ระบบดิจิทัลได้ถูกปรับปรุงให้มีความสามารถในการทำงาน, มีคุณภาพและค่าใช้จ่ายของเครือข่ายดีขึ้นอย่างมาก เครือข่ายโทรศัพท์แอนะล็อกแบบ end- to-end มีการแก้ไขครั้งแรกในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 โดยการอัพเกรดเครือข่ายการส่งด้วยระบบขนส่งสัญญาณดิจิทัล 1 (DS1/T1) ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อสนับสนุนช่องเสียงขั้นพื้นฐาน 3 กิโลเฮิร์ทซ์ โดย การสุ่มตัวอย่างสัญญาณเสียงแอนะล็อกที่จำกัดแบนด์วิธและการเข้ารหัสโดยการใช้ Pulse-coded Modulation (PCM) ในขณะที่การแปลงให้เป็นดิจิทัลช่วยให้ได้เสียง wideband ในช่องความถี่เดียวกัน, คุณภาพที่ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นของช่องเสียงแอนะล็อกที่กว้างขึ้นไม่พบตลาดขนาดใหญ่ใน PSTN", "title": "ระบบโทรศัพท์" }, { "docid": "335844#3", "text": "วินโดวส์โฟน ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว หนึ่งในผลคือระบบปฏิบัติการใหม่จะไม่เข้ากันได้กับโปรแกรมประยุกต์ วินโดวส์โมบาย แลร์รี่ ไลเบอร์แมน ผู้จัดการผลิตภัณฑ์อาวุโสสำหรับประสบการณ์พัฒนาวินโดวส์โมบาย บอกว่าอีวีค \"ถ้าเราได้มีเวลามากขึ้นและทรัพยากรที่เราอาจได้รับสามารถที่จะทำอะไรในแง่ของการทำงานร่วมกันย้อนหลัง\" ไลเบอร์แมนกล่าวว่า ไมโครซอฟท์กำลังพยายามเพื่อดูตลาดโทรศัพท์มือถือในรูปแบบใหม่กับผู้ใช้ในใจเช่นเดียวกับเครือข่ายองค์กร เทอร์รี่ มายเยอร์สัน รองประธานบริษัทฝ่ายวิศวกรรมวินโดวส์โฟนบอกว่า \"ด้วยการย้ายไปยังหน้าจอสัมผัสแบบคาแพคซิทิฟ อยู่ห่างจากสไตลัส และเคลื่อนตัวไปบางส่วนของตัวเลือกฮาร์ดแวร์ที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อประสบการณ์ของ วินโดวส์โฟน 7 เราต้องแบ่งเข้ากันได้กับ วินโดวส์โมบาย 6.5\"", "title": "วินโดวส์โฟน" }, { "docid": "560272#34", "text": "ข้อได้เปรียบที่ใหญ่ที่สุดที่ MPLS เหนือกว่า ATM ก็คือมันได้รับการออกแบบจากจุดเริ่มต้นที่จะเสริมกับ IP เราต์เตอร์ที่ทันสมัย​​สามารถที่จะรองรับได้ทั้ง MPLS และ IP ด้วย common interface ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการเครือข่ายมีความยืดหยุ่นในการออกแบบเครือข่ายและการดำเนินงาน ความไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ระหว่าง ATM กับ IP จำเป็นต้องมีการปรับตัวที่ซับซ้อน ,ทำให้มันเมื่อเปรียบเทียบแล้วมีความเหมาะสมน้อยสำหรับเครือข่ายไอพีที่ครอบงำตลาดส่วนใหญ่ของวันนี้", "title": "เอ็มพีแอลเอส" }, { "docid": "19071#10", "text": "ไม่นานระบบเครือข่ายที่ดีขึ้นก็เป็นที่ต้องการในสังคม โนเกียจึงพัฒนาเครือข่าย GSM ขึ้นเป็นครั้งแรกให้กับ Radiolinja บริษัทของฟินแลนด์ เมื่อปี 1989 ณ จุดนี้เองที่ Nokia 1011 บรรพบุรุษของบรรดาโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคปัจจุบันได้ออกมาสู่สายตาของทุกคนเป็นครั้งแรกในปี 1992 จากนั้นโนเกียก็ได้ยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นธุรกิจหลักเป็นต้นมา", "title": "โนเกีย" }, { "docid": "566668#2", "text": "จากมุมมองของการปฏิบัติ NGN เกี่ยวข้องกับการการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมหลักสามประการ ที่จะต้องมีการมองที่แยกจากกัน :\nใน NGN ใดๆ มีการแยกอย่างชัดเจนระหว่างส่วนการขนส่ง(Transport Stratum) ของเครือข่ายและ ส่วนบริการ(Service Stratum) ที่ทำงานบนการขนส่งนั้น ซึ่งหมายความว่า เมื่อใดก็ตามที่ผู้ให้บริการต้องการที่จะเปิดใช้งานบริการใหม่ เขาสามารถทำได้โดยการกำหนดโดยตรงที่ชั้นบริการโดยไม่พิจารณาชั้นของการขนส่ง - นั่นคือบริการจะเป็นอิสระจากรายละเอียดของการขนส่ง การใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น, รวมทั้งเสียง, มีแนวโน้มที่จะเป็นอิสระจาก access network ( การสลาย layer ของเครือข่าย และ layer ของ แอพพลิเคชั่น) และจะบรรจุฟังชั่นมากขึ้นไว้ในอุปกรณ์ผู้ใช้ปลายทาง (โทรศัพท์, PC, set-top box )", "title": "โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า" }, { "docid": "26787#11", "text": "โดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์ในเครือข่ายไวไฟ จะเชื่อมต่อกันในลักษณะของโหมด Infrastructure ซึ่งเป็นโหมดที่อนุญาตให้อุปกรณ์ภายใน LAN สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ ในโหมด Infrastructure นี้จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ 2 ประเภทได้แก่ สถานีผู้ใช้ (Client Station) ซึ่งก็คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Desktop, แล็ปท็อป, หรือ PDA ต่าง ๆ ) ที่มีอุปกรณ์ Client Adapter เพื่อใช้รับส่งข้อมูลผ่านไวไฟ และสถานีแม่ข่าย (Access Point) ซึ่งทำหน้าที่ต่อเชื่อมสถานีผู้ใช้เข้ากับเครือข่ายอื่น (ซึ่งโดยปกติจะเป็นเครือข่าย IEEE 802.3 Ethernet LAN) การทำงานในโหมด Infrastructure มีพื้นฐานมาจากระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ กล่าวคือสถานีผู้ใช้จะสามารถรับส่งข้อมูลโดยตรงกับสถานีแม่ข่ายที่ให้บริการ แก่สถานีผู้ใช้นั้นอยู่เท่านั้น ส่วนสถานีแม่ข่ายจะทำหน้าที่ส่งต่อ (forward) ข้อมูลที่ได้รับจากสถานีผู้ใช้ไปยังจุดหมายปลายทางหรือส่งต่อข้อมูลที่ได้ รับจากเครือข่ายอื่นมายังสถานีผู้ใช้", "title": "ไวไฟ" }, { "docid": "24448#0", "text": "โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (บ้างเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ทโฟน", "title": "โทรศัพท์เคลื่อนที่" }, { "docid": "178424#6", "text": "ความตั้งใจของกูเกิล ที่จะเข้าสู่ตลาดเครื่องมือสื่อสาร อย่างโทรศัพท์มือถือได้มาถึงช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ตามรายงานของบีบีซี และ วอลล์สตรีตเจอร์นัล ได้ตั้งข้อสังเกตว่า กูเกิลพยายามที่จะผลิตโทรศัพท์มือถือที่ใช้สำหรับค้นหา และ ใช้โปรแกรมประยุกต์ หรือ แอปพลิเคชันได้ และกูเกิลได้ทำงานอย่างหนักเพื่อสิ่งนี้ และมีข่าวลือว่า กูเกิลจะพัฒนาโทรศัพท์มือถือภายใต้ชื่อสินค้าของตนเอง บางคนก็สันนิษฐานว่ากูเกิลจะกำหนดคุณสมบัติต่างๆ ของโทรศัพท์มือถือ และส่งให้กับผู้ผลิต และ ผู้ให้บริการเครือข่าย ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 อินฟอร์เมชันวีก (InformationWeek) ร่วมมือกับ เอแวลูเซิร์ฟ (Evalueserve) เพื่อที่จะศึกษารายงานของกูเกิลในการยื่นสิทธิบัตรเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ", "title": "แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)" }, { "docid": "392019#0", "text": "ทรูมูฟ เอช () หรือ บริษัท เรียลมูฟ จำกัด (Real Move Co., Ltd) และ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TrueMove H Universal Communication Co., Ltd) เป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ทำธุรกิจให้บริการโทรศัพท์มือถือรายหนึ่งในประเทศไทย โดยเป็นตัวแทนขายส่งต่อบริการของ กสท. โทรคมนาคม เดิมคือเครือข่ายฮัทซ์ ของบริษัท ฮัทจิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด ที่ถูกกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น เข้าซื้อกิจการโดยผ่านความเห็นชอบจากกสท. โทรคมนาคม และได้รับอนุญาตในการดำเนินการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือระยะที่ 3 (3G) บนเครือข่ายดับเบิลยูซีดีเอ็มเอ 850 เมกกะเฮิตซ์ บนช่วงความถี่ 15 เมกกะเฮิตซ์ ที่ถือว่ามากที่สุดในกลุ่มผู้ให้บริการในปัจจุบัน (รวมทรูมูฟ) และยังได้รับใบอนุญาตในการดำเนินการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือบนเครือข่ายดับเบิลยูซีดีเอ็มเอ 2100 เมกกะเฮิตซ์ บนช่วงความถี่ 15 เมกกะเฮิตซ์ จาก กสทช. เพื่อมาดำเนินการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือระยะที่ 3 และโครงข่ายโทรศัพท์มือถือระยะที่ 4 (4G LTE) โดยเครือข่าย ทรูมูฟ-เอช กับ ทรูมูฟ ในทางธุรกิจโทรคมนาคมจะถือว่าเป็นคนละเครือข่ายกัน แต่ทั้งสองเครือข่ายมีวิธีดำเนินการเหมือนกันทุกประการ ปัจจุบัน เมื่ออิงตามยอดผู้ใช้งาน ทรูมูฟ เอช เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ อันดับที่ 2 ของประเทศ", "title": "ทรูมูฟ เอช" }, { "docid": "480929#1", "text": "หมายเลขสำหรับโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์ทางไกล รวมถึงโทรศัพท์สาธารณะ ทั้งหมดมีตัวเลข 9 หลัก โดยขึ้นต้นด้วยรหัสต่อไปนี้เดิมหมายเลขสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่มีตัวเลข 9 หลักเหมือนโทรศัพท์พื้นฐาน โดยขึ้นต้นด้วยรหัส 01, 03, 04, 05, 06, 07, 08, 09 (ปะปนกับรหัสโทรศัพท์ทางไกล) ภายหลังปรากฏว่าไม่เพียงพอต่อความต้องการ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จึงได้กำหนดให้เปลี่ยนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็น 10 หลักเพื่อขยายจำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้รองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้อย่างเพียงพอ โดยเติมเลข 8 เข้าไปข้างหลังเลข 0 กลายเป็น 081, 083, 084, 085, 086, 087, 088, 089 ตามลำดับ เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2549 และยกเลิกระบบ 9 หลักเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549 หมายเลขสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่จึงมีตัวเลขทั้งหมด 10 หลัก และเมื่อกลางปี พ.ศ. 2550 ขยายรหัสเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพิ่มขึ้นเป็น 080, 082, เป็น 091, 092 ในปี พ.ศ. 2556, ในปี พ.ศ. 2557 กลายเป็น 061, 062 ในปี พ.ศ. 2559 กลายเป็น 063, 064, 065 และในปี พ.ศ. 2561 กลายเป็น 066 ตามลำดับ โดยปัจจุบันเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้รหัสต่อไปนี้ ก็คือหมายเหตุ** เนื่องจากปัจจุบันสามารถเปลี่ยนผู้ให้บริการเครือข่ายโดยใช้หมายเลขเดิมได้ ดังนั้นหมายเลขที่ย้ายไปจะไม่เข้าหลักการตามด้านบน", "title": "หมายเลขโทรศัพท์ในประเทศไทย" }, { "docid": "563871#2", "text": "เครือข่ายใยแก้วนำแสงที่ต่อออกมาจาก headend หลักผู้ประกอบการเคเบิล บางครั้งจะต่อไปที่ headends ส่วนภูมิภาค จากนั้นจะออกไปยัง hubsite ของเครือข่ายใกล้เคียงและในที่สุดก็ไปยังโหนดแสงซึ่งทำหน้าที่ให้บริการทุกๆ 25 ถึง 2000 หลังคาเรือน. headend หลักมักจะมีจานดาวเทียมสำหรับรับสัญญาณวิดีโอจากสถานีที่อยู่ห่างไกลออกไปเช่นเดียวกับเราเตอร์ที่รวบรวมข้อมูล IP. บาง headends หลักจะมีอุปกรณ์โทรศัพท์พื้นฐานสำหรับการให้บริการโทรคมนาคมให้กับชุมชนอีกด้วย", "title": "เครือข่ายผสมไฟเบอร์โคแอคเชียล" }, { "docid": "187310#5", "text": "ในเดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ. 2541 โครงการ SchoolNet Thailand ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีให้ใช้ระบบเครือข่ายกาญจนาภิเษก และได้รับการสนับสนุนจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำให้เครือข่าย SchoolNet Thailand เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์แห่งแรกในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่เปิดโอกาสให้โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านเลขหมายพระราชทาน 1509 ซึ่งโรงเรียนเสียค่าโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อเพียงครั้งละ 3 บาททั่วประเทศ และเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในชื่อว่า “SchoolNet@1509” ", "title": "เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย" }, { "docid": "178424#5", "text": "กูเกิล ได้ซื้อกิจการบริษัทแอนดรอยด์ ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เพื่อให้มาเป็นบริษัทย่อยในเครือของกูเกิล โดยบุคคลสำคัญของบริษัทแอนดรอยด์ ทั้ง รูบิน, ไมเนอร์ และ ไวท์ ยังอยู่กับบริษัทหลังจากถูกซื้อกิจการ มีผู้คนไม่มากที่รู้จักบริษัทแอนดรอยด์ ในช่วงเวลานั้น แต่หลายคนสันนิษฐานว่ากูเกิลกำลังวางแผนที่จะเข้ามาสู่ตลาดโทรศัพท์มือถือจากการซื้อกิจการครั้งนี้ ที่กูเกิล รูบินนำทีมที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการสำหรับโทรศัพท์มือถือซึ่งขับเคลื่อนโดยลินุกซ์ เคอร์เนล ในตลาดมือถือของกูเกิล จะมีสัญญากับผู้ให้บริการเครือข่าย ต่อมากูเกิลได้เริ่มวางแผนในเรื่องของส่วนประกอบฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และผู้ให้บริการเครือข่าย", "title": "แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)" }, { "docid": "5708#15", "text": "ต่อมาในวันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 บจก.วัชรพล ก่อตั้ง<i data-parsoid='{\"dsr\":[11274,11304,2,2]}'>บริษัท เทรนด์ วีจี 3 จำกัด ขึ้นเป็นกิจการในเครือ สำหรับดำเนินธุรกิจสื่อประสม ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คือเว็บไซต์ ไทยรัฐออนไลน์ (www.thairath.co.th), บริการข้อความสั้นผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่, สื่อดิจิตอลหลายรูปแบบ รวมถึงให้บริการรับส่งข้อมูลภาพและเสียง, บริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในเชิงพาณิชย์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารหลัก[14] และมีการจัดทำแอปพลิเคชัน สำหรับระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาได้แก่ ไอโอเอส แอนดรอยด์ แบล็คเบอร์รี โอเอส วินโดวส์โฟน รวมถึงวินโดวส์ 8 และวินโดวส์ อาร์ทีอีกด้วย โดยแอปพลิเคชันไทยรัฐในอุปกรณ์ไอแพด ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง จากการประกาศผลรางวัลสื่อดิจิตอลยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย ครั้งที่ 3 ในการสัมมนาสื่อดิจิตอลแห่งเอเชีย ซึ่งจัดโดยสมาคมหนังสือพิมพ์และผู้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์โลก", "title": "ไทยรัฐ" }, { "docid": "315273#1", "text": "สิงหาคม พ.ศ. 2552 ผู้ประกอบการโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ระดับท้องถิ่นทั่วประเทศไทย ซึ่งส่วนมากเป็นสมาชิกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย จำนวนมากกว่า 100 รายประชุมร่วมกัน โดยมีมติให้รวมตัวกันเป็น\"บริษัท เคเบิลไทยโฮลดิง จำกัด\" ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ด้วยทุนจดทะเบียนประเดิมที่ 50 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์ในการเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์เนื้อหาโทรทัศน์รูปแบบต่างๆ รวมทั้งเป็นองค์กรกลางในการประกาศจัดเรียงช่องรายการ ที่บริษัทเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ถือครองลิขสิทธิ์ เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันในทุกช่องทางออกอากาศ ขณะเดียวกัน การมีที่มาจากผู้ประกอบการทั่วประเทศรวมตัวกัน ก็ถือเป็นการเพิ่มศักยภาพ ความแข็งแกร่ง เป็นเอกภาพ ตลอดจนให้การสนับสนุนเทคโนโลยีออกอากาศ การขยายเครือข่ายและการตลาด แก่ผู้ถือหุ้นและสมาชิกด้วย", "title": "ซีทีเอช" }, { "docid": "258947#19", "text": "บริษัท เมกาฟอน ผู้ประกอบการโทรศัพท์รายใหญ่ของรัสเซีย กำลังขยายตัวและปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม โซชี เป็นสถานที่แรกที่ได้รับการเชื่อมต่อ 4G ความเร็ว 10MB / วินาที หลังจากนั้นก็ได้เริ่มจัดส่งเนื้อหาของเครือข่ายการส่งสัญญาณ 4G ของบริษัทเมกาฟอน ซึ่งเซิร์ฟเวอร์ 4G ที่ตั้งอยู่ในเมืองโซชีนี้ เป็นระบบเดียวที่สามารถเพิ่มข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ CDN ซึ่งเป็นเครือข่ายของเมกาฟอน ความเร็ว 250 กิกกะบิตช์", "title": "โอลิมปิกฤดูหนาว 2014" }, { "docid": "186293#14", "text": "เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ ได้เคลื่อนไหวชุมนุมอย่างต่อเนื่อง ตามแนวชายแดน โดยมีการจัดตั้งเวที่ปราสรัยที่ บริเวณศาลหลักเมืองกันทรลักษณ์ นำโดย นาย อธิวัฒน์ บุญชาติแกนนำเครือข่ายทวงคืนแผ่นดินแม่ และ มีเหตุการณ์ขว้างระเบิดในที่ชุมนุม เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 คน\n12 สิงหาคม พ.ศ. 2553 มีการจัดตั้ง ชุมชนบ้านสันปันน้ำเป็นหมู่บ้านเชิงสัญลักษณ์ ที่ชายแดนพนมดงรัก สุรินทร์ - ปัจจุบัน.\nเวทีแนวร่วมเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ จัดเวทีนับสิบครั้งในหลายจังหวัด และมาปิดเวทีสุดท้าย วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ที่เวทีลานหิน ชุมชนบ้านสันปันน้ำ พนมดงรักสุรินทร์ โดยมีการเคลื่อนมวลชนเดินทางไปยังปราสาทตาเมือนธม และ มีการปะทะกันระหว่างชาวบ้านหนองคันนา ก่อนที่ นาย วีระ สมความคิด จะพาคณะเดินทางกลับมาร่วมเวที่ เกาะติดปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา ที่ชุมชนบ้านสันปันน้ำ มีการถ่ายทอดสดผ่านทางช่องเอฟเอ็มทีวี ก่อนที่นายวีระ สมความคิด จะถูกทหารกัมพูชาจับในครั้งแรก", "title": "กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา" } ]
176
หอประชุมจุฬาฯ สร้างเสร็จเมื่อไหร่?
[ { "docid": "714526#3", "text": "หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นคู่มหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2482 นิสิตและบุคลากรของจุฬาฯ ล้วนผูกพันและมีโอกาส ได้เข้าร่วมพิธีกรรมและกิจกรรมอันหลากหลายที่อาคารหลังนี้ นับตั้งแต่กิจกรรมแรกของการเป็นนิสิต คือพิธีปฐมนิเทศนิสิตใหม่ พิธีปฐมนิเทศนิสิตหอพักของหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิธีไหว้ครู เปิดเทศกาลงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ จนกระทั่งเมื่อสำเร็จการศึกษา อาคารหลังนี้ก็เป็นสถานที่ประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตร นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่จัดกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมในวาระสำคัญต่าง ๆ ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับชาติ[4]", "title": "หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" } ]
[ { "docid": "232351#1", "text": "วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร เป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเมื่อครั้งแรกสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯ ให้พระยาธรรมาธิกรณ์ (บุญรอด บุณยรัตพันธ์) กับพระวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปกะที่สร้างพระนครใหม่ ณ ฝั่งตะวันออก โปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชาเศรษฐี และพวกคนจีน ย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สวน ตั้งแต่คลองวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาส) ไปจนถึงคลองวัดสำเพ็ง (วัดปทุมคงคา) และเห็นว่าเป็นวัดโบราณที่ทรุดโทรมมาก สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทจึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ซ่อมแซมขึ้นใหม่ทั้งวัด เมื่อกรมพระราชวังบวรสุรมหาสิงหนาททรงปฏิสังขรณ์และสร้างเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดปทุมคงคา”", "title": "วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร" }, { "docid": "714526#0", "text": "หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกโดยย่อว่า หอประชุมจุฬาฯ เป็นหอประชุมใหญ่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเป็นมาคู่กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังมีเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เกิดขึ้นที่อาคารแห่งนี้หลายเหตุการณ์ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร", "title": "หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "209640#16", "text": "ต่อมาเมื่อปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2495 ได้รื้อเรือนหลังคามุงจากออก พอถึงเดือนตุลาคมจึงได้มีการสร้างอาคาร 3 ชั้น คืออาคาร 2 ซึ่งปัจจุบันรื้อถอนไปแล้ว กับหอประชุมอีก 1 หลัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 จึงได้งบประมาณต่อเติมอาคาร 2 และอาคาร 3ซึ่งมี 2 ชั้น และหอประชุมจนเสร็จสมบูรณ์ หลวงสวัสดิ์สารศาสตรพุทธิ อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา จึงเชิญ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายมังกร พรหมโยธี มาเปิดอาคารทั้ง 2 เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2498", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "119969#2", "text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเข้ามาประทับที่พระบวรราชวัง พระที่นั่งรังสรรค์จุฬาโลกซึ่งสร้างขึ้นจากเครื่องไม้อยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมมาก จึงโปรดให้รื้อและสร้างเก๋งจีนขึ้นใหม่ ซึ่งพระองค์ยังคงใช้เป็นที่เสด็จประพาสสำราญพระอิริยาบถ ปัจจุบัน บริเวณที่ตั้งของพระที่นั่งรังสรรค์จุฬาโลกนั้น เป็นที่ตั้งของหอประชุม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์", "title": "พระที่นั่งรังสรรค์จุฬาโลก" }, { "docid": "54112#5", "text": "การก่อสร้างพุทธมณฑลได้ดำเนินการมาแล้วเสร็จสมบูรณ์ในสมัยที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อสร้างองค์ \"พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์\" สำเร็จ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จประกอบพิธีสมโภช เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2525 และหลังจากนั้นก็ได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมถาวรวัตถุต่าง ๆ ในพุทธมณฑลมาโดยตลอดเช่น มหาวิหารประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อน และ หอประชุม เป็นต้นถนนพุทธมณฑลสายต่างๆ เป็นถนนที่แยกย่อยออกไปจากถนนเพชรเกษมในทางทิศเหนือ ตัดผ่านถนนปิ่นเกล้านครชัยศรี (ขณะที่มีโครงการพุทธมณฑลยังไม่มีถนนดังกล่าว) ไปสิ้นสุดก่อนถึงทางรถไฟสายใต้", "title": "พุทธมณฑล" }, { "docid": "142100#13", "text": "ในช่วงนี้มีการสร้างอาคาร\"รัตนโกสินทร์สมโภช 2525\" ขึ้น และได้มีการจัดสร้างสนามหญ้าและสวนหย่อมขนาดใหญ่หน้าอาคารรัตนโกสินทร์สมโภชฯ ในบริเวณอาคารไม้รูปตัว อี ที่ถูกรื้อถอนย้ายไปปลูกสร้างใหม่ (อาคาร 3 ในปัจจุบัน) และได้จัดสร้างอาคารอเนกประสงค์เพื่อใช้ เป็นอาคารห้องสมุดและหอประชุม แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2531", "title": "โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล" }, { "docid": "714526#36", "text": "สถานีสามย่าน จากนั้นใช้ทางออกที่ 2 ไปยังอาคารจัตุรัสจามจุรี (Chamchuri Square) ใช้บันไดเลื่อนขึ้นไปชั้น G ของจัตุรัสจามจุรีแล้วเดินออกประตูทางด้านหลังเพื่อไปยังคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เดินไปทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จะพบหอประชุมจุฬาฯ", "title": "หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "852973#2", "text": "ต่อมาเนื่องจากมีพระภิกษุ สามเณร คฤหัสถ์ ในท้องถิ่นและประเทศใกล้เคียง สนใจสมัครเข้าศึกษาเป็นจำนวนมาก อาคารเรียนที่มีอยู่เดิมที่วัดธาตุฯ ไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน พระครูสิริสารธรรม เจ้าคณะตำบลโคกสี จึงให้ใช้ที่ดินโคกสร้างหล่ม วัดป่าศรีเจริญธรรม เป็นที่ตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ ประกอบด้วย อาคารเรียน อาคารหอสมุดสารสนเทศ อาคารสถานีวิทยุกระจายเสียง และอาคารหอประชุม และเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดป้ายมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ตำบลโคกสี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น และทรงเปิดป้ายอาคารหอสมุดสารสนเทศ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร)", "title": "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น" }, { "docid": "714526#1", "text": "หอประชุมจุฬาฯ เป็นสิ่งปลูกสร้างที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของภูมิทัศน์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้เกิดการปรับภูมิทัศน์โดยรอบ เช่น การขุดสระน้ำด้านหน้าประตูใหญ่ ตัดถนนรอบสนามรักบี้และสร้างลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2545 สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ได้มอบรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นให้แก่หอประชุมจุฬาฯ[1][2]", "title": "หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "124055#0", "text": "โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม เป็นโรงเรียนชายล้วน ประจำจังหวัดพิษณุโลก โดยเป็นสถานศึกษาขนาดใหญ่ เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ที่ตั้งปัจจุบัน อยู่บนถนนเลี่ยงเมืองพิษณุโลก บึงแก่งใหญ่ มีเนื้อที่ 339 ไร่ นอกจากนี้โรงเรียนได้พัฒนาด้านต่างๆ เช่นกีฬาและภูมิทัศน์ของโรงเรียนโดยการสร้างสวนต่างๆ เช่น สวนวรรณคดี นอกจากนี้อาคาร 1 (วังจันทน์) และอาคาร 2 (ร่มเกล้านเรศวร) ของโรงเรียนยังเป็นอาคารที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ โรงเรียนยังมีโครงการสร้างสะพานเชื่อมอาคารแต่ละอาคารเข้าด้วยกัน สร้างอาคารประกอบเพิ่มเติม หอประชุมใหม่ โรงยิม สระว่ายน้ำ และศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขึ้นเพิ่มเติมด้วย ในปัจจุบันทางเดินเชื่อมอาคารเรียนได้สร้างเสร็จแล้วและเปิดใช้มาเป็นเวลากว่า 2 ปีโดยประมาณ ซึ่งโรงเรียนก็ยังได้สร้างหอประชุมใหม่ขึ้นชื่อว่า \"หอประชุมจักรกฤษณ์ นาคะรัต\" ที่เปิดใช้ไปในปีการศึกษา 2550 ที่ผ่านมา และในขณะนี้โรงเรียนกำลังจัดสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2552 \"เปิดใช้งานแล้วชื่อว่า อาคารร่มเกล้าวิสุทธิ์กษัตริย์\"", "title": "โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม" }, { "docid": "714526#12", "text": "วันทรงดนตรีเกิดจากพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่คณาจารย์และนิสิตจุฬาฯที่ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีที่ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นิสิตจุฬาฯเข้าเฝ้าฯเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2500 ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับสั่งกับนายสันทัด ตัณฑนันทน์ หัวหน้าวงดนตรีสากล สโมสรนิสิตจุฬาฯ สมัยนั้นว่าจะนำวงลายครามมาบรรเลงที่จุฬาฯ งานวันทรงดนตรี ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ นอกจากจะทรงดนตรีแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้พระราชทานข้อคิดแก่นิสิตจุฬาฯ และพระราชทานความเป็นกันเอง สร้างบรรยากาศอันอบอุ่น สนุกสนานและประทับใจเป็นอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯมาทรงดนตรีที่จุฬาฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2501 – พ.ศ. 2516 เนื่องจากทรงมี พระราชภารกิจเพิ่มขึ้นจึงไม่ได้เสด็จฯมาทรงดนตรีที่มหาวิทยาลัยอีก", "title": "หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "9687#1", "text": "ในต้นยุคกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างวัดขึ้นในพื้นที่พระนครชั้นใน ในปี พ.ศ. 2350 เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” โดยมีพื้นที่ตั้งอยู่ในดงสะแก เป็นที่ลุ่มจึงโปรดเกล้าฯ ให้ถมที่และสร้างเป็นวัด และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า วัดพระโต, วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้าบ้าง จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ การก่อสร้างวัด มาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2390 และพระราชทานนามว่า \"วัดสุทัศน์เทพวราราม\" ปรากฏในจดหมายเหตุว่า \"วัดสุทัศน์เทพธาราม\" และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ ให้คล้องกันว่า \"พระศรีศากยมุนี\", \"พระพุทธตรีโลกเชษฐ์\" และ \"พระพุทธเสรฏฐมุนี\"", "title": "วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร" }, { "docid": "669#66", "text": "หอประชุมใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2497 ในวาระครบรอบ 20 ปี ของการสถาปนามหาวิทยาลัย โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัย มีการวางศิลาฤกษ์ในวันสถาปนามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2497 และสร้างแล้วเสร็จในสมัยที่พลเอก ถนอม กิตติขจร เป็นอธิการบดี ในราว พ.ศ. 2506 โดยหอประชุมนี้ก่อสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นหอประชุมที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยนั้น[59] ทั้งในเรื่องของระบบเสียง ความเย็น และที่นั่ง ซึ่งมีทั้งสิ้น 2,500 ที่นั่ง โดยแยกออกเป็น ที่นั่งชั้นล่าง 1,800 ที่นั่ง และชั้นบน 700 ที่นั่ง ส่วนทางด้านทิศใต้ของหอประชุมนี้จัดทำเป็น หอประชุมเล็ก อีกส่วนหนึ่ง โดยบรรจุคนได้ราว 500 คน ปัจจุบันหอประชุมเล็กเรียกชื่อว่า หอประชุมศรีบูรพา ตามนามปากกาของกุหลาบ สายประดิษฐ์ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย", "title": "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" }, { "docid": "5519#55", "text": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังให้บริการทางวิชาการแก่ประชาชนทั่วไปผ่านการออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานีวิทยุจุฬาฯ FM 101.5 MHz อีกหนึ่งช่องทางด้วย โดยสถานีวิทยุจุฬาฯ เป็นสถานีวิทยุเพื่อการศึกษา มีการเผยแพร่เอกสารสื่อการสอนบนเว็บไซต์ของสถานีเป็นจำนวนมาก และมีการจัดรายการข่าวสารเชิงวิชาการ ให้ความรู้แก่ผู้ฟังตลอดช่วงเวลา 06.00-23.59 น. และยังเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการให้ความรู้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาเพื่อการสอบเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา ในทุก ๆ ปี สถานีวิทยุจุฬาฯ จะจัดสอนพิเศษให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและถ่ายทอดภาพและเสียงไปทั่วประเทศ ภายใต้รายการชื่อว่า \"เปิดประตูสู่มหาวิทยาลัย\" โดยจัดขึ้นที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[131]", "title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "8733#11", "text": "จนในปี พ.ศ. 2540 เกิดวิกฤตทางด้านเศรษฐกิจในประเทศไทยอย่างหนัก ผู้คนไม่มีกำลังซื้อ และค่าเช่าห้องแถวซึ่งปรับตัวสูงมากก่อนหน้านี้ สำนักทรัพย์สินจุฬาฯได้ปรับราคาค่าเช่าขึ้นถึง 1,200% จากค่าเช่าเซ้งเดิม 10 ปี ราคา 500,000 บาท ปรับขึ้นเป็นราคา 6-7 ล้านบาท ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของผู้ค้าขายในสยามสแควร์ ถึงขนาดมีการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ จนในที่สุดจุฬาฯได้ปรับลดลงจาก 1,200% ที่ขึ้นราคา ลดลงเหลือ 600% ขณะเดียวกันช่วงเดียวกันนี้ กำลังมีก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส ทำให้ผู้เช่าร้านจำนวนมากอยู่ไม่ได้จึงตัดสินใจปิดตัวไปเป็นจำนวนมาก ร้านตัดเสื้อหลายแห่งต้องเปลี่ยนรูปแบบ มาเป็นขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อให้เหมาะกับกำลังซื้อของลูกค้า พฤติกรรมการซื้อของของคนเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ขณะเดียวกันก็เกิดเจ้าของธุรกิจรายเล็ก ๆ เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันทางจุฬาฯ ให้เช่าเพื่อเป็นโรงเรียนกวดวิชา โดยเฉพาะซอย 5-6-7 จากเดิมมีไม่กี่โรงเรียน ก็เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 50 โรงเรียน เมื่อรถไฟฟ้าสร้างแล้วเสร็จก็ยิ่งทำให้สยามสแควร์กลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางเข้าถึงได้สะดวกมากขึ้น", "title": "สยามสแควร์" }, { "docid": "714526#42", "text": "ในพิธีสำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น พิธีปฐมนิเทศนิสิตใหม่และถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิธีพระราชทานปริญญาบัตร พิธีทูลเกล้าถวายหรือมอบปริญญากิตติมศักดิ์แด่พระประมุขต่างประเทศ กิจกรรมรับน้องก้าวใหม่ และพิธีสำคัญที่มหาวิทยาลัยใช้หอประชุมจุฬาฯ เป็นสถานที่หลักในการจัดงาน รถโดยสายภายในจุฬาลงกรณ์กรณ์มหาวิทยาลัยจะประกาศเปลี่ยนเส้นทางเดินรถชั่วคราว โดยเลี้ยวเข้าพื้นที่มหาวิทยาลัยฝั่งตะวันออกของถนนพญาไททางประตูคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีแทน และไม่วิ่งผ่านบริเวณโดยรอบหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[31]", "title": "หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "714526#16", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสร้างพระเกี้ยวองค์จำลองจากพระเกี้ยวองค์จริงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นพิจิตรเลขา (สัญลักษณ์ประจำรัชกาล) ประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมและทรงพระสุหร่ายพระเกี้ยวก่อนพระราชทานแก่มหาวิทยาลัยต่อหน้าประชาคมจุฬาฯ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรประจำปีการศึกษา 2531 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[12]", "title": "หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "83256#3", "text": "ปีการศึกษา 2540 รับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 จำนวนทั้งสิ้น 184 คน ซึ่งรวมกับนักเรียนที่มีอยู่เดิมจากปีการศึกษา 2539 มีจำนวนทั้งสิ้น 324 คน ซึ่งเป็นนักเรียนประจำทั้งหมด โดยย้ายสถานที่เข้ามาอยู่ที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก ตำบลมะขามสูง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ที่มีอาคารสร้างแล้วเสร็จจำนวน 6 อาคาร ประกอบด้วยอาคารเรียนวิทยาศาสตร์ อาคารหอประชุม อาคารหอนอน 3 ชั้น และ อาคารโรงฝึกงาน 3 หลังขณะเดียวกันก็มีการก่อสร้าง อาคารเพิ่มเติมด้วยเงินงบประมาณปี 2540-2541 และกรมสามัญศึกษาได้มีคำสั่งแต่งตั้ง นายสมพร ขุนพิลึก เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก ", "title": "โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก" }, { "docid": "36474#0", "text": "ละคอนถาปัด หรือ ละครสถาปัตย์ เป็นกิจกรรมประจำปีของนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีนิสิตชั้นปีที่ 3 ขึ้นปีที่ 4 เป็นแม่งาน ร่วมกับนิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันของคณะ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ นำความคิดสร้างสรรค์มาทำกิจกรรม เพื่อหารายได้สำหรับใช้ในกิจกรรมของนิสิตหลังจากสิ้นสุดยุคของกิจกรรม \"ลูกทุ่งถาปัด\" ในอดีตก่อนหน้านี้ลงไป ละคอนถาปัดเป็นกิจกรรมที่นิสิตสถาปัตย์ฯทำกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 30 ปี ระหว่างช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน จนกลายเป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดีของคณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ ในปัจจุบันละคอนถาปัดมีจำนวน 10 รอบ โดยจัดการแสดงช่วงเดือนพฤษภาคมก่อนเปิดเทอมที่หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบริเวณหน้างานมีของที่ระลึกที่เกี่ยวข้องกับละคอนที่ทำขึ้นโดยนิสิตวางจำหน่ายด้วย เช่น เสื้อ ซีดีเพลงละคอน และหนังสือเรือนไทย เป็นต้น ในวาระพิเศษอาจมีการจัดการแสดงละครเพิ่มจากปกติ เช่น ในช่วงงานจุฬาวิชาการ", "title": "ละคอนถาปัด" }, { "docid": "5519#18", "text": "จามจุรี เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมพระราชทานต้นจามจุรีแก่มหาวิทยาลัย จำนวน 5 ต้น ซึ่งพระองค์ทรงนำมาจากวังไกลกังวล ทรงปลูกด้วยพระองค์เอง บริเวณด้านหน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในครั้งนั้น พระองค์ท่านได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรี ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ ทรงเล่าว่าทรงปลูกต้นไม้ที่พระตำหนักไกลกังวล จามจุรีงอกขึ้นที่บริเวณต้นไม้ซึ่งทรงปลูกไว้ จึงทรงถือว่าทรงปลูกจามจุรีเหล่านั้นด้วย เมื่อจามจุรีโตขึ้นแล้วเห็นว่าควรเข้ามหาวิทยาลัยเสียที สถานที่เรียนนั้นไม่มีที่ใดเหมาะเท่าจุฬาฯ[59] สีชมพู เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย โดยศาสตราจารย์ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล ได้เสนอว่าชื่อของมหาวิทยาลัย คือ พระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมราชสมภพในวันอังคารและโปรดเกล้าฯ ให้ใช้สีชมพูเป็นสีประจำพระองค์ จึงสมควรอัญเชิญสีประจำพระองค์เป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นเกียรติและสิริมงคล[60][61]", "title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "714526#18", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จฯ มาพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย[13] นับเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครั้งแรกและครั้งเดียวของรัชกาลนี้", "title": "หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "47043#4", "text": "ต่อมา ในปี พ.ศ. 2501 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณนำ วงลายคราม ไปแสดงดนตรีที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยากาศของงานคล้ายกับการแสดงดนตรีที่สวนอัมพร จากนั้นทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงดนตรีที่หอประชุมจุฬาฯ เป็นประจำทุกปี เว้นปีที่มีพระราชภารกิจมาก คือ เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ และหากไม่มีพระราชภารกิจ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอก็จะโดยเสด็จพระราชดำเนิน และทรงร่วมในการแสดงดนตรีด้วย", "title": "วันทรงดนตรี" }, { "docid": "714526#20", "text": "วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ถวายการต้อนรับพระองค์ในพิธีเปิดที่ทำการบริติช เคานซิล (British Council) ประจำประเทศไทย ณ อาคารวิทยกิตติ์ สยามสแควร์ จากนั้นพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งมายังหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[14] เพื่อรับการถวายการต้อนรับจากประชาคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฐานตั้งธงโดยรอบเสาธงชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประดับธงยูเนียนแจ็ก ในการนี้นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วมกัน \"บาก้า\" เพื่อถวายพระเกียรติแด่พระองค์บริเวณระเบียงด้านหน้าหอประชุมจุฬาฯ จากนั้นวงดุริยางค์บรรเลงเพลงก็อดเซฟเดอะควีน (God Save the Queen) เป็นการส่งเสด็จ[15][16]", "title": "หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "16498#12", "text": "อาคารหลุยส์ มารี เป็นอาคารสูง 4 ชั้น สร้างเสร็จเมื่อปีพ.ศ. 2542 ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด ทำพิธีเสกอาคารในวันที่ 2 สิงหาคม 2542 ชั้นล่างและชั้นที่ 2 ใช้เป็นโภชนาคารและสโมสรครู ชั้นที่ 3 ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ชั้น 4 เป็นหอประชุมรัชตสมโภช", "title": "โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ" }, { "docid": "11668#74", "text": "ปีพุทธศักราช 2540 หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคารหอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมกับพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนั้นการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งที่ 31 (พ.ศ. 2540) จึงเป็นปีที่เริ่มใช้หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นสถานที่พระราชทานปริญญาบัตร", "title": "มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" }, { "docid": "9097#3", "text": "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามตามประวัติสร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการสร้าง เดิมเรียกว่า \"วัดโพธาราม\" หรือ \"วัดโพธิ์\" ได้ถูกยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดนี้ใหม่ในปี พ.ศ. 2331 โดยทรงสร้างพระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร ตลอดจนบูรณะของเดิม เมื่อแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2344 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า \"วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส\" เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช", "title": "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร" }, { "docid": "775860#2", "text": "ที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ตรงกับทางเข้าด้านหน้าและหน้าบันของหอประชุมจุฬาฯ เป็นการออกแบบตำแหน่งตามหลักการทางภูมิสถาปัตยกรรม (Landscape Architecture) โดยทำให้พื้นที่เปิดโล่งด้านหน้าเสาธงและหอประชุมจุฬาฯ มีจุดสนใจ (Focal Point) เป็นการส่งเสริมภูมิทัศน์ให้หอประชุมจุฬาฯ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธ พื้นที่เปิดโล่งบริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์จึงมองเห็นได้ง่ายจากถนนพญาไทและกลายเป็นจุดสนใจของเขตปทุมวันและกรุงเทพมหานครไปพร้อมกัน \nพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล เป็นอนุสรณ์สถานที่ใช้ประกอบพิธีสำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น พิธีปฐมนิเทศและถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นนิสิตจุฬาฯ พิธีถวายบังคมหลังรับพระราชทานปริญญาบัตรหรือถวายบังคมลา และเป็นสถานที่เคารพสักการะของนิสิต บุคคลากรและผู้มาเยือน พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ปรากฏอยู่ในภาพถ่ายที่เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบ่อยครั้ง ถือเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในพื้นที่มหาวิทยาลัย", "title": "พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" }, { "docid": "714526#4", "text": "250px|thumbnail|left|หอประชุมจุฬาฯ มุมมองถนนพญาไท หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ด้านหลังพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า (พระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล) ด้านหน้าของหมู่อาคารเทวาลัย หรืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาชิราวุธ ใจกลางพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท ทำให้ที่ตั้งของอาคารหอประชุมอยู่ในแขวงปทุมวันไม่ใช่แขวงวังใหม่ซึ่งเป็นที่ตั้งอย่างเป็นทางการของมหาวิทยาลัย", "title": "หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "11668#57", "text": "ศาลาธรรมศาลาธรรมเป็นอาคาร 2 ชั้น ทรงไทย ตั้งอยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัย ตัวอาคารประกอบด้วยห้องโถงกว้าง12 เมตร ยาว 20 เมตร สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2507 ต่อมาได้มีการต่อเติมตัวอาคารด้านหลังและทำซุ้มเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย ในระยะแรกศาลาธรรมเป็นสถานที่จัดพิธีไหว้ครูของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อศาลาอ่างแก้วสร้างเสร็จจึงได้ประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและพิธีไหว้ครู ณ ศาลาอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยจึงใช้ศาลาธรรมเป็นสถานที่เปลี่ยนฉลองพระองค์ และประทับพักพระอิริยาบถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและพระบรมวงศานุวงศ์ในคราวเสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งเหล่าคณาจารย์ ข้าราชการ และนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็จะมาเฝ้ารอรับเสด็จ ณ สถานที่แห่งนี้ ต่อมาเมื่อหอประชุมมหาวิทยาลัยสร้างเสร็จจึงได้ย้ายสถานที่พระราชทานปริญญาบัตรและพิธีไหว้ครูไปยังหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยจึงได้ใช้ศาลาธรรมเป็นสถานที่จัดงานสำคัญๆของมหาวิทยาลัยในบางโอกาส เช่น การจัดงานแสดงความยินดี และงานเลี้ยงรับรองผู้มีเกียรติของมหาวิทยาลัย เป็นต้น", "title": "มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" } ]
2514
เวสต์แฮมยูไนเต็ดก่อตั้งขึ้นเมื่อใด ?
[ { "docid": "22568#1", "text": "เวสต์แฮมยูไนเต็ด จัดเป็นสโมสรฟุตบอลขนาดเล็ก ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1895 โดยคนงานในโรงงานถลุงเหล็ก จึงเป็นที่มาของฉายา The Irons หรือ The Hammers (ขุนค้อน-ในภาษาไทย) มีสีประจำคือ สีฟ้า-แดงเลือดหมู ได้รับการยกย่องว่าเป็น สถาบันฟุตบอล (The Academy of Football) เพราะเป็นทีมขนาดเล็กที่ปั้นนักฟุตบอลที่ต่อมามีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จกับสโมสรใหญ่ ๆ หลายคน ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน เช่น บ๊อบบี้ มัวร์, จอฟฟ์ เฮิร์สต์, ริโอ เฟอร์ดินานด์, ไมเคิล คาร์ริก, โจ โคล, แฟรงค์ แลมพาร์ด, เจอร์เมน เดโฟ เป็นต้นและยังมีนักเตะชื่อดังเข้ามาเล่นให้ทีมเช่น จิแลร์โม่ ฟรังโก้ ,ดิเอโก้ ตริสตัน,เปาโล ดิ คานิโอ,การ์โลส เตเบซ, คาเบียร์ มาเชราโน,อเลาโญ่ อิลาน,ดาวอร์ ซูเคอร์ เป็นต้น ในประวัติศาสตร์ผู้จัดการทีมจะเป็นชาวสหราชอาณาจักรยกเว้นมีเพียงคนเดียวที่เป็นต่างชาติคือ จันฟรังโก โซลา ที่เป็นอิตาลี เวสต์แฮมเคยเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอ คัพ กับ ลิเวอร์พูล ในฤดูกาล 2005-2006 แต่ก็ได้เพียงรองแชมป์", "title": "สโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ด" } ]
[ { "docid": "730653#2", "text": "เมื่อเปิดสนามนัดแรกของฤดูกาล 2015–16 เวสต์แฮมยูไนเต็ด เป็นฝ่ายบุกไปเยือน อาร์เซนอล ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียม ที่เวสต์แฮมยูไนเต็ดเป็นฝ่ายแพ้มาตลอดในช่วงหลัง แต่ครั้งนี้เวสต์แฮมยูไนเต็ดเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ถึง 0-2 ประตู โดยออกซฟอร์ดได้รับคำชมว่าเล่นได้ดี สามารถประกบ เมซุต โอซิล ปีกของอาร์เซนอลจนเล่นไม่ออกตลอดทั้งการแข่งขัน ทั้งที่ออกซฟอร์ดนั้นยังเป็นเพียงนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาเท่านั้น", "title": "รีซ ออกซฟอร์ด" }, { "docid": "484371#2", "text": "ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1994 เครื่องบินทิ้งระเบิด วี-1 ฟลายอิง ได้ลงจอดในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของสนาม ซึ่งเหมือนเป็นการกดดันไม่ให้เล่นในบ้าน แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะเวสต์แฮมยูไนเต็ดสามารถชนะได้ถึง 9 นัดติดต่อกัน ต่อมาในเดือนธันวาคม เวสต์แฮมยูไนเต็ดได้กลับมาเล่นในบ้านอีกครั้ง และได้แพ้ต่อทอตนัมฮอตสเปอร์ ไป 1–0 ในวันที่ ซึ่งในนัดนั้นก็เป็นสถิติของสนามอีกด้วย เนื่องจากได้จุผู้ชมถึง 42,322 คน ในฟุตบอลดิวิชัน 1 ของอังกฤษ ถัดมาในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2002 ในนัดที่พบกับแมนเชสเตอร์ซิตีในการแข่งขันพรีเมียร์ลีก ก็ได้มีการทำสถิติของสนามอีกครั้ง โดยมียอดผู้ชม 35,550 คน โดยในขณะนั้นสนามบุลินกราวนด์ได้เป็นสนามที่ติดเก้าอี้ทั้งหมดแล้ว\nโดยปัจจุบันความจุของสนามอยู่ที่ 35,016 ที่นั่ง โดยทางสนามได้ปรับปรุงมาตั้งแต่ยุคสมัยปี ค.ศ. 1990 ดังนี้", "title": "บุลินกราวนด์" }, { "docid": "166166#18", "text": "แต่ในการแข่งขันจริงในพรีเมียร์ลีกนัดแรก ที่อาร์เซนอลพบกับ เวสต์แฮมยูไนเต็ด ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียม ที่อาร์เซนอลสามารถเอาชนะมาได้ตลอดในระยะหลังนั้น ปรากฏว่าอาร์เซนอลเป็นฝ่ายแพ้ไปถึง 0-2 ประตู โดยเฉพาะลูกแรกนั้นแช็คมีส่วนผิดพลาดจนทำให้สโมสรต้องเสียประตู เมื่อเป็นฝ่ายออกไปตัดลูกฟรีคิกของเวสต์แฮมยูไนเต็ดช้ากว่าชิคู คูยาเต ผู้เล่นของเวสต์แฮมยูไนเต็ด ที่สอดเข้ามาโหม่งเป็นประตูไปในช่วงท้ายของครึ่งแรก", "title": "แปเตอร์ แช็ค" }, { "docid": "878978#1", "text": "รวมทั้งได้ร่วมแข่งขันในพรีเมียร์ลีก, เวสต์แฮม ยูไนเต็ดจะมีส่วนร่วมใน เอฟเอคัพ และ ลีกคัพ, เข้าสู่รอบสามในเอฟเอคัพและรอบสองในอีเอฟแอลคัพ.", "title": "สโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ดในฤดูกาล 2017–18" }, { "docid": "780744#0", "text": "ฤดูกาล 2015–16 เป็นฤดูกาลที่ 20 ของสโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ดในพรีเมียร์ลีก และเป็นฤดูกาลที่ 4 ที่ได้ลงเล่นในพรีเมียร์ลีกติดต่อกัน นับตั้งแต่ขึ้นชั้นในฤดูกาล 2011–12", "title": "สโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ดในฤดูกาล 2015–16" }, { "docid": "701684#7", "text": "อีกหนึ่งเรื่องที่น่าจดจำของกองกลางชาวสเปนคือการแข่งขันที่น่าตื่นเต้น ซึ่งยูไนเต็ดคว้าชัยเหนืออาร์เซนอล 3-2 ที่โอลด์แทรฟฟอร์ด โดยเขาเป็นผู้ยิงประตูชัยจากนอกกรอบเขตโทษ เอร์เรราใส่สกอร์ในเกมชนะลิเวอร์พูล (3-1, ในบ้าน), กลึบบรึคเคอ กาเฟ ในแชมเปียนส์ลีกรอบคัดเลือก (4-0, เยือน) และมิดยึลลันในยูโรปาลีก (5-1, ในบ้าน) นอกจากนี้เอร์เรรายังได้แอสซิสต์อีก 2 ประตูสุดสำคัญในการแข่งขันฟุตบอลเอฟเอคัพ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดกำลังตามหลังเวสต์แฮมยูไนเต็ด 1-0 ในรอบก่อนรองชนะเลิศ จนกระทั่งได้ประตูตีเสมอจากอ็องตอนี มาร์ซียาล การประสานงานของคู่ขาสเปน-ฝรั่งเศส ได้ผลอีกครั้งในรอบรองชนะเลิศกับเอฟเวอร์ตัน", "title": "อันเดร์ เอร์เรรา" }, { "docid": "348687#1", "text": "เจอร์เมน เดโฟ เริ่มต้นอาชีพด้วยการเป็นนักฟุตบอลระดับเยาวชนให้กับสโมสรชาร์ลตัน แอธเลติก เมื่ออายุได้ 14 ปี ก่อนที่จะย้ายมาอยู่กับเวสต์แฮม ยูไนเต็ด เมื่ออายุ 16 ปี โดยลงเล่นในระดับอาชีพให้กับเวสต์แฮม ยูไนเต็ดเป็นนัดแรกในปี ค.ศ. 2000 ก่อนจะถูกส่งไปหาประสบการณ์กับสโมสรบอร์นมัทด้วยสัญญายืมตัวตลอดฤดูกาล 2000–01 และกลับมาสู่เวสต์แฮม ยูไนเต็ด ", "title": "เจอร์เมน เดโฟ" }, { "docid": "780889#7", "text": "การจับสลากรอบที่ห้าได้จัดขึ้นหลังจากนั้นไม่นานและแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดรับมือเวสต์แฮมที่บ้านของปีศาจแดง. นัดนี้จะได้ลงเล่นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016. ยูไนเต็ด ชนะ 4–1, จากการเหมาเบิ้ลคนละสองประตูของ ซลาตัน อีบราฮีมอวิช และ อ็องตอนี มาร์ซียาล. อดีตผู้เล่นเยาวชนแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด, แอชลีย์ เฟล็ตเชอร์ เป็นผู้ทำประตูเดียวเท่านั้นให้กับเดอะ แฮมเมอร์ส ในนาทีที่ 35.", "title": "สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในฤดูกาล 2016–17" }, { "docid": "878978#0", "text": "ฤดูกาล 2017–18 เป็นฤดูกาลที่ 22 ของสโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ดในพรีเมียร์ลีก และเป็นฤดูกาลที่ 6 ที่ได้ลงเล่นในพรีเมียร์ลีกติดต่อกัน นับตั้งแต่ขึ้นชั้นในฤดูกาล 2011–12", "title": "สโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ดในฤดูกาล 2017–18" }, { "docid": "203779#27", "text": "เคร็ก เบลลามี่เปิดตัวในฐานะนักเตะหมายเลข 10 ของเวสต์แฮม ยูไนเต็ดในวันที่ 10 กรกฎาคม ปี2007 ด้วยค่าตัว 7 ล้าน 5 แสนปอนด์ภายใต้สัญญา 5 ปีและยิงประตูแรกให้ต้นสังกัดได้เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2007 ในเกมส์ลีกคัพโดยทีมเอาชนะบริสตอล โรเวอร์สได้ 2-1 จากนั้นเบลลามี่ต้องพบกับอาการบาดเจ็บอย่างหนักในฤดูกาลแรกของเขากับเวสต์แฮม ทำให้ลงสนามได้เพียง 9 นัด และยิงได้ 4 ประตู", "title": "เคร็ก เบลลามี" }, { "docid": "344487#0", "text": "เจมส์ ไมเคิล คอลลินส์ () เกิดเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1983 เป็นนักฟุตบอลชาวเวลส์ปัจจุบันเล่นให้กับเวสต์แฮมยูไนเต็ดและทีมเวลส์ ในตำแหน่งเซ็นเตอร์แบ็ก", "title": "เจมส์ คอลลินส์ (นักฟุตบอลเกิด พ.ศ. 2526)" }, { "docid": "443426#1", "text": "มีแผนมากมายสำหรับการย้ายสนามใหม่ โดยตามรายงานแรกในปี ค.ศ. 2001 จะย้ายไปยังสนามกีฬาในเขตพิคเกตส์ล็อก ที่มีความจุ 43,000 คน เพื่อใช้เป็นสนามแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก 2005 อย่างไรก็ตาม เฮลซิงกิ ได้รับเลือกเป็นเมืองที่จะจัดการแข่งขัน ทำให้สนามนั้นไม่ได้สร้างขึ้น และในช่วงหลายปีถัดมาก็ได้มีการหาวิธีที่จะย้ายสนามมากมาย รวมไปถึงการย้ายไปยังสนามกีฬาเวมบลีย์ (ซึ่งเปิดในปี ค.ศ. 2007) ในปี ค.ศ. 2011 สนามกีฬาโอลิมปิกลอนดอน ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ก็ได้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะย้ายมาที่สนามแห่งนี้ ในปีเดียวกัน มีการยื่นขอใช้สนามกีฬาระหว่างสเปอร์กับเวสต์แฮมยูไนเต็ด หลังจากสเปอร์ได้ชนะในการเสนอราคาครั้งแรก และได้ดำเนินการตามกฎหมายแล้ว แต่หลังจากนั้นสเปอร์กับถอนตัวในภายหลัง ทำให้เวสต์แฮมยูไนเต็ดใช้สนามนี้แทนด้วยสัญญา 99 ปี", "title": "ไวต์ฮาร์ตเลน" }, { "docid": "737076#1", "text": "ปาแย็ตย้ายจากมาร์แซย์เข้ามาสู่เวสต์แฮมยูไนเต็ด ในฤดูกาล 2015–16 และทำผลงานได้เป็นอย่างดี ช่วยทำให้เวสต์แฮมยูไนเต็ดจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 7 และมีชื่อในการเข้าชิงนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาพันธ์นักฟุตบอลอาชีพแห่งอังกฤษประจำปี รวมถึงได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งกรุงลอนดอนอีกด้วย", "title": "ดีมีทรี ปาแย็ต" }, { "docid": "22568#7", "text": "วันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 สองวันหลังจากจบฤดูกาล 2009–10 เวสต์แฮมประกาศปลดโซลาออกจากการเป็นผู้จัดการทีม[4] ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2010 อัฟราม แกรนท์ ผู้จัดการทีมชาว อิสราเอล ได้ลงนามเซ็นสัญญาในการเป็นผู้จัดการทีมของเวสต์แฮมยูไนเต็ดด้วยสัญญา 4 ปี[5] ถึงแม้จะได้แกรนท์มาคุมทีมแต่ก็ทำผลงานไม่ค่อยเข้าทีเข้าทางอย่างมั่นคงสักที ซึ่งเวสต์แฮมก็คงอยู่ใกล้โซนตกชั้นตลอด,[6] ในการแข่งขัน ลีกคัพ เวสต์แฮมได้สร้างความประทับใจด้วยการโชว์ฟอร์มอันยอดเยี่ยมถล่ม แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ไป 4-0 ในรอบแปดทีมสุดท้าย แต่รูปแบบเวสต์แฮมในพรีเมียร์ลีกไม่ได้ส่งผลกระทบต่อรูปแบบของพวกเขาในสองถ้วยในประเทศ[7] ในลีกคัพรอบก่อนรองชนะเลิศเวสต์แฮมแพ้ให้กับเบอร์มิงแฮมซิตีไป 1-3 และส่วนในถ้วยเอฟเอคัพ เวสต์แฮมแพ้ให้กับสโต๊คซิตีไป 2-1 ในรอบแปดทีมสุดท้าย", "title": "สโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ด" }, { "docid": "547499#5", "text": "ในช่วงเวลาที่สองที่โอลด์แทรฟฟอร์ด เขาได้ลงเล่นในชุดใหญ่สองครั้ง ครั้งแรกเป็นตัวสำรองแทนชไมเคิลที่ถูกไล่ออกในเอฟเอคัพรอบก่อนรองชนะเลิศที่พบกับชาร์ลตัน และครั้งที่สองในลีกคัพรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งยูไนเต็ดก็แพ้ให้กับแอสตันวิลลาทีมเก่าของเขา นั่นก็หมายความว่าสี่นัดสุดท้ายที่ลงเล่นให้กับยูไนเต็ดเป็นนัดชิงชนะเลิศคัพวินเนอร์สคัพ, นัดชิงชนะเลิศลีกคัพสองครั้ง และเอฟเอคัพรอบก่อนรองชนะเลิศ ในช่วงท้ายของฤดูกาล เขาถูกปล่อยตัวฟรีและเข้าร่วมทีมแบล็คพูล แต่หกเดือนต่อมาเขาออกจากบลูมฟิลด์โรดและกลับมาพรีเมียร์ชิพกับเวสต์แฮม", "title": "เลส ซีลีย์" }, { "docid": "440316#0", "text": "ฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป ฤดูกาล 2011–12 (หรือเรียกว่า เอนพาวเวอร์ด้วยเหตุผลด้านการสนับสนุน) เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป ฤดูกาลที่ 8 ของลีกภายใต้ชื่อปัจจุบันและในฤดูกาลที่ 19 ภายใต้รูปแบบการแบ่งลีกปัจจุบัน โดยผู้ชนะในฤดูกาลนี้คือ สโมสรฟุตบอลเรดดิง และอันดับที่สองหรือรองชนะเลิศคือ สโมสรฟุตบอลเซาแทมป์ตัน และอันดับสามคคือ สโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ดซึ่งทั้งสามสโมสรนี้ได้เลื่อนชั้นสู่ พรีเมียร์ลีก ใน ฤดูกาล 2012-13 (เวสต์แฮมยูไนเต็ดชนะเลิศในรอบเพลย์ออฟ)", "title": "ฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป ฤดูกาล 2011–12" }, { "docid": "22568#9", "text": "เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2011 แซม อัลลาร์ไดซ์ ได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมของเวสต์แฮมยูไนเต็ดถัดจาก อัฟราม แกรนท์[9]", "title": "สโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ด" }, { "docid": "195279#4", "text": "แลมพาร์ด ซีเนียร์กลับมาสู่เวสต์แฮมอีกครั้งในปี 1994โดยทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของแฮรี เรดแนปป์ ญาติคู่เขยของเขาซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้จัดการของเวสต์แฮมยูไนเต็ดและทำหน้าที่นี้จนถึงปี 2001", "title": "แฟรงก์ แลมพาร์ด (ซีเนียร์)" }, { "docid": "203779#26", "text": "การที่เขาไม่ใช่ผู้เล่นตัวจริงจึงทำให้ไม่ได้ลงสนามอย่างสม่ำเสมอและมีปัญหาด้ารการสื่อสารกับราฟาเอล เบนิเตซผู้จัดการทีม เขาจึงตัดสินใจย้ายทีมเมื่อจบฤดูกาล และมีหลายสโมสรสนใจอยากได้ตัวเขาเช่นแอสตัน วิลล่า,ยูเวนตุส ในที่สุดราฟาเอล เบนิเตซก็ออกมายืนยันว่าเบลลามี่จะย้ายไปร่วมทีมเวสต์แฮม ยูไนเต็ดด้วยค่าตัว 7 ล้าน 5 แสนปอนด์", "title": "เคร็ก เบลลามี" }, { "docid": "486069#2", "text": "ในพรีเมียร์ลีกนัดที่ 3 ของฤดูกาล 2015–16 ที่เวสต์แฮมยูไนเต็ด พบกับ บอร์นมัท ที่เลื่อนชั้นขึ้นมาจากเดอะแชมเปียนชิป ที่สนามบุลินกราวนด์ ผลการแข่งขันเวสต์แฮมยูไนเต็ดเป็นฝ่ายแพ้ไป 3-4 ประตู โดยเจนคินสันถูกใบแดงไล่ออกจากสนามในนาทีที่ 79 เนื่องจากไปดึง แม็ก กราเดล ผู้เล่นของบอร์นมัทล้มลงในกรอบเขตโทษ", "title": "คาร์ล เจนคินสัน" }, { "docid": "730653#0", "text": "รีซ โจเอล ออกซฟอร์ด () เกิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1998 เป็นนักฟุตบอลอาชีพชาวอังกฤษ ปัจจุบันลงเล่นให้กับโบรุสเซียเมินเชนกลัดบัค ในตำแหน่งกองหลัง โดยยืมตัวมาจากเวสต์แฮมยูไนเต็ด ซึ่งออกซฟอร์ด เป็นผู้ทำลายสถิติผู้เล่นอายุน้อยสุดที่ได้ลงเล่นด้วยวัยเพียง 16 ปี 198 วัน หลังจากที่ลงเล่นให้กับเวสต์แฮมยูไนเต็ดครั้งแรกในพรีเมียร์ลีก", "title": "รีซ ออกซฟอร์ด" }, { "docid": "435483#9", "text": "เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2017 ทางสโมสรเวสต์แฮมยูไนเต็ด ได้ประกาศตั้งเดวิด มอยส์ เป็นผู้จัดการทีมด้วยสัญญา 6 เดือน เพื่อพาเวสต์แฮมยูไนเต็ดให้พ้นจากการตกชั้นใน ฤดูกาล 2017–18 โดยมอยส์สามารถช่วยให้เวสต์แฮมไม่ต้องตกชั้นโดยสิ้นสุดฤดูกาลในอันดับที่ 13 อย่างไรก็ตามเมื่อจบฤดูกาลทางสโมสรก็ไม่ต่อสัญญาทำให้มอยส์ต้องพ้นจากตำแหน่งผู้จัดการทีมไป", "title": "เดวิด มอยส์" }, { "docid": "778535#8", "text": "ยูไนเต็ดได้ลงสนามเป็นเจ้าภาพในรอบที่หกของพวกเขาพบกับคู่แข่งขันที่เป็นทีมระดับสูงสุดของพรีเมียร์ลีก เวสต์แฮม ยูไนเต็ด เมื่อวันที่ 13 มีนาคม. ผู้มาเยือนเป็นฝ่ายขึ้นนำไปก่อนจากลูกฟรีคิกโดย ดีมีทรี ปาแย็ต, และเจ็ดนาทีเท่านั้นที่เหลืออยู่เมื่อทางเจ้าบ้านเป็นฝ่ายไล่ตีเสมอได้สำเร็จจากการจบสกอร์ระยะใกล้ของ อ็องตอนี มาร์ซียาล. หนึ่งเดือนต่อมา, เกมนัดรีเพลย์, เอฟเอคัพนัดชี้ชะตาที่สนาม บุลินกราวนด์. ความมานะพยายามของ มาร์คัส แรชฟอร์ด เป็นผูทำให้แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ขึ้นนำในครึ่งเวลาหลัง, และนำห่างอีกครั้งโดย มารวน แฟลายนี. เวสต์แฮมมายิงประตูตีตื้นได้สำเร็จหลังจากที่ลูกโหม่งของ เจมส์ ทอมกินส์ เข้าซุกก้นตาข่ายผ่านมือ ดาบิด เด เคอา แต่ก็สายเกินไป และพวกเขายังได้ข่มขู่อีกว่าขอแค่ผลเสมอแต่ก็ไม่สามารถทำมันได้สำเร็จ.", "title": "เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 2016" }, { "docid": "410006#8", "text": "พวกเขาไม่ได้อยู่ในลีกสูงสุดถึงอีก 12 ปี โดยในช่วงเวลาเหล่านั้นพวกเขาเกือบที่จะได้เลื่อนชั้นมาอยู่หลายครั้งเช่น เข้าถึงรอบเพลย์ออฟเลื่อนชั้นในปี 1997 ซึ่งคุมโดย โฮเวิร์ด เคนดัลล์ ผู้รับตำแหน่งต่อจากเดฟ บาสเซตต์ อีกครั้งในปี 1998 โดยผู้จัดการทีมชั่วคราว สตีฟ ทอมป์สัน ปีถัดมาพวกเขาได้นีล วอร์น็อกเข้ามาคุม แต่กลับสู่สภาวะที่ยากลำบากอีกครั้งเมื่อจบอันดับเกือบท้ายตารางและสถานการณ์ทางการเงินที่เข้าขั้นวิกฤตจึงไม่สามารถที่จะหาผู้เล่นมาเสริมทีมได้ตามที่ต้องการ เมื่อถึงฤดูกาล 2002-03 ก็เป็นอีกฤดูกาลที่น่าจดจำของสโมสรเมื่อเข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลถ้วยภายในประเทศทั้งสองรายการ และได้เพลย์ออฟ เลื่อนชั้น แต่ก็น่าเสียดาย ที่พลาดทั้งหมด โดยรอบเพลย์ออฟเลื่อนชั้น แพ้ วูล์ฟแฮมป์ตันไป 3-0 อย่างไรก็ตาม นีล วอร์น็อกก็สามารถนำทีมเลื่อนชั้นได้สำเร็จในปี 2006 เมื่อพาทีมจบตำแหน่งรองชนะเลิศในลีกแชมเปี้ยนชิพ แต่อยู่ได้ปีเดียวก็ต้องตกชั้นไป ท่ามกลางการโต้เถียงที่รุนแรงกับ คาร์ลอส เตเบซ (ถ้าจำกันได้ ปีนั้นแมทช์สุดท้าย คาร์ลอส เตเบซ เป็นคนยิงให้เวสต์แฮมบุกไปเอาชนะแมน ยูไนเต็ดถึงถิ่น ซึ่งก่อนแข่งเวสต์แฮมมีแต้มเท่ากับเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดแต่ลูกได้เสีย เชฟฟีลด์ยูไนเต็ดดีกว่า ทำให้เวสต์แฮม รอดตกชั้น ส่วนเชฟฟีลด์ยูไนเต็ด ตกชั้น) หลังจากนั้นเขาก็ลาออก", "title": "สโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ยูไนเต็ด" }, { "docid": "22568#4", "text": "หลังจากมีเหตุการณ์ว่านักเตะของเวสต์แฮมยูไนเต็ดมีเรื่องทะเลาะกับคณะกรรมการของฝ่ายการตลาด แอนทอน เฟอร์ดินานด์ และ จอร์จ แม็กคาร์ทเนย์ ได้ย้ายไปอยู่กับ ซันเดอร์แลนด์ และ ผู้จัดการทีม อลัน เคอร์บิชลีย์ ได้ลาออกเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2008 ทายาทของเขาที่เคยเป็นอดีตกองหน้าของเชลซี จานฟรังโก โซลา ได้มารับงานคุมทีมเวสต์แฮมยูไนเต็ดซึ่งมาคุมทีมเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2008 และในการทำเช่นนั้นก็กลายเป็นผู้จัดการทีมที่ไม่ใช่ชาวอังกฤษครั้งแรกของสโมสร[1] และเขาสามารถนนำเวสต์แฮมยูไนเต็ดจบอันดับที่ 9 ใน พรีเมียร์ลีก", "title": "สโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ด" }, { "docid": "780744#1", "text": "กำหนดการแข่งขันเผยแพร่ในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2015", "title": "สโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ดในฤดูกาล 2015–16" }, { "docid": "737076#3", "text": "ปาแย็ตย้ายกลับมาร์แซย์อีกครั้งในช่วงต้นปี ค.ศ. 2017 ด้วยค่าตัว 25 ล้านปอนด์ (ประมาณ 1,100 ล้านบาท) และสัญญา 4 ปี หลังจากตกเป็นข่าวอยู่พักหนึ่งว่าเจ้าตัวไม่มีความสุขที่อยู่กับเวสต์แฮมยูไนเต็ด และกลายเป็นที่เกลียดชังของบรรดาผู้สนับสนุนเวสต์แฮมยูไนเต็ดทันที โดยทางสโมสรให้ได้ผู้ที่มีเสื้อของปาแย็ตอย่าเผาเสื้อทิ้ง สามารถนำมาแลกซื้อเสื้อตัวใหม่ได้ในราคาแค่ 25 ปอนด์ (ประมาณ 1,106 บาท", "title": "ดีมีทรี ปาแย็ต" }, { "docid": "878978#2", "text": "เวสต์แฮมจัดการแข่งขันหกเกมกระชับมิตรปรี-ซีซันถึง 6 นัด, เริ่มต้นด้วยการพบกับ สตวร์ม กราซ ทู เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ใน บาด วัลเทอร์สดอร์ฟ, ประเทศออสเตรีย, ก่อนที่จะเผชิญหน้าพบกับทีมร่วมเมืองลอนดอน ฟูลัม เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ใน กราซ. จากนั้นเวสต์แฮมออกเดินทางไปที่ประเทศเยอรมนี, พวกเขาเผชิญหน้ากับ แวร์เดอร์ เบรเมิน ในระบบสองนัดภายในสองวันสำหรับ เบตเวย์ คัพ ซึ่งพวกเขาพ่ายแพ้ไป, ด้วยผลรวมสองนัด 3-2, ต่อเนื่องด้วยเกมกระชับมิตรพบกับ อัลโตนา 93 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม. หลังจากนั้นเวสต์แฮมบินไปที่ประเทศไอซ์แลนด์เพื่อที่จะพบกับเพื่อนร่วมทีมพรีเมียร์ลีก แมนเชสเตอร์ซิตี ในเมือง เรคยาวิก.", "title": "สโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ดในฤดูกาล 2017–18" }, { "docid": "195279#2", "text": "แลมพาร์ดเล่นให้ทีมชาติอังกฤษชุดใหญ่ครั้งแรกในนัดเจอยูโกสลาเวียปี 1972 ส่วนในระดับสโมสรเขาได้แชมป์เอฟเอคัพในปี 1975 และปี 1980 กับสโมสรเวสต์แฮมยูไนเต็ดต้นสังกัดของเขาและยังช่วยให้สโมสรคว้าแชมป์ดิวิชัน 2 เดิม (ลีกแชมเปียนชิพในปัจจุบัน) ในปี 1981 แลมพาร์ดหมดสัญญากับเวสต์แฮมหลังจบฤดูกาล 1984-1985 หลังจากอยู่กับทีมมากกว่า 10 ปี และลงเล่นทุกรายการรวมกันถึง 660 นัดยิงได้ 22 ประตู โดยแลมพาร์ด ซีเนียร์จัดเป็นหนึ่งในนักเตะระดับตำนานของทีมและเป็นที่ชื่นชอบของแฟนบอลอย่างมาก", "title": "แฟรงก์ แลมพาร์ด (ซีเนียร์)" }, { "docid": "195279#3", "text": "หลังจากหมดสัญญากับสโมสรเวสต์แฮมยูไนเต็ดเขาได้ย้ายไปร่วมทีมเซาท์เอนด์ยูไนเต็ดแบบไม่มีค่าตัวภายใต้การคุมทีมของเซอร์บ็อบบี มัวร์ ซึ่งเป็นอดีตนักเตะขวัญใจตลอดกาลของแฟนบอลเวสต์แฮมอีกคนหนึ่ง แต่เขาอยู่กับทีมแค่ปีเดียวก็ประกาศแขวนสตั๊ดในเวลาต่อมา ", "title": "แฟรงก์ แลมพาร์ด (ซีเนียร์)" } ]
1544
บริษัทนินเทนโด ก่อตั้งขึ้นเมื่อไหร่?
[ { "docid": "19108#0", "text": "นินเท็นโด (; ) เป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) เริ่มแรกทำธุรกิจเกี่ยวกับการ์ดเกมและของเล่น รวมถึงธุรกิจอื่น เช่น โรงแรมและแท็กซี่ ใน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) นินเท็นโดได้ผันตัวเองมาเป็นบริษัทวิดีโอเกม ซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับวิดีโอเกมที่มีอายุยาวนานที่สุดและทรงอิทธิพลที่สุดจนถึงปัจจุบัน", "title": "นินเท็นโด" } ]
[ { "docid": "178424#4", "text": "บริษัทแอนดรอยด์ ก่อตั้งขึ้นที่พาโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 โดยแอนดี รูบิน (ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแดนเจอร์), ริช ไมเนอร์ (ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไวลด์ไฟร์คอมมูนิเคชัน), นิก เซียส์ (ซึ่งเคยเป็นรองผู้จัดการที่ทีโมบายล์) และ คริส ไวท์ (หัวหน้าฝ่ายออกแบบและการพัฒนาอินเตอร์เฟซ ที่เว็บทีวี) สำหรับการพัฒนานั้น จากคำพูดของรูบิน \"โทรศัพท์มือถือที่มีความฉลาดขึ้นและตระหนักถึงสถานที่ของเจ้าของมากขึ้น\" จุดประสงค์แรกของบริษัทคือการพัฒนาระบบปฏิบัติการสำหรับกล้องดิจิทัล แต่เมื่อถูกตระหนักว่าไม่ใช่ตลาดที่กว้างพอ และต่อมาได้เบี่ยงเบนความพยายามเพื่อที่จะทำระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ตโฟน เพื่อแข่งกับซิมเบียน และ วินโดวส์โมบาย (ในขณะนั้น ไอโฟน ยังไม่ได้วางขาย) แม้จะมีประวัติความสำเร็จของผู้ก่อตั้งและพนักงานของบริษัทในช่วงแรก บริษัทแอนดรอยด์ ได้ดำเนินการอย่างเงียบๆ ให้เห็นเพียงว่าเป็นบริษัทที่ผลิตระบบปฏิบัติการสำหรับโทรศัพท์มือถือ ในปีเดียวกัน รูบิน ไม่มีเงินเหลือแล้ว สตีฟ เพอร์ลแมน เพื่อนสนิทของรูบิน ได้ให้ยืมเงิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยส่งเงินใส่ในซองมาให้ และ ปฏิเสธที่จะถือหุ้นในบริษัท", "title": "แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)" }, { "docid": "133183#1", "text": "นายอุเทน เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท สุรามหาคุณ ที่ได้สัมปทานในการผลิตและจำหน่ายสุราของโรงงานสุราบางยี่ขัน ในชื่อ “แม่โขง” และ “กวางทอง” เมื่อ พ.ศ. 2502 ก่อนจะสูญเสียธุรกิจนี้ไปจากการพ่ายแพ้การประมูลให้แก่นายเจริญ สิริวัฒนภักดี นอกจากนี้นายอุเทนยังเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท วังเพชรบูรณ์ ผู้ก่อสร้างโครงการเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (ปัจจุบัน คือ เซ็นทรัลเวิลด์)", "title": "อุเทน เตชะไพบูลย์" }, { "docid": "566153#0", "text": "นิสชินฟูดส์ เป็นบริษัทญี่ปุ่นที่ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ตั้งขึ้นในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1948 หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงไม่นาน โดยมีนายโมะโมะฟุกุ อันโด เป็นผู้ก่อตั้ง มีบริษัทมีชื่อแรกก่อตั้งว่า และสิบปีต่อมาจึงผลิตบะหมี่ราเม็งกึ่งสำเร็จรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ใช้ชื่อว่า Chikin Ramen (Chicken Ramen) ต่อมาได้เปิดสาขาในสหรัฐอเมริกาเมื่อ ค.ศ. 1970 ภายใต้ชื่อ Nissin Foods โดยขายราเม็งกึ่งสำเร็จรูปในชื่อ \"Top Ramen\" ทั้งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและบะหมี่ถ้วยต่างเป็นนวัตกรรมที่คิดค้นโดยโมะโมะฟุกุ อันโด นิสชินมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Yodogawa-ku ในจังหวัดโอซะกะ โดยได้ย้ายมาอยู่ในที่ตั้งปัจจุบัรจั้งแต่ ค.ศ. 1977 เมื่อสร้างอาคารใหม่สำเร็จ", "title": "นิสชินฟูดส์" }, { "docid": "239521#11", "text": "ข้อขัดแย้งนี้มีขึ้นในปี 2544 เมื่อ Shouzou Kaga หนึ่งในผู้พัฒนาหลักของเกม ได้ออกจากนินเทนโด ไปตั้งบริษัทของตนเองที่ชื่อ Tirnanog หนึ่งในเกมแรกๆของบริษัทคือ \"\" ที่ลงในเครื่องเพลย์สเตชัน เกมนี้มีระบบที่คล้ายคลึงกับเกมในชุดของไฟร์เอมเบลมอย่างมาก ในแง่ของภาพ และระบบการเล่น ในช่วงแรกนั้นชื่อของเกมก็คล้ายคลึงกับเกมไฟร์เอมเบลม โดยใช้ชื่อในการพัฒนาว่า Emblem Saga นินเทนโดยื่นฟ้องบริษัท Tirnanog และ บริษัท Enterbrain ผู้จัดจำหน่าย ในข้อหาละเมิดลิขสิทธ์ของนินเทนโด เป็นเงินทั้งสิ้น 2ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่นินเทนโดแพ้คดี หลังจากนั้น \"Tirnanog\" ได้พัฒนาเกมภาคต่อออกมาในชื่อ \"Tear Ring Saga: Berwick Saga\"", "title": "ไฟร์เอมเบลม" }, { "docid": "341832#1", "text": "นนทนันท์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ก่อตั้งขึ้นโดย อานนท์ อัศวานันท์ โดยแรกเริ่มใช้ชื่อว่า กรุงเกษมภาพยนตร์ หรือ กรุงเกษม เอนเตอร์เทนเมนต์ ประกอบกิจการนำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศสำหรับการฉายในโรงภาพยนตร์ต่าง ๆ ในประเทศ เช่น \"เดชคัมภีร์เทวดา\" ในปี พ.ศ. 2533 เป็นต้น จนได้ชื่อว่าเป็นคู่แข่งรายสำคัญ ของ สหมงคลฟิล์ม ซึ่งจุดเด่นของภาพยนตร์ต่างประเทศของบริษัทนี้ คือ การพากย์ที่เป็นเอกลักษณ์ โดยใช้ทีมพากย์จากช่อง 3", "title": "นนทนันท์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์" }, { "docid": "765969#0", "text": "นินเท็นโดเพาเวอร์ () เป็นนิตยสารข่าวสารและกลยุทธ์ที่เลิกตีพิมพ์แล้ว เดิมผลิตภายในนินเท็นโดอเมริกา และต่อมานิตยสารแยกตัวออกมาตีพิมพ์อิสระ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2007 นินเท็นโดทำสัญญาการตีพิมพ์กับฟิวเชอร์ยูเอส บริษัทย่อยของบริษัทฟิวเชอร์ บริษัทได้ตีพิมพ์นิตยสารวิดีโอเกมเป็นเวลานานที่สุดในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เคยและเป็นนิตยสารทางการของนินเท็นโดที่จำหน่ายในอเมริกาเหนือ", "title": "นินเท็นโดเพาเวอร์" }, { "docid": "119263#27", "text": "\"บริษัทสอาด\" ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2440 ถือเป็นบริษัทแห่งแรกในจังหวัดพระนครที่ดำเนินการรับจ้างขนเทอุจจาระ ในช่วงแรกของการดำเนินกิจการตั้งอยู่ที่บางขุนพรหม กิจการของบริษัทสอาดดำเนินการมาประมาณ 20 ปี ก็ได้ขายกิจการต่อให้กับบริษัทออนเหวง ถือเป็นบริษัทรับขนเทอุจจาระรายใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ รับเหมาสัมปทานเวจสาธารณะของกรมสุขาภิบาลและของประชาชนทั่วไปในกรุงเทพ", "title": "ส้วมในประเทศไทย" }, { "docid": "532458#1", "text": "บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2531 โดยครั้งแรกได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัท เอเซี่ยน แปซิฟิค ไทยทูน่า จำกัด ขึ้นก่อนเพื่อประกอบกิจการผลิตและนำเข้าส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง รวมถึงแปรสภาพผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อจัดจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ต่อมาในเดือนตุลาคม 2531 จึงได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด", "title": "ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์" }, { "docid": "335046#2", "text": "ปี พ.ศ. 2544 บริษัท ทรัพย์อนันต์ เยนเนอรัลฟู้ด จำกัด เริ่มเข้าสู่อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม โดยเริ่มต้นจาก \"โมกุโมกุ\" น้ำผลไม้ผสมวุ้นมะพร้าวรายแรกของตลาด ซึ่งมีพนักงานเริ่มต้นเพียง 40 คน โดยมีเจตนารมณ์ที่ต้องการผลิตสินค้าคุณภาพ รสชาติอร่อย และเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งในขณะนั้นตลาดเครื่องดื่มในเมืองไทยยังมีความหลากหลายน้อยมากเมื่อเทียบกับตลาดต่างประเทศ ทำให้ \"โมกุโมกุ\" ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค และได้ดำเนินการผลิตต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลา 7 ปี", "title": "ทรัพย์อนันต์ เยนเนอรัลฟู้ด" } ]
200
ธรณีแปรสัณฐานพบเกาะกลางมหาสมุทร รวมถึงร่องลึกกลางมหาสมุทรใช่หรือไม่
[ { "docid": "361309#0", "text": "ธรณีแปรสัณฐาน (English: Geotectonic) เป็นการศึกษาด้านธรณีแปรสัณฐาน ที่นักธรณีวิทยาตั้งข้อสงสัยไว้หลายร้อยปีมาแล้วถึงลักษณะของพื้นผิวโลกที่มีลักษณะธรณีสัณฐานที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ บ้างก็เป็นลักษณะเทือกเขาสูงชัน บ้างก็เป็นที่ราบกินอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล หรือ ที่ราบในบางแห่งก็เป็นที่ราบไหล่ทวีปใกล้ชายฝั่งทะเล บ้างก็พบเกาะกลางมหาสมุทร รวมถึงร่องลึกกลางมหาสมุทร โดยในช่วงประมาณ ค.ศ. 1960 เมื่อ B.C. Heezen, H.H. Hess และ R.S. Dietz ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการแยกตัวของพื้นมหาสมุทร (Seafloor Spreading) กล่าวถึงการแยกตัวที่พื้นมหาสมุทรออกจากกันเป็นแนวยาวโดยมีแมกมาจากใต้ชั้นเปลือกโลกแทรกขึ้นมาเย็นตัวและแข็งตัว เกิดเป็นพื้นมหาสมุทรใหม่แล้วก็แยกจากกันออกไปอีกเรื่อยๆ นอกจากนั้นยังมีการพูดถึงการหดตัวของโลกอันเนื่องมาจากการสูญเสียพลังงานความร้อนทำให้การหดตัวเกิดขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละบริเวณ บริเวณที่มีการหดตัวมากอาจเป็นเป็นร่องลึก อยู่ต่ำลงไป แต่บริเวณที่มีการหดตัวน้อยก็อาจเห็นเป็นเทือกเขาสูงได้เนื่องจากบริเวณโดยรอบมีการหดตัวที่มากกว่า แต่อย่างไรก็ตามก็ยังไม่สามารถอธิบายถึงแนวร่องหุบเขาที่เกิดขึ้นได้ นักธรณีวิทยายังคงศึกษาถึงเหตุการณ์ต่างๆอย่างต่อเนื่อง เช่น สนามแม่เหล็กโลกโบราณ ซากดึกดำบรรพ์ต่างๆที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงทฤษฎีอยู่ 2 ทฤษฎี ที่จะมาอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ ได้แก่", "title": "ธรณีแปรสัณฐาน" } ]
[ { "docid": "361309#5", "text": "เมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แยกออกจากกัน ที่บริเวณแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว (Divergent Boundaries) หินหนืดร้อน (Hot Magma) จากชั้นแมนเทิลจะแทรกตัวขึ้นมาตามช่องว่างตามแนวรอยแตก เมื่อหินหนืดเย็นตัวก็จะกลายเป็นแผ่นเปลือกโลกใหม่ การแทรกตัวขึ้นมาของหินหนืดจะทำให้แนวแยกตัวนั้นสูงขึ้นกลายเป็นแนวเทือกเขากลางมหาสมุทร (Mid-Ocean Ridges) แสดงถึงขอบของแผ่นเปลือกโลกในมหาสมุทร เปลือกโลกใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นอย่างต่อเนื่องมีอัตราเร็วในการเกิดประมาณ 20 ลูกบาศก์กิโลเมตรต่อปี", "title": "ธรณีแปรสัณฐาน" }, { "docid": "361309#9", "text": "เมื่อแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรสองแผ่นเคลื่อนที่ชนกันและการมุดตัว บริเวณที่มีการมุดตัวจะเกิดร่องลึกมหาสมุทร (Oceanic Trenches) และแนวหมู่เกาะภูเขาไฟ (Volcanic Island Chains)", "title": "ธรณีแปรสัณฐาน" }, { "docid": "3785#6", "text": "จากผลกระทบของการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคทำให้แปซิฟิกหดตัวลงประมาณ 2.5 เซนติเมตรต่อปี วัดจากทั้งสามด้านโดยเฉลี่ยประมาณ 0.52 กิโลเมตรต่อปีซึ่งตรงกันข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกที่ขยายใหญ่ขึ้น[4][5]", "title": "มหาสมุทรแปซิฟิก" }, { "docid": "361732#7", "text": "เราสามารถแบ่งแดนเทือกเขาออกเป็นเขตต่างๆ ตามลักษณะ โครงสร้าง วิทยาหิน และระดับการแปรสภาพของหิน โดยเขตตามประเภทเหล่านี้อาจเป็นบริเวณเดียวกันหรือซ้อนทับกันเป็นบางส่วน ดังนั้นการเรียกชื่ออย่างถูกต้องจะช่วยให้นักธรณีวิทยาเกิดความเข้าใจที่ตรงกันได้ ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นแดนเทือกเขาที่เกิดจากการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรกล่าวโดยสรุปแล้วภูเขาหรือเทือกเขาเป็นผลจากกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องกับธรณีแปรสัณฐาน (plate tectonic) แบบการเคลื่อนที่เข้าปะทะกันของแผ่นเปลือกโลก (plate convergence) ได้แก่ การชนกันของแผ่นทวีป (continental collision) และการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction) ซี่งโดยทั่วไปแล้วมักเป็นการมุดตัวของแผ่นมหาสมุทรลงใต้แผ่นเปลือกโลกเนื่องจากแผ่นมหาสมุทรมีความหนาแน่นมากกว่าจึงจมลงด้านล่างได้ง่ายกว่า การสร้างภูเขาประกอบด้วยกระบวนการทางธรณีวิทยาย่อยๆ อีกเช่น การเปลี่ยนลักษณะ (deformation) การเกิดหินแปร (metamorphism) การยกตัวของแผ่นเปลือกโลก (uplift) และการเกิดแผ่นดินไหว (seismic activity) เป็นต้น", "title": "การก่อเทือกเขา" }, { "docid": "240735#6", "text": "อีกกระบวนการหนึ่งที่ได้ถูกเสนอขึ้นมาว่ามีผลต่อการเกิดแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรใหม่ที่บริเวณเทือกเขากลางสมุทรก็คือการหมุนวนของเนื้อโลก (mantle conveyor) อย่างไรก็ตามได้มีการศึกษาพบว่าส่วนด้านบนสุดของชั้นเนื้อโลกนั้นมีคุณสมบัติเป็นพลาสติกมากเกินไปที่จะทำให้เกิดการเสียดทานอย่างเพียงพอที่จะดึงแผ่นธรณีภาคชั้นนอกใต้มหาสมุทรให้เคลื่อนที่ตามไปได้ มากไปกว่านั้นการดันตัวขึ้นมาของหินหนืดที่ทำให้หินหนืดเกิดที่ใต้เทือกเขากลางสมุทรดูเหมือนว่าจะเกี่ยวข้องเฉพาะในส่วนของ 400 กิโลเมตรทางด้านบนเท่านั้น ตัวเลขความลึกนี้ได้มาจากข้อมูลคลื่นไหวสะเทือนและจากรอยสัมผัสไม่ต่อเนื่องของคลื่นไหวสะเทือนที่ระดับความลึกประมาณ 400 กิโลเมตร การดันตัวขึ้นมาของเนื้อโลกในระดับตื้นบริเวณใต้เทือกเขากลางสมุทรดังกล่าวทำให้เชื่อได้ว่ากระบวนการดึงของแผ่นเปลือกโลกน่าจะมีอิทธิพลมากกว่า ทั้งนี้มีแผ่นเปลือกโลกที่ใหญ่ที่สุดของโลกบางแผ่นเช่นแผ่นอเมริกาเหนือที่กำลังเคลื่อนที่อยู่นั้นแต่กลับยังไม่ทราบว่าเกิดการมุดตัวที่ไหน ", "title": "เทือกเขากลางสมุทร" }, { "docid": "813027#0", "text": "ลาดตีนทวีป () เป็นบริเวณที่ต่อเนื่องจากลาดทวีปไปจนถึงพื้นท้องสมุทร (seabed) มีลักษณะเป็นที่ราบเรียบและอาจมีความชันเล็กน้อย และอาจมีบางส่วนลึกหรือเป็นที่สูงต่ำ เกิดจากการตกทับถมของตะกอนต่าง ๆ ที่พัดพามากับกระแสน้ำ บ้างปรากฏเป็นเขาก้นสมุทร (abyssal hill) ไม่สูงมาก พบได้ทั่วไป บางส่วนของลาดตีนทวีปนั้นก็มีความราบเรียบเท่ากันกับพื้นท้องมหาสมุทรที่เป็นพื้นที่ของมหาสมุทรนั้นมีลักษณะภูมิประเทศหลากหลายอันได้แก่ สันเขา ที่ราบสูง แอ่ง ภูเขา เช่น เทือกเขากลางสมุทรแอตแลนติก ซึ่งทอดยาวจากไอซ์แลนด์ลงมาเกือบถึงทวีปแอนตาร์กติก มีบางตอนสูงขึ้นมาเหนือน้ำทะเลกลายเป็นเกาะ เช่น หมู่เกาะอะโซร์สหรือหมู่เกาะฮาวาย ลักษณะภูมิประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ภูเขาใต้ทะเล พบที่พื้นท้องมหาสมุทร บางลูกมียอดตัด เรียกว่า เขายอดราบใต้สมุทร (guyout) พบมากบริเวณตอนกลางและด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่างหมู่เกาะมาเรียนากับหมู่เกาะฮาวาย สำหรับยอดเขายอดราบใต้สมุทรนั้นมักอยู่ที่ระดับน้ำลึก 1,200–1,800 เมตร", "title": "ลาดตีนทวีป" }, { "docid": "357229#0", "text": "แชลเลนเจอร์ดีป () เป็นจุดที่ลึกที่สุดในมหาสมุทรของโลกเท่าที่รู้จัก โดยมีระดับความลึก 10,911 เมตร ตั้งอยู่ทางปลายด้านใต้สุดของร่องลึกมาเรียนา ใกล้กับกลุ่มหมู่เกาะมาเรียนา แชลเลนเจอร์ดีปมีลักษณะเป็นแอ่งขนาดเล็กที่ก้นของร่องลึกใต้มหาสมุทรรูปดวงจันทร์เสี้ยวขนาดค่อนข้างใหญ่ ซึ่งร่องเหล่านี้ก็เป็นลักษณะภูมิประเทศที่ลึกผิดปกติใต้ท้องมหาสมุทรอยู่แล้ว แผ่นดินที่อยู่ใกล้กับแชลเลนเจอร์ดีปที่สุด คือ เกาะไฟส์ (ส่วนหนึ่งของหมู่เกาะแย็พ) ห่างออกไป 289 กิโลเมตรทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และกวม ห่างออกไป 306 กิโลเมตรทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แอ่งดังกล่าวได้ชื่อตามเรือสำรวจราชนาวี เอชเอ็มเอส แชลเลนเจอร์ ซึ่งจัดการสำรวจใน ค.ศ. 1872-76 เป็นการบันทึกความลึกของมหาสมุทรเป็นครั้งแรก", "title": "แชลเลนเจอร์ดีป" }, { "docid": "3875#26", "text": "พื้นที่ผิวทั้งหมดของโลกมีประมาณ 510 ล้านตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่าร้อยละ 70.8[100] หรือ 361.13 ล้านตารางกิโลเมตร อยู่ใต้ระดับน้ำทะเลและปกคลุมด้วยน้ำมหาสมุทร[101] พื้นที่ใต้น้ำเหล่านี้มีทั้งที่เป็นไหล่ทวีป ภูเขา ภูเขาไฟ[73] ร่องลึกก้นสมุทร หุบเหวใต้ทะเล ที่ราบสูงพื้นสมุทร ที่ราบก้นสมุทร และระบบสันกลางมหาสมุทรที่ทอดตัวทั่วโลก พื้นที่ที่เหลืออีกราวร้อยละ 29.2 หรือ 148.94 ล้านตารางกิโลเมตร ไม่ถูกน้ำปกคลุม มีภูมิประกาศหลากหลายตามสถานที่ ได้แก่ ภูเขา พื้นที่แห้งแล ที่ราบ ที่ราบสูง และภูมิประเทศรูปแบบอื่น ธรณีแปรสัณฐานและการกร่อน การปะทุของภูเขาไฟ การเกิดอุทกภัย การผุพังอยู่กับที่ การเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็ง การเติบโตของพืดหินปะการัง และการพุ่งชนของอุกกาบาตเป็นกระบวนการที่เปลี่ยนโฉมผิวโลกอยู่เรื่อย ๆ ตามคาบเวลาทางธรณีวิทยา[102]", "title": "โลก (ดาวเคราะห์)" }, { "docid": "487411#0", "text": "ที่ราบก้นสมุทร () เป็นที่ราบใต้น้ำตรงบริเวณก้นสมุทร โดยทั่วไปจะพบที่ความลึกระหว่าง 3,000 ถึง 6,000 เมตร และอยู่ระหว่างลาดตีนทวีปกับเทือกเขากลางสมุทร มีพื้นที่มากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นผิวโลก มันเป็นพื้นที่ ๆ แบนและราบเรียบที่สุดแต่ได้รับการศึกษาน้อยมาก ที่ราบเหล่านี้เป็นองค์ประกอบทางธรณีวิทยาที่สำคัญของแอ่งมหาสมุทร (องค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ เทือกเขากลางสมุทรที่ยกตัวขึ้น และเขาก้นสมุทรที่ขนาบข้าง) นอกจากองค์ประกอบเหล่านี้แล้ว โดยปกติแอ่งมหาสมุทร\"มีพลัง\" (เชื่อมโยงกับรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกที่เคลื่อนไหวอยู่) จะมีร่องลึกก้นสมุทรและเขตมุดตัวของเปลือกโลกรวมอยู่ด้วย", "title": "ที่ราบก้นสมุทร" }, { "docid": "240735#0", "text": "เทือกเขากลางสมุทร () คือแนวเทือกเขาใต้ทะเลโดยจะมีแนวร่องหุบที่รู้จักกันในนามของร่องแยก (rift) ที่สันของแนวเทือกเขาซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน รูปแบบของเทือกเขากลางสมุทรนี้เป็นลักษณะที่รู้จักกันว่าเป็นแนว “ศูนย์กลางของการแยกแผ่ขยายออก” ซึ่งเป็นการแผ่ขยายออกของแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทร การยกตัวของพื้นมหาสมุทรเป็นผลเนื่องมาจากกระแสการพาความร้อน (convection currents) ซึ่งเป็นการดันตัวขึ้นมาของหินหนืดจากชั้นฐานธรณีภาคตามแนวที่อ่อนตัวของพื้นมหาสมุทรโดยการปะทุขึ้นมาในรูปของลาวา เกิดเป็นเปลือกโลกใหม่เมื่อเย็นตัวลง เทือกเขากลางสมุทรเป็นแนวขอบเขตรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกทางเทคโทนิกสองแผ่นและถือกันว่าเป็นแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว", "title": "เทือกเขากลางสมุทร" }, { "docid": "361309#2", "text": "ในค.ศ. 1620 ฟรานซิส เบคอน ได้ตั้งข้อสังเกต ถึงการที่สองฟากมหาสมุทรแอตแลนติกมีลักษณะสัณฐานวิทยาที่สอดคล้องกันต่อมา P.Placet 1668 พยายามอธิบายว่าสองฟากมหาสมุทรแอตแลนติกน่าจะเชื่อมกันมาก่อน แต่ยังไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลใดสนับสนุน นอกจากอาศัยลักษณะคล้ายคลึงสอดคล้องกันของชายฝั่งมหาสมุทรเท่านั้น จากนั้นในปี 1858 Antonio Sniderได้อาศัยข้อมูลชั้นหินในยุค Carboniferous ในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือมาเชื่อมโยงกันซึ่งสามารถสรุปได้ว่า ก่อนหน้านี้ทวีปทั้งหมดเคยเป็นทวีปผืนเดียวกันมาก่อน แล้วจึงค่อยๆ แยกออกจากกันในภายหลัง ในปี 1908 Frank B. Taylor ได้อธิบายถึงของการที่มหาทวีป 2 ทวีปซึ่งเคยวางตัวอยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือและใต้แยกออกเป็นทวีปเล็กๆ และเคลื่อนที่มาในทิศเข้าหาเส้นศูนย์สูตร นั่นคือมหาทวีปลอเรเซีย (Laurasia) ซึ่งอยู่ทางเหนือและมหาทวีปกอนด์วานา (Gondwanaland) ซึ่งอยู่ทางใต้ โดยเป็นการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกไซอัลเท่านั้น ต่อมาในปี 1910 Alfred Wegene ได้สร้างแผนที่มหาทวีปใหม่ โดยอาศัยรูปร่างแผนที่ของ Snider และตั้งชื่อว่ามหาทวีปพันเจีย ซึ่งถูกล้อมรอบด้วยมหาสมุทรพันธาลาสซา (Panthalassa) แล้วเกิดการแยกออกและเคลื่อนที่ไปอยู่ ณ ตำแหน่งที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน โดยขณะเคลื่อนที่ก็เกิดเทือกเขาขึ้น ต่อมา Taylor ได้อธิบายว่ารอยชิ้นทวีปที่ขาดหล่นปรากฏเป็นเกาะแก่ง หรือรอยฉีกที่พบเป็นร่องลึกยังปรากฏอยู่บนพื้นมหาสมุทร", "title": "ธรณีแปรสัณฐาน" }, { "docid": "68868#1", "text": "ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนาเป็นแนวเขตที่แผ่นธรณีแปรสัณฐาน หรือที่เรียกชื่อในภาษาอังกฤษว่า \"Tectonic Plates\" สองแผ่นมาชนกัน ณ บริเวณเขตมุดตัวของเปลือกโลก (subduction zone) โดยแผ่นธรณีแปซิฟิก เป็นฝ่ายลอดลงไปใต้แผ่นธรณีมาเรียนา ก้นของร่องลึก ณ จุดนี้ที่มีชื่อเรียกว่า \"แชลเลนเจอร์ดีป\" (Challenger Deep) อยู่ลึกกว่าความสูงของยอดเขาเอเวอเรสต์ที่อยู่บนแผ่นดิน ความลึกมากสุดของร่องที่วัดได้ ณ จุดนี้ ลึกมากถึง 10,911 เมตรจากระดับน้ำทะเล และหากวัดละติจูดและ ส่วนอ้วนจากแรงเหวี่ยงแถบเส้นศูนย์สูตร (equatorial bulge) จะได้ระยะของจุดลึกสุดของร่องได้ 6,366,400 เมตรจากจุดใจกลางของโลก ในขณะที่มหาสมุทรอาร์กติกซึ่งมีความลึกมากที่สุดประมาณ 4,500 เมตร แต่เมื่อวัดพื้นผิวก้นมหาสมุทรถึงจุดใจกลางโลกกลับได้ระยะ 6,353,000 เมตร ใกล้จุดใจกลางโลกมากกว่าร่องลึกบาดาลมาเรียนาถึง 13 กิโลเมตร", "title": "ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา" }, { "docid": "3875#22", "text": "ค่าเฉลี่ยของการสูญเสียความร้อนจากโลกอยู่ที่ 87 มิลลิวัตต์ต่อตารางเมตร คิดรวมทั้งโลกจะสูญเสียความร้อนที่ 4.42 × 1013 วัตต์[89] พลังงานความร้อนบางส่วนจากแก่นถูกแมนเทิลพลูมส่งผ่านขึ้นมายังเปลือกโลก ซึ่งเป็นการพาความร้อนแบบหนึ่งที่เกิดจากการไหลขึ้นของหินอุณหภูมิสูง พลูมนี้สามารถทำให้เกิดจุดร้อนและทุ่งบะซอลท์[90] ความร้อนจากภายในโลกส่วนใหญ่สูญเสียไปกับการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค โดยการไหลขึ้นของเนื้อโลกที่สัมพันธ์กับสันกลางมหาสมุทร หนทางการสูญเสียความร้อนสำคัญสุดท้ายคือการนำความร้อนผ่านธรณีภาคซึ่งปรากฏใต้มหาสมุทรเป็นส่วนใหญ่เพราะเปลือกโลกบริเวณนั้นบางมากกว่าแผ่นเปลือกทวีปมาก[91]", "title": "โลก (ดาวเคราะห์)" }, { "docid": "361309#7", "text": "เมื่อแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรใหม่มีการเย็นตัวเป็นเวลากว่าสิบล้านปี ความหนาแน่นก็จะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นจนมีความหนาแน่นมากกว่าชั้นหินหนืดที่อยู่ด้านล่าง จากนั้นจึงมุดตัวลงไปใต้โลกเรียกว่า Subduction การมุดตัวนี้จะเกิดขึ้นในบริเวณแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (Convergent Plate Boundaries) ซึ่งแผ่นเปลือกโลกทั้งสองแผ่นมีการเคลื่อนที่เข้าชนกัน แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรที่มีความหนาแน่นมากกว่าจะเข้าชนและมุดตัวใต้แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปที่ความหนาแน่นน้อยกว่า เมื่อแผ่นเปลือกโลกมุดตัวลงไปในโลก จะเกิดการบีบอัดและหลอมเป็นบางส่วน (Partially Melting) เนื่องจากอุณหภูมิและความดันที่สูงขึ้น ทำให้เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟ ขึ้นเหนือบริเวณที่มีการมุดตัว โดยการเคลื่อนที่แบบ Convergence จะทำให้เกิดลักษณะธรณีสัณฐาน 3 แบบได้แก่", "title": "ธรณีแปรสัณฐาน" }, { "docid": "241163#3", "text": "ขอบเขตรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกแบบลู่เข้าหากันมีความยาวทั้งหมดได้ถึง 50,000 กิโลเมตรทั้งหมดอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งเป็นที่มาของการใช้คำว่า “ขอบเขตรอยต่อแบบแปซิฟิก” (pacific-type margin) แต่ก็พบได้ทางด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียด้วย และรวมถึงขอบเขตรอยต่อสั้นๆในมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บางครั้งร่องลึกก้นทะเลก็ถูกฝังกลบไม่แสดงลักษณะ แต่จากลักษณะโครงสร้างพื้นฐานแล้วก็ยังต้องเรียกว่าร่องลึกก้นทะเล ดังที่นำไปใช้กับโซนมุดตัวแคสคาเดีย มากรัน เลสเซอร์แอนตอลเลสด้านใต้ และร่องลึกก้นสมุทรคาลาเบรียล ร่องลึกก้นสมุทรจะอยู่ขนานไปกับแนวหมู่เกาะรูปโค้ง และโซนแผ่นดินไหวที่มีการเอียงเทลงไปใต้แนวหมู่เกาะรูปโค้งลึกลงไปได้ถึง 700 กิโลเมตรที่จัดให้เป็นขอบเขตรอยต่อแผ่นเปลือกโลกแบบลู่เข้าหากันเกิดเป็นโซนมุดตัวลึกลงไป ร่องลึกก้นสมุทรมีความเกี่ยวข้องกับการชนกันของแผ่นเปลือกโลกแต่มีความแตกต่างไปจากการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกทวีป (ดังเช่นการชนกันระหว่างอินเดียกับเอเชียที่ทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัย) อันเกิดจากแผ่นเปลือกทวีปเคลื่อนที่เข้าไปในแนวมุดตัว เมื่อแผ่นเปลือกทวีปเคลื่อนที่ถึงบริเวณร่องลึกก้นสมุทรการมุดตัวก็จะสิ้นสุดลงและขอบของแผ่นเปลือกโลกแบบลู่เข้าหากันก็จะกลายเป็นแนวชนกันของแผ่นเปลือกโลกบนทวีป ลักษณะที่เทียบเคียงได้กับร่องลึกก้นสมุทรจะเกิดมีสัมพันธ์กับแนวชนกันที่เป็นร่องลึกหน้าเกาะ (foredeep) ที่มีการสะสมตัวของตะกอนและถือว่าเป็นแอ่งสะสมตะกอนหน้าแผ่นดิน อย่างเช่นที่พบในแม่น้ำแกงเกส และแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส", "title": "ร่องลึกก้นสมุทร" }, { "docid": "241163#2", "text": "ร่องลึกก้นสมุทรเป็นลักษณะของขอบเขตระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่โดดเด่นชัดเจน โดยเป็นบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่เข้าหากันด้วยอัตราการลู่เข้าหากันที่แปรผันจากปีละไม่กี่มิลลิเมตรจนไปถึงสิบเซนติเมตรหรือมากกว่า ร่องลึกก้นสมุทรหนึ่งๆเป็นตำแหน่งที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกหนึ่งมีการโค้งมุดลงไปใต้แผ่นธรณีภาคชั้นนอกอีกแผ่นหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วร่องลึกก้นสมุทรจะขนานไปกับแนวหมู่เกาะรูปโค้ง (volcanic arc) และอยู่ห่างจากแนวหมู่เกาะรูปโค้งออกไปประมาณ 200 กิโลเมตร โดยทั่วไปร่องลึกก้นสมุทรจะมีความลึกประมาณ 3 ถึง 4 กิโลเมตรลงไปจากพื้นมหาสมุทรรอบข้าง ส่วนที่ลึกที่สุดอยู่ที่ร่องลึกชาลเลนเจอร์ของร่องลึกก้นสมุทรมาเรียน่าซึ่งมีความลึก 10,911 เมตรใต้ระดับทะเล แผ่นธรณีภาคชั้นนอกใต้มหาสมุทรจะเคลื่อนที่หายเข้าไปในร่องลึกก้นสมุทรด้วยอัตราประมาณ 10 ตารางเมตรต่อวินาที", "title": "ร่องลึกก้นสมุทร" }, { "docid": "241163#5", "text": "ระหว่างทศวรรษที่ 1920 – 1930 เฟลิกซ์ แอนดรีส์ เวนิ่ง ไมเนสซ์ ได้พัฒนาเครื่องมือวัดแรงโน้มถ่วงโลกที่สามารถวัดค่าแรงโน้มถ่วงโลกในสภาพแวดล้อมใต้ทะเลที่เสถียรและได้ทำการวัดค่าแรงโน้มถ่วงเหนือร่องลึกก้นสมุทรด้วย จากค่าแรงโน้มถ่วงที่เขาวัดได้ชี้ชัดว่าร่องลึกก้นสมุทรเป็นบริเวณที่เว้าลึกลงไปในเนื้อโลก แนวคิดเรื่องลักษณะที่เว้าลึกลงไปตรงบริเวณร่องลึกก้นสมุทรถูกทำให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาโดยกริ๊กกส์ในปี 1939 ด้วยสมมุติฐานเทคโทยีน ซึ่งเขาได้พัฒนาแบบจำลองเปรียบเทียบมีรูปลักษณะเป็นรูปกลองคู่หมุนได้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการปรับปรุงข้อมูลลักษณะพื้นผิวก้นทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านตะวันตกและทางด้านเหนือที่ทำให้เห็นแนวร่องลึกเป็นแนวยาวชัดเจนขึ้น ความพยายามในการวิจัยห้วงทะเลลึกมีการเติบโตอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการใช้เครื่องกำเนิดเสียงสะท้อนกันอย่างกว้างขวางในช่วงทศวรรษที่ 1950 – 1960 ที่ช่วยยืนยันคุณประโยชน์ของคำศัพท์ในเชิงรูปลักษณ์สัณฐานนี้ มีการค้นพบร่องลึกก้นทะเลที่สำคัญๆ มีการเก็บตัวอย่างและมีการวัดความลึกได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ช่วงระยะเวลาของการสำรวจร่องลึกก้นทะเลได้บรรลุถึงจุดสุดยอดในปี 1960 ที่ทำให้ทราบถึงลักษณะที่ชัดเจนด้วยการดำดิ่งลงไปถึงก้นทะเลที่ร่องลึกชาลเลนเจอร์ หลังจากนั้นโรเบิร์ต ไดเอตซ์ และฮาร์รี เฮสส์ ได้สร้างสมมุติฐานการแยกแผ่ออกไปของแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทร (seafloor spreading) ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1960 และพัฒนาไปเป็นเพลตเทคโทนิกในช่วงปลายของทศวรรษจนทำให้คำว่า “ร่องลึกก้นสมุทร” ได้รับการนิยามอีกครั้งในเชิงเทคโทนิกและความหมายทางพื้นผิวก้นมหาสมุทร ", "title": "ร่องลึกก้นสมุทร" }, { "docid": "813047#0", "text": "ก้นสมุทร () อาจเรียกว่า พื้นท้องมหาสมุทร หรือ ก้นสมุทร คือช่วงตอนกลางของมหาสมุทรและเป็นบริเวณที่ต่อเนื่องจากลาดตีนทวีปเป็นต้นไป เป็นอาณาเขตส่วนใหญ่ของพื้นที่ใต้ทะเลจึงมีขนาดกว้างขว้างมาก มีลักษณะภูมิประเทศหลากหลาย มีพื้นที่ราบเรียบเป็นส่วนใหญ่แต่มีส่วนสูงส่วนต่ำด้วยเช่นกัน ได้แก่ หุบผาชันใต้ทะเล เทือกเขากลางสมุทร ที่ราบสูง แอ่งมหาสมุทร ภูเขา เช่น เทือกเขามิดแอตแลนติก ซึ่งทอดจากไอซ์แลนด์ลงมาเกือบถึงทวีปแอนตาร์กติกา บางตอนสูงขึ้นมาเหนือน้ำเป็นเกาะ เช่น หมู่เกาะอะโซร์ส เกาะเล็ก ๆ อื่น ๆ สันเขานี้ยาวประมาณ 720 กิโลเมตร ส่วนแอ่งลึกบนพื้นท้องมหาสมุทรขนาดใหญ่นั้นก็คือบริเวณอ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน ทะเลแดง ระดับความลึกของน้ำบริเวณนี้จะลึกประมาณ 4,000-6,000 เมตร\nคืออาณาเขตหรือพื้นที่ส่วนใหญ่ของมหาสมุทรมีโครงสร้างจากปรากฏการณ์ทางกายภาพทั่วไปที่ส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกและตะกอนจากแหล่งต่าง ๆ ที่กระแสน้ำพัดพามา โครงสร้างของพื้นท้องมหาสมุทรเริ่มต้นจากขอบทวีปโดยจะมีไหล่ทวีป ลาดทวีป ลาดตีนทวีป ลดลงมาตามความลาดชันเป็นชั้นลงไปในทะเลจนมาถึงที่ราบก้นสมุทร ซึ่งเป็นภูมิประเทศของก้นทะเลและพื้นที่หลักของทะเลนั้นเอง", "title": "ก้นทะเล" }, { "docid": "240735#5", "text": "มีอยู่ 2 กระบวนการคือ การดันของเทือกเขากลางสมุทร (ridge-push) และการดึงของแผ่นเปลือกโลก (slab-pull) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่แยกออกจากเทือกเขากลางสมุทรแต่ก็ยังมีสิ่งที่ไม่แน่ชัดว่ากระบวนการไหนจะโดดเด่นกว่ากัน กระบวนการดันของเทือกเขากลางสมุทรนั้นเกิดขึ้นเมื่อน้ำหนักของเทือกเขาผลักส่วนที่เป็นแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรให้เคลื่อนที่ออกไปจากแนวสันกลางปรกติจะผลักจนไปมุดลงที่แนวร่องลึกก้นทะเล ที่แนวมุดตัวนี้กระบวนการดึงของแผ่นเปลือกโลกจะเกิดขึ้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นง่ายๆเพียงน้ำหนักของแผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงไปนั้นได้เกิดการดึงลงไปด้านล่างด้วยน้ำหนักของมันและลากแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรด้านบนให้เคลื่อนที่ตามไปด้วย ", "title": "เทือกเขากลางสมุทร" }, { "docid": "68868#0", "text": "ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา () เป็นชื่อธรณีวิทยาทางทะเลของร่องลึกก้นสมุทรที่ลึกที่สุดในโลก และเป็นจุดที่ต่ำที่สุดของเปลือกโลกเท่าที่ทราบกันในปัจจุบัน ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนามีตำแหน่งอยู่ที่ก้นมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกเฉียงเหนือ และอยู่ในแนวตะวันออกและแนวใต้ของหมู่เกาะมาเรียนา ณ พิกัด 11° 21’ เหนือ และ 142° 12’ ตะวันออก ใกล้เกาะกวม", "title": "ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา" }, { "docid": "361309#6", "text": "มีลักษณะเป็นแนวเทือกเขาเตี้ยวางตัวทอดยาวไปบนพื้นมหาสมุทรคล้ายกับเทือกเขาบนทวีป เทือกเขากลางสมุทรที่สำคัญได้แก่ Mid-Atlantic Ridge และ East Pacific Rise เป็นต้น กลางเทือกเขามีลักษณะพิเศษคือมีร่องลึกอันเกิดจากรอยเลื่อนทอดตัวตลอดความยาวของเทือกเขา โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับร่องหุบเขาที่ปรากฏอยู่บนแผ่นดินหลายแห่ง เช่น ร่องหุบเขาทางด้านตะวันออกของทวีปแอฟริกา หรือร่องหุบเขาบริเวณแม่น้ำไรน์ในยุโรป เป็นต้น บนเทือกเขากลางสมุทรมีการยกตัวขึ้นมาของหินหลอมละลายที่ลึกลงไปในชั้นเนื้อโลกทำให้เกิดเป็นหินอัคนีพุจำพวก Basalt และ Ultramafic หินอัคนีพุเหล่านี้แสดงหลักฐานเป็นแถบบันทึกสนามแม่เหล็กโลกซึ่งเกิดขึ้นขณะที่หินหลอมละลายกำลังเย็นตัว แถบบันทึกนี้แสดงให้เห็นว่าสนามแม่เหล็กโลกได้เกิดการกลับขั้วไปมาตลอดเวลา นอกจากนี้ยังพบว่าแถบบันทึกสนามแม่เหล็กโลกนี้ปรากฏอยู่บนหินที่ประกอบเป็นพื้นมหาสมุทรทั้งสองฟากของเทือกเขากลางสมุทรด้วย และพบว่ายิ่งห่างออกไปจากแนวกลางของเทือกเขาชุดหินจะมีอายุแก่ขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงอธิบายได้ว่าหินเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนที่กลางเทือกเขาแล้วค่อยเคลื่อนที่ออกจากกันเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา จากการคำนวณการเคลื่อนที่ทำให้กำหนดความเร็วของการแยกตัวได้ว่าอยู่ระหว่าง 1 ถึง 15 เซนติเมตรต่อปี ดังนั้นเราสามารถระบุขอบของแผ่นเปลือกโลกในส่วนที่กำลังแยกตัวออกจากกันจากบริเวณเทือกเขากลางสมุทรได้", "title": "ธรณีแปรสัณฐาน" }, { "docid": "297839#4", "text": "ชะวากทะเลสามารถจำแนกโดยอาศัยลักษณะทางธรณีสัณฐาน ออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้\nชะวากทะเลชนิดนี้ส่วนมากจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 6,000 ถึง 15,000 ปีที่ผ่านมา หรือในช่วงปลายของ Wisconsin glaciation (เป็นช่วงเวลาที่ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขี้นประมาณ 100 ถึง 130 เมตร) เมื่อระดับน้ำทะเลลดลงจึงได้มีการเกิดลักษณะชะวากทะเลเช่นนี้ขึ้น นอกจากนี้แล้วการทรุดตัวของบริเวณชายฝั่งยังช่วยให้เกิดชะวากทะเลแบบร่องน้ำจมตัวได้อีกด้วย โดยลักษณะเช่นนี้มักเกิดขึ้นในที่ราบต่ำ ขนาดกว้าง มีความลึกไม่มากนัก มักพบได้ตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก สหรัฐอเมริกา ตัวอย่างเช่น Chesapeake Bay, Delaware Bay, Galveston Bay และ Tampa Bay\nชะวากทะเลชนิดนี้จะได้รับอิทธิพลของน้ำทะเลน้อยมาก เนื่องจากในบริเวณนั้นมีเกาะสันดอน (Barrier islands) หรือจะงอยทราย (Sand spit) เป็นตัวกั้นอิทธิพลจากน้ำทะเลเอาไว้ จะมีช่องแคบๆเท่านั้นที่ติดต่อกับน้ำทะเล โดยมากมักจะพัฒนาอยู่บนบริเวณชายฝั่งที่มีความมั่นคงทางธรณีแปรสัณฐานสูง และมีการสะสมตัวของตะกอนตามแนวชายฝั่ง แต่จะต้องมีอัตราของน้ำขึ้นน้ำลงไม่เกิน 4 เมตร และเกาะสันดอนที่เกิดร่วมกันนั้นมักจะเกิดขึ้นในบริเวณทะเลน้ำตื้นคือลึกไม่เกิน 5 ถึง 10 เมตร และมีกระแสที่มากระทำขนานกับแนวชายหาด โดยมากจะพบตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก สหรัฐอเมริกา ตัวอย่างเช่น Barnegat Bay นิวเจอร์ซีย์, Laguna Madre เทกซัส และ Pamlico Sound นอร์ทแคโรไลนา\nชะวากทะเลชนิดนี้เกิดขึ้นในบริเวณที่เป็นร่องลึกเนื่องจากการกัดเชาะของธารน้ำแข็ง ร่องลึกดังกล่าวมีลักษณะเป็นรูปตัวยู บริเวณตื้นของชะวากทะเลชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นปากอ่าว และมักจะได้รับผลจากการไหลเวียนของกระแสน้ำขึ้นน้ำลงจากน้ำลึกไปยังน้ำตื้นบริเวณชะวากทะเล พบได้ตามแนวชายฝั่งของอะแลสกา ตะวันออกของแคนาดา กรีนแลนด์ ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และนอร์เวย์\nชะวากทะเลชนิดนี้เกิดจากการทรุดตัว หรือแผ่นดินถูกตัดจากทะเลโดยการเคลื่อนที่ของแผ่นดินที่เกี่ยวข้องกับรอยเลื่อน ภูเขาไฟ และแผ่นดินถล่ม น้ำท่วมจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นในยุคโฮโลซีนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างชะวากทะเล ตัวอย่างเช่น อ่าวแซนแฟรนซิสโกที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกตามแนวรอยเลื่อนแซนแอนเดรอัส", "title": "ชะวากทะเล" }, { "docid": "361309#11", "text": "แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่ผ่านซึ่งกันและกันในบริเวณแนวรอยเลื่อนแปรสภาพ (Transform Boundaries) มักพบในแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้แนวเทือกเขากลางมหาสมุทรเลื่อนเหลื่อมออกจากกัน บางบริเวณก็พบว่าตัดผ่านแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปด้วย ในมหาสมุทรแนวดังกล่าวนี้มักจะก่อให้เกิดแผ่นดินไหวกำลังไม่มากอยู่เป็นประจำ ส่วนในภาคพื้นทวีปแนวดังกล่าวมักถูกจำกัดทำให้เกิดการสะสมพลังงานและก่อให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในเวลาต่อมาเมื่อเกิดการเลื่อนอย่างฉับพลัน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายได้ ดังเช่น รอยเลื่อนซานแอนเดียส", "title": "ธรณีแปรสัณฐาน" }, { "docid": "302111#1", "text": "คำว่า “โอฟิโอไลต์” ใช้ครั้งแรกโดย Alexandre Brongniart เพื่อบ่งบอกถึงกลุ่มหินสีเขียว เช่น หินเซอเพนทีน (serpentinite) หินไดอะเบส (diabase) ในเทือกเขาแอลป์ (Alps) ต่อมา Steinmann ได้ใช้รวมถึงลาวารูปหมอน (pillow lava) และ หินเชิร์ต (chert) ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1950 ถึงต้นปี ค.ศ. 1960 การสำรวจความผิดปกติแถบสนามแม่เหล็ก (magnetic anomaly stripes) ของพื้นทะเล (seafloor) ซึ่งวางตัวขนานกับเทือกเขากลางมหาสมุทร (oceanic ridge) โดย Frederick Vine และ Drummond Matthews ได้บ่งบอกถึงหมวดหินใหม่ของเปลือกโลกใต้มหาสมุทรบริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทร ประกอบกับการสำรวจแผ่นพนังหิน (sheeted dike) บริเวณ Troodos ophiolite ประเทศไซปรัส โดย Ian Graham Gass และคณะ พบว่าพนังหินดังกล่าวเกิดจากการเย็นตัวของแมกมา 100% โดยไม่มีหินที่แก่กว่าปรากฏในบริเวณดังกล่าว ต่อมาMoores และ Vine ได้สรุปว่าแผ่นพนังหิน บริเวณ Troodos ophiolite ประเทศไซปรัส เกิดจากกระบวนการแยกตัวของพื้นมหาสมุทร (seafloor spreading) จากนั้น คำว่า “โอฟิโอไลต์” จึงเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในความหมายที่ว่า ชุดหินของเปลือกโลกใต้มหาสมุทรที่ถูกกระบวนการธรณีแปรสัณฐานนำขึ้นมาปรากฏบนแผ่นดิน \nจากการพบชุดหินโอฟิโอไลต์ตามแนวเทือกเขาหลายแห่ง เช่น เทือกเขาแอลป์ เทือกเขาหิมาลัย ทำให้โอฟิโอไลต์เป็นหัวใจสำคัญของทฤษฎีแผ่นธรณีแปรสัณฐาน (plate tectonic theory) ในปัจจุบัน", "title": "โอฟิโอไลต์" }, { "docid": "17336#18", "text": "ทางช้างเผือกกำลังหมุนรอบศูนย์กลางความหนาแน่นของกาแล็กซี ดังนั้นดวงอาทิตย์กำลังเคลื่อนที่เป็นวงกลมภายใต้แรงโน้มถ่วงของกาแล็กซี ซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางออกมาทางขอบด้านนอก โดยความเร็วโดยรวมของดาวฤกษ์อยู่ระหว่าง 210 ถึง 240 กิโลเมตรต่อวินาทีซึ่งดาวเคราะห์และดวงจันทร์ก็กำลังเคลื่อนที่ไปกับดวงอาทิตย์ด้วย นั้นหมายความว่าระบบสุริยะกำลังเคลื่อนที่อยู่ไปด้วยทฤษฎีการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคบอกเราว่าทวีปลอยอยู่บนกระแสการพาความร้อนภายในเนื้อโลก ทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ไปบนผิวของดาวเคราะห์ ด้วยความเร็วประมาณ 1 นิ้ว (2.54 เซนติเมตร) ต่อปีอย่างไรก็ตามความเร็วของการเคลื่อนที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยแผ่นที่เคลื่อนที่เร็วที่สุดคือแผ่นมหาสมุทรแผ่นโคโคสที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 75 มิลลิเมตรต่อปี (3 นิ้วต่อปี) และแผ่นแปซิฟิกที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 52 - 69 มิลลิเมตรต่อปี (2.1 - 2.7 นิ้วต่อปี) ส่วนแผ่นที่เคลื่อนที่ช้าที่สุดคือ แผ่นยูเรเชีย ที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 21 มิลลิเมตรต่อปี (0.8 นิ้วต่อปี)เซลล์ของร่างกายมนุษย์มีโครงสร้างมากมายที่เคลื่อนที่ไปทั่วทั้งร่างกาย", "title": "การเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์)" }, { "docid": "240735#4", "text": "เปลือกโลกใต้มหาสมุทรประกอบไปด้วยหินที่มีอายุอ่อนกว่าอายุของโลกมาก โดยชั้นเปลือกโลกทั้งหมดในแอ่งมหาสมุทรจะมีอายุอ่อนกว่า 200 ล้านปี เปลือกโลกมีการเกิดขึ้นใหม่ในอัตราคงที่ที่สันกลางสมุทร การเคลื่อนที่ออกจากเทือกเขากลางสมุทรทำให้ความลึกของมหาสมุทรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนที่ลึกที่สุดคือร่องลึกก้นสมุทร ขณะที่ชั้นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรเคลื่อนที่ออกจากสันกลางนั้น หินเพริโดไทต์ในชั้นเนื้อโลกที่อยู่ด้านใต้เกิดการเย็นตัวลงมีสภาพที่แข็งแกร่งขึ้น ชั้นเปลือกโลกและหินเพริโดไทต์ที่อยู่ด้านใต้นี้ทำให้เกิดธรณีภาคชั้นนอกใต้มหาสมุทร ", "title": "เทือกเขากลางสมุทร" }, { "docid": "40551#0", "text": "การขยายตัวของพื้นมหาสมุทร () เป็นหนึ่งในทฤษฏีพื้นฐานและสำคัญที่สุดทฤษฏีหนึ่งในวิชาธรณีวิทยา นั่นคือทฤษฏีการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ทฤษฏีการขยายตัวของพื้นมหาสมุทรที่เสนอโดย Harry H.Hessเป็นทฤษฏีต่อยอดจากแนวคิดการเลื่อนไหลของทวีปของอัลเฟรด เวเจเนอร์ โดยทฤษฏีนี้ได้อธิบายถึงสาเหตุของการขยายตัวของพื้นมหาสมุทรว่าเกิดขึ้นจากกระแสวน (convection current) ในชั้นเนื้อโลกตอนบนหรือชั้นฐานธรณีภาค", "title": "การขยายตัวของพื้นมหาสมุทร" }, { "docid": "3875#2", "text": "ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร[6] อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีทะเลสาบ แม่น้ำและแหล่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค", "title": "โลก (ดาวเคราะห์)" }, { "docid": "361309#10", "text": "ร่องลึกนี้ถูกพบที่ใต้มหาสมุทรใกล้ขอบของทวีป และมักพบว่ามีแนวเกาะภูเขาไฟรูปโค้งอยู่ด้านอยู่ใกล้ขอบทวีป หินภูเขาไฟที่เกิดขึ้นตามแนวเกาะภูเขาไฟนี้เป็นจำพวกหิน Andesite ซึ่งแตกต่างไปจากหินอัคนีที่เกิดบริเวณเทือกเขากลางสมุทรที่ส่วนใหญ่เป็นหิน Basalt นอกจากนั้นบริเวณนี้ยังพบว่าเป็นบริเวณที่มีความร้อนสูงและมีการเกิดแผ่นดินไหวอยู่บ่อยครั้ง พบว่าตำแหน่งจุดกำเนิดแผ่นดินไหว มีลักษณะเอียงเทลงไปจากแนวร่องลึกลงไปถึงชั้นฐานธรณีภาค ที่ประมาณความลึกถึง 700 กิโลเมตร เรียกแนวแผ่นดินไหวเอียงเทนี้ว่าเขตเบนนิออฟ (Benioff Zones) จากการศึกษากลไกการเกิดแผ่นดินไหวที่พบในที่ลึกพบว่ามีแผ่นดินไหวจำนวนหนึ่งน่าจะเกิดจากรอยเลื่อนที่มีลักษณะสอดคล้องกับการเอียงของ Benioff Zone โดยแสดงเป็นลักษณะของรอยเลื่อนย้อน ดังนั้นจึงเกิดเป็นสมมติฐานว่าบริเวณนี้แผ่นเปลือกโลกกำลังมุดตัวเอียงลง และถูกกลืนหายไปในชั้นฐานธรณีภาค ขณะเดียวกันแนวเกาะภูเขาไฟและเขตความร้อนพิภพสูงก็อธิบายว่าได้เกิดการหลอมตัวของแผ่นเปลือกโลกในที่ลึกจนกลายเป็นมวลหินหลอมเหลว ซึ่งมวลหินหลอมเหลวค่อยๆหาทางเคลื่อนที่ขึ้นข้างบนมาเย็นตัวเป็นมวลหินอัคนีทั้งหินอัคนีพุและหินอัคนีแทรกดัน นอกจากนี้ในบริเวณใกล้เคียงที่ขอบของแผ่นเปลือกโลกด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านน่าจะเกิดการเข้าชนกันทำให้เกิดการคดโค้งโก่งงอพร้อมกับรอยเลื่อนย้อนมากมายจนทำให้วัสดุถูกยกตัวขึ้นเป็นแนวแคบยาวขนานไปตามแนวชนกันของขอบแผ่นเปลือกโลกนั่นคือการเกิดเป็นแนวเทือกเขานั่นเอง", "title": "ธรณีแปรสัณฐาน" } ]
2062
จักรพรรดิ์องค์แรกของประเทศอังกฤษคือใคร?
[ { "docid": "76879#5", "text": "พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของอังกฤษเริ่มต้นนับที่พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช ซึ่งแต่เดิมเป็นพระมหากษัตริย์เวสเซ็กซ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 1414 พระองค์ทรงเอาชนะพวกเดนมาร์ก ในปี พ.ศ. 1421 และได้ทรงรวบรวมอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่นก่อนสถาปนาเป็นราชอาณาจักรอังกฤษ และทรงปราบดาภิเษกพระองค์เองขึ้นเป็น พระมหากษัตริย์แห่งชนแองโกล-แซกซอน หลังจากยึดและสร้างนครลอนดอนจากชาวเดนมาร์กในปี พ.ศ. 1429 อนึ่งในช่วงต้นราชวงศ์นี้พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระอิสริยยศว่า \"พระมหากษัตริย์แห่งชนแองโกล-แซกซอน\" (King of the Anglo-Saxons) ตราบจนถึงต้นรชสมัยของพระเจ้าแอเทลสแตนจึงเปลียนมาใช้ พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งชนอังกฤษ (King of the English) ซึ่งพระยศนี้ใช้ตราบจนกระทั่งการสิ้นสุดของราชวงศ์เวสเซกซ์", "title": "รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ" } ]
[ { "docid": "194684#0", "text": "เดชีเฟรเดแล็ทร์ () เกมโชว์จากประเทศฝรั่งเศส เป็นรายการเกมโชว์ความรู้ในด้านอักษรศาสตร์และคณิตศาสตร์ Armand Jammot เป็นผู้คิดริเริ่มรายการนี้ขึ้นมา จะเน้นในเรื่องของวิชาคณิตศาสตร์และอักษรศาสตร์ ในอดีตเคยออกอากาศครั้งแรกทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศฝรั่งเศส ช่อง 4 ตันฉบับมาจากรายการ Countdown ออกอากาศทาง Channel 4 จากประเทศอังกฤษ\nปัจจุบันนี้ผู้ดำเนินรายการโดย Laurent Romejko, Arielle Boulin-Prat และ Bertrand Renard (เป็นผู้ตรวจสอบคำศัพท์ในพจนานุกรม)รายการนี้เปิดโอกาสให้ชาวฝรั่งเศสเข้ามาตอบคำถาม โดยทั้ง 2 ท่านจะเป็นผู้เข้าแข่งขันทางบ้านที่สมัครเข้ามาในรายการนี้ จะแข่งทั้งหมด 8+8 เกม แข่ง 2 รอบ ก็คือ คณิตศาสตร์และอักษรศาสตร์ ใครที่ได้คะแนนมากที่สุดจะได้เป็นแชมป์ 1 สมัย ถ้าใครทำได้แชมป์ 10 สมัย จะมีรางวัลพิเศษที่ทางรายการมอบให้ทั้งตำแหน่งชนะเลิศและตำแหน่งรองชนะเลิศ", "title": "เดชีเฟรเดแล็ทร์" }, { "docid": "351724#1", "text": "แมรี่ เล็นน็อกซ์ เป็นเด็กหญิงมีปัญหา ขี้โรค และไม่มีใครรักอายุ 10 ขวบ เกิดที่ประเทศอินเดียกับพ่อแม่ชาวอังกฤษที่ร่ำรวยแต่เห็นแก่ตัว\nส่วนมากคนใช้เป็นคนดูแลเธอ ผู้ตามใจเธอทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไม่ให้ไปกวนพ่อแม่\nเธอจึงโตเป็นเด็กที่เอาแต่ใจตัวและเห็นแก่ตัว\nในกาลครั้งหนึ่ง อหิวาตกโรคได้เกิดในอินเดีย ทำให้พ่อแม่และคนใช้ทั้งหมดของเธอเสียชีวิต\nจนมีคนพบแมรี่ยังรอดชีวิตอยู่คนเดียวในบ้านที่เปล่าเปลี่ยว", "title": "สวนปริศนา" }, { "docid": "723436#2", "text": "เมื่อเหล่าผู้นำแห่งโลกตะวันตกต้องเข้าร่วมพิธีศพของนายกรัฐมนตรีอังกฤษที่เสียชีวิตอย่างเป็นปริศนา งานที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดเช่นนี้ กลับกลายเป็นเป้าที่ผู้ก่อการร้ายหวังใช้สังหารบุคคลและทำลายสถานที่สำคัญให้ย่อยยับ อย่างไรก็ตาม มีบุคคลเพียง 3 คนเท่านั้นที่จะหยุดยั้งวิกฤตครั้งนี้ได้ คือ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา, เจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการพิเศษสหรัฐ ไมค์ แบนนิง และเจ้าหน้าที่ MI6 ของอังกฤษที่ไม่เชื่อใจใครง่าย ๆ\"ผ่ายุทธการถล่มลอนดอน\" ทำรายได้เปิดตัวในประเทศไทย 5.43 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 24–30 มีนาคม ค.ศ. 2016 ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ 51.17 ล้านบาท", "title": "ผ่ายุทธการถล่มลอนดอน" }, { "docid": "869693#0", "text": "พี่เบิ้ม หรือ Big Brother คือตัวละครหนึ่งจากนวนิยายเรื่อง \"1984\" ของ จอร์จ ออร์เวลล์ พี่เบิ้มถือเป็นตัวละครและสัญลักษณ์ที่สำคัญของเรื่อง โดยถือว่าเป็นผู้นำที่ปกครองด้วยอำนาจเผด็จการแบบพรรคการเมืองเดียว ซึ่งพี่เบิ้มคือตัวละครที่ได้รับการเชิดชูในฐานะท่านผู้นำของทวีปโอชันเนีย (ทวีปสมมติในนวนิยายที่ยังเป็นที่ตั้งAirstrip One หรือประเทศอังกฤษในปัจจุบัน) และรวมไปถึงพลเมืองทั้งทวีป พี่เบิ้มถือเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจรัฐและเป็นการแสดงถึงลัทธิบูชาบุคคลที่ทุกคนต้องเคารพ แม้จะไม่มีใครทราบว่าแท้ที่จริงแล้วพี่เบิ้มคือใคร และมีตัวตนจริงหรือไม่ก็ตาม ", "title": "พี่เบิ้ม" }, { "docid": "61576#8", "text": "100 B.C.E. ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นผู้ดีและประชาชนธรรมดาทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่กองทัพที่ใครๆต่างเข้าร่วมได้ให้รางวัลพลทหารทุกคนด้วยการให้ที่ดินทำกินและยศถาบรรดาศักดิ์ ทำให้เกิดการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจจนกลายเป็นสงครามกลางเมืองในที่สุด\nจูเลียส ซีซาร์ ในภาษาอังกฤษหรือ ยูลิอุส กาเอซาร์ ในภาษาละติน คือขุนพลที่สำคัญของโรมันที่ได้ทำศึกในกอล (ฝรั่งเศสในปัจจุบัน) และในบริเวณเกาะอังกฤษจนได้รับชัยชนะ ภายใต้การนำของจูเลียส ซีซาร์ พื้นที่ของประเทศฝรั่งเศส สเปน อังกฤษ กรีซ อียิปต์ ซีเรีย และเอเชียไมเนอร์ในปัจจุบันตกเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐโรมันทั้งสิ้น เป็นเหตุให้สภาเซเนตแห่งโรมหวั่นเกรงอำนาจของซีซาร์เป็นอย่างมาก สภาเซเนตจึงคบคิดกับปอมเปย์ ออกบัญชาให้ซีซาร์ยกทัพกลับ แต่ซีซาร์ก็ไม่กลับและยังเดินทัพไปทำสงครามกับปอมเปย์จนได้รับชัยชนะ และได้ตั้งตนเป็นผู้เผด็จการในปี 44 B.C.E. สองปีต่อมาซีซาร์ได้ถูกรุมสังหารในสภาซีเนตโดยมีบรูตุส คนสนิทเป็นหนึ่งผู้รุมสังหารเขา เมื่อซีซาร์เห็นว่าบรูตุสเป็นหนึ่งในนั้น เขาก็ได้พูดว่า \"นี่เจ้าด้วยหรือ บรูตุส\"", "title": "ประวัติศาสตร์โรม" }, { "docid": "33397#2", "text": "ในสงครามที่รบกับกองเรืออาร์มาดา (Spanish Armada) ที่ยิ่งใหญ่และไม่มีใครเคยเอาชนะได้ของสเปนที่ประกอบด้วยเรือถึง 130 ลำ (พ.ศ. 2131) ได้สู้รบกันนานถึงหนึ่งสัปดาห์ในช่องแคบอังกฤษที่อังกฤษเป็นฝ่ายชนะ ความกล้าหาญและความเชี่ยวชาญในการรบทางเรือยิ่งทำให้เซอร์ฟรานซิสที่ตำแหน่งหน้าที่เป็นรองผู้บัญชาการกองเรือยิ่งโดดเด่นมากขึ้น การได้ชัยชนะครั้งสำคัญนี้ ทำให้อังกฤษมีแสนยานุภาพทางทะเลมากที่สุด ปี พ.ศ. 2138 เซอร์ฟรานซิสได้ออกเดินทางอีกครั้งหนึ่งเพื่อไปยังอินเดียตะวันตกแต่ก็ได้เสียชีวิตด้วยโรคบิดที่นอกชายฝั่งเมืองปอร์โตเบโล (ในประเทศปานามาปัจจุบัน) ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช", "title": "ฟรานซิส เดรก" }, { "docid": "72898#14", "text": "นาทีนี้เชียเรอร์ถูกจับตามองในฐานะดาวรุ่ง ที่ฮ็อตที่สุดในวงการฟุตบอลอังกฤษไปแล้ว สื่อประโคมข่าวว่าเค้านี่แหละคืออนาคตของทีมชาติอังกฤษ และจะเป็นตัวตายตัวแทนของ แกรี ลินิเกอร์ ที่รับใช้ทีมชาติมานานจนใกล้ปลดระวางเต็มที่ ใช่...เขาคือความหวังของใครหลายคน และเชียเรอร์ก็ไม่ได้ทำให้ใครผิดหวัง เมื่อเขาตอบแทนความหวังเหล่านี้ด้วยฤดูกาลใหม ่ที่ไฉไลกว่าเดิมกับนักบุญ ฤดูกาล 1991-92 เขาทำไป 20 ประตูจาก 60 นัด และได้รับการตบรางวัล ด้วยการถูกเรียกตัวติดทีมชาติอังกฤษอย่างที่ใครๆ คาดไว้ไม่มีผิด เชียเรอร์ทำได้อีกหนึ่งประตูในสีเสื้อทีมชาติ ในนัดที่อังกฤษเอาชนะฝรั่งเศสได้อีกครั้ง 2-0 ที่เวมบลีย์ในนัดกระชับมิตร และเป็นอีกครั้งที่เชียเรอร์กลายเป็นทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ ในอังกฤษ", "title": "แอลัน เชียเรอร์" }, { "docid": "6124#0", "text": "เครื่องอินิกมา () เป็นเครื่องรหัสโรเตอร์ (rotor cipher machine) ไฟฟ้า-กลแบบร่วมใด ๆ ซึ่งใช้ในการเข้ารหัสและถอดรหัสสารลับ วิศวกรชาวเยอรมัน อาร์ทูร์ แชร์บีอุส ประดิษฐ์อีนิกมาเมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แบบแรก ๆ ใช้ในเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1920 และกองทัพและราชการหลายประเทศรับมาใช้ ที่โดดเด่นที่สุด คือ นาซีเยอรมนี ก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง มีการผลิตแบบอีนิกมาต่าง ๆ จำนวนมาก แต่แบบกองทัพเยอรมันเป็นแบบซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุด เครื่องอินิกมาของเยอรมันนั้นมีจุดเด่นตรงที่การเข้ารหัสและถอดรหัสที่มีการสลับซับซ้อนทำให้ยากต่อการแกะรหัสมากทำให้กองทัพเยอรมันมั่นใจว่า จะไม่มีใครสามารถถอดรหัสลับได้อีกเลย แต่ประเทศอังกฤษและฝ่ายสัมพันธมิตรได้พยายามหาทางถอดรหัสเครื่องอินิกมาให้ได้ จนกระทั่งแอลัน ทัวริง นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษสามารถถอดรหัสเครื่องอินิกมาได้สำเร็จ ทำให้ประเทศอังกฤษและฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเอาชนะเยอรมันได้ในสงครามโลกครั้งที่สอง", "title": "เครื่องอินิกมา" }, { "docid": "81098#4", "text": "2499 อันธพาลครองเมือง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า \"Dang Bireley's and Young Gangsters\" หรือ \"Dang Bireley's Story\" สร้างมาจากบทประพันธ์เรื่อง \"เส้นทางมาเฟีย\" ของสุริยัน ศักดิ์ไธสง หรือ เปี๊ยก วิสุทธิกษัตริย์ ในเรื่อง เมื่อออกฉายได้รับความนิยมอย่างมาก เป็นที่พูดคุยวิพากษ์วิจารณ์จนเป็นกระแสในสังคมระยะหนึ่ง ถึงเรื่องราวความจริงกับสิ่งที่ปรากฏในภาพยนตร์ เช่น หลายคนบอกว่าแดงแท้ที่จริงไม่เคยฆ่าคนและชอบกินมิลค์เช็ค, เปี๊ยก วิสุทธิกษัตริย์ เป็นบุคคลที่ไม่มีใครรู้จัก เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นการแจ้งเกิดของหลายคน ไม่ว่าจะเป็นผู้กำกับที่เพิ่งจะสร้างหนังเป็นเรื่องแรก และนักแสดงนำ ซึ่งในขณะนั้นทุกคนยังคงเป็นนักแสดงหน้าใหม่ทั้งหมด และเป็นการเปิดศักราชยุคใหม่ให้ภาพยนตร์ไทยอย่างแท้จริง เนื่องด้วยสามารถทำรายได้ถล่มทลายไม่แพ้ภาพยนตร์ต่างประเทศเป็นเรื่องแรกในวงการ อีกทั้งเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่สร้างได้มาตรฐานสากล เมื่อออกไปฉายในงานเทศกาลต่างประเทศ ก็ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากงานประกวดภาพยนตร์อิสระที่ประเทศเบลเยี่ยมด้วย", "title": "2499 อันธพาลครองเมือง" }, { "docid": "828424#1", "text": "221 ปีก่อนคริสตกาล จิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิ์องค์แรกของจีน ได้เริ่มสร้างหลุมศพของตัวเองขึ้น ด้วยหยาดเหงื่อของแรงงานกว่า 700,000 ชีวิต สุสานสุดยิ่งใหญ่นี้เสร็จสมบูรณ์ในอีก 37 ปีต่อมา ว่ากันว่าเพื่อเก็บความลับเรื่องสุสาน แรงงานทั้งหมดถูกฝังทั้งเป็น พร้อมกับของจักรพรรดิ์ ไม่มีใครรอดชีวิตแม้แต่คนเดียว… สองพันปีต่อมา บรรดานักประวัติศาสตร์ นักขุดค้นสุสาน และนักผจญภัยจำนวนมาก เดินทางมาที่สุสานเพื่อค้นหาหลุมศพจิ๋นซี และของมีค่าที่ฝังอยู่ แต่ไม่มีใครสักคนที่สามารถหาทางเข้าสู่สุสานได้ ทรัพย์สินเลอค่า รวมทั้งยาวิเศษขององค์จักรพรรดิ์ จึงยังคงอยู่ จนกระทั่ง… แจ๊ค นักโบราณคดีผู้กล้าหาญ และ วิลเลี่ยม นักวิทยาศาสตร์สุดทะเยอทะยาน พวกเขาออกผจญภัยร่วมกัน โดยไม่นึกฝันว่า การเดินทางครั้งนี้ จะนำไปสู่การค้นพบทางประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ การผจญภัยเริ่มขึ้นที่เมืองดาศาร์ ประเทศอินเดีย ที่นั่น ทั้งคู่ไปสะดุดเอาดาบโบราณแห่งราชวงศ์ฉิน และพลอยวิเศษ ที่สามารถต้านแรงโน้มถ่วงโลกได้ ของเหล่านี้ไม่เพียงนำทั้งคู่สู่ทางเข้าสุสาน แต่ยัง ทำให้แจ๊คทะลุมิติเวลา ไปพบตนเองในชาติที่แล้วด้วย แจ๊คได้เห็นตนเองเป็น เหม็งยี่ แม่ทัพผู้กล้าแห่งราชวงศ์ฉิน เหม็งยี่ตกหลุมรัก อ๊ก ซู มเหสีขององค์จักรพรรดิ์ ขณะต้องทำสงครามกับกบฎ ซึ่งโอกาสชนะลางเลือน เหม็งยี่ยังต้องเลือกระหว่างความรักกับความภักดีด้วย เมื่อกลับมายังโลกปัจจุบัน ความลับของจักรพรรดิ์ผู้ยิ่งใหญ่กำลังจะถูกเปิดเผย หลังจากผ่านป้อมปราการ ที่เต็มไปด้วยกับดักสุดอันตราย สองนักผจญภัยก็เข้าไปยังพระราชวังสวรรค์ได้สำเร็จ และที่นั่น แจ๊คก็ได้เผชิญหน้ากับอดีตชาติของตนเองอีกด้วย...\nในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 2010 ทางช่อง CCTV-8 ของจีน ได้สร้างละครโทรทัศน์ มีความยาว 50 ตอน โดยละครเรื่องนี้ใช้ชื่อว่า\"The Myth\" เช่นกัน (ชื่อในไทยคือ ผ่าทะลุฟ้า รักทะลุมิติ) โดยมี เฉินหลง เป็นโปรดิวเซอร์ และมีสแตนลีย์ ตงเป็นผู้ดำเนินการสร้าง โดยละครเรื่องนี้มีเนื้อหาที่ไม่เหมือนกับในภาพยนตร์", "title": "ดาบทะลุฟ้า ฟัดทะลุเวลา" }, { "docid": "512190#0", "text": "\"ศึกแห่งโอลด์แทรฟฟอร์ด\" () เป็นชื่อเรียกจากสื่ออังกฤษ ที่หมายถึงนัดการแข่งขันพรีเมียร์ลีกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2003 ระหว่างสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดกับอาร์เซนอล ชื่อเรียกการแข่งขันนี้ ต่อมาได้นำมาใช้ในเหตุการณ์ลักษณะเดียวกัน ในฤดูกาลถัดมา ผลประตูคือเสมอ 0–0 ทำให้เป็นผลดีต่ออาร์เซนอล ด้วยการจบในลีกในฤดูกาลนั้นโดยไม่แพ้ใคร ก่อนหน้านี้มีเพียงทีมเดียวที่ไม่เคยแพ้ใครในฟุตบอลอังกฤษ คือ เพรสตันนอร์ทเอนด์ ในฤดูกาล 1888–89", "title": "ศึกแห่งโอลด์แทรฟฟอร์ด" }, { "docid": "267278#6", "text": "ระหว่างที่เขาทำตัวตัดขาดจากโลกภายนอก (ปิดประเทศ) โลกก็เปลี่ยนแปลงไปมาก แต่เขาก็ปรับตัวเข้ากับโลกสมัยใหม่ได้ในเวลาเพียง 10 ปีเท่านั้น โดยในช่วงเวลาที่ปิดประเทศนั้น ได้อาศัยเนเธอร์แลนด์ที่เป็นเพื่อนชาวยุโรปเพียงหนึ่งเดียวกันมายาวนาน คอยบอกข่าวสารเกี่ยวกับโลกภายนอกว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ก่อนที่จะถูกบังคับให้เปิอประเทศโดยอเมริกาพี่ชายของแคนาดา เขาเป็นตัวละครที่คึกคักกระฉับกระเฉงและหัวแข็ง เขาถูกอังกฤษเลี้ยงดูมาตั้งแต่เด็ก แต่ภายหลังได้ต่อสู้กับอังกฤษเพื่อประกาศอิสรภาพของตนเอง (เมื่อถูกอังกฤษกดดันมากขึ้น) เขาได้ตั้งตัวเองเป็นผู้นำของฝ่ายสัมพันธมิตร มักพูดติดปากอยู่เสมอว่า \"ฉันคือวีรบุรุษ\" แนวคิดในการแก้ปัญหาระหว่างชาติของอเมริกาส่วนมากมักจะไร้ผลและตัวเขาเองก็มักลืมคำนึงถึงความคิดเห็นของคนอื่น หมู่นี้ก็เลยมีแค่อังกฤษกับญี่ปุ่นเท่านี้ที่เป็นเพื่อนด้วย ความคิดและสิ่งประดิษฐ์ที่อเมริกาสร้างขึ้นดูยิ่งใหญ่ แต่ยากนักที่จะใช้ได้กับที่อื่นๆ ลักษณะเด่นของอเมริกาอย่างหนึ่งในเรื่องนี้คือ เรามักจะพบเขาในขณะที่ถือแฮมเบอร์เกอร์หรือมักทานแฮมเบอร์เกอร์ไปพลางพูดไปพลางจนสำลักอยู่เสมอเขามีเอกลักษณ์ประจำตัวคือ คิ้วหนาเป็นเส้นเรียงกัน ในอดีตเคยเป็นโจรสลัด (สมัยล่าอาณานิคม) ปัจจุบันเป็นสุภาพบุรุษเจ้าคารมและชอบพูดจาเหน็บแนมคนอื่น คุณสมบัติเด่นที่ปรากฏคือมีฝีมือการทำอาหารที่แย่มาก ชอบพูดจาประชดประชัน สามารถมองเห็นภูตผีปีศาจ และสามารถใช้เวทมนตร์ร่ายคำสาปใส่ศัตรูได้ อังกฤษไม่ถูกกับฝรั่งเศสซึ่งเป็นคู่แข่งต่อกันมาอย่างยาวนาน และอเมริกาซึ่งตนเองเคยเลี้ยงดูมาก่อน เขาเป็นที่จดจำด้วยคิ้วที่หนา ผมปลายแหลมสีบลอนด์ และดวงตาสีเขียว เวลาเมาเหล้าแล้วจะอาละวาด สู้รบกับเยอรมันอยู่บ่อยครั้ง เพื่อนสนิทของเขาคือญี่ปุ่นหนุ่มผู้ซึ่งรักการแสดงออก โดยเฉพาะ เรื่องความรัก นิยมทำอะไรตามแบบของตัวเอง มั่นใจสุดๆ ทั้งเรื่องอาหาร รักศิลปะ วัฒนธรรม และ เสื้อผ้า มีความเป็นนักรักสูง หากรักใครแล้วจะหญิงหรือชายก็ชอบหมดทุกอย่าง เป็นรุ่นพี่ของอิตาลีเวเนเซียโน่และโรมาโน่ ชอบเรียกตัวเองว่าคุณพี่ ชอบดื่มไวน์ ชอบเปิดเผย\nไม่เคยเปิดความลับให้ใครเห็น แต่ก่อนก็เคยเลี้ยงดูแลแคนาดา ทรงผมจึงคล้ายกับเขา สนิทกับสเปน ตอนเด็กพวกเขาเคยนั่งคุยด้วยกันอยู่บ่อยๆ และยังมีเพื่อนอีกคนหนึ่ง คือ ปรัสเซียเห็นหน้าแบบนี้แล้วดูเหมือนคุณปู่ไม่ก็นักพรต มีประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตอย่างมาก เป็นพี่ใหญ่ของฝั่งเอเซีย มีการค้าและวัฒนธรรมที่ทรงพลัง วาดรูปได้สวยงาม และเก่งกาจ เลี้ยงดูแล น้องๆเอเชียทั้งหลายรวมถึงญี่ปุ่นด้วย ชอบตุ๊กตาแมวที่ญี่ปุ่นนำมาให้มากๆ แต่ตุ๊กตาตัวนั้นกลับถูกใส่ปากโดยเจ้านายแทนประเทศทางเหนือขนาดใหญ่มหึมาเป็นอันดับ 1 แต่ผู้คนไม่ค่อยมากเท่าไหร่ เนื่องจากอากาศหนาวเย็น เขาชอบดื่มวอดก้า มีสองบุคลิกคือด้านโหดเหี้ยมและด้านเหงาโดดเดี่ยว ด้วยความที่มีขุนพลฤดูหนาวเป็นอาวุธหลัก ทำให้ไม่มีประเทศใดบุกโจมตีได้เลย (ยกเว้นเหล่าประเทศเมืองหนาว) มีผู้ติดตาม 3 คน คือ ลิธัวเนีย ลัตเวีย และเอสโทเนีย (รัฐบอลติก) แม้ความคิดจะดูน่ากลัวแต่สิ่งที่กลัวมากที่สุดคือน้องสาวตนเอง ", "title": "พลังอักษะ เฮตาเลีย" }, { "docid": "891558#0", "text": "ใครว่าโลกนี้ไม่มีผี (อังกฤษ: Casper) เป็นภาพยนตร์แอคชั่น-แฟนตาซีสัญชาติอเมริกา ที่ออกฉายในปี ค.ศ. 1995 กำกับโดย เบร็ต ซิลเบอร์ลิง นำแสดงโดย คริสติน่า ริกกี้", "title": "ใครว่าโลกนี้ไม่มีผี" }, { "docid": "593032#2", "text": " ในเรื่องกระบวนการด้วยงบประมาณแผ่นดินของประเทศอังกฤษ สภาสามัญได้มีหน้าที่ในการควบคุมทางการคลัง โดยการอนุมัติงบประมาณ ให้ความเห็นชอบการใช้จ่ายงบประมาณ และคอยตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาล ซึ่งคณะรัฐมนตรีจะมีอำนาจในการกำหนดงบประมาณประจำปี รวมทั้งมีบทบาทอย่างยิ่งในการพิจารณาผ่านร่างงบประมาณประจำปีของรัฐสภา เมื่อรัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องนำเงินงบประมาณไปใช้รัฐบาลจะต้องอธิบายถึงรายละเอียดว่าจะนำเงินงบประมาณไปใช้และใครหรือหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบเพื่อให้มีความมั่นใจว่าเงินเหล่านี้จะนำไปใช้อย่างเหมาะสมแล้วจึงส่งคำร้องไปที่สภาสามัญเมื่อสภาสามัญอนุมัติคำร้องแล้วก็จะต้องได้รับการยินยอมอย่างเป็นทางการจากสภาขุนนางถ้าคำร้องได้รับการอนุมัติแล้วจะมีพระราชบัญญัติที่ระบุเกี่ยวกับการใช้งบประมาณออกมาอันเป็นกฎหมายที่กำหนดแนวทางการนำงบประมาณแผ่นดินไปใช้", "title": "การคลังสาธารณะประเทศอังกฤษ" }, { "docid": "496189#1", "text": "เกาะบูเวถูกค้นพบครั้งแรกในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1739 โดย ฌอง-บาติสต์ ชาร์ลส์ บูเว เดอ โลเซน ซึ่งเขาทำการบันทึกพิกัดของเกาะที่คลาดเคลื่อนไปทำให้ไม่มีใครพบเห็นเกาะแห่งนี้อีกเลยจนกระทั่งปี ค.ศ. 1808 มันจึงถูกค้นพบอีกครั้งโดย เจมส์ ลินด์ซีย์ และครั้งนี้ก็เป็นครั้งแรกที่เกาะแห่งนี้มีมนุษย์ลงไปเหยียบย่าง ในปี ค.ศ. 1898 และประเทศนอร์เวย์ปกครองเกาะบูเวในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1927 ตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1930 แต่เกาะถูกประเทศอังกฤษอ้างความเป็นเจ้าของ ในปี ค.ศ. 1927 แล้วประเทศนอร์เวย์ก็อ้างความเป็นเจ้าของเกาะแห่งนี้และอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนควีนมอดแลนด์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยของดินแดน จนเกิดความขัดแย้งกับประเทศอังกฤษ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1930 เกาะแห่งนี้ถึงได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษ", "title": "เกาะบูเว" }, { "docid": "253151#1", "text": "เรื่องราวในโรม บอกเล่าถึงช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งวุ่นวายโกลาหลในการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสาธารณรัฐ สู่ระบอบจักรวรรดิ์ นำไปสู่สงครามกลางเมืองระหว่างพวกหัวรุนแรงกับพวกอนุรักษนิยม เนื้อเรื่องดำเนินผ่านตัวละครสองตัวคือ ลูเซียส วอรินัส และไตตัส พุลโล จากการขับไล่พวกกูลโดยซีซ่าร์จูเลียส ซีซาร์ ไปจนถึงการตายของมาร์ค แอนโทนี่มาร์ค แอนโทนี และการขึ้นครองราชบัลลังก์ของจักรพรรดิ์องค์แรก ออกุสตุส\nเรตติ้งของซีรีส์เรื่องนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูงทางช่อง HBO และช่อง BBCอีกทั้งยังได้รับความสนใจจากสื่อเป็นอย่างมากตั้งแต่เริ่มฉาย โรมยังได้รับรางวัลมากมาย และถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลหลากหลายสาขาจากทั้งสองซีซั่น\nเฮลเลอร์ พูดไว้ในเดือนธันวาคม 2008 ว่า โรม เวอร์ชันภาพยนตร์กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาบท ซีรีส์เรื่องนี้ถูกถ่ายทำในหลายๆสถานที่ด้วยกัน แต่ส่วนใหญ่แล้ว ถ่ายทำในสตูดิโอซิเนซิตแต้ในอิตาลี", "title": "โรม (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)" }, { "docid": "44243#0", "text": "การปนของภาษา คือการที่เราใช้ภาษา 2 ภาษาหรือมากกว่านั้นปนกัน การปนของภาษาเริ่มขึ้นตั้งแต่การ เข้ามาของอาณานิคม ต่างชาติในไทย โดยเริ่มการปนของภาษาในราชสำนักไทย ที่มีการติดต่อกันของเชื้อพระวงศ์ไทย หรือแม้กระทั่งขุนนางชั้นสูงที่จบการศึกษามาจากต่างประเทศ แม้กระทั่งรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ในการที่ทรงเขียนจดหมายถึง พระโอรส เชื้อพระวงศ์ ต่างๆ ก็ทรงมีการใช้คำไทยปนกับ การใช้คำอังกฤษมาตั้งแต่สมัยนั้น หลังจากนั้นก็มีการใช้ภาษาที่ปนกันในหมู่คนชั้นสูง ที่ได้รับการศึกษาสูง จนกลายเป็นค่านิยมว่าหากใครพูดไทยคำ อังกฤษคำ จะดูเท่ โก้หรู เป็นเครื่องบ่งว่ามีการศึกษาสูง", "title": "ภาษาผสม" }, { "docid": "408865#2", "text": "จากบทสัมภาษณ์พิเศษกับทีมงาน OK nation ดร.วีระชัยเคยกล่าวว่า “ถ้าผมไม่ตั้งโรงเรียนอาจไม่มีใครมาเช่าบ้าน นั่นคือหายนะ โชคดีที่ก่อนหน้านั้นในปี 2535 รัฐบาลคุณอานันท์ ปันยารชุน ได้ยกเลิกข้อห้ามนักเรียนไทยไม่ให้เข้าเรียนในโรงเรียนานาชาติ และอนุญาตให้มีการออกใบอนุญาตโรงเรียนนานาชาติได้ บังเอิญมีโรงเรียนแห่งหนึ่งในพัทยาเหนือกำลังจะเลิกกิจการ ผมเลยเข้าไปเทกโอเวอร์ โดยใช้ชื่อเดิมคือนานาชาติบางละมุง” โรงเรียนนานาชาติบางละมุงมีนักเรียนตกค้างอยู่เพียง 20 คน ดร.วีระชัย ใช้เวลา 6 เดือนในการบริหารก็สามารถเพิ่มจำนวนนักเรียนได้ 110 คน ต่อมาจึงได้ย้ายออกไปตั้งอยู่นอกเมืองพัทยาในสถานที่ตั้งปัจจุบันบนเนื้อที่ 42 ไร่ และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนนานาชาติเดอะรีเจ้นท์” พร้อมกับขยายอาคาร หอพัก และที่ดินเพิ่มจนปัจจุบันโรงเรียนมีเนื้อที่ 70 ไร่ และเผื่อขยายเป็นบ้านพักผู้ปกครองและครู 130 ไร่ และมีที่ดินว่างเปล่าอีก 250 ไร่ เพื่อรองรับนักเรียนจากทั่วโลก พร้อมทั้งจ้างครูจากประเทศอังกฤษเข้ามาดูแล หลังจากสร้างโรงเรียนที่พัทยาแล้วเสร็จอีก 6 ปีให้หลังจึงค่อยเข้ามาสร้างโรงเรียนนานาชาติขึ้นในเขตกรุงเทพฯ โดยมีความตั้งใจในการเปิดโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยให้สามารถ แข่งขันกับโรงเรียนในประเทศอังกฤษ", "title": "โรงเรียนนานาชาติเดอะรีเจ้นท์" }, { "docid": "615402#2", "text": "แบรดลีย์ ทำสถิติการชกไม่เคยแพ้หรือเสมอแก่ใครทั้งหมด 8 ครั้ง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2005 สามารถคว้าแชมป์โลกเยาวชนของสภามวยโลก (WBC) ในรุ่นซูเปอร์ไลต์เวต (140 ปอนด์) มาครองได้ ก่อนที่จะได้เป็นแชมป์โลกตัวจริงขององค์กรมวยโลก (WBO) ด้วยการเอาชนะคะแนน จูเนียร์ วิตเตอร์ นักมวยชาวอังกฤษ ได้ถึงเมืองนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 2008", "title": "ทิโมธี แบรดลีย์" }, { "docid": "346996#11", "text": "ภาคสี่ (危城爭霸)\nล้างชาติราชวงศ์ชิง ปูยี จักรพรรดิ์องค์สุดท้าย", "title": "13 ฮ่องเต้ตำนานจักรพรรดิราชวงศ์ชิง" }, { "docid": "57541#0", "text": "สุมาอี้ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ ซือหม่าอี้ ตามสำเนียงกลาง (; ; ค.ศ. 179-251) นายทหารคนสำคัญของวุยก๊ก หลังยุคที่โจโฉสิ้นไปแล้ว เป็นคู่ปรับที่สำคัญของขงเบ้ง และเป็นผู้ที่วางรากฐานให้กับทายาทผู้สืบทอดตระกูลจนได้รวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียว กลายเป็นพระจักรพรรดิ์องค์ใหม่ และก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์จิ้น อันเป็นการสิ้นสุดยุคสามก๊กที่ดำเนินมานานถึง 111 ปี สามชั่วอายุคน", "title": "สุมาอี้" }, { "docid": "5379#2", "text": "อนึ่ง ในประเทศอังกฤษ ใครที่มีชื่อว่าเท็ดดี้ มักจะถูกล้อเลียนว่าเป็นหมีเช่นเท็ดดี้ เชอริ่งแฮม อดีตผู้เล่นในฟุตบอลทีมชาติอังกฤษของ สโมสรฟุตบอลทอตแนมฮอตสเปอร์ และแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ก็มักถูกนักข่าวเรียกว่าเป็น \"น้าหมี\" เป็นต้น", "title": "หมีเท็ดดี้" }, { "docid": "54266#11", "text": "นิตยสารนิวยอร์กรีวิวออฟบุ๊กส์ (English: New York Review of Books) กล่าวว่าหนังสือนี้เป็น \"หนังสือเล่มหนึ่งที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับประเทศไทยเท่าที่ปรากฏอยู่ในภาษาอังกฤษ\" และตั้งข้อสังเกตว่า \"ความริเริ่มไม่เหมือนใครในหนังสือของแฮนด์ลีย์มีความก้าวร้าว แต่ผมคิดว่าเมื่อวิเคราะห์อย่างเป็นธรรมแล้ว เกี่ยวกับการฟื้นฟูอำนาจราชวงศ์ในสมัยของกษัตริย์ภูมิพล\"[13]", "title": "เดอะคิงเนเวอร์สไมลส์" }, { "docid": "114963#22", "text": "รัฐบาลของยุโรปไม่มีนโยบายที่แน่ชัด ในการรับมือกับปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อกาฬโรค เพราะว่าไม่มีใครรู้สาเหตุของการแพร่ระบาด พวกผู้มีอำนาจปกครองส่วนใหญ่ จึงใช้วิธีห้ามการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค กวาดล้างตลาดมืด ควบคุมราคาธัญพืช และการหาปลาบริเวณกว้างแบบผิดกฎหมาย ความพยายามต่าง ๆ นา ๆ นี้ส่งผลกระทบไปถึง ประเทศที่เป็นหมู่เกาะ อย่างเช่น อังกฤษไม่สามารถนำเข้าธัญพืชจากฝรั่งเศสได้ เพราะฝรั่งเศสระงับการส่งออก อีกทั้งยังผู้ผลิตส่วนมากไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้เต็มที่ เพราะว่าขาดแคลนแรงงาน ซ้ำร้ายผลผลิตที่เตรียมส่งออกแต่ถูกระงับ ก็ถูกปล้นสะดมโดยพวกโจรสลัด และหัวขโมยที่จะเอาไปขายต่อในตลาดมืด ในขณะเดียวกัน ประเทศที่ค่อนข้างใหญ่อย่างอังกฤษ และสก็อตแลนด์ก็ตกอยู่ในช่วงภาวะสงคราม และต้องใช้งบประมาณจำนวนมากไปกับการรับมือ ปัญหาสินค้าราคาสูง", "title": "แบล็กเดท" }, { "docid": "230140#4", "text": "พอใกล้ถึงเวลาที่จะต้องทำพิธีส่งเจ้าสาวให้พระสมุทร ชาวเกาะก็เริ่มแตกตื่น บังเอิญมีเรือรบอ๊อกฟอร์ดจากประเทศอังกฤษมาจอดเทียบท่า เรือนี้มีนายนาวาเอก เอดเวิด ไลอ้อน เป็นผู้บังคับการ และมีเจ๊กบ๋อยประจำเรือไว้หางเปียยาว ชื่อเต๊กหลี ติดมากับเรือด้วย พอเต๊กหลีขึ้นไปบนท่า ชาวเมืองไม่มีใครเคยเห็นคนจีนมาก่อน ก็แตกตื่นว่าคนประหลาดมีหางบนหัว เป็นผีทะเลมาทวงส่วยให้พระสมุทร ", "title": "วิวาห์พระสมุทร" }, { "docid": "928160#2", "text": "ในชุดเกมนี้จะประกอบไปด้วย กระดานที่จะแสดงห้องต่างในคฤหาสน์ชนบทแห่งหนึ่งของอังกฤษ ชื่อ \"คฤหาสน์ทิวดอร์\" ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองแฮมป์เชอร์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นในปี 1926 หมากเดิน 6 ตัว คละสีกันซึ่งมี สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีม่วง สีขาว หมากอาวุธ 6 ชนิด(บางก็เป็นไพ่เล็กๆ แสดงอาวุธ) ไพ่ห้องในคฤหาสน์ 9 ใบ ไพ่คนร้าย 6 ใบ ไพ่อาวุธ 6 ใบ ลูกเต๋า 2 ลูก ซองเอกสารสำหรับใส่ไพ่ที่จะกำหนดว่า ใครเป็นผู้ร้าย ฆาตกรรมสถานที่ใด ใช้อะไรในการฆ่า และกระดาษตารางโน้ตสำหรับใช้ในการสอบสวน ซึ่งผู้เล่นสามารถไม่ใช้มันในการเล่นได้", "title": "คลูโด" }, { "docid": "194931#3", "text": "ก่อนหน้าที่ขงเบ้งจะสิ้นใจ ได้วางแผนจัดการกับสุมาอี้ ซึ่งเมื่อทราบข่าวจะต้องบุกตามมาตีเป็นแน่ ด้วยการสั่งให้นำศพของตนบรรจุลงในลักษณะนั่งในโลงแทนที่จะนอน และให้ใส่ข้าวสารในปากเจ็ดเมล็ด พร้อมทั้งจุดตะเกียงไว้ใต้ที่นั่ง เพื่อรักษาให้ดาวประจำตัวยังคงอยู่บนท้องฟ้า และได้ให้ทหารทำหุ่นไม้และรถม้าของตนขึ้นมาสามตัว เพื่อหลอกสุมาอี้ ซึ่งเมื่อสุมาอี้ได้ยกทัพมา ก็ได้มีการหลอกสุมาอี้เช่นนั้นจริงทั้งสามทาง ทำให้สุมาอี้ตกใจกลัวด้วยไม่รู้ว่า ขงเบ้งจะมาทางทิศไหนกันแน่ จึงยกทัพหนี พร้อมกันนั้นยังได้นัดหมายให้ม้าต้าย และเอียวหงี จัดการสังหารอุยเอี๋ยน ซึ่งขงเบ้งมองออกว่าจะทำตัวเป็นกบฏหลังจากตนสิ้นชีพไปแล้ว ซึ่งอุยเอี๋ยนก็กระทำเช่นนั้นจริง ด้วยการตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่ผู้ใด ม้าต้ายแสร้งทำเป็นสวามิภักดิ์ด้วย พร้อมยกยอให้อุยเอี๋ยนมีบุญวาสนาเหมาะกับเป็นจักรพรรดิ์องค์ต่อไป อุยเอี๋ยนซึ่งกำลังลำพองไม่ทันได้ระวังตัว จึงโดนม้าต้ายซึ่งชักม้ามาอยู่เคียงข้างฟันด้วยกระบี่ขาดใจตายทันที ", "title": "ยุทธการที่ทุ่งราบอู่จั้ง" }, { "docid": "62440#9", "text": "วันที่ 14 พฤษภาคม จึงเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในประวัติของวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพราะในวันนั้นโลกมีวัคซีนใช้เป็นครั้งแรก และเป็นวันแรกที่มนุษย์รู้จักการปลูกฝี หลังจากที่ได้ทดสอบวัคซีนจนมั่นใจแล้ว ในปี พ.ศ. 2341 เจนเนอร์ ได้เรียบเรียงตำราชื่อ An Inquiry into the Causes and Effects of the Variola Vaccinae ถึงแม้แพทย์ส่วนใหญ่จะไม่เชื่อในวิธีป้องกันโรคด้วยวิธีนี้ แต่เมื่อผู้คนจำนวนมากพากันมาหา เจนเนอร์ เพื่อรับการปลูกฝี และคนเหล่านั้นไม่มีใครล้มป่วยเป็นฝีดาษ ผลงานของ เจนเนอร์ จึงได้รับการยอมรับจากบรรดาแพทย์อื่น ๆ จากนั้นรัฐบาลอังกฤษก็ได้จัดสรรงบประมาณให้ เจนเนอร์ ผลิตวัคซีนสำหรับฉีดป้องกันฝีดาษให้คนอังกฤษทั่วประเทศ", "title": "โรคฝีดาษ" }, { "docid": "491145#5", "text": "แต่ต่อมาทาง IBF ได้กำหนดให้ทั้งคู่ชกกันอีกครั้ง โดยคาซิเมโรไม่ได้ขึ้นชกอีกเลย นับตั้งแต่แพ้อำนาจมาเป็นเวลากว่า 11 เดือน การชกเกิดขึ้นภายในสนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน โดยในการชั่งน้ำหนักต้องชั่งถึงสองครั้ง เนื่องจากทั้งคู่ทำน้ำหนักไม่ผ่านในการชั่งครั้งแรกทั้งคู่ ต้องทำการชั่งใหม่ในเช้าวันชก ผลการชกปรากฏว่า คาซิเมโรเอาชนะทีเคโออำนาจไปได้ในยกที่ 4 โดยไม่มีใครคาดคิด โดยเป็นฝ่ายใช้หมัดฮุกซ้ายเข้าที่หน้าอำนาจอย่างเต็มในจังหวะบวก และใช้หมัดซ้ายตัดลำตัวอำนาจจนแพ้ไปในที่สุด และคาซิเมโรป้องกันตำแหน่งไว้ได้ครั้งหนึ่งด้วยการชกน็อกผู้ท้าชิงชาวอังกฤษ ถึงกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จากนั้นในปลายปีเดียวกัน คาซิเมโรได้สละแชมป์ไปเนื่องจากต้องการเลื่อนรุ่นขึ้นไปชกในรุ่นที่ใหญ่ขึ้น", "title": "จอห์นเรียล คาซิเมโร" }, { "docid": "135316#0", "text": "กีฬาเรือพายในโอลิมปิก () ได้รับการบรรจุในโอลิมปิกตั้งแต่โอลิมปิกสมัยใหม่ครั้งแรกที่กรุงเอเธนส์ ปี ค.ศ. 1896 แต่โชคไม่ดีเพราะสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยจึงไม่สามารถจัดแข่งได้ อีก 4 ปีต่อมาเมื่อประเทศฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพ จึงมีการแข่งขันเรือพายเป็นครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิก ซึ่งในครั้งนั้นมีการแข่งขันเฉพาะประเภทชายรวม 5 รายการ ในระยะแรกอังกฤษครองความเป็นจ้าวอย่างโดดเด่นมาก ต่อมาสหรัฐอเมริกาจึงเข้ามาแทนที่ จนมาถึงช่วงทศวรรษ 1950 โซเวียตและเยอรมนีตะวันออกเริ่มเข้ามาแย่งเหรียญทอง แต่ปัจจุบันนี้ไม่มีใครโดดเด่นพิเศษ ต่างก็มีโอกาสคว้าเหรียญทองเท่าเทียมกัน", "title": "กีฬาเรือพายในโอลิมปิกฤดูร้อน" } ]
3403
ดาวนาบูมีมนุษย์อาศัยอยู่ใช่หรือไม่?
[ { "docid": "75843#1", "text": "นาบู</b>เป็นดาวเคราะห์สมมติในจักรวาล สตาร์ วอร์ส มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้า นาบูเป็นถิ่นที่อยู่ของสังคมสองสังคม ได้แก่พวกกันแกนที่อาศัยอยู่ในนครใต้สมุทร และมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนพื้นผิวดาว", "title": "นาบู" } ]
[ { "docid": "610840#11", "text": "ในตอนต้น ๆ ทัลวิงเสนอว่า ความจำอาศัยเหตุการณ์และความจำเชิงประกาศเป็นระบบที่แตกต่างกันและมีการแข่งขันกันเมื่อมีการค้นคืนความจำ\nแต่ต่อมา ทฤษฎีนี้ถูกปฏิเสธเมื่อเฮาวาร์ดและกาฮานาทำการทดลองที่วิเคราะห์ความคล้ายกันของคำโดยความหมายโดยใช้เทคนิค latent semantic analysis แล้วพบว่า ระบบความจำทั้งสองมีความสัมพันธ์กัน ไม่ใช่แยกออกจากกัน \nคือพบว่า แทนที่ความคล้ายคลึงกันโดยความหมาย (ที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำอาศัยความหมาย) จะมีกำลังมากขึ้นเมื่อกำลังแห่งการเชื่อมต่อกันโดยกาลเวลา (ที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำอาศัยเหตุการณ์) อ่อนลง\nระบบทั้งสองกลับปรากฏว่าทำงานเคียงคู่กันโดยที่การระลึกถึงสิ่งเร้าโดยความหมายมีกำลังที่สุดเมื่อการระลึกถึงสิ่งเร้าอาศัยเหตุการณ์มีกำลังมากที่สุดด้วย", "title": "ความจำอาศัยเหตุการณ์" }, { "docid": "258888#17", "text": "ซึ่งรายการโต๊ะข่าวบันเทิง ของช่อง 3 รายงานว่า \"นาธานมีเชื้อชาติไทย สัญชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ ไม่ใช่อิสลามอย่างที่เคยกล่าว มีชื่อเดิมว่า ธัญวัฒน์ หยุ่นตระกูล เป็นบุตรชายของนายธัญญา หยุ่นตระกูล มีเชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ไม่ได้เป็นคนเนปาล อาศัยอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก\" โดยทางทีมนักข่าวสอบถามกับนายธัญญา ที่เชื่อว่าเป็นบิดา แต่ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ บอกแต่เพียงว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนาธาน แต่เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามกับเพื่อนบ้าน ทุกคนในหมู่บ้านรู้ดีว่านายธัญญาเป็นพ่อของนาธาน ซึ่งนาธานเคยมาหาพ่อบ้างแต่ไม่บ่อย[30] และต่อมาอดีตแม่บ้านของนาธานนำสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของนาธานมาแสดงให้เห็นว่าเขามีสัญชาติไทยแท้ ไม่ใช่ลูกครึ่งเนปาลตามที่กล่าวอ้าง แต่เมื่อพิธีกรพยายามจี้ถามถึงเรื่องของสัญชาติ นาธานก็ได้ตัดสายโทรศัพท์ไปทันที", "title": "นาธาน โอร์มาน" }, { "docid": "2896#3", "text": "ชาวไมโครนีเซียและเมลานีเซียได้เดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ในเกาะนาอูรูอย่างน้อย 3,000 ปีขึ้นไป[2] โดยกลุ่มคนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในนาอูรูสามารถแบ่งออกได้เป็น 12 เผ่า ซึ่งธงชาติของประเทศนาอูรูในปัจจุบันนั้น แทนเผ่าต่างๆเหล่านี้ด้วยดาว 12 แฉก[3] ในธรรมเนียมดั้งเดิมของชาวนาอูรูจะนับญาติทางสายมารดาเป็นหลัก ประชากรเหล่านี้นิยมเลี้ยงและเพาะพันธุ์ปลาไว้ในลากูนบูอาดา เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้กับประชากร ในขณะที่แหล่งอาหารในท้องถิ่นอื่น ๆ ที่ปลูกในพื้นที่เกาะคือมะพร้าวและเตยทะเล[4][5] สำหรับในส่วนของชื่อ นาอูรู นั้นมีการสันนิษฐานว่ามาจากศัพท์คำว่า Anáoero ในภาษานาอูรู ซึ่งมีความหมายว่าฉันไปที่ชายหาด[6]", "title": "ประเทศนาอูรู" }, { "docid": "727098#0", "text": "เคปเลอร์-452บี () เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวดาวแคระเหลือง ตรวจจับโดย กล้องโทรทรรศน์อวกาศ \"เคปเลอร์\"และประกาศค้นพบครั้งแรกโดย นาซา เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2015 ซึ่งเป็นดาวดวงแรกที่ใกล้เคียงกับโลกมากที่สุดตั้งแต่การค้บพบ และโคจรอยู่ในเขตที่อยู่อาศัย", "title": "เคปเลอร์-452บี" }, { "docid": "6939#6", "text": "บนดาวนาบู เจไดทั้งสองได้พบกับจาร์ จาร์ บิงคส์ (Jar Jar Binks) ชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนดาวนาบู จาร์ จาร์ บิงส์ช่วยพาเจไดทั้งสองคนหลบหนีกองทัพสหพันธ์ฯ ไปยังนครกันก้าเมืองใต้บาดาลของชาวกันแกน ในขณะเดียวกันทางด้านสหพันธ์ฯ ก็บุกรุกเข้าสู่นาบูและจับตัวราชินีแพดเม่ อมิดาลา (Queen Amidala) ผู้นำนาบูไว้ ด้านเจไดได้พบกับบอสแนซ (Boss Nass) ผู้นำชาวกันแกน และขอให้แนซช่วยชาวนาบู แต่แนซปฏิเสธและให้ยานแก่เจไดทั้งสองไป ด้วยยานดังกล่าว เจไดทั้งสองพร้อมด้วยจาร์จาร์บิงส์ได้เดินทางไปถึงเมืองหลวงของนาบู และเข้าช่วยเหลือราชินีอมิดาล่าจากกองทัพดรอย์ของสหพันธ์ไว้ได้ จากนั้นพวกเขาเดินทางสู่คอรัสซานท์ (Coruscant) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐ (Galactic Republic) เพื่อขอความช่วยเหลือจากสภาสูง ในระหว่างการเดินทางหลบหนีออกจากดาวนาบูนั้น ดรอย์ตัวหนึ่ง รหัส R2-D2 ได้กลายเป็นฮีโร่ เมื่อสามารถช่วยซ่อมแซมยานขณะถูกยานของสหพันธ์ไล่ยิงได้", "title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น" }, { "docid": "486765#2", "text": "ใจเดินทางไปเชียงใหม่ พาตัวดาวนิลกลับมาอยู่ที่บ้านสุศักดิ์ ดาวนิลเองก็ยอมมาเพื่อต้องการทำดีกับคุณหญิงลบล้างความผิด ความโกรธเกลียด เผื่อวิญญาณของย่าดาวและพ่อเด่นของเธอจะได้มีความสุข เมื่อหม่อมหลวงเชยพิมานเดินทางมาพักที่วังพิมาลาในกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ติดกับบ้านสุศักดิ์ คุณหญิงเดือนหมายมั่นว่าถ้าหลานสาวคนใดคนหนึ่งจะได้ลงเอยกับหม่อมหลวงผู้นี้ คฤหาสน์ที่เธออาศัยอยู่และติดจำนองกับวังพิมาลาก็คงกลับมาเป็นของเธอ จึงวางแผนหลานสาวทั้งสองแต่งตัวสวย ดาวรายเองก็กำลังคบกับ ฤทธี หวังสร้างเนื้อสร้างตัวก็คิดเปลี่ยนใจจากฤทธีเพื่อหวังรวยทางลัดตามคำสั่งของคุณหญิงยาย\nเมื่อใจพาดาวนิลมาถึง คุณหญิงเห็นว่าดาวนิลมีหน้าตาที่สวยน่ารัก จึงคิดกำจัดความสวยด้วยการทาตัวดำปี๋แล้วบอกใครต่อใคร ว่าดาวนิลเป็นคนใช้เพื่อเชยพิมานจะได้ไม่สนใจ เชยพิมาน ทรงกลด ตาชอบและนายสีเดินทางมาถึงวัง ตาชอบที่ตอนแรกว่าจะมาส่งหลานชายแล้วกลับบ้านนอกก็เปลี่ยนใจอยู่ยาว เพราะเกิดหมั่นไส้ไม่กินเส้นกับคุณหญิงเดือน ตาชอบใช้สิทธิ์ความเป็นเจ้าหนี้ทวงหนี้คุณหญิงและประกาศจะยึดบ้านสุศักดิ์ คุณหญิงก็แก้เกมด้วยการส่งหลานสาวทั้งสองจับเชยพิมานแต่งงานด้วยให้ได้เพื่อจะมีสิทธิ์ในทรัพย์สินมูลค่ามหาศาลและบ้านสุศักดิ์จะได้ไม่ถูกยึด ตาชอบรู้เชิงปรกาศไม่ยอมรับหลายสาวคุณหญิงเป็นสะใภ้เด็ดขาดและสั่งบังคับหลานทั้งสองไม่ให้มีความรักกับหลานคุณหญิง สะใภ้ของตาชอบต้องเนสาวบ้านนอกเท่านั้น ไม่ใช่สาวกรุงเทพฯเด็ดขาด\nแต่ทรงกลดในคราบของเชยพิมานเกิดมีความรักกับดาวรุ่ง ทรงกลดมุ่งมั่นจะเอาชนะอคติของตาชอบให้ได้แต่ดาวรุ่งไม่ได้รักทรงกลด คนที่รักทรงกลดในคราบของเชยพิมานคือดาวราย แล้วดาวรายก็วางแผนพาทรงกลดในคราบของเชยพิมานเข้าโรงแรมโดยให้ฤทธีถ่ายวิดีโอไว้แบล็กเมล์ คุณหญิงเดือนจะเอาเรื่องทรงกลดให้แต่งงานกับดาวรายไม่อย่างนั้นจะเอาเป็นคดีความติดคุกเสียชื่อเสียงหม่อมหลวง ทรงกลดไม่ยอมแต่งเพราะเหตุผลเขารักดาวรุ่ง เรื่องจึงวุ่นวายมากขึ้นบีบคั้นทรงกลด เขาจึงเผยตัวว่าไม่ใช่หม่อมหลวงเชยพิมาน หม่อมหลวงตัวจริงคือนายแจ็คพี่เลี้ยงของเขาต่างหาก", "title": "บ้านนอกเข้ากรุง" }, { "docid": "70819#30", "text": "ภารกิจต่อไปนั้นพวกเขาได้ไปเยือนดาวโซนาม่าซีคอทเพื่อตามหาอัศวินเจไดเวอร์เกียร์ ผู้ที่ซึ่งหายไปขณะทำภารกิจบนดาว พวกเขาไม่รู้เลยว่าถูกตามรอยโดยวิลฮัฟฟ์ ทาร์กินและไรธ์ ไซนาร์ ซึ่งมาเอาประโยชน์จากเทคโนโลยียานขับไล่อันทันสมัยของโซนาม่าซีคอท สร้างมันให้มีอัตราที่น่าทึ่งและคุณภาพสูงอย่างไม่น่าเชื่อ ที่บนดาวนั้น ชาวอาณานิคมได้ขาย\"ซีด-พาร์ทเนอร์\" (seed-partner) ซึ่งจะเชื่อมตัวเองกับผู้ที่มันอาศัยและทำให้ดาวดวงนี้สามารถดัดแปลงยานขับไล่ที่ไม่เหมือนใครออกมา อนาคินดูเหมือนจะสนใจในสิ่งนี้มากกว่าใครๆ และดังนั้น เขาก็มียานที่ใหญ่และซับซ้อนกว่า เขาตั้งชื่อให้ยานใหม่ลำนี้ว่า<i data-parsoid='{\"dsr\":[13527,13537,2,2]}'>จาบิธา (Jabitha) เมื่อทาร์กินและไซนาร์มาถึง ดาวได้เปิดเผยต่อเจไดว่า เวอร์เกียร์ได้จากไปพร้อมกับ\"ผู้มาจากแดนไกล\"ที่ลึกลับเพื่อที่จะปกป้องโซนาม่าซีคอท อนาคินและโอบีวันอาจไม่สามารถช่วยเวอร์เกียร์ไว้ได้ แต่พวกเขาสามารถหยุดการโจมตีของทาร์กินได้ เมื่อเค ไดฟ์ ซึ่งเป็นผู้อารักขาทาร์กิน ได้พยายามฆ่าอนาคิน เด็กหนุ่มไม่สามารถควบคุมความโกรธได้และใช้พลังจิตเผาไดฟ์จากข้างใน โชคร้าย อนาคินถูกจับ และนำตัวไปให้ทาร์กิน อย่างไรก็ตาม โอบีวันก็สามารถทำลายยานธงของทาร์กินและช่วยอนาคินเอาไว้ได้ ในช่วงนี้เอง โซนาม่าซีคอทก็สามารถใช้ไฮเปอร์ไดรฟ์ของมันได้ และทำให้ดาวหายไป มุ่งหน้าสู่ดินแดนที่ไม่มีใครรู้จัก หลังจากนั้น ไซนาร์และทาร์กินกลับสู่สาธารณรัฐ โชคร้าย ยานของอนาคินพัง หลังจากสรุปภารกิจ โอบีวันและอนาคินก็กลับสู่คอรัสซัง", "title": "อนาคิน สกายวอล์คเกอร์" }, { "docid": "226381#26", "text": "ชั้นที่ทรงภาวะที่มีสัญญาไม่ปรากฏชัด ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้เข้าถึงภาวะมี สัญญา ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (ในทัศนะนี้แปลว่า ยังไม่หมด ยังมีอยู่ แต่ไม่มาก ไม่ยึดมั่นเหมือนปถุชนทั่วไป) เป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้เกิดจากฌานที่อาศัย ความประณีตเป็นอย่างยิ่ง พระพรหมวิเศษแต่ละองค์ในชั้นสูงสุดนี้ ล้วนแต่เป็นผู้ที่ได้สำเร็จยอดแห่งอรูปฌาน คืออรูปฌานที่ 4 มาแล้ว มีอายุยืนนานเป็นที่สุดด้วยอำนาจแห่ง อรูปฌานกุศลอันสูงสุดที่ตนได้บำเพ็ญมา เพราะเหตุที่ตนปฏิสนธิด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนวิบากจิตทั้ง อยู่พ้นจากอากิญจัญญายตนภูมิขึ้นไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 84000 มหากัป", "title": "พรหมภูมิ" }, { "docid": "60227#1", "text": "สิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrial life) (จากคำภาษาละติน: \"extra\" [\"เกินกว่า\" หรือ \"ไม่ใช่ของ\"] และ terrestris [\"อาศัยอยู่บนโลก, เป็นของโลก\"]) ถูกกำหนดให้เป็นชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากโลก มันมักจะหมายถึง สิ่งมีชีวิตนอกโลก หรือเรียกเพียงว่า มนุษย์ต่างดาว (หรือมนุษย์ต่างดาวในอวกาศเพื่อให้แตกต่างจากคำจำกัดความอื่น ๆ ของมนุษย์ต่างภิภพหรือมนุษย์ต่างดาว) รูปแบบชีวิตเหล่านี้ตามสมมติฐานของชีวิตช่วงระยะเริ่มจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียขั้นพื้นฐานเหมือนสิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายไปไกลจนถึงขั้นที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเกินกว่าสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า มนุษย์ ความเป็นไปได้ว่ายังอาจจะมีไวรัส (viruses) ที่มีการดำรงชีวิตอยู่แบบสิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrially) ได้รับการเสนอขึ้น \nการพัฒนาและการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับชีวิตต่างดาวที่เป็นที่รู้จักกันในนามของวิชาที่เรียกว่า \"ชีววิทยานอกโลก\" หรือ \"ชีวดาราศาสตร์\" (\"exobiology\" or \"astrobiology\") แม้ว่าวิชาชีวดาราศาสตร์จะยังคงพิจารณาถึงชีวิตที่เกิดขึ้นที่เป็นขั้นพื้นฐานบนโลกที่ใช้ในบริบททางดาราศาสตร์อยู่ก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าชีวิตนอกโลกเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานโดยตรงในการดำรงอยู่ของมัน นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ได้มีการค้นหาอย่างต่อเนื่องสำหรับสัญญาณของชีวิตนอกโลก, จากวิทยุที่ใช้ในการตรวจจับสัญญาณต่างดาวที่มีความเป็นไปได้, ไปจนถึงกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับเป็นสถานที่เอื้ออาศัยสำหรับสภาพชีวิตที่อาจสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้มันก็ยังมีบทบาทที่สำคัญต่องานเขียนทางด้านเกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ (science fiction) อีกด้วย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา, ผลงานทางด้านนิยายวิทยาศาสตร์, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของฮอลลีวู้ด, ได้ช่วยเพิ่มทวีความสนใจให้มากขึ้นของประชาชนในความเป็นไปได้เกี่ยวกับชีวิตนอกโลก บางส่วนสนับสนุนให้ใช้วิธีการเชิงรุกสำหรับในความพยายามและได้รับการติดต่อกับสิ่งมีชีวิตจากห้วงอวกาศ, ในขณะที่อีกบางส่วน ยืนยันว่ามันก็อาจจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์เราชาวโลกเราได้สำหรับในการที่จะกระตือรือร้นเรียกร้องความสนใจจากมนุษย์ต่างดาว ในอดีตที่ผ่านมา, ความขัดแย้งกันระหว่างวัฒนธรรมที่เจริญและคนพื้นเมืองนั้นก็ยังไม่ได้เป็นไปด้วยดี ", "title": "สิ่งมีชีวิตนอกโลก" }, { "docid": "447522#1", "text": "ในระดับ พยาธิสรีรวิทยา นั้นแอนาฟิแล็กซิสนี้เกิดจากการที่เซลล์ เม็ดเลือดขาว บางชนิดปล่อยสารตัวกลางออกมาจากการกระตุ้นโดยภูมิคุ้มกัน หรือกระบวนการอื่นที่ไม่ใช่กระบวนการของภูมิคุ้มกัน การวินิจฉัยทำได้โดยอาศัยอาการและอาการแสดงที่ปรากฏ การรักษาหลักคือการใช้ อีพิเนฟริน ร่วมกับวิธีการอื่น ๆ", "title": "แอนาฟิแล็กซิส" }, { "docid": "916162#0", "text": "ภาพยนตร์บันเทิงคดีวิทยาศาสตร์หรือภาพยนตร์ไซไฟ เป็นแนวภาพยนตร์อย่างหนึ่งซึ่งเป็นบันเทิงคดีวิทยาศาสตร์ กล่าวคือมีการอาศัยอุปกรณ์หรือปรากฎการณ์หรือฉากหลังที่เป็นการจินตนาการขึ้นโดยอิงวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่ใช่วิทยาศาสตร์โดยทางการปัจจุบัน เช่น สิ่งมีชีวิตนอกโลก โลกต่างดาว ประสาทสัมผัสพิเศษ และการเดินทางข้ามเวลา เป็นต้น รวมถึงสิ่งที่เป็นอนาคต เช่น ยานอวกาศ หุ่นยนต์ ไซบอร์ก การเดินทางระหว่างดวงดาว หรือเทคโนโลยีอื่นๆ บ่อยครั้งภาพยนตร์ไซไฟถูกใช้เพื่อขับเน้นประเด็นทางสังคมหรือการเมือง หรือเพื่อสำรวจประเด็นทางปรัชญา เช่น ความเป็นมนุษย์", "title": "ภาพยนตร์ไซไฟ" }, { "docid": "610547#0", "text": "ดาว บ้านดอน ชื่อจริงว่า เทียม เศิกศิริ เป็นชาวอำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร เป็นลูกหลานชาวนา มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน ลำบากมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เรียนหนังสือจบแค่ ป.4 ไม่มีโอกาสเรียนต่อทั้งๆที่เป็นคนเรียนเก่งความจำดี จึงได้มาบวชเป็นสามเณรอาศัยร่มผ้ากาสาวพัสตร์ หัดเทศน์ทำนองและแหล่จนชำนาญ เป็นสามเณรเสียงทองที่มีปฏิภาณเป็นเลิศกลายเป็นสามเณรนักเทศน์แหล่อันดับ หนึ่งของแผ่นดินที่ราบสูงในสมัยนั้น", "title": "ดาว บ้านดอน" }, { "docid": "821513#2", "text": "ถึงตอนนี้ดอนนาเชื่อแล้วว่า สิ่งที่อยู่ในตุ๊กตาแอนนาเบลล์ไม่น่าจะใช่แค่วิญญาณเด็กผู้หญิง เธอจึงติดต่อขอความช่วยเหลือไปยังบาทหลวงเฮแกน ซึ่งบาทหลวงเฮแกนก็ได้ติดต่อต่อไปยังบาทหลวงคุก ซึ่งมีอำนาจเหนือกว่า บาทหลวงคุกได้ติดต่อไปยังเอ็ด และลอร์เรน วอร์เรน คู่สามีภรรยาซึ่งเป็นนักปิศาจวิทยาและนักสืบสวนสอบสวนเรื่องลึกลับเหนือธรรมชาติที่มีชื่อเสียง ทั้งคู่เมื่อได้เดินทางมายังหอพักและสัมภาษณ์พูดคุยกับบุคคลทั้ง 3 จึงมั่นใจว่าสิ่งที่อยู่ในแอนนาเบลล์ไม่ใช่แค่วิญญาณเด็กผู้หญิง หากแต่เป็นปิศาจร้ายในระดับเดียวกับซาตาน ซึ่งมันได้หลอกร่างทรงว่าเป็นเพียงวิญญาณเด็กผู้หญิงที่น่าสงสาร เพื่อที่จะมาอาศัยอยู่ในหอพักต่อได้ และพร้อมจะทำเรื่องร้ายแรงต่อไปถึงขนาดฆ่ามนุษย์ได้ โดยการครอบงำทางจิตใจเหยื่อผู้ที่มีสภาพจิตใจอ่อนแอกว่า โดยน่าจะเกิดขึ้นภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้หากมันไม่ได้ทำร้ายหรือฆ่าใครคนใดคนหนึ่งหรือฆ่าทั้งหมดเสียก่อน ที่สุดแล้วคู่สามีภรรยาวอร์เรนได้นำเอาแอนนาเบลล์กลับไป ลอร์เรนเล่าว่าขณะที่ทั้งคู่กำลังเดินทางกลับ โดยเอ็ดเป็นผู้ขับรถยนต์ยังไม่ทันจะถึงบ้าน รถก็อยู่ในสภาพที่เริ่มควบคุมไม่ได้ เอ็ดต้องจอดรถและพรมน้ำมนต์ใส่แอนนาเบลล์ที่วางไว้ที่เบาะหลัง พร้อมทั้งทำสัญลักษณ์รูปกางเขนเพื่อทำการสะกด ", "title": "แอนนาเบลล์" }, { "docid": "258888#9", "text": "เดือนพฤศจิกายน 2552 อดีตแม่บ้านของนาธาน พร้อมด้วยอาทิตย์ กุลฝ้าย ลูกชาย ได้เข้าแจ้งความอดีตนักร้องหนุ่มในข้อหาฉ้อโกงเงินกว่า 3 แสนบาท ทั้งยังนำตรายาง ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, การท่องเที่ยวเนปาล โรงแรมชื่อดัง รวมถึงบริษัท ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์ ที่เป็นของนาธานเพื่อตรวจสอบและใช้เป็นหลักฐาน ต่อมา \"แหม่ม พิศมัย” แม่บุญธรรม ออกมาปฏิเสธถึงข้อกล่าวหาดังกล่าวผ่านทางรายการ \"เรื่องเด่นเย็นนี้\" ทั้งนี้ทางรายการยังได้ต่อสายโทรศัพท์ถึงนาธานเพื่อชี้แจงเรื่องต่าง ๆ นาธานปฏิเสธในทุกเรื่อง โดยระบุว่า รู้จักพี่เลี้ยงคนดังกล่าวเพียง 2 ปี ไม่ใช่ 10 ปี ส่วนเรื่องตรายางไม่ใช่ของตน มีเพียงบริษัททัวร์ของนาธานอันเดียว[18] หลังจากนั้นทางฝ่ายอดีตแม่บ้านนาธานเข้าแจ้งความ และทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ออกหมายเรียกนายนาธานแต่ไม่สามารถติดต่อได้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทราบว่านาธานหลบหนีมาพักอาศัยอยู่ที่ อ.เชียงคาน จ.เลย จึงเข้าจับกุมนายนาธาน แต่นาธานได้รับประกันตัวออกไปในวันรุ่งขึ้น", "title": "นาธาน โอร์มาน" }, { "docid": "199863#5", "text": "หลังจากชวาลาทั้งสองดวงแตกดับ แผ่นดินก็พินาศวอดวายไป เหล่าวาลาร์จึงย้ายไปอาศัยอยู่บนทวีปอามัน เทพียาวันนาได้สร้างทวิพฤกษาขึ้นบนแผ่นดินแห่งอามัน ชื่อว่า เทลเพริออน (พฤกษาเงิน) และเลาเรลิน (พฤกษาทอง) พฤกษาทั้งสองได้ส่องแสงสว่างให้แก่ทวีปอามัน แต่มิดเดิลเอิร์ธต้องตกอยู่ในความมืด มีแต่เพียงแสงดาวริบหรี่ส่องอยู่บนฟ้าเท่านั้น ต่อภายหลังเทพีวาร์ดาจึงช่วยสร้างดวงดาวที่สุกใสมาประดับบนฟ้าเพิ่มเติม", "title": "ประวัติศาสตร์อาร์ดา" }, { "docid": "75843#2", "text": "นาบู (English: ภาษาอังกฤษ: Naboo) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ในชอมเมลล์เซกเตอร์ เป็นที่เกิดของแพดเม่ อมิดาลา และจาร์ จาร์ บิงคส์ รวมไปถึงวุฒิสมาชิกพัลพาทีน(ซึ่งจะได้เป็นสมุหนายกและจักรพรรดิในภายหลัง) ใน สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น ดาวนาบูเป็นสถานที่ที่เกิดการปิดกั้นโดยสมาพันธ์การค้าและเกิดการต่อสู้ในยุทธการนาบูระหว่างกองทัพสหพันธ์และผู้อาศัย ดาวนาบูปรากฏในภาพยนตร์<i data-parsoid='{\"dsr\":[845,860,2,2]}'>สตาร์ วอร์ส</i>ทั้งหมด 4 ภาค โดยปรากฏเป็นฉากหลังชัดเจนในสองภาคแรกของไตรภาคต้นและปรากฏให้เห็นเล็กน้อยในซิธชำระแค้น และการกลับมาของเจได ฉบับดีวีดีในปี พ.ศ. 2547", "title": "นาบู" }, { "docid": "637546#6", "text": "เมื่อข้อมูลถูกส่งผ่านเสร็จสิ้น บริเวณที่มีห้ามิติก็ยุบตัวลง และคูเปอร์พบว่าตัวเขากำลังเดินทางผ่านรูหนอนเข้ามาสู่วงโคจรรอบ ๆ ดาวเสาร์ เขาตื่นขึ้นบนสถานีอวกาศของนาซ่าและได้พบกับเมิร์ฟซึ่งในตอนนี้แก่ชราแล้ว และเป็นผู้เริ่มนำการอพยพของมนุษยชาติ ด้วยความพึงพอใจที่คูเปอร์ได้รักษาคำมั่นสัญญาที่ว่าวันหนึ่งจะกลับมาหาเธอ เมิร์ฟโน้มน้าวคูเปอร์ให้ค้นหาอมิเลียซึ่งอยู่ตามลำพังและกำลังดำเนินการตามแผน B พร้อมกับเคสบนทะเลทรายของดาวเอ็ดมันด์ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่สามารถอยู่อาศัยได้ เอ็ดมันด์ได้ตายไปเนื่องจากแผ่นดินถล่ม คูเปอร์และทาร์ซึ่งได้รับความช่วยเหลือมาด้วยกันจากอวกาศ นำกระสวยอวกาศของนาซ่าเพื่อเดินทางไปยังดาวเอ็ดมันด์นักฟิสิกส์ทฤษฎี คิป ธอร์น เป็นที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าภาพของรูหนอนและสัมพัทธภาพมีความถูกต้องที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ \"สำหรับภาพของรูหนอนและหลุมดำ” เขาบอก \"เราปรึกษากันว่าจะทำกันยังไง จากนั้นผมก็ได้สมการซึ่งจะทำให้การติดตามเส้นทางเดินของแสงในขณะที่พวกมันเดินทางผ่านรูหนอนหรือไปรอบ ๆ หลุมดำได้ ดังนั้นสิ่งที่คุณเห็นนั้นมีพื้นฐานมาจากสมการสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์\"", "title": "อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก" }, { "docid": "166390#18", "text": "ในรอว์ (7 ตุลาคม 2013) อัลเบร์โต เดล รีโอ เจ้าของแชมป์โลกเฮฟวี่เวท เปิดตัวออกมา และวิคกี ก็ตามออกมาเพื่อประกาศคู่ต่อสู้ของเดล รีโอคือริคาร์โด โรดรีเกซ และวิคกียังประกาศอีกว่าผู้ท้าชิงของเดล รีโอ ในเฮลอินเอเซล คือ จอห์น ซีนา เดล รีโอกำลังช็อคและมัวแต่โวยวายเลยโดน ริคาร์โด รวบกดนับ 3 ชนะไป หลังแมตช์ เดล รีโอ เล่นงานริคาร์โดระบายอารมณ์ จากนั้นก็เอาเก้าอี้มาหนีบแขนแล้ว Cross ArmBreaker จนกรรมการต้องมาห้าม[152] ในเฮลอินเอเซล (2013) ซีนาได้กลับมาอีกครั้งและเอาชนะเดล รีโอ คว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวท ไปครอง ทำให้ซีนาสามารถคว้าแชมป์โลกสมัยที่ 14 ได้สำเร็จ[153] ในรอว์ (28 ตุลาคม 2013) ซีนา แชมป์โลกเฮฟวี่เวทคนใหม่ บอกว่าเขาชินกับเสียงโห่พวกนี้แล้ว เมื่อคืนนี้มีหลายคนมีความสุขแต่ก็มีหลายคนไม่พอใจ แต่นั่นก็หมายความว่าเขากลับมาแล้ว!! คิดถึงไหมล่ะ? คิดว่าเขาควรจะหายไปนานกว่านี้หรือเปล่า? และ เจบีแอล ก็มักจะพูดอยู่ตลอดว่าถ้าเขากลับมาเขาจะโดน เดล รีโอ อัดจนต้องเลิกปล้ำ แต่ เจบีแอล ก็คิดผิดเพราะเขาเป็นแชมป์โลกคนใหม่แล้ว แดเมียน แซนดาว ออกมา และบอกว่า ซีนาอาจจะหลอกคนดูได้ หลอกหมอได้ แต่หลอกเขาไม่ได้หรอก ซีนาไม่มีทางหายเจ็บเร็วขนาดนั้น แกต้องเจ็บมากกว่าที่แสดงออกให้คนเห็น และที่ออกมาโม้ในวันนี้ก็เพราะว่าซีนากลัวว่าเขาจะออกมาใช้กระเป๋า MITB แซนดาวบอกว่าเขาจะใช้กระเป๋าเมื่อไหร่ก็ได้ แต่คงไม่ใช่คืนนี้ ว่าแล้วก็เดินจากไป แต่ซีนา ทำท่าจะหาเรื่องแซนดาว ทำให้แซนดาวกระทืบซีนาทันที แล้วก็ใช้กระเป๋าฟาดรัวใส่แขนของซีนา จากนั้นแซนดาว เรียกกรรมการออกมาและขอใช้กระเป๋าเดี๋ยวนี้!! ทำให้ซีนาต้องป้องกันแชมป์โลกเฮฟวี่เวท กับแซนดาว สุดท้ายซีนาจับแซนดาวใส่ Attitude Adjustment และกดนับ 3 ไป ป้องกันแชมป์โลกเอาไว้ได้สำเร็จ และแซนดาว กลายเป็นคนที่สองที่ใช้กระเป๋า MITB แล้วไม่สำเร็จ ต่อจากซีนา[154] ในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2013) ซีนาต้องป้องกันแชมป์กับเดล รีโอ และซีนาเป็นฝ่ายชนะป้องกันแชมป์ไว้ได้สำเร็จ[155]", "title": "จอห์น ซีนา" }, { "docid": "740230#3", "text": "แม้ว่าพื้นผิวดาวอังคารเปียกเป็นบางช่วงและจุลินทรีย์อาจอาศัยอยู่ได้เมื่อหลายพันล้านปีก่อน แต่สิ่งแวดล้อมปัจจุบันที่พื้นผิวแห้งและอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง เป็นไปได้ว่าเป็นอุปสรรคที่ไม่อาจเอาชนะสำหรับสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ ดาวอังคารไม่มีบรรยากาศหนา ชั้นโอโซนและสนามแม่เหล็ก ทำให้รังสีดวงอาทิตย์และรังสีคอสมิกถึงพื้นผิวได้โดยตรง ฤทธิ์ทำลายของรังสีไอออนต่อโครงสร้างเซลล์เป็นปัจจัยจำกัดสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งต่อการรอดชีวิตบนพื้นผิว ฉะนั้น ที่ตั้งที่มีโอกาสดีที่สุดในการค้นพบสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารอาจเป็นในสิ่งแวดล้อมใต้พื้นผิว วันที่ 22 พฤศจิกายน 2016 นาซารายงานการค้นพบน้ำแข็งใต้ดินปริมาณมากบนดาวอังคาร ซึ่งมีปริมาตรเทียบเท่ากับปริมาตรน้ำในทะเลสาบสุพีเรีย ในเดือนกรกฎาคม 2018 นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีรายงานการค้นพบทะเลสาบใต้ธารน้ำแข็งบนดาวอังคาร อยู่ใต้พืดน้ำแข็งขั้วดาวใต้ และขยายไปด้านข้างประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นแหล่งน้ำเสถียรแห่งแรกบนดาว", "title": "น้ำบนดาวอังคาร" }, { "docid": "72753#37", "text": "หลังจากดาวคริปตันอันเป็นบ้านเกิดได้ถูกทำลายลง ซูเปอร์แมนได้อุทิศชีวิตตัวเองเพื่อปกป้องโลก โดยเฉพาะครอบครัวและเพื่อนๆของเขา บางครั้งซูเปอร์แมนก็รู้สึกเหมือนว่าตัวเองนั้นโดดเดี่ยวบนโลกใบนี้ แม้ว่าเขาจะมีเพื่อนฝูง ภรรยา และพ่อแม่ แต่การที่มีพลังพิเศษซึ่งแตกต่างจากคนอื่นทำให้เขาต้องแบกรับหน้าที่อันยิ่งใหญ่เอาไว้ ในสมัยที่เป็นวัยรุ่นนั้นซูเปอร์แมนเคยคิดที่จะออกตามหาชาวคริปโตเนี่ยน จนได้พบเจอกับ พาวเวอร์ เกิร์ลl (ชาวคริปตันในเนื้อเรื่องซูเปอร์แมนฉบับ เอิร์ธ-ทู) และ มอน-เอลแต่ทั้งคู่นั้นกลับไม่ใช่ชาวคริปตันที่อาศัยอยู่บนดาวดวงเดียวกับซูเปอร์แมน จนกระทั่งการปรากฏตัวของ ซูเปอร์เกิร์ล ผู้ซึ่งทำให้ซูเปอร์แมนนั้นแน่ใจว่าตัวเองไม่ใช่ชาวคริปตันเพียงคนเดียวอีกต่อไป โดยซูเปอร์เกิร์ลนั้นเป็นลูกพี่ลูกน้องกับซูเปอร์แมน", "title": "ซูเปอร์แมน" }, { "docid": "258639#1", "text": "โลกกำลังถึงจุดจบ ไทบีเรียมได้เริ่มการเติบโตจนเกือบทั้งดางดาวโดยการระเบิดของไทบีเรียมเหลวของฝ่ายน็อต ระบบกวาดล้างดวงดาวของผ่านซีเรียมเริ่มทำงานก่อสร้างประตูและระบนำทางแห่งดวงดาว มันได้นำกองกำลังอันสุดยอดของเอเลียนจากต่างดาวมาเพื่อเก็บผลผลิต นั้นคือไทบีเรียม ฝ่าย GDI กำลังถูกโจมตีด้วยแร่ไทบีเรียมจากเศษซากดางดาวที่ระเบิดจากไทบีเรียมเหลว ทำให้พื้นที่ไม่มีไทบีเรียมเกิดปัญหากับพื้นที่อยู่อาศัยจนไม่สามารถควบคุมการคงอยู่ของมนุษย์ได้ น็อตได้ทำการเปิดประตูดวงดาวและนำกุญแจ นาซิซัสที่แท้จริงออกจากดาวได้ เพื่อเปิดเผยความลับที่จะกอบกู้ โลกจากไทบีเรียม ให้หมดไป", "title": "คอมมานด์ &amp; คองเคอร์ 4: ไทบีเรียน ทไวไลท์" }, { "docid": "31477#2", "text": "ผู้นำสูงสุดของกองทัพจักรวาล รุกรานดาวเพื่อยึดกับทำลายเพื่อสนุก กับทำงานให้กับบิลล์ ตอนที่บิลล์ขี้เกียจ นิสัยทระนงในพลังตน ซึ่งในอดีตทำลายดาวเบจิต้าที่เป็นดาวที่ชาวไซย่าอาศัยอยู่ เพราะเกรงกลัวว่าจะมีซูเปอร์ไซย่าซึ่งถือว่าเป็นนักรบที่แข็งแกร่งที่สุดในจักรวาลถือกำเนิดขึ้นมา จึงหลอกใช้เบจิต้า นัปปะ ราดิซ พอทราบข้อมูลเรื่องดราก้อนบอล ตอนเบจิต้าบุกโลก จึงไปดาวนาเม็ก เพื่อรวบรวมกับขอพรเป็นอมตะ แต่ถูกเบจิต้าที่ร่วมมือกับพวกโกฮังขัดขวางตลอด จนคนสนิทของตนตาย จึงเรียกหน่วยรบกินิวมา แต่ก็ล้มเหลว จึงไล่ต้อนพวกเบจิต้า พอโกคูมาสู้ตัดสินกัน จนสุดท้ายตนก็แพ้ แต่เจ็บหนักกับรอดตาย ถูกโคลพ่อของตนนำมารักษาดัดแปลงเป็นไซอร์กแต่พลังก็น้อยกว่าเดิมมาก พ่อลูกฟรีเซอร์จึงนำทัพบุกมาโลกเพื่อแก้แค้น แต่ถูกทรังค์จากอนาคตฆ่าายอย่างง่ายดาย", "title": "ฟรีเซอร์" }, { "docid": "60227#26", "text": "นักวิทยาศาสตร์ได้มีการค้นหาโดยตรงสำหรับสัญญาณของชีวิต (biosignatures) ภายในระบบสุริยะ มีการดำเนินการศึกษาบนพื้นผิวของดาวอังคารและตรวจสอบอุกกาบาต (meteorites) ซึ่งได้ตกลงสู่พื้นผิวโลก มีการกล่าวอ้างบางอย่างถึงการที่มีพยานหลักฐานระบุว่ามีสิ่งมีชีวิตในระดับ \"จุลชีพ\" (microbial life) สามารถดำรงชีวิตอาศัยอยู่บนดาวอังคารได้ จากการทดลองบนยานทั้งสองครั้งของยานไวกิ้งที่ได้ทำการร่อนลงจอดบนพื้นผิวของดาวอังคารได้รายงานถึงการปล่อยก๊าซจากตัวอย่างดินบนดาวอังคารที่ถูกทำให้อุ่นที่นักวิทยาศาสตร์บางคนได้ยืนยันว่ามีความสอดคล้องกับการมีอยู่ของจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ การขาดหลักฐานยืนยันจากการทดลองอื่นๆในกลุ่มตัวอย่างเดียวกันแสดงให้เห็นว่าปฏิกิริยาที่ไม่ใช่ทางชีวภาพ (non-biological reaction) ดูจะมีแนวโน้มที่เป็นสมมุติฐานที่น่าจะเป็นไปได้มากกว่า ในปี 1996, มีรายงานโต้แย้งระบุว่า มีโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายนาโนแบคทีเรีย (nanobacteria) ถูกค้นพบในอุกกาบาต, ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า เอแอลเอช 84001 (ALH84001), อยู่ในรูปแบบของก้อนหินที่พุ่งกระเด็นออกมาจากดาวอังคาร (rock ejected from Mars) ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2005 นักวิทยาศาสตร์ของนาซารายงานว่าพวกเขาอาจได้พบหลักฐานบางอย่างของชีวิตบนดาวอังคาร สองนักวิทยาศาสตร์ ได้แก่, แครอล สโตกเกอร์ (Carol Stoker) และ ลาร์รี่ เลมกี แห่งศูนย์วิจัยเอมส์ (Ames Research Center) ของนาซ่า ตามข้ออ้างของพวกเขาที่ได้พบก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศของดาวอังคารคล้ายกับการผลิตก๊าซมีเทนบางรูปแบบของชีวิตดึกดำบรรพ์ดั้งเดิมบนโลก, เช่นเดียวกับการศึกษาของพวกเขาเกี่ยวกับชีวิตดึกดำบรรพ์ที่อยู่ใกล้ แม่น้ำริโอทินโต (Rio Tinto river) ในสเปน", "title": "สิ่งมีชีวิตนอกโลก" }, { "docid": "561290#5", "text": "ในรอว์ 28 ตุลาคม จอห์น ซีนา แชมป์โลกเฮฟวี่เวทคนใหม่ ออกมาบอกว่าในเฮลอินเอเซล (2013) มีหลายคนมีความสุขแต่ก็มีหลายคนไม่พอใจ แต่นั่นก็หมายความว่าเขากลับมาแล้ว!! คิดถึงไหมล่ะ? คิดว่าเขาควรจะหายไปนานกว่านี้หรือเปล่า? และเจบีแอลก็มักจะพูดอยู่ตลอดว่าถ้าเขากลับมาเขาจะโดนเดล รีโออัดจนต้องเลิกปล้ำ แต่เจบีแอลก็คิดผิดเพราะเขาเป็นแชมป์โลกคนใหม่แล้ว แซนดาวออกมาบอกว่าซีนาอาจจะหลอกคนดูได้ หลอกหมอได้ แต่หลอกเขาไม่ได้หรอก ซีนาไม่มีทางหายเจ็บเร็วขนาดนั้น แกต้องเจ็บมากกว่าที่แสดงออกให้คนเห็น และที่ออกมาโม้ในวันนี้ก็เพราะว่า ซีนากลัวว่าเขาจะออกมาใช้กระเป๋า แซนดาวบอกว่าเขาจะใช้กระเป๋าเมื่อไหร่ก็ได้ แต่คงไม่ใช่คืนนี้ ว่าแล้วก็เดินจากไป แต่ซีนาทำท่าจะหาเรื่องแซนดาว ทำให้แซนดาวกระทืบซีนาทันที แล้วก็ใช้กระเป๋าฟาดรัวใส่แขนของซีนา แซนดาวลากซีนาไปที่มุมเวที เอาแขนฟาดกับเสาเหล็ก จากนั้นก็เหวี่ยงอัดใส่ที่กั้นคนดู แล้วก็เหวี่ยงใส่ขั้นบันไดเหล็กอีก แล้วปิดท้ายด้วยเก้าอี้ฟาดใส่แขนซีนา แซนดาวเรียกกรรมการออกมาและขอใช้กระเป๋าเดี๋ยวนี้!! สุดท้ายแซนดาวก็เป็นฝ่ายแพ้ และกลายเป็นคนที่2 ที่ใช้กระเป๋าไม่สำเร็จ", "title": "แดเมียน แซนดาว" }, { "docid": "872167#3", "text": "ค่อนข้างเป็นที่แน่นอนว่า ในบางช่วงเวลา เขาไปยังเมืองกุสุมาปุระ (Kusumapura) เพื่อศึกษาขั้นสูงทั้งฮินดูและพุทธและอาศัยอยู่ที่นั่นเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่นเดียวกับภาสการา ที่ 1 กลอนบรรยายว่าอารยภัฏเป็นหัวหน้าของสถาบันการศึกษา (kulapa ) ที่ Kusumapura และเพราะมหาวิทยาลัยนาลันทา (Nalanda) อยู่ในปาฏลีบุตรมีหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์อยู่ จึงสันนิษฐานว่า อารยภัฏอาจได้เป็นหัวหน้ามหาวิทยาลัยนาลันทาเช่นกัน อารยภัฏยังมีชื่อเสียงจากการสร้างหอดูดาวที่วัดพระอาทิตย์ (The Sun temple) ที่เมืองตาเรกะนะ (Taregana) ในรัฐพิหาร", "title": "อารยภัฏ" }, { "docid": "992287#0", "text": "เคปเลอร์-61บี (Kepler-61b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบซูเปอร์เอิร์ธ ที่โคจรในเขตอาศัยได้ของดาวฤกษ์เคปเลอร์-61 ค้นพบโดยยานอวกาศเคปเลอร์ของนาซ่าด้วยวิธีเคลื่อนผ่าน อยู่ห่างจากโลกประมาณ 1,100 ปีแสง (338 พาร์กเซ็ก) ในกลุ่มดาวหงส์", "title": "เคปเลอร์-61บี" }, { "docid": "455437#1", "text": "มีชาวไทยอยู่ประมาณ 60 คนพักอาศัยและทำงานในรัฐกัว โดยมากอยู่ในเมืองพานาจิ และมาร์เกา โดยงานที่ทำมักเป็นงานนวดแผนไทย ร้านเสริมสวยและเชฟในโรงแรมห้าดาว เช่น ทัชฮอลิเดย์วิลเลจ และฮอลิเดย์อินน์ นอกจากนี้ยังมีชาวไทยอยู่อีกราว 50 - 60 คนอาศัยอยู่ในมุมไบ ", "title": "ชาวไทยในอินเดีย" }, { "docid": "10574#2", "text": "จักรวรรดิสากลจักรวาลมีพิภพที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ประมาณ 25 ล้านพิภพ ซึ่งทั้งหมดเคยเป็นอาณานิคมของชาวโลก (ไม่ใช่ชาวอวกาศ รายละเอียดอยู่ในชุดหนังสือข้างต้น) แต่ในท้องเรื่องไม่มีใครจำดาวบ้านเกิดของมนุษย์อย่างโลกได้อีกแล้ว ระบบปฏิทินของจักรวรรดิใช้ จ.ศ. (จักรวาลศักราช) หรือ GE (Galactic Era) ในฉบับภาษาอังกฤษ และ ส.ศ. (สถาปนศักราช) หรือ FE (Foundation Era) ในช่วงหลังของเรื่อง ประมาณกันว่าช่วงเวลาเริ่มต้นของ \"จ.ศ.\" ตรงกับคริสต์ศักราชที่ 12,000 และกินเวลายาวนานไปราว 12,000 ปี", "title": "จักรวรรดิสากลจักรวาล" }, { "docid": "447522#37", "text": "ในระดับพยาธิสรีรวิทยานั้นแอนาฟิแล็กซิสเกิดจากการที่เม็ดเลือดขาวบางชนิดปล่อยสารตัวกลางออกมาเป็นปริมาณมากจากการถูกกระตุ้นด้วยกระบวนการทางภูมิคุ้มกันหรือกระบวนการอื่นที่ไม่ใช่กระบวนการของภูมิคุ้มกัน การวินิจฉัยทำได้โดยอาศัยอาการและอาการแสดง การรักษาหลักคือการใช้อีพิเนฟริน ร่วมกับวิธีการอื่นร่วมด้วย", "title": "แอนาฟิแล็กซิส" } ]
2579
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อใด?
[ { "docid": "266271#1", "text": "พ.ศ. 2477 เมื่อมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 ระยะแรกเปิดสอนระดับปริญญาตรีเพียงสาขาเดียวคือ สาขานิติศาสตร์ ได้รับปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิต ใช้อักษรย่อว่า ธ.บ. โดยในภาคที่ 5 และ 6 ของหลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิต มีวิชาเศรษฐศาสตร์อยู่ 2 วิชา คือ “เศรษฐศาสตร์” และ “ลัทธิเศรษฐกิจ” ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.เดือน บุนนาค เป็นผู้สอนวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นท่านแรก และศาสตราจารย์ฮัจ เจสสัน เป็นผู้สอนวิชาลัทธิเศรษฐกิจ", "title": "คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" }, { "docid": "669#0", "text": "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (; อักษรย่อ: มธ. – TU) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งในชื่อ \"มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง\" (; อักษรย่อ: ม.ธ.ก. – UMPS) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นตลาดวิชา เพื่อการศึกษาด้านกฎหมายและการเมือง สำหรับประชาชนทั่วไป ต่อมาใน พ.ศ. 2495 รัฐบาลเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน นับเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอายุเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และมีประวัติศาสตร์ผูกพันกับพัฒนาการทางการเมือง และความเป็นไปของชาติ ตลอดจนเรื่องของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีผู้ประสาสน์การและอธิการบดีมาแล้ว 23 คน อธิการบดีคนปัจจุบันคือ รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ และนายกสภามหาวิทยาลัย คือ ศาสตราจารย์พิเศษนรนิติ เศรษฐบุตร\nวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศ \"พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558\" ซึ่งได้มีผลให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในอีก 30 วันต่อมา", "title": "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" }, { "docid": "249579#1", "text": "เมื่อแรกก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ตั้งแต่ พ.ศ. 2477 มีหลักสูตรที่เปิดสอน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิต (ธ.บ.) กล่าวคือ เป็นซึ่งเน้นวิชากฎหมายเป็นหลัก และหลักสูตร วิชาการบัญชี", "title": "ธรรมศาสตรบัณฑิต" } ]
[ { "docid": "154582#1", "text": "โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์ เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2528 โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความประสงค์ต้องการสร้างโรงเรียนประถมศึกษาในมหาวิทยาลัย ที่ศูนย์รังสิต เพื่อเป็นโรงเรียนสวัสดิการของบุคลากร ซึ่งได้แก่ ข้าราชการ อาจารย์ อาจารย์ และลูกจ้างของมหาวิทยาลัย รวมถึงประชาชนบริเวณใกล้เคียง ทางมหาวิทยาลัยจึงได้ประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ขอร้องให้ตั้งโรงเรียนประถมขึ้นในมหาวิทยาลัย (หนังสือที่ ศธ. 1403/12408 ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2528) โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เสนอขอให้สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ใช้ที่ดินราชพัสดุในบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ศูนย์รังสิต ซึ่งขึ้นทะเบียนที่ ปท. 480, 476, 500 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เนื่อที่ 12 ไร่ (หนังสือกรมธนารักษ์ ที่ กค. 0407/313 ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2529) เริ่มแรกสำนักงานฯ ได้อนุมัติและให้งบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 105/26 จำนวน 8 ห้องเรียน อาคารเอนกประสงค์ แบบ สปช. 205/26 และสุขาแบบ สปช. 602/26จำนวน 4 ที่นั่ง และได้ให้นายไชโย เขียวนนท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดบางขัน มารักษาการครูใหญ่ และเป็นผู้ควบคุมการดำเนินการก่อสร้าง", "title": "โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์" }, { "docid": "105893#2", "text": "คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2504 ด้วยดำริของศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ซึ่งดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกของคณะด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานทั่วไปให้แก่นักศึกษาทุกคณะในมหาวิทยาลัย ก่อนเลือกแขนงวิชาเฉพาะทางของคณะต่าง ๆ ทั้งนี้ เป็นไปตามจุดมุ่งหมายสองประการคือโดยในยุคเริ่มแรก คณะศิลปศาสตร์ ได้ทำการสอนด้านศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้แก่ทั้งมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นวิชาพื้นฐาน และอีกทั้งประสาทปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต 5 สาขาวิชาอันได้แก่ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาสถิติ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ และสาขาวิชาภาษาศาสตร์ ซึ่งสาขาเหล่านี้ก่อตั้งในปีพ.ศ. 2504 อันเป็นสาขาปีเดียวกันกับการต่อตั้งคณะศิลปศาสตร์แต่เดิม โดยชื่อคณะศิลปศาสตร์นั้นได้รับประทานนามจาก พระองค์เจ้าวรรณไวทยากรณ์ โดยเริ่มทำการสอนครั้งแรกในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ 2505 โดยเปิดสอนรายวิชาศิลปศาสตร์ให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของทั่วทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อนที่จะเลือกเข้าศึกษาตามคณะหรือสาขาวิชาต่างๆในชั้นปีต่อไป โดยดังนี้จึงถือเอาวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2505 เป็นวันสถาปณา \"คณะศิลปศาสตร์\"", "title": "คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" }, { "docid": "504313#0", "text": "คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2529 ซึ่งเป็นคณะลำดับที่ 9 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นคณะแรกที่จัดตั้งขึ้น ณ ศูนย์รังสิต โดยระยะแรกจัดการเรียนการสอน 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาสถิติ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (โดยสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติได้รับโอนมาจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ต่อมาคณะฯได้ขยายการเรียนการสอนในสาขาวิชา เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนมีครบ คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก", "title": "คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" }, { "docid": "48749#4", "text": "ในสมัยแรกเริ่มของการก่อตั้งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น คณบดีคนแรก คือ ศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม และคณะกรรมการร่างหลักสูตรท่านอื่น ได้แก่ ศาสตราจารย์ เสริม วินิจฉัยกุล ศาสตราจารย์ ทวี แรงขำ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร หม่อมเจ้าลักษณเลิศ ชยางกูร ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และ ดร.ยวด เลิศฤทธิ์ ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศหลายประเทศ เช่น วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน (The London School of Economics and Political Science: LSE) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นต้น รวมทั้งได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญของมูลนิธิฟลูไบร์ท (Fulbright) ซึ่งเดินทางเข้ามาในประเทศไทยในช่วงนั้นด้วย หลังจากนั้นการจัดการเรียนการสอนของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย ได้แก่", "title": "คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" }, { "docid": "504351#0", "text": "คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 ได้รับการสถาปนาเป็นคณะลำดับที่ 14 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2539 ในการจัดการศึกษาสาขาวิชาชีพการพยาบาล ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้นจัดตั้งเพื่อผลิตพยาบาล ในการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพแก่สังคม และเพื่อปฏิบัติงาน โดยเน้นความสำคัญของการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลทุกหลักสูตร ให้บริการวิชาการแก่ประชาคมธรรมศาสตร์และสังคม และเน้นการทำวิจัยควบคู่กันไปกับการเรียนการสอนและการบริการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง", "title": "คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" }, { "docid": "67509#1", "text": "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีดำริที่จะจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 ดังมีหลักฐานปรากฏในข้อเสนอแผนดำเนินการโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนาคม 2521 ความว่า “25 ธันวาคม 2511 สภาการศึกษามีหนังสือ ที่ สร.0411 (1) แจ้งว่าได้ส่งเรื่องไปยังมูลนิธิฟอร์ดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขอความช่วยเหลือในการจัดสอนทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ชั้นปริญญาตรี และช่วยในการวางแผนก่อสร้างมหาวิทยาลัยที่รังสิตและวังหน้า” หลังจากปี 2511 ก็ได้มีการพัฒนาที่ดินมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่รังสิตมาโดยลำดับ และได้มีการจัดส่งอาจารย์ไปศึกษาต่อต่างประเทศทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ แต่ในช่วง 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 มหาวิทยาลัยประสบภาวะวิกฤตการณ์ ทางด้านการเมือง จึงทำให้โครงการต่าง ๆ ต้องชงักงันไป", "title": "คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" }, { "docid": "40400#1", "text": "วิทยาลัยสหวิทยาการก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 โดยขณะนั้นมีการเรียนการสอนเฉพาะระดับปริญญาตรี ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ต่อมาเมื่อสภามหาวิทยาลัยได้มีมติให้ยุบบัณฑิตวิทยาลัยใน พ.ศ. 2549 ทำให้โครงการปริญญาเอกสหวิทยาการและโครงการปริญญาโทสตรีศึกษาซึ่งจัดการเรียนการสอน ณ ศูนย์ท่าพระจันทร์ ไม่มีสังกัด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงได้ปรับโครงสร้างของวิทยาลัยสหวิทยาการใหม่ โดยให้โอนการเรียนการสอนของทั้งสองโครงการมาอยู่ภายใต้การบริหารงานของวิทยาลัยสหวิทยาการ ปัจจุบันมีการเรียนการสอนรวม 4 หลักสูตร ได้แก่", "title": "วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" }, { "docid": "348407#1", "text": "ความเป็นมา\nในปี 2530 ดร.ถาวร พรประภา ผู้ก่อตั้งบริษัท สยามกลการ จำกัด และบริษัท ทองถาวร\nอุตสาหกรรม จำกัด มีความประสงค์จะบริจาคที่ดินจำนวน 565 ไร่ 3 งาน 35 ตารางวา (รวม 3 โฉนด)\nบริเวณกิโลเมตรที่ 12 ริมถนนสายชลบุรี-ระยอง ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ให้แก่กระทรวงการคลังเพื่อใช้ในราชการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาส่งเสริมวิชาการและ\nวิชาชีพชั้นสูง เป็นศูนย์การวิจัย และการฝึกอบรม การให้บริการและวิชาการแก่สังคมและดำเนินการที่เป็น\nประโยชน์แก่สาธารณะ", "title": "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา" }, { "docid": "249579#0", "text": "ธรรมศาสตรบัณฑิต เป็นชื่อหลักสูตรการศึกษา ของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (ม.ธ.ก.) ซึ่งเปิดเป็นตลาดวิชา (ไม่มีการสอบเข้า) ผู้สำเร็จหลักสูตรนี้ จะได้รับปริญญาเรียกว่า ปริญญาธรรมศาสตรบัณฑิต (ธ.บ.) หลักสูตรนี้เปิดสอนระหว่าง พ.ศ. 2477 จนถึง พ.ศ. 2491 ก่อนจะเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัย เป็น \"ธรรมศาสตร์\" ในเวลาต่อมา", "title": "ธรรมศาสตรบัณฑิต" } ]
2937
นิวเคลียสหมายถึงอะไร?
[ { "docid": "19858#5", "text": "คำว่านิวเคลียสมาจากคำภาษาละตินว่า\"นิวเคลียส\" คำย่อของ \"nux\" (\"นัท\") หมายถึงเมล็ด (หรือ \"ถั่วเล็ก\") ภายในผลไม้ประเภทน้ำ (เช่นลูกพีช). ในปี 1844, ไมเคิล ฟาราเดย์ ใช้คำนี้ในการอ้างถึง \"จุดกลางของอะตอม\" ความหมายของอะตอมที่ทันสมัย​​ถูกเสนอโดยเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ดในปี 1912 อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีการยอมรับคำว่า \"นิวเคลียส\" ในทฤษฎีอะตอมโดยทันที ในปี 1916 กิลเบิร์ท เอ็น ลูอิสได้ระบุไว้ในบทความที่มีชื่อเสียงของเขา \"อะตอมและโมเลกุล\" ว่า \"อะตอมประกอบด้วย \"kernel\" และส่วนนอกอะตอมหรือ\"เปลือกนอก\"\"", "title": "นิวเคลียสของอะตอม" }, { "docid": "19853#0", "text": "นิวเคลียส (, พหูพจน์: nucleuses หรือ nuclei (\"นิวคลีไอ\") มีความหมายว่า ใจกลาง หรือส่วนที่อยู่ตรงกลาง โดยอาจมีความหมายถึงสิ่งต่อไปนี้ โดยคำว่า นิวเคลียส (Nucleus) เป็นคำศัพท์ภาษาละตินใหม่ (New Latin) มาจากคำศัพท์เดิม \"nux\" หมายถึง ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว ()", "title": "นิวเคลียส" }, { "docid": "426171#0", "text": "ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ นิวเคลียส () หมายถึงกลุ่มของเซลล์ประสาทที่อยู่กันอย่างหนาแน่นภายในสมอง ในภาพตัดกายวิภาคบริเวณนิวเคลียสจะเป็นส่วนเนื้อเทา (gray matter) ที่ถูกรายล้อมด้วยเนื้อขาว (white matter) ซึ่งเป็นส่วนใยประสาท นิวเคลียสมีลักษณะโครงสร้างซับซ้อนประกอบด้วยเซลล์ประสาทหลายชนิดเรียงตัวกันเป็นกลุ่มหรือเป็นชั้นๆ เพื่อทำหน้าที่ร่วมกัน ในสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังประกอบด้วยนิวเคลียสต่างๆ มากนับร้อยนิวเคลียส", "title": "นิวเคลียส (ระบบประสาท)" } ]
[ { "docid": "574954#1", "text": "นิวเคลียสมีหางอยู่ใกล้ศูนย์กลาง (medial) ของสมอง อยู่คร่อมทาลามัส มีอยู่ในซีกทั้งสองของสมอง นิวเคลียสแต่ละตัวมีรูปร่างคล้ายอักษรโรมัน C มีหัวใหญ่ ( ) ด้านหน้า และมีตัว ( ) กับหาง ( ) ที่เล็กลงมาตามลำดับ บางส่วนของนิวเคลียสมีหางบางครั้งเรียกว่า \"หัวเข่า\" ( )\nหัวและตัวของนิวเคลียสมีหางรวมกันเป็นปีกหน้าส่วนด้านล่างของ lateral ventricle หลังจากลำตัวที่ยื่นออกไปด้านหลังศีรษะสักระยะหนึ่ง ส่วนหางก็ม้วนกลับมาด้านหน้า กลายเป็นปีกล่างส่วนเพดานของ lateral ventricle ซึ่งหมายความว่าการผ่าแบ่งหน้าหลัง (coronal) ที่ตัดผ่านส่วนหาง ก็ย่อมจะตัดผ่านตัวและหัวของนิวเคลียสมีหางด้วย", "title": "นิวเคลียสมีหาง" }, { "docid": "284847#0", "text": "เยื่อหุ้มนิวเคลียส () เป็นชั้นของลิพิด ไบเลเยอร์ ที่ห่อหุ้มสารพันธุกรรมในเซลล์ยูคาริโอต ทำหน้าที่เป็นฉนวนทางชีวภาพ แยกส่วนของนิวเคลียสออกจากไซโตซอล ที่เยื่อหุ้มจะมีรูพรุน ที่ควบคุมการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม และสารอื่นๆระหว่างนิวเคลียสกับไซโทพลาสซึม ระหว่างเยื่อหุ้มทั้งสองด้านเป็นช่องว่าง (Perinuclear space) บนเยื่อหุ้มมีช่อง (Nuclear pore) เชื่อมต่อกับ RER ซึ่งมีบทบาทในการส่งต่อรหัสพันธุกรรมออกนอกนิวเคลียสเพื่อสร้างโปรตีน จำนวนช่องนี้ขึ้นกับกิจกรรมของนิวเคลียส เซลล์โอโอไซต์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมีมากถึง 70 ช่องต่อตารางไมครอน ในขณะที่เซลล์เม็ดเลือดขาวมีเพียง 3-4 ช่องต่อตารางไมครอน เยื่อหุ้มทั้งสองชั้นเป็นชั้นลิพิด ไบเลเยอร์ เยื่อชั้นนอกต่อเนื่องกับ RER ส่วนเยื่อหุ้มชั้นในมีโปรตีนชนิดต่างๆฝังตัวอยู่", "title": "เยื่อหุ้มนิวเคลียส" }, { "docid": "494374#2", "text": "ชั้นพลังงานที่ถูกเติมจนเต็มจะมีจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่เท่ากับเลขมหัศจรรย์ เลขมหัศจรรย์ที่เป็นไปได้สำหรับจำนวนนิวตรอนในนิวเคลียสทรงกลมคือ 114, 120 และ 126 ซึ่งหมายความว่าไอโซโทปทรงกลมที่เสถียรที่สุดจะเป็น ฟลีโรเวียม-298, อูนไบนิลเลียม-304 และ อูนไบเฮกเซียม-310 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Ubh-310 ซึ่งมีเลขมหัศจรรย์คู่ (เนื่องจากเลขโปรตอนของมันเท่ากับ 126 และเลขนิวตรอนของมันเท่ากับ 184 ซึ่งคาดว่าเป็นเลขมหัศจรรย์) จึงน่าจะมีครึ่งชีวิตที่ยาวนานมาก (ไอโซโทปที่มีนิวเคลียสทรงกลมและเลขมหัศจรรย์คู่ที่เบากว่าน่าจะเป็น ตะกั่ว-208 นิวเคลียสเสถียรที่หนักที่สุดและโลหะหนักที่เสถียรที่สุด)", "title": "หมู่เกาะแห่งเสถียรภาพ" }, { "docid": "6621#30", "text": "ถ้ามวลของนิวเคลียสหลังจากเกิดปฏิกิริยาฟิวชั่นมีน้อยกว่าจำนวนมวลรวมของอนุภาคขณะที่ยังแยกกัน มวลที่แตกต่างกันระหว่างค่าทั้งสองอาจจะแพร่ออกไปในลักษณะของพลังงานบางอย่าง (เช่น รังสีแกมมา หรือพลังงานจลน์ของอนุภาคบีตา) ดังที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อธิบายไว้ในสมการสมมูลระหว่างมวล-พลังงาน \"E\" = \"mc\" เมื่อ \"m\" คือมวลที่สูญหายไป และ \"c\" คือความเร็วแสง จำนวนที่หายไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของพลังงานยึดเหนี่ยวของนิวเคลียสใหม่ และเป็นการสูญเสียพลังงานแบบไม่มีวิธีย้อนกลับ ซึ่งทำให้อนุภาคที่หลอมรวมกันยังคงอยู่ในสถานะที่จำเป็นต้องใช้พลังงานในระดับนั้นเพื่อแยกตัวออกจากกัน", "title": "อะตอม" }, { "docid": "19858#15", "text": "รัศมีของนิวเคลียส (\"R\") ถูกพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในปริมาณพื้นฐานที่ทุกแบบจำลองจะต้องคาดการณ์เอา สำหรับนิวเคลียสที่เสถียร (ไม่ใช่นิวเคลียสที่มีรัศมีหรือนิวเคลียสบิดเบี้ยวอื่น ๆ ที่ไม่เสถียร) รัศมีของนิวเคลียสจะมีค่าโดยประมาณเป็นสัดส่วนกับรากที่สามของเลขมวล (\"A\") ของนิวเคลียสและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในนิวเคลียสที่มีนิวคลีออนจำนวนมาก เมื่อพวกมันจัดเรียงตัวแบบทรงกลมมากขึ้น:", "title": "นิวเคลียสของอะตอม" }, { "docid": "19858#33", "text": "เช่นเดียวกับกรณีของ ฮีเลียมเหลว ที่เป็น สุดยอดของเหลว () นิวเคลียสของอะตอมจะเป็นตัวอย่างหนึ่งของสถาวะที่ทั้ง (1) กฎทางกายภาพของอนุภาค \"ธรรมดา\" สำหรับปริมาณ และ (2) กฎของกลศาสตร์ควอนตัมที่ใช้งานไม่ง่ายสำหรับธรรมชาติที่เหมือนคลื่นจะนำมาประยุกต์ใช้ ในฮีเลียมสุดยอดของเหลว อะตอมของฮีเลียมมีปริมาณ และ \"สัมผัส\" ซึ่งกันและกันเป็นหลัก ในเวลาเดียวกัน ก็ยังแสดงคุณสมบัติจำนวนมากที่แปลก, สม่ำเสมอกับ การควบแน่นแบบ Bose-Einstein การควบแน่นนี้เปิดเผยว่าพวกมันยังมีธรรมชาติเหมือนคลื่นและไม่แสดงคุณสมบัติของของเหลวมาตรฐานอีกด้วย เช่นแรงเสียดทาน สำหรับนิวเคลียสที่ทำจาก แฮดรอน ซึ่งเป็นพวก เฟอร์มิออน ประเภทเดียวกันของการควบแน่นจะไม่ได้เกิดขึ้น และยิ่งกว่านั้น คุณสมบัติของนิวเคลียสจำนวนมากสามารถที่จะอธิบายได้เช่นกันโดยการรวมกันของคุณสมบัติของอนุภาคที่มีปริมาณเท่านั้น รวมเข้ากับลักษณะการเคลื่อนไหวที่ไม่มีแรงเสียดทานของพฤติกรรมเหมือนคลื่นของวัตถุที่ติดกับอยู่ใน วงโคจรควอนตัม ของ Erwin Schrödinger", "title": "นิวเคลียสของอะตอม" }, { "docid": "330721#0", "text": "การสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ () คือคำที่ใช้ในความหมายถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นภายในดาวฤกษ์ ทำให้เกิดนิวเคลียสธาตุต่างๆ ที่หนักกว่าไฮโดรเจน ปฏิกิริยาในทำนองเดียวกันแต่มีขนาดเล็กกว่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ที่พื้นผิวดาวฤกษ์เช่นกัน ภายใต้สภาวะอันหลากหลาย สำหรับการเกิดธาตุจากเหตุการณ์ระเบิดของดาวฤกษ์ จะใช้คำเรียกว่า การสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวา", "title": "การสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์" } ]
1495
กรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มต้นเมื่อไหร่?
[ { "docid": "16485#0", "text": "ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325", "title": "อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)" } ]
[ { "docid": "118491#0", "text": "พระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (เซน)และคุณหญิงก้อนทอง รับราชการเป็นมหาดเล็กตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ตอนปลายกรุงศรีอยุธยาจนเสียกรุงเมื่อ พ.ศ. 2310 เมื่อเสียกรุงได้หลบหนีข้าศึกมารับราชการกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาได้เป็นขุนป้องพลขันธ์ และหลวงศรีเนาวรัตน์ตามลำดับ ได้ร่วมรบกับข้าศึกจนผลัดแผ่นดินเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี มีหน้าที่กำกับราชการกรมท่าขวาและดูแลมุสลิมทั่วราชอาณาจักร ถือเป็นจุฬาราชมนตรีท่านแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ท่านถึงแก่อนิจกรรมในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่ออายุได้ 82 ปี ศพของท่านฝังอยู่ที่มัสยิดต้นสน", "title": "พระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว)" }, { "docid": "746399#4", "text": "\"พงศาวดารเหนือ\" คือบันทึกประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานี้ โดยแม้ไม่ทราบแน่ชัดว่าเริ่มบันทึกเมื่อไหร่ เนื้อหาคาดการณ์ว่าอยู่ในช่วง ค.ศ. 500 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 ฉบับล่าสุดนั้นอยู่ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์", "title": "ประวัติศาสตร์ไทยช่วงต้น" }, { "docid": "923565#3", "text": "ปัจจุบัน ท่าเตียนเป็นทั้งตลาดและสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม มีร้านอาหารและร้านกาแฟเป็นจำนวนมาก ในส่วนของตลาด เป็นตลาดที่นับว่าใหญ่ที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นตลาดที่มีสินค้าหลากหลายประเภทขายทั้งสินค้าทางการเกษตรหรือข้าวของเครื่องใช้ เนื่องจากเป็นท่าจอดเรือที่มีชัยภูมิเหมาะสม โดยในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีชื่อเรียกว่า \"ตลาดท้ายวัง\" หรือ \"ตลาดท้ายสนม\" กินอาณาบริเวณตั้งแต่ถนนท้ายวังจนถึงตลาดท่าเตียนในปัจจุบัน เป็นตลาดที่บรรดานางในหรือนางสนมจะออกจากกำแพงพระบรมมหาราชวังมาจับจ่ายซื้อข้าวของต่าง ๆ โดยสินค้าที่นิยมมากที่สุด คือ ดอกไม้ ต่อมาได้รวมเป็นตลาดเดียวกับตลาดท่าเตียน จนกระทั่งถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเริ่มมีการสร้างอาคารขึ้นมาอย่างเป็นรูปร่าง โดยวางแนวเป็นรูปตัวยู ด้วยสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก และมีสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น และกลายมาเป็นแหล่งค้าส่งแห่งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น วัสดุก่อสร้าง, เครื่องตัดหญ้า, อะไหล่รถยนต์, ผักและผลไม้, น้ำตาล, ลูกอมหรือท็อฟฟี่ รวมถึงอาหารทะเลแห้ง เป็นต้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ท่าเตียนมีสถานะเป็นตำบลชื่อ \"ตำบลท่าเตียน\" ขึ้นอยู่กับอำเภอพระราชวัง (เขตพระนครในปัจจุบัน) ปัจจุบันอาคารพาณิชย์ตลอดจนบ้านเรือนต่าง ๆ ได้รับการบูรณะปรับปรุงโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในปี พ.ศ. 2556 ให้แลดูใหม่และสวยงามยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับที่ท่าช้างที่อยู่ใกล้เคียง โดยทำการปรับปรุงทั้งสิ้น 55 คูหา", "title": "ท่าเตียน" }, { "docid": "5256#25", "text": "ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ขับไล่ทหารพม่าออกจากแผ่นดินไทย ทำการรวมชาติ และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัยอยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง อย่างไรก็ตาม ภายหลังสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้สถาปนาตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเทพมหานคร เริ่มยุคสมัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์", "title": "ประวัติศาสตร์ไทย" }, { "docid": "651188#2", "text": "พ.ศ. 2335 ปรากฏว่าได้รกร้างอยู่ คุณชีพี่สาวของเจ้าพระยานคร(พัฒน์) ได้ศรัทธา สร้างวัดแจ้งขึ้นใหม่คู่กับคุณหญิงมารดาของเจ้าพระยานครพัฒน์ได้สร้างวัดประดู่ ฯ ขึ้นใหม่เช่นเดียวกัน จึงกล่าวกันว่า สองวัดนี้เป็นวัดแม่วัดลูกกัน ดังกล่าวมาแล้ว และถือว่าเป็นวัดสาหรับวงศ์ตระกูล ณ นคร ได้รับบารุงเป็นอย่างดีตลอดมา จัดเป็นวัดสาคัญรองจากวัดพระบรมธาตุ(พระมหาธาตุ)ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะในสมัยนั้นวัดพระบรมธาตุ เป็นเพียงพุทธาวาส และวัดท่าโพธิ์(เก่า)ที่ยังไม่มีความสาคัญอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้(วัดท่าโพธิ์ใหม่)ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าวัดสาคัญที่สุดในสังคมเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ คือประมาณ 200 ปี มาแล้วได้แก่วัดแจ้งนี้เอง\nที่สร้าง “วัดประดู่” มูลเหตุที่สร้างเนื่องจากได้แรงใจที่เจ้าพระยานคร (พัฒน์) ได้เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช\nก่อนนี้บริเวณที่ตั้งวัดแจ้งเป็นที่รกร้างว่างเปล่า คุณชีเห็นทำเลสวยงาม จึงได้สร้างวัดขึ้น โดยเหตุที่ตรงนี้ปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่ มืดครึ้มตลอดเวลาแสงแดดส่องไม่ถึง เมื่อได้สร้างวัดขึ้นแล้ว", "title": "วัดแจ้งวรวิหาร" }, { "docid": "235557#1", "text": "ฟ้าใหม่เป็นละครโทรทัศน์ไทยแนวนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ มีเนื้อหาอิงประวัติศาสตร์ไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย กรุงธนบุรี จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผ่านสายตาของตัวละครหลักชื่อ \"แสน\" นายทหารมหาดเล็กเชื้อสายผู้ดีแขกเทศ เพื่อนร่วมสาบานรุ่นของคุณคนใหญ่ (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช), คุณคนกลาง (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) และคุณคนเล็ก (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) ซึ่งได้เค้าโครงมาจากประวัติของเจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) ต้นสกุลบุนนาค ที่คุณศุภรเป็นสะใภ้คนหนึ่งของตระกูลนี้", "title": "ฟ้าใหม่" }, { "docid": "928466#1", "text": "โดยชื่อถนนนั้นมาจากพระนามพระอิสริยยศ ของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ พระโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กับพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี เนื่องจากในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ บริเวณท่าช้าง หรือวังหน้า อันเป็นจุดเริ่มต้นของถนน เคยเป็นที่ตั้งวังประทับของพระองค์มาก่อน", "title": "ถนนเจ้าฟ้า" }, { "docid": "581209#3", "text": "ในทำเนียบ \"ตำแหน่งพระราชาคณะในกรุงนอกกรุง ครั้งกรุงเก่า\" ปรากฏชื่อพระพุทธโฆษา วัดพุทไธศวรรย์ เป็นพระราชาคณะในคณะคามวาสีฝ่ายขวา ถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้เปลี่ยนเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะเหนือ (บางรูปเป็นเจ้าคณะกลาง) ตอนแรกมีสมณศักดิ์ระหว่างชั้นธรรมกับเจ้าคณะรอง ต่อมายกขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะจวบจนปัจจุบัน", "title": "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" }, { "docid": "342810#8", "text": "ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเหมือนกรุงศรีอยุธยาแห่งที่สอง มีการสร้างสถาปัตยกรรมที่สำคัญเลียนแบบกรุงศรีอยุธยา ส่วนบ้านพักอาศัย เรือนไทยที่คงเหลือจากสงครามก็ถูกถอดและนำประกอบใหม่", "title": "สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์" }, { "docid": "294896#1", "text": "จัดเป็นอาหารชนิดแรกที่ปรากฏในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ความว่า", "title": "แกงมัสมั่น" }, { "docid": "32436#2", "text": "ประชาชนโดยมากมักเรียกชื่อคลองแตกต่างตามสถานที่ที่คลองผ่าน เช่น ตอนต้นเรียก \"คลองบางลำพู\" ตามชื่อตำบล เมื่อผ่านสะพานหันเรียก \"คลองสะพานหัน\" เมื่อผ่านวัดเชิงเลน เรียก \"คลองวัดเชิงเลน\" และช่วงสุดท้ายเรียก \"คลองโอ่งอ่าง\" เพราะเคยเป็นแหล่งค้าขายเครื่องดินเผาของชาวมอญและชาวจีน เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ให้เรียกชื่อคลองนี้ให้ถูกต้องว่า \"คลองรอบกรุง\"", "title": "คลองรอบกรุง" }, { "docid": "900327#2", "text": "ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชาวเขมรที่เข้ารีตศาสนาคริสต์ที่หลบลี้ภัยสงครามมา เข้ามาอยู่อาศัยที่บ้านโปรตุเกสนี้ ทำให้หมู่บ้านโปรตุเกสเปลี่ยนชื่อเป็น \"หมู่บ้านเขมร\" โดยมีชาวเขมรผู้หนึ่งชื่อ นายแก้ว มีตำแหน่งเป็นจางวาง ทำหน้าที่เป็นนายหมู่บ้านด้วย ต่อมาสังฆราชปาเลกัว (ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว) ได้เข้ามาเป็นอธิการวัดคอนเซ็ปชัญ ก็ได้สร้างความเจริญให้แก่วัดแห่งนี้ตราบจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชาวญวนที่อพยพเข้ามาในกรุงรัตนโกสินทร์อันเนื่องจากมีการปราบปราบชาวญวนที่นับถือศาสนาคริสต์ เข้ามาอาศัยอยู่ยังบริเวณวัดส้มเกลี้ยง ซึ่งเป็นวัดร้าง เหนือหมู่บ้านเขมร เรียกกันว่า \"หมู่บ้านญวน\" และมีการสร้างวัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ และกลายมาเป็นชุมชนชาวญวนมาจนถึงปัจจุบัน", "title": "ถนนสามเสน" }, { "docid": "313000#0", "text": "การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระมหากษัตริย์ไทยเพียงพระองค์เดียวในสมัยกรุงธนบุรี เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2325 เป็นเหตุการณ์ที่ไม่แน่ชัด ในหลักฐานส่วนใหญ่มักถือว่าพระองค์ทรงเสียพระสติ หรือสติฟั่นเฟือน จึงทรงถูกขบถแลสำเร็จโทษโดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) อันเป็นการสิ้นสุดสมัยธนบุรี พร้อมกับการเริ่มต้นของราชวงศ์จักรี และสมัยรัตนโกสินทร์ อย่างไรก็ตาม ยังปรากฏหลักฐานที่ชี้ว่าพระองค์สวรรคตด้วยสาเหตุอื่น", "title": "การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี" }, { "docid": "170064#1", "text": "วัดมหาพฤฒารามเป็นวัดโบราณที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของคลองผดุงกรุงเกษม แต่เดิมในช่วงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น วัดนี้แต่เดิมชื่อว่า \"วัดท่าเกวียน\" เนื่องจากเคยเป็นที่พักแรมของกองเกวียน ที่เดินทางเข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ แต่ต่อมาชาวบ้านก็พากันเรียกชื่อวัดนี้ว่า \"วัดตะเคียน\" สันนิษฐานว่า เรียกชื่อวัดตามต้นตะเคียนที่ขึ้นหนาแน่นอยู่รอบบริเวณวัดที่มีอาณาบริเวณถึง 14 ไร่", "title": "วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร" }, { "docid": "28051#21", "text": "หากถือตามหลักฐานของพระครูกัลยาณานุกูลที่กล่าวว่ามารดาของท่านเป็นคนท่าอิฐ นางเกตุ ที่ขึ้นล่องเรือลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลังตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ย่อมมีความสอดคล้องกับประวัติของเมืองอุตรดิตถ์[22] ที่กล่าวว่าช่วงกรุงศรีแตก แถบอุตรดิตถ์ไม่ได้รับผลกระทบเพราะอยู่นอกทางเดินทัพ ทำให้แถบนี้มีคนแถบเมืองเหนือมาอาศัยหลบภัยมาก จนมีการตั้งชุมนุมพระฝางเป็นเมืองใหญ่ ในช่วงหลังชุมนุมเจ้าพระฝางแตกในปี พ.ศ. 2313[23] เมืองท่าอิฐได้โรยราไปพักหนึ่งจนถึงช่วงต้นรัตนโกสินทร์ เมืองพระฝางซึ่งอยู่เหนือท่าอิฐที่เคยเป็นชุมนุมใหญ่ก็ได้ทรุดโทรมจนหมดความสำคัญลง[24] ทำให้ช่วงหลังครอบครัวมารดาของท่านจึงอพยพย้ายถิ่นมาทำมาหากินทางแถบเมืองใต้ (ภาคกลาง) แต่ช่วงหลัง ตำบลท่าอิฐก็เริ่มมีความเจริญสืบมาจนสมัยรัชกาลที่ 5", "title": "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)" }, { "docid": "59664#1", "text": "ตอนที่นิยมนำมาเล่นกันมากในการแสดงละครนอกและละครหุ่นหลวงคือ ตอนไชยทัตต้องคุณ นอกจากนี้ เรื่องไชยทัตก็ยังได้รับความนิยมมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรีและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น", "title": "ไชยทัต" }, { "docid": "6106#3", "text": "ต่อมา สามเณรสาได้ถวายตัวเป็นศิษย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงผนวชพำนักที่วัดสมอราย (ปัจจุบันคือวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร) เนื่องจากได้ยินกิตติศัพท์ว่าทรงปราดเปรื่องเรื่องภาษาบาลีจนหาผู้เทียบได้ยาก เมื่อได้สมัครเป็นศิษย์ ก็ถ่ายทอดความรู้ภาษาบาลีให้สามเณรสา จนกระทั่งเมื่อสามเณรสาอายุได้เพียงแค่ 18 ปีก็สามารถแปลพระปริยัติธรรมได้ถึงเปรียญธรรม 9 ประโยค เป็นที่อัศจรรย์ในความฉลาดปราดเปรื่องยิ่งนัก สมัยนั้นยังแปลพระปริยัติธรรมกันด้วยปากเปล่า (หมายถึงแปลสดให้กรรมการฟัง แล้วแต่กรรมการว่าจะให้แปลคัมภีร์อะไร หน้าเท่าไหร่) เป็นที่โจษจันไปทั่วพระนคร สามเณรสาจึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวงสายเปรียญธรรมรูปแรกในกรุงรัตนโกสินทร์", "title": "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว)" }, { "docid": "658464#16", "text": "ภายในพระอุโบสถประดิษฐาน พระพุทธรูปศิลาแลงประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย – ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ด้านข้างซ้าย-ขวามีพระอัครสาวกยืนพนมมือ ฐานชุกชีด้านหลังพระประธานประดิษฐาน พระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย และปางสมาธิ ศิลปะรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ ๕ อีก ๑๐ องค์ และ พระอัครสาวกยืนพนมมือ", "title": "วัดขนอน" }, { "docid": "23250#0", "text": "โคลงนิราศพระยาตรัง หรือ โคลงนิราศถลาง เป็นนิราศคำโคลง แต่งโดยพระยาตรังคภูมาภิบาล (พระยาตรัง) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองตรังในสมัยกรุงธนบุรีและช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นิราศเรื่องนี้ไม่ปรากฏชื่อเรื่อง แต่เรียกกันโดยทั่วไปว่า นิราศพระยาตรัง โคลงนิราศพระยาตรัง นิราศตรัง หรือโคลงนิราศถลาง ", "title": "โคลงนิราศพระยาตรัง" }, { "docid": "1919#13", "text": "โดยนามเดิมที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ พระราชทานในตอนแรกนั้น ใช้ชื่อว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา” ต่อมาในในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้นามพระนครเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา” จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนคำว่า บวร เป็น อมร เปลี่ยนคำว่า มหินทอยุธยา โดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น มหินทรายุธยา และเติมสร้อยนามต่อ ทั้งเปลี่ยนการสะกดคำ สินท์ เป็น สินทร์ จนเป็นที่มาของชื่อเต็มของกรุงรัตนโกสินทร์ ข้างต้น[17]", "title": "กรุงเทพมหานคร" }, { "docid": "923565#1", "text": "ท่าเตียน มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคเริ่มต้นสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ โดยอยู่บริเวณด้านหลังพระบรมมหาราชวัง และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยที่ชื่อ \"ท่าเตียน\" มีที่มาต่าง ๆ กันไป บ้างก็ว่าเกิดจากในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ที่แถบนี้เคยเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ จนราบเรียบเหี้ยนเตียน หรือเชื่อว่ามาจาก \"ฮาเตียน\" เมืองท่าแห่งหนึ่งในตอนใต้ของประเทศเวียดนาม (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดเกียนซาง \"ในต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นดินแดนของไทย ในชื่อ บันทายมาศ หรือ พุทไธมาศ\") เนื่องจากแถบนี้ในอดีตเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวญวนอพยพหนีภัยสงครามจากเว้ ตั้งแต่ยุคกรุงธนบุรี ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และชาวญวนเหล่านี้ได้เรียกชื่อถิ่นฐานนี้ว่าฮาเตียน เนื่องจากมีภูมิทัศน์คล้ายกับฮาเตียนเพื่อคลายความคิดถึงถิ่นฐานตนเอง และได้เรียกเพี้ยนมาเป็นท่าเตียนในที่สุด แต่ทั้งนี้ท่าเตียนปรากฏมาตั้งแต่อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏหลักฐานเป็นนิราศของหม่อมพิมเสนเรียกว่า \"บางจีน\" สันนิษฐานว่าอาจเคยเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวจีนด้วย", "title": "ท่าเตียน" }, { "docid": "907633#9", "text": "ปูชนียวัตถุสำคัญ คือ \"พระโพธิราช\" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก กว้าง 12 นิ้ว ศิลปวัตถุสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จำนวน 1 องค์", "title": "วัดโพธิ์ตาก" }, { "docid": "106095#2", "text": "ในจดหมายเหตุสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคถวายผ้าพระกฐินหลวง ณ วัดปากน้ำ ตลอดรัชกาลวัดปากน้ำได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด คือ ได้รับพระราชทานพระราชทรัพย์จากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในการซ่อมหลังคาพระอุโบสถคราวหนึ่ง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่ในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และให้คงรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาไว้ ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทางวัดได้รับพระบรมราชานุญาตบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เกือบทั้งอารามโดยให้อนุรักษ์ศิลปะเดิมไว้ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์นำพระกฐินหลวงมาถวายตลอดรัชกาล ในสมัยรัชกาลที่ 6 วัดปากน้ำได้ชำรุดทรุดโทรมลง ไม่มีเจ้าอาวาสประจำพระอาราม มีแต่ผู้รักษาการที่อยู่ในอารามอื่น", "title": "วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ" }, { "docid": "623054#4", "text": "ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว สายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์\" จะมีส่วนจัดแสดงต่าง ๆ อาทิ นิทรรศการประวัติศาสตร์และคุณค่าของสายน้ำแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์และเรือพระที่นั่งจำลอง อาคารบ้านเรือนจากต้นกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน ประดับด้วยพรรณไม้ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดตลาดทั้งทางบกและทางน้ำด้วย ทั้งนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมี ผบ.ตร. จักรทิพย์ ชัยจินดา ได้เตรียมความพร้อมในการอำนวยความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกด้านการจราจรในการจัดงาน ให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย", "title": "รัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557" }, { "docid": "276879#0", "text": "พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสที่กรุงรัตนโกสินทร์จะมีอายุ บรรจบครบ 200 ปี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2525 ซึ่งรัฐบาลสมัย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า ในปีพ.ศ. 2525 กรุงรัตนโกสินทร์จะมีอายุได้ 200 ปี นับเป็นมหามงคลสมัยแสดงถึงความมั่นคงของบ้านเมือง ได้ผ่านพ้นภัยพิบัติต่างๆ มาโดยสวัสดี มีความร่มเย็นเป็นสุขด้วยพระบารมีของพระผู้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และด้วยพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ผู้สืบราชสันตติวงศ์ทุกรัชกาลโดยลำดับ รัฐบาลและปวงชนชาวไทยจึงมีความปีติยินดี พร้อมกันแสดงความกตเวทิตาคุณ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อ พระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ และบรรพชนไทยที่จรรโลงชาติให้มีความรุ่งเรืองสันติสุขสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้ ", "title": "พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี" }, { "docid": "213469#0", "text": "วัดเก่าแก่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์\nสมัย ร.5 ได้มีการบูรณะโดยสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา", "title": "วัดสุคันธศีลาราม" }, { "docid": "45660#5", "text": "เรื่องราวของศรีปราชญ์ได้รับการดัดแปลงและขยายความเป็นอันมากในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในงานเขียนของพระยาตรัง กวีเอกสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และงานเขียนของพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) ข้าราชการสมัยรัชกาลที่ 6[3]", "title": "ศรีปราชญ์" }, { "docid": "155222#0", "text": "พดด้วง เป็นเงินตราของไทยโบราณ ใช้แลกเปลี่ยนหมุนเวียนในประเทศไทยเป็นเวลายาวนาน ประมาณกว่า 600 ปี ตั้งแต่กรุงสุโขทัย อยุธยาจนถึง กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยทำจากแท่งเงินบริสุทธิ์ตามน้ำหนักพิกัดของราคา ทุบปลายทั้งสองข้างให้งอเข้าหากัน มีรูปร่างคล้ายลูกปืนโบราณ ชาวต่างประเทศเรียกเงินชนิดนี้ว่า “Bullet Coin” ", "title": "พดด้วง" }, { "docid": "142465#16", "text": "ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จะยึดหลักการสร้างแบบพระเมรุมาศตามตำราโบราณราชประเพณีครั้งกรุงเก่าทุกประการ คือ ทำเป็นพระเมรุอย่างใหญ่ มีตัวพระเมรุ 2 ชั้นต่างไปอยู่ภายในพระเมรุชั้นนอกที่ทำเป็นพระเมรุยอดปรางค์หรือยอดรูปดอกข้าวโพด ส่วนใหญ่เป็นไปตามแบบแผนมีต่างกันไปในรายละเอียดเรื่องการออกแบบตามฝีมือช่าง[14] สำหรับพระเมรุมาศพระบรมศพรัชกาลที่ 4 ถือได้ว่า เป็นพระเมรุมาศสุดท้ายที่ทำตามแบบโบราณราชประเพณี แต่พระเมรุใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมียอดเรือนเพียง 5 ยอด ตามแบบอยุธยาได้ยุติลง และกลายเป็นว่ารูปแบบ พระเมรุโท ที่เป็นปรางค์ 5 ยอดตามแบบแผนอยุธยา กลับทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ความเป็นพระเมรุเอก สำหรับกษัตริย์ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น[15]", "title": "พระเมรุมาศ" }, { "docid": "28724#13", "text": "เครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรทั้ง 3 ฤดู กรมธนารักษ์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้นำออกจัดแสดง ณ ศาลาเครื่องราชอิสริยยศและเหรียญกษาปณ์ไทย ภายในพระบรมมหาราชวัง ระหว่างที่รอการผลัดเปลี่ยนตามฤดูกาล ซึ่งเครื่องทรงฯ ทั้ง 3 ฤดูเริ่มมีสภาพชำรุดไปตามกาลเวลา เนื่องจากมีอายุกว่า 200 ปี และในโอกาสฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี สำนักพระราชวังได้ทำการบูรณะซ่อมแซมเครื่องทรงพระพทุธมหามณีรัตนปฏิมากรทั้ง 3 ฤดู ในส่วนที่ชำรุด และได้มีการใช้ต่อเนื่องมาโดยตลอด จึงทำให้เครื่องทรงฯ ชำรุดมากขึ้น ต้องทำการซ่อมแซมอีก แต่ด้วยเป็นศิลปโบราณวัตถุที่มีลวดลายที่ละเอียดอ่อนบอบบางและเป็นฝีมือช่างโบราณช่วงสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาต่อกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงทำให้ไม่สามารถหาช่างฝีมือมาซ่อมแซมให้เหมือนเดิมได้", "title": "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร" } ]
3344
อัคระตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบใด?
[ { "docid": "541563#2", "text": "อัคระตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง (Semiarid climate) ประกอบด้วยฤดูหนาวที่ไม่รุนแรง ร้อนและแห้งแล้งในฤดูร้อน และฤดูมรสุม ซึ่งในฤดูมรสุมนั้น ในบริเวณเมืองอัคระ จะไม่มีลมมรสุมที่แรงเหมือนในส่วนอื่นๆของประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของภูมิอากาศแบบนี้ ตรงข้ามกันกับภูมิอากาศส่วนใหญ่ของอินเดีย ซึ่งเป็นภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Humid subtropical climate)", "title": "อัคระ" } ]
[ { "docid": "727562#0", "text": "ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นภูมิอากาศที่ปรากฏในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน และเป็นหนึ่งในภูมิอากาศแบบเขตกึ่งเขตร้อนนอกจากดินแดนบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแล้วนั้น สหรัฐอเมริกายังเป็นอีกดินแดนหนึ่งที่มีภูมิอากาศแบบนี้ โดยส่วนมากจะอยู่บริเวณรัฐแคลิฟอร์เนีย และทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐออริกอน ภูมิอากาศแบบนี้ยังพบได้มากในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียและรัฐเซาท์ออสเตรเลีย, ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศแอฟริกาใต้, บางส่วนของเอเชียกลาง, และตอนกลางของประเทศชิลี", "title": "ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน" }, { "docid": "250209#12", "text": "การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน ขึ้นอยู่กับค่าเฉลี่ยรายเดือนของอุณหภูมิและปริมาณหยาดน้ำฟ้า รูปแบบที่ใช้กันมากที่สุดมีห้าประเภทหลักที่มีอักษรย่อจาก A ถึง F โดยที่ A หมายถึงเขตร้อน B หมายถึงแห้ง C หมายถึงเย็นกึ่งละติจูด D หมายถึงหนาวกึ่งละติจูด และ E หมายถึงขั้วโลก ห้าจำแนกประเภทหลักเหล่านี้ยังสามารถแบ่งออกเป็นประเภทรอง เช่น ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น, ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน, ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา, ค่อนข้างร้อนชื้น ชื้นภาคพื้นทวีป ภูมิอากาศแบบมหาสมุทร ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ที่ราบกว้างใหญ่ซึ่งไม่มีต้นไม้ () ภูมิอากาศแบบกึ่งขั้วโลกเหนือ, ทุนดรา(ที่ราบที่ไม่มีต้นไม้ในขั้วโลกเหนือ) จุกน้ำแข็งขั้วโลกและทะเลทราย", "title": "ภูมิอากาศ" }, { "docid": "726639#0", "text": "ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าภูมิอากาศแบบเส้นศูนย์สูตร เป็นภูมิอากาศแบบร้อนชื้นมักพบบริเวณแถบบเส้นศูนย์สูตร ประเทศที่มีภูมิอากาศแบบนี้มักจะมีป่าดิบชื้น ในระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน เขตภูมิอากาศนี้แทนด้วยอักษร Af", "title": "ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น" }, { "docid": "1820#8", "text": "พื้นที่ของประเทศฝรั่งเศส รวมทั้งจังหวัดและดินแดนโพ้นทะเล (ไม่รวมดินแดนอาเดลี) คือ 674,843 ตารางกิโลเมตร (260,558 ตารางไมล์) นับเป็น 0.45% ของพื้นแผ่นดินโลกทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามประเทศฝรั่งเศสครอบครองพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะเป็นอันดับสองของโลก ด้วยเนื้อที่ 11,035,000 ตารางกิโลเมตร (4,260,000 ตารางไมล์) นับเป็น 8% ของพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะทั้งหมดในโลก ตามหลังสหรัฐอเมริกา ไปเพียง 316,000 ตารางกิโลเมตร และนำประเทศออสเตรเลียกว่า 2,886,750 ตารางกิโลเมตร ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปตั้งอยู่ระหว่าง 41° and 50° เหนือ บนขอบทวีปยุโรปตะวันตกและตั้งอยู่ในภูมิอากาศเขตอบอุ่นเหนือ ทางภาคเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือมีสภาพภูมิอากาศเขตอบอุ่น แต่กระนั้นภูมิประเทศและทะเลก็มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศเหมือนกัน ละติจูด ลองจิจูดและความสูงเหนือระดับน้ำทะเลทำให้ประเทศฝรั่งเศสมีภูมิอากาศแบบคละอีกด้วย ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ภาคตะวันตกส่วนมากจะมีปริมาณน้ำฝนสูง ฤดูหนาวไม่มากและฤดูร้อนเย็นสบาย ภายในประเทศภูมิอากาศจะเปลี่ยนไปทางภาคพื้นทวีปยุโรป อากาศร้อน มีมรสุมในฤดูร้อน ฤดูหนาวหนาวกว่าเดิมและมีฝนตกน้อย ส่วนภูมิอากาศเทือกเขาแอลป์และแถบบริเวณเทือกเขาอื่น ๆ ส่วนมากมักจะมีภูมิอากาศแถบเทือกเขา ด้วยอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งกว่า 150 วันต่อปีและปกคลุมด้วยหิมะกว่า 6 เดือน จริงนะครับนี่เป็นเมืองที่มีความสวยงามมากเลยนะครับ", "title": "ประเทศฝรั่งเศส" }, { "docid": "726637#1", "text": "การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินนั้นแบ่งเขตภูมิอากาศเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ 5 กลุ่ม (อันประกอบด้วยกลุ่ม A, B, C, D และ E) แต่ละกลุ่มใหญ่จะมีประเภทของเขตภูมิอากาศแบบต่าง ๆ อยู่ โดยแต่ละประเภทจะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์อักษรภาษาอังกฤษตั้งแต่ 2 ถึง 4 ตัวอักษร", "title": "การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน" }, { "docid": "731433#1", "text": "หากอ้างอิงจากระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน ภูมิอากาศแบบนี้มีอุณหภูมิในเดือนที่หนาวเย็นที่สุดระหว่าง −3 องศาเซลเซียส ถึง 18 องศาเซลเซียส มีอุณหภูมิในเดือนที่อบอุ่นที่สุดมากกว่า 22 องศาเซลเซียส นักกาลวิทยาบางท่านกำหนดให้อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส เป็นอุณหภูมิต่ำที่สุดของเดือนที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดในภูมิอากาศแบบนี้ ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นจะมีฤดูหนาวที่แห้งแล้ง (อักษรย่อตามระบบของเคิพเพิน: w) หรือไม่มีฤดูแล้งที่แน่นอน (อักษรย่อตามระบบของเคิพเพิน: f)", "title": "ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น" }, { "docid": "2065#5", "text": "เมื่อรวมดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศสซึ่งตั้งอยู่นอกทวีปยุโรปแต่ยังเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปแล้ว สหภาพยุโรปจะมีภูมิอากาศเกือบทุกชนิดตั้งแต่อาร์กติก (ยุโรปเหนือ-ตะวันออก) ถึงเขตร้อน (เฟรนช์เกียนา) ทำให้ค่าเฉลี่ยทางอุตุนิยมวิทยาของสหภาพยุโรปสิ้นความหมายโดยสิ้นเชิง ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร (ยุโรปเหนือ-ตะวันตกและกลาง) ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (ยุโรปใต้) หรือภูมิอากาศอบอุ่นฤดูร้อนภาคพื้นทวีปหรือกึ่งเขตหนาว (บอลข่านเหนือและยุโรปกลาง)", "title": "สหภาพยุโรป" }, { "docid": "250209#26", "text": "ได้รับการคิดค้นโดยนักภูมิอากาศและนักภูมิศาสตร์ขาวอเมริกัน C.W.​​ Thornthwaite วิธีการจัดหมวดหมู่ของสภาพภูมิอากาศนี้จะตรวจสอบปริมาณของน้ำในดินที่ใช้ในการคายระเหย มันจะเฝ้าตรวจสอบส่วนของหยาดน้ำฟ้าทั้งหมดที่ใช้ในการบำรุงพืชในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง มันจะใช้หลายดัชนีเช่นดัชนีความชื้นและดัชนีความแห้งแล้งในการกำหนดลักษณะความชื้นของพื้นที่ที่ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเฉลี่ยของมันรวมทั้งปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยและชนิดพืชโดยเฉลี่ย ค่าของดัชนีในพื้นที่ใดก็ตามยิ่งต่ำ พื้นที่นั้นยิ่งแห้ง", "title": "ภูมิอากาศ" }, { "docid": "250209#7", "text": "มีหลายวิธีในการจำแนกดินฟ้าอากาศให้เป็นระบอบการจัดการที่คล้ายกัน แต่เดิมอากาศตามฤดูกาล () ถูกกำหนดในกรีซโบราณเพื่ออธิบายสภาพอากาศที่ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งของเส้นรุ้ง วิธีการจำแนกสภาพภูมิอากาศสมัยใหม่จะแบ่งกว้างๆออกเป็นวิธีทาง'พันธุกรรม'ซึ่งมุ่งเน้นไปที่สาเหตุของสภาพภูมิอากาศและวิธีการ'สังเกตุ'ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบของสภาพภูมิอากาศ ตัวอย่างของการจัดหมวดหมู่ทางพันธุกรรมจะรวมถึงวิธีการที่ขึ้นอยู่กับ'ความถี่สัมพัทธ์'ของประเภท'มวลอากาศ'ที่แตกต่างกันหรือตำแหน่งภายในสภาพอากาศรบกวนแบบสรุป () ตัวอย่างของการจำแนกประเภทแบบสังเกตุรวมถึงเขตภูมิอากาศที่กำหนดโดยแข็งแกร่งของพืช () การคายระเหย หรือแบบทั่วไปมากกว่าเช่นการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน ซึ่งได้รับการออกแบบเริ่มแรกมาเพื่อระบุสภาพภูมิอากาศที่เกี่ยวข้องกับชีวนิเวศ () บางอย่าง ข้อบกพร่องที่พบบ่อยของการจำแนกประเภทแบบนี้คือที่พวกเขาผลิตขอบเขตที่แตกต่างกันระหว่างโซนที่พวกเขากำหนด แทนที่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปของคุณสมบัติของสภาพภูมิอากาศที่พบทั่วไปในธรรมชาติ", "title": "ภูมิอากาศ" }, { "docid": "1821#17", "text": "เขตภูมิอากาศแบบทุนดรา หรืออากาศแบบขั้วโลก จะเป็นเขตอากาศที่หนาวเย็นจัดตลอดทั้งปี ส่วนฤดูร้อนสั้นประมาณ 1-2 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยของเขตนี้ เฉลี่ยทั้งปีไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส พืชพรรณธรรมชาติได้แก่ มอสส์ ตะไคร่น้ำ เขตอากาศทุนดราของทวีปยุโรป ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรสแกนดิเนเวียและบริเวณทางเหนือสุดของประเทศรัสเซีย เขตอากาศแบบกึ่งขั้วโลกหรือไทกา ลักษณะอากาศในเขตนี้ คือ เป็นเขตที่มีอากาศหนาวจัดในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 6 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนมีระยะเวลายาวกว่าเขตภูมิอากาศแบบทุนดรา ปริมาณน้ำฝนทั้งปีอยู่ระหว่าง 500-1,000 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติ คือ ป่าสนหรือป่าไทกา บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ คือ นอร์เวย์ สวีเดน และฟินแลนด์ เขตอากาศอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป ลักษณะอากาศของเขตนี้ คือ ฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น เพราะอยู่ลึกเข้าไปในใจกลางทวีป จึงไม่ค่อยได้รับอิทธิพลจากมหาสมุทร พืชพรรณธรรมชาติได้แก่ ป่าไม้ผลัดใบและไม่ผลัดใบผสมกัน ส่วนบริเวณที่มีฝนตกน้อย พืชพรรณธรรมชาติจะเป็นทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ คือ ดินแดนของประเทศโปแลนด์ เช็กเกีย สโลวาเกีย เอสโตเนีย และลัตเวีย เขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก ลักษณะของอากาศในเขตนี้ คือ ฤดูร้อนอากาศเย็นสบาย ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด เพราะเขตนี้มีที่ตั้งอยู่ใกล้มหาสมุทร จึงได้รับอิทธิพลจากมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เขตนี้มีอากาศอบอุ่น ชุ่มชื้น ฝนตกสม่ำเสมอตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยของทั้งปีอยู่ที่ 750-1,500 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้เขตอบอุ่นชนิดป่าไม้ผลัดใบผสมกับป่าสน บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ ครอบคลุมบริเวณของประเทศฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก เยอรมนี สหราชอาณาจักร และทางตอนใต้ของนอร์เวย์และสวีเดน เขตภูมิอากาศอบอุ่นชื้น ลักษณะอากาศของเขตนี้ คือ อากาศอบอุ่น ฤดูร้อนอากาศร้อน มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 500-1,000 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้เขตอบอุ่นหรือทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรบอลข่าน ออสเตรีย และฮังการี เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะอากาศในเขตนี้ คือ เป็นเขตที่มีแสงแดดตลอดทั้งปี ฤดูร้อนอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฤดูหนาวจะมีฝนตก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 500-1,000 มิลลิเมตรต่อปี พืชพรรรณธรรมชาติเป็นเขตอบอุ่น เรียกว่า ป่าไม้เมดิเตอร์เรเนียน เช่น คอร์กโอ๊ก ส้ม มะนาว องุ่น มีป่าไม้มีหนามแหลม เรียกว่า ป่ามากี (maquis) บริเวณที่มีลักษณะอากาศแบบนี้ คือ บริเวณที่มีอาณาเขตติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ภาคใต้ของประเทศฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โปรตุเกส เซอร์เบีย และกรีซ เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย ลักษณะสำคัญของอากาศในเขตนี้ คือ เป็นเขตที่มีปริมาณฝนน้อย ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีต่ำกว่า 500 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าขึ้นเบาบาง", "title": "ทวีปยุโรป" }, { "docid": "726637#0", "text": "การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน () เป็นหนึ่งในระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศที่ใช้กันกว้างขวางที่สุด วลาดีเมียร์ เคิพเพิน เป็นผู้เผยแพร่ระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศนี้เป็นคนแรกใน พ.ศ. 2427 และการแก้ไขเล็กน้อยโดยเคิพเพินเองตามมาใน พ.ศ. 2461 และ พ.ศ. 2479 ภายหลังนักกาลวิทยาชาวเยอรมันนามว่า รูด็อล์ฟ ไกเกอร์ ร่วมมือกับเคิพเพินเปลี่ยนแปลงระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศนี้ บางครั้งจึงอาจเรียกระบบนี้ว่า การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินและไกเกอร์ ()", "title": "การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน" }, { "docid": "5484#9", "text": "ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน โตเกียวอยู่ในเขตภูมิอากาศชุ่มชื้นกึ่งเขตร้อน (Cfa)[19] และตามการแบ่งเขตภูมิอากาศในประเทศญี่ปุ่น โตเกียวอยู่ในเขตภูมิอากาศชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีลักษณะเด่นคือมีความแตกต่างระหว่างฤดูชัดเจน อากาศเปลี่ยนแปลงง่ายในแต่ละวัน ฤดูร้อนมีอุณหภูมิสูงและฝนตกมาก ฤดูหนาวมีวันที่แดดออกและอากาศแห้ง", "title": "โตเกียว" }, { "docid": "731440#1", "text": "ตามระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน ตัวอย่างของเขตซึ่งมีลักษณะภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทรจะแทนด้วยตัวอักษร \"Cfb\" บางครั้งพื้นที่ซ่งแทนด้วยตัวอักษร \"Csb\" หรือพื้นที่บริเวณ\"ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน\"ก็ไม่ได้มีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน แต่กลับมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทรแทน (\"Cfb\")", "title": "ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร" }, { "docid": "726637#2", "text": "ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นมีลักษณะพิเศษคืออุญหภูมิที่ค่อนข้างสูงบริเวณระดับน้ำทะเล ตลอดเวลา 12 เดือนใน 1 ปี จะมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 18 องศาเซลเซียส (64 องศาฟาเรนไฮต์) หรือสูงกว่านี้ ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสามารถแบ่งได้เป็นเขตภูมิอากาศย่อย ๆ ดังนี้ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งเป็นบริเวณที่มีการระเหยของน้ำสูง ไม่มีปริมาณฝนเหลือพอที่จะเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ปรากฏทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น แบ่งเป็นภูมิอากาศย่อยดังนี้", "title": "การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน" }, { "docid": "330764#15", "text": "พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นหรือแบบสะวันนาตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบคอบเปน ในขณะที่ภาคใต้และทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเป็นเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ทั่วประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 19-41°C ในฤดูแล้ง อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งหลังของเดือนมีนาคม โดยสูงกว่า 40°C ในบางพื้นที่ในช่วงกลางเดือนเมษายนเมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านจุดเหนือศีรษะ ", "title": "ภูมิศาสตร์ไทย" }, { "docid": "92282#4", "text": "เจียงซู ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นต่อเนื่องกับเขตภูมิอากาศร้อนชื้น ทำให้อากาศในภาคเหนือและภาคใต้ มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก กล่าวคือ ตอนเหนือตั้งแต่ที่ราบลุ่มแม่น้ำ Huaihe มีภูมิอากาศร้อน และฤดูหนาวอากาศหนาวจัดไม่ค่อยมีฝนแต่ทางใต้มีอากาศร้อนชื้น และฝนชุกฤดูหนาวอุณหภูมิไม่เย็นจัด อุณหภูมิเฉลี่ย 13-16 องศา เซลเซียส เดือนมกราคมเป็นช่วงที่มีอากาศหนาวที่สุดอุณหภูมิเฉลี่ย 3องศา ถึง -3 องศาเซลเซียส เดือนกรกฎาคมซึ่งเป็นเดือนที่ร้อนที่สุด ของปีอุณหภูมิเฉลี่ย 26-29 องศาเซลเซียส", "title": "มณฑลเจียงซู" }, { "docid": "936#30", "text": "ภูมิอากาศของไทยส่วนใหญ่เป็นแบบ \"ภูมิอากาศร้อนชื้นเขตร้อนหรือสะวันนา\" ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน[39] ส่วนปลายใต้สุดและตะวันออกสุดของประเทศมีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ประเทศไทยมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 18–34 °C[40]", "title": "ประเทศไทย" }, { "docid": "3875#42", "text": "ระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนที่ใช้บ่อยมีห้ากลุ่มใหญ่ (ร้อยชื้น แห้งแล้ง ชื้นละติจูดกลาง ทวีป และหนาวขั้วโลก) ซึ่งแบ่งเป็นภูมิอากาศย่อยที่จำเพาะมากขึ้นได้อีกหลายแบบ[127] ระบบเคิปเปนจัดภูมิอากาศเขตต่าง ๆ ตามอุณหภูมิและหยาดน้ำฟ้าที่สังเกต", "title": "โลก (ดาวเคราะห์)" }, { "docid": "726956#0", "text": "ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น เป็นลักษณะภูมิอากาศที่พบในเขตร้อน และมีเพียงบางแห่งที่อยู่นอกเขตร้อน แต่มีลักษณะภูมิอากาศแบบนี้ ในระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนนั้น ภูมิอากาศแบบนี้เป็นภูมิอากาศซึ่งไม่แห้งแล้ง มีความชื้นสูง โดยตลอดสิบสองเดือนมีอุณหภูมิเฉลี่ยอย่างต่ำ อุณหภูมิในแต่ละเดือนขึ้นอยู่กับปริมาณหยาดน้ำฟ้า และไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเท่าไรนัก ต่างกับพื้นที่ซึ่งอยู่นอกเขตร้อนซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างมากในแต่ละฤดู", "title": "ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น" }, { "docid": "726951#1", "text": "ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนมีอุณหภูมิเฉลี่ยมากกว่า 18 องศาเซลเซียสในทุก ๆ เดือน และมีฤดูฝนและฤดูแล้งเหมือนภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา เดือนที่แห้งแล้งที่สุดในภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนนั้นมีปริมาณหยาดน้ำฟ้าน้อยกว่า 60 มิลลิเมตร ภูมิอากาศแบบนี้นั้นดูเหมือนจะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในแต่ละช่วงของปีน้อยกว่าภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา ภูมิอากาศลักษณะนี้มีฤดูที่แล้งที่สุดอยู้ในช่วงวันเหมายันหรือหลังจากนั้น", "title": "ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน" }, { "docid": "727286#0", "text": "ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา หรือ ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน เป็นประเภทของภูมิอากาศซึ่งได้รับการแบ่งประเภทตามระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินให้แทนด้วยตัวอักษร \"Aw\" และ \"As\"\nภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนามีอุณหภูมิเฉลี่ยในแต่ละเดือนมากกว่า 18 องศาเซลเซียสในทุก ๆ เดือนของปี และสามารถกล่าวได้ว่ามีฤดูแล้ง โดยฤดูที่แล้งที่สุดมีปริมาณหยาดน้ำฟ้าน้อยกว่า 60 มิลลิเมตร โดยภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนานี้มีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่าภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน และมีฤดูแล้งที่มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด", "title": "ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา" }, { "docid": "731433#0", "text": "ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (ตามระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน แทนด้วยอักษรย่อ \"Cfa\" หรือ \"Cwa\") เป็นภูมิอากาศที่ปรากฏในเขตกึ่งเขตร้อน มีฤดูร้อนที่มีความชื้น และฤดูหนาวที่มีอากาศอบอุ่นถึงหนาวเย็น จากระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นจะครอบคลุมลักษณะของภูมิอากาศหลายชนิด", "title": "ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น" }, { "docid": "2417#13", "text": "เขตเหนือสุด ฮกไกโด มีภูมิอากาศแบบทวีปชื้นที่มีฤดูหนาวเย็นและยาวนาน และมีฤดูร้อนอุ่นมากถึงเย็น หยาดน้ำฟ้าไม่หนัก แต่หมู่เกาะมักมีกองหิมะลึกในฤดูหนาว ในเขตทะเลญี่ปุ่นตรงชายฝั่งตะวันตกของฮนชู ลมฤดูหนาวจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือนำให้หิมะตกหนัก ในฤดูร้อน ภูมิภาคนี้เย็นกว่าเขตแปซิฟิก แม้บางครั้งมีอุณหภูมิร้อนจัดเนื่องจากลมเฟิน (foehn) เขตที่สูงภาคกลางเป็นภูมิอากาศแบบทวีปชื้นในแผ่นดินตรงแบบ มีความแตกต่างของอุณหภูมิมากระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาว ตลอดจนมีความแตกต่างระหว่างกลางวันกลางคืนมาก หยาดน้ำฟ้าเบาบาง แม้ฤดูหนาวปกติมีหิมะตก เขตภูเขาชูโงกุและเกาะชิโกกุกั้นทะเลในแผ่นดินเซโตะจากลมตามฤดูกาล ทำให้มีลมฟ้าอากาศไม่รุนแรงตลอดปี ชายฝั่งแปซิฟิกมีลักษณะภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อนชื้นซึ่งมีฤดูหนาวไม่รุนแรง มีหิมะตกบางครั้ง และฤดูร้อนที่ร้อนชื้นเนื่องจากลมฤดูกาลจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะรีวกีวมีภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อน โดยมีฤดูหนาวอบอุ่นและฤดูร้อนร้อน หยาดน้ำฟ้าหนักมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างฤดูฝน", "title": "ประเทศญี่ปุ่น" }, { "docid": "726951#0", "text": "ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ในการแบ่งเขตภูมิอากาศ ภูมิอากาศลักษณะนี้ค่อนข้างพบได้น้อยบนโลก และได้รับการจัดแบ่งแทนด้วยตัวอักษร \"Am\" ในระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน", "title": "ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน" }, { "docid": "31399#4", "text": "รัฐเซาท์แคโรไลนา มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น แต่เขตทางตอนเหนือของรัฐจะมีลักษณะอากาศแบบนี้น้อยกว่าส่วนที่อยู่ติดชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในช่วงหน้าร้อนแถบชายฝั่งของเซาท์แคโรไลนา จะมีอากาศที่ร้อนและชื้นในเวลากลางวัน มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 30-33 °C ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐ และจะมีอากาศที่เย็นลงในตอนกลางคืนซึ่งอุณหภูมิจะอยู่ประมาณ 21 °C\nรัฐเซาท์แคโรไลนา เป็นรัฐที่มีหิมะตกแต่ไม่ได้ตกมากหนัก โดยหิมะที่ตกโดยเฉลี่ยจะมีความสูงประมาณ 1 นิ้ว ซึ่งอันที่จริงแล้วไม่มีพื้นที่ใดในรัฐนี้ ที่มีหิมะตกเกิน 6 นิ้ว หรือโดยประมาณ 15 เซนติเมตร\nรัฐเซาท์แคโรไลนา เป็นรัฐที่อยู่ในเขตพายุไต้ฝุ่น ซึ่งจะประสบกับฤดูมรสุม ในช่วงประมาณเดือน มิถุนายน ถึง พฤศจิกายน โดยจะมีช่วงที่พายุเข้ามาหนักที่สุด ในตอนปลายเดือนสิงหาคม ถึง ต้นเดือนตุลาคม เฉลี่ยแล้วจะมีวันประมาณ 50 วัน ที่รัฐ จะอยู่ภายใต้ พายุฝน", "title": "รัฐเซาท์แคโรไลนา" }, { "docid": "9941#6", "text": "ประเทศอิตาลีมีลักษณะอากาศหลากหลายแบบ และอาจมีความแตกต่างจากภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนตามลักษณะพื้นที่ตั้ง พื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของประเทศ เช่นเมืองตูริน มิลาน และโบโลญญา มีลักษณะแบบอากาศภาคพื้นทวีปที่ค่อนข้างร้อนชึ้น (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน: Cfa) พื้นที่ชายฝั่งติดกับทะเลของแคว้นลิกูเรียและส่วนใหญ่ของคาบสมุทรที่อยู่ใต้ลงไปจากฟลอเรนซ์เป็นภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน: Csa) คือมีอากาศอบอุ่นตลอดทั้งปี โดยมีลมจากแอฟริกาพัดเอาความร้อนและความชี้นเข้ามา[1] พื้นที่ชายฝั่งของคาบสมุทรอิตาลีสามารถมีความแตกต่างกันได้มากจากระดับความสูงของภูเขาและหุบเขา โดยเฉพาะเมื่อถึงฤดูหนาวในที่สูงก็จะมีอากาศหนาว ชื้น และมักจะมีหิมะตก ภูมิภาคริมทะเลมีอากาศไม่รุนแรงในฤดูหนาว อากาศอุ่นและมักจะแห้งในฤดูร้อน และพื้นที่ต่ำกลางหุบเขามีอากาศค่อนข้างร้อนในฤดูร้อน", "title": "ประเทศอิตาลี" }, { "docid": "606439#0", "text": "กึ่งเขตร้อน () คือ เขตทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศซึ่งบอกได้คร่าว ๆ ว่าตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูดเขตร้อน (ทรอปิกออฟแคนเซอร์และทรอปิกออฟแคปริคอร์น) และเส้นขนานที่ 38 ในซีกโลกเหนือและใต้ ภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อนสามารถพบได้ในที่สูงในเขตร้อน เช่น ตลอดที่ราบสูงเม็กซิโกและในประเทศเวียดนามและประเทศไต้หวัน การจัดประเภทภูมิอากาศออกเป็นหกประเภทใช้คำดังกล่าวเพื่อช่วยนิยามหมวดอุณหภูมิและหยาดน้ำฟ้าต่าง ๆ ของโลก ในเขตอบอุ่น แปดเดือนแต่ละปีมีอุณหภูมิเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 10 °C (50.0 °F) โดยเดือนที่มีอุณหภูมิต่ำสุดมีอุณหภูมิระหว่าง 2 ถึง 13 °C (35.6 ถึง 55.4 °F)", "title": "กึ่งเขตร้อน" }, { "docid": "3875#56", "text": "แกนโลกเอียงประมาณ 23.439281° เทียบกับแกนของระนาบโคจร[154] โดยจะชี้ไปขั้วฟ้าเสมอ เนื่องจากความเอียงของแกนโลก ปริมาณแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบจุดใด ๆ บนพื้นผิวจึงผันแปรไปตามแต่ละช่วงของปี ก่อให้เกิดการเปลี่ยนฤดูกาลในแต่ละภูมิอากาศโดยฤดูร้อนในซีกโลกเหนือจะเกิดขึ้นเมื่อทรอปิกออฟแคนเซอร์หันเข้าหาดวงอาทิตย์ ส่วนฤดูหนาวเกิดเมื่อทรอปิกออฟแคปริคอนในซีกโลกใต้หันเข้าหาดวงอาทิตย์ ในระหว่างฤดูร้อน กลางวันจะยาวกว่าและดวงอาทิตย์จะมีตำแหน่งสูงขึ้นบนท้องฟ้า ส่วนในฤดูหนาว ภูมิอากาศจะเย็นลงและกลางวันจะสั้นลง ในละติจูดเขตอบอุ่นทางเหนือดวงอาทิตย์จะขึ้นเหนือกว่าทิศตะวันออกจริงระหว่างครีษมายันและลับฟ้าเหนือกว่าทิศตะวันตกจริง (กลับกันในฤดูหนาว) ในช่วงฤดูร้อนของเขตอบอุ่นในซีกโลกใต้ดวงอาทิตย์จะขึ้นใต้กว่าทิศตะวันออกจริงและลับฟ้าไปใต้กว่าทิศตะวันตกจริง", "title": "โลก (ดาวเคราะห์)" }, { "docid": "332066#0", "text": "ประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้ ภูมิอากาศ ของประเทศมีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้นหรือภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน ในขณะที่ภาคใต้และทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเป็นเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Am) ทั่วประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 19-38 องศาเซลเซียส อากาศจะร้อนที่สุดช่วงกลางเดือนเมษายน หลังจากนั้น ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนและฤดูหนาวตามลำดับ พื้นที่ทั้งประเทศได้รับปริมาณฝนอย่างเพียงพอ ยกเว้นบางพื้นที่เท่านั้น แต่ระยะเวลาของฤดูฝนและปริมาณฝนมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาคและระดับความสูง", "title": "ภูมิอากาศไทย" } ]
769
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ก่อตั้งเมื่อไหร่?
[ { "docid": "735749#4", "text": "มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ จัดตั้งขึ้นตามคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2540 สมัยนายสุขวิช รังสิตพลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ขออนุมัติ และมีมติให้จัดตั้งสถาบันราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้นจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ สถาบันราชภัฏชัยภูมิ สถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ สถาบันราชภัฏนครพนม และสถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์", "title": "มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์" } ]
[ { "docid": "376657#0", "text": "คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ () เดิมชื่อคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร เป็นหน่วยงานระดับคณะ ในสังกัดมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมและเกษตร ตั้งอยู่ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ตั้งอยู่ที่ 62/1 ถ.เกษตรสมบูรณ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์", "title": "คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์" }, { "docid": "7204#27", "text": "สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ สถาบันอุดมศึกษาในกำกับกระทรวงวัฒนธรรม: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์) สถาบันอุดมศึกษาในกำกับกระทรวงสาธารณสุข: ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ (ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ สถาบันร่วมผลิตแพทย์ แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) สถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา: สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 (วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์)", "title": "จังหวัดกาฬสินธุ์" }, { "docid": "980552#0", "text": "คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ () เดิมชื่อคณะครุศาสตร์ เป็น คณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์", "title": "คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์" }, { "docid": "980578#2", "text": "ในปี พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ได้ควาบรวมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จึงทำให้คณะเทคโนโลยีสังคมต้องย้ายมาสังกัด มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์", "title": "คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์" }, { "docid": "354544#4", "text": "ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ \"ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ...\" ซึ่งจะเป็นการควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์เข้าด้วยกัน เป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ โดยการผลักดันของนายเดชา ตันติยวรงค์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ และนางบุญรื่น ศรีธเรศ อดีต ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 1 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีทั้งกลุ่มผู้เห็นด้วยและกลุ่มผู้คัดค้าน โดยให้เหตุผลการคัดค้านว่าจะทำให้สถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเดิมถูกทิ้งร้างไป ส่งผลกระทบต่อธุรกิจหอพักที่เกิดขึ้นโดยรอบมหาวิทยาลัย ", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์" }, { "docid": "980597#1", "text": "คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548 ถูกจัดตั้งขึ้นพร้อมกับสำนักงานอธิการบดี เป็นคณะวิชาแรกของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์", "title": "คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์" }, { "docid": "735749#2", "text": "พ.ศ. 2482 ก่อตั้งเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมกาฬสินธุ์ เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แผนกเกษตรกรรม ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ แผนกเกษตรกรรม และในปี พ.ศ. 2508 ได้รับการจัดตั้งเป็นเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมกาฬสินธุ์ สังกัดกรมอาชีวศึกษา เปิดสอนในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จากนั้น พ.ศ. 2518 ได้โอนมาสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา และเปลี่ยนชื่อเป็น \"วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเกษตรกรรมกาฬสินธุ์\"", "title": "มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์" }, { "docid": "980552#2", "text": "ในปี พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ได้ควาบรวมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จึงทำให้คณะครุศาสตร์ต้องย้ายมาสังกัด มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์", "title": "คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์" }, { "docid": "980532#0", "text": "คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ () เป็น คณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์", "title": "คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์" }, { "docid": "354544#1", "text": "เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศ \"พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558\" ซึ่งมีผลให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สิ้นสุดความเป็นสถาบันอุดมศึกษาในวันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา และเป็นการควบรวมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ จัดตั้งขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์" }, { "docid": "360601#0", "text": "ศาสตราจารย์พิเศษ เภสัชกร ภาวิช ทองโรจน์ ศาสตราภิชานเกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เคยดำรงตำแหน่งอาทิ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยนครพนม, มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ รักษาการอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ และนายกสภาเภสัชกรรม ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม และภาคีสมาชิกแห่งราชบัณฑิตยสถาน สาขาเภสัชศาสตร์", "title": "ภาวิช ทองโรจน์" }, { "docid": "210403#1", "text": "โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ ได้ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2456 โดยผู้ที่ก่อตั้งโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์คือ เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (อ้วน ติสโส) เป็นผู้ก่อตั้ง ในปีการศึกษาแรกที่มีการเรียนการสอน โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ได้เปิดสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 3 ในปีแรกมีนักเรียนที่เข้ารับการเรียนการสอนทั้งสิ้น 50 คน โดยมี นายบุญถม ชนะกานนท์ เป็นผู้บริหารโรงเรียนในขณะนั้น และมีคุณครู อีก 2 ท่าน คือ นายอุทา พิมพะสาลี และนายเหลา พิมพะสาลี", "title": "โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์" }, { "docid": "980538#0", "text": "คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ () เป็น คณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์", "title": "คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์" }, { "docid": "354544#2", "text": "วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2482 โดยใช้ชื่อว่า \"โรงเรียนเกษตรกรรมกาฬสินธุ์\" เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แผนกเกษตรกรรม ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 ได้จัดตั้งเป็น \"วิทยาลัยเกษตรกรรมกาฬสินธุ์\" สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จากนั้นในปี พ.ศ. 2519 จึงได้โอนมาสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา และเปลี่ยนชื่อเป็น \"วิทยาเขตเกษตรกรรมกาฬสินธุ์\"", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์" }, { "docid": "58096#0", "text": "มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ () ในอดีตเป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตั้งอยู่ที่ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540โดยนายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น เริ่มเปิดทำการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2542 เป็นครั้งแรก ต่อมาเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558 ได้จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์", "title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์" }, { "docid": "735749#8", "text": "เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ \"พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558\" มีผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สิ้นสุดสถานะความเป็นสถาบันอุดมศึกษาในวันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา และเป็นการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ขึ้นในวันเดียวกัน", "title": "มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์" }, { "docid": "980597#0", "text": "คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ () เดิมชื่อคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็น คณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์", "title": "คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์" }, { "docid": "980597#2", "text": "ในปี พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ได้ความรวมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ จัดตั้งเป็น มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จึงทำให้คณะสังกัด มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ตั้งแต่นั้นมา", "title": "คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์" }, { "docid": "735749#1", "text": "มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พุทธศักราช 2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 86 ก เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558 ให้ควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มาจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งการควบรวมมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งนี้จะเป็นการปรับปรุงการดำเนินการ และเป็นการลดความซ้ำซ้อนของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน โดยให้บทบาทหน้าที่ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558 ว่าด้วยให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันทางวิชาการที่ให้ความรู้และความชำนาญในการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพและวิชาชีพชั้นสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาและส่งเสริมงานวิจัยเพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยี ให้บริการทางวิชาการแก่ท้องถิ่นและสังคม ให้โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน ทะนุบำรุงศาสนาศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมของรัฐและท้องถิ่นและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม", "title": "มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์" }, { "docid": "376657#3", "text": "ในปี พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ได้ความรวมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ จัดตั้งเป็น มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จึงทำให้คณะสังกัด มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ตั้งแต่นั้นมา", "title": "คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์" }, { "docid": "58096#4", "text": "ต่อมา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง \"สถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์\" พร้อมกับสถาบันราชภัฏอีก 4 แห่งข้างต้น และเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มีผลให้สถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์เปลี่ยนสภาพเป็น \"มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์\" ", "title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์" }, { "docid": "393426#4", "text": "นางรัชฎาภรณ์ เป็นผู้มีบทบาทในการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ซึ่งมีการเสนอจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 และวันที่ 8 กันยายน 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ \"พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558\" มีผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สิ้นสุดสถานะความเป็นสถาบันอุดมศึกษาในวันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา และเป็นการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ขึ้นในวันเดียวกัน", "title": "รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท" }, { "docid": "58096#5", "text": "ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ \"ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ...\" ซึ่งจะเป็นการควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์เข้าด้วยกัน เป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ โดยการผลักดันของนายเดชา ตันติยวรงค์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ และนางบุญรื่น ศรีธเรศ อดีต ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 1 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีทั้งกลุ่มผู้เห็นด้วยและกลุ่มผู้คัดค้าน โดยให้เหตุผลการคัดค้านว่าจะทำให้สถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเดิมถูกทิ้งร้างไป ส่งผลกระทบต่อธุรกิจหอพักที่เกิดขึ้นโดยรอบมหาวิทยาลัย ", "title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์" }, { "docid": "735749#5", "text": "ในระยะแรกได้ดำเนินการในรูปของ \"โครงการจัดตั้งสถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์\" ซึ่งสามารถเปิดรับนักศึกษาระดับอนุปริญญาได้เป็นครั้งแรก ในปีการศึกษา พ.ศ. 2542 และปริญญาตรี ในปีการศึกษา พ.ศ. 2544 ต่อมา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง \"สถาบันราชภัฏ\" และเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มีผลให้สถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์เปลี่ยนสภาพเป็น \"มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์\" การควบรวมมหาวิทยาลัย", "title": "มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์" }, { "docid": "388249#4", "text": "นางบุญรื่น เป็นผู้มีบทบาทในการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ซึ่งมีการเสนอจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 และวันที่ 8 กันยายน 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ \"พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558\" มีผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สิ้นสุดสถานะความเป็นสถาบันอุดมศึกษาในวันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา และเป็นการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ขึ้นในวันเดียวกัน ", "title": "บุญรื่น ศรีธเรศ" }, { "docid": "980578#0", "text": "คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ () เดิมชื่อคณะเทคโนโลยีสังคม เป็นหน่วยงานระดับคณะ ในสังกัดมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จัดการบริหาร ตั้งอยู่ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ตั้งอยู่ที่ 62/1 ถ.เกษตรสมบูรณ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์", "title": "คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์" }, { "docid": "354544#0", "text": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เป็นอดีตวิทยาเขตในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เริ่มเปิดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2482 ตั้งอยู่ที่ 62/1 ถนนเกษตรสมบูรณ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์" }, { "docid": "58096#6", "text": "เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศ \"พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558\" ซึ่งมีผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์สิ้นสุดความเป็นสถาบันอุดมศึกษาในวันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา และเป็นการควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ จัดตั้งขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์", "title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์" }, { "docid": "735749#6", "text": "ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ \"ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ...\" ซึ่งจะเป็นการควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์เข้าด้วยกัน[1][2] เป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ โดยการผลักดันของนายเดชา ตันติยวรงค์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ และนางบุญรื่น ศรีธเรศ อดีต ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 1 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีทั้งกลุ่มผู้เห็นด้วยและกลุ่มผู้คัดค้าน โดยให้เหตุผลการคัดค้านว่าจะทำให้สถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเดิมถูกทิ้งร้างไป ส่งผลกระทบต่อธุรกิจหอพักที่เกิดขึ้นโดยรอบมหาวิทยาลัย", "title": "มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์" }, { "docid": "354544#5", "text": "เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศ \"พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558\" ซึ่งมีผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์สิ้นสุดความเป็นสถาบันอุดมศึกษาในวันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา และเป็นการควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ จัดตั้งขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์" } ]
3724
แผนงบประมาณของประเทศจัดทำโดยใคร ?
[ { "docid": "771317#0", "text": "งบประมาณแผ่นดินของไทย หรือ งบประมาณรายจ่ายประจำปีของประเทศไทย คือแผนงบประมาณเพื่อจัดหาทุนแก่การดำเนินการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นสำหรับใช้เป็นหลักในแต่ละปีงบประมาณซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปีไปจนถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป และเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายทีเกี่ยวข้องที่กำหนดให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังตามที่ได้จ่ายไปแล้ว โดยมีสำนักงบประมาณเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำและนำเสนอเพื่อพิจารณา เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงตราออกมาเป็นพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีเพื่อใช้บังคับต่อไป", "title": "งบประมาณแผ่นดินของไทย" } ]
[ { "docid": "52028#11", "text": "สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการอุดมศึกษาและจัดทำข้อเสนอนโยบายและมาตรฐานการอุดมศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติและพันธสัญญาที่เป็นไปตามข้อเสนอตกลงระหว่างประเทศ พร้อมทั้งวิเคราะห์ หลักเกณฑ์ และแนวทางการสนับสนุนทรัพยากร จัดตั้ง จัดสรรงบประมาณอุดหนุนสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชนตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กำหนด ตลอดจนเสนอแนะการจัดตั้ง ยุบ รวม ปรับปรุงและยกเลิกสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชน\nนอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายังมีหน้าที่ประสานและส่งเสริมการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสักยภาพนักศึกษา รวมทั้งผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ในระบบอุดมศึกษา และการประสาน ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างองคืความรู้ใหม่ และเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศ รวมทั้งพัฒนาระบบและดำเนินการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการอุดมศึกษา และการรวบรวมข้อมูล จัดทำสารสนทเศด้านการอุดมศึกษา และดำเนินงานฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการการอุดมศึกษาและคณะกรรมการข้าราชการผลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย", "title": "สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ประเทศไทย)" }, { "docid": "594872#11", "text": "องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภทจะต้องวางแผนงบประมาณรายรับ - รายจ่ายเป็นประจำทุกปี โดยจัดทำเป็นเอกสารคาดการณ์ล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นโดยฝ่ายบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยต้องผ่านการพิจารณาอนุมัติจากสภาท้องถิ่นเพื่อนำไปใช้บังคับ\nระบบบัญชีงบประมาณโดยทั่วไปจะแยกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่\n1.ระบบบัญชีงบประมาณเพื่อการดำเนินการ (fonctionement) ได้แก่ ระบบงบประมาณรายรับ - รายจ่ายเพื่อใช้ในกิจการด้านงบประจำ การจัดซื้อจัดจ้าง ค่าจ้างและค่าตอบแทนบุคลากร และการใช้จ่ายเพื่อจัดทำภารกิจโดยทั่วไป\n2.ระบบบัญชีงบประมาณเพื่อการลงทุน(investissement) ได้แก่ ระบบงบประมาณรายรับ-รายจ่ายเพื่อใช้ในกิจการที่เป็นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ หรือมีระยะเวลาดำเนินการยาวนาน เช่น งานด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น\nโดยทั่วไป รายจ่ายเพื่อการดำเนินการจะเป็นสัดส่วนหลักของการใช้จ่ายในภาคท้องถิ่น กล่าวคือ ประมาณร้อยละ 60 - 70 ส่วนที่เหลือจะเป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุน", "title": "การบริหารคลังสาธารณะประเทศฝรั่งเศส" }, { "docid": "560040#1", "text": "ให้ชุมชนที่รวมตัวกันตั้งแต่ 100 หลังคาเรือนขึ้นไป ในพื้นที่เขตเทศบาลนคร/ เทศบาลเมือง/ เมืองพัทยา และ กรุงเทพมหานคร 50 เขต จัดทำแผนโครงการของตน, การทำประชาพิจารณ์, แผนการดำเนินงาน และนำเสนอแผนโครงการชุมชนนั้นๆ ต่อ \"กองทุนพัฒนาเมือง\" โดยเรื่องจะถูกส่งไปยังคณะอนุกรรมการของส่วนกลางเพื่อพิจารณา หากส่วนกลางอนุมัติผ่านเท่ากับว่าโครงการได้รับงบประมาณในขั้นต้นแล้ว ตั้งแต่ 500,000 - 2,000,000 บาท\nเริ่มส่งแผนโครงการตั้งแต่วันนี้ - 31 ตุลาคม 2556 และประกวดแผนโครงการชุมชนเมืองจนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2556 นี้", "title": "ร้อยมือสร้างเมือง" }, { "docid": "99005#1", "text": "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรทางการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งถือกำเนิดมาจากโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม เมื่อ พ.ศ. 2460 ขยายและยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2486 โดยมีตราประจำมหาวิทยาลัย เป็นรูปพระพิรุณทรงนาค ล้อมรอบด้วยกลีบบัวคว่ำบัวหงายในวงกลม สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเขียวใบไม้ และมีต้นนนทรีเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ต่อมาพื้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับการสอนการวิจัย ทางการเกษตรมีน้อยไม่เพียงพอ มหาวิทยาลัยจึงจัดทำแผนและโครงการขยายกิจการต่าง ๆ ในด้านสาขาวิชา เกษตรศาสตร์ ไปดำเนินการ ณ สถานที่ที่เหมาะสมแห่งใหม่ ในท้องที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เมื่อ พ.ศ. 2510 และรัฐบาลเห็นชอบในหลักการโครงการพัฒนามหาวิทยาลัย โดยใช้เงินกู้ธนาคารโลกส่วนหนึ่ง และเงินงบประมาณของรัฐบาลสมทบอีกส่วนหนึ่ง โดยธนาคารโลกอนุมัติให้รัฐบาลกู้เงินจำนวน 320.3 ล้านบาท สมทบกับเงินงบประมาณจำนวน 269 ล้านบาท ดำเนินโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2515 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2521 และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนเริ่มจัดการเรียนการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2522", "title": "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน" }, { "docid": "657923#1", "text": "นายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์ เริ่มรับราชการเมื่อ พ.ศ. 2506 ดำรงตำแหน่งพนักงานงบประมาณตรี กองจัดวางระบบงาน จากนั้น พ.ศ. 2527 เป็นผู้อานวยการกองงบประมาณฝ่ายสาธารณสุขและสาธารณูปการ ซึ่งทำให้มีส่วนในการผลักดันงบประมาณสนับสนุนด้านสาธารณสุขมูลฐานในชนบททั่วประเทศ พ.ศ. 2532 เป็นผู้อำนวยการกองงบประมาณฝ่ายเศรษฐกิจ 3 พ.ศ. 2535 เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ พ.ศ. 2537 เป็นที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ พ.ศ. 2541 ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ พ.ศ. 2542 เป็นผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และตั้งแต่ พ.ศ. 2545 – 2551 เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา] พ.ศ. 2551 – ปัจจุบัน เป็นที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน โครงการในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล", "title": "พูลทรัพย์ ปิยะอนันต์" }, { "docid": "927655#1", "text": "\"คอลมีบายยัวร์เนม\" ในรูปแบบภาพยนตร์เริ่มมีแผนในการถ่ายทำในปี ค.ศ. 2007 ในขณะนั้นมีผู้อำนวยการสร้างคือ ปีเตอร์ สเปียส์ และ ฮาวเวิร์ด โรเซนแมน ได้นำ เจมส์ ไอวอรี มาเป็นผู้กำกับร่วมด้วย แต่สุดท้ายไอวอรีก็ได้อยู่ในตำแหน่งผู้เขียนบทแทน ในขณะที่ ลูกา กวาดาญีโน ซึ่งเข้ามาในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านสถานที่ ก็ได้รับหน้าที่เป็นทั้งผู้กำกับและผู้อำนวยการสร้าง ภาพยนตร์ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากบริษัทหลายประเทศ โดยได้ใช้สถานที่ถ่ายทำหลักในเมืองเครโมนา แคว้นลอมบาร์เดีย ประเทศอิตาลี ระหว่าง เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 และกำกับภาพโดยสยมภู มุกดีพร้อม", "title": "คอลมีบายยัวร์เนม" }, { "docid": "2568#27", "text": "คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ซึ่งประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยประธานาธิบดีในด้านบริหารประเทศ รวมทั้งมีอำนาจในการพิจารณานโยบายต่าง ๆ ของประเทศ และการเข้าร่วมประชุมรัฐสภา คณะรัฐมนตรีมีจำนวน 20 คน นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารยังประกอบด้วย สภาที่ปรึกษาอาวุโส สภาความมั่นคงแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาการรวมประเทศ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจแห่งชาติ คณะกรรมการวางแผนและงบประมาณ คณะกรรมการเกี่ยวกับสิทธิสตรี สภาที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะกรรมการเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลางและเล็ก คณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล และสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ โดยประธานของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ทั้งนี้ หน่วยงานเหล่านี้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำต่อคณะรัฐบาลด้วย", "title": "ประเทศเกาหลีใต้" }, { "docid": "573687#5", "text": "เนื่องจากงบประมาณที่ยังไม่ผ่านสภา จึงทำให้มีการเสนอแผนชั่วคราวโดยจะจ่ายงบประมาณให้กับหน่วยงานของรัฐจนกว่าจะสรุปข้อตกลงได้จนถึงเดือนธันวาคม 2556 เพื่อเป็นการซื้อเวลาสำหรับการต่อรองในรัฐสภา อย่างไรก็ตาม เทด ครูซ ไมค์ ลี และเพื่อนสมาชิกวุฒิสภาอีกหลายคนจากพรรครีพับลิกัน ได้เรียกร้องให้มีการยืดเวลาการเริ่มบังคับใช้กฎหมายประกันสุขภาพนี้ หรือให้ปรับแก้ในรายละเอียดของกฎหมาย เพื่อแลกเปลี่ยนกับการลงมติผ่านร่างงบประมาณ โดยเทด ครูซ ได้กล่าวอภิปรายในวุฒิสภากินเวลาถึง 21 ชั่วโมงเพื่อเรียกร้องให้ทำตามข้อเสนอของเขา", "title": "การปิดบริการของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐ พ.ศ. 2556" }, { "docid": "190986#6", "text": "ในฤดูกาลที่ 3 ถ่ายทำในเท็กซัส มีงบประมาณ 3 ล้านเหรียญต่อตอน ฉากถ่ายทำข้างนอกหลายฉากที่ลินคอล์นและเกร็ตเชนต่อรองการหลบหนีจากคุกปานามา ถ่ายทำที่ Casco Viejo ในปานามาซิตี", "title": "แผนลับแหกคุกนรก" }, { "docid": "594029#3", "text": "การจัดทำงบประมาณของประเทศออสเตรเลีย เป็นจัดทำงบประมาณแบบล่วงหน้า(Multi year budget framework) โดยจัดทำล่วงหน้า 3 ปี โดยการจัดทำงบประมาณจะเริ่มจากการปรับการประมาณการในร่างบริหารข้อมูลแบบเกณฑ์คงค้าง(Accrual Information Management System) ซึ่งกำหนดนิยาม วิธีการงบประมาณ และวัตถุประสงค์ของรายงานต่างๆ(reporting purposes) ของหน่วยงานพร้อมการจัดลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์ โดยมีนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงการงบประมาณ และรัฐมนตรีกระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาและจัดทำเป็นรายงานให้กับหน่วยงานต่างๆ จากนั้นหน่วยงานจะจัดทำเอกสารคำของบประมาณ(Portfolio Budget Submission) ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดของการจัดสรรซึ่งงบประมาณให้หน่วยงานนั้นเพื่อผลผลิตของรัฐบาล ข้อเสนอ (submission) ของหน่วยงานในสังกัดจะถูกส่งไปยังรัฐมนตรีกระทรวงเพื่อขอความเห็น ข้อเสนอจะถูกจัดส่งไปยังสำนักงานคณะรัฐมนตรี (cabinet office) เพื่อพิจารณาต่อไป ", "title": "การคลังสาธารณะประเทศออสเตรเลีย" }, { "docid": "196276#6", "text": "มีหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบาย ให้ความเห็นชอบในแผนการดำเนินงาน แผนการจัดผังรายการ และแผนงบประมาณขององค์การ กำหนดระเบียบการดำเนินงาน และคุ้มครองสวัสดิภาพ และความอิสระในการทำงานของพนักงานในองค์การ รวมถึงการควบคุมดำเนินงานคณะกรรมการบริหาร โดยที่คณะกรรมการนโยบายมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี", "title": "องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย" }, { "docid": "283607#0", "text": "สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงมหาดไทย ดำเนินงานเกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวง ที่ไม่เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่ง กำกับ เร่งรัด การปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวงให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง จัดทำแผนแม่บท งานการข่าว งานประชาสัมพันธ์ การพัฒนาระบบงานและบุคลากร การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงงานในสังกัดกระทรวง งานงบประมาณ การตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ งานดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การทำนิติกรรม สัญญา งานคดี งานการต่างประเทศและกิจการผู้อพยพ งานการสื่อสาร และงานประสานราชการ", "title": "สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย" }, { "docid": "593032#2", "text": " ในเรื่องกระบวนการด้วยงบประมาณแผ่นดินของประเทศอังกฤษ สภาสามัญได้มีหน้าที่ในการควบคุมทางการคลัง โดยการอนุมัติงบประมาณ ให้ความเห็นชอบการใช้จ่ายงบประมาณ และคอยตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาล ซึ่งคณะรัฐมนตรีจะมีอำนาจในการกำหนดงบประมาณประจำปี รวมทั้งมีบทบาทอย่างยิ่งในการพิจารณาผ่านร่างงบประมาณประจำปีของรัฐสภา เมื่อรัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องนำเงินงบประมาณไปใช้รัฐบาลจะต้องอธิบายถึงรายละเอียดว่าจะนำเงินงบประมาณไปใช้และใครหรือหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบเพื่อให้มีความมั่นใจว่าเงินเหล่านี้จะนำไปใช้อย่างเหมาะสมแล้วจึงส่งคำร้องไปที่สภาสามัญเมื่อสภาสามัญอนุมัติคำร้องแล้วก็จะต้องได้รับการยินยอมอย่างเป็นทางการจากสภาขุนนางถ้าคำร้องได้รับการอนุมัติแล้วจะมีพระราชบัญญัติที่ระบุเกี่ยวกับการใช้งบประมาณออกมาอันเป็นกฎหมายที่กำหนดแนวทางการนำงบประมาณแผ่นดินไปใช้", "title": "การคลังสาธารณะประเทศอังกฤษ" }, { "docid": "230611#32", "text": "1.การบริหารจัดการในเชิงแผนและนโยบายของหน่วยงานในท้องถิ่น\nการวางแผนเพื่อพัฒนาและอนุรักษ์ทัศนียภาพเมือง ควรเป็นแผนในระดับแผนปฏิบัติการที่มีความชัดเจนในการดำเนินงาน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ ขั้นตอนกระบวนการดำเนินงาน ระยะเวลาของโครงการต่าง ๆ และการจัดตั้งงบประมาณ โดยมีหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงาน อันจะทำให้การจัดเตรียมงบประมาณเพื่อใช้ในการดำเนินงานทั้งหมดจากรัฐบาล รวมทั้งแหล่งเงินทุนภายในและจากต่างประเทศ จากกองทุนเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาในด้านต่าง ๆ โดยควรเน้นที่การศึกษาค้นคว้าวิจัย เพื่อเสนอแนะวิธีการการพัฒนาสภาพภูมิทัศน์เมือง มากกว่านำมาใช้ในการของบประมาณเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ", "title": "ภูมิทัศน์เมือง" }, { "docid": "33391#2", "text": "OKMD เป็นหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการบริหาร สบร. โดยทำหน้าที่จัดระบบบริหารงานภายใน ประสานแผนและงบประมาณ พัฒนายุทธศาสตร์และนโยบายการพัฒนาองค์ความรู้", "title": "สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)" }, { "docid": "5923#6", "text": "การให้ความสำคัญแก่ปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (Peace-keeping) ได้แก่ การสร้างความเข้าใจในกระบวนการรักษาสันติภาพ การสร้างความร่วมมือ การวางแผน และการสร้างความสัมพันธ์กับองค์การสหประชาชาติ และองค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE) ในกระบวนการดังกล่าว รวมทั้งการประสานงานระหว่างฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารโดยคำนึงถึงหลักมนุษยธรรม การหาแนวทางที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์กับรัสเซีย โดยมุ่งเน้นให้รัสเซียมีบทบาทสำคัญและสร้างสรรค์ในการสร้างเสถียรภาพในยุโรปในกรอบกว้าง การปรับบทบาททางการทหารให้เอื้อต่อสภาพความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนการดำเนินนโยบายทางด้านความมั่นคงที่เอื้อต่อพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ และการจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสม ระหว่างงบประมาณด้านการทหารและงบประมาณด้านเศรษฐกิจของประเทศ ความร่วมมือในโครงการวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม การเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก", "title": "เนโท" }, { "docid": "594182#61", "text": "ขั้นตอนการจัดทำงบประมาณประจำปี\nคณะรัฐมนตรีจะมีการจัดประชุมเดือนกรกฎาคมเพื่อหาข้อมติสำหรับการงบประมาณที่จะได้รับการอนุมัติ ซึ่งกระทรวงและหน่วยงานต่างๆจะส่งคำของบประมาณของปีถัดไป ไปยังกระทรวงการคลังในปลายเดือนสิงหาคม หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้รับการร้องขอเหล่านี้สำนักงบประมาณดำเนินการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้แสดงข้อมูลที่จำเป็นในการของงบประมาณในช่วงปลายเดือนธันวาคมจะมีการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจการวางแผนเศรษฐกิจของหน่วยงานและข้อมูลอื่น ๆ เพื่อให้กระทรวงการคลังเตรียมร่างงบประมาณและส่งไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ ควบคู่ไปกับกระบวนการนี้ กระทรวงการคลังแจ้งให้แต่ละกระทรวงและหน่วยงานทางการของการอนุมัติงบประมาณ ณ สิ้นเดือนธันวาคมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบของกระทรวงการคลังร่างงบประมาณที่รัฐบาลประมาณการงบประมาณและรัฐบาลจะส่งงบประมาณไปยังสภาผู้แทนราษฎรในช่วงปลายเดือนมกราคมและส่งไปยังสภาที่ปรึกษาที่จุดเริ่มต้นของเดือนมีนาคม และพรรคการเมืองไดเอทยังมีอิทธิพลเหนือกระบวนการก่อตัวของงบประมาณและกระทรวงการคลังกระบวนการการอนุมัติงบประมาณ แต่ละกระทรวงและหน่วยงานพยายามที่จะได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองไดเอทกระทรวงการคลังจึงพิจารณาและร้องขอให้พรรคการเมืองไดเอทปรับแนวทางการใช้งบประมาณของรัฐบาลที่มีให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดทำงบประมาณของกระทรวงการคลังแผนภูมิต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการสร้างงบประมาณ", "title": "ระบบการคลังสาธารณะประเทศญี่ปุ่น" }, { "docid": "238902#3", "text": "สภาบริหารสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีบทบาทในการพิจารณาปัญหาเชิงนโยบาย ด้านการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ในช่วงที่ยังไม่ถึง กำหนดการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มของสหภาพฯ เพื่อให้การดำเนินงาน นโยบาย และยุทธศาสตร์ต่างๆ ของสหภาพฯ สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในยุคโลกาภิวัตน์ สภาบริหารนี้ มีหน้าที่จัดทำรายงานเกี่ยวกับนโยบาย และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ให้แก่สหภาพฯ นอกจากนั้น ยังรับผิดชอบในการดำเนินงานประจำวันของสหภาพฯ การประสานโครงการ และการอนุมัติและควบคุมงบประมาณและค่าใช้จ่ายของสหภาพฯ ด้วย", "title": "สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ" }, { "docid": "594182#1", "text": "กระทรวงการคลัง (Ministry Finance Japan) มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น สังกัดคณะรัฐมนตรี เป็นศูนย์รวมอำนาจด้านการเงิน มีอำนาจทั้งการจัดทำงบประมาณ งบการเงินและการบัญชีกองทุนปรับงบดุล และได้รับการอนุมัติงบประมาณของแต่ละกระทรวงและการรับรองหน่วยงานเจ้าหน้าที่ในความดูแลของใบเสร็จรับเงินและเบิกจ่ายเงิน ตรวจสอบเกี่ยวกับการกำกับดูแลการดำเนินการงบประมาณของพนักงานหน่วยงานภาครัฐและการเก็บรวบรวมงบประมาณสำหรับการทำบัญชี การเก็บภาษีการจัดการด้านทรัพย์สินของรัฐบาล มีการใช้ระบบนอกงบประมาณที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ 2-3 เท่า ปีงบประมารเริ่มต้น 1 เมษายนของทุกปี รับผิดชอบทั้งการบริหารเงินอย่างถูกต้องในการจัดการสกุลเงินและการบำรุงรักษาความเชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและภารกิจคือการให้ความมั่นใจในเสถียรภาพของจัดตั้งแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้เกิดการจัดเก็บภาษีของความยุติธรรมและเหมาะสมการบริหารจัดการที่เหมาะสมของภาษีศุลกากร, การจัดการที่เหมาะสมของการบริหารเงินของชาติและการบำรุงรักษาความเชื่อมั่นในสกุลเงิน งบประมาณและการบัญชีการเงินของประเทศ สกุลเงิน ภาษีพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น, การลงทุนทางการเงินจากอัตราแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของรัฐ", "title": "ระบบการคลังสาธารณะประเทศญี่ปุ่น" }, { "docid": "242388#2", "text": "จากนั้นทั้งสองไปที่อิตาลี และทำงานที่ร้านอาหารไทยในเวนิส เชอรี่วางแผนโกงเงินเจ้าของร้านกับนุ่น ซึ่งเนุ่นทำเสียแผนแล้วถูกจับได้ และโดนส่งกลับประเทศไทย เชอรี่รู้สึกผิดและถ่ายคลิปขอโทษไว้ เมื่อถึงวันเกิดของกาลิเลโอตามที่ทั้งสองได้สัญญาไว้ว่าจะมาที่หอเอนพีซ่า เพื่อจะมาพิสูจน์ว่าหอมันจะล้มหรือเปล่า แต่นุ่นไม่มา เชอรี่จึงส่งเมสเสจไปหา และนุ่นก็ส่งเมสเสจกลับมาว่า \"ใครคิดถึงบ้านบ้าง ยกมือขึ้น!!!\" ทำให้เชอรี่ซึ้งใจกลับไปประเทศไทย แล้วทั้งสองก็เป็นเพื่อนรักกันเหมือนเดิมได้รับรางวัล\n\"เข้าชิง\"", "title": "หนีตามกาลิเลโอ" }, { "docid": "531070#1", "text": "ปัจจุบันโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี ได้มีการยกระดับให้ก้าวสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่นเดียวกับโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และเพื่อสนองตอบต่อนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของประเทศในการพัฒนาเยาวชนให้สู่ความเป็นเลิศ ร่วมกับโรงเรียนกาญจนาภิเษกอีกทั้ง 8 แห่ง ซึ่งคณะทำงานในการยกระดับโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยก้าวสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้เสนอแผนโครงการ และ รมว.ศธ. ได้มอบให้ สพฐ. ได้ปรับใช้งบประมาณปี 2554 มาดำเนินการให้กับโรงเรียนในการปรับปรุงเบื้องต้น โรงเรียนละ 5 ล้านบาท สำหรับแผนการพัฒนาตั้งแต่ปี 2555-2561 ให้ สพฐ. ดำเนินการตามแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้จัดทำร่วมกัน", "title": "โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี" }, { "docid": "154005#10", "text": "ความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของโครงการ OAO ทำให้นักดาราศาสตร์เห็นพ้องให้การสร้างกล้องโทรทรรศน์อวกาศเป็นเป้าหมายหลักของวงการดาราศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1970 นาซาได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด โดยชุดแรกทำการกำหนดรายละเอียดทางวิศวกรรมและอีกชุดหนึ่งทำการกำหนดเป้าหมายของโครงการนี้ หลังจากที่ได้มีการศึกษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อุปสรรคต่อไปของนาซาก็คือการหางบประมาณซึ่งมากกว่ากล้องโทรทรรศน์ใด ๆ บนโลกเคยใช้ รัฐสภาสหรัฐตั้งคำถามมากมายเกี่ยวกับข้อเสนอโครงการและบังคับให้ตัดงบประมาณในขั้นวางแผนซึ่งประกอบด้วยการศึกษาอุปกรณ์ของกล้องโทรทรรศน์อย่างละเอียดมาก ค.ศ. 1974 ประธานาธิบดี เจอรัลด์ ฟอร์ด ดำเนินนโยบายตัดรายจ่ายสาธารณะ ส่งผลให้รัฐสภาตัดงบประมาณทั้งหมดสำหรับโครงการนี้[8]", "title": "กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล" }, { "docid": "593895#61", "text": "ขั้นตอนการจัดทำงบประมาณประจำปี\nคณะรัฐมนตรีจะมีการจัดประชุมเดือนกรกฎาคมเพื่อหาข้อมติสำหรับการงบประมาณที่จะได้รับการอนุมัติ ซึ่งกระทรวงและหน่วยงานต่างๆจะส่งคำของบประมาณของปีถัดไป ไปยังกระทรวงการคลังในปลายเดือนสิงหาคม หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้รับการร้องขอเหล่านี้สำนักงบประมาณดำเนินการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้แสดงข้อมูลที่จำเป็นในการของงบประมาณในช่วงปลายเดือนธันวาคมจะมีการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจการวางแผนเศรษฐกิจของหน่วยงานและข้อมูลอื่น ๆ เพื่อให้กระทรวงการคลังเตรียมร่างงบประมาณและส่งไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ ควบคู่ไปกับกระบวนการนี้ กระทรวงการคลังแจ้งให้แต่ละกระทรวงและหน่วยงานทางการของการอนุมัติงบประมาณ ณ สิ้นเดือนธันวาคมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบของกระทรวงการคลังร่างงบประมาณที่รัฐบาลประมาณการงบประมาณและรัฐบาลจะส่งงบประมาณไปยังสภาผู้แทนราษฎรในช่วงปลายเดือนมกราคมและส่งไปยังสภาที่ปรึกษาที่จุดเริ่มต้นของเดือนมีนาคม และพรรคการเมืองไดเอทยังมีอิทธิพลเหนือกระบวนการก่อตัวของงบประมาณและกระทรวงการคลังกระบวนการการอนุมัติงบประมาณ แต่ละกระทรวงและหน่วยงานพยายามที่จะได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองไดเอทกระทรวงการคลังจึงพิจารณาและร้องขอให้พรรคการเมืองไดเอทปรับแนวทางการใช้งบประมาณของรัฐบาลที่มีให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดทำงบประมาณของกระทรวงการคลังแผนภูมิต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการสร้างงบประมาณ", "title": "การคลังสาธารณะของญี่ปุ่น" }, { "docid": "196459#1", "text": "เด็กหญิงที่สร้างเรฟเกิดมาในการต่อสู้ระหว่างแสงสว่างและความมืดเป็นเจ้าหญิงแห่งการร่ายรำ และครอบครองพลังเอเทเรี่ยนมาแต่เกิด แท้จริงคือรีซ่าเกิดที่หมู่บ้านเอรี่ มีพ่อแม่แต่ตายเพราะป่วยเป็นโรคจนเสียชีวิต เลยออกหางานทำตั้งแต่เด็ก พอพระราชามาลาเกียรู้เรื่องเอเทเรี่ยนเลยพาไปอาศัยในปราสาทโดยที่ขาดอิสรภาพ และใช้พลังเอเทเรี่ยนในการสร้างโฮลี่บริงค์เพื่อทำลายดาร์คบริงค์ หลังจากสร้างโฮลี่บริงค์สำเร็จเริ่มสูญเสียความทรงจำไปทีละน้อย เพราะผลของการใช้เอเทเรี่ยนมากเกินไป กับถูกพวกทหารของศัตรูบุกมาชิงตัวแต่เพราะนักรบเกราะเสือดาวเตือนทัน พวกศัตรูจึงถูกจับกุมหมด(แต่ตอนที่ฮารุ เอรี่ ซิก ย้อนอดีต ฮารุก่อเรื่องให้พวกโจรเปลี่ยนแผนแล้วจับรีซ่าได้ แล้วฮารุไปช่วยกลับมาแล้วแก้อดีตกลับมาเหมือนเดิมอีกครั้งทัน) โดยร่วมแผนกำจัด ENDLESS ในอนาคต โดยทำการหลอกคนทั้งโลกว่า รีซ่า วาเลนไทน์ตายเพราะการสร้างโฮลี่บริงค์สำเร็จ เพื่อไม่ให้ใครใช้รีซ่าสร้างโฮลี่บริงค์ในทางที่ผิด ต่อมาทุกคนได้เปลี่ยนชื่อ โฮลี่บริงค์ โดยเอาตัวอักษรนำหน้าและลงท้ายของชื่อและนามสกุลของ รีซ่า วาเลนไทน์มาเปลี่ยนชื่อเป็นเรฟ ซึ่งคนที่รู้ว่ารีซ่ายังมีชีวิตอยู่และวางแผนกำจัด ENDLESS คือมาลาเกีย(พระราชาองค์สุดท้ายของประเทศซิมโฟนี และร่วมแผนหนีออกนอกประเทศกับรีซ่าโดยเปลี่ยนชื่อเป็น คาม) ซาก้า นักพยากรณ์ กับภรรยาเท่านั้นที่รู้ รีซ่ากับคามได้ขึ้นเรือออกนอกประเทศซิมโฟเนียตอนนั้นสูญเสียความทรงจำหมดแล้ว หลังจากนั้นได้แยกทางกับคามไปหาสถานที่ที่ไม่มีใครสามรถค้นพบตัว ได้แช่แข็งตัวเองโดยจนเวลาล่วงเลยไป สถานที่นั้นได้มีการก่อตั้งศูนย์วิจัยเอเทเรี่ยนโดยปี 0045 มีพ่อแม่ของเบลนีก้ามาทำงานเป็นนักวิจัยอยู่ที่ศูนย์วิจยโดยไม่รู้มั้ยที่ใต้ดินของอาคารมีผู้ใช้พลังเอเทเรี่ยนตัวจริงหลับไหลอยู่ ซึ่งที่ศูนย์วิจัยนั้นร้างเพราะการทดลองสร้างมนุษย์เทียมที่มีพลังเอเทเรี่ยนล้มเหลวถึง 200 ตัว จนปี 0064 ซิกได้มาที่ศูนย์วิจัยเพื่อทำลาย แต่ความจริงศูนย์วิจัยนั่นปล่อยทิ้งร้างมานาน จนทำให้รีซ่าตื่นขึ้นมาก่อนกำหนดโดยใช้ชื่อใหม่ว่าเอรี่", "title": "เอรี่" }, { "docid": "534156#6", "text": "เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของเมืองออกสู่เขตปริมณฑลมากขึ้น ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมและสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและแผนการจราจรดำเนินการศึกษาเส้นทางรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 10 สายทาง เพื่อบรรจุลงใน \"แผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ระยะที่สอง\" หรือ M-Map Phase 2 โดยให้ดำเนินการศึกษาร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้า เพื่อวางแผนสนับสนุนงบประมาณในการลงทุนหากมีความจำเป็นที่จะต้องกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อดำเนินโครงการ", "title": "รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" }, { "docid": "41062#8", "text": "ต่อมายังได้รับงบประมาณตามแผนพัฒนาโดยมีอาคารเรียนและปฏิบัติการหลังใหม่ (อาคาร 3) ในปี2542 นอกเหนือจากความพร้อมด้านอาคารสถานที่แล้ว คณะวิศวกรรมศาสตร์ยังได้รับงบประมาณสนับสนุนในการจัดซื้อครุภัณฑ์ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการเรียนการสอน การทำวิจัย และการบริการวิชาการแก่สังคมอีกนับเป็นจำนวนหลายร้อยล้านบาท นับจากอดีตซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีเพียง 4 หลักสูตร และมีนักศึกษารุ่นแรกเพียง 40 คน \nจนในปัจจุบันแต่ละปีคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศเป็นจำนวนมาก\nตั้งแต่เปิดทำการสอน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีคณบดีดำรงตำแหน่งตามลำดับต่อไปนี้", "title": "คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" }, { "docid": "292541#22", "text": "มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการทั่วไปของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และกิจการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมิได้กำหนดเป็นอำนาจหน้าที่ของด้านกิจการใดด้านกิจการหนึ่งโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง อำนาจหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึงการเสนอและจัดทำนโยบายของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาการเมือง และภารกิจตามกฎหมาย จัดทำแผนแม่บท ประสานแผนการปฏิบัติงาน เสนอแนะนโยบายในการตั้ง และการจัดสรรงบประมาณประจำปี ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดทำรายงานผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี และข้อสังเกตของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด และหน่วยงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งในส่วนภูมิภาค และปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมาย", "title": "สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "684280#2", "text": "ในปี ค.ศ. 2003 คาฮ์นะมันและคณะได้เสนอนิยามที่ครอบคลุมมากขึ้นว่า เป็นแนวโน้มที่จะประเมินเวลา ค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงสำหรับงานที่จะทำในอนาคตต่ำเกินไป และในขณะเดียวกันจะประเมินประโยชน์ที่ได้สูงเกินไป ตามคำนิยามนี้ เหตุผลวิบัติในการวางแผนมีผลไม่ใช่เป็นการใช้เวลามากเกินไปเท่านั้น แต่จะมีผลเป็นค่าใช้จ่ายเกินงบประมาณ และประโยชน์ที่น้อยกว่าที่วางแผนไว้ด้วย[8]", "title": "เหตุผลวิบัติในการวางแผน" }, { "docid": "140305#9", "text": "สภาเทศบาลยังอาจะมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ เพื่อวัตุประสงค์ต่างๆ เช่น การวางแผนเมือง, การวางแผนพัฒนา, การพิจารณางบประมาณและการคลัง, ดูแลตรวจสอบการส่งมอบบริหารสาธารณะ เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจจัดตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษแห่งเทศบาล โดยเปิดโอกาสให้ประชนภายในท้องถิ่นเข้าร่วมพิจารณาประเด็นต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องกับกิจการของชุมชนท้องถิ่นร่วมกัน", "title": "เทศบาลในประเทศฝรั่งเศส" } ]
2009
ไข้หวัดนกเกิดจากเชื้ออะไร?
[ { "docid": "1915#3", "text": "ต่อมาเกิดการระบาดขึ้นอีกโดยเริ่มต้นที่ฮ่องกงในปี พ.ศ. 2540 ในครั้งนั้นมีผู้ติดเชื้อ 18 คน เสียชีวิตไป 6 คน และเมือง Chaohu ในประเทศจีน เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547 และล่าสุดพบนกกระยางป่วยที่พบในสวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเขตเมืองใหม่ของฮ่องกงเมื่อ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 พบว่าติดเชื้อไข้หวัดนก H5N1", "title": "ไข้หวัดนก" }, { "docid": "1915#0", "text": "ไข้หวัดนก ( หรือชื่อสามัญ bird flu) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ชื่อ H5N1 ซึ่งพบได้ในสัตว์ปีก ค้นพบครั้งแรกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศอิตาลี เรียกกันว่าไข้หวัดสเปน โรคนี้ระบาดอย่างหนักทั่วโลก\nไข้วก ไข้หวัดนก เอาอีก\nเริ่มระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2460-2461(ค.ศ.1918-1920) เรียกว่า \"ไข้หวัดใหญ่สเปน\" (Spanish Flu) \nเริ่มแพร่ระบาดจากฝั่งอาร์กติก และข้ามมาสู่ฝั่งแปซิฟิกภายในระยะเวลา2เดือน มีการประมาณผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 50-100 ล้านคน\nหรือเท่ากับคนจำนวน1ใน3ของประชากรของทวีปยุโรป", "title": "ไข้หวัดนก" } ]
[ { "docid": "1915#8", "text": "โดยปกติ ไข้หวัดนกไม่ติดต่อกับมนุษย์ แต่เมื่อเชื้อไวรัสกลายพันธุ์คนจะติดไวรัส เรียกว่าไข้หวัดนกในคน มักเกิดขึ้นในฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ และส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว จากอายุ 18 – 20 ปี และมีอัตราการตายสูงกว่า 60%", "title": "ไข้หวัดนก" }, { "docid": "54138#0", "text": "ไข้หวัดใหญ่ () เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ อาจมีอาการเล็กน้อยไปถึงรุนแรง อาการที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ไข้สูง คัดจมูก เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ไอและรู้สึกเหนื่อย อาการเหล่านี้จะออกอาการหลังได้รับไวรัสสองวันและส่วนมากอาการอยู่นานไม่เกินสัปดาห์ ทว่า อาการไออาจกินเวลานานกว่าสองสัปดาห์ได้ ในเด็ก อาจมีคลื่นไส้อาเจียน แต่ไม่ใช่อาการปกติในผู้ใหญ่ อาการคลื่นไส้อาเจียนเกินบ่อยกว่าในกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบซึ่งเป็นโรคติดเชื้ออีกโรคหนึ่ง ที่บ้างเรียกผิด ๆ ว่าเป็น \"ไข้หวัดลงกระเพาะ\" (stomach flu) หรือ \"ไข้หวัด 24 ชั่วโมง\" (24-hour flu) อาการแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่อาจมีปอดบวมจากไวรัส ปอดบวมจากแบคทีเรียตาม โพรงอากาศ (sinus) ติดเชื้อ และปัญหาสุขภาพที่มีอยู่เดิมแย่ลง เช่น โรคหอบหืดหรือภาวะหัวใจล้มเหลว", "title": "ไข้หวัดใหญ่" }, { "docid": "54138#2", "text": "เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นไวรัสมีชื่อว่า ไวรัสอินฟลูเอนซา (influenza virus) เชื้อนี้จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการไอ หรือจาม หรือการสัมผัสถูกมือของเครื่องใช้เปื้อนเชื้อโรค\nระยะฟักตัว 1-4 วัน เชื้อไข้หวัดใหญ่มีอยู่ 3 ชนิด เรียกว่า ชนิด เอ,บี และซี ซึ่งแต่ละชนิดยังแบ่งเป็นพันธุ์ย่อยๆ ไปอีกมากมาย ในการเกิดโรคแต่ละครั้งจะเกิดจากพันธุ์ย่อยๆ เพียงพันธุ์เดียว ซึ่งเป็นแล้วจะมีภูมิคุ้มกันต่อพันธุ์นั้น เชื้อไข้หวัดใหญ่บางพันธุ์ อาจผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำให้เกิดการระบาดใหญ่ และมีการเรียกชื่อโรคที่ระบาดแต่ละครั้งตามชื่อของประเทศที่เป็นแหล่งต้นกำเนิด", "title": "ไข้หวัดใหญ่" }, { "docid": "25135#1", "text": "งูสวัดเกิดจากการกำเริบขึ้นของเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (VZV) ที่คงอยู่ในร่างกายของผู้ป่วย เชื้อนี้หากได้รับครั้งแรกจะแสดงอาการเป็นโรคอีสุกอีใส เมื่อหายจากอีสุกอีใสแล้วไวรัสอาจคงอยู่ในเซลล์ประสาทได้ในสภาพไม่ทำงาน เมื่อไวรัสกลับมาเพิ่มจำนวนอีกครั้งก็จะแพร่จากตัวเซลล์ประสาทไปยังปลายประสาทที่ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นตุ่มน้ำ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดไวรัสกำเริบนี้มีหลายอย่างเช่น อายุมาก ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และการติดโรคอีสุกอีใสก่อนอายุ 18 เดือน กลไกของการที่ไวรัสสามารถคงอยู่ในร่างกายได้และสามารถกำเริบกลับเป็นงูสวัดได้นั้นยังไม่เป็นที่เข้าใจแน่ชัด หากผู้ที่ไม่เคยสัมผัสเชื้อมารับเชื้อจากผื่นงูสวัดอาจทำให้ป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส แต่จะไม่ทำให้เป็นงูสวัด การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำได้โดยดูจากอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย ไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์นี้เป็นเชื้อคนละชนิดกับไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์หรือไวรัสเริม แต่ทั้งสองชนิดนี้เป็นไวรัสในแฟมิลีเดียวกัน", "title": "งูสวัด" }, { "docid": "584341#0", "text": "ไข้กาฬหลังแอ่น, ไข้กาฬนกนางแอ่น หรือ การติดเชื้อเมนิงโกค็อกคัส () คือกลุ่มของโรคติดเชื้อ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ \"Neisseria meningitidis\" หรืออีกชื่อว่าเมนิงโกค็อกคัส (meningococcus) ซึ่งเป็นโรคที่หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก แม้เชื้อนี้จะพบเป็นสาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้บ่อย แต่การติดเชื้อนี้เข้าสู่กระแสเลือดเป็นภาวะที่มีอันตรายกว่ามาก โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อเมนิงโกค็อกคัส (meningococcal meningitis) และโรคติดเชื้อเมนิงโกค็อกคัสเข้ากระแสเลือด (meningococcemia) เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย พิการ และเสียชีวิต ที่สำคัญ ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาทั่วโลก", "title": "ไข้กาฬหลังแอ่น" }, { "docid": "327595#1", "text": "ไข่มุกเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อปลายยอดชั้นนอกได้รับความเสียหายจากปรสิต, จากการกัดกินของปลาหรือเหตุการณ์อื่นซึ่งสร้างความเสียหายแก่บริเวณขอบที่อ่อนแอของเปลือกสัตว์จำพวกพวกหอยชั้น Bivalvia หรือแกสโทรโพดา เนื้อเยื่อปลายยอดชั้นนอกจึงตอบสนองโดยการหลั่งน้ำมุกเข้าไปเคลือบสิ่งแปลกปลอมนั้น ในทางเคมี สารที่หลั่งออกมานี้เป็นแคลเซียมคาร์บอเนตและเส้นใยโปรตีนที่เรียกว่า คอนชิโอลิน เมื่อน้ำมุกถูกสร้างขึ้นในชั้นของอะราโกไนต์บาง ๆ แล้ว มันจะสะสมถุงไข่มุกจนกระทั่งเติบโตขึ้นเป็นไข่มุก โดยมีการเล่ากันว่าเม็ดทรายสามารถก่อให้เกิดไข่มุกได้ อย่างไรก็ตาม น้ำมุกจะไม่หลั่งออกมาเคลือบสิ่งไม่มีชีวิตแต่อย่างใด", "title": "ไข่มุกเลี้ยง" }, { "docid": "19056#4", "text": "เมื่อเร็วๆนี้ พบว่าฟาร์มเป็ดไก่ในประเทศจีนใช้อะมันตาดีนป้องกันไข้หวัดนก (avian flu) 2600 ล้านโดส เป็นเหตุให้ ไข้หวัดนก ที่เกิดจากเชื้อ เอชไฟฟ์เอ็นวัน (H5N1) ในประเทศจีนและประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ดื้อต่อยาอะมันตาดีน", "title": "อะแมนตาดีน" }, { "docid": "24465#10", "text": "โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย (\"Aedes aegyti\") ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง ทำให้ได้รับเชื้อไวรัสเด็งกี เชื้อจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่งๆ ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ฯลฯ", "title": "ไข้เด็งกี" } ]
993
เครื่องเกมบอยแอดวานซ์ ผลิตโดยบริษัทอะไร ?
[ { "docid": "33269#0", "text": "เกมบอยอัดวานซ์ (Gameboy Advance หรือตัวย่อ GBA) เป็นเครื่องเล่นเกมพกพาของบริษัทนินเทนโด ถือว่าเป็นรุ่นล่าสุดในเครื่องเล่นเกมตระกูลเกมบอย วางจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2001 ในทวีปอเมริกาเหนือ วันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2001 และทวีปยุโรปเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2001 มีรหัสระหว่างการพัฒนาว่า Project Atlantis", "title": "เกมบอยอัดวานซ์" } ]
[ { "docid": "20584#0", "text": "ไฟนอลแฟนตาซี XII () เป็นเกมอาร์พีจีในชุดไฟนอลแฟนตาซี สำหรับเครื่องเกมเพลย์สเตชัน 2 สร้างสรรค์และวางจำหน่ายโดยค่ายสแควร์เอนิกซ์ และนับเป็นภาคที่ 12 ในซีรีส์ไฟนอลแฟนตาซี ออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2549 ที่ผ่านมา โดยทำยอดจำหน่ายไปแล้วขณะนี้มากกว่า 2 ล้านชุดในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในประเทศไทยก็ได้ออกวางจำหน่ายไปแล้วเช่นกัน ส่วนวันวางจำหน่ายของเวอร์ชันภาษาอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือ อยู่ในช่วงเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 โดยไฟนอลแฟนตาซี XII เป็นไฟนอลแฟนตาซี ภาคหลักภาคแรกที่เป็นแนวเล่นคนเดียว นับจากไฟนอลแฟนตาซี X ซึ่งออกวางจำหน่ายไปเมื่อปี พ.ศ. 2544 เรื่องราวบางส่วนในภาคนี้ได้ถูกนำเสนอไปแล้วในเกม ไฟนอลแฟนตาซี แทคติกส์ แอดวานซ์ สำหรับเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ ", "title": "ไฟนอลแฟนตาซี XII" }, { "docid": "85470#0", "text": "โซนิคแบทเทิล (; ) เป็นเกมต่อสู้สองมิติสำหรับเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ ผลิตโดยบริษัท Dimps (ภายใต้ชื่อโซนิคทีม) จัดจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาโดย THQ โดยเกมนี้เป็นหนึ่งในเกมชุดโซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก เกมโซนิคแบทเทิ้ลส์ได้นำตัวละครหลักๆจากตระกูลโซนิคมาทั้งหมดซึ่งแต่ละคนจะมีท่าต่อสู้และความสามารถที่ต่างกันออกไป ฉากในเกมจะถูกสร้างมาในแบบกึ่ง 3 มิติ หรือก็คือฉากจะมีความกว้าง,ยาว, สูง เป็นแบบ 3 มิติ สามารถหมุนฉากได้ แต่ไม่อิสระมากนัก", "title": "โซนิคแบทเทิล" }, { "docid": "97879#12", "text": "เกมมาริโอในแนวเกมอื่นประกอบด้วยเกมบนเครื่องเล่นประเภท เกมแอนด์วอตช์ จำนวนมาก เช่น มาริโอพินบอลแลนด์ เกมพินบอลบนเครื่องเกมบอยแอดวานซ์[35] เกมแนวประกอบการศึกษามากมาย และเกม ด็อกเตอร์มาริโอ เกมคอมพิวเตอร์แนวแก้ปริศนา (ซึ่งเกมด็อกเตอร์มาริโอออกจำหน่ายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1990) [36] ในเกมเหล่านี้ ด็อกเตอร์มาริโอจะโยนเม็ดยาวิตามินลงมาและผู้เล่นจะต้องจัดเรียงเพื่อทำลายเชื้อไวรัสที่อยู่บนพื้น[36] เกมซูเปอร์มาริโออาร์พีจี: เลเจนด์ออฟเดอะเซเวนสตาร์ส ของปี ค.ศ. 1996 บนเครื่องเล่นซูเปอร์แฟมิคอม เป็นเกม มาริโอ แนวบทบาทสมมุติเกมแรก[37] มีอีก 7 เกมออกตามมา รวมไปถึงเกมในชุด เปเปอร์มาริโอ 4 เกม (เปเปอร์มาริโอ บนเครื่องนินเทนโด 64, เปเปอร์มาริโอ: เดอะเธาซันด์เยียร์ดอร์ บนเครื่องนินเทนโด เกมคิวบ์, ซูเปอร์เปเปอร์มาริโอ บนเครื่องวี และเปเปอร์มาริโอ: สติ๊กเกอร์สตาร์ บนเครื่องนินเทนโด 3ดีเอส) และเกมในชุด มาริโอแอนด์ลุยจิ อีก 4 เกม (มาริโอแอนด์ลุยจิ: ซูเปอร์สตาร์ซากา บนเครื่องเกมบอยแอดวานซ์, มาริโอแอนด์ลุยจิ: พาร์ตเนอร์สอินไทม์ และมาริโอแอนด์ลุยจิ: บาวเซอร์สอินไซด์สตอรี บนเครื่องนินเทนโดดีเอส และมาริโอแอนด์ลุยจิ: ดรีมทีม บนเครื่อง 3ดีเอส)", "title": "มาริโอ (ตัวละคร)" }, { "docid": "21825#25", "text": "ต่อมามีเครื่อง Wii เลียนแบบอีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งรุ่นนี้มีการรุกจำหน่ายในญี่ปุ่นด้วย โดยใช้ชื่อว่า Sport Vii โดยมีเกมเก็บอยู่ในตลับเกม รูปร่างคล้ายตลับ เกมบอยแอดวานซ์", "title": "วี (เครื่องเล่นเกม)" }, { "docid": "32610#0", "text": "แองเจลีค(ญี่ปุ่น: アンジェリーク \"อังเจรีคุ\" ; อังกฤษ: Angelique) เป็นเกมซิมูเลชั่นแนว dating sim พัฒนาโดยบริษัท โคเอ ออกวางจำหน่ายในรูปแบบเกมสำหรับเครื่องซุปเปอร์แฟมิคอม, เกมคอมพิวเตอร์, PC-FX, เพลย์สเตชัน, เซก้าแซทเทิร์น และ เกมบอยแอดวานซ์ โดยมี ยูระ ไคริ เป็นผู้ออกแบบตัวละคร ซึ่งได้รับความนิยมในหมู่นักเล่นเกมผู้หญิงอย่างสูง จนมีการสร้างเกมภาคใหม่ๆ ตามออกมาอีกหลายต่อหลายภาค นอกจากนี้ยังถูกดัดแปลงเป็นดราม่าซีดี มังงะ และอนิเมะด้วย ", "title": "แองเจลีค" }, { "docid": "171723#0", "text": "ซีรีส์ ร็อคแมนซีโร่ () หรือ เมกาแมนซีโร่ (Mega Man Zero) เป็นซีรีส์ภาคต่อชุดที่สี่ของเกมชุดร็อคแมน โดยดำเนินเนื้อเรื่องต่อเนื่อจากซีรีส์ ร็อคแมน X ซึ่งมีซีโร่เป็นตัวเอกของเกม ซีรีส์นี้วางจำหน่ายมาแล้วทั้งหมด 4 ภาค และถูกผลิตสำหรับเล่นบนเครื่องเกมบอยแอดวานซ์", "title": "ร็อคแมนซีโร่ซีรีส์" }, { "docid": "44378#0", "text": "ไฟนอลแฟนตาซี II (; ) เป็น เกมอาร์พีจี ผลิตโดยบริษัทสแควร์ (ปัจจุบันคือ สแควร์เอนิกซ์) ลงให้แก่เครื่องเล่นเกมแฟมิคอม ของบริษัทนินเทนโด เป็นครั้งแรกที่ตัวละครของเกมซีรี่นี้ ถูกกำหนดให้มีชื่อและเรื่องราวความเป็นมาเป็นของตนเอง และยังมีเนื้อเรื่องมากมายที่ต้องสลับตัวเพื่อนในกลุ่มอยู่ตลอดเวลา ทำให้ประสบความสำเร็จในยุคนั้น นอกจากนี้ยังเป็นการปรากฏตัวของตัวละครประจำซีรีส์ไฟนอลแฟนตาซีอย่าง ซิด และ โจโคโบะ อีกด้วยต่อมาจึงได้มีการรีเมคใหม่มาลงเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ (GBA) คู่กับภาคแรกในชื่อเกม ไฟนอลแฟนตาซี I-II แอดวานซ์ ในปี ค.ศ. 2004 กับค.ศ. 2006 และสำหรับเพลย์สเตชันพอร์เทเบิล ในค.ศ. 2007 รวมทั้งรุ่นล่าสุดสำหรับระบบวีเวอร์ฌวลคอนโซลในวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2009 ", "title": "ไฟนอลแฟนตาซี II" }, { "docid": "68995#0", "text": "เดอะคิงออฟไฟเทอส์ (ญี่ปุ่น: ザ・キング・オブ・ファイターズ ; อังกฤษ: The King of Fighters หรือในชื่อย่อว่า KOF) เป็นซีรีส์เกมแนวต่อสู้ของบริษัทเอสเอ็นเค ประเทศญี่ปุ่น โดยเริ่มออกวางจำหน่ายครั้งแรกบนเครื่องนีโอจีโอและเกมตู้ ในปี ค.ศ. 1994 และได้พัฒนาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เดอะคิงออฟไฟเทอส์ก็ได้ออกวางจำหน่ายในหลาย ๆ เครื่องเกมด้วยกันเช่น นีโอจีโอ CD, นีโอจีโอ พ็อคเก็ต, เกมบอย และ เกมบอย แอดวานซ์, เอ็นเกจ, เซก้า แซทเทิร์น, ดรีมแคสท์, เพลย์สเตชัน, เพลย์สเตชัน 2, เพลย์สเตชัน 3, เอ็กซ์บอกซ์ และ เอ็กซ์บอกซ์ 360 นอกจากนี้ยังมีซีรีส์ส เดอะคิงออฟไฟเทอส์: แม็กซิมั่ม อิมแพ็ค ซึ่งเป็นซีรี่ยส์ที่แตกแขนงมาจาก KOF ปกติด้วย", "title": "เดอะคิงออฟไฟเทอส์" }, { "docid": "36288#0", "text": "ซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น (, \"ซูปาโรบ็อตโตะไทเซ็น\"; ) หรือในชื่อย่อว่า SRW เป็นตระกูลเกมซิมูเลชันอาร์พีจี (วางแผนการรบ + พัฒนาตัวละคร) พัฒนาโดยบริษัทแบนเพรสโต ออกวางจำหน่ายในรูปแบบเกมสำหรับเครื่องเล่นเกมแทบทุกชนิด เช่น แฟมิคอม, ซูเปอร์แฟมิคอม, เกมบอย, เพลย์สเตชัน, เกมบอยแอดวานซ์ ฯลฯ เป็นการจับเอาตัวละครและหุ่นจากอนิเมะแนวหุ่นยนต์ยอดฮิตหลายๆ เรื่องมายำรวมกัน และร้อยเรียงเนื้อเรื่องขึ้นมาใหม่ให้กลายเป็นเรื่องเดียวกัน โดยในเกมจะมีการแบ่งประเภทหุ่นออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ซูเปอร์โรบ็อต และ เรียลโรบ็อต ซึ่งหุ่นทั้ง 2 ประเภท ต่างก็มีจุดเด่นและประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมกันไปคนละแบบ ให้ผู้เล่นสามารถเลือกใช้ได้ตามแต่สถานการณ์และความถนัดของตนเอง", "title": "ซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น" }, { "docid": "104595#0", "text": "โซนิคแอดวานซ์ (; ) เป็นเกมแอ็กชั่นแพลทฟอร์มของเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ เป็นหนึ่งในเกมชุดโซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก พัฒนาโดย Dimps จัดจำหน่ายโดยเซก้า (ประเทศญี่ปุ่น), THQ (สหรัฐอเมริกา), Infogrames (ยุโรปและออสเตรเลีย) วางจำหน่ายซ้ำบนเครื่อง Nokia N-Gage ในชื่อโซนิค N", "title": "โซนิคแอดวานซ์" }, { "docid": "64891#0", "text": "ไฟนอลแฟนตาซี V (; ) เป็นเกมแนวเกมเล่นตามบทบาท พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยบริษัท สแควร์ (ปัจจุบันคือ สแควร์อีนิกซ์) ในปี พ.ศ. 2535 ภายหลังได้ถูกรีเมค ลงบนเครื่องเพลย์สเตชัน ในปี พ.ศ. 2541 และเกมบอยแอดวานซ์ ในปี พ.ศ. 2549", "title": "ไฟนอลแฟนตาซี V" }, { "docid": "117318#18", "text": "ซอฟต์แวร์เกมของเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ วางจำหน่ายในปี 2001 ในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น เป็นเกมแนว Sound Novel ที่ให้ผู้เล่นเลือกดำเนินเรื่องด้วยตนเอง พร้อมกับแก้ปริศนาต่างๆไปด้วย เนื้อหาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ ซีบิล เบนเน็ธ ตัวละครจากเกมภาคแรกได้เจอขณะที่ติดอยู่ในเมืองไซเลนต์ฮิลล์", "title": "ไซเลนต์ฮิลล์" }, { "docid": "20754#1", "text": "นอกจากนี้ ไฟนอลแฟนตาซี ยังได้ถูกสร้างใหม่ไว้สำหรับเล่นบนเครื่องเกมอีกหลายประเภท เช่น MSX 2 WonderSwan และโทรศัพท์มือถือ หลังจากออกจำหน่ายครั้งแรกมาหลายปี ไฟนอลแฟนตาซี I ได้ถูกสร้างใหม่พร้อม ไฟนอลแฟนตาซี II ทำเป็นชุดคู่กันในนาม ไฟนอลแฟนตาซีออริจินส์ (Final Fantasy Origins)สำหรับเครื่องเกม เพลย์สเตชัน, ไฟนอลแฟนตาซีดอว์นออฟโซลส์ (Final Fantasy I & II: Dawn of Souls) สำหรับเครื่อง เกมบอยแอดวานซ์ และ ไฟนอลแฟนตาซีแอนิวาซารี่เอดิชั่น บนเครื่อง พีเอสพี", "title": "ไฟนอลแฟนตาซี I" }, { "docid": "178957#10", "text": "โซนิคแอดเวนเจอร์ดีเอ็กซ์ไดเรกเตอร์คัต () วางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2546 การรีเมคกราฟิกครั้งใหม่สำหรับเกมนี้ เช่น โซนิคจากตัวอ้วน ๆ และมีโพลีกอน จะตัวเล็กลงและลดโพลีกอนลง ซึ่งทำการลงเพียงเครื่องนินเทนโด เกมคิวบ์และคอมพิวเตอร์เท่านั้น โดยเพิ่มโหมดต่างๆมา เช่น Minigame Collection และหากออกจาก Casino Polis มา จะพบครีมบินออกจากบริเวณหลังตึกฝั่งตรงข้ามเพียงไม่กี่วินาทีซึ่งการเพิ่มเธอมา อาจเพราะ ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการเพิ่มในแบบโซนิค แอดวานซ์ 2 และ ได้เปลี่ยนการแลกเปลี่ยน Chao จากเครื่องดรีมแคสต์ไปสู่ VMU เป็นจากเครื่องเกมคิวบ์ไปสู่เครื่องเกมบอยแอดวานซ์", "title": "โซนิคแอดเวนเจอร์" }, { "docid": "106879#0", "text": "วิชวลบอยแอดวานซ์ (อังกฤษ:VisualBoyAdvance) เป็นโปรแกรมอีมิวเลเตอร์สำหรับเล่นเกมของเกมบอยทุกชนิด ซึ่งนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยในปัจจุบันนั้นได้พัฒนามาเป็นรุ่นที่ 1.8.0 beta 3 แล้ว", "title": "วิชวลบอยแอดวานซ์" }, { "docid": "44515#0", "text": "ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ แอดวานซ์ (Final Fantasy Tactics Advance) คือ เกมชุดไฟนอลแฟนตาซีอีกภาคหนึ่ง ซึ่งได้ถูกนำลงเครื่อง เกมบอยแอดวานซ์ เป็นครั้งแรกของซีรี่นี้ ผลิตโดยบริษัทสแควร์เอนิกซ์ และวางจำหน่ายในปี 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ", "title": "ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ แอดวานซ์" }, { "docid": "117911#0", "text": "ซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น อาร์ () เป็นเกมสำหรับเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ ตัว R นั้นย่อมาจาก reversal เป็นภาคต่อของ A (แอดวานซ์) โดยภาคนี้มีหุ่นยนต์กันดั้มมากมาย", "title": "ซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น อาร์" }, { "docid": "248710#13", "text": "\"Fire Emblem\" ได้รับคำชมจากนักวิจารณ์ในส่วนของเนื้อเรื่องยิ่งใหญ่, การพัฒนาตัวละคร และ ระบบการเล่นที่ลุ่มลึก เกมในภาคนี้ยังได้รับการจัดระดับสูงเป็นจำนวนมาก ซึ่งรวมทั้ง ระดับคะแนน 8.9/10 จาก GameSpot และได้รับรางวัล Editor's Choice Award จากทั้ง IGN และ GameSpy ในปีพ.ศ. 2550 เกมภาคนี้ได้รับการจัดเป็นเกมอันดับที่ 16 ของเกมยอดเยี่ยมตลอดกาล สำหรับเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ จาก IGN ซึ่งแสดงถึงอายุที่ยาวนานของเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ เกมภาค \"Fire Emblem\" นี้มียอดขายในญี่ปุ่นมากกว่า 345,000 กล่อง และ มียอดขายในอเมริกาถึง 331,000 กล่อง", "title": "ไฟร์เอมเบลม (วิดีโอเกม)" }, { "docid": "68995#23", "text": "KOF ภาคนี้วางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) KOF ภาคนี้เป็นการดัดแปลงมาจากภาค KOF'99 และลงให้กับเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ ภาคนี้มีตัวละครใหม่เป็นนักสู้สาวนามว่า โมเอะ ฮาบานะ บอสคนสุดท้ายของภาคนี้คือกีส ฮาวเวิร์ดและมีอิโอริ ยางามิเป็นรองบอสของเกม", "title": "เดอะคิงออฟไฟเทอส์" }, { "docid": "20760#0", "text": "ไฟนอลแฟนตาซี 6 เป็นเกมภาษา หรือ เกมแนว RPG ถูกพัฒนาขึ้นและจัดจำหน่ายในปี พ.ศ. 2537 โดยบริษัทสแควร์อีนิกซ์ (ชื่อเดิมคือบริษัทสแควร์) ประเทศญี่ปุ่น ภายหลังได้ถูกรีเมค ลงบนเครื่องเพลย์สเตชัน ในปี พ.ศ. 2542 และเกมบอยแอดวานซ์ ในปี พ.ศ. 2549 ", "title": "ไฟนอลแฟนตาซี VI" }, { "docid": "44368#0", "text": "ไฟนอลแฟนตาซี IV เป็นเกมเล่นตามบทละคร สำหรับเครื่องซูเปอร์แฟมิคอม ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัทสแควร์ (และ สแควร์เอนิกซ์ ในรุ่นต่อมา) ในปี พ.ศ. 2534 โดยถือเป็นภาคที่ประสบความสำเร็จอีกภาคหนึ่ง ภายหลังได้มีการนำมารีเมก ลงในเครื่อง เพลย์สเตชัน วันเดอร์สวอน คัลเลอร์ และ เกมบอยแอดวานซ์ และ นินเทนโด ดีเอส ตามลำดับ เรื่องราวในเกมจะเป็นเรื่องของเซซิล ผู้มีอาชีพเป็นอัศวินดำ แต่ต้องรวบรวมสมัครพรรคพวกเพื่อหยุดยั้งกอลเบซ่าในการแย่งชิงคริสตัลจากโลกเบื้องบนและโลกใต้พิภพ", "title": "ไฟนอลแฟนตาซี IV" }, { "docid": "748215#0", "text": "โปเกมอนภาครูบีและโปเกมอนภาคแซฟไฟร์ () เป็นเกมลำดับที่สามในวิดีโอเกมชุด\"โปเกมอน\" พัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีก และจำหน่ายโดยนินเท็นโดสำหรับเครื่องเล่นเกมบอยแอดวานซ์ เกมออกจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นในปลายปี ค.ศ. 2002 และต่างประเทศใน ค.ศ. 2003 โปเกมอนภาค\"เอเมอรัลด์\" เป็นเกมภาคพิเศษ ออกจำหน่ายใน 2 ปีหลังของแต่ละภูมิภาค เกมโปเกมอนสามเกมนี้ (โปเกมอนภาค\"รูบี\" \"แซฟไฟร์\" และ\"เอเมอรัลด์\") เป็นเกมโปเกมอนเจนเนอเรชันที่สาม หรือเรียกว่า \"แอดวานซ์เจนเนอเรชัน\" (advanced generation) โปเกมอนภาคทำใหม่ ชื่อภาค\"โอเมการูบี\"และ\"อัลฟาแซฟไฟร์\" ออกจำหน่ายสำหรับเครื่องนินเท็นโด 3ดีเอส ทั่วโลกในวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 หลังจำหน่ายภาค\"รูบี\"และ\"แซฟไฟร์\" 2 ปีพอดี ยกเว้นในยุโรป ที่ออกจำหน่ายวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014", "title": "โปเกมอน รูบีและแซฟไฟร์" }, { "docid": "80354#45", "text": "และล่าสุดกับเกม Jackie Chan Advertures ในปี 2004 โดยอิงจากตัวละครในการ์ตูน Jackie Chan Adventures โดยจัดจำหน่ายในรูปแบบเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ และ เกมเพลย์สเตชัน 2 โดยบริษัท Atomic Planet ในเครือของ Sony โดยอิงเนื้อเรื่องของการ์ตูนในช่วง Season 1 และ 2", "title": "เฉินหลง" }, { "docid": "104595#7", "text": "เหมือนกับ\"โซนิคแอดวานซ์ 2\"และ\"โซนิคพินบอลปาร์ตี้\" ใน\"โซนิคแอดวานซ์\"ได้บรรจุระบบสวนเชาเอาไว้ด้วย ซึ่งสวนเชาในโซนิคแอดวานซ์นี้ทำหน้าที่ส่งเชาระหว่างเกมโซนิคแอดเวนเจอร์และโซนิคแอดเวนเจอร์ 2 บนเกมคิวบ์ โดยสามารถส่งเชาไปให้เกมคิวบ์และส่งกลับให้มาเลี้ยงในเกมบอยแอดวานซ์ได้ อย่างไรก็ตามสวนเชาในเกมบอยแอดวานซ์มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก เช่น เชาจะไม่มีอายุและสามารถเพิ่มค่าสถานะจากผลไม้ได้เท่านั้น (ซึ่งหาซื้อได้โดยการรวบรวมแหวน ซึ่งได้จากการเล่นเกมปกติเมื่อผ่านด่าน แหวนจะถูกรวมอยู่ในสวนเชา รวมทั้งการเล่นมินิเกมด้วย) อย่างไรก็ดีเป้าหมายสำคัญในระบบสวนเชานี้ มีไว้เพื่อให้ผู้เล่นที่เล่นภาคแอดเวนเจอร์ สามารถนำเชาของเขาพกพาออกมาเลี้ยงข้างนอกได้นั่นเอง ซึ่งหลังจากเลี้ยงแล้วพวกเขาก็สามารถนำพวกเชากลับไปใช้เล่นและแข่งขันในภาคแอดแวนเจอร์บนเกมคิวบ์\"โซนิคแอดวานซ์\"ถือว่าเป็นการกลับมาของโซนิคในรูปแบบสองมิติอีกครั้ง (หลังจากห่างหายนานถึง 7 ปี) ซึ่งในภาคนี้ถือได้ว่าเป็นเกมโซนิคเกมใหม่เกมแรกบนเครื่องเกมของนินเทนโด (ซึ่งก่อนหน้านี้คือโซนิคแอดเวนเจอร์เป็นการรีเมค) ซึ่งในอดีตนินเทนโดกับเซก้าเคยแข่งขันกันมาตลอด เกมนี้ได้รับคะแนนวิจารณ์ในด้านบวกและแฟนๆโซนิคก็ยอมรับในตัวเกม ถึงแม้บางคนจะบอกว่าตัวเกมช้าไปหน่อย อย่างไรก็ดีจากความสำเร็จทำให้ทางเซก้ายังคงผลิตเกมโซนิคให้กับเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ต่อไปอีก 4 เกมคือโซนิคแอดวานซ์ 2, โซนิคแอดวานซ์ 3, โซนิคแบทเทิ่ลและโซนิคพินบอลปาร์ตี้", "title": "โซนิคแอดวานซ์" }, { "docid": "44370#0", "text": "ไฟนอลแฟนตาซี 1-2 คือ เป็นชุดสะสมที่รวมเกมซีรี่ไฟนอลแฟนตาซี I และภาค II ลงในเครื่องเพลย์สเตชันและเกมบอยแอดวานซ์ โดยของเกมบอยแอดวานซ์จะใช้ชื่อไฟนอลแฟนตาซีดอว์นออฟโซลส์", "title": "ไฟนอลแฟนตาซี I-II" }, { "docid": "185563#97", "text": "วิดีโอเกมจากภาพยนตร์เรื่องนี้ ใช้ชื่อว่า แบทแมน บีกินส์ เช่นเดียวกับภาพยนตร์ ตัวเกมได้รับการพัฒนาโดยบริษัท ยูโรคอม และจัดจำหน่ายโดยบริษัทอีเลคทรอนิคอาร์ตส์ ร่วมกับบริษัท วอร์เนอร์บราเธอร์ส, อินเตอร์แอคทีฟเอนเตอร์เทนเมนต์ และดีซีคอมมิคส์ โดยออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2548 (ก่อนหน้าที่ภาพยนตร์จะเข้าฉายในสหรัฐอเมริกา 1 วัน) ในระบบเอกซ์บอกซ์ เพลย์สเตชัน 2 เกมคิวบ์ และเกมบอยแอดวานซ์[76]", "title": "แบทแมน บีกินส์" }, { "docid": "117318#4", "text": "ตัวเกมมีภาคเสริมออกจำหน่ายบนเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ ในชื่อ Silent Hill:Play Novel", "title": "ไซเลนต์ฮิลล์" }, { "docid": "76360#16", "text": "Recca no Honoo THE GAME เป็นเกมแนวต่อสู้ ออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2544 สำหรับเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ พัฒนาโดยบริษัทโคนามิ โดยมีตัวละครในเกม ดังนี้", "title": "เปลวฟ้าผ่าปฐพี" }, { "docid": "8303#1", "text": "ปัจจุบันกำลังถูกตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นแม็กกาซีนรายสัปดาห์ในประเทศญี่ปุ่น และในนิตยสาร KC WEEKLY ในประเทศไทย ภาพยนตร์การ์ตูนสำหรับแพร่ภาพทางโทรทัศน์ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2547 โดยบริษัท XEBEC และนำออกแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียวในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2548 นอกจากนี้ยังมีวิดีโอเกมสำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 ภายใต้ชื่อเดียวกันอยู่สองเกม และสำหรับเครื่องเกมบอย แอดวานซ์ อีกสองเกม ปัจจุบันได้จบลงแล้วในเล่ม 38 แล้วในฉบับตีพิมพ์ที่ญี่ปุ่นมีการเพิ่ม ภาพยนตร์ตามต้นฉบับไว้อีกด้วย", "title": "คุณครูจอมเวท เนกิมะ!" }, { "docid": "76360#15", "text": "เปลวฟ้าผ่าปฐพี ถูกนำมาทำเป็นเกมในรูปแบบต่าง ๆ จำนวน 2 เกมคือ เกมบอยแอดวานซ์ Recca no Honoo THE GAME และ เพลย์สเตชัน 2 Anime Battle Rekka no Honoo ~Flame of Recca~ FINAL BURNING โดยรูปแบบการเล่นในแนวต่อสู้และผจญภัย ผลิตและพัฒนาเกมโดยบริษัทโคนามิ สำหรับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป", "title": "เปลวฟ้าผ่าปฐพี" } ]
1654
ใครเป็นผู้ก่อตั้ง โรงเรียนทวีธาภิเศก?
[ { "docid": "59477#1", "text": "โรงเรียนทวีธาภิเศกเป็นโรงเรียนชายล้วนประจำจังหวัดธนบุรี(โรงเรียนหญิงล้วนประจำจังหวัดธนบุรีคือ โรงเรียนศึกษานารี) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชสมบัตินานเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยกา\nโดยเมื่อปี พ.ศ. 2438 (ร.ศ. 114) ปีมะแม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กระทรวงธรรมการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงศึกษาธิการ) ขยายตัวทางด้านการศึกษา จัดให้มีโรงเรียนมากขึ้น โดยเห็นว่าสถานที่ กระทรวงธรรมการบริเวณศาลาต้นจันทร์ วัดอรุณราชวราราม เปิดสอนชั้น 1 ถึงชั้น 4 มีนักเรียน 162 คน ครู 6 คน มีพระครูธรรมรักขิต (สัมฤทธิ์ ลอยเพ็ชร) เป็นครูใหญ่ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ กรมหมื่นปราบปรปักษ์เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม เมื่อปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ ประจวบกับเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงดำรงสิริราชสมบัติมาเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทวีธาภิเษก ถวายพระอัยกาธิราช ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน และสมโภชสิริราชสมบัติ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2441", "title": "โรงเรียนทวีธาภิเศก" }, { "docid": "59477#0", "text": "โรงเรียนทวีธาภิเศก () (อักษรย่อ : ท.ภ. / T.P.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทชายล้วน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 505/5 ซอยอิสรภาพ 42 ถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600 มีพื้นที่ 13 ไร่ ก่อตั้งโดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชสมบัตินานเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยกา", "title": "โรงเรียนทวีธาภิเศก" } ]
[ { "docid": "73334#1", "text": "วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 ในงานทวีธาภิเศกสัมพันธ์ 90 ปี ทวีธาภิเศก นายอาทร สังขะวัฒนะ ได้มอบที่ดินจำนวน 50 ไร่ต่อผู้อำนวยการสุชาติ ไชยมะโน ผู้อำนวยการโรงเรียนทวีธาภิเศกในขณะนั้น และในโอกาสต่อมาได้ทำพิธีมอบที่ดินกับนายชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น และทำการ จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2528 ผู้บริจาคที่ดินคือนายอาทร และนางไสว สังขะวัฒนะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโรงเรียนทวีธาภิเศก 2", "title": "โรงเรียนทวีธาภิเศก บางขุนเทียน" }, { "docid": "59477#5", "text": "ในปี พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2551 นางสุกัญญา ภู่พันธาภักดิ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ เป็นผู้อำนวยการหญิงคนแรกของโรงเรียนทวีธาภิเศกนับตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนมา ได้สานต่อการพัฒนาโรงเรียนด้านบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยเฉพาะบรรยากาศด้านวิชาการ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน อาทิ ห้องมัลติมีเดียเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งห้องเรียน ห้องเรียนและสื่อการเรียนรู้อีเลกทรอนิกส์ และการจัดสรรเครื่องคอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และห้องสมุดโรงเรียน เพื่อบริการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตแก่ นักเรียนและครูอย่างทั่วถึง จัดทำศูนย์สารสนเทศนักเรียนเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและบริการสืบค้น ข้อมูลของนักเรียนทั้งด้านวิชาการและปกครองเริ่มโครงการอ่านเฉลิมพระเกียรติฯ จัดชั่วโมง \"หยุดทุกอย่างเพื่ออ่าน\" ทุกวันพุธ จัดศูนย์พัฒนาวิชาชีพครู เพื่อพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ การระดมทรัพยากรจากชุมชนเพื่อพัฒนาโรงเรียนทุกด้าน นอกจากนี้ ได้จัดตั้งชมรมครูอาวุโสโรงเรียนทวีธาภิเศกร่วมกับสมาคมศิษย์เก่า เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เพื่อให้ ผู้บริหาร และครูทวีธาภิเศกที่เกษียณอายุทุกท่านมีโอกาสกลับมาเยี่ยมโรงเรียน ได้พบปะสังสรรค์ จัดกิจกรรมบริการตรวจสุขภาพ จัดทัศนศึกษาและจัดพิธีแสดงมุทิตาจิตแด่ครูอาวุโส", "title": "โรงเรียนทวีธาภิเศก" }, { "docid": "73334#2", "text": "วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2537 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียน ชื่อโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ทวีธาภิเศก 2 และแต่งตั้งนาย กนก จันทร์ขจร ผู้อำนวยการโรงเรียนทวีธาภิเศก ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ ผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาทวีธาภิเศก 2 อีกตำแหน่งหนึ่ง เป็นการชั่วคราว", "title": "โรงเรียนทวีธาภิเศก บางขุนเทียน" }, { "docid": "59477#2", "text": "ในการบำเพ็ญพระราชกุศลทวีธาภิเศกนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริชักชวนพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน ได้ทรงร่วมบริจาคทรัพย์บูชาธรรมเทศนาเพื่อการปฏิสังขรณ์และสถาปนาถาวรวัตถุในวัดแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างโรงเรียนตรงกุฏิสงฆ์ด้านทิศเหนือโรงเรียนวัดอรุณราชวรารามเดิมมาเป็นตึกใหญ่ และพระราชทานนามโรงเรียนว่า ทวีธาภิเศก เฉพาะผู้บริจาคมีรายนามของพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงบริจาคเงินร่วมในการนี้ มีพระนามร่วมบริจาคทั้งสิ้น 47 ราย รวมเป็นเงินจำนวน 24,000 บาท เช่น เนื่องในโอกาสเพื่อเป็นที่ระลึกในวันสำคัญยิ่ง ได้มีการสร้างเหรียญที่ระลึกแจกพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในเป็นที่ระลึก ด้วยเหตุนี้ทางโรงเรียนทวีธาภิเศก จึงถือวันที่ 19 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น \"วันทวีธาภิเศก\" และใช้สัญลักษณ์ภาพเหมือนรูปเหรียญ ทวีธาภิเศก เป็นตราประจำโรงเรียน", "title": "โรงเรียนทวีธาภิเศก" }, { "docid": "59477#8", "text": "ได้อัญเชิญจากโรงหล่อส่วนปฏิมากรรม กรมศิลปากร เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2542\nโดยผู้อำนวยการสุธน จุลโมกข์, พ.ต.อ. (พิเศษ) พลวุฒิ วิเศษสงวน นายกสมาคมผู้ปกครองและครูทวีธาภิเศก พล.ร.ท. ฉกรรจ์ สุวรรณเสนีย์ อุปนายกสมาคมศิษย์เก่าทวีธาภิเศก โดยผ่านทางถนนปิ่นเกล้านครไชยศรี ขึ้นสะพานลอยฟ้าคู่ขนาน ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า มุ่งหน้าไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แล้วผ่านลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นที่สุดท้าย เพื่อเป็นความเป็นศิริมงคล ปัจจุบัน ประดิษฐานอยู่ข้างอาคารพิพิธภัณฑ์ (อาคาร 100ปี ทวีธาภิเศก)", "title": "โรงเรียนทวีธาภิเศก" }, { "docid": "51099#2", "text": "ผู้ก่อตั้งโรงเรียนนี้คือ มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล, อดีตอภิรัฐมนตรี, อดีตเสนาบดีกระทรวงนครบาล, อดีตเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ซึ่งท่านเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง การประปานครหลวง การไฟฟ้ามหานคร ถนนและสะพานในกรุงเทพมหานครเกือบทั้งหมด", "title": "โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา" }, { "docid": "59477#4", "text": "ในปี พ.ศ. 2512 นายเรวัต ชื่นสำราญ เป็นอาจารย์ใหญ่ ได้งบประมาณสร้างตึก 4 ชั้น 18 ห้องเรียน เป็นเงินทั้งสิ้นสองล้านบาท ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ โดย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร (พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา) เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธีและได้ประทานนามตึกนี้ว่า \" ตึกพิทยลาภพฤฒิธาดา \" ซึ่งก็คือ ตึก 1 ของโรงเรียนและเปิดใช้มาจนปัจจุบัน", "title": "โรงเรียนทวีธาภิเศก" }, { "docid": "73334#0", "text": "โรงเรียนทวีธาภิเศก บางขุนเทียน เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเครือของโรงเรียนทวีธาภิเศก สังกัดกรมสามัญศึกษา ตั้งอยู่ในซอยแยกถนนบางขุนเทียนชายทะเล แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร เปิดดำเนินการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 โดยรับทั้งนักเรียนชายและหญิง ในระยะแรกใช้ชื่อว่า โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ทวีธาภิเศก 2 (ต.ท.ภ.) และใช้สถานที่ของโรงเรียนทวีธาภิเศกเป็นสถานที่เรียนและดำเนินกิจการ มีนายทองปาน แวงโสธรณ์ เป็นผู้อำนวยการคนแรก สีประจำโรงเรียนคือ สีเขียวอ่อน\nในสมัยผู้อำนวยการสำเริง นิลประดิษฐ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนทวีธาภิเศก (พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2521) โรงเรียน ได้เปิดรับนักเรียน 2 รอบ เช้า-บ่าย จำนวน 96 ห้องเรียน นักเรียนมีจำนวนมาก พื้นที่โรงเรียน 11 ไร่เศษ ไม่เพียงพอ ต่อการ รับนักเรียน ดังนั้น ในงานคล้ายวันเกิด 17 เมษายน พ.ศ. 2528 ของนายห้างอาทร สังขะวัฒนะ ผู้ให้การอุปถัมภ์โรงเรียน ผู้อำนวยการสำเริง นิลประดิษฐ์ คุณมนูญ ไตรรัตน์ เลขานุการสมาคมศิษย์เก่า พ.ต.อ.(พิเศษ) พลวุฒิ วิเศษสงวน และกรรมการหลายท่าน จึงได้เอ่ยปากขอที่ดินเขตบางขุนเทียน เพื่อขยายขนาดโรงเรียนทวีธาภิเศก", "title": "โรงเรียนทวีธาภิเศก บางขุนเทียน" }, { "docid": "609836#0", "text": "ศาสนาจารย์บุญต๋วน บุญอิต เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนผดุงราษฎร์ คริสตจักรคริสตคุณานุกูล จังหวัดพิษณุโลก และคริสตจักรสืบสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ริเริ่มและเผยแพร่งานของ YMCA ที่จะให้เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ อาคารบุญอิตอนุสรณ์สำนักงานของสมาคมไว.เอ็ม.ซี.เอ.กรุงเทพฯ ที่ถนนวรจักร สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับท่าน", "title": "บุญต๋วน บุญอิต" }, { "docid": "107881#1", "text": "นายจง ศรีสนธิ์ เป็นผู้บริหารโรงเรียนคนแรกด้วยตำแหน่ง “ครูใหญ่” โดยมีอดีตกำนันชื่อ นายฉัตร บานเย็น เป็นผู้อุปการะโรงเรียน การดำเนินการก่อสร้างโรงเรียน เริ่มด้วยกระทรวงศึกษาธิการจัดหาที่เรียนให้แก่นักเรียน เพราะมีนักเรียนจำนวนมากไม่มีที่เรียน นายวิฑูรย์ ทิวทอง รองอธิบดีกรมวิสามัญศึกษา นายโชติ สุคนธานิช หัวหน้ากองโรงเรียนรัฐบาล ในสมัยเป็นผู้ดำเนินการจัดหาซื้อที่ดิน ณ ท้องที่ทุ่งมหาเมฆ ตำบลช่องนนทรี อำเภอยานนาวา หวัดพระนคร ได้ที่ดินจำนวน 51 ไร่ 1 งาน 92 ตารางวา ในราคาตารางวาละ 100 บาท ด้วยเงินงบประมาณ 1,902,000 บาท และเงิน กศ.ส. 652,000 บาท ได้จัดที่ดินและก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว หลังคามุงจาก ฝาลำแพนกั้นห้องเป็นสี่ห้องครึ่ง มีโต๊ะครู 3 ชุด โต๊ะม้านั่งนักเรียนแบบยาวๆ นั่งได้ 2 – 3 คน จำนวน 88 ชุด ส้วมซึม 2 ที่นั่ง 1 แห่ง เปิดทำการสอนนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียนด้วยจำนวนนักเรียน 53 คน", "title": "โรงเรียนนนทรีวิทยา" } ]
3629
สถาบันธัญญารักษ์ มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร?
[ { "docid": "235145#0", "text": "สถาบันธัญญารักษ์ เป็นสถาบันการแพทย์เฉพาะทาง ในสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่เลขที่ 60 ถ.พหลโยธิน ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี มีเนื้อที่ทั้งหมด 210 ไร่ ให้บริการด้านวิชาการ ทั้งการวิจัย การประเมินเทคโนโลยี ถ่ายทอดความรู้ และพัฒนานโยบายด้านการบำบัดรักษายาเสพติด รวมทั้งเปิดให้การบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติดทุกประเภท ในระดับตติยภูมิ ทั้งแบบผู้ป่วยนอกและแบบผู้ป่วยในบำบัดด้วยยา 200 เตียง ฟื้นฟูสมรรถภาพ 600 เตียง", "title": "สถาบันธัญญารักษ์" } ]
[ { "docid": "302808#4", "text": "เทศกาลพ้อต่อ นอกจากจะมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเซ่นไหว้บูชาวิญญาณบรรพบุรุษแล้วนั้น ยังมีวัตถุประสงค์อีกประการคือการทำบุญอุทิศส่วนบุญให้กับวิญญาณไร้ญาติ จึงได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า \"ซีโกวกุ่ย\" (จีน:施餓鬼) มีความหมายตามภาษาจีนฮกเกี้ยนแปลว่า \"เทศกาลอุทิศส่วนบุญให้วิญญาณโดดเดี่ยวไร้ญาติ\"", "title": "เทศกาลพ้อต่อ" }, { "docid": "235145#29", "text": "พ.ศ. 2545 กรมการแพทย์ได้มีการปรับภารกิจ คือให้หน่วยงานเพิ่มภารกิจทางวิชาการมากกว่าภารกิจบริการ จึงได้มีกฤษฎีกาเปลี่ยนจากโรงพยาบาลธัญญารักษ์ เป็นสถาบันธัญญารักษ์ ในปัจจุบัน", "title": "สถาบันธัญญารักษ์" }, { "docid": "145827#140", "text": "4.1.เตรียมการคัดเลือกผู้ป่วยศึกษาข้อมูลผู้ป่วย  และกำหนดวัตถุประสงค์   ศึกษาเส้นทางการเดินทาง และสถานที่นัดหมาย  แจ้งวัตถุประสงค์ เตรียมอุปกรณ์  พาหนะ ", "title": "สังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์" }, { "docid": "224170#10", "text": "ตามกฎหมายไทยแล้ว นิติกรรมตกเป็นโมฆะ เมื่อวัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้นต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น การจดทะเบียนสมรสซ้อน การว่าจ้างให้ไปฆ่าคน ฯลฯ หรือวัตถุประสงค์นั้นเป็นการอันพ้นวิสัย ไม่อาจบรรลุเจตนาที่แสดงเอาไว้ได้ เช่น การจ้างให้ไปยกภูเขาหิมาลัยมาไว้หน้าบ้าน (ป.พ.พ. ม.150)", "title": "โมฆะ" }, { "docid": "20222#4", "text": "วัตถุประสงค์ในการขุดคลองข้างต้นนั้น บางครั้งเป็นการขุดคลองเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ในสมัยโบราณ ส่วนใหญ่เป็นการขุดคลองด้วยเหตุผลข้อที่ 1 หรือข้อที่ 2 ในช่วงต่อมา มีวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 และข้อที่ 4 เข้ามาเกี่ยวข้อง ส่วนวัตถุประสงค์ข้อที่ 5 นั้นเป็นการขุดคลองเพื่อการประปาในสมัยใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของเมืองหรือชุมชนใหญ่ๆ ในด้านการมีน้ำที่สะอาดสำหรับการอุปโภคและบริโภค", "title": "คลอง" }, { "docid": "255018#0", "text": "การจัดการ คือการทำให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร การจัดการประกอบด้วยการวางแผน การจัดการองค์กร การสรรบุคลากร การนำหรือการสั่งการ และการควบคุมองค์กรหรือความพยายามที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน การจัดการทรัพยากรประกอบด้วยการใช้งานและการจัดวางทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรการเงิน ทรัพยากรเทคโนโลยี และทรัพยากรธรรมชาติ และยังช่วยการบริหารให้กับองค์กรต่างๆให้เจริญรุ่งเรือง", "title": "การจัดการ" }, { "docid": "235145#31", "text": "พ.ศ. 2551 ได้มีการพัฒนาและรับรองคุณภาพของสถานบำบัดรักษายาเสพติดทุกระบบทั้งสมัครใจ, บังคับบำบัดและต้องโทษให้ครอบคลุมทั่วประเทศ สถาบันธัญญารักษ์ เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ จัดทำ “ข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือด้านการพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานบำบัดรักษายาเสพติดทุกระบบ โดยมีการลงนาม ระหว่างปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) เมื่อวันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2551", "title": "สถาบันธัญญารักษ์" }, { "docid": "940786#1", "text": "การศึกษาเกี่ยวกับธรณีวิทยาทางทะเลมีความสำคัญมากในการหาข้อมูลและหลักฐานสำคัญเกี่ยวการขยายตัวของพื้นทะเลและเปลือกโลกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเนื่องจากทะเลลึกเป็นพื้นที่สุดท้ายที่ยังไม่ได้ทำการสำรวจและทำแผนที่โดยละเอียดจึงต้องเริ่มมีการสำรวจเพื่อวัตถุประสงค์ทางทหาร (เรือดำน้ำ) วัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ (ปิโตรเลียมและเหมืองแร่โลหะ) และวัตถุประสงค์ด้านการวิจัย", "title": "ธรณีวิทยาทางทะเล" }, { "docid": "26648#35", "text": "ห้องส่งวิทยุโทรเลขบนเรือเดินสมุทรในยุคนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อบริการแก่ผู้โดยสารเป็นหลัก เพราะการเดินทางโดยทางเรือนั้นต้องใช้เวลานาน จากหลายวันถึงเป็นเดือน ดังนั้นการติดต่อกับผู้ที่อยู่บนบกจึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผู้โดยสาร ส่วนการใช้เพื่อประโยชน์ในการเดินเรือนั้นเป็นวัตถุประสงค์รอง", "title": "อาร์เอ็มเอส ไททานิก" }, { "docid": "568430#15", "text": "วัตถุประสงค์หลักของข้อมูลนี้คือผู้ใช้จะถูกเรียกเก็บเงินตามทีใช้; ข้อมูลยังถูกใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติและสำหรับการตรวจสอบเครือข่ายทั่วไป", "title": "เรเดียส" }, { "docid": "413435#2", "text": "การเคหะแห่งชาติเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2516 ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ดำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติ การเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2537 และฉบับ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดให้มีเคหะ เพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัย พร้อมทั้งจัดให้มีระบบ สาธารณูปโภค สาธารณูปการ สิ่งอำนวยความสะดวก แก่ผู้อยู่อาศัย ทำนุบำรุง ปรับปรุง และพัฒนาผู้อยู่อาศัยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนที่ประสงค์จะมีเคหะของตนเอง หรือผู้ที่ประสงค์จะร่วมดำเนินกิจกรรมกับการเคหะแห่งชาติในการจัดให้มีเคหะเพื่อให้ประชาชนเช่า เช่าซื้อ หรือซื้อ และประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ การก่อสร้าง อาคารหรือจัดหาที่ดิน การปรับปรุง รื้อ หรือย้ายแหล่งเสื่อมโทรม เพื่อให้มีสภาพการอยู่อาศัย สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมที่ดีขึ้น วัตถุประสงค์การเคหะแห่งชาติ", "title": "การเคหะแห่งชาติ" }, { "docid": "298623#51", "text": "วัตถุประสงค์หนึ่งของการตกแต่งคริสต์ศาสนสถานก็เพื่อเป็นการยืนยันความสำคัญและความมีบทบาทของคริสต์ศาสนสถานต่อคริสต์ศาสนาและต่อผู้ถือผู้ถือคริสต์ศาสนา ในความหมายอย่างกว้างๆ คริสต์ศาสนสถานคือผู้ถือคริสต์ศาสนาเอง แต่ในความหมายอย่างแคบๆ แล้วคริสต์ศาสนสถานก็จะหมายถึงองค์กร และ โดยเฉพาะองค์กรที่เสี่ยงต่อการถูกทำลายโดยผู้นอกศาสนา, คตินิยม, ความแตกแยก และ การปฏิรูป ซึ่งทำให้จำเป็นที่จะต้องบำรุงรักษา และ ยืนยันความคงอยู่ในฐานะของการเป็นทางสู่ความรอด\nการตกแต่งคริสต์ศาสนสถานมักจะสะท้อนบทบาทของสถาบันศาสนา วัตถุประสงค์สำคัญวัตถุประสงค์หนึ่งคือการแสดงว่า “คริสต์ศาสนสถาน” ก่อตั้งขึ้นโดยสาวกและประวัติความเป็นมาก็สามารถสืบสาวกลับไปยังต้นตอได้โดยไม่มีช่องว่าง วิธีหนึ่งที่ใช้ในการแสดงความต่อเนื่องคือการเป็นเจ้าของเรลิกของสาวกหรือนักบุญผู้พลีชีพเพื่อศาสนาจากสมัยคริสเตียนยุคแรก การไปแสวงหาหรือซื้อขายแลกเปลี่ยนอวัยวะของนักบุญหรือเรลิกที่เกี่ยวข้องกับพระเยซูเป็นกิจการที่กระทำกันอย่างแพร่หลายรุ่งเรืองในสมัยกลาง ตัวอย่างเช่นมีคริสต์ศาสนสถานสามแห่งที่ต่างก็อ้างว่าเป็นเจ้าของร่างของมารีย์ชาวมักดาลา หรือจำนวนวัดที่อ้างว่าเป็นเจ้าของพระทนต์น้ำนมของพระแม่มารีย์ก็มีมากกว่าจำนวนฟันน้ำนมของเด็กเป็นต้น", "title": "พระคัมภีร์คนยาก" }, { "docid": "6685#10", "text": "วัตถุประสงค์ทางด้านจิตวิทยา (Psychology Objective) วัตถุประสงค์ทางด้านจิตวิทยาคือ การต้องการให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึก ความเชื่อมั่น เกิดความเข้าใจในตัวสินค้าและยอมรับในตัวสินค้า และในอัตลักษณ์ขององค์กรปัจจุบันวัตถุประสงค์ทางจิตวิทยาที่สำคัญคือความต้องการที่จะสร้างให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกประทับใจในร้านที่เข้า วัตถุประสงค์ทางด้านพฤติกรรม (Action Objective) วัตถุประสงค์ทางด้านพฤติกรรมคือ การที่ต้องการให้ผู้บริโภคแสดงพฤติกรรมตอบสนองการจูงใจของอัตลักษณ์ขององค์กรเช่น กระตุ้นให้เกิดการเข้าร้านตลอดจนการกระตุ้นให้ผู้บริโภคแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดในตัวร้าน เป็นต้น วัตถุประสงค์ทางด้านภาพพจน์ (Corporate Objective) วัตถุประสงค์ทางด้านภาพพจน์ของร้านเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดทัศนคติที่ดี มีความนิยมชมชอบต่อร้านอาหาร เช่น ให้ผู้บริโภคเห็นว่าร้านมีความห่วงใยต่อสังคม มีความรับผิดชอบต่อลูกค้า เป็นต้น ซึ่งเมื่อผู้บริโภคเกิดทัศนคติที่ดี มีภาพพจน์ที่ดีต่อร้านอาหารแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็จะมีผลต่อยอดขายของร้านนั้น เป็นต้น", "title": "เอกลักษณ์องค์กร" }, { "docid": "148716#52", "text": "สิ่งที่โซเวียตยังเหลือต้องทำ คือ เปิดฉากการรุกเพื่อยึดเยอรมนีตอนกลาง (ซึ่งจะมาเป็นเยอรมนีตะวันออกหลังสงคราม) การรุกของโซเวียตมีวัตถุประสงค์สองข้อ เพราะความแคลงใจของสตาลินเกี่ยวกับเจตนาของสัมพันธมิตรตะวันตกที่จะส่งมอบดินแดนที่ตนยึดครองในเขตยึดครองโซเวียตหลังสงคราม การรุกจึงจะเป็นแนวรบกว้างและจะเคลื่อนที่ให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ไปทางตะวันตก เพื่อพบกับสัมพันธมิตรตะวันตกให้เลยไปทางตะวันตกที่สุด แต่วัตถุประสงค์ข้อที่สำคัญกว่า คือ ยึดกรุงเบอร์ลิน ทั้งสองวัตถุประสงค์นี้เติมเต็มซึ่งกันเพราะการครอบครองดินแดนจะไม่สามารถพิชิตได้โดยเร็วหากกรุงเบอร์ลินไม่ถูกยึด อีกการพิจารณาหนึ่ง คือ กรุงเบอร์ลินมีเครื่องมือทางยุทธศาสตร์ รวมทั้งอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และโครงการระเบิดอะตอมของเยอรมนี", "title": "แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)" }, { "docid": "117727#3", "text": "สมาคมนักปราชญ์อาจมีลักษณะของวัตถุประสงค์เป็นแบบทั่วไปที่กว้าง เช่น \"สมาคมเพื่อความก้าวหน้าแห่งวิทยาศาสตร์อเมริกัน\" ( ก่อตั้ง พ.ศ. 2391 ตรงกับปลายรัชสม้ยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4) หรืออาจมีวัตถุประสงค์ที่จำเพาะเจาะจง เช่น \"สมาคมภาษาสมัยใหม่\" () ", "title": "สมาคมผู้คงแก่เรียน" }, { "docid": "339314#4", "text": "ขั้นต่อไปคือการรวบรวมหลักฐานเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์การตรวจสอบข้อมูลศูนย์ นี้เกี่ยวข้องกับการเดินทางไปยังสถานที่ศูนย์ข้อมูลและการสังเกตกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการภายในศูนย์ข้อมูล ต่อไปนี้การตรวจสอบจะต้องดำเนินการเพื่อตอบสนองความก่อนกำหนดวัตถุประสงค์การตรวจสอบ :", "title": "การตรวจสอบความปลอดภัยข้อมูล" }, { "docid": "993359#0", "text": "แผนโดยปกติจะเป็นแผนภาพหรือลิสต์ที่แสดงขั้นตอนพร้อมกับรายละเอียดต่างๆ ของกำหนดการและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการบรรลุวัตถุประสงค์ของการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง. ดูกลยุทธ์เพิ่มเติม. โดยปรกติเป็นที่รู้กันว่า แผนคือโครงร่างของทุกขั้นตอนที่ตั้งใจจะทำเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์.", "title": "แผน" }, { "docid": "235145#35", "text": "ดอกบัว หมายถึง ผู้ป่วยที่เป็นศูนย์กลางในการดูแลของบุคลากรสถาบันธัญญารักษ์ มือ หมายถึง เป็นการโอบอุ้มและอุ้มชู ให้ความรู้ ความคิดแก่ผู้ป่วยยาเสพติดเปลี่ยนชีวิตใหม่เป็นบัวที่พ้นน้ำ สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่า โลก หมายถึง สถาบันธัญญารักษ์มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นสถาบันวิชาการด้านยาเสพติดของประเทศไทย และของโลก ต่อไป สีประจำสถาบันธัญญารักษ์ คือ สีเขียว ของวันสถาปนา “ธัญญารักษ์” วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ความสดชื่น ความปลอดภัยและเป็นแหล่งความรู้ เปรียบเสมือนการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดแบบบูรณาการ ต้นไม้ประจำสถาบันธัญญารักษ์ คือ ราชพฤกษ์ (ต้นคูณ) หมายถึงการที่ทางสถาบันธัญญารักษ์ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรักษาตัวแล้วหายได้ ถือเป็นการเพิ่มค่าทวีคูณให้กับสังคม", "title": "สถาบันธัญญารักษ์" }, { "docid": "20739#54", "text": "วัตถุประสงค์หลักสามอย่างของระบบความปลอดภัยนิวเคลียร์ตามที่กำหนดโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานนิวเคลียร์คือการปิดเครื่องปฏิกรณ์, รักษามันอยู่ในสภาพปิด, และป้องกันไม่ให้ปล่อยสารกัมมันตรังสีในช่วงเหตุการณ์และอุบัติเหตุ[45]. วัตถุประสงค์เหล่านี้จะประสบความสำเร็จโดยใช้ความหลากหลายของอุปกรณ์, ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของหลายระบบที่แตกต่างกันซึ่งแต่ละระบบก็ทำหน้าที่เฉพาะอย่าง.", "title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" }, { "docid": "235145#30", "text": "นอกจากการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติดแล้ว สถาบันธัญญารักษ์ได้มุ่งเน้นพัฒนางานด้านวิชาการ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์การเสพติด ศึกษาและพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษา พัฒนาหลักเกณฑ์มาตรฐานการบำบัดรักษาและการประเมินเทคโนโลยี เพื่อถ่ายทอดความรู้เวชศาสตร์การเสพติด รูปแบบการบำบัดรักษา ให้คลินิก และสถานพยาบาลยาเสพติดทั่วประเทศ และในปี พ.ศ. 2549 นายแพทย์วิโรจน์ วีรชัย ผู้อำนวยการสถาบันธัญญารักษ์ ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกผู้เชี่ยวชาญด้านยาเสพติดขององค์การอนามัยโลก (WHO Expert Advisory Panel on Drug Dependence) ซึ่งเป็นคนไทยคนที่สาม ที่ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิก", "title": "สถาบันธัญญารักษ์" }, { "docid": "860263#1", "text": "วัตถุประสงค์ได้รวมถึงการเข้ายึดและการครอบครองท่าเรือสำคัญในเวลาสั้นๆ เพื่อพิสูจน์ว่าความเป็นไปได้และรวบรวมข้อมูลข่าวสาร เมื่อล่าถอย ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการที่จะทำลายการป้องกันชายฝั่ง โครงสร้างท่าเรือและอาคารทางยุทธศาสตร์ทั้งหมด การโจมตีนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขวัญกำลังใจและแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของสหราชอาณาจักรในการเปิดแนวรบด้านตะวันตกในยุโรป", "title": "การตีโฉบฉวยดีแยป" }, { "docid": "759410#8", "text": "วัตถุประสงค์ของอีเฟียคือการยกระดับสถานภาพของนักประดิษฐ์ในระดับประเทศและระหว่างประเทศ และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างสมาคมนักประดิษฐ์ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ อีเฟียได้รับตำแหน่งเป็น", "title": "สหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์นานาชาติ" }, { "docid": "168792#2", "text": "บัณฑิตแบ่งแยกกันตามความคิดของวัตถุประสงค์ของบารายนี้ และบารายอื่น ๆ โดยทฤษฎีบางทฤษฎี ชาวขอมกักเก็บน้ำสำหรับการชลประทาน แต่ไม่มีร่องรอยการแกะสลักที่บ่งบอกถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทฤษฎีอื่น ๆ คือ บารายถูกสร้างขึ้นมาหลัก ๆ ไว้สำหรับทางศาสนา ซึ่งแสดงถึงทะเลแห่งการสร้าง ซึ่งล้อมรอบเขาพระสุเมรุ ที่อยู่อาศัยของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู", "title": "บารายตะวันออก" }, { "docid": "21387#0", "text": "การสังเคราะห์ (อังกฤษ: Synthesis) มาจากคำว่า syn- แปลว่า ร่วม และคำว่า thesis แปลว่า ปรากฏการณ์ใหม่ มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณว่า σύνθεσις โดยคำแรก σύν มีความหมายในภาษาอังกฤษว่า with ส่วนคำหลัง θέσις มีความหมายในภาษาอังกฤษว่า placing (synthesis :ในกรีกโบราณรวมความแล้วมีความหมายคือ ประชุม)การสังเคราะห์ เป็นกระบวนบูรณาการปัจจัยต่างๆตั้งแต่สองปัจจัยขึ้นไปซึ่งอาจเป็นได้ทั้งคน สัตว์ สิ่งของรวมทั้งเหตุการณ์และสิ่งที่อยู่ในรูปของแนวคิดเข้ามาเป็นองค์ประกอบร่วมกันเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่หรือเกิดปรากฏการใหม่ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการบูรณาภาพ โดยปัจจัยหรือองค์ประกอบต่างๆที่เข้ามาสู่กระบวนบูรณาการในการสังเคราะห์นั้นบางปัจจัยอาจจะได้ผ่านการวิเคราะห์แยกแยะสืบค้นมาก่อนแล้วขณะที่บางปัจจัยก็อาจจะยังไม่ได้ผ่านการวิเคราะห์แยกแยะสืบค้นมาก่อน สภาวะรูปของปัจจัยและองค์ประกอบต่างๆที่นำมาเป็นปัจจัยและองค์ประกอบในการสังเคราะห์นั้นอาจเป็นไปได้ทั้งแบบรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งบูรณภาพที่เป็นปรากฏการณ์ใหม่หรือสิ่งใหม่อันเกิดขึ้นจากการสังเคราะห์นั้นก็เป็นไปได้ทั้งแบบรูปธรรมและนามธรรมเช่นกัน.\nขั้นตอนการสังเคราะห์\n1.กำหนดหัวเรื่องและจุดประสงค์ที่จะสังเคราะห์ให้ชัดเจนว่าต้องการสังเคราะห์เพื่อให้เกิดบูรณาภาพหรือปรากฏการณ์ใหม่ในรูปแบบใด เช่นเพื่อให้เกิดผลผลิต เพื่อให้เกิดข้อสรุป หรือ เพื่อให้เกิดการทำนายเหตุการณ์ในอนาคตโดยกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนด้วยว่าจะสังเคราะห์เพื่อนำผลการสังเคราะห์ที่ได้ไปดำเนินการในสิ่งใดต่อ\n2.จัดเตรียมปัจจัยและองค์ประกอบต่างๆที่จะนำเข้าสู่กระบวนการสังเคราะห์ซึ่งอาจเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเป็นประเด็นนามธรรมต่างๆ คัดกรอง คัดเลือกให้ได้ข้อมูลหรือปัจจัยวัตถุดิบต่างๆที่มีคุณภาพเพื่อนำสู่กระบวนการสังเคราะห์\n3.สังเคราะห์ปัจจัยและองค์ประกอบต่างๆที่เตรียมไว้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด โดยให้กระบวนการสังเคราะห์มุ่งที่การนำปรากฏการใหม่หรือบูรณาภาพที่ได้จากการสังเคราะห์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตามที่ได้กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ของการสังเคราะห์.\n4.ตรวจสอบและประเมินผลการสังเคราะห์ที่ได้ว่าน่าจะมีความแม่นยำ ความเที่ยง และความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดเพื่อเตรียมนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์", "title": "การสังเคราะห์" }, { "docid": "505156#0", "text": "ภาษาโปรแกรมเชิงความลับ (; esolang) เป็นภาษาโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาโดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ใช้งานจริง แต่เป็นการสร้างเพื่อความขำขัน เพื่อพิสูจน์แนวคิด หรือไม่ก็เพื่อทดสอบขีดจำกัดของการออกแบบภาษาคอมพิวเตอร์ คำว่า\"เชิงความลับ\" (esoteric) เป็นการระบุเพื่อแยกแยะกลุ่มภาษานี้กับภาษาโปรแกรมทั่วไปที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานจริง", "title": "ภาษาโปรแกรมเชิงความลับ" }, { "docid": "170990#3", "text": "กลยุทธ์ในระดับสูงสุดของประเทศ ได้แก่ กลยุทธ์ระดับชาติ หรือ Grand National Strategy เป็นขบวนการซึ่งวัตถุประสงค์หลักของชาติได้รับการยอมรับ จุดมุ่งประสงค์สุดท้ายของ Grand Strategy มักจะถูกกล่าวถึงในรูปของผลประโยชน์แห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคง และความมั่งคั่ง บทบาทของขบวนการ Strategy ก็คือ แปลผลประโยชน์ของชาติเหล่านั้นให้เป็นวิธีการ หรือเครื่องมือที่จะทำให้ได้มาซึ่งวัตถุประสงค์เหล่านั้น นั่นเอง ส่วนเครื่องมือ หรือวิธีการต่าง ๆ ก็จะถูกกล่าวถึงในรูปของเครื่องมือพลังอำนาจแห่งชาติ National Powers ซึ่งก็คือ การเมือง (หรือการทูต) การทหาร เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา รวมทั้ง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนั้น Grand National Strategy จึงเป็นขบวนการซึ่งมีการจัดและใช้เครื่องมือที่เป็นพลังอำนาจแห่งชาติทุก ๆ ด้าน เพื่อให้บรรลุผลประโยชน์ของชาติ นั่นเอง", "title": "กลยุทธ์" }, { "docid": "54736#0", "text": "สหภาพแรงงาน (Labour Union หรือ Labor Union) คือการรวมตัวกันของกลุ่มลูกจ้างโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้มีการดำเนินการตาม \nหรือเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง\nเมื่อประมาณหลายปีที่แล้ว สหภาพแรงงานได้ถือกำเนิดขึ้นและได้พัฒนาไปในรูปแบบที่แตกต่างกัน เนื่องจากบริบททางการเมืองและเศรษฐกิจที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ดังนี้จึงส่งผลให้วัตถุประสงค์ และกิจกรรมหลักของสหภาพแรงงานจึงแตกต่างกันไปด้วย อย่างไรก็ตามอาจสรุปหน้าที่หลักของสหภาพแรงงานได้ดังนี้", "title": "สหภาพแรงงาน" }, { "docid": "103462#7", "text": "หมวด 1 วัตถุประสงค์และหลักการ – กล่าวถึงวัตถุประสงค์และหลักการ", "title": "กฎบัตรอาเซียน" }, { "docid": "170990#2", "text": "ความหมายที่ง่ายที่สุดของคำว่ากลยุทธ์ ก็คือแผนการปฏิบัติที่รวบรวมความพยายามทั้งหลายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในยุคปัจจุบันนี้ จะเป็นการเที่ยงตรงมากกว่า หากพิจารณาว่า Strategy คือขบวนการตัดสินใจอันซับซ้อนซึ่งเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายสุดท้าย (Ends) เข้ากับ วิถี หรือ หนทาง (Ways) และวิธีการ หรือเครื่องมือ (Means) ในอันที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น", "title": "กลยุทธ์" } ]
1270
นิวตรอน มีในกระแสไฟฟ้าหรือไม่ ?
[ { "docid": "13986#0", "text": "นิวตรอน (English: neutron) เป็น อนุภาคย่อยของอะตอม ตัวหนึ่ง มีสัญญลักษณ์ n หรือ n0 ที่ไม่มี ประจุไฟฟ้า และมีมวลใหญ่กว่ามวลของ โปรตอน เล็กน้อย โปรตอนและนิวตรอนแต่ละตัวมีมวลประมาณหนึ่งหน่วย มวลอะตอม โปรตอนและนิวตรอนประกอบกันขึ้นเป็น นิวเคลียส ของหนึ่งอะตอม และทั้งสองตัวนี้รวมกันเรียกว่า นิวคลีออน[1] คุณสมบัติของพวกมันถูกอธิบายอยู่ใน ฟิสิกส์นิวเคลียร์", "title": "นิวตรอน" } ]
[ { "docid": "203088#11", "text": "กระแสไฟฟ้าในขดลวดตัวนำเกิดจากการที่มีการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวดตัวนำเรียกการทำให้เกิดกระเกิดกระแสไฟฟ้าลักษณะนี้ว่า การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า (eletro magnetic induction) และเรียกกระแสไฟฟ้าที่เกิดจากวิธีนี้ว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (inducedcurrent) ปลายทั้งสองของเส้นลวดตัวนำมีความต่างศักย์ ดังนั้นถ้าต่อเส้นลวดตัวนำนี้ให้ครบวงจร ก็จะมีกระแสไฟฟ้าในวงจร แสดงว่าปลายทั้งสองของเส้นลวดตัวนำทำหน้าที่ เสมือนเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้า แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (induced electromotive force) หรือ อีเอ็มเอฟเหนี่ยวนำ (induced emf) กฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์ สรุปได้ว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นในขดลวดเป็นสัดส่วนกับอัตราการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวดนั้นเมื่อเทียบกับเวลา กฎของเลนซ์มีใจความว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ในขดลวดจะทำให้เกิดกระแสเหนี่ยวนำในทิศทางที่จำทำให้เกิดฟลักซ์แม่เหล็กใหม่ขึ้นมาต้านการเปลี่ยนแปลง ของฟลักซ์แม่เหล็กที่ตัดผ่านขดลวดนั้น", "title": "แม่เหล็ก" }, { "docid": "747522#1", "text": "แท่งควบคุมมักจะถูกใช้ในชุดก้านควบคุม (ปกติมี 20 แท่งสำหรับชุด PWR เพื่อการค้า) มันจะถูกเสียบเข้าไปในท่อนำทางภายในขิ้นส่วนเชื้อเพลิง แท่งควบคุมจะถูกดึงออกหรือเสียบเข้าไปในแกนกลางของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อเพิ่มหรือลดกระแสนิวตรอนตามลำดับ ซึ่งจะกำหนดจำนวนนิวตรอนที่แยกออกจากอะตอมยูเรเนียมต่อไป ในการนี้จะส่งผลกระทบต่อพลังงานความร้อนและปริมาณของไอน้ำที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า นั่นก็คือปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่จะสร้างขึ้น", "title": "แท่งควบคุม" }, { "docid": "536974#17", "text": "จากกฎของแอมแปร์(Ampere’ s Law) ที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสนามแม่เหล็กและกระแสไฟฟ้า จะพบว่าเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลวนรอบวงแหวนของตัวนำยวดยิ่งที่มีค่าความเหนี่ยวนำตนเอง (L) เมื่อกระแสไฟฟ้ามีค่าลดลงเนื่องจากมีความต้านทานไฟฟ้าจะได้ค่าคงที่เวลา (Time Constant) มีสมการเป็น τ= L/R และพบว่า ค่ากระแสนี้มีระยะเวลาประมาณ 100,000 ปี เมื่อนำมาหาค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า จะได้ค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าที่น้อยมากๆ ซึ่งเท่ากับ 10 Ω.m ค่าสภาพต้านทานไฟฟ้านี้มีค่าน้อยกว่าสถานะปกติ มากกว่า 10 เท่า ซึ่งปกติแล้วสภาพต้านทานไฟฟ้าของทองแดงถือว่าเป็นโลหะนำไฟฟ้าที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง ณ อุณหภูมิห้องมีค่าประมาณ 10 Ω.m ดังนั้นจึงถือเป็นข้อพิสูจน์ได้อย่างสมเหตุสมผลว่ามีความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์จริงในตัวนำยวดยิ่ง นอกจากนี้กระแสยืนยงจะมีอยู่ได้เมื่อค่าของกระแสมีค่าที่ต่ำกว่าค่ากระแสค่าหนึ่งเท่านั้นและถ้ากระแสที่ไหลผ่านมีค่าสูงกว่าค่านี้แล้วจะทำให้สภาพนำยวดยิ่งถูกทำลายกลายสภาพเป็นตัวนำปกติได้ทันที เรียกกระแสที่ทำลายสภาพนำยวดยิ่งนี้ว่า กระแสวิกฤต (Critical Current, J) ค่ากระแสนี้ มีค่าไม่เท่ากันขึ้นกับตัวนำยวดยิ่งแต่ละชนิด\nในปี พ.ศ. 2476 นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อไมส์เนอร์ และโอเซนฟิลด์ (Meissner& Ochsenfeld. 1933) ได้ทำการทดลองและพบว่าเมื่อตัวนำยวดยิ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤตแล้วให้สนามแม่เหล็กภายนอกกับตัวนำยวดยิ่งนี้ ตัวนำยวดยิ่งจะไม่ยอมให้สนามแม่เหล็กพุ่งผ่านเข้าไปในเนื้อได้เลยและยังผลักสนามแม่เหล็กออกอีกด้วย จึงเรียก ปรากฏการณ์นี้ว่า ปรากฏการณ์ไมส์เนอร์และโอเซนฟิลด์ ต่อมาเรียกสั้นๆ ว่าปรากฏการณ์ไมส์เนอร์", "title": "ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง" }, { "docid": "747010#2", "text": "ในเครื่องปฏิกรณ์ใด ๆ สแครมจะสามารถทำสำเร็จได้โดยการสอดใส่มวลปฏิกิริยานิวเคลียร์เชิงลบ () เข้าไปในระหว่างวัสดุฟิสไซล์ ในเครื่องปฏิกรณ์น้ำมวลเบา สแครมจะสามารถทำได้โดยการสอดใส่แท่งควบคุมที่ดูดซับนิวตรอนได้เข้าไปในแกนกลาง แม้ว่ากลไกที่ใช้สอดใส่แท่งควบคุมจะขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องปฏิกรณ์ก็ตาม ใน PWRs แท่งควบคุมจะถูกยึดไว้เหนือแกนกลางของเครื่องปฏิกรณ์โดยมอเตอร์ไฟฟ้าที่ออกแรงต้านกับทั้งน้ำหนักของตัวมันเองและสปริงกำลังสูง การตัดกระแสไฟฟ้าใด ๆ จะปลดปล่อยแท่งควบคุมให้สอดแทรกลงไป การออกแบบอื่นจะใช้แม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อยึดแท่งควบคุมให้ลอยไว้ ถ้ากระแสไฟฟ้าดับ แท่งควบคุมจะสอดแทรกทันทีและอัตโนมัติ กลไกของสแครมถูกออกแบบมาเพื่อปล่อยแท่งควบคุมให้หลุดจากมอเตอร์เหล่านั้นและยอมให้น้ำหนักของพวกมันและสปริงขับเคลื่อนแท่งควบคุมให้สอดแทรกเข้าไปในแกนกลางเครื่องปฏิกรณ์ภายในสี่วินาทีหรือน้อยกว่า เพื่อหยุดปฏิกิริยานิวเคลียร์อย่างรวดเร็วโดยการดูดซับนิวตรอนที่ถูกปลดปล่อยออกมา ใน BWRs แท่งควบคุมจะถูกสอดแทรกขึ้นมาจากด้านใต้ของอ่างเครื่องปฏิกรณ์ ในกรณีนี้หน่วยควบคุมแบบไฮโดรลิกที่มีถังเก็บแรงดันสูงจะออกแรงให้ทำการสอดใส่แท่งควบคุมอย่างรวดเร็วเมื่อมีการหยุดชะงักของกระแสไฟฟ้าใด ๆ ภายในสี่วินาทีเช่นกัน BWR ขนาดใหญ่ทั่วไปจะมีแท่งควบคุม 185 แท่ง ทั้งใน PWR และ BWR จะมีระบบสำรองที่สอง (และบางทีก็มีระบบที่สามด้วยซ้ำ) เพื่อสอดใส่แท่งควบคุมในกรณีที่ระบบสอดใส่หลักอย่างรวดเร็วไม่มีความพร้อมและทำงานได้อย่างเต็มที่", "title": "สแครม" }, { "docid": "841176#1", "text": "ในเครื่องปฏิกรณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ส่วนมากเป็นเครื่องปฏิกรณ์ความร้อนและใข้ตัวหน่วงนิวตรอนในการลดความเร็วนิวตรอน จนกว่ามันจะเข้าใกล้พลังงานจลน์โดยเฉลี่ยของอนุภาคโดยรอบ นั่นคือเพื่อลดความเร็วของนิวตรอนให้ความร้อนนิวตรอนต่ำลง นิวตรอนไม่มีประจุไฟฟ้าช่วยให้พวกมันทะลวงลึกลงไปถึงเป้าหมายและใกล้กับนิวเคลียสได้ ดังนั้น การกระจายนิวตรอนโดยแรงนิวเคลียร์ บางนิวไคลด์จึงมีการกระจายขนาดใหญ่", "title": "เครื่องปฏิกรณ์ความร้อนนิวตรอน" }, { "docid": "13986#18", "text": "จากบทความที่เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 2007 ที่แสดงผลการวิเคราะห์แบบจำลองอิสระได้สรุปว่า นิวตรอนมีโครงสร้าง 3 ชั้น ชั้นนอกและแก่นมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ ส่วนชั้นที่อยู่ระหว่างกลางเป็นประจุบวก [11] ลักษณะนี้สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดนิวตรอนจึงเกาะกลุ่มอยู่กับโปรตอน เนื่องจากชั้นนอกของนิวตรอนจะดึงดูดโปรตอนซึ่งเป็นบวกทางไฟฟ้านั่นเอง", "title": "นิวตรอน" }, { "docid": "203088#9", "text": "เมื่อลวดตัวนำตรงยาว l ที่มีกระแสไฟฟ้า I ผ่านขณะวางตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก B ⃑ จะเกิดแรงกระทำด้วยขนาด F=IlB โดยทิศทางของแรงหาได้จากการกำมือขวาโดยวนนิ้วทั้งสี่ (ผ่านมุมเล็ก) จากทิศทางของกระแสไฟฟ้าไปหาทิศทางของสนามแม่เหล็กนิ้วหัวแม่มือจะชี้ทิศทางของแรง ส่วนในกรณีลวดตัวนำวางในทิศทางกระแสไฟฟ้าที่ทำมุมθกับสนามแม่เหล็กB ⃑ ขนาดของแรงจะเป็น F=IlBsin⁡θ โดยยังคงใช้กฎมือขวาหาทิศทางของแรงได้เช่นกัน แรงแม่เหล็กระหว่างลวดตัวนำสองเส้นที่ขนานกันและมีกระแสไฟฟ้าผ่าน ลวดตัวนำสองเส้นที่ขนานกันและมีกระแสไฟฟ้าผ่าน จะมีแรงกระทำระหว่างลวดตัวนำทั้งสองโดยจะเป็นแรงดึงดูดถ้ากระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำทั้งสองมีทิศทางเดียวกัน แต่จะเป็นแรงผลัก ถ้ากระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำทั้งสองมีทิศทางตรงข้ามกัน", "title": "แม่เหล็ก" }, { "docid": "813240#3", "text": "จากกฎของแอมแปร์(Ampere’ s Law) ที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสนามแม่เหล็กและกระแสไฟฟ้า จะพบว่าเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลวนรอบวงแหวนของตัวนำยวดยิ่งที่มีค่าความเหนี่ยวนำตนเอง (L) เมื่อกระแสไฟฟ้ามีค่าลดลงเนื่องจากมีความต้านทานไฟฟ้าจะได้ค่าคงที่เวลา (Time Constant) มีสมการเป็น τ= L/R และพบว่า ค่ากระแสนี้มีระยะเวลาประมาณ 100,000 ปี เมื่อนำมาหาค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า จะได้ค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าที่น้อยมากๆ ซึ่งเท่ากับ 10 Ω.m ค่าสภาพต้านทานไฟฟ้านี้มีค่าน้อยกว่าสถานะปกติ มากกว่า 10 เท่า ซึ่งปกติแล้วสภาพต้านทานไฟฟ้าของทองแดงถือว่าเป็นโลหะนำไฟฟ้าที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง ณ อุณหภูมิห้องมีค่าประมาณ 10 Ω.m ดังนั้นจึงถือเป็นข้อพิสูจน์ได้อย่างสมเหตุสมผลว่ามีความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์จริงในตัวนำยวดยิ่ง นอกจากนี้กระแสยืนยงจะมีอยู่ได้เมื่อค่าของกระแสมีค่าที่ต่ำกว่าค่ากระแสค่าหนึ่งเท่านั้นและถ้ากระแสที่ไหลผ่านมีค่าสูงกว่าค่านี้แล้วจะทำให้สภาพนำยวดยิ่งถูกทำลายกลายสภาพเป็นตัวนำปกติได้ทันที เรียกกระแสที่ทำลายสภาพนำยวดยิ่งนี้ว่า กระแสวิกฤต (Critical Current, J) ค่ากระแสนี้ มีค่าไม่เท่ากันขึ้นกับตัวนำยวดยิ่งแต่ละชนิด\nในปี พ.ศ. 2476 นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อไมส์เนอร์ และโอเซนฟิลด์ (Meissner& Ochsenfeld. 1933) ได้ทำการทดลองและพบว่าเมื่อตัวนำยวดยิ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤตแล้วให้สนามแม่เหล็กภายนอกกับตัวนำยวดยิ่งนี้ ตัวนำยวดยิ่งจะไม่ยอมให้สนามแม่เหล็กพุ่งผ่านเข้าไปในเนื้อได้เลยและยังผลักสนามแม่เหล็กออกอีกด้วย จึงเรียก ปรากฏการณ์นี้ว่า ปรากฏการณ์ไมส์เนอร์และโอเซนฟิลด์ ต่อมาเรียกสั้นๆ ว่าปรากฏการณ์ไมส์เนอร์", "title": "สมบัติตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง" }, { "docid": "665217#12", "text": "อย่างไรก็ตาม ถ้ามวลจะวิกฤตได้ก็ต่อเมื่อนิวตรอนที่ถูกหน่วงความเร็วถูกป้อนเข้าไป ดังนั้นปฏิกิริยาก็สามารถควบคุมได้ เช่นโดยการใส่เข้าไปหรือการดึงออกมาโดยตัวดูดซับนิวตรอน () นี่คือสิ่งที่ช่วยให้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์สามารถที่จะถูกสร้างได้ นิวตรอนเร็วไม่สามารถถูกจับโดยนิวเคลียสได้โดยง่าย พวกมันจะต้องถูกชะลอความเร็ว (ให้เป็นนิวตรอนช้า) โดยทั่วไปโดยการชนกับนิวเคลียสของตัวหน่วงนิวตรอน () ก่อนที่พวกมันจะถูกจับได้อย่างง่ายดาย ในวันนี้ ประเภทนี้ของการฟิชชันเป็นที่นิยมใช้ในการผลิตไฟฟ้า", "title": "เทคโนโลยีนิวเคลียร์" }, { "docid": "64189#0", "text": "ปลาไฟฟ้า หมายถึงปลาจำพวกหนึ่งที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เองในตัว เพื่อใช้ในการล่าเหยื่อและป้องกันตัว โดยมีอวัยวะบางอย่างที่ช่วยในการสร้าง ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ปล่อยออกมานั้นจะมีความแรงแตกต่างกันไปตามชนิดวงศ์ (Family) และสายพันธุ์ (Species) และขนาดของลำตัว ปลาที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากที่สุดคือ ปลาไหลไฟฟ้า (\"Electrophorus electricus\") เป็นปลาน้ำจืด พบในอเมริกาใต้ เป็นปลาขนาดใหญ่ เมื่อเต็มที่ยาวได้ถึง 2 เมตร สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงถึง 600 โวลต์ รุนแรงพอที่จะทำให้หัวใจมนุษย์วายตายได้ \nชนิดอื่น ๆ ที่พบในน้ำจืด ก็ได้แก่ ปลาดุกไฟฟ้า (\"Malapterurus electricus\") พบในแอฟริกา สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ถึง 350 โวลต์ และปลาอบา อบา (\"Gymnarchus niloticus\") ขนาดโตเต็มที่ได้ 2 เมตร เช่นกัน และปลาในวงศ์ Gymnotidae พบในอเมริกาใต้ สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนเพื่อการล่าเหยื่อ โดยมากปลาไฟฟ้าที่พบน้ำจืดจะนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ", "title": "ปลาไฟฟ้า" }, { "docid": "360896#88", "text": "นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานของเครื่องปฏิกรณ์ฟิวชั่นที่เรียกว่า \"เตาเผา actinide\" ที่เครื่องปฏิกรณ์พลาสม่าฟิวชั่นเช่นในtokamak, อาจถูก \"โด๊ป\" ด้วยจำนวนน้อยของอะตอม transuranic \"ส่วนน้อย\" ซึ่งจะถูกแปลงร่าง (หมายถึงการฟิชชั่นในกรณี actinide) ให้เป็นองค์ประกอบที่เบากว่าในระหว่างการระดมโจมตีอย่างต่อเนื่องของพวกมันโดยนิวตรอนพลังงานสูงมากที่ผลิตโดยการฟิวชั่นของดิวเทอเรียมและทริเทียมในเครื่องปฏิกรณ์. การศึกษาที่ MIT พบว่ามีเพียง 2 หรือ 3 เครื่องปฏิกรณ์ฟิวชั่นเท่านั้นที่มีพารามิเตอร์ที่คล้ายกับของเครื่องปฏิกรณ์เพื่อการทดลองเทอร์โมนิวเคลียร์นานาชาติ() ที่สามารถแปลงร่างทั้งหมดของการผลิต actinide ส่วนน้อยประจำปีจากทั้งหมดของเครื่องปฏิกรณ์น้ำเบาที่ดำเนินงานในปัจจุบันในกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาในขณะเดียวกันกับการผลิตกระแสไฟฟ้าประมาณ 1 กิกะวัตต์จากเครื่องปฏิกรณ์แต่ละตัว.", "title": "กากกัมมันตรังสี" }, { "docid": "6678#4", "text": "องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นคาดเดาไม่ได้ (ซึ่งแตกต่างกันไปในวงกว้างของความน่าจะเป็นและลักษณะที่ค่อนข้างวุ่นวาย) พวกมันทำให้ฟิชชันแตกต่างจากกระบวนการควอนตัมอุโมงค์ที่เกิดอย่างชัดเจน เช่นการปล่อยโปรตอน การสลายแอลฟาและการสลายกลุ่ม ที่ในแต่ละครั้งให้ผลิตภัณฑ์ตัวเดียวกัน นิวเคลียร์ฟิชชันผลิตพลังงานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและขับการระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ การนำไปใช้งานทั้งสองนี้เป็นไปได้เพราะสารบางอย่างที่เรียกว่าเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ทำให้เกิดการฟิชชันเมื่อพวกมันถูกกระแทกด้วยนิวตรอนฟิชชัน และส่งผลให้มีการปลดปล่อยนิวตรอนเมื่อนิวเคลียสแตกออก นี้จะทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ที่ยั่งยืนด้วยตนเอง และปล่อยพลังงานออกมาในอัตราที่สามารถควบคุมได้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หรือในอัตราที่ไม่สามารถควบคุมได้อย่างรวดเร็วมากในอาวุธนิวเคลียร์", "title": "การแบ่งแยกนิวเคลียส" }, { "docid": "13986#8", "text": "นิวตรอนถูกค้นพบโดย เซอร์ เจมส์ แชดวิก (Sir James Chadwick) ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1932 โดยแชดวิกได้ทำการทดลองโดยการยิงอนุภาคแอลฟาจากพอโลเนียมใส่แผ่นโบรอนบาง ๆ และรองรับอนุภาคด้วยเครื่องตรวจจับที่บรรจุแก๊สไนโตรเจนไว้ภายใน พบว่ามีอนุภาคหนึ่งหลุดมาและเป็นกลางทางไฟฟ้า จึงตั้งชื่อให้ว่า \"นิวตรอน\" [9] โดยการทดลองของทอมสันและโกลด์สตีนที่ใช้หลอดรังสีแคโทดไม่สามารถตรวจพบนิวตรอนได้ เพราะนิวตรอนไม่มีปฏิกิริยากับขั้วแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ในการทดลอง", "title": "นิวตรอน" }, { "docid": "439778#0", "text": "เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบถังกรวด () เป็นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในยุคที่ 3+ จัดว่าเป็นเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงมากขึ้นและมีต้นทุนถูกกว่าจากเครื่องปฏิกรณ์แบบทั่วไปที่ใช้น้ำเป็นสารหน่วงนิวตรอน และใช้เป็นสารระบายความร้อนด้วย ในขณะที่เครื่องปฏิกรณ์แบบถังกรวดใช้ pyrolytic graphite เป็นสารหน่วงนิวตรอน และใช้ก๊าซเฉื่อย เป็นสารระบายความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงมาก ในการขับกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยตรง ทำให้ไม่ต้องใช้ระบบเครื่องกำเนิดไอน้ำที่มีความซับซ้อน รวมทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทพลังงาน โดยทำให้สัดส่วนของการผลิตไฟฟ้าต่อความร้อน มีค่าประมาณ 50% นอกจากนั้น ก๊าซจะไม่ละลายส่วนประกอบที่ปนเปื้อนรังสีออกมา และไม่ดูดกลืนนิวตรอนเหมือนกับการใช้น้ำ ดังนั้นแกนเครื่องปฏิกรณ์จึงมีของเหลวที่มีกัมมันตภาพรังสีในปริมาณที่น้อยกว่าแบบเดิมมาก จึงมีความเสี่ยงด้านผลกระทบทางรังสีที่น้อยลง และยังทำให้ต้นทุนต่ำกว่าเครื่องปฏิกรณ์แบบใช้น้ำมวลเบา ", "title": "เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบถังกรวด" }, { "docid": "8785#0", "text": "ดาวนิวตรอน () เป็นซากที่เหลือจากยุบตัวของการระเบิดแบบซูเปอร์โนวาชนิด II,Ib หรือ Ic และจะเกิดเฉพาะดาวฤกษ์มวลมากมีส่วนประกอบเพียงนิวตรอนที่อะตอมไร้กระแสไฟฟ้า (นิวตรอนมีมวลสารใกล้เคียงโปรตอน) และดาวประเภทนี้สามารถคงตัวอยู่ได้ด้วยหลักการกีดกันของเพาลีเกี่ยวกับแรงผลักระหว่างนิวตรอน", "title": "ดาวนิวตรอน" }, { "docid": "310590#6", "text": "Pu-238 ไม่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ปกติที่ผลิตเป็นจำนวนมากในวัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ แต่ส่วนหนึ่งที่ผลิตจากเนปทูเนียม-237 โดยการจับยึดนิวตรอน (ปฏิกิริยานี้สามารถใช้ร่วมกับเนปทูเนียมบริสุทธิ์ในการผลิต Pu-238 ที่ค่อนข้างจะเป็นอิสระจากไอโซโทปอื่นๆของพลูโทเนียมอีกด้วย สำหรับใช้ในเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยความร้อนจากไอโซโทปรังสี) โดย (n, 2n) ปฏิกิริยาของนิวตรอนเร็วใน Pu - 239 หรือโดยการสลายให้อนุภาคแอลฟาของคูเรียม-242 ซึ่งถูกสร้างโดยจับยึดนิวตรอนจาก Am-241 มันมีนิวตรอนความร้อนตัดตามขวางที่สำคัญสำหรับการฟิชชัน แต่ก็มีแนวโน้มที่จะจับยึดนิวตรอนและกลายเป็น Pu-239.", "title": "ไอโซโทปของพลูโทเนียม" }, { "docid": "124589#4", "text": "โรงไฟฟ้าบางปะกง มีการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ประกอบไปด้วยโรงไฟฟ้าพลังความร้อน จำนวน 2 เครื่อง กำลังผลิตกระแสไฟฟ้าชุดละ 550,000 กิโลวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม จำนวน 2 ชุด กำลังผลิตกระแสไฟฟ้าชุดละ 370,000 กิโลวัตต์ กำลังผลิตของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมในแต่ละชุด ประกอบไปด้วยเครื่องแก๊สเทอร์ไบน์สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า กำลังผลิตขนาด 60,000 กิโลวัตต์ จำนวน 4 เครื่อง ซึ่งสามารถใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดีเซลในการผลิตกระแสไฟฟ้า และเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันไอน้ำ กำลังผลิต 130,000 กิโลวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง", "title": "โรงไฟฟ้าบางปะกง" }, { "docid": "136911#2", "text": "2.ฟิวส์มีจุดหลอมเหลวต่ำ ขณะที่กระแสไฟฟ้าผ่านฟิวส์ พลังงานไฟฟ้าจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนให้กับฟิวส์เล็กน้อยแต่เมื่อมีการใช้กระแสไฟฟ้าเกินกำหนด\nหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจร กระแสไฟฟ้าปริมาณมากจะผ่านฟิวส์ พลังงานไฟฟ้าจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนให้กับฟิวส์มากขึ้น จนฟิวส์หลอมละลาย ทำให้วงจรไฟฟ้า\nในบ้าน ถูกตัดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอีกไม่ได้", "title": "ฟิวส์" }, { "docid": "17248#25", "text": "กระแสไฟฟ้าสามารถวัดได้โดยตรงด้วยกัลวาโนมิเตอร์ แต่จะต้องตัดวงจรแล้วแทรกมิเตอร์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวงจร ซึ่งไม่สะดวกในการปฏิบัติ ปัจจุบันสามารถวัดได้โดยไม่ต้องตัดวงจรโดยการตรวจสอบสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการนี้รวมถึงเซ็นเซอร์แบบฮอลล์เอฟเฟค หรือใช้ที่หนีบ (current clamp) หรือใช้หม้อแปลงกระแส หรือใช้ขดลวดของ Rogowski\nกระแสไฟฟ้าคือ ปริมาณประจุไฟฟ้าที่เลื่อนไหลในวงจรไฟฟ้าต่อหน่วยวินาที เรียกว่า ปริมาณกระแสไฟฟ้าไหล\nแอมแปร์ คือประจุไฟฟ้า 1 คูลอมบ์ เคลื่อนที่ผ่านพื้นที่หน้าตัดของขดลวดในเวลา 1 วินาที และหน่วยของกระแสไฟฟ้าเป็นแอมแปร์ เพื่อให้เป็นเกียรติแก่ อองเดร เอ็ม.แอมแปร์ (Andre Marie Ampere) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส", "title": "กระแสไฟฟ้า" }, { "docid": "17248#4", "text": "กระแสไฟฟ้า  (I)  เกิดขึ้นจากการไหลของอิเล็กตรอน   ผ่านวัสดุชนิดหนึ่งนั่นคือการถ่ายโอนประจุไฟฟ้า  อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ถ้าอยู่ในสนามไฟฟ้า   ซึ่งสร้างความต่างศักย์ไฟฟ้า ระหว่างสองบริเวณเพราะฉะนั้น  ความต่างศักย์ไฟฟ้า  จึงจำเป็นในการทำให้เกิดกระแสไฟฟวงจรไฟฟ้า  เป็นวงจรปิดประกอบด้วยแหล่งกำเนิดกระแสไฟฟ้า และอุปกรณ์อื่นๆ  ที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน \nระบบไฟฟ้าแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบ ดังนี้ ", "title": "กระแสไฟฟ้า" }, { "docid": "20739#0", "text": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแบบหนึ่งที่ใช้แหล่งพลังงานความร้อนจากเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไอน้ำแรงดันสูงจ่ายให้กับกังหันไอน้ำ กังหันไอน้ำจะไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าออกมา โดยเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้ในการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบวิจัย (English: Research Reactor) ที่ใช้ประโยชน์จากนิวตรอนฟลักซ์ในการวิจัย และระบายความร้อนที่เกิดขึ้นออกสู่ชั้นบรรยากาศ และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลัง (English: Power Reactor) ที่ใช้พลังความร้อนที่เกิดขึ้นเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลัง มีขนาดใหญ่โตกว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเป็นอย่างมาก", "title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" }, { "docid": "6621#0", "text": "อะตอม (Greek: άτομον; English: Atom) คือหน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยส่วนของนิวเคลียสที่หนาแน่นมากอยู่ตรงศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนที่มีประจุลบ นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยโปรตอนที่มีประจุบวกกับนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า (ยกเว้นในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งเป็นนิวไคลด์ชนิดเดียวที่เสถียรโดยไม่มีนิวตรอนเลย) อิเล็กตรอนของอะตอมถูกดึงดูดอยู่กับนิวเคลียสด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ในทำนองเดียวกัน กลุ่มของอะตอมสามารถดึงดูดกันและกันก่อตัวเป็นโมเลกุลได้ อะตอมที่มีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากันจะมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า มิฉะนั้นแล้วมันอาจมีประจุเป็นบวก (เพราะขาดอิเล็กตรอน) หรือลบ (เพราะมีอิเล็กตรอนเกิน) ซึ่งเรียกว่า ไอออน เราจัดประเภทของอะตอมด้วยจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียส จำนวนโปรตอนเป็นตัวบ่งบอกชนิดของธาตุเคมี และจำนวนนิวตรอนบ่งบอกชนิดไอโซโทปของธาตุนั้น[1]", "title": "อะตอม" }, { "docid": "136911#0", "text": "ฟิวส์ () เป็นอุปกรณ์นิรภัยชนิดหนึ่งที่อยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยจะป้องกันการลัดวงจร และการใช้กระแสเกินในวงจรไฟฟ้า โดยจะหลอมละลาย และตัดกระแสไฟออกจากวงจรเพื่อป้องการอุปกรณ์เสียหาย โดยฟิวส์จะเป็นเส้นลวดเล็ก ๆ ทำจากตะกั่วผสมดีบุก มีจุดหลอมเหลวที่ต่ำ มีหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของการใช้งานควรเลือกฟิวส์ที่ทนกระแสไฟฟ้าสูงสุด ได้มากกว่ากระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ใช้ภายในบ้านเล็กน้อย และไม่ควรใช้ลวดเหล็ก หรือลวดทองแดงที่มีจุดหลอมเหลวสูงแทนฟิวส์\nเพราะเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมากเกินไป ลวดเหล็กหรือลวดทองแดงจะไม่หลอมละลาย จึงไม่ช่วยตัดวงจรไฟฟ้าในบ้าน ฟิวส์ที่ใช้ตามบ้านมีหลายขนาด เช่น ขนาด\n10 15 และ 30 แอมแปร์ ฟิวส์ขนาด 15แอมแปร์ คือ ฟิวส์ที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ไม่เกิน 15 แอมแปร์ ถ้ากระแสไฟฟ้าผ่านมากว่านี้ ฟิวส์จะหลอมละลาย\nทำให้วงจรขาด ดังนั้น การเลือกใช้ฟิวส์จึงต้องเลือกขนาดของฟิวส์ให้พอเหมาะกับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน\nฟิวส์มีหลายชนิด แต่ละชนิดจะใช้แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสม\nเลือกฟิวส์ต้องเลือกความเร็วในการ ขาดของมันด้วย \n- เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป เลือกแบบขาดช้า ขนาดเป็นสองเท่าของโหลดที่ใช้", "title": "ฟิวส์" }, { "docid": "786915#2", "text": "ประจุไฟฟ้าเป็นปริมาณทางไฟฟ้าปริมาณหนึ่งที่กำหนดขึ้นธรรมชาติ ของสสารจะประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ ที่มีลักษณะและ มีสมบัติเหมือนกันที่เรียกว่า อะตอม(atom)ภายในอะตอม จะประกอบด้วยอนุภาคมูลฐาน3ชนิดได้แก่ โปรตอน (proton) นิวตรอน (neutron) และ อิเล็กตรอน (electron)โดยที่โปรตอนมีประจุไฟฟ้าบวกกับนิวตรอนที่เป็นกลางทางไฟฟ้ารวมกันอยู่เป็นแกนกลางเรียกว่านิวเคลียส (nucleus) ส่วนอิเล็กตรอน มี ประจุ ไฟฟ้าลบ จะอยู่รอบๆนิวเคลียส", "title": "ไฟฟ้าสถิต" }, { "docid": "637276#0", "text": "สายไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ส่งพลังงานไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยกระแสไฟฟ้าจะ เป็นตัวนำพลังงานไฟฟ้าผ่านไปตามสายไฟจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟทำด้วยสารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ เรียกว่าตัวนำไฟฟ้า และตัวนำไฟฟ้าที่ใช้ทำสายไฟเป็นโลหะที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ดี ลวดตัวนำแต่ละชนิดยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ต่างกัน ตัวนำไฟฟ้าที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้มากเรียกว่ามีความนำไฟฟ้ามากหรือมีความต้านทานไฟฟ้าน้อย ลวดตัวนำจะมีความต้านทานไฟฟ้าอยู่ด้วย โดยลวดตัวนำที่มีความต้านทานไฟฟ้ามากจะยอม ให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้น้อย", "title": "สายไฟฟ้า" }, { "docid": "774562#13", "text": "หม้อแปลงไฟฟ้า มีบทบาทสำคัญใน การส่งกำลังไฟฟ้า () เพราะพวกมันสามารถที่จะถูกแปลงจากแรงดันไฟฟ้าที่สูงให้เป็นแรงดันไฟฟ้าที่ต่ำลง หรือในทางกลับกัน นี้เป็นสิ่งสำคัญเพราะแรงดันไฟฟ้าที่สูงกว่าจะประสบกับความสูญเสียพลังงานน้อยกว่าในระหว่างการส่ง นี้เป็นเพราะแรงดันไฟฟ้าที่สูงกว่ายอมให้มีกระแสที่ต่ำกว่าในการส่งมอบปริมาณกำลังไฟฟ้าเดียวกัน เนื่องจากกำลังไฟฟ้าเป็นผลคูณของแรงดันและกระแส ดังนั้น เมื่อแรงดันสูงขึ้น กระแสจะตกลง เมื่อกระแสไหลผ่านชิ้นส่วน มันจะส่งผลทั้งการสูญเสียและความร้อนที่ตามมา การสูญเสียเหล่านี้จะปรากฏในรูปของความร้อน มีค่าเท่ากับกระแสยกกำลังสองคูณด้วยความต้านทานไฟฟ้า ที่กระแสนั้นไหลผ่าน ดังนั้นเมื่อแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้น การสูญเสียก็จะลดลงอย่างมาก", "title": "วิศวกรรมกำลังไฟฟ้า" }, { "docid": "622822#18", "text": "ปฏิกิริยาฟิวชันในพลาสม่าที่หมุนวนรอบเครื่องปฏิกรณ์ tokamak จะผลิตนิวตรอนพลังงานสูงจำนวนมาก. นิวตรอนเหล่านี้, เป็นกลางทางไฟฟ้า, จะไม่ถูกยึดอยู่ในกระแสของพลาสม่าโดยแม่เหล็ก toroid อีกต่อไปและจะดำเนินการต่อจนกระทั่งถูกหยุดโดยผนังด้านในของ tokamak\" นี้เป็นข้อได้เปรียบที่ใหญ่ของเครื่องปฏิกรณ์ tokamak เนื่องจาก นิวตรอนอิสระเหล่านี้ให้วิธีการง่ายๆที่จะดึงความร้อนออกจากกระแสพลาสม่า; นี้เป็นวิธีการที่เครื่องปฏิกรณ์ฟิวชั่นจะสร้างพลังงานที่สามารถใช้งานได้. ผนังด้านในของ tokamak จะต้องมีการระบายความร้อน เพราะนิวตรอนเหล่านี้ให้พลังงานมากพอที่จะละลายผนังของเครื่องปฏิกรณ์. ระบบ cryogenic ถูกใช้ในการป้องกันการสูญเสียความร้อนจาก แม่เหล็กตัวนำยิ่งยวด. ส่วนใหญ่แล้ว ฮีเลียมเหลวและ ไนโตรเจนเหลวจะถูกใช้เป็นสารทำความเย็น. แผ่นเซรามิกที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อทนต่ออุณหภูมิที่สูงจะยังถูกวางอยู่บนผนัง ภายในเครื่องปฏิกรณ์เพื่อป้องกันแม่เหล็กและตัวเครื่องปฏิกรณ์เอง", "title": "Tokamak" }, { "docid": "239087#0", "text": "หลอดสุญญากาศ () หรือ หลอดอิเล็กตรอน (electron tube : ในอเมริกา) หรือ วาล์วเทอร์มิออนิค (thermionic valve : ในอังกฤษ) ในทางอิเล็กทรอนิกส หมายถึงอุปกรณ์ที่ควบคุมกระแสไฟฟ้าผ่านขั้วอิเล็กโทรดภายในบริเวณที่มีอากาศหรือก๊าซเบาบาง ปรากฏการณ์ ทางฟิสิกส์ที่ใช้อธิบายการนำไฟฟ้าก็คือ ปรากฏการณ์เทอร์มิออนิค อิมิตชัน (thermionic emission) ซึ่งอธิบายว่าเมื่อโลหะถูกทำให้ร้อนจนถึงระดับหนึ่งด้วยการป้อนกระแสไฟฟ้าจะทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกมาที่ผิวของโลหะ เมื่อทำการป้อนศักย์ไฟฟ้าเพื่อดึงดูดอิเล็กตรอนที่หลุดออกมาอยู่ที่ผิวด้วยขั้วโลหะอีกขั้วหนึ่งที่อยู่ข้างๆ จะทำให้เกิดการไหลของกระแสได้ เราเรียกหลอดสุญญากาศที่มีขั้วโลหะเพียงสองขั้วนี้ว่า หลอดไดโอด (Diode) โดยขั้วที่ให้อิเล็กตรอนเรียกว่า คาโธด (Cathode) และขั้วที่รับอิเล็กตรอนเรียกว่า อาโนด (Anode) โดยปกติจะมีรูปร่างเป็นแผ่นโลหะธรรมดา บางทีจะเรียกว่า เพลท (Plate) การไหลของกระแสไฟฟ้าของหลอดไดโอดเป็นแบบไม่เป็นเชิงเส้น (Non-linear current) กล่าวคือ เมื่อป้อนศักย์ไฟฟ้าบวกให้กับขั้วอาโนดและศักย์ไฟฟ้าลบให้กับขั้วคาโธดจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลดังที่ได้อธิบายผ่านมา แต่เมื่อป้อนศักย์ไฟฟ้ากลับทางคือ ป้อนศักย์ไฟฟ้าบวกให้กับคาโธดและป้อนศักย์ไฟฟ้าลบให้กับอาโนดจะทำให้กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลได้ ซึ่งเป็นผลมาจากอิเล็กตรอนถูกผลักด้วยผลของสนามไฟฟ้านั้นเอง ซึ่งคุณสมบัติข้อนีจึงทำให้สามารถนำหลอดไดโอดไปใช้เป็นอุปกรณ์เรียงกระแส (rectifier) ได้ ", "title": "หลอดสุญญากาศ" }, { "docid": "8785#2", "text": "เมื่อดาวฤกษ์มวลมากเกิดซูเปอร์โนวาและกลายเป็นดาวนิวตรอน ส่วนแก่นของมันจะได้รับโมเมนตัมเชิงมุมมา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรัศมีจากใหญ่ไปเล็กนั้นจะทำให้ความเร็วในการหมุนรอบตัวเองขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็จะหมุนรอบตัวเองช้าลงทีละน้อย ความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของดาวนิวตรอนที่มีการบันทึกได้นั้นอยู่ระหว่าง 700 รอบต่อวินาทีไปจนถึง 30 วินาทีต่อรอบ ความเร่งที่พื้นผิวอยู่ที่ 2*10 ถึง 3*10 เท่ามากกว่าโลก ด้วยเหตุนี้ดาวนิวตรอนจึงสามารถส่งคลื่นวิทยุออกมาเป็นช่วงหรือพัลซาร์ และกระแสแม่เหล็กออกมาปริมาณมหาศาล การที่ดาวนิวตรอนสามารถส่งคลื่นวิทยุออกมาเป็นช่วงๆ นั้นทำได้อย่างไร ยังคงเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ แม้ว่าจะมีการวิจัยเรื่องนี้มานานกว่า 40 ปีแล้วก็ตามในดาราจักรของเรานั้นเราพบเพียงไม่กี่สิบดวงเท่านั้น เรายังพบอีกว่า ดาวนิวตรอนน่าจะเป็นต้นกำเนิดของ แสงวาบรังสีแกมมา ที่มีความสว่างมากกว่าซูเปอร์โนวา หลายเท่า อีกทั้งดาวนิวตรอนยังมีความหนาแน่นรวมถึงนำหนักของดาวนิวตรอนที่มากกว่าดวงดาวบางดวงอีกด้วย(แก้ไขโดยเนติ) ", "title": "ดาวนิวตรอน" }, { "docid": "363968#44", "text": "ตามข้อมูลของโทโฮะกุอิเล็กทริกพาวเวอร์ (TEP) มีบ้านเรือนราว 4.4 ล้านหลังคาเรือนทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และเครื่องปฏิกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปหลายเครื่องไม่สามารถใช้การได้หลังจากเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งลดกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าของบริษัทผลิตไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO) ลง 21 จิกะวัตต์ มาตรการตัดกระแสไฟฟ้า (rolling blackout) เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม จากการขาดแคลนพลังงานซึ่งเป็นผลมาจากแผ่นดินไหว TEPCO ซึ่งปกติแล้ว ผลิตไฟฟ้าอย่างน้อย 40 จิกะวัตต์ ประกาศว่าขณะนี้ทางบริษัทสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงราว 30 กิกะวัตต์ ที่เป็นเช่นนี้เพราะไฟฟ้าร้อยละ 40 ที่ใช้ในพื้นที่เขตมหานครโตเกียวปัจจุบันได้รับไฟฟ้าที่ผลิตจากเครื่องปฏิกรณ์ในจังหวัดนีงาตะและฟูกูชิมะ เครื่องปฏิกรณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะทั้งสองแห่งถูกปิดตัวลงอัตโนมัติหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นครั้งแรก และได้รับความเสียหายอย่างหนักจากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นตามมา คาดว่าจะมีมาตรการตัดกระแสไฟฟ้านานสามชั่วโมงถึงสิ้นเดือนเมษายนและจะส่งผลกระทบถึงจังหวัดโตเกียว คานางาวะ ชิซูโอกะ ยามานาชิ ชิบะ อิบารากิ ไซตามะ โทจิงิ และกุมมะ การเต็มใจลดการใช้กระแสไฟฟ้าโดยผู้บริโภคในเขตคันโตช่วยลดความถี่และระยะที่เกิดไฟฟ้าดับจากที่เคยทำนายไว้ การลดการใช้ไฟฟ้าโดยสมัครใจของผู้บริโภคในพื้นที่คันโตช่วยลดความถี่และระยะเวลาของการตัดกระแสไฟฟ้าที่คาดการณ์ไว้ จนถึงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554 จำนวนครัวเรือนทางตอนเหนือของญี่ปุ่นที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ลดลงเหลือ 242,927 ครัวเรือน", "title": "แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554" } ]
1196
วรรณไว พัธโนทัย เกิดเมื่อใด ?
[ { "docid": "483590#1", "text": "วรรณไว พัธโนทัย เป็นบุตรของนายสังข์ พัธโนทัย (ที่ปรึกษาคนสนิทของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม) กับนาง วิไล พัธโนทัย เกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2485 เป็นบุตรคนที่ 2 ของพี่น้องทั้งหมด 5 คน ได้แก่ นายมั่น พัธโนทัย นายวรรณไว พัธโนทัย นางสิรินทร์ ฮอร์น นางผ่องศรี ฟอร์น วังเด็กก์ และนางวิริยะวรรณ สาทิสสะรัต", "title": "วรรณไว พัธโนทัย" }, { "docid": "483590#0", "text": "วรรณไว พัธโนทัย (25 สิงหาคม พ.ศ. 2485 -) อดีตสมาชิกวุฒิสภา ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง และผู้บุกเบิกสัมพันธไมตรีไทย-สาธารณรัฐประชาชนจีน", "title": "วรรณไว พัธโนทัย" } ]
[ { "docid": "483590#2", "text": "นายวรรณไว พัธโนทัย เข้าศึกษาที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยจนกระทั่งถึงชั้นมัธยม 3 จำเป็นต้องย้ายที่เรียนไปศึกษาต่อยังสาธารณรัฐประชาชนจีน (ขณะนั้นวรรณไว มีอายุได้ 12 ปี) เนื่องจากต้องไปเป็นบุตรบุญธรรมของนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล เพื่อแสดงความจริงใจในการผูกมิตรระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม และได้ศึกษาอยู่ที่กรุงปักกิ่งจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง\nวรรณไว พัธโนทัย สมรสกับนางปทุมา พัธโนทัย (นามสกุลเดิม สุนทรกุมาร) มีบุตรและธิดารวม 3 คน ได้แก่", "title": "วรรณไว พัธโนทัย" }, { "docid": "483590#4", "text": "เนื่องจากนายสังข์ พัธโนทัย เป็นบุคคลที่ชอบศึกษาประวัติศาสตร์จีน และเห็นว่าจีนในอดีตมักเชื่อมความสัมพันธ์ด้วยกันระหว่างก๊กต่อก๊ก โดยใช้วิธีส่งลูกหรือญาติสนิทเพื่อเป็นตัวประกันในการสานสัมพันธ์ นายสังข์ พัธโนทัย จึงตัดสินใจส่ง เด็กชายวรรณไว พัธโนทัย กับเด็กหญิงนวลนภา (สิรินทร์) พัธโนทัย ลูกแท้ๆของตน ไปอยู่ในอุปการะเลี้ยงดูของนายกรัฐมนตรี โจว เอินไหล เพื่อเป็นการแสดงความจริงใจในความสัมพันธ์ ซึ่งนายกรัฐมนตรี โจว เอินไหล ได้ให้การอุปการะแก่ทูตน้อยทั้ง 2 เป็นอย่างดี", "title": "วรรณไว พัธโนทัย" }, { "docid": "277061#1", "text": "มั่น พัธโนทัย หรือ ดร.มั่น พัธโนทัย เป็นบุตรของนายสังข์ พัธโนทัย (ที่ปรึกษาคนสนิทของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม)กับนาง วิไล พัธโนทัย เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2484 มีพี่น้องกัน 5 คน ได้แก่ นายมั่น พัธโนทัย นายวรรณไว พัธโนทัย(อดีตวุฒิสมาชิก) นางสิรินทร์ ฮอร์น นางผ่องศรี ฟอร์น วังเด็กก์ และนางวิริยะวรรณ สาทิสสะรัต", "title": "มั่น พัธโนทัย" }, { "docid": "483590#5", "text": "ในปี ค.ศ. 1966 (พ.ศ. 2509) ประเทศจีนเกิดการปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรมโดยการสนับสนุนของ ประธานเหมา เจ๋อตง แก๊งอ๊อฟโฟร์ (เจียงชิงภรรยาเหมา, หวังหงเหวิน, จางชุนเฉียว, เหยาเหวินหยวน) และพวกซ้ายจัดที่กุมอำนาจในจีน พยายามเข้าริดรอนอำนาจและทำร้ายเหล่านักปฏิวัติที่เคยร่วมต่อสู้มากับประธานเหมา เจ๋อตง อาทิ ประธานาธิบดี หลิวเส้าฉี, นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล, เติ้งเสี่ยวผิง ,จอมพลจูเต๋อ ฯลฯ รวมทั้งใช้นโยบายต่อต้านสหรัฐฯและสหภาพโซเวียตอย่างรุนแรง\nขณะนั้นสหรัฐกำลังปราชัยเสียฐานที่มั่นต่างๆหลายแห่งให้แก่พวกเวียดกงในสงครามเวียดนาม ซึ่งสหรัฐฯให้การสนับสนุนอยู่อย่างเต็มที่ จนสหรัฐฯเริ่มเหนื่อยหน่ายจากการสู้รบแบบยืดเยื้อ ของพวกเวียดกงซึ่งได้รับการหนุนหลังจากจีน สหรัฐฯจึงอยากยุติสงครามเวียดนามเต็มทน พอดีห้วงเวลาดังกล่าว ตรงกับช่วงที่ศาลยุติธรรมพิพากษาปล่อยตัวนายสังข์ พัธโนทัย พ้นข้อหาคดีมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ที่จอมพลสฤษดิ์ จับขังไว้เป็นเวลาถึง 7 ปี สหรัฐรู้ว่านายสังข์ พัธโนทัย มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับจีน โดยมีการส่งลูกไปอยู่กับจีนตั้งแต่เด็ก นายนอร์แมน บี ฮันน่า ที่ปรึกษาสถาทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย ซึ่งเคยเป็นเพื่อนกับนายสังข์มาก่อน ได้เชิญนายสังข์ไปเลี้ยงแสดงความยินดีที่ได้รับการปล่อยตัวที่สถานทูตสหรัฐฯ และได้ปรารภกับนายสังข์เรื่องนี้ โดยสหรัฐฯยินดีจะพบปะเจรจา เพื่อขอยุติสงครามเวียดนามกับรัฐบาลจีน โดยสหรัฐฯพร้อมเจรจากับผู้แทนจีนในประเทศใดประเทศหนึ่งที่มีสถานทูตสหรัฐฯตั้งอยู่ก็ได้ โดยนายฮันน่าฯ ได้นำเรื่องยุติปัญหาสงครามนี้ มาเป็นข้อแลกเปลี่ยนกับการออกหนังสือเดินทางไทยให้กับนายสังข์ ซึ่งต้องการจะไปเยี่ยมลูกที่ปักกิ่งที่ไม่ได้พบหน้ากันนานเป็นเวลา 10 ปีแล้ว", "title": "วรรณไว พัธโนทัย" }, { "docid": "256817#1", "text": "ยุทธพงศ์ ภูริสัมบรรณ หรือ รวี โดมพระจันทร์ เกิดที่หนองปลาไหล จังหวัดพิจิตร (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490) บิดาเป็นชาวจีนไหหลำอพยพชื่อนายวา แซ่พัว และมารดามีเชื้อจีนไทย ชื่อนางเฮี๊ยะ แซ่พัว (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้วทั้งคู่) ยุทธพงศ์เป็นลูกคนที่ 4 จากทั้งหมด 9 คน ครอบครัวเดิมประกอบอาชีพค้าขาย และได้ย้ายมาตั้งรกรากที่พิษณุโลกตั้งแต่ยุทธพงศ์ยังเด็ก \nยุทธพงศ์แต่งงานกับพ.ญ.วารุณี (สดเจริญ) มีบุตรชายหนึ่งคนและบุตรสาวหนึ่งคน และได้ย้ายมาชลบุรีซึ่งเป็นจังหวัดที่ภรรยาทำงานอยู่ เนื่องจากต้องเดินงานไปกลับ กรุงเทพ-ชลบุรีเป็นประจำ ประกอบด้วยการทำงานหนัก และต้องเจอกับควันบุหรี่ในที่ทำงาน ยุทธพงศ์จึงร่างกายอ่อนแอ และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดแม้ว่าไม่เคยสูบบุหรี่เลย ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ก่อนวันเกิดปีที่สี่สิบสองเพียงไม่ถึงเดือนตำแหน่งงานสุดท้ายของยุทธพงศ์ก่อนเสียชีวิตคือเป็นผู้จัดการศูนย์ข้อมูล บ.ตะวันออกแมกกาซีน ในเครือของสนธิ ลิ้มทองกุล ภายหลังที่เขาจากไป บริษัทที่ทำงานได้ก่อตั้ง \"รางวัลรวี โดมพระจันทร์\" จัดประกวดกวีนิพนธ์และนวนิยาย แต่ดำเนินไปได้เพียงสองปีก็ยุติลง ทิ้งไว้เพียงหนังสือรวมบทกวีเล่มสุดท้าย ซึ่งรวบรวมจากผลงานเด่นๆ ของเขาในชื่อ \"ตื่นเถิดเสรีชน\" ในเล่มมีข้อเขียนของกวีใหญ่ และเจ้าพ่อสื่อใหญ่", "title": "รวี โดมพระจันทร์" }, { "docid": "483590#8", "text": "เมื่อถูกผลักออกจากแดนจีนเข้ามาเก๊าแล้ว นายวรรณไวก็ถูกตำรวจมาเก๊าจับฐานหนังสือเดินทางไทยหมดอายุไปนานแล้ว นายวรรณไวจึงประกาศขอลี้ภัยทางการเมืองกับทางการมาเก๊าและได้ส่งโทรเลขด่วนถึงนายสังข์ผู้พ่อ นายสังข์จึงนำความไปบอกนายฮันน่าฯว่า นายวรรณไว ลูกชายของตนถูกขับออกจากประเทศจีน เพราะเรื่องที่นายฮันน่าฯฝากนายสังข์ไปกระทำนั้นแหละ นายฮันน่าฯ จึงสั่งหน่วยสืบราชการลับ(CIA)ให้มารับตัวนายวรรณไวกลับมาประเทศไทย เพราะรู้ดีว่านายวรรณไว เป็นบุคคลที่รู้เรื่องราวของประเทศจีนได้ลึกซึ้งที่สุดในยุคนั้น", "title": "วรรณไว พัธโนทัย" }, { "docid": "483590#10", "text": "จากการที่จอมพลถนอม มอบหมายให้คุณประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ร่วมเดินทางไปกับทีมปิงปองไทย เพื่อต้องการให้คุณประสิทธิ์หาโอกาสผูกสัมพันธ์กับผู้นำจีน เพื่อให้ภารกิจสำเร็จลุล่วง คุณประสิทธิ์จึงได้ขอให้นายวรรณไว ซึ่งเคยพำนักศึกษาอยู่ในประเทศจีนมาเป็นเวลานาน ครั้งเมื่อถูกส่งไปเชื่อมความสัมพันธ์เมื่อวัยเยาว์สมัยจอมพล ป. โดยขอให้นายวรรณไว ช่วยติดต่อกับผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในการวางแผนเดินทางไปเยือนจีน และช่วยนำพาคณะเข้าพบปะสนทนากับผู้นำระดับสูงของจีนด้วย", "title": "วรรณไว พัธโนทัย" }, { "docid": "566361#0", "text": "วรรณวลัย สุรีย์เดชะกุล หรือ วรรณวลัย โปษยานนท์ (ชื่อเล่น: น้ำฝน) เกิดในจังหวัดนนทบุรีเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 เป็นนักแสดงและนางแบบ ชาวไทย เข้าสู่วงการเมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยการแสดงละคร \"ร่วมงานรัก\" ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ต่อด้วยแสดงภาพยนตร์เรื่อง \"ล่าระเบิดเมือง\" ปี 2542 หลังจากนั้นก็มีผลงานในวงการบันเทิงมากมายไม่ว่าจะเป็น พรีเซนเตอร์, พิธีกร, งานภาพยนตร์ และละครเวที เป็นต้น", "title": "วรรณวลัย โปษยานนท์" } ]
3535
ภาษามคธโดยทั่วไป เขียนด้วยอักษรอะไร?
[ { "docid": "92257#0", "text": "ภาษามคธ (อ่านว่า มะ-คด บางครั้งเรียก มาคธี, มคธี หรือ มคฮี) เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาโภชปุรีและภาษาไมถิลีจัดอยู่ในกลุ่มของภาษาพิหาร ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีผู้พูด 13 ล้านคนในเขตมคธของรัฐพิหารและบริเวณใกล้เคียงอื่น ๆ รวมถึงบางบริเวณในรัฐเบงกอลตะวันตก เขียนด้วยอักษรเทวนาครี", "title": "ภาษามคธ" } ]
[ { "docid": "91647#1", "text": "แต่เดิมภาษาบาลีคือภาษามคธที่คนในแคว้นมคธใช้พูดกันเท่านั้น เพราะภาษาบาลีไม่มีอักษรใช้เขียนเป็นตัวหนังสือ พระพุทธเจ้าตรัสสอนธรรมด้วยภาษามคธเพราะแคว้นมคธเป็นแคว้นใหญ่ เหตุที่ภาษาบาลีไม่มีอักษรเขียน จึงต้องอาศัยอักษรจากภาษาอื่นเป็นตัวเขียน เช่น อักษรเทวนาครี อักษรขอม อักษรไทย อักษรโรมัน เป็นต้น ในปัจจุบันภาษาบาลีถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว เหมือนภาษาละติน ถึงแม้มีคนใช้พูดอยู่ก็น้อยมาก ในพระพุทธศาสนามีเพียงนิกายเถรวาทที่ใช้ภาษาบาลี เช่นในพระไตรปิฎก เป็นต้น ", "title": "เปรียญธรรม 9 ประโยค" }, { "docid": "2583#13", "text": "ภาษาลาวมีตัวอักษรที่ใช้เขียนอยู่สองแบบ คือ อักษรลาว ใช้เขียนเรื่องคดีทางโลกทั่วไป ปัจจุบันรัฐบาลลาวได้ปรับปรุงอักษรลาวเดิมให้ใช้เป็นอักษรราชการ (ในภาคอีสานของไทยยังคงใช้อยู่บ้างในเอกสารโบราณ เรียกชื่อว่า อักษรไทน้อย)", "title": "ภาษาลาว" }, { "docid": "191569#13", "text": "อักษรจู้อินถูกเขียนให้เหมือนกับอักษรจีนทั่วไป รวมทั้งกฎเกณฑ์ของลำดับการขีดและตำแหน่ง ปกติอักษรจู้อินจะเขียนไว้ที่ด้านขวาของอักษรจีนตัวนั้นเสมอ ไม่ว่าอักษรจีนจะเขียนแนวตั้งหรือแนวนอน โดยทางเทคนิคแล้วการเขียนแบบนี้เรียกว่าอักษรประกอบคำ (ruby character) และพบได้น้อยมากที่อักษรประกอบคำจะไปปรากฏอยู่ข้างบนเมื่อเขียนตามแนวนอน (เหมือนฟุริงะนะที่กำกับคันจิในภาษาญี่ปุ่น) กล่องแสดงสัญลักษณ์มักจะมีอักษรจู้อินสองหรือสามตัว (ซึ่งตัวมันเองนั้นมีขนาดพอดีกับสี่เหลี่ยมจัตุรัส) วางซ้อนกันในแนวตั้ง ทำให้กล่องของอักษรจีนหนึ่งตัวมีความยาวเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า", "title": "จู้อิน" }, { "docid": "52868#0", "text": "อักษรบาหลี หรือ จารากัน (Carakan) พัฒนามาจากอักษรพราหมี ผ่านทางอักษรปัลลวะ หรืออักษรกวิโบราณ จารึกเก่าสุดในภาษาบาหลี มีอายุราวพ.ศ. 1600 แต่น่าจะมีการเขียนในใบลานมาก่อนหน้านั้น อักษรบาหลียังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่ใช้ในทางศาสนาเท่านั้น ภาษาบาหลีโดยทั่วไปเขียนด้วยอักษรละติน เรียกตูลีซันบาหลี (Tulisan Bali)", "title": "อักษรบาหลี" }, { "docid": "644995#1", "text": "ภาษาฮัวซาในแอฟริกาตะวันตกเป็นตัวอย่างของภาษาที่ใช้อักษรอยามี โดยเฉพาะในช่วงก่อนเป็นอาณานิคม เมื่อมีโรงเรียนสอนอัลกุรอ่านให้แก่เยาวชนมุสลิม และได้สอนอักษรอยามีด้วย เมื่อเจ้าอาณานิคมตะวันตกได้พัฒนาระบบการเขียนภาษาฮัวซาด้วยอักษระลตินหรือโบโก การใช้อักษรอยามีได้ลดลง และปัจจุบันใช้น้อยกว่าอักษรละติน แต่ยังใช้อยู่มากในงานทางด้านศาสนาอิสลาม การใช้อักษรอยามีกับภาษาอื่นในประเทศมุสลิมพบได้ทั่วไป", "title": "อักษรอยามี" }, { "docid": "71856#1", "text": "ภาษาซูเมอร์กับภาษาแอกแคดแตกต่างกันมาก ภาษาซูเมอร์เป็นภาษารูปคำติดต่อซึ่งไม่มีการผันคำแต่ใช้การเติมปัจจัยหรืออนุภาคเข้ามาทำให้คำกลายเป็นวลีที่มีความหมายซับซ้อนขึ้น ภาษาแอกแคดเป็นภาษาที่มีการผันคำจากรากศัพท์ เพื่อสร้างคำใหม่ที่ใกล้เคียงกับคำเดิมแต่ความหมายเปลี่ยนไป โดยทั่วไป ภาษาตระกูลเซมิติก (รวมทั้งภาษาแอกแคด) รากศัพท์จะเป็นลำดับของพยัญชนะ 3 ตัว การผันคำใช้การเติมเสียงสระเข้าไประหว่างพยัญชนะ หรือโดยการลงอาคมและวิภัติปัจจัย ตัวอย่างจากภาษาอาหรับ รากศัพท์ ktb แสดงแนวคิดของการเขียน เมื่อผันคำนี้จะได้คำที่หมายถึงการเขียนมากมายเช่น /kitāb/ \"หนังสือ\", /kutub/ \"หนังสือหลายเล่ม\", /kātib/ \"นักเขียน\", /kataba/ \"เขาเขียน\" และอื่นๆ ในขณะที่ภาษาซูเมอร์ การวางรูปอักษรต่อเนื่องกันเพื่อสร้างประโยคจึงทำได้แต่ภาษาแอกแคดไม่อาจใช้วิธีเดียวกันนี้เพื่อกำหนดความหมายของคำให้ถูกต้อง เพื่อสร้างแบบการผันคำ จึงกำหนดสัญลักษณ์บางตัวใช้แสดงเสียงของคำมากกว่าความหมายจึงทำให้อักษรแอกแคดเป็นอักษรพยางค์ ", "title": "อักษรแอกแคด" }, { "docid": "13276#2", "text": "ชื่อเรียกภาษานี้ คือ ปาลิ (อักษรโรมัน: Pāli) นั้น ไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงเรื่อยมาโดยไม่มีข้อสรุป เดิมเป็นภาษาของขนชั้นต่ำ สำหรับชาวพุทธโดยทั่วไปเชื่อว่า ภาษาบาลีมีกำเนิดจากแคว้นมคธ ในชมพูทวีป และเรียกว่าภาษามคธ หรือภาษามาคธี หรือมาคธิกโวหาร ซึ่ง \"มาคธิกโวหาร\" พระพุทธโฆสาจารย์พระอรรถกถาจารย์นามอุโฆษมีชีวิตอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 10 อธิบายว่าเป็น \"สกานิรุตติ\" คือภาษาที่พระพุทธเจ้าตรัส[1]", "title": "ภาษาบาลี" }, { "docid": "1938#95", "text": "[[ภาษาดี]]ทำคุณลักษณะหลายอย่างให้ต่างออกไปแต่ยังคงไว้ซึ่งวากยสัมพันธ์ทั่วไปของภาษาซี ไม่เหมือนภาษาซีพลัสพลัสที่แทบจะเข้ากันได้แบบย้อนหลังกับภาษาซี ภาษาดีละทิ้งคุณลักษณะจำนวนหนึ่งของภาษาซีออกไป เนื่องจาก[[วอลเตอร์ ไบรต์]] (Walter Bright) ผู้ออกแบบภาษาดี พิจารณาว่าไม่มีความจำเป็นต้องใช้คุณลักษณะเหล่านั้น รวมทั้งตัวประมวลผลก่อนและ[[ทวิอักษรและไตรอักษร (การเขียนโปรแกรม)|ไตรอักษร]] ส่วนขยายบางอย่างของภาษาดีไปยังภาษาซี ทับซ้อนกับส่วนขยายไปยังภาษาซีพลัสพลัส", "title": "ภาษาซี" }, { "docid": "11140#2", "text": "ตัวอักษรจีน เผยแพร่มาสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านหนังสือต่างๆ จากประเทศจีน หลักฐานอักษรจีนที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น คือ ตราประทับทองคำที่ได้รับจากฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในพ.ศ. 600 ชาวญี่ปุ่นเริ่มเรียนรู้ภาษาจีนโบราณด้วยตัวเองตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด เอกสารลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของญี่ปุ่นนั้น คือ หนังสือตอบกลับทางการทูตจากกษัตริย์ทั้งห้าแห่งวา (倭の五王 Wa no go-ō) (วา (倭,和 [Wa]) เป็นชื่อแรกของประเทศญี่ปุ่นที่ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์) ถึง ซุ่นฮ่องเต้ ((劉) 宋順帝) แห่งราชวงศ์หลิวซ่ง (劉宋) ของจีน ซึ่งเขียนขึ้นโดยชาวจีนที่อาศัยในประเทศญี่ปุ่น เมื่อพ.ศ. 1021 และได้รับการยกย่องว่าใช้สำนวนอุปมาอุปมัยได้อย่างยอดเยี่ยม ต่อมา จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นทรงก่อตั้งองค์กรที่เรียกว่า “ฟุฮิโตะ” ขึ้นเพื่ออ่านและเขียนภาษาจีนโบราณ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมา เอกสารภาษาจีนที่เขียนในญี่ปุ่นมักจะได้รับอิทธิพลจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแสดงว่าอักษรจีนได้รับการยอมรับโดยทั่วไปในญี่ปุ่น", "title": "คันจิ" }, { "docid": "2289#12", "text": "ภาษาเขมรเขียนด้วยอักษรเขมร และเลขเขมร (มีลักษณะเหมือนเลขไทย) ใช้กันทั่วไปมากกว่าเลขอารบิก ชาวเขมรได้รับตัวอักษรและตัวเลขจากอินเดียฝ่ายใต้ อักษรเขมรนั้นมีด้วยกัน 2แบบ ในสมัยก่อน มีผู้นิยมใช้อักษรเขมรเขียนภาษาไทย หรือภาษาบาลี ด้วย เรียกอักษรอย่างนี้ว่า อักษรขอมไทย", "title": "ภาษาเขมร" }, { "docid": "48815#1", "text": "ภาษาแอราเมอิกเป็นภาษาสำคัญภาษาหนึ่งของชาวยิว ปรากฏในม้วนหนังสือแห่งทะเลสาบเดดซี ยังคงใช้ในพิธีสวดของชุมชนชาวคริสต์ในซีเรีย เลบานอน และอิรัก ยังคงใช้พูดโดยคนกลุ่มเล็กๆในอิหร่าน อาร์มีเนีย จอร์เจีย ซีเรีย และอิรัก โดยทั่วไปปัจจุบันเขียนด้วยอักษรซีเรียค แต่สามารถเขียนด้วยอักษรละติน อักษรฮีบรู และอักษรซีริลลิกได้", "title": "ภาษาแอราเมอิก" }, { "docid": "71843#0", "text": "อักษรสินธุเป็นอักษรที่พบในเขตอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุซึ่งเป็นเป็นอารยธรรมแห่งแรกในเอเชียใต้ อารยธรรมนี้เจริญสูงสุดเมื่อราว 2,057 – 1,357 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งนักโบราณคดีเรียกว่ายุคฮารัปปัน บริเวณดังกล่าวรวมดินแดนของประเทศปากีสถานเกือบทั้งหมด บางส่วนของอินเดียไปจนถึงเดลฮีทางตะวันออก, บอมเบย์ทางใต้ และบางส่วนของอัฟกานิสถาน \nหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการเขียนในบริเวณนี้คือจารึกพบราว 2,000 ชิ้น แต่การถอดความทำได้ช้า เพราะ \nแนวคิดเกี่ยวกับภาษาที่เขียนด้วยอักษรสินธุมีหลายทฤษฎี \nโดยทั่วไปถ้าเป็นอักษรแทนหน่วยเสียงจะมีสัญลักษณ์ไม่เกิน 40 ตัว ระบบพยางค์เช่นอักษรไลเนียร์เอหรืออักษรเชอโรกี มีราว 40 -100 ตัว ถ้าเป็นระบบแทนคำมีมากกว่า 100 ตัว อักษรสินธุมีสัญลักษณ์ 400 ตัว โดยทั่วไปใช้ 200 ตัว จึงน่าเป็นอักษรคำ\nระบบตัวเลขของอักษรสินธุเป็นเลขฐาน 8 ซึ่งพบในภาษาดราวิเดียนโบราณก่อนเปลี่ยนเป็นเลขฐาน 10 เมื่อได้รับอิทธิพลจากอารยัน ระบบนี้จะนับตั้งแต่ 1 – 7 เลข 8 ใช้คำว่า จำนวน เลข 9 คือ มาก-1 และ 10 คือ มาก", "title": "อักษรสินธุ" }, { "docid": "35921#0", "text": "การถอดเสียง หรือ การทับศัพท์แบบถ่ายเสียง () เป็นระบบในการเขียนเสียงพูดของมนุษย์จากภาษาหนึ่ง เป็นเป็นระบบตัวอักษรในอีกภาษาหนึ่งตามกฎที่วางไว้ เพื่อให้คงเสียงของภาษาต้นฉบับ การถอดเสียงนี้จะแตกต่างกับการทับศัพท์แบบถอดอักษร ซึ่งเปลี่ยนระบบตัวอักษรจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง เพื่อให้คงรูปของตัวอักษรมากที่สุดที่เป็นไปได้ เช่นการถอดอักษรซีริลลิกเป็นอักษรละตินสำหรับภาษารัสเซีย (เช่นชื่อ \"เลนิน\" ในอักษรซีริลลิก Ленин และอักษรละติน Lenin) แม้กระนั้น การถอดเสียงและการถอดอักษรบางครั้งจะถูกใช้ผสมกันซึ่งพบได้ทั่วไปสำหรับการเขียนชื่อที่มาจากภาษาอื่น", "title": "การถอดเสียง" }, { "docid": "11292#14", "text": "ภาษาสันสกฤตไม่มีอักษรสำหรับเขียนชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ และก็คล้ายกับภาษาอื่นหลายภาษา นั่นคือสามารถเขียนได้ด้วยอักษรหลายชนิด อักษรเก่าแก่ที่ใช้เขียนภาษาสันสกฤตมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น อักษรขโรษฐี (Kharosthī) หรืออักษรคานธารี (Gāndhārī) นอกจากนี้ยังมีอักษรพราหมี (อักษรทั้งสองแบบพบได้ที่จารึกบนเสาอโศก) อักษรรัญชนา ซึ่งนิยมใช้จารึกคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในอินเดียเหนือและเนปาล รวมถึง อักษรสิทธัม ซึ่งใช้บันทึกคัมภีร์พุทธศาสนารวมถึงบทสวดภาษาสันสกฤตในประเทศจีนและญี่ปุ่นโดยเฉพาะในนิกายมนตรยาน อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปนิยมเขียนภาษาสันสกฤตด้วยอักษรเทวนาครี (Devanāgarī) ส่วนอักษรอื่น ๆ เป็นความนิยมในแต่ละท้องถิ่น ทั้งนี้เนื่องจากอักษรที่ใช้ในอินเดีย มักจะเป็นตระกูลเดียวกัน จึงสามารถดัดแปลงและถ่ายทอด (transliteration) ระหว่างชุดอักษรได้ง่าย", "title": "ภาษาสันสกฤต" }, { "docid": "307017#0", "text": "การแผลงเป็นอังกฤษ หรือ การถ่ายเสียงและถอดอักษรเป็นอังกฤษ () คือกระบวนการในการเปลี่ยนภาษาพูดหรือภาษาเขียนของภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ มาเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ในภาษาอังกฤษสำหรับผู้พูดภาษาอังกฤษ หรือโดยนัยทั่วไปคือ การเปลี่ยนคำในภาษาอื่นให้กลายเป็นคำในภาษาอังกฤษตามรูปแบบหรือตัวอักษร", "title": "การแผลงเป็นอังกฤษ" }, { "docid": "60453#3", "text": "ตัวอย่างประโยคภาษากัจฉิเทียบกับภาษาคุชราตได้แก่โดยทั่วไปภาษากัจฉิเขียนด้วยอักษรคุชราตดัดแปลง มีการตีพิมพ์หนังสือและวารสารจำนวนมากด้วยอักษรนี้ มีการเขียนด้วยอักษรเทวนาครีเช่นกัน ในอดีต ภาษากัจฉิเคยเขียนด้วยอักษรโขชกีที่เลิกใช้ไปแล้ว", "title": "ภาษากัจฉิ" }, { "docid": "35950#3", "text": "สำหรับภาษาบาลีที่เขียนด้วยอักษรโรมัน มีธรรมเนียมการทับศัพท์ ดังนี้สำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้ศึกษาภาษาบาลี อาจประสบปัญหาในการอ่านภาษาบาลีอักษรไทย ที่ทับศัพท์ตามแบบข้างต้น ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมใช้การทับศัพท์อย่างง่าย เพื่อความสะดวกในการอ่านสำหรับบุคคลทั่วไป โดยไม่ใช้พินทุ และเพิ่มวิสรรชนีย์", "title": "การเขียนคำทับศัพท์ภาษาบาลี" }, { "docid": "753719#0", "text": "อักษรสำหรับภาษาฟูลา เดิมภาษานี้เขียนด้วยอักษรอาหรับที่เรียกอักษรอยามี ก่อนจะเปลี่ยนมาเขียนด้วยอักษรละติน\nอักษรละตินเข้ามาในบริเวณที่มีผู้พูดภาษาฟูลาในแอฟริกากลางและตะวันตกโดยชาวยุโรปในช่วงก่อนหรือขณะที่มีการรุกราน ผู้คนที่หลากหลาย ทั้งมิชชันนารี ผู้บริหารอาณานิคม นักวิชาการได้พัฒนาวิธีการเขียนภาษาฟูลา สิ่งที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อรูปแบบการเขียนภาษาฟูลาในปัจจุบันคือ รูปแบบที่กำหนดโดยผู้บริหารอาณานิคมในไนจีเรียเหนือและอักษรสำหรับภาษาแอฟริกานส์ อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเขียนภาษาเหล่านี้ต่างกันไปในแต่ละประเทศด้วย\nกฏทั่วไป:\na, aa, b, mb, ɓ, c, d, nd, ɗ, e, ee, f, g, ng, h, i, ii, j, nj, k, l, m, n, ŋ, ñ, o, oo, p, r, s, t, u, uu, w, x, y, ƴ\na, b, ɓ, c, d, ɗ, e, f, g, h, i, j, k, l, m, mb, n, nd, ng, nj, ŋ, ñ, o, p, r, s, t, u, w, y, ƴ, '\na, aa, b, mb, ɓ, c, d, nd, ɗ, e, ee, f, g, ng, h, i, ii, j, nj, k, l, m, n, ŋ, ɲ, o, oo, p, r, s, t, u, uu, w, x, y, ƴ\na, aa, b, mb, ɓ, c, d, nd, ɗ, e, ee, f, g, ng, h, i, ii, j, nj, k, l, m, n, ŋ, ny, o, oo, p, r, s, t, u, uu, w, x, y, ƴ\nอักษรอาหรับเข้ามาในบริเวณแอฟริกาตะวันตกพร้อมกับศาสนาอิสลาม ก่อนที่ชาวยุโรปจะมาถึงและยึดครองเป็นอาณานิคม เช่นเดียวกับการเชียนภาษาฮัวซาด้วยอักษรอาหรับ มุสลิมชาวฟูลาที่เรียนเกี่ยวกับอัลกุรอ่านได้พัฒนาอักษรเหล่านี้มาเขียนภาษาของตน แต่ไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน แต่ละท้องถิ่นจะใช้ในรูปแบบของตนเอง ความแตกต่างจะอยู่ที่เสียงพยัญชนะและเสียงสระที่ไม่มีในภาษาอาหรับ\nในราว พ.ศ. 2532 สองพี่น้อง อีบราฮีมา บาร์รี และอับดูลาเย บาร์รี ได้ประดิษฐ์อักษรสำหรับเขียนภาษาฟูลา และปัจจุบันมีการใช้ในโรงเรียนในกินี ไนจีเรีย ไลบีเรียและประเทศข้างเคียง ชิ่ออัดลัมมาจากอักษรสี่ตัวแรกคือ A, D, L, M", "title": "อักษรสำหรับภาษาฟูลา" }, { "docid": "92257#7", "text": "ภาษามคธโดยทั่วไป เขียนด้วยอักษรเทวนาครี อักษรที่เคยใช้เขียนภาษานี้คืออักษรไกถิ แทบจะไม่ได้ใช้แล้วในปัจจุบัน วรรณกรรมพื้นบ้านภาษามคธ ส่วนใหญ่เป็นเพลงพื้นบ้านและมีวรรณกรรมในรูปแบบปัจจุบันอยู่บ้าง นิตยสารภาษามคธ Magadhi เริ่มตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2495 ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น Bihan หมายถึง วันพรุ่งนี้", "title": "ภาษามคธ" }, { "docid": "11296#13", "text": "ฃ ( ข๋ะ) ในภาษาไทยถิ่นเหนือยังคงมีการใช้กันอยู่ทั่วไป[5] แต่พบว่าในคัมภีร์ใบลาน ไม่ปรากฏอักษร ฃ บ่อยครั้งนัก เพราะตัวอักษร ฃ ยังไม่เด่นชัด คาดว่าน่าจะเป็นเพราะ ฃ สามารถใช้อักษร ข หรือ ขร แทนได้ โดยไม่ทำให้เสียงหรือความหมายต่างกันมากนัก และในการเขียนก็ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัวว่าศัพท์ใดจะต้องใช้อักษร ฃ จึงเห็นได้ชัดว่ามีการเขียนที่ใช้อักษร ฃ และ ข สลับกันในศัพท์เดียวกันหรือข้อความที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้น ในพจนานุกรมภาษาล้านนาจึงอาจบันทึกได้ว่าเคยปรากฏการใช้อักษร ฃ นี้ในฐานะพยัญชนะต้นของคำในอดีต แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้วเหมือนกับภาษาไทยกลาง", "title": "ฃ" }, { "docid": "666387#3", "text": "การใช้อักษรโรมันเพื่อจัดพิมพ์เสียงบาลีในพระไตรปิฎกบาลีทำให้เกิดความสะดวกและประสิทธิภาพในการพิมพ์พระไตรปิฎกในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นความพยายามในยุคแรก ๆ ของการศึกษาเสียงบาลีที่พิมพ์ด้วยอักษรโรมัน มิใช่เป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมการออกเสียงของชาติต่าง ๆ ในทวีปยุโรปที่ใช้อักษรโรมันในภาษาของตน เช่น การเขียนบาลีเป็นอักษรโรมันว่า me เป็นเสียงสระบาลีว่า [meː] มิใช่ออกเสียงว่า [miː] ในภาษาอังกฤษ เป็นต้น ดังนั้นเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้นในการออกเสียงบาลีที่เขียนด้วยอักษรโรมันในพระไตรปิฎก จึงมีความจำเป็นต้องใช้อักษรที่เป็นสากลและมีระบบการออกเสียงกลางที่นานาชาติยอมรับ ได้แก่ สัทอักษรสากล มากำกับการพิมพ์เสียงบาลีในพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมัน เพื่อให้ประชาชนชาวโลกทั่วไปสามารถออกเสียงบาลีได้ตรงกับที่สืบทอดมาในพระไตรปิฎก", "title": "ระบบการเขียนภาษาบาลี" }, { "docid": "752710#1", "text": "อักษรวาดาอัดจะไม่สามารถเข้าใจได้โดยชาวโซมาลีที่เรียนภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ในโรงเรียน ต่อมา ในราว พ.ศ. 2473 โซมาลิแลนด์ที่อยู่ภายใต้การอารักขาของอังกฤษ มูฮัมหมัด อับดี มากาฮีอิล ได้พยายามปรับมาตรฐานอีกครั้ง ต่อมาในราว พ.ศ. 2493 นักภาษาศาสตร์ชาวโซมาลี มูซา ฮายี อิสมาอิล ฆาลาล ได้เสนอการปรับปรุงอักษรอาหรับเพื่อเขียนภาษาโซมาลี โดยเพิ่มสัญลักษณ์ที่เรียกว่าสระโซมาลี ซึ่งถือว่าใช้ออกเสียงภาษาโซมาลีได้ใกล้เคียงที่สุด\nอักษรวาดาอัดที่ใช้สำหรับเขียนภาษาโซมาลีไม่ใช่อักษรแบบเดียว แต่มีการประดิษฐ์ในท้องถิ่นหลายแบบ บางครั้งอักษรตัวเดียวกันแต่ออกเสียงไม่เหมือนกัน รูปแบบต่อไปนี้เป็นรูปแบบที่ใช้โดยทั่วไป", "title": "อักษรวาดาอัด" }, { "docid": "339771#3", "text": "เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าพระเยซูประสูติเป็นชาวยิวและเติบโตขึ้นในครอบครัวชาวยิวในกาลิลี ในช่วงเวลาดังกล่าว ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาของชาวยิวภาษาหนึ่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการที่จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่รุกรานอาณาจักรทางเหนือเมื่อ 179 ปีก่อนพุทธศักราช และการรุกรานอาณาจักรยูดาห์ของบาบิโลเนียเมื่อ 43 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งทำให้เกิดภาษาอราเมอิกสำเนียงตะวันตก และเป็นรูปแบบมาตรฐานของภาษาอราเมอิกที่เคยเป็นภาษาพูดในดามัสกัส และมีศัพท์ภาษาฮีบรูเข้าไปผสมเป็นจำนวนมากเมื่อใช้พูดในหมู่ชาวยิว แต่ก็ยังมีชาวยิวบางส่วนใช้ภาษาฮีบรูเป็นภาษาแรกจนถึงราว พ.ศ. 843 ซึ่งยุคนั้นเป็นยุคที่เริ่มเขียนไบเบิลภาษาฮีบรู ในยุคมหาวิหารครั้งที่สองและอื่นๆ บางส่นของไบเบิลภาษาฮีบรูได้นำมาเขียนไว้ในไบเบิลภาษาอราเมอิกด้วย และเริ่มใช้อักษรทรงเหลี่ยมที่ได้รับอิทธิพลมาจากอักษรอราเมอิก ต่างจากการการเขียนในยุคคลาสสิก (เช่นยุคมหาวิหารครั้งที่ 1) เช่น จารึกโซโลมอนที่ใช้อักษรปาเลียว-ฮีบรู ในยุคนี้มีตาร์คุมซึ่งเป็นการแปลไบเบิลภาษาฮีบรูเป็นภาษาอราเมอิก", "title": "ภาษาอราเมอิกพระเยซู" }, { "docid": "17593#1", "text": "คำว่า \"คุโนะอิจิ\" มาจากภาษาญี่ปุ่นเขียนด้วยตัวอักษรคันจิคำว่า ผู้หญิง (女) โดยเรียงตามลำดับการเขียนว่า คุ (く) โนะ (ノ) และ อิจิ (一) โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า คำว่าคุโนะอิจิ ใช้ตัวอักษรคนละระบบในการเขียน โดย คุ เป็นตัวอักษรฮิรางานะ โนะ เป็นตัวอักษรคะตาคะนะ และ อิจิ เป็นตัวอักษรคันจิ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ในคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นทั่วไปจะไม่มีการใช้ตัวอักษร 3 ระบบเขียนพร้อมกันในคำๆเดียว", "title": "คุโนะอิชิ" }, { "docid": "183290#0", "text": "อักขรวิธี หมายถึงวิธีการเขียนและการใช้ระบบการเขียนของภาษาหนึ่งๆ ให้ถูกต้อง (ซึ่งภาษาหนึ่งๆ อาจมีระบบการเขียนมากกว่าหนึ่งแบบก็ได้ เช่นภาษาเคิร์ด) อักขรวิธีเป็นสิ่งที่นิยามหรืออธิบายถึงกลุ่มของสัญลักษณ์ที่ใช้ (คืออักษรหรือเครื่องหมายเสริมอักษรเป็นต้น) และกฎเกณฑ์ที่ว่าจะเรียบเรียงสัญลักษณ์เหล่านั้นอย่างไร กฎเกณฑ์เหล่านั้นอาจมีเรื่องของเครื่องหมายวรรคตอน การสะกดคำ และการขึ้นต้นอักษรตัวใหญ่เข้ามาประกอบด้วย ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาษา บุคคลทั่วไปมักเข้าใจว่าอักขรวิธีเป็นเรื่องของการสะกดคำเพียงอย่างเดียว ความจริงคือการสะกดคำเป็นส่วนหนึ่งของอักขรวิธีเท่านั้น", "title": "อักขรวิธี" }, { "docid": "50181#6", "text": "สำเนียงที่ถือเป็นมาตรฐานของภาษาคุชราตคือสำเนียงที่ใช้พูดในบริเวณพโรทะจนถึงอะห์เมดาบัดและทางเหนือ. สำเนียงอื่นๆของภาษาคุชราตได้แก่\nภาษากุจจิหรือภาษากัจฉิหรือภาษาโขชกีเป็นภาษาที่มักจะถูกกล่าวถึงว่าเป็นสำเนียงของภาษาคุชราต แต่นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่กล่าวว่าภาษานี้ใกล้เคียงกับภาษาสินธี\nเขียนด้วยอักษรคุชราตซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรเทวนาครี ต่างกันแต่อักษรคุชราตไม่มีเส้นขีดด้านบนของอักษร ภาษากัจฉิเขียนด้วยอักษรคุชราตด้วยเช่นกัน และทั้งสองภาษานี้เคยเขียนด้วยอักษรอาหรับแบบเปอร์เซียด้วย\nโดยทั่วไป ภาษากลุ่มอินโด-อารยันสมัยใหม่แบ่งคำศัพท์โดยทั่วไปเป็น 3 กลุ่มคือ ตัตสัม ตัคภัพ และคำยืม\nภาษาคุชราตเป็นภาษากลุ่มอินโดอารยันสมัยใหม่ที่เป็นลูกหลานของภาษาศัพท์ในหมวดนี้เกี่ยวข้องกับภาษาสันสกฤต เป็นศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และศัพท์ทางศาสนา\nเมื่อเลิกใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาพูด และเปลี่ยนมาสู่ยุคของภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลาง มีการจัดมาตรฐานให้เป็นภาษาเขียนและภาษาสำหรับศาสนาในยุคนั้น ศัพท์ในหมวดนี้จึงเป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤตในรูปแบบที่เป็นทางการ ศัพท์เทคนิค มีการผันคำและใช้เครื่องหมายตามแบบภาษาสันสกฤต ตัตสัมโบราณบางคำมีการเปลี่ยนความหมายไปในภาษาสมัยใหม่ ตัวอย่างเช่น ปรสาระหมายถึงการแพร่ ทำให้กระจาย แต่ในปัจจุบันหมายถึงการออกอากาศ คำบางคำเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่เช่น โทรศัพท์ ในภาษาคุชราตใช้ว่า\"ทุรภาษ\" หมายถึงการพูดในระยะไกล แต่ชาวคุชราตมักใช้ว่า โฟนมากกว่า\nนอกจากศัพท์ที่มาจากภาษาสันสกฤตแล้ว ยังมีศัพท์ที่มาจากภาษาอื่นๆที่มาเป็นคำยืมในภาษาคุชราต ได้แก่ ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ และมีบางส่วนมาจากภาษาโปรตุเกสและภาษาคำยืมจากภาษาอังกฤษจัดว่าใหม่ที่สุด ส่วนคำยืมจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า คำศัพท์จากทั้งสามภาษานี้จัดว่ามีความสำคัญและใช้เป็นศัพท์ทั่วไป ควบคู่กับตัตสัม\nประเทศอินเดียเคยถูกปกครองด้วยมุสลิมที่พูดภาษาเปอร์เซียเป็นเวลานาน ทำให้ภาษาในประเทศอินเดียมีการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งภาษาคุชราต โดยรับคำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียเข้ามามาก ตัวอย่างเช่น การใช้คำสันธาน ke ที่มาจากภาษาเปอร์เซีย เมื่อเวลาผ่านไป คำเหล่านี้ถูกทำให้มีลักษณะของภาษาคุชราตมากขึ้น โดยทุกคำมีเครื่องหมายเพศตามแบบภาษาคุชราต", "title": "ภาษาคุชราต" }, { "docid": "52232#7", "text": "โดยทั่วไปเขียนด้วยอักษรจีนแบบเดียวกับภาษาจีนกลางแต่อ่านออกเสียงแบบภาษาจีนกวางตุ้ง มีการพัฒนาระบบการเขียนของภาษาจีนกวางตุ้งโดยเฉพาะในฮ่องกง มีการใช้อักษรที่แปลกไปจากภาษาจีนกลาง", "title": "ภาษาจีนกวางตุ้ง" }, { "docid": "495919#0", "text": "อักษรอูรดู เป็นระบบการเขียนที่เขียนจากขวาไปซ้าย ใช้เขียนภาษาอูรดู โดยปรับปรุงมาจากอักษรเปอร์เซีย ที่พัฒนามาจากอักษรอาหรับ มีอักษร 38 ตัว อักษรอูรดูจะนิยมเขียนแบบ นาสตาลิกในขณะที่ อักษรอาหรับโดยทั่วไปจะเขียนแบบ นาสค์ \nโดยทั่วไป การถอดอักษรอูรดูมาเป็นอักษรโรมัน จะขาดหน่วยเสียงที่ไม่มีในภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นๆที่เขียนด้วยอักษรละติน สถาบันภาษาแห่งชาติ แห่ง ปากีสถาน ได้พัฒนาระบบสำหรับเสียงที่ไม่พบในภาษาอังกฤษ แต่จะเหมาะสมกับผู้ที่รู้ภาษาอูรดู ภาษาอาหรับหรือภาษาเปอร์เซียมากกว่า \nประเทศที่มีผู้พูดภาษาอูรดูได้แก่:\nอัฟกานิสถาน, บาห์เรน, บังกลาเทศ, บอตสวานา, ฟิจิ, เยอรมัน, กายอานา, อินเดีย, มาลาวี, มอริเชียส, เนปาล, นอร์เวย์, โอมาน, กาตาร์, ซาอุดิอาระเบีย, แอฟริกาใต้, ไทย, สหรัฐอาหรับ, สหราชอาณาจักรและแซมเบีย\nภาษาอูรดูได้แยกต่างหากออกจาก ภาษาฮินดูสตานีหลังการแบ่งแยกอินเดีย ความแตกต่างที่สำคัญคือมีอิทธิพลของภาษาเปอร์เซียที่เป็นภาษาราชการในสมัยราชวงศ์โมกุลมาก และเป็นภาษากลางก่อนการเข้ามาของอังกฤษ อักษรมาตรฐานสำหรับภาษาอูรดูดัดแปลงมาจากอักษรเปอร์เซียเพื่อให้เหมาะสมกับการออกเสียงของภาษาฮินดูสตานี ", "title": "อักษรอูรดู" }, { "docid": "132094#2", "text": "ชาวไทใหญ่มีอักษรใช้ 2 ชนิดคือ ลิ่กถั่วงอกใช้เขียนเอกสารทั่วไปกับลิ่กยวนใช้เขียนเอกสารทางศาสนา อักษรไทใหญ่ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ นักประวัติศาสตร์พม่าเชื่อว่ารับมาจากพม่า ในขณะที่ชาวไทใหญ่เชื่อว่าพัฒนามาจากอักษรเทวนาครี และอักษรมอญ โดยอักษร \"อ\" ของอักษรไทใหญ่ มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนอักษรชนิดใดเลย แต่คล้ายกับตัว\"อ\" ของอักษรมอญในจารึกภาษามอญที่เจดีย์ปีชเวชานดอ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 โดยทั่วไป ทฤษฎีที่อธิบายที่มาของอักษรไทใหญ่เป็นดังนี้\nอักษรของชาวไทเหนือในเขตใต้คงเป็นตัวเหลี่ยมหรือลิ่กถั่วงอก มีหลักฐานว่าในสมัยราชวงศ์หมิง มีการตั้งสำนักงานหยีสี่เป้าเพื่อแปลเอกสารที่เขียนด้วยภาษาไทเหนือ แสดงว่าชาวไทใหญ่มีอักษรเป็นของตนเองมานาน", "title": "อักษรไทใหญ่" } ]
186
อำเภอกาญจนดิษฐ์ตั้งอยู่ในจังหวัดอะไรของไทย?
[ { "docid": "61340#1", "text": "ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนทอง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 บ้านหนองจิก ตำบลตะเคียนทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอ ห่างจากที่ว่าการอำเภอกาญจนดิษฐ์ประมาณ 3 กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 12 กิโลเมตรตามเส้นทางคมนาคม ตำบลตะเคียนทองมีเนื้อทั้งหมดโดยประมาณ 27.80 ตารางกิโลเมตร หรือ 17,375 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลและอำเภออื่นๆ ดังนี้ \nพื้นที่ตำบลตะเคียนทองประมาณ มากกว่าร้อยละ 70 เป็นสภาพพื้นที่ราบชายฝั่งทะเล มีลำคลองกะแดะแจะ ไหลผ่านพื้นที่ตอนกลางค่อนไปทางตะวันตก ส่วนพื้นที่มีสภาพราบเรียบ ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของตำบลมีคูคลองหลายสายกระจายอยู่ทั่วไป คูคลองเหล่านี้มีทั้งที่เกิดขึ้นเอง และสร้างขึ้น คลองที่สำคัญ เช่น คลองกะแดะแจะ คลองเฉงอะ เป็นต้น", "title": "ตำบลตะเคียนทอง (อำเภอกาญจนดิษฐ์)" }, { "docid": "19251#1", "text": "กาญจนดิษฐ์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี", "title": "อำเภอกาญจนดิษฐ์" }, { "docid": "61344#1", "text": "องค์การบริหารส่วนตำบลพลายวาส ตั้งอยู่ในตำบลพลายวาส อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี พื้นที่ส่วนหนึ่งติดต่อกับเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ และห่างจากเทศบาลนครสุราษฏร์ธานีประมาณ 18 กม. ตามเส้นทางการคมนาคม โดยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ดังนี้", "title": "ตำบลพลายวาส" }, { "docid": "48133#0", "text": "อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็นมีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอบ้านนาสาร และ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบชื้น มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด และมีจุดเด่นตามธรรมชาติที่สวยงาม เช่น หน้าผา ถ้ำ น้ำตก ตลอดจนมีหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์การสู้รบที่เหลืออยู่ เช่น ค่าย บังเกอร์ อุโมงค์ มีเนื้อที่ประมาณ 265,625 ไร่ หรือ 425 ตารางกิโลเมตร ได้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2534 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 73 ของประเทศไทย", "title": "อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น" } ]
[ { "docid": "19251#2", "text": "อำเภอกาญจนดิษฐ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้", "title": "อำเภอกาญจนดิษฐ์" }, { "docid": "61340#0", "text": "ตำบลตะเคียนทอง เป็นตำบลในอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี", "title": "ตำบลตะเคียนทอง (อำเภอกาญจนดิษฐ์)" }, { "docid": "19251#3", "text": "อำเภอกาญจนดิษฐ์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 ตำบล 117 หมู่บ้าน ได้แก่\nท้องที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่", "title": "อำเภอกาญจนดิษฐ์" }, { "docid": "37663#2", "text": "ไทยเจริญเป็นอำเภอลำดับที่ 9 ของจังหวัดยโสธร และเป็นลำดับที่ 774 ของประเทศไทย ได้รับการจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอไทยเจริญ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยแยกพื้นที่ตำบลคำเตย ส้มผ่อ น้ำคำ คำไผ่ และไทยเจริญออกมาจากอำเภอเลิงนกทา ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 จึงได้ยกฐานะเป็น อำเภอไทยเจริญ ปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองเป็น 5 ตำบล 48 หมู่บ้าน", "title": "อำเภอไทยเจริญ" }, { "docid": "19251#0", "text": "อำเภอกาญจนดิษฐ์มีความเป็นมาคือ", "title": "อำเภอกาญจนดิษฐ์" }, { "docid": "36107#7", "text": "ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขาพระวิหาร มีเนื้อที่ประมาณ 130 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัดคือ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอน้ำขุ่น กับอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2541\nสภาพภูมิประเทศทั่วไปส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาตามแนวทิวเขาพนมดงรักกั้นชายแดนไทย-กัมพูชา พื้นที่ปกคลุมด้วยป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าจำนวนมากที่อาศัยหากินข้ามไปมาในผืนป่าระหว่างสองประเทศได้แก่ หมูป่า กวาง เก้ง กระต่าย กระรอก ชะนี ชะมด เป็นต้น อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารยังมีแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้", "title": "อำเภอกันทรลักษ์" } ]
1713
คอมพิวเตอร์ มีชื่อภาษาไทยว่าอย่างไร?
[ { "docid": "3532#0", "text": "คอมพิวเตอร์ (English: computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์[2][3] เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย", "title": "คอมพิวเตอร์" } ]
[ { "docid": "12289#8", "text": "ระดับปริญญาตรีระดับปริญญาโทระดับปริญญาเอก หลักสูตรภาษาไทย วิทยาลัยบริหารธุรกิจเชิงนวัตกรรมและการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต - การเงิน เทคโนโลยีการเงินและการลงทุน - การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน - การตลาดยุคดิจิทัล - การจัดการและการเป็นผู้ประกอบการดิจิทัล - ธุรกิจระหว่างประเทศ - การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต - บัญชี หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต - การวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต - วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ - วิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ - วิศวกรรมหุ่นยนต์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต - ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ - เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการโฆษณา สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ สาขาวิชาวารสารศาสตร์ สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด สาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ สาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาวิชาการท่องเที่ยว สาขาวิชาการโรงแรม สาขาวิชาธุรกิจการบิน คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาบูรณาการสุขภาพและความงาม คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาศิลปะการแสดงประยุกต์ สาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายใน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก สาขาวิชาการออกแบบและธุรกิจแฟชั่น คณะรัฐประศาสนศาสตร์ หลักสูตรภาคค่ำ คณะบริหารธุรกิจ คณะการบัญชี คณะนิเทศศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรภาษาไทย หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาธุรกิจอาเซียน หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสน์ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต:สาขาวิชาการจัดการการศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต:สาขาหลักสูตรและการสอน หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิศวกรรมเว็บ สาขาวิชาการจัดการโทรคมนาคม สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีอาคาร สาขาวิชาการจัดการโซ่อุปทานแบบบูรณาการ สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร สาขาวิชาการจัดการความรู้ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับวิสาหกิจสมัยใหม่ สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม หลักสูตรศิลปศาสตรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว หลักสูตรปริญญาเอก หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ขึ้นตรงกับคณะนิติศาสตร์) หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ", "title": "มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์" }, { "docid": "70453#1", "text": "Zhe เป็นอักษรตัวที่ 7 ของภาษาบัลแกเรีย เป็นอักษรตัวที่ 8 ของภาษาเบลารุส ภาษามาซิโดเนีย ภาษารัสเซีย และภาษาเซอร์เบีย และเป็นอักษรตัวที่ 9 ของภาษายูเครน อักษรตัวนี้ยังใช้ในกลุ่มภาษาอื่นที่ไม่ใช่สลาวิกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งออกเสียงเป็น หรือ ในอักษรซีริลลิกโบราณ Ж เป็นอักษรตัวที่ 7 มีชื่อเดิมคือ \"živěte\" แต่ไม่มีค่าของเลขซีริลลิก\nปัจจุบันยังไม่ทราบว่าอักษรนี้มีพัฒนาการมาอย่างไร เนื่องจากไม่มีอักษรกรีก หรืออักษรละติน หรืออักษรในภาษาอื่นที่คล้ายกันเลย แม้ว่าจะมีอักษรกลาโกลิต Zhivete ในสมัยก่อนที่ใช้แทนเสียง และมีรูปร่างคล้ายกันก็ตาม (รูปภาพ: ) อย่างไรก็ตาม จุดกำเนิดของ Zhivete นั้นยังคลุมเครือเหมือนอักษรกลาโกลิตอื่นๆ ความเป็นไปได้อย่างหนึ่งคือ อักษร Zhe อาจประกอบด้วยอักษรฮีบรู Shin (ש) สองอันต่อกันโดยที่ส่วนล่างกลับหัว ซึ่งอักษรฮีบรูตัวนี้เป็นต้นกำเนิดของ Sha (Ш, ш) อยู่แล้ว", "title": "Ж" }, { "docid": "41060#5", "text": "ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2501 จนถึงปี พ.ศ. 2535 คณะวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 14 ภาควิชา จัดตั้งเรียงตามลำดับดังนี้ กายวิภาคศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ภาษาต่างประเทศ จุลชีววิทยา ชีวเคมี สรีรวิทยา ฟิสิกส์ เภสัชวิทยา พยาธิชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และพฤกษศาสตร์ แต่ปัจจุบันประกอบด้วย 12 ภาควิชา เนื่องจากในปี พ.ศ. 2549 ภาควิชาภาษาต่างประเทศ ได้ขยายขอบข่ายของงานไปก่อตั้งเป็นคณะศิลปศาสตร์ และในปี พ.ศ. 2552 ภาควิชาคอมพิวเตอร์ และสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รวมส่วนงานและก่อตั้งเป็นคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนับตั้งแต่ก่อตั้งคณะฯ เมื่อปี พ.ศ. 2501 มาจนถึงปัจจุบัน มีคณาจารย์ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ โดยได้รับรางวัลดีเด่นด้านการสอนและการวิจัยทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เป็นจำนวนมาก อาทิ รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น จำนวน 10 ท่าน รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 7 ท่าน รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ จากที่ประชุมประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) จำนวน 4 ท่าน รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นจำนวน 5 ท่าน รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จำนวน 13 ท่าน รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ จำนวน 1 ท่าน รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จำนวน 6 ท่าน เป็นต้น โดยศิษย์เก่าและคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง เช่น", "title": "คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" }, { "docid": "11735#10", "text": "อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ลักษณนาม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ ภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมและสารานุกรมซึ่งบัญญัติและอธิบายศัพท์วิชาการสาขาต่าง ๆ เป็นภาษาไทย เช่น ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ศัพท์รัฐศาสตร์ ศัพท์นิติศาสตร์ ศัพท์สังคมวิทยา ศัพท์ปรัชญา ศัพท์จิตวิทยา ศัพท์คณิตศาสตร์ ศัพท์วิทยาศาสตร์ ศัพท์วิศวกรรมเครื่องกล ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ศัพท์ธรณีวิทยา ศัพท์ภูมิศาสตร์ ศัพท์ภาษาศาสตร์ ศัพท์สถาปัตยกรรมศาสตร์ ศัพท์ศิลปะ ศัพท์วรรณกรรมไทย ศัพท์ดนตรีไทย ศัพท์ดนตรีสากล ศัพท์การกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นต้น พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมท้องถิ่นไทย ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทยและสารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ ภูมิภาคเอเชีย ภูมิภาคยุโรป และภูมิภาคอเมริกา อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทยและพจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากล อักขรานุกรมวิธานพืชและอนุกรมวิธานสัตว์ พจนานุกรมคำใหม่และพจนานุกรมศัพท์ต่างประเทศที่ใช้คำไทยแทนได้ คู่มือระบบเขียนภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เป็นอักษรไทย เช่น ภาษาชอง ภาษาเขมรถิ่นไทย ภาษาเลอเวือะ ภาษาญัฮกุร เป็นต้น ฯลฯ", "title": "สำนักงานราชบัณฑิตยสภา" }, { "docid": "187310#3", "text": "โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย มีชื่อเดิมว่าโครงการอินเทอร์เน็ตในโรงเรียน ริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2538 โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งในปีนั้นเป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย โดยจัดทำเป็นโครงการนำร่องในปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย เพื่อให้เกิดการนำนโยบายIT2000 ไปสู่ภาคปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อเริ่มนำร่องพัฒนาบุคลากรในระดับโรงเรียนให้มีความรู้ความสามารถด้านไอที", "title": "เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย" }, { "docid": "33955#0", "text": "ระบบชนิดตัวแปร ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ กำหนดว่าในภาษาโปรแกรมแบ่งค่าและตัวแปรออกเป็นชนิดอย่างไร ภาษาโปรแกรมจัดการกับตัวแปรและค่าชนิดต่างๆ อย่างไร และตัวแปรและค่าแต่ละชนิดสัมพันธ์กันอย่างไร ชนิดบ่งบอกกลุ่มของค่าที่มีชนิดเหมือนกันและมีจุดประสงค์ในการนำไปใช้เหมือนกัน", "title": "ระบบชนิดข้อมูล" }, { "docid": "16961#2", "text": "ในประเทศไทยคัมภีร์อัลกุรอานได้รับการแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกโดยท่านอดีตจุฬาราชมนตรีต่วน สุวรรณศาสตร์ ซึ่งเป็นการแปลและอธิบายความหมายพร้อมๆกัน จึงทำให้ผู้อ่านไม่ทราบว่าแม่บทในภาษาอาหรับเป็นอย่างไร ในกลางคริสต์ทศวรรษที่ 70 นายดิเรก กุลสิริสวัสดิ์ ได้เป็นบรรณาธิการจัดพิมพ์ความหมายอัลกุรอานที่แปลมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ซึ่งครูอิสมาอีล อะหมัด ปากพยูน เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการแปลครั้งนี้", "title": "ตัฟซีร" }, { "docid": "19337#43", "text": "ป.1 - ม.3 \nเรียนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เสริมทักษะด้านภาษาโดยบูรณาการการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ใน 5 วิชา ได้แก่ วิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา และคอมพิวเตอร์ มีครูไทยสอนคู่กับครูต่างชาติเพื่อเพิ่มความเข้มข้นด้านภาษาอังกฤษให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะครบทั้ง 4 ทักษะ ได้แก่ ฟัง พูด อ่าน เขียน นอกจากนั้นโรงเรียนได้ส่งเสริมทักษะภาษาจีนให้แก่นักเรียนอีกด้วยโดยนักเรียนจะได้เรียนภาษาจีน 2 คาบต่อสัมดาห์ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น \nม.4 - ม.6\nจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เสริมทักษะด้านภาษา โดยบูรณาการการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษใน 5 รายวิชา ได้แก่ วิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา และคอมพิวเตอร์ โดยมีครูต่างชาติสอนคู่กับครูไทย แบ่งแผนการเรียนตามความถนัดของนักเรียน ดังนี้\n โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีได้เข้าร่วมกับสถาบันสอนภาษา The Bell Educational Trust ประเทศอังกฤษ จัดการเรียนการสอนโดยครูต่างชาติที่เป็น Native Speaker ที่มีความเชี่ยวชาญในการสอนภาษาอังกฤษสำหรับคนต่างชาติ ด้วยการจัดนักเรียนเป็นกลุ่มย่อยกลุ่มละ 15-20 คน ต่อครู 1 คน มีการวัดมาตรฐานการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษโดยการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษตามมาตรฐานของ Cambridge ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลก นอกจากนั้นยังเสริมทักษะภาษาอังกฤษโดยบูรณาการวิชาภาษาอังกฤษกับวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา และคอมพิวเตอร์ โดยมีครูไทยสอนร่วมกับครูต่างชาติ นักเรียนแผน IEP-Bell ป.1-ป.6 เรียนภาษาอังกฤษกับ Native Speaker 3 คาบต่อสัปดาห์ และภาษาจีน 2 คาบต่อสัปดาห์ / นักเรียน ม.1-ม.3 เรียนภาษาอังกฤษกับ Native Speaker 5 คาบต่อสัปดาห์ (ไม่มีเรียนภาษาจีน)", "title": "โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี" }, { "docid": "12910#5", "text": "ในการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย อักษรโรมันหลายตัวสามารถถอดด้วยอักษรไทยแบบหนึ่งต่อหนึ่ง เช่น d=ด, r=ร, l=ล, f=ฟ เป็นต้น และสามารถแปลงกลับได้ตัวเดิม แต่ก็มีอักษรโรมันบางตัวที่สามารถอ่านได้หลายเสียงในภาษาอังกฤษ หรือไม่มีเสียงที่เหมือนกันในอักษรไทย ส่วนนี้จึงต้องใช้การถอดเสียงเข้าช่วย โดยเฉพาะกับอักษรที่เป็นสระ เช่น a อาจเทียบเท่ากับเสียง เออะ อะ อา เอ แอ ออ หรือทวิอักษร th ที่ออกเสียงเป็น ก็ต้องดูว่าต้นฉบับอ่านอย่างไรจึงจะสามารถทับศัพท์ได้ใกล้เคียงที่สุด ส่วนนี้จึงมักจะเป็นปัญหาอันเนื่องจากแต่ละคนอ่านไม่เหมือนกันหรืออ่านด้วยต่างสำเนียง ตัวอย่างเช่น \"tube\" ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันอ่านว่า จึงทับศัพท์ว่า \"ทูบ\" ส่วนภาษาอังกฤษแบบบริเตนอ่านว่า จึงทับศัพท์ว่า \"ทิวบ์\" หรือในกรณีที่ยึดถือหลักการทับศัพท์ต่างกัน เช่น \"theta\" อาจทับศัพท์เป็น \"ทีตา, ธีตา, เธตา, ซีตา, เซตา\" ซึ่งเป็นการทับศัพท์ตามใจและไม่มีหลักที่แน่นอน อย่างไรก็ตาม คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษบางคำก็ได้รับการบรรจุลงในพจนานุกรมภาษาไทย เพื่อกำหนดการสะกดคำในภาษาให้ตรงตามพจนานุกรมอย่างถาวร และถือว่าเป็นคำยืมในภาษาไทย", "title": "การทับศัพท์" }, { "docid": "1947#13", "text": "ต่อมาในปี ค.ศ. 1492 เอลิโอ อันโตนิโอ เด เนบริฆา ได้แต่งตำราอธิบายโครงสร้าง คำศัพท์ และวิธีการสอนภาษากัสติยาที่เมืองซาลามังกา มีชื่อว่า ไวยากรณ์ภาษากัสติยา () นับว่าเป็นตำราไวยากรณ์ภาษาแรกในยุโรป เกร็ดที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่งมีอยู่ว่า เมื่อเนบรีคาเสนอตำราดังกล่าวแด่สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 พระองค์มีพระราชดำรัสถามว่าผลงานชิ้นนี้มีประโยชน์อย่างไร เขาได้ทูลตอบว่า ภาษาถือเป็นเครื่องมือของจักรวรรดิ", "title": "ภาษาสเปน" }, { "docid": "4797#0", "text": "การแปลด้วยเครื่อง () เป็นศาสตร์ย่อยของภาษาศาสตร์เชิงคำนวณที่เกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แปลข้อความหรือคำพูดภาษาธรรมชาติภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น การใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แปลข้อความภาษาไทย ไปเป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น ในระดับพื้นฐาน การแปลด้วยเครื่องทำได้โดยการแทนที่คำในภาษาหนึ่งด้วยคำในอีกภาษาหนึ่ง (การแปลคำต่อคำ) อย่างไรก็ตามการแปลภาษาโดยใช้การแทนที่คำอย่างง่ายไม่เพียงพอต่อการแปลภาษาให้ถูกต้อง เพราะภาษามีความคลุมเครือ ยกตัวอย่างเช่น คำว่า bank ในภาษาอังกฤษมีความเป็นไปได้ที่จะแปลเป็นคำภาษาไทย ได้ทั้งคำว่า \"ธนาคาร\" และ \"ตลิ่ง\" เป็นต้น นอกจากนั้นภาษายังแตกต่างกันในเรื่องสำนวนและไวยากรณ์ ยกตัวอย่างเช่น \"il fait froid\" ในภาษาฝรั่งเศส แปลว่า \"อากาศหนาว\" ในภาษาไทย แต่ถ้าหากแปลคำต่อคำจะแปลว่า \"มันทำหนาว\" เป็นต้น เนื่องจากการแปลด้วยการแทนที่คำอย่างง่ายมีข้อจำกัด จึงมีการใช้เทคนิคการแปลด้วยเครื่องต่างๆ เช่น การเรียนรู้การแปลอัตโนมัติจากคลังข้อความขนาน และการวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์ เป็นต้น", "title": "การแปลด้วยเครื่อง" }, { "docid": "520024#0", "text": "ในประเทศไทย มีหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ขึ้นครั้งแรก ในภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย \nโดยได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2518 เพื่อจัดดำเนินการด้านการเรียน และการสอนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อันจะช่วยให้การสอนของอาจารย์ และการวิจัยของข้าราชการของมหาวิทยาลัย มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ตลอดจนสร้างโปรแกรม ทำโครงการพัฒนาระบบการใช้งานภาษาไทย และสร้างระบบคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ รวมถึงจัดอบรมวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ในระดับทั่วไป โดยมีรากฐานจาก\"หน่วยคอมพิวเตอร์ไซแอนส์\" (Computer Science หรือหลักสูตรวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน) ซึ่งทำการสอนวิชาด้านคอมพิวเตอร์ให้แก่นิสิตปริญญาตรีในคณะต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้เปิดหลักสูตรการศึกษาชั้นประกาศนียบัตรทางด้านคอมพิวเตอร์ไซแอนส์ (ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ กพ. ให้การรับรอง) ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ซึ่งก็มีผู้สนใจเข้าเรียนจนจบ และได้ประกาศนียบัตรไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมา เนื่องจากสังกัดอยู่กับบัณฑิตวิทยาลัย หน่วยคอมพิวเตอร์ไซแอนส์จึงได้เปิดหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศาสตร์ (วท.ม) ขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยรับนิสิตปริญญาโทจากผู้ที่จบปริญญาตรีสาขาวิชาต่าง ๆ เกือบทุกสาขาวิชา และยังพิจารณาที่จะช่วยเหลือการศึกษาด้านนี้แก่มหาวิทยาลัยอื่น ๆ อีกด้วย", "title": "วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย" }, { "docid": "199501#1", "text": "นอกเหนือไปจากภารกิจช่วงที่สำคัญต่อชีวิต ในฐานะผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นเวลา 8 ปี แล้ว กล่าวได้ว่า ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล มีผลงานหลักในกลุ่มของการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลายกลุ่ม เช่น กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาระบบภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์ การพัฒนาและผลักดันมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการริเริ่มสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยร่วมกับบุคคลสำคัญอีกหลายท่าน โดยเริ่มจากการก่อตั้งเครือข่ายไทยสาร โครงการสคูลเน็ต (School Net) เครือข่ายกาญจนาภิเษก เครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ หรือ GINET (Government Information Network) และการมีส่วนร่วมในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กลุ่มผลงานที่สาม คือเรื่องการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย โดย ดร.ทวีศักดิ์ ได้มีบทบาทสำคัญในการยกร่างกฎหมายต่างๆร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายของประเทศหลายๆท่าน เช่น ศาสตราจารย์คนึง ฤๅไชย ศาสตราจารย์คณิต ณ นคร และเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาในการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางคอมพิวเตอร์ เป็นรองประธานกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการประทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งออกมาเป็น พรบ.ในปี 2550 รวมถึงการเป็นคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกของประเทศสองวาระ ในช่วงที่เป็นผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) งานสำคัญที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ การกำกับดูแลการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ ปี ค.ศ. 2000 การยกร่างและผลักดันนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ หรือ IT 2010 การทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับประเทศไทย ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549) การผลักดันกฎหมายไอซีที ที่สำคัญต่อประเทศหลายฉบับ และการทำงานร่วมกับ สำนักงาน ก.พ. เพื่อก่อตั้ง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดร.ทวีศักดิ์ เข้าร่วมทำงานกับกรรมการระดับชาติและของหน่วยงานต่างๆไม่ต่ำกว่า 100 คณะ ดร.ทวีศักดิ์มีผลงานเขียน และคำบรรยายในที่ต่างๆ ทั้งภาษาไทยและต่างประเทศจำนวนมาก เป็นบทความมากกว่า 150 เรื่อง และปรากฏในหนังสือต่างๆไม่น้อยกว่า 30 เล่ม", "title": "ทวีศักดิ์ กออนันตกูล" }, { "docid": "33180#3", "text": "เบเนดิกส์ เสนอว่า ไทยพร้อมกับพวกฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซียอพยพจากหมู่เกาะทะเลใต้ แถบเส้นศูนย์สูตร ขึ้นมาตั้งถิ่นฐานในดินแดนอุษาคเนย์ และหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เบเนดิกส์ ยกเรื่องความเหมือนของภาษามาสนับสนุน เช่น คำว่าปะตาย ในภาษาตากาล็อก แปลว่า ตาย อากู แปลว่า กู คาราบาว แปลว่า กระบือ เป็นต้น ประเด็นนี้นักภาษาศาสตร์ และนักนิรุกติศาสตร์ส่วนใหญ่ ไม่ยอมรับวิธีการของเบเนดิกส์ เพราะเป็นนำภาษาปัจจุบันของฟิลิปปินส์มาเทียบกับไทย แทนที่จะย้อนกลับไปเมื่อ 1200 ปีที่แล้ว ว่า คำไทยควรจะเป็นอย่างไร และคำฟิลิปปินส์ควรจะเป็นอย่างไร แล้วจึงนำมาเทียบกันได้ นอกจากนี้ ผู้ที่เชื่อทฤษฎีนี้ ยังใช้เหตุผลทางกายวิภาค เนื่องจากคนไทยและฟิลิปปินส์ มีลักษณะทางกายวิภาค คล้ายคลึงกัน", "title": "ชาวไท" }, { "docid": "49345#7", "text": "เจษฎาจารย์ฮีแลร์ ด้วยความที่อายุยังน้อย ภาษาอังกฤษก็ยังไม่คล่อง ภาษาไทยก็ไม่ถนัด หน้าที่ที่ฮีแลร์ ได้รับมอบหมายในเบื้องต้นก็คือการสอนภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศส ในขณะที่เขาก็ศึกษาภาษาไทยไปควบคู่ไปด้วยโดยมีท่านมหาทิม เป็นครู กล่าวกันว่าการเรียนภาษาไทยของท่านนั้นเรียนรู้ได้รวดเร็วมาก พระยามไหศวรรย์เคยเขียนถึงท่านว่า “\"สำหรับข้าพเจ้าคาดว่าครูฮีแลร์เห็นจะเรียนหนังสือไทย ภายหลังข้าพเจ้า แต่ข้าพเจ้าไม่อยากพูดถึงการเรียนของเด็กพวกเรานั้นจะมีมานะหมั่นเพียรเทียบกับครูฮีแลร์ได้อย่างไร ท่านเรียนไม่เท่าไร เกิดเป็นครูสอนภาษาขึ้นมาอีก\"”", "title": "ฟ. ฮีแลร์" }, { "docid": "25270#4", "text": "บ่อยครั้งที่ผู้คนโดยเฉพาะวิศวกรคอมพิวเตอร์ เพ่งความสนใจไปที่เครื่องจักร พวกเขาคิดว่า \"โดยการกระทำนี้ทำให้เครื่องจักรทำงานได้เร็วขึ้น โดยการกระทำนี้เครื่องจักรจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการกระทำนี้เครื่องจะทำบางอย่างๆๆ\" พวกเขาพุ่งความสนใจไปที่เครื่องจักร แต่แท้ที่จริงแล้ว เราจำเป็นที่จะต้องพุ่งความสนใจไปที่มนุษย์ ได้แก่ การสนใจว่ามนุษย์เขียนโปรแกรมอย่างไร หรือใช้งานเครื่องจักรอย่างไร เราเป็นนาย เครื่องจักรที่เป็นทาส", "title": "ภาษารูบี" }, { "docid": "615#4", "text": "คำว่า \"computer science\" แต่เดิมในภาษาไทยเรียกทับศัพท์ว่า \"คอมพิวเตอร์ไซแอนส์\" โดยเป็นชื่อของหน่วยงานหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกในประเทศไทยที่สอนวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ต่อมาได้ย้ายมาเป็นภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ และยังคงหลักสูตรวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์มหาบัณฑิตไว้ ซึ่งเป็นหลักสูตรเดียวในประเทศที่ใช้คำว่า \"วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์\" ส่วนหน่วยงานที่เปิดสอนวิชานี้ในระดับปริญญาตรีแห่งแรกในประเทศไทยคือ สาขาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (ชื่อเดิม) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งสาเหตุที่เดิมเรียกว่า \"ศาสตร์คอมพิวเตอร์\" เนื่องจากคำว่า \"ไซน์\" ในความหมายนี้คือ \"ศาสตร์\" เช่นเดียวกับใน\nสังคมศาสตร์ หรือ โซเชียลไซน์ (social science)\nวิทยาการคอมพิวเตอร์คือการศึกษาแนวคิด และทำการพิสูจน์อย่างมีแบบแผนเพื่ออธิบายระบบและกระบวนการขั้นตอนในการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดิจิตัลอื่น ๆ\nวัตถุประสงค์ของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นไม่ต่างจากวิทยาศาสตร์สาขาอื่น คือ เพื่อให้ทฤษฎีที่เกิดขึ้นในสาขาวิชาถูกนำมาใช้ในการสร้างอุปกรณ์และนวัตกรรมที่ใช้ได้ในสถานการณ์จริง ซึ่งอาจนำมาสู่ระบบใหม่ ๆ ที่รองรับการศึกษาและวิเคราะห์เพื่อต่อยอดในสาขาวิชาต่อไป", "title": "วิทยาการคอมพิวเตอร์" }, { "docid": "6349#13", "text": "เมื่อพระองค์ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนจิตรลดานั้น ทรงได้รับการถ่ายทอดความรู้ทางด้านภาษาทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาเขมร ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส โดยภาษาไทยนั้น พระองค์ทรงเชี่ยวชาญทั้งด้านหลักภาษา วรรณคดี และศิลปะไทย เมื่อทรงจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พระองค์พอรู้แน่ว่าอย่างไรก็คงไม่ได้เรียนแผนกวิทยาศาสตร์ จึงพยายามหัดเรียนภาษาบาลี อ่านเขียนอักษรขอม เนื่องจากในสมัยนั้น ผู้ที่จะเรียนภาษาไทยให้กว้างขวาง ลึกซึ้ง จะต้องเรียนทั้งภาษาบาลี สันสกฤต และเขมร ซึ่งภาษาบาลีนั้น เป็นภาษาที่พระองค์สนพระทัยตั้งแต่ทรงพระเยาว์ แต่ได้เริ่มเรียนอย่างจริงจังในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนสามารถจำการแจกวิภัตติเบื้องต้นที่สำคัญได้ และเข้าพระทัยโครงสร้างและลักษณะทั่วไปของภาษาบาลีได้ นอกจากนี้ ยังทรงเลือกเรียนภาษาฝรั่งเศสแทนการเรียนเปียโน เนื่องจากมีพระราชประสงค์ที่จะอ่านหนังสือภาษาฝรั่งเศสที่มีอยู่ในตู้หนังสือมากกว่าการซ้อมเปียโน", "title": "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" }, { "docid": "741764#0", "text": "ตัวแบบระดับการเคาะแป้นพิมพ์ ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Keystroke-Level Model หรือตัวย่อ (KLM) คือกลวิธีในการคาดการณ์ว่าจะใช้เวลานานเท่าใด ที่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระดับผู้เชี่ยวชาญที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายที่เป็นภาระงานประจำได้โดยที่ไม่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นเลย โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบบโต้ตอบได้ (interactive computer system) ได้รับการเสนอโดย สจ็วต เค. การ์ด (Stuart K. Card), โทมัส พี. มอแรน (Thomas P. Moran) และ อัลเลน นีเวลล์ (Allen Newell) ในปี 1980 เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารของ ACM และ การตีพิมพ์เผยแพร่หนังสือของพวกเขาที่มีชื่อว่า \"จิตวิทยาของการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคอมพิวเตอร์และมนุษย์\" (The Psychology of Human-Computer Interaction) ในปี 1983", "title": "ตัวแบบระดับการเคาะแป้นพิมพ์" }, { "docid": "187310#0", "text": "เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ในชื่อภาษาอังกฤษว่า สคูลเน็ตไทยแลนด์ (SchoolNet Thailand) คือโครงการส่งเสริมการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนทั่วประเทศไทย ก่อตั้งโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยยกระดับการศึกษาและคุณภาพการศึกษาของเยาวชนไทย พร้อมกับลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระหว่างเด็กนักเรียนในเมืองและชนบท ", "title": "เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย" }, { "docid": "44965#14", "text": "-หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ได้แก่ สาขาเกษตรศาสตร์ จุลชีววิทยา ชีววิทยา เคมี วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิทยการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ -หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ได้แก่ สาขาภาษาจีน ภาษาไทย ภาษามลายู การพัฒนาชุมชน ภาษาอังกฤษ -หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศ.บ.) ได้แก่ สาขาออกแบบนวัตกรรมทัศนศิลป์ -หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) ได้แก่ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ การจัดการทั่วไป การตลาด การบัญชี -หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา การศึกษาปฐมวัย", "title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" }, { "docid": "40820#0", "text": "ลินุกซ์ทะเล () คือชื่อของระบบปฏิบัติการในลักษณะของลินุกซ์ที่พัฒนาต่อมาจากอูบุนตูโดยเพิ่มความสามารถภาษาไทย พัฒนาโดยเนคเทค โดยรุ่นล่าสุดคือ ลินุกซ์ทะเล 10 รหัสว่า \"อ่าวนาง\" เป็นลินุกซ์ทะเลรุ่นสุดท้าย ทำมาเพื่อที่เน้นการใช้งานสำหรับผู้ใช้ทั่วไป ทั้งการใช้ที่บ้าน ที่สำนักงาน ในสถานศึกษา สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทั้งคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์พกพา จากนั้นลินุกช์ทะเลได้ยุติบทบาทลง ด้วยการมาของ LinuxMint ที่ปัจจุบันสามารถใช้งานภาษาไทยได้อย่างเต็มรูปแบบ ", "title": "ลินุกซ์ทะเล" }, { "docid": "4783#4", "text": "ในการแปลภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่งนั้น ได้มีการศึกษาวิจัยแล้วว่า คนจะต้องเข้าใจวากยสัมพันธ์ (syntax - หน้าที่และความสัมพันธ์ของคำคำหนึ่งกับคำอื่น ๆ ในข้อความ) ของภาษาทั้งสอง และอย่างน้อยก็ต้องในระดับหน่วยคำ (morphology) และทั้งประโยค ในการเข้าใจวากยสัมพันธ์ คนจะต้องเข้าใจอรรถศาสตร์ (semantics - ความหมาย) ของคำศัพท์ และรวมถึงความเข้าใจในวัจนปฏิบัติศาสตร์ (pragmatics - การสื่อความหมายที่เกิดจาก/หรือแปรไปตาม การใช้งาน) ว่าภาษานั้นใช้อย่างไร เช่น เพื่อบอกเล่า (declarative) หรือเพื่อการประชดประชัน (ironic) ดังนั้นการที่จะแปลความระหว่างภาษาได้นั้น จะต้องใช้องก์ความรู้ทั้งหลายที่มุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับ การประมวลผลและการสังเคราะห์ประโยคของภาษาธรรมชาติแต่ละภาษาโดยใช้คอมพิวเตอร์นั่นเอง", "title": "ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์" }, { "docid": "127116#2", "text": "อาคาร 1 เป็นที่ตั้งของ ห้องปฏิบัติการทางเคมี ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์ ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิชาเคมี ห้องเรียนภาษาไทย ห้องแนะแนว ห้องพลศึกษา อาคาร 2 เป็นที่ตั้งของ ห้องเรียนภาษาอังกฤษ ศูนย์สื่อและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน ศูนย์ภาษาอังกฤษ ห้องเรียนภาษาตากาล็อก ศูนย์ภาษาไทย ห้องพลศึกษา ห้องดนตรีไทย ห้องวงดุริยางค์ ศูนย์สื่อคหกรรม อาคาร 3 เป็นที่ตั้งของ ห้องศิลปะ ห้องเรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยี ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ อาคาร 4 เป็นที่ตั้งของ ห้องเรียนสังคมศึกษา ศูนย์คอมพิวเตอร์ โครงการภาคภาษาอังกฤษ ห้องงบประมาณ ห้องแผนงาน ห้องวิชาการ ห้องสำนักงานอำนวยการ ห้องราชพฤกษ์ ห้องผู้อำนวยการ ห้องปาริชาติ ห้องเรียน Smart room อาคาร 5 เป็นที่ตั้งของ ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการทางภาษาต่างประเทศ ห้องเรียนโครงการส่งเสริมความสามารถทางการเรียน (TEP) อาคาร 6 เป็นที่ตั้งของ ห้องพยาบาล ศูนย์สื่อและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น ศูนย์สื่อและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศส ห้องเรียนภาษาบาฮาซามลายู ห้องประชุมอินทนิล อาคาร 7 เป็นที่ตั้งของ ห้องประชุมยูงทอง-โรงยิมเนเซียม โรงฝึกงงานช่างอุตสาหกรรม ห้องดนตรีสากล ห้องนาฏศิลป์ อาคาร 8 ห้องประชุมต่าง อาคาร 9 อาคารอนุสรณ์ 70 ปี ตึกเรียนวิทยาศาสตร์ อาคาร 10 วิหารหลวงปู่พริ้ง", "title": "โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม" }, { "docid": "8679#0", "text": "ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาใด ๆ ที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น และมีภาษาอื่น ๆ ที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เอชทีเอ็มแอล เป็นทั้งภาษามาร์กอัปและภาษาคอมพิวเตอร์ด้วย แม้ว่ามันจะไม่ใช่ภาษาโปรแกรม หรือภาษาเครื่องนั้นก็นับเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทางเทคนิคสามารถใช้ในการเขียนโปรแกรมได้ แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นภาษาโปรแกรม", "title": "ภาษาคอมพิวเตอร์" }, { "docid": "55374#1", "text": "การ์ตูนเรื่องนี้มีลักษณะพิเศษตรงที่ใช้เสียงประกอบเป็นภาษาอังกฤษ (เช่น PRAING!, KVOW!, KRRGฯลฯ) โดยเสียงภาษาอังกฤษนี้ไม่ใช่เสียงที่เป็นเสียงตามแบบของการ์ตูนฝรั่งแท้ๆ หากแต่เป็นนำเสียงของไทยมาทับศัพท์ (เช่นเสียงระเบิด เสียงในการ์ตูนฝรั่งจะเป็น BOOM! แต่ในเรื่องไพรดิบจะเป็น TOOM! ตรงกับคำในภาษาไทยว่า ตูม!) และบางคำก็ไม่รู้จะให้อ่านเป็นเสียงไทยว่าอย่างไร", "title": "ไพรดิบ" }, { "docid": "15785#24", "text": "การพูดคำเมืองผสมกับภาษาไทยนั้น คำเมืองจะเรียกว่า แปล๊ด (ปะ-แล๊ด, ไทยแปล๊ดเมือง) ซึ่งโดยมากแล้วมักจะพบใน คนที่พูดคำเมืองมานาน แล้วพยายามจะพูดไทย หรือ คนพูดภาษาไทยพยายามจะพูดคำเมือง เผลอพูดคำทั้ง ๒ ภาษามาประสมกัน อนึ่งการพูดคำเมืองมีการแยกระดับของความสุภาพอยู่หลายระดับ ผู้พูดต้องเข้าใจในบริบทการพูดว่าในสถานการณ์นั้นๆ ต้องพูดระดับภาษาอย่างไรให้เหมาะสมและมีความสุภาพ เพราะมีระบบการนับถือผู้ใหญ่ คนสูงวัยกว่า อาทิเช่น", "title": "ภาษาไทยถิ่นเหนือ" }, { "docid": "15659#1", "text": "คำว่า \"ไปยาล\" มาจาก คำว่า \"เปยฺยาล\" ในภาษาบาลี แปลว่า ย่อ ซึ่งเมื่อเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรไทย จะใช้ ฯเปฯ ในคำสวดแทนภาษาอื่นที่ใช้ไปยาลใหญ่คือภาษาเขมร () ใช้ละคำต่อท้ายที่ยังมีอีกมากเหมือนกับภาษาไทย เป็นอักขระตัวเดียวในคอมพิวเตอร์ต่างจากอักษรไทย", "title": "ไปยาลใหญ่" }, { "docid": "192493#0", "text": "รองศาสตราจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ (เกิด 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493) เป็นนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ชาวไทย เคยเป็นอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่ก่อนเกษียณอายุราชการ รศ. ยืนมีผลงานเด่นในด้านการพัฒนาการประมวลภาษาธรรมชาติด้วยคอมพิวเตอร์ในภาษาไทย และการการพัฒนาโครงสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์", "title": "ยืน ภู่วรวรรณ" } ]
1881
การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เกิดในสมัยกษัตริย์องค์ใด ?
[ { "docid": "43247#1", "text": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยในหลายด้าน แต่การปฏิรูปรัฐธรรมนูญกลับเป็นไปอย่างเชื่องช้าซึ่งสร้างความไม่พอใจในหมู่พวกหัวก้าวหน้าและเสรีนิยม[2] ในปี พ.ศ. 2454 ได้เกิดกบฏ ร.ศ. 130 ซึ่งดำเนินการโดยคณะนายทหารหนุ่ม เป้าหมายของคณะคือเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองและล้มล้างระบอบเก่าและแทนที่ด้วยระบบรัฐธรรมนูญตะวันตกที่ทันสมัย และอาจต้องการยกพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นเป็นพระมหากษัตริย์แทนด้วย[3] อาจกล่าวได้ว่ากบฏ ร.ศ. 130 เป็นแรงขับดันให้คณะราษฎรปฏิวัติ โดยภายหลังยึดอำนาจแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เชิญผู้นำการกบฏ ร.ศ. 130 ไปพบและกล่าวกับขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ว่า \"ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม\" และหลวงประดิษฐ์มนูธรรมก็ได้กล่าวในโอกาสเดียวกันว่า \"พวกผมถือว่าการปฏิวัติครั้งนี้เป็นการกระทำต่อเนื่องจากการกระทำเมื่อ ร.ศ. 130\"[4] การปฏิวัติดังกล่าวล้มเหลวและผู้ก่อการถูกจำคุก นับแต่นั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลิกความพยายามส่วนใหญ่ในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญและทรงปกครองประเทศต่อไปภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีข้อยกเว้นบ้างที่โปรดฯ แต่งตั้งสามัญชนบางคนสู่สภาองคมนตรีและรัฐบาล[5] ต่อมาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ทรงสืบราชสมบัติสืบต่อจากพระเชษฐาเป็นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระองค์ทรงสืบช่วงปกครองประเทศในวิกฤตการณ์ พระเชษฐาของพระองค์ทรงได้ทำให้สถานะของประเทศเกือบจะล้มละลาย เพราะทรงมักจะใช้เงินจากกองคลังมาปกปิดการขาดดุลของท้องพระคลังข้างที่ และข้อเท็จจริงยังมีว่ารัฐและประชาชนถูกบังคับให้จ่ายเงินแก่พระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ซึ่งมีวิถีชีวิตอันหรูหราฟุ่มเฟือย พระองค์ทรงรีบจัดตั้งอภิรัฐมนตรีสภาขึ้นเป็นองค์กรหลักในการปกครองรัฐ เพื่อพยายามแก้ไขปัญหาที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ สภานั้นประกอบด้วยเจ้านายอาวุโสมีประสบการณ์ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลก่อนมาแล้ว เจ้านายเหล่านั้นเร่งเปลี่ยนตัวสามัญชนที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในข้าราชการพลเรือนและทหารแล้วแทนที่ด้วยคนของพวกตน สภาถูกครอบงำโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ผู้ทรงได้รับการศึกษาจากเยอรมนี และเป็นพระเชษฐาร่วมสมเด็จพระบรมชนกนาถของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ยังเป็นรัชทายาทด้วย ตามกฎหมายการสืบราชสันตติวงศ์อันซับซ้อนของราชวงศ์จักรี กลายเป็นว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เห็นอกเห็นใจ ทรงตัดรายจ่ายในพระราชวังและเสด็จพระราชดำเนินทั่วประเทศอย่างกว้างขวาง และเมื่อเสด็จกลับมายังพระนคร พระองค์ทรงทำให้เป็นที่ยอมรับและโดดเด่นแก่หมู่ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานครซึ่งเติบโตขึ้นกว่าแต่ก่อนโดยทรงประกอบพระราชกรณียกิจสาธารณะหลายอย่าง จนถึงเวลานี้ นักเรียนหลายคนที่ถูกส่งไปศึกษาต่างประเทศเมื่อหลายทศวรรษก่อนเริ่มเดินทางกลับประเทศแล้ว แต่นักเรียนเหล่านี้กลับขาดโอกาส การยึดมั่นของเจ้านายและความล้าหลังเปรียบเทียบของประเทศ ส่วนมากจึงหูตาสว่างกับสถานะเดิม[6]", "title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475" } ]
[ { "docid": "43247#11", "text": "อารมณ์ของประกาศคณะราษฎรแตกต่างกันมากกับอารมณ์ของโทรเลขที่ถูกส่งไปให้แด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งลงนามโดยพันเอกและทหารเสือทั้งสามนาย ได้แก่ พระยาพหลพลพยุหเสนา, พระยาทรงสุรเดช และพระยาฤทธิ์อัคเนย์ โทรเลขนี้ใช้ราชาศัพท์มีใจความว่า หากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงปรารถนาที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ คณะราษฎรจะเต็มใจถอดพระองค์ออกและแทนที่ด้วยพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น[18] แต่ถึงแม้ว่าจะใช้ราชาศัพท์ก็ตาม โทรเลขดังกล่าวย้ำพระองค์ด้วยถ้อยคำแข็งกร้าวว่าหากสมาชิกคณะราษฎรคนใดได้รับบาดเจ็บ พระบรมวงศานุวงศ์ที่ถูกคุมขังก็จะทรงทรมานไปด้วย[18]", "title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475" }, { "docid": "706128#5", "text": "สำหรับประเทศไทยนั้น แนวคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยสูงสุดได้มีขึ้นตั้งแต่สมัยการปฏิรูปการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 แต่ที่มาของอำนาจยังคงอยู่ที่พระมหากษัตริย์ จนกระทั่ง ร.ศ.130 แนวคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยของปวงชนจึงเริ่มเกิดขึ้นจากความพยายามปฏิวัติรัฐบาลของพระมหากษัตริย์แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งอีกยี่สิบปีถัดมา แนวคิดดังกล่าวจึงได้บังเกิดเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญใน พ.ศ.2475 ซึ่งได้ทำให้ที่มา หรือ แหล่งอ้างอิงอำนาจอธิปไตยสูงสุดในการปกครองประเทศได้เปลี่ยนแปลงจากพระมหากษัตริย์ลงไปสู่ปวงชนชาวไทยทุกคน ดังปรากฏในมาตราที่ 1 ของพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม (ชั่วคราว) พุทธศักราช 2475 ว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย”", "title": "อำนาจอธิปไตยของปวงชน" }, { "docid": "43247#18", "text": "ผลที่ตามมาในทันทีหลังจากการปฏิวัติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและคณะราษฎรได้เริ่มจัดการเพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับแรกแก่ประชาชนชาวสยาม พระราชบัญญัติธรรมนูญชั่วคราวมีการลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เมื่อเวลา 5.00 น. ซึ่งเป็นเอกสารร่างเขียนขึ้นล่วงหน้าไว้แล้วโดยปรีดี[24] ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยาม แม้ว่าจะยังเป็นเพียงฉบับชั่วคราวอยู่ก็ตาม ข้อความในรัฐธรรมนูญเริ่มต้นมาตรา 1 ความว่า \"อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย\" รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยยกเลิกพระราชอำนาจที่มีมาแต่โบราณ อาทิ พระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย การพระราชทานอภัยโทษ และพระราชสิทธิในการยืนยันผู้สืบราชสมบัติและรัชทายาท หรือจะกล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญดังกล่าวจำกัดอำนาจทั้งหมดของพระมหากษัตริย์ โดยยังมิได้ยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ไปเท่านั้น[25] รัฐธรรมนูญยังได้จัดตั้งคณะกรรมการราษฎรเป็นฝ่ายบริหาร และสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาที่ได้มาจากการแต่งตั้ง 70 คน", "title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475" }, { "docid": "16485#33", "text": "ด้วยการช่วยเหลือของอภิรัฐมนตรีนี้ พระมหากษัตริย์ทรงฟื้นฟูเสถียรภาพเศรษฐกิจ แม้จะด้วยปริมาณการลดข้าราชการจำนวนมากและการตัดเงินเดือนข้าราชการที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งทำให้เกิดความไม่เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่เจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างชัดเจน และเป็นหนึ่งในชนวนเหตุของการปฏิวัติ พ.ศ. 2475", "title": "อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)" }, { "docid": "43247#13", "text": "พระองค์กับเจ้านายอีกสองพระองค์ทรงปรึกษากันถึงทางเลือกหลายทาง ซึ่งรวมไปถึงการเสด็จลี้ภัยไปยังต่างประเทศ การจัดรัฐประหารซ้อนหรือการยอมจำนนเต็มตัว[18] อย่างไรก็ตาม เมื่อโทรเลขแท้จริงจากคณะราษฎรมาถึงแล้ว พระองค์ก็ทรงตัดสินพระทัยแล้วเช่นกัน พระองค์ได้ทรงตอบอย่างรวดเร็วว่าพระองค์เต็มพระทัยที่จะอยู่ในราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญดังที่พระองค์ทรงสนับสนุนที่จะให้ประชาชนมีรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด[19] พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเขียนถึงการตัดสินพระทัยของพระองค์ที่ปฏิเสธจะต่อสู้ในภายหลังว่า \"... ข้าพเจ้าไม่สามารถนั่งอยู่บนบัลลังก์ที่เปื้อนเลือดได้\"[20] จุดหนึ่งที่พระองค์ทรงไม่ยอมรับคือเมื่อคณะราษฎรส่งเรือปืนมาเพื่อนำตัวพระองค์ไปยังกรุงเทพมหานคร พระองค์ทรงปฏิเสธและเสด็จกลับไปยังพระนครโดยรถไฟหลวง อันแสดงให้เห็นว่าพระองค์มิได้ตกเป็นเชลยของคณะราษฎร[19]", "title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475" }, { "docid": "56297#0", "text": "\"สำหรับการกบฏครั้งนี้หมายถึงการกบฏในประเทศไทย หากเป็นการปฏิวัติในประเทศจีน ดูที่: การปฏิวัติซินไฮ่\"\nกบฏ ร.ศ. 130 หรือ กบฏเก็กเหม็ง หรือ กบฏน้ำลาย เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2455 (ร.ศ. 130) ก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 สองทศวรรษในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์พระราชทานรัฐธรรมนูญให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ 91 คน คณะตุลาการศาลทหารมีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิต โดยให้ประหารชีวิตหัวหน้าผู้ก่อการจำนวน 3 คน คือ ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง และ ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์ ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต 20 คน จำคุกยี่สิบปี 32 คน จำคุกสิบสองปี 30 คน และจำคุกสิบห้าปี 6 คน แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชวินิจฉัย และได้มีพระบรมราชโองการพระราชทานอภัยโทษ ละเว้นโทษประหารชีวิต ด้วยทรงเห็นว่า ทรงไม่มีจิตพยาบาทต่อผู้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์", "title": "กบฏ ร.ศ. 130" }, { "docid": "43247#22", "text": "การปฏิวัติดังกล่าวมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถูกจำกัดพระราชอำนาจและเอกสิทธิ์ที่มีมาแต่โบราณ แม้จะทรงได้รับถ้อยคำที่อบอุ่นและเป็นมิตร แต่พระองค์ก็ยังทรงอยู่ในความหวาดกลัวและทรงวิตกว่าการเผชิญหน้าระหว่างพระองค์กับคณะราษฎรในภายภาคหน้าจะทำให้พระองค์และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีจะทรงได้รับอันตราย เมื่อปลายปี พ.ศ. 2475 พระองค์ทรงมีลายพระหัตถเลขาถึงพระนัดดา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เกี่ยวกับการตัดสินพระทัยเสด็จกลับกรุงเทพมหานครว่า \"... เราทั้งหมดต่างก็ค่อนข้างรู้ดีว่าเราอาจกำลังจะตาย\"[20] บทบาทที่ไม่มั่นคงของพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญและความไม่พอใจต่อการยึดอำนาจของพระยาพหลพลพยุหเสนาลงเอยด้วยรัฐประหารซ้อน ที่เรียกว่า กบฏบวรเดช ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มนิยมเจ้าในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 นำโดย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช และเจ้านายอีกหลายพระองค์ที่สูญเสียอิทธิพลและตำแหน่งไปยังถาวรเนื่องจากการปฏิวัติและคณะราษฎร กบฏดังกล่าวล้มเหลว และแม้จะไม่มีหลักฐานว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเข้าแทรกแซง แต่การวางพระองค์เป็นกลางและการตัดสินพระทัยที่ไม่เด็ดขาดระหว่างความขัดแย้งช่วงสั้น ๆ นี้ทำให้พระองค์สูญเสียความเชื่อมั่นและบารมี ทำให้สามปีหลังการปฏิวัติ พระองค์ทรงสละราชสมบัติและเสด็จออกนอกประเทศโดยไม่เสด็จกลับมาอีกเลย[32]", "title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475" }, { "docid": "671#4", "text": "ก่อนหน้าการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ประเทศไทยยังไม่มีรัฐธรรมนูญใช้ในการปกครองประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์และประมุขฝ่ายบริหาร ในปี พ.ศ. 2475 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับลายลักษณ์อักษร โดยคาดว่าจะเป็นแนวปฏิบัติที่สำคัญที่สุดในการปกครองประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นระหว่างกลุ่มมีอิทธิพล จึงได้เกิดรัฐประหารขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2477 รัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการฉบับแรกของประเทศถูกยกเลิก และได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่", "title": "การเมืองไทย" }, { "docid": "43247#0", "text": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475[1] เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์ไทยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งมีผลทำให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เกิดขึ้นจากคณะนายทหารและพลเรือนที่ประกอบกัน เรียกตนเองว่า \"คณะราษฎร\" โดยเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์โลก ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองภายในประเทศ การปฏิวัติดังกล่าวทำให้ประเทศสยามมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก", "title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475" }, { "docid": "4229#0", "text": "พระมหากษัตริย์ไทย เป็นประมุขของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และประชาธิปไตย ถึงแม้ว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จะลดลงหลังจากการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงได้รับความเคารพนับถือจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 กับทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับว่า พระมหากษัตริย์ \"ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้\" นอกจากนั้น พระมหากษัตริย์ยังทรงได้รับความคุ้มครองด้วยกฎหมายอาญา ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์พระองค์เป็นความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์", "title": "พระมหากษัตริย์ไทย" }, { "docid": "43247#27", "text": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 หมวดหมู่:เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 7 หมวดหมู่:ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2475", "title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475" }, { "docid": "118444#1", "text": "เหตุการณ์ปฏิวัติสยามเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไทย และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาช้านานเสียอำนาจส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าวใน พ.ศ. 2475 การต่อสู้ทางการเมืองก็ยังมิได้จบลงไปอย่างสิ้นเชิง ยังคงมีการต่อสู้กันระหว่างผู้นำในระบอบเก่า กับระบอบใหม่ หรือความขัดแย้งในผู้นำคณะราษฎรด้วยกันเอง โดยการต่อสู้ทางการเมืองและทางความคิดอุดมการณ์นี้ได้ดำเนินต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลากว่า 25 ปีภายหลังจากการปฏิวัติ และนำไปสู่ยุคตกต่ำของคณะราษฎรในกาลต่อมา จนถือว่าหมดอำนาจทั้งในทางการเมืองและในทางสัญลักษณ์อุดมการณ์ เมื่อวันชาติ 24 มิถุนายน ซึ่งระลึกถึงวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ถูกยกเลิกใน พ.ศ. 2503", "title": "ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร" }, { "docid": "49841#5", "text": "แต่ในความเห็นอีกด้านหนึ่ง กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นการปฏิวัติรัฐประหาร เพราะเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy) อันเป็นการปฏิวัติ แต่ก็เป็นการรัฐประหาร (coup d'état) ด้วย เพราะใช้กำลังทหาร ควบคุม บังคับ ทำให้อำนาจรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสิ้นสุดลง(สำหรับฝ่ายที่ต่อต้านการปฏิวัติ) แต่กลุ่มการเมืองฝ่ายต่อต้านระบอบกษัตริย์ พยายามสร้างภาพให้เป็นเชิงบวก ว่าเป็นการปฏิวัติ หรืออภิวัฒน์ จนเรียกว่า สยามภิวัฒน์", "title": "ปฏิวัติ" }, { "docid": "12207#0", "text": "มหาวิทยาลัยสวนดุสิต () จาก โรงเรียนการเรือนแห่งแรกของประเทศไทย สู่การเป็น มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงทางด้าน การศึกษาปฐมวัย คหกรรมศาสตร์ ธุรกิจบริการ ธุรกิจการโรงแรม ธุรกิจการบิน และ \" โรงเรียนกฎหมายและการเมือง \"โรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของรัฐ เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2483 โดยมีนางจิตรา ทองแถม ณ อยุธยา (คุณหญิงจิตรา ทองแถม ณ อยุธยา) เป็นครูใหญ่คนแรก โดยการบริจาคทุนทรัพย์จำนวน 80,000 บาทจาก คุณยายละออ หลิมเซ่งไถ่ จุดมุ่งหมายในการจัดตั้งโรงเรียนอนุบาละอออุทิศขึ้นมาเพื่อทดลองและทดสอบว่าประชาชนมีความสนใจ และเข้าใจเรื่องการอนุบาลศึกษาอันเป็นรากฐานการเรียนรู้ของเด็กมากน้อยเพียงใด โดยปัจจุบันเปิดสอนตั้งแต่ระดับก่อนอนุบาล ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปัจจุบันโรงเรียนสาธิตละอออุทิศมีสาขาดังนี้หลังการการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 หรือเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงการศึกษาเข้าสู่ยุคการศึกษาสมัยปกครองตามระบอบรัฐธรรมนูญ ในช่วงนั้นรัฐบาลมีการจัดตั้งโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเฉพาะทางขึ้นมามากมายให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงตามสิทธิของตนในระบอบรัฐธรรมนูญ นำความรู้นั้นพัฒนาชาติต่อไป โดยมีการนำวัง พระราชวัง ที่พัก และพื้นที่ที่รัฐบาลยึดจากเชื้อพระวงศ์และบุคคลสำคัญบางแห่งใช้มาเป็นสถานที่ราชการและสถานศึกษาจำนวนมาก เช่น วังหน้า ใช้เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บ้านนรสิงห์ ใช้เป็นทำเนียบรัฐบาลไทย เป็นต้น ภายหลังทรัพย์สินเหล่านี้อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 และนี่เป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆของโรงเรียนการเรือน-มหาวิทยาลัยสวนดุสิต", "title": "มหาวิทยาลัยสวนดุสิต" }, { "docid": "558904#0", "text": "พระเจ้ามานูเอลที่ 2 แห่งโปรตุเกส (อังกฤษ: \"Emmanuel II\"; 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2475) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสและแอลการ์ฟพระองค์สุดท้าย ทรงมีพระราชสมัญญานามว่า \"ผู้รักชาติ\" (the Patriot; โปรตุเกส: \"o Patriota\") หรือพระนามว่า \"ผู้เคราะห์ร้าย\" (the Unfortunate; โปรตุเกส: \"o Desventurado\") ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากเกิดเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์พระเจ้าคาร์ลอสที่ 1 แห่งโปรตุเกส ผู้เป็นพระราชบิดาและเจ้าชายลูอิส ฟิลิเป รัชทายาทแห่งโปรตุเกส ผู้เป็นพระเชษฐา ก่อนที่จะทรงสืบราชบัลลังก์พระองค์ทรงได้รับพระอิสริยยศ \"ดยุกแห่งเบฌา\" รัชสมัยของพระองค์สิ้นสุดลงด้วยการล้มล้างราชาธิปไตยจากเหตุการณ์การปฏิวัติ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2453 และพระเจ้ามานูเอลทรงดำรงพระชนม์ชีพอย่างสงบในระหว่างทรงถูกเนรเทศโดยสาธารณรัฐโปรตุเกสที่หนึ่ง", "title": "พระเจ้ามานูเอลที่ 2 แห่งโปรตุเกส" }, { "docid": "44547#3", "text": "มีบทบาทที่ชัดเจนแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475\nราชวงศ์ทิพย์จักร เป็นวงศ์ตระกูลในชนชั้นกษัตริย์ปกครองมาตั้งแต่ยุคของพระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งปกครองนครลำปางในฐานะนครรัฐอิสระในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในชั้นพระราชนัดดาหรือเจ้าเจ็ดพระองค์พี่น้อง (เจ้าเจ็ดตน) ได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยกองทัพสยามสู้รบกับกองทัพพม่า และช่วยขยายพระราชอาณาเขตทั้งในสมัยกรุงธนบุรีและสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ใน ปี พ.ศ. 2275 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละพระเจ้ากาวิละ พระเจ้าเชียงใหม่ ปกครอง 57 หัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราช ภายหลังการโปรดเกล้าฯ จากราชสำนักสยาม พระเจ้ากาวิละได้โปรดให้จัดพิธีเถลิงถวัลยราชสมบัติเข้าขึ้นครองอาณาจักรล้านนาตามราชประเพณีในราชวงศ์มังราย ในการนี้เจ้าเจ็ดพระองค์พี่น้องได้ทรงร่วมกันวางระบบการปกครองอาณาจักรฝ่ายเหนือ โดยแบ่งหัวเมืองฝ่ายเหนือออกเป็น 4 ระดับ (พ.ศ. 2275 - 2442) ดังนี้ ", "title": "เจ้านายฝ่ายเหนือ" }, { "docid": "43247#9", "text": "แท้ที่จริงแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาเพียงแต่ขู่ขวัญเท่านั้น ความสำเร็จของการปฏิวัติยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่อื่นของกรุงเทพมหานคร พระประศาสน์พิทยายุทธถูกสั่งไปยังบ้านพักของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และสมาชิกระดับสูงคนอื่น ๆ ในรัฐบาลและพระบรมวงศานุวงศ์[16] สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตขณะกำลังทรงฉลองพระองค์บรรทมเมื่อพระองค์ทรงถูกจับกุม[17] ไม่มีผู้ใด ยกเว้นผู้บัญชาการเหล่าทหารบกที่หนึ่ง ต่อสู้ขัดขืนแม้เพียงเล็กน้อย มีการสู้กันเกิดขึ้นและนายทหารคนดังกล่าวได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย แต่สุดท้ายก็ถูกนำตัวไปคุมขัง และกลายมาเป็นบุคคลเพียงคนเดียวที่ได้รับบาดเจ็บอันเป็นผลมาจากการปฏิวัติ หากนับทั้งหมดแล้ว มีเจ้าหน้าที่ทางการเกือบ 40 คนถูกจับกุมและถูกกักขังไว้ในพระที่นั่งอนันตสมาคม เว้นเสนาบดีว่าการกระทรวงพาณิชย์และการสื่อสาร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ผู้ซึ่งได้ทรงหลบหนีไปทางหัวรถจักรเพื่อไปกราบบังคมทูลเตือนพระมหากษัตริย์ที่หัวหิน[15] เมื่อถึงเวลา 8.00 น. ปฏิบัติการยึดอำนาจได้เสร็จสิ้นและผู้ก่อการประสบความสำเร็จ[16]", "title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475" }, { "docid": "109228#0", "text": "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกแห่งราชอาณาจักรสยาม ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยเป็นผลพวงหลังการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร ซึ่งได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ) ซึ่งในขณะที่เกิดการปฏิวัตินั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประทับ ณ พระตำหนักวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์", "title": "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" }, { "docid": "32563#7", "text": "ภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เพลงสรรเสริญพระบารมีไม่ได้ใช้ในฐานะเพลงชาติอีกต่อไป แต่ยังคงใช้ในฐานะของเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ มีอยู่ช่วงหนึ่งมีการตัดทอนเพลงนี้ให้สั้นลง แต่ได้ยกเลิกการใช้แล้ว", "title": "สรรเสริญพระบารมี" }, { "docid": "487832#36", "text": "จอมพลสฤษดิ์เริ่มการฟื้นฟูพระราชอำนาจ กองทัพและพระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด พระมหากษัตริย์กลับมามีพระราชอำนาจดังก่อนการปฏิวัติสยามปี 2475 จอมพลถนอมเป็นนายกรัฐมนตรีจนถึงปี 2501 แล้วคืนตำแหน่งให้กับจอมพลสฤษดิ์ เขาเป็นนายกรัฐมนตรีจนถึงแก่อสัญกรรมในปี 2506 เขาดำเนินนโยบายสร้างโครงสร้างสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า น้ำประปาและถนน และดำเนินโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค โดยสหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศ เริ่มต้นการทำให้ทันสมัย การกลายเป็นตะวันตก และดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ", "title": "ประวัติศาสตร์ไทย (พ.ศ. 2475–2516)" }, { "docid": "243886#0", "text": "วันชาติในประเทศไทย เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย เดิมกำหนดเป็นวันที่ 24 มิถุนายน อันเป็นวันที่คณะราษฎรก่อการปฏิวัติสยามใน พ.ศ. 2475 โดยเริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2481 และเริ่มงานฉลองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 ต่อมาใน พ.ศ. 2503 จึงเปลี่ยนไปเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ไทย ตามอย่างประเทศราชาธิปไตยอื่น ๆ ปัจจุบันตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี", "title": "วันชาติ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "49841#4", "text": "อนึ่งปฏิวัติทางการเมืองเป็นมโนทัศน์ที่สำคัญในการอธิบายปฏิวัติสังคมในลัทธิทรอทสกี (Trotskyism)สำหรับในสังคมการเมืองไทยเกิดการปฏิวัติทางการเมืองขึ้นเพียงครั้งเดียวคือ การปฏิวัติสยาม ในวันที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นการปฏิวัติการปกครองโดยเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy) ส่วนการล้มล้างรัฐบาลในครั้งต่อมานั้นเป็นเพียงการรัฐประหาร เพราะไม่ได้ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ทว่าเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ผู้นำของรัฐบาล หรือเป็นการยืดอายุของรัฐบาลอุปถัมป์อำนาจนิยม (Suzerain-Authoritarianism) ของสังคมไทยเพียงเท่านั้น", "title": "ปฏิวัติ" }, { "docid": "17648#0", "text": "ความคิดและความเคลื่อนไหวที่จะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของราชอาณาจักรสยาม จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นประชาธิปไตยนั้น มีมาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อประมาณ ร.ศ. 103 (พ.ศ. 2427) หลังจากนั้น ได้มีการแสดงความคิดเห็นและความเคลื่อนไหวอยู่เรื่อย ๆ จนนำไปสู่การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยโดยคณะราษฎรยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม" }, { "docid": "113475#20", "text": "ทรงรับราชการต่อในกรมช่างแสงทหารบกตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2465 จนกระทั่งวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เป็นระบอบประชาธิปไตย รวมเวลานาน 9 ปี 7 เดือน", "title": "หม่อมเจ้าไตรทิพเทพสุต เทวกุล" }, { "docid": "345856#1", "text": "สำหรับในประเทศไทย วันรัฐธรรมนูญตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย โดยผลของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน ลักษณะสำคัญคือ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจาก พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริการราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาล ก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐ ซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน ผู้ใดจะละเมิดมิได้", "title": "วันรัฐธรรมนูญ" }, { "docid": "43247#20", "text": "สมัยประชุมแรกของรัฐสภาผู้แทนราษฎรประชุมกันในพระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475[26] อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติธรรมนูญดังกล่าวก็ไม่ได้มีอายุยาวนานอะไรนัก เมื่อถึงปลายปีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรและมีความเป็นสายกลางมากขึ้น[27] ก็ได้มีผลใช้บังคับแทนเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้คืนพระราชอำนาจแก่พระมหากษัตริย์หลายประการจากเดิมที่เคยถูกจำกัดภายใต้พระราชบัญญัติธรรมนูญฉบับก่อน เป็นอีกครั้งหนึ่งที่พระมหากษัตริย์นั้น \"ศักดิ์สิทธิ์และจะล่วงละเมิดมิได้\" สภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 156 คน เลือกตั้ง 76 คน และอีก 76 คนได้รับการแต่งตั้ง การจำกัดประชาธิปไตยถูกยกเลิกและรัฐบาลมีกำหนดจะจัดการเลือกตั้งครั้งแรกในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476[28]", "title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475" }, { "docid": "247678#1", "text": "พระองค์ได้ทรงรับสืบทอดพระอิสริยยศ \"พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์\" เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2336 หลังจากที่พระราชบิดาทรงถูกคณะปฏิวัติสำเร็จโทษด้วยการตัดพระเศียรในวันนั้น ซึ่งพระองค์เองก็ทรงถูกคณะปฏิวัติคุมขังตราบจนเสด็จสวรรคตในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2338 โดยที่ไม่มีโอกาสจะได้ขึ้นครองราชสมบัติเยี่ยงกษัตริย์พระองค์อื่นแต่อย่างใด สิริรวมพระชนมายุได้ 10 พรรษาโดยโรควัณโรค แต่หลักฐานก็ยังไม่แน่ชัดเพราะว่า บางคน เล่ากันว่าพระองค์ได้มีสหายคนสนิทได้ลักลอบพาตัวพระองค์ออกนอกประเทศและไม่เปิดเผยนามที่แท้จริงของพระองค์โดยสมัยนั้นมีถึง 30 คนที่ปลอมตนเองว่าเป็นพระองค์", "title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 17 แห่งฝรั่งเศส" }, { "docid": "487133#5", "text": "3. พิจารณาโครงร่างรัฐธรรมนูญที่พระยากัลยาณไมตรี (Francis B.Sayre) ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย มีลักษณะเป็นระบบนายกรัฐมนตรีให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินโดยตรงแทนองค์พระมหากษัตริย์ โดยนายกรัฐมนตรีมีสิทธิเลือกคณะรัฐมนตรีเอง ส่วนพระมหากษัตริย์ยังคงไว้ซึ่งอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ตามแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ให้อภิรัฐมนตรีสภามีหน้าที่เพียงถวายคำปรึกษาเท่านั้นไม่มีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน โครงร่างรัฐธรรมนูญของพระยากัลยาณไมตรีฉบับนี้จึงไม่ได้รับความเห็นชอบจากอภิรัฐมนตรีสภา โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นสมาชิกพระองค์หนึ่งของอภิรัฐมนตรีสภาทรงคัดค้านว่า การมีนายกรัฐมนตรีเป็นเรื่องและวิธีการปกครองในระบอบรัฐสภา ไม่ใช่การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งไม่มีรัฐสภา เมื่อเป็นเช่นนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงระงับพระราชดำริเรื่องการพระราชทานรัฐธรรมนูญไว้ก่อน แล้วทรงเริ่มงานวางพื้นฐานการปกครองแบบรัฐสภาขึ้นในปี พ.ศ. 2470 โดยการให้นายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ ที่ปรึกษาราชการกระทรวงการต่างประเทศและพระยาศรีวิสารวาจา ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้พิจารณาร่างหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ และทรงมีพระราชดำรัสถึงความประสงค์ที่จะให้รัฐธรรมนูญแก่ราษฎรโดยเร็วที่สุด และต้องให้ทันวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นวันครบรอบมหาจักรี นายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ และพระยาศรีวิสารวาจา จึงยกร่างรัฐธรรมนูญ และได้นำทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2474 นอกจากนั้น นายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์และพระยาศรีวิสารวาจายังได้แนบบันทึกความเห็นประกอบเค้าโครงการเปลี่ยนแปลงการปกครองอีก 2 ฉบับว่าไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญในขณะนั้น เพราะประชาชนยังไม่พร้อม และเทศบาลก็ยังไม่ได้มีการจัดตั้งขึ้นมา โครงร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาและพระบรมวงศานุวงศ์ได้พากันคัดค้านไม่เห็นด้วย โดยอ้างเหตุผลว่ายังไม่ถึงเวลาอันสมควร เนื่องจากราษฎรยังมีการศึกษาไม่ดีพอ เกรงว่าเมื่อพระราชทานรัฐธรรมนูญแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายภายหลัง คำคัดค้านดังกล่าวทำให้พระองค์ทรงลังเลพระทัยว่าควรจะพระราชทานรัฐธรรมนูญเมื่อใดจึงจะเหมาะสม ความไม่แน่นอนและเงื่อนไขต่าง ๆ ทำให้ระบบการเมืองไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับเหตุการณ์ การปฏิวัติในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จึงเกิดขึ้น", "title": "อภิรัฐมนตรีสภา" }, { "docid": "43247#7", "text": "เมื่อถึงเวลาประมาณ 04.00 น. ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 24 มิถุนายน พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) และพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) ได้ดำเนินการตามแผนการในส่วนของตนเรียบร้อยแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาและผู้สนับสนุนบางส่วนได้รวมตัวกันใกล้กับพระที่นั่งและรอคอยสัญญาณขั้นต่อไป[14] ขณะที่พระยาทรงสุรเดชเดินทางไปกับผู้สมคบคิดจำนวนหนึ่งไปยังค่ายทหารของกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นที่เก็บยานยนต์หุ้มเกราะส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานคร เมื่อมาถึง พระยาทรงสุรเดชได้กล่าวตำหนินายทหารผู้รับผิดชอบค่ายที่กำลังหลับอยู่ขณะที่มีการลุกฮือของชาวจีนเกิดขึ้นในพระนคร ทั้งหมดเกิดขึ้นขณะกำลังเปิดประตูค่ายทหารและมีการระดมทหารทั้งหมด อุบายดังกล่าวเป็นผล และแม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางความสับสนและความโกลาหล พระประศาสน์พิทยายุทธสามารถจับกุมผู้บัญชาการกรมทหารได้และนำตัวไปคุมขัง หลวงพิบูลสงครามได้รับคำสั่งให้เฝ้านักโทษ[14] ยานยนต์หุ้มเกราะ รวมไปถึงรถถังจำนวนหนึ่ง ถูกเกณฑ์และทั้งหมดได้รับคำสั่งให้มุ่งหน้าไปยังพระที่นั่ง พระยาฤทธิ์อัคเนย์ หลังจากทราบข่าวความสำเร็จของพระยาทรงสุรเดช ได้เดินทางไปยังค่ายทหารของกรมทหารราบที่ 1 และหลังจากเรียกระดมเหล่าทหารราบได้สำเร็จแล้ว ก็ได้มุ่งหน้าไปยังพระที่นั่งด้วยเช่นกัน[14] ทหารในพื้นที่ใกล้เคียงกรุงเทพมหานครได้เข้าร่วมกับผู้ก่อการด้วยเช่นกัน เนื่องจากได้รับคำสั่งหลายสัปดาห์ก่อนหน้านั้นแล้วว่ากำลังจะมีการฝึกซ้อมทางทหารเกิดขึ้น และไม่ทราบเลยว่าพวกตนจะเข้าไปมีส่วนในการปฏิวัติ[14] ทหารหน่วยอื่นที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ตัดสินใจที่จะไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ใด ๆ โดยการเก็บตัวอยู่ในกรมกอง[15]", "title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475" }, { "docid": "43247#14", "text": "ขณะเดียวกัน ผู้ก่อการได้บีบบังคับให้เจ้านายลงพระนามในเอกสารประกาศพันธกรณีเพื่อให้เกิดสันติภาพและหลีกเลี่ยงการหลั่งเลือดใด ๆ[19] ในกรุงเทพมหานคร เช่นเดียวกับรัฐประหารอีกหลายครั้งที่จะเกิดขึ้นในเวลาต่อมา ที่ประชาชนแทบจะไม่มีท่าทีตอบสนองต่อรัฐประหารครั้งนี้เลย และชีวิตประจำวันของประชาชนได้กลับคืนสู่สภาพปกติก่อนที่จะจบวันที่ 24 มิถุนายนเสียอีก ส่วนที่เหลือของประเทศก็ไม่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน[19] ทำให้หนังสือพิมพ์เดอะไทมส์ในลอนดอนรายงานว่าการปฏิวัติดังกล่าวเป็นเพียง \"การปรับปรุงใหม่เล็กน้อย\" เท่านั้น[21]", "title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475" } ]
2568
เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33จัดที่สนามอะไร?
[ { "docid": "772262#0", "text": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33 (English: WrestleMania 33) เป็นการแสดงมวยปล้ำอาชีพแบบเพย์-เพอร์-วิว (PPV) ของศึกเรสเซิลเมเนียเป็นครั้งที่ 33 จัดโดยดับเบิลยูดับเบิลยูอี(WWE) มีกำหนดจัดวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 2017 ที่สนามCamping World Stadium ที่เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา[1][2][3][4]", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33" } ]
[ { "docid": "531661#0", "text": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 7 จัดในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ.1991 ณ ลอสแอนเจลิสตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดยมีจำนวนผู้เข้าชมในสนามทั้งสิ้น 16,158 คน เดิมที่ว่าจะจัดที่ Los Angeles Memorial Coliseum สนามใหญ่ จุคนได้ 80,000 คน ต้องเปลี่ยนสนามมาใช้สนามในร่มที่เล็กกว่า จุคนไม่ถึง 20,000 คน อย่าง Los Angeles Memorial Sports Arena แทน เพราะ วินซ์ แม็กแมน ได้รับโทรศัพท์ขู่ฆ่า จึงทำให้ต้องเปลี่ยนสนามไปในที่สุด", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 7" }, { "docid": "404168#11", "text": "ในรอยัลรัมเบิล (2016) เลสเนอร์ได้เข้าร่วมแมตช์รอยัลรัมเบิลชิงแชมป์ WWE เป็นลำดับที่23 แต่ถูกกำจัดออกจากเวทีโดยเดอะไวแอ็ตต์แฟมิลี ในรอว์คืนต่อมา สเตฟานีได้ประกาศจัดแมตช์สามเส้า(Triple Threat Match) ในฟาสต์เลน (2016) ระหว่าง ดีน แอมโบรส, โรแมน เรนส์ และเลสเนอร์ เพื่อหาผู้ท้าชิงไปชิงแชมป์ WWE กับทริปเปิลเอชในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32 แต่ไม่สำเร็จ ในเรสเซิลเมเนีย 32 เลสเนอร์เอาชนะดีน แอมโบรสไปได้ในแมตช์ No Holds Barred Street Fight ในสแมคดาวน์วันที่ 7 กรกฎาคม ได้มีการประกาศว่าเลสเนอร์จะเจอกับแรนดี ออร์ตันในซัมเมอร์สแลม (2016) โดยเลสเนอร์เอาชนะไปได้แบบ TKO หลังแมตช์ได้จับเชน แม็กแมนใส่ F-5 ในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2016) เลสเนอร์ได้เจอกับโกลด์เบิร์กเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี แต่เลสเนอร์ก็แพ้ให้โกลด์เบิร์กในเวลาสั้นๆ 1:26 นาที เป็นครั้งแรกในรอบสามปีที่เลสเนอร์ถูกจับกดแพ้ ในรอยัลรัมเบิล (2017) เลสเนอร์ได้เข้าร่วมแมตช์รอยัลรัมเบิลเป็นลำดับที่26 แต่ก็ถูกโกลด์เบิร์กเหวี่ยงตกเวทีเป็นการย้ำแค้น คืนต่อมาเลสเนอร์ได้ท้าโกลด์เบิร์กเจอกันในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33 ในฟาสต์เลน (2017) โกลด์เบิร์กได้คว้าแชมป์ยูนิเวอร์แซล WWEจากเควิน โอเวนส์ ทำให้แมตช์ระหว่างเลสเนอร์กับโกลด์เบิร์กในเรสเซิลเมเนียเป็นการชิงแชมป์ ในเรสเซิลเมเนีย 33 เลสเนอร์ได้คว้าแชมป์ยูนิเวอร์แซลจากโกลด์เบิร์ก ทำให้เป็นคนแรกที่ได้ทั้งแชมป์ WWE และแชมป์ยูนิเวอร์แซล นอกจากนี้ยังเป็นคนที่สองที่ทนท่า \"Jackhammer\" ของโกลด์เบิร์กได้ และเป็นคนแรกที่ชนะโกลด์เบิร์กในแมตช์ตัวต่อตัวแบบใสสะอาด ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 34เลสเนอร์สามารถป้องกันแชมป์กับโรแมน เรนส์ได้หลังจากครองแชมป์มาเป็นเวลาปีกว่า ในซัมเมอร์สแลม (2018)เลสเนอร์เสียแชมป์ให้กับเรนส์หลังจากครองเป็นเวลา 504 วัน ก่อนจะได้แชมป์อีกครั้งเป็นสมัยที่2ในศึกคราวน์ จูเอ็ล", "title": "บร็อก เลสเนอร์" }, { "docid": "772262#16", "text": "ในฟาสต์เลน เนวิลล์สามารถป้องกันแชมป์ WWE Cruiserweight Championship กับแจ็ก แกลแล็กเฮอร์ไปได้[37] ในรอว์ 13 มีนาคม ได้มีการประกาศจัด 5 เส้า(Fatal 5-Way match) ที่จะจัดใน 205 Live คืนถัดไป เพื่อหาผู้ท้าชิงอันดับ1 กับเนวิลล์ในเรสเซิลเมเนีย[52] และเป็นออสติน แอรีส์ที่ชนะ[78] ต่อมาได้มีการประกาศให้เป็นแมตช์ก่อนเริ่มรายการ[77]", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33" }, { "docid": "703994#12", "text": "หลังจากชาร์ลอตต์เอาชนะเบกกี ลินช์ ป้องกันแชมป์ WWE Divas Championship เอาไว้ได้ในรอยัลรัมเบิล (2016) หลังจากจบแมตช์ ซาชา แบงส์ได้มาเล่นงานชาร์ลอตต์[30] ในฟาสต์เลน ชาร์ลอตต์สามารถป้องกันแชมป์จากบรี เบลลา ได้สำเร็จ[32] คืนต่อมาในรอว์ 22 กุมภาพันธ์ ชาร์ลอตต์ได้ประกาศท้า เบกกี ลินช์ และซาชา แบงส์ ว่าจะให้หนึ่งในสองคนนี้ได้ชิงแชมป์กับเธอในเรสเซิลเมเนีย[33] ในรอว์ 29 กุมภาพันธ์ แมตช์เพื่อหาผู้ท้าชิงอันดับ 1 ระหว่าง เบกกี ลินช์ กับ ซาชา แบงส์ ซึ่งผลออกมาเป็นเสมอ[34] ทำให้ต้องรีแมตช์กันอีกในสแมคดาวน์ 3 มีนาคม โดยชาร์ลอตต์มาก่อกวนทำให้ไม่มีผลตัดสิน ก่อนจะประกาศเป็นแมตช์สามเส้าชิงแชมป์ดีวาส์ในเรสเซิลเมเนีย[44]", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32" }, { "docid": "347305#1", "text": "โดยตั๋วได้ออกจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 เรสเซิลเมเนีย ครั้งที 23 ทำรายได้ไปถึง 5.38 ล้านในการจำหน่ายตั๋ว ซึ่งทำลายสถิติก่อนหน้านี้อยู่ที่ 3.9 ล้านที่จัดขึ้นในศึกเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 18 ต่อมาตั้งแต่ปี 2013 ได้กลายเป็นศึกที่มีผู้เข้าชมในสนามมากที่สุดอันดับที่สองในประวัติศาสตร์เรซเซิลมาเนีย ซึ่งถูกทำลายสถิติด้วยผู้เข้าชมในสนาม 80,676 คน ในศึกเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 23" }, { "docid": "772262#2", "text": "เพลงประกอบสำหรับเรสเซิลเมเนียคือ \"Greenlight\" (โดย Pitbull ร่วมด้วย Flo Rida และ LunchMoney Lewis), \"Like a Champion\" (โดย Danger Twins), \"Flame\" (โดย Tinashe) และ \"Am I Savage?\" (โดย Metallica)[13] Pitbull, Flo Rida และ LunchMoney Lewis จะมาร่วมร้องเพลง \"Greenlight\" ในงาน และ Pitbull จะร้องเพลง \"Options\" พร้อมกับ Stephen Marley[14] วันที่ 17 มีนาคม 2017 ได้ประกาศว่านักร้องชาวอเมริกัน Tinashe จะมาร้องเพลง \"America the Beautiful\" ในช่วงเปิดรายการเรสเซิลเมเนีย[15]", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33" }, { "docid": "772262#6", "text": "ในปี 2014 เซท รอลลินส์ได้กลายเป็นฝ่ายอธรรมโดยการหักหลังดีน แอมโบรส และโรแมน เรนส์ เพื่อนร่วมกลุ่มเดอะชีลด์ และได้ไปเข้าร่วมกลุ่มดิออธอริตีภายใต้การนำของทริปเปิลเอช[38] รอลลินส์ได้คว้าแชมป์ WWE ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 31 แต่ต้องสละไปในเดือนพฤศจิกายน 2015 เนื่องจากได้รับบาดเจ็บที่เข่าขวา[39][40] ก่อนจะกลับมาในกลางปี 2016 และได้รับการคัดเลือกให้เป็นสตาร์ฝั่งรอว์ เขาแพ้ให้ฟิน บาเลอร์ ในการหาแชมป์ Universal Championship คนแรกในซัมเมอร์สแลม (2016)[41] แต่หลังจากนั้นบาเลอร์ได้สละแชมป์เพราะบาดเจ็บ[42] ในรอว์ 29 สิงหาคม รอลลินส์ได้เข้าร่วมแมตช์สี่เส้าเพื่อหาแชมป์คนใหม่[43] แต่ระหว่างแมตช์ทริปเปิลเอชได้ปรากฏตัวและหักหลังรอลลินส์โดยจับใส่ Pedigree และให้เควิน โอเวนส์จับกดคว้าแชมป์ไป[44][45] ในรอว์ 23 มกราคม ระหว่างแมตช์กับแซมี เซย์นนั้น เพลงเปิดตัวของทริปเปิลเอชก็ดังขึ้น ทำให้รอลลินส์เสียสมาธิจนแพ้เสียสิทธิ์เข้าร่วมรอยัลรัมเบิล[46] รอลลินส์ได้ปรากฏตัวในเอ็นเอ๊กซ์ที เทคโอเวอร์: แซนแอนโทนีโอ โดยเรียกให้ทริปเปิลเอชออกมาเจอบนเวที แต่ทริปเปิลเอชได้เรียกรปภ.มาลากตัวออกจากสนาม[47][48] ในรอว์ 30 มกราคม ทริปเปิลเอชได้เรียกรอลลินส์ออกมาเจอกันบนเวทีแต่รอลลินส์ถูกซามัว โจมาลอบทำร้าย ก่อนจับใส่ท่า Coquina Clutch[33] ทำให้ได้รับบาดเจ็บที่เข่าขวาอีกครั้ง[49][50][51] ในรอว์ 27 กุมภาพันธ์ รอลลินส์ได้ออกมาพูดถึงอาการบาดเจ็บ และบอกกับทริปเปิลเอชว่าเขาจะอยู่ที่เรสเซิลเมเนียด้วย[36] ในรอว์ 13 มีนาคม รอลลินส์ได้ออกมาช่วยผู้จัดการทั่วไปของรอว์ มิค โฟลีย์จากการทำร้ายของทริปเปิลเอช แต่ก็ถูกทริปเปิลเอชเล่นงานเข่าข้างที่เจ็บซ้ำ[52] ในรอว์ 27 มีนาคม ทั้งคู่ได้เซ็นสัญญาปล้ำแมตช์ Non-Sanctioned ในเรสเซิลเมเนีย(ถ้าบาดเจ็บ หรือพิการ จะไม่มีสิทธิ์ดำเนินการฟ้องร้องใดๆ ต่อทริปเปิลเอช)[53]", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33" }, { "docid": "772262#5", "text": "ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 20 โกลด์เบิร์กชนะบร็อก เลสเนอร์ไปในการเจอกันครั้งแรกของพวกเขา ก่อนจะออกจากสมาคมทั้งคู่[31] เลสเนอร์ได้กลับมาในปี 2012 และโกลด์เบิร์กได้กลับมาในปี 2016 ในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2016) ทั้งคู่ได้เจอกันเป็นครั้งที่2 ซึ่งโกลด์เบิร์กเอาชนะไปได้ด้วยเวลาเพียง 1:26 วินาที[32] ต่อมาทั้งคู่ได้ประกาศเข้าร่วมแมตช์รอยัลรัมเบิล โดยเลสเนอร์ออกมาเป็นลำดับที่26 และโกลด์เบิร์กลำดับที่28 โกลด์เบิร์กย้ำแค้นโดยการเหวี่ยงเลสเนอร์ลงจากเวทีตกรอบ ก่อนถูกดิอันเดอร์เทเกอร์เหวี่ยงตกเวทีตามไป[21] ในรอว์คืนต่อมา เลสเนอร์กับพอล เฮย์แมนได้ออกมาท้าเจอโกลด์เบิร์กในเรสเซิลเมเนีย[33] สัปดาห์ต่อมา โกลด์เบิร์กได้ประกาศรับคำท้าของเลสเนอร์ และขอท้าชิงแชมป์ WWE Universal Championship กับเควิน โอเวนส์ในฟาสต์เลน (2017)[34] ในรอว์ 20 กุมภาพันธ์ เลสเนอร์กับเฮย์แมนให้สัมภาษณ์กับไมเคิล โคลว่าถ้าโกลด์เบิร์กได้แชมป์ในฟาสต์เลน เลสเนอร์จะขอท้าชิงแชมป์ในเรสเซิลเมเนียทันที[35] ในสัปดาห์ถัดมา โกลด์เบิร์กบอกว่าเขาจะคว้าแชมป์จากโอเวนส์เพื่อจะไปป้องกันแชมป์กับเลสเนอร์[36] ในฟาสต์เลน โกลด์เบิร์กสามารถคว้าแชมป์มาได้ ทำให้แมตช์กับเลสเนอร์เป็นการชิงแชมป์[37]", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33" }, { "docid": "211890#0", "text": "เรสเซิลเมเนีย () คือรายการถ่ายทอดสดการแสดงมวยปล้ำอาชีพ ของ WWE ซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงปลายเดือนมีนาคม หรือต้นเดือนเมษายน โดยเรสเซิลเมเนียถูกเลือกให้เป็นรายการถ่ายทอดสดของ WWE ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด และเกิดขึ้นยาวนานมากที่สุดในการแสดงมวยปล้ำอาชีพของโลก การแสดงเกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1985 ปัจจุบันถูกจัดขึ้นมาแล้วทั้งสิ้น 33 ครั้ง", "title": "เรสเซิลเมเนีย" }, { "docid": "246123#1", "text": "ก่อนการคัดเลือกสถานที่ที่ต้องใช้จัด ในศึก เรสเซิลเมเนีย ในปี 2010 ทาง Global Spectrum, ซึ่งเป็นผู้ประสานงานของสนามกีฬาของมหาวิทยาลัยฟินิกซ์ได้ติดต่อไปทาง เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (WWE) ให้ร่วมคัดเลือกสถานที่นี้ ให้เป็นสถานที่จัดของ เรสเซิลเมเนีย ในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 2008 ทาง WWE ได้คัดเลือกให้สถานที่นี้จัด ศึก เรสเซิลเมเนีย ในปี 2010.[3] โดยมีการแถลงข่าวในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 ที่สนาม ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ฟีนิกซ์ สเตเดียมซ์ ว่านี้ คือ จุดสำคัญที่ เรสเซิลเมเนีย ได้มาจัด ณ รัฐฟินิกซ์ เป็นครั้งแรก โดยถือว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยบัตรจำหน่ายที่ ทิคเกตส์มาสเตอร์ ในเวลา 10.00 น. ตามเขตเวลา MST", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26" }, { "docid": "772262#3", "text": "เรสเซิลเมเนีย 33 กับประเภทแมตช์การปล้ำ จะถูกกำหนดโดยการวางพล็อตเรื่อง และเขียนบท โดยนักมวยปล้ำจะถูกวางตัวให้เป็น ธรรมะ หรือ อธรรม ทั้งหมดโดยการจัดแมตช์ นักมวยปล้ำทั้งหมดที่มาจากรอว์, สแมคดาวน์ไลฟ์ และ 205 ไลฟ์ ของครุยเซอร์เวท บางคนเท่านั้นที่มีความบาดหมางจากรายการทีวีของ WWE จะได้มาแสดงที่เรสเซิลเมเนีย[16][17][18][19][20]", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33" }, { "docid": "518703#20", "text": "รอลลินส์ได้ประกาศจะเข้าร่วมรอยัลรัมเบิล (2017) แต่เสียสิทธิ์แพ้ให้แซมี เซย์นเพราะการก่อกวนของทริปเปิลเอช รอลลินส์ได้ปรากฏตัวในเรียกให้ทริปเปิลเอชออกมาเจอบนเวที แต่ทริปเปิลเอชได้สั่งรปภ.มาลากตัวออกไปจากสนาม รอว์ 30 มกราคมรอลลินส์ได้เผชิญหน้าท้าทายกับทริปเปิลเอช แต่ถูกซามัว โจเปิดตัวมาลอบทำร้าย ก่อนจับใส่ท่า Coquina Clutch และทำให้ได้รับบาดเจ็บเข่าขวาอีกครั้ง รอว์ 27 กุมภาพันธ์ได้ออกมาพูดถึงอาการบาดเจ็บ และบอกกับทริปเปิลเอชว่าเขาจะอยู่ที่เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33ด้วย รอว์ 13 มีนาคมได้ออกมาช่วยมิค โฟลีย์จากการทำร้ายของทริปเปิลเอช แต่ก็ถูกเล่นงานที่เข่าซ้ำ รอว์ 27 มีนาคมมีการเซ็นสัญญาปล้ำแบบ Unsanctioned(ถ้าบาดเจ็บ, พิการ หรือตาย จะไม่มีสิทธิ์ดำเนินการฟ้องร้องใดๆ ต่อทริปเปิลเอช) ในเรสเซิลเมเนียรอลลินส์เอาชนะได้ด้วยท่า Pedigree ของทริปเปิลเอช ในซัมเมอร์สแลม (2017)ได้คว้าแชมป์รอว์แท็กทีม WWEร่วมกับแอมโบรส ก่อนเสียแชมป์ให้ซีซาโรและเชมัส หลังจากแอมโบรสได้รับบาดเจ็บ รอลลินส์จึงเปลี่ยนมาจับคู่กับเจสัน จอร์แดนและคว้าแชมป์รอว์แท็กทีมร่วมกันชนะซีซาโรและเชมัส ก่อนเสียคืนในรอยัลรัมเบิล (2018) จากนั้นรอลลินส์ได้กลับมาฉายเดี่ยวอีกครั้งและได้คว้าแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัลในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 34 ทำให้เป็นแชมป์ทริปเปิลคราวน์และแชมป์แกรนด์สแลมของWWE ก่อนเสียแชมป์ให้ดอล์ฟ ซิกก์เลอร์", "title": "เซท รอลลินส์" }, { "docid": "832115#6", "text": "ในเรสเซิลเมเนีย 33 Brock Lesnar ได้คว้าแชมป์ Universal และ Roman Reigns ชนะ Undertaker ผู้จัดการของ Lesnar อย่าง Paul Heyman ได้เปรยถึงแมตช์ชิงแชมป์ระหว่าง Lesnar และ Reigns ซึ่งเป็นเพียงสองคนที่ชนะ Undertaker ในเรสเซิลเมเนีย จากการที่ผู้ชนะ Royal Rumble 2018 ประกาศเลือกท้าชิงแชมป์ WWE ของฝั่ง SmackDown ทำให้มีการจัดแมตช์ Elimination Chamber หาผู้ท้าชิงกับ Lesnar ที่เรสเซิลเมเนียซึ่ง Reigns เป็นผู้ชนะไปชิงกับ Lesnar และยังเป็นการรีแมตช์จากเรสเซิลเมเนีย 31 อีกด้วย แต่หลังจากนั้น Lesnar ก็ไม่ยอมปรากฏตัวใน Raw มาหลายสัปดาห์จน Reigns ไม่พอใจ จึงไปขอพูดคุยกับ Vince McMahon ก่อนที่ทาง Vince จะยืนยันว่าสั่งแบน Reigns ห้ามปรากฏตัวใน Raw อย่างไม่มีกำหนด สัปดาห์ต่อมา Reigns ออกมา แล้วบอกไม่แคร์ไม่สนใจกฎอะไรทั้งนั้น สนใจอยู่อยู่เรื่องเดียวคือรอเจอกับ Lesnar จากนั้นรปภ 3 คนมาจับกุม แต่ Reigns ขัดขืนและอัดรปภเละเทะ Lesnar ก็ออกมาเล่นงาน Reigns ทั้ง Suplex ใช้เก้าอี้ตี และ F5 จนหมดสภาพ อีกสัปดาห์ต่อมา Reigns ก็โดน Lesnar เล่นงานอีกครั้งด้วยเก้าอี้และ F5 ใส่บันไดเหล็ก สัปดาห์สุดท้าย Reigns ออกมา superman punch ใส่ Lesnar หลายครั้งก่อนโดน F5", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 34" }, { "docid": "703994#11", "text": "ในฟาสต์เลน ระหว่างแมตช์สามเส้า ขณะที่บร็อก เลสเนอร์กำลังใส่ Kimura Lock เล่นงานโรแมน เรนส์อยู่นั้น ดีน แอมโบรสได้เอาเก้าอี้ตีใส่หลังเลสเนอร์จนกลิ้งตกเวที ทำให้หมดโอกาสชิงแชมป์เป็นคู่เอกในเรสเซิลเมเนีย[32] วันรุ่งขึ้นก่อนถ่ายทอดสดรอว์ เลสเนอร์ได้มาลอบทำร้ายแอมโบรสตั้งแต่มาถึงสนาม และก็จับสแลมใส่กระจกหน้ารถยนต์จนพังและแอมโบรสก็ต้องถูกส่งขึ้นรถพยาบาลไป ในรอว์ พอล เฮย์แมน ได้ท้าสตาร์ทุกคนมาเจอกับเลสเนอร์ในเรสเซิลเมเนีย แอมโบรสขับรถพยาบาลลุยเข้ามาในสนาม และก็คลานมาหาเลสเนอร์อย่างทุลักทุเล แต่เลสเนอร์เดินเหยียบหน้าแอมโบรสแล้วจะเดินกลับไป แต่แอมโบรสตะโกนเรียกเลสเนอร์ และท้าให้เจอกันในเรสเซิลเมเนีย ในแมตช์ไม่มีกฏกติกาแบบสตรีตไฟต์ (No Holds Barred Street Fight match) เลสเนอร์เดินมาจับแอมโบรสใส่ F-5 โดยเฮย์แมนพูดรับคำท้าให้เลสเนอร์[33] ในรอว์ วันที่ 14 มีนาคม ตำนานฮาร์ดคอร์มิค โฟลีย์ได้มอบไม้เบสบอลพันลวดหนามให้กับแอมโบรส[37] สัปดาห์ถัดมาในรอว์ ตำนานฮาร์ดคอร์เทร์รี ฟังก์ได้มอบเลื่อยให้กับแอมโบรส[38] ในสแมคดาวน์ วันที่ 24 มีนาคม เลสเนอร์ได้ท้าแอมโบรสออกมาสู้ แต่เดอะไวแอ็ตต์แฟมิลีได้ออกมารุมเล่นงาน แอมโบรสวิ่งออกมาพร้อมกับไม้เคนโด้ไล่ฟาดพวกไวแอ็ตต์ และก็ฟาดใส่เลสเนอร์ด้วย เลสเนอร์สวนด้วย Clothesline และจับมาใส่ F5[43][39]", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32" }, { "docid": "772262#1", "text": "เรสเซิลเมเนียถือว่าเป็นรายการเรือธงของ WWE[5] และได้รับการอธิบายว่าซูเปอร์โบว์ลของความบันเทิงกีฬา[6] ตั๋วไปเริ่มขายตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2016 กับตั๋วแต่ละต้นทุน $38 ถึง $2,130[7] วันที่ 31 ตุลาคม 2016 ได้เริ่มขายแพ็กเกจท่องเที่ยวกับที่พักตั้งแต่ $950 $5,900[7][8] สมาชิกใหม่สำหรับ WWE Network สามารถชมงานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม[9] จะมีการออกอากาศพรีโชว์ชั่วโมงที่สองพร้อมๆกับทางช่อง USA Network[10] วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2017 ได้มีการคอนเฟิร์มว่า เดอะนิวเดย์ (บิ๊กอี, โคฟี คิงส์ตัน และเซเวียร์ วูดส์) จะเป็นโฮสต์ของเรสเซิลเมเนีย 33[11][12]", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33" }, { "docid": "366942#7", "text": "ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 30 เลสเนอร์ได้เอาชนะดิอันเดอร์เทเกอร์ และทำลายสถิติของอันเดอร์เทเกอร์เป็น 21-1 ทำให้คนดูช็อกกันทั้งสนาม ในรอว์ 21 กรกฎาคม 2014 ทริปเปิลเอชออกมาเพื่อประกาศว่าจะให้ใครชิงแชมป์ WWEกับจอห์น ซีนาในซัมเมอร์สแลม (2014) เฮย์แมนออกมาและก็บอกว่าแผน A ของทริปเปิลเอชคือแรนดี ออร์ตัน ดูจะไม่เวิร์คเท่าไหร่เพราะโดนโรแมน เรนส์ตามล่าอยู่ ส่วนแผน B อย่างเซท โรลลินส์ก็โดนดีน แอมโบรสก่อกวนไม่เลิก ดังนั้นคงต้องใช้แผน C และเลสเนอร์ก็ออกมา ทำให้ทริปเปิลเอชไม่มีทางเลือกนอกจากรับข้อเสนอของเฮย์แมนให้เลสเนอร์ได้ชิงแชมป์กับซีนาในซัมเมอร์สแลม และเลสเนอร์ก็คว้าแชมป์ได้สำเร็จ ก่อนจะเสียแชมป์ให้เซท โรลลินส์ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 31 วันที่ 19 กรกฎาคม 2016 เลสเนอร์ได้ถูกดราฟท์ไปรอว์พร้อมกับเฮย์แมน ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33 เลสเนอร์ได้คว้าแชมป์ยูนิเวอร์แซล WWE", "title": "พอล เฮย์แมน" }, { "docid": "313907#0", "text": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 เป็นการแสดงมวยปล้ำอาชีพแบบ เพย์-เพอร์-วิว (PPV) ของศึกเรสเซิลเมเนีย เป็นครั้งที่ 27 จัดโดย เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (WWE), โดยมีกำหนดจัดวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2011 ที่ สนามจอร์เจียโดม ในแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย มีผู้เข้าชมในสนามนี้ถึง 71,617 คน โดยเป็นศึกที่รวมการแสดงนักมวยปล้ำแต่ละค่ายของ WWE เอาไว้ทั้งหมด", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27" }, { "docid": "703994#18", "text": "ในฟาสต์เลน เอเจ สไตส์เอาชนะคริส เจริโคไปได้ด้วยท่าซับมิสชั่น[32] ต่อมาทั้งคู่ได้ร่วมทีมกันในนาม Y2AJ และได้ท้าชิงแชมป์แท็กทีมกับเดอะนิวเดย์[33][34] ในรอว์ วันที่ 7 มีนาคม แต่ไม่สำเร็จ หลังแมตช์เจริโคได้ทำร้ายเอเจและกลายเป็นฝ่ายอธรรม[49] ในรอว์ วันที่ 21 มีนาคม เอเจได้ขอท้าเจอกับเจริโคในเรสเซิลเมเนีย[38][50] ซึ่งในรอว์ต่อมา 28 มีนาคม เจริโคได้ประกาศรับคำท้า[39]", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32" }, { "docid": "246123#2", "text": "ในปี ค.ศ. 2010 รูปแบบการจัดศึก เรสเซิลเมเนีย ได้ลงนิตยสารของ WWE แสดงภาพว่า ระหว่างการจัดศึก เรสเซิลเมเนีย จะมีการเปิดหลังคาของสนามเพื่อให้โล่งแจ้งอีกด้วย หลังจากที่มีการจัด เรสเซิลเมเนีย ในที่โล่งแจ้งมาแล้ว 2 ครั้ง คือ เรสเซิลเมเนีย IX และ เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 24", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26" }, { "docid": "772262#9", "text": "ในรอยัลรัมเบิล Kickoff แกลโลส์และแอนเดอร์สันได้คว้าแชมป์ WWE Raw Tag Team Championshipจากซีซาโรและเชมัส[67] เชมัสและซีซาโรได้ใช้สิทธิ์รีแมตช์แต่เอ็นโซและแคสมาป่วนแมตช์ทำให้ไม่ได้แชมป์[34] ในรอว์ 20 กุมภาพันธ์ เอ็นโซและแคสเอาชนะเชมัสและซีซาโรได้สิทธิ์ไปชิงแชมป์ในฟาสต์เลน[35] แต่ก็ไม่ได้แชมป์[37] ในรอว์คืนถัดมา เชมัสและซีซาโรได้ก่อกวนการชิงแชมป์ของเอ็นโซและแคส ผู้จัดการทั่วไปของรอว์ มิค โฟลีย์ ประกาศให้เชมัสและซีซาโรเจอกับเอ็นโซและแคสในรอว์สัปดาห์ถัดไป เพื่อหาทีมไปชิงแชมป์กับแกลโลส์และแอนเดอร์สันในเรสเซิลเมเนีย[64] ผลปรากฏว่าแกลโลส์และแอนเดอร์สันออกมาป่วนทำให้ไม่มีทีมชนะ โฟลีย์เลยจัดชิงแชมป์แบบสามเส้าในเรสเซิลเมเนีย[52] และมีการประกาศเพิ่มเติมเป็นการไต่บันได[68]", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33" }, { "docid": "772262#17", "text": "เรสเซิลเมเนีย รายชื่อรายการเพย์-เพอร์-วิวของดับเบิลยูดับเบิลยูอี", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33" }, { "docid": "166390#29", "text": "ได้แชมป์โลกทั้งหมด 16 สมัย (แชมป์ WWE 13 สมัย และแชมป์โลกเฮฟวี่เวท 3 สมัย) เทียบเท่าสถิติแชมป์โลกของริก แฟลร์ เป็นนักมวยปล้ำคนแรกที่คว้าแชมป์ WWE ได้มากกว่า 10 สมัย ได้แชมป์ยูเอสครั้งแรกในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 20 ชนะ บิ๊กโชว์ ได้แชมป์ WWE ครั้งแรกในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 21 ชนะ เจบีแอล ได้แชมป์โลกเฮฟวี่เวท ครั้งแรกในเซอร์ไวเวอร์ ซีรีส์ (2008) ชนะ คริส เจริโค เคยได้แชมป์แท็กทีมร่วมกับ ชอว์น ไมเคิลส์, บาทิสตา และเดอะมิซ ทั้งที่เป็นคู่กรณีกัน เป็นผู้ชนะรอยัลรัมเบิลถึง 2 ครั้งในปี 2008 และ 2013 เป็นคนแรกที่ใช้กระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์และไม่ได้แชมป์ ดัดแปลงเข็มขัดแชมป์ WWE แบบหมุนได้ ทำให้เป็นสินค้าที่ขายดีที่สุดในรอบ 5 ปี เปิดตัวในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 23 ใช้งบประมาณสูงสุดในประวัติศาสตร์ถึง 100,000 ดอลลาร์ ซีนา และ เรย์ มิสเตริโอ คือสองคนที่แฟนๆ ต้องการลายเซ็นมากที่สุด เป็นนักมวยปล้ำคนเดียวที่เพลงเปิดตัวมีผู้โหลดในไอทูนส์สูงสุดอันดับที่ 1 โดยครองถึง 2 สัปดาห์ เป็นนักมวยปล้ำคนแรกที่ชนะ อูมากา, รูเซฟ, เควิน โอเวนส์ สามารถยกนักมวยปล้ำที่ตัวใหญ่กว่าเขาได้ทุกคน เช่น บิ๊กโชว์, มาร์ก เฮนรี เป็นต้น ปล้ำเรสเซิลเมเนียมาแล้ว 14 ครั้ง โดยชนะ 10 แพ้ 4 ครั้งที่ 20 ชนะ บิ๊กโชว์ ชิงแชมป์ยูเอส ครั้งที่ 21 ชนะ เจบีแอล ชิงแชมป์ WWE ครั้งที่ 22 ชนะ ทริปเปิลเอช ชิงแชมป์ WWE ครั้งที่ 23 ชนะ ชอว์น ไมเคิลส์ ชิงแชมป์ WWE ครั้งที่ 24 แพ้ แรนดี ออร์ตัน โดยมีทริปเปิลเอชร่วมปล้ำด้วย ชิงแชมป์ WWE ครั้งที่ 25 ชนะ เอดจ์ และ บิ๊กโชว์ ชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท ครั้งที่ 26 ชนะ บาทิสตา ชิงแชมป์ WWE ครั้งที่ 27 แพ้ เดอะมิซ ชิงแชมป์ WWE ครั้งที่ 28 แพ้ เดอะร็อก ครั้งที่ 29 ชนะ เดอะร็อก ชิงแชมป์ WWE ครั้งที่ 30 ชนะ เบรย์ ไวแอ็ตต์ ครั้งที่ 31 ชนะ รูเซฟ ชิงแชมป์ยูเอส ครั้งที่ 33 จับคู่กับ นิกกี เบลลา ชนะ เดอะมิซ และมารีส ครั้งที่ 34 แพ้ ดิอันเดอร์เทเกอร์ ปล้ำเป็นคู่เอกปิดเรสเซิลเมเนียมาแล้ว 5 ครั้ง (ครั้งที่ 22, 23, 27, 28, 29) เคยชนะผู้ที่เคยก่อตั้งทีมเดียวกันในนามดี-เจเนอเรชันเอ็กซ์ ทั้งทริปเปิลเอช และชอว์น ไมเคิลส์มาแล้วในเรสเซิลเมเนีย เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28 เป็นครั้งแรกที่ปล้ำโดยที่ไม่มีเข็มขัดเส้นใดเป็นเดิมพัน เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32 เป็นครั้งแรกที่ไม่ได้ร่วมปล้ำเพราะบาดเจ็บ เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33 เป็นครั้งแรกที่ปล้ำแบบแท็กทีม ปล้ำไอควิต แมทช์มาแล้ว 5 ครั้ง และยังไม่เคยแพ้ใคร จัดจ์เมนท์เดย์ (2005) ชนะ เจบีแอล ชิงแชมป์ WWE เบรกกิ้งพอยท์ (2009) ชนะ แรนดี ออร์ตัน ชิงแชมป์ WWE โอเวอร์เดอะลิมิต (2010) ชนะ บาทิสตา ชิงแชมป์ WWE โอเวอร์เดอะลิมิต (2011) ชนะ เดอะมิซ ชิงแชมป์ WWE เพย์แบ็ก (2015) ชนะ รูเซฟ ชิงแชมป์ยูเอส ปล้ำไอเอิร์น แมน แมทช์ครั้งแรก ชนะ แรนดี ออร์ตัน 6-5 ในแบรกกิ้ง ไรท์ส (2009) ปล้ำมันนีอินเดอะแบงก์แลดเดอร์แมตช์ครั้งแรกในปี 2012", "title": "จอห์น ซีนา" }, { "docid": "772262#15", "text": "วันที่ 7 มีนาคม ได้ประกาศจัดแบทเทิลรอยัลชิงรางวัลอนุสรณ์สถานอ็องเดรเดอะไจแอนต์ครั้งที่4 ในเรสเซิลเมเนีย[30] ก่อนเริ่มรายการ[77]", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33" }, { "docid": "237984#18", "text": "ในรอยัลรัมเบิล (2017) อันเดอร์เทเกอร์ได้เข้าร่วมแมตช์รอยัลรัมเบิลเป็นลำดับที่29 แต่ถูกเหวี่ยงออกจากเวทีโดยโรแมน เรนส์ ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33ได้แพ้ให้กับเรนส์และเป็นการพ่ายแพ้ครั้งที่สองของอันเดอร์เทเกอร์ในเรสเซิลเมเนีย หลังแมตช์ได้ถอดถุงมือ, ถอดเสื้อคลุม, และถอดหมวกวางทิ้งไว้บนเวทีก่อนจะเดินจากไป เหมือนจะบอกว่าเขารีไทร์แล้ว", "title": "ดิอันเดอร์เทเกอร์" }, { "docid": "648438#0", "text": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 31 () เป็นการแสดงมวยปล้ำอาชีพแบบเพย์-เพอร์-วิว (PPV) ของเรสเซิลเมเนีย จัดโดยดับเบิลยูดับเบิลยูอี (WWE) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2015 ที่สนามลีวายส์ สเตเดียม ที่เมืองซานตา คลารา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นครั้งที่ 6 ที่จัดขึ้นในรัฐแคลิฟอร์เนีย (หลังจากครั้งที่ 2, VII, XII, 2000, และ 21) และเป็นครั้งที่ที่หกที่จัดขึ้นในสนามกลางแจ้ง (หลังจากครั้งที่ 9, 24, 26, 28 และ 29)", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 31" }, { "docid": "772262#8", "text": "ในโรดบล็อก: เอ็นด์ออฟเดอะไลน์ ชาร์ลอตต์ แฟลร์ได้เอาชนะซาชา แบงส์ คว้าแชมป์ WWE Raw Women's Championship สมัยที่4 จบเรื่องราวที่ยาวนานของทั้งคู่ และตามข้อตกลงหลังจบแมตช์นี้ ตราบใดที่ใครคนนั้นยังเป็นแชมป์อยู่ จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ชิงแชมป์กันได้อีก[60] ชาร์ลอตต์ได้เริ่มเปิดศึกกับเบย์ลีย์ ในรอยัลรัมเบิลชาร์ลอตต์สามารถป้องกันแชมป์กับเบย์ลีย์ได้[21] รอว์คืนต่อมาเบย์ลีย์ได้จับกดชนะชาร์ลอตต์ในแมตช์แทกทีม[33] จึงได้สิทธิ์รีแมตช์ชิงแชมป์ในรอว์ 13 กุมภาพันธ์ และเบย์ลีย์ก็สามารถคว้าแชมป์ไปได้โดยการช่วยเหลือจากซาชา[62] ในฟาสต์เลนเบย์ลีย์ป้องกันแชมป์กับชาร์ลอตต์ได้โดยการช่วยเหลือจากซาชาอีกครั้ง[37] ในรอว์คืนถัดมา ซาชาบอกว่าเธอและเบย์ลีย์ควรจะเจอกันชิงแชมป์ในเรสเซิลเมเนีย ชาร์ลอตต์ออกมาและเรียกร้องให้เธอควรจะมีแมตช์เนื่องจากการก่อกวนของซาชา ผู้จัดการทั่วไปของรอว์ มิค โฟลีย์ ประกาศว่าชาร์ลอตต์และซาชาจะต้องเจอกันเพื่อไปชิงแชมป์กับเบย์ลีย์ อย่างไรก็ตามสเตฟานีเปลี่ยนแผนการเหล่านั้น เธอให้สิทธิ์ชาร์ลอตต์ได้ชิงแชมป์ในเรสเซิลเมเนีย แต่ซาชาต้องเจอกับเบย์ลีย์เพื่อสิทธิ์เข้าร่วมแมตช์ชิงแชมป์ และซาชาเอาชนะเบย์ลีย์ไปได้ทำให้เป็นการชิงแชมป์สามเส้า[64] ในรอว์ 20 มีนาคม ไนอา แจ็กซ์ได้ชนะเบย์ลีย์ในแมตช์ไม่มีกฏกติกา ทำให้แมตช์ชิงแชมป์ในเรสเซิลเมเนียกลายเป็นสี่เส้า[65] และมีการประกาศเพิ่มเติมเป็นแมตช์สี่เส้าคัดออก[66]", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33" }, { "docid": "347307#0", "text": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 19 () เป็นคึกใหญ่เพย์ - เพอร์ -วิวของมวยปล้ำอาชีพของสมาคมเวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ครั้งที่ 19 จัดในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2003 ในสนามเซฟโก้ ฟิลด์ เมืองซีแอตเทิล ,วอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ผู้สนับสนุน คือ Snickers โดยมีจำนวนผู้เข้าชมในสนามทั้งสิ้น 54,097 คน จากทั้งห้าสิบรัฐและหลายประเทศจากทั่วโลกในสนามเซฟโก้ ฟิลด์ ผลการเข้าดูทำรายได้ถึง 2,760,000 ดอลล่าร์สหรัฐ และเป็นศึกเรสเซิลมาเนียครั้งแรกที่จัดภายใต้ชื่อ เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 19" }, { "docid": "836306#2", "text": "ในรอว์ (27 มกราคม ค.ศ. 2017) โกลด์เบิร์กได้ปรากฏตัวเป็นแขกรับเชิญคนแรกในรายการ \"The Kevin Owens Show\" ของแชมป์ยูนิเวอร์แซล WWE เควิน โอเวนส์ ทั้งคู่ได้เผชิญหน้ากัน และโกลด์เบิร์กได้ประกาศไว้ว่าจะชนะแมทช์รอยัลรัมเบิล และจะไปชิงแชมป์ยูนิเวอร์แซลจากโอเวนส์ ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33 ต่อมาหลังจากที่เค้าแพ้จากแมทช์รอยัลรัมเบิลมาแล้ว โกลด์เบิร์กได้ปรากฏตัวในรอว์ (6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017) พร้อมกับมาประกาศให้คำตอบต่อพอล เฮย์เมน ในการเจอกับบร็อก เลสเนอร์อีกครั้งในเรสเซิลเมเนีย 33 หลังจากที่เขาเจอกันเมื่อ 14 ปีที่แล้วในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 20 ซึ่งโกลด์เบิร์กตอบตกลง ต่อมาโกลด์เบิร์กได้มาขัดจังหวะโอเวนส์ และแชมป์ยูเอส คริส เจอริโค ซึ่งเขาทั้งคู่ได้แสดงการยอมรับความท้าทายของโกลด์เบิร์ก และโกลด์เบิร์กได้ท้าทายโอเวนส์ เจอกับเค้าในฟาสต์เลนชิงแชมป์ยูนิเวอร์แซล ซึ่งเจริโคได้รับการยอมรับการแข่งขันในนามของโอเวนส์ สัปดาห์ต่อมา โอเวนส์ได้หักหลังเจอริโคในงานฉลอง \"Festival of Friendship\" ยุติบทบาทเพื่อนที่แสนดีของทั้งคู่", "title": "ฟาสต์เลน (2017)" }, { "docid": "772262#18", "text": "หมวดหมู่:เรสเซิลเมเนีย หมวดหมู่:มวยปล้ำอาชีพในปี พ.ศ. 2560 หมวดหมู่:กีฬาในออร์แลนโด (รัฐฟลอริดา) หมวดหมู่:มวยปล้ำในออร์แลนโด (รัฐฟลอริดา) หมวดหมู่:รายการของช่องโทรทัศน์ดับเบิลยูดับเบิลยูอี เน็ตเวิร์คในปี พ.ศ. 2560", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33" } ]
2550
ประเทศกัมพูชาเคยตกเป็นอาณานิคมของประเทศอะไร?
[ { "docid": "1937#24", "text": "ยุคมืดของกัมพูชา เริ่มตั้งแต่อาณาจักรอยุธยาได้โจมตีอาณาจักรเขมร และ ได้เผา พระนคร เมืองหลวงของอาณาจักรเขมร ราบเป็นหน้ากลอง ทำให้อาณาจักรเขมรเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศตั้งแต่บัดนั้นมา เขมรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในฐานะดินแดนประเทศราช อาณาจักรอยุธยาปกครองเขมรเป็นเวลาเกือบ 400 ปี ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เขมรตกอยู่ภายใต้การควบคุมของจักรวรรดิสยามอย่างเข้มงวด ในสมัยรัชกาลที่3 ได้เกิด สงครามอานามสยามยุทธทำให้กัมพูชาเป็นรัฐอารักขาระหว่างสยามกับญวณ ก่อนที่จะตกเป็นของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา", "title": "ประเทศกัมพูชา" }, { "docid": "1937#3", "text": "ใน พ.ศ. 1345 พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ปราบดาภิเษกตนเป็นพระมหากษัตริย์ อันเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิขะแมร์ อำนาจและความมั่งคังมหาศาลของจักรวรรดิขะแมร์ที่มีพระมหากษัตริย์ครองราชสมบัติสืบต่อกันมานั้นได้มีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเวลากว่า 600 ปี กัมพูชาถูกปกครองเป็นเมืองขึ้นของประเทศเพื่อนบ้าน กระทั่งถูกฝรั่งเศสยึดเป็นอาณานิคมในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 กัมพูชาได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2496 สงครามเวียดนามได้ขยายเข้าสู่กัมพูชา ทำให้เขมรแดงขึ้นสู่อำนาจ ซึ่งยึดกรุงพนมเปญได้ใน พ.ศ. 2518 กัมพูชาผงาดขึ้นอีกหลายปีให้หลังภายในเขตอิทธิพลสังคมนิยมเป็นสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชากระทั่ง พ.ศ. 2536 หลังจากหลายปีแห่งการโดดดี่ยว ชาติซึ่งเสียหายจากสงครามก็ได้รวมเข้าด้วยกันอีกครั้งภายใต้ระบอบราชาธิปไตยในปีเดียวกันนั้นเอง", "title": "ประเทศกัมพูชา" }, { "docid": "1937#25", "text": "กัมพูชาตกเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาอารักขาระหว่างฝรั่งเศส-กัมพูชาเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2406 ในสมัยพระนโรดม โดยสยามพยามยามคัดค้านแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ในช่วงแรก ฝรั่งเศสปกครองกัมพูชาโดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการภายในมากนัก และช่วยค้ำจุนราชบัลลังก์ของกัมพูชา โดยช่วยปราบกบฏต่าง ๆ จน พ.ศ. 2426 - 2427 หลังจากยึดครองเวียดนามได้ทั้งหมด โดยพยายามลิดรอนอำนาจของกษัตริย์และยกเลิกระบบไพร่ทาส ทำให้เกิดการต่อต้านจากประชาชนอย่างรุนแรง จนต้องเจรจากับพระนโรดม กษัตริย์ในขณะนั้น ให้ประกาศสันติภาพ และระงับการแทรกแซงกัมพูชา จนกระทั่งพระนโรดมสวรรคต ฝรั่งเศสได้สนับสนุนให้พระสีสุวัตถ์ขึ้นเป็นกษัตริย์ พร้อมทั้งมอบอำนาจการปกครองทั้งหมดให้ฝรั่งเศส หลังจากฝรั่งเศสเข้าปกครองกัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2406 ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจในเวียดนาม โดยปรับปรุงการเก็บภาษี ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ชาวกัมพูชา และยังนำชาวเวียดนามเข้ามาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ในระบบราชการของฝรั่งเศส และเป็นแรงงานทางด้านเกษตรกรรม", "title": "ประเทศกัมพูชา" } ]
[ { "docid": "70992#33", "text": "สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาไม่ได้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติเพราะไม่ได้รับการสนับสนุนจากจีน อังกฤษและสหรัฐอเมริกา ที่นั่งในสหประชาชาติของประเทศกัมพูชาในขณะนั้นเป็นของแนวร่วมเขมรสามฝ่ายที่จัดตั้งรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย ซึ่งกลุ่มเขมรแดงของพล พตเข้าร่วมกับกลุ่มที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์อีก 2 กลุ่ม คือ กลุ่มของนโรดม สีหนุ และซอน ซาน อย่างไรก็ตาม สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาได้ประกาศเป็นรัฐบาลของกัมพูชาระหว่าง พ.ศ. 2522-2536 โดยมีความสัมพันธ์กับต่างประเทศที่จำกัด", "title": "ประวัติศาสตร์กัมพูชา" }, { "docid": "391454#21", "text": "คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย ซึ่งเห็นว่าศาลโลกตัดสินคดีนี้อย่างไม่ยุติธรรม \nหลังจากที่ศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา ได้มีการเฉลิมฉลองทั่วทั้งพระราชอาณาจักรกัมพูชา มีการประกาศวันหยุดราชการ พ.ศ. 2506 สมเด็จเจ้าสีหนุ เสด็จขึ้นปราสาทพระวิหารเพื่อทำพิธีบวงสรวง ทางสะพานโบราณ (ช่องบันไดหัก) เมื่อทรงทราบว่ากัมพูชาชนะคดีปราสาทพระวิหาร", "title": "ราชอาณาจักรกัมพูชา (พ.ศ. 2497–2513)" }, { "docid": "1937#37", "text": "สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาไม่ได้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติเพราะไม่ได้รับการสนับสนุนจากจีน อังกฤษและสหรัฐอเมริกา ที่นั่งในสหประชาชาติของประเทศกัมพูชาในขณะนั้นเป็นของแนวร่วมเขมรสามฝ่ายที่จัดตั้งรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย ซึ่งกลุ่มเขมรแดงของพล พตเข้าร่วมกับกลุ่มที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์อีก 2 กลุ่ม คือ กลุ่มของนโรดม สีหนุ และซอน ซาน อย่างไรก็ตาม สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาได้ประกาศเป็นรัฐบาลของกัมพูชาระหว่าง พ.ศ. 2522-2536 โดยมีความสัมพันธ์กับต่างประเทศที่จำกัด", "title": "ประเทศกัมพูชา" }, { "docid": "391427#1", "text": "สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาไม่ได้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติเพราะไม่ได้รับการสนับสนุนจากจีน อังกฤษและสหรัฐอเมริกา ที่นั่งในสหประชาชาติของประเทศกัมพูชาในขณะนั้นเป็นของแนวร่วมเขมรสามฝ่ายที่จัดตั้งรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย ซึ่งกลุ่มเขมรแดงของพล พตเข้าร่วมกับกลุ่มที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์อีก 2 กลุ่ม คือ กลุ่มของนโรดม สีหนุ และซอน ซาน อย่างไรก็ตาม สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาได้ประกาศเป็นรัฐบาลของกัมพูชาระหว่าง พ.ศ. 2522-2536 โดยมีความสัมพันธ์กับต่างประเทศที่จำกัด", "title": "สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา" }, { "docid": "44961#0", "text": "ไมโครนีเซีย () เป็นชื่อกลุ่มเกาะที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปโอเชียเนีย ส่วนใหญ่ในอดีตมักตกเป็นอาณานิคมของสหรัฐอเมริกาในฐานะดินแดนในภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติแทบทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อก่อนนี้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศเยอรมนี ซึ่งต่อมาประเทศญี่ปุ่นได้ไปยึดครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1และถูกยึดไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ยกเว้นสาธารณรัฐคิริบาสเท่านั้นที่เป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร ที่สำคัญคือภูมิภาคนี้ยังเป็นสมรภูมิการรบภาคพื้นแปซิฟิกระหว่างประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาด้วย ทั้งที่ประเทศคิริบาส เกาะเวก เกาะนิวกินี และที่อื่น ๆ ด้วย สำหรับภูมิภาคไมโครนีเซียประกอบด้วย 5 ประเทศและ 2 ดินแดน คือ", "title": "ไมโครนีเซีย (ภูมิภาค)" }, { "docid": "1937#39", "text": "หลังการล่มสลายของกัมพูชาประชาธิปไตย กัมพูชาตกอยู่ภายใต้การรุกรานของเวียดนามและรัฐบาลที่นิยมฮานอยซึ่งก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา สงครามกลางเมืองหลัง พ.ศ. 2523 เป็นการสู้รบระหว่างกองทัพประชาชนปฏิวัติกัมพูชาของรัฐบาลกับแนวร่วมเขมรสามฝ่ายซึ่งถือเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นของกลุ่มต่างๆสามกลุ่มคือ พรรคฟุนซินเปกของพระนโรดม สีหนุ พรรคกัมพูชาประชาธิปไตยหรือเขมรแดง และแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมร มีการเจรจาสันติภาพตั้งแต่ พ.ศ. 2532 และนำไปสู่การประชุมสันติภาพที่ปารีสเพื่อสงบศึกใน พ.ศ. 2534 ในที่สุดมีการจัดการเลือกตั้งโดยสหประชาชาติใน พ.ศ. 2536 เพื่อเริ่มต้นฟื้นฟูประเทศ พระนโรดม สีหนุกลับมาเป็นกษัตริย์อีกครั้ง มีการจัดตั้งรัฐบาลผสม หลังจากมีการเลือกตั้งโดยปกติใน พ.ศ. 2541 การเมืองมีความมั่นคงขึ้น หลังการล่มสลายของเขมรแดง ใน พ.ศ. 2541", "title": "ประเทศกัมพูชา" }, { "docid": "105582#1", "text": "หลังสงครามโลกครั้งที่สองได้ยุติลงในปี พ.ศ. 2488 ประเทศอาณานิคมที่เคยเป็นเมืองขึ้นมาเป็นเวลานานหลายประเทศ ก็ได้รับเอกราชคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบก็ได้รับเอกราชใหม่ทุกประเทศได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย แม้ประเทศเหล่านี้จะได้รับเอกราชสมบูรณ์ แล้วก็ตาม แต่ความสงบสุขของบ้านเมืองในแถบนี้ยังห่างไกลจากความเป็นจริง ทั้งนี้เกิดจากความยุ่งยากทางการเมืองภายในจาก การชิงอำนาจของนักการเมืองที่มีความคิดเห็นยุ่งยากทางการเมืองภายใน จากการชิงอำนาจของนักการเมืองที่มีความคิดเห็นในนโยบายการปกครองแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยุ่งยากอันเกิดจากการเมืองภายนอกที่ประเทศคอมมิวนิสต์ และบริวารพยายามแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาสู่ภูมิภาคของโลกส่วนนี้ให้อยู่ในอุ้งมือให้จึงได้ ทั้งได้พยายามดำเนินการทั้งมวลที่จะให้ประชาชนของประเทศเหล่านั้นจับอาวุธเข้าต่อสู้รัฐบาลของตนและประชาชนที่เป็นชาติเดียวกันเองหนักมือยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นชนวนแห่งความยุ่งยาก และก่อให้เกิดเหตุร้ายในส่วนนี้ของโลกตราบเท่าทุกวันนี้", "title": "ตำรวจตระเวนชายแดน" }, { "docid": "391454#4", "text": "เพื่อแลกเปลี่ยนกับการถอนทหารเวียดมิญออกไป ตัวแทนฝ่ายคอมมิวนิสต์ในการประชุมเจนีวาต้องการให้ลาวและกัมพูชาเป็นกลางอย่างแท้จริงโดยต้องไม่มีทหารสหรัฐอเมริกาในประเทศเหล่านี้ กัมพูชาได้ประกาศเป็นกลางโดยจะไม่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางทหารกับประเทศใด นอกจากการร่วมมือกับสหประชาชาติ ที่ประชุมยังได้มีมติจัดตั้งคณะกรรมการควบคุมนานาชาติสำหรับประเทศในอินโดจีน โดยมีตัวแทนจากแคนาดา โปแลนด์และอินเดีย โดยเป็นที่ปรึกษาในการเจรจาสงบศึก การถอนกองทหารต่างชาติ การปลดปล่อยนักโทษ และสิ่งที่ได้ตกลงร่วมกันอื่นๆระหว่างการประชุม ฝรั่งเศสและทหารเวียดมิญส่วนใหญ่ถอนทหารออกไปตามที่กำหนดไว้\nหลังการประชุมเจนีวาได้มีการเลือกตั้งขึ้นในประเทศกัมพูชาใน พ.ศ. 2498 โดยมีคณะกรรมการควบคุมนานาชาติเป็นผู้สังเกตการณ์เพื่อรับประกันความยุติธรรม พระนโรดม สีหนุได้ทรงตัดสินพระทัยลงเล่นการเมืองอย่างไม่มีผู้ใดคาดคิดมาก่อน ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2498 พระนโรดม สีหนุได้ประกาศสละราชสมบัติให้พระบิดาของพระองค์คือพระนโรดม สุรามฤตขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แทนพระองค์ พระนโรดม สีหนุทรงเข้ามาเล่นการเมือง พระองค์ได้ตั้งพรรคการเมืองขึ้นคือ พรรคสังคมราษฎร์นิยม (សង្គមរាស្ត្រនិយម) หรือเรียกสั้นๆว่าพรรคสังคม สมาชิกส่วนใหญ่เป็นฝ่ายขวา ซึ่งต่อต้านคอมมิวนิสต์ด้วยความรุนแรง แนวคิดที่โดดเด่นของพรรคคือ ชาตินิยมเขมร นิยมเจ้า ต่อต้านความอยุติธรรมและการฉ้อราษฎร์บังหลวง ปกป้องพุทธศาสนา การเลือกตั้งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2498 พรรคสังคมชนะการเลือกตั้งโดยได้ 83% ของที่นั่งทั้งหมดในสภา มากกว่าพรรคเขมรเอกราชของเซิง งอกทัญและกรมประชาชนของกลุ่มฝ่ายซ้าย", "title": "ราชอาณาจักรกัมพูชา (พ.ศ. 2497–2513)" } ]
3362
หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล จบการศึกษาสูงสุดจากที่ไหน ?
[ { "docid": "40649#3", "text": "ทรงศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนขัตติยานีผดุง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทาง ด้านอักษรศาสตร์ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และ ระดับปริญญาตรีทางด้านประวัติศาสตร์ภาษาอังกฤษ ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย\nเมื่อปี พ.ศ. 2491 ศ. หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงได้รับทุนจากบริติชเคาน์ซิล (British Council) ให้ไปดูงานเป็นเวลา 3 เดือน ที่พิพิธภัณฑสถานและโบราณคดี ประเทศอังกฤษ ต่อมาทรงได้รับทุนจากรัฐบาลไทย เข้าศึกษาต่อทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่โรงเรียนลูฟร์ (École du Louvre) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อจบการศึกษาแล้ว ก็ทรงเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่ สถาบันโบราณคดี (Institute of Archaeology) มหาวิทยาลัยลอนดอน แต่ศึกษาได้ 2 ปี ยังไม่ได้ทรงจบหลักสูตรปริญญาเอก ก็เสด็จกลับประเทศไทยหม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล สิ้นชีพิตักษัย เมื่อเวลา 07.15 น. วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ด้วยโรคพระทัยวาย (หัวใจวาย)", "title": "หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล" } ]
[ { "docid": "40649#4", "text": "เดิมศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงวางอนาคตไปทางสายอาชีพครู จึงทรงศึกษาวิชาครูไว้ก่อนเข้ารับราชการ แต่เมื่อทรงรับราชการในกองโบราณคดี กรมศิลปากร ก็ทรงมีภารกิจเกี่ยวข้องกับงานด้านศิลปะ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ที่โปรดปราน ทั้งยั้งมีโอกาสได้ทรงศึกษาวิชาเฉพาะทางคือ ประวัติศาสตร์ศิลป์ และโบราณคดีในภาษาต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อรวมความรู้จากการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และการที่ทรงค้นคว้าเพิ่มเติมส่วนพระองค์ตลอดเวลา จึงทำให้เป็นเลิศในวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ นับว่าเป็นนักปราชญ์พระองค์หนึ่ง ได้ทรงนำความรู้ทั้งหมดมาสร้างประโยชน์แก่วงการศึกษาไทย ดังนี้", "title": "หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล" }, { "docid": "40649#8", "text": "การศึกษาที่ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงวางรากฐานไว้ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรนั้น กล่าวกันว่าเป็นการศึกษาแบบบูรณาการ นักศึกษาจะได้เรียนวิชาหลักและวิชาที่เกี่ยวข้องควบคู่กันไปเพื่อเป็นพื้นฐานแก่การศึกษาขั้นลึกซึ้งต่อไป ทรงเลือกสรรเชิญผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชามาเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่นักศึกษา เพื่อให้ได้รับความรู้ที่ลึกซึ้งและถูกต้อง ในส่วนพระองค์เองนั้นทรงเป็นครูที่ตรงต่อเวลา ถ่ายทอดวิชาโดยไม่ปิดบังและมีเกร็ดความรู้ต่างๆ เพิ่มให้ด้วย ทรงพยายามที่จะให้นักศึกษาได้รับความรู้อย่างต่อเนื่อง หากต้องขาดสอนวิชาใด จะทรงสอนชดเชยให้ในวันหยุด ในการฝึกภาคปฏิบัติ อันได้แก่การขุดค้นทางโบราณคดี หรือการเดินทางไปศึกษาโบราณสถานและศิลปะ ณ สถานที่จริงในจังหวัดต่าง ๆ จะทรงเป็นผู้นำและผู้บรรยายให้ความรู้ทุกครั้ง นอกจากนี้ ยังทรงเอื้ออาทรแก่นักศึกษาที่ขาดแคลนโดยทรงจัดหาทุนการศึกษาให้จนสำเร็จการศึกษา ด้วยการจัดทัศนศึกษาหรืออื่น ๆ ส่นผู้ที่มีการเรียนดีเด่นด้านใดด้านหนึ่ง หากทรงเห็นว่าจะสามารถเป็นกำลังของชาติในการพัฒนางานด้านอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ก็จะทรงจัดหาทุนให้ไปศึกษาเพิ่มเติมยังต่างประเทศต่อไป", "title": "หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล" }, { "docid": "40649#5", "text": "พ.ศ. 2499 ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ได้ก่อตั้งการสอนประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี เป็นครั้งแรกในโรงเรียนศิลปศึกษาของกรมศิลปากร ทรงวางหลักสูตรการเรียนวิชานี้เช่นเดียวกับโรงเรียนลูฟร์ นักศึกษาต้องเรียนประวัติศาสตร์ทั่วไปของประเทศไทย และประเทศใกล้เคียง เช่น อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย กัมพูชา จีน และญี่ปุ่น ในการนี้ต้องทรงจัดทำตำราเรียนให้ด้วย เพราะยังไม่มีตำราภาษาไทยด้านนี้โดยตรง ทรงอุตสาหะแปลตำราจากภาษาต่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาษาฝรั่งเศส ทั้งยังทรงรับเป็นผู้สอนนักศึกษาด้วย", "title": "หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล" }, { "docid": "42250#6", "text": "พ.ศ. 2512 ได้ลาสิกขา หลังจากนั้นศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ได้รับไว้เป็นอาจารย์พิเศษด้านภาษาสันสกฤต ที่คณะโบราณคดีต่อมา จนได้บรรจุเข้ารับราชการ และศึกษาต่อระดับปริญญาเอกด้านภาษาสันสกฤตที่ มหาวิทยาลัยสัมปูรณานันท สันสกฤต เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย โดยทำวิทยานิพนธ์เรื่อง ฤคเวทียปฺรถมมณฺฑลสฺย สมาโลจนาตฺมกมฺ อธฺยยนมฺ (พ.ศ. 2523-2525) จากนั้นได้กลับมารับราชการต่อที่คณะโบราณคดี จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2527 และลาออกจากตำแหน่งคณบดี เมื่อ พ.ศ. 2529 ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ผู้สอนเพียงอย่างเดียวนับแต่นั้น", "title": "จำลอง สารพัดนึก" }, { "docid": "40649#0", "text": "ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 — 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546) เป็นนักประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีชาวไทย ทรงเป็นบุคคลคนแรกที่พบทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ปราสาทพนมรุ้ง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในสถาบันศิลปะแห่งชิคาโก สหรัฐอเมริกา จนมีการทวงทับหลังชิ้นกลับคืนสู่ประเทศไทย ทรงเป็นหนึ่งในบุคคลไทยที่ทรงมีคุณูปการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีไทย", "title": "หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล" }, { "docid": "40649#6", "text": "พ.ศ. 2507 ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงย้ายจากกรมศิลปากรไปดำรงตำแหน่งอธิการบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งแต่ พ.ศ. 2519-2524 และดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งแต่ พ.ศ. 2525-2529 หลังจากทรงเกษียณอายุจากมหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SPAFA) ในองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO) ตั้ง พ.ศ. 2530-2535 เมื่อพ้นจากตำแหน่งนี้แล้วทรงได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานของกรมศิลปากร และยังทรงรับเป็นอาจารย์พิเศษแก่สถาบันต่างๆ ทรงยุติงานค้นคว้าและงานสอนที่ทรงรักทั้งหมดลงใน พ.ศ. 2540 เนื่องจากทรงประสบอุบัติเหตุทำให้ประชวรหนัก", "title": "หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล" }, { "docid": "40649#9", "text": "พระเกียรติคุณของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ด้านประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี เป็นที่ยกย่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงทรงได้รับเชิญไปร่วมการประชุม และบรรยายในประเทศต่าง ๆ หลายครั้ง ทรงได้รับเชิญไปสอนพิเศษที่มหาวิทยาลัยอันมีชื่อเสียงหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา ทรงได้รับรางวัลในฐานะบุคคลสำคัญระหว่างชาติที่ได้ผลิตผลงานด้านวัฒนธรรมและความรู้เกี่ยวกับทวีปเอเชีย จากเมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ได้รับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทรงได้รับเชิญให้ร่วมงานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีในองค์กรภาครัฐและเอกชนต่างๆ เช่น เป็นประธานคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ เป็นกรรมการในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ เป็นอุปนายกกิตติมศักดิ์ของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานมูลนิธิเจมส์ เอส. ดับเบิลยู ทอมป์สัน และนายกสมาคมประวัติศาสตร์ ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นต้น", "title": "หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล" }, { "docid": "40649#10", "text": "ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงมีความสามารถพิเศษในการอธิบายถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ฟังสนใจและเข้าใจง่าย ดังนั้น จึงมักจะทรงได้รัลการทูลขอให้เป็นวิทยากรอบรมความรู้ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะอยู่เสมอ ที่สำคัญคือได้ถวายคำบรรยายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ในการเสด็จทอดพระเนตรโบราณวัตถุและโบราณสถานของชาติ และเมื่อมีประมุขของต่างประเทศมาเยือนประเทศไทยในฐานะพระราชอาคันตุกะหรือแขกของรัฐบาล จะทรงได้รับมอบให้ทำหน้าที่มัคคุเทศก์กิตติมศักดิ์นำชุมโบราณวัตถุและโบราณสถาน ทุกครั้งจะทรงปฏิบัติภารกิจเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม เป็นที่ชื่นชมของผู้ที่มาเยือนอย่างยิ่งด้วยพระเกียรติคุณจึงทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงของไทย และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงจากประเทศฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก", "title": "หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล" }, { "docid": "40649#1", "text": "ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล มีพระนามลำลองว่า ท่านชายปาน เป็นพระโอรสลำดับที่ 31 ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับหม่อมเจิม ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม: สนธิรัตน์) ประสูติเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 เมื่อทรงพระเยาว์ ช่วงพระชันษา 1-11 ปี ได้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล" } ]
318
สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย สมรสกับใคร ?
[ { "docid": "32264#7", "text": "เจ้าหญิงวิกตอเรียทรงพบกับเจ้าชายอัลแบร์ทแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา พระราชสวามีในอนาคตเมื่อพระชนมายุ 16 พรรษาในปีค.ศ. 2379 แต่เป็นการพบกันครั้งที่สองในปีค.ศ. 1839 ที่พระองค์ตรัสถึงเจ้าชายว่า \"...อัลเบิร์ตที่รัก...เขาช่างมีเหตุผล เมตตา ใจดี และอัธยาศัยดีมากเช่นกัน นอกจากนั้นแล้วยังมีลักษณะภายนอกและหน้าตาที่น่าพึงพอใจและน่ายินดีเป็นที่สุดเท่าที่เธอจะเห็นได้เลยล่ะ\" เจ้าชายอัลเบิร์ตเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งในเจ้าหญิงวิกตอเรีย โดยแอนสท์ที่ 1 ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา พระบิดาเจ้าชายเป็นพระเชษฐาของพระชนนีของเจ้าหญิง ในฐานะพระประมุข พระองค์ต้องทรงขอ เจ้าชายอัลเบิร์ตอภิเษกสมรสด้วย การอภิเษกสมรสของทั้งสองถือว่ามีความสุขอย่างยิ่ง", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "64083#8", "text": "พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและเจ้าชายอัลเบิร์ตคือ เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี (วิกตอเรีย อเดเลด แมรี่ หลุยซา) ซึ่งมีพระนามลำลองว่า \"วิกกี้\" ประสูติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2383 และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2444 ห้าเดือนหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระราชชนนี ทรงได้รับการสถาปนาเป็น พระราชกุมารี เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2384 และอภิเษกสมรสในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2401 กับ เจ้าชายฟรีดริช มกุฎราชกุมารแห่งปรัสเซีย (ฟรีดริช วิลเฮล์ม นิโคเลาส์ คาร์ล; 18 ตุลาคม พ.ศ. 2374 - 18 มิถุนายน พ.ศ. 2431 พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 ซึ่งต่อมาได้สืบราชสมบัติเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเยอรมนี และครองราชย์ระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน พ.ศ. 2431) และมีพระโอรสธิดาจำนวนแปดพระองค์และพระราชนัดดายี่สิบสามพระองค์", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "32264#13", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าชายอัลเบิร์ต ซึ่งเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1840 ณ โบสถ์หลวงในพระราชวังเซนต์เจมส์ เจ้าชายอัลเบิร์ตทรงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในฐานะ เจ้าชายพระราชสวามี (Prince Consort) แม้ว่าจะไม่ได้ทรงรับการสถาปนาเป็นทางการจนกระทั่งปีค.ศ. 1857 เจ้าชายมิเคยทรงได้รับบรรดาศักดิขุนนางเลย พระองค์มิทรงเป็นเพียงแค่ผู้ดูแลสมเด็จพระราชินีนาถอย่างใกล้ชิด แต่ยังเป็นที่ปรึกษาทางด้านการเมืองคนสำคัญแทนลอร์ดเมลเบิร์นในฐานะบุคคลสำคัญที่เป็นผู้นำในชีวิตของพระองค์อีกด้วย", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "64083#1", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัติยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ เป็นเวลา 63 ปีเศษ ระหว่างปี พ.ศ. 2380-2444 (ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5) พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2362 ณ พระราชวังเค็นซิงตัน กรุงลอนดอน โดยเป็นพระธิดาในเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเคนต์และสแตรเธิร์น พระราชโอรสในพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร กับ เจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งซัคเซิน-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์ พระองค์ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อจากพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 พระบรมราชปิตุลา ในปี พ.ศ. 2380 ขณะมีพระชนมพรรษา 18 พรรษา ต่อมาได้ราชาภิเษกสมรสกับ เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา (ฟรันซ์ ออกุสต์ คาร์ล \"อัลเบิร์ต\" เอมานูเอล; 26 สิงหาคม พ.ศ. 2362 - 14 ธันวาคม พ.ศ. 2404) ซึ่งต่อมาทรงได้รับการสถาปนาเป็น \"เจ้าชายพระราชสวามี (Prince Consort)\" พระญาติชั้นที่หนึ่งทางฝ่ายพระมารดา ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2383 ณ พระราชวังเซนต์เจมส์ กรุงลอนดอน และประสูติพระราชโอรสและธิดาทั้งสิ้น 9 พระองค์ในระหว่างปี พ.ศ. 2383-2400 ชีวิตสมรสที่แสนสุขมีอันต้องสิ้นสุดลงในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2404 เมื่อเจ้าชายอัลเบิร์ต พระสวามีสิ้นพระชนม์ลงด้วยโรคไข้รากสาดน้อย หรือไทฟอยด์ (และอาจเป็นโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารร่วมด้วย) เมื่อพระชนมายุ 42 พรรษา ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ไปจนตลอดพระชนม์ชีพ ด้วยความโทมนัสและสูญเสียที่ยากจะหาสิ่งใดมาทดแทนได้ พระองค์จึงทรงจมอยู่กับความเศร้าโศกและฉลองพระองค์ไว้ทุกสีดำตลอดรัชกาล อีกทั้งยังทรงหลีกเลี่ยงการปรากฏพระองค์ในที่สาธารณะและแทบจะไม่เสด็จฯ มาประกอบพระราชกรณียกิจที่กรุงลอนดอนเป็นเวลาหลายปี แต่ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ประทับอยู่ที่พระราชวังวินด์เซอร์ ซึ่งเป็นสถานที่แห่งความทรงจำของพระองค์กับพระสวามี จนเป็นที่มาของพระราชสมัญญา แม่ม่ายแห่งวินด์เซอร์ (Widow of Windsor)", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#11", "text": "พระเจ้าจอร์จที่ 5 (\"ครองราชย์\" 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 - 20 มกราคม พ.ศ. 2479) พระราชโอรสพระองค์ที่สองในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 และเจ้าหญิงอเล็กซานดรา เป็นพระบรมราชชนกในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 (\"ครองราชย์\" 20 มกราคม - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2479) และ พระเจ้าจอร์จที่ 6 (\"ครองราชย์\" 11 ธันวาคม พ.ศ. 2479 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495) และพระอัยกาในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (เสวยราชสมบัติหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระชนกในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495) และ เจ้าหญิงมาร์กาเร็ต เคานเตสแห่งสโนว์ดอน (21 สิงหาคม พ.ศ. 2473 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545) ในฐานะพระราชธิดาในพระเจ้าจอร์จที่ 6 และสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระบรมราชชนนี (เดิมคือ \"เลดี้ เอลิซาเบธ โบวส์-ลีออน\"; 4 สิงหาคม พ.ศ. 2443 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2545) สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตจีงเป็นพระราชปนัดดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 และลื่อในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย รวมทั้งยังสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าจอร์จที่ 3 พระอัยกาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียด้วยเจ้าหญิงม็อดแห่งเวลส์ พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 และเจ้าหญิงอเล็กซานดรา ดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ เมื่อเจ้าชายคาร์ลแห่งเดนมาร์ก พระสวามี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติแห่งนอร์เวย์เป็น สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 (\"ครองราชย์\" 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 - 21 กันยายน พ.ศ. 2500) เมื่อประเทศนอร์เวย์ประกาศอิสรภาพแยกตัวออกจากการรวมกับประเทศสวีเดนในปี พ.ศ. 2448 ส่วนพระโอรสซึ่งเป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 เสวยราชสมบัติเป็น สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 (\"ครองราชย์\" 21 กันยายน พ.ศ. 2500 - 17 มกราคม พ.ศ. 2534) ดังนั้นพระราชโอรสธิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 ได้แก่ สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 (เสวยราชสมบัติในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2534) เจ้าหญิงรังน์ฮิลด์และเจ้าหญิงแอสตริด จีงเป็นพระราชปนัดดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 และลื่อในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและเจ้าชายอัลเบิร์ต\nเจ้าหญิงอลิซ (อลิซ ม็อด แมรี) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่สองในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี ประสูติเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2386 และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2421 ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายอัลเบิร์ตเมื่อสิบเจ็ดปีก่อน พระองค์อภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 กับ เจ้าชายลุดวิกแห่งเฮสส์และไรน์ (ฟรีดริช วิลเฮล์ม ลุดวิก คาร์ล; 12 กันยายน พ.ศ. 2380 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2435 พระโอรสในเจ้าชายคาร์ลแห่งเฮสส์และไรน์ และเจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งปรัสเซีย ต่อมาได้สืบราชบัลลังก์เป็นแกรนด์ดยุกแห่งเฮสส์และไรน์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2420) และมีพระโอรส 2 พระองค์ (พระองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์) พระธิดา 5 พระองค์ พระภาคิไนย 9 พระองค์ (พระองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ในพระครรภ์) และพระภาติกา 7 พระองค์", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#18", "text": "เจ้าชายเลโอโพลด์มีพระโอรสที่ประสูติหลังจากการสิ้นพระชนม์อีกพระองค์หนึ่งคือ เจ้าชายชาร์ลส์ เอ็ดเวิร์ด ซึ่งได้ทรงสืบทอดพระอิสริยยศเป็นดยุกแห่งอัลบานีเมื่อแรกประสูติในปี พ.ศ. 2427 พระองค์ได้เสวยราชสมบัติเป็นดยุกแห่งซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา หลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายอัลเฟรด พระปิตุลาในปี พ.ศ. 2443 และต้องสละราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 2461 รวมทั้งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ ของอังกฤษทั้งหมดในปี พ.ศ. 2462 เนื่องจากทรงอยู่ในฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์กับประเทศอังกฤษระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เจ้าชายชาร์ลส์ เอ็ดเวิร์ดเป็นพระอัยกาของสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน ผ่านทางพระธิดาคือ เจ้าหญิงซิบิลลาแห่งซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา\nเจ้าหญิงเบียทริซ (เบียทริซ แมรี่ วิกตอเรีย ฟีโอดอรา) พระราชธิดาพระองค์ที่ห้าและองค์เล็กในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี ประสูติเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2400 และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 ณ โบสถ์เซนต์มิลเดร็ด เมืองวิปปิงแฮม ใกล้ตำหนักออสบอร์น เกาะไว้ท์ กับ เจ้าชายเฮนรีแห่งบัทเทนแบร์ก (เฮนรี มอริส; 5 ตุลาคม พ.ศ. 2401 - 20 มกราคม พ.ศ. 2439 พระโอรสในเจ้าชายอเล็กซานเดอร์แห่งเฮสส์และไรน์) มีพระโอรส 3 พระองค์ พระธิดา 1 พระองค์ (สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ยูจีเนียแห่งสเปน) พระภาคิไนย 5 พระองค์ (พระองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ในพระครรภ์) และพระภาติกา 3 พระองค์ ในฐานะพระราชนัดดาผ่านทางเจ้าหญิงวิกตอเรีย ยูจีนีแห่งบัทเทนแบร์ก สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสแห่งสเปน จึงเป็นพระราชปนัดดาในเจ้าหญิงเบียทริซ และลื่อในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียอีกด้วยเนื่องจากกระแสต่อต้านเยอรมันในประเทศอังกฤษช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 สมาชิกในราชวงศ์บัทเทนแบร์กซึ่งเป็นพลเมืองชาวอังกฤษได้สละพระอิสริยยศ \"เจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งบัทเทนแบร์ก\" และเปลี่ยนมาใช้ชื่อราชสกุลที่เป็นรูปแบบภาษาอังกฤษว่า \"เมานต์แบ็ทแตน\"", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#14", "text": "เจ้าหญิงเฮเลนา (เฮเลนา ออกัสตา วิกตอเรีย) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่สามในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี ประสูติเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2389 และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2466 พระองค์ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2409 ณ โบสถ์หลวง พระราชวังวินด์เซอร์ กับ เจ้าชายคริสเตียนแห่งชเลสวิก-โฮลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-ออกุสเท็นบูร์ก (ฟรีดริช คริสเตียน คาร์ล ออกุสต์; 22 มกราคม พ.ศ. 2374 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2460 พระโอรสในเจ้าชายคริสเตียน ดยุกแห่งชเลสวิก-โฮลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-ออกุสเท็นบูร์ก) มีพระโอรส 2 พระองค์และพระธิดา 2 พระองค์ซึ่งเจริญพระชนม์เป็นผู้ใหญ่ และมีพระโอรสอีก 2 พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อแรกประสูติ เจ้าหญิงเฮเลนาและเจ้าชายคริสเตียนไม่มีพระราชนัดดาที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่มีพระนัดดานอกสมรสจำนวนหนึ่งคน ซึ่งเสียชีวิตโดยไม่มีทายาทสืบสกุล เช่นเดียวกับพระบรมวงศานุวงศ์อังกฤษพระองค์อื่นๆ ที่มีพระอิสริยยศของเยอรมัน (เช่น เจ้าชายหลุยส์แห่งบัทเทนแบร์ก) เจ้าหญิงเฮเลนา เจ้าชายคริสเตียน และพระธิดาสองพระองค์ได้สละพระอิสริยยศแห่งชเลสวิก-โฮลชไตน์ในปี พ.ศ. 2460 เมือจักรวรรดิอังกฤษและเยอรมันเป็นปฏิปักษ์กันในสงครามโลกครั้งที่ 1เจ้าหญิงหลุยส์ (หลุยส์ แคโรไลน์ อัลเบอร์ตา) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่สี่ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี ประสูติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2391 และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2482 อภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2421 ณ พระราชวังวินด์เซอร์ กับ จอห์น แคมป์เบลล์ ดยุกที่ 9 แห่งอาร์ไจล์ (จอห์น จอร์จ เอ็ดเวิร์ด เฮนรี ดักลาส ซูเธอร์แลนด์ แคมป์เบลล์; 6 สิงหาคม พ.ศ. 2388 - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2457) ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแคนาดา ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2421 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2423 พระองค์เป็นพระราชธิดาพระองค์แรกของพระมหากษัตริย์นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2057 ที่เลือกอภิเษกสมรสกับสามัญชนมากกว่าสมาชิกจากพระราชวงศ์ด้วยกัน", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "64083#12", "text": "เจ้าหญิงอลิกซ์แห่งเฮสส์และไรน์ พระธิดาพระองค์ที่หกในเจ้าหญิงอลิซและแกรนด์ดยุกลุดวิกแห่งเฮสส์และไรน์ และพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งรัสเซีย เมื่ออภิเษกสมรสกับสมเด็จพระจักรพรรดินิโคลาสที่ 2 แห่งรัสเซีย เมื่อในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2437 ณ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย พระองค์ทรงเป็นพาหะของโรคฮีโมฟิเลียและได้นำพันธุกรรมบกพร่องเข้าไปสู่ราชวงศ์โรมานอฟของรัสเซีย โดยส่งผ่านโรคไปยังพระโอรสเพียงพระองค์เดียวคือ แกรนด์ดยุกอเล็กซิส มกุฎราชกุมารแห่งรัสเซีย และเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญซึ่งทำให้เกิดการล่มสลายของจักรวรรดิรัสเซียในช่วงการปฏิวัติรัสเซียเมื่อปี พ.ศ. 2460เจ้าชายแอร์นส์ ลุดวิก แกรนด์ดยุกแห่งเฮสส์และไรน์ พระโอรสในเจ้าหญิงอลิซและพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียอีกพระองค์หนึ่ง อภิเษกสมรสในปี พ.ศ. 2437 กับ เจ้าหญิงวิกตอเรีย เมลิตาแห่งเอดินบะระ พระญาติชั้นที่หนึ่งฝ่ายพระมารดา ซึ่งเป็นพระธิดาในเจ้าชายอัลเฟรด ดยุกแห่งเอดินบะระ พระอนุชาในเจ้าหญิงอลิซ แต่ได้หย่าร้างกันในปี พ.ศ. 2444\nเจ้าชายอัลเฟรด (อัลเฟรด เออร์เนส อัลเบิร์ต) พระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี ประสูติเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2387 และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 ทรงได้รับการสถาปนาเป็น ดยุกแห่งเอดินบะระ เอิร์ลแห่งอัลส์เตอร์และเคนต์ ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2409 และอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2417 ณ พระราชวังฤดูหนาว กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก กับ แกรนด์ดัชเชสมารี อเล็กซานดรอฟนาแห่งรัสเซีย (17 ตุลาคม พ.ศ. 2396 - 24 ตุลาคม พ.ศ. 2463 พระราชธิดาในสมเด็จพระจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย) พระองค์มีพระโอรส 2 พระองค์ (หนึ่งพระองค์สิ้นพระชนม์ในพระครรภ์) พระธิดา 4 พระองค์ พระภาคิไนย 5 พระองค์ (8 พระองค์มีพระชนม์ผ่านสัปดาห์แรก) และพระภาติกา 8 พระองค์ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2436 เจ้าชายอัลเฟรดทรงได้รับตำแหน่งจอมพลเรือแห่งราชนาวีอังกฤษ ไม่นานก่อนที่จะสืบราชสมบัติเป็นดยุกแห่งซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" } ]
[ { "docid": "64083#6", "text": "เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ไม่เพียงเป็นพระชนนีในพระราชนัดดาพระองค์แรกของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียคือ สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี เท่านั้น แต่ยังเป็นพระอัยยิกา (ยาย) ในพระราชปนัดดาพระองค์แรกด้วยคือ \"เจ้าหญิงฟีโอดอราแห่งซัคเซิน-ไมนิงเงิน\" (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2422 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2488) พระธิดาองค์เดียวในเจ้าหญิงชาร์ล็อตแห่งปรัสเซีย (พระราชนัดดา (หญิง) พระองค์แรกในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย) และในพระราชปนัดดาหญิงพระองค์สุดท้ายที่สิ้นพระชนม์คือ เลดี้ แคทเธอรีน แบรนด์แรม (พระอิสริยยศเดิมคือ \"เจ้าหญิงแคทเธอรีนแห่งกรีซและเดนมาร์ก\"; 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 - 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550) พระธิดาพระองค์สุดท้ายในเจ้าหญิงโซฟีแห่งปรัสเซีย (ต่อมาคือ สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ) พระขนิษฐาในเจ้าหญิงชาร์ล็อต หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ในปี พ.ศ. 2550 ขณะมีพระชันษา 94 ปี พระราชปนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียซึ่งยังทรงพระชนม์เป็นพระองค์สุดท้ายคือ เคานต์ คาร์ล โยฮัน เบอร์นาด็อตแห่งวิสบอร์ก (พระอิสริยยศเดิมคือ \"เจ้าชายคาร์ล โยฮันแห่งสวีเดน ดยุกแห่งดาลาร์นา\"; 31 ตุลาคม พ.ศ. 2459 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555) ซึ่งเป็นพระโอรสพระองค์สุดท้ายในเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งคอนน็อต พระธิดาในเจ้าชายอาร์เธอร์ ดยุกแห่งคอนน็อต พระราชโอรสพระองค์ที่สามในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ทั้งนี้เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ขณะมีพระชันษา 95 ปี สายพระโลหิตรุ่นพระราชปนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ซึ่งเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2422 (ปีประสูติของเจ้าหญิงฟีโอดอราแห่งซัคเซิน-ไมนิงเงิน) จึงได้สิ้นสุดลงตามไปด้วย", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "63808#5", "text": "หลังจากที่เจ้าหญิงมารี พระภคินีได้อภิเษกสมรสไปกับมกุฎราชกุมารเฟอร์ดินานด์แห่งโรมาเนีย การเสาะหาพระสวามีที่เหมาะสมให้กับเจ้าหญิงวิกตอเรียก็ได้เริ่มขึ้น สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงสังเกตเห็นว่าเจ้าหญิงทรงเข้าได้ดีกับเจ้าชายแอร์นส์ ลุดวิกแห่งเฮ็สเซินและไรน์ พระญาติทางฝ่ายพระชนก รัชทายาทในบัลลังก์รัฐแกรนด์ดยุกแห่งเฮ็สเซิน พระโอรสในเจ้าฟ้าหญิงอลิซ แกรนด์ดัชเชสพระชายาแห่งเฮ็สเซิน พระราชธิดาพระองค์ที่สองในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย", "title": "เจ้าหญิงวิกตอเรีย เมลิตา แห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา" }, { "docid": "64083#17", "text": "เจ้าหญิงอลิซแห่งอัลบานี พระธิดาในเจ้าชายเลโอโพลด์ (และเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย) อภิเษกสมรสในปี พ.ศ. 2447 กับ เจ้าชายอเล็กซานเดอร์แห่งเท็ค พระอนุชาในสมเด็จพระราชินีแมรี่ และดำรงพระอิสริยยศเป็น เคานเตสแห่งแอธโลน เมื่อพระสวามีทรงได้รับการสถาปนาเป็นเอิร์ลแห่งแอธโลนในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2460 พระองค์เป็นพระราชนัดดาที่ดำรงพระชนม์ชีพเป็นพระองค์สุดท้ายในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (97 พรรษา) นอกจากนี้เจ้าหญิงยังทรงเป็นพาหะของโรคฮีโมฟิเลีย ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากพระบิดาและส่งผ่านไปยังพระโอรสสองพระองค์", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "63808#6", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียมีพระประสงค์จะให้พระราชนัดดาทั้งสองพระองค์อภิเษกสมรสกัน พระชนนีของเจ้าหญิงทรงกระตือรือร้นกับการอภิเษกอันเหมาะสมนี้อยู่ไม่น้อย เนื่องจากพระชนนีในพระองค์เองทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งเฮ็สเซินเช่นกัน แต่กระนั้นทั้งเจ้าหญิงวิกตอเรียและเจ้าชายแอร์นส์ไม่ได้ทรงเต็มใจจะอภิเษกสมรสกัน เจ้าหญิงได้ทรงพบกับแกรนด์ดยุกคิริลอีกครั้งที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กและทรงหมั้นหมายกันอย่างลับๆ", "title": "เจ้าหญิงวิกตอเรีย เมลิตา แห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา" }, { "docid": "86294#12", "text": "หลังจากการเริ่มต้นที่ไม่เป็นมงคลของการดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสเปน พระองค์ทรงโดดเดี่ยวจากพสกนิกรชาวสเปนและไม่เป็นที่นิยมชมชอบในประเทศใหม่ของพระองค์ แต่ชีวิตการสมรสของพระองค์ก็พัฒนาขึ้นเมื่อทรงมีประสูติกาลพระโอรสและรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์คือ เจ้าชายอัลฟอนโซ อย่างไรก็ตาม ขณะที่เจ้าชายน้อยกำลังทรงรับการขลิบอวัยวะเพศนั้น เหล่าแพทย์ได้สังเกตว่าพระโลหิตไม่หยุดไหล อันเป็นสัญญาณแรกที่เจ้าชายรัชทายาททรงเป็นโรคฮีโมฟีเลีย พระราชินีทรงเป็นต้นตอของสาเหตุอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งทรงถ่ายทอดไปยังพระโอรสองค์ใหญ่และองค์เล็ก ทั้งนี้แตกต่างจากการตอบสนองของสมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ 2 แห่งรัสเซีย ซึ่งพระราชโอรสและรัชทายาทในราชบัลลังก์อันประสูติแต่พระราชนัดดาอีกพระองค์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงได้รับความทุกข์ทรมานที่คล้ายคลึงกัน สมเด็จพระราชาธิบดีอัลฟอนโซมิเคยพระราชทานอภัยโทษแก่พระราชินีเอนาหรือทรงตระหนักถึงสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแม้แต่น้อยเลย แม้กระนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีอัลฟอนโซที่ 13 และสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ยูจีเนียมีพระราชโอรสและธิดาเจ็ดพระองค์ พระราชโอรสห้าพระองค์และพระราชธิดาสองพระองค์ พระธิดาทั้งสองพระองค์มิได้ทรงเป็นพาหะของโรคเฮโมฟีเลีย", "title": "วิกตอเรีย ยูจีนีแห่งบัทเทนแบร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน" }, { "docid": "86294#10", "text": "เจ้าหญิงวิกตอเรีย ยูจีนีได้ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชาธิบดีอัลฟอนโซในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ณ พระอารามหลวงซานเคโรนิโม ในกรุงมาดริด โดยมีพระชนนีม่ายของเจ้าหญิง พร้อมด้วยเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์ (ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 และ สมเด็จพระราชินีแมรี่) ซึ่งเป็นพระญาติใกล้ชิดของเจ้าหญิงเสด็จมาร่วมในงานพระราชพิธี", "title": "วิกตอเรีย ยูจีนีแห่งบัทเทนแบร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน" }, { "docid": "86294#5", "text": "หลังจากช่วงหนึ่งปีของข่าวลือเกี่ยวกับกษัตริย์แห่งสเปนจะอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงองค์ใด ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2449 สมเด็จพระราชินีมาเรีย คริสตินา ทรงยอมรับการเลือกว่าที่พระราชินีของพระโอรสและมีพระราชหัตถเลขาถึงเจ้าหญิงเบียทริซเกี่ยวกับความรักของพระโอรสที่มีต่อเจ้าหญิงวิกตอเรีย ยูจีนีและการขอติดต่อกับสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 อย่างไม่เป็นทางการ ในหลายวันต่อมาที่ปราสาทวินด์เซอร์ พระองค์ทรงแสดงความปีติยินดีกับพระราชนัดดาในเรื่องการหมั้นหมายในอนาคต", "title": "วิกตอเรีย ยูจีนีแห่งบัทเทนแบร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน" }, { "docid": "64083#7", "text": "ก่อนการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียในปี พ.ศ. 2444 มีพระราชโอรสและธิดาจำนวนสามพระองค์ได้สิ้นพระชนม์ไปแล้ว (เจ้าหญิงอลิซ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2421, เจ้าชายเลโอโพลด์ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2427 และเจ้าชายอัลเฟรด ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2443) และตามมาด้วยการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2444 นอกจากการสิ้นพระชนม์ขณะยังทรงพระเยาว์ของพระราชนัดดาจำนวนสี่พระองค์ สมเด็จพะราชินีนาถวิกตอเรียดำรงพระชนม์ยืนยาวกว่าพระราชนัดดาหลายพระองค์ ได้แก่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและเจ้าชายอัลเบิร์ตมีพระอัยกาพระองค์เดียวกันคือ เจ้าชายฟรานซิส ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์ ซึ่งเป็นพระบิดาในเจ้าชายแอร์นส์ที่ 1 ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา (พระบิดาในเจ้าชายอัลเบิร์ต) และเจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งซัคเซิน-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์ (พระมารดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และพระขนิษฐาในเจ้าชายแอร์นส์ที่ 1 ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา)สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (ซึ่งเสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2380 และเข้าพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2381) ทรงราชาภิเษกสมรสกับเจ้าชายอัลเบิร์ต เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2383 ณ โบสถ์หลวง พระราชวังเซนต์เจมส์ กรุงลอนดอน (เจ้าชายอัลเบิร์ตได้สิ้นพระชนม์เป็นเวลาสิบสี่ปีครึ่งก่อนที่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถแห่งอินเดีย ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2419)", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" } ]
1880
คู่สมรสของ หม่อมราชวงศ์ ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ คือใคร
[ { "docid": "40396#0", "text": "ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ (25 กันยายน 2490 - ) เกิดที่กรุงเทพมหานคร นักวิจัยไทยที่มีผลงานดีเด่นในสาขาชีวเคมี และชีวเคมีศึกษา มีความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับโปรตีนและเอนไซม์ และเน้นการสอนและการวิจัยทางด้านนี้มาตลอดระยะเวลากว่า 35 ปี เป็นผู้ก่อตั้งชมรมวิจัยโปรตีนแห่งประเทศไทยขึ้น เมื่อ ปี พ.ศ. 2548 ศาสตราจารย์ ดร. หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร เป็นโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานต์มณี (บริพัตร) และหม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์ และยังเป็นพระภาติยะใน สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ต่อมาสมรสกับหม่อมราชวงศ์พร้อมฉัตร วุฒิชัย ธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตรและหม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย มีบุตรสาวสองคน คือ ม.ล. ศศิภา สวัสดิวัตน์ โลว์ และ ม.ล. จันทราภา สวัสดิวัตน์", "title": "หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์" } ]
[ { "docid": "179410#1", "text": "หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ เสกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และหม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 มีบุตรคือ หม่อมราชวงศ์เดือนเด่น กิติยากร (สมรสกับ หม่อมราชวงศ์สฤษดิคุณ กิติยากร) และหม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์", "title": "หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์" }, { "docid": "34446#1", "text": "หม่อมราชวงศ์นริศราสมรสครั้งแรกกับคุณแอลเลน เลวี่ มีบุตรชาย 1 คนคือ จุลจักร จักรพงษ์ หรือ \"เล็ก\" หรือ \"ฮิวโก้\" และสมรสครั้งที่สองกับกอสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ ทอมสัน (กี้, บุตรชายของ หม่อมราชวงศ์สายสวัสดี สวัสดิวัตน์ ทอมสัน กับ แกรี ทอมสัน) มีบุตรชายอีก 1 คนคือภูวสวัสดิ์ จักรพงษ์ หรือ \"กู้\"", "title": "หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์" }, { "docid": "656931#1", "text": "ด้านชีวิตครอบครัว หม่อมราชวงศ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เคยสมรสกับ นิติกร กรัยวิเชียร บุตรชายของ ศาสตราจารย์พิเศษ ธานินทร์ กรัยวิเชียร อดีต องคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 14 ของไทย กับ คุณหญิง คาเรน กรัยวิเชียร (สกุลเดิม แอนเดอเซ่น) แต่ได้หย่ากันในภายหลัง มีธิดา 1 คน คือ", "title": "หม่อมราชวงศ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์" }, { "docid": "139325#2", "text": "หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ เสกสมรสกับหม่อมเสมอ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม สิงหเสนี; บุตรีของพระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน สิงหเสนี) กับคุณหญิงบุรีนวราษฐ์ (เนื่อง สิงหเสนี)) โดยได้รับพระราชทานสมรสจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีธิดา 4 คน คือ", "title": "หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์" }, { "docid": "34446#5", "text": "ทางด้านชีวิตส่วนตัวสมรสครั้งแรกกับ แอลเลน เลวี่ ด้วยวัยแตกต่างกันมากกว่า 20 ปี ต้องแยกทางกันในที่สุด โดยมีลูกชายด้วยกัน 1 คน คือ จุลจักร จักรพงษ์ หรือ ฮิวโก้ อดีตดาราและนักร้อง จากนั้นแต่งงานกับกี้-กอสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ บุตรชาย หม่อมราชวงศ์สายสวัสดี สวัสดิวัตน์ ซึ่งต่างเป็นลูกครึ่งที่มีรสนิยมและการใช้ชีวิตคล้ายกัน โดยมีบุตรชายคือ กู้-ภูวสวัสดิ์ จักรพงษ์ เธอและครอบครัวใช้ชีวิตไป-มาระหว่างไทยและอังกฤษ", "title": "หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์" }, { "docid": "40396#3", "text": "ตำแหน่งหน้าที่อื่นๆ\nตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่างๆ ของประเทศไทย\nตำแหน่งในสมาคมและองค์กรระดับนานาชาติศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว. ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ทำงานวิจัยเกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของโปรตีนและเอนไซม์ มาเป็นเวลากว่า 35 ปี ได้ศึกษาโปรตีนชนิดต่างๆ ของร่างกายหลายชนิด ดังต่อไปนี้", "title": "หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์" }, { "docid": "34482#7", "text": "สมัคร สมรสกับ คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช (สกุลเดิม: นาคน้อย) มีบุตรสาวฝาแฝดคือ กาญจนากร ไชยสาส์น และกานดาภา มุ่งถิ่น และเนื่องจากคุณหญิงสุรัตน์เป็นที่ปรึกษาด้านการเงินของเครือเจริญโภคภัณฑ์ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 สถานะการเงินจึงมั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวได้ สมัครจึงมิได้ทำงานประจำใด ๆ โดยทำงานการเมืองเพียงอย่างเดียว มาตั้งแต่ พ.ศ. 2516 อย่างไรก็ตา นายสมัครยังรับเป็นผู้จัดการมรดกตระกูลธรรมวัฒนะ ตามคำสั่งเสียของนางสุวพีร์ ธรรมวัฒนะ", "title": "สมัคร สุนทรเวช" }, { "docid": "139154#4", "text": "จิทัศสมรสกับเจสสิก้า มิกเคลิช สุภาพสตรีลูกครึ่งไทย-สวิตเซอร์แลนด์ อดีตนักแสดง บุตรสาวของอังคนา ลุลิตานนท์ นักธุรกิจด้านส่งออกผ้าไหมไทย ในการนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ในงานฉลองมงคลสมรส ณ ห้องออเธอร์เลานจ์ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553 พร้อมพระราชทานพรแก่คู่บ่าวสาวว่า \"ขอให้มีความสุขในการครองเรือน และมีชีวิตคู่ยืนยาว รักกันตลอดไป\" ทั้งสองมีบุตรด้วยกันหนึ่งคน", "title": "จิทัศ ศรสงคราม" }, { "docid": "40396#1", "text": "ศาสตราจารย์ ดร.หม่อมราชวงศ์ ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ โดยสำเร็จการศึกษาระดับประถม ที่โรงเรียน Cheam School และระดับมัธยมที่โรงเรียน Rugby School จากนั้นได้รับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) สาขาชีวเคมี จาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2511 ได้รับปริญญาโท สาขาชีวเคมี และปริญญาเอก สาขาอณูชีววิทยา จาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี พ.ศ. 2515 โดยทำงานวิจัยกับนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล Dr. César Milstein ที่ MRC Laboratory of Molecular Biology", "title": "หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์" } ]
1198
มีการก่อตั้งสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยเมื่อใด?
[ { "docid": "336182#0", "text": "วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย เป็นกิจกรรมอดิเรกที่เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อได้มีการก่อตั้งสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 แต่กิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย ยังไม่ได้รับการรับรองจากสากลในขณะนั้น กระทั่งได้รับการรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างแท้จริงเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2530 จากการประกาศใช้ระเบียบคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530", "title": "วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย" } ]
[ { "docid": "84533#1", "text": "โปรแกรมนี้ทำให้นักวิทยุสมัครเล่นจากส่วนต่างๆ ของโลกสามารถพูดคุยกันได้ง่ายขึ้นผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และยังสามารถนำมาใช้งานเป็นระบบสื่อสารในเหตุการฉุกเฉินหรือภัยพิบัติ ดังที่เคยทำมาแล้วในประเทศไทยครั้งที่เกิดเหตุการณ์สึนามิทางภาคใต้ของประเทศไทย การติดต่อสื่อสารของนักวิทยุสมัครเล่นผ่านโปรแกรม Echolink นั้นทำงานคล้ายโปรแกรมสไกป์ แต่มีความแตกต่างที่ผู้ใช้งานจะต้องเป็นนักวิทยุสมัครเล่นและผ่านการตรวจสอบจากระบบว่าเป็นนักวิทยุสมัครเล่นจริงๆ แล้วเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าใช้งานได้ และที่สำคัญโปรแกรมสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องวิทยุสื่อสารของนักวิทยุสมัครเล่นได้อีกด้วย ทำให้สามารถคุยกันได้กับผู้ที่ใช้งานความถี่วิทยุผ่านสถานีกลางเชื่อมต่อให้", "title": "เอ็กโคลิงก์" }, { "docid": "67894#0", "text": "สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชุปถัมภ์ (, RAST) เป็นองค์กรวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2506", "title": "สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์" }, { "docid": "336182#2", "text": "นับจากก่อตั้งเป็นเวลากว่า 40 ปีที่ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปมากขึ้นเป็นลำดับ โดยที่สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ \"เพื่อเป็นสมาคมของนักวิทยุสมัครเล่นที่มิใช่เพื่อการค้า แต่รวมกันเพื่อส่งเสริมความสนใจเกี่ยวกับการทดลองวิทยุเพื่อความก้าวหน้าทางศิลปการวิทยุ และผดุงไว้ซึ่งชื่อเสียงของนักวิทยุสมัครเล่น ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกันโดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง\"", "title": "วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย" }, { "docid": "336182#9", "text": "สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย จะต้องผ่านการอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นจาก คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง_กิจการโทรทัศน์_และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก่อนจึงจะสามารถใช้งานความถี่วิทยุของนักวิทยุสมัครเล่นได้ ซึ่งนักวิทยุสมัครเล่นของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่", "title": "วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย" }, { "docid": "475436#1", "text": "ใน ค.ศ. 1902 สมาคมฟันดาบสมัครเล่น (AFA) ได้รับการก่อตั้งขึ้นเพื่อกำกับดูแลกีฬาฟันดาบสมัครเล่นในสหราชอาณาจักร (ซึ่งทางโรงเรียนฟันดาบแห่งประเทศอังกฤษ ที่มีส่วนกำกับดูแลฟันดาบสากลระดับอาชีพไม่ได้ก่อตั้งขึ้นในรูปแบบปัจจุบัน จนกระทั่ง ค.ศ. 1949) อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดสำหรับระดับสมัครเล่นในขณะนี้ได้มีการเลิกล้มไป และในระดับอาชีพที่ได้มีการอนุญาตขึ้นในสหราชอาณาจักร ดังนั้น ใน ค.ศ. 1996 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมฟันดาบแห่งประเทศอังกฤษ", "title": "สมาคมฟันดาบแห่งประเทศอังกฤษ" }, { "docid": "336182#4", "text": "ต่อมามีการจัดตั้ง \"ชมรมวิทยุอาสาสมัคร\" ในปี พ.ศ. 2524 ขึ้น โดย พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขในขณะนั้น และได้มีการจัดให้มีการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 ซึ่งในครั้งนั้นมีการกำหนดสัญญาณเรียกขานเป็น \"VR\" (ย่อมาจาก Volunteer Radio: นักวิทยุอาสาสมัคร) โดยเริ่มจาก VR001 ไปเรื่อยๆ มีผู้สมัครสอบประมาณ 500 คน และสอบผ่าน 311 คน ผู้ที่สอบได้จะเรียกตัวเองว่า นักวิทยุอาสาสมัคร", "title": "วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย" }, { "docid": "336182#5", "text": "แต่เป็นที่ทราบกันดีว่านักวิทยุอาสาสมัครได้ใช้ความถี่วิทยุสมัครเล่น ช่วยเหลือสังคม และงานต่างๆ ของทางราชการตลอดมา ซึ่งก็เป็นครั้งแรกที่ประชาชนทั่วไปได้มีสิทธิใช้งานความถี่วิทยุ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้า การเมือง และศาสนา ซึ่งหลังจากนั้นคณะกรรมการชมรม ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบของสมาคม ภายใต้ชื่อ \"สมาคมวิทยุอาสาสมัคร\" มีชื่อภาษาอังฤษว่า \"Voluntary Radio Association (VRA)\" ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมนักวิทยุอาสาสมัคร ช่วยเหลือสังคมและสาธารณประโยชน์แลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคนิคระหว่างสมาชิกและพัฒนาวิชาการด้านวิทยุคมนาคม โดยการปฏิบัติการติดต่อสื่อสารของสมาชิกทั้งหมดไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือศาสนา และไม่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวข้องกับการเมือง", "title": "วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย" }, { "docid": "336182#12", "text": "เมื่อสอบผ่านหรือได้รับประกาศนียบัตรรับรองการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นแล้ว จะมีสิทธิการใช้งานความถี่ที่กำหนดให้ใช้เฉพาะนักวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น ซึ่งมีหลายย่านความถี่ตามข้อกำหนดของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และใช้กำลังส่งได้สูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดแต่ละลำดับชั้นของใบอนุญาต สำหรับประเทศไทยตาม สิทธิต่างๆ เป็นดังตาราง", "title": "วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย" }, { "docid": "71537#1", "text": "นักวิทยุสมัครเล่นมักเรียกตัวเองว่า \"ham\" สำหรับที่มาของคำว่า \"ham\" นั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าเริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อใด และนักวิทยุสมัครเล่นมักจะเรียกหรือกล่าวถึงนักวิทยุสมัครเล่นที่เสียชีวิตว่า \"silent key\"\nมีไม่กี่ประเทศที่ได้บันทึกเกี่ยวกับคุณลักษณะของนักวิทยุสมัครเล่นไว้ นอกจากจำนวนของนักวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น นักวิทยุสมัครเล่นส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศเหล่านี้ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ไทย เกาหลีใต้ และสหภาพยุโรป มีเพียง 2 ประเทศเท่านั้นที่ไม่อนุญาตให้ประชาชนทั่วไปเป็นนักวิทยุสมัครเล่น คือ เยเมน และ เกาหลีเหนือ ในบางประเทศก็เป็นการยากที่ประชาชนทั่วไปจะได้รับอนุญาตเนื่องจากค่าใบอนุญาตที่สูงมาก ในบางประเทศก็อนุญาตให้ชาวต่างชาติด้วย ซึ่งมีจำนวนน้อยที่นักวิทยุสมัครเล่นจะได้รับอนุญาตในหลายๆ ประเทศพร้อมกัน", "title": "นักวิทยุสมัครเล่น" }, { "docid": "336182#6", "text": "\"กิจการวิทยุสมัครเล่น\" ได้รับการรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างแท้จริงเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2530 จากการประกาศใช้ระเบียบคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530 นับได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้มีการติดต่อสื่อสารแบบ \"นักวิทยุสมัครเล่น\" อย่างแท้จริงขึ้นในประเทศไทย โดยกำหนดสัญญาณเรียกขานที่เป็นสากลตามข้อกำหนดของ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ", "title": "วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย" }, { "docid": "7010#1", "text": "วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 มีการก่อตั้งสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Radio Amateur Society of Thailand (RAST) ", "title": "วิทยุสมัครเล่น" }, { "docid": "68410#30", "text": "ในช่วงความถี่นี้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกประเทศ มีการนำ Mode ใหม่ๆ มาใช้ในความถี่นี้มาก คุณสมบัติหลักของความถี่นี้คือใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารบนพื้นโลกระยะไม่ไกลนัก ทั้งเสียงพูดและรูปแบบของเครือข่ายข้อมูล รวมทั้งการติดต่อสื่อสารสะท้อนพื้นผิวดวงจันทร์ (EME) และการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นด้วย ในบางพื้นที่ที่มีการใช้งานความถี่นี้อย่างมาก เช่น ประเทศไทย ซึ่งนักวิทยุสมัครเล่นใหม่จะได้รับอนุญาตให้ใช้ความถี่นี่เป็นหลัก มักเกิดความหนาแน่นและกระจุกตัวของจำนวนนักวิทยุสมัครเล่น สำหรับการติดต่อแบบ EME (Earth-Moon-Earth) นั้นได้รับความนิยมมากที่สุดในความถี่นี้ เนื่องด้วยเพราะอัตรการสูญเสียและสัญญาณรบกวนที่ต่ำกว่าความถี่อื่นๆ รวมทั้งระบบสายอากาศที่ไม่ยุ่งยากด้วย ในความถี่นี้นักวิทยุสมัครเล่นยังได้เฝ้าสังเกตการแพร่กระจายคลื่นที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ในรูปแบบแปลกได้อีกด้วย", "title": "สเปกตรัมที่ต้องการของวิทยุสมัครเล่นและวิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียม" }, { "docid": "68410#28", "text": "ในแถบประเทศภูมิภาคที่ 2 และ 3 และบางประเทศในภูมิภาคที่ 1 ได้กำหนดให้นักวิทยุสมัครเล่นใช้ได้ถึง 4MHz ในช่วงความถี่นี้ และบางพื้นที่ก็ถูกกำหนดให้ใช้สำหรับการส่งสัญญาณโทรทัศน์ ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถใช้งานบางช่วงของความถี่ 50MHz นี้ได้ ในประเทศที่ใช้ใบอนุญาต CEPT แถบยุโรป หรือภูมิภาคที่ 1 นั้นกำหนดให้ความถี่ช่วง 50 - 52 MHz เป็นกิจการรองในกิจการวิทยุสมัครเล่น ซึ่งหมายถึงต้องแบ่งกันใช้งานกับกิจการอื่น ซึ่งสมาคมวิทยุสมัครเล่นในแถบยุโรปก็ได้มีความพยายามที่จะขอให้เป็นกิจการหลักในกิจการวิทยุสมัครเล่น", "title": "สเปกตรัมที่ต้องการของวิทยุสมัครเล่นและวิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียม" }, { "docid": "336182#10", "text": "ประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง ประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง", "title": "วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย" }, { "docid": "526583#2", "text": "นอกจากนี้แล้วในแวดวงการศึกษาและการกีฬา ยังถือว่าเป็นปูชนียบุคคลสำคัญคนหนึ่ง จนได้ชื่อเรียกขานว่า ครูชุม จากนายกำพล วัชรพล สื่อมวลชนผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนดุสิตพณิชยการ ซึ่งเป็นโรงเรียนพาณิชยการเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2505 และเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต หรืออาร์แบ็ค และในแวดวงกีฬาเคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ อาทิ นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย, นายกสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นต้น", "title": "ประชุม รัตนเพียร" }, { "docid": "336182#1", "text": "ก่อนหน้านั้น กิจการวิทยุสมัครเล่น มีขึ้นในประเทศไทยหลายสิบปีแล้ว จากการบอกกล่าวของนักวิทยุสมัครเล่นรุ่นแรกๆเล่าว่าได้มากกว่า 60 ปี แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจจากทั้งประชาชนทั่วไปและจากรัฐบาลเท่าใดนัก", "title": "วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย" }, { "docid": "67894#6", "text": "ที่ทำการของนายกสมาคม 251/206 สัมมากร 58 ถนนรามคำแหง เขตสะพานสูง กทม 10240 หรือที่อยู่ที่ติดต่อทางไปรษณีย์ คือ ตู้ ปณ. 2008 กรุงเทพฯ 10501 (P.O.Box 2008 Bangkok 10501 Thailand)", "title": "สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์" }, { "docid": "152778#7", "text": "ราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ร.ย.ส.ท) สมาคมกีฬากรีฑาแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมกีฬากอล์ฟอาชีพแห่งประเทศไทย (สกอท.) สมาคมกีฬาแข่งรถจักรยานยนต์แห่งประเทศไทย (สกจท) สมาคมกีฬาทางอากาศและการบินแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สกอท.) สมาคมกีฬาเนตบอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (ส.น.ท.) สมาคมกีฬาปีนหน้าผาแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทย (สพท.) สมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทย (สมท.) สมาคมกีฬายิงปืนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สยท.) สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งแห่งประเทศไทย (สฮนท.) สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย (สมท.) สมาคมกีฬาคริกเกตแห่งประเทศไทย (สคท.) สมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สจท.) สมาคมกีฬาซอฟท์เทนนิสแห่งประเทศไทย (สซทท.) สมาคมกีฬาตะกร้อแห่งประเทศไทย (สตท.) สมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) สมาคมกีฬาบริดจ์แห่งประเทศไทย (สบท.) สมาคมกีฬาเบสบอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (สบท.) สมาคมกีฬาโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทย (บลท.) สมาคมกีฬาเปตองแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สปท.) สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.ฟ.ท.) สมาคมกีฬาไทยแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมกีฬาเรือเร็วแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬายิงเป้าบินแห่งประเทศไทย (สปบ.) สมาคมกีฬามวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (สมทท.) สมาคมกีฬามวยปล้ำแห่งประเทศไทย (สปสท.) สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (สนท.) สมาคมกีฬายิมนาสติกแห่งประเทศไทย (ส.ย.ท.) สมาคมกีฬายูยิตสูแห่งประเทศไทย สมาคมเรือพายแห่งประเทศไทย (ส.ร.พ.ท.) สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย (ส.ว.ท.) สมาคมกีฬาวินด์เซิร์ฟแห่งประเทศไทย (ส.ว.ท.) สมาคมวู้ดบอลแห่งประเทศไทย สมาคมหมากรุกสากลแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาแฮนด์บอลแห่งประเทศไทย (สฮท.) สมาคมกีฬาเทนนิส ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมกีฬากอล์ฟแห่งประเทศไทย (สกท.) สมาคมกาบัดดี้แห่งประเทศไทย (สกบ.) สมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.ก.พ.ท.) สมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย (ส.ก.บ.ท.) สมาคมกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะแห่งประเทศไทย (สกปวท) สมาคมกีฬาฟิกเกอร์และสปีดสเก็ตติ้งแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬายิงธนูแห่งประเทศไทย (ส.ธ.ท.) สมาคมกีฬาลีลาศแห่งประเทศไทย (สลท.) สมาคมกีฬาเอ็กซ์ตรีมแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาขี่ม้าโปโลแห่งประเทศไทย (ส.ม.ป.) สมาคมแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.ข.ร.ท.) สมาคมคาราเต้แห่งประเทศไทย (สคท.) สมาคมหมากรุกเซี่ยงฉีแห่งประเทศไทย สมาคมเจ็ตสกีแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี สมาคมซอฟท์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (สซ.สท.) สมาคมไตรกีฬาแห่งประเทศไทย (สตท.) สมาคมเทเบิลเทนนิสแห่งประเทศไทย (สททท.) สมาคมกีฬาบาสเกตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สบท.) สมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมปันจักสีลัตแห่งประเทศไทย (สปสท.) สมาคมฟันดาบสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ (ส.ฟ.ท.) สมาคมฟุตวอลเลย์แห่งประเทศไทย สมาคมมวยไทยแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมาคมกีฬามวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สม.สท.) สมาคมยิงเป้าบินแห่งประเทศไทย (ปบ.) สมาคมยูโดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สยท.) สมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์ (สรท.) สมาคมลอนโบวล์สแห่งประเทศไทย (ส.ล.บ.) สมาคมว่ายน้ำแห่งประเทศไทย (ส.ว.ท.) สมาคมวูซูแห่งประเทศไทย (ส.พ.ว.) สมาคมสควอชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สคส.) สมาคมฮอกกี้แห่งประเทศไทย (ส.ฮ.ท.) สมาคมคูราชแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬายิงปืนรณยุทธแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาไทยแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.ก.ท.) สมาคมดำน้ำ ทีดีเอ แห่งประเทศไทย สมาคมชักกะเย่อแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย", "title": "การกีฬาแห่งประเทศไทย" }, { "docid": "67894#5", "text": "กิจการวิทยุสมัครเล่นในหลายสมัยที่ พ.อ.กำชัย ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมติดต่อกันเป็นเวลากว่าสิบปีดำเนินไปด้วยดี โดยมิได้รับการตำหนิหรือท้วงติงจากทางราชการที่เกี่ยวข้องแต่ประการใด ในระยะเวลานั้นทางสมาคมฯ ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุม SEANET ที่โรงแรมเอราวัณ ถึง 2 ครั้ง และงานสำคัญอื่นๆ เกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่นในภูมิภาคเอเชียอีกหลายครั้งอย่างต่อเนื่องด้วยความเรียบร้อยทุกประการ", "title": "สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์" }, { "docid": "7010#3", "text": "โดยที่สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ \"\"เพื่อเป็นสมาคมของนักวิทยุสมัครเล่นที่มิใช่เพื่อการค้า แต่รวมกันเพื่อส่งเสริมความสนใจเกี่ยวกับการทดลองวิทยุเพื่อความก้าวหน้าทางศิลปการวิทยุ และผดุงไว้ซึ่งชื่อเสียงของนักวิทยุสมัครเล่น ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกันโดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง\"\"", "title": "วิทยุสมัครเล่น" }, { "docid": "67894#4", "text": "มีการพบปะสังสรรค์กันทุกสัปดาห์ที่โรงแรมโอเรียลเต็ล ในนามชื่อย่อ RAST มีจำนวนสมาชิกทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาร่วมเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังมิได้รับการรับรองจากหน่วยงานของทางราชการ เนื่องจากขณะนั้นประเทศไทยกำลังอยุ่ในสภาวะฉุกเฉินของสงครามเวียดนาม และการก่อการร้ายในประเทศไทย แต่การดำเนินงานของสมาคมคงเป็นไปอย่างปกติ ได้ย้ายสถานที่ประชุมจากโรงแรมโอเรียลเต็ลมาเป็นโรงแรม เอราวัณซึ่งเป็นโรงแรมของรัฐบาล ดำเนินการโดย พล.ท.เฉลิมชัย จารุวัสตร์ ซึ่งรู้จักคุ้นเคยกับ พ.อ.กำชัย เป็นอย่างดี", "title": "สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์" }, { "docid": "67894#1", "text": "สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นมาโดยบุคคล 6 ท่าน คือ", "title": "สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์" }, { "docid": "68357#1", "text": "สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ กำหนดให้ประเทศไทยใช้สัญญาณเรียกขานด้วยอักษรโรมัน เรื่มตั้งแต่ \"HSA\" จนถึง \"HSZ\" และ \"E2A\" จนถึง \"E2Z\" \nสำหรับกรณีที่เป็นสถานีวิทยุสมัครเล่นกำหนดให้มีคำนำหน้าสัญญาณเรียกขานของประเทศไม่เกิน 2 ตัวอักษรแล้วตามด้วยตัวเลขเพื่อระบุว่าอยู่ในเขตพื้นที่ใดของประเทศ สุดท้ายจะมีอักษรเรียงลำดับตั้งแต่ 1 - 3 ตัว รวมทั้งหมดสัญญาณเรียกขานสำหรับนักวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย จะมีไม่เกิน 6 หลัก ดังนี้", "title": "สัญญาณเรียกขาน" }, { "docid": "7010#14", "text": "โดยทั่วไปนักวิทยุสมัครเล่นมักนิยมแลกเปลี่ยนบัตรยืนยันการติดต่อ หรือ QSL card ระหว่างกัน เพื่อที่จดบันทึกการติดต่อสื่อสารครั้งนั้นไว้ ซึ่งรางวัลต่าง ๆ ในกิจการวิทยุสมัครเล่น หลายรางวัลจำเป็นต้องใช้บัตรยืนยันการติดต่อนี้เพื่อรับรางวัล นักวิทยุสมัครเล่นบางคนก็นิยมเก็บสะสม เพราะมีความสวยงาม นอกจากการยืนยันโดยบัตรยืนยันการติดต่อแล้ว ปัจจุบันมีการยืนยันแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Logbook of the World (LoTW) จัดทำโดยสมาคมวิทยุสมัครเล่นอเมริกา (ARRL) การยืนยันแบบนี้สามารถแลกรางวัล (ที่จัดโดยสมาคม) ได้เช่นกัน", "title": "วิทยุสมัครเล่น" }, { "docid": "67894#3", "text": "นับแต่ก่อตั้งได้เข้าเป็นสมาชิกของ IARU แต่ยังมิได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่ได้รับอนุญาตให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พนักวิทยุยังมิได้มีการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นอย่างถูกต้องในประเทศไทย", "title": "สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์" }, { "docid": "336182#3", "text": "สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย พยายามดำเนินการกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทยให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยขออนุญาตทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่นมาโดยตลอด เช่น การเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันระดับนานาชาติในรายการแข่งขันวิทยุสมัครเล่นต่างๆ รวมทั้งเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันรายการต่างๆ หลายรายการนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติในสมัยนั้น ให้มีการจัดตั้งสถานีชั่วคราวขึ้นได้", "title": "วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย" }, { "docid": "467087#23", "text": "นักแบดมินตันดาวรุ่งยอดเยี่ยมประจำปี 2552 สหพันธ์แบดมินตันโลก (ฺEDDY CHOONG MOST PROMISING PLAYER OF THE YEAR AWARD 2009 - Badminton World Federation)[29] รางวัลนักกีฬาที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนทั่วโลกปี 2553 จากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (2010 IOC SPORT-INSPIRING YOUNG PEOPLE TROPHY)[30][31] รางวัลนักกีฬาสมัครเล่นยุวชนหญิงยอดเยี่ยม สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2552 [32] รางวัลนักกีฬาสมัครเล่นยุวชนหญิงยอดเยี่ยม สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2553 [33] รางวัลนักกีฬาสมัครเล่นยอดเยี่ยมหญิง สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2554 (ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) [34] รางวัลนักกีฬาสมัครเล่นยอดเยี่ยมหญิง สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2556 (ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) [35] รางวัลนักกีฬาสมัครเล่นยอดเยี่ยมหญิง สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2558 (ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) [36] พ.ศ. 2557 รางวัลนักกีฬาสมัครเล่นยอดเยี่ยมหญิง สยามกีฬาอวอร์ดส์ ครั้งที่ 8 [37][38][39]", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "68410#15", "text": "ในการศึกษาความถี่นี้ซึ่งรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ผ่านการเห็นชอบแล้วในหลักการ ความต้องการของสมาคมวิทยุสมัครเล่นสหรัฐอเมริกา (ARRL) คือการขอแบ่งช่วงความถี่ 160 - 190 KHz ในขณะเดียวกัน ARRL ก็ต้องต่อสู้กับ FCC เพื่อขอให้กำหนดให้ความถี่ 135.7 - 137.8 KHz และ 160 - 190 KHz เป็นของกิจการวิทยุสมัครเล่น โดยเป็นกิจการรอง ในปี 2002 FCC ได้จัดทำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับการจัดสรร์ความถี่ 160 - 190 KHz ให้กับกิจการวิทยุสมัครเล่น และในปี 2003 FCC ได้เสนอรายงานและคำสั่งกำหนดความถี่หลายช่วงเป็นของกิจการวิทยุสมัครเล่น แต่ปฏิเสธการให้ความถี่ 135.7 - 137.8 KHz เป็นผลมากจากที่มีบริษัทผลตตไฟฟ้าได้ร้องว่ากิจการวิทยุสมัครเล่นได้ก่อให้เกิดการรบกวนกับระบบสายส่งไฟฟ้า อย่างไรก็ได้ FCC ก็ยังคงอนุญาตให้ใช้งานได้ในบ้าง ", "title": "สเปกตรัมที่ต้องการของวิทยุสมัครเล่นและวิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียม" }, { "docid": "78665#2", "text": "รับการศึกษาชั้นประถมที่ โรงเรียนราชินี และมาต่อชั้นมัธยมศึกษาและเตรียมอุดมศึกษา ที่วชิราวุธวิทยาลัยและโรงเรียนเทพศิรินทร์ แล้วเดินทางไปศึกษาต่อที่ โรงเรียน จีลอง แกรมมา สกูล จบการศึกษาด้านวิศวกรรมเครื่องกล เมลเบิร์น เทคนิคอล คอลเลจ ประเทศออสเตรเลีย ศึกษาวิชาตำรวจและสายตรวจวิทยุ ที่สหรัฐอเมริกา ศึกษาวิชาบรรเทาสาธารณภัยที่ประเทศอังกฤษ 2 ปี ก่อนเข้ารับราชการตำรวจเมื่อปี 2498 โดยเป็นตำรวจสังกัดกองตำรวจยานยนต์ สมัย พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นอธิบดีกรมตำรวจ ต่อมาในปี 2503 ได้ย้ายมาสังกัดกองตำรวจดับเพลิง ได้เลื่อนยศเป็น ร.ต.อ. ในตำแหน่งหัวหน้าแผนกช่าง จนขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจดับเพลิง เมื่อปี 2516 และเป็น ผช.ผบช.น. อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งรถวิทยุสายตรวจนครบาล และรถวิทยุตำรวจทางหลวง ก่อตั้งอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยและลูกเสือดับเพลิง และก่อตั้งหน่วยดับเพลิงของประชาชน 111 สถานี รวมถึงเป็นประธานผู้ก่อตั้งสโมสรกีฬาราชประชา และดำรงตำแหน่งนายกสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัย แห่งประเทศไทย ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี อย่างต่อเนื่องมาหลายวาระตั้งแต่ ปี 2533 ได้สร้างราชประชาสปอร์ตชูเล่ย์ สำหรับเก็บตัวนักกีฬา และศูนย์ฝึกดับเพลิงและกู้ภัยที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา", "title": "หม่อมราชวงศ์เจตจันทร์ ประวิตร" } ]
1493
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร มีบุตรกี่คน?
[ { "docid": "5513#24", "text": "มีพระราชโอรส-ธิดากับเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระรวมทั้งสิ้น 4 พระองค์ ดังนี้:", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" } ]
[ { "docid": "162458#0", "text": "รัฐสภาสหราชอาณาจักร หรือ รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ () เป็นสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติสูงสุดในสหราชอาณาจักรและดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร โดยมีประมุขเป็นพระมหากษัตริย์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2", "title": "รัฐสภาสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "5513#62", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงดำรงพระราชอิสริยยศและตำแหน่งทางการทหารในประเทศเครือจักรภพมากมาย เป็นผู้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในประเทศของพระองค์ ทรงได้รับการถวายพระเกียรติและรางวัลมากมายจากทั่วโลก และมีพระราชอิสริยยศเป็นการเฉพาะในแต่ละประเทศ เช่น สมเด็จพระราชินีนาถแห่งจาเมกา, สมเด็จพระราชินีนาถแห่งออสเตรเลีย ฯลฯ เป็นต้น ทรงดำรงตำแหน่งลอร์ดแห่งแมนในเกาะแมน และดยุกแห่งนอร์ม็องดีในหมู่เกาะแชนเนล ซึ่งทั้งสองเป็นดินแดนปกครองตนเองของสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งอื่น ๆ เช่น อัครศาสนูปถัมภก และดยุกแห่งแลงแคสเตอร์ เมื่อพระราชินีนาถมีพระราชปฏิสันธานกับเรา ควรเริ่มเอ่ยถึงพระองค์ด้วยคำว่า \"ฝ่าพระบาท\" (Your Majesty) หลังจากนั้นจึงค่อยใช้คำว่า \"ท่าน\" (Ma'am) ในการกล่าวถึงพระองค์[205] ลำดับบรรณดาศักดิ์ที่ทรงได้รับตลอดช่วงพระชนม์ชีพมีดังต่อไปนี้:", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "556930#0", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรทรงมีพระอิสริยศและพระเกียรติยศทั้งก่อนและในระหว่างครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ของเครือจักรภพ", "title": "รายชื่อพระอิสริยยศและพระเกียรติยศในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "956104#0", "text": "ลอร์ดเฟรเดอริก วินด์เซอร์ ()\nลอร์ดเฟรเดอริก วินด์เซอร์ เกิดเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2522 ณ โรงพยาบาลเซนต์แมรี กรุงลอนดอน เป็นพระโอรสคนใหญ่ใน เจ้าชายไมเคิลแห่งเคนต์ และ เจ้าหญิงไมเคิลแห่งเคนต์ เป็นพระนัดดาใน เจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งเคนต์ และพระราชปนัดดาใน สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร โดยปัจจุบันอยู่ในลำดับที่ 48 ในการสืบราชบัลลังก์ โดยเขาเป็นประธานในมูลนิธิ โซดิเออรฺ ออร์ และเป็นประธานโครงการการฝึกอบรมพัฒนาอาชีพแห่งสหราชอาณาจักร \nลอร์ดเฟรเดอริก พบกัน ชายาในอนาคตคือ โซฟี วิลเคลแมน ในวันวาเลนไทน์เมื่อปี พ.ศ. 2552 ต่อมา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมรสกันในวันที่ 12 กันยายน ปีเดียวกัน โดยทั้งคู่มีบุตรดังนี้\nในปี พ.ศ. 2559 ลอร์ดเฟรเดอริกได้รับแต่งตั้งจาก สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้ากองกำลังทหารแห่งสหราชอาณาจักร", "title": "ลอร์ดเฟรเดอริก วินด์เซอร์" }, { "docid": "5513#51", "text": "ในวันที่ 18 ธันวาคม เสด็จพระราชดำเนินไปร่วมการประชุมของคณะรัฐมนตรี ซึ่งนับเป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรพระองค์แรกที่เสด็จฯ ไปร่วมการประชุมของคณะรัฐมนตรีในสภาวะไร้สงครามนับตั้งแต่การเสด็จฯ ของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 ในปี พ.ศ. 2324 ต่อมาไม่นานรัฐมนตรีต่างประเทศสหราชอาณาจักร วิลเลียม เฮก ก็ประกาศให้ดินแดนตอนใต้ของดินแดนแอนตาร์กติกาของสหราชอาณาจักรที่ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อเป็น เอลิซาเบธแลนด์ เพื่อเป็นเกียรติแด่สมเด็จพระราชินีนาถ[161]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "427964#0", "text": "พระราชพิธีพัชราภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 () เป็นการเฉลิมฉลองระหว่างประเทศตลอด พ.ศ. 2555 เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรสืบราชบัลลังก์อังกฤษครบ 60 ปี หลังพระราชชนก คือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 สวรรคต เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเป็นเพียงพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย และบรรดาเครือจักรภพบางส่วนที่ได้มีพระราชพิธีพัชราภิเษกเช่นกัน ตามประเพณีพระราชพิธีภิเษก (jubilee) ต่าง ๆ ในอดีต มีการมอบเหรียญพัชราภิเษกในหลายประเทศ ตลอดจนจะมีวันหยุดและจัดงานต่าง ๆ ขึ้นทั่วเครือจักรภพ แผนจัดงานมีการอภิปรายกันที่การประชุมประมุขรัฐบาลเครือจักรภพ พ.ศ. 2554", "title": "พระราชพิธีพัชราภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2" }, { "docid": "5513#1", "text": "เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและพระมหากษัตริย์แห่งเจ็ดรัฐเครือจักรภพ เจ็ดรัฐ ได้แก่ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ ปากีสถาน และ ซีลอน พิธีราชาภิเษกของพระองค์ในปีถัดมาเป็นพิธีราชาภิเษกครั้งแรกที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ระหว่าง พ.ศ. 2499 ถึง 2535 จำนวนราชอาณาจักรของพระองค์แปรผันเมื่อดินแดนต่าง ๆ ได้รับเอกราชและบ้างกลายเป็นสาธารณรัฐ ปัจจุบัน นอกจากสี่ประเทศแรกที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ยังเป็นพระราชินีนาถแห่งจาเมกา บาร์เบโดส หมู่เกาะบาฮามาส เกรนาดา ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน ตูวาลู เซนต์ลูเซีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ แอนติกาและบาร์บูดา เบลิซ และเซนต์คิตส์และเนวิส พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระชนมายุมากที่สุดของบริเตน เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558 พระองค์เป็นประมุขแห่งรัฐบริเตนที่ทรงราชย์นานที่สุด แซงหน้ารัชกาลของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ผู้เป็นพระมารดาของพระปัยกา (ทวด) ของพระองค์ และเป็นพระราชินีนาถที่ทรงราชย์นานที่สุดในประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นพระราชธิดาพระองค์แรกของดยุกและดัชเชสแห่งยอร์ก (ต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 และสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ) พระราชบิดาเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 กับสมเด็จพระราชินีแมรี พระราชบิดาของพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 พระราชโอรสองค์โตทรงสละราชสมบัติ พระองค์จึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัชทายาทโดยสันนิษฐานแห่งสหราชอาณาจักร", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "5513#53", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงครองราชย์ยาวนานแซงหน้าสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ผู้เป็นพระมารดาของพระปัยกา (ทวด) ของพระองค์ ทรงเป็นพระราชวงศ์อังกฤษที่มีพระชนมายุมากที่สุด เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558[165] พระองค์ได้รับการเฉลิมฉลองที่แคนาดาในฐานะ \"ประมุขที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในยุคสมัยใหม่ของแคนาดา\" [166] (พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ทรงเป็นพระประมุขของแคนาดายาวนานกว่าสมัยที่เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส)[167] พระองค์ยังเป็นพระราชินีนาถที่ทรงราชย์นานที่สุดในประวัติศาสตร์[168] และพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยังทรงราชย์ยาวนานที่สุดในโลก หลังจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559[169][170] วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร พระองค์แรกที่มีการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 65 ปี[171]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "362905#1", "text": "พระองค์ถือเป็นเหลนในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร พระองค์จึงอยู่ในลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ของสหราชอาณาจักร นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นพระญาติชั้นที่สองของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร และเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งของสมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม และสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียมในสายพระมารดาของพระองค์", "title": "เจ้าหญิงอัสตริดแห่งนอร์เวย์" }, { "docid": "5513#65", "text": "ตราอาร์มประจำพระองค์เจ้าหญิงเอลิซาเบธ (พ.ศ. 2487-2490)ตราอาร์มประจำพระองค์เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งเอดินบะระ (พ.ศ. 2490-2495) ตราอาร์มประจำพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในสหราอาณาจักร (ยกเว้นในสกอตแลนด์)ตราอาร์มประจำพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในสกอตแลนด์ ตราอาร์มประจำพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในแคนาดา (หนึ่งในสามแบบที่ใช้ในรัชกาลของพระองค์)[lower-alpha 1]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "264465#0", "text": "ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร () เป็นตราอาร์มของพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรที่ในปัจจุบันคือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ตรานี้ใช้โดยสมเด็จพระราชินีนาถในโอกาสทางราชการในฐานะพระมหากษัตรีย์แห่งสหราชอาณาจักร และ รู้จักอย่างเป็นทางการว่า “ตราอาร์มแห่งราชอาณาจักร” (Arms of Dominion) ตราอาร์มที่แปลงจากตรานี้ใช้โดยสมาชิกอื่นๆ ในพระราชวงศ์อังกฤษ และ โดยรัฐบาลบริเตนในกิจการที่เกี่ยวกับการบริหารและการปกครองประเทศ ในสกอตแลนด์สมเด็จพระราชินีนาถทรงมีตราที่แปลงจากตรานี้ ซึ่งเป็นตราเดียวกับที่ใช้โดยรัฐบาลสกอตแลนด์ (Scotland Office)", "title": "ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "548947#2", "text": "อัญมณีต่างๆส่วนใหญ่ของมงกุฎองค์นี้ถูกนำมาใช้ในปีค.ศ. 1937 ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระมเหสีของพระราชโอรสของพระองค์ ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งในระหว่างพระราชพิธีนั้น สมเด็จพระราชินีแมรี (พระราชชนนี) ทรงมงกุฎองค์นี้แบบไม่มียอดร่วมพระราชพิธีด้วย และต่อมาในรัชสมัยของพระราชนัดดาของพระองค์ คือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 สมเด็จพระราชินีแมรี (พระอัยยิกา)ก็ยังทรงมงกุฎองค์นี้แบบย่ออยู่อย่างเสมอในพระราชพิธีต่างๆ และหลังจากเสด็จสวรรคตในปีค.ศ. 1953 มงกุฎองค์นี้ก็ยังไม่ถูกทรงอีกเลย จนกระทั่งถูกสวมอีกครั้ง (อัญมณีสำคัญๆถูกแทนที่ด้วยคริสตัล) ในงานรัฐพิธีเลี้ยงพระกระยาหารค่ำโดยดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ ในพระบรมราชานุญาตเป็นกรณีพิเศษของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2", "title": "มงกุฎพระราชินีแมรี" }, { "docid": "5513#35", "text": "ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 เป็นช่วงที่สหราชอาณาจักรมอบเอกราชให้แก่ประเทศแถบทวีปแอฟริกาและแถบทะเลแคริบเบียน มากกว่า 20 ประเทศได้รับเอกราชอันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปกครองตนเอง อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2508 นายกรัฐมนตรีแห่งโรดีเซีย เอียน สมิธ ต่อต้านการเปลี่ยนผ่านนี้ โดยประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักรฝ่ายเดียวในขณะที่ยังคงแสดง \"ความจงรักภักดีและความอุทิศตน\" ต่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แม้ว่าพระองค์จะทรงเพิกเฉยต่อคำประกาศนี้ในทางสาธารณะก็ตาม ซึ่งปฏิกิริยาจากประชาคมระดับนานาชาติก็คือการคว่ำบาตรต่อโรดีเซีย แม้กระนั้นการบริหารประเทศของเอียน สมิธ ก็ยังสามารถอยู่รอดมาได้เกือบทศวรรษ[91]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "957411#3", "text": "ต่อมาเมื่อปี 2510 เขาได้หย่าขาดจากภริยาคนแรก ซึ่งขณะนั้นเป็นที่วิจารณ์ของสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก ต่อมา ในปีเดียวกัน เขาได้สมรสใหม่กับ แพรทิเซีย ทัคเวลล์ น้องสาวของ แบร์รี ทัคเวลล์ นักไวโอลีนชื่อดัง โดยแพรทิเซียได้รับบรรดาศักดิ์เป็น เคาน์เตสแห่งฮาร์วุด มีบุตร 1 คนคือ\nเขาเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลเพียงคนเดียวที่ไม่ใช่เจ้าชายหากแต่เป็นพระราชวงศ์สหราชอาณาจักร และต่อมาเขาได้รับตำแหน่งนายกสมาคมผู้ปกครองแห่งมหาวิทยาลัยยอร์ก และเมื่อปี 2529 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เขาเป็นอัศวินแห่งสหราชอาณาจักรบริตริช และยังได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นนายกสมาคมศิลปะแห่งออสเตเรีย", "title": "จอร์จ แลสเซิลส์ เอิร์ลที่ 7 แห่งฮาร์วุด" }, { "docid": "976106#0", "text": "เซอร์แองกัส โอลกิลวี () เกิดเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2471 เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ พันเอกเดวิด โอลกิลวี เอิร์ลที่ 12 แห่งแอร์รีย์ กับ เลดีอเล็กซานดรา โค๊ก เขาเป็นหลานชายของ โทมัส โค๊ก เอิร์ลที่ 3 แห่งเลสเตอร์ ผ่านทางสายมารดา โดยครอบครัวของเขานั้นมีความสินทกับพระราชวงศ์อังกฤษอยู่แล้วเนื่องจาก มาเบลล์ โอลกิลวี เคาน์เตสแห่งแอร์รีย์ ผู้เป็นย่าของแองกัสเป็นนางสนองพระโอษฐ์ของแมรีแห่งเทก สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักร และพ่อของเขานั้นเป็นคนสนิทของ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร พระราชยิดาใน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร รัชกาลปัจจุบัน เขายังเป็นญาติใน ไดอานา มิตฟอร์ด กับ พาเมลา แฮร์ริแมน นักการทูตของสหราชอาณาจีกรประจำประเทศฝรั่งเศส", "title": "แองกัส โอลกิลวี" }, { "docid": "490496#8", "text": "แต่ในเอกสารส่วนใหญ่เกี่ยวกับประเทศอื่นในเครือจักรภพ นอกจากสหราชอาณาจักร ประเทศแคนาดา และประเทศนิวซีแลนด์ มักไม่เติมสร้อยพระนาม \"ผู้ปกป้องศรัทธา\" เช่น สำหรับประเทศออสเตรเลีย ออกพระนามสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ว่า \"โดยพระคุณของพระเป็นเจ้า เอลิซาเบธที่ 2 สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ตลอดทั้งราชอาณาจักรและดินแดนอื่น ๆ ของพระนาง พระประมุขแห่งเครือจักรภพ\" ที่ประเทศแคนาดาเลือกคงสร้อยพระนาม \"ผู้ปกป้องศรัทธา\" ไว้มิใช่เพราะพระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์ศาสนาประจำชาติ (แคนาดาไม่มีศาสนาประจำชาติ) แต่เพราะถือว่าทรงอุปถัมภ์ศาสนาและลัทธิความเชื่อต่าง ๆ เป็นการทั่วไป ลุย แซ็งต์. โลรองต์ นายกรัฐมนตรีแคนาดา แถลงต่อสภาสามัญชนแคนาดาเมื่อ ค.ศ. 1953 ว่า", "title": "อัครศาสนูปถัมภก" }, { "docid": "32264#0", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในช่วงระหว่าง 20 มิถุนายน ค.ศ. 1837 - 22 มกราคม ค.ศ. 1901 ทรงมีสายพระโลหิตสืบทอดมาเป็นเชื้อพระวงศ์ทั่วยุโรป (ยกเว้น เนเธอร์แลนด์) เช่น จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี หรือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เป็นต้น จนได้รับพระราชสมัญญานามว่า \"สมเด็จย่าแห่งยุโรป\" (Grandmother of Europe)", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "524887#5", "text": "ในช่วงการของการเสด็จฯ เยือนหรือเยือนอย่างเป็นทางการของประมุขต่างประเทศ ประมุขต่างประเทศจะเดินทางสู่พระราชวังบักกิงแฮมเพื่อเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรผ่านถนนเดอะมอลล์ ซึ่งประดับตกแต่งด้วยธงชาติสหราชอาณาจักรและธงชาติของประมุขที่เสด็จฯ เยือนหรือเยือน ช่วงพระราชพิธีกาญจนาภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในปี พ.ศ. 2545 ประชาชนมากกว่าล้านคนออกมายังถนนเดอะมอลล์เพื่อเข้าเฝ้าพระบรมวงศานุวงศ์อังกฤษซึ่งปรากฏพระองค์จากบัญชรพระราชวังบักกิงแฮม ภาพการปรากฏพระองค์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกครั้งในพระราชพิธีเสกสมรสของเจ้าชายวิลเลียมและแคเธอริน มิดเดิลตัน พ.ศ. 2554, พระราชพิธีพัชราภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และงานคอนเสิร์ตพระราชพิธีพัชราภิเษก พ.ศ. 2555", "title": "เดอะมอลล์ (ถนน)" }, { "docid": "5513#50", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ในวันที่ 27 กรกฎาคม และพาราลิมปิกฤดูร้อน 2012 ในวันที่ 29 สิงหาคม ที่จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังทรงร่วมแสดงคู่กับแดเนียล เคร็ก ผู้รับบทเป็นสายลับเจมส์ บอนด์ ในภาพยนตร์สั้นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2012[158] ด้านพระราชบิดา สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ทรงเคยเปิดการแข่งกันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1948 ส่วนพระปัยกา (ปู่ทวด) สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ก็ทรงเคยเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1908 ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงเคยเสด็จฯ ไปทรงเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1976 ที่นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดามาแล้วครั้งหนึ่ง ด้านพระราชสวามี เจ้าชายฟิลิป ก็เคยเสด็จฯ ไปทรงเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1956 ที่นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียด้วยเช่นกัน[159] ทำให้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขแห่งรัฐพระองค์แรกที่ได้ทรงเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2 ครั้งใน 2 ประเทศ[160]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "520020#1", "text": "ปีเตอร์เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 เวลา 10:40 ณ โรงพยาบาลเซนต์แมรี เป็นโอรสคนโตในเจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี กับมาร์ก ฟิลลิปส์ เป็นพระราชนัดดาคนแรกในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร กับเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ เมื่อเขาเกิด ได้มีการยิงสลุดขึ้นฟ้าแสดงความยินดี 41 นัด จากหอคอยลอนดอน (ปีเตอร์ถือเป็นสามัญชน แต่เป็นพระบรมราชโองการในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระอัยยิกา) ปีเตอร์ได้รับบัพติศมาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ปีเดียวกัน ณ ห้องดนตรีพระราชวังบักกิงแฮม", "title": "ปีเตอร์ ฟิลลิปส์" }, { "docid": "33290#0", "text": "เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี (; 15 สิงหาคม พ.ศ. 2493) หรือพระนามเต็ม แอนน์ อีลิซาเบท อลิซ หลุยส์ () เป็นพระราชบุตรพระองค์ที่สองและเป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร กับเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ เมื่อแรกประสูติกาล พระองค์อยู่ในลำดับที่สามแห่งการสืบราชสันตติวงศ์สหราชอาณาจักรต่อจากเจ้าหญิงเอลิซาเบธ (พระชนนี – พระยศในขณะนั้น) และเจ้าชายชาลส์ พระเชษฐา และเคยอยู่ในลำดับที่สองหลังพระชนนีขึ้นเสวยราชสมบัติ แต่ปัจจุบันทรงอยู่ในลำดับที่สิบสามแห่งการสืบราชสันตติวงศ์", "title": "เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี" }, { "docid": "5513#31", "text": "กลไกในการเลือกผู้นำคนใหม่ของพรรคอนุรักษนิยมที่หยุดชะงักลง หมายความว่าหลังการลาออกของเซอร์ แอนโทนี เป็นพระราชภาระของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ที่จะต้องทรงเลือกว่าใครควรที่จะเป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เซอร์ แอนโทนีได้ถวายคำแนะนำแด่พระองค์ให้ทรงปรึกษากับลอร์ดซอลส์บรี ประธานสภาองคมนตรี ลอร์ดซอลส์บรีและลอร์ดคิลเมียร์ (ขณะนั้นดำรงรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม) ก็ได้ไปปรึกษากับคณะรัฐมนตรี วินสตัน เชอร์ชิลล์ และคณะกรรมธิการ 1922 (1922 Committee) จนในที่สุดก็ได้จึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เฮโรลด์ แมคมิลแลน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามที่ได้รับการถวายคำแนะนำมา[74]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "5513#42", "text": "ในปี พ.ศ. 2530 ในแคนาดา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 มีพระราชดำรัสว่าทรงสนับสนุนข้อตกลงมีชเลค (Meech Lake Accord) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่สร้างความแตกแยกทางการเมือง เป็นข้อตกลงที่โน้มน้าวให้รัฐควิเบกยอมรับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2525 และยังคงเป็นส่วนหนึ่งของแคนาดาต่อไป ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เช่น อดีตนายกรัฐมนตรีปีแยร์ ตรูโด[115] ในปีเดียวกันนั้นเองที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของฟิจิถูกรัฐประหารโดยกองทัพ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในฐานะที่เป็นพระมหากษัตริย์ฟิจิ ให้การสนับสนุนผู้สำเร็จราชการแห่งฟิจิ เพเนเอีย กานิเลา ในการพยายามเจรจาประนีประนอมและยันยันถึงสิทธิ์อันชอบธรรมของรัฐบาล แต่ผู้นำการปฏิวัติ ซิติเวนี ราบูกา กลับเนรเทศผู้สำเร็จราชการและประกาศให้ฟิจิเป็นสาธารณรัฐ[117] ต่อมาในช่วงต้นของปี พ.ศ. 2534 แนวคิดสาธารณรัฐนิยมในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นจากรายงานตัวเลขคาดการณ์พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนาถซึ่งถูกโต้แย้งโดยสำนักพระราชวัง รวมไปถึงข่าวชีวิตคู่ที่ล้มเหลวของพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์[118] นอกจากนี้ความเกี่ยวข้องกับเกมโชว์การกุศล อิตส์รอยัลน็อคเอาต์ ของราชนิกุลรุ่นเยาว์ได้รับการเย้ยหยัน[119] และสมเด็จพระราชินีนาถก็ทรงตกเป็นเป้าของการเสียดสีล้อเลียน[120]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "5513#0", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (English: Elizabeth II; พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469) เป็นพระประมุขของ 16 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "490496#5", "text": "ในพระสถานะพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงได้รับการเฉลิมพระนามว่า \"โดยพระคุณของพระเป็นเจ้า เอลิซาเบธที่ 2 สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ตลอดทั้งราชอาณาจักรและดินแดนอื่น ๆ ของพระนาง พระประมุขแห่งเครือจักรภพ ผู้ปกป้องศรัทธา\" (Elizabeth the Second, by the Grace of God, of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland and of Her other Realms and Territories Queen, Head of the Commonwealth, Defender of the Faith)", "title": "อัครศาสนูปถัมภก" }, { "docid": "5513#64", "text": "ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2487 จนกระทั่งเสด็จขึ้นครองราชย์ ตราอาร์มประจำพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรประกอบด้วย ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรในรูปทรงข้าวหลามตัดพร้อมด้วยบังเหียนสีเงินสามพู่ พู่กลางเป็นตรากุหลาบทิวดอร์ ส่วนอีกสองพู่เป็นตรากางเขนแห่งเซนต์จอร์จ[206] หลังจากการเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงสืบทอดตราอาร์มที่พระราชบิดาทรงถือครองในฐานะพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ยังทรงครอบครองธงพระอิสริยยศและธงประจำพระองค์เพื่อใช้ในสหราชอาณาจักร, แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, จาเมกา, บาร์เบโดส และประเทศเครือจักรภพอื่น ๆ [207]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "5513#45", "text": "ปี พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นปีเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน พระขนิษฐา สิ้นพระชนม์ในเดือนกุมภาพันธ์ ตามมาด้วยการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี ในเดือนมีนาคม ทำให้สื่อตั้งคำถามว่าพระราชพิธีกาญจนาภิเษกในปีนี้จะประสบกับความสำเร็จหรือความล้มเหลว[139] และเป็นอีกครั้งที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเครือจักรภพ โดยเริ่มต้นขึ้นที่จาเมกาในเดือนกุมภาพันธ์ ที่ซึ่งตรัสเรียกการเสด็จฯ ครั้งนั้นว่า \"เป็นที่จดจำ\" หลังจากที่เกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้องจนมืดสนิทไปทั่วบริเวณงานเลี้ยงส่งเสด็จฯ ณ พระตำหนักคิงส์เฮาส์ ซึ่งเป็นที่พำนักอย่างเป็นทางการของผู้สำเร็จราชการแห่งจาเมกา[140] ในงานเฉลิมฉลองการครองราชสมบัติครบ 50 ปีในครั้งนี้ มีการเฉลิมฉลองและงานเลี้ยงสังสรรค์บนท้องถนนมากมายเช่นเดียวกับครั้งที่เฉลิมฉลองพระราชพิธีรัชดาภิเษกในปี พ.ศ. 2520 มีอนุสาวรีย์ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกการเฉลิมฉลองในครั้งนี้มากมาย และประชาชนกว่าล้านคนออกมาเฉลิมฉลองในงานเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการสามวันของกรุงลอนดอน[141] ซึ่งความสนใจของประชาชนต่อพระราชินีนาถและพระราชพิธีนี้มีมากกว่าที่สื่อส่วนมากคาดการณ์ไว้[142]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "539638#0", "text": "เดวิด อัลเบิร์ต ชาร์ลส์ อาร์มสตรอง-โจนส์, เอิร์ลที่ 2 แห่งสโนว์ดอน () พระโอรสในเจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน กับอันโทนี อาร์มสตรอง-โจนส์, เอิร์ลที่ 1 แห่งสโนว์ดอน เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 เขาเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร ทั้งยังเป็นพระภาคิไนยใน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เขาอยู่ในลำดับโปเจียมพระราชวงศ์ฝ่ายหน้าเป็นคนที่ 10 เขาคือผู้สืบทอดตำแหน่งเอิร์ลแห่งสโนว์ดอน<\nเดวิด อาร์มสตรอง-โจนส์, ไวเคานต์ลินลีย์ เป็นพระโอรสคนใหญ่ใน เจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน และ อันโทนี อาร์มสตรอง-โจนส์ เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 ณ โรงพยาบาลพอร์ตแลนด์ เดวิด เป็นพระภาคิไนยในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร และเป็นพระราชนัดดาใน สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร และถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 20 ในการสืบราชสันตติวงศ์แห่งราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร", "title": "เดวิด อาร์มสตรอง-โจนส์, เอิร์ลที่ 2 แห่งสโนว์ดอน" }, { "docid": "970894#0", "text": "ซูซาน แบร์แรนเตส () เกิดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2480 ณ อังกฤษ เป็นบุตรสาวของ ฟิตเฮอร์เบิร์ต ไรท์ และ ดอรีน วิงฟัลด์ เธอจบการศึกษาจากโรงเรียนและเข้าเรียนที่วิทยาลัยเลขานุการ ในช่วงเปิดตัวฤดูกาล 2488 เธอได้รับการเสนอตัวเป็นนางสนองพระโอษฐ์แก่ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร แต่เธอไม่รับคำตกลง ด้านชีวิตส่วนตัว เธอสมรสครั้งแรกกับ โรนัลด์ เฟอร์กูสัน เมื่อวันที่ มื่อวันที่ 17 มกราคม 2499 มีบุตรสาว 2 คนคือ ", "title": "ซูซาน แบร์แรนเตส" }, { "docid": "5513#5", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 หลังจากที่พระราชบิดาเสด็จสวรรคต ขณะที่พระองค์กำลังประทับอยู่ที่ประเทศเคนยา ซึ่งเป็นประเทศแรกตามหมายกำหนดการเยือนประเทศในเครือจักรภพของพระองค์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจัดขึ้นที่มหาวิหารเวสมินสเตอร์ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2496 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พระราชพิธีได้ถ่ายทอดไปทั่วโลก", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" } ]
3612
ดราก้อนบอล เขียนโดยใคร ?
[ { "docid": "11720#0", "text": "ดราก้อนบอล () เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ผลงานของอากิระ โทริยาม่า ลงพิมพ์ในนิตยสารโชเนนจัมป์ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2538 และรวมเป็นฉบับรวมเล่มได้ 42 เล่ม ในประเทศไทยเคยลงตีพิมพ์ใน ทาเล้นท์ และ ซีโร่ ในช่วงก่อนที่มีลิขสิทธิ์การ์ตูน และหลังจากนั้นได้ตีพิมพ์ในหนังสือการ์ตูนบูม ภายใต้ลิขสิทธิ์ของบริษัท เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ จำกัด", "title": "ดราก้อนบอล" } ]
[ { "docid": "31477#1", "text": "ฟรีเซอร์ (フリーザ, Frieza) เป็นตัวละครการ์ตูนจากซีรีส์ ดราก้อนบอล และและมีบทบาทปรากฏอนิเมะดราก้อนบอล Z, ดราก้อนบอล GT และดราก้อนบอล ซูเปอร์", "title": "ฟรีเซอร์" }, { "docid": "174040#6", "text": "เป็นร่างรวมของโกคูกับเบจิต้า ตอนใช้ตุ้มหูโปตาร่า ปรากฏตัวครั้งแรกในดราก้อนบอล แซด ตอนที่269 เพื่อปราบจอมมารบูร่างกลืนโกฮัง พิโกโร่ โกเท็นคูสเข้าไป แต่ร่างก็แยกออกตอนอยู่ในร่างจอมมารบู เพราะการใช้โปโตร่าร่วมร่าง ใครที่ไม่ใช่ไคโอชินเต็มตัว รวมร่างกันแค่ 1 ชั่วโมงเท่านั้น ในดราก้อนบอลซุปเปอร์ตอนที่66 ในร่างบลูพลังมากกว่าฟิวชั่นซามัส แต่ก็คืนร่างอีกครั้ง เพราะก่อนทั้งคู่รวมร่าง ทั้งคู่ฝึกใช้ร่างบลูยังไม่ชินและร่างบลูนั้นมีพลังที่สูงเกินจนทำให้ระยะเวลาในการรวมร่างโดยใช้ตุ้มหูโปตาร่านั้นสั้นลง", "title": "ชาวไซย่า" }, { "docid": "733729#2", "text": "เนื้อหาต่อไปนี้จะยึดตามมังงะดราก้อนบอลซูเปอร์เป็นหลักในช่วงบทเทพทำลายล้างบิลส์ และ บทฟรีเซอร์คืนชีพมาจาก ภาพยนตร์ ศึกสงครามเทพเจ้า และ การคืนชีพของฟรีเซอร์ โดยถูกดัดแปลงในบทอนิเมะทีวีซีรีส์ ซึ่งถูกปรับเปลี่ยนรายละเอียดต่างๆ เพื่อเหมาะสมกับการออกอากาศและจุดเนื้อหาที่เปลี่ยนจากของเดิม\nในช่วงฮะไคชินแชมป้าเป็นต้นไป เป็นเนื้อหาที่มาจากต้นฉบับของดราก้อนบอลซูเปอร์ และรูปแบบมังงะจะแตกต่างกับอนิเมะที่ออกอากาศอยู่ดราก้อนบอล ซูเปอร์ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์เวลา 9:00 น. - 9:30 น. ทางช่องฟูจิทีวีของญี่ปุ่น ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2558 ต่อจากดราก้อนบอล ไค บทจอมมารบู", "title": "ดราก้อนบอล ซูเปอร์" }, { "docid": "228238#0", "text": "ดราก้อนบอล วิถีแห่งเจ้ายุทธจักร () เป็นภาพยนตร์ของซีรีส์ดราก้อนบอลชุดที่ 17 และเป็นภาพยนตร์ที่ฉลองครบรอบ 10 ปี ของดราก้อนบอล ซึ่งเนื้อเรื่องเป็นการสรุปเรื่องราวทั้งหมด ตั้งแต่ตอนที่พบกับบลูม่า จนไปถึงการต่อสู้ที่กองทัพเรดริบบ้อน", "title": "ดราก้อนบอล วิถีแห่งเจ้ายุทธจักร" }, { "docid": "47295#13", "text": "คุริลินกับเด็นเด้ที่เดินทางมาถึงที่อยู่ของผู้เฒ่าสูงสุดและได้พบกับเนลซึ่งเป็นผู้ดูแลและเป็นชาวนาเม็กสายนักรบเพียงคนเดียวของดาวนาเม็ก ผู้เฒ่าสูงสุดได้รู้เรื่องราวต่างๆของพวกคุริลินและได้มอบดราก้อนบอลลูกสุดท้ายไว้รวมไปถึงทำการเรียกพลังที่ซ่อนอยู่ให้ออกมา คุริลินดีใจที่มีพลังเพิ่มขึ้นและต้องการให้ผู้เฒ่าสูงสุดปลุกพลังของโกฮังจึงรีบไปหาพวกโกฮังที่ซ่อนตัวอยู่พร้อมกับดราก้อนบอล ทางด้านโกฮังได้นำดราก้อนเรด้าร์ไปค้นหาดราก้อนบอลและเจอดราก้อนบอลลูกที่เบจิต้าซ่อนไว้จึงนำกลับมา อีกด้านหนึ่งซาร์บอนได้รับคำสั่งจากฟรีเซอร์ให้รักษาเบจิต้าเพื่อที่จะให้บอกที่ซ่อนของดราก้อนบอล แต่ไม่เป็นอย่างที่คิดเบจิต้าที่ฟื้นตัวแล้วทำลายยานอวกาศของฟรีเซอร์และขโมยดราก้อนบอลที่ฟรีเซอร์ครอบครองไว้ 5 ลูกไปจนหมดซาร์บอนจึงต้องตามไปไล่ล่า เบจิต้าได้ดราก้อนบอลจากฟรีเซอร์ 5 ลูกรวมกับที่ตนซ่อนไว้ที่หมู่บ้านอีก 1 ลูกและบังเอิญพบกับคุริลินที่ถือดราก้อนบอลลูกสุดท้ายที่กำลังรีบไปหาพวกโกฮังจึงตามไปไล่ล่าคุริลินประจวบกับที่ซาร์บอนก็พบกับคุริลินกับเบจิต้าด้วยทั้งหมดจึงได้มาพบกันที่ที่ซ่อนตัวของพวกโกฮัง เบจิต้าเผยถึงความลับในความแข็งแกร่งของชาวไซย่าว่าเมื่อรอดตายจากการบาดเจ็บสาหัสพลังเพิ่มขึ้นไปอีกหลายเท่า เบจิต้าจัดการกับซาร์บอนที่แปลงร่างแล้วได้อย่างง่ายดายและนำดราก้อนบอลลูกที่คุริลินครอบครองอยู่ไป ระหว่างทางได้พบกับโกฮังพอดี โกฮังรอดพ้นจากเงื้อมมือของเบจิต้าและไม่เสียดราก้อนบอลให้ เบจิต้าเดินทางมายังที่ซ่อนบอลแต่ก็ได้รู้ว่าพวกโกฮังมีอุปกรณ์ค้นหาดราก้อนบอลและเอาลูกที่ตัวเองซ่อนไปทำให้ความทะเยอทะยานของเบจิตาต้องชะงัก", "title": "ดราก้อนบอล Z" }, { "docid": "1001254#0", "text": "ดราก้อนบอล ซูเปอร์ โบรลี่ (; ) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันแอ็คชั่นจากประเทศญี่ปุ่น จากการ์ตูนญี่ปุ่น ดราก้อนบอล เป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 20", "title": "ดราก้อนบอล ซูเปอร์ โบรลี่" }, { "docid": "11720#18", "text": "บลูม่า (Japanese: ブルマ; English: Bulma) เป็นผู้หญิงคนแรกในเรื่องดราก้อนบอล เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องทั้งหมดนี้ ลูกสาวเจ้าของบริษัทแคปซูล คอร์ปอเรชั่น และเป็นเพื่อนคนแรกของโงกุน ต้องการรวบรวมดราก้อนบอลจึงสร้างดราก้อนเรดาร์เพื่อค้นหาดราก้อนบอล และไปพบกับโงกุนเข้าในภาคแรก ตอนแรกเธอคิดจะใช้โงกุนเป็นเครืองมือให้หาดราก้อนบอลเจอแต่สุดท้ายพวกเขาก็เป็นเพื่อนกัน เป็นกำลังสำคัญในด้านสมองช่วยประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆให้กับเหล่านักสู้เป็นแฟนกับหยำฉา แต่ตอนหลังเลิกกัน และมีลูกกับเบจิต้าชื่อทรังซ์", "title": "ดราก้อนบอล" }, { "docid": "44241#2", "text": "ที่โลก ปังจัดการโจรปล้นธนาคารในเมือง ซึ่งปังก็โตขึ้นจากภาคที่แล้ว เมื่อโกคูมาถึงปังก็ประหลาดใจว่าเป็นใคร หากแต่เซียนเต่ามาทักโกคู ซึ่งโกคูมีศักดิ์เป็นปู่ของปังทำให้ปังเองรู้สึกแปลกๆที่รู้ว่าคุณปู่ของตนกลายเป็นเด็กและตัวเล็กกว่าปังซะอีก พอมาถึงบ้าน จีจี้เสียใจที่สามีกลายเป็นเด็ก แต่ท่านจอมเทพมาบอกข่าวร้ายว่า ดราก้อนบอลดาวดำนั้นเป็นดราก้อนบอลรุ่นแรกที่พระเจ้าสมัยที่ยังไม่ได้แยกร่างกับราชาปีศาจพิคโกโร่ทำขึ้น เมื่อใช้แล้วดราก้อนบอลทั้ง 7 จะกระจายไปในอวกาศ พวกโกคูจำเป็นที่จะต้องตามไปรวบรวมดราก้อนบอลทั้ง 7 ลูกกลับมาที่โลกภายใน 1 ปีมิฉะนั้นโลกจะพินาศ", "title": "ดราก้อนบอล GT" }, { "docid": "11720#4", "text": "และในปี พ.ศ. 2552 ดราก้อนบอล ได้ถูกนำมาสร้างใหม่ขึ้นอีกครั้งในชื่อว่า ดราก้อนบอล ไค โดยจะนำเนื้อหาของภาค ดราก้อนบอล Z มาสร้างใหม่ในระบบ High Definition Television (โทรทัศน์ความละเอียดสูง) เนื้อหาจะถูกตัดต่อใหม่ ให้กระชับฉับไวขึ้น เสียงประกอบ และ ดนตรี จะแต่งขึ้นมาใหม่ทั้งหมดให้เหมาะกับยุคนี้ แต่ยังคงใช้นักพากย์เดิม และจะเริ่มออกอากาศในวันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2552 เวลา 09.00 น. (ตามเวลาประเทศญี่ปุ่น) ทางช่อง ฟูจิทีวี ดราก้อนบอลนั้นได้รับความนิยมทั่วโลกสูงมากจนหนังสือการ์ตูนดราก้อนบอลตีพิมพ์ พ.ส.2527-2538 มีทั้งหมด42เล่มยอดขายรวมเล่ม240ล้านเล่มทั่วโลกยอดขายอันดับสองรองเพียงวันพีชเท่านั้น. ดราก้อนบอลเป็นหนึ่งไนการ์ตูนอันน้อยนิด ที่ยอดขายรายเล่มดีกว่าวันพีชโดยยอดรายเล่มเฉลี่ยอยู่ที่ 5.7 ล้านเล่มต่อเล่ม", "title": "ดราก้อนบอล" }, { "docid": "1001254#2", "text": "ต่อมาเมื่อวันที่ 9 กรฏาคม ค.ศ. 2018 ได้ประกาศชื่อเรื่องว่า ดราก้อนบอล ซูเปอร์ โบรลี่ ซึ่งได้นำตัวละครที่ชื่อ โบรลี่ ศัตรูจากภาพยนตร์ ดราก้อนบอล Z เดอะมูวี่ ร้อนแรงสุดขั้วศึกระเบิดซูเปอร์ไซย่า, การกลับมาของโบรลี่ และ การกลับมาของสุดยอดนักรบไบโอโบรลี่ เข้ามาอยู่ในเนื้อเรื่องหลักของการ์ตูนชุดนี้ พร้อมทั้งนำตัวละครจากดราก้อนบอลไมนัสและตัวละครใหม่จากภาพยนตร์ อย่างแม่ของโกคูชื่อกิเนะ, ลูกน้องฟรีเซอร์ คิโคโนะ, เบอริบลู, จิไร, เลโม และชาวไซย่าชื่อบีทส์", "title": "ดราก้อนบอล ซูเปอร์ โบรลี่" }, { "docid": "733729#1", "text": "ดราก้อนบอล ซูเปอร์ ซีรีส์ชุดใหม่ของดราก้อนบอล โดยผู้เขียนเรื่องต้นฉบับอย่างอากิระ โทริยาม่าได้กลับมาเขียนเนื้อเรื่องอีกครั้ง โดยภาคนี้ได้ดำเนินต่อจากดราก้อนบอล Z หลังจบศึกบู และได้นำเนื้อหาจากภาพยนตร์ ดราก้อนบอล Z ศึกสงครามเทพเจ้า และ ดราก้อนบอล Z การคืนชีพของฟรีเซอร์ มาเล่าเรื่องและขยายความใหม่อีกครั้งเพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหาใหม่ที่จะปรากฏในซีรีส์นี้ คือ ช่วงะหว่าง 10 ปี ก่อนที่โกคูพบอูบุ (จอมมารบูกลับชาติมาเกิดใหม่)", "title": "ดราก้อนบอล ซูเปอร์" }, { "docid": "47295#27", "text": "วันต่อมาเซลได้ไปปรากฏตัวที่สถานีโทรทัศน์ เพื่อไปออกอากาศเกี่ยวกับเรื่องของงานประลองฝีมือ เซลประกาศไว้ว่าหากตนเป็นผู้ชนะในศึกนี้จะฆ่ามนุษย์ทุกคนโดยที่จะไม่ให้ใครรอดไปได้แม้แต่คนเดียวทำให้ทั่วทั้งโลกเกิดความวิตกกังวลและโกลาหล ที่วังของพระเจ้าพวกทรังคซ์กำลังหารือเกี่ยวกับการแบ่งเวลาใช้ห้องกาลเวลา โกคูและโกฮังก็ออกมาจากห้องกาลเวลาในสภาพที่เป็นซูเปอร์ไซย่า โกคูมีความตั้งใจว่าจะไม่กลับไปฝึกต่อในห้องนั้นและจะใช้ชีวิตแบบปกติจนถึงวันประลองฝีมือทำให้พวกทรังคซ์รู้สึกประหลาดใจ ต่อมาบรรดากองทัพที่มีอาวุธยุโธปรณ์ครบมือได้ไปยังจุดที่เซลอยู่และต้องการจะฆ่าเซลแต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เซลจัดการกองทัพนั้นอย่างง่ายดาย โกคูทราบถึงเรื่องนี้จึงไปยังวังพระเจ้าเพื่อต้องการให้พิกโกโร่แยกร่างให้มีพระเจ้าดังเดิมเพื่อให้ดราก้อนบอลกลับมาใช้ได้แต่พิกโกโร่ไม่สามารถทำได้ โกคูจึงมีความคิดที่จะหาชาวนาเม็กที่รอดตายเพื่อจะมาอยู่ที่โลกนี่ในฐานะพระเจ้าของโลกนั่นก็คือเด็นเด้ เด็นเด้ทำการคืนชีพให้เทพมังกรจึงทำให้ดราก้อนบอลกลับมาใช้งานได้และสามารถขอพรได้มากกว่าเดิม ทุกคนต่างเตรียมพร้อมก่อนที่จะถึงวันตัดสินชะตาชีวิต ที่โลกก็มีบุคคลที่จะอาสาสู้กับเซลนั่นก็คือมิสเตอร์ซาตาน แชมป์เปี้ยนวิทยายุทธ์ของโลก ซาตานมีความมั่นใจเต็มเปี่ยม เขาคิดว่าเซลเป็นพวกปาหี่และไม่มีทีท่าว่าจะเกรงกลัวเซลเลยแม้แต่น้อย", "title": "ดราก้อนบอล Z" }, { "docid": "32338#0", "text": "การ์ตูนเรื่อง ดราก้อนบอล มีตัวละครมากมาย โดยสร้างจากจินตนาการของนักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่นชื่อ อากิระ โทริยามา (ซึ่งในภาค GT ถือเป็นจักรวาลที่แยกออกไป และในภาค Movie จนถึง \"ดราก้อนบอล Z เดอะมูฟวี่ 13: ฤทธิ์หมัดมังกรถล่มโลก\" นั่นถือไม่รวมอยู่ในไทม์ไลน์หลักของเนื้อเรื่อง Dragonball) โดยรายชื่อต่อไปนี้เป็นรายชื่อของตัวละครที่ปรากฏในการ์ตูนเรื่องนี้ดูรายละเอียดเกี่ยวกับ ตัวละครจากหมู่บ้านเพนกวิน ได้ที่ดร.สลัมป์ กับหนูน้อยอาราเล่#ตัวละคร (\"ในหัวข้อ ตัวละครที่ปรากฏในการ์ตูนเรื่องดราก้อนบอล\")\nปรากฏตัวใน\"ดราก้อนบอล Z เดอะ มูฟวี่ # 1\" ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้ :", "title": "รายชื่อตัวละครในดราก้อนบอล" }, { "docid": "733729#0", "text": "ดราก้อนบอล ซูเปอร์ () เป็นซีรีส์การ์ตูนชุดดราก้อนบอล แต่งเรื่องโดย อากิระ โทริยามะ และเป็นอนิเมะชุดที่ 5 ของซีรีส์ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2558 ต่อจากดราก้อนบอล ไค ทางช่องฟูจิทีวีของญี่ปุ่น", "title": "ดราก้อนบอล ซูเปอร์" }, { "docid": "231452#0", "text": "หลังจากที่ผ่านเหตุการ์ณในการจัดการ โอเมก้า เชนรอน หรือมังกรหนึ่งดาว มาแล้ว 100 ปี ดราก้อนบอล ก็ไม่มีการถูกนำมาใช้อีกเลย นักรบต่าง ๆ ต่างเสียชีวิตลง เหลือแต่ ปัง หลานสาวของซุน โกคู และมีหลานชายคนนึง ชื่อ ซุน โกคู จูเนียร์ ซึ่งปังได้ตั้งชื่อตามคุณปู่ที่เสียชีวิตไป ซุน โกคู จูเนียร์ มีหน้าคละคล้ายปู่ทวดของตัวเองตอนเด็กมาก หากแต่ไม่มีความกล้าหาญเลย ปัง ซึ่งเป็นคุณย่าก็พยายามจะฝึกซ้อมให้โงคูเป็นคนที่เก่งกาจ เหมือนคุณปู่ของตน แต่มาวันหนึ่ง ปังได้ล้มป่วยตามสังขาร โงคู จูเนียร์จึงได้ออกตามหาดราก้อนบอล เพื่อจะช่วยให้ย่าของเขา มีสุขภาพแข็งแรงเหมือนเดิม เมื่อโงคูได้เจอดราก้อนบอล 4 ดาว โงคูได้ขอพร แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ขณะนั้น ซง โงคูได้ปรากฏตัวขึ้น และบอกให้โงคูจูเนียร์กล้าหาญ หลังจากนั้น ย่าปังก็หายป่วย ดราก้อนบอล 4 ดาว ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นของดูต่างหน้าของคุณปู่ของซุน โกคู บัดนี้ ได้เป็นของดูต่างหน้าของคุณปู่ทวด ของ โกคู จูเนียร์ แล้ว", "title": "ดราก้อนบอล GT หลักฐานแห่งความกล้า คือดราก้อนบอล 4 ดาว !" }, { "docid": "44241#17", "text": "โกคูสามารถเอาชนะซูเปอร์มังกรดาวเดียวและได้ดราก้อนบอลทั้ง 7 ที่คืนสภาพเดิม เทพมังกรก็ออกมาโดยที่ท้องฟ้าไม่มืดและบันดาลพรให้โลกกลับสู่สภาพเดิมและพาโกคูไปพร้อมกับดราก้อนบอลทั้ง 7 โดยที่ให้เหตุผลว่าดราก้อนบอลเป็นสิ่งที่ฝืนธรรมชาติ และเป็นที่มาของความชั่วร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับโลกและจักรวาล โกคูและเทพมังกรจึงบินหายไปในขอบฟ้า", "title": "ดราก้อนบอล GT" }, { "docid": "44241#5", "text": "ในยานอวกาศพวกโกคูก็ได้สมาชิกใหม่คือ กิล เป็นหุ่นยนต์ดัวเล็กๆแต่ได้กินดราก้อนเรดาห์เข้าไป จนทำให้ตัวเองก็กลายเป็นดราก้อนเรดาห์ไปด้วย กิลบอกว่าเจอดราก้อนบอลที่ดาวยักษ์ ทุกอย่างที่ดาวดวงนี้จะมีขนาดใหญ่กว่าโลก ตอนหลังได้ช่วยยักษ์ที่เจ็บฟัน เพราะกินแอปเปิ้ลที่มีดราก้อนบอลติดอยู่โดยที่ดราก้อนบอลไปติดในซอกฟัน พวกโกคูจึงได้ดราก้อนบอลลูกแรกสำเร็จ พวกโกคูมาถึงดาวดวงหนึ่งแต่มีเรื่องวุ่นๆก็คือ มีปิศาจปลาดุกยักษ์บ้ากามตัวหนึ่งที่ต้องการแต่งงานกับเด็กสาวคนหนึ่งในหมู่บ้าน ถ้าไปยั่วโมโหกับเจ้าปิศาจปลาดุกมันจะทำให้เกิดแผ่นดินไหว โดยมีแผนให้ทรังคซ์ปลอมตัวเป็นเจ้าสาว แล้วล่อให้ไปที่ถ้ำของเจ้าปิศาจปลาดุก แต่ความแตก เจ้าปลาดุกโมโหมากจึงจะทำให้เกิดแผ่นดินไหว แต่พวกโกคูก็สามารถที่จะจัดการเจ้าปลาดุกได้ อีกทั้งยังได้ดราก้อนบอลมาอีก ทำให้ได้ดราก้อนบอลมา 2 ลูกแล้ว", "title": "ดราก้อนบอล GT" }, { "docid": "158389#6", "text": "ขณะที่โกคูตามหาดราก้อนบอลสี่ดาวที่เป็นของดูต่างหน้าแทนคุณปู่ ก็ได้เจอกับดราก้อนบอลลูกอื่นๆด้วย แต่ก็มีอุปสรรคคือกองทัพเรดริ้บบ้อนแสนชั่วร้ายและมีกำลังมหาศาล ที่ต้องการจะรวบรวมดราก้อนบอลเช่นกัน โกคูจึงต้องต่อสู้เพื่อปกป้องดราก้อนบอลและเพื่อนช่วยเหลือชาวบ้านที่ถูกรังแก คนของกองทัพเรดริ้บบ้อนถูกโกคูปราบไปเป็นจำนวนมาก กองทัพจึงได้ส่งนักฆ่าอันดับหนึ่งที่ชื่อเต๋าไปไปมาจัดการโกคูและชิงดราก้อนบอล ซึ่งในขณะนั้นโกคูอยู่ที่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อว่าหอคอยคาริน ได้พบกับเด็กน้อยชาวพื้นเมืองชื่ออุป้าและพ่อของเขา ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องดินแดนศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ เต๋าไปไปฆ่าพ่อของอุป้าและเล่นงานโกคูปางตาย โชคดีที่ดราก้อนบอลของโกคูที่ใส่ไว้ในอกเสื้อช่วยป้องกันโกคูเอาไว้ได้ อุป้าเล่าให้โกคูฟังว่าหอคอยคารินที่สูงเสียดฟ้านี้มีตำนานว่าถ้าใครปีนขึ้นไปถึงจุดสูงสุดได้จะพบกับเทพเจ้าและทำให้แข็งแกร่งขึ้น โกคูจึงตัดสินใจปีนหอคอยเพื่อจะได้เก่งขึ้นกลับมาสู้กับเต๋าไปไป ในที่สุดที่ยอดหอคอยนั้นก็ได้พบกันท่านคาริน หลังจากผ่านการทดสอบอย่างหนักหน่วงจากท่านคาริน โกคูก็ได้ดื่มน้ำศักดิ์สิทธิ์ เมื่อเจอกับเต๋าไปไปอีกครั้งโกคูก็เป็นฝ่ายชนะจนได้ และเพื่ออุป้าโกคูตัดสินใจที่จะรวบรวมดราก้อนบอลให้ครบ 7 ลูกอีกครั้งเพื่อขอพรให้พ่อของอุป้าฟื้นคืนชีพ โกคูถล่มกองทัพเรดริ้บบ้อนจนราบคาบด้วยตัวคนเดียว ได้ดราก้อนบอลมา 6 ลูก แต่ลูกสุดท้ายเรดาร์กลับหาไม่เจอ เซียนเต่าบอกว่าให้ไปหาแม่เฒ่าหมอดู ซึ่งก็คือพี่สาวของเซียนเต่า แม่เฒ่าหมอดูบอกว่าต้องสู้กับนักสู้ 5 คนถ้าชนะหมดจะทำนายให้ ซึ่งคู่ต่อสู้คนสุดท้ายก็คือ ปู่โกฮัง นั่นเองทำให้โกคูดีใจตื้นตันที่ได้พบอีกครั้ง ปู่โกฮังบอกว่าตนเป็นวิญญาณ ลงมาที่โลกมนุษย์ได้ 1 วันซึ่งก็คือวันที่โกคูมาหาแม่เฒ่านั่นเอง แม่เฒ่าได้ทำนายว่าดราก้อนบอลลูกสุดท้าย อยู่กับปิลาฟวายร้ายเจ้าเก่านั่นเอง เมื่อได้ครบ 7 ลูก โกคูก็ขอพรจากเทพมังกรให้พ่อของอุป้าฟื้นคืนชีพได้สำเร็จ เมื่อเรื่องทุกอย่างเรียบร้อยราบรื่น ยามุชาขอร้องเซียนเต่าให้ช่วยฝึกฝนให้เขาด้วยอีกคน ส่วนโกคูเซียนเต่าบอกว่าไม่มีอะไรจะสอนเขาแล้ว ให้ออกไปผจญภัยฝึกฝนด้วยตัวเอง แล้วให้มาเจอกันในศึกชิงจ้าวยุทธภพครั้งหน้าในอีก 3 ปี", "title": "ดราก้อนบอล (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)" }, { "docid": "44241#0", "text": "ดราก้อนบอลจีที (Dragon Ball GT) () เป็นการ์ตูนภาคเสริมที่ทำขึ้นมาเฉพาะฉบับอนิเมะโดยเรื่องราวต่อจาก ดราก้อนบอล Z ในภาคนี้ อากิระ โทริยาม่า มีส่วนร่วมเพียงแค่ช่วยตั้งชื่อภาค ออกแบบโลโก้ และออกแบบตัวละครเพียงเล็กน้อย ในส่วนของเนื้อเรื่องใน Dragon Ball GT นั้นไม่ได้มีส่วนร่วมในเนื้อเรื่องแต่อย่างใด ครั้งหนึ่ง อากิระ โทริยาม่า ได้กล่าวว่า Dragon Ball GT นั้นเป็นเพียง Side-Story ไม่นับอยู่ในจักรวาลหลักแต่อย่างใด และภายหลังก็ได้สร้าง ดราก้อนบอล ซูเปอร์ เพื่อเป็นภาคต่อของจักรวาลหลักอย่างเป็นทางการ เคยนำมาฉายที่ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ใช้ทีมพากย์ของน้าต๋อย เซมเบ้", "title": "ดราก้อนบอล GT" }, { "docid": "11720#3", "text": "ดราก้อนบอลมีสร้างมาหลายภาคทั้งในฉบับมังงะและอนิเมะ และยังมีการนำไปทำเป็นวิดีโอเกมหลายภาค และภาพยนตร์ ดราก้อนบอล นำแสดงโดย จัสติน แชตวิน, เอ็มมี รอสซัม และ โจว เหวินฟะ", "title": "ดราก้อนบอล" }, { "docid": "228332#0", "text": "ดราก้อนบอล ไค () เป็นภาพยนตร์อนิเมะของซีรีส์ดราก้อนบอลจากผลงานของ อากิระ โทริยามะ โดยซีรีส์นี้เป็นซีรีส์ครบรอบวาระ 20 ปีจากการออกอากาศเรื่อง ดราก้อนบอล Z โดยกลับมาทำใหม่ในระบบ High Definition Television (โทรทัศน์ความละเอียดสูง) เนื้อหาจะถูกตัดต่อใหม่ ให้กระชับฉับไวขึ้น เสียงประกอบ และ ดนตรี จะแต่งขึ้นมาใหม่ทั้งหมดให้เหมาะกับยุคนี้ แต่ยังคงใช้นักพากย์เดิมและใช้นักพากย์ใหม่ด้วย", "title": "ดราก้อนบอล ไค" }, { "docid": "11720#8", "text": "ดราก้อนบอล GT (Dragon Ball GT) (ค.ศ.1996-1997) ในตอนแรกนั้นอนิเมะเรื่องนี้ดำเนินเรื่องต่อจากภาค Z แต่เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาสำหรับแอนิเมชันโดยเฉพาะ และภายหลังได้ประกาศว่าไม่เกี่ยวข้องกับฉบับหนังสือการ์ตูนและถือว่าเป็นจักรวาลคู่ขนานกับดราก้อนบอล Z อย่างสิ้นเชิง โดยเรื่องที่ต่อจากดราก้อนบอล Z จริงๆคือดราก้อนบอลซุเปอร์นั่นเอง", "title": "ดราก้อนบอล" }, { "docid": "158389#3", "text": "กาลครั้งหนึ่ง มีเด็กชายผู้มีชื่อว่าซุนโกคู อาศัยอยู่ในป่าลึก มีลักษณะพิเศษตรงที่มีหางเหมือนลิง และมีพละกำลังที่มากกว่าคนปกติ อีกทั้งยังมีฝีมือในด้านการต่อสู้ที่ซุนโกฮัง ผู้เป็นปู่บุญธรรมได้ฝึกไว้ให้ วันหนึ่งเขาได้พบกับเด็กสาวที่ชื่อ บูลม่า เธอได้เล่าเรื่องต่างๆของลูกแก้วที่ตนตามหา และโกคูเองก็มีอยู่ลูกหนึ่งซึ่งเป็นของดูต่างหน้าของปู่โกฮังที่เสียไป ซึ่งก็คือดราก้อนบอล ลูกแก้วที่มีดาวอยู่ภายใน ถ้ารวบรวมดราก้อนบอลได้ครบ 7 ลูกจะมีเทพมังกรปรากฏตัว และจะบันดาลพรให้เป็นจริงหนึ่งประการ ซึ่งการพบกันของเด็กทั้ง 2 คนนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของตำนานดราก้อนบอลเลยทีเดียว", "title": "ดราก้อนบอล (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)" }, { "docid": "158389#11", "text": "ดราก้อนบอล Z ดราก้อนบอล GT ดราก้อนบอล ไค ดราก้อนบอล ซูเปอร์", "title": "ดราก้อนบอล (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)" }, { "docid": "11720#6", "text": "ดราก้อนบอล (ภาคแรก) (Dragon Ball) (ค.ศ.1986-1989) ดำเนินเรื่องตามฉบับหนังสือการ์ตูน นับตั้งแต่เริ่มเรื่องจนถึงการแต่งงานของโกคู ดราก้อนบอล Z (Dragon Ball Z) ดำเนินเรื่องตามฉบับหนังสือการ์ตูนต่อจนจบเล่ม 42 ในภาคจอมมารบู สำหรับภาคแอนิเมชั่น ดราก้อนบอล Z ได้ถูกแบ่ง ออกเป็น 16 sagas", "title": "ดราก้อนบอล" }, { "docid": "11720#14", "text": "ในภาค Dragon Ball GT โกคูสามารถแปลงร่างเป็นซูเปอร์ไซย่าขั้นที่ 4 ได้ รวมทั้งรวมร่างกับเบจิตาและต่อสู้จนถึงที่สุดกับเทพเจ้ามังกร แต่สุดท้ายโกคูก็พลาดท่าและกลายร่างกลับเป็นเด็ก แต่โกคูก็สามารถปราบกับเทพเจ้ามังกรได้สำเร็จเป็นเพราะว่าเขาใช้พลังบอลเกงกิ ซึ่งขอรับพลังเพิ่มเติมมาจากประชากรทั้งจักรวาล เมื่อเทพมังกรที่ชั่วร้ายได้ตายไป ดราก้อนบอลก็กลายสภาพกลับมาเป็นเหมือนเดิม จากนั้นเทพเจ้ามังกรก็ออกมาโดยที่ไม่ได้มีใครอัญเชิญ เทพมังกรรักษาโกคูให้หาย และกล่าวว่าดราก้อนบอลนั้นถูกใช้บ่อยมากเกินไป ทำให้ไม่สามารถคลายพลังงานด้านลบได้ทัน เทพเจ้ามังกรจึงต้องออกไปจากโลกนี้เป็นเวลา 100 ปี เพื่อไม่ให้ถูกรบกวนอีก ซึ่งโกคูก็ได้ขอพรทั้งสุดท้ายให้ชุบชีวิตผู้คนที่ถูกฆ่าตายไป ซึ่งเทพเจ้ามังกรก็ยินดีทำตาม จากนั้นก็ชวนให้โกคูออกเดินทางไปด้วยกัน โกคูก็กระโดดขี่หลังเทพเจ้ามังกรจากไป โดยระหว่างนั้นก็ขอแวะบ้านผู้เฒ่าเต่าเพื่อบอกลา และไปเยี่ยมพิโคโล่ที่นรกด้วย จากนั้นดราก้อนบอลทั้ง 7 ก็ได้เข้าไปอยู่ในตัวของโกคู", "title": "ดราก้อนบอล" }, { "docid": "314930#1", "text": "เนื้อเพลงของเพลง DAN DAN นี้เขียนโดยนักร้องนำของวงซาร์ด อิซุมิ ซะกะอิ ซึ่งเคยเขียนเพลงให้กับฟิลด์ออฟวิวมาก่อนในสามซิงเกิลก่อนหน้าของฟิลด์ออฟวิว โดยเนื้อเพลงในเพลงนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ เกี่ยวกับดราก้อนบอลเลย แต่เนื้อเพลงมีเนื้อหาเกี่ยวกับการสารภาพความรักให้กับอย่างอื่นที่สำคัญกว่า อย่างไรก็ดีเพลงดังกล่าวได้ถูกนำไปแปลเป็นหลายภาษาและบางภาษาก็เลือกที่จะใส่เนื้อเพลงที่มีความหมายเกี่ยวกับดราก้อนบอลลงไป ภายหลังซาร์ดได้ร้อง Cover เพลงนี้ในอัลบั้ม ทูเดย์อีสอะนาเธอร์เดย์ () ของตนเองโดยเวอร์ชัน Cover ดังกล่าวเรียบเรียงโดยไดสุเกะ อิเกะดะ และในส่วนของเวอร์ชันต้นฉบับของฟิลด์ออฟวิวเรียบเรียงโดยฮายามะ ทาเคชิ", "title": "DAN DAN โคะโกะโระฮิกะเระเตะกุ" }, { "docid": "11720#1", "text": "เนื้อเรื่องของดราก้อนบอลเกี่ยวกับการผจญภัยของ ซุน โกคู ในการรวบรวมดราก้อนบอลให้ครบ 7 ลูก เพื่อขอพรหนึ่งข้อจากเทพเจ้ามังกร โดยระหว่างการเดินทางโกคูต้องพบกับเพื่อนฝูงและอุปสรรคต่างๆ", "title": "ดราก้อนบอล" }, { "docid": "233098#0", "text": "ดราก้อนบอล Z () เป็นภาพยนตร์ชุดที่ 4 ของซีรีส์ดราก้อนบอล ที่นำมาจากภาพยนตร์อนิเมะ ดราก้อนบอล Z เข้าฉายเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 กำกับโดย ไดสุเกะ นิชิโอะ ", "title": "ดราก้อนบอล Z (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2532)" }, { "docid": "44241#26", "text": "ดราก้อนบอล (อะนิเมะ) ดราก้อนบอล Z ดราก้อนบอล ซูเปอร์ ดราก้อนบอล ไค", "title": "ดราก้อนบอล GT" } ]
3062
รัฐนีเดอร์ซัคเซินอยู่ทางตอนใดของเยอรมัน ?
[ { "docid": "158553#0", "text": "ซัคเซิน (German: Sachsen) หรือ แซกโซนี (English: Saxony) เป็นรัฐหนึ่งในประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศ ได้ชื่อว่าเป็นเสรีรัฐที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่แห่งหนึ่ง มีเมืองเดรสเดินเป็นเมืองหลวง", "title": "รัฐซัคเซิน" } ]
[ { "docid": "844400#0", "text": "ค่ายกักกันแบร์เกิน-เบ็ลเซิน () หรือ เบ็ลเซิน เป็นค่ายกักกันนาซีในรัฐนีเดอร์ซัคเซินทางภาคเหนือของเยอรมนี ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองแบร์เกิน ใกล้กับเมืองเซ็ลเลอ (Celle) เดิมเคยเป็นค่ายเชลยศึก ใน ค.ศ. 1943 บางส่วนของค่ายได้กลายเป็นค่ายกักกัน ช่วงแรกเป็น \"ค่ายแลกเปลี่ยน\" ที่ซึ่งตัวประกันชาวยิวที่ถูกคุมขังไว้เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนกับนักโทษเชลยศึกเยอรมันที่ถูกคุมขังในต่างประเทศ ต่อมาค่ายได้รับการขยายเพื่อรองรับชาวยิวจากค่ายกักกันอื่น ๆ", "title": "ค่ายกักกันแบร์เกิน-เบ็ลเซิน" }, { "docid": "269825#0", "text": "นีเดอร์ไบเอิร์น () หรือชื่อในภาษาอังกฤษคือ โลว์เออร์บาวาเรีย () เป็นหนึ่งในเจ็ดส่วนภูมิภาค (\"เรกีรุงชเบเซิร์ค\") ของรัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ทางตะวันออกของบาวาเรีย นีเดอร์ไบเอิร์นยังแบ่งย่อยออกเป็นสามเขต (\"Planungsverband\") คือ ลันด์สฮูท, พัสเซา และโดเนา-วัลด์ บริเวณนี้รวมป่าบาวาเรียซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว", "title": "นีเดอร์ไบเอิร์น" }, { "docid": "393924#5", "text": "-TCG", "title": "ขั้นตอนวิธีของนีเดอมาน–วานซ์" }, { "docid": "393924#3", "text": "ยกตัวอย่างเช่นเมตริกซ์สมมาตรด้านล่าง\nจะมีการเรียงตัวเป็น", "title": "ขั้นตอนวิธีของนีเดอมาน–วานซ์" }, { "docid": "830695#8", "text": "ในช่วงเดียวกัน บิสมาร์คได้จัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นมากีดกันออสเตรียและราชอาณาจักรบาวาเรียทางใต้ที่เป็นพวกโรมันคาทอลิกไม่ให้มีบทบาทโดดเด่นในเยอรมนีที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นโปรเตสแตนต์และมีเชื้อสายปรัสเซีย นอกจากนี้บิสมาร์คยังประสบความสำเร็จในการใช้สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียโน้มน้าวบรรดารัฐเยอรมันต่าง ๆ รวมถึงราชอาณาจักรบาวาเรียให้มาเข้าร่วมกับปรัสเซียในการต่อต้านจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง อย่างไรก็ตามออสเตรีย-ฮังการีไม่ได้เข้าร่วมสงครามครั้งนี้แต่อย่างใด หลังจากนั้นปรัสเซียได้รับชัยชนะภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว จนในที่สุดข้อถกเถียงถึงคำถามเยอรมันนี้ก็ได้ข้อยุติว่าแนวทาง \"อนุประเทศเยอรมัน\" ผ่านความเห็นชอบจากทุกฝ่ายในปี พ.ศ. 2414 บิสมาร์คยังได้ใช้อภิสิทธิ์ที่ปรัสเซียรบชนะในสงครามเป็นตัวช่วยให้คงความเป็นพันธมิตรกับบาวาเรียต่อไป และได้ประกาศสถาปนาจักรวรรดิเยอรมันขึ้นในที่สุด ซึ่งในรัฐใหม่นี้ปรัสเซียที่เป็นโปรเตสแตนท์ถือว่ามีอิทธิพลและบทบาทมากที่สุด ส่วนออสเตรีย-ฮังการีถูกกันออกไปแยกเป็นรัฐของตัวเองต่างหากจากจักรวรรดิเยอรมัน จึงสรุปได้ว่าประเทศเยอรมนีน้อยเป็นแนวทางที่ได้รับชัยชนะในข้อถกเถียงครั้งนี้", "title": "ปัญหาเยอรมัน" }, { "docid": "271624#0", "text": "สาธารณรัฐเยอรมัน-ออสเตรีย หรือ เยอรมัน-ออสเตรีย (, ) เดิมเป็นรัฐหลงเหลือ (rump state) ของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งของบริเวณของผู้พูดภาษาเยอรมัน (ไม่ใช่ออสเตรียของเยอรมนี) กล่าวกันว่ามีเนื้อที่ทั้งหมด 118,311 ตารางกิโลเมตรและมีประชากร 10.4 คนที่รวมบริเวณที่ปัจจุบันคือออสเตรียและบริเวณของผู้พูดภาษาเยอรมัน (ซิสไลทาเนีย) ของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งรวมทั้งจังหวัดโบลซาโน-โบลเซน และเมืองทาร์วิซิโอที่ปัจจุบันอยู่ในอิตาลี; ทางตอนใต้ของจังหวัดคารินเทีย และทางตอนใต้ของสไตเรียที่ปัจจุบันอยู่ในสโลวีเนียและซูเดเทินลันด์ (Sudetenland) และเยอรมันโบฮีเมีย (ต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของซูเดเทินลันด์) ที่ปัจจุบันอยู่ในสาธารณรัฐเช็ก ออสเตรียของเยอรมัน", "title": "สาธารณรัฐเยอรมันออสเตรีย" }, { "docid": "555419#4", "text": "ขบวนแห่นักบุญมาร์ตินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนีที่มีผู้ร่วมงานมากกว่า 4000 - 6000 คนจัดขึ้นที่เมืองวอร์มส์โฮกไฮม์ , เมืองเคมเพ็มในเขตนีเดอร์ไรน์ และเมืองโบคอลท์ ปัจจุบันนี้บางพื้นที่จัดขบวนแห่งานเทศกาลในวันอื่นที่ใกล้เคียงกับวันงานเทศกาลจริงในกรณีที่มีเหตุจำเป็นและไม่สะดวกในการจัดงานให้ตรงกับวันนั้นได้ ตัวอย่างเช่นการจัดขบวนแห่ในบางพื้นที่ที่อาจมีเพียงผู้ที่รับบทเป็นนักบุญมาร์ตินเพียงคนเดียว อนึ่งประเพณีนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ในกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมันเท่านั้น แต่ชาวเยอรมันในต่างแดนอย่างที่กรุงสต๊อกโฮม ประเทศสวีเดนหรือที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ก็มีการจัดขบวนฉลองงานเทศกาลนี้ด้วย", "title": "วันนักบุญมาร์ติน" }, { "docid": "393924#7", "text": "การทำงานของขั้นตอนวิธีนี้คือจะให้ formula_2 เป็นคะแนนสูงที่สุดของอักขระ formula_6 แรกในลำดับ \"A\" และ formula_7 แรกในลำดับ \"B\" และใช้ ดังนี้\nBasis:\nformula_8\nformula_9\nRecursion, based on the principle of optimality:\nformula_10", "title": "ขั้นตอนวิธีของนีเดอมาน–วานซ์" }, { "docid": "274190#0", "text": "ดัชชียือลิช (, , ) เป็นดัชชีของเครือราชรัฐนีเดอร์ไรน์-เวสท์ฟาเลินในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ยือลิชตั้งอยู่ในบริเวณนอร์ธไรน์-เวสต์ฟาเลียในเยอรมนี และมณฑลลิมบูร์กในเนเธอร์แลนด์ปัจจุบัน รัฐตั้งอยู่บนสองฝั่งแม่น้ำรูห์รอบเมืองหลวงยือลิชในไรน์แลนด์ตอนใต้ ยือลิชรวมตัวกับเคาน์ตีแบร์กในปี ค.ศ. 1423 เป็น \"ยือลิช-แบร์ก\"", "title": "ดัชชียือลิช" }, { "docid": "272741#1", "text": "เครือราชรัฐนีเดอร์ไรน์-เว็สท์ฟาเลินประกอบด้วยดินแดนส่วนใหญ่ที่เป็นรัฐเล็กๆ หลายรัฐที่รวมทั้งดัชชีแบร์ก และราชนครรัฐอาเคิน", "title": "เครือราชรัฐนีเดอร์ไรน์-เว็สท์ฟาเลิน" }, { "docid": "393924#0", "text": "ขั้นตอนวิธีของนีเดอมาน–วานซ์ เป็นการทำ บนลำดับสองลำดับ คือการหาลำดับที่ดีที่สุดในการจัดเรียงให้ลำดับ A และ B ตรงกันในทุกตำแหน่งให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มีการใช้กันทั่วไปใน ชีวสารสนเทศศาสตร์ เพื่อเรียงลำดับของ โปรตีน หรือ นิวคลีโอไทด์ ขั้นตอนวิธีนี้ถูกตีพิมพ์ในปี 1970 โดย และ .", "title": "ขั้นตอนวิธีของนีเดอมาน–วานซ์" }, { "docid": "272303#1", "text": "ราชรัฐก่อตั้งขึ้นโดยคาร์ล เทโอดอร์ ฟอน ดัลแบร์ก เจ้าชายไพรเมตแห่งจักรวรรดิและอดีตอาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ เพราะไมนซ์ถูกผนวกโดยฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาลูเนวิลล์ ดินแดนส่วนใหญ่ของราชรัฐใหม่ประกอบด้วยดินแดนเดิมของราชรัฐมุขนายกเรเกนส์บูร์กที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 739 โดยนักบุญโบนิเฟซ นอกจากนั้นดินแดนก็ยังประกอบด้วยโดเนาชเตาฟ์ เวิร์ทอันเดอร์โดเนา และ โฮเฮนบูร์ก เรเกนส์บูร์ก อารามนักบุญเอมเมอรัม และอารามโอเบอร์มึนเสตอร์ และอารามนีเดอร์มึนเสตอร์ นอกจากนั้นดัลแบร์กก็ยังสามารถรักษาราชรัฐอาชัฟเฟนบูร์กบนริมฝั่งแม่น้ำแม่น้ำไมน์ไว้ได้", "title": "ราชรัฐเรเกนส์บูร์ก" }, { "docid": "393924#2", "text": "ในครั้งแรกที่นำเสนอขั้นตอนวิธีนี้ นีเดอมาน–วานซ์ได้อธิบายขั้นตอนวิธีของพวกเขา โดยคิดเฉพาะกรณีที่ลำดับนั้น \"ตรงกัน\" และ \"ไม่ตรงกัน\" แต่ไม่ได้อธิบายถึง กรณีที่มี \"ช่องว่าง\" ไว้ด้วย (ไม่ได้คิดถึง gap penalty) (\"d\"=0). การตีพิมพ์ครั้งแรก จากปี 1970 ได้นำเสนอ รูปแบบการเรียกซ้ำไว้ดังนี้\nformula_1 จะเป็นคะแนนความเหมือนกันของ \"a\" และ \"b\" และ \"d\" เป็น linear .", "title": "ขั้นตอนวิธีของนีเดอมาน–วานซ์" }, { "docid": "189842#4", "text": "ตราอาร์ม โอเบอร์ไบเอิร์น นีเดอร์ไบเอิร์น โอเบิร์ฟฟัล์ซ โอเบอร์ฟรังเคิน มิทเทิลฟรังเคิน อุนเทอร์ฟรังเคิน ชวาเบิน", "title": "รัฐบาวาเรีย" }, { "docid": "729575#0", "text": "เบราน์ชไวค์ (; อังกฤษ, ฝรั่งเศส: Brunswick) เป็นเมืองหนึ่งในรัฐนีเดอร์ซัคเซิน ประเทศเยอรมนี มีฐานะเป็นเมืองอิสระ (kreisfreie Stadt) ตามการบริหารเขตปกครองของเยอรมนี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ ปัจจุบันมีประชากรราว 247,000 คน ถือเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของรัฐนีเดอร์ซัคเซินรองจากฮันโนเวอร์ เมื่อรวมเขตปริมณฑลของเมืองเข้าด้วยจะมีประชากรราว 1 ล้านคน เบราน์ชไวค์เป็นเมืองศูนย์กลางด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของประเทศและสหภาพยุโรป", "title": "เบราน์ชไวค์" }, { "docid": "272741#0", "text": "เครือราชรัฐนีเดอร์ไรน์-เว็สท์ฟาเลิน () เป็นหนึ่งในเครือราชรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1500", "title": "เครือราชรัฐนีเดอร์ไรน์-เว็สท์ฟาเลิน" }, { "docid": "138974#0", "text": "ไฮล์เดียร์อิมซีเกอร์ครันซ์ () เป็นชื่อของเพลงชาติจักรวรรดิเยอรมันอย่างไม่เป็นทางการ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2414 ถึง พ.ศ. 2461 รวมระยะเวลา 47 ปี เดิมเพลงนี้เป็นเพลงชาติของราชอาณาจักรปรัสเซีย แต่ท่วงทำนองเพลงนั้นคล้ายคลึงกับเพลงก็อดเซฟเดอะควีน ซึ่งด้วยเหตุผลดังกล่าวทั้ง 2 ข้อนี่เอง ทำให้บทเพลงนี้เป็นที่ได้รับความนิยมในบางมณฑลของเยอรมนี แต่อย่างไรก็ตาม เพลงนี้กลับไม่ได้รับความนิยมในกลุ่มชาตินิยมเยอรมัน และไม่ได้รับการยอมรับจากบรรดารัฐเยอรมันตอนใต้ เช่น รัฐบาวาเรีย รัฐเวือร์ทเทมแบร์ก เป็นต้น หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดิเยอรมันได้ล่มสลายลง และมีการสถาปนาสาธารณรัฐไวมาร์ขึ้นมาแทนที่ จึงได้มีการยกเลิกเพลงชาติเดิม และให้ใช้เพลง \"ดาสลีดแดร์ดอยท์เชน\" เป็นเพลงชาติใหม่ของเยอรมนีแทน", "title": "ไฮล์เดียร์อิมซีเกอร์ครันซ์" }, { "docid": "633983#1", "text": "หลังจากรัฐชาติของชาวเยอรมันได้แตกเป็นเสี่ยงๆในสมัยสงครามนโปเลียน เมื่อสงครามนโปเลียนสิ้นสุดก็มีการสถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันขึ้นในปี ค.ศ. 1815 ซึ่งมีจักรพรรดิออสเตรียเป็นองค์ประธาน ในการนี้ ราชอาณาจักรปรัสเซียและจักรวรรดิออสเตรียได้ร่วมมือกันในการใช้สมาพันธรัฐเยอรมันเป็นเครื่องมือเพื่อรวมความเป็นรัฐชาติและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวเยอรมันอีกครั้ง ต่อมาในค.ศ. 1849 สมัชชาแห่งชาติในนครแฟรงเฟิร์ตได้มีมติให้กษัตริย์ปรัสเซียดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิของชาติเยอรมันส่วนน้อย (เยอรมันที่ไม่รวมออสเตรีย) แต่กษัตริย์ปรัสเซียทรงปฏิเสธและพยายามรวมชาติเยอรมันผ่านทางสหภาพแอร์ฟวร์ทแทน อย่างไรก็ตาม การประชุมสหภาพแอร์ฟวร์ทที่จัดขึ้นในปี ค.ศ. 1850 นั้น มีเพียงรัฐเยอรมันตอนเหนือที่เข้าร่วมประชุมเท่านั้น ออสเตรียและรัฐเยอรมันตอนใต้ต่างกดดันให้ปรัสเซียล้มเลิกสหภาพแอร์ฟวร์ท ความขัดแย้งระหว่างปรัสเซียและออสเตรียจึงเริ่มขึ้น", "title": "สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ" }, { "docid": "393924#1", "text": "ขั้นตอนวิธีของนีเดอมาน–วานซ์ เป็นหนึ่งในตัวอย่างของการเขียนโปรแกรมโดยใช้เทคนิค กำหนดการพลวัต และเป็นการใช้กำหนดการพลวัตครั้งแรกในการเปรียบเทียบลำดับชีวภาพ\nในประเทศไทยก็มีการศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนวิธีนี้ด้วยเช่นกัน โดยจะเห็นได้จากโครงงานวิจัย ทั้งจากมหาลัย และจากเอกชนมากมาย ยกตัวอย่างเช่น โครงงานการตรวจสอบผู้ใช้ด้วยรหัสผ่านและข้อมูลรูปแบบการพิมพ์ โครงงานนี้เป็นการตรวจสอบผู้ใช้คอมพิวเตอร์ด้วยระบบการวิเคราะห์จังหวะการพิมพ์ (Keystroke Verification) สำหรับใช้เสริมความปลอดภัยให้กับระบบตรวจสอบรหัสผ่าน จากวิธีการเปรียบเทียบ ระดับกรด-เบส DNA ด้วยวิธี Needleman-Wunsch Algorithm และบบSmith-Waterman Algorithm ", "title": "ขั้นตอนวิธีของนีเดอมาน–วานซ์" }, { "docid": "39357#0", "text": "ฮันโนเฟอร์ (, ) เป็นเมืองหลวงของรัฐนีเดอร์ซัคเซินในประเทศเยอรมนี มีประชากร 515,772 คน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2005) เคยถูกปกครองโดยเป็นรัฐร่วมประมุขของราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ โดยดยุกแห่งดัชชีเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค ต่อมาหลังจากสงครามนโปเลียน ได้ตั้งเป็นราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์", "title": "ฮันโนเฟอร์" }, { "docid": "393924#4", "text": "ATCG", "title": "ขั้นตอนวิธีของนีเดอมาน–วานซ์" }, { "docid": "189842#3", "text": "โอเบอร์ฟรังเคิน (Oberfranken) มิทเทิลฟรังเคิน (Mittelfranken) อุนเทอร์ฟรังเคิน (Unterfranken) ชวาเบิน (Schwaben) โอเบิร์ฟฟัล์ซ (Oberpfalz) โอเบอร์ไบเอิร์น (Oberbayern) นีเดอร์ไบเอิร์น (Niederbayern)", "title": "รัฐบาวาเรีย" }, { "docid": "272747#0", "text": "เครือราชรัฐนีเดอร์ซัคเซิน () เป็นหนึ่งในเครือราชรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1500 ที่อยู่ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของซัคเซินเดิม เดิมมีชื่อว่า \"เครือราชรัฐซัคเซิน\" () แต่ต่อมาเพิ่มคำว่านีเดอร์เพื่อให้แตกต่างจากเครือราชรัฐโอเบอร์ซัคเซิน ", "title": "เครือราชรัฐนีเดอร์ซัคเซิน" }, { "docid": "830695#4", "text": "ในการถกเถียงถึงปัญหานี้ มีหลากหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อความเห็นชอบของแต่ละแนวทาง แต่ปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุดก็คือศาสนา ทั้งนี้ด้วยเหตุที่แนวทางมหาประเทศเยอรมันจะเสริมสร้างสถานะอันโดดเด่นและสำคัญแก่ออสเตรีย ซึ่งเป็นประเทศคาทอลิกและเป็นรัฐเยอรมันที่ทรงอำนาจมากที่สุดในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส่งผลให้ชาวคริสต์ฝ่ายโรมันคาทอลิกและรัฐซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับออสเตรียมักจะสนับสนุนแนวทางนี้ ในขณะที่การรวมเยอรมนีให้เป็นปึกแผ่นโดยปรัสเซียภายใต้ราชวงศ์โฮเฮนซอลเลิร์น เป็นตัวเลือกที่รัฐเยอรมันทางตอนเหนือซึ่งเป็นฝ่ายโปรเตสแตนต์พึงพอใจกว่า นอกจากนี้อีกหนึ่งปัจจัยที่มีความซับซ้อนก็คือการที่จักรวรรดิออสเตรียรวมเอาชนชาติอื่น (ซึ่งไม่ได้ใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาพูด) ไว้ภายใต้การปกครองของตนจำนวนมาก เช่น ชาวฮังการี ชาวโรมาเนีย ชาวโครแอต และชาวเช็ก ส่งผลให้ออสเตรียไม่เต็มใจที่จะเข้าร่วมเป็นประเทศเยอรมนีอันหนึ่งอันเดียว หากตนต้องสละดินแดนที่ไม่ได้ใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาพูดเหล่านี้ไป", "title": "ปัญหาเยอรมัน" }, { "docid": "729575#3", "text": "ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เบราน์ชไวค์มีสถานะเป็นเมืองหลวงของรัฐอิสระเบราน์ชไวค์ ส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐไวมาร์ จนกระทั่ง ค.ศ. 1946 (พ.ศ. 2489) เบราน์ชไวค์กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐนีเดอร์ซัคเซินจนถึงปัจจุบัน", "title": "เบราน์ชไวค์" }, { "docid": "95092#3", "text": "ตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ได้ว่างลงหลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยประเทศฝรั่งเศสทางตอนเหนือและแคว้นอาลซัสและลอแรนถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมัน ทำให้อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เป็นประมุขแห่งรัฐในดินแดนดังกล่าวไปโดยปริยาย ส่วนประเทศฝรั่งเศสทางตอนใต้ หลังจากเจรจาสงบศึกกับนาซีเยอรมันแล้ว ฟีลิป เปแต็งได้ยกเมืองวีชีขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งรัฐฝรั่งเศส ยุคนี้ได้ถูกเรียกว่า ฝรั่งเศสเขตวีชี โดยมีฟีลิป เปแต็งดำรงตำแหน่งเป็นประมุขแห่งรัฐฝรั่งเศส ส่วนชาร์ล เดอ โกล หัวหน้าขบวนการเสรีฝรั่งเศส ที่อยู่ในระหว่างการลี้ภัยในสหราชอาณาจักรก็ประกาศไม่ยอมรับอำนาจและการสงบศึกกับนาซีเยอรมันของฟีลิป เปแต็งและตั้งตนเป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[12061,12111,3,3]}'>ประธานคณะกรรมการปลดปล่อยฝรั่งเศสแห่งชาติ (Chef du Comité français de la Libération nationale) จนกระทั่งฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถปลดปล่อยกรุงปารีสได้", "title": "รายนามประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส" }, { "docid": "249880#2", "text": "รัฐทือริงเงินมีอาณาเขตติดต่อนับจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้ รัฐนีเดอร์ซัคเซิน ซัคเซิน-อันฮัลท์ ซัคเซิน บาวาเรีย และเฮ็สเซิน โดยรัฐนีเดอร์ซัคเซินมีแนวเขาฮาร์ซ ฝั่งตะวันตกแบ่ง รัฐซัลเซิน-อันฮัลท์ก็ถูกแบ่งโดยแนวเขาฮาร์ซฝั่งตะวันออก เขตติดต่อรัฐบาวาเรียที่อยู่ตอนใต้มีป่าทือริงเงินกั้น โดยแนวเขาฮาร์ซนี้ทอดยาวไปทางใต้จนถึงป่าทือริงเงิน ส่วนฝั่งตะวันออกของรัฐเป็นที่ราบ แม่น้ำที่สำคัญของรัฐได้แก่ แม่น้ำแวร์รา (Werra) ที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเวเซอร์ และแม่น้ำซาเลอ (Saale) ที่ไหลจากทิศใต้สู่เหนือผ่านที่ราบฝั่งตะวันออก", "title": "รัฐทือริงเงิน" }, { "docid": "249880#3", "text": "จุดกึ่งกลางของเยอรมนีตั้งอยู่ในรัฐทือริงเงิน ซึ่งอยู่บริเวณเทศบาลนีเดอร์ดอร์ลารัฐทือริงเงินแบ่งเขตปกครองชนิดอำเภอ (Landkreis) จำนวน 17 อำเภอ ได้แก่\nและมีเขตปกครองชนิดเมือง (kreisfreie Stadt) จำนวน 6 เมือง ได้แก่", "title": "รัฐทือริงเงิน" }, { "docid": "428168#1", "text": "หมู่เกาะฟรีเชียนเหนือซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของชายฝั่งรัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ของเยอรมนีและทางตะวันตกเฉียงใต้ของชายฝั่งเดนมาร์ก มีเกาะสำคัญ คือ ซึลท์ เฟอร์ นอร์ดชตรันด์ เพลล์วอร์ม อัมรุม และเฮ็ลโกลันท์ซึ่งเป็นของเยอรมนี เกาะเรอเมอ ฟาเนอ และมานเดอซึ่งเป็นของเดนมาร์ก หมู่เกาะฟรีเชียนตะวันออกอยู่นอกฝั่งรัฐนีเดอร์ซัคเซินของเยอรมนี มีเกาะสำคัญคือ บอร์คุม ยูอิสต์ นอร์เดอนีย์ ลังเกอโอก ชปีเคอโรก และวังเกอโรเกอ ส่วนหมู่เกาะฟรีเชียนตะวันตก อยู่นอกฝั่งน่านน้ำวัดเดนซีและชายฝั่งทางตอนเหนือของเนเธอร์แลนด์ เกาะสำคัญคือ เทกเซล วลีลันด์ เทอร์สเกลลิง อามีลันด์ และสกีร์มอนนิโกก", "title": "หมู่เกาะฟรีเชียน" }, { "docid": "223912#5", "text": "เอากุสท์ ไฮน์ริช ฮ็อฟมัน ฟ็อน ฟัลเลิร์สเลเบิน ได้เขียนบทร้องขึ้นบทหนึ่งเมื่อ ค.ศ. 1848 ระหว่างพักผ่อนอยู่ที่เกาะเฮ็ลโกลันท์ (Helgoland) ในทะเลเหนือ ก่อนจะเดินทางต่อไปยังสหราชอาณาจักร โดยในการตีพิมพ์บทร้องดังกล่าวพร้อมด้วยโน้ตเพลงนั้น แสดงให้เห็นว่าเขามุ่งหมายที่จะให้บทร้องดังกล่าวใช้ขับร้องตามทำนองเพลง \"Gott erhalte Franz den Kaiser\" ของไฮเดิน เนื้อหาของบทร้องในบาทแรกของเพลงที่ว่า \"Deutschland, Deutschland über alles, über alles in der Welt\" (เยอรมนี, เยอรมนีเหนือทุกสิ่ง เหนือสิ่งอื่นใดในโลกา) เป็นคำเรียกร้องต่อบรรดารัฐเยอรมันต่างๆ (ซึ่งขณะนั้นยังแตกเป็นรัฐขนาดเล็กจำนวนหลายรัฐ) ให้รวมกันสร้างเยอรมันที่เป็นหนึ่งเดียวซึ่งมีความสำคัญยิ่งกว่าอิสรภาพของบรรดารัฐเล็กๆ เหล่านั้น และในบทที่ 3 ซึ่งบาทแรกขึ้นต้นว่า \"Einigkeit und Recht und Freiheit\" (สามัคคี ยุติธรรม เสรีภาพ) เป็นการแสดงความปรารถนาของฮ็อฟมันที่จะเห็นเยอรมนีซึ่งเป็นหนึ่งเดียวและมีเสรีปกครองด้วยหลักนิติรัฐ ไม่ใช่อำนาจปกครองเบ็ดเสร็จของเหล่ากษัตริย์", "title": "ดัสลีทแดร์ด็อยท์เชิน" } ]
1909
ทางเหนือของเซอร์เบีย ติดกับประเทศอะไร ?
[ { "docid": "38822#0", "text": "เซอร์เบีย (; ) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐเซอร์เบีย (; ) เป็นประเทศสาธารณรัฐตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป เมืองหลวงคือกรุงเบลเกรด เซอร์เบียมีอาณาเขตติดต่อกับฮังการีทางทิศเหนือ ติดต่อกับโรมาเนียและบัลแกเรียทางทิศตะวันออก ติดต่อกับมาซิโดเนียและแอลเบเนียทางทิศใต้ (พื้นที่ชายแดนทางด้านนี้กำลังมีปัญหาเรื่องการเรียกร้องเอกราชของคอซอวอ) และติดต่อกับมอนเตเนโกร โครเอเชีย และบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนาทางทิศตะวันตก", "title": "ประเทศเซอร์เบีย" } ]
[ { "docid": "28845#3", "text": "ไซบีเรียตะวันออกมีพื้นที่ทั้งหมด 4,122,800 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 24.1 % ของพื้นที่รัสเซียทั้งหมดอยู่ระหว่างเส้นละติจูด 50 องศาเหนือ ถึง 70 องศาเหนือ เส้นลองจิจูด 65 องศาตะวันออกถึง 115 องศาตะวันออก หรือพิกัดภูมิศาสตร์ ทางด้านตะวันตกติดกับไซบีเรียตะวันตก ทางด้านตะวันออก ติดกับ เขตตะวันออกไกล ทางใต้ติดกับเทือกเขาอัลไต มองโกเลีย และจีนทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนทางด้านตอนเหนือ ติดกับทะเลคารา และ ทะเลแลปเตฟ", "title": "ไซบีเรีย" }, { "docid": "313782#0", "text": "ซานลุยส์โปโตซี () เป็นรัฐในประเทศเม็กซิโก มีพื้นที่ 24,266 ตร.ไมล์ (62,849 ตร.กม.) อยู่ในส่วนกลางของประเทศ ติดกับรัฐโกอาวีลา ทางทิศเหนือ, ติดกับรัฐนวยโวเลอองทางทิศเหนือ-ตะวันออก, ติดกับรัฐตาเมาลีปัสทางทิศตะวันออก, ติดกับรัฐเวรากรูซทางทิศตะวันออก ติดกับรัฐอีดัลโก รัฐเกเรตาโร รัฐกวานาวาโตทางทิศใต้ และติดกับรัฐซากาเตกัสทางทิศเหนือ-ตะวันตก รัฐซานลุยส์โปโตซีมีประชากร 2,410,414 คน (ข้อมูลปี 2005)", "title": "รัฐซันลุยส์โปโตซี" }, { "docid": "154780#0", "text": "เวสเทิร์นสะฮารา (; ; เบอร์เบอร์: ; ) เป็นดินแดนที่มีข้อพิพาทและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโมร็อกโกในภูมิภาคมาเกร็บ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ทิศเหนือติดกับประเทศโมร็อกโก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศแอลจีเรีย ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับประเทศมอริเตเนีย ส่วนทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก มีพื้นที่ประมาณ 266,000 ตารางกิโลเมตร (103,000 ตารางไมล์) เป็นหนึ่งในดินแดนที่มีประชากรเบาบางที่สุดในโลก เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบทะเลทราย มีประชากรประมาณ 500,000 คน เกือบร้อยละ 40 อาศัยอยู่ที่เอลอาอายุน ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเวสเทิร์นสะฮารา", "title": "เวสเทิร์นสะฮารา" }, { "docid": "469819#0", "text": "ซัลตา () เป็นรัฐในประเทศอาร์เจนตินา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ อยู่ติดกับรัฐอื่นดังนี้ (เริ่มจากทางทิศตะวันออก หมุนตามเข็มนาฬิกา) รัฐฟอร์โมซา รัฐชาโก รัฐซานเตียโกเดลเอสเตโร รัฐตูกูมัน และรัฐกาตามาร์กา และทิศเหนือติดกับรัฐฆูฆุย มีชายแดนติดกับประเทศโบลิเวียและปารากวัยทางทิศเหนือ ติดกับประเทศชิลีทางทิศตะวันตก", "title": "รัฐซัลตา" }, { "docid": "42557#0", "text": "ซิมบับเว () มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซิมบับเว () เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ทวีปแอฟริกา อยู่ระหว่างแม่น้ำซัมเบซีและแม่น้ำลิมโปโป มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับประเทศแซมเบีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศโมซัมบิก ทิศตะวันตกติดกับประเทศบอตสวานา และทิศใต้ติดกับประเทศแอฟริกาใต้ มีพื้นที่ประเทศ 390,580 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงคือ กรุงฮาราเร", "title": "ประเทศซิมบับเว" }, { "docid": "314265#0", "text": "รัฐซากาเตกัส () เป็นรัฐในประเทศเม็กซิโก ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ อยู่ติดกับรัฐอื่นคือ ติดกับรัฐดูรังโกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ, ติดกับรัฐโกอาวีลาทางทิศเหนือ, ติดกับรัฐซันลุยส์โปโตซีทางทิศตะวันออก, ติดกับรัฐอากวัสกาเลียนเตสและรัฐกวานาวาโตทางทิศใต้ และติดกับรัฐฮาลิสโกและรัฐนายาริตทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ รัฐเป็นที่รู้จักดีในฐานะเป็นรัฐที่อุดมไปด้วยแร่เงิน และสถาปัตยกรรมอาณานิคม เศรษฐกิจหลักของรัฐคือการทำเหมืองแร่ กสิกรรมและการท่องเที่ยว เมืองหลวงของรัฐคือเมือง ซากาเตกัส", "title": "รัฐซากาเตกัส" }, { "docid": "303405#0", "text": "รัฐชีวาวา () เป็นรัฐทางตอนเหนือของประเทศเม็กซิโก มีพื้นที่ 247,087 ตร.กม. (95,400.8 ตร.ไมล์) ใหญ่กว่าสหราชอาณาจักรเล็กน้อย ติดกับรัฐโซโนราทางตะวันตก ติดกับรัฐซีนาโลอาทางใต้และตะวันตก ติดกับรัฐดูรังโกทางใต้ และติดกับรัฐโกอาวีลาทางตะวันออก และติดกับสหรัฐอเมริกา รัฐเทกซัสทางเหนือ-ตะวันออก และติดกับรัฐนิวเม็กซิโกทางเหนือ รัฐชีวาวาถือเป็นรัฐที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในเม็กซิโก มีเมืองหลวงของรัฐคือเมือง ชีวาวา", "title": "รัฐชีวาวา" }, { "docid": "27147#0", "text": "บูร์กินาฟาโซ () เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกซึ่งเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้านคือ ทางเหนือติดกับประเทศมาลี ตะวันออกติดกับประเทศไนเจอร์ ตะวันออกเฉียงใต้ติดกับประเทศเบนิน ทิศใต้ติดกับประเทศโตโกและประเทศกานา ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับประเทศโกตดิวัวร์ (หรือไอเวอรีโคสต์)", "title": "ประเทศบูร์กินาฟาโซ" }, { "docid": "311177#1", "text": "รัฐซือริชอยู่บริเวณตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ โดยมีทิศเหนือติดกับรัฐชาฟฟ์เฮาเซิน ทิศตะวันตกติดรัฐอาร์เกา ทิศใต้ติดรัฐซุกและชวีซ ส่วนทางตะวันออกติดกับรัฐทูร์เกาและซังคท์กัลเลิน นอกจากนี้ยังมีทะเลสาบซือริชซึ่งบริเวณเกือบทั้งหมดอยู่ภายในรัฐ", "title": "รัฐซือริช" } ]
2276
ภาพเหมือนของครอบครัวอาร์โนลฟินิวาดโดยใคร?
[ { "docid": "246571#0", "text": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี (), การแต่งงานของอาร์นอลฟีนี () หรือ ภาพเหมือนของโจวันนี อาร์นอลฟีนี และภรรยา (; ) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันบนไม้โอ๊กที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ จิตรกรเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#1", "text": "ยัน ฟัน ไอก์เขียนภาพ \"ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี\" ในปี ค.ศ. 1434 เป็นภาพที่เชื่อกันว่าเป็นภาพเหมือนของโจวันนี อาร์นอลฟีนี (Giovanni Arnolfini) พ่อค้าจากเมืองลุกกาในอิตาลีและภรรยาในห้องที่อาจจะเป็นที่บ้านที่พำนักอยู่ในเมืองบรูชในฟลานเดอส์ เป็นภาพที่ถือกันว่าเป็นภาพที่มีความเป็นต้นตอและความซับซ้อนมากที่สุดภาพหนึ่งของจิตรกรรมตะวันตก ฟัน ไอก์ลงชื่อและวันที่ว่าวาดในปี ค.ศ. 1434 ต่อมาหอศิลป์แห่งชาติแห่งลอนดอนซื้อภาพเขียนนี้ในปี ค.ศ. 1842", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#4", "text": "ภาพนี้เป็นภาพที่เชื่อกันอยู่เป็นเวลานานว่าเป็นภาพเหมือนของโจวันนี อาร์นอลฟีนี และโจวันนา เชนามี (ภรรยา) ภายในห้องแบบเฟลมิช แต่ในปี ค.ศ. 1997 ก็เป็นที่ทราบว่าอาร์นอลฟีนีและเชนามียังไม่แต่งงานกันในปี ค.ศ. 1447 ซึ่งเป็นเวลาสิบสามปีหลังจากปีที่ระบุว่าเป็นปีที่เขียนภาพและหกปีหลังจากที่ฟัน ไอก์ เสียชีวิตไปแล้ว ในปัจจุบันจึงเชื่อกันว่าเป็นภาพเขียนของลูกพี่ลูกน้องของโจวันนี ดี อาร์รีโก ที่ชื่อโจวันนี ดี นีโกลาโอ อาร์นอลฟีนี และภรรยา ที่อาจจะเป็นภรรยาคนที่สองที่ไม่มีเอกสารระบุ หรือตามทฤษฎีที่เสนอเมื่อไม่นานมานี้ว่าเป็นภรรยาคนแรกที่ชื่อคอสสแตนซา เทรนทาผู้ที่เสียชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1433 ตามทฤษฎีนี้ก็ทำให้ภาพนี้กลายเป็นภาพอนุสรณ์แสดงให้เห็นภาพของผู้ที่ยังมีชีวิตคนหนึ่งและผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วอีกคนหนึ่ง โจวันนี ดี นีโกลาโอ อาร์นอลฟีนีเป็นพ่อค้าชาวอิตาลีที่เดิมมาจากเมืองลุกกาผู้มาตั้งถิ่นฐานในเมืองบรูชอย่างน้อยก็ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1419 อาร์นอลฟีนีเป็นแบบสำหรับภาพเหมือนอีกภาพหนึ่งที่เขียนโดยฟัน ไอก์ที่ปัจจุบันอยู่ที่เบอร์ลิน ที่ทำให้สันนิษฐานกันว่าอาจจะเป็นเพื่อนกับจิตรกร", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" } ]
[ { "docid": "955338#8", "text": "\"มีภาพวาดของฉันอีกครั้ง ครั้งนี้โดยคนนอร์ทแฮมป์ตันที่ชื่อโอลด์ เขาเป็นคนที่ยิ่งใหญ่ เป็นคนบ้านนอกผมบลอนด์ที่มีใบหน้าดุจจันทร์เพ็ญในฤดูเก็บเกี่ยวข้าวสาลี – ซึ่งชวนให้รำลึกถึงภาพเหมือนของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ที่เขียนโดยฮอลไบน์ ในฐานะที่เขาทำงานคนเดียวอย่างต่อเนื่อง – “มันยอดเยี่ยม – ตำแหน่งน่าสนใจ – ตอนนี้จะมีสายตา” ผลงานของเขาดูงดงาม แต่ดูเหมือนจะไม่สอดคล้องกับบุคลิกของเขา สีน้ำที่เขาทำในวันนี้เป็นงานที่ดี แต่มีเสน่ห์มากเกินไป ผมหวังว่าผมจะส่งภาพนี้กลับบ้าน – มันจะกระจายความกลัวทั้งหมด\"", "title": "แอชลีย์ จอร์จ โอลด์" }, { "docid": "217101#1", "text": "เดอกาเขียนภาพ “ภาพเหมือนของครอบครัวเบลเลลลิ” ราวระหว่างปี ค.ศ. 1858 ถึงปี ค.ศ. 1867 เป็นงานเขียนสมัยต้นที่ยังแสดงอิทธิพลของงานคลาสสิกโดยเฉพาะงานเขียนแบบเฟล็มมิช ขณะที่ร่ำเรียนทางศิลปะอยู่ในอิตาลีเดอกาวาดภาพลอราป้าและสามีบารอนเจ็นนาโร เบลเลลลิและลูกสาวสองคนจุยลาและจิโอวานนา เดอกาใช้วิธีเขียนที่เรียนจากอิตาลีในการเขียนภาพนี้เมื่อเขียนเมื่อเดินทางกลับมาปารีส ลอราผู้เป็นพี่สาวของพ่อแต่งตัวไว้ทุกข์พ่อที่เพิ่งเสียชีวิต ที่ปรากฏอยู่ในภาพในกรอบบนผนังในฉากหลังของภาพ บารอนเป็นชาวอิตาลีที่ลี้ภัยมาจากเนเปิลส์มาพำนักที่ฟลอเรนซ์", "title": "ภาพเหมือนของครอบครัวเบลเลลลิ" }, { "docid": "215136#1", "text": "อักโนโล บรอนซิโนเขียนภาพ “ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโด” เสร็จในปี ค.ศ. 1545 เป็นภาพของ เอเลเนอร์แห่งโทเลโดภรรยาของโคสิโมที่ 1 เดอเมดิชิ ดยุคแห่งทัสเคนี เอเลเนอร์นั่งโดยมีมือขวาวางบนไหล่ลูกชายคนหนึ่ง ท่าทางที่นั่งและการใช้ลายทับทิมบนเสื้อผ้าเป็นการแสดงฐานะของความเป็นแม่ ลูกที่ยืนอยู่ในภาพบ้างก็ว่าอาจจะเป็น ฟรานเชสโค (Francesco I de' Medici) (เกิด ค.ศ. 1541), หรือ จิโอวานนิ (Cardinal Giovanni de' Medici) (เกิด ค.ศ. 1543) หรือ กราเซีย (เกิด ค.ศ. 1547) ถ้าเป็นคนหลังภาพเขียนก็น่าจะเขียนระหว่างปี ค.ศ. 1550 ถึงปี ค.ศ. 1553 แต่เป็นที่ตกลงกันโดยทั่วไปว่าปีที่เขียนคือปี ค.ศ. 1545 ฉะนั้นลูกจึงควรจะเป็นจิโอวานนิ", "title": "ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโด" }, { "docid": "7998#4", "text": "\"ความอดทนและอดกลั้น ต่ออุปสรรคและการดูถูกเหยียดหยาม เป็นเสมือนเสื้อกันความหนาวให้กับเรา อากาศยึ่งเย็นเท่าไหร่ เราก็ยิ่งต้องสวมใส่เสื้อผ้าเพื่อปกป้องตัวเองมากยึ่งขึ้นเท่านั้น...\"\nภาพวาดด้วยสีชอล์กภาพนี้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นภาพวาดเหมือนตนเองฉบับดั้งเดิม สาเหตุหลักที่ยังมีการลังเลที่จะยอมรับว่าเป็นภาพเหมือนของเลโอนาร์โดก็เพราะบุคคลในภาพดูจะมีอายุมากกว่าอายุของเลโอนาร์โดขณะสิ้นชีวิตเสียอีก แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าเขาวาดภาพตนเองให้ดูมีอายุมาก โดยเฉพาะภาพวาดของราฟาเอลที่วาดตัวเขาในโรงเรียนแห่งเอเธนส์", "title": "เลโอนาร์โด ดา วินชี" }, { "docid": "13677#1", "text": "ในจอมโจรอัจฉริยะเล่ม 4 ได้นำเสนอบทสัมภาษณ์ของโกโช อาโอยาม่า ผู้วาดจอมโจรคิด เขากล่าวว่าตัวละครที่วาดนี้เขาต้องการสื่อถึงภาพลักษณ์ของคนที่ \"แว่บไปแว่บมา หาตัวจับยาก ห้าวหาญไม่มีใครเปรียบ หน้าตาหล่อเหลาเหมือนอาร์แซน ลูแปง และเป็นคนเจ้าเล่ห์\" ตัวการ์ตูนนี้ให้ความสนุกในแบบของผู้ถูกล่าที่ต้องหนี อย่างไรก็ตามเขายังกล่าวถึงการวาดชุดคลุมของไคโตะนั้นว่า \"ลำบากเอาการ\"", "title": "จอมโจรคิด" }, { "docid": "279099#1", "text": "“ภาพเหมือนของมาฟเฟโอ บาร์เบอรินิ” เป็นภาพที่เขียนราวปี ค.ศ. 1598 บาร์เบอรินิผู้มาจากครอบครัวสำคัญของฟลอเรนซ์ขณะนั้นมีอายุได้ 30 ปี และได้รับความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในตำแหน่งในสังฆาจักร บาร์เบอรินิเป็นเพื่อนของคาร์ดินัลฟรานเชสโค มาเรีย เดล มอนเต ผู้เป็นผู้อุปถัมภ์คนสำคัญคนแรกของคาราวัจโจ การอุปถัมภ์ของบาร์เบอรินิแก่คาราวัจโจดำเนินต่อมาอีกหลายปี ในปี ค.ศ. 1603 ก็จ้างให้คาราวัจโจเขียนภาพ “เอบราฮัมสังเวยไอแซ็ค” ต่อมาในปี ค.ศ. 1623 บาร์เบอรินิก็ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นพระสันตะปาปาในพระนามว่าสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 8", "title": "ภาพเหมือนของมาฟเฟโอ บาร์เบอรินิ (คาราวัจโจ)" }, { "docid": "318801#5", "text": "ฟัน โคคมีความตื้นตันกับการต้อนรับลูกสาวคนใหม่ที่เพิ่งเกิดของครอบครัวรูแล็ง และนั่งลงดื่มเหล้ากับโฌแซ็ฟ ต่อมาก็เริ่มเขียนภาพเหมือนของโฌแซ็ฟ แต่ก็ไม่แน่ใจในคุณภาพ ฟัน โคคจึงวาดเวอร์ชันที่สองที่มีขนาดเล็กกว่าที่เน้นศีรษะ เขาชอบเวอร์ชันที่สองมากกว่าเวอร์ชันแรก รวมทั้งภาพวาดลายเส้นด้วยปากกาและหมึกหลังจากก๊อบปี้งานแล้ว ให้กับเพื่อนจอห์น ปีเตอร์ รัสเซลล์ และส่งภาพไปให้เตโอน้องชาย เวอร์ชันแรกอยู่ที่อาร์ลมาจนถึงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1889", "title": "ครอบครัวรูแล็ง" }, { "docid": "174659#1", "text": "เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นด้วย ลูอิส เด็กชายอัจฉริยะ ผู้รักในเครื่องยนต์กลไกและมีความหวังที่จะตามหาครอบครัวที่เขาไม่เคยพบหน้าอย่างไม่เสื่อมคลาย แต่การเดินทางของลูอิสกำลังจะพาเขาไปสู่สถานที่ที่แม้แต่ตัวเขาเองยังคาดไม่ถึง สถานที่ที่ไม่มีคำว่าเป็นไปไม่ได้ นั่นคืออนาคต.", "title": "ผจญภัยครอบครัวจอมเพี้ยน ฝ่าโลกอนาคต" }, { "docid": "246571#5", "text": "ภาพเขียนนี้โดยทั่วไปแล้วอยู่ในสภาพที่ดี แม้ว่าสีเดิมจะหายไปบ้างและได้รับความเสียหายบ้างแต่ก็ไม่มากนัก และก็ได้รับการซ่อมแซมแล้ว เมื่อใช้เครื่อง reflectogram อินฟรา-เรดตรวจสอบก็พบว่ารายละเอียดของภาพหลายแห่งได้รับการแก้ไขที่รวมทั้งใบหน้าของตัวแบบทั้งสองคน กระจก และสิ่งอื่น ๆ \nอาร์นอลฟีนีและภรรยายืนอยู่ในห้องชั้นบนในฤดูร้อนที่ทราบได้จากต้นเชอร์รีที่ออกผลอยู่นอกหน้าต่าง ห้องที่เห็นไม่ใช่ห้องนอนเช่นที่มักจะเข้าใจกันแต่เป็นห้องรับรอง เพราะในฝรั่งเศสและเบอร์กันดีนิยมการมีเตียงตั้งอยู่ในห้องรับรอง ที่ตามปกติแล้วก็ใช้เป็นที่นั่งนอกจากในกรณีที่เป็นแม่ลูกอ่อนที่รับแขก หน้าต่างทางด้านซ้ายของภาพมีบานไม้หกบาน แต่ตอนบนเท่านั้นที่เป็นกระจกแบบตาวัวที่ประดับด้วยกระจกสีสีน้ำเงิน แดง และเขียว", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "140057#0", "text": "อภินิหารแหวนครองพิภพ () เป็นภาพยนตร์ตอนแรกสุดของภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ กำกับโดย ปีเตอร์ แจ็กสัน และออกฉายครั้งแรกในปี ค.ศ. 2001 ภาพยนตร์สร้างจากนิยายแฟนตาซีเลื่องชื่อ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โดยมีชื่อตอนในภาษาอังกฤษเหมือนกันกับฉบับหนังสือ (แต่ฉบับหนังสือของไทยใช้ชื่อว่า มหันตภัยแห่งแหวน) เหตุการณ์ในเรื่องเกิดบนดินแดนในจินตนาการ มิดเดิลเอิร์ธ ว่าด้วยเรื่องของจอมมารเซารอน ผู้ค้นหาแหวนเอกธำมรงค์ (แหวนแห่งอำนาจ) ซึ่งบรรจุอำนาจของตนในยามสร้างขึ้นไว้ เพื่อจะควบคุมผู้ครองแหวนอื่นๆ ที่ได้สร้างขึ้น 3 วงแก่เอลฟ์ 7 วงแด่คนแคระ และ 9 วงแด่มนุษย์ แต่ต่อมาแหวนของเขาตกไปอยู่ในมืออิซิลดูร์ผู้ตัดนิ้วของเขา จากนั้นจึงตกไปสู่ห้วงน้ำและถูกพบเจอโดยกอลลัม หลังจากนั้นบิลโบ แบ๊กกิ้นส์ก็ครอบครองต่อมา แล้วจึงได้ทิ้งให้เป็นสมบัติของฮอบบิท หลานของเขาคือ โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ และได้เป็นจุดเริ่มต้นของคณะพันธมิตรแห่งแหวน 9 คน ต้องรับภารกิจในการเดินทางไปยังเมาท์ดูม ภูเขาไฟที่อยู่ใจกลางอาณาจักรมอร์ดอร์ อันเป็นสถานที่ๆหลอมแหวนขึ้นมาและเพียงแห่งเดียวที่สามารถเผาทำลายแหวนเอกธำมรงค์ได้", "title": "อภินิหารแหวนครองพิภพ" } ]
1896
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ คืออะไร ?
[ { "docid": "23861#0", "text": "สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (English: absolute monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมาย[1] กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะห้ามปรามได้ แม้องค์กรทางศาสนาอาจทัดทานกษัตริย์จากการกระทำบางอย่างและองค์รัฏฐาธิปัตย์ (กษัตริย์) นั้นจะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรมเนียม แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด ๆ ที่จะอยู่เหนือกว่าคำชี้ขาดของรัฏฐาธิปัตย์ ตามทฤษฎีพลเมืองนั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้กับพระเจ้าแผ่นดินที่ดีพร้อมทางสายเลือดและได้รับการเลี้ยงดูฝึกฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิด", "title": "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" } ]
[ { "docid": "11558#6", "text": "แคว้นพระบิดาของพระพุทธองค์ก็อยู่ในแคว้นเล็ก ๆ นี่อาณาจักรเหล่านี้ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือพระราชามีอำนาจเด็ดขาดบ้าง ระบอบสามัคคีธรรม คือมีสภาเป็นที่ปรึกษาบ้าง ระบอบประชาธิปไตยบ้าง แต่ส่วนมากจะเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ด้วยเหตุที่พุทธศาสนาถือกำเนิดในแผ่นดินอินเดีย จึงควรจะได้ศึกษาภูมิหลังของอินเดียในยุคก่อนการกำเนิดของพุทธศาสนาพอสังเขป ดังนี้", "title": "ชมพูทวีป" }, { "docid": "16485#2", "text": "ชื่อ \"รัตนโกสินทร์\" ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน แต่บทความนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์จนถึง พ.ศ. 2475 เท่านั้น", "title": "อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)" }, { "docid": "23361#14", "text": "อาณาจักรสุโขทัยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ", "title": "อาณาจักรสุโขทัย" }, { "docid": "66324#22", "text": "ทำเนียบรายนามกำนันตำบลคุ้งตะเภา นับแต่สมัยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จนถึงปัจจุบัน มีดังนี้", "title": "ตำบลคุ้งตะเภา" }, { "docid": "4471#0", "text": "การปฏิวัติฝรั่งเศส () ระหว่าง ค.ศ. 1789-1799 เป็นยุคสมัยแห่งกลียุค (upheaval) ทางสังคมและการเมืองที่เปลี่ยนถึงรากฐานในฝรั่งเศสซึ่งมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อฝรั่งเศสและยุโรปที่เหลือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ปกครองฝรั่งเศสมาหลายศตวรรษล่มสลายลงใน 3 ปี สังคมฝรั่งเศสผ่านการปฏิรูปขนาดใหญ่ โดยเอกสิทธิ์ในระบบเจ้าขุนมูลนาย ของอภิชนและของนักบวชถูกกำจัดหมดสิ้นไปภายใต้การโจมตีอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มการเมืองฝ่ายสาธารณรัฐมูลวิวัติ (radical republicanism) ฝูงชนบนท้องถนน และชาวนาในชนบท. แนวคิดดั้งเดิมที่เกี่ยวกับจารีตประเพณีและลำดับชั้นบังคับบัญชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจและฐานันดรของพระมหากษัตริย์ อภิสิทธิชน และนักบวชในศาสนา ถูกโค่นล้มอย่างฉับพลัน และถูกแทนที่โดยอุดมคติของความเสมอภาค ความเป็นพลเมือง และสิทธิที่ไม่อาจถูกพรากได้ (inalienable rights) อันเป็นหลักการใหม่แห่งยุคเรืองปัญญา การปฏิวัติฝรั่งเศสก่อให้เกิดผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อทิศทางของประวัติศาสตร์สมัยใหม่ นำไปสู่ความเสื่อมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ทั่วโลก นักประวัติศาสตร์ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า \"การปฏิวัติฝรั่งเศส\" เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ", "title": "การปฏิวัติฝรั่งเศส" }, { "docid": "621073#3", "text": "พระเจ้ามิเกลได้ทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งโปรตุเกสให้กับพระราชนัดดาและพระคู่หมั้น สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส แต่ในที่สุดพระองค์ก็ทรงยึดราชบัลลังก์มาเป็นของพระองค์เองเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2371 พระเจ้ามิเกลทรงมีแนวคิดแบบอนุรักษนิยม ทรงล้มล้างรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าเปโดรที่ 4 แห่งโปรตุเกสพระเชษฐา และทรงพยายามเป็นพระมหากษัตริย์ที่ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เหตุนี้จึงนำไปสู่สถานการณ์ทางการเมืองที่ยุ่งยาก โดยมีผู้คนจำนวนมากถูกสังหาร, จับกุม, ข่มเหง หรือถูกเนรเทศ และที่ซึ่งนำไปสู่จุดสูงสุดที่เรียกว่า สงครามเสรีนิยมโปรตุเกส ระหว่างกลุ่มเผด็จการสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับกลุ่มรัฐธรรมนูญก้าวหน้า", "title": "เจ้าหญิงอเดเลดแห่งโลเวนสไตน์-เวิร์ทเฮล์ม-โรเซนเบิร์ก" }, { "docid": "461436#3", "text": "ในทางปฏิบัติแล้ว พระมหากษัตริย์ปกครองด้วยพระประสงค์ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของพสกนิกรเพื่อเป็นการสร้างเสริมพระราชอำนาจและพระบารมี ซึ่งนัยของแนวคิดนี้ก็คือการที่พระมหากษัตริย์คำนึงถึงผลพระโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนพระองค์เอง และด้วยแนวคิดนี้เองที่กลายมาเป็นบรรทัดฐานในการครองราชย์ของกษัตริย์ วอลแตร์เป็นนักปรัชญาคนสำคัญจากยุคเรืองปัญญาที่เห็นว่าสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมเป็นหนทางที่แท้จริงเพียงเดียวที่จะทำให้สังคมเจริญรุ่งเรืองได้", "title": "สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม" }, { "docid": "23861#9", "text": "หมวดหมู่:ทฤษฎีการเมือง หมวดหมู่:ราชาธิปไตย", "title": "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" }, { "docid": "23861#7", "text": "\"สมบูรณาญาสิทธิราชย์\" บัญญัติจากภาษาอังกฤษว่า \"absolute monarchy\" มีความหมายตรงตัวว่า ความเป็นกษัตริย์ซึ่งมีอาญาสิทธิ์ (อำนาจเด็ดขาด) โดยสมบูรณ์", "title": "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" }, { "docid": "69653#9", "text": "ก่อนที่ราชอาณาจักรไทยจะมีรัฐธรรมนูญนั้น ราชอาณาจักรไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ไทยเชิงการเมืองการปกครอง เมื่อคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการสายทหารบก ทหารเรือ และสายพลเรือน จำนวน 99 คน โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า ร่วมกันยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงตัดสินพระทัยที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยสงบ ดังความตามพระราชหัตถเลขา (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ) ที่ทรงเขียนในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2475 ไม่ลงวันที่ พระราชทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ซึ่งได้แปลเป็นภาษาไทยในหนังสือเรื่อง เกิดวังปารุสก์ เล่ม 2 ความดังนี้[2]", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" }, { "docid": "37665#53", "text": "พระเจ้าฟิลิปที่ 5 กษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์บูร์บงซึ่งมีต้นกำเนิดในฝรั่งเศสได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกานวยบาปลันตา (Nueva Planta decrees; \"Decretos de Nueva Planta\") ในปี ค.ศ. 1715 พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ได้ล้มล้างสิทธิและเอกสิทธิ์ส่วนใหญ่ที่มีมาแต่เดิมของแต่ละอาณาจักรที่ประกอบกันเป็นสเปน โดยรวบอำนาจบริหารของอาณาจักรเหล่านั้นเข้าสู่ศูนย์กลางภายใต้กฎหมายของกัสติยา นอกจากนี้ สเปนยังกลายเป็นบริวารทางวัฒนธรรมและการเมืองของฝรั่งเศสซึ่งเป็นประเทศสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกด้วย อำนาจการปกครองสเปนของราชวงศ์บูร์บงยังคงดำเนินต่อไปภายใต้การปกครองของพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 6 และพระเจ้าชาลส์ที่ 3\nภายใต้การปกครองของพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และอัครมหาเสนาบดีในพระองค์ คือ เลโอโปลโด เด เกรโกรีโอ มาร์ควิสแห่งเอสกีลาเช และโคเซ โมนีโญ เคานต์แห่งโฟลรีดาบลังกา สเปนก็ได้เข้าสู่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ภูมิธรรม (enlightened despotism) ซึ่งนำพาสเปนไปสู่ความมั่งคั่งครั้งใหม่ในตอนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 และหลังจากเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ร่วมกับฝรั่งเศสต่ออังกฤษในสงครามเจ็ดปี (ค.ศ. 1756-1763) สเปนก็ได้ดินแดนที่เคยสูญเสียไปคืนมาเกือบทั้งหมดเมื่อสิ้นสุดสงครามปฏิวัติอเมริกัน (ค.ศ. 1775-1783)", "title": "ประวัติศาสตร์สเปน" }, { "docid": "16485#47", "text": "หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ไทย หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 18", "title": "อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)" }, { "docid": "23861#1", "text": "ในทางทฤษฎี กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะมีอำนาจทั้งหมดเหนือประชาชนและแผ่นดิน รวมทั้งเหนืออภิชนและบางครั้งก็เหนือคณะสงฆ์ด้วย ส่วนในทางปฏิบัติ กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มักจะถูกจำกัดอำนาจ โดยทั่วไปโดยกลุ่มที่กล่าวมาหรือกลุ่มอื่น", "title": "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" }, { "docid": "168872#0", "text": "พระราชวังมัณฑะเลย์ (, ) เป็นพระราชวังในประเทศพม่า และเป็นพระราชวังสุดท้ายแห่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพม่า ก่อนที่จะถูกทำลายโดยทหารอังกฤษ ในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง", "title": "พระราชวังมัณฑะเลย์" }, { "docid": "16485#46", "text": "อนุสัญญากรุงโตเกียว ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 เป็นอันยกเลิก และสถานภาพก่อนอนุสัญญานั้นเป็นอันกลับสถาปนาขึ้น", "title": "อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)" }, { "docid": "28311#0", "text": "กษัตริย์ หรือ พระมหากษัตริย์ คือประมุขหรือผู้ปกครองสูงสุดของรัฐ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือในราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีน้อยมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็ก พระมหากษัตริย์เป็นได้ด้วยการสืบสันตติวงศ์หรือโดยการยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์พระองค์เดิมแล้วปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์", "title": "พระมหากษัตริย์" }, { "docid": "23861#6", "text": "เมื่อมีการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัชกาลที่ 7 และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 แล้ว ในทางนิตินัย พระราชอำนาจที่เคยมีมาอย่างล้นพ้นมิได้ถูกจำกัดลงให้อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ เรียกขานกันต่อมาว่า \" ราชาธิปไตย \" ผู้ให้คำๆ จำกัดความโดย พลตำรวจเอก วิศิษฐ์ เดชกุญชร[1]", "title": "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" }, { "docid": "461436#4", "text": "อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์ยังคงถกเถียงกันถึงการปฏิบัติใช้สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมที่แท้จริง พวกเขาแยกแยะความภูมิธรรมโดยพระราชจริยวัตรออกจากความภูมิธรรมโดยพระราชกรณียกิจ เช่น พระเจ้าฟรีดริชมหาราชแห่งปรัสเซีย ผู้ซึ่งถูกปลูกฝังแนวคิดของการเรืองปัญญามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ และก็ทรงยึดมั่นในแนวคิดดังกล่าวตลอดช่วงพระชนม์ชีพของพระองค์ แต่ในทางปฏิบัติพระองค์กลับไม่สามารถที่จะก่อให้เกิดการปฏิรูปขึ้นได้ บุคคลอื่นเช่น เซบาสเตียน โฮเซ เด คาวาโล เอ เมโล นายกรัฐมนตรีแห่งโปรตุเกส ใช้การเรืองปัญญาไม่แต่เฉพาะเพื่อการปฏิรูปเท่านั้น แต่รวมไปถึงการสร้างเสริมขุมอำนาจ, บ่อนทำลายฝ่ายตรงข้าม, ปราบปรามการวิพากษ์วิจารณ์, การแสวงหาผลประโยชน์จากอาณานิคม และการรวบรวมอำนาจและผลประโยชน์ส่วนตน", "title": "สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม" }, { "docid": "10594#3", "text": "อันกฎเสนาบดีในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นอาจจำแนกได้เป็นสามจำพวก ดังต่อไปนี้", "title": "กฎกระทรวง" }, { "docid": "23861#3", "text": "ประเทศที่ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบันคือ ซาอุดีอาระเบีย บรูไน โอมาน สวาซิแลนด์ กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้ง นครรัฐวาติกัน ด้วย", "title": "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" }, { "docid": "474349#0", "text": "ผู้เผด็จการ () เป็นผู้ปกครอง (คือ สมบูรณาญาสิทธิราชย์หรืออัตตาธิปไตย) ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จแต่เพียงผู้เดียว (ซึ่งอาจรวมถึงการควบคุมทางทหารหรือสินบน แต่ไม่จำเป็นเสมอไป) แต่ไม่ถูกจำกัดอยู่เฉพาะในวงศาคณาญาติ อย่างสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เมื่อรัฐอื่นเรียกประมุขแห่งรัฐใดรัฐหนึ่งว่า ผู้เผด็จการ รัฐนั้นจะถูกเรียกว่า เผด็จการ คำนี้กำเนิดขึ้นเป็นตำแหน่งของฝ่ายปกครองในโรมโบราณที่ถูกแต่งตั้งโดยวุฒิสภา เพื่อปกครองสาธารณรัฐในยามฉุกเฉิน (ดูเพิ่มที่ ผู้เผด็จการโรมัน)", "title": "ผู้เผด็จการ" }, { "docid": "10596#1", "text": "ในอดีต \"รัฐมนตรี\" เป็นที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์.", "title": "รัฐมนตรี" }, { "docid": "50534#4", "text": "นับแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013 ประเทศล่าสุดที่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ ภูฏาน", "title": "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" }, { "docid": "17648#0", "text": "ความคิดและความเคลื่อนไหวที่จะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของราชอาณาจักรสยาม จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นประชาธิปไตยนั้น มีมาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อประมาณ ร.ศ. 103 (พ.ศ. 2427) หลังจากนั้น ได้มีการแสดงความคิดเห็นและความเคลื่อนไหวอยู่เรื่อย ๆ จนนำไปสู่การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยโดยคณะราษฎรยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม" }, { "docid": "23861#8", "text": "ราชาธิปไตย เทวสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์", "title": "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" }, { "docid": "23861#2", "text": "กษัตริย์บางพระองค์ (เช่นจักรวรรดิเยอรมนี ค.ศ. 1871–1918) มีรัฐสภาที่ไม่มีอำนาจหรือเป็นเพียงสัญลักษณ์ และมีองค์กรบริหารอื่น ๆ ที่กษัตริย์สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกได้ตามต้องการ แม้จะมีผลเท่ากับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่โดยทางเทคนิคที่เป็นไปได้แล้ว นี่คือราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) เนื่องจากการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายพื้นฐานของประเทศ", "title": "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" }, { "docid": "440998#0", "text": "พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 แห่งเดนมาร์ก (ภาษาเดนมาร์ก: \"Frederik 7. Konge af Danmark\", พระนามเดิม: \"เฟรเดอริก คาร์ล คริสเตียน\") (6 ตุลาคม พ.ศ. 2351 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2406) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก ตั้งแต่ พ.ศ. 2391 จนกระทั่งเสด็จสวรรคต พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์กพระองค์สุดท้ายซึ่งสืบราชสันตติวงศ์จากราชวงศ์ออลเดนบูร์ก และเป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์กพระองค์สุดท้ายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในรัชกาลของพระองค์ ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนชาวเดนมาร์กซึ่งทำให้มีการจัดตั้งรัฐสภาขึ้นและเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ถือว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์กพระองค์แรกในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ", "title": "พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "23861#4", "text": "ประเทศไทยเคยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์เด็ดขาดในการปกครองแผ่นดิน ดังคำกล่าวที่ว่า \"พระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยามนี้ ไม่ได้ปรากฏในกฎหมายอันหนึ่งอันใด ด้วยเหตุที่ถือว่าเป็นที่ล้นพ้น ไม่มีข้อสั่งอันใดจะเป็นผู้บังคับขัดขวางได้\"[1]", "title": "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" }, { "docid": "461436#0", "text": "สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม () คือรูปแบบของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และระบบใช้อำนาจเด็ดขาด ที่ซึ่งผู้ปกครองได้รับอิทธิพลจากยุคเรืองปัญญา พระมหากษัตริย์ในระบอบนี้ที่เรียกว่า \"ประมุขผู้ทรงภูมิธรรม\" เป็นผู้อุปถัมภ์หลักการของการเรืองปัญญา โดยเฉพาะความสำคัญของหลักเหตุและผล และนำไปใช้ในการปกครองดินแดนของตน พระมหากษัตริย์มีแนวโน้มที่จะมีพระบรมราชานุญาตให้มีหลักขันติธรรมทางศาสนา, เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการเผยแพร่ข่าวสาร รวมถึงสิทธิ์ของประชาชนทั่วไปในการครอบครองทรัพย์สิน อันเป็นการช่วยสร้างความเจริญก้าวหน้าทางศิลปศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และการศึกษาในยุโรปอย่างมาก", "title": "สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม" } ]
1166
พุ่มพวง ดวงจันทร์มีพี่น้องกี่คน?
[ { "docid": "64704#5", "text": "รำพึง จิตรหาญ เกิดที่ บ้านหนองนกเขา ตำบลไพรนกยูง อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท โตที่ตำบลบ่อสุพรรณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นบุตรีของนายสำราญ และนางเล็ก จิตรหาญ ครอบครัวมีอาชีพรับจ้างทำไร่อ้อย เกิดในครอบครัวยากจน เป็นลูกคนที่ 5 ของบ้านในจำนวน 12 คน", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" } ]
[ { "docid": "64704#17", "text": "แฟนคนแรกของพุ่มพวงคือ ธีระพล แสนสุข ระหว่างที่พุ่มพวง ดวงจันทร์ เทใจทุ่มกับงานอย่างเต็มที่ ธีระพลเริ่มปันใจให้กับสลักจิต ดวงจันทร์ จึงทำให้ความรักของทั้งคู่จบลง แต่ด้านธุรกิจยังคงร่วมงานกันอยู่ แต่ในปี 2530 ธีระพล แสนสุข ก็ถูกน้องชายพุ่มพวง ดวงจันทร์ ยิงตาย", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#30", "text": "2 มิถุนายน 2552 นายสรภพ ลูกชายพุ่มพวงอุปสมบทให้พุ่มพวง ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จ.พิษณุโลก มี นางสุพรรณี สุประการ มารดาบุญธรรม และนางบุญ สุประการ ผู้เป็นยาย ร่วมเป็นเจ้าภาพในพิธีอุปสมบท โดยในงานมีการตั้งโต๊ะรับบริจาคเงินสมทบทุนสร้างหุ่นขี้ผึ้ง “พุ่มพวง ดวงจันทร์” หุ่นที่ 7 โดยประชาชนที่บริจาคเงิน 100 บาท จะได้รับ แผ่นซีดีเพลงที่ นายสรภพ ขับร้องไว้ในชื่ออัลบั้ม “บทเพลงเพื่อแม่ผึ้ง” และมีเพลงที่พุ่มพวงร้องสดเป็นครั้งสุดท้าย ทั้งนี้สรภพเกิดเรื่องขัดแย้งกับบิดาและญาติฝ่ายพุ่มพวง โดยเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552 พระสรภพ พบกับนายไกรสรและญาติพี่น้องของพุ่มพวง ที่วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และเกิดการโต้เถียงอย่างรุนแรง ในกรณีการจัดสร้างหุ่นขี้ผึ้งพุ่มพวง", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#18", "text": "ในปี พ.ศ. 2527 พุ่มพวงจดทะเบียนสมรสกับนายไกรสร ลีละเมฆินทร์ อดีตพระเอกภาพยนตร์ ที่ใช้ชื่อในวงการว่า ไกรสร แสงอนันต์ ต่อมาพุ่มพวงฝึกหัดเขียนหนังสือจนสามารถเขียนชื่อตัวเองได้ เพื่อประโยชน์ทางนิติกรรมต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2530 มีบุตรชายชื่อ สันติภาพ (ต่อมาเปลี่ยนชือเป็น สรภพ) หรือ \"เพชร\" หรือ \"บ่อยบ๊อย\" ลีละเมฆินทร์ ซึ่งก็เป็นนักร้องลูกทุ่ง นอกจากนี้ยังมี จันทร์จวง ดวงจันทร์ ดวงใจ ดวงจันทร์ และสลักจิต ดวงจันทร์ น้องสาวพุ่มพวงก็เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งเช่นกัน", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#0", "text": "พุ่มพวง ดวงจันทร์ (4 สิงหาคม พ.ศ. 2504 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535) ชื่อเล่น ผึ้ง ชื่อจริง รำพึง จิตรหาญ เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่ง เจ้าของฉายา ราชินีลูกทุ่ง ได้ชื่อว่ามีน้ำเสียงออดอ้อน หวาน จำเนื้อร้องได้แม่นทั้งที่ไม่รู้หนังสือ และเป็นแม่แบบให้แก่นักร้องรุ่นหลัง", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#16", "text": "ได้สวดอภิธรรมศพที่วัดมกุฏกษัตริยาราม พิธีพระราชทานเพลิงศพของพุ่มพวง ดวงจันทร์ จัดที่วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 25 ก.ค. พ.ศ. 2535 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี นอกจากนี้ยังมีการสร้างหุ่นพุ่มพวง ตั้งอยู่ในศาลาริมสระน้ำ วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีการจัดงานรำลึกถึงพุ่มพวงทุกปี ช่วง 13-17 มิถุนายน ของทุกๆปี ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของเธอ", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#22", "text": "ในปี พ.ศ. 2535 มีภาพยนตร์รำลึกถึงพุ่มพวง ดวงจันทร์กับเรื่อง \"บันทึกรักพุ่มพวง\" กำกับโดยดอกฟ้า ได้พุ่มพวง แจ่มจันทร์ แสดงเป็นพุ่มพวง ดวงจันทร์ โดยเป็นภาพยนตร์ที่เล่าชีวิตส่วนหนึ่งของชีวิตเธอ ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 บริษัท เจเอสแอลจำกัดได้ทำละครโทรทัศน์เรื่อง \"ราชินีลูกทุ่งพุ่มพวง ดวงจันทร์\" ออกอากาศทางช่อง 7 ดัดแปลงจากชีวิตจริง ของพุ่มพวง ดวงจันทร์นำแสดงโดย รชนีกร พันธุ์มณี วรวุฒิ นิยมทรัพย์ ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ โดยต้อม รัชนีกรได้รับการเข้าชื่อเพื่อชิงรางวัลโทรทัศน์ทองคำในฐานะดารานำฝ่ายหญิงดีเด่น", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "806580#7", "text": "กำนันบุญนำมีลูกสาว 2 คนคือ ปลายรุ่งกับสร้อยสาย ในอดีตชาติทั้งคู่คือหญิงเดือนกับหญิงดาวที่ตกหลุมรักคุณราช แต่ชาตินี้ปลายรุ่งกลายเป็นบ้าเพราะถูกผีแม่เพียรเล่นงานแต่ก็ยังมีท่าทีหลงรักนิราชอยู่เหมือนเดิม นิราชไปที่เรือนพิกุลเพื่อคุยกับเจ้าของบ้านเพราะต้องสร้างสะพานตรงจุดนั้น แต่พอไปถึงเขาก็ถูกผีพิกุลทำให้เขาติดอยู่ที่เรือนแห่งนั้นและต้องค้างคืนที่นั่น นิราชได้ยินเสียงมโหรีเล่นกันกลางดึกจึงออกมาดูเห็นผีพิกุลทะเลาะกับผีนายพ่วงผีแม่เพียร นิราชติดอยู่ในเรือนพิกุลไม่สามารถออกมาได้ นับวันยิ่งถูกมนต์สะกดของพิกุลจนเลอะเลือน เล่นดนตรีคู่กับพิกุลอย่างมีความสุขท่ามกลางความอาฆาตพยาบาทของเหล่าวิญญาณที่จะฆ่านิราชทุกครั้งที่พิกุลเผลอ", "title": "ปี่แก้วนางหงส์" }, { "docid": "94057#3", "text": "ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา (รวมตัวท่านด้วย) จำนวน 12 คน ดังนี้เมื่อท่านผู้หญิงพูนศุขอายุได้ 4 ปี บิดาของท่านได้ย้ายเข้ากรุงเทพฯ เพื่อมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกของประเทศ มีบ้านพักอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาที่คลองสาน ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่ \"บ้านป้อมเพชร์\" ถนนสีลม พออายุย่างเข้า 6 ปี ก็ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ จนจบชั้นมัยม 7 มีเพื่อนร่วมรุ่นอาทิ คุณหญิงแร่ม พรหมโมบล คุณหญิงละไม หงส์ยนต์ คุณเจริญ ชูพันธุ์ ม.ล. ต่อ กฤดากร", "title": "พูนศุข พนมยงค์" }, { "docid": "312457#6", "text": "สุปาณี พุกสมบุญ มีบุตรกับครูสริ ยงยุทธ 4 คน คือ เสกสรร ยงยุทธ เกิด2490,วิทยา ยงยุทธ เกิด2492,ศุภสิทธิ์ ยงยุทธ เกิด2495 และนุศรา จันทร์สุวรรณ เกิด2500 ซึ่งทั้ง 4 คน ล้วนแล้วแต่เป็นนักดนตรีทั้งสิ้น โดยเสกสรรถนัดการเล่นเปียโนตามรอยบิดา ส่วนวิทยา และศุภสิทธิ์ถนัดการเล่นกีตาร์ และนุศราถนัดการเล่นออร์แกนไฟฟ้า โดยปัจจุบันสุปาณีพักอยู่ทีบ้านย่านถนนจักรพรรดิพงษ์ ใกล้วัดแคนางเลิ้ง แต่บางครั้งก็ไปพักที่บ้านบุตรสาวคนเล็กที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีบ้างเป็นบางครั้ง", "title": "สุปาณี พุกสมบุญ" } ]
3941
ประเทศมาเลเซียประกอบไปด้วยกี่จังหวัด ?
[ { "docid": "1924#0", "text": "มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก", "title": "ประเทศมาเลเซีย" } ]
[ { "docid": "24826#3", "text": "กิจการรถไฟของไทยนั้น ได้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2429 ตรงกับรัตนโกสินทร์ศกที่ 105 ไทยได้ให้สัมปทานแก่บริษัทชาวเดนมาร์กสร้างทางรถไฟสายแรกจาก กรุงเทพมหานคร ถึงสมุทรปราการ เป็นระยะทาง 21 กิโลเมตร ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าให้ตั้งกรมรถไฟหลวงขึ้น โดยสังกัดกระทรวงโยธาธิการ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระองค์เสด็จประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่าง กรุงเทพมหานครถึงอยุธยา เป็นระยะทาง 71 กิโลเมตร ซึ่งทางการได้ถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนากิจการรถไฟหลวง ปัจจุบันทางรถไฟที่สำคัญของประเทศไทยมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้นรวมสี่สาย คือ สายเหนือ ถึงจังหวัดเชียงใหม่และสุโขทัย สายใต้ ถึงประเทศมาเลเซีย สายตะวันออก ถึงจังหวัดสระแก้ว และสายตะวันออกเฉียงเหนือ รวมเป็นระยะทาง 3,855 กิโลเมตร", "title": "รถไฟ" }, { "docid": "514309#5", "text": "สอบสวนนายเตียว เก๊ก หลิง ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่า ร่วมกับนายโก ชิน เฮง เพื่อนร่วมแก๊งชาวมาเลเซียที่หลบหนีไปได้ นำอุปกรณ์เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า \"แจมมิ่ง\" ซึ่งพัฒนาจาก \"สกิมมิ่ง\" (ดู \"การลอกข้อมูลบัตร\") เดินทางจากประเทศมาเลเซียมาเช่ารถยนต์ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตระเวนไปก่อเหตุที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ตลอดจนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเพชรบุรี กระทำโดยใช้เครื่องลอกข้อมูลซึ่งมีความสามารถลอกข้อมูลจากบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปเก็บไว้จัดทำเป็นบัตรปลอมออกใช้ต่อไป เสร็จแล้วจะตรวจสอบว่าเหยื่อมีเงินในบัญชีเท่าไร รายใดมีมากก็โอนเงินเข้าบัญชีที่จังหวัดสงขลา แล้วโอนต่อไปไว้ในบัญชีเพื่อนร่วมแก๊งที่ประเทศมาเลเซีย จึงค่อยกลับไปแบ่งเงินกัน ทำมาแล้วหลายครั้ง ได้เงินไปไม่ต่ำกว่าสี่สิบล้านบาท หลังก่อเหตุพาเพื่อนร่วมแก๊งกลับไปส่งที่มาเลเซียก่อนย้อนกลับมาส่งคืนรถเช่ากระทั่งถูกตำรวจรวบตัว", "title": "การฉ้อโกงบัตรเครดิต" }, { "docid": "63662#2", "text": "นับเป็นปลาที่หายากอีกชนิดหนึ่ง ในประเทศไทยพบอาศัยเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น คือ แม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำโขง พบน้อยที่แม่น้ำเจ้าพระยาและสาขา และแม่น้ำตาปี ในต่างประเทศพบที่พม่า, มาเลเซีย และบนเกาะบอร์เนียว โดยอาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็ก ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ", "title": "ปลาสะตือ" }, { "docid": "77183#16", "text": "การดำเนินกิจกรรมของสมาคมชาวพุทธเชื้อสายไทยในตอนเหนือประเทศมาเลเซียนั้นไม่เพียงดำเนินการทางด้านวัฒนธรรมอย่างเดียวแต่พยายามรวมกลุ่มเพื่อมีอำนาจางการเมืองด้วยเช่นกัน เช่นข้อเรียกร้องที่เป็นประเด็นสำคัญๆ และนำเสนอผ่านสมาคมไทยกลันตัน และสมาคมสยามมาเลเซียมายังรัฐบาลก็คือ การขอมีสิทธิเป็นบูมีปูเตอรา การขอมีพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุด (การขอมีพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดให้เป็นที่สักการะของชาวพุทธจากทั่วโลก ก็ถือเป็นประเด็นสำคัญ ปัจจุบันนี้ ประเทศมามาเลเซียมีพระพุทธรูปทรงนั่งที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากพระพุทธรูปทรงนั่งของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งพระพุทธรูปทรงนั่งในประเทศมาเลเซียจะประดิษฐานอยู่ที่วัดมัชฌิมาราม หมู่บ้านตือรือโบะ (Tereboh) อำเภอตุมปัต (Tumpat) รัฐกลันตัน (Kelantan) ผู้ที่เดินทางเข้าประเทศมาเลเซียจากฝั่งอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ก็จะพบเห็น พระพุทธรูปดังกล่าวทางด้านซ้ายมือห่างจากเปิงกาลันกุโบร์ (Pengkalan Kubor) ริมฝั่งแม่น้ำตรงกันข้ามอำเภอตากใบประมาณ 5 - 8 กิโลเมตร) ให้เป็นที่สักการบูชาของชาวพุทธจากทั่วโลก การขอแก้ไขให้มีการระบุชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยในแบบฟอร์มการขอเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐ การขอประกาศวัฒนธรรมไทยเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแห่งชาติ การขอประกาศวันสงกรานต์เป็นวันหยุดราชการ การขอมีสิทธิในกองทุนช่วยเหลือด้านการศึกษาและด้านการประกอบทางธุรกิจ ตลอดจนการขอมีสิทธิเป็นสมาชิกของพรรคอัมโน (UMNO)", "title": "มาเลเซียเชื้อสายไทย" }, { "docid": "50375#0", "text": "เทือกเขาสันกาลาคีรี หรือภาษามลายูเรียกว่า บันจารันตีตีวังซา () หรือ บันจารันเบอซาร์ () เป็นเทือกเขาที่กั้นพรมแดนประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียเกือบตลอดทั้งแนว ทอดตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มต้นจากเขตแดนจังหวัดสตูลกับมาเลเซีย ทอดตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างจังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส กับมาเลเซีย เทือกเขานี้ยังมีแนวเข้าไปในประเทศมาเลเซียด้วย ยอดเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาสันกาลาคีรี คือ กูนุงโกร์บู (Gunung Korbu) อยู่ในเขตรัฐเประก์ของมาเลเซีย", "title": "เทือกเขาสันกาลาคีรี" }, { "docid": "1924#19", "text": "มาเลเซียมีสถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย และเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย ได้แก่ ดาโต๊ะ นาซีระห์ บินตี ฮุสซัยน์ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และมีสถานกงสุลใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา และกงสุญใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา ได้แก่ นายไฟซัล แอต มุฮัมมัด ไฟซัล บิน ราซาลี ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555", "title": "ประเทศมาเลเซีย" }, { "docid": "52181#0", "text": "เปรัก หรือ เประก์ (, อักษรยาวี: ) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นประเทศมาเลเซีย มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองบนมาเลเซียตะวันตก ติดต่อกับรัฐเกอดะฮ์และจังหวัดยะลาของประเทศไทยทางทิศเหนือ รัฐปีนังทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ รัฐกลันตันและรัฐปะหังทางทิศตะวันออก รัฐเซอลาโงร์ทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันตกจรดช่องแคบมะละกา", "title": "รัฐเปรัก" }, { "docid": "119199#1", "text": "ก่อตั้งขึ้นโดย ดร.ปิยะ ภิรมย์ภักดี เพื่อให้บริการการเดินทางแก่ผู้บริหาร ซึ่งต้องการความคล่องตัว สะดวกสบาย และเป็นส่วนตัวในการบินสู่สาขาต่าง ๆ ของบริษัท บุญรอด ทั้งใน และนอกประเทศ เมื่อความสะดวกที่ไร้ขีดจำกัดได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น พีบีแอร์จึงได้ดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศต่อกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้สัมผัสกับบริการเช่าเหมาลำ และส่งเสริมธุรกิจการบินในประเทศไทยให้มีทางเลือกในการเดินทางแก่ประชาชนมากขึ้น เมื่ออากาศยานใหม่เริ่มเข้าประจำฝูงบิน ความคิดที่จะมีส่วนร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยวในประเทศไทยจึงบังเกิดขึ้น ส่งผลให้พีบีแอร์เริ่มเปิดเส้นทางบินสู่ชุมพรในลักษณะกึ่งประจำ และใส่ใจความร่วมมืออย่างเต็มที่กับทุกกิจกรรม การบินจนได้รับความไว้วางใจให้เป็นสายการบินที่รัฐกำหนด (Designated) ให้ทำการบินในเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจตอนใต้ ร่วมกับประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย (IMT-GT) ต่อมาได้รับอนุมัติเพิ่มเติมสิทธิการประกอบธุรกิจการบินจากกระทรวงคมนาคมให้เป็นแบบประจำมีกำหนด เพื่อสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานที่ได้เปิดเส้นทางบินสู่จังหวัดชุมพร จังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมทั้งการเปิดตลาดกระบี่–ภูเก็ต, กระบี่–สิงคโปร์ และเชื่อมเส้นทางขอนแก่น–เชียงใหม่ ในเบื้องต้นตามที่ได้รับมอบ เพื่อยืนยันความประสงค์ที่จะเสนอบริการการบินที่แตกต่าง แต่เน้นความสะดวกและปลอดภัยสูงสุด", "title": "พีบีแอร์" }, { "docid": "61026#1", "text": "ชินเข้าวงการด้วยการออกอัลบั้มเพลงกับกลุ่มบอยแบนด์ บิ๊กทรี (Big 3) และต่อมาได้มีอัลบั้ม \"G-JR 10 Club\" ซึ่งออกร่วมกับเพื่อนในโครงการ จี-จูเนียร์ 10 ศิลปิน และได้มีอัลบั้มเดี่ยวคืออัลบั้ม \"CHIN UP\" วางแผงเมื่อ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 มีซิงเกิลเปิดตัวอัลบั้มคือเพลง \"ปากไม่ตรงกับใจ\" และต่อมาอัลบั้มที่ 2 \"Maybe I am Bad\" วางแผงเมื่อ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551 มีซิงเกิลเปิดตัวอัลบั้มคือเพลง \"หัวใจไม่ใช่กระดาษ\" จากนั้นชินได้มีโอกาส ร่วมเป็นนักแสดงนำในซีรีส์เรื่อง \"Love18 (รักวุ่นวายหัวใจ18)\" ซึ่งเป็นซีรีส์ที่ถ่ายทำที่ไต้หวันทั้งเรื่องและเป็นซีรีส์วัยรุ่นที่เรตติ้งสูงที่สุดในมาเลเซีย มีอัลบั้มเพลงประกอบ Series LOVE-18 วางแผงเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2552 ต่อมาผลงานเพลงอัลบั้มที่ 3 ของเขา ชื่อ I Believe วางแผงเมื่อ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554 มีเพลงเด่นอย่าง คืนนี้อยากได้กี่ครั้ง ต่อมา พ.ศ. 2556 ชินมีผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง ทองสุก 13 เพลง เธอจะอยู่ในใจของฉันเสมอ Feat.น้ำชา ชีรณัฐ และเพลง อย่าบอกฉันว่าให้ไป ประกอบละคร สุภาพบุรุษจุฑาเทพ ตอน คุณชายรณพีร์ ต่อมาปี พ.ศ. 2557 ชินมีผลงานเพลงประกอบละคร หนีก็ล่า ซ่าก็รัก เพลง หนีก็รัก feat. วริฏฐิสา ลิ้มธรรมมหิศร ", "title": "ชินวุฒ อินทรคูสิน" }, { "docid": "492947#3", "text": "นกพรานผึ้ง เป็นนกที่มีพฤติกรรมอยู่ลำพังเพียงตัวเดียว นานครั้งจึงเห็นอยู่เป็นคู่ เป็นนกที่บินได้เก่งและเร็ว และเป็นนกประจำถิ่น จะอยู่ในถิ่นใดถิ่นหนึ่งไปตลอด ต่อเมื่อนกตัวเก่าตายไป นกตัวใหม่ถึงเข้ามาอยู่แทน ในประเทศไทยมีรายงานพบเห็นเพียงไม่กี่ครั้ง ในป่าในเขตชายแดนภาคใต้ที่ติดกับมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีรายงานพบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก ในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง ทั้งในพื้นที่ราบและที่สูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร ", "title": "นกพรานผึ้ง" }, { "docid": "518972#2", "text": "ซูซูกิ สวิฟท์ รุ่นที่ 2 เริ่มการผลิตในปี พ.ศ. 2547 เป็นรุ่นแรกที่มีการผลิตรุ่นซีดาน 4 ประตู โดยบริษัท Maruti บริษัทร่วมทุนในอินเดีย แต่ยังไม่มีจำหน่ายรุ่นซีดานในประเทศไทย รุ่นนี้มีการประกอบในประเทศจีน ,ฮังการี ,อินเดีย ,อินโดนีเซีย ,ญี่ปุ่น ,มาเลเซียและปากีสถาน มีเกียร์ธรรมดา 5 สปีดและเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด เปิดตัวครั้งแรกในปี2004ที่paris motorshow โดยตอนแรกมีเครื่องยนต์ 2ขนาดคือ 1 1300cc 92แรงม้า โดยเครื่องรุ่นนี้ไม่มีขายในไทย 2 1500cc 102แรงม้า รุ่นนี้คือรุ่นที่มีขายในไทย โดยตัวถังมี3ประตูและ5ประตูโดยในญี่ปุ่นมีเฉพาะรุ่น5ประตูส่วน3ประตูมีขายในเยอรมันคู่กับ5ประตู โดยตุลาคมปี2005ที่ญี่ปุ่นได้เปิดตัว swift sport เครื่อง1600cc 123แรงม้าแต่งสปอร์ต โดยในไทยก็ได้เริ่มเปิดตัวโดยรุ่นที่ขายในไทยเป็นรุ่นเครื่อง1500 ในระยะแรกนั้นนำเข้าจากญี่ปุ่นซึ่งเปิดราคามา1500000บาทขายในmotor expoปี2006 ซึ่งแพงมากมีคนมาซื้อไปไม่กี่ราย โดยเป็นรถที่ประกอบในอินโดนีเซียนำเข้ามาทั้งคันโดยมี2รุ่นคือ GA กับ GL โดยรุ่น GA ไม่มีแอร์ออโตไม่มี ABS ไม่มี airbag ไม่มีไฟเลี้ยวกระจกมองข้าง ส่วนรุ่น GL เป็นรุ่นทอป ส่วนมากก็มีคนซื้อแต่GLนั่นแหละ โดยในงานtokyo motor show ปี2009ก็ออกคอนเซบคาร์ suzuki swift plug in hybrid มาโชว์แต่ไม่ได้ขายจริงโดยใช้เครื่องยนต์เบนซินขนาดเล็ก ร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้า และแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน สามารถชาร์จไฟจากบ้านได้ และจะขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว จนกระทั่งแบตเตอรี่เริ่มอ่อน เครื่องยนต์จึงทำงานเพื่อชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ ไม่ได้ช่วยขับเคลื่อนรถแต่อย่างใด", "title": "ซูซูกิ สวิฟท์" }, { "docid": "413275#0", "text": "อุทกภัยในประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2549-2550 เป็นอุทกภัยต่อเนื่องที่ส่งผลกระทบต่อมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ถึง 13 มกราคม พ.ศ. 2550 อุทกภัยครั้งนี้เกิดขึ้นจากฝนที่ตกมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากพายุไต้ฝุ่นอูตอร์ ซึ่งพัดถล่มฟิลิปปินส์และเวียดนามไม่กี่วันก่อนหน้านั้น จนถึงสัปดาห์ที่สามของเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ยะโฮร์ได้รับผลจากอุทกภัยหนักกว่าสิงคโปร์ และบางส่วนของอินโดนีเซียถูกน้ำท่วมเนื่องจากพายุไต้ฝุ่นลูกเดียวกัน", "title": "อุทกภัยในประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2549–2550" }, { "docid": "52015#6", "text": "บริษัท ข่าวสด จำกัด (บมจ.มติชน ถือหุ้นร้อยละ 99.99) - ประกอบกิจการผลิตและจำหน่าย หนังสือพิมพ์รายวัน ข่าวสด (โดยจ้าง บมจ.มติชน เป็นผู้พิมพ์) ที่สามารถเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดหนังสือพิมพ์ จนมียอดจำหน่ายเป็นอันดับที่สามของประเทศ ในกลุ่มหนังสือพิมพ์รายวัน ด้วยระยะเวลาดำเนินงานเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น นอกจากนี้ บจก.ข่าวสด ยังผลิตและจำหน่ายหนังสือเป็นการเฉพาะกิจด้วย บริษัท งานดี จำกัด (บมจ.มติชน ถือหุ้นร้อยละ 99.5) - ประกอบกิจการจัดจำหน่ายหนังสือในเครือ บมจ.มติชน และของสำนักพิมพ์อื่น ๆ ไปสู่เอเย่นต์ต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด โดยวิธีการขนส่ง ทั้งทางบก และทางอากาศ บจก.งานดี มีเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายหนังสือพิมพ์ในเครือมติชน อยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศโดยใช้ระบบการจัดจำหน่ายประเภทขายฝาก แก่ผู้แทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตจากบริษัท แล้วจึงรับช่วงขายต่อแก่ร้านค้าต่อไป", "title": "มติชน" }, { "docid": "544830#0", "text": "มะค่าแต้ หรือ มะค่าหนาม มะค่าหลุม มะค่าลิง () เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Leguminosae ผลัดใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ดอกช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ฝักแบนหรือกลมแบน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม พบครั้งแรกที่จังหวัดราชบุรี โดย J.E. Teijsmann ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ประเทศไทย กระจายพันธุ์ในกัมพูชา ลาว มาเลเซีย ไทย และ เวียดนาม ", "title": "มะค่าแต้" }, { "docid": "78162#2", "text": "ในต่างประเทศเช่น ประเทศมาเลเซียเรียกประชากรกลุ่มนี้ว่า \"Semang\" ในปี 2002 มีการสำรวจประชากรอยู่ที่ 2,000-3,000 คน และปัจจุบันคาดว่าอยู่ที่ 4,500-5,000 คนซาไกที่อาศัยอยู่ที่อำเภอธารโต, จังหวัดยะลา ได้รับพระราชทานนามสกุลจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยใช้ชื่อสกุลว่า \"ศรีธารโต\" แต่ปัจจุบันซาไกธารโตส่วนใหญ่ได้อพยพไปอยู่ในมาเลเซีย ด้วยเหตุผลด้านที่ทำกินและวิถีชีวิตที่ดีกว่า ประกอบกับเหตุผลด้านความไม่สงบ ", "title": "ซาไก" }, { "docid": "16419#35", "text": "อำเภอเบตงเป็นอำเภอหนึ่งที่ประกอบไปด้วยกลุ่มคนจากหลากหลายเชื้อชาติ และศาสนา ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างมีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง การเดินทางสู่อำเภอเบตง ปัจจุบันมีเส้นทางคมนาคมทางรถยนต์เพียงอย่างเดียวโดยมีเส้นทางหลักจากจังหวัดยะลา คือ ทางหลวงหมายเลข 410 เป็นถนน 2 ช่องทางจราจร และมีไหล่ทาง มีระยะทางจากจังหวัดยะลาถึงอำเภอเบตงประมาณ 140 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางบนไหล่เขาที่คดเคี้ยว อย่างไรก็ตามการเดินทางสู่อำเภอเบตงยังสามารถใช้เส้นทางผ่านประเทศมาเลเซียได้ ซึ่งต้องมีหนังสือเดินทาง (Passport) หรือหนังสือผ่านแดน (Border Pass) ในการเดินทาง ดังนี้หมายเหตุ ด่านชายแดนเบตง ได้เปิดและปิดตามเวลาของประเทศไทย เวลา 05.00 - 22.00 น. ของทุกวัน", "title": "อำเภอเบตง" }, { "docid": "134996#0", "text": "อำเภอสะเดา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา เป็นอำเภอหนึ่งที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย และเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยมีด่านพรมแดนที่สำคัญถึง 2 ด่าน คือ พรมแดนไทย-มาเลเซีย (รัฐเกดะห์) (ด่านสะเดา) และพรมแดนไทย-มาเลเซีย (รัฐปะลิส) (ด่านปาดังเบซาร์) นอกจากนี้สะเดายังเปรียบเสมือนประตูสู่ประเทศไทยของชาวมาเลเซียและสิงคโปร์", "title": "อำเภอสะเดา" }, { "docid": "302808#14", "text": "ตามที่ชุมชนชาวจีนในประเทศต่าง ๆ ที่มีกลุ่มชาวจีนอยู่ จะมีการจัดพิธีพ้อต่อกันเป็นประจำ\nในสิงคโปร์และมาเลเซีย จะมีการจัดพิธีเดือนเจ็ดกันทุกปี มีพิธีคล้าย ๆ กับภูเก็ต แต่มีเกร็ดย่อยพิธีเยอะกว่า โดยแบ่งช่วงเป็นสองช่วงเหมือนกับภูเก็ต คือไหว้ที่ศาลเจ้า หรือ สถานที่จัดงาน เพื่อสักการะพระกวนอิมไต่สือ โดยจะมีผู้ประกอบพิธีจะเป็นเต๋า และมีการไหว้วิญญาณเร่ร่อน พอตกดึกจะจัดให้มีมหรสพต่าง ๆ ในอดีตจะเป็นงิ้ว หรือ หุ่นกระบอก แต่ปัจจุบันนิยมใช้วงดนตรี เสร็จแล้วจะเผ่ากระดาษเป็นอย่างสุดท้าย\nเนื่องจากที่ฮ่องกง โดยส่วนมากเป็นชาวจีนกวางตุ้ง จึงมีพิธีบางพิธี แตกต่างจาก ภูเก็ต มาเลเซีย สิงคโปร์ ซึ่งเป็นชาวจีนฮกเกี้ยน พิธีพ้อต่อ มีการไหว้วิณณาญเร่ร่อน โดยตอนเช้าประชาชนจะไปที่ศาลเจ้า หรือ วัดเต๋า ที่มีการประกอบพิธี และจะกลับมาไหว้วิญาญานเร่รอนกันเกือบทุกบ้าน ซึ่งชาวฮ่องกงให้ความสำคัญมาก แต่จะไหว้เป็นเครื่องกระดาษ มากกว่าอาหาร ทางด้านพิธีกรรม ตามหมู่บ้านต่าง ๆ จะจัดเด็กชายจำนวนหลายคน ถือโคมไฟและเคาะกระป๋องให้เกิดเสียง เดินไปทั่วหมู่บ้าน เพื่อเป็นการส่องแสงสว่างแก่วิญญาน จะต่างจากสิงคโปร์และมาเลเซีย คือ เวลากลางคืนที่ฮ่องกงไม่มีการจัดงานมหรสพผู้คนจะไม่ออกจากบ้าน\nจะมีงานเทศกาลคล้าย ๆ เทศกาลพ้อต่อ เช่นกัน นั้นก็คือ เทศกาลทิ้งกระจาด หรือใน สำเนียงแต้จิ๋ว เรียกว่า ซิโกวโผวโต่ว ซึ่งจัดในเดือนจัดเดือนเจ็ดจีน ของทุกปี หรือ เทศกาลสารทจีน มีการไหว้วิญญานเร่ร่อน และ การทิ้งกระจาด เพื่อเป็นการอุทิศกุศลให้แก่วิญญาน และเป็นการทำทานช่วยเหลือผู้ยากไร้ แต่ลักษณะของพิธี และ เทศกาล จะต่างกับที่ ภูเก็ต ประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย ฮ่องกง และไต้หวัน. ที่จัดเหมือนประเพณีที่อื่น", "title": "เทศกาลพ้อต่อ" }, { "docid": "277281#1", "text": "พรมแดนระหว่างประเทศนี้ได้ใช้ร่วมกันมาตั้งแต่ 1909 ระหว่างไทย (ซึ่งในตอนนั้นมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าสยาม) กับอังกฤษซึ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทในตอนเหนือของมาเลเซีย ซึ่งก็คือ เกอดะฮ์ (ไทรบุรี) กลันตัน ปะลิส และตรังกานูในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในสมัยก่อนทั้งสี่รัฐนี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของสยามมาก่อน และเป็นรัฐพรมแดนระหว่างประเทศของมาเลเซีย ซึ่งได้แก่ (เรียงจากตะวันตกไปตะวันออก) ปะลิส เกอดะฮ์ เประก์ และกลันตัน กับ 4 จังหวัดพรมแดนระหว่างประเทศของไทย (เรียงจากตะวันตกไปตะวันออก) คือ จังหวัดสตูล จังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส", "title": "ชายแดนมาเลเซีย-ไทย" }, { "docid": "51464#2", "text": "ในวันอีดจะมีการประกอบศาสนกิจ (จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดสตูล เป็นส่วนใหญ่ และจังหวัดอื่น ๆ ตามกันไป มีหลักการว่าพระราชพิธีตรุษอีด จะประกอบในประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย บรูไน ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ โอมาน และประเทศอื่น ๆ ที่มีประชากรมุสลิมจำนวนมาก โดยมีพระมหากษัตริย์ในประเทศนั้นเสด็จเป็นองค์ประธานด้วยพระองค์เอง สำหรับ อินโดนีเซีย ก็มีการเฉลิมฉลองเช่นเดียวกัน โดยทางรัฐบาลกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการต่อเนื่องกันนานหลายวัน เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่นายจ้างจะให้โบนัสแก่ลูกจ้างในเทศกาลนี้ และอนุญาตให้เดินทางกลับภูมิลำเนาได้", "title": "วันอีด" }, { "docid": "123116#9", "text": "ดังนั้น การปรับตัวของ SMES ไทยท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์เพื่อช่วงชิงโอกาสในการขยายการลงทุนในและต่างประเทศ เพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันด้วยการมีต้นทุนที่ต่ำ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐอย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีวัตถุประสงค์โครงการนี้ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจ และเชื่อมโยงอุตสาหกรรมให้กับผู้ประกอบการ SMEs โดยส่งเสริมผู้ซื้อพบผู้ขาย เพื่อสร้างพันธมิตร พัฒนาสินค้า เปิดตลาด ยกระดับ SMEs ผ่านกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจและจัดงานแสดงสินค้า มากมายทั้งในประเทศทั้งกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเวียดนาม", "title": "SMEs Project" }, { "docid": "222562#2", "text": "มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของกัมพูชา บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม, มาเลเซีย, ภาคตะวันตกของเกาะสุมาตราและบอร์เนียว สำหรับในประเทศไทยพบบริเวณภาคตะวันตกและภาคใต้ จากรายงานเมื่อปี พ.ศ. 2531 มีการพบนากจมูกขน 2 แห่ง คือ ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง และบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และในปี พ.ศ. 2542 มีผู้สามารถจับตัวได้อีกที่ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ในบริเวณใกล้กับชายแดนมาเลเซีย\nนากจมูกขนนับว่าเป็นนากชนิดที่ได้ชื่อว่าหายากที่สุดในโลก เพราะมีรายงานพบเห็นเพียงไม่กี่ครั้งและมีการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมน้อยมาก มักพบนากชนิดนี้ตามพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ปากแม่น้ำใกล้กับทะเลหรือชายฝั่ง มักอาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ", "title": "นากจมูกขน" }, { "docid": "7013#0", "text": "นราธิวาส เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นหนึ่งในจังหวัดชายแดนใต้สุดของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถยนต์ประมาณ 1,149 กิโลเมตร โดยมีเนื้อที่ประมาณ 4,475.43 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,797,143.75 ไร่ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดปัตตานีในเขตอำเภอสายบุรี อำเภอไม้แก่น และอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทยและรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดยะลาในเขตอำเภอบันนังสตา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขา 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีป่าพรุประมาณ 361,860 ไร่ ทางแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดทิวเขาสันกาลาคีรีซึ่งเป็นแนวกั้นพรมแดนไทย-มาเลเซีย ลักษณะพื้นที่จะมีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่บริเวณติดกับอ่าวไทยและที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำบางนรา แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำโก-ลก มีประชากรจำนวน 796,239 คน แยกเป็นชาย 393,837 คน หญิง 402,402 คน โดยจังหวัดนราธิวาสมีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการอุตสาหกรรมอยู่ที่อำเภอสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัดมาก", "title": "จังหวัดนราธิวาส" }, { "docid": "7013#14", "text": "ชาวจังหวัดนราธิวาสส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น การทำนา การเพาะปลูกพืชทางเศรษฐกิจ คือ ยางพารา ลองกอง เงาะ ทุเรียน เป็นต้น พืชที่สร้างชื่อเสียงของนราธิวาสคือ ลองกองบ้านซีโปตันหยงมัส มีรสชาดหวานนุ่มหอมอร่อยสามารถขายได้ราคาดี นอกจากการเกษตรแล้วบางส่วนก็ทำธุรกิจค้าขาย และทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน เป็นต้น", "title": "จังหวัดนราธิวาส" }, { "docid": "101104#3", "text": "\"ย้องแท้วฟู้\" หรือเต้าหู้ยัดไส้ที่ชาวไทยรู้จักในชื่อ “เต้าหู้แคะ” ซึ่งเป็นเครื่องประกอบอย่างหนึ่งของ “ก๋วยเตี๋ยวแคะ” ในประเทศไทยด้วยนั้น เป็นวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านโบราณของชาวแคะที่สืบทอดมาเป็นเวลายาวนานนับพันปีจนกลายเป็นอาหารพื้นเมืองเลื่องชื่อของประเทศจีนเอง ตลอดจนประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน ไทย และอื่นๆ ที่มีชนเชื้อชาติแคะอาศัยอยู่ ซึ่งเป็นชนเชื้อชาติจีนที่มีพลเมืองรวมกันมากที่สุดในโลก และประเทศมาเลเซียยังได้ขึ้นบัญชี \"ย้องแท้วฟู้\" เป็นหนึ่งใน 100 รายการมรดกวัฒนธรรมอาหารแห่งชาติมาเลเซียด้วย ", "title": "เย็นตาโฟ" }, { "docid": "662157#1", "text": "เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ที่อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา บิดาชื่อนายคล้อย ทวนยก มารดาชื่อ นางตั้ง ทวนยก ภรรยาชื่อ นางเจียม ทวนยก มีบุตรชาย ๓ คน \nนายควน ทวนยก จะออกงานแสดงร่วมอยู่กับคณะการละเล่นพื้นบ้านเป็นส่วนใหญ่ ทั้งหนังตะลุงและโนรา รวมทั้งการแสดงร่วมกับคณะนาฏศิลป์วิทยาลัยครูสงขลา เริ่มเป่าปี่เมื่ออายุ ๑๖ ปี (พ.ศ. ๒๔๙๘)\nปัจจุบัน เป็นนายปี่หนังตะลุงให้นายหนังหลายคณะทั้งในจังหวัดสงขลา พัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช และภายหลังตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๓ เริ่มเป่าปี่มวยอีกประมาณ ๔๐ ครั้ง สำหรับภาคอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังแสดงในต่างประเทศอีกด้วย ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี สวิทสเซอร์แลนด์ ฯลฯ นอกจากนี้ นายควน ทวนยก ยังได้สร้างสรรค์ภูมิปัญญาทางด้านดนตรีพื้นบ้านโดยเฉพาะทางด้านปี่หนังตะลุงและปี่โนราที่มีลักษณะโดดเด่นกว่างานสร้างสรรค์อื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน ได้แก่ เพลงประกอบระบำ ๕๐ เพลง การคิดแต่งทำนองการขึ้นปี่ เป็นต้น", "title": "ควน ทวนยก" }, { "docid": "440518#3", "text": "หลังเหตุระเบิดทั้งสองจุด ได้เกิดเหตุระเบิดที่ชั้นใต้ดินของโรงแรมลีการ์เด้นพลาซ่า ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แรงระเบิดสร้างความเสียหายต่ออาคาร มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และได้รับบาดเจ็บ 416 คน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการได้รับการสูดกลิ่นควัน ซึ่งมีการรายงานในเบื้องต้นว่ามาจากการรั่วไหลของแก๊ส แต่ภายหลังได้นำมาประกอบเข้ากับรถยนต์ การระเบิดนี้ได้รับการพิจารณาจากบางแหล่งข้อมูลว่า ผู้ก่อเหตุต้องการเพิ่มการจลาจล เนื่องด้วยเป้าหมายคือโรงแรมที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียและสิงคโปร์", "title": "เหตุระเบิดที่ภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2555" }, { "docid": "909722#3", "text": "การค้ามนุษย์ในประเทศไทยไม่จำกัดเฉพาะคนไทยเท่านั้น สตรีจำนวนมากและเด็ก ๆ จากประเทศอื่นถูกค้ามนุษย์เข้ามาในประเทศไทยเพื่อทำงานในอุตสาหกรรมทางเพศของไทย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีสตรีชาวพม่า กัมพูชาและลาวจำนวนมากที่ตกเป็นเหยื่อถูกค้ามนุษย์ในซ่องในจังหวัดชายแดนภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ และเชียงราย ภาคกลาง และภาคตะวันออก เช่น จังหวัดตราด, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, ชลบุรีและชุมพร และจังหวัดสงขลา นราธิวาสและปัตตานี ใกล้ชายแดนมาเลเซียตอนใต้ ผู้หญิงและเด็กกว่า 80,000 รายถูกขายให้กับอุตสาหกรรมบริการทางเพศของไทยตั้งแต่ปี 2533 ผู้ขายบริการทางเพศหญิงส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นชาวต่างชาติและกว่า 60% ของสตรีที่เดินทางเข้าประเทศเพื่อทำงานในอุตสาหกรรมทางเพศมีอายุต่ำกว่า 18 ปี มีโสเภณีเด็กจำนวนกว่า 75,000 คนในประเทศไทย ", "title": "การค้าหญิงและเด็กในประเทศไทย" }, { "docid": "763470#0", "text": "รัฐและดินแดนสหพันธ์ของประเทศมาเลเซีย เป็นการแบ่งเขตการปกครองของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศสหพันธ์รัฐ ประกอบไปด้วยรัฐ (\"Negeri\") 13 แห่ง และดินแดนสหพันธ์ (\"Wilayah Persekutuan\") 3 แห่ง", "title": "รัฐและดินแดนสหพันธ์ของประเทศมาเลเซีย" }, { "docid": "1924#20", "text": "ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียแบ่งออกเป็น 2 ด้านหลัก ได้แก่ (1) การดำเนินความร่วมมือภายใต้กลไกต่าง ๆ ที่มีอยู่ อาทิ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับมาเลเซีย (Joint Commission: JC) คณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดน (Joint Development Strategy: JDS) คณะกรรมการด้านความมั่นคง ได้แก่ คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) คณะกรรมการระดับสูง (High Level Committee: HLC) และคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee: RBC) ซึ่งทั้ง 3 ระดับเป็นกรอบความร่วมมือของฝ่ายทหารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคง และความร่วมมือชายแดน คณะกรรมการด้านความมั่นคงกรอบอื่น ๆ เฉพาะเรื่อง อาทิ คณะกรรมการร่วมด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และความร่วมมือในกรอบ Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle (IMT-GT) และอาเซียน และ (2) ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนร่วมกัน การร่วมกันพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศและการเสริมสร้างมาตรการสร้างความไว้วางใจ (Confidence Building Measures) บนพื้นฐานของกรอบ 3Es ได้แก่ การศึกษา (Education) การจ้างงาน (Employment) และการประกอบกิจการ (Entrepreneurship)", "title": "ประเทศมาเลเซีย" } ]
3122
ยืมใช้คงรูปเป็นหนึ่งในสองประเภทของสัญญายืม คู่กับ อะไร?
[ { "docid": "296424#1", "text": "ยืมใช้คงรูปเป็นหนึ่งในสองประเภทของสัญญายืม คู่กับ \"ยืมใช้สิ้นเปลือง\" ()", "title": "ยืมใช้คงรูป" }, { "docid": "296826#2", "text": "ยืมใช้สิ้นเปลืองเป็นหนึ่งในสองประเภทของสัญญายืม คู่กับ \"ยืมใช้คงรูป\" ()", "title": "ยืมใช้สิ้นเปลือง" } ]
[ { "docid": "296424#3", "text": "\"ยืมใช้คงรูป\" เป็นสัญญายืมประหนึ่งซึ่งกฎหมายส่วนใหญ่วางนิยามไว้ สำหรับประเทศไทย ป.พ.พ. ม.640 ให้นิยามว่า คือ \"\"...สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว\"\" ด้วยบทบัญญัตินี้ คู่สัญญายืมจึงมีสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเรียก \"ผู้ให้ยืม\" () อีกฝ่ายเรียก \"ผู้ยืม\" () โดยทั้งสองฝ่ายจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ซึ่งหากเป็นนิติบุคคลก็ทำการผ่านผู้แทนของตนหรือตัวแทนผู้รับมอบอำนาจ", "title": "ยืมใช้คงรูป" }, { "docid": "296424#4", "text": "ด้วยบทบัญญัติ ป.พ.พ. ม.640 วัตถุประสงค์ของสัญญายืมใช้คงรูป คือ การที่ผู้ให้ยืมให้ผู้ยืมยืมทรัพย์สินของตนโดยปลอดค่าตอบแทน สัญญานี้ไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการตอบแทนกัน เช่น ชำระราคาทรัพย์สินที่ยืมกัน และไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืมแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ ผู้ยืมจึงไม่ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ตนยืม และผู้ให้ยืมจะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่นำออกให้ยืมหรือไม่ก็ได้ มีแต่สิทธิครอบครองทรัพย์สินนั้นเป็นพอ ซึ่งในกรณีหลังนี้ เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงย่อมติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนที่ถูกนำไปให้ผู้อื่นยืมได้ และผู้มีสิทธิครอบครองก็สามารถติดตามเอคืนซึ่งทรัพย์สินที่ตนครอบครองได้ดุจกัน เพียงแต่กรรมสิทธิ์มีอำนาจเหนือกว่า", "title": "ยืมใช้คงรูป" }, { "docid": "296424#9", "text": "\"\"...ทรัพย์สินที่เป็นวัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปนี้ จะเป็นสังหาริมทรัพย์ เช่น สร้อยคอ ปากกา นาฬิกา หรือจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน ก็ได้เช่นกัน และการส่งมอบอสังหาริมทรัพย์สามารถทำได้โดยการทำให้ผู้ยืมได้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ เช่น การส่งมอบกุญแจบ้านหรือกุญแจประตูรั้วที่ล้อมรอบที่ดินที่ยืม [เป็นต้น]...[อนึ่ง] ปัจจุบันนี้มีพระราชบัญญัติ...กำหนดถึงการให้ใช้ลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้าไว้เป็นการเฉพาะแล้ว\"\"สัญญายืมใช้คงรูปเมื่อบริบูรณ์แล้ว ไม่ก่อหน้าที่แก่ผู้ให้ยืมให้ต้องรับผิดเพราะความชำรุดบกพร่องใด ๆ ที่เกิดต่อทรัพย์สินอันให้ยืม เว้นแต่เขารู้ดีอยู่แล้วว่ามีความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินแล้วให้ยืมไปโดยไม่บอกกล่าวผู้ยืม อันเป็นผลให้ผู้ยืมไม่อาจใช้สอยทรัพย์สินนั้นได้ด้วยดี ผู้ให้ยืมอาจต้องรับผิดตามหลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วยสัญญา เว้นแต่คู่สัญญาตกลงกันให้ผู้ให้ยืมรับผิดในกรณีเช่นว่า", "title": "ยืมใช้คงรูป" }, { "docid": "296424#7", "text": "วัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปนั้น กฎหมายมิได้กำหนดประเภทไว้ ดังนั้น จะเป็นทรัพย์สินประเภทใดก็ได้ ทั้ง อสังหาริมทรัพย์ เช่น ตึกรามบ้านช่อง อาคารบ้านเรือน ที่ดิน และสังหาริมทรัพย์ เช่น ช้อนส้อมจานชาม ลิขสิทธิ์ สิทธิทางการค้าต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งต้องเป็นทรัพย์สินอันใช้แล้วไม่เสียภาวะ เสื่อมสลาย หรือสิ้นเปลืองหมดไปในทันใดหรือในที่สุด เพราะทรัพย์สินดังว่านี้เป็นวัตถุแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง", "title": "ยืมใช้คงรูป" }, { "docid": "296424#28", "text": "อนึ่ง นอกเหนือจากมูลเหตุข้างต้นแล้ว ป.พ.พ. ม.648 ยังว่า \"\"อันการยืมใช้คงรูป ย่อมระงับสิ้นไปด้วยมรณะแห่งผู้ยืม\"\" แต่สัญญายืมใช้คงรูปจะไม่ระงับเพราะผู้ให้ยืมตาย เนื่องจากสัญญาประเภทนี้พิจารณาคุณสมบัติของผู้ยืมเป็นสำคัญ ดังนั้น แม้ผู้ยืมตาย ทายาทของเขาจะเรียกเอาทรัพย์สินคืนโดยอ้างว่าสัญญายืมระงับแล้วหาได้ไม่ แต่หากผู้ให้ยืมตาย สัญญาระงับ และทายาทของผู้ยืมมีหน้าที่คืนทรัพย์สินกลับสู่ผู้ให้ยืม ด้วยว่าทรัพย์สินนี้ไม่เป็นมรดกตกทอด เพราะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังอยู่ที่ผู้ให้ยืม จะโอนไปยังผู้ยืมก็หาไม่", "title": "ยืมใช้คงรูป" }, { "docid": "296424#10", "text": "แม้สัญญายืมใช้คงรูปไม่ก่อหน้าที่และความรับผิดใด ๆ แก่ผู้ให้ยืม ทว่า ผู้ยืมย่อมมีหน้าที่และความรับผิดในสัญญานี้อย่างแน่นอนเพราะเหตุที่กฎหมายกำหนด ซึ่งตามกฎหมายไทยโดย ป.พ.พ. ม.642-647 ผู้ยืมมีหน้าที่ต้องออกค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญา ค่าส่งมอบและค่าส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม ค่าบำรุงทรัพย์สินดังกล่าว ตลอดจนหน้าที่เกี่ยวแก่การใช้สอยทรัพย์สินที่ยืม กับทั้งหน้าที่สงวนรักษาและคืนทรัพย์สินนั้น ทั้งนี้ เพราะผู้ยืมได้ประโยชน์จากสัญญานี้ถ่ายเดียวโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน ก็ควรรับภาระออกค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปด้วย เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงกันเป็นอื่น", "title": "ยืมใช้คงรูป" }, { "docid": "296422#14", "text": "ในประเด็นนี้ จิ๊ด เศรษฐบุตร ศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่า แบบของสัญญามีหลายประเภทซึ่งรวมถึงการส่งมอบด้วย ดังนั้น \"\"...การส่งมอบเป็นแบบของสัญญายืมใช้คงรูปและสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง กล่าวคือ ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์ คือ ยื่นทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาให้แก่กัน ตราบนั้นสัญญายืมก็ไม่เกิดขึ้น ไม่บริบูรณ์ ไม่สมบูรณ์ หรือเป็นโมฆะนั่นเอง\"\" ขณะที่ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย และพิพากษาเสมอมาว่าการส่งมอบทรัพย์สินเป็นแบบของสัญญายืม หากไม่มีแล้วสัญญาย่อมเป็นโมฆะ", "title": "ยืม (กฎหมาย)" }, { "docid": "296424#21", "text": "เมื่อสัญญายืมใช้คงรูปเกิดขึ้น กฎหมายไทยโดย ป.พ.พ. ม.644 กำหนดให้ผู้ยืมมีหน้าที่ \"\"สงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง\"\" (\"take as much care of the property lent as a person of ordinary prudence would take of his own property\") ทั้งนี้ เนื่องจากเมื่อให้ยืมทรัพย์สินไปแล้ว ผู้ให้ยืมย่อมคาดหวังว่าผู้ยืมจะดูแลรักษาทรัพย์สินอย่างดี เพาะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นยังอยู่ที่ผู้ให้ยืม ถ้าทรัพย์สินเสียหายลงจะเป็น \"คราวซวย\" ของผู้ให้ยืมเอง", "title": "ยืมใช้คงรูป" } ]
1665
สสารในชีวิตประจำวันจะประกอบด้วยอะตอม ใช่หรือไม่?
[ { "docid": "39131#2", "text": "สสารในชีวิตประจำวันจะประกอบด้วยอะตอม ที่ครั้งหนึ่งเคยถูกสันนิษฐานว่ามันเป็นอนุภาคมูลฐานของสสาร คำว่า \"อะตอม\" แปลว่า \"แบ่งไม่ได้\" ในภาษากรีก แม้ว่าการมีอยู่ของอะตอมยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจนถึงประมาณปี 1910 อย่างที่นักฟิสิกส์ชั้นนำบางคนถือว่าโมเลกุลเป็นภาพลวงตาทางคณิตศาสตร์ และถือว่าสสารอย่างสุดขั้วที่สุดจะประกอบด้วยพลังงาน ในไม่ช้า มีการค้นพบว่าอะตอมประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย เมื่อเริ่มทศวรรษที่ 1930 อิเล็กตรอนและโปรตอนได้ถูกค้นพบ พร้อมกับโฟตอนซึ่งเป็นอนุภาคของรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ในช่วงเวลานั้น การค้นพบล่าสุดของกลศาสตร์ควอนตัมได้มีก​​ารเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของแนวคิดของอนุภาค อย่างเช่นอนุภาคเดี่ยวดูเหมือนจะสามารถขยายสนามได้อย่างที่คลื่นสามารถทำได้ (ทวิภาคของอนุภาคกับคลื่น ()) ข้อความที่ขัดแย้งยังคงหลีกเลี่ยงคำอธิบายที่น่าพอใจ", "title": "อนุภาคมูลฐาน" }, { "docid": "329936#3", "text": "สสารทั้งหลายประกอบด้วย อะตอมรวมตัวกันเป็นโมเลกุล การเคลื่อนที่ของอะตอม หรือการสั่นของโมเลกุล ทำให้เกิดรูปแบบของพลังงานจลน์ ซึ่งเรียกว่า “ความร้อน” (Heat) เราพิจารณาพลังงานความร้อน (Heat energy) จากพลังงานทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของอะตอมหรือโมเลกุลทั้งหมดของสสาร", "title": "อุณหภูมิ" }, { "docid": "119854#5", "text": "สสารทั้งหลายประกอบด้วย อะตอมรวมตัวกันเป็นโมเลกุล การเคลื่อนที่ของอะตอม หรือการสั่นของโมเลกุล ทำให้เกิดรูปแบบของพลังงานจลน์ ซึ่งเรียกว่า “ความร้อน” (Heat) เราพิจารณาพลังงานความร้อน (Heat energy) จากพลังงานทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของอะตอมหรือโมเลกุลทั้งหมดของสสาร", "title": "ศูนย์สัมบูรณ์" }, { "docid": "395354#0", "text": "ในวิชาเคมีและฟิสิกส์ ทฤษฎีอะตอมคือทฤษฎีที่ว่าด้วยธรรมชาติของสสาร ซึ่งกล่าวว่า สสารทุกชนิดประกอบด้วยหน่วยเล็กๆ ที่เรียกว่า อะตอม ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวคิดดั้งเดิมที่แบ่งสสารออกเป็นหน่วยเล็กหลายชนิดตามแต่อำเภอใจ แนวคิดนี้เริ่มต้นเป็นแนวคิดเชิงปรัชญาของชาวกรีกโบราณ (ดีโมครีตุส) และชาวอินเดีย ต่อมาได้เข้ามาสู่วิทยาศาสตร์กระแสหลักในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีการค้นพบในสาขาวิชาเคมีซึ่งพิสูจน์ว่า พฤติกรรมของสสารนั้นดูเหมือนมันประกอบขึ้นด้วยอนุภาคขนาดเล็ก", "title": "ทฤษฎีอะตอม" }, { "docid": "6621#0", "text": "อะตอม (; ) คือหน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยส่วนของนิวเคลียสที่หนาแน่นมากอยู่ตรงศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนที่มีประจุลบ นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยโปรตอนที่มีประจุบวกกับนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า (ยกเว้นในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งเป็นนิวไคลด์ชนิดเดียวที่เสถียรโดยไม่มีนิวตรอนเลย) อิเล็กตรอนของอะตอมถูกดึงดูดอยู่กับนิวเคลียสด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ในทำนองเดียวกัน กลุ่มของอะตอมสามารถดึงดูดกันและกันก่อตัวเป็นโมเลกุลได้ อะตอมที่มีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากันจะมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า มิฉะนั้นแล้วมันอาจมีประจุเป็นบวก (เพราะขาดอิเล็กตรอน) หรือลบ (เพราะมีอิเล็กตรอนเกิน) ซึ่งเรียกว่า ไอออน เราจัดประเภทของอะตอมด้วยจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียส จำนวนโปรตอนเป็นตัวบ่งบอกชนิดของธาตุเคมี และจำนวนนิวตรอนบ่งบอกชนิดไอโซโทปของธาตุนั้น", "title": "อะตอม" } ]
[ { "docid": "196280#1", "text": "มวลสารระหว่างดาวประกอบด้วยองค์ประกอบอันเจือจางอย่างมากของไอออน อะตอม โมเลกุล ฝุ่นขนาดใหญ่ รังสีคอสมิก และสนามแม่เหล็กของดาราจักร โดยที่ 99% ของมวลของสสารเป็นแก๊ส และอีก 1% เป็นฝุ่น มีความหนาแน่นเฉลี่ยในดาราจักรทางช้างเผือก ระหว่างไม่กี่พันจนถึงหลักร้อยล้านหน่วยอนุภาคต่อลูกบาศก์เมตร ประมาณ 90% ของแก๊สเป็นไฮโดรเจน ส่วนอีกประมาณ 10% เป็นฮีเลียม เมื่อพิจารณาตามจำนวนของนิวเคลียส โดยมีสสารมวลหนักผสมอยู่บ้างเล็กน้อย", "title": "มวลสารระหว่างดาว" }, { "docid": "291546#4", "text": "สสารแบริออน คือสสารที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแบริออน (โดยมวล) ซึ่งรวมถึงอะตอมทุกชนิด (นั่นหมายรวมถึงสสารเกือบทั้งหมดที่เราเคยพบหรือเคยรู้จักในชีวิตประจำวัน รวมถึงร่างกายของเราด้วย) ส่วนสสารแบบนอน-แบริออน ก็คือสสารใด ๆ ที่ไม่ได้มีองค์ประกอบพื้นฐานเป็นแบริออน ซึ่งอาจรวมถึงสสารธรรมดาเช่น นิวตริโน หรืออิเล็กตรอนอิสระ และอาจนับรวมถึงสสารมืดแบบนอน-แบริออนที่แปลกประหลาดบางชนิด เช่น อนุภาค supersymmetric, แอ็กเซียน (axion) หรือ หลุมดำ การแยกแยะระหว่างสสารแบริออนกับสสารนอน-แบริออนมีความสำคัญมากในการศึกษาจักรวาลวิทยา เพราะแบบจำลองบิกแบงนิวคลีโอซินทีสิสได้วางเงื่อนไขอันแน่นหนาเอาไว้เกี่ยวกับปริมาณสสารแบริออนที่ปรากฏขึ้นในเอกภพยุคแรก ๆ", "title": "แบริออน" }, { "docid": "19816#2", "text": "แรงแม่เหล็กไฟฟ้ามีบทบาทสำคัญในการกำหนดคุณสมบัติภายในของวัตถุส่วนใหญ่ที่พบในชีวิตประจำวัน สสารทั่วไปจะได้รูปแบบของมันจากผลของแรงระหว่างโมเลกุลของโมเลกุลแต่ละตัวในสสาร อิเล็กตรอนจะถูกยึดเหนี่ยวตามกลไกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ากับวงโคจรรอบนิวเคลียสเพื่อก่อตัวขึ้นเป็นอะตอมซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของโมเลกุล กระบวนการนี้จะควบคุมกระบวนการที่เกี่ยวข้องทั้งหลายในทางเคมีซึ่งเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอิเล็กตรอนในวงโคจรของอะตอมหนึ่งกับอิเล็กตรอนอื่นในวงโคจรของอะตอมที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งจะถูกกำหนดโดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างแรงแม่เหล็กไฟฟ้ากับโมเมนตัมของอิเล็กตรอนเหล่านั้น", "title": "ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า" }, { "docid": "17248#14", "text": "ในโลหะที่ใช้ทำสายไฟและตัวนำอื่น ๆ ในวงจรไฟฟ้าส่วนใหญ่ นิวเคลียสของอะตอมจะมีประจุบวกที่จะถูกจับเอาไว้ในตำแหน่งที่คงที่ และมีอิเล็กตรอนที่จะมีอิสระที่จะเคลื่อนที่ ที่สามารถนำพาประจุของพวกมันจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ ในวัสดุอื่น ๆ เช่นสารกึ่งตัวนำ พาหะของประจุสามารถนำพาประจุบวกหรือประจุลบก็ได้ขึ้นอยู่กับสารเจือปน () ที่สารกึ่งตัวนำใช้ พาหะของประจุอาจนำพาทั้งประจุบวกและประจุลบในเวลาเดียวกันก็ได้ เช่นที่เกิดขึ้นใน เซลล์ไฟฟ้าเคมี", "title": "กระแสไฟฟ้า" }, { "docid": "786915#2", "text": "ประจุไฟฟ้าเป็นปริมาณทางไฟฟ้าปริมาณหนึ่งที่กำหนดขึ้นธรรมชาติ ของสสารจะประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ  ที่มีลักษณะและ มีสมบัติเหมือนกันที่เรียกว่า อะตอม(atom)ภายในอะตอม จะประกอบด้วยอนุภาคมูลฐาน3ชนิดได้แก่  โปรตอน (proton)  นิวตรอน (neutron) และ อิเล็กตรอน (electron)โดยที่โปรตอนมีประจุไฟฟ้าบวกกับนิวตรอนที่เป็นกลางทางไฟฟ้ารวมกันอยู่เป็นแกนกลางเรียกว่านิวเคลียส (nucleus) ส่วนอิเล็กตรอน มี ประจุ ไฟฟ้าลบ จะอยู่รอบๆนิวเคลียส", "title": "ไฟฟ้าสถิต" } ]
492
จังหวัดลำปาง ตั้งอยู่ในพื้นที่ภูมิภาคอะไร?
[ { "docid": "5525#1", "text": "จังหวัดลำปาง (Northern Thai: ) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบล้อมรอบด้วยภูเขา มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกอย่างหลากหลายตั้งแต่ เขลางค์นคร, เวียงละกอน, นครลำปาง ฯลฯ ในภายหลังเป็นที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองรถม้า ที่สัมพันธ์กับเอกลักษณ์ของลำปาง", "title": "จังหวัดลำปาง" } ]
[ { "docid": "5525#16", "text": "พบแหล่งภูเขาไฟบริเวณตอนกลางของลำปาง ในเขต อำเภอเมืองลำปาง-อำเภอแม่ทะ และเกาะคา-อำเภอสบปราบ โดยกลุ่มหินบะซอลต์ ที่เกิดจากลาวาของภูเขาไฟลำปางไหลอาบออกมาปกคลุมพื้นที่ มีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่คลุมพื้นที่อำเภอเกาะคา และอำเภอสบปราบ เรียกรวมกันว่า บะซอลต์สบปราบ มีพื้นที่ประมาณ 70 ตารางกิโลเมตร อีกกลุ่มหนึ่งอยู่ในบริเวณอำเภอเมืองลำปาง และอำเภอแม่ทะ รวมเรียกว่า บะซอลต์แม่ทะ ซึ่งได้แก่ภูเขาไฟดอยผาคอกจำป่าแดด และภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู กลุ่มนี้ให้ลาวาคลุมพื้นที่ประมาณ 120 ตารางกิโลเมตร ภูเขาไฟลำปางเกิดจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก ทำให้เกิดรอยเลื่อนลึก (Deepseated fault) ขึ้นในแนวเหนือ-ใต้ เป็นช่องทางให้หินหนืดภายใต้ผิวโลก ทะลักล้นออกมาในแนวรอยเลื่อนนี้เกิดเป็นปล่องภูเขาไฟเรียงตัวในแนวนี้ด้วย[6]", "title": "จังหวัดลำปาง" }, { "docid": "348318#2", "text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 เมื่อทบวงมหาวิทยาลัยมีนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาคอย่างมีคุณภาพ โดยส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทางวิชาการขยายการจัดการศึกษาสู่ภูมิภาคต่างๆ ทั้งนี้ตามโครงการดังกล่าวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาคมชาวลำปางให้จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีขึ้นในจังหวัดลำปาง เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนในเขตภาคเหนือ จะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมกับเยาวชนในกรุงเทพมหานคร จึงได้เริ่มโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 โดยมหาวิทยาลัยได้จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ในปีการศึกษา 2541 และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ ในปีการศึกษา 2542", "title": "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง" }, { "docid": "283486#1", "text": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 120 เป็นทางสายหลักที่เชิ่อมระหว่างจังหวัดพะเยา จังหวัดลำปาง กับจังหวัดเชียงรายและเป็นทางที่ใช้เพื่อเดินทางไปยังจังหวัดเชียงใหม่ทางหลวงสายนี้ตัดผ่านอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยาอำเภองาว อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และอำเภอเวียงป่าเป้าจังหวัดเชียงราย ผ่านพื้นที่ต้นน้ำแม่งาวในเขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวง ", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 120" }, { "docid": "5525#2", "text": "ลำปางตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มรอบล้อมด้วยหุบเขาจากทุกด้าน ทำให้มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำวังที่มีต้นน้ำอยู่ที่ตอนเหนือ บริเวณอำเภอวังเหนือ ที่ไหลลงจากเหนือสู่ใต้ พื้นที่ราบที่กว้างใหญ่ที่สุดอยู่บริเวณตอนกลางนั่นคือ บริเวณอำเภอเมืองลำปาง อำเภอเกาะคา และอำเภอห้างฉัตร", "title": "จังหวัดลำปาง" }, { "docid": "181816#0", "text": "สี่แยกภาคเหนือ หรือ สี่แยกห้าเชียง ตั้งอยู่บนจุดตัดของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 และ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 จังหวัดลำปาง อยู่ในเขตของ เทศบาลนครลำปาง ซึ่งในอนาคตจะมี ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5\nถนนมอเตอร์เวย์ลำปาง-เชียงใหม่ ยกระดับเหนือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข11\nข้ามถนนพหลโยธิน ไปจนถึงจังหวัดเชียงใหม่อีก (โครงการในอนาคต) ซึ่งโครงการนี้กำลังอยู่ในระหว่างการออกแบบและการวางแผน โดยจะมีการสร้างทางแยกต่างระดับ บริเวณจุดตัดถนนพหลโยธิน ซึ่งในส่วนนี้ จะมีการขอเวนคืนพื้นที่บางส่วนบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอในการก่อสร้างทางแยกต่างระดับ ส่วนถนนพหลโยธิน จะมีการก่อสร้างทางคู่ขนานเพิ่มเติม ฝั่งละ 2 ช่องจราจร จากหน้าห้างบิ๊กซีลำปาง ไปจนถึงหน้าองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง อำเภอเกาะคาด้วย รวมทั้งการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำวังเพิ่มอีกหนึ่งแห่ง สำหรับ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5", "title": "สี่แยกภาคเหนือ" }, { "docid": "5525#103", "text": "พ.ศ. 2506 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดส่งหัวรถจักรไอน้ำมาแสดงไว้ที่สถานีรถไฟลำปาง และกำหนดให้สถานีรถไฟแห่งนี้เป็นสถานีประวัติศาสตร์ และทำการอนุรักษ์ไว้ รูปแบบสถาปัตยกรรมของสถานีรถไฟลำปางเป็นอาคาร 2 ชั้น ก่ออิฐฉาบปูน ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีปีก 2 ข้างเชื่อมกับโถงกลาง รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม มีการใช้โค้ง (arch) และการประดับตกแต่งด้วยไม้ฉลุ และปูนปั้น พื้นที่ของสถานีรถไฟนครลำปาง มีประมาณ 161 ไร่ มีตัวอาคารสถานี คลังสินค้า พื้นที่เก็บหัวรถจักรและตัวรถไฟ รวมถึงพื้นที่บ้านพักพนักงาน อาคารสถานีดังที่เห็นในปัจจุบันได้ผ่านการต่อเติมมาเป็นบางส่วน โดยเฉพาะช่วงก่อนปีพ.ศ. 2520 มีการต่อเติมส่วนควบคุมบริเวณปีกทางทิศใต้ ส่วนพักคอยด้านติดรางรถไฟ และ ซุ้มด้านหน้าที่จอดรถ จากนั้นมีการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา กระเบื้องพื้น และปรับปรุงพื้นชั้นล่างทั้งหมดในปี พ.ศ. 2538 [46]", "title": "จังหวัดลำปาง" }, { "docid": "5525#142", "text": "ก่อตั้งในปี 2552 เข้าร่วมแข่งขัน \"ลีกภูมิภาค ภาคเหนือ\" ที่จัดโดย สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฤดูกาล 2553 สนามเหย้า สนามกีฬากลางจังหวัดลำปาง ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง", "title": "จังหวัดลำปาง" }, { "docid": "5525#11", "text": "ลุ่มน้ำแม่น้ำวังตอนบน มีพื้นที่ประมาณ 1,639.55 ตารางกิโลเมตร มีแหล่งต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาผีปันน้ำบริเวณดอยหลวง บ้านป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ที่อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอวังเหนือ บริเวณตำบลวังแก้ว เขตติดต่ออำเภอวังเหนือกับอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ครอบคลุมพื้นที่อำเภอวังเหนือและอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง รวมตำบลที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาทั้งหมด 11 ตำบล มีลุ่มน้ำย่อยที่สำคัญ คือ ลุ่มน้ำแม่เย็นและลุ่มน้ำแม่ม่า ลุ่มน้ำแม่สอย มีพื้นที่ประมาณ 732.97 ตารางกิโลเมตร มีแหล่งกำเนิดมาจากเทือกเขาทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แนวเขตแดนจังหวัดลำปางกับเชียงใหม่ ลุ่มน้ำแม่สอยอยู่ในเขตพื้นที่ในอำเภอแจ้ห่มและอำเภอเมืองปาน รวมตำบลที่อยู่ในพื้นที่ 5 ตำบล มีลุ่มน้ำย่อยที่สำคัญ คือ ลุ่มน้ำแม่ปานและลุ่มน้ำแม่มอน ลุ่มน้ำแม่ตุ๋ย มีพื้นที่ประมาณ 809.38 ตารางกิโลเมตร มีแหล่งต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาในเขตอำเภอเมืองปาน ไหลจากทิศเหนือลงมาทางทิศใต้เข้าเขตอำเภอเมืองลำปางก่อนไปบรรจบกับแม่น้ำวังที่อำเภอเมืองลำปาง พื้นที่ลุ่มน้ำอยู่ในอำเภอเมืองปานและอำเภอเมืองลำปาง รวมตำบลที่อยู่ในพื้นที่ 4 ตำบล ลุ่มน้ำแม่น้ำวังตอนกลาง มีพื้นที่ประมาณ 2,077.07 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอห้างฉัตร อำเภอเมืองลำปาง อำเภอเกาะคา และอำเภอแจ้ห่ม มีลุ่มน้ำย่อยที่สำคัญ คือ ลุ่มน้ำแม่ยาว น้ำแม่ไพร น้ำแม่ตาล และน้ำแม่เกี๋ยง รวมตำบลที่อยู่ในพื้นที่ 33 ตำบล ลุ่มน้ำแม่จาง มีพื้นที่ประมาณ 1,626.86 ตารางกิโลเมตร เป็นลุ่มน้ำสาขาขนาดกลางที่สำคัญลุ่มน้ำหนึ่งของลุ่มน้ำวัง มีต้นกำเนิดมาจากดอยหลวงกับดอยผาแดง ซึ่งเป็นแนวสันปันน้ำกับลุ่มน้ำงาว ครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่ทะกับอำเภอแม่เมาะทั้งหมด มีทิศทางการไหลจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปบรรจบกับแม่น้ำวังที่บ้านสบจาง ในเขตอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง มีลุ่มน้ำย่อยที่สำคัญ คือ ลำน้ำแม่เมาะ ลำน้ำแม่ทะ และลำน้ำแม่วะ รวมตำบลที่อยู่ในพื้นที่ 15 ตำบล ลุ่มน้ำแม่ต๋ำ มีพื้นที่ประมาณ 755.75 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเสริมงาม มีแหล่งต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาเขตอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง กับอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ไหลไปบรรจบแม่น้ำวังในเขตอำเภอสบปราบ มีลุ่มน้ำย่อยที่สำคัญ คือลุ่มน้ำแม่เลียงและน้ำแม่เสริม รวมตำบลที่อยู่ในพื้นที่ 4 ตำบล ลุ่มน้ำแม่น้ำวังตอนล่าง มีพื้นที่ 3,151.581 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเกาะคา อำเภอแม่ทะ เภอสบปราบ อำเภอเถิน อำเภอแม่พริก และพื้นที่ในเขตอำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีลุ่มน้ำสาขาที่สำคัญ คือ ห้วยแม่พริกและห้วยแม่สลิด รวมตำบลที่อยู่ในพื้นที่ 22 ตำบล", "title": "จังหวัดลำปาง" }, { "docid": "647907#15", "text": "ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1 สำนักงานกลาง จังหวัดปทุมธานี พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดปทุมธานี, นนทบุรี, พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี, ลพบุรี, อ่างทอง, สิงห์บุรี, ชัยนาท และสมุทรปราการ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 2 สำนักงานกลาง จังหวัดชลบุรี พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, สระแก้ว, ปราจีนบุรี, นครนายก และฉะเชิงเทรา ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 3 สำนักงานกลาง จังหวัดนครราชสีมา พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดนครราชสีมา, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ และยโสธร ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 สำนักงานกลาง จังหวัดขอนแก่น พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดขอนแก่น, เลย, หนองบัวลำภู, อุดรธานี, หนองคาย, บึงกาฬ, สกลนคร, นครพนม, มุกดาหาร, กาฬสินธุ์, ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 5 สำนักงานกลาง จังหวัดลำปาง พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดลำปาง, ลำพูน, เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน, เชียงราย, พะเยา, น่าน และแพร่ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 6 สำนักงานกลาง จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดพิษณุโลก, เพชรบูรณ์, พิจิตร, นครสวรรค์, อุทัยธานี, ตาก, กำแพงเพชร, สุโขทัย และอุตรดิตถ์ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 7 สำนักงานกลาง จังหวัดนครปฐม พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดนครปฐม, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, ราชบุรี, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 8 สำนักงานกลาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ชุมพร, ระนอง, พังงา, ภูเก็ต, กระบี่ และนครศรีธรรมราช ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 9 สำนักงานกลาง จังหวัดสงขลา พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดสงขลา, สตูล, ตรัง และพัทลุง ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 10 สำนักงานกลาง จังหวัดยะลา พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดยะลา, นราธิวาส และปัตตานี", "title": "สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ" }, { "docid": "5525#106", "text": "ท่าอากาศยานลำปาง ตั้งอยู่เลขที่ 175 ถนนสนามบิน 1 ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ทั้งหมด 509 ไร่ 72 ตารางวา อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 809 ฟุต หรือ 247 เมตร มีพิกัดทางภูมิศาสตร์ ณ ละติจูดที่ 18 องศา 16 ลิปดา 22 ฟิลิปดาเหนือ ลองติจูดที่ 99 อาศา 30 ลิปดา 24 ฟิลิปดาตะวันออก", "title": "จังหวัดลำปาง" }, { "docid": "348318#0", "text": "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง แต่เดิมตั้งอยู่ที่ อาคารศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ถ.บุญวาทย์ อ.เมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อปีการศึกษา 2546 ได้ย้ายไปยังเลขที่ 248 หมู่ 2 ถนนลำปาง-เชียงใหม่ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 52190 อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปาง ประมาณ 15 กิโลเมตร ไปตามถนนซุปเปอร์ไฮเวย์สายลำปาง-เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่จากการบริจาคของนายบุญชู ตรีทอง มีพื้นที่ 364 ไร่ 3 งาน 79 ตารางวา เป็นที่ตั้งของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มีอาคารเรียนรวมหลังแรกชื่อ \"อาคารสิรินธรารัตน์\" ", "title": "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง" }, { "docid": "296767#3", "text": "ในฤดูกาลแรกของสโมสร ลำปางได้เข้าร่วมแข่งขันลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 โดยมีผู้สนับสนุนภายในจังหวัดเป็นอย่างดี ต่อมาในฤดูกาล 2558 ลำปางสามารถเลื่อนชั้นสู่ดิวิชัน 1 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร", "title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดลำปาง" }, { "docid": "634341#1", "text": "\"มหาวิทยาลัยโยนก\" ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2531 โดย ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ ได้ริเริ่มก่อตั้งโครงการมหาวิทยาลัยคุณภาพ ขณะศึกษาปริญญาเอกด้านการบริหารการศึกษา ณ \"มหาวิทยาลัยเบย์เลอร์\" ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสรรค์สร้างมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพอันจะเป็นส่วนในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ สร้างสรรค์สังคม สร้างสรรค์ประเทศ จึงมีความคิดที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยโยนกขึ้นที่จังหวัดลำปางอันเป็นถิ่น กำเนิด โดยมีเหตุผลว่า จังหวัดลำปางเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมและการศึกษาในภาคเหนือ เหมาะสมที่จะมีสถาบันการศึกษามารองรับความต้องการทางการศึกษา อีกทั้งเป็นการชะลอการหลั่งไหลทรัพยากรบุคคลจากภูมิภาคสู่ส่วนกลางอีกด้วย และยังสามารถดึงดูดให้มีการไหลกลับ อันจะช่วยสร้างความเจริญและการพัฒนาสู่ภูมิภาคอีกด้วย จังหวัดลำปางยังมีบรรยากาศของการศึกษาที่ดี ค่าครองชีพถูก นักศึกษาเสียค่าใช้จ่ายน้อย ไม่เป็นภาระที่หนักแก่ผู้ปกครอง ดังตัวอย่างในต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยที่ดี จะต้องตั้งอยู่ในเมืองที่มีคุณภาพ", "title": "มหาวิทยาลัยโยนก" }, { "docid": "198620#0", "text": "สถานีรถไฟนครลำปาง ตั้งอยู่ที่ ตำบลสบตุ๋ย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ 161 ไร่ ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพ 642.29 กิโลเมตร สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2458 และเปิดใช้งานเมื่อครั้งรถไฟหลวงขบวนแรกเดินถึงจังหวัดลำปางในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 แต่เดิม ระหว่างสถานีรถไฟห้างฉัตรกับสถานีรถไฟนครลำปางเคยมี ที่หยุดรถบ่อแฮ้ว แต่ปัจจุบันได้ถูกยุบเลิกไปแล้ว", "title": "สถานีรถไฟนครลำปาง" }, { "docid": "708213#0", "text": "พิชัย เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามถนนพหลโยธินประมาณ 8 กิโลเมตร มีพื้นที่ 16.50 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลพิชัย มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 13,127 คน", "title": "เทศบาลเมืองพิชัย" }, { "docid": "721060#0", "text": "ห้าแยกลำปางหนา เป็นละครโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง ดำเนินการโดยสำนักงานจังหวัดลำปาง และสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลำปาง โดยละครห้าแยกลำปางหนา ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ชมได้รับความบันเทิงไปพร้อมๆ กับความรู้และมุมมองที่น่าจดจำของจังหวัดลำปาง และสร้างความนิยมเพื่อกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นตามมาสอดคล้องกับแคมเปญโปรโมตจังหวัดท่องเที่ยวใหม่ ภายใต้โครงการ \"เมืองต้องห้าม...พลาด\" ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย", "title": "ห้าแยกลำปางหนา" }, { "docid": "5525#3", "text": "จังหวัดลำปางมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้", "title": "จังหวัดลำปาง" }, { "docid": "13825#13", "text": "เขตพื้นที่ลำปาง เดิมคือ โรงเรียนเกษตรกรรมลำปาง ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2515 ตั้งอยู่ที่ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง บนเนื้อที่ 1,381 ไร่ (ใช้ร่วมกับสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง) จัดการเรียนการสอนด้านเกษตรศาสตร์ เป็นที่รู้จักทั่วไปในชื่อ เกษตรแม่วัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 จึงได้โอนมาสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา และเปลี่ยนชื่อเป็น \"วิทยาเขตลำปาง\"", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา" }, { "docid": "5525#138", "text": "การจัดการแข่งขันกีฬาระดับชาติและระดับภูมิภาคในลำปาง", "title": "จังหวัดลำปาง" }, { "docid": "5525#112", "text": "นิคมอุตสาหกรรมนครลำปาง เป็นโครงการ พัฒนาแรงงานในพื้นที่จังหวัดลำปางและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ การวิจัย สำรวจความคิดเห็น ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งข้อเสนอแนะของหลาย ๆ ฝ่าย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ศูนย์กระจายสินค้าและบริการทางบก เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าของภาคเหนือตอนบน บริเวณอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง", "title": "จังหวัดลำปาง" }, { "docid": "965403#0", "text": "เทศบาลตำบลลำปางหลวง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล ในอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ 28 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำปางหลวงทั้งตำบล และมีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 9,407 คน", "title": "เทศบาลตำบลลำปางหลวง" }, { "docid": "505333#6", "text": "ซื้อพื้นที่ฝั่งตรงข้ามห้างเป็นอาคารพาณิชย์เก่า พื้นที่ประมาณ 2 ไร่ครึ่ง ได้รื้ออาคารเก่าทั้งหมด และสร้างเป็นอาคารจอดรถ 4 ชั้น ซึ่งเป็นอาคารจอดรถแห่งแรกของจังหวัดลำปาง โดยชั้นใต้ดินเป็น เสรีโบว์ล เลนโบว์ลิ่งขนาดมาตรฐาน 10 เลน แห่งแรก และแห่งเดียวในจังหวัดลำปาง พร้อมกับ เท็กซัสสุกี้ บุฟเฟต์ และ ร้าน Black Canyon coffee รวมไปถึงอินเตอร์เน็ท ตู้คาราโอเกะ และพื้นที่เช่า อีกมากมาย นับเป็นศูนย์กลางความบันเทิงแห่งใหม่ ที่ทันสมัยที่สุดของจังหวัดลำปาง ในยุคนั้น ", "title": "เสรีสรรพสินค้า" }, { "docid": "40628#0", "text": "แจ้ห่ม () เป็นหนึ่งใน 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง และเป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับสาม ของจังหวัดลำปาง รองจากอำเภองาวและอำเภอเถิน ", "title": "อำเภอแจ้ห่ม" }, { "docid": "45622#0", "text": "โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย (ภาษาอังกฤษ: Bunyawat Witthayalai School) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดลำปาง และโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 230 ถนนพหลโยธิน ตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 แบบสหศึกษา ปัจจุบันโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย มีพื้นที่ 44 ไร่ 3 งาน 54 ตารางวา จำนวนนักเรียน 3,917 คน ผู้อำนวยการโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ท่านปัจจุบันคือ นายสกล ทะแกล้วพันธุ์ ", "title": "โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย" }, { "docid": "669#76", "text": "ตั้งอยู่ที่ 248 หมู่ 2 ถนนลำปาง–เชียงใหม่ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 52190 อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปาง ประมาณ 15 กิโลเมตร ไปตามถนนซุปเปอร์ไฮเวย์สายลำปาง–เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่จากการบริจาคของบุญชู ตรีทอง มีพื้นที่ 364 ไร่ 3 งาน 79 ตารางวา เป็นที่ตั้งของ ศูนย์ลำปาง มีอาคารเรียนรวมหลังแรกชื่อ \"อาคารสิรินธรารัตน์\"", "title": "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" }, { "docid": "5525#108", "text": "ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 หรือ ถนนมอเตอร์เวย์บางปะอิน-เชียงใหม่ (ช่วงเด่นชัยลำปาง และ มอเตอร์เวย์ลำปาง-เชียงใหม่) เป็นโครงข่ายการขยายเส้นทางการคมนาคมจากกรุงเทพมหานครสู่จังหวัดในกลุ่มภาคเหนือ โดยผ่าน จังหวัพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง ชัยนาถ นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง ลำพูน ไปสิ้นสุดที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยช่วงที่ผ่านจังหวัดลำปาง ได้ใช้เส้นทางร่วมกับ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 มาจากอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เข้าสู่จังหวัดลำปาง ผ่านอำเภอแม่ทะ จนมาถึงแยกโยนก หน้ามหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง อำเภอเมืองลำปาง แล้วเลี้ยวซ้าย ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 เดิม แล้วเปลี่ยน มาเป็นทางยกระดับ โดยใช้พื้นที่เกาะกลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ไปเรื่อย ๆ (ไม่มีทางขึ้น-ลงใด ๆ) จนมาถึงสี่แยกภาคเหนือ จุดตัด ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน เหนือ-ใต้ และ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 แนวออก-ตก", "title": "จังหวัดลำปาง" }, { "docid": "103236#4", "text": "พื้นที่สงวนชีวมณฑลห้วยทาก ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลบ้านหวด และตำบลบ้านโป่ง อำเภองาว จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากจังหวัดลำปางไปตามถนนพหลโยธิน ช่วงลำปาง-พะเยาประมาณ 50 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหน่วยงานป่าไม้หลายหน่วย ได้แก่ หน่วยจัดการสาธิตแม่หวด อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท สวนป่าห้วยทาก สวนรุกขชาติห้วยทาก สวนป่าสบพลึง สวนป่าห้วยพร้าว หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ลป.30 (แม่โป่ง) และหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ลป. 31(แม่หวด)", "title": "พื้นที่สงวนชีวมณฑลสวนสัก-ห้วยทาก" }, { "docid": "63521#3", "text": "ครั้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 อำเภอเมืองลำปาง กรมการจังหวัดลำปาง และสภาจังหวัดลำปางได้พิจารณาเห็นว่า พื้นที่ของตำบลบ้านดง ตำบลนาสัก และตำบลจางเหนือเป็นท้องที่ทุรกันดาร เห็นสมควรจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ จึงนำเรื่องเสนอต่อกระทรวงมหาดไทยพิจารณาและยกฐานะเป็น กิ่งอำเภอแม่เมาะ ขึ้นกับอำเภอเมืองลำปางเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2519 ที่ว่าการกิ่งอำเภอแม่เมาะก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2521 ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2523 ได้แบ่งตำบลบ้านดงออกตั้งเป็นตำบลแม่เมาะเพิ่มขึ้นอีก 1 ตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2524", "title": "อำเภอแม่เมาะ" }, { "docid": "302584#0", "text": "เทศบาลเมืองเขลางค์นคร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ 195.49 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล คือ ตำบลปงแสนทอง ตำบลชมพู ตำบลพระบาท และตำบลกล้วยแพะ มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 60,446 คน นอกจากนี้เทศบาลเขลางค์นครยังเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดลำปาง", "title": "เทศบาลเมืองเขลางค์นคร" }, { "docid": "35128#0", "text": "งาว (Northern Thai: ) เป็นหนึ่งใน 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง มีพื้นที่ประมาณ 1,815 ตารางกิโลเมตร เป็นอำเภอที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 650 กิโลเมตร เป็นอำเภอยุทธศาสตร์ชายแดนที่มีบริเวณชายแดนติดต่อกันถึงสามจังหวัดได้แก่ จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่และจังหวัดลำปาง", "title": "อำเภองาว" } ]
1375
อะพอพโทซิสจะเกิดขึ้นในเซลล์ที่เสียหายเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ เช่น ติดเชื้อไวรัสใช่หรือไม่?
[ { "docid": "192124#3", "text": "อะพอพโทซิสจะเกิดขึ้นในเซลล์ที่เสียหายเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ เช่น ติดเชื้อไวรัส, หรืออยู่ในภาวะกดดันเช่นการอดอาหาร ความเสียหายของดีเอ็นเอภายในเซลล์จากรังสีแตกตัว (ionizing radiation) หรือสารพิษจะชักนำให้เกิดอะพอพโทซิสโดยผ่านการทำงานของยีนต้านมะเร็ง (tumour-suppressing gene) ชื่อ p53 การ \"ตัดสินใจ\" ของเซลล์ว่าจะเข้าสู่กระบวนการอะพอพโทซิสอาจขึ้นกับปัจจัยของเซลล์เอง, ปัจจัยของเนื้อเยื่อรอบๆ, และจากเซลล์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน ในกรณีนี้เซลล์จะเกิดการอะพอพโทซิสเพื่อกำจัดเซลล์ที่เสียหาย, เพื่อป้องกันการกระจายของไวรัส, และเพื่อลดจำนวนเซลล์ในภาวะอดอาหารเพื่อจะได้ไม่ต้องดึงอาหารจากสิ่งมีชีวิตตามลำดับ", "title": "อะพอพโทซิส" } ]
[ { "docid": "192124#15", "text": "สัญญาณอะพอพโทซิสจากภายในเซลล์เป็นการตอบสนองของเซลล์ต่อภาวะกดดัน (stress) ต่างๆ และมักจะส่งผลสุดท้ายก่อให้เกิดการ \"ฆ่าตัวตาย\" ของเซลล์ การจับกับตัวรับ (receptor) ของนิวเคลียสของกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoid) , ความร้อน, รังสี, การขาดสารอาหาร, การติดเชื้อไวรัส, และภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย (hypoxia) ทั้งหมดเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การปล่อยสัญญาณอะพอพโทซิสภายในเซลล์จากเซลล์ที่เสียหาย[5] องค์ประกอบภายในเซลล์จำนวนมาก เช่น poly ADP ribose polymerase สามารถช่วยควบคุมกระบวนการอะพอพโทซิสได้[8]", "title": "อะพอพโทซิส" }, { "docid": "192124#37", "text": "การจับกับตัวรับ (receptor binding) การกระตุ้น protein kinase R (PKR) อันตรกิริยากับโปรตีน p53 การแสดงออกของโปรตีนไวรัสร่วมกับโปรตีน MHC บนพื้นผิวของเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันเช่น NK cell หรือ cytotoxic T cell รับรู้ และตอบสนองโดยชักนำให้เซลล์ติดเชื้อเกิดอะพอพโทซิส[29]", "title": "อะพอพโทซิส" }, { "docid": "192124#16", "text": "ก่อนที่กระบวนการตายของเซลล์จะเกิดขึ้นโดยเอนไซม์ สัญญาณอะพอพโทซิสจะต้องเชื่อมกับวิถีการตาย (actual death pathway) โดยกระบวนการของโปรตีนตัวควบคุม (regulatory proteins) ขั้นตอนนี้จะทำให้สัญญาณอะพอพโทซิสนั้นชักนำให้เซลล์นั้นเข้าสู่กระบวนการอะพอพโทซิส หรือสัญญาณนั้นถูกทำลายและเซลล์ไม่ต้องตายก็ได้ กระบวนการดังกล่าวมีโปรตีนหลายตัวที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งสรุปได้ว่ามี 2 วิธีหลักๆ ที่ทำหน้าที่ควบคุม คือวิถีที่ควบคุมโดยไมโทคอนเดรีย (targeting mitochondria functionality) และการแปรสัญญาณโดยตรงผ่านโปรตีนตัวปรับ (adapter proteins) ไปยังกลไกอะพอพโทซิส กระบวนการเตรียมการทั้งหมดต่างต้องการพลังงานและการทำงานของเซลล์", "title": "อะพอพโทซิส" }, { "docid": "92839#8", "text": "อะพอพโทซิส \" (Apoptosis) \" เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์เสียหายเกินกว่าที่จะซ่อมแซมได้ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ติดเชื้อไวรัส อยู่ในสภาวะขาดสารอาหารอย่างหนัก DNA เสียหายจากกัมมันตภาพรังสี หรือสารมีพิษ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้จะไปกระตุ้น กระบวนการอะพอพโทซิสให้เริ่มทำงาน กระบวนการอะพอพโทซิสอาจเกิดขึ้นได้เองจากภายในเซลล์ หรือจากเนื้อเยื่อโดยรอบ หรือจากส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน กระบวนการอะพอพโทซิสจะไปทำลายเซลล์ที่เสียหาย เพื่อป้องกันการดูดสารอาหารของเซลล์นั้นๆ หรือป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์ที่ติดเชื้อ ทั้งยังมีส่วนสำคัญในการป้องกันมะเร็ง", "title": "ความตาย" }, { "docid": "192124#24", "text": "หลังจากการเหนี่ยวนำกระบวนการอะพอพโทซิสโดยการกระตุ้น TNF-R1 และ Fas ในเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแล้ว จะเกิดการเพิ่มจำนวนของยีนกระตุ้นอะพอพโทซิส (BAX,[17] BID, BAK, หรือ BAD) และลดจำนวนยีนต้านอะพอพโทซิส (Bcl-Xl และ Bcl-2) ซึ่งยีนทั้งสองกลุ่มต่างเป็นสมาชิกในกลุ่มยีน Bcl-2 family โฮโมไดเมอร์ (homodimer) ของโปรตีนกระตุ้นอะพอพโทซิสจะทำให้เยื่อหุ้มไมโทคอนเดรียมีความซึมผ่านเพื่อให้เกิดการปล่อยสารที่กระตุ้นเอนไซม์แคสเปสเช่นไซโตโครม ซี และ SMAC ออกมาจากไมโทคอนเดรียซึ่งเป็นการกระตุ้นวิถีที่ควบคุมโดยไมโทคอนเดรียอีกทางหนึ่ง ในปัจจุบันกลไกการควบคุมโปรตีนกระตุ้นอะพอพโทซิสในสภาวะปกติของเซลล์ยังไม่เข้าใจแน่ชัด แต่มีการค้นพบว่าโปรตีนที่อยู่ที่เมมเบรนชั้นนอกของไมโทคอนเดรียชื่อ VDAC2 จะทำหน้าที่ควบคุมและยับยั้ง BAK ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดอะพอพโทซิสที่สำคัญ[18] เมื่อเซลล์ได้รับสัญญาณกระตุ้นการตาย ผลผลิตจากการกระตุ้นเอนไซม์แคสเปสจะเข้ามาแทนที่ VDAC2 และทำให้ BAK อยู่ในสภาวะที่ทำงานได้", "title": "อะพอพโทซิส" }, { "docid": "24465#18", "text": "เซลล์ที่ติดเชื้อจะมีปฏิกิริยาระยะแรก คือ สร้างอินเตอร์เฟียรอน ซึ่งเป็นไซโตไคน์ที่เพิ่มการป้องกันการติดเชื้อไวรัสผ่านระบบภูมิคุ้มกันแต่กำเนิดโดยเพิ่มการผลิตโปรตีนกลุ่มใหญ่ที่อาศัย JAK-STAT pathway เป็นสื่อกลาง ไวรัสเด็งกีบางซีโรไทป์อาจมีกลไกชะลอกระบวนการนี้ อินเตอร์เฟียรอนยังกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งนำไปสู่การผลิตแอนติบอดีต่อไวรัส เช่นเดียวกับเซลล์ทีซึ่งจะทำลายเซลล์ทั้งหมดที่ติดเชื้อไวรัสโดยตรง[13] มีการผลิตแอนติบอดีหลายชนิด บางชนิดจับกับโปรตีนไวรัสอย่างแน่นและช่วยในกระบวนการฟาโกไซโทซิส (การกินโดยเซลล์ที่เปลี่ยนไปทำหน้าที่เฉพาะ แล้วย่อยทำลาย) แต่บางชนิดเกาะกับไวรัสไม่แน่นและดูเหมือนจะส่งไวรัสไปยังส่วนของฟาโกไซต์ที่ไวรัสไม่ถูกทำลายแต่สามารถถ่ายแบบได้มากขึ้น[13]", "title": "ไข้เด็งกี" }, { "docid": "36508#10", "text": "ตับอักเสบ (English: Hepatitis) เป็นภาวะที่พบบ่อยของการอักเสบของตับ มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ บี ซีและอี นอกจากนี้อาจเกิดจากสารพิษ กรรมพันธุ์ หรือภาวะภูมิแพ้ตนเอง บางส่วนของการติดเชื้อเหล่านี้จะติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้การอักเสบยังอาจเกิดจากไวรัสอื่น ๆ ในตระกูล Herpesviridae เช่น'ไวรัสเริม' การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือไวรัสตับอักเสบซีเป็นสาเหตุหลักของโรคมะเร็งตับ ตับแข็ง (English: Cirrhosis) เกิดจากการสะสมของเนื้อเยื่อแข็งที่ทดแทนเซลล์ตับที่ตายไป โดยมักเกิดจากเชื้อไวรัส ภาวะพิษสุราเรื้อรัง หรือการได้รับสารพิษต่างๆ และไขมันในตับ นอกจากนี้ความเสียหายของตับยังอาจเกิดจากยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยา paracetomol และยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ฮีโมโครมาโทซิส (Hemochromatosis) เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ที่เกิดจากการสะสมของเหล็กในกระแสเลือด จนทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ตับ ท่อน้ำดีตีบตัน (English: Biliary atresia) บัดด์ ไคอารี่ ซินโดรม (Budd-Chiari syndrome) เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดดำตับ(รวมถึงการเกิดลิ่มเลือด (English: thrombosis)) ที่ระบายตับ มันปรากฏขึ้นด้วยอาการปวดท้อง น้ำในช่องท้องและการขยายตัวของตับ[4] กิลเบิร์ต ซินโดรม (Gilbert's syndrome) เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้เกิดความผิดปกติในการสังเคราะห์บิลิรูบิน", "title": "ตับ" }, { "docid": "192124#29", "text": "เซลล์ที่ตายจากกระบวนการอะพอพโทซิสในขั้นตอนสุดท้ายจะมีการนำเสนอโมเลกุลบนพื้นผิวเพื่อเป็นเครื่องหมายเรียกให้เซลล์เพื่อนบ้านมาช่วยเก็บกิน เช่น ฟอสฟาทิดิลซีรีน (phosphatidylserine) [23] ฟอสฟาทิดิลซีรีนโดยสภาวะปกติแล้วจะอยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์ด้านใน แต่ระหว่างการอะพอพโทซิสจะถูกย้ายออกมาอยู่ด้านนอกโดยเชื่อว่าเกิดจากโปรตีนชื่อ สแครมเบลส (scramblase) [24] โมเลกุลที่เป็นเครื่องหมายดังกล่าวจะส่งสัญญาณเรียกเซลล์ข้างเคียงที่มีตัวรับที่เหมาะสม เช่น แมคโครฟาจ (macrophage) เข้ามาเกิดการกลืนกินของเซลล์[25] หลังจากเซลล์ข้างเคียงถูกกระตุ้นและรับรู้แล้ว เซลล์กลืนกิน (phagocyte) จะจัดเรียงไซโตสเกเลตอนใหม่เพื่อโอบกินเซลล์ตาย การกำจัดเศษซากเซลล์ที่ตายโดยเซลล์กลืนกินจะไม่ก่อให้เกิดกระบวนการอักเสบ", "title": "อะพอพโทซิส" }, { "docid": "363706#19", "text": "การอักเสบซึ่งกินบริเวณกว้างในช่องว่างใต้เยื่ออะแร็กนอยด์นั้นส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผลจากการติดเชื้อแบคทีเรียโดยตรง แต่เป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อแบคทีเรียที่เข้ามาในระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันของสมอง (แอสโตรซัยต์และไมโครเกลีย) รับรู้ถึงสารบนเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรียก็จะหลั่งสารตัวกลางซึ่งทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเรียกว่าซัยโตไคน์ออกมาเพื่อเรียกเซลล์ภูมิคุ้มกันอื่นๆ มายังบริเวณนั้น และกระตุ้นเนื้อเยื่ออื่นๆ ให้มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน ปราการกั้นเลือด-สมองเริ่มยอมให้มีสารผ่านเข้าออกได้มากขึ้น ทำให้เกิดการบวมของสมองแบบที่เกิดจากหลอดเลือด เซลล์เม็ดเลือดขาวจำนวนมากเคลื่อนเข้ามาอยู่ในน้ำหล่อสมองไขสันหลังทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง และนำไปสู่การบวมของสมองแบบที่เกิดจากเนื้อสมอง นอกจากนี้ผนังหลอดเลือดเองก็มีการอักเสบด้วย ทำให้มีเลือดไหลมาเลี้ยงเซลล์สมองน้อยลง เกิดเป็นการบวมของสมองแบบที่เกิดจากการบาดเจ็บของเซลล์ การบวมของสมองทั้งสามแบบนี้ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของความดันในกะโหลกศีรษะ เมื่อประกอบกับการมีความดันเลือดลดต่ำซึ่งมักพบร่วมกับการติดเชื้อเฉียบพลัน ทำให้เลือดไหลมาเลี้ยงสมองยากขึ้น เซลล์สมองจึงขาดออกซิเจนและเข้าสู่กระบวนการตายของเซลล์หรืออะพอพโทซิส", "title": "เยื่อหุ้มสมองอักเสบ" }, { "docid": "192124#1", "text": "อะพอพโทซิสเป็นการตายที่เกิดขึ้นตามปกติในกระบวนการเจริญพัฒนาของสิ่งมีชีวิต ซึ่งต่างจากการตายเฉพาะส่วนที่เกิดจากการบาดเจ็บของเซลล์แบบเฉียบพลัน อะพอพโทซิสเกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปร่างและอวัยวะของเอ็มบริโอ เช่นการเจริญของนิ้วมือและนิ้วเท้าเนื่องจากเซลล์ที่อยู่ระหว่างนิ้วอะพอพโทซิสไป ทำให้นิ้วทั้งห้าแยกออกจากกัน โดยเฉลี่ยแล้วในผู้ใหญ่จะมีเซลล์ราว 5 หมื่นล้านถึง 7 หมื่นล้านเซลล์ตายแบบอะพอพโทซิสทุกวัน และในเด็กอายุ 8-14 ปีจะมีเซลล์ตายราว 2 หมื่นล้านถึง 3 หมื่นล้านเซลล์ต่อวัน", "title": "อะพอพโทซิส" }, { "docid": "448304#0", "text": "การซ่อมแซมดีเอ็นเอ () คือชุดของกระบวนการที่เซลล์ตรวจพบและแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอที่ประกอบกันเป็นจีโนมของเซลล์นั้น ในเซลล์มนุษย์กระบวนการเผาผลาญตามปกติและปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม เช่น รังสียูวีหรือรังสีอื่นทำให้ดีเอ็นเอเสียหายและก่อให้เกิดรอยโรคระดับโมเลกุลได้สูงสุดถึงหนึ่งล้านตำแหน่งต่อเซลล์ต่อวัน รอยโรคเหล่านี้หลายอันทำให้เกิดความเสียหายระดับโครงสร้างของโมเลกุลดีเอ็นเอ และอาจส่งผลเปลี่ยนแปลงหรือระงับความสามารถของเซลล์ที่จะถอดรหัสยีนที่สร้างจากดีเอ็นเอส่วนนั้นๆ รอยโรคบางแบบอาจทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในจีโนมของเซลล์ซึ่งมีโอกาสเป็นอันตรายได้ ทำให้ส่งผลต่อการอยู่รอดของเซลล์ที่ได้จากการแบ่งตัวของเซลล์นั้นๆ เช่นนั้นแล้วกระบวนการซ่อมแซมดีเอ็นเอจึงเป็นกระบวนการที่มีการทำงานตลอดเวลาเพื่อตอบสนองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างดีเอ็นเอ หากกระบวนการซ่อมแซมล้มเหลว และเซลล์ที่มีดีเอ็นเอที่เสียหายนั้นไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการอะพอพโทซิสหรือกระบวนการทำลายเซลล์ตามปกติได้สำเร็จ จะเกิดเป็นความเสียหายต่อดีเอ็นเอที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้ อาจเกิดเป็นจุดแตกหักของโครงสร้างเกลียวคู่ หรือเกิดการจับใหม่ข้ามจุด (crosslink) ของดีเอ็นเอ", "title": "การซ่อมแซมดีเอ็นเอ" }, { "docid": "377835#3", "text": "ผู้ป่วยส่วนใหญ่ติดเชื้อผ่านทางการสัมผัสอุจจาระผ่านทางปาก (fecal-oral route) หรือทางการสัมผัสรอยโรคที่ผิวหนังหรือสารคัดหลั่งจากช่องปากโดยตรง ต่อมาจึงเกิดมีการเพิ่มจำนวนของไวรัสในเลือด จากนั้นไวรัสจึงรุกรานเข้าไปยังผิวหนังและเยื่อบุ การตายของเซลล์เยื่อบุแบบอะพอพโทซิสที่เกิดเป็นบริเวณกว้างจะทำให้เกิดรอยโรคซึ่งมีลักษณะเฉพาะของโรคนี้\nอาการแรกเริ่มเหมือนกับการติดเชื้อไวรัสทั่วไป คือมีความรู้สึกไม่สบายตัวประมาณ 1-2 วัน จากนั้นเริ่มมีไข้ หลังติดเชื้อ 3-7 วัน เด็กจะมีอาการไข้ และอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย หลังจากนั้น 1-2 วัน จะมีน้ำมูก เจ็บปาก เจ็บคอ ไม่ยอมดูดนม ไม่อยากกินอาหาร เด็กเล็กอาจร้องงอแง เมื่อตรวจดูในปากพบจุดนูนแดงๆ หรือมีน้ำใสอยู่ข้างใต้ ขึ้นตามเยื่อบุปาก ลิ้นและเหงือก ซึ่งต่อมาจะแตกกลายเป็นแผลตื้นๆ และมีอาการเจ็บมาก ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นแผลในปาก อาจขึ้นบนลิ้น กระพุ้งแก้ม หรือเพดานอ่อนได้", "title": "โรคมือ เท้า และปาก" }, { "docid": "860319#14", "text": "แม้ว่ากระบวนการเกิดโรคยังไม่ชัดเจน แต่ก็ดูเหมือนจะสัมพันธ์กับการตายของเซลล์เนื่องกับอะพอพโทซิส\nการตัดต่อยีนอาศัย morpholinos เพื่อลดการแสดงออกของยีน MsrB3 ในปลาม้าลายมีผลเป็นขนเซลล์ที่สั้นกว่า บางกว่า และหนาแน่นกว่า ตลอดจน otolith ที่เกิดผิดที่\nนอกจากนั้นแล้ว stereocilia จำนวนหนึ่งยังเกิดอะพอพโทซิสอีกด้วย\nการฉีด MsrB3 mRNA แบบปกติตามธรรมชาติ (wild-type) เข้าไป แก้ความเสียหายในการได้ยินได้ ซึ่งแสดงว่า MsrB3 ช่วยป้องกันอะพอพโทซิส", "title": "Stereocilia" }, { "docid": "192124#31", "text": "ตัวอย่างที่แสดงถึงแนวความคิดดังกล่าวพบในการเจริญของมะเร็งปอดชนิด NCI-H460[26] ยีนที่ชื่อว่า X-linked inhibitor of apoptosis protein (XIAP) มีการแสดงออกเพิ่มมากขึ้นในเซลล์ตระกูล H460 cell line โปรตีน XIAPs จับกับเอนไซม์แคสเปส-9 และกดการทำงานของไซโตโครม ซี ซึ่งเป็นโปรตีนกระตุ้นอะพอพโทซิส ทำให้สารกระตุ้นอะพอพโทซิสลดลงและสารต้านอะพอพโทซิสเพิ่มมากขึ้น เซลล์ที่มีความเสียหายจะแบ่งตัวเพิ่มแทนที่จะถูกทำลายและกลายเป็นมะเร็งในที่สุด", "title": "อะพอพโทซิส" }, { "docid": "192482#2", "text": "สาเหตุของการตายเฉพาะส่วนได้แก่การได้รับการบาดเจ็บ การติดเชื้อ มะเร็ง เนื้อตายเหตุขาดเลือด (infarction) สารพิษ และการอักเสบอย่างต่อเนื่อง การทำลายระบบที่จำเป็นภายในเซลล์อย่างรุนแรงจะทำให้เกิดการกระตุ้นการทำลายระบบอื่นๆ ภายในเซลล์เป็นลูกโซ่ เรียกว่า \"cascade of effects\" การตายเฉพาะส่วนอาจเกิดขึ้นจากการดูแลบริเวณบาดแผลอย่างไม่เหมาะสม การตายแบบนี้จะมีการหลั่งเอนไซม์พิเศษที่เก็บเอาไว้ในไลโซโซม (lysosome) ซึ่งสามารถย่อยสลายองค์ประกอบของเซลล์หรือย่อยสลายทั้งเซลล์ หลังจากที่เซลล์ได้รับความบาดเจ็บจะมีการสลายเยื่อหุ้มไลโซโซมเป็นการเริ่มต้นลูกโซ่ปฏิกิริยาซึ่งทำให้เกิดการปล่อยเอนไซม์ออกมา และออกมายังภายนอกเซลล์จึงทำให้เกิดการทำลายเซลล์ข้างเคียงด้วย ซึ่งต่างจากการตายแบบอะพอพโทซิส", "title": "การตายเฉพาะส่วน" }, { "docid": "192124#9", "text": "Programmed cell death หรือกระบวนการตายของเซลล์ที่มีการโปรแกรมไว้เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการของทั้งเนื้อเยื่อพืชและสัตว์ การเจริญเติบโตของอวัยวะหรือเนื้อเยื่อมักจะเริ่มด้วยการแบ่งเซลล์หรือการเปลี่ยนรูปร่างเซลล์ที่มากเกินควร จากนั้นจึงตามมาด้วยกระบวนการอะพอพโทซิสเพื่อปรับรูปแบบให้เนื้อเยื่อมีขนาดและรูปร่างปกติ โดยเป็นการตายของเซลล์ที่มีลักษณะเซลล์หดตัวและแตกเป็นท่อนๆ ซึ่งต่างจากการตายของเซลล์ที่เกิดจากการบาดเจ็บ การแตกเป็นท่อนๆ ทำให้ซากเซลล์สามารถถูกจับกินและนำองค์ประกอบของเซลล์กลับมาใช้ใหม่โดยไม่มีการหลั่งสารภายในเซลล์ที่ตาย (เช่น เอนไซม์) ซึ่งก่ออันตรายต่อเนื้อเยื่อข้างเคียง", "title": "อะพอพโทซิส" }, { "docid": "192124#2", "text": "งานวิจัยเกี่ยวกับการตายแบบอะพอพโทซิสมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 ทำให้มีการค้นพบการตายแบบอะพอพโทซิสที่ผิดปกติในโรคต่างๆ หากอะพอพโทซิสเกิดขึ้นมากเกินไปจะทำให้เกิดการฝ่อของอวัยวะ เช่นในภาวะการขาดเลือดเฉพาะที่ (ischemic damage) ในขณะที่การตายแบบอะพอพโทซิสที่ไม่เพียงพอทำให้เกิดเซลล์ที่เพิ่มจำนวนอย่างควบคุมไม่ได้ เช่นมะเร็ง", "title": "อะพอพโทซิส" }, { "docid": "192124#0", "text": "อะพอพโทซิส (English: Apoptosis) เป็นรูปแบบหนึ่งของการตายของเซลล์แบบที่มีการโปรแกรมไว้แล้ว (programmed cell death) ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีซึ่งทำให้เซลล์ตายอย่างมีลักษณะที่เฉพาะ หรือกล่าวอย่างจำเพาะคือเป็นชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่ทำให้เซลล์มีสัณฐานวิทยาเปลี่ยนแปลงหลายรูปแบบ เช่น การบวมของเซลล์ (blebbing) , การเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มเซลล์เช่นการเหี่ยวของเซลล์, นิวเคลียสแตกเป็นชิ้นส่วน, โครมาตินหนาตัวขึ้น, และดีเอ็นเอแตกเป็นท่อน กระบวนการกำจัดเศษซากเซลล์ก็จะไม่ทำให้เกิดการกระตุ้นให้เนื้อเยื่อข้างเคียงเกิดความเสียหายซึ่งต่างจากการตายแบบการตายเฉพาะส่วนหรือเนโครซิส (necrosis)", "title": "อะพอพโทซิส" }, { "docid": "192124#33", "text": "การดำเนินโรคของไวรัสเอชไอวีหรือโรคเอดส์นั้นโดยหลักเกิดจากการลดจำนวนของลิมโฟไซต์ชนิด CD4+ T-helper cell และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง กลไกหนึ่งที่ทำให้เซลล์ T helper cell ลดลงนั้นเนื่องจากกระบวนการอะพอพโทซิส อันเกิดจากวิถีชีวเคมีหลากหลายอย่าง ได้แก่[28]", "title": "อะพอพโทซิส" }, { "docid": "192124#34", "text": "เอนไซม์ของไวรัส HIV ยับยั้งยีนต้านอะพอพโทซิส Bcl-2 และกระตุ้นยีนกระตุ้นอะพอพโทซิส โปรแคสเปส-8 (procaspase-8) แม้ว่ากลไกดังกล่าวไม่ได้ทำให้เซลล์ตายโดยตรงแต่เป็นการเตรียมเซลล์ให้เกิดอะพอพโทซิสหลังจากได้รับสัญญาณกระตุ้น ผลผลิตจากเชื้อ HIV จะเพิ่มระดับของโปรตีนในเซลล์ซึ่งสนับสนุนให้เกิดกระบวนการอะพอพโทซิสที่ควบคุมโดย Fas โปรตีนของเชื้อ HIV ลดจำนวนการแสดงออกของโมเลกุลไกลโคโปรตีน CD4 บนเยื่อหุ้มเซลล์ การปลดปล่อยอนุภาคและโปรตีนของไวรัสออกมาภายนอกเซลล์ ชักนำกระบวนการอะพอพโทซิสใน T-helper cell ตัวอื่นๆ ไวรัส HIV ลดการผลิตโมเลกุลที่เป็นเครื่องหมาย (marker) ให้เกิดกระบวนการอะพอพโทซิส จึงชะลอเวลาให้ไวรัสสามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนและปล่อยสารอะพอพโทซิส (apoptotic agent) และวิริออน (virion) ออกมายังเนื้อเยื่อรอบข้าง เซลล์ CD4+ ที่ติดเชื้อสามารถรับสัญญาณกระตุ้นการตายจาก cytotoxic T cell ทำให้เกิดอะพอพโทซิส", "title": "อะพอพโทซิส" }, { "docid": "192124#39", "text": "น่าสนใจว่าไวรัสนั้นยังคงอยู่ภายในเซลล์ที่เกิดอะพอพโทซิสโดยไม่ได้รับความเสียหายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะท้ายๆ ของการติดเชื้อ ไวรัสสามารถถูกขับออกมาอยู่ภายใน อะพอพโทติก บอดี ที่แยกออกมาจากพื้นผิวของเซลล์ที่กำลังตาย และถูกจับกินโดยเซลล์ข้างเคียงซึ่งทำให้เกิดการกระจายของไวรัสยังเซลล์อื่นๆ ต่อไป[32]", "title": "อะพอพโทซิส" }, { "docid": "192124#38", "text": "ไวรัสส่วนใหญ่จะถอดรหัสโปรตีนซึ่งยับยั้งกระบวนการอะพอพโทซิส[30] ไวรัสหลายชนิดสร้างโปรตีนซึ่งมีต้นกำเนิดเหมือน (homolog) กับ Bcl-2 ซึ่งสามารถยับยั้งโปรตีนกระตุ้นอะพอพโทซิส (pro-apoptotic protein) เช่น BAX และ BAK ตัวอย่างของโปรตีน Bcl-2 ของไวรัสเช่นโปรตีน BHRF1 ของเอพสไตน์-บารร์ไวรัส (Epstein-Barr virus) หรือโปรตีน E1B 19K ของอะดีโนไวรัส (adenovirus) [31] ไวรัสบางชนิดแสดงออกโปรตีนที่ยับยั้งเอนไซม์แคสเปส เช่นโปรตีน CrmA ของไวรัสฝีดาษวัว (cowpox) ในขณะที่ไวรัสหลายชนิดสามารถยับยั้งการทำงานของ TNF และ Fas ตัวอย่างเช่นโปรตีน M-T2 ของมิกโซมาไวรัส (myxoma viruses) สามารถจับกับ TNF เพื่อป้องกันไม่ให้ TNF จับกับตัวรับได้[32] นอกจากนี้ไวรัสหลายชนิดแสดงออกโปรตีนที่ยับยั้ง p53 ซึ่งทำให้ p53 ไม่สามารถชักนำการแสดงออกของโปรตีนกระตุ้นอะพอพโทซิส (pro-apoptotic proteins) และไม่สามารถชักนำให้เซลล์เกิดกระบวนการอะพอพโทซิสได้ ตัวอย่างเช่นโปรตีน E1B-55K ของอะดีโนไวรัสและโปรตีน HBx ของไวรัสตับอีกเสบ บี[33]", "title": "อะพอพโทซิส" }, { "docid": "192124#35", "text": "นอกจากเซลล์ที่ติดเชื้อจะตายจากกระบวนการอะพอพโทซิสแล้ว ยังจะตายจากผลของการติดเชื้อไวรัสโดยตรงได้อีกด้วย", "title": "อะพอพโทซิส" }, { "docid": "192124#36", "text": "ไวรัสสามารถกระตุ้นให้เซลล์ที่ติดเชื้อเกิดอะพอพโทซิสได้โดยกลไกหลากหลาย เช่น", "title": "อะพอพโทซิส" }, { "docid": "192124#32", "text": "โปรตีนต้านมะเร็ง p53 จะมีการสะสมมากขึ้นเมื่อดีเอ็นเอเสียหายจากปฏิกิริยาเคมีต่างๆ โดยผ่านวิถีซึ่งมีแอลฟา-อินเตอร์เฟอรอน (alpha-interferon) และบีตา-อินเตอร์เฟอรอน (beta-interferon) ซึ่งจะชักนำให้เกิดการถอดรหัส (transcription) ยีน p53 และเพิ่มระดับโปรตีน p53 ซึ่งช่วยส่งเสริมให้เซลล์มะเร็งเกิดการตายแบบอะพอพโทซิส[27] โปรตีน p53 จะหยุดยั้งการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์โดยการหยุดวัฏจักรเซลล์ที่ระยะ G1 หรืออินเตอร์เฟส (interphase) เพื่อให้เซลล์มีการซ่อมแซมหรือชักนำให้เกิดการตายหากความเสียหายนั้นมากเกินและซ่อมแซมไม่ได้ การขาดการควบคุมจากยีน p53 หรือยีนอินเตอร์เฟอรอนจะทำให้กระบวนการอะพอพโทซิสเกิดไม่ได้และอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง", "title": "อะพอพโทซิส" }, { "docid": "121172#20", "text": "การมีอนุภาคไวรัสและความเสียหายของเซลล์ที่เกิดจากการแตกหน่อทำให้เกิดการปล่อยไซโทไคน์ (กล่าวโดยเจาะจง คือ TNF-α, IL-6, IL-8 ฯลฯ) ซึ่งส่งสัญญาณโมเลกุลของไข้และการอักเสบ ฤทธิ์ไซโทไคน์จากการติดเชื้อในเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง ทำให้ความแข็งแรงของหลอดเลือด (vascular integrity) เสียไป การเสียความแข็งแรงของหลอดเลือดนี้ยังส่งเสริมด้วยการสังเคราะห์ GP ซึ่งลดอินทีกริน (integrin) จำเพาะซึ่งมีหน้าที่ในการยึดติดของเซลล์กับโครงสร้างในเซลล์ และความเสียหายต่อตับ ซึ่งนำไปสู่ลิ่มเลือดผิดปกติ", "title": "โรคไวรัสอีโบลา" }, { "docid": "192124#4", "text": "อะพอพโทซิสยังมีบทบาทในการป้องกันมะเร็ง หากเซลล์ไม่สามารถที่จะเกิดการตายแบบอะพอพโทซิสอันเนื่องมาจากการกลายพันธุ์ (mutation) หรือการยับยั้งกระบวนการทางชีวเคมีจะทำให้เซลล์แบ่งตัวต่อเนื่องและเจริญกลายเป็นเนื้องอก ตัวอย่างเช่น การติดเชื้อ papillomavirus จะทำให้ยีนของไวรัสเข้าแทรกในโปรตีน p53 ของเซลล์ซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญในวิถีอะพอพโทซิส การรบกวนกระบวนการอะพอพโทซิสดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญของมะเร็งปากมดลูก", "title": "อะพอพโทซิส" }, { "docid": "92839#9", "text": "ถ้าเซลล์ไม่มีกระบวนการอะพอพโทซิส เซลล์ทีผิดปกติจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่องๆ จนกลายเป็นเนื้องอก (tumour) กระบวนการอะพอพโทซิสจึงมีส่วนสำคัญ ในการควบคุมสมดุลของร่างกาย การตายของเซลล์ต้องสัมพันธุ์กับการเพิ่มจำนวนของเซลล์ เซลล์ที่ติดเชื้อหรือผิดปกติจะต้องถูกแทนที่ด้วยเซลล์ใหม่", "title": "ความตาย" }, { "docid": "192124#30", "text": "วิถีของกระบวนการอะพอพโทซิสมีจำนวนมากมายซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบทางชีวเคมีจำนวนมาก ซึ่งหลายอย่างที่ยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน[1] อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติขององค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งมีผลกระทบต่อองค์ประกอบอื่นๆ ในวิถี ในสิ่งมีชีวิตความผิดปกติดังกล่าวจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงและเกิดโรคหรือความผิดปกติได้ การจะอธิบายทุกโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของวิถีอะพอพโทซิสนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่ทุกโรคนั้นมีหลักการของสาเหตุที่เหมือนกัน นั่นคือวิถีอะพอพโทซิสปกติถูกรบกวนทำให้เซลล์มีความผิดปกติในการเข้าสู่การตายแบบอะพอพโทซิสตามปกติ ซึ่งทำให้เซลล์นั้นเป็นอมตะและสามารถแบ่งตัวอย่างควบคุมไม่ได้และเพิ่มโอกาสเกิดความผิดปกติของสารพันธุกรรม เพิ่มโอกาสที่เซลล์นั้นจะกลายเป็นมะเร็งหรือก่อโรคได้", "title": "อะพอพโทซิส" } ]
3413
พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อไหร่?
[ { "docid": "502295#1", "text": "\"พรีเคียว ออลล์สตาร์ส ดีลักซ์: พวกเราคือเพื่อนกัน☆การพบกันดั่งปาฏิหาริย์ที่ยิ่งใหญ่!\" (Precure All Stars DX: Everyone is Friends☆The Collection of Miracles!) ฉายในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2552 ในญี่ปุ่น", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" } ]
[ { "docid": "502295#5", "text": "\"พรีเคียว ออลล์สตาร์ส ดีลักซ์ 3: ส่งไปสู่อนาคต! ดอกไม้☆สีรุ้งที่เชื่อมต่อกับโลก\" (Precure All Stars DX 3: Deliver the Future! The Rainbow☆Flower That Connects the World) ฉายวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554 ในญี่ปุ่น", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#4", "text": "เมื่อทุกๆ 1,000 ปีอัญมณีลึกลับที่รู้จักกันเป็นเรนโบว์จีเวลปรากฏขึ้นนำด้วยสวนสนุกที่วิเศษที่รู้จักกันเป็นสวนสนุกแห่งภูติน้อย สึโบมิกับเอริกะได้รับคำเชิญไปที่สวนสาธารณะที่พวกเขาได้พบกับความรักและการรักษาอื่นๆ อย่างไรก็ตามเรนโบว์จีเวลมีการกำหนดเป้าหมายโดยสัตว์ที่รู้จักในฐานะล่างที่ชุบชีวิตป้องกันหลายวิธีจากศัตรูที่เลวร้ายที่สุดในการที่จะจับมัน หลังจากที่กลายเป็นแยกออกเป็นระดับความลึกของสวนสนุก สึโบมิกับเอริกะจะต้องมุ่งมั่นที่จะรวมกันรักษาและหยุดฐานก่อนเรนโบว์จีเวลที่จะสามารถเปิดเผยตัวเองและสามารถได้รับพลังของตน", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#15", "text": "กุเรรุ (Gureru)", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#12", "text": "\"Precure Heartful Echo!\"", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#20", "text": "1.\"พรีเคียว ออลล์สตาร์ส: โกโก ดรีม ไลฟ์\" (Precure All Stars: GoGo Dream Live) ฉายวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ในญี่ปุ่น", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#19", "text": "\"พรีเคียว ออลล์สตาร์ส: ร้องเพลงร่วมกับทุกคน♪ เวทมนตร์แห่งปาฏิหาริย์!\" (Precure All Stars: Singing with Everyone♪ Miraculous Magic!) ฉายวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559 ในญี่ปุ่น", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#16", "text": "เอนเอน (Enen)", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "622400#33", "text": "14. คิระคิระ☆พรีเคียว อะลาโหมด ฉบับภาพยนตร์: ขนมหวานแสนกรุบกรอบ! ความทรงจำของขนมมิลล์เฟย! มีตอนสั้นด้วยคือ เปอตีต์☆ดรีมสตาร์ส! เลทส์・ลา・คุกกิ้ง? โชว์ไทม์! พ.ศ. 2560", "title": "พริตตี้เคียว" }, { "docid": "502295#7", "text": "\"พรีเคียว ออลล์สตาร์ส นิวสเตจ: เพื่อนแห่งอนาคต\" (Precure All Stars New Stage: Friends of The Future) ฉายวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555 ในญี่ปุ่น", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#13", "text": "\"พรีเคียว ออลล์สตาร์ส นิวสเตจ 2: เพื่อนแห่งจิตใจ\" (Precure All Stars New Stage 2: Friends of the Heart) ฉายวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556 ในญี่ปุ่น", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "764070#38", "text": "ตุ๊กตาหมีของมิไรที่ได้มาจากคุณยายคาโนโกะ มิไรมักพาโมฟุรุนไปไหนมาไหนด้วยกันเสมอ มีชีวิตขึ้นมาด้วยพลังเวทมนตร์ของมิไรและริโกะและภาคเดอะมูฟวี่ โมฟุรุนกลายเป็นพริตตี้เคียวคนที่ 4", "title": "มาโฮสึไค พรีเคียว!" }, { "docid": "502295#10", "text": "\"ส่งไปถึงยังห้วงคำนึง เคียวเอคโค่!\"", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#8", "text": "ฟิวชั่น สัตว์ประหลาดที่คิดจะทำให้โลกตกอยู่ในความมืดมิด เหล่าสาวน้อยพริตตี้เคียวจึงช่วยกันจัดการแต่ทว่าฟิวชั่นนั้นได้แยกออกมาเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เด็กสาวชื่อว่า \"ซาคางามิ อายูมิ\" เด็กสาวที่ย้ายมาจากเมืองอื่นได้มาเจอชิ้นหลักของฟิวชั่นแต่อายูมินั้นไม่รู้ว่านั้นคือฟิวชั่นและได้ตั้งชื่อให้มันว่า \"ฟูจัง\" และได้เจอกับฮิบิกิและมิยูกิ ฮามี่กับแคนดี้ได้โผล่มาคุยกันหลังจากที่อายูมิไปแล้ว ทำให้ทั้ง 2 คนรู้ว่าอีกฝ่ายก็เป็นพริตตี้เคียว ในระหว่างคุยกันฟิวชั่นก็โผล่มา ทั้ง 2 คนจึงไล่ตาม คานาเดะ เอเลนและอาโกะก็ได้ตามมาทีหลังและทั้ง 4 คนก็แปลงร่างเป็น \"เคียวเมโลดี้, เคียวริธึ่ม, เคียวบีทและเคียวมิวส์\" มิยูกิเองก็แปลงร่างเป็น \"เคียวแฮปปี้\" ทั้ง 5 คนจึงจัดการฟิวชั่นได้สำเร็จ ต่อมาอายูมิได้ทะเลาะกับคุณแม่จึงหนีออกจากบ้านและได้พบกับมิยูกิและเพื่อนๆ ทำให้อายูมิเศร้าที่ไม่มีเพื่อนเยอะบ้าง ฟูจังโกรธที่พวกมิยูกิ ทำให้อายูมิเศร้าจึงได้โจมตีพวกมิยูกิ ทั้ง 5 คนจึงแปลงร่างเป็นพริตตี้เคียวต่อสู้กับฟูจังแต่ไม่สามารถทำอะไรได้ สักพัก สวีตพรีเคียว♪ ก็มาช่วยแต่อายูมิไม่ให้ สวีตพรีเคียว♪ ทำอะไรฟูจัง เคียวมิวส์พยายามอธิบายว่าฟูจังเป็นตัวอันตรายแต่อายูมิไม่ฟังอะไรเพราะคิดแต่ว่าฟูจังเป็นเพื่อนจึงปกป้องและวิ่งหนีไป อายูมิคิดว่าตัวเองเป็นศัตรูกับพริตตี้เคียว พอกลับถึงบ้าน คุณแม่ของอายูมิดุอายูมิ ฟูจังเห็นดังนั้นจึงได้ทำให้คุณแม่ของอายูมิหายไป อายูมิไม่เข้าใจ ฟูจังได้ออกไปยังจุดที่สูงที่สุดเพื่อรวมตัวกับชิ้นส่วนอื่น อายูมิตามฟูจังออกมาและได้พบกับ สไมล์พรีเคียว! จึงขอความช่วยเหลือให้พาไปหาฟูจัง ระหว่างนั้นก็ได้พบกับ ฮาร์ตแคชพรีเคียว! และ เฟรชพรีเคียว! ทั้ง 2 กลุ่มแปลงร่างเป็นพริตตี้เคียวและได้เข้ามาช่วย ต่อมา มหัศจรรย์สาวน้อยพริตตี้เคียว แมกซ์ฮาร์ต, มหัศจรรย์สาวน้อยพริตตี้เคียว สแปลช☆สตาร์ และ Yes! พรีเคียว 5 GoGo! ทั้ง 3 กลุ่มก็ได้เข้ามาช่วยเหลือแต่ว่าฟิวชั่นชิ้นหนึ่งกำลังจะกลืนอายูมิ ในระหว่างนั้นอายูมิคิดแต่ว่าจะต้องสื่อความรู้สึกให้ฟูจังรับรู้ให้ได้และทันใดนั้นเองก็เกิดปาฏิหาริย์ ทำให้อายูมิแปลงร่างเป็น \"เคียวเอคโค่\" ได้ พวกภูติของพริตตี้เคียวทั้งหลายต่างได้ให้ความช่วยเหลือพริตตี้เคียวด้วย \"มิราเคิลไลท์\" ทำให้เคียวเอคโค่สามารถขึ้นไปหาฟูจังได้และได้พูดความรู้สึกออกไปฟูจังที่ได้รับรู้ก็ได้สั่งให้ชิ้นส่วนอื่นหยุดแต่ทว่าชิ้นส่วนพวกนั้นไม่หยุดและจะทำร้ายอายูมิ สไมล์พรีเคียว! จึงช่วยกันหยุดฟูจังเห็นท่าว่า สไมล์พรีเคียว! นั้นจะต้านได้ไม่นานจึงได้สละตัวเองเป็นพลังให้กับ สไมล์พรีเคียว! และจากแรงเชียร์ของเหล่าภูติ ทำให้สามารถจัดการฟิวชั่นได้สำเร็จและโลกก็กลับสู่ความสงบสุขอีกครั้งหนึ่ง", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#18", "text": "\"พรีเคียว ออลล์สตาร์ส: งานรื่นเริงแห่งฤดูใบไม้ผลิ♪\" (Precure All Stars: Spring Carnival♪) ฉายวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558 ในญี่ปุ่น", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#22", "text": "หมวดหมู่:ภาพยนตร์อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2555 หมวดหมู่:การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชโจะ หมวดหมู่:พริตตี้เคียว", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#14", "text": "ในโรงเรียนที่ห่างไกลที่เรียกว่าสถาบันการศึกษาแห่งภูติน้อยที่ทาร์ตจะให้การบรรยายเกี่ยวกับพริตตี้เคียว ภูติน้อยจอมเกเรชื่อกุเรรุและภูติน้อยจอมขี้อายชื่อเอนเอน ได้ไปทางต้นไม้ต้องห้ามที่เป็นเงาของกุเรรุที่ใช้เวลาสนใจในการได้ยินที่มีสาวน้อยพริตตี้เคียวตามปกติอย่างเรียบง่าย หากพวกเธอไม่สามารถแปลงร่างได้และกล่อมให้กุเรรุเอาไอเท็มแปลงร่างของพริตตี้เคียวเพื่อเขาจะได้มีชื่อเสียง หลังจากนั้นไม่นานพริตตี้เคียวทุกกลุ่มได้รับคำเชิญที่จะมาถึงงานปาร์ตี้สถาบันการศึกษาแห่งภูติน้อย ในขณะเดียวกันมานะ ริกกะ อลิซและมาโคโตะได้รับจดหมายจากมิยูกิและแคนดี้แจ้งถึงงานปาร์ตี้เชิญชวนให้พวกเธอมาพร้อมกันเป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันในสถาบันการศึกษาแห่งภูติน้อย เงาของกุเรรุได้บังคับให้กุเรรุเข้าไปจับภูติน้อยของพริตตี้เคียวและไอเท็มแปลงร่างของพริตตี้เคียวปล่อยให้ไม่มีที่พึ่งจากไอเท็มแปลงร่างกับการโจมตีเงาของกุเรรุ หลังจากพริตตี้เคียวพ่ายแพ้ในครั้งนี้ เงาของกุเรรุจะเปลี่ยนความสนใจของเขาต่อ สไมล์พรีเคียว! โดยใช้หนังสือแนะนำพริตตี้เคียวเพื่อตอบโต้การเคลื่อนไหวทุกครั้งของพวกเธอและขโมยสไมล์แพ็คของพวกเธอก่อนขังพวกเธอในรูปปั้นเหมือนคนอื่นๆ ในฐานะที่เอนเอนคร่ำครวญขอความช่วยเหลือต่อเงากุเรรุ มิยูกิจึงบอกเขาว่าไม่ต้องกังวลและให้ไปตามหาขอความช่วยเหลือจาก โดกิโดกิ! พรีเคียว ก่อนที่จะถูกห่อหุ้มตัวเอง ด้วยการสันนิษฐานว่าพริตตี้เคียวจะหาวิธีกำจัดเงาของกุเรรุ เงาเผยให้เห็นความตั้งใจจริงของเขาที่จะทำลายสถาบันการศึกษาและขังทั้งหมดของนักเรียนที่เป็นภูตน้อยมากเพื่อให้กุเรรุตกตะลึง กุเรรุและเอนเอนจึงตามหา โดกิโดกิ! พรีเคียว และขอความช่วยเหลือจากพวกเธอในการหยุดเงาของกุเรรุ ในฐานะที่เป็นพริตตี้เคียวต่อสู้กับสมุนเงาของกุเรรุ กุเรรุและเอนเอนได้รับช่วยเหลือจากแคนดี้และป๊อป เพื่อตามหาภูติน้อยที่ถูกจับตัวและด้วยความช่วยเหลือจากนักเรียนที่เป็นภูติน้อยที่ใช้มิราเคิลไลท์ช่วยให้พริตตี้เคียวคนอื่นๆ ได้ไอเท็มแปลงร่างที่ถูกขโมยไปคืนกลับมา ช่วยให้พวกเธอแปลงร่างได้อีกครั้งและเรียกคืนแสงไปทั่วโลกแห่งภูติน้อยด้วยการสนับสนุนจากภูติน้อย พริตตี้เคียวแต่ละกลุ่มลุกขึ้นต่อสู้กับเงาของกุเรรุเป็นทางเลือกสุดท้ายเงาของกุเรรุที่รวมทั้งหมดของความแข็งแรงจนเขากลายเป็นแมงมุมยักษ์แต่เขาพ่ายแพ้ในที่สุด โดยพริตตี้เคียวนำเงาหรือแมงมุมยักษ์ของกุเรรุกลับสู่ร่างเดิมและจากนั้นเงากุเรรุและกุเรรุรวมถึงเอนเอนจึงขอโทษพริตตี้เคียวกับภูติน้อยทั้งหมดแล้วได้มาเป็นภูติน้อยของพริตตี้เคียว เมื่อโลกแห่งภูติน้อยและสถาบันการศึกษาแห่งภูติน้อยได้สู่ความสงบสุขอีกครั้งและพริตตี้เคียวได้ช่วยกันซ่อมแซมสถาบันการศึกษาแห่งภูติน้อยก่อนจะจัดงานปาร์ตี้อย่างพอสมควร", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#11", "text": "สีประจำตัว: \"สีขาว\", \"สีชมพู\" ( ), \"สีเขียว\" ( )", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "622400#34", "text": "15. ฮักโตะ! พรีเคียว♡มหัศจรรย์สาวน้อยพริตตี้เคียว ฉบับภาพยนตร์: ออลล์สตาร์ส เมมโมรีส์ พ.ศ. 2561", "title": "พริตตี้เคียว" }, { "docid": "502295#17", "text": "\"พรีเคียว ออลล์สตาร์ส นิวสเตจ 3: เพื่อนแห่งนิรันดร์\" (Precure All Stars New Stage 3: Forever Friends) ฉายวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2557 ในญี่ปุ่น", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#21", "text": "2.\"พรีเคียว ออลล์สตาร์ส ดีลักซ์: 3D เธียเตอร์\" (Precure All Stars DX: 3D Theatre) ฉายวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ในญี่ปุ่น", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#9", "text": "เคียวเอคโค่ (Cure Echo) / ซาคางามิ อายูมิ (Sakagami Ayumi)", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "816526#0", "text": "มาโฮสึไก พรีเคียว! หรือ มาโฮ เกิร์ล พรีเคียว! เป็นอะนิเมะ พริตตี้เคียว ซีรีส์ที่ 13 ผลิตโดย โตเอแอนิเมชัน ออกอากาศในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 ทางสถานีโทรทัศน์ ทีวีอาซาฮี", "title": "มาโฮสึไก พรีเคียว!" }, { "docid": "911520#54", "text": "แฮมสเตอร์พี่เลี้ยงของฮักตัน พูดสำเนียงคันไซ เป็นผู้สอนฮานะและทุกคนเกี่ยวกับพริตตี้เคียวแต่ดูจะไม่ค่อยเต็มใจสักเท่าไหร่ สามารถเปลี่ยนร่างเป็นมนุษย์ได้", "title": "ฮักโตะ! พรีเคียว" }, { "docid": "622400#50", "text": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส การ์ดเดรส ซีรีส์ (Precure All Stars) พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน", "title": "พริตตี้เคียว" }, { "docid": "622400#47", "text": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส: ทุกคนรวมกัน Let's Dance (Precure All Stars) พ.ศ. 2556", "title": "พริตตี้เคียว" }, { "docid": "502295#3", "text": "\"พรีเคียว ออลล์สตาร์ส ดีลักซ์ 2: แสงแห่งความหวัง☆จงปกป้องเรนโบว์จีเวล!\" (Precure All Stars DX 2: Light of Hope☆Protect the Rainbow Jewel!) ฉายวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553 ในญี่ปุ่น", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#6", "text": "ขณะที่ฮิบิกิกับคานาเดะสิ้นสุดการประชุมการรักษาอื่นๆ ที่กำลังถือแฟชั่นโชว์ที่ห้างสรรพสินค้าแห่งดอกไม้ของพวกเขาเร็วๆ นี้พบว่าโลกและโลกต่างๆ ของเหล่าภูติน้อยได้รวมเป็นผลมาจากคนที่ยุ่งเกี่ยวกับปริซึมฟลาวเวอร์ซึ่งเชื่อมโยงโลกของมนุษย์และภูติน้อย ผู้กระทำผิดถูกเปิดเผยเร็วๆ นี้จะเป็นกลุ่มของคนร้ายที่ฟื้นขึ้นมาด้วยพลังที่ชั่วร้ายที่รู้จักกันเป็นหลุมดำที่เป็นผู้รับผิดชอบสำหรับการสร้างฟิวชั่นและด้านล่าง ขณะที่การกำหนดเป้าหมายปริซึมฟลาวเวอร์พริตตี้เคียวก็กระจัดกระจายไปโดยคนร้ายเป็น 3 สนามรบนั้นและรวมกันเป็น 3 ทีมใหญ่ แยกจากกันทีมย่อยนั้นที่พวกเขาเผชิญหน้ากับฝ่ายตรงข้ามของพวกเขา ตอนแรกพวกเขาต่อสู้เพื่อตัวเองจะได้รับการช่วยเหลือด้วยการตั้งค่าใหม่ของพวกเขาแต่ในท้ายที่สุดพวกเขาจัดการเพื่อเอาชนะทั้งหมดของการทดลองของพวกเขาที่พวกเขาใช้การทำงานเป็นทีมและกลยุทธ์ของพวกเขาเพื่อที่จะเอาชนะศัตรูของพวกเขา หลังจากที่การจัดการเพื่อหลุดพ้นจากเขตข้อมูลเหล่านี้และเอาชนะคนร้ายฟื้นขึ้นมาที่พริตตี้เคียวจะสู้หลุมดำที่สูญเสียพลังการเปลี่ยนแปลงของพวกเขาในกระบวนการ พวกเขาจะได้รับโอกาสที่จะเปลี่ยนอีกครั้งแต่มันจะหมายถึงความเสียสละของปริซึมฟลาวเวอร์ หมายความว่าพริตตี้เคียวและภูติน้อยจะต้องกลายเป็นแยกจากกัน พริตตี้เคียวเต็มใจบอกลาพวกเขาและใช้พลังปริซึมฟลาวเวอร์ที่จะเอาชนะหลุมดำ โชคดีที่ปริซึมฟลาวเวอร์กำลังบานขึ้นมาใหม่อีกครั้งและเหล่าภูติน้อยก็ได้รวมตัวกันอีกครั้งกับเพื่อนของพวกเขา", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#0", "text": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่ (Precure All Stars The Movie) เป็นภาพยนตร์ของ พริตตี้เคียว ที่รวบรวมสมาชิกของพริตตี้เคียวตั้งแต่กลุ่มแรกจนถึงกลุ่ม มาโฮสึไค พรีเคียว! ส่วนหลังจากนี้ในภาคพรีเคียวดรีมสตาร์สเป็นต้นไปเลือกแค่ 3 กลุ่มเท่านั้น โดยกลุ่ม Go! พรินเซส พรีเคียว เป็นกลุ่มหลัก กลุ่ม มาโฮสึไค พรีเคียว! เป็นกลุ่มรองและกลุ่ม คิระคิระ☆พรีเคียว อะลาโหมด เป็นกลุ่มน้องใหม่ ต่อมาภาคพรีเคียวซูเปอร์สตาร์ส โดยคราวนี้กลุ่ม มาโฮสึไค พรีเคียว! ได้เป็นกลุ่มหลัก กลุ่ม คิระคิระ☆พรีเคียว อะลาโหมด เป็นกลุ่มรองและกลุ่ม ฮักโตะ! พรีเคียว เป็นกลุ่มน้องใหม่", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" }, { "docid": "502295#2", "text": "เลิฟ มิกิและอิโนริ มุ่งหน้าไปยังงานแข่งขันการประกวดเต้นรำที่มินาโตะมิไร 21 ในโยโกฮาม่ากับทาร์ตและชิฟฟอน พวกเธอถูกโจมตีโดยสิ่งมีชีวิตที่แปลกประหลาดที่ชื่อว่าฟิวชั่น ถึงแม้ว่ามันจะหายไปในไม่ช้า หลังจากนั้นจู่ๆ ชิฟฟอนก็หายตัวไป ทาร์ตไปประชุมกับภูติตัวอื่นๆ ซึ่งถูกโจมตีโดยฟิวชั่น ในฐานะที่เป็นภูติไปเตือนพริตตี้เคียวคนอื่นๆ พวกเขามีส่วนร่วมกับการต่อสู้กับฟิวชั่นที่ออกหลังจากการดูดซับการโจมตีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดของพวกเขาและจะกลายเป็นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ฟิวชั่นโจมตีกลุ่ม เฟรชพรีเคียว! อีกครั้งและพยายามที่จะดูดซับพวกเธอแต่พวกเธอจะถูกบันทึกไว้ โดยการมาถึงของพริตตี้เคียวคนอื่นๆ ที่พบกันเป็นครั้งแรก การต่อสู้เพื่อรักษาในการต่อสู้แต่จะมีที่รอดมาด้วย โดยการมาถึงของชิฟฟอนที่มอบเรนโบว์มิราเคิลไลท์ช่วยให้ภูติที่จะมีพลังขึ้นมาปกป้องเพื่อให้พวกเธอสามารถเอาชนะฟิวชั่น", "title": "พรีเคียว ออลล์สตาร์ส เดอะมูฟวี่" } ]
113
เมืองใดในประเทศกัมพูชามีขนาดใหญ่ที่สุด?
[ { "docid": "1937#1", "text": "ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา", "title": "ประเทศกัมพูชา" } ]
[ { "docid": "877781#0", "text": "กระแจะ () เป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดกระแจะ ประเทศกัมพูชา มีประชากร 38,215 คน เป็นเมืองตลาดการค้า และมีตึกเก่าสมัยอาณานิคม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงซึ่งมีชายหาด และยังเป็นแหล่งอาศัยของโลมาอิรวดีอีกด้วย จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2007 โดยโครงการอนุรักษ์โลมาแม่น้ำโขง (CMDCP) พบว่า มีโลมาเหลืออยู่ 66-68 ตัวในกัมพูชา", "title": "กระแจะ (เมือง)" }, { "docid": "1953#7", "text": "นครรัฐของชาวปยูไม่เคยรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่นครรัฐขนาดใหญ่มักมีอิทธิพลเหนือนครรัฐขนาดเล็กซึ่งแสดงออกโดยการส่งเครื่องบรรณาการให้ นครรัฐที่มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ศรีเกษตร ซึ่งมีหลักฐานเชื่อได้ว่า เป็นเมืองโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศพม่า ไม่ปรากฏหลักฐานว่าอาณาจักรศรีเกษตรถูกสถาปนาขึ้นเมื่อใด แต่มีการกล่าวถึงในพงศาวดารว่ามีการเปลี่ยนราชวงศ์เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 637 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาณาจักรศรีเกษตรต้องได้รับการสถาปนาขึ้นก่อนหน้านั้น มีความชัดเจนว่า อาณาจักรศรีเกษตรถูกละทิ้งไปในปีพุทธศักราช 1199 เพื่ออพยพย้ายขึ้นไปสถาปนาเมืองหลวงใหม่ทางตอนเหนือ แต่ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองใด นักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองฮะลีนจี อย่างไรก็ตามเมืองดังกล่าวถูกรุกรานจากอาณาจักรน่านเจ้าในราวพุทธศตวรรษที่ 15 จากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงชาวปยูอีก", "title": "ประเทศพม่า" }, { "docid": "934066#0", "text": "ไพรแวง หรือ กรุงไพรแวง () เป็นเมืองหลักของจังหวัดไพรแวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศกัมพูชา เมืองนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวฝรั่งเศสในยุคอินโดจีน ซึ่งสถาณที่หลายแห่งทรุดโทรมแล้ว มีทะเลสาบขนาดใหญ่ทางตะวันตกของเมือง ซึ่งโดยปกติจะแห้งตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม", "title": "ไพรแวง (เมือง)" }, { "docid": "7585#39", "text": "ต่อมาในช่วงอารยธรรมขอมในประเทศกัมพูชาได้เจริญถึงขีดสุดราวพุทธศตวรรษที่  16 – 18 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย  พบปราสาทหินและเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบขอม  เป็นจำนวนมาก ได้แก่ เมืองพิมาย อันมีปราสาทพิมายเป็นศูนย์กลางของเมือง ตัวเมืองมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่  เป็นต้น  ช่วงระยะเวลานี้มีหลักฐานว่าเมืองสุรินทร์ได้รับอิทธิพลอารยธรรมของขอมโบราณอย่างมากเช่นกัน มีการปรับแผนผังเมืองให้ใหญ่ขึ้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบขอมโบราณมีคูน้ำ 2 ชั้น  คันดิน 1 ชั้น  ล้อมรอบ  ขนาดกว้าง 1,500  เมตร  ยาว  2,500  เมตร  ล้อมรอบตัวเมืองเดิมรูปวงรีในสมัยก่อนหน้านั้นไว้ภายในอีกชั้นหนึ่ง ส่วนพื้นที่อำเภอต่างๆ พบปราสาทขอมโบราณอีกหลายแห่ง", "title": "จังหวัดสุรินทร์" }, { "docid": "772879#1", "text": "ถนนเส้นนี้ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ขนส่งสินค้าระหว่างเมืองกับท่าเรือ ทำให้บางช่วงของทางหลวงหมายเลข 4 เป็นถนนที่เก็บค่าผ่านทาง ซึ่งมีอยู่ 3 ด่านด้วยกัน และเป็นถนนที่อันตรายที่สุดในกัมพูชา เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งและมีการควบคุมที่ไม่เพียงพอ", "title": "ทางหลวงหมายเลข 4 (ประเทศกัมพูชา)" }, { "docid": "577772#0", "text": "ศรีโสภณ () เป็นเมืองหลักของจังหวัดบันทายมีชัย ประเทศกัมพูชา และยังเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของประเทศกัมพูชา", "title": "ศรีโสภณ" }, { "docid": "50090#0", "text": "อำเภอหาดใหญ่ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสงขลา เป็นที่ตั้งของเทศบาลนครหาดใหญ่ เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของไทย และเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของภาคใต้ หาดใหญ่เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในหลายด้าน เป็นเมืองท่องเที่ยวและจุดสินค้าหลักในภาคใต้/หลากหลายราคาถูกและครบครัน..ที่มีชื่อเสียงโดยเฉพาะแถบประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย จีน และอินเดีย บรูไน", "title": "อำเภอหาดใหญ่" }, { "docid": "50090#20", "text": "หาดใหญ่ เมืองศูนย์กลางด้านการค้าและธุรกิจของภาคใต้ ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และเป็นประตูผ่านไปยังประเทศเพื่อนบ้าน คือ มาเลเซีย และสิงคโปร์ มีสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ส่วนมากมักจะมาจากประเทศมาเลเซีย เนื่องจากอยู่ห่างจากด่านสะเดาเพียง 60 กิโลเมตร ปัจจัยที่ทำให้มีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากก็คือ การเป็นศูนย์กลางทางด้านต่าง ๆ ธุรกิจการค้า การขนส่ง การสื่อสาร การคมนาคม การศึกษา การท่องเที่ยว การรถไฟที่สามารถเชื่อมต่อผ่านตัวเมืองหาดใหญ่โดยผ่านสถานีรถไฟปาดังเบซาร์และเชื่อมต่อไปทางรถไฟสายกรุงเทพฯได้", "title": "อำเภอหาดใหญ่" }, { "docid": "468066#0", "text": "เสียมราฐ หรือชื่อท้องถิ่นว่า เสียมเรียบ () เป็นเมืองในประเทศกัมพูชา มีฐานะเป็นเมืองเอกของจังหวัดเสียมราฐ (เทียบได้กับอำเภอเมืองของจังหวัดในประเทศไทย) มีประชากรประมาณ 171,800 คน เมืองเสียมราฐเป็นที่รู้จักกันดีเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้นครวัด นครธม และปราสาทขอมอื่น ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของเมืองพระนคร แหล่งมรดกโลกของกัมพูชา", "title": "เสียมราฐ (เมือง)" } ]
2659
ดาวเคราะห์มีแสงในตัวเองหรือไม่ ?
[ { "docid": "3688#2", "text": "ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดในปัจจุบันกล่าวว่าดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นจากการยุบตัวลงของกลุ่มฝุ่นและแก๊ส พร้อมๆ กับการก่อกำเนิดดวงอาทิตย์ที่ใจกลาง ดาวเคราะห์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง สามารถมองเห็นได้เนื่องจากพื้นผิวสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะมีดาวบริวารโคจรรอบ ยกเว้นดาวพุธและดาวต่างต่าง และสามารถพบระบบวงแหวนได้ในดาวเคราะห์ขนาดใหญ่อย่างดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน มีเพียงดาวเสาร์เท่านั้นที่สามารถมองเห็นวงแหวนได้ชัดเจนด้วยกล้องส่องทางไกล", "title": "ดาวเคราะห์" } ]
[ { "docid": "669611#1", "text": "ดาวเคราะห์น้ำแข็งโดยมากมีคุณสมบัติที่ไม่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากมีอุณหภูมิที่เย็นจัด ดาวเคราะห์น้ำแข็งอาจมีมหาสมุทรภายในที่อยู่ใต้เปลือกของมัน ซึ่งอาจถูกทำให้อุ่นโดยแกนของมันเองหรือแรงไทดัลจากวัตถุที่อยู่ใกล้เคียง โดยเฉพาะดาวแก๊สยักษ์ น้ำใต้เปลือกดาวเคราะห์อาจสามารถเอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต รวมไปถึงปลา แพลงก์ตอน และจุลินทรีย์ แพลงก์ตอนและจุลินทรีย์ที่อยู่ใต้เปลือกของดาวเคราะห์จะไม่ทำการสังเคราะห์ด้วยแสงเนื่องจากแสงดาวฤกษ์ถูกบดบังโดยเปลือกน้ำแข็งที่อยู่เหนือน้ำ แต่จะสร้างสารอาหารจากโดยใช้สารเคมีจำเพาะ โดยผ่านกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี หากมีปัจจัยที่เหมาะสม ดาวเคราะห์บางดวงอาจมีชั้นบรรยกาศที่เห็นได้ชัดคล้ายกับไททัน ดาวบริวารของดาวเสาร์ ซึ่งอาจเอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตต่างดาว", "title": "ดาวเคราะห์น้ำแข็ง" }, { "docid": "50516#5", "text": "ครั้นต่อมาได้มีการศึกษาสเปกตรัมของแสงอาทิตย์ พบว่ามีฮีเลียม แต่ไม่พบเนบิวเลียม จนเฮนรี นอร์ริส รัสเซล (Henry Norris Russel) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน เสนอว่า \"เนบิวเลียม\" เป็นธาตุที่เราคุ้นเคยกันดี แต่อยู่ในสภาวะที่เราไม่ทราบ ต่อมาค้นพบว่าใจกลางของเนบิวลาดาวเคราะห์ (คือดาวแคระขาว) มีอุณหภูมิสูงมากแต่มีแสงจางมาก ขณะที่ชั้นนอกของดาวยักษ์แดงดวงเดิมขยายตัวออกสู่อวกาศเสมอ จนเกิดแนวคิดว่าเนบิวลาดาวเคราะห์เป็นจุดจบของดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย (ต่างกับซูเปอร์โนวาที่เป็นจุดจบของดาวฤกษ์ที่มีมวลมาก)", "title": "เนบิวลาดาวเคราะห์" }, { "docid": "47050#41", "text": "ดาวเคราะห์น้อยประมาณหนึ่งส่วนในสามส่วนของดาวเคราะห์น้อยทั้งหมดในแถบหลักจะเป็นสมาชิกของตระกูลดาวเคราะห์น้อยตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้มีลักษณะวงโคจรใกล้เคียงกัน เช่นค่ากึ่งแกนเอก ค่าความเบี้ยวศูนย์กลาง และค่าระนาบวงโคจร รวมถึงคุณสมบัติทางแสงที่คล้ายคลึงกัน สิ่งเหล่านี้แสดงว่าดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากวัตถุเดียวกันแล้วจึงแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จากแผนภาพแสดงตำแหน่งวัตถุที่เป็นสมาชิกในแถบหลักแสดงให้เห็นความหนาแน่นของวัตถุในบางตำแหน่งซึ่งส่อถึงตระกูลดาวเคราะห์น้อย ประมาณได้ว่ามีความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันเช่นนี้อยู่ราว 20-30 กลุ่มที่น่าจะเป็นดาวเคราะห์น้อยตระกูลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันน้อยลงมา เราสามารถแยกแยะตระกูลดาวเคราะห์น้อยได้จากวัตถุที่มีคุณสมบัติทางแสงตรงกัน ส่วนดาวเคราะห์น้อยที่มีความสัมพันธ์น้อยลงมาจะเรียกว่า กลุ่มหรือกระจุกดาวเคราะห์น้อย", "title": "แถบดาวเคราะห์น้อย" }, { "docid": "3800#29", "text": "มีคำถามที่ยังตอบไม่ได้จำนวนมากเกี่ยวกับคุณสมบัติของดาวเคราะห์นอกระบบ อย่างเช่น รายละเอียดขององค์ประกอบของดาว และโอกาสที่ดาวเหล่านี้จะมีดวงจันทร์ของตัวเอง ในปัจจุบันพบว่าดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมากไม่มีน้ำซึ่งแสดงว่ายังคงต้องมีการศึกษาสมบัติของดาวเคราะห์นอกระบบเพิ่มเติม อีกคำถามหนึ่งคือมีสิ่งมีชีวิตในดาวเคราะห์นอกระบบหรือไม่ ดาวเคราะห์หลาย ๆ ดวงมีวงโคจรอยู่ในระยะที่สามารถมีสิ่งมีชีวิตได้ ซึ่งมีโอกาสที่เงื่อนไขหลายประการทำให้ดาวเคราะห์เหล่านั้นเป็นดาวเคราะห์คล้ายโลก แต่ดาวเคราะห์เหล่านี้ส่วนมากเป็นดาวเคราะห์ยักษ์คล้ายดาวพฤหัสบดีมากกว่า ถ้าดาวเคราะห์เหล่านี้มีดวงจันทร์ขนาดใหญ่ เป็นไปได้ว่าดวงจันทร์เหล่านั้นจะสามารถเป็นแหล่งกำเนิดสิ่งมีชีวิตได้ การตรวจหาสิ่งมีชีวิตบนดาวที่อยู่ห่างไกล (ยังไม่นับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอารยธรรมหรือไม่) เป็นสิ่งที่น่าท้าทายอย่างยิ่งและอาจยังเป็นไปไม่ได้ในช่วงระยะเวลาหลายปีนี้ แม้ว่าการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะเป็นเรื่องปกติธรรมดาก็ตาม", "title": "ดาวเคราะห์นอกระบบ" }, { "docid": "47050#21", "text": "ดาวเคราะห์น้อยประเภทซิลิกา หรือประเภท S มักพบมากบริเวณด้านในของแถบหลัก คือมีวงโคจรจากดวงอาทิตย์น้อยกว่า 2.5 หน่วยดาราศาสตร์ สเปกตรัมพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยในกลุ่มนี้แสดงให้เห็นซิลิเกตจำนวนมากรวมถึงโลหะบางชนิด แต่ไม่มีร่องรอยที่เด่นชัดขององค์ประกอบคาร์บอน แสดงว่าแร่ธาตุในตัวได้ผ่านการปรับเปลี่ยนไปจากองค์ประกอบดั้งเดิม ซึ่งอาจเกิดจากการหลอมละลายหรือการก่อตัวใหม่ ดาวเคราะห์น้อยกลุ่มนี้มีค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงค่อนข้างสูง และมีจำนวนประมาณ 17% ของจำนวนประชากรดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด", "title": "แถบดาวเคราะห์น้อย" }, { "docid": "3875#59", "text": "ดาวเคราะห์ที่สามารถค้ำจุนต่อสิ่งมีชีวิตได้ เรียกว่า ดาวเคราะห์อยู่อาศัยได้ โดยไม่จำเป็นว่าสิ่งมีชีวิตจะต้องกำเนิดจากดาวเคราะห์นั้น โลกมีน้ำในรูปของเหลว ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมที่โมเลกุลสารอินทรีย์ซับซ้อนสามารถรวมตัวกันหรือมีอันตรกิริยาต่อกันได้ และมีพลังงานเพียงพอค้ำจุนเมแทบอลิซึม ระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ตลอดจนความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร อัตราการหมุนรอบตัวเอง ความเอียงของแกนดาว ประวัติศาสตร์ธรณีวิทยา การมีชั้นบรรยากาศคอยค้ำจุน และมีสนามแม่เหล็ก ทั้งหมดล้วนเกื้อหนุนให้เกิดสภาพภูมิอากาศที่พื้นผิวดังเช่นในปัจจุบัน", "title": "โลก (ดาวเคราะห์)" }, { "docid": "204908#0", "text": "ดาวเคราะห์น้อยประเภท M เป็นดาวเคราะห์น้อยที่ไม่ทราบองค์ประกอบแน่ชัด มีความสว่างปานกลาง (ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสง ประมาณ 0.1-0.2) บางดวงมีส่วนประกอบของนิกเกิล-เหล็ก ซึ่งมีทั้งแบบบริสุทธิ์และแบบผสมกับองค์ประกอบที่เป็นหิน เชื่อว่าเป็นชิ้นส่วนจากแกนกลางโลหะของดาวเคราะห์น้อยอื่นๆ ที่แตกออกจากการปะทะ และน่าจะเป็นต้นกำเนิดของอุกกาบาตโลหะที่พบบนโลก", "title": "ดาวเคราะห์น้อยประเภท M" }, { "docid": "3746#36", "text": "ดาวเคราะห์ชั้นในหรือดาวเคราะห์ใกล้โลก มี 4 ดวง โดยมากประกอบด้วยส่วนประกอบหิน มีความหนาแน่นสูง มีดวงจันทร์น้อยหรืออาจไม่มีเลย และไม่มีระบบวงแหวนรอบตัวเอง สสารที่เป็นองค์ประกอบมักเป็นแร่ธาตุที่มีจุดหลอมเหลวสูง เช่นซิลิเกตที่ชั้นเปลือกและผิว หรือโลหะ เหล็ก นิเกิล ที่เป็นแกนกลางของดาว สามในสี่ของดาวเคราะห์กลุ่มนี้ (ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร) มีชั้นบรรยากาศที่เห็นได้ชัด พื้นผิวมีร่องรอยของหลุมบ่อที่เกิดจากการปะทะโดยชิ้นส่วนจากอวกาศ และมีความเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาที่พื้นผิวด้วยเช่น การแยกตัวของร่องหุบเขาและภูเขาไฟ", "title": "ระบบสุริยะ" }, { "docid": "545#42", "text": "ดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นจากแผ่นจานฝุ่นที่หมุนวนรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ เมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ นานาเช่น การดึงดูดของแรงโน้มถ่วง การปะทะ การแตกสลาย และการรวมตัวกัน แผ่นจานฝุ่นเหล่านั้นก็ก่อตัวเป็นรูปร่างที่เรียกว่า ดาวเคราะห์ก่อนเกิด (protoplanet) แรงดันการแผ่รังสีของลมสุริยะจะพัดพาเอาสสารที่ไม่สามารถรวมตัวกันติดให้กระจายหายไป คงเหลือแต่ส่วนของดาวเคราะห์ที่มีมวลมากพอจะดึงดูดบรรยากาศชั้นแก๊สของตัวเอาไว้ได้ ดาวเคราะห์ใหม่เหล่านี้ยังมีการดึงดูดและปลดปล่อยสสารในตัวตลอดช่วงเวลาที่ถูกเศษสะเก็ดดาวย่อย ๆ ปะทะตลอดเวลา การปะทะเหล่านี้ทำให้เกิดหลุมบ่อบนพื้นผิวดาวเคราะห์ดั่งเช่นที่ปรากฏบนพื้นผิวดวงจันทร์ ผลจากการปะทะนี้ส่วนหนึ่งอาจทำให้ดาวเคราะห์ก่อนเกิดแตกชิ้นส่วนออกมาและกลายไปเป็นดวงจันทร์ของมันก็ได้", "title": "ดาราศาสตร์" } ]
2422
อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 14 มีผู้เข้าแข่งขันกี่คน?
[ { "docid": "300471#6", "text": "วันถัดมาขณะที่ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 12คน ได้เดินทางไปยังจุดนัดพบ พวกเธอก็ได้พบกับหุ่นขี้ผึ่งของ จอห์นนี่ เด็ปป์ และ มีชายคนหนึ่งพยายามเข้ามาถ่ายภาพของสาวๆอย่างลับๆ ซึ่งเขาก็คือ เปเรซ ฮิลตัน นั่นเอง โดยเขาได้พาสาวๆเข้าไปชมข้างในของ Madame Tussauds สถานที่แสดงหุ่นขี้ผึ่งที่สร้างให้มีความคล้ายคลึงกับบุคคลที่มีชื่อเสียง โดยทุกคนมาหยุดกันที่หุ่นขี้ผึ่งรูปของไทร่า และไทร่าได้ปรากฏตัวขึ้น ข้างบนระเบียงที่อยู่เหนือหัวของสาวๆ และ ไทร่าได้แนะนำให้สาวๆทั้ง 12 ได้รู้จักกับ เร็น ผู้ที่จะเข้ามาร่วมแข่งขันด้วย ทำให้จำนวนของสาวๆเพิ่มขึ้นเป็น 13 คน และ ต่อมาสาวๆต้องแปลงโฉม โดยฤดูกาบนี้ต้องแปลงโฉมกับ แซลลี่ เฮิร์ชเบอร์เกอร์ ผู้ออกทรงผมชื่อดัง โดย เร็น เป็นสาวคนแรกของรายการที่ทางช่างทำผมต้องแปลงโฉมผมของเธอ และ ขนรักแร้ของเธอด้วย เบร็นด้า และ แอนสลีย์ ร้องไห้ในการแปลงโฉมของพวกเธอ เนื่องจากเธอต้องตัดผมสั้น หลังจากนั้นสาวๆก็ถ่ายภาพการแปลงโฉม และ ย้ายเข้าสู้หอพักใหม่ในนิวยอร์ก และ สาวๆเริ่มมีเรื่องกัน เรื่องการจัดของระหว่าง แองเจลี และ แอนสลีย์ เรื่องอาหารเช้าของ เบร็นด้า กับ แองเจลี และ อเลเชียพยายามจะช่วยเบร็นด้า ก็มีเรื่องกับ คริสต้า ที่พยายามจะช่วยแองเจลี", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 14" } ]
[ { "docid": "333259#3", "text": "ในฤดูกาลที่ 15 เริ่มต้นด้วยผู้เข้าแข่งขันทั้ง 32 คนในปาล์มปริงส์ แคลิฟอร์เนีย โดยจะคัดให้เหลือผู้เข้าแข่งขันเพียง 14 คน เหล่าผู้เข้าแข่งขันได้เดินแบบให้กับดีไซน์เนอร์ ซินเธีย ราวลีย์ โดยจะต้องลักษณะต่าง ๆ ของแฟชั่นอาทิเช่น โครงสร้างที่ได้รูป ความเซ็กซี่ ความเริ่ดหรู ให้ออกมาโดดเด่นกว่าผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 15" }, { "docid": "194332#5", "text": "เริ่มต้นฤดูกาลด้วย เจย์ แมนูเอล พาผู้เข้าแข่งขันทั้ง 14 คน ไปที่สตูดิโอถ่ายหนังในแอลเอ ที่นั่นสาวๆ ได้พบกับคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย ไนเจล บาร์คเกอร์, เจนิส ดิคคินสัน และโนเล่ แมริน ซึ่งทั้งหมดมาในชุด “ตำรวจแฟชั่น” และการภาพถ่ายครั้งแรกของผู้เข้าแข่งขันก็คือ มนุษย์ต่างดาวบุกแมนฮัตตัน สาวๆหลายคนสร้างความประทับใจให้กับกรรมการเป็นอย่างดี ยกเว้นแบรนดี้ที่หงุดหงิดไม่พอใจที่ต้องรอถ่ายรูปเป็นเวลานาน", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 4" }, { "docid": "300471#45", "text": "ทางด้านผลงานโดยรวมที่ผ่านมา กรรมการเห็นว่า ทั้งคู่มีผลงานที่โดดเด่นมากมาตั้งแต่แรก และกรรมการคิดว่า คริสต้า มีลุคส์ที่ดูซับซ้อน แปลก และน่าสนใจ และน่าจะทำได้ดีในการเดินแบบในระดับนานาชาติ ในขณะที่เรน่า ก็ถ่ายภาพได้สวยงาม และเป็นคลื่นลูกใหม่ได้ในระดับสากล และหลังจากที่พิจารณากันอย่างถี่ถ้วนแล้ว คณะกรรมการก็ตัดสินใจและประกาศว่า ผู้ชนะของฤดูกาลที่ 14 คือ คริสต้า ไวท์", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 14" }, { "docid": "213988#4", "text": "ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 34 คนที่ผ่านเข้าถึงรอบสุดท้ายก่อนรอบคัดเลือก ได้เดินทางไปยัง ปราสาทซีซาร์ ในเมืองลาสเวกัส ผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดได้รับการแต่งตัวเป็นเทพธิดาแห่งโรมัน และได้ถ่ายภาพแบบโปรไฟล์ ตามด้วยการที่ผู้เข้าแข่งขันต้องแสดงการเดินแบบของตนเอง ซึ่งเจสสิก้าได้ยั่วยุผู้เข้าแข่งขันคนอื่นด้วยการพูดว่า ท่าเดินของเธอนั้นเปรียบเสมือนเทพธิดา หลังจากนั้น ตอนกลางคืนไทรา แบงส์ได้ปรากฏตัวพร้อมกับการแต่งกายในชุดของ \"เทพธิดาแห่งความเลิศหรู\" และได้บอกกับผู้เข้าแข่งขันทุกคนว่า เธอกำลังมองหาคนที่จะประสบความสำเร็จในแวดวงนางแบบ", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 12" }, { "docid": "213988#14", "text": "ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 11 คนที่เหลือได้เข้าร่วมฝึกในโรงเรียนสอนมารยาทของมิสเจย์เพื่อที่จะฝึกการเดินแบบ โดยที่มี ชานทาล และ บีอังก้า ผู้เข้าแข่งขันในฤดูกาลที่ 9 มาร่วมในรายการด้วยเพื่อให้คำแนะนำกับสาวๆ ผู้เข้าแข่งขัน และเมื่อกลับถึงบ้านพักก็ได้เกิดสภาวะตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากนาตาลีได้กล่าวถึงการถ่ายภาพในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ภาพของทาห์เลียนั้นดูแย่ที่สุดในกลุ่มผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด ทีโยน่าได้รับการแปลงโฉมอีกครั้ง หลังจากที่ไทร่าได้กล่าวถึงการแปลงโฉมของทีโยน่าที่ผ่านมา ไม่ใช่สิ่งที่เธอต้องการ", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 12" }, { "docid": "605534#8", "text": "หลักการถ่ายภาพเสร็จ ไทร่า และคณะกรรมการตัดสิน จึงได้ปรึกษาหารือว่า ใครจะได้เป็น 14คนสุดท้ายที่จะได้เป็นผู้เข้าแข่งขันตัวจริงในฤดูกาลนี้ ซึ่งการประกาศผล จะแตกต่างจากปีก่อนๆที่จะถูกเรียกมาทีละคน แต่ในครั้งนี้ จะถูกเรียกออกมาเป็นคู่ ก่อนที่บอกว่า ใครผ่านเข้ารอบ คนที่ไม่ผ่าน จะได้กลับไปเข้าไปรอถูกเรียกออกมาอีกครั้ง หลังจากเรียกมาถึง 12คนแล้ว อดัม และเดนเซล จึงถูกประกาศว่าทั้งคู่ ได้ผ่านเข้ารอบสู่ฤดูกาลนี้ ผู้เข้าแข่งขัน 8คนที่เหลือจึงต้องถูกส่งกลับบ้านหลังจากการประกาศผลผู้ที่ได้เข้ารอบ 14คนสุดท้ายแล้ว ไทร่าจึงได้ให้พวกเขาเตรียมตัวสำหรับการแข่งขันเดินแบบ ซึ่งทุกคนจะต้องเปลือย โดยจะมีเพียงสเปรย์สายรุ้งเท่านั้น ที่ปกปิดร่างกายพวกเขาไว้ ซึ่ง มิสเจ.อเล็กซานเดอร์ จะได้วิจารณ์การเดินแบบของพวกเขา ก่อนที่จะเริ่มแข่งขันจริง ต่อมา พวกเขาได้ถูกแนะนำให้รู้จักกับ อเล็กซิส บอร์เจส ซึ่งเป็นผู้อำนวยการของ Next Model และจะเป็นกรรมการตัดสินการเดินแบบครั้งนี้ ในการเดินแบบ วิลล์ รู้สึกไม่มั่นใจกับรูปร่างของตัวเอง ทำให้เดินออกมาได้ไม่ดี และอดัม ที่แสดงบุคลิกของตัวเองออกมามากเกินไปจนดูล้น ในขณะที่ คีธ และ แชนเทล ทำออกมาได้ดีที่สุด สุดท้ายแล้ว คีธ เป็นผู้ชนะการแข่งขันครั้งนี้ โดยเขาจะได้เข้าพักในห้องไทร่าสวีท ซึ่งเขาได้เลือกให้ คอรี่ เข้าพักร่วมกับเขาด้วย", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 21" }, { "docid": "300471#47", "text": "ตอนพิเศษที่รวมภาพที่ไม่เคยออกอากาศในทั้งหมด 11 ตอน ตั้งแต่การมีปัญหาของสาวๆในบ้านอย่าง อเลเชีย แองเจลี อันสลีย์ และคริสต้า รวมถึงการแข่งขัน กิน มาร์ชแมลโลว์ ระหว่าง อเล็กซานดร้า กับเจสสิก้า ที่เรียกว่า \"กระต่ายตัวอ้วน\"ภาษาที่เรน่าใช้ประจำ และตอนสุดท้ายที่ประกาศว่า คริสต้า ได้เป็น อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 14" }, { "docid": "728588#4", "text": "ต่อมา ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว กับคณะกรรมการ รวมถึง การวิจารณ์ภาพถ่ายเป็นรายบุคคลอีกด้วย หลังจากนั้น พวกเขาจึงได้เดินทางมายัง บ้านพัก ในฤดูกาลนี้ และพบกับ มิสเจ และ ยู ไซ ที่กล่าวว่า ในสระว่ายน้ำโฟม จะมีลูกบอลชายหาด ที่มีชื่อของผู้เข้ารอบ 22คนสุดท้ายในนั้น หลังจากการค้นหา เสร็จสิ้น ผู้เข้าแข่งขัน เก้าคน จึงถูกคัดออกจากการแข่งขัน", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 22" }, { "docid": "300471#39", "text": "เริ่มต้นสัปดาห์ อังเดร ลีออน ทอลลีย์ หนึ่งในคณะกรรมการ ได้มาเซอร์ไพรส์สาวๆถึงในห้องพัก เพื่อมาให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำงานในวงการอุตสาหกรรมแฟชั่น รวมถึงการทำงานกับ แอนดี้ วอร์ฮอลล์ ด้วย จากนั้นสาวๆต้องเก็บของเพื่อบินไปยัง ควีนส์ทาว์น เพื่อถ่ายภาพในครั้งต่อไป แต่ก็ต้องประหลาดใจ เมื่อพวกเธอได้ยินเสียง มิสเจย์ บอกว่า นี่เป็นการแข่งขันโดยพวกเธอจะต้องเดินแบบ ตรงทางเดินระหว่างที่นั่งผู้โดยสาร อเล็กซานดร้าทำให้มิสเตอร์เจย์ประทับใจ โดยการใส่รองเท้าส้นสูงเดินด้วย แต่ในที่สุดคริสต้าก็เป็นผู้ชนะการแข่งขันชิงรางวัล ครั้งที่ 4 ติดต่อกัน โดยเธอจะได้เครื่องเพชร จาก โบห์ รังก้า มูลค่า 2000 ดอลล่าห์ และได้เดินแบบใน นิวซีแลนด์แฟชั่นวีค อีกด้วย", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 14" }, { "docid": "903745#3", "text": "เริ่มต้นฤดูกาลนี้ในห้องตัดสิน โดยให้ สาวๆ ได้เข้ามาพบกับคณะกรรมการ พร้อมกับแนะนำตัวทีละคน รวมถึงวิจารณ์ภาพถ่ายที่พวกเธอได้เลือกเข้ามาด้วย หลังจากที่ได้ คัดสาวๆในรอบนี้จนเหลือเพียง ยี่สิบคนแล้ว ไทร่า จึงได้แจ้งให้สาวๆทราบว่าพวกเธอ จะต้องถูกตัดสินจากการถ่ายภาพ และการเดินแบบบนรันเวย์ จนเหลือเพียงแค่ สิบสี่คนเท่านั้น ที่จะเป็นผู้เข้าแข่งขันสำหรับฤดูกาลนี้", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 24" } ]
658
การบินไทย เที่ยวบินที่ 261 จากกรุงเทพไปสุราษฎร์ธานี ตกสาเหตุเนื่องจากฝนตกหนัก มีผู้เสียชีวิตทั้งหมดกี่ราย?
[ { "docid": "98162#1", "text": "เที่ยวบิน 261 มีผู้โดยสาร 146 คน ออกจากท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เวลา 11:40 ตามเวลามาตรฐาน ตรงสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง เมื่อเครื่องบินเริ่มลดระดับลงสู่ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี สภาพอากาศมีฝนตกหนักและทัศนวิสัยไม่ดี เนื่องจากพายุดีเปรสชัน \"จิล\" นักบินพยายามนำเครื่องลงจอดถึง 2 ครั้งแต่ไม่สำเร็จ ในครั้งที่ 3 เครื่องยนต์เกิดชะงัก ทำให้เครื่องบินตกกระแทกพื้น เครื่องเสียหลัก หางเครื่องฟาดหอบังคับการบินบางส่วน เครื่องเสียการทรงตัวพุ่งตกลงไปในป่ายาง ห่างออกไป 2 ไมล์ทางตะวันตกเฉียงใต้ของท่าอากาศยาน มีผู้เสียชีวิต 101 คน และได้รับบาดเจ็บ 45 คน สาเหตุของการตกครั้งนี้ไม่ได้มีการเปิดเผยรายละเอียดสู่สาธารณะมากนัก มีเพียงความพยายามระบุว่าสาเหตุการตกน่าจะมาจากการหลงสภาพการบินในการลงจอดเวลากลางคืนในสภาพอากาศที่มีลมแรง ซึ่งสร้างความคลางแคลงใจต่อสังคมเป็นอย่างมาก", "title": "การบินไทย เที่ยวบินที่ 261" } ]
[ { "docid": "898537#2", "text": "หลังจากนั้นไม่นาน ลูกเรือได้รายงานว่า \"เรากำลังมุ่งหน้าไปที่สิงคโปร์ ราตรีสวัสดิ์\" ภายหลังผู้สืบสวนพบว่ามีเสียงปืนดังขึ้นหลายครั้งในช่วงท้ายของเครื่องบันทึกข้อมูลการบิน จึงสันนิษฐานว่านักบินและผู้ช่วยนักบินถูกสลัดอากาศยิงเสียชีวิต ทำให้เครื่องอยู่ในสภาวะ \"ไร้การควบคุมจากผู้ชำนาญการ\" เวลา 20.15 น. เครื่องบินขาดการติดต่อ ต่อมาเวลา 20.36 น. ชาวบ้านตำบลตันจงกูปัง รัฐยะโฮร์รายงานว่าได้ยินเสียงระเบิดและเห็นเศษซากเครื่องบินที่ไหม้ไฟตกในหนองน้ำ ภายหลังได้รับการยืนยันว่าเป็นของเที่ยวบินดังกล่าว มีการรายงานเพิ่มเติมว่าเครื่องตกกระแทกพื้นด้วยความเร็วสูงในลักษณะเกือบตั้งฉากกับพื้นดิน ผู้โดยสาร 93 คนและลูกเรือ 7 คน เสียชีวิตทั้งหมด", "title": "มาเลเซียแอร์ไลน์ซิสเต็ม เที่ยวบินที่ 653" }, { "docid": "119464#0", "text": "เดินอากาศไทย เที่ยวบินที่ 365 นำผู้โดยสารบินจากหาดใหญ่ไปยังจังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2530 เที่ยวบินนี้บริการด้วยเครื่องบินโบอิง 737 ทะเบียน HS-TBC เครื่องบินเกิดหมุนกลางอากาศ และควงสว่านก่อนตกทะเล ทางทิศตะวันออกของเกาะภูเก็ต ห่างจากสนามบินประมาณ 8 กิโลเมตร มีผู้เสียชีวิต 83 คน เป็นผู้โดยสาร 74 คน ลูกเรือ 9 คน ไม่มีผู้รอดชีวิต", "title": "เดินอากาศไทย เที่ยวบินที่ 365" }, { "docid": "613741#2", "text": "พายุไต้ฝุ่นหมุ่ยฟ้าส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 68 ราย บาดเจ็บ 160 ราย สูญหาย 69 ราย ในฟิลิปปินส์ และเสียชีวิต 40 ราย สูญหาย 42 รายในเวียดนาม\nสำหรับในประเทศไทย พายุไม่ได้ก่อความเสียหายอย่างหนักหน่วงตามที่วิตกกังวลกัน เนื่องจากมีบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปะทะ ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลง แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังส่งผลให้เกิดฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง มีจังหวัดที่ได้รับความเสียหาย 5 จังหวัด 21 อำเภอ คือจังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช\nมีรายงานผู้เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 3 คน บ้านพังทั้งหลัง 3 หลัง เสียหายบางส่วน 224 หลัง เรือประมงอับปาง 58 ลำ ถนนชำรุด 5 เส้น สะพานชำรุด 2 แห่ง ฝายน้ำล้นพัง 8 แห่ง มีผู้ได้รับผลกะทบ 1,269 ครัวเรือน 22,609 คน และมีการอพยพประชาชนไปยังที่พักพิงชั่วคราว 20,411 คน\nพายุไต้ฝุ่นหมุ่ยฟ้ายังทำให้เกิดฝนตกหนักใน 5 จังหวัดดังกล่าว โดยปริมาณน้ำฝนสูงสุดวัดได้ 251.5 มิลลิเมตร ที่อ.เมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 250.4 มิลลิเมตร ที่อ.ปะทิว จังหวัดชุมพร", "title": "พายุไต้ฝุ่นหมุ่ยฟ้า (พ.ศ. 2547)" }, { "docid": "451234#1", "text": "การบินไทยสมายล์ให้บริการที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยรองรับเที่ยวบินให้สามารถเดินทางต่อกับสายการบินไทยได้อย่างราบรื่น จุดหมายแรกที่การบินไทยสมายล์เริ่มทำการบินคือ มาเก๊า โดยเริ่มให้บริการในเดือนกรกฎาคม จำนวน 2 เที่ยวบินต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป ทั้งนี้ แต่เดิมสายการบินไทยสมายล์ได้มีการให้บริการผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง ไปยังจุดหมายปลายทางทั้งสิ้น 3 เส้นทางบินไป - กลับ ได้แก่ เชียงใหม่ วันละ 3 เที่ยวบิน, ขอนแก่น วันละ 3 เที่ยวบิน และ ภูเก็ต วันละ 2 เที่ยวบิน นับตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พุทธศักราช 2557 มาโดยตลอดจนกระทั่งถึงวันที่ 15 มกราคม พุทธศักราช 2560 ได้ให้บริการผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง เป็นวันสุดท้าย และได้ทำการย้ายฐานการบินไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้งหมด นับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พุทธศักราช 2560 ต่อมาวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 การบินไทยสมายล์ ยกเลิกเที่ยวบินกรุงเทพแวะภูเก็ตไปกว่างโจว โดยเปลี่ยนเป็นบินตรง กรุงเทพไปกว่างโจว", "title": "การบินไทยสมายล์" }, { "docid": "639747#0", "text": "โคเรียนแอร์ เที่ยวบินที่ 801 (KE801หรือKAL801) เป็นเครื่องบิน โบอิง 747-300 ที่บินมาจาก ท่าอากาศยานนานาชาติกิมโป ในโซล เกาหลีใต้ ไปยังท่าอากาศยานนาชาชาติแอนโตนิโอ บี. วอน แพ็ตใน เกาะกวม ซึ่งอยู่ในการปกครองของ สหรัฐอเมริกา พร้อมผู้โดยสาร 237 คน และลูกเรือ 17 คน ออกเดินทางเมื่อคืนวันที 5 สิงหาคม 2540\nเคริ่องบินเกิดอุบัติเหตุตกในป่าบริเวณนิมิทซ์ ฮิลล์ในเมืองอาซานซึ่งอยู่ไม่ห่างจากสนามบินตอนเช้ามืดของวันที่ 6 สิงหาคม 2540\nจากการตกครั้งนี้ มีผู้เสียชีวิต 228 คน และบาดเจ็บ 26 คน\nสาเหตุเกิดจากระบบนำเคริ่องร่อนลงจอดเกิดทำงานผิดพลาด ประกอบกับในช่วงเกิดเหตุมีพายุฝนฟ้าคะนอง เลยทำให้นักบินนำเคริ่องลงจอดผิดที่ จนเกิดอุบัติเหตุในที่สุด", "title": "โคเรียนแอร์ เที่ยวบินที่ 801" }, { "docid": "98340#0", "text": "เลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004 เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศที่ประสบอุบัติเหตุตกเนื่องจากมาจากปัญหาของเครื่องยนต์หมายเลข 1 ระหว่างทำการบิน เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 223 ศพ เป็นอุบัติภัยทางการณ์บินที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับที่ 28 ของโลก", "title": "เลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004" }, { "docid": "642554#3", "text": "จากการสิบสวนหาสาเหตุของครอบครัวแคมป์เบลทำให้พวกเขาทราบสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุอยู่ 2 อย่างคือ 1. สาเหตุที่ประตูห้องสินค้าของโบอิง 747เปิดออกขณะที่บินจนทำให้เกิดอุบัติเหตุนั้นมาจากการออกสลักล็อกรูปซีของบริษัทโบอิงตั้งแต่แรกเริ่ม\nนับตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุกับเครื่องบิน แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 ถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเกิดขึ้นกับอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 96 เมื่อวันที้ 12 มิถุนายน 2515 ประตูห้องสินค้าหลุดจากเครื่องบินในระหว่างบิน ทำให้ระบบไฮดรอลิกเสียหายบางส่วน โชคยังดีที่นักบินสามารถนำเครื่องกลับไปลงที่สนามบินได้ ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 67 คนปลอดภัย และครั้งที่ 2 เกิดขึ้นกับ เตอร์กิชแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 981 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2517 โดยเกิดเหตุการณ์เดียวกับครั้งแรก แต่คราวนี้ทำให้ระบบไฮดรอลิกเสียหายทั้งหมด เครื่องบินตกที่ฝรั่งเศส ผู้โดยสารและลูกเรือ 346 คนบนเครื่องเสียชีวิตทั้งหมด อันมีสาเหตุมาจากตัวประตูห้องสินค้าของดีซี-10มีปีญหาตั้งแต่สายการผลิต ด้วยเหตุนี้ บริษัทโบอิงจึงออกแบบระบบล็อกประตูห้องสินค้าของโบอืง 747 นั่นคือ สลักล็อกรูปตัวซี ซึ่งเชื่อว่าช่วยให้ระบบล็อกประตูแน่นหนาขึ้น การทำงานของสลักล็อกรูปตัวซีนี้คือทำหน้าที่ล็อกประตูห้องสินค้าโดยการกดสลักล็อกให้เข้าที่ จากนั้นมิอจับจะไปล็อกอีกชั้น เพื่อไม่ให้สลักล็อกคลายตัวออก แต่จากการสืบค้นของเควิน แคมป์เบลพบว่าสลักล็อกดังกล่าวไม่สามารถล็อกประตูห้องสินค้าให้อยู่ได้ นอกจากนี้ พวกเขายังพบว่า 2 ปีก่อน เที่ยวบิน 747 ของสายการบินแพนแอมที่บินมาจาก กรุงลอนดอน ไป นครนิวยอร์ก ก็เกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกัน โดยที่ผู้โดยสารทุกคนปลอดภัย เมื่อกลับไปที่กรุงลอนดอนและตรวจสอบพบว่า ประตูห้องสินค้าเปิดออกมา 1 นิ้วครึ่งและตัวล็อกทั้งหมดงอจนถึงกับหักไปเลย 2. หลังจากล็อกประตูห้องสินค้าแล้ว สวิทซ์ไฟฟ้าควรจะตัดกระแสไฟทั้งหมดเพื่อไม่ให้ประตูห้องสินค้าเปิดออก แต่ยังมีไฟฟ้าไปหล่อเลี้ยงในระบบล็อก ด้วยสาเหตุทั้ง 2 อย่างนี้ทำให้ประตูห้องสินค้าเปิดออกระหว่างบิน ก่อให้เกิดอากาศขยายตัวจนระเบิด เป็นเหตุให้ประตูห้องโดยสารหลุดออกในที่สุด หลังจากถูกผลักดันจากครอบครัวแคมป์เบลมาหลายปี NTSB จึงออกรายงานยอมรับเรื่องดังกล่าว นับเป็นความสามารถของครอบครัวแคมป์เบลที่สืบค้นหาสาเหตุของอุบัติเหตุครั้งนี้ได้สำเร็จ โบอิงเปลี่ยนการออกระบบล็อกประตูห้องสินค้าของ 747 ใหม่เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้อีก", "title": "ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 811" }, { "docid": "922130#0", "text": "ซาราตอฟแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 703 (6W703/SOV703) เป็นเที่ยวบินภายในประเทศจากท่าอากาศยานนานาชาติโดโมเดโดโวไปยังท่าอากาศยานออร์ค (Orsk Airport) เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 เที่ยวบินที่ขึ้นบินใช้เครื่องบินอันโทนอฟ อัน-148-100เบ ตกไม่นานหลังขึ้นบิน ผู้โดยสารจำนวน 65 คน และลูกเรือจำนวน 6 คนเสียชีวิตทั้งหมด", "title": "ซาราตอฟแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 703" }, { "docid": "98162#0", "text": "การบินไทย เที่ยวบินที่ 261 (TG261) นำผู้โดยสารบินจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2541 เที่ยวบินนี้บริการด้วยเครื่องบินแอร์บัส เอ 310-300 ทะเบียน HS-TIA", "title": "การบินไทย เที่ยวบินที่ 261" }, { "docid": "374966#0", "text": "เมอร์ปาติ นูซันตารา เที่ยวบินที่ 8968 เป็นเที่ยวบินภายในประเทศ ทำการบินจากโซลอง นิวกินีตะวันตก ไปยังเมืองกิมานา นิวกินีตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เมอร์ปาติ นูซันตารา เที่ยวบินที่ 8968 ประสบอุบัติเหตุตกบริเวณชายฝั่งอ่าวไคมานา ระหว่างที่เครื่องกำลังทำการบินลดระดับสู่สนามบินกิมานาท่ามกลางฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก ผู้โดยสารทั้งหมดบนเครื่อง 25 คน แบ่งเป็นผู้โดยสาร 21 คน และ ลูกเรือ 4 คน เสียชีวิตทั้งหมด", "title": "เมอร์ปาติ นูซันตารา เที่ยวบินที่ 8968" }, { "docid": "642554#1", "text": "คืนวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เวลา 01.52 น. ตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐ เครื่องบิน โบอิง 747-100 ซึ่งบินมาจาก ท่าอากาศยานนานาชาติซานฟรานซิสโก มุ่งสู่ ท่าอากาศยานซิดนีย์ พร้อมผู้โดยสาร 337 คน และลูกเรือ 18 คน โดยมีแวะพักที่โฮโนลูลูและโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ได้ออกเดินทางจาก ท่าอากาศยานนานาชาติโฮโนลูลู เพื่อไปยังจุดหมาย โดยนักบินเปิดสัญญาณรัดเข็มขัดนิรภัยซาย-ออนเนื่องจากมีพายุฝนฟ้าคะนอง แต่หลังจากบินได้เพียงไม่กี่นาที ขณะเครื่องบินไต่ระดับอยู่ที่ 23,000 ฟุด ผู้โดยสารเริ่มได้ยินเสียงคล้ายของตก และทันใดนั้นเอง ประตูห้องโดยสารที่ส่วนใหญ่อยู่บริเวณด้านหน้าเกิดหลุดออกจากตัวเครื่องขณะที่บินอยูเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้ที่นั่ง 5 แถวซึ่งมีผู้โดยสารจำนวนหนึ่งถูกดูดออกไปจากเครื่อง เกิดแรงดันอากาศจำนวนมากภายในเครื่องบินและเกิดไฟไหม้ที่เครื่องยนต์ตัวที่ 4 นักบินจำเป็นต้องลดเพดานบินพร้อมกับทิ้งเซื้อเพลิงลงสู่ทะเลและตัดสินใจเลี้ยวกลับไปที่ท่าอากาศยานนานาชาติโฮโนลูลู เมื่อลงจอดได้แล้ว ก็สั่งอพยพผู้โดยสารทุกคนลงจากเครื่องโดยที่ 346 คนปลอยภัย\nจากเหตุการณ์ครั้งนั้ มีผู้เสียชีวิต 9 คน และบาดเจ็บ 38 คน", "title": "ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 811" }, { "docid": "898537#0", "text": "มาเลเซียแอร์ไลน์ซิสเต็ม เที่ยวบินที่ 653 (MH653) เป็นเที่ยวบินภายในประเทศมาเลเซียของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ซิสเต็ม มีกำหนดเดินทางจากปีนังถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1977 เที่ยวบินนี้ถูกจี้เพื่อให้เปลี่ยนไปลงจอดที่สิงคโปร์ ก่อนจะตกที่ตำบลตันจงกูปังในรัฐยะโฮร์ ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมด 100 คนเสียชีวิต เหตุการณ์นี้เป็นเหตุเครื่องบินตกครั้งแรกของมาเลเซียแอร์ไลน์", "title": "มาเลเซียแอร์ไลน์ซิสเต็ม เที่ยวบินที่ 653" }, { "docid": "4202#16", "text": "ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554 สายการบินควอนตัส เที่ยวบิน QF2 เครื่องทะเบียน VH-OJT แจ้งลงฉุกเฉินที่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเนื่องจากเครื่องยนต์เสีย[19] ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556 การบินไทย เที่ยวบินที่ 679 A330-300 ทะเบียน HS-TEF ล้อหักในขณะที่เครื่องบินทำการจอดที่รันเวย์ ในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558 เจ้าหน้าที่ตรวจวัสดุแปลกปลอมบนลานจอดเสียชีวิตเนื่องจากถูกรถรถแทรกเตอร์ลากจูงตู้สินค้าชน[20] ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ไทยรีเจียนัลแอร์ไลน์ เครื่องบินทะเบียน HS-FGB ตก มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 5 ราย ที่คลองหนองจอก เขตหนองจอก ห่างจาก ท่าอากาศยานประมาณ 15 กิโลเมตร ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 แอโรฟลอต เที่ยวบินที่ SU-270 ประสบอุบัติเหตุตกหลุมอากาศมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 27 คน [21] ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561 การบินไทย เที่ยวบินที่ 679 B747-400 ทะเบียน HS-TGF เครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์", "title": "ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ" }, { "docid": "122782#0", "text": "บางกอกแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 125 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 เวลา 11.15 น. สายการบินบางกอกแอร์เวย์ นำผู้โดยสารบินจากกรุงเทพมหานครไปยังเกาะสมุย ด้วยเครื่องบินเดอ ฮาวิลแลนด์ รุ่น แดช-8 Dash 8-103 ผลิตโดยประเทศแคนาดา ทะเบียน HS-SKI ในขณะที่เกิดฝนตกหนัก นักบินเกิดหลงทิศทาง นำเครื่องบินเข้าไปในเมฆ และตรวจสอบระดับความสูงผิดพลาด เครื่องเสียการทรงตัวและเกี่ยวกับยอดมะพร้าว เครื่องตก ผู้โดยสารและลูกเรือ 38 คน เสียชีวิตทั้งหมด", "title": "บางกอกแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 125" }, { "docid": "4475#47", "text": "ศาลากลางจังหวัดสุราษฏร์ธานีถูกลอบวางระเบิด เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2525 ประมาณเที่ยงถึงบ่ายโมง ซี่งเป็นเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนใจชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่สำคัญ เนื่องจากเหตุความขัดแย้งทางการเมือง ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานีเดิมตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตาปีก่อนที่ย้ายไปในบริเวณสี่แยกแสงเพชร ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง [20] เรือยาวใหญ่ นาม \"เจ้าแม่ตาปี\" และเรือยาวกลาง นาม \"เจ้าแม่ธารทิพย์\" ชนะเลิศการแข่งขันเรือยาวชิงแชมป์ประเทศไทยถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2525 พายุไต้ฝุ่นเกย์ถล่มจังหวัด การบินไทย เที่ยวบินที่ 261 ตกที่สนามบินสุราษฎร์ธานี การรื้อสัมปทานเรือข้ามฟากสุราษฏร์ธานีเกาะสมุย มติชาวสุราษฎร์ ห้ามปลุกเสกจตุคาม ณ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เหตุลอบวางระเบิดติดรถที่ลานจอดรถชั้นใต้ดินภายในตัวศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย", "title": "จังหวัดสุราษฎร์ธานี" }, { "docid": "991797#0", "text": "แอโรฟลอต เที่ยวบินที่ 593 เป็นเที่ยวบินของสายการบินแอโรฟลอตที่ประสบอุบัติเหตุตกใกล้กับเมืองเมจดูเรเชนสค์ (; ) ประเทศรัสเซีย ขณะเดินทางจากมอสโกไปยังฮ่องกงเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2537 สาเหตุเกิดจากนักบินได้ให้ลูกเข้ามาใช้อุปกรณ์บังคับในห้องนักบิน และปิดระบบออโตไพลอตโดยไม่รู้ตัวทำให้เครื่องบินบินวนเป็นเกลียวลงสู่พื้น ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 75 คนเสียชีวิตทั้งหมด", "title": "แอโรฟลอต เที่ยวบินที่ 593" }, { "docid": "926408#0", "text": "บริษัท ไทย เวียตเจ็ท แอร์ จอยท์ สต็อค จำกัด (VZ) หรือ สายการบินไทยเวียดเจ็ทแอร์ เป็นสายการบินต้นทุนต่ำในเครือเวียดเจ็ทแอร์ จากประเทศเวียดนาม โดยได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีกระทรวงการคลังแห่งประเทศเวียดนาม ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ไทยเวียดเจ็ทแอร์เป็นสายการบินสัญชาติไทยโดยนิตินัย เริ่มให้บริการทำการบินเที่ยวบินแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ในเส้นทาง กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ สู่ เชียงใหม่ โดยไทยเวียดเจ็ทแอร์ เป็นสายการบินต้นทุนต่ำลำดับที่ 4 ของประเทศไทยที่ให้บริการเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ ครอบคลุมเส้นทางบินภายในประเทศทั่วภูมิภาค\nในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 สายการบินไทยเวียดเจ็ทแอร์ มีเครื่องบินแบบ แอร์บัสเอ 320-200 จำนวน 5 ลำ อายุเฉลี่ยของเครื่องบินอยู่ที่ 6 ปี 6 เดือน เครืองบินแบบ แอร์บัสเอ 320-200 นี้สามารถรองรับผู้โดยสารได้เที่ยวบินละ 180 ที่นั่ง (ชั้นประหยัด) สายการบินไทยเวียดเจ็ทแอร์ มีโครงการที่จะเพิ่มจำนวนเครื่องบินแบบแอร์บัสเอ 320-200 อีกภายในสิ้นปี 2561 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรับมอบเครื่องบินจากสายการบินเวียดเจ็ทแอร์ ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นบริษัทแม่ เพื่อทำการรีโนเวทก่อนนำมาให้บริการ แต่เนื่องด้วยสายการบิน ไทยเวียดเจ็ทแอร์ ให้บริการผู้โดยสารด้วยเที่ยวบินแบบไปกลับต่อวันตกอยู่ที่วันละประมาณ 30 เที่ยวบินต่อวัน จึงอาจมีเครื่องบินบางส่วนที่เป็นเครื่องที่อยู่ระหว่างการตกแต่งตัวเครื่องภายนอก หรือเป็นทะเบียนของเวียดนามที่ขึ้นต้นด้วย VN ไม่ใช่ HS มาให้บริการผู้โดยสารบ้างเป็นครั้งคราว แต่เครื่องทุกลำของสายการบินที่นำมาให้บริการ ได้รับการตรวจสอบมาตรฐานจากช่างผู้ชำนาญการโดยละเอียดเรียบร้อยแล้วก่อนนำมาให้บริการทำการบินแก่ผู้โดยสาร ซึ่งคาดว่าไม่เกินสิ้นปี 2561 เครื่องบินทั้งหมด จะพร้อมให้บริการผู้โดยสารได้อย่างเต็มรูปแบบ", "title": "ไทยเวียดเจ็ทแอร์" }, { "docid": "585573#0", "text": "การบินลาว เที่ยวบินที่ 301 เป็นเที่ยวบินตามปกติภายในประเทศลาวที่เดินทางจากเวียงจันทน์ ไปปากเซ ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เครื่องบินรุ่น ATR 72-600ได้ตกลงสู่แม่น้ำโขง ที่ ปากเซ ทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือเสียชีวิตทั้งหมด 49 คน อุบัติเหตุนี้เป็นครั้งแรกที่เกิดกับเครื่องบินรุ่น ATR 72-600 เป็นเหตุการณ์เครื่องบินตกที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดที่เคยเกิดในลาว และเป็นอุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับที่สองที่เคยเกิดกับเครื่องบินรุ่น ATR 72 โดยที่เสียชีวิตมากที่สุดคือ Aero Caribbean Flight 883 และ American Eagle Flight 4184 ที่เสียชีวิต 68 คน และเป็นเหตุการณ์เครื่องบินตกที่เกี่ยวกับการบินลาวเป็นครั้งแรกนับแต่ พ.ศ. 2543", "title": "การบินลาว เที่ยวบินที่ 301" }, { "docid": "123483#0", "text": "เวียดนามแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 831 เป็นอุบัติเหตุเครื่องบินตกในประเทศไทย พ.ศ. 2531 โดยสายการบินสัญชาติเวียดนาม (ปัจจุบันคือ เวียดนามแอร์ไลน์) นำผู้โดยสารบินจากฮานอยไปยังกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2531 ด้วยเครื่องบินตูโปเลฟ ทะเบียน VN-A102 ขณะเครื่องลดระดับลงจอด มีฝนตกหนักและทัศนวิสัยไม่ดี และมีรายงานว่าเครื่องถูกฟ้าผ่า นักบินลดระดับความสูงไม่ถูกต้อง นำเครื่องลงผิดเป้าหมายและตกลงในพื้นที่หมู่ 6 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ใกล้กับหมู่บ้านเสมาฟ้าคราม เมื่อเวลา 11.37 น. ห่างจากสนามบิน 6 กิโลเมตร มีผู้เสียชีวิต 76 คน มีผู้รอดชีวิต 6 คน ในจำนวนผู้เสียชีวิต มี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของเวียดนาม และเอกอัครราชทูตอินเดียประจำเวียดนาม รวมอยู่ด้วย", "title": "เวียดนามแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 831" }, { "docid": "98162#2", "text": "ในเหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตที่มีชื่อเสียง คือ ดร.ธวัช วิชัยดิษฐ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยภริยา, น.พ. โกวิท วรพงษ์สิทธิกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ฉวาง และ แพทย์ชนบทดีเด่น ประจำปี 2541, นางศิริรัตน์ ศรีเทพ น้องสาวนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และมีผู้รอดชีวิต คือ เจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ นักร้องค่ายอาร์เอส", "title": "การบินไทย เที่ยวบินที่ 261" }, { "docid": "564539#1", "text": "เมื่อเวลา 3 นาฬิกา 30 นาที เที่ยวบินที่ 864 ติดต่อกับหอบังคับการบินเพื่อลงที่ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงเทพ ฯ หลังจากที่หอบังคับการบินแจ้งกับเที่ยวบิน 864 ว่าพร้อมให้เที่ยวบิน 864 ลงจอดได้ ตัวเครื่องได้ตกลงบริเวณโรงงานอุตสาหกรรมห่างจากท่าอากาศยานนานาชาติกรุงเทพ ฯ ขึ้นไปทางเหนือประมาณ 2 กิโลเมตร ผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่อง เสียชีวิตทั้งลำ พร้อมทั้งผู้เสียชีวิตบนภาคพื้นอีก 19 คน", "title": "อียิปต์แอร์ เที่ยวบินที่ 864" }, { "docid": "634157#0", "text": "มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 17 (MH17/MAS17) เป็นเที่ยวบินพาณิชย์ของมาเลเซียแอร์ไลน์ซึ่งออกเดินทางจากกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ไปยังกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เที่ยวบินซึ่งบินด้วยเครื่องบินโบอิง 777 ตก ใกล้กับฮราโบฟ จังหวัดโดเนตสค์ ประเทศยูเครน ห่างจากชายแดนยูเครน/รัสเซียประมาณ 40 กิโลเมตร ผู้โดยสาร 283 คนและลูกเรือ 15 คนบนเครื่องเสียชีวิตทั้งหมด", "title": "มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 17" }, { "docid": "135006#3", "text": "ในปี 2541 เจมส์ได้รับรางวัลพิฆเนศทองคำพระราชทาน สาขาต่อต้านยาเสพติด จาก ป.ป.ส.และคณะกรรมการโครงการศิลปินต่อต้านยาเสพติด และในปีเดียวกันเจมส์ เรืองศักดิ์ รอดชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินการบินไทย เที่ยวบินที่ 261 ตกที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างที่จะเดินทางไปเล่นคอนเสิร์ตเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม จนได้รับฉายาว่า \"เจมส์กระดูกเหล็ก\"", "title": "เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์" }, { "docid": "356115#4", "text": "มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 77 คน และอีก 26 คนได้รับบาดเจ็บ ความพยายามช่วยเหลือเกิดความยุ่งยากเนื่องจากในพื้นที่มีหิมะตกหนัก เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกล่าวว่า หิมะที่ตกลงมาอย่างหนักนั้นทำให้ชั้นหิมะหนาถึง 70 เซนติเมตร ณ จุดตก หลังจากอุบัติเหตุดังกล่าว มีการเรียกรถพยาบาล 36 คัน และโรงพยาบาล 11 แห่งให้ความสะดวกในปฏิบัติการช่วยเหลือ เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตจากเครื่องบินตกมากที่สุดในรอบครึ่งปีของ พ.ศ. 2554 นับจาก เดือนมกราคม ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554", "title": "อิหร่านแอร์ เที่ยวบินที่ 277" }, { "docid": "991797#2", "text": "เที่ยวบินที่ 593 ขึ้นบินจากท่าอากาศยานเชเรเมเตียโวไปที่ระดับความสูง 10,100 เมตร นักบินของเที่ยวบินที่ 593 รายงานตำแหน่งไปยังศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศในเมืองโนโวคุซเน็ตสค์ (; ) เมื่อเวลา 00:30 น. ตามเวลาท้องถิ่น และแจ้งว่าเครื่องบินจะออกจากเขตการควบคุมของโนโวคุซเน็ตสค์ในอีก 28 นาที อย่างไรก็ตาม 19 นาทีต่อมา เที่ยวบินที่ 593 ได้หายไปจากจอเรดาร์ โดยที่ทั้งศูนย์ควบคุมที่โนโวคุซเน็ตสค์และครัสโนยาสค์ที่อยู่ใกล้เคียงรวมทั้งลูกเรือบนเครื่องบินตูโปเลฟ ตู-134 ที่บินอยู่บริเวณนั้นไม่ได้รับสัญญาณแจ้งขอความช่วยเหลือเลย ในหนึ่งชั่วโมงต่อมาเฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่งที่ร่วมค้นหาเครื่องบินได้พบเพลิงไหม้ขนาดใหญ่บนที่ลาดเชิงเขาของเทือกเขาคุซเน็ตสค์อาลาตาอู (; ) ห่างออกไปทางตะวันออกจากเมืองเมจดูเรเชนสค์ประมาณ 20 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่กู้ภัยไม่สามารถเข้าไปยังบริเวณที่เครื่องตกได้เนื่องจากหิมะที่ตกทับถมหนาบนพื้น กล่องดำของเที่ยวบินที่ 593 ถูกพบในวันต่อมา ผู้โดยสารและลูกเรือบนเที่ยวบินที่ 593 เสียชีวิตทั้งหมด", "title": "แอโรฟลอต เที่ยวบินที่ 593" }, { "docid": "454991#0", "text": "ดานาแอร์ เที่ยวบินที่ 992 (9เจ-992) เป็นเที่ยวบินโดยสารภายในประเทศตามกำหนด ซึ่งดำเนินการโดย ดานาแอร์ สายการบินไนจีเรีย เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 อากาศยานเอ็มดี 83 บินจากท่าอากาศยานนานาชาติ Nnamdi Azikiwe เมืองอาบูจา ประเทศไนจีเรีย ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติ เมอทารา มูฮาเหม็ด เมืองเรกอส ตกในสภาพอากาศท้องฟ้ามีเมฆมาก แต่ไม่มีฝนตก ผู้โดยสารทั้ง 147 คนบนเครื่อง ลูกเรือ 6 ราย เสียชีวิตทั้งหมด", "title": "ดานาแอร์ เที่ยวบินที่ 992" }, { "docid": "988462#2", "text": "คาซัคสถานแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 1907 ใกล้ถึงท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี จึงแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศของเดลี เจ้าหน้าที่สั่งให้เที่ยวบินที่ 1907 ลดระดับลงมาที่ 15,000 ฟุต ในขณะนั้น ซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 763 ได้ขึ้นบินจากท่าอากาศยานและมุ่งหน้าไปในเส้นทางบินเดียวกันซึ่งสวนทางกับเที่ยวบินที่ 1907 เจ้าหน้าที่จึงสั่งให้เที่ยวบินที่ 763 ไต่ระดับขึ้นไปที่เพดานบิน 14,000 ฟุต เที่ยวบินที่ 1907 เมื่อลดระดับถึง 15,000 ฟุตแล้วก็รายงานต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจร เจ้าหน้าที่ได้แจ้งเตือนเที่ยวบินที่ 1907 ว่าเที่ยวบินที่ 763 กำลังมุ่งหน้าสวนทางกัน อย่างไรก็ตาม อันที่จริงแล้วเที่ยวบินที่ 1907 ไม่ได้รักษาระดับความสูงอยู่ที่ 15,000 ฟุต หากแต่กำลังลดระดับลงมาโดยในขณะนั้นอยู่ที่ระดับความสูง 14,500 ฟุตและกำลังลดระดับต่อไปอีก เที่ยวบินที่ 1907 ลดระดับลงไปอีกประมาณ 310 ฟุตก่อนจะชนเข้ากับเที่ยวบินที่ 763 เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศไม่ทราบว่าเครื่องบินทั้งสองลำชนกันจนกระทั่งพยายามสื่อสารกับเครื่องบินทั้งสองลำแต่ไม่มีสัญญาณตอบกลับมาและจุดสัญญาณบนจอซึ่งเป็นของเครื่องบินทั้งสองลำนั้นหายไป นักบินของกองทัพอากาศสหรัฐซึ่งขับเครื่องบินลำเลียงซี-141 และกำลังจะลงจอดที่นิวเดลีได้แจ้งว่ามองเห็นแสงสว่างสีส้มภายในก้อนเมฆ ก่อนที่แสงสว่างนั้นจะแยกออกเป็นลูกไฟสองลูกและแผ่ขยายออกเป็นวงกว้างเมื่อเครื่องบินทั้งสองลำตกถึงพื้น ชาวบ้านที่อยู่ในเมืองจรรขีทาทรีซึ่งอยู่ห่างออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือจากนิวเดลีประมาณ 80 กิโลเมตรมองเห็นแสงไฟสว่างวาบบนท้องฟ้าซึ่งตัดกับความมืดในช่วงใกล้ค่ำ และได้ยินเสียงที่ดังยิ่งกว่าฟ้าผ่า เที่ยวบินที่ 763 ตกลงไปในไร่ว่างเปล่าและก่อให้เกิดหลุมขนาดยาว 55 เมตร (60 หลา) ลึก 4.5 เมตร (15 ฟุต) ส่วนเที่ยวบินที่ 1907 ตกลงห่างจากเที่ยวบินที่ 763 ประมาณ 10 กิโลเมตร ในช่วงหลังจากพบเครื่องบินที่ตกไม่นานมีชาวบ้านพบผู้โดยสาร 3 คนจากเที่ยวบินที่ 763 ที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส อย่างไรก็ตาม ผู้รอดชีวิตดังกล่าวทนพิษบาดแผลไม่ไหวและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ไม่มีผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บนอกเหนือจากผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่องบินทั้งสองลำ ผู้เห็นเหตุการณ์เชื่อว่านักบินพยายามหักเลี้ยวเครื่องบินไม่ให้ตกลงไปในเขตชุมชนและป้องกันไม่ให้มีผู้เสียชีวิตนอกเหนือจากบนเครื่องบิน", "title": "เหตุเครื่องบินชนกันกลางอากาศที่จรรขีทาทรี พ.ศ. 2539" }, { "docid": "676294#3", "text": "เนื่องจากอุบัติเหตุเกิดขึ้นในดินแดนของสเปน เจ้าหน้าที่จากประเทศสเปนจึงเข้ามาสอบสวนสาเหตุ เหตุการชนเกี่ยวกับเครื่องบินจากสหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ ทั้งสองประเทศจึงเข้ามาสืบสวนสาเหตุเช่นกัน จากการสืบสวนพบว่าสาเหตุหลักของอุบัติเหตุคือเที่ยวบินเคแอลเอ็มแล่นขึ้นโดยยังไม่ได้รับสัญญาณจากหอบังคับการบิน การสอบสวนระบุว่ากัปตันไม่ได้ตั้งใจแล่นขึ้นโดยไม่อาศัยสัญญาณ แต่เนื่องจากความเข้าใจผิดของลูกเรือเที่ยวบินเคแอลเอ็มและหอบังคับการบิน ทำให้เขาเชื่อว่าเขาได้รับสัญญาณให้แล่นขึ้นแล้ว ผู้สืบสวนชาวดัตช์ให้ความสนใจเหตุครั้งนี้มากกว่าผู้สืบสวนชาวอเมริกันและสเปน แต่ในที่สุดแล้ว เคแอลเอ็มยอมรับว่าลูกเรือมีส่วนให้เกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ และสายการบินชดเชยค่าเสียหายให้ญาติผู้เสียชีวิต", "title": "ภัยพิบัติท่าอากาศยานเตเนริเฟ" }, { "docid": "122861#0", "text": "เดินอากาศไทย เที่ยวบินที่ 231 เป็นเครื่องบินโดยสารของสายการบินเดินอากาศไทย เดินทางด้วยเครื่อง Hawker Siddeley HS-748 และลงจอดที่ท่าอากาศยานดอนเมืองในขณะฝนตกหนักและสภาพอากาศเลวร้าย เกิดไมโครเบิร์สต และทำให้เกิดวินด์เชียร์กระทำต่อตัวเครื่องขณะลดระดับลง ส่งผลให้เครื่องเสียการทรงตัว และตกกระแทกพื้นดินที่กลางทุ่งนารังสิต บริเวณคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ห่างจากสนามบิน 13 กิโลเมตร (8 ไมล์) ผู้โดยสาร 40 คน จาก 49 คน และลูกเรือ 4 คน เสียชีวิต", "title": "เดินอากาศไทย เที่ยวบินที่ 231" } ]
626
รัชนก อินทนนท์ เป็นคนจังหวัดใด ?
[ { "docid": "467087#2", "text": "รัชนก อินทนนท์เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ที่จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรของวินัสชัย อินทนนท์ และคำผัน สุวรรณศาลา มีน้องชาย 1 คนคือ รัชพล อินทนนท์ เมื่ออายุ 3 เดือน รัชนกย้ายเข้ากรุงเทพมหานครตามบิดาและมารดา ซึ่งมาทำงานที่โรงงานทำขนมบ้านทองหยอด และได้ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น นับแต่นั้น[8] รัชนกยังมีกมลา ทองกร เจ้าของโรงงานบ้านทองหยอด เป็นมารดาบุญธรรมอีกด้วย[9]", "title": "รัชนก อินทนนท์" } ]
[ { "docid": "467087#13", "text": "ปี พ.ศ. 2555 รัชนกสามารถทำผลงาน ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้ในรายการ ไทยแลนด์ โอเพ่น กรังด์ปรีซ์ โกลด์ ก่อนที่จะพ่ายต่อไซน่า เนห์วาล ไป 1-2 เซต ทำให้ได้เพียงอันดับสอง ต่อมาในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน รัชนกได้รับสิทธิ์เข้าแข่งขันโอลิมปิก 2012 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นครั้งแรก ในฐานะมือวางอันดับ 11 ของโลก[20] โดยเธอสามารถผ่านรอบแรกไปได้ และสามารถเอาชนะจูเลียน เชงค์ จากเยอรมันไปได้ในรอบ 16 คนสุดท้าย[21] ก่อนที่จะแพ้หวัง ซิน จากจีนในรอบ 8 คนสุดท้ายไป 1-2 เซต[22]", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "765524#4", "text": "18 เมษายน – รัชนก อินทนนท์ ได้เป็นนักแบดมินตันหญิงเดี่ยวมือหนึ่งของโลกคนแรกของประเทศไทย", "title": "ประเทศไทยใน พ.ศ. 2559" }, { "docid": "467087#9", "text": "อนึ่ง ในระดับเยาวชน รัชนกยังทำผลงานได้ดีอย่างต่อเนื่อง ด้วยการคว้าเหรียญทอง ประเภทหญิงเดี่ยว รายการแบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลก ได้เป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน[17] ส่วนในการแข่งขันแบดมินตันชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2553 รัชนกเข้าถึงรอบรองชนะเลิศ ก่อนจะพ่ายต่อสลักจิต พลสนะ 21-14 21-15[18]", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "348345#1", "text": "นอกจากนี้ ภัททพลยังเป็นผู้ฝึกสอนแบดมินตันให้แก่รัชนก อินทนนท์ และณริฎษาพัชร แลม", "title": "ภัททพล เงินศรีสุข" }, { "docid": "467087#21", "text": "รายการระดับ ซูเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์ และซูเปอร์ ซีรีส์ รายการระดับ กรังด์ปรีซ์ โกลด์ และกรังด์ปรีซ์", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "467087#25", "text": "หมวดหมู่:นักแบดมินตันโอลิมปิกทีมชาติไทย หมวดหมู่:นักแบดมินตันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี หมวดหมู่:บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดร้อยเอ็ด หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดยโสธร หมวดหมู่:นักกีฬาจากกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:นักกีฬาทีมชาติไทย หมวดหมู่:นักแบดมินตันชาวไทย หมวดหมู่:แชมป์แบดมินตันแห่งประเทศไทย หมวดหมู่:ผู้เขียนอัตชีวประวัติชาวไทย หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ภ. หมวดหมู่:นักแบดมินตันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "467087#16", "text": "วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556 รัชนก อินทนนท์ สามารถคว้าแชมป์การแข่งขันแบดมินตันโลกได้สำเร็จเป็นคนแรกของประเทศไทย และเป็นแชมป์โลกแบดมินตันที่มีอายุน้อยที่สุด รวมถึงในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556 รัชนก อินทนนท์ ได้ขึ้นมาอยู่ในอันดับ 2 ของโลก จากการจัดอันดับของสหพันธ์แบดมินตันโลก[27]", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "467087#8", "text": "ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน รัชนกเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 16 ในนามทีมชาติไทย และได้รับรางวัลเหรียญเงิน ในประเภททีมหญิง โดยในรอบชิงชนะเลิศ เธอลงแข่งขันในฐานะเดี่ยวมือ 1 และพ่ายให้กับหวัง ซิน นักแบดมินตันมือ 1 ของโลกในสมัยนั้นไปอย่างสูสี 1-2 เกม 22-20 17-21 14-21[16]", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "467087#6", "text": "ในระดับเยาวชน รัชนกลงแข่งขัน รายการ บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์จูเนียร์แชมเชียนชิพ หรือเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งโลก เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2551 โดยเข้าถึงรอบ 8 คนสุดท้าย ก่อนที่จะพ่ายให้กับหวัง ซื่อเสียน จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ปีต่อมา พ.ศ. 2552 รัชนกลงแข่งขันในรายการนี้อีกครั้ง และได้รับรางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง เป็นครั้งแรก ด้วยการเอาชนะพรทิพย์ บูรณะประเสริฐสุข รุ่นพี่ทีมชาติไทย ในรอบชิงชนะเลิศ โดยเธอถือเป็นนักแบดมินตันหญิงเดี่ยวที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ รวมถึงเป็นนักแบดมินตันไทยคนแรก ที่ได้รับตำแหน่งนี้[13]", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "467087#22", "text": "WFSFQF#RAN/ANH", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "467087#4", "text": "รัชนกสำเร็จการศึกษา ระดับมัธยมตอนต้นจากโรงเรียนกสิณธรอาคาเดมี่[10] มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี และระดับอุดมศึกษาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "467087#3", "text": "รัชนกเริ่มเล่นกีฬาแบดมินตัน เมื่ออายุได้ 6 ปี เนื่องจากกมลา ทองกร เกรงว่ารัชนกจะวิ่งเล่นซุกซนภายในโรงงานจนเกิดอุบัติเหตุได้ จึงได้นำเธอมาหัดเล่นแบดมินตันตั้งแต่บัดนั้น หนึ่งปีต่อมาเธอได้ลงแข่งขันเป็นครั้งแรก ในรายการอุดรธานี โอเพ่น และได้รับรางวัลชนะเลิศเป็นครั้งแรก", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "76151#12", "text": "ศูนย์บริการข้อมูลนกอินทนนท์ (ร้านลุงแดง) ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 31 หน่วยจัดการต้นน้ำแม่กลาง ให้บริการด้านข้อมูลนกในดอยอินทนนท์ เช่น สมุดบันทึกการพบนกในดอยอินทนนท์ ภาพวาดลายเส้นของนักดูนกท่านต่างๆแผนที่เส้นทางดูนกดอยอินทนนท์ ภาพถ่าย สไลด์เกี่ยวกับนก ฯลฯ ให้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ", "title": "อำเภอจอมทอง" }, { "docid": "467087#5", "text": "ปี พ.ศ. 2550 ด้วยวัยเพียง 12 ปี รัชนกลงแข่งขัน รายการแบดมินตันชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก และได้รับเหรียญทองแดง ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 เธอได้รับเหรียญเงิน[11] และปี พ.ศ. 2552 เธอได้รับเหรียญทองเป็นครั้งแรก โดยเอาชนะสลักจิต พลสนะ อดีตแชมป์ประเทศไทย ได้ในรองรอบชนะเลิศ และเอาชนะทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย ได้ในรอบชิงชนะเลิศ[12]", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "467087#17", "text": "รัชนกเป็นนักแบตมินตันคนแรกของโลกที่สามารถคว้าแชมป์ซูเปอร์ซีรีส์สามรายการติดต่อกันใน 3 สัปดาห์ ที่ประเทศอินเดีย, มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งยังไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน และทำคะแนนสะสมขึ้นนำเป็นนักแบตมินตันหญิงมือ 1 ของโลกประเภทหญิงเดี่ยว[28] โดยอันดับล่าสุด ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2559 รัชนกอยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "467087#1", "text": "ปัจจุบัน รัชนกสังกัดสโมสรโรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด และแข่งขันในนามสโมสรชิงเต่าในลีกระดับโลกที่ประเทศจีน ตั้งแต่ปี 2555 โดยเซ็นสัญญาแบบปีต่อปี[2]", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "467087#12", "text": "ในส่วนของผลงานรายการเก็บคะแนนสะสมในรอบปี รัชนกทำผลงานได้ดีที่สุด ด้วยการคว้าแชมป์ในรายการ อินเดีย โอเพ่น กรังด์ปรีซ์โกลด์ ในเดือนธันวาคม", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "467087#14", "text": "หลังจากนั้น รัชนกสามารถทำผลงานได้ดีอีกครั้ง ด้วยการผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ รายการไชน่า โอเพ่น ซูเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์ ก่อนที่จะพ่ายแก่หลี่ เสี่ยวเล่ย มืออันดับ 1 ของโลก ไป 0-2 เซต ได้เพียงอันดับ 2[23] แต่นั่นก็เพียงพอทำให้รัชนก ได้สิทธิ์ไปแข่งขันรายการซูเปอร์ ซีรีส์ สุดท้ายของปี ที่จะให้สิทธิ์สำหรับนักแบดมินตัน 8 อันดับแรกที่ทำคะแนนสะสมสูงสุดในรอบปี โดยในรายการสุดท้ายนี้ รัชนกสามารถเข้าถึงรอบรองชนะเลิศ ก่อนจะพ่ายต่อหวัง ฉีเซียน จากจีน ไป 0-2 เซต 12-21 19-21[24]", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "474363#2", "text": "พบในอนุทวีปอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, กระจายพันธุ์ข้ามไปยังภูฐาน, อินเดีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, ไทย, ทิเบต และเวียดนาม อาศัยในป่าดิบเขาเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน สูงจากระดับน้ำทะเล 1500-3700 เมตร\nสำหรับในประเทศไทย พบในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ พบได้บ่อยมากที่ดอยอินทนนท์ โดยชนิดย่อยที่พบในเมืองไทยคือชนิดย่อย \"M.s.castanicauda\" ซึ่งพบเป็นครั้งแรกในประเทศพม่าเมื่อปี พ.ศ. 2420 และพบในเมืองไทยที่ดอยอินทนนท์เมื่อ พ.ศ. 2477 นอกจากดอยอินทนนท์แล้วยังสามารถพบนกศิวะหางสีตาลได้ที่ดอยผ้าห่มปก เชิงยอดเขาโมโกจู จังหวัดกำแพงเพชร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก\nทำรังวางไข่ในช่วงฤดูฝน เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์นกในฝูงจะแยกย้ายกันไปอยู่เป็นคู่ ในการเกี้ยวพาราสีนกแต่ละคู่จะเบียดกันแนบชิดตลอดเวลา ทำรังเป็นรูปถ้วยสูงจากพื้นดิน1-3เมตร ทำรังด้วยหญ้า ใบไผ่ มอส เปลือกต้นก่อที่นำมาขัดสานเป็นรูปถ้วยแล้วรัดภายนอกด้วยไลเคนส์ทำให้รังดูแข็งแรงและกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม รองก้นรังด้วยขนสัตว์ รากไม้เล็กๆ ฝอยลม ใบสน วางไข่ครอกละ 2-4 ฟอง เปลือกไข่สีเขียวอมฟ้าหรือน้ำเงินเข้ม หรือน้ำเงินแกมเขียว ทั้งพ่อและแม่นกช่วยกันเลี้ยงลูกอ่อน การกินอาหารกินพวกแมลง หนอน เมื่อถึงฤดูหนาวจะอาศัยกินพวกน้ำหวานจากดอกไม้", "title": "นกศิวะหางสีตาล" }, { "docid": "467087#0", "text": "รัชนก อินทนนท์ ชื่อเล่น เมย์ (เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538) เป็นนักกีฬาแบดมินตันหญิงชาวไทย อดีตนักแบดมินตันหญิงเดี่ยวมือหนึ่งของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2559 และเป็นคนไทยคนแรกที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว โดยก่อนหน้านั้นในปี 2556 เธอได้คว้าแชมป์โลกและสร้างสถิติเป็นแชมป์โลกแบดมินตันอายุน้อยที่สุด[7]", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "467087#15", "text": "วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 รัชนกสร้างสถิติโลกใหม่เป็นนักแบดมินตันที่อายุน้อยที่สุดที่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ในวัยเพียง 18 ปี หลังคว้าแชมป์ \"โยเน็กซ์ ซันไรส์ อินเดีย โอเพ่น\"[25] และในวันที่ 20 มิถุนายน สหพันธ์แบดมินตันโลก (บีดับเบิลยูเอฟ) ประกาศการจัดอันดับนักแบดมินตันโลก รัชนก อินทนนท์ ขยับขึ้นจากอันดับ 5 ไปเป็นมือ 3 โลก ในประเภทหญิงเดี่ยว[26]", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "467087#7", "text": "ในปี พ.ศ. 2553 รัชนกเริ่มก้าวเข้าสู่การแข่งขันในระดับทั่วไปในรายการที่ใหญ่ขึ้น และสามารถทำผลงานได้ดีในหลายรายการ ในเดือนตุลาคม ด้วยวัย 15 ปี รัชนกสามารถคว้าแชมป์แรกในระดับกรังด์ปรีซ์ และกรังด์ปรีซ์ โกลด์ ให้กับตัวเอง ได้ที่ประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซียตามลำดับ[14][15] และในรอบปีนั้น ยังทำผลงาน เข้ารอบก่อนรองชนะเลิศได้ในรายการไชน่า ซูเปอร์ซีรีส์ พรีเมียร์, ฮ่องกง ซูเปอร์ซีรีส์, ไชนีส ไทเป กรังด์ปรีซ์โกลด์ และโคเรีย กรังด์ปรีซ์โกลด์", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "467087#19", "text": "รายการ2009 2010 2011 แบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลกGoldGoldGold", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "467087#18", "text": "รายการ2013 แบดมินตันชิงแชมป์โลกGold", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "467087#10", "text": "ในปี พ.ศ. 2554 รัชนกเป็นนักแบดมินตันที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ในรายการ บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์จูเนียร์แชมเชียนชิพ ด้วยการสร้างประวัติศาสตร์ คว้าแชมป์เยาวชนชิงชนะเลิศแห่งโลก ได้เป็นสมัยที่ 3 ติดต่อกัน เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์แบดมินตันโลก[19]", "title": "รัชนก อินทนนท์" }, { "docid": "483317#5", "text": "ปราโมทย์พบว่าตนป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดในช่วงต้นปี พ.ศ. 2554 ทั้งที่ซึ่งเขาไม่ได้เป็นคนดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ จากนั้นเขาได้เข้ารับการรักษาเป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปี ปราโมทย์ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ด้วยโรคมะเร็งปอด ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยญาติได้นำร่างของเขาไปประกอบพิธีที่วัดถาวรวราราม จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา และกำหนดพิธีฌาปนกิจศพในวันที่ 9 ของเดือนเดียวกันนี้ ในการจากไปนี้ คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ซึ่งเป็นประธานที่ปรึกษาสมาคมแบดมินตันฯ ได้แสดงการไว้อาลัยผ่านทางเฟซบุ๊กของ ด.ต.ปราโมทย์ รวมทั้ง รัชนก อินทนนท์ ที่เคยรับการฝึกสอนจาก ด.ต.ปราโมทย์ ก็ได้แสดงความอาลัยผ่านทางอินสตาแกรมด้วยเช่นกัน", "title": "ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์" }, { "docid": "528551#5", "text": "เมื่ออายุ 9 ปี อรเณศ ดีคาบาเลส ยังเคยเล่นแบดมินตันกับรัชนก อินทนนท์ มาแล้วครั้งหนึ่ง รวมถึงเธอยังมีนักแบดมินตันที่ชื่นชอบและเป็นต้นแบบคือ ซู หลิน", "title": "อรเณศ ดีคาบาเลส" }, { "docid": "7605#94", "text": "พิชิตพงษ์ เฉยฉิว นักฟุตบอลทีมชาติไทย ปิยะชาติ ถามะพันธ์ นักฟุตบอลทีมชาติไทย เมย์ รัชนก อินทนนท์ นักแบดมินตันหญิง ไทยแลนด์ คำทอง ผู้นำเชียร์กีฬาทีมชาติไทย", "title": "จังหวัดยโสธร" }, { "docid": "467087#11", "text": "เดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน รัชนกเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2011 ในฐานะผู้เล่นทีมชาติไทย โดยลงแข่งขันทั้งในประเภทหญิงเดี่ยว และในประเภททีมหญิง ซึ่งรัชนกสามารถคว้ามาได้ 1 เหรียญทอง และ 1 เหรียญทองแดง จากประเภททีมหญิง และหญิงเดี่ยว ตามลำดับ", "title": "รัชนก อินทนนท์" } ]
2720
รัสเซียอยู่ทวีปอะไร ?
[ { "docid": "5449#0", "text": "รัสเซีย (; , ) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (; ) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก", "title": "ประเทศรัสเซีย" }, { "docid": "858702#38", "text": "d รัสเซียถือเป็นประเทศที่มีอาณาเขตทางภาคพื้นทวีปยุโรปตะวันออกและเอเชียเหนือ ตัวเลขประชากรและพื้นที่ของเขตสหพันธ์ยูรัล,เขตสหพันธ์ไซบีเรียและเขตสหพันธ์ตะวันออกไกลนั้นถือว่าเป็นของทวีปเอเชีย", "title": "ภูมิศาสตร์เอเชีย" } ]
[ { "docid": "22127#0", "text": "ปรัสเซีย () หรือ พร็อยเซิน () หรือ โบรุสเซีย (ละติน: Borussia) เป็นรัฐที่รุ่งเรืองที่สุดในบรรดารัฐทั้งหลายของชนชาติเยอรมัน มีจุดกำเนิดจากดัชชีปรัสเซียและรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค อันเป็นรัฐหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของภูมิภาคที่ชื่อว่าพร็อยเซิน รัฐแห่งนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์นเป็นเวลาหลายศตวรรษ การมีกองทัพที่เข็มแข็งทำให้ปรัสเซียประสบความสำเร็จในการแผ่ขยายดินแดน ปรัสเซียมีเมืองหลวงเดิมอยู่ที่เคอนิชส์แบร์คก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปยังเบอร์ลินในปี 1701", "title": "ปรัสเซีย" }, { "docid": "5449#4", "text": "ดินแดนอันกว้างใหญ่ของสหพันธรัฐรัสเซียครอบคลุมพื้นที่แถบตะวันออกเฉียงเหนือเหนือของทวีปยูเรเชีย จุดที่ห่างไกลกันที่สุดของรัสเซีย ซึ่งได้แก่ชายแดนที่ติดต่อกับโปแลนด์และหมู่เกาะคูริล มีระยะห่างถึง 8,000 กิโลเมตร ทำให้รัสเซียมีถึง 11 เขตเวลา รัสเซียมีเขตป่าสงวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก และถูกเรียกว่าเป็น \"ปอดของยุโรป\" เพราะปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดูดซึมนั้นเป็นรองเพียงแค่ป่าดิบชื้นแอมะซอนเท่านั้น รัสเซียมีทางออกสู่มหาสมุทรถึงสามแห่ง ได้แก่มหาสมุทรแอตแลนติก อาร์กติก และแปซิฟิก จึงทำให้รัสเซียเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่ออุปทานของสินค้าประมงในโลก", "title": "ประเทศรัสเซีย" }, { "docid": "58901#38", "text": "ส่วนโคจรของรัสเซียสื่อสารโดยตรงกับภาคพื้นดินผ่าน \"ไลรา\" ซึ่งเป็นเสาอากาศรับสัญญาณวิทยุติดตั้งอยู่บนโมดูล\"ซเวซดา\" เสาอากาศ \"ไลรา\" ยังมีความสามารถใช้ระบบดาวเทียมถ่ายทอดข้อมูล \"Luch\" ด้วย ระบบนี้เคยใช้ในการสื่อสารกับ \"สถานีอวกาศมีร์\" ต่อมาเสียหายจนซ่อมแซมไม่ได้ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1990 หลังจากนั้นก็ไม่ได้ใช้งานอีก อย่างไรก็ดี ดาวเทียม \"Luch\" ใหม่อีกสองตัวคือ \"Luch\"-5A และ \"Luch\"-5B ได้เตรียมการเพื่อนำส่งขึ้นในปี ค.ศ. 2011 เพื่อแก้ไขปรับปรุงความสามารถของระบบให้กลับมาใช้งานได้อีก ส่วนโคจรของสหรัฐฯ (USOS) ใช้ระบบวิทยุ 2 ระบบแยกจากกันซึ่งติดตั้งอยู่บนโครงค้ำ Z1 คือระบบเอสแบนด์ (ใช้สำหรับเสียง) และเคยูแบนด์ (ใช้กับเสียง ภาพเคลื่อนไหว และข้อมูล) การส่งสัญญาณนี้เชื่อมต่อผ่านระบบดาวเทียมติดตามและถ่ายทอดข้อมูล (Tracking and Data Relay Satellite; TDRSS) ของสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ในวงโคจรค้างฟ้า ทำให้สามารถทำการสื่อสารแบบทันทีทันใดกับศูนย์ควบคุมภารกิจขององค์การนาซาในฮูสตันได้ ช่องทางส่งข้อมูลสำหรับ Canadarm2, ห้องทดลองโคลัมบัสของยุโรป และโมดูลคิโบของญี่ปุ่น จะถ่ายทอดผ่านระบบเอสแบนด์และเคยูแบนด์ แม้จะมีระบบดาวเทียมถ่ายทอดสัญญาณของยุโรปและระบบที่คล้ายคลึงกันของญี่ปุ่นสามารถทำหน้าที่แทน TDRSS ได้ก็ตาม สำหรับการสื่อสารระหว่างโมดูลต่างๆ ดำเนินการผ่านเครือข่ายดิจิตอลไร้สายภายใน", "title": "สถานีอวกาศนานาชาติ" }, { "docid": "609722#1", "text": "รางรัสเซีย เป็นรางที่พบได้มากเป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากรางมาตรฐานหรือสแตนดาร์ดเกจ นอกจากในรัสเซียแล้ว รางรัสเซียยังมีการใช้งานใน โปแลนด์ สโลวาเกีย สวีเดน ฟินแลนด์ อัฟกานิสถาน จอร์เจีย มองโกเลีย เกาหลีเหนือ ฮังการี ยูเครน และอีกหลายประเทศ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา อีกด้วย", "title": "รางรัสเซีย" }, { "docid": "5449#3", "text": "รัสเซียมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดอันดับที่ 11 ของโลกโดยจีดีพีมูลค่าตลาด หรือใหญ่ที่สุดอันดับที่ 6 โดยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ โดยมีงบประมาณทางทหารมากที่สุดอันดับที่ 5 ของโลก ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจธุรกิจจัดอันดับรัสเซียเป็นเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับที่ 9 ของโลกใน พ.ศ. 2554 ขึ้นจากอันดับที่ 10 ใน พ.ศ. 2553 รัสเซียเป็นหนึ่งในห้ารัฐอาวุธนิวเคลียร์ที่ได้รับการรับรองและครอบครองคลังแสงอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงใหญ่ที่สุดในโลก รัสเซียเป็นมหาอำนาจและสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมาชิกจี 8 จี 20 สภายุโรปและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป องค์การการค้าโลก และเป็นสมาชิกผู้นำเครือจักรภพรัฐเอกราช", "title": "ประเทศรัสเซีย" }, { "docid": "432612#77", "text": "วันที่ 4 พฤษภาคม 2560 รัสเซีย อิหร่านและตุรกีลงนามความตกลงในกรุงอัสตานาเพื่อสถาปนา \"เขตลดขอบเขต\" (de-escalation zone) 4 เขตในประเทศซีเรีย ได้แก่ เขตผู้ว่าการอิดลิบ เขตผู้ว่าการฮอมส์ส่วนเหนือที่กบฏควบคุม กูตาตะวันออกที่กบฏควบคุมและชายแดนจอร์แดน–ซีเรีย กลุ่มกบฏบางกลุ่มปฏิเสธความตกลงนี้ และพรรคสหภาพประชาธิปไตยยังประณามข้อตกลงนี้ โดยกล่าวว่าเขตหยุดยิง \"แบ่งซีเรียออกตามนิกาย\" การหยุดยิงมีผลในวันที่ 6 พฤษภาคม", "title": "สงครามกลางเมืองซีเรีย" }, { "docid": "22127#1", "text": "ในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (ปี 1814–15) ซึ่งจัดระเบียบทวีปยุโรปเสียใหม่ภายหลังถูกทำให้ปั่นป่วนจากสงครามนโปเลียน ปรัสเซียได้รับดินแดนส่วนใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเยอรมนีในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงรัฐร่ำรวยถ่านหินอย่างรัฐรูร์ (Ruhr) อิทธิพลทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของปรัสเซียได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ปรัสเซีบกลายเป็นหัวใจของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือในปี 1867 และของจักรวรรดิเยอรมันในปี 1871 ปรัสเซียในยุคจักรวรรดิเยอรมนี้มีอาณาเขตไพศาลมากกว่ารัฐเยอรมันที่เหลือรวมกันเสียอีก ชนชั้นนำของปรัสเซียมักจะระบุว่าตัวเองนั้นเป็น \"ชาวเยอรมัน\" มากกว่าบอกว่าตัวเองนั้นเป็น \"ชาวปรัสเซีย\"", "title": "ปรัสเซีย" }, { "docid": "2860#9", "text": "สำหรับรัสเซียได้แสดงการสนับสนุนอุซเบกิสถานในเรื่องนี้มาโดยตลอด โดยเชื่อว่าการจลาจลที่เมือง Andijan มีผู้อยู่เบื้องหลังไม่ใช่เกิดขึ้นจากความไม่พอใจต่อรัฐบาลต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอย่างที่ประเทศส่วนใหญ่เข้าใจกัน โดยเมื่อวันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2548 ประธานาธิบดี Karimov เยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการ โดยได้มีการลงนามความร่วมมือทางการทหารร่วมกัน ซึ่งรวมถึงการอนุญาตให้ใช้อาวุธของตนในเขตแดนของกันและกัน และการช่วยเหลือทางการทหารต่อกันในกรณีที่ถูกรุกราน", "title": "ประเทศอุซเบกิสถาน" } ]
2556
รัสเซลล์ เกิดที่เมืองอะไรของสหราชอาณาจักร?
[ { "docid": "10668#1", "text": "รัสเซลล์ เกิดที่เมืองเทรลเลค (Trelleck) แคว้นมอนมอธเชอร์ (Monmouthshire) สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) บิดาเป็นขุนนางชั้นวิสเคานท์ชื่ออัมเบอร์เลย์ (Amberley) ซึ่งเป็นบุตรชายคนที่ 3 ของลอร์ด จอห์น รัสเซลล์ (Lord John Russell) อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัย ผู้สนับสนุนพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนฉบับแรก และยังเป็นผู้ส่งเสริมเสรีภาพของประชาชนมาตลอดชีวิต เป็นผู้ที่มีแนวคิดเสรีนิยมจัด ท่านลอร์ด จอห์น รัสเซลล์ ผู้นี้เองเป็นคนริเริ่มส่งเสริมและเปิดให้มีการค้าโดยเสรี ให้คนยิวทำมาหากินอย่างอิสระในอังกฤษ และส่งเสริมเสรีภาพในการนับถือศาสนาอีกด้วย ส่วนมารดาของรัสเซลล์ ชื่อนางแคทธริน เป็นบุตรีของท่านบารอน สแตนเลย์ ขุนนางแห่งเมืองอัลเตอร์เลย์ (Alterley)", "title": "เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์" } ]
[ { "docid": "2083#45", "text": "สหราชอาณาจักรไม่ได้มีรัฐธรรมนูญที่จัดเป็นระบบ และเรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไม่ได้อยู่ใน อำนาจที่จะตกทอดมายัง สกอตแลนด์, เวลส์ หรือ ไอร์แลนด์เหนือ. ภายใต้หลักการของ อำนาจอธิปไตยของรัฐสภา, รัฐสภาสหราชอาณาจักรจึงสามารถ, ในทางทฤษฎี, ยกเลิกรัฐสภาของสกอตแลนด์, สภาเวลส์ หรือ สภาไอร์แลนด์เหนือ.[105][106] แท้จริงแล้ว ในปี 1972 รัฐสภาสหราชอาณาจักรปิดประชุมรัฐสภาไอร์แลนด์เหนือ, เป็นการทำให้เป็นแบบอย่างที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการถ่ายทอดอำนาจร่วมสมัย.[107] ในทางปฏิบัติ มันจะเป็นเรื่องยากในทางการเมืองสำหรับรัฐสภาสหราชอาณาจักร ที่จะยกเลิกการถ่ายทอดอำนาจให้กับรัฐสภาสกอตและสภาเวลส์, ให้การป้องกันทางการเมืองที่ถูกสร้างขึ้นโดยการตัดสินใจการลงประชามติ.[108] ข้อจำกัดทางการเมืองที่วางอยู่บนอำนาจของรัฐสภาสหราชอาณาจักรในการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ การถ่ายทอดอำนาจในไอร์แลนด์เหนือจะยิ่งใหญ่กว่าในส่วนที่เกี่ยวกับสกอตแลนด์และเวลส์, ที่ระบุว่าการรับโอนอำนาจในไอร์แลนด์เหนือ วางอยู่บนข้อตกลงระหว่างประเทศกับรัฐบาลของประเทศไอร์แลนด์", "title": "สหราชอาณาจักร" }, { "docid": "2083#35", "text": "อย่างไรก็ตาม สหราชอาณาจักรเริ่มสูญเสียความเป็นผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมในพุทธศตวรรษที่ 25 ให้กับสหรัฐอเมริกาและจักรวรรดิเยอรมัน หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 1 อำนาจของสหราชอาณาจักรในวงการเมืองโลกเริ่มลดลง และเริ่มมีการปลดปล่อยอาณานิคมในดินแดนโพ้นทะเลต่าง ๆ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหราชอาณาจักรต่อสู้กับนาซีเยอรมนีและได้รับชัยชนะในปี พ.ศ. 2488 ซึ่งทำให้สหราชอาณาจักรได้เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สหราชอาณาจักรเข้าร่วมสหภาพยุโรปในปีพ.ศ. 2516 แต่ปัจจุบันยังไม่เข้าร่วมใช้เงินยูโร โดยมีแผนที่จะจัดการลงประชามติเกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อผลจาก \"บททดสอบห้าข้อ\" ประเมินได้ว่าการเข้าร่วมใช้เงินยูโรจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร[83]", "title": "สหราชอาณาจักร" }, { "docid": "6799#8", "text": "หลังจากที่พระเจ้าจอร์จ ตูโปอูที่ 1 ได้รับชัยชนะจากสงครามกลางเมืองตองงาแล้ว พระองค์ได้ตั้งเมืองปาไงในฮาอะไป ซึ่งเป็นเขตอำนาจเดิมของพระองค์เป็นเมืองหลวงในปี ค.ศ. 1845 หลังจากนั้นได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ลิฟูกา ในท้ายที่สุดได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองนูกูอาโลฟาซึ่งเป็นเมืองหลวงปัจจุบันในปี ค.ศ. 1851 ในรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จ ตูโปอูที่ 1 มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายวาวาอู ในปี ค.ศ. 1839 ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและลดบทบาทเจ้านายในท้องถิ่นต่าง ๆ โดยประมวลกฎหมายฉบับนี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญของรัฐธรรมนูญตองงาที่ประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1875 การประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกก็เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ โดยเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1862 นอกจากนี้มีการประกาศความสัมพันธ์กับสหราชอาณาจักร เยอรมนีและสหรัฐอเมริกา ประเทศเหล่านี้ต่างรับรองความเป็นเอกราชของตองงา การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จ ตูโปอูที่ 1 นั้นเหล่ามิชชันนารีล้วนมีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองการปกครองและในรัชสมัยนี้ศาสนาคริสต์ก็แผ่ได้มากขึ้นจากการอุปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์\nในรัชกาลของพระเจ้าจอร์จ ตูโปอูที่ 2 ได้ลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพ (Treaty of Friendship) กับสหราชอาณาจักร ในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1900 ส่งผลให้ตองงาเป็นรัฐภายใต้การอารักขาของสหราชอาณาจักร โดยสหราชอาณาจักรจะควบคุมทางด้านการต่างประเทศ รวมไปถึงสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเท่านั้น ส่วนกิจการภายในอื่น ๆ รัฐบาลตองงายังคงมีสิทธิบริหาร อย่างไรก็ตามพบว่ารัฐบาลอังกฤษพยายามที่จะแทรกแซงกิจการภายในของตองงาอยู่เสมอ เหตุผลที่ต้องลงนามในสนธิสัญญานี้เนื่องจากรัฐบาลตองงาเกรงว่าชาวต่างชาติอาจรุกรานและยึดตองงาเป็นอาณานิคม ตองงาเริ่มได้อำนาจการปกครองส่วนใหญ่คืนใน ค.ศ. 1958 และได้เอกราชโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1970", "title": "ประเทศตองงา" }, { "docid": "833969#0", "text": "ริชาร์ด ดิก แมกแทกการ์ต (Richard \"Dick\" McTaggart ) นักมวยสากลสมัครเล่นชาวสก๊อตแลนด์จากสหราชอาณาจักร เกิดเมื่อ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2478 ในเมืองดันดี สหราชอาณาจักร", "title": "ดิก แมกแทกการ์ต" }, { "docid": "2066#2", "text": "เอดินบะระเป็นเมืองที่เจริญมากที่สุดเมืองหนึ่งในสหราชอาณาจักร มีศูนย์กลางเมืองตั้งอยู่รอบ ๆ ปราสาทเอดินบะระ เมืองเอดินบะระนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเทศกาลต่าง ๆ ตัวอย่างงานสำคัญที่ถูกจัดขึ้นในเมืองเอดินบะระ ได้แก่ เทศกาลศิลปะนานาชาติ Fringe ภาพยนตร์ วิทยาศาสตร์ งานหนังสือเด็ก เพลงแจ๊ส และเพลงพื้นบ้าน ในช่วงเทศกาลเหล่านี้ โดยเฉพาะช่วงเดือนสิงหาคมหรือช่วงหน้าร้อนของสหราชอาณาจักร ที่เมืองเอดินบะระจะมีจัดงานเทศกาลประจำปีที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาที่เมืองนี้เป็นจำนวนมาก จนทำให้เมืองเอดินบะระติดอันดับเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอน", "title": "เอดินบะระ" }, { "docid": "21257#19", "text": "75.9 เปอร์เซนต์ของประชากรแมนเชสเตอร์ระบุว่าตนเกิดในสหราชอาณาจักร แมนเชสเตอร์มีอัตราการจ้างงานต่อประชากรต่ำเป็นลำดับสองของสหราชอาณาจักร โดยให้เหตุผลว่า มีประชากรที่เป็นนักศึกษาจำนวนมาก จากการประมาณการกลางปี พ.ศ. 2549 แมนเชสเตอร์มีประชากรประมาณ 4.52 แสนคน เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในอังกฤษตะวันตกเฉียงเหนือ ในประวัติศาสตร์ ประชากรของแมนเชสเตอร์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงยุควิกตอเรีย โดยพุ่งขึ้นถึงจุดสูงสุดที่ 766,311 ในปีพ.ศ. 2474 ก่อนที่จะลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากนั้น", "title": "แมนเชสเตอร์" }, { "docid": "2083#82", "text": "หน่วยงานกำกับดูแลถูกจัดองค์กรบนพื้รฐานของสหราชอาณาจักรในวงกว้าง เช่น สภาแพทย์ทั่วไป, สภาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และด้านเอกชน เช่น ราชวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม ความรับผิดชอบทางการเมืองและการดำเนินงานสำหรับการดูแลสุขภาพขึ้นอยู่กับสี่ผู้บริหารระดับสูงแห่งชาติได้แก่ การดูแลสุขภาพในประเทศอังกฤษเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลสหราชอาณาจักร; การดูแลสุขภาพในไอร์แลนด์เหนือเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารไอร์แลนด์เหนือ; การดูแลสุขภาพในสกอตแลนด์เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลสกอตแลนด์; และการดูแลสุขภาพในเวลส์เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลสภาเวลส์ แต่ละบริการสุขภาพแห่งชาติมีนโยบายและความสำคัญเร่งด่วนที่แตกต่างกัน ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งหลายครั้ง.[216][217]", "title": "สหราชอาณาจักร" }, { "docid": "2083#24", "text": "หลังสงคราม สหราชอาณาจักรได้รับฉันทานุมัติจากสันนิบาตแห่งชาติในเรือ่งจำนวนของอดีต อาณานิคมเยอรมันและออตโตมัน จักรวรรดิอังกฤษได้มาถึงขอบเขตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดโดยการ ครอบครองพื้นผิวดินของโลกอันดับที่ห้าของโลก และหนึ่งในสี่ของประชากรของโลก.[62] อย่างไรก็ตาม สหราชอาณาจักรประสพกับ 2.5 ล้านคนที่บาดเจ็บ และจบสงครามด้วยหนี้ของชาติจำนวนมาก.[61] การลุกขึ้นของกลุ่มชาตินิยมไอริช และข้อพิพาทภายในไอร์แลนด์ในแง่ของกฎบ้านไอริชในที่สุดนำไปสู่การแบ่งพื้นที่ของเกาะในปี 1921,[63] และ รัฐอิสระไอริช กลายเป็นอิสระที่มีสถานะการปกครองในปี 1922. ไอร์แลนด์เหนือยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร[64] คลื่นของการประท้วงในช่วงกลางทศวรรษ 1920s ส่งผลให้เกิด'การประท้วงทั่วไปในสหราชอาณาจักรปี 1926'. สหราชอาณาจักรก็ยังไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบของสงคราม เมื่อ'เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่' (1929-1932) เกิดขึ้น. สิ่งนี้นำไปสู่​​การว่างงานและความยากลำบากอย่างมากใน พื้นที่อุตสาหกรรมเก่า รวมทั้ง ความไม่สงบทางการเมืองและสังคมในปี 1930s พรรคร่วมรัฐบาลถูกตั้งขึ้นในปี 1931.[65]", "title": "สหราชอาณาจักร" }, { "docid": "2083#95", "text": "เชื่อกันว่ามีชาวมุสลิมถึง 1.8 ล้านคนในสหราชอาณาจักร ซึ่งจำนวนมากอาศัยอยู่ในลอนดอน เบอร์มิงแฮม แบรดฟอร์ด และโอลด์แฮม[228] โดยในปัจจุบันสามารถเห็นมัสยิดได้ทั่วไปในหลายภาคของสหราชอาณาจักร ชาวมุสลิมในสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่มีเชื้อสายปากีสถาน อินเดีย และบังคลาเทศ ในระยะหลัง ผู้อพยพจากโซมาเลียและตะวันออกกลางได้เพิ่มจำนวนชาวมุสลิมในสหราชอาณาจักร ในปีพ.ศ. 2549 การให้สัมภาษณ์ของแจ็ก สตรอว์ ผู้นำเฮาส์ออฟคอมมอนส์ ได้ก่อเกิดความขัดแย้งในเรื่องของผ้าคลุมศีรษะของชาวมุสลิม โดยสะท้อนให้เห็นฝ่ายชาวสหราชอาณาจักรที่เห็นว่าศาสนาอิสลามไม่สามารถเข้ากับสังคมสหราชอาณาจักรได้ และอีกกลุ่มที่พอใจกับศาสนาอิสลามในสหราชอาณาจักร[229] ศาสนาที่มีต้นกำเนิดจากอินเดีย เช่น ศาสนาฮินดู และ ศาสนาซิกข์ ก็มีขยายใหญ่ขึ้นในสหราชอาณาจักรเช่นกัน โดยมีชาวฮินดูมากกว่า 500,000 คน และชาวซิกข์ถึง 320,000 คน[230] โดยปัจจุบันน่าจะเพิ่มขึ้นจากตัวเลขนี้ ซึ่งมาจากการสำรวจในปีพ.ศ. 2544 ในเมืองเลสเตอร์มีศาสนสถานของศาสนาเชน ซึ่งเป็นแห่งเดียวในโลกที่อยู่นอกประเทศอินเดีย", "title": "สหราชอาณาจักร" }, { "docid": "223079#13", "text": "หมวดหมู่:นครในสหราชอาณาจักร หมวดหมู่:เมืองในมณฑลเมอร์ซีย์ไซด์ หมวดหมู่:เมืองในอังกฤษ หมวดหมู่:เมืองในสหราชอาณาจักร หมวดหมู่:มรดกโลกในสหราชอาณาจักร หมวดหมู่:เมืองหลวงทางวัฒนธรรมของยุโรป", "title": "ลิเวอร์พูล" }, { "docid": "2083#21", "text": "หลังจากความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสใน การปฏิวัติและสงครามโปเลียน (1792-1815), สหราชอาณาจักรกลายเป็นพลังทางเรือและจักรพรรดิที่สำคัญของศตวรรษที่ 19 (ที่มีลอนดอนเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากประมาณปี 1830)[52] โดยที่ไม่มีกล้าท้าทายในทะเล, การครอบงำของอังกฤษได้รับการอธิบายในภายหลังว่า Pax Britannica.[53][54] เมื่อถึงเวลาของ Great Exhibition of 1851, บริเตนได้รับการอธิบายว่าเป็น \"การประชุมเชิงปฏิบัติการของโลก\".[55] จักรวรรดิอังกฤษได้ขยายไปเพื่อควบรวมอินเดีย, ส่วนใหญ่ของทวีปแอฟริกาและภูมิภาคอื่นๆหลายแห่งทั่วโลก, ควบคู่ไปกับการควบคุมอย่างเป็นทางการ อังกฤษจะ ใช้อำนาจผ่านอาณานิคมของตัวเอง, การครอบงำของอังกฤษในหลายส่วนของการค้าโลกได้หมายความว่าอังกฤษสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเศรษฐกิจของหลายประเทศ เช่นจีน, อาร์เจนตินาและสยาม.[56][57] ภายในประเทศ ทัศนคติทางการเมืองให้การสนับสนุนการค้าเสรี และนโยบายไม่แทรกแซง และการค่อยๆขยายตัวของแฟรนไชส์​​ที่มีสิทธิออกเสียง ในระหว่างศตวรรษ, ประชากรมีการเพิ่มขึ้นในอัตราที่น่าทึ่ง, พร้อมด้วยการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว, ก่อให้เกิดความเครียดทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ.[58] หลังจากปี 1875 การผูกขาดอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร ได้รับการท้าทายจากเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา. ในการแสวงหาตลาดและแหล่งที่มา ของวัตถุดิบใหม่, พรรคอนุรักษนิยม ภายใต้ Disraeli เปิดตัวช่วงเวลาของการขยายตัวจักรวรรดินิยมในอียิปต์, แอฟริกาใต้และที่อื่นๆ. แคนาดา, ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์กลายเป็น อาณาจักรปกครองตนเอง.[59]", "title": "สหราชอาณาจักร" }, { "docid": "338356#72", "text": "ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 เกิดการระเบิดและจมลงของแท่นขุดเจาะน้ำมัน \"ดีพวอเทอร์ฮอไรซัน\" ในอ่าวเม็กซิโก ส่งผลให้เกิดแรงเสียดทานในความสัมพันธ์ระหว่างสหราชอาณาจักรและสหรัฐ และยังก่อให้เกิดความรู้สึกต่อต้านสหราอาณาจักรขึ้นในหมู่ประชาชนบางส่วน แม้ว่าแท่นขุดเจาะดำเนินการทั้งหมดและมีเจ้าของเป็นบริษัทอเมริกันที่ชื่อ \"ทรานส์โอเชียน\" แต่นักวิจารณ์ก็มักจะอ้างถึง \"บริติชปิโตรเลียม\" หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า \"บีพี\" มาตั้งแต่ พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันของสหราชอาณาจักร นอกจากนี้นักการเมืองในสหราชอาณาจักรยังได้แสดงความวิตกกังวลถึงความรู้สึกต่อต้านสหราชอาณาจักรในหมู่ประชาชนชาวอเมริกันอีกด้วย โทนี่ เฮย์เวิร์ด ซีอีโอของบริษัทบริติชปิโปรเลียมจึงกลายเป็นบุคคลที่ถูกชาวอเมริกันเกลียดชังมากที่สุด ในทางกลับกัน การตราหน้าบีพีว่าเป็นปีศาจในทางสาธารณะ, การทำให้ภาพพจน์ของบริษัทย่ำแย่ บวกกันกับคำแถลงการณ์ของประธานาธิบดีโอบามาเกี่ยวกับบริษัท ได้ก่อให้ความรู้สึกต่อต้านสหรัฐในอังกฤษเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะคำกล่าวของวินซ์ เคเบิล, เลขาธิการด้านธุรกิจแห่งรัฐบาลสหราชอาณาจักรที่ว่า \"\"มันชัดเจนแล้วว่าบางวาทกรรมในสหรัฐนั้นมันสุดโต่งและไร้ประโยชน์\"\" เหตุผลทางด้านกองทุนเงินบำนาญ, การสูญเสียรายได้เข้าคลัง และผลกระทบอื่นๆ ได้ทำให้เกิดปัญหาทางการเงินในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของสหราชอาณาจักร การพบปะกันของประธานาธิบดีบารัก โอบามาและนายกรัฐมนตรีเดวิด แคเมอรอน ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกันช่วยบรรเทาความตึงเครียดทางการทูตนี้ลง ประธานาธิบดีโอบามากล่าวไว้ว่า \"สายสัมพันธ์พิเศษ\" ยังคงพาดโยงสหราชอาณาจักรและสหรัฐเข้าไว้ด้วยกัน อย่างไรก็ดีความรู้สึกต่อต้านสหรัฐและความรู้สึกต่อต้านสหราชอาณาจักรในหมู่ประชาชนของทั้งสองประเทศยังคงปรากฏให้เห็นและดำเนินต่อไป", "title": "ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ" }, { "docid": "315193#2", "text": "อียิปต์ได้รับการสถาปนาและได้รับการยอมรับโดยสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1922 โดยมีพระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ และได้ต่อสู้ทางการเมืองกับพรรควาฟด์ (Wafd) อันเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่แนวทางชาตินิยมที่ต่อต้านทั้งอิทธิพลของสหราชอาณาจักรและประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งพรรคดังกล่าวต้องการจะให้อียิปต์เข้าควบคุมคลองสุเอซโดยตรง นอกจากนั้นยังมีขบวนการทางการเมืองอื่นๆ ที่เคลื่อนไหวในยุคนี้ เช่น พรรคคอมมิวนิสต์อียิปต์ (ก่อตั้ง ค.ศ. 1925) และขบวนการภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood - ก่อตั้ง ค.ศ. 1928) ซึ่งขบวนการหลังนี้เป็นขบวนการที่ทรงอำนาจทั้งทางการเมืองและศาสนา", "title": "ราชอาณาจักรอียิปต์" }, { "docid": "10668#12", "text": "ในระหว่างนั้น รัสเซลยังได้รับเชิญให้ไปเป็นอาจารย์พิเศษตามสถาบันต่างๆ ทั้งในสหราชอาณาจักร และในสหรัฐอเมริกาเป็นประจำ เขายังคงดำเนินกิจการโรงเรียนทดลองเรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ. 2478 ก็เกิดระหองระแหงกันขึ้นกับภรรยา ในที่สุดต้องหย่าขาดจากกัน รุ่งขึ้นอีก 1 ปี รัสเซลได้พบรักกับพาตริเซีย สเปนซ์ (Patricia Spence) และได้แต่งงานอีกเป็นครั้งที่ 3 ส่วนโรงเรียนทดลองของเขานั้น ได้มอบให้ โดรา แบร็ค (Dora Black) ดำเนินการต่อไป", "title": "เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์" }, { "docid": "338356#55", "text": "การกระชับมิตรครั้งใหญ่คือวาทกรรมจำเพาะที่ใช้อธิบายการโน้มเข้ามาบรรจบกันระหว่างเป้าประสงค์ทางการเมืองและสังคมของสหรัฐและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ พ.ศ. 2438 จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุขึ้นในปี พ.ศ. 2457 แม้ว่าประชากรไอริชที่เป็นคาทอลิกในสหรัฐจะมีส่วนสำคัญในการเรียกร้องเอกราชของไอร์แลนด์ และบางครั้งก่อให้เกิดวาทศาสตร์ต่อต้านสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งก็ตาม", "title": "ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ" }, { "docid": "260544#0", "text": "\"ไทอะเยลโลว์ริบบอนราวด์ดิโอลโอ๊กทรี\" (, \"(ขอให้)ผูกริบบิ้นสีเหลืองไว้ที่รอบต้นโอ๊กเก่า\") เป็นเพลงของดอว์น ร่วมร้องโดยโทนี ออร์แลนโด เขียนโดยเออร์วิน เลวีน และแอล. รัสเซลล์ บราวน์ และโปรดิวซ์โดยแฮงก์ เมเดรสและเดฟ แอปเพลล์ \"ไทอะเยลโลว์ริบบอนราวด์ดิโอลโอ๊กทรี\" เป็นเพลงดังไปทั่วโลกในปี 1973 ติดอันดับ 1 ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ยาวนาน 4 สัปดาห์ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1973 และอันดับ 1 ในชาร์ตออสเตรเลียนาน 7 สัปดาห์ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม 1973 และเป็นซิงเกิ้ลที่ที่ขายดีที่สุดประจำปี 1973 ทั้งในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร", "title": "ไทอะเยลโลว์ริบบอนราวด์ดิโอลโอ๊กทรี" }, { "docid": "10668#6", "text": "ในขณะเดียวกันรัสเซลก็ได้เดินทางไปศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์และการปกครองที่ประเทศเยอรมนี ณ ที่นี้เองที่รัสเซลล์ได้รับอิทธิพลจากลัทธิมาร์กซิสม์มาจนท่วมสมอง ครั้นเขากลับมายังสหราชอาณาจักร ก็ได้ทำการสอนที่เดิม และมหาวิทยาลัยอื่นๆ อีกหลายแห่งในลอนดอน", "title": "เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์" }, { "docid": "222417#0", "text": "เมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร (ภาษาอังกฤษ: City status in the United Kingdom) เป็นเมืองที่ได้รับพระราชทานฐานะจากพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร (British monarch) ให้แก่ชุมชนที่ทรงเลือก การได้รับพระราชทานฐานะเป็นนครเป็นแต่การได้รับสิทธิที่จะเรียกตนเองเป็น “นคร” โดยไม่มีสิทธิพิเศษใดใดนอกไปจากนั้น แต่กระนั้นก็ยังเป็นสิ่งที่เป็นที่ต้องการกันเป็นอย่างแพร่หลายเพราะเป็นการนำมาซึ่งความมีหน้ามีตาของเมือง นอกจากนั้นการมอบสิทธิก็มิได้มีหลักเกณฑ์มาตรฐานแต่อย่างใด แต่ในอังกฤษและเวลส์ฐานะการเป็น “นคร” มักจะมอบให้แก่เมืองที่เป็นที่ตั้งของมหาวิหาร ประเพณีการตั้งเมืองที่มีมหาวิหารขึ้นเป็น “นคร” เริ่มมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1540 เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทรงก่อตั้งสังฆมลฑล (ซึ่งก็หมายถึงการมีมหาวิหาร) ในเมืองแปดเมืองและพระราชทานฐานะเมืองต่างๆ เหล่านั้นให้เป็น “นคร” โดยทรงมอบพระราชเอกสารสิทธิ (letters patent) ให้", "title": "เมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "222417#3", "text": "ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็มีการยุบเลิกรัฐบาลท้องถิ่นบางรัฐบาลที่เป็นผลของการปฏิรูปรัฐบาลท้องถิ่นที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น (ไอร์แลนด์) ค.ศ. 1840 (Municipal Corporations (Ireland) Act 1840) ทำให้เมืองเก่าหลายเมืองถูกยุบฐานะ แต่ก็ได้มีการมอบพระราชเอกสารสิทธิให้แก่เมืองที่ถูกกระทบกระเทือนเพื่อให้เมืองต่างๆ เหล่านั้นมีฐานะตามที่เคยเป็นมา ในปัจจุบันโรเชสเตอร์, เพิร์ธ และเอลกินเป็นเพียงเมืองสามเมืองเท่านั้นในสหราชอาณาจักรที่สูญเสียฐานะในการเป็นนคร", "title": "เมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "10814#1", "text": "อองซานเกิดในครอบครัวที่ต่อต้านการปกครองของสหราชอาณาจักร ซึ่งในช่วงนั้นพม่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดียที่เป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ซึ่งได้แสดงความเคลื่อนไหวทางการเมือง และได้รับเลือกให้เป็นผู้นำนักศึกษา", "title": "อองซาน" }, { "docid": "338356#44", "text": "ในสงครามกลางเมืองอเมริกัน เป้าหมายหลักของฝ่ายสหพันธรัฐอเมริกา (ฝ่ายใต้) ก็คือการยอมรับสถานภาพความเป็นรัฐจากสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส ซึ่งคาดการณ์ว่าจะนำประเทศทั้งสองไปสู่สงครามกับสหรัฐและจะทำให้ฝ่ายสหพันธ์ฯ ได้รับเอกราช แต่ด้วยการทูตอัญชาญฉลาดของฝ่ายสหรัฐ (ฝ่ายเหนือ) ทำให้ไม่มีประเทศใดให้การยอมรับสถานภาพความเป็นรัฐดังกล่าว สงครามระหว่างสหรัฐกับสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจึงได้รับการหลีกเลี่ยง อย่างไรก็ตาม มีความรู้สึกจากหลายฝ่ายภายในสหราชอาณาจักรว่าควรสนับสนุนฝ่ายใต้เพื่อทำให้สหรัฐอ่อนแอลง ในช่วงต้นของสงครามสหราชอาณาจักรได้ออกถ้อยแถลงประกาศความเป็นกลาง (proclamation of neutrality) ในขณะที่สมาพันธรัฐอเมริกากลับถือเอาด้วยตัวเองว่าสหราชอาณาจักรจะต้องเข้าร่วมสงครามอย่างแน่นอน เพราะต้องปกป้องแหล่งเพาะปลูกฝ้ายอันเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร ด้วยแนวคิดนี้เองเป็นหนึ่งในหลายเหตุผลที่ทำให้ฝ่ายสมาพันธ์ฯ เกิดความมั่นใจมากเพียงพอที่จะเข้าสู้รบในสงครามกับฝ่ายสหรัฐ แต่ถึงกระนั้นฝ่ายใต้กลับไม่เคยปรึกษาหารือกับชาวยุโรปเลยแม้แต่น้อย ซ้ำร้ายยังส่งนักการทูตไปยังยุโรปล่าช้ากว่าฝ่ายเหนืออีกด้วย และเมื่อก่อนสงครามจะเริ่มในเดือนเมษายน พ.ศ. 2404 พลเมืองฝ่ายใต้ (ซึ่งดำเนินการโดยปราศจากอำนาจรัฐ) ได้ทำการหยุดส่งวัตถุดิบฝ้ายไปยังยุโรป โดยหวังที่จะให้เกิด \"การต่อรองทางการทูตด้วยฝ้าย\" (cotton diplomacy) แต่แผนการดังกล่าวกลับประสบความล้มเหลวเนื่องจากสหราชอาณาจักรทำการกักตุนวัตถุดิบฝ้ายไว้ในคลังสินค้าจนเต็ม ทำให้ฝ้ายที่กักตุนไว้นั้นมีราคาถีบตัวสูงขึ้น จนกระทั่งเกิดการขาดแคลนวัตถุดิบฝ้ายอย่างรุนแรงในปี พ.ศ. 2405", "title": "ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ" }, { "docid": "164771#1", "text": "สหราชอาณาจักรคาลมาร์เป็นการรวมกลุ่มประเทศทางการเมืองที่เกิดจากการรวมตัวของ 3 ราชอาณาจักรในแถบสแกนดิเนเวีย อันได้แก่ เดนมาร์ก นอร์เวย์ และสวีเดน โดยมีประมุขร่วมองค์เดียวกัน ซึ่งดำรงอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 1940 – พ.ศ. 2066 ", "title": "ธงชาติสหราชอาณาจักรคาลมาร์" }, { "docid": "255973#2", "text": "ชาไม่เพียงเป็นแค่เครื่องดื่มเท่านั้น แต่ยังหมายถึงอาหารว่างมื้อบ่าย (Tea (meal)) ไม่ว่าเครื่องดื่มจะเป็นชาหรือไม่ แอนนา รัสเซลล์ ดัชเชสแห่งเบดฟอร์ดได้ชื่อว่าเป็นผู้ริเริ่มอาหารว่างมื้อบ่าย ราว ค.ศ. 1800 เพื่อแก้หิวระหว่างคอยอาหารค่ำ ซึ่งยังประเพณีที่ปฏิบัติกันอยู่บ้างในปัจจุบัน", "title": "ชาในสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "272782#0", "text": "\"คอมมอนพีเพิล\" () เป็นซิงเกิลที่เขียนโดย นิก แบงส์ ,จาร์วิส ค็อกเกอร์ ,แคนดิดา ดอยล์, สตีฟ แม็กคีย์ และรัสเซลล์ ซีเนียร์ และบันทึกเสียงโดย วงพัลป์ อยู่ในอัลบั้มชุด Different Class ออกจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2538 ได้ขึ้นชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักรอยู่ในอันดับที่ 2", "title": "คอมมอนพีเพิล" }, { "docid": "143172#0", "text": "สหพันธรัฐอินเดียตะวันตก หรือ สหพันธรัฐเวสต์อินดีส () เป็นสหพันธรัฐที่เกิดจากการรวมกลุ่มกันของอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในแถบแคริบเบียน ตั้งแต่ 3 มกราคม พ.ศ. 2501 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งคือเพื่อสร้างกลุ่มการเมืองที่มีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐเมื่อได้รับเอกราชสมบูรณ์จากสหราชอาณาจักร ดังเช่นรูปแบบการเมืองการปกครองของประเทศแคนาดาและเครือรัฐออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม สหพันธรัฐดังกล่าวนี้กลับต้องยุบตัวลงเพราะความขัดแย้งทางการเมืองภายใน", "title": "สหพันธรัฐอินเดียตะวันตก" }, { "docid": "679152#0", "text": "ชาร์ลี ฮันแนม () เป็นนักแสดงชาวสหราชอาณาจักร เกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2523 (อายุ 38) ที่เมืองนิวคาสเซิล สหราชอาณาจักร มีผลงานสร้างชื่อจากการเป็นนักแสดงนำในภาพยนตร์เรื่อง แปซิฟิค ริม สงครามอสูรเหล็ก (พ.ศ. 2556)", "title": "ชาร์ลี ฮันแนม" }, { "docid": "558904#14", "text": "ในระหว่างรัชกาลของพระองค์ ทรงเสด็จประพาสทางตอนเหนือของโปรตุเกสหลายครั้ง รวมทั้งสเปน, ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ซึ่งพระองค์ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์จากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักรในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2452 พระองคืทรงได้รับการปลูกฝังให้ดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ใกล้ชิดกับสหราชอาณาจักร ไม่เพียงแต่กลยุทธ์ด้านภูมิศาสตร์ทางการเมืองซึ่งยังคงดำเนินการตามแบบของพระราชบิดาของพระองค์ แต่ยังคงส่งเสริมสถานะของพระองค์บนราชบัลลังก์ด้วยพันธมิตรที่แข็งแกร่ง ราชสำนักยังคงพิจารณาถึงการจัดการอภิเษกสมรสระหว่างพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์บรากังซากับเจ้าหญิงอังกฤษซึ่งจะมีความปลอดภัยภายใต้การคุ้มครองจากสหราชอาณาจักรในความขัดแย้งใดๆที่จะเกิดขึ้น แต่ความไม่มั่นคงของประเทศ การลอบปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์และเจ้าชายรัชทายาท และการเจรจาที่ยืดเยื้อได้จบลงด้วยการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร เป็นจุดจบของข้อเรียกร้องเหล่านี้ พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระชราแห่งอังกฤษทรงเป็นพระมหามิตรส่วนพระองค์ของพระเจ้าคาร์ลอส พระองค์จะทรงเป็นผู้ปกป้องที่ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์บรากังซา และเมื่อปราศจากพระองค์ รัฐบาลเสรีนิยมแห่งอังกฤษจึงไม่ให้ความสนใจที่จะค้ำจุนระบอบราชาธิปไตยแห่งโปรตุเกส\nเสถียรภาพของรัฐบาลได้มาถึงจุดเสื่อมโทรม คณะรัฐบาลถูกตั้งขึ้นมาถึง 7 ชุดและล้มเหลวลงไปภายในระยะเวลา 24 เดือน พรรคการเมืองกษัตริย์นิยมยังคงแตกแยกเป็นฝ่ายๆ ในขระที่พรรคการเมืองสาธารณรัฐนิยมได้รับคะแนนนิยมมากขึ้น การเลือกตั้งในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2453 ได้มาจากการเลือกตั้งผู้แทนใหม่ทั้ง 14 คน (ผลการเลือกตั้งในรัฐสภาแบ่งเป็น ฝ่ายสาธารณรัฐนิยม 9%, ฝ่ายรัฐบาล 58% และฝ่ายค้าน 33%)ซึ่งจะช่วยก่อให้เกิดการปฏิวัติ แต่ถูกให้ความสำคัญน้อยตั้งแต่สภาเซตูบัล (Setubal Congress; ในวันที่ 24 - 25 เมษายน พ.ศ. 2452) ที่ระบุว่าฝ่ายสาธารณรัฐนิยมใช้อำนาจด้วยการบังคับ การฆาตกรรมแกนนำของฝ่ายสาธารณรัฐนิยมที่มีชื่อเสียงคือ นายแพทย์มิเกล บอมบาร์ดาในโรพยาบาลของเขา ได้เป็นชนวนให้การรัฐประหารที่จะเกิดขึ้นอีกนานได้คืบคลานเข้ามา", "title": "พระเจ้ามานูเอลที่ 2 แห่งโปรตุเกส" }, { "docid": "914623#1", "text": "พระองค์ได้รับสมญาจากสหราชอาณาจักรว่า \"เจ้าหญิงขบถ\" เพราะทรงเขียนแถลงการณ์ทวงคืนอาณาจักรของพระราชบิดารวมทั้งอัญมณีและเครื่องประดับประจำราชวงศ์คืน หลังพม่าถูกผนวกเข้าเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร เดิมพระองค์ประทับที่เมืองรัตนคิริ บริติชราชในปี พ.ศ. 2458 แต่ภายหลังพระองค์ถูกสั่งให้ย้ายไปประทับ ณ เมืองมะละแหม่งในพม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรเมื่อปี พ.ศ. 2475", "title": "เจ้าหญิงเมียะพะยากะเล" }, { "docid": "172102#0", "text": "จอห์น รัสเซลล์ เอิร์ลรัสเซลล์ที่ 1 () เป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรถึงสองสมัย ในปี พ.ศ. 2389-95 และ พ.ศ. 2408-9 มีชื่อเสียงจากผลงานด้านการปรับปรุงระบบการเลือกตั้งในอังกฤษ และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคเสรีนิยมในอังกฤษในปี 2401", "title": "จอห์น รัสเซลล์ เอิร์ลรัสเซลล์ที่ 1" } ]
2366
โรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ต้องใช้เชื้อเพลิงแบบใด?
[ { "docid": "726765#17", "text": "โรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ต้องใช้เชื้อเพลิงแบบฟิชชันได้ โดยทั่วไปเชื้อเพลิงที่ใช้เป็นยูเรเนียมแม้ว่าวัสดุอื่น ๆ ก็อาจใช้ได้ (ดูเชื้อเพลิง MOX หรือทอเรียม) ในปี 2005 ราคาในตลาดโลกสำหรับยูเรเนียมเฉลี่ยอยู่ที่ US$20/ปอนด์ (US$44.09/กิโลกรัม) เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2007 ราคาสูงถึง US$113/ปอนด์ (US$249.12/kg) เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2008 ราคาได้ตกลงมาอยู่ที่ US$59/ปอนด์", "title": "เศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่" }, { "docid": "20739#0", "text": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแบบหนึ่งที่ใช้แหล่งพลังงานความร้อนจากเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไอน้ำแรงดันสูงจ่ายให้กับกังหันไอน้ำ กังหันไอน้ำจะไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าออกมา โดยเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้ในการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบวิจัย () ที่ใช้ประโยชน์จากนิวตรอนฟลักซ์ในการวิจัย และระบายความร้อนที่เกิดขึ้นออกสู่ชั้นบรรยากาศ และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลัง () ที่ใช้พลังความร้อนที่เกิดขึ้นเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลัง มีขนาดใหญ่โตกว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเป็นอย่างมาก", "title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" }, { "docid": "20739#7", "text": "การแปลงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าเกิดขึ้นทางอ้อม เช่นเดียวกับในโรงไฟฟ้าพลังความร้อนธรรมดาทั่วไป ความร้อนเกิดจากปฏิกิริยาฟิชชันในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (เครื่องปฏิกรณ์น้ำเบา) ไอของน้ำ (ไอน้ำ) ถูกผลิตขึ้นโดยตรงหรือโดยอ้อม จากนั้น ไอน้ำแรงดันสูงมักจะจ่ายให้กับกังหันไอน้ำในหลายขั้นตอน กังหันไอน้ำในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประเทศตะวันตกมักอยู่ในหมู่กังหันไอน้ำที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้าง หลังจากผ่านกังหันไอน้ำ ไอน้ำมีการขยายตัวและบางส่วนก็ควบแน่น ไอน้ำที่เหลือจะควบแน่นในคอนเดนเซอร์ คอนเดนเซอร์เป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อนซึ่งจะเชื่อมต่อกับฝั่งด้านรองเช่นแม่น้ำหรือหอหล่อเย็น จากนั้น น้ำจะถูกสูบกลับเข้ามาในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และวงจรก็เริ่มต้นอีกครั้ง วัฏจักรของน้ำกับไอเป็นไปตามวงจรของ \"Rankine cycle\"", "title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" }, { "docid": "20739#10", "text": "เครื่องปฏิกรณ์เป็นหัวใจของโรงไฟฟ้า ในส่วนกลางของมัน ความร้อนของแกนเครื่องปฏิกรณ์ถูกสร้างขึ้นโดยปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่มีการควบคุม ความร้อนนี้ถูกส่งผ่านไปให้น้ำหล่อเย็นขณะที่มันถูกสูบผ่านเครื่องปฏิกรณ์และนี่เองเป็นการดึงเอาพลังงานจากเครื่องปฏิกรณ์ออกมา ความร้อนจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่นจะถูกใช้ในการสร้างไอน้ำซึ่งจะไหลผ่านกังหันไอน้ำที่จะส่งกำลังไปที่ใบพัดของเรือหรือไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า", "title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" }, { "docid": "20739#17", "text": "ระบบหล่อเย็นจะระบายความร้อนออกจากแกนเครื่องปฏิกรณ์และลำเลียงมันไปยังอีกพื้นที่หนึ่งของโรงงาน ในพื้นที่นี้พลังงานความร้อนสามารถถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้าหรือทำงานที่มีประโยชน์อื่นๆ โดยปกติตัวหล่อเย็นที่ร้อน() จะถูกใช้เป็นแหล่งจ่ายความร้อนสำหรับหม้อต้มน้ำ และแรงดันไอน้ำจากหม้อต้มน้ำนั้นจะเป็นกำลังขับกังหันไอน้ำหนึ่งเครื่องหรือมากกว่าที่จะไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า", "title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" } ]
[ { "docid": "726765#18", "text": "ค่าใช้จ่ายของเชื้อเพลิงคิดเป็นประมาณ 28% ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ ณ ปี 2013 ครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายของเชื้อเพลิงเตาปฏิกรณ์ถูกใช้ไปในการเพิ่มสมรรถนะและการผลิต เพื่อให้ค่าใช้จ่ายของวัตถุดิบของยูเรเนียมเข้มข้นเป็นร้อยละ 14 ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน การเพิ่มขึ้นราคาของยูเรเนียมเป็นสองเท่าจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ที่มีอยู่เพียงประมาณ 10% และมากเพียงประมาณครึ่งหนึ่ง(5%)ที่จะเพิ่มเข้าไปในค่ากระแสไฟฟ้าในโรงไฟฟ้​​าในอนาคต", "title": "เศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่" }, { "docid": "20739#53", "text": "เทคโนโลยีการนำกลับไปเข้ากระบวนการใหม่ได้รับการพัฒนาที่จะแยกและกู้คืนพลูโตเนียมที่สามารถทำฟิชชั่นได้ทางเคมีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ผ่านการฉายรังสี. การนำกลับไปเข้ากระบวนการใหม่มีวัตถุประสงค์หลายอย่างที่ความสำคัญที่เกี่ยวข้องกันมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป. การนำกลับไปเข้ากระบวนการใหม่แต่เดิมถูกใช้แต่เพียงอย่างเดียวในการสกัดพลูโตเนียมในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์. ด้วยการทำในเชิงพาณิชย์ของพลังงานนิวเคลียร์, พลูโตเนียมที่ถูกนำกลับไปเข้ากระบวนการใหม่จะถูกรีไซเคิลกลับไปเป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ MOX สำหรับ'เครื่องปฏิกรณ์ร้อน'. ยูเรเนียมที่ถูกนำกลับไปเข้ากระบวนการใหม่, ซึ่งรวมต้วเป็นกลุ่มของวัสดุเชื้อเพลิงใช้แล้ว, ในหลักการสามารถที่จะถูกนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงใหม่ได้เช่นกัน, แต่นั่นเป็นเพียงเพื่อการประหยัดเท่านั้นถ้ายูเรเนียมมีราคาสูงหรือการกำจัดมันมีราคาแพง. ในที่สุดเครื่องปฏิกรณ์แบบ breeder สามารถใช้เชื้อเพลิงไม่เพียงจากพลูโตเนียมและยูเรเนียมที่รีไซเคิลในเชื้อเพลิงใช้แล้วเท่านั้น, แต่ actinides ทั้งหมด, เป็นการปิดท้ายวัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์และอาจทวีคูณพลังงานที่สกัดจากยูเรเนียมธรรมชาติได้มากกว่า 60 เท่า.", "title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" }, { "docid": "726765#27", "text": "ในตอนท้ายของอายุการใช้งานโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ โรงงานจะต้องถูกรื้อถอน () นี้ส่งผลอย่างใดอย่างหนึ่งได้แก่การแยกส่วนหรือการจัดเก็บในที่ปลอดภัยหรือการฝังกลบ ในประเทศสหรัฐอเมริกา, คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (NRC) ต้องการให้โรงไฟฟ้าเสร็จสิ้นกระบวนการปิดโครงการทั้งหมดภายใน 60 ปี เนื่องจากมันอาจมีค่าใช้จ่าย $500 ล้านหรือมากกว่าเพื่อปิดตัวลงและปลดประจำการ NRC กำหนดให้เจ้าของโรงงานจะต้องตั้งสำรองเงินไว้ในขณะที่โรงไฟฟ้ายังคงมีการดำเนินงานอยู่เพื่อจ่ายเป็นค่าปิดระบบในอนาคต", "title": "เศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่" }, { "docid": "726765#5", "text": "ความคิดเห็นอิสระไม่ค่อยแสดงให้เห็นว่าโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์มีความจำเป็นต้องมีราคาแพงมาก แต่กลุ่มต่อต้านนิวเคลียร์ทำการผลิตรายงานบ่อยที่บอกว่าค่าใช้จ่ายของการใช้พลังงานนิวเคลียร์จะสูงอย่างจำกัด แม้จะมีความจริงที่ว่าค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ในฝรั่งเศสจะเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของที่ใช้ในประเทศเยอรมนีและเดนมาร์ก ในออนตาริโอ ไฟฟ้าจากพลังน้ำ () และจากนิวเคลียร์มีค่าใช้จ่ายทิ้งห่างในการผลิตที่ถูกที่สุดที่ 4.3c/kWh และ 5.9c/kWh ตามลำดับในขณะที่ค่าใช้จ่ายพลังงานแสงอาทิตย์มีราคาสูงถึง 50.4c/kWh ค่าใช้จ่ายของพลังงานนิวเคลียร์ยังต้องมีการเปรียบเทียบกับของทางเลือก ถ้ามันพิสูจน์ว่ามันเป็นไปได้ที่จะย้ายไปสู่​​เศรษฐกิจคาร์บอน ชุมชนจะต้องตอบสนองต่อค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแหล่งพลังงาน หลายประเทศรวมทั้งรัสเซีย, เกาหลีใต้, อินเดีย, และจีนได้ทำอย่างต่อเนื่องที่จะไล่ตามการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ทั่วโลก ณ เดือนมกราคมปี 2015 มีโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ 71 โรงอยู่ระหว่างการก่อสร้างใน 15 ประเทศ อ้างอิงตาม IAEA จีนมี 25 เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ระหว่างการก่อสร้างและมีแผนที่จะสร้างมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อ้างอิงถึงหน่วยวิจัยของรัฐบาล จีนต้องไม่สร้าง \"เครื่องปฏิกรณ์พลังงานนิวเคลียร์มากเกินไปอย่างเร็วเกินไป\" เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนเชื้อเพลิง อีกทั้งอุปกรณ์และคนงานโรงงานที่มีคุณภาพ", "title": "เศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่" }, { "docid": "6388#76", "text": "เศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์แห่งใหม่เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันเพราะมีหลายมุมมองที่แปลกแยกในหัวข้อนี้และเกี่ยวพันกับการลงทุนหลายพันล้านดอลล่าร์สำหรับทางเลือกของแหล่งพลังงาน. โรงไฟฟ้​​าพลังงานนิวเคลียร์มักจะมีค่าใช้จ่ายเงินทุนสูงสำหรับการสร้างโรงงาน แต่ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงที่ต่ำ. ดังนั้น เมื่อเทียบกับวิธีการผลิตไฟฟ้าอื่น ๆ จะขึ้นอยู่เป็นอย่างยิ่งกับสมมติฐานเกี่ยวกับระยะเวลาการก่อสร้างและการจัดหาเงินทุนสำหรับโรงงานนิวเคลียร์รวมทั้งค่าใช้จ่ายในอนาคตของเชื้อเพลิงฟอสซิลและพลังงานหมุนเวียนเช่นเดียวกับโซลูชั่นการจัดเก็บพลังงานสำหรับแหล่งพลังงานที่ไม่สม่ำเสมอ. ประมาณการค่าใช้จ่ายยังต้องพิจารณาถึงการรื้อถอนโรงงานและต้นทุนการเก็บรักษากากนิวเคลียร์. ในทางกลับกัน มาตรการที่จะบรรเทาภาวะโลกร้อนเช่นการเก็บภาษีคาร์บอนหรือการซื้อขายมลพิษคาร์บอนอาจให้ประโยชน์กับเศรษฐศาสตร์ของพลังงานนิวเคลียร์.", "title": "พลังงานนิวเคลียร์" }, { "docid": "20739#22", "text": "เศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่เป็นเรื่องความขัดแย้ง, และการลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์นั่งอยู่บนทางเลือกของแหล่งพลังงาน. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มักจะมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูง, แต่ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงโดยตรงต่ำ, กับค่าใช้จ่ายของการสกัดเชื้อเพลิง, กระบวนการ, การใช้งานและค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาเชื้อเพลิงใช้แล้ว. ดังนั้น การเปรียบเทียบกับวิธีการผลิตไฟฟ้าอื่นๆจะขึ้นอยู่กับสมมติฐานเกี่ยวกับระยะเวลาการก่อสร้างและการจัดหาเงินลงทุนสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์. การประมาณการค่าใช้จ่ายจะต้องนำค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและการเก็บรักษากากนิวเคลียร์หรือค่าใช้จ่ายโรงงานรีไซเคิลเข้ามาคิดด้วยถ้าสร้างในสหรัฐอเมริกาเนื่องจาก'พระราชบัญญัติด้านราคา Anderson'. กับความคาดหวังว่าทั้งหมดของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว/\"กากนิวเคลียร์\"อาจมีศักยภาพในการนำกลับมาใช้ใหม่โดยใช้เครื่องปฏิกรณ์ในอนาคต,เครื่องปฏิกรณ์ generation IV, ที่กำลังออกแบบมาเพื่อปิดวัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ได้อย่างสมบูรณ์.", "title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" }, { "docid": "20739#1", "text": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นโรงไฟฟ้าชนิด Baseload คือผลิตพลังงานคงที่ โดยไม่ขึ้นกับกำลังงานที่ต้องการใช้จริง เนื่องจากต้นทุนเชื้อเพลิงมีราคาถูกเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายอื่นๆในการผลิต (ในขณะที่โรงไฟฟ้าที่ใช้การต้มน้ำด้วยแหล่งพลังงานอื่น สามารถลดการจ่ายไฟลงครึ่งหนึ่งได้เวลากลางคืนเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง) กำลังไฟที่หน่วยผลิตจ่ายได้นั้นอาจมีตั้งแต่ 40 เมกะวัตต์ จนถึงเกือบ 2000 เมกะวัตต์ ในปัจจุบันหน่วยผลิตที่สร้างกันมีขอบเขตอยู่ที่ 600-1200 เมกะวัตต์", "title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" }, { "docid": "25292#29", "text": "โดยเชื้อเพลิงที่ใช้ในโรงไฟฟ้าก็คือ แก๊สมีเทน ซึ่งได้มาจากการย่อยสลายของกองขยะและสิ่งปฏิกูลตามธรรมชาติ ซึ่งจะสามารถลดการปล่อยแก๊สที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกจากการเผา และยังสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (Fossil fuel) ที่จะนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าได้อีกด้วย โดยทางประเทศเกาหลีใต้กล่าวว่า โรงไฟฟ้าพลังงานขยะจะสามารถลดการนำเข้าน้ำมันของประเทศได้เป็นจำนวนมาก รวมถึงการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 1.37 ล้านตันต่อปี", "title": "พลังงานทดแทน" }, { "docid": "365720#140", "text": "ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ทั่วโลกเริ่มที่จะติดตั้งตัวผสมไฮโดรเจนที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาอัตโนมัติแบบไม่ตอบโต้ () ซึ่งไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการทำงาน PARs ทำงานเหมือนมากกับเครื่องฟอกไอเสีย () กับไอเสียของรถยนต์ โดยมันจะเปลี่ยนก๊าซที่อาจทำให้เกิดการระเบิดเช่นไฮโดรเจนให้เป็นน้ำ ถ้าอุปกรณ์ดังกล่าวได้รับการติดตั้งที่ด้านบนของอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟุกุชิมะหนึ่ง ในที่ซึ่งแก๊สไฮโดรเจนถูกเก็บเอาไว้ การระเบิดก็จะไม่เกิดขึ้นและการปลดปล่อยไอโซโทปกัมมันตรังสีก็จะมีน้อยมากน้อย", "title": "ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง" }, { "docid": "20739#20", "text": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ส่วนใหญ่ต้องการแหล่งจ่ายไฟที่มีหม้อแปลงไฟฟ้าบริการจากสถานีจ่ายด้านนอกที่แตกต่างกันสองแห่งและอยู่ภายในพื้นที่ที่เป็น switchyard ของโรงงานที่อยู่ห่างกันพอสมควรและสามารถรับกระแสไฟฟ้าจากสายส่งหลายสาย นอกจากนี้ในบางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกังหันสามารถให้กำลังไฟกับโหลดบ้านของโรงงานในขณะที่โรงงานต่ออยู่กับหม้อแปลงบริการของสถานีซึ่งต่อพ่วงไฟฟ้ามาจากบัสบาร์เอาต์พุตของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก่อนที่จะถึง step-up transformer (โรงงานเหล่านี้ยังมีหม้อแปลงไฟฟ้าบริการของสถานีที่รับพลังงานนอกสถานที่โดยตรงจาก switchyard) แม้จะมีความซ้ำซ้อนของแหล่งพลังงานสองแหล่ง การสูญเสียพลังงานนอกสถานที่โดยรวมยังคงเป็นไปได้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีการติดตั้งระบบไฟฉุกเฉินเพื่อรักษาความปลอดภัยในกรณีที่มีการปิดหน่วยและการขาดหายของพลังงานนอกสถานที่ แบตเตอรี่ให้พลังงานสำรองกับเครื่องมือและระบบการควบคุมและวาล์วทั้งหลาย เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลฉุกเฉินให้ไฟ AC โดยตรงในการชาร์จแบตเตอรี่และเพื่อให้กำลังไฟกับระบบที่ต้องใช้ไฟ AC เช่นมอเตอร์ที่ขับเคลื่อนปั๊ม เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลฉุกเฉินไม่ได้กำลังไฟให้กับทุกระบบในโรงงาน เฉพาะระบบที่จำเป็นต้องปิดเครื่องปฏิกรณ์ลงอย่างปลอดภัย เอาความร้อนจากการสลายตัวของเครื่องปฏิกรณ์ออก ระบายความร้อนที่แกนในกรณีฉุกเฉิน, และในโรงงานบางชนิดใช้สำหรับระบายความร้อนในบ่อเชื้อเพลิงใช้แล้ว () ปั๊มผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่เช่นปั๊มจ่ายน้ำหลัก คอนเดนเสท น้ำหมุนเวียน และ (ในเครื่องปฏิกรณ์น้ำแรงดันสูง) ปั๊มตัวหล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์ไม่ได้รับการสำรองจากเครื่องยนต์ดีเซลในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา, คนงานยกเว้นผู้บริหารจัดการ, บุคคลากรมืออาชีพ (เช่นวิศวกร) และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีแนวโน้มที่จะเป็นสมาชิกของ'ภราดรภาพของคนงานไฟฟ้านานาชาติ'() หรือ'สหภาพคนงานยูทิลิตี้แห่งอเมริกา'()อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหนึ่งในสหภาพของธุรกิจการค้าต่างๆและสหภาพแรงงานที่เป็นตัวแทนของช่างเครื่อง, แรงงาน, ผู้สร้างหม้อต้มน้ำ, คนงานโรงสี, คนงานเหล็ก, ฯลฯ", "title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" } ]
3619
หม่า ฮั่วเถิง ก่อตั้งองค์กรอะไร?
[ { "docid": "498981#0", "text": "เทนเซ็นต์ (English: Tencent) ชื่อมาจากวลีภาษาจีน十分 (พินอิน: ​​Shifen) ได้ก่อตั้งบริษัทขึ้นเมื่อปี 2541 ขึ้นด้วยเงินทุน 500,000 หยวน ในช่วงแรกบริษัท เทนเซ็นต์ (English: Tencent) ให้บริการด้าน System Integration หรือบริการวางระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสำหรับองค์กรเป็นหลัก[1] และเปิดตัวโปรแกรมคิวคิว ครั้งแรกเมื่อเดือน ก.พ. 2542 พร้อมกับการเปิดตัวเว็บไซต์ คิวคิว (www.qq.com) หลังการเปิดให้บริการ คิวคิว ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในตลาดจีนและกลายเป็นโปรแกรมไอเอ็ม ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในจีน ด้วยตัวเลขสมาชิกสูงถึง 448 ล้านคน (สถิติถึงครึ่งปีแรกของปี 2552) ส่งผลให้นายหม่า ฮั่วเถิง (Ma Huateng) ผู้ก่อตั้งบริษัท Tencent กลายเป็นคนดังในสังคมจีนอย่างรวดเร็ว หนุ่มจีนวัย 38 ปีในปัจจุบัน ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารไทม์ ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลที่มีอิทธิพลต่อโลกเมื่อปี 2551 ซึ่งใน 100 บุคคลนี้มีชาวจีนแผ่นดินใหญ่ติดอันดับเพียง 5 คนเท่านั้น วันที่ 16 มิถุนายน 2004, เท็นเซ็นต์ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด จำกัด (มหาชน) (SEHK 700[2]) ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง [3]", "title": "เทนเซ็นต์" } ]
[ { "docid": "978918#10", "text": "หลังจากคดีเอโอแอล หม่า ฮั่วเถิง ตัดสินใจขยายผลงานทางธุรกิจของเทนเซ็นต์ ในปี ค.ศ. 2003 เทนเซ็นต์ได้เปิดตัวพอร์ทัลของตัวเอง (QQ.com) และทำการบุกในตลาดเกมออนไลน์ ภายในปี ค.ศ. 2004 เทนเซ็นต์กลายเป็นผู้บริการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีของจีนที่ใหญ่ที่สุด (ครอบครอง 74 เปอร์เซ็นต์ของตลาด)[28] กระตุ้นให้หม่าเข้าจดทะเบียนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง[25] หลังจากที่บริษัทได้ระดมทุน 200 ล้านดอลลาร์ในการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน หม่ากลายเป็นหนึ่งในคนที่ร่ำรวยที่สุดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของจีนได้อย่างรวดเร็ว", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "978918#2", "text": "หม่า ฮั่วเถิง เป็นหนึ่งใน \"ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกของนิตยสารฟอร์จูน\"[10] เขาเป็นที่รู้จักกันในรูปแบบผู้ประกอบการที่โลว์โปรไฟล์เมื่อเทียบกับบุคลิกที่เข้าสังคมได้ง่ายของแจ็ก หม่า ทั้งนี้ หม่า ฮั่วเถิง ได้รับการเปรียบเทียบอย่างละเอียดกับวอร์เรน บัฟเฟตต์ เนื่องจากความคล้ายคลึงกันในการลงทุน และมักได้รับการพรรณาในฐานะ \"ผู้เข้าซื้อกิจการที่มีความห้าวหาญ\"[11][12][13][14][15][16][17]", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "978918#17", "text": "เนื่องจากการครอบงำของเทนเซ็นต์ในโซเชียลเน็ตเวิร์กและตลาดส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีในประเทศจีน ความสัมพันธ์ระหว่างหม่า ฮั่วเถิง กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนจึงได้รับการตรวจสอบซ้ำหลายครั้ง พูดถึงการเซ็นเซอร์ในการประชุมเทคโนโลยีในประเทศสิงคโปร์ หม่าได้รับการกล่าวถึงคำคมที่ว่า \"ผู้คนจำนวนมากคิดว่าพวกเขาสามารถพูดออกมา และพวกเขาสามารถที่จะไม่รับผิดชอบ ผมคิดว่านั่นผิด […] เราเป็นผู้สนับสนุนที่ดีของรัฐบาลในแง่ของการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เราพยายามที่จะมีการจัดการและการควบคุมอินเทอร์เน็ตให้ดีขึ้น\"[34]", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "978918#16", "text": "ตามเว็บไซต์เทนเซ็นต์อย่างเป็นทางการ หม่าเป็นการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ประชาชนเซินเจิ้นครั้งที่ 5 และการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีนครั้งที่ 12 [5]", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "803268#1", "text": "ชีวิตส่วนตัว หม่า จิงเทา ผ่านการสมรส 2 ครั้ง โดยกับภรรยาคนแรกทั้งคู่มีบุตรสาวที่เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1991 ชื่อ หม่า ซือหยวน (Ma Shiyuan; 馬世媛) และครั้งที่ 2 กับนักแสดงหญิงชาวจีน อู๋ เจียหนี้ (Wu Jia'ni; 吳佳妮) ในปี ค.ศ. 2007 ทั้งคู่มีบุตรชาย 2 คน คือ หม่า ซือเทียน (Ma Shitian; 馬世天) และ หม่า ซือฉิน (Ma Shixin; 馬世心)", "title": "หม่า จิงเทา" }, { "docid": "978918#3", "text": "ตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2018 เขาได้เป็นคนที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศจีน และร่ำรวยที่สุดอันดับ 14 ของโลก ด้วยมูลค่าสุทธิ 51.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 เขาแซงหน้าทั้งแลร์รี เพจ และเซอร์เกย์ บริน ซึ่งกลายเป็นคนร่ำรวยที่สุดอันดับเก้าของโลก และเป็นชาวจีนคนแรกที่เข้ามาในรายการผู้ชายที่ร่ำรวยที่สุด 10 อันดับของนิตยสารฟอร์บ[18][19][20][21]", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "978918#7", "text": "พูดถึงการก่อตั้งเทนเซ็นต์ เขากล่าวกับไชนาเดลีในการสัมภาษณ์เมื่อปี ค.ศ. 2009 ว่า “หากผมได้เห็นมากไปกว่านี้ ก็คือการยืนบนไหล่ของยักษ์” ซึ่งเป็การถ่ายความอ้างถึงไอแซก นิวตัน และการอ้างอิงความคล้ายคลึงกันระหว่างไอซีคิวและโอไอซีคิว \"เรารู้ว่าผลิตภัณฑ์ของเรามีอนาคต แต่ในเวลานั้นเราก็ไม่สามารถจ่ายได้\" หม่าทบทวนความจำ[25] เพื่อที่จะแก้ปัญหา หม่าถามเรื่องเงินกู้ยืมจากธนาคารและได้พูดคุยเกี่ยวกับการขายบริษัท[28]", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "978918#22", "text": "}}]] [[Category:{{subst:#switch:{{subst:uc:}}", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "748059#13", "text": "จาง เปยยวน นายพลของชาวจีนฮั่นซึ่งบัญชาการทหารจีนฮั่นในอีลีเสนอให้มีการเจรจากับ หม่า จ้งยิ้งและวางแผนที่จะร่วมมือกับหม่าเพื่อโจมตีอุรุมชีในเดือนมกราคม พ.ศ. 2476 ในตอนแรก จางยึดถนนระหว่างตาเชิงและอูรุมชี แต่ตัดสินใจกลับสู่คุลยาหลังจากได้รับข้อความเกี่ยวกับการเข้ายึดเมืองโดยกองพลอาสาอัลไตจากรัสเซีย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสหภาพโซเวียตเข้าเมืองได้ หลังจากมาถึงคุลยา เขาถูกล้อมที่ภูเขา กองทัพของเขาถูกล้อมปราบที่ช่องมูซาร์ตที่เทือกเขาเทียนซาน และหนีไปยังซินเจียงใต้ใกล้กับอักซู จาง เปยยวนฆ่าตัวตาย หม่า จ้งยิ้งโจมตีอูรุมชีตามแผนทำให้เชิ่งประหลาดใจ หม่าเข้ายึดสถานีโทรเลขและล้อมเมืองไว้ แต่ไม่ได้รับสัญญาณว่าจะมาช่วยจากกองทัพอีลีของจาง เปยยวน ทำให้หม่าไม่สามารถยึดเมืองได้ในสัปดาห์แรก การสู้รบของหม่าที่อูรุมชีทำให้เขาได้รับการจดจำจากรัฐบาลนานกิงว่าเป็นผู้ปกครองซินเจียงโดยสมบูรณ์ ทหารโซเวียตที่มีกองกำลังทางอากาศสนับสนุนได้บีบให้ทหารของหม่าต้องออกจากอูรุมชีและหนีลงไปทางใต้ ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 การยึดครองอูรุมชีล้มเหลว เชิ่งถูกปล่อยตัวพร้อมทั้งทหารรัสเซียและแมนจูเรียของเขาที่ถูกหม่าปิดล้อมตั้งแต่ 13 มกราคม พ.ศ. 2476", "title": "สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 1" }, { "docid": "978918#1", "text": "ในปี ค.ศ. 2007, 2014 [6] และ 2018 นิตยสารไทม์ ยกให้เขาเป็นหนึ่งในผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก[7] ในขณะที่ปี ค.ศ. 2015 นิตยสารฟอร์บ ให้เครดิตเขาว่าเป็นหนึ่งในคนที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก ส่วนในปี ค.ศ. 2017 นิตยสารฟอร์จูน ได้จัดอันดับให้เขาเป็นหนึ่งในนักธุรกิจชั้นนำแห่งปี[8][9] หม่าเป็นผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์ประชาชนเซินเจิ้นและเป็นตัวแทนในการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีนครั้งที่ 12 [5]", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "978918#19", "text": "ความมั่งคั่งของหม่า ฮั่วเถิง มาจากสัดส่วนการถือหุ้น 9.7 เปอร์เซ็นต์ในเทนเซ็นต์โฮลดิง มีรายงานว่าเขาเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกงและชิ้นงานศิลปะมูลค่า 150 ล้านเหรียญ[36] เขาเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยที่มีการปรับปรุงใหม่จำนวน 19,600 ตารางฟุตในฮ่องกง[36]", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "978918#6", "text": "หม่า ฮั่วเถิง ไปเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเทนเซ็นต์ในปี ค.ศ. 1998 พร้อมเพื่อนร่วมชั้นอีก 4 คน ผลิตภัณฑ์แรกของบริษัทมีมาหลังจากที่หม่าได้เข้าร่วมในงานนำเสนอสำหรับไอซีคิว ที่เป็นบริการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีทางอินเทอร์เน็ตรายแรกของโลก ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1996 โดยบริษัทของประเทศอิสราเอล[25] แรงบันดาลใจจากแนวคิดดังกล่าว หม่าและทีมงานของเขาได้เปิดตัวซอฟต์แวร์ที่คล้ายคลึงกันในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 ด้วยอินเตอร์เฟซภาษาจีนและชื่อที่แตกต่างกันเล็กน้อย ในชื่อโอไอซีคิว (หรือ โอเพนไอซีคิว)[26] ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และรวบรวมผู้ใช้ที่ลงทะเบียนไว้แล้วกว่าล้านรายภายในสิ้นปี ค.ศ. 1999 ทำให้เป็นหนึ่งในบริการที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน[27]", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "978918#4", "text": "หม่าเกิดที่เขตเฉาหยาง ซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง เมื่อหม่า เฉินชู่ ซึ่งเป็นพ่อของเขาได้รับตำแหน่งผู้จัดการท่าเรือในเซินเจิ้นใกล้ฮ่องกง หม่าในวัยหนุ่มก็ได้เดินทางมาพร้อมกับเขา[22] หม่า ฮั่วเถิง เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเซินเจิ้นในปี ค.ศ. 1989 และสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 1993 ด้วยปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์[23]", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "729303#0", "text": "แจ็ก หม่า () หรือชื่อจริงว่า หม่า หยุน (; เกิด 10 กันยายน 1964) เป็นเจ้าสัวธุรกิจและผู้ใจบุญชาวจีน เขาเป็นผู้ก่อตั้งและประธานบริหารของกลุ่มอาลีบาบาซึ่งประสบความสำเร็จในธุรกิจอินเทอร์เน็ต เขาเป็นผู้ประกอบการจีนคนแรกที่ปรากฏบนหน้าปกของนิตยสารฟอร์บ ในเดือนมิถุนายน 2018 เขาเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในประเทศจีน (ไม่รวมฮ่องกง) และเป็นบุคคลรวยที่สุดอันดับที่ 11 ของโลก โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิประมาณ 50.3 พันล้านดอลลาร์ตาม Bloomberg Billionaires Index (ดัชนีมหาเศรษฐีบลูมเบิร์ก)", "title": "แจ็ก หม่า" }, { "docid": "298940#6", "text": "ขอพลังที่พาฉันไปสู่ความฝัน \"ไม่ต้องกังวล ฉันจะช่วยเธอ\" เหอหม่า อาสาให้ความช่วยเหลือ ไป่ฮุ่ย ที่แท้ เหอหม่า หลงรัก ไป่ฮุ่ย ทันทีที่แรกพบ เหอหม่า คอยให้กำลังใจและให้ความช่วยเหลือ ไป่ฮุ่ย ไป่ฮุ่ย ลองผิดลองถูกจนสามารถเข้าทำงานที่ลิตเติ้ลแบร์ ความดีใจของ ไป่ฮุ่ย ไม่น้อยไปกว่า เหอหม่า เลย ครอบครัวของ เหอหม่า มีร้านอาหารจีนเลื่องชื่อซึ่งเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี แม้ว่า เหอหม่า เป็นทายาทรุ่นที่สามของตระกูล", "title": "เมนูรักเชฟมือใหม่" }, { "docid": "978918#15", "text": "ในเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 2015 หม่าประกาศว่าเทนเซ็นต์จะสร้าง \"โรงพยาบาลอินเทอร์เน็ต\" ขึ้นที่เมืองอูเจิ้นซึ่งจะให้การวินิจฉัยทางไกลและการจัดส่งยา[33]", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "978918#11", "text": "ในปี ค.ศ. 2004 เทนเซ็นต์ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มเกมออนไลน์และเริ่มจำหน่ายสินค้าเสมือนเพื่อสนับสนุนเกมที่เผยแพร่บนแพลตฟอร์มดังกล่าว (อาวุธ, พลังในเกม) รวมทั้งอีโมติคอนและริงโทน[27]", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "978918#12", "text": "ตามคำสั่งของหม่า เทนเซ็นต์ได้เปิดตัว Paipai.com ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ที่เป็นคู่แข่งโดยตรงกับอีคอมเมิร์ซยักษ์อย่างอาลีบาบา[31]", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "978918#9", "text": "หลังจากเอโอแอล (อเมริกาออนไลน์) ซื้อไอซีคิวในปี ค.ศ. 1998 บริษัทได้ฟ้องเทนเซ็นต์ต่อศาลอนุญาโตตุลาการแห่งชาติในสหรัฐ โดยอ้างว่าชื่อโดเมนของคิวไอซีคิวอย่าง QICQ.com และ QICQ.net มีการละเมิดสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาของไอซีคิว ซึ่งเทนเซ็นต์เป็นฝ่ายแพ้คดีและต้องปิดเว็บไซต์[25] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2000 เพื่อป้องกันการฟ้องร้องคดีอื่น ๆ หม่าได้เปลี่ยนชื่อซอฟต์แวร์เป็น \"คิวคิว\" (โดย \"คิว\" และ \"คิวคิว\" ใช้แทนคำว่า \"คิวต์\" ที่แปลว่า \"น่ารัก\")[30]", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "978918#5", "text": "งานแรกของหม่าคือไชนาโมชันเทเลคอมดีเวลลอปเมนท์ ผู้จัดจำหน่ายบริการและผลิตภัณฑ์โทรคมนาคม ที่ซึ่งเขารับผิดชอบการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับวิทยุติดตามตัว เขาได้รับรายได้ 176 ดอลลาร์ต่อเดือน[24] เขายังทำงานให้กับบริษัท เซินเจิ้นรุ่นซุ่นคอมมูนิเคชัน จำกัด ในแผนกวิจัยและพัฒนาสำหรับบริการโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต[25]", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "978918#8", "text": "ตั้งแต่บริการโอไอซีคิวที่มีค่าของเทนเซ็นต์ ถูกนำเสนอโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย บริษัทได้มองหานายทุนร่วมเพื่อรองรับต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ในปี ค.ศ. 2000 หม่าหันไปหาศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตของบริษัทที่ลงทุนในสหรัฐ และบริษัทแปซิฟิกเซ็นจูรีไซเบอร์เวิร์ก (PCCW) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในฮ่องกง ซึ่งซื้อหุ้น 40 เปอร์เซ็นต์ของเทนเซ็นต์จำนวน 2.2 ล้านดอลลาร์[29] ด้วยตลาดเพจเจอร์ซึ่งอายุมากแล้ว หม่าได้ปรับปรุงแพลตฟอร์มการรับส่งข้อความโดยให้ผู้ใช้คิวคิวส่งข้อความไปยังโทรศัพท์มือถือ ครั้นแล้ว 80 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ของบริษัทมาจากข้อตกลงกับผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่ตกลงที่จะแบ่งปันค่าข้อความ[28]", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "978918#0", "text": "หม่า ฮั่วเถิง (Chinese:马化腾; พินอิน: Mǎ Huàténg; 29 ตุลาคม ค.ศ. 1971 – ) ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม โพนี หม่า (English: Pony Ma)[2] เป็นทั้งนักธุรกิจระดับพ่อค้าใหญ่, นักลงทุน, นักการกุศล, วิศวกร, ผู้ประกอบการด้านอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีชาวจีน เขาเป็นทั้งผู้ก่อตั้ง, ประธาน และกรรมการผู้จัดการเทนเซ็นต์ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดในเอเชีย หนึ่งในบริษัทด้านอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุด รวมถึงกลุ่มการลงทุน, การเล่นเกม และความบันเทิงที่ใหญ่ที่สุดในโลก[3][4][5] บริษัทควบคุมบริการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีบนมือถือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน และบริษัทย่อยให้บริการสื่อ, การบันเทิง, ระบบการชำระเงิน, สมาร์ตโฟน, บริการที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต, บริการคุณค่าเพิ่ม และบริการการโฆษณาออนไลน์ ทั้งในประเทศจีนและทั่วโลก", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "978918#20", "text": "ในปี ค.ศ. 2016 หม่าโอนหุ้นเทนเซ็นต์จำนวน 2 พันล้านเหรียญให้แก่มูลนิธิการกุศลของเขา อย่างไรก็ตาม นิตยสารฟอร์บไม่ได้ลดมูลค่าสุทธิของเขาเนื่องจากหุ้นยังคงอยู่ภายใต้ชื่อของเขา[37]", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "978918#18", "text": "หม่าใช้ชื่อเล่นว่าโพนี ซึ่งมาจากการแปลภาษาอังกฤษของนามสกุลของเขา ที่หมายถึง “ม้า”[28] หม่า ฮั่วเถิง ไม่ค่อยปรากฏตัวในสื่อและเป็นที่รู้จักสำหรับไลฟ์สไตล์ที่ซ่อนเร้นของเขา[35] ทั้งนี้ เขาเชื่อในหลักคำสอน: “แนวคิดไม่สำคัญในประเทศจีน – หากแต่เป็นการลงมือทำ”[32]", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "369133#1", "text": "ประเทศจีนใน ค.ศ. 1920 ในยุคขุนศึกเป็นใหญ่ หลังการปฏิวัติซินไฮ่ หม่าปังเต๋อ (เก่อโยว) พร้อมด้วยภริยา (หลิว เจียหลิง) และเสธ.ทัง กำลังเดินทางไปรับตำแหน่งเจ้าเมืองทางตอนใต้ของประเทศด้วยการซื้อตำแหน่ง แต่แล้วขบวนรถไฟก็ถูกดักปล้นจาก จางหม่าจื่อ (เจียง เหวิน) หัวหน้าขบวนการโจรที่แม่นปืน จางหม่าจื่อจับกุมตัว หม่าปังเต๋อ ไว้ ส่วนเสธ.ทังเสียชีวิตระหว่างถูกปล้น ในขบวนรถไฟไม่มีทรัพย์สินเงินทอง จางหม่าจื่อจึงคิดสวมรอยปลอมตัวเป็นหม่าปังเต๋อเจ้าเมืองคนใหม่แทน เพื่อไปหาเงินข้างหน้าและให้หม่าปังเต๋อ เป็นเสนาธิการ ทัง (ตามที่หม่าปังเต๋อโกหกเพื่อเอาตัวรอดระหว่างถูกปล้นยึดตำแหน่ง) ที่เมืองมีเจ้าพ่อผู้มีอิทธิพลที่ขูดรีดชาวบ้านอยู่ คือ หวงซื่อหลาง (โจว เหวินฟะ) ซึ่งหวงซื่อหลางเองก็ต้องการใช้เจ้าเมืองคนใหม่นี้เพื่อการค้าฝิ่น ขณะที่จางหมาจื่อเองก็จะหลอกใช้หวงซื่อหลางเองด้วยเช่นกัน การหักเหลี่ยมเฉือนมุมและการแย่งชิงความเป็นใหญ่กันของทั้ง 2 ฝ่ายจึงบังเกิดขึ้น โดยมีหม่าปังเต๋อเจ้าเมืองตัวจริงที่โดนลดตำแหน่งโดยตัวเองโดยไม่เจตนา เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งแทรกอยู่ในเรื่องราวการเฉือนคมที่เข้มข้น", "title": "คนท้าใหญ่" }, { "docid": "978918#23", "text": "}}]] หมวดหมู่:มหาเศรษฐีชาวจีน หมวดหมู่:นักธุรกิจคอมพิวเตอร์ชาวจีน", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "978918#13", "text": "จากการจำลองไมโครซอฟท์ของบิล เกตส์ หม่า ฮั่วเถิง สร้างทีมวิศวกรที่แข่งขันกันสองทีมในปี ค.ศ. 2010 และคิดค่าบริการด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ หลังจากสองเดือน ทีมหนึ่งได้นำเสนอแอปสำหรับการส่งข้อความและการแชทเป็นกลุ่มคือเวยซิ่น ซึ่งเปิดตัวในเดือนมกราคม ค.ศ. 2011 ส่วนในปี ค.ศ. 2015 เวยซิ่น (หรือวีแชทในภาษาอังกฤษ) ได้เป็นแพลตฟอร์มการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีการใช้ 48 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด[27][32]", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "978918#14", "text": "บริการที่หลากหลายอื่น ๆ โดยเทนเซ็นต์รวมถึงเว็บพอร์ทัล, การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และเกมออนไลน์หลายผู้เล่น[8] เกมออนไลน์ เช่น หยู่หลง และเลเจนด์ออฟซวนหยวน ช่วยเพิ่มรายได้ให้มากกว่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 5.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีกำไรสุทธิ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ[7]", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" }, { "docid": "978918#21", "text": "{{subst:#if:|}} [[Category:{{subst:#switch:{{subst:uc:1971}}", "title": "หม่า ฮั่วเถิง" } ]
2487
DNA ย่อมาจากคำว่าอะไร?
[ { "docid": "3098#0", "text": "กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (English: deoxyribonucleic acid) หรือย่อเป็น ดีเอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิกที่มีคำสั่งพันธุกรรมซึ่งถูกใช้ในพัฒนาการและการทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเท่าที่ทราบ (ยกเว้นอาร์เอ็นเอไวรัส) ส่วนของดีเอ็นเอซึ่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมนี้เรียกว่า ยีน ทำนองเดียวกัน ลำดับดีเอ็นเออื่น ๆ มีความมุ่งหมายด้านโครงสร้าง หรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้ข้อมูลพันธุกรรมนี้ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอและโปรตีนเป็นหนึ่งในสามมหโมเลกุลหลักที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทราบ", "title": "ดีเอ็นเอ" } ]
[ { "docid": "18971#0", "text": "ซิโดวูดีน หรืออะซิโดไทมิดีน ( โดย INN หรือ azidothymidine มีชื่อย่อว่า - AZT) เป็นยาต้านรีโทรไวรัส (antiretroviral drug) เป็นยาตัวแรกที่ใช้เป็น ยาต้านไวรัส (antiviral drug) และใช้รักษา HIV ยาพวกนี้จำหน่ายในชื่อทางการค้าว่ายา AZT เป็นยาในกลุ่ม Nucleosides Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) มีลักษณะโครงสร้างคล้ายกับ thymidine ซึ่งเป็นหน่วยของสารพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต แต่จะแตกต่างกันที่โครงสร้างในตำแหน่งที่ 3 ของ AZT จะเป็น –N3 (azido group) แต่ของ thymidine จะเป็น –OH ยา AZT จะเข้าไปหยุดกระบวนเปลี่ยน RNA เป็น DNA (reverse transcription) โดยอาศัยโครงสร้างที่คล้ายกับหน่วยพันธุกรรมของมัน เข้าไปรวมตัวกับสาย DNA ที่ไวรัสสร้างขึ้น แต่เนื่องจากการมีหมู่ azido เข้ามาแทนที่ –OH ทำให้ไม่สามารถสร้างพันธะกับ nucleotide ตัวต่อไปได้ ทำให้เอนไซม์ Reverse Transcriptase ไม่สามารถนำ Nucleosides ตัวต่อไปมาเชื่อมต่อได้ ทำให้ไม่ได้ DNA ที่สมบูรณ์ กระบวนการจึงสิ้นสุดลง เมื่อ AZT เข้าสู่ร่างกายจะยังไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ทันที จำเป็นต้องผ่านเข้าเซลล์และถูกเติมหมู่ phosphate 3 หมู่ ก่อน โดย AZT จะถูกเติม phosphate โดยเอนไซม์ thymidine kinase, thymidylate kinase, และ diphosphate kinase ตามลำดับทำให้อยู่ในรูปที่เรียกว่า AZT-triphosphate ซึ่งเป็นรูปที่ออกฤทธิ์ได้ หลังจากนั้น AZT-triphosphate จะแย่งสารพันธุกรรมธรรมชาติในการจับกับเอนไซม์ reverse transcriptase ทำให้การเชื่อมต่อสาย DNA หยุดลง\nขนาดยา AZT สำหรับป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก (แรกเกิด-อายุ 4 สัปดาห์) ครบกำหนด 2 mg/kg ทุก 6 ชม. หรือ 4 mg/kg ทุก 12 ชม. 30-34 สัปดาห์ 2 mg/kg ทุก 12 ชม.จนอายุ 2 สัปดาห์จากนั้นเพิ่มเป็นทุก 8 ชม.จนครบ 4 สัปดาห์ <30 สัปดาห์ 2 mg/kg ทุก 12 ชม.ตลอด 4 สัปดาห์", "title": "ซิโดวูดีน" }, { "docid": "137576#13", "text": "G3 เป็นชุดเกราะของกรมตำรวจซึ่งสร้างขึ้นมาข้อมูลพื้นฐานของ คูกะ ชื่อ G3 ย่อมาจากคำว่าGeneration-3\nG3-X เป็นชุดเกราะที่พัฒนาจาก G3 โดยเพื่มระบบ A.I. ขึ้นมาจนเกิดทำให้ผู้สวมใส่เกิดควบคุมไม่ได้ภายหลังได้ลดระบบA.I.ลงไปและสามารถผู้สวมใส่ควบคุมได้ ชื่อ G3-X ย่อมาจากคำว่าGeneration 3-Extension", "title": "มาสค์ไรเดอร์อากิโตะ" }, { "docid": "170536#0", "text": "โครมาติน เป็นโครงสร้างย่อยของนิวเคลียส โครโมโซม 1 แท่งประกอบด้วยโครมาตินหรือโครมาทิด (Chromatid) ที่เหมือนกันซึ่งเกิดจากการที่โครโมโซมจำลองตัวเองขึ้นมาโดยโครมาตินหรือโครมาทิดทั้งสองจะติดกันตรงส่วนที่เรียกว่า เซนโทรเมียร์ (Centromere)\nโครมาทิน หรือ โครมาติน (chromatin) คือ สายของดีเอ็นเอ(DNA)สายยาวเพียงสายเดียวที่พันตัวรอบโปรตีนที่ชื่อ“ฮิสโตน(histone)”เอาไว้ ทำให้รูปร่างของโครมาทิน(chromatin) มีรูปร่างคล้ายลูกปัดที่มีลักษณะเรียงต่อๆกัน โดยมีสายของดีเอ็นเอ (DNA) พันรอบลูกปัดนั้นอยู่ โครมาทิน(chromatin) จึงเป็นสารประเภท “นิวคลีโอโปรตีน (Nucleoprotein)” [มาจากคำว่า Nucleic + Protein ซึ่งดีเอ็นเอ(DNA)เป็นพวก Nucleic acid ส่วนฮิสโตน(histone) เป็นโปรตีน] นอกจากนี้ในโครมาทิน(chromatin)ยังประกอบด้วยโปรตีนที่ไม่ใช่ฮิสโตน (nonhistone)อีกด้วย โดยโครมาทิน(chromatin) จะพบในส่วนของนิวเคลียส เมื่อทำการย้อมสีเซลล์ของเซลล์แบบทั่วๆไป ในส่วนของโครมาทิน(chromatin) จะสามารถติดสีได้ดีและมีรูปร่างคล้ายเส้นใยตาข่าย (chromatin network) ละเอียดๆ จึงทำให้เห็นส่วนของนิวเคลียสได้ชัดเจน โดยโครมาทิน(chromatin)มักพบได้ในช่วงที่เซลล์ไม่มีการแบ่งตัวหรืออยู่ในระยะอินเตอร์เฟส (interphase)", "title": "โครมาติน" }, { "docid": "21913#4", "text": "คำว่า '\"Christmas\" ในภาษาอังกฤษ เกิดขึ้นเป็นคำประสมหมายถึง \"พิธีมิสซาของพระคริสต์\" มาจากคำในภาษาอังกฤษสมัยกลาง \"Christemasse\" ซึ่งมาจากคำว่า \"Cristes mæsse\" ในภาษาอังกฤษเก่าอีกทอดหนึ่ง คำนี้พบครั้งแรกในเอกสารที่บันทึกใน ค.ศ. 1038 คำว่า \"Crīst\" (แสดงความเป็นเจ้าของ \"Crīstes\") มาจากภาษากรีก \"Christos\" ซึ่งเป็นคำแปลของ \"Māšîaḥ\" (เมสสิยาห์) ในภาษาฮีบรู และ \"mæsse\" มาจากภาษาละติน \"missa\" คือ การเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท รูปแบบ \"Christenmas\" ยังพบใช้ในอดีตเช่นกัน แต่ปัจจุบันถูกมองว่าโบราณและเฉพาะถิ่น คำดังกล่าวมาจากภาษาอังกฤษกลางว่า \"Cristenmasse\" อันมีความหมายตามอักษรว่า \"มิสซาคริสเตียน\" \"Xmas\" เป็นการย่อคำว่า คริสต์มาส ส่วนใหญ่พบในสื่อตีพิมพ์ มาจากอักษรตัวแรก \"Χ\" ในคำว่า \"Khrīstos\" (Χριστός) ภาษากรีก ซึ่งหมายถึง \"คริสต์\" แม้รูปแบบการเขียนหลายแห่งไม่สนับสนุนการใช้ การใช้นี้มีแบบอย่างในภาษาอังกฤษกลาง \"Χρ̄es masse\" (โดยที่ \"Χρ̄\" เป็นการย่อ Χριστός) ", "title": "คริสต์มาส" }, { "docid": "573814#0", "text": "จีโนมของมนุษย์คือชุดของข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของมนุษย์ ข้อมูลนี้อยู่ในลำดับดีเอ็นเอ(DNA) ซึ่งกระจายอยู่บนโครโมโซม 23 คู่ในนิวเคลียสของเซลล์แต่ละเซลล์ รวมทั้งในโมเลกุล DNA อีกส่วนหนึ่งที่อยู่ในไมโตคอนเดรีย ข้อมูลในจีโนมของมนุษย์มีทั้ง DNA ส่วนที่จะถูกถอดรหัสเป็นโปรตีน (coding DNA) และส่วนที่จะไม่ถูกถอดรหัสเป็นโปรตีน (noncoding DNA) ครึ่งหนึ่งหรือส่วนที่เป็นแฮพลอยด์ของจีโนมมนุษย์ (พบในเซลล์ไข่หรือเซลล์อสุจิ) มีจำนวนสามพันล้านคู่เบส ในขณะที่จีโนมทั้งหมดหรือดิพลอยด์ของจีโนม (พบในเซลล์โซมาติกทั่วไป) มีจำนวนคู่เบสดีเอ็นเอเป็น 2 เท่า", "title": "จีโนมมนุษย์" }, { "docid": "74370#3", "text": "ในภาษาอังกฤษคำว่า กายอุปกรณ์ ใช้ใน US ว่า Orthosis and Prosthesis (ตัวย่อว่า O&P) ส่วนในประเทศไทยนิยมเรียกว่า Prosthesis and Orthosis (ตัวย่อ PO) อนึ่งคำว่า Prosthesis อาจเขียนว่า Prostheses ก็ได้เมื่อมีความหมายเป็นพหูพจน์ และคำว่า Orthosis สามารถเขียนให้อยู่ในรูปพหูพจน์ได้ว่า Orthoses", "title": "กายอุปกรณ์" }, { "docid": "814494#2", "text": "ในกระบวนการถอดรหัสนั้น เอนไซม์ RNAP จะช่วยสังเคราะห์สาย RNA โดยอาศัยสาย DNA เป็นแม่แบบ โดยเริ่มต้นจาก RNAP จะจับเข้ากับสาย DNA ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งแบบหลวมๆ หลังจากนั้นเอนไซม์นี้จะเคลื่อนที่ไปตามสาย DNA เมื่อตรวจพบตำแหน่งบนสายที่เรียกว่าโปรโมเตอร์ (promoter) เอนไซม์ RNAP จะยึดตัวแน่นเข้ากับสาย DNA และคลายเกลียวของ DNA เฉพาะบริเวณนั้นออกจากกันเป็น DNA สายเดี่ยว 2 สาย ทั้งนี้เพื่อให้เบสของแต่ละสายที่จับกันด้วยพันธะไฮโดรเจนแยกออกจากกัน หลังจากนั้น RNAP จะเลือกสายใดสายหนึ่งเป็นสายต้นแบบ (template strand) เพื่อเริ่มต้นทำการสังเคราะห์สาย RNA", "title": "อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส" }, { "docid": "137085#2", "text": "รูปร่างของ DNA ในสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทแตกต่างกัน เช่น เซลล์โพรคาริโอต ไวรัส แบคทีเรีย รวมทั้งคลอโรพลาสต์และไมโทคอนเดรีย ที่มี DNA เป็นวงแหวนเกลียวคู่ ส่วนในยูคาริโอต มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่อยู่ในนิวเคลียส เรียก nuclear DNA อยู่ในรูปเกลียวคู่ปลายเปิด และชนิดที่อยู่ในไมโทคอนเดรียเรียก Mitochondrial DNA มีลักษณะเป็นวงแหวนเกลียวคู่ และขดตัวเป็นเกลียวคู่ยิ่งยวด ในพืชพบ DNA ทั้งในนิวเคลียสและคลอโรพลาสต์", "title": "กรดนิวคลีอิก" }, { "docid": "476142#0", "text": "วิธีการ อาร์เอฟแอลพี (; ตัวย่อ: RFLP) เป็นวิธีที่ใช้ดีเอ็นเอตรวจสอบ (DNA probe) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนดีเอ็นเอสายเดี่ยวขนาดเล็กที่ทราบลำดับเบสและทำการติดฉลากสารกัมมันตรังสีเพื่อใช้ในการติดตามผล นำมาทำปฏิกิริยากับดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตที่สนใจที่ถูกแยกเป็นเส้นเดี่ยว และถูกตัดย่อยด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ (restriction enzymes) โดยอาศัยความสามารถของดีเอ็นเอตรวจสอบที่สามารถเข้าคู่หรือจับกันกับสายดีเอ็นเอ เป้าหมายตรงตำแหน่งที่มีลำดับเบสเป็นคู่สม (DNA hybridization)กันได้", "title": "RFLP" }, { "docid": "616#2", "text": "คำว่า \"คณิตศาสตร์\" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า \"คณิต\" (การนับ หรือ คำนวณ) และ \"ศาสตร์\" (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ. คำนี้ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า \"mathematics\" มาจากคำภาษากรีก \"μάθημα\" (\"máthema\") แปลว่า \"วิทยาศาสตร์, ความรู้, และการเรียน\" และคำว่า \"μαθηματικός\" (\"mathematikós\") แปลว่า \"รักที่จะเรียนรู้\" ในอเมริกาเหนือนิยมย่อ mathematics ว่า \"math\" ส่วนประเทศอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษนิยมย่อว่า \"maths\"", "title": "คณิตศาสตร์" }, { "docid": "364021#0", "text": "คำว่า MENA ย่อมาจาก \"ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ\" เป็นอักษรย่อซึ่งมักถูกใช้ในการงานเชิงวิชาการและธุรกิจ คำดังกล่าวครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างขวาง นับตั้งแต่โมร็อกโกไปจนถึงอิหร่าน รวมไปถึงประเทศตะวันออกกลางและมาเกร็บส่วนใหญ่ คำดังกล่าวเกือบจะมีความหมายเหมือนกันกับคำว่า \"มหาตะวันออกกลาง\" (แต่บางครั้งคำดังกล่าวถูกใช้โดยรวมปากีสถาน อัฟกานิสถาน หรือทั้งสองประเทศเข้าไปด้วย)", "title": "MENA" }, { "docid": "877899#1", "text": "ตัวอักษร BKKY ในชื่อภาษาอังกฤษของภาพยนตร์เรื่องนี้ ประกอบด้วยตัวย่อของคำสองคำ ได้แก่ \"BKK\" ที่ย่อมาจากคำว่า Bangkok (กรุงเทพฯ) และ \"Y\" ที่ย่อมาจากคำว่า Youngster (เยาวชน) โดยตัวอักษร Y ยังพ้องเสียงกับคำว่า Why (ทำไม) ที่สื่อถึงการตั้งคำถามต่อสิ่งต่าง ๆ ของวัยรุ่นกรุงเทพฯ ในปัจจุบันอีกด้วย", "title": "บีเคเควาย" }, { "docid": "629552#0", "text": "Ain't เป็นคำภาษาอังกฤษย่อจากคำว่า \"am not\", \"is not\", \"are not\", \"has not\" และ \"have not\" ในภาษาอังกฤษท้องถิ่น ในบางภาษาถิ่น \"ain't\" ยังย่อมาจาก \"do not\", \"does not\", และ \"did not\" ก็ได้ พัฒนาการของคำว่า \"ain't\" สำหรับวลีว่า \"to be not\", \"to have not\" และ \"to do not\" ต่างเกิดขึ้นในเวลาต่างแตกต่างกัน การใช้คำว่า \"ain't\" ในความหมายว่า \"to be not\" เกิดขึ้นในกลางคริสต์ทศวรรษ 1700 และในความหมายว่า \"to have not\" เกิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1800", "title": "Ain't" }, { "docid": "5185#5", "text": "แยก Double Helical DNA (Native DNA) ด้วยการเพิ่มอุณหภูมิอย่างช้าๆจนกลายเป็น Single Stranded DNA (Denatured DNA) อุณหภูมิที่ใช้อยู่ในช่วง 90-95oc", "title": "อณูชีววิทยา" }, { "docid": "169826#1", "text": "คำว่า ‘Brit’ เป็นคำย่อของคำว่า Brittania และยังเป็นอักษรย่อของคำว่า British Record Industry Trust ที่เป็นองค์กรที่ช่วยเหลือเด็กและวัยรุ่นที่ต้องการทำงานเกี่ยวกับศิลปะการแสดง เงินที่ได้จากการจัดจะเข้าสู่องค์การการกุศล The Brit Trust ที่ได้ก่อตั้งในปี 1987 เพื่อช่วยเหลือเด็กและวัยรุ่นที่ต้องการพัฒนาทักษะทางด้านดนตรี", "title": "บริตอะวอดส์" }, { "docid": "370020#0", "text": "ในชีววิทยาโมเลกุล คำว่า เกลียวคู่ หมายถึงโครงสร้างซึ่งเกิดขึ้นจากโมเลกุลกรดนิวคลีอิกสองเส้น อย่างเช่น ดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ โครงสร้างเกลียวคู่ของกรดนิวคลีอิกเป็นผลมาจากโครงสร้างทุติยภูมิ และเป็นองค์ประกอบสำคัญในการกำหนดโครงสร้างตติยภูมิของมัน คำดังกล่าวได้ถูกใช้อย่างกว้างขวางภายหลังการตีพิมพ์บทความ เกลียวคู่: การบรรยายส่วนบุคคลการค้นพบโครงสร้างของดีเอ็นเอ (The Double Helix: A Personal Account of the Discovery of the Structure of DNA) โดยเจมส์ วัตสัน", "title": "เกลียวคู่กรดนิวคลีอิก" }, { "docid": "814494#3", "text": "ในการสังเคราะห์สาย RNA เอนไซม์ RNAP จะค่อยๆ เคลื่อนไปบน DNA สายต้นพร้อมกับคลายเกลียวสาย DNA ไปด้วย ระหว่างนั้น RNAP จะนำไรโบนิวคลีโอไทด์ที่มีเบสที่เข้าคู่กับเบสบนหน่วยย่อยของ DNA สายต้นแบบเข้ามาเชื่อมต่อกันทีละโมเลกุลจนเป็นสาย RNA (ส่วนสาย DNA บริเวณที่ RNAP เคลื่อนที่ผ่านไปแล้วจะกลับมาเป็นเกลียวคู่ตามเดิม) เมื่อ RNAP เคลื่อนไปถึงบริเวณของสาย DNA ที่เรียกว่า เทอร์มิเนเตอร์ (terminator) การสังเคราะห์จะหยุดลง เอนไซม์ RNAP จะแยกตัวออกจากสาย DNA ส่วนสาย RNA ที่สังเคราะห์ได้จะหลุดออกมา", "title": "อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส" }, { "docid": "50617#5", "text": "สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา นักเทคนิคการแพทย์จะใช้อักษรย่อว่า \"MT\" ซึ่งมาจาก \"Medical technologist (เรียกสั้น ๆ ว่าMed tech)\" ซึ่งคล้าย ๆ กับแพทย์ที่ใช้อักษรย่อคำว่า \"MD\" ย่อมาจาก Doctor of medicine และ พยาบาลจะใช้คำย่อว่า \"RN\" ซึ่งย่อมาจาก Registered Nurse และถ้าหากนักเทคนิคการแพทย์ที่ผ่านการรับรองจาก \"ชมรมพยาธิวิทยาคลินิกแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ American Society for Clinical Pathology\" ก็อาจจะใช้คำย่อว่า \"MT (ASCP)\" และเช่นเดียวกัน ถ้าหากผ่านรับการรับรองจาก \"สมาคมธนาคารเลือดแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ American Association of Blood Banks ก็สามารถใช้ชื่อย่อว่า \"SBB\" ได้เช่นกัน โดยสามารถเขียนอักษรย่อเป็น \"MT (ASCP) SBB\"", "title": "นักเทคนิคการแพทย์" }, { "docid": "12521#1", "text": "แหล่งกำเนิดหลักของไนโตรเจนนั้นมาจากอากาศ ซึ่งอยู่ในรูปของ N ในอากาศอยู่ประมาณ 78% ก๊าซไนโตรเจนนี้คือส่วนสำคัญในกระบวนการทางชีววิทยาหลายกระบวนการ เช่นการที่ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบในกรดอะมิโน (ที่จริงแล้วคำว่า \"อะมิโน\" มาจากก๊าซซึ่งมีไนโตรเจนประกอบเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่) , เป็นองค์ประกอบในโปรตีน และเป็นสารหลักๆ ในสารทั้ง 4 ที่อยู่ในกรดนิวคลีอิกต่างๆ เช่น DNA วัฏจักรไนโตรเจนเป็นส่วนที่จำเป็นในการแปลงสภาพจากไนโตรเจนในรูปของก๊าซไปสู่รูปแบบสารที่สิ่งมีชีวิตสามารถนำไปใช้ได้", "title": "วัฏจักรไนโตรเจน" }, { "docid": "10842#3", "text": "เรื่องค่าของปอนด์นั้นยังไม่จบ เพราะตัวย่อของปอนด์นั้นมีปัญหา เมื่ออักษรย่อของปอนด์นั้น ใช้ lb หรือ £ ซึ่งทำให้สับสน และอักษรย่อ หรือเครื่องหมายดังกล่าว มีที่มาจากคำว่า libra ในภาษาละตินสมัยกลาง ความจริงแล้ว คำว่า ลิบรา ก็คือ ตาชั่ง (คำเดียวกับที่เรียกกลุ่มดาวราศีตุล) สำหรับอักษร £. นั้น ก็คือตัว L นั่นเอง (ใช้ได้ทั้งสองแบบ) ในตำราเก่าๆ บางครั้งเขียน l. เฉยๆ ก็มี", "title": "ปอนด์สเตอร์ลิง" }, { "docid": "413787#0", "text": "การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication) เป็นกระบวนการทางชีววิทยาที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเพื่อจำลองดีเอ็นเอของตนเอง กระบวนการนี้เริ่มจากดีเอ็นเอสายเดี่ยวสร้างดีเอ็นเออีกสายที่เป็นคู่สมของตนจนกลายเป็นดีเอ็นเอเกลียวคู่ กระบวนการเป็นแบบกึ่งอนุรักษ์ (semiconservative replication) มีการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการเพื่อป้องกันการกลายพันธุ์\nการจำลองตัวเองในยูคาริโอตมีความซับซ้อนกว่า โดยจุดเริ่มต้นนั้นจะมีโปรตีนที่จดจำตำแหน่งนี้โดยเฉพาะเข้ามากระตุ้นให้ดีเอ็นเอคลายตัว DNA polymerase มีหลายชนิด โดยในนิวเคลียสใช้ DNA polymerase α และ DNA polymerase δ โดย DNA polymerase α ทำหน้าที่คล้าย DNA polymerase III ในโปรคาริโอต DNA polymerase δ ทำหน้าที่คล้ายหน่วยเบตาของ DNA polymerase III และ DNA polymerase ε ทำหน้าที่คล้าย DNA polymerase I ในโปรคาริโอต การสิ้นสุดเรพลิเคชันในยูคาริโอต เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โครงสร้างพิเศษที่เรียกเทโลเมียร์ที่ตอนปลายของโครโมโซม", "title": "การถ่ายแบบดีเอ็นเอ" }, { "docid": "186990#1", "text": "แท็กซี่ เป็นคำย่อมาจาก แท็กซี่ แค็บ คิดค้นโดยแฮร์รี่ เอ็น อัลเลน นักธุรกิจชาวนิวยอร์กที่นำเข้ารถแท็กซี่มาจากฝรั่งเศส โดยย่อมาจากคำว่า แท็กซี่มิเตอร์ แค็บ อีกที ส่วนคำว่า cab มาจากคำว่า cabriolet คือรถม้าลากจูง และคำว่า taxi เป็นรากศัพท์ภาษาละตินในยุคกลาง ซึ่งมาจาก คำว่า taxa ที่หมายถึง ภาษีหรือการคิดเงิน และคำว่า meter มาจากภาษากรีกคำว่า metron แปลว่า วัดระยะทาง", "title": "แท็กซี่" }, { "docid": "11774#5", "text": "ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Deutsche Demokratische Republik (สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี) มักจะย่อด้วยคำว่า DDR ทั้งสองคำจะถูกใช้ในเยอรมนีตะวันออก ด้วยการใช้ที่เพิ่มมากขึ่นของรูปแบบย่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่เยอรมนีตะวันออกได้ถือว่าชาวเยอรมันตะวันตกและชาวเบอร์ลินตะวันตกเป็นชาวต่างชาติหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่สองในปี ค.ศ. 1968 ชาวเยอรมันตะวันตกและรัฐบุรุษต่างได้หลีกเลี่ยงการใช้ชื่ออย่างเป็นทางการและใช้คำย่อ แทนที่จะใช้คำอื่นๆ เช่น ออสโซน (โซนตะวันออก) \"Sowjetische Besatzungszone\" (เขตการยึดครองของโซเวียต; มักจะย่อด้วยคำว่า SBZ) และ sogenannte DDR (หรือ \"เรียกว่า GDR\")", "title": "ประเทศเยอรมนีตะวันออก" }, { "docid": "66670#0", "text": "พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ (นิมิต จะต้องไม่มี ร สะกด) นิยมเรียกโดยย่อว่า พระพุทธนิมิต (Pra Buddha Nimit) เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ประดิษฐานอยู่ที่วัดหน้าพระเมรุ มีพุทธลักษณะงดงาม และเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถวัดพระเมรุราชิการามวรวิหาร นิยมเรียกโดยย่อว่า วัดหน้าพระเมรุ หรือ วัดพระเมรุ ตั้งอยู่ในตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ให้สังเกตชื่อ คำว่า นิมิต มีความหมายว่าเนรมิตจึงต้องไม่มีตัว ร สะกด นอกจากนี้ยังใช้คำว่า วิชิต สะกดด้วย ว มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าพิชิต และคำว่า สรรเพชญ ไม่ใส่ทัณฑฆาต หรือเครื่องหมาย ์ )", "title": "พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ" }, { "docid": "814494#1", "text": "อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส (RNAP) ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับดีเอ็นเอพอลิเมอเรส (DNA polymerase หรือย่อว่า DNAP) ซึ่งทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาการสังเคราะห์สาย DNA อันเป็นปฏิกิริยาเคมีประเภทเดียวกันกับการสังเคราะห์สาย RNA อย่างไรก็ตาม เอนไซม์ 2 ชนิดนี้มีข้อแตกต่างที่สำคัญอยู่ดังต่อไปนี้", "title": "อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส" }, { "docid": "310352#0", "text": "ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ (; ตัวย่อ: RT-PCR) เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสอีกแบบหนึ่ง เป็นเทคนิคทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมักจะใช้ในอณูชีววิทยา เพื่อใช้ในการสร้างสำเนาลำดับดีเอ็นเอขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเรียกว่า \"amplification\" อย่างไรก็ตาม ใน RT-PCR สายอาร์เอ็นเอจะถูกรีเวิร์สแทรนสคริปเทสไปสู่ Complementary DNA (cDNA) โดยใช้เอนไซม์รีเวิร์สแทรนสคริปเทส และผลของ cDNA จะถูกขยายขึ้นโดยการใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบเรียลไทม์ ", "title": "ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ" }, { "docid": "239649#1", "text": "คำว่า “Merlon” ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาฝรั่งเศสที่มาจากภาษาอิตาลี “merlone” ที่อาจจะย่อมาจากคำว่า “mergola” ที่แผลงมาจากภาษาละติน “mergae” ที่แปลว่าคราด หรือแผลงมาจาก “moerulus” ที่มาจากคำว่า “murus” หรือ “merulus” ที่แปลว่ากำแพง อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่ามาจากภาษาละติน “merulus” (กล่าวถึงในคริสต์ศตวรรษที่ 10) ที่ย่อเป็น “merle” ที่ทำให้เห็นภาพพจน์ของนกดำเกาะบนกำแพง", "title": "ใบสอ" }, { "docid": "814494#0", "text": "อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส () หรือใช้ตัวย่อว่า RNAP เป็นเอนไซม์ที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาการสังเคราะห์ RNA จากสาย DNA แม่แบบ ในกระบวนการถอดรหัส (transcription)", "title": "อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส" }, { "docid": "476130#0", "text": "เอเอฟแอลพี (; ตัวย่อ: AFLP) เป็นเทคนิคของเครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA marker) แบบหนึ่ง พื้นฐานของ AFLP คือการตรวจสอบชิ้นดีเอ็นเอที่ตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ โดยการเพิ่มปริมาณด้วยปฏิกิริยา PCR (Polymerase chain reaction) ดังนั้นจึงรวมเอาความน่าเชื่อถือของเทคนิค RFLP (Restriction fragment length polymorphism) และประสิทธิภาพของ PCR เข้าด้วยกัน เทคนิค AFLP พัฒนาขึ้นโดย Zabeau และ Vos นักวิจัยของบริษัท Keygene N.V. ประเทศเนเธอร์แลนด์ และได้จดสิทธิบัตรในปี ค.ศ.1993", "title": "เอเอฟแอลพี" }, { "docid": "156975#6", "text": "ชื่อ “Jonathan” (จอนาธาน หรือ โจนาธาน) บางครั้งย่อเป็น “Jon” (จอน) ซึ่งทำให้เข้าใจผิดว่าย่อมาจาก “John” (จอห์น) โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาซึ่งบางครั้งทำให้สะกดชื่อจอนาธานผิดเป็น “Johnathan” ซึ่งแท้จริงแล้วชื่อ “John” มาจากภาษาฮิบรู “Yôḥānnān” และ “Jonathan” มาจากภาษาฮิบรูเช่นกันแต่มาจากคำว่า “יוֹנָתָן” หรือ “Yônāṯān” ซึ่งแปลว่า “ของขวัญจากพระเจ้า” ซึ่งเป็นคำที่ยาวกว่าของคำว่า “Nathan” (เนธัน)", "title": "จอห์น (ชื่อ)" } ]
752
เจ. เค. โรว์ลิ่ง มีลูกชายหรือไม่ ?
[ { "docid": "38960#11", "text": "โรว์ลิงย้ายไปทำงานเป็นครูสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่เมืองปอร์โต ประเทศโปรตุเกส[9][36]หลังเห็นโฆษณาในหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน[26] เธอสอนในเวลากลางคืนและเริ่มงานเขียนในเวลากลางวันพร้อมกับฟังไวโอลินคอนแชร์โตของไชคอฟสกีไปด้วย[24] 18เดือนหลังย้ายมาอยู่ที่ปอร์โต เธอได้พบกับยอร์จ อารังชีส นักข่าวโทรทัศน์ชาวโปรตุเกส ที่บาร์แห่งหนึ่ง ก่อนจะแลกเปลี่ยนความสนใจกันเกี่ยวกับเจน ออสเตน[26] ทั้งคู่แต่งงานกันในวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1992 และมีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคนชื่อเจสสิกา อิซาเบล โรว์ลิง อารังชีส (ตั้งชื่อตามเจสสิกา มิดฟอร์ด)[26] ซึ่งก่อนหน้านี้โรว์ลิงเคยแท้งบุตรมาแล้วหนึ่งครั้ง[26] ทั้งสองแยกทางกันในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993[26][46] แม้จะไม่ทราบรายละเอียดที่แน่ชัดแต่ผู้เขียนชีวประวัติของเธอได้ระบุว่าโรว์ลิงต้องพบเจอกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวตลอดช่วงชีวิตคู่ของเธอกับอารังชีส[26][47] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1993 โรว์ลิงและลูกสาว ซึ่ง ณ ขณะนั้นยังเป็นทารก ได้ย้ายไปอยู่บ้านในละแวกใกล้กันกับบ้านของน้องสาวโรว์ลิงในเอดินบะระ ประเทศสก็อตแลนด์[23] พร้อมกับสามบทแรกของแฮร์รี่ พอตเตอร์ในกระเป๋าเดินทาง[24]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" } ]
[ { "docid": "111005#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม เป็นหนังสือเล่มที่หกในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง ออกวางจำหน่ายเมื่อ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 หนังสือเล่มนี้ขายได้ถึง 9 ล้านเล่มภายใน 24 ชั่วโมงแรก ถือเป็นสถิติสูงสุดในขณะนั้น ซึ่งตอนนี้ภาคที่ตามมา แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ได้ทำลายสถิตินั้นลงไปเรียบร้อยแล้ว แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม ฉบับภาษาไทยแปลโดย \"สุมาลี\" จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม" }, { "docid": "195306#0", "text": "พรีเควลแฮร์รี่พอตเตอร์ เป็นบทความสั้น ๆ ของนักเขียน เจ. เค. โรว์ลิ่ง ซึ่งเธอเขียนขึ้นมาหลังจากแฮร์รี่ พอตเตอร์จบลง มีทั้งหมด 800 คำ 2 หน้ากระดาษด้วยกัน โดยเธอกล่าวว่า \"สองสามเดือนก่อน นักเขียนจำนวนหนึ่งได้รับเชิญให้เขียนการ์ดด้วยลายมือสำหรับการประมูล โดย Waterstone's ในวันที่ 10 มิถุนายน รายได้ทั้งหมดจะมอบให้กับ \"English PEN\" ซึ่งเป็นสมาคมของนักเขียน และสมาคม \"Dyslexia Society\"\"", "title": "พรีเควลแฮร์รี่พอตเตอร์" }, { "docid": "209984#0", "text": "เอลฟ์ประจำบ้านเป็นสิ่งมีชีวิตในจินตนาการของเจ.เค.โรว์ลิ่ง ปรากฏในนิยายและภาพยนตร์เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ มีลักษณะเป็นภูตวิเศษขนาดเล็กที่สิงอยู่ในบ้านที่มีขนาดใหญ่ ทำหน้าที่คอยดูแลรับใช้คนในตระกูลเวทมนตร์ ซึ่งจะทำหน้าที่นี้ไปจนกว่ามันจะตาย เอลฟ์ประจำบ้านจะภาคภูมิใจในหน้าที่ของตน และจะไม่ทรยศต่อครอบครัวของตน", "title": "เอลฟ์ประจำบ้าน" }, { "docid": "198618#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม (Harry Potter and the Half-Blood Prince) ภาพยนตร์ภาคที่ 6 โดยวอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส จากวรรณกรรมเยาวชน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม โดยมีเดวิด แบร์รอน กับไมเคิล โกลเดนเบิร์กเป็นผู้อำนวยการสร้าง และสตีฟ โคลฟเขียนบทภาพยนตร์ จากนิยายโดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง ซึ่งตอนแรกมีโปรแกรมให้ผู้กำกับที่ชื่อ กิลเลโม เดล โทโร มาเป็นผู้กำกับ แต่ได้รับการปฏิเสธถึง 2 ครั้ง ทำให้เดวิด เยตส์ผู้กำกับคนก่อนมากำกับในภาคนี้และจะเป็นผู้กำกับในแฮร์รี่ พอตเตอร์ในภาคที่เหลือทั้งหมด ", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "338365#0", "text": "โทมัส แอนดรูว์ \"ทอม\" เฟลตัน () (เกิดเมื่อวันที่ 22 กันยายน 1987) เป็นนักแสดงและนักดนตรีชาวอังกฤษ ทอมเป็นที่รู้จักในบทบาทของ เดรโก มัลฟอย ตัวละครในภาพยนตร์เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ภาพยนตร์ที่สร้างมาจากหนังสือขายดีของ เจ.เค. โรว์ลิ่ง ซึ่งตัวเขาได้เข้ารับการออดิชั่นเมื่ออายุได้ 12 ปี", "title": "ทอม เฟลตัน" }, { "docid": "381610#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 () เป็นภาพยนตร์แฟนตาซี-ผจญภัยภาคต่อในปี พ.ศ. 2554 ที่ดัดแปลงจากบทประพันธ์ชื่อเดียวกันของเจ. เค. โรว์ลิ่ง อันเป็นตอนสุดท้ายของหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2" }, { "docid": "10882#0", "text": "แฮร์รี่ เจมส์ พอตเตอร์</b>เกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 (วันเดือนเดียวกับผู้แต่ง เจ. เค. โรว์ลิ่ง ได้เขียนให้แฮร์รี่เกิดวันเดียวกันกับเธอแต่คนละปี) เป็นลูกชายคนเดียวของเจมส์ พอตเตอร์และลิลี่ พอตเตอร์ เป็นตัวละครเอกในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร)" }, { "docid": "197689#45", "text": "ผู้เขียนที่ใช้นามแฝงว่า \"แรบบิท\" นั้น ได้แรงบันดาลใจมาจาก งานเขียนของเจ. เค. โรว์ลิ่ง นักเขียนเจ้าของผลงานวรรณกรรมก้องโลก แฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ และประสบความสำเร็จในประเทศไทยอย่างมาก รวมไปถึงเรื่อง The Book of Three ของ Lloyd Alexander ซึ่งเป็นเรื่องราวของเจ้าชายกับคนเลี้ยงหมู ก็เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้ผู้เขียน", "title": "หัวขโมยแห่งบารามอส" }, { "docid": "556733#0", "text": "เก้าอี้ว่าง () เป็นนวนิยายสะท้อนสังคม เขียนโดยเจ. เค. โรว์ลิ่ง วางจำหน่ายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556 ซึ่งเก้าอี้ว่างถือเป็นนวนิยายผู้ใหญ่เล่มแรกของโรว์ลิ่ง หลังจากเธอใช้เวลาเขียนวรรณกรรมเยาวชนอย่างแฮร์รี่ พอตเตอร์มาเป็นเวลานานถึง 17 ปี ตัวนิยายมีเนื้อหาสะท้อนสังคม ตีแผ่ด้านมืดในจิตใจมนุษย์ ปัญหาต่างๆในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ปัญหาของวัยรุ่น ยาเสพติด เซ็กซ์", "title": "เก้าอี้ว่าง" }, { "docid": "77255#0", "text": "อัลบัส เพอร์ซิวาล วูลฟริก ไบรอัน ดัมเบิลดอร์ (Albus Percival Wulfric Brian Dumbledore) เป็นตัวละครในเรื่องแต่งชุด\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" ของ เจ. เค. โรว์ลิ่ง มีบทบาทเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ในเนื้อหาเกือบทั้งหมดของเรื่อง ต่อมามีการเปิดเผยในเนื้อเรื่องว่าดัมเบิลดอร์เป็นผู้ก่อตั้งภาคีนกฟีนิกซ์ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อต่อสู้กับตัวร้ายของเรื่องคือลอร์ดโวลเดอมอร์", "title": "อัลบัส ดัมเบิลดอร์" }, { "docid": "4336#69", "text": "หมวดหมู่:งานเขียนของ เจ. เค. โรว์ลิ่ง ฮ ฮ ฮ ฮ หมวดหมู่:วรรณกรรมที่สร้างเป็นภาพยนตร์ หมวดหมู่:นวนิยายอังกฤษดัดแปลงเป็นภาพยนตร์", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "155361#10", "text": "อะเล็กโต แคร์โรว์ (Alecto Carrow) เป็นตัวละครในหนังสือวรรณกรรมเยาวชนชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ของ เจ. เค. โรว์ลิ่ง แคร์โรว์ในตอนเริ่มเรื่อง เป็นอาจารย์สอนวิชามักเกิ้ลศึกษา และรองอาจารย์ใหญ่ในโรงเรียนพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ชั่วคราว", "title": "ผู้เสพความตาย" }, { "docid": "17410#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี คือหนังสือเล่มที่สี่ในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง และแปลโดยงามพรรณ เวชชาชีวะจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ตีพิมพ์และวางจำหน่ายเป็นฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 และเป็นฉบับภาษาไทยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544 วรรณกรรมชุดนี้ถือว่ายาวมากอย่างไม่น่าจะมีใครทำมาก่อน โดยในฉบับภาษาไทยมีความยาวทั้งหมดถึง 832 หน้า (ฉบับบลูมส์บูรี่มีความยาวทั้งหมด 636 หน้า) หนังสือเล่มนี้สร้างสถิติโดยเป็นหนังสือเล่มแรกที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมากกว่าชิ้นงานวรรณกรรมเยาวชนอื่นๆ มีเพียงหนังสือเล่มต่อๆ มาในชุดเดียวกันนี้เท่านั้นที่สามารถลบสถิตินี้ได้ นั่นคือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม โดยเฉพาะจากการที่ เจ. เค. โรว์ลิ่งออกมาเตือนผู้อ่านก่อนหนังสือจะตีพิมพ์ว่าจะมีตัวละครเสียชีวิตในเล่มนี้ ซึ่งสร้างกระแสของการคาดการณ์ว่าตัวละครใดจะเสียชีวิต และสร้างปรากฏการณ์ 'คลั่งแฮร์รี่ พอตเตอร์' ทั่วโลก", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี" }, { "docid": "180227#1", "text": "เดิมที เจ. เค. โรว์ลิ่ง ผู้เขียนได้จัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นด้วยมือเพียง 7 เล่มในโลกเท่านั้น โดยหกเล่มนั้นเธอนำไปบริจาคให้กับ 6 สถานที่ที่ช่วยให้เธอประสบความสำเร็จ และอีกหนึ่งเล่มเธอนำไปประมูลขาย โดยก็มีผู้ร่วมประมูลมากมาย แต่ในที่สุดเว็บไซต์ Amazon ก็ได้ไปในราคาถึง 1.95 ล้านปอนด์ ซึ่งถือว่าเป็นการประมูลต้นฉบับงานเขียนยุคใหม่ที่ราคาสูงที่สุดในประวัติศาสตร์", "title": "นิทานของบีเดิลยอดกวี" }, { "docid": "315583#2", "text": "วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอได้ทำสัญญาซื้อลิขสิทธิ์กับวอร์เนอร์บราเธอร์ส และ เจ. เค. โรว์ลิ่ง ในการสร้างสวนสนุก แฮร์รี่ พอตเตอร์ขึ้นบนพื้นที่ของยูนิเวอร์แซล ออร์แลนโด รีสอร์ต [2] โดยทางสวนสนุกเริ่มเคลียร์พื้นที่ในปลายปี พ.ศ. 2550 และเริ่มก่อสร้างเมื่อต้นปี พ.ศ. 2551", "title": "โลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ (ยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ต)" }, { "docid": "83609#12", "text": "ล่าสุดนิตยสารฟอร์บส์เปิดเผยข้อมูลว่าโอปราห์คือสตรีผู้ร่ำรวยที่สุดในวงการบันเทิง ด้วยสินทรัพย์ประมาณ 2,500 ล้านดอลลาร์ ทิ้งห่างอันดับ 2 \"เจ. เค. โรว์ลิ่ง\" นักเขียนชาวอังกฤษเจ้าของวรรณกรรมเยาวชนขายดี \"แฮรี่ พอตเตอร์\" ที่มีสินทรัพย์ประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์ และอันดับ 3 คือ \"มาร์ธา สจ๊วต\" นักธุรกิจหญิงชาวอเมริกัน ซึ่งมีสินทรัพย์ประมาณ 600 ล้านดอลลาร์ ", "title": "โอปราห์ วินฟรีย์" }, { "docid": "25299#0", "text": "เฮอร์ไมโอนี่ จีน เกรนเจอร์ (เกิด 19 กันยายน พ.ศ. 2522) เป็นตัวละครในหนังสือวรรณกรรมเยาวชนชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ของเจ. เค. โรว์ลิ่ง", "title": "เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์" }, { "docid": "209021#0", "text": "ลำดับเวลาในแฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นลำดับเวลาของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมเยาวชนชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" โดย เจ. เค. โรว์ลิ่ง โดยลำดับเวลาดังกล่าวจะครอบคลุมถึงเหตุการณ์ที่ปรากฏในงานเขียนด้วย โดยเพิ่มเติมจากที่โรวลิ่งโพสต์ในเว็บไซต์ของเธอ จากการให้สัมภาษณ์หลายครั้งและจากสื่อสิ่งพิมพ์อื่น", "title": "ลำดับเวลาในแฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "111030#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี () ภาพยนตร์ภาคที่ 4 โดยวอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส จากวรรณกรรมเยาวชน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ภาพยนตร์เรื่องนี้อำนวยการสร้างโดย เดวิด เฮย์แมน จากบทภาพยนตร์ของ สตีฟ โกลฟส์ จากนิยายโดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง\nนำแสดงโดยสามนักแสดงหลักจากสามภาคแรก แดเนียล แรดคลิฟฟ์, รูเพิร์ท กรินท์ และ เอ็มม่า วัตสัน ร่วมด้วย รอบบี้ โคลเทรน, ราล์ฟ เฟนน์ส, ไมเคิล แกมบอน, มิแรนด้า ริชาร์ดสัน, แบรนแดน กลีสัน, เจสัน อิซาคส์, แกรี่ โอล์ดแมน, อลัน ริคแมน, แมคกี้ สมิธ และทิโมธี สปอลล์", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "399419#1", "text": "มิเนอร์ว่า มักกอนนากัล (Minerva McGonagall) เป็นตัวละครในหนังสือวรรณกรรมเยาวชนชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ของ เจ. เค. โรว์ลิ่ง ในตอนเริ่มเรื่อง มักกอนนากัลเป็นอาจารย์สอนวิชาแปลงร่าง อาจารย์ประจำบ้านกริฟฟินดอร์ และรองอาจารย์ใหญ่ในโรงเรียนพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์", "title": "บุคลากรฮอกวอตส์" }, { "docid": "18946#0", "text": "โรนัลด์ \"รอน\" บิลิอัส วีสลีย์ () เป็นตัวละครสมมุติในหนังสือวรรณกรรมเยาวชนชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ของเจ. เค. โรว์ลิ่ง ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือเล่มแรก แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ เป็นเพื่อนรักของแฮร์รี่ พอตเตอร์ และเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ เขาเป็นสมาชิกครอบครัววีสลีย์ ครอบครัวอาศัยอยู่ใน \"บ้านโพรงกระต่าย\" นอก Ottery St. Catchpole เขาเป็นสมาชิกบ้านกริฟฟินดอร์เช่นเดียวกับแฮร์รี่ และเฮอร์ไมโอนี รอนปรากฏในเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ในชุด", "title": "รอน วีสลีย์" }, { "docid": "91329#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต () เป็นนวนิยายแนวแฟนตาซี เขียนโดยนักเขียนชาวอังกฤษ เจ. เค. โรว์ลิ่ง เป็นหนังสือเล่มที่เจ็ดและเป็นเล่มสุดท้ายในนวนิยายชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" ออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 เป็นการปิดฉากชุดนวนิยายซึ่งเริ่มต้นเมื่อ ค.ศ. 1997 จากการตีพิมพ์นวนิยายเรื่อง \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์\" ในประเทศอังกฤษตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บลูมสบิวรี่ ประเทศอเมริกาตีพิมพ์โดยสกอลาสติก และในประเทศไทยตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ (ออกจำหน่ายวันที่ 7 ธันวาคมพ.ศ. 2550) ดำเนินเรื่องราวต่อจากเหตุการณ์ใน \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม\" ไปจนถึงการเผชิญหน้าครั้งสุดท้ายระหว่างสองพ่อมด แฮร์รี่ พอตเตอร์ และลอร์ดโวลเดอมอร์", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต" }, { "docid": "57587#0", "text": "ลอร์ดโวลเดอมอร์ (; ) เป็นตัวละครร้ายในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ของ เจ. เค. โรว์ลิ่ง ปรากฏตัวครั้งแรกในตอน\"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์\" มีชื่อเดิมว่า ทอม มาร์โวโล่ ริดเดิ้ล และเป็นผู้สืบสกุลของซัลลาซาร์ สลิธีริน คนสุดท้าย โวลเดอมอร์เป็นตัวละครที่ได้รับการโหวตให้เป็นตัวละครร้ายอันดับหนึ่งทั้งในวรรณกรรมและในภาพยนตร์", "title": "ลอร์ดโวลเดอมอร์" }, { "docid": "315583#6", "text": "เมื่อค่ำคืนของวันที่ 16 มิถุนายน ตามเวลาท้องถิ่นของรัฐฟลอริดา สวนสนุกมีการเปิดตัวสวนสนุกแฮร์รี่ พอตเตอร์อย่างเป็นทางการ แม้ก่อนหน้านั้นสวนสนุกจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมแล้วก็ตาม โดยมีนักแสดงจากภาพยนตร์ ได้แก่ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ (แฮร์รี่ พอตเตอร์), บอนนี่ ไรท์, เจมส์และโอลิเวอร์ เฟลส์ป, ไมเคิล แกมบอน (ศาสตราจารย์ดัมเบิลดอร์), รูเพิร์ท กรินท์ (รอน วีสลีย์) แมทธิว ลิวอิส (เนวิลล์ ลองบัตท่อม) วอร์วิก เดวิส (ศาสตราจารย์ฟลิตวิก) และทอม เฟลตัน รวมถึง เจ.เค. โรว์ลิ่ง และผู้ประพันธ์เพลงให้กับภาพยนตร์ 3 ภาคแรกอย่าง จอห์น วิลเลียมส์ มาร่วมงานครั้งนี้ด้วย", "title": "โลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ (ยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ต)" }, { "docid": "315583#5", "text": "ในงานเปิดตัวของสวนสนุก บอนนี่ ไรท์ (จินนี่ วีสลีย์) ทอม เฟลตัน (เดรโก มัลฟอย) กับฝาแฝดเจมส์และโอลิเวอร์ เฟลส์ป (เฟร็ดกับจอร์จ วีสลีย์) ได้ตอบรับคำเชิญและจะมาร่วมงานครั้งนี้ด้วย และมีแนวโน้มว่า เจ. เค. โรว์ลิ่ง ก็อาจจะมาด้วยเช่นกัน[1]", "title": "โลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ (ยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ต)" }, { "docid": "180227#0", "text": "นิทานของบีเดิลยอดกวี (The Tales of Beedle the Bard) เป็นหนังสือนิทานเด็ก ที่แต่งโดย เจ. เค. โรว์ลิ่ง เพื่อเป็นหนังสือประกอบสำหรับนิยายในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดยหนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือสมมติที่ถูกอ้างถึงใน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ซึ่งเป็นนิยายเล่มสุดท้ายในชุดอีกด้วย", "title": "นิทานของบีเดิลยอดกวี" }, { "docid": "210465#4", "text": "ปฏิญาณไม่คืนคำ (unbreakable vow) เป็นการสัญญาชนิดหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ที่เขียนโดยเจ. เค. โรว์ลิ่ง คำสัญญานี้เป็นการปฏิญาณชนิดหนึ่งของโลกพ่อมด มันไม่ใช่แค่การปฏิญาณสัญญาธรรมดาแต่ถ้าพ่อมดแม่มดตกลงจะทำปฏิญาณไม่คืนคำแล้วพวกเขาจะไม่สามารถยกเลิกมันได้ การทำปฏิญาณไม่คืนคำนี้จะต้องมีผู้เข้าร่วมสามคนขึ้นไปเพื่อยินยอมการปฏิญาณ หากผู้ที่ยินยอมทำปฏิญาณไม่คืนคำผิดสัญญาไม่ทำตามที่สัญญาไว้คนผู้นั้นจะต้องตาย การปฏิญาณจะเริ่มด้วยการที่พ่อมดแม่มดสองฝ่ายจับมือกัน หลังจากนั้นผู้ที่ต้องการให้อีกฝ่ายปฏิญาณจะบอกสิ่งที่ต้องการและถามเขาว่าจะทำตามหรือไม่ เช่น \"ข้าขอให้ท่านช่วยปกป้องลูกชายของข้า ไม่ว่าเขาจะตกอยู่ในอันตรายแค่ไหนก็ตาม ท่านจะตกลงไหม\"อีกฝ่ายก็จะต้องตอบตกลง เช่น \"ข้าจะทำมัน\" เมื่อปฏิญาณเสร็จ คนที่อยู่ข้างๆก็จะใช้ไม้กายสิทธิ์แตะที่แขนของผู้ปฏิญาณ หลังจากนั้นก็จะเกิดเปลวไฟเป็นวงล้อมรอบแขนของทั้งสองคน เป็นเครื่องหมายของการผูกมิตรและการไม่คืนคำ", "title": "เวทมนตร์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "107228#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ (Harry Potter and the Order of the Phoenix) คือหนังสือเล่มที่ห้าในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง และแปลเป็นภาษาไทยโดยสุมาลี จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ เป็นภาคที่ยาวที่สุด ออกวางจำหน่ายเมื่อ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2003", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์" }, { "docid": "142621#7", "text": "ความนิยมในวรรณกรรมจินตนิมิตยังคงสืบเนื่องต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเกิดปรากฏการณ์หนังสือขายดีที่สุด จากเรื่อง \"แฮร์รี่ พ็อตเตอร์\" ผลงานของ เจ. เค. โรว์ลิ่ง ขณะเดียวกัน ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากวรรณกรรมจินตนิมิตก็เกิดขึ้นมากและประสบผลสำเร็จหลายเรื่อง เรื่องที่โดดเด่นที่สุดได้แก่ ภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของผู้กำกับภาพยนตร์ ปีเตอร์ แจ็กสัน", "title": "จินตนิมิต" }, { "docid": "360085#1", "text": "เริ่มต้นขึ้นเมื่อ รอเดริก แม็กแมน หรือ \"เจสส์\" เริ่มต้นการส่งเสริมการแสดงมวยปล้ำในปี 1925 เมื่อเขาได้เสียชีวิตลงในปี 1954 ลูกชายของเจสส์ วินเซนต์ เจ. แม็กแมน ได้สืบทอดกิจการต่อ วินเซนต์ เจมีภรรยาคนคือวิกกีและJuanita ต่อมาวินเซนต์ เจได้เสียชีวิตในปี 1984 ลูกชายของเขาจากการแต่งงานครั้งแรกของเขา วินเซนต์ เค. แม็กแมน สืบทอดธุรกิจต่อและในขณะนี้ ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท", "title": "ตระกูลแม็กแมน" } ]