txt
stringlengths 202
53.1k
|
---|
# Mozilla ระงับบริการส่งไฟล์ Firefox Send ชั่วคราว หลังถูกใช้เป็นแหล่งกระจายมัลแวร์
Mozilla ประกาศหยุดให้บริการส่งไฟล์ขนาดใหญ่ Firefox Send ชั่วคราว หลังพบว่าถูกใช้แพร่กระจายมัลแวร์
Firefox Send เป็นบริการที่เปิดตัวในปี 2019 ใช้ส่งไฟล์ขนาดใหญ่ไม่เกิน 2.5GB และมีจุดเด่นเรื่องความปลอดภัย (เข้ารหัสไฟล์) และความเป็นส่วนตัว (มีระบบรหัสผ่าน, ใครก็ใช้ได้โดยไม่ต้องล็อกอิน)
อย่างไรก็ตาม จุดขายเหล่านี้กลายเป็นช่องโหว่ให้กลุ่มผู้ปล่อยมัลแวร์ นำมัลแวร์ขึ้นไปฝากไว้บน Firefox Send (เข้ารหัสไฟล์ทำให้ตรวจสอบได้ยาก) และอาศัยปัจจัยว่าโดเมนเนม firefox.com เป็นโดเมนที่น่าเชื่อถือ ฝ่าระบบตรวจจับมัลแวร์ต่างๆ เข้าไปหลอกให้ผู้ใช้ติดตั้งมัลแวร์เหล่านี้ได้
แวดวงนักวิจัยด้านความปลอดภัยยังระบุว่า Firefox Send ไม่มีระบบแจ้งปัญหา (Report Abuse/Report File) ทำให้รายงานปัญหาไปยัง Mozilla ได้ยาก ล่าสุด Mozilla จึงปิดระบบ Firefox Send ชั่วคราว เพื่อพัฒนาฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย ทั้งการบังคับล็อกอินบัญชี Firefox Account ก่อนฝากไฟล์ และระบบแจ้งปัญหา
ที่มา - ZDNet |
# ไมโครซอฟท์หยุดออกไบนารี PHP For Windows มีผลตั้งแต่ PHP 8.0 เป็นต้นไป
ไมโครซอฟท์ส่งอีเมลแจ้งเข้ากลุ่มนักพัฒนา PHP ว่าจะหยุดซัพพอร์ต PHP บนแพลตฟอร์มวินโดวส์ มีผลนับตั้งแต่ PHP 8.0 (ปัจจุบันเป็น Alpha 1) เป็นต้นไป
ปัจจุบัน ไมโครซอฟท์เป็นผู้ดูแลโครงการ PHP For Windows บนเว็บไซต์ PHP.net และทำหน้าที่พัฒนา-ออกไบนารีของ PHP เวอร์ชันวินโดวส์ (php.exe) ตามอัพเดตทุกเวอร์ชันย่อย
ไมโครซอฟท์ไม่ได้ระบุเหตุผลที่หยุดออกไบนารีของ PHP 8.0 บนวินโดวส์ แต่สัญญาว่าจะยังออกไบนารีของ PHP 7.2, 7.3, 7.4 ไปจนหมดระยะเวลาซัพพอร์ตของ PHP.net
ผู้ใช้ชื่อ SaraMG ซึ่งระบุว่าเป็นหนึ่งในทีมพัฒนา PHP แสดงความเห็นในกระทู้ Reddit ว่าประกาศนี้คือไมโครซอฟท์ยุติหน้าที่การออกไบนารี PHP 8.0 บนวินโดวส์เท่านั้น ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่ได้เห็น PHP บนวินโดวส์อีก เพราะจะมีนักพัฒนาคนอื่นเข้ามารับช่วงงานนี้ต่อไป
ที่มา - PHP.net, Reddit |
# LINE จัดเรียงหน้าหลักใหม่ ยกเลิกแท็บย่อย จัดกลุ่มบริการเอาไว้ในหน้าเดียว
LINE เปลี่ยนแปลงหน้าตาการใช้งานใหม่ในแท็บหน้าหลัก ยกเลิกแท็บย่อย เน้นบริการต่างๆ ของ LINE ให้เห็นชัดมากขึ้น
ในหน้าหลัก ได้นำบริการต่างๆ มาจัดเรียงใหม่ ยกเลิกแท็ปย่อย และจัดกลุ่มฟีเจอร์การเข้าใช้งานบริการต่างๆ ขึ้นมาแสดงให้ผู้ใช้งานสามารถเห็นได้ในหน้าเดียว เพียงแค่เลื่อนหน้าจอขึ้นลง โดยด้านบนสุดของหน้าหลักยังคงเป็นพื้นที่สำหรับการจัดการโปรไฟล์ส่วนตัวและเข้า LINE Keep ที่เก็บไฟล์และข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ได้เหมือนเดิม
เมนูในหน้าหลัก ประกอบด้วย
การจัดการรายชื่อเพื่อน (Friends) – รายชื่อเพื่อนคนโปรด รายชื่อกรุ๊ป รายชื่อเพื่อนทั้งหมด รายชื่อ OpenChat ที่เราเป็นสมาชิก เพิ่มฟังก์ชั่นการเตือนวันเกิดเพื่อน พร้อมการแนะนําของขวัญเพื่อส่งให้เพื่อนเฉพาะผู้ใช้งานแต่ละราย
บริการ (Services) – รวบรวมบริการหลากหลายทั้งจาก LINE และพันธมิตร ไม่ว่าจะเป็นสติกเกอร์ ธีม เมโลดี้ และ Official Account ผู้ใช้สามารถเลือกเอาบริการโปรดมาจัดเรียงได้เองสูงสุด 8 บริการ
ด้าน Wallet ก็มีการเปลี่ยนแปลง โดยดันเอาโปรโมชั่นขึ้นมาในหน้าแรกของ Wallet ยุบแถบบริการใน Wallet จาก 4 แถว เหลือ 2 แถว ตามรูปภาพด้านล่าง
ทั้งหน้าหลักและหน้า Wallet จะถูกอัพเดตการจัดกลุ่มใหม่นี้ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม (ยกเว้นฟังก์ชั่นแจ้งเตือนวันเกิดเพื่อน ที่จะปรากฏในหน้าหลักตามมาภายหลัง)
ที่มา - ข่าวประชาสัมพันธ์ |
# Facebook แก้ปัญหา SDK ที่ทำให้แอพบน iOS แครช, เหตุการณ์ไม่ได้เกิดเป็นครั้งแรก
จากข่าว แอป iOS จำนวนมากเปิดไม่ติด คาดเกิดจาก Facebook SDK
ตอนนี้ Facebook แก้ปัญหาเรียบร้อยแล้ว โดยให้คำอธิบายสั้นๆ ว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงโค้ด ทำให้แอพบางตัวที่เรียกใช้ SDK แครช ซึ่ง Facebook ค้นพบปัญหานี้อย่างรวดเร็วและแก้ไขเรียบร้อยแล้ว พร้อมขอโทษที่ทำให้เกิดความไม่สะดวกขึ้น
เว็บไซต์ The Verge รายงานว่าเหตุการณ์ลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เพราะเคยมีการล่มลักษณะเดียวกันในวันที่ 6 พฤษภาคม 2020 มาแล้ว ทำให้เริ่มมีเสียงเรียกร้องให้นักพัฒนาแอพ "ถอด" Facebook SDK ที่นิยมใช้เพื่อเก็บข้อมูลในแง่การตลาดผ่าน Facebook เพื่อไม่ให้แอพต้องพึ่งพา Facebook มากเกินไป
ที่มา - Facebook, Facebook, The Verge |
# หลุด Far Cry 6 ก่อนเปิดตัว ใช้ฉากเป็นเกาะเขตร้อน วางขาย ก.พ. 2021
เว็บไซต์ PlayStation Store Hong Kong เผลอขึ้นข้อมูลของเกม Far Cry 6 ที่ยังไม่เปิดตัว
เหตุการณ์ภาคนี้เกิดขึ้นบนประเทศสมมติ เป็นเกาะในเขตร้อนชื่อ Yara (ลักษณะคล้ายคิวบา) ที่ปกครองโดยผู้นำเผด็จการ Anton Castillo (รับบทโดย Giancarlo Esposito จากซีรีส์ Breaking Bad) จนชาวเมืองต้องลุกฮือขึ้นสู้ ตัวเอกภาคนี้ชื่อ Dani Rojas ซึ่งเป็นคนท้องถิ่นที่กลายเป็นทหารกองโจร จับอาวุธต่อสู้เพื่อปลดปล่อยประเทศของเขาเอง
ข้อมูลในหน้ารายละเอียดเกมบอกว่า Far Cry 6 มีแผนที่ขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดา Far Cry ทุกภาค ผู้เล่นจะได้เล่นทั้งในฉากป่าดงดิบ ชายหาด และในเมืองหลวง Esperanza เกมมีทั้งโหมดเนื้อเรื่องเล่นคนเดียวและมัลติเพลเยอร์
Far Cry 6 จะลงทั้ง PS4 และ PS5 (ยังไม่รวมแพลตฟอร์มอื่นๆ เพราะเป็นหน้าเว็บ PlayStation Store) โดยผู้ที่ซื้อเวอร์ชัน PS4 สามารถอัพเกรดเป็น PS5 ได้ฟรี เกมมีกำหนดวางขาย 18 กุมภาพันธ์ 2021
คาดว่า Ubisoft จะเปิดตัวเกม Far Cry 6 ในงาน Ubisoft Forward คืนวันอาทิตย์นี้ตามเวลาบ้านเรา
ที่มา - IGN |
# Visual Studio Code ออกเวอร์ชัน 1.47 รองรับ Windows 10 ARM แบบเสถียร
เมื่อเดือนพฤษภาคม VS Code ออกเวอร์ชัน Windows 10 ARM เพื่อใช้บนอุปกรณ์แบบ Surface Pro X โดยยังเปิดทดสอบเฉพาะกลุ่ม Insiders ก่อน
ล่าสุดใน VS Code เวอร์ชัน 1.47 รอบอัพเดตเดือนมิถุนายน 2020 รองรับ Windows ARM อย่างเป็นทางการ เข้าสถานะเสถียรเรียบร้อยแล้ว สามารถดาวน์โหลดได้จากลิงก์ https://aka.ms/win32-arm64-user
ของใหม่อย่างอื่นใน VS Code 1.47 ได้แก่
JavaScript Debugger ตัวใหม่ มีฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง เช่น profiling อ่านได้จาก vscode-js-debug
Source Control single view หน้าจอรวมข้อมูลทุกอย่างของ version control ที่ใช้อยู่
Settings editor ของเดิมแก้ค่าได้แค่แบบ boolean, string ถ้าตัวแปรชนิดที่ซับซ้อนกว่านั้นต้องไปแก้ในไฟล์ settings.json เอาเอง ของใหม่แก้ค่าที่เป็นตัวแปรซับซ้อนขึ้นได้แล้ว
regular expression (regex) รองรับการแปลงตัวอักษรจากตัวเล็ก <> ตัวใหญ่
ปรับปรุงให้รองรับโปรแกรมอ่านหน้าจอ (screen reader) ดีกว่าเดิม
ที่มา - Visual Studio Code |
# แอป iOS จำนวนมากเปิดไม่ติด คาดเกิดจาก Facebook SDK
ชั่วโมงที่ผ่านมาแอปบน iOS จำนวนมากรวมถึงแอปธนาคารของไทย, Spotify, หรือแอปอีคอมเมิร์ชเกิดปัญหาเปิดแล้วแครชในทันที นักพัฒนาจำนวนมากคาดว่าปัญหาเกิดจาก Facebook SDK โดยแอปที่ได้รับผลกระทบอาจจะมีอัตราการแครชถึง 65%
น่าสุดนักพัฒนาบางส่วนระบุว่าเฟซบุ๊กน่าจะแก้ปัญหาไปแล้ว บางรายระบุว่าจะเลิกใช้ SDK ในเวอร์ชั่นต่อไป
ที่มา - Facebook iOS SDK |
# ผลการตรวจสอบ Facebook มีปัญหาสิทธิพลเมือง, ให้ความสำคัญ Free Speech มากกว่า Hate Speech
เมื่อวันที่ 8 ก.ค. ที่ผ่านมา Facebook ออกรายงาน Civil Rights Audit หรือผลการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอกครอบคลุมนโยบายสำคัญของ Facebook เช่น สิทธิพลเมือง, ความเป็นส่วนตัว, ความโน้มเอียงของอัลกอริทึม, Free Speech & Hate Speech
Laura W. Murphy อดีตผู้อำนวยการ ACLU และเป็นผู้นำการสืบสวนทำรายงานชิ้นนี้ร่วมกับ Megan Cacace ทนายความด้านสิทธิพลเมืองสรุปได้ว่า Facebook มีความคืบหน้าที่จะแก้ปัญหาต่างๆ เปรียบเทียบการทำงานของ Facebook กับการปีนเขาเอเวอเรสต์ แต่ก็ไม่ได้ลงทุนมากพอในการหาวิธีรับมือกับความท้าทายทางด้านสิทธิพลเมือง
เว็บไซต์ Recode สรุปประเด็นสำคัญจากรายงาน Civil Rights Audit ไว้ 5 ข้อ
ภาพจาก รายงาน Civil Rights Audit ฉบับเต็ม
Facebook ปฏิบัติต่อโพสต์ของโดนัลด์ ทรัมป์ ในมาตรฐานที่แตกต่างจากโพสต์ของคนอื่น
โพสต์ของทรัมป์หลายอย่างที่มีเนื้อหาส่งเสริมความรุนแรง, คุกคามประชาชนและผู้ประท้วง Black Lives Matter, เผยแพร่ข้อมูลผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งโดยไปรษณีย์ แต่ Facebook ก็ยังยืนยันว่าเนื้อหาของทรัมป์ ไม่ละเมิดหลักเกณฑ์ของแพลตฟอร์มแต่อย่างใด
แม้ภายหลัง Facebook ออกนโยบายยอมแปะป้ายให้กับคอนเทนต์ที่มีปัญหา แต่บริษัทตั้งใจไม่ลบเพราะเป็นคอนเทนต์ที่ควรค่าแก่การเป็นข่าวให้สาธารณชนรับทราบ (newsworthy content) เท่ากับว่า Facebook ก็จะไม่ทำอะไรกับโพสต์ของทรัมป์อยู่ดี
ทางผู้ตรวจสอบระบุว่าสิ่งนี้เป็นความล้มเหลว และถือเป็นความพยายามจะยับยั้งและกดอำนาจในการโหวตเลือกตั้งของประชาชน ทำลายความเชื่อใจที่ประชาชนมีต่อ Facebook และเปิดทางให้นักการเมืองคนอื่นดำเนินพฤติกรรมตามรอยทรัมป์
Facebook ให้คุณค่า Free Speech เหนือกว่าความเสมอภาค
ผู้ตรวจสอบบอกว่า การที่ Facebook ให้ความสำคัญกับ Free Speech เหนือสิ่งอื่นใดนั้นมีราคาต้องจ่าย เพราะแนวคิดนี้ ทำให้ Facebook มองว่าไม่ควรเซนเซอร์คำพูดนักการเมืองเพราะประชาชนมีสิทธิจะรู้
แต่ปัญหาคือมันเปิดโอกาสให้นักการเมืองแพร่ข้อมูลผิดแค่ไหนก็ได้ ให้สิทธิ์การแสดงออกแก่นักการเมืองเหนือกว่าเสียงของประชาชนทั่วไป นำไปสู่การทำลายสิทธิพลเมือง และทำลายคุณค่าที่ Facebook ยึดถือเอง
Facebook ยังต้องต่อสู้อีกมากในการจัดการ Hate Speech
Facebook ยังคงมีปัญหา Hate Speech คาราคาซัง โดยเฉพาะเนื้อหาแสดงความเกลียดชังจากกลุ่มนิยมคนขาวสุดโต่ง แม้ Facebook จะแสดงออกถึงความพยายามแก้ปัญหา เช่น จ้างคนมาคัดกรอง ลงทุนเทคโนโลยีตรวจจับ แต่ทางผู้ตรวจสอบชี้ว่า เนื้อหาเกลียดชัง ยังคงอยู่บนแพลตฟอร์มนานกว่าที่ควรจะเป็น
COVID-19 ทำให้รู้ว่า Facebook มีศักยภาพจัดการเนื้อหาอันตรายได้ถ้าตั้งใจทำ
Facebook มีความกระตือรือร้นในการจัดการข้อมูลปลอมเกี่ยวกับโรคระบาดได้ดี มีการตอบสนองอย่างทันท่วงที ออกฟีเจอร์ให้ข้อมูลโรคระบาดที่ถูกต้องได้ แม้สถานการณ์โรคระบาดจะวิกฤตและมีความซับซ้อนมากก็ตาม
Facebook ควรแต่งตั้งผู้บริหารสิทธิพลเมือง มาร่วมตัดสินใจและกำหนดนโยบาย
Facebook โดนกดดันให้แต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงที่เชี่ยวชาญด้านสิทธิพลเมืองโดยเฉพาะ แต่ในรายงานนี้ระบุว่าลำพังแต่งตั้งนั้นไม่พอ Facebook ต้องให้อำนาจเขาคนนั้นในการกำหนดนโยบายและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าเนื้อหาแบบไหนบนแลพตฟอร์มที่ละเมิดสิทธิพลเมือง
สืบเนื่องจากโพสต์ของทรัมป์ และการตัดสินใจว่าลบหรือไม่ลบ มีคนเพียงหยิบมือใน Facebook ที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และมีเพียงคนเดียวที่เป็นคนดำ
รายงาน Civil Rights Audit มีความยาว 89 หน้า ใช้เวลาในการจัดทำสืบสวนและรวมรวมข้อมูล 2 ปี และ Facebook ก็นำมาเผยแพร่ในช่วงที่สังคมและแบรนด์สินค้าร่วมกันบอยคอต ไม่จ่ายเงินลงโฆษณาด้านแกนนำบอยคอตยังได้พูดคุยกับทีมผู้บริหาร Facebook แล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถมั่นใจได้ว่า Facebook จะแก้ปัญหา Hate Speech จริงจัง
อย่างไรก็ตาม ในรายงานได้ระบุความคืบหน้าของ Facebook หลายอย่าง เช่น การให้คำมั่นสัญญาจะจ้างผู้บริหารที่เชี่ยวชาญสิทธิพลเมือง, ลงทุนเพิ่มความหลากหลายในองค์กร, มีการออกแบบนโยบายป้องกันการแทรกแซงเลือกตั้งจากต่างประเทศ ผ่านการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด, ลงทุนในทีมงานเฉพาะด้านในการพัฒนา AI อย่างมีจริยธรรมลดความโน้มเอียง เป็นต้น
ที่มา - Recode, Civil Rights Audit |
# Sony เผยโฉมกล่องเกม PS5 แค่เปลี่ยนเลข 4 เป็น 5 กับเปลี่ยนแถบสีน้ำเงินเป็นขาว
Sony เผยโฉมแรกของกล่องเกม PS5 แล้ว กับเกม Spider-Man: Miles Morales การเปลี่ยนแปลงหลักจากกล่องเกม PS4 มีแค่เปลี่ยนแถบสีน้ำเงินด้านบนสุดให้เป็นสีขาว ตัวหนังสือสีดำ พร้อมกับเปลี่ยนเลข 4 เป็นเลข 5 เท่านั้น
แต่ที่น่าสนใจคือ บนกล่องเกม ไม่มีคำว่า “Only On PlayStation” แล้ว ซึ่งมีความเป็นไปได้สองทาง คือ Sony เลิกใช้ประโยคนี้บนกล่องเกม แม้จะเป็นเกม Exclusive ก็ตาม หรือไม่ เกม Spider-Man: Miles Morales ก็จะไม่เป็นเกม Exclusive ของ PlayStation อีกต่อไป (ซึ่งทางหลังเป็นไปได้ยากมาก เพราะ Insomniac เป็นบริษัทลูกของ Sony)
ที่มา - Playstation Blog |
# Unreal Engine เปิดตัวแอปใหม่บน iOS แคปเจอร์ใบหน้า สร้างแอนิเมชั่นแบบเรียลไทม์ได้ทันที
Unreal Engine เอนจิ้นพัฒนาเกมยอดนิยมของ Epic เปิดตัวแอปใหม่ Live Link Face บน iOS แอปที่ใช้กล้องหน้าแบบ TrueDepth ผสานกับ ARKit ของ Apple เพื่อแปลงข้อมูลใบหน้า และส่งข้อมูลโดยตรงไปยัง Unreal Engine แบบเรียลไทม์ได้ทันที
รูปแบบการใช้งาน ใช้ได้กับทั้งโมชั่นแคปเจอร์แบบเวทีใหญ่ ที่ตัวแสดงใส่ชุดโมชั่นแคปเจอร์แบบเต็มตัว หรือใช้งานแบบจับเฉพาะใบหน้าและลำคอ สำหรับคนเดียวก็ได้ เป็นประโยชน์กับทั้งนักสร้างแอนิเมชั่น เกม และสตรีมเมอร์
Live Link สามารถส่งสตรีมข้อมูลให้ผู้พัฒนา Unreal หลายเครื่องพร้อมกันได้ เพื่อแก้ไขงานร่วมกันได้แบบเรียลไทม์ โดยในข้อมูลใบหน้ามี timecode และข้อมูลเฟรม เพื่อให้ผู้พัฒนาสามารถนำไปซิงค์กับกล้อง หรืออุปกรณ์จับความเคลื่อนไหวอื่นต่อได้
Live Link Face ยังรองรับระบบ Tentacle Sync เพื่อซิงก์กับนาฬิกาหลักของเวที (master clock) ผ่าน Bluetooth ช่วยซิงค์ข้อมูลภาพและเสียงให้ตรงกันในการถ่ายโมชั่นแคปเจอร์ และรองรับโปรโตคอล OSC (Open Sound Control) เพื่อทำงานเชื่อมต่อกับแอปบันทึกเสียงอื่นอีกด้วย
นักพัฒนา Unreal Engine เชื่อว่าแอปนี้จะกลายเป็นหนึ่ง production tool ที่ใช้งานสะดวกและเข้าถึงได้ง่าย สำหรับการบันทึกใบหน้าแบบเรียลไทม์ สำหรับผู้ผลิตแอนิเมชั่นหรือเกม รวมไปถึงสตรีมเมอร์ที่ใช้แอนิเมชั่นเป็นตัวแทนในการไลฟ์สดด้วย
ที่มา - Unreal Engine Blog |
# ตู้ขายของอัตโนมัติในญี่ปุ่น เตรียมให้จ่ายเงินผ่านระบบสแกนใบหน้าได้แล้ว
อีกเรื่องหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นขึ้นชื่อ น่าจะเป็นด้านความล้ำ และหลากหลายของตู้ขายของอัตโนมัติ เช่นตู้ของบริษัทเครื่องดื่ม DyDo ที่ก่อนหน้านี้ มีลำโพงที่จะพูดขอบคุณหลังซื้อของเป็นสำเนียงท้องถิ่น มีเสียงพูดให้กำลังใจ แถมให้ยืมร่มฟรีในวันที่ฝนตกได้ด้วย และตอนนี้ DyDo ก็จับมือกับ NEC บริษัทเทคโนโลยีเจ้าใหญ่ของญี่ปุ่น เตรียมนำเทคโนโลยี facial recognition มาใช้ในการชำระเงินแล้ว
DyDo เตรียมใช้ระบบ Bio-IDiom ของ NEC โดยผู้ใช้จะต้องสมัครบัญชีผ่านมือถือ และยืนยันตัวตนด้วยรูปถ่ายและบัตรเครดิต พร้อมกับตั้งรหัสยืนยัน 4 หลัก หลังจากนั้นเมื่อซื้อของ ระบบจะใช้การยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า และให้ใส่รหัสยืนยันที่ตั้งไว้ เพื่อหักเงินจากบัตรผ่านบัญชีที่ผู้ใช้สมัครไว้ในขั้นตอนแรก
ภาพจาก DyDo
ปัจจุบันเครื่องรุ่นนี้เริ่มมีการทดสอบใช้งานแล้วที่ออฟฟิศและโรงงานของ DyDo และ NEC บางแห่ง และจะอยู่ในช่วงทดสอบเป็นเวลา 3 เดือน ก่อนจะขยายการใช้งานออกไป หากระบบใช้งานได้โดยไม่มีปัญหา
ที่มา - Japan Today |
# Microsoft Teams เพิ่มแท็บ Tasks รวมรายการงานจาก To Do, Planner, Outlook
ไมโครซอฟท์ยังเดินหน้าเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์ในเครือโดยเฉพาะสาย productivity ที่มีหลายตัวซ้ำซ้อนกัน โดยเพิ่มแท็บ Tasks ภายใน Microsoft Teams จะซิงก์รายการงาน (task) จากแอพในเครือ 3 ตัวคือ To Do, Planner, Outlook ไว้ที่เดียว
ไมโครซอฟท์ให้เหตุผลว่า To Do เป็นบริการส่วนบุคคล ใช้จดงานส่วนตัว ส่วน Planner เป็นการแบ่งงานภายในทีม หน้าจอของแท็บ Tasks จึงจะแยกเป็น Personal lists และ Team lists ให้จัดกลุ่มได้ง่าย แต่ถ้าผู้ใช้ไม่ต้องการแสดงรายการหมวด Personal lists ก็สามารถซ่อนได้
ปัจจุบัน แท็บรายการงานของ Teams ใช้ชื่อว่า Planner แต่ในอนาคตอันใกล้จะเปลี่ยนเป็น Tasks by Planner and To Do แล้วในระยะถัดไปจะเหลือคำว่า Tasks อย่างเดียว
ที่มา - Microsoft |
# [ลือ] Samsung เตรียมไม่แถมหัวชาร์จเหมือนกัน เพราะผู้ใช้มีอยู่เต็มบ้านแล้ว
สำนักข่าวเกาหลี ETNews รายข่าวที่ยังไม่ยืนยัน ว่า Samsung เตรียมไม่แถมหัวชาร์จกับสมาร์ทโฟนเช่นเดียวกับข่าวลือจากฝั่ง Apple เพราะผู้ใช้น่าจะมีที่ชาร์จสมาร์ทโฟนวางอยู่เต็มบ้านอยู่แล้ว และเป็นการลดต้นทุน และเพิ่มยอดขายอุปกรณ์เสริมไปในตัว เพราะเมื่อผู้ใช้ ต้องเสียเงินซื้อที่ชาร์จเพิ่มอยู่แล้ว อาจมองหาที่ชาร์จแบบพิเศษกว่าเดิม เช่นที่ชาร์จไร้สายแบบมีระบบทำความสะอาดเครื่องด้วยแสง UV
ถ้าเป็นไปตามข่าวลือในช่วงนี้ Apple ก็จะกลายเป็นผู้นำเทรนด์อีกครั้ง หลัง Ming Chi Kuo ออกมาบอกว่านอกจาก Apple จะไม่แถมหูฟังมีสาย EarPods แล้ว อาจจะไม่แถมที่ชาร์จด้วยเช่นกัน ซึ่งก็มีทั้งกระแสคนที่เห็นด้วย ว่าผู้ใช้น่าจะมีที่ชาร์จในบ้านเยอะแล้ว การไม่แถมที่ชาร์จน่าจะเป็นอีกวิธีในการช่วยลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ดี แต่อีกกระแสก็บอกว่า สมาร์ทโฟนราคาแพงๆ แบบนี้ ทำไมแค่ที่ชาร์จถึงไม่แถมมาให้ แต่ก็ดูจะเป็นทิศทางที่ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนหลายๆ เจ้า อาจจะนำมาใช้ตาม เพื่อลดต้นทุน เพิ่มกำไรให้มากขึ้น
ที่มา - The Register,ETNews |
# Xiaomi เปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นประหยัด Redmi 9A แบต 5,000 mAh ราคา 2,799 บาท
Xiaomi เปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นประหยัด Redmi 9A หน้าจอ 6.53 นิ้ว เว้าแบบหยดน้ำ ความละเอียด HD ชิป Mediatek Helio G25 แรม 2GB หน่วยความจำภายใน 32GB รองรับ microSD card ถึง 512GB กล้องหน้า 5MP กล้องหลังเดี่ยว 13MP แบตเตอรี่ 5,000 mAh ชาร์จผ่าน USB-C แบบ 10W
Redmi 9A วางจำหน่าย 15 กรกฎาคมนี้ ในราคา 2,799 บาท ทางออนไลน์จะมีจำหน่ายผ่าน Lazada, Shopee และ JD Central และแบบในร้าน ที่ Banana IT, TG Fone, Jaymart, Mi Store และร้านตัวแทนอื่นๆ ของ Xiaomi
ที่มา - จดหมายประชาสัมพันธ์ |
# Google เผย Android 10 แตะ 100 ล้านเครื่องหลังปล่อยตัวจริง 5 เดือน, เร็วกว่า Pie 28%
Google เปิดเผยจำนวนอุปกรณ์ที่รัน Android 10 อยู่ที่ 100 ล้านเครื่องในระยะเวลา 5 เดือนหลังปล่อยตัวจริง เร็วกว่าที่ Android Pie ทำได้ 28% หรือกล่าวอีกอย่างคือ Pie ใช้ระยะเวลานานกว่าในการแตะหลัก 100 ล้านเครื่อง
ปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งมาจากทั้ง Project Treble ที่ออกมาตอน Android Oreo ที่แยกชั้นฮาร์ดแวร์ออกจากระบบปฏิบัติการและ Project Mainline ที่แยกระบบปฏิบัติการเป็นโมดูลต่าง ๆ เพื่อให้อัพเดตง่ายขึ้นผ่าน Google Play
ขณะที่ใน Android 11 ทาง Google ก็พยายามปรับปรุงองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อให้การอัพเดตง่ายขึ้น อย่างการเพิ่มจำนวนโมดูลที่อัพเดตได้ผ่าน Google Play, แยกส่วนเคอร์เนลลินุกซ์ของแอนดรอยด์ออกจากฮาร์ดแวร์มาเป็น Generic Kernel Image (GKI) ทำให้สามารถอัพเดตเคอร์เนลได้แล้ว (Google จะมีการพูดถึง GKI เต็ม ๆ อีกครั้งหลังจากนี้) และการอัพเดตแบบ Virtual A/B
ที่มา - Android Developer Blog |
# Google เผยโฉมลำโพงอัจฉริยะรุ่นใหม่ Nest Speaker น่าจะมาแทน Google Home
หลังมีภาพหลุดออกมาไม่นาน Google ได้ปล่อยภาพ Nest Speaker ลำโพงอัจฉริยะรุ่นใหม่ออกมาเอง ซึ่งก็คาดว่าน่าจะมาแทนที่ Google Home ตัวเก่าที่มีอายุราว 4 ปีแล้ว หลังจากปลายปีที่แล้วปล่อย Nest Mini รุ่นใหม่นำไปก่อนแล้ว
นอกจากภาพนิ่งแล้ว Google ได้ส่งวิดีโอโปรโมท Nest Speaker ไปให้สื่อบางเจ้าเลยด้วย แต่ก็ยังไม่ได้เปิดตัวหรือมีข้อมูลอย่างเป็นทางการ ซึ่งวิธีนี้ของ Google คล้ายกับที่ปล่อยภาพเรนเดอร์ของ Pixel 4 ออกมาเองหลังมีภาพหลุด
ที่มา - @MishaalRahman via Android Police |
# ตัวเลขส่งมอบ PC ไตรมาส 2/2020 เพิ่มขึ้น จาก Work from Home และเรียนออนไลน์
บริษัทวิจัยตลาดทั้ง IDC และ Gartner รายงานตัวเลขส่งมอบพีซีของไตรมาสที่ 2 ปี 2020 ภาพรวมมีการเติบโตสูงขึ้น สะท้อนความต้องการสินค้าในช่วงที่ผ่านมาซึ่งมีการระบาดของโควิด-19 ทำให้คนทำงานที่บ้านมากขึ้น และสถานการณ์ซัพพลายเชนที่ดีขึ้น
ตัวเลขของ Gartner ระบุว่าพีซีที่ส่งมอบในไตรมาสมี 64.8 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 2.8% ส่วน IDC ระบุว่ามี 72.3 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 11.2% ทั้งนี้สาเหตุที่ตัวเลขของสองค่ายนี้ต่างกันมาก เนื่องจากการนับและไม่นับอุปกรณ์บางอย่างเป็นกลุ่มพีซี เช่น Surface หรือ Chromebook เป็นต้น
นักวิเคราะห์ของ IDC มองว่ายอดขายพีซีเพิ่มขึ้นจากกระแสการทำงานที่จากที่บ้าน ตลอดจนการเรียนออนไลน์ ขณะที่ความต้องการจากภาคธุรกิจนั้นลดลง ส่วน Gartner มองว่าการเติบโตนี้เป็นผลระยะสั้น และไม่น่าเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดปี 2020 นี้
ส่วนแบ่งการตลาดแยกตามแบรนด์ของสองบริษัทวิจัย แตกต่างกันเล็กน้อย โดยของ IDC เป็น HP, Lenovo และ Dell ตามลำดับ ส่วน Gartner เป็น Lenovo, HP และ Dell
ที่มา: ZDNet, IDC และ Gartner |
# LinkedIn เพิ่มฟีเจอร์กดอัดเสียงบอกชื่อนามสกุลตัวเองได้ ป้องกันการอ่านผิด
ในบางครั้ง การอ่านชื่อนามสกุลนั้นเป็นเรื่องยาก และการอ่านผิดๆ ถูกๆ ก็ดูไม่เป็นมืออาชีพ LinkedIn จึงช่วยให้ใช้ชีวิตง่ายขึ้น ด้วยการเพิ่มฟังก์ชั่นปุ่มอัดเสียง ให้เจ้าของโปรไฟล์กดอัดเสียงพูดชื่อนามสกุลตัวเองได้
เมื่อเจ้าของโปรไฟล์กดอัดเสียง ผู้ใช้งานคนอื่นจะพบไอคอนรูปลำโพงอยู่หลังชื่อ สามารถกดเพื่อฟังได้ ข้อความเสียงมีความยาวสูงสุด 10 วินาที ในการกดอัดเสียงสามารถทำได้เฉพาะบนแอป LinkedIn มือถือเท่านั้น แต่สามารถกดฟังได้ทั้งบนือถือและเดสก์ทอป
LinkedIn รุบะว่าจะปล่อยฟีเจอร์กดอัดเสียงหลังชื่อให้ผู้ใช้ทั้ง 690 ล้านรายใช้ภายในเดือนถัดไป
ที่มา - Engadget, LinkedIn |
# Google Image บนมือถือเริ่มแสดงผลรูปภาพพร้อมหัวข้อที่เกี่ยวกับรูปแล้ว
Google Image บนมือถือเริ่มแสดงผลรูปภาพ พร้อมข้อมูลและบริบทประกอบกับรูปภาพนั้นๆ ให้ผู้ใช้งานเข้าใจที่มาและเรื่องราวของภาพนั้นมากขึ้น เริ่มใช้งานเฉพาะสหรัฐฯ
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อค้นหารูปภาพสวนสาธารณะแห่งหนึ่ง ระบบจะบอกข้อมูลทั่วไปว่าเป็นสวนอะไร รวมถึงหัวข้อที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่นชื่อเมือง ชื่อแม่น้ำที่อยู่ใกล้ๆ เมื่อผู้ใช้งานแตะที่หัวข้อ กูเกิลจะแสดงคำอธิบายสั้นๆ พร้อมลิงค์แหล่งข้อมูลให้เข้าไปสืบค้นเพิ่มเติม
ฟีเจอร์นี้ยังใช้งานได้ในแค่สหรัฐฯ และยังไม่ใช่ทุกรูปภาพที่มจะมีข้อมูลประกอบ ก่อนหน้านี้ กูเกิลเพิ่มฟังก์ชั่นช่วยให้ผู้ใช้งานตรวจสอบข้อเท็จจริงและที่มาของรูปภาพได้ดีขึ้น ป้องกันข่าวปลอมและการนำรูปไปใช้ในจุดประสงค์ที่จะทำให้เกิดความเข้าใจผิด
ที่มา - Engadget |
# Sony เข้าถือหุ้น Epic Games คิดเป็นมูลค่า 250 ล้านดอลลาร์
โซนี่ประกาศเข้าลงทุน ผ่านการถือหุ้น 1.4% ใน Epic Games คิดเป็นมูลค่า 250 ล้านดอลลาร์ โดยโซนี่ระบุว่าเป็นการลงทุนเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ร่วมกัน
Tim Sweeney กล่าวว่าความร่วมมือนี้ทำให้ทั้งสองบริษัทซึ่งมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ในเทคโนโลยี 3D แบบเรียลไทม์ จะร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี สำหรับใช้ในเกม ภาพยนตร์ และดนตรี บนช่องทางออนไลน์
ตัวแทนของ Epic ยืนยันว่าดีลนี้ไม่ทำให้โซนี่ได้สิทธิ์พิเศษในเกมของ Epic แต่อย่างใด เกมของบริษัทยังสามารถเผยแพร่บนแพลตฟอร์มอื่นได้
ที่มา: VentureBeat |
# Docker Inc. จับมือ AWS สั่งรัน docker-compose ขึ้นคลาวด์ได้ในคำสั่งเดียว
Docker Inc. ร่วมมือกับ AWS รองรับการรัน docker-compose ขึ้น Amazon ECS และ AWS Fargate จาก Docker Desktop ได้ในคำสั่งเดียว
ผู้ใช้สามารถล็อกอินเข้า AWS ได้จาก Docker CLI จากนั้นสั่ง docker ecs compose up เพื่อรันคอนเทนเนอร์บนคลาวด์ได้ทันทีโดยไม่ต้องเรียนการคอนฟิกบริการ ECS อีก
บริการนี้ยังอยู่ในสถานะเบต้า นักพัฒนาต้องใช้ Docker Desktop Edge เวอร์ชั่น 2.3.3.0 ขึ้นไป และตัวโค้ดเบื้องหลังเป็นปลั๊กอินของ Docker ที่เป็นโครงการโอเพนซอร์ส
ที่มา - AWS Blog |
# Western Digital เริ่มขายฮาร์ดดิสก์ 16TB และ 18TB สำหรับลูกค้าองค์กร
Western Digital ประกาศขาย WD Gold 16TB และ 18TB ให้กับลูกค้าองค์กรโดยผ่านตัวแทนจำหน่ายระดับองค์กร หลังจากปีที่แล้วทางบริษัทขายดิสก์ทั้งสองรุ่นให้กับลูกค้าเฉพาะรายเช่นผู้ให้บริการคลาวด์เท่านั้น
ภายในดิสก์อัดไว้ด้วยฮีเลียมที่ความหนาแน่นต่ำกว่าอากาศปกติเหลือเพียง 1 ใน 7 ทำให้สามารถวางดิสก์ความจุ 2TB ได้เป็น 8 จาน และ 9 จานตามลำดับ โดยดิสก์ทั้งสองรุ่นเป็นแบบ CMR ขณะที่รุ่น 20TB ที่ยังขายแบบจำกัดนั้นเป็น SMR
เซิร์ฟเวอร์สตอเรจ Ultrastar Data60 และ Data102 ก็รองรับดิสก์ทั้งสองรุ่นแล้วเช่นกัน ทำให้สามารถอัดสตอเรจได้ถึง 1.836 เพตาไบต์ในสตอเรจขนาด 4U
ที่มา - Western Digital
ภาพจาก Western Digital |
# มูลค่าบริษัท NVIDIA แซงหน้าอินเทลแล้ว ราคาหุ้นเพิ่ม 2.5 เท่าในรอบ 1 ปี
มูลค่าบริษัท (market capitalization) ของบริษัท NVIDIA แซงหน้าอินเทลเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์บริษัท โดยตัวเลขขณะที่เขียนข่าว NVIDIA มีมูลค่าบริษัท 253 พันล้านดอลลาร์ ส่วนอินเทลมีมูลค่า 245 พันล้านดอลลาร์
ปัจจัยสำคัญมาจากราคาหุ้นของ NVIDIA ที่เพิ่มขึ้นประมาณ 2.5 เท่าในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่หุ้นของอินเทลเพิ่มมาประมาณ 15% เท่านั้นในช่วงเวลาเดียวกัน
NVIDIA ถือเป็นบริษัทที่รายได้เติบโตมาตลอด แม้เจอวิกฤต COVID ยังมีรายได้เพิ่มถึง 33% แถมมีเงินจ่ายโบนัสพนักงาน มูลค่าบริษัทยังมีโอกาสเติบโตได้อีกจากการเปิดตัวการ์ด Ampere ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
ส่วนมูลค่าบริษัทของ AMD ในฐานะเพื่อนร่วมวงการ อยู่ที่ 64 พันล้านดอลลาร์
ที่มา - PC Gamer
กราฟราคาหุ้น NVIDIA จาก Yahoo Finance |
# Canon เปิดตัว EOS R6 กล้อง Mirrorless รุ่นรองเรือธง พร้อมระบบกันสั่นในตัวกล้อง
Canon เปิดตัวกล้อง EOS R6 ใหม่ เป็นกล้อง Mirrorless รุ่นรองจาก EOS R5 ที่ตัดฟีเจอร์บางอย่างออกพร้อมราคาที่เข้าถึงได้ง่ายกว่าเดิม
Canon EOS R6 ใช้เซนเซอร์ฟูลเฟรม CMOS 20.1 ล้านพิกเซล (R5 ใช้ 45 ล้านพิกเซล) พร้อมระบบกันสั่นในตัว สามารถกันภาพสั่นไหวได้สูงสุดถึง 8 สต็อป, ใช้หน่วยประมวลผล DIGIC X, ISO 100-102,400 ขยายได้สูงสุด 204,800, ถ่ายภาพรัวได้สูงสุดถึง 20 ภาพต่อวินาทีหากเปิดใช้ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ และมีระบบออโต้โฟกัส Dual Pixel CMOS เจเนอเรชั่นที่สองที่ครอบคลุมพื้นที่ 100% เหมือนกับ EOS R5
ตัวกล้อง EOS R6 ไม่สามารถถ่ายวิดีโอได้สูงสุด 8K ได้เหมือน R5 โดยสเปคของกล้องรุ่นนี้คือถ่ายวิดีโอได้สูงสุด 4K ที่ 60 เฟรมต่อวินาที
ภายนอกของตัวกล้อง EOS R6 ไม่มีจอบน, มีจอแอลซีดีรองรับการสัมผัส 3 นิ้ว 1.62 ล้านจุดหลังกล้อง, ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ขนาด 0.5 นิ้ว 3.69 ล้านจุด, มีช่องเสียบการ์ด UHS-II SD card สองช่อง, Wi-Fi 2.4GHz, Bluetooth และซีลกันสภาพอากาศระดับเดียวกับ EOS 6D
สำหรับราคาของ Canon EOS R6 มีดังนี้
บอดี้อย่างเดียว 2,499 ดอลลาร์หรือราว 78,000 บาท
บอดี้พร้อมเลนส์ RF 24-105mm F4-7.1 IS STM ราคา 2,899 ดอลลาร์หรือราว 90,000 บาท
บอดี้พร้อมเลนส์ RF 24-105mm F4L IS ราคา 3,599 ดอลลาร์ 112,000 บาท
ที่มา - dpreview, อีเมล PR |
# Canon เปิดตัวกล้อง EOS R5 กล้อง Mirrorless เซนเซอร์ฟูลเฟรม, มีกันสั่นในตัว, ถ่ายวิดีโอได้ 8K
Canon เปิดตัวกล้องดิจิทัล Mirrorless รุ่นใหม่ EOS R5 เป็นกล้องเรือธงของกลุ่ม Mirrorless โดยมาพร้อมเซนเซอร์ฟูลเฟรม 45 ล้านพิกเซล, กันสั่นในตัว และถ่ายวิดีโอได้สูงสุดถึง 8K
สเปคของ Canon EOS R5 ใช้เซนเซอร์ฟูลเฟรม 45 ล้านพิกเซล โดยเป็นเซนเซอร์ที่ Canon ออกแบบเอง พร้อมหน่วยประมวลผล DIGIC X เหมือนกับ EOS 1D X Mark III ทำให้ตัวกล้องสามารถอ่านค่าและประมวลผลภาพได้เร็วมากขึ้น, ISO 100-51,200 ขยายได้สูงสุด 102,400, ถ่ายรัวได้สูงสุด 20 ภาพต่อวินาทีในโหมดโฟกัสต่อเนื่องพร้อมใช้ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ หรือสูงสุด 12 ภาพต่อวินาทีในโหมดชัตเตอร์กลไก และนอกจาก RAW และ JPEG แล้ว EOS R5 สามารถถ่ายภาพฟอร์แมต 10-bit HEIF ได้ด้วย
ไฮไลต์ของ EOS R5 คือมาพร้อมระบบกันสั่นแบบในตัวกล้อง สามารถลดการสั่นไหวได้สูงสุดถึง 8 สต็อปเมื่อใช้กับเลนส์ RF บางตัว, ระบบโฟกัส Dual Pixel CMOS AF เจเนอเรชั่นที่สอง ครอบคลุมพื้นที่โฟกัส 100% พร้อมมีจุดให้เลือกโฟกัสถึง 1,053 จุด และ deep-learning ในระบบออโต้โฟกัสทำให้ติดตามทั้งคนและสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนสเปคด้านวิดีโอ Canon ระบุว่าตัว EOS R5 สามารถถ่ายวิดีโอได้สูงสุด 8K ที่ 30 เฟรมต่อวินาที นานสุด 30 นาที มีฟอร์แมตเอาท์พุตให้เลือกทั้ง RAW และ H.265 หรือจะถ่ายเป็น 4K ก็รองรับได้สูงสุดถึง 120 เฟรมต่อวินาที
ช่องมองภาพของ EOS R5 เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ OLED 5.76 ล้านจุด กำลังขยาย 0.76 เท่า พร้อมหน้าจอแอลซีดีหลังกล้องรองรับการสัมผัสขนาด 3.2 นิ้ว 2.1 ล้านจุด, มีจอยสติ๊กพร้อมปุ่ม AF-On, พอร์ตเชื่อมต่อมี USB-C ความเร็วระดับ USB 3.1 Gen 2 พร้อมช่องเสียบ CFexpress และ SD card, มี Wi-Fi dual-band 2.4GHz และ 5GHz ในตัว พร้อมทั้ง Bluetooth รองรับการถ่ายโอนภาพผ่าน FTP/SFTP
ส่วนตัวกล้อง Canon ใช้โครงสร้างที่แข็งแรงลักษณะเดียวกับ EOS 5D Mark IV คือทนทานและมีการซีลกันสภาพอากาศ ส่วนแบตเตอรี่ถ่ายภาพได้นานสุด 320 ภาพต่อการชาร์จหนึ่งครั้งเมื่อใช้ LCD และ 220 ภาพต่อการชาร์จหนึ่งครั้งเมื่อใช้ช่องมองภาพที่ความถี่ 120 เฟรมต่อวินาที (แต่ถ้าปรับความถี่ลงเหลือ 60 เฟรมต่อวินาทีจะยืดได้สูงสุด 330 ภาพ)
Canon จะเริ่มวางจำหน่าย EOS R5 ในปลายเดือนกรกฎาคมนี้ โดยราคาบอดี้อย่างเดียวอยู่ที่ 3,899 ดอลลาร์หรือราว 122,000 บาท และบอดี้พร้อมเลนส์ RF 24-105mm F4L อยู่ที่ 4,999 ดอลลาร์หรือราว 156,000 บาท
ที่มา - dpreview, อีเมล PR |
# Lenovo Legion Phone สมาร์ทโฟนเกมมิ่งตัวแรกเตรียมเปิดตัว 22 กรกฎาคมนี้
Lenovo เตรียมเปิดตัว Legion Phone สมาร์ทโฟนเกมมิ่งเครื่องแรกของแบรนด์ในวันที่ 22 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ (วันเดียวกับ Asus ROG Phone 3) ในเวลา 19:30น. ตามเวลาท้องถิ่นของกรุงปักกิ่ง ทั้งสองรุ่นจะมาพร้อมชิป Snapdragon 865+ ตัวใหม่ล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวไป
เบื้องต้นคาดว่า Lenovo Legion Phone จะมีหน้าจอความละเอียด Full HD+ อัตรารีเฟรซ 144Hz พร้อมค่า Touch Sample Rate สูงถึง 270Hz, แรม 16GB, ชิปหน่วยความจำแบบ UFS 3.1 ขนาด 512GB นอกจากนี้ยังจะออกแบบ UI ให้เหมาะกับการใช้งานในแนวนอน รองรับ Wi-Fi 6E, Bluetooth 5.2 อีกด้วย
ที่มา - GSMArena |
# [ลือ] Google ยกเลิกโปรเจ็คที่ให้จะบริการคลาวด์ในจีนผ่านพาร์ทเนอร์
ปี 2018 มีข่าวลือจากคนวงใน Google ว่าบริษัทกำลังมองหาพาร์ทเนอร์ท้องถิ่นเพื่อให้บริการคลาวด์ในจีน ล่าสุด Bloomberg รายงานอ้างอิงคนวงในอีกครั้งว่า Google พับโครงการนี้ไปเรียบร้อยแล้ว
โปรเจ็คนี้มีชื่อภายในว่า Isolated Region จุดประสงค์เพื่อให้บริการต่าง ๆ บนคลาวด์ในจีนที่แยกเป็นเอกเทศจากบริการของ Google ทั้งหมด ทว่า Google ตัดสินใจจะพักโปรเจ็คนี้ไปในราวต้นปี 2019 จากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐและจีน Google เลยหันไปโฟกัสกับบริการในยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกาแทน ก่อนที่จะพับโครงการไปเลยเมื่อพฤษภาคมที่ผ่านมา และ Google เองก็ลดความสนใจที่จะให้บริการคลาวด์ในจีนลงไปพร้อม ๆ กัน
ด้านโฆษก Google ระบุว่า Isolated Region ไม่ได้ถูกพับโครงการไปด้วยเหตุผลด้านการเมืองหรือโรคระบาด แต่เป็นเพราะ Google พบว่าช่องทางการขยายบริการช่องทางอื่นให้ผลตอบรับที่ดีกว่า
ที่มา - Bloomberg |
# LINE ประเทศไทย ร่วมกับ Tellscore เปิดตัวแพลตฟอร์มสื่อกลางระหว่างแบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์
LINE ประเทศไทยร่วมกับ Tellscore เอเจนซี่สำหรับอินฟลูเอนเซอร์ในประเทศไทย เปิดตัว Influencer Commerce หรือแพลตฟอร์มการตลาดใหม่ เป็นสื่อกลางให้แบรนด์เจออินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะกับแบรนด์ตัวเอง ซึ่งจะให้บริการภายใต้ LINE IDOL ที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้
LINE IDOL คือช่องทางสื่อสารของดารา ศิลปิน และอินฟลูเอนเซอร์ ได้ใกล้ชิดกับแฟนคลับมากขึ้นด้วยการ Add Friend ผ่าน LINE Official Account ซึ่งจากการร่วมมือกับ Tellscore จะสามารถขยายขอบเขตของ LINE IDOL ให้ครอบคลุมอินฟลูเอนเซอร์ที่หลากหลายยิ่งขึ้นและจำนวนมากขึ้น ตั้งแต่คนดังที่มี ผู้ติดตาม 100,000 คนขึ้นไป จนถึงระดับเฉพาะกลุ่มที่มีผู้ติดตาม 500 คนขึ้นไป
ส่วน Tellscore คือแพลตฟอร์ม Influencer Marketing Automation Platform เชื่อมต่อนักการตลาดเข้ากับเหล่า Influencer และบล็อกเกอร์บนโซเชียลมีเดีย โดยใช้เทคโนโลยี AI/ML เป็นเครื่องมือช่วยแนะนำคนที่มีความถนัดแต่ละด้านให้ตรงตามความต้องการของนักการตลาด
กล่าวคือ Influencer Commerce จะเข้ามาเป็นส่วนเสริมให้ LINE สามารถเป็นแหล่งอีคอมเมิร์ซเต็มรูปแบบ และเป็นแหล่งเฟ้นหาอินฟลูเอนเซอร์ที่ใช่สำหรับแบรนด์ด้วย ตัวอย่างสถานการณ์คือ ดูรีวิวของอินฟลูเอนเซอร์ผ่าน LINE IDOL จากนั้นก็ช้อปปิ้งของจากแบรนด์นั้นผ่าน MyShop หน้าร้านค้าบน LINE
นายณธกฤต กาญจนมัณฑนา หัวหน้าฝ่ายการพาณิชย์ธุรกิจคอนเทนต์และสื่อ LINE ประเทศไทย กล่าวว่า ในประเทศไทย การตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer Marketing) ยังคงเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพและเติบโตอย่างต่อเนื่อง และ LINE เองก็มีฐานผู้ใช้งานถึง 46 ล้านราย และมี ecosystem ที่เป็นอีคอมเมิร์ซอยู่แล้วอย่าง MyShop จึงมองเห็นทางพัฒนาต่อยอดได้
ด้านนางสาวสุวิตา จรัญวงศ์ ประธานกรรมการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Tellscore กล่าวว่า เทรนด์ผู้บริโภคเปลี่ยนไปมาก คนส่วนใหญ่ก่อนจะตัดสินใจซื้อของจะต้องอ่านรีวิวสินค้าก่อน ความร่วมมือระหว่าง LINE และ Tellscore จึงเป็นการผสานจุดแข็งของ LINE ด้านแพลตฟอร์มที่มี Ecosystem สมบูรณ์แบบและมีผู้ใช้งานจำนวนมาก กับความเชี่ยวชาญด้านการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ของ Tellscore เพื่อให้อินฟลูเอนเซอร์ไทยสามารถนำเสนอคอนเทนต์ที่มีคุณภาพของตนให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ที่มา - ข่าวประชาสัมพันธ์ |
# Loon เริ่มให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านบอลลูนเชิงพาณิชย์ในเคนย่าเป็นที่แรก
หลังประกาศมาตั้งแต่ปี 2018 Loon บริษัทภายใต้ Alphabet ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านบอลลูนเริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์ในเคนยาเป็นที่แรกแล้ว หลังทดสอบให้บริการมาระยะหนึ่ง
Loon จะกระจายสัญญาณ LTE ผ่านความร่วมมือกับ Telkom Kenya ผู้ให้บริการท้องถิ่นด้วยบอลลูนไม่ต่ำกว่า 35 ลูก ที่ความสูงราว 20 กิโลเมตร กินพื้นที่ราว 50,000 ตารางกิโลเมตรในพื้นที่ตอนกลางและตะวันตกของประเทศ ขณะที่ความเร็วของสัญญาณจากการทดสอบเมื่อเดือนที่แล้ว ความเร็วขาอัพลิงก์อยู่ที่ราว 4.74 Mbps ดาวน์ลิงก์ 18.9 Mbps ความหน่วง 19ms รวมถึงถูกทดสอบรูปแบบการใช้งานมาหมดแล้วทั้งโทรด้วยเสียง วิดีโอคอล อีเมล เข้าเว็บหรือกระทั่งดู YouTube
เป้าหมายของ Loon ไม่ได้ต้องการจะเข้ามาแทนที่โครงข่ายเสาสัญญาณบนดินหรือดาวเทียม แต่เป็นทางเลือกที่ 3 เพื่อให้คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น
ที่มา - Medium |
# AIS Play ออกแอพบน Apple TV และ Samsung Smart TV
AIS ประกาศออกแอพบนแพลตฟอร์มสมาร์ททีวี 2 ค่ายคือกล่อง Apple TV และสมาร์ททีวี Samsung Smart TV รุ่นปี 2017 ขึ้นไป เพื่อให้ผู้ใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้เข้าถึงคอนเทนต์วิดีโอของ AIS ได้
แอพสามารถดาวน์โหลดได้แล้วบน App Store และ Samsung App Store โดยต้องล็อกอินด้วยหมายเลขโทรศัพท์ (ได้ทุกเครือข่าย ไม่จำกัดแค่ AIS) และรับรหัสผ่าน OTP ทาง SMS
ที่มา - AIS |
# รีวิว The Last of Us 2: เกม (เกือบ) ดีที่ก้าวไม่พ้นกำแพงของภาคแรก (minor spoiler)
นอกจาก Death Stranding ก็น่าจะมี The Last of Us 2 นี่แหละที่เป็นเกมที่มีคนคาดหวังเอาไว้สูงและรอคอย แต่กลายเป็นว่ามันก่อให้เกิดความขัดแย้งในแง่ของความเห็นต่อตัวเกมระหว่างผู้เล่น ไปจนถึงระหว่างผู้เล่นและนักวิจารณ์ค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ตามส่วนตัวผมกลับค่อนไปทางชอบมากกว่าไม่ชอบ และมองว่า The Last of Us 2 ในภาพรวมเป็นเกมที่ค่อนข้างดี มีความ “ทะเยอทะยาน” ทั้งในด้านเกมเพลย์ เนื้อเรื่อง การนำเสนอ แต่ด้วยความทะเยอทะยานดังกล่าว กลับนำมาสู่ปัญหามากมาย ทั้งช่องโหว่ในแง่ของบท ในแง่มิติตัวละคร และปัญหาด้านการเล่าเรื่อง ซึ่งปัญหาทั้งหมดจะยิ่งทวีคูณความไม่เมกเซนส์ เมื่อเทียบกับความสมบูรณ์แบบที่ภาคแรกทำเอาไว้
หมายเหตุ มี minor spoiler เรื่องเกมเพลย์และฉากบางฉากเล็กน้อย แต่ไม่มีการพูดถึงเนื้อเรื่องของเกมภาคนี้
เกมเพลย์ที่ก้าวข้ามภาคแรก
เมื่อเป็นเกมภาคต่อ ก็ไม่น่าแปลกใจถ้าเกมเพลย์จะมีการปรับปรุงให้แตกต่างหรือดีขึ้นจากภาคแรก เกมเพลย์ในภาคนี้จะไม่แตกต่างจากภาคแรกมากนัก ทั้งการสเตลท์ การลอบฆ่า การเก็บชิ้นส่วนต่าง ๆ ตามฉากเพื่อมาประกอบเป็นอาวุธหรือของใช้
จุดที่ภาคนี้ปรับปรุงมากขึ้นคือฉากที่มีความใหญ่และกว้างมากขึ้นในหลาย ๆ ฉาก แต่ก็มีข้อเสียคือกลับทำให้รู้สึกการฟาร์มของยืดเยื้อ เสียเวลาและเหนื่อยอย่างไม่จำเป็นไปพอสมควร
เกมเพลย์ด้านแอคชันก็มีเพิ่มเข้ามาให้เราสามารถกะจังหวะและหลบการโจมตีของซอมบี้หรือคน ซึ่งดูเหมือนจะทำให้เล่นง่ายขึ้น เวลาต้องประจันหน้ากันตรง ๆ แต่ AI ของซอมบี้หรือคนก็ดูเก่งขึ้น ยากขึ้นในการรับมือ ที่ชัดที่สุดคือตัว Stalker (ผู้ติดเชื้อระดับ 2) ที่ฉลาดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ได้พุ่งเข้ามาโจมตีผู้เล่นทันที แต่จะซุ่ม เมื่อผู้เล่นหันหน้ามาเจอก็จะซ่อน วิ่งหนีไปซุ่มก่อนหาจังหวะโจมตีเข้ามาพร้อมกัน เพิ่มความยากและกดดันในการเล่นมากกว่าเดิมอยู่ไม่น้อย
เอนจินในภาคนี้ทาง Naughty Dogs ปรับปรุงให้ดีขึ้นมาก ไม่ใช่แค่เรื่องภาพ แสงแต่เป็นระบบฟิสิกส์โดยเฉพาะเชือกที่มีความเป็นธรรมชาติและเหมือนจริงมาก ไม่ว่าจะเวลาดึงเชือก โยน ห้อยหรือแม้แต่แรงหน่วงของตัวละครเวลาดึงเชือกจนสุดแล้วตัวกระตุก ไปจนถึงการสร้างรอยเท้าสร้างรอยกดบนหิมะที่ค่อนข้างสมจริง ทำให้คิดว่าเอนจินน่าจะดึงศักยภาพด้านฮาร์ดแวร์ของ PlayStation 4 ออกมาสุด ๆ แล้ว
นอกจากความเหนื่อยในการไล่หาของจากความกว้างของแผนที่และ AI ที่เก่งขึ้นโหดขึ้นแล้ว สิ่งที่ผมรู้สึกว่าเกมนี้ใช้พลังมากกว่าเดิมในการเล่นคือความดาร์ก ความกดดันจากทั้งเนื้อเรื่องในหลาย ๆ ส่วน และเสียงโหยหวน เสียงกรีดร้องของคนที่เราลั่นไกใส่ (กรณีที่ไม่ใช่เฮ้ดช็อต) ก่อนจะสิ้นใจ ผมรู้สึกมันมีความสมจริงและน่าหดหู่อยู่ไม่น้อย
ถึงกระนั้นผมก็ยังสนุกกับการฆ่าคน (มากกว่าซอมบี้) อยู่ดี โดยเฉพาะเวลาที่คนอยู่ใกล้ ๆ กันแล้วโยนระเบิดแสวงเครื่องเข้าไปกลางวง จนทำให้ผมคิดว่าเนื้อเรื่องของเกมมีความย้อนแย้งกับแมคคานิคอยู่ไม่น้อย เพราะด้วยแมคคานิคของเกมที่ทำให้เราต้องฆ่า และไม่รู้สึกรู้สาอะไรในการฆ่าคน แต่ขณะเดียวกันเกมกลับพยายามนำเสนอประเด็นให้เรารู้สึกผิดต่อการกระทำของตัวละครไปพร้อม ๆ กัน ไม่เหมือนในภาคแรกที่เนื้อหาของเกมพยายามนำเสนอว่า Joel ต้องฆ่าเพื่อความอยู่รอด และไม่ได้มีความรู้สึกผิดต่อการฆ่านั้นเลย
ธีมทางสองแพร่งทางศีลธรรมกับการตั้งคำถามถึงการกระทำของตัวละคร
ปฏิเสธไม่ได้ว่า The Last of Us ที่ออกในปี 2013 ได้ขึ้นไปสู่จุดสูงสุดของวงการเกมในปีนั้น ไม่ใช่แค่จากเกมเพลย์ที่แปลกใหม่ด้วยแนวสเตลท์เอาตัวรอด แต่มาจากบท จังหวะการเล่าเรื่องและการสร้างคาแรคเตอร์ตัวละคร ที่ทำให้ The Last of Us เป็นเหมือนหนังเรื่องหนึ่ง ทำให้เราเห็นพัฒนาการของตัวละครทั้ง Joel และ Ellie ได้สัมผัสความสัมพันธ์ของทั้งสองคนที่ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นระหว่างทาง มีซีนที่ดึงอารมณ์คนเล่นให้ดาวน์ไปกับตัวละคร แล้วพาขึ้นมาด้วยซีนฟีลกู้ดที่ได้รับคำชมอย่างมาก อย่างซีนยีราฟช่วงท้ายเกม ก่อนที่เกมจะขมวดปมด้วยตอนจบที่กลายเป็นที่ถกเถียงอย่างมากในช่วงนั้นถึงการตัดสินใจของ Joel
ผมรู้สึกว่าการปูเรื่องและตัวละครมาทั้งหมดของภาคแรก ก่อนมาขมวดปมในตอนจบ ก็เพื่อต้องการนำเสนอประเด็นทางสองแพร่งทางศีลธรรม (Moral Dilemma) ของตัวละคร ตัวเกมอาจจะทำให้ผู้เล่นมีความคิดมีความรู้สึกเดียวกับ Joel มาตลอดทั้งเกม แต่พอมาตอนจบ เราอาจจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการกระทำของ Joel ก็ได้ แต่อย่างน้อยเราน่าจะ “เข้าใจ” การตัดสินใจของ Joel จากการที่เกมปูมาทั้งเรื่อง
ในภาค 2 ผมรู้สึกว่า Neil Druckmann ผู้กำกับและผู้เขียนบทต้องการเล่นประเด็นทางสองแพร่งนี้ให้มากยิ่งขึ้น และเล่นกับอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของคนเล่นมากยิ่งขึ้น ผมเลยไม่ได้มองว่าเกมนี้เป็นเกมล้างแค้นตื้น ๆ แต่สิ่งที่ตัวเกมต้องการนำเสนอคือโลกดิสโทเปียใน The Last of Us มันเป็นโลกกึ่ง ๆ war of all against all หรือ survival of the fittest ดังนั้นสิ่งที่แต่ละตัวละครทำก็เพื่อความอยู่รอดของตัวเองและพวกพ้อง และแน่นอนว่ามันมีผลกระทบตามมาไม่มากก็น้อย
ที่บอกว่าภาคนี้ขยี้ประเด็นทางสองแพร่งมากขึ้น เพราะผมรู้สึกว่าภาคแรก ตัวเกมนำเสนอผ่านมุมมองของ Joel อย่างเดียว ทำให้แม้เราอาจจะไม่เห็นด้วยในเชิงเหตุผล เราอาจจะตั้งคำถามกับสิ่งที่ Joel ทำ แต่ในเชิงอารมณ์ผมเชื่อว่าการดำเนินเรื่อง ทำให้เราเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ (sympathy) หรือเอาใจช่วย Joel ในฐานะพระเอกที่เราเล่นมาสิบยี่สิบชั่วโมง
ขณะที่ภาคนี้นำเสนอมุมตรงข้าม ซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรงจากการตัดสินใจของ Joel ในภาคแรก ว่าสิ่งที่ Joel ทำมันไม่ต่างจากคนเลวร้ายคนหนึ่ง แพทย์ Fireflies ในห้องผ่าตัดที่ถูก Joel ฆ่าในท้ายภาคแรก เขาก็เป็นพ่อคน มีครอบครัว มีคนรัก มีชีวิตจิตใจ มีความหวังดีว่าอยากช่วยมนุษยชาติ หรือกรณี Marlene หญิงสาวผิวดำที่ Joel ฆ่าทิ้งอย่างเลือดเย็นในภาคแรกทั้งที่เธออ้อนวอนขอชีวิต ก็ถูกนำเสนออีกมุมในภาคนี้ว่าตัวเธอก็ไม่ได้อยากฆ่า Ellie แต่สุดท้ายเธอยอมเลือก the greater good เหนืออารมณ์ส่วนตัว
ด้วยการกระทำข้างต้นของ Joel หากเป็นตัวละครอื่น เราอาจจะรู้สึกว่าคนที่สร้างความฉิบหายให้มนุษยชาติและฆ่าคนอื่นอย่างเลือดเย็นแบบนี้ มันน่าถูกลงโทษ น่าฆ่าทิ้ง แต่พอเป็นตัวเอกอย่าง Joel มันทำให้เราตั้งคำถามผ่านมุมมอง Fireflies ว่า Joel ที่เราเห็นใจและเอาใจช่วย จะยังคงถูกต้อง จะยังเป็นคนดีอยู่หรือไม่ (ประโยค “if this was your daughter, what would you do” ของ Marlene ที่พูดกับแพทย์ที่เลือกจะผ่าตัด Ellie นี่แอบสะเทือนอารมณ์ผมเหมือนกัน เมื่อคิดถึงสิ่งที่ Joel ทำกับเธอ)
นอกจากประเด็นของ Joel ตัวเกมยังพาเราไปสำรวจมุมทางสองแพร่งผ่านตัวร้าย (?) ของเรื่องอย่าง Abby ที่บทในช่วงแรก ปูมาให้เป็นตัวร้ายสุด ๆ ทำให้ผู้เล่นรู้สึกโกรธและเกลียดเธอ ก่อนที่เกมจะค่อย ๆ นำเสนออีกมุมของ Abby เช่นกันว่าการกระทำทุกอย่างของเธอมันก็มีเหตุมีผลรองรับในมุมของ Abby เช่นเดียวกับที่ Joel มีเหตุผลของตัวเอง (แต่เหตุผลนั้นเมกเซนส์แค่ไหน ผู้เล่นตีความเอาเอง) ขณะเดียวกันก็นำเสนอเนื้อเรื่องที่เป็นด้านกลับว่าเธอไม่ใช่คนเลวร้าย เลือดเย็นอย่างที่เกมทำให้เราคิดตอนแรก
มันทำให้ผมมองในมุมกลับว่า ถ้าตัวเอกเป็น Abby เราจะเห็นใจเข้าใจสิ่งที่ Abby ทำ (แบบที่เราเข้าใจเห็นใจ Joel ในท้ายภาคแรก) และจะรังเกียจเดียดฉันท์ Joel ในฐานะคนชั่วคนหนึ่งแค่ไหน เหมือนที่เรารังเกียจ David ที่ลักพาตัว Ellie ในท้ายภาคแรกและสะใจกับการตายของ David หรือไม่ แค่ไหน อย่างไร เป็นการสะท้อนภาพความเทา ๆ ของตัวละคร สิ่งที่ตัวละครทำลงไปมันไม่ได้มีแค่ขาวหรือดำ มันมีด้านกลับ มันมีผลกระทบ และทำไปด้วยความเป็นมนุษย์ล้วน ๆ
ที่สำคัญคือภาคนี้เล่นกับความรู้สึกคนเล่น ไม่ใช่แค่การนำเสนอ 2 มุมมองของตัวละครและผลของการกระทำดังที่กล่าวไปข้างต้น แต่ตรงที่ เราจะเป็นยังไง จะรู้สึกยังไง ถ้าได้เล่นเป็นตัวละครที่ถูกวางไว้ให้เป็นตัวร้ายในตอนต้นอย่าง Abby ซึ่งผมว่าตรงนี้ค่อนข้างท้าทายมาก ๆ เพราะเหมือนเป็นการบีบบังคับอารมณ์ความรู้สึกของผู้เล่นอยู่ไม่น้อย ทำให้ผมพอเข้าใจได้ว่าทำไมหลาย ๆ คนถึงเกลียดเกมนี้ อาจเพราะรู้สึกเหมือนถูกยัดเยียดว่า จริง ๆ Abby ไม่ใช่คนเลวร้ายนะ ดูสิ รู้จักเธอสิ (โว้ยยย) แต่คนเล่นเกลียดและอคติ Abby ไปตั้งแต่ต้นแล้ว
ตอนแรกผมก็แอบรู้สึก อิหยังวะ ไม่อยากเล่น Abby อยู่เหมือนกัน แต่ก็พยายามทำความเข้าใจสิ่งที่เกมและผู้กำกับต้องการนำเสนอ ก่อนจะกลายเป็นว่าผมกลับชอบ การนำเสนอประเด็นทางสองแพร่ง หรือนำเสนอมุมมอง 2 มุมต่อเหตุการณ์เดียวกันของเกมนี้กลับกลายเป็นพาร์ทที่ผมค่อนข้างชอบ โดยเฉพาะตอนท้ายพาร์ท Abby ไปเสียอย่างนั้น มันทำให้ผมรู้สึกเอาใจช่วยตัวละครนี้กับเพื่อน ๆ อยู่ไม่น้อย ไปจนถึงรู้สึกแย่กับการกระทำของ Ellie ไปเลยด้วยซ้ำ
ความทะเยอทะยานของเนื้อเรื่องที่สะดุดขาตัวเอง
แม้ผมจะค่อนข้างชอบภาพใหญ่และประเด็นที่เกมนี้ต้องการจะนำเสนอ แต่ในรายละเอียดแล้วมันก็มีปัญหาและส่วนที่ผมไม่โอเคอยู่หลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะโครงสร้างและลำดับการเล่าเรื่องที่ไม่ดี น่าหงุดหงิด สลับไปมาจนสาส์นที่จะสื่อมันไม่อิมแพ็ค และการยัดเยียดบทจนรู้สึกว่าเสียคาแรคเตอร์ของตัวละครที่เคยสร้างมา
อย่างที่กล่าวไปว่าตัวเกมนำเสนอมุมมองและเนื้อเรื่อง 2 ฝั่งคือ Ellie และ Abby ขณะเดียวกันการเล่าเรื่องของแต่ละตัวละครกลับไม่ได้เล่าเป็นเส้นตรง ค่อย ๆ ปู ค่อย ๆ หาเหตุให้ตัวละครและนำไปสู่ผลในท้ายที่สุดแบบภาคแรก แต่เล่าแบบกลับหัวคือให้เห็นผลก่อน แล้วค่อย ๆ เล่าเหตุหรือปูมหลังของตัวละครย้อนหลังผ่านแฟลชแบ็ค แถมมีแฟลชแบ็คของแฟลขแบ็คเพื่อท้าวความเข้าไปอีก ซึ่งตรงนี้เองที่ส่วนตัวคิดว่าทำให้ลำดับการเล่าเรื่องและปูประเด็นเพื่อนำไปสู่อีกประเด็น (narrative build-up) ของเกมภาคนี้มีปัญหา ทำให้เมสเสจหลาย ๆ อย่างที่ตัวเกมต้องการจะสื่อ ไม่ทรงพลัง ไม่อิมแพคและรู้สึกผิดที่ผิดทาง
เข้าใจได้ว่าแฟลชแบ็คก็เพื่อทำให้เราเข้าใจปูมหลังของตัวละคร ที่มาที่ไปต่าง ๆ อย่างในพาร์ท Abby วิธีนี้คิดว่าค่อนข้างโอเค เข้าใจและเข้าถึงปูมหลัง แต่ปัญหาการแฟลชแบ็คบางฉากในพาร์ท Abby มันกลับทำให้เราไม่ได้ลุ้นไปกับการคาบเกี่ยวความเป็นความตายของตัวละครเท่าไหร่นัก เพราะเรารู้แล้วว่า Abby มันไม่ตายและอยู่รอดมาถึงปัจจุบัน
การแฟลชแบ็คของฝั่ง Ellie ก็รู้สึกมีปัญหาเช่นกัน คือหากนับเฉพาะตัวฉากแฟลชแบ็ค (per se) ในครึ่งพาร์ทแรกของเกมที่ย้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง Ellie กับ Joel ส่วนนั้นค่อนข้างดี โดยเฉพาะฉากในพิพิธภัณฑ์ ที่หากพิจารณาเฉพาะฉาก ไม่สนบริบทประกอบ ฉากนี้ผมชอบในความฟีลกู้ดมากกว่าฉากยีราฟในภาคแรกด้วยซ้ำ (แต่ถ้ามองเรื่องลำดับการเล่าเรื่อง การเล่นกับอารมณ์ผมก็ยังชอบฉากยีราฟมากกว่าอยู่) แต่เมื่อมองในภาพรวมรู้สึกว่าเนื้อหาของเกมและอารมณ์ที่เราจะอินกับตัวละครน่าจะมีพลังมากกว่านี้ ถ้าลำดับการเล่าเรื่องไม่เป็นแบบนี้ (ถ้าให้เสนอว่าควรเล่าเรื่องแบบไหน ผมก็นึกไม่ออกเหมือนกัน เพราะตัวบทมันมายากและท้าทายตั้งแต่แรก ทำให้ลำดับการเล่าเรื่อง หากจะทำให้ดีมันยากตามไปด้วย)
นอกจากการเล่าเรื่อง อีกปัญหาใหญ่ของตัวเกมภาคนี้คือคาแรกเตอร์ของตัวละครหลักอย่าง Joel และ Ellie ที่ผิดเพี้ยนไปจากที่ถูกสร้างเอาไว้ในภาคแรกและ DLC (out-of-character) อย่างเช่น Joel ที่เปิดเผยชื่อกับคนแปลกหน้าดื้อ ๆ ทั้งที่ในภาคแรก Joel เป็นคนระแวดระวัง ไม่ไว้ใจหน้าไหนทั้งนั้น หรือกรณี Ellie ในตอนท้ายที่หน้ามืดตามัวทิ้ง Dina โดยน้ำหนักของเหตุผลค่อนข้างอ่อน ขณะที่ใน DLC Left Behind คาแรคเตอร์ของ Ellie คือรักและไม่ทิ้งเพื่อน (หรือคนรัก?) ของตัวเอง
ฉากที่ Ellie ทิ้ง Dina ประกอบกับเนื้อหาในองก์สุดท้ายของเกมคือคือไคลแม็กซ์ของความไม่สมเหตุสมผลของทั้งบทและคาแรคเตอร์ตัวละครที่สร้างมาทั้งหมด กล่าวคือ Ellie และ Tommy ที่มีบทสนทนาเหมือนจะยอมปล่อยวางแล้ว ไม่เอาแล้ว (ไม่รวมการถูกซ้อมจนน่วม, ถูกปล่อยให้มีชีวิตรอดถึง 2 ครั้ง 2 ครา แถมด้วยการอ้อนวอนของ Dina) แรงขับเคลื่อนของ Ellie ตอนท้ายจึงให้ความรู้สึกว่ายัดเยียดเอามาก ๆ โดยเฉพาะฉากแฟลชแบ็คสุดท้ายตอนจบที่สับขาหลอกคนเล่น มันยิ่งตอกย้ำความไร้เหตุผลในแรงขับเคลื่อนของ Ellie ในองก์สุดท้ายยิ่งขึ้นไปอีก
กล่าวสั้น ๆ คือเหมือน Druckmann พยายามยัดเยียดให้ 2 ตัวละครนี้เป็นไปตามบทที่ตัวเองเขียนไว้ โดยไม่ได้ใส่ใจในรายละเอียดถึงคาแรคเตอร์ของตัวละครที่สร้างเอาไว้ หรืออย่างน้อย ๆ ก็ควรจะมีเหตุผลคำอธิบายที่เมกเซนส์มากกว่านี้
สุดท้ายประเด็นที่ผมรู้สึกติดใจ (แต่ไม่ได้มีการตัดสินว่าชอบหรือไม่ชอบประเด็นนี้) คือการเล่นกับ Identity Politics ของเกมนี้ที่มากเกินไปแบบผิดที่ผิดทาง กล่าวคือ Druckmann พยายามขายความหลากหลายทางเพศ ให้ผู้หญิงเป็นตัวเอกของเรื่อง มีตัวละครที่เป็น LGBT แต่การนำเสนอหรือชูความหลากหลายที่นำโดยผู้หญิงของ Druckmann ผมรู้สึกว่ามันยังยึดติดอยู่ภายใต้กรอบวิธีคิดแบบชายเป็นใหญ่อยู่ เช่น นำเสนอผู้หญิงให้มีความ macho ในแบบผู้ชายผ่านการใช้ความรุนแรง หรือกระทั่งร่างกายของ Abby ที่มีกล้ามเป็นมัด ๆ ไม่มีนม และฆ่าคนง่าย ๆ ด้วยการใช้กล้ามรัดคอ หรือการ stereotype ผู้หญิงว่าเป็นเพศที่ขับเคลื่อนด้วยอารมณ์เหนือเหตุผล อย่างในฉากที่ Dina รู้ความจริงว่า Ellie มีภูมิคุ้มกันแล้ว เธอกลับแสดงอาการนอยด์ไปเลย เป็นต้น
สรุปคือ The Last of Us 2 สำหรับผมเป็นเกมที่เกือบดี จากความสนุกของเกมเพลย์และความน่าสนใจในเนื้อหาที่ Druckmann จะพยายามสื่อ แต่ลำดับการเล่าเรื่อง การปูบทที่ไม่ดี การทำลายคาแรคเตอร์ตัวละคร และความย้อนแย้ง มันกลับทำลายและกลบสิ่งที่ตัวเกมพยายามจะสื่อไปจนหมด โดยเฉพาะเมื่อถูกนำเปรียบเทียบกับภาคแรกที่ทำเอาไว้ดีมาก ๆ และมีคนคาดหวังกับเกมนี้สูง เมื่อมันไปไม่ถึง ก็ไม่แปลกที่แรงสะท้อนกลับมันจะแรง หากถามว่าควรเล่นเกมนี้ไหม ถ้าคุณเคยเล่นภาคแรกมาก่อน ผมแนะนำให้เล่นและตัดสินด้วยตัวคุณเองครับว่าสุดท้ายแล้วเกมนี้ดีหรือไม่ดี |
# กูเกิลสร้างองค์กรควบคุมการใช้ชื่อและโลโก้โครงการโอเพนซอร์สของตัวเอง ส่ง Istio, Angular, Gerrit เข้าร่วม
กูเกิลสร้างกรรมการ Open Usage Commons (OUC) สำหรับควบคุมการใช้ชื่อและโลโก้ของโครงการโอเพนซอร์สของตัวเอง โดยส่งโครงการโอเพนซอร์สเข้าร่วม ได้แก่ Istio, Gerrit, และ Angular
แม้ว่าโครงการเหล่านี้จะเป็นโอเพนซอร์สทำให้ใช้โค้ดได้อิสระ แต่ตัวเครื่องหมายการค้าอย่างชื่อโครงการและโลโก้นั้นเป็นทรัพย์สินของกูเกิลโดยตรงที่อาจจะบังคับการใช้งานอย่างไรก็ได้ OUC จะกำหนดแนวทางการใช้งานตลอดจนการทดสอบความเข้ากันได้กับโครงการที่ต่อยอดไปจากโครงการหลัก แนวทางแบบนี้คล้ายกับแอนดรอยด์ที่กูเกิลควบคุมผู้ผลิตโทรศัพท์ที่จะระบุว่าเป็นโทรศัพท์แอนดรอยด์ได้ต่อเมื่อผ่านการทดสอบจากกูเกิลเท่านั้น โดย OUC ควบคุมโดยกรรมการที่กูเกิลตั้งขึ้น เริ่มต้นมีกรรมการ 6 คน
ไอบีเอ็มที่ร่วมโครงการ Istio แต่ต้นแสดงความไม่เห็นด้วยกับการตั้ง OUC ครั้งนี้โดยระบุว่ากระบวนการไม่เปิดกว้างต่อภายนอกมากพอ และกูเกิลเคยตกลงว่าจะส่ง Istio เข้า CNCF เมื่อโครงการพร้อม ทำให้ไอบีเอ็มเรียกร้องให้กูเกิลทำตามสัญญาเดิม
ที่มา - Open Usage Commons, Istio, IBM |
# The Sims กำลังจะมีรายการแข่งขันเรียลลิตี้ ชิงเงินรางวัลแสนดอลลาร์
The Sims จะไม่หยุดแค่เพียงโลกในเกมอีกต่อไป เพราะกำลังจะมีรายการเรียลลิตี้ The Sims Spark เฟ้นหาผู้เล่นที่สามารถสร้างตัวละครและเรื่องราวที่เป็นเอกลักษณ์มากที่สุด ชิงเงินรางวัล 1 แสนดอลลาร์
จากวิดีโอตัวอย่างรายการจะเห็นว่ามีกรรมการมีชื่อเสียงอย่าง ยูทูเบอร์ Kelsey Impicciche, Tayla Parx ผู้พากย์เสียงตัวละครเกม และ Dave Miotke โปรดิวเซอร์เกม The Sims
รายการ The Sims Spark เป็นการร่วมสร้างระหว่าง TBS และ Buzzfeed Multiplayer เริ่มออกอากาศ 17 ก.ค. นี้ เป็นจำนวน 4 ตอน
ที่มา - Kotaku |
# Galaxy Note 20 Ultra วิดีโอหลุดอีก ใช้ S-Pen เป็น pointer ได้ กล้องหลังนูนกว่า S20 Ultra
หลังเว็บ Samsung รัสเซีย หลุดภาพ Galaxy Note 20 Ultra คราวนี้ยูทูบเบอร์ Jimmy is Promo ก็ได้ที ปล่อยวิดีโอหลุด Galaxy Note 20 Ultra ที่โชว์ทั้งรหัสเครื่องในการตั้งค่า และรูปลักษณ์ภายนอกมาบ้าง
ในวิดีโอโชว์รหัสเครื่อง SM-N986U ใช้ One UI เวอร์ชั่น 2.5 บน Android 10 ตำแหน่งลำโพงและที่เสียบ S-Pen ด้านล่าง ย้ายจากฝั่งขวาไปซ้าย (เมื่อหงายเครื่อง) เอา S-Pen จาก Note 10 มาเสียบใช้แทนได้ ตัวปากกาใช้เป็น pointer ชี้และคลิกที่ตัวปากกา แทนการสัมผัสหน้าจอโดยตรงได้ กล้องหลังสามกล้อง ยังไม่มีรายละเอียดของเลนส์ทั้งหมด แต่คาดว่ามีเลนส์ซูมแบบ Periscope ขณะที่โมดูลกล้องนูนออกมาเยอะกว่า S20 Ultra พอสมควร ส่วนขนาดโดยรวม ยังคล้ายคลึงกับ Note 10
Galaxy Note 20 Ultra และ Note 20 จะเปิดตัวในอย่างเป็นทางการในงาน Galaxy Unpacked วันที่ 5 สิงหาคม และคาดว่าอาจเปิดตัวพร้อมกับ Galaxy Fold รุ่นใหม่ด้วย
ที่มา - Jimmy is Promo, Youtube |
# Flutter รองรับลินุกซ์แล้ว กูเกิลจับมือ Canonical ให้แจกจ่ายแอพผ่าน Snap Store
กูเกิลประกาศความร่วมมือกับ Canonical พัฒนาให้ Flutter รองรับการสร้างแอพบนลินุกซ์
หลังจากตีตลาดแอพมือถือมาได้พอสมควร ก้าวต่อไปของ Flutter คือการเขียนเว็บและแอพเดสก์ท็อป โดยเริ่มจาก macOS เป็นแพลตฟอร์มเดสก์ท็อปตัวแรก
ทีมงาน Flutter อธิบายกระบวนการซัพพอร์ตแอพเดสก์ท็อป ว่าเริ่มจากปรับเอนจินให้รองรับเมาส์และคีย์บอร์ด รวมถึงการขยายขนาดหน้าต่าง (ซึ่งบนมือถือไม่จำเป็นต้องทำ) จากนั้นจึงเก็บรายละเอียด ปรับคอมโพเนนต์บางตัวให้ UI เหมาะกับเดสก์ท็อป และเชื่อมกับฟีเจอร์หรือสไตล์เฉพาะของ OS
สิ่งที่กูเกิลร่วมมือกับ Canonical คือพัฒนาการแจกจ่ายแอพ Flutter บนลินุกซ์ในแพ็กเกจแบบ Snap ที่ริเริ่มโดย Canonical (แต่สามารถใช้กับดิสโทรอื่นนอกจาก Ubuntu ได้ด้วย) ส่วนตัว Flutter SDK for Linux ก็ออกแพ็กเกจแบบ Snap ที่ดาวน์โหลดได้จาก Snap Store เช่นกัน
ตอนนี้ Flutter for Linux ยังมีสถานะเป็นรุ่นอัลฟ่า โดยกูเกิลจับมือกับผู้พัฒนาแอพสมุดที่อยู่ Flock ที่เขียนด้วย Flutter อยู่แล้ว โชว์การพอร์ตแอพมารันบนลินุกซ์ได้ทันที
ที่มา - Flutter |
# รุ่นเล็กก็ไม่ทิ้ง! Nokia 1 จะได้อัพเดต Android 10 ในเดือนนี้
HMD Global เริ่มปล่อยอัพเดต Android 10 ให้กับ Nokia 1 สมาร์ทโฟนรุ่นเล็กที่เปิดตัวไปเมื่อปี 2018 ในประเทศกลุ่มแรกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นไปตามสัญญาที่โนเกียเคยให้ไว้ว่าจะปล่อยอัพเดตให้กับสมาร์ทโฟนทุกรุ่นเป็นเวลา 2 ปี (แม้ว่าจะเป็นรุ่นเล็กก็ตาม)
อัพเดต Android 10 จะทยอยปล่อยเป็นรอบๆ ผู้ใช้งานทั้งหมดในประเทศกลุ่มแรกจะได้รับอัพเดตภายในวันที่ 12 ที่จะถึงนี้ โดยทาง HMD Global ได้ปล่อยอัพเดตให้กับผู้ใช้ราว 10% ไปแล้วเมื่อวันที่ 7 และจะปล่อยรอบถัดไปให้กับผู้ใช้อีก 50% ภายในวันที่ 10
ประเทศกลุ่มแรกที่จะได้อัพเดตมีดังนี้
ไทย
บังคลาเทศ
กัมพูชา
อินเดีย
อินโดนีเซีย
ลาว
มาเลเซีย
พม่า
เนปาล
ฟิลิปปินส์
สิงคโปร์
ศรีลังกา
เวียดนาม
ที่มา - Nokia Via Android Community |
# AMD จัดโปรแจก Assassin’s Creed: Valhalla เมื่อซื้อ Ryzen 7 หรือ Ryzen 9
AMD จัดโปรโมชันแจกเกม Assassin's Creed: Valhalla เวอร์ชัน Standard ฟรี เมื่อซื้อซีพียู Ryzen 7 3700X, 3800X, 3800XT, Ryzen 9 3950X, 3900X หรือ 3900XT ระหว่างวันที่ 7 - 31 กรกฎาคมนี้ผ่านร้านตัวแทนจำหน่ายในไทย
เมื่อซื้อแล้วให้นำรูปถ่ายใบเสร็จ, รูปสำเนาบัตรประชาชนและรูปกล่องซีพียูที่ติด serial no. ส่งไปที่ LINE @amdredteamth โดยสามารถแลกเกมได้หลังซื้อไม่เกิน 10 วันเท่านั้น
ที่มา - AMD |
# Microsoft Teams ทำฟีเจอร์ Together Mode จำลองห้องประชุมราวกับนั่งอยู่ด้วยกันจริงๆ
ไมโครซอฟท์อัพเดตฟีเจอร์ใหม่ชุดใหญ่ใน Microsoft Teams ที่สำคัญๆ คือ Together Mode เป็นการใช้ AI สร้างร่างอวตารของผู้เข้าร่วมประชุม นำไปไว้ในฉากต่างๆ เช่นฉากห้องสมุด ฉากห้องประชุมใหญ่ ให้รู้สึกราวกับว่าไปนั่งอยู่ในสถานที่นั้นด้วยกันจริงๆ ช่วยให้มองเห็นสีหน้าท่าทางของคนอื่น และดำเนินการประชุมต่อได้ในสภาพแวดล้อมที่มีหลายคนพูดพร้อมกัน ฟีเจอร์นี้จะเริ่มใช้งานได้ในเดือนสิงหาคม
ด้านฟีเจอร์ใหม่อื่นๆ ที่มีการอัพเดตคือ
Dynamic view ผู้ใช้งานสามารถแชร์หน้าจอไปพร้อมกับการมองเห็นทีมงานหรือผู้เข้าร่วมประชุมคนอื่นๆ เป็นประโยชน์เวลามีพรีเซนต์งานแบบกลุ่ม
- Video filters ปรับแสงและเบลอพื้นหลังโดยเลือกระดับแสงและความเบลอได้
- Reflect messaging extension ส่วนขยายที่สามารถติดตั้งเพิ่มเวลาต้องการใช้การส่งข้อความที่เหมาะกับงานขององค์กร เช่น สร้างโพลล์ถามความเห็นนักเรียนที่มีต่อเนื้อหานี้ เป็นต้น
- Live reactions ใช้อีโมจิสื่อสารระหว่างที่ผู้พูดกำลังพูดอยู่ได้ เพื่อแสดงให้คนพูดเห็นว่าคนอื่นๆ กำลังมีส่วนร่วมและกำลังฟังสิ่งที่เราพูดอยู่
- Chat bubbles หรือกรอบข้อความแชทที่จะปรากฏบนหน้าจอประชุมทันทีโดยไม่ต้องสลับหน้าจอไปดูแชท
- live captions ใช้ AI ถอดเสียงเป็นข้อความอัตโนมัติในระหว่างที่ผู้พูดกำลังพูดอยู่ และบอกได้ด้วยว่าใครกำลังพูด
- รองรับผู้เข้าร่วมประชุมแบบ interactive 1,000 คน และสูงสุดถึง 20,000 คน ในกรณีที่เป็นการฟังบรรยายอย่างเดียว
ฟีเจอร์ทั้งหมดดังจะเปิดใช้งานภายในปีนี้
ที่มา - ไมโครซอฟท์ |
# เปิดตัว Thunderbolt 4, ใช้ร่วมกับ USB 4 ได้, การันตีความเร็ว 40 Gbps, เริ่มใช้ใน Tiger Lake
อินเทลเปิดตัวสเปกของ Thunderbolt 4 ที่ทิ้งช่วงจาก Thunderbolt 3 ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2015 เป็นเวลา 5 ปี
ก่อนหน้านี้หลายคนอาจคุ้นเคยว่าพอร์ต USB กับ Thunderbolt เป็นคู่แข่งกันโดยตรง แต่ช่วงหลังๆ มาตรฐานสองค่ายเริ่มควบรวมกัน ตั้งแต่ Thunderbolt 3 ที่เปลี่ยนมาใช้พอร์ต USB-C และล่าสุดคือ USB 4 ที่พัฒนาขึ้นจากสเปกของ Thunderbolt 3 อีกที
พอมี Thunderbolt 4 เข้ามาอีกตัว เลยชวนสับสนว่าความต่างของ Thunderbolt 3, 4, USB 4 คืออะไรกันแน่
ถ้าสรุปแบบสั้นๆ Thunderbolt 4 เป็น superset ของ USB 4 อีกที ตัวโปรโตคอลข้างใต้เหมือนกันทุกประการ ใช้งานร่วมกันได้
สิ่งที่ต่างคือ Thunderbolt 4 กำหนดสเปกขั้นต่ำบางอย่างเป็นมาตรฐาน (สิ่งที่ USB 4 ไม่บังคับ แต่ Thunderbolt 4 บังคับว่าต้องมีหากจะผ่าน certification) เราอาจจะนิยามว่า Thunderbolt 4 คือ USB 4+ หรือ USB 4 Pro พอก็ได้
จุดต่างสำคัญคือ Thunderbolt 4 การันตีการส่งข้อมูลที่ 40 Gbps เสมอ (เท่ากับ Thunderbolt 3 ไม่ได้เยอะขึ้น) ในขณะที่ USB 4 การันตีการส่งข้อมูลที่ 20 Gbps แต่รองรับสูงสุดที่ 40 Gbps
สเปกอื่นๆ ที่ Thunderbolt 4 บังคับเพิ่มเข้ามา (พีซีที่จะแปะตรา Thunderbolt 4 ต้องมีฟีเจอร์เหล่านี้) ได้แก่ ต้องรองรับอุปกรณ์เสริม dock ที่มีพอร์ต Thunderbolt สูงสุด 4 พอร์ต, ต้องรองรับการชาร์จพีซีผ่านพอร์ต, ต้องรองรับฟีเจอร์ wake from sleep เมื่อต่อ dock, ต้องมีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย Intel VT-d ที่ป้องกันการเข้าถึงหน่วยความจำโดยตรง เป็นต้น
ถ้าเทียบกับ Thunderbolt 3 แล้ว พีซีจะต้องมีสเปกแรงขึ้น ต้องรองรับการแสดงผล 4K ขั้นต่ำ 2 จอพร้อมกัน หรือ 8K หนึ่งจอ (ของเดิมคือ 4K จอเดียว), ตัว PCIe ต้องรองรับการส่งข้อมูลที่ 32 Gbps (ของเดิม 16 Gbps)
ในแง่การตลาดและแบรนด์ อินเทลระบุว่า Thunderbolt 4 จะมาแทนรูปแบบการเชื่อมต่อทั้งหมดบนอินเทอร์เฟซแบบ USB Type-C อันแสนสับสน ไม่ว่าจะเป็น USB 3.2, USB3/DP, USB 4.0
สายเคเบิลของ Thunderbolt 4 (แปลว่าต้องซื้อใหม่) ก็ตั้งใจเป็นสายเคเบิลที่ universal อย่างแท้จริง เบื้องต้นรองรับความยาว 2 เมตร โดยยังคงอัตราการส่งข้อมูลที่ 40 Gbps แต่ในอนาคตจะพัฒนาความยาวให้เพิ่มเป็น 5-50 เมตร
ตารางสรุปความแตกต่างของ Thunderbolt 4, Thunderbolt 3, USB 4
Thunderbolt 4 จะเริ่มใช้พร้อมซีพียูรุ่นใหม่ Tiger Lake ที่จะเปิดตัวในเร็วๆ นี้ โดยอินเทลจะเปิดตัวคอนโทรลเลอร์ Thunderbolt 4 ซีรีส์ 8000 มาให้ทั้งกลุ่มผู้ผลิตพีซีแบบ OEM และผู้ผลิตอุปกรณ์เสริมใช้งานด้วย
ที่มา - Intel (PDF), Intel |
# แอปเปิลยืนยันยังซัพพอร์ท Thunderbolt บน MacBook ที่ใช้ ARM
หลังการประกาศเปลี่ยนจากชิป Intel มาเป็น Apple Silicon ที่ออกแบบเอง ใน MacBook รุ่นหน้า หนึ่งในคำถามที่หลายคนอาจสงสัยคือ MacBook จะยังคงรองรับมาตรฐาน Thunderbolt ที่ตัวเองมีส่วนช่วยออกแบบและพัฒนาร่วมกับ Intel อยู่หรือไม่ ซึ่งล่าสุดแอปเปิลออกมายืนยันแล้วว่ายังรองรับอยู่เช่นเดิม
แม้โฆษกแอปเปิลจะออกมายืนยันข้อมูลดังกล่าว ทว่าอุปกรณ์ Developt Transition Kit ที่ใช้ชิป Apple Silicon ที่แอปเปิลให้นักพัฒนายืมก่อนหน้านี้ กลับไม่มีพอร์ท Thunderbolt มีแค่ USB-C ธรรมดาเท่านั้น
ที่มา - The Verge |
# Qualcomm เปิดตัว Snapdragon 865+ เร็วขึ้น 10% โมเด็ม 5G แยก ขายพ่วงเหมือนเดิม
Qualcomm เปิดตัว Snapdragon 865+ รุ่นเพิ่มความเร็วจากชิปเรือธงตัวหลักเหมือนทุกปี และต้องพ่วงชิปโมเด็ม Snapdragon X55 เพื่อใช้งาน 5G เช่นเดิม โดย Kryo 585 ซีพียูแกนหลัก เพิ่มความเร็วเป็น 3.10 GHz เร็วขึ้นจาก Snapdragon 865 อยู่ 10% ส่วนจีพียู Adreno 650 เรนเดอร์กราฟฟิกได้เร็วขึ้น 10% เช่นกัน และมาพร้อมชิป FastConnect 6900 เพิ่มความเร็วสัญญาณ Wi-Fi สูงสุดที่รองรับเป็น 3.6 Gbps
Snapdragon 865+ จะมาใน ASUS ROG Phone 3 ที่จะเปิดตัวในวันที่ 22 กรกฎาคมนี้เป็นรุ่นแรก และจะมีใช้งานในมือถือรุ่นอื่นๆ บนท้องตลาด ในช่วงไตรมาสที่สามของปีนี้เป็นต้นไป
ที่มา - Qualcomm |
# Android 11 Beta 2 ออกแล้ว, หลุดวันปล่อยตัวจริง 8 กันยายน
วันนี้ Google ปล่อย Android 11 Beta 2 ออกมาแล้วโดย Google เรียกคอนเซ็ปของเวอร์ชันที่ออกนับตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไปว่า Platform Stability ที่ตัวระบบปฏิบัติการณ์มีความเสถียรเกือบทั้งหมดแล้ว เหลือแค่ส่วนของ SDK และ NDK APIs เป็นหลัก
การเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ ใน Beta 2 มีเรื่องของความเป็นส่วนตัว อย่างระบบ one-time permission ผู้ใช้งานสามารถให้สิทธิอย่างโลเคชัน, ไมโครโฟน, กล้องแค่ครั้งเดียวตอนใช้งาน และการปิดไม่ให้แอปหนึ่ง ๆ สามารถเข้าถึงไพรเวทไดเรกทอรี่ของแอปอื่น
นอกจากนี้ Google ยังเผลอปล่อยวิดีโอโปรโมท Android 11 ที่ระบุวันปล่อย Android 11 ตัวจริงว่าเป็นวันที่ 8 กันยายนนี้ ก่อนที่ล่าสุด Google จะลบคลิปนี้ไปแล้ว
ที่มา - 9to5Google, Android Police |
# Ninja สตรีมเมอร์ชื่อดัง สตรีม Fortnite บน YouTube Gaming หลัง Mixer ปิดตัว
หลายคนสงสัยว่า Ninja หรือ Tyler Blevins เกมสตรีมเมอร์ชื่อดังจะตัดสินใจอย่างไรต่อไป หลังไมโครซอฟท์ประกาศปิดตัวแพลตฟอร์มสตรีม Mixer ล่าสุด เขาออกมาโพสต์ว่ากำลังสตรีม Fortnite ที่ YouTube Gaming
ตอนที่ Mixer ปิดตัว ไมโครซอฟท์ระบุว่าจะย้ายกลุ่มสตรีมเมอร์ Mixer ไปใช้ Facebook Gaming แทน ซึ่งทั้งสองบริษัทก็เพิ่งเซ็นสัญญาความร่วมมือด้านเกมกันไปก่อนหน้านี้
Ninja มียอดผู้ติดตามใน YouTube 23.8 ล้านราย และยังไม่มีความชัดเจนว่าเขาจะเซ็นสัญญาแบบเอ็กซคลูซีฟกับ YouTube หรือไม่
ที่มา - Dual Shockers |
# Tinder ทดสอบฟีเจอร์เดทกันผ่านวิดีโอคอลแล้ว ไทยได้ทดสอบด้วย
ก่อนหน้านี้ Match Group เผยเป็นนัยว่ากำลังซุ่มทำฟีเจอร์เดทกันตัวต่อตัวผ่านวิดีโอคอล ล่าสุดเริ่มทดสอบฟีเจอร์นี้ในบางประเทศแล้ว มีไทยด้วย
ฟีเจอร์ใหม่มีชื่อว่า Face to Face Video Chat เปิดทดสอบในประเทศ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สเปน อิตาลี ฝรั่งเศส เปรู ชิลี เวียดนาม อินโดนีเซีย เกาหลี ไต้หวัน และประเทศไทย
ผู้ใช้งานจะสามารถคุยวิดีโอคอลกับอีกฝ่ายได้หลังจากคุยแชทกันถูกคอแล้ว เมื่อมั่นใจและเริ่มอยากเห็นหน้าก็ปลดสิทธิ์วิดีโอคอลตรงแชท และเลือกได้ว่าอยากจะคุยกับคนนี้อีกหรือไม่
ทาง Tinder ระบุว่าก่อนจะเริ่มโทรคุยต้องเห็นชอบตามกฎพื้นฐานคือ ไม่มีภาพโป๊เปลือย หรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่ส่อไปทางเพศ, ไม่คุกคามกัน ไม่พูดจาว่าร้าย ไม่เอาความรุนแรง หรือไม่ทำกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย และไม่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับผู้เยาว์
ที่มา - ข่าวประชาสัมพันธ์ |
# K-Pop ต้องเรียกพี่ กระทรวงวัฒนธรรมเกาหลีระบุ ยอดส่งออกเกมทะลุสองแสนล้าน สูงกว่า K-Pop สิบเท่า
หลายๆ คนอาจจะคิดว่าธุรกิจส่งออกคอนเทนต์ที่มีมูลค่ามากที่สุดของเกาหลีใต้ น่าจะเป็นธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมดนตรี หรือที่เราเรียกกันว่า K-Pop แต่รายงานการส่งออกล่าสุดจาก กระทรวงวัฒนธรรมเกาหลี และ Korea Culture and Content Agency (KOCCA) ระบุมูลค่าการส่งออกคอนเทนต์ว่าส่วนใหญ่เป็นการส่งออกเกม
ปีที่แล้วอุตสาหกรรมส่งออกเกมของเกาหลีใต้ เติบโตขึ้น 8.9 เปอร์เซ็นต์ มีมูลค่าถึง 6.9 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 200,000 ล้านบาท คิดเป็น 67.2 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าธุรกิจส่งออกด้านคอนเทนต์ของเกาหลีใต้ ที่มีขนาด 10.3 พันล้านเหรียญหรือประมาณ 310,000 ล้านบาท และเป็นอุตสาหกรรมคอนเทนต์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงที่สุด ชนะธุรกิจส่งออกคอนเทนต์อีกกว่า 10 ประเภท
ธุรกิจที่มีมูลค่ารองๆ ลงมา เป็นธุรกิจส่งออกคาแรคเตอร์ (เช่น ลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนและสินค้าจากตัวการ์ตูน) และธุรกิจข้อมูล เป็น 7.9 และ 6.4 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ โดยธุรกิจส่งออกประเภทดนตรี มีมูลค่า 640 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 6.2 เปอร์เซ็นต์ และอยู่ในอันดับ 4
เกมที่ทำรายได้อันดับต้นๆ ประกอบด้วย Lineage M ที่เป็นเกมที่ทำรายได้สูงสุดบน Google Play Store ของประเทศไต้หวันเมื่อวันพุธที่ผ่านมา แม้เป็นเกมที่เปิดตัวไปตั้งแต่ปี 2017 นอกจากนี้ก็เป็นเกมจาก Nexon ที่คนไทยอาจจะรู้จัก เช่น KartRider Rush+ ที่มีผู้เล่นกว่า 13 ล้านคนทั่วโลก
ในด้านรายได้รวม อุตสาหกรรมเกมทำรายได้เป็นอันดับ 5 ที่ 15 ล้านล้านวอน หรือประมาณ 400,000 ล้านบาท ส่วนอุตสาหกรรมดนตรีอยู่ในอันดับ 7 ทำรายได้ไป 6.6 ล้านล้านวอนหรือประมาณ 172,000 ล้านบาท และอุตสาหกรรมคอนเทนต์ที่ทำรายได้รวมสูงสุด กลับเป็นอุตสาหกรรมสื่อและสิ่งพิมพ์ ทำรายได้ไป 21.1 ล้านล้านวอน
ที่มา - The Korea Herald |
# ไมโครซอฟท์เปิดตัว Freta บริการตรวจจับมัลแวร์ในหน่วยความจำลินุกซ์ จากการดึงหน่วยความจำเป็นอิมเมจ
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Freta บริการของ Microsoft Research ที่ให้บริการตรวจจับมัลแวร์ในหน่วยความจำด้วยการดึงหน่วยความจำของ VM ออกมาเป็นเป็นอิมเมจแล้วอัพโหลดขึ้น Freta เพื่อดูรายงาน
Freta รองรับไฟล์อิมเมจหน่วยความจำทั้งจาก VMware และ Hyper-V โดยสามารถอ่านอิมเมจและแปลผลหากรันด้วยเคอร์เนลลินุกซ์ยอดนิยมมากกว่า 4,000 เวอร์ชั่น รายงานที่ออกมาจะแสดงข้อมูล เช่น ตัวแปรต่างๆ, โมดูลเคอร์เนลที่โหลดอยู่, รายชื่อ system call, ไฟล์ที่เปิดอยู่, หรือโปรเซส เมื่ออ่านค่าเหล่านี้ทำให้ Freta สามารถแจ้งเตือน เช่น มีไลบรารีโหลดซ้ำซ้อนก็อาจจะเป็น rootkit ฝังอยู่ในเครื่อง
ที่มา - Microsoft Research Blog |
# เอาไปเลยทั้งศูนย์ ออราเคิลเปิดบริการคลาวด์ในอาคารลูกค้า กั้นรั้วเซิร์ฟเวอร์แยก เริ่มเดือนละ 16 ล้านบาท
ออราเคิลเปิดบริการ Oracle Dedicated Region Cloud@Customer ขยายจากบริการ Cloud@Customer เดิมที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ติดตั้งในศูนย์ข้อมูลลูกค้า มาเป็นพื้นที่ที่บริหารโดยออราเคิลเองทั้งหมด โดยออราเคิลมองเทียบเท่าบริการคลาวด์หนึ่งภูมิภาค (region) ของออราเคิลเอง
จุดเด่นของ Dedicated Region คือออราเคิลระบุว่าจะได้บริการคลาวด์ทั้งหมดไปใช้งานในศูนย์ข้อมูลตัวเอง เช่นบริการฐานข้อมูลก็จะครบเท่าที่ออราเคิลให้บริการบนคลาวด์ หรือบริการรายล้อมเช่น API Gateway, Container Registry ก็จะใช้งานได้ทั้งหมด และบริการนี้ไม่ต้องการการสั่งงานผ่านคอนโซลของคลาวด์แต่สามารถต่อตรงเพื่อใช้งานได้เลย ทำให้ไม่มีปัญหาหากเน็ตเวิร์คมีปัญหาแล้วเชื่อมต่อคลาวด์ภายนอกไม่ได้
ค่าบริการเริ่มต้นเดือนละ 500,000 ดอลลาร์หรือประมาณ 16 ล้านบาท ศูนย์ข้อมูลในส่วนที่ติดตั้ง Dedicated Region จะถูกบริหารจัดการโดยออราเคิลทั้งหมด
ออราเคิลเปิดบริการ Cloud@Customer มาแล้วหลายปี เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่จัดการโดยออราเคิลทั้งหมด แบบเดียวกับ AWS Outpost ทำให้บริการทั้งสองตัวนับว่าใกล้เคียงกันมาก เพราะ AWS Outpost ก็มีบริการฐานข้อมูลที่บริหารจัดการโดย AWS แต่อยู่ในศูนย์ข้อมูลลูกค้าเช่นกัน
ที่มา - Oracle |
# เรียนกันไม่ทัน CNCF ปรับกระบวนการรับโครงการเข้า Sandbox เร็วขึ้น รีวิวใบสมัครเดือนละสองครั้ง
หลายคนที่ศึกษาการใช้งาน Kubernetes อาจจะพบว่ามันมีโครงการย่อยๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ล่าสุดทาง CNCF (Cloud Native Computing Foundation) ผู้ดูแลโครงการจำนวนมากก็ออกมาประกาศแนวทางการรับโครงการเข้า CNCF Sandbox ให้เร็วขึ้น
CNCF Sandbox เป็นการดูแลโครงการระดับเริ่มต้น อาจจะอยู่ในขั้นทดลองที่ยังไม่นิ่งนัก การนำโครงการเข้า Sandbox จะทำให้เหล่านักพัฒนาที่สนใจ Kubernetes อยู่แล้วได้เห็นโครงการเหล่านี้ ขณะเดียวกันทาง CNCF ก็รับรองว่าโครงการเหล่านี้เป็นโอเพนซอร์สตามมาตรฐาน CNCF และมีแนวทางการชุมชนที่ตรงกัน
โครงการภายใต้ความดูแลของ CNCF มี 3 ระดับ ได้แก่ Sandbox, Incubating, และ Graduated เงื่อนไขการผ่านแต่ละระดับขึ้นกับความพร้อมและความชัดเจนของโครงการ
แม้ Sandbox จะเป็นโครงการระดับเริ่มต้นแต่หลายโครงการก็ได้รับความสนใจจากโลกธุรกิจกันมาก เช่น KubeVirt ที่ Red Hat นำไปทำเป็น OpenShift virtualization หรือ KEDA ที่เป็นระบบ autoscaling
ที่มา - CNCF |
# แอปเปิลเตรียมขยายโครงการร้านซ่อมอิสระไปยังยุโรปและแคนาดา ระบุในสหรัฐฯ มีร้านซ่อมอิสระเกิน 700 แห่งแล้ว
แอปเปิลประกาศเตรียมขยายโครงการ Independent Repair Provider (IRP) ที่เปิดให้ร้านซ่อมอิสระสามารถซื้ออะไหล่แท้จากแอปเปิลได้ โดยจะขยายไปยังยุโรปและแคนาดาหลังจากตอนนี้มีเฉพาะในสหรัฐฯ เท่านั้น
โครงการ IRP เน้นถึงการเคารพเครื่องหมายการค้าของแอปเปิล โดยต้องทำตามข้อตกลงการใช้เครื่องหมายการค้าของแอปเปิล ก่อนหน้านี้มีร้านซ่อมในนอร์เวย์สั่งจอไอโฟนจากฮ่องกงในปี 2017 และพบว่าจอมีโลโก้แอปเปิลอยู่แม้เมื่อซ่อมแล้วจะมองไม่เห็น แต่แอปเปิลก็ฟ้องจนคดีถึงที่สุดเพื่อให้ศาลสั่งทำลายจอดังกล่าว
ตอนนี้ร้าน IRP มีมากกว่า 700 จุดเฉพาะในสหรัฐฯ เทียบกับศูนย์ซ่อมทางการของแอปเปิล หรือ Apple Authorized Service Provider (AASP) ที่มีมากกว่า 5,000 จุดทั่วโลก โดยร้านที่ต้องการเข้าร่วม IRP ต้องส่งช่างซ่อมมารับรองกับแอปเปิล โดยการรับรองช่างมีค่าใช้จ่ายแต่แอปเปิลยกเว้นให้ธุรกิจเปิดใหม่ส่วนการร่วมโครงการเองไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
แอปเปิลเปิดให้ร้านซ่อมในยุโรปและแคนาดาส่งอีเมลไปแสดงความสนใจได้แล้ววันนี้
ที่มา - Apple, The Register
ภาพจากแอปเปิล |
# SUSE ประกาศเข้าซื้อกิจการ Rancher Labs ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ Kubernetes
SUSE บริษัทชื่อดังด้านดิสทริบิวชัน Linux ประกาศเข้าซื้อกิจการ Rancher Labs ผู้ผลิตแพลตฟอร์มบริหารจัดการ Kubernetes ที่เน้นตลาดองค์กร โดยดีลนี้ไม่มีการเปิดเผยมูลค่าอย่างเป็นทางการ แต่ CNBC อ้างข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง ระบุว่าอยู่ราว 600-700 ล้านดอลลาร์
Sheng Liang ซีอีโอ Rancher Labs กล่าวว่าการรวมกันของ Rancher และ SUSE จะช่วยให้องค์กรได้โซลูชันโอเพนซอร์ส ที่ครอบคลุมทั้ง Enterprise Linux, Edge Computing, AI และ Rancher สำหรับจัดการ Kubernetes ตั้งแต่ระดับ edge ไป core จนถึง cloud
ปัจจุบัน SUSE เป็นบริษัทอิสระที่มี EQT บริษัทการลงทุนเป็นเจ้าของ ส่วน Rancher Labs เพิ่งรับเงินเพิ่มทุนซีรี่ส์ D อีก 40 ล้านดอลลาร์ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ที่มา: Rancher Labs และ CNBC |
# Facebook โดนกลุ่มคว่ำบาตรวิจารณ์ ยังคงล้มเหลวในการแก้ปัญหา Hate Speech
จนถึงตอนนี้ Facebook ถูกบอยคอตจากแบรนด์สินค้าร่วม 900 แบรนด์ แล้ว จากปัญหา Hate Speech โดยชนวนสำคัญมาจากท่าทีของ Facebook ที่นิ่งเฉยต่อโพสต์สนับสนุนความรุนแรงและคุกคามประชาชนของ โดนัลด์ ทรัมป์
ผู้มีบทบาทสำคัญในการชักชวนแบรนด์ให้บอยคอตคือกลุ่มสิทธิพลเมือง เช่น NAACP, Anti-Defamation League รวมตัวกันสร้างแคมเปญ #StopHateForProfit ล่าสุดผู้บริหารระดับสูงของ Facebook อย่าง มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก, Sheryl Sandberg (COO), Chris Cox (CPO), Nick Clegg (รองประธานฝ่ายการสื่อสาร) ก็ได้เข้าพูดคุยกับกลุ่มผู้สร้างแคมเปญแล้วผ่านการประชุมออนไลน์
ทางกลุ่มสิทธิพลเมืองแถลงการณ์ความคืบหน้าการพูดคุยว่ายังคงผิดหวังต่อท่าทีของ Facebook และยังคงไม่ได้รับความมั่นใจว่า Facebook จะแก้ปัญหาและทำตามข้อเรียกร้องของกลุ่มสิทธิฯ และจากการประชุมนี้ ไม่มีอะไรนอกเหนือจากการแสดงออกในเชิงประชาสัมพันธ์
(Photo by Alex Wong/Getty Images)
ข้อเรียกร้องสำคัญของกลุมสิทธิฯ เช่น ว่าจ้างผู้บริหารระดับสูงที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องสิทธิพลเมืองเพื่อมาประเมินนโยบายด้านการเลือกปฏิบัติ, อคติและความเกลียดชัง รวมถึงมีการตรวจสอบจากหน่วยงานอิสระภายนอกอย่างสม่ำเสมอ ซึ่ง Facebook ก็บอกว่ามีแผนการจัดการเรื่องนี้แล้ว แต่ยังไม่มีเอกสารใดๆ ออกมาแน่ชัด
กลุ่มสิทธิฯ อ้างอิงข้อมูลจากสหประชาชาติด้วยว่า Facebook มีบทบาทสำคัญในการสร้างคามเกลียดชังต่อชาวโรฮิงญา มีการซื้อโฆษณาที่สนับสนุนการลดทอนความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ลี้ภัย, คนผิวสี และทิ้งท้ายการแถลงการณ์ว่า การบอยคอต Facebook จะยังมีอยู่ต่อไป จนกว่า Facebook จะสามารถตอบสนองข้อเรียกร้องอย่างจริงจัง
เป็นเวลาร่วมเดือนแล้ว ที่ Facebook เจอแรงกดดันจากสังคมมหาศาล โดยมีต้นเหตุสำคัญจากโพสต์ของทรัมป์ ซึ่งทวิตเตอร์ได้ติดป้ายกำกับว่าโพสต์นั้นมีความรุนแรง แต่ Facebook กลับนิ่งเฉย ส่งผลให้พนักงานรวมตัวกันประท้วงออนไลน์ นำมาสู่การบอยคอตของแบรนด์สินค้า ระงับการใช้เงินซื้อพื้นที่โฆษณาใน Facebook จนFacebook ต้องออกมาแถลงการณ์ว่า บริษัทไม่ได้ผลประโยชน์อะไรเลยจากความเกลียดชัง
ที่มา - NYT, Free Press |
# ย้อนรอย 6 ปี Android One จาก Android ราคาถูกสู่ Pure Android ที่อาจล้มเหลว?
Android One เป็นโครงการที่ Google แรกเริ่มเดิมทีตั้งใจสร้างขึ้นมาเพื่อเจาะตลาดสมาร์ทโฟนรุ่นเล็ก แต่ด้วยผลตอบรับที่ไม่ดีนัก ทำให้ Google มีการปรับเปลี่ยนเป้าหมายของโครงการไปมาพอสมควร จากเดิมที่เน้นขายมือถือรุ่นเล็กสำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้สมาร์ทโฟนในประเทศกำลังพัฒนา กลายไปเป็นเน้นทำมือถือ Mid-range ที่เน้นเรื่องประสบการณ์ใช้งานแทน
ในบทความนี้ จะพาไปย้อนรอย Android One ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
ปี 2014 จุดเริ่มต้นของ Android One
โครงการ Android One ถูกพูดถึงครั้งแรกในงาน Google I/O เมื่อปี 2014 โดย Google จับมือกับเหล่า OEM สร้างสมาร์ทโฟน Android ที่จะได้รับอัพเดตซอฟแวร์โดยตรงจาก Google การันตีอยู่ที่ 2 ปี และจะกำหนดสเปกฮาร์ดแวร์บางอย่าง เพื่อให้ผู้ใช้ได้สมาร์ทโฟนที่มีคุณภาพ ในราคาจับที่ต้องได้
เดือนกันยายน Google เปิดตัวมือถือ Android One 3 รุ่นแรกในอินเดียคือ Micromax Canvas A1, Spice Dream UNO, Karbon Sparkle V ทั้งสามรุ่นเป็นสมาร์ทโฟนรุ่นเล็ก ราคาย่อมเยา โดยสาเหตุที่เลือกอินเดียเป็นประเทศแรก เพราะยังมีประชากรเพียง 10% เท่านั้นที่เข้าถึงสมาร์ทโฟน รวมถึงยังเป็นตลาดสมาร์ทโฟนขนาดใหญ่
ก่อนที่ช่วงสิ้นปีจะเปิดตัว Symphony Roar A50 ในบังกลาเทศอีกรุ่น สรุปคือในปี 2014 มีมือถือในโครงการทั้งหมด 4 รุ่น
ปี 2015 ขยายตลาดกว้างขึ้น มาไทยด้วย
ปี 2015 มือถือ Android One เริ่มขยายตลาดในหลายประเทศมากขึ้น มีการเปิดตัวมือถือ Android One ทั้งหมด 12 รุ่นใน 10 กว่าประเทศ
ช่วงต้นปีมีการเปิดตัวมือถือ Android One 3 รุ่นแรกในประเทศอินโดนีเซีย และอีก 2 รุ่นในฟิลิปปินส์ ทั้ง 5 รุ่นยังคงสเปคเดิมกับรุ่นเมื่อปีที่แล้ว แต่มาพร้อมกับ Android Lollipop รุ่นใหม่ ก่อนจะตามมาด้วย General Mobile 4G ในตุรกีช่วงกลางปี ก่อนจะปล่อยInfinix Mobile Hot 2 X510 ที่เป็น Android One รุ่นแรกที่วางขายในแอฟริกาและ i-mobile IQ II สมาร์ทโฟน Android One รุ่นแรกที่ขายในไทย
เดือนมิถุนายน 2015 นับเป็นเวลา 9 เดือนแล้วที่มือถือ Android One วางขายในอินเดีย แต่รายงานจากบริษัทวิจัย Convergent Catalyst เผยว่ากลับมียอดขายไม่ถึง 1 ล้านเครื่อง คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดเพียง 2% - 2.5% เท่านั้น ซึ่งสาเหตุอาจเป็นเพราะช่องทางการขายที่ไม่สมเหตุสมผล (ต้องการเจาะผู้ที่ไม่มีอินเตอร์เน็ตแต่ขายออนไลน์เท่านั้น) อย่างไรก็ตาม Google ก็ยังยืนยันที่จะผลักดัน Android One ต่อไป i-mobile IQ II เปิดตัวเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2015
ปี 2016 ปรับทิศทางมาเน้นสเปกระดับกลาง
ปี 2016 มีมือถือ Android One เปิดตัวเพียง 2 รุ่น เริ่มจาก General Mobile 5 Plus ในตุรกีและ Sharp 507SH ในญี่ปุ่น
ไฮไลท์ของ Android One ปีนี้คือการปรับระดับสเปคให้ขยับขึ้นมาที่ Mid-Range มากขึ้น จากการปรับปรุงสเปคอย่างการขยายหน้าจอเป็น 5.5 นิ้ว (เดิมราว 4.5 นิ้ว) ใช้ชิปเซ็ตระดับสูงขึ้นอย่าง Snapdragon 617 (เดิมใช้ Mediatek ไม่ก็ Snapdragon 410)
Sharp 507SH ในญี่ปุ่น
ปี 2017 แบรนด์ใหญ่เข้าร่วม ขยายไปประเทศพัฒนาแล้ว
ปีนี้ Google เริ่มได้แบรนด์สมาร์ทโฟนใหญ่ ๆ เข้าโครงการ Android One มากขึ้นอย่าง Motorola X4, HTC U11 life
ไฮไลท์ของปีนี้อยู่ที่การจับมือกับ Xiaomi เปิดตัว Mi A1 ที่เป็น Android One รุ่นแรกจากแบรนด์จีน วางขายใน 37 ประเทศใน 5 ทวีป นับเป็นครั้งแรกที่ Android One เข้าสู่ตลาดโลกผ่านแบรนด์ใหญ่
ปี 2017 ถือว่าเป็นปีที่ก้าวกระโดดของ Android One มีมือถือเปิดตัวในปีนี้ถึง 10 รุ่น และเป็นกลุ่ม Mid-range ถึง 3 รุ่น เรายังได้เห็นมือถือ Android One จากพาร์ทเนอร์รายใหญ่หลายราย ไม่ว่าจะเป็น Xiaomi, Motolora, HTC นอกจากนี้ Android One ก็เริ่มหันมาตีตลาดทั่วโลก หลังจากที่เน้นตีตลาดประเทศกำลังพัฒนามาตลอด 3 ปี (ไม่รวมญี่ปุ่น)
ในปีเดียวกันนี้ Google ก็เปิดตัว Android Go ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นสำหรับ Android ราคาถูก หลังเริ่มขยับ Android One ขึ้นไปในระดับ Mid-range มาตั้งแต่ปีที่แล้วทำให้เหลือพื้นที่สำหรับสมาร์ทโฟนระดับล่างให้ Android Go เข้ามาเติมเต็มแทน ทั้งในแง่การตลาดและการปรับแต่งของ Go ที่เหมาะกับสมาร์ทโฟนสเปคต่ำมากกว่า
Xiaomi Mi A1 Android One รุ่นแรกจาก Xiaomi
ปี 2018 Nokia เข้าร่วม, มีสินค้ามากถึง 23 รุ่นในปีเดียว
ปี 2018 นับเป็นอีกหนึ่งปีที่สำคัญสำหรับ Android One เพราะว่ามีสมาร์ทโฟนภายใต้โครงการปล่อยออกมาถึง 23 รุ่น มากที่สุดนับตั้งแต่เปิดโครงการนี้ ไฮไลต์สำคัญคือ Nokia 8 Sirocco ที่นับเป็นเรือธงรุ่นแรกภายใต้ Android One (Nokia 8 เวอร์ชันแรกเปิดตัวแบบไม่ได้อยู่ในโครงการ) โดย HMD Global ยังยืนยันว่าโทรศัพท์แอนดรอยด์หลังจากนี้ทั้งหมดจะเป็น Android One ทั้งหมด (ยกเว้นรุ่นเล็กที่เป็น Android Go)
New Nokia 6, Nokia 7 Plus, และ Nokia 8 Sirocco
ในช่วงกลางปี Xiaomi กลับมาอีกครั้งกับ Mi A2 สานต่อความสำเร็จจาก Mi A1 นอกจากนี้ยังปล่อยรุ่นเล็กอย่าง Mi A2 Lite ออกมาด้วย
หลังจากนั้น LG ก็ส่ง G7 One Android One รุ่นแรกของแบรนด์ ตามมาด้วย Motorola One และ Motorola One Power
LG G7 One Android One รุ่นแรกของแบรนด์
ปี 2018 เป็นปีที่มีสมาร์ทโฟน Android One ปล่อยออกมามากที่สุด นอกจากนี้ เรายังได้เห็นระดับสเปคตั้งแต่รุ่นเล็กไปจนถึงเรือธง แสดงให้เห็นว่าทิศทางของ Android One ได้เปลี่ยนจากเจตนารมณ์เมื่อตอนเปิดตัวไปอย่างสิ้นเชิง
ปี 2019 จำนวนรุ่นเริ่มลดลง
ในปี 2019 มีมือถือ Android One ปล่อยออกมาทั้งหมด 13 รุ่น โดยมีรุ่นเด่นๆ ดังนี้
ในช่วงต้นปี Nokia กลับมาอีกครั้งในงาน MWC 2019 รอบนี้เปิดตัวสมาร์ทโฟน Android One 3 รุ่นได้แก่ Nokia 3.2, Nokia 4.2 ทั้งสองรุ่นมาพร้อมปุ่มเรียก Google Assistant ด้านข้างเครื่อง และเรือธงรุ่นใหม่ล่าสุด Nokia 9 Pureview ที่มาพร้อมกับกล้องหลัง 5 ตัว รุ่นแรกของโลก
Nokia 9 Pureview กล้อง 5 ตัวรุ่นแรกของโลก
ในช่วงปลายปีก็มี Xiaomi Mi A3 ตามมาด้วย Mara Z สมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่พัฒนาและผลิตในทวีปแอฟริกาที่รันระบบ Android One (Infinix Mobile Hot 2 X510 ก่อนหน้านี้เป็นแบรนด์ฮ่องกง)
Mara Z สมาร์ทโฟนสัญชาติรวันดา
ในปี 2019 มีมือถือ Android One ปล่อยออกมาน้อยลงจากปี 2018 อยู่มาก นอกจากนี้ Android One แทบทุกรุ่นก็มาจากแบรนด์ใหญ่ๆ มีเพียงรุ่นเดียวเท่านั้นที่มาจากแบรนด์ท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ในเดือนกุมภาพันธ์ Google เผยว่า Android One มีอัตราการเติบโต (นับตามจำนวน activation ของเครื่อง) อยู่ที่ 250% ต่อปี
ปี 2020 ขาลงของ Android One?
ในปี 2020 ข่าวคราวของ Android One กลับเงียบหายไป นับตั้งแต่เดือนมกราคมมาจนถึงเดือนมิถุนายน 2020 มีมือถือ Android One ออกมาเพียง 3 รุ่นเท่านั้น ประกอบไปด้วย Nokia 8.3, Nokia 5.3 และ Motorola Moto G Pro ทั้งสามรุ่นสเปคค่อนข้างคล้ายกัน มีเพียง Nokia 8.3 เท่านั้นใช้ชิป Snapdragon 765G รองรับ 5G ขณะที่ Xiaomi ยังไม่มีวี่แววปล่อย Mi A4 ออกมา
สรุป
Android One ก็เหมือนกับหลาย ๆ โครงการที่มีสภาพลองผิดลองถูก ปรับเปลี่ยนเป้าหมายและสถานะไปตามสภาพตลาด รวมถึงเสียงตอบรับจากพาร์ทเนอร์
อย่างไรก็ตามปฏิเสธไม่ได้ว่าโครงการนี้ไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนัก (มี Nokia แบรนด์เดียวเท่านั้นที่ใช้ Android One อย่างจริงจังในทุกรุ่น) และแม้ปีนี้จะผ่านไปครึ่งปี แต่การที่มี Android One ออกมาเพียง 3 รุ่น เทียบกับช่วง 2018-2019 ที่พีค ๆ ครึ่งปีแรกที่ออกมา 9 และ 6 รุ่นตามลำดับ อาจเป็นภาพสะท้อนว่าถึงขาลงของ Android One แล้วก็ได้ (แม้จะไม่ได้ขึ้นสูงแต่แรกก็ตาม)
บทความต่อไป ผู้เขียนจะวิเคราะห์และพยายามหาคำตอบว่าทำไม Android One ถึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
อ้างอิง
บทความจาก Google (1, 2, 3)
บทความจาก Livemint
บทความจาก Business Insider
ข้อมูลสเปคมือถือจาก GSMArena |
# Linus Torvalds บอกทุกวันนี้ใช้เวลากับการตอบอีเมล ไม่ได้เขียนโค้ดเป็นหลักแล้ว
หลายครั้งที่เรามักจะได้ยินคำถามว่างานเขียนโค้ดหรืองานเทคนิคจะสามารถทำไปได้จนถึงอายุเท่าไหร่ เพราะพออายุมากขึ้นหรือมีตำแหน่งที่สูงขึ้น คนส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ได้ลงมือเขียนโค้ดหรือทำงานเทคนิคเองแล้ว ในงาน Open Source Summit 2020 ทาง Linus Torvalds ได้ให้สัมภาษณ์ว่าทุกวันนี้ตัวเขาเองไม่ได้ทำงานเขียนโค้ดเป็นหลักแล้ว ส่วนใหญ่เน้นอ่านและตอบอีเมลมากกว่า อาจจะมีบ้างที่เขียน pseudo code ตอบกลับไปหรือแนะนำนักพัฒนาว่าโค้ดแบบไหนที่ควรเขียน
ในคอมเมนต์ของข่าวต้นทางก็มีคนมาช่วยอธิบายเพิ่มเติมว่า งานของโปรแกรมเมอร์ในระดับที่สูงขึ้นมักเป็นการตัดสินใจเลือกว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ เน้นดูภาพรวมและทิศทางการทำงานเป็นหลักมากกว่าลงมือทำเอง ซึ่งโปรแกรมเมอร์หลายคนอาจไม่ชอบที่ต้องเป็นแบบนี้ แต่ก็ต้องยอมรับในสิ่งที่มันเป็นไป เพราะไม่ใช่ว่าแก่เกินไปที่จะเขียนโค้ด แต่เพราะความอาวุโสของตำแหน่งงานจึงทำให้ใช้เวลากับการเขียนโค้ดได้น้อยลง
นอกจากเรื่องทักษะด้านเทคนิคแล้วทักษะการสื่อสารก็เป็นสิ่งสำคัญ โดย Linus กล่าวว่าการเขียนอธิบายว่าโค้ดนั้นทำงานยังไงก็สำคัญพอๆ กับการเขียนโค้ดให้ดี รวมทั้งหากต้องการที่จะเสนอโค้ดเพื่อเปลี่ยนกระบวนการทำงานของโปรแกรมก็ควรต้องอธิบายให้คนที่รับผิดชอบการตัดสินใจนั้นเข้าใจว่าทำไมถึงต้องเปลี่ยนมาใช้โค้ดใหม่หรือวิธีใหม่ที่เสนอมา เพื่อให้เขาเข้าใจและเชื่อใจในตัวโค้ดนั้น
ที่มา - Slashdot
ภาพของ Linus Torvalds ในงาน Open Source Summit 2018 จาก Linux Foundation |
# Charles Chiang ซีอีโอและประธานบริหาร MSI เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 56 ปี
Charles Chiang ซีอีโอของ MSI เสียชีวิตลงแล้วในช่วงเช้าของเมื่อวานนี้ด้วยในวัย 56 ปี โดยบางสำนักข่าวรายงานว่าเกิดจากเหตุพลัดตกจากอาคาร แต่สาเหตุอย่างเป็นทางการยังอยู่ในขั้นตอนการสืบสวน
Charles ทำงานให้ MSI มาประมาณ 20 ปี โดยสังกัดในแผนก Desktop Platform เข้ารับตำแหน่งซีอีโอเมื่อต้นปี 2019 และเป็นผู้กุมบังเหียนที่สร้างความสำเร็จให้บริษัททั้งในฝั่ง Desktop และในด้านอุปกรณ์สาย Gaming ในช่วงปีที่ผ่านมา
ที่มา - Tom’s Hardware, TweakTown |
# Gmail บน iPad รองรับ Split View เปิดพร้อมกับแอปอื่นได้แล้ว
Gmail บน iPad สามารถใช้งานโหมด Split View แบ่ง 2 หน้าจอได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มาตามคำเรียกร้องตั้งแต่ปี 2015 หลังจาก Apple เปิดตัวฟีเจอร์ Split View บน iOS 9
หากต้องการใช้งานในโหมดดังกล่าว ให้เปิดแอปพลิเคชัน Gmail จากนั้นก็ลากขอบล่างของหน้าจอเพื่อเปิด Dock แล้วลากแอปอื่นๆที่ต้องการจะเปิดมาไว้ด้านซ้ายหรือขวา เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้งาน Gmail ในโหมด Split View ได้แล้ว (อย่าลืมไปที่ Settings > Home Screen & Dock > Multitasking หากยังไม่ได้เปิดระบบ Split View)
ที่มา - 9to5Google |
# เฟซบุ๊กประกาศเลื่อนการเริ่มงานของ Oversight Board ไปเป็นช่วงปลายปี
เฟซบุ๊กประกาศแผนการตั้ง Oversight Board ขึ้นมาเพื่อคานอำนาจกับเฟซบุ๊กในแง่ของการกำหนดเนื้อหาบนโซเชียลมีเดียมาตั้งแต่ปี 2019 ก่อนจะประกาศสมาชิกบอร์ด 20 คนแรก เมื่อกลางปีที่ผ่านมา โดยมีกำหนดเริ่มงานเร็ว ๆ นี้
อย่างไรก็ตามล่าสุด Oversight Board ประกาศว่าจำเป็นต้องเลื่อนการเริ่มงานออกไปจนถึงช่วงราวสิ้นสุดฤดูใบไม้ร่วง (ราวเดือนพฤศจิกายน) โดยไม่ได้ระบุเหตุผล
ปัญหาคือ Oversight Board จะเริ่มงานหลังผ่านการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐไปแล้ว (ต้นพฤศจิกายน) ซึ่งเป็นช่วงที่หลายฝ่ายคาดหวังว่าบอร์ดจะเข้ามาช่วยเฟซบุ๊กดูแลเรื่องคอนเทนท์โฆษณาการเมือง หลังเฟซบุ๊กมีปัญหาเรื่องนี้ในการเลือกตั้งปี 2016 ที่ผ่านมา
ที่มา - @oversightboard |
# Ubisoft แจก Watch Dogs 2 บน PC ฟรี แค่ล็อกอิน Uplay ช่วงงาน Ubisoft Forward
วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคมนี้ Ubisoft จะถ่ายทอดสดเกมเพลย์เพิ่มเติมของ Watch Dogs Legion ในงาน Ubisoft Forward ซึ่งถ้าผู้ชมล็อกอิน Uplay ระหว่างงานถ่ายทอด จะได้รับเกม Watch Dogs 2 ไปเล่นฟรีบน PC ทันที งานถ่ายทอดสดจะเริ่ม เวลา 3PM EST (7PM UTC) ในวันที่ 12 กรกฎาคม หรือตรงกับ ตี 2 เช้าวันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม ตามเวลาประเทศไทย และจะใช้เวลาประมาณ 45 นาที ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าสามารถล็อกอินก่อนหน้านั้นทิ้งไว้ได้หรือไม่ แต่เพื่อความชัวร์ แนะนำว่าให้ล็อกอินเข้า Uplay ช่วง ตี 2:00 - 2:45 ของเช้าวันจันทร์ที่ 13 น่าจะปลอดภัยที่สุด
Watch Dogs 2 เป็นเกม open-world ที่ให้เราสวมบทบาทเป็น Marcus Holloway แฮกเกอร์หนุ่มที่ต้องติดคุกเพราะความผิดที่เขาไม่ได้ก่อ จากข้อผิดพลาดในระบบ ctOS ระบบปฏิบัติการของบริษัท Blume ที่ใช้ทั้งกล้องวงจรปิดและข้อมูลส่วนตัวของประชาชน เพื่อดูแลระบบต่างๆ และกำจัดอาชญากรรมในเมือง หลังออกจากคุก Marcus เลยเข้าร่วมกับกลุ่มแฮกเกอร์ DedSec เพื่อต่อสู้และจัดการกับระบบนี้
ผู้เล่นจะได้ใช้ความสามารถทั้งการลอบเร้น อุปกรณ์ไฮเทคต่างๆ และการแฮกสิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม เช่นแฮกมือถือเพื่อขโมยข้อมูล แฮกรถยนต์สมาร์ทคาร์ หรือแฮกเครื่องปรับอากาศเพื่อให้ไฟช็อตศัตรูเมื่อเข้าใกล้ได้ ตัวเกมออกเมื่อปี 2016 และเวอร์ชั่น PC ได้คะแนนจาก Metacritic ไป 75 คะแนน พร้อมคำวิจารณ์แบบกลางๆ
ที่มา - Kotaku |
# Google Maps เริ่มทดสอบแสดงผลแยกที่มีไฟจราจร
Google Maps กำลังทดสอบการแสดงบนแผนที่ว่าบริเวณไหนหรือแยกไหนมีไฟจราจร โดยจะปรากฏทั้งในโหมดแผนที่และโหมดนำทาง อย่างไรก็ตาม ฟีเจอร์ดังกล่าวจะบอกเพียงตำแหน่งของไฟจราจรเท่านั้น ไม่สามารถบอกสถานะของไฟจราจรได้
ฟีเจอร์นี้เปิดทดสอบเฉพาะผู้ใช้ Android ในบางพื้นที่ก่อนเท่านั้น ขณะเดียวกัน ก่อนหน้านี้ Apple ก็ได้ปล่อยฟีเจอร์แสดงไฟจราจรและป้ายหยุดบน Apple Maps มาเช่นเดียวกัน
ภาพจาก Droid-Life
ที่มา - 9to5google |
# Instagram ให้ปักหมุดคอมเม้นท์ไว้ด้านบนสุดได้แล้ว
Instagram เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถปักหมุดคอมเม้นท์ได้แล้ว หลังจากทดสอบฟีเจอร์นี้ไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เมื่อผู้ใช้สไลด์ขวาที่คอมเม้นท์จะเห็นตัวเลือกให้ลบ, รายงาน, ตอบกลับ หรือปักหมุดได้
เมื่อปักหมุดแล้ว คอมเม้นท์นั้นจะขึ้นไปอยู่ด้านบนของคอมเม้นท์ทั้งหมด พร้อมสัญลักษณ์หมุดเล็กๆ ตรงหลังคอมเม้นท์
ที่มา - Engadget |
# [ลือ] Walmart+ บริการคู่แข่ง Amazon Prime เตรียมเปิดตัวเร็วๆ นี้ ปีละ 98 ดอลลาร์
บริการ Amazon Prime ที่จ่ายค่าสมาชิกรายปี แลกกับการส่งสินค้าเร็วพิเศษและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ถือเป็นอาวุธสำคัญของ Amazon มาช้านาน
ล่าสุดมีข่าวลือว่า Walmart คู่แข่งรายใหญ่ในวงการค้าปลีก เตรียมออกบริการพรีเมียมแบบเดียวกันชื่อ Walmart+ ในเร็วๆ นี้ จากเดิมที่มีข่าวลือเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ แต่แผนต้องเลื่อนเพราะสถานการณ์ COVID-19
ข้อมูลของ Walmart+ ตอนนี้คือจ่ายปีละ 98 ดอลลาร์ (ตอนนี้ Prime ปีละ 119 ดอลลาร์) สิทธิประโยชน์ที่ได้คือการส่งเร็วแบบ same-day, การจองสล็อตส่งสินค้าด่วน, ส่วนลดค่าน้ำมันที่ปั๊มของ Walmart และดีลส่วนลดสินค้าอื่นๆ
ที่มา - Vox, ภาพจาก Walmart |
# รมว. ต่างประเทศสหรัฐพูดเอง กำลังพิจารณาแบน TikTok และโซเชียลจีน แบบเดียวกับอินเดีย
Mike Pompeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐ ให้สัมภาษณ์ว่ารัฐบาลสหรัฐกำลังพิจารณาดูว่า จะแบนโซเชียลจีน แบบเดียวกับที่รัฐบาลอินเดียทำ หรือไม่
Pompeo บอกว่าพิจารณาเรื่องการแบนแอพจีนอย่างจริงจัง โดยยกกรณีของการแบน Huawei และ ZTE ที่เกิดขึ้นแล้วมาเทียบ
ส่วนเหตุผลที่แบนแอพจีน มาจากความกังวลว่าแอพเหล่านี้จะส่งข้อมูลกลับไปให้รัฐบาลจีน โดย Pompeo แนะนำว่าคนอเมริกันไม่ควรโหลดแอพแบบ TikTok มาใช้งาน เว้นเสียแต่ว่าอยากให้รัฐบาลจีนเข้าถึงข้อมูลของตัวเองได้
ที่มา - Fox News, CNBC
Mike Pompeo ภาพจาก @SecPompeo |
# Samsung ประกาศจัดงาน Unpacked เปิดตัว Note 20 แบบ Virtual คืนวันที่ 5 สิงหาคมนี้
ซัมซุงประกาศจัดงาน Samsung Galaxy Unpacked ของปี 2020 ในวันที่ 5 สิงหาคม เวลา 21.00น. ตามเวลาในประเทศไทย โดยเป็นการจัดงานผ่านช่องทางออนไลน์อย่างเดียว
ซัมซุงระบุว่าเนื้อหาในงานจะมีการเปิดตัวอุปกรณ์ตระกูล Galaxy รุ่นใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเป็น Galaxy Note 20 ตลอดจนสมาร์ทโฟนหน้าจอพับได้รุ่นใหม่
ที่มา: ซัมซุง |
# ARM ประกาศแผนโอนย้าย 2 ธุรกิจ IoT ให้ SoftBank เพื่อโฟกัสที่ธุรกิจออกแบบชิปมากขึ้น
ARM ประกาศแผนกลยุทธ์ในการปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยจะโอนย้าย 2 ธุรกิจด้าน IoT ได้แก่ IoT Platform และ Treasure Data ไปอยู่ใต้บริษัทจัดตั้งใหม่ที่มี SoftBank เป็นเจ้าของ ทั้งนี้ปัจจุบัน ARM ก็มี SoftBank เป็นเจ้าของอยู่แล้ว
Simon Segars ซีอีโอ ARM กล่าวว่าการแยกธุรกิจ IoT ออกไป จะทำให้ ARM มาโฟกัสในธุรกิจหลักคือการออกแบบชิปร่วมกับพาร์เนอร์ และสร้างการเติบโตในส่วนนี้ได้ดีขึ้น
ทั้งนี้หลังการโอนย้ายธุรกิจ IoT ออกไป ARM ระบุว่าจะยังคงเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับบริษัทจัดตั้งใหม่นี้ ซึ่งที่ผ่านมาธุรกิจ IoT ของ ARM มีผลการดำเนินงานที่ดี ส่งมอบชิปในอุปกรณ์ไปแล้วกว่า 1.65 แสนล้านชิ้น
ที่มา: ARM ภาพ Treasure Data |
# [แจ้งเตือน] ช่องโหว่ F5 BIG-IP เริ่มถูกเจาะ ควรเร่งแพตช์
ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา F5 ปล่อยแพตช์ช่องโหว่ CVE-2020-5902 ที่เป็นช่องโหว่ของคอนโซลเว็บคอนฟิกสำหรับ BIG-IP ทำให้แฮกเกอร์เข้ามารันโค้ดได้ (ความร้ายแรงตาม CVSSv3 10 คะแนนเต็ม) และตอนนี้ก็เริ่มมีรายงาน
หลังช่องโหว่ถูกเปิดออกมาก็เริ่มมีคนสร้างคำสั่งสำหรับแฮกด้วยช่องโหว่นี้ออกมา คำสั่งนั้นทำได้ค่อนข้างง่ายด้วยการเขียน curl เพียงบรรทัดเดียว ทำให้ทาง U.S. Cyber Commands ออกมาแจ้งเตือนว่าควรรีบแพตช์
ตอนนี้นักวิจัยเริ่มสังเกตเห็นการสแกนเน็ตเวิร์คเพื่อตรวจช่องโหว่นี้หรืออาจจะเป็นเครื่องที่พยายามโจมตีจริง สำหรับผู้ใช้ BIG-IP ควรตรวจสอบตามเอกสารของ F5 เพื่อแพตช์หรือลดผลกระทบด้วยวิธีการที่บริษัทแนะนำ รวมถึงการปิดไม่ให้เข้าถึงหน้าจอคอนโซลจากภายนอก
ที่มา - F5, HelpNetSecurity |
# Google Cloud ชิงเปิดบริการคลาวด์ใช้ NVIDIA Ampere A100 แต่ยังทดสอบวงปิด
Google Cloud ประกาศเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ A2 ที่เป็นเครื่องรุ่นใหม่ใส่การ์ด NVIDIA Ampere A100 สูงสุด 16 ใบ ให้ประสิทธิภาพสูงสุด 20 เพตาฟลอบที่ FP16 สามารถคอนฟิกเครื่องขนาดใหญ่ที่สุดได้ 96 vCPU, แรม 1.3TB, สตอเรจ SSD ขนาด 3TB
ตัวชิป A100 เองมีความสามารถในการรองรับฟอร์แมต Tensor Float 32 (TF32) หรือเลขทศนิยมขนาด 19 บิตที่มีช่วงการแสดงค่าเทียบเท่ากับ FP32 แบบปกติ การรองรับโดยตรงทำให้ A100 รันงานแบบ TF32 ได้เร็วกว่าชิป Volta V100 ถึง 10 เท่าตัวในบางกรณี
ตอนนี้เครื่อง A2 ยังทดสอบวงปิดโดยกูเกิลเปิดให้ลงชื่อแสดงความสนใจไว้ได้และจะเปิดบริการจริงและราคาภายหลัง โดยเตรียมจะรองรับชิป A100 บนบริการ Kubernetes Engine ไปจนถึงบริการปัญญาประดิษฐ์อื่นๆ ต่อไป
ที่มา - Google Cloud Blog |
# AWS บุกตลาดฐานข้อมูลในองค์กร บริการ RDS ซัพพอร์ตบน Outpost สำหรับรันในองค์กร
AWS ปรับสถานะบริการฐานข้อมูล RDS บน Outpost (ที่เพิ่งวางขายในไทย) เป็นสถานะ GA เปิดให้ลูกค้าสามารถสร้างฐานข้อมูลในองค์กรโดยไม่ต้องดูแลซอฟต์แวร์เอง ทำให้ AWS กลายเป็นคู่แข่งโดยตรงกับออราเคิลที่ให้ขายคลาวด์สำหรับการสร้างฐานข้อมูลในศูนย์ข้อมูลลูกค้าเองมาก่อนในชื่อ Cloud at Customer
RDS บน Outpost จะสามารถใช้ฐานข้อมูลแบบ MySQL และ PostgeSQL ได้เท่านั้นในช่วงแรกและจะเพิ่มฐานข้อมูลแบบอื่นๆ ในภายหลัง ผู้ใช้สามารถปรับขยายหรือย่อเซิร์ฟเวอร์สำหรับฐานข้อมูลได้เหมือนบนคลาวด์ อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถสร้างเครื่องสำหรับอ่านอย่างเดียว (read replica) หรือสร้างคลัสเตอร์แบบ high availability ได้
RDS เป็นบริการเสริมที่คิดค่าใช้งานเพิ่มเติมเป็นค่าจัดการเครื่อง แม้ใช้เครื่อง Outpost ที่ซื้อแบบจ่ายเต็มก็ตาม โดยราคาเริ่มต้นในสหรัฐฯ อยู่ที่ 54 ดอลลาร์ต่อเดือน และราคาแต่ละภูมิภาคไม่เท่ากัน และที่สำคัญคือยังไม่รองรับโซนสิงคโปร์ ทำให้ตอนนี้ RDS อาจจะยังไม่รองรับ Outpost ในภูมิภาคนี้ควรตรวจสอบกับทาง AWS ว่าเครื่องที่ติดตั้งในไทยผูกกับโซนใด
บริการนี้ไม่ใชครั้งแรกที่ AWS บุกตลาดระบบฐานข้อมูลในองค์กร โดยปีที่แล้ว AWS ก็เปิดบริการ Amazon RDS on VMware ที่จัดการฐานข้อมูลบนเครื่องลูกค้าเหมือนกัน แต่บน Outpost นี้ทาง AWS จะสามารถควบคุมประสิทธิภาพฮาร์ดแวร์ได้ทั้งหมด
ที่มา - AWS Blog |
# หน่วยข่าวกรองอังกฤษเตรียมเสนอรัฐบาลแบน Huawei, ถอดอุปกรณ์ 5G ภายในปีนี้
สหราชอาณาจักรอาจจะกำลังเป็นประเทศล่าสุดที่สั่งแบน Huawei แบบเต็มรูปแบบ หลังจากต้นปีที่ผ่านมารัฐบาลอังกฤษประกาศว่ายังคงใช้งานอุปกรณ์ Huawei ในโครงข่าย 5G ในหลาย ๆ ส่วน และห้ามไม่ให้ใช้ Huawei เป็นอุปกรณ์คอร์เน็ตเวิร์คและไม่ให้มีส่วนแบ่งตลาดเกิน 35% เท่านั้น
แต่จากรายงานของหน่วยงานความปลอดภัยไซเบอร์ภายใต้หน่วยความกรองอังกฤษ (GCHQ) พบว่าการที่สหรัฐแบน Huawei ไม่ให้เข้าถึงเทคโนโลยีสหรัฐ อาจทำให้ Huawei ต้องหันไปใช้แหล่งเทคโนโลยีที่ไม่น่าเชื่อถือและควบคุมไม่ได้ ซึ่งก็อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอีกขั้น
หน่วยข่าวกรองเลยกำลังร่างข้อเสนอไปยังรัฐบาลอังกฤษ ให้ออกคำสั่งห้ามไม่ให้ใช้งานและติดตั้งอุปกรณ์ใหม่จาก Huawei ภายใน 6 เดือนและถอนอุปกรณ์ที่ติดตั้งออกไปแล้วภายในปีนี้ โดยรายงานฉบับนี้น่าจะถึงมือนายกรัฐมนตรีภายในสัปดาห์นี้
ที่มา - The Telegraph
จากภาพ Shutterstock |
# ไมโครซอฟท์ปรับแผน, พีซีภาคการศึกษา/ธุรกิจจะได้อัพเกรด Edge รุ่น Chromium ผ่าน Windows Update ภายหลัง 30 ก.ค. นี้
หลังจากเริ่มปล่อย Microsoft Edge ตัวใหม่ที่ใช้เอนจิน Chromium ให้กับลูกค้าทั่วไปผ่าน Windows Update มาได้ระยะหนึ่ง ไมโครซอฟท์ก็ได้ประกาศแผนที่จะขยายการปล่อย Edge ตัวใหม่ไปยังพีซีในภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ โดยจะเริ่มต้นภายหลัง 30 ก.ค. นี้
เปลี่ยนจากแผนเดิมเมื่อเดือน ม.ค. ที่ไมโครซอฟท์เคยออกเอกสารชี้แจ้งว่าจะไม่อัพเกรด Edge ตัวใหม่ให้อุปกรณ์ที่เข้าข่ายใช้งานในองค์กรซึ่งรวมถึงพีซีภาคการศึกษาและภาคธุรกิจให้อัตโนมัติ
สำหรับเหตุที่ทำให้ไมโครซอฟท์ตัดสินใจขยายการอัพเกรดในครั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ที่ทำให้การทำงานและการเรียนหนังสือจากที่บ้านแพร่หลายขึ้นมาก การอัพเกรดเว็บเบราว์เซอร์บนพีซีที่ใช้งานในลักษณะดังกล่าวให้เป็น Edge ตัวใหม่ซึ่งมาพร้อมฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยล่าสุดจึงกลายเป็นเรื่องที่จำเป็น
อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงข้างต้นจะไม่ส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ที่ได้รับการจัดการอัพเดตผ่าน Windows Update for Business (WUfB) หรือ Windows Server Update Services (WSUS) ซึ่งจะยังคงไม่ได้รับการอัพเกรดเป็น Edge ตัวใหม่ให้อัตโนมัติตามแผนเดิม
ส่วนท่านใดที่ไม่ต้องการอัพเกรดก็ยังสามารถบล็อคได้ผ่าน Blocker Toolkit เข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่นี่ครับ
ที่มา - Microsoft Tech Community via MSPowerser |
# Google Docs, Slides, Sheets บน Android ใช้ Dark Theme ได้แล้ว
Google เริ่มปล่อยอัปเดต Dark Theme ให้กับแอปในเครือ G Suite อย่าง Docs, Slides, Sheets บน Android เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่า Dark Theme ของแต่ละแอปได้ที่ Menu > Settings > Theme > Dark โดยหากตั้งค่าระบบเป็น Dark Mode อยู่แล้ว แอปจะเปลี่ยนเป็นโหมดมืดให้โดยอัตโนมัติ
นอกจากนี้หากเปิด Dark Theme แล้วต้องการดูเอกสารใน Light Theme ก็สามารถทำได้เช่นกัน กดที่เมนูมุมขวา > View in light theme
อนึ่ง ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับฟีเจอร์ Dark Theme สำหรับ Docs, Slides, Sheets เวอร์ชั่น iOS
ที่มา - Google |
# เปิดตัว H.266/VVC ตัวเข้ารหัสวิดีโอยุคใหม่ ประสิทธิภาพดีกว่า H.265 เท่าตัว
สงครามฟอร์แมตวิดีโอกลับมาร้อนแรงอีกครั้ง โดยสถาบัน Fraunhofer HHI ในเยอรมนี (ซึ่งเป็นผู้พัฒนา codec สำคัญๆ ของโลกมาตั้งแต่ยุค MP3) เปิดตัว H.266 หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ Versatile Video Coding (VVC)
จากเลขชื่อ H.266 หลายคนคงเดากันได้ว่ามันคือตัวเข้ารหัสวิดีโอที่สืบทอดต่อจาก H.264/AVC และ H.265/HEVC สิ่งที่พัฒนาขึ้นจากเดิมคือความสามารถในการบีบอัดวิดีโอเพิ่มขึ้นเท่าตัวจาก H.265 (แปลว่าคุณภาพเท่ากัน ขนาดไฟล์เหลือครึ่งเดียว)
Fraunhofer บอกว่าพัฒนา H.266/VVC ขึ้นมาสำหรับยุค ultra-high-resolution เพื่อให้การรับชมวิดีโอแบบ 4K/8K มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอนนี้สเปกของ H.266 เสร็จสมบูรณ์แล้ว และจะออกซอฟต์แวร์ชุดแรกที่รองรับ H.266 ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีนี้
ปัญหาของ H.265 ไม่ได้อยู่ที่เรื่องเทคนิค แต่เป็นเรื่องค่าไลเซนส์ที่แพงขึ้นจากยุค H.264 มาก ทำให้บริษัทไอทีหลายรายที่นำโดยกูเกิล หันไปตั้งกลุ่ม AOmedia พัฒนาตัวเข้ารหัสวิดีโอที่ใช้งานได้ฟรี ไม่ต้องเสียค่าไลเซนส์ และได้ผลออกมาเป็น ตัวเข้ารหัสแบบ AV1 ที่เริ่มใช้แล้วใน YouTube, Facebook, Netflix รวมถึงตัวถอดรหัสในชิป MediaTek
Fraunhofer กลับมารอบนี้มีพันธมิตรเข้าร่วมหลายราย ที่ระบุชื่อคือ Apple, Ericsson, Intel, Huawei, Microsoft, Qualcomm, Sony ซึ่งพันธมิตรบางรายอย่าง Microsoft และ Intel ก็เป็นสมาชิกของกลุ่ม AOmedia ด้วยเช่นกัน
ที่มา - Fraunhofer HHI |
# เพื่อวันหยุดที่สงบสุข Slack ให้ตั้งค่าปิดรับทุกการแจ้งเตือนในวันเสาร์-อาทิตย์ได้
ฟีเจอร์ใหม่ Slack ให้ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่า ปิดรับทุกการแจ้งเตือนในวันหยุดได้ ใช้งานได้ทั้ง Slack เวอร์ชั่นฟรีและเสียเงิน และใช้งานได้ทั้งแอปบนพีซีและมือถือ
วิธีตั้งค่าในพีซี
คลิกที่สามเหลี่ยมหัวทิ่มตรงหลังชื่อบริษัท
กด Pause notifications
กด Set notifications schedule
กดเลือก Weekdays
วิธีตั้งค่าในมือถือ
กดปุ่ม You ที่มีไอคอนคล้ายรูปหน้าคน
กด Notifications
กด Notification Schedule
กด Allow notifications
เลือก Weekdays
ก่อนหน้านี้ Slack ก็ทำฟีเจอร์จำกัดช่วงเวลาการแจ้งเตือนที่ได้รับในแต่ละวันได้
ที่มา - The Verge |
# Roposo แอปวิดีโออินเดียมีผู้ใช้เพิ่มทันที 22 ล้านคน หลัง Tiktok โดนแบน
หลังจากรัฐบาลอินเดียประกาศแบนแอปพลิเคชั่นจากจีน 59 แอป (ซึ่งรวมถึง Tiktok) ได้เพียงสองวัน Roposo แอปพลิเคชั่นวิดีโอสัญชาติอินเดียก็มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นถึง 22 ล้านคนทันที โดยปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดอยู่ที่ 80 ล้านครั้งเฉพาะใน Play Store (ก่อนประกาศแบนอยู่ที่ 50 ล้านครั้ง) และคาดว่าจะมียอดดาวน์โหลดมากถึง 100 ล้านครั้งในเร็วๆนี้
Roposo เปิดตัวในอินเดียเมื่อปี 2014 เป็นแพลตฟอร์มที่ให้ผู้ใช้สามารถโพสต์วิดีโอสั้นๆ มีฟีเจอร์ใส่เอฟเฟค เพิ่มสติกเกอร์ และตัดต่อคลิปคล้ายกับ Tiktok นอกจากนี้ยังมีระบบ Coins ให้ผู้ใช้สร้างรายได้จากวิดีโออีกด้วย
Mayank Bhangadia หนึ่งในผู้ก่อตั้งแอปเผยว่า ปัจจุบันบริษัทมีพนักงานทั้งหมด 200 คน โดยมีแผนจะเพิ่มพนักงาน 10,000 คนภายในอีก 2 ปี พร้อมทั้งอาจจะเปิดให้ใช้งานทั่วโลกอีกด้วย
ที่มา - Reuters |
# PlayStation 4 ยังผลิตในญี่ปุ่น และโรงงานใช้หุ่นยนต์แทบทั้งหมด
สำนักข่าว Nikkei รายงานถึงโรงงานของ PlayStation 4 ที่ไม่ค่อยมีใครรู้นักว่าผลิตยังไง โดยประเด็นน่าสนใจคือโรงงานแห่งนี้อยู่ห่างจากโตเกียวไม่มากนัก และใช้หุ่นยนต์แทบทั้งหมด ในสายการผลิตมีคนงานสองคนสำหรับวาง motherboard เปล่าๆ บนสายพาน กับอีกสองคนเพื่อใส่เครื่องลงกล่อง และสามารถผลิต PS4 ได้ 1 เครื่อง ทุกๆ 30 วินาที โดยสายการผลิตยาว 31.4 เมตร มีหุ่นยนต์ทำงานอยู่ถึง 32 ตัว
โรงงานนี้บริหารโดย Sony Global Manufacturing & Operations (SGMO) ฝ่ายผลิตของ Sony และหนึ่งในความสามารถที่เหนือกว่าโรงงานอื่นคือการใช้หุ่นยนต์เชื่อมวางชิ้นส่วนที่ไม่แข็งเกร็งลงบนตัวเครื่อง เช่น สายไฟ, เทป, และชิ้นส่วนที่อ่อนตัวอื่น เช่นสายไฟแบบริบบอน (สายไฟลักษณะแบนที่ค่อนข้างบอบบาง) เพราะเป็นงานที่ละเอียดอ่อน และต้องใช้แรงพอเหมาะในการเสียบสายที่โดยปกติมักใช้คนประกอบได้ง่ายกว่า
PlayStation ถูกออกแบบให้ผลิตได้ง่ายมาตั้งแต่รุ่นแรก ที่ Teiyu Goto ผู้ออกแบบ ตั้งใจจะให้เป็นคอนโซลที่สามารถผลิตเป็นจำนวนมากได้ง่าย และเป็นผู้ผลักดันให้โรงงานที่ Kisarazu ปรับปรุงสายพานและเทคโนโลยีการผลิต ก่อนจะส่งต่อให้กับบริษัทที่เป็นคู่สัญญาในการผลิตของ Sony และการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตนี้ ก็เป็นส่วนสำคัญในการทำกำไร ในช่วงท้ายของคอนโซลที่ยอดขายมักลดลง
ยังไม่มีข้อมูลว่า PS5 จะผลิตที่โรงงานเดียวกันนี้ หรือมีสายพานการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากเท่ากับ หรือมากกว่า PS4 หรือไม่ แต่เทคโนโลยีสายพานการผลิตที่ล้ำหน้า ก็อาจเป็นอาวุธลับเพิ่มกำไรให้กับ PS5 ได้ แม้ต้องกดราคาให้ต่ำเพื่อแข่งกับ Xbox Series X
ส่วนผู้บริโภคอย่างเรา ก็คงต้องรอติดตามวันที่ทั้ง Sony และ Microsoft พร้อมจะเปิดราคาจำหน่ายให้โลกรู้ต่อไป ว่าเครื่องไหนจะคุ้มค่า และตอบโจทย์ด้านราคา ในเศรษฐกิจโลกยุคหลัง COVID-19 กว่ากัน
ที่มา - Nikkei Asian Review |
# จีนด้วยกันยังไม่เอา TikTok เตรียมหยุดกิจการในฮ่องกง
TikTok แอปวิดีโอที่ได้รับควาามนิยมสูงประกาศหยุดการดำเนินกิจการในฮ่องกงเร็วๆ นี้ หลังจากรัฐบาลจีนประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง
ตัว TikTok เองเพิ่งได้ซีอีโอใหม่ Kevin Mayer จากดีสนีย์ที่เข้ามาดูแลการดำเนินกิจการนอกจีน โดยที่ผ่านมา TikTok ก็พยายามแสดงตัวว่าไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลจีน เช่นการหยุดการสกรีนคอนเทนจากต่างประเทศโดยใช้คนจีน หรือการออกรายงานความโปร่งใส
ที่มา - Strait Times |
# Instagram ทดสอบ Reels ฟีเจอร์สร้างวิดีโอสั้นในอินเดียหลัง TikTok ถูกแบน
ทันทีที่อินเดียแบนแอป TikTok ทาง Instagram ก็ทดสอบฟีเจอร์ใหม่เจาะตลาดวัยรุ่นในอินเดียทันที
เว็บไซต์ Business Insider India รายงานว่า ฟีเจอร์ใหม่ที่ Instagram กำลังทดสอบ คือ Reels ผู้ใช้งานสามารถโพสต์คลิปสั้น 15 วินาที พร้อมเพลง,ฟิลเตอร์ และมาพร้อมเครื่องมือ edit วิดีโออย่างตัวนับถอยหลัง, ตัวเร่งความเร็ววิดีโอ ซึ่งเหมือนกับ TikTok เลย
Reels จะต่างจาก Lasso ที่ Facebook เพิ่งปิดตัวไปตรงที่ Reels เป็นฟีเจอร์หนึ่งใน Instagram ไม่ใช่แอปพลิเคชั่นแยก และ Reels เปิดใช้งานมาก่อนแล้วที่บราซิล โฆษก Facebook ระบุแค่ว่าทางบริษัทกำลังทดสอบ Reels เวอร์ชั่นใหม่ในประเทศอื่นๆ มากขึ้น และไม่รู้ว่า Reels จะเปิดใช้งานในตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ เมื่อไร
เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา Facebook เซ็นสัญญาได้ลิขสิทธิ์เพลงจากค่ายเพลงในอินเดียคือ Saregama ไหนจะยังลิขสิทธิ์ที่ Facebook ได้สิทธิ์การใช้ผลงานมาแล้วจาก Yash Raj Films, Zee Music Company และ T-Series ก็น่าจะเป็นการปูทางสู่การสร้างฐานผู้ใช้งาน Reels ในอินเดียได้มากทีเดียว
ที่มา - TechCrunch |
# Facebook, Twitter, Telegram หยุดส่งข้อมูลตามคำขอรัฐบาลฮ่องกงหลังจีนประกาศกฎหมายความมั่นคง
เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, และเทเลแกรม เริ่มให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างๆ ว่าจะหยุดส่งข้อมูลตามคำขอหน่วยงานรัฐบาลฮ่องกง หลังจาก WhatsApp ที่อยู่ใต้เฟซบุ๊กได้ระบุแนวทางนี้เมื่อวานนี้
ทวิตเตอร์ระบุเหตุผลที่ต้องหยุดทำตามคำขอจากฮ่องกงว่ากฎหมายความมั่นคงของฮ่องกงนั้นเพิ่งเปิดเผยออกมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้บริษัทต้องใช้เวลาในการตรวจสอบผลกระทบของกฎหมาย โดยแสดงความกังวลต่อคำหลายคำในตัวกฎหมายว่ากำกวม ตลอดจนกระบวนการผ่านกฎหมายและจุดมุ่งหมายของกฎหมายเองก็น่าวิตก
เทเลแกรมระบุว่าความเป็นส่วนตัวสำคัญต่อคนฮ่องกงในช่วงเวลาเช่นนี้ และจะไม่ส่งข้อมูลผู้ใช้ให้รัฐบาลฮ่องกงจนกว่าจะมีความเห็นร่วมกันต่อความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในฮ่องกงในระดับนานาชาติ
ที่ผ่านมาฮ่องกงนับเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างโลกตะวันตกและจีน จากระบบกฎหมายที่ต่างจากจีนและกระบวนการเซ็นเซอร์หรือการบังคับใช้กฎหมายก็ต่างกันมาก ทำให้ผู้ให้บริการจำนวนมากมีสำนักงานหรือศูนย์ข้อมูลในฮ่องกง
ที่มา - TechCrunch, Hong Kong Free Press
ภาพจาก Shutterstock |
# LibreOffice 7.0 จะแยกเป็นรุ่น Personal Edition และ Enterprise Edition
โครงการ LibreOffice ประกาศข่าวการแยกรุ่น Personal Edition และ Enterprise Edition โดยจะเริ่มใช้ใน LibreOffice 7.0 ที่จะออกตัวจริงในเร็วๆ นี้ (สถานะตอนนี้คือรุ่น RC)
LibreOffice Personal Edition คือรุ่นที่มีในปัจจุบัน ใช้งานฟรีเช่นเดิม ซัพพอร์ตโดยชุมชน แต่แปะป้ายให้ชัดเจนขึ้น
ส่วนรุ่น Enterprise Edition ที่จะตามมาภายหลัง เป็นรุ่นที่ขายซัพพอร์ตเชิงพาณิชย์ เน้นใช้งานในตลาดองค์กร โดยมูลนิธิ The Document Foundation จะไม่ขายซัพพอร์ตเอง แต่เปิดทางให้บริษัทต่างๆ เข้ามาทำตลาดในแบรนด์ของตัวเอง แล้วแปะป้ายว่าเป็น LibreOffice Enterprise Edition
แนวทางการแยกรุ่น Personal (หรือบางโปรแกรมเรียก Community) กับรุ่น Enterprise ไม่ใช่ของใหม่ในโลกโอเพนซอร์ส กรณีของ LibreOffice ที่เพิ่งหันมาทำแบบนี้บ้าง เป็นส่วนหนึ่งของแผนการตลาดระยะยาว 5 ปี (2020-2025) ที่ต้องการแยกแบรนด์ของ LibreOffice ให้ชัดเจนขึ้น
ที่มา - LibreOffice |
# [ลือ] ไมโครซอฟท์สนใจซื้อ Warner Bros. Interactive บริษัทเกมในเครือ Warner
จากที่มีข่าว AT&T ในฐานะเจ้าของ WarnerMedia ไม่สนใจทำธุรกิจเกมแล้ว และกำลังเจรจาขายฝ่าย Warner Bros. Interactive Entertainment (WBIE) ออกไป
ในข่าวเดิมระบุว่าผู้สนใจซื้อมีทั้ง EA, Activision Blizzard, Take Two ล่าสุดมีชื่อของไมโครซอฟท์โผล่มาเพิ่มอีกราย
ข่าวไมโครซอฟท์สนใจซื้อ WBIE คงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก เพราะช่วงหลัง Xbox Games Studio เร่งขยายตัวอย่างหนัก และตอนนี้มีสตูดิโอเกมในสังกัดมากถึง 15 แห่งแล้ว ถ้าซื้อ WBIE จริงก็จะได้สตูดิโอในสังกัดมาถึง 10 แห่ง เช่น Avalanche, Monolith, NetherRealm, Rocksteady
จุดเด่นของ WBIE ในปัจจุบันคือการเข้าถึงลิขสิทธิ์ตัวละครจากภาพยนตร์เครือ Warner Bros. เช่น Harry Potter และฮีโร่สาย D.C. Comics ในฐานะบริษัทลูก แต่เจ้าของใหม่ของ WBIE จะไม่ได้สิทธินี้โดยอัตโนมัติ และต้องมาเจรจากับ Warner Bros. ใหม่อยู่ดี (แต่คาดว่าเกมที่ไม่อิงกับหนัง เช่น Mortal Kombat จะใช้ได้เลย)
ที่มา - IGN |
# Uber ซื้อบริษัทเดลิเวอรี Postmates มูลค่า 2.65 พันล้านดอลลาร์
ตรงตามข่าวลือก่อนหน้านี้ วันนี้ Uber ประกาศซื้อกิจการคู่แข่งเดลิเวอรีในสหรัฐ Postmates ในราคาประมาณ 2.65 พันล้านดอลลาร์ ด้วยวิธีการแลกหุ้นทั้งหมด
Uber ระบุว่าถึงแม้ Postmates เป็นคู่แข่งกับ Uber Eats ในสหรัฐอเมริกา แต่ก็เน้นคนละตลาดกัน ทั้งในแง่พื้นที่ให้บริการที่แตกต่างกัน และความถนัดของ Postmates ที่เน้นร้านอาหารขนาดเล็ก-กลาง
ตอนนี้บอร์ดของทั้งสองบริษัทเห็นชอบการซื้อกิจการแล้ว และหลังการควบกิจการเสร็จสิ้นในช่วงไตรมาส 1 ปี 2021 Uber จะยังคงบริการแอพ Postmates แยกต่างหากต่อไป ไม่นำมาผนวกรวมกับ Uber Eats
ก่อนหน้านี้ Uber พลาดการซื้อคู่แข่งอีกรายคือ GrubHub เพราะเจรจาไม่ลงตัว ทำให้ GrubHub ขายให้ Just Eat Takeaway ของยุโรปแทน (ในราคาที่แพงกว่ามากคือ 7.3 พันล้านดอลลาร์)
การควบกิจการของ Uber/Postmates และ Just Eat Takeaway/Grubhub ส่งผลให้บริการเดลิเวอรีในสหรัฐอเมริกา ยังเหลือผู้เล่นอิสระอีก 1 รายคือ Doordash
ที่มา - Uber, ภาพจาก Postmates |
# Tesla เปิดขายกางเกงขาสั้น ล้อก.ล.ต. สหรัฐฯ ว่าเอาใจคนเล่นช็อต
Elon Musk ประกาศขายกางเกงขาสั้นแบรนด์ Tesla เป็นรุ่นลิมิเต็ดในราคา 69.420 ดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่าเลข 420 ต่อท้ายนี้มาจากราคา 420 ดอลลาร์ที่ Elon เคยประกาศว่าจะซื้อหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์ก่อนหน้านี้
Elon เองประกาศตั้งแต่วันที่ 3 ที่ผ่านมาว่าจะส่งกางเกงขาสั้นนี้ให้กับกรรมการสร้างความร่ำรวยให้คนเล่นช็อต (Shortseller Enrichment Commission - SEC ล้อกับชื่อย่อก.ล.ต. สหรัฐฯ)
คดีการประกาศซื้อหุ้นคืนที่ราคา 420 ดอลลาร์จบลงด้วยการที่ตัว Elon ยอมความกับก.ล.ต. สหรัฐฯ โดยเสียค่าปรับ 20 ล้านดอลลาร์
หุ้น Tesla ราคาเกิน 420 ดอลลาร์มาตั้งแต่ช่วงต้นปี โดยราคาล่าสุดอยู่ที่ 1,200 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ที่มา - Tesla |
# WhatsApp หยุดทำตามคำขอข้อมูลจากรัฐบาลฮ่องกง หลังจีนประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง
WhatsApp ประกาศ "หยุด" การดำเนินการตามคำขอข้อมูลผู้ใช้จากรัฐบาลฮ่องกง โดยระบุว่าบริษัทกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบผลกระทบจากกฎหมายความมั่นคงที่รัฐบาลจีนประกาศใช้ โดยจะตรวจสอบตัวกฎหมายเองและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน
กฎหมายความมั่นคงให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างกว้างขวาง ทั้งการตรวจค้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การสั่งให้ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องเปิดเผยหรือลบข้อมูล
อินเทอร์เน็ตฮ่องกงนั้นต่างจากจีนมาก เพราะการใช้งานบริการในโลกตะวันตกทั้งหมดล้วนใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก, กูเกิล, หรือทวิตเตอร์ ขณะที่ในจีนแผ่นดินใหญ่บล็อคบริการเหล่านี้เกือบทั้งหมด
ที่มา - Reuters
ภาพจาก Shutterstock |
# Canon เลิกใช้ศัพท์ master/slave ในผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างเป็นทางการ
Canon ประกาศเลิกใช้ศัพท์ master และ slave ซึ่งเป็นคำศัพท์สื่อถึงทาสในผลิตภัณฑ์กลุ่มกล้องอย่างเป็นทางการ ในช่วงที่มีการประท้วงเรียกร้องเรื่องสีผิวกันหลายประเทศทั่วโลก
คำว่า master กับ slave เป็นศัพท์ที่ใช้ในวงการถ่ายภาพมาสักระยะแล้ว ซึ่งมักจะเห็นได้ชัดในอุปกรณ์อย่างเช่นแฟลชที่ทำงานร่วมกันกันมากกว่า 1 ตัว จะมีตัวหนึ่งเป็น master ที่เอาไว้ใช้คุมแฟลชตัวอื่น ๆ ที่เรียกว่า slave โดย Canon จะแทนที่ master และ slave ด้วยคำว่า sender และ receiver ตามลำดับ
Canon Europe ระบุว่า Canon ทยอยเลิกใช้ศัพท์ master และ slave ตั้งแต่ปลายปี 2017 แล้ว ตอนนี้สินค้าใหม่ทุกชิ้นของ Canon จะไม่ใช้ศัพท์ทั้งสองนี้อีก ส่วนของเก่าก็จะยังคงใช้ master และ slave ต่อไปเนื่องจากสัญลักษณ์เหล่านี้ติดกับจอแอลซีดี ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยการอัพเดตเฟิร์มแวร์
ที่มา - PetaPixel, Fstoppers, Canon Speedlite 470EX-AI Manual
Canon 470EX-AI ภาพจากข่าวเก่า |
# Linus Torvalds พูดถึงคอมใหม่ Threadripper "รู้งี้ซื้อรุ่นท็อปสุดเลยดีกว่า"
ต่อเนื่องจากข่าว Linus Torvalds ซื้อคอมใหม่ เลือกใช้ AMD Threadripper 3970X แทนซีพียูอินเทล (สเปกคอมของ Linus อย่างละเอียด)
Linus ไปขึ้นเวทีงาน Open Source Summit 2020 และมีคนถามถึงประเด็นนี้ว่า เขาเป็นคนชอบความเงียบในออฟฟิศ มีปัญหาอะไรกับเสียงพัดลมของ Threadripper หรือเปล่า
คำตอบของ Linus คืองานของเขาต้องจัดการแพตช์เคอร์เนลจำนวน 20-30 แพตช์ต่อวัน การคอมไพล์เคอร์เนลบนเครื่องเดิมใช้เวลานานกว่า 15 นาทีต่อครั้ง ซึ่งเขาพบว่าพัดลมบนเครื่องใหม่เสียงดังจริง แต่เขาพบว่าทนได้เพราะระยะเวลาการคอมไพล์สั้นลงกว่าเดิม กลายเป็นว่าตอนนี้เขากลับรู้สึกดีที่ได้ยินเสียงพัดลมทำงานด้วยซ้ำ
ภาพจาก AMD
เขายังบอกว่าเริ่มคิดถึงการอัพเกรดไปใช้ซีพียูตัวท็อป Threadripper 3990X ที่มีจำนวนคอร์เยอะกว่ากันเท่าตัว (64 คอร์ vs 32 คอร์) เพราะจะยิ่งทำให้ระยะเวลาคอมไพล์สั้นลงไปอีก
Linus ยังพูดถึงเทรนด์การใช้ซีพียู ARM ว่าอยากให้เห็นการใช้งานบนเดสก์ท็อปมานานแล้ว เขาให้ความเห็นว่า ซีพียู Graviton 2 ของ AWS มีประสิทธิภาพดีขึ้นจากเดิมมาก แต่สำหรับนักพัฒนาเคอร์เนลแล้วจำเป็นต้องมีเครื่องจริงๆ ตั้งอยู่ตรงหน้า เพราะเครื่องบนคลาวด์ไม่เหมาะกับงานประเภทนี้
ที่มา - The New Stack |
# อินเดียเตรียมเสนอร่างกฎคุมอีคอมเมิร์ซ รัฐเข้าถึงอัลกอริทึมเพื่อดูว่าโน้มเอียงและผูกขาดหรือไม่
Bloomberg รายงานว่าอินเดียกำลังร่างกฎหมายอีคอมเมิร์ซ ที่น่าจะกระทบรายใหญ่อย่าง Amazon, Google โดยเนื้อหาสำคัญคือ รัฐบาลจะแต่งตั้งผู้ควบคุมอีคอมเมิร์ซเพื่อให้แน่ใจว่าอุตสาหกรรมสามารถแข่งขันได้ และมอบอำนาจให้รัฐบาลเข้าถึงรหัส source codes และอัลกอริธึมของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ที่จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าไม่เกิด “อคติที่เกิดจากดิจิทัล” โดยคู่แข่งทางการค้า รวมถึงวิธีการใช้ AI บนแพลตฟอร์มด้วย
ในร่างเสนอกฎหมายยังระบุด้วยว่า บริษัทอีคอมเมิร์ซจะต้องเปิดเผยข้อมูลต่อรัฐบาลหลังมีการร้องขอภายใน 72 ชั่วโมง ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ, ภาษีและคำสั่งซื้อ และต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขายแก่ผู้ซื้อ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ที่ลูกค้าจะโทรไปร้องเรียนได้, ที่อยู่, อีเมล และถ้าเป็นสินค้านำเข้าก็ควรระบุให้ชัดว่ามาจากประเทศอะไร
ตัวร่างกฎหมายมี 15 หน้า จัดทำโดยกระทรวงพาณิชย์เพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมและการค้าภายใน (Ministry of Commerce’s Department for Promotion of Industry & Internal Trade) และจะจัดให้มีการแสดงความเห็นทางออนไลน์ก่อนจะดำเนินการต่อไป
อินเดียเคยออกกฎเข้มงวดกับอีคอมเมิร์ซมาแล้ว คือ ห้ามขายสินค้าที่ตัวเองมีส่วนได้ส่วนเสียบนแพลตฟอร์ม กระทบ Amazon, Flipkart ทำให้ต้องเอาสินค้าออกนับแสนรายการ
ภาพจาก Shutterstock
ที่มา - Bloomberg |
# หัวหน้าความปลอดภัย Android ถอนตัวงาน Black Hat เรียกร้องเลิกใช้คำ Black/White Hat
เกิดการถกเถียงกันในวงการความปลอดภัยไซเบอร์ (infosec หรือ information security) หลัง David Kleidermacher หัวหน้าทีมความปลอดภัย Android ประกาศถอนตัวจากเวทีงานสัมมนาความปลอดภัย Black Hat 2020 พร้อมกับเรียกร้องให้เลิกใช้คำว่า black hat/white hat รวมถึงคำที่แบ่งแยกเพศอย่าง man in the middle (MITM)
คำประกาศของ Kleidermacher สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งฝั่งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยมองคำว่า black hat ว่าเป็นสีของหมวกคาวบอยฝ่ายผู้ร้ายในภาพยนตร์ ไม่เกี่ยวกับการแบ่งแยกสีผิว และมีความหมายที่ต่างจาก blacklist/whitelist ที่เป็นประเด็นในช่วงก่อนหน้านี้
ที่มา - ZDNet, DigitalTrends
ภาพจาก @BlackHatEvents |
# The Last of Us Part II บานปลาย ผู้พากย์เสียง-นักพัฒนาเกมถูกขู่ฆ่าบนโซเชียล
ความขัดแย้งจากประเด็นเนื้อเรื่องของเกม The Last of Us Part II ยิ่งบานปลาย เมื่อทีมผู้สร้างเกม ทั้งตัวนักพัฒนาและผู้พากย์เสียงตัวละคร ถูกขู่ฆ่าทางทวิตเตอร์
Laura Bailey ผู้พากย์เสียงตัวละครในเกม โพสต์โชว์ข้อความที่เธอได้รับทางโซเชียล จากผู้เล่นที่อาจ "อิน" กับเนื้อเรื่องเกม และไม่พอใจพฤติกรรมที่ตัวละครของเธอทำในเกม
Neil Druckmann ผู้บริหารของ Naughty Dog และผู้กำกับ-ผู้เขียนบทเกมทั้งสองภาค แสดงความเห็นว่าเกมเมอร์เหล่านี้คงมีปัญหาทางจิต และนี่เป็นตัวอย่างของการสร้างสื่อบันเทิงที่ท้าทายขนบธรรมเนียมเดิมๆ ว่าได้รับผลกระทบอย่างไร ซึ่ง Laura ไม่ควรเจอเหตุการณ์แบบนี้
Druckmann ยังแชร์ข้อความแสดงความเกลียดชังที่เขาได้รับ นับตั้งแต่เนื้อเรื่องของเกม The Last of Us Part II รั่วออกมาก่อนเกมวางขาย
ต้นสังกัด Naughty Dog ก็ออกแถลงการณ์ว่ายินดีรับเสียงวิจารณ์ต่อเกม แต่ขอประณามการคุกคามทีมงานในลักษณะนี้
ปัญหาเรื่องการข่มขู่ทางโซเชียลไม่ใช่เรื่องใหม่ของวงการเกม ในปี 2019 ก็เคยมีกรณีแบบเดียวกันกับทีมพัฒนา Apex Legends และ EA FIFA มาก่อน
ที่มา - GamesRadar, Eurogamer, ภาพจาก @Naughty_Dog |
# All Flash Storage หัวใจของแอปยุคใหม่ที่ต้องรองรับการใช้งาน ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
การมาถึงของเศรษฐกิจในยุคดิจิทัลไม่ได้ก่อให้เกิดเพียงแค่เปลี่ยนวิธีการทำงานขององค์กรที่หันมาใช้งานบริการออนไลน์ ลดขั้นตอนการทำงานต่างๆ ลง แต่ยังทำให้เกิดความคาดหวังของลูกค้าและพนักงานที่ต้องการการตอบสนองจากแอปพลิเคชั่นอย่างรวดเร็ว การที่แอปพลิเคชั่นทำงานได้ช้าไม่ตอบสนองต่อการทำงานอาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานจนองค์กรขาดความสามารถในการแข่งขันในที่สุด
สาเหตุที่ทำให้แอปพลิเคชั่นตอบสนองได้ช้ามีหลากหลายสามเหตุทั้งตัวแอปพลิเคชั่นไปจนถึงโครงสร้างพื้นฐานส่วนต่างๆ ที่อาจจะไม่มีประสิทธิภาพดีพอสำหรับการใช้งาน โดยในยุคการเก็บข้อมูลธุรกิจอย่างกว้างขวาง เราพบว่าประสิทธิภาพของระบบจัดเก็บข้อมูลมีผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพโดยรวมของแอปพลิเคชั่นเอง
กระแสการมุ่งสู่ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลช (All Flash Storage)
สำหรับคอมพิวเตอร์พีซีเราคงเห็นการปรับมาใช้งานจากฮาร์ดดิสก์แบบหมุน (rotating disk) มาเป็น Solid State Disk (SSD) แทนกันเป็นวงกว้าง คอมพิวเตอร์จำนวนมากมาพร้อมกับ SSD เพียงอย่างเดียวแล้วทุกวันนี้ การเก็บข้อมูลระดับองค์กรเองก็ไปในทางเดียวกัน เพื่อทำให้แอปพลิเคชั่นตอบสนองผู้ใช้งานได้ดีที่สุด
ระบบเก็บข้อมูลแบบ SSD ทั้งหมดหรือ All Flash Array เป็นทางเลือกสำหรับการใช้งานกับแอปพลิเคชั่นที่มีอัตราการเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่ ต้องการประสิทธิภาพสูง เช่นการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังหรือการพัฒนางานในกลุ่มปัญญาประดิษฐ์ที่ล้วนต้องใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ทั้งสิ้นทำให้องค์กรล้วนมีแนวทางอัพเกรดระบบสตอเรจไปยัง All Flash Array แนวทางเช่นนี้ทำให้ตลาดรวมของ All Flash Array มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี 2018 อยู่ที่ 5.9 พันล้านดอลลาร์ กลุ่มวิจัย Markets and Markets คาดว่าจะเพิ่มถึง 17.8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2023 นี้
OceanStor Dorado ระบบจัดเก็บข้อมูลที่เป็นผู้นำทั้งประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ
หัวเว่ยรู้ว่าลูกค้าต้องการประสิทธิภาพสูงสุดพร้อมกับความน่าเชื่อถือของระบบที่ต้องรับผิดชอบข้อมูลสำคัญขององค์กรตลอดเวลา OceanStor Dorado ที่เป็นระบบสตอเรจแบบออลแฟลชจึงไม่ได้เป็นเพียงการเปลี่ยนจากสตอเรจแบบจานหมุนมาเป็น SSD เท่านั้น แต่หัวเว่ยเป็นบริษัทแรกที่ใช้โปรโตคอล NVMe กับระบบสตอเรจเต็มรูปแบบ แบบ end-to-end ทำให้ระยะเวลาส่งข้อมูล (latency) ระหว่างซีพียูและสตอเรจเหลือเพียง 0.081ms เท่านั้น
นอกจากประสิทธิภาพสูงสุด OceanStor Dorado ยังสามารถขยายระบบรองรับความต้องการขนาดต่างๆ ได้ทั่วถึง โดยสามารถขยายหน่วยควบคุมการจัดเก็บข้อมูลไปถึง 32 controller รองรับอัตราการอ่าน-เขียนสูงสุดที่ 20 ล้าน IOPS โดยมีฟีเจอร์ Smart Matrix ตรวจสอบเสถียรภาพของระบบสตอเรจให้ทำงานได้ต่อเนื่อง สามารถทนทานต่อกรณีตัวควบคุมเสียหายได้สูงสุด 7 controller แต่ยังทำงานต่อไปได้ด้วยการทำ load balancing กระจายโหลดออกไป
การจัดการสตอเรจขนาดใหญ่และซับซ้อนไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับ OceanStor Dorado ด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยจัดการทำนายถึงการจัดการที่เหมาะสม กระบวนการดูแลและบำรุงรักษา (operation and maintenance - O&M) โดยรวมจะประหยัดเวลาลงมากด้วยเครื่องมือ Device Manager ที่ทำงานได้ครบวงจร
โครงการ Flash Ever อัพเกรดให้ OceanStor Dorado ช่วยอิมพลีเมนต์การทำงานแบบ Intelligent O&M ลูกค้าที่เข้าโครงการสามารถอัพเกรดระบบควบคุมการจัดเก็บข้อมูลใหม่ทุกสามปีโดยไม่ต้องทำ data migration ให้ยุ่งยาก และยังรับประกันถึงความสามารถในการบีบอัดข้อมูลว่าจะได้สัดส่วนตามประเภทงาน
ทั้งหมดทำให้ OceanStor Dorado มีตัวเลือกที่ครบถ้วนทั้งตัวเทคโนโลยีที่เหนือชั้นและบริการระดับสูง ในยุคที่การปรับปรุงให้บริการต่างๆ มีประสิทธิภาพสูงสุดเป็นเรื่องจำเป็น และการลงทุนระบบสตอเรจแบบออลแฟลชเป็นสิ่งที่หลีเลี่ยงไม่ได้สำหรับหลายองค์กร OceanStor Dorado ของหัวเว่ยมอบได้ทั้งประสิทธิภาพระดับสูง, ความน่าเชื่อถือสำหรับบริการสำคัญที่เป็นหัวใจธุรกิจ, และบริการระดับพรีเมี่ยม เพื่อช่วยให้องค์กรสร้างความคุ้มค่าและประหยัดในระยะยาว
สนใจ OceanStor Dorado ของหัวเว่ยอ่านข้อมูลการทดสอบประสิทธิภาพ OceanStor Dorado ของบริษัทวิจัย ESG เพิ่มเติม หรือติดต่อขอข้อมูลและใบเสนอราคาได้ที่เว็บไซต์หัวเว่ยประเทศไทย |
# Facebook ร่วมกับภาคการศึกษาอินเดีย เปิดหลักสูตรความปลอดภัยออนไลน์ และ AR
Facebook ร่วมมือกับหน่วยงานดูแลโรงเริียนเอกชนและรัฐบาลในอินเดียหรือ Central Board of Secondary Education (CBSE) เปิดตัวหลักสูตรดิจิทัล ว่าด้วยความปลอดภัยบนโลกดิจิทัล, digital wellbeing และ augmented reality
หลักสูตรมีเป้าหมายเพื่อปูพื้นฐานการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อค้นคว้า และเน้นการไม่ใช้งานออนไลน์มากเกินไปจนมีผลต่อสภาพจิต โดย Facebook ระบุว่าตัวโครงการมีสามระยะ ระยะแรกคือต้องการเทรนครูเกี่ยวกับหลักสูตรให้ได้ 10,000 ราย ระยะที่สองก็เข้าสู่การนำหลักสูตรนี้ไปสอนนักเรียนให้ได้ 30,000 ราย สำหรับเนื้อหาเรื่อง AR นักเรียนจะได้ใช้เครื่องมือ Spark AR Studio ของ Facebook ในการเรียนรู้ เป็นเวลา 3 สัปดาห์
ระยะหลัง Facebook มีกิจกรรมในอินเดียมากขึ้น ก่อนหน้านี้ก็ลงทุนก้อนใหญ่ใน Jio ผู้ให้บริการเครือข่ายในอินเดียถึง 5,700 ล้านดอลลาร์ และร่วมกันเปิดตัว Digital Udaan โปรแกรมการเรียนรู้ด้านดิจิทัลสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก
ภาพจาก CBSE
ที่มา - TechCrunch |
# Chrome ครองส่วนแบ่งตลาดเบราว์เซอร์บนเดสก์ท็อปเกิน 70% แล้ว, Edge ยึดอันดับสอง
สถิติส่วนแบ่งตลาดเบราว์เซอร์ของ NetMarketShare ประจำเดือนมิถุนายน 2020 พบว่า Chrome มีส่วนแบ่งตลาดเบราว์เซอร์เดสก์ท็อปเกิน 70% เรียบร้อยแล้ว
อันดับสองคือ Edge ที่แซงหน้า Firefox ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มเป็น 8.05% ส่วนอันดับสาม Firefox กลับมาเพิ่มเล็กน้อยเป็น 7.58%
ส่วนแบ่งตลาดเบราว์เซอร์บนอุปกรณ์พกพา Chrome ยังนำอยู่ที่ 61.92% ตามมาด้วยอันดับสอง Safari ที่ 26.93%
ระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อป Windows ครองตลาดที่ 86.69%, macOS 9.22%, Linux 3.61%
แต่ถ้าดูแบบแยกเวอร์ชันด้วย ตอนนี้ Windows 10 มีส่วนแบ่งตลาดเดสก์ท็อปทั้งหมด 58.93% แล้ว, Windows 7 ลดเหลือ 23.35%, Windows 8.1 ที่ 2.95%
ระบบปฏิบัติการมือถือ ค่อนข้างคงตัว โดย Android ครองตลาดที่ 68.94% ลดลงเล็กน้อย และ iOS เพิ่มเป็น 29.07%
ที่มา - NetMarketShare vis MSpoweruser |
# เฟซบุ๊กเปิดชุดข้อมูลทำความเข้าใจภาษาใหม่ ทดสอบปัญญาประดิษฐ์ว่าอ่านประโยคเข้าใจหรือไม่
เฟซบุ๊กเปิดชุดข้อมูล Adversarial Natural Language Inference (ANLI) ชุดข้อมูลสำหรับการทดสอบปัญญาประดิษฐ์ว่าเข้าใจถึงประโยคที่กำลังอ่านอยู่จริงหรือไม่ โดยตัวอย่างประโยคอินพุดนั้นเป็นการลำดับตรรกะ เช่น "โสเครติสเป็นมนุษย์ และมนุษย์ทุกคนต้องตาย" ปัญญาประดิษฐ์ที่ทำงานถูกต้องจะสามารถบอกได้ว่าประโยค "โสเครติสเป็นอมตะ" นั้นขัดแย้งกับประโยคก่อนหน้า ขณะที่ประโยคว่า "โสเครติสต้องตาย" เป็นประโยคที่เห็นพ้องกับประโยคอินพุต
ความพิเศษของชุดข้อมูล ANLI คือมันสร้างขึ้นมาโดยอาศัยมนุษย์ที่เป็นนักเขียน แล้วให้รางวัลการออกแบบอินพุตตามความสามารถในการหลอกโมเดลที่ดีที่สุดในตอนนี้ ทุกครั้งที่นักเขียนสามารถหลอกโมเดลปัญญาประดิษฐ์ได้สำเร็จนักเขียนต้องโน้ตว่าคิดว่าอะไรทำให้ปัญญาประดิษฐ์ทำงานผิดพลาด จากนั้นอินพุตจะถูกตรวจสอบซ้ำก่อนรวมลงชุดข้อมูล
ทางเฟซบุ๊กหวังว่าชุดข้อมูลใหม่นี้จะกลายเป็นตัววัดประสิทธิภาพของงานวิจัยการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing - NLP) ต่อไป และทำให้วงการนี้ก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญ
ที่มา - Facebook |
# Elastic เตรียมปรับโครงสร้าง Kibana ครั้งใหญ่ สลับระหว่างแอปไม่ต้องรอโหลดนานอีกต่อไป
Elastic ผู้พัฒนาโครงการโอเพ่นซอร์ส ELK Stack ประกาศปรับสถาปัตยกรรมของ Kibana ครั้งใหญ่ หลังจากที่เปิดตัวมาแล้วราว 5 ปี
Kibana เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์พร้อม UI สำหรับเสิร์ช, วิเคราะห์ข้อมูล และจัดการรายละเอียดต่าง ๆ ของ Elasticsearch ซึ่งภายใต้ Kibana คือโครงการ JavaScript ที่ใช้เทคโนโลยีหลากหลาย เช่น Angular.js, Express, RequireJS, Hapi.js
ปัญหาคือตอนนี้โค้ดของตัว Kibana เป็นรูปแบบ monolith ทำให้โครงการทำงานได้ช้าลง ทางโครงการเริ่มหันมาสนใจการพัฒนาในรูปแบบไมโครเซอร์วิสที่กำหนด scope ของทีมย่อย ๆ ให้แต่ละคนทำงานได้เร็วขึ้น และคุยกันในรูปแบบ API แทน
อย่างไรก็ดี Kibana ใช้ระบบติดตั้งเป็นไบนารีตัวเดียวมานาน การจะปรับเปลี่ยนไบนารีเป็นหลายตัวจะสร้างความซับซ้อนโดยไม่จำเป็น ทางโครงการจึงตัดสินใจเลือกใช้การ encapsulation เพื่อกำหนดสโคปการทำงานระหว่างส่วนต่าง ๆ ของ Kibana แทน จากเดิมที่ปล่อยให้ส่วนไหนทำอะไรก็ได้ เปลี่ยนมาเป็นให้แต่ละส่วนทำงานได้ในรูปแบบที่จำกัด เพื่อให้แต่ละทีมย่อยกำหนดสโคปงานของตัวเองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และที่สำคัญคือยังคงดีพลอยได้ด้วยไบนารีเพียงตัวเดียว
โครงสร้างใหม่ของ Kibana จะมีคอร์เป็นตัวหลักทั้งฝั่งเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนท์ โดยคอร์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์จะจัดการฟังก์ชันด้าน backend ส่วนคอร์ฝั่งไคลเอนท์จะจัดการฟังก์ชันฝั่ง frontend หน้าที่หลักของคอร์คือบู๊ตตัว Kibana, โหลดปลั๊กอิน, จัดการคอนฟิก, จัดหา API พื้นฐานในแต่ละช่วงเวลาของ system lifecycle (เช่น stop, start, setup) ซึ่งภายใต้ตัวคอร์ก็มีเซอร์วิสหลาย ๆ เซอร์วิส แต่ถูกครอบไว้เพื่อให้เรียกผ่าน API ที่ง่ายต่อการจัดการมากกว่า
คอร์ทั้งสองฝั่งจะมี API ที่ต่างกัน แต่เป้าหมายหลักเหมือนกัน และยังคงแชร์ดีไซน์ด้วยกัน ซึ่งจะง่ายต่อการพัฒนาปลั๊กอินบน Kibana มากขึ้น จากเดิมที่นักพัฒนาต้องใช้ทั้ง Hapi เพื่อพัฒนาปลั๊กอินบนฝั่งเซิร์ฟเวอร์ และ Angular เพื่อพัฒนาปลั๊กอินที่รันบนไคลเอนท์ มาเป็นการเขียนปลั๊กอินเรียก API ในแพทเทิร์นเดียวที่สามารถพอร์ตไปมาระหว่าง environment ทั้งสองได้
ตอนนี้ Kibana เริ่มไมเกรตปลั๊กอินไปสู่ API บนแพลตฟอร์มใหม่มาสักระยะหนึ่งแล้ว และในเวอร์ชัน 7.9.0 แอปทั้งหมดภายใต้ Kibana จะรันบนแพลตฟอร์มใหม่นี้ จุดเด่นที่จะได้จากการปรับสถาปัตยกรรมใหม่คือระบบจะเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การสลับระหว่างแอปบนแท็บของ Kibana ไม่ต้องรอโหลดนาน ๆ อีกต่อไป
ส่วนนักพัฒนาปลั๊กอินสำหรับ Kibana ทางโครงการแนะนำให้เริ่มพัฒนาปลั๊กอินกับ Kibana 7.9 หรือใหม่กว่า ส่วนปลั๊กอินที่ติดกับ Kibana แบบเดิมจะเลิกซัพพอร์ตใน KIbana 7.11
ที่มา - Elastic
ภาพจาก GitHub |
# ผู้สร้างเกม Satisfactory เปิดเผยยอดขายบน Epic vs Steam ที่ไหนขายดีกว่า
เราเห็นการถกเถียงกันเรื่อง Steam vs Epic Games ในหมู่เกมเมอร์อยู่บ่อยครั้ง แต่ไม่ค่อยเคยเห็นนักพัฒนาเกมออกมาให้ความเห็นเรื่องนี้มากนัก
แต่ล่าสุด Coffee Stain Studios บริษัทผู้สร้าง Satisfactory เกมแนวสร้างโรงงานบนโลกต่างดาว แหวกธรรมเนียมของวงการด้วยการออกมาเปิดเผยตัวเลขยอดขายอย่างละเอียดบนทั้งสองแพลตฟอร์ม
ยอดขายของ Satisfactory บนสองแพลตฟอร์มอาจเทียบกันไม่ได้ตรงๆ เพราะเกมขายบน Epic Games Store ก่อนแบบเอ็กซ์คลูซีฟ แล้วถึงขยับขยายมายัง Steam เมื่อไม่นานมานี้ ยอดขายรวมทั้งหมด (นับถึง 3 ก.ค. 2020) คือ 1,326,518 ชุด แบ่งเป็นบน Epic จำนวน 958,917 ชุด และ Steam อีก 367,601 ชุด
Coffee Stain ยังให้ข้อมูลว่ายอดขายบน Epic แตะหลัก 5 แสนชุดภายใน 3 เดือนแรก ส่วนยอดขายบน Steam จำนวน 367,601 ชุดก็ขายได้ภายในเดือนเดียว นั่นแปลว่าบน Steam ขายได้เร็วกว่า
ตัวแทนของ Coffee Stain ให้ความเห็นว่า Steam มีฐานลูกค้าใหญ่กว่ามาก และมีปัจจัยเรื่องเทศกาล Steam Summer Sale เข้ามาช่วยด้วย นอกจากนี้ ตัวเกม Satisfactory (ที่ปัจจุบันยังแปะป้าย Early Access) ก็พัฒนาขึ้นจากตอนเปิดตัวใหม่ๆ บน Epic มาก มีฟีเจอร์เพิ่มเข้ามาหลายอย่าง
ที่มา - PCGamesN |
# Intel เป็นผู้ลงทุนรายล่าสุดใน Jio Platforms เครือข่ายมือถือเบอร์ 1 ของอินเดีย
Jio Platforms ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือเบอร์หนึ่งของอินเดีย ยังเป็นบริษัทร้อนแรงต่อเนื่อง โดยล่าสุดอินเทลประกาศเข้าลงทุนเป็นเงิน 250 ล้านดอลลาร์ แลกกับหุ้น 0.39% ผ่านกองทุน Intel Capital โดยเป็นการซื้อหุ้นของ Jio ที่มูลค่ากิจการ 65,000 ล้านดอลลาร์
Wendell Brooks ประธาน Intel Capital กล่าวว่า Jio Platforms มีจุดเด่นคือการโฟกัสไปที่ด้านวิศวกรรม เพื่อทำให้บริการดิจิทัลมีต้นทุนต่ำและเข้าถึงคนจำนวนมาก สอดคล้องกับแนวทางของอินเทล ที่ต้องการสร้างเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คน
Jio Platforms มีผู้ลงทุนรายสำคัญตอนนี้ อาทิ Facebook, กองทุน Silver Lake, General Atlantic, KKR ไปจนถึงกองทุนของ UAE และซาอุดีอาระเบีย
ที่มา: CNBC, อินเทล ภาพจาก Shutterstock ผ่าน Brand Inside |
# ไมโครซอฟท์เปิดตัว Pylance ตัวรองรับภาษา Python บน VS Code ทำงานเร็วกว่าเดิม, ตรวจชนิดตัวแปร, อิมพอร์ตโมดูลอัตโนมัติ
Visual Studio Code มีส่วนขยายยอดนิยมสามภาษา ได้แก่ Python, C/C++, และ C# โดยไมโครซอฟท์รับนักพัฒนาส่วนเสริมภาษา Python มาร่วมงานตั้งแต่ปี 2007 และตอนนี้ก็หันมาพัฒนาเซิร์ฟเวอร์ภาษาใหม่ในชื่อ Pylance โดยระบุว่าประสิทธิภาพจะดีขึ้น, รองรับการตรวจสอบชนิดตัวแปร, และสามารถอิมพอร์ตโมดูลอัตโนมัติ
เซิร์ฟเวอร์ภาษา เป็นส่วนขยายชนิดพิเศษของ VS Code ที่ให้บริการการรองรับภาษากับโปรแกรมแก้ไขโค้ด โดยไมโครซอฟท์กำหนดโปรโตคอลของฟีเจอร์ต่างๆ เพื่อเปิดให้ตัวแก้ไขโค้ดไม่ว่าจะเป็น VIM หรือ Visual Studio ก็สามารถรองรับภาษาได้เหมือนกันหากรองรับโปรโตคอลนี้ โดยตัวโปรโตคอลรองรับฟีเจอร์เช่น การเติมโค้ด (code completion), การวิเคราะห์ความผิดพลาด, จัดรูปแบบโค้ด เป็นต้น
Pylance สามารถอ่านไฟล์ type-stub (ไฟล์ .pyi) เพื่อวิเคราะห์ชนิดตัวแปรแต่ละตัวพร้อมกับวิเคราะห์ชนิดตัวแปรในโค้ดได้ ทำให้สามารถเสนอตัวเลือกเติมโค้ดได้แม่นยำและเร็วขึ้น โดยตัว Pylance เองมาพร้อมกับ type-stub ของโมดูลยอดนิยมจำนวนหนึ่งในตัว
ตัวนักพัฒนาสามารถเลือกเซิร์ฟเวอร์ภาษาได้จากคอนฟิกของส่วนขยาย Python อีกที หรือหากลง VS Code ใหม่แล้วติดตั้ง Pylance ตัวติดตั้งก็จะติดตั้งส่วนขยาย Python ให้เอง
ที่มา - Microsoft |
# Olympus เปิดตัวแอป OM-D Webcam สำหรับเชื่อมต่อกล้องเป็นเว็บแคมบนพีซี
Olympus เปิดตัวแอปใหม่ชื่อว่า OM-D Webcam สำหรับพีซีเพื่อให้ใช้กล้องโอลิมปัสเป็นเว็บแคมสำหรับไลฟ์สตรีมหรือวิดีโอแชทได้ โดยเสียบสาย USB-C กับพีซี เพื่อให้เหมาะกับยุคปัจจุบันที่คนทำงานที่บ้านมากขึ้น
ตอนนี้ OM-D Webcam ซัพพอร์ตกล้องจำนวนหนึ่งเท่านั้น คือ OM-D E-M1X, OM-D E-M1, OM-D E-M1 Mark II, OM-D E-M1 Mark III และ OM-D E-M5 Mark II และตัว OM-D Webcam จะรับเฉพาะสัญญาณภาพจากตัวกล้องเท่านั้น ส่วนเสียงจะต้องหาไมโครโฟนที่อื่น (หรือไมโครโฟนติดตัวคอมพิวเตอร์) ใช้งานเอง
Olympus ยังคงปล่อย OM-D Webcam ออกมาเฉพาะ Windows เท่านั้น และยังอยู่ในช่วงการทดสอบเบต้า โดยยังไม่มีรายละเอียดว่าจะปล่อยเวอร์ชัน Mac หรือไม่
ที่มา - Engadget
ภาพจากข่าวเก่า |
# OneDrive ขยายขนาดไฟล์เป็น 100GB ต่อไฟล์, เพิ่มฟีเจอร์ Add to OneDrive, Dark Mode บนเว็บ
ไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ให้ OneDrive อีกชุดใหญ่ ฟีเจอร์สำคัญได้แก่ การเพิ่มขนาดสูงสุดของไฟล์ที่รองรับจากเดิม 15GB เป็น 100GB ต่อไฟล์ ช่วยให้การแชร์ไฟล์ขนาดใหญ่มากๆ (เช่น ไฟล์วิดีโอ, 3D, CAD) ระหว่างเพื่อนร่วมงานทำได้ง่ายขึ้นมาก
ฟีเจอร์สำคัญอีกอย่างคือ Add to OneDrive หรือการเพิ่มไฟล์ที่ถูกแชร์มาเข้ามาในไดรฟ์ของเราเอง ลักษณะการใช้งานจะเป็นการเพิ่มช็อตคัตของไฟล์นั้นๆ มาอยู่ในบัญชีไดรฟ์ของเรา เพื่อให้สะดวกต่อการแก้ไขและใช้งานกว่าเดิม
สามารถตั้งชื่อกลุ่มของคนที่เราแชร์ไฟล์ให้บ่อยๆ ได้ (เช่น My Family) แล้วกดเลือกเป็นชื่อกลุ่ม แทนการไล่มาเลือกชื่อทีละคน
OneDrive for Web รองรับ Dark Mode แล้ว
ฟีเจอร์อื่นที่เพิ่มเข้ามาในรอบนี้ได้แก่
Microsoft Teams เพิ่มหน้าจอแชร์ไฟล์แบบเดียวกับ OneDrive ทำให้กดแชร์จาก Teams ได้โดยตรง
ย้ายตำแหน่งไฟล์ได้ แต่การแชร์ไฟล์ยังคงอยู่ คนอื่นยังเข้าถึงได้เหมือนเดิม
เพิ่มระบบแจ้งเตือนหากมีคนคอมเมนต์ในไฟล์
สามารถคัดลอก URL ของไฟล์จาก address bar ไปแชร์ให้เพื่อนร่วมงานได้เลย ไม่ต้องกดปุ่มแชร์ลิงก์ก่อน (แอดมินองค์กรต้องเปิดใช้ฟีเจอร์นี้)
ที่มา - OneDrive |
# ผู้ใช้ในสหรัฐโวย มือถือ Samsung รุ่นเรือธง ทำไมมีโฆษณาเต็มไปหมด
ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผู้ใช้งานมือถือ Samsung รุ่นพับได้ Galaxy Z Flip (ที่ราคาแพงกว่าเรือธงปกติด้วยซ้ำ) ในอเมริกา เริ่มออกมาโวยว่าทำไมในแอป Phone ที่ใช้โทรออก ดันมีโฆษณาโผล่ขึ้นมาในหมวด Places ได้ ซึ่งหมวด Places สำหรับโทรศัพท์ Samsung ในอเมริกา จะเป็นฟังก์ชั่นที่ร่วมกับแอป Yelp เพื่อแนะนำร้านอาหารต่างๆ และหลังจากมีประเด็นนี้ Max Weinbach นักเขียนของเว็บ Android Police จึงได้ลองติดตามเรื่องนี้เพื่อดูว่าเป็นโฆษณาจาก Yelp หรือเปล่า ก่อนจะพบว่าเป็นโฆษณาที่มาจากฝั่ง Samsung เอง
Max เคยทวีตว่าพบโฆษณา Note 10 บนเครื่อง Note 9 ที่เขาใช้ เมื่อปีที่แล้ว แถมล่าสุดยังพบ notification โฆษณาเกมชิงรางวัล S20 ที่ส่งมาจากแอป Samsung Pay อีก นอกจากนี้ยังพบโฆษณาในแอปที่ติดมากับเครื่อง Samsung อีกเพียบ ทั้ง Bixby, Samsung Music, Samsung Health ไปจนถึง Samsung Weather
ภาพจาก Max Weinbach Twitter
ถ้าต้องการปิดโฆษณาแบบ push notifications ผู้ใช้งานมีตัวเลือกเดียวคือปิด notifications จาก Samsung Push Services ไปเลย แต่ก็จะไม่ได้รับ notifications ที่เป็นประโยชน์จากแอปของ Samsung เช่นกัน ส่วนตัวเลือกให้ปิด Customized ads ก็ปิดแค่โฆษณาที่ปรับตามการใช้งาน (personalized ads) เท่านั้น แต่จะยังได้โฆษณาแบบทั่วไปอยู่
Max Weinbach เสนอให้ Samsung มอบตัวเลือกผู้ใช้ให้ปิดโฆษณาได้ แต่อาจจะมอบ Samsung Points ให้กับผู้ใช้ที่ไม่ปิด หรือปรับรายได้ที่ได้จากโฆษณาเหล่านี้ ไปเป็นส่วนหนึ่งของเงินที่มอบให้สาธารณะประโยชน์ผ่านแอป Global Goals ของ Samsung ที่โดยทั่วไปจะให้ผู้ใช้เปิดโฆษณาบนหน้าล็อกสกรีน เพื่อเพิ่มยอดเงินบริจาคให้กับองค์การสหประชาชาติ
Max บอกอีกว่าไม่ต้องทำตามที่เขาเสนอก็ได้ แต่การที่ผู้บริโภคต้องกลายมาเป็นสินค้า ทั้งที่ซื้อสมาร์ทโฟนรุ่นเรือธงราคาหลายพันดอลลาร์ ดูเป็นอะไรที่ไม่เข้าท่าเอามากๆ และ Samsung ควรปรับปรุงแก้ไขปัญหานี้โดยด่วน
ส่วนในบ้านเรา ผู้เขียนมีความรู้สึกว่าโฆษณาบนแอป Samsung ยังไม่เยอะเท่าในอเมริกา โดยส่วนตัวเคยพบแค่โฆษณาโปรโมชั่นจากแอป Samsung Pay เล็กน้อย ส่วนแอปอื่นของ Samsung ผู้เขียนไม่ค่อยได้ใช้งานเท่าไร แต่ก็เห็นด้วยว่ามือถือรุ่นเรือธงราคาสามหมื่นอัพ ไม่ควรมีโฆษณาติดมาแบบเลือกปิดไม่ได้จริงๆ
ที่มา - Android Police |
# Uber จับมือกับบริษัทแท็กซี่ เริ่มให้บริการรถโดยสารในโตเกียวแล้ว
Uber ประเทศญี่ปุ่น ประกาศเริ่มให้บริการเรียกรถโดยสารในเมืองหลวง โตเกียว แล้ว หลังเข้ามาทำตลาดในญี่ปุ่น 6 ปี แต่ไม่สามารถให้บริการรถโดยสารแบบ Ride-Share ได้ เนื่องจากกฎหมายไม่อนุญาต จึงเน้นทำตลาดเมืองรองแทน ก่อนหน้านี้บริการของ Uber ในโตเกียวมีเพียงส่งอาหาร Uber Eats
บริการเรียกรถของ Uber ในโตเกียว ใช้วิธีเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับบริษัทรถแท็กซี่ 3 ราย ได้แก่ Hinomaru Limousine, Tokyo MK และ Ecosystem เรียกชื่อบริการว่า Uber Taxi
คู่แข่งของ Uber ในโตเกียว นอกจากบริการแท็กซี่ท้องถิ่นแล้ว ยังมี Didi Chuxing ที่ร่วมมือกับ SoftBank ให้บริการรถแท็กซี่อีกด้วย
ที่มา: Bloomberg และ Uber |
# Horizon Zero Dawn เวอร์ชันพีซี ประกาศวันวางขาย 7 สิงหาคม 2020
ต่อจากข่าว Horizon Zero Dawn ลงพีซี ล่าสุดต้นสังกัด Guerilla Games ประกาศวันวางขายแล้ว 7 สิงหาคม 2020 โดยจะวางขายทั้งบน Steam และ Epic Games Store
Horizon Zero Dawn ภาคที่ขายบนพีซีเป็น Complete Edition ที่รวมภาคเสริม The Frozen Wilds และไอเทม-อาวุธเสริมอื่นๆ มาให้ครบหมดแล้ว สิ่งที่พัฒนาขึ้นบนพีซีคือการปรับปรุงกราฟิก แสงสะท้อนจากน้ำ การไหวของใบไม้ ไม่ล็อคเฟรมเรต รองรับหน้าจอ ultrawide และปรับแต่งกราฟิกได้ละเอียดขึ้น ราคาบน Steam คือ 579 บาท
Hermen Hulst ประธานของ PlayStation Worldwide Studios และอดีตกรรมการผู้จัดการ Guerilla Games อธิบายเหตุผลของการออก Horizon Zero Dawn เวอร์ชันพีซี ว่าเป็นการขยายฐานลูกค้าให้เข้าถึงเกมของ PlayStation มากขึ้น แต่ก็ยืนยันว่าไม่ใช่เกมระดับ AAA ทุกเกมที่จะพอร์ตมาลงพีซี
ที่มา - PlayStation Blog, Eurogamer |
# Apple ส่งแบบสำรวจความเห็นลูกค้า เรื่องอะแดปเตอร์ชาร์จไฟที่ให้มากับ iPhone
แอปเปิลได้ส่งอีเมลแบบสำรวจความคิดเห็นของลูกค้า iPhone บางคน โดยมีคำถามหลายข้อ แต่คำถามหนึ่งที่ถูกตั้งข้อสังเกต เกี่ยวกับวิธีการใช้งานตัวอะแดปเตอร์ชาร์จไฟ ที่ให้มาพร้อมกับ iPhone ในกล่อง
คำถามระบุว่า ลูกค้าจัดการอย่างไรกับอะแดปเตอร์ชาร์จไฟอันเก่า เมื่อซื้อ iPhone เครื่องใหม่ โดยแบบสอบถามได้อธิบายเพิ่มเพื่อความชัดเจนว่าไม่ได้หมายถึงสายชาร์จ USB ตัวเลือกมีหลายคำตอบ และสามารถตอบได้มากกว่า 1 ข้อ ได้แก่ ขายหรือเทรด / ทำหายไปแล้ว / ยกให้คนในบ้านหรือเพื่อน / ยังใช้ต่อที่บ้าน / ยังใช้ต่อที่อื่น (ที่ทำงาน, โรงเรียน) / เก็บไว้แต่ไม่ได้ใช้
คำถามนี้อาจช่วยเพิ่มน้ำหนักข่าวลือที่ว่า แอปเปิลจะไม่ให้อะแดปเตอร์ชาร์จไฟกับ iPhone รุ่นใหม่ ว่าอย่างน้อย แอปเปิลก็พิจารณาทางเลือกนี้อยู่ อย่างไรก็ตามแบบสอบถามก็เป็นเครื่องมือที่แอปเปิลใช้ประกอบการพิจารณา ไม่ได้แปลว่าจะทำแน่ ๆ ตัวอย่างก่อนหน้านี้แอปเปิลก็เคยสอบถามลูกค้าหากตัดช่องหูฟัง 3.5 มม. ออกจาก MacBook Pro ซึ่งสุดท้ายช่องหูฟังนี้ก็ยังอยู่
ที่มา: 9to5Mac |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.