title
stringlengths 10
260
| context
stringlengths 29
179k
| url
stringlengths 0
53
|
---|---|---|
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไขข้อข้องใจการหาวัคซีน Covid-19 | วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
ไขข้อข้องใจการหาวัคซีน Covid-19
...
ขอให้มั่นใจสาธารณสุขของไทยว่าระบบการให้วัคซีนโควิด-19 ที่เตรียมความพร้อมไว้มีความปลอดภัย ซึ่งประชาชนได้รับวัคซีนที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค
.
สำหรับการฉีดวัคซีนจะให้บริการผ่านสถานบริการทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีความพร้อมของแพทย์และห้องฉุกเฉินไว้อย่างเพียงพอ ประมาณ 1,000 แห่ง
.
โดยพร้อมให้การช่วยเหลือในกรณีที่เกิดผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์หลังจากการได้รับวัคซีน และเนื่องจากการให้บริการวัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนใหม่ บุคลากรทางการแพทย์ต้องผ่านการอบรม เรื่องการฉีดวัคซีน
.
นอกจากนี้ ได้เตรียมระบบบริการ อุปกรณ์การแพทย์ ดูแลหลังการฉีดใกล้ชิด ซึ่งประชาชนที่มารับบริการต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
#ไทยคู่ฟ้า #รวมไทยสร้างชาติ #ร่วมต้านโควิด19
-------------------
อัลบั้มภาพ
prev
next
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผู้พิการ ผู้สูงอายุ “เราชนะ” รับลงทะเบียนถึงบ้าน
คลายปม! ไทยตกขบวนวัคซีน COVAX จริงหรือ?
อนุมัติ 188.95 ล้าน ชดเชยดอกเบี้ยผู้เก็บข้าว
ประมูลของ “ยึดทรัพย์ยาเสพติด” เงินนี้ไปไหน
อนุมัติ ! 2.8 หมื่นล้าน บรรเทาภาระเกษตรกร
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39101 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุมัติ 188.95 ล้าน ชดเชยดอกเบี้ยผู้เก็บข้าว | วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
อนุมัติ 188.95 ล้าน ชดเชยดอกเบี้ยผู้เก็บข้าว
...
ช่วงที่ผลผลิตข้าวออกสู่ตลาดจำนวนมาก
ชาวนาต้องเร่งขายข้าว ทำให้โรงสีและตลาดกลาง
ต้องเร่งระบายผลผลิตข้าวออกสู่ตลาดตามไปด้วย
.
ดังนั้นเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการค้าข้าว
มีสภาพคล่อง สามารถรับซื้อผลผลิตจากชาวนา
เพื่อเก็บรักษาไว้ในสต็อก
และชดเชยค่าเสียโอกาสในการเก็บรักษาข้าว
.
ครม. ได้อนุมัติงบประมาณ 188.95 ล้านบาท
เพื่อชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการค้าข้าว
ที่จะเข้าร่วมโครงการชดเชยดอกเบี้ยฯ
ในการเก็บสต็อกปีการผลิต 2560/61 และ 2561/62
ผ่านธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารของรัฐ
ที่ผู้ประกอบการค้าข้าวเป็นลูกค้าอยู่
ตามมูลค่าข้าวเปลือกที่เก็บสต็อกไว้ในอัตรา 3% ต่อปี
และตามระยะเวลาที่เก็บสต็อกไว้ 2 - 6 เดือน
#ไทยคู่ฟ้า#รวมไทยสร้างชาติ#ร่วมต้านโควิด19
-------------------
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39103 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ยุติธรรม เตรียมร่างกฎหมายควบคุมติดตามฆาตรกรโรคจิต-นักโทษอันตรายหลังพ้นคุก เพื่อให้สังคมปลอดภัย เล็งทดลองปล่อยตัวก่อนแต่ต้องรับฟังความเห็นทุกภาคส่วนอย่างรอบคอบ เผยสั่งยุติธรรมจั | วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
รมว.ยุติธรรม เตรียมร่างกฎหมายควบคุมติดตามฆาตรกรโรคจิต-นักโทษอันตรายหลังพ้นคุก เพื่อให้สังคมปลอดภัย เล็งทดลองปล่อยตัวก่อนแต่ต้องรับฟังความเห็นทุกภาคส่วนอย่างรอบคอบ เผยสั่งยุติธรรมจั
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงแผนการเดินหน้าการจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจเฝ้าระวังความปลอดภัยของประชาชน หรือ JSOC
ในวันจันทร์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๑๕.๓๐ น. ณ ห้องสนฉัตร ๑ - ๓ ชั้น ๓ อาคารกระทรวงยุติธรรมแห่งใหม่ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงแผนการเดินหน้าการจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจเฝ้าระวังความปลอดภัยของประชาชน หรือ JSOC โดยมี ว่าที่ร้อยตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษกกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วม
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า จากคดีสะเทือนขวัญ ไอ้แหบ นายอนุวัฒน์ ผลจะโป๊ ที่ก่อคดีฆ่าข่มขืนเด็กหญิงที่ จ.นครราชสีมา โดยก่อนหน้านี้เคยมีคดีอนาจารเด็กชาย และได้พ้นโทษ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๓ พอผ่านมาเกือบ ๑ ปี ก็ก่อเหตุฆ่าข่มขืนอีก ที่ผ่านมากระทรวงยุติธรรมสนใจที่จะแก้ปัญหาตรงนี้มาตลอด อยากให้สังคมมีการรับรู้ว่ามีบุคคลอันตรายเข้ามาอยู่ในชุมชน แม้ว่าจะเกี่ยวกับหลายกระทรวง รวมทั้งรัฐสภา มีการพูดคุยถึงเรื่องการละเมิดทางเพศมาอย่างต่อเนื่อง แต่หากเราไม่ดำเนินการให้เป็นรูปธรรมคงต้องรอกันอีกนาน ตนขอเรียนว่าจากนี้จะทำ ๒ แนวทาง คือ ๑.เรื่องการดำเนินการทำกฎหมาย และ ๒.ในระหว่างรอการร่างกฎหมาย จะมีมาตรการให้ประชาชนปลอดภัยขึ้น ในเรื่องของกฎหมายได้พยายามจะออกกฎหมายควบคุมพวกฆาตรกรโรคจิตที่ข่มขืนเด็กอายุน้อยกว่า ๑๓ ปี ลงไป อย่างน้อยๆ หลังพ้นโทษต้องถูกติดตามตลอด ติดกำไล EM ตลอดชีวิตหรือจนกว่าแพทย์ลงความเห็นว่าเขาไม่อันตรายแล้ว ซึ่งจะรวมถึงฆาตรกรประเภทอื่นๆและผู้ต้องขังที่อันตรายด้วย
กระทรวงยุติธรรมมีการถกเถียงในเรื่องกฎหมายอย่างหลากหลาย หากอัยการมีการแนบคำขอท้ายฟ้องไปยังศาลในการควบคุมตัวผู้ต้องหาก็ทำได้ไม่ยาก แต่ห่วงว่าผู้ต้องหาที่จะพ้นโทษแล้วจะควบคุมเขาอย่างไร ในที่ประชุมคิดว่าเราอาจจะต้องออกกฎหมายให้คนประเภทนี้ได้รับการตรวจสอบโดยแพทย์ นี่คือแนวทางของกฎหมายที่วางไว้ กระทรวงยุติธรรมจะเป็นเจ้าภาพ ซึ่งคงใช้เวลาพอสมควร และในระหว่างนี้เราควรทำให้สังคมรับรู้ว่า ฆาตรกรเหล่านี้กำลังจะพ้นจากพันธนาการของราชทัณฑ์แล้ว เราจะปล่อยออกมาก่อนเวลาโดยควบคุมโดยศูนย์ JSOC ติดกำไล EM สังคมอาจจะตกใจว่าทำไมไม่ขังจนครบ โดยหลายความเห็นคิดว่าหากเราขังจนครบแล้วปล่อยตัวมา สังคมจะไม่เกิดความระวังตัว อาจจะเกิดเหตุการณ์แบบไอ้แหบอีกได้ จึงคิดว่าหากปล่อยก่อน ๑-๒ ปี แล้วเฝ้าระวังโดยศูนย์ JSOC ติดกำไล EM สร้างความรับรู้ให้กับสังคมว่ามีบุคคลอันตรายมาอยู่ในสังคมจะช่วยกันระวังตัว ดีกว่าสังคมไม่รู้ แต่เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของสังคม ที่ผ่านมาได้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๓ โดยมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยให้ความเห็น ครั้งที่ ๒ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ โดยเป็นนักวิชาการ เอ็นจีโอ เข้ามาพูดคุยกันอย่างหลากหลาย มีความเห็นเป็นบวกกับแนวคิดของกระทรวงยุติธรรม ส่วนในการฟังความเห็นครั้งต่อไป จะจัดวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๔ โดยจะเชิญภาคประชาชนและสื่อมวลชน ว่าคิดเห็นอย่างไรบ้าง
"ท้ายสุดนี้ตนของแจ้งในกรณีเด็กหญิง ๙ ขวบที่ถูกไอ้แหบทำร้ายจนเสียชีวิต ซึ่งครอบครัวของน้องต้องกู้เงินมาจัดงานศพ ตนมีความเป็นห่วงอย่างมาก จึงได้สั่งให้สำนักงานยุติธรรมจังหวัดลงไปประสานให้ความช่วยเหลือแล้ว โดยจะดูแลค่าใช้จ่ายตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายจำเลยในคดีอาญา ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๙ โดยจะได้รับค่าเสียหาย ค่าทำศพ ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูและค่าอื่นๆ รวมทั้งหมด ๑๑๐,๐๐๐ บาท โดยคณะกรรมการฯจะมีการประชุมเรื่องนี้ในวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ จากนั้นจะมีการมอบเงินให้ต่อไป คาดว่าไม่เกินสิ้นเดือนนี้จะสามารถมอบเงินให้กับครอบครัวของน้องได้" นายสมศักดิ์ กล่าว
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39119 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดวธ.เป็นประธานพิธีเปิดโครงการปฐมนิเทศผู้บริหารงานวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ | วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
ปลัดวธ.เป็นประธานพิธีเปิดโครงการปฐมนิเทศผู้บริหารงานวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
ปลัดวธ.เป็นประธานพิธีเปิดโครงการปฐมนิเทศผู้บริหารงานวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๓๐ น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดโครงการปฐมนิเทศผู้บริหารงานวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยมีนายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายประสพ เรียงเงิน รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรมและผู้บริหารที่เข้ารับตำแหน่งใหม่ เข้าร่วม ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น ๑ กระทรวงวัฒนธรรม
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39109 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"พุทธิพงษ์" มุ่งผลักดัน National Single Window หวังแชร์ข้อมูลหลังบ้านภาครัฐให้เป็นหนึ่งเดียว ลดขั้นตอนการใช้เอกสารประกอบการทำธุรกรรมกับหน่วยงาน สร้างความโปร่งใส ประหยัดเงินค่าธรรมเนียมประชาชน | วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
"พุทธิพงษ์" มุ่งผลักดัน National Single Window หวังแชร์ข้อมูลหลังบ้านภาครัฐให้เป็นหนึ่งเดียว ลดขั้นตอนการใช้เอกสารประกอบการทำธุรกรรมกับหน่วยงาน สร้างความโปร่งใส ประหยัดเงินค่าธรรมเนียมประชาชน
"พุทธิพงษ์" มุ่งผลักดัน National Single Window หวังแชร์ข้อมูลหลังบ้านภาครัฐให้เป็นหนึ่งเดียว ลดขั้นตอนการใช้เอกสารประกอบการทำธุรกรรมกับหน่วยงาน สร้างความโปร่งใส ประหยัดเงินค่าธรรมเนียมประชาชน
นายพุทธิพงษ์ปุณณกันต์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส)กล่าวว่ารัฐบาลพยายามผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ไทยแลนด์ดิจิทัลซึ่งก่อนหน้านี้มองว่าน่าจะต้องใช้เวลาพอสมควรแต่เมื่อทั่วโลกเกิดผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19ส่งผลทำให้ประชาชนมีการปรับตัวที่ดีในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทั้งการปรับรูปแบบการทำงานที่บ้านการค้าขายออนไลน์หรือแม้แต่การใช้แอปพลิเคชันการสแกนQR Codeเพื่อจับจ่ายใช้สอยทำธุรกรรมในโครงการต่างๆของรัฐ
กระทรวงดิจิทัลฯได้เร่งผลักดันปรับรูปแบบการให้บริการในลักษณะของNational Single Window (NSW)เป็นระบบกลางเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์การแชร์ข้อมูลหลังบ้านระหว่างหน่วยงานของรัฐบาลด้วยกันโดยเฉพาะเวลาที่ต้องไปติดต่อหน่วยงานราชการจะต้องถ่ายเอกสารสำเนาบัตรประชาชนหรือเอกสารอื่นๆอย่างน้อย5-6ชุดเพื่อประกอบการการยื่นเรื่องในแต่ละหน่วยงานซึ่งนอกจากจะต้องเตรียมเอกสารมากมายแล้วยังทำให้ระบบการถ่ายโอนข้อมูลเกิดความล่าช้าหากทุกกระทรวงทบวงกรมใช้การแชร์ข้อมูลในการยื่นเอกสารหรือขอใบอนุญาตต่างๆที่ใช้แบบฟอร์มเดียวกันจะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือลดเอกสารป้องกันการทุจริตลงได้
ทั้งนี้การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหรือทำธุรกรรมทางกระทรวงต่างๆก็จะต้องใช้สำเนาเอกสารที่เหมือนกันควรที่ทุกกระทรวงต้องปรับระบบหลังบ้านทำให้เชื่อมต่อข้อมูลที่ประชาชนใช้ติดต่อภาครัฐมารวมไว้ในที่เดียวเพราะทุกวันนี้ทุกอย่างเป็นดิจิทัลหมดแล้วและความโปร่งใสก็จะเกิดขึ้นตรวจสอบได้ง่ายขึ้น ถือเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของหน่วยงานนั้นๆเพราะตรวจสอบได้ว่าแบบฟอร์มที่ประชาชนหรือนักธุรกิจยื่นขอมาอยู่ที่ขั้นตอนไหนใครดำเนินการเรื่องช้าเพราะใคร
โดยช่วง2เดือนที่ผ่านมาสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(องค์การมหาชน)สพร.ได้เริ่มเปลี่ยนแบบฟอร์มในการยื่นทำธุรกรรมภาครัฐแล้วกว่า70แบบฟอร์ม และบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติจำกัด(มหาชน)กระทรวงดิจิทัลฯร่วมกับกรมศุลกากรให้สิทธิบริการระบบกลางเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(NSW)รองรับการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งภาครัฐเอกชนและระหว่างประเทศโดยในอนาคตเมื่อเปิดให้ยื่นรูปแบบออนไลน์ทั้งหมดลดการจ่ายค่าธรรมเนียมลงซึ่งนอกจากจะช่วยประชาชนประหยัดเวลาในการติดต่อราชการและยังประหยัดเงินด้วย
*************
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39112 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. จัดประชุมพิจารณาร่างรายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ของประเทศไทย ส่งให้สหรัฐอเมริกาเพิ่มเติม เพื่อประเมินจัดระดับในรายงานการค้ามนุษย์ ปี 2564 | วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
พม. จัดประชุมพิจารณาร่างรายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ของประเทศไทย ส่งให้สหรัฐอเมริกาเพิ่มเติม เพื่อประเมินจัดระดับในรายงานการค้ามนุษย์ ปี 2564
พม. จัดประชุมพิจารณาร่างรายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ส่งให้สหรัฐอเมริกาเพิ่มเติม เพื่อประเมินจัดระดับในรายงานการค้ามนุษย์ ปี 2564
วันนี้ (15 ก.พ. 64) เวลา 10.30 น. นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับและติดตามการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ครั้งที่ 1/2564 เพื่อพิจารณาร่างรายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย (Progress Report) สำหรับส่งให้สหรัฐอเมริกาเพิ่มเติม ประกอบการประเมินจัดระดับประเทศไทยในรายงานการค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons Report: TIP Report) ประจำปี 2564 โดยมี นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานศาลยุติธรรม กระทรวงแรงงาน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 45 คน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 8 กระทรวง พม. สะพานขาว ถนนกรุงเกษม กรุงเทพฯ
นางพัชรี กล่าวว่า กระทรวง พม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดทำรายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจำปี 2563 และได้นำเสนอพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเรียบร้อยแล้ว โดยกระทรวงการต่างประเทศได้ส่งรายงานฯ ฉบับภาษาอังกฤษ ให้กับสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อใช้ประกอบการประเมินและจัดระดับประเทศไทยในรายงาน TIP Report ประจำปี 2564 สำหรับการประชุมในวันนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณาร่างรายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย หรือ Progress Report เพื่อส่งให้สหรัฐอเมริกาเพิ่มเติมจากรายงานฯ ประจำปี 2563 โดยเน้นการรายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานสำคัญในช่วงมกราคม - มีนาคม 2564 ดังนี้ 1) ด้านดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย ได้นำเสนอสถิติคดีค้ามนุษย์ ความคืบหน้าคดีสำคัญ และการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ 2) ด้านคุ้มครองช่วยเหลือ ได้นำเสนอสถิติการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ มาตรการคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รวมถึงการขยายผลการดำเนินงานของ Mobile Application “PROTECT-U” เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เสี่ยง และ 3) ด้านป้องกัน ได้นำเสนอการดำเนินงานด้านการป้องกันการค้ามนุษย์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และความคืบหน้าการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องการป้องกันและปรามการค้ามนุษย์
นางพัชรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ กระทรวง พม. จะนำร่าง Progress Report เสนอคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ซึ่งมีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ให้ความเห็นชอบในหลักการก่อนนำเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาในช่วงกลางเดือนมีนาคม 2564 ต่อไป และส่งให้สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย เพื่อใช้ประกอบการประเมินและจัดระดับประเทศไทยในรายงานการค้ามนุษย์ ประจำปี 2564 ซึ่งสหรัฐอเมริกาจะเผยแพร่รายงานฯ ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2564 ของทุกปี
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39120 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส. ปลื้ม! เกษตรกรให้ความสนใจโครงการชำระดีมีคืนจนวงเงินเกือบเต็ม แนะเร่งชำระภายใน 17 ก.พ.นี้ | วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
ธ.ก.ส. ปลื้ม! เกษตรกรให้ความสนใจโครงการชำระดีมีคืนจนวงเงินเกือบเต็ม แนะเร่งชำระภายใน 17 ก.พ.นี้
ธ.ก.ส. ปลื้ม! เกษตรกรให้ความสนใจชำระหนี้ตามโครงการชำระดีมีคืนแล้วกว่า 1.39 ล้านราย จนวงเงิน 3,000 ล้านบาทที่เตรียมไว้ใกล้ครบจำนวน แนะให้ผู้ที่มีสถานะหนี้ปกติเร่งชำระหนี้ภายใน 17 ก.พ.นี้ เพื่อรับดอกเบี้ยคืนก่อนยุติโครงการวันที่ 18 ก.พ. 64
ธ.ก.ส. ปลื้ม! เกษตรกรให้ความสนใจชำระหนี้ตามโครงการชำระดีมีคืนแล้วกว่า 1.39 ล้านราย จนวงเงิน 3,000 ล้านบาทที่เตรียมไว้ใกล้ครบจำนวน แนะให้ผู้ที่มีสถานะหนี้ปกติเร่งชำระหนี้ภายใน 17 ก.พ.นี้ เพื่อรับดอกเบี้ยคืนก่อนยุติโครงการวันที่ 18 ก.พ. 64 ด้านลูกค้าที่มีสถานะหนี้ NPL หรือมีดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 15 เดือน ยังคงสามารถชำระหนี้ตามโครงการลดภาระหนี้ได้จนถึง 31 มี.ค. 64
นายสุรชัย รัศมี รองผู้จัดการ รักษาการแทนผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามที่ ธ.ก.ส. ได้มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ผู้ประกอบการ และสถาบันเกษตรกรในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผ่านโครงการชำระดีมีคืน วงเงินรวมไม่เกิน 3,000 ล้านบาท สำหรับลูกหนี้ที่มีสถานะหนี้เป็นหนี้ปกติ เพื่อลดภาระหนี้ และโครงการลดภาระหนี้ สำหรับลูกค้าที่มีสถานะหนี้เป็นหนี้ค้างชำระหรือสถานะหนี้ปกติที่มีดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 15 เดือน เพื่อเป็นการขอบคุณลูกค้าที่มีประวัติการชำระหนี้ดี รวมถึงช่วยลดความกังวล และสามารถมีเงินกลับคืนเข้าสู่กระเป๋าเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็น โดยเมื่อชำระหนี้จะได้รับคืนดอกเบี้ยตามประเภทของลูกค้า ซึ่งเริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมานั้น
เนื่องจากขณะนี้มีเกษตรกรลูกค้า ผู้ประกอบการ และสถาบันเกษตรกร ให้ความสนใจชำระหนี้ตามโครงการชำระดีมีคืน ถึง ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 แล้วกว่า 1.39 ล้านราย ดอกเบี้ยรวมจำนวน 14,348 ล้านบาท โดย ธ.ก.ส. ได้คืนดอกเบี้ยให้ลูกค้าแล้วกว่า 2,363 ล้านบาท ทำให้วงเงินใกล้ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ 3,000 ล้านบาท ธ.ก.ส. จึงแนะนำให้ลูกค้าสถานะปกติเร่งชำระหนี้ เพื่อรับสิทธิประโยชน์ตามโครงการภายในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 โดย ธ.ก.ส. จะปิดโครงการชำระดีมีคืนในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564
อย่างไรก็ตาม สำหรับลูกค้าที่ได้รับสิทธิ์ตามโครงการลดภาระหนี้ โดยมีสถานะหนี้ NPL หรือมีดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 15 เดือน ซึ่งมีหนี้คงเหลือ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2563 ยังคงสามารถตรวจสอบสิทธิ์และชำระหนี้ตามโครงการ ได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 โดย ธ.ก.ส. จะนำดอกเบี้ยที่คืนให้มาลดภาระหนี้ด้วยการตัดชำระต้นเงิน และหลังจากตัดชำระหนี้แล้ว มีเงินคงเหลือจะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของเกษตรกรในวันถัดไป ซึ่งในกรณีลูกค้าเกษตรกรและบุคคลจะได้รับคืนดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง และกรณีกลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ นิติบุคคล และกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จะได้รับคืนดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราร้อยละ 10 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง ไม่จำกัดวงเงินที่จะคืน ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 02 555 0555 LINE Official BAAC Family และ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39100 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ยุติธรรม พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย ติดตามสถานการณ์ยาเสพติด ชี้เป็นพื้นที่ลักลอบนำเข้าสูงสุดในอีสานตอนบน ต้องเร่งสกัด ยันรัฐบาลเอาจริงสั่งเร่งปราบปราม เชื่อทำได้ตามเป้าหม | วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
รมว.ยุติธรรม พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย ติดตามสถานการณ์ยาเสพติด ชี้เป็นพื้นที่ลักลอบนำเข้าสูงสุดในอีสานตอนบน ต้องเร่งสกัด ยันรัฐบาลเอาจริงสั่งเร่งปราบปราม เชื่อทำได้ตามเป้าหม
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย ติดตามสถานการณ์ยาเสพติด ชี้เป็นพื้นที่ลักลอบนำเข้าสูงสุดในอีสานตอนบน ต้องเร่งสกัด ยันรัฐบาลเอาจริงสั่งเร่งปราบปราม เชื่อทำได้ตามเป้าหมายยึดทรัพย์ตัดวงจรเครือข่าย
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายอุทัย สินมา อธิบดีอัยการ สำนักงานคดียาเสพติด นายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการ ป.ป.ส. นายประเสริฐ ลือชานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย นายวรรณพล ต่อพล ปลัดจังหวัดหนองคาย พ.อ.สาธิต อุ่นกาน รอง ผอ.กอ.รมน. พ.ต.อ.ณรัชต์พล เลิศรัชตะปภัสร์ นายด่านศุลกากร จ.หนองคาย พ.ต.อ.ธานินท์ อิทพรต ผกก. ตรวจคนเข้าเมือง หนองคาย นายเทอดศักดิ์ อังพัฒพงษ์ ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดหนองคาย พ.อ.ศิวดล ยาคล้าย รอง ผบ.บก.ควบคุมที่ ๒ (ร.๑๓) เดินทางไปสำรวจเส้นทางการลักลอบนำเข้ายาเสพติดและตรวจเยี่ยมบ้านสีกายเหนือ หมู่ ๖ ต.สีกาย อ.เมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย พร้อมรับฟังการบรรยายสรุปสถานการณ์ยาเสพติดและ ผลการดำเนินงานจากหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง เขตหนองคาย ตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอเมืองหนองคาย และชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) สีกาย
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ขอบคุณและชื่นชมในการทำงานของหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชน ที่เสียสละกำลังกาย กำลังใจ เพื่อสังคมที่น่าอยู่ และปลอดภัยจากยาเสพติด โดยสถานการณ์ยาเสพติด จ.หนองคาย จากข้อมูลการจับกุมคดีสำคัญในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ มีผลการจับกุมคดีการลักลอบนำเข้ายาเสพติดเป็นลำดับ ๑ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ชนิดยาเสพติดที่มีการลักลอบนำเข้า ได้แก่ ยาบ้า ไอซ์ คีตามีน และกัญชา พื้นที่นำเข้ายาเสพติดที่สำคัญ ได้แก่ อ.เมือง อ.โพนพิสัย อ.ท่าบ่อ และ อ.สังคม โดยการจับกุมคดีสำคัญใน จ.หนองคาย เดือนตุลาคม- ธันวาคม ๒๕๖๓ จำนวน ๑๙ คดี แยกเป็นคดียาบ้า ๑๔ คดี ของกลางยาบ้า ๑๘.๘ ล้านเม็ด ไอซ์ ๔ คดี ของกลาง ๘๒๑ กิโลกรัม คดีกัญชาแห้งอัดแท่ง ๑ คดี ของกลางกัญชา ๒๘๐ กิโลกรัม และคีตามีน ๓๐ กิโลกรัม ผู้ต้องหาส่วนใหญ่เป็นคนนอกพื้นที่ และเป็นกลุ่มผู้ลักลอบลำเลียงทั้งในและนอกพื้นที่ ทั้งนี้ เนื่องจากมีกลุ่มนายทุน นักค้านอกภาค โดยมีเครือข่ายคนในพื้นที่เป็นตัวหลักไว้คอยประสานงาน และมีความชำนาญเส้นทางการคมนาคมในการประสานงาน โดยแหล่งต้นทางของยาเสพติดมาจากประเทศเพื่อนบ้าน
นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า สถานการณ์การค้าและแพร่ระบาดนั้น การค้ายาเสพติดที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของผู้ค้ารายย่อยที่มีการค้าเพื่อเสพ ซึ่งในปัจจุบันการขยายตัวของกลุ่มนี้เป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการให้เครดิตของผู้ค้าที่ต้องการขยายเครือข่ายและระบายยาเสพติดที่มีอยู่ในสต๊อก จากข้อมูลการจับกุมและกลุ่มผู้มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในพื้นที่ พบว่ามีเยาวชนอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป มีการรับจ้างวางยาเสพติดให้กับกลุ่มผู้ค้า การแข่งขันทางการค้าของกลุ่มผู้ค้ารายย่อยในพื้นที่สูงขึ้น มีการให้เครดิตกับกลุ่มผู้เสพที่ไม่ต้องจ่ายเงินก่อน มีการสั่งซื้อที่สะดวกง่ายผ่านเทคโนโลยีช่องทางการสื่อสารออนไลน์ การจ่ายค่ายาเสพติด กลุ่มผู้ค้ารายสำคัญ รายกลาง จะใช้วิธีการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร หรือฝากตามร้านค้าปลีกภายในหมู่บ้าน ผ่านบริการฝากเงินของไปรษณีย์ หรือตามตู้ฝากเงินสด สำหรับผู้ค้ารายย่อย ผู้เสพ จะใช้รูปแบบการจ่ายเป็นเงินสด หรือวางตามจุดที่นัดหมายแล้วแต่ตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย
"รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เอาจริงเอาจังในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยเฉพาะการยึดทรัพย์ตัดวงจรเครือข่าย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการตัดเงินทุนในการนำมาใช้ในกระบวนการ ซึ่งในพื้นที่ จ.หนองคายนั้น ถือเป็นจุดหนึ่งที่สำคัญในการที่จะสกัดยาเสพติดที่ลักลอบลำเลียงมาจากบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ดังนั้นตนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้มาลงสำรวจพื้นที่ ซึ่งตนเชื่อมั่นว่า จ.หนองคายจะสกัดกั้นยาเสพติดและขยายผลยึดทรัพย์เครือข่ายผู้ค้ายาจากการจับกุมได้ตามเป้าหมายที่เราวางไว้" นายสมศักดิ์ กล่าว
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39117 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรอ. ตั้งเป้าปี 2564 ดึง 65 โรงงานร่วมโครงการ CSR-DIW มุ่งสร้างจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม | วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
กรอ. ตั้งเป้าปี 2564 ดึง 65 โรงงานร่วมโครงการ CSR-DIW มุ่งสร้างจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม
“สุริยะ” สั่งการ กรอ. เร่งผลักดันโครงการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความปลอดภัย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน
“สุริยะ” สั่งการกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งผลักดันโครงการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน (CSR-DIW) ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความปลอดภัย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) อยู่ระหว่างเปิดรับสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ(Corporate Social Responsibility, Department of Industrial Work : CSR-DIW) โดยมีเป้าหมายเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความปลอดภัย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน
“สั่งการกรมโรงงานฯ เร่งผลักดันโครงการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับสังคมอย่างยั่งยืน โดยโครงการนี้ดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปีนี้เป็นปีที่ 13 และจะดำเนินต่อไป ขณะเดียวกันก็สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนที่รัฐบาลกำลังทำอยู่เช่นกัน”นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ กล่าว
นายประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กล่าวว่า กรอ.เร่งดำเนินโครงการฯ ดังกล่าวตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ด้วยการเปิดรับสมัครโรงงานฯในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 20 จังหวัด 23 พื้นที่ รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรมนอกพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยตั้งเป้าว่าปี 2564 จะต้องมีโรงงานเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 65 โรงงาน เพื่อนำมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ (CSR-DIW) ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมและชุมชนได้อย่างยั่งยืน
“โรงงานที่เข้าร่วมโครงการ CSR-DIW จะมีส่วนช่วยรับผิดชอบต่อสังคมทั้งในกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ (CSR in process) และความรับผิดชอบต่อสังคมกับชุมชนโดยรอบ (CSR after process) ขณะเดียวกันในขั้นตอนการดำเนินการตามมาตรฐาน CSR-DIW นั้น โรงงานต้องจัดทำแผนงานหรือกิจกรรมที่อาศัยศักยภาพของโรงงานทั้งทางด้านองค์ความรู้ บุคลากร ทรัพยากร และแบ่งปันผลประโยชน์คืนให้แก่ชุมชน โดยแผนงานหรือกิจกรรมดังกล่าวต้องผ่านการกระบวนการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างโรงงานและชุมชน” นายประกอบ วิวิธจินดา กล่าว
ทั้งนี้ กรอ.ให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่สนับสนุนการดำเนินงานตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เช่น การนำวัตถุดิบหรือวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดยเป็นการสร้างสมดุลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมได้รับการยอมรับ เชื่อมั่น ไว้วางใจ จากชุมชนและสังคม สามารถดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมได้อย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ
อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบันมีโรงงานเข้าร่วมโครงการแล้ว 1,066 โรงงาน และปีนี้อยู่ระหว่างเปิดรับสมัคร ซึ่งผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสมัครเข้ามาได้จนถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 และสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 02-202-4025 หรือเข้าไปที่ http://ecocenter.diw.go.th/csr/ หรือ Facebook : Csr-Diw
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39107 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มาตรการด้านการเงินเพื่อดูแลและเยียวยาผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพิ่มเติม | วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
มาตรการด้านการเงินเพื่อดูแลและเยียวยาผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพิ่มเติม
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบ เรื่อง มาตรการด้านการเงินเพื่อดูแลและเยียวยาผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพิ่มเติม เพื่อบรรเทาภาระหนี้สินของประชาชนและช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
มาตรการด้านการเงินเพื่อดูแลและเยียวยาผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพิ่มเติม
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ นำไปสู่การออกประกาศพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด มีการสั่งปิดสถานที่และระงับการให้บริการของสถานบริการ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนและการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) ในภาคธุรกิจท่องเที่ยวและสาขาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (Supply Chain) เนื่องจากเป็นภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 มาอย่างต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบ เรื่อง มาตรการด้านการเงินเพื่อดูแลและเยียวยาผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพิ่มเติม เพื่อบรรเทาภาระหนี้สินของประชาชนและช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การปรับปรุงการดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 40,000 ล้านบาท (แห่งละ 20,000 ล้านบาท) ให้แก่ประชาชนที่มีอาชีพอิสระหรือเกษตรกรรายย่อย อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ไม่เกินร้อยละ 0.10 ต่อเดือน โดยขยายระยะเวลาปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ยออกไปเป็นไม่เกิน 12 เดือน จากเดิม 6 เดือน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. กำหนด พร้อมทั้งขยายระยะเวลากู้ออกไปเป็นไม่เกิน 3 ปี จากเดิม 2 ปี 6 เดือน ทั้งนี้ รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
2. โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ SMEs มีที่ มีเงิน สำหรับธุรกิจการท่องเที่ยว วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและ Supply Chain โดยใช้ที่ดินว่างเปล่า และ/หรือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินเป็นหลักประกัน และไม่ต้องผ่านการตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโร วงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาประเมินที่ดินของทางราชการ สูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 3 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 0.10 ต่อปีในปีแรก ร้อยละ 0.99 ต่อปีในปีที่ 2 และร้อยละ 5.99 ต่อปีในปีที่ 3 รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
กระทรวงการคลังมั่นใจว่าการดำเนินมาตรการด้านการเงินดังกล่าวจะมีส่วนช่วยบรรเทาภาระของประชาชนและช่วยแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินธุรกิจและรักษาการจ้างงาน เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยกระทรวงการคลังจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและพร้อมที่จะออกมาตรการที่เหมาะสมมาดูแลเศรษฐกิจไทยอย่างทันท่วงทีเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
- ธนาคารออมสิน โทร. 1115
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร. 02-555-0555
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39111 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีย้ำการใช้จ่ายงบประมาณต้อง “ถึงมือประชาชน” เล็งขยายระยะเวลาลงทะเบียน “เราชนะ” สำหรับผู้ไม่มีสมาร์ทโฟน/“เป๋าตัง” เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน | วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
นายกรัฐมนตรีย้ำการใช้จ่ายงบประมาณต้อง “ถึงมือประชาชน” เล็งขยายระยะเวลาลงทะเบียน “เราชนะ” สำหรับผู้ไม่มีสมาร์ทโฟน/“เป๋าตัง” เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
นายกรัฐมนตรีย้ำการใช้จ่ายงบประมาณต้อง “ถึงมือประชาชน” เล็งขยายระยะเวลาลงทะเบียน “เราชนะ” สำหรับผู้ไม่มีสมาร์ทโฟน/“เป๋าตัง” เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
วันนี้ (15 ก.พ. 64) เวลา 13.30 น. ณ โถงตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เผยวันนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้หารือสนับสนุนวงเงิน ปรับวงเงิน Soft Loan และปลดล็อคให้ภาคธุรกิจ SMEs และ Start-Up เข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยจะต้องดำเนินการด้วยความรัดกุมและตามความเดือดร้อน
นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงการเปิดอภิปรายทั่วไปของรัฐสภาเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจเป็นรายบุคคล ว่า เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องชี้แจงในการประชุมสภาฯ ในญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ในระหว่างขั้นตอนตามกระบวนการของรัฐสภาซึ่งมีวิธีการและกฎหมายระบุไว้อยู่แล้ว ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และขอให้ประชาชนทุกคนเคารพกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน พร้อมขอให้ประชาชนเข้าใจการแก้ไขกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ ยังกำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติงานในสถานการณ์การชุมนุมด้วยความละมุนละม่อมตามกฎหมาย วอนสื่อมวลชนนำเสนอข่าวทั้งสองด้าน พร้อมขอความร่วมมือไม่ให้มีการปลุกระดม เคลื่อนไหวชุมนุม ในวันที่ 17 ก.พ. และ 20 ก.พ. นี้ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้น พร้อมเตือนการชุมนุมที่เกี่ยวข้องกับประเทศเพื่อนบ้านต้องระมัดระวังในทุกมิติ ทั้งนี้ รัฐบาลยินดีรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย พร้อมนำมาพิจารณาดำเนินการได้มากน้อยเพียงใด
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีย้ำว่ารัฐบาลบริหารราชการด้วยการใช้จ่ายงบประมาณในรูปแบบใหม่ อาทิ ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง สิ่งสำคัญที่สุดคือต้อง “ลงถึงมือประชาชน” พร้อมขอความร่วมมือประชาชนทยอยกันลงทะเบียนโครงการ “เราชนะ” เพื่อลดความแออัดในพื้นที่ลงทะเบียน และไม่ให้เกิดขีดความสามารถในการดูแลประชาชน ซึ่งหากช่วงเวลาที่กำหนดไว้สำหรับลงทะเบียนไม่เพียงอาจมีการขยายระยะเวลาเพิ่มเติมได้หากมีความจำเป็น
.....................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39115 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การประชุมคณะกรรมการมาตรฐานแห่งชาติ | วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
การประชุมคณะกรรมการมาตรฐานแห่งชาติ
ปลัดฯ กอบชัย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานแห่งชาติ
วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2564) นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานแห่งชาติ ครั้งที่ 10-1/2564 โดยมี นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39113 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม พร้อมคณะ ลงพื้นที่เขตบางกะปิ มอบนโยบายและติดตามผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติด พร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภารกิจกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ในพื้น | วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม พร้อมคณะ ลงพื้นที่เขตบางกะปิ มอบนโยบายและติดตามผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติด พร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภารกิจกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ในพื้น
นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม พร้อมคณะ ลงพื้นที่เขตบางกะปิ มอบนโยบายและติดตามผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติด พร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภารกิจกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ มัสยิลดารุลอิบาดะห์ (สุเหร่าหัวหมากน้อย) นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พร้อมด้วย นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร เขต ๑๓ นายสุนทร ขื่นศิริผอ.ป.ป.ส.กทม. และคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติด พร้อมร่วมรับฟังรายงานสถานการณ์ปัญหายาเสพติดและผลการดำเนินงานด้านการปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่เขตบางกะปิ
สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้ นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช รัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม ได้รับฟังปัญหายาเสพติดและผลการดำเนินงานด้านการปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่เขตบางกะปิ ๔ ชุมชน ได้แก่ ชุมชนมัจฉา ช.ปานนพภา ชุมชนริมคลองหัวหมากน้อย ซอยริมคลองหัวหมาก ถ.รามคำแหง ๖๐ แยก ๙ ชุมชนวังโสม ช.รามคำแหง (สุขาภิบาล ๓) ด้านหลังหมู่บ้านสวนสน และชุมชนสามัคคีพัฒนา ซ.สามัคคีพัฒนา แยก ๔ ถนนรามคำแหง
พร้อมเผยแพร่ภารกิจในการช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน ยากไร้ ไม่ได้รับความเป็นธรรม การอำนวยความยุติธรรมลดความเหลื่อมล้ำให้แก่ประชาชน รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ด้านการปราบปราม ด้านการป้องกัน ด้านการบำบัดรักษาติดตามช่วยเหลือผู้เสพผู้ติดยาเสพติด และรับมอบแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ สื่อรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ยาเสพติดแก่ชุมชน ทั้งนี้ ปัญหายาเสพติดได้เป็นปัญหาที่เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เล็งเห็นปัญหาของยาเสพติดและเห็นควรให้แก้ไขอย่างจริงจังโดยภาครัฐต้องร่วมมือกับชุมชนจึงจะประสบผลสำเร็จอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้สร้างการรับรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในชุมชน การช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญาตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในดคีอาญา พ.ศ.๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๙ รวมถึงการคุ้มครองพยานในคดีอาญา ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ และการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท พ.ศ. ๒๕๖๒ และยังได้ขอความร่วมมือไปยังผู้นำชุมชนที่อยู่ภายในพื้นที่บางกะปิ เพื่อแจ้งสิทธิแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวได้รับการคุ้มครอง ดูแลจากรัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39116 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดวธ.เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเครือข่ายเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริต กระทรวงวัฒนธรรม ผ่านระบบทางไกล Video Conference ไปยังสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ | วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
ปลัดวธ.เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเครือข่ายเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริต กระทรวงวัฒนธรรม ผ่านระบบทางไกล Video Conference ไปยังสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ
ปลัดวธ.เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเครือข่ายเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริต กระทรวงวัฒนธรรม ผ่านระบบทางไกล Video Conference ไปยังสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ
วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเครือข่ายเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริต กระทรวงวัฒนธรรม ผ่านระบบทางไกล Video Conference ไปยังสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ โดยมีนายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายประสพ เรียงเงิน รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายกฤษฎา คงคะจันทร์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม และผู้เข้ารับการฝึกอบรม เข้าร่วม ณ ศูนย์ประชุม ชั้น ๘ กระทรวงวัฒนธรรม
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39108 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ประมูลของ “ยึดทรัพย์ยาเสพติด” เงินนี้ไปไหน | วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
ประมูลของ “ยึดทรัพย์ยาเสพติด” เงินนี้ไปไหน
...
ฮือฮาเป็นอย่างมากกับการประมูล
โมเดลการ์ตูนกว่า 286 รายการที่ถูกยึด
จากคดียาเสพติด ซึ่งการขายทอดตลาดทรัพย์สิน
ที่ไม่เหมาะสมจะเก็บรักษา เป็นกระบวนการ
ตาม พ.ร.บ.การปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับ
คดียาเสพติด พ.ศ. 2534
.
สำหรับสิ่งของที่ถูกยึดไว้ในคดี
หากมีคำสั่งศาลให้ริบทรัพย์จะตกเป็นของ
กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการขายทอดตลาด
.
สำหรับเงินที่ได้จากการประมูลนั้น
จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดภาระของรัฐบาล
และนำกลับไปใช้ประโยชน์ในแก้ไขปัญหา
ยาเสพติดของประเทศ 4 ด้านสำคัญ คือ
การป้องกัน การปราบปราม การฟื้นฟู และบุคลากร
.
รวมทั้งเป็นการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่
ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
จากการปฏิบัติหน้าที่อีกด้วย
.
หากประชาชนท่านใดสนใจ
ข่าวขายทอดตลาด สามารถติดตามได้ที่
https://bit.ly/2N74XcB
#ไทยคู่ฟ้า#รวมไทยสร้างชาติ#ร่วมต้านโควิด19
-------------------
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39102 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรียืนยันวัคซีน 2 แสนโดสถึงไทยปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ ระบุใช้ระยะเวลา 3 วันในการเตรียมฉีดเข็มแรกแก่กลุ่มเสี่ยง | วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
นายกรัฐมนตรียืนยันวัคซีน 2 แสนโดสถึงไทยปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ ระบุใช้ระยะเวลา 3 วันในการเตรียมฉีดเข็มแรกแก่กลุ่มเสี่ยง
นายกรัฐมนตรียืนยันวัคซีน 2 แสนโดสถึงไทยปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ ระบุใช้ระยะเวลา 3 วันในการเตรียมฉีดเข็มแรกแก่กลุ่มเสี่ยง
วันนี้ (15 ก.พ. 64) เวลา 13.30 น. ณ โถงตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยืนยันไทยจะได้รับวัคซีนโควิด-19 ล็อตแรก 2 แสนโดส ภายในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งจะใช้เวลาเตรียมการประมาณ 3 วัน ในการฉีดเข็มแรกให้แก่กลุ่มเสี่ยง และล็อตที่ 2 จำนวน 8 แสนโดสและล็อตที่ 3 จำนวน 1 ล้านโดส จะทยอยเข้ามาตามลำดับ โดยส่วนหนึ่งจะเป็นวัคซีนเข็มที่ 2 สำหรับกลุ่มแรกที่ได้รับการฉีดในระยะแรกแล้ว ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีย้ำว่าได้มีการพิจารณากลุ่มที่จะได้รับวัคซีนโควิด-19 ในระยะแรก โดยเน้นในพื้นที่เสี่ยงเป็นหลัก นอกเหนือจากบุคลากรทางการแพทย์จะมีประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจะได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ด้วย อาทิ แรงงาน รวมถึงในพื้นที่ท่องเที่ยวด้วย เชื่อว่าเมื่อประชาชนได้รับวัคซีนแล้วจะมีความปลอดภัยขึ้นในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ระหว่างรอการฉีดวัคซีนให้ครบจำนวนประชากร ยังฝากให้ประชาชนทุกคนสวมใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง Social Distancing ไปด้วย
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีเผย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ให้กับ AstraZeneca แล้ว ซึ่งไทยจะได้รับวัคซีนจำนวน 26 ล้านโดสในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน และอีก 35 ล้านโดส นอกจากนี้ยังมีวัคซีนโควิด-19 ที่ขอขึ้นทะเบียนเพิ่มเติม อาทิ Johnson & Johnson อยู่ระหว่างขั้นตอนการส่งเอกสาร พร้อมทั้งยังเจรจาพูดคุย Moderna และ Pfizer เพื่อความร่วมมือเพิ่มเติมในระยะต่อไป นายกรัฐมนตรีย้ำว่า การอนุญาตใช้วัคซีนโควิด-19 ในขณะนี้เป็นการใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Use) ดังนั้น หากภาคเอกชนจะนำเข้าวัคซีนจะต้องผ่านการขึ้นทะเบียนโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และต้องฉีดตามแผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของรัฐ เพื่อความปลอดภัยและเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น
...................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39114 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.ย้ำ ลูก หลาน ใกล้ชิดผู้สูงอายุ เข้มมาตรการป้องกันส่วนบุคคล ลดเสี่ยงติดโควิด 19 | วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
สธ.ย้ำ ลูก หลาน ใกล้ชิดผู้สูงอายุ เข้มมาตรการป้องกันส่วนบุคคล ลดเสี่ยงติดโควิด 19
กระทรวงสาธารณสุข ขอความร่วมมือ ลูก หลาน บุคคลใกล้ชิด ผู้สูงอายุ/ผู้มีโรคประจำตัว เข้มมาตรการส่วนบุคคล สวมหน้ากากตลอดเวลา เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ แยกสำหรับอาหาร ช่วยลดเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19
วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์เฉวตสรร นามวาท รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค แถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด 19 ว่า วันนี้ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 143 รายมาจากระบบเฝ้าระวังในโรงพยาบาล 64 ราย ค้นหาเชิงรุกในชุมชน 68 ราย และเดินทางมาจากต่างประเทศ 11 รายรักษาหายเพิ่มขึ้น 772 ราย ทำให้ผู้ติดเชื้อสะสมระลอกใหม่ ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2563 - 15 กุมภาพันธ์ 2564มีจำนวน 20,477 ราย หายป่วยสะสม 18,706 ราย ยังอยู่ระหว่างการรักษา 1,749 ราย มีผู้เสียชีวิต 2 คน
นายแพทย์เฉวตสรร กล่าวว่า สำหรับผู้เสียชีวิตคนที่ 1 ชายไทย อายุ 62 ปี มีโรคประจำตัว คือเบาหวาน ไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง ปอดบวมน้ำ และคนที่สอง ชายไทย อายุ78 ปี มีโรคประจำตัวคือ หอบหืด ถุงลมโป่งพอง ติดเชื้อจากการรับประทานอาหารร่วมกับลูกสาวที่มีเชื้อโควิด 19 ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 22 คน จึงขอความร่วมมือ ลูก หลาน บุคคลใกล้ชิดผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้มีโรคประจำตัวมีความเสี่ยงหากติดเชื้อจะมีความรุนแรง และ อาจเสียชีวิตได้ การป้องกันคนในบ้านเป็นสิ่งสำคัญ ต้องเข้มในเรื่องความสะอาดส่วนบุคคล สวมหน้ากากตลอดเวลา รักษามาตรการเว้นระยะ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกัน ควรแยกสำรับอาหารและของใช้ส่วนตัว หมั่นล้างมือบ่อยๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อโควิด 19
ทั้งนี้ ในช่วง 2 วันที่ผ่านมามีรายงานพบผู้ติดเชื้อในหลายจังหวัด เชื่อมโยงกับตลาดในจังหวัดปทุมธานี ขอให้ประชาชนในพื้นที่ไม่ต้องกังวลใจ ขณะนี้ทีมสอบสวนโรคได้มีการประสานงานทุกจังหวัดอย่างใกล้ชิด ให้เฝ้าระวังและค้นหาผู้ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้ออย่างเข้มข้น เพื่อให้จำกัดวงในการระบาดได้อย่างรวดเร็ว สำหรับประชาชนคงเข้มมาตรการป้องกันตนเองอย่างเต็มที่ เมื่อออกจากบ้านไปตลาด หรือไปในที่สาธารณะ ต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า 100% ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างสแกนไทยชนะ และโหลดแอปหมอชนะเพื่อช่วยกันป้องกันการแพร่ระบาดและลดจำนวนผู้ติดเชื้อในพื้นที่
************************** 15 กุมภาพันธ์ 2564
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39121 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้พิการ ผู้สูงอายุ “เราชนะ” รับลงทะเบียนถึงบ้าน | วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
ผู้พิการ ผู้สูงอายุ “เราชนะ” รับลงทะเบียนถึงบ้าน
...
โครงการเราชนะ เปิดรับลงทะเบียน
ด้วย “บัตรประชาชน”
สำหรับคนไม่มีอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน
ในวันที่ 15 ก.พ.- 5 มี.ค.64 ที่ธนาคารกรุงไทย
.
สำหรับ ผู้พิการ ผู้ป่วย และผู้สูงอายุ ที่เดินทางไม่ได้
จะมีอาสาสมัครระดับหมู่บ้าน
และหน่วยเคลื่อนที่ของ ธนาคารกรุงไทย
ไปรับลงทะเบียนถึงบ้าน
.
กรณีผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
ผู้ดูแล หรือ คนในครอบครัว
ช่วยลงทะเบียนให้ได้นะครับ
.
ผู้ที่ได้รับสิทธิ์จากโครงการ
สามารถซื้อของได้โดยให้ร้านค้า
ใช้แอปพลิเคชัน “ถุงเงิน”
สแกนบัตรประชาชนของผู้ซื้อ
.
วงเงินจะเข้าบัตรประชาชนเป็นรายสัปดาห์
งวดแรก ได้วันที่ 5 มี.ค.64
และทยอยได้จนครบ 7,000 บาท
#ไทยคู่ฟ้า #รวมไทยสร้างชาติ #ร่วมต้านโควิด19
-------------------
อัลบั้มภาพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คลายปม! ไทยตกขบวนวัคซีน COVAX จริงหรือ?
อนุมัติ 188.95 ล้าน ชดเชยดอกเบี้ยผู้เก็บข้าว
ประมูลของ “ยึดทรัพย์ยาเสพติด” เงินนี้ไปไหน
ไขข้อข้องใจการหาวัคซีน Covid-19
อนุมัติ ! 2.8 หมื่นล้าน บรรเทาภาระเกษตรกร
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39124 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ยินดีบริษัทจากจีน เล็งเห็นศักยภาพของไทยในการเป็นฐานการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาคอาเซียน | วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
นายกฯ ยินดีบริษัทจากจีน เล็งเห็นศักยภาพของไทยในการเป็นฐานการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาคอาเซียน
นายกฯ ยินดีบริษัทจากจีน เล็งเห็นศักยภาพของไทยในการเป็นฐานการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาคอาเซียน
วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2564) เวลา 08.30 น. ณ ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้การต้อนรับ นายเจียหมิง จาง ประธานบริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ ภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทย (Great Wall Motor) พร้อมคณะผู้บริหาร โดยภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวยินดีที่บริษัทฯ เล็งเห็นถึงศักยภาพของไทยในการเป็นฐานการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะการส่งเสริมตลาดรถยนต์ไฟฟ้าประเภท xEV (Electric Vehical) สอดคล้องกับนโยบาย BCG (Bio-Circular-Green Economy) ของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานน้ำมันเพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
ด้านนายเจียหมิงฯ กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่อนุญาตให้เข้าเยี่ยมคารวะ และขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้การสนับสนุนการลงทุนในประเทศไทย พร้อมชื่นชมศักยภาพของไทยด้านการผลิตยานยนต์ซึ่งตรงกับแนวทางของบริษัทฯ ที่เน้นการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ นอกจากไทยจะได้เปรียบทางยุทธศาสตร์แล้ว ยังมีการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริม และดึงดูดการลงทุน
นอกจากนี้ บริษัทฯ วางแผนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไตรมาสแรกที่จำนวน 80,000 คัน และมุ่งหวังจะดำเนินการลงทุนในไทยให้เป็นศูนย์กลางการผลิต และส่งออกรถยนต์ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการจ้างงานและการพัฒนาทักษะแรงงานด้านต่าง ๆ ให้กับคนไทยเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต
โอกาสนี้ บริษัทได้มอบหน้ากากอนามัยทางการแพทย์จำนวน 500,000 ชิ้น เพิ่อสนับสนุนการดำเนินการของไทยเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยสนับสนุนเป็นเวชภัณฑ์แก่บุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่ และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 อีกด้วย
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39104 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การให้ความช่วยเหลือในการลงทะเบียนแก่กลุ่มผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษและการโอนวงเงินสิทธิ์งวดที่ 3 ให้แก่กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
การให้ความช่วยเหลือในการลงทะเบียนแก่กลุ่มผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษและการโอนวงเงินสิทธิ์งวดที่ 3 ให้แก่กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ผลการประชุมแนวทางการให้ความช่วยเหลือในการลงทะเบียนโครงการเราชนะเพิ่มเติมแก่กลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางเพิ่มจุดรับลงทะเบียนโครงการฯ เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับประชาชน
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการประชุมแนวทางการให้ความช่วยเหลือในการลงทะเบียนโครงการเราชนะ (โครงการฯ) เพิ่มเติมแก่กลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น ไม่สามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต ไม่มีสมาร์ทโฟนทำให้ไม่สามารถใช้งานแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ได้ ผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง (ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ทุพพลภาพ ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถเดินทางไปลงทะเบียนเองหรือเดินทางไปใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์ที่ได้รับผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ได้) เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 1 กระทรวงการคลัง ที่มีนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางเพิ่มจุดรับลงทะเบียนโครงการฯ เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับประชาชนกลุ่มดังกล่าวนอกเหนือจากการลงทะเบียนที่สาขาและจุดบริการเคลื่อนที่ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทยฯ) ให้สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ได้ที่สาขาหรือจุดบริการของธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนักงานคลังจังหวัด สำนักงานสรรพามิตพื้นที่ และสำนักงานสรรพากรพื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงมหาดไทยจัดหน่วยรับลงทะเบียนเคลื่อนที่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนกลุ่มดังกล่าวที่ไม่สามารถเดินทางไปจุดบริการลงทะเบียนได้ ซึ่งดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน หรือ ธ.ก.ส. ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม 2564 ทำให้มีจุดรับบริการลงทะเบียนโครงการฯ รวมอย่างน้อย 3,500 แห่ง สำหรับการให้บริการประชาชน
โฆษกกระทรวงการคลังได้กล่าวถึงความคืบหน้าของการเข้าร่วมโครงการฯ ของกลุ่มประชาชนที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลของแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ในโครงการเราเที่ยวด้วยกันและคนละครึ่ง และกลุ่มประชาชนทั่วไปที่ลงทะเบียนทางเว็บไซต์ www.เราชนะ.com ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 12.00 น. ว่ามีผู้ที่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติเบื้องต้นและยืนยันการใช้สิทธิ์ร่วมโครงการฯ ผ่านแถบ (Banner) โครงการ “เราชนะ” ในแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” แล้ว จำนวน 11,989,928 คน และมีกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษมาลงทะเบียนแล้วจำนวน 571,797 คน (ข้อมูล ณ เวลา 16.00 น.) สำหรับกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับวงเงินสิทธิ์เข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐงวดที่ 3 ในวันนี้ โดยสามารถสะสมวงเงินสิทธิ์เพื่อใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้ จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564
สำหรับการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสมในโครงการฯ ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 ของประชาชนกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และประชาชนกลุ่มผู้ที่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติเบื้องต้นและยืนยันการใช้สิทธิ์ร่วมโครงการฯ ผ่านแถบ (Banner) โครงการ “เราชนะ” ในแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” แล้ว จากข้อมูล ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 12.00 น. มีมูลค่าการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสมหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยแล้วมากกว่า 24,571 ล้านบาท
ทั้งนี้ ที่ผ่านมากระทรวงการคลังพบว่ามีข่าวปลอม (Fake News) จากสังคมออนไลน์ (Social Media) เกี่ยวกับโครงการฯ ถูกเผยแพร่ออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งกระทรวงการคลังได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอด ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของโครงการฯ โปรดอย่าหลงเชื่อข่าวปลอมจากช่องทางดังกล่าว และขอความร่วมมือประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสารของโครงการฯ จากช่องทางการสื่อสารที่เป็นทางการจากทางราชการ ได้แก่ www.เราชนะ.com www.mof.go.th www.fpo.go.th และ Facebook Fanpage “สถานีข่าวกระทรวงการคลัง” และ “สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง: Fiscal Policy Office” เท่านั้น
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3250 3423 3424 3425 3427 3429 3430 3431 และ 3444 (เฉพาะวันและเวลาราชการ)
Call Center ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
โทร. 0 2111 1144
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39260 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ทส. หารือกรรมการมรดกโลก พัฒนาการดำเนินงานของไทยเพื่อเสนอกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
รมว.ทส. หารือกรรมการมรดกโลก พัฒนาการดำเนินงานของไทยเพื่อเสนอกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก
รมว.ทส. หารือกรรมการมรดกโลก พัฒนาการดำเนินงานของไทยเพื่อเสนอกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก
วันนี้ เวลา 09.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ให้การต้อนรับ นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว และนายปิยวัชร นิยมฤกษ์ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก พร้อมด้วย นายณัฐวัฒน์ กฤษณามระ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ และเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหารือเกี่ยวกับพัฒนาการและการดำเนินการของไทยต่อการนำเสนอกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก โดยมี นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมสนับสนุนข้อมูลสำหรับการหารือดังกล่าว ณ ห้องประชุมชั้น 20 อาคารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39252 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธพส. ลงนามสัญญาจ้างงานก่อสร้างอาคารด้านทิศเหนือ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ โซน C มูลค่ากว่า 6,200 ล้านบาท | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
ธพส. ลงนามสัญญาจ้างงานก่อสร้างอาคารด้านทิศเหนือ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ โซน C มูลค่ากว่า 6,200 ล้านบาท
ธพส. ลงนามสัญญาจ้าง ซิโน-ไทย ก่อสร้างอาคารด้านทิศเหนือ โครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยาย ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โซน C มูลค่า 6,245,697,000 บาท ต่ำกว่าราคากลาง 484,203,000 บาท
ธพส. ลงนามสัญญาจ้าง ซิโน-ไทย ก่อสร้างอาคารด้านทิศเหนือ โครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยาย ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โซน C มูลค่า 6,245,697,000 บาท ต่ำกว่าราคากลาง 484,203,000 บาท พร้อมเผยความคืบหน้างานก่อสร้างชั้นใต้ดิน (Basement) แล้วเสร็จกว่า 40% เป็นไปตามแผนงาน
วันนี้ (18 กุมภาพันธ์ 2564) บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) ได้จัดพิธีลงนามสัญญาจ้าง โครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยาย ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โซน C งานก่อสร้างอาคารด้านทิศเหนือ ณ อาคารธนพิพัฒน์ โดยมี นายยุทธนา หยิมการุณ อธิบดีกรมธนารักษ์ ในฐานะประธานกรรมการ ธพส. และ พลเอก ดร.สุรพันธ์ พุ่มแก้ว กรรมการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติเป็นสักขีพยาน ซึ่งพิธีดังกล่าวเป็นการลงนามสัญญาจ้างระหว่าง ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการผู้จัดการ ธพส. และ นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
ดร.นาฬิกอติภัค กล่าวว่า การประกวดราคาจ้างก่อสร้างอาคารด้านทิศเหนือ เป็นการดำเนินงานด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีราคากลาง 6,729,900,000 บาท ซึ่งหลังจากที่เปิดให้เอกชนซื้อเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 ถึง 16 ธันวาคม 2563 รวมระยะเวลา 25 วัน มีเอกชนสนใจขอรับเอกสารจำนวนทั้งสิ้น ๕ ราย และสนใจยื่นเอกสารประกวดราคาจำนวน 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) โดยบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เสนอราคาต่ำสุด คือ 6,245,697,000 บาท
“วันนี้ ธพส. จึงได้ลงนามจ้างงานก่อสร้างอาคารด้านทิศเหนือ โครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยาย ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โซน C โดยมีคณะสังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ให้เกียรติร่วมพิธีลงนามสัญญาด้วย” สำหรับงานก่อสร้างอาคารด้านทิศเหนือ มีระยะเวลาในการดำเนินงานทั้งสิ้น 840 วัน และมีขอบเขตการดำเนินงานประกอบด้วย อาคารสำนักงานสูง 11 ชั้น และอาคาร Atrium ซึ่งในการดำเนินงาน ธพส. กำชับให้มีการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการก่อสร้าง เพื่อให้ศูนย์ราชการฯ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นอาคารประหยัดพลังงาน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้อาคาร ประชาชนที่อยู่โดยรอบศูนย์ราชการฯ และประชาชนที่มาติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ
ด้าน นายภาคภูมิ กล่าวว่า การลงนามในครั้งนี้ นับเป็นเกียรติประวัติอันทรงคุณค่าของซิโน-ไทย และจากประสบการณ์การทำงานเกือบ ๖0 ปี ของบริษัทฯ ประกอบกับที่ผ่านมา ซิโน-ไทย เคยได้รับความไว้วางใจให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารภายในศูนย์ราชการฯ อาทิ อาคารที่ทำการศาลปกครอง, อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (อาคาร A) และอาคารประกอบของอาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) จึงมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถดำเนินการก่อสร้างอาคารด้านทิศเหนือ โครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยายศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐โซน C ให้ประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างดี
ทั้งนี้ ปัจจุบันการก่อสร้างพื้นที่ส่วนขยายศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐โซน C มีความก้าวหน้าในการดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ โดยอยู่ระหว่างการก่อสร้างชั้นใต้ดิน (Basement) ซึ่งกำหนดแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2564 โดยอาคารศูนย์ราชการฯ โซน C จะมีพื้นที่ใช้สอยรวม 660,000 ตารางเมตร คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2566
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39236 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บสย.จัดประชุมพนักงานทุกระดับ (Town Hall Meeting) ครั้งที่ 1/2564 ประกาศเดินหน้ายุทธศาสตร์ ปี 2564 | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
บสย.จัดประชุมพนักงานทุกระดับ (Town Hall Meeting) ครั้งที่ 1/2564 ประกาศเดินหน้ายุทธศาสตร์ ปี 2564
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จัดการประชุมพนักงานทุกระดับ (Town Hall Meeting) ครั้งที่ 1/2564 และผ่านระบบ Conference ไปยังสำนักงานสาขา และกลุ่มพนักงานที่ Work from Home
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นประธานการประชุมพนักงานทุกระดับ (Town Hall Meeting) ครั้งที่ 1/2564 ณ สำนักงานใหญ่ บสย. ห้องประชุมชั้น 21 อาคารชาญอิสสระทาวเวอร์ 2 และผ่านระบบ Conference ไปยังสำนักงานสาขา และกลุ่มพนักงานที่ Work from Home เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 โดยกล่าวขอบคุณเพื่อนพนักงาน บสย.ที่ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจ ทำงานเต็มความสามารถตลอดปีที่ผ่านมา ท่ามกลางวิกฤตรอบด้าน ซึ่งสามารถช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อ ด้วยสถิติการค้ำประกันสินเชื่อที่น่าทึ่ง โดยยังได้กล่าวถึงเส้นทางความสำเร็จ บสย. ที่แสดงถึงการเติบโต ก้าวไกลและแข็งแกร่ง ทั้งทีมหน้าบ้าน กลางบ้าน และ หลังบ้าน ความสามารถในการติดตามหนี้ ความสามารถในด้านการบริหารการลงทุน และความร่วมใจผลักดันยอดค้ำประกันสินเชื่อทะลุ 1 ล้านล้านบาทเป็นผลสำเร็จ ผลดำเนินงานที่สมบูรณ์แบบทุกด้านนี้ พิสูจน์ให้เห็น จากการได้รับรางวัลแห่งความสำเร็จ “Bank of the Year 2020” จากเครือดอกเบี้ย
แผนการดำเนินงานของ บสย.ในปี 2564 คือ การพัฒนาองค์กรและเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างรายได้ระยะยาว โดยเน้นแผนธุรกิจที่เป็นรูปธรรม ชัดเจน และเห็นผลจริง เพื่อปิด Gap การดำเนินงาน ทั้งด้านระบบดิจิทัล และไอที อาทิ CGS, Auto Approve, Core Guarantee System, Data Management Platform, HRMS รวมถึงการออก TCG Digital Plus เพื่อการชำระเงินที่สะดวก แม่นยำ และเป็นนวัตกรรมใหม่ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานของ บสย. รวมถึงการปรับปรุงระบบการวิเคราะห์ การอนุมัติ และการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ยืดหยุ่น เหมาะกับความต้องการของผู้ประกอบการในภาวะวิกฤต
โดยในปีนี้ได้วางบทบาท 3 กลุ่มงานหลักคือ 1. สายงานบริหารช่องทางและพัฒนาผู้ประกอบการ สู่การเป็น Bank Agent มอบหมายให้สำนักงานเขตเป็น Profit Center สร้างรายได้ เพิ่มศักยภาพศูนย์ให้คำปรึกษาการเงิน SMEs หรือ บสย. F.A. Center เน้นช่วยเหลือและแก้ไขหนี้ ผลักดันให้ ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับสินเชื่อ และเป็นศูนย์การพัฒนาบุคคลากร บสย. สู่การเป็นหมอหนี้เพื่อ SMEs 2.สายปฎิบัติงาน วางเป้าการขยายฐานประนอมหนี้ ผ่านช่องทางใหม่ ๆ 3.สายงานกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์ ชูบทบาทพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อ และการขยายเครือข่ายสถาบันการเงินสู่กลุ่ม Non-Bank นอกจากนี้ยังได้เตรียมพัฒนาส่วนงานต่าง ๆ รองรับแผนการสร้างรายได้ (Financial Performance) ได้แก่ การปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เพิ่มรายจากธุรกรรมค้ำประกันสินเชื่อ เพิ่ม Service Fee และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการ SMEs (SMEs Data Bank)
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39241 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีห่วงใยปัญหาปากท้องพี่น้องประชาชน ยืนยันรัฐบาลเดินหน้าแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกจ้าง พร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
นายกรัฐมนตรีห่วงใยปัญหาปากท้องพี่น้องประชาชน ยืนยันรัฐบาลเดินหน้าแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกจ้าง พร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก
นายกรัฐมนตรีห่วงใยปัญหาปากท้องพี่น้องประชาชน ยืนยันรัฐบาลเดินหน้าแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกจ้าง พร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก
วันนี้ (20 ก.พ. 64) เวลา 21.05 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร อาคารรัฐสภา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมชี้แจงภาพรวมเศรษฐกิจและแผนงาน/โครงการประจำปีงบประมาณประจำปี 2564 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 2 ครั้งที่ 26 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล หากงบประมาณที่เตรียมไว้ไม่เพียงพอจะพิจารณาตัดโครงการที่ไม่สำคัญออกเพื่อบริหารการเงินการคลังของรัฐบาล พร้อมหารือกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในการดูแลราคาสินค้า เพื่อบรรเทาความปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ขณะเดียวกันประเทศไทยมีรายจ่ายที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการดูแลราคาพืชผลทางการเกษตร สาธารณสุข สุขภาพประชาชน การศึกษา ขณะที่ขีดความสามารถการแข่งขันเพื่อสร้างรายได้ของประเทศลดลง จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินโครงการต่าง ๆ
นายกรัฐมนตรียังขอบคุณผู้อภิปรายที่ร่วมเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือ GDP ซึ่งรัฐบาจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด ในฐานะทำหน้าที่ดูแลภาพรวมเศรษฐกิจปากท้องของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รัฐบาลได้มีมาตรการออกมาอย่างต่อเนื่องเพื่อดูแล SMEs ผู้ประกอบการรายใหญ่และรายเล็กให้เข้าถึง Soft Loan เพื่อไม่ลดการจ้างงานและสามารถดูแลลูกจ้างพนักงานภายในห่วงโซ่ของตนได้ พร้อมยืนยันว่าเป็นห่วงประชาชนทุกภาคส่วนและไม่ได้มีการสนับสนุนนายทุนเจ้าสัว
นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงระหว่างปี 2556 – 2562 โดย GDP ของปี 2557 ลดลงร้อยละ 1 จากนั้นตัวเลข GDP ได้ขยายตามลำดับ คือ ปี 2558 ขยายร้อยละ 3.1 ปี 2559 ขยายร้อยละ 3.4 ปี 2560 ขยายร้อยละ 4.1 ปี ปี 2561 ขยายร้อยละ 4.2 และในปี 2562 หดตัวร้อยเหลือร้อยละ 2.4 เนื่องจากตลาดส่งออกไทยได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง สงครามการค้าระหว่างประเทศ และในปี 2563 GDP ติดลบร้อยละ 6 เช่นเดียวกับหลาย ๆ ประเทศในอาเซียน
นายกรัฐมนตรีย้ำว่ารัฐบาลมีความมุ่งหวังให้ประเทศเดินไปสู่อนาคต ขณะเดียวกันก็ย้อนดูสถานการณ์ในอดีตถึงความพร้อมของประเทศไทย เพื่อนำมาแก้ไขปัญหา ทำให้ปัจจุบัน ต้องมีการปฏิรูปเศรษฐกิจ เพราะโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทยผูกพันกันในทุกระดับ ทุกช่วง ซึ่งก่อนปี 2557 ประเทศไทยไม่เคยมีการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้แก่ประเทศ จากเดิมที่มีโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard) รวมทั้งโมเดลการส่งออกสินค้าที่แข่งขันกันเรื่องราคา ก็มีการแข่งขันสูงกันมากยิ่งขึ้นในเวทีโลก โดยภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยที่พึ่งพิงรายได้จากสินค้าการเกษตร จึงต้องเร่งพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ปลูกพืชให้ตรงต่อความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตามกฎ Demand และ Supply เพื่อไม่ให้พืชเกษตรหลัก 6 พืชของประเทศไทยมีปัญหา รวมถึงแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมการใช้แรงงาน ที่ใช้แรงงานลดลง สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ต้องเร่งฟื้นฟูแก้ไขแหล่งท่องเที่ยวทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง รวมถึงคัดกรองคุณภาพนักท่องเที่ยวรายได้สูงเพื่อไทยได้ประโยชน์จากการใช้เงินในประเทศ
นายกรัฐมนตรีย้ำจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังและจะจัดทำแพลตฟอร์มของไทยเพื่อต่อยอดและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้นโดยไม่พึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวเหมือนที่ผ่านมา เพราะหากทำแบบเดิมก็จะได้ผลเช่นเดิมอีก แม้จะยากก็ต้องทำให้ได้
.......................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39270 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.เผยผู้ติดเชื้อโควิดของไทยรักษาหายกลับบ้านได้ร้อยละ 94 | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
สธ.เผยผู้ติดเชื้อโควิดของไทยรักษาหายกลับบ้านได้ร้อยละ 94
กระทรวงสาธารณสุขเผยประเทศไทยควบคุมโรคได้ดี พบผู้ติดเชื้อลดลง ขณะที่ผู้ป่วยรักษาหาย 19,893 ราย คิดเป็นร้อยละ 94 ของผู้ติดเชื้อระลอกใหม่ ส่วนอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่าระดับโลก ย้ำการกักตัวเอง 14 วัน เมื่อสัมผัสผู้ติดเชื้อ ช่วยป้องกันการแพร่เชื้อต่อ
กระทรวงสาธารณสุขเผยประเทศไทยควบคุมโรคได้ดี พบผู้ติดเชื้อลดลง ขณะที่ผู้ป่วยรักษาหาย 19,893 ราย คิดเป็นร้อยละ 94 ของผู้ติดเชื้อระลอกใหม่ ส่วนอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่าระดับโลก ย้ำการกักตัวเอง 14 วัน เมื่อสัมผัสผู้ติดเชื้อ ช่วยป้องกันการแพร่เชื้อต่อ แม้พ้นการกักตัวยังต้องใส่หน้ากากและเว้นระยะห่าง
วันนี้ (19 กุมภาพันธ์ 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์เฉวตสรร นามวาท รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค แถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด 19 ของประเทศไทย วันนี้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 130 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังในโรงพยาบาล 61 ราย ค้นหาเชิงรุกในชุมชน 55 ราย และเดินทางมาจากต่างประเทศ 14 ราย รักษาหายเพิ่มขึ้น 124 ราย เสียชีวิต 1 คน ทำให้ผู้ติดเชื้อสะสมระลอกใหม่ ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2563 - 19 กุมภาพันธ์ 2564 มีจำนวน 21,004 ราย หายป่วยสะสม 19,893 ราย คิดเป็นร้อยละ 94 ยังอยู่ระหว่างการรักษา 1,088 ราย เสียชีวิตสะสม 23 ราย ผู้ติดเชื้อรายใหม่มี 6 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร 71 ราย ปทุมธานี 22 ราย นครปฐม 10 ราย กทม. 7 ราย พระนครศรีอยุธยา 4 ราย และนนทบุรี 2 ราย
“การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในระลอกใหม่ถือว่าควบคุมโรคได้ดี ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดเหลือ 100 กว่ารายต่อวัน จากเดิม 700-800 รายต่อวัน เช่น สมุทรสาครและปทุมธานียังคัดกรองเชิงรุกต่อเนื่อง แต่จำนวนผู้ติดเชื้อไม่ได้สูงอย่างที่ผ่านมา เป็นผลมาจากมาตรการการกักตัว การค้นหาเชิงรุก การจำกัดวงไม่ให้เคลื่อนย้ายผู้ติดเชื้อ มาตรการสวมหน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่าง ส่วนอัตราการเสียชีวิตภาพรวมอยู่ที่ร้อยละ 0.33 ถือว่าน้อยกว่าของโลกซึ่งอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 2.21” นายแพทย์เฉวตสรรกล่าว
นายแพทย์เฉวตสรร กล่าวต่อว่า ขอย้ำว่ามาตรการกักตัวมีความสำคัญและจำเป็น เช่นกรณี จ.นครราชสีมาที่พบเด็กอายุ 7 ปีติดเชื้อจากมารดาที่ติดเชื้อจากตลาด จ.ปทุมธานี บิดาและลูกสาวที่กักตัวในโรงพยาบาลก็ทำให้ ไม่แพร่เชื้อสู่ผู้อื่น ดังนั้น ขอความร่วมมือประชาชนเมื่อมีอาการป่วย หรือสงสัยว่าสัมผัสผู้ติดเชื้อ ควรแยกตัวออกจากคนในครอบครัว รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อ แม้ว่าผลตรวจเป็นลบยังคงต้องกักตัวต่อให้ครบ 14 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ติดเชื้อ และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ รวมทั้ง เมื่อพ้นการกักตัวจากการเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงแล้ว การสวมหน้ากากและเว้นระยะห่างยังเป็นมาตรการที่ต้องดำเนินการต่อเพื่อช่วยป้องกันและควบคุมโรค
************************** 19 กุมภาพันธ์ 2564
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39264 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีย้ำรัฐบาลพร้อมพัฒนา โครงการที่ทำมา แก้ไขความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ เพื่อประชาชนได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
นายกรัฐมนตรีย้ำรัฐบาลพร้อมพัฒนา โครงการที่ทำมา แก้ไขความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ เพื่อประชาชนได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น
นายกรัฐมนตรีย้ำรัฐบาลพร้อมพัฒนา โครงการที่ทำมา แก้ไขความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ เพื่อประชาชนได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น
วันนี้ (20 ก.พ. 64) เวลา 21.05 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร อาคารรัฐสภา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมชี้แจงในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 2 ครั้งที่ 26 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ย้ำโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินมาจำเป็นต้องดำเนินการต่อไป และจะพัฒนาให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น
นายกรัฐมนตรียืนยันพร้อมพัฒนาโครงการต่าง ๆ เพื่อดูแลประชาชน เช่น โครงการหลักประกันสุขภาพ เพิ่มสิทธิประโยชน์กว่า 50 รายการ เช่น เพิ่มบัญชียาที่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ โรคเอส์ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น การช่วยเหลือเกษตรกรยังจะต้องดำเนินการต่อไป แต่ต้องลดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรเป็นเกษตรแนวใหม่ หากไม่มีการพัฒนาคาดการณ์ว่าแนวโน้มการใช้เงินอุดหนุนราคา จะมากขึ้นเรื่อย ๆจึงต้องพัฒนาให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงโครงการของรัฐ เช่นการเกษตรแปลงใหญ่ และดำเนินงานตามโครงการในพระราชดำริควบคู่ไปด้วย ทั้งเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยนายกรัฐมนตรีได้เร่งพัฒนาให้ทุกคนเข้าถึงสาธารณูปโภคและการบริการต่าง ๆ อย่างทั่วถึงอย่างเชื่อมโยง
นายกรัฐมนตรียังชี้แจงถึงค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มไว้แล้วก่อนหน้านี้ว่า เป็นการเพิ่มที่เร็วเกินไป ส่งผลให้โรงงานย้ายฐานการผลิตไปสู่ต่างประเทศ เพราะต้นทุนการผลิตในโรงงานสูงขึ้นในช่วงระยะเวลาอันสั้น โรงงานปรับตัวไม่ทัน อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานอย่างเข้มข้นย้ายฐานผลิตไปประเทศที่ค่าแรงถูกกว่า ทำให้ประเทศสูญเสียรายได้ ขณะที่อุตสาหกรรมที่ไม่ได้ย้ายฐานการผลิต เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน มีการนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดปัญหาการลักลอบการนำแรงงานต่างด้าวเข้าประเทศตามมา ซึ่งรัฐบาลได้เร่งให้มีการลงทะเบียนแรงงานให้ถูกต้อง สำหรับการทุจริตนั้น สั่งการให้สอบสวนและดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม
โครงสร้างการท่องเที่ยวต้องมีการพัฒนาในเชิงคุณภาพที่ควบคุมและดูแลได้ นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้มีทางเลือกในการหารายได้ช่องทางอื่น เช่น การขายออนไลน์ ค้าขายข้ามชาติ โดยจะต้องพัฒนาแพลตฟอร์มของการเก็บภาษีการบริการจากต่างประเทศ
ขณะที่ โครงสร้างการขนส่งทางบกทางราง รถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ รถไฟทางคู่ อยู่ในแผนแม่บทของรถไฟฟ้าทั้งการขนส่ง การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อช่วยเกษตรกร ลดน้ำท่วม ลดภัยแล้งกระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศพร้อมปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตเกษตรกรอย่างยั่งยืน ผลิตสินค้าให้มีตลาดรองรับ โดยกำหนดนโยบายการเกษตร BCG มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตแปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่ม ส่งเสริมการตลาดทั้ง offline และ online ให้มีกระจายสินค้าให้ทั่วทุกภูมิภาค
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลส่งเสริมการใช้โครงข่าย 4G 5G พร้อมพัฒนาโครงสร้างความถี่ ซึ่งไทยได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่มีอินเตอร์เน็ตเร็วที่สุดในโลกและมีสัญญาณครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ ขณะเดียวกันได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อสร้างเศรษฐกิจให้ดีขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งพาการส่งออกอย่างเดียวเหมือนที่ผ่านมา
นายกรัฐมนตรีย้ำการดูแลประชาชนทั้งในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ค่าครองชีพ ค่ารถโดยสาร สำหรับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นการให้เงินอย่างตรงจุด จัดลำดับผู้ที่มีความต้องการ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึง ทำให้เกิดความเท่าเทียม สำหรับโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้วเช่น โครงการฟื้นฟูชุมชนเมืองดินแดง โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองลาดพร้าว และริมคลองเปรมประชากร โครงการบ้านเช่าราคาถูกสำหรับผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส เป็นการใช้เงินงบประมาณเงินกู้ที่มีความโปร่งใส
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ปัญหาความอ่อนแอทางเศรษฐกิจของไทยเหล่านี้ ทำให้สิ่งแรกที่รัฐบาลจะต้องดูแลคือ เสถียรภาพทางสังคมและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและให้รายได้ที่เข้าประเทศกระจายไปสู่ประชาชนโดยตรงให้ได้มากที่สุดพร้อมย้ำว่ารัฐบาลตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อย่างดีที่สุด
................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39273 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การประชุมคณะทำงานกลั่นกรองการกำหนดตำแหน่งและโครงสร้างการ แบ่งงานภายในของส่วนราชการ ครั้งที่ 2/2564 | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
การประชุมคณะทำงานกลั่นกรองการกำหนดตำแหน่งและโครงสร้างการ แบ่งงานภายในของส่วนราชการ ครั้งที่ 2/2564
การประชุมคณะทำงานกลั่นกรองการกำหนดตำแหน่งและโครงสร้างการ แบ่งงานภายในของส่วนราชการ ครั้งที่ 2/2564
นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานกลั่นกรองการกำหนดตำแหน่งและโครงสร้างการแบ่งงานภายในของส่วนราชการ ก่อนนำเสนอ อ.ก.พ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 2/2564 ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีพลเอกอำนาจ สมประสงค์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล ผู้แทน อ.ก.พ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน นายครองศักดิ์ ลงรักษา ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ และผู้แทน กพ. ร่วมกันพิจารณาการกำหนดตำแหน่งและโครงสร้างการแบ่งงานภายในส่วนราชการ โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ดังนี้ 1) การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งเป็นระดับสูงขึ้น (ระดับชำนาญการพิเศษ) ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จำนวน 45 ตำแหน่ง 2) การกำหนดตำแหน่งในกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 7 ตำแหน่ง 3) การเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในสายงาน และการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานในกรมส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน 3 ตำแหน่ง
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39258 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดีอีเอส ระดมไอเดียจัดทำร่าง กม. ลำดับรอง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลฯ | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
ดีอีเอส ระดมไอเดียจัดทำร่าง กม. ลำดับรอง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลฯ
ดีอีเอส ระดมไอเดียจัดทำร่าง กม. ลำดับรอง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลฯ
กระทรวงดิจิทัลฯสรุปความสำเร็จเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อจัดทำร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพ.ศ. 2562กลุ่ม1ตัวแทนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง7กิจการเข้าร่วมคึกคักทั้งกลุ่มการเงินกลุ่มท่องเที่ยวกลุ่มการผลิตและการค้ากลุ่มสาธารณสุขกลุ่มหน่วยงานของรัฐกลุ่มดิจิทัลและผู้ประกอบการต่างประเทศและกลุ่มการศึกษาและภาคประชาชนเตรียมเปิดรับข้อเสนอแนะเพิ่มเติมผ่านแบบฟอร์มออนไลน์จนถึงวันที่28ก.พ.นี้
นายภุชพงค์โนดไธสงรองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส)ทำหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(สคส.)กล่าวว่ากระทรวงฯและสคส.เดินหน้ากระบวนการดำเนินการเพื่อจัดทำกฎหมายลำดับรองหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติต่างๆที่เกี่ยวข้องภายใต้พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพ.ศ. 2562ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ทั้งฉบับในเดือนมิถุนายนนี้
ล่าสุดกระทรวงฯร่วมกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นเพื่อจัดทำร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพ.ศ. 2562กลุ่ม1ระหว่างวันที่15-18ก.พ. 64ครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องในกิจการ7กลุ่มประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจการเงินตลาดทุนประกันภัย,กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวโรงแรม,กลุ่มธุรกิจการผลิตและการค้า,กลุ่มธุรกิจสาธารณสุข,หน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ,กลุ่มธุรกิจดิจิทัลและธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ผู้ประกอบการต่างประเทศและกลุ่มธุรกิจการศึกษาและภาคประชาชน
ทั้งนี้ประเด็นการรับฟังความคิดเห็นร่างกฎหมายลำดับรองกลุ่ม1ประกอบด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล,การแจ้งวัตถุประสงค์และรายละเอียดในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล,มาตรการคุ้มครองที่เหมาะสมสําหรับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา26,หลักเกณฑ์และนโยบายการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ส่งหรือโอนไปยังต่างประเทศการจัดให้มีบันทึกรายการกิจกรรมประมวลผลมาตรการเกี่ยวกับการขอใช้สิทธิในการเข้าถึงของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและการแจ้งเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล,ความมั่นคงปลอดภัยของการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล,เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและการบังคับทางปกครอง
สำหรับการจัดรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้เนื่องจากอยู่ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19จึงเป็นการจัดในรูปแบบออนไลน์มีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้ารวม1,500รายและวันนี้(19ก.พ. 64)ได้มีการเผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นบนเว็บไซต์ของกระทรวงฯที่http://bit.ly/pdpaMDESพร้อมทั้งเปิดรับข้อเสนอแนะผ่านแบบฟอร์มออนไลน์จนถึงวันที่28ก.พ.นี้
นายภุชพงค์กล่าวว่าหลักเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มการจัดทำกฎหมายลำดับรองพิจารณาตามหลักการMulti-Criteria Analysisเพื่อคัดเลือกประเด็นที่จำเป็นเร่งด่วนและมีผลกระทบกับสิทธิของประชาชนและการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการเพื่อมาจัดทำร่างประกาศที่เกี่ยวข้องก่อน
*************
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39249 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ประกาศกรมการจัดหางาน “คนต่างด้าวตามมติครม.วันที่ 26 ม.ค. 64 ให้ใช้ แบบ บต.48 และแบบ บต.49 | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
ประกาศกรมการจัดหางาน “คนต่างด้าวตามมติครม.วันที่ 26 ม.ค. 64 ให้ใช้ แบบ บต.48 และแบบ บต.49
“ราชกิจจานุเบกษา” เผยแพร่ประกาศ เรื่อง กำหนดแบบคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามมติครม. วันที่ 26 ม.ค. 64 และกลุ่มผู้ต้องกักซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เพื่อรอการส่งกลับ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 ก.พ. 64
นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 ก.พ. ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ เรื่อง กำหนดแบบคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 และ เรื่อง กำหนดแบบคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งเป็นผู้ต้องกักอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เพื่อรอการส่งกลับ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 ดังนี้
1).ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง “กำหนดแบบคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564” โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดแบบคำขออนุญาตทำงาน ของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 ให้เป็นไปตามแบบ บต. 48
ทั้งนี้ นายจ้างและคนต่างด้าว จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดของประกาศกระทรวงแรงงาน จากนั้นนายจ้างที่ประสงค์จะรับคนต่างด้าวทำงาน ต้องยื่นคำขอดังกล่าว ต่อนายทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ e-workpermit.doe.go.th
2).ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง “กำหนดแบบคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งเป็นผู้ต้องกักอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เพื่อรอการส่งกลับ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564” โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดแบบคำขออนุญาตทำงาน ของผู้ต้องกัก ซึ่งเป็นคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือการอนุญาตสิ้นสุดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือทำงานนอกเหนือสิทธิที่จะทำได้ และได้ดำเนินคดีเสร็จสิ้นแล้ว แต่ยังถูกกักตัวอยู่ในสถานกักตัว ก่อนวันที่ 26 มกราคม 2564 เพื่อรอการส่งกลับ ให้เป็นไปตามแบบ บต. 49
ทั้งนี้ นายจ้างที่ประสงค์จะรับคนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้ต้องกักทำงาน จะต้องยื่นคำขอดังกล่าว ต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 ในท้องที่อันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานของนายจ้าง
“กรมการจัดหางาน ได้กำชับหน่วยงานในสังกัด ในการสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ แก่แรงงานต่างด้าว นายจ้าง/สถานประกอบการ ที่ใช้บริการ และติดต่อราชการ เพื่อให้ประชาชนสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป ” อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวในตอนท้าย
นายจ้าง/สถานประกอบการ และคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 หรือที่ไลน์ @Service_Workpermit หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน ซึ่งมีการจัดล่ามในภาษากัมพูชา เมียนมา และอังกฤษ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และแนะนำวิธีการดำเนินการ
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39257 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. ช่วยเหลือหญิงอายุ 58 ปี ฐานะยากจน อาศัยในบ้านสภาพเก่าผุพัง ไม่มีไฟฟ้าใช้ ที่ จ.พัทลุง | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
พม. ช่วยเหลือหญิงอายุ 58 ปี ฐานะยากจน อาศัยในบ้านสภาพเก่าผุพัง ไม่มีไฟฟ้าใช้ ที่ จ.พัทลุง
พม. ช่วยเหลือหญิงอายุ 58 ปี ฐานะยากจน อาศัยในบ้านสภาพเก่าผุพัง ไม่มีไฟฟ้าใช้ ที่ จ.พัทลุง
วันนี้ (19 ก.พ. 64) เวลา 13.30 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ถ.กรุงเกษม สะพานขาว กรุงเทพฯ นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เปิดเผยว่า จากกรณีมีสื่อโทรทัศน์นำเสนอข่าวหญิงรายหนึ่งอายุ 58 ปี อยู่ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีฐานะยากจน อาศัยอยู่บ้านไม้สภาพเก่าผุพัง ฝาผนังบ้านหลุดหาย ห้องน้ำไม่สามารถใช้งานได้ และไม่มีไฟฟ้าใช้ ผู้นำหมู่บ้านเคยร้องขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานราชการระดับจังหวัด เพื่อให้การช่วยเหลือทุกปี แต่ไม่เคยได้รับการช่วยเหลือใดๆ
นางพัชรี กล่าวต่อไปว่า จากการตรวจสอบขอเท็จจริง พบว่า หญิงคนดังกล่าวอาศัยอยู่เพียงลำพังในบ้านไม้สภาพเก่าผุพังตามที่ปรากฏข้อมูลในข่าว พ่อ-แม่เสียชีวิต มีพี่น้อง 4 คน แต่ขาดการติดต่อตั้งแต่ปี 2545 ทั้งนี้ หญิงคนดังกล่าวมีทรัพย์สินเป็นบ้านและที่ดินทำกิน รวมจำนวน 7 ไร่ เป็นเหตุให้ไม่ได้รับสิทธิจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ส่วนด้านความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ เคยได้รับการช่วยเหลือเงินสงเคราะห์ผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน เป็นเงิน 2,000 บาท จากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพัทลุง เมื่อปี 2560 และได้รับเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 จากมาตรการ “เราไม่ทิ้งกัน” ของรัฐบาลเป็นเงิน 15,000 บาท ส่วนการลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิตามโครงการเราชนะได้ติดต่อลงทะเบียนที่อำเภอควนขนุน ตั้งแต่วันที่ 17 ก.พ. 64 แต่การยืนยันตัวตนผ่านการสแกนใบหน้ายังไม่สำเร็จ ด้านรายได้เดิมเคยประกอบอาชีพรับจ้าง มีรายได้ประมาณเดือนละ 1,300 บาท แต่ปัจจุบันว่างงาน ไม่มีรายได้ อาศัยเพาะปลูกผักสวนครัวเพื่อเลี้ยงชีพ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 64 อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำหมู่บ้าน (อพม.) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น ดังนี้ 1) อำเภอควนขนุน สนับสนุนเงินสร้างที่อยู่อาศัย จำนวน 30,000 บาท ภายใต้โครงการ ”บ้านปันศรัทธา เอื้ออาทร อำเภอควนขนุน” 2) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาอำเภอควนขนุน สนับสนุนเสาไฟฟ้าและเดินสายไฟฟ้า เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเป็นการชั่วคราว ระหว่างการก่อสร้างที่อยู่อาศัยจะดำเนินการแล้วเสร็จ และ 3) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ โดยศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดพัทลุง พิจารณาช่วยเหลือเงินสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยและไร้ที่พึ่ง จำนวน 3,000 บาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น อีกทั้ง มีการวางแผนการให้ความช่วยเหลือในระยะยาว ดังนี้ 1) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพัทลุง จะประสานงานกับสำนักงานเกษตรอำเภอควนขนุน เพื่อขอรับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืช เพื่อมอบให้ใช้สำหรับการเพาะปลูก และ 2) อพม. ตำบลควนขนุน ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน เพื่อติดตามประเมินการช่วยเหลือเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
นางพัชรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ หากประชาชนประสบปัญหาทางสังคม สามารถขอความช่วยเหลือได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร. 1300 ซึ่งพร้อมให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อขอความช่วยเหลือเร่งด่วนด้วยตนเองได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัด
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39262 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เกษตรฯ เร่งผลักดันแนวทางสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรด้วยโรงไฟฟ้าชีวมวล | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
เกษตรฯ เร่งผลักดันแนวทางสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรด้วยโรงไฟฟ้าชีวมวล
เกษตรฯ เร่งผลักดันแนวทางสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรด้วยโรงไฟฟ้าชีวมวล
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานจัดทำแนวทางสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรด้วยโรงไฟฟ้าชีวมวล ครั้งที่ 2/2564 ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อหารือแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจ (ไม้โตเร็ว) เพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยมี นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ นางอรรชกา สีบุญเรือง กรรมการกำกับกิจการพลังงาน นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นายเสกสรร เสริมพงศ์ รองผู้ว่าการวางแผนและพัฒนาระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม
นายระพีภัทร์ กล่าวว่า แนวทางสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรด้วยโรงไฟฟ้าชีวมวลจะใช้หลักการตลาดนำการผลิตโดยนำความต้องการวัตถุดิบสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลของกระทรวงพลังงานมาใช้คาดการณ์ปริมาณความต้องการและพื้นที่ปลูกไม้โตเร็ว เบื้องต้นกลุ่มพื้นที่เป้าหมายที่มีโอกาสในการส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนไปปลูกไม้โตเร็ว ได้แก่ พื้นที่นาดอนนอกเขตชลประทาน จำนวน 18.53 ล้านไร่ และพื้นที่ตามนโยบายลดพื้นที่ปลูกของรัฐบาล เช่น การปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3/N) จำนวน 6.11 ล้านไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกษตรกรปลูกพืชชนิดเดิมและให้ผลตอบแทนต่ำ
“เบื้องต้นคณะทำงานจัดทำแนวทางฯ ได้เสนอผลการศึกษา ไม้โตเร็ว จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ ยูคาลิปตัส ไผ่ และหญ้าเนเปียร์ พบว่า ไม้เศรษฐกิจโตเร็วหลายชนิดเหมาะสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยเฉพาะกระถินยักษ์ที่มีจุดเด่นสำคัญ คือ สามารถปลูกและเติบโตได้ในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ สามารถปลูกและเริ่มตัดใช้ประโยชน์ได้ในปีที่ 3 จากนั้นจะเริ่มแตกหน่อและสามารถตัดใหม่ได้ทุกๆ 2 ปี โดยโรงไฟฟ้าชีวมวล 1 เมกะวัตต์ จะมีความต้องการไม้สับประมาณปีละ 15,000 ตัน จึงต้องใช้พื้นที่ปลูกไม้โตเร็ว (กระถินยักษ์) ปีละ 1,364 ไร่ ส่งผลให้มีพื้นที่ส่งเสริมรวมทั้งสิ้น 4,091 ไร่ ต่อโรงไฟฟ้าชีวมวล 1 เมกะวัตต์ ดังนั้น โรงไฟฟ้าชีวมวล 75 เมกะวัตต์ จะมีความต้องการไม้สับปีละ 1,125,000 ตัน ใช้พื้นที่ปลูกไม้โตเร็ว (กระถินยักษ์) ปีละ 102,300 ไร่ พื้นที่รวม 3 ปี จะต้องใช้พื้นที่ทั้งสิ้น 306,900 ไร่” รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำหรับแนวทางสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรด้วยโรงไฟฟ้าชีวมวลจะใช้หลักการแบ่งปันต้นทุนและผลตอบแทน (Cost and Profit Sharing) และหลักการระบบเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) เพื่อสร้างหลักประกันและผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างเกษตรกร โรงไฟฟ้าชีวมวล และชุมชน สามารถคุ้มครองผลประโยชน์ของเกษตรกรผ่านวิสาหกิจชุมชน และเป็นเงื่อนไขในการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากที่กำหนดให้วิสาหกิจชุมชนที่มีเกษตรกรเป็นสมาชิกร่วมถือหุ้นในโรงไฟฟ้าร้อยละ 10 ตามกรอบที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานกำหนด
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39259 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ยืนยันไม่เคยรับผลประโยชน์ ไม่เคยทุจริตใดๆ การเสนอแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจเป็นไปตามการเสนอชื่อตามความเหมาะสมจากหน่วยงานต้นสังกัด | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
นายกฯ ยืนยันไม่เคยรับผลประโยชน์ ไม่เคยทุจริตใดๆ การเสนอแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจเป็นไปตามการเสนอชื่อตามความเหมาะสมจากหน่วยงานต้นสังกัด
นายกฯ ยืนยันไม่เคยรับผลประโยชน์ ไม่เคยทุจริตใดๆ การเสนอแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจเป็นไปตามการเสนอชื่อตามความเหมาะสมจากหน่วยงานต้นสังกัด
วันนี้ (19 ก.พ. 64) เวลา 12.15 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร อาคารรัฐสภา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวชี้แจงในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 2 ครั้งที่ 26 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ต่อกรณีการบริหารดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า ตนเองได้รับทราบการอภิปรายจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วและขอชี้แจงว่าในส่วนของการทำงานของตน เป็นการทำงานภายใต้กรอบของกฎหมาย ขั้นตอน แนวทาง ซึ่งมีการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจใน 3 ระดับ ดังที่ได้ชี้แจงแล้ว ในส่วนของนายกรัฐมนตรีการเป็นประธาน ก.ตร. มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจในระดับนายพล ซึ่งเป็นการทำงานผ่านมติที่ประชุม ตามคำเสนอที่ได้คัดกรองมาจาก สตช.
การทำงานของ ก.ตร. นั้น เป็นคณะกรรมการสนับสนุนการขอแต่งตั้งซึ่งเสนอมาตามดุลพินิจผู้บังคับบัญชา รวมทั้งในเรื่องของการยกเว้นหลักเกณฑ์เป็นการเสนอเรื่องมาจาก สตช. ตามความรู้ความสามารถ เหตุผลอันเห็นเป็นสมควร และผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ และเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้ ทุกอย่างเป็นไปตามหลักเกณฑ์และตาม พ.ร.บ.ตำรวจ พ.ศ.2547 และเปิดกว้างเสมอ หากมีข้าราชการตำรวจที่รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมตามหลักเกณฑ์ สามารถร้องเรียนได้ ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองได้
นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงการปรับย้ายและปรับโอน ตำรวจเป็นตำรวจมหาดเล็กรักษาพระองค์ ซึ่งมีการคัดเลือกคัดสรรจากทัศนคติและบุคลิกภาพ เพื่อการถวายงานใกล้ชิด ดูแลรักษาความปลอดภัยและถวายพระเกียรติ จึงจำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์ที่เข้มงวดพอสมควร ส่วนผู้ที่ไม่ผ่านการทดสอบก็ไม่ได้มีการลงโทษแต่อย่างใด
ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอให้เข้าใจองค์กรตำรวจ ที่เป็นองค์กรใหญ่ มีบุคลากรกว่า 2 แสนคน การบริหารดูแลจึงมีความยากลำบาก จุดมุ่งหมายในการพูดคุยวันนี้ต้องไม่ทำให้องค์กรเสียหาย ใช้กฎหมายที่เหมาะสมมาตรวจสอบคัดกรองคน พร้อมไม่เคยรับผลประโยชน์จากการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39245 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การใช้วงเงินสิทธิ์วันแรกของผู้ที่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติโครงการเราชนะ และการอำนวยความสะดวกในการลงทะเบียนแก่ประชาชนกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
การใช้วงเงินสิทธิ์วันแรกของผู้ที่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติโครงการเราชนะ และการอำนวยความสะดวกในการลงทะเบียนแก่ประชาชนกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
ความคืบหน้าการเข้าร่วมโครงการเราชนะของกลุ่มที่อยู่ในฐานข้อมูลของแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ว่ามีผู้ที่ผ่านคัดกรองคุณสมบัติเบื้องต้นและยืนยันใช้สิทธิ์ร่วมโครงการผ่านแถบโครงการ “เราชนะ” ในแอป “เป๋าตัง” แล้ว จำนวน 10,544,909 คน (ข้อมูล ณ เวลา 17.00 น.)
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยความคืบหน้าการเข้าร่วมโครงการเราชนะ (โครงการฯ) ของกลุ่มประชาชนที่อยู่ในฐานข้อมูลของแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ในโครงการเราเที่ยวด้วยกันและคนละครึ่ง และกลุ่มประชาชนทั่วไปที่ลงทะเบียนทางเว็บไซต์ www.เราชนะ.com ว่ามีผู้ที่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติเบื้องต้นและยืนยันการใช้สิทธิ์ร่วมโครงการฯ ผ่านแถบ (Banner) โครงการ “เราชนะ” ในแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” แล้ว จำนวน 10,544,909 คน (ข้อมูล ณ เวลา 17.00 น.) อย่างไรก็ดี เนื่องจากมีผู้ประสงค์ยืนยันตัวตนเข้าโครงการฯ ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” จำนวนมากจนส่งผลกระทบต่อระบบของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทย) ธนาคารกรุงไทยจึงปิดระบบดังกล่าวชั่วคราวจนถึงเวลา 20.00 น. และขออภัยในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ประชาชนสามารถทยอยดำเนินการยืนยันตัวตนได้ และจะได้รับวงเงินสิทธิ์ภายหลังจากการยืนยันตัวตน โดยจะได้รับวงเงินสิทธิ์เพิ่มเป็นรายสัปดาห์ทุกวันพฤหัสบดีจนวงเงินสิทธิ์ครบ 7,000 บาท ทั้งนี้ สามารถสะสมวงเงินสิทธิ์และใช้จ่ายเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการที่ร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นที่มีแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ร้านค้าคนละครึ่งที่ตกลงยินยอมเข้าร่วมโครงการฯ รวมถึงผู้ประกอบการ/ร้านค้าและบริการรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564
นอกจากนี้ โฆษกกระทรวงการคลังได้เน้นย้ำถึงการเปิดจุดรับลงทะเบียน ณ สาขาหรือจุดบริการเคลื่อนที่ของธนาคารกรุงไทย ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม 2564 เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น ไม่สามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต ไม่มีสมาร์ทโฟนทำให้ไม่สามารถใช้งานแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ได้ หรือผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง รวมถึงผู้ที่ลงทะเบียนด้วยตนเองไม่สำเร็จเนื่องจากข้อมูลส่วนบุคคลไม่ถูกต้อง โดยจากข้อมูลล่าสุดมีประชาชนกลุ่มดังกล่าวลงทะเบียนผ่านสาขาหรือจุดบริการเคลื่อนที่ของธนาคารกรุงไทยแล้ว จำนวน 455,354 คน (ข้อมูล ณ เวลา 17.00น.) และกระทรวงการคลังจะมีการเปิดจุดรับลงทะเบียนโครงการฯ ผ่านสาขาของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสิน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนกลุ่มดังกล่าวเพิ่มเติม ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดำเนินการร่วมกับธนาคารทั้ง 3 แห่ง เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงพื้นที่รับลงทะเบียนให้แก่ประชาชนกลุ่มดังกล่าว
ทั้งนี้ ที่ผ่านมากระทรวงการคลังพบว่ามีข่าวปลอม (Fake News) จากสังคมออนไลน์ (Social Media) เกี่ยวกับโครงการฯ ถูกเผยแพร่ออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งกระทรวงการคลังได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอด ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของโครงการฯ โปรดอย่าหลงเชื่อข่าวปลอมจากช่องทางดังกล่าว และขอความร่วมมือประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสารของโครงการฯ จากช่องทางการสื่อสารที่เป็นทางการจากทางราชการ ได้แก่ www.เราชนะ.com www.mof.go.th www.fpo.go.th และ Facebook Fanpage “สถานีข่าวกระทรวงการคลัง” และ “สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง: Fiscal Policy Office”
สุดท้ายนี้ กระทรวงการคลังพบว่ามีประชาชนหรือร้านค้าที่ใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์ผิดวัตถุประสงค์ของโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งกระทรวงการคลังได้มีการประสานขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการติดตาม ตรวจสอบ และดำเนินการทางกฎหมายในประเด็นดังกล่าวแล้ว หากตรวจสอบพบว่ามีการกระทำผิดเงื่อนไขจริง จะระงับการใช้แอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ของร้านค้าตลอดจนระงับการจ่ายเงินให้กับร้านค้าทันที รวมถึงระงับการใช้แอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” ด้วย และจะดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป กระทรวงการคลังจึงขอความร่วมมือประชาชนรักษาสิทธิ์ของตนเอง และขอให้ร้านค้าและประชาชนปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขของโครงการฯ สำหรับประชาชนที่พบเห็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการฯ สามารถแจ้งเบาะแสรวมถึงส่งหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำผิดเงื่อนไขโครงการฯ ถึง “คณะทำงานพิจารณาตรวจสอบข้อมูลและเรื่องร้องเรียนสำหรับโครงการฯ” ทางไปรษณีย์มาได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ถนนพระราม 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail Account) [email protected]
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3250 3423 3424 3425 3427 3429 3430 3431 และ 3444 (เฉพาะวันและเวลาราชการ)
Call Center ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
โทร. 0 2111 1144
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39238 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ไม่เกี่ยวข้องกับการบรรจุตำรวจชั้นสัญญาบัตร มีรายละเอียดชี้แจงได้ | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
นายกฯ ไม่เกี่ยวข้องกับการบรรจุตำรวจชั้นสัญญาบัตร มีรายละเอียดชี้แจงได้
นายกฯ ไม่เกี่ยวข้องกับการบรรจุตำรวจชั้นสัญญาบัตร มีรายละเอียดชี้แจงได้
วันนี้ (19 ก.พ. 64) เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร อาคารรัฐสภา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวชี้แจงในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 2 ครั้งที่ 26 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ต่อกรณีการถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจกรณีการบรรจุตำรวจชั้นสัญญาบัตร ดังนี้
นายกรัฐมนตรีแจกแจงหลักเกณฑ์การบรรจุตำรวจชั้นสัญญาบัตรเป็นกรณี 1. รับจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ปีละประมาณ 300 นาย 2. การสอบคัดเลือกเลื่อนระดับจากตำรวจชั้นประทวนเป็นสัญญาบัตรภายในอีกประมาณปีละ 200 นาย 3. การสอบคัดเลือกจากบุคคลภายนอกที่มีวุฒิปริญญาตรีด้านกฎหมายมาเป็นตำรวจชั้นสัญญาบัตร และพนักงานสอบสวน ปีละประมาณ 200 นาย 4. การบรรจุแต่งตั้งจากวุฒิที่ขาดแคลน ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติฝึกอบรมเองไม่ได้ เช่น แพทย์ นักวิทยาศาสตร์ การเงิน และคอมพิวเตอร์ ปีละประมาณ 200 นาย 5. การบรรจุแต่งตั้งจากทายาทของตำรวจที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ ปีละประมาณ 100 นาย รวมทั้งสิ้นปีละประมาณ 1,000 นาย ซึ่งจากการแจกแจงกฎเกณฑ์ตามนี้ การกล่าวหาว่านายกรัฐมนตรีบรรจุโดยใช้เส้นสายจึงไม่เป็นความจริง พร้อมยืนยันว่าการบรรจุแต่งตั้งนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ไม่เกี่ยวข้องกับอำนาจของนายกรัฐมนตรี แต่เป็นการบรรจุโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามคณะกรรมการในระดับที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39246 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรียืนยันไม่มีการบิดเบือนกฎหมายสถานะธนาคารกรุงไทย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
นายกรัฐมนตรียืนยันไม่มีการบิดเบือนกฎหมายสถานะธนาคารกรุงไทย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว
นายกรัฐมนตรียืนยันไม่มีการบิดเบือนกฎหมายสถานะธนาคารกรุงไทย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว
วันนี้ ( 19 กุมภาพันธ์ 2564) นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเผยว่า จากการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรณีที่เกี่ยวข้องกับสถานะธนาคารกรุงไทย นั้น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจง ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ถูกต้องของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ต่อสถานะของธนาคารกรุงไทยว่า ไม่ได้บิดเบือนกฎหมายตามที่มีการอภิปราย ซึ่ง
จากเดิมธนาคารกรุงไทยมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามบทนิยามคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และในชั้นการพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคดีหมายเลขแดงที่ อม. 55/2558 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2558 ศาลฯ ได้วินิจฉัยว่าธนาคารกรุงไทยเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นไปตามบทนิยามคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับสถานะของธนาคารกรุงไทยในระหว่างที่พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มีผลใช้บังคับ ไม่ได้แตกต่างกัน
แต่ต่อมา พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 โดยบทนิยามคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงมีข้อสงสัยว่ากองทุนฯ มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่ และมีหนังสือหารือมายังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) พิจารณาบทนิยามคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันแล้ว เห็นว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไม่เข้าลักษณะเป็นรัฐวิสาหกิจตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น เมื่อกองทุนฯ ถือหุ้นของธนาคารกรุงไทยมากกว่าร้อยละ 50 ก็ไม่ทำให้ธนาคารกรุงไทยเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายวิธีการงบประมาณ
ทั้งนี้ ผลการวินิจฉัยดังกล่าวจึงทำให้ทั้งกองทุนฯ และธนาคารกรุงไทยไม่ได้เป็นหน่วยรับงบประมาณตามกฎหมายวิธีการงบประมาณ และไม่สามารถขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามกฎหมายวิธีการงบประมาณได้
อย่างไรก็ดี บทนิยามคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” ยังมีบัญญัติไว้ตามกฎหมายอื่นด้วย เป็นต้นว่า พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ที่บัญญัติไว้แตกต่างจากพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 ดังนั้น การวินิจฉัยว่าหน่วยงานใดเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายหรือไม่ จึงต้องพิจารณาบทนิยามตามกฎหมายแต่ละฉบับ และเมื่อพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 นิยามคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” เป็นอย่างอื่น และธนาคารกรุงไทยเข้าลักษณะเป็นรัฐวิสาหกิจตามบทนิยามของกฎหมายดังกล่าว การที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะให้ความเห็นว่าธนาคารกรุงไทยเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายดังกล่าว จึงไม่ได้ขัดหรือแย้งกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) และมิใช่การบิดเบือนกฎหมายตามที่มีการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39266 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ก้าวสู่ปีที่ 10 อย่างยิ่งใหญ่ จัดกิจกรรมสุดพิเศษ! ทั้งกิจกรรมการตลาด ออนไลน์ และออฟไลน์ รวมทั้งกิจกรรมเพื่อสังคมส่งมอบความสุขให้แก่ผู้โดยสารและประชาชน | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ก้าวสู่ปีที่ 10 อย่างยิ่งใหญ่ จัดกิจกรรมสุดพิเศษ! ทั้งกิจกรรมการตลาด ออนไลน์ และออฟไลน์ รวมทั้งกิจกรรมเพื่อสังคมส่งมอบความสุขให้แก่ผู้โดยสารและประชาชน
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เดินหน้าสู่การดำเนินงานปีที่ 10 อย่างยิ่งใหญ่ จัดกิจกรรมสุดพิเศษ! ทั้งกิจกรรมการตลาดออนไลน์ และออฟไลน์ รวมทั้งกิจกรรมเพื่อสังคม ส่งมอบความสุขให้แก่ผู้โดยสาร และประชาชน
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เดินหน้าสู่การดำเนินงานปีที่ 10 อย่างยิ่งใหญ่ จัดกิจกรรมสุดพิเศษ! ทั้งกิจกรรมการตลาดออนไลน์ และออฟไลน์ รวมทั้งกิจกรรมเพื่อสังคม ส่งมอบความสุขให้แก่ผู้โดยสาร และประชาชน
นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 ที่จะถึงนี้บริษัทจะก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 ในการดำเนินงานแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้มุ่งมั่นดำเนินงานเพื่อเป็นผู้นำในการให้บริการเดินรถไฟฟ้าที่มีมาตรฐานในระดับสากลตามวิสัยทัศน์ของบริษัท โดยได้นำระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2015 ที่บริษัทผ่านการรับรองเข้ามาใช้ทั้งในด้านการเดินรถ และซ่อมบำรุง จนทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐาน ส่งผลให้จำนวนผู้โดยสาร และรายได้มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เปิดให้บริการ ซึ่งปัจจุบันมีผู้โดยสารรวมมากกว่า 190 ล้านคน และรายได้รวมกว่า 6,000 ล้านบาท รวมทั้งในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 บริษัทได้ดำเนินการมาตรการต่าง ๆ ตามนโยบายของกรมการขนส่งทางราง และกระทรวงคมนาคม จนสามารถสร้างความมั่นใจในการใช้บริการให้แก่ผู้โดยสารได้เป็นอย่างมาก
ดังนั้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองความสำเร็จ และการก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 ในการดำเนินงาน บริษัทจึงได้จัดกิจกรรมสุดพิเศษ! ทั้งกิจกรรมการตลาดออนไลน์ ออฟไลน์ รวมทั้งกิจกรรมเพื่อสังคม ( CSR ) ส่งมอบความสุขให้แก่ผู้โดยสาร และประชาชน โดยเริ่มจากการเปิดตัวกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ทีมที่ประกอบด้วยเหล่าคนดังทั้งพระเอกช่อง 3 เด่นคุณ งามเนตร มิสไทยแลนด์เวิล์ด 2019 - 2020 เกรซ นรินทร นักแสดงช่อง 7 ซูกัส บัณฑวิช และอาธ กษิดิ์ธัช มณีพันธุ์ ทายาทผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย มาร่วมประชาสัมพันธ์การให้บริการและกิจกรรมการตลาดตลอดทั้งปี และเพื่อเป็นของขวัญชิ้นพิเศษ บริษัทได้ผลิต Video Viral ครบรอบ 10 ปีของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ซึ่งจะเปิดตัวในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 และเปิดโอกาสให้ผู้โดยสารได้ร่วมสนุกตั้งชื่อ Video Viral เฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ผ่านทางเฟสบุ๊ค Airport Rail Link ( Official Page ) ลุ้นรับรางวัลสุดพิเศษ พร้อมกันนี้ในวันเดียวกันยังมีกิจกรรมการตลาดแบบออฟไลน์แจกผ้าเช็ดทำความสะอาด (Refreshing Wipe) จำนวน 10,000 ชิ้น มูลค่าชิ้นละ 65 บาท ฟรี ให้แก่ผู้โดยสารทุกคนที่ แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีพญาไท และสถานีมักกะสัน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป
นอกจากนั้นเพื่อความเป็นสิริมงคล บริษัทได้จัดงานทำบุญเลี้ยงพระเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 ณ แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีมักกะสัน และได้เชิญชวนหน่วยงานภายนอกใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม รวมทั้งหน่วยงานพันธมิตร ร่วมบริจาคสมทบทุนเพื่อประโยชน์สาธารณกุศลกับมูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ได้มีแผนการจัดกิจกรรมการตลาดแบบออฟไลน์เอาใจผู้โดยสารตามแต่ละสถานี โดยเตรียมส่งคาราวานดารา นายแบบ เน็ตไอดอล คนดัง 10 คน ออกแจกเจลแอลกอฮอล์ ฟรี ที่สถานีรถไฟฟ้าทุกสถานี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขอนามัยให้แก่ผู้โดยสาร และลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้ข้อกำหนดตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ของกระทรวงคมนาคมและกรมการขนส่งทางรางอย่างเข้มงวด เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสุข และปลอดภัยในการใช้บริการ
ด้านกิจกรรมเพื่อสังคม ( CSR ) ซึ่งเป็นนโยบายที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญมาโดยตลอด ด้วยการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมต่าง ๆ ทั้งในพื้นที่ชุมชน และโรงเรียนใกล้เคียงพื้นที่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รวมถึงพื้นที่ห่างไกลในต่างจังหวัด เช่นล่าสุดเมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา "Lost & Found สานฝันเพื่อน้อง ปี 2" มอบวัสดุอุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา เครื่องอุปโภคบริโภค พร้อมปรับปรุงอาคารเรียนอเนกประสงค์ ให้แก่โรงเรียนบ้านหัวแม่โถ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 10 นี้ บริษัทได้จัดกิจกรรมเพื่อสังคมอีกครั้ง โดยเป็นกิจกรรมเพื่อสังคมแบบทุกมิติ ทั้งการมอบเครื่องอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นให้แก่กรมราชทัณฑ์ , มอบข้าวสาร และอาหารแห้งให้แก่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 มอบรถวีลแชร์ให้แก่โรงพยาบาลสงฆ์ และมอบทุนการศึกษาให้แก่มูลนิธิสงเคราะห์ชาวไทย เพื่อเป็นทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ซึ่งทุกโครงการจะแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายนนี้
ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงยึดมั่นในวิสัยทัศน์ที่จะมุ่งมั่นเพื่อเป็นผู้นำในการให้บริการเดินรถไฟฟ้าที่มีมาตรฐานในระดับสากลเพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวก และปลอดภัยในการใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ต่อไป หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลและเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข Call Center 1690 หรือ www.srtet.co.th www.facebook.com/AirportRailLink และ Twitter : Airport Rail Link
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39242 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“บีโอไอ” หารือ “กรมปศุสัตว์” ยกระดับผู้ประกอบการกลุ่มผลิตอาหารและยาสำหรับสัตว์ | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
“บีโอไอ” หารือ “กรมปศุสัตว์” ยกระดับผู้ประกอบการกลุ่มผลิตอาหารและยาสำหรับสัตว์
นางสาวซ่อนกลิ่น พลอยมี รองเลขาธิการคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) (ที่ 4 จากซ้าย) พร้อมคณะเจ้าหน้าที่บีโอไอ ร่วมหารือกับ นายสัตวแพทย์รักไทย งามภักดิ์ ผู้อำนวยการกองควบคุมอาหารและยาสัตว์ กรมปศุสัตว์
เพื่อยกระดับการผลิตและการสนับสนุนผู้ประกอบการในกลุ่มผลิตอาหารและยาสำหรับสัตว์รวมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะลงทุนด้านการจัดการปศุสัตว์รูปแบบการจัดการซากสัตว์ (Rendering)เพื่อรองรับแนวทางการลงทุนในกลุ่มCircular Economyณ สำนักงานบีโอไอ ถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อเร็วๆ นี้
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39247 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกฯ พล.อ.ประวิตร ยืนยันปฏิบัติตามกฎระเบียบและขั้นตอนของ ก.ตร. | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
รองนายกฯ พล.อ.ประวิตร ยืนยันปฏิบัติตามกฎระเบียบและขั้นตอนของ ก.ตร.
รองนายกฯ พล.อ.ประวิตร ยืนยันปฏิบัติตามกฎระเบียบและขั้นตอนของ ก.ตร.
วันนี้ (19 ก.พ. 64) เวลา 12.13 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร อาคารรัฐสภา พลเอก ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวชี้แจงในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 2 ครั้งที่ 26 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ดังนี้
ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของ ก.ตร. และคณะรัฐมนตรี ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน ไม่เคยเอื้อประโยชน์ให้ผู้ใด อย่างไรก็ดี รองนายกรัฐมนตรีขอบคุณผู้อภิปรายที่ได้อธิบายผลประโยชน์โดยมีการกล่าวถึงรายละเอียดต่าง ๆ รายบุคคลอย่างชัดเจน ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่จะพิจารณาความสามารถของบุคลากรในสังกัดตนเองให้เหมาะสม
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39244 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 11 - 18 กุมภาพันธ์ 2564 | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 11 - 18 กุมภาพันธ์ 2564
ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 11 - 18 กุมภาพันธ์ 2564 พบการกระทำผิด จำนวน 669 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 15.21 ล้านบาท
นายณัฐกร อุเทนสุต ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ได้ดำเนินงานตามมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และจูงใจผู้ที่อยู่นอกระบบให้เข้ามาสู่ระบบภาษี ซึ่งที่ผ่านมา กรมสรรพสามิตได้จัดทำแผนเฉพาะกิจปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตโดยระดมกำลังเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจจากสำนักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต พื้นที่ทั่วประเทศพร้อมสนธิกำลังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพื้นที่เป้าหมายที่คาดว่าอาจมีการกระทำผิด เพื่อสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และ ความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการที่เสียภาษีโดยสุจริต และเพื่อเป็นมาตรการเสริมทางอ้อมในการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคให้บริโภคสินค้าที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน
สำหรับผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตทั่วประเทศ ปีงบประมาณ 2564 (ระหว่างวันที่ 11 - 18 กุมภาพันธ์ 2564) พบว่ามีการกระทำผิด จำนวน 669 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 15.21 ล้านบาท โดยแยกเป็น สุรา จำนวน 370 คดี ค่าปรับ 3.21 ล้านบาท ยาสูบ จำนวน 195 คดี ค่าปรับ 3.77 ล้านบาท ไพ่ จำนวน 8 คดี ค่าปรับ 0.06 ล้านบาท น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 42 คดี ค่าปรับ 5.67 ล้านบาท น้ำหอม จำนวน 2 คดี ค่าปรับ 0.04 ล้านบาท รถจักรยานยนต์ จำนวน 38 คดี ค่าปรับ 1.31 ล้านบาท และสินค้าอื่น ๆ จำนวน 14 คดี ค่าปรับ 1.15 ล้านบาท โดยมีของกลางแยกเป็นน้ำสุรา จำนวน 2,660.945 ลิตร ยาสูบ จำนวน 15,038 ซอง ไพ่ จำนวน 255 สำรับ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 180,093.000 ลิตร น้ำหอม จำนวน 826 ขวด รถจักรยานยนต์ จำนวน 105 คัน
สรุปยอดรวมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 18 กุมภาพันธ์ 2564 พบว่ามีการกระทำผิด จำนวน 11,435 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 214.34 ล้านบาท โดยแยกเป็น สุรา จำนวน 6,436 คดี ค่าปรับ 58.54 ล้านบาท ยาสูบ จำนวน 3,447 คดี ค่าปรับ 77.42 ล้านบาท ไพ่ จำนวน 257 คดี ค่าปรับ 3.09 ล้านบาท น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 478 คดี ค่าปรับ 36.32 ล้านบาท น้ำหอม จำนวน 43 คดี ค่าปรับ 1.79 ล้านบาท รถจักรยานยนต์ จำนวน 536 คดี ค่าปรับ จำนวน 14.75 ล้านบาท และสินค้าอื่น ๆ จำนวน 238 คดี ค่าปรับ 22.43 ล้านบาท โดยมีของกลางแยกเป็นน้ำสุรา จำนวน 264,212.184 ลิตร ยาสูบ จำนวน 246,142 ซอง ไพ่ จำนวน 18,110 สำรับ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 1,095,719.000 ลิตร น้ำหอม จำนวน 87,838 ขวด รถจักรยานยนต์ จำนวน 898 คัน
“หากประชาชนท่านใดทราบเบาะแสการกระทำความผิดเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตสามารถแจ้งโดยตรงได้ที่กรมสรรพสามิต หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ Call center 1713 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ www.excise.go.th ซึ่งกรมสรรพสามิตจะปกปิดข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสเป็นความลับ และจะมอบสินบนนำจับให้ ภายหลังจากคดีเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว”
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมสรรพสามิต
โทร/โทรสาร 0 2241 4778
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39248 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรียืนยัน รัฐบาลส่งเสริมการค้าออนไลน์ในประเทศ พร้อมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของไทย จนมีความเข้มแข็งมากในลำดับต้นของเอเชียแปซิฟิก | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
นายกรัฐมนตรียืนยัน รัฐบาลส่งเสริมการค้าออนไลน์ในประเทศ พร้อมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของไทย จนมีความเข้มแข็งมากในลำดับต้นของเอเชียแปซิฟิก
นายกรัฐมนตรียืนยัน รัฐบาลส่งเสริมการค้าออนไลน์ในประเทศ พร้อมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของไทย จนมีความเข้มแข็งมากในลำดับต้นของเอเชียแปซิฟิก
วันนี้ (19 ก.พ. 64) นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ชี้แจงตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายว่า รัฐบาลไม่กำหนดให้การค้าออนไลน์เป็นอาชีพสำหรับคนไทยนั้น ว่า การค้าออนไลน์นั้นเป็น “ธุรกิจบริการ” อย่างหนึ่งตามบัญชีสาม ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 เป็นธุรกิจที่กฎหมายห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทย เพราะคนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว แม้กฎหมายจะเปิดช่องให้อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว อนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจบริการนี้ในประเทศไทยได้ แต่จนถึงปัจจุบันประเทศไทยก็ยังไม่ได้เปิดให้คนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจบริการนี้ในประเทศไทย
ดังนั้น การกล่าวหาว่ารัฐบาลไม่กำหนดให้การค้าออนไลน์ให้เป็นอาชีพของคนไทย จึงเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่ถูกต้อง เป็นการกล่าวหาที่เลื่อนลอย ใช้โอกาสที่ประชาชนไม่รู้รายละเอียดของกฎหมาย ใช้ลีลาสำนวนโวหารพูดเรื่องต่าง ๆ อย่างกว้าง ๆ เพื่อทำลายความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล ไม่ต่างจากการอภิปรายที่ผ่าน ๆ มา
นายกรัฐมนตรียืนยันว่า รัฐบาลเล็งเห็นถึงความสำคัญและมีนโยบายและมาตรการเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับการค้าออนไลน์ในประเทศ โดยผู้ให้บริการ Platform ของไทยเอง จะได้ไม่ต้องพึ่งพา Platform ต่างประเทศอย่างเดียวซึ่งทำให้รัฐสูญเสียรายได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ รัฐบาลยังออกกฎหมายให้จัดเก็บภาษีจาก Platform ต่างประเทศที่ให้บริการในประเทศเหมือนกับที่ต่างประเทศกำลังดำเนินการด้วย
นายกรัฐมนตรีย้ำว่า รัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลของรัฐบาล ได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลของประเทศให้เข้มแข็ง จาก 3G เป็น 5G ในปัจจุบัน จนเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันว่าประเทศไทยมีโครงสร้างทางดิจิทัลที่เข้มแข็งมากในลำดับต้น ๆ ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และทำให้การค้าออนไลน์ผ่าน Digital Platforms ต่าง ๆ มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัว และประชาชนคนไทยก็ได้ประโยชน์จากการซื้อขายออนไลน์นี้เป็นอย่างมาก โดยเห็นได้ชัดเจนในช่วงโควิด-19
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39267 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรียืนยันต่างประเทศ เชื่อมั่นฐานะการเงินการคลังไทยแข็งแกร่ง | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
นายกรัฐมนตรียืนยันต่างประเทศ เชื่อมั่นฐานะการเงินการคลังไทยแข็งแกร่ง
นายกรัฐมนตรียืนยันต่างประเทศ เชื่อมั่นฐานะการเงินการคลังไทยแข็งแกร่ง
วันนี้ (20 ก.พ. 64) เวลา 21.05 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร อาคารรัฐสภา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมชี้แจงในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 2 ครั้งที่ 26 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ยืนยันต่างประเทศเชื่อมั่นฐานะการเงินการคลังประเทศไทยแข็งแกร่ง
นายกรัฐมนตรีชี้แจงกรณีการกล่าวหาบริหารราชการล้มเหลว ขาดวิสัยทัศน์ทำประเทศถอยหลังและไม่มีใครคบ โดยเน้นมุมมองต่างประเทศที่มองประเทศไทยในห้วง 6 ปีที่ผ่านมาว่า สื่อ USnews ระบุไทยเป็นประเทศที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นธุรกิจปี 63 และอันดับ 2 ประเทศที่ดีที่สุดสำหรับการลงทุน ขณะที่บริษัท S&P บริษัท Fitch Ratings (Fitch) และบริษัท Moody's Investors Service (Moody’s) ได้จัดอันดับให้ไทยเป็นประเทศที่มีฐานะการเงินการคลังที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ ขอเพียงแต่อย่าขัดแย้งกันและเชื่อมั่นในกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำ ตรงไหนมีปัญหาสามารถช่วยกันทักทวงได้
นายกรัฐมนตรียังให้ความมั่นใจว่า ฐานะการเงินการคลังของประเทศยังแข็งแกร่ง การกู้ก็เป็นไปตามขีดความสามารถในการใช้หนี้ ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีชี้แจงถึงข้อเท็จจริง ในการบริหารหนี้สาธารณะ หนี้ครัวเรือน ซึ่งยอมรับว่าเพิ่มขึ้น จึงต้องหาแนวทางทำให้ลดลงโดยเร็วที่สุดต่อไป
......................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39272 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีชี้แจงขอให้ระมัดระวังการอภิปรายกล่าวหาโดยไม่มีหลักฐานถือเป็นการก้าวล่วงหมิ่นประมาท | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
นายกรัฐมนตรีชี้แจงขอให้ระมัดระวังการอภิปรายกล่าวหาโดยไม่มีหลักฐานถือเป็นการก้าวล่วงหมิ่นประมาท
นายกรัฐมนตรีชี้แจงขอให้ระมัดระวังการอภิปรายกล่าวหาโดยไม่มีหลักฐานถือเป็นการก้าวล่วงหมิ่นประมาท
วันนี้ (19 ก.พ. 64) เวลา 15.30 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร อาคารรัฐสภา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวชี้แจงในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 2 ครั้งที่ 26 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล กรณีมีการกล่าวหาว่าประพฤติทุจริตมิชอบ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีชี้แจงกรณีที่มีการกล่าวหาเรื่องการใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ผิด ยืนยันไม่มีส่วนรู้เห็นต่อการทุจริตที่มีการกล่าวอ้าง กรณีการเจรจาซื้อขายผ่านระบบ G to G ไม่มีประเทศใดเป็นเจ้าของกิจการเอง รับรองได้ว่าบริษัทที่มาเจรจรานั้นเป็นบริษัทที่รัฐบาลรับรอง และจากรูปถ่ายนายกรัฐมนตรีที่นำมาแสดงในที่ประชุมไม่ได้เป็นการเดินทางไปต่างประเทศเพื่อซื้อยุทโธปกรณ์ เป็นเพียงการเดินทางเพื่อไปเจรจาระหว่างประเทศ ส่วนกรณีการจัดซื้อรถบัสกองทัพบก มีการดำเนินการเป็นขั้นตอนของกองทัพ ผ่านการอนุมัติงบประมาณ 2 ระยะ กำหนดกรอบ TOR ตามวัตถุประสงค์ตามกระบวนการ และเป็นการบริหารงานภายในหน่วยงาน ไม่ได้บิดเบือนฝืนกฎหมาย
ทั้งนี้ ขอชี้แจงให้ชัดเจนมีการกล่าวหาหลายครั้งโดยใช้คำว่า งบกลางที่พิสูจน์ไม่ได้ ทั้งที่จริงรัฐบาลดำเนินการใช้งบกลางผ่านการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะใช้เพื่อการช่วยเหลือเร่งด่วนที่ไม่มีแผนงานประจำปีเท่านั้น นายกรัฐมนตรีย้ำ การกล่าวหาในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนี้ ต้องมีหลักฐานข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบได้ตามกระบวนการ ขอให้พึงระวังอาจมีการฟ้องร้องดำเนินการตามกฎหมายได้ อย่างไรก็ดี มั่นใจในความถูกต้อง สังคมและประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินเอง
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39254 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายประสพ เรียงเงิน รองปลัดกระทรวงและโฆษกกระทรวงวัฒนธรรม ให้สัมภาษณ์บทบาทกระทรวงวัฒนธรรมเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
นายประสพ เรียงเงิน รองปลัดกระทรวงและโฆษกกระทรวงวัฒนธรรม ให้สัมภาษณ์บทบาทกระทรวงวัฒนธรรมเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG
นายประสพ เรียงเงิน รองปลัดกระทรวงและโฆษกกระทรวงวัฒนธรรม ให้สัมภาษณ์บทบาทกระทรวงวัฒนธรรมเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG
วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๐๗.๓๐ นายประสพ เรียงเงิน รองปลัดกระทรวงและโฆษกกระทรวงวัฒนธรรม ให้สัมภาษณ์บทบาทกระทรวงวัฒนธรรมเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ.๒๕๖๔ - ๒๕๖๙ - ออกอากาศผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM ๙๒.๕ เม็กกะเฮิร์ด
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39253 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไอแบงก์ หนุนผู้ประกอบการรายย่อยมุสลิมต่อเนื่อง ให้วงเงินสูงสุด 200,000 บาท ไม่ต้องมีหลักประกันก็ขอสินเชื่อได้ | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
ไอแบงก์ หนุนผู้ประกอบการรายย่อยมุสลิมต่อเนื่อง ให้วงเงินสูงสุด 200,000 บาท ไม่ต้องมีหลักประกันก็ขอสินเชื่อได้
ไอแบงก์สนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยมุสลิมอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดไอแบงก์ ได้เปิดโครงการสินเชื่อเสริมสร้างธุรกิจรายย่อยมุสลิม ระยะที่ 3 ขึ้น เพื่อสนองความต้องการของกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยมุสลิมที่ยังมีความต้องการในการใช้สินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) สนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยมุสลิมอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่เปิดโครงการสินเชื่อเสริมสร้างธุรกิจรายย่อยมุสลิม ระยะที่ 1 ตั้งแต่ปี 2560 และ ระยะที่ 2 ในปี 2561 และได้ขยายเวลามาตลอดเนื่องจากได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ล่าสุดไอแบงก์ ได้เปิดโครงการสินเชื่อเสริมสร้างธุรกิจรายย่อยมุสลิม ระยะที่ 3 ขึ้น เพื่อสนองความต้องการของกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยมุสลิมที่ยังมีความต้องการในการใช้สินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ
โครงการสินเชื่อเสริมสร้างธุรกิจรายย่อยมุสลิม ระยะที่ 3 นี้ สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยมุสลิมที่กำลังมองหาแหล่งเงินทุนเพื่อซื้อทรัพย์สินในการประกอบธุรกิจ ยกเว้นหาบเร่ แผงลอย ผู้ขอสินเชื่อต้องเป็นบุคคลธรรมดา อายุ 22 ปี ขึ้นไป มีสัญชาติไทย และนับถือศาสนาอิสลาม ประกอบธุรกิจมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ประกอบอาชีพสุจริตไม่ขัดต่อหลักการอิสลาม โดยต้องให้อิหม่ามในพื้นที่ หรือ นายกสมาคมฯ TMTA ให้คำรับรองการประกอบธุรกิจมีรายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่า 10,000 บาท/เดือน และมีสถานที่ตั้งประกอบธุรกิจเป็นหลักแหล่ง ผู้ขอสินเชื่อสามารถขอวงเงินได้ตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาทต่อราย คิดอัตรากำไร 15% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา สามารถเลือกผ่อนชำระขั้นต่ำได้ 3 ปี และสูงสุดไม่เกิน 5 ปี โดยไม่ต้องมีหลักประกัน
ผู้สนใจสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ไอแบงก์ ทุกสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันนี้ – 31 ตุลาคม 2565 หรือ จนกว่าวงเงินโครงการจะเต็ม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. Ibank call center 1302
*หมายเหตุ:
1. "อัตรากำไร/ผลตอบแทน ผลิตภัณฑ์ธนาคารมิใช่ดอกเบี้ยหรือเป็นคำเรียกแทนดอกเบี้ย แต่มาจากหลักการที่ใช้ในการทำธุรกรรมที่ถูกต้องตามหลักการอิสลาม"
2. อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ คืออัตราที่คำนวณได้จากประมาณการรายได้ของธนาคารและอัตราสัดส่วนการแบ่งผลตอบแทนเงินฝาก ซึ่งอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับอาจจะต่ำกว่าหรือสูงกว่าอัตราผลตอบแทนเงินฝากที่ธนาคารประกาศเมื่อครบกำหนดการฝาก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39261 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- ความคืบหน้าการจับจ่ายใช้สอยผ่านโครงการเราชนะ | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
ความคืบหน้าการจับจ่ายใช้สอยผ่านโครงการเราชนะ
วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
Your browser does not support the audio element.
ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ
รัฐบาลพอใจความคืบหน้าการโอนเงินให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตามมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ผ่านโครงการ “เราชนะ” ที่ประชาชนฐานรากเริ่มจับจ่ายใช้สอยผ่านบัตรสวัสดิการฯ อย่างต่อเนื่อง คิดเป็นเงินหมุนเวียนกว่า 6,400 ล้านบาท สร้าง“เศรษฐกิจแบบพึ่งพา” ทั้งคนใช้จ่ายและร้านค้ารายย่อย ขณะเดียวกัน รัฐบาลยังเดินหน้าส่งเสริมให้ร้านค้ารายย่อยและผู้ให้บริการ สมัครใช้งานแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” เพื่อร่วมโครงการ “เราชนะ” เพิ่มขึ้นอีก 1,000,000 ราย จากเดิมที่มีอยู่ประมาณ 1,300,000 ราย รวมเป็น 2,300,000 ราย เพื่อรองรับการใช้จ่ายของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย กว่า 31 ล้านคน จนถึงวันที่ 31 พ.ค. 64
“รวมไทยสร้างชาติ” กับสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39237 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ชี้แจงแก้ไขปัญหาพลังงานที่เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากรัฐบาลก่อนที่ตนเข้ารับตำแหน่ง ยืนยันไม่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์ | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
นายกฯ ชี้แจงแก้ไขปัญหาพลังงานที่เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากรัฐบาลก่อนที่ตนเข้ารับตำแหน่ง ยืนยันไม่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์
นายกฯ ชี้แจงแก้ไขปัญหาพลังงานที่เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากรัฐบาลก่อนที่ตนเข้ารับตำแหน่ง ยืนยันไม่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์
วันนี้ (18 ก.พ.64) เวลา 23.30 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร อาคารรัฐสภา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวชี้แจงในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 2 ครั้งที่ 25 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล โดยได้ชี้แจงต่อกรณีพลังงาน ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงกรณีก่อนการเข้าดำรงตำแหน่ง มีการอนุมัติด้านพลังงานไปแล้วกว่า 5,000 เมกกะวัตต์ ซึ่งเมื่อนายกรัฐมนตรีเข้าดำรงตำแหน่งก็ได้เร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากรัฐบาลก่อนหน้า ทั้งนี้ ในส่วนของการแก้ไขปัญหาอาจจะมีการแต่งตั้งบุคคลใกล้ชิดที่เชื่อใจ ร่วมช่วยแก้ไขปัญหา แต่เมื่อเวลาผ่านไปแก้ไขปัญหาแล้ว ก็พยายามกลับมาใช้กลไกปกติ โดยในฐานะนายกรัฐมนตรีคือการเป็นประธานการประชุมเพื่อรับฟังทุกหน่วยงาน และร่วมแก้ไขปัญหาตามหลักการมติที่ประชุม และเป็นเพียงการอนุมัติในหลักการ เพื่อให้หน่วยงานหลักคือกระทรวงพลังงานไปดำเนินการต่อตามมติของที่ประชุม ในส่วนของราคาน้ำมัน ขึ้นอยู่กับราคาต้นทุนและการจัดเก็บภาษีตามนโยบายของประเทศ
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำถึงการเข้ารับตำแหน่งว่าเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง และยืนยันว่าไม่ได้ปฏิบัติตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ไม่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์ ไม่ชอบการโกง โดยในตอนที่ดำรงตำแหน่ง คสช. ได้ถูกตรวจสอบ ทักท้วง และผ่านการฟ้องร้องมาตลอด อย่างไรก็ดี ตอนนี้ดำรงตำแหน่งพร้อม สส. ทุกท่าน ผ่านรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน และได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนายกรับมนตรี จึงหวังว่าทุกคนจะรับฟังตามหลักเกณฑ์ ให้เกียรติตามวัยวุฒิ และในรายละเอียดเรื่องพลังงานจะขอมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นผู้ชี้แจงต่อไป
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39240 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรียืนยันข้าราชการปฏิบัติงานภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่นับเวลาราชการทวีคูณ พร้อมเร่งตรวจการทุจริตโครงการขุดลอกแหล่งน้ำ | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
นายกรัฐมนตรียืนยันข้าราชการปฏิบัติงานภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่นับเวลาราชการทวีคูณ พร้อมเร่งตรวจการทุจริตโครงการขุดลอกแหล่งน้ำ
นายกรัฐมนตรียืนยันข้าราชการปฏิบัติงานภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่นับเวลาราชการทวีคูณ พร้อมเร่งตรวจการทุจริตโครงการขุดลอกแหล่งน้ำ
วันนี้ (20 ก.พ. 64) เวลา 21.05 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร อาคารรัฐสภา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวชี้แจงในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 2 ครั้งที่ 26 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ถึงกรณีข้าราชการทหารที่ปฏิบัติงานหน้าที่ภายใต้ พรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นั้น จะไม่ได้รับการนับเวลาราชการเป็นทวีคูณ หรือ วันทวีคูณ เนื่องจากเป็นการปฏิบัติงานภายใต้คำสั่งของนายกรัฐมนตรี และไม่ได้ปฏิบัติงานภายใต้คำสั่งของกระทรวงกลาโหม ดังนั้น จะไม่ได้รับการนับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามที่ผู้อภิปรายตั้งข้อสงสัย
สำหรับกรณีกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อยู่ระหว่างการพิจารณาตรวจสอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และการคัดสรรคณะกรรมการฯ อยู่ในขั้นตอนเพื่อรอ พ.ร.บ. สำนักงาน กสทช. เพื่อปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีย้ำว่าจะเร่งตรวจสอบการทุจริตการขุดลอกแหล่งน้ำตามโครงการขนาดเล็กโดยเร็วที่สุดเพื่อนำผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย
...........................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39268 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี พ.ศ. 2563 | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
พิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี พ.ศ. 2563
กระทรวงอุตสาหกรรมจัดพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี พ.ศ. 2563
วันนี้ (19 กุมภาพันธ์ 2564) ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ส่วนราชการจัดพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์หน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้จัดให้มีพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี พ.ศ. 2563 โดยมีข้าราชการที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย จำนวนทั้งสิ้น 300 ราย โดยแบ่งเป็น ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก 3 ราย ได้แก่ นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายพสุ โลหารชุน อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ชั้นมหาวชิรมงกุฎ 19 ราย ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก 120 ราย และชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย 158 ราย นับเป็นความปลื้มปิติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้
ทั้งนี้ นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย หน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติและเป็นเกียรติประวัติแก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพานทุกท่าน ณ ห้องประชุม 509 กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39250 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. จับมือหน่วยงานภาคีเครือข่าย ลงพื้นที่ช่วยกลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง เพื่อเข้าถึงสิทธิตามโครงการเราชนะ | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
พม. จับมือหน่วยงานภาคีเครือข่าย ลงพื้นที่ช่วยกลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง เพื่อเข้าถึงสิทธิตามโครงการเราชนะ
พม. จับมือหน่วยงานภาคีเครือข่าย ลงพื้นที่ช่วยกลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง เพื่อเข้าถึงสิทธิตามโครงการเราชนะ
วันนี้ (19 ก.พ. 64) เวลา 17.00 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว ถนนกรุงเกษม กรุงเทพฯ นายอนุกูล ปีดแก้ว รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะโฆษกกระทรวง พม. เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีโครงการเราชนะเพื่อช่วยเหลือประชาชนเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ด้วยการลดภาระค่าครองชีพโดยสนับสนุนเงิน 3,500 บาท เป็นระยะเวลา 2 เดือน ซึ่งให้สิทธิกับกลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและกลุ่มผู้มีแอปพลิเคชัน“เป๋าตัง”สำหรับกลุ่มอื่นได้เปิดให้ลงทะเบียนออนไลน์ผ่าน www.เราชนะ.com ตั้งแต่วันที่ 29 ม.ค. - 12 ก.พ. 64 ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีความห่วงใยประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส พร้อมทั้งสนับสนุนให้สามารถเข้าถึงสิทธิตามโครงการเราชนะของรัฐบาล
นายอนุกูลกล่าวว่า ที่ผ่านมา กระทรวง พม. มีแนวทางสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเปราะบาง และผู้รับบริการในสถานรองรับของกระทรวง พม. ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน มีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ โดยการประชาสัมพันธ์ ให้กลุ่มเปราะบางมีโอกาสเข้าถึงสิทธิตามโครงการฯ ผ่านสายด่วน 1300 พร้อมทั้งมอบหมายให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ทุกจังหวัด ทีม One Home จังหวัด และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) รวมทั้งภาคีเครือข่ายในพื้นที่ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับทราบ และลงทะเบียนตามช่วงเวลาที่กำหนด พร้อมทั้งเตรียมมาตรการช่วยเหลือรองรับกลุ่มเปราะบางที่ไม่ได้รับสิทธิตามโครงการเราชนะ โดยจะมีการประเมินสภาพครอบครัว เพื่อช่วยเหลือสวัสดิการตามภารกิจกระทรวง พม. และเสริมพลัง สร้างความเข้าใจ แนะนำทางเลือกของครอบครัวสำหรับการมีรายได้และอาชีพ รวมทั้งติดตามการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
นายอนุกูลกล่าวต่อไปว่า การลงทะเบียนโครงการเราชนะ สำหรับผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน รวมทั้งประชาชนกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้ สามารถลงทะเบียนได้ที่ธนาคารกรุงไทย หรือจุดบริการเคลื่อนที่ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึง 5 มีนาคม 2564 ทั้งนี้ หากยังมีกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถลงทะเบียนในโครงการดังกล่าวได้ กระทรวง พม. โดย สำนักงาน พมจ. ทีม One Home จังหวัด และ อพม. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้กลุ่มเปราะบางดังกล่าว โดยมีหน่วยเคลื่อนที่ลงไปสำรวจระดับพื้นที่เพื่อให้ครอบคลุมประชาชนกลุ่มเปราะบางและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสิทธิตามโครงการฯ ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะรับสิทธิจะต้องนำบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดที่ยังไม่หมดอายุ และมายืนยันรับสิทธิด้วยตนเองเท่านั้น ไม่สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลเพื่อยืนยันตัวตน อันจะเป็นการรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทะเบียนเอง และป้องกันไม่ให้มีการสวมสิทธิได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มเปราะบางที่อยู่ภาวะยากลำบากและมีข้อจำกัดในการเดินทางไปลงทะเบียน สามารถแจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. 1300 ซึ่งกระทรวง พม. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะลงพื้นที่ไปอำนวยความสะดวก และประเมินสภาพครอบครัวเพื่อให้ความช่วยเหลือในการเข้าถึงสิทธิตามโครงการฯ
นายอนุกูลกล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ กระทรวง พม. ยังมีการดำเนินงานเพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางตามระเบียบของกระทรวง พม. การจัดโครงการ พม. Mobile ปันสุข สู่ชุมชน เพื่อระดมทรัพยากรจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และจัดสรรทรัพยากรให้ตรงกับความต้องการให้กับประชาชนโดยการเพิ่มช่องทางการให้บริการแก่ประชาชน มีการจัดรถ Mobile ลงไปในพื้นที่ที่ประสบปัญหา ช่วยเหลือเยียวยาให้คลี่คลายจากสถานการณ์ความเดือดร้อน รวมทั้งมีศูนย์บริการคนพิการที่มีอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศเพื่อช่วยเหลือคนพิการในการเข้าถึงระบบเทคโนโลยีและแอปพลิเคชันต่างๆ ตามเงื่อนไขของโครงการเราชนะ ทั้งนี้ หากประชาชน มีข้อสงสัย เกี่ยวกับโครงการเราชนะ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02 – 111 – 1144 ตลอด 24 ชั่วโมง และหากประชาชนต้องการได้รับความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ เช่น เป็นผู้สูงอายุ คนพิการหรือเป็นผู้ป่วยติดเตียง สามารถให้ผู้ดูแลหรือคนในครอบครัวติดต่อไปยัง สำนักงาน พมจ. ทุกจังหวัด หรือ ศูนย์ช่วยเหลือสังคมสายด่วน พม. โทร. 1300 บริการฟรี 24 ชั่วโมง
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39263 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมืองได้รับการรับรอง Airport Health Accreditation จาก Airports Council International | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมืองได้รับการรับรอง Airport Health Accreditation จาก Airports Council International
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) กระทรวงคมนาคม ได้รับการรับรองมาตรการด้านความปลอดภัยสุขอนามัยจากการเข้าร่วมโครงการ Airport Health Accreditation (AHA) Programme จากสภาสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ
ทอท. ให้ความสำคัญกับมาตรการด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยภายในท่าอากาศยานครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้านขั้นตอน กระบวนการ วิธีการปฏิบัติ การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่มุ่งมั่นให้มีสุขอนามัยที่ดี เริ่มตั้งแต่พื้นที่ให้บริการผู้โดยสารที่ได้มีการทำความสะอาดพื้นที่ผิวสัมผัส การเว้นระยะห่าง เช่น ทางเข้าอาคารผู้โดยสาร ห้องโถงเช็กอิน พื้นที่ตรวจค้นร่างกายก่อนขึ้นเครื่อง ประตูทางออกขึ้นเครื่อง ห้องรับรอง ร้านขายของ/ขายอาหารและเครื่องดื่ม บันไดเลื่อน ลิฟต์ พื้นที่รับกระเป๋าสัมภาระ บริเวณทางออกจากห้องโถงผู้โดยสารขาเข้า เป็นต้น รวมทั้งการดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในสนามบิน และการสื่อสารไปยังผู้โดยสาร
สำหรับโครงการ ACI Airport Health Accreditation มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานในอุตสาหกรรมการบินให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเป็นการกำหนดให้ท่าอากาศยานดำเนินการตามมาตรฐานอย่างครบถ้วน รวมทั้งสอดคล้องกับแนวทางการฟื้นฟูธุรกิจขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO Council Aviation Recovery Taskforce : ICAO CART) และแนวทางการฟื้นฟูธุรกิจและการปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) ของ ACI ซึ่งท่าอากาศยานที่เข้าร่วมโครงการจะต้องสนับสนุนข้อมูลท่าอากาศยาน และข้อมูลแวดล้อมให้ ACI รวมทั้งร่วมประชุมผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล เพื่อทำการประเมิน และต้องรายงานข้อมูลให้ ACI ทราบอย่างสม่ำเสมอ
ทั้งนี้ การร่วมโครงการดังกล่าว เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้โดยสารและผู้มาใช้บริการท่าอากาศยาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ทอท. ให้ความสำคัญเรื่องภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ ทำให้มั่นใจว่ามาตรการที่ ทอท. ดำเนินการมีความเหมาะสม และสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงพอและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39256 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีฝากสร้างบรรยากาศที่ดีในสภาฯ พร้อมกำกับดูแลรัฐมนตรีทุกคน ยืนยันทุกหน่วยงานพร้อมให้มีการตรวจสอบตามกฎหมาย | วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
นายกรัฐมนตรีฝากสร้างบรรยากาศที่ดีในสภาฯ พร้อมกำกับดูแลรัฐมนตรีทุกคน ยืนยันทุกหน่วยงานพร้อมให้มีการตรวจสอบตามกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีฝากสร้างบรรยากาศที่ดีในสภาฯ พร้อมกำกับดูแลรัฐมนตรีทุกคน ยืนยันทุกหน่วยงานพร้อมให้มีการตรวจสอบตามกฎหมาย
วันนี้ (18 ก.พ.64) เวลา 22.30 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร อาคารรัฐสภา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวชี้แจงในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 2 ครั้งที่ 25 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล โดยนายกรัฐมนตรีชี้แจงต่อสภาถึงบรรยากาศในสภาที่มีการกล่าวพาดพิง ดูถูก ซึ่งในฐานะนายกรัฐมนตรีอดทนได้ แต่ขอฝากสมาชิกสภาฯ ให้เปิดใจรับฟังการตอบตามหลักการเหตุผล ทั้งนี้ยืนยันไม่คิดจะปกป้องใคร ในฐานะนายกรัฐมนตรีได้กำกับดูแลด้านนโยบายและควบคุมการทำงานให้ถูกต้อง แต่หากมีการกระทำผิดทุกหน่วยงานพร้อมให้ตรวจสอบ และจะไม่ปกป้องใครหากมีการกระทำผิด
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงกรณีระบบการศึกษาว่าทุกคนคงต้องยอมรับว่าระบบการศึกษามีปัญหา รัฐบาลจึงวางแนวทางที่จะปฏิรูปการศึกษา แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง และ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติจะเข้าสภาในสมัยการประชุมหน้า ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่าน ปรับปรุง อย่างไรก็ตามต้องดำเนินการไปตามระบบ ตามกฎหมาย มองที่อุปสรรค ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงบรรยากาศของการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ ที่มีบรรยากาศของการดูถูกเหยียดหยาม ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็อดทนมาตลอด พร้อมฝากถึงสถานการณ์นอกสภาฯ บุคคลที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของเด็ก นักเรียน นักศึกษา ขอให้พิจารณาการกระทำให้คิดถึงเด็กที่ควรให้ความสำคัญกับการศึกษาของตนเป็นลำดับแรก พร้อมทิ้งท้ายไม่ต้องการให้สถานการณ์ภายนอกลุกลามนอกเหนือการควบคุม
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39239 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมศุลกากรออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ระลอกใหม่ | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
กรมศุลกากรออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ระลอกใหม่
กรมศุลกากรตระหนักถึงความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ระลอกใหม่ จึงออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการ รวม 3 มาตรการ
กรมศุลกากรตระหนักถึงความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ระลอกใหม่ จึงออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการ รวม 3 มาตรการ ดังนี้
1. การอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการสามารถใช้สำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อขอใช้ผ่อนผันในการปฏิบัติพิธีการศุลกากรยกเว้นอากรและลดอัตราศุลกากร ภายใต้เขตการค้าเสรี โดยจะต้องยื่นต้นฉบับรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าตัวจริง ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ตรวจปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากร หากไม่สามารถนำต้นฉบับมาแสดงภายในกำหนดเวลาดังกล่าว เนื่องจากติดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID – 19 ) ให้ยื่นคำร้องล่วงหน้าก่อนครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวไม่น้อยกว่า 7 วันทำการ เพื่อทำการขยายระยะเวลา ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวมีผลจนกระทั่ง วันที่ 31 มีนาคม 2564 ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 203/2563 เรื่อง การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563
2. การขยายเวลาการอนุญาตตัวแทนออกของ / ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของที่หมดอายุตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2564 - 30 มิ.ย. 2564 ให้หมดอายุในวันที่ 30 มิ.ย. 2564 โดยสามารถยื่นคำขอต่ออายุได้ใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2564 เป็นต้นไป ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 204/2563 เรื่อง มาตรการตัวแทนออกของและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของ ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2563
3. การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปฏิบัติพิธีการศุลกากรในการยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อให้การจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า และการยกเว้นอากรศุลกากรเป็นไปด้วยความถูกต้องตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อการรักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยประกาศนี้มีผลบังคับใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 22 /2564 ลงวันที่ 29 มกราคม 2564
ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.customs.go.th หรือ สายด่วน 1164**
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38919 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-งานแถลงข่าว "ผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2563" | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
งานแถลงข่าว "ผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2563"
รองปลัดฯภานุวัฒน์ ร่วมเป็นประธานในงานแถลงข่าว "ผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2563"
วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2564) นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมเป็นประธานในงานแถลงข่าว "ผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2563" รางวัลอันทรงเกียรติที่การันตีถึงศักยภาพในการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ ทัดเทียมระดับสากล หรือ Thailand Quality Award : TQA โดยมี ผศ.ดร.อธิศานต์ วายุภาพ ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ และคณะผู้บริหารสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เข้าร่วมแถลงข่าว ณ ห้องบอลรูม 2 ชั้น 4 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ
รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) เป็นรางวัลระดับโลก (World Class) ที่มีกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA ซึ่งเป็นต้นแบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ประเทศต่าง ๆ กว่า 90 ประเทศทั่วโลกนำไปใช้ในการพิจารณามอบรางวัล นอกจากนี้ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ยังถือเป็นบรรทัดฐานสำหรับการประเมินตนเองขององค์กร สามารถนำไปใช้ได้กับองค์กรทุกประเภทและทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน
ทั้งนี้ มีองค์กรที่ได้รับรางวัลประจำปี 2563 จำนวนทั้งสิ้น 8 องค์กร ประกอบด้วย
รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) ได้แก่ ธนาคารออมสิน ซึ่งเคยได้รับรางวัล Thailand Quality Class Plus: Operation ในปี 2562,รางวัล TQC Plus: Costumer ในปี 2561 และรางวัล TQC ในปี 2560
รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านนวัตกรรม (Thailand Quality Class Plus: Innovation) ได้แก่ กลุ่มธุรกิจโรงกลั่น และการค้าน้ำมัน บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านการปฏิบัติการ (Thailand Quality Class Operation) ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class) จำนวน 5 องค์กร ได้แก่
1. กลุ่มธุรกิจการตลาด บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
2. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
4. บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี
5. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38908 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มหาดไทยแจ้งทุกจังหวัดประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน เดินหน้าขับเคลื่อนและขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดความยั่งยืน | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
มหาดไทยแจ้งทุกจังหวัดประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน เดินหน้าขับเคลื่อนและขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดความยั่งยืน
มหาดไทยแจ้งทุกจังหวัดประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน เดินหน้าขับเคลื่อนและขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดความยั่งยืน
วันนี้ (5 ก.พ. 64) นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการขับเคลื่อนและขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ภารกิจ และบริบทการพัฒนาของพื้นที่ในปัจจุบัน โดยแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนและขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงมหาดไทย มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ กล่าวว่า เพื่อให้การขับเคลื่อนและขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัดมีความประสานสอดคล้องกันและเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม จึงได้แจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานการขับเคลื่อนและขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัด ให้เป็นปัจจุบัน มีความคล่องตัว สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งสามารถพิจารณาตั้งคณะทำงานในมิติต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของพื้นที่และประสิทธิผลการทำงาน พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการ ดูแลรักษา รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและเกิดความยั่งยืน โดยใช้กลไกคณะกรรมการประสานงานการขับเคลื่อนและขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัด เพื่อสนับสนุนและกำกับติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานในพื้นที่ ซึ่งจังหวัดสามารถกำหนดกลไกหรือแนวทางการขับเคลื่อนและขยายผลในส่วนอื่น ๆ เพิ่มเติมให้เป็นไปตามบริบทและภูมิสังคมของพื้นที่อีกด้วย
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38899 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“เราชนะ” พร้อมแล้ว!!! สำหรับการจำหน่ายผ่าน 4 ธนาคาร เปิดจำหน่าย 5 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
“เราชนะ” พร้อมแล้ว!!! สำหรับการจำหน่ายผ่าน 4 ธนาคาร เปิดจำหน่าย 5 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป
ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 จะเป็นวันแรกของการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น “เราชนะ” วงเงิน 55,000 ล้านบาท ผ่าน 4 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารกสิกรไทยฯ และธนาคารไทยพาณิชย์ฯ
นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 จะเป็นวันแรกของการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น “เราชนะ” วงเงิน 55,000 ล้านบาท ผ่าน 4 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารกสิกรไทยฯ และธนาคารไทยพาณิชย์ฯ ซึ่งการลงทุนในพันธบัตร “เราชนะ” ผู้ลงทุนจะได้รับพันธบัตรรัฐบาลที่มีความมั่นคง และได้รับดอกเบี้ยแน่นอนตามระยะเวลาที่กำหนด โดยแบ่งการจำหน่ายออกเป็น 2 ช่วง เริ่มต้นลงทุนได้ตั้งแต่ 1,000 บาท ถึงไม่จำกัดวงเงินการจำหน่าย ดังนี้
ช่วงที่ 1 วันที่ 5-15 กุมภาพันธ์ 2564 เปิดจำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไป 2 รุ่นอายุ ได้แก่ รุ่นอายุ 5 ปีและ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได (Step Up) ตั้งแต่ร้อยละ 1.50 – 3.00 ต่อปี โดยรุ่นอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี และรุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 2.50 ต่อปี
ช่วงที่ 2 วันที่ 16-19 กุมภาพันธ์ 2564 เปิดจำหน่ายให้กับนิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไรตามที่กระทรวงการคลังกำหนด รุ่นอายุ 15 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 1.80 ต่อปี
ผู้ที่ต้องการลงทุนเพิ่มแบบไม่จำกัดวงเงิน สามารถติดต่อสอบถามวิธีการซื้อพันธบัตรหรือจองคิวเข้ารับบริการได้ล่วงหน้าจาก 4 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย หรือซื้อผ่าน Internet Banking และ Mobile Banking ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
สำนักพัฒนาตลาดตราสารหนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
โทร. 0 2271 7999 ต่อ 5809/ 0 2265 8050 ต่อ 5307
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38887 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การโอนวงเงินสิทธิ์ให้แก่กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐวันแรกและการประกาศผลการคัดกรองคุณสมบัติของกลุ่มประชาชนที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลฯ | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
การโอนวงเงินสิทธิ์ให้แก่กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐวันแรกและการประกาศผลการคัดกรองคุณสมบัติของกลุ่มประชาชนที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลฯ
ความคืบหน้าโครงการเราชนะในวันแรกที่เริ่มโอนวงเงินสิทธิ์ให้แก่กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 13.8 ล้านคน โดยจะได้รับการจัดสรรวงเงินสิทธิ์เป็นรายสัปดาห์ทุกวันศุกร์จนครบวงเงินสิทธิ์ของโครงการ และสามารถสะสมวงเงินสิทธิ์ใช้จ่ายได้จนถึง 31 พ.ค.2564
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยความคืบหน้าของโครงการเราชนะในวันแรกที่เริ่มมีการโอนวงเงินสิทธิ์ให้แก่กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (กลุ่มผู้ถือบัตรฯ) จำนวน 13.8 ล้านคน โดยกลุ่มผู้ถือบัตรฯ จะได้รับการจัดสรรวงเงินสิทธิ์เป็นรายสัปดาห์ทุกวันศุกร์จนครบวงเงินสิทธิ์ของโครงการ และสามารถสะสมวงเงินสิทธิ์ เพื่อใช้จ่ายได้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ซึ่งกลุ่มผู้ถือบัตรฯ สามารถตรวจสอบวงเงินสิทธิ์คงเหลือได้ที่เครื่องกดเงินสดอัตโนมัติ (Cash Machine หรือ ATM) และเครื่องรูดบัตร (Electronic Data Capture หรือ EDC) ที่ร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ทั้งนี้ ในช่วงบ่ายที่ผ่านมาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทย) ได้มีการปิดระบบการใช้สิทธิ์โครงการเราชนะปรับปรุงระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยธนาคารกรุงไทยได้ดำเนินการปรับปรุงระบบดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และกลุ่มผู้ถือบัตรฯ สามารถใช้จ่ายได้ตามปกติภายใต้โครงการเราชนะตั้งแต่เวลา 17.30 น.
สำหรับกลุ่มประชาชนที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลของแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ในโครงการเราเที่ยวด้วยกันและคนละครึ่งที่ยืนยันตัวตนสำเร็จภายในวันที่ 27 มกราคม 2564 (กลุ่มประชาชนที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลฯ) สามารถตรวจสอบการคัดกรองคุณสมบัติได้ทางเว็บไซต์www.เราชนะ.com ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยกลุ่มประชาชนที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลฯ ที่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติจะได้รับการโอนวงเงินสิทธิ์ครั้งแรกในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 2,000 บาท และจะได้รับวงเงินสิทธิ์เป็นรายสัปดาห์ทุกวันพฤหัสบดีจนครบวงเงินสิทธิ์ของโครงการ
โฆษกกระทรวงการคลังได้เน้นย้ำสำหรับกลุ่มประชาชนที่ลงทะเบียนขอรับสิทธิ์จากโครงการเราชนะทางเว็บไซต์ www.เราชนะ.com (กลุ่มประชาชนที่ลงทะเบียนฯ) จะมีการทยอยประกาศผลการคัดกรองคุณสมบัติตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ประชาชนที่ลงทะเบียนแล้ว แต่ได้รับข้อความสั้น (SMS) แจ้งเตือนสถานะ“ลงทะเบียนไม่สำเร็จ” ซึ่งอาจเกิดจากความผิดพลาดในการกรอกเลขประจำตัวประชาชน เลขรหัสหลังบัตรประชาชน (Laser ID) ชื่อ ชื่อกลาง (ถ้ามี) นามสกุล วัน เดือน ปีเกิด โดยประชาชนที่ลงทะเบียนไม่สำเร็จสามารถลงทะเบียนใหม่ทางเว็บไซต์www.เราชนะ.com ได้ทันทีหลังจากได้รับ SMS แจ้งเตือนจนถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564
อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังจะเปิดช่องทางให้กลุ่มประชาชนที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลฯ และกลุ่มประชาชนที่ลงทะเบียนฯ ที่ตรวจสอบสถานะแล้วพบว่า “ไม่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติ” สามารถแสดงความประสงค์ขอทบทวนสิทธิ์ได้ทางเว็บไซต์ www.เราชนะ.com เท่านั้น โดยสามารถแสดงความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ – 8 มีนาคม 2564 และสามารถตรวจสอบผลการทบทวนสิทธิ์ได้ทางเว็บไซต์ดังกล่าวเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ผู้ประกอบการร้านค้าในกลุ่มร้านอาหารและเครื่องดื่มและร้านจำหน่ายสินค้าทั่วไปที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการเราชนะได้ทางเว็บไซต์www.คนละครึ่ง.com หรือติดต่อที่สาขาของธนาคารกรุงไทย สำหรับผู้ให้บริการรายย่อยที่มีสถานประกอบการเป็นหลักแหล่งและตรวจสอบได้หรือบริการขนส่งสาธารณะที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการเราชนะได้ทางเว็บไซต์ www.เราชนะ.com หรือติดต่อที่สาขาของธนาคารกรุงไทย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 02273 9020 ต่อ 3250 3423 3424 3425 3427 3429 3430 3431 และ 3444 (เฉพาะวันและเวลาราชการ)
Call Center ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
โทร. 021111144
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38924 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดฯ วรวรรณ เป็นประธานเปิดการดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ MOI KM Sharing Day ครั้งที่ 4 | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
รองปลัดฯ วรวรรณ เป็นประธานเปิดการดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ MOI KM Sharing Day ครั้งที่ 4
รองปลัดฯ วรวรรณ เป็นประธานเปิดการดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ MOI KM Sharing Day ครั้งที่ 4
วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2564) นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ MOI KM Sharing Day ครั้งที่ 4 โดยในครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การติดตามประเมินผลโครงการของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมผ่านระบบสารสนเทศ และ เรื่อง โครงการจิตอาสาของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี กองตรวจราชการเป็นผู้นำเสนอผ่านโปรแกรม Zoom ณ ห้องประชุม อก. 2 ชั้น 3 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ MOI KM Sharing Day เป็นกิจกรรมที่สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรได้รับความรู้ และวิทยาการใหม่ๆ ตลอดจนได้มีโอกาสในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดแนวทางในการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การพัฒนาองค์กสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ต่อไป
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38892 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ชาวสารคามดีใจ กระทรวงทรัพยากรฯ ดึงแสงอาทิตย์ มาสูบน้ำ ช่วยภัยแล้ง” | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
“ชาวสารคามดีใจ กระทรวงทรัพยากรฯ ดึงแสงอาทิตย์ มาสูบน้ำ ช่วยภัยแล้ง”
“ชาวสารคามดีใจ กระทรวงทรัพยากรฯ ดึงแสงอาทิตย์ มาสูบน้ำ ช่วยภัยแล้ง”
“ชาวสารคามดีใจ กระทรวงทรัพยากรฯ ดึงแสงอาทิตย์ มาสูบน้ำ ช่วยภัยแล้ง”
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 16.30 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดโครงการระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์หนองปลาไหล บ้านหนองบุญชู ต.กู่ทอง อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม โดยมี นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ให้การต้อนรับ พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้บริหารของกระทรวงฯ ร่วมเป็นเกียรติภายในพิธีเปิด และมอบโครงการให้ประชาชนในพื้นที่ดูแลต่อไป ก่อนที่จะเยี่ยมชมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และปลูกต้นยางนาบริเวณริมหนองปลาไหลไว้เพื่อเป็นที่ระลึก
นายวราวุธ กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับปัญหาภัยแล้งของพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก กระทรวงฯ จึงได้เร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อให้ทันต่อความเดือดร้อนของประชาชน
“หมู่บ้านแห่งนี้ ถือว่าโชคดีที่ยังมีน้ำผิวดินไว้ใช้ แต่ขอให้ทุกท่านร่วมกันอนุรักษ์แหล่งน้ำ ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า และขอให้ร่วมกันปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้เป็นแหล่งผลิตน้ำที่ดี เพื่อลูกหลานของพวกเรา เพื่ออนาคตของพวกเรา“ นายวราวุธ กล่าว
จากการสอบถามชาวบ้าน พบว่า พื้นที่นี้ขาดแคลนระบบชลประทาน และประสบปัญหาอุทกภัยในฤดูฝนมาอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมทรัพยากรน้ำ ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจพื้นที่และก่อสร้างโครงการดังกล่าว เพื่อเร่งแก้ปัญหาความเดือนร้อนให้กับประชาชน ซึ่งระบบกระจายน้ำแห่งนี้ ได้สร้างรอยยิ้มและความสุขให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก
สำหรับโครงการระบบกระจายน้ำด้วยพลังแสงอาทิตย์หนองปลาไหลนี้ เป็นแห่งที่ 2 ทางด้านทิศตะวันตก ของหนองปลาไหล จัดสร้างโดย สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 4 กรมทรัพยากรน้ำ
ใช้ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 4 กิโลวัตต์
เพื่อนำน้ำจากแหล่งน้ำแห่งนี้ส่งไปช่วยเหลือประชาชนในการอุปโภคบริโภคกว่า 233 ครัวเรือน และยังสามารถช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรบริเวณรอบพื้นที่ได้อีกกว่า 250 ไร่
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38921 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดีอีเอส ร่วม TDRI ศึกษาความพร้อมของไทย ก่อนเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
ดีอีเอส ร่วม TDRI ศึกษาความพร้อมของไทย ก่อนเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม
ดีอีเอส ร่วม TDRI ศึกษาความพร้อมของไทย ก่อนเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 นางปิยนุช วุฒิสอน ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้สัมภาษณ์กับทางสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เรื่อง "โครงการศึกษาสถานะความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม" ณ ห้องประชุม 801 กระทรวงดิจิทัลฯ ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ซึ่งสถาบัน TDRI ฯ เข้าพบและสัมภาษณ์ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและรวบรวมประเด็นต่างๆที่ประเทศไทยต้องคำนึงถึงในการเข้าร่วมเป็นภาคี รวมถึงจัดทำกรอบกฎหมายและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อรองรับพันธกรณีของอนุสัญญาดังกล่าว ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ให้การรับรองอนุสัญญาฉบับดังกล่าว ในการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโก ครั้งที่ 33 และยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ซึ่งอนุสัญญาฉบับนี้มีเป้าหมายในการสร้างระบบเสรีการค้าและบริการทางวัฒนธรรมที่รัฐสมาชิกกำหนดได้ โดยคำนึงถึงคุณลักษณะเฉพาะของสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม ซึ่งแฝงด้วยคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม อัตลักษณ์ แยกต่างหากจากสินค้าอุปโภค บริโภคทั่วไป เพื่อส่งเสริมให้เกิด “หลากหลายทางวัฒนธรรมที่อุดมสมบูรณ์” และการลื่นไหลทางความคิดอย่างมีอิสระ ในทางกลับกัน การเข้าเป็นภาคีเครือข่ายจะทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์หลายประการ อาทิ การเผยแพร่การแสดงออกทางวัฒนธรรม เกิดโอกาสในการเดินทาง เคลื่อนย้ายเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือประกอบอาชีพของบุคลากรทางวัฒนธรรมในประเทศด้วย
******************
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38909 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. จัดประชุมพิจารณามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหารับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุซ้ำซ้อนกับสวัสดิการอื่น | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
พม. จัดประชุมพิจารณามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหารับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุซ้ำซ้อนกับสวัสดิการอื่น
พม. จัดประชุมพิจารณามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหารับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุซ้ำซ้อนกับสวัสดิการอื่น
วันนี้ (5 ก.พ. 64) เวลา 14.00 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564 เพื่อพิจารณาเรื่องมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่มีความซ้ำซ้อนกับสวัสดิการอื่น โดยมี นาวาตรีสุธรรม ระหงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และนางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์ ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) นางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ คณะผู้บริหารกระทรวง พม. และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 2 กระทรวง พม. สะพานขาว ถนนกรุงเกษม กรุงเทพฯ
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ตามที่ปรากฏตามสื่อกรณีเรียกเงินคืนเบี้ยยังชีพจากผู้สูงอายุที่มีความซ้ำซ้อนกับสวัสดิการอื่น โดยมีผู้สูงอายุได้รับผลกระทบ จำนวน 15,323 คน ซึ่งในวันนี้ ที่ประชุมมีการพิจารณาเรื่องมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่มีความซ้ำซ้อนกับสวัสดิการอื่น โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ ดังนี้ 1. ให้นำความเห็นของที่ประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยให้ชะลอการเรียกคืนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่มีความซ้ำซ้อนกับสวัสดิการอื่นไว้ก่อน 2. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อหาแนวทางเยียวยาผู้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่มีความซ้ำซ้อนกับสวัสดิการอื่นและเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการโดยสุจริตต่อไป 3. ให้แต่งตั้งคณะทำงานหนึ่งชุด โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการพิจารณา ปรับปรุง และแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านผู้สูงอายุ ที่มีนายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน เป็นประธานดำเนินการพิจารณาสิทธิซ้ำซ้อนกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุว่า ควรมีกลุ่มใดบ้างที่ควรได้รับสิทธิซ้ำซ้อน คือนอกจากสิทธิพิเศษแล้ว ยังสามารถรับสิทธิจากการรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ให้คำแนะนำว่าเช่น กลุ่มบำนาญพิเศษ เป็นต้น ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ที่ได้รับมอบหมายจะต้องเป็นผู้พิจารณาต่อไป เพื่อที่จะได้นำมาสู่การตัดสินใจทางนโยบายต่อไป
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38923 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ชวนร้านธงฟ้า - คนละครึ่ง รีบอัปเดตแอป “ถุงเงิน” | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
ชวนร้านธงฟ้า - คนละครึ่ง รีบอัปเดตแอป “ถุงเงิน”
...
วันพรุ่งนี้แล้ว (5 ก.พ.) ถือเป็นวันแรก
ที่รัฐบาลคิกออฟโอนเงินช่วยเหลือเยียวยางวดแรก
ตามโครงการ “เราชนะ” ให้กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ
.
สามารถใช้สิทธิเพื่อซื้อสินค้าหรือรับบริการ
จากร้านค้าที่ร่วมโครงการได้ทันที
ทั้งร้านธงฟ้าที่มีเครื่องรูดบัตร (EDC)
ร้านค้าที่มีแอปฯ ถุงเงิน /ร้านธงฟ้า
ร้านค้าคนละครึ่ง และร้านเราชนะ
.
สำหรับผู้ประกอบการร้านค้าธงฟ้าฯ
หรือร้านค้าที่เคยลงทะเบียนโครงการคนละครึ่ง ไว้แล้ว
ที่กังวลว่าจะต้องลงทะเบียนร้านค้าเราชนะ หรือไม่
ยืนยันตรงนี้ว่า ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่
.
เพียงแค่ อัปเดตแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน”
ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด จะมีปุ่มกดเมนูให้ใช้งานได้ทันที
และสามารถดำเนินการได้เองตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
.
ขั้นตอนการใช้งานเพื่อรับชำระเงิน จากผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ
ของร้านค้าต่าง ๆ มีดังนี้
1. เข้าแอปฯ ถุงเงิน เลือกเมนู เราชนะ
2. กดเลือกบัตรสวัสดิการฯ
3. สแกนบัตรสวัสดิการฯ ผ่านแอปฯ
4. ระบุจำนวนเงินค่าสินค้า /บริการ
5. ผู้ใช้งานกดยืนยันชำระเงิน
6. ใส่รหัส PIN หรือสแกนใบหน้าของผู้ถือบัตร
7. ชำระเงินเรียบร้อย ระบบจะโชว์สลิปหลักฐานการใช้สิทธิ
ซึ่งร้านค้าได้รับเงินเข้าบัญชีในวันถัดไป ไม่เว้นวันหยุดราชการ
.
ส่วนร้านค้า และผู้ให้บริการรายย่อย
ที่ต้องการสมัครเข้าร่วมโครงการ
ยังคงสมัครได้อย่างต่อเนื่อง
เพื่อรองรับการใช้สิทธิได้ถึง 31 พ.ค. 64
#ไทยคู่ฟ้า#รวมไทยสร้างชาติ#ร่วมต้านโควิด19
-------------------
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38886 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คลังแจงยืนยันฐานะการคลังเข้มแข็ง/เศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณดีขึ้น อัตราเงินเฟ้อต่ำ ทุนสำรองระหว่างประเทศสูง | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
คลังแจงยืนยันฐานะการคลังเข้มแข็ง/เศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณดีขึ้น อัตราเงินเฟ้อต่ำ ทุนสำรองระหว่างประเทศสูง
คลังแจงยืนยันฐานะการคลังเข้มแข็ง/เศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณดีขึ้น อัตราเงินเฟ้อต่ำ ทุนสำรองระหว่างประเทศสูง ขณะที่ Bloomberg ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 64 น่าสนใจเป็น อันดับ 1 ใน 17 ประเทศในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่
วันนี้ (5 ก.พ.64) นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ชี้แจงกรณีมีการวิจารณ์ถึงรายได้รัฐบาลสุทธิในปี 2565 จะมีการจัดเก็บภาษีน้อยลง ทำให้ส่งผลต่อฐานะทางการคลังของรัฐบาลส่อ “ล้มละลาย” ว่า เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น ทั้งในด้านอุปสงค์จากในและต่างประเทศ สะท้อนจากการส่งออกสินค้าที่กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ที่ร้อยละ 4.7 ต่อปี ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ และทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง
ทั้งนี้ จากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยล่าสุด สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังคงได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยล่าสุดสำนักข่าว Bloomberg ได้ประเมินมุมมองอนาคตเศรษฐกิจของไทยปี 2564 ว่าเป็นประเทศที่น่าสนใจเป็น อันดับ 1 ใน 17 ประเทศในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่(Emerging Market Economies) สะท้อนได้จากเงินสำรองระหว่างประเทศในระดับสูง ความแข็งแกร่งในภาคการเงินระหว่างประเทศและศักยภาพในการดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศ อีกทั้ง Bloomberg ได้เผยแพร่ดัชนีประสิทธิภาพของระบบรักษาสุขภาพ (Bloomberg Heath-Efficiency Index 2020) โดยชื่นชมประเทศไทยว่าเป็นหนึ่งในสิบอันดับแรก (อันดับที่ 9) ของประเทศที่มีระบบรักษาสุขภาพที่มีประสิทธิภาพสูงเหนือกว่าอีกหลายประเทศจากกลุ่มตัวอย่าง 57 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ แสดงให้เห็นถึงระบบสาธารณสุขของไทยที่มีประสิทธิภาพสูง ในส่วนของการจัดเก็บรายได้ รัฐบาลจะเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยในช่วงปีงบประมาณ 2557 – 2563 การจัดเก็บรายได้รัฐบาลขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.1 ต่อปี ยืนยันสถานการณ์ทางการคลังประเทศไทยในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่เข้มแข็ง มีความมั่นคงและมีสภาพคล่องเพียงพอต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล รวมถึงมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 แก่ผู้ประกอบการและประชาชนทุกกลุ่มต่อเนื่อง
-----------------
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38885 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“วีรศักดิ์”ลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานีและศรีสะเกษ ย้ำที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยต้องป้องกันไม่ให้มีปัญหาโควิดระบาดระลอก 2 | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
“วีรศักดิ์”ลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานีและศรีสะเกษ ย้ำที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยต้องป้องกันไม่ให้มีปัญหาโควิดระบาดระลอก 2
พร้อมสั่งเร่งรัดเจรจาแก้ปัญหาการค้าชายแดนเพื่อให้เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตได้ดีขึ้น และต้องทำแผนช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจในพื้นที่อย่างชัดเจน เน้นสร้างอัตลักษณ์สินค้าชุมชน
นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังได้ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 4-5 ก.พ.2564 ว่า จากการประชุมร่วมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด เพื่อติดตามปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 ในส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ขณะนี้จังหวัดอุบลราชธานีได้ประกาศปิดทำการด่านชายแดน จุดผ่านแดนถาวร และจุดผ่อนปรนการค้าทุกจุดเป็นการชั่วคราว ยกเว้นจุดผ่านแดนถาวรช่องเม็กเพียงจุดเดียว ที่ยังคงสามารถเปิดทำการเพื่อการส่งออกและนำเข้าสินค้าได้ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 ซึ่งก็มีปัญหาผู้ประกอบการไม่สามารถส่งออกสินค้าเกษตรออกไปจำหน่ายได้ โดยเฉพาะสินค้าประมง จึงได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีเร่งประสานงานไปยังฝ่าย สปป.ลาว เพื่อพูดคุยแก้ปัญหาในระดับพื้นที่ก่อน หากไม่สามารถแก้ไขได้ในระดับจังหวัด และต้องการการสนับสนุนในระดับกระทรวงหรือระดับรัฐบาล ก็ขอให้เสนอเข้ามาเพื่อนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาแก้ไขปัญหาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป นอกจากนี้ยังสั่งการให้ทำแผนจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ รวมถึงเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐให้เร็วขึ้น หลังพบว่าจังหวัดอุบลราชธานียังเบิกจ่ายงบประมาณไปใช้แก้ปัญหาในพื้นที่ล่าช้า
ในส่วนของจังหวัดศรีสะเกษ รมช.พาณิชย์ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดยุทธศาสตร์ให้จังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดต้นแบบในการนำร่องลดต้นทุนการผลิตภาคเกษตรโดยเฉพาะการเลี้ยงโคเนื้อลงให้ได้ 40 เปอร์เซ็นต์ หลังพบว่าเกษตรกรยังมีปัญหาต้นทุนสูง ขาดความรู้ในการปรับปรุงพันธุ์ การเลี้ยงการจัดการ การป้องกันโรค และที่สำคัญคือขสดแคลนพืชอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพ ทำให้ได้ผลผลิตที่ได้จากการเลี้ยงโคลดลง นอกจากนี้ จ.ศรีสะเกษ ยังมีปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ซึ่งทางจังหวัดได้เสนอแผนการแก้ไขปัญหาไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนแล้ว
"ผมรับปากจะเร่งผลักดันการแก้ปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำของจังวัดศรีสะเกษในระดับนโยบาย เพราะน้ำเป็นต้นทุนของทุกชีวิต โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง หากไม่มีน้ำเพียงพอหล่อเลี้ยงต้นทุเรียน หอมแดง และพืชเกษตรอื่นๆ จะกระทบกับรายได้เกษตร และภาคอุตสาหกรรม จึงต้องเร่งรัดผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม" นายวีรศักดิ์ กล่าว
นอกจากนี้ รมช.พาณิชย์ยังได้กำชับที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยระดับจังหวัด ทั้งจ.อุบลราชธานีและศรีสะเกษ ว่าจะต้องดำเนินการตามมาตรการทางสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดในทุกๆ มิติ เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหาโควิดระบาดระลอก 2 พร้อมทั้งต้องทำแผนช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เศรษฐกิจของจ.อุบลราชธานีและศรีสะเกษ ฟื้นตัวอย่างชัดเจน เช่น การลดต้นทุนการผลิต และสร้างอัตลักษณ์สินค้าชุมชนผ่านงานวิจัยพืชพันธุ์ใหม่ และสร้างนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์ ให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุค New Normal และ Next Normal ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพอนามัยมากขึ้น
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน และคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด เพื่อกำกับ ติดตาม เร่งรัด ช่วยเหลือเยียวยา และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ โดยเริ่มจากปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนเร่งด่วน ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็วทันเหตุการณ์ และยังได้แต่งตั้งรัฐมนตรีให้กับกำกับดูแลในแต่ละจังหวัด โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์รับผิดชอบจังหวัดอุบลราชธานีกับศรีสะเกษ
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38902 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายเซิ๋น หลินชง หัวหน้าประจำสำนักงานสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CCTV) นำคณะทีมงานบันทึกเทปการสัมภาษณ์รมว.วธ. | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
นายเซิ๋น หลินชง หัวหน้าประจำสำนักงานสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CCTV) นำคณะทีมงานบันทึกเทปการสัมภาษณ์รมว.วธ.
นายเซิ๋น หลินชง หัวหน้าประจำสำนักงานสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CCTV) นำคณะทีมงานบันทึกเทปการสัมภาษณ์รมว.วธ.
วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๑๒.๓๐ น. นายเซิ๋น หลินชง (Mr. Chen Lincong) หัวหน้าประจำสำนักงานสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CCTV) นำคณะทีมงานบันทึกเทปการสัมภาษณ์ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เนื่องในเทศกาลตรุษจีน พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้มิติทางวัฒนธรรม รวมทั้งส่งความปรารถนาดีไปยังพี่น้องคนไทยเชื้อสายจีนและคนจีนทั่วโลก โดยมีนางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมชมการบันทึกเทป ณ ห้องรับรอง ชั้น ๗ กระทรวงวัฒนธรรม
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38905 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดีอีเอส โชว์ผลงานศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม เผยแพร่ข้อมูลถูกต้องเข้าถึงกว่า 14 ล้านคน | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
ดีอีเอส โชว์ผลงานศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม เผยแพร่ข้อมูลถูกต้องเข้าถึงกว่า 14 ล้านคน
ดีอีเอส โชว์ผลงานศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม เผยแพร่ข้อมูลถูกต้องเข้าถึงกว่า 14 ล้านคน
กระทรวงดิจิทัลฯ ปลื้มผลการทำงานศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เป็นช่องทางเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องผ่านโซเชียลเข้าถึงประชาชนกว่า 14 ล้านคนแล้ว ขอบคุณสำนักข่าว สื่อทีวี และอินฟลูเอนเซอร์ ร่วมเป็นเครือข่ายสร้างการรู้เท่าทันข่าวปลอมให้กับประชาชน แนะทิปส์ SPOT ช่วยประชาชนจับผิดข่าวปลอม
นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ในฐานะโฆษกกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าวว่า จากที่ได้รับมอบหมายจากนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดีอีเอส ให้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาข่าวปลอม ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายหลักของรัฐบาลในการจัดการข้อมูลที่เป็นเท็จทางสื่อออนไลน์ โดยมีศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม เป็นกลไกสำคัญ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว ให้เข้าถึงการรับรู้ของประชาชน
ทั้งนี้ จากการดำเนินการเพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับข่าวปลอม และจัดทำข้อมูลในด้านต่างๆ เพื่อเผยแพร่สู่ช่องทางบนสังคมออนไลน์ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบว่าระหว่างวันที่ 1 พ.ย. 62 – 31 ม.ค. 64 ทางศูนย์ฯ เผยแพร่ข่าวที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว 1,314 เรื่อง โดยมีการเข้าถึงโพสต์ข้อมูลที่เผยแพร่เหล่านี้ผ่านโซเชียล จำนวน 14,552,620 คน (Reach) และสร้างการมีส่วนร่วม จำนวน 1,168,187 ครั้ง (Engagement) อีกทั้งมีสำนักข่าวรายหลัก ๆ 10 อันดับแรก ช่วยประชาสัมพันธ์ข่าวจากศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม จำนวนรวม 9,079 ข้อความ นอกจากนี้ ยังมีสื่อทีวี และอินฟลูเอนเซอร์ ที่เข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายด้วย
สำหรับภาพรวมการดำเนินงานของศูนย์ฯ ระหว่างวันที่ 1 พ.ย. 62 - 31 ม.ค. 64 มีข้อความข่าวที่ต้องคัดกรองทั้งหมด 56,482,317 ข้อความ พบข้อความข่าวที่เข้าเกณฑ์ดำเนินการตรวจสอบ 22,728 ข้อความ และหลังจากคัดกรอง พบข้อความข่าวที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 8,278 เรื่อง แบ่งเป็น หมวดหมู่ข่าว ดังนี้ สุขภาพ 56% , นโยบายรัฐ 39% , ศก. 3% และภัยพิบัติ 2%
ขณะที่ ช่องทางซึ่งมีการพบเบาะแสข่าวปลอมมากที่สุดอันดับ 1 คือ ระบบตรวจจับการสนทนาบนโซเชียล (Social Listening Tools) 99.46% รองลงมา ได้แก่ บัญชีไลน์ทางการของศูนย์ฯ 0.51%, เฟซบุ๊ก 0.02% และการแจ้งเบาะแสผ่านเว็บไซต์ทางการของศูนย์ฯ 0.01% ตามลำดับ ทางด้านสัดส่วนของข่าวปลอม : ข่าวจริง : ข่าวบิดเบือน ยังคงอยู่ที่ 7 : 2 : 1
นายภุชพงค์ กล่าวว่า นอกเหนือจากการทำงานตรวจสอบข่าวปลอมโดยศูนย์ฯ แล้ว ประชาชน ยังสามารถช่วยกันตรวจสอบข่าวปลอมที่แพร่กระจายอยู่บนโลกออนไลน์/โซเชียล ก่อนแชร์ต่อ โดยใช้หลัก SPOT ได้แก่ Source ตรวจสอบแหล่งที่มาของข่าว ว่ามาจากสื่อที่เชื่อถือได้หรือไม่, Profit หรือเจตนารมณ์ของการเผยแพร่ข่าวหวังผลประโยชน์หรือไม่ เช่น ถ้าเป็นเพื่อการขายของ ให้ระวังไว้ก่อนว่าจะเป็นข่าวปลอม, Over ข่าวที่เกินความจริง ควรตระหนักว่าจะเป็นข่าวปลอม และ Time ควรตรวจสอบเวลาและสถานที่ของข่าวนั้นๆ เช่น การโพสต์/แชร์ข่าวที่นานมาแล้ว แต่เพิ่งมาเผยแพร่ซ้ำ ทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นข่าวปัจจุบัน หรือภาพเหตุการณ์ที่ต่างประเทศ แต่อ้างว่าเกิดในประเทศไทย เป็นต้น
“ถ้าผู้เสพข่าวใช้หลักเกณฑ์ข้างต้นนี้ และตรวจสอบจากหลายๆ แหล่ง ก็จะทราบว่าข่าวในลักษณะนี้เป็นข่าวปลอม และไม่ควรเผยแพร่ต่อ” นายภุชพงค์กล่าว
*****************
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38903 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘จับกัง1′ นัด 39 องค์กรสหภาพแรงงาน ชี้แจงมาตรการ “ม.33 เรารักกัน” | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
‘จับกัง1′ นัด 39 องค์กรสหภาพแรงงาน ชี้แจงมาตรการ “ม.33 เรารักกัน”
รมว.แรงงาน สั่งการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) นัด 39 องค์กรแรงงาน พบปะ ชี้แจง “โครงการ ม.33 เรารักกัน” หวังเป็นกระบอกเสียงส่งต่อไปยังสมาชิกกว่า 3.8 แสนคน สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาลในการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ห้องประชุมชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงานนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นประธานการประชุมปรึกษาหารือสถานการณ์ด้านแรงงานกับผู้นำแรงงาน โดยมีนางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงานพร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กระทรวงแรงงานภายใต้การกำกับดูแลของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ช่วยดูแลพี่น้องแรงงานจากผลกระทบโควิด-19 รวมทั้งนายจ้างผู้ประกอบการให้เหมือนคนในครอบครัว แต่ทุกสิ่งทุกอย่างต้องปฏิบัติภายใต้กรอบของกฎหมายในวันนี้ผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จึงได้เชิญผู้แทนองค์กรแรงงานได้แก่ สภาองค์การลูกจ้าง 15 องค์กร สหพันธ์แรงงาน 22 องค์กร คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ รวมจำนวนทั้งสิ้น 39 องค์กรเพื่อมาชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลเกี่ยวกับพี่น้องผู้ใช้แรงงานมาตรา 33 เรารักกัน เพื่อร่วมเป็นกระบอกเสียงส่งผ่านข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีให้กับสมาชิกที่มีอยู่กว่า 3.8 แสนคนต่อไป
นายสุชาติกล่าวต่อว่า ในเรื่องนี้ท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สั่งการให้กระทรวงแรงงานหารือกับกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อหาแนวทางการในการเพิ่มการเยียวยาแก่ผู้ประกันตน มาตรา 33 ให้เท่าเทียมกับกลุ่มอื่น ๆ ที่รัฐได้ช่วยเหลือไปแล้ว รายละเอียดเงื่อนไขการเยียวยากลุ่มผู้ประกันตน มาตรา 33 จำนวน 11 ล้านคน เบื้องต้น เงื่อนไขของผู้มีสิทธิรับเงินเยียวยาจะใช้เกณฑ์เดียวกับโครงการเราชนะ คือ ผู้มีสิทธิต้องไม่มีเงินฝากในบัญชีเกิน 5 แสนบาท ณ สิ้นปี 2562 ต้องไม่เป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย สำหรับรายละเอียดจะเยียวยารายละเท่าไหร่ ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกระทรวงการคลัง ในวันนี้จึงมีรายละเอียดอื่น ๆ ที่อยากจะทำความเข้าใจกับพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาล ที่นำงบประมาณจากกระทรวงการคลังมาดำเนินโครงการ จึงได้สั่งการไปยัง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเชิญผู้แทนองค์กรแรงงานที่เป็นฝ่ายลูกจ้างมาพบปะเพื่อชี้แจง ทำความเข้าใจที่ถูกต้องถึงการได้มาของโครงการดังกล่าว โดยมุ่งหวังให้ขยายผลบอกต่อไปยังสมาชิก ถึงความตั้งใจ ความพยายามของกระทรวงแรงงาน และรัฐบาลในการดูแลพี่น้องผู้ใช้แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38911 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดีอีเอส หารือ“พรีเมียร์ ลีก สิงคโปร์” กรณี ปิดเว็บไซต์ที่ถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกโดยผิดกฎหมาย | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
ดีอีเอส หารือ“พรีเมียร์ ลีก สิงคโปร์” กรณี ปิดเว็บไซต์ที่ถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกโดยผิดกฎหมาย
ดีอีเอส หารือ“พรีเมียร์ ลีก สิงคโปร์” กรณี ปิดเว็บไซต์ที่ถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกโดยผิดกฎหมาย
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธานการประชุมหารือเรื่องการปิดเว็บไซต์ที่ถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกโดยผิดกฎหมาย โดยมีคณะผู้แทนจากเดอะ ฟุตบอล แอสโซซิเอชั่น พรีเมียร์ ลีก ลิมิเต็ด สาขาประเทศสิงคโปร์ (Premier League) เข้าพบ ณ ห้องประชุม MOC ชั้น 6 สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการนี้ พรีเมียร์ลีก เป็นหน่วยงานที่ดำเนินกิจการจัดและบริหารการแข่งขันฟุตบอลฯและเป็นผู้รับมอบอำนาจจากสโมสรต่างๆ ที่เป็นสมาชิกจำนวน 20 สโมสรในการอนุญาตให้เป็นผู้เผยแพร่เสียงและภาพ (broadcaster) ทั่วโลกถ่ายทอดงานโสตทัศนวัสดุของนัดแข่งขัน (match) 380 นัด ที่จัดขึ้นในการแข่งขันของแต่ละฤดูกาล ("นัดแข่งขัน") โดย พรีเมียร์ลีก เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดงานโสตทัศนวัสดุนัดแข่งขันทุกนัด รวมถึงงานภาพยนตร์ (ในงานที่ถ่ายบันทึกไว้ (footage)) และในงานศิลปกรรม (สำหรับโลโก้และภาพกราฟฟิกขึ้นจอต่างๆ)
*******************
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38913 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสิน ประสบความสำเร็จคว้ารางวัลสุดยอดองค์กรคุณภาพมาตรฐานโลก “Thailand Quality Award : TQA Winner 2020” | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
ออมสิน ประสบความสำเร็จคว้ารางวัลสุดยอดองค์กรคุณภาพมาตรฐานโลก “Thailand Quality Award : TQA Winner 2020”
สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศให้ธนาคารออมสินเป็นองค์กรคุณภาพได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ Thailand Quality Award : TQA ประจำปี 2563
นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศให้ธนาคารออมสินเป็นองค์กรคุณภาพได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ Thailand Quality Award : TQA ประจำปี 2563 รางวัลอันทรงเกียรติสูงสุดที่มีความเป็นเลิศในการบริหารจัดการองค์กรทัดเทียมระดับมาตรฐานโลก ซึ่งธนาคารออมสินได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและยกระดับการบริหารจัดการคุณภาพ โดยเริ่มศึกษาเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ และเข้ารับการตรวจประเมินองค์กรมาตั้งแต่ปี 2558 ต่อมาในปี 2560 ธนาคารได้รับรางวัล Thailand Quality Class และพัฒนาสู่รางวัล Thailand Quality Class (Plus) ด้าน Customer และด้าน Operation ในปี 2561-2562 ตามลำดับ จนมาประสบความสําเร็จได้รับรางวัลสูงสุด Thailand Quality Award ในปี 2563 เป็นปีที่ 6 ธนาคารที่ส่งผลงาน ถือเป็นรางวัลแห่งความมุ่งมั่นในการพัฒนาปรับปรุงและบริหารจัดการคุณภาพองค์กรสู่ความเป็นเลิศอย่างแท้จริง
“ด้วยค่านิยมและแนวคิดหลักของเกณฑ์รางวัลคุณภาพ ถือเป็นเครื่องมือสาคัญที่ทำให้เห็นการบูรณาการมุมมองแนวคิดเชิงระบบ ของการบริหารจัดการองค์กรด้านต่าง ๆ เป็นพื้นฐานสำหรับการปฏิบัติงาน โดยหลังจากที่ธนาคารออมสินได้ปรับบทบาทเป็น Social Bank เต็มรูปแบบในปี 2563 ธนาคารมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการบริหารจัดการตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การ Re-Structure, Re-Process จนถึงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สินเชื่อ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ของภารกิจธนาคารเพื่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม”
ในปี 2563 ที่ผ่านมาทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา-Covid 19 ธนาคารออมสินมีบทบาทอย่างมากในการช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการ ผ่านมาตรการต่างๆ ที่ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ด้วยการบริหารจัดการที่เป็นระบบของธนาคารออมสิน และ ความพร้อมของทรัพยากร และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ธนาคารสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว มีการนำเอาช่องทางบริการรูปแบบดิจิทัลมาให้บริการสินเชื่อผ่านแอปพลิเคชัน MyMo เป็นครั้งแรก เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของธนาคารภายใต้มาตรการตรการเว้นระยะห่าง โดยธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อช่วยเหลือ ผู้เดือดร้อนได้เป็นจํานวนมากไม่ว่าจะเป็นมาตรการเยียวยา 5,000 บาทตามโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” มาตรการพักหนี้ชําระหนี้เพื่อช่วยบรรเทาภาระ มาตรการให้สินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องและฟื้นฟูให้สามารถกลับมาประกอบอาชีพได้ ประสบความสําเร็จ สามารถให้บริการลูกค้ามากกว่าการให้บริการในภาวะปกติถึง 3 เท่า ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบไปแล้วกว่า 5 ล้านราย
“ธนาคารออมสิน เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ที่ก่อตั้งมาเป็นระยะเวลา 108 ปี ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ปัจจุบันธนาคารมีสินทรัพย์ 2.9 ล้านล้านบาท ดูแลลูกค้ากว่า 22 ล้านราย ภารกิจที่ธนาคารดำเนินการกว่าร้อยละ 80 เป็นภารกิจเชิงสังคมและตอบสนองนโยบายของรัฐบาล สำหรับทิศทางยุทธศาสตร์ใน 5 ปีข้างหน้า ธนาคารออมสินมุ่งขับเคลื่อนสู่การเป็น “ธนาคารเพื่อสังคม หรือ Social Bank” อย่างต่อเนื่องจริงจัง โดยธนาคารยังได้เข้าร่วมลงนามรับในหลักการของ Responsible Banking กับ สหประชาชาติ หรือ UNEP FI เพื่อพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลและมุ่งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ช่วยแก้ปัญหาความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำ ผลักดันให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวกที่เป็นรูปธรรมแก่สังคม หรือ Making Positive Impact on Society เน้นดูแลผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบการรายย่อยและชุมชน ช่วยยกระดับรายได้และสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ” ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวในที่สุด
https://www.gsb.or.th/news/tqa-winner-2020/
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38904 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมบัญชีกลางออกแนวทาง เรื่อง “หลักการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กร” เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
กรมบัญชีกลางออกแนวทาง เรื่อง “หลักการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กร” เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม
ตามที่กระทรวงการคลังได้ประกาศหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2562
นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงการคลังได้ประกาศหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2562 โดยหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ ข้อ 3 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐ ยกเว้นรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามคู่มือหรือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ซึ่งหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ในการจัดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยง ตามมาตรา 79 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อให้การบริหารจัดการความเสี่ยงของหน่วยงานมีประสิทธิภาพ รวมถึงยกระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงของฝ่ายบริหารให้สามารถเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Informed Strategic Decision Making) เพื่อสนับสนุนการบริหารหน่วยงานของรัฐให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างแท้จริง กรมบัญชีกลางจึงได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ เรื่อง หลักการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กรขึ้น เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถนำหลักการดังกล่าวไปปรับใช้ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสมกับหน่วยงาน โดยมีเนื้อหาสรุปได้ ดังนี้
1.กรอบการบริหารจัดการความเสี่ยง ประกอบด้วย 8 หลักการ ดังนี้ 1) การบริหารจัดการความเสี่ยงต้องดำเนินการแบบบูรณาการทั่วทั้งองค์กร 2) ความมุ่งมั่นของผู้กำกับดูแล หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ และผู้บริหารระดับสูง 3) การสร้างและรักษาบุคลากรและวัฒนธรรมที่ดีขององค์กร 4) การมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง 5) การตระหนักถึงผู้มีส่วนได้เสีย 6) การกำหนดยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และการตัดสินใจ 7) การใช้ข้อมูลสารสนเทศ 8) การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2.กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง ประกอบด้วย 7 กระบวนการ ดังนี้ 1) การวิเคราะห์องค์กร 2) การกำหนดนโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยง 3) การระบุความเสี่ยง 4) การประเมินความเสี่ยง 5) การตอบสนองความเสี่ยง 6) การติดตามและทบทวน 7) การสื่อสารและการรายงาน
“สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดแนวทางดังกล่าวได้ที่เว็บไซต์กรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th หัวข้อ เรื่องที่น่าสนใจ หัวข้อ ตรวจสอบภายใน เลือก ระเบียบ มาตรฐาน คู่มือ แนวปฏิบัติ หัวข้อ แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ เรื่อง หลักการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กร หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่กองตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง หมายเลข 02-127-7287 ในวัน เวลา ราชการ” อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าว
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38889 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ยุติธรรม เปิดปฏิบัติการ | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
รมว.ยุติธรรม เปิดปฏิบัติการ
รมว.ยุติธรรม เปิดปฏิบัติการ "พาลีปราบยา" พร้อมตั้งคณะทำงานร่วมผนึกกำลังธนาคาร - สถาบันการเงินช่วยติดตามเส้นทางธุรกรรมเครือข่าย ยืนยันนายกรัฐมนตรีเอาจริงสั่งปราบปรามให้หมดสิ้น -ติดตามผลอยู่ตลอด ขอบคุณทุกฝ่ายร่วมมือเป็นอย่างดี
ในวันศุกร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๗ - ๐๑ ชั้น ๗ อาคารกระทรวงยุติธรรมแห่งใหม่ สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดงาน "ยุติธรรมผนึกกำลังสถาบันการเงิน ตามติดเส้นทางการเงินผู้ค้ายาเสพติด" โดยมี ว่าที่ร้อยตรีธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) นายอุทัย สินมา อธิบดีอัยการ สำนักงานคดียาเสพติด พันตำรวจโท ปกรณ์ สุชีวกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายกอบศักดิ์ ดวงดี เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย นายฉัตรชัย ศิริไล ประธานสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม และผู้แทนจากธนาคารและสภาบันการเงินต่างๆ อาทิ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ร่วมงาน
นายสมศักดิ์ กล่าวเปิดงานว่า จากนโยบายของรัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในเรื่องการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รัฐบาลได้ตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยมีตนเป็นประธาน และมีหน่วยงานต่างๆ ร่วมเป็นกรรมการ มีการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ซึ่งที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีได้เอาจริงเอาจังในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด มีการติดตามและสอบถามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้ประสานความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐเอกชนในการปฏิบัติงาน จากนั้นได้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อยึดทรัพย์สินของเครือข่ายยาเสพติด โดยให้สืบสวนสอบสวนบุคคลหรือกลุ่มที่ค้ายาเสพติด เพื่อทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดทั้งส่วนกลางและระดับพื้นที่ ซึ่งความสำเร็จจำเป็นที่จะต้องประสานหน่วยงานรัฐและเอกชน โดยเฉพาะธนาคารและสถาบันการเงิน โดยที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
"วันนี้เราต้องทำให้สำเร็จ กระทรวงยุติธรรมจึงกำหนดปฏิบัติการ "พาลีปราบยา" โดยการดำเนินการมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ๑๖ คณะทำงาน เพื่อทำงานในปฏิบัติการครั้งนี้เป็นการนำร่องไปแล้ว โดยกระทรวงยุติธรรมได้ใช้สัญลักษณ์ รูปพญาพาลีสีเขียว เหยียบเหนือตราสิงโตคู่สีแดง ซึ่งเป็นตัวแทนของฝ่ายปราบปรามที่อยู่เหนือขบวนการค้ายาเสพติด และจะมีการผนึกกำลังกับธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ ซึ่งกระทรวงยุติธรรมเข้าใจธนาคารและสถาบันการเงิน ในการรักษาความลับของลูกค้า ดังนั้นคณะกรรมการจะขอข้อมูลเท่าที่จำเป็น และขอให้ท่านจัดลำดับความสำคัญ ทั้งนี้ตนขอขอบคุณสมาคมธนาคารไทย สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และหน่วยงานต่างๆ ที่ร่วมกันผนึกกำลัง ตนเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือจะทำลายเส้นทางการเงินของเครือข่าย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในขบวนการ เพื่อทำให้ประเทศชาติพ้นภัยยาเสพติดและพัฒนาได้ต่อไป" นายสมศักดิ์ กล่าว
นายฉัตรชัย กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีดำเนินการปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง ตนในฐานะตัวแทนสถาบันการเงินของรัฐ ยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับภาครัฐ สนับสนุนติดตามเส้นทางการเงินของขบวนการยาเสพติดอย่างเต็มที่ ซึ่งคงจะมีการยกระดับใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบ รวมถึงการแก้กฎหมายในอนาคตเพื่อสามารถอายัดเงินผู้ต้องหาได้ดียิ่งขึ้น เรายืนยันว่ายินดีที่จะช่วยงานในการปราบปรามยาเสพติดให้หมดสิ้นไป
นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า สมาคมธนาคารไทยขอบคุณที่จัดงานในครั้งนี้ เพื่อการให้ตรวจสอบเส้นทางการเงินของเครือข่ายยาเสพติดและเพื่อให้สามารถยึดทรัพย์ได้อย่างจริงจัง เราพร้อมให้ข้อมูลทางการเงินด้วยความรวดเร็ว ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่ดีเสมอมา ปัจจุบันการรับส่งข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยี สถาบันการเงินทุกแห่งมีการติดตามธุรกรรมของลูกค้า คัดกรองเบื้องต้นถึงความผิดปกติในการป้องกันเครือข่ายยาเสพติด และเมื่อมีคำสั่งจากภาครัฐเราพร้อมร่วมมือ ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญเพื่อความยั่งยืนแต่ก็ต้องอยู่ในกรอบของธรรมาภิบาลด้วย
จากนั้น นายสมศักดิ์ แถลงข่าวว่า ในการยึดทรัพย์ตัดวงจรยาเสพติด สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้ว่าเงินอยู่ที่ไหน ใครส่งให้ใคร และต้องดูบัญชีเส้นทางและต้องตรวจสอบให้พบ ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. ตำรวจและดีเอสไอ จับกุมได้แค่ตัวยากับผู้ครอบครองและขนส่ง ขาดข้อมูลที่หลากหลาย ไม่รู้ว่าเจ้าของธุรกรรมรายใหญ่คือใคร ดังนั้นวันนี้เราจึงได้จัดตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงยุติธรรมกับธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในการสืบสวนสอบสวนคดีที่เกี่ยวกับยาเสพติด ประกอบด้วย ป.ป.ส. ดีเอสไอ บช.ปส.และธนาคารต่างๆ โดยเอกสารต่างๆ จะใช้เครื่องหมาย พาลีปราบยา เพื่อให้การวิเคราะห์ข้อมูลการเงินและธุรกรรมต่างๆ สาวไปถึงผู้บงการหรือผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่ จึงต้องตั้งคณะทำงานนี้เพื่อทำงานร่วมกันและใช้เทคโนโลยีติดตาม เพื่อให้เป้าหมายในการยึดทรัพย์จากเดิมปีละ ๖๐๐ ล้านบาทเป็นไปตามเป้าหมายคือ ๖,๐๐๐ ล้านบาท ตนต้องขอบคุณทุกฝ่ายที่ให้ความร่วมมืออย่างดี ส่วนสกุลเงินดิจิทัลที่เริ่มมีการใช้ในเครือข่ายยาเสพติดบ้างแล้วนั้น เราได้มีการศึกษาข้อมูลไว้บ้างแล้ว
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38917 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.อุตฯ ยันห้องแล็ปทดสอบหน้ากากอนามัยพร้อม หลังบอร์ดเห็นชอบเป็นสินค้าควบคุม พร้อมการันตีหน้ากากอนามัยที่ดี ต้องมี มอก. | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
ก.อุตฯ ยันห้องแล็ปทดสอบหน้ากากอนามัยพร้อม หลังบอร์ดเห็นชอบเป็นสินค้าควบคุม พร้อมการันตีหน้ากากอนามัยที่ดี ต้องมี มอก.
ก.อุตฯเตรียมพร้อมห้องแล็ปสำหรับทดสอบหน้ากากอนามัย หลังบอร์ด สมอ. เห็นชอบให้เป็นสินค้าควบคุมเมื่อวันที่ 19 ม.ค.64 ที่ผ่านมา เพื่ออำนวยความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้ประกอบการไม่ต้องส่งสินค้าไปทดสอบยังต่างประเทศย้ำหน้ากากอนามัยมาตรฐาน มอก. มีคุณภาพ
กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมพร้อมห้องแล็ปสำหรับทดสอบหน้ากากอนามัย หลังบอร์ด สมอ. เห็นชอบให้เป็นสินค้าควบคุมเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา เพื่ออำนวยความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้ประกอบการไม่ต้องส่งสินค้าไปทดสอบยังต่างประเทศ ย้ำหน้ากากอนามัยมาตรฐาน มอก. มีคุณภาพ ปลอดภัย ประชาชนใช้ได้อย่างมั่นใจ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หน้ากากอนามัยกลายเป็นของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของประชาชนทุกคนตามวิถีปกติใหม่ หรือ นิว นอร์มอล (New Normal) จึงทำให้เกิดความต้องการใช้หน้ากากอนามัย มีมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่มีคุณภาพปะปนอยู่ในท้องตลาด หลากหลายรูปแบบ และราคาที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้ ยังตรวจสอบพบว่า มีการนำหน้ากากอนามัยไม่ได้มาตรฐานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชน จึงต้องเร่งรัดให้ สมอ. ดำเนินการประกาศเป็นสินค้าควบคุม
นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่ามาตรฐานหน้ากากอนามัยใช้ครั้งเดียว มอก.2424-2562 แบ่งตามระดับการใช้งานและการป้องกันออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับที่ 1 หน้ากากอนามัยสำหรับใช้งานทั่วไป ระดับที่ 2 หน้ากากอนามัยสำหรับใช้งานด้านการแพทย์ทั่วไป และระดับที่ 3 หน้ากากอนามัยสำหรับใช้งานด้านการแพทย์ในทางศัลยกรรม ซึ่งทั้ง 3 ระดับนี้ จะมีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรีย กรองอนุภาคขนาดเล็ก และป้องกันไม่ให้ของเหลวซึมผ่านได้ โดยบอร์ด สมอ. (คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) ได้เห็นชอบให้เป็นสินค้าควบคุมเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้ สมอ. อยู่ระหว่างการทำประชาพิจารณ์เพื่อหาข้อสรุปที่ยอมรับได้จากทุกฝ่าย คาดว่ามาตรฐานดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ภายใน ส.ค.นี้ ซึ่งผู้ประกอบการที่ทำ หรือนำเข้าสินค้าดังกล่าวจะต้องขออนุญาตจาก สมอ. ก่อนทำ หรือนำเข้า จึงขอแจ้งไปยังผู้ประกอบการให้ทราบและเตรียมตัวยื่นขอใบอนุญาตก่อนวันที่มาตรฐานจะมีผลบังคับใช้ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
“ขอยืนยันถึงความพร้อมของห้องแล็ปในประเทศ ว่ามีขีดความสามารถในการทดสอบหน้ากากอนามัยตามที่มาตรฐานกำหนดได้ครบถ้วนทุกรายการ เพื่ออำนวยความสะดวก และลดภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้ประกอบการโดยไม่ต้องส่งสินค้าไปทดสอบยังต่างประเทศ และหากผู้ประกอบการรายใดต้องการยื่นขอ มอก. สามารถยื่นคำขอออนไลน์ผ่านระบบ E-license ได้ที่ https://itisi.go.th/e-license/ ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ สมอ. ได้ออกใบอนุญาต มอก.2424-2562 หน้ากากอนามัยใช้ครั้งเดียว ระดับที่ 1 สำหรับการใช้งานทั่วไป ให้แก่บริษัท เท็กซ์ไทล์ เพรสทีจ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตหน้ากากอนามัยรายแรกของไทยที่ได้รับการรับรองคุณภาพสินค้าจาก สมอ. ภายใต้เครื่องหมายการค้า “Welcare” จึงขอฝากเตือนประชาชนให้เลือกซื้อหน้ากากอนามัยเฉพาะที่มี มอก. เท่านั้น เพื่อจะได้มั่นใจว่ามีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย” เลขาธิการ สมอ. กล่าวทิ้งท้าย
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38894 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดเกษตรฯ เปิดการอบรมหลักสูตรนักบริหารการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ระดับต้น (นบต.) รุ่นที่ 43 | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
ปลัดเกษตรฯ เปิดการอบรมหลักสูตรนักบริหารการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ระดับต้น (นบต.) รุ่นที่ 43
ปลัดเกษตรฯ เปิดการอบรมหลักสูตรนักบริหารการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ระดับต้น (นบต.) รุ่นที่ 43 มุ่งหวังให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงเกษตรฯ
ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดการอบรมหลักสูตรนักบริหารการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ระดับต้น (นบต.) รุ่นที่ 43 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 15 กุมภาพันธ์ 2564 พร้อมบรรยายพิเศษ “บทบาทหน้าที่นักบริหารการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ระดับต้น” โดยมีนายวิชัย ไตรสุรัตน์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ น.ส.ทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และนางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันเกษตราธิการ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เน้นย้ำให้ผู้เข้าร่วมการอบรมนำนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) และนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และการเชื่อมโยงตลาด เป็นต้น พร้อมทั้งมุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจะต้องเน้นการประชาสัมพันธ์เชิงรุก และเข้าถึงเกษตรกรโดยตรง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่พี่น้องเกษตรกรให้ได้มากและรวดเร็วที่สุด เพื่อให้เกษตรกรได้รับรู้ทั้งข้อดีข้อเสีย และผลประโยชน์ที่ได้รับ
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38897 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีย้ำมาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนจากสถานการณ์โควิด-19 มุ่งเน้นช่วยเหลือ เยียวยาทุกด้านอย่างครอบคลุม เผยวัคซีนโควิด-19 ได้ล็อตแรก 5 หมื่นโดส | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
นายกรัฐมนตรีย้ำมาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนจากสถานการณ์โควิด-19 มุ่งเน้นช่วยเหลือ เยียวยาทุกด้านอย่างครอบคลุม เผยวัคซีนโควิด-19 ได้ล็อตแรก 5 หมื่นโดส
นายกรัฐมนตรีย้ำมาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนจากสถานการณ์โควิด-19 มุ่งเน้นช่วยเหลือ เยียวยาทุกด้านอย่างครอบคลุม เผยวัคซีนโควิด-19 ได้ล็อตแรก 5 หมื่นโดส มอบ สธ. พิจารณาเพิ่มเติมเพื่อให้ไทยได้รับวัคซีนตามแผน
วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2564) เวลา 16.30 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ร่วมพูดคุยถึงมาตรการเยียวยาประชาชนพร้อมแสดงความห่วงใยในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ผ่าน PM PODCAST สรุปประเด็นดังนี้
ในช่วงแรกนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดยมุ่งเน้นการป้องกัน ดูแล ช่วยเหลือ เยียวยา ในทุกด้านอย่างครอบคลุม โดยเฉพาะมาตรการเราชนะ ที่จะดูแลผู้ประกอบอาชีพอิสระ หาบเร่ แผงลอย เกษตรกร รวมถึงผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่สามารถดูแลตนเองได้ในช่วงสถานการณ์ดังกล่าว ขณะเดียวกันในการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงเงื่อนไขโครงการเราชนะ ขยายขอบเขตผู้ประกอบการ ร้านค้าหรือบริการที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ทั้งร้านธงฟ้า ร้านค้าในโครงการคนละครึ่ง ผู้ประกอบการของกองทุนหมู่บ้าน วิสาหกิจชุมชนที่มีสถานประกอบการเป็นหลักแหล่ง หรือเป็นผู้ให้บริการประเภทรถที่สามารถตรวจสอบได้ รวมถึงผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะที่ไม่ได้เป็นนิติบุคคล และกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะ อีกทั้งได้เห็นชอบในหลักการให้ช่วยเหลือผู้ประกันตนมาตรา 33 ซึ่งจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรียังชี้แจงกรณีการเรียกคืนเบี้ยผู้สูงอายุ โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง และชะลอการเรียกเก็บเบี้ยดังกล่าวก่อน
สำหรับความคืบหน้าวัคซีนโควิด-19 รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อให้ได้วัคซีนบางส่วนเร็วขึ้น ในเบื้องต้นคาดจะได้มาก่อนประมาณ 5 หมื่นโดส ฉีดให้แก่บุคลากรด่านหน้า สาธารณสุข บุคลากรในพื้นที่เสี่ยง และขยายไปยังส่วนอื่น ๆ โดยนายกรัฐมนตรีย้ำว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ และมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขไปพิจารณาเพิ่มเติม ให้ประเทศไทยได้รับวัคซีนตามแผนที่กำหนดไว้ทั้งในส่วนที่จองไปแล้ว และจัดหาเพิ่มเติมจากประเทศอื่นที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา นอกจากนี้ยังได้สั่งการให้จัดทำแผนแจกจ่ายวัคซีนทุกกลุ่มประชาชนตามความเสี่ยง รวมทั้งแผนการขนส่งในพื้นที่ห่างไกล พร้อมย้ำว่าภาคเอกชนสามารถนำเข้าวัคซีนได้โดยจะต้องได้รับการอนุญาตและรับรองจากองค์การอาหารและยาด้วย
ในตอนท้ายนายกรัฐมนตรีตอบคำถามประชาชนกรณีผู้ลงทะเบียนโครงการเราชนะที่ไม่มีสมาร์ทโฟนว่า ในกลุ่มดังกล่าวส่วนใหญ่จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มของผู้ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งจะได้รับเงินอัตโนมัติ ส่วนผู้ที่ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและไม่มีสมาร์ทโฟน สามารถลงทะเบียนได้ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป
สำหรับการเปิดการเรียนการสอนเด็กเล็กในช่วงสถานการณ์โควิด-19 กระทรวงศึกษาธิการต้องมีมาตรการความปลอดภัยที่เข้มข้น เช่น การคัดกรองจุดรับ-ส่ง การปฏิบัติตัวของเด็กและครู การจัดการสภาพแวดล้อม ให้ดำเนินการอย่างรัดกุมมากที่สุด ในส่วนของค่าเทอมที่เป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 กระทรวงศึกษาธิการได้มีแนวทางอย่างชัดเจนในการคืนให้บางส่วน ซึ่งจะเป็นข้อตกลงกันระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง โดยแนวทางดังกล่าวสามารถใช้ได้ทั้งโรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชน
…………………………………
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38912 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มหาดไทยประชุมอนุกรรมการป้องกันยาเสพติด เร่งบูรณาการทุกหน่วยงานขับเคลื่อนป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
มหาดไทยประชุมอนุกรรมการป้องกันยาเสพติด เร่งบูรณาการทุกหน่วยงานขับเคลื่อนป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
มหาดไทยประชุมอนุกรรมการป้องกันยาเสพติด เร่งบูรณาการทุกหน่วยงานขับเคลื่อนป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
วันนี้ (5 ก.พ. 64) เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมชิดชัย วรรณสถิตย์ อาคาร 2 ชั้น 3 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) นายชยาวุธ จันทร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน ได้รับมอบหมายจากนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันยาเสพติด ครั้งที่ 1/2564 โดยมี นายวีระ แข็งกสิการ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายธนากร คัยนันท์ รองเลขาธิการ ป.ป.ส. และคณะอนุกรรมการป้องกันยาเสพติด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม
นายชยาวุธ จันทร เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการป้องกันยาเสพติดเป็นคณะอนุกรรมการภายใต้ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ (ศอ.ปส.) ทำหน้าที่ในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ ประสานหน่วยงานเพื่อบูรณาการมาตรการและแนวทางการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด มุ่งเน้นขับเคลื่อนงานป้องกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มแรงงาน และกลุ่มประชาชนทั่วไป ภายใต้แนวทางการป้องกันยาเสพติดในแต่ละกลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสมและเป็นรูปธรรม การปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวชายแดนและการพัฒนาทางเลือก ซึ่งการประชุมในวันนี้ ได้มีการพิจารณากำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อาทิ การปรับกิจกรรมการให้ความรู้เป็นรูปแบบออนไลน์ เพื่อลดโอกาสการพบปะของกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก และในกรณีมีความจำเป็นต้องจัดการอบรม ต้องดำเนินการตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด อาทิ รักษาระยะห่าง จัดสถานที่ไม่ให้แออัดหนาแน่น และลดจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมแต่เพิ่มจำนวนรุ่นแทน โดยมุ่งหวังให้ประชาชนทั้ง 3 กลุ่ม สามารถป้องกันตนเองและไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด รวมทั้งพิจารณากรอบแนวทาง จุดเน้น เป้าหมาย และตัวชี้วัดการดำเนินงาน มีเป้าหมายเพื่อลดประชากรวัยเสี่ยงสูง (อายุ 15-24 ปี) และประชากรวัยเสี่ยง (3-29 ปี) ให้ได้รับการสร้างภูมิคุ้มกัน รวมทั้งเกิดการจัดการเพื่อเสริมสร้างให้มีพื้นที่ปลอดภัยในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดยาเสพติด และลดผลกระทบจากยาเสพติดต่อผู้เสพและสังคม
สำหรับจุดเน้นการดำเนินงานแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ 1) สร้างกระแสสังคมให้ตื่นตัวและมีส่วนร่วมป้องกันยาเสพติดด้วยการรณรงค์ในวงกว้างผ่านช่องทางทุกรูปแบบ 2) สร้างพื้นที่ปลอดภัยในชุมชน สถานศึกษา สถานประกอบการ เพื่อป้องกันกลุ่มเสี่ยงให้ปลอดภัยยาเสพติด 3) สร้างเทคโนโลยีเชื่อมโยงกับผู้นำชุมชนเพื่อเป็นช่องทางการกระจายข้อมูล รับทราบปัญหาและแลกเปลี่ยนข้อมูล และ 4) ปรับรูปแบบอบรมกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องตามมาตรการป้องกันโควิด-19
สุดท้าย นายชยาวุธ จันทร ได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานปรับแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและเหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รวมทั้งได้มอบหมายให้กรมการปกครองพิจารณาบูรณาการการจัดระเบียบสังคมควบคู่กับการเฝ้าระวังและสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในพื้นที่อีกด้วย
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38914 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บีโอไอ - สวทช. ต่อยอดเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการแพทย์ | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
บีโอไอ - สวทช. ต่อยอดเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการแพทย์
นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ (ที่ 4 จากซ้าย) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่บีโอไอ ได้หารือเรื่องการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ (Technology Localization)
สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ และการพัฒนาแพลตฟอร์มTelemedicineร่วมกับคณะผู้บริหารของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำโดย ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ รองผู้อำนวยการ สวทช.ณ สำนักงานบีโอไอ ถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อเร็วๆ นี้
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38898 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม โดยกรมราชทัณฑ์ ร่วมมือการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คืนคนดีสู่สังคม หนุนสร้างงาน-สร้างอาชีพ ให้เป็นผู้ประกอบการใหม่ | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
กระทรวงยุติธรรม โดยกรมราชทัณฑ์ ร่วมมือการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คืนคนดีสู่สังคม หนุนสร้างงาน-สร้างอาชีพ ให้เป็นผู้ประกอบการใหม่
กระทรวงยุติธรรม โดยกรมราชทัณฑ์ ร่วมมือการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คืนคนดีสู่สังคม หนุนสร้างงาน-สร้างอาชีพ ให้เป็นผู้ประกอบการใหม่
ในวันศุกร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๑๐ - ๐๑ อาคารที่ทำการกระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร กระทรวงยุติธรรม โดยกรมราชทัณฑ์ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพื่อคืนคนดีสู่สังคมในระบบงานภาคนิคมอุตสาหกรรม โดยมีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมเป็นสักขีพยาน พร้อมด้วยว่าที่ร้อยตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม นายธนวัชร นิติกาญจนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้บริการกระทรวงยุติธรรมและผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมงาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ เป็นการส่งเสริมการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษเพื่อคืนคนดีสู่สังคม กรมราชทัณฑ์มีแนวความคิดพัฒนาพฤตินิสัย เพื่อคืนคนดีสู่สังคมอย่างยั่งยืน เป็นการให้ความหวังกับผู้ที่กระทำผิดให้ได้รับโอกาสเพื่อกลับคืนสังคม และเป็นการพัฒนาฝีมือแรงงานทดแทนแรงงานที่ขาดแคลนในปัจจุบัน ไม่ต้องนำเข้าแรงงานต่างชาติ ลดการขาดแคลนแรงงาน และเป็นการสร้างแรงงานทางเลือก รวมถึงการแก้ปัญหาความแออัดในเรือนจำ และสร้างสุขภาวะที่ดีแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำ โดยมีการตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ชั่วคราวที่ เรือนจำชั่วคราวบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เป็นเรือนจำนำร่อง มีการฝึกอาชีพงานอุตสาหกรรม เช่น เฟอร์นิเจอร์ งานโลหะ หัตถกรรมและเกษตรแปรรูป เป็นต้น
วันนี้เป็นจุดเริ่มต้นความร่วมมือระหว่างทั้ง ๒ หน่วยงานที่จะสร้างวัฒนธรรมการให้โอกาส จุดประกายความหวังและสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับพลเมืองในอนาคต รวมทั้งการแก้ปัญหาการนำเข้าแรงงาน และเป็นการสนับสนุนงานราชทัณฑ์และกระทรวงยุติธรรม ในเรื่องของการคืนคนดีสู่สังคม การส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นการส่งเสริมงานฝีมือของผู้ต้องขังให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างนักออกแบบกับผู้ผลิต ผู้ค้า เพื่อให้ตรงความต้องการของตลาด ซึ่งปัจจุบันนี้กระทรวงยุติธรรม มีไม้มีค่าที่ยึดมาจากเครือข่ายยาเสพติด ซึ่งมีความจำเป็นในเรื่องการออกแบบเพื่อขายและทำรายได้เข้าสู่กองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้พ้นโทษและนำเงินเหล่านั้นเข้าสนับสนุน นิคมอุตสาหกรรม นี่คือแนวทางของกระทรวงยุติธรรม ทั้งนี้ตนในนามของกระทรวงยุติธรรมขอขอบคุณกระทรวงอุตสาหกรรมที่ช่วยให้เกิดงานในวันนี้ ซึ่งจะเป็นตัวอย่างการบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐต่อไป
------------------------------------------
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38907 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ.เป็นประธานแถลงข่าวการเปิดรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรมประจำปี ๒๕๖๔ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
รมว.วธ.เป็นประธานแถลงข่าวการเปิดรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรมประจำปี ๒๕๖๔ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
รมว.วธ.เป็นประธานแถลงข่าวการเปิดรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรมประจำปี ๒๕๖๔ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานแถลงข่าวการเปิดรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรมประจำปี ๒๕๖๔ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยมี ดร.ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กรรมการกองทุนฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้สนใจยื่นข้อเสนอโครงการ และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ รัชดาภิเษก
ทั้งนี้กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขอรับการสนับสนุนเงิน ประจำปี ๒๕๖๔ โดยจะเปิดรับโครงการหรือกิจกรรม ตั้งแต่บัดนี้ ถึง ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ภายในเวลา ๑๖.๓๐ น. ทางเว็บไซต์ www.thaimediafund.or.th
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38916 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ครั้งที่ 2/2564 | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
การประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ครั้งที่ 2/2564
การประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ครั้งที่ 2/2564
นายอำพันธุ์เวฬุตันติรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ครั้งที่2/2564ณห้องประชุมกรมส่งเสริมสหกรณ์เทเวศร์กรุงเทพมหานครโดยมีนายวิศิษฐ์ศรีสุวรรณ์รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ผู้แทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงการคลังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติและคณะทำงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาหารือข้ออุทธรณ์ตามระเบียบว่าด้วยการพิจารณาอุทธรณ์พ.ศ. 2563จำนวน2เรื่อง
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38925 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วธ.ผนึกศิลปินอนุรักษ์และสืบสานบทเพลงไทยลูกกรุง สร้างความสุขและกำลังใจช่วงสถานการณ์โควิด-19 จัด“กิจกรรมส่งความสุขด้วยเพลงออนไลน์” | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
วธ.ผนึกศิลปินอนุรักษ์และสืบสานบทเพลงไทยลูกกรุง สร้างความสุขและกำลังใจช่วงสถานการณ์โควิด-19 จัด“กิจกรรมส่งความสุขด้วยเพลงออนไลน์”
วธ.ผนึกศิลปินอนุรักษ์และสืบสานบทเพลงไทยลูกกรุง สร้างความสุขและกำลังใจช่วงสถานการณ์โควิด-19 จัด“กิจกรรมส่งความสุขด้วยเพลงออนไลน์”
วธ.ผนึกศิลปินอนุรักษ์และสืบสานบทเพลงไทยลูกกรุง สร้างความสุขและกำลังใจช่วงสถานการณ์โควิด-19 จัด“กิจกรรมส่งความสุขด้วยเพลงออนไลน์”
ศิลปินแห่งชาติ-ศิลปินเพลงไทยลูกกรุงร่วมขับขาน รับชมกิจกรรม 9 ก.พ.นี้
ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยผ่านไลฟ์สดและยูทูปของสป.วธ.-สถานีทีวีไอพีเอ็ม
นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(รมว.วธ.)เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายในการรักษาและหวงแหนมรดกทางวัฒนธรรมด้วยการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความสำนึกรักและหวงแหนในมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการรักษามรดกทางวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น โดยส่วนหนึ่งได้มีการส่งเสริม อนุรักษ์และสืบสานบทเพลงไทยสากลอมตะ(ไทยลูกกรุง)อันทรงคุณค่าทางภาษาไทยและกำลังจะสูญหายไปจากสังคมไทย เนื่องจากเพลงไทยสากลอมตะ(ไทยลูกกรุง)เป็นบทเพลงที่มีเนื้อหาคำร้องที่มีความงดงามของภาษาไทยและมีวิธีการขับร้องที่ถูกต้องและชัดเจนตามหลักภาษาไทย ดังนั้น วธ.โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (สป.วธ.)ได้ร่วมกับโครงการอนุรักษ์และสืบสานบทเพลงไทยสากลอมตะ จัด“กิจกรรมส่งความสุขด้วยเพลงออนไลน์”ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 14.00 – 17.00 น. ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อ ส่งเสริมภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ อนุรักษ์และสืบสานเพลงไทยสากลอมตะ(ไทยลูกกรุง) รวมทั้งเป็นการสร้างความสุขและสร้างกำลังใจให้แก่คนไทยด้วยการจัดคอนเสิร์ตเพลงไทยลูกกรุงแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ (new normal) ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งไม่ว่าอยู่ในพื้นใดก็สามารถรับชมได้สอดคล้องกับมาตรการควบคุมและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด-19)
นายอิทธิพล กล่าวอีกว่า กิจกรรมดังกล่าวมีศิลปินแห่งชาติ ศิลปินเพลงไทยลูกกรุงในอดีตถึงปัจจุบัน ได้แก่ ธนิศร์ ศรีกลิ่นดี ศิลปินแห่งชาติ ธานินทร์ อินทรเทพ รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส โฉมฉาย อรุณฉาน จิตติมา เจือใจ อุมาพร บัวพึ่ง ศุภาชัย ผ่องสวัสดิ์ อุไรวรรณ ทรงงาม วีระ บำรุงศรี เจินเจิน บุญสูงเนิน อุเทน พรหมมินทร์ นฤมล สมหวัง แอ็ค-โชคชัย หมู่มาก สปาย-ภาสกร รุ่งเรืองเดชาภัทร์และอลิส-ธนัชศลักษณ์ ฮัดสัน มาขับร้องบทเพลงไทยสากลอมตะ(ไทยลูกกรุง)ทั้งบทเพลงแห่งความรักบทเพลงส่งความสุขตรุษจีนและบทเพลงคติธรรมมาฆบูชา ซึ่งเป็น 3 เทศกาลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้ โดยสามารถรับชมผ่านการไลฟ์สดของกระทรวงวัฒนธรรมได้ที่https://www.facebook.com/ThaiMCulture/ และรับชมผ่านทางยูทูป Channel:สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นอกจากนี้ ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทป่าสักวิลเลจ จำกัดในการถ่ายทอดสดโดยรับชมได้ที่สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมไอพีเอ็ม ซึ่งรับชมได้ในระบบจานดำ PSI ทั่วโลก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวด้วยว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ เอกชนและภาคประชาสังคมในการส่งเสริมการเผยแพร่และอนุรักษ์บทเพลงไทยสากลอมตะ(ลูกกรุง)ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของไทยให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางยิ่งขึ้นและเพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และร่วมกันสืบสานรักษาให้คงอยู่กับชาติไทยต่อไป
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38896 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กนอ.-กรมราชทัณฑ์ ร่วมคืนคนดีสู่สังคม หนุนสร้างงาน-สร้างอาชีพ ให้เป็นผู้ประกอบการใหม่! | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
กนอ.-กรมราชทัณฑ์ ร่วมคืนคนดีสู่สังคม หนุนสร้างงาน-สร้างอาชีพ ให้เป็นผู้ประกอบการใหม่!
กนอ.และ กรมราชทัณฑ์ ประกาศเจตนารมณ์ร่วมในการส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้เป็นผู้ประกอบการใหม่ พร้อมยกระดับฝีมือแรงงานสู่การเป็นแรงงานคุณภาพ ลดปัญหาการลักลอบนำเข้าแรงงานข้ามชาติ สร้างความมั่นคงทางแรงงานไทยได้ในอนาคต
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวภายหลังร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพื่อคืนคนดีสู่สังคมในระบบงานภาคนิคมอุตสาหกรรม ระหว่าง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม โดยนางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการ กนอ.กับ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม โดยนายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ 2 หน่วยงานในการร่วมกันสร้างสรรค์ให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการให้โอกาสกับผู้ที่เคยก้าวพลาดในชีวิตให้กลับมามีชีวิตใหม่และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยร่วมกับกรมราชทัณฑ์ในการเป็นตัวกลางประสานและประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการให้โอกาสแก่ผู้ก้าวพลาดในสถานประกอบการ สนับสนุนให้มีการจ้างงานที่เป็นแรงงานผู้ต้องขัง ให้มีการพัฒนาทักษะด้านอาชีพ มีการพัฒนายกระดับฝีมือแรงงาน ตลอดจนเป็นการสร้างผู้ประกอบการใหม่ และสร้างงาน สร้างรายได้ในอนาคต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้อัตราการกระทำผิดซ้ำลดลง และเป็นการคืนคนดีสู่สังคมอย่างยั่งยืน
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า การคืนคนดีสู่สังคมอย่างยั่งยืนและการให้ความหวังแก่ผู้ที่เคยกระทำผิดที่มีความพร้อมและความตั้งใจกลับตนเป็นคนดีให้ได้รับโอกาสและพื้นที่ยืนจากสังคมอีกครั้ง ด้วยการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และฝึกทักษะอาชีพให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพสามารถรองรับและสนับสนุนความต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อันเป็นการสร้างเสริมเสถียรภาพความมั่นคงทางด้านแรงงาน ลดการพึ่งพิงการนำเข้าของแรงงานข้ามชาติทั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายและลักลอบเข้ามาอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านการสาธารณสุขสุขภาวะต่างๆ อีกทั้งเมื่อต้องมีมาตรการผลักดันแรงงานข้ามชาติออกไปอาจส่งผลกระทบให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในระบบเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางได้ ทั้งนี้ กรมราชทัณฑ์ ได้เชิญชวนผู้ประกอบการมาลงทุนให้ผู้ต้องขังได้ฝึกอาชีพ ซึ่งมีเรือนจำชั่วคราวบ้านบึง สังกัดเรือนจำกลางชลบุรี เป็นเรือนจำนำร่องแห่งแรก นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมให้มีการฝึกทักษะอาชีพในระบบงานอุตสาหกรรม อาทิ 1.กลุ่มประกอบชิ้นส่วนยาง 2.กลุ่มประกอบเฟอร์นิเจอร์ 3. กลุ่มงานโลหะ/งานเชื่อม และประกอบชิ้นส่วนโลหะเป็นผลิตภัณฑ์ 4.กลุ่มอาชีพฝีมือหัตถกรรม และ 5.กลุ่มอาชีพเกษตรแปรรูป เป็นต้น
นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า กรมราชทัณฑ์ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ คุณสมบัติในการคัดเลือกผู้ร่วมโครงการ เพื่อรองรับและส่งต่อระบบงานภาคนิคมอุตสาหกรรม โดยเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ อย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่อยู่ในเรือนจำ/ทัณฑสถาน ได้แก่ การคัดกรอง/จำแนกบุคคลความต้องการทำงาน ทักษะความชำนาญการฝึกทักษะอาชีพ การยกระดับฝีมือแรงงาน รวมถึงทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อรองรับและส่งต่อให้กับระบบงานภาคนิคมอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการใช้แรงงานที่ไม่ถูกต้อง ไม่ปลอดภัยจากต่างประเทศและสร้างความเชื่อมั่นด้านการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ส่งเสริมการฝึกอาชีพแรงงานและร่วมมือในการจัดโครงการ/หลักสูตรฝึกอาชีพในสาขาขาดแคลน หรือที่ต้องพึ่งพิงแรงงานต่างด้าวภายในเรือนจำ/ทัณฑสถาน เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กนอ.
นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการ กนอ.กล่าวว่า กนอ. มีความพร้อมประสานกับสถานประกอบการที่อยู่ในการกำกับของ กนอ. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและฝึกทักษะการทำงานให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลโครงการฯให้กับผู้ประกอบการที่อยู่ในกำกับของ กนอ.เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และเปิดใจยอมรับและให้โอกาส ขณะเดียวกันได้ประสานไปยังสถานประกอบการ/นิคมอุตสาหกรรม ที่ยังมีพื้นที่เหลือหรือยังมีศักยภาพให้ใช้เป็นพื้นที่ในการฝึกอาชีพ ส่งเสริมทักษะการทำงาน และการพัฒนาแรงงานทางเลือก และสนับสนุน ส่งเสริมกิจกรรมตามภารกิจด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงยุติธรรมอันเป็นการยกระดับการพัฒนาองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ร่วมกัน
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38910 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-IOC ยก ไทย ต้นแบบจัดแข่งกีฬา รับมือโควิดยอดเยี่ยม | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
IOC ยก ไทย ต้นแบบจัดแข่งกีฬา รับมือโควิดยอดเยี่ยม
...
ปิดฉากลงแล้ว กับศึกแบดมินตันครั้งประวัติศาสตร์
ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน
3 รายการใหญ่ระดับโลก ติดต่อกัน 3 สัปดาห์
มีนักกีฬาและทีมจาก 23 ประเทศ กว่า 832 คน เข้าร่วม
ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี ตลอดเดือนม.ค. ที่ผ่านมา
.
แม้เป็นช่วงที่ยังมีสถานการณ์ของโรคโควิด-19
แต่ด้วยมาตรการกำกับดูแล ด้านความปลอดภัยที่เข้มงวด
ทำให้ประเทศไทยสามารถจัดการแข่งขันได้เป็นอย่างดี
.
ล่าสุด นาย โธมัส บาค ปธ.คกก. โอลิมปิกสากล (IOC)
ได้แสดงความชื่นชมมายังรัฐบาลไทย ระบุว่า
การจัดการแข่งขันของไทย
นับเป็นต้นแบบการจัดแข่งขันกีฬาที่มีประสิทธิภาพ
ในช่วงที่ยังมีการระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลก
.
โดยเฉพาะสถานที่กักตัวรูปแบบเฉพาะองค์กร
และใช้ระบบ Bubble and Seal ดูแลผู้เข้าร่วมแข่งขัน
ด้วยการจำกัดการเดินทาง การซ้อมในพื้นที่เฉพาะ
ไม่อนุญาตให้แฟนแบดมินตัน
และผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในสนามโดยเด็ดขาด
เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของทุกคน
.
พร้อมขอให้ประเทศไทย
ช่วยส่งต้นแบบการจัดแบดมินตัน
โดยเฉพาะรายละเอียดมาตรการดูแลผู้เข้าร่วมแข่งขัน
ให้กับนาย จอห์น โคท ปธ.คกก.ประสานงานโอลิมปิก โตเกียว 2020
โดยเชื่อมั่นว่า จะมีประโยชน์อย่างมากกับ โตเกียวเกมส์
ที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนก.ค. นี้
.
นับเป็นเรื่องดี ๆ ที่ต้องยกเครดิตให้ทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ที่ทำให้การแข่งขันครั้งนี้ ประสบความสำเร็จ
และประเทศไทยได้รับการยอมรับ
ในการจัดการสถานการณ์โควิด-19 ได้อย่างยอดเยี่ยม
#ไทยคู่ฟ้า #รวมไทยสร้างชาติ #ร่วมต้านโควิด19
-------------------
อัลบั้มภาพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชวนร้านธงฟ้า - คนละครึ่ง รีบอัปเดตแอป “ถุงเงิน”
จ้างงานเยาวชน-ประชาชน พัฒนา 3 พันตำบล
ปรับเกณฑ์ "เราชนะ" ใหม่ งดซื้อทอง เพิ่มสามล้อถีบร่วมได้
เพิ่มสิทธิบัตรทอง 2 รายการ ช่วยเหลือเด็กหูหนวก
พุ่งเกิน 8 ล้าน “เราชนะ” เตรียมตรวจสอบสิทธิ 8 ก.พ.
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38893 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สำนักงานสลากฯ เตือนตัวแทนจำหน่ายและผู้ซื้อจองล่วงหน้าฯ ห้ามนำสลากไปขายส่งหรือขายต่อ ย้ำขายสลากเกินราคาเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
สำนักงานสลากฯ เตือนตัวแทนจำหน่ายและผู้ซื้อจองล่วงหน้าฯ ห้ามนำสลากไปขายส่งหรือขายต่อ ย้ำขายสลากเกินราคาเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
สำนักงานสลากฯ ขอเตือนตัวแทนจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล และผู้ซื้อจองล่วงหน้าฯ การนำสลากไปขายต่อผ่านเว็บไซต์เหล่านั้น เป็นการกระทำที่ผิดเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา และหลักเกณฑ์ในการรับสลากไปจำหน่าย ตามที่กำหนดให้ตัวแทนจำหน่ายและผู้ซื้อจองล่วงหน้าฯ
วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2564) เวลา 15.00 น. ที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ต.อ.บุญส่ง จันทรีศรี ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กล่าวต่อผู้สื่อข่าวกรณีที่มีการนำสลากกินแบ่งรัฐบาล ไปโพสต์ขายผ่านเครือข่าวสังคมออนไลน์หน้าเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งกำลังอยู่ในความสนใจว่า สำนักงานสลากฯ ขอเตือนตัวแทนจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล และผู้ซื้อจองล่วงหน้าฯ การนำสลากไปขายต่อผ่านเว็บไซต์เหล่านั้น เป็นการกระทำที่ผิดเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา และหลักเกณฑ์ในการรับสลากไปจำหน่าย ตามที่กำหนดให้ตัวแทนจำหน่ายและผู้ซื้อจองล่วงหน้าฯ มีหน้าที่ต้องไปขายด้วยตนเองทุกงวดตลอดอายุสัญญา และต้องขายในลักษณะขายปลีกให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงเท่านั้น ห้ามนำไปขายส่ง หรือขายให้แก่ผู้ที่ซื้อสลากเพื่อนำไปขายต่อเป็นอันขาด หากตรวจพบว่าไม่ได้ขายด้วยตนเองจะถือว่าผิดสัญญา และสำนักงานฯ จะบอกเลิกสัญญา รวมถึงยกเลิกสิทธิการลงทะเบียน กรณีเป็นผู้ซื้อจองล่วงหน้า และผู้ที่จำหน่ายสลากเกินราคา มีความผิดตามกฎหมายระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
พร้อมกันนั้น ขอเตือนให้ผู้ซื้อสลากเพิ่มความระมัดระวังในการซื้อสลากผ่านระบบการจำหน่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยหากซื้อไปแล้วแต่ไม่ได้รับใบสลากมาไว้ในครอบครอง เมื่อถูกรางวัล อาจไม่สามารถนำสลากขอรับเงินรางวัลได้ ในส่วนการดำเนินการกับเว็บไซต์ต่างๆ นั้น ขณะนี้สำนักงานฯ กำลังอยู่ระหว่างรวบรวมข้อเท็จจริง หากพบว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
พ.ต.อ.บุญส่งกล่าวว่า ยังได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบการจำหน่ายสลากทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง เพื่อเก็บข้อมูลพฤติกรรมการจำหน่าย ตรวจสอบราคา รวมถึงการทำสลากรวมชุดเพื่อนำมาพิจารณาลงโทษยกเลิกการเป็นตัวแทนจำหน่าย หากมีการนำสลากฯไปขายต่อทำกำไร หรือผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญา
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38915 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ หารือเอกอัครราชทูตกาตาร์ประจำประเทศไทย พร้อมสนับสนุนความร่วมมือด้านพลังงาน การท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
นายกฯ หารือเอกอัครราชทูตกาตาร์ประจำประเทศไทย พร้อมสนับสนุนความร่วมมือด้านพลังงาน การท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน
นายกฯ หารือเอกอัครราชทูตกาตาร์ประจำประเทศไทย พร้อมสนับสนุนความร่วมมือด้านพลังงาน การท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน
วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2564) เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีงาช้าง ทำเนียบรัฐบาล นายอะห์มัด อะลี เอ.เจ. อัตตะมีมี (Ahmed Ali A. J. Al-Tamimi) เอกอัครราชทูตรัฐกาตาร์ประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเข้ารับหน้าที่ โดยภายหลังการหารือ นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้
นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีที่เอกอัครราชทูตรัฐกาตาร์ฯ เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เชื่อมั่นว่าเอกอัครราชทูตรัฐกาตาร์ฯ จะส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย-กาตาร์ ที่ดำเนินมาอย่างราบรื่น ให้พัฒนาความร่วมมือขึ้นในทุกมิติ โดยเฉพาะทางด้านพลังงาน การลงทุน การท่องเที่ยว และดิจิทัล ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ไทยและกาตาร์มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยนายกรัฐมนตรีได้มีโอกาสหารือกับผู้แทนระดับสูงของกาตาร์ครั้งล่าสุดในการเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกาตาร์เมื่อปี 2562 หวังว่าเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดีขึ้น ทั้งสองฝ่ายจะได้แลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันอีก
ด้านเอกอัครราชทูตรัฐกาตาร์ฯ กล่าวขอบคุณสำหรับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากรัฐบาล และยืนยันจะสานต่อความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศที่มีมายาวนานกว่า 40 ปี ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และพลังงาน รวมทั้งผลักดันความร่วมมือระหว่างไทยและกาตาร์ที่ยังคั่งค้างให้ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตรัฐกาตาร์ฯ ยังกล่าวชื่นชมความสำเร็จของรัฐบาลในการจัดการกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และยินดีร่วมมือกับไทยฝ่าวิกฤตินี้ไปด้วยกัน ด้านนายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณกาตาร์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกชาวไทยในกาตาร์เดินทางกลับประเทศไทยช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และแสดงความยินดีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในกาตาร์ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมชื่นชมมาตรการควบคุมโรคของกาตาร์และ ความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนของกาตาร์
โอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายเน้นย้ำที่จะผลักดันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและพลังงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกัน ซึ่งนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า กาตาร์เป็นพันธมิตรด้านการค้า การลงทุน และแหล่งพลังงานที่สำคัญของไทยในตะวันออกกลาง หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากาตาร์จะสนับสนุนภาคเอกชนไทยที่มีความสนใจทำการค้าการลงทุนกับกาตาร์ พร้อมยินดีที่กาตาร์สนใจที่จะเข้ามาลงทุนใน EEC จึงขอให้เอกอัครราชทูตรัฐกาตาร์ฯ หารือในรายละเอียดกับกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อผลักดันความร่วมมือด้านการลงทุนระหว่างกัน ด้านเอกอัครราชทูตรัฐกาตาร์ฯ ยินดีที่จะมีส่วนช่วยสนับสนุนให้การเพิ่มการลงทุนระหว่างกันเพิ่มมูลมากยิ่งขึ้น
ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันด้านการท่องเที่ยว โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจทั่วโลก ไทยพยายามที่จะบรรเทาผลกระทบดังกล่าว โดยได้เริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวทุกสัญชาติ แต่จะต้องดำเนินการตามมาตรการด้านการควบคุมโรคตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หวังเป็นอย่างยิ่งว่า นักท่องเที่ยวชาวกาตาร์จะเดินทางกลับเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยอีกครั้ง ซึ่งเอกอัครราชทูตรัฐกาตาร์ฯ ยินดีที่จะผลักดันความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของทั้งสองฝ่ายต่อไป
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38906 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 29 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2564 | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 29 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2564
ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 29 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2564 พบการกระทำผิด จำนวน 555 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 9.85 ล้านบาท
นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ได้ดำเนินงานตามมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และจูงใจผู้ที่อยู่นอกระบบให้เข้ามาสู่ระบบภาษี ซึ่งที่ผ่านมา กรมสรรพสามิตได้จัดทำแผนเฉพาะกิจปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตโดยระดมกำลังเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจจากสำนักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต พื้นที่ทั่วประเทศพร้อมสนธิกำลังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพื้นที่เป้าหมายที่คาดว่าอาจมีการกระทำผิด เพื่อสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และ ความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการที่เสียภาษีโดยสุจริต และเพื่อเป็นมาตรการเสริมทางอ้อมในการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคให้บริโภคสินค้าที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน
สำหรับผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตทั่วประเทศ ปีงบประมาณ 2564 (ระหว่างวันที่ 29 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2564) พบว่ามีการกระทำผิด จำนวน 555 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 9.85 ล้านบาท โดยแยกเป็น สุรา จำนวน 293 คดี ค่าปรับ 3.18 ล้านบาท ยาสูบ จำนวน 186 คดี ค่าปรับ 2.96 ล้านบาท ไพ่ จำนวน 17 คดี ค่าปรับ 0.23 ล้านบาท น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 20 คดี ค่าปรับ 1.91 ล้านบาท น้ำหอม จำนวน 2 คดี ค่าปรับ 0.05 ล้านบาท รถจักรยานยนต์ จำนวน 23 คดี ค่าปรับ 0.68 ล้านบาท และสินค้าอื่น ๆ จำนวน 14 คดี ค่าปรับ 0.84 ล้านบาท โดยมีของกลางแยกเป็นน้ำสุรา จำนวน 1,672.978 ลิตร ยาสูบ จำนวน 5,319 ซอง ไพ่ จำนวน 1,759 สำรับ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 56,825.000 ลิตร น้ำหอม จำนวน 4,240 ขวด รถจักรยานยนต์ จำนวน 36 คัน
สรุปยอดรวมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 4 กุมภาพันธ์ 2564 พบว่ามีการกระทำผิด จำนวน 10,150 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 187.04 ล้านบาท โดยแยกเป็น สุรา จำนวน 5,731 คดี ค่าปรับ 52.85 ล้านบาท ยาสูบ จำนวน 3,044 คดี ค่าปรับ 69.97 ล้านบาท ไพ่ จำนวน 239 คดี ค่าปรับ 2.98 ล้านบาท น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 413 คดี ค่าปรับ 27.74 ล้านบาท น้ำหอม จำนวน 39 คดี ค่าปรับ 1.70 ล้านบาท รถจักรยานยนต์ จำนวน 471 คดี ค่าปรับ จำนวน 12.48 ล้านบาท และสินค้าอื่น ๆ จำนวน 213 คดี ค่าปรับ 19.32 ล้านบาท โดยมีของกลางแยกเป็นน้ำสุรา จำนวน 255,738.619 ลิตร ยาสูบ จำนวน 221,055 ซอง ไพ่ จำนวน 17,699 สำรับ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 828,691.000 ลิตร น้ำหอม จำนวน 86,656 ขวด รถจักรยานยนต์ จำนวน 684 คัน
“หากประชาชนท่านใดทราบเบาะแสการกระทำความผิดเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตสามารถแจ้งโดยตรงได้ที่กรมสรรพสามิต หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ Call center 1713 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ www.excise.go.th ซึ่งกรมสรรพสามิตจะปกปิดข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสเป็นความลับ และจะมอบสินบนนำจับให้ ภายหลังจากคดีเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว”
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมสรรพสามิต
โทร/โทรสาร 0 2241 4778
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38900 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดเกษตร ประชุมหารือแนวทางการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
ปลัดเกษตร ประชุมหารือแนวทางการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ปลัดเกษตร ประชุมหารือแนวทางการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมมอบหมายให้ทุกหน่วยงานในสังกัด จัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบหลัก และจัดทำฐานข้อมูล เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินโครงการฯ ร่วมกัน
ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมและบรรยายพิเศษแนวทางการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และถ่ายทอดสัญญาณประชุมออนไลน์ไปยังหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคผ่านระบบ Zoom Meeting ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า การประชุมและบรรยายพิเศษในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (นายดนุชา สินธวานนท์) มาถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้กับผู้ปฏิบัติงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ได้รับรู้องค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ ทั้งประวัติความเป็นมา ที่มาและลักษณะของโครงการฯ รวมถึงขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน เพื่อนำไปพัฒนาระบบและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ที่เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ยังเปิดโอกาสให้หน่วยงานในสังกันกระทรวงเกษตรฯ ได้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำไปขับเคลื่อนและสนองงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมกำหนดแนวทางการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป
ดร.ทองเปลว กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นอับดับต้น จึงได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการฯ โดยให้จัดตั้งกองหรือสำนัก เพื่อรับผิดชอบโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกประเภทของหน่วยงานตน และถ้ามีการจัดตั้งกองหรือสำนักที่รับผิดชอบโครงการฯ แล้ว ให้ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูล โดยใช้ระบบเดียวกันทุกหน่วยงาน และแจ้งให้กระทรวงฯ ทราบอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งหน่วยงานจะต้องเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการฯ ที่แล้วเสร็จหรือกำลังดำเนินโครงการฯ อยู่ เพื่อให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่รับทราบด้วย
ทั้งนี้ การดำเนินงานเพื่อสนองงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามข้อมูลที่สำนักงาน กปร. ได้รวบรวมไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 จนถึง 31 กรกฎาคม 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,877 โครงการ จำแนกตามการพัฒนาด้านต่าง ๆ จำนวน 8 ด้าน ได้แก่ 1) โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ จำนวน 3,386 โครงการ 2) โครงการพัฒนาด้านการเกษตร จำนวน 142 โครงการ 3) โครงการพัฒนา ด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 199 โครงการ 4) โครงการพัฒนาด้านการส่งเสริมอาชีพ จำนวน 347 โครงการ 5) โครงการพัฒนาด้านสาธารณสุข จำนวน 59 โครงการ 6) โครงการด้านคมนาคม/สื่อสาร จำนวน 84 โครงการ 7) โครงการพัฒนาด้านสวัสดิการสังคม/การศึกษา จำนวน 399 โครงการ และ 8) โครงการพัฒนาแบบบูรณาการ และโครงการพัฒนาด้านอื่น ๆ จำนวน 261 โครงการ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมสนองงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนการดำเนินงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ และการส่งเสริมพัฒนาอาชีพด้านการเกษตร
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38918 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.เผยประชาชน “การ์ดเริ่มตก” หลังผ่อนปรน แนะฉีดวัคซีนป้องกันแพร่เชื้อบุคคลรอบข้าง | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
สธ.เผยประชาชน “การ์ดเริ่มตก” หลังผ่อนปรน แนะฉีดวัคซีนป้องกันแพร่เชื้อบุคคลรอบข้าง
กระทรวงสาธารณสุข เผยผลสำรวจพฤติกรรมสุขภาพประชาชนพบ “การ์ดเริ่มตก” หลังผ่อนปรนมาตรการ สวมหน้ากากอนามัยไม่ถึง 100% มีการรวมกลุ่มทางสังคมและการเดินทางออกนอกจังหวัดมากขึ้น แนะกลุ่มเสี่ยงต้องฉีดวัคซีนช่วยป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลรอบข้างได้
กระทรวงสาธารณสุข เผยผลสำรวจพฤติกรรมสุขภาพประชาชนพบ “การ์ดเริ่มตก” หลังผ่อนปรนมาตรการ สวมหน้ากากอนามัยไม่ถึง 100% มีการรวมกลุ่มทางสังคมและการเดินทางออกนอกจังหวัดมากขึ้น แนะกลุ่มเสี่ยงต้องฉีดวัคซีนช่วยป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลรอบข้างได้
วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2564) ที่ศูนย์แถลงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พร้อมด้วย นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แถลงข่าวประเด็นผลสำรวจความต้องการวัคซีน และพฤติกรรมเสี่ยงที่ทําให้ติดเชื้อโควิด 19 ว่า กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ร่วมกับองค์การอนามัยโลกสํานักงานภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจพฤติกรรมการป้องกันตนเอง มีประชาชนร่วมตอบแบบสอบถาม 56,201ตัวอย่าง และตอบแบบสอบถามออนไลน์ 7,243 ตัวอย่าง พบประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองในระดับที่ดีมากในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 ระลอกใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564 ส่วนการสำรวจครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 25-31 มกราคม 2564 หลังเริ่มมีการผ่อนปรนมาตรการต่างๆ พบ “การ์ดเริ่มตก” ในทุกกิจกรรม แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีโดยสวมหน้ากากอนามัยร้อยละ 93.7 การล้างมือบ่อยๆ ร้อยละ 88.4 การกินอาหารร้อนใช้ช้อนกลางส่วนตัว ร้อยละ87.9 การเว้นระยะห่างระหว่างผู้อื่นไม่น้อยกว่า 2 เมตร ร้อยละ 77 มีการรวมกลุ่มทางสังคมและการเดินทางออกนอกจังหวัดเพิ่มขึ้น
สำหรับการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการฉีดวัคซีน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามออนไลน์ส่วนใหญ่คิดว่าการฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลรอบข้างได้ ส่วนผลสำรวจจาก อสม. พบว่า เหตุผลที่อยากฉีดคือเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ มีความเสี่ยงด้านอาชีพ และเห็นด้วยว่าบุคลากรทางการแพทย์เป็นกลุ่มแรกที่สมควรได้รับวัคซีน ทั้งนี้ ยังมีประชาชนจำนวนหนึ่งระบุไม่ต้องการฉีดวัคซีน เนื่องจากยังไม่มั่นใจในความปลอดภัยของวัคซีน ผลข้างเคียงจากการรับวัคซีน ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเสียชีวิตหรือป่วยอย่างรุนแรง สามารถป้องกันตัวเองดีแล้ว และไม่เชื่อว่าวัคซีนสามารถป้องกันโรคโควิด 19 ได้ ดังนั้น จึงต้องเร่งสร้างความเข้าใจให้ประชาชนมากขึ้น ส่วนการรับรู้เกี่ยวแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ”และ“หมอชนะ” ส่วนใหญ่รู้จักแต่ใช้งานอยู่ที่ร้อยละ 50 ปัจจัยที่เลือกใช้คือ มีการแจ้งเตือนระดับความเสี่ยง มีความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล และใช้งานสะดวก
“แม้จะมีการผ่อนปรนมาตรการต่างๆ สิ่งที่แนะนำให้ทำคู่กันคือการเข้มงวดมาตรการป้องกันส่วนบุคคล สวมหน้ากากอนามัยให้ได้ 100% ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง ใช้แอปพลิเคชั่น “หมอชนะ” “ไทยชนะ” ใช้หน้ากากอนามัยให้ถูกวิธี ใช้ให้ถูกด้าน ให้พอดีกับหน้า สำหรับวัคซีนโควิด 19 ยืนยันว่าก่อนที่จะมีการอนุมัติวัคซีนเข้ามาใช้ในไทย สิ่งแรกที่คำนึงถึงคือความปลอดภัยประสิทธิภาพและประสิทธิผลของวัคซีนที่จะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานของอย. ขอให้ประชาชนมีความมั่นใจว่ามีความปลอดภัย ช่วยป้องกันอาการรุนแรงจากโรคโควิด 19 ช่วยลดการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลรอบข้างได้” นพ.ธเรศกล่าว
*************************** 5 กุมภาพันธ์ 2564
*****************************************************
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38922 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- กรุงไทยปิดปรับปรุงระบบการใช้สิทธิโครงการเราชนะ สำหรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐชั่วคราว | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
กรุงไทยปิดปรับปรุงระบบการใช้สิทธิโครงการเราชนะ สำหรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐชั่วคราว
ธนาคารกรุงไทยแจ้งปิดระบบการใช้สิทธิโครงการเราชนะ สำหรับกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านแอปพลิเคชั่นถุงเงิน และเครื่อง EDC เป็นการชั่วคราว
ธนาคารกรุงไทยแจ้งปิดระบบการใช้สิทธิโครงการเราชนะ สำหรับกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านแอปพลิเคชั่นถุงเงิน และเครื่อง EDC เป็นการชั่วคราว เพื่อปรับปรุงระบบการใช้สิทธิให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หากระบบกลับมาเปิดให้บริการตามปกติ ธนาคารจะแจ้งให้ทราบความคืบหน้าอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยังสามารถใช้สวัสดิการอื่นๆได้ตามปกติ
ทีม Marketing Strategy
โทร.0-2208-4174-8
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38901 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกฯ พลเอก ประวิตรฯ รับมอบน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและเครื่องพ่นไอหมอกเพื่อสนับสนุนการดำเนินนโยบายควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ของรัฐบาล | วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
รองนายกฯ พลเอก ประวิตรฯ รับมอบน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและเครื่องพ่นไอหมอกเพื่อสนับสนุนการดำเนินนโยบายควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ของรัฐบาล
รองนายกฯ พลเอก ประวิตรฯ รับมอบน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและเครื่องพ่นไอหมอกเพื่อสนับสนุนการดำเนินนโยบายควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ของรัฐบาล
วันนี้ (วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564) เวลา 09.30 น. ณ ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี อนุญาตให้ นายประภาส เกียรติสุขสถิตย์ และนายประภัสร์ เกียรติสุขสถิตย์ กรรมการบริหาร บริษัท โตโย เท็นชิ จำกัด เข้าพบ และเพื่อรับมอบอุปกรณ์สนับสนุนการดำเนินนโยบายควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของรัฐบาล โดยมี นายประทีป กีรติเรขา รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และนางนันทวรรณ ชื่นศิริ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร เข้าร่วมการรับมอบในครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ บริษัทฯ เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะดำเนินนโยบายป้องกันสถานการณ์การแพร่ระบาดได้ในเวลาอันใกล้นี้
ในโอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรี รับมอบน้ำยาฆ่าเชื้อโรค Envirolyte (เอ็นไวโรไลท์) จำนวน 2,000 ลิตร พร้อมเครื่องพ่นไอหมอก จำนวน 5 เครื่อง เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานควบคุมสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 โดยรองนายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณภาคเอกชนที่ได้ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินนโยบายของรัฐบาลในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พร้อมกันนี้ ได้ส่งมอบอุปกรณ์ดังกล่าวให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ตามนโยบายการดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อไป
****************************************
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38888 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 23 กุมภาพันธ์ 2564 | วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 23 กุมภาพันธ์ 2564
นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล
http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (23 กุมภาพันธ์ 2564) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎ ก.พ.อ. การได้รับเงินประจำตำแหน่งผู้บริหารและข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของสถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. ....
2. เรื่อง หลักการของร่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้ หรือกำไรมาแบ่งปันกัน และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. ….
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับประเภทลักษณะ ขนาด การให้บริการ หรือธุรกรรมของผู้มีหน้าที่รายงาน พ.ศ. ....
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตท่าเรือตำมะลัง เขตท่าเรือเจ๊ะบิลัง เขตท่าเรือปากบารา เขตจอดเรือและเขตควบคุมการเดินเรือ จังหวัดสตูล พ.ศ. ....
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงเทศกา]สงกรานต์ และปีใหม่เป็นประจำทุกปี พ.ศ. 2550 พ.ศ. ....
6. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสนับสนุนการปฏิบัติงานติดตามคนหายพิสูจน์คนนิรนามและศพนิรนาม พ.ศ. ....
7. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลพรหมนิมิต และตำบลสร้อยทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ….
8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้เช่า เช่าซื้อ หรือโอนที่ดิน หรือทรัพย์สินอื่นของกรมชลประทานเพื่อใช้ในการทำเกษตรกรรม พ.ศ. …. และร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินสำหรับแปลงที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน พ.ศ. …. รวม 2 ฉบับ
เศรษฐกิจ - สังคม
9. เรื่อง (ร่าง) นโยบายแห่งชาติด้านยาและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2563 – 2565
10. เรื่อง การกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2563/2564
11. เรื่อง การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2564 ครั้งที่ 1
12. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
13. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนมกราคม 2564
14. เรื่อง รายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง การศึกษามาตรการป้องกันการเกิดโรคระบาดหรือโรคติดต่อในประเทศไทยของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร
15. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2563
16. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 อย่างเป็นระบบ ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 อย่างเป็นระบบ สภาผู้แทนราษฎร
17. เรื่อง การเพิ่มจำนวนกรรมการของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)
18. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563เรื่อง กลไกเฝ้าระวังการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (สำนักงาน ป.ป.ท.)
19. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 3/2564
20. เรื่อง การขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
ต่างประเทศ
21. เรื่อง ร่างความตกลงระหว่างสำนักงานกลางตำรวจแห่งชาติตำรวจสากลประเทศไทp (ตำรวจสากลกรุงเทพ) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ ว่าด้วยการเข้าถึงระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากลโดยตรง
22. เรื่อง ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 24 (The 24th GMS Ministerial Conference)
23. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศการค้าและการพัฒนาแห่งแคนาดา
แต่งตั้ง
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงอุตสาหกรรม)
26. เรื่อง การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (ครั้งที่ 2) (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
27. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
28. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย
29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการคลัง)
30. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการบินพลเรือน
31. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการอื่น (ผู้แทนกองทัพอากาศ) ในคณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎ ก.พ.อ. การได้รับเงินประจำตำแหน่งผู้บริหารและข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของสถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎ ก.พ.อ. การได้รับเงินประจำตำแหน่งผู้บริหารและข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของสถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้ง ให้ อว. รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ อว. เสนอว่า
1. โดยที่พระราชบัญญัติสถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. 2558 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2558 ให้ยกสถานะสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชนและวิทยาลัยชุมชนเป็น สถาบันวิทยาลัยชุมชน และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้สภาสถาบันวิทยาลัยชุมชนมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลของสถาบันตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและกฎหมายอื่นโดยอนุโลมและเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการดังกล่าว ให้คณะกรรมการข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) มีอำนาจออกกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และที่ผ่านมาหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการในสถาบันวิทยาลัยชุมชนทุกประเภทตำแหน่ง รวมทั้งตำแหน่งผู้บริหาร ก.พ.อ. ได้มีมติเห็นชอบให้สภาสถาบันวิทยาลัยชุมชนนำมาตรา 17 แห่งพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการ พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2549 และมาตราที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษา มาใช้บังคับโดยอนุโลมไปพลางก่อน จนกว่า ก.พ.อ. จะได้กำหนดหลักเกณฑ์ขึ้น
2. ดังนั้น เพื่อเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการในสถาบันวิทยาลัยชุมชนทุกประเภทตำแหน่ง รวมทั้งตำแหน่งผู้บริหารซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือน และผู้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารในสถาบันวิทยาลัยชุมชน อว. จึงได้ดำเนินการยกร่างกฎ ก.พ.อ. การได้รับเงินประจำตำแหน่งผู้บริหารและข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของสถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. .... ขึ้น
3. ต่อมาในคราวประชุม ก.พ.อ. ครั้งที่ 5/2563 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2563 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างกฎ ก.พ.อ. ตามข้อ 2 และให้ดำเนินการต่อไปได้
จึงได้เสนอร่างกฎ ก.พ.อ. การได้รับเงินประจำตำแหน่งผู้บริหารและข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของสถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎ ก.พ.อ.
1. กำหนดให้ข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการในสถาบันวิทยาลัยชุมชน อาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ ก.พ.อ. นี้
2. กำหนดให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการการจ่ายเงินประจำตำแหน่งตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการจ่ายเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการ พ.ศ. 2539 มาใช้บังคับกับการจ่ายเงินประจำตำแหน่งตามกฎ ก.พ.อ. นี้ โดยอนุโลม
3. กำหนดตำแหน่งประเภทผู้บริหารของสถาบันวิทยาลัยชุมชนที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง และกำหนดให้การได้รับเงินประจำตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารของสถาบันวิทยาลัยชุมชนดังกล่าว ให้เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งผู้บริหารและข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของสถาบันวิทยาลัยชุมชน ท้ายกฎ ก.พ.อ. นี้
4. กำหนดการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของสถาบันวิทยาลัยชุมชนที่ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และอัตราเงินประจำตำแหน่ง ให้เป็นไปตามกฎ ก.พ.อ. การได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2556
5. กำหนดให้การกำหนดตำแหน่งและจำนวนตำแหน่งที่จะให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งของตำแหน่งประเภทผู้บริหารและตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของสถาบันวิทยาลัยชุมชนที่ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ หรือตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. ก่อน
6. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการได้รับเงินประจำตำแหน่งซึ่งสอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการ พ.ศ. 2538 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และไม่เป็นการ
กระทบสิทธิประโยชน์ที่ข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารในสถาบันวิทยาลัยชุมชนได้รับอยู่เดิม
7. กำหนดให้ข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อยู่ก่อนวันที่กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้มีผลใช้บังคับและได้รับเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งและอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและกฎหมายอื่นโดยอนุโลม เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งตาม กฎ ก.พ.อ. นี้
2. เรื่อง หลักการของร่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. …. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
1. เห็นชอบหลักการของร่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ โดยให้เพิ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นผู้รักษาการตามร่างกฎหมายนี้ และให้ สคก. รับร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. …. ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รวมทั้งความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปประกอบการยกร่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
2. มอบหมายให้ พม. และกระทรวงมหาดไทยร่วมกันเป็นหน่วยงานเจ้าของเรื่องในการนำหลักการของร่างกฎหมายตามข้อ 1. ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎหมาย ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และให้ส่งผลการดำเนินการดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อประกอบการยกร่างกฎหมายดังกล่าวต่อไป
ทั้งนี้ สคก. เสนอว่า
1) โดยที่ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งองค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกันขึ้นในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางส่วนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ และบางส่วนดำเนินการในรูปคณะบุคคลที่มิได้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ทำให้การกำกับดูแลของรัฐไม่สามารถทำได้โดยทั่วถึง และมีองค์กรจำนวนมากที่อ้างว่าเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน แต่กลับดำเนินการในลักษณะที่เป็นการหารายได้มาแบ่งปันกันในระหว่างผู้ร่วมดำเนินการโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีซึ่งเป็นการหลอกลวงประชาชน รวมทั้งมีองค์กรจำนวนมากที่รับเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยหรือมิได้จดทะเบียนจัดตั้งในราชอาณาจักรไทยมาใช้ในการดำเนินกิจกรรม ที่อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยในราชอาณาจักรเอง
2) นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้ สคก. ศึกษากฎหมายว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกันของต่างประเทศ เพื่อหาหลักการที่เหมาะสมมาใช้ในการยกร่างกฎหมายในทำนองเดียวกันของประเทศไทย แล้วนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ซึ่งต่อมารองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้จัดประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการยกร่างกฎหมายดังกล่าว และได้มอบให้ สคก. จัดทำและเสนอหลักการของร่างกฎหมายดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
สคก. จึงได้เสนอหลักการของร่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน มาเพื่อดำเนินการ
พม. เสนอว่า
1) โดยที่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสาธารณสุข ความเหลื่อมล้ำ หรือปัญหาในด้านอื่น ๆ มีความซับซ้อนมากขึ้นกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก ทำให้หน่วยงานของรัฐไม่สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยในประเทศที่พัฒนาแล้วภาครัฐจะให้ความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านงบประมาณของหน่วยงานของรัฐในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ
2) โดยที่ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคมในภาพรวมเป็นการเฉพาะ ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 43 บัญญัติให้บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิอนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณี อันดีงาม ทั้งของท้องถิ่นและของชาติ จัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน เข้าชื่อกันเพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐให้ดำเนินการใดอันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนหรือชุมชน หรืองดเว้นการดำเนินการอันใดอันจะกระทบต่อความเป็นอยู่อย่างสงบสุขของประชาชนหรือชุมชน และได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยรวดเร็ว และจัดให้มีระบบสวัสดิการของชุมชน และมาตรา 78 บัญญัติให้รัฐพึงส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ การจัดทำบริการสาธารณะทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมตลอดทั้งการตัดสินใจทางการเมือง และการอื่นใดบรรดาที่อาจมีผลกระทบต่อประชาชนหรือชุมชน ดังนั้น เพื่อให้องค์กรภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนร่วมกับภาครัฐและภาคส่วนอื่น โดยการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ และสร้างความเข้มแข็งขององค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคมเป็นการเฉพาะ
พม. จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. …. มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญ
1. สาระสำคัญของหลักการของร่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน มีดังนี้
1.1 ให้มีกฎหมายกลางในระดับพระราชบัญญัติขึ้นเพื่อกำกับการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกันในประเทศไทยให้เป็นไปอย่างถูกต้องทำนองคลองธรรม เปิดเผย โปร่งใส เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง ปราศจากไถยจิตแอบแฝงอันเป็นการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ตลอดจนรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
1.2 กำหนดให้อธิบดีกรมการปกครองเป็นผู้รับจดแจ้งองค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน
1.3 กำหนดให้องค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกันจะดำเนินกิจกรรมในประเทศไทยได้ต่อเมื่อได้จดแจ้งต่อผู้รับจดแจ้ง และเมื่อได้รับจดแจ้งแล้วให้องค์กรดังกล่าวมีสิทธิได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการจากรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
1.4 กำหนดให้องค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกันที่จดแจ้งต้องดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำเนินกิจการขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้ หรือกำไรมาแบ่งปันกันแต่ละแห่ง และที่บัญญัติไว้ในร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นการเฉพาะแล้ว ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
1.5 ให้เป็นหน้าที่ขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน ที่ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาและจำนวนของเงินหรือทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมในแต่ละปี และต้องยื่นแบบรายการภาษีเงินได้ทุกปีด้วย
1.6 กำหนดให้องค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน จะรับเงินหรือทรัพย์สินจากบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยหรือมิได้จดทะเบียนจัดตั้งในราชอาณาจักรไทย มาใช้ในการดำเนินกิจกรรมในประเทศไทยได้เฉพาะกิจกรรมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนด และต้องรายงานผลการรับและใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าว รวมทั้งกิจกรรมที่ดำเนินการในแต่ละปีด้วย
1.7 กำหนดให้องค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน ต้องเสนอรายงานการสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต่อผู้รับจดแจ้งภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี และให้ผู้รับจดแจ้งเผยแพร่รายงานการสอบบัญชีดังกล่าวในระบบสารสนเทศของกรมการปกครอง
1.8 กำหนดบทลงโทษอาญาแก่ผู้ดำเนินการองค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกันในประเทศไทยโดยมิได้จดแจ้งต่อผู้รับจดแจ้ง
1.9 สมควรกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
1.10 สมควรมีกฎหมายส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกันที่ได้จดแจ้งตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้การส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรที่ดำเนินการอันเป็นประโยชน์แก่สังคมโดยรวม
2. สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. …. สรุปได้ดังนี้
2.1 กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม ประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนหกคน ได้แก่ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กรรมการผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคม จำนวนเจ็ดคน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสี่คน และมีผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคมเป็นกรรมการและเลขานุการ
2.2 กำหนดให้คณะกรรมการตามข้อ 2.1 มีอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ เช่น กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม เสนอความเห็นและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคมต่อรัฐมนตรี ส่วนราชการ หน่วยงาน และองค์กรภาคประชาสังคม จัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนาหรือปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคมต่อรัฐมนตรีหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
2.3 กำหนดให้มีสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ มีฐานะเป็นนิติบุคคล และอยู่ในกำกับของ พม. รวมทั้งกำหนดให้มีผู้อำนวยการคนหนึ่งซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานฯ โดยสำนักงานฯ มีหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการตามข้อ 2.1
2.4 กำหนดให้องค์กรภาคประชาสังคมที่จะได้รับการสนับสนุนตามร่างพระราชบัญญัตินี้จะต้องจดแจ้งต่อสำนักงานฯ ก่อน
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับประเภท ลักษณะ ขนาด การให้บริการ หรือธุรกรรมของผู้มีหน้าที่รายงาน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับประเภท ลักษณะ ขนาด การให้บริการ หรือธุรกรรมของผู้มีหน้าที่รายงาน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
กำหนดให้บุคคลผู้มีหน้าที่รายงานตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. 2560 เป็นผู้มีหน้าที่รายงานตามร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ได้แก่
1. สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
2. บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3. สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
4. ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
5. ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาชื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
6. ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาตามกฎหมายว่าด้วยการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา
7. ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม พุทธศักราช 2515
8. บุคคลอื่นใดที่ประกอบธุรกิจรับฝากหลักทรัพย์ รับฝากเงิน หรือดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการลงทุน
ทั้งนี้ เว้นแต่บุคคลที่ไม่มีหน้าที่รายงานตามความตกลงฯ หรือไม่มีหน้าที่รายงานหรือได้รับยกเว้นไม่ต้องรายงานตามประเภท ลักษณะ ขนาด หรือที่มีการให้บริการหรือธุรกรรมตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายความตกลง 2 หรือตามระเบียบข้อบังคับของกระทรวงการคลังของประเทศสหรัฐอเมริกา
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตท่าเรือตำมะลัง เขตท่าเรือเจ๊ะบิลัง เขตท่าเรือปากบารา เขตจอดเรือและเขตควบคุมการเดินเรือ จังหวัดสตูล พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตท่าเรือตำมะลัง เขตท่าเรือเจ๊ะบิลัง เขตท่าเรือปากบารา เขตจอดเรือและเขตควบคุมการเดินเรือ จังหวัดสตูล พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ คค. เสนอว่า
1. ปัจจุบันบริเวณทะเลอันดามัน ในพื้นที่จังหวัดสตูล โดยเฉพาะบริเวณร่องน้ำตำมะลัง ร่องน้ำเจ๊ะบิลัง และร่องน้ำปากบารา รวมทั้งบริเวณเกาะหลีเป๊ะ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เป็นพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศนิยมเดินทางมาท่องเที่ยว และมีการนำเข้าและส่งออกสัตว์น้ำจึงมีเรือสำราญและกีฬาเรือเดินทะเลระหว่างประเทศ เรือบรรทุกผู้โดยสารในประเทศ เรือบรรทุกผู้โดยสารระหว่างประเทศ เรือประมงและเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ เดินเรือเข้าและออกในพื้นที่จังหวัดสตูลเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งยังไม่มีกฎหมายกำหนดเขตท่าเรือตำมะลัง เขตท่าเรือเจ๊ะบิลัง เขตท่าเรือปากบารา เขตจอดเรือ และเขตควบคุมการเดินเรือ จังหวัดสตูล ไว้โดยเฉพาะ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดเรือโดนกันหรือเรือไปโดนทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ได้ จึงสมควรกำหนดเขตท่าเรือตำมะลัง เขตท่าเรือเจ๊ะ บิลัง เขตท่าเรือปากบารา เขตจอดเรือ และเขตควบคุมการเดินเรือ จังหวัดสตูล เพื่อประโยชน์ต่อการควบคุมดูแลความปลอดภัย จัดระเบียบการจราจรทางน้ำ และวางระบบการขนส่งทางน้ำให้มีความปลอดภัยและมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเพื่อประโยชน์ในการควบคุมมลภาวะทางน้ำ
2. โดยที่มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดแนวแม่น้ำลำคลองหรือทะเลอาณาเขตแห่งใดเป็นเขตท่าเรือและเขตจอดเรือได้ ดังนั้น เพื่อประโยชน์ต่อการควบคุมดูแลความปลอดภัย จัดระเบียบการจราจรทางน้ำ และวางระบบการขนส่งทางน้ำให้มีความปลอดภัยและมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น คค. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เพื่อกำหนดเขตท่าเรือตำมะลัง เขตท่าเรือเจ๊ะบิลัง เขตท่าเรือปากบารา เขตจอดเรือ และเขตควบคุมการเดินเรือ จังหวัดสตูล
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กำหนดเขตท่าเรือตำมะลัง เขตท่าเรือเจ๊ะบิลัง เขตท่าเรือปากบารา เขตจอดเรือและเขตควบคุมการเดินเรือ จังหวัดสตูล ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการคมนาคมขนส่งทางน้ำที่เพิ่มมากขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และปีใหม่เป็นประจำทุกปี พ.ศ. 2550 พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และปีใหม่เป็นประจำทุกปี พ.ศ. 2550 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วและให้ดำเนินการต่อไปได้
เรื่องเดิม
1. ได้มีการบังคับใช้กฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และปีใหม่เป็นประจำทุกปี พ.ศ. 2550 ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และในช่วงเทศกาลปีใหม่เป็นประจำทุกปี
2. ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรี (17 มีนาคม 2563) เห็นชอบให้เลื่อนวันหยุดราชการในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2563 (วันที่ 13 -15 เมษายน 2563) ออกไปก่อน จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะคลี่คลาย
3. คค. ได้เสนอร่างกฎกระทรวงยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และปีใหม่เป็นประจำทุกปี พ.ศ. 2550 พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และปีใหม่เป็นประจำทุกปี พ.ศ. 2550
4. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) พิจารณาแล้ว มีความเห็นว่าเนื่องจากกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และปีใหม่เป็นประจำทุกปี พ.ศ. 2550 มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. 2497 ซึ่งในปัจจุบันกฎกระทรวง ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2540)ฯ ได้ถูกยกเลิกโดยข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ตอนกรุงเทพมหานคร – เมืองพัทยา พ.ศ. 2558 ดังนั้น กฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และปีใหม่เป็นประจำทุกปี พ.ศ. 2550 จึงไม่มีสภาพใช้บังคับแล้ว และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องออกกฎกระทรวงเพื่อยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงดังกล่าวตามที่ คค. เสนอ เพื่อมิให้เกิดความสับสนในการใช้บังคับกฎหมาย สมควรที่ คค. จะได้เสนอให้มีการเลิกกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และปีใหม่เป็นประจำทุกปี พ.ศ. 2550 ต่อไป
5. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (31 มีนาคม 2563) ให้ คค. รับความเห็นของ สคก. ตามข้อ 4 ไปดำเนินการยกเลิกกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และปีใหม่เป็นประจำทุกปี พ.ศ. 2550 และเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่งโดยด่วน
ข้อเท็จจริง
1. คค. เสนอว่า ตามที่ สคก. ได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และปีใหม่เป็นประจำทุกปี พ.ศ. 2550 พ.ศ. .... มาเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และเห็นควรให้มีการยกเลิกกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และปีใหม่เป็นประจำทุกปี พ.ศ. 2550
คค. จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และปีใหม่เป็นประจำทุกปี พ.ศ. 2550 พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
2. สคก. แจ้งว่า ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าแล้วและมีการแก้ไขเล็กน้อย ซึ่ง คค. (กรมทางหลวง) ได้ยืนยันความเห็นชอบร่างกฎกระทรวงนี้ด้วยแล้ว
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
ยกเลิกกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และปีใหม่เป็นประจำทุกปี พ.ศ. 2550
6. ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสนับสนุนการปฏิบัติงานติดตามคนหาย พิสูจน์คนนิรนามและศพนิรนาม พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสนับสนุนการปฏิบัติงานติดตามคนหาย พิสูจน์คนนิรนามและศพนิรนาม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ยธ. เสนอว่า
1. โดยที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสนับสนุนการปฏิบัติงานติดตามคนหาย และพิสูจน์ศพนิรนาม พ.ศ. 2558 มีเป้าหมายเพื่อมีศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลคนหาย และศพนิรนามของประเทศไทย มีระบบมาตรฐานและแนวทางการปฏิบัติงานด้านคนหายและศพนิรนามในทิศทางเดียวกัน และมีการบูรณาการการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ซึ่งระเบียบดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมการปฏิบัติงานด้านคนนิรนาม ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่ทราบชื่อตัว ชื่อสกุล และไม่มีหลักฐานแสดงตัวตน อันเนื่องมาจากสาเหตุอุบัติเหตุทางสมอง หรือจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งบุคคลเหล่านี้อาจเป็นคนหายที่ครอบครัวกำลังติดตามหา หรืออาจเสียชีวิตโดยไม่สามารถพิสูจน์ตัวตนได้กลายเป็นศพนิรนาม ดังนั้น คนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม จึงมีความเกี่ยวข้องกันตั้งแต่กระบวนการต้นทางจนถึงปลายทาง
2. ประกอบกับจากการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้ทราบว่าการติดตามคนหายไม่ใช่เพียงมุ่งประเด็นไปว่าจะต้องเสียชีวิตและกลายเป็นศพนิรนามเท่านั้น แต่ยังมีโอกาสที่ยังมีชีวิตและกลายเป็นคนนิรนาม ที่อยู่ในการดูแลของ พม. และคนไข้ นิรนามที่อยู่ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ
3. ดังนั้น เห็นควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสนับสนุนการติดตามคนหายและพิสูจน์ศพนิรนาม พ.ศ. 2558 เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจในปัจจุบัน โดยเพิ่มขอบเขตด้านภารกิจของคนนิรนาม ซึ่งจะเป็นการขยายโอกาสในการติดตามคนหายได้มากยิ่งขึ้น โดยกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับคนนิรนาม นอกจากนี้ได้ปรับปรุงองค์ประกอบ ค.พ.ศ. โดยกำหนดเพิ่มเติมกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในด้านสิทธิมนุษยชนกับด้านสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้ครอบคลุมกับการทำงานในเรื่องคนนิรนาม รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของ ค.พ.ศ. และสำนักงานเลขานุการของ ค.พ.ศ. ให้ครอบคลุมถึงภารกิจเกี่ยวกับคนนิรนาม ตลอดจนกำหนดให้มีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคนนิรนามและประสานข้อมูลดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป
4. ในการประชุม ค.พ.ศ. วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2562 โดยมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ที่ประชุมมีมติให้ฝ่ายเลขานุการของ ค.พ.ศ. ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสนับสนุนการปฏิบัติงานติดตามคนหายและพิสูจน์ศพนิรนาม พ.ศ. 2558 เพื่อให้ครอบคลุมการปฏิบัติงานด้านคนนิรนาม ซึ่งบุคคลเหล่านี้อยู่ภายใต้การดูแลของ สธ. และ พม. และบูรณาการความร่วมมือการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ ประกอบกับในการประชุม ค.พ.ศ. วันอังคารที่ 11 สิงหาคม 2563 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสนับสนุนการปฏิบัติงานติดตามคนหาย พิสูจน์คนนิรนามและศพนิรนาม พ.ศ. .... และให้เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
จึงได้เสนอร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสนับสนุนการปฏิบัติงานติดตามคนหาย พิสูจน์คนนิรนามและศพนิรนาม พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
1. ให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสนับสนุนการปฏิบัติงานติดตามคนหายและพิสูจน์ศพนิรนาม พ.ศ. 2558
2. กำหนดบทนิยามคำว่า “คนหาย” “คนนิรนาม” และ “ศพนิรนาม”
3. กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบการติดตามคนหาย พิสูจน์คนนิรนามและศพนิรนาม เรียกโดยย่อว่า “ ค.พ.ศ.” มีรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่งจำนวน 11 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีผลงานและประสบการณ์ด้านนิติเวชศาสตร์ ด้านการพิสูจน์หลักฐาน ด้านกฎหมาย ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านสังคมสงเคราะห์ที่เกี่ยวข้อง จำนวนไม่เกิน 5 คน ทั้งนี้ ให้ ค.พ.ศ. มีอำนาจหน้าที่จัดทำนโยบาย แผนแม่บทและแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนามเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดำเนินการติดตามคนหาย พิสูจน์คนนิรนามและศพนิรนาม ของหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบการติดตามคนหาย พิสูจน์คนนิรนามและศพนิรนาม สนับสนุนและส่งเสริมภาคเอกชนและประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามคนหาย พิสูจน์คนนิรนามและศพนิรนาม รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่ ค.พ.ศ. มอบหมาย
4. กำหนดให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ยธ. ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการ ของ ค.พ.ศ. รวมถึงการให้ความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ และวิธีปฏิบัติเมื่อหน่วยงานของรัฐได้รับแจ้งว่ามีคนหาย หรือพบคนนิรนาม หรือศพนิรนาม ให้สำนักงานรีบจัดเก็บข้อมูลที่ตรวจพิสูจน์ได้และแจ้งข้อมูลดังกล่าวต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทราบทันทีเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
5. กำหนดให้สำนักงานเลขานุการของ ค.พ.ศ. แจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการเกี่ยวกับคนหาย คนนิรนาม และศพนิรนามแก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติทราบด้วย และให้สำนักงานเลขานุการของ ค.พ.ศ. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติประสานงานกันในเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับคนหายและศพนิรนาม รวมทั้งให้สำนักงานเลขานุการของ ค.พ.ศ. แจ้งข้อมูลให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคมและภาคเอกชนที่ดำเนินการด้านคนนิรนามทราบด้วยและให้มีการประสานงานกันในเรื่องข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคนนิรนาม
7. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลพรหมนิมิต และตำบลสร้อยทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลพรหมนิมิต และตำบลสร้อยทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ กษ. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
เป็นการกำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน เพื่อดำเนินโครงการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลพรหมนิมิต และตำบลสร้อยทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ อันจะเป็นการส่งเสริมเกษตรกรรมของประเทศให้เจริญก้าวหน้า ส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น โดยพัฒนาที่ดินทุกแปลงให้ได้รับประโยชน์จากโครงการชลประทานและการสาธารณูปโภคให้ทั่วถึง
ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า
1. เนื่องจากพื้นที่โครงการจัดรูปที่ดินหลายพื้นที่ที่มีประกาศกำหนดเขตท้องที่ที่จะสำรวจเป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 ยังมิได้ประกาศให้เป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดิน ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2558 การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปจึงต้องประกาศให้เป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามบทเฉพาะกาลในมาตรา 69 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งบัญญัติให้บรรดาการดำเนินการใดเกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินซึ่งได้กระทำไปแล้วในขั้นตอนใดในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีปัญหาไม่อาจดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ในเรื่องใด ให้การดำเนินการต่อไปในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางกำหนด
2. อย่างไรก็ตาม การประกาศเขตโครงการจัดรูปที่ดินดังกล่าวจะไม่มีผลบังคับทางกฎหมายกับที่สาธารณะต่าง ๆ ในเขตโครงการจัดรูปที่ดินที่จะนำมาจัดรูปที่ดิน เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับให้สามารถนำที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินมาใช้เพื่อการจัดรูปที่ดินได้ เพราะยังไม่มีการตราเป็นพระราชกฤษฎีกาที่มีผลเป็นการถอนสภาพการเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน โดยมิต้องดำเนินการถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดิน และให้ที่ดินนั้นตกเป็นของกรมชลประทานเพื่อนำมาใช้ในการจัดรูปที่ดินแต่อย่างใด
3. คณะอนุกรรมการพิจารณาการปฏิบัติเกี่ยวกับกฎหมาย ในการประชุม ครั้งที่ 10/2559 วันที่ 19 สิงหาคม 2559 มีมติเห็นชอบให้พื้นที่เขตสำรวจจัดรูปที่ดินตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงมหาดไทย ตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 ที่ยังไม่ได้กำหนดให้เป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดินให้ดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินให้เป็นเขตสำรวจการจัดรูปที่ดินตามมาตรา 32 และประกาศให้เป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดินต่อไปตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2558 เพื่อให้สามารถนำที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินในเขตสำรวจการจัดรูปที่ดินมาใช้เพื่อการจัดรูปที่ดิน โดยมิต้องมีการถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดิน ตามมาตรา 34 (1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
4. คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง ในการประชุม ครั้งที่ 2/2559 วันที่ 8 ธันวาคม 2559 ได้มีมติรับทราบและเห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ที่ทำเกษตรกรรมในท้องที่ตำบลพรหมนิมิต และตำบลสร้อยทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดิน และสมควรกำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดินในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปทำการสำรวจพื้นที่ที่จะจัดทำเป็นโครงการจัดรูปที่ดิน และให้ดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดินและให้ประกาศเป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดินต่อไป ตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2558
จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลพรหมนิมิต และตำบลสร้อยทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. …. มาเพื่อดำเนินการ
8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้เช่า เช่าซื้อ หรือโอนที่ดิน หรือทรัพย์สินอื่นของกรมชลประทานเพื่อใช้ในการทำเกษตรกรรม พ.ศ. …. และร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินสำหรับแปลงที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน พ.ศ. …. รวม 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้เช่า เช่าซื้อ หรือโอนที่ดิน หรือทรัพย์สินอื่นของกรมชลประทานเพื่อใช้ในการทำเกษตรกรรม พ.ศ. …. และร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินสำหรับแปลงที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน พ.ศ. …. รวม 2 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ กษ. รับความเห็นของ สคก. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้เช่า เช่าซื้อ หรือโอนที่ดิน หรือทรัพย์สินอื่นของกรมชลประทานเพื่อใช้ในการทำเกษตรกรรม พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 กำหนดให้สำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดเสนอคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดพิจารณาว่า ในเขตโครงการจัดรูปที่ดินใดที่มีที่ดินของกรมชลประทานตั้งอยู่ สมควรจัดที่ดินแปลงใดให้เช่าหรือเช่าซื้อ เพื่อใช้ในการทำเกษตรกรรม และประกาศให้ราษฎรที่ประสงค์จะเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินแปลงนั้นมายื่นคำขอภายใน 30 วัน นับแต่วันปิดประกาศ
1.2 กำหนดคุณสมบัติของผู้เช่าหรือผู้เช่าซื้อ เช่น เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิด ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเพียงเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ
1.3 กรณีที่ผู้มีสิทธิเช่าหรือเช่าซื้อรายใดไม่ไปทำสัญญาหรือไม่เข้าทำประโยชน์ในที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนดและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง หรือในกรณีที่หัวหน้าสำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดพิจารณาเห็นว่าผู้มีสิทธิเช่าหรือเช่าซื้อรายใดมีเหตุขัดข้องให้แจ้งผู้มีสิทธิเช่าหรือเช่าซื้อ ไปทำสัญญาหรือเข้าทำประโยชน์ในที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนด หากผู้มีสิทธิเช่าหรือเช่าซื้อไม่ไปทำสัญญาหรือไม่เข้าทำประโยชน์ในที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้นั้นสละสิทธิในการทำสัญญา หรือให้ถือว่าสัญญาเช่าหรือเช่าซื้อเป็นอันสิ้นสุดลง
2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินสำหรับแปลงที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 กำหนดให้หัวหน้าสำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดแจ้งขอดำเนินการออกโฉนดที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ พร้อมทั้งส่งมอบหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิมและเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือแผนผังการจัดแปลงที่ดินใหม่พร้อมกับรายชื่อเจ้าของที่ดินเดิมและผู้มีสิทธิได้รับที่ดินในการจัดรูปที่ดินแต่ละแปลง
2.2 ก่อนออกโฉนดที่ดิน ให้เจ้าของที่ดินที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนกรมชลประทาน และหัวหน้าสำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัด ร่วมนำทำการรังวัดปักหมายเลขเขตที่ดิน
2.3 ให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้มีรายชื่อตามหลักฐานที่หัวหน้าสำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดแจ้ง และให้นำประมวลกฎหมายที่ดินยกเว้นการประกาศแจกโฉนด มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อออกโฉนดที่ดินแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินมอบโฉนดที่ดินทั้งหมดให้แก่หัวหน้าสำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดไปดำเนินการต่อไป
เศรษฐกิจ - สังคม
9. เรื่อง (ร่าง) นโยบายแห่งชาติด้านยาและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2563 – 2565
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) นโยบายแห่งชาติด้านยาและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2563 – 2565 ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ สธ. รับความเห็นของกระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) สำนักงบประมาณ (สงป.) และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป รวมทั้งให้ สธ. ดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
1. เร่งประสาน อว. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการกรอบแนวทางการดำเนินงานและการจัดลำดับความสำคัญของแผนงานและโครงการต่าง ๆ ภายใต้ (ร่าง) นโยบายแห่งชาติด้านยาฯ พ.ศ. 2563 – 2565 กับ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2569 ให้มีความสอดคล้อง เชื่อมโยง ไม่ซ้ำซ้อน ทั้งในระดับนโยบายและการปฏิบัติ รวมทั้งกำหนดตัวชี้วัดที่มีเป้าหมายร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรมได้โดยเร็ว
2. ให้ อย. ให้ความสำคัญกับการศึกษาพฤติกรรมการจ่ายยาของสถานพยาบาลและการใช้ยาของประชาชนแต่ละกลุ่มในระบบบริการปฐมภูมิ เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการกำหนดแนวนโยบายการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อให้เกิดการให้ยาอย่างสมเหตุผล การเข้าถึงยาจำเป็นของประชาชน และระบบการควบคุมการกระจายยาภายใต้ (ร่าง) นโยบายแห่งชาติด้านยาฯ พ.ศ. 2563 - 2565 ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงอย่างรอบด้าน โดยคำนึงถึงการพัฒนาทัศนคติและค่านิยมด้านสุขภาพและการส่งเสริมการใช้บริการสุขภาพอย่างชาญฉลาดด้วย
สาระสำคัญของเรื่อง
สธ. รายงานว่า
1. ผลการดำเนินการของนโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ. 2554 และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2555 - 2559 ส่วนใหญ่สามารถบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด อาทิ จำนวนรายการยาจำเป็นที่มีปัญหาการเข้าถึงได้รับการแก้ไขอย่างน้อย 20 รายการ จำนวนรายการยาสามัญรายการใหม่ที่ผลิตในประเทศอย่างน้อย 30 รายการ ร้อยละของการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลในโรคเป้าหมายลดลง อย่างน้อยร้อยละ 50 สัดส่วนมูลค่าการบริโภคยาสามัญที่ผลิตในประเทศเมื่อเทียบกับมูลค่ายานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานบางส่วนยังไม่บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด ทั้งนี้ เนื่องมาจากปัจจัยหลายด้าน ได้แก่ จำนวนแผนงานโครงการที่มีจำนวนมาก ข้อจำกัดด้านทรัพยากรทั้งบุคลากร งบประมาณ และยังขาดวิธีการติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ไม่สามารถทราบความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน รวมทั้งไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขอย่างเหมาะสมได้
2. นโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ. 2554 และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2555 - 2559 สิ้นสุดในปี 2559 จึงจำเป็นต้องเสนอ (ร่าง) นโยบายแห่งชาติด้านยาและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติฉบับใหม่ เพื่อให้การพัฒนาระบบยามีความต่อเนื่อง สอดคล้องกับบริบทของประเทศและสถานการณ์ของระบบยาในปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถรับไปจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนงบประมาณรองรับนโยบายดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
3. คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 มีมติเห็นชอบ (ร่าง) นโยบายแห่งชาติด้านยาฯ พ.ศ. 2563 - 25651และให้ สธ. เสนอ (ร่าง) นโยบายแห่งชาติด้านยาฯ พ.ศ. 2563 - 2565 ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนแนวทางการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560) ต่อไป
4. สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในคราวประชุม ครั้งที่ 10/2563 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2563 มีมติเห็นชอบในหลักการของ (ร่าง) นโยบายแห่งชาติด้านยาฯ พ.ศ. 2563 - 2565 โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การกำหนดวิสัยทัศน์ ควรพิจารณากำหนดวิสัยทัศน์ให้ครอบคลุมถึงประเด็นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในด้านยา (2) ประเด็นที่ควรพิจารณาให้ความสำคัญเพิ่มเติม เช่น การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมยาเพื่อให้มีการพึ่งพาตนเอง การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล การสนับสนุนการวิจัยพัฒนายาสมุนไพร เป็นต้น และ (3) การกำหนดกลไกขับเคลื่อน ควรให้ความสำคัญกับการบูรณาการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง สธ. ได้ดำเนินการปรับปรุงรายละเอียดดังกล่าวแล้ว
5. (ร่าง) นโยบายแห่งชาติด้านยาฯ พ.ศ. 2563 - 2565 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งถ่ายทอดเป็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นที่ 4 อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ประเด็นที่ 13 การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ประเด็นที่ 20 การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ และประเด็นที่ 23 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
วิสัยทัศน์ (ภายใน 20 ปี)
“ประชาชนเข้าถึงยาจำเป็นที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง ใช้ยาสมเหตุผล ประเทศมีความมั่นคงด้านยาอย่างยั่งยืน”
พันธกิจ อาทิ
ส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศเพื่อความมั่นคงทางยาสร้างระบบและกลไกดูแลราคายาให้เป็นธรรม
· สร้างมาตรการส่งเสริมสมดุลระหว่างการเข้าถึงยากับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญหา
· สร้างกลไกให้เกิดการนำนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติ
เป้าประสงค์
· ระบบควบคุมยามีประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาล เพื่อประกันคุณภาพมาตรฐานผ่านผู้ผลิตและองค์กรควบคุมยาที่มีประสิทธิภาพ
· ประเทศมีความมั่นคงด้านยา สามารถผลิตและจัดหายาจำเป็นไว้ใช้ได้อย่างต่อเนื่องและทันท่วงทีทั้งในภาวะปกติและฉุกเฉิน
· ราคายาในประเทศมีความสอดคล้องกับค่าครองชีพและความสามารถในการจ่ายของประชาชนและภาครัฐ
เป้าหมายตัวชี้วัดโดยสังเขป (จากทั้งหมด 12 เป้าหมายตัวชี้วัด)
· หน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านการประเมินศักยภาพจากองค์กรระดับสากลอย่างต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ. 2565
· มูลค่าการผลิตยาชีววัตถุกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 10
· จำนวนผลิตภัณฑ์ยานวัตกรรมหรือส่งออกได้รับการอนุญาต อย่างน้อย 30 รายการ/ปี
ยุทธศาสตร์
(1) พัฒนาระบบควบคุมยาให้มีประสิทธิภาพระดับสากล
· ปฏิรูประบบงานโครงสร้างและการบริหารจัดการในการขึ้นทะเบียนตำรับยาให้มีประสิทธิภาพ
· ประกันคุณภาพยาในการจัดซื้อ จัดหา และขนส่งยาตลอดห่วงโซ่อุปทาน
· พัฒนาระบบการควบคุมการกระจายยา
(2) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการผลิตยาสมุนไพร และชีววัตถุเพื่อความมั่นคงทางยา และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
· กำหนดให้ทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันต้องผลิตตามมาตรฐาน PIC/S GMP
· สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานของการวิจัยและพัฒนายาและสร้างเสริมศักยภาพของบุคลากรให้พร้อมต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยา
· สร้างระบบและกลไกในการนำผลงานวิจัยมาต่อยอดเพื่อให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์
(3) พัฒนาระบบและกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงยาจำเป็นของประชาชน
· สร้างเสริมความเข้มแข็งภาคประชาชนเพื่อการเข้าถึงยา
· ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกฎหมายเพื่อให้เกิดการเข้าถึงยา อาทิ กฎหมายแข่งขันทางการค้า ข้อตกลงระหว่างประเทศ
· พัฒนากลไกให้มียาจำเป็น และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนยา
(4) พัฒนาระบบและกลไกเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
· พัฒนาระบบคุณภาพเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของสถานพยาบาลชุมชน และภาคเกษตรกรรม
· พัฒนาการศึกษาและการให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาและประชาชน
· ส่งเสริมการปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยา และการติดตามประเมินผล
(5) สร้างเสริมกลไกการประสานเชื่อมโยงนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ
· พัฒนาหน่วยงานที่มีศักยภาพในการเชื่อมโยงและขับเคลื่อนนโยบายฯ
กลไกการติดตามและประเมินผล
· กำหนดให้มีการรายงานผลการดำเนินงานในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ 3 – 4 ครั้ง/ปี
______________________
1ในการประชุมครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติมีมติเห็นชอบให้ปรับระยะเวลาของ (ร่าง) นโยบายแห่งชาติด้านยาฯ ฉบับที่เสนอในครั้งนี้ จาก พ.ศ. 2560 - 2564เป็น พ.ศ. 2563 - 2565 เพื่อให้สอดคล้องตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในช่วงแรก ซึ่งจะสิ้นสุดใน พ.ศ. 2565 โดยยังคงการดำเนินการและตัวชี้วัดเดิม จำนวน 7 ข้อ ทั้งนี้ ได้เพิ่มตัวชี้วัดใหม่ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ได้แก่
(1) จำนวนรายการยาจำเป็นที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ อย่างน้อย 20 รายการ/ปี
(2) ร้อยละของประชากรไทยที่มีความรอบรู้ด้านการใช้ยาสมเหตุผลตามเกณฑ์ที่กำหนด อย่างน้อยร้อยละ 50
(3) ร้อยละมูลค่าการผลิตยาชีววัตถุกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 10
(4) มีแนวทางประกอบการพิจารณาผลิตภัณฑ์ยาที่เป็นผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงครบทุกประเภท
(5) จำนวนผลิตภัณฑ์ยานวัตกรรมหรือส่งออกได้รับการอนุญาต อย่างน้อย 30 รายการ/ปี
10. เรื่อง การกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2563/2564
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2563/2564 ทั้ง 9 เขตคำนวณราคาอ้อย ในอัตราตันอ้อยละไม่เกิน 920.00 บาท ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส.* หรือเท่ากับร้อยละ 98.17 ของประมาณการราคาอ้อยเฉลี่ยทั่วประเทศ 937.19 บาทต่อตันอ้อย
______________
* ซี.ซี.เอส. (Commercial Cane Sugar : CCS) เป็นระบบการคิดคุณภาพของอ้อย ซึ่งได้นำแบบอย่างมาจากระบบการซื้อขายอ้อยของประเทศออสเตรเลีย และได้เริ่มใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ฤดูการผลิตปี 2536/2537 เป็นต้นมา โดยคำว่า ซี.ซี.เอส. หมายถึง ปริมาณของน้ำตาลที่มีอยู่ในอ้อยซึ่งสามารถหีบสกัดออกมาได้เป็นน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ส่วนอ้อย ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. หมายถึง เมื่อนำอ้อยมาผ่านกระบวนการผลิต จะได้น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ร้อยละ 10 ดังนั้น อ้อย 1 ตัน หรือ 1,000 กิโลกรัม จะได้น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 100 กิโลกรัม
สาระสำคัญของเรื่อง
อก. รายงานว่า
1. เรื่องที่เสนอมานี้เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 49 มาตรา 50 มาตรา 51 มาตรา 52 และมาตรา 53 ที่บัญญัติให้ก่อนเริ่มฤดูการผลิตน้ำตาลทราย ให้คณะกรรมการบริหารจัดทำประมาณการรายได้จากการจำหน่ายน้ำตาลทรายที่จะผลิตในฤดูนั้น เพื่อกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ซึ่งจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของประมาณการรายได้ แล้วแจ้งให้สถาบันชาวไร่อ้อยและสมาคมโรงงานทราบ และจัดให้มีการประชุมผู้แทนสถาบันชาวไร่อ้อยและผู้แทนสมาคมโรงงานเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อคัดค้านจากนั้นให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเสนอประมาณการรายได้ ราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น และผลการประชุมผู้แทนสถาบันชาวไร่อ้อยและผู้แทนสมาคมโรงงานดังกล่าวต่อคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อพิจารณาแล้วให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา โดยเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นแล้ว ให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2. คณะกรรมการบริหารในคราวประชุมครั้งที่ 14/2563 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2563 ได้พิจารณาการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2569/2564 แล้วมีมติ ดังนี้
2.1 เห็นชอบองค์ประกอบการคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2563/2564
2.2 กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2563/2564 ทั้ง 9 เขตคำนวณราคาอ้อย เป็นราคาเดียวทั่วประเทศ ดังนี้
2.2.1 ราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2563/2564 อัตราตันอ้อยละ 900.00 บาท ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. หรือเท่ากับร้อยละ 96.54 ของประมาณการราคาอ้อยเฉลี่ยทั่วประเทศ 932.29 บาทต่อตันอ้อย และกำหนดอัตราขึ้น/ลง ของราคาอ้อยเท่ากับ 54.00 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส.
2.2.2 ผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2563/2564 เท่ากับ 385.71 บาทต่อตันอ้อย
3. สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้จัดให้มีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อคัดค้านจากสถาบันชาวไร่อ้อยและสมาคมโรงงานน้ำตาลทรายต่อราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2563/2564 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 โดยสถาบันชาวไร่อ้อยได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2563/2564 ดังนี้
3.1 เห็นควรประกาศราคาอ้อยขั้นต้นในอัตราตันอ้อยละ 950.00 บาท ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิต เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการปลูกอ้อยมีต้นทุนสูง ประกอบกับค่าครองชีพในปัจจุบันของชาวไร่อ้อยสูงขึ้น
3.2 เห็นควรปรับราคากากน้ำตาลในประเทศและส่งออก เนื่องจากสภาวะปัจจุบันคาคว่ากากน้ำตาลจะมีปริมาณน้อยส่งผลให้ราคาสูงขึ้น ราคากากน้ำตาลจึงสามารถปรับเพิ่มได้
3.3 ราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นที่จะประกาศยังคงต่ำกว่าต้นทุนการผลิต จึงเห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือชาวไร่อ้อยจากรัฐบาล เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ชาวไร่อ้อยให้ได้รับราคาอ้อยที่คุ้มกับต้นทุนการผลิตต่อไป
4. คณะกรรมการบริหารในคราวประชุมครั้งที่ 15/2563 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 ได้พิจารณาการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2563/2564 แล้วมีมติ ดังนี้
4.1 เห็นชอบองค์ประกอบการคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2563/2564 โดยปรับองค์ประกอบการคำนวณในส่วนของราคากากน้ำตาล จากเดิมที่ 3,700 บาทต่อตัน เป็น 3,900 บาทต่อตัน
4.2 กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2563/2564 ทั้ง 9 เขตคำนวณราคาอ้อย เป็นราคาเดียวทั่วประเทศ ดังนี้
4.2.1 ราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2563/2564 ในอัตราตันอ้อยละ 920.00 บาท ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. หรือเท่ากับร้อยละ 98.17 ของประมาณการราคาอ้อยเฉลี่ยทั่วประเทศ 937.19 บาทต่อตันอ้อย และกำหนดอัตราขึ้น/ลงของราคาอ้อยเท่ากับ 55.20 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส.
4.2.2 ผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2563/2564 เท่ากับ 394.29 บาทต่อตันอ้อย
4.3 กำหนดแนวทางการให้ความช่วยเหลือชาวไร่อ้อย โดยขอรับการสนับสนุนความช่วยเหลือจากรัฐบาลเพื่อให้ชาวไร่อ้อยได้รับราคาอ้อยที่คุ้มกับต้นทุนการผลิตต่อไป
5. คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายในคราวประชุมครั้งที่ 15/2563 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 ได้พิจารณาการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2563/2564 ตามที่คณะกรรมการบริหารเสนอ โดยได้มีการรับฟังความคิดเห็นและข้อคัดค้านของผู้แทนสถาบันชาวไร่อ้อยและผู้แทนโรงงานแล้ว มีมติ ดังนี้
5.1 เห็นชอบองค์ประกอบการคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2563/2564 ตามที่คณะกรรมการบริหารเสนอ
5.2 เห็นชอบการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2563/2564 ตามข้อ 4.2
5.3 เห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายนำเสนอ อก. ขอรับการสนับสนุนความช่วยเหลือจากรัฐบาลเพื่อให้ชาวไร่อ้อยได้รับราคาอ้อยที่คุ้มกับต้นทุนการผลิตต่อไป [จากการประสาน อก. อย่างไม่เป็นทางการ ได้รับข้อมูลว่าความช่วยเหลือดังกล่าวอาจมีรูปแบบการดำเนินการในลักษณะเดียวกับการให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตที่ได้มีการดำเนินการในฤดูการผลิตปี 2562/2563
6. ประเด็นข้อพิพาท เรื่อง น้ำตาลภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ระหว่างประเทศไทยกับบราซิลมิได้มีประเด็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการคำนวณราคาอ้อยทั้งขั้นต้นและขั้นสุดท้าย ดังนั้น การกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2563/2564 จึงไม่ขัดกับข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศแต่อย่างใด แต่เป็นการรักษาประโยชน์ให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย รวมทั้งเป็นการสร้างหลักประกันอย่างพอเพียงและเหมาะสมให้กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย
11. เรื่อง การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2564 ครั้งที่ 1
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ (คณะกรรมการฯ) เสนอ ดังนี้
1. ข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2564 ดังนี้
1.1 การปรับปรุงแผนการก่อหนี้ใหม่ ที่ปรับเพิ่มขึ้นสุทธิ 74,394.17 ล้านบาท จากเดิม 1,465,438.61 ล้านบาท เป็น 1,539,832.78 ล้านบาท การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้เดิม ที่ปรับเพิ่มขึ้นสุทธิ 124,534.37 ล้านบาท จากเดิม 1,279,446.80 ล้านบาท เป็น 1,403,981.17 ล้านบาท และการปรับปรุงแผนการชำระหนี้ ที่ปรับเพิ่มขึ้นสุทธิ 505.88 ล้านบาท จากเดิม 387,354.84 ล้านบาท เป็น 387,860.72 ล้านบาท
1.2 การบรรจุโครงการพัฒนา โครงการ และรายการเพิ่มเติมในการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ (แผนฯ) ประจำปีงบประมาณ 2564 ครั้งที่ 1 จำนวน 18 โครงการ/รายการ
1.3 ให้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่มีสัดส่วนความสามารถในการหารายได้เทียบกับภาระหนี้ของกิจการ (Debt Service Coverage Ratio: DSCR) ต่ำกว่า 1 สามารถกู้เงินและบริหารหนี้ภายใต้แผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2564 ปรับปรุงครั้งที่ 1 โดยให้รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่งดังกล่าวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการด้วย
2. การกู้เงินของรัฐบาลเพื่อการก่อหนี้ใหม่ การกู้มาและการนำไปให้กู้ต่อ การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และการค้ำประกันเงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และตามมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนด ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดกู้เงินโควิด-19ฯ) รวมทั้งอนุมัติการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนา และการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ภายใต้กรอบวงเงินของแผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2564 ปรับปรุงครั้งที่ 1 และให้กระทรวงการคลัง (กค.) เป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน การค้ำประกันและการบริหารความเสี่ยงในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ หากรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการกู้เงินได้เองก็ให้สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ (คณะกรรมการฯ) ในคราวการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2564 มีมติเห็นชอบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ (แผนฯ) ประจำปีงบประมาณ 2564 ครั้งที่ 1 สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ
วงเงินเดิม
วงเงินปรับปรุงครั้งที่ 1
เปลี่ยนแปลง
1. แผนการก่อหนี้ใหม่
1,465,438.61
1,539,832.78
74,394.17
1.1 รัฐบาล
1,346,170.52
1,412,858.44
66,687.92
1.2 รัฐวิสาหกิจ
117,460.05
125,166.30
7,706.25
2. แผนการบริหารหนี้เดิม
1,279,446.80
1,403,981.17
124,534.37
2.1 รัฐบาล
1,140,580.79
1,259,049.84
118,469.05
2.2 รัฐวิสาหกิจ
137,366.01
143,431.33
6,065.32
3. แผนการชำระหนี้
387,354.84
387,860.72
505.88
3.1 แผนการชำระหนี้ของรัฐบาลและหนี้หน่วยงานของรัฐจากงบประมาณรายจ่าย
293,454.32
293,896.19
441.87
3.2 แผนการชำระหนี้จากแหล่งอื่น ๆ
93,900.52
93,964.53
64.01
จากการปรับปรุงแผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2564 ครั้งที่ 1 ส่งผลให้หนี้สาธารณะรวม ประจำปีงบประมาณ 2564 ปรับเพิ่มขึ้น โดยสาระสำคัญของการปรับปรุงแผนฯ ในครั้งนี้ คือ (1) การกู้เงินเพื่อดำเนินแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชี้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดกู้เงินโควิด-19ฯ) จำนวน 76,239.00 ล้านบาท (2) การปรับเพิ่มวงเงินปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 120,000 ล้านบาท เนื่องจากรายจ่ายสูงกว่ารายได้ (3) การกู้เงินเพื่อสนับสนุนการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงานภาครัฐและโครงการพัฒนาของรัฐวิสาหกิจ เช่น โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ช่วงบางซื่อ - รังสิต ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โครงการขยายระบบไฟฟ้า ระยะที่ 12 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น รวมทั้งในครั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้ขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการพัฒนา โครงการ และรายการที่จะขอบรรจุเพิ่มเติมและต้องเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี จำนวน 18 โครงการหรือรายการ เช่น โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ช่วงบางซื่อ - รังสิต ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันตกและภาคใต้เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางของการยางแห่งประเทศไทย เป็นต้น และ (4) การชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจำนวน 441.87 ล้านบาท
2. ในแผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2564 ปรับปรุงครั้งที่ 1 มีรัฐวิสาหกิจ จำนวน 2 แห่ง ที่มีสัดส่วนความสามารถในการหารายได้เทียบกับภาระหนี้ของกิจการ (Debt Service Coverage Ratio: DSCR) นับแต่มีการก่อหนี้ในอัตราไม่ต่ำกว่า 1 เท่า ที่ต้องเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี ตามระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2561 ข้อ 12 ได้แก่ การยางแห่งประเทศไทยและการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่ง สามารถกู้เงินใหม่และบริหารหนี้เดิม ภายใต้แผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2564 ปรับปรุงครั้งที่ 1 โดยให้รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่ง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการด้วย
3. การจัดทำแผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2564 ปรับปรุงครั้งที่ 1 ได้จัดทำขึ้นภายใต้กรอบของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชกำหนดกู้เงินโควิด-19ฯ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2561 โดย กค. คาดว่าระดับหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 อยู่ที่ร้อยละ 56.74 (กรอบไม่เกินร้อยละ 60) รวมทั้งได้จัดทำประมาณการหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในช่วงปีงบประมาณ 2565 - 2568 อยู่ระหว่างร้อยละ 56.74 - 59.66 ซึ่งยังอยู่ภายใต้สัดส่วนที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนดที่ระดับร้อยละ 60
4. ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า (1) การพิจารณาเตรียมความพร้อมในการจัดหาแหล่งเงินโดยเฉพาะเงินกู้ให้เพียงพอทั้งในภาวะปกติและภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (Scenario Analysis) เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การดำเนินมาตรการของภาครัฐมีความต่อเนื่อง เพียงพอ และทันการณ์ และ (2) รัฐบาลควรติดตามและเร่งรัดให้หน่วยงานต่าง ๆ เบิกจ่ายงบประมาณอย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามแผนการกู้เงิน โดยเฉพาะโครงการลงทุนที่มีความล่าช้า รวมถึงเร่งรัดการอนุมัติโครงการและการเบิกจ่ายเงินกู้ตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินโควิด-19ฯ
12. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (เป็นการดำเนินการตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 338/2562 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 ข้อ 2.5 ที่กำหนดให้คณะกรรมการฯ มีหน้าที่จัดทำรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปี) สรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญได้ ดังนี้
1. การดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจำนวน 4 คณะ ได้แก่ (1) คณะอนุกรรมการติดตามและตรวจสอบกรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ (2) คณะอนุกรรมการเยียวยากรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ (3) คณะอนุกรรมการป้องกันการกระทำทรมานและบังคับให้หายสาบสูญ และ (4) คณะอนุกรรมการคัดกรองกรณีถูกกระทำทรมานและบังคับให้หายสาบสูญ นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบให้เชิญผู้แทนคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการหายสาบสูญโดยถูกบังคับหรือไม่สมัครใจมาเยือนประเทศไทยอย่างไม่เป็นทางการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ในการติดตามบุคคลที่ถูกบังคับให้หายสาบสูญ ภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สิ้นสุดลง
2. การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการต่าง ๆ จำนวน 4 คณะ สรุปได้ ดังนี้
คณะอนุกรรมการ
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1) คณะอนุกรรมการติดตามและตรวจสอบกรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ
- ติดตามและตรวจสอบ รวมทั้งส่งข้อมูลบุคคลตามบัญชีของคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการหายสาบสูญโดยถูกบังคับหรือไม่สมัครใจให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อนำส่งคณะทำงานดังกล่าวเรียบร้อยแล้วจำนวน 67 ราย และอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จำนวน 8 ราย
- ลงพื้นที่เพื่อเข้าพบญาติของผู้ถูกบังคับให้หายสาบสูญ โดยจะดำเนินการให้ครบถ้วนทุกคน ได้แก่ (1) กรณีที่ญาติอยู่ต่างประเทศ จะประสานผ่านทาง กต.
(2) กรณีที่ญาติแสดงความประสงค์ไม่ตรงกัน จะดำเนินการติดตามต่อไป
(3) กรณีที่ญาติไม่ให้ความร่วมมือ จะจัดทำบันทึกข้อเท็จจริงฝ่ายเดียวพร้อมภาพถ่าย หรือดำเนินการผ่านองค์กรภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องหรือประสานงานผ่านบุคคลที่ญาติไว้วางใจ ทั้งนี้ กรณีที่ไม่พบข้อมูลทายาทจะทำหนังสือสอบถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงาน และ (4) กรณีมีการร้องเรียนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ไปพบครอบครัวบุคคลผู้ถูกบังคับให้หายสาบสูญเพื่อโน้มน้าวใจให้ถอนหรือยุติการติดตามผู้สูญหาย จะเชิญเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศหรือภาคประชาสังคมเข้าร่วมลงพื้นที่ในการเข้าพบญาติหรือติดตามผู้สูญหายด้วยเพื่อแสดงถึงความโปร่งใสในการดำเนินงาน
2) คณะอนุกรรมการเยียวยากรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ
- พิจารณาเยียวยาให้กับผู้ถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ ได้แก่ ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 (พฤษภาทมิฬ) จำนวน 1 ราย และผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อื่น ๆ จำนวน 5 ราย รวม 6 ราย โดยไม่สามารถเยียวยาเพิ่มเติมได้ เนื่องจากได้รับการเยียวยาจากรัฐบาลแล้ว และบางกรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ เนื่องจากไม่ได้เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ สำหรับการขอเยียวยาในด้านอื่น ๆ (เช่น การขอที่อยู่อาศัย) ขณะนี้ได้ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
- ศึกษาแนวทางการช่วยเหลือเยียวยาสำหรับกรณีที่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลที่สูญหายเกิดจากการกระทำของผู้ใด โดยไม่ปรากฏพฤติการณ์การสูญหาย และไม่เคยได้รับการเยียวยาจากหน่วยงานใด รวม 2 แนวทาง ได้แก่ (1) การช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยอาศัยมาตรา 9 (3) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 และ (2) การศึกษาโดยอาศัยมติคณะรัฐมนตรีเทียบเคียงกรณีผู้สูญหายจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พร้อมกำหนดอัตราช่วยเหลือที่เหมาะสมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้มีมติเห็นชอบและจัดสรรเงินเยียวยาแก่ทายาทต่อไป
3) คณะอนุกรรมการป้องกันการกระทำทรมานและบังคับให้หายสาบสูญ
- จัดประชุม สัมมนา และฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดทำสื่อการสอนออนไลน์และสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ เพื่อช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4) คณะอนุกรรมการคัดกรองกรณีถูกกระทำทรมานและบังคับให้หายสาบสูญ
- รับเรื่องราวร้องทุกข์และการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นกรณีถูกกระทำทรมานโดยคณะอนุกรรมการคัดกรองฯ เขตพื้นที่ 1 - 11 (ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 -
กันยายน 2563) ได้รับเรื่องร้องเรียน จำนวน 35 เรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องเรียนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกรมราชทัณฑ์ สำหรับกรณีถูกบังคับให้หายสาบสูญ มีเพียง 2 กรณี คือ นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ และนางแอเสาะ เปาะสา อย่างไรก็ดี คดีที่อยู่ในความสนใจ เช่น นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งคณะกรรมการคัดกรองฯ ได้ตรวจสอบและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
13. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนมกราคม 2564
คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนมกราคม 2564 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
หัวข้อ
สาระสำคัญ
1. ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
1.1 ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
- เร่งรัดการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ โดยอยู่ระหว่างจัดทำคู่มือการจัดทำแผนระดับต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย (1) ระดับของแผน (2) หลักการในการจัดทำและเสนอแผนต่อคณะรัฐมนตรี (3) สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการด้าน... และ (4) แนวทางและขั้นตอนการนำแผนระดับที่ 3 ที่ประกาศใช้แล้วเข้าระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ สศช. จะเสนอคณะรัฐมนตรี และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่อไป
1.2 ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ
- มอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบเรื่องและประเด็นปฏิรูปดำเนินการ ดังนี้
(1) นำเรื่องและประเด็นปฏิรูปตามแผนการปฏิรูปประเทศฉบับเดิมที่ไม่ได้นำมากำหนดเป็นกิจกรรมปฏิรูปที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) ไปดำเนินงานเป็นภารกิจปกติของหน่วยงานคู่ขนานกันไป
(2) จัดทำแผนขับเคลื่อน Big Rock เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนด โดยให้ระบุรายละเอียด ดังนี้ 1) หน่วยงานร่วมดำเนินการ 2) เป้าหมายย่อย 3) ระยะเวลาที่แล้วเสร็จ และ 4) โครงการและการดำเนินงานที่ส่งผลต่อเป้าหมายของกิจกรรม Big Rock
ทั้งนี้ หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักได้ส่งแผนขับเคลื่อนฯ มายัง สศช. แล้ว เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 โดย สศช. จะรวบรวมเสนอคณะกรรมการปฏิรูปประเทศแต่ละด้านพิจารณาและนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป รวมทั้ง สศช. จะนำข้อมูลรายละเอียดของแผนขับเคลื่อนฯ เข้าสู่ระบบ eMENSCR เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการติดตามผลการดำเนินการและรายงานความคืบหน้าตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อไป
1.3 ผลการดำเนินการอื่น ๆ
- จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการประจำปีตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ปี 2563 ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแล้วเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 และ สศช. จะได้ส่งรายงานดังกล่าวไปยังหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป
- สร้างการตระหนักรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของภาคี ต่าง ๆ ต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ โดยสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Facebook โดยมีชื่อเพจว่า “คบเด็กสร้างชาติ-สร้างพลังบวก” เพื่อเผยแพร่สื่อวีดิทัศน์ซึ่งมุ่งให้กลุ่มคนรุ่นใหม่รับทราบสาระและผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างถูกต้องและชัดเจน ประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับการทำดีเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกและสร้างมุมมองในการทำความดีตามความถนัดและความสนใจ นอกจากนี้ สศช. ได้เผยแพร่วีดิทัศน์ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2562 เพื่อการสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับสาระสำคัญและผลการดำเนินการยุทธศาสตร์ชาติและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม
1.4 ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ
ประเด็นท้าทายที่มีความเสี่ยงสูงในการบรรลุเป้าหมาย คือ การกระจายโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ของนักเรียนและประชาชนทั่วไปให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกพื้นที่ รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ให้แก่นักเรียนและประชาชนทั่วไปเห็นความสำคัญของการศึกษา นอกจากนี้ ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรเร่งขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย โดยใช้ข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytic Platform: TPMAP) ซึ่งมีคนจนด้านการศึกษาจำนวน 355,593 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 36.16 ของคนจนเป้าหมายทั้งหมดในปี 2562 มาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาของประชาชนให้ตรงกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
นายกรัฐมนตรีมีข้อสังการว่า การขับเคลื่อนการดำเนินการในระยะต่อไปควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ หรือ BCG Economy (Bio-Circular-Green Economy) ด้วย
14. เรื่อง รายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง การศึกษามาตรการป้องกันการเกิดโรคระบาดหรือโรคติดต่อในประเทศไทย ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง การศึกษามาตรการป้องกันการเกิดโรคระบาดหรือโรคติดต่อในประเทศไทย ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
เรื่องเดิม
1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สผ.) ได้เสนอรายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง การศึกษามาตรการป้องกันการเกิดโรคระบาดหรือโรคติดต่อในประเทศไทยของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย รวมถึงการควบคุมราคาสินค้าผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับหากเกิดการระบาดระลอกใหม่ขึ้นในอนาคต การส่งเสริมและกระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับสุขอนามัยในโรงเรียน การนำข้อมูลทางวิชาการเพื่อให้เกิดความชัดเจนและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนต่อไป การพิจารณาและวางแผนการจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ การศึกษาวิจัยการใช้สมุนไพรไทยที่มีโอกาสใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การสนับสนุนงบประมาณในการสร้างโรงพยาบาลเฉพาะทาง และการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ และระบบการจัดสรรทรัพยากรด้านสาธารณสุข รวมทั้งการกำหนดแผนดำเนินการตามมาตรการด้านการป้องกันและการดูแลตนเองจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้มีความรัดกุมและมีมาตรฐาน
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ สธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานและข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานและข้อสังเกตดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ข้อเท็จจริง
สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วเห็นว่า
1. รายงานฉบับนี้ในภาพรวมมีเนื้อหาสาระที่มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ และได้ให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดหรือดำเนินมาตรการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) อยู่หลายประเด็น เช่น การยกระดับอนามัยส่วนบุคคล และการสร้างความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง (รวมถึงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความตระหนักรู้ถึงสถานการณ์และปฏิบัติตนได้เหมาะสมกับความเสี่ยง) การแก้ปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย เวชภัณฑ์ และทรัพยากรทางสาธารณสุขที่สำคัญ การพัฒนาฐานข้อมูลและแอปพลิเคชันเพื่อการเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยงหรือผู้สัมผัสโรค หรือเพื่อการติดตามสถานการณ์และข้อมูลข่าวสารสำคัญที่เกี่ยวข้องโดยทั่วไป การดูแลสุขภาพและภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยมาตรการเหล่านี้ สธ. จะได้นำไปพิจารณาในรายละเอียดร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปกำหนดเป็นนโยบายและแนวปฏิบัติต่อไป
2. สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังได้มีการพิจารณาดำเนินการมาตรการต่าง ๆ เพิ่มเติม ซึ่งแม้ว่าจะเป็นมาตรการที่ไม่ได้ระบุไว้ในรายงานฉบับนี้อย่างชัดเจน แต่ก็มีความสอดคล้องกับหลักการหรือข้อสังเกตหลายประเด็นที่กล่าวถึงตามรายงานข้อ 1 เช่น การเปิดมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดต่ำมากโดยจะมีการลดระยะเวลาในการกักตัวให้สั้นลง แต่ยังคงระบบคัดกรองอย่างเข้มข้น และมีระบบกำกับติดตามนักท่องเที่ยวอย่างรัดกุม การเร่งกระบวนการศึกษาทดลองวัคซีน ด้วยกระบวนการบริหารจัดการโครงการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ โดยสถาบันแห่งชาติและภาคี เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่มีความถูกต้อง และการปรับรูปแบบการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาด องค์ความรู้ เทคโนโลยีต่างๆ ที่เปลี่ยนไป
15. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2563
คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เสนอ ดังนี้
1. รับทราบผลการประชุม กนช. ครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563
2. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติ กนช. และข้อสั่งการของประธาน กนช. ครั้งที่ 4/2563
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
สาระสำคัญของเรื่อง
กนช. รายงานว่า ในการประชุม กนช. ครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563 โดยมี รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานการประชุมฯ มีผลการประชุมสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
เรื่อง
ความเห็น/ข้อสั่งการของประธาน/มติที่ประชุม
1. เรื่องเพื่อทราบ (7 เรื่อง)
1.1 ผลการประชุมคณะอนุกรรมการภายใต้ กนช. (9 คณะ) แบ่งเป็น (1) เรื่องเสนอให้ กนช. รับทราบ 24 เรื่อง เช่น มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้งปี 2563/64 แนวทางการแก้ไขปัญหาโครงสร้างราคาค่าน้ำในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และแนวทางการพัฒนาทะเลสาบสงขลาอย่างยั่งยืนและ (2) เรื่องที่เห็นชอบให้เสนอ กนช. พิจารณา 7 เรื่อง เช่น แผนหลักการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและการระบายน้ำพื้นที่ชุมชนเมืองพัทยาและพื้นที่ต่อเนื่อง และแผนหลักการบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
ความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช. : (1) โครงการตามนโยบายที่ผ่านความเห็นชอบจาก กนช. และยังไม่มีการขับเคลื่อนจากหน่วยงานเนื่องจากยังไม่มีความพร้อมด้านงบประมาณหรือไม่มีแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน ขอให้เร่งรัดการดำเนินการและรายงานให้ กนช. ทราบ และ (2) โครงการขนาดใหญ่ที่ดำเนินการขอตั้งงบประมาณ พ.ศ. 2565 แต่ยังไม่ได้เสนอขอความเห็นชอบจาก กนช. หากมีความพร้อมให้เสนอขอความเห็นชอบจาก กนช. ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี
ข้อสั่งการของประธาน : (1) ให้หน่วยงานดำเนินการตามข้อเสนอของฝ่ายเลขานุการ กนช. และ (2) ให้คณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาค ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ กำหนดกรอบเป้าหมายการดำเนินการในพื้นที่และรายงานผลให้ กนช. ทราบ
มติที่ประชุม : รับทราบและเห็นชอบผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการภายใต้ กนช. 9 คณะ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช. คณะอนุกรรมการ และข้อสั่งการของประธาน กนช. ต่อไป
1.2 ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการลุ่มน้ำ 25 ลุ่มน้ำ ที่มีการประชุมในเดือนกันยายน 2563 รวม 7 เรื่อง เช่น โครงการบรรเทาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม ในพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ และร่างแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและร่างแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม และในเดือนธันวาคม 2563 รวม 7 เรื่อง เช่น พื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำและมาตรการรองรับและร่างแผนปฏิบัติการภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประจำปี 2565
ข้อสั่งการของประธาน : ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการลุ่มน้ำไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
มติที่ประชุม : รับทราบผลการดำเนินงานคณะกรรมการลุ่มน้ำ 25 ลุ่มน้ำ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อสั่งการของประธาน กนช. ต่อไป
1.3 การดำเนินการตามบทเฉพาะกาลในพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 เมื่อครบกำหนดสองปี
มติที่ประชุม : รับทราบการดำเนินการตามบทเฉพาะกาลในพระราชบัญญัติฯ เมื่อครบกำหนดสองปี รวม 3 เรื่อง ได้แก่ (1) คณะกรรมการลุ่มน้ำประจำลุ่มน้ำ ปฏิบัติหน้าที่เมื่อพ้นกำหนดสองปี (อยู่ระหว่างหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา) (2) การจัดทำผังน้ำเมื่อพ้นกำหนดสองปี ตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 และ (3) การจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ รวม 30 ฉบับ
1.4 ความก้าวหน้าการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น รวม 6 โครงการ ดังนี้
(1) โครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 (มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2563) วงเงิน 2,446.16 ล้านบาท
(2) โครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง (มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563) วงเงิน 7,077.05 ล้านบาท
(3) โครงการเพื่อเตรียมการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย รวมถึงการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด และคณะทำงานภายใต้คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด ทั้ง 76 จังหวัด (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2563) วงเงิน 502.90 ล้านบาท
(4) โครงการบรรเทาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม ในพื้นที่ 76 จังหวัด ทั่วประเทศ (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563) วงเงิน 8,567.94 ล้านบาท
(5) โครงการเพื่อเตรียมการรับมือบรรเทาปัญหาน้ำท่วม และเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำ ในฤดูฝนปี 2563 (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563) วงเงิน 4,645.72 ล้านบาท
(6) โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน (นายกรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563) วงเงิน 24.53 ล้านบาท
ความเห็นของ กนช. : ในการของบกลางฯ ครั้งต่อไป หน่วยงานควรพิจารณาโครงการที่มีความพร้อมทั้งแบบรูปรายการและพื้นที่ดำเนินการ เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการและสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ทันต่อไป
ข้อสั่งการของประธาน : (1) ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กำกับทุกหน่วยงานเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้ และ (2) สำหรับการเสนอของบกลางฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ให้ตรวจสอบกลั่นกรองโครงการไม่ให้มีความซ้ำซ้อน และมีความพร้อมสามารถดำเนินการได้ทันที
มติที่ประชุม : รับทราบความก้าวหน้าการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลางฯ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของ กนช. และข้อสั่งการของประธาน กนช. ต่อไป
1.5 มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำฤดูแล้งปี 2563/64 (9 มาตรการ) เช่น การเร่งเก็บกักน้ำก่อนสิ้นสุดฤดูฝน และการจัดหาแหล่งสำรองน้ำดิบในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ
ข้อสั่งการของประธาน : (1) ให้หน่วยงานเร่งรัดการดำเนินงานให้แล้วเสร็จก่อนฤดูฝน และรายงานผลให้ สนทช. ทราบเป็นระยะ และ (2) ให้หน่วยงานจัดหาแหล่งน้ำดิบสำรองให้เพียงพอต่อการผลิตประปาในฤดูแล้ง
มติที่ประชุม : รับทราบมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำฤดูแล้งปี 2563/64 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อสั่งการของประธาน กนช. ต่อไป
1.6 ความก้าวหน้าการดำเนินโครงการตามนโยบายที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ตรวจราชการในพื้นที่ และมติ กนช. ได้แก่ (1) โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงสีไฟ (2) โครงการฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตร จังหวัดพิจิตร และ (3) โครงการพัฒนาและฟื้นฟูคลองเปรมประชากร
ข้อสั่งการของประธาน : (1) ให้ สทนช. บูรณาการหน่วยงานในการจัดทำแผนหลักการอนุรักษ์และฟื้นฟูบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร และขนย้ายมูลดินออกโดยเร็ว (2) ให้กรมชลประทานและกรมทรัพยากรน้ำ เร่งดำเนินการโครงการฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตรให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และ (3) ให้กรุงเทพมหานครเร่งดำเนินการโครงการอุโมงค์ระบายน้ำคลองเปรมประชากรให้แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้
มติที่ประชุม : รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินโครงการตามนโยบายที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ตรวจราชการในพื้นที่ และที่ กนช. มีมติเห็นชอบ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อสั่งการของประธาน กนช. ต่อไป
1.7 รายงานการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารสภาน้ำแห่งเอเชีย ครั้งที่ 12 (12th AWC Board of Council Meeting)
มติที่ประชุม : รับทราบผลการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารสภาน้ำฯ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 โดยมีสาระสำคัญ เช่น เห็นชอบกำหนดการสำหรับการจัดการประชุมสัปดาห์น้ำแห่งเอเชีย ครั้งที่ 2 (2nd Asia International Water Week: AIWW) ที่จะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2564 ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และกระทรวงทรัพยากรน้ำแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัปดาห์น้ำแห่งเอเชีย ครั้งที่ 3
2. เรื่องเพื่อพิจารณา (6 เรื่อง)
2.1 การขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) จำนวน 4 แผน/โครงการ
1) แผนหลักการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและการระบายน้ำพื้นที่ชุมชนเมืองพัทยาและพื้นที่ต่อเนื่อง ของกรมโยธาธิการและผังเมือง แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน (พ.ศ. 2565-2569) ระยะกลาง (พ.ศ. 2570-2574) และระยะยาว (พ.ศ. 2575 ขึ้นไป) มีกรอบวงเงินประมาณ 26,000 ล้านบาท (ครอบคลุมพื้นที่ 226.47 ตารางกิโลเมตร ประชาชนได้รับประโยชน์ 144,520 ครัวเรือน)
ความเห็นของ กนช. : (1) ควรมีการจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินการตามแผน โดยเฉพาะในกลุ่มโครงการระยะเร่งด่วนตั้งแต่ พ.ศ. 2565-2569 ซึ่งมีวงเงินงบประมาณ 9,500 ล้านบาท ขอให้เตรียมความพร้อมต่าง ๆ พร้อมทั้งพื้นที่ดำเนินการไว้ด้วย และ (2) แหล่งเงินที่จะสนับสนุนดำเนินการในแต่ละระยะควรพิจารณาแหล่งเงินอื่น ๆ นอกเหนือจากงบประมาณตามความเหมาะสมด้วย เช่น เงินรายได้ของเมืองพัทยา เงินกู้ หรือการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP)
ข้อสั่งการของประธาน : (1) ให้ สทนช. รับข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ (สงป.) ไปพิจารณาดำเนินการด้วย (2) ให้เมืองพัทยาประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามแผนในระยะเร่งด่วนโดยเร็ว และ (3) ให้หน่วยงานดำเนินการตามความเห็นของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ คณะกรรมการลุ่มน้ำ และ กนช.
มติที่ประชุม : (1) เห็นชอบแผนหลักการแก้ไขปัญหาฯ และ (2) ให้เมืองพัทยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ คณะกรรมการลุ่มน้ำ กนช. และข้อสั่งการของประธาน กนช. ต่อไป
2) แผนหลักการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงเพื่อวางทิศทางการพัฒนาและแนวทาง การขับเคลื่อนโครงการที่เกี่ยวข้อง 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาใช้น้ำสาขาของแม่น้ำโขง ระยะที่ 2 การพัฒนาใช้น้ำโขงสู่ลุ่มน้ำข้างเคียง แบ่งเป็น 2 ระยะย่อย ระยะที่ 3 การพัฒนาใช้น้ำโขง โดยแรงโน้มถ่วงสู่พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และระยะที่ 4 การพัฒนาเขื่อนปากชม เพื่อประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำและเสริมความมั่นคงด้านน้ำแก่ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ
ข้อสั่งการของประธาน : (1) ให้ สทนช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) (กรมชลประทาน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแผนการจัดทำแหล่งเก็บกักน้ำจากแม่น้ำโขงไว้ใช้ในฤดูแล้ง หรืออาจดำเนินการเก็บกักในแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งสามารถรองรับปริมาณน้ำได้จำนวนมาก ให้มีน้ำเพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ครอบคลุมทุกจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ (2) ให้ สทนช. และกรมชลประทานดำเนินการตามความเห็นของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ และคณะกรรมการลุ่มน้ำต่อไป
มติที่ประชุม : เห็นชอบแผนหลักการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงฯ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ และข้อสั่งการของประธาน กนช. ต่อไป
3) แผนหลักการบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ประกอบด้วย 9 แผนงานหลัก แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1 การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของแม่น้ำและคลองเดิม กลุ่ม 2 การบริหารจัดการพื้นที่ และกลุ่ม 3 การสร้างคลองระบายน้ำหลากสายใหม่ ทั้งนี้ มีระยะเวลาดำเนินการ 13 ปี (พ.ศ. 2560-2572) และมีกรอบวงเงินงบประมาณ 329,151 ล้านบาท
ข้อสั่งการของประธาน : ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ และคณะกรรมการลุ่มน้ำต่อไป
มติที่ประชุม : (1) เห็นชอบแผนหลักการบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อสั่งการของประธาน กนช. ต่อไป และ (2) ให้กรมชลประทาน กระทรวงมหาดไทย (มท.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และกรมเจ้าท่าเป็นเจ้าภาพบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเขตคลองให้เกิดความชัดเจน
4) โครงการเพื่อการพัฒนาปี 2564 ของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) (19 โครงการ) วงเงินงบประมาณการลงทุนรวม 6,164.945 ล้านบาท
ความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช. : (1) โครงการดังกล่าวสอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปีฯ ด้านที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภค บริโภค (2) ให้ กปภ. ต้องจัดทำแผนแหล่งน้ำสำรองไว้ด้วย หากแหล่งน้ำดิบไม่เพียงพอ และ (3) โครงการที่มีวงเงินงบประมาณเกิน 1,000 ล้านบาท ต้องเสนอ กนช. ให้ความเห็นชอบก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี
ความเห็นของ กนช. : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เห็นว่า กปภ. ควรตรวจสอบตัวเลขงบประมาณอีกครั้ง เนื่องจากมีความแตกต่างกันและดำเนินการตามระเบียบขั้นตอนให้ถูกต้องต่อไป
ข้อสั่งการของประธาน : ให้ กปภ. ดำเนินการตามความเห็นของ สศช.
มติที่ประชุม : (1) เห็นชอบโครงการเพื่อการพัฒนาปี 2564ฯ และให้ กปภ. เสนอ สศช. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามระเบียบก่อนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบโครงการต่อไป และ (2) ให้ กปภ. ดำเนินการตามความเห็นของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ กนช. และข้อสั่งการของประธาน กนช. ต่อไป
2.2 โครงการขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมเสนอขอตั้งงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้แก่ โครงการอ่างเก็บน้ำบ้านหนองกระทิง จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในแผนพัฒนาแหล่งน้ำ EEC วงเงินรวมทั้งสิ้น 1,370 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (พ.ศ. 2565-2568)
มติที่ประชุม : (1) เห็นชอบโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านหนองกระทิงฯ และ (2) ให้กรมชลประทานดำเนินการตามความเห็นของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญต่อไป
2.3 ร่างแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีแผนงานที่ผ่านการกลั่นกรองจาก สทนช. ในเบื้องต้น ทั้งสิ้น 46,887 รายการ วงเงินงบประมาณ 435,405.61 ล้านบาท ผลสัมฤทธิ์จะได้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 365 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ได้รับประโยชน์ 634,610 ไร่ และครัวเรือนได้รับประโยชน์ 89,310 ครัวเรือน
ความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช. : (1) ร่างแผนปฏิบัติการฯ สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปีฯ (2) แผนงานจากพื้นที่ที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนทั้งจังหวัด รวม 19 จังหวัด เสนอให้จังหวัดปรับปรุงเพิ่มเติมข้อมูลให้ครบถ้วน และให้เสนอประธาน กนช. พิจารณาเห็นชอบอีกครั้ง (3) ให้หน่วยงานเสนอเพิ่มเติมโครงการสำคัญและโครงการนโยบายที่ต้องดำเนินการในปี 2565 ให้ สทนช. ภายในวันที่ 4 มกราคม 2564 และ (4) ภายหลังการจัดลำดับความสำคัญแล้ว ให้เสนอประธาน กนช. พิจารณาเห็นชอบอีกครั้ง
ข้อสั่งการของประธาน : (1) ให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญกับแผนงานด้านน้ำ และให้เสนอ กนช. ตามขั้นตอนการจัดทำแผนก่อนเสนอขอตั้งงบประมาณ และ (2) สำหรับหน่วยงานที่ต้องไปทำข้อมูลเพิ่มเติม ให้เร่งเสนอ สทนช. ภายในวันที่ 4 มกราคม 2564
มติที่ประชุม : (1) เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการฯ และหลักเกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญแผนงาน/โครงการ (2) ให้ สทนช. เสนอร่างแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ต่อคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนต่อไป และ (3) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช. และข้อสั่งการของประธาน กนช. ต่อไป
2.4 การกำหนดรูปแบบและแนวทางการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นพื้นที่รับน้ำนอง จำนวน 174 พื้นที่ ขนาดพื้นที่เก็บน้ำรวม 2,323,208 ไร่ โดยคณะอนุกรรมการกำหนดรูปแบบและแนวทางการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นพื้นที่รับน้ำนองมีความเห็น ดังนี้
(1) ให้กรมชลประทานและกรมทรัพยากรน้ำขับเคลื่อนงานด้านการสำรวจ ออกแบบการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นพื้นที่รับน้ำนอง โดยให้ดำเนินการตามขั้นตอนการดำเนินงานการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นพื้นที่รับน้ำนองโดยเร็ว
(2) ให้กระทรวงการคลัง (กค.) กำหนดหลักเกณฑ์และหรือวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดค่าทดแทนการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นพื้นที่รับน้ำนองตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562 เรื่อง แนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่ได้รับอิทธิพลจากพายุและการช่วยเหลือดูแลประชาชน และวันที่ 10 กันยายน 2562 เรื่อง ขออนุมัติงบกลางปี 2562 รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการแก้ไขและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเนื่องจากเหตุอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ
ข้อสั่งการของประธาน : (1) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของคณะอนุกรรมการกำหนดรูปแบบฯ และข้อเสนอใน กนช. ต่อไป และ (2) ให้ สทนช. ดูพื้นที่เก็บกักน้ำ อย่าให้กระทบกับพื้นที่ทำกินของประชาชนด้วย
มติที่ประชุม : (1) เห็นชอบบัญชีพื้นที่ลุ่มต่ำ 174 พื้นที่ เป็นพื้นที่รับน้ำนอง (2) ให้คณะอนุกรรมการกำหนดรูปแบบฯ จัดทำแผนหลักการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม โดยกำหนดหน่วยดำเนินการและจัดทำโครงการนำร่องให้แล้วเสร็จก่อนฤดูฝนปี 2564 (3) ให้ กษ. และ มท. ร่วมกับ สทนช. กำหนดหลักเกณฑ์และหรือวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดค่าทดแทนการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นพื้นที่รับน้ำนองตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 และวันที่ 10 กันยายน 2562 ให้แล้วเสร็จก่อนฤดูฝน ปี 2564 และเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป และ (4) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของผู้แทน กค. คณะอนุกรรมการกำหนดรูปแบบฯ และข้อสั่งการของประธาน กนช. ต่อไป
2.5 ร่างระเบียบและประกาศ กนช. จำนวน 6 ฉบับ ที่ผ่านการตรวจพิจารณาของคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 (คกอ. 5)
มติที่ประชุม : เห็นชอบร่างระเบียบและประกาศ กนช. 6 ฉบับ ที่ผ่านการตรวจพิจารณาจาก คกอ. 5 และให้นำเสนอประธาน กนช. ลงนามต่อไป
2.6 ร่างรายงาน Country Survey Instrument for SDG Indicator 6.5.1 และ ร่าง Reporting SDG Indicator 6.5.2 เสนอองค์การสหประชาชาติ โดยร่าง Country Surveyฯ ใช้กลไกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมประเมิน และร่าง Reportingฯ เป็นการติดตามการประเมินสถานะสัดส่วนของพื้นที่ลุ่มน้ำข้ามพรมแดน
ความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช. : ให้ทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบเป้าหมายย่อย SDG 6 รายงานผลการขับเคลื่อนให้ สทนช. พิจารณาเพื่อนำเสนอคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ และ กนช. พิจารณาให้ความเห็นชอบตามลำดับก่อนรายงานต่อองค์การสหประชาชาติ
มติที่ประชุม : (1) เห็นชอบทั้ง 2 ร่าง เพื่อจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป (2) ให้เลขาธิการ สทนช. ลงนามในเอกสารร่างรายงานดังกล่าว และเสนอประธาน กนช. ลงนามในหนังสือนำส่งโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ต่อไป และ (3) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของฝ่ายเลขานุการ กนช.
3. เรื่องอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น
3.1 การจัดทำคู่มือข้อมูลพื้นฐาน 22 ลุ่มน้ำ
มติที่ประชุม : รับทราบการจัดทำคู่มือข้อมูลพื้นฐาน 22 ลุ่มน้ำ โดยมีเนื้อหา เช่น พัฒนาการแบ่งลุ่มน้ำในประเทศไทย หลักการในการแบ่งลุ่มน้ำ ข้อมูลพื้นฐานลุ่มน้ำ 22 ลุ่มน้ำ ข้อมูลโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในปัจจุบัน และแผนงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ
3.2 โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานรากเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
มติที่ประชุม : รับทราบโครงการฯ โดยนำการพัฒนาตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการซ่อมแซม เสริมศักยภาพแหล่งน้ำ ซึ่งการดำเนินงานโครงการสอดคล้องตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปีฯ และมีการบูรณาการทุกภาคส่วน
4. ข้อสั่งการเพิ่มเติมของประธาน กนช.
4.1 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการและนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดไว้
4.2 แผนงานโครงการของหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณแล้ว ขอให้เร่งดำเนินการและรายงานให้ กนช. ทราบด้วย
16. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 อย่างเป็นระบบ ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 อย่างเป็นระบบ สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 อย่างเป็นระบบ ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 อย่างเป็นระบบ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
เรื่องเดิม
1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สผ.) ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 อย่างเป็นระบบ ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 อย่างเป็นระบบ มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้มีข้อสังเกตรวม 4 ประเด็น ได้แก่ (1) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ใช่ของฟรี มีต้นทุนการใช้งาน (2) กลไกตลาดสามารถนำมาใช้สะท้อนต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน (3) ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาและจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา (4) ข้อสังเกตแบ่งตามแหล่งกำเนิดของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)
2. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานและข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ตามข้อ 1 ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานและข้อสังเกตดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ข้อเท็จจริง
ทส. เสนอว่า ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมหารือเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว ที่ประชุมมีความเห็นว่ารายงานและข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญในเรื่องนี้ส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” และมีความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปได้ดังนี้
1. การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จากการคมนาคม ควรพิจารณาการจัดการแก้ไขปัญหาที่แหล่งกำเนิดภาคคมนาคมขนส่งทางน้ำ ให้มีการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รถยนต์ของส่วนราชการควรเป็นรถยนต์มลพิษต่ำ ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ คค. ตช. อก. กค. พน. และ ทส. ให้ความสำคัญและส่วนใหญ่ได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง จึงควรเป็นหลักการในการดำเนินการต่อไป
2. การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จากภาคอุตสาหกรรมควรสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงเครื่องฟอกอากาศ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพโดยใช้มาตรการจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ อาธิ สธ. พณ. อก. พน. และ อว. ต้องร่วมกันดำเนินการให้เป็นทิศทางเดียวกัน ทั้งในส่วนของมาตรฐานและนวัตกรรมการผลิต การควบคุมราคา การส่งเสริมด้านการตลาด รวมถึงพัฒนามาตรการจูงใจให้ประชาชนและผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จากภาคอุตสาหกรรม
3. การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จากการเผาในที่โล่ง ควรให้ความสำคัญกับมาตรการจัดการเชื้อเพลิง และการบริหารจัดการเศษซากวัสดุจากการเกษตร สนับสนุน ส่งเสริมการขยายผลต่อยอดการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี บูรณาการการดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนข้อมูลและเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการการเผาของพื้นที่ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างความตระหนัก และส่งเสริมการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการเผาในที่โล่งจากภาคเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการดำเนินการที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ มท. กษ. ทส. อก. พน. กค. อว. และ ดศ. ให้ความสำคัญและส่วนใหญ่ได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจึงควรถือเป็นหลักการในการดำเนินการต่อไป
4. การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จากไฟป่าในพื้นที่อนุรักษ์จัดสรรงบประมาณ และบุคลากรเพิ่มเติม รวมทั้งจัดสรรงบประมาณในการเฝ้าระวัง และดูแลสุขภาพบุคลากรภาคสนาม บูรณาการข้อมูลปริมาณเชื้อเพลิง พื้นที่ป่า เพื่อลดปริมาณเชื้อเพลิงในพื้นที่เสี่ยงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาขอรับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากไฟป่า ควรกำหนดกฎระเบียบตลาดคาร์บอนเครดิตของภาคเอกชนสำหรับการปลูกป่า ซึ่ง ทส. มท. และ ดศ. ให้ความสำคัญและส่วนใหญ่ได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง จึงควรถือเป็นหลักการในการดำเนินการต่อไป
5. การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จากหมอกควันข้ามแดน ควรประสานงานเลขาธิการอาเซียนและกลุ่มประเทศสมาชิก เพื่อสนับสนุนเสริมสร้างศักยภาพในการติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์คุณภาพอากาศ ประสานความร่วมมือเพื่อขอให้ประเทศต่าง ๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงยกระดับการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการเผาในที่โล่งและการจัดการไฟป่า รวมทั้งการบูรณาการรูปแบบการรายงานและการแจ้งเตือนสถานการณ์มลพิษอากาศกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นการดำเนินงานซึ่ง กต. ทส. ดศ. ให้ความสำคัญและส่วนใหญ่ได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมายควรเป็นไปตามบริบทและความพร้อมของแต่ละประเทศ รวมถึงการพัฒนาระบบแจ้งเตือนผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษ
6. กต. เห็นว่า นอกจากความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ภายใต้กลไกในกรอบอาเซียน อาทิ ข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดนที่ดำเนินการอยู่แล้ว ฝ่ายไทยอาจพิจารณาใช้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือระดับทวิภาคีที่มีอยู่ควบคู่ไปด้วย เช่น การประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา และการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนและเจ้าแขวงไทย - ลาว ซึ่ง มท. เป็นเจ้าภาพ รวมทั้งเห็นควรมุ่งเน้นแนวทางการป้องกันล่วงหน้าเพื่อลดความรุนแรงและผลกระทบจากปัญหาหมอกควันข้ามแดน และการแสวงหาความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาอาเซียนที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ เช่น เครือข่ายออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา เพื่อส่งเสริมศักยภาพของหน่วยงานท้องถิ่นทั้งในไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
17. เรื่อง การเพิ่มจำนวนกรรมการของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอการเพิ่มจำนวนกรรมการของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) เพื่อให้การกำกับดูแลการเพิ่มจำนวนกรรมการของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ในฐานะรัฐวิสาหกิจของประเทศ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป และเพื่อให้เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 6 วรรคสอง
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงพลังงานในฐานะหน่วยงานเจ้าสังกัดของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นสัดส่วนร้อยละ 74.16 ของบริษัท ปตท. น้ำมันและค้าปลีก จำกัด (มหาชน) พิจารณาแล้วเห็นว่า ปัจจุบันบริษัท ปตท. น้ำมันและค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ได้มีการดำเนินธุรกิจด้านการค้าปลีกเชื้อเพลิง การค้าปลีกสินค้าและบริการอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีมูลค่าสูงและมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก อาทิ ผู้บริโภค ผู้ร่วมธุรกิจ สังคม ชุมชน พนักงานและผู้ถือหุ้น แต่ยังขาดกรรมการที่มีทักษะ ความรู้ และความชำนาญเฉพาะด้าน ซึ่งปัจจุบัน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) มีกรรมการ จำนวน 11 คน ซึ่งข้อบังคับของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ที่กำหนดให้มีคณะกรรมการของบริษัทเพื่อดำเนินกิจการของบริษัทได้ไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินสิบห้าคน
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารองค์กรและการกำกับดูแล ครบถ้วนต่อการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จึงเห็นควรเพิ่มจำนวนกรรมการของบริษัท ปตท. น้ำมันและค้าปลีก จำกัด (มหาชน) จากเดิม 11 คน เป็น 15 คน โดยมีกรรมการที่มีทักษะ ความรู้ ความชำนาญที่ต้องการเพิ่มเติม ดังนี้
1. ด้านกฎหมาย เพื่อทำหน้าที่กำกับและบริหารการดำเนินการขององค์กรให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพร้อมกับเป็นรัฐวิสาหกิจ
2. ด้านธุรกิจระหว่างประเทศ เพื่อทำให้หน้าที่ในการกำกับและบริหารธุรกิจที่จะขยายการลงทุนในต่างประเทศ เนื่องจากบริษัท ปตท. น้ำมันและค้าปลีก จำกัด (มหาชน) มีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นบริษัทไทยชั้นนำระดับโลกที่สร้างคุณค่าให้กับชุมชนผ่านการดำเนินธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทย่อยและบริษัทร่วมตั้งอยู่ในต่างประเทศจำนวน 10 ประเทศ อีกทั้งมีแผนการขยายการลงทุนระยะยาวในต่างประเทศ โดยแผนการลงทุนในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2568 จะขยายการลงทุนในต่างประเทศประมาณร้อยละ 22 ของวงเงินลงทุนทั้งหมด (ประมาณ 74,000 ล้านบาท) แต่องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ในปัจจุบันยังไม่มีกรรมการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจการค้าในต่างประเทศ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
3. ด้านธุรกิจค้าปลีก เพื่อทำหน้าที่ในการกำกับและบริหารการดำเนินการของธุรกิจค้าปลีก เนื่องจากบริษัท ปตท. น้ำมันและค้าปลีก จำกัด (มหาชน) มีเป้าหมายหลักในการขยายธุรกิจทางด้านธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่น ๆ (Non-oil) เพื่อเป็นไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากการที่เทคโนโลยีเปลี่ยนฉับพลัน (Disruptive Technology) และเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรและผู้มีส่วนได้เสีย
4. ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อทำหน้าที่ด้านการเสริมสร้างการพัฒนาทรัพยากรบุคคล (People) และสิ่งแวดล้อม (Planet) อันได้แก่ สังคม ชุมชน ประชาชน พนักงานและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาและเติบโตไปพร้อมกับองค์กร
18. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563 เรื่อง กลไกเฝ้าระวังการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (สำนักงาน ป.ป.ท.)
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) เสนอผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563 เรื่อง กลไกเฝ้าระวังการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1. สำนักงาน ป.ป.ท. ได้นำกลไกการเฝ้าระวังฯ เสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติทราบแล้วในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2563 และได้แจ้งเวียนมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวให้ปลัดกระทรวง 20 กระทรวง และหน่วยงานภายในศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) เพื่อแจ้งหน่วยงานในสังกัดหรือกำกับที่มีการเสนอของบประมาณตามพระราชกำหนดดังกล่าวรับทราบและให้ความร่วมมือในการดำเนินงานตามกลไกเฝ้าระวังการใช้จ่ายงบประมาณและมีการติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ครั้งที่ 2-1/2564 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564
2. สำนักงาน ป.ป.ท. ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชกำหนดฯ หรือ “ศูนย์ไทยเฝ้าระวัง” ในสำนักงาน ป.ป.ท. เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงานรับเรื่องร้องเรียน และแจ้งเบาะแสการทุจริต โดยมีการดำเนินการตามกลไกในการเฝ้าระวังการใช้จ่ายงบประมาณ 4 ด้าน ดังนี้
กลไกการดำเนินงาน
สาระสำคัญโดยสรุป
การเฝ้าระวัง
และแจ้งเบาะแส
- จัดทำเว็บไซต์ “ไทยเฝ้าระวัง” เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงานในแผนงานหรือโครงการให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อร่วมเฝ้าระวังการทุจริต และเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินงาน โดยได้เชื่อมโยงข้อมูลกับเว็บไซต์ ThaiME ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- จัดทำช่องทางร้องเรียนผ่านเว็บไซต์ “ไทยเฝ้าระวัง” โดยเชื่อมโยงข้อมูลเรื่องร้องเรียนกับสายด่วน 1111 สำนักนายกรัฐมนตรี เว็บไซต์ภาษีไปไหนของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เว็บไซต์ศูนย์ดำรงธรรม เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน รวมทั้งแก้ไขความเดือดร้อนไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
- ขอความร่วมมือคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน โดยประสานเครือข่ายสภาตำบลทั้ง 7,791 แห่ง และหน่วยงานภายใน ศอตช. บูรณาการการทำงานร่วมกันในการป้องกันและเฝ้าระวังการทุจริต ประสานเป็นเครือข่ายแจ้งเรื่องร้องเรียนและเบาะแสการทุจริตในโครงการ ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูลโครงการตามพระราชกำหนดฯ ให้แก่ประชาชนในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ ได้ประสานสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อให้ประสานเครือข่ายโทรทัศน์ เครือข่ายวิทยุกรมประชาสัมพันธ์และวิทยุชุมชน ประมาณ 4,000 สถานี เพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชนด้วย
การป้องกัน
และลดโอกาสการทุจริต
- สำนักงาน ป.ป.ท. ร่วมกับหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณและศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) ของหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณ วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นในโครงการที่ได้รับอนุมัติ และร่วมกันจัดทำมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตในโครงการ รวมทั้งเผยแพร่ประเด็นความเสี่ยงการทุจริตในแต่ละโครงการเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมเฝ้าระวังการทุจริต ใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบเชิงป้องปรามของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเป็นข้อมูลเพื่อให้หน่วยงานทำการเฝ้าระวังและกวดขันไม่ให้มีการทุจริตเกิดขึ้น
- ศปท. กำกับ ติดตามการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงการทุจริตและรายงานผลดำเนินการไปยังสำนักงาน ป.ป.ท. ทุก 3 เดือน ซึ่งปัจจุบันได้ประเมินความเสี่ยงการทุจริตในโครงการระดับกระทรวง จำนวน 33 โครงการ และระดับจังหวัด จำนวน 59 โครงการ เช่น โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” โดยนำร่องตรวจสอบ 6 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงแรงงาน
- สำนักงาน ป.ป.ท. ร่วมกับหน่วยงานภานใน ศอตช. เช่น มท. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัด ดำเนินมาตรการป้องปรามการทุจริตในโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การตรวจสอบ
- กรณีมีการร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริต สำนักงาน ป.ป.ท. ได้แต่งตั้งคณะทำงานและชุดปฏิบัติการเพื่อปฏิบัติงานให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีการดำเนินโครงการ โดยกำหนดขั้นตอนการตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นการเฉพาะและบูรณาการการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงาน อีกทั้งเพื่อความรวดเร็วในการดำเนินงาน สำนักงาน ป.ป.ท. ได้จัดทำระบบรับเรื่องร้องเรียน ศอตช. ทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยระบบรองรับการส่งต่อเรื่องและติดตามการดำเนินงานในการตรวจสอบแบบ real time ทั้งนี้ ปัจจุบันมีประชาชนร้องเรียนการทุจริตผ่านเว็บไซต์ “ไทยเฝ้าระวัง” เกี่ยวกับโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการของกรมการปกครอง และโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ของกรมการพัฒนาชุมชน จำนวน 10 เรื่อง ซึ่งตรวจสอบแล้วไม่พบข้อมูลการทุจริต จำนวน 7 เรื่อง และอยู่ระหว่างตรวจสอบ จำนวน 3 เรื่อง
การดำเนินมาตรการ
ทางปกครอง วินัย อาญา
สำนักงาน ป.ป.ท. ได้เปิดใช้งานระบบรายงานข้อร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับการติดตาม ตรวจสอบ และเร่งรัดการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ ในกรณีมีข้อร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดกระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการฯ โดยระบบสามารถติดตามและส่งต่อข้อมูลการดำเนินงานจากหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดผ่านการรายงานของ ศปท. ไปยังสำนักงาน ป.ป.ท. แบบ real time รวมถึงแจ้งเตือนการดำเนินงานภายในระยะเวลาที่กำหนด (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในระบบราชการ)
19. สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 3/2564
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เสนอ ดังนี้
สรุปสถานการณ์ ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ
1. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อ ที่ประชุมรับทราบรายงานสถานการณ์ ดังนี้
1) สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 มีจำนวนผู้ติดเชื้อรวมทั้งสิ้น 111,954,201 ราย โดยประเทศที่พบผู้ติดเชื้อมาก 3 ลำดับแรกของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย
และบราซิล ในส่วนของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 114 จาก 217 ประเทศทั่วโลก
2) สถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2563 - 22 กุมภาพันธ์ 2564 มีผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 21,267 ราย (เป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 5,922 ราย คัดกรองเชิงรุก 14,407 ราย มาจากต่างประเทศ 938 ราย) หายป่วยแล้ว 20,184 ราย กำลังรักษาตัวในโรงพยาบาล 736 ราย และอยู่ในโรงพยาบาลสนาม 324 ราย ทั้งนี้ ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 พบผู้ป่วยรายใหม่ 89 ราย เป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 59 ราย การคัดกรองเชิงรุก 14 ราย และผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศและอยู่ระหว่างกักตัวในสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนด 16 ราย
3) สรุปสถานการณ์โรคโควิด - 19 ระลอกใหม่ของประเทศไทยในภาพรวม พบว่าจังหวัดต่าง ๆ มีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงมากและควบคุมการระบาดได้ โดยจังหวัดสมุทรสาครได้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคที่กำหนด สำหรับกรุงเทพฯ และปริมณฑลสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังพบผู้ติดเชื้อจากตลาดสดในจังหวัดปทุมธานีทั้งในกลุ่มคนไทยและแรงงานต่างด้าว รวมทั้งต้องเน้นการควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สถานการณ์ทั่วโลกยังพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงประเทศมาเลเซียและเมียนมา จึงต้องคงระดับการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดตามพื้นที่ชายแดนของประเทศ
2. การดำเนินการให้เป็นไปตามข้ออนุมัติของนายกรัฐมนตรีตามการเสนอของคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ดังนี้
1) ที่ประชุมรับทราบการจัดการแข่งขัน JET SKI WORLD CUP SEASON 2020-2021 และ JET SKI PRO TOUR 2021 กำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 21 - 25 เมษายน 2564 โดยกำหนดให้มีความพร้อมในการแข่งขัน ได้แก่ (1) นักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากต่างประเทศต้องมีใบรับรองแพทย์ปลอดโควิด (Covid-Free Certificate) (2) ต้องผ่านมาตรการกักกัน (Quarantine) ระยะเวลา 14 วัน (3) ต้องพยายามสร้าง Bubble ในแต่ละกิจกรรม (4) หากสถานการณ์การติดเชื้อโควิด - 19 ในพื้นที่อยู่ในระดับปัจจุบันอนุญาตให้มีผู้เข้าชมได้ตามเกณฑ์ที่ ศบค. กำหนด (5) ใช้ขั้นตอนการปฏิบัติในมาตรการป้องกันโควิด - 19 ซึ่งผ่านความเห็นชอบของ ศบค. แล้ว และ (6) ผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้ ให้ทุกขั้นตอนต้องมีมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด - 19 ยึดหลัก D-M-H-T-T
2) ที่ประชุมรับทราบแนวทางปฏิบัติกรณีสายการบินทำการบินขนส่งผู้โดยสารแวะต่อเที่ยวบิน (Transit Flight) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีเงื่อนไขการดำเนินการ ได้แก่ (1) หลีกเลี่ยงประเทศต้นทางที่มีความเสี่ยงสูง (2) ผู้โดยสารจะต้องมีเอกสารใบรับรองแพทย์ (Fit to Fly health Certificate) ใบรับรองแพทย์ปลอดโควิด (Covid-Free Certificate) และกรมธรรม์ประกันภัย (Insurance) (3) สายการบินต้องตรวจคัดกรองและตรวจเอกสารจากประเทศต้นทาง (4) เมื่อมาลงที่สนามบินต้องกำหนดพื้นที่เฉพาะไม่ให้ออกนอกพื้นที่ที่กำหนด (Seal Route) เช่น ร้านค้า เป็นต้น (5) ไม่มีการตรวจคัดกรองที่สนามบิน เนื่องจากคัดกรองจากประเทศต้นทางมาแล้วและหลีกเลี่ยงปัญหาการบริหารจัดการที่สนามบิน (6) กำหนดเวลาการต่อเที่ยว (Transit Flight) ไม่เกิน 12 ชั่วโมง (7) เพิ่ม Security Check Point และ (8) การรอในพื้นที่ Transit ต้องจัดระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัยมีเจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดฆ่าเชื้อ
3) การอนุญาตให้ผู้ไม่มีสัญชาติไทยเดินทางเข้าประเทศโดยเครื่องบินส่วนบุคคลและทำการกักตัวบนเรือ สมาคมธุรกิจเรือยอร์ชไทยขอให้พิจารณาการเดินทางเข้าราชอาณาจักรของบุคคล จำนวน 4 คน (ซึ่งเป็นครอบครัวเดียวกัน แบ่งเป็นสัญชาติ จีน 2 คน อเมริกัน 1 คน และออสเตรเลีย 1 คน) ซึ่งมีความประสงค์จะเดินทางเข้าราชอาณาจักรโดยเครื่องบินส่วนบุคคลจากสนามบินซองซาน ไต้หวัน มาลงที่สนามบินนานาชาติภูเก็ต และขอเข้ารับการกักตัวในเรือ Superyacht ส่วนบุคคลชื่อ STARDUST เป็นระยะเวลา 14 วัน โดยโรงพยาบาลคู่สัญญาของบริษัทเรือจะเดินทางไปตรวจหาเชื้อโควิด – 19 ในเรือ ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ได้มีมติให้ความเห็นชอบในหลักการโดยมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการ ได้แก่ (1) ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) เป็นหน่วยงานบูรณาการการดำเนินการในภาพรวม (2) กรมเจ้าท่าดำเนินการแก้ประกาศและคำสั่งในส่วนที่เกี่ยวข้อง และ (3) คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ตจัดทำคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure: SOP) เกี่ยวกับการดูแลเรื่องมาตรการด้านสาธารณสุข ทั้งนี้ ที่ประชุม ศบค. ได้มีมติ ดังนี้
3.1) เห็นชอบในหลักการโดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ และนำแนวทางปฏิบัติดังกล่าวไปปรับใช้อย่างเหมาะสมในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
3.2) เห็นชอบหลักการในการพิจารณาอนุญาตให้นักธุรกิจที่ไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งได้รับการฉีดวัคซีนแล้วสามารถเดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศปก.ศบค.) พิจารณากำหนดรายละเอียดและแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมต่อไป
3. การเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียและคณะ (รวม 6 คน) ที่ประชุมรับทราบการเดินทางเยือนไทยของนาง Retno Marsudi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย เพื่อหารือกับไทยเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในเมียนมา ในระหว่างวันที่ 23 – 25 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งจะเดินทางโดยเครื่องบินส่วนตัวถึงประเทศไทยวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 และเข้าพัก ณ โรงแรมอนันตรา สยาม (สถานกักกันตัวของภาครัฐ Alternative State Quarantine: ASQ) ซึ่งในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 จะเข้าหารือกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ณ โรงแรมที่พัก และเดินทางกลับโดยเครื่องบินส่วนตัวในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียและคณะ ยังไม่มีคำขอยกเว้นการตรวจหาเชื้อโควิด – 19
4. ที่ประชุมเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร คราวที่ 10 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 มีนาคม 2564
5. ที่ประชุมเห็นชอบให้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาการปรับระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรสำหรับการผ่อนคลายกิจการและกิจกรรม จำนวน 4 ประเภทพื้นที่ ดังนี้
1) พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร โดยสรุปแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
(1) เปิดสถานที่ โดยเข้มงวดมาตรการป้องกันโรคในสถานที่ ได้แก่ ร้านอาหาร เปิดบริการได้ไม่เกิน 21.00 น. (รับประทานอาหารในร้านได้ และงดดื่มสุราในร้าน) ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าเปิดบริการได้ไม่เกิน 21.00 น. (จำกัดจำนวนคน และงดจัดกิจกรรม)
(2) ปิดสถานที่และเข้มงวดการควบคุมกำกับ ได้แก่ สถานบันเทิง ผับ บาร์ และสถานที่ออกกำลังกายกลางแจ้ง ยิม และฟิตเนส รวมทั้งปิดสถานศึกษาทุกระดับและสถาบันกวดวิชาโดยให้เรียน online เท่านั้น
2) พื้นที่ควบคุม จำนวน 8 จังหวัด (จากเดิม 20 จังหวัด เป็น 8 จังหวัด) ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสงคราม นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี ตาก และราชบุรี โดยสรุปแนวทางปฏิบัติ ให้เปิดสถานที่ โดยเข้มงวดมาตรการป้องกันโรคในสถานที่ ดังนี้
(1) ร้านอาหาร เปิดบริการได้ไม่เกิน 23.00 น. (รับประทานอาหารและดื่มสุราในร้านได้)
(2) สถานบันเทิง ผับ บาร์ เปิดบริการได้ไม่เกิน 23.00 น. (ดื่มสุราและแสดงดนตรีสดในร้านได้ แต่งดเต้นรำ)
(3) ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า เปิดบริการตามปกติ (จำกัดจำนวนคน งดจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย)
(4) สถานศึกษาทุกระดับ/สถาบันกวดวิชา ให้เรียนแบบปกติหรือแบบผสมผสาน
(5) สถานที่ออกกำลังกาย กลางแจ้ง ยิม ฟิตเนส ให้เปิดบริการปกติ (แข่งขันได้โดยจำกัดผู้ชม)
3) พื้นที่เฝ้าระวังสูง จำนวน 14 จังหวัด (จากเดิม 17 จังหวัด เป็น 14 จังหวัด) ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี ระนอง ชลบุรี ระยอง ชุมพร สงขลา ยะลา และนราธิวาส โดยสรุปแนวทางปฏิบัติ ให้เปิดสถานที่ โดยเข้มงวดมาตรการป้องกันโรคในสถานที่ ดังนี้
(1) ร้านอาหาร เปิดบริการได้ไม่เกิน 24.00 น. (รับประทานอาหารและดื่มสุราในร้านได้)
(2) สถานบันเทิง ผับ บาร์ เปิดบริการได้ไม่เกิน 24.00 น. (ดื่มสุราและแสดงดนตรีสดในร้านได้ แต่งดเต้นรำ)
(3) ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า เปิดบริการตามปกติ (จำกัดจำนวนคน งดจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย)
(4) สถานศึกษาทุกระดับ/สถาบันกวดวิชา ให้เรียนแบบปกติหรือแบบผสมผสาน
(5) สถานที่ออกกำลังกาย กลางแจ้ง ยิม ฟิตเนส ให้เปิดบริการปกติ (แข่งขันได้โดยจำกัดผู้ชม)
4) พื้นที่เฝ้าระวัง จำนวน 54 จังหวัด (จากเดิม 35 จังหวัด เป็น 54 จังหวัด) ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยนาท นครราชสีมา นครสวรรค์ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พังงา เพชรบูรณ์ สุโขทัย สุราษฎร์ธานี อุทัยธานี กระบี่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง นครพนม ชัยภูมิ นครศรีธรรมราช น่าน บึงกาฬ ปัตตานี พะเยา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก แพร่ ภูเก็ต มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ร้อยเอ็ด ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี อ่างทอง สระแก้ว จันทบุรี สิงห์บุรี ตราด ปราจีนบุรี และลพบุรี โดยสรุปแนวทางปฏิบัติ ให้เปิดสถานที่ โดยเข้มงวดมาตรการป้องกันโรคในสถานที่ ดังนี้
(1) ร้านอาหาร เปิดบริการได้ตามปกติ
(2) สถานบันเทิง ผับ บาร์ เปิดบริการได้ตามปกติ
(3) ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า เปิดบริการตามปกติ (จำกัดจำนวนคน งดจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย)
(4) สถานศึกษาทุกระดับ/สถาบันกวดวิชา ให้เรียนแบบปกติหรือแบบผสมผสาน
(5) สถานที่ออกกำลังกาย กลางแจ้ง ยิม ฟิตเนส ให้เปิดบริการปกติ (แข่งขันได้โดยจำกัดผู้ชม)
6. แผนการกระจายวัคซีนโควิด - 19 ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเสนอแผนการกระจายวัคซีนฯ ดังนี้
1) แผนกลยุทธ์การบริหารจัดการวัคซีนโควิด - 19 พ.ศ. 2564 โดยมี (1) วิสัยทัศน์ ทุกคนในประเทศไทยเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพ ปลอดภัย มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด - 19 (2) เป้าหมาย ลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต รักษาความมั่นคงระบบสุขภาพ ลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม (3) หลักการ ให้วัคซีนโควิด - 19 แก่ประชาชน โดยคำนึงถึงหลักจริยธรรม ความเท่าเทียม หลักฐานทางวิชาการ ปริมาณวัคซีนที่จัดหาได้ และความสามารถในการบริหารจัดการภายใต้บริบทของประเทศ และ (4) กลยุทธ์ ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1 การสื่อสารสาธารณะ สร้างความรู้ความเข้าใจประชาชน กลยุทธ์ที่ 2 การจัดบริการที่มีคุณภาพครอบคลุมประชาชนเป้าหมายอย่างรวดเร็ว กลยุทธ์ที่ 3 การประกันคุณภาพวัคซีน และติดตามอาการข้างเคียง (AEFI) กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาระบบข้อมูลและช่วยการบริหารจัดการ และกลยุทธ์ที่ 5 การจัดการองค์ความรู้เพื่อพัฒนาบริการให้วัคซีน
2) กลุ่มเป้าหมายการให้วัคซีนโควิด - 19 ในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 เมื่อมีวัคซีนปริมาณจำกัด
ระยะที่ 2 เมื่อมีวัคซีนมากขึ้น และเพียงพอ
- วัตถุประสงค์ (1) เพื่อลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากโรคโควิด - 19 และ (2) เพื่อรักษาระบบสุขภาพของประเทศ
- กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ (1) บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ทั้งภาครัฐและเอกชน (2) บุคคลที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี เป็นต้น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างเคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด โรคเบาหวานและโรคอ้วนที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม (3) ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป และ (4) เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด - 19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย
- วัตถุประสงค์ (1) เพื่อรักษาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ และ (2) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในระดับประชากรและฟื้นฟูให้ประเทศกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
- กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ (1) กลุ่มเป้าหมายในระยะที่ 1 (2) บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่น ๆ
ที่นอกเหนือจากด่านหน้า (3) ผู้ประกอบอาชีพภาคการท่องเที่ยว อาทิ พนักงานโรงแรม สถานบันเทิง มัคคุเทศก์ นักกีฬา (4) ผู้เดินทางระหว่างประเทศ เช่น นักบิน/ลูกเรือ นักธุรกิจระหว่างประเทศ (5) ประชาชนทั่วไป (6) นักการทูต เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ นักธุรกิจต่างชาติ คนต่างชาติพำนักระยะยาว และ (7) แรงงานในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ
3) แผนการจัดหาวัคซีนโควิด - 19 ของประเทศไทย พ.ศ. 2564
วัคซีน
จำนวน
ระยะเวลา
Sinovac
2,000,000 โดส
กุมภาพันธ์ – เมษายน 2564
AstraZeneca
26,000,000 โดส
มิถุนายน – สิงหาคม 2564
AstraZeneca
35,000,000 โดส
กันยายน – ธันวาคม 2564
4) แผนการกระจายวัคซีนโควิด - 19 ในระยะที่ 1 และระยะที่ 2
(หมายเหตุ เรื่องนี้ขอให้ดูเนื้อหาในไฟล์เอกสารดาวน์โหลด)
5) ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ดังนี้
(1) เห็นชอบแผนกลยุทธ์การบริหารจัดการการให้วัคซีนโควิด - 19 ในประเทศไทย
(2) อนุมัติแผนการกระจายวัคซีนโควิด - 19 ของบริษัท Sinovac จำกัด จำนวน 2,000,000 โดส ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2564
(3) เห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุข (กรมควบคุมโรค) แก้ไขสัญญาจองซื้อวัคซีนโควิด - 19 กับบริษัท AstraZeneca จำกัด จากเดิม 26,000,000 โดส เป็น 61,000,000 โดส (เพิ่มอีก 35,000,000 โดส) และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอรับการจัดสรรวงเงินงบประมาณเพิ่มเติม จำนวน 6,387.46 ล้านบาท
(4) มอบหมายกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรายงานผลความคืบหน้าการบริหารจัดการวัคซีนโควิด - 19 ให้ ศบค. ทราบด้วย
(5) การบริหารจัดการวัคซีนโควิด - 19 ต้องยึดเป้าหมายให้ทุกคนในประเทศไทยเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของหลักจริยธรรม ความเท่าเทียม และหลักวิชาการ
(6) ควรพิจารณาเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนนำเข้าวัคซีนโควิด - 19 ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนในประเทศไทยได้
ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
1. ให้กระทรวงสาธารณสุข และโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาด ซึ่งถึงแม้ขณะนี้จะสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดไว้ได้แล้ว แต่ยังขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด - 19 คือ D - M - H - T - T (D = Distancing, M = Mask Wearing, H = Hand Washing, T = Temperature Check, T = Thaichana/Morchana) และขอให้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อ และจำนวนผู้ติดเชื้อที่รักษาหายแล้ว ตลอดจนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนหน้ากากอนามัยให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มีใช้อย่างเพียงพอต่อไป
2. ให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศปก.ศบค.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจในการผ่อนคลายการจัดกิจกรรมและการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ ซึ่งเป็นการแข่งขันกีฬาระดับชาติที่สืบเนื่องมาจากการที่ประเทศไทยสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจ รวมถึงให้พิจารณาผ่อนคลายกิจกรรมอื่นเพิ่มเติม เช่น สนามแข่งม้า เป็นต้น
3. ให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศปก.ศบค.) และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) ติดตามประเมินผลภายหลังการปรับระดับของพื้นที่ตามสถานการณ์และผ่อนคลายกิจการ/กิจกรรมในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันมิให้เกิดการแพร่ระบาดขึ้นอีก ทั้งนี้ ให้พิจารณาผลกระทบด้านเศรษฐกิจด้วย
4. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) และโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 ดำเนินการด้านการบริหารจัดการวัคซีน ดังนี้
4.1 การดำเนินการเกี่ยวกับแผนบริหารจัดการวัคซีน และการสร้างความรู้ความเข้าใจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผนการบริหารและกระจายวัคซีน มอบหมายให้คณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ภายใต้อำนาจคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เป็นผู้พิจารณาแผนและขั้นตอนการดำเนินการในการบริหารจัดการวัคซีนและการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง และให้นำเสนอคณะกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (ศบค.) เพื่อทราบ และพิจารณาให้ความเห็นชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
4.2 ให้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการสั่งซื้อหรือนำวัคซีนเข้ามาในราชอาณาจักรของภาคเอกชน ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากวัคซีนทุกบริษัทได้ขึ้นทะเบียนภายใต้เงื่อนไขของสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยจึงยังไม่อนุญาตให้ภาคเอกชนนำเข้ามาในราชอาณาจักร และกรณีมีการขึ้นทะเบียนวัคซีนเป็นการทั่วไปที่ได้รับรองความปลอดภัยและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั่วโลกหรือในประเทศผู้ผลิตวัคซีนแล้วนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงจะพิจารณาการขึ้นทะเบียนเป็นการทั่วไป โดยขอให้ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติการขึ้นทะเบียนวัคซีนของประเทศเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ประชาชน และมอบหมายให้กรมควบคุมโรคเป็นหน่วยงานให้ข้อมูลในเรื่องวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19
5. ให้กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 กระทรวงมหาดไทย (ศปก.มท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดูแลความเรียบร้อยในพื้นที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งดำเนินการสุ่มตรวจหาผู้ติดเชื้อและประเมินติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดเป็นระยะ
6. ให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดทำมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 ในสถานศึกษาทุกระดับอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ให้รับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อการจัดทำมาตรการด้วย
7. ให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศปก.ศบค.) และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) ตรวจติดตามและประเมินการดำเนินการของโรงแรมที่เป็นสถานที่กักกันตัว State Quarantine, Alternative State Quarantine, Organizational Quarantine, Local Quarantine เพื่อให้ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ หากปรากฏว่ามีผู้เข้าใช้บริการสถานกักกันตัวบิดเบือนหรือนำเสนอข้อมูลของสถานที่กักกันตัวอันเป็นเท็จหรือพบการทุจริต ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจัง
8. ให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศปก.ศบค.) นำความคิดเห็นและปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่สะท้อนตามสื่อต่าง ๆ มาพิจารณาประกอบการกำหนดมาตรการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาด และมาตรการผ่อนคลายให้เป็นไปอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ต่อไป
20. เรื่อง การขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 และสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม 2564 ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
เรื่องเดิม
เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 9) ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2564 และสิ้นสุดในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อขยายระยะเวลาการบังคับใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถารการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เกิดขึ้นในประเทศ
การดำเนินการที่ผ่านมา
เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้จัดการประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินความเหมาะสมในการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในการแก้ไขการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปเป็นคราวที่ 10 ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 มีนาคม 2564 โดยมีเหตุผลและความจำเป็น สรุปผลการประชุม ดังนี้
1. ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในภาพรวมทั่วโลกยังพบผู้ติดเชื้อจำนวนมากในหลายภูมิภาค และยังมีการยืนยันว่าพบเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ชนิดกลายพันธุ์ในสหราชอาณาจักร สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และไนจีเรีย ทำให้เกิดความไม่แน่นอนต่อผลลัพธ์ประสิทธิภาพของวัคซีนในการตอบสนองต่อการกลายพันธุ์ว่าจะสามารถป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด ทั้งนี้ ในหลายประเทศมีการพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ชนิดกลายพันธุ์ และได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคควบคู่กับการกลับมาใช้มาตรการทางด้านสาธารณสุขที่เข้มงวดอีกครั้ง อาทิ สหราชอาณาจักร และประเทศญี่ปุ่น
2. สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศเพื่อนบ้านของไทยยังคงน่าวิตก อีกทั้งการเกิดรัฐประหารในประเทศเมียนมาทำให้มีการชุมนุมของชาวเมียนมาเพื่อประท้วงรัฐบาลเมียนมาในประเทศไทยหลายจุด และอาจเป็นสาเหตุให้มีผู้ลักลอบเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมากในอนาคต นอกจากนี้ ปัจจุบันมีการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มต่าง ๆ เกิดขึ้นภายในประเทศ จนอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อในหลายพื้นที่ในวงกว้าง ประกอบกับได้พบการแพร่ระบาดของโรคภายในประเทศในแหล่งที่พักอาศัยและในชุมชน อาทิ ตลาด อย่างต่อเนื่อง และยังพบว่ามีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อในหลายจังหวัดที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับผู้ป่วยรายเดิม จึงยังต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันมิให้เกิดการติดเชื้อในแบบกลุ่มก้อน (Cluster) ภายในประเทศ
3. มติของที่ประชุม ที่ประชุมมีความเห็นพ้องกันว่า ยังมีความจำเป็นจะต้องใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ควบคู่ไปกับการพัฒนากลไกกฎหมายปกติในการบูรณาการการปฏิบัติงาน เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างเพียงพอในการดำเนินมาตรการที่จำเป็นในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ 1) การเฝ้าระวังและสอบสวนโรคเพื่อหาแหล่งที่มาของการติดเชื้อ 2) การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคภายในประเทศ และ 3) การคัดกรองบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นคงและปลอดภัยในระบบสาธารณสุขของประเทศ
4. สำนักงานฯ ได้นำผลการประชุมดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 3/2564 ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อพิจารณา ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบผลการประชุมและมีมติให้นำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรต่อไป
ต่างประเทศ
21. เรื่อง ร่างความตกลงระหว่างสำนักงานกลางตำรวจแห่งชาติตำรวจสากลประเทศไทย (ตำรวจสากลกรุงเทพ) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ ว่าด้วยการเข้าถึงระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากลโดยตรง
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบร่างความตกลงระหว่างสำนักงานกลางตำรวจแห่งชาติตำรวจสากลประเทศไทย (ตำรวจสากลกรุงเทพ) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ ว่าด้วยการเข้าถึงระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากลโดยตรง (ร่างความตกลงฯ) ทั้งนี้ หากก่อนการลงนามมีความจำเป็นต้องปรับปรุง แก้ไข หรือเพิ่มเติมร่างความตกลงฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ ให้กระทรวงยุติธรรมหารือกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง โดยให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นผู้ลงนามในความตกลง ฯ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
ร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น
สาระสำคัญ
1. วัตถุประสงค์
เพื่อให้กรมสอบสวนคดีพิเศษสามารถเข้าถึงระบบฐานข้อมูลองค์การตำรวจสากล จำนวน 9 ฐานข้อมูลได้โดยตรง
2. กรอบกฎหมายว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลโดยตรง
การเข้าถึงและการใช้ระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากลจะต้องเป็นไปตามกฎว่าด้วยการประมวลผลข้อมูลขององค์การตำรวจสากล และเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจกรรมและงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษโดยตรง รวมถึงไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์หรือความเป็นกลางขององค์การตำรวจสากล นอกจากนี้กฎหมายภายในของไทยไม่ได้ห้ามกรมสอบสวนคดีพิเศษในการเข้าถึงและการใช้ระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากล
3. ขอบเขตของการเข้าถึงข้อมูลโดยตรง
3.1 การอ่านข้อมูล
ฐานข้อมูลที่ได้รับอนุญาตให้อ่าน
วิธีการเข้าถึง
1. เอกสารการเดินทางที่ถูกขโมยหรือสูญหาย
(Stolen and Lost Travel Documents – STLD)
2. เอกสารราชการที่ถูกขโมย
(Stolen Administrative Documents)
eASF2
FIND
MIND
I - Batch
3. ภาพการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กระหว่างประเทศ
(ICSE – International Child Sexual Exploitation Images)
4. ระบบการจัดบันทึกและการติดตามอาวุธผิดกฎหมาย
(Illicit arms records and tracing management system – iARMS)
I – 24/7
5. เอกสารการเดินทาง
(Edison TD)
6. ตารางหมายเลขอ้างอิงอาวุธปืนขององค์การตำรวจสากล
(INTERPOL Firearms Reference Table – IFRT)
7. ฐานข้อมูลแจ้งเตือนระบบดิจิทัลขององค์การตำรวจสากลเกี่ยวกับเอกสารปลอมแปลง
[The Digital INTERPOL Alert Library- Document (Dial – Doc)]
I – 24/7
HTTPS
8. ระบบข้อมูลอาชญากรรมขององค์การตำรวจสากล
[INTERPOL’s Criminal Information System (ICIS)]
eASF2
FIND
I – 24/7
I - Batch
9. ระบบข้อมูลกระสุนปืน ปลอกกระสุนปืนขององค์การตำรวจสากล
(INTERPOL Ballistic Information Network – IBIN)
Dedicated network
3.2 การประมวลผลข้อมูล: จะต้องดำเนินการเพื่อความมุ่งประสงค์ในภารกิจงานตำรวจและการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติเป็นการเฉพาะเท่านั้น
4. พันธะหน้าที่
ตำรวจสากลกรุงเทพ
กรมสอบสวนคดีพิเศษ
1. รับผิดชอบต่อการประมวลผลข้อมูลที่ดำเนินการโดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ รวมถึงกำหนดและให้สิทธิส่วนบุคคลในการเข้าถึงระบบข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
1. ต้องปฏิบัติตามข้อจำกัดเกี่ยวกับการเข้าถึงที่ตำรวจสากลกรุงเทพกำหนดไว้
2. ต้องแจ้งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษทราบเกี่ยวกับกฎ วิธีการดำเนินการ และเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับกรมสอบสวนคดีพิเศษในการเข้าถึงและการประมวลผล
2. ต้องแจ้งให้ตำรวจสากลกรุงเทพทราบถึงการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่ซึ่งมีผลต่อสิทธิในการเข้าถึงส่วนบุคคลที่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับอนุญาต
3. ข้อจำกัดของการเข้าถึงที่ตำรวจสากลกรุงเทพได้กำหนดไว้กับบรรดาสำนักงานตำรวจกลางแห่งชาติหรือหน่วยงานระหว่างประเทศอื่น ๆ
3. ต้องแจ้งให้ตำรวจสากลกรุงเทพทราบถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ภารกิจ กิจกรรมหรืองานต่าง ๆ ของกรมสอบคดีพิเศษ
5. การกำกับและการตรวจสอบโดยตำรวจสากลกรุงเทพ
ตรวจสอบการประมวลผลข้อมูลในระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากล ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษได้เข้าไปอ่าน และใช้มาตรการเพื่อป้องกันหรือเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่จำเป็นในกรณีที่เกิดเหตุเกี่ยวกับการประมวลผล รวมทั้งอาจเพิกถอนสิทธิในการเข้าถึงและสิทธิในการประมวลผลที่ให้แก่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามพันธหน้าที่
6. การเข้าแทรกแซงของสำนักเลขาธิการองค์การตำรวจสากล
สำนักเลขาธิการองค์การตำรวจสากล (ในฐานะที่เป็นผู้บริหารจัดการระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากล) ย่อมมีสิทธิในการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมใด ๆ ภายใต้ขอบเขตของกฎว่าด้วยการประมวลผลของข้อมูลขององค์การตำรวจสากลเพื่อยุติการประมวลผลข้อมูลใด ๆ ที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนด รวมถึงการเพิกถอนการเข้าถึงระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากล
7. การบังคับใช้
ความตกลงฯ จะมีผลบังคับใช้เมื่อครบกำหนด 30 วัน หลังจากที่ได้แจ้งผลการลงนามในความตกลงให้สำนักเลขาธิการองค์การตำรวจสากลทราบ
8. การแก้ไข
อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้โดยความยินยอมร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ ตำรวจสากลกรุงเทพต้องแจ้งให้สำนักเลขาธิการองค์การตำรวจสากลทราบถึงการแก้ไขเพิ่มเติม ใด ๆ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตหรือวิธีการดำเนินการเรื่องสิทธิในการเข้าถึงและสิทธิในการประมวลผลที่ได้ให้แก่กรมสอบสวนคดีพิเศษ
9. การสิ้นสุด
ภาคีแต่ละฝ่ายอาจบอกเลิกความตกลงได้ฯ โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งและสำนักเลขาธิการองค์การตำรวจสากลทราบเป็นเวลาสามสิบวันเป็นอย่างน้อย
ทั้งนี้ ร่างความตกลงฉบับนี้เป็นความตกลงในลักษณะเดียวกันกับที่สำนักงานกลางแห่งชาติตำรวจสากลประเทศไทย (ตำรวจสากลกรุงเทพ) ได้จัดทำขึ้นกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (18 เมษายน 2560) เห็นชอบไว้แล้ว
22. เรื่อง ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 24 (The 24th GMS Ministerial Conference)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (Greater Mekong Subregion: GMS) ครั้งที่ 24 และมอบหมายให้หน่วยงานดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่ 24 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอ
1. รัฐมนตรี 6 ประเทศลุ่มน้ำโขงให้ความเห็นชอบในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1.1 แถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่ 24 รับทราบถึงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานของ 10 สาขาความร่วมมือ และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสของประเทศ GMS ในระยะปี 2563 และแผนการฟื้นฟูและตอบสนองต่อผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ปี 2564 - 2566 ให้แล้วเสร็จ เพื่อนำเสนอในการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงาน GMS ครั้งที่ 7 ต่อไป
1.2 รายงานความก้าวหน้าและการปรับปรุงครั้งที่ 3 กรอบการลงทุนของภูมิภาค ปี 2565 ประกอบด้วยแผนงาน/โครงการลงทุนในอนุภูมิภาค GMS ทั้งสิ้น 205 โครงการ มีมูลค่ารวมกันกว่า 78.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยโครงการของประเทศไทย (ไทย) มีทั้งสิ้น 74 โครงการ มูลค่ารวม 17.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 22.73 ของโครงการทั้งหมด โดยโครงการมูลค่าลงทุนสูงของไทยที่ได้เริ่มดำเนินการแล้ว ได้แก่ ได้แก่ โครงการพัฒนารถไฟทางคู่ในประเทศ มูลค่า 12,192 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 มูลค่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และโครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มูลค่า 2,279 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
1.3 ร่างกรอบยุทธศาสตร์ใหม่ของแผนงาน GMS ในระยะปี 2563 โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ร่วมกันปรับปรุงร่างกรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าว
1.4 แนวทางการจัดตั้งคณะทำงานด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานในอนุภูมิภาค GMS และข้อกำหนดการศึกษาการจัดตั้งคณะทำงาน ให้ผู้ประสานงานหลักระดับประเทศเป็นตัวกลางช่วยจัดตั้งคณะทำงาน
1.5 ร่างเอกสารแผนการฟื้นฟูและตอบสนองต่อผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประกอบด้วย 3 เสา ได้แก่ การปกป้องชีวิตผ่านด้านสาธารณสุข การปกป้องผู้เปราะบางและผู้ยากไร้ และการเปิดพรมแดนและความเร่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
2. รัฐมนตรี 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงรับทราบรายงานของการประชุมเวทีหารือ เพื่อการพัฒนาแนวระเบียงเศรษฐกิจ ครั้งที่ 11 รายงานของภาคีหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา และรายงานของสภาธุรกิจ 6ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง สรุปได้ ดังนี้
2.1 รายงานของการประชุมเวทีหารือเพื่อการพัฒนาแนวระเบียงเศรษฐกิจ ครั้งที่ 11 มีประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย 1) ประเทศสมาชิก GMS และภาคีหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) เชื่อมโยงอนุภูมิภาค GMS เข้าด้วยกันและเชื่อมออกไปสู่โลกภายนอก
2.2 รายงานของภาคีหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา มีประเด็นสำคัญประกอบด้วย 1) มุ่งเน้นการบูรณาการเศรษฐกิจของประเทศในอนุภูมิภาคสู่เศรษฐกิจโลกตลอดจนยกระดับโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2) เพิ่มบทบาทของเมืองในฐานะกลไกส่งเสริมการเติบโตของอนุภูมิภาค 3) พัฒนาความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานและความร่วมมือทางการค้า
2.3 รายงานของสภาธุรกิจ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง มุ่งเน้นใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ 2) การอำนวยความสะดวกการค้า และการขนส่งข้ามพรมแดน เร่งส่งเสริมการลงทุนในกิจการเกษตรอุตสาหกรรม และการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย 3) การพัฒนาศักยภาพของแรงงาน
นอกจากนี้ รัฐมนตรี 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงได้รับทราบการนำเสนอผลสรุปและข้อเสนอแนะต่อรายงานการศึกษาเกี่ยวกับการบูรณาการการยกระดับเมือง และการเชื่อมโยงใน GMS โดยผล
จากการศึกษาได้ระบุปัจจัยแห่งความสำเร็จใน 3 ประเด็นคือ 1) การมุ่งเน้นการบูรณาการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลกและการพัฒนาและปรับโครงสร้างด้านอุตสาหกรรม 2) ส่งเสริมบทบาทของเมืองรองในฐานะกลไกขับเคลื่อนการพัฒนา และ 3) การปรับปรุงสาธารณูปโภคของเมืองเพื่อการเชื่อมโยงและการบูรณาการด้านการค้า
3. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายถาวร เสนเนียม) ได้มีข้อเสนอต่อที่ประชุม ประกอบด้วย
3.1 เน้นย้ำถึงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของไทยในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานตามกรอบการลงทุนในภูมิภาค พ.ศ. 2563 (Regional Investment Framework: RIF2020)
3.2 เห็นชอบต่อร่างกรอบยุทธศาสตร์ใหม่ของแผนงาน GMS ในระยะปี 2563 เนื่องจากได้นำเสนอเรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลก และได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 โดยสนับสนุนให้คณะทำงานด้านสุขภาพเป็นตัวหลักในการทำหน้าที่ดูแลและติดตามผลการพัฒนาวัคซีนเพื่อกระจายวัคซีนในอนุภูมิภาคอย่างเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ
3.3 เน้นย้ำการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาความเชื่อมโยงทางด้านกฎระเบียบในอนุภูมิภาค GMS โดยขอให้ประเทศสมาชิก GMS เร่งผลักดันการดำเนินงานตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Cross-Border Transport Agreement: CBTA) ในด้านการปรับปรุงกฎระเบียบการดำเนินงานบริเวณด่านพรมแดน รวมทั้งเร่งปรับปรุงและเผยแพร่กฎระเบียบการขนส่งสินค้าและการเคลื่อนย้ายคนตามแนวระเบียงเศรษฐกิจให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและมีความปลอดภัยด้านสุขภาพ เพื่อให้เกิดการบูรณาการห่วงโซ่มูลค่าของอนุภูมิภาคเข้ากับห่วงโซ่มูลค่าโลกต่อไป
4. ประเทศสมาชิก GMS และธนาคารพัฒนาเอเชียมีความเห็นพ้องกันในประเด็น ดังนี้
4.1 ความสำคัญของร่างกรอบยุทธศาสตร์ใหม่ของแผนงาน GMS ในระยะปี 2563 และร่างแผนการรับมือและฟื้นฟูโรคโควิด-19 ของ GMS ปี 2564 – 2566 ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกต้องจัดลำดับความสำคัญของนโยบายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4.2 ผลการประชุมเวทีหารือเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ ครั้งที่ 11 รายงานของภาคีหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา และรายงานของสภาธุรกิจ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง โดยเห็นถึงความสำคัญของความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน กฎระเบียบ และความตกลงทางการค้าเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกอนุภูมิภาค GMS รวมทั้งได้เน้นย้ำการสร้างความร่วมมือกับหุ้นส่วนการพัฒนา เพื่อขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม และการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
รัฐมนตรี 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงรับทราบการกำหนดจัดการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานGMS ครั้งที่ 7 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 25 มีนาคม 2564 โดยราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นเจ้าภาพการประชุมฯ
การดำเนินงานในระยะต่อไปของแผนงาน GMS ไทยได้ผลักดันการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเพื่อเชื่อมโยงห่วงโซ่มูลค่ากับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้กรอบยุทธศาสตร์แผนงาน GMS ปี 2012 – 2022 จนเกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรม เช่น การปรับปรุงถนนทางหลวงตาก-แม่สอด-เมียวดี แล้วเสร็จ การเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา แห่งที่ 2 (ข้ามแม่น้ำเมย-ตองยิน) การเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) และแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) และอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการมูลค่าลงทุนสูง เช่น โครงการพัฒนารถไฟทางคู่ในประเทศ โครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 และโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและจีน นอกจากนี้ ได้มีการผลักดันการดำเนินการทางด้านกฎระเบียบคือ การเริ่มดำเนินงานภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS CBTA) ในระยะเริ่มแรกและการดำเนินงานในระยะต่อไป ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์แผนงาน GMS ฉบับใหม่ ปี 2020 และในช่วงหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะเป็นการต่อยอดจากการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งเพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว เพื่อเชื่อมโยงห่วงโซ่มูลค่าระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
23. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศ การค้าและการพัฒนาแห่งแคนาดา
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศ การค้าและการพัฒนาแห่งแคนาดา ทั้งนี้ หากก่อนลงนามมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ ให้กระทรวงศึกษาธิการหารือกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ พิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศ การค้าและการพัฒนาแห่งแคนาดา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ
สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศ การค้าและการพัฒนาแห่งแคนาดา มีสาระสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือด้านการจัดหาครูชาวแคนาดาเข้ามาสอนในสถานศึกษาไทย และเพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ของโครงการครูชาวต่างประเทศ ได้แก่
(1) เพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนโดยรวมในสาขาวิชาภาษาต่างประเทศและอาชีวศึกษา และ
(2) เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ และสมรรถนะของนักเรียนในสาขาวิชาภาษาต่างประเทศและอาชีวศึกษา โดยมีรูปแบบความร่วมมือที่หลากหลาย อาทิ การประชาสัมพันธ์โครงการฯ การช่วยเหลือด้านการรับรองเอกสารการศึกษา และการเข้าร่วมในกระบวนการคัดเลือก เป็นต้น
แต่งตั้ง
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
1. นายเสข วรรณเมธี เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต หัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม อีกตำแหน่งหนึ่ง
2. นางมาฆวดี สุมิตรเหมาะ อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ
3. นายนนทวัฒน์ จันทร์ตรี กงสุลใหญ่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแวนคูเวอร์ แคนาดา ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงราบัต ราชอาณาจักรโมร็อกโก
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศทั้ง 3 ราย ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงอุตสาหกรรม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้ง นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
26. เรื่อง การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (ครั้งที่ 2) (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบการต่อเวลา 1 ปี (ครั้งที่ 1) ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ต่อไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 2) ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565
27. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นายจำเริญ โพธิยอด ผู้แทนกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แทนนางปานทิพย์ ศรีพิมล ที่ลาออก และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนนี้ให้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระของผู้ซึ่งตนแทน ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป
28. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้
1. ให้คณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสียมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 14 คน (นับรวมประธานกรรมการและกรรมการอื่นซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง กรรมการโดยตำแหน่ง และผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสียซึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง) ตามนัยมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย รวม 6 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการอื่นเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2560 ดังนี้
2.1 นายพรพจน์ เพ็ญพาส ประธานกรรมการ
2.2 นายธงรบ ด่านอำไพ (ภาคธุรกิจ) กรรมการอื่น
2.3 นายฆนัท ครุธกูล (ภาคธุรกิจ) กรรมการอื่น
2.4 นายปริญญา ยมะสมิต (ภาคธุรกิจ) กรรมการอื่น
2.5 นายวิชัย โภชนกิจ กรรมการอื่น
2.6 พลเรือเอก สุชีพ หวังไมตรี (ภาคธุรกิจ) กรรมการอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป
29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการคลัง)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอโอนข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. โอน นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน (เศรษฐกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
2. โอน นายปิยกร อภิบาลศรี ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ภาษีสรรพสามิต (นักวิชาการสรรพสามิตทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพสามิต ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
30. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการบินพลเรือน
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการการบินพลเรือนแทนนายชยธรรม์ พรหมศร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป
31. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการอื่น (ผู้แทนกองทัพอากาศ) ในคณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้ง นาวาอากาศเอก วุฒิ น้อยเชี่ยวกาญจน์ เป็นกรรมการอื่น (ผู้แทนกองทัพอากาศ) ในคณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย แทนนาวาอากาศเอก ศักรินทร์ ไชยวาน (ซึ่งลาออกจากตำแหน่งกรรมการ ในคณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย)
.................................
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39334 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เตือน นายจ้าง/สถานประกอบการ รับต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงาน มีโทษทั้งจำ-ทั้งปรับ | วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564
เตือน นายจ้าง/สถานประกอบการ รับต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงาน มีโทษทั้งจำ-ทั้งปรับ
กกจ. ย้ำจับจริง หลังเปิดโอกาสให้นายจ้างที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ตามมติ ครม.วันที่ 29 ธ.ค. 63 ยื่นบัญชีรายชื่อผ่านระบบออนไลน์ เพื่อทำงานและอยู่ในประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษ
หลังสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนด เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบอย่างเข้มงวด
นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุชาติ ชมกลิ่น มีความมุ่งมั่นแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ เพื่อบริหารจัดการให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ได้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หลีกเลี่ยงปัญหาขาดแคลนแรงงาน และสามารถตรวจสอบควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวได้อย่างเป็นระบบ ตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และความปลอดภัยด้านสุขภาพของประชาชน โดยเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา ได้สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการยื่นบัญชีรายชื่อและแจ้งข้อมูลบุคคลผ่านระบบออนไลน์ กับกระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกแล้ว ปรากฏว่ามีคนต่างด้าว 3 สัญชาติมาขึ้นทะเบียนทั้งสิ้น 654,864 คน แบ่งเป็น กรณีคนต่างด้าวที่มีนายจ้าง ซึ่งมีนายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อฯ จำนวน 133,910 ราย เป็นคนต่างด้าว 596,502 คน แยกเป็น สัญชาติกัมพูชา 180,476 คน ลาว 63,482 คน และเมียนมา 352,544 คน และกรณีคนต่างด้าวที่ยังไม่มีนายจ้าง มีคนต่างด้าวแจ้งข้อมูลบุคคล 58,362 คน แยกเป็น สัญชาติกัมพูชา 23,203 คน ลาว 3,626 คน และเมียนมา 31,533 คน
อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ได้สั่งการสำนักงานจัดหางานพื้นที่กรุงเทพมหานครพื้นที่ 1- 10 สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด ให้มีการประชาสัมพันธ์ขั้นตอนการดำเนินการตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 ในทุกช่องทางมาโดยตลอด เพื่อให้นายจ้าง/สถานประกอบการ และแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติที่ยังไม่มีนายจ้างทราบ
แนวทางการดำเนินการ ตลอดจนบทลงโทษ หากไม่ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หลังจากนี้เจ้าหน้าที่ของกรมการจัดหางาน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงจะดำเนินการตรวจสอบและกำกับดูแลการทำงานของคนต่างด้าวอย่างเข้มงวด ทั้งนี้หากตรวจพบการฝ่าฝืนกฎหมาย นายจ้างที่จ้างคนต่างด้าวโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือให้คนต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หากกระทำผิดซ้ำต้องมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี และคนต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ จะมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท และถูกผลักดันส่งกลับ
“ สำหรับนายจ้าง/สถานประกอบการ และคนต่างด้าวที่ยื่นบัญชีรายชื่อตามขั้นตอนที่ 1 แล้ว ต้องดำเนินการ ดังนี้
1. กรณีคนต่างด้าวที่มีนายจ้าง คนต่างด้าวต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองหาเชื้อโควิด-19 และจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล ภายในวันที่ 16 เม.ย.64 ตรวจโรคต้องห้าม 6 โรค ภายในวันที่ 18 ต.ค.64 จากนั้น สธ.ส่งผลการตรวจโรค และ ตม.ส่งข้อมูลการจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล ให้กกจ.ออกใบอนุญาตทำงานต่อไป นายจ้างชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือ ธนาคารกรุงไทย และยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว
ผ่านระบบออนไลน์ e-workpermit.doe.go.th โดยแนบใบรับรองแพทย์และหลักฐานการชำระเงิน ภายในวันที่ 16 มิ.ย.64 และนายจ้างพาคนต่างด้าวไปขอจัดทำทะเบียนประวัติ (ทร.38/1) และรับบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพู) ณ สถานที่ ที่กรมการปกครอง/กรุงเทพฯ กำหนด ภายใน 30 ธ.ค.64
2. กรณีคนต่างด้าวที่ยังไม่มีนายจ้าง คนต่างด้าวต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองหาเชื้อโควิด-19 และจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล ภายในวันที่ 16 เม.ย.64 ตรวจโรคต้องห้าม 6 โรค ภายในวันที่ 18 ต.ค.64 คนต่างด้าวที่ผ่านการตรวจโรค ไปขอจัดทำทะเบียนประวัติ (ทร.38/1) ณ สถานที่ ที่กรมการปกครอง/กรุงเทพฯ กำหนดภายในวันที่ 16 มิ.ย.64 นายจ้างที่ประสงค์จ้างคนต่างด้าวที่จัดทำทะเบียนประวัติ (ทร.38/1) เข้าทำงาน ยื่นบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว
ผ่านระบบออนไลน์ e-workpermit.doe.go.th ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือ ธนาคารกรุงไทย และยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวผ่านระบบออนไลน์ e-workpermit.doe.go.th โดยแนบใบรับรองแพทย์ และหลักฐานการชำระเงิน ภายใน 13 ก.ย.64 และนายจ้างพาคนต่างด้าวไปปรับปรุงทะเบียนประวัติ และรับบัตรประจำตัวคนที่ไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพู) ณ สถานที่ ที่กรมการปกครอง/กรุงเทพฯ กำหนดภายใน 28 ก.พ. 65 กรณีคนต่างด้าวทำงานในกิจการประมงทะเลต้องไปยื่นขอทำหนังสือคนประจำเรือ ณ ที่กรมประมงกำหนด เป็นขั้นตอนสุดท้าย ” อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าว
ทั้งนี้ นายจ้าง/สถานประกอบการ และคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 หรือที่ไลน์ @Service_Workpermit หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน ซึ่งมีการจัดล่ามในภาษากัมพูชา เมียนมา และอังกฤษ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และแนะนำวิธีการดำเนินการ
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39329 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“สุริยะ” สั่ง สมอ. เร่งควบคุมสินค้ากระดาษและภาชนะกระดาษที่ใช้สัมผัสอาหาร | วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564
“สุริยะ” สั่ง สมอ. เร่งควบคุมสินค้ากระดาษและภาชนะกระดาษที่ใช้สัมผัสอาหาร
“สุริยะ” เผยได้สั่งการ สมอ. เร่งรัดดำเนินการควบคุมกระดาษและภาชนะกระดาษที่ใช้สัมผัสอาหาร หลังบอร์ด สมอ. เห็นชอบให้เป็นสินค้าควบคุมต้องได้มาตรฐาน คาดว่าหลังรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายแล้ว จะบังคับใช้ภายในเดือนสิงหาคม 2564 นี้
“สุริยะ” เผยได้สั่งการ สมอ. เร่งรัดดำเนินการควบคุมกระดาษและภาชนะกระดาษที่ใช้สัมผัสอาหาร หลังบอร์ด สมอ. เห็นชอบให้เป็นสินค้าควบคุมต้องได้มาตรฐาน คาดว่าหลังรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายแล้ว จะบังคับใช้ภายในเดือนสิงหาคม 2564 นี้ เตือนประชาชนใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจมีสารปนเปื้อนที่ก่อให้เกิดอันตรายระหว่างการใช้งาน พร้อมแจ้งผู้ประกอบการให้เตรียมปรับตัว
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด สมอ. เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมาว่า บอร์ด สมอ. (คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) มีมติเห็นชอบให้ “กระดาษสัมผัสอาหาร” เป็นสินค้าควบคุม เพื่อให้กระดาษที่ใช้สัมผัสอาหารมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ และลดความเสี่ยงจากสารเคมีอันตรายซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่อาจปนเปื้อนออกมาสู่อาหารและเข้าสู่ร่างกายได้ บอร์ด สมอ. จึงให้ประกาศเป็นสินค้าควบคุม จึงกำชับให้ สมอ. เร่งรัดดำเนินการเพื่อความปลอดภัยของประชาชน และสร้างความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษของไทยให้เป็นที่ยอมรับและแข่งขันได้กับต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบมาตรฐานอื่นๆ อีกรวม 16 มาตรฐาน อาทิ สีเคลือบกึ่งเงาแอลคีด สีเคลือบด้านแอลคีด แถบพีวีซีกันซึมระหว่างรอยต่อคอนกรีต ชุดประกอบสวิตช์เกียร์และเกียร์ควบคุมไฟฟ้าแรงดันต่ำ และไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์สำหรับอุตสาหกรรม อีกด้วย
นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า “กระดาษสัมผัสอาหาร มอก. 2948-2562 ประกาศใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.2562 แต่ไม่มีผู้ประกอบการมายื่นขออนุญาตแม้แต่รายเดียว ทั้งที่ในประเทศไทยมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษเกือบ 600 ราย โดยในปี 2562 มีปริมาณการผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษมากกว่า 2 ล้านตัน และมีความต้องการใช้ในประเทศสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะมีความสะดวกในการใช้งาน ในขณะเดียวกันยังมีผู้ผลิตทำสินค้าด้อยคุณภาพออกมาจำหน่ายในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก สร้างความไม่ปลอดภัยให้กับประชาชน เนื่องจากมีสารเคมีอันตราย หรือโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และสารกลุ่มทาเลต ที่เคลือบอยู่บนกระดาษ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งปนเปื้อนออกมาสู่อาหารและเข้าสู่ร่างกาย บอร์ด สมอ. จึงมีมติเห็นชอบให้กระดาษสัมผัสอาหารเป็นสินค้าควบคุม โดยข้อกำหนดในมาตรฐานจะครอบคลุมถึงกระดาษ กระดาษแข็ง และภาชนะกระดาษที่ไม่ใส่สีในเนื้อกระดาษ มีวัตถุประสงค์สำหรับใช้ห่อหุ้ม บรรจุ รวบรวม หรือรองรับอาหาร เช่น จาน ชาม ถาด ถ้วย กล่อง ถุง ที่ทำจากกระดาษ หรือกระดาษแข็ง รวมถึงภาชนะที่ทำจากเยื่อกระดาษ สำหรับใช้กับอาหารทั่วไปและอาหารบรรจุขณะร้อน ทั้งแบบที่สัมผัสอาหารโดยตรงและไม่สัมผัสอาหารโดยตรง ที่มีโอกาสปนเปื้อนของสารเคมีไปสู่อาหารได้ โดยจะมีการควบคุมและทดสอบปริมาณสารเคมีอันตราย หรือโลหะหนักที่มีโอกาสปนเปื้อนกับอาหาร เช่น ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท สารกลุ่มทาเลต ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายกับผู้ใช้ ทั้งนี้ ในกระบวนการผลิต และสถานที่ผลิตจะต้องถูกสุขลักษณะที่ดีสำหรับการผลิต และต้องได้รับการรับรองตามหลักเกณฑ์ของสากล เช่น GMP HACCP หรือ BRC ด้วย โดยคาดว่ามาตรฐานดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ภายในเดือนสิงหาคม 2564 นี้” เลขาธิการ สมอ. กล่าว
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39328 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ชี้แจงการใช้ป้ายทะเบียนรถตกแต่งเลียนแบบป้ายประมูลมีความผิด | วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564
กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ชี้แจงการใช้ป้ายทะเบียนรถตกแต่งเลียนแบบป้ายประมูลมีความผิด
กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ชี้แจงการใช้ป้ายทะเบียนรถ ที่ตกแต่งลวดลายเลียนแบบป้ายทะเบียนรถแบบกราฟิก หรือการนำป้ายพลาสติกที่สกรีนลายกราฟิกไปใช้ครอบแผ่นป้ายทะเบียนรถทำให้มองเป็นป้ายประมูล เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท
ตามที่มีการโพสต์และแชร์ข้อความในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ใช้กรอบทะเบียนรถสกรีนลายกราฟิกเลียนแบบป้ายประมูล ไม่ผิดกฎหมาย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พบว่าข้อมูลที่ปรากฏดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ
กรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความว่า สามารถใช้กรอบทะเบียนรถสกรีนลายกราฟิก เป็นลายเดียวกับป้ายประมูลได้ โดยไม่ผิดกฎหมาย เพราะขนส่งออกเองนั้น ทางกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง และขอเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อความดังกล่าว เนื่องจากการกระทำดังกล่าวมีความผิดตามกฎหมาย
โดยกรมการขนส่งทางบกนำหมายเลขทะเบียนรถเลขสวย หมวดละ 301 หมายเลข ออกประมูลเพื่อนำรายได้จากการประมูลทะเบียนรถเลขสวยทั้งหมดเข้ากองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) นำมาใช้ในแผนงาน โครงการ เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนของประเทศ โดยผู้ประมูลได้จะได้รับแผ่นป้ายทะเบียนรถที่มีกราฟิกลวดลายพื้นหลังเป็นเอกลักษณ์สถานที่สำคัญของจังหวัด ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะสำหรับแผ่นป้ายทะเบียนประมูลเท่านั้น กรณีไม่ใช่ทะเบียนประมูล แผ่นป้ายจะเป็นสีพื้นไม่มีลวดลาย
ซึ่งการนำแผ่นป้ายทะเบียนรถไปตกแต่งลวดลายเลียนแบบป้ายทะเบียนรถแบบกราฟิกหรือการนำป้ายพลาสติกที่สกรีนลายกราฟิกไปใช้ครอบแผ่นป้ายทะเบียนรถจะทำให้มองเป็นป้ายประมูล การกระทำดังกล่าวเป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 11 ประกอบมาตรา 60 ฐานใช้แผ่นป้ายทะเบียนมีลักษณะไม่ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือนำวัสดุหรือสิ่งอื่นใดมาปิดบัง หรือติดไว้ในบริเวณใกล้เคียงกับแผ่นป้ายทะเบียนรถ ปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท และหากตรวจสอบพบว่าเป็นป้ายทะเบียนปลอม หมายเลขทะเบียนไม่ตรงกับป้ายวงกลม ไม่ตรงกับสำเนารถ และรายละเอียดของตัวรถ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ฐานปลอมเอกสารราชการ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท และอาจถูกยึดรถเพื่อส่งตรวจพิสูจน์หลักฐานหาที่มาของตัวรถด้วย
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39333 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กวช.แถลงผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๓ | วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564
กวช.แถลงผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๓
กวช.แถลงผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๓
(วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล) ภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และรองประธานกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้แถลงผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๓ ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. สาขาทัศนศิลป์ จำนวน ๔ คน ได้แก่
๑.๑ ศาสตราจารย์กิตติคุณกำจร สุนพงษ์ศรี (จิตรกรรม)
๑.๒ นายอำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ (จิตรกรรม-สื่อผสม)
๑.๓ นายประภากร วทานยกุล (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย)
๑.๔ นายสำเริง แดงแนวน้อย (ประณีตศิลป์-แกะสลักไม้)
๒. สาขาวรรณศิลป์ จำนวน ๒ คน ได้แก่
๒.๑ นายเอนก นาวิกมูล
๒.๒ นางสาวอรสม สุทธิสาคร
๓. สาขาศิลปะการแสดง จำนวน ๖ คน ได้แก่
๓.๑ นายประทีป สุขโสภา (เพลงพื้นบ้าน)
๓.๒ นายประเมษฐ์ บุณยะชัย (นาฏศิลป์ - โขน)
๓.๓ นายปี๊บ คงลายทอง (ดนตรีไทย)
๓.๔ นางสุดา ชื่นบาน (ดนตรีไทยสากล - ขับร้อง)
๓.๕ นางรุ่งฤดี เพ็งเจริญ (ดนตรีไทยสากล - ขับร้อง)
๓.๖ นายปง อัศวินิกุล (ผู้กำกับระบบเสียง – สร้างสรรค์ และบันทึกเสียงภาพยนตร์)
รองประธานกวช.กล่าวต่อว่า ผู้ที่ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ จะได้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเข็มและ โล่เชิดชูเกียรติ และรับค่าตอบแทน เดือนละ ๒๕,๐๐๐ บาท(สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่ ค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลโดยอนุโลม เว้นแต่มีสิทธิเบิกจากหน่วยงานอื่น ให้เบิกจากหน่วยงานนั้นก่อน ถ้าเบิกจากหน่วยงานนั้นได้ต่ำกว่าสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้มีสิทธิเบิกในส่วนที่ยังขาดอยู่ได้อีกภายในวงเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ต่อปีงบประมาณ ค่าช่วยเหลือเมื่อประสบสาธารณภัย ครั้งละไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท ต่อครั้ง ค่าของเยี่ยมในยามเจ็บป่วยหรือในโอกาสสำคัญเท่าที่จ่ายจริง รายละไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท ต่อครั้ง และกรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินช่วยเหลือบำเพ็ญกุศลศพ รายละ ๒๐,๐๐๐ บาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริง รายละไม่เกิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท เป็นต้น
ในการนี้ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รองประธานกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) เปิดเผยถึงเกณฑ์การคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ ประกอบด้วย ๓ หลักเกณฑ์ใหญ่ ดังนี้
เกณฑ์ที่ ๑. คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ มี ๖ ประการ ได้แก่ เป็นผู้มีสัญชาติไทยและยังมีชีวิตอยู่ในวันประกาศยกย่อง / เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะในสาขานั้น / เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะในสาขาที่ได้รับการประกาศยกย่อง / เป็นผู้ผดุง ถ่ายทอด เผยแพร่ หรือเป็นต้นแบบศิลปะในสาขาที่ได้รับการประกาศยกย่อง / เป็นผู้มีคุณธรรม ทุ่มเท และเสียสละเพื่องานศิลปะ / และเป็นผู้มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ
เกณฑ์ที่ ๒. คุณค่ามาตรฐานผลงานศิลปะของศิลปินแห่งชาติ ผลงานต้องสื่อให้เห็นถึงคุณค่าในความดี ความจริง ความงาม อารมณ์ และคุณค่าทางจิตวิญญาณ แสดงออกถึงแนวคิด สร้างพลังความรู้และพัฒนาสติปัญญาแก่มนุษยชาติ ก่อให้เกิดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์ และส่งเสริมจินตนาการ และเป็นผลงานสร้างสรรค์มีเอกลักษณ์ มีทักษะสูงส่ง มีกลวิธีเชิงสร้างสรรค์ ไม่แสดงเจตนาหรือจงใจคัดลอกหรือเลียนแบบผลงานของผู้อื่นทั้งเปิดเผยและแอบแฝง
เกณฑ์ที่ ๓. การเผยแพร่และการยอมรับคุณค่าผลงานของศิลปินแห่งชาติ ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นศิลปินแห่งชาติ จะต้องมีการเผยแพร่ผลงานและได้รับการยอมรับ คุณค่าในผลงาน ดังนี้ เป็นผลงานที่ได้รับการจัดแสดง ถ่ายทอดหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง มีหลักฐาน อ้างอิง โดยเป็นผลงานที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิด พัฒนาการทางงานศิลปะอย่างเด่นชัด และเป็นผลงานได้รับรางวัล หรือเกียรติคุณระดับภูมิภาค ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ ซึ่งมีกระบวนการพิจารณาที่มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ
ซึ่งการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ นี้ จะทำการคัดเลือกใน ๓ สาขา ได้แก่
๑. สาขาทัศนศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา แบ่งเป็น วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ วิจิตรศิลป์ ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สื่อผสม และภาพถ่าย ส่วนประยุกต์ศิลป์ ได้แก่ สถาปัตยกรรมแบบประเพณีและร่วมสมัย มัณฑนศิลป์ การออกแบบผังเมือง การออกแบบอุตสาหกรรม และประณีตศิลป์ เป็นต้น
๒. สาขาวรรณศิลป์ หมายถึง บทประพันธ์ที่แต่งอย่างมีศิลปะทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ความรู้สึกสะเทือนใจ ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการและกลวิธีเสนอเรื่องที่น่าสนใจ
๓. สาขาศิลปะการแสดง หมายถึง ศิลปะที่มีการแสดง ที่เป็นได้ทั้งวิจิตรศิลป์ ประยุกต์ศิลป์ รวมทั้งศิลปะพื้นบ้าน โดยแบ่งเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ ๑.ดนตรีไทย นาฏศิลป์ไทยและศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ๒.ดนตรีสากลและนาฏศิลป์สากล ๓.ภาพยนตร์และละคร
นับตั้งแต่เริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ มีศิลปินแห่งชาติ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๘ - ๒๕๖๒ แล้วจำนวน ๓๑๙ คน และในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ จำนวน ๑๒ คน รวมทั้งสิ้น ๓๓๑ คน ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ๑๕๔ คน โดยยังมีชีวิตอยู่ ๑๖๕ คน
อนึ่ง กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จะทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสนำศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๓ ทั้ง ๑๒ คน เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเข็มและโล่เชิดชูเกียรติ ในวัน เวลา ตามแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จะได้จัดงานเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ อันประกอบด้วย งานเลี้ยงแสดงความยินดี งานนิทรรศการและสื่อเผยแพร่ชีวประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติ ผ่านสื่อต่างๆ ต่อไป
สำหรับเยาวชนและประชาชนผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติเพิ่มเติมได้ที่ www.culture.go.th หรือ www.facebook.com/DCP.culture และ line@วัฒนธรรม
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39354 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ความคืบหน้าโครงการเราชนะและการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์ | วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564
ความคืบหน้าโครงการเราชนะและการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์
ความคืบหน้าการเปิดจุดรับลงทะเบียนโครงการเราชนะ มีกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษที่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 จนถึงปัจจุบันแล้ว จำนวน 995,349 คน
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยความคืบหน้าการเปิดจุดรับลงทะเบียนโครงการเราชนะ (โครงการฯ) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่กลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ณ สาขาและจุดบริการเคลื่อนที่ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานคลังจังหวัด สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ รวมถึงหน่วยรับลงทะเบียนเคลื่อนที่ของกระทรวงมหาดไทยทั่วประเทศ โดยขณะนี้ มีกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษที่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 จนถึงปัจจุบันแล้ว จำนวน 995,349 คน ทั้งนี้ กลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษที่ลงทะเบียนระหว่างวันที่ 15 – 21 กุมภาพันธ์ 2564 จะทราบผลการคัดกรองคุณสมบัติในวันที่ 4 มีนาคม 2564 และจะได้รับวงเงินสิทธิ์ครั้งแรกในวันที่ 5 มีนาคม 2564 และกลุ่มผู้ที่ลงทะเบียนระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม 2564 จะทราบผลการคัดกรองคุณสมบัติในวันที่ 15 มีนาคม 2564 และจะได้รับวงเงินสิทธิ์ครั้งแรกในวันที่ 19 มีนาคม 2564
โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ในส่วนของประชาชน ผู้ประกอบการร้านค้าหรือผู้ให้บริการรายย่อยที่ใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์ผิดวัตถุประสงค์ของโครงการฯ รวมถึงผู้ประกอบการร้านค้าและผู้ให้บริการรายย่อยที่ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าและบริการเกินควร ขณะนี้กระทรวงการคลังได้มีการประสานขอความร่วมมือกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ลงพื้นที่กวดขันไม่ให้ผู้ประกอบการร้านค้าหรือผู้ให้บริการรายย่อยขึ้นราคาสินค้าหรือบริการซึ่งเป็นการเอาเปรียบประชาชนผู้บริโภค โดยประชาชนที่พบเห็นพฤติกรรมดังกล่าวสามารถแจ้งร้องเรียนผ่านสายด่วนกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ หมายเลขโทรศัพท์ 1569 หรือแจ้งข้อมูลของผู้ร้องเรียน พร้อมหลักฐานในการร้องเรียน รวมถึงช่องทางติดต่อกลับของท่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] หากตรวจสอบพบว่ามีการกระทำผิดเงื่อนไขจริง กระทรวงการคลังจะระงับการใช้แอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ของร้านค้าตลอดจนระงับการจ่ายเงินให้กับร้านค้าทันที และจะดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
กระทรวงการคลังจึงขอความร่วมมือประชาชนรักษาสิทธิ์ของตนเอง และขอให้ผู้ประกอบการร้านค้าและผู้ให้บริการรายย่อย รวมถึงประชาชนปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขของโครงการฯ สำหรับประชาชนที่พบเห็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการฯ สามารถแจ้งเบาะแสรวมถึงส่งหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำผิดเงื่อนไขโครงการฯ ถึง “คณะทำงานพิจารณาตรวจสอบข้อมูลและเรื่องร้องเรียนสำหรับโครงการฯ” ทางไปรษณีย์มาได้ที่ “สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400” หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail Account) “[email protected]”
สำหรับข้อมูลความคืบหน้าของการเข้าร่วมโครงการฯ ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 มีดังนี้ ประชาชนกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 13.7 ล้านคน ได้มีการใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา จำนวน 23,457.9 ล้านบาท สำหรับประชาชนกลุ่มที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลของแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ในโครงการเราเที่ยวด้วยกันและคนละครึ่ง และกลุ่มประชาชนทั่วไปที่ลงทะเบียนทางเว็บไซต์ www.เราชนะ.com เป็นผู้ที่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติเบื้องต้นและยืนยันการใช้สิทธิ์ร่วมโครงการฯ จำนวนมากกว่า 15.1 ล้านคน ได้มีการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสมตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา จำนวน 18,064.5 ล้านบาท รวมมีผู้ใช้สิทธิ์โครงการฯ จำนวน 28.8 ล้านคน คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยไปแล้วมากกว่า 41,522.4 ล้านบาท โดยจังหวัดที่มียอดการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สูงสุด 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น และเชียงใหม่ ตามลำดับ ผ่านผู้ประกอบการร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นที่มีแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ร้านค้าคนละครึ่งที่ตกลงยินยอมเข้าร่วมโครงการฯ รวมถึงผู้ประกอบการ/ร้านค้าและบริการรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการฯที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ จำนวนมากกว่า 1.08 ล้านกิจการ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3250 3423 3424 3425 3427 3429 3430 3431 และ 3444 (เฉพาะวันและเวลาราชการ)
Call Center ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
โทร. 0 2111 1122
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39345 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ | วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564
รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔
รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔
วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ โดยมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม คณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ๑๐๙ ชั้น ๑ อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39347 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. เชิญร่วมบริจาคออนไลน์ “โครงการคนไทยใจบุญ” ผ่านเว็บไซต์ http://donation.makroclick.com/th | วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564
พม. เชิญร่วมบริจาคออนไลน์ “โครงการคนไทยใจบุญ” ผ่านเว็บไซต์ http://donation.makroclick.com/th
พม. เชิญร่วมบริจาคออนไลน์ “โครงการคนไทยใจบุญ” ผ่านเว็บไซต์ http://donation.makroclick.com/th
วันนี้ (23 ก.พ. 64) ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว ถนนกรุงเกษม กรุงเทพฯนายอนุกูล ปีดแก้ว รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)ได้ประชุมหารือเรื่องการขับเคลื่อนการดำเนินงานของโครงการ “คนไทยใจบุญ” ร่วมกับ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เพื่อรับบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นสำหรับกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และคนไร้ที่พึ่งที่อยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ จำนวน 20 แห่ง สังกัดกระทรวง พม. ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีและนนทบุรี ด้วยการบริจาคออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ http://donation.makroclick.com/th ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 ซึ่งเป็นวันแรกของการดำเนินโครงการฯ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 มีผู้บริจาค จำนวน 121 ราย และสิ่งของบริจาคคิดเป็นมูลค่า 244,493 บาท
นายอนุกูล กล่าวต่อไปว่า โครงการ “คนไทยใจบุญ” เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีความห่วงใยกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง พม. ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงสูงในสถานการณ์การแพร่ระบาดของติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เนื่องจากความยากลำบากในการบริจาค ทำให้จำนวนผู้บริจาคและปริมาณการบริจาคลดลง ดังนั้น โครงการ “คนไทยใจบุญ” จึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการส่งต่อความช่วยเหลือถึงผู้รับบริจาคกลุ่มเปราะบางที่สะดวกผ่านช่องทางการบริจาคออนไลน์ โดยมีขั้นตอนการบริจาค ดังนี้ 1) เข้าสู่หน้าเว็บไซต์ http://donation.makroclick.com/th 2) เลือกหมวดหมู่การบริจาค 3) เลือกสถานสงเคราะห์สังกัดกระทรวง พม. หรือมูลนิธิที่ต้องการบริจาค 4) ชำระเงินออนไลน์ 5) จัดสินค้าเตรียมส่ง 6) โทรแจ้งวันเวลาส่งสินค้า 7) จัดส่งสินค้า 8) สินค้าส่งถึงผู้รับ (สถานสงเคราะห์สังกัดกระทรวง พม. หรือมูลนิธิ) 9) พิธีส่งมอบ และ 10) ส่งหนังสือขอบคุณและใบเสร็จทางไปรษณีย์
นายอนุกูล กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการขับเคลื่อนโครงการฯ ในอนาคต มีการวางแนวทางการขยายผลต่อยอดโครงการฯ โดยได้วางเป้าหมายความร่วมมือในการยกระดับและพัฒนาการบริจาคสิ่งของ ผ่านระบบ Online Platform การเพิ่มโอกาสในการส่งต่อความช่วยเหลือไปยังกลุ่มเปราะบางทั่วประเทศ และการขยายสถานสงเคราะห์ในสังกัดกระทรวง พม. ที่รับบริจาคให้เพิ่มมากขึ้นทั่วประเทศ ทั้งนี้ ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นเพื่อกลุ่มเป้าหมายผ่าน โครงการ “คนไทยใจบุญ” ด้วยการบริจาคออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ http://donation.makroclick.com/th ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร. 1300 บริการฟรี 24 ชั่วโมง
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39330 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-แพทย์ยันพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ยึดความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ | วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564
แพทย์ยันพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ยึดความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ
แพทย์ย้ำการใช้วัคซีนโควิด 19 ควบคู่มาตรการป้องกันโรค ช่วยควบคุมโรคและกลับสู่ภาวะปกติได้เร็วกว่าวิธีอื่น ยันการพัฒนาวัคซีนยึดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ แม้ทั่วโลกขึ้นทะเบียนใช้ในภาวะฉุกเฉิน ขอประชาชนมั่นใจ
แพทย์ย้ำการใช้วัคซีนโควิด 19 ควบคู่มาตรการป้องกันโรค ช่วยควบคุมโรคและกลับสู่ภาวะปกติได้เร็วกว่าวิธีอื่น ยันการพัฒนาวัคซีนยึดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ แม้ทั่วโลกขึ้นทะเบียนใช้ในภาวะฉุกเฉิน ขอประชาชนมั่นใจ ชี้เทคโนโลยีการผลิตวัคซีนด้วยการใช้สารพันธุกรรม ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมในมนุษย์
วันนี้ (23 กุมภาพันธ์ 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ศ.ดร.นพ.วิปร วิประกษิต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านชีวเวชศาสตร์ระดับโมเลกุล (molecular medicine) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2564 กล่าวถึงประโยชน์ของวัคซีนโควิด 19 สำหรับประชาชน ว่า เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้น สิ่งที่จะทำให้
เราควบคุมโรคระบาดและกลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็วที่สุด คือ ต้องสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในประชาชน เนื่องจากหากไม่มีมาตรการป้องกันโรค เช่น เว้นระยะห่าง ล้างมือ และใส่หน้ากาก และไม่มีการใช้วัคซีน จะทำให้มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมาก หากใช้มาตรการป้องกันโรคอย่างเดียวโดยไม่มีวัคซีนจะต้องใช้เวลานานหลายปี จึงจะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ในคนจำนวนมากได้ แต่โรคโควิด 19 มีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจทั่วโลก วิธีที่เร็วที่สุด
ที่จะทำให้กลับมาใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติ คือการใช้วัคซีนร่วมกับมาตรการป้องกันโรค โดยต้องฉีดเพื่อทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ไม่น้อยกว่า 50-60% ของประชากร
ศ.ดร.นพ.วิปร กล่าวว่า ขณะนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 ทั้งจริงและไม่จริงจำนวนมากในสื่อต่างๆ ทำให้เกิดความสับสนในสังคม จึงขอทำความเข้าใจ ดังนี้ เนื่องจากเชื้อโควิด 19 จะใช้ “โปรตีนเอส” จับกับเซลล์มนุษย์เพื่อแทรกตัวเองเข้าไปเจริญเติบโตในร่างกายมนุษย์ การทำวัคซีนจึงใช้วิธี “หนามยอกเอาหนามบ่ง” คือ นำโปรตีนดังกล่าวมาใช้เพื่อกระตุ้นให้เซลล์ภูมิต้านทานร่างกายรู้จักและจดจำ เมื่อเจอไวรัสตัวจริง เซลล์ภูมิต้านทานก็จะทำลายเชื้อไวรัสที่เข้ามาได้ ทำให้ป้องกันการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อก็มีอาการไม่รุนแรง
ทั้งนี้ การผลิตวัคซีนโควิด 19 หลักๆ ขณะนี้มี 3 เทคโนโลยี ได้แก่
1.เทคโนโลยี mRNA ที่นำสารพันธุกรรม RNA ที่สร้างโปรตีนเอสของไวรัสมาทำวัคซีน แต่โดยปกติสารพันธุกรรมไวรัสจะมีเปลือกหุ้ม หากไม่มีเปลือกหุ้มจะไม่เสถียรและไม่สามารถกระตุ้นภูมิต้านทานได้ จึงนำไขมันระดับนาโนมาหุ้ม แต่การเก็บรักษาวัคซีนขนิดนี้ต้องใช้อุณหภูมิต่ำมากๆ คือ ลบ 80 องศาเซลเซียส ซึ่งประเทศไทยเป็นเมืองร้อน มีอุณหภูมิสูง การจัดเก็บจึงมีความท้าทาย หากจัดเก็บไม่เหมาะสมจะส่งผลต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัย ซึ่งบริษัทไฟเซอร์และโมเดินนาร์ใช้เทคโนโลยีนี้ในการผลิต
2. เทคโนโลยีไวรัลเวคเตอร์ เป็นการประดิษฐ์สารพันธุกรรม DNA เพื่อสร้างโปรตีนเอสของไวรัสโควิด และหุ้มด้วยเปลือกจากไวรัสอีกตัวเพื่อนำเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งการใช้เปลือกไวรัสหุ้มสารพันธุกรรมทำให้สามารถจัดเก็บในอุณหภูมิประมาณ 4 องศาเซลเซียสได้ จึงเหมาะสมกับประเทศไทยที่มีอากาศร้อน เทคโนโลยีนี้มีบริษัท แอสตราเซนเนกาและสปุตนิกของรัสเซียที่ใช้ในการผลิตวัคซีน
3. เทคโนโลยีเชื้อตาย ทำได้จากการนำเชื้อไวรัสจริงๆ มาเพาะเลี้ยงให้มีจำนวนมากขึ้น และใส่สารบางอย่างให้เชื้อตาย ไม่มีคุณสมบัติก่อโรคได้อีก แล้วนำมาทำวัคซีนโดยเติมสารกระตุ้นภูมิต้านทาน ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีใช้มานานทั้งวัคซีนพิษสุนัขบ้า โปลิโอ และตับอักเสบ สำหรับการผลิตวัคซีนด้วยเทคโนโลยีนี้มีของบริษัทซิโนแวคและซิโนฟาร์ม จากประเทศจีน
ศ.ดร.นพ.วิปรกล่าวต่อว่า การพัฒนาวัคซีนนั้น ความปลอดภัยมีความสำคัญอันดับหนึ่ง โดยมีการวิจัยทั้งระดับสัตว์ทดลอง คือในหนูและลิง การวิจัยในคนถึง 3 ระยะ เพื่อดูความปลอดภัยและประสิทธิภาพ หากผ่านตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลกจึงจะขึ้นทะเบียนให้ใช้ได้ ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงไทยอนุมัติให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน โดยยืนยันว่าคนที่เคยติดเชื้อแล้วสามารถฉีดวัคซีนได้ เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันที่มากเพียงพอ ส่วนอาการปวดบวม มีไข้ หลังฉีดวัคซีนสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัคซีน และยืนยันว่าด้วยข้อมูลในปัจจุบัน การใช้วัคซีนด้วย RNA และ DNA ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมของมนุษย์
“การฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศเรา และกำลังจะเริ่มดำเนินการในสัปดาห์นี้ จึงเป็นมาตรการสำคัญ ที่จะช่วยทำให้คนไทยและประเทศไทยของเรา ผ่านพ้นวิกฤติในครั้งนี้ไปได้ครับ”
ศ. ดร. นพ. วิปร สรุปส่งท้าย
**************************23 กุมภาพันธ์ 2564
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39355 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.รับมอบเครื่องวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก DustBoy จาก อว. 500 เครื่อง | วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564
สธ.รับมอบเครื่องวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก DustBoy จาก อว. 500 เครื่อง
กระทรวงสาธารณสุขรับมอบเครื่องตรวจวัดฝุ่น DustBoy 500 เครื่อง จากกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ใช้ระบบเซ็นเซอร์เทคนิคการกระเจิงแสงวัดได้ทั้งฝุ่น PM2.5 และ PM10 เตรียมติดตั้งในสถานบริการสาธารณสุข โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก สถานดูแลผู้สูงอายุ
กระทรวงสาธารณสุขรับมอบเครื่องตรวจวัดฝุ่น DustBoy 500 เครื่อง จากกระทรวงการอุดมศึกษาฯใช้ระบบเซ็นเซอร์เทคนิคการกระเจิงแสงวัดได้ทั้งฝุ่น PM2.5 และ PM10 เตรียมติดตั้งในสถานบริการสาธารณสุข โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก สถานดูแลผู้สูงอายุ ขยายการเฝ้าระวังฝุ่นละอองขนาดเล็กในชุมชน ป้องกันผลกระทบสุขภาพได้ทันท่วงที
วันนี้ (23 กุมภาพันธ์ 2564) ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 9 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย รับมอบเครื่องตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศด้วยระบบเซนเซอร์ (DustBoy) จำนวน 500 เครื่อง จากศ.นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังและเตือนความเสี่ยงสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)
นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ตระหนักถึงปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง จึงร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้องผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ มีการบูรณาการภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ทั้งนี้ กระทรวงการอุดมศึกษาฯ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้พัฒนาเครื่องตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศด้วยระบบเซนเซอร์ (Dust Boy) ตรวจวัดได้ทั้งฝุ่น PM2.5 และ PM10 โดยสนับสนุนให้กระทรวงสาธารณสุขติดตั้งในสถานบริการสาธารณสุขไปแล้ว 284 เครื่องและในปีนี้ยังสนับสนุนอีก 500 เครื่อง เพื่อติดตั้งในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมถึงสถานที่ที่มีกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก และสถานดูแลผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงมลพิษทางอากาศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวัง แจ้งเตือนและดูแลป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มที่มีความเปราะบาง เช่น กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เป็นต้น ทั้งในระดับครอบครัวและชุมชนได้อย่างเหมาะสม ทันท่วงที และมีความครอบคลุมยิ่งขึ้น
ด้าน ศ.นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่าโจทย์ท้าทายในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย เพื่อเร่งสร้างองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยเครื่อง DustBoy นี้ ถือเป็นนวัตกรรมจากงานวิจัยที่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ในการเฝ้าระวัง เตือนภัยสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 เพื่อให้ประเทศมีการจัดการคุณภาพอากาศที่ดีต่อไป
ทั้งนี้ เครื่องตรวจวัดปริมาณฝุ่น Dust Boy มีต้นทุนการผลิตต่ำ ติดตั้งง่าย ดูแลรักษาสะดวก มีทีมงานสนับสนุนแก้ไขปัญหาให้อย่างต่อเนื่อง ใช้ระบบจัดเก็บข้อมูล Big Data Management ที่มีประสิทธิภาพ ทราบข้อมูลแบบเรียลไทม์ สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการได้ในวงกว้าง ทั้งในระดับนานาชาติ และในระดับชาติ
**************************23 กุมภาพันธ์ 2564
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39343 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลการประชุมคณะกรรมการ PPP ครั้งที่ 1/2564 | วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564
ผลการประชุมคณะกรรมการ PPP ครั้งที่ 1/2564
คณะกรรมการ PPP เห็นชอบการปรับปรุงแผนการจัดทำโครงการร่วมลงทุน รัฐ - เอกชน ปี 2563 - 2570 มูลค่าลงทุนรวม 1 ล้านล้านบาท เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน พร้อมเร่งรัดผลักดันโครงการในกลุ่ม High Priority 4 โครงการ ให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการ PPP ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 4 กระทรวงการคลัง โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งมีผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. คณะกรรมการ PPP เห็นชอบการปรับปรุงแผนการจัดทำโครงการร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 - 2570 (แผนการจัดทำโครงการ PPP) ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562) เพื่อให้สอดคล้องกับสถานะและความพร้อมของแต่ละโครงการ รวมถึงสถานการณ์ปัจจุบัน โดยในแผนการจัดทำโครงการ PPP ฉบับข้างต้น มีรายการโครงการที่ประสงค์จะร่วมลงทุนทั้งหมดรวม 77 โครงการจาก 9 กระทรวง มูลค่าลงทุนรวมประมาณ 1 ล้านล้านบาท โดยเป็นโครงการร่วมลงทุนในกลุ่มที่มีความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วน (High Priority PPP Project) จำนวน 20 โครงการ มูลค่าลงทุนรวมประมาณ 503,153 ล้านบาท ทั้งนี้ แผนการจัดทำโครงการ PPP ข้างต้น จะช่วยสร้างความสนใจและดึงดูดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนภายใต้แผนดังกล่าว ลดข้อจำกัดการลงทุนจากเงินงบประมาณแผ่นดินและเงินกู้จากภาครัฐ ตลอดจนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะแก่ประชาชนจากความรู้ ความเชี่ยวชาญ และนวัตกรรมของเอกชนอีกด้วย
2. คณะกรรมการ PPP ยังได้ผลักดันโครงการในกลุ่ม High Priority PPP Project ที่อยู่ระหว่างการจัดทำหลักการของโครงการและรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ให้ดำเนินการตามมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562 โดยการตั้งคณะทำงานเพื่อให้ความเห็นต่อรายงานดังกล่าว เพื่อให้โครงการมีความพร้อมในการเสนอโครงการต่อคณะกรรมการ PPP ได้ตามแผนงาน จำนวน 4 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 163,052 ล้านบาท ได้แก่ 1) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) (รฟม.) (124,791 ล้านบาท) 2) โครงการพัฒนาและบริหารจัดการที่พักริมทาง (Rest Area) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน - นครราชสีมา (กรมทางหลวง) (1,606 ล้านบาท) 3) โครงการพัฒนาและบริหารจัดการที่พักริมทาง (Rest Area) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ - กาญจนบุรี (กรมทางหลวง) (1,454 ล้านบาท) 4) โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง (รฟม.) (35,201 ล้านบาท) รวมทั้งได้มุ่งเน้นการส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการที่ตอบสนองกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในด้านต่างๆ เช่น ด้านสาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านโลจิสติกส์ เป็นต้น ตลอดจนการกระจายการลงทุนและพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐานไปสู่ภูมิภาค
3. นอกจากนี้ คณะกรรมการ PPP ได้เห็นชอบหลักเกณฑ์การพิจารณาความสำคัญของโครงการร่วมลงทุนที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 - 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินโครงการในกลุ่มข้างต้นภายใต้ พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562 มีกรอบแนวทางในการพิจารณาที่มีความชัดเจน และช่วยให้การดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะมีความคล่องตัว และเป็นไปตามแผนที่กำหนด
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กองส่งเสริมการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39351 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีหวังวัคซีนโควิด-19 ช่วยฟื้นฟูธุรกิจท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวมีใบรับรองการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว อาจไม่จำเป็นต้องกักตัว 14 วัน ชมไทยเป็นต้นแบบการจัดแข่งขันกีฬาระดับโลก | วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564
นายกรัฐมนตรีหวังวัคซีนโควิด-19 ช่วยฟื้นฟูธุรกิจท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวมีใบรับรองการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว อาจไม่จำเป็นต้องกักตัว 14 วัน ชมไทยเป็นต้นแบบการจัดแข่งขันกีฬาระดับโลก
นายกรัฐมนตรีหวังวัคซีนโควิด-19 ช่วยฟื้นฟูธุรกิจท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวมีใบรับรองการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว อาจไม่จำเป็นต้องกักตัว 14 วัน ชมไทยเป็นต้นแบบการจัดแข่งขันกีฬาระดับโลก
วันนี้ (23 ก.พ. 64) เวลา 13.30 น. ณ โถงตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เผยถึงการจัดหาวัคซีนโควิด-19 จาก Sinovac และ AstraZeneca ซึ่งในระยะแรกจะเป็นการฉีดวัคซีนโควิด-19 ตามสถานการณ์ฉุกเฉินก่อน จากนั้นจะเปิดให้ภาคเอกชนนำเข้าวัคซีนได้เอง ซึ่งวัคซีนโควิด-19 ที่มีการจัดหาเพิ่มเติมต้องนำมาขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อน
นายกรัฐมนตรียืนยัน รัฐบาลเตรียมแผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ตามกำหนดของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว โดยกระทรวงสาธารณสุขเปิดช่องทางให้ประชาชนที่สมัครใจ รับการฉีดวัคซีนสามารถยื่นรายชื่อแสดงความจำนงได้ ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขคำนึงถึงความปลอดภัย และติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนโควิด-19 จากประเทศต่าง ๆ โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่าวัคซีนโควิด-19 จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยฟื้นฟูภาคธุรกิจการท่องเที่ยวให้กลับมาดีขึ้น เช่น อาจให้นักท่องเที่ยวที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว มีใบรับรอง ไม่จำเป็นต้องกักตัว 14 วัน แต่ยังคงต้องมีการติดตามว่าเดินทางไปไหนที่ไหนบ้าง
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีชื่นชมความสำเร็จของประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันกีฬาแบดมินตัน 3 รายการระดับโลก แสดงให้เห็นว่าประเทศมีความสามารถในการดำเนินจัดการแข่งขันในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเรียบร้อยและปลอดภัย ต่างประเทศยังจะได้นำไปเป็นแบบอย่างในการจัดการแข่งขันกีฬาต่อไป พร้อมขอบคุณนายกสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทยฯ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือให้สามารถดำเนินการได้อย่างประสบความสำเร็จ
...................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39348 |