sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
599865 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 56 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดเชียงราย
ฉบับที่
๕๖ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๕ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย (แห่งที่ ๒)
- ท่าอากาศยานเชียงราย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๕ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย (แห่งที่
๒) - ท่าอากาศยานเชียงราย
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย (แห่งที่ ๒)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงสี่แยกแม่กรณ์ แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธินสายเก่า
แยกขวาไปตามถนนประสพสุข ถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย
แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามถนนพหลโยธินสายเก่า ผ่านแยกประตูสลี
ตรงไปตามถนนรัตนาเขต ถึงสถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงราย แยกขวาไปตามถนนสิงหไคล
ถึงอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๓๒ ผ่านบ้านร่องปลาค้าว
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชร. ๕๐๒๓ ผ่านบ้านแควหวาย บ้านป่าแดง
ตรงไปตามถนนสนามบิน ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าอากาศยานเชียงราย
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าอากาศยานเชียงราย ไปตามถนนสนามบิน
ตรงไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชร. ๕๐๒๓ ผ่านบ้านป่าแดง บ้านแควหวาย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๒๓๒ ผ่านบ้านร่องปลาค้าว ถึงอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช ตรงไปตามถนนอุตรกิจ
ถึงสี่แยกอภิสแคว แยกขวาไปตามถนนศรีเกิด แยกซ้ายไปตามถนนสิงหไคล
แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย (แห่งที่
๒)
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ไตรสิทธิ์
สินสมบูรณ์ทอง
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดเชียงราย
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๑๘/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599863 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกระบี่ ฉบับที่ 45 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดกระบี่
ฉบับที่
๔๕ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดกระบี่
สายที่ ๘๕๕๘ กระบี่ - เหนือคลอง - บ้านกอตง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดกระบี่
ไปตามถนนอุตรกิจ ถึงแยกตลาดเก่า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔
ผ่านบ้านน้ำจาน บ้านกระบี่น้อย อำเภอเหนือคลอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๓๗ ผ่านบ้านรอบนา บ้านเหนือ อำเภอเขาพนม บ้านช้างตาย ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกอตง
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ศิวะ
ศิริเสาวลักษณ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดกระบี่
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๑๗/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599996 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดกระบี่
ฉบับที่
๔๔ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ในการประชุม ครั้งที่
๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดกระบี่
สายที่ ๘๕๕๗ กระบี่ - เหนือคลอง - บ้านแหลมกรวด โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้
คือ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดกระบี่
ไปตามถนนอุตรกิจ ถึงแยกตลาดเก่า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔
ผ่านบ้านน้ำจาน บ้านกระบี่น้อย อำเภอเหนือคลอง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๓๖ ผ่านทางแยก กม. ๑๔ (ทางเข้าโรงไฟฟ้าฝ่ายผลิต) ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแหลมกรวด
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ศิวะ
ศิริเสาวลักษณ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดกระบี่
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๑๖/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599993 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง ปรับปรุงอำนาจหน้าที่และคณะอนุกรรมการพิจารณาเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง
ปรับปรุงอำนาจหน้าที่และคณะอนุกรรมการพิจารณาเงื่อนไขใน
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางประจำจังหวัดทุกจังหวัด
ยกเว้นกรุงเทพมหานคร[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางประจำจังหวัดทุกจังหวัด
ยกเว้นกรุงเทพมหานคร นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณามอบหมายอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ
ประเภทการขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
สำหรับการขนส่งระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
และเห็นสมควรให้ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณาเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางประจำจังหวัดทุกจังหวัด
ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
จึงปรับปรุงอำนาจหน้าที่และคณะอนุกรรมการพิจารณาเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางประจำจังหวัดทุกจังหวัด
ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
๑.
ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งจังหวัด หรือขนส่งจังหวัด ประธานอนุกรรมการ
๒.
ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด หรือผู้แทน อนุกรรมการ
๓. ผู้อำนวยการแขวงการทาง
หรือผู้อำนวยการ
สำนักงานบำรุงทาง
หรือผู้แทนที่สำนักงานขนส่งจังหวัด
ตั้งอยู่ในเขตความรับผิดชอบ อนุกรรมการ
๔. ประธานหอการค้าจังหวัด
หรือผู้แทน อนุกรรมการ
๕.
หัวหน้าฝ่ายวิชาการขนส่ง อนุกรรมการและเลขานุการ
๖. นักวิชาการขนส่ง
ฝ่ายวิชาการขนส่ง ผู้ช่วยเลขานุการ
ให้คณะอนุกรรมการมีอำนาจหน้าที่
ดังนี้
๑.
พิจารณาให้ความเห็นชอบในการกำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งระหว่างจังหวัดตามมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด
เฉพาะผู้ขออนุญาตที่มีภูมิลำเนา หรือสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ภายในเขตจังหวัด
และเมื่อนายทะเบียนกำหนดหรือปรับปรุงเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของรายใดแล้ว
ให้รวบรวมรายงานคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเพื่อทราบต่อไป
๒.
พิจารณาให้ความเห็นชอบในการต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของตามมาตรา
๓๒ มาตรา ๓๔ ประกอบมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ สำหรับการขนส่งระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เฉพาะผู้ขออนุญาตที่มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดและขอใช้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตประกอบการขนส่งฉบับเดิม
และเมื่อนายทะเบียนต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางหรือการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของแล้วแต่กรณี
แล้วให้รวบรวมรายงานคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเพื่อทราบต่อไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ถวัลย์รัฐ
อ่อนศิระ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง
รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๑๔/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599991 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง หมวด 2 หมวด 3 หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และหมวด 4 กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง
การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง
หมวด
๒ หมวด ๓ หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
และหมวด
๔ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ.
๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๙/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ อนุมัติให้กำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง
(ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง หมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร จึงออกประกาศไว้ ดังนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง หมวด ๒
หมวด ๓ หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และหมวด ๔
กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒
ประกาศนี้
มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง หมวด ๒
และหมวด ๓ พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๑
และประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง)
อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๕๑ ลงวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๑
ข้อ ๔
กำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง
(ค่าโดยสาร) สำหรับรถโดยสารประจำทาง
๔.๑ กำหนด (ปรับปรุง)
อัตราค่าโดยสารสำหรับรถโดยสารประจำทาง หมวด ๒ หมวด ๓
โดยให้ใช้อัตราค่าโดยสารไม่เกินอัตราที่ ๑๕ ดังนี้
อัตราที่
ราคาน้ำมันดีเซล
บาท/ลิตร
อัตราค่าโดยสาร
(บาท)
๔๐
กม. แรก กม. ละ
เกิน
๔๐ กม. แต่ไม่เกิน
๑๕๐
กม. กม. ละ
เกิน
๑๕๐ กม. ขึ้นไป
กม.
ละ
อัตรา
ก.
อัตรา
ข.
อัตรา
ค.
อัตรา
ก.
อัตรา
ข.
อัตรา
ค.
อัตรา
ก.
อัตรา
ข.
อัตรา
ค.
๑
๑๐.๐๗
- ๑๑.๒๘
๐.๔๐
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๓๓
๐.๓๘
๐.๔๓
๐.๒๘
๐.๓๓
๐.๓๘
๒
๑๑.๒๙
- ๑๒.๕๐
๐.๔๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๓๔
๐.๓๙
๐.๔๔
๐.๒๙
๐.๓๔
๐.๓๙
๓
๑๒.๕๑
- ๑๓.๗๒
๐.๔๒
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๓๕
๐.๔๐
๐.๔๕
๐.๓๐
๐.๓๕
๐.๔๐
๔
๑๓.๗๓
- ๑๔.๙๕
๐.๔๓
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๓๖
๐.๔๑
๐.๔๖
๐.๓๑
๐.๓๖
๐.๔๑
๕
๑๔.๙๖
- ๑๖.๑๗
๐.๔๔
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๓๗
๐.๔๒
๐.๔๗
๐.๓๒
๐.๓๗
๐.๔๒
๖
๑๖.๑๘
- ๑๗.๓๙
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๓๘
๐.๔๓
๐.๔๘
๐.๓๓
๐.๓๘
๐.๔๓
๗
๑๗.๔๐
- ๑๘.๖๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๓๙
๐.๔๔
๐.๔๙
๐.๓๔
๐.๓๙
๐.๔๔
๘
๑๘.๖๒
- ๑๙.๘๓
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๔๐
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๓๕
๐.๔๐
๐.๔๕
๙
๑๙.๘๔
- ๒๑.๐๕
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๕๘
๐.๔๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๓๖
๐.๔๑
๐.๔๖
๑๐
๒๑.๐๖
- ๒๒.๒๗
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๕๙
๐.๔๒
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๓๗
๐.๔๒
๐.๔๗
๑๑
๒๒.๒๘
- ๒๓.๔๙
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๖๐
๐.๔๓
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๓๘
๐.๔๓
๐.๔๘
๑๒
๒๓.๕๐
- ๒๔.๗๑
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๖๑
๐.๔๔
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๓๙
๐.๔๔
๐.๔๙
๑๓
๒๔.๗๒
- ๒๕.๙๓
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๖๒
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๔๐
๐.๔๕
๐.๕๐
๑๔
๒๕.๙๔
- ๒๗.๑๕
๐.๕๓
๐.๕๘
๐.๖๓
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๔๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๑๕
๒๗.๑๖
- ๒๘.๓๗
๐.๕๔
๐.๕๙
๐.๖๔
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๔๒
๐.๔๗
๐.๕๒
๑๖
๒๘.๓๘
- ๒๙.๕๙
๐.๕๕
๐.๖๐
๐.๖๕
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๕๘
๐.๔๓
๐.๔๘
๐.๕๓
๑๗
๒๙.๖๐
- ๓๐.๘๑
๐.๕๖
๐.๖๑
๐.๖๖
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๕๙
๐.๔๔
๐.๔๙
๐.๕๔
๑๘
๓๐.๘๒
- ๓๒.๐๓
๐.๕๗
๐.๖๒
๐.๖๗
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๖๐
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๕๕
๑๙
๓๒.๐๔
- ๓๓.๒๕
๐.๕๘
๐.๖๓
๐.๖๘
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๖๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๕๖
๒๐
๓๓.๒๖
- ๓๔.๔๗
๐.๕๙
๐.๖๔
๐.๖๙
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๖๒
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๕๗
๒๑
๓๔.๔๘
- ๓๕.๖๙
๐.๖๐
๐.๖๕
๐.๗๐
๐.๕๓
๐.๕๘
๐.๖๓
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๕๘
๒๒
๓๕.๗๐
- ๓๖.๙๑
๐.๖๑
๐.๖๖
๐.๗๑
๐.๕๔
๐.๕๙
๐.๖๔
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๕๙
๒๓
๓๖.๙๒
- ๓๘.๑๓
๐.๖๒
๐.๖๗
๐.๗๒
๐.๕๕
๐.๖๐
๐.๖๕
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๖๐
๒๔
๓๘.๑๔
- ๓๙.๓๕
๐.๖๓
๐.๖๘
๐.๗๓
๐.๕๖
๐.๖๑
๐.๖๖
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๖๑
๒๕
๓๙.๓๖
- ๔๐.๕๗
๐.๖๔
๐.๖๙
๐.๗๔
๐.๕๗
๐.๖๒
๐.๖๗
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๖๒
ในกรณีที่คำนวณค่าโดยสารได้ต่ำกว่า ๗ บาท
ให้คิดค่าโดยสารเท่ากับ ๗ บาท
หมายเหตุ:-
๑. อัตรา ก. หมายถึง
อัตราค่าโดยสารที่ใช้กับถนนลาดยางหรือคอนกรีต
๒. อัตรา ข. หมายถึง
อัตราค่าโดยสารที่ใช้กับถนนลูกรัง หรือทางขึ้นลงเขาซึ่งมีความลาดชัน ตั้งแต่ร้อยละ
๔ ขึ้นไป เป็นระยะทางไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ของช่วงทางขึ้นลงเขานั้น
๓. อัตรา ค. หมายถึง
อัตราค่าโดยสารที่ใช้กับทางชั่วคราว หรือทางขึ้นลงเขา ซึ่งมีความลาดชัน ตั้งแต่ร้อยละ
๔ ขึ้นไป เป็นระยะทางไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔๕ ของช่วงทางขึ้นลงเขานั้น
อนึ่ง อัตราค่าโดยสารดังกล่าว
เป็นอัตราค่าโดยสารของรถโดยสารประจำทางธรรมดา (ไม่ปรับอากาศ) สำหรับรถปรับอากาศ
ให้คิดค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (ค่าธรรมเนียม) ตามที่กำหนดไว้เดิม คือ
๑) รถมาตรฐาน ๒ หรือรถปรับอากาศ ชั้น ๒
ไม่มีห้องน้ำ ให้คิดค่าธรรมเนียม ๔๐% ของค่าโดยสาร
๒) รถมาตรฐาน ๑ ข. หรือรถปรับอากาศ ชั้น ๑
มีห้องน้ำ ขนาด ๔๒ ที่นั่ง ให้คิดค่าธรรมเนียม ๘๐% ของค่าโดยสาร
๓) รถมาตรฐาน ๑ ข. พิเศษ หรือรถปรับอากาศ ชั้น ๑
มีห้องน้ำ ขนาด ๓๒ ที่นั่ง ให้คิดค่าธรรมเนียม ๑๑๐% ของค่าโดยสาร
๔) รถมาตรฐาน ๑ ก. หรือรถปรับอากาศ ชั้น ๑ (VIP)
มีห้องน้ำ ขนาด ๒๔ ที่นั่ง ให้คิดค่าธรรมเนียม ๑๘๐% ของค่าโดยสาร
๔.๒ กำหนด (ปรับปรุง)
อัตราค่าโดยสารรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร ดังนี้
๔.๒.๑ รถโดยสารประจำทาง หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง ให้ปรับลดอัตราค่าโดยสารเป็น
ดังนี้
(๑)
รถโดยสารธรรมดาลักษณะพิเศษ (ข) (สีขาว-น้ำเงิน) อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๘.๕๐ บาท
ต่อคนต่อเที่ยว
(๒) รถโดยสารธรรมดาพิเศษ
(สีครีม-แดง) อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๗.๕๐ บาท ต่อคนต่อเที่ยว
(๓) รถโดยสารมินิบัส
อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๗.๐๐ บาท ต่อคนต่อเที่ยว
(๔) รถโดยสารปรับอากาศธรรมดา
อัตราค่าโดยสารเป็น ดังนี้
ระยะทาง ๐-๘ กิโลเมตร
อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๒.๐๐ บาท
ระยะทาง ๘-๑๒ กิโลเมตร
อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๔.๐๐ บาท
ระยะทาง
๑๒-๑๖ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๖.๐๐
บาท
ระยะทาง
๑๖-๒๐ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๘.๐๐
บาท
ระยะทาง
๒๐ กิโลเมตรขึ้นไป อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๒๐.๐๐ บาท
(๕) รถโดยสารปรับอากาศ EURO I
และ EURO II อัตราค่าโดยสารเป็น ดังนี้
ระยะทาง ๐-๔ กิโลเมตร
อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๓.๐๐ บาท
ระยะทาง ๔-๘ กิโลเมตร
อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๕.๐๐ บาท
ระยะทาง ๘-๑๒ กิโลเมตร
อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๗.๐๐ บาท
ระยะทาง
๑๒-๑๖ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๙.๐๐
บาท
ระยะทาง
๑๖-๒๐ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๒๑.๐๐
บาท
ระยะทาง
๒๐-๒๔ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๒๓.๐๐
บาท
ระยะทาง
๒๔ กิโลเมตรขึ้นไป อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๒๕.๐๐ บาท
๔.๒.๒ รถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร
ให้ปรับลดอัตราค่าโดยสารเป็น ดังนี้
(๑) รถโดยสารธรรมดาลักษณะพิเศษ (ข)
อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๘.๕๐ บาท ต่อคนต่อเที่ยว
(๒) รถโดยสารธรรมดาและหรือรถโดยสารสองแถว
อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๖.๐๐ บาท ต่อคนต่อเที่ยว
(๓) รถโดยสารปรับอากาศธรรมดา อัตราค่าโดยสารเป็น
ดังนี้
ระยะทาง ๐-๘ กิโลเมตร
อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๐.๐๐ บาท
ระยะทาง ๘-๑๒ กิโลเมตร
อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๒.๐๐ บาท
ระยะทาง
๑๒-๑๖ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๔.๐๐ บาท
ระยะทาง
๑๖-๒๐ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๖.๐๐ บาท
ระยะทาง
๒๐ กิโลเมตรขึ้นไป อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๘.๐๐ บาท
(๔) รถโดยสารปรับอากาศ EURO I
และ EURO II อัตราค่าโดยสารเป็น ดังนี้
ระยะทาง ๐-๔ กิโลเมตร
อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๓.๐๐ บาท
ระยะทาง ๔-๘ กิโลเมตร
อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๕.๐๐ บาท
ระยะทาง ๘-๑๒ กิโลเมตร
อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๗.๐๐ บาท
ระยะทาง
๑๒-๑๖ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๙.๐๐
บาท
ระยะทาง
๑๖-๒๐ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๒๑.๐๐
บาท
ระยะทาง
๒๐-๒๔ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๒๓.๐๐
บาท
ระยะทาง
๒๔ กิโลเมตรขึ้นไป อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๒๕.๐๐ บาท
สำหรับหลักเกณฑ์ในการยกเว้นหรือการลดหย่อนค่าโดยสาร
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติไว้แล้ว
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ถวัลย์รัฐ
อ่อนศิระ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง
รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๒
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๐๙/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599989 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1917 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 จำนวน 3 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๑๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๒ จำนวน ๓ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง
ฉบับที่ ๒๑๔ (พ.ศ. ๒๕๑๓) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๑๓
ยกเลิกและกำหนดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด (เฉพาะที่เริ่มต้นจากจังหวัดพระนคร)
สายที่ ๖๐ กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๘๕๐ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๓๖
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร สายที่ ๙๒๑
กรุงเทพฯ-องครักษ์-อรัญประเทศ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๑๕๙๕ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๘ เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ ภาคตะวันออก สายที่ ๙๙๑๖
กรุงเทพฯ (เอกมัย)-เขาหินซ้อน-สระแก้ว ให้มีเส้นทางเดินรถให้บริการถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๒๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๖๐
กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ เป็น กรุงเทพฯ-ตลาดโรงเกลือ สายที่ ๙๒๑
กรุงเทพฯ-องครักษ์-อรัญประเทศ เป็น กรุงเทพฯ-องครักษ์-ตลาดโรงเกลือ และสายที่ ๙๙๑๖
กรุงเทพฯ (เอกมัย)-เขาหินซ้อน-อรัญประเทศ เป็น กรุงเทพฯ
(เอกมัย)-เขาหินซ้อน-ตลาดโรงเกลือ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๖๐ กรุงเทพฯ-ตลาดโรงเกลือ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านเขตบางเขน อำเภอวังน้อย ถึงแยกหินกอง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
ทางแยกเข้าจังหวัดปราจีนบุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดสระแก้ว อำเภอวัฒนานคร
อำเภออรัญประเทศ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดโรงเกลือ
สายที่ ๙๒๑ กรุงเทพฯ-องครักษ์-ตลาดโรงเกลือ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงรังสิต
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ ผ่านอำเภอองครักษ์ ถึงจังหวัดนครนายก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓ ผ่านทางแยกเข้าจังหวัดปราจีนบุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดสระแก้ว
อำเภอวัฒนานคร อำเภออรัญประเทศ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารบริเวณตลาดโรงเกลือ
สายที่ ๙๙๑๖ กรุงเทพฯ (เอกมัย)-เขาหินซ้อน-ตลาดโรงเกลือ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(เอกมัย) ไปตามถนนสุขุมวิท ขึ้นทางด่วนฉลองรัชที่ด่านพระโขนง
ขึ้นทางด่วนศรีรัชที่ด่านศรีนครินทร์ ลงทางด่วนตรงไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึง
กม. ที่ ๑๒.๗ แยกขวาไปตามทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถึงทางอากาศยานสุวรรณภูมิ แล้วกลับตามเส้นทางเดิม
แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึงทางต่างระดับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔
(ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา) แล้วไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔
ผ่านทางแยกอำเภอพนมสารคาม ถึงแยกเขาหินซ้อน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๙
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๗ ถึงจังหวัดสระแก้ว
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านอำเภอวัฒนานคร อำเภออรัญประเทศ
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดโรงเกลือ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยศักดิ์
อังค์สุวรรณ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๐๗/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599987 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1916 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน 4 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๑๖ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
จำนวน
๔ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๒๙๘ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๐๑
วัดม่วง-ตลาดโพธิ์ทอง ให้มีเส้นทางแยกช่วงวัดม่วง-ถนนรัชดาภิเษก-ตลาดโพธิ์ทอง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๑๖๔๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๕๔
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ท่าอากาศยานกรุงเทพ (ทางด่วน)
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๑๗๑๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๕๕ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-รังสิต
(ทางด่วน)
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ฉบับที่
๑๗๑๙ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๕๘ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-เซ็นทรัลพระราม
๒ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๒๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๐๑
วัดม่วง-ตลาดโพธิ์ทอง เป็น วัดม่วง-ถนนรัชดาภิเษก-ตลาดโพธิ์ทอง สายที่ ๕๕๔
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ท่าอากาศยานกรุงเทพ (ทางด่วน) เป็น
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-รังสิต (ทางด่วน) สายที่ ๕๕๕ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-รังสิต
(ทางด่วน) เป็น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ท่าอากาศยานกรุงเทพ (ทางด่วน) และสายที่ ๕๕๘
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-เซ็นทรัลพระราม ๒ เป็น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-สะพานพระราม
๙- ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพระราม ๒ (ทางด่วน)
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๐๑ วัดม่วง-ถนนรัชดาภิเษก-ตลาดโพธิ์ทอง
เริ่มต้นจากวัดม่วง (อู่บางแค) ไปตามถนนเพชรเกษม
ถึงแยกท่าพระ แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกขวาไปตามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน
ถนนสุขสวัสดิ์ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๒ จนสุดเส้นทางที่ตลาดโพธิ์ทอง
สายที่ ๕๕๔ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-รังสิต (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ไปตามถนนภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปตามทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
(กรุงเทพ-ชลบุรีสายใหม่) แยกขวาไปตามถนนวงแหวนรอบนอก (ตะวันออก) แยกซ้ายไปตามถนนรามอินทรา
ถนนแจ้งวัฒนะ แยกขวาไปตามถนนวิภาวดีรังสิต แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน
จนสุดเส้นทางที่รังสิต
สายที่ ๕๕๕ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ท่าอากาศยานกรุงเทพ
(ทางด่วน)
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ไปตามถนนภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปตามทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
(กรุงเทพ-ชลบุรีสายใหม่) ไปตามทางพิเศษศรีรัช ลงทางพิเศษที่ด่านดินแดง ไปตามถนนวิภาวดีรังสิต
จนสุดเส้นทางที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ
สายที่ ๕๕๘ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-สะพานพระราม ๙-
ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพระราม ๒ (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ไปตามถนนภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แยกขวาไปตามถนนบางนา-ตราด ถึงแยกบางนา
ขึ้นทางพิเศษที่ด่านบางนา ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางพิเศษที่ถนนสุขสวัสดิ์
ไปตามถนนสุขสวัสดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๒ จนสุดเส้นทางที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพระราม
๒
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยศักดิ์
อังค์สุวรรณ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๐๔/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599983 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1915 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 607 ลพบุรี-บางปะหัน-พระนครศรีอยุธยา
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๑๕ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๖๐๗ ลพบุรี-บางปะหัน-พระนครศรีอยุธยา[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๒๖๑ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๔ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๐๗
ลพบุรี-บางปะหัน-พระนครศรีอยุธยา
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงลพบุรี-บ้านพระงาม-พระนครศรีอยุธยา นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๐๗
ลพบุรี-บางปะหัน-พระนครศรีอยุธยา
โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงลพบุรี-บ้านพระงาม-พระนครศรีอยุธยา
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๖๐๗ ลพบุรี-บางปะหัน-พระนครศรีอยุธยา
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๖ ผ่านวัดสำราญ บ้านตลุง บ้านคลองสะแก
อำเภอบ้านแพรก บ้านพิตเพียน ถึงสี่แยกวัดเจ้าปลุก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๗
ผ่านอำเภอมหาราช บ้านสามเรือน ถึงอำเภอบางปะหัน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๒ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านวัดม่วง วัดป้อมรามัญ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๖๐ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านกลาง วัดหน้าพระเมรุ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ถวัลย์รัฐ
อ่อนศิระ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง
รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๐๓/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599979 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1914 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 สายที่ 75 กรุงเทพฯ-ปากท่อ
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๑๔ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๒ สายที่ ๗๕ กรุงเทพฯ-ปากท่อ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๖๕๔ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๒ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๗๕
กรุงเทพฯ-ปากท่อ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นว่า
เส้นทางดังกล่าวหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๑
จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ถวัลย์รัฐ
อ่อนศิระ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง
รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๐๒/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
318838 | ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2528 | ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงิน
ที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๘[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘
แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
๑.
แต่งตั้งให้
(๑) นายวิชาญ อมรโรจนาวงศ์
(๒) นายอมร ทรัพย์สมพร
(๓) ว่าที่ร้อยตรี หัสชัย พงษ์ธนเลิศ
(๔) นายสินสมบัติ สิงห์ทะนุประเสริฐ
(๕) นายสำราญ ฮีเกษม
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ. ๒๕๒๗
๒.
แก้ไขประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ. ๒๕๒๗ ฉบับลงวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ ตำแหน่งในลำดับที่ ๔ จาก อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา
เป็น อัยการพิเศษฝ่ายคดี และตำแหน่งในลำดับที่ ๒๐ จาก อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาธนบุรี
เป็น อัยการพิเศษฝ่ายคดีธนบุรี
๓.
แก้ไขประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๒๘ ของบุคคลในลำดับที่ ๑๕ จาก นางทองอุไร
ลิ้มนิติ เป็น นางทองอุไร ลิ้มปิติ
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๒๘
สมหมาย ฮุนตระกูล พลเอก
สิทธิ จิรโรจน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒
อุรารักษ์/ตรวจ
๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๔๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕/๑๗ เมษายน ๒๕๒๘ |
803589 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
พ.ศ.
๒๕๖๑
โดยที่ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำมูล
บริเวณท้องที่ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา เป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร
การประปา และการประมง
ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณที่เหมาะสมต่อการรักษาให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย
แพร่ขยายพันธุ์ วางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนของสัตว์น้ำ
เนื่องจากเป็นช่วงที่ระดับน้ำมีความลึกเหมาะสม มีน้ำขังตลอดปี
และมีรากไม้จำนวนมากเหมาะสำหรับเป็นที่หลบซ่อนอาศัยของสัตว์น้ำ
ประกอบกับชุมชนในท้องถิ่นมีความตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้คงอยู่เป็นแหล่งอาหารอย่างยั่งยืนต่อไป
ซึ่งหากปล่อยให้มีการทำการประมงได้อย่างเสรีโดยไม่มีพื้นที่ที่เป็นแหล่งหลบซ่อนอาศัยของสัตว์น้ำ
อาจทำให้ปริมาณสัตว์น้ำในแหล่งน้ำลดน้อยถอยลง และกระทบต่อความสมดุลตามธรรมชาติได้
จึงสมควรกำหนดมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติ
และรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศของแหล่งน้ำดังกล่าวไว้อย่างยั่งยืนตามหลักการป้องกันล่วงหน้า
ประกอบกับความในมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีประกาศกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา
โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำมูล
บริเวณท้องที่ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๑/๓ ๒/๓ และ ๓/๓ แนบท้ายประกาศนี้
เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑
วิเชียร
จันทรโณทัย
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๐
มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๑๒/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ |
803585 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ.
๒๕๖๑
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘
วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงปลาในกระชัง
(๑)
ให้พื้นที่อ่างเก็บน้ำบ้านเด่นสารภี เขตท้องที่หมู่ที่ ๖ ตำบลบ้านตาล อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
(๒) ให้พื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยบก
เขตท้องที่หมู่ที่ ๖ ตำบลบ้านสหกรณ์ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ปวิณ
ชำนิประศาสน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๐
มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๑๑/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ |
803581 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดระยอง เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดระยอง
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ
ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ.
๒๕๖๑
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ โดยกำหนดให้ประมงจังหวัด
ประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอใบอนุญาต
คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทน ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดระยอง
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐
ลงวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดระยอง ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อพ้นกำหนด ๑๕ วัน
นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นระยะเวลา
๓๐ วัน
ข้อ ๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดระยอง
ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอวังจันทร์ ที่ว่าการอำเภอ เขาชะเมา หรือสำนักงานประมงอำเภอในท้องที่
ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี)
(๔)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (เฉพาะกรณี การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕) หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง
(กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖) สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐
วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗)
หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐
วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘)
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณีคนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙)
หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๐)
แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๔[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑
สงกรานต์
แสงจันทร์
ประมงจังหวัดระยอง
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๐
มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๘/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ |
803579 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดสงขลา เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดสงขลา
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ
ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ.
๒๕๖๑
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙
โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต
ใบรับคำขอ ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทนใบอนุญาต ให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐
และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสงขลา เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทกระชัง
ลงวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๑ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดสงขลา ออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้
ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นระยะเวลา
๙๐ วัน
ข้อ ๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังจังหวัดสงขลา
ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานประมงอำเภอท้องที่จังหวัดสงขลา
ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี)
(๔) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(เฉพาะกรณี การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕)
หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖) สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗)
หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐
วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘)
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙)
หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๐)
แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๔[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ธนาวุฒิ
กุลจิตติชนก
ประมงจังหวัดสงขลา
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๐
มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๖/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ |
803577 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ
ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ.
๒๕๖๑
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙
โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอ ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต
และคำขอรับใบแทน
ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐
และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๑ นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ
ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดนครราชสีมา
ออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
เป็นระยะเวลา ๓๐ วัน
ข้อ ๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในเขตท้องที่จังหวัดนครราชสีมา
ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอ แห่งท้องที่ที่ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง
ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี)
(๔)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (เฉพาะกรณี การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕) หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง
(กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖) สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗)
หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘)
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙)
หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์
๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ)
(๑๐)
แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๔[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑
สมชาย
เจียรทิพย์วิไล
ประมงจังหวัดนครราชสีมา
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๑๘
มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๔/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ |
803573 | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำจืดมีไข่ หรือวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน และกำหนดเครื่องมือ วิธีการทำการประมง และเงื่อนไขในการทำการประมง พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง
กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำจืดมีไข่ หรือวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน
และกำหนดเครื่องมือ
วิธีการทำการประมง และเงื่อนไขในการทำการประมง
พ.ศ.
๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๐
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมประมงเห็นสมควรกำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำจืดมีไข่หรือวางไข่
เลี้ยงตัวอ่อน และกำหนดเครื่องมือ วิธีการทำการประมง
และเงื่อนไขในการทำการประมงให้สอดคล้องกับข้อมูลปริมาณนํ้าฝน ปริมาณน้ำท่า
ข้อมูลชีววิทยาของสัตว์น้ำจืด และข้อมูลด้านการประมงที่เป็นปัจจุบัน
เพื่อบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติ
รักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศไว้อย่างยั่งยืนตามหลักการป้องกันล่วงหน้า
จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ภายในระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม
ถึงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๑ ห้ามมิให้ผู้ใดทำการประมงในพื้นที่เขตจังหวัดเชียงราย
เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำปาง ลำพูน น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ เลย
หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี
ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา สระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก
ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต
กระบี่ และนครศรีธรรมราช
ข้อ ๒ ภายในระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ ๑๖ มิถุนายน
ถึงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๑ ห้ามมิให้ผู้ใดทำการประมงในพื้นที่เขตจังหวัดสุโขทัย
ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี
สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สระบุรี กาญจนบุรี นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี
กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี
และประจวบคีรีขันธ์
ข้อ ๓ ภายในระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กันยายน
ถึงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๑ ห้ามมิให้ผู้ใดทำการประมงในพื้นที่เขตจังหวัดตรัง สตูล
พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา
ข้อ ๔ ความในข้อ ๑ ข้อ ๒ และข้อ ๓
มิให้ใช้บังคับกับกรณีการทำการประมง โดยใช้เครื่องมือ วิธีการทำการประมง และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก)
การทำการประมงในพื้นที่แหล่งน้ำปิดที่ไม่ติดต่อกับแม่น้ำ หรือลำธารธรรมชาติ
(ข)
การทำการประมงโดยใช้เบ็ดทุกชนิดที่ไม่มีลักษณะเป็นเบ็ดต่อกันเป็นสายมากกว่า ๑ ตัว
(ค) การทำการประมงโดยใช้ตะแกรง
สวิง ช้อน ยอ และชนาง ซึ่งมีขนาดปากกว้าง ไม่เกิน ๒ เมตร
และไม่ทำการประมงด้วยวิธีประดาตั้งแต่สามเครื่องมือขึ้นไป
(ง) การทำการประมงโดยใช้สุ่ม ฉมวก
และส้อม
(จ)
การทำการประมงโดยใช้ไซ ตุ้ม อีจู้ ลัน โปง และโทง
หรือเครื่องมือที่มีลักษณะและวิธีการคล้ายคลึงกัน
(ฉ)
การทำการประมงโดยใช้แหที่มีความลึกไม่เกิน ๖ ศอก (๓ เมตร)
ข้อ ๕ ประกาศฉบับนี้มิให้ใช้บังคับแก่การทำการประมงเพื่อการศึกษา
วิจัย หรือทดลองทางวิชาการโดยได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมง
ข้อ ๖[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร
พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๑๘
มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๑/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ |
803273 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดขอนแก่น เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดขอนแก่น
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
พ.ศ.
๒๕๖๑
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดขอนแก่น ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พื้นที่ลำน้ำพองและลำน้ำชี
เขตท้องที่จังหวัดขอนแก่น ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ เป็นเขตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
(๑)
ลำน้ำพองเขตพื้นที่อำเภออุบลรัตน์ ตามแผนที่ท้ายประกาศหมายเลข ๑/๓๑ - ๗/๓๑
(๒) ลำน้ำพองเขตพื้นที่อำเภอน้ำพอง
ตามแผนที่ท้ายประกาศหมายเลข ๘/๓๑ - ๑๐/๓๑
(๓)
ลำน้ำพองเขตพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่น ตามแผนที่ท้ายประกาศหมายเลข ๑๑/๓๑ - ๒๗/๓๑
(๔)
ลำน้ำชีเขตพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่น ตามแผนที่ท้ายประกาศหมายเลข ๒๘/๓๑ - ๒๙/๓๑
(๕) ลำน้ำชีเขตพื้นที่อำเภอบ้านแฮด
ตามแผนที่ท้ายประกาศหมายเลข ๓๐/๓๑ - ๓๑/๓๑
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑
สมศักดิ์
จังตระกุล
ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดขอนแก่น
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีแนบท้ายประกาศจังหวัดขอนแก่น
เรื่อง กำหนดพื้นที่เขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ในแม่น้ำพอง และแม่น้ำชี
พื้นที่จังหวัดขอนแก่น
๒. แผนที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดขอนแก่น
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๑๔
มิถุนายน ๒๕๖๑
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๙
มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๐๓ ง/หน้า ๒๒/๗ พฤษภาคม ๒๕๖๑ |
801939 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุบลราชธานี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
| ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุบลราชธานี
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓)
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุบลราชธานีออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุบลราชธานี
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๙
ข้อ ๒ ให้เขตท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้
ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๖๑
สฤษดิ์ วิฑูรย์
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดอุบลราชธานี
ปวันวิทย์/จัดทำ
๑
มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๑๑/๒๕ เมษายน ๒๕๖๑ |
801937 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑
ของประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดอุตรดิตถ์
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๖๑
เสถียรพงศ์ มากศิริ
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์
ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
ปวันวิทย์/จัดทำ
๑
มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๑๐/๒๕ เมษายน ๒๕๖๑ |
801935 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครพนม เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครพนม
เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว
บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบมาตรา ๗๗
แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครพนมออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดนครพนม
เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงจระเข้
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๖๑
สมชาย วิทย์ดำรงค์
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดนครพนม
ปวันวิทย์/จัดทำ
๑
มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๙/๒๕ เมษายน ๒๕๖๑ |
801933 | ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. 2561
| ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่
เรื่อง
กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง
ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยที่พื้นที่เขตทะเลชายฝั่งของจังหวัดกระบี่
มีระบบนิเวศตามธรรมชาติที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำและเป็นแหล่งอาศัยแพร่ขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำที่สำคัญ
แต่มีชาวประมงได้พัฒนาและดัดแปลงเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพในการจับสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้นอีก
ทั้งเครื่องมือบางชนิดเป็นอันตรายต่อปลาพะยูนและเต่าทะเล นอกจากนี้เครื่องมือบางชนิดมีลักษณะยึดครองพื้นที่ทำการประมงในทะเลทำให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือทำการประมงพื้นบ้านประเภทอื่น
หากปล่อยให้มีการทำการประมงด้วยเครื่องมือทำการประมงและวิธีการทำการประมงดังกล่าวต่อไป
จะเกิดการทำลายระบบนิเวศของท้องทะเลและส่งผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างรุนแรงรวมทั้งเกิดความขัดแย้งของชาวประมงในพื้นที่
ดังนั้น
เพื่อป้องกันและขจัดการทำการประมงที่เกินศักยภาพการผลิตและขีดความสามารถในการทำการประมงส่วนเกินตลอดจนควบคุมมิให้การทำการประมงมีผลบั่นทอนความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำและป้องกันความขัดแย้งในการทำการประมง
จึงเป็นเหตุฉุกเฉินและมีความจำเป็นเร่งด่วน
สมควรกำหนดมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติและรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศไว้อย่างยั่งยืน
ตามหลักการป้องกันล่วงหน้า
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสอง
และมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงหรือวิธีการทำการประมงดังต่อไปนี้
ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง จังหวัดกระบี่
(๑) อวนติดตาที่มีความลึกมากกว่า ๓๐๐ ช่องตา
และความยาวมากกว่า ๑,๕๐๐ เมตร
(๒)
อวนหมึก ที่มีความยาวอวนมากกว่า ๑,๕๐๐ เมตร ต่อเรือประมง ๑ ลำ
(๓)
ลอบปูทุกชนิดที่มีช่องตาอวนโดยรอบ น้อยกว่า ๒.๕ นิ้ว หรือใช้ทำการประมงมากกว่า ๓๐๐
ลูกต่อเรือประมง ๑ ลำ
(๔)
ลอบหมึกสายที่ใช้ในการทำการประมงมากกว่า ๕๐๐ ลูก ต่อเรือประมง ๑ ลำ
(๕)
แห อวนครอบ อวนช้อนหรืออวนยกหมึก ที่ใช้ประกอบเครื่องปั่นไฟ
(๖)
เบ็ดราไว
(๗)
อวนปลากระเบน
(๘)
อวนหรือข่ายซึ่งใช้ประกอบกับเครื่องมือกระทุ้งน้ำ
(๙) ปืนฉมวก
หรือเครื่องมืออื่นใดที่มีลักษณะและวิธีการใช้ที่คล้ายคลึงกันประกอบเครื่องประดาน้ำหรือปั้มลม
ประกอบแสงไฟ
(๑๐) เครื่องมือทำการประมงประเภทโป๊ะ ยอปีก ช้อนปีก
ไซปีก
หรือเครื่องมืออื่นใดที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นที่มีลักษณะและวิธีการใช้ที่คล้ายคลึงกัน
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๖๑
พันตำรวจโท หม่อมหลวงกิติบดี ประวิตร
ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่
ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดกระบี่
ปวันวิทย์/จัดทำ
๑
มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๗/๒๕ เมษายน ๒๕๖๑ |
801931 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561 | ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดกาฬสินธุ์
เรื่อง
กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ
ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต
พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙
โดยกำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มายื่นคำขอรับใบอนุญาต ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต
ใบรับคำขอใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทนใบอนุญาต
ให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๐
ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง
กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๑
นั้น
อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดกาฬสินธุ์ ออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้
ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต
เป็นระยะเวลา ๖๐ วัน
ข้อ ๒
สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง
จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้ยื่น ณ
ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
สำนักงานประมงอำเภอสหัสขันธ์ สำนักงานประมงอำเภอยางตลาด สำนักงานประมงอำเภอกมลาไสย
และสำนักงานประมงอำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์
ข้อ ๓
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิและหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง ซึ่งออกให้ไม่เกิน
๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(๓)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี)
(๔)
เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (เฉพาะกรณี การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง)
(๕)
หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์)
(๖) สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐
วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๗)
หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๘)
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี
คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๒)
(๙)
หนังสือมอบอำนาจ
พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ ๑๐ บาท
(กรณีมอบอำนาจ)
(๑๐)
แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๖๑
อำพล จินดาวงค์
ประมงจังหวัดกาฬสินธุ์
ปวันวิทย์/จัดทำ
๑
มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๕/๒๕ เมษายน ๒๕๖๑ |
801155 | ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมประมง
เรื่อง
รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๔ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.
๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบัญชีรายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง
รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
และให้ใช้บัญชีแนบท้ายประกาศฉบับนี้แทน
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑
อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง
เอกสารแนบท้าย
๑.
บัญชีรายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/จัดทำ
๑๑
มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๘๕ ง/หน้า ๒๕/๑๑ เมษายน ๒๕๖๑ |
599977 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1913 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1258 เจริญกรุง-ศูนย์การค้าวรรัตน์
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๑๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๒๕๘ เจริญกรุง-ศูนย์การค้าวรรัตน์[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง
ฉบับที่ ๒๔๔ (พ.ศ. ๒๕๑๔) ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๑๔
กำหนดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทางในชนบทเพิ่มเติมในเขตนครบาลใต้ (จังหวัดพระนคร)
สายที่ ๑๒๕๘ เจริญกรุง-ศูนย์การค้าวรรัตน์ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๒๕๘
เจริญกรุง-ศูนย์การค้าวรรัตน์ เป็นเจริญกรุง-ซอยจันทน์ ๒๗
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๒๕๘ เจริญกรุง-ซอยจันทน์ ๒๗
เริ่มต้นจากซอยเจริญกรุง ๗๙ (ด้านถนนเจริญกรุง)
แยกซ้ายไปตามซอยแฉล้มนิมิตร แยกขวาไปตามซอยเจริญราษฎร์ ๘ แยกซ้ายไปตามถนนเจริญราษฎร์
กลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามซอยเจริญราษฎร์ ๕ (ซอยอยู่ดี)
แยกซ้ายไปตามซอยอยู่ดี ๒๐/๑ แยกขวาไปตามซอยวัดไผ่เงิน แยกซ้ายไปตามซอยวัดไผ่เงิน
๒๗ ซอยจันทน์ ๒๗ จนสุดเส้นทางที่ซอยจันทน์ ๒๗ (ด้านถนนจันทน์)
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ถวัลย์รัฐ
อ่อนศิระ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง
รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๐๑/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599975 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1912 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 552 ขอนแก่น-บ้านดอนโมง-คอนสวรรค์
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๑๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๕๕๒ ขอนแก่น-บ้านดอนโมง-คอนสวรรค์[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๕๔๖ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๕๒
ขอนแก่น-บ้านดอนโมง-คอนสวรรค์ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๕๒ ขอนแก่น-บ้านดอนโมง-คอนสวรรค์
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้น จำนวน ๕ ช่วง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๕๕๒ ขอนแก่น-บ้านดอนโมง-คอนสวรรค์
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านทุ่ม อำเภอบ้านฝาง บ้านหนองบัว
ถึงบ้านดอนโมง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ขก. ๒๐๑๓ ผ่านบ้านยางคำ
บ้านแก่นเท่า บ้านคำน้อย บ้านคำคันโซ่ บ้านหนองสองห้อง บ้านนางาม ถึงบ้านโสกน้ำขุ่น
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๘๔ ถึงบ้านโนนงาม
แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ. ขก. ๔๑๐๗ ถึงบ้านโสกนาดี
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก. ๓๐๓๗ ผ่านบ้านโคกสง่า บ้านมูลนาค ถึงบ้านสำราญ
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. ขก. ๓๐๒๗ ผ่านบ้านนามน ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอคอนสวรรค์
ช่วงบ้านดอนโมง-บ้านหนองปลาปึ่ง-คอนสวรรค์
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดอนโมง ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก.
๒๐๑๓ ผ่านบ้านยางคำ บ้านแก่นเท่า บ้านคำน้อย บ้านคำคันโซ่ บ้านหนองสองห้อง
บ้านนางาม ถึงบ้านโสกน้ำขุ่น แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๘๔
ถึงบ้านโนนงาม แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ. ขก. ๔๑๐๗ ถึงบ้านโสกนาดี
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก. ๓๐๓๗ ผ่านบ้านโคกสง่า บ้านมูลนาค ถึงบ้านสำราญ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. ชย. ๑๐๐๓ ผ่านบ้านนาฮี ถึงบ้านหนองปลาปึ่ง ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
ยธ. ชย. ๔๐๒๗ ผ่านบ้านหนองเป็น บ้านนาโจด แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช.
ชย. ๓๐๒๗ ผ่านบ้านคอนสวรรค์ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอคอนสวรรค์
ช่วงบ้านดอนโมง-บ้านเม็ง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดอนโมง ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก.
๒๐๑๓ ถึงทางแยกบ้านหนองหอย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหนองหอย บ้านหนองแวง
บ้านดอนหัน บ้านเหมือดแอ่ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเม็ง
ช่วงบ้านดอนโมง-บ้านหนองคลอง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดอนโมง ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก.
๒๐๑๓ ผ่านบ้านยางคำ ถึงบ้านแก่นเท่า แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านวังโพน
บ้านหนองคลองน้อย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองคลอง
ช่วงบ้านดอนโมง-มัญจาคีรี
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดอนโมง ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก.
๒๐๑๓ ผ่านบ้านยางคำ บ้านแก่นเท่า บ้านคำน้อย บ้านคำคันโซ่ ถึงบ้านหนองสองห้อง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก. ๓๐๑๐ ผ่านบ้านหนองบัวเย็น บ้านเหล่าใหญ่
บ้านบัว ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอมัญจาคีรี
ช่วงขอนแก่น-บ้านม่วง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒
ผ่านบ้านทุ่ม ถึงทางแยกบ้านกุดนางทุย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. ขก.
๔๑๓๙ ผ่านบ้านกุดนางทุย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านม่วง
ช่วงขอนแก่น-บ้านหนองชาด
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒
ผ่านบ้านทุ่ม ถึงทางแยกบ้านสระแก้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านสระแก้ว
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองชาด
ช่วงขอนแก่น-บ้านหนองตาไก้
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒
ผ่านบ้านทุ่ม ถึงทางแยกบ้านหนองกุง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหนองกุง
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองตาไก้
ช่วงขอนแก่น-บ้านหนองแปน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒
ผ่านบ้านทุ่ม อำเภอบ้านฝาง บ้านหนองบัว ถึงบ้านดอนโมง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก. ๒๐๑๓ ถึงทางแยกบ้านหัวนา
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหัวนา ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองแปน
ช่วงขอนแก่น-บ้านหนองแวง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒
ผ่านบ้านทุ่ม อำเภอบ้านฝาง บ้านหนองบัว ถึงบ้านดอนโมง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก. ๒๐๑๓ ผ่านทางแยกบ้านหนองหอย ถึงบ้านยางคำ
แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ. ขก. ๓๐๓๕ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองแวง
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ถวัลย์รัฐ
อ่อนศิระ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง
รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๙๘/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599971 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1911 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 ภาคตะวันออก จำนวน 2 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๒ ภาคตะวันออก
จำนวน
๒ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๗๒ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๒๗ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๕๑
กรุงเทพฯ-บ้านบึง ให้เดินรถผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๓๒๖ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๓ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๕๒ กรุงเทพฯ-พนัสนิคม
เป็น กรุงเทพฯ-กองบัญชาการช่วยรบที่ ๑ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๕๑ กรุงเทพฯ-บ้านบึง
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ (จตุจักร)-บ้านบึง
เพิ่มขึ้น ๑ ช่วง และสายที่ ๕๒ กรุงเทพฯ-กองบัญชาการช่วยรบที่ ๑
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ (จตุจักร)-กองบัญชาการช่วยรบที่ ๑
เพิ่มขึ้น ๑ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๕๑ กรุงเทพฯ-บ้านบึง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(เอกมัย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงสี่แยกบางนา
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ถึงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงจังหวัดชลบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๔๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านบึง
ช่วงกรุงเทพฯ
(จตุจักร)-บ้านบึง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ขึ้นทางด่วน (ทางพิเศษศรีรัช) ที่ด่านบางซื่อ (ถนนกำแพงเพชร ๒)
ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ระบบทางด่วน ขั้นที่ ๑)
ถึงบางนา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ถึงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓ ถึงจังหวัดชลบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๔ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านบึง
สายที่ ๕๒ กรุงเทพฯ-กองบัญชาการช่วยรบที่ ๑
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(เอกมัย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงสี่แยกบางนา
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ถึงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงจังหวัดชลบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๑๕ ถึงอำเภอพนัสนิคม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๔๖ ถึงบ้านเกาะโพธิ์
แล้วไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๔๑ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางกองบัญชาการช่วยรบที่ ๑
ช่วงกรุงเทพฯ
(จตุจักร)-กองบัญชาการช่วยรบที่ ๑
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ขึ้นทางด่วน (ทางพิเศษศรีรัช) ที่ด่านบางซื่อ (ถนนกำแพงเพชร ๒)
ไปตามทางหลวงพิเศษเฉลิมมหานคร (ระบบทางด่วน ขั้นที่ ๑) ถึงบางนา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ถึงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงจังหวัดชลบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๑๕ ถึงอำเภอพนัสนิคม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๔๖ ถึงบ้านเกาะโพธิ์ แล้วไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓๔๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางกองบัญชาการช่วยรบที่ ๑
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ถวัลย์รัฐ
อ่อนศิระ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง
รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๙๖/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599965 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1910 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน 3 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
จำนวน
๓ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๕๓๑ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๔๖
วิทยาเขตรามคำแหง-รองเมือง และสายที่ ๕๑๖ เทเวศร์-หมู่บ้านบัวทองเคหะ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๑๓๗๘ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๖ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารปรับอากาศ หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๓๘
ศรีอยุธยา-สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (จังหวัดปทุมธานี) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๔๖
วิทยาเขตรามคำแหง-รองเมือง เป็น วิทยาเขตรามคำแหง-หัวลำโพง สายที่ ๕๑๖
เทเวศร์-หมู่บ้านบัวทองเคหะ ให้มีรายละเอียดเส้นทางผ่านพุทธมณฑล สาย ๒ และสายที่
๕๓๘ ศรีอยุธยา-สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (จังหวัดปทุมธานี) เป็น
โรงพยาบาลสงฆ์-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๔๖ วิทยาเขตรามคำแหง-หัวลำโพง
จากวิทยาเขตรามคำแหงไปหัวลำโพง
เริ่มต้นจากวิทยาเขตรามคำแหง ไปตามถนนรามคำแหง ๒ แยกขวาไปตามถนนบางนา-ตราด
ถึงสี่แยกบางนา แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔
แยกขวาไปตามถนนบรรทัดทอง แยกซ้ายไปตามถนนจรัสเมือง แยกขวาไปตามถนนพระราม ๖
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๑ แยกซ้ายไปตามถนนกรุงเกษม ถึงแยกนพวงศ์ แยกซ้ายข้ามสะพานนพวงศ์
แยกขวาไปตามถนนเลียบทางรถไฟหัวลำโพง จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟหัวลำโพง
จากหัวลำโพงไปวิทยาเขตรามคำแหง
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟหัวลำโพง แยกซ้ายไปตามถนนรองเมือง
แยกขวาไปตามถนนเจริญเมือง แยกซ้ายไปตามถนนจารุเมือง แยกขวาไปตามถนนจรัสเมือง แยกขวาไปตามถนนบรรทัดทอง
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่วิทยาเขตรามคำแหง
สายที่ ๕๑๖ เทเวศร์-หมู่บ้านบัวทองเคหะ
จากเทเวศร์ไปหมู่บ้านบัวทองเคหะ
เริ่มต้นจากเทเวศร์ ไปตามถนนสามเสน ถนนจักรพงษ์ แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนินกลาง
ถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วกกลับตามถนนราชดำเนินกลาง ข้ามสะพานผ่านพิภพลีลา
สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนบรมราชชนนี กลับรถที่สะพานต่างระดับพุทธมณฑล
สาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนบางกรวย-ไทรน้อย
จนสุดเส้นทางที่หมู่บ้านบัวทองเคหะ
จากหมู่บ้านบัวทองเคหะไปเทเวศร์
เริ่มต้นจากหมู่บ้านบัวทองเคหะ ไปตามถนนบางกรวย-ไทรน้อย แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก
แล้วไปตามเส้นทางเดิม ถึงสี่แยกคอกวัว แยกซ้ายไปตามถนนตะนาว ถนนสิบสามห้าง
แยกขวาไปตามถนนพระสุเมรุ แยกซ้ายไปตามถนนประชาธิปไตย แยกซ้ายไปตามถนนพิษณุโลก
จนสุดเส้นทางที่เทเวศร์
สายที่ ๕๓๘
โรงพยาบาลสงฆ์-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
จากโรงพยาบาลสงฆ์ไปมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
เริ่มต้นจากโรงพยาบาลสงฆ์ ไปตามถนนศรีอยุธยา
แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท แยกขวาไปตามถนนราชวิถี ถนนดินแดง แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต
ถนนอุตราภิมุข (ทางยกระดับดอนเมืองโทลเวย์) ถึงดอนเมือง ไปตามถนนวิภาวดีรังสิต
แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน ผ่านห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส
ขึ้นสะพานกลับรถไปตามถนนพหลโยธิน ผ่านห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ (ถนนรังสิต-นครนายก)
แยกซ้ายไปตามถนนเลียบคลอง ๖ จนสุดเส้นทางที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีไปโรงพยาบาลสงฆ์
เริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ไปตามถนนเลียบคลอง ๖ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ (ถนนรังสิต-นครนายก)
ถึงรังสิต ลอดใต้สะพานข้ามคลองรังสิต แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน ผ่านห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส
ขึ้นสะพานกลับรถ ไปตามถนนพหลโยธิน ผ่านห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค ไปตามถนนพหลโยธิน
แล้วไปตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามถนนดินแดง ถนนราชวิถี ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนราชวิถี
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๖ แยกซ้ายไปตามถนนศรีอยุธยา จนสุดเส้นทางที่โรงพยาบาลสงฆ์
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ถวัลย์รัฐ
อ่อนศิระ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง
รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๙๓/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599963 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1909 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 376 ปราจีนบุรี-อรัญประเทศ และสายที่ 451 พัทลุง-หาดใหญ่
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๐๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๓๗๖ ปราจีนบุรี-อรัญประเทศ
และสายที่
๔๕๑ พัทลุง-หาดใหญ่[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๙๑๙ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๓๗ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดปราจีนบุรี สายที่ ๑๖๗๓
ง. ปราจีนบุรี-อรัญประเทศ เป็น หมวด ๓ สายที่ ๓๗๖ ปราจีนบุรี-อรัญประเทศ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๔๗๕ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๓๐ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๔๕๑
พัทลุง-หาดใหญ่ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นว่า
เส้นทางดังกล่าวหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๑
จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชลอ
คชรัตน์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๙๒/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599959 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1908 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 จำนวน 3 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๐๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ จำนวน ๓ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๕๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๘๐๘ นครราชสีมา-เชียงคาน
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครราชสีมา-ภูกระดึง-เชียงคาน
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๕๗๘ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๖๑
อำเภอพล-อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย-บ้านสำโรง เพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๑๖๑๓ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๔๗ หนองบัวลำภู-นายูง
สำหรับการเดินรถแยกช่วงหนองบัวลำภู-บ้านโคกนก เป็น ช่วงหนองบัวลำภู-บ้านโชคชัย
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๘๐๘ นครราชสีมา-เชียงคาน
ให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครราชสีมา-ภูกระดึง-เชียงคาน สายที่ ๒๖๑
อำเภอพล-อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ให้แก้ไขชื่อเส้นทางเป็น พล-พยัคฆภูมิพิสัย
และยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๒ ช่วง คือ ช่วงพล-บ้านยางสีสุราช และช่วงพล-นาโพธิ์-นาเชือก
และสายที่ ๒๔๗ หนองบัวลำภู-นายูง เป็น หนองบัวลำภู-น้ำโสม โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๘๐๘ นครราชสีมา-เชียงคาน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕
ผ่านบ้านจอหอ อำเภอโนนไทย ถึงบ้านหนองบัวโคก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑
ผ่านอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ อำเภอแก้งคร้อ อำเภอภูเขียว ถึงอำเภอชุมแพ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงบ้านโนนหัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๑ ผ่านทางแยกอำเภอภูกระดึง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเชียงคาน
สายที่ ๒๖๑ พล-พยัคฆภูมิพิสัย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพล
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๗ ผ่านบ้านชาด บ้านหนองเม็ก อำเภอหนองสองห้อง
ถึงบ้านทางพาด (กม. ๙) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๖๑ ผ่านบ้านคูณ
บ้านสระแก้ว บ้านแฮด บ้านโสกบก บ้านหนองบัวรอง ถึงอำเภอพุทไธสง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
ช่วงพยัคฆภูมิพิสัย-บ้านเม็กดำ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๒ ถึงทางแยกบ้านเม็กดำ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบจ. มค. ๒๐๑๙
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเม็กดำ
ช่วงพยัคฆภูมิพิสัย-บ้านแก่นท้าว
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๒ ถึงทางแยกบ้านแก่นท้าว แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแก่นท้าว
ช่วงพยัคฆภูมิพิสัย-บ้านสำโรง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๒ ถึงทางแยกบ้านดง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ถึงบ้านหนองห้าง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๖๑ ผ่านบ้านตาลอก ถึงบ้านเม็กดำ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบจ. มค. ๒๐๑๙
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสำโรง
สายที่ ๒๔๗ หนองบัวลำภู-น้ำโสม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองบัวลำภู
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐ ผ่านบ้านหมากเหลี่ยม บ้านโคกน้ำเกลี้ยง
บ้านดอนน้อย ถึงบ้านหว้าทอง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นภ. ๓๐๐๕
ผ่านบ้านนาลาดควาย บ้านดอนยานาง บ้านโนนดู่ บ้านโนนหวาย บ้านโพธิ์ศรี บ้านทุ่งโปรง
บ้านหนองแสง บ้านเก่ากลอย ถึงบ้านกุดกระสู้ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๙๗ ถึงบ้านกุดฮู แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านนาดี บ้านโนนสำราญ บ้านทรายทอง
บ้านพนมพัฒนา ถึงอำเภอสุวรรณคูหา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๕๒ ถึงบ้านนาตาแหลว
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. นภ. ๒๐๒๖ ผ่านบ้านดงยาง บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านชำภูทอง
ถึงบ้านหินฮาว ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อด. ๔๐๒๓ ผ่านบ้านโชคเจริญ บ้านสวัสดี
บ้านผากลางนา บ้านสามัคคี ถึงบ้านน้ำซึม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๔๘
ผ่านบ้านสามเหลี่ยม บ้านหนองแวงน้อย บ้านเจริญสุข ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอน้ำโสม
ช่วงหนองบัวลำภู-บ้านโนนสว่าง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองบัวลำภู ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐
ผ่านบ้านหมากเหลี่ยม บ้านโคกน้ำเกลี้ยง บ้านดอนน้อย ถึงบ้านหว้าทอง
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นภ. ๓๐๐๕ ผ่านบ้านนาลาดควาย บ้านดอนยานาง บ้านโนนดู่
บ้านโนนหวาย บ้านโพธิ์ศรี แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนสว่าง
ช่วงหนองบัวลำภู-บ้านโชคชัย
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองบัวลำภู ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐
ผ่านบ้านหมากเหลี่ยม บ้านโคกน้ำเกลี้ยง บ้านดอนน้อย ถึงบ้านหว้าทอง
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นภ. ๓๐๐๕ ผ่านบ้านนาลาดควาย บ้านดอนยานาง
บ้านโนนดู่ บ้านโนนหวาย บ้านโพธิ์ศรี บ้านทุ่งโปรง บ้านหนองแสง บ้านเก่ากลอย
ถึงบ้านกุดกระสู้ แยกซ้าย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙๗ ถึงบ้านกุดฮู
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านนาดี บ้านโนนสำราญ บ้านทรายทอง บ้านพนมพัฒนา
ถึงอำเภอสุวรรณคูหา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๕๒ ถึงบ้านนาตาแหลว
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. นภ. ๒๐๒๖ ถึงบ้านดงยาง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นภ. ๔๐๐๔ ถึงบ้านวังหินซา แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
ผ่านบ้านผาซ่อน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโชคชัย
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโชคชัย แล้วไปตามเส้นทางเดิม ถึงแยกบ้านดงมะไฟ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ถึงบ้านดงมะไฟ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นภ. ๔๐๐๔
ผ่านโรงเรียนบ้านดงมะไฟ ถึงบ้านวังหินซา แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองบัวลำภู
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชลอ
คชรัตน์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๘๘/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599955 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1907 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 สายที่ 970 กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน)-แหลมฉบัง เพิ่มขึ้น 1 ช่วง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๐๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๒ สายที่ ๙๗๐ กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก
ช่วงกรุงเทพฯ
(ตลิ่งชัน)-แหลมฉบัง เพิ่มขึ้น ๑ ช่วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๖๗๒ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ประกาศ ณ วันที่ ๘ มกราคม ๒๕๓๓
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๗๐
กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๗๐ กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน)-แหลมฉบัง เพิ่มขึ้น ๑ ช่วง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๙๗๐ กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(เอกมัย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท)
ถึงสี่แยกบางนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ถึงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี บ้านหนองมน อำเภอศรีราชา ถึงทางแยกเข้าแหลมฉบัง
แยกขวาไปตามถนนเข้าแหลมฉบัง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณแหลมฉบัง
ช่วงกรุงเทพฯ
(ตลิ่งชัน)-แหลมฉบัง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(ตลิ่งชัน) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ถึงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี บ้านหนองมน อำเภอศรีราชา
ถึงทางแยกเข้าแหลมฉบัง แยกขวาไปตามถนนเข้าแหลมฉบัง ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณแหลมฉบัง
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชลอ คชรัตน์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๘๖/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599951 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1906 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 127 ตาก-สุโขทัย และหมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1447 สุขสวัสดิ์-ซอยปลั่งอนุสรณ์
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๐๖ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๑๒๗ ตาก-สุโขทัย และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร
สายที่
๑๔๔๗ สุขสวัสดิ์-ซอยปลั่งอนุสรณ์[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๔๑๘ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ประกาศ ณ วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๓๐ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๒๗
ตาก-สุโขทัย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเข้าหมู่บ้าน รวม ๕ ช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่ ๒๔๕
(พ.ศ. ๒๕๑๔) กำหนดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทางในชนบทเพิ่มเติมในเขตนครบาลธนบุรี
(จังหวัดธนบุรี) สายที่ ๑๔๔๗ สุขสวัสดิ์-ซอยปลั่งอนุสรณ์ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นว่า
เส้นทางดังกล่าวหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๑
จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๘๕/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599949 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1905 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 จำนวน 3 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๐๕ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ จำนวน ๓ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๖๘ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๒๔
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓
สายที่ ๑๐๕ ลพบุรี-สิงห์บุรี เป็น ลพบุรี-อ่างทอง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๕๒๒ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๓๑ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๕๖๑ ปรางค์กู่-สำโรงทาบ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเข้าหมู่บ้าน
รวม ๕ ช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๙๕๙ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๒๙ ตาก-อุตรดิตถ์
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตาก-บ้านด่านลานหอย-ทุ่งเสลี่ยม นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๕/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๐๕ ลพบุรี-อ่างทอง เป็น
ลพบุรี-สิงห์บุรี สายที่ ๕๖๑ ปรางค์กู่-สำโรงทาบ
โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๓ ช่วง คือ ช่วงสำโรงทาบ-บ้านเกาะแก้ว ช่วงสำโรงทาบ-บ้านตะมะ
และช่วงสำโรงทาบ-บ้านสวาย และสายที่ ๑๒๙ ตาก-อุตรดิตถ์
สำหรับเส้นทางแยกช่วงตาก-บ้านด่านลานหอย-ทุ่งเสลี่ยม เป็น สุโขทัย-บ้านด่านลานหอย-ทุ่งเสลี่ยม
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๐๕ ลพบุรี-สิงห์บุรี
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑ ผ่านอำเภอท่าวุ้ง ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสิงห์บุรี
สายที่ ๕๖๑ ปรางค์กู่-สำโรงทาบ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปรางค์กู่
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๖๗ ผ่านบ้านสุโข บ้านกู่ ถึงบ้านพอก
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๓๔ ผ่านบ้านบึง บ้านทับขอน บ้านโนนสวรรค์
บ้านโนนบุรี บ้านตะเคียน บ้านใหม่ศรีสำโรง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสำโรงทาบ
ช่วงสำโรงทาบ-บ้านแก่นเมธี
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสำโรงทาบ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๒๓๔ ผ่านบ้านใหม่ศรีสำโรง บ้านตะเคียน บ้านโนนบุรี ถึงบ้านโนนสวรรค์
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๔๐๑๕ ถึงทางแยกบ้านโคกเจริญ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
ผ่านบ้านโคกเจริญ บ้านโพธิ์ศรีธาตุ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแก่นเมธี
ช่วงปรางค์กู่-บ้านกะดึ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปรางค์กู่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๖๗ ผ่านบ้านสุโข บ้านกู่ ถึงบ้านพอก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทผ่านบ้านสามขา
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกะดึ
สายที่ ๑๒๙ ตาก-อุตรดิตถ์
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตาก
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านอำเภอบ้านด่านลานหอย ถึงจังหวัดสุโขทัย
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ผ่านอำเภอศรีสำโรง อำเภอสวรรคโลก
ถึงอำเภอศรีสัชนาลัย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๒ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุตรดิตถ์
ช่วงสุโขทัย-บ้านด่านลานหอย-ทุ่งเสลี่ยม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุโขทัย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒
ถึงอำเภอบ้านด่านลานหอย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๓๒๗ ผ่านบ้านหนองกวาง
บ้านวังน้ำขาว บ้านห้วยไคร้ บ้านห้วยทราย บ้านธารน้ำทิพย์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๔๘ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอทุ่งเสลี่ยม
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๘๒/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599945 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1904 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน 3 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๐๔ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
จำนวน
๓ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๕๔๓ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๔๙ ตลิ่งชัน-กล้วยน้ำไท
เป็น ตลิ่งชัน-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย)
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๖๓๑ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๓๒ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๗
บางเขน-ท่าเรือคลองเตย (ทางด่วน)
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๑๕๕๗ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๘
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๔๐๒
ช่องนนทรี-สะพานกรุงเทพ
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๔๙ ตลิ่งชัน-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(เอกมัย) เป็น อู่พุทธมณฑล สาย ๒-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย)
สายที่ ๑๐๗ บางเขน-ท่าเรือคลองเตย (ทางด่วน) ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงบางเขน-ประตูน้ำ-ท่าเรือคลองเตย
เพิ่มขึ้น ๑ ช่วง และสายที่ ๔๐๒ ช่องนนทรี-สะพานกรุงเทพ เป็น ช่องนนทรี-ราชพฤกษ์
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงช่องนนทรี-สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม-ราชพฤกษ์
เพิ่มขึ้น ๑ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๔๙ อู่พุทธมณฑล สาย
๒-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย)
จากอู่พุทธมณฑล
สาย ๒ ไปสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย)
เริ่มต้นจากอู่พุทธมณฑล สาย ๒ ไปตามถนนพุทธมณฑล สาย ๒ แยกขวาไปตามถนนบรมราชชนนี ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ถึงสี่แยกอรุณอมรินทร์ แยกขวาไปตามถนนอรุณอมรินทร์ แยกขวาไปตามถนนพรานนก
ถึงสี่แยกพรานนก แยกซ้ายไปตามถนนอิสรภาพ แยกขวาไปตามถนนประชาธิปก ถึงวงเวียนใหญ่
แยกซ้ายไปตามถนนลาดหญ้า แยกขวาไปตามถนนเจริญนคร
แยกซ้ายข้ามสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ไปตามถนนสาทร แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔
แยกซ้ายไปตามซอยสุขุมวิท ๔๒ แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท
จนสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย)
จากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(เอกมัย) ไปอู่พุทธมณฑล สาย ๒
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย) ไปตามถนนสุขุมวิท
แยกซ้ายไปตามซอยสุขุมวิท ๔๐ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔ แล้วไปตามเส้นทางเดิม
จนสุดเส้นทางที่อู่พุทธมณฑล สาย ๒
สายที่ ๑๐๗ บางเขน-ท่าเรือคลองเตย (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากบางเขน (อู่บางเขน) ไปตามถนนพหลโยธิน
แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ถึงดินแดง ขึ้นทางพิเศษที่ด่านดินแดง
ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางพิเศษที่ถนนเกษมราษฎร์ ไปตามถนนเกษมราษฎร์
จนสุดเส้นทางที่ท่าเรือคลองเตย (บริเวณอู่คลองเตย)
ช่วงบางเขน-ประตูน้ำ-ท่าเรือคลองเตย
เริ่มต้นจากบางเขน (อู่บางเขน) ไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต
แยกขวาไปตามถนนดินแดง แยกซ้ายไปตามถนนราชปรารภ ผ่านประตูน้ำ ไปตามถนนราชดำริ
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนสุนทรโกษา แยกซ้ายไปตามถนนเกษมราษฎร์
จนสุดเส้นทางที่ท่าเรือคลองเตย (อู่คลองเตย)
สายที่ ๔๐๒ ช่องนนทรี-ราชพฤกษ์
เริ่มต้นจากแยกถนนสุรวงศ์
ไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๓ ถนนรัชดาภิเษก
จนสุดเส้นทางที่บริเวณถนนราชพฤกษ์
ช่องนนทรี-สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม-ราชพฤกษ์
เริ่มต้นจากแยกถนนสุรวงศ์ ไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๓
แยกขวาขึ้นสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม ไปตามสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม
ลงสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม บริเวณถนนสุขสวัสดิ์ ไปตามถนนสุขสวัสดิ์
ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก
จนสุดเส้นทางที่บริเวณถนนราชพฤกษ์
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๗๙/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599941 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1903 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 775 ภูเก็ต-เบตง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๐๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๗๗๕ ภูเก็ต-เบตง[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๑
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๗๗๕
ภูเก็ต-เบตง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๗๗๕ ภูเก็ต-เบตง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒ ถึงบ้านโคกกลอย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔ ถึงจังหวัดพังงา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ถึงอำเภอทับปุด
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ อำเภอห้วยยอด
จังหวัดตรัง ถึงบ้านคูหา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๓ ถึงอำเภอหาดใหญ่
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงบ้านคลองหวะ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๓ ผ่านอำเภอจะนะ อำเภอเทพา ผ่านสามแยกดอนยาง ถึงจังหวัดปัตตานี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๘ ผ่านอำเภอแม่ลาน บ้านท่าสาป จังหวัดยะลา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๐ ผ่านอำเภอบันนังสตา อำเภอธารโต ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเบตง
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๗๘/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599937 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1902 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน 145 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๐๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
จำนวน
๑๔๕ เส้นทาง[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน ๑๔๕ เส้นทาง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๖๐๑ นวนคร-ถนนพหลโยธิน-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เริ่มต้นจากนวนคร ไปตามถนนพหลโยธิน
จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สายที่ ๖๐๒
ตลาดรังสิต-ถนนวิภาวดีรังสิต-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เริ่มต้นจากตลาดรังสิต ไปตามถนนรังสิต-ปทุมธานี
แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต แยกขวาไปตามถนนดินแดง
ถนนราชวิถี จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สายที่ ๖๐๓ ปทุมธานี-สถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ
เริ่มต้นจากปทุมธานี (ตลาดเทศบาลเมืองปทุมธานี)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๗
(ถนนกรุงเทพฯ-ปทุมธานี) ข้ามสะพานนนทบุรี (นวลฉวี) แยกขวาไปตามถนนติวานนท์ แยกขวาไปตามถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี
ถนนพิบูลสงคราม แยกซ้ายไปตามถนนประชาราษฎร์สาย ๑ ถนนประชาราษฎร์สาย ๒
ถนนปูนซีเมนต์ไทย จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ
สายที่ ๖๐๔ ตลาดบางใหญ่-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เริ่มต้นจากตลาดบางใหญ่ ไปตามถนนกาญจนาภิเษก
แยกซ้ายไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนงามวงศ์วาน แยกขวาไปตามถนนวิภาวดีรังสิต
แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สายที่ ๖๐๕
หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เริ่มต้นจากหมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ ๔๐๐๖ แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๔
ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตศาลายา แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี ถนนสิรินทร
ข้ามสะพานกรุงธน ไปตามถนนราชวิถี จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สายที่ ๖๐๖ อ้อมใหญ่-สถานีรถไฟฟ้าราชพฤกษ์
เริ่มต้นจากตลาดอ้อมใหญ่ ไปตามถนนเพชรเกษม
ถนนอินทรพิทักษ์ แยกขวาไปตามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แยกขวาไปตามถนนราชพฤกษ์
จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟฟ้าราชพฤกษ์
สายที่ ๖๐๗ สมุทรสาคร-สถานีรถไฟฟ้าราชพฤกษ์
เริ่มต้นจากจังหวัดสมุทรสาคร ไปตามถนนเอกชัย
ถนนจอมทอง แยกซ้ายไปตามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แยกซ้ายไปตามถนนราชพฤกษ์
จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟฟ้าราชพฤกษ์
สายที่ ๖๐๘ มหาชัยเมืองใหม่-สถานีรถไฟฟ้าราชพฤกษ์
เริ่มต้นจากตลาดมหาชัยเมืองใหม่ ไปตามถนนพระราม ๒
แยกซ้ายไปตามถนนสุขสวัสดิ์ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน
แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษกตอนล่าง แยกซ้ายไปตามถนนราชพฤกษ์ จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟฟ้าราชพฤกษ์
สายที่ ๖๐๙ ป้อมพระจุลจอมเกล้า-สถานีรถไฟฟ้าราชพฤกษ์
เริ่มต้นจากป้อมพระจุลจอมเกล้า
ไปตามถนนสุขสวัสดิ์ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษกตอนล่าง
แยกซ้ายไปตามถนนราชพฤกษ์ จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟฟ้าราชพฤกษ์
สายที่ ๖๑๐ นิคมอุตสาหกรรมบางปู-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(เอกมัย)
เริ่มต้นจากนิคมอุตสาหกรรมบางปู
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถนนสายลวด ถนนประโคนชัย ถนนสุขุมวิท
จนสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย)
สายที่ ๖๑๑
การเคหะแห่งชาติบางพลี-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย)
เริ่มต้นจากการเคหะแห่งชาติบางพลี
ไปตามถนนเมืองใหม่บางพลี แยกซ้ายไปตามถนนบางนา-ตราด แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท
จนสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย)
สายที่ ๖๑๒
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-อ่อนนุช-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย)
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ไปตามถนนลาดกระบัง ซอยสุขุมวิท ๗๗ (ซอยอ่อนนุช) แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท
จนสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย)
สายที่ ๖๑๓ มีนบุรี-สถานีรถไฟมักกะสัน
เริ่มต้นจากมีนบุรี ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ
ถนนรามอินทรา แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว
แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง แยกขวาไปตามถนนเพชรบุรี
แยกขวาไปตามถนนนิคมมักกะสัน จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟมักกะสัน
สายที่ ๖๑๔ มีนบุรี-อู่บางเขน
เริ่มต้นจากมีนบุรี ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ
ถนนรามอินทรา แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน จนสุดเส้นทางที่อู่บางเขน
สายที่ ๖๑๕ มีนบุรี-สถานีรถไฟฟ้าจตุจักร
เริ่มต้นจากมีนบุรี ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ
แยกซ้ายไปตามถนนเสรีไทย แยกขวาไปตามถนนศรีบูรพา แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์
แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟฟ้าจตุจักร
สายที่ ๖๑๖ อู่บางเขน-สถานีรถไฟฟ้าลาดพร้าว
เริ่มต้นจากอู่บางเขน ไปตามถนนพหลโยธิน
แยกขวาไปตามถนนรามอินทรา แยกขวาไปตามถนนลาดปลาเค้า แยกซ้ายไปตามถนนโชคชัย ๔
แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟฟ้าลาดพร้าว
สายที่ ๖๑๗ อู่บางเขน-สถานีรถไฟฟ้าจตุจักร
เริ่มต้นจากอู่บางเขน ไปตามถนนพหลโยธิน
แยกซ้ายไปตามถนนแจ้งวัฒนะ แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน
จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟฟ้าจตุจักร
สายที่ ๖๑๘ สวนสยาม-นวมินทร์
เริ่มต้นจากสวนสยาม ไปตามถนนสวนสยาม
แยกซ้ายไปตามถนนเสรีไทย แยกขวาไปตามถนนสีหบุรานุกิจ แยกขวาไปตามถนนร่มเกล้า
แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว
แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ จนสุดเส้นทางที่ถนนนวมินทร์ (ด้านถนนประเสริฐมนูกิจ)
สายที่ ๖๑๙ มีนบุรี-แฮปปี้แลนด์
เริ่มต้นจากมีนบุรี ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ
แยกซ้ายไปตามถนนร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนสุวินทวงศ์ แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง
แยกซ้ายไปตามถนนร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนเคหะร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนราษฎร์พัฒนา
แยกซ้ายไปตามถนนรามคำแหง แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว
แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนแฮปปี้แลนด์ จนสุดเส้นทางที่แฮปปี้แลนด์
สายที่ ๖๒๐ ปทุมธานี-ท่าน้ำบางโพ
เริ่มต้นจากปทุมธานี (ตลาดเทศบาลเมืองปทุม)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓๕ ผ่านโรงเรียนปทุมวิไล
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑๑ ผ่านศาลากลางจังหวัดปทุมธานี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๔๖ ข้ามสะพานปทุมธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๖ ถนนติวานนท์
แยกซ้ายไปตามถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ถนนประชาราษฎร์ แยกขวาไปตามถนนประชาราษฎร์ สาย ๒
จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำบางโพ
สายที่ ๖๒๑ ปทุมธานี-สะพานนนทบุรี-ท่าน้ำบางโพ
เริ่มต้นจากปทุมธานี (ตลาดเทศบาลเมืองปทุมธานี)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๗ (ถนนกรุงเทพฯ-ปทุมธานี)
ข้ามสะพานนนทบุรี (นวลฉวี) แยกขวาไปตามถนนติวานนท์
แยกซ้ายไปตามถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ถนนประชาราษฎร์ แยกขวาไปตามถนนประชาราษฎร์ สาย ๒
จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำบางโพ
สายที่ ๖๒๒ ลำลูกกา (คลอง ๗)-อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
เริ่มต้นจากตลาดใหญ่ลำลูกกา ไปตามถนนลำลูกกา
แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน จนสุดเส้นทางที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
สายที่ ๖๒๓ ประชานิเวศน์ ๓-สนามหลวง
เริ่มต้นจากหมู่บ้านประชานิเวศน์ ๓ ไปตามถนนสามัคคี
แยกขวาไปตามถนนประชาชื่น แยกซ้ายไปตามถนนประชาราษฎร์ สาย ๒ แยกขวาไปตามถนนเตชะวนิช
ถนนพระราม ๕ แยกขวาไปตามถนนอำนวยสงคราม แยกซ้ายไปตามถนนพิชัย
แยกซ้ายไปตามถนนราชวิถี แยกขวาไปตามถนนอู่ทองใน ถนนราชดำเนินนอก
แยกขวาไปตามถนนราชดำเนินกลาง แยกขวาไปตามถนนราชินี แยกซ้ายไปตามถนนหน้าพระธาตุ
จนสุดเส้นทางที่สนามหลวง
สายที่ ๖๒๔ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร)-สถานีรถไฟหัวลำโพง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ไปตามถนนกำแพงเพชร ๒ แยกขวาไปตามถนนกำแพงเพชร แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๖
แยกซ้ายไปตามถนนเพชรบุรี แยกขวาไปตามถนนบรรทัดทอง แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔
จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟหัวลำโพง
สายที่ ๖๒๕ หมู่บ้านผาสุก-สถานีรถไฟหัวลำโพง
เริ่มต้นจากหมู่บ้านผาสุก ไปตามถนนพัฒนาการ
แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท ๗๑ แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔
จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟหัวลำโพง
สายที่ ๖๒๖ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(เอกมัย)-ท่าราชวรดิษฐ์
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย) ไปตามถนนสุขุมวิท ถนนเพลินจิต
ถนนพระราม ๑ แยกซ้ายไปตามถนนกรุงเกษม แยกขวาไปตามถนนหลานหลวง แยกซ้ายไปตามถนนวรจักร
แยกขวาไปตามถนนเจริญกรุง ถนนท้ายวัง แยกขวาไปตามถนนมหาราช จนสุดเส้นทางที่ท่าราชวรดิษฐ์
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากท่าราชวรดิษฐ์ ไปตามถนนมหาราช แยกขวาไปตามถนนหน้าพระลาน แยกขวาไปตามถนนมหาไชย
แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง แยกซ้ายไปตามถนนวรจักร แยกขวาไปตามถนนบำรุงเมือง
ถนนพระราม ๑ แล้วไปตามเส้นทางเดิม
จนสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย)
สายที่ ๖๒๗ ตลาดห้วยขวาง-สนามหลวง
เริ่มต้นจากตลาดห้วยขวาง ไปตามถนนประชาสงเคราะห์
แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกขวาไปตามถนนอโศก-ดินแดง ถนนดินแดง แยกซ้ายไปตามถนนราชปรารภ
แยกซ้ายไปตามถนนนิคมมักกะสัน แยกขวาไปตามถนนเพชรบุรี แยกซ้ายไปตามถนนหลานหลวง
ถนนราชดำเนินกลาง แยกขวาไปตามถนนราชินี แยกซ้ายไปตามถนนหน้าพระธาตุ
จนสุดเส้นทางที่สนามหลวง
สายที่ ๖๒๘ ท่าเรือคลองเตย-สนามกีฬาแห่งชาติ
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากท่าเรือคลองเตย (อู่คลองเตย) ไปตามถนนเกษมราษฎร์
แยกซ้ายไปตามถนนสุนทรโกษา แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔ แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก
แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท ถนนเพลินจิต แยกขวาไปตามถนนราชดำริ
แยกซ้ายไปตามถนนเพชรบุรี แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท แยกขวาไปตามถนนพระราม ๑
จนสุดเส้นทางที่สนามกีฬาแห่งชาติ
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากสนามกีฬาแห่งชาติ ไปตามถนนพระราม ๑ แยกขวาไปตามถนนบรรทัดทอง แยกขวาไปตามถนนเพชรบุรี
แยกขวาไปตามถนนราชดำริ แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๑ แล้วไปตามเส้นทางเดิม
จนสุดเส้นทางที่ท่าเรือคลองเตย (อู่คลองเตย)
สายที่ ๖๒๙ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ปากคลองตลาด
เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนราชวิถี
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๖ แยกขวาไปตามถนนศรีอยุธยา แยกซ้ายไปตามถนนสวรรคโลก
แยกขวาไปตามถนนหลานหลวง ถนนราชดำเนินกลาง แยกซ้ายไปตามถนนดินสอ
แยกขวาไปตามถนนบำรุงเมือง แยกซ้ายไปตามถนนตีทอง แยกขวาไปตามถนนเจริญกรุง
แยกซ้ายไปตามถนนสนามไชย จนสุดเส้นทางที่ปากคลองตลาด
สายที่ ๖๓๐ ไทรน้อย-สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
เริ่มต้นจากอำเภอไทรน้อย ไปตามถนนบางกรวย-ไทรน้อย
แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า
จนสุดเส้นทางที่เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
สายที่ ๖๓๑ เชิงสะพานพระราม ๔ (ถนนชัยพฤกษ์)-กัลปพฤกษ์
เริ่มต้นจากเชิงสะพานพระราม ๔ ไปตามถนนชัยพฤกษ์
แยกซ้ายไปตามถนนราชพฤกษ์ แยกขวาไปตามถนนกัลปพฤกษ์ จนสุดเส้นทางที่ถนนกัลปพฤกษ์
(ด้านถนนกาญจนาภิเษก)
สายที่ ๖๓๒ วัดเสมียนนารี-ห้วยขวาง
เริ่มต้นจากวัดเสมียนนารี ไปตามถนนประชานิเวศน์ ๑
ถนนเทศบาลสงเคราะห์ แยกซ้ายไปตามถนนประชาชื่น แยกขวาไปตามถนนประชาราษฎร์ สาย ๒
แยกซ้ายไปตามถนนประชาราษฎร์ สาย ๑ แยกซ้ายไปตามถนนทหาร ถนนประดิพัทธ์
ถนนสารีรัฐวิภาค ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แยกขวาไปตามถนนประชาสงเคราะห์ จนสุดเส้นทางที่ตลาดห้วยขวาง
สายที่ ๖๓๓ ท่าน้ำนนทบุรี-สถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ
เริ่มต้นจากท่าน้ำนนทบุรี ไปตามถนนประชาราษฎร์
ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี แยกขวาไปตามถนนประชาราษฎร์ แยกซ้ายไปตามถนนประชาราษฎร์ สาย ๒
ถนนปูนซีเมนต์ไทย จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ
สายที่ ๖๓๔ สถานีรถไฟมักกะสัน-ท่าน้ำศรีย่าน
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟมักกะสัน ไปตามถนนนิคมมักกะสัน
แยกขวาไปตาม ถนนเพชรบุรี แยกขวาไปตามถนนพญาไท แยกซ้ายไปตามถนนราชวิถี
แยกขวาไปตามถนนเทอดดำริ แยกซ้ายไปตามถนนนครไชยศรี จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำศรีย่าน
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากท่าน้ำศรีย่าน ไปตามถนนนครไชยศรี แยกขวาไปตามถนนเทอดดำริ แยกซ้ายไปตามถนนราชวิถี
แยกขวาไปตามถนนพญาไท แยกซ้ายไปตามถนนศรีอยุธยา แยกขวาไปตามถนนราชปรารภ
แยกซ้ายไปตามถนนนิคมมักกะสัน จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟมักกะสัน
สายที่ ๖๓๕ อตก. ๓-ประดิษฐ์มนูญธรรม
เริ่มต้นจากตลาด อตก. ๓ ไปตามถนนนนทบุรี
ถนนสนามบินน้ำ แยกขวาไปตามถนนติวานนท์ แยกซ้ายไปตามถนนงามวงศ์วาน
ถนนประเสริฐมนูกิจ จนสุดเส้นทางที่ถนนประเสริฐมนูกิจ (ด้านถนนประดิษฐ์มนูญธรรม)
สายที่ ๖๓๖ หมู่บ้านเศรษฐกิจ-ท่าน้ำคลองสาน
เริ่มต้นจากหมู่บ้านเศรษฐกิจ
ไปตามถนนหมู่บ้านเศรษฐกิจ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก
แยกซ้ายไปตามถนนกัลปพฤกษ์ ถนนราชพฤกษ์ ถนนกรุงธนบุรี แยกซ้ายไปตามถนนเจริญนคร
จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำคลองสาน
สายที่ ๖๓๗ ท่าน้ำพระประแดง-วัดคู่สร้าง
เริ่มต้นจากท่าน้ำพระประแดง
ไปตามถนนนครเขื่อนขันธ์ แยกขวาไปตามถนนสุขสวัสดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนประชาอุทิศ
จนสุดเส้นทางที่วัดคู่สร้าง
สายที่ ๖๓๘ สะพานพระพุทธยอดฟ้า-ท่าน้ำพระประแดง
เริ่มต้นจากเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า
ไปตามถนนประชาธิปก แยกซ้ายไปตามถนนสมเด็จเจ้าพระยา แยกขวาไปตามถนนเจริญนคร
ถนนราษฎร์บูรณะ แยกขวาไปตามถนนพระราชวิริยาภรณ์ แยกซ้ายไปตามถนนนครเขื่อนขันธ์
จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำพระประแดง
สายที่ ๖๓๙ ถนนตก-วัดโพธิ์
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากท่าน้ำถนนตก ไปตามถนนตก ถนนเจริญกรุง แยกซ้ายไปตามถนนเยาวราช แยกขวาไปตามถนนจักรเพชร
แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง ถนนท้ายวัง จนสุดเส้นทางที่วัดโพธิ์
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากวัดโพธิ์ ไปตามถนนท้ายวัง แยกขวาไปตามถนนมหาราช
แยกขวาไปตามถนนหน้าพระลาน แยกขวาไปตามถนนสนามไชย แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง
ถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนมหาพฤฒาราม ถนนเจริญกรุง แยกซ้ายไปตามถนนสี่พระยา
แยกขวาไปตามถนนนเรศ แยกขวาไปตามถนนสุรวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนมเหสักข์
แยกขวาไปตามถนนสีลม แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง ถนนตก จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำถนนตก
สายที่ ๖๔๐ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ท่าน้ำสี่พระยา
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนพญาไท แยกขวาไปตามถนนสี่พระยา แยกซ้ายไปตามถนนนเรศ
แยกขวาไปตามถนนสุรวงศ์ แยกขวาไปตามถนนเจริญกรุง แยกซ้ายไปตามซอยเจริญกรุง ๓๐
จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำสี่พระยา
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากท่าน้ำสี่พระยา ไปตามถนนสี่พระยา
แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สายที่ ๖๔๑ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-สีลม
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนพญาไท แยกซ้ายไปตามถนนศรีอยุธยา แยกขวาไปตามถนนราชปรารภ
ถนนราชดำริ ถนนสีลม จนสุดเส้นทางที่โรงพยาบาลเลิดสิน
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากโรงพยาบาลเลิดสิน ไปตามถนนสีลม ถนนราชดำริ ถนนราชปรารภ แยกซ้ายไปตามถนนราชวิถี
จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สายที่ ๖๔๒ สถานีรถไฟมักกะสัน-ท่าน้ำคลองสาน
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟมักกะสัน ไปตามถนนนิคมมักกะสัน
แยกขวาไปตามถนนเพชรบุรี แยกซ้ายไปตามถนนวิทยุ แยกขวาไปตามถนนสาทร
ข้ามสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน (สาทร) ไปตามถนนกรุงธนบุรี
แยกขวาไปตามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แยกขวาไปตามถนนลาดหญ้า แยกขวาไปตามถนนเจริญนคร
จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำคลองสาน
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากท่าน้ำคลองสาน ไปตามถนนเจริญนคร แยกซ้ายข้ามสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน (สาทร)
ไปตามถนนสาทร แยกซ้ายไปตามถนนวิทยุ แยกซ้ายไปตามถนนเพลินจิต แยกขวาไปตามถนนราชปรารภ
แยกซ้ายไปตามถนนราชวิถี ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท แยกซ้ายไปตามถนนศรีอยุธยา
แยกขวาไปตามถนนราชปรารภ แยกขวาไปตามถนนนิคมมักกะสัน จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟมักกะสัน
สายที่ ๖๔๓ ท่าเรือคลองเตย-เคหะชุมชนออเงิน
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากท่าเรือคลองเตย (อู่คลองเตย) ไปตามถนนเกษมราษฎร์
แยกซ้ายไปตามถนนสุนทรโกษา แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔ แยกซ้ายไปตามซอยสุขุมวิท ๔๒
แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท แยกขวาไปตามซอยสุขุมวิท ๖๓ ถนนประดิษฐ์มนูญธรรม ถนนวัชรพล
ถนนสุขาภิบาล ๕ จนสุดเส้นทางที่ถนนสุขาภิบาล ๕ (ด้านถนนสายไหม)
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากถนนสุขาภิบาล ๕ (ด้านถนนสายไหม) ไปตามถนนสุขาภิบาล ๕ ถนนวัชรพล ถนนประดิษฐ์มนูญธรรม
ซอยสุขุมวิท ๖๓ แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท แยกซ้ายไปตามซอยสุขุมวิท ๔๐ แยกขวาไปตามถนนพระราม
๔ แล้วกลับไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่ท่าเรือคลองเตย (อู่คลองเตย)
สายที่ ๖๔๔ สถานีรถไฟหัวหมาก-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟหัวหมาก ไปตามถนนศรีนครินทร์
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๙ ถนนอโศกดินแดง ถนนดินแดง แยกขวาไปตามถนนราชวิถี
จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สายที่ ๖๔๕ ท่าน้ำราชวงศ์-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากท่าน้ำราชวงศ์ ไปตามถนนราชวงศ์ ถนนเสือป่า แยกขวาไปตามถนนบำรุงเมือง ถนนพระราม
๑ แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนพญาไท แยกขวาไปตามถนนพระราม ๑ แยกซ้ายไปตามถนนกรุงเกษม
แยกขวาไปตามถนนหลวง แยกซ้ายไปตามถนนเสือป่า ถนนราชวงศ์ จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำราชวงศ์
สายที่ ๖๔๖ กทม. ๒-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เริ่มต้นจาก กทม. ๒ ไปตามถนนมิตรไมตรี
แยกซ้ายไปตามถนนประชาสงเคราะห์ แยกขวาไปตามถนนประชาสุข
แยกซ้ายไปตามถนนสุทธิสารวินิจฉัย แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต
แยกขวาไปตามถนนดินแดง แยกขวาไปตามถนนราชวิถี จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สายที่ ๖๔๗
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี-อู่บางเขน
เริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ไปตามถนนเลียบคลอง ๖ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ (ถนนรังสิต-นครนายก)
ถึงรังสิต ลอดใต้สะพานข้ามคลองรังสิต แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน
ผ่านห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส ขึ้นสะพานกลับรถ ไปตามถนนพหลโยธิน ผ่านห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค
ไปตามถนนพหลโยธิน จนสุดเส้นทางที่อู่บางเขน
สายที่ ๕๔๘ สถานีขนส่งสินค้าคลองหลวง-อู่บางเขน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งสินค้าคลองหลวง
ไปตามถนนเลียบคลอง ๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑๔
แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามถนนวิภาวดีรังสิต แยกซ้ายไปตามถนนแจ้งวัฒนะ
แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน จนสุดเส้นทางที่อู่บางเขน
สายที่ ๖๔๙ ท่าน้ำปากเกร็ด-อู่บางเขน
เริ่มต้นจากท่าน้ำปากเกร็ด ไปตามถนนแจ้งวัฒนะ
แยกขวาไปตามถนนติวานนท์ แยกซ้ายไปตามถนนงามวงศ์วาน แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน
จนสุดเส้นทางที่อู่บางเขน
สายที่ ๖๕๐
ห้างสรรพสินค้าแฟชั่นไอร์แลนด์-สถานีรถไฟฟ้าลาดพร้าว
เริ่มต้นจากห้างสรรพสินค้าแฟชั่นไอร์แลนด์
ไปตามถนนรามอินทรา แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกขวาไปตามถนนประเสริฐมนูกิจ
แยกซ้ายไปตามถนนเสนานิคม ถนนเสนานิคม ๑ แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน
แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟฟ้าลาดพร้าว
สายที่ ๖๕๑ ตลาดลาดกระบัง-ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์
เริ่มต้นจากตลาดลาดกระบัง ไปตามถนนหลวงแพ่ง
ถนนลาดกระบัง ซอยสุขุมวิท ๗๗ แยกซ้ายไปตามถนนเฉลิมพระเกียรติ ร. ๙
แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ จนสุดเส้นทางที่ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์
สายที่ ๖๕๒ วิทยาเขตรามคำแหง-แฮปปี้แลนด์
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากวิทยาเขตรามคำแหง ไปตามถนนรามคำแหง ๒ แยกซ้ายไปตามซอยเฉลิมพระเกียรติ
ร. ๙ ซ. ๒๘ แยกซ้ายไปตามถนนเฉลิมพระเกียรติ ร. ๙ แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์
แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนแฮปปี้แลนด์
จนสุดเส้นทางที่แฮปปี้แลนด์
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากแฮปปี้แลนด์ ไปตามถนนแฮปปี้แลนด์ แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์
แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่วิทยาเขตรามคำแหง
สายที่ ๖๕๓ ท่าน้ำท่าดินแดง-วัดโพธิ์แจ้
เริ่มต้นจากท่าน้ำท่าดินแดง ไปตามถนนท่าดินแดง
แยกขวาไปตามถนนลาดหญ้า แยกซ้ายไปตามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แยกขวาไปตามถนนจอมทอง
ถนนเอกชัย จนสุดเส้นทางที่วัดโพธิ์แจ้
สายที่ ๖๕๔ ตลาดใหม่บางบอน-ท่าน้ำคลองสาน
เริ่มต้นจากตลาดใหม่บางบอน ไปตามถนนเอกชัย
แยกซ้ายไปตามถนนวุฒากาศ แยกขวาไปตามถนนเทอดไท แยกขวาไปตามถนนอินทรพิทักษ์
ถนนลาดหญ้า แยกขวาไปตามถนนเจริญนคร จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำคลองสาน
สายที่ ๖๕๕ วัดม่วง-เชิงสะพานอรุณอมรินทร์
เริ่มต้นจากวัดม่วง ไปตามถนนวัดม่วง-บางบอน ๒
แยกขวาไปตามซอยอินทาปัจ ๑๓ แยกซ้ายไปตามซอยเพชรเกษม ๖๓ แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม
แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑล สาย ๒ แยกขวาไปตามถนนบรมราชชนนี ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า
แยกขวาไปตามถนนอรุณอมรินทร์ จนสุดเส้นทางที่เชิงสะพานอรุณอมรินทร์
สายที่ ๖๕๖ เคหะชุมชนธนบุรี-ท่าน้ำพระประแดง
เริ่มต้นจากเคหะชุมชนธนบุรี ไปตามถนนพระราม ๒
แยกขวาไปตามถนนสุขสวัสดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนนครเขื่อนขันธ์
จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำพระประแดง
สายที่ ๖๕๗ การเคหะร่มเกล้า-โรงพยาบาลจุฬารัตน์
เริ่มต้นจากการเคหะร่มเกล้า ไปตามถนนเคหะร่มเกล้า
แยกขวาไปตามถนนร่มเกล้า แยกขวาไปตามซอยสุขุมวิท ๗๗ แยกซ้ายไปตามถนนกิ่งแก้ว
แยกซ้ายไปตามถนนบางนา-ตราด จนสุดเส้นทางที่โรงพยาบาลจุฬารัตน์
สายที่ ๖๕๘ สวนสยาม-ตลาดหัวตะเข้
เริ่มต้นจากสวนสยาม ไปตามถนนสวนสยาม
แยกขวาไปตามถนนรามอินทรา ถนนสีหบุรานุกิจ แยกขวาไปตามถนนร่มเกล้า
แยกซ้ายไปตามถนนเจ้าคุณทหาร แยกขวาไปตามถนนฉลองกรุง แยกซ้ายไปตามถนนหลวงแพ่ง
จนสุดเส้นทางที่ตลาดหัวตะเข้
สายที่ ๖๕๙ ตลาดบางบัวทอง-เชิงสะพานอรุณอมรินทร์
เริ่มต้นจากตลาดบางบัวทอง
ไปตามถนนบางกรวย-ไทรน้อย แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี
ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า แยกขวาไปตามถนนอรุณอมรินทร์
จนสุดเส้นทางที่เชิงสะพานอรุณอมรินทร์
สายที่ ๖๖๐
วงกลมเมืองทองธานี-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
เริ่มต้นจากเมืองทองธานี ไปตามถนนแจ้งวัฒนะ
ขึ้นทางพิเศษที่ด่านแจ้งวัฒนะ ไปตามทางพิเศษศรีรัช ลงทางพิเศษที่ด่านประชาชื่น
แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกขวาใต้สะพานรัชวิภา แยกซ้ายไปตามถนนกำแพงเพชร ๒
แยกซ้ายไปตามถนนกำแพงเพชร แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต
แยกซ้ายไปตามถนนแจ้งวัฒนะ จนสุดเส้นทางที่เมืองทองธานี
สายที่ ๖๖๑ วงกลมแฮปปี้แลนด์-มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เริ่มต้นจากแฮปปี้แลนด์ ไปตามถนนแฮปปี้แลนด์
แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนเทียมร่วมมิตร
แยกขวาไปตามถนนประชาอุทิศ ซอยรามคำแหง ๓๙ แยกซ้ายไปตามถนนรามคำแหง
แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์
แยกซ้ายไปตามถนนแฮปปี้แลนด์ จนสุดเส้นทางที่แฮปปี้แลนด์
สายที่ ๖๖๒ วงกลมมีนบุรี-สุวินทวงศ์
เริ่มต้นจากมีนบุรี ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ
แยกซ้ายไปตามถนนร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนสุวินทวงศ์ แยกขวาไปตามถนนฉลองกรุง
แยกขวาไปตามถนนลาดกระบัง แยกขวาไปตามถนนร่มเกล้า แยกซ้ายไปตามถนนสีหบุรานุกิจ
จนสุดเส้นทางที่มีนบุรี
สายที่ ๖๖๓ วงกลมมีนบุรี-หทัยราษฎร์
เริ่มต้นจากมีนบุรี ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ
แยกซ้ายไปตามถนนร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนสุวินทวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนนิมิตรใหม่
แยกซ้ายไปตามถนนหทัยมิตร แยกซ้ายไปตามถนนหทัยราษฎร์ แยกขวาไปตามซอยเจริญพัฒนา
ถนนปัญญา-เนอเซอรัลพาร์ค แยกซ้ายไปตามถนนรามอินทรา ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ
จนสุดเส้นทางที่มีนบุรี
สายที่ ๖๖๔ วงกลมมีนบุรี-รามอินทรา
เริ่มต้นจากมีนบุรี ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ
แยกซ้ายไปตามถนนร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนสุวินทวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนนิมิตรใหม่
แยกซ้ายไปตามถนนลำลูกกา (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑๒) แยกซ้ายไปตามถนนลำลูกกา ๓๒
แยกซ้ายไปตามถนนสายไหม แยกขวาไปตามถนนสุขาภิบาล ๕ แยกซ้ายไปตามถนนวัชรพล แยกซ้ายไปตามถนนรามอินทรา
ถนนสีหบุรานุกิจจนสุดเส้นทางที่มีนบุรี
สายที่ ๖๖๕ วงกลมปากน้ำ-บางนา
เริ่มต้นจากปากน้ำ ไปตามถนนสายลวด
แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนบางนา-ตราด
แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท แยกขวาไปตามถนนสายลวด จนสุดเส้นทางที่ปากน้ำ
สายที่ ๖๖๖ ชื่อเส้นทาง
วงกลมมหาวิทยาลัยรามคำแหง-รัชดาภิเษก
เริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ไปตามถนนรามคำแหง
แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๙ แยกซ้ายไปตามถนนรามคำแหง จนสุดเส้นทางที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สายที่ ๖๖๗ วงกลมวงเวียนใหญ่-ดาวคะนอง
เริ่มต้นจากวงเวียนใหญ่
ไปตามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถนนสุขสวัสดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนราษฎร์พัฒนา
แยกซ้ายไปตามถนนราษฎร์บูรณะ ถนนเจริญนคร แยกซ้ายไปตามถนนลาดหญ้า จนสุดเส้นทางที่วงเวียนใหญ่
สายที่ ๖๖๘ วงกลมบางขุนเทียน-วงเวียนใหญ่
เริ่มต้นจากถนนบางขุนเทียน (ด้านถนนพระราม ๒)
ไปตามถนนบางขุนเทียน แยกขวาไปตามถนนเอกชัย แยกซ้ายไปตามถนนวุฒากาศ
แยกขวาไปตามถนนเทอดไท แยกขวาไปตามถนนอินทรพิทักษ์ แยกขวาไปตามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน
แยกขวาไปตามถนนจอมทอง ถนนเอกชัย แล้วไปตามเส้นทางเดิม
จนสุดเส้นทางที่ถนนบางขุนเทียน (ด้านถนนพระราม ๒)
สายที่ ๖๖๙ วงกลมกัลปพฤกษ์-พระราม ๒
เริ่มต้นจากถนนกัลปพฤกษ์
แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๒ แยกซ้ายไปตามถนนสุขสวัสดิ์
แยกขวาไปตามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนราชพฤกษ์
ถนนกัลปพฤกษ์ จนสุดเส้นทางที่ถนนกัลปพฤกษ์
สายที่ ๖๗๐ วงกลมท่าพระ-เสาชิงช้า
เริ่มต้นจากแยกท่าพระ ไปตามถนนเพชรเกษม
ถนนอินทรพิทักษ์ แยกซ้ายไปตามถนนประชาธิปก ข้ามสะพานพระพุทธยอดฟ้า ไปตามถนนตรีเพชร
ถนนตีทอง แยกขวาไปตามถนนบำรุงเมือง แยกซ้ายไปตามถนนดินสอ
แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนินกลาง ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า แยกซ้ายไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ จนสุดเส้นทางที่แยกท่าพระ
สายที่ ๖๗๑ วงกลมดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอก
เริ่มต้นจากตลาดดาวคะนอง ไปตามถนนสุขสวัสดิ์
แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนราชพฤกษ์ ถนนกัลปพฤกษ์
แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนเอกชัย ถนนจอมทอง
จนสุดเส้นทางที่ตลาดดาวคะนอง
สายที่ ๖๗๒ วงกลมสถานีรถไฟธนบุรี-บางลำภู
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟธนบุรี ไปตามถนนอิสรภาพ
แยกซ้ายไปตามถนนพรานนก แยกขวาไปตามถนนอรุณอมรินทร์ แยกขวาไปตามถนนวังเดิม
แยกซ้ายไปตามถนนอิสรภาพ แยกซ้ายไปตามถนนประชาธิปก ข้ามสะพานพระพุทธยอดฟ้า
ไปตามถนนตรีเพชร ถนนตีทอง แยกขวาไปตามถนนบำรุงเมือง แยกซ้ายไปตามถนนดินสอ
แยกซ้ายไปตามถนนพระสุเมรุ แยกซ้ายไปตามถนนพระอาทิตย์ แยกซ้ายไปตามถนนราชินี
แยกขวาไปตามถนนหน้าพระธาตุ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าพระลาน แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนินใน
แยกซ้ายข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า แยกซ้ายไปตามถนนอรุณอมรินทร์
แยกขวาไปตามถนนพรานนก แยกขวาไปตามถนนอิสรภาพ จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟธนบุรี
สายที่ ๖๗๓ วงกลมบางขุนนนท์-ลาดหญ้า
เริ่มต้นจากบางขุนนนท์ ไปตามถนนบางขุนนนท์
แยกขวาไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม ถนนอินทรพิทักษ์
แยกขวาไปตามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แยกซ้ายไปตามถนนเจริญรัถ
แยกซ้ายไปตามถนนเจริญนคร แยกซ้ายไปตามถนนสมเด็จเจ้าพระยา แยกซ้ายไปตามถนนท่าดินแดง
แยกขวาไปตามถนนอิสรภาพ แยกขวาไปตามถนนวังเดิม แยกซ้ายไปตามถนนอรุณอมรินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามถนนฉิมพลี ถนนชักพระ แยกขวาไปตามถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน
ถนนบางขุนนนท์ จนสุดเส้นทางที่บางขุนนนท์
สายที่ ๖๗๔ วงกลมบางแค-กาญจนาภิเษก
เริ่มต้นจากบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม
แยกซ้ายไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี
แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม จนสุดเส้นทางที่บางแค
สายที่ ๖๗๕ วงกลมรอบเมืองเทเวศร์
เริ่มต้นจากถนนกรุงเกษม แยกขวาไปตามถนนมิตรพันธ์
แยกซ้ายไปตามถนนไมตรีจิต แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกซ้ายไปตามถนนจารุเมือง
แยกขวาไปตามถนนเจริญเมือง แยกขวาไปตามถนนบรรทัดทอง แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔
แยกซ้ายไปตามถนนมิตรภาพไทย-จีน แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง แยกขวาไปตามถนนเยาวราช
แยกซ้ายไปตามถนนจักรวรรดิ์ แยกขวาไปตามถนนจักรเพชร แยกซ้ายไปตามถนนพาหุรัด
แยกซ้ายไปตามถนนตรีเพชร แยกขวาไปตามถนนมหาราช แยกขวาไปตามถนนพระจันทร์
แยกซ้ายไปตามถนนหน้าพระธาตุ แยกซ้ายไปตามถนนราชินี แยกขวาไปตามถนนพระอาทิตย์
แยกขวาไปตามถนนพระสุเมรุ แยกซ้ายไปตามถนนสามเสน แยกขวาไปตามถนนกรุงเกษม
จนสุดเส้นทางที่ถนนกรุงเกษม
สายที่ ๖๗๖ วงกลมรอบเมืองห้วยขวาง
เริ่มต้นจากถนนประชาสงเคราะห์
แยกขวาไปตามถนนดินแดง แยกซ้ายไปตามถนนราชปรารภ ถนนราชดำริ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๑
แยกขวาไปตามถนนพญาไท ถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามถนนสุทธิสารวินิจฉัย
แยกขวาไปตามถนนประชาสุข แยกซ้ายไปตามซอยประชาสงเคราะห์ ๔๕
แยกขวาไปตามถนนประชาสงเคราะห์ จนสุดเส้นทางที่ถนนประชาสงเคราะห์
สายที่ ๖๗๗ วงกลมแฮปปี้แลนด์-ถนนประเสริฐมนูกิจ
เริ่มต้นจากถนนนวมินทร์
แยกซ้ายไปตามถนนประเสริฐมนูกิจ แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก
แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ จนสุดเส้นทางที่ถนนนวมินทร์
สายที่ ๖๗๘ วงกลมสุคนธสวัสดิ์-ถนนประเสริฐมนูกิจ
เริ่มต้นจากโรงเรียนสตรีวิทยา ๒
ไปตามซอยสุคนธสวัสดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนประเสริฐมนูกิจ แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน
แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนโชคชัย ๔ แยกขวาไปตามซอยโชคชัย ๔ ซอย ๖
แยกซ้ายไปตามซอยนาคนิวาส ซอยสุคนธสวัสดิ์ จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนสตรีวิทยา ๒
สายที่ ๖๗๙ วงกลมท่าน้ำนนทบุรี-บางลำภู
เริ่มต้นจากท่าน้ำนนทบุรี ไปตามถนนประชาราษฎร์
แยกขวาไปตามถนนพิบูลสงคราม แยกขวาข้ามสะพานพระราม ๕ ไปตามถนนนครอินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนราชพฤกษ์
แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ไปตามถนนราชดำเนินใน แยกขวาไปตามถนนหน้าพระลาน แยกขวาไปตามถนนหน้าพระธาตุ
แยกซ้ายไปตามถนนราชินี แยกขวาไปตามถนนพระอาทิตย์ แยกขวาไปตามถนนพระสุเมรุ
แยกซ้ายไปตามถนนสามเสน ถนนประชาราษฎร์ สาย ๑ แยกซ้ายไปตามถนนพิบูลสงคราม
แยกซ้ายไปตามถนนประชาราษฎร์ จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำนนทบุรี
สายที่ ๖๘๐ วงกลมหมู่บ้านนักกีฬา-มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เริ่มต้นจากหมู่บ้านนักกีฬา ไปตามถนนกรุงเทพกรีฑา
แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๙ แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง
แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนกรุงเทพ-กรีฑา
จนสุดเส้นทางที่หมู่บ้านนักกีฬา
สายที่ ๖๘๑ วงกลมบางใหญ่-ถนนนครอินทร์
เริ่มต้นจากศูนย์การค้าบางใหญ่
ไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนนครอินทร์ ข้ามสะพานพระราม ๕ ไปตามถนนติวานนท์
แยกซ้ายไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก
จนสุดเส้นทางที่ศูนย์การค้าบางใหญ่
สายที่ ๖๘๒ วงกลมท่าน้ำนนทบุรี-ถนนบรมราชชนนี
เริ่มต้นจากท่าน้ำนนทบุรี ไปตามถนนประชาราษฎร์
แยกขวาไปตามถนนพิบูลสงคราม แยกขวาข้ามสะพานพระราม ๕ ไปตามถนนนครอินทร์
แยกซ้ายไปตามถนนราชพฤกษ์ แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์
ข้ามสะพานพระราม ๗ แยกซ้ายไปตามถนนพิบูลสงคราม แยกซ้ายไปตามถนนประชาราษฎร์
จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำนนทบุรี
สายที่ ๖๘๓ วงกลมท่าน้ำนนทบุรี-ถนนงามวงศ์วาน
เริ่มต้นจากท่าน้ำนนทบุรี ไปตามถนนประชาราษฎร์
แยกขวาไปตามถนนพิบูลสงคราม แยกซ้ายไปตามถนนวงศ์สว่าง ถนนรัชดาภิเษก
แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายไปตามถนนงามวงศ์วาน แยกซ้ายไปตามถนนติวานนท์
แยกขวาไปตามถนนประชาราษฎร์ จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำนนทบุรี
สายที่ ๖๘๔ วงกลมบางบอน ๕-พุทธมณฑลสาย ๓
เริ่มต้นจากถนนบางบอน ๕ แยกซ้ายไปตามถนนเอกชัย
แยกซ้ายไปตามถนนบางบอน ๓ ซอยเพชรเกษม ๖๙ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม
แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑล สาย ๓ แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑล
สาย ๔ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนมาเจริญ ถนนบางบอน ๕
จนสุดเส้นทางที่ถนนบางบอน ๕
สายที่ ๕๘๕ วงกลมพระราม ๒-ถนนพุทธมณฑล สาย ๒
เริ่มต้นจากถนนพุทธมณฑล สาย ๒
(ด้านถนนบรมราชชนนี) ไปตามถนนพุทธมณฑล สาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม
แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๒ แยกซ้ายไปตามถนนสุขสวัสดิ์
ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แยกซ้ายไปตามถนนอินทรพิทักษ์ ถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑล
สาย ๒ จนสุดเส้นทางที่ถนนพุทธมณฑล สาย ๒ (ด้านถนนบรมราชชนนี)
สายที่ ๖๘๖ วงกลมวัดพุทธบูชา-ถนนสุขสวัสดิ์
เริ่มต้นจากวัดพุทธบูชา ไปตามถนนพุทธบูชา
แยกซ้ายไปตามถนนประชาอุทิศ แยกซ้าย ไปตามถนนสุขสวัสดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๒
แยกซ้ายไปตามถนนพุทธบูชา จนสุดเส้นทางที่วัดพุทธบูชา
สายที่ ๖๘๗ วงกลมรอบเมืองนราธิวาส-อังรีดูนังต์
เริ่มต้นจากถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนพระราม
๓ แยกซ้ายไปตามถนนนางลิ้นจี่ แยกขวาไปตามซอยงามดูพลี แยกซ้ายไปตามซอยสาทร ๓
(ซอยสวนพลู) แยกขวาไปตามถนนสาทรเหนือ แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔
แยกขวาไปตามถนนราชดำริ แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๑ แยกซ้ายไปตามถนนอังรีดูนังต์
แยกขวาไปตามถนนสุรวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์
จนสุดเส้นทางที่ถนนนราธิวาสราชนครินทร์
สายที่ ๖๘๘ วงกลมรอบเมืองมักกะสัน-เทเวศร์
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟมักกะสัน
ไปตามถนนนิคมมักกะสัน แยกขวาไปตามถนนเพชรบุรี ถนนพิษณุโลก แยกขวาไปตามถนนสามเสน
แยกขวาไปตามถนนศรีอยุธยา แยกขวาไปตามถนนราชปรารภ แยกซ้ายไปตามถนนนิคมมักกะสัน
จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟมักกะสัน
สายที่ ๖๘๙ วงกลมรอบเมืองจักรวรรดิ์-สนามหลวง
เริ่มต้นจากถนนจักรวรรดิ์ แยกขวาไปตามถนนมหาราช
แยกขวาไปตามถนนหน้าพระลาน แยกซ้ายไปตามถนนหน้าพระธาตุ แยกซ้ายไปตามถนนราชินี
แยกขวาไปตามถนนพระอาทิตย์ แยกซ้ายไปตามถนนสามเสน แยกขวาไปตามถนนวิสุทธิกษัตริย์
ถนนจักรพรรดิพงษ์ ถนนวรจักร ถนนจักรวรรดิ์ จนสุดเส้นทางที่ถนนจักรวรรดิ์
สายที่ ๖๙๐ วงกลมรอบเมืองพระสุเมรุ-จักรวรรดิ์
เริ่มต้นจากถนนจักรวรรดิ์ แยกขวาไปตามถนนมหาราช
แยกขวาไปตามถนนสนามไชย แยกขวาไปตามถนนเจริญกรุง แยกซ้ายไปตามถนนราชินี
แยกขวาไปตามถนนพระอาทิตย์ แยกขวาไปตามถนนพระสุเมรุ แยกขวาไปตามถนนมหาไชย
แยกซ้ายไปตามถนนบำรุงเมือง แยกขวาไปตามถนนวรจักร ถนนจักรวรรดิ์
จนสุดเส้นทางที่ถนนจักรวรรดิ์
สายที่ ๖๙๑ วงกลมรอบเมืองพระราม ๓-ถนนจันทน์
เริ่มต้นจากท่าน้ำสาธุประดิษฐ์ ไปตามถนนสาธุประดิษฐ์
แยกซ้ายไปตามถนนจันทน์ แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๓
แยกขวาไปตามถนนสาธุประดิษฐ์ จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำสาธุประดิษฐ์
สายที่ ๖๙๒ วงกลมปากเกร็ด-สถานีรถไฟฟ้าลาดพร้าว
เริ่มต้นจากท่าน้ำปากเกร็ด ไปตามถนนแจ้งวัฒนะ
แยกขวาไปตามถนนวิภาวดีรังสิต แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก ถึงสถานีรถไฟฟ้าลาดพร้าว
กลับรถไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายไปตามถนนแจ้งวัฒนะ
จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำปากเกร็ด
สายที่ ๖๙๓ วงกลมรอบเมืองมีนบุรี-ถนนลำลูกกา
เริ่มต้นจากมีนบุรี ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ
แยกซ้ายไปตามถนนร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนสุวินทวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนนิมิตรใหม่
แยกซ้ายไปตามถนนลำลูกกา แยกซ้ายไปตามถนนลำลูกกา ๓๒ แยกซ้ายไปตามถนนสายไหม
ถนนหทัยราษฎร์ แยกขวาไปตามถนนคู่ขนานถนนวงแหวน แยกซ้ายไปตามถนนรามอินทรา
ถนนสีหบุรานุกิจ จนสุดเส้นทางที่มีนบุรี
สายที่ ๖๙๔
วงกลมรอบเมืองตลาดบางบัวทอง-สถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ
เริ่มต้นจากการเคหะบางบัวทอง
ไปตามถนนบางกรวย-ไทรน้อย แยกขวาไปตามถนนราชพฤกษ์ แยกซ้ายไปตามถนนนครอินทร์
ข้ามสะพานพระราม ๕ แยกขวาไปตามถนนพิบูลสงคราม ถนนประชาราษฎร์ สาย ๑
แยกซ้ายไปตามถนนประชาราษฎร์ สาย ๒ ถนนปูนซีเมนต์ไทย ถึงสถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ
กลับรถไปตามถนนปูนซีเมนต์ไทย ถนนประชาราษฎร์ สาย ๒ แยกขวาไปตามถนนประชาราษฎร์
ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี แยกซ้ายไปตามถนนติวานนท์ ข้ามสะพานพระราม ๕ ไปตามถนนนครอินทร์
แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่การเคหะบางบัวทอง
สายที่ ๖๙๕ วงกลมรอบเมืองบางกะปิ-มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เริ่มต้นจากบางกะปิ ไปตามถนนลาดพร้าว
แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนรามอินทรา แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน
แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว จนสุดเส้นทางที่บางกะปิ
สายที่ ๖๙๖ วงกลมวัดศรีนวลธรรมวิมล-ถนนเพชรเกษม
เริ่มต้นจากวัดศรีนวลธรรมวิมล
ไปตามถนนหนองแขม-วัดศรีนวลธรรมวิมล แยกขวาไปตามถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้
แยกซ้ายไปตามถนนมาเจริญ แยกขวาไปตามถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่งเหนือ
แยกซ้ายไปตามซอยเพชรเกษม ๖๙ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามถนนมาเจริญ แยกขวาไปตามถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้
แยกซ้ายไปตามถนนหนองแขม-วัดศรีนวลธรรมวิมล จนสุดเส้นทางที่วัดศรีนวลธรรมวิมล
สายที่ ๖๙๗ วงกลมสวนสยาม-ถนนนวมินทร์
เริ่มต้นจากสวนสยาม ไปตามถนนสวนสยาม
แยกขวาไปตามถนนเสรีไทย แยกขวาไปตามถนนนวมินทร์ แยกขวาไปตามถนนรามอินทรา
แยกขวาไปตามถนนสวนสยาม จนสุดเส้นทางที่สวนสยาม
สายที่ ๖๙๘ วงกลมสวนลุมพินี-วัดธาตุทอง
เริ่มต้นจากสวนลุมพินี ไปตามถนนราชดำริ
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท ถนนเพลินจิต
แยกซ้ายไปตามถนนราชดำริ จนสุดเส้นทางที่สวนลุมพินี
สายที่ ๖๙๙ วงกลมนานาเหนือ-พระโขนง
เริ่มต้นจากซอยสุขุมวิท ๓ (นานาเหนือ)
แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท ๗๑ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรบุรี
แยกซ้ายไปตามซอยสุขุมวิท ๓ จนสุดเส้นทางที่ซอยสุขุมวิท ๓ (นานาเหนือ)
สายที่ ๗๐๐ วงกลมสถานีรถไฟฟ้าหมอชิต-รัชดาภิเษก
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟฟ้าหมอชิต ไปตามถนนพหลโยธิน
แยกขวาไปตามถนนกำแพงเพชร แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๖ แยกซ้ายไปตามถนนประดิพัทธ์
ไปตามถนนสุทธิสารวินิจฉัย แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต
แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต
สายที่ ๗๐๑ วงกลมหมู่บ้านนักกีฬา-ถนนพัฒนาการ
เริ่มต้นจากหมู่บ้านนักกีฬา ไปตามถนนกรุงเทพกรีฑา
แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนรามคำแหง แยกซ้ายไปตามถนนพัฒนาการ
แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนกรุงเทพกรีฑา
จนสุดเส้นทางที่หมู่บ้านนักกีฬา
สายที่ ๗๐๒ วงกลมสนามบินน้ำ-หลักสี่
เริ่มต้นจากกระทรวงพาณิชย์ ไปตามถนนสนามบินน้ำ
แยกซ้ายไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนงามวงศ์วาน แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต
แยกซ้ายไปตามถนนแจ้งวัฒนะ แยกซ้ายไปตามถนนติวานนท์ แยกขวาไปตามถนนสนามบินน้ำ
จนสุดเส้นทางที่กระทรวงพาณิชย์
สายที่ ๗๐๓ วงกลมท่าน้ำบางโพ-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร)
เริ่มต้นจากท่าน้ำบางโพ ไปตามถนนประชาราษฎร์ สาย
๒ แยกขวาไปตามถนนเตชะวนิช แยกซ้ายไปตามถนนประดิพัทธ์ แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน
แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนประชาชื่น
แยกขวาไปตามถนนประชาราษฎร์ สาย ๒ จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำบางโพ
สายที่ ๗๐๔
วงกลมห้างสรรพสินค้าพาต้าปิ่นเกล้า-วงเวียนใหญ่
เริ่มต้นจากห้างสรรพสินค้าพาต้าปิ่นเกล้า
ไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า แยกขวาไปตามถนนอรุณอมรินทร์ แยกขวาไปตามถนนวังเดิม
แยกซ้ายไปตามถนนอิสรภาพ แยกขวาไปตามถนนประชาธิปก ถึงวงเวียนใหญ่
กลับไปตามถนนประชาธิปก ข้ามสะพานพระพุทธยอดฟ้า ไปตามถนนตรีเพชร
แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง แยกขวาไปตามถนนสนามไชย ถนนราชดำเนินใน ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า จนสุดเส้นทางที่ห้างสรรพสินค้าพาต้าปิ่นเกล้า
สายที่ ๗๐๕ วงกลมสนามหลวง-สะพานกรุงธน
เริ่มต้นจากสนามหลวง ไปตามถนนหน้าพระธาตุ
แยกซ้ายไปตามถนนหน้าพระลาน แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนินใน
แยกซ้ายข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า แยกขวาไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์
แยกขวาไปตามถนนราชวิถี ข้ามสะพานกรุงธน ไปตามถนนราชวิถี แยกขวาไปตามถนนอู่ทองใน
ถนนราชดำเนินนอก แยกขวาไปตามถนนราชดำเนินกลาง แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนินใน
จนสุดเส้นทางที่สนามหลวง
สายที่ ๗๐๖ วงกลมมหานาค-เทเวศร์
เริ่มต้นจากตลาดวังมหานาค ไปตามถนนดำรงรักษ์
แยกซ้ายไปตามถนนกรุงเกษม แยกซ้ายไปตามถนนสามเสน แยกซ้ายไปตามถนนวิสุทธิกษัตริย์
ถนนจักรพรรดิพงษ์ แยกซ้ายไปตามถนนดำรงรักษ์ จนสุดเส้นทางที่ตลาดวังมหานาค
สายที่ ๗๐๗ วงกลมวัดพุทธบูชา-ถนนสุขสวัสดิ์
เริ่มต้นจากวัดพุทธบูชา ไปตามถนนพุทธบูชา
ถนนประชาอุทิศ แยกซ้ายไปตามซอยสุขสวัสดิ์ ๗๐ แยกซ้ายไปตามถนนสุขสวัสดิ์
แยกซ้ายไปตามถนนประชาอุทิศ แยกขวาไปตามถนนพุทธบูชา จนสุดเส้นทางที่วัดพุทธบูชา
สายที่ ๗๐๘ วงกลมวัดทุ่งครุ-ถนนพระราม ๒
เริ่มต้นจากวัดทุ่งครุ ไปตามถนนประชาอุทิศ
แยกซ้ายไปตามถนนสุขสวัสดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๒ แยกซ้ายไปตามถนนพุทธบูชา
ถนนประชาอุทิศ จนสุดเส้นทางที่วัดทุ่งครุ
สายที่ ๗๐๙ วงกลมแฮปปี้แลนด์-ซอยมหาดไทย
เริ่มต้นจากแฮปปี้แลนด์ ไปตามถนนแฮปปี้แลนด์
แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามซอยลาดพร้าว ๑๒๒ (ซอยมหาดไทย)
แยกซ้ายไปตามถนนรามคำแหง แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว
ถนนเสรีไทย แยกซ้ายไปตามถนนศรีบูรพา แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกขวาไปตามถนนแฮปปี้แลนด์
จนสุดเส้นทางที่แฮปปี้แลนด์
สายที่ ๗๑๐ วงกลมวัดเสมียนนารี-ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี
เริ่มต้นจากวัดเสมียนนารี ไปตามถนนประชานิเวศน์ ๑
ถนนเทศบาลสงเคราะห์ แยกขวาไปตามถนนประชาชื่น แยกซ้ายไปตามถนนงามวงศ์วาน
แยกซ้ายไปตามถนนติวานนท์ แยกซ้ายไปตามถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี
แยกซ้ายไปตามถนนวงศ์สว่าง แยกซ้ายไปตามถนนประชาชื่น แยกขวาไปตามถนนเทศบาลสงเคราะห์
ถนนประชานิเวศน์ ๑ จนสุดเส้นทางที่วัดเสมียนนารี
สายที่ ๗๑๑ วงกลมวัดเสมียนนารี-สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต
เริ่มต้นจากวัดเสมียนนารี ไปตามถนนประชานิเวศน์ ๑
ถนนเทศบาลสงเคราะห์ แยกซ้ายไปตามถนนประชาชื่น แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก
แยกขวาไปตามถนนกำแพงเพชร ๒ แยกซ้ายไปตามถนนกำแพงเพชร แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน
แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต แยกซ้ายไปตามถนนประชานิเวศน์ ๑
จนสุดเส้นทางที่วัดเสมียนนารี
สายที่ ๗๑๒ วงกลมสุรวงศ์-ราชดำริ
เริ่มต้นจากถนนสุรวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง
แยกซ้ายไปตามถนนสีลม ถนนราชดำริ แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๑
แยกซ้ายไปตามถนนอังรีดูนังต์ ถนนสุรวงศ์ จนสุดเส้นทางที่ถนนสุรวงศ์
สายที่ ๗๑๓ วงกลมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-ถนนบรรทัดทอง
เริ่มต้นจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไปตามถนนอังรีดูนังต์ แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๑ แยกซ้ายไปตามถนนบรรทัดทอง
แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔ แยกซ้ายไปตามถนนมหานคร แยกซ้ายไปตามถนนสี่พระยา
แยกขวาไปตามถนนนเรศ แยกซ้ายไปตามถนนสุรวงศ์ ถนนอังรีดูนังต์
จนสุดเส้นทางที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สายที่ ๗๑๔ วงกลมพุทธมณฑลสาย ๒-พุทธมณฑลสาย ๔
เริ่มต้นจากโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ
สตรีวิทยาพุทธมณฑล ไปตามถนนพุทธมณฑล สาย ๓ แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี
แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑล สาย ๔ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑล
สาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑล สาย ๓
จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยาพุทธมณฑล
สายที่ ๗๑๕ อู่บางเขน-ท่าเรือคลองเตย (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากอู่บางเขน ไปตามถนนพหลโยธิน
แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ขึ้นทางพิเศษที่ด่านดินแดง ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ลงทางพิเศษที่ถนนเกษมราษฎร์ ไปตามถนนเกษมราษฎร์ จนสุดเส้นทางที่ท่าเรือคลองเตย
(อู่คลองเตย)
สายที่ ๗๑๖ อู่บางเขน-สำโรง (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากอู่บางเขน ไปตามถนนพหลโยธิน
แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ขึ้นทางพิเศษที่ด่านดินแดง ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ลงทางพิเศษที่ด่านบางนา ไปตามถนนสุขุมวิท จนสุดเส้นทางที่สำโรง
สายที่ ๗๑๗ มีนบุรี-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากมีนบุรี ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ
ถนนรามอินทรา แยกซ้ายไปตามถนนประดิษฐ์มนูญธรรม ขึ้นทางพิเศษที่ด่านรามอินทรา
ไปตามทางพิเศษฉลองรัช ลงทางพิเศษที่ถนนพระราม ๙ ไปตามถนนพระราม ๙ ถนนอโศก-ดินแดง
ถนนดินแดง ถนนราชวิถี จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สายที่ ๗๑๘ ปากน้ำ-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(ตลิ่งชัน) (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากปากน้ำ ไปตามถนนสายลวด ถนนสุขุมวิท
ขึ้นทางพิเศษที่ด่านบางนา ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางพิเศษที่ด่านยมราช
ไปตามถนนเพชรบุรี ถนนหลานหลวง ถนนราชดำเนินกลาง แยกขวาไปตามถนนดินสอ
แยกซ้ายไปตามถนนพระสุเมรุ แยกซ้ายไปตามถนนบวรนิเวศ แยกซ้ายไปตามถนนตะนาว
แยกขวาไปตามถนนราชดำเนินกลาง ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนบรมราชชนนี จนสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(ตลิ่งชัน)
สายที่ ๗๑๙ ปากน้ำ-เคหะชุมชนธนบุรี (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากปากน้ำ ไปตามถนนสายลวด ถนนสุขุมวิท
ขึ้นทางพิเศษที่ด่านบางนา ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางพิเศษที่ถนนสุขสวัสดิ์
ไปตามถนนสุขสวัสดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๒ จนสุดเส้นทางที่เคหะชุมชนธนบุรี
สายที่ ๗๒๐ ปากน้ำ-อู่สาธุประดิษฐ์ (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากปากน้ำ ไปตามถนนสายลวด ถนนสุขุมวิท
ขึ้นทางพิเศษที่ด่านบางนา ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางพิเศษที่ถนนเกษมราษฎร์
ไปตามถนนเกษมราษฎร์ แยกซ้ายไปตามถนนสุนทรโกษา แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก ถนนพระราม
๓ แยกขวาไปตามถนนสาธุประดิษฐ์ จนสุดเส้นทางที่อู่สาธุประดิษฐ์ (บริเวณใต้ทางด่วน)
สายที่ ๗๒๑ ปากน้ำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากปากน้ำ ไปตามถนนสายลวด ถนนสุขุมวิท
ขึ้นทางพิเศษที่ด่านบางนา ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางพิเศษที่ด่านเพชรบุรี
ไปตามถนนเพชรบุรี แยกขวาไปตามถนนราชปรารภ แยกซ้ายไปตามถนนราชวิถี
จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สายที่ ๗๒๒ สำโรง-เทเวศร์ (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากสำโรง ไปตามถนนสุขุมวิท
ขึ้นทางพิเศษที่ด่านบางนา ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางพิเศษที่ด่านเพชรบุรี
ไปตามถนนเพชรบุรี ถนนพิษณุโลก แยกซ้ายไปตามถนนสามเสน แยกซ้ายไปตามถนนลูกหลวง
จนสุดเส้นทางที่เทเวศร์
สายที่ ๗๒๓ วิทยาเขตรามคำแหง-ท่าเรือคลองเตย (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากวิทยาเขตรามคำแหง ไปตามถนนรามคำแหง ๒
แยกขวาไปตามถนนบางนา-ตราด แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท แยกซ้ายไปตามซอยสุขุมวิท ๖๒
ขึ้นทางพิเศษที่ด่านสุขุมวิท ๖๒ ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ลงทางพิเศษที่ถนนเกษมราษฎร์ ไปตามถนนเกษมราษฎร์ จนสุดเส้นทางที่ท่าเรือคลองเตย
(อู่คลองเตย)
สายที่ ๗๒๔ แสมดำ-โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากแสมดำ ไปตามถนนพระราม ๒ แยกขวาไปตามถนนสุขสวัสดิ์
ขึ้นทางพิเศษที่ด่านสุขสวัสดิ์ ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ลงทางพิเศษที่ถนนเกษมราษฎร์ ไปตามถนนเกษมราษฎร์ แยกซ้ายไปตามถนนสุนทรโกษา
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนอังรีดูนังต์ แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๑
แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท จนสุดเส้นทางที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
สายที่ ๗๒๕ แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากแสมดำ ไปตามถนนพระราม ๒
แยกขวาไปตามถนนสุขสวัสดิ์ ขึ้นทางพิเศษที่ด่านสุขสวัสดิ์ ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ลงทางพิเศษที่ด่านเพชรบุรี ไปตามถนนเพชรบุรี แยกขวาไปตามถนนราชปรารภ แยกซ้ายไปตามถนนราชวิถี
จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สายที่ ๗๒๖
ท่าน้ำพระประแดง-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากท่าน้ำพระประแดง
ไปตามถนนนครเขื่อนขันธ์ แยกขวาไปตามถนนสุขสวัสดิ์ ขึ้นทางพิเศษที่ด่านสุขสวัสดิ์
ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางพิเศษที่ด่านดินแดง ไปตามถนนวิภาวดีรังสิต
แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามถนนกำแพงเพชร แยกขวาไปตามถนนกำแพงเพชร ๒
จนสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
สายที่ ๗๒๗ ปากเกร็ด-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากท่าน้ำปากเกร็ด ไปตามถนนแจ้งวัฒนะ
ขึ้นทางพิเศษที่ด่านแจ้งวัฒนะ ไปตามทางพิเศษศรีรัช ลงทางพิเศษที่ถนนพระราม ๖
ไปตามถนนพระราม ๖ แยกซ้ายไปตามถนนราชวิถี จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สายที่ ๗๒๘ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
(ทางด่วน)
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (กรุงเทพฯ-ชลบุรีสายใหม่) ถนนพระราม ๙
ถนนอโศก-ดินแดง ถนนดินแดง ถนนราชวิถี จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สายที่ ๗๒๙ ท่าน้ำพระประแดง-บางนา (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากท่าน้ำพระประแดง
ไปตามถนนนครเขื่อนขันธ์ แยกซ้ายไปตามถนนสุขสวัสดิ์ ขึ้นสะพานกาญจนาภิเษก
ไปตามถนนวงแหวนใต้ แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท จนสุดเส้นทางที่บางนา
สายที่ ๗๓๐ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-สะพานพระราม ๗
(ฝั่งธนบุรี) (ทางด่วน)
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนพหลโยธิน ขึ้นทางพิเศษที่ด่านพหลโยธิน ไปตามทางพิเศษศรีรัช
ลงทางพิเศษที่ถนนรัชดาภิเษก ไปตามถนนรัชดาภิเษก ถนนวงศ์สว่าง ข้ามสะพานพระราม ๗
จนสุดเส้นทางที่เชิงสะพานพระราม ๗ (ฝั่งธนบุรี)
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากเชิงสะพานพระราม ๗ (ฝั่งธนบุรี) ข้ามสะพานพระราม ๗ ไปตามถนนวงศ์สว่าง
ถนนรัชดาภิเษก ขึ้นทางพิเศษที่ถนนรัชดาภิเษก ไปตามทางพิเศษศรีรัช
ลงทางพิเศษที่ถนนพระราม ๖ ไปตามถนนพระราม ๖ แยกซ้ายไปตามถนนราชวิถี
จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สายที่ ๗๓๑ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ท่าเรือคลองเตย
(ทางด่วน)
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนราชวิถี ถนนดินแดง ถนนอโศก-ดินแดง ถนนพระราม
๙ ขึ้นทางพิเศษที่ด่านพระราม ๙ ไปตามทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ลงทางพิเศษที่ถนนเกษมราษฎร์ ไปตามถนนเกษมราษฎร์ จนสุดเส้นทางที่ท่าเรือคลองเตย
(อู่คลองเตย)
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากท่าเรือคลองเตย (อู่คลองเตย) ไปตามถนนเกษมราษฎร์
ขึ้นทางพิเศษที่ถนนเกษมราษฎร์ ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษศรีรัช
ลงทางพิเศษที่ถนนพระราม ๙ ไปตามถนนพระราม ๙ แล้วไปตามเส้นทางเดิม
จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สายที่ ๗๓๒ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-อู่สาธุประดิษฐ์
(ทางด่วน)
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนพญาไท แยกซ้ายไปตามถนนเพชรบุรี ขึ้นทางพิเศษที่ด่านเพชรบุรี
ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางพิเศษที่ถนนรัชดาภิเษก ไปตามถนนสาธุประดิษฐ์
จนสุดเส้นทางที่อู่สาธุประดิษฐ์ (บริเวณใต้ทางด่วน)
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากอู่สาธุประดิษฐ์ (บริเวณใต้ทางด่วน) ไปตามถนนสาธุประดิษฐ์
ถนนรัชดาภิเษก ขึ้นทางพิเศษที่ถนนรัชดาภิเษก ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ลงทางพิเศษที่ถนนเพชรบุรี ไปตามถนนเพชรบุรี แยกขวาไปตามถนนราชปรารภ
แยกซ้ายไปตามถนนราชวิถี จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สายที่ ๗๓๓ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ซอยสุขุมวิท ๖๒
(ทางด่วน)
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนพญาไท แยกซ้ายไปตามถนนเพชรบุรี ขึ้นทางพิเศษที่ด่านเพชรบุรี
ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางพิเศษที่ซอยสุขุมวิท ๖๒ แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท
จนสุดเส้นทางที่บางนา
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากบางนา ไปตามถนนสุขุมวิท แยกซ้ายไปตามซอยสุขุมวิท ๖๒
ขึ้นทางพิเศษที่ด่านสุขุมวิท ๖๒ ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ลงทางพิเศษที่ถนนเพชรบุรี ไปตามถนนเพชรบุรี แยกขวาไปตามถนนราชปรารภ
แยกซ้ายไปตามถนนราชวิถี จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สายที่ ๗๓๔ สถานีรถไฟฟ้าจตุจักร-ตลาดโพธิ์ทอง (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟฟ้าจตุจักร ไปตามถนนพหลโยธิน
แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก
ขึ้นทางพิเศษที่ถนนรัชดาภิเษก ไปตามทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ลงทางพิเศษที่ถนนสุขสวัสดิ์ ไปตามถนนสุขสวัสดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๒ จนสุดเส้นทางที่ตลาดโพธิ์ทอง
สายที่ ๗๓๕ สถานีรถไฟฟ้าจตุจักร-อู่สาธุประดิษฐ์
(ทางด่วน)
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟฟ้าจตุจักร ไปตามถนนพหลโยธิน
แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก
ขึ้นทางพิเศษที่ถนนรัชดาภิเษก ไปตามทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ลงทางพิเศษที่ถนนรัชดาภิเษก ไปตามถนนสาธุประดิษฐ์ จนสุดเส้นทางที่อู่สาธุประดิษฐ์ (บริเวณใต้ทางด่วน)
สายที่ ๗๓๖ สถานีรถไฟฟ้าจตุจักร-สวนลุมพินี (ทางด่วน)
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟฟ้าจตุจักร ไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายไปตาม
ถนนวิภาวดีรังสิต แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก
ขึ้นทางพิเศษที่ถนนรัชดาภิเษก ไปตามทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ลงทางพิเศษที่ถนนพระราม ๔ ไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนวิทยุ
แยกซ้ายไปตามถนนสารสิน แยกซ้ายไปตามถนนราชดำริ จนสุดเส้นทางที่สวนลุมพินี
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากสวนลุมพินี ไปตามถนนราชดำริ แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ ขึ้นทางพิเศษที่ถนนพระราม
๔ ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษศรีรัช ลงทางพิเศษที่ถนนรัชดาภิเษก
แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟฟ้าจตุจักร
สายที่ ๗๓๗ สถานีรถไฟฟ้าจตุจักร-ท่าเรือคลองเตย
(ทางด่วน)
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟฟ้าจตุจักร ไปตามถนนพหลโยธิน
แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก
ขึ้นทางพิเศษที่ถนนรัชดาภิเษก ไปตามทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ลงทางพิเศษที่ถนนพระราม ๔ ไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนสุนทรโกษา แยกขวาไปตามถนนเกษมราษฎร์
จนสุดเส้นทางที่ท่าเรือคลองเตย (อู่คลองเตย)
สายที่ ๗๓๘ อู่พระราม ๙-ท่าน้ำปากเกร็ด (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากอู่พระราม ๙ ไปตามถนนวัฒนธรรม
แยกขวาไปตามถนนพระราม ๙ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรอุทัย ขึ้นทางพิเศษที่ถนนเพชรอุทัย
ไปตามทางพิเศษศรีรัช ลงทางพิเศษที่ถนนแจ้งวัฒนะ ไปตามถนนแจ้งวัฒนะ
จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำปากเกร็ด
สายที่ ๗๓๙ สวนลุมพินี-ซอยสุขุมวิท ๖๒ (ทางด่วน)
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสวนลุมพินี ไปตามถนนพระราม ๔ ขึ้นทางพิเศษที่ถนนพระราม ๔
ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางพิเศษที่ซอยสุขุมวิท ๖๒ แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท
จนสุดเส้นทางที่บางนา
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากบางนา ไปตามถนนสุขุมวิท แยกซ้ายไปตามซอยสุขุมวิท ๖๒
ขึ้นทางพิเศษที่ด่านสุขุมวิท ๖๒ ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางพิเศษที่ถนนพระราม
๔ ไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนวิทยุ แยกซ้ายไปตามถนนสารสิน
แยกซ้ายไปตามถนนราชดำริ จนสุดเส้นทางที่สวนลุมพินี
สายที่ ๗๔๐ สะพานพระราม ๗
(ฝั่งธนบุรี)-รัชดาภิเษก-ท่าเรือคลองเตย
เริ่มต้นจากท่าเรือคลองเตย (อู่คลองเตย)
ไปตามถนนเกษมราษฎร์ แยกขวาไปตามถนนสุนทรโกษา แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔
แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก ถนนอโศก-มนตรี ถนนรัชดาภิเษก ถนนวงศ์สว่าง ข้ามสะพานพระราม
๗ จนสุดเส้นทางที่เชิงสะพานพระราม ๗ (ฝั่งธนบุรี)
สายที่ ๗๔๑ สะพานพระราม ๗ (ฝั่งธนบุรี)-ถนนพระราม
๓-ท่าเรือคลองเตย
เริ่มต้นจากเชิงสะพานพระราม ๗ (ฝั่งธนบุรี)
ไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนรัชดาภิเษกตอนล่าง ถนนมไหสวรรย์ ข้ามสะพานกรุงเทพ
ไปตามถนนพระราม ๓ แยกขวาไปตามถนนสุนทรโกษา แยกซ้ายไปตามถนนเกษมราษฎร์
จนสุดเส้นทางที่ท่าเรือคลองเตย (อู่คลองเตย)
สายที่ ๗๔๒ บางใหญ่-เคหะชุมชนธนบุรี
เริ่มต้นจากตลาดบางใหญ่ ไปตามถนนกาญจนาภิเษก
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๒ จนสุดเส้นทางที่เคหะชุมชนธนบุรี
สายที่ ๗๔๓ เคหะชุมชนธนบุรี-ปากน้ำ
เริ่มต้นจากเคหะชุมชนธนบุรี ไปตามถนนพระราม ๒
แยกซ้ายไปตามถนนวงแหวนใต้ แยกซ้ายไปตามถนนสุขสวัสดิ์
แยกขวาข้ามสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม ลงสะพานวงแหวนอุตสาหกรรมที่ถนนปู่เจ้าสมิงพราย
ไปตามถนนปู่เจ้าสมิงพราย แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท ถนนสายลวด จนสุดเส้นทางที่ปากน้ำ
สายที่ ๗๔๔ ปากน้ำ-ถนนรามอินทรา
เริ่มต้นจากปากน้ำ ไปตามถนนสายลวด ถนนสุขุมวิท
แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์
จนสุดเส้นทางที่ถนนนวมินทร์ (ด้านถนนรามอินทรา)
สายที่ ๗๔๕ ถนนรามอินทรา-บางใหญ่
เริ่มต้นจากถนนรามอินทรา (บริเวณแยกนวมินทร์ กม.
๘) ไปตามถนนรามอินทรา ถนนแจ้งวัฒนะ ข้ามสะพานพระราม ๔ ไปตามถนนชัยพฤกษ์
แยกขวาไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก จนสุดเส้นทางที่บางใหญ่
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๒
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๔๙/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599933 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1901 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 112 นครสวรรค์-ชัยนาท โดยให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน 2 ช่วง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๐๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๑๑๒ นครสวรรค์-ชัยนาท
โดยให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง
จำนวน
๒ ช่วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๒๔๑ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๓ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๑๒ นครสวรรค์-ชัยนาท
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๒ ช่วง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๑๒ นครสวรรค์-ชัยนาท
โดยให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครสวรรค์-บ้านท่าฉนวน-ชัยนาท
และช่วงนครสวรรค์-บ้านศิลาดาน-ชัยนาท จำนวน ๒ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๑๒ นครสวรรค์-ชัยนาท
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านอำเภอพยุหคีรี ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยนาท
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๔๘/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599929 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1900 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 157 สิงห์บุรี-อุทัยธานี
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๐๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๑๕๗ สิงห์บุรี-อุทัยธานี[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๗๓๒ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ประกาศ ณ วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๓๓ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๕๗ อ่างทอง-อุทัยธานี
เป็น สิงห์บุรี-อุทัยธานี นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าวให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๕๗
สิงห์บุรี-อุทัยธานี โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๕๗ สิงห์บุรี-อุทัยธานี
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสิงห์บุรี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑ ผ่านอำเภอสรรพยา ถึงสามแยกดอนเสือ
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๘๓ ผ่านอำเภอวัดสิงห์ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุทัยธานี
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๔๗/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599927 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1899 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 147 เชียงใหม่-พาน
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๘๙๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๑๔๗ เชียงใหม่-พาน[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๕๖๘ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๓๑ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๔๗ ลำปาง-พาน
เป็น เชียงใหม่-พาน นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นว่า
เส้นทางดังกล่าวหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๔๖/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599923 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1898 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 727 ภูเก็ต-เกาะสมุย โดยให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงภูเก็ต-เกาะพะงัน
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๘๙๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๗๒๗ ภูเก็ต-เกาะสมุย
โดยให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยก
ช่วงภูเก็ต-เกาะพะงัน[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๓๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๗๒๗ ภูเก็ต-เกาะสมุย
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงภูเก็ต-เกาะพะงัน นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๗๒๗ ภูเก็ต-เกาะสมุย
โดยให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงภูเก็ต-เกาะพะงัน
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๗๒๗ ภูเก็ต-เกาะสมุย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒ ผ่านอำเภอถลาง ถึงสามแยกบ้านโคกกลอย
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภอตะกั่วทุ่ง ถึงจังหวัดพังงา
แล้วกลับไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงสามแยกอู่เรือ
แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาลบำรุง ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ถึงอำเภอทับปุด
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงทางแยกบ้านปากลาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๑๕ ผ่านบ้านเขาต่อ บ้านทับคริสต์ ถึงสามแยกบ้านเขาวัง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๑ ผ่านอำเภอบ้านตาขุน ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๑ ถึงทางแยกบ้านหนองขรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๓ ถึงอำเภอพุนพิน
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอกาญจนดิษฐ์
ถึงสามแยกบ้านใน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔๒ ผ่านอำเภอดอนสัก ถึงท่าเรืออำเภอดอนสัก
ลงเรือข้ามฟากไปขึ้นที่ท่าเรือ อำเภอเกาะสมุย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๗๔
และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๖๙ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเกาะสมุย
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๔๔/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599921 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1897 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๘๙๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๔ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๒ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๕๕๒ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๑๔
สุขุมวิท-ประเวศ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก ๒ ช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๑๗๒๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๑๑๒๔ บางแค-ถนนสายที่ ๔
บางบอน เป็น ตลาดบางแค-โรงเรียนศึกษานารี ๒
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดบางแค-พุทธมณฑลสาย ๔ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๑๔
สุขุมวิท-ประเวศ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสุขุมวิท-ซอยอุดมสุข ๒๖ แยก ๕๑
(ซอยพึ่งทรัพย์) เพิ่มอีก ๑ ช่วง และสายที่ ๑๑๒๔ ตลาดบางแค-โรงเรียนศึกษานารี ๒
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดบางแค-หมู่บ้านเพชรสยาม และช่วงถนนพุทธมณฑลสาย
๔-โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี เพิ่มอีก ๒ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๐๑๔ สุขุมวิท-ประเวศ
เริ่มต้นจากปากซอยอุดมสุข (สุขุมวิท ๑๐๓
ด้านถนนสุขุมวิท) ไปตามซอยอุดมสุข ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร. ๙ ผ่านสวนหลวง ร. ๙
ไปตามถนนสุขาภิบาล ๑ ผ่านสำนักงานเขตประเวศ จนสุดเส้นทางที่ถนนอ่อนนุช
ช่วงสุขุมวิท-ซอยที่ดินจัดสรรยาสูบ
เริ่มต้นจากปากซอยอุดมสุข (สุขุมวิท ๑๐๓ ด้านถนนสุขุมวิท) ไปตามซอยอุดมสุข
แยกขวาไปตามซอยที่ดินจัดสรรยาสูบ จนสุดเส้นทางที่ปลายซอยที่ดินจัดสรรยาสูบ
ช่วงสุขุมวิท-ซอยประวิทย์
เริ่มต้นจากปากซอยอุดมสุข (สุขุมวิท ๑๐๓ ด้านถนนสุขุมวิท) ไปตามซอยอุดมสุข
แยกซ้ายไปตามซอยประวิทย์ จนสุดเส้นทางที่ปลายซอยประวิทย์
ช่วงสุขุมวิท-ซอยเปรมฤทัย
เริ่มต้นจากปากซอยอุดมสุข (สุขุมวิท ๑๐๓ ด้านถนนสุขุมวิท) ไปตามซอยอุดมสุข
ผ่านแยกศรีอุดม ไปตามถนนเฉลิมพระเกียรติ ร. ๙ แยกขวาไปตามซอยเปรมฤทัย จนสุดเส้นทางที่ปลายซอยเปรมฤทัย
ช่วงสุขุมวิท-โรงเรียนคลองปักหลัก
เริ่มต้นจากปากซอยอุดมสุข (สุขุมวิท ๑๐๓ ด้านถนนสุขุมวิท) ไปตามซอยอุดมสุข
ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร. ๙ ผ่านสวนหลวง ร. ๙ แยกขวาไปตามซอยเฉลิมพระเกียรติ ร. ๙ ที่
๓๐ จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนคลองปักหลัก
ช่วงโรงเรียนคลองปักหลัก-ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์
เริ่มต้นจากโรงเรียนคลองปักหลัก ไปตามซอยเฉลิมพระเกียรติ ร. ๙ ที่ ๓๐
แยกซ้ายไปตามถนนเฉลิมพระเกียรติ ร. ๙ ถึงแยกศรีอุดม แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์
จนสุดเส้นทางที่ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์
ช่วงสุขุมวิท-ซอยเฉลิมพระเกียรติ
๒๘-นิรันดร์เรสซิเดนซ์ เริ่มต้นจากปากซอยอุดมสุข (สุขุมวิท
๑๐๓ ด้านถนนสุขุมวิท) ไปตามซอยอุดมสุข ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร. ๙ ถึงสวนหลวง ร. ๙ แยกขวาไปตามซอยเฉลิมพระเกียรติ
๒๘ จนสุดเส้นทางที่นิรันดร์เรสซิเดนซ์
ช่วงสุขุมวิท-ซอยอุดมสุข
๒๖ แยก ๕๑ (ซอยพึ่งทรัพย์) เริ่มต้นจากปากซอยอุดมสุข (สุขุมวิท
๑๐๓ ด้านถนนสุขุมวิท) ไปตามซอยอุดมสุข แยกขวาไปตามซอยอุดมสุข ๒๖
จนสุดเส้นทางที่ซอยอุดมสุข ๒๖ แยก ๕๑ (ซอยพึ่งทรัพย์)
สายที่ ๑๑๒๔ ตลาดบางแค-โรงเรียนศึกษานารี ๒
เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม
แยกซ้ายไปตามถนนมาเจริญ ผ่านทางเข้าตลาดหนองแขม ไปตามถนนบางบอน ๕
แยกขวาไปตามถนนเอกชัย จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนศึกษานารี ๒
ช่วงตลาดบางแค-ถนนพุทธมณฑลสาย
๔ เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม จนสุดเส้นทางที่บริเวณปากทางถนนพุทธมณฑลสาย
๔
ช่วงตลาดบางแค-วัดศรีนวลธรรมวิมล-โรงเรียนศึกษานารี
๒ เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม
แยกซ้ายไปตามถนนมาเจริญ แยกขวาไปตามถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้
แยกซ้ายไปตามถนนหนองแขม-วัดศรีนวลธรรมวิมล แยกซ้ายไปตามถนนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ๑
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สค. ๔๐๐๙ แยกขวาไปตามซอยโรงเรียนนวลนรดิศ แยกขวาไปตามถนนบางบอน
๕ แยกขวาไปตามถนนเอกชัย จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนศึกษานารี ๒
ช่วงตลาดบางแค-วัดใหม่หนองพะอง
เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามถนนมาเจริญ
แยกขวาไปตามถนนสวนหลวงร่วมใจ ถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่งเหนือ
จดสุดเส้นทางที่วัดใหม่หนองพะอง
ช่วงตลาดบางแค-หมู่บ้านเพชรสยาม
เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามซอยเพชรเกษม ๖๓
แยกซ้ายไปตามถนนวัดม่วง-บางบอน ๒ ผ่านวัดม่วง โรงเรียนวัดม่วง โรงเรียนปัญญาวรคุณ
แยกขวาไปตามซอยเรืองสอน ๓ จนสุดเส้นทางที่หมู่บ้านเพชรสยาม
ช่วงถนนพุทธมณฑลสาย
๔-โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี เริ่มต้นจากถนนพุทธมณฑลสาย ๔
ไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๓ แยกขวาไปตามถนนอัสสัมชัญ จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๔๑/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599915 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1896 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 239 สกลนคร-มุกดาหาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๘๙๖ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๒๓๙ สกลนคร-มุกดาหาร[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๔๖ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๓๙
สกลนคร-มุกดาหาร นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นว่า
เส้นทางดังกล่าวหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑
จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๔๐/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
599909 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1895 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 140 ตะพานหิน-ชุมแพ เป็น ตะพานหิน-หล่มสัก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๘๙๕ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๑๔๐ ตะพานหิน-ชุมแพ เป็น
ตะพานหิน-หล่มสัก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๑๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๔๐
ตะพานหิน-ชุมแพ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๔๐ ตะพานหิน-ชุมแพ เป็น
ตะพานหิน-หล่มสัก โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๔๐ ตะพานหิน-หล่มสัก
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอตะพานหิน
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๓ ผ่านบ้านเขาทราย อำเภอชนแดน ถึงบ้านวังชมพู
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ ผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหล่มสัก
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๓๙/๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
598540 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดภูเก็ต ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 สายที่ 8359 ภูเก็ต-กะรน-หาดกะตะน้อย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงภูเก็ต-สี่แยกสามกอง-หาดกะตะน้อย
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดภูเก็ต
ฉบับที่
๒๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๔ สายที่ ๘๓๕๙ ภูเก็ต-กะรน-หาดกะตะน้อย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก
ช่วงภูเก็ต-สี่แยกสามกอง-หาดกะตะน้อย[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดภูเก็ต
ฉบับที่ ๑๙ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ลงวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๖ กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๘๓๕๙
ภูเก็ต-กะรน-หาดกะตะน้อย นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดภูเก็ตได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด
(ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำ จังหวัดภูเก็ตในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๙
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๑
เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด
๔ จังหวัดภูเก็ต สายที่ ๘๓๕๙ ภูเก็ต-กะรน-หาดกะตะน้อย
ให้มีเส้นทางแยกช่วงภูเก็ต-สี่แยกสามกอง-หาดกะตะน้อย
โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๘๓๕๙ ภูเก็ต-กะรน-หาดกะตะน้อย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต
ไปตามถนนพังงา แยกซ้ายไปตามถนนภูเก็ตแยกขวาไปตามถนนรัษฎา ผ่านวงเวียนสุริยเดช
ไปตามถนนระนอง ผ่านตลาดสดเทศบาลนครภูเก็ตโรงเรียนขจรเกียรติศึกษา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒๐ (ถนนวิชิตสงคราม)
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒๒ (ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก)
ผ่านโรงเรียนวิชิตสงคราม ถึงสามแยกบ้านตีนเขา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒๑
(ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก) ผ่านโรงเรียนบ้านฉลอง บ้านโคกทราย ถึงห้าแยกฉลอง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒๘ ผ่านบ้านกะตะ บ้านกะรน ถึงวงเวียนหาดกะรน
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านหาดกะรน หาดบางเงือกผ่านโรงแรมมารีน่าคอทเทจ
ถึงสามแยกท้ายนา ตรงไปตามถนนกะตะ ผ่านสำนักงานเทศบาลกะรนแยกขวาไปตามถนนกะตะน้อย
ผ่านโรงแรมกะตะธานี ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหาดกะตะน้อย
ช่วงภูเก็ต-สี่แยกสามกอง-หาดกะตะน้อย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ตแยกขวาไปตามถนนพังงา
แยกขวาไปตามถนนมนตรี ผ่านที่ทำการไปรษณีย์ภูเก็ต
ไปตามถนนสุทัศน์ถึงเรือนจำจังหวัดภูเก็ต แยกซ้ายไปตามถนนทุ่งคา
แยกขวาไปตามถนนเทพกระษัตรี แยกซ้ายไปตามถนนโกมารภัจจ์ แยกขวาไปตามถนนเยาวราช
ถึงสี่แยกสามกอง (แยกโลตัส) แยกซ้ายไปตามถนนเฉลิมพระเกียรติ ร. ๙ ผ่านสี่แยกไทนาน
ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒๒ (ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก)
ผ่านโรงเรียนวิชิตสงคราม ถึงสามแยกบ้านตีนเขา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒๑
(ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก) ผ่านโรงเรียนบ้านฉลอง บ้านโคกทราย
ถึงห้าแยกฉลองแยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒๘ ผ่านบ้านกะตะ บ้านกะรน
ถึงวงเวียนหาดกะรนแยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านหาดกะรน หาดบางเงือก
ผ่านโรงแรมมารีน่าคอทเทจถึงสามแยกท้ายนา ตรงไปตามถนนกะตะ ผ่านสำนักงานเทศบาลกะรน
แยกขวาไปตามถนนกะตะน้อยผ่านโรงแรมกะตะธานี ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหาดกะตะน้อย
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
นิรันดร์
กัลยาณมิตร
ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดภูเก็ต
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๖๔/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598534 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ 70 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนนทบุรี สายที่ 1030 บางบัวทอง-โรงเรียนบ้านใหม่ เป็น บางใหญ่-โรงเรียนบ้านใหม่
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนนทบุรี
ฉบับที่
๗๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๑๐๓๐ บางบัวทอง-โรงเรียนบ้านใหม่
เป็น
บางใหญ่-โรงเรียนบ้านใหม่[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี
ฉบับที่ ๒๙ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ลงวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๓๑
กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๑๐๓๐ บางบัวทอง-โรงเรียนบ้านใหม่ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๐/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ ให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๑๐๓๐
บางบัวทอง-โรงเรียนบ้านใหม่ เป็น บางใหญ่-โรงเรียนบ้านใหม่
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๑๐๓๐ บางใหญ่-โรงเรียนบ้านใหม่
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบางใหญ่
ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ. ๑๐๐๙
ผ่านหมู่บ้านมิตรประชา หมู่บ้านชัยพฤกษ์ หมู่บ้านศุภาลัย โรงเรียนดอนลากตะค้าน
หมู่บ้านพฤกษา ๒๑ โรงเรียนบ้านดอนตะลุมพุก แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ. ๓๑๙๑
(สายบ้านเขมร-บ้านใหม่)
ผ่านวัดอ่วมอ่องประชานฤมิตรแยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทสายเคหะการเกษตร ม.
๑๐-ตำบลหนองเพรางาย ผ่านหมู่บ้านเคหะการเกษตรแยกซ้ายไปตามถนนเข้าโรงเรียนบ้านใหม่
ไปสุดเส้นทางที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงเรียนบ้านใหม่
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
เชิดวิทย์
ฤทธิประศาสน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนนทบุรี
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๖๒/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598530 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ 228 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนครราชสีมา สายที่ 4424 นครราชสีมา-บ้านหัวสระ สายที่ 4426 นครราชสีมา-บ้านนาตม และสายที่ 4453 นครราชสีมา-บ้านระงมพัฒนา
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครราชสีมา
ฉบับที่
๒๒๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา
สายที่
๔๔๒๔ นครราชสีมา-บ้านหัวสระ สายที่ ๔๔๒๖ นครราชสีมา-บ้านนาตม
และสายที่
๔๔๕๓ นครราชสีมา-บ้านระงมพัฒนา[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา
ฉบับที่ ๒๐๐ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา
สายที่ ๔๔๒๔ นครราชสีมา-บ้านหัวสระ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ ๑๘๙ (พ.ศ.
๒๕๔๖) ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๖ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๔๒๖ นครราชสีมา-บ้านนาตม
และประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ ๒๐๖ (พ.ศ.
๒๕๔๘) ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๔๕๓ นครราชสีมา-บ้านระงมพัฒนา นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมาได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด
(ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๑
เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๓ เส้นทาง เฉพาะเที่ยวไป คือ สายที่ ๔๔๒๔
นครราชสีมา-บ้านหัวสระ สายที่ ๔๔๒๖ นครราชสีมา-บ้านนาตม และสายที่ ๔๔๕๓
นครราชสีมา-บ้านระงมพัฒนา ดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๔๔๒๔ นครราชสีมา-บ้านหัวสระ
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๑
แยกซ้ายไปตามถนนบุรินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนสุรนารี แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนิน
ไปตามถนนมหาราช ผ่านที่ทำการประปา โรงพยาบาลมหาราช ถึงตลาดสุรนคร
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ถึงแยกบ้านประโดก
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (สายบ้านโนนตาสุก) แยกซ้ายไปตามถนนในซอย
แยกขวาไปตามถนนศิริราชธานี ผ่านบ้านโคกไผ่ บ้านโนนตาสุก
บ้านโพนสูงบ้านคลองบริบูรณ์ บ้านหมื่นไวย ถึงบ้านหนองนาลุ่ม
แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น ถึงบ้านกรูดแยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ถึงบ้านหนองออก
แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ. นม. ๐๑๓๑๓ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหัวสระ
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหัวสระ
แล้วไปตามเส้นทางเดิมถึงที่ทำการประปา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔
แยกขวาไปตามถนนมนัสแยกขวาไปตามถนนพลแสน แยกขวาไปตามถนนจักรี
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๑
ช่วงนครราชสีมา-บ้านโคกไผ่-บ้านหัวสระ
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๑
แยกซ้ายไปตามถนนบุรินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนสุรนารี แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนิน
ไปตามถนนมหาราชผ่านที่ทำการประปา โรงพยาบาลมหาราช ตลาดสุรนคร
ถึงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ ตรงไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านโคกไผ่ บ้านโนนตาสุก
บ้านโพนสูง บ้านคลองบริบูรณ์ บ้านหมื่นไวยถึงบ้านหนองนาลุ่ม แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น
ถึงบ้านกรูด แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทถึงบ้านหนองออก
แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ. นม. ๐๑๓๑๓ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหัวสระ
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหัวสระ
แล้วไปตามเส้นทางเดิมถึงที่ทำการประปา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔
แยกขวาไปตามถนนมนัสแยกขวาไปตามถนนพลแสน แยกขวาไปตามถนนจักรี
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๑
สายที่ ๔๔๒๖ นครราชสีมา-บ้านนาตม
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๑
แยกซ้ายไปตามถนนบุรินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนสุรนารี แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนิน
ไปตามถนนมหาราชผ่านที่ทำการประปา โรงพยาบาลมหาราช ถึงโรงพยาบาลเซนต์แมรี่
ไปตามถนนเซนต์แมรี่ ถึงบ้านหนองโพธิ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. นม. ๒๐๔๖
ผ่านบ้านหนองหญ้างามบ้านคอกวัว ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนาตม
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนาตม ไปตามเส้นทางเดิมถึงที่ทำการประปา
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔ แยกขวาไปตามถนนมนัสแยกขวาไปตามถนนพลแสน
แยกขวาไปตามถนนจักรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๑
สายที่ ๔๔๕๓ นครราชสีมา-บ้านระงมพัฒนา
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๑
แยกซ้ายไปตามถนนบุรินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนสุรนารี แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนิน
ไปตามถนนมหาราชผ่านที่ทำการประปา โรงพยาบาลมหาราช ถึงตลาดสุรนคร
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ถึงสี่แยกจอหอ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ (ถนนสุรนารายณ์) แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
ผ่านบ้านระกาย บ้านกล้วย บ้านสระตาราช บ้านกรูด
ถึงบ้านหนองออกแยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น อบจ. นม. ๐๑๓๑๓ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท
ผ่านบ้านมะม่วงพัฒนา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านระงมพัฒนา
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านระงมพัฒนา แล้วไปตามเส้นทางเดิมถึงที่ทำการประปา
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔ แยกขวาไปตามถนนมนัสแยกขวาไปตามถนนพลแสน
แยกขวาไปตามถนนจักรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๑
ช่วงนครราชสีมา-บ้านบึงพญาปราบ
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๑
แยกซ้ายไปตามถนนบุรินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนสุรนารี แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนิน
ตรงไปตามถนนมหาราชผ่านที่ทำการประปา โรงพยาบาลมหาราช ถึงตลาดสุรนคร
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ)
ถึงทางแยกบ้านเก่า แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทผ่านบ้านเก่า
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านบึงพญาปราบ
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านบึงพญาปราบ
ไปตามเส้นทางเดิมถึงที่ทำการประปา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔
แยกขวาไปตามถนนมนัส แยกขวาไปตามถนนพลแสน แยกขวาไปตามถนนจักรี
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๑
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
สุธี
มากบุญ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครราชสีมา
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๕๘/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598526 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม ฉบับที่ 101 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครปฐม
ฉบับที่
๑๐๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม
ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๒๔
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดนครปฐม สายที่ ๗๒๐๒๑
ตลาดอำเภอบางเลน-วัดมะเกลือ
และประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม ฉบับที่ ๒๙ (พ.ศ. ๒๕๓๐)
ลงวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๓๐ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
จังหวัดนครปฐม สายที่ ๗๒๐๒๑ เป็น บางเลน-วัดมะเกลือ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐมได้พิจารณาแล้ว
เห็นว่า เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
โดยได้กำหนดให้เป็นเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ ขึ้นใหม่
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐมในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าวตั้งแต่วันที่ ๑๑
มิถุนายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ชนินทร์
บัวประเสริฐ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครปฐม
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๕๗/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598524 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม ฉบับที่ 100 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครปฐม
ฉบับที่
๑๐๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม
ฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๐ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดนครปฐม
สายที่ ๗๒๐๒๔ ตลาดอำเภอสามพราน-บ้านบางประแดง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐมได้พิจารณาแล้ว
เห็นว่าเส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
โดยได้กำหนดให้เป็นเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ ขึ้นใหม่
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐมในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าวตั้งแต่วันที่ ๑๑
มิถุนายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ชนินทร์
บัวประเสริฐ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครปฐม
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๕๖/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598522 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม ฉบับที่ 99 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครปฐม
ฉบับที่
๙๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม
ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๒๔
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดนครปฐม สายที่ ๗๒๐๑๖
นครปฐม-คลองมอญ และประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม ฉบับที่
๔๔ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ลงวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๓ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
จังหวัดนครปฐม สายที่ ๗๒๐๑๖ เป็น นครปฐม-ห้วยพลู นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐมได้พิจารณาแล้ว
เห็นว่าเส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
โดยได้กำหนดให้เป็นเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ ขึ้นใหม่
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐมในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าวตั้งแต่วันที่ ๑๑
มิถุนายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ชนินทร์
บัวประเสริฐ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครปฐม
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๕๕/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598520 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครปฐม
ฉบับที่
๙๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม
ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ลงวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๒๔
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดนครปฐม สายที่ ๗๒๐๑๕ วงกลม
(เวียนซ้าย-เวียนขวา)
นครปฐม-บางแขม-วัดดอนเสาเกียดและประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม
ฉบับที่ ๕๗ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ลงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดนครปฐม
สายที่ ๗๒๐๑๕ เป็น นครปฐม-บางแขม-วัดดอนเสาเกียด นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐมได้พิจารณาแล้ว
เห็นว่าเส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
โดยได้กำหนดให้เป็นเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ ขึ้นใหม่
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐมในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าวตั้งแต่วันที่ ๑๑
มิถุนายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ชนินทร์
บัวประเสริฐ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครปฐม
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๕๔/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598518 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม ฉบับที่ 97 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครปฐม
ฉบับที่
๙๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม
ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดนครปฐม สายที่ ๗๒๐๑๓
นครปฐม-พะเนียงแตก-มาบแค นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐมได้พิจารณาแล้ว
เห็นว่า เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
โดยได้กำหนดให้เป็นเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ ขึ้นใหม่
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐมในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าวตั้งแต่วันที่ ๑๑
มิถุนายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ชนินทร์
บัวประเสริฐ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครปฐม
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๕๓/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598516 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม ฉบับที่ 96 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครปฐม
ฉบับที่
๙๖ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม
ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดนครปฐม สายที่ ๗๒๐๑๐
วัดธรรมศาลา-ตลาดนครปฐม นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐมได้พิจารณาแล้ว
เห็นว่า เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
โดยได้กำหนดให้เป็นเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ ขึ้นใหม่
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าวตั้งแต่วันที่ ๑๑
มิถุนายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ชนินทร์
บัวประเสริฐ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครปฐม
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๕๒/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598514 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม ฉบับที่ 95 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครปฐม
ฉบับที่
๙๕ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม
ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ลงวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๐ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดนครปฐม
สายที่ ๗๒๐๐๙ นครปฐม-สำนักงานขนส่งจังหวัดนครปฐม นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐมได้พิจารณาแล้ว
เห็นว่าเส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
โดยได้กำหนดให้เป็นเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ ขึ้นใหม่
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าวตั้งแต่วันที่ ๑๑
มิถุนายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ชนินทร์
บัวประเสริฐ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครปฐม
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๕๑/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598512 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม ฉบับที่ 94 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครปฐม
ฉบับที่
๙๔ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม
ฉบับที่ ๖๘ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ลงวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๐ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
จังหวัดนครปฐม สายที่ ๗๒๐๐๕ บางเลน-วัดบางน้อยใน นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐมได้พิจารณาแล้ว
เห็นว่าเส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
โดยได้กำหนดให้เป็นเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ ขึ้นใหม่
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าวตั้งแต่วันที่ ๑๑
มิถุนายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ชนินทร์
บัวประเสริฐ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครปฐม
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๕๐/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598510 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม ฉบับที่ 93 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครปฐม
ฉบับที่
๙๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ครั้งที่ ๙/๒๕๒๒
เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๒๒ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดนครปฐม
สายที่ ๗๒๐๐๔ บางเลน-วัดบางภาษี นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐมได้พิจารณาแล้ว
เห็นว่าเส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
โดยได้กำหนดให้เป็นเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ ขึ้นใหม่
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าวตั้งแต่วันที่ ๑๑
มิถุนายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ชนินทร์
บัวประเสริฐ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครปฐม
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๔๙/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598506 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1894 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 597 มุกดาหาร-หว้านใหญ่-ธาตุพนม และสายที่ 548 นครราชสีมา-บ้านหนองสรวง-ลำนารายณ์
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๘๙๔ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๕๙๗ มุกดาหาร-หว้านใหญ่-ธาตุพนม
และสายที่
๕๔๘ นครราชสีมา-บ้านหนองสรวง-ลำนารายณ์[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๕๔ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๙๗
มุกดาหาร-หว้านใหญ่-ธาตุพนม
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๑๗๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๔๘
นครราชสีมา-บ้านหนองสรวง-ลำนารายณ์
โดยให้ยกเลิกเส้นทางแยกช่วงนครราชสีมา-บ้านหนองสรวง-ด่านขุนทด-เทพสถิต
และช่วงนครราชสีมา-บ้านหนองสรวง-ด่านขุนทด-บ้านห้วยยายจิ๋ว นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นว่า
เส้นทางดังกล่าวหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑
จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๔๘/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598502 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1893 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 617 นครสวรรค์-พิจิตร (ข) โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงพิจิตร-บ้านสระยายชี
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๘๙๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๖๑๗ นครสวรรค์-พิจิตร (ข)
โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยก
ช่วงพิจิตร-บ้านสระยายชี[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๗๐ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๑๗
นครสวรรค์-พิจิตร (ข) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๑๗ นครสวรรค์-พิจิตร
(ข) โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงพิจิตร-บ้านสระยายชี โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๖๑๗ นครสวรรค์-พิจิตร (ข)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๗ ผ่านบ้านหอบึง ถึงสี่แยกปลวกสูง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๕ ผ่านอำเภอสามง่ามไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิจิตร
ช่วงพิจิตร-บ้านหนองโสน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิจิตร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๕
ผ่านบ้านดงชะพลู บ้านคลองโนน อำเภอสามง่าม บ้านนา บ้านปลวกสูง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑๗ ผ่านบ้านหนองหูช้าง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พจ. ๓๐๐๒ ผ่านบ้านคุยดวง
บ้านคลองตะเคียน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองโสน
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๔๖/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598497 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1892 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 217 ขอนแก่น-เลย โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงชุมแพ-บ้านนาน้อย
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๘๙๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๒๑๗ ขอนแก่น-เลย โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยก
ช่วงชุมแพ-บ้านนาน้อย[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๗๖๔ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ประกาศ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๑๗
ขอนแก่น-เลย นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๑๗ ขอนแก่น-เลย
โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงชุมแพ-บ้านนาน้อย
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๒๑๗ ขอนแก่น-เลย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านทุ่ม อำเภอบ้านฝาง อำเภอหนองเรือ อำเภอชุมแพ
ถึงบ้านโนนหัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านบ้านจอมศรี บ้านโนนงาม
บ้านหนองเขียด บ้านนาหนองทุ่ม บ้านสวนป่าดงลาน บ้านผานกเค้า บ้านวังไผ่
บ้านศรีศักดา ถึงบ้านพลทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑๙
ถึงอำเภอภูกระดึง กลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑
ผ่านบ้านโป่งวัวพัฒนา บ้านห้วยส้ม บ้านห้วยไผ่ บ้านตาดข่า บ้านหนองหิน บ้านโคกขมิ้น
อำเภอวังสะพุง บ้านปากปวน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย
ช่วงชุมแพ-บ้านวังลาน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอชุมแพ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒
ถึงบ้านโนนหัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านบ้านจอมศรี บ้านโนนงาม
บ้านหนองเขียด บ้านนาหนองทุ่ม บ้านสวนป่าดงลาน บ้านผานกเค้า ถึงทางแยกบ้านวังลาน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
ลย. ๓๐๐๖ ผ่านบ้านช่องฝาง บ้านส้มใต้ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวังลาน
ช่วงชุมแพ-บ้านเปลือย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอชุมแพ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒
ถึงบ้านโนนหัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านบ้านจอมศรี บ้านโนนงาม
บ้านหนองเขียด บ้านนาหนองทุ่ม บ้านสวนป่าดงลาน บ้านผานกเค้า บ้านวังไผ่
บ้านศรีศักดา ถึงบ้านพลทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑๙
ผ่านบ้านมะลิวัลย์ อำเภอภูกระดึง ถึงทางแยกบ้านเปลือย แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
ผ่านบ้านทุ่งใหญ่ บ้านนายาง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเปลือย
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๔๔/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598493 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1891 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 สายที่ 29 กรุงเทพฯ-ปากชม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก จำนวน 2 ช่วง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๘๙๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๒ สายที่ ๒๙ กรุงเทพฯ-ปากชม
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก
จำนวน
๒ ช่วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๑๓๕ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๒๙ กรุงเทพฯ-ปากชม
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ-เชียงคาน เพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๒๙ กรุงเทพฯ-ปากชม
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก จำนวน ๒ ช่วง คือ ช่วงกรุงเทพฯ-นาด้วง
และช่วงกรุงเทพฯ-ภูหลวง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๒๙ กรุงเทพฯ-ปากชม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง ถึงทางแยกอำเภอสีคิ้ว
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว อำเภอจัตุรัส
จังหวัดชัยภูมิ ถึงอำเภอชุมแพ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงบ้านโนนหัน
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
ถึงบ้านธาตุจอมศรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐๘ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปากชม
ช่วงกรุงเทพฯ-เชียงคาน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง
ถึงทางแยกอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว
อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ถึงอำเภอชุมแพ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒
ถึงบ้านโนนหัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเชียงคาน
ช่วงกรุงเทพฯ-คอนสวรรค์-ภูเขียว
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
(ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง
ถึงทางแยกอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว
อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ ถึงบ้านลาดใหญ่
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕๔ ผ่านอำเภอคอนสวรรค์
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอแก้งคร้อไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอภูเขียว
ช่วงกรุงเทพฯ-เลย-ท่าลี่
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง
ถึงทางแยกอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว
อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ถึงอำเภอชุมแพ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒
ถึงบ้านโนนหัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
ถึงบ้านปากภู แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๑๕ ผ่านบ้านน้ำภู บ้านตูบโก
บ้านท่าเปิบ บ้านโป่งป่าติ้ว บ้านลาดค้อ บ้านโคกใหญ่ บ้านโนนสว่างไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอท่าลี่
ช่วงกรุงเทพฯ-ผาขาว-เลย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
(ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง
ถึงทางแยกอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว
อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ถึงอำเภอชุมแพ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒
ถึงบ้านโนนหัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ถึงบ้านตาดข่า
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔๑ ผ่านบ้านโคกใหญ่ บ้านแสนสุข บ้านห้วยลาด
บ้านสมศักดิ์พัฒนา บ้านโนนยาง บ้านห้วยฝาย บ้านโนนปอแดง ถึงอำเภอผาขาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
(อบจ. สายซำจำปา-โนนปอแดง ช่วงที่ ๑) ผ่านบ้านโนนป่าซางถึงบ้านซำจำปา
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๔๐ ผ่านบ้านภูป่าไผ่ บ้านผาสามยอด บ้านนาอุดม
บ้านห้วยป่าน บ้านหนองใหญ่ บ้านทรัพย์เจริญ ถึงอำเภอเอราวัณ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ถึงอำเภอวังสะพุง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย
ช่วงกรุงเทพฯ-ชุมแพ-ภูผาม่าน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
(ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง
ถึงทางแยกอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว
อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ถึงอำเภอชุมแพแยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒
ถึงบ้านน้ำพุ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. ชย. ๓๐๗๔ ผ่านอำเภอคอนสาร
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอภูผาม่าน
ช่วงกรุงเทพฯ-ภูเขียว-เกษตรสมบูรณ์
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง
ถึงทางแยกอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว
อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ถึงอำเภอภูเขียว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๓๗ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเกษตรสมบูรณ์
ช่วงกรุงเทพฯ-ภูกระดึง-เลย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน)
ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒
(ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง ถึงทางแยกอำเภอสีคิ้ว
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว อำเภอจัตุรัส
จังหวัดชัยภูมิ ถึงอำเภอชุมแพ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงบ้านโนนหัน
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ถึงทางแยกอำเภอภูกระดึง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑๙ ถึงอำเภอภูกระดึง แล้วกลับตามเส้นทางเดิม
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอวังสะพุง ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย
ช่วงกรุงเทพฯ-นาด้วง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง
ถึงทางแยกอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว
อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ถึงอำเภอชุมแพ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒
ถึงบ้านโนนหัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอวังสะพุง ถึงจังหวัดเลย
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓๘ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอนาด้วง
ช่วงกรุงเทพฯ-ภูหลวง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง
ถึงทางแยกอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว
อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ถึงอำเภอชุมแพ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒
ถึงบ้านโนนหัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ถึงอำเภอวังสะพุง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑๖ ถึงบ้านหนองอีเกิ้ง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕๐ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอภูหลวง
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๓๙/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598483 | ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปัตตานี
| ประกาศกระทรวงคมนาคม
ประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง
การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปัตตานี[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
กำหนดจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปัตตานี ในที่ดินที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน
ปน. ๑๐๒๖ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เนื้อที่ ๑๓ ไร่ ๓๕.๒ ตารางวา
โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ทรงศักดิ์
ทองศรี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
ผังสถานีขนส่งผู้โดยสารปัตตานี
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๐/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598250 | ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย แห่งที่ 2 | ประกาศกระทรวงคมนาคม
ประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง
การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย แห่งที่ ๒[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
กำหนดจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย แห่งที่ ๒ ในบริเวณที่ดินโฉนดเลขที่
๑๐๙๖๓๒ เนื้อที่ ๘ ไร่ ตั้งอยู่บริเวณถนนพหลโยธิน ตำบลสันทราย อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงราย โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ประจักษ์
แกล้วกล้าหาญ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบสถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดเชียงราย แห่งที่ ๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๘ ง/หน้า ๒/๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598248 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ฉบับที่ 130 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุดรธานี
ฉบับที่
๑๓๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานีในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดอุดรธานี สายที่
๔๖๗๕ หนองหาน-กุมภวาปี โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๔๖๗๕ หนองหาน-กุมภวาปี
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหนองหาน
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๓๕ ผ่านบ้านหนองสะหนาย บ้านหนองบัวแดง บ้านพังงู
บ้านไพจาน บ้านม่วง บ้านค้อน้อย บ้านเมืองพรึก บ้านเหล่าหมากบ้า บ้านเหล่าเชียงสม
บ้านยางหล่อ บ้านดอนเงิน บ้านนาแบก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒๓
ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอกุมภวาปี
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
สุพจน์
เลาวัณย์ศิริ
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุดรธานี
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒ ง/หน้า ๑๗๒/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598244 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ฉบับที่ 129 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุดรธานี
ฉบับที่
๑๒๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานีได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดอุดรธานี สายที่
๔๖๗๔ กุมภวาปี-บ้านท่าลี่ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๔๖๗๔ กุมภวาปี-บ้านท่าลี่
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอกุมภวาปี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข อด. ๓๐๕๔ ผ่านบ้านโนนมะข่า บ้านท่าสังข์ บ้านหนองแดง
บ้านหนองหอย บ้านหนองกว้าง บ้านสีออ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าลี่
ช่วงกุมภวาปี-บ้านกระเบื้อง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอกุมภวาปี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
อด. ๓๐๕๔ บ้านโนนมะข่า บ้านท่าสังข์ ถึงบ้านหนองแดงแยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
อด. ๕๐๖๗ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกระเบื้อง
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
สุพจน์
เลาวัณย์ศิริ
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุดรธานี
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒ ง/หน้า ๑๗๑/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598240 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเลย ฉบับที่ 71 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดเลย สายที่ 4215 เลย-นาด้วง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดเลย
ฉบับที่
๗๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๔ จังหวัดเลย สายที่ ๔๒๑๕ เลย-นาด้วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเลย
ฉบับที่ ๔๐ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๐ กำหนด
(ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางการเดินรถประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเลย
สายที่ ๔๒๑๕ เลย-นาด้วง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเลยได้มีมติเห็นสมควรให้กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางการเดินรถดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเลย ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๙
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๑
เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเลย สายที่ ๔๒๑๕ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้
คือ
สายที่ ๔๒๑๕ เลย-นาด้วง
รายละเอียดเส้นทาง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๓๘ ผ่านบ้านไร่ทาม บ้านนาดินดำ บ้านห้วยม่วง บ้านท่าสะอาด ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอนาด้วง
ช่วงเลย-บ้านหนองผำ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓๘
ผ่านบ้านไร่ทาม ถึงบ้านนาดินดำ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลย. ๔๐๐๔ ผ่านบ้านหนองหญ้าไซ
บ้านหนองทุ่ม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองผำ
ช่วงเลย-บ้านท่าสวรรค์
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓๘
ผ่านบ้านไร่ทาม บ้านนาดินดำ บ้านห้วยม่วง ถึงบ้านท่าสะอาด
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลย. ๓๐๑๒ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าสวรรค์
ช่วงเลย-บ้านห้วยปลาดุก
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓๘
ผ่านบ้านไร่ทาม บ้านนาดินดำ บ้านห้วยม่วง ถึงบ้านท่าสะอาด
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลย. ๓๐๑๒ ผ่านบ้านภักดี ถึงบ้านโพนสว่าง
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านนาดอกคำ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยปลาดุก
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
มานิตย์
มกรพงศ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดเลย
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒ ง/หน้า ๑๖๙/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598236 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเลย ฉบับที่ 70 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดเลย
ฉบับที่
๗๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเลยได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเลย ในการประชุมครั้งที่
๓/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๑
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดเลย สายที่ ๒
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๒ วงกลมหมู่บ้านเอื้ออาทร
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านเอื้ออาทร
ไปตามถนนคันคลองชลประทานถึงสำนักงานที่ดินจังหวัดเลย ไปตามถนนนกแก้ว
ผ่านโรงพยาบาลเลย ถึงวงเวียนน้ำพุ ไปตามถนนชุมสาย ถึงวิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย
แยกซ้ายไปตามถนนเจริญรัฐ ผ่านตลาดสดเทศบาล (ตลาดเช้า) ถึงโรงเรียนชุมชนศรีสะอาด
(เทศบาล ๑) แยกขวาไปตามถนนวิสุทธิเทพ ผ่านวัดศรีสุทธาวาส ถึงบ้านกกม่วงชี
แยกซ้ายไปตามถนนมะขามหวาน ถึงบ้านหนองผักก้าม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๑ ผ่านตลาดสดหนองผักก้าม สามแยก กม. ศูนย์ ถึงบ้านนาหนอง
แยกซ้ายไปตามถนนเลยพิทยาคม ซอย ๕ ผ่านโรงเรียนเลยพิทยาคม เรือนจำจังหวัดเลย
ถึงสำนักงานที่ดินจังหวัดเลย แยกขวาไปตามถนนคันคลองชลประทาน ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านเอื้ออาทร
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
มานิตย์
มกรพงศ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดเลย
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒ ง/หน้า ๑๖๘/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598232 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1890 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1314 มีนบุรี-ประเวศน์ เป็น มีนบุรี-หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๘๙๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๓๑๔ มีนบุรี-ประเวศน์
เป็น
มีนบุรี-หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๕๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๓๑ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ประเภท ๒ กรุงเทพมหานคร สายที่
๑๓๑๔ มีนบุรี-ประเวศน์ เป็นเส้นทางหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๑
เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๓๑๔ มีนบุรี-ประเวศน์ เป็น
มีนบุรี-หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๓๑๔ มีนบุรี-หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง
เริ่มต้นจากตลาดมีนบุรี ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ
แยกขวาไปตามถนนร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง แยกซ้ายไปตามถนนราษฎร์พัฒนา
แยกซ้ายไปตามถนนคู่ขนานถนนวงแหวนรอบนอก (ตะวันออก) แยกขวาไปตามซอยนักกีฬาแหลมทอง
๑๙ ก จนสุดเส้นทางที่หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒ ง/หน้า ๑๖๗/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598228 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1889 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ต. 47 สถานีขนส่งผู้โดยสารสายเหนือ (หมอชิต 2)-สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ เป็น สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (ตลิ่งชัน)
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๘๘๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่
ต. ๔๗ สถานีขนส่งผู้โดยสารสายเหนือ (หมอชิต ๒)-สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้
เป็น
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)-
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(ตลิ่งชัน)[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๑๕๙ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ประกาศ ณ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๒
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร (รถตู้ปรับอากาศ)
สายที่ ต. ๔๗ สถานีขนส่งผู้โดยสารสายเหนือ (หมอชิต ๒)-สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๑
เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ต. ๔๗ สถานีขนส่งผู้โดยสารสายเหนือ
(หมอชิต ๒)-สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ เป็น สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร)-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (ตลิ่งชัน)
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ต. ๔๗ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร)-
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (ตลิ่งชัน)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ไปตามถนนกำแพงเพชร ๒ แยกซ้ายไปตามถนนงามวงศ์สว่าง ข้ามสะพานพระราม ๗
ไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ แยกขวาไปตามถนนบรมราชชนนี
จนสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (ตลิ่งชัน)
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒ ง/หน้า ๑๖๖/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598226 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1888 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 154 เคหะชุมชนวัชรพล 3-คลองเตย เป็น เคหะชุมชนออเงิน-เคหะชุมชนวัชรพล 3-คลองเตย และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นหนึ่งช่วง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๘๘๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่
๑๕๔ เคหะชุมชนวัชรพล ๓-คลองเตย เป็น
เคหะชุมชนออเงิน-เคหะชุมชนวัชรพล
๓-คลองเตย
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นหนึ่งช่วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๓๕๒ (พ.ศ. ๒๕๔๕) ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๕ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ๑๕๔ เคหะชุมชนวัชรพล ๓-คลองเตย ช่วงซอยวัชรพล-คลองเตย (ทางด่วน) เป็น
ช่วงถนนนวลจันทร์-คลองเตย (ทางด่วน) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๑
เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ๑๕๔ เคหะชุมชนวัชรพล ๓-คลองเตย เป็น เคหะชุมชนออเงิน-เคหะชุมชนวัชรพล
๓-คลองเตย และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเคหะชุมชนออเงิน-เคหะชุมชนวัชรพล
๓-คลองเตย (ทางด่วน) โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๕๔ เคหะชุมชนออเงิน-เคหะชุมชนวัชรพล ๓-คลองเตย
จากเคหะชุมชนออเงินไปคลองเตย
เริ่มต้นจากเคหะชุมชนออเงิน ไปตามถนนสุขาภิบาล ๕ แยกซ้ายไปตามซอยจตุโชติ
ถึงเคหะชุมชนวัชรพล ๓ แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนนสุขาภิบาล ๕
ซอยวัชรพล ตรงไปตามถนนประดิษฐ์มนูญธรรม ถนนเชื่อมระหว่างถนนพระราม ๙ กับถนนเพชรบุรี
ขึ้นสะพานต่างระดับข้ามถนนเพชรบุรี ไปตามถนนสุขุมวิท ๖๓ (ถนนเอกมัย) แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท
แยกซ้ายไปตามซอยสุขุมวิท ๔๐ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔ แยกซ้ายไปตามถนนสุนทรโกษา
จนสุดเส้นทางที่คลองเตย (อู่คลองเตย)
จากคลองเตยไปเคหะชุมชนออเงิน
เริ่มต้นจากคลองเตย (อู่คลองเตย) ไปตามถนนสุนทรโกษาแยกขวาไปตามถนนพระราม ๔
แยกซ้ายไปตามซอยสุขุมวิท ๔๒ (กล้วยน้ำไท) แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท
แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท ๖๓ (ถนนเอกมัย) แล้วไปตามเส้นทางเดิม
จนสุดเส้นทางที่เคหะชุมชนออเงิน
ช่วงเคหะชุมชนออเงิน
- เคหะชุมชนวัชรพล ๓-คลองเตย (ทางด่วน)
จากเคหะชุมชนออเงินไปคลองเตย
เริ่มต้นจากเคหะชุมชนออเงิน ไปตามถนนสุขาภิบาล ๕ แยกซ้ายไปตามซอยจตุโชติ
ถึงเคหะชุมชนวัชรพล ๓ แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนนสุขาภิบาล ๕
ซอยวัชรพล ตรงไปตามถนนประดิษฐ์มนูญธรรม ขึ้นทางด่วนที่ด่านรามอินทราไปตามทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์
ลงทางด่วนที่ด่านพระราม ๙ ตรงไปตามถนนเชื่อมระหว่างถนนพระราม ๙ กับถนนเพชรบุรี
ขึ้นสะพานต่างระดับข้ามถนนเพชรบุรี ไปตามถนนสุขุมวิท ๖๓ (ถนนเอกมัย)
แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท แยกซ้ายไปตามซอยสุขุมวิท ๔๐ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔
แยกซ้ายไปตามถนนสุนทรโกษา จนสุดเส้นทางที่คลองเตย (อู่คลองเตย)
จากคลองเตยไปเคหะชุมชนออเงิน
เริ่มต้นจากคลองเตย (อู่คลองเตย) ไปตามถนนสุนทรโกษาแยกขวาไปตามถนนพระราม ๔
แยกซ้ายไปตามซอยสุขุมวิท ๔๒ (กล้วยน้ำไท) แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท
แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท ๖๓ (ถนนเอกมัย) แล้วไปตามเส้นทางเดิม
จนสุดเส้นทางที่เคหะชุมชนออเงิน
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒ ง/หน้า ๑๖๔/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598222 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1887 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1080 พหลโยธิน 50-โรงเรียนอนุบาลบุญศรีโรจน์ เป็น ตลาดยิ่งเจริญ-หมู่บ้านเสนาวัฒนา และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นหนึ่งช่วง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๘๘๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๘๐ พหลโยธิน
๕๐-โรงเรียนอนุบาลบุญศรีโรจน์
เป็น
ตลาดยิ่งเจริญ-หมู่บ้านเสนาวัฒนา และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นหนึ่งช่วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๓๔๗ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๙
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๘๐
พหลโยธิน ๕๐-โรงเรียนอนุบาลบุญศรีโรจน์ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๑
เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๘๐
พหลโยธิน ๕๐-โรงเรียนอนุบาลบุญศรีโรจน์ เป็น ตลาดยิ่งเจริญ-หมู่บ้านเสนาวัฒนา
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดยิ่งเจริญ-หมู่บ้านสินทรัพย์นคร โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๐๘๐ ตลาดยิ่งเจริญ-หมู่บ้านเสนาวัฒนา
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดยิ่งเจริญ
ไปตามถนนพหลโยธินแยกซ้ายไปตามซอยพหลโยธิน ๕๐ ไปตามซอยหมู่บ้านเสนาวัฒนา
จนสุดเส้นทางที่บริเวณหมู่บ้านเสนาวัฒนา
ช่วงตลาดยิ่งเจริญ-หมู่บ้านสินทรัพย์นคร
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดยิ่งเจริญ ไปตามถนนพหลโยธิน
แยกซ้ายไปตามซอยพหลโยธิน ๕๐ ตรงไปตามถนนเข้าหมู่บ้านสินทรัพย์นคร
ไปสุดเส้นทางที่บริเวณหมู่บ้านสินทรัพย์นคร
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒ ง/หน้า ๑๖๓/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598218 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1886 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 จำนวน 3 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๘๘๖ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ จำนวน ๓ เส้นทาง[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๑
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ จำนวน ๓ เส้นทาง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๓๙๒ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-เกาะช้าง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๔ ผ่านอำเภอบ้านบึง
อำเภอหนองใหญ่ อำเภอวังจันทร์ อำเภอแกลง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓
ผ่านจังหวัดจันทบุรี อำเภอขลุง ถึงจังหวัดตราด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔๘
ถึงท่าเรืออำเภอแหลมงอบลงเรือข้ามฟากไปขึ้นที่ท่าเรืออำเภอเกาะช้าง
ไปตามทางหลวงชนบท (ถนน อบจ. สายบ้านคลองสน - บ้านสลักเพชร) ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเกาะช้าง
สายที่ ๓๙๓ ระยอง-เกาะสมุย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอบ้านฉาง อำเภอสัตหีบ เมืองพัทยา
ถึงตำบลแหลมฉบัง แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึงทางต่างระดับบางพระ
(จังหวัดชลบุรี) แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข
๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๕ ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม
ถึงสามแยกวังมะนาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดเพชรบุรี
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงแยกปฐมพร ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ถึงแยกพุนพิน
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๓ ผ่านอำเภอพุนพิน
ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอกาญจนดิษฐ์
ถึงแยกบ้านใน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔๒ ผ่านอำเภอดอนสัก
ถึงท่าเรืออำเภอดอนสัก ลงเรือข้ามฟากไปขึ้นที่ท่าเรืออำเภอเกาะสมุย
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๗๔ และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๖๙ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเกาะสมุย
สายที่ ๘๗๒ พิษณุโลก-เกาะสมุย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๗ ถึงจังหวัดนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๗
แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖
ถึงอำเภอกำแพงแสน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ ถึงจังหวัดนครปฐม
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี
ศูนย์บริการทางหลวงเขาโพธิ์ ถึงสี่แยกปฐมพร ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑
ถึงสามแยกพุนพิน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๓ ผ่านอำเภอพุนพิน
ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอกาญจนดิษฐ์ ถึงสามแยกบ้านใน
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔๒ ผ่านอำเภอดอนสัก ถึงท่าเรืออำเภอดอนสัก
ลงเรือข้ามฟากไปขึ้นที่ท่าเรืออำเภอเกาะสมุย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๗๔ และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๑๖๙ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเกาะสมุย
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒ ง/หน้า ๑๖๑/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
598214 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1885 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ต. 125 สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (ตลิ่งชัน)-แฮปปี้แลนด์ (ทางด่วน)
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๘๘๕ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่
ต. ๑๒๕ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(ตลิ่งชัน)-แฮปปี้แลนด์
(ทางด่วน)[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๑
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ต. ๑๒๕
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (ตลิ่งชัน)-แฮปปี้แลนด์ (ทางด่วน)
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ต. ๑๒๕ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(ตลิ่งชัน)-แฮปปี้แลนด์ (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(ตลิ่งชัน) ไปตามถนนบรมราชชนนี ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ไปตามถนนราชดำเนินกลาง แยกซ้ายไปตามถนนนครสวรรค์ แยกขวาไปตามถนนพิษณุโลก
ขึ้นทางพิเศษที่ด่านยมราช ไปตามทางพิเศษศรีรัชลงทางพิเศษที่ถนนพระราม ๙
ไปตามถนนพระราม ๙ แยกซ้ายไปตามถนนรามคำแหง แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์
แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว จนสุดเส้นทางที่แฮปปี้แลนด์
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒ ง/หน้า ๑๖๐/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
597836 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทางหมวด 2 หมวด 3 หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่องและหมวด 4 กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง
การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง
หมวด
๒ หมวด ๓ หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
และหมวด
๔ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุม ครั้งที่
๒๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๑ อนุมัติให้กำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร)
รถโดยสารประจำทาง หมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร จึงออกประกาศไว้ ดังนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง หมวด ๒
หมวด ๓ หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และหมวด ๔
กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒
ประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร)
รถโดยสารประจำทาง หมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๑
ข้อ ๔
กำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง
(ค่าโดยสาร) สำหรับรถโดยสารประจำทาง
๔.๑ กำหนด (ปรับปรุง)
อัตราค่าโดยสารสำหรับรถโดยสารประจำทาง หมวด ๒ และหมวด ๓
โดยให้ใช้อัตราค่าโดยสารอัตราที่ ๑๒ ดังนี้
อัตราที่
ราคาน้ำมัน
บาท/ลิตร
อัตราค่าโดยสาร
(บาท)
๔๐
กม. แรก กม.ละ
เกิน
๔๐ กม. แต่ไม่เกิน
๑๕๐
กม. กม.ละ
เกิน
๑๕๐ กม. ขึ้นไป กม.ละ
อัตรา
ก.
อัตรา
ข.
อัตรา
ค.
อัตรา
ก.
อัตรา
ข.
อัตรา
ค.
อัตรา
ก.
อัตรา
ข.
อัตรา
ค.
๑
๑๐.๐๗
- ๑๑.๒๘
๐.๔๐
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๓๓
๐.๓๘
๐.๔๓
๐.๒๘
๐.๓๓
๐.๓๘
๒
๑๑.๒๙
- ๑๒.๕๐
๐.๔๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๓๔
๐.๓๙
๐.๔๔
๐.๒๙
๐.๓๔
๐.๓๙
๓
๑๒.๕๑
- ๑๓.๗๒
๐.๔๒
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๓๕
๐.๔๐
๐.๔๕
๐.๓๐
๐.๓๕
๐.๔๐
๔
๑๓.๗๓
- ๑๔.๙๕
๐.๔๓
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๓๖
๐.๔๑
๐.๔๖
๐.๓๑
๐.๓๖
๐.๔๑
๕
๑๔.๙๖
- ๑๖.๑๗
๐.๔๔
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๓๗
๐.๔๒
๐.๔๗
๐.๓๒
๐.๓๗
๐.๔๒
๖
๑๖.๑๘
- ๑๗.๓๙
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๓๘
๐.๔๓
๐.๔๘
๐.๓๓
๐.๓๘
๐.๔๓
๗
๑๗.๔๐
- ๑๘.๖๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๓๙
๐.๔๔
๐.๔๙
๐.๓๔
๐.๓๙
๐.๔๔
๘
๑๘.๖๒
- ๑๙.๘๓
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๔๐
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๓๕
๐.๔๐
๐.๔๕
๙
๑๙.๘๔
- ๒๑.๐๕
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๕๘
๐.๔๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๓๖
๐.๔๑
๐.๔๖
๑๐
๒๑.๐๖
- ๒๒.๒๗
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๕๙
๐.๔๒
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๓๗
๐.๔๒
๐.๔๗
๑๑
๒๒.๒๘
- ๒๓.๔๙
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๖๐
๐.๔๓
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๓๘
๐.๔๓
๐.๔๘
๑๒
๒๓.๕๐
- ๒๔.๗๑
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๖๑
๐.๔๔
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๓๙
๐.๔๔
๐.๔๙
๑๓
๒๔.๗๒
- ๒๕.๙๓
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๖๒
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๔๐
๐.๔๕
๐.๕๐
๑๔
๒๕.๙๔
- ๒๗.๑๕
๐.๕๓
๐.๕๘
๐.๖๓
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๔๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๑๕
๒๗.๑๖
- ๒๘.๓๗
๐.๕๔
๐.๕๙
๐.๖๔
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๔๒
๐.๔๗
๐.๕๒
๑๖
๒๘.๓๘
- ๒๙.๕๙
๐.๕๕
๐.๖๐
๐.๖๕
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๕๘
๐.๔๓
๐.๔๘
๐.๕๓
๑๗
๒๙.๖๐
- ๓๐.๘๑
๐.๕๖
๐.๖๑
๐.๖๖
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๕๙
๐.๔๔
๐.๔๙
๐.๕๔
๑๘
๓๐.๘๒
- ๓๒.๐๓
๐.๕๗
๐.๖๒
๐.๖๗
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๖๐
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๕๕
๑๙
๓๒.๐๔
- ๓๓.๒๕
๐.๕๘
๐.๖๓
๐.๖๘
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๖๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๕๖
๒๐
๓๓.๒๖
- ๓๔.๔๗
๐.๕๙
๐.๖๔
๐.๖๙
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๖๒
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๕๗
๒๑
๓๔.๔๘
- ๓๕.๖๙
๐.๖๐
๐.๖๕
๐.๗๐
๐.๕๓
๐.๕๘
๐.๖๓
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๕๘
๒๒
๓๕.๗๐
- ๓๖.๙๑
๐.๖๑
๐.๖๖
๐.๗๑
๐.๕๔
๐.๕๙
๐.๖๔
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๕๙
๒๓
๓๖.๙๒
- ๓๘.๑๓
๐.๖๒
๐.๖๗
๐.๗๒
๐.๕๕
๐.๖๐
๐.๖๕
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๖๐
๒๔
๓๘.๑๔
- ๓๙.๓๕
๐.๖๓
๐.๖๘
๐.๗๓
๐.๕๖
๐.๖๑
๐.๖๖
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๖๑
๒๕
๓๙.๓๖
- ๔๐.๕๗
๐.๖๔
๐.๖๙
๐.๗๔
๐.๕๗
๐.๖๒
๐.๖๗
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๖๒
ในกรณีที่คำนวณค่าโดยสารได้ต่ำกว่า ๗ บาท ให้คิดค่าโดยสารเท่ากับ ๗
บาท
หมายเหตุ
๑. อัตรา ก. หมายถึง
อัตราค่าโดยสารที่ใช้กับถนนลาดยางหรือคอนกรีต
๒. อัตรา ข. หมายถึง
อัตราค่าโดยสารที่ใช้กับถนนลูกรัง หรือทางขึ้นลงเขาซึ่งมีความลาดชันตั้งแต่ร้อยละ
๔ ขึ้นไป เป็นระยะทางไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ของช่วงทางขึ้นลงเขานั้น
๓. อัตรา ค. หมายถึง
อัตราค่าโดยสารที่ใช้กับทางชั่วคราว หรือทางขึ้นลงเขา
ซึ่งมีความลาดชันตั้งแต่ร้อยละ ๔ ขึ้นไป เป็นระยะทางไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔๕ ของช่วงทางขึ้นลงเขานั้น
อนึ่ง
อัตราค่าโดยสารดังกล่าวเป็นอัตราค่าโดยสารของรถโดยสารประจำทางธรรมดา (ไม่ปรับอากาศ)
สำหรับรถปรับอากาศให้คิดค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (ค่าธรรมเนียม)
ตามที่กำหนดไว้เดิม คือ
๑) รถมาตรฐาน ๒ หรือรถปรับอากาศชั้น ๒
ไม่มีห้องน้ำ ให้คิดค่าธรรมเนียม ๔๐% ของค่าโดยสาร
๒) รถมาตรฐาน ๑ ข. หรือรถปรับอากาศชั้น ๑
มีห้องน้ำ ขนาด ๔๒ ที่นั่ง ให้คิดค่าธรรมเนียม ๘๐% ของค่าโดยสาร
๓) รถมาตรฐาน ๑ ข. พิเศษ หรือรถปรับอากาศชั้น ๑
มีห้องน้ำ ขนาด ๓๒ ที่นั่ง ให้คิดค่าธรรมเนียม ๑๑๐% ของค่าโดยสาร
๔) รถมาตรฐาน ๑ ก. หรือรถปรับอากาศชั้น ๑ (VIP)
มีห้องน้ำ ขนาด ๒๔ ที่นั่ง ให้คิดค่าธรรมเนียม ๑๘๐% ของค่าโดยสาร
๔.๒ กำหนด (ปรับปรุง)
อัตราค่าโดยสารรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร
ดังนี้
๔.๒.๑ รถโดยสารประจำทางหมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง ให้ปรับลดอัตราค่าโดยสารเป็น
ดังนี้
(๑) รถโดยสารธรรมดาลักษณะพิเศษ (ข) (สีขาว -
น้ำเงิน) อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๘.๐๐ บาท ต่อคนต่อเที่ยว
(๒) รถโดยสารธรรมดาพิเศษ (สีครีม - แดง)
อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๗.๐๐ บาท ต่อคนต่อเที่ยว
(๓) รถโดยสารมินิบัส อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๖.๕๐
บาท ต่อคนต่อเที่ยว
(๔) รถโดยสารปรับอากาศธรรมดา อัตราค่าโดยสารเป็น
ดังนี้
ระยะทาง ๐ - ๘ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๑.๐๐ บาท
ระยะทาง ๘ - ๑๒ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๓.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๒ - ๑๖ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๕.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๖ - ๒๐ กิโลเมตร
อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๗.๐๐ บาท
ระยะทาง ๒๐ กิโลเมตรขึ้นไป อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๙.๐๐ บาท
(๕) รถโดยสารปรับอากาศ EURO
I และ EURO II อัตราค่าโดยสารเป็น
ดังนี้
ระยะทาง ๐ - ๔ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๒.๐๐ บาท
ระยะทาง ๔ - ๘ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๔.๐๐ บาท
ระยะทาง ๘ - ๑๒ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๖.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๒ - ๑๖ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๘.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๖ - ๒๐ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๒๐.๐๐ บาท
ระยะทาง ๒๐ - ๒๔ กิโลเมตร
อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๒๒.๐๐ บาท
ระยะทาง ๒๔ กิโลเมตรขึ้นไป อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๒๔.๐๐ บาท
๔.๒.๒ รถโดยสารประจำทางหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร
ให้ปรับลดอัตราค่าโดยสารเป็นดังนี้
(๑) รถโดยสารธรรมดาลักษณะพิเศษ (ข)
อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๘.๐๐ บาท ต่อคนต่อเที่ยว
(๒) รถโดยสารธรรมดาและหรือรถโดยสารสองแถว
อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๕.๕๐ บาท ต่อคนต่อเที่ยว
(๓) รถโดยสารปรับอากาศธรรมดา อัตราค่าโดยสารเป็น
ดังนี้
ระยะทาง ๐ - ๘ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสาร ไม่เกิน
๙.๐๐ บาท
ระยะทาง ๘ - ๑๒ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสาร ไม่เกิน
๑๑.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๒ - ๑๖ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสาร ไม่เกิน
๑๓.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๖ - ๒๐ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสาร ไม่เกิน
๑๕.๐๐ บาท
ระยะทาง ๒๐ กิโลเมตรขึ้นไป อัตราค่าโดยสาร
ไม่เกิน ๑๗.๐๐ บาท
(๔) รถโดยสารปรับอากาศ EURO I
และ EURO II อัตราค่าโดยสารเป็น ดังนี้
ระยะทาง ๐ - ๔ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสาร ไม่เกิน
๑๒.๐๐ บาท
ระยะทาง ๔ - ๘ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสาร ไม่เกิน
๑๔.๐๐ บาท
ระยะทาง ๘ - ๑๒ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสาร ไม่เกิน
๑๖.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๒ - ๑๖ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสาร ไม่เกิน
๑๘.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๖ - ๒๐ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสาร ไม่เกิน
๒๐.๐๐ บาท
ระยะทาง ๒๐ - ๒๔ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสาร ไม่เกิน
๒๒.๐๐ บาท
ระยะทาง ๒๔ กิโลเมตรขึ้นไป อัตราค่าโดยสาร
ไม่เกิน ๒๔.๐๐ บาท
สำหรับหลักเกณฑ์การยกเว้นหรือการลดหย่อนค่าโดยสารให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติไว้แล้ว
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยศักดิ์
อังค์สุวรรณ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๓
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๑๙/๓๐ มกราคม ๒๕๕๒ |
597677 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจการอบรมและทดสอบสมรรถภาพของร่างกายคนงานไทยในต่างประเทศที่มีความประสงค์ขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถตามระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ พ.ศ. 2547
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
มอบอำนาจการอบรมและทดสอบสมรรถภาพของร่างกายคนงานไทยในต่างประเทศ
ที่มีความประสงค์ขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถตามระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
พ.ศ. ๒๕๔๗[๑]
ด้วยระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๔ (พ.ศ. ๒๕๓๗)
ที่ออกตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งกำหนดให้ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถทุกประเภทและทุกชนิดต้องผ่านการศึกษาอบรมวิชาการขับรถอย่างปลอดภัย
๒ ชั่วโมง
และผ่านการทดสอบสมรรถภาพของร่างกายด้วยการทดสอบปฏิกิริยาและทดสอบสายตาตามหลักสูตรและหลักเกณฑ์ที่ระเบียบกำหนด
ดังนั้น
เพื่อให้คนงานไทยในต่างประเทศที่ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถมีความรู้และความสามารถในการขับรถตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่กำหนดเช่นเดียวกับผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถที่อยู่ในประเทศไทยโดยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศไทย
จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่
แล้วแต่กรณี
ปฏิบัติหน้าที่ในการอบรมและทดสอบสมรรถภาพของร่างกายตามที่กำหนดในระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการศึกษาอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ พ.ศ.
๒๕๔๗ ให้แก่คนงานไทยในต่างประเทศที่มีความประสงค์ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๑๑/๒๗ มกราคม ๒๕๕๒ |
596878 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง กำหนดอายุการใช้งานของรถตู้โดยสารประจำทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง
กำหนดอายุการใช้งานของรถตู้โดยสารประจำทาง[๑]
ด้วยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดอายุการใช้งานของรถตู้โดยสารประจำทาง ทั้งนี้
เพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพการให้บริการแก่ประชาชน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๙ (๙) (๑๒) และมาตรา ๓๑ (๑๐) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๑
เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑
จึงให้กำหนดอายุการใช้งานของรถตู้โดยสารประจำทางมาตรฐาน ๒ (จ) ให้มีอายุการใช้งานไม่เกิน
๑๐ ปี นับแต่วันจดทะเบียนครั้งแรกสำหรับรถตู้โดยสารประจำทางที่มีอายุการใช้งานเกิน
๑๐ ปี นับแต่วันจดทะเบียนครั้งแรก จะต้องเปลี่ยนรถใหม่ภายในวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ
อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ
รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ มกราคม ๒๕๕๒
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๘ ง/หน้า ๖๗/๑๙ มกราคม ๒๕๕๒ |
596234 | ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปัตตานี
| ประกาศกระทรวงคมนาคม
ประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง
การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปัตตานี[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
กำหนดจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปัตตานี ในที่ดินที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน
ปน. ๑๐๒๖ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เนื้อที่ ๑๓ ไร่ ๓๕.๒ ตารางวา
โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ทรงศักดิ์
ทองศรี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่แนบท้ายประกาศ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๒๐
มกราคม ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕ ง/หน้า ๑๘/๑๔ มกราคม ๒๕๕๒ |
605663 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และหมวด 4 กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ อนุมัติให้กำหนด
(ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร และคำสั่งศาลปกครองสูงสุด
คดีหมายเลขดำที่ ๘๑๑/๒๕๕๑ คำสั่งที่ ๕๐๕/๒๕๕๑ สั่ง ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๑
ให้ยกคำขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองของผู้ฟ้องคดี จึงออกประกาศไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๕๑
ข้อ ๒ ประกาศนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง หมวด ๒
หมวด ๓ หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และหมวด ๔
กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๐ ข้อ ๔.๒
ข้อ ๔ กำหนด (ปรับปรุง)
อัตราค่าโดยสารรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร
ดังนี้
๔.๑ รถโดยสารประจำทาง หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง ให้กำหนดเป็นอัตราขั้นสูง
ดังนี้
(๑) รถโดยสารธรรมดาลักษณะพิเศษ (ข)
(สีขาว - น้ำเงิน) อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๐ บาทต่อคนต่อเที่ยว
(๒) รถโดยสารธรรมดาลักษณะพิเศษ
(สีครีม - แดง) อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๙ บาทต่อคนต่อเที่ยว
(๓) รถโดยสารมินิบัส
อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๘ บาทต่อคนต่อเที่ยว
(๔) รถโดยสารปรับอากาศธรรมดา
อัตราค่าโดยสารเป็น ดังนี้
ระยะทาง ๐ - ๘ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๓ บาท
ระยะทาง ๘ - ๑๒ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๕ บาท
ระยะทาง ๑๒ - ๑๖ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๗ บาท
ระยะทาง ๑๖ - ๒๐ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๙ บาท
ระยะทาง ๒๐ กิโลเมตรขึ้นไป อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๒๑ บาท
(๕) รถโดยสารปรับอากาศ EURO I EURO II อัตราค่าโดยสารเป็น ดังนี้
ระยะทาง ๐ - ๔ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๔ บาท
ระยะทาง ๔ - ๘ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๖ บาท
ระยะทาง ๘ - ๑๒ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๘ บาท
ระยะทาง ๑๒ - ๑๖ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๒๐ บาท
ระยะทาง ๑๖ - ๒๐ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๒๒ บาท
ระยะทาง ๒๐ - ๒๔ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๒๔ บาท
ระยะทาง ๒๔ กิโลเมตรขึ้นไป อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๒๖ บาท
๔.๒ รถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร
ให้กำหนดเป็นอัตราขั้นสูงดังนี้
(๑) รถโดยสารธรรมดาลักษณะพิเศษ (ข)
อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๐ บาท ต่อคนต่อเที่ยว
(๒)
รถโดยสารธรรมดาและหรือรถโดยสารสองแถว อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๗.๕๐ บาท
ต่อคนต่อเที่ยว
(๓) รถโดยสารปรับอากาศธรรมดา
อัตราค่าโดยสารเป็น ดังนี้
ระยะทาง ๐ - ๘ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๑ บาท
ระยะทาง ๘ - ๑๒ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๓ บาท
ระยะทาง ๑๒ - ๑๖ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๕ บาท
ระยะทาง ๑๖ - ๒๐ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๗ บาท
ระยะทาง ๒๐ กิโลเมตรขึ้นไป อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๙ บาท
(๔) รถโดยสารปรับอากาศ EURO I EURO II อัตราค่าโดยสารเป็น ดังนี้
ระยะทาง ๐ - ๔ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๔ บาท
ระยะทาง ๔ - ๘ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน
๑๖ บาท
ระยะทาง ๘ - ๑๒ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๑๘ บาท
ระยะทาง ๑๒ - ๑๖ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๒๐ บาท
ระยะทาง ๑๖ - ๒๐ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๒๒ บาท
ระยะทาง ๒๐ - ๒๔ กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๒๔ บาท
ระยะทาง ๒๔ กิโลเมตรขึ้นไป อัตราค่าโดยสารไม่เกิน ๒๖ บาท
สำหรับหลักเกณฑ์การยกเว้นหรือการลดหย่อนค่าโดยสาร
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติไว้แล้ว
ประกาศ ณ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
สุกัญญา/พิมพ์
๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒
อุรารักษ์/ตรวจ
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๐๒ ง/หน้า ๒๗๐/๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ |
594095 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องหมายและวิธีการติด หรือการแสดงเครื่องหมาย ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. 2551
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดลักษณะของเครื่องหมายและวิธีการติด หรือการแสดงเครื่องหมาย
ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑๑
ของกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดลักษณะของเครื่องหมายและวิธีการติด
หรือการแสดงเครื่องหมายของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
เครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒
การติดหรือแสดงเครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงให้ติดไว้ที่ด้านท้ายของตัวรถในลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนขณะใช้รถ
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
รองอธิบดี
รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
๑.
แบบเครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๙๐ ง/หน้า ๙๘/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ |
594093 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิก การให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์
ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. 2551
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิก
การให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์
ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑๐ ของกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดคุณสมบัติของผู้ตรวจและทดสอบถังและการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์เกี่ยวกับการใช้ก๊าซของรถที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง
และกำหนดแบบหนังสือรับรองและเครื่องหมายการรับรองการตรวจและทดสอบ ประกาศ ณ วันที่
๒๘ มีนาคม ๒๕๒๖
ข้อ ๒
ในประกาศนี้
ผู้ตรวจและทดสอบ หมายความว่า
ผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งในรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
โดยได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกให้เป็น
(๑) ผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้ง ได้แก่
(ก) ผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต หมายความว่า
ผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถ
ซึ่งตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์
และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผลิตจากโรงงานเป็นครั้งแรกก่อนจดทะเบียน
(ข) ผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งทั่วไป หมายความว่า
ผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งที่ไม่เป็นผู้ผลิตรถ
ซึ่งตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์
และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถ ที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว
(๒) ผู้ตรวจและทดสอบถัง หมายความว่า
ผู้ซึ่งทำการตรวจและทดสอบถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ติดตั้งในรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
เจ้าหน้าที่ผู้ประเมิน หมายความว่า
ข้าราชการที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ตรวจประเมิน
การตรวจและทดสอบ ได้แก่
(๑) การตรวจและทดสอบการติดตั้ง หมายความว่า
การตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์
และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
(๒) การตรวจและทดสอบถัง หมายความว่า
การตรวจและทดสอบถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ข้อ ๓
ผู้ใดประสงค์จะขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ดังนี้
(๑) ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งทั่วไป
หรือผู้ตรวจและทดสอบถังที่มีสถานประกอบกิจการอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
หรือผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต
ให้ยื่นต่อสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก
(๒) ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งทั่วไป
หรือผู้ตรวจและทดสอบถังที่มีสถานประกอบกิจการอยู่ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้ยื่นต่อสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานที่ประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่
หรือสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก
ข้อ ๔
ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตจะต้องเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด โดยยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังนี้
(๑) สำเนาทะเบียนการค้า
(๒) สำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่มีอายุไม่เกิน ๖
เดือน
(๓) สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
หรือผู้มีอำนาจลงนาม หรือหลักฐานการมอบอำนาจ
(๔)
หนังสือที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ
(๕) เอกสารแสดงขั้นตอน วิธีการตรวจและทดสอบ
ข้อ ๕
ผู้ใดประสงค์จะขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งทั่วไป
และผู้ตรวจและทดสอบถัง ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังนี้
(๑) บุคคลธรรมดา
(ก) สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
(ข) หนังสือที่แสดงถึงหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ
(ถ้ามี)
(ค) เอกสารแสดงขั้นตอน วิธีการตรวจและทดสอบ
(ง) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ตรวจและทดสอบ ได้แก่
หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการใช้สถานที่ แผนที่แสดงที่ตั้ง ภาพแบบอาคารและพื้นที่ตรวจและทดสอบโดยแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจน
และภาพถ่ายสถานที่ตรวจและทดสอบ
(จ) รายละเอียดเกี่ยวกับส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์
(ฉ) เอกสารเกี่ยวกับวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ ได้แก่
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
(ช) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบ
(๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด
หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ก) สำเนาทะเบียนการค้า
(ข) สำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่มีอายุไม่เกิน ๖
เดือน
(ค) สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
หรือผู้มีอำนาจลงนามหรือหลักฐานการมอบอำนาจ
(ง) เอกสารแสดงขั้นตอน วิธีการตรวจและทดสอบ
(จ) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ตรวจและทดสอบ ได้แก่ หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์
หรือสิทธิการใช้สถานที่ แผนที่แสดงที่ตั้ง
ภาพแบบอาคารและพื้นที่ตรวจและทดสอบโดยแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจน
และภาพถ่ายสถานที่ตรวจและทดสอบ
(ฉ) รายละเอียดเกี่ยวกับส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์
(ช) เอกสารเกี่ยวกับวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ ได้แก่
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
(ซ) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบ
(๓) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษา
(ก) หนังสือมอบอำนาจของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษา
ให้ดำเนินการยื่นขอหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ
(ข)
โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ
(ค) เอกสารแสดงขั้นตอน วิธีการตรวจและทดสอบ
(ง) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ตรวจและทดสอบ ได้แก่ แผนที่แสดงที่ตั้ง
ภาพแบบอาคาร และพื้นที่ตรวจและทดสอบโดยแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจน
และภาพถ่ายสถานที่ตรวจและทดสอบ
(จ) รายละเอียดเกี่ยวกับส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์
(ฉ) เอกสารเกี่ยวกับวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ ได้แก่
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
(ช) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบ
ข้อ ๖
ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบเป็นผู้ตรวจและทดสอบ
ต้องไม่เคยถูกลงโทษทางจรรยาบรรณแห่งข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิดจรรยาบรรณ
อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๓
และจะต้องไม่เป็นผู้ถูกยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ
เว้นแต่พ้นระยะเวลาการถูกยกเลิกมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี
ข้อ ๗
ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งทั่วไป
ต้องมี
(๑) อาคารสถานที่ที่มีลักษณะดังนี้
(ก) ตัวอาคารมีความมั่นคงแข็งแรง ถาวร
(ข) พื้นที่ที่ใช้ในการตรวจและทดสอบ ต้องเป็นพื้นราบที่สะดวกเพียงพอ
และมีความปลอดภัยในการทำงาน ขนาดไม่น้อยกว่า ๔๐ ตารางเมตร ความกว้างไม่น้อยกว่า
๓.๕๐ เมตร
(ค) มีทางเข้า - ออกของรถที่จะเข้ารับบริการตรวจและทดสอบที่สะดวก ปลอดภัย
(ง) มีการกำหนดพื้นที่อันตรายและป้ายคำเตือนบ่งชี้เขตต่าง ๆ
อย่างชัดเจนและเหมาะสม
(จ) มีพื้นที่จอดรถสำหรับรอการตรวจและทดสอบได้อย่างน้อย ๒ คัน
(๒) วิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบการติดตั้งที่มีความรู้และความสามารถในการตรวจและทดสอบการติดตั้ง
ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้
(ก) ต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมเครื่องกล และมีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า ๓ ปี
(ข) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งของกรมการขนส่งทางบกหรือหลักสูตรของหน่วยงานอื่นที่กรมการขนส่งทางบกเห็นชอบ
หรือผ่านการทดสอบจากกรมการขนส่งทางบก
(ค)
ต้องไม่เป็นวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบการติดตั้งให้กับผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งรายอื่น
(ง) ไม่เคยถูกลงโทษทางจรรยาบรรณแห่งข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิดจรรยาบรรณ
อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๓
หรือถูกยกเลิกการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ
(๓) เครื่องมือ เครื่องใช้
และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและเพียงพออย่างน้อย ดังนี้
(ก) เครื่องยก บ่อ หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นใด
เพื่อใช้ในการตรวจสภาพใต้ท้องรถได้อย่างปลอดภัย
โดยผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถทำงานในลักษณะยืนได้
(ข) เครื่องตรวจวัดก๊าซรั่ว (gas detector)
(ค) เทปวัดระยะ
(ง) เครื่องมือวัดละเอียด เช่น เวอร์เนียคาลิเปอร์ (vernier caliper)
(จ) มาตรวัดความดัน (pressure gauge) ที่มีความผิดพลาดไม่เกินร้อยละ + 1
(ฉ) นาฬิกาจับเวลา
(ช) เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสม ขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า ๖ กิโลกรัม อย่างน้อย
๒ ถัง
ข้อ ๘
ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบถัง ต้องมี
(๑) อาคารสถานที่ที่มีลักษณะตามข้อ ๗ (๑)
(๒)
วิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบถังที่มีความรู้และความสามารถในการตรวจและทดสอบถัง
ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้
(ก) ผู้ตรวจและทดสอบถังที่เป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด วิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบถังต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ประเภทสามัญวิศวกรขึ้นไป
(ข) ผู้ตรวจและทดสอบถังที่เป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษา
วิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบถัง
ต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
และเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานนั้น
(๓) เครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและเพียงพอ
ดังนี้
(ก) เครื่องทดสอบความหนาของถังแบบไม่ทำลาย (non-destructive thickness tester)
(ข) เครื่องสูบน้ำแรงดันสูง
(ค) ถังน้ำ (water jacket)
(ง) กระบอกตวงน้ำ
(จ) มาตรวัดความดัน (pressure gauge) ที่มีความผิดพลาดไม่เกินร้อยละ + 1
(ฉ) เครื่องชั่ง ที่มีความผิดพลาดไม่เกินร้อยละ + 0.5
(ช) เครื่องมือวัดละเอียด เช่น เวอร์เนียคาลิเปอร์ (vernier caliper)
ข้อ ๙
เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๓ ให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่
หากไม่ครบถ้วนถูกต้องให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอไปดำเนินการแก้ไขภายใน ๔๕ วัน
นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งให้แก้ไข
และหากคำขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้องให้ดำเนินการต่อไป
(๒) มีหนังสือแจ้งการให้ความเห็นชอบในหลักการให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
และให้ผู้ยื่นคำขอแจ้งนัดหมายให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจประเมิน ณ สถานประกอบกิจการภายใน
๑๘๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
หากไม่แจ้งภายในกำหนดให้ถือว่าคำขอนั้นสิ้นสุดลง
(๓) ให้เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินออกไปยังสถานประกอบกิจการของผู้ยื่นคำขอ
เพื่อตรวจสอบความถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๗ และข้อ ๘ หากพบข้อบกพร่อง
ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบและดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๔) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่ดำเนินการใด ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการขอรับการให้ความเห็นชอบภายในระยะเวลากำหนด
หรือไม่แก้ไขข้อบกพร่องตาม (๓) กรมการขนส่งทางบกจะพิจารณายกเลิกคำขอ
โดยการแจ้งการยกเลิกคำขอเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
(๕) เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินตรวจสอบความถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๗
และข้อ ๘ เสร็จแล้วและเห็นว่าผู้ยื่นคำขอผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ให้นำเสนออธิบดีเพื่ออนุมัติและออกหนังสือให้ความเห็นชอบให้กับผู้ยื่นคำขอตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้
ข้อ ๑๐
กรมการขนส่งทางบกจะทำการประเมินความสามารถหรือตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ ตลอดจนการดำเนินกิจการของผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับความเห็นชอบไปแล้วได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
โดยผู้ตรวจและทดสอบต้องอำนวยความสะดวกแก่อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายในการเข้าประเมินหรือตรวจสอบ
ข้อ ๑๑
ผู้ตรวจและทดสอบต้องเก็บสำเนาหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบ และรายละเอียดการตรวจและทดสอบไว้ที่สถานประกอบกิจการให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบของกรมการขนส่งทางบก
เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๕ ปี
ข้อ ๑๒
ผู้ตรวจและทดสอบต้องจัดให้มีสิ่งต่อไปนี้แสดงให้ผู้รับบริการเห็นอย่างชัดเจน
(๑) เครื่องหมายแสดงสถานตรวจรถใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
ตามแบบและขนาดท้ายประกาศนี้
(๒) ป้ายแสดงชื่อสถานตรวจรถใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง คำว่า ผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้ง หรือ ผู้ตรวจและทดสอบถัง แล้วแต่กรณี พร้อมข้อความ โดยได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก เลขที่..................
(๓) หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ
ที่ได้รับจากกรมการขนส่งทางบกตามแบบท้ายประกาศนี้
(๔) วัน และเวลาที่ให้บริการตรวจและทดสอบ
(๕) ชื่อ และรูปถ่ายวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ
ที่ปฏิบัติงานในวันและเวลาตาม (๔)
(๖) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบการติดตั้ง หรืออัตราค่าบริการตรวจและทดสอบถังตามที่ระบุไว้ในคำขอ
ข้อ ๑๓
ผู้ตรวจและทดสอบที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข
เกี่ยวกับสถานที่ประกอบกิจการหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบให้แตกต่างไปจากที่ได้รับความเห็นชอบ
ให้ยื่นคำขอต่อสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่
เพื่อขอรับความเห็นชอบก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๔
ผู้ตรวจและทดสอบซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหนังสือให้ความเห็นชอบหรือใบแทน
ก่อนวันที่หนังสือให้ความเห็นชอบสิ้นอายุอย่างน้อย ๓๐ วัน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ก่อน
๙๐ วัน
ข้อ ๑๕
ผู้ตรวจและทดสอบซึ่งประสงค์จะขอยกเลิกการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ
ให้แจ้งกรมการขนส่งทางบกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน
ข้อ ๑๖
ในกรณีหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ให้ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือ
ให้ความเห็นชอบตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานการแจ้งความ (ถ้ามี)
และหนังสือให้ความเห็นชอบที่ชำรุดนั้น
ในการออกใบแทนหนังสือให้ความเห็นชอบ
ให้เป็นไปตามแบบหนังสือให้ความเห็นชอบเดิม แต่ให้ระบุ ใบแทน ไว้ที่ด้านหน้าด้วย
ข้อ ๑๗
หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับความเห็นชอบ
ไม่สามารถโอนให้แก่ผู้อื่นได้
ข้อ ๑๘
เมื่อปรากฏว่าผู้ตรวจและทดสอบไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด ให้กรมการขนส่งทางบกมีอำนาจตักเตือน
ระงับใช้หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบชั่วคราว หรือยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบนั้นได้
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
รองอธิบดี
รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
๒.
เครื่องหมายแสดงสถานที่ตรวจและทดสอบรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๙๐ ง/หน้า ๙๐/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ |
594091 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. 2551
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ
และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์
ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๘ และข้อ ๙ ของกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข
และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ
และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ในประกาศนี้
การตรวจและทดสอบการติดตั้ง หมายความว่า
การตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์
และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
การตรวจและทดสอบถัง หมายความว่า การตรวจและทดสอบถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
ผู้ตรวจและทดสอบ ได้แก่
(๑) ผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้ง หมายความว่า
ผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งและส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
(๒) ผู้ตรวจและทดสอบถัง
หมายความว่า
ผู้ซึ่งทำการตรวจและทดสอบถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ติดตั้งในรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
ข้อ
๒ การตรวจและทดสอบการติดตั้ง
ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) ตรวจสอบความถูกต้องของส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ที่ติดตั้งต้องเป็นไปตามมาตรฐานส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
รวมทั้งรายละเอียดต่าง ๆ
ต้องตรงตามหนังสือรับรองการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์
(๒) ตรวจสอบความถูกต้องของการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการติดตั้ง ตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
(๓)
ตรวจพินิจภายนอกถังซึ่งต้องไม่ปรากฏข้อบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ถังถูกไฟไหม้
(ข) มีหลุมบ่อโดดเดี่ยวลึกเกินร้อยละ ๕๐ ของความหนาผนังถังเดิม
(ค) มีรอยผุกร่อนเป็นแนวยาวตั้งแต่ ๗๕ มิลลิเมตรขึ้นไป และลึกเกินร้อยละ ๒๕
ของความหนาผนังถังเดิม หรือมีรอยผุกร่อนเป็นแนวยาวน้อยกว่า ๗๕ มิลลิเมตร
และลึกเกินร้อยละ ๕๐ ของความหนาผนังถังเดิม
(ง) มีรอยผุกร่อนทั่วไปลึกเกินร้อยละ ๕๐ ของความหนาผนังถังเดิม
(จ) มีรอยบุบเว้าที่รอยเชื่อมลึกเกิน ๖ มิลลิเมตร
(ฉ) มีรอยบุบเว้าที่บริเวณอื่นลึกเกินร้อยละ ๑๐
ของความกว้างเฉลี่ยของรอยบุบเว้า
(ช) มีรอยบาด รอยขูดขีด หรือทิ่มแทง ลึกเกินร้อยละ ๕๐
ของความหนาผนังถังเดิม หรือมีรอยดังกล่าวยาวตั้งแต่ ๗๕ มิลลิเมตรขึ้นไป
และลึกเกินร้อยละ ๒๕ ของความหนาผนังถังเดิม
(ซ) มีรอยรั่ว ซึม รอยร้าว รอยหักพับ หรือบวม
(ฌ) จำนวนเกลียวของลิ้นถังที่กินกันลดลงจากที่ระบุไว้
หรือเมื่อขันเกลียวแน่นแล้วก๊าซรั่วซึม
(ญ) ลิ้นเอียงจนเห็นได้ชัดเจน
(ฎ) โกร่งกำบังหรือฝาครอบเครื่องอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนถังเสียรูป หลวม
หรือมีรอยเชื่อมชำรุดหรือฐานถังชำรุดทำให้ถังเอียงจนเห็นได้ชัดเจน
(ฏ) ถังบิดเบี้ยวไม่ได้รูปทรง หรือมีการดัดแปลงหรือต่อเติมถัง
(ฐ) เครื่องหมายประจำถังลบเลือนอ่านได้ไม่ชัดเจน มีการแก้ไขโดยไม่ถูกต้อง
หรือมีข้อความไม่ถูกต้องตาม มอก. ๓๗๐ - ๒๕๒๕
(ฑ) อุปกรณ์ระบายความดันเสียหาย หรือเสียรูป หรือไม่ตรงตามที่ผู้ผลิตกำหนด
(๔)
ทดสอบการรั่วของระบบเชื้อเพลิงก๊าซปิโตรเลียมเหลวด้วยการเติมก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือก๊าซอื่นที่เหมาะสม
เช่น ไนโตรเจน ให้มีความดันไม่น้อยกว่า ๗๐๐ กิโลปาสกาล เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐
นาที ต้องไม่ปรากฏว่ามีการรั่วของระบบเชื้อเพลิง
ข้อ
๓
การตรวจและทดสอบถังต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) ตรวจสอบภายนอกถังแล้ว ต้องไม่ปรากฏข้อบกพร่องตามข้อ ๒ (๓)
(๒) ถังเปล่าต้องมีมวลไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕ ของมวลถังเดิม
(๓) ทดสอบถังด้วยความดันไฮดรอลิกขยายตัว (hydrostatic
stretch test) ปริมาตรการขยายตัวถาวรของถังต้องไม่เกิน
๑ ใน ๕๐๐๐ ของปริมาตรเดิมของถัง ตามวิธีการทดสอบของ มอก. ๓๗๐ ๒๕๒๕
ข้อ
๔
ผู้ตรวจและทดสอบต้องดำเนินการตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ทำการตรวจและทดสอบ ณ
สถานที่ประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในหนังสือให้ความเห็นชอบโดยบุคลากรของผู้ตรวจและทดสอบ
(๒)
ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการตรวจและทดสอบตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแสดงขั้นตอนและวิธีการตรวจและทดสอบ
(๓)
ทำการตรวจและทดสอบเฉพาะรถที่ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์จากผู้ได้รับความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น
เว้นแต่ กรณีเป็นรถที่ได้ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ไว้แล้วก่อนวันที่ ๑๘
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ก็ให้สามารถทำการตรวจและทดสอบได้
(๔)
จัดเก็บค่าบริการตรวจและทดสอบตามอัตราที่ระบุไว้ในคำขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ
ข้อ
๕
เมื่อผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งทำการตรวจทดสอบเสร็จแล้วเห็นว่า
ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์เป็นไปตามที่กำหนด
ให้ผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งติดเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบตามแบบท้ายประกาศนี้
ไว้ที่ด้านในซ้ายของกระจกกันลมหน้าให้เห็นได้อย่างชัดเจน พร้อมกับออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบการติดตั้งตามแบบท้ายประกาศนี้
และแนบภาพถ่ายที่แสดงถึงการตรวจและทดสอบรถที่ให้การรับรองนั้น
ให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถ
และติดเครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงไว้ที่รถ
ข้อ
๖
เมื่อผู้ตรวจและทดสอบถังทำการตรวจทดสอบแล้วเห็นว่า ถังเป็นไปตามที่กำหนด
ให้ผู้ตรวจและทดสอบถังติดเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบถังตามแบบท้ายประกาศนี้
ไว้ที่ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซทุกใบให้เห็นได้อย่างชัดเจน
พร้อมกับออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบถังตามแบบท้ายประกาศนี้
ให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถ
ข้อ
๗
ให้ผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งจัดเก็บสำเนาหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบตามข้อ
๕ พร้อมรายละเอียดไว้เป็นเวลาอย่างน้อย ๕ ปี
โดยรายละเอียดการตรวจและทดสอบอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ดังนี้
(๑) ชื่อผู้ตรวจและทดสอบ
(๒) เลขที่หนังสือรับรอง
(๓) วัน เดือน ปี ที่ทำการตรวจและทดสอบ
(๔) สถานที่ตรวจและทดสอบ
(๕) หมายเลขทะเบียนรถ หรือหมายเลขประจำรถ (Vehicle Identity Number : VIN)
(๖) รายการตรวจและทดสอบมาตรฐานส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ที่ติดตั้ง
(๗) รายการตรวจและทดสอบการติดตั้ง
(๘) ชื่อผู้ทำการตรวจและทดสอบ พร้อมระบุหมายเลขทะเบียนวิศวกร
หรือตำแหน่งหน้าที่
(๙)
ภาพถ่ายหรือหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงผู้ทำการตรวจและทดสอบได้ตรวจและทดสอบกับรถที่ให้การรับรองนั้น
ข้อ
๘
ให้ผู้ตรวจและทดสอบถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว
จัดทำสำเนาหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบตามข้อ ๖ พร้อมรายละเอียดการตรวจและทดสอบที่มีรายการอย่างน้อยดังนี้
ไว้เป็นเวลา ๕ ปี
(๑) ชื่อผู้ตรวจและทดสอบ
(๒) เลขที่หนังสือรับรอง
(๓) วัน เดือน ปี ที่ทำการตรวจและทดสอบ
(๔) สถานที่ตรวจและทดสอบ
(๕) หมายเลขทะเบียนรถ หรือหมายเลขประจำรถ (Vehicle Identity Number : VIN)
(๖) รายละเอียดของถัง อาทิเช่น ผู้ผลิต หมายเลขถัง วันผลิต มวลถังเปล่า
(๗) รายการตรวจและทดสอบถัง
(๘) ชื่อผู้ทำการตรวจและทดสอบถัง พร้อมระบุหมายเลขทะเบียนวิศวกร
หรือตำแหน่งหน้าที่
ข้อ
๙
การตรวจและทดสอบการติดตั้งต้องดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลา ดังนี้
(๑)
รถที่ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงโดยผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต
ให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต
ก่อนการจดทะเบียนครั้งแรก และต้องได้รับการตรวจและทดสอบครั้งต่อไปทุก ๕ ปี
(๒) รถที่ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงโดยผู้ติดตั้งทั่วไป
ให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งทั่วไปก่อนการใช้งาน
และต้องได้รับการตรวจและทดสอบครั้งต่อไป ทุก ๕ ปี
ข้อ
๑๐
รถที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ใหม่ ดังต่อไปนี้
ต้องทำการตรวจและทดสอบตามประกาศนี้ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์
ดังกล่าว
(๑) ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว (cylinder or container)
(๒) ลิ้นบรรจุ (filling valve)
(๓) ลิ้นระบายความดัน (pressure relief valve)
(๔) ลิ้นกันกลับ (check valve or non return valve)
(๕) ลิ้นเปิดปิด (shut-off valve)
(๖) อุปกรณ์วัดระดับก๊าซเหลว (level indicator or fixed liquid level gauge)
(๗) อุปกรณ์ป้องกันการบรรจุเกิน (overfill protection device)
(๘) อุปกรณ์ระบายความดัน (pressure relief device)
(๙) อุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดลิ้นระยะไกลพร้อมด้วยลิ้นป้องกันการไหลเกิน (remotely controlled service valve with excess flow valve)
(๑๐) อุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซ (vaporizer and pressure regulator)
ข้อ
๑๑ ให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถนำรถมาทำการตรวจสอบถังโดยผู้ตรวจและทดสอบถัง
เมื่อใช้งานมาแล้วครบ ๑๐ ปี นับแต่วันที่ผลิต และต้องได้รับการตรวจและทดสอบทุก ๆ ๕
ปี
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
รองอธิบดี
รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หนังสือรับรองการตรวจและทดสอบการติดตั้งรถใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
๒.
เครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบการติดตั้ง
๓.
เครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบถัง
๔.
แบบหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบถัง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๙๐ ง/หน้า ๘๕/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ |
594089 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิก การให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. 2551
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิก
การให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์
ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑๐ ของกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ในประกาศนี้
การติดตั้ง หมายความว่า
การติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ผู้ติดตั้ง หมายความว่า
ผู้ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกให้เป็นผู้ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต หมายความว่า
ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถซึ่งติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผู้ติดตั้งผลิต
โดยมีการกำหนดรหัสหรือรุ่นเป็นการเฉพาะ
ผู้ติดตั้งทั่วไป หมายความว่า
ผู้ติดตั้งที่ไม่เป็นผู้ผลิตรถซึ่งติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว
เจ้าหน้าที่ผู้ประเมิน หมายความว่า ข้าราชการที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ตรวจประเมินความสามารถในการติดตั้ง
ข้อ ๒
ผู้ใดประสงค์จะขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ณ สถานที่ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ติดตั้งทั่วไปที่มีสถานประกอบกิจการอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
หรือผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต
ให้ยื่นต่อสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก
(๒)
ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ติดตั้งทั่วไปที่มีสถานประกอบกิจการอยู่ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้ยื่นต่อสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานที่ประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่
ข้อ ๓
ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต
จะต้องเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด
หรือบริษัทมหาชนจำกัด โดยต้องยื่นเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ ดังนี้
(๑) สำเนาทะเบียนการค้า
(๒) สำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่มีอายุไม่เกิน ๖
เดือน
(๓) สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
หรือผู้มีอำนาจลงนาม หรือหลักฐานการมอบอำนาจ
(๔) หนังสือมอบอำนาจ
กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตในต่างประเทศมอบอำนาจให้ผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทยเป็นผู้ยื่นคำขอ
ข้อ ๔
กรณีผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งทั่วไป
ให้ยื่นเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ ดังนี้
(๑) บุคคลธรรมดา
(ก) สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(ข) หนังสือที่แสดงถึงหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้ง (ถ้ามี)
(ค) เอกสารแสดงขั้นตอน วิธีการติดตั้ง
(ง) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ติดตั้ง ได้แก่ หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์
หรือสิทธิการใช้สถานที่ แผนที่แสดงที่ตั้ง
ภาพแบบอาคารและพื้นที่ติดตั้งโดยแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจน และภาพถ่ายสถานที่ติดตั้ง
(จ) รายละเอียดเกี่ยวกับส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์
(ฉ) หลักฐานเอกสารแสดงคุณวุฒิของบุคลากรผู้ทำการติดตั้ง
(๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด
หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ก) สำเนาทะเบียนการค้า
(ข) สำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่มีอายุไม่เกิน ๖
เดือน
(ค) สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
หรือผู้มีอำนาจลงนาม หรือหลักฐานการมอบอำนาจ
(ง) เอกสารแสดงขั้นตอน วิธีการติดตั้ง
(จ) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ติดตั้ง ได้แก่ หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์
หรือสิทธิการใช้สถานที่ แผนที่แสดงที่ตั้ง
ภาพแบบอาคารและพื้นที่ติดตั้งโดยแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจน
และภาพถ่ายสถานที่ติดตั้ง
(ฉ) รายละเอียดเกี่ยวกับส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์
(ช) หลักฐานเอกสารแสดงคุณวุฒิของบุคลากรผู้ทำการติดตั้ง
(๓) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษา
(ก) หนังสือมอบอำนาจของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษา
ให้ดำเนินการยื่นขอหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง
(ข)
โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้ง
(ค) เอกสารแสดงขั้นตอน วิธีการติดตั้ง
(ง) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ติดตั้ง ได้แก่ แผนที่แสดงที่ตั้ง
ภาพแบบอาคารและพื้นที่ติดตั้ง โดยแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจน
และภาพถ่ายสถานที่ติดตั้ง
(จ) รายละเอียดเกี่ยวกับส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์
(ฉ) หลักฐานเอกสารแสดงคุณวุฒิของบุคลากรผู้ทำการติดตั้ง
ข้อ ๕
ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง
ต้องไม่เป็นผู้ถูกยกเลิกการเป็นผู้ติดตั้ง
เว้นแต่พ้นระยะเวลาการถูกยกเลิกมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ เดือน
ข้อ ๖
ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งทั่วไป ต้องมี
(๑) อาคารสถานที่ มีลักษณะดังนี้
(ก) ตัวอาคารมีความมั่นคงแข็งแรง ถาวร สร้างจากวัสดุที่ไม่ติดไฟง่าย
(ข) สามารถติดตั้งเครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
ที่ใช้ในการติดตั้ง
(ค)
พื้นที่ใช้ในการติดตั้งต้องเป็นพื้นราบที่สะดวกเพียงพอและมีความปลอดภัยในการทำงาน
ขนาดไม่น้อยกว่า ๔๐ ตารางเมตร ความกว้างไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ เมตร
(ง) มีพื้นที่สำหรับแสดงแผนผังการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงในจุดที่เห็นได้อย่างชัดเจน
โดยแผนผังดังกล่าวต้องระบุตำแหน่งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ที่จะทำการติดตั้งไว้ด้วย
(จ) มีการกำหนดพื้นที่อันตรายและป้ายคำเตือนบ่งชี้เขตต่าง ๆ
อย่างชัดเจนและเหมาะสม
(๒) บุคลากรผู้ทำการติดตั้งต้อง
(ก) มีวุฒิการศึกษาระดับ ปวช. ขึ้นไป หรือเทียบเท่าในสาขาช่างยนต์
หรือช่างกลโรงงาน หรือ
(ข) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้ง เช่น
หลักสูตรที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัดขึ้น หรือหลักสูตรที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจัดขึ้น
หรือหลักสูตรอื่นที่กรมการขนส่งทางบกเห็นชอบ หรือ
(ค) ผ่านการทดสอบจากกรมการขนส่งทางบก
(๓) เครื่องมือ
เครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและเพียงพออย่างน้อย ดังนี้
(ก) เครื่องยก บ่อ หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นใด
เพื่อใช้ในการติดตั้งได้อย่างปลอดภัย
โดยผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถทำงานในลักษณะยืนได้
(ข) เครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้ง
(ค) เครื่องมือหรืออุปกรณ์อื่นที่สามารถใช้ตรวจสอบการรั่วของก๊าซได้
(ง) เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสมอย่างน้อย ๒ ถัง
(๔) เอกสารแสดงขั้นตอนและวิธีการติดตั้ง
ข้อ ๗
เมื่อได้รับคำขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง
ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
หากไม่ครบถ้วนถูกต้องให้แจ้งผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขภายใน ๔๕ วัน
นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งให้แก้ไข หากคำขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้องให้ดำเนินการต่อไป
ดังนี้
(๑) มีหนังสือแจ้งการให้ความเห็นชอบในหลักการให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
และให้ผู้ยื่นคำขอแจ้งนัดหมายให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบความถูกต้องของรายละเอียดตามคำขอภายใน
๑๘๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ หากไม่แจ้งภายในกำหนดให้ถือว่าคำขอนั้นสิ้นสุดลง
(๒) ให้เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินความสามารถในการติดตั้งออกประเมิน ณ
สถานที่ประกอบกิจการของผู้ยื่นคำขอ
เว้นแต่ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตในต่างประเทศ
ให้เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินทำการประเมินความสามารถในการติดตั้งโดยพิจารณาจากเอกสารหลักฐานของผู้ยื่นคำขอที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถ
ในการเป็นผู้ติดตั้ง หากพบข้อบกพร่อง
ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบและดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๓) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่ดำเนินการใด ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการขอรับการให้ความเห็นชอบภายในระยะเวลากำหนด หรือไม่แก้ไขข้อบกพร่องตาม
(๒) ให้พิจารณายกเลิกคำขอ และแจ้งการยกเลิกคำขอเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
(๔)
เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินความสามารถในการติดตั้งทำการประเมินเสร็จแล้ว
และเห็นว่าผู้ยื่นคำขอผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ให้นำเสนออธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายเพื่ออนุมัติและออกหนังสือให้ความเห็นชอบให้กับผู้ยื่นคำขอต่อไป
ข้อ ๘
ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง
ต้องอำนวยความสะดวกแก่อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย เข้าประเมินความสามารถ
หรือตรวจสอบการดำเนินกิจการ ตลอดจนการปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
เว้นแต่ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตในต่างประเทศให้ดำเนินการตามข้อ ๗ (๒) โดยอนุโลม
ข้อ ๙
ผู้ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดตั้งทั่วไปต้องเก็บเอกสารหลักฐานบันทึกการติดตั้งไว้ที่สถานประกอบกิจการให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบของกรมการขนส่งทางบก
เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๕ ปี
ข้อ ๑๐
ผู้ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดตั้งทั่วไปต้องจัดให้มีสิ่งต่อไปนี้
แสดงให้ผู้รับบริการเห็นอย่างชัดเจน
(๑) เครื่องหมายแสดงสถานติดตั้งรถใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
ตามแบบและขนาดท้ายประกาศนี้
(๒)
ป้ายแสดงชื่อสถานติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พร้อมข้อความ โดยได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
เลขที่..................
(๓) หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง พร้อมด้วยชื่อและรูปถ่ายของบุคลากรผู้ทำการติดตั้ง
ข้อ ๑๑
ผู้ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดตั้งที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข
เกี่ยวกับสถานประกอบกิจการให้แตกต่างไปจากที่ได้รับความเห็นชอบ
ให้ยื่นคำขอต่อสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่
เพื่อขอรับความเห็นชอบก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๒
ผู้ติดตั้งซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหนังสือให้ความเห็นชอบ
หรือใบแทนก่อนวันที่หนังสือให้ความเห็นชอบสิ้นอายุอย่างน้อย ๓๐ วัน
แต่ทั้งนี้ต้องไม่ก่อน ๙๐ วัน
ข้อ ๑๓
ผู้ติดตั้งซึ่งประสงค์จะขอยกเลิกการเป็นผู้ติดตั้ง
ให้แจ้งกรมการขนส่งทางบกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน
ข้อ ๑๔
ในกรณีที่หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดตั้งยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือให้ความเห็นชอบตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหลักฐานการแจ้งความ (ถ้ามี) หรือหนังสือให้ความเห็นชอบที่ชำรุดนั้น
ในการออกใบแทนหนังสือให้ความเห็นชอบ
ให้เป็นไปตามแบบหนังสือให้ความเห็นชอบเดิม แต่ให้ระบุ ใบแทน ไว้ที่ด้านหน้าด้วย
ข้อ ๑๕
หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับความเห็นชอบไม่สามารถโอนให้แก่ผู้อื่นได้
ข้อ ๑๖
เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดตั้งไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
ให้กรมการขนส่งทางบกมีอำนาจตักเตือน
ระงับใช้หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งชั่วคราว
หรือยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งนั้นได้ ตามสมควรแก่กรณี
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
รองอธิบดี
รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
๒.
เครื่องหมายแสดงสถานติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๙๐ ง/หน้า ๗๙/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ |
594087 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และแบบหนังสือรับรองการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. 2551
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการติดตั้ง และแบบหนังสือรับรองการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์
ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๖ และข้อ ๗ ของกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง
และแบบหนังสือรับรองการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ในประกาศนี้
ถัง หมายความว่า ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว
ข้อ ๒
ถังที่จะนำมาติดตั้งต้องมีส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์อย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(๑) ลิ้นบรรจุ (filling valve)
(๒) ลิ้นระบายความดัน (pressure relief valve)
(๓) ลิ้นกันกลับ (check valve or non return valve)
(๔) ลิ้นเปิดปิด (shut-off valve)
(๕) อุปกรณ์วัดระดับก๊าซเหลว (level indicator or fixed liquid level gauge)
เป็นระบบไฟฟ้าและมีหน้าปัดแสดงที่ห้องผู้ขับรถ
(๖) อุปกรณ์ป้องกันการบรรจุเกิน (overfill protection device)
(๗) อุปกรณ์ระบายความดัน (pressure relief device)
(๘) อุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดลิ้นระยะไกลพร้อมด้วยลิ้นป้องกันการไหลเกิน (remotely controlled service valve with excess flow valve)
ข้อ ๓
การติดตั้งถังให้ทำได้บริเวณใต้ท้องรถ หรือภายในตัวถังรถ
และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) ห้ามติดตั้งไว้ในห้องเครื่องยนต์ หรือส่วนหน้าของตัวถังรถ
หรือด้านหน้าของเพลาล้อหน้า และต้องติดตั้งอยู่ห่างจากส่วนท้ายสุดของกันชนหลัง
ไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร
(๒) ห้ามติดตั้งบนหลังคา หรือเหนือห้องโดยสาร
(๓)
ต้องวางถังในลักษณะที่สามารถมองเห็นแผ่นป้ายแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับถังได้โดยไม่ต้องรื้อถอนส่วนประกอบใด
ๆ ออก
(๔) ยึดถังหรือขาถังให้ติดแน่นกับตัวรถ ในกรณีที่ใช้แถบโลหะรัด
ต้องมีวัสดุที่ยืดหยุ่นได้ เช่น สักหลาด หนัง ยาง พลาสติก เป็นต้น
หุ้มหรือคั่นกลางเพื่อป้องกันโลหะเสียดสีกัน และเมื่อรถสั่นสะเทือน
ถังต้องไม่ขยับเขยื้อน และต้องติดตั้งถังตามคู่มือที่ผู้ผลิตกำหนด
(๕) อุปกรณ์ยึดถังต้องทนต่อแรงกระชากที่เกิดจากความเร่งหรือความหน่วงของรถ
และเมื่อเกิดแรงดังกล่าวถังยังต้องยึดติดกับตัวรถอย่างมั่นคงไม่ขยับเขยื้อน
(๖) ห้ามเชื่อมหรือต่อเติมถังกับสิ่งอื่นใด
เว้นแต่เป็นการเชื่อมมาจากโรงงานผู้ผลิต
กรณีมีเหตุจำเป็นต้องติดตั้งถังบริเวณอื่นนอกจากที่กำหนด
จะกระทำได้เมื่อกรมการขนส่งทางบกเห็นว่ามีความปลอดภัย มั่นคงแข็งแรง
และเหมาะสมในการใช้งาน
ข้อ ๔
ภายใต้บังคับความในข้อ ๒ การติดตั้งถังหลายใบในรถคันเดียวกัน
ถ้าใช้ท่อนำก๊าซร่วมสำหรับบรรจุก๊าซ ถังแต่ละใบต้องมีลิ้นเปิดปิดให้บรรจุก๊าซได้คราวละถัง
และถ้าใช้ท่อนำก๊าซร่วมที่ต่อจากถัง ไปยังเครื่องยนต์
ถังแต่ละใบต้องมีลิ้นเปิดปิดให้จ่ายก๊าซได้คราวละถังด้วย
ข้อ ๕
ภายใต้บังคับความในข้อ ๓ การติดตั้งถังใต้ท้องรถ
ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การติดตั้งเพิ่มเติมดังนี้
(๑) จะมีเรือนกักก๊าซที่ติดตั้งบนถังหรือไม่ก็ได้
(๒) ส่วนล่างสุดของถังและเครื่องอุปกรณ์ที่ติดกับถัง
ต้องอยู่สูงกว่าระยะต่ำสุดของรถไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร
และกรณีที่ติดตั้งถังด้านหลังเพลาล้อท้ายสุดของรถ ส่วนล่างสุดของถัง รวมทั้งเครื่องอุปกรณ์ที่ติดกับถัง
ต้องอยู่สูงกว่าระยะต่ำสุดของรถไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร และอยู่สูงจากพื้นถนน
ไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๖ ของระยะห่างระหว่างแกนของถังกับแกนของเพลาล้อท้ายสุด
(๓)
เครื่องอุปกรณ์ที่ติดตั้งกับถังต้องอยู่ห่างจากตัวถังรถเพื่อป้องกันมิให้เกิดการเสียดสีกัน
(๔) ติดแผ่นโลหะหนาพอสมควรสำหรับป้องกันเศษหินที่กระเด็นจากการหมุนของล้อรถ
ข้อ ๖
การติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
ต้องปฏิบัติดังนี้
(๑) ติดตั้งให้ห่างจากอุปกรณ์ที่เป็นแหล่งความร้อน แหล่งที่เกิดประกายไฟ
หรือแหล่งสารเคมี เช่น ท่อไอเสีย เป็นต้น ไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร
เว้นแต่มีการป้องกันเป็นอย่างดี
(๒)
ไม่ติดตั้งในตำแหน่งที่อาจจะได้รับความเสียหายเนื่องจากการชำรุดของชิ้นส่วนของรถที่ทำงานในลักษณะเหวี่ยงหรือหมุน
เช่น สายพาน หรือเพลาขับ เป็นต้น
(๓) ไม่ให้ส่วนหนึ่งส่วนใดพ้นออกนอกตัวถังรถ
ข้อ ๗
การติดตั้งเรือนกักก๊าซที่มีลักษณะเป็นฝาครอบเครื่องอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนถังเรือนกักก๊าซนั้น
ต้องมีท่อที่มีลักษณะและขนาดเหมาะสมสำหรับระบายก๊าซที่รั่วซึมจากเครื่องอุปกรณ์ดังกล่าวออกนอกตัวรถได้ดี
โดยปลายท่อต้องอยู่ห่างจากท่อไอเสียไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร
กรณีไม่สามารถติดตั้งเรือนกักก๊าซที่มีลักษณะเป็นฝาครอบได้
ต้องติดตั้งเรือนกักก๊าซแบบเป็นกล่องบรรจุถังที่มีลักษณะและหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) ต้องทำด้วยวัสดุไม่ติดไฟง่าย และมีฝาปิดแน่น
(๒) มีช่องทำด้วยวัสดุใสให้สามารถมองเห็นเครื่องอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนถังได้
(๓) วางกล่องบรรจุถังบนที่รองรับที่เหมาะสม
ซึ่งสามารถบรรจุก๊าซได้สะดวกและยึดกล่องบรรจุถังให้ติดแน่นกับพื้นรถ
(๔) จุดต่ำสุดของกล่องบรรจุถัง
ต้องมีท่อที่มีลักษณะและขนาดเหมาะสมสำหรับระบายก๊าซที่รั่วซึมตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๘
การติดตั้งท่อนำก๊าซ ต้องปฏิบัติดังนี้
(๑) ส่วนล่างสุดของท่อนำก๊าซต้องอยู่สูงกว่าระยะต่ำสุดของรถไม่น้อยกว่า ๕
เซนติเมตร และในกรณีที่ติดตั้งถังด้านหลังเพลาล้อท้ายสุดของรถ
ส่วนล่างสุดของท่อนำก๊าซที่ต่อจากถัง ต้องอยู่สูงกว่าระยะต่ำสุดของรถไม่น้อยกว่า ๕
เซนติเมตร และต้องอยู่สูงจากพื้นถนนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๖ ของระยะห่างระหว่างแกนของถังกับแกนเพลาล้อท้ายสุด
(๒)
ท่อนำก๊าซต้องมีความหนาและมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในที่เหมาะสมกับการทำงานของลิ้นควบคุมการไหลและอัตราการใช้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์และสามารถทนความดันได้โดยปลอดภัย
(๓) ท่อนำก๊าซต้องไม่ถูกกระทบกระเทือน หรือเสียดสีกับสิ่งอื่นใด
(๔)
ท่อนำก๊าซส่วนที่อยู่ภายในตัวถังรถต้องเป็นชิ้นส่วนเดียวกันโดยไม่มีการเชื่อมหรือต่อ
(๕) ท่อนำก๊าซที่ติดตั้งในตำแหน่งซุ้มล้อ
หรือในตำแหน่งที่อาจจะทำให้เกิดความเสียหายจากการกระแทกของหินที่กระเด็นจากล้อหรือใต้ท้องรถ
ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันความเสียหาย
(๖) ท่อนำก๊าซส่วนที่อยู่ใต้ท้องรถต้องต่อเข้าในโครงคัสซี
หรือส่วนของตัวถังรถ ที่สามารถป้องกันการกระทบกระแทกจากภายนอกได้
และต้องไม่ติดตั้งในตำแหน่งที่ออกแบบไว้สำหรับยกรถ
(๗) ท่อนำก๊าซต้องยึดแน่นกับโครงคัสซีหรือส่วนของตัวถังรถด้วยตัวยึด
โดยตัวยึดต้องมีระยะห่างกันไม่เกินช่วงละ ๕๐ เซนติเมตร
(๘) ท่อนำก๊าซส่วนที่ผ่านเข้าไปในห้องผู้โดยสารหรือห้องผู้ขับรถ
ต้องเดินในท่อโลหะอีกชั้นหนึ่งสำหรับให้ก๊าซระบายออกนอกตัวถังรถได้เมื่อมีก๊าซรั่ว
และต้องมีการป้องกันการเสียดสีระหว่างท่อโลหะกับท่อนำก๊าซเป็นอย่างดี
(๙) ข้อต่อต่าง ๆ ต้องเป็นข้อต่อแบบเกลียว
และวัสดุที่ใช้ต้องเหมาะสมกับท่อนำก๊าซ
ข้อ ๙
การติดตั้งท่อนำก๊าซสำหรับบรรจุก๊าซกรณีที่ติดตั้งถังภายในตัวถังรถ
ต้องปฏิบัติดังนี้
(๑)
ท่อนำก๊าซต้องเป็นท่อแบบยืดหยุ่นหรือแบบคงตัวชนิดที่สามารถทนต่อแรงสั่นสะเทือนเนื่องจากการใช้งานได้
มีขนาดเหมาะสม ทนความดันได้โดยปลอดภัย
(๒) ต่อท่อนำก๊าซกับลิ้นบรรจุที่ถังออกไปยังตัวรถด้านใดด้านหนึ่ง
แต่ต้องไม่ยื่นพ้นออกนอกตัวรถ
(๓)
ปลายท่อนำก๊าซต้องติดตั้งอุปกรณ์รับเติมก๊าซที่ยึดติดกับตัวรถอย่างมั่นคง
ในตำแหน่งที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก และอยู่ห่างจากประตูทางขึ้นลงพอสมควร
ข้อ ๑๐
การติดตั้งระบบควบคุมการเปิดปิดก๊าซ ต้องปฏิบัติดังนี้
(๑)
ติดตั้งลิ้นควบคุมการเปิดปิดก๊าซในตำแหน่งที่ก๊าซจะไม่พุ่งเข้ารถเมื่อเกิดก๊าซรั่วจากลิ้นควบคุมการเปิดปิดก๊าซไม่ว่าจะรั่วจากท่อทางเข้าหรือท่อทางออก
(๒) ลิ้นเปิดปิดก๊าซต้องปิดโดยอัตโนมัติเมื่อเปิดใช้น้ำมันเบนซิน
(๓) เมื่อเครื่องยนต์ดับ ลิ้นเปิดปิดก๊าซต้องปิดโดยอัตโนมัติ
(๔) ระบบไฟฟ้าที่ควบคุมการเปิดปิดก๊าซไปยังเครื่องยนต์
ต้องมีฟิวส์ป้องกันการลัดวงจรและต้องต่อแยกออกจากระบบไฟฟ้าอื่น ๆ ในรถ
ข้อ ๑๑
การติดตั้งอุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซ ต้องปฏิบัติดังนี้
(๑) ท่อนำก๊าซที่ต่อจากอุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซ
ไปยังเครื่องผสมอากาศกับก๊าซ
ต้องเป็นท่อนำก๊าซแบบยืดหยุ่นที่ทนความดันได้ไม่น้อยกว่า ๑๐๐ กิโลปาสกาล
และทนความดันแตกได้ ไม่น้อยกว่า ๘๗๕ กิโลปาสกาล
(๒) ห้ามต่อท่อหรืออุปกรณ์อื่นใดเพื่อนำความร้อนจากท่อไอเสียไปยังอุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซ
(๓)
ไม่ติดอุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซเข้ากับส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องยนต์ระบบส่งกำลัง
หรือในห้องโดยสาร
ข้อ ๑๒
กรณีที่รถใช้น้ำมันเบนซินสลับกับก๊าซปิโตรเลียมเหลว ลิ้นเปิดปิดน้ำมันต้องปิดโดยอัตโนมัติเมื่อเปิดใช้ก๊าซ
ข้อ ๑๓
เมื่อผู้ติดตั้งทำการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ออกหนังสือรับรองการติดตั้งให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถ
(๒) มอบเอกสารคำแนะนำการใช้งานเกี่ยวกับส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
โดยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับวันสิ้นอายุการรับรองถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว
และการนำรถเข้าตรวจและทดสอบก่อนใช้รถ ให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถทราบ
(๓) ต้องจัดเก็บสำเนาหนังสือรับรองการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์พร้อมรายละเอียดการติดตั้งของรถที่ได้เข้ารับบริการไว้ที่สถานติดตั้งให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบของกรมการขนส่งทางบก
เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๕ ปี
ข้อ ๑๔
หนังสือรับรองการติดตั้งให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
รองอธิบดี
รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หนังสือรับรองการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๙๐ ง/หน้า ๗๔/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ |
594085 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดมาตรฐานส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. 2551
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดมาตรฐานส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๔ และข้อ ๕
ของกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดมาตรฐานส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ในประกาศนี้
มอก. หมายความว่า
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
AS/NZS หมายความว่า มาตรฐานของออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ (Australian/New Zealand Standard)
ASTM หมายความว่า มาตรฐานของสมาคมการทดสอบและวัสดุแห่งชาติอเมริกา (American Society for Testing and Materials)
CGA หมายความว่า มาตรฐานของสมาคมก๊าซอัด (Compressed Gas Association, Inc.)
ECE R หมายความว่า
ข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งยุโรป (Economic Commission for Europe Regulation)
UL หมายความว่า มาตรฐาน Underwriters Laboratories Inc.
ข้อ ๒
ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว (cylinder or container) ต้องเป็นไปตาม มอก. ๓๗๐ หรือ ECE R ๖๗
ข้อ ๓
อุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซ (vaporizer and pressure regulator) ต้องเป็นไปตาม มอก. ๑๐๐๑ หรือ ECE R ๖๗
ข้อ ๔
ลิ้นป้องกันการไหลเกิน (excess flow valve) ต้องเป็นไปตาม ECE R ๖๗
ข้อ ๕
ลิ้นเปิดปิด (shut-off valve) และ ลิ้นบรรจุ (filling valve) ต้องเป็นไปตาม AS/NZS
๑๔๒๕ หรือ ECE R ๖๗ หรือ UL ๑๗๖๙
ข้อ ๖ อุปกรณ์วัดระดับก๊าซเหลว (level indicator or fixed liquid level gauge)
และอุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดลิ้นระยะไกล (remotely controlled service valve) ต้องเป็นไปตาม
AS/NZS ๑๔๒๕ หรือ ECE R ๖๗
ข้อ ๗
อุปกรณ์ป้องกันการบรรจุเกิน (overfill protection device) ต้องเป็นไปตาม ECE R ๖๗ หรือ UL ๒๒๒๗
ข้อ ๘
อุปกรณ์ระบายความดัน (pressure relief device) ต้องเป็นไปตาม CGA S-๑.๑ หรือ
ECE R ๖๗
ข้อ ๙
อุปกรณ์ฉีดก๊าซ หรือจ่ายก๊าซ (injector or gas injection device) อุปกรณ์ตรวจวัดความดันหรืออุณหภูมิ
(pressure or temperature sensor/indicator) อุปกรณ์ควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (electronic control unit)
และท่อนำก๊าซแบบยืดหยุ่น (flexible fuel line) ต้องเป็นไปตาม ECE R ๖๗ หรือ ECE R ๑๑๐
ข้อ ๑๐
ท่อนำก๊าซแบบคงตัว (rigid fuel line) ต้องเป็นไปตาม ASTM A ๒๕๔
หรือ ASTM B ๘๓๗ หรือ ECE R ๖๗
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
รองอธิบดี
รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๙๐ ง/หน้า ๗๒/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ |
594083 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องหมายและวิธีการติด หรือการแสดงเครื่องหมาย ของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. 2551
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดลักษณะของเครื่องหมายและวิธีการติด หรือการแสดงเครื่องหมาย
ของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑๑ ของกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ประกาศกำหนดลักษณะของเครื่องหมายและวิธีการติด
หรือการแสดงเครื่องหมายของรถที่ใช้ในการขนส่ง ที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
เครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒
ให้ติดหรือแสดงเครื่องหมายตามข้อ ๑
ไว้ที่ด้านท้ายของตัวรถในลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนขณะใช้รถ
เว้นแต่การติดหรือแสดงเครื่องหมายไว้ในตำแหน่งดังกล่าวทำให้ไม่สามารถมองเห็นจากภายนอกรถได้อย่างชัดเจน
ให้ติดไว้ด้านข้างของห้องผู้ขับรถทั้ง ๒ ด้าน
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
รองอธิบดี
รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบเครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๙๐ ง/หน้า ๗๑/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ |
594081 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิก การให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ
ของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. 2551
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิก
การให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ
ของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑๐
ของกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดคุณสมบัติของผู้ตรวจและทดสอบถังและการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบเกี่ยวกับการใช้ก๊าซของรถที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงและกำหนดแบบหนังสือรับรองและเครื่องหมายการรับรองการตรวจและทดสอบ
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๒๖
ข้อ ๒
ในประกาศนี้
ผู้ตรวจและทดสอบ หมายความว่า
ผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบที่ใช้ติดตั้งในรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
โดยได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกให้เป็น
(๑) ผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้ง ได้แก่
(ก) ผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต หมายความว่า
ผู้ตรวจสอบและทดสอบการติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถ
ซึ่งตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผลิตจากโรงงานเป็นครั้งแรกก่อนจดทะเบียน
(ข) ผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งทั่วไป หมายความว่า
ผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งที่ไม่เป็นผู้ผลิตรถ
ซึ่งตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ
และการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถ
ที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว
(๒) ผู้ตรวจและทดสอบถัง หมายความว่า
ผู้ซึ่งทำการตรวจและทดสอบถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ติดตั้งในรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
เจ้าหน้าที่ผู้ประเมิน หมายความว่า
ข้าราชการที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ตรวจประเมิน
การตรวจและทดสอบ ได้แก่
(๑) การตรวจและทดสอบการติดตั้ง หมายความว่า
การตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(๒) การตรวจและทดสอบถัง หมายความว่า
การตรวจและทดสอบถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ข้อ ๓
ผู้ใดประสงค์จะขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ดังนี้
(๑) ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งทั่วไป
หรือผู้ตรวจและทดสอบถังที่มีสถานประกอบกิจการอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
หรือผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต ให้ยื่นต่อสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย
กรมการขนส่งทางบก
(๒) ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งทั่วไป
หรือผู้ตรวจและทดสอบถังที่มีสถานประกอบกิจการอยู่ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้ยื่นต่อสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานที่ประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่
หรือสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก
ข้อ ๔
ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตจะต้องเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด โดยยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังนี้
(๑) สำเนาทะเบียนการค้า
(๒) สำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่มีอายุไม่เกิน ๖
เดือน
(๓) สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
หรือผู้มีอำนาจลงนาม หรือหลักฐานการมอบอำนาจ
(๔)
หนังสือที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ
(๕) เอกสารแสดงขั้นตอน วิธีการตรวจและทดสอบ
ข้อ ๕
ผู้ใดประสงค์จะขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งทั่วไป
และผู้ตรวจและทดสอบถัง ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังนี้
(๑) บุคคลธรรมดา
(ก) สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
(ข) หนังสือที่แสดงถึงหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ
(ถ้ามี)
(ค) เอกสารแสดงขั้นตอน วิธีการตรวจและทดสอบ
(ง) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ตรวจและทดสอบ ได้แก่
หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการใช้สถานที่ แผนที่แสดงที่ตั้ง
ภาพแบบอาคารและพื้นที่ตรวจและทดสอบโดยแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจน
และภาพถ่ายสถานที่ตรวจและทดสอบ
(จ) รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ
(ฉ) เอกสารเกี่ยวกับวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ ได้แก่
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
(ช) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบ
(๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด
หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ก) สำเนาทะเบียนการค้า
(ข) สำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่มีอายุไม่เกิน ๖
เดือน
(ค) สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
หรือผู้มีอำนาจลงนามหรือหลักฐานการมอบอำนาจ
(ง) เอกสารแสดงขั้นตอน วิธีการตรวจและทดสอบ
(จ) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ตรวจและทดสอบ ได้แก่ หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการใช้สถานที่
แผนที่แสดงที่ตั้ง ภาพแบบอาคารและพื้นที่ตรวจและทดสอบโดยแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจน
และภาพถ่ายสถานที่ตรวจและทดสอบ
(ฉ) รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ
(ช) เอกสารเกี่ยวกับวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ ได้แก่
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
(ซ) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบ
(๓) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษา
(ก) หนังสือมอบอำนาจของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษา
ให้ดำเนินการยื่นขอหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ
(ข)
โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ
(ค) เอกสารแสดงขั้นตอน วิธีการตรวจและทดสอบ
(ง) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ตรวจและทดสอบ ได้แก่ แผนที่แสดงที่ตั้ง
ภาพแบบอาคารและพื้นที่ตรวจและทดสอบโดยแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจน และภาพถ่ายสถานที่ตรวจและทดสอบ
(จ) รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ
(ฉ) เอกสารเกี่ยวกับวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ ได้แก่
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
(ช) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบ
ข้อ ๖
ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบเป็นผู้ตรวจและทดสอบ
ต้องไม่เคยถูกลงโทษทางจรรยาบรรณแห่งข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิดจรรยาบรรณ
อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๓
และจะต้องไม่เป็นผู้ถูกยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ
เว้นแต่พ้นระยะเวลาการถูกยกเลิกมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี
ข้อ ๗
ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งทั่วไป
ต้องมี
(๑) อาคารสถานที่ที่มีลักษณะดังนี้
(ก) ตัวอาคารมีความมั่นคงแข็งแรง ถาวร
(ข) พื้นที่ที่ใช้ในการตรวจและทดสอบ ต้องเป็นพื้นราบที่สะดวกเพียงพอ
และมีความปลอดภัยในการทำงาน ขนาดไม่น้อยกว่า ๔๐ ตารางเมตร ความกว้างไม่น้อยกว่า
๓.๕๐ เมตร
(ค) มีทางเข้า-ออกของรถที่จะเข้ารับบริการตรวจและทดสอบที่สะดวก ปลอดภัย
(ง) มีการกำหนดพื้นที่อันตรายและป้ายคำเตือนบ่งชี้เขตต่าง ๆ อย่างชัดเจนและเหมาะสม
(จ) มีพื้นที่จอดรถสำหรับรอการตรวจและทดสอบได้อย่างน้อย ๒ คัน
(๒)
วิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบการติดตั้งที่มีความรู้และความสามารถในการตรวจและทดสอบการติดตั้ง
ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้
(ก) ต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
และมีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า ๓ ปี
(ข) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งของกรมการขนส่งทางบก
หรือหลักสูตรของหน่วยงานอื่นที่กรมการขนส่งทางบกเห็นชอบ
หรือผ่านการทดสอบจากกรมการขนส่งทางบก
(ค) ต้องไม่เป็นวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบการติดตั้งให้กับผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งรายอื่น
(ง)
ไม่เคยถูกลงโทษทางจรรยาบรรณแห่งข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิดจรรยาบรรณ
อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๓
หรือถูกยกเลิกการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ
(๓) เครื่องมือ เครื่องใช้
และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและเพียงพออย่างน้อย ดังนี้
(ก) เครื่องยก บ่อ หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นใด
เพื่อใช้ในการตรวจสภาพใต้ท้องรถได้อย่างปลอดภัย
โดยผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถทำงานในลักษณะยืนได้
(ข) เครื่องตรวจวัดก๊าซรั่ว (gas detector)
(ค) เทปวัดระยะ
(ง) เครื่องมือวัดละเอียด เช่น เวอร์เนียคาลิเปอร์ (vernier caliper)
(จ) มาตรวัดความดัน (pressure gauge) ที่มีความผิดพลาดไม่เกินร้อยละ + 1
(ฉ) นาฬิกาจับเวลา
(ช) เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสม ขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า ๖ กิโลกรัม อย่างน้อย
๒ ถัง
ข้อ ๘
ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบถัง ต้องมี
(๑) อาคารสถานที่ที่มีลักษณะตามข้อ ๗ (๑)
(๒)
วิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบถังที่มีความรู้และความสามารถในการตรวจและทดสอบถังซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้
(ก) ผู้ตรวจและทดสอบถังที่เป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
วิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบถัง
ต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
ประเภทสามัญวิศวกรขึ้นไป
(ข) ผู้ตรวจและทดสอบถังที่เป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษา
วิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบถัง
ต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมเครื่องกล
และเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานนั้น
(๓) เครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและเพียงพอ
ดังนี้
(ก) เครื่องทดสอบความหนาของถังแบบไม่ทำลาย (non-destructive thickness tester)
(ข) เครื่องสูบน้ำแรงดันสูง
(ค) ถังน้ำ (water jacket)
(ง) กระบอกตวงน้ำ
(จ) มาตรวัดความดัน (pressure gauge) ที่มีความผิดพลาดไม่เกินร้อยละ + 1
(ฉ) เครื่องชั่ง ที่มีความผิดพลาดไม่เกินร้อยละ + 0.5
(ช) เครื่องมือวัดละเอียด เช่น เวอร์เนียคาลิเปอร์ (vernier caliper)
ข้อ ๙
เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๓ ให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่
หากไม่ครบถ้วนถูกต้องให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอไปดำเนินการแก้ไขภายใน ๔๕ วัน
นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งให้แก้ไข
และหากคำขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้องให้ดำเนินการต่อไป
(๒) มีหนังสือแจ้งการให้ความเห็นชอบในหลักการให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
และให้ผู้ยื่นคำขอแจ้งนัดหมายให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจประเมิน ณ สถานประกอบกิจการภายใน
๑๘๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
หากไม่แจ้งภายในกำหนดให้ถือว่าคำขอนั้นสิ้นสุดลง
(๓) ให้เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินออกไปยังสถานประกอบกิจการของผู้ยื่นคำขอ
เพื่อตรวจสอบความถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๗ และข้อ ๘ หากพบข้อบกพร่อง
ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบและดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๔) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่ดำเนินการใด ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการขอรับการให้ความเห็นชอบภายในระยะเวลากำหนด
หรือไม่แก้ไขข้อบกพร่องตาม (๓) กรมการขนส่งทางบกจะพิจารณายกเลิกคำขอ
โดยการแจ้งการยกเลิกคำขอเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
(๕) เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินตรวจสอบความถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๗
และข้อ ๘ เสร็จแล้วและเห็นว่าผู้ยื่นคำขอผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ให้นำเสนออธิบดีเพื่ออนุมัติและออกหนังสือให้ความเห็นชอบให้กับผู้ยื่นคำขอตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้
ข้อ ๑๐
กรมการขนส่งทางบกจะทำการประเมินความสามารถหรือตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ
ตลอดจนการดำเนินกิจการของผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับความเห็นชอบไปแล้วได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
โดยผู้ตรวจและทดสอบต้องอำนวยความสะดวกแก่อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายในการเข้าประเมินหรือตรวจสอบ
ข้อ ๑๑
ผู้ตรวจและทดสอบต้องเก็บสำเนาหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบ และรายละเอียดการตรวจและทดสอบไว้ที่สถานประกอบกิจการให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบของกรมการขนส่งทางบก
เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๕ ปี
ข้อ ๑๒
ผู้ตรวจและทดสอบต้องจัดให้มีสิ่งต่อไปนี้แสดงให้ผู้รับบริการเห็นอย่างชัดเจน
(๑) เครื่องหมายแสดงสถานตรวจรถใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
ตามแบบและขนาดท้ายประกาศนี้
(๒) ป้ายแสดงชื่อสถานตรวจรถใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง คำว่า ผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้ง หรือ ผู้ตรวจและทดสอบถัง แล้วแต่กรณี พร้อมข้อความ โดยได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก เลขที่..................
(๓) หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ
ที่ได้รับจากกรมการขนส่งทางบกตามแบบท้ายประกาศนี้
(๔) วัน และเวลาที่ให้บริการตรวจและทดสอบ
(๕) ชื่อ และรูปถ่ายวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ
ที่ปฏิบัติงานในวันและเวลาตาม (๔)
(๖) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบการติดตั้ง
หรืออัตราค่าบริการตรวจและทดสอบถังตามที่ระบุไว้ในคำขอ
ข้อ ๑๓
ผู้ตรวจและทดสอบที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข
เกี่ยวกับสถานที่ประกอบกิจการหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบให้แตกต่างไปจากที่ได้รับความเห็นชอบ
ให้ยื่นคำขอต่อสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่
เพื่อขอรับความเห็นชอบก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๔
ผู้ตรวจและทดสอบซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหนังสือให้ความเห็นชอบหรือใบแทน
ก่อนวันที่หนังสือให้ความเห็นชอบสิ้นอายุอย่างน้อย ๓๐ วัน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ก่อน
๙๐ วัน
ข้อ ๑๕
ผู้ตรวจและทดสอบซึ่งประสงค์จะขอยกเลิกการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ
ให้แจ้งกรมการขนส่งทางบกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน
ข้อ ๑๖
ในกรณีหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบสูญหาย
ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือ
ให้ความเห็นชอบตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานการแจ้งความ (ถ้ามี)
และหนังสือให้ความเห็นชอบที่ชำรุดนั้น
ในการออกใบแทนหนังสือให้ความเห็นชอบ
ให้เป็นไปตามแบบหนังสือให้ความเห็นชอบเดิม แต่ให้ระบุ ใบแทน ไว้ที่ด้านหน้าด้วย
ข้อ ๑๗
หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับความเห็นชอบ
ไม่สามารถโอนให้แก่ผู้อื่นได้
ข้อ ๑๘
เมื่อปรากฏว่าผู้ตรวจและทดสอบไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด ให้กรมการขนส่งทางบกมีอำนาจตักเตือน
ระงับใช้หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบชั่วคราว
หรือยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบนั้นได้
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
รองอธิบดี
รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
๒.
เครื่องหมายแสดงสถานที่ตรวจและทดสอบรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๙๐ ง/หน้า ๖๓/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ |
594079 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ ของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. 2551
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ
และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ
ของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๘ และข้อ ๙
ของกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข
และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ในประกาศนี้
การตรวจและทดสอบการติดตั้ง หมายความว่า
การตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบและการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
การตรวจและทดสอบถัง หมายความว่า
การตรวจและทดสอบถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
ผู้ตรวจและทดสอบ ได้แก่
(๑)
ผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้ง หมายความว่า
ผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งและเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
(๒)
ผู้ตรวจและทดสอบถัง หมายความว่า
ผู้ซึ่งทำการตรวจและทดสอบถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ติดตั้งในรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
ข้อ ๒
การตรวจและทดสอบการติดตั้ง ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑)
ตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งให้เป็นไปตามมาตรฐานเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
รวมทั้งรายละเอียดต่าง ๆ
ต้องตรงตามหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ
(๒)
ตรวจสอบความถูกต้องของการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการติดตั้ง ตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
(๓)
ตรวจพินิจภายนอกถังซึ่งต้องไม่ปรากฏข้อบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก)
ถังถูกไฟไหม้
(ข)
มีหลุมบ่อโดดเดี่ยวลึกเกินร้อยละ ๕๐ ของความหนาผนังถังเดิม
(ค)
มีรอยผุกร่อนเป็นแนวยาวตั้งแต่ ๗๕ มิลลิเมตรขึ้นไป และลึกเกินร้อยละ ๒๕
ของความหนาผนังถังเดิม หรือมีรอยผุกร่อนเป็นแนวยาวน้อยกว่า ๗๕ มิลลิเมตร
และลึกเกินร้อยละ ๕๐ ของความหนาผนังถังเดิม
(ง)
มีรอยผุกร่อนทั่วไปลึกเกินร้อยละ ๕๐ ของความหนาผนังถังเดิม
(จ)
มีรอยบุบเว้าที่รอยเชื่อมลึกเกิน ๖ มิลลิเมตร
(ฉ)
มีรอยบุบเว้าที่บริเวณอื่นลึกเกินร้อยละ ๑๐ ของความกว้างเฉลี่ยของรอยบุบเว้า
(ช)
มีรอยบาด รอยขูดขีด หรือทิ่มแทง ลึกเกินร้อยละ ๕๐ ของความหนาผนังถังเดิม หรือมีรอยดังกล่าวยาวตั้งแต่
๗๕ มิลลิเมตรขึ้นไป และลึกเกินร้อยละ ๒๕ ของความหนาผนังถังเดิม
(ซ)
มีรอยรั่ว ซึม รอยร้าว รอยหักพับ หรือบวม
(ฌ)
จำนวนเกลียวของลิ้นถังที่กินกันลดลงจากที่ระบุไว้ หรือเมื่อขันเกลียวแน่นแล้วก๊าซรั่วซึม
(ญ)
ลิ้นเอียงจนเห็นได้ชัดเจน
(ฎ)
โกร่งกำบังหรือฝาครอบเครื่องอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนถังเสียรูป หลวม
หรือมีรอยเชื่อมชำรุดหรือฐานถังชำรุดทำให้ถังเอียงจนเห็นได้ชัดเจน
(ฏ)
ถังบิดเบี้ยวไม่ได้รูปทรง หรือมีการดัดแปลงหรือต่อเติมถัง
(ฐ)
เครื่องหมายประจำถังลบเลือนอ่านได้ไม่ชัดเจน มีการแก้ไขโดยไม่ถูกต้อง
หรือมีข้อความไม่ถูกต้องตาม มอก. ๓๗๐-๒๕๒๕
(ฑ)
อุปกรณ์ระบายความดันเสียหาย หรือเสียรูป หรือไม่ตรงตามที่ผู้ผลิตกำหนด
(๔)
ทดสอบการรั่วของระบบเชื้อเพลิงก๊าซปิโตรเลียมเหลวด้วยการเติมก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือก๊าซอื่นที่เหมาะสม
เช่น ไนโตรเจน ให้มีความดันไม่น้อยกว่า ๗๐๐ กิโลปาสกาล เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐
นาที ต้องไม่ปรากฏว่ามีการรั่วของระบบเชื้อเพลิง
ข้อ ๓
การตรวจและทดสอบถังต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑)
ตรวจสอบภายนอกถังแล้ว ต้องไม่ปรากฏข้อบกพร่องตามข้อ ๒ (๓)
(๒)
ถังเปล่าต้องมีมวลไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕ ของมวลถังเดิม
(๓)
ทดสอบถังด้วยความดันไฮดรอลิกขยายตัว (hydrostatic stretch test) ปริมาตรการขยายตัวถาวรของถังต้องไม่เกิน ๑ ใน
๕๐๐๐ ของปริมาตรเดิมของถัง ตามวิธีการทดสอบของ มอก. ๓๗๐-๒๕๒๕
ข้อ ๔
ผู้ตรวจและทดสอบต้องดำเนินการตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ทำการตรวจและทดสอบ ณ
สถานที่ประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในหนังสือให้ความเห็นชอบโดยบุคลากรของผู้ตรวจและทดสอบ
(๒)
ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการตรวจและทดสอบตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแสดงขั้นตอนและวิธีการตรวจและทดสอบ
(๓)
ทำการตรวจและทดสอบเฉพาะรถที่ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบจากผู้ได้รับความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น
เว้นแต่ กรณีเป็นรถที่ได้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบไว้แล้วก่อนวันที่ ๑๘
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ก็ให้สามารถทำการตรวจและทดสอบได้
(๔)
จัดเก็บค่าบริการตรวจและทดสอบตามอัตราที่ระบุไว้ในคำขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ
ข้อ ๕
เมื่อผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งทำการตรวจทดสอบเสร็จแล้วเห็นว่า
เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบเป็นไปตามที่กำหนด
ให้ผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งติดเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบตามแบบท้ายประกาศนี้
ไว้ที่ด้านในซ้ายของกระจกกันลมหน้าให้เห็นได้อย่างชัดเจน
พร้อมกับออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบการติดตั้งตามแบบท้ายประกาศนี้
และแนบภาพถ่ายที่แสดงถึงการตรวจและทดสอบรถที่ให้การรับรองนั้น
ให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
และติดเครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงไว้ที่รถ
ข้อ ๖
เมื่อผู้ตรวจและทดสอบถังทำการตรวจทดสอบแล้วเห็นว่า
ถังเป็นไปตามที่กำหนดให้ผู้ตรวจและทดสอบถังติดเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบถังตามแบบท้ายประกาศนี้
ไว้ที่ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซทุกใบให้เห็นได้อย่างชัดเจน
พร้อมกับออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบถังตามแบบท้ายประกาศนี้
ให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ข้อ ๗
ให้ผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งจัดเก็บสำเนาหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบตามข้อ
๕ พร้อมรายละเอียดไว้เป็นเวลาอย่างน้อย ๕ ปี
โดยรายละเอียดการตรวจและทดสอบอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ดังนี้
(๑)
ชื่อผู้ตรวจและทดสอบ
(๒)
เลขที่หนังสือรับรอง
(๓)
วัน เดือน ปี ที่ทำการตรวจและทดสอบ
(๔)
สถานที่ตรวจและทดสอบ
(๕)
หมายเลขทะเบียนรถ หรือหมายเลขประจำรถ (Vehicle Identity Number : VIN)
(๖)
รายการตรวจและทดสอบมาตรฐานเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้ง
(๗)
รายการตรวจและทดสอบการติดตั้ง
(๘)
ชื่อผู้ทำการตรวจและทดสอบ พร้อมระบุหมายเลขทะเบียนวิศวกร หรือตำแหน่งหน้าที่
(๙)
ภาพถ่ายหรือหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงผู้ทำการตรวจและทดสอบได้ตรวจและทดสอบกับรถที่ให้การรับรองนั้น
ข้อ ๘
ให้ผู้ตรวจและทดสอบถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว
จัดทำสำเนาหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบตามข้อ ๖
พร้อมรายละเอียดการตรวจและทดสอบที่มีรายการอย่างน้อยดังนี้ ไว้เป็นเวลา ๕ ปี
(๑)
ชื่อผู้ตรวจและทดสอบ
(๒)
เลขที่หนังสือรับรอง
(๓)
วัน เดือน ปี ที่ทำการตรวจและทดสอบ
(๔)
สถานที่ตรวจและทดสอบ
(๕)
หมายเลขทะเบียนรถ หรือหมายเลขประจำรถ (Vehicle Identity Number : VIN)
(๖)
รายละเอียดของถัง อาทิเช่น ผู้ผลิต หมายเลขถัง วันผลิต มวลถังเปล่า
(๗)
รายการตรวจและทดสอบถัง
(๘)
ชื่อผู้ทำการตรวจและทดสอบถัง พร้อมระบุหมายเลขทะเบียนวิศวกร หรือตำแหน่งหน้าที่
ข้อ ๙
การตรวจและทดสอบการติดตั้งต้องดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลา ดังนี้
(๑)
รถที่ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงโดยผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต
ให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต
ก่อนการจดทะเบียนครั้งแรก และต้องได้รับการตรวจและทดสอบครั้งต่อไปทุก ๕ ปี
(๒)
รถที่ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงโดยผู้ติดตั้งทั่วไป
ให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งทั่วไปก่อนการใช้งาน
และต้องได้รับการตรวจและทดสอบครั้งต่อไป ทุก ๕ ปี
ข้อ ๑๐
รถที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบใหม่ ดังต่อไปนี้
ต้องทำการตรวจและทดสอบตามประกาศนี้ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบดังกล่าว
(๑)
ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว (cylinder or container)
(๒)
ลิ้นบรรจุ (filling valve)
(๓)
ลิ้นระบายความดัน (pressure relief valve)
(๔)
ลิ้นกันกลับ (check valve or non return valve)
(๕)
ลิ้นเปิดปิด (shut-off valve)
(๖)
อุปกรณ์วัดระดับก๊าซเหลว (level indicator or fixed liquid level gauge)
(๗)
อุปกรณ์ป้องกันการบรรจุเกิน (overfill protection device)
(๘)
อุปกรณ์ระบายความดัน (pressure relief device)
(๙)
อุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดลิ้นระยะไกลพร้อมด้วยลิ้นป้องกันการไหลเกิน (remotely controlled service valve with excess flow valve)
(๑๐)
อุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซ (vaporizer and pressure regulator)
ข้อ ๑๑
ให้เจ้าของรถหรือผู้ประกอบการขนส่งนำรถมาทำการตรวจสอบถังโดยผู้ตรวจและทดสอบถัง
เมื่อใช้งานมาแล้วครบ ๑๐ ปี นับแต่วันที่ผลิต และต้องได้รับการตรวจและทดสอบครั้งต่อไปทุก
ๆ ๕ ปี
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
รองอธิบดี
รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบถัง
๒.
หนังสือรับรองการตรวจและทดสอบการติดตั้งรถใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
๓.
เครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบการติดตั้ง
๔.
เครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบถัง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๙๐ ง/หน้า ๕๘/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ |
594077 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิก การให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ ของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. 2551
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิก
การให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ
ของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑๐ ของกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบ
การเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ในประกาศนี้
การติดตั้ง หมายความว่า
การติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ผู้ติดตั้ง หมายความว่า
ผู้ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกให้เป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต หมายความว่า
ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถซึ่งติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผู้ติดตั้งผลิต
โดยมีการกำหนดรหัสหรือรุ่นเป็นการเฉพาะ
ผู้ติดตั้งทั่วไป หมายความว่า
ผู้ติดตั้งที่ไม่เป็นผู้ผลิตรถซึ่งติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว
เจ้าหน้าที่ผู้ประเมิน หมายความว่า
ข้าราชการที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ตรวจประเมินความสามารถในการติดตั้ง
ข้อ ๒
ผู้ใดประสงค์จะขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ณ สถานที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ติดตั้งทั่วไปที่มีสถานประกอบกิจการอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
หรือผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต
ให้ยื่นต่อสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก
(๒)
ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ติดตั้งทั่วไปที่มีสถานประกอบกิจการอยู่ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้ยื่นต่อสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่
ข้อ ๓
ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต
จะต้องเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด
หรือบริษัทมหาชนจำกัด โดยต้องยื่นเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ ดังนี้
(๑)
สำเนาทะเบียนการค้า
(๒)
สำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่มีอายุไม่เกิน ๖ เดือน
(๓)
สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ หรือผู้มีอำนาจลงนาม หรือหลักฐานการมอบอำนาจ
(๔)
หนังสือมอบอำนาจ
กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตในต่างประเทศมอบอำนาจให้ผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทยเป็นผู้ยื่นคำขอ
ข้อ ๔
กรณีผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งทั่วไป
ให้ยื่นเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ ดังนี้
(๑)
บุคคลธรรมดา
(ก)
สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(ข)
หนังสือที่แสดงถึงหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้ง (ถ้ามี)
(ค)
เอกสารแสดงขั้นตอน วิธีการติดตั้ง
(ง)
เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ติดตั้ง ได้แก่ หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์
หรือสิทธิการใช้สถานที่ แผนที่แสดงที่ตั้ง
ภาพแบบอาคารและพื้นที่ติดตั้งโดยแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจนและภาพถ่ายสถานที่ติดตั้ง
(จ)
รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ
(ฉ)
หลักฐานเอกสารแสดงคุณวุฒิของบุคลากรผู้ทำการติดตั้ง
(๒)
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ก)
สำเนาทะเบียนการค้า
(ข)
สำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่มีอายุไม่เกิน ๖ เดือน
(ค)
สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ หรือผู้มีอำนาจลงนาม
หรือหลักฐานการมอบอำนาจ
(ง)
เอกสารแสดงขั้นตอน วิธีการติดตั้ง
(จ)
เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ติดตั้ง ได้แก่ หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์
หรือสิทธิการใช้สถานที่ แผนที่แสดงที่ตั้ง
ภาพแบบอาคารและพื้นที่ติดตั้งโดยแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจนและภาพถ่ายสถานที่ติดตั้ง
(ฉ)
รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ
(ช)
หลักฐานเอกสารแสดงคุณวุฒิของบุคลากรผู้ทำการติดตั้ง
(๓)
ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษา
(ก)
หนังสือมอบอำนาจของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ
หรือสถาบันการศึกษาให้ดำเนินการยื่นขอหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง
(ข)
โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้ง
(ค)
เอกสารแสดงขั้นตอน วิธีการติดตั้ง
(ง)
เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ติดตั้ง ได้แก่ แผนที่แสดงที่ตั้ง
ภาพแบบอาคารและพื้นที่ติดตั้งโดยแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจน
และภาพถ่ายสถานที่ติดตั้ง
(จ)
รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ
(ฉ)
หลักฐานเอกสารแสดงคุณวุฒิของบุคลากรผู้ทำการติดตั้ง
ข้อ ๕
ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง
ต้องไม่เป็นผู้ถูกยกเลิกการเป็นผู้ติดตั้ง
เว้นแต่พ้นระยะเวลาการถูกยกเลิกมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ เดือน
ข้อ ๖
ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งทั่วไป ต้องมี
(๑)
อาคารสถานที่ มีลักษณะดังนี้
(ก)
ตัวอาคารมีความมั่นคงแข็งแรง ถาวร สร้างจากวัสดุที่ไม่ติดไฟง่าย
(ข)
สามารถติดตั้งเครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ใช้ในการติดตั้ง
(ค)
พื้นที่ใช้ในการติดตั้งต้องเป็นพื้นราบที่สะดวกเพียงพอและมีความปลอดภัยในการทำงาน
ขนาดไม่น้อยกว่า ๔๐ ตารางเมตร ความกว้างไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ เมตร
(ง)
มีพื้นที่สำหรับแสดงแผนผังการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงในจุดที่เห็นได้อย่างชัดเจน
โดยแผนผังดังกล่าวต้องระบุตำแหน่งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบที่จะทำการติดตั้งไว้ด้วย
(จ)
มีการกำหนดพื้นที่อันตรายและป้ายคำเตือนบ่งชี้เขตต่าง ๆ อย่างชัดเจนและเหมาะสม
(๒)
บุคลากรผู้ทำการติดตั้งต้อง
(ก)
มีวุฒิการศึกษาระดับ ปวช. ขึ้นไป หรือเทียบเท่าในสาขาช่างยนต์ หรือช่างกลโรงงาน
หรือ
(ข)
ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้ง เช่น
หลักสูตรที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัดขึ้น
หรือหลักสูตรที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจัดขึ้น
หรือหลักสูตรอื่นที่กรมการขนส่งทางบกเห็นชอบ หรือ
(ค)
ผ่านการทดสอบจากกรมการขนส่งทางบก
(๓)
เครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและเพียงพออย่างน้อย ดังนี้
(ก)
เครื่องยก บ่อ หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นใด
เพื่อใช้ในการติดตั้งได้อย่างปลอดภัย
โดยผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถทำงานในลักษณะยืนได้
(ข)
เครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้ง
(ค)
เครื่องมือหรืออุปกรณ์อื่นที่สามารถใช้ตรวจสอบการรั่วของก๊าซได้
(ง)
เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสมอย่างน้อย ๒ ถัง
(๔)
เอกสารแสดงขั้นตอนและวิธีการติดตั้ง
ข้อ ๗
เมื่อได้รับคำขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง
ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
หากไม่ครบถ้วนถูกต้องให้แจ้งผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขภายใน ๔๕ วัน
นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งให้แก้ไข หากคำขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง ให้ดำเนินการต่อไป
ดังนี้
(๑)
มีหนังสือแจ้งการให้ความเห็นชอบในหลักการให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
และให้ผู้ยื่นคำขอแจ้งนัดหมายให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบความถูกต้องของรายละเอียดตามคำขอภายใน
๑๘๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
หากไม่แจ้งภายในกำหนดให้ถือว่าคำขอนั้นสิ้นสุดลง
(๒)
ให้เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินความสามารถในการติดตั้งออกประเมิน ณ
สถานที่ประกอบกิจการของผู้ยื่นคำขอ เว้นแต่ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตในต่างประเทศ
ให้เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินทำการประเมินความสามารถในการติดตั้งโดยพิจารณาจากเอกสารหลักฐานของผู้ยื่นคำขอที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถ
ในการเป็นผู้ติดตั้ง
หากพบข้อบกพร่องให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบและดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๓)
ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่ดำเนินการใด ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการขอรับการให้ความเห็นชอบภายในระยะเวลากำหนด
หรือไม่แก้ไขข้อบกพร่องตาม (๒) ให้พิจารณายกเลิกคำขอ
และแจ้งการยกเลิกคำขอเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
(๔)
เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินความสามารถในการติดตั้งทำการประเมินเสร็จแล้ว
และเห็นว่าผู้ยื่นคำขอผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ให้นำเสนออธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย เพื่ออนุมัติและออกหนังสือให้ความเห็นชอบให้กับผู้ยื่นคำขอต่อไป
ข้อ ๘
ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง ต้องอำนวยความสะดวกแก่อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย
เข้าประเมินความสามารถ หรือตรวจสอบการดำเนินกิจการ ตลอดจนการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ
ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
เว้นแต่ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตในต่างประเทศให้ดำเนินการตามข้อ ๗ (๒) โดยอนุโลม
ข้อ ๙
ผู้ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดตั้งทั่วไปต้องเก็บเอกสารหลักฐานบันทึกการติดตั้งไว้ที่สถานประกอบกิจการให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบของกรมการขนส่งทางบก
เป็นระยะเวลา ไม่น้อยกว่า ๕ ปี
ข้อ ๑๐
ผู้ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดตั้งทั่วไปต้องจัดให้มีสิ่งต่อไปนี้
แสดงให้ผู้รับบริการเห็นอย่างชัดเจน
(๑)
เครื่องหมายแสดงสถานติดตั้งรถใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
ตามแบบและขนาดท้ายประกาศนี้
(๒)
ป้ายแสดงชื่อสถานติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พร้อมข้อความ โดยได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก เลขที่ ..................
(๓)
หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง
พร้อมด้วยชื่อและรูปถ่ายของบุคลากรผู้ทำการติดตั้ง
ข้อ ๑๑
ผู้ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดตั้งที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข
เกี่ยวกับสถานประกอบกิจการให้แตกต่างไปจากที่ได้รับความเห็นชอบ
ให้ยื่นคำขอต่อสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่
เพื่อขอรับความเห็นชอบก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๒
ผู้ติดตั้งซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหนังสือให้ความเห็นชอบ
หรือใบแทน ก่อนวันที่หนังสือให้ความเห็นชอบสิ้นอายุอย่างน้อย ๓๐ วัน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ก่อน
๙๐ วัน
ข้อ ๑๓
ผู้ติดตั้งซึ่งประสงค์จะขอยกเลิกการเป็นผู้ติดตั้ง
ให้แจ้งกรมการขนส่งทางบกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน
ข้อ ๑๔
ในกรณีที่หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดตั้งยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือให้ความเห็นชอบตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
พร้อมด้วยหลักฐานการแจ้งความ (ถ้ามี) หรือหนังสือให้ความเห็นชอบที่ชำรุดนั้น
ในการออกใบแทนหนังสือให้ความเห็นชอบ
ให้เป็นไปตามแบบหนังสือให้ความเห็นชอบเดิม แต่ให้ระบุ ใบแทน ไว้ที่ด้านหน้าด้วย
ข้อ ๑๕
หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับความเห็นชอบไม่สามารถโอนให้แก่ผู้อื่นได้
ข้อ ๑๖
เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดตั้งไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
ให้กรมการขนส่งทางบกมีอำนาจตักเตือน ระงับใช้หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งชั่วคราว
หรือยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งนั้นได้ ตามสมควรแก่กรณี
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
รองอธิบดี
รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
๒.
เครื่องหมายแสดงสถานติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๙๐ ง/หน้า ๕๒/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ |
594075 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และแบบหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ ของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. 2551
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการติดตั้ง และแบบหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ
ของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๖ และข้อ ๗ ของกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง
และแบบหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ในประกาศนี้
ถัง หมายความว่า
ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว
ข้อ ๒
ถังที่จะนำมาติดตั้งต้องมีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(๑)
ลิ้นบรรจุ (filling valve)
(๒)
ลิ้นระบายความดัน (pressure relief valve)
(๓)
ลิ้นกันกลับ (check valve or non return valve)
(๔)
ลิ้นเปิดปิด (shut-off valve)
(๕)
อุปกรณ์วัดระดับก๊าซเหลว (level indicator or fixed liquid level gauge) เป็นระบบไฟฟ้าและมีหน้าปัดแสดงที่ห้องผู้ขับรถ
(๖)
อุปกรณ์ป้องกันการบรรจุเกิน (overfill protection device)
(๗)
อุปกรณ์ระบายความดัน (pressure relief device)
(๘)
อุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดลิ้นระยะไกลพร้อมด้วยลิ้นป้องกันการไหลเกิน (remotely controlled service valve with excess flow valve)
ข้อ ๓
การติดตั้งถังให้ทำได้บริเวณใต้ท้องรถ หรือภายในตัวถังรถ
และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑)
ห้ามติดตั้งไว้ในห้องเครื่องกำเนิดพลังงาน หรือส่วนหน้าของตัวถังรถ
หรือด้านหน้าของเพลาล้อหน้า
และต้องติดตั้งอยู่ห่างจากส่วนท้ายสุดของกันชนหลังไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร
(๒)
ห้ามติดตั้งบนหลังคา หรือเหนือห้องโดยสาร
(๓)
ต้องวางถังในลักษณะที่สามารถมองเห็นแผ่นป้ายแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับถังได้โดยไม่ต้องรื้อถอนส่วนประกอบใด
ๆ ออก
(๔)
ยึดถังหรือขาถังให้ติดแน่นกับตัวรถ ในกรณีที่ใช้แถบโลหะรัด
ต้องมีวัสดุที่ยืดหยุ่นได้ เช่น สักหลาด หนัง ยาง พลาสติก เป็นต้น
หุ้มหรือคั่นกลางเพื่อป้องกันโลหะเสียดสีกัน และเมื่อรถสั่นสะเทือน
ถังต้องไม่ขยับเขยื้อน และต้องติดตั้งถังตามคู่มือที่ผู้ผลิตกำหนด
(๕)
อุปกรณ์ยึดถังต้องทนต่อแรงกระชากที่เกิดจากความเร่งหรือความหน่วงของรถ
และเมื่อเกิดแรงดังกล่าวถังยังต้องยึดติดกับตัวรถอย่างมั่นคงไม่ขยับเขยื้อน
(๖)
ห้ามเชื่อมหรือต่อเติมถังกับสิ่งอื่นใด เว้นแต่เป็นการเชื่อมมาจากโรงงานผู้ผลิต
กรณีมีเหตุจำเป็นต้องติดตั้งถังบริเวณอื่นนอกจากที่กำหนด
จะกระทำได้เมื่อกรมการขนส่งทางบกเห็นว่ามีความปลอดภัย มั่นคงแข็งแรง
และเหมาะสมในการใช้งาน
ข้อ ๔
ภายใต้บังคับความในข้อ ๒ การติดตั้งถังหลายใบในรถคันเดียวกัน ถ้าใช้ท่อนำก๊าซร่วมสำหรับบรรจุก๊าซ
ถังแต่ละใบต้องมีลิ้นเปิดปิดให้บรรจุก๊าซได้คราวละถัง
และถ้าใช้ท่อนำก๊าซร่วมที่ต่อจากถัง ไปยังเครื่องกำเนิดพลังงาน
ถังแต่ละใบต้องมีลิ้นเปิดปิดให้จ่ายก๊าซได้คราวละถังด้วย
ข้อ ๕
ภายใต้บังคับความในข้อ ๓ การติดตั้งถังใต้ท้องรถ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การติดตั้งเพิ่มเติมดังนี้
(๑)
จะมีเรือนกักก๊าซที่ติดตั้งบนถังหรือไม่ก็ได้
(๒)
ส่วนล่างสุดของถังและเครื่องอุปกรณ์ที่ติดกับถัง
ต้องอยู่สูงกว่าระยะต่ำสุดของรถไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร
และกรณีที่ติดตั้งถังด้านหลังเพลาล้อท้ายสุดของรถ ส่วนล่างสุดของถัง
รวมทั้งเครื่องอุปกรณ์ที่ติดกับถัง ต้องอยู่สูงกว่าระยะต่ำสุดของรถไม่น้อยกว่า ๕
เซนติเมตร และอยู่สูงจากพื้นถนน ไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๖
ของระยะห่างระหว่างแกนของถังกับแกนของเพลาล้อท้ายสุด
(๓)
เครื่องอุปกรณ์ที่ติดตั้งกับถังต้องอยู่ห่างจากตัวถังรถเพื่อป้องกันมิให้เกิดการเสียดสีกัน
(๔)
ติดแผ่นโลหะหนาพอสมควรสำหรับป้องกันเศษหินที่กระเด็นจากการหมุนของล้อรถ
ข้อ ๖
การติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบสำหรับการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
ต้องปฏิบัติดังนี้
(๑)
ติดตั้งให้ห่างจากอุปกรณ์ที่เป็นแหล่งความร้อน แหล่งที่เกิดประกายไฟ
หรือแหล่งสารเคมี เช่น ท่อไอเสีย เป็นต้น ไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร
เว้นแต่มีการป้องกันเป็นอย่างดี
(๒)
ไม่ติดตั้งในตำแหน่งที่อาจจะได้รับความเสียหายเนื่องจากการชำรุดของชิ้นส่วนของรถที่ทำงานในลักษณะเหวี่ยงหรือหมุน
เช่น สายพาน หรือเพลาขับ เป็นต้น
(๓)
ไม่ให้ส่วนหนึ่งส่วนใดพ้นออกนอกตัวถังรถ
ข้อ ๗
การติดตั้งเรือนกักก๊าซที่มีลักษณะเป็นฝาครอบเครื่องอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนถังเรือนกักก๊าซนั้น
ต้องมีท่อที่มีลักษณะและขนาดเหมาะสมสำหรับระบายก๊าซที่รั่วซึมจากเครื่องอุปกรณ์ดังกล่าวออกนอกตัวรถได้ดี
โดยปลายท่อต้องอยู่ห่างจากท่อไอเสียไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร
กรณีไม่สามารถติดตั้งเรือนกักก๊าซที่มีลักษณะเป็นฝาครอบได้
ต้องติดตั้งเรือนกักก๊าซแบบเป็นกล่องบรรจุถังที่มีลักษณะและหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑)
ต้องทำด้วยวัสดุไม่ติดไฟง่าย และมีฝาปิดแน่น
(๒)
มีช่องทำด้วยวัสดุใสให้สามารถมองเห็นเครื่องอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนถังได้
(๓)
วางกล่องบรรจุถังบนที่รองรับที่เหมาะสม
ซึ่งสามารถบรรจุก๊าซได้สะดวกและยึดกล่องบรรจุถังให้ติดแน่นกับพื้นรถ
(๔)
จุดต่ำสุดของกล่องบรรจุถัง
ต้องมีท่อที่มีลักษณะและขนาดเหมาะสมสำหรับระบายก๊าซที่รั่วซึมตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๘
การติดตั้งท่อนำก๊าซ ต้องปฏิบัติดังนี้
(๑)
ส่วนล่างสุดของท่อนำก๊าซต้องอยู่สูงกว่าระยะต่ำสุดของรถไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร
และในกรณีที่ติดตั้งถังด้านหลังเพลาล้อท้ายสุดของรถ
ส่วนล่างสุดของท่อนำก๊าซที่ต่อจากถัง ต้องอยู่สูงกว่าระยะต่ำสุดของรถไม่น้อยกว่า ๕
เซนติเมตร และต้องอยู่สูงจากพื้นถนนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๖
ของระยะห่างระหว่างแกนของถังกับแกนเพลาล้อท้ายสุด
(๒)
ท่อนำก๊าซต้องมีความหนาและมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในที่เหมาะสมกับการทำงานของลิ้นควบคุมการไหลและอัตราการใช้เชื้อเพลิงของเครื่องกำเนิดพลังงานและสามารถทนความดันได้โดยปลอดภัย
(๓)
ท่อนำก๊าซต้องไม่ถูกกระทบกระเทือน หรือเสียดสีกับสิ่งอื่นใด
(๔)
ท่อนำก๊าซส่วนที่อยู่ภายในตัวถังรถต้องเป็นชิ้นส่วนเดียวกันโดยไม่มีการเชื่อมหรือต่อ
(๕)
ท่อนำก๊าซที่ติดตั้งในตำแหน่งซุ้มล้อ
หรือในตำแหน่งที่อาจจะทำให้เกิดความเสียหายจากการกระแทกของหินที่กระเด็นจากล้อหรือใต้ท้องรถ
ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันความเสียหาย
(๖)
ท่อนำก๊าซส่วนที่อยู่ใต้ท้องรถต้องต่อเข้าในโครงคัสซี หรือส่วนของตัวถังรถ
ที่สามารถป้องกันการกระทบกระแทกจากภายนอกได้
และต้องไม่ติดตั้งในตำแหน่งที่ออกแบบไว้สำหรับยกรถ
(๗)
ท่อนำก๊าซต้องยึดแน่นกับโครงคัสซีหรือส่วนของตัวถังรถด้วยตัวยึด
โดยตัวยึดต้องมีระยะห่างกันไม่เกินช่วงละ ๕๐ เซนติเมตร
(๘)
ท่อนำก๊าซส่วนที่ผ่านเข้าไปในห้องผู้โดยสารหรือห้องผู้ขับรถ
ต้องเดินในท่อโลหะอีกชั้นหนึ่งสำหรับให้ก๊าซระบายออกนอกตัวถังรถได้เมื่อมีก๊าซรั่ว
และต้องมีการป้องกันการเสียดสีระหว่างท่อโลหะกับท่อนำก๊าซเป็นอย่างดี
(๙)
ข้อต่อต่าง ๆ ต้องเป็นข้อต่อแบบเกลียว และวัสดุที่ใช้ต้องเหมาะสมกับท่อนำก๊าซ
ข้อ ๙
การติดตั้งท่อนำก๊าซสำหรับบรรจุก๊าซกรณีที่ติดตั้งถังภายในตัวถังรถ
ต้องปฏิบัติดังนี้
(๑)
ท่อนำก๊าซต้องเป็นท่อแบบยืดหยุ่นหรือแบบคงตัวชนิดที่สามารถทนต่อแรงสั่นสะเทือนเนื่องจากการใช้งานได้
มีขนาดเหมาะสม ทนความดันได้โดยปลอดภัย
(๒)
ต่อท่อนำก๊าซกับลิ้นบรรจุที่ถังออกไปยังตัวรถด้านใดด้านหนึ่ง
แต่ต้องไม่ยื่นพ้นออกนอกตัวรถ
(๓)
ปลายท่อนำก๊าซต้องติดตั้งอุปกรณ์รับเติมก๊าซที่ยึดติดกับตัวรถอย่างมั่นคง
ในตำแหน่งที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก และอยู่ห่างจากประตูทางขึ้นลงพอสมควร
ข้อ ๑๐
การติดตั้งระบบควบคุมการเปิดปิดก๊าซ ต้องปฏิบัติดังนี้
(๑)
ติดตั้งลิ้นควบคุมการเปิดปิดก๊าซในตำแหน่งที่ก๊าซจะไม่พุ่งเข้ารถเมื่อเกิดก๊าซรั่วจากลิ้นควบคุมการเปิดปิดก๊าซไม่ว่าจะรั่วจากท่อทางเข้าหรือท่อทางออก
(๒)
ลิ้นเปิดปิดก๊าซต้องปิดโดยอัตโนมัติเมื่อเปิดใช้น้ำมันเบนซิน
(๓)
เมื่อเครื่องกำเนิดพลังงานดับ ลิ้นเปิดปิดก๊าซต้องปิดโดยอัตโนมัติ
(๔)
ระบบไฟฟ้าที่ควบคุมการเปิดปิดก๊าซไปยังเครื่องกำเนิดพลังงาน
ต้องมีฟิวส์ป้องกันการลัดวงจร และต้องต่อแยกออกจากระบบไฟฟ้าอื่น ๆ ในรถ
ข้อ ๑๑
การติดตั้งอุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซ ต้องปฏิบัติดังนี้
(๑)
ท่อนำก๊าซที่ต่อจากอุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซ ไปยังเครื่องผสมอากาศกับก๊าซ
ต้องเป็นท่อนำก๊าซแบบยืดหยุ่นที่ทนความดันได้ไม่น้อยกว่า ๑๐๐ กิโลปาสกาล
และทนความดันแตกได้ ไม่น้อยกว่า ๘๗๕ กิโลปาสกาล
(๒)
ห้ามต่อท่อหรืออุปกรณ์อื่นใดเพื่อนำความร้อนจากท่อไอเสียไปยังอุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซ
(๓)
ไม่ติดอุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซเข้ากับส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องกำเนิดพลังงาน
ระบบส่งกำลัง หรือในห้องโดยสาร
ข้อ ๑๒
กรณีที่รถใช้น้ำมันเบนซินสลับกับก๊าซปิโตรเลียมเหลว
ลิ้นเปิดปิดน้ำมันต้องปิดโดยอัตโนมัติเมื่อเปิดใช้ก๊าซ
ข้อ ๑๓
เมื่อผู้ติดตั้งทำการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบครบถ้วนถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
ออกหนังสือรับรองการติดตั้งให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ประกอบการขนส่ง
(๒)
มอบเอกสารคำแนะนำการใช้งานเกี่ยวกับเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบสำหรับการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
โดยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับวันสิ้นอายุการรับรองถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว
และการนำรถเข้าตรวจและทดสอบก่อนใช้รถ
ให้เจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทราบ
(๓)
ต้องจัดเก็บสำเนาหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบพร้อมรายละเอียดการติดตั้งของรถที่ได้เข้ารับบริการไว้ที่สถานติดตั้งให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบของกรมการขนส่งทางบก
เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๕ ปี
ข้อ ๑๔
หนังสือรับรองการติดตั้งให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
รองอธิบดี
รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๙๐ ง/หน้า ๔๗/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ |
594073 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดมาตรฐานเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่ง ที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. 2551
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดมาตรฐานเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่ง
ที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๔ และข้อ ๕
ของกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๑
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดมาตรฐานเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ในประกาศนี้
มอก. หมายความว่า
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
AS/NZS หมายความว่า มาตรฐานของออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ (Australian/New Zealand Standard)
ASTM หมายความว่า มาตรฐานของสมาคมการทดสอบและวัสดุแห่งชาติอเมริกา (American Society for Testing and Materials)
CGA หมายความว่า มาตรฐานของสมาคมก๊าซอัด (Compressed Gas Association, Inc.)
ECE R หมายความว่า
ข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งยุโรป (Economic Commission for Europe Regulation)
UL หมายความว่า มาตรฐาน Underwriters Laboratories Inc.
ข้อ ๒
ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว (cylinder or container) ต้องเป็นไปตาม มอก. ๓๗๐ หรือ ECE R ๖๗
ข้อ ๓
อุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซ (vaporizer and pressure regulator) ต้องเป็นไปตาม มอก. ๑๐๐๑ หรือ ECE R ๖๗
ข้อ ๔
ลิ้นป้องกันการไหลเกิน (excess flow valve) ต้องเป็นไปตาม ECE R ๖๗
ข้อ ๕
ลิ้นเปิดปิด (shut-off valve) และ ลิ้นบรรจุ (filling valve) ต้องเป็นไปตาม AS/NZS
๑๔๒๕ หรือ ECE R ๖๗ หรือ UL ๑๗๖๙
ข้อ ๖
อุปกรณ์วัดระดับก๊าซเหลว (level indicator
or fixed liquid level gauge) และอุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดลิ้นระยะไกล (remotely controlled service valve) ต้องเป็นไปตาม AS/NZS ๑๔๒๕ หรือ ECE R ๖๗
ข้อ ๗
อุปกรณ์ป้องกันการบรรจุเกิน (overfill protection device) ต้องเป็นไปตาม ECE R ๖๗ หรือ UL ๒๒๒๗
ข้อ ๘
อุปกรณ์ระบายความดัน (pressure relief device) ต้องเป็นไปตาม CGA S-๑.๑ หรือ
ECE R ๖๗
ข้อ ๙
อุปกรณ์ฉีดก๊าซ หรือจ่ายก๊าซ (injector or gas injection device)
อุปกรณ์ตรวจวัดความดันหรืออุณหภูมิ (pressure or temperature sensor/indicator) อุปกรณ์ควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (electronic control unit) และท่อนำก๊าซแบบยืดหยุ่น (flexible fuel line) ต้องเป็นไปตาม ECE R ๖๗ หรือ ECE R ๑๑๐
ข้อ ๑๐
ท่อนำก๊าซแบบคงตัว (rigid fuel line) ต้องเป็นไปตาม ASTM A ๒๕๔
หรือ ASTM B ๘๓๗ หรือ ECE R ๖๗
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
รองอธิบดี
รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๙๐ ง/หน้า ๔๕/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ |
594047 | ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง การออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (แบบ ขส.บ.01 - ขส. - 03)
| ประกาศนายทะเบียนกลาง
ประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง
การออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(แบบ ขส.บ.01 - ขส. - 03)[๑]
ตามที่นายทะเบียนกลางได้มีประกาศ
เรื่อง
การออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(แบบ ขส.บ.01 - ขส. - 03)
สำหรับรถทุกประเภทที่จดทะเบียนในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗ นั้น
โดยที่กรมการขนส่งทางบกเห็นควรปรับปรุงเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีให้แก่ประชาชนเจ้าของรถ
เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว
รวมทั้งเป็นการประหยัดงบประมาณในการพิมพ์เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี
จึงได้กำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
แบบ ขส.บ.01 - ขส. - 03 ขึ้นใหม่อีกแบบหนึ่ง ดังนั้น นายทะเบียนกลางจึงเห็นสมควรให้ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีตามแบบ
ขส.บ.01 - ขส. - 03 ที่ปรับปรุงใหม่สำหรับรถทุกประเภทที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครเพื่อให้เจ้าของรถใช้เป็นหลักฐานในการเสียภาษีประจำปี
อนึ่ง
เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี แบบ ขส.บ. 01 - ขส. - 03 เดิมที่ยังมีอยู่ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีดังกล่าวจะหมดลง
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
รองอธิบดี
(ฝ่ายปฏิบัติการ) รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
นายทะเบียนกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๘ ง/หน้า ๖๘/๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ |
594021 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
การกำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี
สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดแบบเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่กรมการขนส่งทางบก
เห็นควรปรับปรุงเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกให้มีรูปแบบที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีให้แก่ประชาชนเจ้าของรถเป็นไปด้วยความสะดวก
รวดเร็ว
รวมทั้งเป็นการประหยัดงบประมาณในการพิมพ์เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี
กรมการขนส่งทางบกจึงได้กำหนดรูปแบบและรายละเอียดเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(แบบ ขส.บ.01 - ขส.-03) ขึ้นใหม่อีกแบบหนึ่ง
โดยให้มีรูปแบบเป็นไปตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
รองอธิบดี
(ฝ่ายปฏิบัติการ) ปฏิบัติราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบและสีเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(แบบ ขส.บ. 01-ขส.-03)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๘ ง/หน้า ๒๒/๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ |
588841 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจกของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีเครื่องปรับอากาศ พ.ศ. 2551
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจกของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ที่มีเครื่องปรับอากาศ
พ.ศ.
๒๕๕๑
ด้วยปัจจุบันรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีเครื่องปรับอากาศได้นำกระจกนิรภัยประเภทหลายชั้น
(Laminate Safety Glass) มาเป็นส่วนประกอบของตัวถัง
ซึ่งกระจกนิรภัยดังกล่าวไม่สามารถทุบให้แตกได้เมื่อมีอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น
ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยต่อผู้โดยสารมากยิ่งขึ้น
จึงเห็นชอบให้กระจกที่ใช้เป็นส่วนประกอบของตัวถังสำหรับห้องโดยสารบางส่วนต้องเป็นกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์
(Tempered Safety Glass) ที่สามารถทุบให้แตกได้เมื่อต้องการ
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๒) (ก) วรรคหนึ่ง ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๔๐ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และข้อ
๑๐ (๒) (ก) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้ใช้บังคับกับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน
๑ มาตรฐาน ๒ มาตรฐาน ๔ (ก) (ข) (ค) (ง) มาตรฐาน ๕ (ก) และมาตรฐาน ๖ (ก)
ข้อ ๒
กระจกนิรภัยที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของตัวถัง
ต้องเป็นไปตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
ให้ความเห็นชอบกระจกนิรภัยที่ใช้เป็นกระจกกันลมและส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจกสำหรับรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๓
กระจกนิรภัยที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของตัวถังด้านข้างของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารต้องมีจำนวน
ดังนี้
(๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๑
มาตรฐาน ๒ (ก) (ข) (ค) (ง) และมาตรฐาน ๕ (ก) ห้องโดยสารต้องมีกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์อย่างน้อย
๒ บาน
(๒) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๔ (ก)
(ข) (ค) (ง)
ห้องโดยสารชั้นบนและชั้นล่างต้องมีกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์อย่างน้อยชั้นละ ๒ บาน
(๓) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๖ (ก)
ห้องโดยสารตอนหน้าและตอนท้ายต้องมีกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์อย่างน้อยตอนละ ๒ บาน
(๔) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๒ (จ)
ห้องโดยสารต้องเป็นกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์
ข้อ ๔
ขนาดและตำแหน่งของกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์ของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ตามข้อ ๓ (๑) (๒) (๓) ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร ความสูงไม่น้อยกว่า
๕๐ เซนติเมตร และอยู่สูงจากพื้นรถที่ใช้ติดตั้งที่นั่งผู้โดยสารไม่น้อยกว่า ๕๐
เซนติเมตร ติดตั้งอยู่บริเวณด้านขวาของตัวรถค่อนไปทางด้านหน้ารถอย่างน้อย ๑ บาน
และอยู่ด้านซ้ายของตัวรถในตำแหน่งที่เหมาะสมอย่างน้อย ๑ บาน
ข้อ ๕
ให้มีค้อนทุบกระจกอย่างน้อย ๑ อัน
ติดตั้งอยู่ใกล้บานกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์ และต้องมีข้อความว่า ทางออกฉุกเฉิน
เป็นตัวอักษรที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนติดอยู่ตรงกลางบานกระจกด้านในของห้องโดยสาร
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๒ (จ)
จะมีข้อความว่า ทางออกฉุกเฉิน หรือไม่ก็ได้
แต่ต้องมีค้อนทุบกระจกอย่างน้อย ๒ อัน ติดตั้งอยู่ด้านซ้ายและขวาของห้องโดยสาร
ค้อนทุบกระจกต้องติดตั้งอย่างปลอดภัยและให้สามารถนำออกมาใช้ได้โดยสะดวก
ข้อ ๖
ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับรถที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ
และรถที่แจ้งเลิกใช้ที่มิได้ทำการเปลี่ยนตัวถังจากเดิมที่เคยจดทะเบียนไว้แล้ว
เว้นแต่รถที่ได้ทำการเปลี่ยนตัวถังใหม่ ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้
ข้อ ๗[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี
นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยรัตน์
สงวนชื่อ
รองอธิบดี
รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๔
ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๒ ง/หน้า ๑๓/๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ |
587467 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและ
การยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถ
ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๐ เสียใหม่ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑๐
แห่งกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๐ ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐
ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๐
ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปต้องดำเนินการ
ดังนี้
(๑)
ติดตั้งป้ายสัญลักษณ์แสดงสถานประกอบกิจการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง
ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
(๒)
ติดตั้งป้ายแสดงว่าสถานประกอบกิจการได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกโดยมีชื่อสถานประกอบกิจการ
พร้อมข้อความ โดยได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
เลขที่
..
(๓) แสดงหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ
(๔) แสดงวัน เวลา การให้บริการตรวจและทดสอบ
(๕) แสดงชื่อ นามสกุล
และรูปถ่ายวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบที่ปฏิบัติงานในวันและเวลาตาม (๔)
(๖) แสดงอัตราค่าบริการตรวจและทดสอบตามที่ระบุไว้ในคำขอ
การติดตั้งป้าย
หรือการแสดงหนังสือให้ความเห็นชอบ วัน เวลาการให้บริการ ชื่อ นามสกุล
รูปถ่ายวิศวกร และอัตราค่าบริการตาม (๑) - (๖)
ต้องติดตั้งหรือแสดงไว้ในบริเวณสถานประกอบกิจการที่ประชาชนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อ
๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
รองอธิบดี
รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบป้ายสัญลักษณ์แสดงสถานประกอบกิจการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง/หน้า ๑๙/๑๒ กันยายน ๒๕๕๑ |
587453 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและ
การยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถ
ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๐ เสียใหม่ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑๐
แห่งกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๐ ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๐/๑
ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๑๐/๑
ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งทั่วไปต้องดำเนินการ
ดังนี้
(๑)
ติดตั้งป้ายสัญลักษณ์แสดงสถานประกอบกิจการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง
ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
(๒)
ติดตั้งป้ายแสดงว่าสถานประกอบกิจการได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก โดยมีชื่อสถานประกอบกิจการ
และประเภทเครื่องยนต์ที่ติดตั้ง พร้อมข้อความ โดยได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
เลขที่
..
(๓) แสดงหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง
(๔) แสดงชื่อ นามสกุล และรูปถ่ายบุคลากรผู้ทำการติดตั้ง
การติดตั้งป้าย
การแสดงหนังสือให้ความเห็นชอบ รวมทั้งการแสดงชื่อ นามสกุล และรูปถ่ายบุคลากรตาม
(๑) - (๔)
ต้องติดตั้งหรือแสดงไว้ในบริเวณสถานประกอบกิจการที่ประชาชนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ
รองอธิบดี
รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบป้ายสัญลักษณ์แสดงสถานประกอบกิจการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง/หน้า ๑๕/๑๒ กันยายน ๒๕๕๑ |
586267 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ 91 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4จังหวัดสุรินทร์ สายที่ 4385 สุรินทร์-บ้านปรีง โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางช่วงสุรินทร์-บ้านหนองเหล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสุรินทร์
ฉบับที่
๙๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๔๓๘๕ สุรินทร์-บ้านปรีง
โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางช่วงสุรินทร์-บ้านหนองเหล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์
ฉบับที่ ๓๑ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่
๔๓๘๕ สุรินทร์-บ้านปรีง ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ได้พิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๐
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๑
เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑
จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๔๓๘๕ สุรินทร์-บ้านปรีง โดยให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสุรินทร์-บ้านหนองเหล็ก
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๔๓๘๕ สุรินทร์-บ้านปรีง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านบ้านตะแบกน้อย บ้านตะแบกใหญ่ อำเภอจอมพระ
บ้านวารไพรศรี ถึงบ้านหนองยาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหนองขาม
บ้านหนองไม้ถี่ บ้านเฉนียง บ้านตาเป็ก ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านปรีง
ช่วงสุรินทร์-บ้านหนองกระดาน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านบ้านตะแบกน้อย
บ้านตะแบกใหญ่ ถึง กม. ๒๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านปะสวาย บ้านตาเมาะ
บ้านขวาง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองกระดาน
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
วีระ
ศรีวัฒนตระกูล
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสุรินทร์
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖
สิงหาคม ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๗๘/๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ |
586265 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ 90 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสุรินทร์ สายที่ 4337 สุรินทร์-บ้านฉันเพล-ศีขรภูมิ โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางช่วงสุรินทร์-บ้านพะเนา
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสุรินทร์
ฉบับที่
๙๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๔๓๓๗
สุรินทร์-บ้านฉันเพล-ศีขรภูมิ
โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางช่วงสุรินทร์-บ้านพะเนา[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์
ฉบับที่ ๗๓ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๔๓๓๗ สุรินทร์-บ้านฉันเพล-ศีขรภูมิ
สำหรับการเดินรถเส้นทางแยกช่วงสุรินทร์-บ้านตากูก เป็น
ช่วงสุรินทร์-บ้านตากูก-บ้านแตลขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ได้พิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๐
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๑
เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๔๓๓๗ สุรินทร์-บ้านฉันเพล-ศีขรภูมิ
โดยให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางช่วงสุรินทร์-บ้านพะเนา โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
คือ
สายที่ ๔๓๓๗ สุรินทร์-บ้านฉันเพล-ศีขรภูมิ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านบ้านตะแบกน้อย บ้านลำดวน บ้านตำปง ถึง กม. ๑๔
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๓๐๓๖ ผ่านบ้านนาโพธิ์ บ้านเขวาสินรินทร์
บ้านโชค บ้านสะดอ บ้านสะแรออ บ้านระไซร์ แยกบ้านตากูก บ้านฉันเพล บ้านหัวแรด
แยกบ้านหนองผือ บ้านกรวด บ้านสระใหญ่ บ้านแก ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอศีขรภูมิ
ช่วงสุรินทร์-บ้านตากูก-บ้านแตล
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔
ผ่านบ้านตะแบกน้อย บ้านลำดวน บ้านตำปง ถึง กม. ๑๔ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
สร. ๓๐๓๖ ผ่านบ้านนาโพธิ์ บ้านเขวาสินรินทร์ ถึงแยกบ้านอาไร แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
สร. ๒๐๔๑ ผ่านบ้านอาไร บ้านตากแดด บ้านตากูก บ้านอำปึล บ้านสนวน บ้านสังแก
ถึงบ้านสวาย แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๓๐๒๑ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแตล
ช่วงศีขรภูมิ-บ้านแตล
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอศีขรภูมิ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร.
๓๐๓๖ ผ่านบ้านแก บ้านสระใหญ่ บ้านกรวด ถึงแยกบ้านหนองผือ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
สร. ๓๐๒๑ ผ่านบ้านหนองผือ บ้านโนนแคน บ้านนาท่ม บ้านหนองเขวา ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแตล
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
วีระ
ศรีวัฒนตระกูล
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสุรินทร์
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖
สิงหาคม ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๗๖/๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ |
586262 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ 89 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสุรินทร์ สายที่ 1485 สุรินทร์-บ้านช่องจอม โดยยกเลิกเส้นทางแยกช่วง จำนวน 2 ช่วง คือ ช่วงปราสาท-บ้านปราสาทเบง-บ้านปวงตึก และช่วงช่องจอม-บ้านปวงตึก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสุรินทร์
ฉบับที่
๘๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๑๔๘๕ สุรินทร์-บ้านช่องจอม
โดยยกเลิกเส้นทางแยกช่วง
จำนวน ๒ ช่วง คือ
ช่วงปราสาท-บ้านปราสาทเบง-บ้านปวงตึก
และช่วงช่องจอม-บ้านปวงตึก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์
ฉบับที่ ๘๔ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ลงวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๐
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์
สายที่ ๑๔๘๕ สุรินทร์-บ้านช่องจอม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงปราสาท-บ้านทัพไทย
เพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ได้พิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๐
และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑
จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๑๔๘๕ สุรินทร์-บ้านช่องจอม โดยให้ยกเลิกเส้นทางแยกช่วง จำนวน
๒ ช่วง คือ ช่วงปราสาท-บ้านปราสาทเบง-บ้านปวงตึก และช่วงช่องจอม-บ้านปวงตึก โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
คือ
สายที่ ๑๔๘๕ สุรินทร์-บ้านช่องจอม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านบ้านเฉนียง บ้านเชื้อเพลิง บ้านรำเบอะ
อำเภอปราสาท บ้านก๊วล บ้านถนนชัย บ้านโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง บ้านด่าน
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านช่องจอม
ช่วงสุรินทร์-บ้านตาปาง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔
ผ่านบ้านเฉนียง ถึงบ้านเชื้อเพลิง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. สร. ๓๑๖๘
ผ่านบ้านขยอง บ้านใหม่ บ้านไพล บ้านปจิก บ้านประทัดบุ บ้านจบก บ้านหนองยาว ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านตาปาง
ช่วงสุรินทร์-บ้านโคกทม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔
ผ่านบ้านเฉนียง บ้านเชื้อเพลิง ถึงบ้านรำเบอะ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
ร.พ.ช. สร. ๓๐๕๙ ผ่านบ้านอังกัญโพธิ์ บ้านละลม บ้านกระดาด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกทม
ช่วงปราสาท-บ้านตายัวะ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอปราสาท แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔
ถึงบ้านก๊วล แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. สร. ๓๐๕๓ ผ่านบ้านสำโรง
บ้านอังโกม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านตายัวะ
ช่วงสุรินทร์-บ้านตาแอก
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔
ผ่านบ้านเฉนียง บ้านเชื้อเพลิง บ้านรำเบอะ อำเภอปราสาท บ้านก๊วล บ้านถนนชัย
บ้านโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง ถึงบ้านด่าน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๘๓
ผ่านบ้านเกษตรถาวร ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านตาแอก
ช่วงสุรินทร์-บ้านทุ่งมน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔
ผ่านบ้านเฉนียง บ้านเชื้อเพลิง บ้านรำเบอะ ถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอปราสาท แล้วกลับตามเส้นทางเดิม
ถึงทางแยกบ้านทุ่งมน แยกซ้ายไปตามถนนมูลศาสตร์สาทร ตรงไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
ร.พ.ช. สร. ๓๐๓๕ ผ่านบ้านปลูง บ้านทนง บ้านหนองยาง บ้านสมุทร วัดเพชรบุรี
บ้านทุ่งมน หมู่ที่ ๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านทุ่งมน หมู่ที่
๑
ช่วงปราสาท-บ้านโคกทม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอปราสาท แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔
ถึงบ้านโคกมะกะ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. สร. ๒๐๑๗ ผ่านบ้านสีโค
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. สร. ๓๐๕๙ ผ่านบ้านอังกัญโพธิ์ บ้านละลม
บ้านตุง บ้านละเวีย บ้านกระดาด ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกทม
ช่วงปราสาท-บ้านไพล
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอปราสาท แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔
ผ่านบ้านโคกมะกะ ถึงทางแยกบ้านตาเสาะ (กม. ที่ ๒๖) แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
ผ่านบ้านตาเสาะ บ้านตาลัวะ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. สร. ๒๐๓๘
ผ่านบ้านโคกเพชร บ้านโสนก บ้านภูมิกันดาร ถึงบ้านปจิก
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. สร. ๓๑๖๘ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านไพล
ช่วงปราสาท-บ้านทัพไทย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอปราสาท แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔
ถึงบ้านโคกมะกะ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. สร. ๒๐๑๗ ผ่านบ้านสีโค
บ้านโคกบุ บ้านอำปึล บ้านยาง บ้านขยอง ถึงห้าแยกบ้านทมอ แยกขวาไปตามถนนประจำหมู่บ้าน
ผ่านบ้านโคกเพชร บ้านเจริญสุข บ้านถนน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านทัพไทย
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
วีระ ศรีวัฒนตระกูล
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสุรินทร์
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖
สิงหาคม ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๗๓/๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ |
586260 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ 88 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ถนน ร.พ.ช. หมายเลข สร. 5020 เป็นทางหลวงชนบทหมายเลข สร. 3028) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสุรินทร์ สายที่ 4459 สุรินทร์-บ้านหนองยาง-สนม
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสุรินทร์
ฉบับที่
๘๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง
(ถนน
ร.พ.ช. หมายเลข สร. ๕๐๒๐ เป็นทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๓๐๒๘)
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์
สายที่
๔๔๕๙ สุรินทร์-บ้านหนองยาง-สนม[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์
ฉบับที่ ๕๑ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๓๖
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่
๔๔๕๙ สุรินทร์-บ้านหนองยาง-สนม ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด
(ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ถนน ร.พ.ช. หมายเลข สร. ๕๐๒๐
เป็นทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๓๐๒๘) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ถนน ร.พ.ช. หมายเลข สร. ๕๐๒๐ เป็นทางหลวงชนบทหมายเลข สร.
๓๐๒๘) สำหนับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๔๔๕๙
สุรินทร์-บ้านหนองยาง-สนม โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๔๔๕๙ สุรินทร์-บ้านหนองยาง-สนม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านอำเภอจอมพระ บ้านหนองตาด บ้านท่าศิลา
ถึงบ้านหนองยาง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๓๐๒๘ ผ่านบ้านหนองคูน้อย
บ้านบัวโคก บ้านธรรมษา บ้านโพนดวน บ้านโพนโก บ้านเป้า บ้านหนองบัวแดง ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสนม
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
วีระ
ศรีวัฒนตระกูล
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสุรินทร์
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖
สิงหาคม ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๗๑/๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ |
585888 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานี ฉบับที่ 32 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุทัยธานี
ฉบับที่
๓๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานีกำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
จำนวน ๔ เส้นทาง ดังต่อไปนี้
๑. ฉบับที่
๕ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๒๓ และฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๖) สายที่ ๖๘๐๐๕
รอบเมืองอุทัยธานี
๒. ฉบับที่
๘ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๒๖ สายที่ ๖๘๐๑๐
อุทัยธานี-โรงเรียนวัดสะพานหิน
๓. ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม
๒๕๒๙ สายที่ ๖๘๐๑๓ อุทัยธานี-บ้านท่าข้าม
๔. ฉบับที่
๑๖ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ลงวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๓๑ สายที่ ๖๘๐๑๖
โรงเรียนอุทัยวิทยาคม-ทางแยกอำเภอวัดสิงห์
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชน
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานีได้พิจารณาแล้ว
เห็นว่าเส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
เนื่องจากได้พิจารณากำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้นทดแทนแล้ว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานีในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๙
จึงให้ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒ พฤษภาคม
๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
อุดม
พัวสกุล
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุทัยธานี
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๘
สิงหาคม ๒๕๕๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๙๔ ง/หน้า ๑๓๘/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ |
585886 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานี ฉบับที่ 31 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุทัยธานี
ฉบับที่
๓๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
เพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชน
และเป็นการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างผู้ประกอบการขนส่ง
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานีในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๙
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๐ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดอุทัยธานี สายที่ ๒๕๗๐ อุทัยธานี-หนองฉาง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
หมวด ๔ สายที่ ๒๕๗๐ ชื่อเส้นทาง อุทัยธานี-หนองฉาง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุทัยธานี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๓ ผ่านสำนักงานขนส่งจังหวัดอุทัยธานี บ้านพันสี
บ้านท่าโพ บ้านเนื้อร้อน อำเภอหนองขาหย่าง บ้านหนองระแหงเหนือ บ้านหนองโสน
บ้านหนองกระทุ่ม บ้านหนองแบน ถึงทางแยกไปอำเภอหนองฉาง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๑๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหนองฉาง
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
อุดม
พัวสกุล
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุทัยธานี
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๘
สิงหาคม ๒๕๕๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๙๔ ง/หน้า ๑๓๗/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ |
585883 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลก ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด 3 สายที่ 669 พิษณุโลก-พิชัย เป็น หมวด 4 จังหวัดพิษณุโลก สายที่ 2590 พิษณุโลก-บ้านเซิงหวาย
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพิษณุโลก
ฉบับที่
๔๔ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง
หมวด
๓ สายที่ ๖๖๙ พิษณุโลก-พิชัย เป็น
หมวด
๔ จังหวัดพิษณุโลก สายที่ ๒๕๙๐ พิษณุโลก-บ้านเซิงหวาย[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลกได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๖๙
พิษณุโลก-พิชัย เป็น หมวด ๔ จังหวัดพิษณุโลก สายที่ ๒๕๙๐ พิษณุโลก-บ้านเซิงหวาย
เพื่อให้การเดินรถสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลก ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๐
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๑
เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง รถโดยสารประจำทาง หมวด
๓ สายที่ ๖๖๙ พิษณุโลก-พิชัย เป็น หมวด ๔ จังหวัดพิษณุโลก สายที่ ๒๕๙๐
พิษณุโลก-บ้านเซิงหวาย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๒๕๙๐ พิษณุโลก-บ้านเซิงหวาย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘๖
ผ่านบ้านเต็งหนาม บ้านทองหลาง ถึงบ้านมะขามสูง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๒๗๕ ผ่านอำเภอพรหมพิราม บ้านหนองตม บ้านบุ่ง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเซิงหวาย
ประกาศ
ณ วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
สมบูรณ์
ศรีพัฒนาวัฒน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพิษณุโลก
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๘
สิงหาคม ๒๕๕๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๙๔ ง/หน้า ๑๓๖/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ |
585881 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลก ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด 3 สายที่ 645 พิษณุโลก-กำแพงดิน-พิจิตร เป็น หมวด 4 จังหวัดพิษณุโลก สายที่ 2589 พิษณุโลก-บ้านกำแพงดิน
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพิษณุโลก
ฉบับที่
๔๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง
หมวด
๓ สายที่ ๖๔๕ พิษณุโลก-กำแพงดิน-พิจิตร เป็น
หมวด
๔ จังหวัดพิษณุโลก สายที่ ๒๕๘๙ พิษณุโลก-บ้านกำแพงดิน[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลกได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๔๕
พิษณุโลก-กำแพงดิน-พิจิตร เป็น หมวด ๔ จังหวัดพิษณุโลก สายที่ ๒๕๘๙
พิษณุโลก-บ้านกำแพงดิน เพื่อให้การเดินรถสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลก ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๓ สายที่ ๖๔๕ พิษณุโลก-กำแพงดิน-พิจิตร เป็น หมวด ๔
จังหวัดพิษณุโลก สายที่ ๒๕๘๙ พิษณุโลก-บ้านกำแพงดิน
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๒๕๘๙ พิษณุโลก-บ้านกำแพงดิน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๗
ถึงแยกศาลาเสือแพร แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านวัดคุ้งวารี วัดปากพิงตะวันตก
ถึงบ้านราษฎร์อุทิศ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๓๑๒ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกำแพงดิน
ประกาศ
ณ วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
สมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพิษณุโลก
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๘
สิงหาคม ๒๕๕๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๙๔ ง/หน้า ๑๓๕/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.