sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
639968
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1987 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1544 ซอยวิภาวดีรังสิต 58-มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๘๗ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๕๔๔ ซอยวิภาวดีรังสิต ๕๘ - มหาวิทยาลัยศรีปทุม[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๕๔๔ ซอยวิภาวดีรังสิต ๕๘ - มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๕๔๔ ซอยวิภาวดีรังสิต ๕๘ - มหาวิทยาลัยศรีปทุม เที่ยวไป เริ่มต้นจากบริเวณปากซอยวิภาวดีรังสิต ๕๘ ไปตามซอยวิภาวดีรังสิต ๕๘ แยกขวาไปตามซอยวิภาวดีรังสิต ๖๐ แยกขวาไปตามซอยวิภาวดีรังสิต ๖๐ แยก ๑๘ - ๑ แยกขวาไปตามซอยพหลโยธิน ๔๙/๑ แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน จนสุดเส้นทางที่บริเวณมหาวิทยาลัยศรีปทุม เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากบริเวณมหาวิทยาลัยศรีปทุม ไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายไปตามซอยพหลโยธิน ๔๙/๑ แยกซ้ายไปตามซอยวิภาวดีรังสิต ๖๐ แยก ๑๘ - ๑ แยกซ้ายไปตามซอยวิภาวดีรังสิต ๖๐ แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต จนสุดเส้นทางที่บริเวณปากซอยวิภาวดีรังสิต ๕๘ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๗๔ ง/หน้า ๑๔๓/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
639667
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1986 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1476 บางแค - มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๘๖ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๗๖ บางแค - มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๓๑ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๐ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๗๖ บางแค - มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก ๒ ช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๗๖ บางแค - มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวัดรางบัว - โรงเรียนเทพศิรินทร์นนทบุรี เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง และปรับปรุงเส้นทางจากเดิมช่วงบางแค - ถนนกาญจนาภิเษก - ถนนพุทธมณฑลสาย ๑ เป็น ช่วงทางแยกวัดรางบัว - ถนนกาญจนาภิเษก - ถนนพุทธมณฑลสาย ๑ และจากเดิมช่วงถนนพุทธมณฑลสาย ๒ - ถนนพุทธมณฑล สาย ๓ (ด้านถนนเพชรเกษม) เป็นช่วงถนนพุทธมณฑลสาย ๒ - ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์เพชรเกษม โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๔๗๖ บางแค - มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนทวีวัฒนา - กาญจนาภิเษก ผ่านหมู่บ้านสินพัฒนาธานี สนามกีฬาโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน โรงเรียนคลองทวีวัฒนา วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ไปตามถนนสุภาพบุรุษ แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ผ่านพุทธมณฑล จนสุดเส้นทางที่มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) ช่วงบางแค - ถนนพุทธมณฑลสาย ๒ - มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก ผ่านเนติบัณฑิตยสภา แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกขวาไปตามถนนทวีวัฒนา - กาญจนาภิเษก ผ่านหมู่บ้านสินพัฒนาธานี สนามกีฬาโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน โรงเรียนคลองทวีวัฒนา วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ไปตามถนนสุภาพบุรุษ แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ผ่านพุทธมณฑล จนสุดเส้นทางที่มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) ช่วงทางแยกวัดรางบัว - ถนนกาญจนาภิเษก - ถนนพุทธมณฑลสาย ๑ เริ่มต้นจากบริเวณทางแยกวัดรางบัว ไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก ผ่านเนติบัณฑิตยสภา แยกขวาไปตามถนนบรมราชชนนี จนสุดเส้นทางที่บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย ๑ ช่วงถนนพุทธมณฑลสาย ๒ - ถนนพุทธมณฑลสาย ๓ (ด้านถนนบรมราชชนนี) เริ่มต้นจากถนนพุทธมณฑลสาย ๒ (ด้านถนนบรมราชชนนี) ไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกขวาไปตามถนนทวีวัฒนา - กาญจนาภิเษก แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๓ จนสุดเส้นทางที่ถนนพุทธมณฑลสาย ๓ (ด้านถนนบรมราชชนนี) ช่วงทางแยกวัดรางบัว - โรงเรียนเทพศิรินทร์นนทบุรี เริ่มต้นจากบริเวณทางแยกวัดรางบัว ไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก ผ่านเนติบัณฑิตยสภา โรงเรียนโพลีเทคนิคพณิชย์กรุงเทพฯ โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนเทพศิรินทร์นนทบุรี ช่วงถนนพุทธมณฑลสาย ๒ - ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์เพชรเกษม เริ่มต้นจากถนนพุทธมณฑลสาย ๒ (ด้านถนนบรมราชชนนี) ไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกขวาไปตามถนนทวีวัฒนา - กาญจนาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๓ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม จนสุดเส้นทางที่ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์เพชรเกษม ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๖๙ ง/หน้า ๒๒๙/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
639665
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1985 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 จำนวน 3 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๘๕ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ จำนวน ๓ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๔๔ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๘๘ ปากเกร็ด - ถนนรัตนาธิเบศร์ - โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยนครปฐม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม - บางใหญ่ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๓๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๒ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๙๐ หนองคาย - ระยอง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงบึงกาฬ - ขอนแก่น - ระยอง เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง และหมวด ๓ สายที่ ๘๒๗ นครพนม - ระยอง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงบ้านแพง - สว่างแดนดิน - ระยอง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๘๘ ปากเกร็ด - ถนนรัตนาธิเบศร์ - โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงโรงพยาบาลศาลายา - บางใหญ่ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง สายที่ ๕๙๐ หนองคาย - ระยอง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงปากคาด - บ้านบ่อวิน - ระยอง เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง และสายที่ ๘๒๗ นครพนม - ระยอง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครพนม - บ้านบ่อวิน - ระยอง เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๓๘๘ ปากเกร็ด - ถนนรัตนาธิเบศร์ - โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปากเกร็ด ไปตามถนนแจ้งวัฒนะ แยกขวาไปตามถนนติวานนท์ แยกขวาไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกขวาไปตามถนนบรมราชชนนี แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ ๔๐๐๖ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ ๓๐๐๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ช่วงโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม - บางใหญ่ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ ๓๐๐๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ ๔๐๐๖ แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๔ แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบางใหญ่ (บริเวณบิ๊กคิงส์) ช่วงโรงพยาบาลศาลายา - บางใหญ่ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถบริเวณโรงพยาบาลศาลายา ไปตามถนนเทศบาล ถนนพุทธมณฑลสาย ๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ ๔๐๐๖ แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๔ แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบางใหญ่ (บริเวณบิ๊กคิงส์) สายที่ ๕๙๐ หนองคาย - ระยอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองคาย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดอุดรธานี จังหวัดขอนแก่น อำเภอบ้านไผ่ อำเภอพล จังหวัดนครราชสีมา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านสี่แยกกบินทร์บุรี อำเภอพนมสารคาม ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ อำเภอบ้านฉาง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ช่วงหนองคาย - สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒนศรีราชา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดหนองคาย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดอุดรธานี จังหวัดขอนแก่น อำเภอบ้านไผ่ อำเภอพล จังหวัดนครราชสีมา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านสี่แยกกบินทร์บุรี อำเภอพนมสารคาม ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา ถึงบ้านอ่าวอุดม แยกซ้ายไปตามถนนทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒนศรีราชา ช่วงบึงกาฬ - ขอนแก่น - ระยอง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบึงกาฬ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๒ ผ่านอำเภอศรีวิไล อำเภอพรเจริญ อำเภอคำตากล้า อำเภอวานรนิวาส ถึงอำเภอพังโคน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๗ ผ่านอำเภอวาริชภูมิ ถึงอำเภอวังสามหมอ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒๓ ผ่านอำเภอศรีธาตุ ถึงบ้านโนนสวรรค์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๓๑ ถึงบ้านกุงเก่า ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๕๒ ผ่านอำเภอกระนวน อำเภอซำสูง ถึงอำเภอเชียงยืน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙ ถึงจังหวัดขอนแก่น แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอบ้านไผ่ อำเภอพล จังหวัดนครราชสีมา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านสี่แยกกบินทร์บุรี อำเภอพนมสารคาม ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ อำเภอบ้านฉาง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ช่วงปากคาด - บ้านบ่อวิน - ระยอง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปากคาด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙๕ ผ่านอำเภอโซ่พิสัย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖๗ ถึงอำเภอเฝ้าไร่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๓๐ ผ่านอำเภอบ้านดุง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙๖ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒ ถึงอำเภอหนองหาน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๕๐ ถึงอำเภอกุมภวาปี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดขอนแก่น อำเภอบ้านไผ่ อำเภอพล จังหวัดนครราชสีมา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านสี่แยกกบินทร์บุรี อำเภอพนมสารคาม ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา ถึงบ้านอ่าวอุดม แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒนศรีราชา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑ ถึงบ้านเขาไม้แก้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๖ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง สายที่ ๘๒๗ นครพนม - ระยอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครพนม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๓ ถึงจังหวัดสกลนคร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓ ผ่านอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ถึงอำเภอยางตลาด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙ ถึงจังหวัดขอนแก่น แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดนครราชสีมา ถึงจังหวัดสระบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๙ (ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก) แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕ ถึงจังหวัดชลบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านอำเภอศรีราชา อำเภอสัตหีบ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ช่วงบ้านแพง - สว่างแดนดิน - ระยอง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านแพง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒ ถึงบ้านดงบัง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒๖ ผ่านอำเภอเซกา ถึงบ้านหนองหิ้ง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๒ ผ่านอำเภอวานรนิวาส ถึงอำเภอพังโคน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒ ผ่านอำเภอสว่างแดนดิน ถึงบ้านต้อง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๓๙ ผ่านอำเภอไชยวาน ถึงอำเภอศรีธาตุ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๓๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๕๒ ถึงอำเภอท่าคันโท แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๙๙ ผ่านอำเภอหนองกุงศรี ถึงอำเภอห้วยเม็ก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๑๐ ถึงอำเภอกระนวน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๕๒ ผ่านอำเภอซำสูง ถึงอำเภอเชียงยืน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙ ถึงจังหวัดขอนแก่น แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดนครราชสีมา ถึงจังหวัดสระบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๙ (ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก) แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕ ถึงจังหวัดชลบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านอำเภอศรีราชา อำเภอสัตหีบ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ช่วงนครพนม - บ้านบ่อวิน - ระยอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครพนม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๓ ถึงจังหวัดสกลนคร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓ ผ่านอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ถึงอำเภอยางตลาด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙ ถึงจังหวัดขอนแก่น แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดนครราชสีมา ถึงจังหวัดสระบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๙ (ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก) แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕ ถึงจังหวัดชลบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านอำเภอศรีราชา ถึงบ้านอ่าวอุดม แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านสวนอุตสาหกรรมสหพัฒนศรีราชา ถึงบ้านบ่อวิน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑ ผ่านบ้านเขาไม้แก้ว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๔๐ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๖๙ ง/หน้า ๒๒๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
639663
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1984 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1543 โรงเรียนนราธร - ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๘๔ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๕๔๓ โรงเรียนนราธร - ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๓ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๕๔๓ โรงเรียนนราธร - ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๕๔๓ โรงเรียนนราธร-ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ เริ่มต้นจากโรงเรียนนราธร ไปตามซอยสุขุมวิท ๗๗ ซอย ๔๖ แยกขวาไปตามซอยหมู่บ้านมิตรภาพ ผ่านนิรันดร์เรสซิเด้น ๕ แยกซ้ายไปตามซอยสุภาพงษ์ ๓ แยกซ้ายไปตามซอยศรีนครินทร์ ๔๐ แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ จนสุดเส้นทางที่บริเวณห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๖๙ ง/หน้า ๒๒๓/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
638848
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดระนอง ฉบับที่ 34 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด 1 จังหวัดระนอง สายที่ 2 รอบเมือง - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระนอง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดระนอง ฉบับที่ ๓๔ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ จังหวัดระนอง สายที่ ๒ รอบเมือง - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระนอง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดระนอง ฉบับที่ ๒๗ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๓ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดระนอง สายที่ ๒ รอบเมือง - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระนองขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดระนองได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดระนอง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ จังหวัดระนอง สายที่ ๒ รอบเมือง - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระนอง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๒ รอบเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระนอง เที่ยวไป-กลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระนอง แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔) ผ่านโรงเรียนพิชัยรัตนาคาร ถึงสามแยกไฟแดงหน้าโรงแรมระนองการ์เด้น กลับรถไปตามถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔) ผ่านสำนักงานป่าไม้จังหวัดระนอง สำนักงานที่ดินจังหวัดระนอง สำนักงานสรรพากรพื้นที่ระนอง สนามกีฬาจังหวัดระนอง ถึงห้าแยกพ่อตาขิง แยกซ้ายไปตามถนนกำลังทรัพย์ ผ่านโรงพยาบาลระนอง ถึงสี่แยกถนนเพิ่มผล แยกซ้ายไปตามถนนเพิ่มผล ผ่านสำนักงานเทศบาลเมืองระนอง ถึงสี่แยกตลาดเก่า แยกขวาไปตามถนนเรืองราษฎร์ ผ่านที่ว่าการอำเภอเมืองระนอง เรือนจำจังหวัดระนอง โรงเรียนอนุบาลดวงกมล ชุมชนเสือป่า ถึงสี่แยกสะพานยูง แยกขวาไปตามถนนชลระอุ ผ่านสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่จังหวัดระนอง ถึงสี่แยกตลาดใหม่ ตรงไปผ่านที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดระนอง ตรงไปตามถนนชลระอุ ผ่านสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระนอง ถึงสี่แยกแขวงการทาง แยกขวาไปตามถนนเพิ่มผล ถึงสี่แยกถนนเพิ่มผล แยกซ้ายไปตามถนนกำลังทรัพย์ ผ่านโรงพยาบาลระนอง ถึงห้าแยกพ่อตาขิง แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔) ถึงแยกหลุมถ่าน กลับรถตรงไปตามถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔) ถึงห้าแยกพ่อตาขิง แยกซ้ายไปตามถนนชลระอุ ถึงบ่อน้ำร้อนรักษะวาริน แล้วย้อนกลับเส้นทางเดิม ถึงห้าแยกพ่อตาขิง แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข ๔) ไปสิ้นสุดทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระนอง ช่วงบ่อน้ำร้อน-บ้านเกาะกลาง เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ่อน้ำร้อนรักษะวาริน ไปตามถนนชลระอุ ถึงห้าแยกพ่อตาขิง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ แยกซ้ายไปตามถนนเข้าสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระนอง ถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระนอง แล้วย้อนกลับเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านโรงเรียนพิชัยรัตนาคาร แยกขวาไปตามถนนจัดสรรพัฒนา ผ่านสี่แยกตลาดเก่า ตรงไปตามถนนเรืองราษฎร์ ถึงสามแยกถนนทวีสินค้า แยกซ้ายไปตามถนนทวีสินค้า แยกซ้ายไปตามซอยภักดี ผ่านสี่แยกถนนท่าเมือง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเกาะกลาง เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเกาะกลาง ไปตามเส้นทางเดิม ถึงสามแยกถนนกำลังทรัพย์ แยกซ้ายไปตามถนนกำลังทรัพย์ ผ่านโรงพยาบาลระนอง แยกซ้ายไปตามถนนชลระอุ แยกขวาไปตามซอยไผ่แดง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ แยกซ้ายไปตามถนนชลระอุ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ่อน้ำร้อนรักษะวาริน ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ วันชาติ วงษ์ชัยชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดระนอง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๖๕ ง/หน้า ๒๑๘/๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
638372
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง สภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. 2553
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง สภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๓ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ เสียใหม่ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๔ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในประกาศนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๕ การอนุญาตให้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงคัสซีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ ก. การตัดต่อโครงคัสซี (๑) รถที่มีโครงคัสซี (Chassis Frame) ต้องมีโครงคัสซีเดิมเป็นสาระสำคัญในการรับน้ำหนักรถดังนี้ (๑.๑) โครงคัสซีเดิมจากผู้ผลิตที่เป็นชิ้นเดียวกันและมีหมายเลขคัสซีปรากฏอยู่ ต้องมีความยาวเหลืออยู่เกินกว่าร้อยละ ๕๐ ของความยาวโครงคัสซีทั้งหมด (๑.๒) กรณีโครงคัสซีเดิมจากผู้ผลิตที่เป็นชิ้นเดียวกันและมีหมายเลขคัสซีปรากฏอยู่ มีความยาวเหลืออยู่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของความยาวโครงคัสซีทั้งหมด การอนุญาตจะทำได้ต่อเมื่อมีเหตุผลความจำเป็นเนื่องจากสภาพโครงสร้างและการใช้งานของรถ และโครงคัสซีส่วนนั้นต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า ๑๓๐ เซนติเมตร ซึ่งเมื่อรวมกับความยาวโครงคัสซีเดิมจากผู้ผลิตส่วนอื่น ๆ อีกไม่เกิน ๒ ส่วนแล้วต้องทำให้โครงคัสซีเดิมยาวเกินกว่าร้อยละ ๕๐ ของความยาวโครงคัสซีทั้งหมดและต้องมีหนังสือรับรองชิ้นส่วนของโครงคัสซีเดิมจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถด้วย (๑.๓) การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงความยาวสุดของรถให้ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมและทำให้รถมีความยาวเกินกว่า ๑๐ เมตร ต้องเป็นรถที่ผู้ผลิตกำหนดให้มีน้ำหนักรวมสูงสุด (GVW) ไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ กิโลกรัม หรือมีขนาดหน้าตัดของโครงคัสซีส่วนที่ใหญ่สุดมีความสูงไม่น้อยกว่า ๒๐๐ มิลลิเมตร (๒) รถที่มีโครงสร้างเป็นแบบโมโนค็อก (Monocoque) หรือแบบเซมิโมโนค็อก (Semi-Monocoque) ซึ่งใช้โครงสร้างตัวถังเป็นสาระสำคัญในการรับน้ำหนักรถ ต้องมีโครงสร้างส่วนที่รองรับน้ำหนักบริเวณเพลาล้อหน้า เพลาล้อท้ายหรือคู่ท้าย และส่วนที่มีหมายเลขคัสซีเป็นโครงสร้างเดิม เว้นแต่กรณีมีเหตุผลความจำเป็นเนื่องจากสภาพโครงสร้างและการใช้งานของรถที่จะต้องตัดต่อเปลี่ยนแปลงความยาวโครงสร้างส่วนใดส่วนหนึ่ง โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๒.๑) โครงสร้างส่วนที่รองรับน้ำหนักบริเวณเพลาล้อหน้า ให้สามารถตัดให้สั้นลงได้ แต่ห้ามต่อโครงสร้างดังกล่าวให้ยาวออกไป (๒.๒) โครงสร้างส่วนที่รองรับน้ำหนักบริเวณเพลาล้อท้ายหรือคู่ท้ายให้ตัดต่อโครงสร้างดังกล่าวได้ แต่ต้องเหลือโครงสร้างเดิมที่เป็นชิ้นเดียวกันยาวเกินกว่าร้อยละ ๕๐ ของบริเวณเพลาล้อท้ายหรือคู่ท้ายของรถนั้น (๒.๓) โครงสร้างส่วนที่มีหมายเลขคัสซี การตัดต่อเปลี่ยนแปลงความยาวเดิม ต้องมีโครงสร้างส่วนที่มีหมายเลขคัสซีที่เป็นชิ้นเดียวกันเกินกว่าร้อยละ ๕๐ ของส่วนนั้น (๒.๔) ต้องมีหนังสือรับรองชิ้นส่วนของโครงสร้างเดิมจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถ (๒.๕) การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงความยาวสุดของรถให้ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมและทำให้รถมีความยาวเกินกว่า ๑๐ เมตร ต้องเป็นรถที่ผู้ผลิตกำหนดให้มีน้ำหนักรวมสูงสุด (GVW) ไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ กิโลกรัม หรือมีขนาดหน้าตัดของโครงคัสซีส่วนที่ใหญ่สุดมีความสูงไม่น้อยกว่า ๒๐๐ มิลลิเมตร ข. การเปลี่ยนโครงคัสซี ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ต้องเป็นรถที่จดทะเบียนหรือเคยจดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (๒) ต้องไม่เปลี่ยนเครื่องกำเนิดพลังงานในคราวเดียวกัน (๓) โครงคัสซีที่นำมาเปลี่ยน ต้องเป็นชนิด (Maker) เดียวกับโครงคัสซีรถเดิมที่จดทะเบียนไว้และต้องไม่มีการต่อโครงคัสซีนั้น (๔) ต้องไม่ทำให้รถนั้นเปลี่ยนแปลงไปเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้ (๔.๑) ความยาวสุดของรถ เปลี่ยนแปลงจากประวัติรถเดิมไม่เกินร้อยละ ๕ (๔.๒) น้ำหนักรถ เปลี่ยนแปลงจากที่จดทะเบียนไว้ไม่เกินร้อยละ ๒๐ (๔.๓) น้ำหนักรวมสูงสุด เปลี่ยนแปลงจากเดิมไม่เกินร้อยละ ๒๕ ของน้ำหนักรวมสูงสุดที่จดทะเบียนไว้ ค. การเปลี่ยนเครื่องกำเนิดพลังงาน เครื่องกำเนิดพลังงานที่นำมาเปลี่ยนต้องมีอัตรากำลังขั้นต่ำไม่น้อยกว่า ๕ กิโลวัตต์ต่อตันของน้ำหนักรวมสูงสุด ข้อ ๖ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๑ มาตรฐาน ๒ และมาตรฐาน ๔ ที่มีความสูงเกินกว่า ๓.๖๐ เมตร ต้องนำรถเข้าตรวจและทดสอบการทรงตัวของรถโดยใช้อุปกรณ์ทดสอบการทรงตัว (Tilt-Table Test) ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและระยะเวลาที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด ข้อ ๗ รถที่เคยได้รับการอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงคัสซีไว้แล้วการขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงคัสซีครั้งใหม่ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ (๑) กรณีโครงคัสซีจากบริษัทผู้ผลิตที่เป็นชิ้นเดียวกันและมีหมายเลขคัสซีปรากฏอยู่หรือกรณีโครงสร้างส่วนที่รองรับน้ำหนักมีความยาวเหลืออยู่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ ให้พิจารณาอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพรถเป็นมาตรฐานอื่นได้ทุกมาตรฐาน (๒) กรณีโครงคัสซีจากบริษัทผู้ผลิตที่เป็นชิ้นเดียวกันและมีหมายเลขคัสซีปรากฏอยู่ มีความยาวเหลืออยู่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ และมิได้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ ก. (๑) (๑.๒) ให้พิจารณาอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพรถเป็นมาตรฐานอื่นได้ทุกมาตรฐาน ยกเว้นมาตรฐาน ๔ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๓๙/๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๓
638201
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารเมืองใหม่ช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารเมืองใหม่ช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำหนดจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารเมืองใหม่ช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ในบริเวณที่ดินตามโครงการเมืองใหม่ช่องสะงำ บริเวณบ้านแซร์ไปร์ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ เนื้อที่ ๖ ไร่ โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สุชาติ โชคชัยวัฒนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารเมืองใหม่ช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง/หน้า ๒๐/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๓
635214
ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
ประกาศนายทะเบียนกลาง ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] ตามที่นายทะเบียนกลางได้มีประกาศ เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ไว้แล้ว นั้น โดยที่ปัจจุบันการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับการบรรจุรถ การเปลี่ยนรถ และการถอนรถของการประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัดมีเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนกลางจึงเห็นสมควรมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางไว้ ดังต่อไปนี้ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๖/๑ ของประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ “ข้อ ๖/๑ ให้นักวิชาการขนส่งในส่วนการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสาร เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (ฉ) (ช) และ (ซ)” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายทะเบียนกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๗๖/๘ กันยายน ๒๕๕๓
634975
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานี ฉบับที่ 35 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดอุทัยธานี ฉบับที่ ๓๕ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานีกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๒๓ สายที่ ๖๘๐๐๑ หนองฉาง-ปากเหมือง และฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๓๗ สายที่ ๖๘๐๑๙ ตลาดปากเหมือง-บ้านเขาฤาษี เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชน นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานีได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าเส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้พิจารณากำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้นทดแทนแล้ว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กดังกล่าว ดังนี้ ๑. สายที่ ๖๘๐๐๑ หนองฉาง-ปากเหมือง ตั้งแต่วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ๒. สายที่ ๖๘๐๑๙ ตลาดปากเหมือง-บ้านเขาฤาษี ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ชนม์ชื่น บุญญานุสาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดอุทัยธานี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๓๕ ง/หน้า ๓๒๕/๒ กันยายน ๒๕๕๓
634685
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ 64 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ ๖๔ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชลบุรี สายที่ ๖๒๕๙ หนองตำลึง-รอบพานทอง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๖๒๕๙ หนองตำลึง-รอบพานทอง เที่ยววนขวา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านหนองตำลึง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕ ผ่านโรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อีเทค) วัดหนองตำลึง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชบ ๓๐๒๒ ผ่านที่ทำการเทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ ตรงไปตามถนนบ้านเก่า-บางนาง ผ่านวัดบ้านเก่า บ้านบางสมัน แยกขวาไปตามถนนบางนาง-แหลมแค ผ่านโรงเรียนบ้านเนินถาวร วัดแหลมแค แยกขวาไปตามถนน เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ถึงที่ว่าการอำเภอพานทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๒๗ แยกขวาไปตามถนนนางู-โรงนา แยกขวาไปตามถนนตลาดใหม่-โรงนา ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖๖ ผ่าน อบต. พานทอง โรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ แยกซ้ายไปตามถนนบ้านเก่าบน-บ้านมาบสามเกลียว ผ่านวิทยาลัยการอาชีพพานทอง อบต.บ้านเก่า แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชบ ๓๐๒๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านหนองตำลึง เที่ยววนซ้าย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านหนองตำลึง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕ ผ่านโรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อีเทค) วัดหนองตำลึง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชบ ๓๐๒๒ ผ่านที่ทำการเทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ แยกขวาไปตามถนนบ้านเก่าบน-บ้านมาบสามเกลียว ผ่าน อบต. บ้านเก่า วิทยาลัยการอาชีพพานทอง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖๖ ถนนตลาดใหม่-โรงนา ผ่านโรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ อบต. พานทอง แยกซ้ายไปตามถนนนางู-โรงนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๒๗ ถึงที่ว่าการอำเภอพานทอง แยกขวาไปตามถนนเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ แยกซ้ายไปตามถนนบางนาง-แหลมแค ผ่านวัดแหลมแค โรงเรียนบ้านเนินถาวร แยกซ้ายไปตามถนนบ้านเก่า-บางนาง ผ่านบ้านบางสมัน วัดบ้านเก่า ตรงไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชบ ๓๐๒๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านหนองตำลึง ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชลบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กันยายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๖ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๓๑ ง/หน้า ๒๖๖/๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๓
633698
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการให้ความเห็นชอบคัสซีและตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ 6 ลักษณะ 7 และลักษณะ 8 พ.ศ. 2553
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการให้ความเห็นชอบคัสซีและตัวถังรถ ที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๖ ลักษณะ ๗ และลักษณะ ๘ พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อให้การปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบคัสซีและตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๖ ลักษณะ ๗ และลักษณะ ๘ เป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ผลิตหรือประกอบรถยกระดับมาตรฐานการผลิต อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๘ (๑) วรรคสอง และ (๒) วรรคสอง ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการให้ความเห็นชอบคัสซีและตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๖ ลักษณะ ๗ และลักษณะ ๘ ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “รถ” หมายถึง คัสซี หรือคัสซีพร้อมตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๖ ลักษณะ ๗ และลักษณะ ๘ “ผู้ผลิตรถระดับ ๑” หมายถึง นิติบุคคลที่ดำเนินกิจการผลิตหรือประกอบรถที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน มีวิศวกรควบคุมการสร้างประกอบหรือตรวจสอบรถ และมีระบบควบคุมมาตรฐานการผลิตและได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก “ผู้ผลิตรถระดับ ๒” หมายถึง นิติบุคคลที่ดำเนินกิจการผลิตหรือประกอบรถที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน มีวิศวกรควบคุมการสร้างประกอบหรือตรวจสอบรถและได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก “ผู้นำเข้ารถ” หมายถึง บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่นำเข้ารถที่ผลิตหรือประกอบสำเร็จ (Complete-Built Unit) จากต่างประเทศ ข้อ ๒ การขอรับความเห็นชอบรถแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ดังต่อไปนี้ ประเภทที่ ๑ การขอรับความเห็นชอบรถเป็นแบบ (Type) ซึ่งเป็นการขอรับความเห็นชอบรถที่ออกแบบเพื่อการผลิตเป็นรถที่เหมือนกันโดยไม่จำกัดจำนวน ประเภทที่ ๒ การขอรับความเห็นชอบรถที่เหมือนกันจำนวนมาก ซึ่งเป็นการขอรับความเห็นชอบรถที่ออกแบบเพื่อการผลิตเป็นรถที่เหมือนกันเป็นจำนวนไม่เกิน ๕๐ คัน ประเภทที่ ๓ การขอรับความเห็นชอบรถทั่วไป ซึ่งเป็นการขอรับความเห็นชอบรถที่ออกแบบเป็นรายคัน หรือออกแบบเพื่อการผลิตเป็นรถที่เหมือนกันเป็นจำนวนไม่เกิน ๑๐ คัน รถที่เหมือนกันตามวรรคหนึ่งเป็นรถที่มีรายละเอียดทางเทคนิคของรถเหมือนกันตามรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) รูปแบบและขนาดของโครงคัสซี (๒) ขนาดสัดส่วนของรถ ได้แก่ ระยะช่วงล้อ ระยะยื่นหน้า ระยะยื่นท้าย ขนาดตัวถังและพื้นที่บรรทุก (๓) จำนวนเพลาล้อ กงล้อและยาง (๔) ชนิด แบบและคุณลักษณะต่าง ๆ ของเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ (๕) น้ำหนักรวมสูงสุดและการกระจายน้ำหนัก ข้อ ๓ การขอรับความเห็นชอบรถตามข้อ ๒ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้ (๑) การขอรับความเห็นชอบรถประเภทที่ ๑ ต้องเป็นผู้ผลิตรถระดับ ๑ หรือผู้นำเข้ารถที่เป็นนิติบุคคลและได้รับการขึ้นทะบียนกับกรมการขนส่งทางบก (๒) การขอรับความเห็นชอบรถประเภทที่ ๒ ต้องเป็นผู้ผลิตรถระดับ ๑ ผู้ผลิตรถระดับ ๒ หรือผู้นำเข้ารถที่เป็นนิติบุคคลและได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น (๓) การขอรับความเห็นชอบรถประเภทที่ ๓ จะเป็นผู้ผลิตรถ ผู้นำเข้ารถ นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้ รถที่ออกแบบเพื่อการใช้งานเฉพาะกิจที่มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบหรือขนาดแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ขอรับความเห็นชอบรถประเภทที่ ๓ เท่านั้น รถที่ออกแบบเพื่อใช้ในการขนส่งวัตถุหรือสินค้าอันตรายให้ขอรับความเห็นชอบรถประเภทที่ ๒ และประเภทที่ ๓ และในกรณีการขอรับความเห็นชอบรถประเภทที่ ๒ ผู้ขอรับความเห็นชอบจะต้องเป็นผู้ผลิตรถระดับ ๑ หรือผู้นำเข้ารถที่เป็นนิติบุคคลและได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น ข้อ ๔ บุคคลที่ประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผลิตรถหรือผู้นำเข้ารถให้จัดส่งหลักฐานดังต่อไปนี้ ให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์เพื่อพิจารณาขึ้นทะเบียน (๑) ผู้ผลิตรถระดับ ๑ (ก) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย (ข) สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.๔) ในการดำเนินกิจการผลิตรถ (ค) สำเนาหนังสือรับรองระบบการบริหารงานคุณภาพของโรงงานผู้ผลิตรถตามอนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 หรือตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ง) หนังสือรับรองวิศวกร สาขาวิศวกรรมเครื่องกล พร้อมสำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของวิศวกร (๒) ผู้ผลิตรถระดับ ๒ (ก) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย (ข) สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.๔) ในการดำเนินกิจการผลิตรถ (ค) หนังสือรับรองวิศวกร สาขาวิศวกรรมเครื่องกล พร้อมสำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของวิศวกร (๓) ผู้นำเข้ารถ (ก) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย (ข) สำเนาหนังสือรับรองระบบการบริหารงานคุณภาพของโรงงานผู้ผลิตรถในต่างประเทศตามอนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 หรือตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ค) หนังสือรับรองวิศวกร สาขาวิศวกรรมเครื่องกล พร้อมสำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของวิศวกร การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผลิตรถหรือผู้นำเข้ารถให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนต้องรักษาคุณสมบัติให้ครบถ้วนตามที่ขอขึ้นทะเบียนไว้ตลอดอายุการขึ้นทะเบียน ข้อ ๕ ภายใต้บังคับความในข้อ ๓ ผู้ใดประสงค์จะขอรับความเห็นชอบรถให้ยื่นคำขอเป็นหนังสือ ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดพร้อมเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) การขอรับความเห็นชอบรถประเภทที่ ๑ (ก) สำเนาหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผลิตรถระดับ ๑ หรือผู้นำเข้ารถ (ข) รายละเอียดรถ และรายการคำนวณความแข็งแรงของคัสซีรถ ซึ่งมีข้อมูลรายละเอียดตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศ (ค) หนังสือรับรองรถที่ออกโดยวิศวกรเครื่องกลซึ่งเป็นผู้ออกแบบควบคุมการสร้างประกอบหรือตรวจสอบรถ รับรองความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยที่จะใช้ในการขนส่ง (๒) การขอรับความเห็นชอบรถประเภทที่ ๒ (ก) สำเนาหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผลิตรถระดับ ๑ ผู้ผลิตรถระดับ ๒ หรือผู้นำเข้ารถ (ข) เอกสารที่กำหนดไว้ตาม (๑) (ข) และ (ค) (๓) การขอรับความเห็นชอบรถประเภทที่ ๓ (ก) หลักฐานประจำตัวบุคคล เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม แล้วแต่กรณี (ข) เอกสารที่กำหนดไว้ตาม (๑) (ข) และ (ค) ข้อ ๖ การขอรับความเห็นชอบรถประเภทที่ ๑ และประเภทที่ ๒ ผู้ขอรับความเห็นชอบต้องจัดเตรียมรถต้นแบบเพื่อรับการตรวจและทดสอบ ข้อ ๗ การพิจารณาให้ความเห็นชอบรถต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) รถต้องมีสภาพ ขนาด ลักษณะ เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด (๒) การกระจายน้ำหนักของรถเมื่อทำการบรรทุกที่น้ำหนักรวมสูงสุด (GVW) ต้องเป็นดังนี้ (ก) ไม่เกินสมรรถนะของเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบที่นำมาใช้ประกอบในรถ (ข) น้ำหนักลงเพลาล้อของรถ น้ำหนักรวมสูงสุด หรือเมื่อนำรถไปต่อพ่วงกับรถลากจูง จะต้องไม่เกินพิกัดน้ำหนักตามที่กฎหมายกำหนด หรือตามที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ ข้อ ๘[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. เอกสารแนบท้ายประกาศรายละเอียดรถและรายการคำนวณความแข็งแรงของรถ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๓ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๓๒/๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
633696
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษเฉพาะแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน และกำหนดเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ หรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบ พ.ศ. 2553
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษ เฉพาะแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน และกำหนดเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ หรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบ พ.ศ. ๒๕๕๓ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษ (ยาบ้า) และกำหนดเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบว่ามีสารนั้นอยู่ในร่างกายหรือไม่ ลงวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑ ไว้แล้ว นั้น โดยที่ปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประกาศดังกล่าวบางหน่วยงานได้มีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ ทำให้การแบ่งส่วนราชการและการกำหนดตำแหน่งในหน่วยงานดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับเป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐๒ ทวิ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษเฉพาะแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน และกำหนดเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษ (ยาบ้า) และกำหนดเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบว่ามีสารนั้นอยู่ในร่างกายหรือไม่ ลงวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “การตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษ” หมายความว่า การตรวจหรือทดสอบหาระดับหรือปริมาณของแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษในปัสสาวะ ข้อ ๓ ให้ผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครองและตำรวจดังต่อไปนี้ เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ หรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษ (๑) ผู้ตรวจการในกองตรวจการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก มีอำนาจทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และในเขตอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร (๒) ผู้ตรวจการในสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ (๓) ผู้ตรวจการในสำนักงานขนส่งจังหวัด และสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ (๔) ผู้บังคับการ กองบังคับการตำรวจนครบาล ๑ - ๙ หรือผู้ปฏิบัติราชการแทน มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ (๕) ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาล หรือสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาล หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำสถานีตำรวจนครบาลนั้น มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ (๖) ผู้บังคับการ กองบังคับการตำรวจจราจร หรือผู้ปฏิบัติราชการแทน มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ (๗) พนักงานสอบสวนกองบังคับการตำรวจจราจรซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่รองสารวัตรขึ้นไป มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ (๘) ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด หรือผู้ปฏิบัติราชการแทน มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ (๙) ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธร หรือสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธร หรือสารวัตรสถานีตำรวจภูธร หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำสถานีตำรวจภูธรนั้น มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ (๑๐) ผู้บังคับการ กองบังคับการตำรวจทางหลวง หรือผู้ปฏิบัติราชการแทน มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ (๑๑) พนักงานสอบสวนกองบังคับการตำรวจทางหลวงซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่รองสารวัตรขึ้นไป มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ (๑๒) เจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙ มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ ข้อ ๔ หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษ ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้ (๑) จัดให้มีอุปกรณ์สำหรับเก็บปัสสาวะ โดยให้ใช้ขวดแก้วหรือขวดพลาสติกปากกว้างพร้อมฝาปิดขนาดบรรจุขวดประมาณ ๖๐ มิลลิลิตร โดยขวดที่นำมาใช้ต้องสะอาดและแห้ง และให้มีฉลากสำหรับติดขวดเพื่อใช้บันทึกข้อมูลของผู้รับการตรวจหรือทดสอบและแถบกาวเพื่อใช้ปิดผนึกทับปากขวดเก็บปัสสาวะด้วย (๒) วิธีการในการเก็บปัสสาวะให้ถือปฏิบัติ ดังนี้ (ก) จัดให้มีการควบคุมการถ่ายปัสสาวะของผู้รับการตรวจหรือทดสอบทุกครั้ง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ปัสสาวะนั้นเกิดการเจือจาง หรือสับเปลี่ยนตัวอย่าง (ข) บันทึกหมายเลขประจำขวด ชื่อ - นามสกุล อายุของผู้รับการตรวจหรือทดสอบ และวันเวลาที่เก็บปัสสาวะบนฉลาก และติดฉลากกับขวดเก็บปัสสาวะ (ค) มอบขวดเก็บปัสสาวะให้แก่ผู้รับการตรวจหรือทดสอบนำไปถ่ายปัสสาวะใส่ขวดจำนวนประมาณ ๓๐ มิลลิลิตรหรือครึ่งขวด และให้ผู้รับการตรวจหรือทดสอบลงลายมือชื่อกำกับบนฉลากติดขวดเก็บปัสสาวะ (๓) วิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษให้ใช้เครื่องมือตรวจสอบโดยวิธี Immunoassay โดยให้ถือปฏิบัติตามคู่มือวิธีการตรวจหรือทดสอบของเครื่องมือแต่ละผลิตภัณฑ์ (๔) เมื่อตรวจหรือทดสอบตามวิธีการใน (๓) แล้วปรากฏว่าให้ผลบวกตามคู่มือวิธีการตรวจหรือทดสอบของเครื่องมือแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยมีปริมาณแอมเฟตามีนหรือเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะตั้งแต่ ๑ ไมโครกรัม/มิลลิลิตรขึ้นไป ให้ถือว่าผู้รับการตรวจหรือทดสอบอาจเสพสารแอมเฟตามีนหรือเมทแอมเฟตามีน ข้อ ๕ ในกรณีตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษแล้วได้ผลการตรวจหรือทดสอบตามข้อ ๔ (๔) ให้เจ้าพนักงานผู้ทำการตรวจหรือทดสอบดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) จดบันทึกข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ - นามสกุล ภูมิลำเนา หรือสถานที่อยู่ที่สามารถจะเรียกตัวมาเพื่อดำเนินคดีได้เมื่อมีการตรวจยืนยันผลและความถูกต้องของการตรวจ แล้วปรากฏว่าเป็นผู้ที่มียาเสพติดให้โทษอยู่ในร่างกาย (๒) ปิดขวดเก็บปัสสาวะที่เหลือของผู้รับการตรวจหรือทดสอบให้สนิทพร้อมทั้งปิดผนึกทับปากขวดด้วยแถบกาว โดยมีลายมือชื่อของเจ้าพนักงานผู้ทำการตรวจหรือทดสอบและผู้รับการตรวจหรือทดสอบกำกับไว้แล้วให้รีบจัดส่งขวดเก็บปัสสาวะดังกล่าวในสภาพแช่เย็นไปยังสถานตรวจพิสูจน์ของส่วนราชการตามข้อ ๖ โดยเร็ว เพื่อตรวจยืนยันผลและความถูกต้องของการตรวจ ข้อ ๖ สถานตรวจพิสูจน์ของส่วนราชการที่สามารถตรวจยืนยันผลและความถูกต้องของการตรวจมีดังนี้ (๑) หน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ก) สถาบันนิติเวชวิทยา (ข) กองพิสูจน์หลักฐานกลาง (ค) ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน ๑ - ๑๐ (ง) พิสูจน์หลักฐานจังหวัด (๒) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ก) โรงพยาบาลศูนย์ของรัฐ (ข) โรงพยาบาลจังหวัด (ค) โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ เช่น โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลธัญญารักษ์ (ง) หน่วยงานในสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่น สำนักยาและวัตถุเสพติด ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ (๓) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เมื่อหน่วยงานตามวรรคหนึ่งได้ดำเนินการตรวจยืนยันผลและความถูกต้องของการตรวจแล้ว ให้ถือว่าผู้รับการตรวจหรือทดสอบเป็นผู้ที่มียาเสพติดให้โทษอยู่ในร่างกาย ข้อ ๗ เพื่อให้การตรวจหรือทดสอบตามประกาศนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการแพทย์และรัดกุมมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดปัญหาในข้อกฎหมายและปัญหาในทางปฏิบัติ ฉะนั้น ในการออกปฏิบัติการเพื่อทำการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษในแต่ละครั้ง ให้ออกปฏิบัติการโดยมีผู้ที่มีความรู้ความชำนาญจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือสถานตรวจพิสูจน์ของส่วนราชการตามที่ระบุไว้ในข้อ ๖ เจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙ และเจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมด้วยทุกครั้ง ข้อ ๘[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๓ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๒๗/๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
633515
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ 84 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ ๘๔ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๖๒๕๘ วงกลมบางบัวทอง-อำเภอบางใหญ่ สายที่ ๖๒๕๘ วงกลมบางบัวทอง-อำเภอบางใหญ่ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดบางบัวทอง ไปตามถนนบางกรวย-ไทรน้อย ถึงแยกบางพลู แยกขวาไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ ถึงทางต่างระดับบางใหญ่ แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก ถึงแยกไทรน้อย แยกขวาไปตามถนนบางกรวย-ไทรน้อย ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดบางบัวทอง ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ วิเชียร พุฒิวิญญู ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๒๑ ง/หน้า ๒๐๐/๕ สิงหาคม ๒๕๕๓
633513
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ 83 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ ๘๓ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๖๒๕๖ ตลาดกลางบางใหญ่-หมู่บ้านไม้หินดินน้ำ สายที่ ๖๒๕๖ ตลาดกลางบางใหญ่-หมู่บ้านไม้หินดินน้ำ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดกลางบางใหญ่ ไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ ๑๐๐๙ ผ่านหมู่บ้านมิตรประชา หมู่บ้านบัวทอง หมู่บ้านชัยพฤกษ์ หมู่บ้านคุณาลัย หมู่บ้านสิริกานต์ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ ๔๐๙๘ ผ่านบ้านลาดตะค้าน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ ๓๐๘๗ ผ่านหมู่บ้านพฤกษา ๓๓ หมู่บ้านพฤกษา ๑๔ แยกซ้ายข้ามสะพานคลองโต๊ะใหม่ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ ๑๐๐๒ ผ่านหมู่บ้านพฤกษา ๓ วัดเต็มรักสามัคคี ข้ามสะพานคลองนายหลีก แยกซ้ายไปตามถนนนายหลีกฝั่งตะวันตก ผ่านหมู่บ้านลาดกระเฉก ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านไม้หินดินน้ำ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ วิเชียร พุฒิวิญญู ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๒๑ ง/หน้า ๑๙๙/๕ สิงหาคม ๒๕๕๓
633511
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ 82 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ ๘๒ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๖๒๕๕ ตลาดกลางบางใหญ่-ประตูระบายน้ำกลางคลองทวีวัฒนา สายที่ ๖๒๕๕ ตลาดกลางบางใหญ่-ประตูระบายน้ำกลางคลองทวีวัฒนา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดกลางบางใหญ่ ไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ ๕๐๐๕ ผ่านวัดบางโค วัดหลังบาง สถานีตำรวจภูธรบางแม่นาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ ๕๐๑๔ แยกขวาไปตามถนนต้นเชือก-สี่แยกคลองโยง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ ๑๐๐๙ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางประตูระบายน้ำกลางคลองทวีวัฒนา ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ วิเชียร พุฒิวิญญู ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๒๑ ง/หน้า ๑๙๘/๕ สิงหาคม ๒๕๕๓
632390
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ 62 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๖๒ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลาได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร นั้น เพื่อทดแทนเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐(๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ในการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงเห็นควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดสงขลา และหมวด ๔ จังหวัดสงขลา จำนวน ๑๕ เส้นทาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ หมวด ๑ สายที่ ๗ หาดใหญ่-โรงเรียนบ้านหน้าควน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารประจำทางอำเภอหาดใหญ่ ไปตามถนนทุ่งเสา ถึงสามแยก แยกขวาไปตามถนนราชดำริห์ ถึงสี่แยกถนนศรีภูวนารถ ตรงไปตามถนนราษฎร์ยินดี (สามสิบเมตร) ถึงสามแยกถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านวงเวียนน้ำพุ ถึงสี่แยกป้อมไฟ แยกขวาข้ามสะพานทางรถไฟ ผ่านที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ ข้ามสะพานคลองอู่ตะเภา แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษมซอย ๓๗ แยกซ้ายไปตามถนนเทศาพัฒนา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงเรียนบ้านหน้าควน หมวด ๔ สายที่ ๘๔๒๙ สงขลา-บ้านทรายขาว เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเมืองสงขลา ไปตามถนนรามวิถี ถึงสามแยกสำโรง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ (สายสงขลา-นาทวี) ถึงบ้านทุ่งหวัง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท สข. ๓๐๐๕ ไปสุดเส้นทางที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านทรายขาว หมวด ๔ สายที่ ๘๔๓๐ สงขลา-บ้านนาทับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเมืองสงขลา ไปตามถนนรามวิถี ถึงสามแยกสำโรง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ (สายสงขลา-นาทวี) ถึงบ้านขุนทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท สข.๕๐๐๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนาทับ หมวด ๔ สายที่ ๘๔๓๑ สงขลา-ป่ายาง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเมืองสงขลา ไปตามถนนรามวิถี ถึงสามแยกสำโรง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ (สายสงขลา-นาทวี) แยกขวาถึงทางแยกตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๓ ตรงไปตามถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาหมายเลข สข.๓๐๑๗ ผ่านบ้านควนมีด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านป่ายาง หมวด ๔ สายที่ ๘๔๓๔ หาดใหญ่-คลองหอยโข่ง-บ้านเหนือ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดสดเทศบาลนครหาดใหญ่ แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม ข้ามสะพานตรงไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ ถึงทางแยก กม.๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๓๕ ถึง กม.๖ แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น (๔๑๓๕-บ้านทองคลอง) ผ่านกองบิน ๕๖ วัดโพธิ์ อำเภอคลองหอยโข่ง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเหนือ หมวด ๔ สายที่ ๘๔๓๕ หาดใหญ่-บ้านโฮ๊ะ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดสดเทศบาลนครหาดใหญ่ แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม ข้ามสะพานตรงไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ ถึงสี่แยกควนลัง ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงทางแยก กม. ๑๓ บ้านหูแร่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สข. ๑๐๒๖ ผ่านบ้านนาแสน บ้านพรุชบา วัดเก่า ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโฮ๊ะ ช่วงหาดใหญ่-วัดเกาะ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดสดเทศบาลนครหาดใหญ่ แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม ข้ามสะพานตรงไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ ถึงทางแยก กม. ๗ แยกซ้ายไปตามถนน อบจ. กม. ๗ (หลักสี่บ้านวังหรั่ง) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดเกาะ ช่วงหาดใหญ่-บ้านม่วงค่อม เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดสดเทศบาลนครหาดใหญ่ แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม ข้ามสะพานตรงไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ ถึงทางแยก กม. ๑๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สข. ๑๐๑๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านม่วงค่อม หมวด ๔ สายที่ ๘๔๓๖ หาดใหญ่-บ้านคลองต่อ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดสดเทศบาลนครหาดใหญ่ แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม ข้ามสะพานตรงไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ ถึงสี่แยกควนลัง ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงทางแยก กม. ๒๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคลองต่อ หมวด ๔ สายที่ ๘๔๓๗ หาดใหญ่-นิคมรัตภูมิ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดสดเทศบาลนครหาดใหญ่ แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม ข้ามสะพานตรงไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ ถึงสี่แยกควนลัง ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงทางแยก กม. ที่ ๒๗ แยกซ้ายไปตามถนน อบต. สายโทใต้ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางนิคมรัตภูมิ หมวด ๔ สายที่ ๘๔๔๐ หาดใหญ่-บ้านพรุ-บางศาลา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหาดใหญ่ แยกขวาไปตามถนนพลพิชัย ไปตามถนนศรีภูวนารถ ถึงสามแยกคลองเรียน แยกขวาไปตามถนนกาญจนวนิช ถึงสี่แยกคลองหวะ ตรงไปผ่านบ้านพรุ ถึงแยกกิโลเมตรที่ ๑๒ แยกขวาไปตามถนนบ้านพรุธานี ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านบางศาลา หมวด ๔ สายที่ ๘๔๔๒ หาดใหญ่-บ้านบางลึก เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหาดใหญ่ ไปตามถนนทุ่งเสา ถึงสามแยก แยกขวาไปตามซอยศรีภูวนารถ ถึงถนนศรีภูวนารถ แยกซ้ายไปตามถนนศรีภูวนารถ ถึงสามแยก แยกขวาไปตามถนนนิพัทธ์อุทิศ ๒ แยกซ้ายไปตามถนนศุภสารรังสรรค์ ถึงสี่แยกป้อมไฟ แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านวงเวียนน้ำพุ ถึงหน้าธนาคารแห่งประเทศไทย แยกซ้ายไปตามถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ผ่านหมู่บ้านไทยสมุทร หมู่บ้านคลองแห ถึงสามแยกเข้าบ้านใต้ แยกขวาไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านบางลึก หมวด ๔ สายที่ ๘๔๕๐ ระโนด-บ้านวัดพะโค๊ะ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารประจำทางอำเภอระโนด ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ๔๐๘๓ ถึงสี่แยกบ้านรับแพรก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ (สายระโนด-สงขลา) ถึงทางแยกเข้าวัดพะโค๊ะ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท อบจ. สข. ๒๐๖๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวัดพะโค๊ะ หมวด ๔ สายที่ ๘๔๕๑ ทุ่งลุง-หูโตน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารประจำทางบริเวณตลาดทุ่งลุง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข สข.๑๐๑๙ ผ่านบ้านทุ่งปรือ แยกซ้ายไปตามถนนทางหลวงชนบทหมายเลข สข. ๑๐ (สายทุ่งปรือ-วังทอง) ผ่านบ้านวังทอง ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหูโตน ช่วงทุ่งลุง-ในสังข์ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดทุ่งลุง ไปตามถนนทางหลวงชนบทหมายเลข สข. ๑๐๑๙ ผ่านบ้านทุ่งปรือ บ้านนัดยอ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านในสังข์ หมวด ๔ สายที่ ๘๔๕๒ ตลาดทุ่งลุง-บ้านเก่าร้าง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารประจำทางบริเวณตลาดทุ่งลุง ไปตามถนนเทศบาล ๒๖ ผ่านหมู่บ้านพร้าว บ้านปลักคล้า บ้านโคกเหรียง ถึงสามแยกบ้านเหนือ แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น ถึงสามแยกถนนชลประทาน แยกขวาไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเก่าร้าง หมวด ๔ สายที่ ๘๔๕๓ สะบ้าย้อย-เขาแดง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารประจำทางอำเภอสะบ้าย้อย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๙๕ ผ่านบ้านล่องควน บ้านคูหา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเขาแดง หมวด ๔ สายที่ ๘๔๕๔ ควนเนียง-เขาพระ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารประจำทางบ้านควนเนียง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๖ (สายควนเนียง-รัตภูมิ) ถึงสี่แยกคูหา ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านที่ว่าการอำเภอรัตภูมิ ถึงสามแยกท่าชะมวง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๖ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเขาพระ หมวด ๔ สายที่ ๘๔๕๖ คลองแงะ-สะเดา-ห้วยคู เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารประจำทางบ้านคลองแงะ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (ถนนกาญจนวนิช) ผ่านบ้านปริก ถึงอำเภอสะเดา แยกซ้ายไปตามถนนเกษมสุข ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒๔๓ ผ่านบ้านม่วง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยคู ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สนธิ เตชานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐๘ ง/หน้า ๑๖๐/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓
632388
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ 61 (พ.ศ. 2552) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสงขลา สายที่ 8293 หาดใหญ่-บ้านต้นปลิง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงหาดใหญ่-ดรงพยาบาลนาหม่อม
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๖๑ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่ ๘๒๙๓ หาดใหญ่-บ้านต้นปลิง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงหาดใหญ่-โรงพยาบาลนาหม่อม[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๒๙ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ลงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๕ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๘๒๙๓ หาดใหญ่-บ้านต้นปลิง ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลาได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่ ๘๒๙๓ หาดใหญ่-บ้านต้นปลิง โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ หมวด ๔ สายที่ ๘๒๙๓ หาดใหญ่-บ้านต้นปลิง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหาดใหญ่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงสี่แยกคลองหวะ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๓ ถึงอำเภอนาหม่อม แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านสถานีรถไฟบ้านนาม่วง ถึงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๓ ตรงไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านแม่เปี๊ยะ บ้านลานไทร ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านต้นปลิง ช่วงหาดใหญ่-โรงพยาบาลนาหม่อม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหาดใหญ่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงสี่แยกคลองหวะ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๓ ผ่านบ้านควนจง อำเภอนาหม่อม บ้านทุ่งฆ้อ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงพยาบาลนาหม่อม ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สนธิ เตชานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐๘ ง/หน้า ๑๕๘/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓
632386
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ 233 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ ๒๓๓ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมาได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๗๐๕ ปากช่อง-บ้านระเริง-บ้านศาลเจ้าพ่อ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๗๐๕ ปากช่อง-บ้านระเริง-บ้านศาลเจ้าพ่อ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปากช่อง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๓๕ ผ่านบ้านซับพลู โรงเรียนนิคมชลประทานสงเคราะห์ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นม. ๓๐๖๐ ผ่านบ้านระเริง โรงเรียนบ้านโนนเสาเอ้ บ้านโคกสันติสุข บ้านวังไผ่ บ้านน้ำซับ ถึงทางแยกบ้านวังไผ่ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านที่ว่าการอำเภอวังน้ำเขียว ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านศาล เจ้าพ่อ (กม. ๗๙) ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประจักษ์ สุวรรณภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐๘ ง/หน้า ๑๕๗/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓
632383
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครนายก ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนครนายก จำนวน 9 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครนายก ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครนายก จำนวน ๙ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่ ๗๒ (พ.ศ. ๒๕๐๘) ลงวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๐๘ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครนายก ฉบับที่ ๗๘๔ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ลงวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๒๒ ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ลงวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๒๕ ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๓๒ ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ลงวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๔ และฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ลงวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๔ กำหนดและปรับปรุงเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครนายก จำนวน ๙ เส้นทาง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครนายกได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวงหรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครนายก ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ และมติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวงหรือทางหลวงจังหวัด เป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครนายก จำนวน ๙ เส้นทาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๖๘๑ ค นครนายก-เขาชะโงก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ (ถนนสุวรรณศร) จนถึงสี่แยกเขาชะโงก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕๒ ผ่านตลาดคลองสะท้อน วัดคลองสะท้อน สามแยกเขาคอก และสามแยกศูนย์การทหารสื่อสาร ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางน้ำตกเขาชะโงก สายที่ ๑๖๘๓ ก นครนายก-นางรอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔๙ ผ่านสี่แยกตลาดบ้านใหญ่ สี่แยกประชาเกษม สามแยกสาริกา สวนมงคล และวังตะไคร้ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางน้ำตกนางรอง สายที่ ๑๖๘๔ ก นครนายก-ดงละคร เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ ผ่านแยกสามสาว ไปตามถนนสุขาภิบาล ๑ ผ่านประตูน้ำท่าช้าง เขื่อนนครนายก ไปตามทางหลวงท้องถิ่น (ถนน อบต. สายบ้านท่าหุบ-ดงละคร) ผ่านแยกตลาดท่าหุบ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดดงละคร สายที่ ๑๖๘๕ ก บ้านนา-บางอ้อ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านนา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ (ถนนสุวรรณศร) ถึงสี่แยกบ้านนา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕๑ ผ่านตำบลบ้านอาษา วัดทองหลาง สี่แยกทองหลาง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดบางอ้อ สายที่ ๑๖๘๕ ข บ้านนา-วัดส่องธรรมาราม เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านนา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ (ถนนสุวรรณศร) ถึงสี่แยกบ้านนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นย ๒๐๐๓ ผ่านสามแยกตลาดวัดทองย้อย สามแยกวัดป่าขะ สถานีอนามัยโปร่งเกลอ บ้านคลองละว้า แยกขวาไปตามทาง เข้าน้ำตกกระอาง ถึงน้ำตกกระอาง แล้วย้อนกลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นย ๒๐๐๓ ผ่านโปร่งไผ่ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดส่อง-ธรรมาราม (วัดเขาส่องกล้อง) สายที่ ๖๑๘๕ องครักษ์-วัดพลอยกระจ่างศรี เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอองครักษ์ ไปตามทางหลวงชนบท ถนนหมายเลข นย ๓๐๐๑ ผ่านวัดหนองชุม วัดบุญเขต ทางแยกเข้าวัดสามัคคีธรรม วัดอารีราษฎร์ วัดอรุณรังษี ทางแยกวัดปากคลองพระอาจารย์ ทางแยกเข้าวัดราษฎร์ประดิษฐ์ ทางแยกเข้าวัดสุนทรวิชิตตาราม ประตูน้ำสมบูรณ์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดพลอยกระจ่างศรี สายที่ ๖๒๒๒ นครนายก-ประตูน้ำบางหอย เริ่มต้นจาก สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ (ถนนสุวรรณศร) แล้วตรงไปตามถนนเสนาพินิจ ข้ามสะพานนครนายก ตรงไปตามถนนพาณิชย์เจริญ แยกขวาไปตามซอยพาณิชย์เจริญ ๓ แยกซ้ายไปตามถนนเหมืองทองหลาง แยกขวาไปตามถนนชลประสิทธิ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๗๖ ผ่านโรงเรียนบ้านคลองเหมือง ทางแยกบ้านหนองหมู วัดมณีวงศ์ ตลาดดงละคร วัดหนองทองทราย แล้วไปตามถนนเลียบคลองชลประทาน ผ่านสถานีตำรวจภูธรตำบลดงละคร ประตูน้ำบางเม่า โรงเรียนวัดศรีจุฬา ทางแยกเข้าวัดบางปรัง โรงเรียนบ้านกำแพงเศียร ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางประตูน้ำบ้านบางหอย สายที่ ๖๐๑๔ นครนายก-โรงเรียนเตรียมทหาร เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ (ถนนสุวรรณศร) ผ่านแยกหนองแสนตอ ผ่านวิทยาลัยการอาชีพจังหวัดนครนายก ผ่านแยกโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเขาชะโงก ผ่านบ้านวังต้น วัดบ้านพร้าว ผ่านแยกบ้านวังไทร แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นย ๓๐๑๕ ผ่านวัดรางตะเคียน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นย ๕๐๒๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหน้าโรงเรียนเตรียมทหาร สายที่ ๖๐๑๕ บ้านนา-โรงเรียนเตรียมทหาร เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านนา ผ่านตลาดบ้านนา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ (ถนนสุวรรณศร) ผ่านแยกบ้านนา โรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” โรงเรียนบ้านวังไทร ถึงแยกบ้านวังไทร แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นย ๓๐๑๕ ผ่านวัดรางตะเคียน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นย ๕๐๒๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหน้าโรงเรียนเตรียมทหาร ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ปรีชา กมลบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครนายก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓
632381
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ 63 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดชลบุรี สายที่ 6229 สัตหีบ-สี่แยกเกษมพล เป็น สัตหีบ-สามแยกหัวสนามบิน
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ ๖๓ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชลบุรี สายที่ ๖๒๒๙ สัตหีบ-สี่แยกเกษมพล เป็น สัตหีบ-สามแยกหัวสนามบิน[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ลงวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๓๓ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชลบุรี สายที่ ๖๒๒๙ สัตหีบ-สี่แยกเกษมพล ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงเส้นทางสายดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๒ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๓ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชลบุรี สายที่ ๖๒๒๙ สัตหีบ-สี่แยกเกษมพล เป็น สัตหีบ-สามแยกหัวสนามบิน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๖๒๒๙ สัตหีบ-สามแยกหัวสนามบิน เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสัตหีบ ไปตามถนนหน้าตลาดสด แยกซ้ายไปตามถนนชายทะเล แยกซ้ายไปตามถนนควินนิน แยกซ้ายไปตามถนนบ้านนา ผ่านโรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์สัตหีบ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๒๖ ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านบ้านอุดมศักดิ์ บ้านเตาถ่าน บ้านโค้งวันเพ็ญ ถึงสี่แยกเจ แยกขวา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๒ ผ่านบ้านเจใน สำนักสงฆ์ปลวกแดง สี่แยกเกษมพล บ้านโนนสมบูรณ์ โรงเรียนพัฒนเวช โรงเรียนพัฒนเวชเทคโนโลยี ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสามแยกหัวสนามบิน ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชลบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐๘ ง/หน้า ๑๕๑/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631808
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 75 (พ.ศ. 2552) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 จังหวัดเชียงราย สายที่ 2 สถานีขนส่ง-บ้านสันทราย
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๗๕ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒ สถานีขนส่ง-บ้านสันทราย[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ลงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒ สถานีขนส่ง-บ้านสันทราย นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ และครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒ สถานีขนส่ง-บ้านสันทราย ให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๒ สถานีขนส่ง-บ้านสันทราย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย ไปตามถนนประสพสุข แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน (สายเก่า) ผ่านสี่แยกประตูสลี ตรงไปตามถนนรัตนาเขต แยกซ้ายไปตามถนนธนาลัย ผ่านศาลจังหวัดเชียงราย แยกขวาไปตามถนนสุขสถิตย์ แยกซ้ายไปตามถนนอุตรกิจ ผ่านตลาดสดเทศบาล แยกซ้ายไปตามถนนไตรรัตน์ ตรงไปตามถนนสนามบิน แยกซ้ายไปตามถนนสถานพยาบาล ผ่านโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน (สายเก่า) แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามถนนทางเข้าสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย แห่งที่ ๒ ถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย แห่งที่ ๒ ไปตามถนนทางออกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย แห่งที่ ๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสันทราย ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สุเมธ แสงนิ่มนวล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐๓ ง/หน้า ๒๙๗/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631752
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุโขทัย ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2552) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุโขทัย ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุโขทัย ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ลงวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๒๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หมวด ๕ จังหวัดสุโขทัย สายที่ ๖๑๐๐๒ สุโขทัย-วัดเกาะ ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุโขทัยได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุโขทัย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๒ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โยธินศร์ สมุทรคีรีจ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุโขทัย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐๐ ง/หน้า ๒๓๔/๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631750
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุโขทัย ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2552) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุโขทัย ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุโขทัย ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ลงวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๒๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หมวด ๕ จังหวัดสุโขทัย สายที่ ๖๑๐๐๑ สุโขทัย-ท่าฉนวน ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุโขทัยได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุโขทัย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๒ จงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โยธินศร์ สมุทรคีรีจ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุโขทัย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐๐ ง/หน้า ๒๓๓/๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631748
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุโขทัย ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2552) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุโขทัย ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุโขทัย ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๕ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หมวด ๕ จังหวัดสุโขทัย สายที่ ๖๑๐๐๖ สุโขทัย-บ้านปากพระ-คีรีมาศ ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุโขทัยได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุโขทัย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๒ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โยธินศร์ สมุทรคีรีจ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุโขทัย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐๐ ง/หน้า ๒๓๒/๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631746
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุโขทัย ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2552) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุโขทัย ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุโขทัย ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๕ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หมวด ๕ จังหวัดสุโขทัย สายที่ ๖๑๐๐๕ สุโขทัย-บ้านหลุม ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุโขทัยได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุโขทัย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๒ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โยธินศร์ สมุทรคีรีจ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุโขทัย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐๐ ง/หน้า ๒๓๑/๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631744
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 19823(พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1472 เพชรเกษม-ซอยสุขาภิบาลบางแค เป็น ตลาดบางแค-โรงเรียนวัดบุญยประดิษฐ์
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๘๓ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๗๒ เพชรเกษม-ซอยสุขาภิบาลบางแค เป็น ตลาดบางแค-โรงเรียนวัดบุญยประดิษฐ์[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๔๓๓ (พ.ศ. ๒๕๑๗) ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๗ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด IV เพิ่มเติม (กรุงเทพมหานคร) สายที่ ๑๔๗๒ เพชรเกษม-ซอยสุขาภิบาลบางแค นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๗๒ เพชรเกษม-ซอยสุขาภิบาลบางแค เป็น ตลาดบางแค-โรงเรียนวัดบุญยประดิษฐ์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๔๗๒ ตลาดบางแค-โรงเรียนวัดบุญยประดิษฐ์ เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามซอยเพชรเกษม ๘๘ แยกซ้ายไปตามซอยพุทธมณฑลสาย ๒ ซอย ๑๐ แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ กลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนน ๖๐ พรรษามหาราชินี แยกขวาไปตามซอยพุทธมณฑลสาย ๒ ซอย ๗ ข้ามคลองบางแวก ผ่านวัดบุญยประดิษฐ์ จนสุดเส้นทางที่บริเวณโรงเรียนวัดบุญยประดิษฐ์ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐๐ ง/หน้า ๒๓๐/๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631740
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1982 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 496 พัทลุง-หาดใหญ่
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๘๒ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๔๙๖ พัทลุง-หาดใหญ่[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๑ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๒๕ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๔๙๖ พัทลุง-หาดใหญ่ (ข) นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๔๙๖ พัทลุง-หาดใหญ่ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๔๙๖ พัทลุง-หาดใหญ่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพัทลุง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงแยกคูหา ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๓ ถึงสามแยกควนลัง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหาดใหญ่ ช่วงหาดใหญ่-บางแก้ว-เขาชัยสน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหาดใหญ่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงแยกควนลัง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๓ ถึงแยกคูหา ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข๔๑๓๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท พท. ๗๔๐๔๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเขาชัยสน ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐๐ ง/หน้า ๒๒๙/๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631736
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1981 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 จำนวน 2 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๘๑ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ จำนวน ๒ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๖๘๔ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ประกาศ ณ วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๓๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๑๗ กรุงเทพฯ-บางปะอิน-พระนครศรีอยุธยา ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๓๖ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๒๐ กรุงเทพฯ-ขอนแก่น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ จำนวน ๒ เส้นทาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๗ กรุงเทพฯ-บางปะอิน-พระนครศรีอยุธยา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงรังสิต แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๗ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๐๙ ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร บ้านราชคราม ถึงอำเภอบางปะอิน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๗๗ ผ่านวัดทองบ่อ วัดพนัญเชิงวรวิหาร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ช่วงกรุงเทพฯ-รังสิต-ผักไห่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านรังสิต ถึงแยกสาย ๑ คลองหลวง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๗ ผ่านแยกวรเชษฐ์ แล้วไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๑๒ ผ่านอำเภอบางบาล แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๐๑ ผ่านบ้านโผงเผง อำเภอป่าโมก ถึงแยกป่าโมก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๕๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอผักไห่ สายที่ ๒๐ กรุงเทพฯ-ขอนแก่น เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย สี่แยกหินกอง ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา บ้านตลาดแค บ้านสีดา อำเภอพล กิ่งอำเภอโนนศิลา อำเภอบ้านไผ่ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ช่วงกรุงเทพฯ-มัญจาคีรี-ขอนแก่น เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย สี่แยกหินกอง ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา บ้านตลาดแค บ้านสีดา ถึงอำเภอพล แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๓๓ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๙ ผ่านอำเภอแวงใหญ่ ถึงอำเภอชนบท แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๙ ถึงอำเภอมัญจาคีรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๖๒ ผ่านอำเภอพระยืน ถึงบ้านเหล่านางาม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐๐ ง/หน้า ๒๒๗/๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631734
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1980 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๘๐ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๒ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๓๗๖ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๖ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ ในเขตกรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๑๒๗ มีนบุรี-คลอง ๑๑ ให้มีเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง และประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๓๗ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๐ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๕๐๑ สามแยกบางบอน-ทะเล ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก ๒ ช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๒ เส้นทาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๑๒๗ มีนบุรี-คลอง ๑๑ เริ่มต้นจากตลาดมีนบุรี ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ แยกซ้ายไปตามถนนร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนสุวินทวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนนิมิตรใหม่ แยกขวาไปตามถนนไมตรีจิต ผ่านวัดศรีสุขสถาพร ข้ามสะพานคลอง ๙ แยกซ้ายไปตามถนนคลอง ๙ ผ่านวัดสุวรรณบำรุงราชวราราม วัดทำเลทอง จนสุดเส้นทางที่บริเวณคลอง ๑๑ ช่วงมีนบุรี-เคหะชุมชนรามคำแหง เที่ยวไป เริ่มต้นจากตลาดมีนบุรี ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ แยกซ้ายไปตามถนนร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนสุวินทวงศ์ แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง แยกซ้ายไปตามซอยรามคำแหง ๑๙๒ จนสุดเส้นทางที่เคหะชุมชนรามคำแหง เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากเคหะชุมชนรามคำแหง ไปตามซอยรามคำแหง ๑๙๒ แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง แยกซ้ายไปตามถนนร่มเกล้า แยกซ้ายไปตามถนนสีหบุรานุกิจ จนสุดเส้นทางที่ตลาด มีนบุรี ช่วงมีนบุรี-วัดธัญญผล เริ่มต้นจากตลาดมีนบุรี ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ แยกซ้ายไปตามถนนร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนสุวินทวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนนิมิตรใหม่ แยกขวาไปตามถนนไมตรีจิต แยกซ้ายไปตาม ซอยสัมพันธ์ไมตรี แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ. ปท. ๒๐๐๖ แยกซ้ายไปตามซอยวัดธัญญผล จนสุดเส้นทางที่บริเวณวัดธัญญผล สายที่ ๑๕๐๑ สามแยกบางบอน-ทะเล เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถบริเวณสามแยกบางบอน ไปตามถนนเอกชัย แยกซ้ายไปตามถนนบางขุนเทียน แยกซ้ายไปตามถนนพระรามที่ ๒ ผ่านสำนักงานเขตบางขุนเทียน กลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนนบางขุนเทียน-ทะเล ข้ามสะพานคลองสนามไชย จนสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถบริเวณริมทะเล ช่วงสามแยกบางบอน-วัดหัวกระบือ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถบริเวณสามแยกบางบอน ไปตามถนนเอกชัย แยกซ้ายไปตามถนนบางขุนเทียน แยกซ้ายไปตามถนนพระรามที่ ๒ ผ่านสำนักงานเขตบางขุนเทียน กลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนนบางขุนเทียน-ทะเล แยกซ้ายไปตามซอยเทียนทะเล ๑๙ จนสุดเส้นทางที่วัดหัวกระบือ ช่วงวงกลมสามแยกบางบอน-โรงเรียนวิชัยวิทยา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถบริเวณสามแยกบางบอน ไปตามถนนเอกชัย แยกซ้ายไปตามถนนบางขุนเทียน แยกซ้ายไปตาม ถนนพระรามที่ ๒ ผ่านสำนักงานเขตบางขุนเทียน แยกซ้ายไปตาม ถนนพระราม ๒ ซอย ๕๔ ผ่านคลองสี่บาท หมู่บ้านแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง ตรงไปตามซอยเอกชัย ๖๙ ผ่านโรงเรียนวิชัยวิทยา แยกซ้ายไปตามถนนเอกชัย จนสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถบริเวณสามแยกบางบอน ช่วงวงกลมสามแยกบางบอน-พระราม ๒ ซอย ๕๐-ซอยเอกชัย ๘๓/๑ (วนซ้าย) เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถบริเวณสามแยกบางบอน ไปตามถนนเอกชัย แยกซ้ายไปตามถนนบางขุนเทียน แยกซ้ายไปตามถนนพระรามที่ ๒ ผ่านสำนักงานเขตบางขุนเทียน แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๒ ซอย ๕๐ จนถึงวัดกำแพง แล้วกลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามถนนเทียนทอง ๔ แยกซ้ายไปตามถนนแผ่นดินทอง แยกขวาไปตามถนนพระราม ๒ ซอย ๕๔ ตรงไปตามซอยเอกชัย ๘๓/๑ แยกซ้ายไปตามถนนเอกชัย จนสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถบริเวณสามแยกบางบอน ช่วงสามแยกบางบอน-ซอยมณธาตุราชศรีวิจิตร เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถบริเวณสามแยกบางบอน ไปตามถนนเอกชัย แยกซ้ายไปตามถนนบางขุนเทียน แยกขวาไปตาม ซอยมณธาตุราชศรีวิจิตร จนสุดเส้นทางที่บริเวณทางแยกถนนกาญจนาภิเษก ช่วงสามแยกบางบอน-เคหะชุมชนธนบุรี-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางขุนเทียน) เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถบริเวณสามแยกบางบอน ไปตามถนนเอกชัย แยกซ้ายไปตามถนนบางขุนเทียน แยกซ้ายไปตามถนนพระรามที่ ๒ ผ่านสำนักงานเขตบางขุนเทียน กลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๒ ซอย ๖๙ ผ่านโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียนเคหะชุมชนธนบุรี ไปตามซอยเทียนทะเล ๑๖ แยกขวาไปตามถนนบางขุนเทียน-ทะเล แยกซ้ายไปตามซอยเทียนทะเล ๒๕ ผ่านวัดประชาบำรุง จนสุดเส้นทางที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางขุนเทียน) เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางขุนเทียน) ไปตามซอยเทียนทะเล ๒๕ ผ่านวัดประชาบำรุง แยกขวาไปตามถนนบางขุนเทียน-ทะเล แล้วไปตามเส้นทางเดิม ถึงถนนพระรามที่ ๒ แยกซ้ายไปตามถนนพระรามที่ ๒ กลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนนบางขุนเทียน จนสุดเส้นทางที่บริเวณสามแยกบางบอน ช่วงสามแยกบางบอน-ถนนกาญจนาภิเษก-ทะเล เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถบริเวณสามแยกบางบอน ไปตามถนนเอกชัย แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก ไปตามถนนคู่ขนานถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้ แยกขวาไปตามถนนบางขุนเทียน-ทะเล จนสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถบริเวณริมทะเล ช่วงโรงเรียนศึกษานารีวิทยา-ถนนกาญจนาภิเษก-ทะเล เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถบริเวณโรงเรียนศึกษานารีวิทยา ไปตามถนนเอกชัย แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนพระรามที่ ๒ แยกขวาไปตามถนนบางขุนเทียน-ทะเล จนสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถบริเวณริมทะเล ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐๐ ง/หน้า ๒๒๓/๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631732
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1979 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 374 สะพานใหม่-บ้านสร้าง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๗๙ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๗๔ สะพานใหม่-บ้านสร้าง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๓๗๑ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๗๔ สะพานใหม่-บ้านสร้าง ให้มีเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก ๒ ช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๗๔ สะพานใหม่ - บ้านสร้าง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๓๗๔ สะพานใหม่-บ้านสร้าง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดยิ่งเจริญ (สะพานใหม่) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) แยกขวากลับรถบริเวณใต้ทางต่างระดับสามแยกอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ถึงทางแยกไปอำเภอลำลูกกา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑๒ (ถนนลำลูกกา) ผ่านอำเภอลำลูกกา คลอง ๘ คลอง ๙ ไปถึงคลอง ๑๖ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๖๙ แยกขวาไปตามถนนโยธาธิการ ถึงวัดสุนทรวิชิตตาราม แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ข้ามทางรถไฟ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. นย. ๒๐๐๘ (บ้านสร้าง-คลอง ๑๖) ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำนครนายก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๗๖ ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำปราจีนบุรี ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านสร้าง ช่วงปากทางแยกถนนลำลูกกา-หมู่บ้านพูนผล เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางแยกถนนลำลูกกา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑๒ (ถนนลำลูกกา) แยกซ้ายไปตามถนนเข้าวัดลาดสนุ่น ผ่านวัดลาดสนุ่น ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางเข้าหมู่บ้านพูนผล ช่วงปากทางแยกถนนลำลูกกา-หมู่บ้านบุศรินทร์-คลองรังสิต เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางแยกถนนลำลูกกา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑๒ (ถนนลำลูกกา) แยกซ้ายไปตามถนนฟ้าคราม ผ่านหมู่บ้านบุศรินทร์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางคลองรังสิต (บริเวณบริษัท ฝาจีบ จำกัด) ช่วงปากทางแยกถนนลำลูกกา-ปากทางแยกถนนประชาอุทิศ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางแยกถนนลำลูกกา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑๒ (ถนนลำลูกกา) แยกซ้ายไปตามซอยสวนส้ม ผ่านหมู่บ้านรินทร์ทอง แยกขวาไปตามถนนประชาอุทิศ ผ่านโรงเรียนเตรียมบัณฑิต หมู่บ้านเปียร์นนท์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางแยกถนนประชาอุทิศ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐๐ ง/หน้า ๒๒๑/๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631729
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1978 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 833 อุบลราชธานี-หนองคาย
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๗๘ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๘๓๓ อุบลราชธานี-หนองคาย[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๘๓๓ อุบลราชธานี-หนองคาย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๘๓๓ อุบลราชธานี-หนองคาย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓ ผ่านจังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด ถึงจังหวัดมหาสารคาม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๘ ผ่านอำเภอโกสุมพิสัย ถึงบ้านท่าพระ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ ผ่านจังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองคาย ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐๐ ง/หน้า ๒๒๐/๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631727
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1977 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 824 เลย-ระยอง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๗๗ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๘๒๔ เลย-ระยอง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๓๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๘๒๔ เลย-ระยอง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๘๒๔ เลย-ระยอง เป็น เลย-นครราชสีมา-ระยอง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๘๒๔ เลย-นครราชสีมา-ระยอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอวังสะพุง ทางแยกเข้าอำเภอภูกระดึง ถึงบ้านโนนหัน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงอำเภอชุมแพ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอภูเขียว อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ถึงบ้านหนองบัวโคก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ถึงจังหวัดนครราชสีมา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ถึงสามแยกปักธงชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านอำเภอปักธงชัย สี่แยกกบินทร์บุรี อำเภอพนมสารคาม ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ ถึงแยกบางปะกง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ อำเภอบ้านฉาง บ้านมาบตาพุด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ช่วงเลย-ระยอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอวังสะพุง ทางแยกเข้าอำเภอภูกระดึง ถึงบ้านโนนหัน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงอำเภอชุมแพ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอภูเขียว อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ บ้านหนองบัวโคก อำเภอด่านขุนทด อำเภอสีคิ้ว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง ทางแยกอำเภอมวกเหล็ก ถึงอำเภอแก่งคอย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๒๒ ถึงบ้านบ้านนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ถึงอำเภอบ้านนา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕๑ ถึงแยกบางอ้อ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ ถึงอำเภอองครักษ์ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นย. ๓๐๐๑ ถึงอำเภอบางน้ำเปรี้ยว ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๐๐ ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ ถึงแยกบางปะกง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ อำเภอบ้านฉาง บ้านมาบตาพุด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐๐ ง/หน้า ๒๑๘/๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631725
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1976 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๗๖ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๒ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๑๙ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๒ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๑๒๔ ตลาดบางแค-โรงเรียนศึกษานารี ๒ สำหรับเส้นทางช่วงตลาดบางแค-ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ เป็น ตลาดบางแค-หมู่บ้านนพดล ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๙๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๑ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๓๑๔ มีนบุรี-ประเวศน์ เป็น มีนบุรี-หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๒ เส้นทาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๑๒๔ ตลาดบางแค-โรงเรียนศึกษานารี ๒ เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามถนนมาเจริญ ผ่านทางเข้าตลาดหนองแขม ไปตามถนนบางบอน ๕ แยกขวาไปตามถนนเอกชัย จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนศึกษานารี ๒ ช่วงตลาดบางแค-หมู่บ้านนภดล เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๔ จนสุดเส้นทางที่หมู่บ้านนพดล ช่วงตลาดบางแค-วัดศรีนวลธรรมวิมล-โรงเรียนศึกษานารี ๒ เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามถนนมาเจริญ แยกขวาไปตามถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ แยกซ้ายไปตามถนนหนองแขม-วัดศรีนวลธรรมวิมล แยกซ้ายไปตามถนนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ๑ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สค. ๔๐๐๙ แยกขวาไปตามซอยโรงเรียนนวลนรดิศ แยกขวาไปตามถนนบางบอน ๕ แยกขวาไปตามถนนเอกชัย จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนศึกษานารี ๒ ช่วงตลาดบางแค-หมู่บ้านเอื้ออาทรกระทุ่มแบน ๒ เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามถนนมาเจริญ แยกขวาไปตามถนนสวนหลวงร่วมใจ ถนนเลียบคลองภาษีเจริญ ฝั่งเหนือ ทางหลวงชนบทหมายเลข สค. ๔๐๐๑ จนสุดเส้นทางที่หมู่บ้านเอื้ออาทรกระทุ่มแบน ๒ ช่วงวงกลมทางแยกวัดรางบัว-ถนนกาญจนาภิเษก เริ่มต้นจากบริเวณทางแยกวัดรางบัว ไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามซอยเพชรเกษม ๖๓ แยกซ้ายไปตามถนนวัดม่วง-บางบอน ๒ ผ่านวัดม่วง โรงเรียนวัดม่วง โรงเรียนปัญญาวรคุณ แยกขวาไปตามซอยเรืองสอน ๓ จนถึงหมู่บ้านเพชรสยาม ย้อนกลับมาตามซอยเรืองสอน ๓ แยกขวาไปตามถนนวัดม่วง-บางบอน ๒ แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม จนสุดเส้นทางที่บริเวณทางแยกวัดรางบัว ช่วงถนนพุทธมณฑลสาย ๔-โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี เริ่มต้นจากถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๓ แยกขวาไปตามถนนอัสสัมชัญ จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี สายที่ ๑๓๑๔ ตลาดปัฐวิกรณ์-หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง เริ่มต้นจากตลาดปัฐวิกรณ์ ไปตามถนนนวมินทร์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๐ แยกขวาไปตามถนนรามอินทรา ถนนสีหบุรานุกิจ แยกขวาไปตามถนนร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง แยกซ้ายไปตามถนนราษฎร์พัฒนา แยกซ้ายไปตามถนนคู่ขนานถนนวงแหวนรอบนอก (ตะวันออก) แยกขวาไปตามซอยนักกีฬาแหลมทอง ๑๙ ก จนสุดเส้นทางที่หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐๐ ง/หน้า ๒๑๖/๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631723
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1975 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 174 สวรรคโลก-เถิน
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๗๕ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๗๔ สวรรคโลก-เถิน[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๔๗ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๗๔ สวรรคโลก-เถิน โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสวรรคโลก-บ้านวังหว้า และช่วงทุ่งเสลี่ยม-บ้านแม่มอกหัวน้ำ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๗๔ สวรรคโลก-เถิน เป็น ศรีสำโรง-เถิน โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสวรรคโลก-บ้านฝายบึงบอน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๗๔ ศรีสำโรง-เถิน เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอศรีสำโรง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๘ ผ่านบ้านดงไทย บ้านใหม่ชัยมงคล อำเภอทุ่งเสลี่ยม บ้านกลางดง บ้านห้วยเตาปูน บ้านแม่เสลี่ยมหวาน บ้านห้วยริน บ้านกุ่มเนิ้งใต้ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเถิน ช่วงสวรรคโลก-บ้านวัดโบสถ์ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสวรรคโลก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๘ ผ่านบ้านดงไทย ถึงบ้านใหม่ชัยมงคล แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านท่าวิเศษ ไปตามถนนกมลราษฎร์-วัดโบสถ์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวัดโบสถ์ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐๐ ง/หน้า ๒๑๕/๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631721
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1974 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน 4 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๗๔ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน ๔ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๑๘ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๖๖ ประชานิเวศน์ ๒-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (สายใต้) เป็น ประชานิเวศน์ ๒-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (ตลิ่งชัน) ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๕๓๑ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๖๖ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ปากเกร็ด (ทางด่วน) เป็น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-เมืองทองธานี (ทางด่วน) และสายที่ ๕๑๓ ปู่เจ้าสมิงพราย-รังสิต เป็น สำโรง-รังสิต ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๗๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๙๕ คลองเตย-สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม-ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีพระประแดง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน ๔ เส้นทาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๖๖ ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (ตลิ่งชัน) เริ่มต้นจากศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ไปตามซอยแจ้งวัฒนะ ๗ แยกซ้ายไปตามถนนแจ้งวัฒนะ แยกซ้ายไปตามถนนประชาชื่น แยกขวาไปตามถนนประชาราษฎร์สาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนประชาราษฎร์สาย ๑ ถนนสามเสน แยกขวาไปตามถนนราชวิถี ข้ามสะพานกรุงธน แยกซ้ายไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ แยกขวาไปตามถนนบรมราชชนนี จนสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (ตลิ่งชัน) สายที่ ๑๖๖ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร (ทางด่วน) จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนพหลโยธิน ขึ้นทางพิเศษที่ด่านพหลโยธิน ไปตามทางพิเศษศรีรัช ลงทางพิเศษบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ แยกขวาไปตามถนนแจ้งวัฒนะ แยกขวาไปตามซอยแจ้งวัฒนะ ๗ จนสุดเส้นทางที่ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร จากศูนย์ราชการกรุงเทพมหานครไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เริ่มต้นจากศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ไปตามซอยแจ้งวัฒนะ ๗ แยกซ้ายไปตามถนนแจ้งวัฒนะ ขึ้นทางพิเศษบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ ไปตามทางพิเศษศรีรัช ลงทางพิเศษที่ด่านคลองประปา ไปตามถนนพระราม ๖ แยกซ้ายไปตามถนนราชวิถี จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ช่วงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-เมืองทองธานี (ทางด่วน) จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปเมืองทองธานี เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนพหลโยธิน ขึ้นทางพิเศษที่ด่านพหลโยธิน ไปตามทางพิเศษศรีรัช ลงทางพิเศษบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ แยกซ้ายไปตามถนนแจ้งวัฒนะ ถึงท่าน้ำปากเกร็ด กลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามซอยเมืองทองธานี จนสุดเส้นทางที่เมืองทองธานี จากเมืองทองธานีไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เริ่มต้นจากเมืองทองธานี ไปตามซอยเมืองทองธานี ไปตามเส้นทางเดิม ขึ้นทางพิเศษบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ ไปตามทางพิเศษศรีรัช ลงทางพิเศษที่ด่านคลองประปา ไปตามถนนพระราม ๖ แยกซ้ายไปตามถนนราชวิถี จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สายที่ ๑๙๕ คลองเตย-สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม-ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ท่าพระ เริ่มต้นจากอู่คลองเตย ไปตามถนนเกษมราษฎร์ แยกขวาไปตามถนนสุนทรโกษา แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกซ้ายไปตามถนนสุนทรโกษา แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก ถนนพระราม ๓ แยกซ้ายขึ้นสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม ลงสะพานวงแหวนอุตสาหกรรมที่ถนนสุขสวัสดิ์ แยกขวาไปตามถนนสุขสวัสดิ์ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก จนสุดเส้นทางที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ท่าพระ สายที่ ๕๑๓ สำโรง-รังสิต (ทางด่วน) เริ่มต้นจากสำโรง ไปตามถนนสุขุมวิท แยกซ้ายขึ้นทางพิเศษที่ด่านบางนา ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษศรีรัช ลงทางพิเศษบริเวณถนนกำแพงเพชร ไปตามถนนกำแพงเพชร แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน ถึงแยกลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ถนนพหลโยธิน จนสุดเส้นทางที่บริเวณตลาดรังสิต ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๐๐ ง/หน้า ๒๑๒/๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
630887
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง การกำหนดมาตรการสำหรับรถตู้โดยสารปรับอากาศ ในเส้นทางรถโดยสารประจำทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง การกำหนดมาตรการสำหรับรถตู้โดยสารปรับอากาศ ในเส้นทางรถโดยสารประจำทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ เรื่อง กำหนดอายุการใช้งานของรถตู้โดยสารประจำทาง ตามมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ นั้น เนื่องจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๓ ได้มีมติอนุมัติให้กำหนดมาตรการสำหรับรถมาตรฐาน ๒ (จ) ที่มีลักษณะเป็นรถตู้โดยสารปรับอากาศ ในเส้นทางรถโดยสารประจำทางเพิ่มเติมจากมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๙) และ (๑๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๓ จึงให้มีการกำหนดมาตรการสำหรับรถตู้โดยสารปรับอากาศ ในเส้นทางรถโดยสารประจำทาง ดังนี้ ข้อ ๑ กำหนดอายุรถมาตรฐาน ๒ (จ) ที่มีลักษณะเป็นรถตู้โดยสารปรับอากาศ ในเส้นทางรถโดยสารประจำทาง ให้มีอายุการใช้งานไม่เกิน ๑๐ ปี นับแต่วันจดทะเบียนครั้งแรก โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้ ๑.๑ รถมาตรฐาน ๒ (จ) ที่มีลักษณะเป็นรถตู้โดยปรับอากาศ ในเส้นทางรถโดยสารประจำทาง ที่มีอายุการใช้งานเกินหรือครบกำหนด ๑๐ ปี ณ วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ จะต้องดำเนินการเปลี่ยนเป็นรถใหม่หรือรถที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน ๒ ปี ภายในวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๑.๒ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ รถมาตรฐาน ๒ (จ) ที่มีลักษณะเป็นรถตู้โดยสารปรับอากาศ ในเส้นทางรถโดยสารประจำทาง ที่มีอายุการใช้งานยังไม่ครบ ๑๐ ปี นับแต่วันจดทะเบียนครั้งแรก จะต้องดำเนินการเปลี่ยนเป็นรถใหม่หรือรถที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน ๒ ปี ภายในวันที่อายุรถครบ ๑๐ ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนรถครั้งแรก ข้อ ๒ ต้องเป็นรถหลังคาสูง ข้อ ๓ ให้ใช้ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิง สำหรับพื้นที่ใดไม่มีสถานีบริการก๊าซ NGV ให้ผู้ประกอบการขนส่งสามารถยื่นขอผ่อนผันเป็นกรณี ๆ ตามความเหมาะสม โดยอนุมัติในหลักการ ดังนี้ ๓.๑ ให้นายทะเบียนกลางเป็นผู้พิจารณาผ่อนผันการใช้ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิง กรณีในพื้นที่ที่ยังไม่มีสถานีบริการก๊าซ NGV สำหรับรถมาตรฐาน ๒ (จ) ที่มีลักษณะเป็นรถตู้โดยสารปรับอากาศในเส้นทางรถโดยสารประจำทางหมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร โดยเมื่อนายทะเบียนกลางเห็นชอบให้ผ่อนผันแล้วให้ถือว่าได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ๓.๒ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด เป็นผู้พิจารณาผ่อนผันสำหรับพื้นที่ที่ยังไม่มีสถานีบริการก๊าซ NGV สำหรับรถมาตรฐาน ๒ (จ) ที่มีลักษณะเป็นรถตู้โดยสารปรับอากาศ ในเส้นทางรถโดยสารประจำทางหมวด ๑ และ ๔ ในส่วนภูมิภาค โดยเมื่อคณะกรรมการฯ เห็นชอบให้ผ่อนผันแล้ว ให้รายงานกรมการขนส่งทางบกทราบ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๒๙/๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓
630746
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การให้ความเห็นชอบแบบรถมาตรฐานสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ 6 และลักษณะ 7 พ.ศ. 2553
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การให้ความเห็นชอบแบบรถมาตรฐาน สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๖ และลักษณะ ๗ พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของรถและลดขั้นตอนในการดำเนินการให้ความเห็นชอบแบบคัสซีและตัวถังรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๖ และลักษณะ ๗ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๘ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศกำหนดการให้ความเห็นชอบแบบรถมาตรฐานสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๖ และลักษณะ ๗ ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “รถ” หมายถึง คัสซีและตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๖ หรือลักษณะ ๗ “แบบรถมาตรฐาน” หมายถึง แบบรายละเอียดรถที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดและให้ความเห็นชอบเป็นแบบรถมาตรฐาน ข้อ ๒ แบบรถมาตรฐานมีดังนี้ (ก) แบบรถมาตรฐานสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๖ ได้แก่ แบบที่ ๑ DLT-FT601-52 ใช้สำหรับรถรถพ่วงกระบะบรรทุก แบบที่ ๒ DLT-FT602-52 ใช้สำหรับรถพ่วงกระบะบรรทุกไม่มีกระบะข้าง แบบที่ ๓ DLT-FT603-52 ใช้สำหรับรถพ่วงกระบะบรรทุกยกเท (ข) แบบรถมาตรฐานสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๗ ได้แก่ แบบที่ ๑ DLT-ST1201-52 ใช้สำหรับรถกึ่งพ่วงกระบะบรรทุก แบบที่ ๒ DLT-ST1202-52 ใช้สำหรับรถกึ่งพ่วงกระบะบรรทุกไม่มีกระบะข้าง แบบที่ ๓ DLT-ST1203-52 ใช้สำหรับรถกึ่งพ่วงบรรทุกตู้สินค้า แบบรถมาตรฐานตามวรรคหนึ่งให้มีรายละเอียดเป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ การสร้างประกอบรถที่เป็นไปตามแบบรถมาตรฐานตามข้อ ๒ ให้ถือว่ารถดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกแล้ว โดยให้ยื่นขอหมายเลขคัสซี ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังนี้ (ก) บุคคลธรรมดา (๑) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน (๒) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) (ข) นิติบุคคล (๑) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งรับรองไว้ไม่เกินหกเดือน (๒) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามผูกพัน (๓) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) ข้อ ๔ ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้กำหนดหมายเลขคัสซีสำหรับแบบรถมาตรฐานแต่ละแบบ ข้อ ๕ การตอกหมายเลขคัสซีให้ใช้ตัวอักษรและตัวเลขที่มีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า ๑๐ มิลลิเมตรและต้องตอกในตำแหน่งดังนี้ (ก) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๖ ให้ตอกบริเวณโครงคัสซีด้านซ้ายระหว่างกึ่งกลางแนวจานหมุน (Turn Table) ถึงเพลาท้ายหรือกลุ่มเพลาท้าย ในบริเวณที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนและตรวจสอบได้ (ข) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๗ ให้ตอกบริเวณโครงคัสซีด้านซ้ายระหว่างกึ่งกลางแนวสลักพ่วง (King Pin) ถึงเพลาท้ายหรือกลุ่มเพลาท้าย ในบริเวณที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนและตรวจสอบได้ ข้อ ๖ การจดทะเบียนรถตามประกาศนี้ รถนั้นต้องมีรายละเอียดเป็นไปตามแบบรถมาตรฐาน มีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด และมีหนังสือรับรองความมั่นคงแข็งแรงของรถที่ออกโดยวิศวกร สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการสร้างประกอบหรือตรวจสอบรถ พร้อมสำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ข้อ ๗[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจนุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบรถมาตรฐานสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๖ แบบที่ ๑ ๒. แบบรถมาตรฐานสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๖ แบบที่ ๒ ๓. แบบรถมาตรฐานสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๖ แบบที่ ๓ ๔. แบบรถมาตรฐานสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๗ แบบที่ ๑ ๕. แบบรถมาตรฐานสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๗ แบบที่ ๒ ๖. แบบรถมาตรฐานสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๗ แบบที่ ๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๓
630492
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ 96 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ ๙๖ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๔๗๐๔ บ้านโคกโบสถ์-บ้านนิคม ๑๔ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๔๗๐๔ บ้านโคกโบสถ์-บ้านนิคม ๑๔ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกโบสถ์ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร ๒๐๑๖ ผ่านบ้านโนนค้อทอง บ้านโคกกลาง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๗๕ ผ่านบ้านโคกยาว บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านเจริญสุข บ้านพยุงสุข บ้านจีกแดก ถึงโรงเรียนพนมดงรักวิทยา แล้วย้อนกลับตามเส้นทางเดิม ถึงบ้านจีกแดก แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท (อปท.) ผ่านบ้านตาลวก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนิคม ๑๔ ช่วงบ้านโคกโบสถ์-บ้านโคกรม เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกโบสถ์ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร ๒๐๑๖ ผ่านบ้านโนนค้อทอง บ้านโคกกลาง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๗๕ ผ่านบ้านโคกยาว บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านเจริญสุข บ้านพยุงสุข บ้านจีกแดก ถึงโรงเรียนพนมดงรักวิทยา แล้วย้อนกลับตามเส้นทางเดิม ถึงบ้านจีกแดก แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านตาลวก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (อปท.) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกรม ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ วิเชียร ชวลิต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุรินทร์ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๙๒ ง/หน้า ๑๖๘/๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓
630490
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ 95 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ ๙๕ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๔๗๐๓ โรงเรียนพนมดงรักวิทยา-บ้านไทยสันติสุข โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๔๗๐๓ โรงเรียนพนมดงรักวิทยา-บ้านไทยสันติสุข เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนพนมดงรักวิทยา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๗๕ ผ่านบ้านละเอาะ บ้านสระแก้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (อปท.) ผ่านบ้านวารี โรงพยาบาลพนมดงรัก สถานีตำรวจภูธรพนมดงรัก บ้านโคกสองสี บ้านพนมดงรัก บ้านรุน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔ ผ่านบ้านอำปึล บ้านโคกสูง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านไทยสันติสุข ช่วงโรงเรียนพนมดงรักวิทยา-บ้านโคกแสลง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนพนมดงรักวิทยา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๗๕ ผ่านบ้านละเอาะ บ้านสระแก้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (อปท.) ผ่านบ้านวารี โรงพยาบาลพนมดงรัก สถานีตำรวจภูธรพนมดงรัก บ้านโคกสองสี บ้านพนมดงรัก บ้านรุน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔ ผ่านโรงเรียนพนมดิน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร ๒๐๑๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกแสลง ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ วิเชียร ชวลิต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุรินทร์ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๙๒ ง/หน้า ๑๖๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓
630476
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ 81 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนนทบุรี สายที่ 1026 บางกรวย-ปากซอยโรงเรียนวัฒนโชติศรีบุญญาคม เป็น บางกรวย-บางใหญ่ซิตี้ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวัดโบสถ์บน-บางใหญ่ซิตี้
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ ๘๑ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๑๐๒๖ บางกรวย-ปากซอยโรงเรียนวัฒนโชติศรีบุญญาคม เป็น บางกรวย-บางใหญ่ซิตี้ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวัดโบสถ์บน-บางใหญ่ซิตี้[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ ๓๔ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๓ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๑๐๒๖ บางกรวย-ปากซอยโรงเรียนวัฒนโชติศรีบุญญาคม นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ ให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๑๐๒๖ บางกรวย-ปากซอยโรงเรียนวัฒนโชติศรีบุญญาคม เป็น บางกรวย-บางใหญ่ซิตี้ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวัดโบสถ์บน-บางใหญ่ซิตี้ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๑๐๒๖ บางกรวย-บางใหญ่ซิตี้ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบางกรวย ไปตามถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑๕ ถึงทางแยกทางหลวงชนบทสายวัฒนโชติ-ซองพลู-บางกรวย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทสายวัฒนโชติ-ซองพลู-บางกรวย ผ่านที่ว่าการอำเภอบางกรวย วัดจำปาทอง วัดบางขนุน วัดซองพลู แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ. ๔๑๔๐ ผ่านวัดไทยเจริญ วัดอุทยาน แยกซ้ายไปตามถนนสายวัดอุทยาน-นครอินทร์ ถึงแยกเขียวขจี แยกขวาไปตามถนนบางคูเวียง (๑) ผ่านวัดโพธิ์เอน ถึงสามแยกวัดโบสถ์บน ตรงไปตามถนนสายวัดโบสถ์บน-นครอินทร์ แยกขวาไปตามถนนเทศบาลปลายบาง ผ่านหมู่บ้านนาราพาร์ค เทศบาลตำบลปลายบาง โรงเรียนเทพศิรินทร์นนทบุรี แยกขวาไปตามถนนกาญจนภิเษก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบางใหญ่ซิตี้ ช่วงวัดโบสถ์บน-บางใหญ่ซิตี้ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดโบสถ์บน ไปตามถนนสายวัดโบสถ์บน-นครอินทร์ ผ่านวัดตะเคียน หมู่บ้านปรารถนา แยกขวาไปตามถนนนครอินทร์ แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบางใหญ่ซิตี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ วิเชียร พุฒิวิญญู ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ประธานคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๙๑ ง/หน้า ๒๗๓/๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓
630474
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ 80 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนนทบุรี สายที่ 1023 วงกลมบางใหญ่-บางคูลัด ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวัดต้นเชือก-บางใหญ่ซิตี้
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ ๘๐ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๑๐๒๓ วงกลมบางใหญ่-บางคูลัด ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวัดต้นเชือก-บางใหญ่ซิตี้[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๒๘ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๑๐๒๓ บางใหญ่-บางคูลัด เป็น วงกลมบางใหญ่-บางคูลัด นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ ให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๑๐๒๓ วงกลมบางใหญ่-บางคูลัด ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวัดต้นเชือก-บางใหญ่ซิตี้ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๑๐๒๓ วงกลมบางใหญ่-บางคูลัด เที่ยววนซ้าย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบางใหญ่ ไปตามถนนบางใหญ่-วัดพระเงิน-บางคูลัด ถึงสามแยกสวนทุเรียน ตรงไปตามถนนบางใหญ่-วัดเอนกดิษฐาราม-บางคูลัด ข้ามสะพานคลองบางโสน ผ่านวัดเอนกดิษฐาราม ถึงตลาดบางคูลัด ไปตามถนนบางใหญ่-วัดพระเงิน-บางคูลัด ผ่านทางแยกไปถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ทางแยกไปอำเภอบางกอกน้อย วัดพระเงิน ทางแยกเข้าวัดปรางค์หลวง วัดสังวรณ์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบางใหญ่ เที่ยววนขวา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบางใหญ่ ไปตามถนนบางใหญ่-วัดพระเงิน-บางคูลัด ผ่านวัดสังวรณ์ ทางแยกเข้าวัดปรางค์หลวง วัดพระเงิน ทางแยกไปอำเภอบางกอกน้อย ทางแยกไปถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ถึงตลาดบางคูลัด ไปตามถนนบางใหญ่-วัดเอนกดิษฐาราม-บางคูลัด ผ่านวัดเอนกดิษฐาราม ข้ามสะพานข้ามคลองบางโสน ถึงสามแยกสวนทุเรียน แล้วไปตามถนนบางใหญ่-วัดพระเงิน-บางคูลัด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบางใหญ่ ช่วงวัดต้นเชือก-บางใหญ่ซิตี้ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดต้นเชือก ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ. ๖๐๑๔ (ไทรน้อย-วัดต้นเชือก) แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ. ๑๐๒๖ (บางคูลัด-วัดพระเงิน) ผ่านตลาดบางคูลัด วัดเอนกดิษฐาราม หมู่บ้านเอื้ออาทรนนทบุรี (กันตนา) หมู่บ้านเปี่ยมสุข แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบางใหญ่ซิตี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ วิเชียร พุฒิวิญญู ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ประธานคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๙๑ ง/หน้า ๒๗๑/๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓
630472
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ 79 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนนทบุรี สายที่ 6054 วงกลมวัดส้มเกลี้ยง-วัดพระเงิน ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงปากทางวัดสุนทรธรรมิการาม-บางใหญ่ซิตี้
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ ๗๙ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๖๐๕๔ วงกลมวัดส้มเกลี้ยง-วัดพระเงิน ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงปากทางวัดสุนทรธรรมิการาม-บางใหญ่ซิตี้[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ ๖๕ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ลงวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๖๐๕๔ วงกลมวัดส้มเกลี้ยง-วัดพระเงิน นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ ให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๖๐๕๔ วงกลมวัดส้มเกลี้ยง-วัดพระเงิน ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงปากทางวัดสุนทรธรรมิการาม-บางใหญ่ซิตี้ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๖๐๕๔ วงกลมวัดส้มเกลี้ยง-วัดพระเงิน เที่ยววนขวา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางอัจฉริยะพัฒนา ไปตามถนนอัจฉริยะพัฒนา ผ่านวัดส้มเกลี้ยง วัดแพรก ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ. ๓๐๑๔ แยกขวาไปตามถนนบางกรวย-จงถนอม แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ. ๓๐๘๕ แยกขวาไปตามถนนบางม่วง-บางคูลัด ผ่านวัดพระเงิน แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก กลับรถไปตามถนนกาญจนาภิเษก ผ่านห้างโลตัสบางใหญ่ ไปเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางถนนอัจฉริยะพัฒนา เที่ยววนซ้าย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางถนนอัจฉริยะพัฒนา ไปตามถนนกาญจนาภิเษก ผ่านห้างโลตัสบางใหญ่ แยกซ้ายไปตามถนนบางม่วง-บางคูลัด ผ่านวัดพระเงิน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ. ๓๐๘๕ แยกซ้ายไปตามถนนบางกรวย-จงถนอม แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ. ๓๐๑๔ ไปตามถนนอัจฉริยะพัฒนา ผ่านวัดแพรก วัดส้มเกลี้ยง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางถนนอัจฉริยะพัฒนา ช่วงปากทางวัดสุนทรธรรมิการาม-บางใหญ่ซิตี้ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางปากทางวัดสุนทรธรรมิการาม ไปตามถนนอัจฉริยะพัฒนา ผ่านหมู่บ้านเอื้ออาทร หมู่บ้านชวนชื่น ปิ่นเกล้า วัดแพรก วัดส้มเกลี้ยง แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบางใหญ่ซิตี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ วิเชียร พุฒิวิญญู ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ประธานคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๙๑ ง/หน้า ๒๖๙/๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓
630470
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ 78 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนนทบุรี สายที่ 1053 นนทบุรี-หมู่บ้านเมืองทองธานี 3 เป็น นนทบุรี-วัดสาลีโขภิตาราม
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ ๗๘ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๑๐๕๓ นนทบุรี-หมู่บ้านเมืองทองธานี ๓ เป็น นนทบุรี-วัดสาลีโขภิตาราม[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ ๔๙ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๓๙ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๑๐๕๓ นนทบุรี-หมู่บ้านเวชคาม เป็น นนทบุรี-หมู่บ้านเมืองทองธานี ๓ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ ให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๑๐๕๓ นนทบุรี-หมู่บ้านเมืองทองธานี ๓ เป็น นนทบุรี-วัดสาลีโขภิตาราม โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังนี้ คือ สายที่ ๑๐๕๓ นนทบุรี-วัดสาลีโขภิตาราม เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดนนทบุรี (บริเวณสถานีตำรวจภูธรเมืองนนทบุรี) ไปตามถนนนนทบุรี ถึงสี่แยกเชิงสะพานพระนั่งเกล้า แยกขวาไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ ผ่านศาลากลางจังหวัดนนทบุรี แยกซ้ายไปตามถนนติวานนท์ ผ่านโรงพยาบาลโรคทรวงอก สามแยกสนามบินน้ำ ถึงแยกถนนสามัคคี แยกขวาไปตามถนนสามัคคี ผ่านหมู่บ้านประชานิเวศน์ ๓ หมู่บ้านประชานิเวศน์ ๒ ถึงแยกถนนประชาชื่น แยกซ้ายไปตามถนนประชาชื่น ผ่านหน้าหมู่บ้านเวชคาม ถึงแยกถนนแจ้งวัฒนะ แยกซ้ายไปตามถนนแจ้งวัฒนะ ผ่านห้าแยกปากเกร็ด ข้ามสะพานพระราม ๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดสาลีโขภิตาราม ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ วิเชียร พุฒิวิญญู ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ประธานคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๙๑ ง/หน้า ๒๖๗/๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓
630037
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ให้ความเห็นชอบโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นเครื่องสื่อสารสำหรับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่มิเตอร์) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ให้ความเห็นชอบโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นเครื่องสื่อสารสำหรับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่มิเตอร์) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร[๑] ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศ เรื่อง การกำหนดเครื่องสื่อสารสำหรับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่มิเตอร์) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดเครื่องสื่อสารสำหรับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่มิเตอร์) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานครเสียใหม่ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๙ วรรคหนึ่งแห่งกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศ ให้ความเห็นชอบโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นเครื่องสื่อสารสำหรับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่มิเตอร์) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานครไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเครื่องสื่อสารสำหรับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่มิเตอร์) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๒ เห็นชอบให้มีและใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นเครื่องสื่อสารสำหรับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่มิเตอร์) ของบุคคลธรรมดาที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร ข้อ ๓ โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นเครื่องสื่อสาร ต้องเป็นของผู้ประกอบการหรือผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อ ข้อ ๔ เจ้าของรถยนต์รับจ้างต้องแสดงเครื่องหมายการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ตามลักษณะ ขนาดและตำแหน่งที่นายทะเบียนประกาศกำหนด ข้อ ๕ เจ้าของรถยนต์รับจ้างที่มีและใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นเครื่องสื่อสารต้องแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ ให้แก่นายทะเบียน พร้อมกับการยื่นขอจดทะเบียนหรือการยื่นขอเสียภาษีประจำปี ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขโทรศัพท์ดังกล่าว เจ้าของรถยนต์รับจ้างต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายใน ๑๕ วันนับแต่วันเปลี่ยนแปลง ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๗/๒ เมษายน ๒๕๕๓
629503
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ 4 พ.ศ. 2553
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตราย ที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๓ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ ๔ ประกาศ ณ วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๕ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศกำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ ๔ ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดของวัตถุอันตราย ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ (๒) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ ๔ ประกาศ ณ วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “วัตถุอันตราย” หมายถึง สินค้าอันตราย ซึ่งได้แก่ สาร สิ่งของ วัตถุ หรือวัสดุใด ๆ ที่อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของคน สัตว์ ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อมระหว่างทำการขนส่ง ข้อ ๓ วัตถุอันตรายมี ๙ ประเภท ดังนี้ ๓.๑ ประเภทที่ ๑ วัตถุระเบิด (Explosives) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลว หรือสารผสม ที่สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีด้วยตัวเองทำให้เกิดก๊าซที่มีความดันและความร้อนอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการระเบิดสร้างความเสียหายบริเวณโดยรอบได้ และให้รวมถึงสารที่ใช้ทำดอกไม้เพลิงและสิ่งของที่ระเบิดได้ด้วย แบ่งออกเป็น ๖ ประเภทย่อย คือ (๑) สารหรือสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดรุนแรงทันทีทันใดทั้งหมด (Mass explosion) (๒) สารหรือสิ่งของที่มีอันตรายจากการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใดทั้งหมด (๓) สารหรือสิ่งของที่เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ และอาจมีอันตรายบ้างจากการระเบิด หรือการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใดทั้งหมด (๔) สารหรือสิ่งของที่ไม่แสดงความเป็นอันตรายอย่างเด่นชัด หากเกิดการปะทุ หรือปะทุในระหว่างการขนส่งจะเกิดความเสียหายเฉพาะภาชนะบรรจุ (๕) สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่หากมีการระเบิดจะมีอันตรายจากการระเบิดทั้งหมด (๖) สิ่งของที่ไวต่อการระเบิดน้อยมาก และไม่ระเบิดทันทีทั้งหมด มีความเสี่ยงต่อการระเบิดอยู่ในวงจำกัดเฉพาะในตัวสิ่งของนั้น ๆ ไม่มีโอกาสที่จะเกิดการปะทุหรือแผ่กระจายในระหว่างทำการขนส่ง ๓.๒ ประเภทที่ ๒ ก๊าซ (Gases) หมายถึง สารที่อุณหภูมิ ๕๐ องศาเซลเซียส มีความดันไอมากกว่า ๓๐๐ กิโลปาสกาล หรือมีสภาพเป็นก๊าซอย่างสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ ๒๐ องศาเซลเซียส และมีความดัน ๑๐๑.๓ กิโลปาสกาล ซึ่งได้แก่ ก๊าซอัด ก๊าซพิษ ก๊าซอยู่ในสภาพของเหลว ก๊าซในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ และให้รวมถึงก๊าซที่ละลายในสารละลายภายใต้ความดันด้วย แบ่งออกเป็น ๓ ประเภทย่อย คือ (๑) ก๊าซไวไฟ (Flammable gases) หมายถึง ก๊าซที่อุณหภูมิ ๒๐ องศาเซลเซียส และมีความดัน ๑๐๑.๓ กิโลปาสกาล สามารถติดไฟได้เมื่อผสมกับอากาศ ๑๓ เปอร์เซ็นต์หรือต่ำกว่าโดยปริมาตร หรือมีช่วงกว้างที่สามารถติดไฟได้ ๑๒ เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เมื่อผสมกับอากาศ โดยไม่คำนึงถึงความเข้มข้นต่ำสุดของการผสม (๒) ก๊าซไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ (Non-flammable, Non-toxic gases) หมายถึง ก๊าซที่ขณะขนส่งมีความดันไม่น้อยกว่า ๒๘๐ กิโลปาสกาล ที่อุณหภูมิ ๒๐ องศาเซลเซียส หรืออยู่ในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ (๓) ก๊าซพิษ (Toxic gases) หมายถึง ก๊าซที่มีคุณสมบัติเป็นที่ทราบกันทั่วไป หรือได้มีการสรุปว่าเป็นพิษหรือกัดกร่อน หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๓.๓ ประเภทที่ ๓ ของเหลวไวไฟ (Flammable liquid) หมายถึง ของเหลวหรือของเหลวผสม หรือของเหลวที่มีสารแขวนลอยผสม ที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน ๖๐.๕ องศาเซลเซียส กรณีทดสอบด้วยวิธีถ้วยปิด (Closed-cup test) หรือไม่เกิน ๖๕.๖ องศาเซลเซียส กรณีทดสอบด้วยวิธีถ้วยเปิด (Open-cup test) และให้รวมถึงของเหลวที่ขณะขนส่งถูกทำให้มีอุณหภูมิเท่ากับหรือมากกว่าจุดวาบไฟของเหลวนั้น และสารหรือสิ่งของที่ทำให้มีอุณหภูมิสูงจนเป็นของเหลวขณะทำการขนส่ง ซึ่งเกิดไอระเหยไวไฟที่อุณหภูมิไม่มากกว่าอุณหภูมิสูงสุดที่ใช้ในการขนส่ง ๓.๔ ประเภทที่ ๔ ของแข็งไวไฟ สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เองและสารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ (Flammable Solids, Substances liable to spontaneous combustion, Substances which in contact with water emit flammable gases) แบ่งออกเป็น ๓ ประเภทย่อย คือ (๑) ของแข็งไวไฟ (Flammable Solid) หมายถึง ของแข็งที่ระหว่างทำการขนส่งสามารถที่จะติดไฟได้ง่าย หรืออาจทำให้เกิดการลุกไหม้ขึ้นได้จากการเสียดสี สารหรือสารที่เกี่ยวข้องที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนที่รุนแรง และให้รวมถึงวัตถุระเบิดที่ถูกลดความไวต่อการระเบิด ซึ่งอาจจะระเบิดได้ ถ้าหากไม่ทำให้เจือจางเพียงพอ (๒) สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (Substances liable to spontaneous Combustion) หมายถึง สารที่มีแนวโน้มจะเกิดความร้อนขึ้นได้เองในสภาวะการขนส่งตามปกติ หรือเกิดความร้อนสูงขึ้นได้เมื่อสัมผัสกับอากาศและมีแนวโน้มที่จะลุกไหม้ได้ (๓) สารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ (Substances which in Contact with water emit flammable gases) หมายถึง สารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วมีแนวโน้มที่จะเกิดการติดไฟได้เอง หรือทำให้เกิดก๊าซไวไฟในปริมาณที่เป็นอันตราย ๓.๕ ประเภทที่ ๕ สารออกซิไดส์ และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Oxidizing Substances and Organic Peroxides) แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทย่อย คือ (๑) สารออกซิไดส์ (Oxidizing Substances) หมายถึง สารที่ตัวของสารเองอาจไม่ติดไฟ โดยทั่วไปจะปล่อยออกซิเจนหรือเป็นเหตุหรือช่วยให้วัตถุอื่นเกิดการลุกไหม้ (๒) สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic peroxides) หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างออกซิเจน ๒ อะตอม -๐-๐- และอาจถือได้ว่าเป็นสารที่มีอนุพันธ์ของ Hydrogen peroxide ซึ่งอะตอมของ Hydrogen ๑ หรือทั้ง ๒ อะตอม ถูกแทนที่ด้วย Organic radicals สารนี้ไม่เสถียรความร้อนซึ่งอาจเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนและเร่งการแตกตัวด้วยตัวเอง และอาจมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ก. แนวโน้มที่จะระเบิดสลายตัว ข. เผาไหม้อย่างรวดเร็ว ค. ไวต่อการกระแทกหรือการเสียดสี ง. ทำให้เกิดปฏิกิริยากับสารอื่นก่อให้เกิดอันตรายได้ จ. เป็นอันตรายต่อตา ๓.๖ ประเภทที่ ๖ สารพิษและสารติดเชื้อ (Toxic and Infectious Substances) แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทย่อย คือ (๑) สารพิษ (Toxic Substances) หมายถึง สารที่มีแนวโน้มจะทำให้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บรุนแรง หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากกลืน หรือสูดดม หรือสัมผัสทางผิวหนัง (๒) สารติดเชื้อ (Infectious Substances) หมายถึง สารที่ทราบว่า หรือคาดว่ามีเชื้อโรคปนอยู่ด้วย เชื้อโรค คือ จุลินทรีย์ (ซึ่งรวมถึง แบคทีเรีย ไวรัส Rickettsia พยาธิ เชื้อรา) หรือจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นใหม่ หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมซึ่งรู้กันโดยทั่วไป หรือมีข้อสรุปที่เชื่อถือได้ว่าเป็นเหตุให้เกิดโรคติดต่อกับมนุษย์หรือสัตว์ ๓.๗ ประเภทที่ ๗ วัสดุกัมมันตรังสี (Radioactive Material) หมายถึง วัสดุที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็น ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย การพิจารณาความเป็นอันตรายให้เป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนดต่าง ๆ ด้านการขนส่งสารกัมมันตรังสีของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency หรือ IAEA) ๓.๘ ประเภทที่ ๘ สารกัดกร่อน (Corrosive Substances) หมายถึง สารซึ่งโดยปฏิกิริยาเคมีจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรง หรือกรณีของการรั่วจะเกิดความเสียหาย หรือทำลายสิ่งของอื่น หรือยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง หรือเกิดอันตรายอื่นได้ด้วย ๓.๙ ประเภทที่ ๙ วัตถุอันตรายเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Dangerous Substances and Articles) หมายถึง สารและสิ่งของที่ในขณะขนส่งมีความเป็นอันตราย ซึ่งไม่จัดอยู่ในประเภทที่ ๑ ถึงประเภทที่ ๘ และให้รวมถึงสารที่ในระหว่างทำการขนส่งหรือระบุว่าในการขนส่งต้องควบคุมให้มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ องศาเซลเซียส ในสภาพของเหลว หรือมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๒๔๐ องศาเซลเซียส ในสภาพของแข็ง รายชื่อวัตถุอันตรายหรือเกณฑ์การพิจารณาความเป็นอันตรายให้เป็นไปตามเอกสารคำแนะนำของสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย (UN Recommendations on the Transport of Dangerous Goods) หรือข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทย เล่มที่ ๒ (Thai Provision Volume 2 ; TP2) หรือข้อตกลงร่วมของกลุ่มประชาคมยุโรปว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายข้ามแดนทางถนน (European Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road : ADR) ข้อ ๔ ผู้ขับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายตามข้อ ๓ และมีลักษณะการบรรทุก ดังต่อไปนี้ ต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ ๔ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๔ (รถบรรทุกวัสดุอันตราย) ที่ถังบรรทุกมีความจุเกินกว่า ๑,๐๐๐ ลิตร (๒) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๗ (รถกึ่งพ่วง) ที่มีถังบรรทุกวัตถุอันตราย มีความจุเกินกว่า ๑,๐๐๐ ลิตร (๓) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะอื่นนอกจาก (๑) และ (๒) ที่นำไปใช้บรรทุกวัตถุอันตราย ดังต่อไปนี้ (ก) วัตถุอันตรายประเภทที่ ๑ ประเภทที่ ๖ เฉพาะสารติดเชื้อ และประเภทที่ ๗ (ข) วัตถุอันตรายที่เป็นก๊าซหรือก๊าซเหลวบรรจุในภาชนะ โดยมีปริมาณรวมกันเกินกว่า ๑,๐๐๐ ลิตร หรือมีน้ำหนักรวมกันเกินกว่า ๑,๐๐๐ กิโลกรัม (ค) วัตถุอันตรายที่มีปริมาณรวมกันเกินกว่า ๑,๐๐๐ ลิตร หรือมีน้ำหนักรวมกันเกินกว่า ๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินกว่า ๑,๐๐๐ ลิตร หรือเกินกว่า ๑,๐๐๐ กิโลกรัม ข้อ ๕ ผู้ขับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายตามข้อ ๓ และมีลักษณะการบรรทุกดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ ๔ (๑) รถที่ใช้ในการบรรทุกเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ที่ภาชนะบรรจุเครื่องดื่มในแต่ละภาชนะมีปริมาตรไม่เกิน ๒๕๐ ลิตร (๒) รถที่ใช้ลากจูงรถที่บรรทุกวัตถุอันตรายตามประกาศนี้ ในกรณีที่รถบรรทุกวัตถุอันตรายนั้นไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติหรือเกิดอุบัติเหตุ (๓) รถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายนอกจากที่กำหนดไว้ใน (๑) และ (๒) ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๖[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๔ ง/หน้า ๒๕/๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628643
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1973 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1009 ตลาดยิ่งเจริญ-ตลาดวงศกร-มีนบุรี
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๗๓ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๐๙ ตลาดยิ่งเจริญ-ตลาดวงศกร-มีนบุรี[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๒๑ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๐๙ ตลาดยิ่งเจริญ-วัดแป้นทองโสภาราม เป็น ตลาดยิ่งเจริญ-ตลาดวงศกร-มีนบุรี และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๐๙ ตลาดยิ่งเจริญ-ตลาดวงศกร-มีนบุรี ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวงกลมตลาดยิ่งเจริญ-ตลาดวงศกร-วัชรพล เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๐๐๙ ตลาดยิ่งเจริญ-ตลาดวงศกร-มีนบุรี เที่ยวไป เริ่มต้นจากตลาดยิ่งเจริญ ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามถนนจันทรุเบกษา แยกซ้าย ไปตามถนนเลียบคลองสอง แยกขวาไปตามถนนสายไหม ผ่านตลาดวงศกร ไปตามถนนหทัยราษฎร์ แยกซ้ายไปตามถนนหทัยมิตร แยกขวาไปตามถนนนิมิตรใหม่ ถนนสุวินทวงศ์ แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง แยกขวาไปตามถนนร่มเกล้า แยกซ้ายไปตามถนนสีหบุรานุกิจ จนสุดเส้นทางที่ตลาดมีนบุรี เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากตลาดมีนบุรี ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ แยกขวาไปตามถนนสุวินทวงศ์ แยกซ้าย ไปตามถนนนิมิตรใหม่ แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่ตลาดยิ่งเจริญ ช่วงตลาดยิ่งเจริญ-วัดแป้นทองโสภาราม เริ่มต้นจากตลาดยิ่งเจริญ ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามซอยพหลโยธิน ๕๔/๑ ถนนเลียบคลองสอง แยกขวาไปตามถนนสายไหม ผ่านตลาดวงศกร ไปตามถนนหทัยราษฎร์ แยกขวาไปตามซอยวัดแป้นทอง ผ่านโรงเรียนขุมทองวิทยา โรงเรียนวัดแป้นทองโสภาราม จนสุดเส้นทางที่วัดแป้นทองโสภาราม ช่วงตลาดยิ่งเจริญ-ถนนเพิ่มสิน-ตลาดวงศกร เริ่มต้นจากตลาดยิ่งเจริญ ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามซอยพหลโยธิน ๕๔/๑ ถนนเลียบคลองสอง แยกขวาไปตามถนนเพิ่มสิน ผ่านโรงเรียนศิริวัฒน์วิทยา วัดอยู่ดีบำรุงธรรม (วัดออเงิน) แยกซ้ายไปตามถนนสุขาภิบาล ๕ จนสุดเส้นทางที่ตลาดวงศกร ช่วงตลาดยิ่งเจริญ-วัดเกาะสุวรรณาราม-วัดพรพระร่วงประสิทธิ์ เริ่มต้นจากตลาดยิ่งเจริญ ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามซอยพหลโยธิน ๕๔/๑ แยกขวาไปตามซอยวัดเกาะสุวรรณาราม ผ่านวัดเกาะสุวรรณาราม โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม หมู่บ้านเพชรไพลิน แยกซ้ายไปตามถนนเพิ่มสิน ผ่านวัดอยู่ดีบำรุงธรรม (วัดออเงิน) แยกขวาไปตามถนนสุขาภิบาล ๕ จนสุดเส้นทางที่วัดพรพระร่วงประสิทธิ์ ช่วงตลาดยิ่งเจริญ-ถนนเพิ่มสิน-โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน เริ่มต้นจากตลาดยิ่งเจริญ ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามซอยพหลโยธิน ๕๔/๑ ถนนเลียบคลองสอง แยกขวาไปตามถนนเพิ่มสิน ผ่านวัดลุ่มเจริญศรัทธาธรรม แยกขวาไปตามถนนวัชรพล ผ่านโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๕ จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน ช่วงวัดอยู่ดีบำรุงธรรม (วัดออเงิน)-ตลาดวงศกร-ถนนลำลูกกา เริ่มต้นจากวัดอยู่ดีบำรุงธรรม (วัดออเงิน) ไปตามถนนเพิ่มสิน แยกซ้ายไปตามถนนสุขาภิบาล ๕ แยกซ้ายไปตามถนนสายไหม ผ่านตลาดวงศกร แยกขวาไปตามถนนเฉลิมพงษ์ จนสุดเส้นทางที่บริเวณบรรจบถนนลำลูกกา ช่วงวงกลมตลาดยิ่งเจริญ-ตลาดวงศกร-วัชรพล เริ่มต้นจากตลาดยิ่งเจริญ ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามถนนจันทรุเบกษา แยกซ้ายไปตามถนนเลียบคลองสอง แยกขวาไปตามถนนสายไหม ผ่านตลาดวงศกร แยกขวาไปตามถนนสุขาภิบาล ๕ แยกซ้ายไปตามถนนวัชรพล แยกขวาไปตามถนนรามอินทรา แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน จนสุดเส้นทางที่ตลาดยิ่งเจริญ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๖ ง/หน้า ๒๓๓/๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628641
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1972 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 660 ะยอง-แม่สาย
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๗๒ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๖๐ ระยอง-แม่สาย[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๒๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๖๐ ระยอง-แม่สาย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงระยอง-ตาก-แม่สาย (มอเตอร์เวย์) นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๖๐ ระยอง-แม่สาย สำหรับเส้นทางแยกช่วงระยอง-แม่สาย (มอเตอร์เวย์) เป็น ระยอง-นครสวรรค์-เชียงราย และช่วงระยอง-ตาก-แม่สาย (มอเตอร์เวย์) เป็น ระยอง-ตาก-เชียงราย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๖๖๐ ระยอง-แม่สาย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอสัตหีบ แยกซ้ายไปถึงเมืองพัทยา กลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอบางละมุง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙ ถึงจังหวัดปราจีนบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๐ ถึงสี่แยกศาลสมเด็จพระนเรศวร แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านจังหวัดนครนายก ถึงสี่แยกหินกอง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดสระบุรี ลพบุรี ถึงสี่แยกอำเภอตากฟ้า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ผ่านบ้านเขาทราย ถึงอำเภอวังทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงจังหวัดพิษณุโลก กลับตามเส้นทางเดิม ถึงบ้านร้องโพธิ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๕ ถึงบ้านวังสีสูบ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ถึงแยกอำเภอร้องกวาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓ ถึงอำเภองาว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงราย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สาย ช่วงระยอง-นครสวรรค์-เชียงราย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอสัตหีบ แยกซ้ายไปถึงเมืองพัทยา กลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอบางละมุง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ (ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงประตูน้ำพระอินทร์ แยกขวา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงจังหวัดนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๗ ถึงจังหวัดพิษณุโลก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงบ้านร้องโพธิ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๕ ถึงบ้านวังสีสูบ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ถึงแยกอำเภอร้องกวาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓ ถึงอำเภองาว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดพะเยา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย ช่วงระยอง-ตาก-เชียงราย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอสัตหีบ แยกซ้ายไปถึงเมืองพัทยา กลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอบางละมุง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ (ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก)แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงประตูน้ำพระอินทร์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดตาก จังหวัดลำปาง ถึงอำเภองาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดพะเยา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๖ ง/หน้า ๒๓๐/๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628637
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1971 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 จำนวน 33 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๗๑ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ จำนวน ๓๓ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๑๘๗ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙ กรุงเทพฯ-คลองลาน ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๓๓ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๑๒ กรุงเทพฯ-ลพบุรี ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๘๐ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๑๔ กรุงเทพฯ-ภูเรือ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ-หนองบัวแดง เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๖๘๔ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ประกาศ ณ วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๓๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๑๗ กรุงเทพฯ-บางปะอิน-พระนครศรีอยุธยา ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๓๖ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๒๑ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๕๘๖ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๒๘ กรุงเทพฯ-ชัยภูมิ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ-บำเหน็จณรงค์ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๙๓ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๓๕ กรุงเทพฯ-บ้านมาบตาพุด-ระยอง ให้มีรายละเอียดเส้นทาง แยกช่วงกรุงเทพฯ (สายใต้)-บ้านมาบตาพุด-ระยอง เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๘๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๔๘ กรุงเทพฯ-เมืองพัทยา ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๖๗๙ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๓๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๔๙ กรุงเทพฯ-บางแสน ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๒๗๒ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๒๗ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๕๖ กรุงเทพฯ-พนมสารคาม ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๕๑๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๕๘ กรุงเทพฯ-นครนายก โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ-องครักษ์-โรงเรียนเตรียมทหาร ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๙๐๔ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๗ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๖๙ กรุงเทพฯ-บางบัวทอง-ดอนเจดีย์ เป็น กรุงเทพฯ-บางบัวทอง-ด่านช้าง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๙๕๓ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๘๑ กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี ให้มีเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ-พุทธมณฑล-กาญจนบุรี ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๗๐๐ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๔ กรุงเทพฯ-กำแพงเพชร (ข) ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๓๔ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๕ กรุงเทพฯ-นครสวรรค์ (ข) ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๕๒๓ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๘ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางระหว่างจังหวัด (เฉพาะที่เริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร) หมวด ๒ สายที่ ๙๐๑ กรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยา และสายที่ ๙๐๒ กรุงเทพฯ-อ่างทอง (ข) ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๔๔ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ประกาศ ณ วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๒๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๐๘ กรุงเทพฯ-หันคา ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๒๘ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๒ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๑๑ กรุงเทพฯ-พิจิตร ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๗๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๑๕ กรุงเทพฯ-บ้านค่าย-บ้านแหลมแม่พิมพ์ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ-บ่อวิน-บ้านเพ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๕๔ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ประกาศ ณ วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๒๕ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๑๙ กรุงเทพมหานคร-บ้านหมี่ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๑๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๑ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๒๑ กรุงเทพฯ-องครักษ์-ตลาดโรงเกลือ และสายที่ ๙๙๑๖ กรุงเทพฯ (เอกมัย)-เขาหินซ้อน-ตลาดโรงเกลือ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๖๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๒ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๕๒ กรุงเทพฯ-สุพรรณบุรี (ค) ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๗๓ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๒๕ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๕๙ กรุงเทพฯ-ตะพานหิน ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๓๖๔ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ประกาศ ณ วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๒๙ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๖๗ กรุงเทพฯ-โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (เขาชะโงก) ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๖๖๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๒ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่ง ประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๗๑ กรุงเทพฯ-ชะอำ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๓๘๘ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๒๙ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๗๔ กรุงเทพฯ-บางบัวทอง-สุพรรณบุรี ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๓๓๓ (พ.ศ. ๒๕๔๕) ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๕ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๙๔ กรุงเทพฯ-ด่านช้าง เป็น กรุงเทพฯ-ด่านช้าง-บ้านไร่ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๖๕๘ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๒ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๙๗ กรุงเทพฯ-นครปฐม (ข) ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๐๒ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๐ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๙๐๕ กรุงเทพฯ (จตุจักร)-เมืองพัทยา (ข) ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ (จตุจักร)-สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์-เมืองพัทยา เพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๔๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๙๐๗ กรุงเทพฯ-(จตุจักร)-จันทบุรี (ง) ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๕๙๕ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๙๐๙ กรุงเทพฯ (จตุจักร)-แหลมฉบัง (ข) ให้มีการเดินรถให้บริการถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ จำนวน ๓๓ เส้นทาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๙ กรุงเทพฯ-คลองลาน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงแยกอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ถึงแยกเข้าอำเภอมโนรมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๓ ถึงจังหวัดอุทัยธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๒๐ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๒๑ ถึงอำเภอทัพทัน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๑๓ ผ่านอำเภอสว่างอารมณ์ ถึงอำเภอลาดยาว ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๗๒ ผ่านบ้านเข้าชนกัน ถึงบ้านคลองลาน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๑๗ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอคลองลาน ช่วงกรุงเทพฯ-ชุมตาบง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ถึงแยกเข้าอำเภอมโนรมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๓ ถึงจังหวัดอุทัยธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๒๐ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๒๑ ถึงอำเภอทัพทัน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๑๓ ผ่านอำเภอสว่างอารมณ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๕๖ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๐๔ ถึงสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอชุมตาบง สายที่ ๑๒ กรุงเทพฯ-ลพบุรี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านอำเภอวังน้อย แยกหินกอง จังหวัดสระบุรี ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี ช่วงกรุงเทพฯ-บ้านเบิก-ลพบุรี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ผ่านทางแยกเข้าจังหวัดอ่างทอง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๒๗ ผ่านบ้านเบิก ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ ๔๐๐๓ ผ่านบ้านไผ่ขวาง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี ช่วงกรุงเทพฯ-มหาราช-ลพบุรี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ถึงอำเภอบางปะหัน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๗ ผ่านอำเภอมหาราช ถึงสี่แยกวัดเจ้าปลุก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๖ ผ่านอำเภอบ้านแพรก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี สายที่ ๑๔ กรุงเทพฯ-ภูเรือ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านอำเภอวังน้อย แยกหินกอง จังหวัดสระบุรี ถึงบ้านพุแค แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ ผ่านอำเภอชัยบาดาล อำเภอศรีเทพ บ้านสามแยกวิเชียรบุรี อำเภอบึงสามพัน อำเภอหนองไผ่ บ้านสามแยกวังชมภู จังหวัดเพชรบูรณ์ ถึงอำเภอหล่มสัก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๓ ผ่านอำเภอหล่มเก่า ถึงบ้านโป่งชี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑๔ ถึงอำเภอด่านซ้าย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑๓ ถึงบ้านโคกงาม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอภูเรือ ช่วงกรุงเทพฯ-วังโป่ง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านอำเภอวังน้อย แยกหินกอง จังหวัดสระบุรี ถึงบ้านพุแค แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ ผ่านอำเภอชัยบาดาล อำเภอศรีเทพ บ้านสามแยกวิเชียรบุรี อำเภอบึงสามพัน อำเภอหนองไผ่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔๐๑ ผ่านบ้านซับพุทรา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๙๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๓ ถึงอำเภอชนแดน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๐๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวังโป่ง ช่วงกรุงเทพฯ-หนองบัวแดง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านอำเภอวังน้อย แยกหินกอง จังหวัดสระบุรี ถึงบ้านพุแค แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ ผ่านอำเภอชัยบาดาล อำเภอศรีเทพ บ้านสามแยกวิเชียรบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑๒ ผ่านอำเภอวิเชียรบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๗๕ ถึงบ้านซับบอน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕ ผ่านบ้านซับตะแบก ถึงบ้านเจาทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชย. ๒๐๘๕ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๕๙ ผ่านอำเภอภักดีชุมพล ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหนองบัวแดง ช่วงกรุงเทพฯ-วิเชียรบุรี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านอำเภอวังน้อย แยกหินกอง จังหวัดสระบุรี ถึงบ้านพุแค แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ ผ่านอำเภอชัยบาดาล แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔๔ ผ่านบ้านม่วงชุม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๑๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๗๕ ผ่านบ้านนาสามัคคี บ้านทุ่งใหญ่ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวิเชียรบุรี ช่วงกรุงเทพฯ-ท่าหลวง-ชัยบาดาล (ลำนารายณ์) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านอำเภอวังน้อย แยกหินกอง จังหวัดสระบุรี ถึงบ้านพุแค แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ ถึงบ้านม่วงค่อม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ถึงอำเภอท่าหลวง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕๖ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๘๙ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารลำนารายณ์ ช่วงกรุงเทพฯ-วังม่วง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านอำเภอวังน้อย แยกหินกอง จังหวัดสระบุรี ถึงบ้านพุแค แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๑๗ ผ่านอำเภอพัฒนานิคม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๒๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวังม่วง สายที่ ๑๗ กรุงเทพฯ-บางปะอิน-พระนครศรีอยุธยา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงแยกหลักสี่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ถึงห้าแยกปากเกร็ด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๖ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๗ ถึงศูนย์ศิลปาชีพพิเศษบางไทร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๐๙ ผ่านบ้านราชคราม ถึงอำเภอบางปะอิน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๗๗ ผ่านวัดทองบ่อ วัดพนัญเชิงวรวิหาร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕๙ ไปสุดเส้นทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ช่วงกรุงเทพฯ-รังสิต-ผักไห่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านรังสิต ถึงแยกสาย ๑ คลองหลวง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๗ ผ่านแยกวรเชษฐ์ ไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๑๒ ผ่านอำเภอบางบาล แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๐๑ ผ่านบ้านโผงแผง อำเภอป่าโมก ถึงแยกป่าโมก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๕๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอผักไห่ สายที่ ๒๑ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา ช่วงกรุงเทพฯ-ปักธงชัย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง ถึงทางแยกอำเภอสีคิ้ว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปักธงชัย ช่วงกรุงเทพฯ-แก่งคอย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี ไปตามถนนสุดบรรทัด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ ๑๑๙ (สามแยกแก่งคอย) แยกซ้ายไปตามถนนอุไรรัตน์ แยกขวาไปตามถนนพระพายัพ ผ่านที่ว่าการอำเภอแก่งคอย แยกซ้ายไปตามถนนทินนะลักษณ์ แยกขวาไปตามถนนสุดบรรทัด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอแก่งคอย ช่วงกรุงเทพฯ-มวกเหล็ก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ถึงทางแยกอำเภอมวกเหล็ก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๘๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอมวกเหล็ก สายที่ ๒๘ กรุงเทพฯ-ชัยภูมิ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง ถึงอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอด่านขุนทด บ้านหนองบัวโคก อำเภอจัตุรัส ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ ช่วงกรุงเทพฯ-บำเหน็จณรงค์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง ถึงอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ถึงอำเภอด่านขุนทด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๑๗ ผ่านวัดบ้านไร่ ถึงบ้านคำปิง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๖๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบำเหน็จณรงค์ ช่วงกรุงเทพฯ-บ้านเพชร เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ ถึงอำเภอชัยบาดาล (ลำนารายณ์) แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ผ่านอำเภอลำสนธิ อำเภอเทพสถิต ถึงบ้านคำปิง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๖๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเพชร สายที่ ๓๕ กรุงเทพฯ-บ้านมาบตาพุด-ระยอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงแยกบางนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ขึ้นทางพิเศษบูรพาวิถี ถึงด่านชลบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา บ้านโรงโป๊ะ ถึงแยกกระทิงลาย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๖ ผ่านบ้านชากแง้ว ถึงแยกมาบข่า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านบ้านมาบตาพุด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ช่วงกรุงเทพฯ (สายใต้)-บ้านมาบตาพุด-ระยอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ ขึ้นทางด่วน (ทางพิเศษเฉลิมมหานคร) ที่ด่านดาวคะนอง ขึ้นทางพิเศษบูรพาวิถี ถึงด่านชลบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา บ้านโรงโป๊ะ ถึงแยกกระทิงลาย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๖ ผ่านบ้านชากแง้ว ถึงแยกมาบข่า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านบ้านมาบตาพุด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ช่วงกรุงเทพฯ-บูรพาวิถี-ระยอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงแยกบางนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ขึ้นทางพิเศษบูรพาวิถี ถึงด่านชลบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี) แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๖ ผ่านบ้านชากแง้ว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๘ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ช่วงกรุงเทพฯ-ระยอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงแยกบางนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ถึงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา บ้านโรงโป๊ะ ถึงแยกกระทิงลาย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๖ ผ่านบ้านชากแง้ว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๘ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ช่วงกรุงเทพฯ-นิคมพัฒนา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงแยกบางนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ถึงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี) แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชบ. ๑๐๓๒ ถึงแยกปากร่วม ตรงไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข รย. ๓๐๑๓ ผ่านตำบลมาบยางพร ตำบลมาบเตย ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๔๕ ผ่านอำเภอปลวกแดง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอนิคมพัฒนา สายที่ ๔๘ กรุงเทพฯ-เมืองพัทยา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงแยกบางนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ถึงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี บ้านหนองมน อำเภอศรีราชา ถึงทางแยกเข้าตลาดนาเกลือ แยกขวาไปตามถนนสว่างฟ้า แยกซ้ายไปตามถนนพัทยา-นาเกลือ ถึงเมืองพัทยา ไปตามถนนพัทยาใต้ แยกขวาไปตามถนนพัทยาสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนไปหาดจอมเทียน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหาดจอมเทียน ช่วงกรุงเทพฯ (จตุจักร)-เมืองพัทยา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามถนนวิภาวดีรังสิตขึ้นทางด่วน (ทางพิเศษเฉลิมมหานคร) ที่ด่านดินแดง ถึงบางนา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ถึงสะพาน ข้ามแม่น้ำบางปะกง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี บ้านหนองมน อำเภอศรีราชา ถึงทางแยกเข้าตลาดนาเกลือ แยกขวาไปตามถนนสว่างฟ้า แยกซ้ายไปตามถนนพัทยา-นาเกลือ ถึงเมืองพัทยา ไปตามถนนพัทยาใต้ แยกขวาไปตามถนนพัทยาสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนไปหาดจอมเทียน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหาดจอมเทียน ช่วงกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน)-เมืองพัทยา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๕ ขึ้นทางด่วน (ทางพิเศษเฉลิมมหานคร) ที่ด่านดาวคะนอง ถึงบางนา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ถึงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี บ้านหนองมน อำเภอศรีราชา ถึงทางแยกเข้าตลาดนาเกลือ แยกขวาไปตามถนนสว่างฟ้า แยกซ้ายไปตามถนนพัทยา-นาเกลือ ถึงเมืองพัทยา ไปตามถนนพัทยาใต้ แยกขวาไปตามถนนพัทยาสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนไปหาดจอมเทียน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหาดจอมเทียน ช่วงกรุงเทพฯ (จตุจักร)-บูรพาวิถี-เมืองพัทยา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ขึ้นทางพิเศษที่ด่านดินแดง ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางพิเศษที่บางนา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ (ถนนบางนา-ตราด) ขึ้นทางพิเศษบูรพาวิถี ไปตามทางพิเศษบูรพาวิถี ลงทางพิเศษบูรพาวิถี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา ถึงทางแยกเข้าตลาดนาเกลือ แยกขวาไปตามถนนสว่างฟ้า แยกซ้ายไปตามถนนพัทยา-นาเกลือ ถนนพัทยาสาย ๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางเมืองพัทยา (พัทยาใต้) สายที่ ๔๙ กรุงเทพฯ-บางแสน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ถึงสี่แยกบางนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ (ถนนบางนา-ตราด) ถึงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี ถึงทางแยกเข้าบ้านอ่างศิลา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๔ ผ่านบ้านอ่างศิลา ถึงทางแยกแหลมแท่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๗ จนสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหาดบางแสน ช่วงสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย)-บูรพาวิถี-มหาวิทยาลัยบูรพา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ถึงสี่แยกบางนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ (ถนนบางนา-ตราด) ขึ้นทางพิเศษบูรพาวิถี ไปตามทางพิเศษบูรพาวิถี ลงทางพิเศษบูรพาวิถี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๔ แยกซ้ายไปตามถนนมิตรสัมพันธ์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๗ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณมหาวิทยาลัยบูรพา สายที่ ๕๖ กรุงเทพฯ-พนมสารคาม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงสี่แยกบางนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ถึงสี่แยกสะพานลอยบางปะกง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอพนมสารคาม ช่วงกรุงเทพฯ (เอกมัย)-บางปะกง-พนมสารคาม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ขึ้นทางด่วนฉลองรัชที่ด่านพระโขนง ไปตามทางด่วนฉลองรัชและทางด่วนศรีรัช ลงทางด่วนตรงไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ (มอเตอร์เวย์) ถึงทางต่างระดับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ (ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอพนมสารคาม สายที่ ๕๘ กรุงเทพฯ-นครนายก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านรังสิต อำเภอวังน้อย สี่แยกหินกอง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านอำเภอบ้านนา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายก ช่วงกรุงเทพฯ-องครักษ์-นครนายก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงรังสิต แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ ผ่านอำเภอธัญบุรี อำเภอองครักษ์ ถึงทางแยกบางอ้อ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕๑ ถึงอำเภอบ้านนา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายก ช่วงกรุงเทพฯ (จตุจักร)-บ้านนา (ทางด่วน) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ขึ้นทางยกระดับที่ด่านลาดพร้าว ไปตามทางยกระดับอุตราภิมุข ลงทางยกระดับที่บริเวณอนุสรณ์สถาน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงรังสิต แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ ผ่านอำเภอธัญบุรี อำเภอองครักษ์ ถึงทางแยกบางอ้อ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านนา สายที่ ๖๙ กรุงเทพฯ-บางบัวทอง-ด่านช้าง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๘ แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ผ่านอำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ผ่านอำเภอลาดบัวหลวง บ้านสาลี ทางแยกอำเภอบางปลาม้า ถึงจังหวัดสุพรรณบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ ถึงสามแยกบ้านอู่ยา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๒ ถึงอำเภอดอนเจดีย์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๖๔ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านทะเลบก บ้านมาบพะยอม อำเภอหนองหญ้าไซ บ้านหนองโก บ้านหนองกระถิน ถึงบ้านหนองอีพัง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๓๐ ผ่านบ้านหนองกระทิงทอง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอด่านช้าง ช่วงกรุงเทพฯ-สามชุก-เดิมบางนางบวช เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๘ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๙ ผ่านอำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ผ่านอำเภอลาดบัวหลวง บ้านสาลี ทางแยกอำเภอบางปลาม้า ถึงจังหวัดสุพรรณบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ ถึงสามแยกอู่ยา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๒ ถึงอำเภอดอนเจดีย์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๖๔ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านทะเลบก บ้านมาบพะยอม อำเภอหนองหญ้าไซ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๖๕ ถึงอำเภอสามชุก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเดิมบางนางบวช สายที่ ๘๑ กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดนครปฐม ถึงสามแยกบ้านบึงกระจับ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๓ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกาญจนบุรี ช่วงกรุงเทพฯ-พุทธมณฑล-กาญจนบุรี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ ผ่านพุทธมณฑล แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดนครปฐม ถึงสามแยกบ้านบึงกระจับ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๓ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกาญจนบุรี ช่วงกรุงเทพฯ-พุทธมณฑล-กาญจนบุรี-ลาดหญ้า เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ ผ่านพุทธมณฑล แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดนครปฐม ถึงสามแยกบ้านบึงกระจับ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๓ ถึงสี่แยกแก่งเสี้ยน ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๙ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตำบลลาดหญ้า สายที่ ๙๔ กรุงเทพฯ-กำแพงเพชร (ข) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ถึงทางแยกเข้าอำเภอมโนรมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกำแพงเพชร ช่วงกรุงเทพฯ-ขาณุวรลักษบุรี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ถึงทางแยกเข้าอำเภอมโนรมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงทางแยกเข้าถนนเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงบ้านสลกบาตร แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๗๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอขาณุวรลักษบุรี สายที่ ๙๕ กรุงเทพฯ-นครสวรรค์ (ข) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงแยกอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์ ช่วงกรุงเทพฯ-บรรพตพิสัย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงแยกอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงแยกอุทยานสวรรค์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๗ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘๔ ผ่านอำเภอเก้าเลี้ยว ถึงแยกบ้านคลองช้าง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘๔ ผ่านวัดมงคลสถิต ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบรรพตพิสัย ช่วงกรุงเทพฯ-ลาดยาว เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงแยกอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงแยกเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๗๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอลาดยาว สายที่ ๙๐๑ กรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ช่วงกรุงเทพฯ-สวนอุตสาหกรรมโรจนะ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสวนอุตสาหกรรมโรจนะ สายที่ ๙๐๒ กรุงเทพฯ-อ่างทอง (ข) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอ่างทอง ช่วงกรุงเทพฯ-ท่าเรือ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ผ่านทางแยกเข้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านวัดทองทรงธรรม วัดบางระกำ วัดเรือแข่ง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖๗ ผ่านบ้านบางพระครู บ้านแม่ลา ไปตามทางหลวงชนบท ผ่านวัดวังแดงใต้ บ้านศาลาลอย วัดนางคุ่ม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอท่าเรือ สายที่ ๙๐๘ กรุงเทพฯ-หันคา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ผ่านทางแยกเข้าจังหวัดอ่างทอง ถึงทางแยกเข้าจังหวัดสิงห์บุรีไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๕ ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓๐ ถึงอำเภอบางระจัน ไปตามถนน ๒ ซ้ายบรมธาตุ ถึงอำเภอสรรคบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหันคา ช่วงกรุงเทพฯ-เนินขาม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ผ่านทางแยกเข้าจังหวัดอ่างทอง ถึงทางแยกเข้าจังหวัดสิงห์บุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑ ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓๐ ถึงอำเภอบางระจัน ไปตามถนน ๒ ซ้ายบรมธาตุ ถึงอำเภอสรรคบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๘๔ ผ่านบ้านดงคอน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ผ่านบ้านวังกระชาย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓๙ ถึงอำเภอหันคา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเนินขาม สายที่ ๙๑๑ กรุงเทพฯ-พิจิตร เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ถึงทางแยกเข้าอำเภอมโนรมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงจังหวัดนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๗ ถึงแยกปลวกสูง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิจิตร ช่วงกรุงเทพฯ-โพทะเล เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ถึงทางแยกเข้าอำเภอมโนรมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงจังหวัดนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๗ ถึงแยกโพธิ์ไทรงาม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖๗ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอโพทะเล สายที่ ๙๑๕ กรุงเทพฯ-บ้านค่าย-บ้านแหลมแม่พิมพ์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงแยกบางนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ถึงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงจังหวัดชลบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๔ ถึงอำเภอบ้านบึง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๘ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๘ ผ่านอำเภอบ้านค่าย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๖ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงทางแยกเข้าบ้านเพ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔๐ ถึงบ้านเพ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔๕ ผ่านบ้านวังแก้ว ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแหลมแม่พิมพ์ ช่วงกรุงเทพฯ-บ่อวิน-บ้านเพ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงแยกบางนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ถึงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงจังหวัดชลบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๔ ถึงอำเภอบ้านบึง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๘ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑ ผ่านบ้านบ่อวิน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๖ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงทางแยกเข้าบ้านเพ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔๐ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเพ ช่วงกรุงเทพฯ-มอเตอร์เวย์-บ้านเพ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ขึ้นทางด่วนฉลองรัชที่ด่านพระโขนง ขึ้นทางด่วนศรีรัช ที่ด่านศรีนครินทร์ ตรงไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๖ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงทางแยกเข้าบ้านเพ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔๐ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเพ สายที่ ๙๑๙ กรุงเทพฯ-บ้านหมี่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านรังสิต สระบุรี ลพบุรี ถึงอำเภอโคกสำโรง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านหมี่ ช่วงกรุงเทพฯ-บ้านหมี่-หนองม่วง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ผ่านทางแยกเข้าจังหวัดอ่างทอง ถึงบ้านปากบาง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓๓ ถึงบ้านบางงา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๒๘ ผ่านบ้านท่าโขลง ถึงอำเภอบ้านหมี่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ถึงอำเภอโคกสำโรง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหนองม่วง สายที่ ๙๒๑ กรุงเทพฯ-องครักษ์-ตลาดโรงเกลือ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงรังสิต แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ ผ่านอำเภอองครักษ์ ถึงจังหวัดนครนายก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านทางแยกเข้าจังหวัดปราจีนบุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดสระแก้ว อำเภอวัฒนานคร อำเภออรัญประเทศ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดโรงเกลือ ช่วงกรุงเทพฯ-ปราจีนบุรี-ประจันตคาม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ขึ้นทางยกระดับที่ด่านลาดพร้าว ไปตามทางยกระดับอุตราภิมุข ลงทางยกระดับที่บริเวณอนุสรณ์สถาน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงรังสิต แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ ผ่านอำเภอองครักษ์ ถึงจังหวัดนครนายก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ถึงแยกนเรศวร แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๐ ถึงจังหวัดปราจีนบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๕๒ แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอประจันตคาม ช่วงกรุงเทพฯ-กบินทร์บุรี-บ้านโคกอุดม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ขึ้นทางยกระดับที่ด่านลาดพร้าว ไปตามทางยกระดับอุตราภิมุข ลงทางยกระดับที่บริเวณอนุสรณ์สถาน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงรังสิต แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ ผ่านอำเภอองครักษ์ ถึงจังหวัดนครนายก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านแยกนเรศวร ตรงไปถึงอำเภอกบินทร์บุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านตำบลเมืองเก่า ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกอุดม ช่วงกรุงเทพฯ-องครักษ์-กบินทร์บุรี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ขึ้นทางยกระดับที่ด่านลาดพร้าว ไปตามทางยกระดับอุตราภิมุข ลงทางยกระดับที่บริเวณอนุสรณ์สถาน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงรังสิต แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ ผ่านอำเภอองครักษ์ ถึงจังหวัดนครนายก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านแยกนเรศวร อำเภอประจันตคาม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอกบินทร์บุรี ช่วงกรุงเทพฯ-องครักษ์-ปักธงชัย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ขึ้นทางยกระดับที่ด่านลาดพร้าว ไปตามทางยกระดับอุตราภิมุขลงทางยกระดับที่บริเวณอนุสรณ์สถาน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงรังสิต แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ ผ่านอำเภอองครักษ์ ถึงจังหวัดนครนายก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านแยกนเรศวร ถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอกบินทร์บุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านอำเภอวังน้ำเขียว ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปักธงชัย สายที่ ๙๕๒ กรุงเทพฯ-สุพรรณบุรี (ค) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ผ่านอำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ผ่านทางแยกอำเภอลาดบัวหลวง บ้านสาลี ทางแยกอำเภอบางปลาม้า ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุพรรณบุรี ช่วงกรุงเทพฯ-วิเศษชัยชาญ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ผ่านอำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ผ่านทางแยกอำเภอลาดบัวหลวง บ้านสาลี ทางแยกอำเภอบางปลาม้า ผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวิเศษชัยชาญ สายที่ ๙๕๙ กรุงเทพฯ-ตะพานหิน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ถึงอำเภออินทร์บุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงบ้านเขาทราย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอตะพานหิน ช่วงกรุงเทพฯ-ชุมแสง-บางมูลนาก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ถึงทางแยกอำเภอมโนรมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕ ถึงอำเภอชุมแสง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๑๘ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบางมูลนาก ช่วงกรุงเทพฯ-บ้านดงขุย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ถึงอำเภออินทร์บุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงบ้านเขาทราย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านดงขุย ช่วงกรุงเทพฯ-หนองบัว เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ถึงอำเภออินทร์บุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหนองบัว ช่วงกรุงเทพฯ-ท่าตะโก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ถึงอำเภออินทร์บุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๐๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอท่าตะโก ช่วงกรุงเทพฯ-ไพศาลี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ถึงอำเภออินทร์บุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๐๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอไพศาลี สายที่ ๙๖๗ กรุงเทพฯ-โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (เขาชะโงก) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงรังสิต แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ ผ่านอำเภอธัญบุรี วิทยาลัยพลศึกษากรุงเทพ บ้านคลอง ๑๔ บ้านคลองใหญ่ อำเภอองครักษ์ ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (เขาชะโงก) ช่วงกรุงเทพฯ-เขื่อนขุนด่านปราการชล เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ขึ้นทางยกระดับที่ด่านลาดพร้าว ไปตามทางยกระดับอุตราภิมุข ลงทางยกระดับที่บริเวณอนุสรณ์สถาน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงรังสิต แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ ผ่านอำเภอธัญบุรี อำเภอองครักษ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๒๘ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านศาลากลางจังหวัดนครนายก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๓๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางเขื่อนขุนด่านปราการชล สายที่ ๙๗๑ กรุงเทพฯ-ชะอำ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๔๐ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ ถึงสามแยกวังมะนาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ถึงทางแยกเข้าหาดชะอำ แยกซ้ายไปตามถนนไปหาดชะอำ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหาดชะอำ ช่วงกรุงเทพฯ-แก่งกระจาน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๔๐ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ ถึงสามแยกวังมะนาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดเพชรบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๙๙ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณอำเภอแก่งกระจาน สายที่ ๙๗๔ กรุงเทพฯ-บางบัวทอง-สุพรรณบุรี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงแยกงามวงศ์วาน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๒ ผ่านแยกแคราย ไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๙ ผ่านอำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ผ่านทางแยกเข้าอำเภอลาดบัวหลวง บ้านสาลี ทางแยกเข้าอำเภอบางปลาม้า ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสุพรรณบุรี ช่วงกรุงเทพฯ-บางบัวทอง-อู่ทอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงแยกงามวงศ์วาน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๒ ผ่านแยกแคราย ไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ผ่านอำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ผ่านทางแยกเข้าอำเภอลาดบัวหลวง บ้านสาลี ทางแยกเข้าอำเภอบางปลาม้า แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๗ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภออู่ทอง สายที่ ๙๙๔ กรุงเทพฯ-ด่านช้าง-บ้านไร่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดนครปฐม ถึงแยกมาลัยแมน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ ผ่านอำเภอกำแพงแสน ถึงอำเภออู่ทอง ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๓ ผ่านบ้านสระกระโจม อำเภอด่านช้าง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๑๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านไร่ ช่วงกรุงเทพฯ-เลาขวัญ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดนครปฐม ถึงแยกมาลัยแมน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ ผ่านอำเภอกำแพงแสน ถึงอำเภออู่ทอง ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๖๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเลาขวัญ สายที่ ๙๙๗ กรุงเทพฯ-นครปฐม (ข) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารประจำทางกรุงเทพฯ (สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครปฐม ช่วงกรุงเทพฯ-นครชัยศรี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารประจำทางกรุงเทพฯ (สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอนครชัยศรี สายที่ ๙๙๐๕ กรุงเทพฯ (จตุจักร)-เมืองพัทยา (ข) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ขึ้นทางด่วน (ทางพิเศษศรีรัช) ที่ด่านบางซื่อ (ถนนกำแพงเพชร ๒) ลงทางด่วนตรงไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึง กม. ที่ ๑๒.๗ แยกขวาไปตามทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึงทางต่างระดับบางพระ แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ (ตอนชลบุรี-พัทยา) ถึงแหลมฉบัง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางเมืองพัทยา (หาดจอมเทียน) ช่วงกรุงเทพฯ (จตุจักร)-สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์-เมืองพัทยา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ขึ้นทางด่วน (ทางพิเศษศรีรัช) ที่ด่านบางซื่อ (ถนนกำแพงเพชร ๒) ลงทางด่วนตรงไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึง กม. ที่ ๑๒.๗ แยกขวาไปตามทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกขวาไปตามถนนเครือสหพัฒน์ แยกซ้ายไปตามถนนแหลมทอง แยกซ้ายไปตามถนนเมืองใหม่ ๑ ถึงแยกวัดบ้านนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางเมืองพัทยา (หาดจอมเทียน) ช่วงกรุงเทพฯ (จตุจักร)-ศรีราชา-เมืองพัทยา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ขึ้นทางพิเศษที่ด่านบางซื่อ (ถนนกำแพงเพชร ๒) ไปตามทางพิเศษศรีรัช ลงทางพิเศษ ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึงทางต่างระดับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕ ผ่านจังหวัดชลบุรี บ้านหนองมน อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางเมืองพัทยา ช่วงกรุงเทพฯ (จตุจักร)-นิคมอุตสาหกรรมบ่อวิน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ขึ้นทางพิเศษที่ด่านบางซื่อ (ถนนกำแพงเพชร ๒) ไปตามทางพิเศษศรีรัช ลงทางพิเศษไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชบ. ๑๐๓๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางนิคมอุตสาหกรรมบ่อวิน สายที่ ๙๙๐๗ กรุงเทพฯ (จตุจักร)-จันทบุรี (ง) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ขึ้นทางด่วน (ทางพิเศษศรีรัช) ที่ด่านบางซื่อ (ถนนกำแพงเพชร ๒) ลงทางด่วนตรงไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึง กม. ที่ ๑๒.๗ แยกขวาไปตามทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๔ ผ่านอำเภอบ้านบึง อำเภอหนองใหญ่ อำเภอวังจันทร์ ถึงอำเภอแกลง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดจันทบุรี ช่วงกรุงเทพฯ (จตุจักร)-สอยดาว เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ขึ้นทางด่วน (ทางพิเศษศรีรัช) ที่ด่านบางซื่อ (ถนนกำแพงเพชร ๒) ลงทางด่วนไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ ผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านอำเภอพนมสารคาม ตำบลเขาหินซ้อน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๙ ผ่านอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดสระแก้ว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๗ ผ่านอำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอวังสมบูรณ์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสอยดาว สายที่ ๙๙๐๙ กรุงเทพฯ (จตุจักร)-แหลมฉบัง (ข) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ขึ้นทางด่วน (ทางพิเศษศรีรัช) ที่ด่านบางซื่อ (ถนนกำแพงเพชร ๒) ลงทางด่วนตรงไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึง กม. ที่ ๑๒.๗ แยกขวาไปตามทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึงทางต่างระดับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ทางเลี่ยงเมืองชลบุรี) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางแหลมฉบัง ช่วงกรุงเทพฯ (จตุจักร)-อ่าวอุดม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ขึ้นทางพิเศษที่ด่านบางซื่อ (ถนนกำแพงเพชร ๒) ไปตามทางพิเศษศรีรัช ลงทางพิเศษไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๔๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ แยกซ้ายไปตามถนนสุขาภิบาล ๖ แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกขวาไปตามถนนทุ่งสุขา ไปสุดเส้นทางที่บริเวณแยกอ่าวอุดม สายที่ ๙๙๑๖ กรุงเทพฯ (เอกมัย)-เขาหินซ้อน-ตลาดโรงเกลือ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) ไปตามถนนสุขุมวิท ขึ้นทางด่วนฉลองรัชที่ด่านพระโขนง ขึ้นทางด่วนศรีรัชที่ด่านศรีนครินทร์ ลงทางด่วนตรงไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึง กม. ที่ ๑๒.๗ แยกขวาไปตามทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึงทางต่างระดับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ (ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา) แล้วไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านทางแยกอำเภอพนมสารคาม ถึงแยกเขาหินซ้อน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๗ ถึงจังหวัดสระแก้ว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านอำเภอวัฒนานคร อำเภออรัญประเทศ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดโรงเกลือ ช่วงกรุงเทพฯ (เอกมัย)-พนมสารคาม-บ้านคลองรั้ง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) ไปตามถนนสุขุมวิท ขึ้นทางด่วนฉลองรัชที่ด่านพระโขนง ไปตามทางด่วนฉลองรัชและทางด่วนศรีรัช ลงทางด่วนตรงไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึงทางต่างระดับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ (ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านทางแยกอำเภอพนมสารคาม เขาหินซ้อน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคลองรั้ง ช่วงกรุงเทพฯ (เอกมัย)-พนมสารคาม-บ้านท่าตูม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) ไปตามถนนสุขุมวิท ขึ้นทางด่วนฉลองรัชที่ด่านพระโขนง ไปตามทางด่วนฉลองรัชและทางด่วนศรีรัช ลงทางด่วนตรงไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึงทางต่างระดับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ (ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านอำเภอพนมสารคาม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙ ผ่านอำเภอศรีมโหสถ ตำบลโคกปีบ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๗๐ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๗๙ ผ่านแยกโคกขวาง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าตูม ช่วงกรุงเทพฯ (เอกมัย)-กบินทร์บุรี-อรัญประเทศ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) ไปตามถนนสุขุมวิท ขึ้นทางด่วนฉลองรัชที่ด่านพระโขนง ไปตามทางด่วนฉลองรัชและทางด่วนศรีรัช ลงทางด่วนตรงไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึงทางต่างระดับเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ (ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา) แล้วไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านอำเภอกบินทร์บุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านจังหวัดสระแก้ว ผ่านอำเภอวัฒนานคร ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภออรัญประเทศ ช่วงกรุงเทพฯ (เอกมัย)-วัฒนานคร-ตลาดโรงเกลือ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) ไปตามถนนสุขุมวิท ขึ้นทางด่วนฉลองรัชที่ด่านพระโขนง ไปตามทางด่วนฉลองรัชและทางด่วนศรีรัช ลงทางด่วนตรงไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึงทางต่างระดับเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ (ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา) แล้วไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านทางแยกอำเภอพนมสารคาม ถึงแยกเขาหินซ้อน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๙ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านอำเภอวัฒนานคร อำเภออรัญประเทศ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดโรงเกลือ ช่วงกรุงเทพฯ (เอกมัย)-วังน้ำเย็น-คลองหาด เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) ไปตามถนนสุขุมวิท ขึ้นทางด่วนฉลองรัชที่ด่านพระโขนง ไปตามทางด่วนฉลองรัชและทางด่วนศรีรัช ลงทางด่วนตรงไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึงทางต่างระดับเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ (ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา) แล้วไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านทางแยกอำเภอพนมสารคาม ถึงแยกเขาหินซ้อน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๙ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๗ ถึงอำเภอวังน้ำเย็น แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๖๗ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณอำเภอคลองหาด ช่วงกรุงเทพฯ (เอกมัย)-พนมสารคาม-นิคมอุตสาหกรรม ๓๐๔ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) ไปตามถนนสุขุมวิท ขึ้นทางด่วนฉลองรัชที่ด่านพระโขนง ไปตามทางด่วนฉลองรัชและทางด่วนศรีรัช ลงทางด่วนตรงไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึงทางต่างระดับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ (ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา) แล้วไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๗๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณนิคมอุตสาหกรรม ๓๐๔ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๖ ง/หน้า ๒๐๒/๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628633
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1970 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 จำนวน 2 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๗๐ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ จำนวน ๒ เส้นทาง[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๙๑๙ กรุงเทพฯ-บางใหญ่-พระนครศรีอยุธยา และสายที่ ๙๙๒๐ กรุงเทพฯ-บ้านสร้าง-ปราจีนบุรี โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๙๙๑๙ กรุงเทพฯ-บางใหญ่-พระนครศรีอยุธยา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ผ่านอำเภอบางใหญ่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๗ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๖๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายที่ ๙๙๒๐ กรุงเทพฯ-บ้านสร้าง-ปราจีนบุรี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ขึ้นทางพิเศษที่ด่านดินแดง ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไปตามทางพิเศษศรีรัช ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ (มอเตอร์เวย์) เข้าเขตลาดกระบัง แยกซ้ายไปตามถนนร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนเจ้าคุณทหาร แยกซ้ายไปตามถนนฉลองกรุง ผ่านนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านแขวงลำผักชี แยกซ้ายไปตามถนนทหารอากาศอุทิศ ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘๑ ผ่านอำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบ้านสร้าง ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๙๓ ผ่านอำเภอเมืองปราจีนบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ (ถนนสุวรรณศร) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณแยกนเรศวร ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๖ ง/หน้า ๒๐๐/๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628625
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ 62 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๖๒ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๘ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดตาก สายที่ ๖๒๐๑๐ แม่สอด-บ้านวาเล่ย์ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกเข้าหมู่บ้านเพิ่ม จำนวน ๖ ช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตากได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตาก สายที่ ๒๖๑๐ แม่สอด-บ้านวาเล่ย์ ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ สามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๐ ง/หน้า ๑๓๓/๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628621
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ 61 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๖๑ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๔๕ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๖ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดตาก สายที่ ๖๒๐๑๘ อุ้มผาง-บ้านนุโพ เป็น อุ้มผาง-บ้านเปิงเคิ้ง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตากได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตาก สายที่ ๒๖๐๙ อุ้มผาง-บ้านเปิ่งเคลิ่ง ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ สามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๐ ง/หน้า ๑๓๒/๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628619
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ 60 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๔๖ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดตาก สายที่ ๖๒๐๐๗ แม่สอด-บ้านวังแก้ว เป็น แม่สอด-บ้านวังผา นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตากได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตาก สายที่ ๒๖๐๘ แม่สอด-บ้านวังผา ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ สามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๐ ง/หน้า ๑๓๑/๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628617
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ 59 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๕๙ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๒๓ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดตาก สายที่ ๖๒๐๑๑ แม่สอด-แม่ละเมา เป็น แม่สอด-บ้านแม่ละเมา นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตากได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตาก สายที่ ๒๖๐๗ แม่สอด-บ้านแม่ละเมา ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ สามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๐ ง/หน้า ๑๓๐/๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628615
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ 58 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๕๘ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๓๖ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดตาก สายที่ ๖๒๐๐๙ แม่สอด-บ้านแม่จะเรา ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกเข้าหมู่บ้านเพิ่ม จำนวน ๑ ช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตากได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตาก สายที่ ๒๖๐๖ แม่สอด-บ้านแม่จะเรา ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำ จังหวัดตาก ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ สามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๐ ง/หน้า ๑๒๙/๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628611
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ 57 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๕๗ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๒๘ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดตาก สายที่ ๖๒๐๐๕ ตาก-วัดท่าไม้แดง เป็น ตาก-บ้านประจำรักษ์ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตากได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตาก สายที่ ๒๕๖๙ ตาก-บ้านประจำรักษ์ ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำ จังหวัดตาก ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าวตั้งแต่วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ สามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๐ ง/หน้า ๑๒๘/๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628609
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ 56 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๒๘ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดตาก สายที่ ๖๒๐๑๖ ตาก-สะพานวุฒิกุล นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตากได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตาก สายที่ ๒๕๖๘ ตาก-สะพานวุฒิกุล ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำ จังหวัดตาก ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ สามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๐ ง/หน้า ๑๒๗/๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628607
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๕๕ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๒๘ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดตาก สายที่ ๖๒๐๐๒ ตาก-วังม่วง เป็น ตาก-บ้านวังม่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตากได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตาก สายที่ ๒๕๖๗ ตาก-บ้านวังม่วง ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ สามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๐ ง/หน้า ๑๒๖/๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628603
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ 54 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๕๔ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๒๘ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดตาก สายที่ ๖๒๐๑๒ ตาก-แม่ละเมา เป็น ตาก-บ้านแม่ละเมา นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตากได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตาก สายที่ ๒๕๖๖ ตาก-บ้านแม่ละเมา ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ สามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๐ ง/หน้า ๑๒๕/๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628601
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ 53 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๕๓ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๒๘ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดตาก สายที่ ๖๒๐๑๓ ปากทางเขื่อน-บ้านวังโพ บ้านป่ายาง บ้านท่าปุย เป็น ปากทางเขื่อนภูมิพล-ประตูทางเข้าเขื่อนภูมิพล บ้านป่ายาง บ้านวังโพ บ้านแม่ระวานสองแคว นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตากได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตาก สายที่ ๒๕๖๕ ปากทางเขื่อนภูมิพล-ประตูทางเข้าเขื่อนภูมิพล ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ สามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๐ ง/หน้า ๑๒๔/๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628599
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ 52 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๕๒ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๒๙ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หมวด ๕ จังหวัดตาก สายที่ ๖๒๐๐๓ ตาก-สะพานวุฒิกุล เป็น ตาก-บ้านวังเจ้า บ้านหนองปรือ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตากได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตาก สายที่ ๒๕๖๔ ตาก-บ้านวังเจ้า ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ สามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๐ ง/หน้า ๑๒๓/๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628595
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๕๑ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๒๕ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดตาก สายที่ ๖๒๐๑๕ ตาก-บ้านน้ำดิบ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตากได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตาก สายที่ ๒๕๖๓ ตาก-บ้านน้ำดิบ ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ สามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๐ ง/หน้า ๑๒๒/๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628591
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ 50 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๓๑ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๓๖ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดตาก สายที่ ๖๒๐๐๑ ตาก-ทางแยกอุทยานแห่งชาติลานสางให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกเข้าหมู่บ้านเพิ่ม จำนวน ๓ ช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตากได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตาก สายที่ ๒๕๖๒ ตาก-บ้านส้มป่อย ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ สามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๐ ง/หน้า ๑๒๑/๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628589
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๔๙ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๒๕ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ลงวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๐ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดตาก สายที่ ๖๒๐๐๘ แม่สอด-วังตะเคียน ฝั่งแม่น้ำเมย บ้านท่าอาจ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตากได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดตาก สายที่ ๓ แม่สอด-ริมเมย ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ สามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๐ ง/หน้า ๑๒๐/๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628605
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ 61 (พ.ศ. 2552) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดชลบุรี สายที่ 1633 (ข) ชลบุรี - บ้านเกาะจันทร์ - บ้านหนองบอน
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ ๖๑ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชลบุรี สายที่ ๑๖๓๓ (ข) ชลบุรี - บ้านเกาะจันทร์ - บ้านหนองบอน[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชลบุรี สายที่ ๑๖๓๓ (ข) ชลบุรี - บ้านเกาะจันทร์ - บ้านหนองบอน นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสายดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำ จังหวัดชลบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๒ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ จึงให้ปรับปรุงเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดชลบุรี สายที่ ๑๖๓๓ (ข) ชลบุรี - บ้านเกาะจันทร์ - บ้านหนองบอน ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงชลบุรี - บ้านเก่า และช่วงชลบุรี - วัดดอนดำรงธรรม - บ้านสัตตพงษ์ โดยมีรายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดชลบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕ (ถนนศุขประยูร) ผ่านบ้านปูนเท่าม้า อำเภอพนัสนิคม แยกขวาไปตามถนนศรีกุญชรจนถึงสามแยกทุ่งเหียง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๔๖ ผ่านบ้านเนินแร่ ถึงสี่แยกบ้านเกาะโพธิ์ ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๔๑ ผ่านบ้านเกาะจันทร์ ถึงทางแยกไปกองบัญชาการช่วยรบที่ ๑ แยกขวาไปตามถนนบ้านเกาะจันทร์ บ้านหนองคอก แยกซ้ายไปตามถนนเข้าบ้านชุมนุมปรกฟ้า ถึงตลาดปรกฟ้า แล้วกลับมาตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนนบ้านเกาะจันทร์-บ้านหนองคอก ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๔๕ ตรงไปตามถนน ร.พ.ช. หมายเลข ชบ. ๒๐๐๑ (บ้านสระตาพรม-บ้านหนองบอน) ผ่านบ้านสระตาพรม บ้านหนองยายหมาด บ้านหนองผักตบ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองบอน ช่วงชลบุรี-บ้านเก่า เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดชลบุรี (บริเวณตลาดวัดกลาง) ไปตามถนนราษฎร์ประสงค์ แยกซ้ายไปตามถนนโปษยานนท์ แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท ถึงสี่แยกเฉลิมไทย แยกขวาไปตามถนนศุขประยูร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕) ผ่านบ้านสวน กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๑ รักษาพระองค์ บ้านนาป่า โรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อีเทค) ถึงบ้านหนองตำลึง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ๓๐๒๒ (ถนนเทศบาล ๒) ผ่านบ้านมาบสามเกลียว ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเก่า ช่วงชลบุรี-วัดดอนดำรงธรรม-บ้านสัตตพงษ์ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดชลบุรี (บริเวณตลาดวัดกลาง) ไปตามถนนราษฎร์ประสงค์ แยกซ้ายไปตามถนนโปษยานนท์ แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท ถึงสี่แยกเฉลิมไทย แยกขวาไปตามถนนศุขประยูร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕) ผ่านบ้านสวน กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๑ รักษาพระองค์ บ้านนาป่า แยกซ้ายไปตามถนนบ้านเก่า-ดอนหัวฬ่อ ผ่านวัดดอนดำรงธรรม บ้านดอนหัวฬ่อ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสัตตพงษ์ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชลบุรี ปริยานุช/พิมพ์ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๕๑ ง/หน้า ๒๐๖/๑ เมษายน ๒๕๕๓
627874
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดยโสธร
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดยโสธร[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนดจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดยโสธรในที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๑๖๓๖ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร เนื้อที่ ๕ ไร่ ๑๗ ตารางวา โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ สุชาติ โชคชัยวัฒนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. ผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดยโสธร (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/พิมพ์ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๕๑ ง/หน้า ๑/๑ เมษายน ๒๕๕๓
625013
ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง พ.ศ. 2553
ประกาศนายทะเบียนกลาง ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยที่ได้มีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ทำให้การแบ่งส่วนราชการและการกำหนดตำแหน่งในกรมการขนส่งทางบกเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางเป็นไปด้วยความถูกต้องสอดคล้องกับกฎกระทรวง ดังกล่าว และเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนกลางจึงเห็นสมควรมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ (๒) ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง (ฉบับที่ ๒) ประกาศ ณ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ (๓) ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง (ฉบับที่ ๓) ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ (๔) ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายเป็นนายทะเบียนกลาง พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ (๕) ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ (๖) ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ (๗) ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักการขนส่งสินค้า พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ (๘) ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ (๙) ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ (๑๐) ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ (๑๑) ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ (๑๒) ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ (๑๓) ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกองตรวจการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ (๑๔) ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ข้อ ๔ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายบริหาร) กรมการขนส่งทางบก และผู้อำนวยการสำนักการขนส่งผู้โดยสาร เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต (๓) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสาร ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (๖) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๗) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๘) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือมิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดอื่น เปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาต ประกอบการขนส่งไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๙) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๐) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก (๑๑) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำ หรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการตามความในมาตรา ๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๒) การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ข้อ ๕ ให้หัวหน้าส่วนการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสาร เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๔ (๓) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ), ข้อ ๔ (๖) (๘) (๙) (๑๒) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ดังนี้ (๑) การรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าที่วางไว้เป็นประกัน ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลงตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การถอนหลักทรัพย์ กรณีนายทะเบียนสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่ง หรือขอถอนหลักทรัพย์บางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง หรือการถอนหลักทรัพย์เดิมเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเปลี่ยนการวางหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว หรือถอนหลักทรัพย์ไปชำระตามคำบังคับคดีของศาลเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก อันเนื่องจากการขนส่งของตน (๔) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ ข้อ ๖ ให้หัวหน้างานการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง ๑, ๒, ๓ และ ๔ ส่วนการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสารเป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (ฉ) (ช) (ซ), ข้อ ๔ (๖) (๑๒) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ดังนี้ (๑) การรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก (๒) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าส่วนการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสารเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๒) (๔) (๗) (๙) (๑๒) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ดังนี้ (๑) การรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าที่วางไว้เป็นประกัน ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลงตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การถอนหลักทรัพย์ กรณีนายทะเบียนสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่ง หรือขอถอนหลักทรัพย์บางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง หรือการถอนหลักทรัพย์เดิมเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเปลี่ยนการวางหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว หรือถอนหลักทรัพย์ไปชำระตามคำบังคับคดีของศาลเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก อันเนื่องจากการขนส่งของตน (๔) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ ข้อ ๘ ให้หัวหน้างานการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสาร ส่วนการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสาร เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ดังนี้ (ก) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (ข) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ค) การบรรจุรถ (ง) การเปลี่ยนรถ (จ) การถอนรถ (ฉ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๒) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ข้อ ๙ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ) กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต (๒) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (๔) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัดซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก (๖) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำ หรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการตามความในมาตรา ๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๗) การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ (๘) การจัดตั้งและดำเนินการสถานตรวจสภาพรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งสินค้า เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๗) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าส่วนประกอบการขนส่งสินค้า สำนักการขนส่งสินค้า เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (๒) (๗) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ดังนี้ (๑) การรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าที่วางไว้เป็นประกัน ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลงตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การถอนหลักทรัพย์ กรณีนายทะเบียนสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่ง หรือขอถอนหลักทรัพย์บางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง หรือการถอนหลักทรัพย์เดิมเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเปลี่ยนการวางหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว หรือถอนหลักทรัพย์ไปชำระตามคำบังคับคดีของศาลเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก อันเนื่องจากการขนส่งของตน (๔) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ ข้อ ๑๒ ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๘) ข้อ ๑๓ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การบรรจุรถ (ฉ) การเปลี่ยนรถ (ช) การถอนรถ (ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต (๒) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การบรรจุรถ (ฉ) การเปลี่ยนรถ (ช) การถอนรถ (ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล และการรับวางหลักทรัพย์เป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย (๔) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ (๕) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำ หรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการตามความในมาตรา ๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์ หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวงตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๗) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพ หรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามความในมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๘) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์ หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามความในมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๙) การจัดตั้งและดำเนินการสถานตรวจสภาพรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การเพิกถอนใบอนุญาต (๑๐) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๔ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๓ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบหรือพื้นที่อื่นตามที่นายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๑๕ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๓ (๑) (๒) และ (๔) ข้อ ๑๖ ให้หัวหน้าส่วนทะเบียนรถขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ และหัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๓ (๓) (๖) (๗) และ (๘) ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ หรือพื้นที่อื่นตามที่นายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๑๗ ให้หัวหน้างานทะเบียนรถโดยสารและหัวหน้างานทะเบียนรถบรรทุก ส่วนทะเบียนรถขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๓ (๓) (๖) และ (๘) ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ หรือพื้นที่อื่นตามที่นายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๑๘ ให้หัวหน้าส่วนใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ และหัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๓ (๑๐) ข้อ ๑๙ ให้หัวหน้างานใบอนุญาตผู้ประจำรถและใบอนุญาตขับรถอื่น ส่วนใบอนุญาตขับรถสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๓ (๑๐) ข้อ ๒๐ ให้หัวหน้าส่วนตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ และหัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๓ (๖) (๗) และ (๘) ข้อ ๒๑ ให้หัวหน้างานตรวจสภาพรถขนส่ง ส่วนตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๓ (๖) และ (๘) ข้อ ๒๒ ให้ผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๓ (๕) (๗) และ (๑๐) (ง) ข้อ ๒๓ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจการและหัวหน้าฝ่ายสืบสวน กองตรวจการขนส่งทางบกเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๓ (๕) (๗) และ (๑๐) (ง) ข้อ ๒๔ ให้หัวหน้าฝ่ายเปรียบเทียบ กองตรวจการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๓ (๕) และ (๑๐) (ง) ข้อ ๒๕ ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารการคลังและรายได้ เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไทย ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายที่เกิดจากการขนส่งตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามความในมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ข้อ ๒๖ ให้ขนส่งจังหวัด เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดซึ่งมิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต (๓) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การบรรจุรถ (ฉ) การเปลี่ยนรถ (ช) การถอนรถ (ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต (๔) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การบรรจุรถ (ฉ) การเปลี่ยนรถ (ช) การถอนรถ (ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และมีปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๗) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีภูมิลำเนา หรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๘) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ เปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๙) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งดังกล่าวได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๐) การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ (๑๑) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น (๑๒) การจัดตั้งและดำเนินการสถานตรวจสภาพรถ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๗ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัด เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๒๖ (๑) (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) และข้อ ๒๖ (๓) ข้อ ๒๘ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๒๖ (๓) (๑๐) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดสาขานั้น ข้อ ๒๙ ในกรณีนายทะเบียนกลางได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายทะเบียนกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๓๑ ง/หน้า ๑๙/๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓
624002
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะของระบบไอเสียของรถจักรยานยนต์ พ.ศ. 2553
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะของระบบไอเสียของรถจักรยานยนต์ พ.ศ. ๒๕๕๓ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๑ แห่งกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดคุณลักษณะของระบบไอเสียของรถจักรยานยนต์ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระบบไอเสียของรถจักรยานยนต์ที่มีท่อไอเสียเป็นอุปกรณ์ระบายไอเสีย ต้องมีวัสดุที่ยึดติดแน่นในตำแหน่งที่สามารถป้องกันความร้อนจากท่อไอเสียได้อย่างปลอดภัย ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่รถจักรยานยนต์ดังต่อไปนี้เป็นเวลาหนึ่งปี นับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ (๑) รถจักรยานยนต์ที่นำมาจดทะเบียนเป็นรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล (๒) รถจักรยานยนต์ที่นำมาจดทะเบียนเป็นรถจักรยานยนต์สาธารณะและมีท่อไอเสียอยู่ต่ำกว่าที่พักเท้า ข้อ ๒ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่รถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๘ ง/หน้า ๓๓/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
624000
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดมูลค่าความเสียหายของทรัพย์สินอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการขนส่งที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดทำรายงานอุบัติเหตุต่อนายทะเบียน พ.ศ. 2552
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดมูลค่าความเสียหายของทรัพย์สินอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการขนส่ง ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดทำรายงานอุบัติเหตุต่อนายทะเบียน พ.ศ. ๒๕๕๒ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดมูลค่าความเสียหายของทรัพย์สินอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการขนส่งที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรายงานต่อนายทะเบียน ลงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ ไว้แล้ว นั้น โดยที่ปรากฏว่า มูลค่าความเสียหายของทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องรายงานอุบัติเหตุต่อนายทะเบียนนั้นได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ทำให้มูลค่าความเสียหายที่กำหนดไว้ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดมูลค่าความเสียหายของทรัพย์สินมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศกำหนดมูลค่าความเสียหายของทรัพย์สินอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการขนส่ง ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดทำรายงานอุบัติเหตุต่อนายทะเบียนเสียใหม่ ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดมูลค่าความเสียหายของทรัพย์สินอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการขนส่งที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรายงานต่อนายทะเบียน ลงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดทำรายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการขนส่งในกิจการของตนในกรณีที่มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บสาหัส หรือความเสียหายของทรัพย์สินที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งมีมูลค่ารวมกันเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) ต่อนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุ การรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบรายงานอุบัติเหตุตามที่กำหนดไว้ท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๘ ง/หน้า ๓๒/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
622748
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตรัง
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตรัง[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนดจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตรังในที่ดินที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน ตง. ๘๔๕ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เนื้อที่ ๙ ไร่ โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบนผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตรัง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๔ ง/หน้า ๕/๒๑ มกราคม ๒๕๕๓
622668
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดสารจังหวัดภูเก็ต แห่งที่ 2
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต แห่งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำหนดจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต แห่งที่ ๒ ในที่ดินที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน ภก.๓๓๑ ตำบลรัษฎา อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เนื้อที่ ๙ ไร่ ๓ งาน ๕๗.๗ ตารางวา โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. ผังสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ตแห่งที่ ๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖ ง/หน้า ๓๒/๑๔ มกราคม ๒๕๕๓
622584
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดแบบหรือชนิดของมาตรค่าโดยสารสำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (TAXI-METER) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดแบบหรือชนิดของมาตรค่าโดยสารสำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ไม่เกินเจ็ดคน (TAXI - METER) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๘ แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๐ กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศกำหนดให้รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (TAXI - METER) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานครใช้มาตรค่าโดยสาร ดังนี้ ๑. ให้รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (TAXI - METER) ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ต้องใช้มาตรค่าโดยสารแบบหรือชนิดที่มีเครื่องพิมพ์ใบเสร็จรับเงินตามที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ๒. รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (TAXI - METER) ที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๓ ให้ใช้มาตรค่าโดยสารแบบหรือชนิดที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบไว้แล้วต่อไปได้ ๓. ให้รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (TAXI - METER) ที่ใช้มาตรค่าโดยสารแบบหรือชนิดที่มีเครื่องพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน ต้องมีเครื่องหมายแสดงการใช้มาตรค่าโดยสารชนิดที่มีเครื่องพิมพ์ใบเสร็จรับเงินตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ติดไว้บนหลังคารถด้านขวาของเครื่องหมาย “TAXI - METER” และให้มีแสงไฟพร้อมด้วยกรอบที่บังคับแสงให้เห็นเครื่องหมายนี้ได้ชัดเจนในเวลากลางคืนด้วย ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเครื่องหมายแสดงการใช้มาตรค่าโดยสารแบบแบบหรือชนิดที่มีเครื่องพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน แนบท้ายประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดแบบหรือชนิดของมาตรค่าโดยสารสำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (TAXI - METER) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๓ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๔/๑๑ มกราคม ๒๕๕๓
622508
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ฉบับที่ 48 (พ.ศ. 2552) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกระบี่ ฉบับที่ ๔๘ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๒๘ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดกระบี่ สายที่ ๘๕๐๐๔ เหนือคลอง-บ้านกอตง ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ประสิทธิ์ โอสถานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกระบี่ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๙ ง/หน้า ๓๔๖/๑๔ มกราคม ๒๕๕๓
622506
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2552) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกระบี่ ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๒๘ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดกระบี่ สายที่ ๘๕๐๐๓ เหนือคลอง-แหลมกรวด ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ประสิทธิ์ โอสถานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกระบี่ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๙ ง/หน้า ๓๔๕/๑๔ มกราคม ๒๕๕๓
622504
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1969 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ต. 85 อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๖๙ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ต. ๘๕ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๑๖๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๒ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร (รถตู้ปรับอากาศ) สายที่ ต. ๘๕ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายะเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ต. ๘๕ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ต. ๘๕ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนราชวิถี ถนนดินแดง แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ขึ้นทางยกระดับที่ด่านดินแดง ไปตามทางยกระดับอุตราภิมุข ลงทางยกระดับบริเวณอนุสรณ์สถาน ไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ถนนพหลโยธิน จนสุดเส้นทางที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๙ ง/หน้า ๓๔๔/๑๔ มกราคม ๒๕๕๓
622502
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1968 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1474 บางขุนนนท์ - ตลิ่งชัน - โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๖๘ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๗๔ บางขุนนนท์-ตลิ่งชัน- โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๔๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๗๔ บางขุนนนท์-ตลิ่งชัน-วัดปุรณาวาส เป็น บางขุนนนท์-ตลิ่งชัน-โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงบางขุนนนท์-วัดซองพลู เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๗๔ บางขุนนนท์-ตลิ่งชัน-โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม เป็น ตลาดนครหลวง-ตลิ่งชัน-โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๔๗๔ ตลาดนครหลวง-ตลิ่งชัน-โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม เริ่มต้นจากตลาดนครหลวง ไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ ถึงแยกบางขุนนนท์ แยกซ้ายไปตามถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี ถึงแยกวัดมะกอก ขึ้นสะพานกลับรถ ไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนนทุ่งมังกร แยกซ้ายไปตามถนนสวนผัก ผ่านโรงเรียนฉิมพลี แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก กลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑล สาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนศาลาธรรมสพน์ แยกขวาไปตามถนนเข้าวัดปุรณาวาส ถึงวัดปุรณาวาส กลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามถนนศาลาธรรมสพน์ ถึงถนนพุทธมณฑล สาย ๔ ไปตามถนนนครชัยศรี-ศาลายา ผ่านตลาดศาลายา แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ. ๓๐๐๑ จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ช่วงตลาดนครหลวง-โรงเรียนฉิมพลี เริ่มต้นจากตลาดนครหลวง ไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ ถึงแยกบางขุนนนท์ แยกซ้ายไปตามถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี ถึงสะพานข้ามทางรถไฟ กลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนนชัยพฤกษ์ แยกซ้ายไปตามถนนสวนผัก ผ่านสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๒ จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนฉิมพลี ช่วงตลาดนครหลวง-วัดมะกอก เริ่มต้นจากตลาดนครหลวง ไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ ถึงแยกบางขุนนนท์ แยกซ้ายไปตามถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน แยกซ้ายไปตามถนนชักพระ แยกขวาไปตามถนนฉิมพลี แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามถนนฉิมพลี จนสุดเส้นทางที่วัดมะกอก ช่วงตลาดนครหลวง-วัดซองพลู เริ่มต้นจากตลาดนครหลวง ไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ ถึงแยกบางขุนนนท์ แยกซ้ายไปตามถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี ถึงสะพานข้ามทางรถไฟ กลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนนชัยพฤกษ์ แยกซ้ายไปตามถนนสวนผัก ผ่านสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๒ แยกขวาไปตามซอยสวนผัก ๓๒ ไปตามถนนบ้านคลองวัดสัก-บ้านวัดโคนอน ถนนเข้าวัดซองพลู จนสุดเส้นทางที่วัดซองพลู ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๙ ง/หน้า ๓๔๒/๑๔ มกราคม ๒๕๕๓
622500
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1967 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 299 ขอนแก่น - คอนสาร - บึงสามพัน
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๖๗ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๙๙ ขอนแก่น-คอนสาร-บึงสามพัน[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๒๑ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๙๙ ขอนแก่น-หล่มสัก เป็น ขอนแก่น-คอนสาร-บึงสามพัน และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงขอนแก่น-หล่มสัก ช่วงชุมแพ-บ้านทุ่งพระ และช่วงเกษตรสมบูรณ์-บ้านทิกแล้ง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๙๙ ขอนแก่น-คอนสาร-บึงสามพัน เป็น ขอนแก่น-คอนสาร-หล่มสัก โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงชุมแพ-บ้านเป้า เพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง และให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๓ ช่วง คือ ช่วงหล่มสัก-บ้านฟองใต้ ช่วงชุมแพ-บ้านทุ่งพระ และช่วงเกษตรสมบูรณ์-บ้านทิกแล้ง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๒๙๙ ขอนแก่น-คอนสาร-หล่มสัก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านอำเภอบ้านฝาง อำเภอหนองเรือ อำเภอชุมแพ บ้านโนนหัน ถึงบ้านน้ำพุ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ถึงอำเภอคอนสาร แล้วกลับตามเส้นทางเดิม ถึงบ้านน้ำพุ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านห้วยสนามทราย บ้านน้ำดุก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหล่มสัก ช่วงชุมแพ-บ้านหอย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอชุมแพ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านหนองแซง บ้านหนองใหญ่ บ้านไชยสอ ถึงทางแยกบ้านหอย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหอย ช่วงชุมแพ-บ้านโคกม่วง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอชุมแพ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านหนองแซง บ้านหนองใหญ่ บ้านไชยสอ ถึงบ้านโคกสูง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก. ๒๐๐๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกม่วง ช่วงชุมแพ-บ้านหนองศาลา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอชุมแพ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านหนองแซง บ้านหนองใหญ่ บ้านไชยสอ บ้านโคกสูง ถึงบ้านสัมพันธ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหนองสมอ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองศาลา ช่วงชุมแพ-บ้านหนองเสาเล้า เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอชุมแพ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านหนองแซง บ้านหนองใหญ่ บ้านไชยสอ บ้านโคกสูง บ้านสัมพันธ์ บ้านโนนตุ่น ถึงทางแยกบ้านหนองเสาเล้า แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหนองหว้า ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองเสาเล้า ช่วงชุมแพ-บ้านโนนสะอาด เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอชุมแพ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านหนองแซง บ้านหนองใหญ่ บ้านไชยสอ บ้านโคกสูง บ้านสัมพันธ์ บ้านโนนตุ่น ถึงบ้านหนองตะไก้ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหนองไฮ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนสะอาด ช่วงชุมแพ-บ้านอาจสามารถ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอชุมแพ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านหนองแซง บ้านหนองใหญ่ บ้านไชยสอ บ้านโคกสูง บ้านสัมพันธ์ บ้านโนนตุ่น ถึงบ้านหนองตะไก้ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก. ๒๐๐๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านอาจสามารถ ช่วงชุมแพ-บ้านโนนฟันเรือ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอชุมแพ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านหนองแซง บ้านหนองใหญ่ บ้านไชยสอ บ้านโคกสูง บ้านสัมพันธ์ บ้านโนนตุ่น บ้านหนองตะไก้ ถึงบ้านหนองโก แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนฟันเรือ ช่วงชุมแพ-น้ำหนาว เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอชุมแพ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านโนนหัน ถึงบ้านน้ำพุ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ถึงอำเภอคอนสาร แล้วกลับตามเส้นทางเดิม ถึงบ้านน้ำพุ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงบ้านห้วยสนามทราย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๑๖ ผ่านบ้านป่ารวก บ้านโคกมน บ้านกกกะบก บ้านนาพอสอง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอน้ำหนาว ช่วงชุมแพ-บ้านเป้า เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอชุมแพ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงบ้านน้ำพุ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕๕ ผ่านบ้านห้วยยาง ถึงบ้านร่องแสนคำ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๖๖ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเป้า ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๙ ง/หน้า ๓๓๙/๑๔ มกราคม ๒๕๕๓
622498
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1966 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1542 วงกลมโครงการเอื้ออาทรมีนบุรี - หทัยราษฎร์
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๖๖ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๕๔๒ วงกลมโครงการเอื้ออาทรมีนบุรี-หทัยราษฎร์[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๕๔๒ วงกลมโครงการเอื้ออาทรมีนบุรี-หทัยราษฎร์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๕๔๒ วงกลมโครงการเอื้ออาทรมีนบุรี-หทัยราษฎร์ เริ่มต้นจากโครงการเอื้ออาทรมีนบุรี ไปตามซอยรามอินทรา ๑๒๗ ถึงปากซอยรามอินทรา ๑๒๗ แยกซ้ายไปตามถนนสุวินทวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนหทัยราษฎร์ แยกซ้ายไปตามซอยหทัยราษฎร์ ๓ จนสุดเส้นทางที่โครงการเอื้ออาทรมีนบุรี ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๙ ง/หน้า ๓๓๘/๑๔ มกราคม ๒๕๕๓
622496
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1965 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารระหว่างประเทศ สายที่ 6 จังหวัดนครราชสีมา - นครหลวงเวียงจันทน์
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๖๕ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารระหว่างประเทศ สายที่ ๖ จังหวัดนครราชสีมา-นครหลวงเวียงจันทน์[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารระหว่างประเทศขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาระบบการขนส่งด้วยรถโดยสารประจำทางระหว่างประเทศ และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารระหว่างประเทศ สายที่ ๖ จังหวัดนครราชสีมา-นครหลวงเวียงจันทน์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๖ จังหวัดนครราชสีมา-นครหลวงเวียงจันทน์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๒ (สถานีรถปรับอากาศ) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี บ้านหนองสองห้อง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนเลี่ยงเมือง) ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีรถเมล์ตลาดเช้านครหลวงเวียงจันทน์ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๙ ง/หน้า ๓๓๗/๑๔ มกราคม ๒๕๕๓
622494
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดที่หยุดรถโดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดที่หยุดรถโดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดที่หยุดรถโดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร นั้น เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกได้มีการปรับปรุงโครงสร้างภายในตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งมีผลทำให้อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดที่หยุดรถโดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร บางตำแหน่งเปลี่ยนไป คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงประกาศฉบับดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ จึงให้ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดที่หยุดรถโดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ๑. ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการขนส่งผู้โดยสาร เป็นประธานอนุกรรมการ สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก ๒. ผู้แทนกองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นอนุกรรมการ ๓. ผู้แทนกองบังคับการตำรวจจราจร เป็นอนุกรรมการ ๔. ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นอนุกรรมการ ๕. ผู้แทนสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร เป็นอนุกรรมการ ๖. ผู้แทนกรมทางหลวงชนบท ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ เป็นอนุกรรมการ ๗. ผู้แทนองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เป็นอนุกรรมการ ๘. ผู้แทนแขวงการทาง กรมทางหลวง ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ เป็นอนุกรรมการ ๙. ผู้แทนสำนักงานบำรุงทาง กรมทางหลวง เป็นอนุกรรมการ ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ๑๐. หัวหน้าส่วนสถานีขนส่งผู้โดยสาร เป็นอนุกรรมการ สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก ๑๑. หัวหน้างานบริการการขนส่ง ส่วนสถานีขนส่งผู้โดยสาร เป็นอนุกรรมการ สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก และผู้ช่วยเลขานุการ ๑๒. นักวิชาการขนส่ง งานบริการการขนส่ง เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ส่วนสถานีขนส่งผู้โดยสาร สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาที่หยุดรถโดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่พิจารณาและดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนด ยกเลิก หรือย้ายที่หยุดรถโดยสารประจำทางในเขตรับผิดชอบตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด รวมทั้งติดต่อและประสานงานเกี่ยวกับการปักป้ายที่หยุดรถโดยสารประจำทาง การติดตั้งป้าย การทำเครื่องหมายจราจร และการอื่นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย และเมื่อคณะอนุกรรมการดังกล่าวได้พิจารณาเห็นสมควรเกี่ยวกับการกำหนด ยกเลิก หรือย้ายที่หยุดรถโดยสารประจำทางแล้ว ให้ถือว่าได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง แล้วรวบรวมเพื่อรายงานให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เพื่อทราบต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๙ ง/หน้า ๓๓๕/๑๔ มกราคม ๒๕๕๓
622492
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดที่หยุดรถโดยสารประจำจังหวัดทุกจังหวัดยกเว้นกรุงเทพมหานคร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดที่หยุดรถโดยสารประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาที่หยุดรถโดยสารประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร นั้น เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกได้มีการปรับปรุงโครงสร้างภายในตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งมีผลทำให้อนุกรรมการ ในคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดที่หยุดรถโดยสารประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร บางตำแหน่งเปลี่ยนไป คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงประกาศฉบับดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ จึงให้ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดที่หยุดรถโดยสารประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ๑. ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด เป็นประธานอนุกรรมการ ๒. ผู้แทนกองกำกับการ กองบังคับการตำรวจทางหลวง เป็นอนุกรรมการ ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ๓. ผู้แทนสำนักงานจังหวัด เป็นอนุกรรมการ ๔. ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นอนุกรรมการ ๕. ผู้แทนเทศบาล หรือเมืองพัทยา หรือองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นอนุกรรมการ ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ๖. ผู้แทนอำเภอ เป็นอนุกรรมการ ๗. ผู้แทนแขวงการทาง กรมทางหลวง ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ เป็นอนุกรรมการ ๘. ผู้แทนสำนักงานบำรุงทาง กรมทางหลวง ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ เป็นอนุกรรมการ ๙. ผู้แทนสำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัด ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ เป็นอนุกรรมการ ๑๐. ขนส่งจังหวัด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ๑๑. หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัด เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ให้คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดที่หยุดรถโดยสารประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่พิจารณากำหนด ยกเลิก หรือย้ายที่หยุดรถโดยสารประจำทางและรถขนาดเล็ก ภายในเขตรับผิดชอบตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด รวมทั้งติดต่อและประสานงานเกี่ยวกับการปักป้ายที่หยุดรถโดยสาร การติดตั้งป้าย การทำ เครื่องหมายจราจรและการอื่นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อคณะอนุกรรมการดังกล่าวได้พิจารณาเห็นสมควรเกี่ยวกับการกำหนด ยกเลิกหรือย้ายที่หยุดรถโดยสารประจำทางและรถขนาดเล็กแล้วให้ถือว่าได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ทางบกกลาง แล้วรวบรวมเพื่อรายงานให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเพื่อทราบต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๙ ง/หน้า ๓๓๓/๑๔ มกราคม ๒๕๕๓
622490
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางประจำจังหวัดทุกจังหวัดยกเว้นกรุงเทพมหานคร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไข ในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร นั้น เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกได้มีการปรับปรุงโครงสร้างภายในตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งมีผลทำให้อนุกรรมการ ในคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานครบางตำแหน่งเปลี่ยนไป คณะกรรมการควบคุม การขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงประกาศฉบับดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ จึงให้ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไข ในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ๑. ขนส่งจังหวัด เป็นประธานอนุกรรมการ ๒. ผู้แทนตำรวจภูธรจังหวัด เป็นอนุกรรมการ ๓. ผู้แทนแขวงการทาง หรือสำนักงานบำรุงทาง กรมทางหลวง เป็นอนุกรรมการ ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดตั้งอยู่ในเขตความรับผิดชอบ ๔. ผู้แทนหอการค้าจังหวัด เป็นอนุกรรมการ ๕. หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ๖. นักวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัด เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ให้คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ไม่ประจำทางประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ ๑. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการกำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งระหว่างจังหวัด ตามมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด เฉพาะผู้ขออนุญาตที่มีภูมิลำเนา หรือสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ภายในเขตจังหวัด และเมื่อนายทะเบียนกำหนดหรือปรับปรุงเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาต ประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของรายใดแล้ว ให้รวบรวมรายงานคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเพื่อทราบต่อไป ๒. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ตามมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๔ ประกอบมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศไทยกับประเทศคู่สัญญา เฉพาะผู้ขออนุญาตที่มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ภายในเขตจังหวัดและขอใช้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตประกอบการขนส่งฉบับเดิม และเมื่อนายทะเบียนต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ ประเภทการขนส่งไม่ประจำทางหรือการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของแล้ว ให้รวบรวมรายงานคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเพื่อทราบต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๙ ง/หน้า ๓๓๑/๑๔ มกราคม ๒๕๕๓
622488
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไข ในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ในเขตกรุงเทพมหานคร[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตกรุงเทพมหานคร นั้น เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกได้มีการปรับปรุงโครงสร้างภายในตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งมีผลทำให้อนุกรรมการ ในคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครบางตำแหน่งเปลี่ยนไป คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงประกาศฉบับดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ จึงให้ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไข ในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ๑. รองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ) กรมการขนส่งทางบก เป็นประธานอนุกรรมการ ๒. ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งสินค้า กรมการขนส่งทางบก เป็นอนุกรรมการ ๓. ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการขนส่งสินค้า เป็นอนุกรรมการ สำนักการขนส่งสินค้า กรมการขนส่งทางบก ๔. หัวหน้าส่วนประกอบการขนส่งสินค้า เป็นอนุกรรมการ สำนักการขนส่งสินค้า กรมการขนส่งทางบก ๕. หัวหน้ากลุ่มอำนวยการคณะกรรมการการขนส่ง เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก ๖. นักวิชาการขนส่ง กลุ่มอำนวยการคณะกรรมการการขนส่ง เป็นผู้ช่วยเลขานุการ สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก ในการประชุมพิจารณาเกี่ยวกับการประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ ให้ผู้อำนวยการ กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก เข้าร่วมประชุมในฐานะอนุกรรมการด้วย ให้คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ ๑ พิจารณาให้ความเห็นชอบในการกำหนดและปรับปรุงเงื่อนไข ตามมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ไว้ในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตกรุงเทพมหานครและ ระหว่างจังหวัดเฉพาะผู้ขออนุญาตที่มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ภายในเขตกรุงเทพมหานคร ๒. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการกำหนดและปรับปรุงเงื่อนไข ตามมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ไว้ในใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ๓. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการกำหนดและปรับปรุงเงื่อนไข ตามมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ไว้ในใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ๔. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ ตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประเภทการขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศไทย กับประเทศคู่สัญญา ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดและ ให้นำหลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งภายในประเทศมาใช้บังคับแก่การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศโดยอนุโลม เมื่อคณะอนุกรรมการได้พิจารณาเห็นสมควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศหรือกำหนดหรือปรับปรุงเงื่อนไขให้กับผู้ขอรายใดแล้ว ให้ถือว่าได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง และให้นายทะเบียนกลางออกใบอนุญาต หรือกำหนดหรือปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่ง แล้วแต่กรณี แล้วรวบรวมรายงานคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ทางบกกลางเพื่อทราบต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๙ ง/หน้า ๓๒๘/๑๔ มกราคม ๒๕๕๓
622486
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไข ในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด นั้น เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกได้มีการปรับปรุงโครงสร้างภายในตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งมีผลทำให้อนุกรรมการ ในคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัดบางตำแหน่งเปลี่ยนไป คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงประกาศฉบับดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ จึงให้ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไข ในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ประกอบด้วย ๑. อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นประธานอนุกรรมการ ๒. รองอธิบดี (ฝ่ายบริหาร) กรมการขนส่งทางบก เป็นรองประธานอนุกรรมการ ๓. ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก เป็นอนุกรรมการ ๔. หัวหน้าส่วนการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง เป็นอนุกรรมการ สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก ๕. หัวหน้าส่วนการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทาง เป็นอนุกรรมการ สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก ๖. หัวหน้ากลุ่มอำนวยการคณะกรรมการขนส่ง เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก ๗. นักวิชาการขนส่ง กลุ่มอำนวยการคณะกรรมการขนส่ง เป็นผู้ช่วยเลขานุการ สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก ในการประชุมพิจารณาเกี่ยวกับการประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ ให้ผู้อำนวยการ กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก เข้าร่วมประชุมในฐานะอนุกรรมการด้วย ให้คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ ๑. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการกำหนดและปรับปรุงเงื่อนไข ตามมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ไว้ในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ๒. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการกำหนดและปรับปรุงเงื่อนไข ตามมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ไว้ในใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ๓. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการกำหนดและปรับปรุงเงื่อนไข ตามมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ไว้ในใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ๔. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ ตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประเภทการขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศไทย กับประเทศคู่สัญญา ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดและ ให้นำหลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งภายในประเทศมาใช้บังคับแก่การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศโดยอนุโลม เมื่อคณะอนุกรรมการได้พิจารณาเห็นสมควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศหรือกำหนดหรือปรับปรุงเงื่อนไขให้กับผู้ขอรายใดแล้ว ให้ถือว่าได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง และให้นายทะเบียนกลางออกใบอนุญาต หรือกำหนดหรือปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งแล้วแต่กรณี แล้วรวบรวมรายงานคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ทางบกกลางเพื่อทราบต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๙ ง/หน้า ๓๒๕/๑๔ มกราคม ๒๕๕๓
622484
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง นั้น เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกได้มีการปรับปรุงโครงสร้างภายในตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งมีผลทำให้อนุกรรมการ ในคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลางบางตำแหน่งเปลี่ยนไป คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงประกาศฉบับดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ จึงให้ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ประกอบด้วย ๑. อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นประธานอนุกรรมการ ๒. รองอธิบดี (ฝ่ายบริหาร) กรมการขนส่งทางบก เป็นรองประธานอนุกรรมการ ๓. ผู้แทนกรมการปกครอง เป็นอนุกรรมการ ๔. ผู้แทนกรมทางหลวง เป็นอนุกรรมการ ๕. ผู้แทนกรมทางหลวงชนบท เป็นอนุกรรมการ ๖. ผู้แทนกองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นอนุกรรมการ ๗. ผู้แทนกองบังคับการตำรวจทางหลวง เป็นอนุกรรมการ ๘. ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก เป็นอนุกรรมการ ๙. ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก เป็นอนุกรรมการ ๑๐. ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมการขนส่งทางบก เป็นอนุกรรมการ ๑๑. ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งผู้โดยสาร สำนักการขนส่งผู้โดยสาร เป็นอนุกรรมการ กรมการขนส่งทางบก ๑๒. ผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก เป็นอนุกรรมการ ๑๓. หัวหน้าส่วนการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง เป็นอนุกรรมการ สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก ๑๔. หัวหน้ากลุ่มโครงข่ายเส้นทางและเงื่อนไขการเดินรถ เป็นอนุกรรมการ สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก ๑๕. หัวหน้ากลุ่มอำนวยการคณะกรรมการการขนส่ง เป็นอนุกรรมการ สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก ๑๖. นักวิชาการขนส่ง กลุ่มอำนวยการคณะกรรมการการขนส่ง เป็นผู้ช่วยเลขานุการ สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก ให้คณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ ๑ พิจารณาเสนอความเห็นในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับกิจการขนส่งทางบกต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ๒. พิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับการกำหนด ปรับปรุง และยกเลิกเส้นทางรถโดยสารประจำทาง ๓. พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมอบหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๙ ง/หน้า ๓๒๓/๑๔ มกราคม ๒๕๕๓
622482
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง นั้น เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกได้มีการปรับปรุงโครงสร้างภายในตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งมีผลทำให้ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง บางตำแหน่งเปลี่ยนไป คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงประกาศฉบับดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ จึงให้แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกอบด้วย ๑. รองอธิบดี (ฝ่ายบริหาร) กรมการขนส่งทางบก ๒. รองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ) กรมการขนส่งทางบก ๓. ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก ๔. หัวหน้ากลุ่มอำนวยการคณะกรรมการขนส่ง สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๙ ง/หน้า ๓๒๒/๑๔ มกราคม ๒๕๕๓
619476
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1960 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 จำนวน 3 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ จำนวน ๓ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๕๑๙ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๓๑ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสาร สายที่ ๑๖๑ สระบุรี-ลำนารายณ์ เป็น สระบุรี-บำเหน็จณรงค์ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๔๐ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๒๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร สายที่ ๓๒๖ วิเศษชัยชาญ-ผักไห่ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๗๖๑ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร สายที่ ๓๕๘ สระบุรี-พระนครศรีอยุธยา นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าวให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้อนุมัติในหลักการไว้แล้ว ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๖๑ สระบุรี-บำเหน็จณรงค์ สายที่ ๓๒๖ วิเศษชัยชาญ-ผักไห่ และสายที่ ๓๕๘ สระบุรี-พระนครศรีอยุธยา โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๖๑ สระบุรี-บำเหน็จณรงค์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสระบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงแยกพุแค แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ ผ่านบ้านม่วงค่อม ถึงอำเภอชัยบาดาล (ลำนารายณ์) แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ผ่านบ้านวะตะแบก บ้านห้วยยายจิ๋ว ถึงบ้านคำปิง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๖๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบำเหน็จณรงค์ สายที่ ๓๒๖ วิเศษชัยชาญ-ผักไห่ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวิเศษชัยชาญ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๕๔ ผ่านวัดหลวง วัดสนาม บ้านทำนบ บ้านสี่ร้อย ประตูน้ำคลองหนาก วัดบางจัก วัดหน้าโคก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอผักไห่ สายที่ ๕๓๘ สระบุรี-พระนครศรีอยุธยา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสระบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงตลาดหินกอง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๙ ถึงอำเภอภาชี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๖๓ ผ่านอำเภอนครหลวง ถึงบ้านบ่อโพง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๓๗ ง/หน้า ๒๘๘/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
619474
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1959 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 337 ปทุมธานี-นนทบุรี
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๕๙ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๓๗ ปทุมธานี-นนทบุรี[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๔๘ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๓๗ ปทุมธานี-นนทบุรี ให้มีเส้นทางแยกช่วงปทุมธานี-ถนนกาญจนาภิเษก-นนทบุรี เพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๓๗ ปทุมธานี-นนทบุรี สำหรับเส้นทางช่วงปทุมธานี-ถนนกาญจนาภิเษก-นนทบุรี เป็น ปทุมธานี-ถนนกาญจนาภิเษก-ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์งามวงศ์วาน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๓๓๗ ปทุมธานี-นนทบุรี เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดปทุมธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓๕ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑๒ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖ ผ่านอำเภอลาดหลุมแก้ว ถึงสี่แยกนพวงศ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ (ถนนกาญจนาภิเษก) แยกซ้ายไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ ถึงสี่แยกแคราย แยกขวาไปตามถนนติวานนท์ แยกขวาไปตามถนนประชาราษฎร์ แยกซ้ายไปตามถนนพิบูลสงคราม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดนนทบุรี (วัดนครอินทร์) ช่วงปทุมธานี-ถนนกาญจนาภิเษก-ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์งามวงศ์วาน เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดปทุมธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓๕ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑๒ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ (ถนนกาญจนาภิเษก) แยกซ้ายไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนงามวงศ์วาน ไปสุดเส้นทางที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์งามวงศ์วาน ช่วงปทุมธานี-สำนักงานขนส่งจังหวัดปทุมธานี เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดปทุมธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓๕ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑๒ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖ ถึง กม. ที่ ๔.๕ แยกขวาไปตามซอยกิตติจิตต์ ผ่านสำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี หน่วยปฏิบัติการพิเศษจังหวัดปทุมธานี ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสำนักงานขนส่งจังหวัดปทุมธานี ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๓๗ ง/หน้า ๒๘๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
619472
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1958 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 556 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน)
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๕๘ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๕๖ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน)[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๑๘ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๕๖ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน) นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๕๖ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน) เป็น สายที่ ต. ๑๒๖ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน) โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ต. ๑๒๖ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน) เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปตามทางพิเศษระหว่างเมือง (กรุงเทพฯ-ชลบุรีสายใหม่) ไปตามทางพิเศษศรีรัช ลงทางพิเศษที่ด่านพหลโยธิน ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามถนนราชวิถี แยกซ้ายไปตามถนนสวรรคโลก แยกขวาไปตามถนนหลานหลวง ข้ามสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ไปตามถนนราชดำเนินกลาง ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนบรมราชชนนี ไปสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อร่าม ก้อนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๓๗ ง/หน้า ๒๘๕/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
618570
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ป้องกันความร้อนหรือการติดไฟของระบบไอเสีย ของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ พ.ศ. 2552
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ป้องกันความร้อนหรือการติดไฟของระบบไอเสีย ของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อให้อุปกรณ์ป้องกันความร้อนหรือการติดไฟของระบบไอเสียของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของมีมาตรฐานความปลอดภัยในการใช้งานมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ (๑) (ฎ) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ป้องกันความร้อนหรือการติดไฟของระบบไอเสียของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “รถ” หมายความว่า รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๑ (รถกระบะบรรทุก) ลักษณะ ๒ (รถตู้บรรทุก) ลักษณะ ๓ (รถบรรทุกของเหลว) ลักษณะ ๔ (รถบรรทุกวัสดุอันตราย) ลักษณะ ๕ (รถบรรทุกเฉพาะกิจ) และลักษณะ ๙ (รถลากจูง) “ระบบไอเสีย” หมายความว่า ระบบระบายไอเสียจากเครื่องกำเนิดพลังงานของรถ ได้แก่ ท่อไอเสีย อุปกรณ์ระงับเสียง อุปกรณ์ป้องกันความร้อนหรือการติดไฟ และอุปกรณ์อื่นใดที่ประกอบอยู่ในระบบไอเสีย ข้อ ๒ อุปกรณ์ป้องกันความร้อนหรือการติดไฟต้องสามารถป้องกันอันตรายจากความร้อนหรือการติดไฟที่เกิดจากระบบไอเสียของรถ โดยอาจเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของระบบไอเสีย หรือเป็นอุปกรณ์ แยกต่างหากจากระบบไอเสียของรถก็ได้ ข้อ ๓ ระบบไอเสียของรถต้องมีลักษณะ ดังนี้ (๑) ติดตั้งในตำแหน่งและระยะที่เหมาะสมที่สามารถควบคุมหรือป้องกันอันตรายจากความร้อนหรือการติดไฟที่อาจเกิดกับบุคคล ตัวรถ หรือสิ่งของที่บรรทุกได้ กรณีที่ติดตั้งผ่านใต้ถังเชื้อเพลิงของรถ หรือใต้ตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๔ ต้องติดตั้งในตำแหน่งที่มีระยะห่างจากถังเชื้อเพลิงของรถ หรือตัวถังส่วนที่บรรทุกอย่างน้อย ๑๐ เซนติเมตร เว้นแต่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากความร้อนหรือการติดไฟ (๒) ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดยื่นออกเกินความกว้างของรถ (๓) ส่วนปลายของท่อไอเสียต้องทำให้ทิศทางของไอเสียพุ่งออกไปในแนวระนาบหรือมีมุมกดไม่เกิน ๔๕ องศา ในกรณีที่มีการระบายไอเสียออกทางด้านขวาของรถ ส่วนปลายของท่อไอเสียเมื่อวัดจากพื้นราบถึงส่วนที่สูงที่สุดต้องไม่เกิน ๗๕ เซนติเมตร กรณีที่มีการระบายไอเสียออกในแนวดิ่ง ส่วนปลายของท่อไอเสียต้องอยู่สูงกว่าห้องผู้ขับรถไม่น้อยกว่า ๑๕ เซนติเมตร และต้องมีทิศทางของไอเสียพุ่งออกไปไม่ต่ำกว่าแนวระนาบ ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๙ ง/หน้า ๖๑/๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๒
618558
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1957 (พ.ศ. 2552) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่องจำนวน 3 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๕๗ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน ๓ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๑๕๙ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ประกาศ ณ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๒ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร (รถตู้ปรับอากาศ) สายที่ ต. ๓๓ ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์ปาร์คบางแค-มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) สายที่ ต. ๖๖ สีลม-เตาปูน (ทางด่วน) และสายที่ ๗๒ ท่าน้ำสี่พระยา-มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) (ทางด่วน) นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๑ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๙ ง/หน้า ๓๐๖/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒
618556
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1956 (พ.ศ. 2552) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 250 มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๕๖ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๕๐ มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๔๖ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๕๐ มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๑ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๙ ง/หน้า ๓๐๕/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒
618554
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1955 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 618 พิจิตร-พิษณุโลก (ข)
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๕๕ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๑๘ พิจิตร-พิษณุโลก (ข)[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๓๘๗ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๒๙ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๑๘ พิจิตร-พิษณุโลก (ข) ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงพิจิตร-บ้านหนองหลุม นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๑๘ พิจิตร-พิษณุโลก (ข) ให้ยกเลิกเส้นทางแยกช่วงพิจิตร-บ้านหนองหลุม โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๖๑๘ พิจิตร-พิษณุโลก (ข) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิจิตร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๕ ผ่านอำเภอสามง่าม ถึงสี่แยกปลวกสูง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๗ ผ่านทางแยกอำเภอบางระกำ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๙ ง/หน้า ๓๐๔/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒
618552
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1954 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 588 อุบลราชธานี-ระยอง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๕๔ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๘๘ อุบลราชธานี-ระยอง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๔๖ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๘๘ อุบลราชธานี-ระยอง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๘๘ อุบลราชธานี-ระยอง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงอุบลราชธานี-นางรอง-ระยอง เพิ่มขึ้น ๑ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๕๘๘ อุบลราชธานี - ระยอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ถึงอำเภอวารินชำราบ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖ ผ่านอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอสำโรงทาบ อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ถึงจังหวัดบุรีรัมย์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๘ ถึงบ้านกระสัง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖ ผ่านอำเภอลำปลายมาศ อำเภอห้วยแถลง อำเภอจักราช แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔ ถึงจังหวัดนครราชสีมา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านอำเภอปักธงชัย สี่แยกกบินทร์บุรี อำเภอพนมสารคาม ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา เมืองพัทยา อำเภอสัตหีบ อำเภอบ้านฉาง บ้านมาบตาพุด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ช่วงอุบลราชธานี-นางรอง-ระยอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ถึงอำเภอวารินชำราบ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖ ผ่านอำเภอกันทรารมย์ ถึงจังหวัดศรีสะเกษ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๐ ผ่านอำเภอขุขันธ์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านอำเภอสังขะ อำเภอปราสาท อำเภอประโคนชัย อำเภอนางรอง อำเภอหนองกี่ ทางแยกอำเภอโชคชัย ถึงทางแยกอำเภอปังธงชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านอำเภอปักธงชัย สี่แยกกบินทร์บุรี อำเภอพนมสารคาม ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา เมืองพัทยา อำเภอสัตหีบ อำเภอบ้านฉาง บ้านมาบตาพุด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๙ ง/หน้า ๓๐๒/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒
618550
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1953 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 587อุบลราชธานี-เชียงใหม่
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๕๓ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๘๗ อุบลราชธานี-เชียงใหม่[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๔๖ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๘๗ อุบลราชธานี-เชียงใหม่ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๘๗ อุบลราชธานี-เชียงใหม่ ให้มีรายละเอียดเส้นทางช่วงอุบลราชธานี-รัตนบุรี-เชียงใหม่ เพิ่มขึ้น ๑ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๕๘๗ อุบลราชธานี-เชียงใหม่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ถึงอำเภอวารินชำราบ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖ ผ่านอำเภอกันทรารมย์ ถึงจังหวัดศรีสะเกษ อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอสำโรงทาบ อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ถึงจังหวัดบุรีรัมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๗๔ ผ่านอำเภอคูเมือง ถึงอำเภอพุทไธสง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ ผ่านอำเภอประทาย อำเภอบัวใหญ่ ถึงจังหวัดชัยภูมิ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕ ผ่านอำเภอหนองบัวระเหว บ้านวังกระทะ บ้านราหุล ถึงสี่แยกอำเภอหนองบัว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ผ่านบ้านเขาทราย ถึงอำเภอวังทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงจังหวัดพิษณุโลก แล้วกลับตามเส้นทางเดิม ถึงทางแยกบ้านร้องโพธิ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงบ้านบุ่งวังงิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๙ ถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๕ ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ผ่านอำเภอเด่นชัย ถึงบ้านปางเคาะ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ผ่านจังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ ช่วงอุบลราชธานี-รัตนบุรี-เชียงใหม่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ถึงอำเภอวารินชำราบ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖ ผ่านอำเภอกันทรารมย์ ถึงบ้านส้มป่อยน้อย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๗๖ ผ่านอำเภอรัตนบุรี ถึงอำเภอท่าตูม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ถึงบ้านตาฮะ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๘๑ ผ่านอำเภอชุมพลบุรี ถึงอำเภอพุทไธสง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ ผ่านอำเภอประทาย อำเภอบัวใหญ่ ถึงจังหวัดชัยภูมิ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕ ผ่านอำเภอหนองบัวระเหว บ้านวังกระทะ บ้านราหุล ถึงสี่แยกอำเภอหนองบัว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ผ่านบ้านเขาทราย ถึงอำเภอวังทอง แยกซ้าย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงจังหวัดพิษณุโลก แล้วกลับตามเส้นทางเดิม ถึงทางแยกบ้านร้องโพธิ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงบ้านบุ่งวังงิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๙ ถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๕ ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ผ่านอำเภอเด่นชัย ถึงบ้านปางเคาะ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ผ่านจังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๙ ง/หน้า ๓๐๐/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒
618548
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1952 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 216 ขอนแก่น-หนองเรือ-แก้งคร้อ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๕๒ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๑๖ ขอนแก่น-หนองเรือ-แก้งคร้อ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๘๔ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ประกาศ ณ วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๑ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๑๖ ขอนแก่น-หนองเรือ-แก้งคร้อ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๑๖ ขอนแก่น-หนองเรือ-แก้งคร้อ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงขอนแก่น-บ้านฝาง-บ้านหนองเชียงซุย และช่วงขอนแก่น-บ้านฝาง-บ้านป่าหม้อ เพิ่มขึ้นอีก ๒ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๒๑๖ ขอนแก่น-หนองเรือ-แก้งคร้อ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านทุ่ม อำเภอบ้านฝาง บ้านดอนโมง บ้านท่าศาลา ถึงอำเภอหนองเรือ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๘๗ ผ่านบ้านหนองกุงใหญ่ บ้านหนองกุงน้อย บ้านเม็ง บ้านหนองโน บ้านสว่าง บ้านดอนดู่ บ้านนายม ถึงบ้านสามพาด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๘๙ ผ่านบ้านสระพัง บ้านหนองแฝก บ้านเต่า บ้านหินลาด บ้านหนองคู บ้านหนองหญ้าม้า บ้านดอนเค็ง บ้านหนองสังข์ บ้านเตาถ่าน บ้านแก้ง บ้านสมัคร บ้านซำมูลนาค ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอแก้งคร้อ ช่วงขอนแก่น-บ้านโนนบ่อ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านทุ่ม ถึงทางแยกไปบ้านแดงน้อย แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านแดงน้อย บ้านคร้อ บ้านหนองสวรรค์ บ้านหนองชาด บ้านเขื่อน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนบ่อ ช่วงขอนแก่น-บ้านหนองคลองใหญ่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านทุ่ม อำเภอบ้านฝาง ถึงบ้านหนองบัว แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหนองหว้า บ้านโนนฆ้อง บ้านหัวช้าง บ้านโนนตุ่น บ้านป่ามะนาว บ้านกระเดื่อง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองคลองใหญ่ ช่วงขอนแก่น-บ้านดอนดู่-บ้านป่าหวายนั่ง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านทุ่ม อำเภอบ้านฝาง บ้านหนองบัว ถึงบ้านดอนดู่ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านนาฝาย บ้านบะยาว บ้านโคกงาม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารบ้านป่าหวายนั่ง ช่วงหนองเรือ-เขื่อนอุบลรัตน์ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหนองเรือ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงบ้านดอนโมง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก. ๓๑๑๒ ถึงบ้านกงกลาง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านกงเก่า บ้านหนองแสง บ้านหนองผือ บ้านกอก บ้านหินกอง บ้านภูเขาวง บ้านแก่งศิลา บ้านโนนสวรรค์ บ้านภูคำเบ้า บ้านฝายหิน บ้านตลาดท่าปลา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดเขื่อนอุบลรัตน์ ช่วงขอนแก่น-บ้านดอนดู่-เขื่อนอุบลรัตน์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านทุ่ม อำเภอบ้านฝาง บ้านหนองบัว ถึงบ้านดอนดู่ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านนาฝาย ทางแยกบ้านหนองแสง ผ่านบ้านหนองผือ บ้านกอก บ้านหินกอง บ้านภูเขาวง บ้านแก่งศิลา บ้านโนนสวรรค์ บ้านภูคำเบ้า บ้านฝายหิน บ้านตลาดท่าปลา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทาง ตลาดเขื่อนอุบลรัตน์ ช่วงขอนแก่น-บ้านวังโพน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านทุ่ม อำเภอบ้านฝาง บ้านดอนดู่ ถึงบ้านโสกม่วง แยกซ้าย ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก. ๓๑๑๒ (สายบ้านโสกม่วง-บ้านหนองอีเริง) ผ่านบ้านหนองอีเริง บ้านหินตั้ง บ้านหินฮาว บ้านหินกอง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวังโพน ช่วงขอนแก่น-บ้านกุดขอนแก่น เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านทุ่ม อำเภอบ้านฝาง บ้านดอนดู่ บ้านดอนโมง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก. ๒๐๑๕ ผ่านบ้านท่าลี่ บ้านกงกลาง บ้านเปือย บ้านหนองเม็ก บ้านหนองทุ่ม บ้านดอนหัน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกุดขอนแก่น ช่วงขอนแก่น-บ้านฝาง-บ้านหนองเซียงซุย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านทุ่ม ถึงสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านฝาง ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก. ๔๐๑๙ ถึงบ้านม่วงโป้ ผ่านบ้านแก่นเท่า บ้านโคกกว้าง บ้านโนนค้อ บ้านโคกงาม ถึงสี่แยกบ้านคำหญ้าแดง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ถึงบ้านป่าหวายนั่ง ผ่านบ้านสว่าง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทาง บ้านหนองเซียงซุย ช่วงขอนแก่น-บ้านฝาง-บ้านป่าหม้อ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านทุ่ม ถึงสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านฝาง ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก. ๒๐๑๗ ผ่านบ้านหัวบึง บ้านโคกสี บ้านหนองแวง บ้านสร้างแก้ว บ้านโนนคูณ บ้านหนองสำโรง บ้านกระเดื่อง บ้านหนองคลองใหญ่ บ้านหนองคู ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านป่าหม้อ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๙ ง/หน้า ๒๙๗/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒
618546
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1951 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 จำนวน 4 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๕๑ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ จำนวน ๔ เส้นทาง[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ จำนวน ๔ เส้นทาง คือ สายที่ ๗๗๘ ตรัง-สงขลา สายที่ ๗๗๙ ภูเก็ต-เชียงใหม่ สายที่ ๗๘๐ ภูเก็ต-เชียงราย และสายที่ ๘๓๒ อุบลราชธานี-ภูเก็ต โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๗๗๘ ตรัง-สงขลา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตรัง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่าน อำเภอนาโยง บ้านกระช่อง บ้านนาวง จังหวัดพัทลุง ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๔๗ ผ่านบ้านแร่ ถึงบ้านลำปำ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ๔๐๐๗ ผ่านบ้านปากประเหนือ บ้านชายคลอง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พ.ท. ๓๐๓๗ ถึงบ้านหัวป่า แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ๔๐๑๐ ผ่านบ้านปากบาง บ้านคลองไผ่ ถึงอำเภอระโนด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ ผ่านอำเภอสทิงพระ อำเภอสิงหนคร บ้านเขาแดง บ้านเกาะยอ ถึงแยกบ้านน้ำกระจาย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๗ ถึงสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสงขลา สายที่ ๗๗๙ ภูเก็ต-เชียงใหม่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒ ผ่านอำเภอถลาง ถึงสามแยกโคกกลอย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา อำเภอทับปุด ถึงแยกปากลาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ผ่านบ้านเขาต่อ บ้านทับคริสต์ อำเภอบ้านตาขุน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ถึงแยกปฐมพร ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี ถึงแยกวังมะนาว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ ผ่านจังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ (ถนนกาญจนาภิเษก) ผ่านอำเภอบางบัวทอง ถึงทางแยกวงแหวนรอบนอก (ตะวันตก) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ผ่านทางแยกเข้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางแยกเข้าจังหวัดอ่างทอง ทางแยกเข้าจังหวัดสิงห์บุรี ถึงทางแยกเข้าจังหวัดชัยนาท ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ สายที่ ๗๘๐ ภูเก็ต-เชียงราย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒ ผ่านอำเภอถลาง ถึงสามแยกโคกกลอย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา อำเภอทับปุด ถึงแยกปากลาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ผ่านบ้านเขาต่อ บ้านทับคริสต์ อำเภอบ้านตาขุน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ถึงแยกปฐมพร ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี ถึงแยกวังมะนาว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ ผ่านจังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ (ถนนกาญจนาภิเษก) ผ่านอำเภอบางบัวทอง ถึงทางแยกวงแหวนรอบนอก (ตะวันตก) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ผ่านทางแยกเข้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางแยกเข้าจังหวัดอ่างทอง ทางแยกเข้าจังหวัดสิงห์บุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ผ่านทางแยกเข้าอำเภอตากฟ้า บ้านเขาทราย อำเภอวังทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงจังหวัดพิษณุโลก แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ผ่านจังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอเด่นชัย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ผ่านจังหวัดแพร่ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านอำเภองาว จังหวัดพะเยา อำเภอพาน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย สายที่ ๘๓๒ อุบลราชธานี-ภูเก็ต เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ถึงอำเภอวารินชำราบ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖ ผ่านอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ถึงจังหวัดบุรีรัมย์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๘ ถึงบ้านกระสัง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖ ผ่านอำเภอลำปลายมาศ อำเภอจักราช แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔ ถึงจังหวัดนครราชสีมา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ ผ่านแยกอำเภอปากช่อง ถึงจังหวัดสระบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงทางแยกต่างระดับบางปะอิน แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ผ่านอำเภอบางบัวทอง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม ถึงสามแยกวังมะนาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงแยกปฐมพร ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ผ่านอำเภอหลังสวน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านอำเภอบ้านตาขุน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภอทับปุด จังหวัดพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒ ผ่านอำเภอถลาง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๙ ง/หน้า ๓๙๔/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒
617896
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ 48 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๔๘ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตากได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อทดแทนเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็กเดิมที่ยกเลิก ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดตาก จำนวน ๑ เส้นทาง และหมวด ๔ จังหวัดตาก จำนวน ๕ เส้นทาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังนี้ หมวด ๑ สายที่ ๓ แม่สอด-ริมเมย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางเทศบาลเมืองแม่สอด ไปตามถนนประสาทวิถี แยกซ้ายไปตามถนนอินทรคีรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านแม่ตาว สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางริมเมย ช่วงแม่สอด-บ้านวังตะเคียน เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางเทศบาลเมืองแม่สอด ไปตามถนนประสาทวิถี แยกซ้ายไปตามถนนอินทรคีรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านแม่ตาว สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ. ตก. ๐๗๐๒๕ แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ. ตก. ๐๗๐๒๗ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวังตะเคียน ช่วงแม่สอด-บ้านท่าอาจ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางเทศบาลเมืองแม่สอด ไปตามถนนประสาทวิถี แยกซ้ายไปตามถนนอินทรคีรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านแม่ตาว สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ. ตก. ๐๗๐๒๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ. ตก. ๐๗๐๒๖ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าอาจ ช่วงแม่สอด-บ้านห้วยม่วง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางเทศบาลเมืองแม่สอด ไปตามถนนประสาทวิถี แยกซ้ายไปตามถนนอินทรคีรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านแม่ตาว สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาลตำบลท่าสายลวด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยม่วง หมวด ๔ สายที่ ๒๖๐๖ แม่สอด-บ้านแม่จะเรา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ไปตามถนนอินทรคีรี แยกซ้ายไปตามถนนสวรรค์วิถี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๕ ผ่านบ้านแม่ปะ บ้านแม่กึ้ดหลวง บ้านห้วยบง แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น (อบต. แม่จะเรา) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแม่จะเรา ช่วงแม่สอด-บ้านแม่กาษา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ไปตามถนนอินทรคีรี แยกซ้ายไปตามถนนสวรรค์วิถี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๕ ผ่านบ้านแม่ปะ บ้านแม่กึ้ดหลวง แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ. ตก. ๐๗๐๒๘ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแม่กาษา ช่วงแม่สอด-บ้านป่าไร่เหนือ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ไปตามถนนอินทรคีรี แยกซ้ายไปตามถนนสวรรค์วิถี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๕ ผ่านบ้านแม่ปะ บ้านแม่กึ้ดหลวง บ้านห้วยบง แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น (อบต. แม่จะเรา) แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ. ตก. ๐๘๐๓๐ ผ่านบ้านทุ่งมะขามป้อม บ้านสันป่าไร่ บ้านจบปิ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านป่าไร่เหนือ ช่วงแม่สอด-บ้านต้นผึ้ง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ไปตามถนนอินทรคีรี แยกซ้ายไปตามถนนสวรรค์วิถี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๕ ผ่านบ้านแม่ปะ บ้านแม่กึ้ดหลวง บ้านห้วยบง แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น (อบต. แม่จะเรา) แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ. ตก. ๐๘๐๓๐ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านต้นผึ้ง หมวด ๔ สายที่ ๒๖๐๗ แม่สอด-บ้านแม่ละเมา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น (อบต. แม่ละเมา) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแม่ละเมา หมวด ๔ สายที่ ๒๖๐๘ แม่สอด-บ้านวังผา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ไปตามถนนอินทรคีรี แยกซ้ายไปตามถนนสวรรค์วิถี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ตก. ๓๐๐๒ ผ่านบ้านห้วยกะโหลก บ้านวังแก้ว ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวังผา หมวด ๔ สายที่ ๒๖๐๙ อุ้มผาง-บ้านเปิ่งเคลิ่ง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภออุ้มผาง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๐ ผ่านบ้านแม่กลอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๖๗ ผ่านบ้านแม่กลองใหม่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๘๘ ผ่านบ้านเดลลอคี บ้านแม่จัน บ้านนุเซะโปล้ บ้านนุโพ บ้านกุยเลอตอ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเปิ่งเคลิ่ง หมวด ๔ สายที่ ๒๖๑๐ แม่สอด-บ้านวาเล่ย์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ไปตามถนนอินทรคีรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๐ ผ่านบ้านหัวฝาย บ้านค้างภิบาล บ้านใหม่ บ้านแม่กุน้อย บ้านผาลาด บ้านห้วยผักหละ บ้านห้วยไม้แป้น บ้านเจดีย์โค๊ะ บ้านซอโอ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๐๖ ผ่านอำเภอพบพระ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวาเล่ย์ ช่วงแม่สอด-บ้านห้วยหมี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ไปตามถนนอินทรคีรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๐ ผ่านบ้านหัวฝาย บ้านค้างภิบาล บ้านใหม่ บ้านแม่กุน้อย บ้านผาลาด บ้านห้วยผักหละ บ้านห้วยไม้แป้น บ้านเจดีย์โค๊ะ บ้านซอโอ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๐๖ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ตก. ๔๐๐๘ ผ่านบ้านช่องแคบ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยหมี ช่วงแม่สอด-บ้านแม่โกนเกน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ไปตามถนนอินทรคีรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๐ ผ่านบ้านหัวฝาย บ้านค้างภิบาล บ้านใหม่ บ้านแม่กุน้อย บ้านผาลาด บ้านห้วยผักหละ แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น (อบต. มหาวัน) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแม่โกนเกน ช่วงแม่สอด-บ้านผาลาด (ผ่านบ้านแม่ตาว) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ไปตามถนนอินทรคีรี แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ. ตก. ๐๗๐๒๑ ผ่านบ้านแม่ตาวกลาง บ้านแม่ตาวแพะ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๐ ผ่านบ้านแม่กุน้อย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านผาลาด ช่วงแม่สอด-บ้านผาลาด (ผ่านบ้านค้างภิบาล) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ไปตามถนนอินทรคีรี แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ. ตก. ๐๗๐๒๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๐ ผ่านบ้านค้างภิบาล บ้านใหม่ บ้านแม่กุน้อย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านผาลาด ช่วงแม่สอด-บ้านหัวฝาย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ไปตามถนนอินทรคีรี ผ่านบ้านรังแร้ง ตรงไปตามทางหลวงท้องถิ่น (อบต. พระธาตุผาแดง) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหัวฝาย ช่วงแม่สอด-บ้านแม่กุหลวง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ไปตามถนนอินทรคีรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๐ ผ่านบ้านหัวฝาย บ้านค้างภิบาล บ้านใหม่ บ้านแม่กุน้อย แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ. ตก. ๐๗๐๕๘ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแม่กุหลวง ช่วงแม่สอด-บ้านพะดี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ไปตามถนนอินทรคีรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๐ ผ่านบ้านหัวฝาย บ้านค้างภิบาล บ้านใหม่ บ้านแม่กุน้อย บ้านผาลาด บ้านห้วยผักหละ บ้านห้วยไม้แป้น บ้านเจดีย์โค๊ะ บ้านซอโอ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๐๖ ถึงทางแยก กม. ที่ ๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ตก. ๔๐๐๗ ผ่านบ้านรวมไทยพัฒนา ๑๘ บ้านรวมไทยพัฒนา ๙ บ้านรวมไทยพัฒนา ๑๔ บ้านรวมไทยพัฒนา ๘ บ้านรวมไทยพัฒนา ๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านพะดี ช่วงแม่สอด-บ้านห้วยน้ำนัก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ไปตามถนนอินทรคีรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๐ ผ่านบ้านหัวฝาย บ้านค้างภิบาล บ้านใหม่ บ้านแม่กุน้อย บ้านผาลาด บ้านห้วยผักหละ บ้านห้วยไม้แป้น แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ตก. ๔๐๑๔ ผ่านบ้านห้วยหมี บ้านช่องแคบ ไปตามถนนทางหลวงชนบทหมายเลข ตก. ๔๐๐๘ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยน้ำนัก ช่วงแม่สอด-บ้านหมื่นฤาชัย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ไปตามถนนอินทรคีรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๐ ผ่านบ้านหัวฝาย บ้านค้างภิบาล บ้านใหม่ บ้านแม่กุน้อย บ้านผาลาด บ้านห้วยผักหละ บ้านห้วยไม้แป้น บ้านเจดีย์โค๊ะ บ้านซอโอ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๐๖ ผ่านอำเภอพบพระ แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น (อบต. พบพระ) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหมื่นฤาชัย ช่วงแม่สอด-บ้านมอเกอร์ไทย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ไปตามถนนอินทรคีรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๐ ผ่านบ้านหัวฝาย บ้านค้างภิบาล บ้านใหม่ บ้านแม่กุน้อย บ้านผาลาด บ้านห้วยผักหละ บ้านห้วยไม้แป้น บ้านเจดีย์โค๊ะ บ้านซอโอ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๐๖ ผ่านอำเภอพบพระ บ้านหมื่นฤาชัย แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น (อบต. พบพระ) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านมอเกอร์ไทย ช่วงแม่สอด-บ้านแม่ออกฮู เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ไปตามถนนอินทรคีรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๐ ผ่านบ้านหัวฝาย บ้านค้างภิบาล บ้านใหม่ บ้านแม่กุน้อย บ้านผาลาด บ้านห้วยผักหละ บ้านห้วยไม้แป้น บ้านเจดีย์โค๊ะ บ้านซอโอ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๐๖ ผ่านอำเภอพบพระ ทางแยกบ้านหมื่นฤาชัย ทางแยกบ้านมอเกอร์ไทย แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น (อบต. วาเล่ย์) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแม่ออกฮู ช่วงแม่สอด-บ้านยะพอ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ไปตามถนนอินทรคีรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๐ ผ่านบ้านหัวฝาย บ้านค้างภิบาล บ้านใหม่ บ้านแม่กุน้อย บ้านผาลาด บ้านห้วยผักหละ บ้านห้วยไม้แป้น บ้านเจดีย์โค๊ะ บ้านซอโอ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๐๖ ผ่านอำเภอพบพระ ทางแยกบ้านหมื่นฤาชัย ทางแยกบ้านมอเกอร์ไทย บ้านแม่ออกฮู แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น (อบต. วาเล่ย์) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านยะพอ ช่วงแม่สอด-บ้านผาเด๊ะ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ไปตามถนนอินทรคีรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๐ ผ่านบ้านหัวฝาย บ้านค้างภิบาล บ้านใหม่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น (อบต. พระธาตุผาแดง) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านผาเด๊ะ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ คมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๕ ง/หน้า ๒๔๕/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
617894
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาญจนบุรี ฉบับที่ 53 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกาญจนบุรี ฉบับที่ ๕๓ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาญจนบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาญจนบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๐ และการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งที่ ๒๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดกาญจนบุรี สายที่ ๘๕๖๑ ด่านมะขามเตี้ย-บ้านหนองสะแกรวม-บ้านหนองปากดง โดยให้ใช้รายละเอียด ดังนี้ สายที่ ๘๕๖๑ ด่านมะขามเตี้ย-บ้านหนองสะแกรวม-บ้านหนองปากดง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอด่านมะขามเตี้ย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๖๑ ผ่านบ้านหนองหัววัว ตรงไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ๔๐๒๘ ผ่านบ้านหนองผู้เฒ่า บ้านหนองจอก บ้านหนองสะแกรวม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๗๐ ถึงบ้านโป่งนก แยกซ้ายไปตามถนนโยธาธิการหมายเลข ๓๑๗๐ ผ่านวัดพระธาตุโป่งนก บ้านหนองหิน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๖๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองปากดง ช่วงด่านมะขามเตี้ย-บ้านหนองปากดง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอด่านมะขามเตี้ย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๖๑ ผ่านบ้านหนองหัววัว ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองปากดง ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกาญจนบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๕ ง/หน้า ๒๔๓/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
617892
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1949 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 362 พนัสนิคม-บ้านหนองคอก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๔๙ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๖๒ พนัสนิคม-บ้านหนองคอก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๕๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๓๑ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารสายที่ ๓๖๒ พนัสนิคม-บ้านหนองคอก นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้อนุมัติในหลักการไว้แล้ว ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๖๒ พนัสนิคม-บ้านหนองคอก โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๓๖๒ พนัสนิคม-บ้านหนองคอก เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอพนัสนิคม ไปตามถนนศรีกุญชร แล้วไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๔๖ ผ่านบ้านเกาะโพธิ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๔๑ ผ่านบ้านเกาะจันทร์ ถึงบ้านชุมนุมปรกฟ้า ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชบ. ๔๐๑๒ ผ่านบ้านสัตตพรหม บ้านกระลอกเอน ถึงบ้านวังหิน ไปตามถนนสาย อบจ. สายวังหิน-หนองบอน ผ่านบ้านกระบกคู่ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองคอก ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๕ ง/หน้า ๒๔๒/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
617890
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1948 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่องสายที่ 98 ห้วยขวาง-กล้วยน้ำไท
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๔๘ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๙๘ ห้วยขวาง-กล้วยน้ำไท[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๓๘๘ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๖ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๙๘ ห้วยขวาง-กล้วยน้ำไท ให้มีเส้นทางแยกช่วงห้วยขวาง-ซอยทองหล่อ-ถนนเพชรบุรี นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๙๘ ห้วยขวาง-กล้วยน้ำไท ให้ยกเลิกเส้นทางแยกช่วงห้วยขวาง-ซอยทองหล่อ-ถนนเพชรบุรี โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๙๘ ห้วยขวาง-กล้วยน้ำไท จากห้วยขวางไปกล้วยน้ำไท เริ่มต้นจากห้วยขวาง (บริเวณอาคารสงเคราะห์ห้วยขวาง) ไปตามถนนประชาสงเคราะห์ แยกซ้ายไปตามถนนอโศกดินแดง แยกขวาไปตามถนนอโศกมนตรี แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท แยกขวาไปตามซอยสุขุมวิท ๔๐ แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ จนสุดเส้นทางที่บริเวณซอยสุขุมวิท ๔๒ (ด้านถนนพระราม ๔) จากกล้วยน้ำไทไปห้วยขวาง เริ่มต้นจากบริเวณซอยสุขุมวิท ๔๒ (ด้านถนนพระราม ๔) ไปตามซอยสุขุมวิท ๔๒ แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่ห้วยขวาง (บริเวณอาคารสงเคราะห์ห้วยขวาง) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๕ ง/หน้า ๒๔๐/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒