sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
673881 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดค่าธรรมเนียมการอบรมและฝึกหัดขับรถของโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. 2555 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดค่าธรรมเนียมการอบรมและฝึกหัดขับรถของโรงเรียนสอนขับรถ
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
การกำหนดค่าธรรมเนียมการอบรมและฝึกหัดขับรถของโรงเรียนสอนขับรถ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๔๘ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒๒ (๙) ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
การกำหนดค่าธรรมเนียมการอบรมและฝึกหัดขับรถของโรงเรียนสอนขับรถ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๒ ผู้ได้รับหนังสือรับรองโรงเรียนสอนขับรถต้องจัดเก็บค่าธรรมเนียมการอบรมและฝึกหัดขับรถในอัตราดังนี้
หลักสูตรการอบรมและฝึกหัดขับรถ
อัตราค่าธรรมเนียม
ต่อ ๑ หลักสูตร
(บาท)
(๑)
หลักสูตรการสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก
สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ ๑ หรือ
ชนิดที่ ๒
(๒)
หลักสูตรการสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก
สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ ๑ หรือ
ชนิดที่ ๒ ซึ่งได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์มาแล้ว
(๓)
หลักสูตรการสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก สำหรับ
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๓ (รถลากจูง) ซึ่งได้
ผ่านการอบรมและฝึกหัดขับรถตาม (๑) หรือ (๒) หรือ
ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๒ มาแล้ว
(๔)
หลักสูตรการอบรมสำหรับผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ
ที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก
(๕)
หลักสูตรการสอนขับรถยนต์
(๖)
หลักสูตรการอบรมสำหรับผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์
(๗)
หลักสูตรการอบรมภาคทฤษฎีสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาต
ขับรถยนต์ชั่วคราว
(๘)
หลักสูตรการสอนขับรถจักรยานยนต์
(๙)
หลักสูตรการอบรมสำหรับผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถ
จักรยานยนต์
(๑๐)
หลักสูตรการอบรมภาคทฤษฎีสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาต
ขับรถจักรยานยนต์ชั่วคราว
๔,๐๐๐ - ๖,๐๐๐
๒,๕๐๐ - ๔,๕๐๐
๒,๕๐๐ - ๔,๐๐๐
๒,๐๐๐ - ๖,๐๐๐
๒๐๐ - ๓๐๐
๑๐๐ - ๒๐๐
๓๐๐ - ๕๐๐
๕๐๐ - ๑,๐๐๐
๑๐๐ - ๒๐๐
๓๐๐ - ๕๐๐
ข้อ ๓ ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองโรงเรียนสอนขับรถจัดทำประกาศอัตราค่าธรรมเนียมแสดงไว้ในที่เปิดเผยและสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ณ ที่ทำการของโรงเรียนสอนขับรถ
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
สมชัย ศิริวัฒนโชค
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ กันยายน
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๒๖ กันยายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๔๐ ง/หน้า ๖๙/๑๔ กันยายน ๒๕๕๕ |
673879 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถของโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. 2555
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง การกำหนดอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถของโรงเรียนสอนขับรถ
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
การกำหนดอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถของโรงเรียนสอนขับรถ
ลงวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
การกำหนดอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถหลักสูตรการสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบกของโรงเรียนสอนขับรถ
ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรรวมประกาศทั้งสองฉบับให้เป็นฉบับเดียวกันเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบและอ้างอิง
อาศัยอำนาจตามความใน ข้อ ๙ (๒) ข้อ ๑๐ (๑) และข้อ ๑๑ (๑)
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๕๕
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
การกำหนดอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถของโรงเรียนสอนขับรถ
ลงวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
(๒) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
การกำหนดอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนและฝึกหัดขับรถหลักสูตรการสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบกของโรงเรียนสอนขับรถ
ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒
ข้อ ๒ ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการฝึกหัดขับรถอย่างน้อย
ดังนี้
๒.๑ หลักสูตรการสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก
(๑) รถยนต์ที่มีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบครบถ้วนถูกต้องตามกฎกระทรวงออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
มีเข็มขัดนิรภัย
และต้องจัดให้มีรถยนต์ที่มีคันบังคับคู่อย่างน้อยหนึ่งคันหรือเหมาะสมกับจำนวนผู้เข้ารับการศึกษาที่ฝึกหัดขับ
(๒) รถยนต์บรรทุกขนาดน้ำหนักรวมไม่น้อยกว่า ๓,๕๐๐ กิโลกรัม และหรือรถลากจูงหรือรถโดยสารที่มีขนาดที่นั่งเกินกว่า ๒๐
ที่นั่ง มีสภาพมั่นคงแข็งแรง
มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบครบถ้วนถูกต้องตามกฎกระทรวงออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
มีเข็มขัดนิรภัยและต้องจัดให้มีรถดังกล่าวที่มีคันบังคับคู่อย่างน้อยหนึ่งคันหรือเหมาะสมกับจำนวนผู้เข้ารับการศึกษาที่ฝึกหัดขับ
(๓) รถพ่วงชนิดสองเพลา ที่มีขนาดน้ำหนักรวมไม่น้อยกว่า ๓,๕๐๐ กิโลกรัม ช่วงล้อยาว ไม่น้อยกว่า ๔.๓๐ เมตร และหรือรถกึ่งพ่วง
มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบครบถ้วนถูกต้องตามกฎกระทรวงออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
รถที่ใช้ในการฝึกหัดขับตามวรรคหนึ่งทุกคันต้องมีเครื่องอุปกรณ์เพิ่มเติม
ดังนี้
(๑) มีกระจกมองหลังติดตั้งภายในรถทางด้านซ้าย สำหรับผู้ฝึกสอนจำนวน ๑
อัน โดยต้องมีขนาดความยาวไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร และความกว้างไม่น้อยกว่า ๖
เซนติเมตร และมีกระจกมองข้างทางด้านซ้ายติดตั้งภายนอกรถสำหรับผู้ฝึกสอน ๑ อัน
ที่สามารถให้ผู้ฝึกสอนมองเห็นรถทางด้านซ้ายของตัวรถเพื่อความปลอดภัย
(๒) แผ่นป้าย ฝึกหัดขับ พื้นสีขาวตัวอักษรสีแดงมีขนาดความยาว
๕๐ เซนติเมตร และความกว้างไม่น้อยกว่า ๓๐ เซนติเมตร
ติดตั้งบริเวณที่สามารถมองเห็นได้ง่ายทั้งด้านหน้า ด้านหลังและด้านข้างของรถทั้งสองข้าง
(๓) เสียงสัญญาณแสดงการถอยหลังของรถ
๒.๒ หลักสูตรการสอนขับรถยนต์
(๑) รถยนต์ฝึกหัดขับที่มีลักษณะ ดังนี้
(ก) มีสภาพมั่นคงแข็งแรง
มีส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ครบถ้วนถูกต้องตามกฎกระทรวงออกตามความในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
และมีเข็มขัดนิรภัย
(ข) มีแป้นเบรก สำหรับผู้ฝึกสอน ๑ ชุด
(ค) มีกระจกมองหลังติดตั้งภายในรถ สำหรับผู้ฝึกสอนจำนวน ๑ อัน โดยต้องมีขนาดความยาวไม่น้อยกว่า
๒๐ เซนติเมตร และความกว้างไม่น้อยกว่า ๖ เซนติเมตร
และมีกระจกมองข้างทางด้านซ้ายติดตั้งภายนอกรถสำหรับผู้ฝึกสอน ๑ อัน ที่สามารถให้ผู้ฝึกสอนมองเห็นรถทางด้านซ้ายของตัวรถเพื่อความปลอดภัย
(๒) แผ่นป้าย ฝึกหัดขับ พื้นสีขาวตัวอักษรสีแดง
มีขนาดความยาว ๓๐ เซนติเมตรและความกว้างไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร
ติดตั้งที่บริเวณที่สามารถมองเห็นได้ง่ายทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตัวรถ
๒.๓ หลักสูตรการสอนขับรถจักรยานยนต์
(๑) รถจักรยานยนต์ฝึกหัดขับที่มีสภาพมั่นคงแข็งแรง
มีส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ครบถ้วนถูกต้องตามกฎกระทรวงออกตามความในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และติดตั้งไฟแสดงการใช้เบรกมือและเบรกเท้าไว้ที่ด้านหน้ารถ
(๒) จัดให้มีหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐาน
(๓) จัดให้มีถุงมือสำหรับผู้เข้ารับการศึกษาอบรมที่ฝึกหัดขับรถจักรยานยนต์
๑ ชุดต่อคน
(๔)
จัดให้มีสนับศอกสำหรับผู้เข้ารับการศึกษาอบรมที่ฝึกหัดขับรถจักรยานยนต์ ๑ ชุด
ต่อคน
(๕)
จัดให้มีสนับเข่าสำหรับผู้เข้ารับการศึกษาอบรมที่ฝึกหัดขับรถจักรยานยนต์ ๑ ชุด
ต่อคน
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
สมชัย ศิริวัฒนโชค
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ กันยายน
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๒๖ กันยายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๔๐ ง/หน้า ๖๗/๑๔ กันยายน ๒๕๕๕ |
673877 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การอบรมและทดสอบเพื่อขอรับหรือต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถและกำหนดเครื่องแต่งกายของผู้ฝึกสอนขับรถ พ.ศ. 2555 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
หลักเกณฑ์การอบรมและทดสอบเพื่อขอรับหรือต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
และกำหนดเครื่องแต่งกายของผู้ฝึกสอนขับรถ
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์การอบรมและทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถและกำหนดเครื่องแต่งกายของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
ลงวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๐ และข้อ ๑๕ (๑)
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
การขอต่ออายุ การพักใช้ และการเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๕๕
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์การอบรมและทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถและกำหนดเครื่องแต่งกายของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ
ลงวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถต้องผ่านการอบรมและทดสอบตามที่กำหนดไว้
ดังนี้
๒.๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถในประเภทหลักสูตรผู้ฝึกสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก
สำหรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๑ หรือชนิดที่ ๒ ต้องผ่านการอบรมและทดสอบ ดังนี้
๒.๑.๑ ภาคทฤษฎี ประกอบด้วย
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์
กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยทางหลวง
กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา
ความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยและความรับผิดความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตราย
และความรู้เกี่ยวกับการขับรถอย่างปลอดภัย
๒.๑.๒ ภาคปฏิบัติ ประกอบด้วย
(๑) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถและพื้นฐานการขับรถยนต์ ได้แก่
(ก) แนะนำอุปกรณ์ที่ต้องควบคุมและวิธีการใช้อุปกรณ์ภายในรถ
(ข) การบำรุงรักษารถและการตรวจเช็ครถประจำวัน
(ค) การเตรียมความพร้อมในห้องโดยสารก่อนออกรถ
(ง) การให้สัญญาณ
(จ) การควบคุมและบังคับรถให้เคลื่อนที่และการหยุดรถ
(ฉ) การใช้คลัตช์ คันเร่ง และเบรกอย่างถูกต้อง
(ช) การบังคับพวงมาลัย
(ซ) การใช้เกียร์ในระดับความเร็วที่แตกต่าง
(ฌ) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
(๒) การฝึกหัดขับรถยนต์ตามท่าฝึกต่าง ๆ ได้แก่
(ก) การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
(ข) การควบคุมความเร็วของรถ (การขับรถซิกแซกหรือการขับรถในทางโค้ง
รูปตัวเอส)
(ค) การกลับรถทางแคบ
(ง) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังซองตรง
(จ)
การถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายขนานกับขอบทาง
(ฉ) การขับรถเลี้ยวมุมฉากต่าง ๆ
(ช) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก
(ซ) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก
(ฌ) การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก
(ญ) การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก
(ฎ) การหยุด การจอดรถ และการออกรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
(ฏ) การหยุดรถทางราบ
(ฐ) การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
(๓)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถและพื้นฐานการขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบกเบื้องต้น
ได้แก่
(ก) แนะนำอุปกรณ์ที่ต้องควบคุมและวิธีการใช้อุปกรณ์ภายในรถ
(ข) การบำรุงรักษารถ และการตรวจเช็ครถประจำวัน
(ค) การเตรียมความพร้อมในห้องโดยสารก่อนออกรถ
(ง) การให้สัญญาณ
(จ) การควบคุมและบังคับรถให้เคลื่อนที่และการหยุดรถ
(ฉ) การใช้คลัตช์ คันเร่ง และเบรกอย่างถูกต้อง
(ช) การบังคับพวงมาลัย
(ซ) การใช้เกียร์ในระดับความเร็วที่แตกต่าง
(ฌ) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
(๔) การฝึกหัดขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบกตามท่าฝึกต่าง ๆ ได้แก่
(ก) การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
(ข) การควบคุมความเร็วของรถ (การขับรถซิกแซกหรือการขับรถในทางโค้ง
รูปตัวเอส)
(ค) การกลับรถทางแคบ
(ง) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังซองตรง
(จ) การถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายขนานกับขอบทาง
(ฉ) การขับรถเลี้ยวมุมฉากต่าง ๆ
(ช) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก
(ซ) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก
(ฌ) การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก
(ญ) การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก
(ฎ) การหยุด การจอดรถ และการออกรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
(ฏ) การหยุดรถทางราบ
(๕) การฝึกหัดขับรถนอกสถานที่ตามสภาพถนนจริง
๒.๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถในประเภทหลักสูตรผู้ฝึกสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก
สำหรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๓ ต้องผ่านการอบรมและทดสอบตามข้อ ๒.๑ และต้องเข้ารับการอบรมและฝึกหัดขับรถเพิ่มเติม
ดังนี้
๒.๒.๑ ภาคทฤษฎี ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถลากจูง ประกอบด้วย
(๑) ความหมายลักษณะรถและอุปกรณ์ส่วนควบของรถลากจูง
(๒) การขับรถให้ประหยัดน้ำมัน
๒.๒.๒ ภาคปฏิบัติ
ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถลากจูง ประกอบด้วย
(๑) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถลากจูงและพื้นฐานการขับรถลากจูง ประกอบด้วย
(ก) การแนะนำอุปกรณ์ส่วนควบของรถลากจูงและการใช้งาน
(ข) การตรวจสอบรถประจำวัน
(ค) บัญญัติ ๘ ประการก่อนออกรถ และจุดบอดของรถลากจูง
(ง) การแนะนำอุปกรณ์ส่วนควบของรถลากจูง และการใช้งาน
(จ) ฝึกหัดขับรถลากจูง โดยการเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้น การใช้สัญญาณต่าง
ๆ
(ฉ) ฝึกการต่อและการปลดห่วงพ่วง
(ช) การฝึกหัดขับรถลากจูง ขับเดินหน้าและถอยหลัง
(ซ) การฝึกขับรถลากจูงในสภาพถนนต่าง ๆ เช่นทางโค้งซ้าย โค้งขวา
วงเวียน ทางลาดชัน
(๒) การฝึกหัดขับรถลากจูงในท่าต่าง ๆ ประกอบด้วย
(ก) ฝึกขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
(ข) ฝึกขับรถเดินหน้าและถอยหลังซองตรง
(ค) การขับรถถอยหลังเข้า - ออกจากช่องว่างด้านซ้าย
(ง) ฝึกการหยุดรถและออกรถบนทางลาดชัน
(จ) ฝึกการกลับรถ
(ฉ) ฝึกการขับรถเดินหน้าเข้า - ออกในช่องที่เป็นมุมฉาก
๒.๓
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถในประเภทหลักสูตรผู้ฝึกสอนขับรถยนต์ต้องผ่านการอบรมและทดสอบ
ดังนี้
๒.๓.๑ ภาคทฤษฎี ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยทางหลวง
กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยและความรับผิด
และความรู้เกี่ยวกับการขับรถอย่างปลอดภัยและมารยาทในการขับรถ
๒.๓.๒ ภาคปฏิบัติ ประกอบด้วย
(๑) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถและพื้นฐานการขับรถยนต์ ประกอบด้วย
(ก) แนะนำอุปกรณ์ที่ต้องควบคุมและวิธีการใช้อุปกรณ์ภายในรถ
(ข) การบำรุงรักษารถและการตรวจเช็ครถประจำวัน
(ค) การเตรียมความพร้อมในห้องโดยสาร
(ง) การให้สัญญาณ
(จ) การควบคุมและบังคับรถให้เคลื่อนที่และการหยุดรถ
(ฉ) การใช้คลัตช์ คันเร่งและเบรกอย่างถูกต้อง
(ช) การบังคับพวงมาลัย
(ซ) การใช้เกียร์ในระดับความเร็วที่แตกต่าง
(ฌ) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
(๒) การฝึกหัดขับรถยนต์ตามท่าฝึกต่าง ๆ ประกอบด้วย
(ก) การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
(ข) การควบคุมความเร็วของรถ
(การขับรถซิกแซกหรือการขับรถในทางโค้งรูปตัวเอส)
(ค) การกลับรถทางแคบ
(ง) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังซองตรง
(จ)
การถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายขนานกับขอบทาง
(ฉ) การขับรถเลี้ยวมุมฉากต่าง ๆ
(ช) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก
(ซ) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก
(ฌ) การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก
(ญ) การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก
(ฎ) การหยุด การจอดรถ และการออกรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
(ฏ) การหยุดรถทางราบ
(ฐ) การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
(๓) การฝึกหัดขับรถนอกสถานที่ตามสภาพถนนจริง
๒.๔
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถในประเภทหลักสูตรผู้ฝึกสอนขับรถจักรยานยนต์ต้องผ่านการอบรมและทดสอบ
ดังนี้
๒.๔.๑ ภาคทฤษฎี ประกอบด้วย
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์
กฎหมายว่าด้วยทางหลวง กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยและความรับผิด
และความรู้เกี่ยวกับการขับรถอย่างปลอดภัยและมารยาทในการขับรถ
๒.๔.๒ ภาคปฏิบัติ ประกอบด้วย
(๑) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถและพื้นฐานการขับขี่รถจักรยานยนต์
ได้แก่
(ก) ส่วนประกอบที่สำคัญและพื้นฐานการทำงานของรถจักรยานยนต์
(ข) การตรวจเช็ครถก่อนขับขี่
(ค) การบำรุงรักษารถจักรยานยนต์และอุปกรณ์ในการควบคุมรถ
(ง) การเตรียมตัวก่อนการขับขี่
(เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ในการขับขี่)
(จ) การใช้ขาตั้งและการจูงรถ
(ฉ) ท่าทางการขับขี่
(ช) การควบคุมรถในขณะไม่เคลื่อนที่
(ซ) การควบคุมรถในขณะเคลื่อนที่
(ฌ) การออกรถและการเร่งเครื่องยนต์อย่างนิ่มนวล
(ญ) การเปลี่ยนเกียร์
(ฎ) การเบรก (ตอนที่ ๑)
(ฏ) การควบคุมความเร็ว
(๒) การฝึกหัดขับรถจักรยานยนต์ตามท่าฝึกต่าง ๆ ประกอบด้วย
(ก) การออกรถ การหยุดรถ
(ข) การเบรก (ตอนที่ ๒)
(ค) การขับรถเข้าทางโค้งรูปตัวเอสหรือทางโค้งรูปเลขแปด
(ง) การควบคุมคันเร่งและการทรงตัวบนทางคดเคี้ยวที่มีสิ่งกีดขวาง
(จ) การทรงตัวที่ความเร็วต่ำบนไม้กระดาน
(ฉ) การทรงตัวบนไม้รางลูกระนาด
(ช) การขับขี่โดยปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
(ซ) การขับขี่และการจอดรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
(ฌ) การขับขี่เมื่อมีคนซ้อนท้าย
(ญ) การขับขี่ตามสภาพการจราจรและสภาพถนนต่าง ๆ
ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถในประเภทหลักสูตรใดต่อมาประสงค์จะขอรับใบอนุญาตประเภทหลักสูตรอื่นอีก
ให้ทำการอบรมและทดสอบเฉพาะในส่วนที่แตกต่างจากประเภทหลักสูตรที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว
ข้อ ๓ กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถเป็นผู้จบการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีและประสงค์จะเป็นผู้ให้ความรู้เฉพาะภาคทฤษฎี
ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องผ่านการอบรมแต่ต้องผ่านการทดสอบความรู้ภาคทฤษฎีตามประเภทใบอนุญาตที่กำหนดไว้ในข้อ
๒ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔ ในขณะเข้ารับการอบรมหรือทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถต้องไม่ส่งเสียงดังหรือแสดงกิริยาวาจาส่อเสียด
ดูหมิ่นก้าวร้าว หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนบุคคลอื่นไม่ใช้อุปกรณ์สื่อสาร
ไม่ดื่มสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น
ไม่เสพยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และไม่สูบบุหรี่
ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ควบคุมการอบรมหรือทดสอบมีอำนาจสั่งให้ผู้เข้ารับการอบรมและทดสอบออกจากห้องอบรมหรือทดสอบได้และให้ถือว่าเป็นผู้ขาดการอบรมหรือทดสอบในวิชานั้น
ข้อ ๕ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถตามข้อ
๒ และข้อ ๓ แล้วแต่กรณี ต้องมีเวลาเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
และมีผลการทดสอบในแต่ละวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ การเข้าห้องอบรมหรือทดสอบสายเกิน
๑๕ นาที ถือว่าขาดการอบรมหรือทดสอบในวิชานั้น
ข้อ ๖ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถต้องแต่งกาย
ดังนี้
๖.๑ ผู้ฝึกสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก ผู้ฝึกสอนขับรถยนต์
๖.๑.๑ เสื้อคอพับแขนสั้นหรือแขนยาว สอดชายล่างของเสื้ออยู่ในกางเกง หรือเสื้อคอแบะปล่อยเอวแบบคอตื้น
แขนสั้นหรือแขนยาว ปักคำว่า ผู้ฝึกสอน ขนาดสูง
๑.๕ เซนติเมตร ที่บริเวณหน้าอกด้านขวาให้เห็นได้อย่างชัดเจน
๖.๑.๒ กางเกงขายาว
๖.๑.๓ เข็มขัดหนังหรือผ้าสีดำหรือสีน้ำตาล ขนาดกว้าง ๓ ถึง ๔ เซนติเมตร
๖.๑.๔ รองเท้าหุ้มข้อหรือหุ้มส้น
๖.๒ ผู้ฝึกสอนขับรถจักรยานยนต์
๖.๒.๑ เสื้อคอพับแขนยาว สอดชายล่างของเสื้ออยู่ในกางเกง
หรือเสื้อคอแบะปล่อยเอวแบบคอตื้น แขนยาว ปักคำว่า ผู้ฝึกสอน ขนาดสูง ๑.๕ เซนติเมตร ที่บริเวณหน้าอกด้านขวาให้เห็นได้อย่างชัดเจน
๖.๒.๒ กางเกงขายาว
๖.๒.๓ เข็มขัดหนังหรือผ้าสีดำหรือสีน้ำตาล ขนาดกว้าง ๓ ถึง ๔
เซนติเมตร
๖.๒.๔ รองเท้าหุ้มข้อหรือรองเท้าบู๊ท
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
สมชัย ศิริวัฒนโชค
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ กันยายน
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๒๖ กันยายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๔๐ ง/หน้า ๖๐/๑๔ กันยายน ๒๕๕๕ |
673874 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักสูตรการสอน การอบรมและฝึกหัดขับรถมาตรฐานของโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. 2555 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
หลักสูตรการสอน การอบรมและฝึกหัดขับรถมาตรฐานของโรงเรียนสอนขับรถ
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดหลักสูตรการอบรมและฝึกหัดขับรถมาตรฐานของโรงเรียนสอนขับรถ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๔๘ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๙ (๓) ข้อ ๑๐ (๑) และข้อ ๑๑ (๑)
ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๕๕
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดหลักสูตรการอบรมและฝึกหัดขับรถมาตรฐานของโรงเรียนสอนขับรถ ลงวันที่ ๑๑
มกราคม ๒๕๔๘
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
หนังสือรับรอง หมายความว่า
หนังสือรับรองโรงเรียนสอนขับรถ
ข้อ ๓ ผู้ขอรับหนังสือรับรองหลักสูตรการสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบกต้องกำหนดหลักสูตรและจัดให้มีการสอน
การอบรมและการฝึกหัดขับรถ ดังนี้
๓.๑ หลักสูตรการสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก
สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๑ หรือชนิดที่ ๒ จำนวนไม่น้อยกว่า ๔๑
ชั่วโมง ประกอบด้วย
๓.๑.๑ ภาคทฤษฎี ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถจำนวนไม่น้อยกว่า
๑๔ ชั่วโมง ดังนี้
(๑) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์
กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า ๔ ชั่วโมง
(๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแพ่งและอาญาที่เกี่ยวข้องกับผู้ขับรถไม่น้อยกว่า
๑ ชั่วโมง
(๓)
ความรู้เกี่ยวกับหลักการขับรถอย่างปลอดภัยและการคาดการณ์ไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง
(๔) ความรู้เกี่ยวกับรถและเครื่องยนต์ การบำรุงรักษา
การบรรทุกและการแก้ไขข้อขัดข้องเบื้องต้นไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง
(๕) ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ผู้ขับรถ มนุษยสัมพันธ์
และมารยาทในการขับรถไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง
(๖) ความรู้เกี่ยวกับการฝึกหัดขับรถเบื้องต้นไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง
(๗)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสินค้าและการขนส่งวัตถุอันตรายไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง
๓.๑.๒ ภาคปฏิบัติ ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถจำนวนไม่น้อยกว่า
๒๗ ชั่วโมง ดังนี้
(๑) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถและพื้นฐานการขับรถยนต์ (รถเก๋ง รถปิกอัพ
และรถตู้) ไม่น้อยกว่า ๔ ชั่วโมง ได้แก่
(ก) แนะนำอุปกรณ์ที่ต้องควบคุมและวิธีการใช้อุปกรณ์ภายในรถ
(ข) การเตรียมความพร้อมในห้องโดยสารก่อนออกรถ
(ค) การควบคุมและบังคับรถให้เคลื่อนที่ และการหยุดรถ
(ง) การใช้คลัตช์ คันเร่ง และเบรกอย่างถูกวิธี
(จ) การใช้เกียร์ในระดับความเร็วที่แตกต่าง
(ฉ) การออกรถ เดินหน้า และถอยหลังในทางตรง
(๒) การฝึกหัดขับรถยนต์ตามท่าฝึกต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า ๕ ชั่วโมง ได้แก่
(ก) การขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
(ข) การควบคุมความเร็วของรถ
(การขับรถซิกแซกหรือการขับรถในทางโค้งรูปตัวเอส)
(ค) การกลับรถทางแคบ
(ง) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังซองตรง
(จ)
การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายขนานกับขอบทาง
(ฉ) การขับรถเลี้ยวมุมฉากต่าง ๆ
(ช) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก
(ซ) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก
(ฌ) การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก
(ญ) การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก
(ฎ) การหยุด การจอดรถ และการออกรถทางลาดชันหรือสะพาน
(ฏ) การหยุดรถบนทางราบ
(ฐ) การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
(๓)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถและพื้นฐานการขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบกเบื้องต้น
(รถขนาดใหญ่) ไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง
(ก) แนะนำอุปกรณ์ที่ต้องควบคุมและวิธีการใช้อุปกรณ์ภายในรถ
(ข) การเตรียมความพร้อมในห้องโดยสารก่อนออกรถ
(ค) การควบคุมและบังคับรถให้เคลื่อนที่ และการหยุดรถ
(ง) การใช้คลัตช์ คันเร่ง และเบรกอย่างถูกวิธี
(จ) การใช้เกียร์ในระดับความเร็วที่แตกต่าง
(ฉ) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
(๔) การฝึกหัดขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบกตามท่าฝึกต่าง ๆ
ไม่น้อยกว่า ๕ ชั่วโมง
(ก) การขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
(ข) การควบคุมความเร็วของรถ
(การขับรถซิกแซกหรือการขับรถในทางโค้งรูปตัวเอส)
(ค) การกลับรถทางแคบ
(ง) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังซองตรง
(จ)
การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายขนานกับขอบทาง
(ฉ) การขับรถเลี้ยวมุมฉากต่างๆ
(ช) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก
(ซ) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก
(ฌ) การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก
(ญ) การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก
(ฎ) การหยุด การจอดรถ และการออกรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
(ฏ) การหยุดรถบนทางราบ
(๕) การฝึกหัดขับรถนอกสถานที่ตามสภาพถนนจริงไม่น้อยกว่า ๑๐ ชั่วโมง
๓.๒ หลักสูตรการสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก
สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๑ หรือชนิดที่ ๒
ซึ่งได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์มาแล้วจำนวนไม่น้อยกว่า ๓๐ ชั่วโมง ประกอบด้วย
๓.๒.๑ ภาคทฤษฎี
ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐ ชั่วโมง ดังนี้
(๑) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกไม่น้อยกว่า ๒
ชั่วโมง
(๒)
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแพ่งและอาญาที่เกี่ยวข้องกับผู้ขับรถไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง
(๓) ความรู้เกี่ยวกับรถและเครื่องยนต์ การบำรุงรักษารถ
การบรรทุกและการแก้ไขข้อขัดข้องเบื้องต้นไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง
(๔)
ความรู้เกี่ยวกับหลักการขับรถอย่างปลอดภัยและการคาดการณ์ไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง
(๕) ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ผู้ขับรถ
มนุษยสัมพันธ์และมารยาทในการขับรถไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง
(๖)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสินค้าและการขนส่งวัตถุอันตรายไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง
๓.๒.๒ ภาคปฏิบัติ
ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถจำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐ ชั่วโมง ดังนี้
(๑) ทบทวนทดสอบความสามารถการขับรถยนต์ไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง ได้แก่
(ก) ทบทวนความสามารถในการขับรถยนต์
(ข) ทดสอบการขับรถยนต์ขนาดเล็ก
(๒) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถและพื้นฐานการขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบกเบื้องต้นไม่น้อยกว่า
๓ ชั่วโมง ได้แก่
(ก) แนะนำอุปกรณ์ที่ต้องควบคุมและวิธีการใช้อุปกรณ์ภายในรถ
(ข) การเตรียมความพร้อมในห้องโดยสารก่อนออกรถ
(ค) การควบคุมและบังคับรถให้เคลื่อนที่ และการหยุดรถ
(ง) การใช้คลัตช์ คันเร่ง และเบรกอย่างถูกวิธีและถอยหลัง
(จ) การใช้เกียร์ในระดับความเร็วที่แตกต่าง
(ฉ) การออกรถเดินหน้า
(ช) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
(๓) การฝึกหัดขับรถตามท่าฝึกต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า ๕ ชั่วโมง ได้แก่
(ก) การขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
(ข) การควบคุมความเร็วของรถ
(การขับรถซิกแซกหรือการขับรถในทางโค้งรูปตัวเอส)
(ค) การกลับรถทางแคบ
(ง) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังซองตรง
(จ)
การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายขนานกับขอบทาง
(ฉ) การขับรถเลี้ยวมุมฉากต่าง ๆ
(ช) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก
(ซ) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก
(ฌ) การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก
(ญ) การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก
(ฎ) การหยุด การจอดรถ และออกรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
(ฏ) การหยุดรถบนทางราบ
(๔) การฝึกหัดขับรถนอกสถานที่ตามสภาพถนนจริงไม่น้อยกว่า ๑๐ ชั่วโมง
๓.๓ หลักสูตรการสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก
สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ ๓
ซึ่งได้ผ่านการอบรมและฝึกหัดขับรถตามข้อ ๓.๑ หรือข้อ ๓.๒ แล้วแต่กรณี หรือได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่
๒ มาแล้ว จะต้องเข้ารับการอบรมและฝึกหัดขับรถเพิ่มเติมอีก ๒๖ ชั่วโมง ประกอบด้วย
๓.๓.๑ ภาคทฤษฎี
ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถลากจูงจำนวนไม่น้อยกว่า ๖ ชั่วโมง
ดังนี้
(๑) ความหมายลักษณะรถและอุปกรณ์ส่วนควบของรถลากจูงไม่น้อยกว่า ๓
ชั่วโมง
(๒) การขับรถให้ประหยัดน้ำมันไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง
๓.๓.๒ ภาคปฏิบัติ
ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถลากจูงจำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐ ชั่วโมง
ดังนี้
(๑) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถลากจูง และพื้นฐานการขับรถลากจูงไม่น้อยกว่า
๕ ชั่วโมง ได้แก่
(ก) การแนะนำอุปกรณ์ส่วนควบของรถลากจูงและการใช้งาน
(ข) การตรวจสอบรถประจำวัน
(ค) บัญญัติ ๘ ประการก่อนออกรถ และจุดบอดของรถลากจูง
(ง) การแนะนำอุปกรณ์ส่วนควบของรถลากจูง และการใช้งาน
(จ) การฝึกหัดขับรถลากจูง โดยการเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้น
การใช้สัญญาณต่าง ๆ
(ฉ) การฝึกการต่อและปลดห่วงพ่วง
(ช) การฝึกหัดขับรถลากจูง ขับเดินหน้าและถอยหลัง
(ซ) การฝึกขับรถลากจูงในสภาพถนนต่าง ๆ เช่น ทางโค้งซ้ายโค้งขวา
วงเวียน ทางลาดชัน
(๒) การฝึกหัดขับรถลากจูงในท่าต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า ๑๕ ชั่วโมง
(ก) การขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
(ข) การกลับรถ
(ค) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังซองตรง
(ง) การขับรถถอยหลัง เข้า-ออกจากช่องว่างด้านซ้าย
(จ) การขับรถเดินหน้าเข้า-ออกในช่องที่เป็นมุมฉาก
(ฉ) การหยุดรถและออกรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
๓.๔ หลักสูตรการอบรมสำหรับผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก
โดยมีการอบรมในวิชาการขับรถอย่างปลอดภัยจำนวนไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง
ข้อ ๔ ผู้ขอรับหนังสือรับรองหลักสูตรการสอนขับรถยนต์ต้องกำหนดหลักสูตรและจัดให้มีการสอน
การอบรมและการฝึกหัดขับรถ ดังนี้
๔.๑ หลักสูตรการสอนขับรถยนต์จำนวนไม่น้อยกว่า ๑๕ ชั่วโมง ประกอบด้วย
๔.๑.๑ ภาคทฤษฎี
ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถจำนวนไม่น้อยกว่า ๕ ชั่วโมง ดังนี้
(๑) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์
และกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง
(๒) ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการขับขี่อย่างปลอดภัย
มารยาทในการขับรถและสาเหตุและการป้องกันอุบัติเหตุไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง
(๓)
ความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษารถยนต์และอุปกรณ์ควบคุมภายในรถยนต์ไม่น้อยกว่า ๑
ชั่วโมง
๔.๑.๒ ภาคปฏิบัติ ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถจำนวนไม่น้อยกว่า
๑๐ ชั่วโมง ดังนี้
(๑) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถและพื้นฐานการขับรถยนต์ไม่น้อยกว่า ๓
ชั่วโมง ได้แก่
(ก) การใช้รถยนต์เกียร์ธรรมดาหรือเกียร์อัตโนมัติ
(ข) การบำรุงรักษารถและการตรวจเช็ครถประจำวัน
(ค) การเตรียมความพร้อมในห้องโดยสารก่อนออกรถ
(ง) การควบคุมและบังคับรถให้เคลื่อนที่ และการหยุดรถ
(จ) การใช้คลัตช์ คันเร่ง และเบรกอย่างถูกต้อง
(ฉ)
การใช้เกียร์ในระดับความเร็วที่แตกต่างของรถยนต์เกียร์ธรรมดาหรือเกียร์อัตโนมัติ
(ช) การใช้เกียร์ในสถานการณ์ต่าง ๆ
(ซ) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
(๒) การฝึกหัดขับรถตามท่าฝึกต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า ๔ ชั่วโมง ได้แก่
(ก) การขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
(ข) การควบคุมความเร็วของรถ
(การขับรถซิกแซกหรือการขับรถในทางโค้งรูปตัวเอส)
(ค) การกลับรถทางแคบ
(ง) การขับรถเดินหน้าและถอยหลังซองตรง
(จ) การขับรถเลี้ยวมุมฉากต่าง ๆ
(ฉ)
การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายขนานกับขอบทาง
(ช) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก
(ซ) การขับรถถอยหลังเข้าจอดและเดินหน้าออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก
(ฌ) การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านซ้ายมุมฉาก
(ญ) การขับรถเดินหน้าเข้าจอดและถอยหลังออกจากช่องว่างด้านขวามุมฉาก
(ฎ) การหยุดรถ การจอดรถ และออกรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
(ฏ) การหยุดรถบนทางราบ
(ฐ) การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
(๓) ฝึกหัดขับรถนอกสถานที่ตามสภาพถนนจริงไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง
๔.๒ หลักสูตรการอบรมสำหรับผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์
จำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชาต่าง ๆ ดังนี้
๔.๒.๑ การขับรถอย่างปลอดภัย
๔.๒.๒ มารยาทในการขับรถ
๔.๓ หลักสูตรการอบรมภาคทฤษฎีสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราวจำนวนไม่น้อยกว่า
๔ ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชาต่าง ๆ ดังนี้
๔.๓.๑ ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
กฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง
๔.๓.๒ การขับรถอย่างปลอดภัยไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง
๔.๓.๓ มารยาทในการขับรถไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง
ข้อ ๕ ผู้ขอรับหนังสือรับรองหลักสูตรการสอนขับรถจักรยานยนต์ต้องกำหนดหลักสูตรและจัดให้มีการสอน
การอบรมและการฝึกหัดขับรถ ดังนี้
๕.๑ หลักสูตรการสอนขับรถจักรยานยนต์จำนวนไม่น้อยกว่า ๑๕ ชั่วโมง
ดังนี้
๕.๑.๑ ภาคทฤษฎี ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถจำนวนไม่น้อยกว่า
๕ ชั่วโมง ดังนี้
(๑) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
กฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง
(๒) ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างการขับขี่ มารยาท
และหลักพื้นฐานการขับขี่ปลอดภัยไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง
(๓) ความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษารถจักรยานยนต์และอุปกรณ์ในการควบคุมรถไม่น้อยกว่า
๑ ชั่วโมง
๕.๑.๒ ภาคปฏิบัติ
ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐ ชั่วโมง ดังนี้
(๑)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถและพื้นฐานการขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่น้อยกว่า ๕
ชั่วโมง ได้แก่
(ก) การเตรียมตัวก่อนการขับขี่
(ข) การควบคุมรถในขณะไม่เคลื่อนที่
(ค) การควบคุมรถในขณะเคลื่อนที่
(ง) การออกรถและการเร่งเครื่องยนต์อย่างนิ่มนวล
(จ) การเปลี่ยนเกียร์
(ฉ) การเบรก (ตอนที่ ๑)
(ช) การควบคุมความเร็ว
(๒) การฝึกหัดขับรถตามท่าฝึกต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า ๕ ชั่วโมง
(ก) การเบรก (ตอนที่ ๒)
(ข) การขับรถเข้าทางโค้งรูปตัวเอสหรือทางโค้งรูปเลขแปด
(ค) การควบคุมคันเร่งและการทรงตัวบนทางคดเคี้ยวที่มีสิ่งกีดขวาง
(ง) การทรงตัวที่ความเร็วต่ำบนไม้กระดาน
(จ) การทรงตัวบนไม้รางลูกระนาด
(ฉ) การขับขี่โดยปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
(ช) การขับขี่และการจอดรถบนทางลาดชันหรือสะพาน
(ซ) การขับขี่เมื่อมีคนซ้อนท้าย
(ฌ) การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
๕.๒ หลักสูตรการอบรมสำหรับผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์
จำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชาต่าง ๆ ดังนี้
๕.๒.๑ การขับรถอย่างปลอดภัย
๕.๒.๒ มารยาทในการขับรถ
๕.๓
หลักสูตรการอบรมภาคทฤษฎีสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ชั่วคราว
จำนวนไม่น้อยกว่า ๔ ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชาต่าง ๆ ดังนี้
๕.๓.๑ ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า
๒ ชั่วโมง
๕.๓.๒ การขับรถอย่างปลอดภัยไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง
๕.๓.๓ มารยาทในการขับรถไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง
ข้อ ๖ ผู้ขอรับหนังสือรับรองทุกหลักสูตรต้องจัดส่งเอกสารหรือคู่มือประกอบการสอนเพื่อประกอบการพิจารณา
กรณีหลักสูตรที่ขอรับการรับรองไม่เป็นไปตามหลักสูตรการอบรมและฝึกหัดขับรถมาตรฐานนี้ให้คณะกรรมการตามระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถพิจารณาเป็นกรณีไป
ข้อ ๗ ผู้ได้รับหนังสือรับรองตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้ยังคงใช้เป็นหลักสูตรสำหรับการอบรมและฝึกหัดขับรถต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
สมชัย ศิริวัฒนโชค
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ กันยายน
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๒๖ กันยายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๔๐ ง/หน้า ๕๑/๑๔ กันยายน ๒๕๕๕ |
673803 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตราด ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2555) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดตราด สายที่ 6041 แหลมงอบ-ตลาดแสนตุ้ง และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวธรรมชาติ-ตลาดแสนตุ้ง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดตราด
ฉบับที่ ๑๖
(พ.ศ. ๒๕๕๕)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔
จังหวัดตราด สายที่ ๖๐๔๑ แหลมงอบ-ตลาดแสนตุ้ง
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวธรรมชาติ-ตลาดแสนตุ้ง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราด
ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ลงวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดตราด สายที่ ๖๐๔๑ แหลมงอบ-ตลาดแสนตุ้ง ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราด
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราด ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๔ วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๔
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๕
เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕
จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตราด
สายที่ ๖๐๔๑ แหลมงอบ-ตลาดแสนตุ้ง
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวธรรมชาติ-ตลาดแสนตุ้ง
เพิ่มอีก ๑ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๖๐๔๑
แหลมงอบ-ตลาดแสนตุ้ง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอแหลมงอบ
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕๖
ผ่านบ้านคลองใหญ่ บ้านแหลมอวน บ้านธรรมชาติ บ้านบางปิดล่าง บ้านบางปิดบน
บ้านบางกระดาน บ้านท่าโสม บ้านคลองศอก บ้านท่าหาด
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดแสนตุ้ง
ช่วงท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวธรรมชาติ-ตลาดแสนตุ้ง
เริ่มต้นจากท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวธรรมชาติ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
ตร.๔๐๐๖ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕๖ ผ่านบ้านบางปิดล่าง บ้านบางปิดบน
บ้านบางกระดาน บ้านท่าโสม บ้านคลองศอก บ้านท่าหาด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓ (ถนนสุขุมวิท) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดแสนตุ้ง
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
เบญจวรรณ
อ่านเปรื่อง
ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดตราด
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๗ กันยายน
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๒๕ กันยายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๙๖/๑๓ กันยายน ๒๕๕๕ |
673801 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 181 (พ.ศ. 2555) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สายที่ 6 ตลาดสดเทศบาล 1 - บ้านเหล่านกชุม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดสดเทศบาล 1 - บ้านหนองใคร่นุ่น - บ้านท่าแร่ | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดขอนแก่น
ฉบับที่ ๑๘๑
(พ.ศ. ๒๕๕๕)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑
จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๖ ตลาดสดเทศบาล ๑ - บ้านเหล่านกชุม
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดสดเทศบาล
๑ - บ้านหนองใคร่นุ่น - บ้านท่าแร่[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น
ฉบับที่ ๙๑ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๓๕
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑
จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๖ ตลาดสดเทศบาล ๑ - บ้านหนองหญ้าแพรก เป็น ตลาดสดเทศบาล ๑ -
บ้านเหล่านกชุม นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น
ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๕
เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่
๖ ตลาดสดเทศบาล ๑ - บ้านเหล่านกชุม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดสดเทศบาล ๑ -
บ้านหนองใคร่นุ่น - บ้านท่าแร่ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังนี้
สายที่ ๖ ตลาดสดเทศบาล ๑ -
บ้านเหล่านกชุม
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดสดเทศบาล ๑
ไปตามถนนรื่นรมย์ แยกขวาไปตามถนนประชาสำราญ แยกซ้ายไปตามถนนศรีจันทร์
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านบ้านกุดกว้าง บ้านท่าพระ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๘ ผ่านศูนย์วิจัยเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ถึงบ้านหนองหญ้าแพรก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านท่าแร่ บ้านโนนเขวา
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทาง บ้านเหล่านกชุม
ช่วงตลาดสดเทศบาล
๑ - บ้านหนองใคร่นุ่น - บ้านท่าแร่
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดสดเทศบาล ๑
ไปตามถนนรื่นรมย์ แยกขวาไปตามถนนประชาสำราญ แยกซ้ายไปตามถนนศรีจันทร์
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านบ้านกุดกว้าง บ้านท่าพระ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๘ ถึงศูนย์วิจัยเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านวังหิน บ้านสวนมอญ บ้านหนองใคร่นุ่น บ้านหนองโข่ย
บ้านดอนหัน บ้านดอนแดง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าแร่
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
สมบัติ
ตรีวัฒน์สุวรรณ
ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดขอนแก่น
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๗ กันยายน
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๒๕ กันยายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๙๔/๑๓ กันยายน ๒๕๕๕ |
672476 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดปราจีนบุรี ฉบับที่ 66 (พ.ศ. 2555) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดปราจีนบุรี
ฉบับที่ ๖๖
(พ.ศ. ๒๕๕๕)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปราจีนบุรี
ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนด เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้นเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปราจีนบุรี
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๔ สายที่ ๖๐๘๙
วงกลมวงเวียนศาลสมเด็จพระนเรศวร-ศูนย์ราชการจังหวัดปราจีนบุรี
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังนี้คือ
สายที่ ๖๐๘๙
วงกลมวงเวียนศาลสมเด็จพระนเรศวร-ศูนย์ราชการจังหวัดปราจีนบุรี
เริ่มต้นจากบริเวณวงเวียนศาลสมเด็จพระนเรศวร
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๐ ผ่านโรงเรียนอนุบาลเมืองปราจีนบุรี
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพระ โรงเรียนฉัตรลิตราศึกษา แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
ปจ. ๓๐๐๘ ผ่านวัดเกาะเค็ดใน มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการจังหวัดปราจีนบุรี
ผ่านศูนย์ราชการจังหวัดปราจีนบุรี ถึงทางแยกศูนย์ราชการ
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙ ผ่านโรงเรียนบ้านแหลมไผ่ ถึงทางแยกหนองชะอม
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านวัดหนองชะอม วัดหนองเต่า ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวงเวียนศาลสมเด็จพระนเรศวร
ประกาศ
ณ วันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
จิตรา พรหมชุติมา
ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดปราจีนบุรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ สิงหาคม
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๔ กันยายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๙๒ ง/หน้า ๑๖๔/๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕ |
672474 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ 235 (พ.ศ. 2555) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด 4 จังหวัดนครราชสีมา สายที่ 4197 นครราชสีมา - หมู่บ้านร่มฟ้าคุรุสภา - ด่านขุนทด ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครราชสีมา-ทางแยกบ้านดอน | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครราชสีมา
ฉบับที่ ๒๓๕
(พ.ศ. ๒๕๕๕)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง
หมวด ๔
จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๑๙๗
นครราชสีมา -
หมู่บ้านร่มฟ้าคุรุสภา - ด่านขุนทด
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครราชสีมา-ทางแยกบ้านดอน[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา
ฉบับที่ ๑๓๙ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๘ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๑๙๗
โคกกรวด-ด่านขุนทด เป็น นครราชสีมา - หมู่บ้านร่มฟ้าคุรุสภา - ด่านขุนทด นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๔
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๕
เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔
จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๑๙๗ นครราชสีมา - หมู่บ้านร่มฟ้าคุรุสภา - ด่านขุนทด
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครราชสีมา - ทางแยกบ้านดอน
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๔๑๙๗ นครราชสีมา - หมู่บ้านร่มฟ้าคุรุสภา - ด่านขุนทด
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๒
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านสามแยกปักธงชัย
ถึงทางแยกเข้าหมู่บ้านร่มฟ้าคุรุสภา แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท
ผ่านหมู่บ้านร่มฟ้าคุรุสภา แยกซ้ายไปตามถนนมุขมนตรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (ถนนยุทธศาสตร์เดิม)
ผ่านบ้านยางน้อย บ้านหนองเป็ดน้ำ บ้านเดื่อ บ้านคลองกระบือ บ้านสระมะโนรา
ถึงบ้านโคกกรวด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๖๘ ผ่านอำเภอขามทะเลสอ
ถึงบ้านหนองสรวงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔๘ ผ่านบ้านด่านใน บ้านด่านนอก
ทางแยกบ้านสระจระเข้ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอ ด่านขุนทด
ช่วงนครราชสีมา
- ทางแยกบ้านดอน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา
แห่งที่ ๒ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านสามแยกปักธงชัย
ถึงทางแยกซอยสามยอด แยกซ้ายไปตามซอยสามยอด ผ่านหมู่บ้านย่าโม ๘
แยกขวาไปตามถนนองค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี ผ่านโรงเรียนบ้านห้วยยาง
อ่างเก็บน้ำห้วยยาง สำนักงานชลประทานที่ ๘ บ้านหนองบอน
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณทางแยกบ้านดอน (ทางแยกบรรจบถนนมิตรภาพ)
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ชวน ศิรินันท์พร
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครราชสีมา
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ สิงหาคม
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๔ กันยายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๙๒ ง/หน้า ๑๖๒/๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕ |
672470 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกำแพงเพชร ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2555) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ 2666 ไทรงาม - ขาณุวรลักษบุรี | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดกำแพงเพชร
ฉบับที่ ๔๙
(พ.ศ. ๒๕๕๕)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔
จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๒๖๖๖ ไทรงาม - ขาณุวรลักษบุรี[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกำแพงเพชรได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกำแพงเพชร
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๕
เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๒๖๖๖ ไทรงาม - ขาณุวรลักษบุรี
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๒๖๖๖ ไทรงาม - ขาณุวรลักษบุรี
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอไทรงาม
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข กพ. ๓๐๐๖ ผ่านบ้านหนองไม้กอง บ้านหนองแม่แตง
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข กพ. ๔๐๑๖ ผ่านบ้านบึงสำราญใหญ่
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๘๐
ผ่านที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลถาวรวัฒนา วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๗๔ ผ่านโรงเรียนระหานวิทยาคม
ที่ทำการองค์กรบริหารส่วนตำบลป่าพุทรา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอขาณุวรลักษบุรี
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
วันชัย
สุทิน
ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดกำแพงเพชร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ สิงหาคม
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๔ กันยายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๙๒ ง/หน้า ๑๖๑/๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕ |
672468 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกำแพงเพชร ฉบับที่ 48 (พ.ศ. 2555) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ 2665 ไทรงาม - ทรายทองวัฒนา - ขาณุวรลักษบุรี | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดกำแพงเพชร
ฉบับที่ ๔๘
(พ.ศ. ๒๕๕๕)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔
จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๒๖๖๕ ไทรงาม - ทรายทองวัฒนา - ขาณุวรลักษบุรี[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกำแพงเพชรได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกำแพงเพชร
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๕
เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๒๖๖๕ ไทรงาม - ทรายทองวัฒนา - ขาณุวรลักษบุรี
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๒๖๖๕ ไทรงาม - ทรายทองวัฒนา - ขาณุวรลักษบุรี
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอไทรงาม
ไปตามถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัดหมายเลข ๑๐๖๐ ผ่านบ้านวังโขน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๒๘๐ ผ่านบ้านบ่อแก้ว แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข กพ. ๔๐๑๒ แยกซ้ายไปตามถนน
อบต. หนองโดน (บ้านหนองโดน - บ้านโนนจั่น) ผ่านโรงเรียนบ้านโนนจั่น
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ๔๐๐๔ ผ่านอำเภอทรายทองวัฒนา
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข กพ. ๓๑๒๘ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๘๐
ผ่านที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลถาวรวัฒนา วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๗๔ ผ่านโรงเรียนระหานวิทยาคม ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลป่าพุทรา
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอขาณุวรลักษบุรี
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
วันชัย
สุทิน
ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดกำแพงเพชร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ สิงหาคม
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๔ กันยายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๙๒ ง/หน้า ๑๕๙/๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕ |
671963 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ 78 (พ.ศ. 2555) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดลพบุรี สายที่ 2122 โคกสำโรง - บ้านหมี่ | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดลพบุรี
ฉบับที่ ๗๘
(พ.ศ. ๒๕๕๕)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง
(ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง
หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน)
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดลพบุรี
สายที่ ๒๑๒๒ โคกสำโรง - บ้านหมี่[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี
ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ลงวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๒๘ การกำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ สายที่ ๒๑๒๒ โคกสำโรง - บ้านหมี่ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกเข้าหมู่บ้าน รวม ๓ ช่วง ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน)
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๒๑๒๒ โคกสำโรง - บ้านหมี่ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๒๑๒๒
โคกสำโรง - บ้านหมี่
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอโคกสำโรง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ผ่านบ้านบางกระพี้ บ้านหินปัก ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านหมี่
ช่วงบ้านหมี่ - บ้านดอนดึง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านหมี่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๕ ผ่านบ้านหินปัก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๒๖
ผ่านวัดแหลมเพิ่มสามัคคี ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดอนดึง
ช่วงบ้านหมี่ - บ้านห้วยกรวด
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านหมี่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๕ ถึงสะพานชลประทานที่ ๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๖
ถึงสะพานชลประทานที่ ๒๑ แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น ผ่านบ้านหนองเมือง
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยกรวด
ช่วงบ้านหมี่ - บ้านมะขามเฒ่า
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านหมี่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๕ ถึงสะพานชลประทานที่ ๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๖
ถึงบ้านหนองทรายขาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๒๔ ถึงสามแยกบ้านสระเตย
แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น ผ่านบ้านสระเตย ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านมะขามเฒ่า
ประกาศ
ณ วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ฉัตรชัย
พรหมเลิศ
ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดลพบุรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๖ สิงหาคม
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๐ สิงหาคม
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๘๖ ง/หน้า ๑๘๓/๙ สิงหาคม ๒๕๕๕ |
671611 | ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี | ประกาศกระทรวงคมนาคม
ประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง
การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
จัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสาร อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในที่ดินที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน
สฎ.๑๐๕๘ ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื้อที่ ๗ ไร่ ๑ งาน
๗๔.๘๐ ตารางวา โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
ชัชชาติ
สิทธิพันธุ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอเกาะสมุย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๗ สิงหาคม ๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๑๔ สิงหาคม
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๒๐ ง/หน้า ๑๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ |
668965 | ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 2 | ประกาศกระทรวงคมนาคม
ประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง
การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดราชบุรี แห่งที่ ๒[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
กำหนดจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดราชบุรี แห่งที่ ๒ ในที่ดินที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน
รบ. ๗๗๒ ตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เนื้อที่ ๗ ไร่ ๑ งาน ๘๒
ตารางวา โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ชัชชาติ
สิทธิพันธุ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดราชบุรี
แห่งที่ ๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๒ มิถุนายน
๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๒ มิถุนายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๖/๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๕ |
668259 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ 64 (พ.ศ. 2554) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสงขลา สายที่ 8453 สะบ้าย้อย - เขาแดง เป็น สะบ้าย้อย - เขาแดง - ด่านบ้านประกอบ | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสงขลา
ฉบับที่ ๖๔
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔
จังหวัดสงขลา สายที่ ๘๔๕๓ สะบ้าย้อย - เขาแดง เป็น
สะบ้าย้อย -
เขาแดง - ด่านบ้านประกอบ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา
ฉบับที่ ๖๒ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๒
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่ ๘๔๕๓
สะบ้าย้อย - เขาแดง ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๓
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๔
เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๔
จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดสงขลา สายที่ ๘๔๕๓ สะบ้าย้อย - เขาแดง เป็น สะบ้าย้อย - เขาแดง - ด่านบ้านประกอบ
โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
หมวด ๔ สายที่ ๘๔๕๓ สะบ้าย้อย - เขาแดง - ด่านบ้านประกอบ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสะบ้าย้อย
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๙๕ ผ่านบ้านล่องควน บ้านคูหา บ้านเขาแดง บ้านทุ่งลัง
บ้านพรุหวา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๑๓ ผ่านบ้านปอเนาะ
แยกซ้ายไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางด่านบ้านประกอบ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
วิญญู ทองสกุล
ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสงขลา
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๕ มิถุนายน
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๘ มิถุนายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๕๖ ง/หน้า ๒๒๙/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ |
668257 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกำแพงเพชร ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2555) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 670 กำแพงเพชร - บ้านวังเจ้า เป็นหมวด 4 จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ 2664 กำแพงเพชร - บ้านหนองตาอิฐ | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดกำแพงเพชร
ฉบับที่ ๔๗
(พ.ศ. ๒๕๕๕)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่
๖๗๐ กำแพงเพชร - บ้านวังเจ้า เป็น
หมวด ๔
จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๒๖๖๔ กำแพงเพชร - บ้านหนองเตาอิฐ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๗๕๘
(พ.ศ. ๒๕๓๔) ลงวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๔
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๗๐ กำแพงเพชร -
บ้านวังเจ้า ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกำแพงเพชรได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกำแพงเพชร
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๔ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๗๐ กำแพงเพชร -
บ้านวังเจ้า เป็น หมวด ๔ จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๒๖๖๔ กำแพงเพชร - บ้านหนองเตาอิฐ
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๒๖๖๔ กำแพงเพชร - บ้านหนองเตาอิฐ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกำแพงเพชรไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๓๖ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๗๙
ถึงบ้านหนองปลิง ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข กพ. ๓๐๐๒ ผ่านบ้านเกาะสะบ้า
บ้านเกาะน้ำโจน บ้านหนองวัวดำ บ้านท่าคูณ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองเตาอิฐ
ประกาศ
ณ วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
วันชัย
สุทิน
ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดกำแพงเพชร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๕ มิถุนายน
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๘ มิถุนายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๕๖ ง/หน้า ๒๒๘/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ |
667486 | ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา | ประกาศกระทรวงคมนาคม
ประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง
ยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา[๑]
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ประกาศกำหนดให้บริเวณที่ดินโฉนดเลขที่
๕๔๑ ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เป็นสถานที่ใช้เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๐๓ ลงวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๓๓
มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ตามความในมาตรา ๑๑๕
วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
และกรมการขนส่งทางบกได้ออกใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยาตามความในมาตรา
๑๑๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยกำหนดอายุใบอนุญาต ๒๐ ปี
ตั้งแต่วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๓๓ ครบกำหนดวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ นั้น
เนื่องจากใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้สิ้นอายุลง
ประกอบกับผู้ขอรับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาต
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจึงประกาศยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยาดังกล่าวข้างต้นเสีย
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ชัชชาติ
สิทธิพันธุ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ พฤษภาคม
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๒ พฤษภาคม
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๕ |
667405 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. 2555 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
อาศัยอำนาจตามความในวรรคสามของข้อ ๑๓ (๒) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙
(พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีความสูงตั้งแต่
๓.๖๐ เมตร ขึ้นไป ต้องมีเกณฑ์การทรงตัวไม่ต่ำกว่า ๓๐ องศา
ข้อ ๒ การทดสอบการทรงตัวให้กระทำบนเครื่องทดสอบการทรงตัวที่มีคุณสมบัติและคุณลักษณะดังนี้
(๑)
สามารถวัดค่ามุมเอียงในการทดสอบได้ไม่น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๑
โดยมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน ๐.๑ องศา
(๒) มีอัตราความเร็วในการยกเอียงขั้นต่ำ (Minimum Tilt Rate) ได้น้อยกว่า ๐.๐๕
องศาต่อวินาที
(๓) พื้นทดสอบ (Platform) ต้องมีระดับสม่ำเสมอและไม่บิดตัว
และต้องมีสันขอบ (Trip Rail) หรืออุปกรณ์ป้องกันการลื่นไถลด้านข้างของล้อรถ
ที่มีความสูงไม่เกินสองในสามของความสูงแก้มยางของรถที่ทำการทดสอบ
(๔) มีอุปกรณ์ป้องกันการพลิกคว่ำที่เหมาะสม เช่น
โซ่หรือลวดสลิงคล้องเพลาหรือรถ หรือแผงรับด้านข้าง
ข้อ ๓ การทดสอบการทรงตัวของรถให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังนี้
(๑) การเตรียมรถก่อนเข้ารับการทดสอบ
(ก) รถต้องอยู่ในสถานะรถเปล่าไม่มีน้ำหนักบรรทุก
และเครื่องยนต์ต้องไม่ทำงานขณะทำการทดสอบ
(ข) เชื้อเพลิงต้องมีไม่เกินร้อยละ ๙๐
ของความจุถังเชื้อเพลิง และมีการป้องกันการรั่วไหลของเชื้อเพลิง
(ค)
ระบบรองรับน้ำหนักของรถต้องอยู่ในสภาพการใช้งานปกติ
(๒) วิธีการทดสอบ
(ก) ชั่งน้ำหนักรถเพื่อหาน้ำหนักรถในแต่ละด้าน
(ข) จอดรถบนพื้นทดสอบ
โดยให้ด้านข้างของรถที่มีน้ำหนักมากกว่าอยู่ตรงกันข้ามกับพื้นทดสอบด้านที่จะถูกยกขึ้น
(ค) ติดหรือยึดอุปกรณ์เพื่อป้องกันการพลิกคว่ำของรถ
(ง) ยกพื้นทดสอบขึ้น
ข้อ ๔ รถที่ผ่านการทดสอบต้องสามารถทรงตัวในขณะที่พื้นทดสอบเอียงทำมุมกับแนวระนาบได้ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ
๑ และต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้
(๑) ยางของล้อรถด้านที่ถูกยกขึ้นต้องสัมผัสกับพื้นทดสอบอย่างน้อยหนึ่งเส้น
(๒)
ไม่มีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบใดของรถสัมผัสกับพื้นทดสอบเว้นแต่ยางตาม (๑)
(๓) ไม่มีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบใดของรถสัมผัสกัน
เว้นแต่ได้มีการออกแบบมาให้สัมผัสกันตามสภาพการใช้งานปกติ
(๔) ไม่มีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบใดของรถเกิดการชำรุดเสียหายหรือเคลื่อนเปลี่ยนตำแหน่งไปจากสภาพการใช้งานปกติ
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีความสูงตั้งแต่
๓.๖๐ เมตรขึ้นไป ตามเงื่อนเวลา ดังต่อไปนี้
(๑) รถที่จดทะเบียนใหม่ และรถที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา
๗๙ แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่เฉพาะที่มีการเปลี่ยนตัวถัง
ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖
(๒) รถที่จดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖
ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑
(๓) รถที่จดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖
แต่ได้มีการเปลี่ยนตัวถังตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ให้มีผลใช้บังคับตาม (๑)
ข้อ ๖ ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถตามข้อ ๕
ต้องยื่นขอนำรถเข้ารับการทดสอบการทรงตัวกับกรมการขนส่งทางบกหรือหน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
สำหรับรถที่ทำการทดสอบและผ่านเกณฑ์การทรงตัวตามข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจของยุโรปแห่งสหประชาชาติ
ข้อกำหนดที่ ๑๐๗ ว่าด้วยการสร้างรถ M2 หรือ M3 อนุกรมที่ ๓ ขึ้นไป (United Nations Economic Commission for Europe, Regulation No. 107: Uniform provisions concerning the approval of category M2 or M3 vehicles with regard to their general construction, Series 03) ให้ถือว่ารถนั้นมีการทรงตัวตามเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ
๑ โดยได้รับยกเว้นการทดสอบตามวรรคหนึ่ง
แต่ต้องยื่นผลการทดสอบการทรงตัวตามข้อกำหนดดังกล่าวต่อกรมการขนส่งทางบก
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕
สมชัย ศิริวัฒนโชค
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ พฤษภาคม
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๒ พฤษภาคม
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๒๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕ |
667399 | ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แห่งที่ 2 | ประกาศกระทรวงคมนาคม
ประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง
การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แห่งที่ ๒[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
จัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แห่งที่ ๒
ในบริเวณที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๑๒๓ ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เนื้อที่
๘ ไร่ ๑ งาน ๗ ตารางวา โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕
ชัชชาติ
สิทธิพันธุ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหาดใหญ่
จังหวัดสงขลา แห่งที่ ๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ พฤษภาคม
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๒ พฤษภาคม
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๒๓/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕ |
665912 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดยโสธร ฉบับที่ 20 (พ.ศ. 2554) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดยโสธร
ฉบับที่ ๒๐
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดยโสธร
ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๒๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดยโสธร
สายที่ ๓๑๐๐๒ ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดยโสธร
ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดยโสธร
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๔
จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ประวัติ
ถีถะแก้ว
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดยโสธร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ เมษายน ๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๐ เมษายน ๒๕๕๕
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่
๓๗ ง/หน้า ๘๗/๑๒ เมษายน ๒๕๕๕ |
665910 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดยโสธร ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดยโสธร
ฉบับที่ ๑๙
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดยโสธร
ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดยโสธร ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดยโสธร สายที่
๔๗๐๖ ยโสธร - บ้านคำครตา โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๔๗๐๖
ยโสธร - บ้านคำครตา
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดยโสธร
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓ ผ่านบ้านสำราญ บ้านเชือก ถึงสามแยก กม. ที่ ๒๐
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยส. ๒๐๒๒ ผ่านบ้านคำแดง ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคำครตา
ช่วงยโสธร - บ้านสามเพีย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดยโสธร
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓ ถึงบ้านเชือก แยกซ้ายไปตามถนนทางหลวงท้องถิ่น
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสามเพีย
ช่วงยโสธร - บ้านขั้นไดใหญ่
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดยโสธร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓
ผ่านบ้านสำราญ ถึงบ้านน้ำโผ่ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยส. ๓๐๑๓ ผ่านบ้านเดิด
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านขั้นไดใหญ่
ช่วงยโสธร - บ้านผือ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดยโสธร
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓ ผ่านบ้านสำราญ ถึงบ้านดู่ทุ่ง
แยกซ้ายไปตามถนนทางหลวงท้องถิ่น ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านผือ
ช่วงยโสธร - บ้านดอนกลอย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดยโสธร
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓ ผ่านบ้านสำราญ ถึงบ้านหนองแสง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยส. ๓๐๙๓ ผ่านบ้านค้อใต้ บ้านกล้วย บ้านดอนยาง
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดอนกลอย
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ประวัติ
ถีถะแก้ว
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดยโสธร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ เมษายน ๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๐ เมษายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๓๗ ง/หน้า ๘๕/๑๒ เมษายน ๒๕๕๕ |
665908 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ 67 (พ.ศ. 2554) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดชลบุรี สายที่ 6080 ตลาดใหม่บางพระ-สวนสัตว์เปิดเขาเขียว เป็น บางแสน-ตลาดใหม่บางพระ-สวนสัตว์เปิดเขาเขียว | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดชลบุรี
ฉบับที่ ๖๗
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดชลบุรี
สายที่ ๖๐๘๐
ตลาดใหม่บางพระ-สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
เป็น
บางแสน-ตลาดใหม่บางพระ-สวนสัตว์เปิดเขาเขียว[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี
ฉบับที่ ๕๙ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ลงวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๒
กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดชลบุรี สายที่ ๖๐๘๐ ตลาดใหม่บางพระ-สวนสัตว์เปิดเขาเขียวขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี
ได้พิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงเส้นทางสายดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๐/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๔
จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดชลบุรี สายที่ ๖๐๘๐ ตลาดใหม่บางพระสวนสัตว์เปิดเขาเขียว
เป็น บางแสน-ตลาดใหม่บางพระ-สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๖๐๘๐ บางแสนตลาดใหม่บางพระสวนสัตว์เปิดเขาเขียว
รายละเอียดเส้นทาง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณถนนข้าวหลาม
(ด้านถนนบางแสนสายสอง) ไปตามถนนข้าวหลาม ถนนเลี่ยงตลาดหนองมน
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔๔ ผ่านหมู่บ้านบางแสนวิลล์ หมู่บ้านมณีแก้ว
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเหมือง วัดสันติภักดิ์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออก แยกขวาไปตามถนนสุขาภิบาลบางพระ ๗
ผ่านสำนักงานชลประทาน ๙ ถึงตลาดใหม่บางพระ กลับไปตามเส้นทางเดิม
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔๔ ผ่านสนามกอล์ฟบางพระ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดชลบุรี ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ
วัดบ้านห้วยกรุ วัดเขาไม้แดง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางสวนสัตว์เปิดเขาเขียว
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
คมสัน เอกชัย
ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดชลบุรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ เมษายน ๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๐ เมษายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๓๗ ง/หน้า ๘๓/๑๒ เมษายน ๒๕๕๕ |
665222 | ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร
| ประกาศกระทรวงคมนาคม
ประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง
การจัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
กำหนดให้จัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร ในบริเวณที่ดินตามโฉนดเลขที่
๓๙๓๙ ตำบลบ้านนา อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร เนื้อที่ ๕ ไร่ โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
ชัชชาติ
สิทธิพันธุ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒ เมษายน ๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๑๐ เมษายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๓๒/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๕ |
665220 | ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกระบี่ | ประกาศกระทรวงคมนาคม
ประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง
การจัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกระบี่[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
กำหนดให้จัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกระบี่ ในบริเวณโฉนดที่ดินเลขที่ ๓๗๖๒๑, ๗๐๘๕, ๖๙๐๖, ๔๕๒๗๐ และ ๑๘๒๖๔
ตำบลกระบี่ใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เนื้อที่ ๙ ไร่ ๑ งาน ๕๐ ตารางวา
โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
ชัชชาติ
สิทธิพันธุ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกระบี่
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒ เมษายน ๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๑๐ เมษายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๓๑/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๕ |
665058 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบเข็มขัดนิรภัยและประเภทของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ต้องจัดให้มีเข็มขัดนิรภัย พ.ศ. 2555 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดแบบเข็มขัดนิรภัยและประเภทของรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ต้องจัดให้มีเข็มขัดนิรภัย
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดประเภทของรถและแบบของเข็มขัดนิรภัย ลงวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๐ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประเภทรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยเป็นการเพิ่มเติม
อาศัยอำนาจตามความข้อ ๑ (๒) (ณ) และข้อ ๑๕ (๒) (ฌ) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ.
๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดประเภทของรถและแบบของเข็มขัดนิรภัย ลงวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๐
ข้อ ๒ เข็มขัดนิรภัยสำหรับรถให้มี
๒ แบบดังนี้
(๑) แบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่ หรือเข็มขัดนิรภัยแบบ ๓ จุด (three-point belt)
(๒) แบบรัดหน้าตัก หรือเข็มขัดนิรภัยแบบ ๒ จุด (lap belt)
ข้อ ๓ เข็มขัดนิรภัยตามข้อ ๒ ต้องมีมาตรฐานดังนี้
(๑) เข็มขัดนิรภัยที่ติดตั้งในรถที่ผลิตหรือประกอบภายในประเทศ
ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเข็มขัดนิรภัยสำหรับรถยนต์
ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(๒) เข็มขัดนิรภัยที่ติดตั้งในรถที่นำเข้าจากต่างประเทศ
ต้องมีมาตรฐานตามข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจของยุโรปแห่งสหประชาชาติ
ข้อกำหนดที่ ๑๖ ว่าด้วยเรื่องเข็มขัดนิรภัยอนุกรมที่ ๐๔ (United Nation Economic Commission for Europe, Regulation No.๑๖ : Safety Belts, series ๐๔) ขึ้นไป
หรือมีมาตรฐานตาม (๑) หรือตามที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๔ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน
๒๐ ที่นั่ง (เฉพาะรถตู้โดยสาร) ในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง
และการขนส่งส่วนบุคคล และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของทุกประเภทการขนส่ง
ที่ผลิต ประกอบ หรือนำเข้า ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยดังนี้
(๑) แบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่
สำหรับที่นั่งผู้ขับรถและที่นั่งตอนเดียวกับผู้ขับรถที่อยู่ด้านริมสุด
(๒) แบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่ หรือแบบรัดหน้าตัก
สำหรับที่นั่งอื่นนอกจาก (๑)
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในกรณีรถนั้นมีการจัดวางที่นั่งตามความยาวของรถ
ข้อ ๕ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน
๒๐ ที่นั่ง (เฉพาะรถตู้โดยสาร) ในประเภทการขนส่งประจำทางและการขนส่งไม่ประจำทาง
ที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่
๑ มกราคม ๒๕๕๖
ข้อ ๖ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน
๑๕ ที่นั่ง (ลักษณะอื่นที่มิใช่รถตู้โดยสาร) ในประเภทการขนส่งประจำทาง
การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งส่วนบุคคล และรถขนาดเล็กที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน
๑๕ ที่นั่ง ในประเภทการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม
๒๕๓๗ เป็นต้นไป ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยดังนี้
(๑) แบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่
สำหรับที่นั่งผู้ขับรถและที่นั่งตอนเดียวกับผู้ขับรถที่อยู่ด้านริมสุด
(๒) แบบรัดหน้าตัก สำหรับที่นั่งตอนกลางระหว่างที่นั่งผู้ขับรถและที่นั่งตอนเดียวกับผู้ขับรถที่อยู่ด้านริมสุด
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
สมชัย ศิริวัฒนโชค
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖ มีนาคม ๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๖ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๕๓ ง/หน้า ๒๓/๒๑ มีนาคม ๒๕๕๕ |
664812 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพังงา ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนดเส้นทางรถโดยสารประจำทางหมวด 4 สายที่ 8560 ท่าเทียบเรือคุระบุรี - บางติบ | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพังงา
ฉบับที่ ๑๒
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางรถโดยสารประจำทางหมวด ๔
สายที่ ๘๕๖๐
ท่าเทียบเรือคุระบุรี บางติบ[๑]
ด้วยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพังงา
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ ชื่อเส้นทาง
ท่าเทียบเรือคุระบุรี - บางติบ
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพังงา ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐ และได้อนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๑
จึงให้กำหนดเส้นทางรถโดยสารประจำทางหมวด ๔ จังหวัดพังงา สายที่ ๘๕๖๐
ท่าเทียบเรือคุระบุรี - บางติบ โดยมีรายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๘๕๖๐ ท่าเทียบเรือคุระบุรี - บางติบ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าเทียบเรือคุระบุรี
ไปตามทางหลวงชนบท (พง.๒๐๑๗) ถึงสามแยกบ้านหินลาด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔ ผ่านที่ว่าการอำเภอคุระบุรี ถึงสามแยกบ้านนางย่อน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท
(พง.๒๐๐๑) ผ่านบ้านบางแดด ถึงสามแยกบ้านบางติบ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท (พง.๑๐๒๕)
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านบางติบ
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ธำรงค์
เจริญกุล
ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพังงา
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ มีนาคม ๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๒/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕ |
664566 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่ตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ พ.ศ. 2555 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
ตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่ตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
พ.ศ. ๒๕๕๕
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้มีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความเห็นชอบตัวอักษร
ภาพ หรือเครื่องหมายเพื่อการโฆษณาที่ตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประจำทางและไม่ประจำทาง
ลงวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๘
และประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบรูปภาพที่ปรากฏบนตัวถังรถโดยสารไม่ประจำทาง
ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไว้แล้ว นั้น
เพื่อให้การกำหนดตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายอื่นใดที่ด้านข้าง
ด้านหน้าและด้านท้ายของตัวถังรถ เป็นไปอย่างเรียบร้อย เหมาะสมสำหรับรถแต่ละประเภท
สมควรปรับปรุงประกาศดังกล่าวเสียใหม่ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๒) (จ) ข้อ ๑๐ (๒)
(ค) และข้อ ๑๕ (๒) (ฉ) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ความเห็นชอบตัวอักษร
ภาพ
หรือเครื่องหมายเพื่อการโฆษณาที่ตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประจำทางและไม่ประจำทาง
ลงวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
(๒) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบรูปภาพที่ปรากฏบนตัวถังรถโดยสารไม่ประจำทาง ลงวันที่ ๑
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
(๓) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบรูปภาพที่ปรากฏบนตัวถังรถโดยสารไม่ประจำทาง (ฉบับที่ ๒)
ลงวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙
(๔) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบรูปภาพที่ปรากฏบนตัวถังรถโดยสารไม่ประจำทาง (ฉบับที่ ๓)
ลงวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๕) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ห้ามทำรูปภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ
บนตัวถังรถบรรทุกและรถโดยสารส่วนบุคคล ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ห้ามทำรูปภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ บนตัวถังรถบรรทุกและรถโดยสารส่วนบุคคล
(ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(๑) รูปภาพประจำรถ หมายความว่า
ตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายอื่นใดที่ตัวถังรถ
ที่มิได้มุ่งหมายเพื่อใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลสินค้าหรือบริการ
(๒) รูปภาพเพื่อการโฆษณา หมายความว่า
ตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายอื่นใด ที่นำมาติดกับตัวถังรถเป็นการชั่วคราว
โดยมุ่งหมายเพื่อใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลสินค้าหรือบริการ
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๓ ประเภทและลักษณะของรถที่ให้มีรูปภาพประจำรถหรือรูปภาพเพื่อการโฆษณา
รวมทั้งตำแหน่ง ขนาด และเงื่อนไขของการมีรูปภาพประจำรถหรือรูปภาพเพื่อการโฆษณา
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ข้อ ๔ รูปภาพประจำรถหรือรูปภาพเพื่อการโฆษณาต้องไม่มีลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น
รูปภาพล้อเลียนผู้นำต่างประเทศ หรือข้อความที่ส่อไปในทางดูหมิ่น
ดูถูกประชาชนของประเทศอื่น เป็นต้น
(๒)
กระทบต่อความมั่นคงของรัฐและเกียรติภูมิของประเทศไทยหรือขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ เช่น
รูปภาพหรือข้อความที่สนับสนุนให้ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น
(๓) ขัดต่อกฎหมายอื่น เช่น รูปภาพหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
เป็นต้น
(๔) ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรม หรือวัฒนธรรมอันดีของประชาชน
เช่น รูปภาพหรือข้อความที่ส่อไปในทางลามก อนาจาร เป็นต้น
(๕) ขัดต่อลัทธิหรือความเชื่อทางศาสนา
หรืออาจเป็นประเด็นข้อขัดแย้งทางศาสนา เช่น รูปภาพหรือข้อความล้อเลียนศาสดาหรือผู้นำทางศาสนา
เป็นต้น
(๖) ก่อให้เกิดอันตรายหรือก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน
เช่น รูปภาพหรือข้อความที่เป็นสีสะท้อนแสง เป็นต้น
(๗) ละเมิดหรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เช่น
รูปภาพหรือข้อความดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทผู้อื่น เป็นต้น
(๘) มีข้อความหรือถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม เช่น ถ้อยคำหยาบคาย คำผวน
คำแสลงที่สื่อความหมายในทางลามก อนาจาร เป็นต้น
ข้อ ๕ รูปภาพประจำรถหรือรูปภาพเพื่อการโฆษณาต้องไม่ปิดทับเครื่องหมายของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
เครื่องหมายที่ต้องให้ปรากฏประจำรถ หมายเลขเส้นทาง ชื่อเส้นทาง โคมไฟ
หรือข้อความอื่นที่กฎหมายกำหนด เช่น ข้อความเกี่ยวกับการใช้ประตูฉุกเฉิน
ทางออกฉุกเฉิน และต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ของรถ เช่น
ประตูฉุกเฉิน ประตูอัตโนมัติ จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ
หมวด ๒
รูปภาพประจำรถ
ข้อ ๖ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง
ให้มีรูปภาพประจำรถได้แต่เฉพาะในตำแหน่งด้านข้างภายนอกตัวถังรถ
โดยไม่รวมถึงส่วนของตัวถังที่เป็นกระจกหรือบานหน้าต่าง
ข้อ ๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่ประสงค์จะมีรูปภาพประจำรถ
ให้ยื่นขออนุญาตพร้อมด้วยหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีที่มีรูปภาพประจำรถที่ตัวถังรถแล้ว
ให้ยื่นขออนุญาตพร้อมด้วยภาพถ่ายที่เป็นภาพสี บริเวณด้านข้าง ด้านหน้า
และด้านท้ายของตัวถังรถนั้น
(๒) กรณีที่ยังไม่มีรูปภาพประจำรถที่ตัวถังรถ ให้ยื่นขออนุญาตพร้อมด้วยแบบ
ตำแหน่ง และลักษณะของรูปภาพประจำรถที่จะกำหนดให้มีขึ้น
ข้อ ๘ การยื่นขออนุญาตมีรูปภาพประจำรถ ให้ยื่น ณ
สถานที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ
สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก
(๒)
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่มีภูมิลำเนาในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้ยื่น ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ออกใบอนุญาต
ข้อ ๙ เมื่อได้รับคำขออนุญาตแล้ว
ให้ทำการตรวจสอบหลักฐานตามข้อ ๗
และนำเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดและปรับปรุงเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด เป็นผู้พิจารณาอนุญาต
ข้อ ๑๐ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล
รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในประเภทการขนส่งไม่ประจำทางและในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล
และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่ใช้ในการประกอบการขนส่งระหว่างประเทศในประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง
และในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล
อาจจัดให้มีรูปภาพประจำรถในตำแหน่งที่เหมาะสมตามสมควร แต่รูปภาพประจำรถนั้นจะต้องไม่มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๔ และข้อ ๕ ของประกาศนี้
หมวด ๓
รูปภาพเพื่อการโฆษณา
ข้อ ๑๑ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครหรือในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
และรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง
ให้มีรูปภาพเพื่อการโฆษณาได้ในตำแหน่งและขนาด ดังต่อไปนี้
(๑) ด้านข้างภายนอกตัวถังรถ
ให้มีขนาดไม่เกินความยาวและความสูงของตัวถังรถ
เว้นแต่ส่วนของตัวถังที่เป็นกระจกหรือบานหน้าต่างให้มีขนาดความสูงไม่เกิน ๓๐
เซนติเมตร เมื่อวัดจากส่วนของตัวถังที่เป็นกระจกหรือบานหน้าต่างด้านล่างขึ้นไป
ในกรณีที่รถมีส่วนของตัวถังที่เป็นกระจกหรือบานหน้าต่างทั้งด้านบนและด้านล่างของตัวถังรถ
ให้มีรูปภาพเพื่อการโฆษณาได้แต่เฉพาะส่วนของตัวถังที่เป็นกระจกหรือบานหน้าต่างที่อยู่ด้านล่างของตัวถังรถเท่านั้น
และต้องมีขนาดตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง
(๒) ด้านข้างภายในตัวถังรถ
ซึ่งไม่รวมถึงส่วนของตัวถังที่เป็นกระจกหรือบานหน้าต่างที่ทำด้วยวัสดุโปร่งแสง
ให้มีขนาดเหมาะสมตามสมควร
ข้อ ๑๒ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งประจำทางระหว่างจังหวัดหรือระหว่างประเทศ
ให้มีรูปภาพเพื่อการโฆษณาได้ในตำแหน่งด้านข้างภายในตัวถังรถ
ซึ่งไม่รวมถึงส่วนของตัวถังที่เป็นกระจกหรือบานหน้าต่างที่ทำด้วยวัสดุโปร่งแสง
โดยให้มีขนาดเหมาะสมตามสมควร
ข้อ ๑๓ ในกรณีรถตามข้อ
๑๑ และข้อ ๑๒ เป็นรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๒ (จ) ๓ (จ) หรือ ๓ (ฉ)
ที่มีลักษณะเป็นรถตู้โดยสาร
ให้มีรูปภาพเพื่อการโฆษณาได้ในตำแหน่งด้านข้างภายนอกตัวถังรถ
ซึ่งไม่รวมถึงส่วนของตัวถังที่เป็นกระจกหรือบานหน้าต่างที่ทำด้วยวัสดุโปร่งแสง โดยให้มีขนาดไม่เกินความยาวและความสูงของตัวถังรถ
ข้อ ๑๔ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งประจำทางหรือไม่ประจำทางที่มิใช่เป็นรถมาตรฐาน
๒ (จ) ๓ (จ) หรือ ๓ (ฉ) ที่มีลักษณะเป็นรถตู้โดยสาร
ให้มีรูปภาพเพื่อการโฆษณาในตำแหน่งหรือขนาดที่แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในหมวดนี้ได้
แต่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือคณะกรรมการที่อธิบดีมอบหมายก่อนจึงจะจัดให้มีได้
ข้อ ๑๕ รูปภาพเพื่อการโฆษณาอาจจัดทำในลักษณะเป็นสติ๊กเกอร์
แผ่นฟิล์มปรุ หรือวัสดุอื่นใดที่เหมาะสมกับการติดที่ตัวถังรถ
รูปภาพเพื่อการโฆษณาบริเวณส่วนของตัวถังที่เป็นกระจกหรือบานหน้าต่างที่ทำด้วยวัสดุโปร่งแสง
ต้องทำด้วยวัสดุโปร่งแสงซึ่งสามารถทำให้ผู้โดยสารภายในรถมองเห็นสภาพภายนอกรถได้ดี
และบุคคลภายนอกรถสามารถมองเห็นสภาพภายในรถได้ด้วย
การติดรูปภาพเพื่อการโฆษณาที่ตัวถังรถ
ต้องติดให้แนบแน่นกับตัวถังรถอย่างเรียบร้อย โดยต้องไม่มีส่วนใดยื่นออกนอกตัวถังรถ
ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางหรือไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่ประสงค์จะมีรูปภาพเพื่อการโฆษณา
ให้ยื่นขออนุญาตก่อนที่จะดำเนินการเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วันทำการ
พร้อมด้วยหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) แบบ ตำแหน่ง ขนาด ลักษณะ และวัสดุของรูปภาพเพื่อการโฆษณา
(๒) บัญชีรถที่จะมีรูปภาพเพื่อการโฆษณา ซึ่งระบุหมายเลขทะเบียนรถ
กรณีเป็นรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งประจำทาง
ให้ระบุชื่อและหมายเลขเส้นทาง รวมทั้งหมายเลขประจำรถด้วย
(๓) กำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดการมีรูปภาพเพื่อการโฆษณา
การยื่นขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นขอได้ครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
หากจะขยายระยะเวลาการมีรูปภาพเพื่อการโฆษณาออกไปจากที่ได้รับอนุญาต
ให้ยื่นขออนุญาตล่วงหน้าก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาอย่างน้อย ๓ วันทำการ
โดยขอขยายได้ครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
ข้อ ๑๗ การยื่นขออนุญาตมีรูปภาพเพื่อการโฆษณา
ให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครหรือระหว่างจังหวัดที่มีต้นทางหรือปลายทางในเขตกรุงเทพมหานคร
หรือการขนส่งระหว่างประเทศ ให้ยื่น ณ สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก
(๒) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งประจำทางในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้ยื่น ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ออกใบอนุญาต
(๓)
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งประจำทางระหว่างจังหวัดที่มีทั้งต้นทางและปลายทางในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้ยื่น ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่เป็นต้นทาง
(๔) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง
ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งมีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ
สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก
(๕) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง
ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งมีภูมิลำเนาในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้ยื่น ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ออกใบอนุญาต
ข้อ ๑๘ การพิจารณาอนุญาตให้มีรูปภาพเพื่อการโฆษณา
ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน ดังต่อไปนี้
(๑) กรณียื่นขอ ณ สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก
ให้ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งผู้โดยสาร
หรือบุคคลผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาอนุญาต
(๒) กรณียื่นขอ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัด ให้ขนส่งจังหวัด
หรือบุคคลผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาอนุญาต
ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ได้รับอนุญาตให้มีรูปภาพเพื่อการโฆษณาต้องจัดให้มีสำเนาหนังสือแจ้งผลการได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี
พร้อมด้วยภาพถ่ายที่เป็นภาพสีของรูปภาพเพื่อการโฆษณาที่ได้รับอนุญาตประจำไว้ที่รถ เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้
และต้องจัดให้มีข้อความแสดงการได้รับอนุญาตไว้บริเวณมุมขวาด้านล่างของรูปภาพเพื่อการโฆษณานั้นเป็นตัวอักษรและตัวเลขสีดำ
ขนาดความสูงไม่น้อยกว่า ๑ เซนติเมตร พื้นสีขาว ดังนี้
อนุญาตตามหนังสือกรมการขนส่งทางบก/สำนักงานขนส่งจังหวัด
ที่
/
.. ลงวันที่
ตั้งแต่วันที่
ถึงวันที่
ข้อ ๒๐ เมื่อครบกำหนดตามที่ได้รับอนุญาตให้มีรูปภาพเพื่อการโฆษณาแล้ว
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องดำเนินการนำรูปภาพเพื่อการโฆษณาออกจากตัวถังรถ
และต้องทำให้ตัวถังรถเป็นดังเดิมเช่นเดียวกับในขณะที่ยังมิได้ติดรูปภาพเพื่อการโฆษณา
ข้อ ๒๑ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล
รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในประเภทการขนส่งไม่ประจำทางและในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล
รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่ใช้ในการประกอบการขนส่งระหว่างประเทศในประเภทการขนส่งไม่ประจำทางและในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล
อาจจัดให้มีรูปภาพเพื่อการโฆษณาในตำแหน่งที่เหมาะสมตามสมควร แต่รูปภาพเพื่อการโฆษณานั้นจะต้องไม่มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๔ และข้อ ๕ ของประกาศนี้
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๒๒ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งประจำทางและในประเภทการขนส่งไม่ประจำทางที่มีรูปภาพเพื่อการโฆษณาอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
และแตกต่างไปจากข้อกำหนดในประกาศนี้ ให้มีได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ
แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินกำหนดสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๒๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
สมชัย ศิริวัฒนโชค
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๑๒ มีนาคม ๒๕๕๕ |
664244 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุโขทัย ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2554) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสุโขทัย สายที่ 2371 สุโขทัย-บ้านด่านลานหอย-ทุ่งเสลี่ยม เป็น บ้านด่านลานหอย-ทุ่งเสลี่ยม | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสุโขทัย
ฉบับที่ ๒๕
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสุโขทัย
สายที่ ๒๓๗๑
สุโขทัย-บ้านด่านลานหอย-ทุ่งเสลี่ยม
เป็น
บ้านด่านลานหอย-ทุ่งเสลี่ยม[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุโขทัย
ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๗
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดสุโขทัย สายที่ ๒๓๗๑ ทุ่งเสลี่ยม-บ้านด่านลานหอย เป็น
สุโขทัย-บ้านด่านลานหอย-ทุ่งเสลี่ยม นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุโขทัยได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุโขทัย
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๔
จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดสุโขทัย สายที่ ๒๓๗๑ สุโขทัย - บ้านด่านลานหอย-ทุ่งเสลี่ยม เป็น
บ้านด่านลานหอย-ทุ่งเสลี่ยม โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังนี้ คือ
สายที่ ๒๓๗๑ บ้านด่านลานหอย-ทุ่งเสลี่ยม
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านด่านลานหอย
ไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ.สท. ๕๐๗๑ ผ่านบ้านหนองกวาง บ้านหนองจัง
บ้านวังน้ำขาว บ้านห้วยไคร้ ถึงบ้านห้วยทราย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๓๒๗
ผ่านบ้านน้ำดิบ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๘ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอทุ่งเสลี่ยม
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
จักริน
เปลี่ยนวงษ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสุโขทัย
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๕ มีนาคม ๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๖๙/๑ มีนาคม ๒๕๕๕ |
664242 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพะเยา ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพะเยา
ฉบับที่ ๒๑
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพะเยาได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้นเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพะเยา ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดพะเยา
เพื่อทดแทนเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จำนวน ๑๐ เส้นทาง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
๑. สายที่ ๒๖๕๔ พะเยา - ดอกคำใต้ - บ้านปิน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพะเยา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงทางแยกแม่ต๋ำ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๒๑ ถึงอำเภอดอกคำใต้ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๕๑ ผ่านบ้านถ้ำ
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านปิน
ช่วงพะเยา-บ้านปาง-บ้านปิน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพะเยา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
ถึงทางแยกแม่ต๋ำ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๒๑ ถึงอำเภอดอกคำใต้
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๕๑ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พย. ๔๐๑๗
ผ่านบ้านปาง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านปิน
๒. สายที่ ๒๖๕๕ พะเยา - บ้านหนองเล็งทราย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพะเยา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงอำเภอแม่ใจ แยกขวาไปตามถนนเทศบาลตำบลแม่ใจ
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองเล็งทราย
ช่วงพะเยา -
บ้านต๋อมดง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพะเยา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงบ้านร่องห้า แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พย.
๑๐๐๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านต๋อมดง
ช่วงพะเยา -
น้ำตกจำปาทอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพะเยา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงทางแยกบ้านต๊ำ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑๒๗ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณน้ำตกจำปาทอง
ช่วงพะเยา -
บ้านใหม่ท่ากอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพะเยา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงทางแยกบ้านแม่ปืม แยกซ้ายไปตามถนน อบจ.พย. ๓๐๖๕
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านใหม่ท่ากอง
๓. สายที่ ๒๖๕๖ พะเยา - แม่ใจ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพะเยา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงทางแยกแม่ต๋ำ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑๙๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอแม่ใจ
๔. สายที่ ๒๖๕๗ ปง - บ้านแฮะ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๒ ผ่านบ้านดอนแก้ว
บ้านดอนไชย บ้านหนองบัว ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแฮะ
๕. สายที่ ๒๖๕๘ ปง - บ้านน้ำปุก
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๘๘
ผ่านบ้านป่าคา บ้านนาอ้อม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านน้ำปุก
๖. สายที่ ๒๖๕๙ วงกลมบ้านห้วยข้าวก่ำ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยข้าวก่ำ
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๑ ผ่านบ้านจุน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พย.
๓๐๓๑ ผ่านบ้านดอนมูล บ้านศรีมาลัย บ้านหัวขัว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๒๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยข้าวก่ำ
๗. สายที่ ๒๖๖๐ เชียงคำ - บ้านห้วยข้าวก่ำ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเชียงคำ
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๒๑ ผ่านบ้านน้ำแวน บ้านแม่ต๋ำ บ้านห้วยงิ้ว
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๒๖ ผ่านบ้านร่องแมด บ้านน้ำจุน
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๙๒ ผ่านบ้านปงสนุก ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยข้าวก่ำ
๘. สายที่ ๒๖๖๑ เชียงคำ - บ้านสันปูเลย
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเชียงคำ
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๒๑ ถึงบ้านเชียงบาน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
พย. ๔๐๑๘ ผ่านบ้านจำบอน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสันปูเลย
ช่วงเชียงคำ -
ปางมดแดง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเชียงคำ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๒๑ ถึงบ้านเชียงบาน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พย. ๔๐๑๘ ถึงบ้านจำบอน
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พย. ๔๐๑๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสาร
ประจำทางบ้านปางมดแดง
๙. สายที่ ๒๖๖๒ เชียงคำ - ปง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเชียงคำ
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๔๘ ถึงบ้านฝายกวาง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑๗๙ ผ่านบ้านปางผักขม บ้านดอนเงิน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๒
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๑ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปง
ช่วงเชียงคำ -
ปางมะโอ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเชียงคำ
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๔๘ ผ่านบ้านฝายกวาง บ้านแฮะ บ้านปางค่า ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านปางมะโอ
๑๐. สายที่ ๒๖๖๓ วงกลมเชียงคำ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเชียงคำ
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๑๐ ผ่านบ้านสบสา บ้านร่องส้าน บ้านม่วงชุม
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๓ ผ่านบ้านทุ่งกล้วย ถึงบ้านสบบง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๒๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสาร
ประจำทางอำเภอเชียงคำ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
พงษ์ศักดิ์
วังเสมอ
ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพะเยา
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๕ มีนาคม ๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๖๕/๑ มีนาคม ๒๕๕๕ |
663928 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะ ขนาด และคุณสมบัติของเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถที่จะมีไว้ใช้อำนวยความสะดวกแก่คนพิการ พ.ศ. 2555 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดลักษณะ ขนาด และคุณสมบัติของเครื่องอุปกรณ์
สำหรับรถที่จะมีไว้ใช้อำนวยความสะดวกแก่คนพิการ
พ.ศ. ๒๕๕๕
โดยที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๕๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กำหนดให้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารอาจมีเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถที่จะมีไว้ใช้อำนวยความสะดวกแก่คนพิการได้
แต่ต้องมีลักษณะ ขนาด และคุณสมบัติในการใช้งานตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
ดังนั้น
เพื่อให้เครื่องอุปกรณ์สำหรับรถที่จะมีไว้ใช้อำนวยความสะดวกแก่คนพิการมีความเหมาะสมและความปลอดภัยในการใช้งาน
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ ทวิ (๓) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๕๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศกำหนดลักษณะ ขนาด
และคุณสมบัติของเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถที่จะมีไว้ใช้อำนวยความสะดวกแก่คนพิการไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(๑) รถคนพิการ (Wheelchair) หมายความว่า รถสำหรับคนพิการใช้ในการเคลื่อนที่
(๒) ประตูรถ หมายความว่า
ประตูทางขึ้นลงสำหรับรถคนพิการ คนพิการ หรือผู้โดยสาร
(๓) เครื่องยก (Lift) หมายความว่า อุปกรณ์ที่มีแป้นยก (Platform) เป็นส่วนประกอบ
และมีระบบควบคุมให้แป้นยกขึ้นหรือลง เพื่อให้รถคนพิการ คนพิการ หรือผู้โดยสาร
สามารถเคลื่อนที่ระหว่างห้องโดยสารและพื้นถนนหรือทางเท้าได้โดยสะดวกและปลอดภัย
(๔) ทางลาด (Ramp) หมายความว่า
อุปกรณ์สำหรับเชื่อมช่องว่างระหว่างพื้นห้องโดยสารกับพื้นถนนหรือทางเท้า
เพื่อให้รถคนพิการสามารถเคลื่อนที่ระหว่างห้องโดยสารและพื้นถนนหรือทางเท้าได้โดยสะดวกและปลอดภัย
(๕) อุปกรณ์ยึดตรึงรถคนพิการ (Wheelchair restraint system) หมายความว่า
อุปกรณ์สำหรับยึดตรึงรถคนพิการให้ติดอยู่ในพื้นที่จอดรถคนพิการอย่างมั่นคงและปลอดภัย
ข้อ ๒ เครื่องอุปกรณ์ที่จะมีไว้ใช้อำนวยความสะดวกแก่คนพิการ
ได้แก่ ที่นั่งสำรองสำหรับคนพิการ กริ่งสัญญาณหยุดรถ
ข้อมูลแสดงเส้นทางการเดินรถและจุดจอดรถ ประตูรถ เครื่องยก ทางลาด และพื้นที่จอดรถคนพิการ
ข้อ ๓ ที่นั่งสำรองสำหรับคนพิการต้องอยู่ในบริเวณที่ใกล้กับประตูรถ
และมีข้อความระบุว่า ที่นั่งสำรองคนพิการ ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อ ๔ กริ่งสัญญาณหยุดรถต้องอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับที่นั่งสำรองสำหรับคนพิการ
และต้องอยู่สูงจากพื้นห้องโดยสารไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกินกว่า ๑.๒๐
เมตร โดยบริเวณที่กดกริ่งสัญญาณต้องมีผิวสัมผัสที่แสดงว่าเป็นจุดกดกริ่งสัญญาณ
และเมื่อกดกริ่งสัญญาณต้องมีเสียงหรือสัญญาณไฟกระพริบแสดงบริเวณที่นั่งผู้ขับรถ
ข้อ ๕ ข้อมูลแสดงเส้นทางการเดินรถและจุดจอดรถต้องติดอยู่ในบริเวณที่ผู้โดยสารภายในรถสามารถมองเห็นได้โดยง่าย
ข้อ ๖ ประตูรถต้องมีลักษณะ
ขนาด และคุณสมบัติดังนี้
(๑) มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๙๐ เซนติเมตร
และต้องมีแสงส่องสว่างเพียงพอสำหรับการใช้งานในเวลากลางคืน
(๒) ติดตั้งเครื่องยกหรือทางลาดที่มีลักษณะ ขนาด
และคุณสมบัติตามที่กำหนดในข้อ ๗ หรือข้อ ๘
ข้อ ๗ เครื่องยกต้องมีลักษณะ
ขนาด และคุณสมบัติดังนี้
(๑) มีแป้นยกที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๘๐ เซนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่า
๑.๒๐ เมตร โดยต้องรับน้ำหนักคนพิการและรถคนพิการได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยเมื่อใช้งาน
(๒) ระบบจะทำงานต่อเมื่อรถจอดหยุดนิ่ง
โดยผู้ขับรถเป็นผู้ควบคุมการทำงาน
(๓)
มีอุปกรณ์ป้องกันมิให้รถคนพิการเคลื่อนที่ในขณะที่เครื่องยกกำลังทำงาน
โดยต้องทำการยึดรถคนพิการไว้ก่อนที่แป้นยกจะทำงาน
(๔) มีสัญญาณเสียงหรือสัญญาณไฟกระพริบแสดงในขณะที่ระบบกำลังทำงาน
ข้อ ๘ ทางลาดต้องมีลักษณะ
ขนาด และคุณสมบัติดังนี้
(๑) มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๘๐ เซนติเมตร
โดยเมื่อวางเทียบกับทางเท้าต้องมีความลาดชันไม่เกินกว่า ๑ ต่อ ๘
ในแนวตั้งต่อแนวราบ และกรณีที่วางเทียบกับระดับพื้นดินต้องมีความลาดชันไม่เกินกว่า
๑ ต่อ ๓ ในแนวตั้งต่อแนวราบ
โดยต้องรับน้ำหนักคนพิการและรถคนพิการได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยเมื่อใช้งาน
กรณีที่มีความยาวมากกว่า ๑.๒๐ เมตร ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันมิให้รถคนพิการตกจากทางลาดด้วย
(๒) ระบบจะทำงานต่อเมื่อรถจอดหยุดนิ่ง
(๓) มีอุปกรณ์ป้องกันมิให้รถคนพิการตกจากทางลาด
โดยขอบมุมของทางลาดต้องไม่มีส่วนแหลมคม
(๔) ในกรณีที่เป็นแบบถอดได้ ต้องติดตั้งอย่างมั่นคงแข็งแรง
มีความปลอดภัยในการใช้งาน และต้องจัดเก็บในที่ที่เหมาะสม
ข้อ ๙ พื้นที่จอดรถคนพิการต้องมีลักษณะ
ขนาด และคุณสมบัติดังนี้
(๑) อยู่ใกล้บริเวณประตูรถ โดยมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๗๕ เซนติเมตร
ยาวไม่น้อยกว่า ๑.๓๐ เมตร และมีพื้นผิวแบบกันการลื่นไถล
(๒)
ติดตั้งอุปกรณ์ยึดตรึงรถคนพิการที่สามารถปลดออกได้ง่ายในกรณีฉุกเฉิน
(๓) ติดตั้งกริ่งสัญญาณหยุดรถในบริเวณที่ใกล้เคียงกับที่นั่งสำหรับคนพิการที่ใช้รถคนพิการ
โดยต้องอยู่สูงจากพื้นห้องโดยสารไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกินกว่า ๑.๒๐
เมตร
และเมื่อกดกริ่งสัญญาณต้องมีเสียงหรือสัญญาณไฟกระพริบแสดงบริเวณที่นั่งผู้ขับรถ
(๔) ติดสัญลักษณ์รูปภาพแสดงคนพิการตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศในบริเวณที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
โดยมีข้อความ พื้นที่กำหนดให้ใช้เฉพาะผู้ใช้รถคนพิการ
ข้อ ๑๐ กรณีพื้นที่จอดรถคนพิการมีการติดตั้งที่นั่งผู้โดยสาร
ที่นั่งผู้โดยสารดังกล่าวต้องมีลักษณะและคุณสมบัติดังนี้
(๑) ที่นั่งแบบปรับพับเก็บได้
เมื่อพับเก็บแล้วต้องไม่ยื่นล้ำเข้าไปในพื้นที่จอดรถคนพิการ
(๒) ที่นั่งแบบถอดได้ ต้องถอดรื้อได้ง่ายโดยผู้ประจำรถ
บริเวณที่นั่งผู้โดยสารในพื้นที่จอดรถคนพิการต้องมีข้อความ กรุณาสละพื้นที่ว่างสำหรับคนพิการที่ใช้รถคนพิการ
ข้อ ๑๑ รถที่มีเครื่องอุปกรณ์ที่จะมีไว้ใช้อำนวยความสะดวกแก่คนพิการต้องติดสัญลักษณ์รูปภาพแสดงคนพิการตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศที่กระจกกันลมหน้า
กระจกกันลมหลัง และประตูทางขึ้นลง ในบริเวณที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อ ๑๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
สมชัย ศิริวัฒนโชค
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑. สัญลักษณ์รูปภาพแสดงคนพิการ ท้ายประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดลักษณะ ขนาด และคุณสมบัติของเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถที่จะมีไว้ใช้อำนวยความสะดวกแก่คนพิการ
พ.ศ. ๒๕๕๕
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ กุมภาพันธ์
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๗ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๒๐/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ |
662638 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดลำพูน
ฉบับที่ ๓๙
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูนได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๔
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลำพูน สายที่
๒๖๖๕ ลี้ - บ้านก้อ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๒๖๖๕ ลี้ - บ้านก้อ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอลี้
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลพ. ๓๐๐๘
ผ่านสวนป่าแม่หาด - แม่ก้อ บ้านเด่นเหม้า บ้านห้วยทรายขาว
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาน โรงเรียนบ้านหนองมะล้อ บ้านผาต้าย
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘๗ ผ่านที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิง (บ้านก้อ) องค์การบริหารส่วนตำบลก้อ
สถานีตำรวจภูธรก้อ โรงเรียนบ้านก้อจัดสรร ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านก้อ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ภุชงค์
โพธิกุฎสัย
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดลำพูน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓ กุมภาพันธ์
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๐ กุมภาพันธ์
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๒๓๓/๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ |
662636 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมหาสารคาม ฉบับที่ 48 (2554) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดมหาสารคาม
ฉบับที่ ๔๘
(๒๕๕๔)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมหาสารคาม
ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมหาสารคาม
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๔
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ สายที่ ๕
ปากทางบ้านดอนยม - โกลบอลเฮ้าส์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๕ ปากทางบ้านดอนยม - โกลบอลเฮ้าส์
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางปากทางบ้านดอนยม
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓ ผ่านห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี
สำนักงานแขวงการทางมหาสารคาม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดมหาสารคาม ถึงสามแยกกาฬสินธุ์ แยกขวาไปตามถนนนครสวรรค์
แยกซ้ายไปตามถนนนครสวรรค์ ซอย ๓๒ ถึงสี่แยกไปตามถนนศรีสวัสดิ์ดำเนิน ซอย ๑๕
แยกขวาไปตามถนนเฉลิมพระเกียรติ ร. ๙ จนสุดถนนเฉลิมพระเกียรติ ร. ๙
ย้อนกลับตามเส้นทางเดิม ผ่านห้างสรรพสินค้าเซ็นเตอร์พอยต์ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์
โรงเรียนพระกุมาร โรงแรมวสุ โรงพยาบาลมหาสารคาม ไปตามถนนสมถวิลราษฎร์
ผ่านสถานีขนส่งเทศบาลเมืองมหาสารคาม แยกขวาไปตามถนนผังเมืองบัญชา
ผ่านเทศบาลเมืองมหาสารคาม โรงพยาบาลอินเตอร์ แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาลอาชา
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโกลบอลเฮ้าส์
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ยิ่งยศ
ธนะจันทร์
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดมหาสารคาม
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓ กุมภาพันธ์
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๐ กุมภาพันธ์
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๒๓๑/๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ |
662634 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2554) เรื่อง การยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ฉบับที่ ๒๖
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
การยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๒๘
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สายที่ ๗๗๐๐๓
สถานีเดินรถ บริษัท ขนส่ง จำกัด - คลองวาฬ ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า
เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙
จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
วีระ ศรีวัฒนตระกูล
ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓ กุมภาพันธ์
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๐ กุมภาพันธ์
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๒๓๐/๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ |
662632 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2554) เรื่อง การยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ฉบับที่ ๒๕
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
การยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๓
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สายที่ ๗๗๐๐๗
อำเภอปราณบุรี - โรงพยาบาลปราณบุรี - ปากน้ำปราณบุรี
ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า
เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙
จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
วีระ ศรีวัฒนตระกูล
ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓ กุมภาพันธ์
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๐ กุมภาพันธ์
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๒๒๙/๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ |
662248 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ 234 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน ชื่อสถานที่) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนครราชสีมา สายที่ 4129 นครราชสีมา - มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เป็น นครราชสีมา - บ้านเสาเดียว | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครราชสีมา
ฉบับที่ ๒๓๔
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน ชื่อสถานที่)
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา
สายที่ ๔๑๒๙
นครราชสีมา - มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ
จังหวัดนครราชสีมา
เป็น
นครราชสีมา - บ้านเสาเดียว[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา
ฉบับที่ ๒๓๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ประกาศ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๑ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๑๒๙ นครราชสีมา - มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมาได้พิจารณาเห็นสมควรแก้ไขชื่อเส้นทาง
รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน ชื่อสถานที่) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด
๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๑๒๙ นครราชสีมา - มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เป็น นครราชสีมา - บ้านเสาเดียว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๔
และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขชื่อเส้นทาง รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน ชื่อสถานที่)
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๑๒๙
นครราชสีมา - มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ
จังหวัดนครราชสีมา เป็น นครราชสีมา - บ้านเสาเดียว
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๔๑๒๙ นครราชสีมา - บ้านเสาเดียว
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๑
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ถึงแยกปักธงชัย
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ แยกซ้ายไปตามซอยร่วมมิตร
ถึงโรงเรียนรัตโนภาส แล้วย้อนกลับตามเส้นทางเดิม
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๑๐ ผ่านสวนสัตว์นครราชสีมา บ้านหนองเสาเดียว
วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเสาเดียว
ช่วงนครราชสีมา
- สนามกีฬาเมืองหลัก
เฉลิมฉลอง ๓๓๓ ปี นครราชสีมา
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๑
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ถึงแยกปักธงชัย
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ แยกขวาไปตามถนนทางเข้าสนามกีฬา
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสนามกีฬาเมืองหลัก เฉลิมฉลอง ๓๓๓
ปี นครราชสีมา
ช่วงนครราชสีมา
- สวนสัตว์นครราชสีมา - บ้านบุตาล
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๑
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ถึงแยกปักธงชัย
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ แยกซ้ายไปตามซอยร่วมมิตร
ถึงโรงเรียนรัตโนภาส แล้วย้อนกลับตามเส้นทางเดิม
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๑๐ ผ่านสวนสัตว์นครราชสีมา
แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น ถึงบ้านโกรกตะคร้อ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ.
นม. ๒๑๙๒ ถึงบ้านหนองพลวงใหญ่ แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านบุตาล
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ระพี ผ่องบุพกิจ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครราชสีมา
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๑ มกราคม ๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๖ กุมภาพันธ์
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๒ ง/หน้า ๑๗๙/๒๖ มกราคม ๒๕๕๕ |
659083 | ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 3 | ประกาศกระทรวงคมนาคม
ประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง
การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๓[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
จัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๓ ในที่ดินที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน
ชม.๒๓๓๔ ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ ๗ ไร่ ๑ งาน ๕๒
ตารางวา และ ชม.๒๓๓๓ ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ ๔
ไร่ ๑ งาน ๔ ตารางวา รวมเนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๒ งาน ๕๖ ตารางวา โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
พลอากาศเอก
สุกำพล สุวรรณทัต
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๓
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ ธันวาคม
๒๕๕๔
ชาญ/ผู้ตรวจ
๒๐ ธันวาคม
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๓๑/๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ |
659081 | ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 3 | ประกาศกระทรวงคมนาคม
ประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง
การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ ในที่ดินที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน
ขก.๒๑๒๓ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เนื้อที่ ๒๐ ไร่
โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
พลอากาศเอก
สุกำพล สุวรรณทัต
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น
แห่งที่ ๓
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ ธันวาคม
๒๕๕๔
ชาญ/ผู้ตรวจ
๒๐ ธันวาคม
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๓๐/๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ |
659079 | ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ แห่งที่ 2 | ประกาศกระทรวงคมนาคม
ประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง
การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ แห่งที่ ๒[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ แห่งที่ ๒ ในที่ดินที่ราชพัสดุ
แปลงหมายเลขทะเบียน ชย.๑๐๐๑ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ เนื้อที่
๑๐ ไร่ โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
พลอากาศเอก
สุกำพล สุวรรณทัต
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ
แห่งที่ ๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ ธันวาคม
๒๕๕๔
ชาญ/ผู้ตรวจ
๒๐ ธันวาคม
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๒๙/๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ |
657155 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ 87 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนนทบุรี
ฉบับที่ ๘๙
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๔
เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ สายที่ ๖๒๖๓ ท่าเทียบเรือสะพานพระราม ๕-ตลาดบางบัวทอง
สายที่ ๖๒๖๓ ท่าเทียบเรือสะพานพระราม ๕-ตลาดบางบัวทอง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าเทียบเรือสะพานพระราม
๕ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ. ๑๐๒๐ ลอดใต้สะพานพระราม ๕ ผ่านสี่แยกบางสีทอง
ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย วิทยาลัยราชพฤกษ์ วงเวียนนครอินทร์
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ. ๓๐๒๑ (ถนนราชพฤกษ์)
ถึงทางต่างระดับราชพฤกษ์-รัตนาธิเบศร์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๒
(ถนนรัตนาธิเบศร์) ผ่านสี่แยกบางพลู แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๙
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑๕ (ถนนบางกรวย-ไทรน้อย) ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดบางบัวทอง
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
วิเชียร
พุฒิวิญญู
ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนนทบุรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ พฤศจิกายน
๒๕๕๔
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๘ พฤศจิกายน
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๖๔ ง/หน้า ๒๗๘/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ |
657153 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ 88 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนนทบุรี
ฉบับที่ ๘๘
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๔
เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ สายที่ ๖๒๖๒ ปากทางวัดรวกบางสีทอง-ท่าน้ำนนทบุรี
สายที่ ๖๒๖๒ ปากทางวัดรวกบางสีทอง-ท่าน้ำนนทบุรี
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางปากทางวัดรวกบางสีทอง
ไปตามถนนบางไผ่ซอย ๓ แยกขวาไปตามถนนบางไผ่-วัดทองนาปลัง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ. ๒๐๐๘ (บางกรวย-วัดค้างคาว) ผ่านวัดตึก
วัดศาลารี แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ. ๑๐๒๐ ข้ามสะพานพระราม ๕
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๖
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าน้ำนนทบุรี
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
วิเชียร
พุฒิวิญญู
ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนนทบุรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ พฤศจิกายน
๒๕๕๔
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๘ พฤศจิกายน
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๖๔ ง/หน้า ๒๗๗/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ |
657147 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ 87 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนนทบุรี
ฉบับที่ ๘๗
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๔
เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ สายที่ ๖๒๖๑ วัดชลอ-ท่าน้ำนนทบุรี
สายที่ ๖๒๖๑ วัดชลอ-ท่าน้ำนนทบุรี
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดชลอ
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑๕ แยกขวาไปตามถนนบางกรวย-จงถนอม ผ่านอำเภอบางกรวย
วัดโพธิ์บางโอ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ. ๔๐๐๗ ผ่านวัดบางขนุน
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ. ๑๐๒๐ ข้ามสะพานพระราม ๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๖ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าน้ำนนทบุรี
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
วิเชียร
พุฒิวิญญู
ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนนทบุรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ พฤศจิกายน
๒๕๕๔
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๘ พฤศจิกายน
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๖๔ ง/หน้า ๒๗๖/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ |
656724 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครสวรรค์ ฉบับที่ 82 (พ.ศ. 2554) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดนครสวรรค์ สายที่ 11 สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์ – องค์การบริหารส่วนตำบลบึงเสนาท เป็น สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ 1 – เชิงสะพานนิมมานรดี (สะพานป้อม 1 ถนนโกสีย์) | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครสวรรค์
ฉบับที่ ๘๒
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑
จังหวัดนครสวรรค์ สายที่ ๑๑ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์
องค์การบริหารส่วนตำบลบึงเสนาท
เป็น สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ ๑
เชิงสะพานนิมมานรดี
(สะพานป้อม ๑ ถนนโกสีย์)[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครสวรรค์
ฉบับที่ ๗๑ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๖
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดนครสวรรค์ สายที่
๑๑ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์ องค์การบริหารส่วนตำบลบึงเสนาท
ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครสวรรค์ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครสวรรค์
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๗/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๓ จึงให้ปรับปรุงเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ จังหวัดนครสวรรค์ สายที่ ๑๑ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์ องค์การบริหารส่วนตำบลบึงเสนาท เป็น สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์
แห่งที่ ๑ เชิงสะพานนิมมานรดี (สะพานป้อม ๑ ถนนโกสีย์)
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๑
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ ๑ เชิงสะพานนิมมานรดี (สะพานป้อม ๑ ถนนโกสีย์)
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ ๑
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๗ ผ่านสี่แยกพหลโยธิน แยกขวาไปตามถนนนิเวศพัฒนา
ผ่านสถานีตำรวจภูธรบางม่วง สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ ๒
สำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ ๒ แยกขวาไปตามถนนบ้านดอนดู่ บ้านคลองลาดเคล้า แยกซ้ายไปตามถนนบ้านสันพิงค์ บ้านแควใหญ่
แยกขวาไปตามถนนรอบบึงเสนาท ผ่านมหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตนครสวรรค์
องค์การบริหารส่วนตำบลบึงเสนาท แยกขวาไปตามถนนบ้านคลองมอญ
ผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลวัดคลองคาง วัดคลองคาง โรงเรียนวัดคลองคาง
แยกขวาข้ามสะพานนิมมานรดี ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณเชิงสะพานนิมมานรดี (สะพานป้อม ๑ ถนนโกสีย์)
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณเชิงสะพานนิมมานรดี (สะพานป้อม ๑
ถนนโกสีย์) ข้ามสะพานนิมมานรดี แยกซ้ายไปตามถนนบ้านคลองมอญ ผ่านโรงเรียนวัดคลองคาง
วัดคลองคาง องค์การบริหารส่วนตำบลวัดคลองคาง แยกซ้ายไปตามถนนรอบบึงเสนาท
ผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลบึงเสนาท มหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตนครสวรรค์
แยกซ้ายไปตามถนนบ้านสันพิงค์ บ้านแควใหญ่
แยกขวาไปตามถนนบ้านดอนดู่ บ้านคลองลาดเคล้า
แยกซ้ายไปตามถนนนิเวศพัฒนา ผ่านสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ ๒
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ ๒ สถานีตำรวจภูธรบางม่วง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๗ ถึงสี่แยกพหลโยธิน
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ ๑
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ ๑
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
แชน ชื่นศิวา
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครสวรรค์
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๘ พฤศจิกายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๘ พฤศจิกายน
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๕๘ ง/หน้า ๒๑๖/๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ |
656722 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครสวรรค์ ฉบับที่ 81 (พ.ศ. 2554) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดนครสวรรค์ สายที่ 10 สำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ 2 - สะพานเดชาติวงศ์ เป็น บ้านดอนดู่ – สำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ 2 สะพานเดชาติวงศ์ | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครสวรรค์
ฉบับที่ ๘๑
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑
จังหวัดนครสวรรค์ สายที่ ๑๐ สำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์
แห่งที่ ๒ สะพานเดชาติวงศ์ เป็น บ้านดอนดู่ สำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์
แห่งที่ ๒ สะพานเดชาติวงศ์[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครสวรรค์
ฉบับที่ ๗๑ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๖
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดนครสวรรค์ สายที่
๑๐ สำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ ๒ - สะพานเดชาติวงศ์ ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครสวรรค์ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครสวรรค์
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๗/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๓
จึงให้ปรับปรุงเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดนครสวรรค์
สายที่ ๑๐ สำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ ๒ - สะพานเดชาติวงศ์ เป็น
บ้านดอนดู่ สำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ ๒ สะพานเดชาติวงศ์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๐
บ้านดอนดู่ - สำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ ๒ - สะพานเดชาติวงศ์
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดอนดู่
ไปตามถนนบ้านดอนดู่-บ้านคลองลาดเคล้า ผ่านสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ ๒
แยกขวาไปตามถนนนิเวศพัฒนา ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ ๒
สถานีตำรวจภูธรบางม่วง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๗ ถึงสี่แยกพหลโยธิน
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ ๑
แยกซ้ายเข้าสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ ๑ กลับตามเส้นทางเดิม
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสะพานเดชาติวงศ์
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
แชน ชื่นศิวา
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครสวรรค์
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๘ พฤศจิกายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๘ พฤศจิกายน
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๕๘ ง/หน้า ๒๑๔/๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ |
656079 | ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสกลนคร แห่งที่ 2 | ประกาศกระทรวงคมนาคม
ประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง
การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสกลนคร แห่งที่ ๒[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสกลนคร แห่งที่ ๒ ในที่ดินที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่
สน. ๑๓๒๘ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เนื้อที่ ๕ ไร่ ๖๐
ตารางวา โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
พลอากาศเอก
สุกำพล สุวรรณทัต
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสกลนคร
แห่งที่ ๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๒๔/๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ |
656047 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 685 อุตรดิตถ์-บ้านหนองตม เป็นหมวด 4 จังหวัดอุตรดิตถ์ สายที่ 2622 อุตรดิตถ์ พิชัย | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
ฉบับที่ ๒๖
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่
๖๘๕ อุตรดิตถ์-บ้านหนองตม เป็น
หมวด ๔
จังหวัดอุตรดิตถ์ สายที่ ๒๖๒๒ อุตรดิตถ์-พิชัย[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๙๐๙
(พ.ศ. ๒๕๓๗) ประกาศ ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๓๗ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดอุตรดิตถ์ สายที่ ๒๒๓๗
อุตรดิตถ์-พิชัย เป็น หมวด ๓ สายที่ ๖๘๕ อุตรดิตถ์-บ้านหนองตม นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๒
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๖/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๘๕ อุตรดิตถ์-บ้านหนองตม
เป็น หมวด ๔ จังหวัดอุตรดิตถ์ สายที่ ๒๖๒๒ อุตรดิตถ์-พิชัย
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
หมวด ๔ จังหวัดอุตรดิตถ์ สายที่ ๒๖๒๒ อุตรดิตถ์-พิชัย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุตรดิตถ์ ไปตามถนนพาดวารี
ข้ามสะพานพัฒนาภาคเหนือ ๑๓ (สะพานข้ามแม่น้ำน่าน) ถึงสี่แยกอุตรดิตถ์
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงสามแยกไปอำเภอตรอน
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๐๔ ผ่านบ้านซ่าน อำเภอตรอน บ้านแก่ง บ้านเกาะ
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอพิชัย
ช่วงอุตรดิตถ์-บ้านน้ำอ่าง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุตรดิตถ์ ไปตามถนนพาดวารี ข้ามสะพานพัฒนาภาคเหนือ
๑๓ (สะพานข้ามแม่น้ำน่าน) ถึงสี่แยกอุตรดิตถ์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑
ถึงสามแยกไปอำเภอตรอน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๐๔ ผ่านบ้านซ่าน
อำเภอตรอน บ้านแก่ง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๑๔ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านน้ำอ่าง
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
โยธินศร์
สมุทรคีรีจ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๔๘ ง/หน้า ๑๐๖/๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ |
656045 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ 41 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดตรัง สายที่ 8347 ตรัง-บ้านหาดยาว | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดตรัง
ฉบับที่ ๔๑
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔
จังหวัดตรัง สายที่ ๘๓๔๗ ตรัง-บ้านหาดยาว[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง
ฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๓ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตรัง สายที่ ๘๓๔๗
ตรัง-บ้านหาดยาว
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตรัง-บ้านบางสัก-อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรังได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๒ วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๒
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๔
เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๔ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดตรัง สายที่ ๘๓๔๗ ตรัง-บ้านหาดยาว ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตรัง-บ้านบางสัก-บ้านมดตะนอย
เพิ่มอีกหนึ่งช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๘๓๔๗ ตรัง-บ้านหาดยาว
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตรัง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓ ผ่านบ้านควนปริง ถึงบ้านควนธานี
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านโคกยาง บ้านยาร่ม บ้านบางเตา บ้านคลองลุ
บ้านท่าด่าน บ้านท่าปาบ บ้านสิเหร่ บ้านคลองยาง บ้านคลองน้ำเค็ม บ้านบางสัก บ้านน้ำราบ
ไปสุดเส้นทางที่บริเวณสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหาดยาว
ช่วงตรัง-บ้านบางสัก-อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตรัง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓
ผ่านบ้านควนปริง ถึงบ้านควนธานี แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านโคกยาง บ้านยาร่ม
บ้านบางเตา บ้านคลองลุ บ้านท่าด่าน บ้านท่าปาบ บ้านสิเหร่ บ้านคลองยาง
บ้านคลองน้ำเค็ม บ้านบางสัก ถึงบ้านน้ำราบ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านควนตุ้งกู
บ้านคุ้งคั้ง
ไปสุดเส้นทางที่บริเวณสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
ช่วงตรัง-บ้านบางสัก-บ้านมดตะนอย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตรัง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓
ผ่านบ้านควนปริง ถึงบ้านควนธานี แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านโคกยาง บ้านยาร่ม
บ้านบางเตา บ้านคลองลุ บ้านท่าด่าน บ้านท่าปาบ บ้านสิเหร่ บ้านคลองยาง บ้านคลองน้ำเค็ม
บ้านบางสัก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (สายบางสัก-ท่าเรือนาเกลือ)
ถึงสามแยกบ้านนาเกลือ แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น (หมายเลข ตง ๐๓๕๑๐๑) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านมดตะนอย
ประกาศ
ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ไมตรี อินทุสุต
ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดตรัง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๔๘ ง/หน้า ๑๐๔/๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ |
656043 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ 40 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดตรัง สายที่ 8358 ตรัง-บ้านเขาวิเศษ-บ้านนาวง เป็น ตรัง-บ้านนานอน-อำเภอวังวิเศษ และให้มีรายละเอียด เส้นทางแยก ช่องตรัง-บ้านเขาวิเศษ-บ้านนาวา | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดตรัง
ฉบับที่ ๔๐
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔
จังหวัดตรัง สายที่ ๘๓๕๘ ตรัง-บ้านเขาวิเศษ-บ้านนาวง เป็น
ตรัง-บ้านนานอน-อำเภอวังวิเศษ
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก
ช่วงตรัง-บ้านเขาวิเศษ-บ้านนาวง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง
ฉบับที่ ๒๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๑ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดตรัง สายที่ ๘๓๕๘ ตรัง-บ้านเขาวิเศษ-บ้านนาวง
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตรัง-บ้านเขาวิเศษ-อำเภอวังวิเศษ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรังได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๒
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๔
เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๔ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดตรัง สายที่ ๘๓๕๘ ตรัง-บ้านเขาวิเศษ-บ้านนาวง เป็น
ตรัง-บ้านนานอน-อำเภอวังวิเศษ
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตรัง-บ้านเขาวิเศษ-บ้านนาวง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๘๓๕๘ ตรัง-บ้านนานอน-อำเภอวังวิเศษ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตรัง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๔๖ ถึงวัดตันตยาภิรม แยกขวาไปตามถนนน้ำผุด
ผ่านโรงเรียนเทศบาล ๖ โรงเรียนบูรณะรำลึกสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ๙๕ วัดน้ำผุดใต้
แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น (นาตาล่วง-ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๙)
ถึงสี่แยกเลี้ยวขวา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๙ ถึงสามแยกนาขา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๓ ถึงสี่แยกบ้านนานอน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๘ ผ่านบ้านวังหิน
บ้านจิจิก ถึงสามแยกบ้านเขาวิเศษ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๙
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ๑๐๑๖ ผ่านบ้านบางพระ บ้านน้ำฉ่า แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔ (เพชรเกษม) ผ่านบ้านคลองชี ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวังวิเศษ
ช่วงตรัง-บ้านเขาวิเศษ-บ้านนาวง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตรัง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๔๖
ถึงวัดตันตยาภิรม แยกขวาไปตามถนนน้ำผุด ผ่านโรงเรียนเทศบาล ๖ โรงเรียนบูรณะรำลึก
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ๙๕ วัดน้ำผุดใต้ แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น (นาตาล่วง-ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๑๙) ถึงสี่แยกตรงไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ตง ๔๐๐๒ ผ่านโรงเรียนวัดไพรสณฑ์
บ้านคลองขุด บ้านหนองตรุด โรงเรียนวัดเชี่ยวชาญกิจ บ้านสันตัง บ้านหลังเขา โรงเรียนบ้านหลังเขา
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๙ ผ่านบ้านเขาวิเศษ บ้านเขาโอน ถึงบ้านควน
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (เพชรเกษม) ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนาวง
ประกาศ
ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ไมตรี อินทุสุต
ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดตรัง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๔๘ ง/หน้า ๑๐๒/๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ |
656041 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดตรัง สายที่ 8185 ตรัง-ควนกุน (ข) | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดตรัง
ฉบับที่ ๓๙
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔
จังหวัดตรัง สายที่ ๘๑๘๕ ตรัง-ควนกุน (ข)[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง
ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดตรัง สายที่ ๘๑๘๕ ตรัง-ควนกุน (ข) ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรังได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๒ วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๔ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดตรัง สายที่ ๘๑๘๕ ตรัง-ควนกุน (ข)
โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๒ ช่วง คือ ช่วงตรัง-บ้านเขาวิเศษ
และช่วงห้วยยอด-บ้านคลองคุ้ย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๘๑๘๕ ตรัง-ควนกุน (ข)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตรัง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านบ้านคลองเต็ง บ้านลำภูรา อำเภอห้วยยอด
บ้านเขากอบ บ้านนาวง บ้านคลองชี อำเภอวังวิเศษ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านควนกุน
ช่วงห้วยยอด-บ้านในเตา
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอห้วยยอด
ไปตามทางหลวงสายห้วยยอด-บ้านในเตา ผ่านบ้านเขาปูน บ้านเขาสูง
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านในเตา
ช่วงห้วยยอด-บ้านห้วยนาง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอห้วยยอด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔
จนถึงสี่แยกอันดามัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยนาง
ประกาศ
ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ไมตรี อินทุสุต
ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดตรัง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๔๘ ง/หน้า ๑๐๐/๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ |
656039 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2021 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางติ่เนื่องจำนวน 3 เส้นทาง | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๒๑
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
จำนวน ๓
เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๙๓
(พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานคร สายที่
๑๖๙ วงกลมบางขุนเทียน-ปิ่นเกล้า-วงเวียนใหญ่
ให้มีเส้นทางแยกช่วงวงกลมบางขุนเทียน-คลองสาน
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๕๕๑ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๗๗
วงกลมบางบัวทอง-วงเวียนใหญ่-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวงกลมบางบัวทอง-วงเวียนใหญ่-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
(ทางด่วน) เพิ่มขึ้นหนึ่งช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๙๓ (พ.ศ. ๒๕๕๓)
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๓ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๖๓ พระราม
๙-สะพานกรุงเทพ-อู่พุทธมณฑลสาย ๔ เป็น พระราม ๙-สะพานกรุงเทพ-สถานีรถไฟศาลายา
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงพระราม
๙-สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน-สถานีรถไฟศาลายา และช่วงพระราม ๙-ท่าพระ-สถานีรถไฟศาลายา
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๗/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๖๓ พระราม
๙-สะพานกรุงเทพ-สถานีรถไฟศาลายา สำหรับการเดินรถช่วงพระราม
๙-ท่าพระ-สถานีรถไฟศาลายา เป็น ช่วงคลองสาน-ท่าพระ-สถานีรถไฟศาลายา สายที่ ๑๖๙
วงกลมบางขุนเทียน-ปิ่นเกล้า-วงเวียนใหญ่ สำหรับการเดินรถช่วงวงกลมบางขุนเทียน-คลองสาน
ให้มีรายละเอียดเส้นทางผ่านถนนกรุงธนบุรี และสายที่ ๑๗๗
วงกลมบางบัวทอง-วงเวียนใหญ่-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงบางบัวทอง-คลองสาน เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๖๓ พระราม ๙-สะพานกรุงเทพ-สถานีรถไฟศาลายา
เริ่มต้นจากอู่จอดรถบนถนนพระราม ๙ (บริเวณใต้ทางด่วน) ไปตามถนนพระราม
๙ แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกซ้ายเข้าตลาดห้วยขวาง ไปตามถนนประชาสงเคราะห์
แยกขวาไปตามถนนดินแดง ถนนราชวิถี ผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนสีลม แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง
แยกขวาข้ามสะพานกรุงเทพ ไปตามถนนมไหสวรรย์ ถนนรัชดาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม
แยกขวาไปตาม ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ แยกซ้ายไปตามถนนธรรมสพน์ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท นฐ.
๓๐๐๑ แยกขวาไปตามถนนเข้าตลาดเก่าศาลายา ไปสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีรถไฟศาลายา
ช่วงพระราม
๙-สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน-สถานีรถไฟศาลายา
เริ่มต้นจากอู่จอดรถบนถนนพระราม ๙ (บริเวณใต้ทางด่วน) ไปตามถนนพระราม ๙ แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก
แยกซ้ายเข้าตลาดห้วยขวาง ไปตามถนนประชาสงเคราะห์ แยกขวาไปตามถนนดินแดง ถนนราชวิถี
ผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไป
ตามถนนสีลม แยกซ้ายไปตามถนนเลียบใต้ทางด่วน แยกขวาไปตามถนนสาทร ข้ามสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน
ไปตามถนนกรุงธนบุรี ถนนราชพฤกษ์ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย
๔ แยกซ้ายไปตามถนนธรรมสพน์ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท นฐ. ๓๐๐๑
แยกขวาไปตามถนนเข้าตลาดเก่าศาลายา ไปสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีรถไฟศาลายา
ช่วงคลองสาน-ท่าพระ-สถานีรถไฟศาลายา
เริ่มต้นจากคลองสาน ไปตามถนนเจริญนคร แยกขวาไปตามถนนกรุงธนบุรี
แยกซ้ายไปตามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก
แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๔ แยกซ้ายไปตามถนนธรรมสพน์ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท
นฐ. ๓๐๐๑ แยกขวาไปตามถนนเข้าตลาดเก่าศาลายา ไปสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีรถไฟศาลายา
สายที่ ๑๖๙ วงกลมบางขุนเทียน-ปิ่นเกล้า-วงเวียนใหญ่
เที่ยววนขวา
เริ่มต้นจากบริเวณอู่บางขุนเทียน (หลังโรงพยาบาลนครธน) ไปตามถนนพระราม ๒
แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ แยกขวาไปตามถนนพรานนก
แยกซ้ายไปตามถนนอรุณอมรินทร์ แยกขวาไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ไปตามถนนราชดำเนินกลาง ถนนนครสวรรค์ แยกขวาไปตามถนนจักรพรรดิพงษ์
ถนนวรจักร ถนนจักรวรรดิ์ ข้ามสะพานสมเด็จพระปกเกล้า ไปตามถนนประชาธิปก
ผ่านวงเวียนใหญ่ ไปตามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถนนสุขสวัสดิ์ แยกขวาไปตามถนนพระราม
๒ ไปสุดเส้นทางที่บริเวณอู่บางขุนเทียน (หลังโรงพยาบาลนครธน)
เที่ยววนซ้าย เริ่มต้นจากบริเวณอู่บางขุนเทียน
(หลังโรงพยาบาลนครธน) แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๒ แยกซ้ายไปตามถนนสุขสวัสดิ์
ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ผ่านวงเวียนใหญ่ ไปตามถนนประชาธิปก
ข้ามสะพานสมเด็จพระปกเกล้า ไปตามถนนจักรเพชร แยกขวาไปตามถนนเจริญกรุง
แยกซ้ายไปตามถนนวรจักร แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทางที่บริเวณอู่บางขุนเทียน
(หลังโรงพยาบาลนครธน)
ช่วงวงกลมบางขุนเทียน-คลองสาน เริ่มต้นจากบริเวณอู่บางขุนเทียน
(หลังโรงพยาบาลนครธน) ไปตามถนนพระราม ๒ แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก
แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม ถนนอินทรพิทักษ์ ผ่านวงเวียนใหญ่ ไปตามถนนลาดหญ้า แยกซ้ายไปตามถนนท่าดินแดง
แยกขวาไปตามถนนสมเด็จเจ้าพระยา ถนนเจริญนคร แยกขวาไปตามถนนกรุงธนบุรี
แยกซ้ายไปตามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถนนสุขสวัสดิ์ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๒
ไปสุดเส้นทางที่บริเวณอู่บางขุนเทียน (หลังโรงพยาบาลนครธน)
สายที่ ๑๗๗ วงกลมบางบัวทอง-วงเวียนใหญ่-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เริ่มต้นจากตลาดบางบัวทอง ไปตามถนนบางกรวย-ไทรน้อย
แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี
แยกขวาไปตามถนนอรุณอัมรินทร์ แยกขวาไปตามถนนพรานนก แยกซ้ายไปตามถนนอิสรภาพ
แยกขวาไปตามถนนประชาธิปก ถึงวงเวียนใหญ่ แยกซ้ายไปตามถนนลาดหญ้า
แยกขวาไปตามถนนเจริญนคร แยกซ้ายข้ามสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ไปตามถนนสาทร
แยกซ้ายไปตามถนนเลียบใต้ทางด่วน แยกขวาไปตามถนนสีลม แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔
แยกขวาไปตามถนนพญาไท ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนพหลโยธิน
แยกซ้ายไปตามถนนงามวงศ์วาน ถนนรัตนาธิเบศร์ แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก
แยกขวาไปตามถนนบางกรวย-ไทรน้อย ไปสุดเส้นทางที่ตลาดบางบัวทอง
ช่วงวงกลมบางบัวทอง-วงเวียนใหญ่-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
(ทางด่วน)
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากตลาดบางบัวทอง ไปตามถนนบางกรวย-ไทรน้อย แยกซ้ายไป ตามถนนกาญจนาภิเษก
แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี แยกขวาไปตามถนนอรุณอัมรินทร์ แยกขวาไปตามถนนพรานนก
แยกซ้ายไปตามถนนอิสรภาพ แยกขวาไปตามถนนประชาธิปก ถึงวงเวียนใหญ่
แยกซ้ายไปตามถนนลาดหญ้า แยกขวาไปตามถนนเจริญนคร
แยกซ้ายข้ามสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ไปตามถนนสาทร แยกซ้ายไปตามถนนเลียบใต้ทางด่วน
แยกขวาไปตามถนนสีลม แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนพญาไท
ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ขึ้นทางด่วนที่ด่านพหลโยธิน ไปตามทางด่วนศรีรัช
ลงทางด่วนที่ด่านงามวงศ์วาน ไปตามถนนงามวงศ์วาน ถนนรัตนาธิเบศร์
แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกขวาไปตามถนนบางกรวย-ไทรน้อย
ไปสุดเส้นทางที่ตลาดบางบัวทอง
เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากตลาดบางบัวทอง
ไปตามถนนบางกรวย-ไทรน้อย แยกซ้ายไป ตามถนนกาญจนาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนรัตนาธิเบศร์
ถนนงามวงศ์วาน ขึ้นทางด่วนที่ด่านงามวงศ์วาน ไปตามทางด่วนศรีรัช
ลงทางด่วนที่ด่านคลองประปา ไปตามถนนพระราม ๖ แยกซ้ายไปตามถนนราชวิถี
ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทางที่ตลาดบางบัวทอง
ช่วงบางบัวทอง-คลองสาน เริ่มต้นจากตลาดบางบัวทอง
ไปตามถนนบางกรวย-ไทรน้อย แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม
แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน
แยกขวาไปตามถนนกรุงธนบุรี แยกซ้ายไปตามถนนเจริญนคร ไปสุดเส้นทางที่คลองสาน
(บริเวณวัดสุวรรณ)
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ศรศักดิ์
แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๔๘ ง/หน้า ๙๖/๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ |
655218 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบคำเตือนและแบบข้อความที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง พ.ศ. 2554 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดแบบคำเตือนและแบบข้อความที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ต้องปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง
พ.ศ. ๒๕๕๔
โดยที่กฎกระทรวงว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๔
กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งประจำทาง
การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
และการขนส่งระหว่างประเทศมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในเรื่องต่าง
ๆ ได้แก่ การจัดให้มีคำเตือนมิให้ขึ้นหรือลงรถนอกบริเวณที่มีเครื่องหมายหยุดรถ
การจัดให้มีข้อมูลชื่อตัว ชื่อสกุล เลขที่ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถและหมายเลขทะเบียนรถ
รวมทั้งการจัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานเพื่อแจ้งภัยและเหตุร้าย
ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๓) (๔) และ (๕)
ของกฎกระทรวงว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๔ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งประจำทาง
การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งระหว่างประเทศ
จัดให้มีคำเตือนมิให้ขึ้นหรือลงรถนอกบริเวณที่มีเครื่องหมายหยุดรถ
โดยให้แสดงไว้ในบริเวณประตูทางขึ้นลงหรือบริเวณใกล้เคียงที่สามารถเห็นได้ชัดเจน
ทั้งภายนอกและภายในตัวรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารทุกคัน
ข้อ ๒ คำเตือนตามข้อ ๑
ให้มีข้อความว่า ห้ามขึ้น - ลงรถนอกป้ายหยุดรถ โดยตัวอักษรของข้อความให้ใช้สีดำ
ขนาดตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า ๓ เซนติเมตร และเส้นของตัวอักษรหนาไม่น้อยกว่า ๐.๓
เซนติเมตร
ข้อ ๓ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งประจำทาง
การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งระหว่างประเทศ
จัดให้มีข้อความแสดงชื่อตัว ชื่อสกุล เลขที่ใบอนุญาตของผู้ขับรถ หมายเลขทะเบียนรถ
และข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อแจ้งภัยและเหตุร้าย
โดยให้แสดงไว้ในบริเวณที่สามารถเห็นได้ชัดเจนภายในตัวรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารทุกคัน
ข้อ ๔ ข้อความตามข้อ ๓
ให้มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีขาว ขนาดไม่น้อยกว่า ๑๕ x ๒๕ เซนติเมตร โดยตัวอักษรแสดงชื่อตัว ชื่อสกุล ให้ใช้สีดำ ขนาดตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า
๑.๕ เซนติเมตร เส้นของตัวอักษรหนาไม่น้อยกว่า ๐.๒ เซนติเมตร
ตัวอักษรแสดงเลขที่ใบอนุญาตของผู้ขับรถและหมายเลขทะเบียนรถ ให้ใช้สีดำ
ขนาดตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า ๐.๗ เซนติเมตร เส้นของตัวอักษรหนาไม่น้อยกว่า ๐.๑
เซนติเมตร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศ
ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เทียนโชติ
จงพีร์เพียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบข้อความแสดงชื่อตัว ชื่อสกุล เลขที่ใบอนุญาตของผู้ขับรถ
หมายเลขทะเบียนรถ และข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อแจ้งภัยและเหตุร้าย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ กันยายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๓ ง/หน้า ๔๑/๙ กันยายน ๒๕๕๔ |
655216 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเครื่องหมายแสดงการห้ามสูบบุหรี่ พ.ศ. 2554 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดเครื่องหมายแสดงการห้ามสูบบุหรี่
พ.ศ. ๒๕๕๔
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดเครื่องหมายแสดงการห้ามสูบบุหรี่ ลงวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ถูกยกเลิกโดยกฎกระทรวงว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๔
ทำให้ข้อบทที่อ้างเป็นฐานอำนาจในการออกประกาศเรื่องดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป
ประกอบกับเป็นการสมควรปรับปรุงรายละเอียดบางประการในเครื่องหมายแสดงการห้ามสูบบุหรี่เสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๒) ของกฎกระทรวงว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๔
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดเครื่องหมายแสดงการห้ามสูบบุหรี่ ลงวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๖
ข้อ ๒ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งประจำทาง
การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งระหว่างประเทศ
จัดให้มีเครื่องหมายแสดงการห้ามสูบบุหรี่
โดยให้แสดงไว้ในบริเวณที่ที่สามารถเห็นได้ชัดเจนภายในตัวรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารทุกคัน
ข้อ ๓ เครื่องหมายแสดงการห้ามสูบบุหรี่
ให้มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีขาว ขนาดไม่น้อยกว่า ๑๕ x ๓๐ เซนติเมตร โดยมีเส้นกรอบสีแดงกว้างไม่น้อยกว่า ๐.๕ เซนติเมตร และมีข้อความว่า
ห้ามสูบบุหรี่ ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน ๕,๐๐๐
บาท ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยมุมบนด้านซ้าย
มีรูปบุหรี่และควันสีดำอยู่ภายในวงกลมสีแดงเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๖
เซนติเมตร และมีเส้นทึบสีแดงพาดทับ
ขนาดกว้างของบุหรี่และเส้นทึบสีแดงพาดทับบุหรี่เท่ากับขนาดกว้างของเส้นกรอบสีแดง
ตัวอักษรคำว่า ห้ามสูบบุหรี่
ให้ใช้สีดำ ขนาดตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า ๓ เซนติเมตร และเส้นของตัวอักษรหนาไม่น้อยกว่า
๐.๓ เซนติเมตร
ข้อ ๔ รายละเอียดและรูปแบบของเครื่องหมายแสดงการห้ามสูบบุหรี่ให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศ
ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เทียนโชติ
จงพีร์เพียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑. เครื่องหมายแสดงการห้ามสูบบุหรี่
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ กันยายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๓ ง/หน้า ๔๐/๙ กันยายน ๒๕๕๔ |
655182 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2020 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน 3 เส้นทาง | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๒๐
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
จำนวน ๓
เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๑๒๓
(พ.ศ. ๒๕๔๑) ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๑
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานคร สายที่
๑๕๖ วงกลมโรงเรียนสตรีวิทยา ๒-ถนนนวมินทร์
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๗๕๑ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๐ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ต. ๖๓ รังสิต-ซอยลาซาล
(ทางด่วน) เป็น รังสิต-ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลสำโรง (ทางด่วน)
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๒๐๐๓ (พ.ศ. ๒๕๕๔)
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๕๖
สถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (ตลิ่งชัน) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๖/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๕๖
วงกลมโรงเรียนสตรีวิทยา ๒-ถนนนวมินทร์ เป็น วงกลมสุคนธสวัสดิ์-ถนนนวมินทร์ สายที่
๕๕๖ สถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (ตลิ่งชัน) เป็น
สถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน-วัดไร่ขิง และสายที่ ต. ๖๓
รังสิต-ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลสำโรง (ทางด่วน) เป็น รังสิต-การเคหะบางพลี
(ทางด่วน) และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงรังสิต-ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลสำโรง
(ทางด่วน) โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๕๖ วงกลมสุคนธสวัสดิ์-ถนนนวมินทร์
เริ่มต้นจากบริเวณตลาดสุคนธสวัสดิ์ ไปตามถนนสุคนธสวัสดิ์
แยกซ้ายไปตามถนนประดิษฐ์มนูธรรม แยกขวาไปตามถนนรามอินทรา แยกขวาไปตามถนนนวมินทร์
แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกขวาไปตาม ถนนนาคนิวาส ผ่านสำนักงานเขตลาดพร้าว
แยกขวาไปตามถนนสุคนธสวัสดิ์ ผ่านโรงเรียนสตรีวิทยา ๒
จนสุดเส้นทางที่บริเวณตลาดสุคนธสวัสดิ์
สายที่ ๕๕๖ สถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน-วัดไร่ขิง
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน ไปตามถนนอโศกมนตรี
แยกขวาไปตามถนนเพชรบุรี ถนนหลานหลวง ถนนราชดำเนินกลาง ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑๖
ไปสุดเส้นทางที่บริเวณวัดไร่ขิง
สายที่ ต. ๖๓ รังสิต-การเคหะบางพลี (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากรังสิต ไปตามถนนพหลโยธิน ขึ้นทางยกระดับอุตราภิมุข
(ดอนเมืองโทลเวย์) บริเวณโรงกษาปณ์ ลงทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลเวย์)
บริเวณมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ขึ้นทางพิเศษที่ด่านดินแดง
ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางพิเศษที่ด่านบางนา ไปตามถนนบางนา-ตราด
แยกขวาไปตามถนนเมืองใหม่บางพลี ไปสุดเส้นทางที่บริเวณการเคหะบางพลี
ช่วงรังสิต-ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลสำโรง
(ทางด่วน) เริ่มต้นจากรังสิต ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามถนนวิภาวดีรังสิต
ขึ้นทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลเวย์) บริเวณดอนเมือง
ลงทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลเวย์) บริเวณมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ขึ้นทางพิเศษที่ด่านดินแดง ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ลงทางพิเศษที่ด่านสุขุมวิท ๖๒ ไปตามซอยสุขุมวิท ๖๒ แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท
ไปสุดเส้นทางที่บริเวณห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลสำโรง
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ศรศักดิ์
แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙ กันยายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๓๒ ง/หน้า ๓๘๗/๘ กันยายน ๒๕๕๔ |
655180 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2019 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่องสายที่ 196 วงกลมอู่บางเขน-เสนานิคม 1-สถานีรถไฟฟ้าลาดพร้าว | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๑๙
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ๑๙๖
วงกลมอู่บางเขน-เสนานิคม ๑-สถานีรถไฟฟ้าลาดพร้าว[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๖/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๔
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๙๖ วงกลมอู่บางเขน-เสนานิคม
๑-สถานีรถไฟฟ้าลาดพร้าว โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๙๖ วงกลมอู่บางเขน-เสนานิคม ๑-สถานีรถไฟฟ้าลาดพร้าว
เริ่มต้นจากบริเวณอู่บางเขน ไปตามถนนพหลโยธิน
แยกขวาไปตามถนนรามอินทรา แยกขวาไปตามถนนลาดปลาเค้า ถึงแยกวังหิน
แยกขวาไปตามถนนเสนานิคม ๑ แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว
แยกซ้ายไปตามถนนโชคชัย ๔ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว-วังหิน
ถึงแยกวังหินไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทางที่บริเวณอู่บางเขน
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ศรศักดิ์
แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙ กันยายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๓๒ ง/หน้า ๓๘๖/๘ กันยายน ๒๕๕๔ |
655178 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2018 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 เส้นทาง | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๑๘
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔
กรุงเทพมหานคร จำนวน ๒ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๖๘๕
(พ.ศ. ๒๕๓๓) ประกาศ ณ วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๓๓
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ (ชานเมือง) สายที่ ๑๔๕๔
ถนนเพชรเกษม-หมู่บ้านศิริเกษม
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๗๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๑ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ สายที่ ๑๐๖๓ ลาดพร้าว ๑๐๗-โรงเรียนรัตนพาณิชยการ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๔/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๔ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๖๓
ลาดพร้าว ๑๐๗-โรงเรียนรัตนพาณิชยการ เป็น โรงเรียนรัตนพาณิชยการ-แยกแฮปปี้แลนด์
และสายที่ ๑๔๕๔ ถนนเพชรเกษม-หมู่บ้านศิริเกษม เป็น หมู่บ้านศิริเกษม-ตลาดบางแค
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๐๖๓ โรงเรียนรัตนพาณิชยการ-แยกแฮปปี้แลนด์
เริ่มต้นจากโรงเรียนรัตนพาณิชยการ ไปตามซอยลาดพร้าว ๑๐๗
แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว ไปสุดเส้นทางที่แยกแฮปปี้แลนด์
สายที่ ๑๔๕๔ หมู่บ้านศิริเกษม-ตลาดบางแค
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหมู่บ้านศิริเกษม
ไปตามซอยศิริเกษม แยกขวาไปตามซอยสุขเกษม ไปตามถนนนครลุง แยกขวาไปตามซอยพุทธมณฑลสาย
๒ ซอย ๑๑ แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม
ไปสุดเส้นทางบริเวณตลาดบางแค
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ศรศักดิ์
แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙ กันยายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๓๒ ง/หน้า ๓๘๕/๘ กันยายน ๒๕๕๔ |
655176 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2017 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 จำนวน 2 เส้นทาง | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๑๗
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ จำนวน ๒
เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๕๖๘
(พ.ศ. ๒๕๓๑) ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๓๑ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๕๐
ลำปาง-เชียงแสน เป็น เชียงใหม่-เชียงแสน
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๘๖ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๑ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๓๙๒ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-เกาะช้าง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๔/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๔ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๕๐ เชียงใหม่-เชียงแสน
เป็น เชียงใหม่-สามเหลี่ยมทองคำ (ก) และสายที่ ๓๙๒ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-เกาะช้าง
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเกาะช้าง-พัทยา โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง
ดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๕๐ เชียงใหม่-สามเหลี่ยมทองคำ (ก)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงจังหวัดลำปาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ ผ่านอำเภองาว จังหวัดพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ถึงอำเภอแม่จัน
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑๖ ถึงอำเภอเชียงแสน
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๙๐ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ
สายที่ ๓๙๒ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-เกาะช้าง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๔
ผ่านอำเภอบ้านบึง อำเภอหนองใหญ่ อำเภอวังจันทร์ อำเภอแกลง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดจันทบุรี อำเภอขลุง
ถึงจังหวัดตราด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔๘ ถึงท่าเรืออำเภอแหลงงอบ
ลงเรือข้ามฟากไปขึ้นที่ท่าเรืออำเภอเกาะช้าง ไปตามทางหลวงชนบท (ถนน อบจ.
สายบ้านคลองสน-บ้านสลักเพชร) ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเกาะช้าง
ช่วงเกาะช้าง-พัทยา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเกาะช้าง
ไปตามทางหลวงชนบท (ถนน อบจ. สายบ้านคลองสน-บ้านสลักเพขร) ถึงท่าเรืออำเภอเกาะช้าง
ลงเรือข้ามฟากไปขึ้นที่ท่าเรืออำเภอแหลมงอบ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔๘
ถึงจังหวัดตราด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
อำเภอแกลง จังหวัดระยอง อำเภอสัตหีบ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณพัทยา
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ศรศักดิ์
แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙ กันยายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๓๒ ง/หน้า ๓๘๓/๘ กันยายน ๒๕๕๔ |
655174 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2016 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายทื่ 789 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-หัวหิน | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๑๖
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่
๗๘๙ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-หัวหิน[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๔/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๔ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๗๘๙ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-หัวหิน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง
ดังต่อไปนี้
สายที่ ๗๘๙ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-หัวหิน
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ ผ่านสมุทรสาคร สมุทรสงคราม
ถึงสามแยกวังมะนาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภอเขาย้อย เพชรบุรี
อำเภอชะอำ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหัวหิน
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ศรศักดิ์
แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙ กันยายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๓๒ ง/หน้า ๓๘๒/๘ กันยายน ๒๕๕๔ |
654878 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2015 (พ.ศ. 2554) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 280 อุดรธานี-บ้านแพง | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๑๕
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่
๒๘๐ อุดรธานี-บ้านแพง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๔๕
(พ.ศ. ๒๕๕๐) ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๘๐ อุดรธานี-บ้านแพง
โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๒ ช่วง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าว
หมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๓/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่
๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ศรศักดิ์
แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙ กันยายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๒๙ ง/หน้า ๓๓๘/๑ กันยายน ๒๕๕๔ |
654876 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2014 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 225 อุดรธานี-บึงกาฬ (ข) | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๑๔
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่
๒๒๕ อุดรธานี-บึงกาฬ (ข)[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๔๖
(พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๒๕
อุดรธานี-บึงกาฬ (ข) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๓/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๒๕ อุดรธานี-บึงกาฬ (ข)
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงอุดรธานี-บ้านแพง และช่วงเซกา-บ้านโนนสำราญ
เพิ่มขึ้น ๒ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๒๒๕ อุดรธานี-บึงกาฬ (ข)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒ ผ่านอำเภอหนองหาน อำเภอสว่างแดนดิน ถึงอำเภอพังโคน
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๒ ผ่านอำเภอวานรนิวาส บ้านหนองหิ้ง บ้านเอือด
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบึงกาฬ
ช่วงอุดรธานี-บ้านแพง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒
ผ่านอำเภอหนองหาน อำเภอสว่างแดนดิน ถึงอำเภอพังโคน
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๒ ผ่านอำเภอวานรนิวาส อำเภอคำตากล้า
ถึงบ้านหนองหิ้ง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒๖ ผ่านอำเภอเซกา
ถึงบ้านดงบัง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านแพง
ช่วงเซกา-บ้านโนนสำราญ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเซกา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒๖
ผ่านบ้านดงจำปาทอง ถึงบ้านดงสว่าง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านอำเภอบึงโขงหลง
บ้านโนนสวรรค์ บ้านโสกก่าม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนสำราญ
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ศรศักดิ์
แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙ กันยายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๒๙ ง/หน้า ๓๓๖/๑ กันยายน ๒๕๕๔ |
654151 | ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง พ.ศ. 2554 | ประกาศนายทะเบียนกลาง
ประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
พ.ศ. ๒๕๕๔
ตามที่ได้มีประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๐
มกราคม ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติมไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขการมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางเสียใหม่
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว
สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนกลางจึงมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ลงวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.
๒๕๕๓
(๒) ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ ๔ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายบริหาร)
กรมการขนส่งทางบก และผู้อำนวยการสำนักการขนส่งผู้โดยสาร
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑) การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การกำหนด (ปรับปรุง)
เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้
(ฉ) การบรรจุรถ
(ช) การเปลี่ยนรถ
(ซ) การถอนรถ
(ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การกำหนด (ปรับปรุง)
เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้
(ฉ) การบรรจุรถ
(ช) การเปลี่ยนรถ
(ซ) การถอนรถ
(ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๓)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การกำหนด (ปรับปรุง)
เงื่อนไขในใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้
(ฉ) การบรรจุรถ
(ช) การเปลี่ยนรถ
(ซ) การถอนรถ
(ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต
การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖
วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๔)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้
(ฉ) การบรรจุรถ
(ช) การเปลี่ยนรถ
(ซ) การถอนรถ
(ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต
การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖
วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา
๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖)
การจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสาร ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(๗)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๘)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
(๙)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๐)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
หรือมิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดอื่น
เปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว
หรือส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา
๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๑)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา
๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๒) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ กรมการขนส่งทางบก
(๑๓)
การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ
และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามความในมาตรา
๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๔)
การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ
ข้อ ๕ ให้หัวหน้าส่วนการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง
สำนักการขนส่งผู้โดยสาร
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (ค) (ง) (จ)
(ฉ) (ช) (ซ) (ฌ), ข้อ ๔ (๓) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ), ข้อ
๔ (๗) (๑๐) (๑๑) (๑๔) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ กรมการขนส่งทางบก ดังนี้
(๑)
การรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
(๒)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาวางเพิ่มเติม
(๓) การถอนหลักทรัพย์
กรณีนายทะเบียนสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่ง
หรือขอถอนหลักทรัพย์บางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง
หรือการถอนหลักทรัพย์เดิมเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเปลี่ยนการวางหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว
หรือถอนหลักทรัพย์ไปชำระตามคำบังคับคดีของศาลเพื่อการชำระหนี้ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน
(๔) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์
ข้อ ๖ ให้หัวหน้างานการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง ๑, ๒, ๓ และ ๔ ส่วนการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง
สำนักการขนส่งผู้โดยสาร เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (ฉ) (ช) (ซ), ข้อ ๔ (๗) (๑๔) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หมวด ๔
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ กรมการขนส่งทางบก ดังนี้
(๑)
การรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
(๒)
การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์
ข้อ ๗ ให้นักวิชาการขนส่งในส่วนการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง
สำนักการขนส่งผู้โดยสาร เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (ฉ) (ช) และ (ซ)
ข้อ ๘ ให้หัวหน้าส่วนการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทาง
สำนักการขนส่งผู้โดยสาร
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๒) (๔), ข้อ ๔ (๕) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช), ข้อ ๔ (๘) (๑๑)
(๑๔) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ กรมการขนส่งทางบก ดังนี้
(๑)
การรับหลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
(๒)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติม
(๓) การถอนหลักทรัพย์
กรณีนายทะเบียนสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่ง
หรือขอถอนหลักทรัพย์บางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง
หรือการถอนหลักทรัพย์เดิมเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเปลี่ยนการวางหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว
หรือถอนหลักทรัพย์ไปชำระตามคำบังคับคดีของศาลเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน
(๔)
การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์
ข้อ ๙ ให้หัวหน้างานการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสาร
ส่วนการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสาร
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(ก) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(ข) การกำหนด (ปรับปรุง)
เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้
(ค) การบรรจุรถ
(ง) การเปลี่ยนรถ
(จ) การถอนรถ
(ฉ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๒)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถ
(ค) การถอนรถ
(๓)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา
๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
(๔)
การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ กรมการขนส่งทางบก ตามความในหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ
ข้อ ๑๐ ให้นักวิชาการขนส่งในส่วนการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทาง
สำนักการขนส่งผู้โดยสาร เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ
๔ (๕) (จ) (ฉ) และ (ช)
ข้อ ๑๑ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ)
กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การกำหนด (ปรับปรุง)
เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้
(ฉ) การบรรจุรถ
(ช) การเปลี่ยนรถ
(ซ) การถอนรถ
(ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๒)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การกำหนด (ปรับปรุง)
เงื่อนไขในใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้
(ฉ) การบรรจุรถ
(ช) การเปลี่ยนรถ
(ซ) การถอนรถ
(ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต
การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖
วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๓)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖
วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๔)
การจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(๕)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัดซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา
๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖)
การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ กรมการขนส่งทางบก
(๗)
การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ
และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามความในมาตรา
๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๘)
การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ
(๙)
การดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๑๒ ให้ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งสินค้า
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๑ (๑) (๒) (๓) (๔)
(๕) (๖) (๗) และ (๘)
ข้อ ๑๓ ให้หัวหน้าส่วนประกอบการขนส่งสินค้า
สำนักการขนส่งสินค้า เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ
๑๑ (๑) (๒) (๓) (๘) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด
๔
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ กรมการขนส่งทางบก ดังนี้
(๑) การรับหลักทรัพย์เป็นเงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก
(๒)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติม
(๓) การถอนหลักทรัพย์
กรณีนายทะเบียนสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่ง
หรือขอถอนหลักทรัพย์บางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง
หรือการถอนหลักทรัพย์เดิมเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเปลี่ยนการวางหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว
หรือถอนหลักทรัพย์ไปชำระตามคำบังคับคดีของศาลเพื่อการชำระหนี้ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน
(๔)
การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์
ข้อ ๑๔ ให้นักวิชาการขนส่งในส่วนประกอบการขนส่งสินค้า
สำนักการขนส่งสินค้า เป็นผู้ทำการแทน
ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๑ (๓) (จ) (ฉ) และ (ช)
ข้อ ๑๕ ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๑ (๙)
ข้อ ๑๖ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ)
กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑) การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
ในเส้นทางหมวด ๔ ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถ
(ค) การถอนรถ
(๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถ
(ค) การถอนรถ
(๓)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๔)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถ
(ค) การถอนรถ
(๕) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถ
(ค) การถอนรถ
(๖)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร
ในเส้นทางหมวด ๔ ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๗) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง
การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล
และการรับวางหลักทรัพย์เป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย
(๘)
การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕
(๙)
การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ
และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามความในมาตรา
๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๐)
การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวงตามความในมาตรา
๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๑)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามความในมาตรา
๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๒)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม
ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามความในมาตรา
๘๔ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๓)
การดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๑๔)
การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต
(จ) การเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๑๗ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่
๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ เป็นผู้ทำการแทน
ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๖ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ หรือพื้นที่อื่นตามที่นายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานครมอบหมาย
ข้อ ๑๘ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ เป็นผู้ทำการแทน
(ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๖
(๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๘)
ข้อ ๑๙ ให้นักวิชาการขนส่งในกลุ่มวิชาการขนส่ง
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ ๒, ๓, ๔ และ ๕ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๖ (๑) (๒), ข้อ
๑๖ (๓) (ค) (จ) (ฉ) (ช), ข้อ ๑๖ (๔) และ (๕)
ข้อ ๒๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานในกลุ่มวิชาการขนส่ง
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ เป็นผู้ทำการแทน
(ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๖
(๓) (ค) (จ) (ฉ) และ (ช)
ข้อ ๒๑ ให้หัวหน้าส่วนทะเบียนรถขนส่ง
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ และหัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ
๑๖ (๗) (๑๐) (๑๑) และ (๑๒) ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ
หรือพื้นที่อื่นตามที่นายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานครมอบหมาย
ข้อ ๒๒ ให้หัวหน้างานทะเบียนรถโดยสารและหัวหน้างานทะเบียนรถบรรทุก
ส่วนทะเบียนรถขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๖ (๗) (๑๐) และ
(๑๒) ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ
หรือพื้นที่อื่นตามที่นายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานครมอบหมาย
ข้อ ๒๓ ให้หัวหน้าส่วนใบอนุญาตขับรถ
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ และหัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๖ (๑๔)
ข้อ ๒๔ ให้หัวหน้างานใบอนุญาตผู้ประจำรถและใบอนุญาตขับรถอื่น
ส่วนใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ เป็นผู้ทำการแทน
(ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๖
(๑๔)
ข้อ ๒๕ ให้หัวหน้าส่วนตรวจสภาพรถ
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ และหัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ)
ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๖ (๑๐) (๑๑) และ (๑๒)
ข้อ ๒๖ ให้หัวหน้างานตรวจสภาพรถขนส่ง
ส่วนตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ เป็นผู้ทำการแทน
(ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๖
(๑๐) และ (๑๒)
ข้อ ๒๗ ให้ผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่งทางบก
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๖ (๙) (๑๑) และข้อ
๑๖ (๑๔) (ง)
ข้อ ๒๘ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจการและหัวหน้าฝ่ายสืบสวน
กองตรวจการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ
๑๖ (๙) (๑๑) และข้อ ๑๖ (๑๔) (ง)
ข้อ ๒๙ ให้หัวหน้าฝ่ายเปรียบเทียบ
กองตรวจการขนส่งทางบก
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๖ (๙) และข้อ ๑๖
(๑๔) (ง)
ข้อ ๓๐ ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารการคลังและรายได้
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไทย
ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายที่เกิดจากการขนส่งตามมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามความในมาตรา
๕๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก
ข้อ ๓๑ ให้ขนส่งจังหวัด
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัด
ซึ่งมิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การบรรจุรถ
(ข) การเปลี่ยนรถ
(ค) การถอนรถ
(๒)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การกำหนด (ปรับปรุง)
เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้
(ฉ) การบรรจุรถ
(ช) การเปลี่ยนรถ
(ซ) การถอนรถ
(ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๓)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
(๔)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การกำหนด (ปรับปรุง)
เงื่อนไขในใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้
(ฉ) การบรรจุรถ
(ช) การเปลี่ยนรถ
(ซ) การถอนรถ
(ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต
การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖
วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต
(จ) การบรรจุรถ
(ฉ) การเปลี่ยนรถ
(ช) การถอนรถ
(ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต
การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖
วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและมีปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
(๗)
การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๘) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
เปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา
๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๙)
การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา
๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๐)
การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ
(๑๑)
การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น
(๑๒)
การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ
และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามความในมาตรา
๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๓)
การดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก) การออกใบอนุญาต
(ข) การต่ออายุใบอนุญาต
(ค) การออกใบแทนใบอนุญาต
(ง) การเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๓๒ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง
สำนักงานขนส่งจังหวัด
เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓๑ (๑), ข้อ ๓๑ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ), ข้อ ๓๑ (๓) ข้อ ๓๑ (๔)
(ฉ) (ช) (ซ) (ฌ), ข้อ ๓๑ (๕) (จ) (ฉ) (ช), ข้อ ๓๑ (๖) (๗) และ (๑๐)
ข้อ ๓๓ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ
๓๑ (๓), ข้อ ๓๑ (๕) (จ) (ฉ) (ช), ข้อ
๓๑ (๑๐) และ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔
การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้
ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดสาขานั้น
ข้อ ๓๔ ในกรณีนายทะเบียนกลางได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔
เทียนโชติ จงพีร์เพียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
นายทะเบียนกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๔ กันยายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๙๕ ง/หน้า ๕๐/๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ |
653705 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดภูเก็ต ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดภูเก็ต สายที่ 2 สถาบันราชภัฏภูเก็ต - สถานีอนามัยแหลมชั่น เป็น ห้างซุปเปอร์ชิป - ตลาดใหม่มุมเมือง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดภูเก็ต
ฉบับที่ ๒๕
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑
จังหวัดภูเก็ต สายที่ ๒ สถาบันราชภัฏภูเก็ต สถานีอนามัยแหลมชั่น
เป็น
ห้างซุปเปอร์ชิป ตลาดใหม่มุมเมือง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดภูเก็ต
ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๔๕) ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๕ กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขชื่อเส้นทางรายละเอียดเส้นทาง (ชื่อสถานที่)
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดภูเก็ต สายที่ ๒
วิทยาลัยครูภูเก็ต สถานีอนามัยแหลมชั่น เป็น สถาบันราชภัฏภูเก็ต
สถานีอนามัยแหลมชั่น ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดภูเก็ตได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดภูเก็ต
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๓
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๔
เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
จังหวัดภูเก็ต สายที่ ๒ สถาบันราชภัฏภูเก็ต สถานีอนามัยแหลมชั่น
เป็น ห้างซุปเปอร์ชิป ตลาดใหม่มุมเมือง
โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๒ ห้างซุปเปอร์ชิป ตลาดใหม่มุมเมือง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณห้างซุปเปอร์ชิป
ไปตามถนนเทพกระษัตรี ผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ผ่านโรงเรียนภูเก็ตเทคโนโลยี
โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย แยกซ้ายไปตามถนนดำรง ผ่านโรงเรียนสตรีภูเก็ต
เรือนจำจังหวัดภูเก็ต แยกขวาไปตามถนนสุรินทร์ ผ่านศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
สำนักงานเทศบาล แยกขวาไปตามถนนพังงา แยกขวาเข้าสถานีขนส่งโดยสารจังหวัดภูเก็ต
ไปตามถนนดิลกอุทิศ ๒ แยกขวาไปตามถนนอ๋องซิมผ่าย ผ่านตลาดเกษตร ตรงไปตามถนนกระ ถนนพูนผล
ผ่านโรงเรียนเทศบาลเมือง แยกซ้ายไปตามถนนบางกอก แยกซ้ายไปตามถนนเจ้าฟ้า ผ่านสวนหลวง
ร. ๙ ถึงแยกท่าแครง แยกซ้ายไปตามถนนศักดิเดช แยกขวาไปตามถนนพัฒนาท้องถิ่น
ผ่านสถานีอนามัยแหลมชั่น แยกซ้ายไปตามถนนเจ้าฟ้าตะวันออก ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดใหม่มุมเมือง
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ตรี อัครเดชา
ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดภูเก็ต
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๙ กันยายน ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๙ กันยายน ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๒๐ ง/หน้า ๒๔๑/๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔ |
653702 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดภูเก็ต ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดภูเก็ต สายที่ 1 ศูนย์การค้าโลตัส - วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต เป็น ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี - วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดภูเก็ต
ฉบับที่ ๒๔
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑
จังหวัดภูเก็ต สายที่ ๑ ศูนย์การค้าโลตัส วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
เป็น
ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดภูเก็ต
ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๔
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
จังหวัดภูเก็ต สายที่ ๑ โรงเรียนเทศบาลสามกอง-วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต เป็น
ศูนย์การค้าโลตัส วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดภูเก็ตได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดภูเก็ต
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๓
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๔
เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ จังหวัดภูเก็ต สายที่ ๑ ศูนย์การค้าโลตัส วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
เป็น ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๑ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี
วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ไปตามถนนบางใหญ่
แยกซ้ายไปตามถนนวิชิตสงคราม แยกซ้ายไปตามถนนเฉลิมพระเกียรติ ร. ๙
แยกขวาไปตามถนนเยาวราช ผ่านศูนย์การค้าโลตัส โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต แยกขวาไปตามถนนแม่หลวน ผ่านที่ว่าการอำเภอเมือง แยกซ้าย
ไปตามถนนวิชิตสงคราม ผ่านโรงเรียนประศาสน์วิทยา โรงเรียนขจรเกียรติศึกษา
ไปตามถนนระนอง แยกขวาไปตามซอยภูธร แยกซ้ายไปตามถนนบางกอก ผ่านวงเวียนสุริยเดช
แยกขวาไปตามถนนพังงา แยกซ้ายเข้าสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต
แยกขวาไปตามถนนพังงา แยกซ้ายไปตามถนนมนตรี ผ่านวงเวียนหอนาฬิกา ตรงไปตามถนนภูเก็ต
ผ่านโรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต ถึงสะพานหิน ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
ไปตามถนนภูเก็ต ผ่านสะพานหิน วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว
วงเวียนหอนาฬิกา แยกซ้ายไปตามถนนรัษฎา ถึงวงเวียนสุริยเดช ไปตามถนนระนอง
ถนนวิชิตสงคราม ผ่านโรงเรียนขจรเกียรติศึกษา ถึงโรงเรียนประศาสน์วิทยา
แยกขวาไปตามถนนแม่หลวน ผ่านที่ว่าการอำเภอเมือง แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ตรี อัครเดชา
ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดภูเก็ต
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๙ กันยายน ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๙ กันยายน ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๒๐ ง/หน้า ๒๓๙/๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔ |
653475 | ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม | ประกาศกระทรวงคมนาคม
ประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง
การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
กำหนดจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ในที่ดินที่ราชพัสดุในพื้นที่อ่างเก็บน้ำหนองบ่อบริเวณรอบหนองบ่อบรบือสราราม
แปลงหมายเลขทะเบียนที่ ส.มค. ๑๐๙๗ ตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เนื้อที่
๗ ไร่ โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
สุชาติ
โชคชัยวัฒนากร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบแผนผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๖ กันยายน ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๖ กันยายน ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๘๙ ง/หน้า ๕/๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ |
652500 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ 77 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดลพบุรี จำนวน 8 เส้นทาง | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดลพบุรี
ฉบับที่ ๗๗
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง
(ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง
หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน)
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดลพบุรี
จำนวน ๘
เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่ ๓๙๐ (พ.ศ. ๒๕๑๖)
ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๖ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี
ฉบับที่ ๓๒ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ลงวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๖ ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ลงวันที่
๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๖ ฉบับที่ ๓๔ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ลงวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๖ ฉบับที่ ๓๖ (พ.ศ.
๒๕๓๗) ลงวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗ ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๓๙
ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๒๔ และฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ลงวันที่
๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดลพบุรี จำนวน ๘ เส้นทาง ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด
(ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน,
ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง
หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน)
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่,
หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน)
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลพบุรี จำนวน ๘ เส้นทาง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๒๒๐๒ ลพบุรี บ้านหมี่
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี ไปตามถนนนารายณ์มหาราช
แยกซ้ายวงเวียนเทพสตรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านสี่แยกเอราวัณ
สำนักงานขนส่งจังหวัดลพบุรี สี่แยกโรงพยาบาลอานันท์ฯ ศูนย์การทหารปืนใหญ่
ทางแยกเขาพระงาม ทางแยกสถานีรถไฟโคกกระเทียม วัดทุ่งสิงห์โต ถึง กม. ที่ ๑๗๑
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๒๔ ผ่านบ้านสระตาแวว บ้านหนองน้ำทิพย์
บ้านเนินยาว บ้านสระเตย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านหมี่
สายที่ ๒๓๑๕ โคกสำโรง บ้านห้วยโป่ง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอโคกสำโรง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านโรงเรียนบ้านเขาทับควาย ถึงทางแยกบ้านห้วยโป่ง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยโป่ง
สายที่ ๒๓๑๖ โคกสำโรง บ้านโป่งยอ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอโคกสำโรง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ผ่านบ้านเพนียด บ้านวังเพลิง บ้านมะม่วงเจ็ดต้น
ถึงทางแยกบ้านโป่งยอ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ. ๓๐๐๒ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโป่งยอ
สายที่ ๒๓๑๘ โคกสำโรง บ้านเนินส้มกบ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอโคกสำโรง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านบ้านวังขอนขว้าง ถึงทางแยกบ้านหลุมข้าว
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ. ๑๐๐๘ ผ่านบ้านหลุมข้าว ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเนินส้มกบ
สายที่ ๒๓๒๑ ลำนารายณ์ - บ้านวังเชื่อม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารลำนารายณ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๕ ผ่านบ้านท่ามะดูก สามแยกบ้านบัวชุม บ้านเขาตำบล บ้านจงโก ถึงบ้านหนองรี
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ ๓๐๐๔ ผ่านบ้านเขารวก ถึงบ้านหนองมะนาว
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖๐ ผ่านบ้านวังทอง บ้านกุดตาเพชร
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวังเชื่อม
ช่วงลำนารายณ์ บ้านหนองโก
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารลำนารายณ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕
ผ่านบ้านท่ามะดูก สามแยกบ้านบัวชุม บ้านเขาตำบล บ้านจงโก ถึงบ้านหนองรี
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ ๓๐๐๔ ผ่านบ้านเขารวก ถึงบ้านหนองมะนาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๒๖๐ ถึงบ้านวังทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองโก
สายที่ ๒๓๔๒ โคกสำโรง บ้านรักไทย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอโคกสำโรง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านบ้านวังกระทุ่ม บ้านใหม่พัฒนา ถึงบ้านอาสาพัฒนา
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ ๑๐๑๗ ผ่านบ้านชอนตะโก ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านรักไทย
ช่วงโคกสำโรง บ้านท่าฉนวน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอโคกสำโรง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
ถึงบ้านวังกระทุ่ม แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ ๓๐๔๗ ผ่านบ้านวังกระเบียน
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าฉนวน
ช่วงโคกสำโรง บ้านวังหัวแหวน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอโคกสำโรง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
ผ่านบ้านวังกระทุ่ม ถึงบ้านใหม่พัฒนา แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวังหัวแหวน
สายที่ ๖๑๖๘ ลพบุรี บ้านข่อย, วัดท่าข้าม
ช่วงลพบุรี บ้านข่อย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี ไปตามถนนเลียบคลองชลประทาน ๒๑ ขวา
ผ่านวัดสำราญ แยกขวาไปตามถนนเลียบคลองชลประทาน ๒๑ ขวา แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
ลบ ๔๐๐๓ ผ่านบ้านไผ่ขวาง ผ่านสถานีอนามัย ตำบลไผ่แตร ถึงทางแยกบ้านไผ่หน้ากระดาน
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ ๒๐๐๖ ผ่านบ้านโพธิ์ตรุ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านข่อย
ช่วงลพบุรี วัดท่าข้าม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี
ไปตามถนนเลียบคลองชลประทาน ๒๑ ขวา ผ่านวัดสำราญ แยกขวาไปตามถนนเลียบคลองชลประทาน
๒๑ ขวา แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ ๔๐๐๓ ผ่านบ้านไผ่ขวาง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ ๒๐๓๘ ผ่านบ้านท้ายตลาด ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดท่าข้าม
สายที่ ๖๑๘๙ ลพบุรี โรงเรียนวัดไดใหญ่
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี
ไปตามถนนเลียบคลองชลประทาน ๒๑ ขวา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๖
ผ่านวัดโพธิ์เก้าต้น วัดยาง ณ รังสี วัดดงตาล แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ
๓๑๕๑ แยกขวาไปตามถนนเลียบคลองระบายน้ำเริงรางใหญ่ ผ่านบ้านดอนโพธิ์ บ้านไทรย้อย
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนวัดไดใหญ่
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ฉัตรชัย
พรหมเลิศ
ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดลพบุรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๒ สิงหาคม
๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๒ สิงหาคม
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๑๓ ง/หน้า ๑๙๑/๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ |
652498 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ 76 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดลพบุรี สายที่ 12 ท่าโพธิ์-บ้านหนองถ้ำ | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดลพบุรี
ฉบับที่ ๗๖
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง
(ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง
หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน)
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ จังหวัดลพบุรี
สายที่ ๑๒
ท่าโพธิ์-บ้านหนองถ้ำ[๑]
ตามที่ ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี
ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๒๗
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
จังหวัดลพบุรี สายที่ ๑๒ ท่าโพธิ์ บ่อ ๒ เป็น ท่าโพธิ์
บ้านหนองถ้ำ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด
(ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน,
ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง
หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่,
หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน)
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๑๒ ท่าโพธิ์
บ้านหนองถ้ำ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๑๒ ท่าโพธิ์ บ้านหนองถ้ำ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าโพธิ์
ไปตามถนนปรางค์สามยอด แยกซ้ายไปตามถนนวิชาเยนทร์ ผ่านวงเวียนศาลพระกาฬ
ไปตามถนนนารายณ์มหาราช ผ่านวงเวียนศรีสุริโยทัย วงเวียนเทพสตรี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงทางแยกนิคมฯ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๑๗ ผ่านบ่อ ๒ วัดนิคมสามัคคีชัย ถึงทางแยกเข้าบ้านหนองถ้ำ แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น
ผ่านวัดวังน้ำดำ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองถ้ำ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ฉัตรชัย
พรหมเลิศ
ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดลพบุรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๒ สิงหาคม
๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๒ สิงหาคม
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๑๓ ง/หน้า ๑๘๙/๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ |
651424 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสาคร ฉบับที่ 90 (พ.ศ. 2554) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสมุทรสาคร สายที่ 8288 โรงพยาบาลกระทุ่มแบน - สุขาภิบาล 1 ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มอีก 1 ช่วง คือ ช่วงโรงพยาบาลกระทุ่มแบน - เทศบาล 1 (อ้อมใหญ่) | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ฉบับที่ ๙๐
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔
จังหวัดสมุทรสาคร สายที่ ๘๒๘๘ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน - สุขาภิบาล ๑
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มอีก
๑ ช่วง คือ
ช่วงโรงพยาบาลกระทุ่มแบน
- เทศบาล ๑ (อ้อมใหญ่)[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ฉบับที่ ๖๘ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดสมุทรสาคร สายที่ ๘๒๘๘ กระทุ่มแบน - สุขาภิบาล ๑ เป็น โรงพยาบาลกระทุ่มแบน
- สุขาภิบาล ๑ ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสาครได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๔
เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด
๔ จังหวัดสมุทรสาคร สายที่ ๘๒๘๘ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน - สุขาภิบาล ๑
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มอีก ๑ ช่วง คือ ช่วงโรงพยาบาลกระทุ่มแบน - เทศบาล
๑ (อ้อมใหญ่) เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชน
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๘๒๘๘ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน - สุขาภิบาล ๑
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงพยาบาลกระทุ่มแบน
ไปตามถนนเทศบาล ถนนบุญมี ผ่านหมู่บ้านมาสุข วัดนางสาว แยกขวาไปตามถนนวิรุณราษฎร์
แยกซ้ายไปตามถนนสุขาภิบาล ๙ ผ่านหมู่บ้านรุ่งรัชวิลล่า แยกขวาไปตามถนนสุขาภิบาล ๑
ผ่านโรงเรียนบ้านคลองแค ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางถนนสุขาภิบาล ๑ (ด้านถนนเศรษฐกิจ ๑)
ช่วงโรงพยาบาลกระทุ่มแบน
- วัดสิรินธรเทพรัตนาราม เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงพยาบาลกระทุ่มแบน
ไปตามถนนเทศบาล ถนนบุญมี ผ่านหมู่บ้านมาสุข วัดนางสาว แยกขวาไปตามถนนวิรุณราษฎร์
แยกซ้ายไปตามถนนสุขาภิบาล ๙ ผ่านหมู่บ้านรุ่งรัชวิลล่า หมู่บ้านเพชรเกษมธานี ตรงไปตามถนนคลองแค
- วิทยาลัยสงฆ์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดสิรินธรเทพรัตนาราม
ช่วงโรงพยาบาลกระทุ่มแบน
- เทศบาล ๑ (อ้อมใหญ่)
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงพยาบาลกระทุ่มแบน ไปตามถนนเทศบาล
ถนนบุญมี ผ่านหมู่บ้านมาสุข วัดนางสาว แยกขวาไปตามถนนวิรุณราษฎร์
แยกซ้ายไปตามถนนสุขาภิบาล ๙ ผ่านหมู่บ้านอิ่มอัมพร ชุมชนบ้านคลองลัด หมู่บ้านวรรณวิจิตร
แยกซ้ายไปตามซอยเทศบาล ๑ ผ่านด้านข้างหลังบิ๊กซี สาขาอ้อมใหญ่ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากซอยเทศบาล ๑ (อ้อมใหญ่) (ด้านถนนเพชรเกษม)
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔
จุลภัทร
แสงจันทร์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๖ ง/หน้า ๑๘๘/๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ |
651422 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสาคร ฉบับที่ 89 (พ.ศ. 2554) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสมุทรสาคร สายที่ 6011 โรงพยาบาลกระทุ่มแบน - โรงพยาบาลศรีวิชัย 3 เป็นโรงพยาบาลกระทุ่มแบน - อ้อมน้อย - หมู่บ้านวรรณวิจิตร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ฉบับที่ ๘๙
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔
จังหวัดสมุทรสาคร สายที่ ๖๐๑๑ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน - โรงพยาบาลศรีวิชัย ๓ เป็น
โรงพยาบาลกระทุ่มแบน
- อ้อมน้อย - หมู่บ้านวรรณวิจิตร[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ฉบับที่ ๖๗ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดสมุทรสาคร สายที่ ๖๐๑๑ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน - โรงพยาบาลศรีวิชัย ๓
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงโรงพยาบาลกระทุ่มแบน - ค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน ขึ้น
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสาครได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๔
เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด
๔ จังหวัดสมุทรสาคร สายที่ ๖๐๑๑ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน - โรงพยาบาลศรีวิชัย ๓ เป็น
โรงพยาบาลกระทุ่มแบน - อ้อมน้อย - หมู่บ้านวรรณวิจิตร โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง
ดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๖๐๑๑ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน - อ้อมน้อย - หมู่บ้านวรรณวิจิตร
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงพยาบาลกระทุ่มแบน
ไปตามถนนเทศบาล ๒ แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาล ๑ แยกซ้ายไปตามถนนสุคนธวิท
ผ่านตลาดสดกระทุ่มแบน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙๑ (ถนนเศรษฐกิจ ๑)
แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านวัดอ้อมน้อย โรงพยาบาลศรีวิชัย ๓
แยกซ้ายไปตามซอยเทศบาล ๑ (อ้อมใหญ่) ผ่านด้านข้างห้างบิ๊กซีสาขาอ้อมใหญ่
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหมู่บ้านวรรณวิจิตร
ช่วงโรงพยาบาลกระทุ่มแบน
- บ้านเตาอิฐ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงพยาบาลกระทุ่มแบน
ไปตามถนนเทศบาล ๒ แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาล ๑ แยกซ้ายไปตามถนนสุคนธวิท
ผ่านตลาดสดกระทุ่มแบน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙๑ (ถนนเศรษฐกิจ ๑)
แยกขวาไปตามถนนเศรษฐกิจ ๑ ซอย ๗ (ซอยนวลทอง) ผ่านสถานีอนามัยบ้านสวนหลวง วัดใหม่หนองพะอง
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านเตาอิฐ
ช่วงโรงพยาบาลกระทุ่มแบน
- ค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงพยาบาลกระทุ่มแบน ไปตามถนนเทศบาล ๒
แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาล ๑ แยกซ้ายไปตามถนนสุคนธวิท ผ่านตลาดสดกระทุ่มแบน
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙๑ (ถนนเศรษฐกิจ ๑) ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔
จุลภัทร
แสงจันทร์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๖ ง/หน้า ๑๘๖/๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ |
651420 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2013 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 185 กำแพงเพชร-พิจิตร | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๑๓
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่
๑๘๕ กำแพงเพชร-พิจิตร[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๒๕๖
(พ.ศ. ๒๕๒๗) ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๒๗ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๘๕
กำแพงเพชร-พิจิตร ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกเข้าหมู่บ้าน รวม ๙ ช่วง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๘๕ กำแพงเพชร-พิจิตร
โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๕ ช่วง คือ ช่วงกำแพงเพชร-บ้านบ่อตาโพ
ช่วงกำแพงเพชร-บ้านเกาะสิงห์โต ช่วงกำแพงเพชร-บ้านห้วยโค้ง ช่วงกำแพงเพชร-บ้านหนองทอง
และช่วงกำแพงเพชร-บ้านทุ่งทอง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๘๕ กำแพงเพชร-พิจิตร
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกำแพงเพชร
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๕ ถึงทางแยกเข้าอำเภอไทรงาม
แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น หมายเลข อบจ.กพ ๑๐๖๑ ผ่านอำเภอไทรงาม
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข กพ ๓๐๐๖ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๕
ผ่านบ้านบึงบัว บ้านปลวกสูง อำเภอสามง่าม ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดพิจิตร
ช่วงกำแพงเพชร-บ้านดงกระทิง-ลานกระบือ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกำแพงเพชร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๕
ผ่านบ้านหนองกรด บ้านบ่อเงิน บ้านสระแก้ว บ้านหนองเต่า บ้านบ่อทอง บ้านสระเตย
บ้านป่าถั่ว บ้านทุ่งมหาชัย บ้านวังพิกุล แยกอำเภอไทรงาม ถึงบ้านดงกระทิง แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น
ผ่านบ้านดงอีบุก บ้านปรือพันไถ บ้านเกศกาสร ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอลานกระบือ
ช่วงกำแพงเพชร-บ้านวังพิกุล-บ้านหนองละมั่งทอง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกำแพงเพชร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๕
ผ่านบ้านหนองกรด บ้านบ่อเงิน บ้านสระแก้ว บ้านหนองเต่า บ้านบ่อทอง บ้านสระเตย
บ้านป่าถั่ว บ้านทุ่งมหาชัย ถึงบ้านวังพิกุล แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๒๗๘ ผ่านบ้านบ่อแร่ บ้านอินทรานุสรณ์ ถึงอำเภอลานกระบือ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖๕ แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น
ผ่านบ้านวงฆ้อง บ้านเด่นพระ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองละมั่งทอง
ช่วงกำแพงเพชร-บ้านโพธิ์สวัสดิ์
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกำแพงเพชร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๕
ผ่านบ้านหนองกรด บ้านบ่อเงิน บ้านสระแก้ว บ้าน กม.๑๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโพธิ์สวัสดิ์
ช่วงกำแพงเพชร-บ้านหนองโสน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกำแพงเพชร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๕
ผ่านบ้านหนองกรด บ้านบ่อเงิน บ้านสระแก้ว บ้าน กม.๑๑ บ้านหนองเต่า
แยกซ้ายไปตามถนนชนบทหมายเลข กพ ๓๐๑๑ ผ่านบ้านหนองหญ้าปล้อง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองโสน
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ศรศักดิ์
แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๖ ง/หน้า ๑๘๔/๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ |
651418 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2012 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 สายที่ 953 กรุงเทพฯ-ท่าช้าง (ค) เป็น กรุงเทพฯ-เดิมบางนางบวช-หันคา
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๑๒
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่
๙๕๓ กรุงเทพฯ-ท่าช้าง (ค) เป็น กรุงเทพฯ-เดิมบางนางบวช-หันคา[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๖๕๖
(พ.ศ. ๒๕๓๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๒ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๕๓
กรุงเทพฯ-ท่าช้าง (ค) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๕๓ กรุงเทพฯ-ท่าช้าง
(ค) เป็น กรุงเทพฯ-เดิมบางนางบวช-หันคา และให้มีรายละเอียด เส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ-ท่าช้าง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๙๕๓ กรุงเทพฯ-เดิมบางนางบวช-หันคา
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้)
ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๔๐
ผ่านทางแยกเข้าอำเภอบางบัวทอง สี่แยกทางหลวงสายปทุมธานี-บางเลน
ทางแยกเข้าอำเภอลาดบัวหลวง บ้านสาลี คลองบางยี่หน ทางแยกเข้าอำเภอบางปลาม้า ผ่านบ้านโพธิ์พระยา
อำเภอศรีประจันต์ อำเภอสามชุก อำเภอเดิมบางนางบวช แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๓๙ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๐๙ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหันคา
ช่วงกรุงเทพฯ-ท่าช้าง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้)
ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๔๐ ผ่านทางแยกเข้าอำเภอบางบัวทอง
สี่แยกทางหลวงสายปทุมธานี-บางเลน ทางแยกเข้าอำเภอลาดบัวหลวง บ้านสาลี คลองบางยี่หน
ทางแยกเข้าอำเภอบางปลาม้า ผ่านบ้านโพธิ์พระยา อำเภอศรีประจันต์ อำเภอสามชุก
อำเภอเดิมบางนางบวช ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดท่าช้าง
(อำเภอเดิมบางนางบวช)
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ศรศักดิ์
แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๖ ง/หน้า ๑๘๒/๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ |
651416 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2011 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่เส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 402 ช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ เป็น สาทร-ราชพฤกษ์
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๑๑
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ๔๐๒
ช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ เป็น สาทร-ราชพฤกษ์[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๐๔
(พ.ศ. ๒๕๕๑) ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๑ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานคร สายที่ ๔๐๒
ช่องนนทรี-สะพานกรุงเทพ เป็นช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงช่องนนทรี-สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม-ราชพฤกษ์
เพิ่มขึ้น ๑ ช่วง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ๔๐๒ ช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ เป็น สาทร-ราชพฤกษ์ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสาทร-สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม-
ราชพฤกษ์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๔๐๒ สาทร-ราชพฤกษ์
เริ่มต้นจากแยกถนนสาทร ไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์
แยกขวาไปตามถนนพระราม ๓ ถนนรัชดาภิเษก ไปสุดเส้นทางที่บริเวณถนนราชพฤกษ์
ช่วงสาทร-สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม-ราชพฤกษ์
เริ่มต้นจากแยกถนนสาทร ไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๓
แยกขวาขึ้นสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม ลงสะพานวงแหวนอุตสาหกรรมบริเวณถนนสุขสวัสดิ์
ไปตามถนนสุขสวัสดิ์ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก ไปสุดเส้นทางที่บริเวณถนนราชพฤกษ์
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ศรศักดิ์
แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๖ ง/หน้า ๑๘๐/๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ |
651414 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2010 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 788 หัวหิน-บางแสน | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๑๐
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่
๗๘๘ หัวหิน-บางแสน[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๗๘๘ หัวหิน-บางแสน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๗๘๘ หัวหิน-บางแสน
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหัวหิน
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภอชะอำ เพชรบุรี อำเภอเขาย้อย
ถึงสามแยกวังมะนาว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ ผ่านสมุทรสงคราม สมุทรสาคร
แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ แยกขวาไปตามทางพิเศษบูรพาวิถี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านชลบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๗
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบางแสน
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ศรศักดิ์
แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๖ ง/หน้า ๑๗๙/๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ |
651250 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีน พ.ศ. 2554 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอน
จากท่อไอเสียของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีน
พ.ศ. ๒๕๕๔
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีน
ลงวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่ปัจจุบันได้มีการนำรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติและก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงมาใช้งานเพิ่มขึ้นคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๒ จึงได้กำหนดค่ามาตรฐานก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติและก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงขึ้น
ดังนั้น เพื่อให้มีเกณฑ์มาตรฐานและวิธีการตรวจสอบระบบไอเสียของรถที่ใช้เชื้อเพลิงดังกล่าวเป็นการเพิ่มเติมจากการกำหนดค่ามาตรฐานก๊าซของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๑) (ญ) และข้อ ๑๕ (๑) (ญ) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ.
๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ที่ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีน ลงวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
เครื่องมือ หมายความว่า
เครื่องวัดระบบนันดีสเปอร์ซีฟ อินฟราเรด (Non dispersive Infrared, NDIR)
สำหรับใช้วัดปริมาณความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากท่อไอเสีย
ที่มีช่วงการวัดไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔.๕ โดยปริมาตร
และวัดปริมาณความเข้มข้นของก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียที่มีช่วงการวัดไม่น้อยกว่า
๖๐๐ ส่วนในล้านส่วน (ppm) ของค่าเทียบเท่านอร์มัล เฮ็กเซน (N
- Hexane) หรือเครื่องวัดระบบอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่า
ข้อ ๔ ค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
(๑) รถที่ใช้น้ำมันเบนซิน หรือน้ำมันแก๊สโซฮอล์เป็นเชื้อเพลิง
(ก) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ไม่เกินร้อยละ ๔.๕ ที่วัดได้ด้วยเครื่องมือ
(ข) ก๊าซไฮโดรคาร์บอน ไม่เกิน ๖๐๐ ส่วนในล้านส่วน
ที่วัดได้ด้วยเครื่องมือ
(๒) รถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
(ก) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ไม่เกินร้อยละ ๒.๐ ที่วัดได้ด้วยเครื่องมือ
(ข) ก๊าซไฮโดรคาร์บอน ไม่เกิน ๖๐๐ ส่วนในล้านส่วน
ที่วัดได้ด้วยเครื่องมือ
ข้อ ๕ วิธีตรวจวัดค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถให้ดำเนินการตามขั้นตอน
ดังต่อไปนี้
(๑) จอดรถอยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่าง
และเดินเครื่องยนต์ของรถให้อยู่ในอุณหภูมิใช้งานปกติ
(๒) ขณะที่เครื่องยนต์เดินเบา ให้สอดหัววัด (Probe) ของเครื่องมือเข้าไปในท่อไอเสียให้ลึกตามคำแนะนำในคู่มือการใช้งานของผู้ผลิตเครื่องมือ
ในกรณีที่ไม่สามารถสอดหัววัดของเครื่องมือเข้าไปในท่อไอเสียเพราะติดอุปกรณ์ระงับเสียงให้ใช้ท่อพิเศษต่อปลายท่อไอเสีย
แล้วจึงสอดหัววัดของเครื่องมือเข้าไปในท่อพิเศษที่ต่อเสริมจากปลายท่อไอเสียนั้น
(๓) อ่านค่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอน
เมื่อเครื่องมือแสดงผลคงที่ ในกรณีเครื่องมือแสดงผลไม่คงที่ให้ใช้ค่าเฉลี่ยของค่าที่อ่านได้ระหว่างค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดของการวัดครั้งนั้น
(๔) ปฏิบัติตาม (๒) และ (๓) ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
(๕) ใช้ค่าเฉลี่ยที่ได้จากการวัดทั้งสองครั้ง
นำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ ๔ เป็นเกณฑ์ตัดสิน
ข้อ ๖ กรณีเป็นรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวสลับกับน้ำมันเชื้อเพลิงการตรวจวัดค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถ
ให้กระทำกับการใช้เชื้อเพลิงทั้งสองระบบโดยแยกครั้งกัน
และค่าที่วัดได้ของแต่ละระบบเชื้อเพลิงต้องเป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๔
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เทียนโชติ
จงพีร์เพียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ กรกฎาคม
๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๘ กรกฎาคม
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๓๘/๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ |
650166 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2554
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิก
การให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้
ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติมไว้แล้ว นั้น
โดยที่ปรากฏว่ารถที่ใช้ในการขนส่งที่ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงจากผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตได้จำหน่ายให้แก่ประชาชนไปแล้ว
ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงใหม่
แต่ผู้แทนจำหน่ายดังกล่าวไม่ได้เป็นผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดตั้งจากกรมการขนส่งทางบก
จึงไม่สามารถออกหนังสือรับรองการติดตั้งให้กับเจ้าของรถได้
สมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศดังกล่าวเพื่อให้ผู้แทนจำหน่ายรถที่ได้รับมอบหมายจากผู้ผลิตรถหรือผู้จำหน่ายรถสามารถขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ติดตั้งได้ด้วย
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๐
แห่งกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๒) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
การติดตั้ง หมายความว่า
การติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
และให้หมายความรวมถึงการเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบใหม่จากผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อมด้วย
เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ หมายความว่า
เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง
ผู้ติดตั้ง หมายความว่า
ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อม และผู้ติดตั้งทั่วไป
ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต หมายความว่า
ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผู้ติดตั้งผลิต
ซึ่งมีการกำหนดรหัสหรือรุ่นเป็นการเฉพาะ
ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อม หมายความว่า
ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ผลิตรถ (Manufacturer) หรือผู้จำหน่ายเพียงผู้เดียว
(Sole distributor) ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงใหม่เฉพาะรถที่ได้รับการติดตั้งจากผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต
โดยการเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบต้องดำเนินการตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตรถหรือผู้จำหน่ายรถเพียงผู้เดียวกำหนด
ผู้ติดตั้งทั่วไป หมายความว่า
ผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว
แต่มิให้หมายความรวมถึงผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อม
ข้อ ๓ ผู้ใดประสงค์จะขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตให้ยื่นต่อสำนักวิศวกรรมยานยนต์
(๒) ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อมหรือผู้ติดตั้งทั่วไปที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นต่อสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่
๑ - ๕ ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่
(๓)
ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อมหรือผู้ติดตั้งทั่วไปที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครให้ยื่นต่อ
สำนักวิศวกรรมยานยนต์ หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่
ข้อ ๔ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต
หรือผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อมต้องเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
โดยให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) ภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่มีอายุไม่เกิน ๖
เดือน
(๒)
ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจ
(๓) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานประกอบกิจการ
(๔) หลักฐานการดำเนินการตามเงื่อนไขในข้อ ๘ (๓) (๔) หรือข้อ ๙ (๒)
(๓) (๕) แล้วแต่กรณี
(๕) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
ในกรณีการขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อมให้แนบสำเนาหนังสือการได้รับมอบหมายจากผู้ผลิตรถให้เป็นผู้จำหน่ายเพียงผู้เดียว
หรือได้รับมอบหมายจากผู้ผลิตรถ หรือผู้จำหน่ายเพียงผู้เดียวให้เป็นตัวแทนจำหน่าย (Dealer) ด้วย
ข้อ ๕ การขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งทั่วไป
ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) บุคคลธรรมดา
(ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(ข)
แผนที่แสดงที่ตั้งสถานประกอบกิจการและผังบริเวณสถานที่ทำการติดตั้งโดยสังเขป
(ค) หลักฐานเอกสารแสดงคุณวุฒิของบุคลากรผู้ทำการติดตั้ง
(๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด
หรือบริษัทมหาชนจำกัด
(ก) ภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่มีอายุไม่เกิน ๖
เดือน
(ข) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจ
(ค) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานประกอบกิจการและผังบริเวณสถานที่ทำการติดตั้งโดยสังเขป
(ง) หลักฐานเอกสารแสดงคุณวุฒิของบุคลากรผู้ทำการติดตั้ง
(จ) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
(๓) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษา
(ก) หนังสือมอบอำนาจของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษา
ให้มาดำเนินการยื่นขอหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง
(ข) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ
(ค)
แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ประกอบกิจการและผังบริเวณสถานที่ทำการติดตั้งโดยสังเขป
(ง)
โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้ง
ข้อ ๖ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งจะต้องไม่เป็นผู้ถูกยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง
เว้นแต่พ้นระยะเวลาการถูกยกเลิกมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ เดือน
ข้อ ๗ หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งตามประกาศนี้
แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ
(๑) ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต
(๒) ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อม
(๓) ผู้ติดตั้งทั่วไป
หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้
ข้อ ๘ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตต้องดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีสถานที่ประกอบกิจการ
(๒) จัดให้มีเอกสารแสดงแบบรถ รุ่นรถที่กำหนดให้มีการติดตั้ง
(๓) จัดให้มีเอกสารแสดงระบบการผลิตรถ
(๔) จัดให้มีเอกสารแสดงขั้นตอนและวิธีการติดตั้ง
ข้อ ๙ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อมต้องดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีสถานที่ประกอบกิจการ
(๒) จัดให้มีบุคลากรผู้ทำการติดตั้งซึ่งผ่านการฝึกอบรมจากผู้ผลิตรถ
หรือผู้จำหน่ายเพียงผู้เดียว หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
(๓) จัดให้มีเครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและเพียงพอ
(๔) จัดให้มีระบบการควบคุมอะไหล่
และใช้เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบตามที่ผู้ผลิตรถหรือผู้จำหน่ายเพียงผู้เดียวกำหนด
(๕) จัดให้มีคู่มือการซ่อมรถที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งตามผู้ผลิตรถ
หรือผู้จำหน่ายเพียงผู้เดียวกำหนด
(๖) ได้รับมอบหมายจากผู้ผลิตรถ หรือผู้จำหน่ายเพียงผู้เดียว
ให้เป็นผู้ทำการเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงใหม่เฉพาะรถที่ได้รับการติดตั้งจากผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต
ข้อ ๑๐ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งทั่วไปต้องดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีอาคารสถานที่ที่มีความมั่นคงแข็งแรงและมีลักษณะดังนี้
(ก) สามารถติดตั้งเครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
ที่ใช้ในการติดตั้ง
(ข) พื้นที่ที่ใช้ในการติดตั้งต้องเป็นพื้นราบที่สะดวกเพียงพอ
และมีความปลอดภัยในการทำงาน ขนาดไม่น้อยกว่า ๔๐ ตารางเมตร
โดยต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ เมตร
(ค) มีพื้นที่สำหรับแสดงแผนผังการติดตั้งในจุดที่เห็นได้อย่างชัดเจน
(ง) กำหนดพื้นที่อันตรายและป้ายคำเตือนบ่งชี้เขตต่าง ๆ
อย่างชัดเจนและเหมาะสม
(๒) จัดให้มีบุคลากรผู้ทำการติดตั้งที่มีวุฒิการศึกษาระดับ ปวช.
ขึ้นไป หรือเทียบเท่าในสาขาช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน หรือที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้ง
และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งอุปกรณ์ก๊าซธรรมชาติอัด
ได้แก่ หลักสูตรที่กรมธุรกิจพลังงานจัดขึ้น หลักสูตรที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัดขึ้น
หรือหลักสูตรที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ
(๓) จัดให้มีเครื่องมือ
เครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและเพียงพออย่างน้อยดังนี้
(ก) เครื่องยกรถ หรือบ่อที่ใช้สำหรับปฏิบัติงานใต้ท้องรถยนต์
(ข) เครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้ง
(ค) เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจสอบการรั่วของก๊าซ
(ง) เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสมอย่างน้อย ๒ ถัง
(๔) จัดให้มีเอกสารแสดงขั้นตอนการติดตั้ง และวิธีการติดตั้ง
ข้อ ๑๑ เมื่อได้รับคำขอ
ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
หากไม่ครบถ้วนถูกต้องให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอไปดำเนินการแก้ไขภายใน ๔๕ วัน หากครบถ้วนถูกต้อง
ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) มีหนังสือแจ้งการให้ความเห็นชอบในหลักการให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
และให้ผู้ยื่นคำขอแจ้งนัดหมายให้เจ้าหน้าที่ไปดำเนินการประเมินความสามารถของผู้ยื่นคำขอภายใน
๑๘๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
(๒) ให้เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินความสามารถในการติดตั้งออกประเมิน ณ
สถานที่ประกอบกิจการของผู้ยื่นคำขอ
เว้นแต่ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตในต่างประเทศหรือผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อมให้เจ้าหน้าที่
ผู้ประเมินประเมินความสามารถในการติดตั้งโดยพิจารณาจากเอกสารหลักฐานของผู้ยื่นคำขอที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเป็นผู้ติดตั้ง
หากพบข้อบกพร่องให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบและดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินกำหนด
(๓) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่พร้อมที่จะรับการประเมิน
หรือไม่ดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขอรับการให้ความเห็นชอบภายในระยะเวลาที่กำหนด
หรือไม่แก้ไขข้อบกพร่องตาม (๒) ภายในกำหนด
ให้ถือว่าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์จะขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบและให้คำขอเป็นอันตกไป
(๔)
เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินความสามารถในการติดตั้งทำการประเมินเสร็จแล้ว
และเห็นว่าผู้ยื่นคำขอผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต
ให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์นำเสนออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
เพื่อออกหนังสือให้ความเห็นชอบต่อไป
(ข) ในกรณีผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อมหรือผู้ติดตั้งทั่วไปที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ - ๕
ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่นำเสนออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
เพื่อออกหนังสือให้ความเห็นชอบต่อไป
(ค) ในกรณีที่ผู้ขอเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อมหรือผู้ติดตั้งทั่วไปที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้สำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่นำเสนอขนส่งจังหวัดเพื่อออกหนังสือให้ความเห็นชอบต่อไป
ในกรณีที่สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ - ๕
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการออกหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง
ให้ส่งสำเนาหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์ทราบด้วย
ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง
ต้องอำนวยความสะดวกแก่อธิบดีผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์
ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ - ๕ ขนส่งจังหวัด
หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเข้าประเมินความสามารถหรือตรวจสอบการดำเนินกิจการ
ตลอดจนการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อม
และผู้ติดตั้งทั่วไปต้องเก็บสำเนาหนังสือรับรองการติดตั้งพร้อมรายละเอียดการติดตั้งไว้
ณ สถานที่ประกอบกิจการให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบของกรมการขนส่งทางบก
เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี
ข้อ ๑๔ ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งทั่วไปต้องดำเนินการดังนี้
(๑)
ติดตั้งป้ายสัญลักษณ์แสดงสถานประกอบกิจการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง
ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ บริเวณหน้าสถานประกอบกิจการหรือบริเวณอื่นที่ประชาชนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
(๒)
ติดตั้งป้ายแสดงว่าสถานประกอบกิจการได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกโดยมีชื่อสถานประกอบกิจการ
และชนิดเครื่องยนต์ที่ทำการติดตั้ง พร้อมข้อความ โดยได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
เลขที่
..
(๓) แสดงหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง
(๔) แสดงชื่อ นามสกุล และรูปถ่ายบุคลากรผู้ทำการติดตั้ง
การติดตั้งป้าย การแสดงหนังสือให้ความเห็นชอบ รวมทั้งการแสดงชื่อ
นามสกุล และรูปถ่ายบุคลากรตาม (๒) - (๔)
ต้องติดตั้งหรือแสดงไว้ในบริเวณสถานประกอบกิจการที่ประชาชนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อ ๑๕ ในกรณีผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งมีความประสงค์จะเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนชนิดเครื่องยนต์ที่ทำการติดตั้งให้แตกต่างไปจากที่ได้รับความเห็นชอบ
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด และดำเนินการตามข้อ ๑๑ โดยอนุโลม
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขเกี่ยวกับสถานประกอบกิจการให้แตกต่างไปจากที่ได้รับความเห็นชอบ
ให้ยื่นคำขอต่อสำนักวิศวกรรมยานยนต์สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ - ๕
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด ที่สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี
เพื่อขอรับความเห็นชอบก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข
ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุหนังสือให้ความเห็นชอบ
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหนังสือให้ความเห็นชอบหรือใบแทน
ก่อนวันที่หนังสือให้ความเห็นชอบสิ้นอายุไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
ในกรณีที่ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งยื่นคำขอต่ออายุไม่เป็นไปตามกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับกรณีการขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งใหม่
ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งซึ่งประสงค์จะขอยกเลิกการเป็นผู้ติดตั้ง
ให้แจ้งเป็นหนังสือต่อสำนักวิศวกรรมยานยนต์ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ ๕ หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด ที่ออกหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า
๓๐ วัน
เมื่อสำนักวิศวกรรมยานยนต์ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ - ๕
หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี ได้รับหนังสือแจ้งขอยกเลิกตามวรรคหนึ่ง
ให้ดำเนินการออกประกาศยกเลิกหนังสือการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง ในกรณีที่สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่
๑ - ๕ หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด
เป็นผู้ออกประกาศให้ส่งสำเนาประกาศให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์ทราบด้วย
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง
สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือให้ความเห็นชอบ
พร้อมด้วยหลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวน หรือบันทึกแจ้งการสูญหาย
หรือการถูกทำลายของเจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอ หรือหนังสือให้ความเห็นชอบที่ชำรุดนั้น
ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดดังกล่าว
ในการออกใบแทนหนังสือให้ความเห็นชอบ
ให้ออกหนังสือให้ความเห็นชอบตามแบบหนังสือให้ความเห็นชอบเดิม แต่ให้ระบุ ใบแทน ไว้ที่ด้านหน้าด้วย
ข้อ ๒๐ หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับความเห็นชอบไม่สามารถโอนให้แก่ผู้อื่นได้
ข้อ ๒๑ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
ให้กรมการขนส่งทางบกมีอำนาจตักเตือน ระงับใช้หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งชั่วคราว
หรือยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งนั้นได้ ตามสมควรแก่กรณี
ข้อ ๒๒ หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งที่ออกไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับให้ใช้ได้ต่อไปจนหมดอายุ
ข้อ ๒๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๕
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เทียนโชติ
จงพีร์เพียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑. หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง
๒. หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง
๓. หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง
๔. แบบป้ายสัญลักษณ์แสดงสถานประกอบกิจการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ มิถุนายน
๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๑ มิถุนายน
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๔ ง/หน้า ๕๙/๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ |
649927 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษ ฉบับที่ 73 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ฉบับที่ ๗๓
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษ ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๒ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ จึงกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ สายที่ ๑
สถานีขนส่งผู้โดยสารเมืองใหม่ช่องสะงำ-ด่านพรมแดนถาวรช่องสะงำ
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๑
สถานีขนส่งผู้โดยสารเมืองใหม่ช่องสะงำ-ด่านพรมแดนถาวรช่องสะงำ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารเมืองใหม่ช่องสะงำ
ไปตามถนนเมืองใหม่ช่องสะงำ ผ่านแยก เข้าวัดพนมสิงห์ ไปตามถนนเมืองใหม่ช่องสะงำ
ผ่านสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองภูสิงห์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๐๑
(ช่วงบ้านแซร์ไปร์-ช่องสะงำ) ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณด่านพรมแดนถาวรช่องสะงำ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔
สมศักดิ์
สุวรรณสุจริต
ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๓ มิถุนายน
๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๓ มิถุนายน
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๗๖ ง/หน้า ๑๖๒/๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ |
649744 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2009 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 462 สุพรรณบุรี-โคกสำโรง | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๐๙
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่
๔๖๒ สุพรรณบุรี-โคกสำโรง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๐๑๕
(พ.ศ. ๒๕๓๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๔๖๒ สุพรรณบุรี-โคกสำโรง
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๖/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๔๖๒ สุพรรณบุรี-โคกสำโรง
โดยให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสิงห์บุรี-บ้านเขาสมอคอน
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๔๖๒ สุพรรณบุรี-โคกสำโรง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารประจำทางจังหวัดสุพรรณบุรี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ผ่านบ้านท่าพี่เลี้ยง
วิทยาลัยนาฏศิลป์จังหวัดสุพรรณบุรี บ้านวังยาง อำเภอศรีประจันต์ อำเภอสามชุก ถึงทางแยกนางบวช
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓๒ ผ่านบ้านปากดง อำเภอค่ายบางระจัน วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร
ถึงทางแยกบุ๋งกี๋ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙ ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี
ถึงทางแยกศาลหลักเมือง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑ ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓๕ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ถึงทางแยกบ้านปากบาง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑
ถึงทางแยกบางงา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๒๘ ผ่านบ้านท่าโขลง โรงเรียนวัดท้องคุ้ง
บ้านห้วยแก้ว อำเภอบ้านหมี่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอโคกสำโรง
ช่วงสิงห์บุรี-บ้านมุจลินท์
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสิงห์บุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑
ถึงทางแยกบางงา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๒๘ ถึงทางแยกเข้าวัดคลองเม่า
แยกขวาไปตามถนน อบจ. (ห้วยแก้ว-บ้านมุจลินทร์) ผ่านโรงเรียนวัดคลองเม่า บ้านโคกสลุด
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านมุจลินท์
ช่วงสิงห์บุรี-บ้านหนองม่วง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสิงห์บุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑
ถึงทางแยกบางงา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๒๘ ถึงอำเภอบ้านหมี่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๕ ถึงทางแยก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๖ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓๒๖ ถึงทางแยก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองม่วง
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔
ศรศักดิ์
แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๗ มิถุนายน
๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๗ มิถุนายน
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๗๒ ง/หน้า ๒๑๔/๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ |
648610 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะ ขนาด สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ และการแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี พ.ศ. 2554
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดลักษณะ ขนาด
สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
และการแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศ
เรื่อง กำหนดลักษณะ ขนาด สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ
และการแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่ปัจจุบันเลขรหัสแสดงประเภทรถประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถบรรทุกที่กำหนดไว้ตามประกาศดังกล่าวได้ใช้สำหรับจดทะเบียนรถใกล้จะหมดลง
จำเป็นที่จะต้องกำหนดเลขรหัสเพื่อใช้สำหรับจดทะเบียนรถที่ใช้ในการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถบรรทุกเพิ่มเติม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๐ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
และอนุวัตรการความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion Cross-Border Transport Agreement) อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดลักษณะ ขนาด สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ
และการแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙
ข้อ ๒ แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถให้มีลักษณะ
ขนาด และสี ดังนี้
(๑)
แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถที่ใช้ในการขนส่งประจำทาง
การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก มีขนาดกว้าง ๒๒ เซนติเมตร ยาว ๔๔
เซนติเมตร มีพื้นเป็นวัสดุสะท้อนแสงสีเหลือง
รายการบนแผ่นป้ายแบ่งออกเป็นสามบรรทัด
บรรทัดแรกเป็นตัวอักษรคำว่า THAILAND และเลขรหัสจังหวัด
บรรทัดที่สองเป็นตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถกับหมายเลขทะเบียนรถ
ระหว่างตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถ กับหมายเลขทะเบียนรถมีขีดตามทางยาวคั่นกลาง
บรรทัดที่สามเป็นชื่อจังหวัด ตัวอักษรชื่อจังหวัดเป็นภาษาไทย
และมีเครื่องหมายเป็นตัวอักษร ขส อยู่ภายในวงกลมที่มุมล่างด้านซ้ายของแผ่นป้าย
ตัวอักษร THAILAND รหัสจังหวัด ตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถ ขีดระหว่างตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถกับหมายเลขทะเบียนรถ
หมายเลขทะเบียนรถ เครื่องหมายเป็นตัวอักษร ขส อยู่ภายในวงกลม ตัวอักษรชื่อจังหวัด และขอบแผ่นป้าย อัดเป็นรอยดุนนูนสีดำ
และรายการต่าง ๆ บนแผ่นป้ายมีขนาด ดังนี้
(ก) ตัวอักษร THAILAND มีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๒.๔ เซนติเมตร
(ข) รหัสจังหวัด
มีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๒.๔ เซนติเมตร
(ค) รหัสประเภทรถ
และหมายเลขทะเบียนรถ มีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร กว้างไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร
(ง)
ขีดระหว่างตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถกับหมายเลขทะเบียนรถ มีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๑.๕ เซนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่า ๒.๕ เซนติเมตร
(จ)
ชื่อจังหวัดมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๒.๕ เซนติเมตร
(๒)
แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคล มีลักษณะและขนาดเป็นไปตาม (๑) แต่มีพื้นเป็นวัสดุสะท้อนแสงสีขาว
(๓)
เลขรหัสแสดงประเภทรถ หมายเลขทะเบียนรถ และเลขรหัสจังหวัดใช้เลขอารบิค โดยหมายเลขทะเบียนรถใช้เลข
๔ หลัก ตั้งแต่ลำดับหมายเลข ๐๐๐๑ ถึงหมายเลข ๙๙๙๙ แล้วเริ่มต้นโดยใช้เลขรหัสแสดงประเภทรถเดิมลำดับถัดไป
เลขรหัสแสดงประเภทรถแบ่งตามประเภทการขนส่งดังนี้
(ก) รถโดยสารประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๑๐ ถึง ๑๙
(ข) รถขนาดเล็ก ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๒๐ ถึง ๒๙
(ค) รถโดยสารไม่ประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๓๐ ถึง ๓๙
(ง) รถโดยสารส่วนบุคคล ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๔๐ ถึง ๔๙
(จ) รถบรรทุกไม่ประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๖๐ ถึง ๖๙ และ ๗๐ ถึง ๗๙
(ฉ) รถบรรทุกส่วนบุคคล ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๕๐ ถึง ๕๙ และ ๘๐ ถึง ๙๙
ข้อ ๓ การติดแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีให้เป็น
ดังนี้
(๑) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
ให้ติดตรึงไว้ในที่ที่เห็นได้ง่าย
ที่ด้านหน้ารถหนึ่งแผ่นและที่ด้านท้ายรถหนึ่งแผ่น
(๒)
เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ให้ติดที่ด้านในของกระจกกันลมด้านหน้า โดยหันข้อความด้านหน้าของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีออกด้านนอกรถ
ข้อ ๔ บรรดาแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถตามประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ ลงวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ที่ยังคงเหลืออยู่ก่อนประกาศนี้ ใช้บังคับ
ให้ใช้เป็นแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถต่อไปได้จนกว่าจะหมดลง และให้ยังคงใช้ได้ต่อไป เว้นแต่เจ้าของรถมีความประสงค์จะขอเปลี่ยนหรือมาแจ้งดำเนินการทางทะเบียนต่อนายทะเบียนเกี่ยวกับการโอนหรือขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญให้นายทะเบียนเปลี่ยนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถให้เป็นไปตามประกาศนี้โดยให้เจ้าของรถเสียค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ
วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เทียนโชติ
จงพีร์เพียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ภีราพร/ปรับปรุง
๒๘ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔๔
ง/หน้า ๕๒/๑๙ เมษายน ๒๕๕๔ |
647807 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะ ระบบการทำงานและประสิทธิภาพห้ามล้อ และการให้ความเห็นชอบแบบคัสซีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2554 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดคุณลักษณะ ระบบการทำงานและประสิทธิภาพห้ามล้อ
และการให้ความเห็นชอบแบบคัสซีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๕๔
อาศัยอำนาจตามความใน (ซ) (ฌ) และวรรคสอง ของข้อ ๑ (๑) (ซ) (ฌ)
และวรรคสองของข้อ ๑๕ (๑) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานและวิธีการทดสอบห้ามล้อเท้า
ห้ามล้อมือสำหรับการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ลงวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๔๘
ข้อ ๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
รถ หมายความว่า
รถหรือคัสซีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร มาตรฐาน ๑ มาตรฐาน ๒ มาตรฐาน ๓ มาตรฐาน ๔
มาตรฐาน ๖ และมาตรฐาน ๗ และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๑ ลักษณะ ๒
ลักษณะ ๓ ลักษณะ ๔ ลักษณะ ๕ และลักษณะ ๙
ข้อ ๔ ห้ามล้อเท้าของรถต้องมีคุณลักษณะ ระบบการทำงานและประสิทธิภาพ
ดังต่อไปนี้
ก. คุณลักษณะและระบบการทำงาน
(๑)
ต้องสามารถทำงานได้ประสิทธิภาพสูงสุดตามที่กำหนดและสามารถหยุดรถลงได้ด้วยความปลอดภัย
(๒) ผ้าเบรกของห้ามล้อเท้าจะต้องไม่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน (asbestos)
(๓) ห้ามล้อเท้า ต้องประกอบด้วยห้ามล้อหลัก (Service
braking system) และห้ามล้อสำรอง (Secondary braking system)
ซึ่งสามารถทำการห้ามล้อได้ดังนี้
(๓.๑) ห้ามล้อหลัก (Service braking system) ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของรถและการหยุดรถลงได้อย่างรวดเร็ว
ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยไม่ว่าความเร็วน้ำหนักบรรทุกของรถหรือมุมลาดเอียงของพื้นถนนเป็นเท่าใด
ผู้ขับจะต้องสามารถควบคุมแรงการห้ามล้อได้และสามารถบังคับการห้ามล้อได้จากที่นั่งผู้ขับโดยไม่ต้องปล่อยมือออกจากพวงมาลัย
และห้ามล้อหลักต้องกระทำต่อล้อทั้งหมดของรถนั้น
(๓.๒) ห้ามล้อสำรอง (Secondary braking system) ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของรถและการหยุดรถในกรณีเกิดความชำรุดเสียหายหรือกรณีอื่นใดซึ่งทำให้ระบบห้ามล้อหลักไม่ทำงาน
โดยห้ามล้อสำรองต้องสามารถหยุดรถลงได้ภายในระยะทางที่เหมาะสม
ซึ่งผู้ขับสามารถควบคุมบังคับห้ามล้อสำรองผ่านชุดควบคุมของห้ามล้อหลักได้จากที่นั่งผู้ขับโดยไม่ต้องปล่อยมือออกจากพวงมาลัย
(๔) กรณีเกิดการชำรุดของห้ามล้อเท้าหรือชิ้นส่วนใดในระบบ
ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถทำการห้ามล้อได้ตามประสิทธิภาพที่กำหนด
หรือวงจรห้ามล้อหลักที่อิสระจากกันอย่างน้อยหนึ่งวงจรจากสองวงจรไม่ทำงาน
จะต้องมีสัญญาณเตือนแสงแดง สามารถมองเห็นได้แม้ในเวลากลางวันโดยผู้ขับต้องสามารถตรวจสอบสถานะของแสงสัญญาณดังกล่าวได้โดยง่ายจากที่นั่งผู้ขับ
ข. ประสิทธิภาพ
(๑) เมื่อทำการทดสอบขณะรถเปล่าโดยใช้เครื่องทดสอบห้ามล้อแบบลูกกลิ้ง (Roller brake
tester) ห้ามล้อเท้าต้องมีประสิทธิภาพดังนี้
(๑.๑) ต้องตอบสนองการทำงานทันทีเมื่อเหยียบคันบังคับห้ามล้อเท้า
(๑.๒) ผลรวมของแรงห้ามล้อทั้งหมดจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของน้ำหนักรถ
(๑.๓) ผลต่างระหว่างแรงห้ามล้อด้านขวาและด้านซ้ายต้องไม่เกินร้อยละ
๒๕ ของแรงห้ามล้อสูงสุดในเพลานั้น
(๒) เมื่อทำการทดสอบทั้งขณะรถเปล่าและที่น้ำหนักรวมสูงสุดโดยวิธีการทดสอบและความเร็วในการทดสอบที่กำหนด
ห้ามล้อเท้าจะต้องมีประสิทธิภาพดังนี้
วิธีการทดสอบ
ความเร็วในการทดสอบ
เกณฑ์ประสิทธิภาพ
หน่วย
Type - ๐ (A)
๘๐
กิโลเมตร/ชั่วโมง
s <
๐.๑๕v + v๒/๑๓๐
เมตร
dm
> ๕.๐๐
เมตร/วินาที๒
f <
๗๐
เดคานิวตัน
S =
ระยะทางในการหยุดรถมีหน่วยเป็นเมตร
dm = ค่าความหน่วงเฉลี่ยสูงสุด มีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที๒
v =
ความเร็วของรถเมื่อเริ่มทำการห้ามล้อ
มีหน่วยเป็นกิโลเมตรต่อชั่วโมง
f = แรงที่ใช้ในการกระทำต่อตัวควบคุมห้ามล้อ
มีหน่วยเป็นเดคานิวตัน
วิธีการคำนวณ dm และเงื่อนไขอื่นในการทดสอบให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้าย
ข้อ ๕ ห้ามล้อมือของรถต้องอยู่ในตำแหน่งที่ผู้ขับสามารถใช้งานได้จากตำแหน่งที่นั่งผู้ขับจะต้องตอบสนองการทำงานทันทีเมื่อดึงหรือปลดคันบังคับห้ามล้อมือ
ต้องมีกลไกเชิงกลเป็นตัวล็อก (Mechanical device) ให้อยู่ในตำแหน่งทำงานและต้องมีประสิทธิภาพ
ดังต่อไปนี้
(๑) เมื่อทำการทดสอบขณะรถเปล่าโดยเครื่องทดสอบห้ามล้อแบบลูกกลิ้ง
แรงห้ามล้อมือของทุกล้อรวมกันต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของน้ำหนักรถ
(๒) เมื่อทำการทดสอบที่น้ำหนักรวมสูงสุดของรถ
โดยใช้แรงในการทดสอบไม่เกิน ๖๐ เดคานิวตัน กรณีควบคุมด้วยมือ และไม่เกิน ๗๐
เดคานิวตัน กรณีควบคุมด้วยเท้า ห้ามล้อมือต้องมีประสิทธิภาพดังนี้
(๒.๑)
ทำให้รถที่บรรทุกน้ำหนักเต็มพิกัดหยุดนิ่งบนพื้นที่มีความลาดเอียง ๑๐.๒
องศาทั้งทางลาดขึ้นและลาดลง
(๒.๒) มีค่าความหน่วงสูงสุดก่อนที่รถจะหยุดไม่น้อยกว่า ๑.๕
เมตรต่อวินาที๒ เมื่อทดสอบที่ความเร็ว ๓๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ข้อ ๖ อุปกรณ์ควบคุมห้ามล้อเท้าและห้ามล้อมือจะต้องเป็นอิสระจากกัน
เว้นแต่กรณีชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันจะสามารถทำให้การทำงานของระบบห้ามล้อเท้าและห้ามล้อมือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะขอรับความเห็นชอบแบบรถหรือคัสซีรถให้ยื่นคำขอเป็นหนังสือ
ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด
พร้อมเอกสารหลักฐานดังนี้
(๑) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม
แล้วแต่กรณี
(๒)
รายละเอียดรถหรือรายการคำนวณความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถจากผู้ผลิตหรือประกอบรถ
(๓)
หนังสือมอบอำนาจและภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
ข้อ ๘ การขอรับความเห็นชอบรถ ผู้ยื่นคำขอต้องนำรถเข้าตรวจและทดสอบระบบการทำงานและประสิทธิภาพห้ามล้อ
ณ กรมการขนส่งทางบก หรือสถานที่ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๔ ข.
(๑) และข้อ ๕ (๑) และสำหรับการขอรับความเห็นชอบรถเป็นแบบ เพื่อการผลิตจำนวนมากสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
มาตรฐาน ๓ และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์ หรือสิ่งของ ลักษณะ ๑ ลักษณะ ๒ ลักษณะ ๓
ลักษณะ ๔ และลักษณะ ๕ ที่มีน้ำหนักรวมสูงสุดไม่เกิน ๓,๕๐๐ กิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ผู้ยื่นขอรับความเห็นชอบต้องนำรถเข้าตรวจและทดสอบระบบการทำงานและประสิทธิภาพห้ามล้อตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๔ ข. (๒) และข้อ ๕ (๒)
รถที่ผ่านการทดสอบตามข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ
(United
Nations/Economic Commission for Europe ;
UN/ECE) ว่าด้วยระบบห้ามล้อ (Regulation No. 13
: Series 09 หรือ No. 13 H :
Series ๐๐ หรือสูงกว่า)
หรือเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมว่าด้วยระบบห้ามล้อของรถยนต์ มอก.
๒๓๐๕-๒๕๔๙ หรือ มอก. ๑๔๖๖ - ๒๕๕๑ หรือสูงกว่า
ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำรถเข้าตรวจและทดสอบระบบการทำงานและประสิทธิภาพห้ามล้อตามประกาศนี้
แต่ต้องยื่นรายละเอียดของระบบห้ามล้อและรายงานผลการทดสอบ
พร้อมชื่อและที่อยู่ของหน่วยงานที่ทำการทดสอบประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๙ การพิจารณาให้ความเห็นชอบรถต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) รถต้องมีขนาดและเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
(๒) มีคุณลักษณะ ระบบการทำงานและประสิทธิภาพของห้ามล้อเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔
เทียนโชติ
จงพีร์เพียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายละเอียดแนบท้ายประกาศหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในการทดสอบประสิทธิภาพห้ามล้อ ตามข้อ ๔ ข. (๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ เมษายน ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๑ เมษายน ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๕๗/๔ เมษายน ๒๕๕๔ |
647777 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ 66 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดชลบุรี
ฉบับที่ ๖๖
(พ.ศ. ๒๕๕๓)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๖/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ เมืองพัทยา
(เกาะล้าน) สายที่ ๘ หาดตาแหวน-หาดเทียน
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงหาดตาแหวน-หาดนวล โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้
คือ
สายที่ ๘ หาดตาแหวน-หาดเทียน
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหาดตาแหวน
ไปตามถนนสายหาดตาแหวน ผ่านโรงเรียนเมืองพัทยา ๑๐ วัดใหม่สำราญ ถึงท่าเรือหน้าบ้าน
กลับตามเส้นทางเดิม ถึงโรงเรียนเมืองพัทยา ๑๐ แยกซ้ายไปตามถนนสายหาดแสม-หาดเทียน
ผ่านศาลเจ้าพ่อดำ หาดแสม สำนักงานประปาเกาะล้าน ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหาดเทียน
ช่วงหาดตาแหวน
- หาดนวล เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหาดตาแหวน ไปตามถนนสายตาแหวน
ผ่านโรงเรียนเมืองพัทยา ๑๐ วัดใหม่สำราญ ถึงท่าเรือหน้าบ้าน กลับตามเส้นทางเดิม ถึงวัดใหม่สำราญ
แยกซ้ายไปตามถนนสายหาดนวล ผ่านการไฟฟ้าเกาะล้าน ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหาดนวล
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
วิชิต ชาตไพสิฐ
ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดชลบุรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๔๓ ง/หน้า ๒๐๐/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ |
647775 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ 65 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดชลบุรี
ฉบับที่ ๖๕
(พ.ศ. ๒๕๕๓)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๖/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชลบุรี
สายที่ ๖๒๖๐ ศรีราชา-บ้านสุรศักดิ์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๖๒๖๐ ศรีราชา-บ้านสุรศักดิ์
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอศรีราชา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ แยกขวาไปตามถนนสายศรีราชา-หนองค้อ
ถึงโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ไปตามถนนสายศรีราชา-หนองยายบู่ ผ่านบ้านหัวโกรก
บ้านชากค้อ วัดป่า (หนองยายบู่) แยกขวาไปตามถนนสายวัดเขาดิน สี่แยกอากัก ถึงสี่แยกพนาวัลย์
แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ไปตามถนนสายศรีราชา-หนองยายบู่ ถึงบ้านหนองค้อ
แยกขวาไปตามถนนชุมชนหนองค้อซอย ๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑ ผ่านวัดเขาตะแบก
ทางแยกเข้าวัดเนินตอง แยกซ้ายไปตามถนนสายทางรถไฟเก่า-พันเสด็จนอก ผ่านโรงเรียนบ้านพันเสด็จนอก
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑ กลับรถ
แยกซ้ายไปตามถนนศรีราชาเทิดพระเกียรติ ผ่านบ้านเจ้าพระยา ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
ชบ ๓๐๓๕ ผ่านบ้านสดชื่น วัดสุรศักดิ์ ตลาดสุรศักดิ์ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านสุรศักดิ์
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
วิชิต ชาตไพสิฐ
ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดชลบุรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๔๓ ง/หน้า ๑๙๙/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ |
647771 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2008 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 เส้นทาง | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๐๘
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔
กรุงเทพมหานคร จำนวน ๒ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๗๙๓
(พ.ศ. ๒๕๕๐) ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๐ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๑๓
พระโขนง - ลาดกระบัง โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก ๓ ช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๗๖ (พ.ศ. ๒๕๕๓) ประกาศ
ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๓๑๔
ตลาดปัฐวิกรณ์ - หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๔/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๑๓
พระโขนง - ลาดกระบัง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงพระโขนง - สถานีรถไฟฟ้าหัวหมาก เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง และสายที่ ๑๓๑๔ ตลาดปัฐวิกรณ์
- หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง เป็น ตลาดปัฐวิกรณ์ - สถานีรถไฟฟ้าหัวหมาก
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงหมู่บ้านเอื้ออาทรเคหะชุมชนร่มเกล้า ๒ -
สถานีรถไฟฟ้าหัวหมาก ช่วงหมู่บ้านสัมมากร - สถานีรถไฟฟ้าหัวหมาก
และช่วงวงกลมหมู่บ้านปิยะพร - ซอยนวมินทร์ ๗๔ เพิ่มขึ้นอีก ๓
ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๐๑๓ พระโขนง - ลาดกระบัง
เริ่มต้นจากบริเวณปากทางถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท ๗๗) ด้านถนนสุขุมวิท
ไปตามถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท ๗๗) ผ่านวัดมหาบุศย์ เขตประเวศ ถนนลาดกระบัง
จนสุดเส้นทางที่ลาดกระบัง
ช่วงพระโขนง -
ซอยหมู่บ้านมิตรภาพ เริ่มต้นจากบริเวณปากทางถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท ๗๗) ด้านถนนสุขุมวิท
ไปตามถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท ๗๗) ผ่านวัดมหาบุศย์ ซอยสามพี่น้อง
ถึงทางแยกเข้าหมู่บ้านมิตรภาพ แยกขวาไปตามถนนเข้าหมู่บ้านมิตรภาพ
จนสุดเส้นทางที่บริเวณหมู่บ้านมิตรภาพ
ช่วงพระโขนง -
ซอยสามพี่น้อง - ห้างเสรีเซ็นเตอร์
เริ่มต้นจากบริเวณปากทางถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท ๗๗) ด้านถนนสุขุมวิท ไปตามถนนอ่อนนุช
(สุขุมวิท ๗๗) ผ่านวัดมหาบุศย์ ถึงซอยสามพี่น้อง แยกขวาไปตามซอยสามพี่น้อง
ผ่านหมู่บ้านพัฒนพล ตรงไปตามถนนไทยอาคาร แยกซ้ายไปตามซอยสุขุมวิท ๑๐๑/๑
(ซอยวชิรธรรมสาธิต) ถึงทางแยกเข้าหมู่บ้านยูทานตะวัน
แยกขวาไปตามซอยประวิทย์และเพื่อน แยกซ้ายไปตามซอยอุดุมสุข (สุขุมวิท ๑๐๓) แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์
จนสุดเส้นทางที่ห้างเสรีเซ็นเตอร์
ช่วงพระโขนง -
ซอยสะและน้อย เริ่มต้นจากบริเวณปากทางถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท ๗๗) ด้านถนนสุขุมวิท
ไปตามถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท ๗๗) ผ่านวัดมหาบุศย์ ซอยสามพี่น้อง ซอยหมู่บ้านมิตรภาพ
ถึงซอยสะและน้อย แยกขวาไปตามซอยสะและน้อย จนสุดเส้นทางที่หมู่บ้านมารวมครอง
ช่วงพระโขนง -
ห้างเสรีเซ็นเตอร์ เริ่มต้นจากบริเวณปากทางถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท ๗๗) ด้านถนนสุขุมวิท
ไปตามถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท ๗๗) ผ่านวัดมหาบุศย์ ซอยสามพี่น้อง ซอยหมู่บ้านมิตรภาพ
ถึงสี่แยกศรีนุช แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ จนสุดเส้นทางที่ห้างเสรีเซ็นเตอร์
ช่วงพระโขนง -
โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า - สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง
เริ่มต้นจากบริเวณปากทางถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท ๗๗) ด้านถนนสุขุมวิท ไปตามถนนอ่อนนุช
(สุขุมวิท ๗๗) ผ่านวัดมหาบุศย์ เขตประเวศ แยกซ้ายไปตามถนนร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนเข้าโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
ผ่านโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนเข้าสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง จนสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง
ช่วงลาดกระบัง
- ห้างเสรีเซ็นเตอร์ เริ่มต้นจากบริเวณลาดกระบัง ไปตามถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท
๗๗) ผ่านทางแยกถนนร่มเกล้า เขตประเวศ ถึงสี่แยกศรีนุช แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ จนสุดเส้นทางที่บริเวณห้างเสรีเซ็นเตอร์
ช่วงพระโขนง -
หมู่บ้านเสรี เริ่มต้นจากบริเวณปากทางถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท ๗๗) ด้านถนนสุขุมวิท
ผ่านวัดมหาบุศย์ ถึงซอยอ่อนนุช ๗๐ แยกขวาไปตามถนนเข้าหมู่บ้านเสรี
จนสุดเส้นทางที่บริเวณหมู่บ้านเสรี
ช่วงห้างเสรีเซ็นเตอร์
- สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๔ เริ่มต้นจากห้างเสรีเซ็นเตอร์
ไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท ๗๗) ตรงไปตามถนนลาดกระบัง
ถนนหลวงแพ่ง แยกซ้ายไปตามถนนร่วมพัฒนา จนสุดเส้นทางที่บริเวณสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่
๔
ช่วงพระโขนง -
ห้างจัสโก้ เริ่มต้นจากบริเวณปากทางถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท ๗๗) ด้านถนนสุขุมวิท
ไปตามถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท ๗๗) แยกซ้ายไปตามถนนพัฒนาการ
จนสุดเส้นทางที่บริเวณห้างจัสโก้
ช่วงลาดกระบัง
- ห้างจัสโก้ เริ่มต้นจากบริเวณลาดกระบัง ไปตามถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท ๗๗) ผ่านทางแยกถนนร่มเกล้า
เขตประเวศ แยกขวาไปตามถนนพัฒนาการ จนสุดเส้นทางที่บริเวณห้างจัสโก้
ช่วงการเคหะชุมชนร่มเกล้า
- ศูนย์การค้าเทิดไท เริ่มต้นจากการเคหะชุมชนร่มเกล้า
ไปตามถนนเคหะร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนร่มเกล้า แยกซ้ายไปตามถนนเจ้าคุณทหาร
แยกขวาไปตามถนนฉลองกรุง ถึงแยกถนนฉลองกรุง แยกซ้ายไปตามถนนหลวงแพ่ง
จนสุดเส้นทางที่ศูนย์การค้าเทิดไท
ช่วงพระโขนง - สถานีรถไฟฟ้าหัวหมาก
เริ่มต้นจากบริเวณปากทางถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท ๗๗) ด้านถนนสุขุมวิท ไปตามถนนอ่อนนุช
(สุขุมวิท ๗๗) แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์
จนสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าหัวหมาก
สายที่ ๑๓๑๔ ตลาดปัฐวิกรณ์ - สถานีรถไฟฟ้าหัวหมาก
เริ่มต้นจากตลาดปัฐวิกรณ์ ไปตามถนนนวมินทร์
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๐ แยกขวาไปตามถนนรามอินทรา ถนนสีหบุรานุกิจ
แยกขวาไปตามถนนร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง แยกซ้ายไปตามถนนราษฎร์พัฒนา
แยกซ้ายไปตามถนนคู่ขนานถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก
แยกขวาไปตามซอยนักกีฬาแหลมทอง ๑๙ ก แยกซ้ายไปตามถนนนักกีฬาแหลมทอง
แยกขวาไปตามถนนกรุงเทพกรีฑา แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ จนสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าหัวหมาก
ช่วงหมู่บ้านเอื้ออาทรเคหะชุมชนร่มเกล้า
๒ - สถานีรถไฟฟ้าหัวหมาก
เริ่มต้นจากบริเวณหมู่บ้านเอื้ออาทรเคหะชุมชนร่มเกล้า ๒ ไปตามถนนเคหะร่มเกล้า
แยกซ้ายไปตามถนนราษฎร์พัฒนา แยกซ้ายไปตามถนนคู่ขนานถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก
แยกขวาไปตามซอยนักกีฬาแหลมทอง ๑๙ ก แยกซ้ายไปตามถนนนักกีฬาแหลมทอง
แยกขวาไปตามกรุงเทพกรีฑา แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์
จนสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าหัวหมาก
ช่วงหมู่บ้านสัมมากร
- สถานีรถไฟฟ้าหัวหมาก เริ่มต้นจากบริเวณหมู่บ้านสัมมากร ไปตามซอยรามคำแหง
๑๑๒ แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง แยกขวาไปตามถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก
ถนนคู่ขนานถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก แยกขวาไปตามซอยนักกีฬาแหลมทอง
๑๙ ก แยกซ้ายไปตามถนนนักกีฬาแหลมทอง แยกขวาไปตามถนนกรุงเทพกรีฑา
แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ จนสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าหัวหมาก
ช่วงวงกลมหมู่บ้านปิยะพร
- ซอยนวมินทร์ ๗๔
เริ่มต้นจากบริเวณหมู่บ้านปิยะพร ไปตามซอยนวมินทร์แยก ๓-๗ แยกขวาไปตามซอยนวมินทร์
๗๔ แยก ๓ แยกซ้ายไปตามซอยตรงข้ามหมู่บ้านกัญจน์เพชร
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๐ แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกซ้ายไปตามซอยนวมินทร์
๗๔ แยกซ้ายไปตามซอยนวมินทร์ ๗๔ แยก ๓ แยกขวาไปตามซอยนวมินทร์ ๗๔ แยก ๓-๗
จนสุดเส้นทางที่บริเวณหมู่บ้านปิยะพร
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ศรศักดิ์
แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๔๓ ง/หน้า ๑๙๕/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ |
647769 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2007 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 จำนวน 5 เส้นทาง | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๐๗
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ จำนวน ๕
เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๘๗๕
(พ.ศ. ๒๕๓๖) ประกาศ ณ วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๖
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๖๘๐ ตลาดรังสิต -
บางใหญ่
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๐๗ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๐ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๓๘ แม่สอด - บ่อไร่ เป็น แม่สอด - แหลมงอบ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๘๖ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๑ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓
สายที่ ๓๙๓ ระยอง - เกาะสมุย
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๕๔ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๘๘ อุบลราชธานี - ระยอง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๗๒ (พ.ศ. ๒๕๕๓) ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๓ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๖๐ ระยอง - แม่สาย นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๕๓ เมื่อวันที่
๒๓ กันยายน ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๙๓ ระยอง - เกาะสมุย สายที่ ๕๘๘ อุบลราชธานี - ระยอง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงอุบลราชธานี
- สุรินทร์ - ปราสาท - ระยอง และช่วงอุบลราชธานี - บุรีรัมย์ - นางรอง - ระยอง เพิ่มขึ้นอีก ๒ ช่วง สายที่ ๖๓๘
แม่สอด - แหลมงอบ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงพิษณุโลก -
แหลมงอบ สายที่ ๖๖๐ ระยอง - แม่สาย
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงระยอง - พิษณุโลก - น่าน เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง และสายที่ ๖๘๐ ตลาดรังสิต-บางใหญ่ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดรังสิต
- สะพานปทุมธานี ๒ - บางใหญ่
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๓๙๓ ระยอง - เกาะสมุย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓ ผ่านอำเภอบ้านฉาง อำเภอสัตหีบ เมืองพัทยา ตำบลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา
จังหวัดชลบุรี ขึ้นทางพิเศษบูรพาวิถีที่ด่านชลบุรี ไปตามทางพิเศษบูรพาวิถี
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕
ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม ถึงสามแยกวังมะนาว
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ถึงแยกปฐมพร ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ถึงแยกพุนพิน แยกซ้าย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๑๕๓ ผ่านอำเภอพุนพิน ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี
อำเภอกาญจนดิษฐ์ ถึงแยกบ้านใน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔๒ ผ่านอำเภอดอนสัก
ถึงท่าเรืออำเภอดอนสัก ลงเรือข้ามฟากไปขึ้นที่ท่าเรืออำเภอเกาะสมุย
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๗๔ และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๖๙ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเกาะสมุย
สายที่ ๕๘๘ อุบลราชธานี - ระยอง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ถึงอำเภอวารินชำราบ
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖ ผ่านอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ อำเภออุทุมพรพิสัย
อำเภอสำโรงทาบ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๙ ถึงจังหวัดบุรีรัมย์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๘ ถึงบ้านกระสัง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖ ผ่านอำเภอลำปลายมาศ อำเภอห้วยแถลง อำเภอจักราช
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔ ถึงจังหวัดนครราชสีมา
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔
ผ่านอำเภอปักธงชัย สี่แยกกบินทร์บุรี อำเภอพนมสารคาม ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา เมืองพัทยา
อำเภอสัตหีบ อำเภอบ้านฉาง บ้านมาบตาพุด ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
ช่วงอุบลราชธานี
- นางรอง - ระยอง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔
ถึงอำเภอวารินชำราบ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖ ผ่านอำเภอกันทรารมย์
จังหวัดศรีสะเกษ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๐ ผ่านอำเภอขุขันธ์
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านอำเภอสังขะ อำเภอปราสาท อำเภอประโคนชัย
อำเภอนางรอง อำเภอหนองกี่ ทางแยกอำเภอโชคชัย ถึงทางแยกอำเภอปักธงชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๔ ผ่านอำเภอปักธงชัย สี่แยกกบินทร์บุรี อำเภอพนมสารคาม ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา เมืองพัทยา
อำเภอสัตหีบ อำเภอบ้านฉาง บ้านมาบตาพุด ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
ช่วงอุบลราชธานี
- สุรินทร์ - ปราสาท - ระยอง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔
ถึงอำเภอวารินชำราบ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖ ผ่านอำเภอกันทรารมย์
จังหวัดศรีสะเกษ อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอสำโรงทาบ อำเภอศีขรภูมิ
ถึงจังหวัดสุรินทร์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ถึงอำเภอปราสาท แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๔ อำเภอประโคนชัย อำเภอนางรอง อำเภอหนองกี่ทางแยกอำเภอโชคชัย
ถึงทางแยกอำเภอปักธงชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านอำเภอปักธงชัย
สี่แยกกบินทร์บุรี อำเภอพนมสารคาม ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา เมืองพัทยา
อำเภอสัตหีบ อำเภอบ้านฉาง บ้านมาบตาพุด ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
ช่วงอุบลราชธานี
- บุรีรัมย์ - นางรอง - ระยอง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔
ถึงอำเภอวารินชำราบ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖ ผ่านอำเภอกันทรารมย์
จังหวัดศรีสะเกษ อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอสำโรงทาบ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ถึงจังหวัดบุรีรัมย์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๘ ผ่านอำเภอนางรอง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ อำเภอหนองกี่
ทางแยกอำเภอโชคชัย ถึงทางแยกอำเภอปักธงชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔
ผ่านอำเภอปักธงชัย สี่แยกกบินทร์บุรี อำเภอพนมสารคาม ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา เมืองพัทยา
อำเภอสัตหีบ อำเภอบ้านฉาง บ้านมาบตาพุด ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
สายที่ ๖๓๘ แม่สอด - แหลมงอบ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
ผ่านจังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงสี่แยกบางเขน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๔ ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ ถึงแยกบางปะกง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี เมืองพัทยา อำเภอสัตหีบ
จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี ถึงจังหวัดตราด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔๘
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอแหลมงอบ
ช่วงพิษณุโลก - แหลมงอบ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๗
ถึงจังหวัดนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงสี่แยกบางเขน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๗
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓
ผ่านจังหวัดชลบุรี เมืองพัทยา อำเภอสัตหีบ จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี ถึงจังหวัดตราด
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔๘ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอแหลมงอบ
สายที่ ๖๖๐ ระยอง - แม่สาย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอสัตหีบ แยกซ้ายไปถึงเมืองพัทยา
กลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอบางละมุง
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๑๔ ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา ไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๓๐๔
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙ ถึงจังหวัดปราจีนบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๒๐ ถึงสี่แยกศาลสมเด็จพระนเรศวร แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓
ผ่านจังหวัดนครนายก ถึงสี่แยกหินกอง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดสระบุรี
ลพบุรี ถึงสี่แยกอำเภอตากฟ้า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ผ่านบ้านเขาทราย
ถึงอำเภอวังทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงจังหวัดพิษณุโลก กลับตามเส้นทางเดิม
ถึงบ้านรองโพธิ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๔๕ ถึงบ้านวังสีสูบ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๑ ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ถึงแยกอำเภอร้องกวาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๓ ถึงอำเภองาว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดพะเยา
จังหวัดเชียงราย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สาย
ช่วงระยอง - นครสวรรค์ - เชียงราย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓
ผ่านอำเภอสัตหีบ แยกซ้ายไปถึงเมืองพัทยา กลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓ ผ่านอำเภอบางละมุง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗
แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ (ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก)
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงประตูน้ำพระอินทร์
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
ถึงจังหวัดนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๗ ถึงจังหวัดพิษณุโลก
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงบ้านร้องโพธิ์
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงจังหวัดอุตรดิตถ์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๕ ถึงบ้านวังสีสูบ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
ถึงแยกอำเภอร้องกวาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓ ถึงอำเภองาว
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดพะเยา ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย
ช่วงระยอง - ตาก - เชียงราย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓
ผ่านอำเภอสัตหีบ แยกซ้ายไปถึงเมืองพัทยา กลับตามเส้นทางเดิม
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอบางละมุง อำเภอศรีราชา
จังหวัดชลบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙
(ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
ถึงประตูน้ำพระอินทร์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดตาก จังหวัดลำปาง ถึงอำเภองาว
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดพะเยา ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย
ช่วงระยอง - พิษณุโลก - น่าน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓
ผ่านอำเภอสัตหีบ แยกซ้ายไปถึงเมืองพัทยา กลับตามเส้นทางเดิม
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอบางละมุง อำเภอศรีราชา
จังหวัดชลบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙
(ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
ถึงประตูน้ำพระอินทร์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงจังหวัดนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๗
ถึงจังหวัดพิษณุโลก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงบ้านร้องโพธิ์
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงจังหวัดอุตรดิตถ์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๕ ถึงบ้านวังสีสูบ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑
ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ อำเภอร้องกวาง ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดน่าน
สายที่ ๖๘๐ ตลาดรังสิต - บางใหญ่
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารประจำทางตลาดรังสิต
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๐๐
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๖ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๗
ข้ามสะพานนนทบุรี ถึงทางแยกบางคูวัด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๕
ผ่านบ้านลำโพธิ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๙ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบางใหญ่
ช่วงตลาดรังสิต
- สะพานปทุมธานี ๒ -
บางใหญ่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารประจำทางตลาดรังสิต
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๐๐ ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๔๕ ข้ามสะพานปทุมธานี ๒ ผ่านแยกบางคูวัด บ้านลำโพธิ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบางใหญ่
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ศรศักดิ์
แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๔๓ ง/หน้า ๑๘๘/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ |
647767 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2006 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 จำนวน 2 เส้นทาง | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๐๖
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ จำนวน ๒
เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๓๙๒
(พ.ศ. ๒๕๔๖) ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๖ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๒๔ กรุงเทพฯ - ดอนตาล
ให้มีเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ - นาเชือก เพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๗๑ (พ.ศ. ๒๕๕๓) ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๓ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๖๗ กรุงเทพฯ - โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (เขาชะโงก) ให้มีเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ -
เขื่อนขุนด่านปราการชล เพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๔/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๒๔ กรุงเทพฯ - ดอนตาล
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงกรุงเทพฯ - เมยวดี เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง และสายที่
๙๖๗ กรุงเทพฯ - โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (เขาชะโงก)
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ (จตุจักร) - น้ำตกนางรอง เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๒๔ กรุงเทพฯ - ดอนตาล
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ ผ่านอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอพล
ถึงอำเภอบ้านไผ่ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓ ผ่านจังหวัดมหาสารคาม
ถึงจังหวัดร้อยเอ็ด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๔๔ ถึงอำเภอโพนทอง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓๖ ผ่านบ้านคำโพนสูง อำเภอหนองพอก บ้านโคกกลาง
ถึงอำเภอเลิงนกทา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๗๗ ผ่านบ้านบาก ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอดอนตาล
ช่วงกรุงเทพฯ -
อาจสามารถ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒ ผ่านอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอพล ถึงอำเภอบ้านไผ่
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓ ถึงอำเภอบรบือ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๖๓ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข รพช. มค. ๔๐๐๖ ผ่านบ้านเหล่ายาว บ้านนาข่า
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๘๑ ถึงอำเภอนาดูน ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
ยธ. มค. ๒๐๕๒ ผ่านพระธาตุนาดูน บ้านโกทา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๔๕
ถึงบ้านดงบัง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๙๒ ถึงอำเภอจตุรพักตรพิมาน
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข รพช. รอ.
๔๐๐๗ ผ่านบ้านอ้น บ้านดงแดง บ้านหนองเม็ก อำเภอเมืองสรวง บ้านผำ ถึงบ้านดอนกลาง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๔๓ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภออาจสามารถ
ช่วงกรุงเทพฯ - นาเชือก
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒
ผ่านอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอพล ถึงอำเภอบ้านไผ่
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓ ถึงบ้านหินตั้ง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๐๑ ผ่านบ้านสว่าง บ้านลาน บ้านหนองค้อ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๙๗ ผ่านบ้านขามป้อม บ้านหนองผือ
บ้านส้มป่อยน้อย ถึงอำเภอเปือยน้อย ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข รพช. ขก. ๓๐๕๑
ผ่านบ้านดอนนาโน บ้านสระแก้ว ถึงบ้านหนองบัวลอง ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข รพช. ขก.
๓๐๐๓ ผ่านบ้านดอนดู่ ถึงบ้านปอพาน ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข รพช. มค. ๒๐๐๑
ผ่านบ้านเหล่าอีหมัน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอนาเชือก
ช่วงกรุงเทพฯ - เมยวดี
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ ผ่านอำเภอปากช่อง
จังหวัดนครราชสีมา อำเภอพล ถึงอำเภอบ้านไผ่ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓
ผ่านจังหวัดมหาสารคาม ถึงจังหวัดร้อยเอ็ด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๔๔ ถึงอำเภอโพนทอง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔๑๘ ผ่านบ้านชมสะอาด ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเมยวดี
สายที่ ๙๖๗ กรุงเทพฯ - โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (เขาชะโงก)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงรังสิต แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕
ผ่านอำเภอธัญบุรี อำเภอองครักษ์ ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕๒
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕๒ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (เขาชะโงก)
ช่วงกรุงเทพฯ - เขื่อนขุนด่านปราการชล
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ขึ้นทางยกระดับที่ด่านลาดพร้าว
ไปตามทางยกระดับอุตราภิมุข ลงทางยกระดับที่บริเวณอนุสรณ์สถาน
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงรังสิต แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๕ ผ่านอำเภอธัญบุรี อำเภอองครักษ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๒๘
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านศาลากลางจังหวัดนครนายก
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๓๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางเขื่อนขุนด่านปราการชล
ช่วงกรุงเทพฯ
(จตุจักร) - น้ำตกนางรอง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงรังสิต แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ ผ่านอำเภอธัญบุรี
อำเภอองครักษ์ วิทยาลัยการอาชีพจังหวัดนครนายก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔๙ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณน้ำตกนางรอง
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ศรศักดิ์
แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๔๓ ง/หน้า ๑๘๕/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ |
647697 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2005 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน 11 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๐๕
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
จำนวน ๑๑
เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๘๓๔
(พ.ศ. ๒๕๓๖) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๓๖ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานคร สายที่ ๗๑
กม. ๘ (จรเข้บัว)-พระโขนง เป็นสวนสยาม-พระโขนง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๑๔๐ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๓๙ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(ศูนย์รังสิต)-สนามหลวง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มอีก ๑ ช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๒๕๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
(รถตู้ปรับอากาศ) หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่องสายที่
ต. ๙๔ มหาวิทยาลัยรามคำแหง-ถนนลาดพร้าว-รังสิต และสายที่ ต. ๙๖
ห้างสรรพสินค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์-รังสิต
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๕๓๑ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ๒๖ มีนบุรี-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สายที่ ๗๖
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน-ประตูน้ำ เป็น แสมดำ-ประตูน้ำ สายที่ ๗๙
พุทธมณฑลสาย ๒-ราชประสงค์ เป็น อู่บางแค (วัดม่วง)-ราชประสงค์ และสายที่ ๕๑๐
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ตลาดไท
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๗๗๙ (พ.ศ. ๒๕๕๐)
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๑๕ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตศาลายา
เป็น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตศาลายา
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๙๓ (พ.ศ. ๒๕๕๓) ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๓ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๔๕ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร)-สมุทรปราการ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๙๕ (พ.ศ. ๒๕๕๓) ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ต. ๑๒๗
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)-สมุทรสาคร (ทางด่วน) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๔/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน ๑๑ เส้นทาง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๒๖ มีนบุรี-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เริ่มต้นจากตลาดมีนบุรี ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ ถนนรามอินทรา
แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ช่วงมีนบุรี-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) เริ่มต้นจากตลาดมีนบุรี ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ ถนนรามอินทรา
แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามถนนกำแพงเพชร แยกขวาไปตามถนนกำแพงเพชร ๒
จนสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ช่วงมีนบุรี-สถานีลาดพร้าว
จากมีนบุรีไปสถานีลาดพร้าว
เริ่มต้นจากตลาดมีนบุรี ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ ถนนรามอินทรา แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน
แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว จนสุดเส้นทางที่สถานีลาดพร้าว จากสถานีลาดพร้าวไปมีนบุรี
เริ่มต้นจากสถานีลาดพร้าว ไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน
แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่มีนบุรี
ช่วงมีนบุรี-ถนนประดิษฐ์มนูธรรม-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เริ่มต้นจากตลาดมีนบุรี
ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ ถนนรามอินทรา แยกซ้ายไปตามถนนประดิษฐ์มนูธรรม แยกขวาไปตามถนนพระราม
๙ ถนนอโศกดินแดง ถนนดินแดง ถนนราชวิถี จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ช่วงมีนบุรี-ถนนประดิษฐ์มนูธรรม-เอกมัย
จากมีนบุรีไปเอกมัย
เริ่มต้นจากตลาดมีนบุรี ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ ถนนรามอินทรา แยกซ้ายไปตามถนนประดิษฐ์มนูธรรม
ถนนเอกมัย แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท แยกซ้ายไปตามซอยสุขุมวิท ๔๐
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกซ้ายไปตามซอยสุขุมวิท ๔๒ จนสุดเส้นทางที่เอกมัย
(บริเวณสถานีรถไฟฟ้าเอกมัย)
จากเอกมัยไปมีนบุรี
เริ่มต้นจากเอกมัย (บริเวณสถานีรถไฟฟ้าเอกมัย) ไปตามถนนสุขุมวิท แยกขวาไปตามถนนเอกมัย
แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่ตลาดมีนบุรี
ช่วงบางเขน-สถานีรถไฟฟ้าลาดกระบัง เริ่มต้นจากบางเขน
(บริเวณอู่บางเขน) ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามถนนรามอินทรา ถนนสีหบุรานุกิจ
แยกขวาไปตามถนนร่มเกล้า จนสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าลาดกระบัง
สายที่ ๓๙ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-สนามหลวง
จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(ศูนย์รังสิต) ไปสนามหลวง เริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
ไปตามถนนเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน ผ่านมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ตรงไปตามถนนพญาไท แยกขวาไปตามถนนศรีอยุธยา แยกซ้ายไปตามถนนสวรรคโลก
แยกขวาไปตามถนนหลานหลวง ข้ามสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ไปตามถนนราชดำเนินกลาง
ข้ามสะพานผ่านพิภพลีลา แยกขวาไปตามถนนราชินี แยกซ้ายไปตามถนนหน้าพระธาตุ จนสุดเส้นทางที่สนามหลวง
(บริเวณหน้าหอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
จากสนามหลวงไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(ศูนย์รังสิต) เริ่มต้นจากสนามหลวง (บริเวณหน้าหอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ไปตามถนนหน้าพระธาตุ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าพระลาน แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนินใน
แยกขวาข้ามสะพานผ่านพิภพลีลา ไปตามเส้นทางเดิม จนถึงสะพานยมราช แยกขวาไปตามถนนเพชรบุรี
แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(ศูนย์รังสิต)
ช่วงสถานีขนส่งสินค้าคลองหลวง-สนามหลวง
จากสถานีขนส่งสินค้าคลองหลวงไปสนามหลวง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งสินค้าคลองหลวง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๗
(ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก) แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๒๑๔ ผ่านคลอง ๔ อำเภอคลองหลวง ถึงสี่แยกบางขันธ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ตลาดรังสิต ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิตรงไปตามถนนพญาไท
แยกขวาไปตามถนนศรีอยุธยา แยกซ้ายไปตามถนนสวรรคโลก แยกขวาไปตามถนนหลานหลวง
ข้ามสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ไปตามถนนราชดำเนินกลาง ข้ามสะพานผ่านพิภพลีลา
แยกขวาไปตามถนนราชินี แยกซ้ายไปตามถนนหน้าพระธาตุ จนสุดเส้นทางที่สนามหลวง
(บริเวณหน้าหอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
จากสนามหลวงไปสถานีขนส่งสินค้าคลองหลวง
เริ่มต้นจากสนามหลวง (บริเวณหน้าหอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ไปตามถนนหน้าพระธาตุ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าพระลาน แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนินใน
แยกขวาข้ามสะพานผ่านพิภพลีลา ไปตามเส้นทางเดิม จนถึงสะพานยมราช แยกขวาไปตามถนนเพชรบุรี
แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท แล้วไปตามเส้นทางเดิม
จนสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งสินค้าคลองหลวง
ช่วงรังสิต-สถานีรถไฟฟ้าพญาไท
จากรังสิตไปสถานีรถไฟฟ้าพญาไท เริ่มต้นจากรังสิต
ไปตามถนนพหลโยธิน ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนพญาไท
จนสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าพญาไท
จากสถานีรถไฟฟ้าพญาไทไปรังสิต
เริ่มต้นจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้าพญาไท ไปตามถนนพญาไท
แยกซ้ายไปตามถนนเพชรบุรี แยกซ้ายไปตามถนนราชปรารภ แยกซ้ายไปตามถนนราชวิถี ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ไปตามถนนพหลโยธิน จนสุดเส้นทางที่รังสิต
สายที่ ๗๑ สวนสยาม-วัดธาตุทอง
จากสวนสยามไปวัดธาตุทอง เริ่มต้นจากบริเวณสวนสยาม
ไปตามถนนสวนสยาม แยกซ้ายไปตามถนนรามอินทรา แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์
แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง ถนนสุขุมวิท ๗๑ แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามซอยสุขุมวิท ๔๒ แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท
ไปสุดเส้นทางที่บริเวณวัดธาตุทอง
จากวัดธาตุทองไปสวนสยาม เริ่มต้นจากบริเวณวัดธาตุทอง
ไปตามถนนสุขุมวิท แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท ๗๑ แล้วไปตามเส้นทางเดิม
ไปสุดส้นทางที่บริเวณสวนสยาม
ช่วงสวนสยาม-สถานีรถไฟฟ้ารามคำแหง
จากสวนสยามไปสถานีรถไฟฟ้ารามคำแหง
เริ่มต้นจากบริเวณสวนสยาม ไปตามถนนสวนสยาม แยกซ้ายไปตามถนนรามอินทรา แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์
แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง แยกขวาไปตามถนนพระราม ๙ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรพระราม
แยกซ้ายไปตามถนนเพชรบุรี แยกซ้ายไปตามถนนรามคำแหง
จนสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้ารามคำแหง
จากสถานีรถไฟฟ้ารามคำแหงไปสวนสยาม
เริ่มต้นจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้ารามคำแหงไปตามถนนรามคำแหง แล้วไปตามเส้นทางเดิม
จนสุดเส้นทางที่บริเวณสวนสยาม
สายที่ ๗๖ แสมดำ-สถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน
จากแสมดำไปสถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน
เริ่มต้นจากแสมดำ ไปตามถนนพระราม ๒ แยกซ้ายไปตามถนนสุขสวัสดิ์
ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แยกขวาไปตามถนนกรุงธนบุรี ข้ามสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน
ไปตามถนนสาทร แยกซ้ายไปตามถนนเลียบใต้ทางด่วนบางโคล่-แจ้งวัฒนะ แยกขวาไปตามถนนสีลม
แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔ แยกซ้ายไปตามถนนวิทยุ แยกขวาไปตามถนนเพชรบุรี แยกซ้ายไปตามถนนอโศกมนตรี
จนสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน
จากสถานีรถไฟฟ้ามักกะสันไปแสมดำ เริ่มต้นจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน
ไปตามถนนอโศกมนตรี แยกขวาไปตามถนนพระราม ๙ แยกขวาไปตามถนนเพชรอุทัย
แยกขวาไปตามถนนเลียบใต้ทางด่วนอโศก แยกซ้ายไปตามถนนอโศกมนตรี
แยกขวาไปตามถนนเพชรบุรี แยกซ้ายไปตามถนนราชดำริ ถนนสีลม แยกซ้ายไปตามถนนสุรศักดิ์
แยกขวาไปตามถนนสาทร ข้ามสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน แล้วไปตามเส้นทางเดิม
จนสุดเส้นทางที่แสมดำ
สายที่ ๗๙ อู่บางแค (วัดม่วง)-ราชประสงค์
จากอู่บางแค
(วัดม่วง) ไปราชประสงค์ เริ่มต้นจากอู่บางแค (วัดม่วง)
ไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกขวาไปตามถนนบรมราชชนนี ลอดใต้สะพานข้ามทางรถไฟไปตามถนนบรมราชชนนี
แยกซ้ายไปตามถนนฉิมพลี ถนนชักพระ แยกขวาไปตามถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน
แยกซ้ายไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ แยกขวาไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ไปตามถนนราชดำเนินกลาง ข้ามสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
ไปตามถนนหลานหลวง แยกขวาไปตามถนนเพชรบุรี แยกขวาไปตามถนนพญาไท
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๑ แยกซ้ายไปตามถนนราชดำริ จนสุดเส้นทางที่ราชประสงค์
จากราชประสงค์ไปอู่บางแค
(วัดม่วง) เริ่มต้นจากราชประสงค์ ไปตามถนนราชดำริ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรบุรี
แล้วไปตามเส้นทางเดิม ถึงถนนบรมราชชนนี ไปตามถนนบรมราชชนนี
แยกซ้ายไปตามพระพุทธมณฑลสาย ๒ แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม จนสุดเส้นทางที่อู่บางแค
(วัดม่วง)
ช่วงอู่บางแค
(วัดม่วง)-สถานีรถไฟฟ้าราชปรารภ
จากอู่บางแค
(วัดม่วง) ไปสถานีรถไฟฟ้าราชปรารภ เริ่มต้นจากอู่บางแค (วัดม่วง)
ไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกขวาไปตามถนนบรมราชชนนี
ลอดใต้สะพานข้ามทางรถไฟ ไปตามถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามถนนฉิมพลี ถนนชักพระ
แยกขวาไปตามถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน แยกซ้ายไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์
แยกขวาไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ไปตามถนนราชดำเนินกลาง ข้ามสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ไปตามถนนหลานหลวง
แยกขวาไปตามถนนเพชรบุรี แยกซ้ายไปตามถนนราชปรารภ
จนสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าราชปรารภ
จากสถานีรถไฟฟ้าราชปรารภไปอู่บางแค
(วัดม่วง) เริ่มต้นจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้าราชปรารภไปตามถนนราชปรารภ
แยกซ้ายไปตามถนนศรีอยุธยา แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท แยกขวาไปตามถนนเพชรบุรี
แล้วไปตามเส้นทางเดิม ถึงถนนบรมราชชนนี ไปตามถนนบรมราชชนนี
แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม จนสุดเส้นทางที่อู่บางแค
(วัดม่วง)
ช่วงวัดชัยพฤกษ์มาลา-ราชประสงค์
จากวัดชัยพฤษ์มาลาไปราชประสงค์ เริ่มต้นจากบริเวณวัดชัยพฤกษ์มาลา
ไปตามถนนชัยพฤกษ์ แยกขวาไปตามถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามถนนฉิมพลี ถนนชักพระ
แยกขวาไปตามถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน แยกซ้ายไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์
แยกขวาไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ไปตามถนนราชดำเนินกลาง ข้ามสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ไปตามถนนหลานหลวง
แยกขวาไปตามถนนเพชรบุรี แยกขวาไปตามถนนพญาไท แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๑
แยกซ้ายไปตามถนนราชดำริ จนสุดเส้นทางที่บริเวณราชประสงค์
จากราชประสงค์ไปวัดชัยพฤกษ์มาลา
เริ่มต้นจากบริเวณราชประสงค์ ไปตามถนนราชดำริ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรบุรี
แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนถึงถนนบรมราชชนนี ไปตามถนนบรมราชชนนี ข้ามสะพานกลับรถไปตามถนนราชชนนี
แยกซ้ายไปตามถนนทุ่งมังกร ถนนสวนผัก แยกซ้ายไปตามถนนชัยพฤกษ์
จนสุดเส้นทางที่บริเวณวัดชัยพฤกษ์มาลา
สายที่ ๑๔๕ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)-สมุทรปราการ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามถนนกำแพงเพชร ๒ แยกซ้ายไปตามถนนกำแพงเพชร แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน
แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท
แยกซ้ายไปตามถนนศรีสมุทร แยกซ้ายไปตามถนนประโคนชัย แยกซ้ายไปตามถนนสายลวด
จนสุดเส้นทางที่สมุทรปราการ (อู่สายลวด)
ช่วงแฮปปี้แลนด์-โครงการบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากแฮปปี้แลนด์ แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนเทพารักษ์
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (ถนนกรมโยธาธิการสายแยกถนนเทพารักษ์-วัดบางโฉลงนอก)
จนสุดเส้นทางที่โครงการบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากโครงการบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง ไปตามทางหลวงชนบท (ถนนกรมโยธาธิการ สายแยกถนนเทพารักษ์-วัดบางโฉลงนอก)
แยกขวาไปตามถนนเทพารักษ์ แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว
แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนแฮปปี้แลนด์ จนสุดเส้นทางที่แฮปปี้แลนด์
ช่วงสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร)-สถานีรถไฟฟ้าหัวหมาก
จากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ไปสถานีรถไฟฟ้าหัวหมาก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ไปตามถนนกำแพงเพชร ๒ แยกซ้ายไปตามถนนกำแพงเพชร แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน
แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ ถึงแยกพัฒนาการ
กลับรถใต้สะพานข้ามทางแยกพัฒนาการ ไปตามถนนศรีนครินทร์ จนสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าหัวหมาก
จากสถานีรถไฟฟ้าหัวหมากไปสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) เริ่มต้นจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้าหัวหมาก ไปตามซอยพัฒนาการ ๕๓
แยกซ้ายไปตามถนนกรุงเทพ-ชลบุรี (สายใหม่) แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์
แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร)
สายที่ ๕๑๐ สถานีรถไฟฟ้าพญาไท ตลาดไท
จากสถานีรถไฟฟ้าพญาไทไปตลาดไท
เริ่มต้นจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้าพญาไท ไปตามถนนพญาไท แยกซ้ายไปตามถนนเพชรบุรี
แยกซ้ายไปตามถนนราชปรารภ แยกซ้ายไปตามถนนราชวิถี แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน
แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน จนสุดเส้นทางที่ตลาดไท
จากตลาดไทไปสถานีรถไฟฟ้าพญาไท
เริ่มต้นจากตลาดไท ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามถนนวิภาวดีรังสิต
แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน ถนนพญาไท จนสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าพญาไท
ช่วงสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร)-ตลาดไท เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ไปตามถนนกำแพงเพชร ๒ แยกซ้ายไปตามถนนกำแพงเพชร แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน
แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน จนสุดเส้นทางที่ตลาดไท
สายที่ ๕๑๕ สถานีรถไฟฟ้าพญาไท-หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา
จากสถานีรถไฟฟ้าพญาไทไปหมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา
เริ่มต้นจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้าพญาไท ไปตามถนนพญาไท แยกซ้ายไปตามถนนเพชรบุรี
แยกซ้ายไปตามถนนราชปรารภ แยกซ้ายไปตามถนนราชวิถี ผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ไปตามถนนราชวิถี ข้ามสะพานกรุงธน ไปตามถนนสิรินธร ถนนบรมราชชนนี
แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตศาลายา แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
นฐ. ๔๐๐๖ จนสุดเส้นทางที่หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา
จากหมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายาไปสถานีรถไฟฟ้าพญาไท
เริ่มต้นจากหมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ๔๐๐๖
แล้วไปตามเส้นทางเดิม ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกขวาไปตามถนนพญาไท
จนสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าพญาไท
ช่วงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตศาลายา
เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนราชวิถี ข้ามสะพานกรุงธน ไปตามถนนสิรินธร
ถนนบรมราชชนนี แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๔
ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตศาลายา แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ. ๔๐๐๖
แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๕
จนสุดเส้นทางที่สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตศาลายา
สายที่ ต. ๙๔ มหาวิทยาลัยรามคำแหง-ถนนลาดพร้าว-รังสิต
เริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ไปตามถนนรามคำแหง
แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก
แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน จนสุดเส้นทางที่รังสิต
ช่วงสถานีรถไฟฟ้ารามคำแหง-ถนนลำลูกกา-รังสิต
(ทางด่วน) เริ่มต้นจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้ารามคำแหง ไปตามถนนรามคำแหง
แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว แยกขวาไปตามถนนประดิษฐ์มนูธรรม
ขึ้นทางพิเศษที่ด่านลาดพร้าว ไปตามทางพิเศษฉลองรัชทางพิเศษศรีรัช
ลงทางพิเศษที่ด่านถนนจตุโชติ ไปตามถนนจตุโชติ แยกซ้ายไปตามถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร
ด้านตะวันออก แยกซ้ายไปตามถนนลำลูกกา แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน จนสุดเส้นทางที่รังสิต
ช่วงสถานีรถไฟฟ้ารามคำแหง-ถนนรามอินทรา-รังสิต
(ทางด่วน) เริ่มต้นจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้ารามคำแหง ไปตามถนนรามคำแหง
แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว แยกขวาไปตามถนนประดิษฐ์มนูธรรม
ขึ้นทางพิเศษที่ด่านลาดพร้าว ไปตามทางพิเศษฉลองรัช ลงทางพิเศษที่ด่านรามอินทรา
ไปตามถนนรามอินทรา แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน จนสุดเส้นทางที่รังสิต
สายที่ ต. ๙๖ ห้างสรรพสินค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์-รังสิต
เริ่มต้นจากห้างสรรพสินค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ไปตามถนนราชดำริ
ถนนราชปรารภ แยกขวา ไปตามถนนดินแดง แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต
แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน จนสุดเส้นทางที่รังสิต
ช่วงสถานีรถไฟฟ้าราชปรารภ-รังสิต
(ทางด่วน) เริ่มต้นจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้าราชปรารภ ไปตามถนนราชปรารภ
แยกขวาไปตามถนนดินแดง แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ขึ้นทางยกระดับที่ด่านดินแดง
ไปตามทางยกระดับดอนเมืองโทลเวย์ ลงทางยกระดับที่ด่านอนุสรณ์สถาน ไปตามถนนพหลโยธิน
จนสุดเส้นทางที่รังสิต
สายที่ ต. ๑๒๗ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)-สมุทรสาคร
(ทางด่วน)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามถนนกำแพงเพชร ๒ ขึ้นทางพิเศษที่ด่านบางซื่อ ไปตามทางพิเศษศรีรัช
ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางพิเศษที่ด่านดาวคะนอง ไปตามถนนพระราม ๒
แยกซ้ายไปตามถนนเศรษฐกิจ ๑ ไปสุดเส้นทางที่จังหวัดสมุทรสาคร (บริเวณถนนสรศักดิ์)
ช่วงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-สมุทรสาคร
(ทางด่วน) เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนพหลโยธิน
ขึ้นทางพิเศษที่ด่านพหลโยธิน ไปตามทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางพิเศษที่ด่านดาวคะนอง
ไปตามถนนพระราม ๒ แยกซ้ายไปตามถนนเศรษฐกิจ ๑ ไปสุดเส้นทางที่จังหวัดสมุทรสาคร
(บริเวณถนนสรศักดิ์)
ช่วงสถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน-สมุทรสาคร
(ทางด่วน) เริ่มต้นจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน ไปตามถนนอโศกมนตรี
ขึ้นทางพิเศษที่ด่านอโศก ไปตามทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางพิเศษที่ด่านดาวคะนอง
ไปตามถนนพระราม ๒ แยกซ้ายไปตามถนนเศรษฐกิจ ๑ ไปสุดเส้นทางที่จังหวัดสมุทรสาคร
(บริเวณถนนสรศักดิ์)
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ศรศักดิ์
แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๔๓ ง/หน้า ๑๗๕/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ |
647695 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2004 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ 394 สมุทรปราการ-สมุทรสงคราม
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๐๔
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่
๓๙๔ สมุทรปราการ-สมุทรสงคราม[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๔/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๓ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๓๙๔ สมุทรปราการ-สมุทรสงคราม โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง
ดังต่อไปนี้
สายที่ ๓๙๔ สมุทรปราการ-สมุทรสงคราม
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรปราการ
ไปตามถนนศรีสมุทร ถนนสุขุมวิท ขึ้นทางพิเศษที่ด่านปากน้ำ ไปตามทางพิเศษศรีรัช
ข้ามสะพานกาญจนาภิเษก ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๗ ช่วงสุขสวัสดิ์-บางขุนเทียน
ลงทางพิเศษที่ด่านบางขุนเทียน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕
ผ่านทางแยกเข้าจังหวัดสมุทรสาคร แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสงคราม
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ศรศักดิ์
แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๔๓ ง/หน้า ๑๗๔/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ |
647693 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2003 (พ.ศ. 2554) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 556 สถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (ตลิ่งชัน)
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๐๓
(พ.ศ. ๒๕๕๔)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ๕๕๖
สถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (ตลิ่งชัน) [๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๔/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๓
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ๕๕๖ สถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (ตลิ่งชัน)
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๕๕๖ สถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(ตลิ่งชัน)
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน ไปตามถนนอโศกมนตรี
แยกขวาไปตามถนนเพชรบุรี ถนนหลานหลวง ถนนราชดำเนินกลาง ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนบรมราชชนนี
จนสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (ตลิ่งชัน)
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ศรศักดิ์
แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๔๓ ง/หน้า ๑๗๓/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ |
643481 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพสุรา และกำหนดเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถ ในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบ พ.ศ. 2554
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพสุรา
และกำหนดเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถ
ในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบ
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพสุรา
และกำหนดเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบ
ลงวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่ปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประกาศดังกล่าวบางหน่วยงานได้มีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่
ทำให้การแบ่งส่วนราชการและการกำหนดตำแหน่งในหน่วยงานดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป
ประกอบกับเป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระดับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ประจำรถเสียใหม่ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐๒ ทวิ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพสุรา
และกำหนดเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบ
ลงวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
การตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพสุรา หมายความว่า การตรวจหรือทดสอบหาระดับหรือปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด
ข้อ ๓ ให้ผู้ตรวจการและตำรวจดังต่อไปนี้
เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพสุรา
(๑) ผู้ตรวจการในกองตรวจการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก
มีอำนาจทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และในเขตอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
(๒) ผู้ตรวจการในสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๓) ผู้ตรวจการในสำนักงานขนส่งจังหวัด และสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๔) ผู้บังคับการ กองบังคับการตำรวจนครบาล ๑ - ๙
หรือผู้ปฏิบัติราชการแทน มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๕) ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาล หรือสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาล
หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำสถานีตำรวจนครบาลนั้น
มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๖) ผู้บังคับการ กองบังคับการตำรวจจราจร หรือผู้ปฏิบัติราชการแทน
มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๗)
พนักงานสอบสวนกองบังคับการตำรวจจราจรซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่รองสารวัตรขึ้นไป มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๘) ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด หรือผู้ปฏิบัติราชการแทน
มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๙) ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธร หรือสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธร
หรือสารวัตรสถานีตำรวจภูธร
หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำสถานีตำรวจภูธรนั้น
มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๑๐) ผู้บังคับการ กองบังคับการตำรวจทางหลวง หรือผู้ปฏิบัติราชการแทน
มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
(๑๑)
พนักงานสอบสวนกองบังคับการตำรวจทางหลวงซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่รองสารวัตรขึ้นไป มีอำนาจเฉพาะในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ
ข้อ ๔ การตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการเสพสุราให้ถือปฏิบัติดังนี้
(๑) เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจหรือทดสอบให้ใช้เครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือด
โดยวิธีเป่าลมหายใจ (BREATH ANALYZER TEST) ซึ่งสามารถอ่านค่าของแอลกอฮอล์ในเลือดเป็นมิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
(๒) วิธีการตรวจหรือทดสอบ
ให้ถือปฏิบัติตามคู่มือวิธีการตรวจหรือทดสอบของเครื่องตรวจแต่ละผลิตภัณฑ์
(๓) เมื่อตรวจหรือทดสอบตามวิธีการใน (๒) แล้ว
อ่านค่าพบว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ดังต่อไปนี้
(ก) มีแอลกอฮอล์ในเลือดไม่เกิน ๕๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
ให้ถือว่าผู้รับการตรวจหรือทดสอบเป็นผู้เสพสุรา
(ข) มีแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า ๕๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
ให้ถือว่าผู้รับการตรวจหรือทดสอบเป็นผู้เมาสุรา
ข้อ ๕ ในกรณีผู้รับการตรวจหรือทดสอบโต้แย้งผลการตรวจหรือทดสอบของเจ้าพนักงาน
ให้เจ้าพนักงานผู้ทำการตรวจหรือทดสอบรีบนำตัวผู้รับการตรวจหรือทดสอบส่งไปยังสถานตรวจพิสูจน์ของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐตามข้อ
๖ ที่ใกล้ที่สุดทันที
ข้อ ๖ สถานตรวจพิสูจน์ของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่สามารถตรวจยืนยันผลและความถูกต้องของการตรวจมีดังนี้
(๑) สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๒) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
(ก) โรงพยาบาลศูนย์ของรัฐ
(ข) โรงพยาบาลจังหวัด
(ค) โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ เช่น โรงพยาบาลราชวิถี
โรงพยาบาลธัญญารักษ์
(ง) หน่วยงานในสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่น
สำนักยาและวัตถุเสพติดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์
(๓) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
(๔) สถานตรวจพิสูจน์อื่นนอกจาก (๑) - (๓)
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เทียนโชติ
จงพีร์เพียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๙ กุมภาพันธ์
๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๙ กุมภาพันธ์
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒ ง/หน้า ๖๐/๒๘ มกราคม ๒๕๕๔ |
642508 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2002 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 172 กำแพงเพชร - สุโขทัย
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๐๒ (พ.ศ. ๒๕๕๓)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๗๒
กำแพงเพชร - สุโขทัย[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๖๔ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๗๒
กำแพงเพชร - สุโขทัย นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นว่า
เส้นทางดังกล่าวหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๓๐
สิงหาคม ๒๕๕๓ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ศรศักดิ์ แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๙๘ ง/หน้า ๑๙๙/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๓ |
642506 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2001 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่องสายที่ 548 ประชานิเวศน์ 3 - ท่าน้ำพระประแดง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๐๑ (พ.ศ. ๒๕๕๓)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ๕๔๘ ประชานิเวศน์ ๓ -
ท่าน้ำพระประแดง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๗๙ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๔๘ ประชานิเวศน์ ๓ - ท่าน้ำพระประแดง
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นว่า
เส้นทางดังกล่าวหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม
๒๕๕๓ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ศรศักดิ์ แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๙๘ ง/หน้า ๑๙๘/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๓ |
642504 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2000 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 130 สุโขทัย - อุตรดิตถ์ เป็น กำแพงเพชร - สุโขทัย - อุตรดิตถ์
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๐๐๐ (พ.ศ. ๒๕๕๓)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๓๐ สุโขทัย -
อุตรดิตถ์ เป็น
กำแพงเพชร - สุโขทัย - อุตรดิตถ์[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๖๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๓๐
สุโขทัย - อุตรดิตถ์ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๓๐ สุโขทัย - อุตรดิตถ์
เป็น กำแพงเพชร - สุโขทัย - อุตรดิตถ์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๑๓๐ กำแพงเพชร-สุโขทัย-อุตรดิตถ์
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกำแพงเพชร
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ผ่านอำเภอพรานกระต่าย อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
อำเภอศรีสำโรง อำเภอสวรรคโลก ถึงอำเภอศรีสัชนาลัย
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๒ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุตรดิตถ์
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ศรศักดิ์ แสนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๙๘ ง/หน้า ๑๙๗/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๓ |
642488 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ 63 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสงขลา สายที่ 1880 สงขลา - นาทวี เป็น สงขลา - ด่านบ้านประกอบ
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสงขลา
ฉบับที่ ๖๓ (พ.ศ. ๒๕๕๓)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่
๑๘๘๐ สงขลา - นาทวี
เป็น สงขลา -
ด่านบ้านประกอบ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง
ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๐๗
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์โดยสารในชนบท (จังหวัดสงขลา) สายที่
๑๘๘๐ สงขลา - นาทวี ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลาได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๓/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดสงขลา สายที่ ๑๘๘๐ สงขลา - นาทวี เป็น สงขลา - ด่านบ้านประกอบ
โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
หมวด ๔
สายที่ ๑๘๘๐ สงขลา - ด่านบ้านประกอบ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสงขลา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๗ (ถนนกาญจนวนิช) ถึงแยกสำโรง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ ผ่านตำบลควนมีด ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๓ ถึงแยกป่าชิง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ ผ่านบ้านทุ่งพระ ถึงอำเภอนาทวี
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๑๓ ผ่านบ้านทุ่งน้ำขาว บ้านสะท้อน บ้านพรุหวา
บ้านเปาะเนาะ ถึงบ้านประกอบ แยกซ้ายไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณด่านบ้านประกอบ
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
วิญญู ทองสกุล
ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสงขลา
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๗ มกราคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๗ มกราคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๙๗ ง/หน้า ๒๐๐/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๓ |
641921 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดอุบลราชธานี ฉบับที่ 108 (พ.ศ. 2553) เรื่อง การกำหนดเส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานีได้พิจารณา
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุบลราชธานี
ฉบับที่ ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๕๕๓)
เรื่อง
การกำหนดเส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานีได้พิจารณา[๑]
เห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานี ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๙
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สายที่ ๑ บ้านสะพือ-บ้านวังแคน
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่
๑ บ้านสะพือ-บ้านวังแคน
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดชุมชนบ้านสะพือ
ไปตามทางหลวง ข้ามสะพานพิบูลมังสาหาร แยกซ้ายไปตามถนนวิภาคย์
ผ่านที่ทำการไปรษณีย์อำเภอพิบูลมังสาหาร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพิบูลมังสาหาร
แยกขวาไปตามถนนสระแก้ว ผ่านหน้าวัดสระแก้ว แยกขวาไปตามถนนพิบูล
ผ่านโรงเรียนวิภาคย์ แยกซ้ายไปตามถนนพรหมแสง ผ่านตลาดสดพิบูลมังสาหาร
ถึงอนุสาวรีย์เจ้าพ่อจูมมณี แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาล ๒ ผ่านธนาคารออมสิน แยกขวาไปตามถนนสถิตย์นิมานกาล
ถึงสี่แยกวัดภูเขาแก้ว แยกขวาไปตามถนนสร้างคำ แยกขวาไปตามถนนเทศบาล ๒
ผ่านหน้าโรงเรียนพิบูลมังสาหาร ที่ว่าการอำเภอพิบูลมังสาหาร แยกขวาไปตามถนนพรหมแสง
แยกซ้ายไปตามถนนพิบูล แยกขวาไปตามถนนสร้างคำ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวังแคน
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
สุรพล สายพันธ์
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุบลราชธานี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๙๓ ง/หน้า ๒๕๒/๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ |
641752 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดและติดเครื่องหมายรับรองมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุก พ.ศ. 2553 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
การกำหนดและติดเครื่องหมายรับรองมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุก
พ.ศ. ๒๕๕๓[๑]
ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการขนส่งด้วยรถบรรทุกเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุกของประเทศให้มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้บริการและประชาชนทั่วไป
ซึ่งปัจจุบันมีผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ได้รับการรับรองคุณภาพตามข้อกำหนดมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุก
ไปแล้วนั้น
เพื่อให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดังกล่าวมีเครื่องหมายสัญลักษณ์ที่แสดงว่าได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพบริการจากกรมการขนส่งทางบกปรากฏอยู่ที่ตัวถังรถ
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ (๒) (ฉ) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ในประกาศนี้
เครื่องหมายรับรอง หมายความว่า
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุก
ข้อ
๒ กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดเครื่องหมายรับรองให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุก
ซึ่งเครื่องหมายดังกล่าวได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้ว
แบบ
ขนาดและสีของเครื่องหมายรับรองให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
ข้อ
๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุกสามารถนำเครื่องหมายรับรองไปจัดทำและติดแสดงไว้ที่ตัวถังรถของตนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
(๑)
เครื่องหมายรับรองให้จัดทำเป็นสติ๊กเกอร์หรือวัสดุที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
(๒)
การติดเครื่องหมายรับรองให้ติดได้ตามจำนวนที่เหมาะสม
แต่ต้องไม่เกินสี่ตำแหน่งต่อรถหนึ่งคันและต้องเป็นไปตามตำแหน่งและขนาดที่กำหนดดังนี้
(ก)
มุมล่างด้านซ้ายของกระจกกันลมหน้า
ซึ่งต้องไม่ทำให้ทัศนวิสัยในการขับขี่ลดลงโดยเครื่องหมายรับรองต้องเป็นขนาดเล็กตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
(ข)
บริเวณประตูรถที่มิใช่ส่วนที่เป็นกระจก
หรือบริเวณมุมบนด้านซ้ายของท้ายรถโดยเครื่องหมายรับรองต้องเป็นขนาดเล็กหรือขนาดกลางตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ข้อ
๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุกสามารถนำเครื่องหมายรับรองไปใช้แสดง
ณ สถานประกอบการของตนได้ โดยจะจัดทำเป็นสติ๊กเกอร์หรือวัสดุอื่นใดก็ได้
และต้องติดในตำแหน่งที่เหมาะสม
ซึ่งขนาดของเครื่องหมายรับรองจะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
หรืออาจแตกต่างไปจากที่กำหนดก็ได้ แต่แบบรายละเอียดของเครื่องหมายรับรองต้องได้สัดส่วนเดียวกันกับขนาดที่กำหนดไว้
ข้อ
๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ไม่ได้รับการต่ออายุการรับรองมาตรฐานคุณภาพบริการ
หรือถูกเพิกถอนการรับรองมาตรฐานคุณภาพบริการ ให้ดำเนินการลบ ถอด
หรือกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อมิให้มีเครื่องหมายรับรองปรากฏอยู่ในทุกที่ที่มีการแสดงเครื่องหมายรับรองไว้
ประกาศ ณ วันที่ ๙
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓
เทียนโชติ จงพีร์เพียร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔๕ ง/หน้า ๕๒/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ |
640986 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดอุดรธานี ฉบับที่ 133 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุดรธานี
ฉบับที่ ๑๓๓ (พ.ศ. ๒๕๕๓)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี
ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๒๖ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
จังหวัดอุดรธานี สายที่ ๔๒๐๑๓ หนองหาน-กุมภวาปี
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานีได้พิจารณาแล้วเห็นว่า
เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑๐
กันยายน ๒๕๕๓
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
วิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๘๑ ง/หน้า ๒๒๕/๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ |
640984 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดอุดรธานี ฉบับที่ 132 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุดรธานี
ฉบับที่ ๑๓๒ (พ.ศ. ๒๕๕๓)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี
ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๒๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
จังหวัดอุดรธานี สายที่ ๔๒๐๐๙ กุมภวาปี-บ้านท่าลี่
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานีได้พิจารณาแล้วเห็นว่า
เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑๐
กันยายน ๒๕๕๓
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
วิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๘๑ ง/หน้า ๒๒๔/๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ |
639984 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ 86 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนนทบุรี
ฉบับที่
๘๖ (พ.ศ. ๒๕๕๓)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๖๒๕๗ วงกลมสุขาประชาสรรค์ - โรงเรียนอัมพรไพศาล
สายที่ ๖๒๕๗ วงกลมสุขาประชาสรรค์ - โรงเรียนอัมพรไพศาล
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางสุขาประชาสรรค์
ไปตามถนนสุขาประชาสรรค์ แยกขวาไปตามถนนสุขาประชาสรรค์ ๓ (ซอย ๒๖)
ผ่านหมู่บ้านรุ่งเรืองธานี โรงเรียนพิชญศึกษา บ้านสีวลี บ้านเอื้ออาทร (วัดกู้)
บ้านสุชาวดี สุดทางแยกซ้ายไปตามถนนสุขาประชาสรรค์ ๒ ผ่านวัดหงส์ทอง วัดกู้
วัดบางพูดนอก วัดบางพูดใน ตลาดพิชัย แยกซ้ายไปตามถนนแจ้งวัฒนะ
ผ่านปากทางเข้าอำเภอปากเกร็ด โรงพยาบาลปากเกร็ด ห้างคาร์ฟูร์
แยกซ้ายไปตามถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ผ่านปากซอยหมู่บ้านสหกรณ์ ๓
แยกขวาไปตามถนนติวานนท์ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงเรียนอัมพรไพศาล
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
วิเชียร
พุฒิวิญญู
ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนนทบุรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๗๔ ง/หน้า ๑๖๕/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ |
639982 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ 85 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 จังหวัดนนทบุรี สายที่ 4 ซอยงามวงศ์วาน 18-วัดบัวขวัญ-ซอยประชานิเวศน์ 2 เป็น วงกลมซอยงามวงศ์วาน 18-ถนนประชาชื่น | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนนทบุรี
ฉบับที่
๘๕ (พ.ศ. ๒๕๕๓)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๔ ซอยงามวงศ์วาน ๑๘ - วัดบัวขวัญ - ซอยประชานิเวศน์ ๒
เป็น
วงกลมซอยงามวงศ์วาน ๑๘ - ถนนประชาชื่น[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี
ฉบับที่ ๗๑ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ลงวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๒
กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๔ ซอยงามวงศ์วาน ๑๘ - วัดบัวขวัญ - ซอยประชานิเวศน์ ๒ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ในการประชุมครั้งที่
๔/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ และครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๓
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๒/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ ให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๔ ซอยงามวงศ์วาน ๑๘ - วัดบัวขวัญ - ซอยประชานิเวศน์
๒ เป็น วงกลมซอยงามวงศ์วาน ๑๘ - ถนนประชาชื่น โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้
คือ
สายที่ ๔ วงกลมซอยงามวงศ์วาน ๑๘ - ถนนประชาชื่น
เที่ยววนขวา
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากซอยงามวงศ์วาน ๑๘ (ซอยจุฬาเกษม)
ไปตามถนนงามวงศ์วาน แยกขวาไปตามซอยงามวงศ์วาน ๒๓ ผ่านวัดบัวขวัญ แยกขวาไปตามถนนประชานิเวศน์
๓ ผ่านโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ แยกขวาไปตามถนนสามัคคี ผ่านหมู่บ้านประชาชื่น
แยกขวาไปตามถนนประชาชื่น ผ่านปากซอยประชาชื่นนนทบุรี ๙ - ซอยประชาชื่น นนทบุรี ๑
แยกขวาไปตามถนนงามวงศ์วาน ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากซอยงามวงศ์วาน ๑๘
เที่ยววนซ้าย
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากซอยงามวงศ์วาน ๑๘ (ซอยจุฬาเกษม)
ไปตามถนนงามวงศ์วาน แยกซ้ายไปตามถนนประชาชื่น ผ่านปากซอยประชาชื่น นนทบุรี ๑ - ซอยประชาชื่นนนทบุรี
๙ แยกซ้ายไปตามถนนสามัคคี ผ่านหมู่บ้านประชาชื่น ผ่านโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์
แยกซ้ายไปตามถนนประชานิเวศน์ ๓ แยกซ้ายวัดบัวขวัญ แยกขวาไปตามซอยงามวงศ์วาน ๒๓
แยกซ้ายไปตามถนนงามวงศ์วาน ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากซอยงามวงศ์วาน ๑๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
วิเชียร
พุฒิวิญญู
ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนนทบุรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๗๔ ง/หน้า ๑๖๓/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ |
639980 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1994 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 478 นครปฐม-บ้านแพ้ว | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๙๔ (พ.ศ. ๒๕๕๓)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๔๗๘ นครปฐม - บ้านแพ้ว[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๙๗ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๒๔ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๔๗๘ นครปฐม - บ้านแพ้ว
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๐/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๔๗๘ นครปฐม - บ้านแพ้ว
โดยยกเลิกเส้นทางการเดินรถช่วงนครปฐม - หนองสองห้อง และช่วงนครปฐม - หนองนกไข่
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๔๗๘ นครปฐม - บ้านแพ้ว
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครปฐม
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงทางแยกวัดพระประโทน
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙๗ ผ่านวัดดอนยายหอม บ้านจินดา ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านแพ้ว
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
อร่าม
ก้อนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๗๔ ง/หน้า ๑๖๒/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ |
639978 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1993 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน 5 เส้นทาง | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๙๓ (พ.ศ. ๒๕๕๓)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
จำนวน
๕ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๔๙ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๒๕ อู่สายลวด - ท่าช้างวังหลวง
ให้มีเส้นทางแยกช่วงอู่สายลวด - สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าใต้ดิน
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๑๕๓๑ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๔๕ สวนจตุจักร - สมุทรปราการ
เป็น สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) - สมุทรปราการ
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงแฮปปี้แลนด์ - สมุทรปราการ จำนวนหนึ่งช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๑๕๕๓ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๖๓ พระราม ๙ - สะพานกรุงเทพ
- พุทธมณฑลสาย ๔ เป็น พระราม ๙ - สะพานกรุงเทพ - อู่พุทธมณฑลสาย ๔
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๑๗๙๘ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๐ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๘๓ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
- พุทธมณฑลสาย ๒ - อ้อมน้อย เป็น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - ถนนพุทธมณฑลสาย ๒ - อ้อมใหญ่
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๑๘๑๒ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๐ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๗๒ แฮปปี้แลนด์ - บางขุนเทียน
เป็น หมู่บ้านนักกีฬา - บางขุนเทียน
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๒๕ อู่สายลวด - ท่าช้างวังหลวง
เป็น ท่าช้างวังหลวง - อู่สายลวด และปรับปรุงช่วงอู่สายลวด - ถนนพระราม ๔ - วัดธาตุทอง
เป็น ช่วงวัดธาตุทอง - ถนนพระราม ๔ - โครงการบ้านเอื้ออาทรแพรกษา ๒ ช่วงอู่สายลวด
- หัวลำโพง - ท่าช้างวังหลวง (ทางด่วน) เป็น ช่วงท่าช้างวังหลวง - หัวลำโพง - อู่สายลวด
(ทางด่วน) ช่วงอู่สายลวด - สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เป็น
ช่วงสถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ - อู่สายลวด สายที่ ๑๔๕
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) - สมุทรปราการ
สำหรับการเดินรถช่วงแฮปปี้แลนด์ - สมุทรปราการ เป็น ช่วงแฮปปี้แลนด์ - โครงการบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง
สายที่ ๑๖๓ พระราม ๙ - สะพานกรุงเทพ - อู่พุทธมณฑลสาย ๔ เป็น พระราม ๙ - สะพานกรุงเทพ
- สถานีรถไฟศาลายา และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงพระราม ๙ - สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน
- สถานีรถไฟศาลายา และช่วงพระราม ๙ - ท่าพระ - สถานีรถไฟศาลายา สายที่ ๑๗๒ หมู่บ้านนักกีฬา
- บางขุนเทียน ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงหมู่บ้านนักกีฬา - สถานีรถไฟหัวลำโพง
เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง และสายที่ ๑๘๓ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - ถนนพุทธมณฑลสาย ๒ - อ้อมใหญ่
ให้มีรายละเอียดเส้นทางผ่านแยกปทุมวันและแยกราชเทวี โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๒๕ ท่าช้างวังหลวง - อู่สายลวด
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากท่าช้างวังหลวง ไปตามถนนหน้าพระลาน แยกขวาไปตามถนนสนามไชย แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง
แยกซ้ายไปตามถนนมิตรพันธ์ อ้อมวงเวียน ๒๒ กรกฎา แยกขวาไปตามถนนไมตรีจิต
แยกซ้ายข้ามสะพานเจริญสวัสดิ์ ไปตามถนนพระราม ๔ แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท
แยกขวาไปตามถนนพระราม ๑ ถนนเพลินจิต ถนนสุขุมวิท แยกขวาไปตามถนนศรีสมุทร
แยกซ้ายไปตามถนนประโคนชัย แยกซ้ายไปตามถนนสายลวด จนสุดเส้นทางที่อู่สายลวด
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากอู่สายลวด ไปตามถนนสายลวด แยกซ้ายไปตามถนนด่านเก่า ถนนศรีสมุทร
แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท ถนนเพลินจิต ถนนพระราม ๑ แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท
แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔ ข้ามสะพานเจริญสวัสดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนไตรมิตร แยกขวาไปตามถนนเยาวราช
แยกซ้ายไปตามถนนจักรวรรดิ์ แยกขวาไปตามถนนจักรเพชร แยกซ้ายไปตามถนนพาหุรัด
แยกขวาไปตามถนนตรีเพชร แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง แยกขวาไปตามถนนสนามไชย
แยกซ้ายไปตามถนนท้ายวัง แยกขวาไปตามถนนมหาราช จนสุดเส้นทางที่ท่าช้างวังหลวง
ช่วงวัดธาตุทอง
- ถนนพระราม ๔ - โครงการบ้านเอื้ออาทรแพรกษา ๒
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากวัดธาตุทอง ไปตามถนนสุขุมวิท แยกขวาไปตามถนนศรีสมุทร แยกซ้ายไปตามถนนประโคนชัย
แยกซ้ายไปตามถนนสายลวด แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท แยกขวาไปตามถนนแพรกษา
จนสุดเส้นทางที่โครงการบ้านเอื้ออาทรแพรกษา ๒
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากโครงการบ้านเอื้ออาทรแพรกษา ๒ ไปตามถนนแพรกษา แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท
แยกขวาไปตามถนนสายลวด แยกขวาไปตามถนนประโคนชัย แยกขวาไปตามถนนศรีสมุทร
แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามซอยสุขุมวิท ๔๒
แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท จนสุดเส้นทางที่วัดธาตุทอง
ช่วงท่าช้างวังหลวง
- หัวลำโพง - อู่สายลวด (ทางด่วน)
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากท่าช้างวังหลวง ไปตามถนนหน้าพระลาน แยกขวาไปตามถนนสนามไชย แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง
แยกซ้ายไปตามถนนมิตรพันธ์ อ้อมวงเวียน ๒๒ กรกฎา แยกขวาไปตามถนนไมตรีจิต
แยกซ้ายข้ามสะพานเจริญสวัสดิ์ ไปตามถนนพระราม ๔ ขึ้นทางพิเศษที่ด่านหัวลำโพง
ไปตามทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางพิเศษที่ด่านบางนา ไปตามถนนสุขุมวิท
แยกขวาไปตามถนนศรีสมุทร แยกซ้ายไปตามถนนประโคนชัย แยกซ้ายไปตามถนนสายลวด
จนสุดเส้นทางที่อู่สายลวด
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากอู่สายลวด ไปตามถนนสายลวด แยกซ้ายไปตามถนนด่านเก่า ถนนศรีสมุทร
แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท ถึงสี่แยกบางนา ขึ้นทางพิเศษที่ด่านบางนา
ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษศรีรัช ลงทางพิเศษที่ด่านหัวลำโพง
ไปตามถนนพระราม ๔ ข้ามสะพานเจริญสวัสดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนไตรมิตร
แยกขวาไปตามถนนเยาวราช แยกขวาไปตามถนนจักรเพชร แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง
แยกขวาไปตามถนนสนามไชย แยกซ้ายไปตามถนนท้ายวัง แยกขวาไปตามถนนมหาราช
จนสุดเส้นทางที่ท่าช้างวังหลวง
ช่วงสถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- อู่สายลวด
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ไปตามถนนรัชดาภิเษก
แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท แยกขวาไปตามถนนศรีสมุทร แยกซ้ายไปตามถนนประโคนชัย
แยกซ้ายไปตาม ถนนสายลวด จนสุดเส้นทางที่อู่สายลวด
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากอู่สายลวด ไปตามถนนสายลวด แยกซ้ายไปตามถนนด่านเก่า ถนนศรีสมุทร
แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก
จนสุดเส้นทางที่สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
สายที่ ๑๔๕ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
- สมุทรปราการ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ไปตามถนนกำแพงเพชร ๒ แยกซ้ายไปตามถนนกำแพงเพชร แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน
แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท
แยกซ้ายไปตามถนนศรีสมุทร แยกซ้ายไปตามถนนประโคนชัย แยกซ้ายไปตามถนนสายลวด
จนสุดเส้นทางที่สมุทรปราการ (อู่สายลวด)
ช่วงแฮปปี้แลนด์
- โครงการบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากแฮปปี้แลนด์ แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์
แยกซ้ายไปตามถนนเทพารักษ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
(ถนนกรมโยธาธิการสายแยกถนนเทพารักษ์ - วัดบางโฉลงนอก)
จนสุดเส้นทางที่โครงการบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากโครงการบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง ไปตามทางหลวงชนบท (ถนนกรมโยธาธิการ
สายแยกถนนเทพารักษ์ - วัดบางโฉลงนอก) แยกขวาไปตามถนนเทพารักษ์ แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์
แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนแฮปปี้แลนด์
จนสุดเส้นทางที่แฮปปี้แลนด์
สายที่ ๑๖๓ พระราม ๙ - สะพานกรุงเทพ - สถานีรถไฟศาลายา
เริ่มต้นจากอู่จอดรถบนถนนพระราม ๙
(บริเวณใต้ทางด่วน) ไปตามถนนพระราม ๙ แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก
แยกซ้ายเข้าตลาดห้วยขวาง ไปตามถนนประชาสงเคราะห์ แยกขวาไปตามถนนดินแดง ถนนราชวิถี
ผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔
แยกขวาไปตามถนนสีลม แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง แยกขวาข้ามสะพานกรุงเทพ
ไปตามถนนมไหสวรรย์ ถนนรัชดาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม
แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๔ แยกซ้ายไปตามถนนธรรมสพน์ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท นฐ.
๓๐๐๑ แยกขวาไปตามถนนเข้าตลาดเก่าศาลายา จนสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีรถไฟศาลายา
ช่วงพระราม
๙ - สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน - สถานีรถไฟศาลายา
เริ่มต้นจากอู่จอดรถบนถนนพระราม ๙ (บริเวณใต้ทางด่วน) ไปตามถนนพระราม ๙
แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกซ้ายเข้าตลาดห้วยขวาง ไปตามถนนประชาสงเคราะห์
แยกขวาไปตามถนนดินแดง ถนนราชวิถี ผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนสีลม แยกซ้ายไปตามถนนเลียบใต้ทางด่วน
แยกขวาไปตามถนนสาทร ข้ามสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ไปตามถนนกรุงธนบุรี ถนนตากสิน - เพชรเกษม
ถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๔ แยกซ้ายไปตามถนนธรรมสพน์
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท นฐ. ๓๐๐๑ แยกขวาไปตามถนนเข้าตลาดเก่าศาลายา
จนสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีรถไฟศาลายา
ช่วงพระราม
๙ - ท่าพระ - สถานีรถไฟศาลายา
เริ่มต้นจากอู่จอดรถบนถนนพระราม ๙ (บริเวณใต้ทางด่วน) ไปตามถนนพระราม ๙
แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกซ้ายเข้าตลาดห้วยขวาง ไปตามถนนประชาสงเคราะห์
แยกขวาไปตามถนนดินแดง ถนนราชวิถี ผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนสีลม แยกซ้ายไปตามถนนเลียบใต้ทางด่วน
แยกขวาไปตามถนนสาทร ข้ามสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ไปตามถนนกรุงธนบุรี ถนนตากสิน - เพชรเกษม
แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก (ตอนล่าง) แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม
แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๔ แยกซ้ายไปตามถนนธรรมสพน์ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท นฐ.
๓๐๐๑ แยกขวาไปตามถนนเข้าตลาดเก่าศาลายา จนสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีรถไฟศาลายา
สายที่ ๑๗๒ หมู่บ้านนักกีฬา - บางขุนเทียน
จากหมู่บ้านนักกีฬาไปบางขุนเทียน
เริ่มต้นจากหมู่บ้านนักกีฬา ไปตามถนนนักกีฬาแหลมทอง แยกขวาไปตามถนนกรุงเทพกรีฑา
แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก
แยกขวาไปตามถนนอโศก - ดินแดง ถนนดินแดง ถนนราชวิถี ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนสีลม
แยกซ้ายไปตามถนนสุรศักดิ์ แยกขวาไปตามถนนสาทร ข้ามสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ไปตามถนนกรุงธนบุรี
แยกซ้ายไปตามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถนนสุขสวัสดิ์ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๒
แยกซ้ายไปตามซอยร่วมใจ ผ่านเคหะธนบุรี แยกขวาไปตามถนนบางขุนเทียน - ชายทะเล
จนสุดเส้นทางที่อู่บางขุนเทียน (ใต้ถนนวงแหวนรอบนอก)
จากบางขุนเทียนไปหมู่บ้านนักกีฬา
เริ่มต้นจากอู่บางขุนเทียน (ใต้ถนนวงแหวนรอบนอก) ไปตามถนนบางขุนเทียน - ชายทะเล
แยกขวาไปตามถนนพระราม ๒ แล้วไปตามเส้นทางเดิม ถึงถนนสาทร
แยกซ้ายไปตามถนนเลียบใต้ทางด่วน แยกขวาไปตามถนนสีลม แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่หมู่บ้านนักกีฬา
ช่วงหมู่บ้านนักกีฬา
- บางขุนเทียน (ทางด่วน)
จากหมู่บ้านนักกีฬาไปบางขุนเทียน
เริ่มต้นจากหมู่บ้านนักกีฬา ไปตามถนนนักกีฬาแหลมทอง แยกขวาไปตามถนนกรุงเทพกรีฑา
แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก
แยกขวาไปตามถนนอโศก - ดินแดง ถนนดินแดง ถนนราชวิถี ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔ ขึ้นทางด่วนที่ด่านพระราม ๔
ไปตามทางด่วนศรีรัช ทางด่วนเฉลิมมหานคร ลงทางด่วนที่ด่านสุขสวัสดิ์ แยกขวาไปตามถนนสุขสวัสดิ์
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๒ แยกซ้ายไปตามซอยร่วมใจ ผ่านเคหะธนบุรี แยกขวาไปตามถนนบางขุนเทียน
- ชายทะเล จนสุดเส้นทางที่อู่บางขุนเทียน (ใต้ถนนวงแหวนรอบนอก)
จากบางขุนเทียนไปหมู่บ้านนักกีฬา
เริ่มต้นจากอู่บางขุนเทียน (ใต้ถนนวงแหวนรอบนอก) ไปตามถนนบางขุนเทียน - ชายทะเล
แยกขวาไปตามถนนพระราม ๒ แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่หมู่บ้านนักกีฬา
ช่วงหมู่บ้านนักกีฬา
- สถานีรถไฟหัวลำโพง
เริ่มต้นจากหมู่บ้านนักกีฬา
ไปตามถนนนักกีฬาแหลมทอง แยกขวาไปตามถนนกรุงเทพกรีฑา แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์
แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกขวาไปตามถนนอโศก - ดินแดง
ถนนดินแดง ถนนราชวิถี ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท
แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ จนสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีรถไฟหัวลำโพง
สายที่ ๑๘๓ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - ถนนพุทธมณฑลสาย ๒ -
อ้อมใหญ่
จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปอ้อมใหญ่
เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนพญาไท แยกซ้ายไปตามถนนศรีอยุธยา
แยกขวาไปตามถนนราชปรารภ ถนนราชดำริ ถึงแยกราชประสงค์ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๑
ถึงแยกปทุมวัน แยกขวาไปตามถนนพญาไท ถึงแยกราชเทวี แยกซ้ายไปตามถนนเพชรบุรี
ถึงแยกยมราช แยกซ้ายไปตามถนนหลานหลวง ข้ามสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ไปตามถนนราชดำเนินกลาง
ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนบรมราชชนนี
แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม จนสุดเส้นทางที่อ้อมใหญ่
จากอ้อมใหญ่ไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เริ่มต้นจากอ้อมใหญ่ ไปตามถนนเพชรเกษม แล้วไปตามเส้นทางเดิม ถึงแยกเพชรพระราม
ไปตามถนนเพชรบุรี ถึงแยกประตูน้ำ แยกซ้ายไปตามถนนราชปรารภ แยกซ้ายไปตามถนนราชวิถี
จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
อร่าม
ก้อนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๗๔ ง/หน้า ๑๕๕/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ |
639976 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1991 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 787 ภูเก็ต--ทุ่งสง-ด่านนอก | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๙๑ (พ.ศ. ๒๕๕๓)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๗๘๗ ภูเก็ต - ทุ่งสง - ด่านนอก[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนทั่วไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด
๓ สายที่ ๗๘๗ ภูเก็ต - ทุ่งสง - ด่านนอก โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๗๘๗ ภูเก็ต - ทุ่งสง - ด่านนอก
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒ ผ่านอำเภอถลาง ถึงสามแยกโคกกลอย
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงจังหวัดพังงา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๑๕ ถึงอำเภอทับปุด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงสี่แยกนาเหนือ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ถึงสามแยกบ้านเขาต่อ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๑๙๗ ถึงอำเภอปลายพระยา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓๕ ผ่านอำเภอพระแสง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๐๙ ผ่านอำเภอเวียงสระ
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ผ่านอำเภอทุ่งสง จังหวัดพัทลุง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงสี่แยกบ้านคูหา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๓
ถึงอำเภอหาดใหญ่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภอสะเดา ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านด่านนอก
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
อร่าม
ก้อนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๗๔ ง/หน้า ๑๕๐/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ |
639974 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1990 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 534 ร้อยเอ็ด-ขอนแก่น | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๙๐ (พ.ศ. ๒๕๕๓)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๕๓๔ ร้อยเอ็ด - ขอนแก่น[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๘๗๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๓๔ ร้อยเอ็ด - ขอนแก่น
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงขอนแก่น - บ้านหนองผือ - โกสุมพิสัย
เพิ่มขึ้นหนึ่งช่วง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๓๔ ร้อยเอ็ด - ขอนแก่น
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงมหาสารคาม - บ้านท่าขอนยาง - ขอนแก่น
เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๕๓๔ ร้อยเอ็ด - ขอนแก่น
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดร้อยเอ็ด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๓ ถึงจังหวัดมหาสารคาม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓ ถึงอำเภอกันทรวิชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๘๘ ผ่านบ้านนาสีนวน บ้านหนองขอน ถึงบ้านขี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๒๓๗ ถึงอำเภอเชียงยืน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙ ผ่านบ้านท่าหิน
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น
ช่วงมหาสารคาม
- บ้านหนองหว้า
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดมหาสารคาม
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓ ถึงอำเภอกันทรวิชัย
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๘๘ ถึงบ้านน้ำเที่ยง
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. มค. ๒๐๓๐ ผ่านบ้านหนองแคน ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองหว้า
ช่วงขอนแก่น
- บ้านคำใหญ่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙ ผ่านบ้านท่าหิน ถึงอำเภอเชียงยืน
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๕๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖๘
ผ่านบ้านโนนงิ้ว บ้านกระบาก บ้านหนองผักแว่น อำเภอชื่นชม บ้านกุดปลาดุก บ้านโนนทัน
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคำใหญ่
ช่วงขอนแก่น
- โกสุมพิสัย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙ ผ่านบ้านท่าหิน ถึงอำเภอเชียงยืน
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๓๗ ผ่านบ้านขี บ้านเขื่อน บ้านผักหนอก
บ้านยางใหญ่ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอโกสุมพิสัย
ช่วงขอนแก่น
- บ้านหนองผือ - โกสุมพิสัย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙
ผ่านบ้านหนองใหญ่ บ้านท่าหิน ถึงบ้านกู่ทอง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๙๑
ผ่านบ้านโนนเมืองน้อย บ้านคุยแพง บ้านคุยเชือก บ้านกอก บ้านหนองผือ บ้านปลาปัด
บ้านยางท่าแจ้ง บ้านสว่าง บ้านโนนเมือง บ้านโนนตุ่น บ้านโนนเนาว์ ถึงบ้านเขื่อน
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๓๗ ผ่านบ้านผักหนอก บ้านยางน้อย บ้านยางใหญ่
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอโกสุมพิสัย
ช่วงมหาสารคาม
- บ้านท่าขอนยาง - ขอนแก่น เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดมหาสารคาม
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓ ถึงบ้านท่าขอนยาง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๐๒ ผ่านมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ใหม่)
ถึงบ้านขามเรียง ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข มค. ๔๐๐๙ ผ่านบ้านโนนแสบง บ้านดอนมัน
บ้านหนองอุ่ม บ้านหวาย ถึงบ้านนาสีนวน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๘๘
ผ่านบ้านหนองขอน ถึงบ้านขี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๓๗
ถึงอำเภอเชียงยืน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙ ผ่านบ้านท่าหิน
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
อร่าม
ก้อนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๗๔ ง/หน้า ๑๔๘/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ |
639972 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1989 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 2 สายที่ 965 กรุงเทพฯ-อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็น กรุงเทพฯ-บ้านด่านลานหอย | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๘๙ (พ.ศ. ๒๕๕๓)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๒ สายที่ ๙๖๕ กรุงเทพฯ - อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็น
กรุงเทพฯ
- บ้านด่านลานหอย[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๖๐๔ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๒
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารสายที่ ๙๖๕ กรุงเทพฯ - อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๖๕ กรุงเทพฯ - อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
เป็น กรุงเทพฯ - บ้านด่านลานหอย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๙๖๕ กรุงเทพฯ - บ้านด่านลานหอย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ
(จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ถึงทางแยกเข้าอำเภอมโนรมย์
ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงจังหวัดนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑๗ ถึงจังหวัดพิษณุโลก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านจังหวัดสุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (บ้านเมืองเก่า) ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านด่านลานหอย
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
อร่าม
ก้อนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๗๔ ง/หน้า ๑๔๗/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ |
639970 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1988 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน 3 เส้นทาง | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๙๘๘ (พ.ศ. ๒๕๕๓)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
จำนวน
๓ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๑๕๙ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ประกาศ ณ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๒
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร (รถตู้ปรับอากาศ) สายที่ ต. ๔๒
ซอยรามคำแหง ๔๓/๑ - ตลาดสะพานใหม่
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๑๓๓๘ (พ.ศ. ๒๕๔๕) ประกาศ ณ วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๕ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๗๘ วงกลมเกษตร - นวมินทร์
เป็น วงกลมสุคนธสวัสดิ์ - เกษตร - นวมินทร์
และประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๘๓๕ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๐ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๒๘ อำเภอไทรน้อย - เทียมร่วมมิตร
เป็น อำเภอไทรน้อย - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ต. ๔๒ ซอยรามคำแหง ๔๓/๑
- ตลาดสะพานใหม่ เป็น สถานีรถไฟฟ้ารามคำแหง - ตลาดสะพานใหม่ สายที่ ๑๗๘ วงกลมสุคนธสวัสดิ์
- เกษตร - นวมินทร์ และช่วงวงกลมเกษตร - นวมินทร์ เป็น วงกลมสวนสยาม - สุคนธสวัสดิ์
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวงกลมสวนสยาม - นวมินทร์ และสายที่ ๕๒๘
อำเภอไทรน้อย - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงบางบัวทอง - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ต. ๔๒ สถานีรถไฟฟ้ารามคำแหง - ตลาดสะพานใหม่
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟฟ้ารามคำแหง
ไปตามถนนรามคำแหง แยกซ้ายไปตามซอยรามคำแหง ๔๓/๑ แยกซ้ายไปตามถนนอินทราภรณ์
แยกขวาไปตามถนนประดิษฐ์มนูธรรม แยกซ้ายไปตามถนนรามอินทรา
ถึงอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน
จนสุดเส้นทางที่ตลาดสะพานใหม่
สายที่ ๑๗๘ วงกลมสวนสยาม - สุคนธสวัสดิ์
เริ่มต้นจากสวนสยาม ไปตามถนนสวนสยาม
แยกซ้ายไปตามถนนรามอินทรา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๐
แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน
แยกขวาไปตามถนนประเสริฐมนูกิจ แยกซ้ายไปตามถนนสุคนธสวัสดิ์
แยกซ้ายไปตามถนนประดิษฐ์มนูธรรม กลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนนนวลจันทร์
แยกซ้ายไปตามถนนประเสริฐมนูกิจ แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๕๐ แยกขวาไปตามถนนรามอินทรา แยกขวาไปตามถนนสวนสยาม จนสุดเส้นทางที่สวนสยาม
ช่วงวงกลมสวนสยาม
- นวมินทร์ เริ่มต้นจากสวนสยาม ไปตามถนนสวนสยาม
แยกซ้ายไปตามถนนรามอินทรา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๐
แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน
แยกขวาไปตามถนนประเสริฐมนูกิจ แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๐ แยกขวาไปตามถนนรามอินทรา
แยกขวาไปตามถนนสวนสยาม จนสุดเส้นทางที่สวนสยาม
สายที่ ๕๒๘ อำเภอไทรน้อย - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เริ่มต้นจากอำเภอไทรน้อย ไปตามถนนบางกรวย - ไทรน้อย
แยกขวาไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามสะพานพระนั่งเกล้า
ถนนงามวงศ์วาน ถึงแยกเกษตร แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว
แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกขวาไปตามถนนพระราม ๙ ถนนอโศก - ดินแดง ถนนดินแดง
ถนนราชวิถี จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ช่วงบางบัวทอง
- อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถบางบัวทอง ไปตามถนนบางกรวย - ไทรน้อย
แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามสะพานพระนั่งเกล้า
ถนนงามวงศ์วาน ถึงแยกเกษตร แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว
แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกขวาไปตามถนนพระราม ๙ ถนนอโศก - ดินแดง ถนนดินแดง
ถนนราชวิถี จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
อร่าม
ก้อนสมบัติ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๗๔ ง/หน้า ๑๔๔/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.