sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
787112
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักสูตร ระยะเวลา และหลักเกณฑ์การอบรมผู้ขับรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักสูตร ระยะเวลา และหลักเกณฑ์การอบรมผู้ขับรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] เพื่อให้ผู้ขับรถได้รับการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการขับรถอย่างปลอดภัยและสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ สมควรกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้ผู้ขับรถของตนเข้ารับการอบรมตามหลักสูตร ระยะเวลา และหลักเกณฑ์ที่กำหนด อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๙) และวรรคสอง และข้อ ๔ (๔) แห่งกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศกำหนดหลักสูตร ระยะเวลา และหลักเกณฑ์การอบรมผู้ขับรถที่ใช้ในการขนส่งไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีการอบรมผู้ขับรถของตนเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง โดยให้เริ่มดำเนินการตามระยะเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (๒) ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ (๓) ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ข้อ ๒ หลักสูตรการอบรมผู้ขับรถที่ใช้ในการขนส่งประกอบด้วยหัวข้อ ดังต่อไปนี้ (๑) ทัศนคติและจิตสำนึกในการขับรถอย่างปลอดภัย (๒) การเตรียมความพร้อมของสภาพร่างกายและจิตใจของพนักงานขับรถ (๓) การเตรียมความพร้อมของรถ (๔) การขับรถปลอดภัยเชิงป้องกันอุบัติเหตุ (๕) การประเมิน ควบคุม และแก้ไขสถานการณ์ไม่ปกติและฉุกเฉิน (๖) การบริหารจัดการความเหนื่อยล้า (๗) การขับรถประหยัดน้ำมัน หลักสูตรการอบรมตามวรรคหนึ่ง สามารถตรวจดูรายละเอียดได้จากเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก http://www.dlt.go.th ป้ายแบนเนอร์ เรื่อง “คู่มือการอบรมหลักสูตรการอบรมด้านความปลอดภัยในการขนส่งสำหรับพนักงานขับรถขนส่ง” ข้อ ๓ ในกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประสงค์จะใช้หลักสูตรของตนเองในการอบรมผู้ขับรถของตน หลักสูตรนั้นต้องมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการขับรถอย่างปลอดภัยหรือการปลูกจิตสำนึกในการขับรถอย่างปลอดภัย ข้อ ๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้ผู้ขับรถของตนเข้ารับการอบรมเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง โดยจะอบรมเต็มตามหลักสูตรหรืออบรมเฉพาะหัวข้อหนึ่งหัวข้อใดจากหลักสูตรที่กำหนดตามข้อ ๒ หรืออบรมตามหลักสูตรของตนเองก็ได้ ข้อ ๕ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการอบรมผู้ขับรถแล้วให้ดำเนินการดังนี้ (๑) จัดส่งรายงานข้อมูลการอบรมผู้ขับรถให้นายทะเบียนผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งทราบภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่มีการอบรม หรือภายใน ๓๐ วันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน ในรูปแบบเอกสารหรือไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ รายงานข้อมูลการอบรมอย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อมูล ดังต่อไปนี้ (ก) รายชื่อผู้ขับรถที่เข้ารับการอบรม (ข) หลักสูตรการอบรม (ค) หัวข้อการอบรม (ง) ระยะเวลาการอบรม (จ) วิทยากรผู้ให้การอบรม (ฉ) วันเวลาและสถานที่ที่อบรม (๒) จัดเก็บรายงานและเอกสารหลักฐานการอบรมตาม (๑) พร้อมทั้งภาพถ่ายการอบรมไว้ ณ ที่ทำการหรือสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเป็นเวลาอย่างน้อย ๑ ปี สำหรับให้นายทะเบียนตรวจสอบ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ภวรรณตรี/จัดทำ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๐ ง/หน้า ๓๘/๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
785850
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กําหนดแบบใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจํารถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ วรรคสอง และข้อ ๖ วรรคสอง ของกฎกระทรวงการขอและการออกใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ พ.ศ. ๒๕๕๔ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศกำหนดแบบใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ข้อ ๒ ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ให้ใช้แบบใบอนุญาตที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ตามแบบท้ายประกาศ ดังต่อไปนี้ (๑) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ (ก) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล ชนิดที่หนึ่ง ให้ใช้แบบ บ.๑ (ข) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล ชนิดที่สอง ให้ใช้แบบ บ.๒ (ค) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล ชนิดที่สาม ให้ใช้แบบ บ.๓ (ง) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล ชนิดที่สี่ ให้ใช้แบบ บ.๔ (จ) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งส่วนบุคคล ชนิดที่หนึ่ง ให้ใช้แบบ ท.๑ (ฉ) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งส่วนบุคคล ชนิดที่สอง ให้ใช้แบบ ท.๒ (ช) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งส่วนบุคคล ชนิดที่สาม ให้ใช้แบบ ท.๓ (ซ) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งส่วนบุคคล ชนิดที่สี่ ให้ใช้แบบ ท.๔ (๒) ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร ให้ใช้แบบ กส. (๓) ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ ให้ใช้แบบ นต. (๔) ใบอนุญาตเป็นผู้บริการ ให้ใช้แบบ บก. ข้อ ๓ ใบแทนใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ให้ใช้แบบใบอนุญาตตามข้อ ๒ ข้อ ๔ ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่ออกไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล ชนิดที่หนึ่ง (บ.๑) ๒. ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล ชนิดที่สอง (บ.๒) ๓. ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล ชนิดที่สาม (บ.๓) ๔. ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล ชนิดที่สี่ (บ.๔) ๕. ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถในประเภทการขนส่งประจาทาง การขนส่งไม่ประจำทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งส่วนบุคคล ชนิดที่หนึ่ง (ท.๑) ๖. ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถในประเภทการขนส่งประจาทาง การขนส่งไม่ประจำทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งส่วนบุคคล ชนิดที่สอง (ท.๒) ๗. ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถในประเภทการขนส่งประจาทาง การขนส่งไม่ประจำทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งส่วนบุคคล ชนิดที่สาม (ท.๓) ๘. ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถในประเภทการขนส่งประจาทาง การขนส่งไม่ประจำทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งส่วนบุคคล ชนิดที่สี่ (ท.๔) ๙. ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร (กส.) ๑๐. ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ (นต.) ๑๑. ใบอนุญาตเป็นผู้บริการ (บก.) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปวันวิทย์/ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๒๔ ง/หน้า ๙/๑๓ กันยายน ๒๕๖๐
781784
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 197 (พ.ศ. 2560) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สายที่ 24 วงกลมสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ 3 ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ 3 - ท่าอากาศยานขอนแก่น
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๙๗ (พ.ศ. ๒๕๖๐) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๒๔ วงกลมสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ ๓ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดขอนแก่นแห่งที่ ๓ - ท่าอากาศยานขอนแก่น[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๙๖ (พ.ศ. ๒๕๕๘) ลงวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๒๔ วงกลมสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ ๓ ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๐ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๐ โดยได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๒๔ วงกลมสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ ๓ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ ๓ - ท่าอากาศยานขอนแก่น โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๒๔ วงกลมสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ ๓ เที่ยววนขวา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ ๓ ไปตามถนนดำรงชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านตลาดประตูน้ำ ตลาดต้นตาล ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี แยกขวาไปตามถนนศรีจันทร์ ผ่านห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ถึงศาลหลักเมืองขอนแก่น แยกซ้ายไปตามถนนเทพารักษ์ แยกขวาไปตามถนนประชาสโมสร ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ ๑ แยกขวาไปตามถนนกลางเมือง ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ ๒ โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน โรงเรียนกัลยาณวัตร ห้างสรรพสินค้าแฟรี่พลาซ่า ถึงโรงเรียนเทศบาลสวนสนุก แยกซ้ายไปตามถนนนิกรสำราญ แยกขวาไปตามถนนรอบบึงแก่นนคร ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง ๑๑ ขอนแก่น วัดธาตุพระอารามหลวง วัดกลาง แยกขวาไปตามถนนเหล่านาดี ผ่านโรงเรียนเทศบาลวัดกลาง สนามกีฬาจังหวัดขอนแก่น โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ ๓ เที่ยววนซ้าย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ ๓ ไปตามถนนดำรงชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านตลาดประตูน้ำ แยกขวาไปตามถนนเหล่านาดี ผ่านโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย สนามกีฬาจังหวัดขอนแก่น โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง แยกซ้ายไปตามรอบบึงแก่นนคร ผ่านวัดกลาง วัดธาตุพระอารามหลวง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง ๑๑ ขอนแก่น แยกซ้ายไปตามถนนนิกรสำราญ ถึงโรงเรียนเทศบาลสวนสนุก แยกขวาไปตามถนนกลางเมือง ผ่านห้างสรรพสินค้าแฟรี่พลาซ่า โรงเรียนกัลยาณวัตร โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ ๒ แยกซ้าย ไปตามถนนประชาสโมสร ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ ๑ แยกซ้ายไปตามถนนเทพารักษ์ ถึงศาลหลักเมืองขอนแก่น ไปตามถนนศรีจันทร์ ผ่านห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ตลาดต้นตาล ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ ๓ ช่วงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ ๓ - ท่าอากาศยานขอนแก่น เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ ๓ ไปตามถนนดำรงชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านตลาดประตูน้ำ แยกขวาไปตามถนนเหล่านาดี ผ่านโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย สนามกีฬาจังหวัดขอนแก่น โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง แยกซ้ายไปตามรอบบึงแก่นนคร ผ่านวัดกลาง วัดธาตุพระอารามหลวง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง ๑๑ ขอนแก่น แยกซ้ายไปตามถนนนิกรสำราญ ถึงโรงเรียนเทศบาลสวนสนุก แยกขวาไปตามถนนกลางเมือง ผ่านห้างสรรพสินค้าแฟรี่พลาซ่า โรงเรียนกัลยาณวัตร โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ ๒ แยกซ้ายไปตามถนนประชาสโมสร ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ ๑ แยกซ้ายไปตามถนนเทพารักษ์ ถึงศาลหลักเมืองขอนแก่น ไปตามถนนศรีจันทร์ ผ่านห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ตรงไปตามถนนศรีจันทร์ แยกขวาไปตามถนนกัลปพฤกษ์ แยกซ้ายไปตามถนนมะลิวัลย์ ผ่านมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูสีฐาน) ผ่านสี่แยกค่ายสีหราชเดโชไชย แยกขวาไปตามทางเข้าท่าอากาศยานขอนแก่น ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางท่าอากาศยานขอนแก่น ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ พงษ์ศักดิ์ ปรีชาวิทย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๕๕ ง/หน้า ๑๖/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐
781559
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดชลบุรี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดชลบุรีให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรีกระทำการแทน พ.ศ. 2560
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดชลบุรี ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดชลบุรี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดชลบุรี ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรีกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดชลบุรีจึงมอบหมายอำนาจให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดชลบุรี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดชลบุรีให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ และใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดชลบุรี ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดชลบุรี ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดชลบุรี ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดชลบุรี ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดชลบุรีเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดชลบุรี ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดชลบุรี ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดชลบุรี หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับอนุญาตมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๘) การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) ข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเปลี่ยนประเภทรถ (ค) การเสียภาษีประจำปี (ง) การโอนรถ (จ) การย้ายรถ (ฉ) การแก้ไขรายการทางทะเบียน (ช) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฌ) การแจ้งไม่เสียภาษี ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ญ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (ฎ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถกรณีรายการเต็มกรณีสูญหายหรือชำรุด (ฏ) การตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถ (ฐ) การแจ้งใช้รถที่แจ้งไม่เสียภาษี ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ช) ข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) (ญ) และ (ฐ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่อใบอนุญาต (ค) การเปลี่ยนประเภทใบอนุญาต (ง) การเปลี่ยนชนิดใบอนุญาต (จ) การออกใบแทนใบอนุญาต (ฉ) การแก้ไขรายการใบอนุญาต (ช) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) และ (ฉ) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี สาขาอำเภอบางละมุง หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี สาขาอำเภอศรีราชา และหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี สาขาอำเภอหนองใหญ่ เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๒) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคล (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) (๓) (ข) ข้อ ๔ (๓) (ข) ข้อ ๖ (๑) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) (ญ) (ฎ) (ฏ) (ฐ) (๒) (๓) และข้อ ๙ (๑) ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี สาขาอำเภอบางละมุง เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี สาขาอำเภอศรีราชา และเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี สาขาอำเภอหนองใหญ่ เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๒) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคล (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ (๑) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) (ญ) (ฎ) (ฐ) และข้อ ๙ (๑) (ข) (ง) (จ) และ (ฉ) ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สุพิชัย เต็งประเสริฐ นักวิชาการขนส่งชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทน ขนส่งจังหวัดชลบุรี นายทะเบียนประจำจังหวัดชลบุรี ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง/หน้า ๖๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐
775564
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะ สี ขนาด จำนวน และตำแหน่งการติดตั้งรวมทั้งประเภทและลักษณะของรถที่ต้องมีอุปกรณ์หรือแผ่นสะท้อนแสง พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะ สี ขนาด จำนวน และตำแหน่งการติดตั้ง รวมทั้งประเภทและลักษณะของรถที่ต้องมีอุปกรณ์หรือแผ่นสะท้อนแสง พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าอุบัติเหตุทางถนนที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากผู้ใช้รถใช้ถนนไม่สามารถมองเห็นรถที่มีขนาดใหญ่ได้อย่างชัดเจนในเวลากลางคืน ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากสาเหตุดังกล่าว สมควรกำหนดให้รถที่มีขนาดใหญ่ต้องติดตั้งอุปกรณ์และแผ่นสะท้อนแสงไว้ที่ตัวรถ เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนมองเห็นได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๒) (ฒ) ข้อ ๑๐ (๒) (ฎ) ข้อ ๑๕ (๒) (ซ) และข้อ ๑๘ (๒) (ง) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “อุปกรณ์สะท้อนแสง” (Retro - reflector) หมายความว่า อุปกรณ์สะท้อนแสงสำเร็จรูปที่ให้การสะท้อนแสงกลับไปในทิศทางที่มาของแสง “แผ่นสะท้อนแสง” (Retro - reflective marking หรือ Conspicuity marking) หมายความว่า แผ่นหรือแถบวัสดุสะท้อนแสงที่ให้การสะท้อนแสงกลับไปในทิศทางที่มาของแสง หมวด ๑ อุปกรณ์สะท้อนแสง ข้อ ๒ อุปกรณ์สะท้อนแสงต้องมีคุณลักษณะและขนาด ดังต่อไปนี้ (๑) สามารถสะท้อนแสงเห็นได้ในเวลากลางคืนในระยะไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร (๒) มีลักษณะเป็นชิ้นอุปกรณ์ติดกับตัวถังรถหรือเป็นชิ้นอุปกรณ์รวมอยู่กับโคมไฟของรถ (๓) มีรูปทรงเป็นรูปวงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า สามเหลี่ยมด้านเท่าที่มียอดแหลมตั้งขึ้นหรือรูปทรงอื่นที่เรียบง่าย โดยหากเป็นรูปวงกลมต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาวไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร หากเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ต้องมีขนาดความยาวด้านละไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร และหากเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าต้องมีขนาดความยาวด้านละไม่น้อยกว่า ๑๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๒๐ เซนติเมตร ข้อ ๓ สี ลักษณะ จำนวน และตำแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสง รวมทั้งประเภทและลักษณะของรถที่ต้องมีอุปกรณ์สะท้อนแสง ให้เป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (ก) อุปกรณ์สะท้อนแสงด้านท้ายรถ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๑ มาตรฐาน ๒ มาตรฐาน ๓ มาตรฐาน ๔ มาตรฐาน ๖ มาตรฐาน ๗ รถขนาดเล็ก และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๑ ลักษณะ ๒ ลักษณะ ๓ ลักษณะ ๔ ลักษณะ ๕ ลักษณะ ๙ ต้องติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสงสีแดง จำนวน ๒ ชิ้นหรือ ๔ ชิ้น มีลักษณะเป็นชิ้นอุปกรณ์รูปวงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเป็นชิ้นอุปกรณ์รวมอยู่กับโคมไฟของรถซึ่งอาจมีรูปทรงอื่นที่เรียบง่าย ยกเว้นรูปสามเหลี่ยม (๒) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๕ และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๖ ลักษณะ ๗ ลักษณะ ๘ ต้องติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสงสีแดง จำนวน ๒ ชิ้น มีลักษณะเป็นชิ้นอุปกรณ์หรือรวมอยู่กับโคมไฟของรถรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าที่มียอดแหลมตั้งขึ้น โดยอาจติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสงสีแดงมีลักษณะเป็นชิ้นอุปกรณ์รูปวงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า อย่างใดอย่างหนึ่งเพิ่มเติมอีกจำนวน ๒ ชิ้นก็ได้ (๓) ติดตั้งที่ด้านท้ายรถข้างซ้ายและข้างขวา ในตำแหน่งที่สมมาตรกันโดยเทียบกับแนวกึ่งกลางของรถ มีจำนวนเท่ากันทั้งสองข้าง อุปกรณ์ชิ้นริมสุดห่างจากด้านข้างริมสุดของท้ายรถไม่เกิน ๔๐ เซนติเมตร โดยมีระยะห่างระหว่างอุปกรณ์แต่ละชิ้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (ข) อุปกรณ์สะท้อนแสงด้านข้างรถ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๑ มาตรฐาน ๒ มาตรฐาน ๓ มาตรฐาน ๔ มาตรฐาน ๖ มาตรฐาน ๗ รถขนาดเล็ก รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๑ ลักษณะ ๒ลักษณะ ๓ ลักษณะ ๔ ลักษณะ ๕ ลักษณะ ๙ ที่มีความยาวเกิน ๖ เมตร และรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๕ รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๖ ลักษณะ ๗ ลักษณะ ๘ ต้องติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสงสีเหลืองอำพัน มีลักษณะเป็นชิ้นอุปกรณ์รูปวงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า อย่างใดอย่างหนึ่ง (๒) ติดตั้งที่ด้านข้างของรถทั้งสองข้าง โดยภายในระยะห่างหนึ่งในสามถึงสองในสามของความยาวรถต้องมีอุปกรณ์สะท้อนแสงอย่างน้อย ๑ ชิ้น อุปกรณ์ชิ้นหน้าสุดห่างจากด้านหน้าสุดของรถไม่เกิน ๓ เมตร และอุปกรณ์ชิ้นท้ายสุดห่างจากด้านท้ายสุดของรถไม่เกิน ๑ เมตร (๓) ติดตั้งโดยมีระยะห่างระหว่างอุปกรณ์แต่ละชิ้นตามความยาวรถไม่เกิน ๓ เมตร กรณีรถมีรูปทรงหรือโครงสร้างตัวถังรถที่ไม่สามารถติดตั้งตามตำแหน่งดังกล่าวได้ ให้ติดตั้งโดยมีระยะห่างระหว่างอุปกรณ์แต่ละชิ้นตามความยาวรถไม่เกิน ๔ เมตร (๔) รถที่มีความยาวไม่เกิน ๖ เมตร อาจติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสงจำนวน ๒ ชิ้น ที่ข้างหน้าและข้างท้ายของรถที่ละ ๑ ชิ้น ห่างจากด้านหน้าสุดและท้ายสุดของรถไม่เกินหนึ่งในสามของความยาวรถโดยไม่ต้องมีจำนวนและระยะห่างตาม (๒) ก็ได้ การวัดความยาวรถและตำแหน่งการติดตั้งตาม (๑) - (๔) กรณีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๕ และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๖ ให้วัดความยาวรวมความยาวแขนพ่วงด้วย การติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสงตาม (ก) และ (ข) ให้ติดตั้งสูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๙๐ เซนติเมตร กรณีรถมีรูปทรงหรือโครงสร้างตัวถังรถที่ไม่สามารถติดตั้งตามความสูงดังกล่าวได้ ให้ติดตั้งสูงจากผิวทางไม่เกิน ๑๕๐ เซนติเมตร หรือไม่เกิน ๑๒๐ เซนติเมตร หากเป็นชิ้นอุปกรณ์รวมอยู่กับโคมไฟของรถ ข้อ ๔ การติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสงตามข้อ ๓ ให้เป็นไปตามตัวอย่างในภาคผนวก ก ท้ายประกาศนี้ หมวด ๒ แผ่นสะท้อนแสง ข้อ ๕ แผ่นสะท้อนแสงต้องมีคุณลักษณะและขนาด ดังต่อไปนี้ (๑) ได้รับการรับรองแบบตามระดับ C (Class C) ของข้อกำหนดทางเทคนิคที่แนบท้ายความตกลง ว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์ และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ข้อกำหนดสหประชาชาติที่ ๑๐๔ ว่าด้วยแผ่นสะท้อนแสง อนุกรมที่ ๐๐ (UN Regulation No. ๑๐๔.๐๐) ขึ้นไป (๒) มีเครื่องหมายแสดงการรับรองแบบตาม (๑) ซึ่งแสดงไว้บนแผ่นสะท้อนแสงทุกชิ้น (๓) มีความกว้างอย่างน้อย ๕๐ มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน ๖๐ มิลลิเมตร ข้อ ๖ สี ลักษณะ และตำแหน่งการติดตั้งแผ่นสะท้อนแสง รวมทั้งประเภทและลักษณะของรถที่ต้องมีแผ่นสะท้อนแสง ให้เป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (ก) แผ่นสะท้อนแสงด้านท้ายรถ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๑ ลักษณะ ๒ ลักษณะ ๓ ลักษณะ ๔ ลักษณะ ๕ ที่มีจำนวนเพลาล้อ กงล้อและยาง ตั้งแต่ ๒ เพลา ๔ ล้อ ยาง ๖ เส้น ขึ้นไปและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๖ ลักษณะ ๗ ลักษณะ ๘ ที่มีความกว้างเกิน ๒.๑ เมตร ต้องติดตั้งแผ่นสะท้อนแสง สีแดงหรือสีเหลือง อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ด้านท้ายรถ (๒) ติดตั้งเป็นแนวยาวรอบขอบพื้นผิวด้านท้ายรถ หรืออาจติดตั้งเป็นแนวยาวตามแนวนอนข้างล่าง หากรถมีรูปทรงหรือโครงสร้างตัวถังรถที่ไม่สามารถติดตั้งรอบขอบพื้นผิวด้านท้ายรถได้ ทั้งนี้ ต้องมีระยะห่างจากโคมไฟหยุดของรถอย่างน้อย ๒๐ เซนติเมตร โดยแนวข้างซ้ายและข้างขวาต้องอยู่ใกล้กับด้านข้างริมสุดของท้ายรถให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แนวข้างล่างต้องสูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๕๐ เซนติเมตร แนวข้างบนต้องห่างจากด้านบนสุดของรถไม่เกิน ๔๐ เซนติเมตร โดยความยาวตามแนวนอนของแผ่นสะท้อนแสงไม่รวมส่วนที่เหลื่อมกันต้องมีความยาวอย่างน้อยร้อยละ ๗๐ ของความกว้างรถ (ข) แผ่นสะท้อนแสงด้านข้างรถ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๑ ลักษณะ ๒ ลักษณะ ๓ ลักษณะ ๔ ลักษณะ ๕ ที่มีจำนวนเพลาล้อ กงล้อและยาง ตั้งแต่ ๒ เพลา ๔ ล้อ ยาง ๖ เส้น ขึ้นไป และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๖ ลักษณะ ๗ ลักษณะ ๘ ที่มีความยาวหรือความยาวรวมความยาวแขนพ่วง กรณีรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๖ เกิน ๖ เมตร ต้องติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงสีขาวหรือสีเหลือง อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ด้านข้างของรถทั้งสองข้าง (๒) ติดตั้งเป็นแนวยาวตามแนวนอนข้างล่าง อยู่ใกล้กับด้านหน้าและด้านท้ายรถให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งต้องไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร กรณีรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๖ ไม่ต้องติดตั้งที่แขนพ่วง โดยต้องสูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๕๐ เซนติเมตร หรือไม่เกิน ๒๕๐ เซนติเมตร หากรถมีรูปทรงหรือโครงสร้างตัวถังรถที่ไม่สามารถติดตั้งตามความสูงดังกล่าวได้โดยความยาวตามแนวนอนของแผ่นสะท้อนแสงไม่รวมส่วนที่เหลื่อมกันต้องมีความยาวอย่างน้อยร้อยละ ๗๐ ของความยาวรถ ซึ่งไม่วัดรวมความยาวของแขนพ่วง (๓) ติดตั้งตามแนวนอนและแนวตั้งทำมุม ๙๐ องศา ที่มุมบนข้างหน้าและข้างท้ายของรถมีความยาวด้านละไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร โดยต้องอยู่ใกล้กับมุมบนข้างหน้าและข้างท้ายของรถให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งต้องไม่เกิน ๔๐ เซนติเมตร เมื่อวัดจากด้านบนของรถ (๔) กรณีรถมีรูปทรงหรือโครงสร้างตัวถังรถที่ไม่สามารถติดตั้งตาม (๓) ได้ ให้ติดตั้งเฉพาะตาม (๒) (๕) อาจติดตั้งเป็นแนวยาวรอบขอบพื้นผิวด้านข้างของรถแทนการติดตั้งตาม (๒) และ (๓) ได้โดยตำแหน่งการติดตั้งและความยาวของแผ่นสะท้อนแสงให้เป็นไปตาม (๒) และ (๓) การวัดความยาวของแผ่นสะท้อนแสง ให้วัดความยาวรวมช่องว่างระหว่างแผ่นสะท้อนแสงด้วย โดยให้ถือว่าแผ่นสะท้อนแสงนั้นมีความยาวต่อเนื่องกัน แต่ช่องว่างระหว่างแผ่นสะท้อนแสงต้องมีความยาวไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของความยาวของแผ่นสะท้อนแสงชิ้นที่เล็กที่สุดที่อยู่ชิดติดกัน ข้อ ๗ การติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงตามข้อ ๖ ให้เป็นไปตามตัวอย่างในภาคผนวก ข ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๘ การติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสงตามหมวด ๑ ของประกาศนี้ ให้ใช้บังคับกับรถที่จดทะเบียนใหม่ รถที่มีการเปลี่ยนตัวถัง และรถที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งมีการเปลี่ยนตัวถังแล้วนำมาจดทะเบียนใหม่โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ข้อ ๙ การติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงตามหมวด ๒ ของประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตามเงื่อนเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) รถที่จดทะเบียนใหม่ และรถที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ เป็นต้นไป (๒) รถที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ ที่ยังมิได้ติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงหรือที่ได้ติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงไว้แล้ว แต่มีขนาด และตำแหน่งการติดตั้งไม่เป็นไปตามประกาศนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป (๓) รถที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ และได้ติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงไว้แล้วโดยมีขนาด และตำแหน่งการติดตั้งเป็นไปตามประกาศนี้ แต่มีสีไม่เป็นไปตามประกาศนี้ หรือไม่ได้รับการรับรองแบบตามข้อ ๕ (๑) ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ภาคผนวก ก การติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสงด้านท้ายรถ ๒. ภาคผนวก ข การติดตั้งแผ่นสะท้อนแสง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๒๘/๒๕ เมษายน ๒๕๖๐
774591
ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการระงับใช้รถ และพักใช้ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง พ.ศ. 2560
ประกาศนายทะเบียนกลาง ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการระงับใช้รถ และพักใช้ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๕/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐ ให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกมีอำนาจในการสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนรถ ระงับใช้รถ หรือพักใช้ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง นั้น เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะเป็นไปด้วยความถูกต้องเรียบร้อย และถือปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนกลางจึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งระงับใช้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร สำหรับการประกอบการขนส่งประจำทางภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางระหว่างจังหวัด และการประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ (๑) รองอธิบดี (ฝ่ายบริหาร) กรมการขนส่งทางบก (๒) ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งผู้โดยสาร (๓) หัวหน้าส่วนการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง (๔) หัวหน้าส่วนการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทาง (๕) ขนส่งจังหวัด (๖) หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัด ข้อ ๒ ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งระงับใช้รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ สำหรับการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางระหว่างจังหวัด และการประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ (๑) รองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ) กรมการขนส่งทางบก (๒) ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งสินค้า (๓) หัวหน้าส่วนประกอบการขนส่งสินค้า (๔) ขนส่งจังหวัด (๕) หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัด ข้อ ๓ ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งระงับใช้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ สำหรับการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล (๑) รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก (๒) ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ (๓) หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ (๔) ขนส่งจังหวัด (๕) หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัด ข้อ ๔ ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร สำหรับการประกอบการขนส่งประจำทางภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางระหว่างจังหวัด และการประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ (๑) รองอธิบดี (ฝ่ายบริหาร) กรมการขนส่งทางบก (๒) ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งผู้โดยสาร ข้อ ๕ ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ สำหรับการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางระหว่างจังหวัด และการประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ (๑) รองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ) กรมการขนส่งทางบก (๒) ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งสินค้า ข้อ ๖ ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ สำหรับการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล (๑) รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก (๒) ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ (๓) หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ (๔) ขนส่งจังหวัด (๕) หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัด ข้อ ๗[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๔ ง/หน้า ๒๒/๑๒ เมษายน ๒๕๖๐
774442
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดวางที่นั่งรถตู้โดยสารสาธารณะตามมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดวางที่นั่งรถตู้โดยสารสาธารณะ ตามมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดวางที่นั่งรถตู้โดยสารสาธารณะตามมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ (๒) และ (๓) ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๕/๒๕๖๐ เรื่องมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐ และข้อ ๑ (๒) (ฎ) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดวางที่นั่งรถตู้โดยสารสาธารณะตามมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔ รถที่มีการจัดวางที่นั่งไม่เกิน ๕ แถว (ตอน) ที่จดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ที่มีที่นั่งผู้โดยสารเกิน ๑๓ ที่นั่ง ให้จัดวางที่นั่งผู้โดยสารได้ไม่เกิน ๑๓ ที่นั่ง โดยต้องจัดวางที่นั่งให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ (๑) กรณีที่นั่งแถวหลังสุดเป็นที่นั่งคู่ ให้ถอดที่นั่งคู่ด้านซ้ายออก โดยจะนำที่นั่งเดี่ยวมาติดด้านซ้ายสุดอีก ๑ ที่นั่ง หรือไม่ก็ได้ แต่ต้องมีช่องทางเดิน ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร เพื่อให้ผู้โดยสารใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ (๒) กรณีที่นั่งแถวหลังสุดเป็นที่นั่งไม่เกิน ๓ ที่นั่ง หรือที่นั่งเกินกว่า ๓ ที่นั่ง ให้ปรับปรุงการจัดวางที่นั่งแถวหลังสุดให้มีช่องทางเดิน ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร เพื่อให้ผู้โดยสารใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ รถตามวรรคหนึ่งที่ไม่มีที่เปิดประตูด้านท้ายจากภายในตัวรถ และประตูด้านท้ายมีส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจก ให้ติดตั้งค้อนทุบกระจกเพิ่มเติมในบริเวณใกล้บานกระจกด้านท้าย ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและนำมาใช้งานได้โดยสะดวก เพื่อให้ผู้โดยสารใช้ทุบกระจกและออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุด้วย ในกรณีที่รถมีการจัดวางที่นั่งผู้โดยสารไม่เกิน ๑๓ ที่นั่งอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ โดยที่นั่งแถวหลังสุดเป็นที่นั่ง ๓ ที่นั่ง แต่ไม่มีช่องทางเดินเพื่อให้ผู้โดยสารใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ จะปรับปรุงการจัดวางที่นั่งแถวหลังสุดให้มีช่องทางเดินเช่นเดียวกับรถตามวรรคหนึ่ง หรือในกรณีประตูด้านท้ายของรถดังกล่าวมีส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจก จะปรับปรุงที่นั่งตัวกลางหรือตัวหนึ่งตัวใดแถวหลังสุดให้พนักพิงเบาะหลังเป็นแบบพับไปข้างหน้าหรือปรับเอนไปข้างหลังให้สามารถใช้เป็นทางออกได้ และให้ติดตั้งค้อนทุบกระจกเพิ่มเติมใกล้บานกระจกด้านท้ายในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและนำมาใช้งานได้โดยสะดวก เพื่อให้ผู้โดยสารใช้ทุบกระจกและออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุก็ได้” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๔/๑ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดวางที่นั่งรถตู้โดยสารสาธารณะตามมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐ “ข้อ ๔/๑ รถที่มีการจัดวางที่นั่งมากกว่า ๕ แถว (ตอน) ต้องจัดวางที่นั่งให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ (๑) กรณีที่นั่งแถวหลังสุดเป็นที่นั่งคู่ ให้ถอดที่นั่งคู่ด้านซ้ายออก โดยจะนำที่นั่งเดี่ยวมาติดด้านซ้ายสุดอีก ๑ ที่นั่ง หรือไม่ก็ได้ แต่ต้องมีช่องทางเดิน ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร เพื่อให้ผู้โดยสารใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ (๒) กรณีที่นั่งแถวหลังสุดเป็นที่นั่งไม่เกิน ๓ ที่นั่ง หรือที่นั่งเกินกว่า ๓ ที่นั่ง ให้ปรับปรุงการจัดวางที่นั่งแถวหลังสุดให้มีช่องทางเดิน ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร เพื่อให้ผู้โดยสารใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ รถตามวรรคหนึ่งที่ไม่มีที่เปิดประตูด้านท้ายจากภายในตัวรถ และประตูด้านท้ายมีส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจก ให้ติดตั้งค้อนทุบกระจกเพิ่มเติมในบริเวณใกล้บานกระจกด้านท้าย ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและนำมาใช้งานได้โดยสะดวก เพื่อให้ผู้โดยสารใช้ทุบกระจกและออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุด้วย” ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๙/๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
774050
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทรถและวงเงินที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถ ต้องจัดทำประกันภัยเพิ่มเติมจากกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทรถและวงเงินที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถ ต้องจัดทำประกันภัยเพิ่มเติมจากกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้โดยสารและบุคคลภายนอกที่ประสบภัยอันเนื่องมาจากการใช้รถใช้ถนนโดยเฉพาะการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะให้ได้รับการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๕/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประเภทรถดังต่อไปนี้ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถต้องจัดทำประกันภัยเพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ (๑) รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ก) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๒ และ ๓ ยกเว้นรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๓ ที่มีการจัดวางที่นั่งเป็นลักษณะสองแถว (ข) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง (๒) รถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ก) รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (รถแท็กซี่) (ข) รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (รถสามล้อ) ข้อ ๒ วงเงินความคุ้มครองการจัดทำประกันภัยเพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ของรถตามข้อ ๑ ให้เป็นดังนี้ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๒ และ ๓ (ก) ความเสียหายต่อชีวิตหรือร่างกายของผู้โดยสารและบุคคลภายนอกในวงเงินไม่ต่ำกว่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายต่อคนในแต่ละครั้ง (ข) ความเสียหายต่อทรัพย์สินในวงเงินไม่ต่ำกว่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายในแต่ละครั้ง (๒) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง (ก) ความเสียหายต่อชีวิตหรือร่างกายของผู้โดยสารและบุคคลภายนอกในวงเงินไม่ต่ำกว่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายต่อคนในแต่ละครั้ง (ข) ความเสียหายต่อทรัพย์สินในวงเงินไม่ต่ำกว่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายในแต่ละครั้ง (๓) รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (รถแท็กซี่) (ก) ความเสียหายต่อชีวิตหรือร่างกายของผู้โดยสารและบุคคลภายนอกในวงเงินไม่ต่ำกว่า ๕๐,๐๐๐ บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายต่อคนในแต่ละครั้ง (ข) ความเสียหายต่อทรัพย์สินในวงเงินไม่ต่ำกว่า ๒๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายในแต่ละครั้ง (๔) รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (รถสามล้อ) (ก) ความเสียหายต่อชีวิตหรือร่างกายของผู้โดยสารและบุคคลภายนอกในวงเงินไม่ต่ำกว่า ๒๕,๐๐๐ บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายต่อคนในแต่ละครั้ง (ข) ความเสียหายต่อทรัพย์สินในวงเงินไม่ต่ำกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายในแต่ละครั้ง ข้อ ๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถต้องจัดทำประกันภัยเพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑ และ ๒ ในการเสียภาษีรถประจำปีครั้งถัดไปหลังจากประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ สัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย ต้องมีระยะเวลาความคุ้มครองอย่างน้อยตลอดอายุภาษีรถ ข้อ ๔ ในการจดทะเบียนรถ หรือเสียภาษีรถประจำปี ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถต้องแสดงหลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ พร้อมหลักฐานการจัดให้มีประกันภัยเพิ่มเติมตามประกาศนี้ต่อนายทะเบียนด้วย ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๒๗/๕ เมษายน ๒๕๖๐
774048
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง และหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติผู้ประจำรถ การตรวจสอบสภาพและความพร้อมของรถและผู้ขับรถ และรายงานอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่ง พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง และหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติผู้ประจำรถ การตรวจสอบสภาพและความพร้อมของรถและผู้ขับรถ และรายงานอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๕/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในการใช้รถทำการขนส่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีหรือจัดทำเอกสาร ดังต่อไปนี้ (๑) สมุดประจำรถ (๒) ประวัติผู้ประจำรถ (๓) การตรวจสอบสภาพและความพร้อมของรถและผู้ขับรถ (๔) รายงานอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่ง ข้อ ๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งระหว่างประเทศต้องจัดทำเอกสารตามข้อ ๑ (๑) (๒) (๓) และ (๔) ข้อ ๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล ต้องจัดทำเอกสารตามข้อ ๑ (๑) (๒) และ (๔) ข้อ ๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งส่วนบุคคล และการขนส่งระหว่างประเทศ ต้องจัดทำเอกสารตามข้อ ๑ (๑) (๒) และ (๔) ข้อ ๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดทำสมุดประจำรถให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ควบคุมกำกับดูแลให้ผู้ขับรถซึ่งปฏิบัติหน้าที่ขับรถทำการบันทึกข้อมูลรายการในสมุดประจำรถให้ครบถ้วนถูกต้องอย่างสม่ำเสมอและเก็บไว้ประจำรถทุกคัน (๒) จัดเก็บสมุดประจำรถเล่มเดิมซึ่งได้มีการบันทึกข้อมูลรายการจนเต็มแล้วไว้ ณ ที่ทำการหรือสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นเป็นเวลาอย่างน้อย ๑ ปี แบบสมุดประจำรถตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดทำประวัติผู้ประจำรถให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) จัดทำประวัติผู้ประจำรถซึ่งปฏิบัติหน้าที่กับตนเก็บไว้ ณ ที่ทำการหรือสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตลอดเวลาที่ผู้ประจำรถนั้นปฏิบัติหน้าที่ และแจ้งให้นายทะเบียนที่ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งทราบภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ผู้ประจำรถได้ปฏิบัติหน้าที่กับตน (๒) ปรับปรุงข้อมูลประวัติผู้ประจำรถให้ถูกต้องและครบถ้วนอย่างสม่ำเสมอ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลประวัติผู้ประจำรถจะต้องแจ้งให้นายทะเบียนที่ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งทราบภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว (๓) จัดเก็บข้อมูลประวัติผู้ประจำรถซึ่งพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ในกิจการของตนไว้ ณ ที่ทำการหรือสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเป็นเวลาอย่างน้อย ๑ ปีนับแต่วันที่ผู้ประจำรถนั้นพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ แบบประวัติผู้ประจำรถตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องทำการตรวจสอบสภาพและความพร้อมของรถและผู้ขับรถให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ตรวจสอบสภาพและความพร้อมของรถและผู้ขับรถทุกครั้งก่อนทำการขนส่ง และบันทึกข้อมูลรายการตรวจสอบให้ครบถ้วนและเก็บไว้ประจำรถทุกคัน (๒) จัดเก็บข้อมูลการตรวจสอบสภาพและความพร้อมของรถและผู้ขับรถไว้ ณ ที่ทำการหรือหรือสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นเป็นเวลาอย่างน้อย ๖ เดือน แบบการตรวจสอบสภาพและความพร้อมของรถและผู้ขับรถตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดทำรายงานอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งในกิจการของตน โดยรายงานให้นายทะเบียนที่ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งทราบภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุ เมื่อมีกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (๑) มีผู้เสียชีวิต (๒) มีผู้บาดเจ็บสาหัส (๓) มีความเสียหายของทรัพย์สินที่มีมูลค่าความเสียหายตั้งแต่ ๓๐๐,๐๐๐ บาท ขึ้นไป แบบรายงานอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๙ การจัดทำสมุดประจำรถ และรายการตรวจสอบสภาพและความพร้อมของรถและผู้ขับรถตามประกาศนี้ ให้สามารถจัดทำในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีรายการครบถ้วนตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ได้ด้วย การจัดทำประวัติผู้ประจำรถ และรายงานอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่ง ให้สามารถรายงานโดยวิธีการอื่นแทนวิธีการส่งเอกสารได้ ทั้งนี้ การรายงานโดยวิธีการอื่นที่จะถือว่าเป็นรายงานที่ถูกต้องตามประกาศนี้ก็ต่อเมื่อนายทะเบียนที่ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้รับข้อมูลตามรายการที่กำหนดไว้ในแบบแนบท้ายประกาศอย่างครบถ้วนแล้ว การดำเนินการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดเก็บข้อมูลการดำเนินการไว้สำหรับการตรวจสอบเป็นเวลาอย่างน้อย ๑ ปี ข้อ ๑๐[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป เว้นแต่การจัดทำสมุดประจำรถตามข้อ ๕ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบสมุดประจำรถ ๒. แบบประวัติผู้ประจำรถ ๓. แบบการตรวจสอบสภาพและความพร้อมของรถและผู้ขับรถ ๔. แบบรายงานอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่ง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๒๔/๕ เมษายน ๒๕๖๐
774046
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดวางที่นั่งรถตู้โดยสารสาธารณะตามมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดวางที่นั่งรถตู้โดยสารสาธารณะ ตามมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อเป็นการดำเนินการตามมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ สมควรกำหนดการจัดวางที่นั่งสำหรับรถตู้โดยสารให้มีทางออกไปยังประตูฉุกเฉินเมื่อมีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ (๒) และ (๓) ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๕/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐ และข้อ ๑ (๒) (ก) และ (ฎ) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บรรดาระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในประกาศนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “รถ” หมายความว่า รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร มาตรฐาน ๒ (จ) ที่มีลักษณะเป็นรถตู้โดยสารในประเภทการขนส่งประจำทางและไม่ประจำทาง ข้อ ๓ การจัดวางที่นั่งผู้โดยสารของรถที่จดทะเบียนใหม่ ให้จัดวางได้ไม่เกิน ๑๓ ที่นั่งโดยที่นั่งแถวหลังสุดต้องมีช่องทางเดิน ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร เพื่อให้ผู้โดยสารใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ ข้อ ๔ รถที่จดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ที่มีที่นั่งผู้โดยสารเกิน ๑๓ ที่นั่งให้จัดวางที่นั่งผู้โดยสารได้ไม่เกิน ๑๓ ที่นั่ง โดยต้องจัดวางที่นั่งให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ (๑) กรณีที่นั่งแถวหลังสุดเป็นที่นั่งคู่ ให้ถอดที่นั่งคู่ด้านซ้ายออก โดยจะนำที่นั่งเดี่ยวมาติดด้านซ้ายสุดอีก ๑ ที่นั่ง หรือไม่ก็ได้ แต่ต้องมีช่องทางเดิน ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร เพื่อให้ผู้โดยสารใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ (๒) กรณีที่นั่งแถวหลังสุดเป็นที่นั่งไม่เกิน ๓ ที่นั่ง หรือที่นั่งเกินกว่า ๓ ที่นั่ง ให้ปรับปรุงการจัดวางที่นั่งแถวหลังสุดให้มีช่องทางเดิน ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร เพื่อให้ผู้โดยสารใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ ในกรณีที่รถมีที่นั่งไม่เกิน ๑๓ ที่นั่งอยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่มีช่องทางเดินเพื่อให้ผู้โดยสารใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ ให้ปรับปรุงการจัดวางที่นั่งแถวหลังสุดให้มีช่องทางเดินเช่นเดียวกับรถตามวรรคหนึ่งด้วย ข้อ ๕ ภายใต้บังคับข้อ ๓ และข้อ ๔ รถที่มีประตูทางขึ้นลงที่ด้านซ้ายและด้านขวาของห้องผู้โดยสาร และผู้โดยสารสามารถเปิดประตูเพื่อออกจากรถได้ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ให้ถือว่าประตูทางขึ้นลงที่ด้านขวาเป็นประตูที่ใช้เป็นทางออกฉุกเฉิน โดยจะมีช่องทางเดินเพื่อให้ผู้โดยสารใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ก็ได้ ข้อ ๖ การจัดวางที่นั่งให้เป็นไปตามประกาศนี้ ที่นั่งต้องติดตรึงกับตัวรถอย่างมั่นคงแข็งแรงและมีความปลอดภัยในการใช้งาน ข้อ ๗ ประตูที่ใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้ายของรถ ต้องมีข้อความว่า “ทางออกฉุกเฉิน” เป็นตัวอักษรภาษาไทยสีแดงสะท้อนแสงมีความสูงไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร ติดอยู่เหนือบริเวณที่เปิดปิดประตู หรือบริเวณขอบประตูด้านบนทางออกฉุกเฉินให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ข้อ ๘ การจัดวางที่นั่งอาจจัดวางที่นั่งตามตัวอย่างแนบท้ายประกาศนี้ หรือจะจัดวางที่นั่งแตกต่างไปจากตัวอย่างแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ต้องมีช่องทางเดินตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๓ หรือข้อ ๔ ข้อ ๙ รถที่ดำเนินการตามข้อ ๔ หรือข้อ ๕ แล้ว ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพและแก้ไขรายการทางทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา ที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ ภายในกำหนดระยะเวลาดังนี้ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๒ และ ๓ ภายในวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๐ (๒) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๑ และ ๔ ภายในวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ (๓) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง ภายในวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ ข้อ ๑๐[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตัวอย่างการจัดวางที่นั่งแนบท้ายประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดวางที่นั่งรถตู้โดยสารสาธารณะตามมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๒๒/๕ เมษายน ๒๕๖๐
770917
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ 81 (พ.ศ. 2559) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสงขลา สายที่ 8588 สงขลา - ด่านนอก ให้มีรายละเอียดเส้นทาง แยกช่วงสงขลา - บ้านควนเกาะหมี
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๘๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่ ๘๕๘๘ สงขลา - ด่านนอก ให้มีรายละเอียดเส้นทาง แยกช่วงสงขลา - บ้านควนเกาะหมี[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๗๖ (พ.ศ. ๒๕๕๖) ลงวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่ ๘๕๘๘ สงขลา - ด่านนอก ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๘ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ โดยได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่ ๘๕๘๘ สงขลา - ด่านนอก ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสงขลา - บ้านควนเกาะหมี โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางต่อไปนี้ คือ สายที่ ๘๕๘๘ สงขลา - ด่านนอก เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสงขลา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๗ ถึงแยกน้ำกระจาย ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔ (ถนนลพบุรีราเมศวร์) ผ่านบ้านท่าจีนแยกคลองแห แยกบิ๊กซี ถึงแยกโคกเมา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๓๕ ผ่านแยกสนามบินนอก แยกสนามบินใน โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ถึงแยกทางเข้ากองบิน ๕๖ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สข ๔๐๔๐ ผ่านกองบิน ๕๖ แยกวัดโคกม่วง วัดโคกม่วง วัดปลักคล้า แยกที่ทำการสายตรวจโคกม่วง บ้านมะม่วงหวาน ถึงแยกเขาวังชิง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔๕ ถึงแยกควนสะตอ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านบ้านคลองแงะ บ้านปริก บ้านหัวถนน ที่ว่าการอำเภอสะเดา ที่ทำการด่านศุลกากรสะเดา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางด่านนอก ช่วงสงขลา - บ้านควนเกาะหมี เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสงขลา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๗ ถึงแยกน้ำกระจาย ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔ (ถนนลพบุรีราเมศวร์) ผ่านบ้านท่าจีน แยกคลองแห แยกบิ๊กซี ถึงแยกโคกเมา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๓๕ ผ่านแยกสนามบินนอก แยกสนามบินใน โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ถึงแยกทางเข้ากองบิน ๕๖ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สข ๔๐๔๐ ผ่านกองบิน ๕๖ แยกวัดโคกม่วง วัดโคกม่วง วัดปลักคล้า แยกที่ทำการสายตรวจโคกม่วง บ้านมะม่วงหวาน ถึงแยกเขาวังชิง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔๕ ถึงแยกควนสะตอ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านบ้านคลองแงะ บ้านปริก บ้านหัวถนน ที่ว่าการอำเภอสะเดา แยกซ้ายไปตามถนนไพบูลย์ แยกขวาไปตามถนนลูกเสือ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒๔๓ ผ่านบ้านม่วง โรงเรียนวัดห้วยคู บ้านทุ่งใหญ่ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านควนเกาะหมี ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา เรื่อง ปรับปรุงเส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๘ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๗ ง/หน้า ๓๔/๒ มีนาคม ๒๕๖๐
770913
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ 80 (พ.ศ. 2559) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสงขลา สายที่ 1881 สงขลา - จะนะ - สะบ้าย้อย โดยให้ยกเลิกเส้นทาง แยกช่วงอำเภอจะนะ - วัดแหลมพ้อ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๘๐ (พ.ศ.๒๕๕๙) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่ ๑๘๘๑ สงขลา - จะนะ - สะบ้าย้อย โดยให้ยกเลิกเส้นทาง แยกช่วงอำเภอจะนะ - วัดแหลมพ้อ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๖๘ (พ.ศ. ๒๕๕๖) ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๖ เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่ ๑๘๘๑ สงขลา - จะนะ - สะบ้าย้อย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มอีก ๒ ช่วง คือ ช่วงสงขลา - บ้านทรายขาว และช่วงสงขลา – สี่แยก บ้านแขยง - หาดใหญ่ ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๘ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ โดยได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้ปรับปรุงเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่ ๑๘๘๑ สงขลา - จะนะ - สะบ้าย้อย โดยให้ยกเลิกเส้นทางแยกช่วงอำเภอจะนะ - วัดแหลมพ้อ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๘๘๑ สงขลา - จะนะ - สะบ้าย้อย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสงขลา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๗ (ถนนกาญจนวนิช) ถึงแยกสำโรง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ ผ่านบ้านทุ่งหวัง บ้านควนมีด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘๖ ผ่านอำเภอจะนะ ถึงแยกจะนะ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘๕ ผ่านอำเภอเทพา บ้านป่ากอ บ้านแม่ที บ้านลำไพล แยกลำไพล ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสะบ้าย้อย ช่วงสงขลา - บ้านทรายขาว เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสงขลา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๗ (ถนนกาญจนวนิช) ถึงแยกสำโรง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ ผ่านบ้านทุ่งหวัง บ้านควนมีด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘๖ ผ่านอำเภอจะนะ สถานีรถไฟจะนะ แยกขวาไปตามถนน อบจ.สข. ๒๐๒๐ ผ่านบ้านโครตเค็ต บ้านท่าชะมวง บ้านลางา บ้านท่าล้อ บ้านเกษมรัตน์ แยกขวาไปตามถนน อบจ.สข. ๓๐๓๕ ผ่านบ้านสะพานไม้แก่น วัดสะพานไม้แก่น กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๓๒ ป้อมยาม ม. ๘ แยกขวาไปตามถนนกรมโยธาธิการ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านทรายขาว ช่วงสงขลา - สี่แยกบ้านแขยง - หาดใหญ่ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสงขลา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๗ (ถนนกาญจนวนิช) ถึงแยกสำโรง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ ผ่านบ้านสวนตูล บ้านด่าน บ้านเกาะวา บ้านอ่างทอง บ้านทุ่งหวัง ถึงแยกบ้านแขยง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สข. ๓๐๑๕ ผ่านบ้านต้นเดา บ้านทรายขาว แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สข ๓๐๐๕ ผ่าน บ้านทำเนียบ บ้านหินเกลี้ยง ถึงแยกบ้านนาหลา แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สข. ๓๐๓๑ ถึงวัดเขากลอย แยกขวาไปตามถนน อบจ.สข. ๒๐๘๕ (ถนนปุณณกัณฑ์) ผ่านบ้านทุ่งงาย หมู่บ้านไทยสมุทร โรงเรียน มอ. วิทยานุสรณ์ ประตู ๑๐๙ มอ. ถึงแยกปุณณกัณฑ์ แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนวนิช ผ่านตลาดคลองเรียน วิทยาลัยการอาชีพหลวงประธานราษฎร์นิกร ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหาดใหญ่ แห่งที่ ๑ ประกาศ ณ วนั ที่ ๒๒ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา เรื่อง ปรับปรุงเส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๘ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๗ ง/หน้า ๓๒/๒ มีนาคม ๒๕๖๐
770911
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ 79 (พ.ศ. 2559) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสงขลา สายที่ 1871 หาดใหญ่ - สงขลา
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๗๙ (พ.ศ. ๒๕๕๙) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่ ๑๘๗๑ หาดใหญ - สงขลา[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ลงวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๒๗ เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่ ๑๘๗๑ หาดใหญ่ - สงขลา ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๗ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ โดยได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่ ๑๘๗๑ หาดใหญ่ - สงขลา ให้มีรายละเอียดเส้นทางผ่านหอนาฬิกา โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๘๗๑ หาดใหญ - สงขลา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหาดใหญ่ ไปตามถนนกาญจนวนิช ถึงแยกคลองเรียน แยกซ้ายไปตามถนนศรีภูวนารถ ผ่านห้างสรรพสินค้าไดอาน่าหาดใหญ่ ด่านกักกันสัตว์สงขลา แยกขวาไปตามถนนราษฎร์อุทิศ ถึงแยกสะพานดำ แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม ข้ามสะพานลอยเพชรเกษม แยกซ้าย ไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านตลาดกิมหยง หน้าหอนาฬิกา วงเวียนน้ำพุ แยกคอหงส์ แยกซ้าย ไปตามถนนกาญจนวนิช ผ่านค่ายเสนาณรงค์ สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ ตลาดนัดเกาะหมี บ้านน้ำน้อย บ้านควนหิน บ้านบางดาน บ้านน้ำกระจาย แยกสำโรง ที่ทำการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๓ โรงพยาบาลสงขลา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสงขลา ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา เรื่อง ปรับปรุงเส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๘ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๗ ง/หน้า ๓๐/๒ มีนาคม ๒๕๖๐
770197
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพังงา
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพังงา[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพังงา ในบริเวณที่ดินที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ พง. ๕๐๗ ตำบลถ้ำน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดพังงา เนื้อที่ ๙ - ๐ - ๐๑.๙ ไร่ โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดพังงา (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิมพ์มาดา/ปริยานุช/จัดทำ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๕๘ ง/หน้า ๑๘/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
770125
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ฉบับที่ 52 (พ.ศ. 2559) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดกระบี่ สายที่ 8403 กระบี่ - เขาทอง เป็น กระบี่ - ท่าเลน
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ฉบับที่ ๕๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดกระบี่ สายที่ ๘๔๐๓ กระบี่ – เขาทอง เป็น กระบี่ – ท่าเลน[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ฉบับที่ ๓๒ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๔ จังหวัดกระบี่ สายที่ ๘๔๐๓ กระบี่ – เขาทอง ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ได้พิจารณาเห็นสมควร ให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยตามอำนาจตามความในมาตรา ๒๐(๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ โดยได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดกระบี่ สายที่ ๘๔๐๓ กระบี่ – เขาทอง เป็น กระบี่ – ท่าเลน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๘๔๐๓ กระบี่ – ท่าเลน เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดกระบี่ ไปตามถนนอุตรกิจ ถึงแยกตลาดเก่า แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม) ผ่านบ้านหนองกก บ้านในช่อง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓๓ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท กบ ๑๐๐๓ ผ่านบ้านในสระแยกซ้ายไปตามถนนสายคลองทราย – เขาทอง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าเลน (ท่าเรือ) ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ พินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ พิมพ์มาดา/ปริยานุช/จัดทำ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๕๖/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
770123
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2559) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดกระบี่ สายที่ 1823 กระบี่ - อ่าวลึก เป็น กระบี่ - อ่าวลึก - บ้านนาเหนือ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ฉบับที่ ๕๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดกระบี่ สายที่ ๑๘๒๓ กระบี่ - อ่าวลึก เป็น กระบี่ – อ่าวลึก - บ้านนาเหนือ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๐๗ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ในชนบท (จังหวัดกระบี่) สายที่ ๑๘๒๓ กระบี่ - อ่าวลึก ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ได้พิจารณาเห็นสมควร ให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยตามอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ โดยได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดกระบี่ สายที่ ๑๘๒๓ กระบี่ – อ่าวลึก เป็น กระบี่ – อ่าวลึก – บ้านนาเหนือ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๘๒๓ กระบี่ – อ่าวลึก – บ้านนาเหนือ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดกระบี่ไปตามถนนอุตรกิจ ถึงแยกตลาดเก่า แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม) ผ่านบ้านในช่อง บ้านทุ่ง บ้านคลองหิน ถึงแยกอ่าวลึก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓๙ ถึงบ้านอ่าวลึกใต้ ย้อนกลับตามเส้นทางเดิมถึงแยกอ่าวลึก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม) ผ่านโรงพยาบาลอ่าวลึก โรงเรียนวัดไพรสณฑ์ บ้านเขาล้อม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนาเหนือ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ พินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง ปรับปรุงเส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิมพ์มาดา/ปริยานุช/จัดทำ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๕๔/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
770107
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบสมุดประจำรถ พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบสมุดประจำรถ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดแบบสมุดประจำรถ เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบการปฏิบัติตามเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ขับรถ อันจะทำให้เกิดความปลอดภัยในการขนส่งมากยิ่งขึ้น ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๘ ของกฎกระทรวงการกำหนดประเภทผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ต้องจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติผู้ประจำรถ รายงานการขนส่ง และรายงานอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๙ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศกำหนดแบบสมุดประจำรถโดยให้มีแบบและรายการตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบสมุดประจำรถ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิมพ์มาดา/ปริยานุช/จัดทำ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๕๕ ง/หน้า ๔๘/๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
766088
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] ด้วยปรากฏว่ารถที่ใช้ในการขนส่งประจำทาง ลักษณะรถตู้โดยสาร มีการใช้ความเร็วของรถเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นจำนวนที่สูงกว่ารถลักษณะอื่น อันเป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อให้มาตรการตรวจสอบและกำกับดูแลผู้ขับรถในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้ความเร็วของรถ การมีใบอนุญาตขับรถและชั่วโมงการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมควรกำหนดให้รถที่ใช้ในการขนส่งประจำทางลักษณะรถตู้โดยสาร ต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถให้เร็วขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๑) (ต) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และข้อ ๓ (๑๐) แห่งกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๒ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียน พ.ศ. ๒๕๕๘ “สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๒ ที่มีลักษณะเป็นรถตู้โดยสาร ที่ครบรอบต่ออายุทะเบียนในงวดเดือนมกราคม - มีนาคม ๒๕๖๐ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียนในงวดนี้ และสำหรับรถที่ครบรอบต่ออายุทะเบียนในงวดอื่น ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐” ประกาศ ณ วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก วริญา/ปริยานุช/จัดทำ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๑๕/๑๒ มกราคม ๒๕๖๐
762040
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณสมบัติด้านการลุกไหม้ การลามไฟของวัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในรถโดยสาร พ.ศ. 2559
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณสมบัติด้านการลุกไหม้ การลามไฟของวัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในรถโดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ กำหนดให้วัสดุที่นำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งภายในของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ต้องมีคุณสมบัติในด้านการลุกไหม้ การลามไฟ ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ดังนั้น เพื่อให้วัสดุดังกล่าวมีคุณสมบัติในด้านการลุกไหม้ การลามไฟเป็นไปตามหลักวิศวกรรมยานยนต์ และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ซึ่งจะทำให้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมีความปลอดภัยในการขนส่งมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๔/๒ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (๑) “รถ M๒” หมายความว่า รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีที่นั่งมากกว่า ๘ ที่นั่ง ไม่รวมที่นั่งผู้ขับรถ โดยมีน้ำหนักรวมสูงสุดของรถไม่เกิน ๕,๐๐๐ กิโลกรัม (๒) “รถ M๓” หมายความว่า รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีที่นั่งมากกว่า ๘ ที่นั่ง ไม่รวมที่นั่งผู้ขับรถ โดยมีน้ำหนักรวมสูงสุดของรถเกิน ๕,๐๐๐ กิโลกรัม (๓) “วัสดุ” หมายความว่า สิ่งที่นำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบ หรือการตกแต่งภายในของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถ M๒ และ M๓ ที่เป็นรถปรับอากาศในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งส่วนบุคคล ข้อ ๓ การประกอบเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งภายในของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งต้องใช้วัสดุตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ได้แก่ การประกอบหรือการตกแต่งที่นั่ง ผ้าม่าน ผนัง ที่บุผนัง ที่ปูพื้นและพื้นรถ หมวด ๑ คุณสมบัติด้านการลุกไหม้ การลามไฟของวัสดุ ข้อ ๔ วัสดุที่นำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งภายในของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ต้องมีคุณสมบัติในด้านการลุกไหม้ การลามไฟ ตามมาตรฐานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) มาตรฐานตามข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ข้อกำหนดสหประชาชาติที่ ๑๑๘ ว่าด้วยมาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของวัสดุตกแต่งภายในรถโดยสาร อนุกรมที่ ๐๒ (United Nation Regulation ๑๑๘.๐๒ : The Burning Behaviour and/or The Capability to Repel Fuel or Lubricant of Materials Used in The Construction of Certain Categories of Motor Vehicles ; series ๐๒) ขึ้นไป (๒) มาตรฐานว่าด้วยการลามไฟของวัสดุภายในรถตามข้อกำหนด Federal Motor Vehicle Safety Standards ที่ ๓๐๒ (FMVSS ๓๐๒ : Flammability of Interior Materials) (๓) มาตรฐานว่าด้วยการลามไฟด้านข้างของวัสดุตามข้อกำหนด International Organization for Standardization ที่ ๕๖๕๘ - ๒ : ๒๐๐๖ (ISO ๕๖๕๘ - ๒ : ๒๐๐๖ : Reaction to fire tests - spread of flame - Part ๒ : Lateral spread on building and transport products in vertical configuration) (๔) มาตรฐานอื่น ๆ ที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับ ข้อ ๕ เพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งสามารถเลือกวัสดุที่จะนำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งภายในของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติการเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดวัสดุที่นำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งภายในของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก หมวด ๒ การขอรับความเห็นชอบวัสดุ ข้อ ๖ ผู้ผลิตรถ ผู้สร้างประกอบรถ ผู้นำเข้ารถ ผู้ประกอบการขนส่ง เจ้าของรถ ผู้ผลิตวัสดุผู้จำหน่ายวัสดุหรือผู้นำเข้าวัสดุที่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบวัสดุ ให้ยื่นขอรับความเห็นชอบ ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารทั่วไป (ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามในกรณีเป็นนิติบุคคล (ข) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (๒) เอกสารทางเทคนิค (ก) แบบแสดงข้อมูลรายละเอียดของวัสดุตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๑ (ข) หนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบวัสดุอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ ๗ หรือข้อ ๘ แล้วแต่กรณี (ค) หลักฐานการรับรองระบบคุณภาพการผลิตตามมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ ขึ้นไปหรือหลักฐานการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ หรือหลักฐานการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการรับรองระบบงาน กระทรวงอุตสาหกรรม (National Accreditation Council (NAC)) ด้านการผลิตวัสดุหรือการสร้างประกอบรถของผู้ผลิตวัสดุหรือของผู้ผลิตรถทั้งคัน ข้อ ๗ หนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบวัสดุที่นำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งภายในของรถ M๒ ต้องออกโดยหน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใด ดังนี้ (๑) หนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบจากหน่วยงานทดสอบที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ข้อกำหนดสหประชาชาติที่ ๑๑๘ ว่าด้วยมาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของวัสดุตกแต่งภายในรถโดยสาร อนุกรมที่ ๐๒ (United Nation Regulation ๑๑๘.๐๒ : The Burning Behaviour and/or The Capability to Repel Fuel or Lubricant of Materials Used in The Construction of Certain Categories of Motor Vehicles ; series ๐๒) ขึ้นไป (๒) หนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบตามข้อกำหนด Federal Motor Vehicle Safety Standards ที่ ๓๐๒ ว่าด้วยมาตรฐานการลามไฟของวัสดุภายในรถ (FMVSS ๓๐๒ : Flammability of Interior Materials) จากหน่วยงานทดสอบที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC ๑๗๐๒๕ : ๒๐๐๕ หรือ มอก. ๑๗๐๒๕ - ๒๕๔๘ ขึ้นไป ว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (General requirements for the competence of testing and calibration laboratories) (๓) หนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบตามข้อกำหนด International Organization for Standardization ที่ ๕๖๕๘ - ๒ : ๒๐๐๖ ว่าด้วยมาตรฐานการลามไฟด้านข้างของวัสดุ (ISO ๕๖๕๘ - ๒ : ๒๐๐๖ : Reaction to fire tests - spread of flame - Part ๒ : Lateral spread on building and transport products in vertical configuration) จากหน่วยงานทดสอบที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC ๑๗๐๒๕ : ๒๐๐๕ หรือ มอก. ๑๗๐๒๕ - ๒๕๔๘ ขึ้นไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (General requirements for the competence of testing and calibration laboratories) (๔) หนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบคุณสมบัติของวัสดุตามมาตรฐานในข้อ ๔ ของหน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับให้ทำการทดสอบวัสดุหน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใดดังนี้ (ก) หน่วยงานทดสอบที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC ๑๗๐๒๕ : ๒๐๐๕ หรือ มอก. ๑๗๐๒๕ - ๒๕๔๘ ขึ้นไป ว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (General requirements for the competence of testing and calibration laboratories) (ข) สถาบันการศึกษา หรือสถาบันหรือหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐที่มีห้องปฏิบัติการทดสอบด้านการลามไฟของวัสดุ ข้อ ๘ หนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบวัสดุที่นำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งภายในของรถ M๓ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ (๑) กรณีเป็นวัสดุที่ใช้ในการประกอบหรือการตกแต่งที่นั่งที่ติดตั้งตามแนวราบ ต้องมีหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบตามข้อ ๗ (๑) (๒) หรือ (๔) และกรณีเป็นวัสดุที่ใช้ในการประกอบหรือการตกแต่งที่นั่งที่ติดตั้งตามแนวดิ่ง ต้องมีหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบตามข้อ ๗ (๑) (๓) หรือ (๔) (๒) กรณีเป็นวัสดุที่ใช้ในการประกอบหรือการตกแต่งผ้าม่าน ผนัง หรือที่บุผนัง ต้องมีหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบตามข้อ ๗ (๑) (๓) หรือ (๔) (๓) กรณีเป็นวัสดุที่ใช้ในการประกอบหรือการตกแต่งที่ปูพื้นหรือพื้นรถ ต้องมีหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบตามข้อ ๗ (๑) (๒) หรือ (๔) ข้อ ๙ การขอยกเลิกการได้รับความเห็นชอบวัสดุ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้กรมการขนส่งทางบกทราบ ข้อ ๑๐ ผู้ขอรับความเห็นชอบและผู้ได้รับความเห็นชอบวัสดุ ต้องอำนวยความสะดวกให้แก่อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายเข้าทำการตรวจสอบกระบวนการผลิตวัสดุ ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศนี้ ณ โรงงานผลิตวัสดุหรือโรงงานสร้างประกอบรถ หมวด ๓ การทดสอบวัสดุและเกณฑ์การผ่านการทดสอบ ข้อ ๑๑ การทดสอบวัสดุ เกณฑ์การผ่านการทดสอบ อุปกรณ์และเครื่องมือทดสอบต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแต่ละมาตรฐานตามข้อ ๔ หรือเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๒ หรือภาคผนวก ๓ ข้อ ๑๒ หน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับให้ทำการทดสอบวัสดุ ต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการทดสอบวัสดุด้วย ข้อ ๑๓ ผู้ขอรับความเห็นชอบวัสดุ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการนำวัสดุไปทำการทดสอบตามมาตรฐานต่าง ๆ ณ หน่วยงานทดสอบ หมวด ๔ การผลิตวัสดุ ข้อ ๑๔ วัสดุที่นำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งภายในของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งผลิตตามต้นแบบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก และไม่มีความแตกต่างในสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าวัสดุนั้นได้รับความเห็นชอบวัสดุจากกรมการขนส่งทางบกแล้ว (๑) ชนิด รุ่น แบบ และผู้ผลิต (๒) พื้นที่ บริเวณ ที่นำวัสดุไปประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือตกแต่งภายในรถ (๓) ชนิดหรือประเภทของวัสดุพื้นฐานที่สำคัญ เช่น หนัง ขนสัตว์ พลาสติก ยาง (๔) จำนวนชั้นของวัสดุในกรณีที่ประกอบด้วยวัสดุหลายอย่าง (Composite material) (๕) คุณสมบัติอื่น ๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของวัสดุ ข้อ ๑๕ ผู้ผลิตวัสดุหรือผู้ผลิตรถทั้งคัน ต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ (๑) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตตามมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ ขึ้นไปด้านการผลิตวัสดุหรือการผลิตรถทั้งคัน (๒) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์ และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (๓) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการรับรองระบบงาน กระทรวงอุตสาหกรรม (National Accreditation Council (NAC)) ด้านการผลิตวัสดุหรือการสร้างประกอบรถ ข้อ ๑๖ กรณีหากตรวจพบว่าวัสดุที่ใช้ในการประกอบหรือการตกแต่งภายในของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ กรมการขนส่งทางบกจะไม่ให้ความเห็นชอบรถหรือจะไม่ให้ผ่านการตรวจสภาพรถ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๗ การขอรับความเห็นชอบวัสดุตามประกาศนี้ ให้กระทำได้เมื่อพ้นกำหนด ๑ ปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๑๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถที่จดทะเบียนใหม่ รถที่มีการเปลี่ยนตัวถัง รถที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่ซึ่งมีการเปลี่ยนตัวถัง และรถที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งรถ ซึ่งต้องใช้วัสดุตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป ข้อ ๑๙ กรณีรถจดทะเบียนใหม่ รถที่มีการเปลี่ยนตัวถัง และรถที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่ซึ่งมีการเปลี่ยนตัวถัง ให้ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถแนบหนังสือให้ความเห็นชอบวัสดุที่กรมการขนส่งทางบกออกให้แก่ผู้ได้รับความเห็นชอบวัสดุ และหนังสือรับรองจากผู้ผลิตรถหรือผู้สร้างประกอบรถ ซึ่งรับรองว่าวัสดุที่นำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือตกแต่งภายในรถเป็นวัสดุที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกแล้ว ประกอบการขอรับความเห็นชอบรถหรือการตรวจสภาพรถด้วย แล้วแต่กรณี กรณีรถจดทะเบียนใหม่เป็นรถสำเร็จรูปนำเข้าทั้งคัน ให้ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถแนบหนังสือให้ความเห็นชอบวัสดุที่กรมการขนส่งทางบกออกให้แก่ผู้ได้รับความเห็นชอบวัสดุ และหนังสือรับรองจากผู้นำเข้าหรือผู้แทนจำหน่ายรถ ซึ่งรับรองว่าวัสดุที่นำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือตกแต่งภายในรถ เป็นวัสดุที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกแล้ว ประกอบการขอรับความเห็นชอบรถหรือการตรวจสภาพรถด้วย แล้วแต่กรณี ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองไม่ใช้บังคับกับรถที่ได้รับความเห็นชอบเป็นแบบรถ ข้อ ๒๐ กรณีรถที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งรถซึ่งต้องใช้วัสดุตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถแนบหนังสือให้ความเห็นชอบวัสดุที่กรมการขนส่งทางบกออกให้แก่ผู้ได้รับความเห็นชอบวัสดุ และหนังสือรับรองจากผู้ประกอบเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือผู้ตกแต่งรถ ซึ่งรับรองว่าวัสดุที่นำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือตกแต่งภายในรถ เป็นวัสดุที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกแล้ว ประกอบการขอรับความเห็นชอบรถหรือการตรวจสภาพรถด้วย แล้วแต่กรณี ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ภาคผนวก ๑ แบบแสดงข้อมูลรายละเอียดของวัสดุ ๒. ภาคผนวก ๒ การทดสอบการลามไฟของวัสดุในแนวราบ ๓. ภาคผนวก ๓ การทดสอบการลามไฟของวัสดุในแนวดิ่ง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๖๕ ง/หน้า ๗/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
762020
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ 241 (พ.ศ. 2559) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4จังหวัดนครราชสีมา สายที่ 4415 นครราชสีมา - บ้านหนองประดู่ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง นครราชสีมา - บ้านโพธิ์ เพิ่มอีก 1 ช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ ๒๔๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๔๑๕ นครราชสีมา – บ้านหนองประดู่ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง นครราชสีมา – บ้านโพธิ์ เพิ่มอีก ๑ ช่วง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ ๑๙๗ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๔๑๕ นครราชสีมา - บ้านหนองประดู่ สำหรับการเดินรถในเส้นทางแยกช่วงนครราชสีมา - บ้านสีมุม เป็นนครราชสีมา - บ้านบึงอ้อ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกเพิ่มอีก ๑ ช่วง คือ ช่วงนครราชสีมา - บ้านสำโรง ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ในการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ โดยได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๔๑๕ นครราชสีมา - บ้านหนองประดู่ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครราชสีมา - บ้านโพธิ์ เพิ่มอีก ๑ ช่วง และให้แก้ไขรายละเอียดชื่อถนนให้ถูกต้องตามสภาพข้อเท็จจริงในปัจจุบัน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๔๑๕ นครราชสีมา – บ้านหนองประดู่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกขวาไปตามถนนมุขมนตรี แยกขวาไปตามถนนมุขมนตรี ซอย ๑๒ แยกซ้ายไปตามถนนมิตรภาพ ซอย ๘ แยกขวาไปตามถนนสายบ้านเรียบ - พุดซา ผ่านบ้านคนชุม บ้านละลมโพธิ์ บ้านกล้วย บ้านพุดซา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๘ แยกซ้ายไปตามถนนสายบ้านดอนกระทิง - บ้านเขว้า ผ่านโรงเรียนดอนกระทิง - ศรีษะช้าง บ้านกำปัง บ้านกระเสียว บ้านจอก บ้านหนองแวง บ้านหนองกราด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองประดู่ ช่วงนครราชสีมา – บ้านบึงอ้อ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกขวาไปตามถนนมุขมนตรี แยกขวาไปตามถนนมุขมนตรี ซอย ๑๒ แยกซ้ายไปตามถนนมิตรภาพ ซอย ๘ แยกขวาไปตามถนนสายบ้านเรียบ – พุดซา ถึงบ้านคนชุม แยกซ้ายไปตามถนนสายบ้านสีมุม – บ้านทุ่งกระโดน ผ่านบ้านแปะ ถึงบ้านทุ่งกระโดน ไปตามทางหลวงชนบท (รพช.นม.๓๓๗๖) ผ่านบ้านสีมุม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๘ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านโตนด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านบึงอ้อ ช่วงนครราชสีมา – บ้านสำโรง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกขวาไปตามถนนมุขมนตรี แยกขวาไปตามถนนมุขมนตรี ซอย ๑๒ แยกซ้ายไปตามถนนมิตรภาพ ซอย ๘ แยกขวาไปตามถนนสายบ้านเรียบ – พุดซา ผ่านบ้านคนชุม บ้านละลมโพธิ์ บ้านกล้วย บ้านพุดซา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๘ แยกซ้ายไปตามถนนสายบ้านดอนกระทิง – บ้านเขว้า ผ่านโรงเรียนดอนกระทิง – ศรีษะช้าง บ้านกำปัง บ้านกระเสียว บ้านจอก บ้านหนองแวง ถึงบ้านหนองกราด แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท แยกทางหลวง ๒๐๕ – บ้านสำโรง หมายเลข นม.๓๐๒๓ ผ่านบ้านทรงธรรม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสำโรง ช่วงนครราชสีมา – บ้านโพธิ์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกขวาไปตามถนนมุขมนตรี แยกขวาไปตามถนนมุขมนตรี ซอย ๑๒ แยกซ้ายไปตามถนนมิตรภาพ ซอย ๘ แยกขวาไปตามถนนสายบ้านเรียบ - พุดซา ผ่านบ้านคนชุม บ้านละลมโพธิ์ บ้านกล้วย บ้านพุดซา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๘ แยกซ้ายไปตามถนนสายบ้านดอนกระทิง - บ้านเขว้า ผ่านโรงเรียนดอนกระทิง - ศรีษะช้าง บ้านกำปัง บ้านกระเสียว ถึงบ้านจอก แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท แยกทางหลวง ๒๐๕ - บ้านสำโรง หมายเลข นม.๓๐๒๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น ผ่านบ้านตะกุด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโพธิ์ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ วิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๑๐๒ ง/หน้า ๒๘๕/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
762018
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ 240 (พ.ศ. 2559) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 2 เส้นทาง และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มเติม
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ ๒๔๐ (พ.ศ. ๒๕๕๙) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๒ เส้นทาง และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มเติม[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ ๑๘๖ (พ.ศ. ๒๕๔๕) ลงวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๕ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๑ สามแยกปักธงชัย - สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ให้มีรายละเอียดแยกช่วง สามแยกปักธงชัย - สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล - สนามกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา ฉบับที่ ๑๖๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๒ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๖ บ้านจอหอ - โรงเรียนเทคโนโลยีชนะพลขันธ์นครราชสีมา เป็น บ้านจอหอ - โรงเรียนนครราชสีมาวิทยาลัยและให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกจำนวน ๒ ช่วง ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ และครั้งที่ ๒/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ และได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๙ โดยได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๑ สามแยกปักธงชัย - สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เปลี่ยนชื่อเส้นทางเป็น สามแยกปักธงชัย - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ช่วงสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล - หมู่บ้านสุรนารีวิลเลจ เปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน - หมู่บ้านสุรนารีวิลเลจ ช่วงสามแยกปักธงชัย - สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล - สนามกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา เปลี่ยนชื่อเป็น สามแยกปักธงชัย - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน - สนามกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา และแก้ไขชื่อถนนจากทางหลวงชนบท (ยธ.สายสืบศิริ - ๓๐๔) เป็น ซอยพระพุทธศรีไชยโย และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน - โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัยนครราชสีมา เพิ่มอีก ๑ ช่วง สายที่ ๖ บ้านจอหอ - โรงเรียนนครราชสีมาวิทยาลัย เปลี่ยนชื่อเส้นทางเป็น บ้านจอหอ - โรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้านครราชสีมา ช่วงสวนสุขภาพเทศบาล (ประตูพลแสน) - โรงเรียนนครราชสีมาวิทยาลัย เปลี่ยนชื่อเป็น สวนสุขภาพเทศบาล (ประตูพลแสน) – โรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้านครราชสีมา และแก้ไขชื่อสถานที่จากอนุสรณ์สถานท้าวสุรนารี เป็น อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงบ้านจอหอ - โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัยนครราชสีมา และช่วงอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี - อ่างเก็บน้ำห้วยยาง เพิ่มอีก ๒ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑ สามแยกปักธงชัย - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสามแยกปักธงชัย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓๐ ถึงสำนักงานชลประทานที่ ๖ แยกซ้ายไปตามถนนสืบศิริ ถึงสามแยกวัดใหม่อัมพวัน แยกซ้ายไปตามถนนมุขมนตรี ถึงสี่แยกถนนมิตรภาพ (บ้านหนองจะบก) แล้วกลับตามเส้นทางเดิม ไปตามถนนมุขมนตรี ตรงไปตามถนนโพธิ์กลาง แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนิน แยกขวาอ้อมเข้าถนนชุมพล แยกซ้ายไปตามถนนจอมพล แยกซ้ายไปตามถนนกุด่นั แยกซ้ายไปตามถนนยมราช แยกขวาไปตามถนนประจักษ์ แยกขวาไปตามถนนมิตรภาพ แยกซ้ายไปตามถนนสุรนารายณ์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ไปตามถนนสุรนารายณ์ แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนถึงปลายถนนจอมพล แยกซ้ายไปตามถนนชุมพล แยกขวาไปตามถนนมหาดไทย แยกขวาไปตามถนนราชดำเนิน แยกซ้ายไปตามถนนสุรนารี แยกซ้ายไปตามถนนโยธา แยกขวาไปตามถนนโพธิ์กลาง แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสามแยกปักธงชัย ช่วงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน - หมู่บ้านสุรนารีวิลเลจ เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ไปตามถนนสุรนารายณ์ แยกขวาไปตามถนนมิตรภาพ แยกซ้ายไปตามถนนประจักษ์ แยกขวาไปตามถนนจอมพล แยกซ้ายไปตามถนนชุมพล แยกขวาไปตามถนนมหาดไทย แยกขวาไปตามถนนราชดำเนิน แยกซ้ายไปตามถนนสุรนารี แยกซ้ายไปตามถนนโยธา แยกขวาไปตามถนนโพธิ์กลาง ตรงไปตามถนนมุขมนตรี ถึงสามแยกวัดใหม่อัมพวัน แยกซ้ายไปตามถนนสืบศิริ ผ่านสำนักงานชลประทานที่ ๖ กองบัญชาการช่วยรบที่ ๒ แยกขวาไปตามซอยพระพุทธศรีไชยโย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหมู่บ้านสุรนารีวิลเลจ เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหมู่บ้านสุรนารีวิลเลจ ไปตามซอยพระพุทธศรีไชยโย แยกขวาไปตามถนนหน้าสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สืบศิริ) ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย แยกขวาไปตามซอยร่วมมิตร แยกซ้ายไปตามถนนสืบศิริ แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนถึงปลายถนนโพธิ์กลาง แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนิน แยกขวาอ้อมเข้าถนนชุมพล แยกซ้ายไปตามถนนจอมพล แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ช่วงสามแยกปักธงชัย - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน – สนามกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสามแยกปักธงชัย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓๐ ถึงสำนักงานชลประทานที่ ๖ แยกซ้ายไปตามถนนสืบศิริ ถึงสามแยกวัดใหม่อัมพวัน แยกซ้ายไปตามถนนมุขมนตรี ถึงสี่แยกถนนมิตรภาพ (บ้านหนองจะบก) แล้วกลับตามเส้นทางเดิม ไปตามถนนมุขมนตรี ตรงไปตามถนนโพธิ์กลาง แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนิน แยกขวาอ้อมเข้าถนนชุมพล แยกซ้ายไปตามถนนจอมพล แยกซ้ายไปตามถนนกุดั่น แยกซ้ายไปตามถนนยมราช แยกขวาไปตามถนนประจักษ์ แยกขวาไปตามถนนมิตรภาพ แยกซ้ายไปถามถนนสุรนารายณ์ ถึงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน แยกซ้ายไปตามถนน ๓๐ กันยา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสนามกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสนามกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา ไปตามถนน ๓๐ กันยา ถึงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน แยกขวาไปตามถนนสุรนารายณ์ แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนถึงปลายถนนจอมพล แยกซ้ายไปตามถนนชุมพล แยกขวาไปตามถนนมหาดไทย แยกขวาไปตามถนนราชดำเนิน แยกซ้ายไปตามถนนสุรนารี แยกซ้ายไปตามถนนโยธา แยกขวาไปตามถนนโพธิ์กลาง แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสามแยก ปักธงชัย ช่วงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน - โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัยนครราชสีมา เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ไปตามถนนสุรนารายณ์ แยกขวาไปตามถนนมิตรภาพ แยกซ้ายไปตามถนนประจักษ์ แยกขวาไปตามถนนจอมพล แยกซ้ายไปตามถนนชุมพล แยกขวาไปตามถนนมหาดไทย แยกขวาไปตามถนนราชดำเนิน แยกซ้ายไปตามถนนสุรนารี แยกซ้ายไปตามถนนโยธา แยกขวาไปตามถนนโพธิ์กลาง ตรงไปตามถนนมุขมนตรี ถึงสามแยกวัดใหม่อัมพวัน แยกซ้ายไปตามถนนสืบศิริ แยกขวาไปตามซอยสืบศิริ ๖ ตรงไปตามถนนเลียบนคร ผ่านวัดป่าเล็กสามัคคี แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัยนครราชสีมา เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัยนครราชสีมา แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท แยกขวาไปตามถนนเลียบนคร แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนถึงปลายถนนโพธิ์กลาง แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนิน แยกขวาอ้อมเข้าถนนชุมพล แยกซ้ายไปตามถนนจอมพล แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สายที่ ๖ บ้านจอหอ – โรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้านครราชสีมา เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านจอหอ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ (ถนนสุรนารายณ์) ผ่านบ้านเกาะ บ้านเก่า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกซ้ายไปตามถนนจักรี แยกขวาไปตามถนนอัษฎางค์ แยกซ้ายไปตามถนนชุมพล ถึงอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อ้อมไปตามถนนราชดำเนิน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านสามแยกปักธงชัย โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย โรงเรียนเทคโนโลยีชนะพลขันธ์นครราชสีมา ทางแยกเข้าวิทยาลัยนาฏศิลป์นครราชสีมา แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (นม.๒๐๒๑) ผ่านบ้านโคกเพชร ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้านครราชสีมา เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้านครราชสีมา ไปตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามถนนชุมพล แยกซ้ายไปตามถนนอัษฎางค์ แยกซ้ายไปตามถนนจักรี แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านจอหอ ช่วงสวนสุขภาพเทศบาล (ประตูพลแสน) - โรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้านครราชสีมา เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางสวนสุขภาพเทศบาล (ประตูพลแสน) ไปตามถนนพลแสน แยกซ้ายไปตามถนนจักรี แยกขวาไปตามถนนอัษฎางค์ แยกซ้ายไปตามถนนชุมพล ถึงอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อ้อมไปตามถนนราชดำเนิน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านสามแยกปักธงชัย โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย โรงเรียนเทคโนโลยีชนะพลขันธ์นครราชสีมา ทางแยกเข้าวิทยาลัยนาฏศิลป์นครราชสีมา แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (นม.๒๐๒๑) ผ่านบ้านโคกเพชร ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้านครราชสีมา เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้านครราชสีมา ไปตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามถนนชุมพล แยกซ้ายไปตามถนนพลแสน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางสวนสุขภาพเทศบาล (ประตูพลแสน) ช่วงบ้านบึงพญาปราบ - หมู่บ้านเคหะชุมชนนครราชสีมา เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านบึงพญาปราบ ไปตามทางหลวงชนบท (ยธ.นม.๒๐๑๐) ถึงบ้านเก่า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ (ถนนสุรนารายณ์) แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกซ้ายไปตามถนนจักรี แยกขวาไปตามถนนอัษฎางค์ แยกซ้ายไปตามถนนชุมพล ถึงอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อ้อมไปตามถนนราชดำเนิน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านสามแยกปักธงชัย แยกซ้ายไปตามถนนเข้าหมู่บ้านเคหะชุมชนนครราชสีมา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านเคหะชุมชนนครราชสีมา เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านเคหะชุมชนนครราชสีมา ไปตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามถนนชุมพล แยกซ้ายไปตามถนนอัษฎางค์ แยกซ้ายไปตามถนนจักรี แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านบึงพญาปราบ ช่วงอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี - อ่างเก็บน้ำห้วยยาง เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ไปตามถนนราชดำเนิน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านสามแยกปักธงชัย โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย แยกซ้ายไปตามถนน อบจ. ผ่านบ้านหนองบอน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยยาง เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยยาง ไปตามถนน อบจ. ผ่านสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา บ้านหนองบอน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกขวาไปตามถนนชุมพล ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ช่วงบ้านจอหอ - โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัยนครราชสีมา เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านจอหอ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ (ถนนสุรนารายณ์) ผ่านบ้านเกาะ บ้านเก่า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกซ้ายไปตามถนนจักรี แยกขวาไปตามถนนอัษฎางค์ แยกซ้ายไปตามถนนชุมพล ถึงอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อ้อมไปตามถนนราชดำเนิน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) กลับรถใต้สะพานข้ามทางรถไฟ ถึงโรงแรมสีมาธานี แยกซ้ายไปตามถนนเลียบทางรถไฟ แยกซ้ายข้ามทางรถไฟ แยกขวาไปตามถนนเลียบนคร ผ่านวัดป่าเล็กสามัคคี แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัยนครราชสีมา เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัยนครราชสีมา ไปตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามถนนชุมพล แยกซ้ายไปตามถนนอัษฎางค์ แยกซ้ายไปตามถนนจักรี แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านจอหอ ประกาศ ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ วิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๑๐๒ ง/หน้า ๒๗๙/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
759304
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบึงกาฬ
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบึงกาฬ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบึงกาฬ ในบริเวณที่ดินที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ นค. ๒๐๖ ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ เนื้อที่ ๑๕ ไร่ โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบึงกาฬ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๒๗ ง/หน้า ๓/๗ ตุลาคม ๒๕๕๙
758336
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ข้อยกเว้นสำหรับการขนส่งวัตถุอันตรายในลักษณะหรือปริมาณที่อาจก่อให้เกิดอันตรายน้อย พ.ศ. 2559
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ข้อยกเว้นสำหรับการขนส่งวัตถุอันตรายในลักษณะหรือปริมาณที่อาจก่อให้เกิดอันตรายน้อย พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่กฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การขนส่งวัตถุอันตรายในลักษณะหรือปริมาณที่อาจก่อให้เกิดอันตรายน้อย อาจมีวิธีการและเงื่อนไขในการขนส่งแตกต่างไปจากที่กำหนดได้ ซึ่งเป็นไปตามความตกลงระหว่างประเทศด้านการขนส่งสินค้าอันตรายที่ประเทศไทยเป็นภาคี ได้แก่ กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Inter – State Transport) และความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Cross - Border Transport Agreement) ซึ่งสอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (European Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road (ADR)) อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ ของกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง” หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งไม่ประจำทางหรือการขนส่งส่วนบุคคล ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่นำไปใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ทั้งการขนส่งภายในประเทศและระหว่างประเทศ “หน่วยขนส่ง” (Transport Unit) หมายถึง รถบรรทุกหนึ่งคัน หรือรถลากจูงและรถพ่วง หรือรถกึ่งพ่วงที่ต่อพ่วงกัน “วัตถุอันตราย” หมายถึง วัตถุอันตรายตามประเภทที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ ๔ “ประเภทการขนส่ง” (Transport Category) หมายถึง การแบ่งระดับความเป็นอันตรายตามหมายเลขที่ ADR กำหนด แบ่งได้เป็น ๕ ประเภท เรียงตามลำดับ ได้แก่ ประเภทการขนส่ง ๐ มีระดับความเป็นอันตรายสูงสุด ถึงประเภทการขนส่ง ๔ มีระดับความเป็นอันตรายต่ำสุด ซึ่งกำหนดไว้ในคอลัมน์ (๑๕) ของตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง รายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ “ปริมาณรวมสูงสุดต่อหน่วยขนส่ง” หมายถึง (๑) สำหรับสิ่งของหรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ให้ใช้มวลรวมเป็นกิโลกรัม เว้นแต่สิ่งของที่เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ ๑ ให้ใช้น้ำหนักสุทธิของเนื้อสารที่เป็นวัตถุระเบิดเป็นกิโลกรัม สำหรับวัตถุอันตรายที่อยู่ในเครื่องจักรและอุปกรณ์ ให้ใช้ปริมาณรวมของวัตถุอันตรายที่บรรจุอยู่ภายในเป็นกิโลกรัมหรือลิตร ขึ้นอยู่กับสภาพของวัตถุอันตรายที่บรรจุ (๒) สำหรับของแข็ง ก๊าซเหลว ก๊าซเหลวอุณหภูมิต่ำ และก๊าซในสารละลาย ให้ใช้น้ำหนักสุทธิเป็นกิโลกรัม (๓) สำหรับของเหลวให้ใช้ปริมาณรวมที่บรรจุเป็นลิตร (๔) สำหรับก๊าซภายใต้แรงดัน และสารเคมีภายใต้ความดัน ให้ใช้ความจุตามที่ระบุไว้บนภาชนะปิดเป็นลิตร ข้อ ๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ทำการขนส่งวัตถุอันตรายในหนึ่งหน่วยขนส่งที่มีปริมาณการขนส่งไม่เกินปริมาณรวมสูงสุดตามที่กำหนดดังต่อไปนี้ ต้องจัดให้มีเอกสารกำกับการขนส่งโดยให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทำเอกสารการขนส่งอื่นตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ (๑) ประเภทการขนส่ง ๑ ในคอลัมน์ (๑๕) ของตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง รายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่มีปริมาณรวมสูงสุดต่อหน่วยขนส่งไม่เกินกว่า ๒๐ ยกเว้นวัตถุอันตรายหมายเลขสหประชาชาติ ๐๐๘๑, ๐๐๘๒, ๐๐๘๔, ๐๒๔๑, ๐๓๓๑, ๐๓๓๒, ๐๔๘๒, ๑๐๐๕ และ ๑๐๑๗ ที่มีปริมาณรวมสูงสุดต่อหน่วยขนส่งไม่เกินกว่า ๕๐ (๒) ประเภทการขนส่ง ๒ ในคอลัมน์ (๑๕) ของตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง รายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่มีปริมาณรวมสูงสุดต่อหน่วยขนส่งไม่เกินกว่า ๓๓๓ (๓) ประเภทการขนส่ง ๓ ในคอลัมน์ (๑๕) ของตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง รายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่มีปริมาณรวมสูงสุดต่อหน่วยขนส่งไม่เกินกว่า ๑,๐๐๐ (๔) ประเภทการขนส่ง ๔ ในคอลัมน์ (๑๕) ของตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง รายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่มีปริมาณรวมสูงสุดต่อหน่วยขนส่งไม่จำกัด (๕) ในกรณีทำการขนส่งวัตถุอันตรายต่างประเภทการขนส่งไปด้วยกันบนหน่วยขนส่งเดียวกัน ให้คำนวณปริมาณของวัตถุอันตรายแต่ละประเภทการขนส่งตามที่ได้กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ ซึ่งปริมาณรวมสูงสุดต่อหน่วยขนส่งต้องไม่เกิน ๑,๐๐๐ (ก) ปริมาณรวมของวัตถุอันตรายในประเภทการขนส่ง ๑ คูณด้วย ๕๐ เว้นแต่วัตถุอันตรายหมายเลขสหประชาชาติ ๐๐๘๑, ๐๐๘๒, ๐๐๘๔, ๐๒๔๑, ๐๓๓๑, ๐๓๓๒, ๐๔๘๒, ๑๐๐๕ และ ๑๐๑๗ ให้คูณด้วย ๒๐ (ข) ปริมาณรวมของวัตถุอันตรายในประเภทการขนส่ง ๒ คูณด้วย ๓ (ค) ปริมาณรวมของวัตถุอันตรายในประเภทการขนส่ง ๓ (๖) การขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภทการขนส่งและมีปริมาณรวมสูงสุดต่อหน่วยขนส่งไม่เกินปริมาณรวมสูงสุดที่กำหนดไว้ท้ายประกาศ ข้อ ๓ การขนส่งวัตถุอันตรายที่บรรจุในปริมาณที่จำกัดหรือปริมาณน้อยต่อหนึ่งบรรจุภัณฑ์ภายใน (Limited Quantity) ที่มีการติดเครื่องหมายการบรรจุในปริมาณที่จำกัดตามรูปแบบ (๑) หรือ (๒) ที่หีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์ภายนอกที่บรรจุวัตถุอันตราย ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้รับการยกเว้น ไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมการขนส่งทางบกที่ออกตามกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน พ.ศ. ๒๕๕๘ แต่สำหรับหีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์ที่บรรทุกรวมกันมีน้ำหนักเกินกว่า ๘,๐๐๐ กิโลกรัมต่อหน่วยขนส่ง และหน่วยขนส่งมีน้ำหนักรวมสูงสุดเกินกว่า ๑๒,๐๐๐ กิโลกรัม ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องแสดงเครื่องหมายตามรูปแบบ (๑) ที่มีความยาวด้านละไม่น้อยกว่า ๒๕๐ มิลลิเมตร ที่ด้านหน้าและด้านท้ายของหน่วยขนส่ง หรือ (๑) (๒) ข้อ ๔ การขนส่งวัตถุอันตรายตามประกาศนี้ ให้ผู้ขับรถได้รับยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ปริมาณรวมสูงสุดต่อหน่วยขนส่งที่ได้รับยกเว้นตามประกาศ ข้อ ๒ (๖) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๐๙ ง/หน้า ๔๖/๑๙ กันยายน ๒๕๕๙
758334
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดทำและรายงานข้อมูลอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2559
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดทำและรายงานข้อมูลอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่กฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่นำไปใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายต้องจัดทำและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตรายหรือรายงานอื่น เพื่อให้การขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน เป็นไปตามความตกลงระหว่างประเทศด้านการขนส่งสินค้าอันตรายที่ประเทศไทยเป็นภาคี ได้แก่ กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Inter - State Transport) และความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Cross – Border Transport Agreement) ซึ่งสอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (European Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road (ADR)) อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๑๐) ของกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศกำหนดการจัดทำและรายงานข้อมูลอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งวัตถุอันตรายไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง” หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งไม่ประจำทางหรือการขนส่งส่วนบุคคล ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่นำไปใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ทั้งการขนส่งภายในประเทศและระหว่างประเทศ “วัตถุอันตราย” หมายถึง วัตถุอันตรายตามประเภทที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ ๔ “ประเภทการขนส่ง” (Transport Category) หมายถึง การแบ่งระดับความเป็นอันตรายตามหมายเลขที่ ADR กำหนด แบ่งได้เป็น ๕ ประเภท เรียงตามลำดับ ได้แก่ ประเภทการขนส่ง ๐ มีระดับความเป็นอันตรายสูงสุด ถึงประเภทการขนส่ง ๔ มีระดับความเป็นอันตรายต่ำสุด ซึ่งกำหนดไว้ในคอลัมน์ (๑๕) ของตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง รายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดทำและรายงานข้อมูลอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งวัตถุอันตราย หากมีการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการขนส่งที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยใช้เกณฑ์การพิจารณาการได้รับบาดเจ็บอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์เป็นพิเศษ หรือเป็นผู้ป่วยหนัก (ข) ต้องพักในโรงพยาบาลอย่างน้อย ๑ คืน (ค) ต้องหยุดงานติดต่อกันอย่างน้อย ๓ วัน (๒) มีการรั่วไหลของวัตถุอันตรายดังนี้ (ก) วัตถุอันตรายในประเภทย่อยที่ ๖.๒ สารติดเชื้อ (ข) วัตถุอันตรายในประเภทการขนส่ง ๐ หรือ ๑ มีการรั่วไหลออกมามากกว่า ๕๐ ลิตร หรือ ๕๐ กิโลกรัม ขึ้นไป (ค) วัตถุอันตรายในประเภทการขนส่ง ๒ มีการรั่วไหลออกมามากกว่า ๓๓๓ ลิตร หรือ ๓๓๓ กิโลกรัม ขึ้นไป (ง) วัตถุอันตรายในประเภทการขนส่ง ๓ หรือ ๔ มีการรั่วไหลออกมามากกว่า ๑,๐๐๐ ลิตร หรือ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม ขึ้นไป (จ) การรั่วไหลของวัตถุอันตรายไม่ว่าประเภทใดหรือปริมาณเท่าใดก็ตามที่ทำให้ทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อมได้รับความเสียหาย โดยมีมูลค่าความเสียหายตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด (๓) มีหน่วยกู้ภัย หน่วยงานบรรเทาสาธารณภัย หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการระงับเหตุเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่เกิดเหตุ และต้องอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ หรือต้องปิดทางสาธารณะเป็นระยะเวลาเกินกว่า ๓ ชั่วโมง ข้อ ๓ การรายงานข้อมูลอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งวัตถุอันตรายตามข้อ ๒ ให้รายงานต่อกรมการขนส่งทางบกตามระยะเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีตามข้อ ๒ (๑) และข้อ ๒ (๒) (ข) (ค) (ง) (จ) และข้อ ๒ (๓) ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุ (๒) กรณีตามข้อ ๒ (๒) (ก) ทันทีที่เกิดอุบัติเหตุ แบบการรายงานข้อมูลอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งวัตถุอันตรายให้เป็นไปตามที่กำหนดท้ายประกาศ ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายงานข้อมูลอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งวัตถุอันตราย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๐๙ ง/หน้า ๔๔/๑๙ กันยายน ๒๕๕๙
758332
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2559
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่กฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่นำไปใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายต้องจัดให้มีเอกสารการขนส่งและต้องมีเอกสารดังกล่าวอยู่ในรถตลอดการขนส่ง เพื่อให้การขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน เป็นไปตามความตกลงระหว่างประเทศด้านการขนส่งสินค้าอันตรายที่ประเทศไทยเป็นภาคี ได้แก่ กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Inter - State Transport) และความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Cross - Border Transport Agreement) ซึ่งสอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (European Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road (ADR)) อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๓) ของกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง” หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งไม่ประจำทางหรือการขนส่งส่วนบุคคล ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่นำไปใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ทั้งการขนส่งภายในประเทศและระหว่างประเทศ “วัตถุอันตราย” หมายถึง วัตถุอันตรายตามประเภทที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ ๔ “ตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย” หมายถึง รายชื่อวัตถุอันตราย ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง รายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ “บรรจุภัณฑ์ที่ใช้กอบกู้” หมายถึง บรรจุภัณฑ์พิเศษที่นำไปใช้บรรจุหีบห่อของวัตถุอันตรายที่ชำรุดบกพร่อง หรือมีการรั่วไหล หรือบรรจุวัตถุอันตรายที่หกหรือรั่วไหล เพื่อใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายไปกำจัดทิ้ง ข้อ ๒ เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีขณะทำการขนส่งวัตถุอันตรายมี ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารกำกับการขนส่ง หรือเอกสารอื่นที่ให้ข้อมูลรายละเอียดของวัตถุอันตรายที่ขนส่งครบถ้วนตามประกาศนี้ (๒) เอกสารข้อแนะนำเป็นลายลักษณ์อักษรที่แสดงข้อปฏิบัติในกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน ลักษณะความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายแต่ละประเภทและข้อปฏิบัติเบื้องต้น และรายการอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นหรือที่ใช้สำหรับป้องกันอันตรายเมื่อมีอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น (๓) หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ทั้งนี้ เฉพาะกรณีการใช้รถตามข้อ ๗ เว้นแต่กรณีการขนส่งในลักษณะหรือปริมาณที่อาจก่อให้เกิดอันตรายน้อยตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ข้อยกเว้นสำหรับการขนส่งวัตถุอันตรายในลักษณะหรือปริมาณที่อาจก่อให้เกิดอันตรายน้อย พ.ศ. ๒๕๕๙ ให้ได้รับยกเว้น (๔) หนังสือรับรองผ่านการอบรมหลักสูตรการขับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายของผู้ขับรถ (๕) เอกสารระบุตัวตนของผู้ขับรถที่ทางราชการออกให้ ข้อ ๓ ในการขนส่งวัตถุอันตรายภายในประเทศ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดทำเอกสารการขนส่งเป็นภาษาไทย เว้นแต่เป็นรายละเอียดข้อมูลจำเพาะที่ต้องระบุเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ภาษาอังกฤษแทนได้ ทั้งนี้ หากเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ ต้องจัดทำเอกสารการขนส่งเป็นภาษาอังกฤษด้วย โดยจะจัดทำเพิ่มเติมเป็นอีกหนึ่งฉบับ หรือจะจัดทำเป็นสองภาษาในฉบับเดียวกันก็ได้ ข้อ ๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีเอกสารกำกับการขนส่งหรือเอกสารอื่นที่ให้ข้อมูลรายละเอียดของวัตถุอันตรายที่ขนส่งไว้ประจำรถ ซึ่งมีรายละเอียดและการแสดงข้อมูลของวัตถุอันตรายที่ขนส่ง ดังต่อไปนี้ (๑) รายละเอียดข้อมูล (ก) หมายเลขสหประชาชาติของวัตถุอันตราย (UN Number) โดยมีตัวอักษรภาษาอังกฤษคำว่า “UN” นำหน้า (ข) ชื่อที่ถูกต้องในการขนส่งของวัตถุอันตราย และในกรณีวัตถุอันตรายนั้นมีข้อกำหนดพิเศษหมายเลข ๒๗๔ ปรากฏในคอลัมน์ (๖) ของตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ให้ใส่ชื่อทางเทคนิคหรือชื่อทางเคมีด้วย (ค) หมายเลขรูปแบบฉลากหรือป้ายของวัตถุอันตรายที่เป็นความเสี่ยงหลัก และความเสี่ยงรองในวงเล็บ (ถ้ามี) ตามที่ปรากฏในคอลัมน์ (๕) ของตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ง) กลุ่มการบรรจุของวัตถุอันตราย (ถ้ามี) ตามที่ปรากฏในคอลัมน์ (๔) ของตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (จ) รหัสการขับรถผ่านอุโมงค์ (กรณีเส้นทางที่ใช้ทำการขนส่งมีการขับรถผ่านอุโมงค์) (ฉ) ชนิดและจำนวนของภาชนะบรรจุ (ช) ปริมาณรวมของวัตถุอันตรายแต่ละหมายเลขสหประชาชาติ (เป็นปริมาตรหรือน้ำหนักรวมหรือน้ำหนักสุทธิ แล้วแต่กรณี) (ซ) ชื่อและที่อยู่ของผู้ส่ง (ฌ) ชื่อและที่อยู่ของผู้รับ (๒) การแสดงข้อมูลตาม (๑) ให้เรียงตามลำดับข้อ เว้นแต่ (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ให้สลับตำแหน่งกันได้ (๓) การขนส่งของเสียอันตราย ให้เพิ่มคำว่า “ของเสีย” (WASTE) ระหว่างหมายเลขสหประชาชาติกับชื่อที่ถูกต้องในการขนส่งของวัตถุอันตราย (๔) ภาชนะบรรจุที่ผ่านการใช้งานหรือถ่ายสารออกแล้ว แต่ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด ให้เพิ่มคำว่า “ภาชนะเปล่ายังไม่ได้ทำความสะอาด” (EMPTY UNCLEANED) หรือ “มีสารเดิมตกค้างอยู่” (RESIDUE LAST CONTAINED) ก่อนหมายเลขสหประชาชาติของวัตถุอันตราย หรือต่อท้ายรหัสการขับรถผ่านอุโมงค์ (๕) การขนส่งวัตถุอันตรายที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ให้เพิ่มคำว่า “อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม” (ENVIRONMENTALLY HAZARDOUS) ต่อท้ายรหัสการขับรถผ่านอุโมงค์ (๖) การใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้กอบกู้ ให้เพิ่มคำว่า “บรรจุภัณฑ์ที่ใช้กอบกู้” (SALVAGE PACKAGING) ต่อท้ายรหัสการขับรถผ่านอุโมงค์ (๗) การขนส่งของเหลวในแท็งก์ (แท็งก์ติดตรึงกับตัวรถหรือแท็งก์คอนเทนเนอร์) ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ๑๐๐ องศาเซลเซียส หรือของแข็งในแท็งก์ (แท็งก์ติดตรึงกับตัวรถหรือแท็งก์คอนเทนเนอร์) ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ๒๔๐ องศาเซลเซียส ให้เพิ่มคำว่า “อุณหภูมิสูง” (ELEVATED TEMPERATURE) หรือ “หลอมละลาย” (MOLTEN) หรือ “ร้อน” (HOT) ก่อนชื่อที่ถูกต้องในการขนส่งของวัตถุอันตรายหากไม่ปรากฏ คำดังกล่าวในชื่อที่ถูกต้องในการขนส่ง ตัวอย่างการแสดงข้อมูลวัตถุอันตรายในเอกสารกำกับการขนส่งตามข้อ ๔ ข้อย่อย (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) ข้อกำหนดพิเศษ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) UN 2924 UN 1193 UN 1098 UN 1133 UN 1203 UN 3257 FLAMMABLE LIQUID, CORROSIVE, N.O.S. (ethanol/acetic acid) WASTE FLAMMABLE LIQUID, N.O.S. (toluene and ethyl alcohol) ALLYL ALCOHOL ADHESIVES GASOLINE ELEVATED TEMPERATURE LIQUID, N.O.S. (Asphalt, oxidised) 3(8) 3 6.1(3) 3 3 9 II II I II II III (D/E) (D/E) (C/D) (D/E) (D/E) (D) EMPTY, UNCLEANED ENVIRONMENTALLY HAZARDOUS SALVAGE PACKAGING ภาชนะบรรจุที่ผ่านการใช้งานหรือถ่ายสารออกแล้วแต่ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด ต้องมีเอกสารกำกับการขนส่งตามวรรคหนึ่งไว้ประจำรถด้วย เอกสารกำกับการขนส่งให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศ หรือแบบอื่นที่มีข้อมูลและการแสดงข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ต้องเก็บสำเนาเอกสารกำกับการขนส่งไว้อย่างน้อย ๓ เดือน โดยหากจัดเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ ต้องสามารถพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารได้ทันทีเมื่อมีการเรียกตรวจจากเจ้าหน้าที่ ข้อ ๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ต้องจัดให้มีเอกสารข้อแนะนำเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ประจำรถ ซึ่งมีรายละเอียดตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศ ข้อ ๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ซึ่งใช้รถตามลักษณะดังต่อไปนี้ต้องแนบหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบรถ ตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด (๑) รถขนส่งของเหลวไวไฟที่มีจุดวาบไฟไม่เกินกว่า ๖๐ องศาเซลเซียส หรือขนส่งก๊าซไวไฟ (Flammable : FL) ดังนี้ (ก) รถที่ติดตั้งแท็งก์ติดตรึง รถที่ติดตั้งแท็งก์ยึดติดไม่ถาวร (Demountable Tanks) และรถที่ติดตั้งภาชนะบรรจุก๊าซแบบแบตเตอรี่ (Battery Vehicle) ที่มีความจุเกินกว่า ๑,๐๐๐ ลิตร (ข) รถที่บรรทุกแท็งก์คอนเทนเนอร์ รถที่บรรทุกแท็งก์ที่ยกและเคลื่อนย้ายได้ และรถที่บรรทุกภาชนะบรรจุก๊าซแบบกลุ่ม (Multiple Element Gas Container : MEGC) ที่มีความจุเกินกว่า ๓,๐๐๐ ลิตร (๒) รถขนส่งไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Oxidizing : OX) ซึ่งเป็นรถที่ขนส่งวัตถุอันตรายประเภทย่อยที่ ๕.๑ หมายเลขสหประชาชาติ ๒๐๑๕ ด้วยแท็งก์ติดตรึงกับตัวรถ หรือแท็งก์ที่ยึดติดไม่ถาวร ที่มีความจุเกินกว่า ๑,๐๐๐ ลิตร และรถที่บรรทุกแท็งก์คอนเทนเนอร์หรือรถที่บรรทุกแท็งก์ที่ยกและเคลื่อนย้ายได้ ที่มีความจุเกินกว่า ๓,๐๐๐ ลิตร (๓) รถขนส่งวัตถุอันตรายประเภทอื่น ๆ (AT) ซึ่งรถที่ใช้ในการขนส่งและภาชนะบรรจุเป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน (๑) และ (๒) (๔) รถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุระเบิดดังนี้ (ก) รถขนส่งวัตถุระเบิดที่มีความเป็นอันตรายสูง (EX/II) (ข) รถขนส่งวัตถุระเบิดที่มีความเป็นอันตรายสูงมาก (EX/III) (ค) รถที่ติดตั้งหน่วยผลิตวัตถุระเบิดเคลื่อนที่ (Mobile Explosive Manufacturing Unit : MEMU) หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบรถตามวรรคหนึ่งให้มีอายุไม่เกิน ๑ ปี นับแต่วันออกหนังสือรับรอง โดยให้ต่ออายุหนังสือรับรองได้ล่วงหน้าไม่เกิน ๑ เดือน หรือหลังจากหนังสือรับรองสิ้นอายุไม่เกิน ๑ เดือน ข้อ ๘ ผู้ขับรถต้องมีหนังสือรับรองผ่านการอบรมหลักสูตรการขับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายจากกรมการขนส่งทางบก ซึ่งตรงกับลักษณะรถหรือประเภทวัตถุอันตรายที่ทำการขนส่ง อยู่กับตัวตลอดเวลาที่ทำการขนส่ง ข้อ ๙ ผู้ขับรถต้องมีเอกสารระบุตัวตนที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ไว้อยู่กับตัวตลอดเวลาที่ทำการขนส่ง เช่น ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง และพร้อมแสดงเอกสารดังกล่าวเมื่อมีการเรียกตรวจจากเจ้าหน้าที่ ข้อ ๑๐ ผู้ขับรถต้องศึกษาและทำความเข้าใจในเอกสารข้อแนะนำเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องจัดเก็บเอกสารดังกล่าวไว้ในที่ที่สามารถนำมาใช้งานได้โดยสะดวก ข้อ ๑๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้ (๑) การจัดให้มีเอกสารกำกับการขนส่งตามข้อ ๔ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (๒) การจัดให้มีหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบรถตามข้อ ๗ และหนังสือรับรองผ่านการอบรมหลักสูตรการขับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายตามข้อ ๘ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเอกสารกำกับการขนส่ง ๒. รายละเอียดของเอกสารข้อแนะนำเป็นลายลักษณ์อักษร ๓. หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่นำไปใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๐๙ ง/หน้า ๓๙/๑๙ กันยายน ๒๕๕๙
758330
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขนถ่าย การจัดวาง การผูกรัด การติดตรึง และการบรรทุก พ.ศ. 2559
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขนถ่าย การจัดวาง การผูกรัด การติดตรึง และการบรรทุก พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่กฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่นำไปใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายต้องตรวจสอบความถูกต้องของการขนถ่าย การจัดวาง การผูกรัด การติดตรึง และการบรรทุกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด เพื่อให้การขนส่งวัตถุอันตรายทางถนนของผู้ประกอบการขนส่งทั้งในประเทศและระหว่างประเทศเป็นไปด้วยความปลอดภัยและเป็นไปตามความตกลงระหว่างประเทศด้านการขนส่งสินค้าอันตรายที่ประเทศไทยเป็นภาคี ได้แก่ กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Inter - State Transport) และความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Cross - Border Transport Agreement) ซึ่งสอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (European Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road (ADR)) อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๗) ของกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทย” หมายถึง ข้อกำหนดตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (European Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road (ADR)) ฉบับปี ค.ศ. ๒๐๑๑ “ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง” หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งไม่ประจำทางหรือการขนส่งส่วนบุคคล ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่นำไปใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ทั้งการขนส่งภายในประเทศและระหว่างประเทศ “หน่วยขนส่ง” (Transport Unit) หมายถึง รถบรรทุกหนึ่งคัน หรือรถลากจูงและรถพ่วง หรือรถกึ่งพ่วงที่ต่อพ่วงกัน “วัตถุอันตราย” หมายถึง วัตถุอันตรายตามประเภทที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ ๔ “กลุ่มการบรรจุ” (Packing Group) หมายถึง ระดับความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายบางประเภท แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ดังต่อไปนี้ (๑) กลุ่มการบรรจุที่ I หมายถึง วัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายสูง (๒) กลุ่มการบรรจุที่ II หมายถึง วัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายปานกลาง (๓) กลุ่มการบรรจุที่ III หมายถึง วัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายต่ำ “ภาชนะบรรจุ” หมายถึง ภาชนะที่มีลักษณะปิดและทำหน้าที่กักเก็บวัตถุอันตรายอย่างปลอดภัย ทั้งนี้ รูปแบบของภาชนะบรรจุเป็นไปตามลักษณะและสถานะของวัตถุอันตรายที่ทำการบรรจุ เช่น (๑) “หีบห่อ” (Package) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีการบรรจุเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งรวมถึงบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ไอบีซีหรือบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ และสินค้าที่บรรจุอยู่ภายในซึ่งพร้อมนำส่ง โดยให้หมายความรวมถึงภาชนะบรรจุก๊าซและสิ่งของที่มีขนาด มวลหรือลักษณะ ซึ่งสามารถขนส่งโดยไม่ต้องมีการบรรจุหีบห่อหรือขนส่งโดยวางไว้บนแคร่ ในลังโปร่งหรือในอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนถ่ายอื่น ๆ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสี วัตถุอันตรายที่ทำการขนส่งแบบเทกองหรือในแท็งก์ (๒) “บรรจุภัณฑ์” (Packaging) หมายถึง ภาชนะบรรจุหนึ่งชิ้นหรือหลายชิ้น รวมถึงส่วนประกอบหรือวัสดุที่จำเป็นสำหรับทำหน้าที่กักเก็บวัตถุอันตราย และทำหน้าที่ด้านความปลอดภัย (๓) “บรรจุภัณฑ์ไอบีซี” (Intermediate Bulk Container : IBC) หมายถึง บรรจุภัณฑ์ที่ยกและเคลื่อนย้ายได้ มีลักษณะคงรูปหรือยืดหยุ่น มีความจุขึ้นอยู่กับกลุ่มการบรรจุและสถานะของวัตถุอันตราย ผ่านการออกแบบให้ขนถ่ายได้ด้วยอุปกรณ์ทางกล ผ่านการทดสอบความทนทานต่อความเค้นที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายและการขนส่งตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนน (๔) “บรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่” (Large Packaging) หมายถึง บรรจุภัณฑ์ที่ประกอบด้วยบรรจุภัณฑ์ภายนอก ซึ่งมีสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ภายในบรรจุอยู่ ผ่านการออกแบบให้ยกหรือเคลื่อนย้ายได้ด้วยอุปกรณ์ทางกล และมีน้ำหนักสุทธิมากกว่า ๔๐๐ กิโลกรัม หรือมีความจุมากกว่า ๔๕๐ ลิตร แต่มีปริมาตรไม่เกินกว่า ๓ ลูกบาศก์เมตร (๕) “ภาชนะบรรจุขนาดใหญ่” (Large Container) หมายถึง ภาชนะบรรจุที่มีพื้นที่ ซึ่งเมื่อวัดจากมุมนอกด้านล่างทั้งสี่มุมแล้วมีพื้นที่อย่างน้อย ๑๔ ตารางเมตร หรืออย่างน้อย ๗ ตารางเมตร หากเชื่อมต่อกับมุมนอกด้านบนทั้งสี่มุมสำหรับการยกหรือเคลื่อนย้าย ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ที่ปลอดภัย ค.ศ. ๑๙๗๒ (International Convention for Safe Containers : CSC, ๑๙๗๒) (๖) “ภาชนะบรรจุแบบเทกอง” (Bulk Container) หมายถึง ภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายที่เป็นของแข็ง เป็นผงหรือเป็นเม็ด (อาจมีการบุหรือมีวัสดุเคลือบเพื่อป้องกันวัตถุอันตรายสัมผัสพื้นที่บรรทุก) โดยที่วัตถุอันตรายสัมผัสกับพื้นที่บรรทุกโดยตรง ทั้งนี้ บรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ไอบีซี บรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่และแท็งก์ ไม่ถือเป็นภาชนะบรรจุแบบเทกอง (๗) “แท็งก์” (Tank) หมายถึง ภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายที่ติดตั้งอุปกรณ์ทางโครงสร้างและอุปกรณ์ใช้งานที่เกี่ยวข้อง โดยให้หมายความรวมถึงแท็งก์คอนเทนเนอร์ (Tank Container) แท็งก์ที่ยกและเคลื่อนย้ายได้ (Portable Tank) แท็งก์ที่ยึดติดไม่ถาวร (Demountable Tank) แท็งก์ติดตรึงกับตัวรถ (Fixed Tank) แท็งก์ที่เป็นเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ติดตั้งภาชนะบรรจุก๊าซแบบแบตเตอรี่ (Battery Vehicle) หรือภาชนะบรรจุก๊าซแบบกลุ่ม (Multiple Element Gas Container : MEGC) (๘) “แท็งก์คอนเทนเนอร์” (Tank Container) หมายถึง แท็งก์ที่มีผนังพร้อมอุปกรณ์ทางโครงสร้างและอุปกรณ์ใช้งานที่เกี่ยวข้อง เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในการยกหรือเคลื่อนย้าย สำหรับการขนส่งก๊าซ ของเหลวและวัตถุอันตราย ที่มีลักษณะเป็นผงหรือเป็นเม็ด และมีความจุมากกว่า ๔๕๐ ลิตร (๙) “แท็งก์ที่ยกและเคลื่อนย้ายได้” (Portable Tank) หมายถึง แท็งก์ที่ยกและเคลื่อนย้ายได้ ใช้สำหรับการขนส่งในหลายรูปแบบ และหากใช้สำหรับขนส่งก๊าซจะมีความจุมากกว่า ๔๕๐ ลิตร ข้อ ๒ ในการขนส่งวัตถุอันตราย ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องใช้หน่วยขนส่ง ภาชนะบรรจุ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนถ่ายที่อยู่ในสภาพดี และได้รับการตรวจสภาพตามระยะเวลาที่กำหนด โดยในการตรวจสอบด้วยสายตา สภาพภายนอกและสภาพภายในต้องไม่มีจุดบกพร่องที่อาจทำให้มีผลต่อความปลอดภัยในระหว่างการขนส่ง ข้อ ๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งและผู้ขับรถต้องไม่ทำการขนส่งวัตถุอันตรายในลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ขนส่งวัตถุอันตรายในประเภทที่ ๑ วัตถุระเบิด ร่วมกับวัตถุอันตรายในประเภทอื่นไปบนหน่วยขนส่งหรือภาชนะบรรจุเดียวกัน เว้นแต่เป็นการขนส่งวัตถุอันตรายตามที่กำหนดไว้ในตารางในภาคที่ ๗ บทที่ ๗.๕ ข้อ ๗.๕.๒.๑ ของข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทย ให้สามารถทำได้ (๒) ขนส่งวัตถุอันตรายในประเภทที่ ๑ วัตถุระเบิด ที่มีกลุ่มความเข้ากันได้ต่างกัน เว้นแต่เป็นการขนส่งวัตถุอันตรายตามที่กำหนดไว้ในตารางในภาคที่ ๗ บทที่ ๗.๕ ข้อ ๗.๕.๒.๒ ของข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทย ให้สามารถทำได้ (๓) ขนส่งวัตถุอันตรายในประเภทย่อยที่ ๔.๑ ของแข็งไวไฟ ที่มีความเสี่ยงรองเป็นวัตถุอันตรายในประเภทที่ ๑ วัตถุระเบิด ร่วมกับวัตถุอันตรายในประเภทอื่นไปบนหน่วยขนส่งหรือภาชนะบรรจุเดียวกัน (๔) ขนส่งวัตถุอันตรายในประเภทย่อยที่ ๕.๒ สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ ที่มีความเสี่ยงรองเป็นวัตถุอันตรายในประเภทที่ ๑ วัตถุระเบิด ร่วมกับวัตถุอันตรายในประเภทอื่นไปบนหน่วยขนส่งหรือภาชนะบรรจุเดียวกัน ข้อ ๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องไม่ทำการขนส่งวัตถุอันตรายในประเภทดังต่อไปนี้ที่บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ และบรรจุภัณฑ์ไอบีซี ร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหารมนุษย์ หรืออาหารสัตว์ ไปบนหน่วยขนส่ง หรือจัดวางหรือจัดเก็บไว้ในภาชนะบรรจุ พื้นที่ขนถ่าย พื้นที่จัดเก็บชั่วคราว หรือพื้นที่เปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง เดียวกัน ได้แก่ (๑) ประเภทย่อยที่ ๖.๑ สารพิษ (๒) ประเภทย่อยที่ ๖.๒ สารติดเชื้อ (๓) ประเภทที่ ๙ วัตถุอันตรายเบ็ดเตล็ด เฉพาะหมายเลขสหประชาชาติ ๒๒๑๒, ๒๓๑๕, ๒๕๙๐, ๓๑๕๒ หรือ ๓๒๔๕ ความในวรรคหนึ่งให้ใช้กับกรณีบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ และบรรจุภัณฑ์ไอบีซีที่เคยผ่านการใช้งาน หรือถ่ายสารออก แต่ยังไม่ได้ทำความสะอาดด้วย ข้อ ๕ ความในข้อ ๔ ไม่ใช้บังคับกับการขนส่งวัตถุอันตรายที่ได้จัดให้มีสิ่งป้องกันหรือดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) มีแผ่นกั้นทึบ ความสูงต้องไม่น้อยกว่าภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายตามข้อ ๔ (๒) มีภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายในประเภทอื่นที่ไม่ใช่วัตถุอันตรายตามข้อ ๔ คั่นระหว่างกลาง (๓) เว้นช่องว่างระหว่างภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายตามข้อ ๔ กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหารมนุษย์หรืออาหารสัตว์ ให้ห่างกันไม่น้อยกว่า ๐.๘ เมตร ข้อ ๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีอุปกรณ์ที่เหมาะสมเพื่อผูกรัดติดตรึง ไม่ให้ภาชนะบรรจุและวัตถุอันตรายที่บรรจุอยู่ภายในเคลื่อนที่บนหน่วยขนส่งได้ในระหว่างการขนส่ง โดยต้องทำการผูกรัดในลักษณะที่ไม่ทำให้ภาชนะบรรจุเสียรูปทรงหรือชำรุด และต้องมีการป้องกันไม่ให้วัตถุอันตรายที่บรรจุอยู่ภายในเกิดการรั่วไหลในระหว่างการขนส่ง ในกรณีที่เป็นตู้สินค้า แท็งก์คอนเทนเนอร์ แท็งก์ที่ยกและเคลื่อนย้ายได้ และภาชนะบรรจุก๊าซแบบกลุ่ม ต้องทำการล็อกอุปกรณ์ที่ยึดติดกับตัวรถให้มั่นคงแข็งแรงด้วย ข้อ ๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งและผู้ขับรถต้องตรวจสอบการบรรทุกก่อนทำการขนส่งวัตถุอันตราย โดยลักษณะการบรรทุกต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ไม่มีการวางภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายซ้อนทับกัน เว้นแต่ภาชนะบรรจุนั้นได้มีการออกแบบมาเพื่อให้วางซ้อนทับกันได้ (๒) ภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายที่วางซ้อนทับกันต้องไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายต่อกัน (๓) ในระหว่างการขนถ่ายภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายขึ้นและลงจากรถ ต้องมีการป้องกันไม่ให้ภาชนะนั้นเกิดการชำรุด เสียหาย ข้อ ๘ ผู้ขับรถต้องทำความสะอาดหน่วยขนส่งหรือภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายทันทีเท่าที่สามารถดำเนินการได้อย่างปลอดภัย หากพบเห็นวัตถุอันตรายรั่วไหลออกมาตกค้างอยู่บนหน่วยขนส่งหรือภาชนะบรรจุวัตถุอันตราย ข้อ ๙ ผู้ขับรถที่ทำการขนส่งวัตถุอันตรายในประเภทย่อยที่ ๒ ก๊าซไวไฟ หรือประเภทที่ ๓ ของเหลวไวไฟที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน ๖๐ องศาเซลเซียส หรือวัตถุอันตรายหมายเลขสหประชาชาติ ๑๓๖๐ ผงคาร์บอน กลุ่มการบรรจุที่ II ต้องป้องกันไม่ให้เกิดประจุไฟฟ้าสถิต โดยการต่อสายดินจากคัสซีของรถที่ติดตั้งแท็งก์ติดตรึงกับตัวรถ รถที่ติดตั้งแท็งก์ที่ยกและเคลื่อนย้ายได้ หรือรถที่ติดตั้งแท็งก์คอนเทนเนอร์ ก่อนการเติมและการขนถ่ายวัตถุอันตรายทุกครั้ง ข้อ ๑๐ ในการขนส่งวัตถุอันตรายแบบหีบห่อ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องกำกับดูแลและปฏิบัติตามข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทยในภาคที่ ๗ บทที่ ๗.๒ และข้อกำหนดพิเศษเพิ่มเติม (ถ้ามี) สำหรับวัตถุอันตรายที่มีหมายเลขสหประชาชาติ และมีรหัสในคอลัมน์ (๑๖) ของตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง รายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๑๑ ในการขนส่งวัตถุอันตรายโดยใช้ภาชนะบรรจุแบบเทกอง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องกำกับดูแลและปฏิบัติตามข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทยในภาคที่ ๗ บทที่ ๗.๓ และข้อกำหนดพิเศษเพิ่มเติม (ถ้ามี) สำหรับวัตถุอันตรายที่มีหมายเลขสหประชาชาติ และมีรหัสในคอลัมน์ (๑๗) ของตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง รายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๑๒ ในการขนส่งวัตถุอันตรายโดยใช้แท็งก์ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องกำกับดูแลและปฏิบัติตามข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทยในภาคที่ ๔ บทที่ ๔.๒ และ ๔.๓ และภาคที่ ๗ บทที่ ๗.๔ แล้วแต่กรณี และข้อกำหนดพิเศษเพิ่มเติม (ถ้ามี) สำหรับวัตถุอันตรายที่มีหมายเลขสหประชาชาติ และมีรหัสในคอลัมน์ (๑๑) หรือ (๑๓) ของตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง รายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๑๓ ในการขนถ่ายหรือเคลื่อนย้ายวัตถุอันตราย ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องกำกับดูแลและปฏิบัติตามข้อกำหนดพิเศษเพิ่มเติม (ถ้ามี) สำหรับวัตถุอันตรายที่มีหมายเลขสหประชาชาติ และมีรหัสในคอลัมน์ (๑๘) ของตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง รายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๑๔ ในการขนส่งวัตถุอันตรายบางประเภทหรือบางชนิด ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องกำกับดูแลและปฏิบัติตามข้อกำหนดพิเศษเพิ่มเติม (ถ้ามี) สำหรับวัตถุอันตรายที่มีหมายเลขสหประชาชาติ และมีรหัสในคอลัมน์ (๑๙) ของตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง รายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องกำกับดูแลผู้ขับรถให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมดูแลรถในระหว่างทำการขนส่งวัตถุอันตราย โดยรถที่บรรทุกวัตถุอันตรายร้ายแรงในปริมาณที่แสดงไว้ในภาคที่ ๘ บทที่ ๘.๕ ข้อ S๑ (๖) และ S๑๔ ถึง S๒๔ ของข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทย ผู้ขับรถต้องสามารถควบคุมดูแลรถในขณะจอดหรือหยุดรถได้ และต้องจอดรถในสถานที่ที่มีระบบการรักษาความปลอดภัย เว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถจอดรถในสถานที่ดังกล่าวได้ ผู้ขับรถต้องจอดรถในสถานที่ที่กำหนดตามลำดับ ดังต่อไปนี้ (๑) ที่จอดรถที่มีการควบคุมดูแลโดยผู้ที่ทราบถึงลักษณะสิ่งของที่บรรทุก และสามารถติดต่อผู้ขับรถได้ทันที (๒) ที่จอดรถสาธารณะหรือส่วนบุคคลที่รถจะไม่ได้รับความเสียหายจากรถคันอื่น (๓) ที่จอดรถที่มีพื้นที่โล่ง อยู่ห่างจากทางหลวงและที่พักอาศัย และเป็นที่ซึ่งไม่มีคนพลุกพล่านหรือมีการชุมนุมกัน ข้อ ๑๖[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๐๙ ง/หน้า ๓๓/๑๙ กันยายน ๒๕๕๙
758327
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นหรือที่ใช้สำหรับป้องกันอันตราย เมื่อมีอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น พ.ศ. 2559
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นหรือที่ใช้สำหรับป้องกันอันตราย เมื่อมีอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่กฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่นำไปใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายต้องจัดให้มีอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นหรือที่ใช้สำหรับป้องกันอันตรายเมื่อมีอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น เพื่อให้การขนส่งวัตถุอันตรายทางถนนของผู้ประกอบการขนส่งทั้งในประเทศและระหว่างประเทศเป็นไปด้วยความปลอดภัย และเป็นไปตามความตกลงระหว่างประเทศด้านการขนส่งสินค้าอันตรายที่ประเทศไทยเป็นภาคี ได้แก่ กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Inter-State Transport) และความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Cross - Border Transport Agreement) ซึ่งสอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (European Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road (ADR)) อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๒) ของกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศกำหนดคุณลักษณะของอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นหรือที่ใช้สำหรับป้องกันอันตรายเมื่อมีอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง” หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งไม่ประจำทางหรือการขนส่งส่วนบุคคล ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่นำไปใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ทั้งการขนส่งภายในประเทศและระหว่างประเทศ “หน่วยขนส่ง” (Transport Unit) หมายถึง รถบรรทุกหนึ่งคัน หรือรถลากจูงและรถพ่วง หรือรถกึ่งพ่วงที่ต่อพ่วงกัน “วัตถุอันตราย” หมายถึง วัตถุอันตรายตามประเภทที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ ๔ ข้อ ๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นหรือที่ใช้สำหรับป้องกันอันตรายเมื่อมีอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น ดังต่อไปนี้ (๑) อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำหน่วยขนส่งดังนี้ (ก) ลิ่มขัดล้อที่ทำด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทาน มีขนาดเหมาะสมกับน้ำหนักรวมสูงสุดของรถ และกับเส้นผ่านศูนย์กลางของยางล้อรถ ซึ่งสามารถทำให้รถไม่เลื่อนไหลขณะจอดรถ จำนวน ๑ ชิ้น ต่อรถหนึ่งคัน (ข) อุปกรณ์เตือนภัยที่วางตั้งได้เอง เช่น กรวยสะท้อนแสง สามเหลี่ยมสะท้อนแสง หรือไฟวับวาบ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือแต่ละอย่างรวมกัน จำนวน ๒ ชิ้น (ค) ของเหลวที่สามารถใช้ฉีดล้างตาในกรณีมีอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน เว้นแต่การขนส่งวัตถุอันตราย ประเภทที่ ๑ วัตถุระเบิด และประเภทที่ ๒ ก๊าซ จะมีอุปกรณ์ชนิดนี้ไว้ประจำหน่วยขนส่งหรือไม่ก็ได้ (ง) เครื่องดับเพลิงที่มีขนาด จำนวน และคุณภาพ เป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด (๒) อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ต้องจัดให้มีไว้เพิ่มเติมประจำหน่วยขนส่ง ในกรณีขนส่งวัตถุอันตรายบางประเภทดังนี้ (ก) การขนส่งวัตถุอันตราย ประเภทที่ ๒ ก๊าซ ในประเภทย่อยที่ ๒.๓ ก๊าซพิษ และประเภทที่ ๖ ในประเภทย่อยที่ ๖.๑ สารพิษ ต้องจัดให้มีหน้ากากกันก๊าซพิษหรือสารพิษสำหรับให้ผู้ขับรถและพนักงานประจำรถสวมใส่ในกรณีมีอุบัติเหตุหรือเกิดเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น โดยไส้กรองหน้ากากต้องสามารถกรองอนุภาคได้ตามมาตรฐานยุโรปว่าด้วยเรื่องไส้กรองกันก๊าซและไอระเหย (European Standard ๑๔๑ : EN ๑๔๑) (ข) การขนส่งวัตถุอันตราย ประเภทที่ ๓ ของเหลวไวไฟ ประเภทที่ ๔ ของแข็งไวไฟ ในประเภทย่อยที่ ๔.๑ ของแข็งไวไฟ และประเภทย่อยที่ ๔.๓ สารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ ประเภทที่ ๘ สารกัดกร่อน และประเภทที่ ๙ วัตถุอันตรายเบ็ดเตล็ด ต้องจัดให้มี ๑) พลั่ว สำหรับใช้ตักดินหรือทรายเพื่อป้องกันหรือลดผลกระทบจากการรั่วไหลของวัตถุอันตรายต่อชุมชน ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม ๒) แผ่นพลาสติกหรือวัสดุที่เหมาะสมกับวัตถุอันตรายที่ขนส่ง มีขนาดความกว้างและความยาวด้านละไม่น้อยกว่า ๑ เมตร สำหรับใช้ปิดคลุมฝาท่อระบายน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้วัตถุอันตรายรั่วไหลลงสู่ท่อระบายน้ำ ๓) ถังพลาสติกหรือภาชนะที่ทำด้วยวัสดุที่เหมาะสมกับวัตถุอันตรายที่ขนส่ง สำหรับใช้รองรับวัตถุอันตรายที่รั่วไหลในกรณีมีอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น (๓) อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ต้องจัดให้มีไว้สำหรับผู้ขับรถและพนักงานประจำรถแต่ละคนดังนี้ (ก) เสื้อที่มีแถบสะท้อนแสงขนาดไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร จำนวนอย่างน้อย ๒ แถบ รอบตัวเสื้อ หรือตามมาตรฐานยุโรปว่าด้วยเรื่องแถบสะท้อนแสงที่ต้องมองเห็นได้ชัดเจน (European Standard ๔๗๑ ; ๒๐๐๓ : EN ๔๗๑ ; ๒๐๐๓) (ข) อุปกรณ์ส่องสว่างแบบพกพาได้หรือไฟฉายที่มีกระบอกแบบไม่มีพื้นผิวโลหะที่เสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟ และในกรณีขนส่งวัตถุอันตราย ประเภทที่ ๒ ในประเภทย่อยที่ ๒.๑ ก๊าซไวไฟ หรือประเภท ที่ ๓ ของเหลวไวไฟ ต้องเป็นแบบป้องกันการระเบิด (ex - proof) ได้ (ค) ถุงมือที่เหมาะสมกับประเภทและสภาพของวัตถุอันตรายที่ขนส่ง (ง) อุปกรณ์ป้องกันดวงตาหรือแว่นนิรภัยที่เหมาะสมกับประเภทและสภาพของวัตถุอันตรายที่ขนส่ง อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ตามวรรคหนึ่ง ต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่หมดอายุการใช้งาน และต้องติดตั้งหรือจัดเก็บไว้ในตำแหน่งที่สามารถนำมาใช้งานได้โดยสะดวกตลอดเวลาที่ทำการขนส่ง ข้อ ๓ ผู้ขับรถต้องตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ตามข้อ ๒ ให้ครบถ้วนถูกต้องก่อนทำการขนส่ง ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๐๙ ง/หน้า ๓๐/๑๙ กันยายน ๒๕๕๙
758255
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดอุทัยธานี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดอุทัยธานีให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดอุทัยธานีกระทำการแทน พ.ศ. 2559
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดอุทัยธานี ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดอุทัยธานี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดอุทัยธานี ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดอุทัยธานีกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือ การเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สะดวก รวดเร็ว สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดอุทัยธานี จึงมอบหมายให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดอุทัยธานีกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดอุทัยธานี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่นายทะเบียนประจำจังหวัดอุทัยธานีให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดอุทัยธานีกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งหรือประกาศอื่นใดซึ่งขัดแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดอุทัยธานี เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอุทัยธานี ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอุทัยธานี ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอุทัยธานีกระทำการ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอุทัยธานีใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอุทัยธานีเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอุทัยธานี ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอุทัยธานี ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอุทัยธานี หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดอุทัยธานี เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) และ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดอุทัยธานี เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพ หรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดอุทัยธานี เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (จ) ๖ (๒) และ ๖ (๓) ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดอุทัยธานีเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดอุทัยธานี เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดอุทัยธานี กระทำการแทนตามข้อ ๙ (๑) (ข) และ (ค) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดอุทัยธานี สาขาอำเภอบ้านไร่ กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สุทิน กลมอ่อน นายทะเบียนประจำจังหวัดอุทัยธานี ปริยานุช/จัดทำ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๙ กัญฑรัตน์/ตรวจ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๐๘ ง/หน้า ๒๕/๑๖ กันยายน ๒๕๕๙
758253
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์กระทำการแทน พ.ศ. 2559
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] ตามที่ได้มีประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๘ ไว้แล้ว นั้น ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และมีความคล่องตัว สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์จึงมอบหมายอำนาจให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์กระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๘ ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครสวรรค์ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครสวรรค์เปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครสวรรค์ หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๘) การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) ข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเปลี่ยนประเภทรถ (ค) การเสียภาษีประจำปี (ง) การโอนรถ (จ) การย้ายรถ (ฉ) การแก้ไขรายการทางทะเบียน (ช) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฌ) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ญ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (ฎ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถกรณีรายการเต็มกรณีสูญหาย หรือชำรุด (ฏ) การตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถ (ฐ) การแจ้งใช้รถที่แจ้งไม่เสียภาษี ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ช) ข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๘ ให้นายช่างตรวจสภาพรถชำนาญงาน ฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ช) ข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) (ญ) (ฎ) และ (ฐ) ข้อ ๑๐ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่อใบอนุญาต (ค) การเปลี่ยนประเภทใบอนุญาต (ง) การเปลี่ยนชนิดใบอนุญาต (จ) การออกใบแทนใบอนุญาต (ฉ) การแก้ไขรายการใบอนุญาต (ช) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๐ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) และ (ฉ) ข้อ ๑๒ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ สาขาอำเภอตาคลี หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ สาขาอำเภอหนองบัว และหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ สาขาอำเภอลาดยาว เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๒) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคล (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ), (๓) (ข), ข้อ ๖ (๑) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) (ญ) (ฎ) (ฏ) (ฐ) (๒) (๓) และข้อ ๑๐ (๑) ข้อ ๑๓ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน นายช่างตรวจสภาพรถชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ สาขาอำเภอตาคลี เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน นายช่างตรวจสภาพรถชำนาญงานสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ สาขาอำเภอหนองบัว และเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน นายช่างตรวจสภาพรถชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ สาขาอำเภอลาดยาว เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๒) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคล (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ), ข้อ ๖ (๑) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) (ญ) (ฎ) (ฐ), ข้อ ๖ (๒) และ (๓) และข้อ ๑๐ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) และ (ฉ) ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สุจิตรา อินดนตรี นายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ ปริยานุช/จัดทำ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๙ กัญฑรัตน์/ตรวจ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๐๘ ง/หน้า ๒๐/๑๖ กันยายน ๒๕๕๙
757214
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดชุมพร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดชุมพรให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดชุมพรกระทำการแทน พ.ศ. 2559
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดชุมพร ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดชุมพร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดชุมพร ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดชุมพรกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๙ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่ง คือ การเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา ๖ วรรค ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดชุมพรจึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดชุมพรกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดชุมพร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดชุมพรให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดชุมพรกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) คำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดชุมพรที่ ๐๖/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้รถทำขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาต (๒) คำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดชุมพรที่ ๐๕/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการลงนามกำกับรอยตราประทับลายมือชื่อนายทะเบียนประจำจังหวัดชุมพร (๓) คำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดชุมพรที่ ๑๐/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๘ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดชุมพร (๔) คำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดชุมพรที่ ๐๒/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๙ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้รถทำขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาต (๕) คำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดชุมพรที่ ๐๔/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดชุมพร ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดชุมพร เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดชุมพรดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดชุมพรดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดชุมพรกระทำการดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดชุมพรใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดชุมพรเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดชุมพร ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดชุมพร ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดชุมพร หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดชุมพร เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังนี้ (ก) การจดทะเบียนรถ (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุง หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดชุมพร เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (จ) (๒) และ (๓) ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดชุมพร เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๘ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดชุมพร สาขาอำเภอหลังสวน เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๗ ข้อ ๙ ให้นักวิชาการขนส่ง กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดชุมพร เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) และข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่ง ระดับชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดชุมพรเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานขนส่ง ระดับชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดชุมพร เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๗ (ข) (ค) ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่ง ระดับชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดชุมพร สาขาอำเภอหลังสวน เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๗ (ข) (ค) ข้อ ๑๓ ให้นายช่างตรวจสภาพรถ ระดับชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดชุมพร สาขาอำเภอหลังสวน เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ช) (ซ) และข้อ ๗ (ข) (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สุชาดา เผือกประเสริฐ ขนส่งจังหวัดชุมพร นายทะเบียนประจำจังหวัดชุมพร ปริยานุช/จัดทำ ๕ กันยายน ๒๕๕๙ ปุณิกา/ตรวจ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๒๘/๑ กันยายน ๒๕๕๙
756534
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถในส่วนของที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. 2559
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถ ในส่วนของที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความใน (ฎ) และวรรคสองของข้อ ๑ (๒) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และ (ณ) ของข้อ ๑ (๒) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ที่นั่ง” หมายความว่า ที่นั่งผู้โดยสารที่จัดวางที่นั่งตามความกว้างของรถ ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างของที่นั่ง วัสดุของที่นั่งและพนักพิงหลัง “จุดยึดที่นั่ง” หมายความว่า ส่วนของพื้นรถหรือตัวถังรถที่ใช้ติดตั้งที่นั่ง รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ยึดที่นั่งกับส่วนของพื้นรถหรือตัวถังรถ “จุดยึดเข็มขัดนิรภัย” หมายความว่า ส่วนของที่นั่งหรือตัวถังรถ หรือส่วนใดของรถที่ใช้ติดตั้งเข็มขัดนิรภัย “ผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ผลิต ประกอบ นำเข้า หรือจำหน่าย ที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง หรือจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ข้อ ๒ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับรถ ดังต่อไปนี้ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๑ และหมวด ๔ เว้นแต่รถนั้นมีลักษณะเป็นรถตู้โดยสาร (๒) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารทุกประเภทการขนส่งที่มีที่นั่งเป็นลักษณะรถสองแถว ข้อ ๓ ที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ที่ติดตั้งในรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ต้องผ่านการทดสอบตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวกท้ายประกาศดังนี้ (๑) ที่นั่ง ต้องผ่านการทดสอบตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๑ หรือภาคผนวก ๓ (๒) จุดยึดที่นั่ง ต้องผ่านการทดสอบตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๒ หรือภาคผนวก ๓ (๓) จุดยึดเข็มขัดนิรภัย ต้องผ่านการทดสอบตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๔ ข้อ ๔ ที่นั่ง และจุดยึดที่นั่ง ที่ได้รับมาตรฐานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าผ่านการทดสอบตามประกาศนี้ (๑) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และพนักพิงของยานยนต์ ตามมาตรฐานเลขที่ มอก. ๘๙๖ - ๒๕๔๙ โดยต้องแนบใบอนุญาตหรือหนังสือที่แสดงว่าได้รับมาตรฐานดังกล่าว (๒) ข้อกำหนดสหประชาชาติที่ ๘๐ ว่าด้วยที่นั่งและความแข็งแรงของที่นั่งและจุดยึดที่นั่งของรถโดยสารขนาดใหญ่ อนุกรมที่ ๐๒ (United Nation Regulation ๘๐.๐๒) Seats Of Large Passenger Vehicles And Of These Vehicles With Regard To The Strength Of The Seats And Their Anchorages ขึ้นไป โดยต้องแนบหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบของหน่วยงานทดสอบที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์ และเงื่อนไขสำหรับยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (๓) ข้อกำหนดสหประชาชาติที่ ๑๗ ว่าด้วยความแข็งแรงของที่นั่ง จุดยึดที่นั่งและพนักพิงศีรษะของรถยนต์ อนุกรมที่ ๐๗ (United Nation Regulation ๑๗.๐๗) The Seats, Their Anchorages And Any Head Restraints ขึ้นไป โดยต้องแนบหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบของหน่วยงานทดสอบที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบ ที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ข้อ ๕ จุดยึดเข็มขัดนิรภัยที่ได้รับมาตรฐานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าผ่านการทดสอบตามประกาศนี้ (๑) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จุดยึดเข็มขัดนิรภัยระบบยึดแบบไอโซฟิก และจุดยึดไอโซฟิกทอปเทเทอร์ ตามมาตรฐานเลขที่ มอก. ๑๔๖๗ - ๒๕๕๐ โดยต้องแนบใบอนุญาตหรือหนังสือที่แสดงว่าได้รับมาตรฐานดังกล่าว (๒) ข้อกำหนดสหประชาชาติที่ ๑๔ ว่าด้วยจุดยึดเข็มขัดนิรภัย อนุกรมที่ ๐๖ (United Nation Regulation ๑๔.๐๖) Safety - belt Anchorages, ISOFIX Anchorages Systems And ISOFIX Top Tether Anchorages ขึ้นไป โดยต้องแนบหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบของหน่วยงานทดสอบที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ข้อ ๖ ผู้ใดประสงค์จะขอรับความเห็นชอบที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ให้ยื่นเป็นหนังสือต่อสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยเอกสารตามภาคผนวก ๕ หรือภาคผนวก ๖ ท้ายประกาศนี้ และเอกสารตามข้อ ๔ และข้อ ๕ แล้วแต่กรณี โดยต้องยื่นขอรับความเห็นชอบที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ในคราวเดียวกัน เว้นแต่กรณีจุดยึดเข็มขัดนิรภัยถูกออกแบบให้ติดตั้งกับโครงสร้างรถจะแยกยื่นเฉพาะจุดยึดเข็มขัดนิรภัยก็ได้ การขอรับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ต้องนำส่งต้นแบบหรือตัวอย่างที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง หรือจุดยึดเข็มขัดนิรภัยให้กรมการขนส่งทางบกทำการทดสอบ แล้วแต่กรณี เว้นแต่ที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยนั้นได้รับมาตรฐานตามข้อ ๔ หรือข้อ ๕ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำต้นแบบหรือตัวอย่างที่นั่ง จุดยึดที่นั่งหรือจุดยึดเข็มขัดนิรภัย มาทำการทดสอบ ข้อ ๗ การพิจารณาให้ความเห็นชอบที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ข้อ ๓ ข้อ ๔ หรือข้อ ๕ แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ ที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ที่ผลิตตามแบบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก และไม่มีความแตกต่างในสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยนั้นได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกแล้ว (๑) ที่นั่ง (ก) โครงสร้าง รูปร่าง ขนาดและส่วนประกอบวัสดุของที่นั่งและพนักพิงหลัง (ข) แบบและขนาดของระบบล็อกและระบบปรับตำแหน่งพนักพิงหลัง (๒) จุดยึดที่นั่ง (ก) โครงสร้าง รูปร่าง ขนาดและวัสดุของจุดยึดที่นั่ง (ข) ขนาด รูปร่าง และวัสดุของส่วนประกอบโครงสร้างรถสำหรับยึดที่นั่ง (๓) จุดยึดเข็มขัดนิรภัย (ก) ขนาด รูปร่าง และวัสดุของจุดยึดเข็มขัดนิรภัย (ข) ขนาด รูปร่าง และวัสดุของส่วนประกอบโครงสร้างรถหรือที่นั่งสำหรับยึดเข็มขัดนิรภัย ข้อ ๙ ผู้ผลิตที่ผลิตหรือสร้างประกอบที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง หรือจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ (๑) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตตามมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ ขึ้นไป ด้านการผลิตหรือสร้างประกอบที่นั่ง จุดยึดที่นั่งและจุดยึดเข็มขัดนิรภัย หรือด้านการผลิตหรือสร้างประกอบรถ (๒) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์ และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (๓) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการรับรองระบบงาน กระทรวงอุตสาหกรรม (National Accreditation Council (NAC)) ด้านการผลิตหรือสร้างประกอบที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัย (๔) เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนอย่างถูกต้อง และมีอาคารสถานที่ บุคลากร และคู่มือในการปฏิบัติงานดังนี้ (ก) อาคารสถานที่ที่มีขนาดเหมาะสม มีความมั่นคงแข็งแรง (ข) ผู้ควบคุมงานประจำโรงงานที่มีคุณวุฒิตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป สาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมอุตสาหการ หรือวิศวกรรมการเชื่อม หรือผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานด้านการผลิตที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัย รถโดยสารไม่น้อยกว่า ๕ ปี (ค) คู่มือในการปฏิบัติงานที่แสดงขั้นตอนและรายละเอียดของการผลิตหรือการสร้างประกอบที่นั่ง จุดยึดที่นั่งและจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ผู้ผลิตที่มีคุณสมบัติตาม (๔) ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้ผลิตจากกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๑๐ ที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ต้องมีหนังสือรับรองการติดตั้งว่าเป็นไปตามแบบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกซึ่งออกโดยผู้ผลิต ยกเว้นที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยที่เป็นไปตามข้อ ๔ และข้อ ๕ หรือรถที่ผลิตตามแบบรถต้นแบบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๑๑ ผู้ผลิตที่จะยกเลิกการผลิตที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยที่เป็นแบบรุ่นที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ให้แจ้งเป็นหนังสือให้กรมการขนส่งทางบกทราบ ข้อ ๑๒ ผู้ผลิตต้องอำนวยความสะดวกให้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายในการเข้าทำการตรวจสอบกระบวนการผลิตหรือการทดสอบ ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศนี้ ณ โรงงานผลิต โรงงานสร้างประกอบ หรือสถานที่ทำการทดสอบ ข้อ ๑๓ ที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยที่ผ่านการทดสอบตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๓ ให้แสดงเครื่องหมายบ่งชี้ถึงชื่อผู้ลิตและแบบรุ่นของที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ยกเว้นที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยที่เป็นไปตามข้อ ๔ และข้อ ๕ หรือรถที่ผลิตตามแบบรถต้นแบบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๑๔ ผู้ผลิตที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ และต้องผลิต ประกอบและติดตั้งที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง หรือจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ให้เป็นไปตามแบบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่ง ทางบก หากผู้ผลิตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ หรือผลิต ประกอบและติดตั้งที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง หรือจุดยึดเข็มขัดนิรภัยไม่เป็นไปตามแบบที่ได้รับความเห็นชอบ กรมการขนส่งทางบกจะยกเลิกการให้ความเห็นชอบ ซึ่งจะทำให้ที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยนั้น ไม่สามารถนำมาติดตั้งบนรถเพื่อขอรับความเห็นชอบหรือจดทะเบียนรถได้ ข้อ ๑๕ การขอรับความเห็นชอบที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยตามประกาศนี้ ให้กระทำได้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๑๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถตามเงื่อนเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่จดทะเบียนใหม่ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ เป็นต้นไป เว้นแต่รถนั้นมีการผลิต ประกอบ นำเข้า ตามแบบรถที่ได้รับความเห็นชอบก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๓ เป็นต้นไป (๒) รถที่เปลี่ยนตัวถัง หรือรถที่แจ้งเลิกใช้ตามมาตรา ๗๙ ซึ่งมีการเปลี่ยนตัวถังและนำมาจดทะเบียนใหม่ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ภาคผนวก ๑ การทดสอบที่นั่งและจุดยึดที่นั่ง แบบสถิต (Static test) ๒. ภาคผนวก ๒ การทดสอบจุดยึดที่นั่ง ๓. ภาคผนวก ๓ การทดสอบที่นั่งและจุดยึดที่นั่งแบบพลวัต (Dynamic test) ๔. ภาคผนวก ๔ การทดสอบจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ๕. ภาคผนวก ๕ แบบแสดงข้อมูลที่นั่งและจุดยึดที่นั่ง ๖. ภาคผนวก ๖ แบบแสดงข้อมูลจุดยึดเข็มขัดนิรภัย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ ชวัลพร/ตรวจ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๗๘ ง/หน้า ๒๘/๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙
756421
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดศรีสะเกษ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดศรีสะเกษ ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดศรีสะเกษ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดศรีสะเกษ[๑] เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับงานด้านทะเบียนและภาษีรถ ใบอนุญาตผู้ประจำรถ การประกอบการขนส่งประจำทาง การประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีเส้นทางหรือท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดศรีสะเกษเป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนได้ นั้น ดังนั้น นายทะเบียนประจำจังหวัดศรีสะเกษจึงขอมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดศรีสะเกษทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดศรีสะเกษดังบัญชีรายละเอียดแนบท้ายนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สุทธิพงษ์ เตชะภูสิทธิพงศ์ นายทะเบียนประจำจังหวัดปราจีนบุรี รักษาราชการแทนนายทะเบียน ประจำจังหวัดศรีสะเกษ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีรายละเอียดมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดศรีสะเกษ แนบท้ายประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดศรีสะเกษ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดศรีสะเกษ ฉบับลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ ชวัลพร/ตรวจ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๘๑ ง/หน้า ๒๘/๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๙
756163
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. 2559
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบ แบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] เพื่อให้ตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมีความมั่นคงแข็งแรงและมีความปลอดภัยในการใช้งานถูกต้องตามหลักวิศวกรรมและมาตรฐานสากล อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๒) และข้อ ๑๐ (๒) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (๑) “รถ” หมายความว่า รถที่มีความสูงตั้งแต่ ๓.๖๐ เมตรขึ้นไป หรือโครงสร้างตัวถังรถที่จะนำไปประกอบเป็นรถที่มีความสูงตั้งแต่ ๓.๖๐ เมตรขึ้นไป ซึ่งจะนำไปใช้เป็นรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (๒) “ผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ผลิต ประกอบ นำเข้า หรือจำหน่ายรถ (๓) “หน่วยงานทดสอบ” หมายความว่า กรมการขนส่งทางบกหรือหน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับผลการทดสอบรถ หมวด ๑ การขอรับความเห็นชอบแบบตัวถังรถ ข้อ ๒ ผู้ผลิตใดประสงค์จะขอรับความเห็นชอบแบบตัวถังรถ ให้ยื่นขอรับความเห็นชอบ ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านหรือใบสำคัญแสดงถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามในกรณีเป็นนิติบุคคล (๒) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (๓) รายละเอียดของโครงสร้างตัวถังรถตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๑ และเอกสารอื่นจำนวนอย่างละ ๓ ชุด ดังนี้ (๓.๑) กรณีรถที่ผลิตหรือสร้างประกอบภายในประเทศ (ก) รายการของชิ้นส่วนที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างตัวถังรถ (ข) ภาพวาด (Drawing) แบบตัวถังรถทั้งคันโดยละเอียด (ค) ภาพวาด (Drawing) โครงสร้างตัวถังรถทั้งคันโดยละเอียด (ง) ภาพวาด (Drawing) แสดงเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ ที่นั่งที่ติดตั้งกับโครงสร้างตัวถังรถ และตำแหน่งการติดตั้ง (จ) ภาพวาด (Drawing) แสดงลักษณะและเทคนิควิธีการเชื่อม การต่อ การติดตั้งหรือการประกอบชิ้นส่วนโครงสร้างตัวถังรถ และเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ โดยละเอียด (ฉ) น้ำหนักรวมสูงสุดของรถ (Gross Vehicle Weight (GVW)) ที่ใช้แบบโครงสร้าง ตัวถังรถที่ยื่นขอรับความเห็นชอบ (ช) ขนาดและตำแหน่งของน้ำหนักจำลองที่ติดตั้งเพื่อใช้ทำการทดสอบโครงสร้างตัวถังรถ (ซ) หนังสือรับรองของวิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล หรือวิศวกรรมโยธา ประเภทสามัญวิศวกรขึ้นไป ผู้ออกแบบ คำนวณโครงสร้างตัวถังรถและการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และสำเนาใบอนุญาตของวิศวกรนั้น เอกสารหลักฐานตาม (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) และ (ช) ทุกฉบับ ต้องมีการลงนามรับรองความถูกต้องโดยวิศวกรผู้ออกแบบ คำนวณโครงสร้างตัวถังรถและการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบตาม (ซ) (๓.๒) กรณีรถสำเร็จรูปนำเข้าทั้งคัน (ก) เอกสารตาม (๓.๑) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) และ (ช) ซึ่งมีการลงนามรับรองความถูกต้องโดยผู้ผลิตที่ยื่นขอรับความเห็นชอบ (ข) หนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบของหน่วยงานทดสอบที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ตามข้อกำหนดสหประชาชาติ ที่ ๖๖ ว่าด้วยความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังรถขนาดใหญ่ อนุกรมที่ ๐๐ (United Nation Regulation ๖๖.๐๐ : Approval of Large Passenger Vehicles With Regard To The Strength of Their Superstructure ; series ๐๐) ขึ้นไป หรือหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังรถขนาดใหญ่ของหน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับ ข้อ ๓ การขอรับความเห็นชอบแบบตัวถังรถ ผู้ผลิตต้องนำรถมาทำการทดสอบตามสถานที่ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด เว้นแต่มีหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบตาม (ข) ของข้อ ๒ (๓.๒) ให้ได้รับการยกเว้นการทดสอบ ข้อ ๔ หน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับผลการทดสอบรถ ต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการทดสอบรถด้วย ข้อ ๕ รถที่จะนำมาทำการทดสอบ ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ (๑) รถโดยสารสำเร็จรูปทั้งคันที่มีการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด (๒) โครงสร้างตัวถังรถโดยสารทั้งคัน (Body work) แบ่งออกเป็น (๒.๑) โครงสร้างตัวถังรถโดยสารทั้งคันสมบูรณ์ที่มีการตกแต่งและติดตั้งอุปกรณ์พื้นฐาน (๒.๒) โครงสร้างตัวถังรถโดยสารทั้งคันที่ยังไม่มีการตกแต่งและติดตั้งอุปกรณ์พื้นฐาน (๓) โครงสร้างตัวถังรถโดยสารบางส่วน (Body section) แบ่งออกเป็น (๓.๑) โครงสร้างตัวถังรถโดยสารบางส่วนสมบูรณ์ที่มีการตกแต่งและติดตั้งอุปกรณ์พื้นฐาน (๓.๒) โครงสร้างตัวถังรถโดยสารบางส่วนที่ยังไม่มีการตกแต่งและติดตั้งอุปกรณ์พื้นฐานรายละเอียดของรถและอุปกรณ์พื้นฐานที่จะนำมาทดสอบให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๒ หมวด ๒ การทดสอบรถและการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถ ข้อ ๖ อุปกรณ์และพื้นที่ใช้ในการทดสอบรถ ต้องมีคุณสมบัติและคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๓ ข้อ ๗ การทดสอบรถจะดำเนินการโดยกรมการขนส่งทางบก หรือหน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับผลการทดสอบก็ได้ ข้อ ๘ การทดสอบรถและเกณฑ์การผ่านการทดสอบ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๔ ข้อ ๙ ผู้ผลิตที่ยื่นขอรับความเห็นชอบแบบตัวถังรถต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการนำรถมาทำการทดสอบ การเตรียมก่อนการทดสอบ และการนำรถที่ทดสอบแล้วกลับคืน ภายในวันที่ทำการทดสอบเสร็จสิ้น กรมการขนส่งทางบกจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดกับรถหรือเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบที่นำมาทำการทดสอบ ข้อ ๑๐ รถที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบตามข้อ ๘ หรือมีหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบตาม (ข) ของข้อ ๒ (๓.๒) และผู้ผลิตได้ปฏิบัติครบถ้วนถูกต้องตามประกาศนี้ กรมการขนส่งทางบกจะให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถนั้น หมวด ๓ การผลิตหรือสร้างประกอบรถ ข้อ ๑๑ รถที่ผลิตหรือสร้างประกอบตามแบบตัวถังรถที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกตามข้อ ๑๐ หรือตามแบบตัวถังรถมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบก และไม่มีความแตกต่างกับแบบตัวถังรถดังกล่าวในสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ให้ถือว่ารถนั้นได้รับความเห็นชอบแบบตัวถังรถจากกรมการขนส่งทางบกแล้ว (๑) รูปแบบและขนาดของรถ ตัวถังรถ เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบที่ประกอบเป็นรถ (๒) คุณลักษณะและคุณสมบัติของเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบที่ประกอบเป็นรถ รวมถึงน้ำหนักของเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ (๓) เทคนิควิธีการเชื่อม การต่อ การติดตั้ง หรือการประกอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถ (๔) น้ำหนักรวมสูงสุดของรถ (Gross Vehicle Weight (GVW)) ไม่เกินน้ำหนักรวมสูงสุดตามแบบตัวถังรถที่ได้รับความเห็นชอบ รถตามวรรคหนึ่ง ต้องมีหนังสือรับรองการผลิตว่าเป็นไปตามแบบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ซึ่งออกโดยผู้ผลิต และสำหรับรถที่ผลิตหรือสร้างประกอบภายในประเทศต้องมีสำเนาหนังสือให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถ และหนังสือรับรองของวิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโยธา หรือวิศวกรรมอุตสาหการประเภทสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือประเภทภาคีวิศวกรพิเศษด้านงานพิจารณาตรวจสอบหรืองานควบคุมการสร้างหรือการผลิต ผู้ควบคุมการผลิตหรือสร้างประกอบตัวถังรถซึ่งรับรองว่ารถนั้นมีความมั่นคงแข็งแรงและมีรายละเอียดเป็นไปตามแบบตัวถังรถที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก พร้อมสำเนาใบอนุญาตของวิศวกรนั้น เป็นการเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวให้ใช้ประกอบการยื่นดำเนินการทางทะเบียนหรือใช้ประกอบการขอความเห็นชอบรถ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ รถตามข้อ ๑๑ ต้องมีเครื่องหมายการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถที่บ่งชี้ชื่อผู้ผลิตและแบบหรือรุ่นของตัวถังรถตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๕ หรือเครื่องหมายที่เป็นไปตามความตกลง ว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์ และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ตามข้อกำหนดสหประชาชาติที่ ๖๖ ว่าด้วยความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังรถขนาดใหญ่ อนุกรมที่ ๐๐ (United Nation Regulation ๖๖.๐๐ : Approval of Large Passenger Vehicles With Regard To The Strength of Their Superstructure ; series ๐๐) ขึ้นไป โดยให้ติดไว้ที่ตัวถังรถในตำแหน่งที่มองเห็นได้ง่าย สะดวกแก่การตรวจสอบ ข้อ ๑๓ ผู้ผลิตที่ผลิตหรือสร้างประกอบรถภายในประเทศต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ (๑) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตตามมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ ขึ้นไป ด้านการผลิตหรือสร้างประกอบรถ (๒) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์ และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (๓) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการรับรองระบบงาน กระทรวงอุตสาหกรรม (National Accreditation Council (NAC)) ด้านการผลิตหรือสร้างประกอบรถ (๔) เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนอย่างถูกต้อง และมีอาคารสถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ บุคลากร และคู่มือในการปฏิบัติงาน ดังนี้ (๔.๑) อาคารสถานที่ที่มีขนาดเหมาะสม มีความมั่นคงแข็งแรง (๔.๒) เครื่องมืออุปกรณ์ในการผลิตหรือสร้างประกอบรถอย่างน้อย ดังนี้ (ก) แท่นรองรับการประกอบ (Jig) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบโครงสร้างหลักที่ส่งผลโดยตรงกับความมั่นคงแข็งแรงของตัวถังรถ (ข) อุปกรณ์ตรวจสอบรอยเชื่อม การแตกร้าวของรอยเชื่อม เช่น สเปรย์พ่นทดสอบ เครื่องเอ็กซเรย์ (X-rays) เครื่องอัลตร้าโซนิก (Ultra Sonic) (ค) อุปกรณ์การวัดขนาดและชั่งน้ำหนัก (๔.๓) ช่างผู้ปฏิบัติงานที่ผ่านการฝึกอบรมด้านงานเชื่อมหรืองานโลหะ จำนวนไม่น้อยกว่า ๒ คน ที่ได้รับวุฒิบัตรหรือประกาศนียบัตรจากองค์การหรือสถาบัน ดังต่อไปนี้ (ก) องค์การที่ได้รับมาตรฐานองค์การระหว่างประเทศ (International Organization for Standardization (ISO)) (ข) สถาบันอาชีวศึกษา (ค) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (ง) สมาคมการเชื่อมโลหะแห่งประเทศไทย (จ) ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด (ฉ) สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนด้านวิชาช่างเชื่อม (ช) สถาบันหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับ (๔.๔) ผู้ควบคุมงานประจำ โรงงานที่มีคุณวุฒิตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป สาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมอุตสาหการ หรือวิศวกรรมการเชื่อม หรือผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานด้านการสร้างประกอบตัวถังรถโดยสารไม่น้อยกว่า ๕ ปี (๔.๕) คู่มือในการปฏิบัติงานที่แสดงขั้นตอนและรายละเอียดของการผลิตหรือสร้างประกอบรถ ผู้ผลิตที่มีคุณสมบัติตาม (๔) ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้ผลิตจากกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๑๔ ผู้ผลิตที่ผลิตหรือสร้างประกอบรถสำเร็จรูปนำเข้าทั้งคัน ต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ (๑) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตตามมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ ขึ้นไปด้านการผลิตหรือสร้างประกอบรถทั้งคัน (๒) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์ และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ข้อ ๑๕ ตัวถังรถต้องผลิตหรือสร้างประกอบโดยผู้ผลิตที่ได้รับความเห็นชอบแบบตัวถังรถจากกรมการขนส่งทางบก ผู้ผลิตที่ได้รับความเห็นชอบแบบตัวถังรถจากกรมการขนส่งทางบกอาจยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ผู้ผลิตที่มีคุณสมบัติตามข้อ ๑๓ (๔) ผลิตหรือสร้างประกอบตัวถังรถตามแบบตัวถังรถที่ตนได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกได้ ผู้ผลิตที่ได้รับความยินยอมจากผู้ผลิตตามวรรคสอง ต้องผลิตหรือสร้างประกอบตัวถังรถให้เป็นไปตามแบบตัวถังรถที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก มิฉะนั้นกรมการขนส่งทางบกจะทำการยกเลิกการขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้ผลิตจากกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๑๖ ผู้ผลิตที่ประสงค์จะเลิกการผลิตหรือสร้างประกอบรถตามแบบตัวถังรถที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ให้แจ้งเป็นหนังสือให้กรมการขนส่งทางบกทราบ ข้อ ๑๗ ผู้ผลิตต้องอำนวยความสะดวกให้แก่อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายเข้าทำการตรวจสอบกระบวนการผลิตหรือการทดสอบ ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศนี้ ณ โรงงานผลิต โรงงานสร้างประกอบหรือสถานที่ทำการทดสอบ ข้อ ๑๘ ผู้ผลิตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนี้และต้องผลิตหรือสร้างประกอบตัวถังรถให้เป็นไปตามแบบตัวถังรถที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกหากผู้ผลิตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ หรือผลิตหรือสร้างประกอบตัวถังรถไม่เป็นไปตามแบบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบกจะไม่ให้ความเห็นชอบรถและจะไม่รับจดทะเบียนรถที่ผลิตหรือสร้างประกอบจากผู้ผลิตนั้น ข้อ ๑๙ การขอรับความเห็นชอบแบบตัวถังรถตามประกาศนี้ ให้กระทำได้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่จดทะเบียนใหม่ รถที่มีการเปลี่ยนตัวถัง และรถที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่ซึ่งมีการเปลี่ยนตัวถัง โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ภาคผนวก ๑ รายละเอียดของโครงสร้างตัวถังรถ ๒. ภาคผนวก ๒ รายละเอียดของรถและอุปกรณ์พื้นฐานที่จะนำมาทดสอบ ๓. ภาคผนวก ๓ คุณสมบัติและคุณลักษณะของอุปกรณ์และพื้นที่ใช้ในการทดสอบ ๔. ภาคผนวก ๔ การทดสอบรถและเกณฑ์การผ่านการทดสอบ ๕. ภาคผนวก ๕ เครื่องหมายการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๑/๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๙
755375
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๕ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในระบบการตรวจสภาพรถ สำหรับการบันทึกข้อมูลและผลการตรวจสภาพรถ การรายงานผลการตรวจสภาพรถผ่านระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก ซึ่งจะทำให้การดำเนินการตรวจสภาพรถมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๙ วรรคสอง และข้อ ๑๐ (๑) และ (๒) ของกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ได้รับใบอนุญาต” หมายถึง ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ “นายทะเบียน” หมายถึง นายทะเบียนกลางหรือบุคคลซึ่งนายทะเบียนกลางมอบหมายให้ทำการแทน “สำนักงานขนส่ง” หมายถึง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี “ระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก” หมายถึง ระบบงานที่กรมการขนส่งทางบกจัดทำขึ้นเพื่อให้สถานตรวจสภาพรถบันทึกข้อมูลและผลการตรวจสภาพรถ รายงานผลการตรวจสภาพรถ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจากสถานตรวจสภาพรถมายังกรมการขนส่งทางบก และจัดพิมพ์รายงานผลการตรวจสภาพรถ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ (๓) ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๖ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพ และเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถต้องดำเนินการตรวจสภาพรถให้เป็นตามหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสภาพรถที่กำหนดท้ายประกาศนี้ และต้องทำการบันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตัวรถ และผลการตรวจสภาพรถลงในระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๗ เมื่อตรวจสภาพรถแต่ละคันเสร็จสิ้นแล้ว ให้ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ โดยต้องบันทึกการวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถและบันทึกข้อบกพร่องกรณีที่รถไม่ผ่านการตรวจสภาพ (ถ้ามี) ลงในระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกทันที” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๐ รถที่ผ่านการตรวจสภาพให้ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถหรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจัดพิมพ์รายงานผลการตรวจสภาพรถจากระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก โดยให้สถานตรวจสภาพรถจัดเก็บเอกสารส่วนที่ ๑ และมอบเอกสารส่วนที่ ๒ ให้เจ้าของรถหรือผู้ที่นำรถเข้ารับการตรวจสภาพเก็บไว้เป็นหลักฐาน โดยให้รายงานผลการตรวจสภาพรถถือเป็นใบรับรองการตรวจสภาพรถและให้มีอายุ ๓ เดือน นับแต่วันที่ผ่านการตรวจสภาพรถ สำหรับกรณีไม่ผ่านการตรวจสภาพ ให้ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถแจ้งผลการตรวจสภาพรถและข้อบกพร่องของรถคันนั้นให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ที่นำรถเข้ารับการตรวจสภาพทราบ และให้จัดพิมพ์รายงานผลการตรวจสภาพรถจากระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก โดยให้สถานตรวจสภาพรถจัดเก็บเอกสารส่วนที่ ๑ และมอบเอกสารส่วนที่ ๒ ให้เจ้าของรถหรือผู้ที่นำรถเข้ารับการตรวจสภาพ สำหรับใช้เป็นหลักฐานในการนำรถมาเข้ารับการตรวจสภาพรถใหม่ ภายหลังที่ได้ทำการแก้ไขข้อบกพร่องนั้นแล้ว” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๓ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๓ รถที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ เมื่อทำการแก้ไขข้อบกพร่องแล้ว และมาขอรับการตรวจสภาพรถใหม่ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) กรณีนำรถมาเข้ารับการตรวจสภาพใหม่ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพครั้งแรก ให้ตรวจสภาพเฉพาะรายการข้อบกพร่องที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่ารถนั้นมีข้อบกพร่องอื่นที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยในการใช้งาน แม้ในรายการนั้นจะได้ผ่านการตรวจสภาพไปแล้ว ก็ให้ตรวจสภาพรายการนั้นใหม่ด้วย (๒) กรณีนำรถมาเข้ารับการตรวจสภาพใหม่เกินกว่า ๑๕ วัน นับแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพรถครั้งแรก ให้ตรวจสภาพใหม่ทุกรายการ การตรวจสภาพรถตาม (๑) และ (๒) ให้ดำเนินการตามข้อ ๖” ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๖๗ ง/หน้า ๒๑/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙
755113
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์กระทำการแทน พ.ศ. 2559
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่ได้มีประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งมีผลทำให้นายทะเบียนประจำจังหวัดมีอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดอุตรดิตถ์จึงมอบหมายอำนาจหน้าที่นายทะเบียนประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์กระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและนักวิชาการขนส่งชำนาญการของกลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่อง ข้อ ๔ การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่อง และมอบหมายให้นักวิชาการขนส่งชำนาญการของกลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๔ (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ข้อ ๕ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่อง และมอบหมายให้นักวิชาการขนส่งชำนาญการของกลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๕ (ข) ข้อ ๖ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๗ การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์เปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่อง ข้อ ๘ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๙ การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๑๐ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ มอบหมายผู้กระทำการแทนดังนี้ (๑) หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถเป็นผู้กระทำการในทุกเรื่อง (๒) หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์ สาขาอำเภอน้ำปาดและหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์ สาขาอำเภอตรอนเป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๐ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) (๓) เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ, สำนักงานขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์ สาขาอำเภอน้ำปาดและสำนักงานขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์ สาขาอำเภอตรอนเป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๐ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๑๑ การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง, หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ, หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์ สาขาอำเภอน้ำปาด, หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์ สาขาอำเภอตรอนและนักวิชาการขนส่งชำนาญการ เป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๑๒ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง, หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ, หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์ สาขาอำเภอน้ำปาด, หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์ สาขาอำเภอตรอนและนักวิชาการขนส่งชำนาญการ เป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๑๓ การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต มอบหมายให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ, หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์ สาขาอำเภอน้ำปาด และหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์ สาขาอำเภอตรอนเป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่อง และมอบหมายให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ, สำนักงานขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์ สาขาอำเภอน้ำปาด และสำนักงานขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์ สาขาอำเภอตรอน เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๓ (ข) และ (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ณัฐชรดา อุไทยพจน์ เจ้าพนักงานขนส่งอาวุโสจังหวัดสุรินทร์ รักษาราชการแทน ขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์ นายทะเบียนประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๖๓ ง/หน้า ๒๗/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙
749697
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดมหาสารคาม ฉบับที่ 50 (พ.ศ. 2559) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 284 โกสุมพิสัย - บ้านโนนตุ่น เป็นหมวด 4 สายที่ 4716 โกสุมพิสัย - บ้านโคกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดมหาสารคาม ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ.๒๕๕๙) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๘๔ โกสุมพิสัย - บ้านโนนตุ่น เป็นหมวด ๔ สายที่ ๔๗๑๖ โกสุมพิสัย - บ้านโคกกลาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๙๔๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๘๔ โกสุมพิสัย - บ้านโนนตุ่น ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมหาสารคาม ได้พิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมหาสารคาม ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางหมวด ๓ สายที่ ๒๘๔ โกสุมพิสัย - บ้านโนนตุ่น เป็นหมวด ๔ สายที่ ๔๗๑๖ โกสุมพิสัย - บ้านโคกกลาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๗๑๖ โกสุมพิสัย - บ้านโคกกลาง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอโกสุมพิสัย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๘ ผ่านบ้านโชคชัย บ้านหนองบอน บ้านแพง ถึงทางแยกบ้านสองคอน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข มค. ๓๐๒๘ ถึงบ้านสองคอน ไปตามถนนองค์การบริหารส่วน จังหวัดมหาสารคาม หมายเลข ๒๐๒๘ ผ่านบ้านโพนงาม บ้านดอนน้อย บ้านม่วงใหญ่ ถึงบ้านดอนจำปาไปตามถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคามหมายเลข ๒๐๓๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกกลาง ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ โชคชัย เดชอมรธัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดมหาสารคาม [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมหาสารคาม เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วิศนี/ปริยานุช/จัดทำ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๓๐๓/๒๑ เมษายน ๒๕๕๙
748218
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครนายก เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครนายกให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดนครนายกกระทำการแทน พ.ศ. 2559
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครนายก ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครนายก เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครนายก ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดนครนายกกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๙ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่ง คือ การเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดจึงมอบหมายอำนาจให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดนครนายกกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครนายก เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครนายกให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดนครนายกกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งหรือประกาศอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครนายก ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครนายก ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครนายก ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครนายกใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครนายกเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครนายก ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครนายก ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครนายก หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) ข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (จ) ข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ไฟซอน อับดุลสมัด นายทะเบียนประจำจังหวัดนครนายก กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๖/๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙
747730
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปราจีนบุรี
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปราจีนบุรี[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำหนดจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปราจีนบุรี ในบริเวณที่ดินที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ปจ. ๘๒๘ ตำบลไม้เค็ด อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เนื้อที่ ๑๐ ไร่ โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบผังบริเวณมีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปราจีนบุรี (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๖๕ ง/หน้า ๒๕/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๙
747728
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ยกเลิกการจัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปราจีนบุรี
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ยกเลิกการจัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปราจีนบุรี[๑] ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ออกประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปราจีนบุรี ในบริเวณที่ดินโฉนดแปลงหมายเลขที่ ๗๖๗๓ - ๗๖๗๕ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน ๕ ไร่ มีอาณาเขตตามแผนที่ท้ายประกาศเป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งได้ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๔๕ วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๗ นั้น เนื่องจากการได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปราจีนบุรี ของบริษัท ขวัญพงษ์ธวัช จำกัด ได้ครบกำหนดเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๗ และไม่ได้รับอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปราจีนบุรี ประกอบกับคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ได้มีมติให้ยกเลิกสถานที่จัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปราจีนบุรี (แห่งเดิม) ในบริเวณที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๗๖๗๓ - ๗๖๗๕ ถนนปราจีนตคาม ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จึงประกาศให้ยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปราจีนบุรีดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปริยานุช/จัดทำ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๖๕ ง/หน้า ๒๔/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๙
747578
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดยโสธร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดยโสธร พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดยโสธร ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดยโสธร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดยโสธร พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดยโสธรเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนได้ นายทะเบียนประจำจังหวัดยโสธรจึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดยโสธรกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดยโสธร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดยโสธร พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดยโสธรที่ ๑/๒๕๕๘ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ลงนามกำกับรอยตราลายมือชื่อนายทะเบียนประจำจังหวัดยโสธร ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ สั่ง ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (ง) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดได้อนุมัติไว้ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบกระทำการ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการดังนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ เปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่งในกลุ่มวิชาการขนส่ง ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) และข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนรถและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งประราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายและเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (ฌ) การเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการทางทะเบียนรถ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานในฝ่ายทะเบียนรถ ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (จ) ข้อ ๖ (๒) และข้อ ๖ (๓) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต (ฉ) การเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานในฝ่ายใบอนุญาตขับรถ ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (ข) (ค) (ฉ) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) และข้อ ๙ ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานในสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) และข้อ ๙ (ข) (ค) (ฉ) ข้อ ๑๓ ในกรณีที่นายทะเบียนประจำจังหวัดยโสธรได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ปาหนัน ถนัดค้า ขนส่งจังหวัดยโสธร นายทะเบียนประจำจังหวัดยโสธร ปริยานุช/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๖๔ ง/หน้า ๔๐/๑๖ มีนาคม ๒๕๕๙
746453
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดลำปางกระทำการแทน พ.ศ. 2559
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดลำปางกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๙ ตามที่นายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง ตามคำสั่งที่ ๑๑๙/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๘ ไว้แล้ว นั้น โดยที่ได้มีประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งมีผลทำให้นายทะเบียนประจำจังหวัดมีอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว ดังนั้นเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง จึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดลำปางให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดลำปางกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดลำปางให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดลำปางกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง ที่ ๑๑๙/๒๕๕๘ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง ลงวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๘ ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำปาง ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำปาง ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำปางกระทำการ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำปางใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำปางเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำปาง ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำปาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำปาง หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) ข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (จ) ข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดลำปาง สาขาอำเภอเถิน, สาขาอำเภอแจ้ห่ม และสาขาอำเภองาว เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดลำปาง สาขาอำเภอเถิน สาขาอำเภอแจ้ห่ม และสาขาอำเภองาว เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ข้อ ๑๓ ในกรณีนายทะเบียนประจำจังหวัดได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ถาวร เหรียญตระกูลชัย ขนส่งจังหวัดลำปาง นายทะเบียนประจำจังหวัดลำปาง ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๓ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๔๗ ง/หน้า ๑๓/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
743739
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียน พ.ศ. 2558
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียน พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] โดยที่ปัจจุบันอุบัติเหตุที่เกิดจากรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น และในแต่ละครั้งได้ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงทั้งแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งสาเหตุของอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากผู้ขับรถฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้น เพื่อให้สามารถควบคุม กำกับ ดูแลผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด สมควรกำหนดให้รถดังกล่าวต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ (๑) (ต) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และข้อ ๔ (๔) แห่งกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ รถดังต่อไปนี้ที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๙ ต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ซึ่งมีคุณลักษณะและระบบการทำงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้แล้วเสร็จตามเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๑ ลักษณะ ๒ ลักษณะ ๓ และลักษณะ ๕ ที่มีจำนวนเพลาล้อ กงล้อและยาง ตั้งแต่ ๓ เพลา ๖ ล้อ ยาง ๑๐ เส้น ขึ้นไป ในประเภทการขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล (๒) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๙ ในประเภทการขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล บรรดารถใดที่มีประกาศกรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถไว้แล้ว ให้การถือปฏิบัติเป็นไปตามประกาศดังกล่าวนั้น ข้อ ๒ รถตามประกาศนี้ต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่มีคุณลักษณะและระบบการทำงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้แล้วเสร็จตามเงื่อนเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) รถที่ยังมิได้ติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ หรือที่ได้ติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถไว้แล้ว แต่มิได้เป็นไปตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ และไม่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลตาม (๒) ได้ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จตามเงื่อนเวลา ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีรถในประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง ๑) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๙ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียนสำหรับรถนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๑ ลักษณะ ๒ ลักษณะ ๓ และลักษณะ ๕ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียนสำหรับรถนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ (ข) กรณีรถในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล ๑) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๙ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียนสำหรับรถนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๑ ลักษณะ ๒ ลักษณะ ๓ และลักษณะ ๕ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียนสำหรับรถนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ (๒) รถที่ได้ติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถไว้แล้ว แต่มิได้เป็นไปตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ หากสามารถเชื่อมต่อข้อมูลความเร็วและตำแหน่งพิกัดบนโลกของรถเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System : GPS) ของกรมการขนส่งทางบก ก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียนสำหรับรถนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ หรือภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ให้สามารถใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถนั้นได้ต่อไป แต่ต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถให้เป็นไปตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้แล้วเสร็จก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียนสำหรับรถนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๓ เมื่อครบกำหนดเงื่อนเวลาตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งสำหรับรถนั้น ต้องจัดให้มีการส่งข้อมูลให้แก่กรมการขนส่งทางบกตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๙ ง/หน้า ๑๒/๑๓ มกราคม ๒๕๕๙
743737
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถก่อนการจดทะเบียน พ.ศ. 2558
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถก่อนการจดทะเบียน พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] โดยที่ปัจจุบันอุบัติเหตุที่เกิดจากรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น และในแต่ละครั้งได้ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงทั้งแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งสาเหตุของอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากผู้ขับรถฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้น เพื่อให้สามารถควบคุม กำกับดูแลผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด สมควรกำหนดให้รถดังกล่าวต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ (๑) (ต) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และข้อ ๔ (๔) แห่งกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ รถดังต่อไปนี้ที่จะนำมาจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ซึ่งมีคุณลักษณะและระบบการทำงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๑ ลักษณะ ๒ ลักษณะ ๓ และลักษณะ ๕ ที่มีจำนวนเพลาล้อ กงล้อและยาง ตั้งแต่ ๓ เพลา ๖ ล้อ ยาง ๑๐ เส้น ขึ้นไป ในประเภทการขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล (๒) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๙ ในประเภทการขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล บรรดารถใดที่มีประกาศกรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถไว้แล้ว ให้การถือปฏิบัติเป็นไปตามประกาศดังกล่าวนั้น ข้อ ๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งสำหรับรถตามข้อ ๑ ต้องจัดให้มีการส่งข้อมูลให้แก่กรมการขนส่งทางบกตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๓ การจดทะเบียนรถตามประกาศนี้ให้หมายความรวมถึงการจดทะเบียนรถสำหรับรถที่มีการแจ้งเลิกใช้ตามมาตรา ๗๙ ด้วย ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๙ ง/หน้า ๑๑/๑๓ มกราคม ๒๕๕๙
743735
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียน พ.ศ. 2558
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียน พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] โดยที่ปัจจุบันอุบัติเหตุที่เกิดจากรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น และในแต่ละครั้งได้ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงทั้งแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งสาเหตุของอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากผู้ขับรถฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้น เพื่อให้สามารถควบคุม กำกับ ดูแลผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด สมควรกำหนดให้รถดังกล่าวต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๑) (ต) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และข้อ ๓ (๑๐) แห่งกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ รถดังต่อไปนี้ที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๙ ต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ซึ่งมีคุณลักษณะและระบบการทำงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้แล้วเสร็จตามเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีลักษณะเป็นรถตู้โดยสาร (๒) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๒ และ ๓ เว้นแต่รถที่มีการจัดวางที่นั่งเป็นลักษณะสองแถว (๓) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง เว้นแต่รถที่มีการจัดวางที่นั่งเป็นลักษณะสองแถว บรรดารถใดที่มีประกาศกรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถไว้แล้ว ให้การถือปฏิบัติเป็นไปตามประกาศดังกล่าวนั้น ข้อ ๒ รถตามประกาศนี้ต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่มีคุณลักษณะและระบบการทำงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้แล้วเสร็จตามเงื่อนเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) รถที่ยังมิได้ติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ หรือที่ได้ติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถไว้แล้ว แต่มิได้เป็นไปตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ และไม่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลตาม (๒) ได้ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียนสำหรับรถนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ (๒) รถที่ได้ติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถไว้แล้ว แต่มิได้เป็นไปตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ หากสามารถเชื่อมต่อข้อมูลความเร็วและตำแหน่งพิกัดบนโลกของรถเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System : GPS) ของกรมการขนส่งทางบก ก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียนสำหรับรถนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ หรือภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ให้สามารถใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถนั้นได้ต่อไป แต่ต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถให้เป็นไปตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้แล้วเสร็จก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียนสำหรับรถนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๓ เมื่อครบกำหนดเงื่อนเวลาตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งสำหรับรถนั้น ต้องจัดให้มีการส่งข้อมูลให้แก่กรมการขนส่งทางบกตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๙ ง/หน้า ๙/๑๓ มกราคม ๒๕๕๙
743733
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถก่อนการจดทะเบียน พ.ศ. 2558
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถก่อนการจดทะเบียน พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] โดยที่ปัจจุบันอุบัติเหตุที่เกิดจากรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น และในแต่ละครั้งได้ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงทั้งแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งสาเหตุของอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากผู้ขับรถฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้น เพื่อให้สามารถควบคุม กำกับ ดูแลผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด สมควรกำหนดให้รถดังกล่าวต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๑) (ต) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และข้อ ๓ (๑๐) แห่งกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ รถดังต่อไปนี้ที่จะนำมาจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไปต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ซึ่งมีคุณลักษณะและระบบการทำงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานคร เว้นแต่รถที่มีการจัดวางที่นั่งเป็นลักษณะสองแถว (๒) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๒ และ ๓ เว้นแต่รถที่มีการจัดวางที่นั่งเป็นลักษณะสองแถว (๓) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง เว้นแต่รถที่มีการจัดวางที่นั่งเป็นลักษณะสองแถว ข้อ ๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งสำหรับรถตามข้อ ๑ ต้องจัดให้มีการส่งข้อมูลให้แก่กรมการขนส่งทางบกตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๓ การจดทะเบียนรถตามประกาศนี้ให้หมายความรวมถึงการจดทะเบียนรถสำหรับรถที่มีการแจ้งเลิกใช้ตามมาตรา ๗๙ ด้วย ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๙ ง/หน้า ๘/๑๓ มกราคม ๒๕๕๙
743731
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. 2558
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] เพื่อให้การติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุม กำกับ ดูแลผู้ขับรถให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด สมควรกำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๑) (ต) และข้อ ๑๕ (๑) (ต) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศกำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่งไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ” หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกและส่งข้อมูลการใช้งานของรถด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System : GPS) “ผู้ให้บริการระบบติดตามรถ” หมายถึง ผู้จำหน่ายเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ หรือผู้ให้บริการข้อมูลในการติดตาม ตรวจสอบและประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถผ่านโครงข่ายโทรคมนาคม และให้หมายความรวมถึงผู้ประกอบการขนส่งที่ดำเนินการในลักษณะดังกล่าวสำหรับรถของตนเองด้วย ข้อ ๒ เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถต้องสามารถทำงานผ่านโครงข่ายคมนาคมและต้องมีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีระบบบันทึกและส่งข้อมูลการใช้งานของรถ ซึ่งต้องสามารถบันทึกและส่งข้อมูลได้อย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งของรถในรูปแบบของระบบพิกัดบนพื้นโลกและสถานที่ โดยมีความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งพิกัดในแนวราบไม่เกิน ๒๐ เมตร (ข) ความเร็วของรถเป็นหน่วยกิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีค่าความละเอียดไม่เกิน ๑ กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีค่าความเร็วของรถในทุก ๆ ๑ นาที (ค) จำนวนชั่วโมงการขับรถของผู้ขับรถ โดยมีค่าความละเอียดไม่เกิน ๑ นาที (ง) วันเวลาที่บันทึกข้อมูล (จ) ชื่อและนามสกุลหรือเลขที่ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถที่ได้จากระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ (๒) มีระบบส่งข้อมูลการใช้งานของรถในลักษณะที่เป็นปัจจุบัน (Real Time) หรือไม่น้อยกว่า ๑ ครั้งใน ๕ นาที โดยเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ที่ติดตั้งในเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคมและประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ (๓) มีระบบบันทึกข้อมูลการใช้งานของรถไว้ที่เครื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมงสำหรับกรณีที่ไม่สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมได้ในบางขณะ (๔) มีระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ โดยเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลจากใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถของกรมการขนส่งทางบกที่เป็นแบบแถบแม่เหล็ก หรือเชื่อมโยงจากข้อมูลอื่นตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด (๕) มีระบบควบคุมให้ผู้ขับรถแสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถระบบใดระบบหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) ระบบการแจ้งเตือนเป็นตัวอักษร สัญญาณเสียงหรือสัญญาณอื่น ๆ หากเครื่องยนต์มีการทำงานหรือรถเคลื่อนที่โดยผู้ขับรถมิได้แสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ โดยการแจ้งเตือนต้องทำงานต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐ นาที หรือจนกว่าจะหยุดเครื่องยนต์ หรือมีการแสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ (ข) ระบบป้องกันมิให้เครื่องยนต์ทำงานหรือรถเคลื่อนที่ หากผู้ขับรถมิได้แสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ (๖) มีระบบบันทึกและส่งข้อมูลการใช้งานของรถ กรณีผู้ขับรถมิได้แสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ (๗) มีระบบแจ้งการปลดหรือถอดเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ข้อ ๓ เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถต้องมีระบบการทำงาน ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องทำงานตลอดเวลาที่เครื่องยนต์ทำงานหรือรถเคลื่อนที่ (๒) สามารถทำงานให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถจัดส่งข้อมูลดังต่อไปนี้ ในลักษณะที่เป็นปัจจุบัน (Real time) ผ่านทางโครงข่ายโทรคมนาคมหรือระบบสารสนเทศให้กรมการขนส่งทางบกตามรูปแบบและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ (ก) ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ได้แก่ หมายเลขการรับรองเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (Vendor Identifier) และหมายเลขเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (GPS Unit Identifier) (ข) ข้อมูลการใช้งานของรถ ได้แก่ วัน เวลา ความเร็ว ตำแหน่งพิกัด สถานะของเครื่องยนต์สถานะของสัญญาณ (GPS Fix Status) สถานะของข้อมูล (Data status) และลำดับของข้อมูล (Record Sequence Number) (ค) ข้อมูลผู้ขับรถ ได้แก่ ประเภทใบอนุญาตขับรถ หมายเลขใบอนุญาตขับรถและจังหวัดที่ออกใบอนุญาต (ง) ข้อมูลการปลดหรือถอดเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ข้อ ๔ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการขนส่งให้สามารถเลือกติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่มีคุณลักษณะและระบบการทำงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติการเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่จะติดตั้งบนรถต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองจากกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๕ การขอรับการตรวจสอบและรับรองคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ให้ผู้ให้บริการระบบติดตามรถยื่นคำขอ ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบกพร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน กรณีเป็นคนต่างด้าวให้ยื่นภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมด้วยใบสำคัญถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (๒) กรณีเป็นนิติบุคคลให้ยื่นภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล พร้อมด้วยภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม กรณีผู้มีอำนาจลงนามเป็นคนต่างด้าวให้ยื่นภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมด้วยใบสำคัญถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (๓) หนังสือมอบอำนาจพร้อมด้วยภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ กรณีมีการมอบอำนาจให้กระทำการแทน (๔) ภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม (๕) ภาพถ่ายใบรับรองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ (๖) ชนิด แบบและเอกสารแสดงข้อกำหนดทางเทคนิค (Technical Specification) ของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ อุปกรณ์บ่งชี้ผู้ขับรถ พร้อมด้วยเอกสารรับรองอื่นที่เกี่ยวข้อง (๗) คู่มือการใช้งานเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ พร้อมอุปกรณ์บ่งชี้ผู้ขับรถ ข้อ ๖ เมื่อตรวจสอบแล้วปรากฏว่า เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถมีคุณลักษณะเป็นไปตามที่กำหนดและผู้ให้บริการระบบติดตามรถดำเนินการเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System : GPS) ของกรมการขนส่งทางบกเรียบร้อยแล้ว กรมการขนส่งทางบกจะออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้ให้บริการระบบติดตามรถ ข้อ ๗ ผู้ให้บริการระบบติดตามรถที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกต้องจัดทำเครื่องหมายการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกเพื่อแสดงว่าเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถของผู้ให้บริการระบบติดตามรถเป็นชนิดและแบบที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก โดยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ (๑) หมายเลขการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก (๒) ชนิดและแบบของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (๓) หมายเลขของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (๔) เลขทะเบียนรถและหมายเลขคัสซีของรถคันที่ติดตั้ง (๕) ชื่อผู้ให้บริการระบบติดตามรถ เครื่องหมายการรับรองเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๘ เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ได้รับการรับรองตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ และตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๔ (รถสองชั้น) พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้ถือว่าได้รับการรับรองตามประกาศนี้ โดยผู้ให้บริการระบบติดตามรถต้องปฏิบัติและดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๙ เมื่อผู้ให้บริการระบบติดตามรถติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งรายใดแล้ว ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) ติดเครื่องหมายการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกไว้ที่เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถหรือบริเวณใกล้เคียงกับเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ หรือภายในห้องผู้ขับรถ ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจนโดยเครื่องหมายดังกล่าวต้องชัดเจน ไม่ลบเลือน (๒) ออกหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ให้กับผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถนำไปใช้เป็นหลักฐานประกอบการตรวจสภาพรถและดำเนินการทางทะเบียน (๓) ส่งข้อมูลการติดตั้ง เปลี่ยน ถอด หรือยกเลิกการใช้ เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถให้แก่กรมการขนส่งทางบก (๔) ส่งข้อมูลตามข้อ ๓ (๒) ให้แก่กรมการขนส่งทางบกในลักษณะที่เป็นปัจจุบัน (Real time) (๕) จัดเก็บข้อมูลการใช้งานของรถที่ติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางไว้ไม่น้อยกว่า ๖ เดือนและต้องจัดส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่กรมการขนส่งทางบกเมื่อมีการร้องขอหรือเมื่อต้องการตรวจสอบ การส่งข้อมูลตาม (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. การส่งข้อมูลตามประกาศข้อ ๙ (๓) และ (๔) ๒. แบบเครื่องหมายการรับรองเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ๓. แบบหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๙ ง/หน้า ๔/๑๓ มกราคม ๒๕๕๙
743126
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน 4 (รถสองชั้น) พ.ศ. 2558
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๔ (รถสองชั้น) พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้มีประกาศกำหนดให้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีความสูงตั้งแต่ ๓.๖๐ เมตรขึ้นไป ต้องผ่านการทดสอบการทรงตัวของรถ แต่โดยที่ประกาศดังกล่าวมิได้กำหนดให้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๔ (รถสองชั้น) ที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ ต้องเข้ารับการทดสอบการทรงตัว ดังนั้น เพื่อให้มีมาตรการควบคุมกำกับดูแลด้านความปลอดภัยสำหรับรถดังกล่าว ซึ่งจะก่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้รถมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๑) (ต) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๔ (รถสองชั้น) ที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ ข้อ ๒ รถตามข้อ ๑ ต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่มีคุณลักษณะและระบบการทำงานตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ให้แล้วเสร็จก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียนสำหรับรถนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๓ เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถต้องสามารถทำงานผ่านโครงข่ายคมนาคมและต้องมีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีระบบบันทึกและส่งข้อมูลการใช้งานของรถ ซึ่งต้องสามารถบันทึกและส่งข้อมูลได้อย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งของรถในรูปแบบของระบบพิกัดบนพื้นโลกและสถานที่ โดยมีความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งพิกัดในแนวราบไม่เกิน ๒๐ เมตร (ข) ความเร็วของรถเป็นหน่วยกิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีค่าความละเอียดไม่เกิน ๑ กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีค่าความเร็วของรถในทุก ๆ ๑ นาที (ค) จำนวนชั่วโมงการขับรถของผู้ขับรถ โดยมีค่าความละเอียดไม่เกิน ๑ นาที (ง) วันเวลาที่บันทึกข้อมูล (จ) ชื่อและนามสกุลหรือเลขที่ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถที่ได้จากระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ (๒) มีระบบส่งข้อมูลการใช้งานของรถในลักษณะที่เป็นปัจจุบัน (Real Time) หรือไม่น้อยกว่า ๑ ครั้งใน ๕ นาที โดยเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ที่ติดตั้งในเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคมและประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ (๓) มีระบบบันทึกข้อมูลการใช้งานของรถไว้ที่เครื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมง สำหรับกรณีที่ไม่สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมได้ในบางขณะ (๔) มีระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ โดยเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลจากใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถของกรมการขนส่งทางบกที่เป็นแบบแถบแม่เหล็ก หรือเชื่อมโยงจากข้อมูลอื่นตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด (๕) มีระบบควบคุมให้ผู้ขับรถแสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถระบบใดระบบหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) ระบบการแจ้งเตือนเป็นตัวอักษร สัญญาณเสียงหรือสัญญาณอื่น ๆ หากเครื่องยนต์มีการทำงานหรือรถเคลื่อนที่โดยผู้ขับรถมิได้แสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ โดยการแจ้งเตือนต้องทำงานต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐ นาที หรือจนกว่าจะหยุดเครื่องยนต์ หรือมีการแสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ (ข) ระบบป้องกันมิให้เครื่องยนต์ทำงานหรือรถเคลื่อนที่ หากผู้ขับรถมิได้แสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ (๖) มีระบบบันทึกและส่งข้อมูลการใช้งานของรถ กรณีผู้ขับรถมิได้แสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ (๗) มีระบบแจ้งการปลดหรือถอดเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ข้อ ๔ เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถต้องมีระบบการทำงาน ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องทำงานตลอดเวลาที่เครื่องยนต์ทำงานหรือรถเคลื่อนที่ (๒) สามารถทำงานให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดไว้ตามข้อ ๓ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถจัดส่งข้อมูลดังต่อไปนี้ ในลักษณะที่เป็นปัจจุบัน (Real time) ผ่านทางโครงข่ายโทรคมนาคมหรือระบบสารสนเทศให้กรมการขนส่งทางบกตามรูปแบบและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ (ก) ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ได้แก่ หมายเลขการรับรองเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (Vendor Identifier) และหมายเลขเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (GPS Unit Identifier) (ข) ข้อมูลการใช้งานของรถ ได้แก่ วัน เวลา ความเร็ว ตำแหน่งพิกัด สถานะของเครื่องยนต์สถานะของสัญญาณ (GPS Fix Status) สถานะของข้อมูล (Data status) และลำดับของข้อมูล (Record Sequence Number) (ค) ข้อมูลผู้ขับรถ ได้แก่ ประเภทใบอนุญาตขับรถ หมายเลขใบอนุญาตขับรถและจังหวัดที่ออกใบอนุญาต (ง) ข้อมูลการปลดหรือถอดเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ข้อ ๕ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการขนส่งให้สามารถเลือกติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่มีคุณลักษณะและระบบการทำงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติการเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่จะติดตั้งบนรถต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองจากกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๖ การขอรับการตรวจสอบและรับรองคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ให้ผู้ให้บริการระบบติดตามรถยื่นคำขอ ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน กรณีเป็นคนต่างด้าวให้ยื่นภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมด้วยใบสำคัญถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (๒) กรณีเป็นนิติบุคคลให้ยื่นภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล พร้อมด้วยภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม กรณีผู้มีอำนาจลงนามเป็นคนต่างด้าวให้ยื่นภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมด้วยใบสำคัญถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (๓) หนังสือมอบอำนาจพร้อมด้วยภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจกรณีมีการมอบอำนาจให้กระทำการแทน (๔) ภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม (๕) ภาพถ่ายใบรับรองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ (๖) ชนิด แบบและเอกสารแสดงข้อกำหนดทางเทคนิค (Technical Specification) ของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ อุปกรณ์บ่งชี้ผู้ขับรถ พร้อมด้วยเอกสารรับรองอื่นที่เกี่ยวข้อง (๗) คู่มือการใช้งานเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ พร้อมอุปกรณ์บ่งชี้ผู้ขับรถ ข้อ ๗ เมื่อตรวจสอบแล้วปรากฏว่า เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถมีคุณลักษณะเป็นไปตามที่กำหนด และผู้ให้บริการระบบติดตามรถดำเนินการเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System: GPS) ของกรมการขนส่งทางบกเรียบร้อยแล้ว กรมการขนส่งทางบกจะออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้ให้บริการระบบติดตามรถ ข้อ ๘ ผู้ให้บริการระบบติดตามรถที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกต้องจัดทำเครื่องหมายการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกเพื่อแสดงว่าเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถของผู้ให้บริการระบบติดตามรถเป็นชนิดและแบบที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก โดยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ (๑) หมายเลขการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก (๒) ชนิดและแบบของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (๓) หมายเลขของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (๔) เลขทะเบียนรถและหมายเลขคัสซีของรถคันที่ติดตั้ง (๕) ชื่อผู้ให้บริการระบบติดตามรถ เครื่องหมายการรับรองเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๙ เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ได้รับการรับรองตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ให้ถือว่าได้รับการรับรองตามประกาศนี้ โดยผู้ให้บริการระบบติดตามรถต้องปฏิบัติและดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๑๐ เมื่อผู้ให้บริการระบบติดตามรถติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งรายใดแล้ว ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) ติดเครื่องหมายการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกไว้ที่เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถหรือบริเวณใกล้เคียงกับเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ หรือภายในห้องผู้ขับรถ ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน โดยเครื่องหมายดังกล่าวต้องชัดเจน ไม่ลบเลือน (๒) ออกหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ให้กับผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถนำไปใช้เป็นหลักฐานประกอบการตรวจสภาพรถและดำเนินการทางทะเบียน (๓) ส่งข้อมูลการติดตั้ง เปลี่ยน ถอด หรือยกเลิกการใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถให้แก่กรมการขนส่งทางบก (๔) ส่งข้อมูลตามข้อ ๔ (๒) ให้แก่กรมการขนส่งทางบกในลักษณะที่เป็นปัจจุบัน (Real time) (๕) จัดเก็บข้อมูลการใช้งานของรถที่ติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางไว้ไม่น้อยกว่า ๖ เดือน และต้องจัดส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่กรมการขนส่งทางบกเมื่อมีการร้องขอ หรือเมื่อต้องการตรวจสอบ การส่งข้อมูลตาม (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. การส่งข้อมูลตามประกาศข้อ ๑๐ (๓) และ (๔) ๒. แบบเครื่องหมายการรับรองเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ๓. แบบหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๙/๖ มกราคม ๒๕๕๙
743124
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับการนำรถเข้ารับการทดสอบและวันใช้บังคับประกาศดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในวรรคสามของข้อ ๑๓ (๒) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีความสูงตั้งแต่ ๓.๖๐ เมตรขึ้นไป ตามเงื่อนเวลาดังนี้ (๑) รถที่จดทะเบียนใหม่ และรถที่จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่เฉพาะที่มีการเปลี่ยนตัวถัง ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ (๒) รถที่จดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ แต่ได้มีการเปลี่ยนตัวถังให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ประกาศ ณ วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/จัดทำ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๘/๖ มกราคม ๒๕๕๙
742807
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสงขลา
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสงขลา[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำหนดจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสงขลา ในที่ดินบริเวณท่าเทียบเรือประมงใหม่สงขลา (ท่าสะอ้าน) ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๒๒.๓ ตารางวา โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสงขลา (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ ๗ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๔๓ ง/หน้า ๒๒/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๘
742121
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดลำพูน เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดลำพูนให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดลำพูนกระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดลำพูน ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดลำพูน เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดลำพูน ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดลำพูนกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งมีผลทำให้นายทะเบียนประจำจังหวัดมีอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดลำพูน จึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดลำพูน ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดลำพูนกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดลำพูน เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดลำพูนให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดลำพูนกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ และใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำพูนดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำพูนดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถเข้าดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำพูนดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำพูน ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำพูนเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์ เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำพูนส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์ เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำพูน ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลำพูน หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) ข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนและภาษีรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังนี้ (ก) การจดทะเบียนรถ (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (จ) และข้อ ๖ (๒) (๓) ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ผู้ประจำรถดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดลำพูน สาขาอำเภอลี้ หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดลำพูนสาขาอำเภอบ้านโฮ่ง เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๓) (ข) ข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดลำพูน สาขาอำเภอลี้และสำนักงานขนส่งจังหวัดลำพูน สาขาอำเภอบ้านโฮ่ง เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๓) (ข) ข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (ข) (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ชาญชัย กีฬาแปง นายทะเบียนประจำจังหวัดลำพูน ปริยานุช/จัดทำ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ วริญา/ตรวจ ๔ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๓๖ ง/หน้า ๖/๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๘
742117
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดกำแพงเพชรให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดกำแพงเพชรกระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดกำแพงเพชรกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ด้วยได้มีประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งได้กำหนดให้นายทะเบียนกลางและนายทะเบียนประจำจังหวัดอาจมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดกำแพงเพชรจึงมอบหมายให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดกำแพงเพชรกระทำการแทนได้ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดกำแพงเพชรให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดกำแพงเพชรกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ และใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกำแพงเพชรดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกำแพงเพชรดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกำแพงเพชรดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกำแพงเพชรใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกำแพงเพชรเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกำแพงเพชร หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๘) การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) และข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังนี้ (ก) การจดทะเบียนรถใหม่และการเปลี่ยนประเภทรถ ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) การโอนรถ ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ง) การย้ายรถเข้า ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (จ) การแก้ไขรายการทางทะเบียน ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การขอแผ่นป้ายทะเบียนรถ กรณีสูญหาย ชำรุด หรือลบเลือนในสาระสำคัญตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฌ) การขอใบแทนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ญ) การขอใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียน ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฎ) การย้ายรถออก ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฏ) การแจ้งใช้รถที่ได้แจ้งไม่เสียภาษีรถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฐ) การแปลหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเป็นภาษาอังกฤษ ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฑ) การออกหนังสืออนุญาตระหว่างประเทศและเครื่องหมายประเทศ ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฒ) การขอตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถ ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต (ฉ) การเปลี่ยนประเภทใบอนุญาต (ช) การเปลี่ยนชนิดใบอนุญาต (ซ) การแก้ไขรายการใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (ก) (ข) (ค) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร สาขาอำเภอขาณุวรลักษบุรี เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๒) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคล (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) (๓) (ข) ข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) (ญ) (ฎ) (ฏ) (ฐ) (ฑ) (ฒ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และข้อ ๙ (๑) ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร สาขาอำเภอขาณุวรลักษบุรี เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๒) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคล (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) (ญ) (ฎ) (ฏ) (ฐ) (ฑ) (ฒ) และข้อ ๙ (๑) (ก) (ข) (ค) (ฉ) (ช) และ (ซ) ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ พงศ์ธนา แววรัตน์ นายทะเบียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร ปริยานุช/จัดทำ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ วริญา/ตรวจ ๔ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๓๖ ง/หน้า ๒/๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๘
742105
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดราชบุรี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดราชบุรีให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดราชบุรีกระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดราชบุรี ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดราชบุรี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดราชบุรี ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดราชบุรีกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งมีผลทำให้นายทะเบียนประจำจังหวัดมีอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดราชบุรีจึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดราชบุรีให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดราชบุรีกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดราชบุรี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดราชบุรีให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดราชบุรีกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดราชบุรี เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดราชบุรี ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดราชบุรีดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดราชบุรีกระทำการดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดราชบุรีใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดราชบุรีเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดราชบุรี ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดราชบุรี ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดราชบุรี หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๔ ให้นักวิชาการขนส่ง กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดราชบุรี เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓ (๑) ข้อ ๓ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๓ (๓) (ก) (ข) ข้อ ๓ (๔) และข้อ ๓ (๗) ข้อ ๕ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดราชบุรี เป็นผู้กระทำส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓ (๓) (ก) (ข) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดราชบุรี เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดราชบุรี เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (ฉ) (ช) (ซ) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดราชบุรี เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถเกี่ยวกับการอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดราชบุรี เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต (ฉ) การแก้ไขสาระสำคัญใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่ง ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดราชบุรี เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (ข) (ค) (ง) (ฉ) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดราชบุรีสาขาอำเภอบ้านโป่งและสาขาอำเภอจอมบึง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดราชบุรีกระทำการดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดราชบุรี ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดราชบุรี หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังนี้ (ก) การเสียภาษีประจำปี (ข) การโอนรถ (ค) การย้ายรถ (ง) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (จ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๔) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต (ฉ) การแก้ไขสาระสำคัญใบอนุญาต ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดราชบุรี สาขาอำเภอบ้านโป่ง และสาขาอำเภอจอมบึง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๑ (๑) (ก) (ข) ข้อ ๑๑ (๓) (ก) (ข) (ค) (จ) (ฉ) (ช) และข้อ ๑๑ (๔) (ข) (ค) (ง) (ฉ) ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ คงศักดิ์ เลิศประดิษฐ์ ขนส่งจังหวัดราชบุรี นายทะเบียนประจำจังหวัดราชบุรี ปริยานุช/จัดทำ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ วริญา/ตรวจ ๔ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๓๕ ง/หน้า ๓๕/๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๘
741700
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสระแก้ว เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัด ให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสระแก้ว ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสระแก้ว เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัด ให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งมีผลทำให้นายทะเบียนประจำจังหวัดมีอำนาจมอบหมายให้ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ในการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัด นั้น ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดจึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสระแก้ว เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดสระแก้ว เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสระแก้ว ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสระแก้ว ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่ไม่ได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสระแก้ว ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสระแก้วใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตขนส่งประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสระแก้ว เปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ เป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสระแก้ว ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอต่อการขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดสระแก้ว (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสระแก้ว ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสระแก้ว หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๔ ให้นักวิชาการขนส่งในกลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดสระแก้วเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓ (๑) ข้อ ๓ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสระแก้ว เป็นผู้กระทำแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งส่วนบุคคล (๒) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพรถหรือสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ในฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสระแก้ว เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ (๑) การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ (๒) การย้ายรถ (๓) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การแจ้งไม่เสียภาษีรถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การออกหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี หรือแผ่นป้ายทะเบียนรถแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือลบเลือนในสาระสำคัญ (๖) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสระแก้ว เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ในฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสระแก้ว เป็นผู้กระทำแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ ๗ (ข) และ (ค) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสระแก้ว เป็นผู้กระทำแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๒) (๓) และ (๔) ข้อ ๑๐ ในกรณีนายทะเบียนประจำจังหวัดได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นกาลเฉพาะ ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ กนิษฐฐ์ เจียมรุจีกุล นายทะเบียนประจำจังหวัดสระแก้ว ปริยานุช ,กัญฑรัตน์/จัดทำ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ นุสรา/ตรวจ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๓๑ ง/หน้า ๒๘/๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๘
741698
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดยะลา เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดยะลา ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดยะลากระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดยะลา ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดยะลา เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดยะลา ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดยะลากระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งมีสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือ การเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดยะลา จึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดยะลาให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดยะลากระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดยะลา เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดยะลาให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดยะลากระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดยะลา เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดยะลาและการประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดยะลา ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดยะลา ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดยะลากระทำการ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดยะลาที่รับผิดชอบใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดยะลาเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดยะลา ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดยะลา ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดยะลา หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๔ ให้นักวิชาการขนส่ง กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดยะลา เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓ (๑) (ก) (ข) (ค) ข้อ ๓ (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดยะลา เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๖ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดยะลา สาขาอำเภอเบตง และเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานผู้ได้รับมอบหมาย เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดยะลา เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (จ) ข้อ ๕ (๒) ข้อ ๕ (๓) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดยะลา และหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดยะลา สาขาอำเภอเบตง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานผู้ได้รับมอบหมาย เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๘ (ข) (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ประวิทย์ ตั้งตรัสธรรม นายทะเบียนประจำจังหวัดยะลา ปริยานุช ,กัญฑรัตน์/จัดทำ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ นุสรา/ตรวจ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๓๑ ง/หน้า ๒๔/๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๘
741294
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรากระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรากระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยที่ได้มีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ มีผลทำให้นายทะเบียนประจำจังหวัดอาจมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกทำการแทนได้ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา จึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรากระทำการแทนดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดฉะเชิงเทราให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรากระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งหรือประกาศอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดฉะเชิงเทราหรืออำเภอที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดฉะเชิงเทราใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดฉะเชิงเทราเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดฉะเชิงเทราส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) และข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (จ) และข้อ ๖ (๒) (๓) ข้อ ๘ ให้นักวิชาการขนส่ง สังกัดฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สังกัดฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๑๐ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๐ (ข) และ (ค) ข้อ ๑๒ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรา สาขาอำเภอพนมสารคาม เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๑๐ ข้อ ๑๓ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรา สาขาอำเภอพนมสารคาม เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๑๐ (ข) (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ยงยุทธ นาคแดง ขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรา ปริยานุช/จัดทำ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ตรวจ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๒๑ ง/หน้า ๒๐/๓ ธันวาคม ๒๕๕๘
740522
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์กระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์จึงมอบหมายอำนาจให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์กระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ และใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครสวรรค์ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครสวรรค์ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครสวรรค์ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครสวรรค์ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครสวรรค์เปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครสวรรค์ หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๘) การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) ข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเปลี่ยนประเภทรถ (ค) การเสียภาษีประจำปี (ง) การโอนรถ (จ) การย้ายรถ (ฉ) การแก้ไขรายการทางทะเบียน (ช) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฌ) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ญ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (ฎ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถกรณีรายการเต็ม กรณีสูญหาย หรือชำรุด (ฏ) การตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถ (ฐ) การแจ้งใช้รถที่แจ้งไม่เสียภาษี ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ช) ข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) (ญ) (ฎ) และ (ฐ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่อใบอนุญาต (ค) การเปลี่ยนประเภทใบอนุญาต (ง) การเปลี่ยนชนิดใบอนุญาต (จ) การออกใบแทนใบอนุญาต (ฉ) การแก้ไขรายการใบอนุญาต (ช) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) และ (ฉ) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ สาขาอำเภอตาคลี หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ สาขาอำเภอหนองบัว และหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ สาขาอำเภอลาดยาว เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๒) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคล (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) (๓) (ข) ข้อ ๖ (๑) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) (ญ) (ฎ) (ฏ) (ฐ) (๒) (๓) และข้อ ๙ (๑) ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ สาขาอำเภอตาคลี เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ สาขาอำเภอหนองบัว และเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ สาขาอำเภอลาดยาว เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๒) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคล (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ (๑) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) (ญ) (ฎ) (ฐ) และข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) และ (ฉ) ประกาศ ณ วันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ สุจิตรา อินดนตรี นายทะเบียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ ปริยานุช/จัดทำ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ วริญา/ตรวจ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๐๕ ง/หน้า ๔๖/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
740518
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดกาญจนบุรีให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดกาญจนบุรีกระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดกาญจนบุรี ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดกาญจนบุรี ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดกาญจนบุรีกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่ง คือ การเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดกาญจนบุรีจึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดกาญจนบุรีกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดกาญจนบุรีให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดกาญจนบุรีกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกาญจนบุรีดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกาญจนบุรีดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกาญจนบุรีกระทำการดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกาญจนบุรีใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกาญจนบุรีเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกาญจนบุรี หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับอนุญาตมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๔ ให้นักวิชาการขนส่งชำนาญการ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓ (๑) ข้อ ๓ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) และข้อ ๓ (๓) ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพรถหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (จ) ข้อ ๕ (๒) และข้อ ๕ (๓) ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๘ (๑) (ข) (ค) ข้อ ๑๐ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๘ (๑) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๘ (๑) (ข) (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ฉัตรชัย ไชยทา นายทะเบียนประจำจังหวัดกาญจนบุรี ปริยานุช/จัดทำ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ วริญา/ตรวจ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๐๕ ง/หน้า ๔๒/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
740227
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือ การเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็วสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้และใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรค ๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๔ (๑) และข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้ทำการแทนเกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๖ (๑) (จ) ข้อ ๖ (๒) และข้อ ๖ (๓) ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สังกัดงานทะเบียนขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้ทำการแทนเกี่ยวกับ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำการแทนตามข้อ ๙ (ข) (ค) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาอำเภอนาสาร หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาอำเภอเวียงสระ หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาอำเภอไชยาและหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาอำเภอเกาะสมุย เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาอำเภอนาสาร สาขาอำเภอเวียงสระ สาขาอำเภอไชยาและสาขาอำเภอเกาะสมุย เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) และข้อ ๙ (ข) (ค) ข้อ ๑๓ ในกรณีที่นายทะเบียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ มานพ สุทธิพงษ์ นายทะเบียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปริยานุช/จัดทำ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ วิศนี/ตรวจ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๐๒ ง/หน้า ๒๙/๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
740223
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดพะเยา เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดพะเยา ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดพะเยากระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดพะเยา ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดพะเยา เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดพะเยา ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดพะเยากระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งมีผลทำให้นายทะเบียนประจำจังหวัดมีอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว ดั้งนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดพะเยาจึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดพะเยา ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดพะเยากระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดพะเยา เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดพะเยาให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดพะเยากระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพะเยาดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพะเยาดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถเข้าดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพะเยา ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพะเยา ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพะเยาเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์ เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพะเยาส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์ เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพะเยา ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพะเยา หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๔ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนและภาษีรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังนี้ (ก) การจดทะเบียนรถ (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ผู้ประจำรถดังนี้ (๑) การออกใบอนุญาต (๒) การต่ออายุใบอนุญาต (๓) การออกใบแทนใบอนุญาต (๔) การสั่งพักใบอนุญาต (๕) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (จ) และข้อ ๔ (๒) (๓) ข้อ ๗ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดพะเยา สาขาอำเภอภูซาง หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดพะเยา สาขาอำเภอปง เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๕ ข้อ ๘ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓ (๑) และข้อ ๓ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๕ (๒) (๓) ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ โสภณ พิทักษ์สาลี นายทะเบียนประจำจังหวัดพะเยา ปริยานุช/จัดทำ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ วิศนี/ตรวจ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๐๒ ง/หน้า ๒๕/๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
740221
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเพชรบุรี ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดเพชรบุรีกระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดเพชรบุรี ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเพชรบุรี ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดเพชรบุรีกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ด้วยได้มีประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งได้กำหนดให้นายทะเบียนกลางและนายทะเบียนประจำจังหวัดอาจมอบหมายให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดเพชรบุรี จึงมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดเพชรบุรี กระทำการแทนได้ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเพชรบุรีให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดเพชรบุรีกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ และใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดเพชรบุรี ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ ข้อ ๕ การประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดเพชรบุรี ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (ง) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด ข้อ ๖ ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดเพชรบุรีดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่อใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการในข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดเพชรบุรี สาขาอำเภอชะอำ เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๖ และมอบหมายให้นักวิชาการขนส่งชำนาญการ เป็นผู้กระทำการแทนข้อ ๕ ข้อ ๖ (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ข้อ ๗ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งในเขตจังหวัดเพชรบุรีกระทำการ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๗ และมอบหมายให้นักวิชาการขนส่งชำนาญการ เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๗ (ข) ข้อ ๘ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดเพชรบุรีใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๘ และหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดเพชรบุรี สาขาอำเภอชะอำ เป็นผู้กระทำการแทนในการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดเพชรบุรี สาขาอำเภอชะอำ ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๙ การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดเพชรบุรีเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดเพชรบุรี ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๙ ข้อ ๑๐ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๕๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดเพชรบุรี ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดเพชรบุรี หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๑ และมอบหมายให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดเพชรบุรี สาขาอำเภอชะอำ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดเพชรบุรี สาขาอำเภอชะอำหรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๑๒ การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๑๓ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียนรถและการเปลี่ยนประเภทรถ (ข) การย้ายรถเข้า (ค) การเปลี่ยนลักษณะรถ (ง) การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ (จ) การโอนรถ (ฉ) การย้ายรถออก (ซ) การแก้ไขรายการทางทะเบียนรถ (ซ) การแจ้งเลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฌ) การแจ้งระงับใช้รถ ตามมาตรา ๘๐ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ญ) การแจ้งหยุดใช้รถเพื่อไม่เสียภาษี ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฎ) การขอแผ่นป้ายทะเบียนรถ หรือหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ หรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (ฐ) การแปลหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถเป็นภาษาอังกฤษ (ฑ) การออกหนังสืออนุญาตระหว่างประเทศและเครื่องหมายประเทศ (ฒ) การอนุญาตยกเลิกการจดทะเบียนรถเนื่องจากบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ (ณ) การพิจารณาอนุญาตให้นำรถไปใช้ระหว่างประเทศชั่วคราว และการอนุญาตนำรถออกนอกราชอาณาจักรตลอดไป (ด) การตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถ มอบหมายให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๓ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดเพชรบุรี สาขาอำเภอชะอำ เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๓ (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) (ญ) (ฎ) (ฐ) (ฑ) (ฒ) (ณ) และ (ด) นักวิชาการขนส่งชำนาญการ ซึ่งช่วยปฏิบัติงานอยู่ที่ฝ่ายทะเบียนรถ เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๓ และมอบหมายให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน นายช่างตรวจสภาพรถ เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดเพชรบุรี สาขาอำเภอชะอำ เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๓ (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) (ญ) (ฎ) (ฐ) (ฑ) (ฒ) (ณ) และ (ด) ข้อ ๑๔ การสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดเพชรบุรี สาขาอำเภอชะอำ เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามความในมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดเพชรบุรี สาขาอำเภอชะอำ เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดเพชรบุรี สาขาอำเภอชะอำเป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๖ ข้อ ๑๗ การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาต ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต (ฉ) การเปลี่ยนประเภทใบอนุญาต (ช) การเปลี่ยนชนิดใบอนุญาต (ซ) การแก้ไขรายการใบอนุญาต (ฌ) การขอหนังสือรับรองใบอนุญาตเป็นภาษาอังกฤษ (ญ) การขอแปลใบอนุญาตเป็นภาษาอังกฤษ มอบหมายให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดเพชรบุรี สาขาอำเภอชะอำ เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๗ มอบหมายให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๗ (ก) (ข) (ค) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) และ (ญ) และมอบหมายให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน นายช่างตรวจสภาพรถชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดเพชรบุรี สาขาอำเภอชะอำ เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๗ (ก) (ข) (ค) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) และ (ญ) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ อรสา เพ็งพริ้ง ขนส่งจังหวัดเพชรบุรี นายทะเบียนประจำจังหวัดเพชรบุรี ปริยานุช/จัดทำ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ วิศนี/ตรวจ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๐๒ ง/หน้า ๒๐/๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
740219
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดเชียงราย เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเชียงราย ให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดเชียงราย ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดเชียงราย เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเชียงราย ให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยที่ได้มีประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งมีผลทำให้นายทะเบียนประจำจังหวัดมีอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดเชียงรายจึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเชียงรายให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดเชียงราย เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเชียงรายให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดเชียงราย ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดเชียงราย ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถเข้าดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดเชียงรายกระทำการ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดเชียงราย ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดเชียงรายเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์ เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดเชียงราย ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์ เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดเชียงราย ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดเชียงราย หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๘) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๙) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๔ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนและภาษีรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียนรถ (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓ (๘) (๙) ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำ การแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (๑) การออกใบอนุญาต (๒) การต่ออายุใบอนุญาต (๓) การออกใบแทนใบอนุญาต (๔) การสั่งพักใบอนุญาต (๕) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓ (๘) (๙) และข้อ ๔ (๑) (จ) ข้อ ๗ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงราย สาขาอำเภอเทิง หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงราย สาขาอำเภอเวียงป่าเป้า และหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงราย สาขาอำเภอพาน เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๕ ข้อ ๘ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓ (๑) และข้อ ๓ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๕ (๒) (๓) ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ สุกัญญา ศิริโภคากิจ นายทะเบียนประจำจังหวัดเชียงราย ปริยานุช/จัดทำ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ วิศนี/ตรวจ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๐๒ ง/หน้า ๑๖/๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
739710
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดอุดรธานี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดอุดรธานีให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดอุดรธานี ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดอุดรธานี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดอุดรธานี ให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ และกรมการขนส่งทางบกได้มีประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘ นั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดอุดรธานี จึงให้ยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดอุดรธานี เรื่อง การลงนามกำกับรอยตราลายมือชื่อนายทะเบียนประจำจังหวัด ที่ออกตามหนังสือกรมการขนส่งทางบก ที่ คค ๐๓๐๘/ว.๓๐ ลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๙ และมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดอุดรธานี ให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดอุดรธานี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดอุดรธานีให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดอุดรธานี เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัด ซึ่งมิได้มีจุดเริ่มต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานีดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานีดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (ง) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานีดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การบรรจุรถ (ฉ) การเปลี่ยนรถ (ช) การถอนรถ (ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต (๔) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานีดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (ง) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๕) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานีดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๖) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและมีปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานี และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานีใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด (๗) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานีใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด (๘) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานีเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๙) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานี ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๐) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดอุดรธานี (๑๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถดังนี้ (ก) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (ข) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๔ ให้นักวิชาการขนส่งในกลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดอุดรธานี ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓ (๑) ข้อ ๓ (๒) และข้อ ๓ (๓) (จ) (ฉ) (ช) ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดอุดรธานี เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การรับแจ้งเลิกใช้รถ ตามความในมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การรับแจ้งไม่ใช้รถ ตามความในมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (ซ) การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสาระสำคัญของรถและรายการทางทะเบียนรถ ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานในฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดอุดรธานีที่ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดอุดรธานี เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต (ฉ) การแก้ไขรายการในใบอนุญาต ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานในฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดอุดรธานี เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๗ (ก) (ข) (ค) (ฉ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา สำนักงานขนส่งจังหวัดอุดรธานี เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓ (๓) (๖) (๑๐) (๑๑) ข้อ ๕ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๗ ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานในสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา สำนักงานขนส่งจังหวัดอุดรธานี เป็นผู้กระทำการแทน ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๗ (ก) (ข) (ค) (ฉ) ข้อ ๑๑ ให้นายช่างตรวจสภาพรถชำนาญงานในสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา สำนักงานขนส่งจังหวัดอุดรธานี เป็นผู้กระทำการแทน ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) ข้อ ๑๒ ในกรณีนายทะเบียนประจำจังหวัดอุดรธานีได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ นิติธร เพชรคูหา นายทะเบียนประจำจังหวัดอุดรธานี ปริยานุช/จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ปุณิกา/ตรวจ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๙๕ ง/หน้า ๓๘/๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
739161
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดชัยภูมิ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดชัยภูมิ
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดชัยภูมิ ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดชัยภูมิ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดชัยภูมิ[๑] อาศัยอำนาจตามความในวรรคสี่ของมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดชัยภูมิ มอบหมายให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดชัยภูมิไว้ ดังมีรายละเอียดปรากฏตามตารางการมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดแนบท้ายประกาศนี้ คำสั่งหรือประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดชัยภูมิอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้เป็นอันยกเลิก และให้ใช้ประกาศนี้แทน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ กฤษณะ พึ่งปาน ขนส่งจังหวัดชัยภูมิ นายทะเบียนประจำจังหวัดชัยภูมิ [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดชัยภูมิตามประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดชัยภูมิ ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ปุณิกา/ตรวจ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๘๙ ง/หน้า ๒๔/๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
739159
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครปฐม เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครปฐม ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครปฐม เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครปฐม พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือ การเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครปฐม เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนประจำจังหวัดนครปฐม จึงมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครปฐมไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครปฐม เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครปฐม พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ ๓.๑ การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ ๓.๒ การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด ๓.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบกระทำการดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ให้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียนตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๔ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๕ การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๖ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ๓.๗ การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๔ ให้นักวิชาการขนส่ง กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดนครปฐม เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓.๑ และข้อ ๓.๒ (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ ๕.๑ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ๕.๒ การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๕.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕.๑ (จ) ข้อ ๕.๒ และข้อ ๕.๓ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ ๗.๑ การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๘ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดนครปฐม สาขาอำเภอกำแพงแสน และหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดนครปฐม สาขาอำเภอสามพราน เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓.๒ (เฉพาะการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล) ข้อ ๕.๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๗.๑ (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕.๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๗.๑ (ข) (ค) ข้อ ๑๐ ในกรณีที่นายทะเบียนประจำจังหวัดนครปฐมได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ สมสุข ประภาสเพ็ญ นายทะเบียนประจำจังหวัดนครปฐม ปริยานุช/จัดทำ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ปุณิกา/ตรวจ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๘๙ ง/หน้า ๒๐/๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
738996
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดทำการแทนได้ นั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการของสำนักงานขนส่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและสำนักงานขนส่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สาขาอำเภอมหาราช เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม สามารถอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่มาติดต่อราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ ๓.๑ การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ ๓.๒ การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่อใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด ๓.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบกระทำการ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๔ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๕ การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในจังหวัดที่รับผิดชอบ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๖ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ๓.๗ การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้รับผิดชอบมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๔ ให้นักวิชาการขนส่ง กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๓.๑ และข้อ ๓.๒ (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นผู้ทำการแทนเกี่ยวกับ ๕.๑ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ๕.๒ การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๕.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๕.๑ (จ) ๕.๒ และข้อ ๕.๓ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สังกัดงานทะเบียนรถขนส่ง ฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๕.๑ (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สาขาอำเภอมหาราช และเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สังกัดงานทะเบียนรถขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา ได้รับมอบหมายข้อ ๕.๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถและหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สาขาอำเภอมหาราช เป็นผู้ทำการแทนเกี่ยวกับ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สังกัดฝ่ายใบอนุญาตขับรถสำนักงานขนส่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สาขาอำเภอมหาราช ทำการแทนตามข้อ ๙ (ก) (ข) และ (ค) ข้อ ๑๒ ในกรณีที่นายทะเบียนประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ธรรมศักดิ์ นาวิไลกุล ขนส่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายทะเบียนประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปริยานุช/กัญฑรัตน์/จัดทำ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ /ตรวจ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๗๘ ง/หน้า ๓๔/๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
738505
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดแพร่ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดแพร่ ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดแพร่กระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดแพร่ ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดแพร่ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดแพร่ ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดแพร่กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดจึงมอบหมายอำนาจให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดแพร่กระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดแพร่ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดแพร่ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดแพร่กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ และให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดแพร่ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดแพร่ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดแพร่ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดแพร่ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดแพร่เปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดแพร่ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดแพร่ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดแพร่ หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับอนุญาตมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) ข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (จ) ข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่อใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดแพร่ สาขาอำเภอร้องกวาง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดแพร่ สาขาอำเภอร้องกวาง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ข้อ ๑๓ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดแพร่ สาขาอำเภอเด่นชัย เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) ข้อ ๑๔ ให้นายช่างตรวจสภาพรถชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดแพร่ สาขาอำเภอเด่นชัย เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ข้อ ๑๕ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดแพร่ สาขาอำเภอลอง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) ข้อ ๑๖ ให้นายช่างตรวจสภาพรถชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดแพร่ สาขาอำเภอลอง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ วราภรณ์ วรพงศธร ขนส่งจังหวัดแพร่ ปริยานุช/จัดทำ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ตรวจ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๗๓ ง/หน้า ๕๔/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
738503
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าว ประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น โดยที่เป็นการเห็นสมควรปรับปรุงการมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนสูงขึ้น อาศัยอำนาจในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ จึงมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัด ดังนี้ ๑. ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. ๒๕๕๘” ๒. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ๓. ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ ๓.๑. การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ ๓.๒ การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด ๓.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบกระทำการ (ยกเว้น (ค) ) ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๔ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๕ การสั่งผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๖ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ๓.๗ การเรียกผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดรับผิดชอบ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำ การภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้รับผิดชอบมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๔ ให้นักวิชาการ กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๓.๑ และข้อ ๓.๒ (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นผู้ทำการแทนเกี่ยวกับ ๕.๑ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ๕.๒ การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๕.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้กระทำการแทนตามข้อ ๕.๑ (จ) ข้อ ๕.๒ และข้อ ๕.๓ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สังกัดงานทะเบียนขนส่งจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๕.๑ (ข) (ค) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดกาฬสินธุ์ สาขาอำเภอกุฉินารายณ์ และเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สังกัดงานทะเบียนรถขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา ได้รับมอบหมายข้อ ๕.๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) และข้อ ๕.๒ (เฉพาะการประกอบการขนส่งส่วนบุคคลในเขตที่รับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถเป็นผู้ทำการแทนเกี่ยวกับ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถสำนักงานขนส่งจังหวัดกาฬสินธุ์ ทำการตามข้อ (ข) (ค) ข้อ ๑๑ ในกรณีที่นายทะเบียนประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ โกวิท สฤษดิ์อภิรักษ์ นายทะเบียนประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ปริยานุช/จัดทำ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ตรวจ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๗๓ ง/หน้า ๕๐/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
738501
ประกาศทะเบียนประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์กระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศทะเบียนประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประกาศทะเบียนประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งมีผลทำให้นายทะเบียนประจำจังหวัดมีอำนาจมอบหมายให้ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ในการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัด นั้น ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดจึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์กระทำการ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๔ ให้นักวิชาการขนส่งในกลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓ (๑) ข้อ ๓ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ในฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (จ) ข้อ ๕ (๒) และ (๓) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ในฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นผู้กระทำแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ ๘ (ข) และ (ค) ข้อ ๑๐ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สาขาอำเภอปราณบุรี และสาขาอำเภอบางสะพาน เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดขอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) และข้อ ๘ (ก) (ข) (ค) (ง) และ (จ) ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ในงานทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สาขาอำเภอปราณบุรี และสาขาอำเภอบางสะพาน เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ในงานใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สาขาอำเภอปราณบุรี และสาขาอำเภอบางสะพาน เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ ๘ (ข) และ (ค) ข้อ ๑๓ ในกรณีนายทะเบียนประจำจังหวัดได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ภิญโญ อภิญญาลาวัณย์ นายทะเบียนประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปริยานุช/จัดทำ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ตรวจ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๗๓ ง/หน้า ๔๖/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
738499
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดบุรีรัมย์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดบุรีรัมย์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน โดยที่ได้มีประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งมีผลทำให้นายทะเบียนประจำจังหวัด สามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดบุรีรัมย์ จึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดบุรีรัมย์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดบุรีรัมย์ให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ กระทำการดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง กระทำการดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ เปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือมีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือมีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำ หรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๘) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๙) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๐) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (ข) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๔ ให้นักวิชาการขนส่ง กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้กระทำการแทนตามข้อ ๓ (๑) (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) และ (๓) (ก) (ข) ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้กระทำการแทนตามข้อ ๓ (๘) (๙) และในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (๑) การจดทะเบียน (๒) การรับชำระภาษีรถประจำปี (๓) การรับวางหลักทรัพย์เป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย (๔) การโอนรถ (๕) การย้ายรถ (๖) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๗) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๘) การออกใบอนุญาตและเครื่องหมายให้นำรถมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม ตามมาตรา ๘๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๙) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๐) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย ชำรุด หรือลบเลือนในสาระสำคัญ ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานขนส่ง ในฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้กระทำการแทนตามข้อ ๕ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๙) (๑๐) ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้กระทำการแทนตามข้อ ๓ (๘) (๙) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (๑) การออกใบอนุญาต (๒) การต่ออายุใบอนุญาต (๓) การออกใบแทนใบอนุญาต (๔) การเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขรายการในใบอนุญาต (๕) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (๖) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานขนส่ง ในฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้กระทำการแทนตามข้อ ๘ (๒) (๓) (๔) ข้อ ๑๐ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ สาขาอำเภอนางรอง, สาขาอำเภอประโคนชัยและสาขาอำเภอพุทไธสง เป็นผู้กระทำการแทนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละแห่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ตามข้อ ๓ (๒) เฉพาะในส่วนของการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล (๓) (ก) (ข) (๗) (๘) (๙) ข้อ ๕ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๙) (๑๐) และข้อ ๘ ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานขนส่ง และนายช่างตรวจสภาพรถ ในสำนักงานขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์แต่ละสาขา เป็นผู้กระทำการแทนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละแห่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ตามข้อ ๓ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) เฉพาะในส่วนของการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ข้อ ๕ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๙) (๑๐) และข้อ ๘ (๒) (๓) (๔) ข้อ ๑๒ ในกรณีนายทะเบียนประจำจังหวัดบุรีรัมย์ได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะ ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ สุเทพ นิติวัฒนานนท์ ขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ นายทะเบียนประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ปริยานุช/จัดทำ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ตรวจ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๗๓ ง/หน้า ๔๒/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
738319
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดอำนาจเจริญ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดอำนาจเจริญ ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดอำนาจเจริญกระทำการแทน พ.ศ. 255
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดอำนาจเจริญ ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดอำนาจเจริญ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดอำนาจเจริญ ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดอำนาจเจริญกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัด เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดจึงมอบหมายอำนาจ ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดอำนาจเจริญกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดอำนาจเจริญ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดอำนาจเจริญ ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดอำนาจเจริญกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ และให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ กระทำการดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอำนาจเจริญเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) และข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษี ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (จ) ข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (ข) และ (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ฉัตรชัย อนันตกูล นายทะเบียนประจำจังหวัดอำนาจเจริญ ปริยานุช/จัดทำ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ตรวจ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๗๒ ง/หน้า ๗/๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
738316
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดลพบุรี เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดลพบุรี ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดลพบุรี เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดลพบุรี พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าว ประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดสามารถทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดลพบุรี เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนประจำจังหวัดลพบุรี จึงมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดลพบุรีไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดลพบุรี เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดลพบุรี พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้อง ๓.๑ การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลพบุรี ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ ๓.๒ การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลพบุรีหรืออำเภอที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มีได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด ๓.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลพบุรีหรืออำเภอที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๔ การอนุญาตให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลพบุรี ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๕ การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลพบุรีเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลพบุรี ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๖ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ๓.๗ การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลพบุรี ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดลพบุรี หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ - ให้นักวิชาการขนส่ง กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดลพบุรี เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๓.๑ และ ๓.๒ (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ในกรณีที่หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งไม่อยู่หรืออยู่แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ข้อ ๔ หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดลพบุรี เป็นผู้ทำการแทน ในส่วนที่เกี่ยวกับ ๔.๑ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียนรถ (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ๔.๒ การสั่งให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพรถหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๔.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้รับการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ - ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดลพบุรีเป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๔.๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ในกรณีที่หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถไม่อยู่หรืออยู่แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดลพบุรี เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๔.๑ (จ) ข้อ ๔.๒ และข้อ ๔.๓ - ให้นายช่างตรวจสภาพรถชำนาญงาน ฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดลพบุรี ทำการแทนตามข้อ ๔.๑ (จ) ในกรณีที่หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ ไม่อยู่หรืออยู่แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดลพบุรี เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต - ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดลพบุรีทำการแทนตามข้อ ๖ (ข) และ (ค) ในกรณีที่หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ ไม่อยู่หรืออยู่แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดลพบุรี สาขาอำเภอโคกสำโรง และสาขาอำเภอชัยบาดาล สำนักงานขนส่งจังหวัดลพบุรี ทำการแทนตามข้อ ๔.๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ในเขตอำเภอที่รับผิดชอบ และตามข้อ ๖ (ก) (ข) (ค) (ง) และ (จ) - ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สาขาอำเภอโคกสำโรง สาขาอำเภอชัยบาดาล สำนักงานขนส่งจังหวัดลพบุรี ทำการแทนตามข้อ ๔.๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) เฉพาะการประกอบการขนส่งส่วนบุคคลในเขตอำเภอที่รับผิดชอบ และตามข้อ ๖ (ก) (ข) (ค) (ง) และ (จ) ข้อ ๘ ในกรณีที่นายทะเบียนประจำจังหวัดลพบุรีได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ยุทธนา อนันตเดโชชัย นายทะเบียนประจำจังหวัดลพบุรี ปริยานุช/จัดทำ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ตรวจ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๗๒ ง/หน้า ๓/๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
737047
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสิงห์บุรี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสิงห์บุรีให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดสิงห์บุรีกระทำการแทน
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสิงห์บุรี ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสิงห์บุรี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสิงห์บุรี ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดสิงห์บุรีกระทำการแทน ด้วยได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าว ประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดจึงมอบหมายอำนาจให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดสิงห์บุรี กระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสิงห์บุรี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสิงห์บุรีให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดสิงห์บุรีกระทำการแทน” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ และใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสิงห์บุรี ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสิงห์บุรี ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสิงห์บุรี กระทำการดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสิงห์บุรี ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสิงห์บุรีเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสิงห์บุรีส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสิงห์บุรี ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสิงห์บุรี หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับอนุญาตมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) และข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษี ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำ การในส่วนที่เกี่ยวกับข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (จ) ข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (ข) และ (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ฉัตรชัย อนันตกูล นายทะเบียนประจำจังหวัดสิงห์บุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๘ วิศนี/ผู้ตรวจ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๔๖ ง/หน้า ๙/๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
736903
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดอ่างทอง เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดอ่างทองให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดอ่างทอง ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดอ่างทอง เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดอ่างทอง ให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบก กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งมีสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือ การเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบก กระทำการแทน ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนจังหวัดอ่างทอง จึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดอ่างทองให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดอ่างทอง เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดอ่างทองให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบก กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดอ่างทอง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอ่างทองและการประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอ่างทอง ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอ่างทอง ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอ่างทองกระทำการ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอ่างทองที่รับผิดชอบใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอ่างทองเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์ เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอ่างทอง ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอ่างทอง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดอ่างทอง หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๔ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดอ่างทอง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดอ่างทอง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (จ) ข้อ ๔ (๒) ข้อ ๔ (๓) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดอ่างทอง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานผู้ได้รับมอบหมาย เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๖ (ข) (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ประวิทย์ ตั้งตรัสธรรม นายทะเบียนประจำจังหวัดอ่างทอง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๘ วิศนี/ผู้ตรวจ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๔๑ ง/หน้า ๒๔/๖ ตุลาคม ๒๕๕๘
736901
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดระนอง เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดระนอง
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดระนอง ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดระนอง เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดระนอง[๑] ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป โดยกำหนดให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ นั้น ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและสามารถอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนประจำจังหวัดระนองจึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดระนอง ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและนักวิชาการขนส่ง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ ก. การบรรจุรถ ข. การเปลี่ยนรถ ค. การถอนรถ ข้อ ๒ การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดระนองดังต่อไปนี้ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งมีอำนาจหน้าที่ทุกเรื่องและให้นักวิชาการขนส่ง มีอำนาจหน้าที่เฉพาะข้อ ฉ ช ซ และ ฌ ก. การออกใบอนุญาต ข. การต่ออายุใบอนุญาต ค. การออกใบแทนใบอนุญาต ง. การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต จ. การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต ฉ. การบรรจุรถ ช. การเปลี่ยนรถ ซ. การถอนรถ ฌ. การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด ข้อ ๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดระนองกระทำการ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ ก. ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข. ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ค. การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดระนองใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดระนองใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ ก. สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข. สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๖ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ข้อ ๗ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดระนอง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดระนอง หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตร ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๘ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังต่อไปนี้ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถมีอำนาจหน้าที่ทุกเรื่อง ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถมีอำนาจหน้าที่ตามข้อ จ และให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานมีอำนาจหน้าที่ตามข้อ ข ค ง ฉ ช และ ซ ก. การจดทะเบียน ข. การเสียภาษีประจำปี ค. การโอนรถ ง. การย้ายรถ จ. การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ฉ. การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ช. การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซ. การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถและหัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๑๐ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถและหัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๑๑ การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถมีอำนาจหน้าที่ทุกเรื่องและเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานมีอำนาจหน้าที่ตามข้อ ข และ ค ก. การออกใบอนุญาต ข. การต่ออายุใบอนุญาต ค. การออกใบแทนใบอนุญาต ง. การสั่งพักใช้ใบอนุญาต จ. การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ณัฐวัชต์ สันติกูล นายทะเบียนประจำจังหวัดระนอง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๘ วิศนี/ผู้ตรวจ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๔๑ ง/หน้า ๒๑/๖ ตุลาคม ๒๕๕๘
736899
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดแม่ฮ่องสอนกระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดแม่ฮ่องสอน กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยที่ได้มีประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งมีผลทำให้นายทะเบียนประจำจังหวัดมีอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงมอบหมายอำนาจหน้าที่นายทะเบียนประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดแม่ฮ่องสอนกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดแม่ฮ่องสอนกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง, นักวิชาการขนส่งชำนาญการและนักวิชาการขนส่งปฏิบัติการของกลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่อง ข้อ ๔ การประกอบการขนส่งไม่ประจำ ทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่องและมอบหมายให้นักวิชาการขนส่งชำนาญการและนักวิชาการขนส่งปฏิบัติการของกลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๔ (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ข้อ ๕ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่องและมอบหมายให้นักวิชาการขนส่งชำนาญการและนักวิชาการขนส่งปฏิบัติการของกลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๕ (ข) ข้อ ๖ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๗ การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๗ (ก) และ (ข) ข้อ ๘ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๙ การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๑๐ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ มอบหมายเจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้เป็นผู้กระทำการแทน (๑) หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถเป็นผู้กระทำการในข้อ ๑๐ (ก) ถึง (ซ) (๒) หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดแม่ฮ่องสอน สาขาอำเภอแม่สะเรียง เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๐ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) (๓) เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน, เจ้าพนักงานขนส่งปฏิบัติงานของฝ่ายทะเบียนรถ และเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน, เจ้าพนักงานขนส่งปฏิบัติงานของสำนักงานขนส่งจังหวัดแม่ฮ่องสอน สาขาอำเภอแม่สะเรียง เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๐ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๑๑ การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง, หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ, หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ, หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดแม่ฮ่องสอน สาขาอำเภอแม่สะเรียง เป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๑๒ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งหัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ, หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถและหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดแม่ฮ่องสอน สาขาอำเภอแม่สะเรียง เป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๑๓ การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต มอบหมายให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถและผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ, หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดแม่ฮ่องสอน สาขาอำเภอแม่สะเรียง เป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่อง และมอบหมายให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานและเจ้าพนักงานขนส่งปฏิบัติงานของฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๓ (ข) และ (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ สุรชัย ทับยา ขนส่งจังหวัดแม่ฮ่องสอน นายทะเบียนประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๘ วิศนี/ผู้ตรวจ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๔๑ ง/หน้า ๑๗/๖ ตุลาคม ๒๕๕๘
736897
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดมุกดาหาร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดมุกดาหารให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดมุกดาหารกระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดมุกดาหาร ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดมุกดาหาร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดมุกดาหาร ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดมุกดาหาร กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดมุกดาหารจึงมอบหมายอำนาจให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดมุกดาหาร กระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดมุกดาหาร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดมุกดาหารให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดมุกดาหารกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ และใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดมุกดาหาร ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดมุกดาหาร ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในจังหวัดมุกดาหาร ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดมุกดาหารใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดมุกดาหารเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็น ที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดมุกดาหาร ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็น ที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดมุกดาหาร ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดมุกดาหาร หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับอนุญาตมาให้ถ้อยคำ หรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) ข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (จ) ข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่อใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (ข) และ (ค) ข้อ ๑๑ ในกรณีนายทะเบียนประจำจังหวัดได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นกาลเฉพาะก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ปิยะ โยมา นายทะเบียนประจำจังหวัดมุกดาหาร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๘ วิศนี/ผู้ตรวจ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๔๑ ง/หน้า ๑๓/๖ ตุลาคม ๒๕๕๘
736895
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดภูเก็ต เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดภูเก็ตกระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดภูเก็ต ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดภูเก็ต เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัด ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดภูเก็ต กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดจึงมอบหมายอำนาจให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดภูเก็ตกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดภูเก็ต เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดภูเก็ตให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดภูเก็ตกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ และใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดภูเก็ต ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดภูเก็ต ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียน ภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดภูเก็ต ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดภูเก็ต ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดภูเก็ต เปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดภูเก็ต ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดภูเก็ต ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดภูเก็ต หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่งในกลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) ข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพ หรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพรถหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำ การแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (จ) ข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่อใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ข้อ ๑๑ ในกรณีนายทะเบียนประจำจังหวัดได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะ ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ธีรยุทธ์ ประเสริฐผล ขนส่งจังหวัดภูเก็ต นายทะเบียนประจำจังหวัดภูเก็ต ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๘ วิศนี/ผู้ตรวจ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๔๑ ง/หน้า ๙/๖ ตุลาคม ๒๕๕๘
736893
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดตรัง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดตรัง พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดตรัง ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดตรัง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดตรัง พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดตรัง เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนประจำจังหวัดตรัง จึงมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดตรัง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดตรัง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดตรัง พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ ๓.๑ การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ ๓.๒ การประกอบการขนส่งประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด ๓.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบกระทำการ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๔ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๕ การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๖ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ๓.๗ การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๔ ให้นักวิชาการขนส่ง กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดตรัง เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๓.๑ และข้อ ๓.๒ (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดตรัง เป็นผู้ทำการแทนเกี่ยวกับ ๕.๑ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ๕.๒ การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๕.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุง หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดตรัง เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๕.๑ (จ) ข้อ ๕.๒ และข้อ ๕.๓ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สังกัดงานทะเบียนขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดตรัง เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๕.๑ (ข) (ค) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดตรัง สาขาอำเภอห้วยยอด และเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัด สาขา ได้รับมอบหมาย ข้อ ๕.๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) และข้อ ๕.๒ (เฉพาะงานประกอบการขนส่งส่วนบุคคลในเขตพื้นที่รับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ฌ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สังกัดงานทะเบียนขนส่งจังหวัดตรัง เป็นผู้ทำการแทนเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานทะเบียนขนส่งจังหวัดตรังทำการแทนตามข้อ (ข) (ค) ข้อ ๑๑ ในกรณีที่นายทะเบียนประจำจังหวัดตรัง ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ชยุต สุขมิ่ง นายทะเบียนประจำจังหวัดตรัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๘ วิศนี/ผู้ตรวจ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๔๑ ง/หน้า ๕/๖ ตุลาคม ๒๕๕๘
735814
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสตูล เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสตูล พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสตูล ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสตูล เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสตูล พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสตูล เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนประจำจังหวัดสตูล จึงมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสตูล ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสตูล เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสตูล พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดสตูล เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ ๓.๑ การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ ๓.๒ การประกอบการขนส่งประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด ๓.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบกระทำการดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๔ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรค ๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๕ การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ส่วนรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๖ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ๓.๗ การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๔ ให้นักวิชาการขนส่ง กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดสตูล เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๓.๑ และข้อ ๓.๒ (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสตูล เป็นผู้ทำการแทนเกี่ยวกับ ๕.๑ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ๕.๒ การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๕.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้กำการซ่อมแซม ปรับปรุง หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่าน การตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสตูล เป็นผู้ทำการแทน ตามข้อ ๕.๑ (จ) ข้อ ๕.๒ และ ข้อ ๕.๓ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สังกัดงานทะเบียนขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดสตูล เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๕.๑ (ข) (ค) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสตูล สาขาอำเภอละงู และเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งสาขา ได้รับมอบหมาย ข้อ ๕.๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) และ ข้อ ๕.๒ (เฉพาะงานประกอบการขนส่งส่วนบุคคลในเขตพื้นที่รับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ฌ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสตูล เป็นผู้ทำการแทนเกี่ยวกับ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถสำนักงานขนส่งจังหวัดสตูล ทำการแทนตามข้อ (ข) และ (ค) ข้อ ๑๑ ในกรณีที่นายทะเบียนประจำจังหวัดสตูล ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ชยุต สุขมิ่ง นายทะเบียนประจำจังหวัดสตูล ปริยานุช/จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๘ วริญา/ตรวจ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๑๐๐ ง/หน้า ๓๒/๒๔ กันยายน ๒๕๕๘
734850
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสุรินทร์ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดสุรินทร์ กระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสุรินทร์ ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสุรินทร์ ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดสุรินทร์ กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดสุรินทร์กระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสุรินทร์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดสุรินทร์ จึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสุรินทร์ ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดสุรินทร์ กระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดให้ข้าราชสำนักงานขนส่งจังหวัดสุรินทร์ กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกหนังสือกรมการขนส่งทางบก ที่ คค ๐๓๐๘/ว ๓๐ ลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๙ เรื่อง การลงนามกำกับรอบตราลายมือชื่อนายทะเบียนประจำจังหวัด ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสุรินทร์ ดังนี้ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบกระทำการ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียนตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่งในกลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทน ในส่วนที่เกี่ยวกับมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ (๑) (ก) (ข) (ค) และข้อ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสุรินทร์ ดังนี้ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์ หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงาน ตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสุรินทร์ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสุรินทร์ ข้อ ๖ (๑) (จ) ตามข้อ ๖ (๒) (๓) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ ดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสุรินทร์ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานฝ่ายใบอนุญาตขับรถเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสุรินทร์ในข้อ ๙ (ข) (ค) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสุรินทร์ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานสำนักงานขนส่งสาขา เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสุรินทร์ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (ข) (ค) ข้อ ๑๓ ในกรณีนายทะเบียนประจำจังหวัดสุรินทร์ ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่ในเรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่อง นั้น ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ อดิศักดิ์ ศักดิฤทธิ์ ขนส่งจังหวัดสุรินทร์ นายทะเบียนประจำจังหวัดสุรินทร์ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ ปัญจพร/ผู้ตรวจ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๘ ง/หน้า ๔๕/๑๕ กันยายน ๒๕๕๘
734848
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรสาคร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรสาครให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรสาคร กระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรสาคร ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรสาคร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรสาคร ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรสาคร กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยที่ได้มีประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งมีผลทำให้นายทะเบียนประจำจังหวัดมีอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรสาครจึงมอบหมายอำนาจหน้าที่นายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรสาครให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรสาคร กระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรสาคร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรสาครให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรสาครกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสมุทรสาคร ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและนักวิชาการขนส่งชำนาญการ กลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่อง ข้อ ๔ การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสมุทรสาคร ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด มอบหมายผู้กระทำการแทน ดังนี้ (๑) หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่อง (๒) นักวิชาการขนส่งชำนาญการ กลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๔ (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ข้อ ๕ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสมุทรสาคร ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียนตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายผู้กระทำการแทน ดังนี้ (๑) หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่อง (๒) นักวิชาการขนส่งชำนาญการ กลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๕ (ข) ข้อ ๖ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสมุทรสาครใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๗ การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสมุทรสาครเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสมุทรสาคร ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่อง ข้อ ๘ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๙ การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสมุทรสาคร ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสมุทรสาคร หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๑๐ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ มอบหมายผู้กระทำการแทน ดังนี้ (๑) หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถเป็นผู้กระทำการในทุกเรื่อง (๒) เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๐ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๑๑ การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง, หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ, หัวหน้าฝ่ายตรวจ สภาพรถ และนักวิชาการขนส่งชำนาญการ เป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๑๒ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง, หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ, หัวหน้าฝ่ายตรวจ สภาพรถและนักวิชาการขนส่งชำนาญการ เป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๑๓ การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต มอบหมายผู้กระทำการแทน ดังนี้ (๑) หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่อง (๒) เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๓ (ข) และ (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ชริตว์จาร์ คล่องการยิง ขนส่งจังหวัดสมุทรสาคร นายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรสาคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ ปัญจพร/ผู้ตรวจ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๘ ง/หน้า ๔๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๘
734844
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดเลย เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเลยให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดเลย กระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดเลย ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดเลย เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเลย ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดเลย กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนได้ นั้น นายทะเบียนประจำจังหวัดเลยจึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดเลยกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดเลย เรื่อง การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเลยให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดเลย กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดเลย ที่ ๔๒.๑/๒๕๕๗ เรื่อง การลงนามกำกับรอยตราลายมือชื่อนายทะเบียนประจำจังหวัดเลย สั่ง ณ วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๗ ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบกระทำการ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียนตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่งในกลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (ก) (ข) และ (ค) ข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนรถและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายและเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานในฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (จ) ข้อ ๖ (๒) และข้อ ๖ (๓) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานในฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (ข) และ (ค) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๙ (๑) (ก) (ข) (ค) (ง) และ (จ) ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานในสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๙ (๑) (ข) และ (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ อัจฉรา เกษณียบุตร์ นายทะเบียนประจำจังหวัดเลย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ ปัญจพร/ผู้ตรวจ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๘ ง/หน้า ๓๗/๑๕ กันยายน ๒๕๕๘
734842
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดปัตตานี เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดปัตตานี พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดปัตตานี ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดปัตตานี เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดปัตตานี พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือ การเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดปัตตานี เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็วสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนประจำจังหวัดปัตตานี จึงมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดปัตตานี ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดปัตตานี เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดปัตตานี พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดปัตตานี เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ ๓.๑ การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ ๓.๒ การประกอบการขนส่งประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนตามเงื่อนไขในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด ๓.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบกระทำการ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียนตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๔ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรค ๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๕ การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ส่วนรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๖ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ๓.๗ การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๔ ให้นักวิชาการขนส่ง กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดปัตตานี เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๓.๑ และข้อ ๓.๒ (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดปัตตานี เป็นผู้ทำการแทนเกี่ยวกับ ๕.๑ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ๕.๒ การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๕.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุง หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดปัตตานี เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๕.๑ (จ) ข้อ ๕.๒ และข้อ ๕.๓ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สังกัดงานทะเบียนขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดปัตตานีเป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๕.๑ (ข) (ค) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดปัตตานี สาขาอำเภอสายบุรี และเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งสาขา ได้รับมอบหมายข้อ ๕.๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) และข้อ ๕.๒ (เฉพาะงานประกอบการขนส่งส่วนบุคคลในเขตพื้นที่รับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ฌ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดปัตตานี เป็นผู้ทำการแทนเกี่ยวกับ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถสำนักงานขนส่งจังหวัดปัตตานีทำการแทนตามข้อ (ข) และ (ค) ข้อ ๑๑ ในกรณีที่นายทะเบียนประจำจังหวัดปัตตานี ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ชยุต สุขมิ่ง นายทะเบียนประจำจังหวัดปัตตานี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ ปัญจพร/ผู้ตรวจ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๘ ง/หน้า ๓๓/๑๕ กันยายน ๒๕๕๘
734840
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนราธิวาส เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนราธิวาสให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดนราธิวาส กระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนราธิวาส ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนราธิวาส เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนราธิวาส ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดนราธิวาส กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือ การเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดจึงมอบหมายอำนาจให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดนราธิวาส กระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนราธิวาส เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนราธิวาสให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งนราธิวาส กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเพื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ และใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนราธิวาส ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนราธิวาส ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนราธิวาส ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียนตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนราธิวาสใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนราธิวาสเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนราธิวาส ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนราธิวาส ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนราธิวาส หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับอนุญาตมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) ข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (จ) ข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่อใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดนราธิวาส สาขาอำเภอสุไหงโก - ลก และสาขารือเสาะเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดนราธิวาส สาขาอำเภอสุไหงโก - ลก และสาขารือเสาะ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ปรีชา วิจิตรเวชการ นายทะเบียนประจำจังหวัดนราธิวาส ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ ปัญจพร/ผู้ตรวจ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๘ ง/หน้า ๒๙/๑๕ กันยายน ๒๕๕๘
734838
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดน่าน ที่ 10063/2558 เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดน่านให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดน่าน กระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดน่าน ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดน่าน ที่ ๑๐๐๖๓/๒๕๕๘ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดน่าน ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดน่าน กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัด สามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนเอง ให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบก กระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัด จึงมอบหมายอำนาจให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดน่านกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดน่าน เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดน่าน ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดน่าน กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเพื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ และใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดน่าน ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดน่าน ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียน ภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดน่าน ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดน่านใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในจังหวัดน่าน เปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์ เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดน่าน ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดน่าน ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในจังหวัดน่าน หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับอนุญาตมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) ข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (จ) ข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่อใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดน่าน สาขาอำเภอเวียงสา และหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดน่าน สาขาอำเภอปัว เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดน่าน สาขาอำเภอเวียงสาและเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดน่าน สาขาอำเภอปัว เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ โกวิท สฤษดิ์อภิรักษ์ ขนส่งจังหวัดน่าน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ ปัญจพร/ผู้ตรวจ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๘ ง/หน้า ๒๕/๑๕ กันยายน ๒๕๕๘
734836
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนนทบุรี เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนนทบุรี ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนนทบุรี เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าว ประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัด สามารถทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนนทบุรี เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนประจำจังหวัดนนทบุรี จึงมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนนทบุรีไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนนทบุรี เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ ๓.๑ การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ ๓.๒ การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่อใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด ๓.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบกระทำการ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๔ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๕ การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๖ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ๓.๗ การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้รับผิดชอบมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๔ ให้นักวิชาการขนส่ง กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดนนทบุรี เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๓.๑ และข้อ ๓.๒ (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดนนทบุรีเป็นผู้ทำการแทนเกี่ยวกับ ๕.๑ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียนรถ (ข) การเสียภาษีประจำรถ (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ๕.๒ การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๕.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดนนทบุรี เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๕.๑ (จ) ข้อ ๕.๒ และข้อ ๕.๓ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สังกัดงานทะเบียนขนส่งจังหวัดนนทบุรี เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๕.๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้ทำการแทนเกี่ยวกับ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถสำนักงานขนส่งจังหวัดนนทบุรีทำการข้อ (ข) (ค) ข้อ ๑๐ ในกรณีที่นายทะเบียนประจำจังหวัดนนทบุรีได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ทิพวรรณ สระนาค ขนส่งจังหวัดนนทบุรี นายทะเบียนประจำจังหวัดนนทบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ ปัญจพร/ผู้ตรวจ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๘ ง/หน้า ๒๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๘
734832
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครพนม เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครพนม พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครพนม ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครพนม เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครพนม พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าว ประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดสามารถทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครพนม เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนประจำจังหวัดนครพนม จึงมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครพนมไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดนครพนม เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดนครพนม พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้อง ๓.๑ การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครพนม ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ ๓.๒ การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครพนมหรืออำเภอที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มีได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด ๓.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครพนมหรืออำเภอที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๔ การอนุญาตให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครพนม ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๕ การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครพนมเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครพนม ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่ง ได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๖ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ๓.๗ การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครพนม ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดนครพนม หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้นักวิชาการขนส่ง กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดนครพนม เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๓.๑ และ ๓.๒ (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ในกรณีที่หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง ไม่อยู่หรืออยู่แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ข้อ ๔ หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดนครพนม เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ ๔.๑ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียนรถ (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ๔.๒ การสั่งให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพรถหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๔.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้รับการซ่อมแซมปรับปรุง หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดนครพนมเป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๔.๑ (ข) (ค) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ในกรณีที่หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถไม่อยู่หรืออยู่แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดนครพนม เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๔.๑ (จ) ข้อ ๔.๒ และข้อ ๔.๓ ให้นายช่างตรวจสภาพรถชำนาญงาน ฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดนครพนม ทำการแทนตามข้อ ๔.๑ (จ) ในกรณีที่หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ ไม่อยู่หรืออยู่แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ข้อ ๖ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดนครพนม สาขาอำเภอธาตุพนม และเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สังกัดงานทะเบียนรถขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดนครพนม สาขาอำเภอธาตุพนม ทำการแทนตามข้อ ๔.๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) เฉพาะการประกอบการขนส่งส่วนบุคคลในเขตอำเภอที่รับผิดชอบ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดนครพนม เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดนครพนมทำการแทนตามข้อ ๗ (ข) และ (ค) ในกรณีที่หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ ไม่อยู่หรืออยู่แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ข้อ ๘ ในกรณีที่นายทะเบียนประจำจังหวัดนครพนมได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ยุทธนา อนันตเดโชชัย นายทะเบียนประจำจังหวัดนครพนม ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ ปัญจพร/ผู้ตรวจ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๘ ง/หน้า ๑๗/๑๕ กันยายน ๒๕๕๘
734830
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดตาก เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดตากให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดตาก กระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดตาก ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดตาก เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดตาก ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดตาก กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่ง คือ การเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัด สามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตน ให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดจึงมอบหมายอำนาจให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดตาก กระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดตาก เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดตากให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดตากกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ และใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดตาก ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดตาก ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดตาก ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดตาก ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดตากเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดตาก ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้ได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดตาก ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดตาก หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) ข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียนรถ (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งให้ใช้รถตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามมาตรา ๘๓ แห่งราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (จ) ข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดตาก สาขาอำเภอแม่สอด เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดตาก สาขาอำเภอแม่สอด เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ สัจจา เตชะโกมล นายทะเบียนประจำจังหวัดตาก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ ปัญจพร/ผู้ตรวจ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๘ ง/หน้า ๑๓/๑๕ กันยายน ๒๕๕๘
734828
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดตราด เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดตราดให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดตราด กระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดตราด ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดตราด เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดตราด ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดตราด กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่ง คือ การเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัด จึงมอบหมายอำนาจให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดตราด กระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดตราด เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดตราด ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดตราด กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ และใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดตราด ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดตราด ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียน ภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดตราด ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดตราด ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดตราดเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์ เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดตราด ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดตราด ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดตราด หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับอนุญาตมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) ข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งให้ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (จ) ข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อที่ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดตราด สาขาอำเภอเขาสมิง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อที่ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน เจ้าพนักงานขนส่งปฏิบัติงาน นายช่างตรวจสภาพรถปฏิบัติงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดตราด สาขาอำเภอเขาสมิง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ พรศักดิ์ ไทยเจียมอารีย์ ขนส่งจังหวัดจันทบุรี รักษาราชการแทน ขนส่งจังหวัดตราด นายทะเบียนประจำจังหวัดตราด ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ ปัญจพร/ผู้ตรวจ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๘ ง/หน้า ๙/๑๕ กันยายน ๒๕๕๘
734826
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดชัยนาท เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดชัยนาทให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดชัยนาท กระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดชัยนาท ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดชัยนาท เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดชัยนาท ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดชัยนาท กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนได้ นั้น นายทะเบียนประจำจังหวัดชัยนาท จึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดชัยนาท กระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดชัยนาท เรื่อง การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดชัยนาท ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดชัยนาทกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดชัยนาท ที่ ๑๐๑/๒๕๕๗ เรื่อง มอบอำนาจให้ลงนามกำกับรอยตราประทับลายมือชื่อนายทะเบียนประจำจังหวัดชัยนาท สั่ง ณ วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๗ ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบกระทำการ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่งในกลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (ก) (ข) และ(ค), ข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนรถและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งประราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายและเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานในฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (จ) ข้อ ๖ (๒) และข้อ ๖ (๓) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานในฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (ข) และ (ค) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ), ข้อ ๙ (๑) (ก) (ข) (ค) (ง) และ (จ) ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานในสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ), ข้อ ๙ (๑) (ข) และ (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ อัจฉรา เกษณียบุตร์ ขนส่งจังหวัดชัยนาท นายทะเบียนประจำจังหวัดชัยนาท ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ ปัญจพร/ผู้ตรวจ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๘ ง/หน้า ๕/๑๕ กันยายน ๒๕๕๘
734824
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดขอนแก่น เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดขอนแก่น ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดขอนแก่น กระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดขอนแก่น ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดขอนแก่น เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดขอนแก่น ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดขอนแก่น กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดขอนแก่นจึงมอบหมายอำนาจให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดขอนแก่น กระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดขอนแก่น เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดขอนแก่นให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดขอนแก่นกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ และใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดขอนแก่น ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดขอนแก่น ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในจังหวัดขอนแก่น ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดขอนแก่นใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดขอนแก่นเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดขอนแก่น ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็น ที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดขอนแก่น ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดขอนแก่น หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับอนุญาตมาให้ถ้อยคำ หรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) ข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดขอนแก่นสาขาอำเภอพล, สาขาอำเภอบ้านไผ่ สาขาอำเภอชุมแพ, สาขาอำเภอน้ำพอง เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดขอนแก่น ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๘ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๗ (๑) (จ) ข้อ ๗ (๒) และ (๓) ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๗ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๑๐ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่อใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๐ (๑) (ข) และ (ค) ข้อ ๑๒ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดขอนแก่นสาขาอำเภอพล, สาขาอำเภอบ้านไผ่ สาขาอำเภอชุมแพ, สาขาอำเภอน้ำพอง เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๗ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๑๐ (๑) ข้อ ๑๓ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดขอนแก่นสาขาอำเภอพล สาขาอำเภอบ้านไผ่, สาขาอำเภอชุมแพ, สาขาอำเภอน้ำพอง (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๗ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๑๐ (๑) (ข) (ค) ข้อ ๑๔ ในกรณีนายทะเบียนประจำจังหวัดได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ กนก ศิริพานิชกร ขนส่งจังหวัดขอนแก่น นายทะเบียนประจำจังหวัดขอนแก่น ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ ปัญจพร/ผู้ตรวจ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๘ ง/หน้า ๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๘
733915
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสมุทรสาคร
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสมุทรสาคร[๑] ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ออกประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสมุทรสาคร โดยกำหนดให้จัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสมุทรสาคร ในที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๙๕๑๗๖ ตำบลท่าจีน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เนื้อที่ ๗ ไร่ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๖๒ ง วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ นั้น เนื่องจากผู้ขอรับใบอนุญาต แสดงความประสงค์ขอยกเลิกดำเนินกิจการสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสมุทรสาคร ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๘ ได้มีมติยกเลิกสถานที่จัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสมุทรสาคร ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จึงให้ยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสมุทรสาครตามประกาศ ดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปริยานุช/จัดทำ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ นุสรา/ตรวจ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๘๖ ง/หน้า ๑๓/๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๘
733604
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสงขลา เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสงขลา ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสงขลา เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสงขลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือ การเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสงขลา เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนประจำจังหวัดสงขลา จึงมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสงขลา ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสงขลา เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสงขลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ ๓.๑ การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ ๓.๒ การประกอบการขนส่งประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด ๓.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบกระทำการดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๔ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรค ๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๕ การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ส่วนรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓.๖ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ๓.๗ การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๔ ให้นักวิชาการขนส่ง กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดสงขลา เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๓.๑ และข้อ ๓.๒ (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสงขลาเป็นผู้ทำการแทนเกี่ยวกับ ๕.๑ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ๕.๒ การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๕.๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุง หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสงขลา เป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๕.๑ (จ) ข้อ ๕.๒ และข้อ ๕.๓ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สังกัดงานทะเบียนขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดสงขลาเป็นผู้ทำการแทนตามข้อ ๕.๑ (ข) (ค) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสงขลา สาขาอำเภอนาทวี และเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งสาขา ได้รับมอบหมายข้อ ๕.๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) และข้อ ๕.๒ (เฉพาะงานประกอบการขนส่งส่วนบุคคลในเขตพื้นที่รับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ฌ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสงขลา เป็นผู้ทำการแทนเกี่ยวกับ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถสำนักงานขนส่งจังหวัดสงขลาทำการแทนตามข้อ (ข) และ (ค) ข้อ ๑๑ ในกรณีที่นายทะเบียนประจำจังหวัดสงขลา ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ วิทยา วิทยานนท์ นายทะเบียนประจำจังหวัดสงขลา ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ วริญา/ผู้ตรวจ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๙๒ ง/หน้า ๒๕/๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๘
733588
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๗ และประกาศ กรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๑ ไว้แล้ว นั้น โดยที่กรมการขนส่งทางบกเห็นสมควรปรับปรุงเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกให้มีรูปแบบที่เหมาะสมยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการแบบพิมพ์ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดการสูญเปล่า ประหยัดงบประมาณในการจัดพิมพ์แบบพิมพ์สำรองในช่วงการเปลี่ยนเลขหลักสิบของปีพุทธศักราช อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๗ และประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๑ ๒. กำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ให้มีรูปแบบเป็นไปตามแบบ ขส.บ. ๐๑ - ขส. - ๐๓ ที่แนบท้ายประกาศนี้ ๓. เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมาย ว่าด้วยการขนส่งทางบก ลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๑ ที่นายทะเบียนออกให้แก่เจ้าของรถไปแล้วให้มีผลใช้ได้ต่อไปจนสิ้นอายุภาษี ส่วนแบบพิมพ์เครื่องหมายดังกล่าวที่จัดพิมพ์ไว้แล้ว ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะหมดลง ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ธีระพงษ์ รอดประเสริฐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบและสีเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (แบบ ขส.บ. ๐๑ - ขส. - ๐๓ ) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ วริญา/ผู้ตรวจ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๘๓ ง/หน้า ๓/๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๘
733578
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ลงวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๙ และประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ลงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๐ และประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ลงวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๑ ไว้แล้ว นั้น โดยที่กรมการขนส่งทางบกเห็นสมควรปรับปรุงเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ให้มีรูปแบบที่เหมาะสมยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการแบบพิมพ์ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดการสูญเปล่า ประหยัดงบประมาณในการจัดพิมพ์ แบบพิมพ์สำรองในช่วงการเปลี่ยนเลขหลักสิบของปีพุทธศักราช อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ลงวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๙ และประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ลงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๐ และประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ลงวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๑ ๒. กำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ให้มีรูปแบบเป็นไปตามแบบ ขส.บ. ๑๐ ท. - ๕ ที่แนบท้ายประกาศนี้ ๓. เครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ลงวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๑ ที่นายทะเบียนออกให้แก่เจ้าของรถไปแล้ว ให้มีผลใช้ได้ต่อไป จนสิ้นอายุภาษี ส่วนแบบพิมพ์เครื่องหมายดังกล่าวที่จัดพิมพ์ไว้แล้ว ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะหมดลง ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ธีระพงษ์ รอดประเสริฐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบและสีเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (แบบ ขส.บ. ๑๐ ท. - ๕) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ วริญา/ผู้ตรวจ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๘๓ ง/หน้า ๑/๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๘
733586
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดกระบี่ให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดกระบี่ ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดกระบี่ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดกระบี่ ให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน[๑] ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือ การเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง และให้เป็นไปตามหนังสือกรมการขนส่งทางบก ที่ คค ๐๔๐๙.๕/ ว.๑๔๙ ลงวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ เรื่อง การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัด จึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดกระบี่ ดังต่อไปนี้ การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดกระบี่ ข้อ อำนาจหน้าที่ ผู้ได้รับมอบหมาย หวจ. หทจ. หตจ. หขจ. หสข. นวก. จพง ขส.ชง. ๑ การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทาง ที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ ทุก เรื่อง ทุก เรื่อง ๒ การประกอบการขนส่งไม่ประจำ ทางและการ ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำ การ ขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด(ปรับปรุง)เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่ มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียน ภายในระยะเวลาที่กำหนด ทุก เรื่อง ทุกเรื่อง (เฉพาะ การ ประกอบ การขนส่ง ส่วน บุคคล) P P P P ๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบกระทำการดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ทุก เรื่อง ๔ การอนุญาตให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่ง ไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ P ๕ การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ทุกเรื่อง ๖ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง P ๗ การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ P ๘ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ทุกเรื่อง P P P P P P P P P P P P P P P ๙ การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถ ที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ P P P ๑๐ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถ ที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ P P P ๑๑ การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ประจำรถดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ทุก เรื่อง ทุก เรื่อง P P ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ อรรณพ หาญกิจ ขนส่งจังหวัดกระบี่ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ วริญา/ผู้ตรวจ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๘๒ ง/หน้า ๓๐/๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๘
733480
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสุโขทัย เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสุโขทัยให้ข้าราชการ สังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดสุโขทัยกระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสุโขทัย ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสุโขทัย เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสุโขทัยให้ข้าราชการ สังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดสุโขทัยกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือ การเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดจึงมอบหมายอำนาจให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดสุโขทัยกระทำการแทนดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสุโขทัย เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสุโขทัยให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดสุโขทัยกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ และใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสุโขทัย ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสุโขทัย ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสุโขทัย ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสุโขทัยใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสุโขทัยเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสุโขทัย ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสุโขทัย ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสุโขทัย หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับอนุญาตมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) ข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (จ) ข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่อใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสุโขทัย สาขาอำเภอสวรรคโลก เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดสุโขทัย สาขาอำเภอสวรรคโลกเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) (ก) (ข) (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ สัจจา เตชะโกมล ขนส่งจังหวัดตาก รักษาราชการแทน ขนส่งจังหวัดสุโขทัย นายทะเบียนประจำจังหวัดสุโขทัย ปริยานุช/จัดทำ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๘ นุสรา/ตรวจ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๒๖/๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๘
733229
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดพังงา เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดพังงา ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดพังงากระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดพังงา ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดพังงา เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดพังงา ให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดพังงากระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรค ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดพังงาจึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดพังงากระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดพังงา เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดพังงาให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดพังงากระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) คำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดพังงาที่ ๐๘/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เรื่อง มอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ลงนามกำกับรอยตราลายมือชื่อนายทะเบียนประจำจังหวัดพังงา (๒) คำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดพังงาที่ ๐๒/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๓ เรื่อง มอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ลงนามกำกับรอยตราลายมือชื่อนายทะเบียนประจำจังหวัดพังงา ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดพังงา เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพังงาดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพังงา ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพังงากระทำการ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพังงาใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพังงาเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพังงา ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพังงา ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพังงา หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดพังงา เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังนี้ (ก) การจดทะเบียนรถ (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดพังงา เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายหน้าที่ในข้อ ๕ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดพังงา เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๘ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดพังงา สาขาอำเภอตะกั่วป่า เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๗ ข้อ ๙ ให้นักวิชาการขนส่ง กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดพังงา เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) และข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดพังงา เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (ข) ข้อ ๑๑ ให้นายช่างตรวจสภาพรถชำนาญงาน ฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดพังงา เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (ข) ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดพังงา เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๗ (ข) (ค) ข้อ ๑๓ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดพังงา สาขาอำเภอตะกั่วป่า เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (ข) และข้อ ๗ (ข) (ค) ข้อ ๑๔ ให้นายช่างตรวจสภาพรถชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดพังงา สาขาอำเภอตะกั่วป่า เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (ข) และข้อ ๗ (ข) (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ หทัยรัตน์ คงชนะ ขนส่งจังหวัดพังงา นายทะเบียนประจำจังหวัดพังงา ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๘ ปุณิกา/ผู้ตรวจ ๓ กันยายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๘๖ ง/หน้า ๔๗/๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
733202
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดหนองบัวลำภู เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดหนองบัวลำภูให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดหนองบัวลำภู ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดหนองบัวลำภู เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดหนองบัวลำภู ให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ด้วยได้มีประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๘๓ ก วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๗ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งมีผลทำให้นายทะเบียนประจำจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ด้วยความสะดวก รวดเร็ว และสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดหนองบัวลำภู จึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดหนองบัวลำภูให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดหนองบัวลำภู เรื่อง มอบอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดหนองบัวลำภู ให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบกระทำการดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๔ ให้นักวิชาการขนส่ง ผู้ปฏิบัติงานด้านประกอบการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ ในข้อ ๓ (๑), (๒) (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุง หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ผู้ปฏิบัติงานด้านทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ ในข้อ ๕ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ ในข้อ ๕ (๑) (จ), (๒) และ (๓) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ผู้ปฏิบัติงานด้านใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ ในข้อ ๘ (ข) และ (ค) ข้อ ๑๐ ในกรณีนายทะเบียนประจำจังหวัดหนองบัวลำภู ได้มอบหมายอำนาจหน้าที่ให้กระทำการแทนในเรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ธีรศักดิ์ เหมทานนท์ ขนส่งจังหวัดหนองบัวลำภู นายทะเบียนประจำจังหวัดหนองบัวลำภู ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๘ ปุณิกา/ผู้ตรวจ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๑๓๒/๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
732733
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสกลนคร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสกลนคร ให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสกลนคร ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสกลนคร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสกลนคร ให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดสกลนครจึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสกลนคร ให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสกลนคร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกหนังสือกรมการขนส่งทางบก ที่ คค๐๓๐๘/ว.๓๐ ลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๙ เรื่อง การลงนามกำกับรอยตราลายมือชื่อนายทะเบียนประจำจังหวัด ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบกระทำการ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่งในกลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทน ในส่วนที่เกี่ยวกับมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ (๑) (ก) (ข) (ค) และข้อ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ข้อ ๖ (๑) (จ) ตามข้อ ๖ (๒) (๓) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ ดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (ข) (ค) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานสำนักงานขนส่งสาขา เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (ข) (ค) ข้อ ๑๓ ในกรณีนายทะเบียนประจำจังหวัดสกลนคร ได้มอบหมายอำนาจหน้าที่ในเรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ อุดม แก้วนิล ขนส่งจังหวัดสกลนคร นายทะเบียนประจำจังหวัดสกลนคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๘ นุสรา/ผู้ตรวจ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง/หน้า ๒๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๘