sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
318500
กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2524) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ มาตรา ๗๔ วรรคสอง และมาตรา ๗๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบของกรมการขนส่งทางบกพร้อมด้วยหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) บุคคลธรรมดา (ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (ข) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน (ค) หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง หรือหนังสือแสดงความยินยอมให้ใช้ที่ดินจากเจ้าของที่ดินที่จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ง) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ และแบบแปลนแผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ (จ) แบบ ขนาด และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ (๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ก) รายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ข) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ค) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ง) หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง หรือหนังสือแสดงความยินยอมให้ใช้ที่ดินจากเจ้าของที่ดินที่จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (จ) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ และแบบแปลนแผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณบริเวณสถานตรวจสภาพรถ (ฉ) แบบ ขนาด และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ (๓) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (ข) รายชื่อและสัญชาติของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ค) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ง) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (จ) หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง หรือหนังสือแสดงความยินยอมให้ใช้ที่ดินจากเจ้าของที่ดินที่จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ฉ) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ และแบบแปลนแผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ (ช) แบบ ขนาด และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ (๔) บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (ข) รายชื่อกรรมการของบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (ค) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของกรรมการบริษัททุกคน (ง) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของกรรมการบริษัททุกคน (จ) รายชื่อและสัญชาติของผู้ถือหุ้นทุกคน และจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนถือ (ฉ) สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ (ช) หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง หรือหนังสือแสดงความยินยอมให้ใช้ที่ดินจากเจ้าของที่ดินที่จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ซ) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ และแบบแปลนแผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ (ฌ) แบบ ขนาด และรายละเอียดของเครื่องตรวจสภาพรถ ข้อ ๒ สถานตรวจสภาพรถที่อยู่ในเกณฑ์จะได้รับอนุญาตให้จัดตั้งจะต้องมีลักษณะเหมาะสมสำหรับตรวจความมั่นคงแข็งแรง ความสะอาด ความเรียบร้อย และความเหมาะสมของสภาพรถที่จะนำมาใช้ในการขนส่งซึ่งอย่างน้อยจะต้องประกอบด้วย (๑) อาคารตรวจสภาพรถ สำหรับใช้เป็นที่ติดตั้งเครื่องตรวจสภาพรถ (๒) เครื่องตรวจสภาพรถ ซึ่งประกอบด้วย (ก) เครื่องทดสอบห้ามล้อ (ข) เครื่องทดสอบศูนย์ล้อ (ค) เครื่องทดสอบโคมไฟหน้า (ง) เครื่องทดสอบเครื่องวัดความเร็วของรถ โดยจะมีเครื่องวัดกำลังม้าด้วยก็ได้ (จ) เครื่องวัดควันดำ (ฉ) เครื่องวัดระดับเสียง (ช) เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ (ซ) เครื่องและอุปกรณ์อื่นตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด (๓) เครื่องชั่งน้ำหนัก (๔) สิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพใต้ท้องรถ (๕) ลานจอดรถสำหรับรอการตรวจสภาพรถซึ่งมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ตารางเมตร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแบบ ขนาด และมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด หรือตามที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ ข้อ ๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีผู้ควบคุมการดำเนินการตรวจสภาพรถซึ่งมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเครื่องกลหรือวิศวกรรมยานยนต์และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ประเภทภาคีวิศวกรอย่างน้อย ๑ คน (๒) ดำเนินการตรวจสภาพรถ โดยปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและระเบียบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด (๓) จัดทำใบรับรองการตรวจสภาพรถ ประวัติรถ รายงานการตรวจสภาพรถประจำวัน และเครื่องหมายสำหรับรถที่ผ่านการตรวจสภาพแล้ว ทั้งนี้ ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด (๔) ปรับปรุงเครื่องตรวจสภาพรถให้อยู่ในสภาพที่พร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลาโดยจะต้องทำการปรับปรุงความเที่ยงตรงเป็นประจำทุกเดือน และสำหรับเครื่องชั่งน้ำหนักจะต้องมีใบรับรองความถูกต้องของเครื่องชั่งน้ำหนักจากกรมทะเบียนการค้าทุกปี ข้อ ๔ ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้ใช้แบบใบอนุญาตท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอตามแบบของกรมการขนส่งทางบกพร้อมด้วยหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) บุคคลธรรมดา (ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พร้อมด้วยภาพถ่ายหรือสำเนาทะเบียนบ้าน (ข) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถหรือใบแทน (๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พร้อมด้วยภาพถ่ายหรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ข) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถหรือใบแทน (๓) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พร้อมด้วยภาพถ่ายหรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ข) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (ค) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถหรือใบแทน (๔) บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พร้อมด้วยภาพถ่ายหรือสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการบริษัททุกคน (ข) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด พร้อมด้วยรายชื่อกรรมการบริษัททุกคน (ค) หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ (ง) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถหรือใบแทน ข้อ ๖ การอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามกฎกระทรวงนี้ ให้ผู้อนุญาตออกใบอนุญาตตามแบบใบอนุญาตเดิมให้ใหม่ ข้อ ๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดประสงค์จะขอรับใบแทนใบอนุญาตที่สูญหาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ยื่นคำขอตามแบบของกรมการขนส่งทางบกพร้อมด้วยหลักฐานการรับแจ้งความของสถานีตำรวจ หรือใบอนุญาตที่ชำรุดนั้น การอนุญาตคำขอใบแทนใบอนุญาต ให้ผู้อนุญาตออกใบอนุญาตตามแบบใบอนุญาตเดิม แต่ให้ระบุคำว่า “ใบแทน” ไว้ที่ด้านหน้าด้วย ข้อ ๘ การยื่นคำขอตามกฎกระทรวงนี้ (๑) สำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นต่อกรมการขนส่งทางบก (๒) สำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นต่อกรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น ๆ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๔ ร้อยตำรวจโท ชาญ มนูธรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๗๔ วรรคสอง และมาตรา ๗๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ บัญญัติให้ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขออนุญาตและการอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ และการขอต่ออายุใบอนุญาต จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๓ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๒๑๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒/๒๕ ธันวาคม ๒๕๒๔
321766
กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2524) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ มาตรา ๒๓ วรรคสอง และมาตรา ๒๘ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ใดประสงค์จะประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทางหรือการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบของกรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) บุคคลธรรมดา (ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน (ข) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน (ค) ตัวอย่างเครื่องหมายประจำรถ (ง) รูปถ่ายสำนักงานและสถานที่เก็บรถ ขนาด ๗.๖๐ x ๑๒.๗๐ เซนติเมตร อย่างละ ๒ รูป (จ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการใช้สถานที่เก็บรถ (ฉ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองรถ ในกรณีที่มีรถอยู่แล้วในวันยื่นคำขอ (๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ก) รายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ข) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ค) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ง) ตัวอย่างรอยตราประทับของผู้ยื่นคำขอ ๒ ตรา ถ้ามี (จ) ตัวอย่างเครื่องหมายประจำรถ (ฉ) รูปถ่ายสำนักงานและสถานที่เก็บรถ ขนาด ๗.๖๐ x ๑๒.๗๐ เซนติเมตร อย่างละ ๒ รูป (ช) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการใช้สถานที่เก็บรถ (ซ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองรถ ในกรณีที่มีรถอยู่แล้วในวันยื่นคำขอ (๓) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แสดงการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (ข) รายชื่อและสัญชาติของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ค) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ง) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (จ) ตัวอย่างรอยตราประทับของผู้ยื่นคำขอ ๒ ตรา ถ้ามี (ฉ) ตัวอย่างเครื่องหมายประจำรถ (ช) รูปถ่ายสำนักงานและสถานที่เก็บรถ ขนาด ๗.๖๐ x ๑๒.๗๐ เซนติเมตร อย่างละ ๒ รูป (ซ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการใช้สถานที่เก็บรถ (ฌ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองรถ ในกรณีที่มีรถอยู่แล้วในวันยื่นคำขอ (๔) บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แสดงการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (ข) รายชื่อกรรมการของบริษัทหรือบริษัทมหาชนจำกัดทุกคน (ค) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของกรรมการของบริษัททุกคน (ง) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของกรรมการของบริษัททุกคน (จ) รายชื่อและสัญชาติของผู้ถือหุ้นทุกคน และจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนถือ (ฉ) สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ (ช) ตัวอย่างรอยตราประทับของผู้ยื่นคำขอ ๒ ตรา ถ้ามี (ซ) ตัวอย่างเครื่องหมายประจำรถ (ฌ) รูปถ่ายสำนักงานและสถานที่เก็บรถ ขนาด ๗.๖๐ x ๑๒.๗๐ เซนติเมตร อย่างละ ๒ รูป (ญ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการใช้สถานที่เก็บรถ (ฎ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองรถ ในกรณีที่มีรถอยู่แล้วในวันยื่นคำขอ (๕) สหกรณ์ (ก) ภาพถ่ายใบสำคัญรับจดทะเบียนสหกรณ์ (ข) บัญชีรายชื่อสมาชิกของสหกรณ์ฉบับที่นายทะเบียนสหกรณ์รับรอง (ค) สำเนาหรือภาพถ่ายข้อบังคับของสหกรณ์ (ง) ตัวอย่างรอยตราประทับของผู้ยื่นคำขอ ๒ ตรา ถ้ามี (จ) ตัวอย่างเครื่องหมายประจำรถ (ฉ) รูปถ่ายสำนักงานและสถานที่เก็บรถ ขนาด ๗.๖๐ x ๑๒.๗๐ เซนติเมตร อย่างละ ๒ รูป (ช) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการใช้สถานที่เก็บรถ (ซ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองรถ ในกรณีที่มีรถอยู่แล้วในวันยื่นคำขอ (๖) องค์การของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ (ก) ตัวอย่างรอยตราประทับของผู้ยื่นคำขอ ๒ ตรา ถ้ามี (ข) ตัวอย่างเครื่องหมายประจำรถ (ค) รูปถ่ายสำนักงานและสถานที่เก็บรถ ขนาด ๗.๖๐ x ๑๒.๗๐ เซนติเมตร อย่างละ ๒ รูป (ง) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการใช้สถานที่เก็บรถ (จ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองรถ ในกรณีที่มีรถอยู่แล้วในวันยื่นคำขอ ข้อ ๒ ผู้ใดประสงค์จะประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบของกรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) บุคคลธรรมดา (ก) สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ และใบทะเบียนการค้า ถ้ามี (ข) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (ค) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน (ง) ตัวอย่างเครื่องหมายประจำรถที่ประสงค์จะใช้ ถ้ามี (จ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองรถ ในกรณีที่มีรถอยู่แล้วในวันยื่นคำขอ (๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ก) สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์และใบทะเบียนการค้า ถ้ามี (ข) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ค) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ง) ตัวอย่างรอยตราประทับของผู้ยื่นคำขอ ๒ ตรา ถ้ามี (จ) ตัวอย่างเครื่องหมายประจำรถที่ประสงค์จะใช้ ถ้ามี (ฉ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองรถ ในกรณีที่มีรถอยู่แล้วในวันยื่นคำขอ (๓) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (ข) ตัวอย่างรอยตราประทับของผู้ยื่นคำขอ ๒ ตรา ถ้ามี (ค) ตัวอย่างเครื่องหมายประจำรถที่ประสงค์จะใช้ ถ้ามี (ง) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองรถ ในกรณีที่มีรถอยู่แล้วในวันยื่นคำขอ (๔) บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (ข) สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ (ค) ตัวอย่างรอยตราประทับของผู้ยื่นคำขอ ๒ ตรา ถ้ามี (ง) ตัวอย่างเครื่องหมายประจำรถที่ประสงค์จะใช้ ถ้ามี (จ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองรถ ในกรณีที่มีรถอยู่แล้วในวันยื่นคำขอ (๕) สหกรณ์ (ก) ภาพถ่ายใบสำคัญรับจดทะเบียนสหกรณ์ (ข) บัญชีรายชื่อสมาชิกของสหกรณ์ฉบับที่นายทะเบียนสหกรณ์รับรอง (ค) สำเนาหรือภาพถ่ายข้อบังคับของสหกรณ์ (ง) ตัวอย่างรอยตราประทับของผู้ยื่นคำขอ ๒ ตรา ถ้ามี (จ) ตัวอย่างเครื่องหมายประจำรถที่ประสงค์จะใช้ ถ้ามี (ฉ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองรถ ในกรณีที่มีรถอยู่แล้วในวันยื่นคำขอ ข้อ ๓ การยื่นคำขอตามกฎกระทรวงนี้ (๑) สำหรับการขนส่งประจำทางหรือการขนส่งโดยรถขนาดเล็กในเขตกรุงเทพมหานคร และการขนส่งไม่ประจำทางหรือการขนส่งส่วนบุคคลที่ผู้ขอมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นต่อกรมการขนส่งทางบก (๒) สำหรับการขนส่งประจำทางหรือการขนส่งโดยรถขนาดเล็กในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร และการขนส่งไม่ประจำทางหรือการขนส่งส่วนบุคคลที่ผู้ขอมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อสำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น ๆ (๓) สำหรับการขนส่งประจำทางระหว่างจังหวัด ให้ยื่นคำขอต่อกรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่เป็นต้นทางหรือปลายทางของการขนส่งนั้น ๆ ข้อ ๔ ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ให้ใช้แบบใบอนุญาตท้ายกฎกระทรวง ดังต่อไปนี้ (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง (ก) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ให้ใช้แบบ ขส.บ. ๑๒ ก. (ข) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ให้ใช้แบบ ขส.บ. ๑๒ ข. (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง (ก) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ให้ใช้แบบ ขส.บ. ๑๒ ค. (ข) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ให้ใช้แบบ ขส.บ. ๑๒ ง. (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้ใช้แบบ ขส.บ. ๑๒ จ. (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล (ก) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ให้ใช้แบบ ขส.บ. ๑๒ ฉ. (ข) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ให้ใช้แบบ ขส.บ. ๑๒ ช. ข้อ ๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทางหรือการขนส่งโดยรถขนาดเล็กผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอตามแบบของกรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) บุคคลธรรมดา (ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน (ข) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน (ค) รูปถ่ายสำนักงานและสถานที่เก็บรถ ขนาด ๗.๖๐ x ๑๒.๗๐ เซนติเมตร อย่างละ ๒ รูป (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง) (ง) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการใช้สถานที่เก็บรถ (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง) (จ) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือใบแทน (๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ก) รายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ข) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ค) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ง) รูปถ่ายสำนักงานและสถานที่เก็บรถ ขนาด ๗.๖๐ x ๑๒.๗๐ เซนติเมตร อย่างละ ๒ รูป (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง) (จ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการใช้สถานที่เก็บรถ (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง) (ช) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือใบแทน (๓) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (ข) รายชื่อและสัญชาติของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ค) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ง) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (จ) รูปถ่ายสำนักงานและสถานที่เก็บรถ ๗.๖๐ x ๑๒.๗๐ เซนติเมตร อย่างละ ๒ รูป (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง) (ฉ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการใช้สถานที่เก็บรถ (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง) (ช) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือใบแทน (๔) บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (ข) รายชื่อกรรมการของบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดทุกคน (ค) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของกรรมการของบริษัททุกคน (ง) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของกรรมการของบริษัททุกคน (จ) รายชื่อและสัญชาติของผู้ถือหุ้นทุกคน และจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนถือ (ฉ) สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ (ช) รูปถ่ายสำนักงานและสถานที่เก็บรถ ขนาด ๗.๖๐ x ๑๒.๗๐ เซนติเมตร อย่างละ ๒ รูป (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง) (ซ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการใช้สถานที่เก็บรถ (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง) (ฌ) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือใบแทน (๕) สหกรณ์ (ก) บัญชีรายชื่อสมาชิกของสหกรณ์ ฉบับที่นายทะเบียนสหกรณ์รับรอง (ข) สำเนาหรือภาพถ่ายข้อบังคับของสหกรณ์ (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง) (ค) รูปถ่ายสำนักงานและสถานที่เก็บรถ ขนาด ๗.๖๐ x ๑๒.๗๐ เซนติเมตร อย่างละ ๒ รูป (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง) (ง) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการใช้สถานที่เก็บรถ (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง) (จ) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือใบแทน (๖) องค์การของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ (ก) รูปถ่ายสำนักงานและสถานที่เก็บรถ ขนาด ๗.๖๐ x ๑๒.๗๐ เซนติเมตร อย่างละ ๒ รูป (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง) (ข) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการใช้สถานที่เก็บรถ (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง) (ค) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือใบแทน ข้อ ๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอตามแบบของกรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือใบแทน ข้อ ๗ การอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามกฎกระทรวงนี้ ให้ผู้อนุญาตออกใบอนุญาตตามแบบใบอนุญาตเดิมให้ใหม่ ข้อ ๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดประสงค์จะขอรับใบแทนใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอตามแบบของกรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยหลักฐานการรับแจ้งความของสถานีตำรวจ หรือใบอนุญาตที่ชำรุดนั้น การอนุญาตคำขอใบแทนใบอนุญาต ให้ผู้อนุญาตออกใบอนุญาตตามแบบใบอนุญาตเดิม แต่ให้ระบุคำว่า “ใบแทน” ไว้ที่ด้านหน้าด้วย ข้อ ๙ เพื่อประโยชน์แก่นายทะเบียนในการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับลักษณะของรถในใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ให้กำหนดลักษณะของรถที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้ในการประกอบการขนส่งโดยมีสามลักษณะ คือ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (๒) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ (๓) รถขนาดเล็ก ข้อ ๑๐ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารตามข้อ ๙ (๑) มี ๗ มาตรฐาน ได้แก่ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๑ คือ รถปรับอากาศพิเศษ ซึ่งหมายความว่า รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารซึ่งมีคัสซี เป็นคัสซีรถโดยสาร มีทางขึ้นลงด้านข้างหรือที่ด้านท้ายของรถ โดยไม่กำหนดที่สำหรับผู้โดยสารยืน มีเครื่องปรับอากาศ มีที่เก็บสัมภาระไว้โดยเฉพาะ มีที่สำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม มีอุปกรณ์ให้เสียงและประชาสัมพันธ์ และมีห้องสุขภัณฑ์ (๒) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๒ คือ รถปรับอากาศ ซึ่งหมายความว่า (ก) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งเกิน ๓๐ ที่นั่ง โดยไม่กำหนดที่สำหรับผู้โดยสารยืน ซึ่งมีคัสซีเป็นคัสซีรถโดยสาร มีทางขึ้นลงด้านข้างหรือที่ด้านท้ายของรถ สำหรับที่เก็บสัมภาระ ที่สำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม อุปกรณ์ให้เสียงและประชาสัมพันธ์นั้น จะมีหรือไม่ก็ได้ แต่ไม่มีห้องสุขภัณฑ์ (ข) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งเกิน ๓๐ ที่นั่งและมีที่สำหรับผู้โดยสารยืน ซึ่งคัสซีเป็นคัสซีรถโดยสาร มีทางขึ้นลงด้านข้างหรือที่ด้านท้ายของรถ สำหรับที่เก็บสัมภาระ อุปกรณ์ให้เสียงและประชาสัมพันธ์นั้น จะมีหรือไม่ก็ได้ แต่ไม่มีที่สำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม และห้องสุขภัณฑ์ (ค) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งตั้งแต่ ๒๑ ถึง ๓๐ ที่นั่ง โดยไม่กำหนดที่สำหรับผู้โดยสารยืน ซึ่งมีคัสซีเป็นคัสซีรถโดยสาร มีทางขึ้นลงด้านข้างหรือที่ด้านท้ายของรถ สำหรับที่เก็บสัมภาระ ที่สำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม อุปกรณ์ให้เสียงและประชาสัมพันธ์นั้น จะมีหรือไม่ก็ได้ แต่ไม่มีห้องสุขภัณฑ์ (ง) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งตั้งแต่ ๒๑ ถึง ๓๐ ที่นั่งและมีที่สำหรับผู้โดยสารยืน ซึ่งมีคัสซีเป็นคัสซีรถโดยสาร มีทางขึ้นลงด้านข้างหรือที่ด้านท้ายของรถ สำหรับที่เก็บสัมภาระ อุปกรณ์ให้เสียงและประชาสัมพันธ์นั้น จะมีหรือไม่ก็ได้ แต่ไม่มีที่สำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม และห้องสุขภัณฑ์ (จ) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน ๒๐ ที่นั่งโดยไม่กำหนดที่สำหรับผู้โดยสารยืน ซึ่งคัสซีจะเป็นคัสซีรถโดยสารหรือไม่ก็ได้ มีทางขึ้นลงด้านข้างหรือที่ด้านท้ายของรถ จะมีที่เก็บสัมภาระด้วยหรือไม่ก็ได้ (๓) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๓ คือ รถที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ซึ่งหมายความว่า (ก) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่ง ๓๐ ที่นั่ง และมีที่สำหรับผู้โดยสารยืน ซึ่งมีคัสซีเป็นคัสซีรถโดยสาร มีทางขึ้นลงด้านข้างหรือที่ด้านท้ายของรถ ไม่มีที่เก็บสัมภาระ ที่สำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม และห้องสุขภัณฑ์ (ข) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งเกิน ๓๐ ที่นั่ง โดยไม่กำหนดที่สำหรับผู้โดยสารยืน ซึ่งมีคัสซีเป็นคัสซีรถโดยสาร มีทางขึ้นลงด้านข้างหรือที่ด้านท้ายของรถ มีที่เก็บสัมภาระ แต่ไม่มีที่สำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม และห้องสุขภัณฑ์ (ค) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งตั้งแต่ ๒๑ ถึง ๓๐ ที่นั่ง และมีที่สำหรับผู้โดยสารยืน ซึ่งคัสซีจะเป็นคัสซีรถโดยสารหรือไม่ก็ได้ มีทางขึ้นลงด้านข้างหรือที่ด้านท้ายของรถ ไม่มีที่เก็บสัมภาระ ที่สำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม และห้องสุขภัณฑ์ (ง) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งตั้งแต่ ๒๑ ถึง ๓๐ ที่นั่ง โดยไม่กำหนดที่สำหรับผู้โดยสารยืน ซึ่งคัสซีจะเป็นคัสซีรถโดยสารหรือไม่ก็ได้ มีทางขึ้นลงด้านข้างหรือที่ด้านท้ายของรถ มีที่เก็บสัมภาระ แต่ไม่มีที่สำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม และห้องสุขภัณฑ์ (จ) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งตั้งแต่ ๑๓ ถึง ๒๔ ที่นั่ง ซึ่งคัสซีจะเป็นคัสซีรถโดยสารหรือไม่ก็ได้ มีทางขึ้นลงด้านข้างหรือที่ด้านท้ายของรถ จะกำหนดที่สำหรับผู้โดยสารยืนหรือไม่ก็ได้ และจะมีที่เก็บสัมภาระด้วยหรือไม่ก็ได้ (ฉ) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน ๑๒ ที่นั่งโดยไม่กำหนดที่สำหรับผู้โดยสารยืน ซึ่งคัสซีจะเป็นคัสซีรถโดยสารหรือไม่ก็ได้ มีทางขึ้นลงด้านข้างหรือที่ด้านท้ายของรถ จะมีที่เก็บสัมภาระด้วยหรือไม่ก็ได้ (๔) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๔ คือ รถสองชั้น ซึ่งหมายความว่า (ก) รถสองชั้นปรับอากาศ ซึ่งมีคัสซีเป็นคัสซีรถโดยสาร มีทางขึ้นลงทางด้านข้างและมีทางขึ้นลงชั้นบนภายในตัวรถอย่างน้อยหนึ่งทาง โดยชั้นล่างกำหนดให้มีที่สำหรับผู้โดยสารยืน มีเครื่องปรับอากาศ ไม่มีที่เก็บสัมภาระ ที่สำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม และห้องสุขภัณฑ์ (ข) รถสองชั้นที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ซึ่งมีคัสซีเป็นคัสซีรถโดยสาร มีทางขึ้นลงด้านข้าง และมีทางขึ้นลงชั้นบนภายในตัวรถอย่างน้อยหนึ่งทาง โดยชั้นล่างกำหนดให้มีที่สำหรับผู้โดยสารยืน ไม่มีที่เก็บสัมภาระ ที่สำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม และห้องสุขภัณฑ์ (๕) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๕ คือ รถพ่วง ซึ่งหมายความว่า (ก) รถพ่วงปรับอากาศ ซึ่งไม่มีแรงขับเคลื่อนในตัวเอง จำเป็นต้องใช้รถอื่นลากจูงและน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกทั้งหมดลงบนเพลาล้อสมบูรณ์ในตัวเอง ซึ่งมีคัสซีเป็นคัสซีรถโดยสาร มีทางขึ้นลงด้านข้าง จะกำหนดให้มีที่สำหรับผู้โดยสารยืน ที่เก็บสัมภาระ ที่สำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม อุปกรณ์ให้เสียงและประชาสัมพันธ์ และห้องสุขภัณฑ์หรือไม่ก็ได้ (ข) รถพ่วงที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ซึ่งไม่มีแรงขับเคลื่อนในตัวเอง จำเป็นต้องใช้รถอื่นลากจูงและน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกทั้งหมดลงบนเพลาล้อสมบูรณ์ในตัวเอง ซึ่งมีคัสซีเป็นคัสซีรถโดยสาร มีทางขึ้นลงด้านข้าง จะกำหนดให้มีที่สำหรับผู้โดยสารยืน ที่เก็บสัมภาระ ที่สำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม และอุปกรณ์ให้เสียงและประชาสัมพันธ์หรือไม่ก็ได้ (๖) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๖ คือ รถกึ่งพ่วง ซึ่งหมายความว่า (ก) รถกึ่งพ่วงปรับอากาศซึ่งมีสองตอน ตอนท้ายมีเพลาล้อชุดเดียวนำมาต่อพ่วงกับตอนหน้า ทำให้มีทางเดินติดต่อถึงกันได้ ซึ่งมีคัสซีเป็นคัสซีรถโดยสาร มีทางขึ้นลงด้านข้าง จะกำหนดให้มีที่สำหรับผู้โดยสารยืน ที่เก็บสัมภาระ ที่สำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม อุปกรณ์ให้เสียงและประชาสัมพันธ์ และห้องสุขภัณฑ์หรือไม่ก็ได้ (ข) รถกึ่งพ่วงไม่มีเครื่องปรับอากาศซึ่งมีสองตอน ตอนท้ายมีเพลาล้อชุดเดียวนำมาต่อพ่วงกับตอนหน้า ทำให้มีทางเดินติดต่อถึงกันได้ ซึ่งมีคัสซีเป็นคัสซีรถโดยสาร มีทางขึ้นลงด้านข้าง ที่สำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม และห้องสุขภัณฑ์ จะกำหนดให้มีที่สำหรับผู้โดยสารยืน ที่เก็บสัมภาระ และอุปกรณ์ให้เสียงและประชาสัมพันธ์หรือไม่ก็ได้ (๗) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๗ คือ รถโดยสารเฉพาะกิจ ซึ่งหมายความว่า รถซึ่งส่วนที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมีลักษณะพิเศษเพื่อใช้ในกิจการใดกิจการหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งคัสซีจะเป็นคัสซีรถโดยสารหรือไม่ก็ได้ เช่น รถพยาบาล รถบริการซ่อมบำรุงรักษา รถบริการถ่ายทอดวิทยุหรือโทรทัศน์ รถบริการไปรษณีย์ รถบริการธนาคาร รถบริการทางการแพทย์ รถบริการในท่าอากาศยาน เป็นต้น ข้อ ๑๑ รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของตามข้อ ๙ (๒) มี ๙ ลักษณะ ได้แก่ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๑ คือ รถกระบะบรรทุก ซึ่งหมายความว่า รถซึ่งส่วนที่ใช้ในการบรรทุกมีลักษณะเป็นกระบะ โดยจะมีหลังคาหรือไม่ก็ได้ รถที่มีเครื่องทุ่นแรงสำหรับยกสิ่งของที่จะบรรทุกในกระบะนั้น ๆ รถที่มีกระบะบรรทุกสามารถยกเท และให้หมายความรวมถึงรถซึ่งส่วนที่ใช้บรรทุกไม่มีด้านข้างหรือด้านท้าย (๒) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๒ คือ รถตู้บรรทุก ซึ่งหมายความว่า รถซึ่งส่วนที่ใช้ในการบรรทุกมีลักษณะเป็นตู้ทึบ มีหลังคาถาวร ตัวถังบรรทุกกับห้องผู้ขับรถจะเป็นตอนเดียวกันหรือแยกกันและจะมีบานประตูปิดเปิดสำหรับการบรรทุกที่ด้านข้างหรือด้านท้ายก็ได้ (๓) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๓ คือ รถบรรทุกของเหลว ซึ่งหมายความว่า รถซึ่งส่วนที่ใช้ในการบรรทุกมีลักษณะเป็นถังสำหรับบรรทุกของเหลวตามความเหมาะสมกับของเหลวที่บรรทุกนั้น (๔) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๔ คือ รถบรรทุกวัสดุอันตราย ซึ่งหมายความว่า รถซึ่งส่วนที่ใช้ในการบรรทุกมีลักษณะเฉพาะ เพื่อใช้ในการบรรทุกวัสดุอันตราย เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซเหลว สารเคมี วัตถุระเบิด วัสดุไวไฟ เป็นต้น (๕) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๕ คือ รถบรรทุกเฉพาะกิจ ซึ่งหมายความว่า รถซึ่งส่วนที่ใช้ในการบรรทุกมีลักษณะพิเศษ เพื่อใช้ในกิจการใดกิจการหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น รถบรรทุกขวดเครื่องดื่ม รถบรรทุกขยะมูลฝอย รถผสมซีเมนต์ รถบรรทุกเครื่องราดยาง รถบรรทุกเครื่องทุ่นแรง เป็นต้น (๖) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๖ คือ รถพ่วง ซึ่งหมายความว่า รถที่ไม่มีแรงขับเคลื่อนในตัวเอง จำเป็นต้องใช้รถอื่นลากจูง และน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกทั้งหมดลงบนเพลาล้อสมบูรณ์ในตัวเอง (๗) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๗ คือ รถกึ่งพ่วง ซึ่งหมายความว่า รถที่ไม่มีแรงขับเคลื่อนในตัวเอง จำเป็นต้องใช้รถอื่นลากจูง และน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกบางส่วนเฉลี่ยลงบนเพลาล้อของรถคันลากจูง (๘) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๘ คือ รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว ซึ่งหมายความว่า รถกึ่งพ่วงที่มีลักษณะเพื่อใช้บรรทุกสิ่งของที่มีความยาวโดยมีโครงโลหะที่สามารถปรับความยาวของช่วงล้อระหว่างรถลากจูงกับรถกึ่งพ่วงได้ (๙) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๙ คือ รถลากจูง ซึ่งหมายความว่า รถที่มีลักษณะเป็นรถสำหรับลากจูงรถพ่วง รถกึ่งพ่วง และรถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาวโดยเฉพาะ ข้อ ๑๒ รถขนาดเล็กตามข้อ ๙ (๓) ได้แก่ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและสิ่งของรวมกัน ซึ่งคัสซีจะเป็นคัสซีรถโดยสารหรือไม่ก็ได้ และอาจมีทางขึ้นลงด้านข้างหรือที่ด้านท้ายของรถ ที่นั่งจำนวนไม่เกิน ๒๐ ที่นั่ง โดยไม่กำหนดที่สำหรับผู้โดยสาร และมีที่สำหรับบรรทุกสิ่งของรวมไปกับผู้โดยสาร ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๔ ร้อยตำรวจโท ชาญ มนูธรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขส.บ. ๑๒ ก. (ครุฑ) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ใบอนุญาตที่ ........................ / ................................ นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ .............................................................................................. สำนักงานชื่อ ...................................................... อยู่เลขที่ ........................ ตรอก/ซอย .................................. ถนน .............................................................. หมู่ที่ .................. ตำบล/แขวง .................................................. อำเภอ/เขต ............................................................................................ จังหวัด .................................................. มีสิทธิประกอบการขนส่งประจำทาง ในเส้นทาง ................................................................................................ ใบอนุญาตฉบับนี้ให้มีอายุ ๗ ปี นับตั้งแต่วันที่ .......................... เดือน ............................... พ.ศ. ................ ถึง วันที่ ................. เดือน ..................................................... พ.ศ. .......... โดยให้ปฏิบัติตามกฎหมาย และเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ในใบอนุญาตนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ ... เดือน ........................ พ.ศ. .......................... ................................................................. นายทะเบียน ๒ เงื่อนไข (๑) จำนวนรถ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องใช้รถที่มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ข้อ ๓ มีจำนวนอย่างน้อย คัน อย่างมาก ........................................................ คัน (๒) สิทธิในรถ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในรถที่ใช้ในการขนส่ง (๓) ลักษณะ ชนิด ขนาด สีของรถ และเครื่องหมาย (ก) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ต้องใช้รถ ลักษณะ .................................................................................................................. จำนวน .......................... คัน ลักษณะ .................................................................................................................. จำนวน .......................... คัน ลักษณะ .................................................................................................................. จำนวน .......................... คัน ลักษณะ .................................................................................................................. จำนวน .......................... คัน ลักษณะ .................................................................................................................. จำนวน .......................... คัน (ข) ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้สี ............................... เป็นสีตัวถังรถ (ค) ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้เครื่องหมายตามแบบที่แนบท้ายใบอนุญาตเป็นเครื่องหมายที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน โดยแสดงไว้ที่ด้านนอกตัวรถทั้งสองข้าง (๔) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (ก) รถที่นำมาใช้ในการขนส่งแต่ละคันต้องมีจำนวนที่นั่งและหรือที่สำหรับผู้โดยสารยืนตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด (ข) วิธีการบรรทุกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด (๕) จำนวนผู้ประจำรถ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องมีผู้ประจำรถอย่างน้อย ดังนี้ (ก) ผู้ขับรถ ........................................ คน (ค) นายตรวจ ................................... คน (ข) ผู้เก็บค่าโดยสาร ......................... คน (ง) ผู้บริการ ....................................... คน (๖) มาตรฐานบริการ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องบริการโดยมีมาตรฐาน ดังนี้ (ก) ......................................................... (ข) ......................................................... (ค) ......................................................... ๓ (๗) เวลาทำงานประจำวัน ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องเปิดทำงานประจำวันที่สำนักงานใหญ่และหรือสำนักงานสาขา ตั้งแต่เวลา น. ปิดเวลา .............. น. เป็นอย่างน้อย เว้นวัน ....................................... (๘) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องมีสถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ ดังนี้ (ก) สถานที่เก็บรถตั้งอยู่ที่ ............................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... (ข) สถานที่ซ่อมและบำรุงรักษารถตั้งอยู่ที่ .................................................................. ...................................................................................................................................................................................... (๙) เงื่อนไขอื่น .......................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ๔ ลำดับที่ รายการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและหรือรายละเอียดในใบอนุญาต วัน/เดือน/ปี ลงชื่อนายทะเบียน ๕ คำเตือน (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลังใบอนุญาตนี้ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท และอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด เพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่ง หรือ ค่าบริการโดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท (๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ใช้หรือยอมให้บุคคลอื่นใช้รถที่ได้รับอนุญาตทำการขนส่งนอกเส้นทาง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน หรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับคันละไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ต่อ ๑ วัน จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง (๔) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใด ไม่ใช้รถในการประกอบการขนส่งตามจำนวนที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนไขในใบอนุญาตตามมาตรา ๓๑ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ต่อ ๑ วัน จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง (๕) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ใช้รถผิดประเภทตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนเป็นครั้งคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๖) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่แสดงใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๗) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ปิดประกาศเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง อัตราค่าขนส่งและค่าบริการ สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายผู้โดยสาร ที่ที่รถจะต้องหยุดในระหว่างเส้นทาง เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถไว้ ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนดตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ๖ (๘) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตตามมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๙) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ส่งคืนใบอนุญาตที่ถูกสั่งเพิกถอนต่อนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๑๐) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด เลิกประกอบการขนส่งในระหว่างที่ใบอนุญาตยังไม่สิ้นอายุ โดยไม่แจ้งความประสงค์เป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน ก่อนวันเลิกประกอบการขนส่งตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท (๑๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด มีความประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่า ๑๒๐ วัน ตามมาตรา ๒๘ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด เลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว โดยไม่แจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบ และไม่นำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนแก่นายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เลิกใช้รถนั้นตามมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ขส.บ. ๑๒ ข. (ครุฑ) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ใบอนุญาตที่ ........................ / ................................ นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ .............................................................................................. สำนักงานชื่อ ......................................................... อยู่เลขที่ ............................. ตรอก/ซอย ........................... ถนน .............................................................. หมู่ที่ ............................................ ตำบล/แขวง ......................... อำเภอ/เขต ................................................................................................ จังหวัด ............................................... มีสิทธิประกอบการขนส่งประจำทาง ในเส้นทาง ................................................................................................ ใบอนุญาตฉบับนี้ให้มีอายุ ๗ ปี นับตั้งแต่วันที่ .................................. เดือน ................................. พ.ศ. ..... ถึงวันที่..................... เดือน ..................................................... พ.ศ. .......... โดยให้ปฏิบัติตามกฎหมายและเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ในใบอนุญาตนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ .................. เดือน ........................ พ.ศ. .......................... ๘ เงื่อนไข (๑) จำนวนรถ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องใช้รถที่มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ข้อ ๓ มีจำนวนอย่างน้อย คัน อย่างมาก ................................................................. คัน (๒) สิทธิในรถ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในรถที่ใช้ในการขนส่ง (๓) ลักษณะ ชนิด ขนาด สีของรถ และเครื่องหมาย (ก) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ต้องใช้รถ ลักษณะ .............................................................................................. จำนวน .............................................. คัน ลักษณะ .............................................................................................. จำนวน .............................................. คัน ลักษณะ .............................................................................................. จำนวน .............................................. คัน ลักษณะ .............................................................................................. จำนวน .............................................. คัน ลักษณะ .............................................................................................. จำนวน .............................................. คัน (ข) ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้สี ............................... เป็นสีตัวถังรถ (ค) ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้เครื่องหมายตามแบบที่แนบท้ายใบอนุญาตเป็นเครื่องหมายที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน โดยแสดงไว้ที่ด้านนอกตัวรถทั้งสองข้าง (๔) เกณฑ์น้ำหนักบรรทุกและวิธีการบรรทุก (ก) รถที่นำมาใช้ในการขนส่งแต่ละคันเมื่อบรรทุกสัตว์และหรือสิ่งของ ต้องมีน้ำหนักรวมกันไม่เกินเกณฑ์ตามที่ทางราชการกำหนด (ข) วิธีการบรรทุกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด (๕) จำนวนผู้ประจำรถ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องมีผู้ประจำรถอย่างน้อยดังนี้ (ก) ผู้ขับรถ ................................................ คน (ข) ผู้บริการ .............................................. คน (๖) มาตรฐานบริการ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องบริการโดยมีมาตรฐานดังนี้ (ก) ................................................................................................................. (ข) ................................................................................................................. (ค) ................................................................................................................. ๙ (๗) เวลาทำงานประจำวัน ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องเปิดทำงานประจำวันที่สำนักงานใหญ่และหรือสำนักงานสาขา ตั้งแต่เวลา น. ปิดเวลา ........... น. เป็นอย่างน้อย เว้นวัน .......................................... (๘) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องมีสถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถดังนี้ (ก) สถานที่เก็บรถตั้งอยู่ที่ ............................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... (ข) สถานที่ซ่อมและบำรุงรักษารถตั้งอยู่ที่ .................................................................. ...................................................................................................................................................................................... (๙) เงื่อนไขอื่น .......................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ๑๐ ลำดับที่ รายการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและหรือรายละเอียดในใบอนุญาต วัน/เดือน/ปี ลงชื่อนายทะเบียน ๑๑ คำเตือน (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลังใบอนุญาตนี้ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท และอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด เพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่ง หรือ ค่าบริการโดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท (๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ใช้หรือยอมให้บุคคลอื่นใช้รถที่ได้รับอนุญาตทำการขนส่งนอกเส้นทาง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน หรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับคันละไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ต่อ ๑ วัน จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง (๔) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ใช้รถในการประกอบการขนส่งตามจำนวนที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนไขในใบอนุญาตตามมาตรา ๓๑ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ต่อ ๑ วัน จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง (๕) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ใช้รถผิดประเภทตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนเป็นครั้งคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๖) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่แสดงใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๗) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ปิดประกาศเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง อัตราค่าขนส่งและค่าบริการ สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายสัตว์หรือสิ่งของที่รถจะต้องหยุดในระหว่างเส้นทาง เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถไว้ ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนดตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๘) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตตามมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ๑๒ (๙) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ส่งคืนใบอนุญาตที่ถูกสั่งเพิกถอนต่อนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๑๐) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด เลิกประกอบการขนส่งในระหว่างที่ใบอนุญาตยังไม่สิ้นอายุ โดยไม่แจ้งความประสงค์เป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน ก่อนวันเลิกประกอบการขนส่งตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท (๑๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด มีความประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่า ๑๒๐ วัน ตามมาตรา ๒๘ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด เลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้วโดยไม่แจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบ และไม่นำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนแก่นายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เลิกใช้รถนั้นตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ขส.บ. ๑๒ ค. (ครุฑ) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ใบอนุญาตที่ ........................ / ................................ นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ .............................................................................................. สำนักงานชื่อ ........................................................................... อยู่เลขที่ .................... ตรอก/ซอย ................. ถนน ................................................ หมู่ที่ .................... ตำบล/แขวง ............................................................... อำเภอ/เขต ...................................................................... จังหวัด ......................... มีสิทธิประกอบการขนส่ง ไม่ประจำทาง ใบอนุญาตฉบับนี้ให้มีอายุ ๕ ปี นับตั้งแต่วันที่ .................... เดือน ....................................... พ.ศ. ............. ถึงวันที่............... เดือน ......................................................... พ.ศ. ........... โดยให้ปฏิบัติตามกฎหมาย และเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ในใบอนุญาตนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ .................. เดือน ........................ พ.ศ. .......................... ................................................................. นายทะเบียน ๑๔ เงื่อนไข (๑) จำนวนรถ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องใช้รถที่มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ใน (๒) จำนวนไม่เกิน คัน (๒) ลักษณะ ชนิด ขนาดของรถ และเครื่องหมาย (ก) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ต้องใช้รถ ลักษณะ .............................................................................................. จำนวน .............................................. คัน ลักษณะ .............................................................................................. จำนวน .............................................. คัน ลักษณะ .............................................................................................. จำนวน .............................................. คัน ลักษณะ .............................................................................................. จำนวน .............................................. คัน ลักษณะ .............................................................................................. จำนวน .............................................. คัน (ข) ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้เครื่องหมายตามแบบที่แนบท้ายใบอนุญาต เป็นเครื่องหมายที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน โดยแสดงไว้ที่ด้านนอกตัวรถทั้งสองข้าง (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุกและวิธีการบรรทุก (ก) รถที่นำมาใช้ในการขนส่งแต่ละคันต้องมีจำนวนที่นั่งและหรือที่สำหรับผู้โดยสารยืน ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด (ข) วิธีการบรรทุกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด (๔) จำนวนผู้ประจำรถ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องมีผู้ประจำรถในเส้นทางอย่างน้อยดังนี้ (ก) ผู้ขับรถ ................................................ คน (ข) ผู้บริการ .............................................. คน (๕) ท้องที่ที่ทำการขนส่ง ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำการขนส่งในท้องที่ดังนี้ ......................... ...................................................................................................................................................................................... (๖) มาตรฐานบริการ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องบริการโดยมีมาตรฐานดังนี้ (ก) ............................................................... (ข) ............................................................... (ค) ............................................................... ๑๕ (๗) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายผู้โดยสาร ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องให้รถหยุดและจอด ................................... ...................................................................................................................................................................................... (๘) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องมีสถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถดังนี้ (ก) สถานที่เก็บรถตั้งอยู่ที่ ............................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... (ข) สถานที่ซ่อมและบำรุงรักษารถตั้งอยู่ที่ .................................................................. ...................................................................................................................................................................................... (๙) เงื่อนไขอื่น .......................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ๑๖ ลำดับที่ รายการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและหรือรายละเอียดในใบอนุญาต วัน/เดือน/ปี ลงชื่อนายทะเบียน ๑๗ คำเตือน (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลังใบอนุญาต มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท และอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด เพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่ง หรือ ค่าบริการ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท (๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ใช้หรือยอมให้บุคคลอื่นใช้รถที่ได้รับอนุญาตทำการขนส่งนอกเส้นทาง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน หรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับคันละไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ต่อ ๑ วัน จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง (๔) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางผู้ใด กระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง หรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาตตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ ๕๐,๐๐๐ บาท ถึง ๒๐๐,๐๐๐ บาท (๕) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ใช้รถผิดประเภทตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนเป็นครั้งคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๖) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่แสดงใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๗) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ปิดประกาศอัตราค่าขนส่งและค่าบริการ สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายผู้โดยสารไว้ ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนดตามมาตรา ๓๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๘) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตตามมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ๑๘ (๙) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ส่งคืนใบอนุญาตที่ถูกสั่งเพิกถอนต่อนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๑๐) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด มีความประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุตามมาตรา ๒๘ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด เลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้วโดยไม่แจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบ และไม่นำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนแก่นายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เลิกใช้รถนั้นตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ขส.บ. ๑๒ ง. (ครุฑ) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ใบอนุญาตที่ ........................ / ................................ นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ .............................................................................................. สำนักงานชื่อ ................................................. อยู่เลขที่ .......................... ตรอก/ซอย ..................................... ถนน .......................................................... หมู่ที่ .................... ตำบล/แขวง ..................................................... อำเภอ/เขต ...................................................................... จังหวัด .......................... มีสิทธิประกอบการขนส่ง ไม่ประจำทาง ใบอนุญาตฉบับนี้ให้มีอายุ ๕ ปี นับตั้งแต่วันที่ ........ เดือน ............................... พ.ศ. ....... ถึงวันที่....... เดือน ................................................... พ.ศ. ................... โดยให้ปฏิบัติตามกฎหมายและเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ในใบอนุญาตนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ .................. เดือน ........................ พ.ศ. .......................... ................................................................. นายทะเบียน ๒๐ เงื่อนไข (๑) จำนวนรถ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องใช้รถที่มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ข้อ ๒ จำนวนไม่เกิน คัน (๒) ลักษณะ ชนิด ขนาดของรถ และเครื่องหมาย (ก) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ต้องใช้รถ ลักษณะ .............................................................................................. จำนวน .............................................. คัน ลักษณะ .............................................................................................. จำนวน .............................................. คัน ลักษณะ .............................................................................................. จำนวน .............................................. คัน ลักษณะ .............................................................................................. จำนวน .............................................. คัน ลักษณะ .............................................................................................. จำนวน .............................................. คัน (ข) ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้เครื่องหมายตามแบบที่แนบท้ายใบอนุญาต เป็นเครื่องหมายที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน โดยแสดงไว้ที่ด้านนอกตัวรถทั้งสองข้าง (๓) เกณฑ์น้ำหนักบรรทุกและวิธีการบรรทุก (ก) รถที่นำมาใช้ในการขนส่งแต่ละคันเมื่อบรรทุกสัตว์และหรือสิ่งของ ต้องมีน้ำหนักรวมกันไม่เกินเกณฑ์ตามที่ทางราชการกำหนด (ข) วิธีการบรรทุกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด (๔) จำนวนผู้ประจำรถ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องมีผู้ประจำรถอย่างน้อยดังนี้ (ก) ผู้ขับรถ ................................................ คน (ข) ผู้บริการ .............................................. คน (๕) ท้องที่ที่ทำการขนส่ง ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำการขนส่งในท้องที่ดังนี้ ......................... ...................................................................................................................................................................................... (๖) มาตรฐานบริการ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องบริการโดยมีมาตรฐานดังนี้ (ก) ......................................................................... (ข) ......................................................................... (ค) ......................................................................... ๒๑ (๗) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายสัตว์หรือสิ่งของ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องให้รถหยุดและจอดเพื่อขนถ่ายสัตว์หรือสิ่งของ ณ สถานที่ดังนี้ ...................................................................................................................................................................................... (๘) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องมีสถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถดังนี้ (ก) สถานที่เก็บรถตั้งอยู่ที่ ............................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... (ข) สถานที่ซ่อมและบำรุงรักษารถตั้งอยู่ที่ .................................................................. ...................................................................................................................................................................................... (๙) เงื่อนไขอื่น .......................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ๒๒ ลำดับที่ รายการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและหรือรายละเอียดในใบอนุญาต วัน/เดือน/ปี ลงชื่อนายทะเบียน ๒๓ คำเตือน (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลังใบอนุญาตนี้ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท และอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด เพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่ง หรือ ค่าบริการ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท (๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ใช้หรือยอมให้บุคคลอื่นใช้รถที่ได้รับอนุญาตทำการขนส่งนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาต โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน หรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับคันละไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ต่อ ๑ วัน จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง (๔) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางผู้ใด กระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง หรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ ๕๐,๐๐๐ บาท ถึง ๒๐๐,๐๐๐ บาท (๕) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ใช้รถผิดประเภทตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนเป็นครั้งคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๖) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่แสดงใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๗) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ปิดประกาศอัตราค่าขนส่งและค่าบริการ สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายสัตว์ หรือสิ่งของไว้ ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนดตามมาตรา ๓๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ๒๔ (๘) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตตามมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๙) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ส่งคืนใบอนุญาตที่ถูกสั่งเพิกถอนต่อนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๑๐) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด มีความประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุตามมาตรา ๒๘ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด เลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้วโดยไม่แจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบ และไม่นำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนแก่นายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เลิกใช้รถนั้นตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ขส.บ. ๑๒ จ. (ครุฑ) ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง โดยรถขนาดเล็ก ใบอนุญาตที่ ........................ / ................................ นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ .............................................................................................. สำนักงานชื่อ ................................................... อยู่เลขที่ ........................ ตรอก/ซอย ..................................... ถนน .............................................. หมู่ที่ .................................. ตำบล/แขวง ................................................... อำเภอ/เขต .......................................................................................................... จังหวัด .................................... มีสิทธิประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ในเส้นทาง ...................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ใบอนุญาตฉบับนี้ให้มีอายุ ๕ ปี นับตั้งแต่วันที่ ...... เดือน ..................................................... พ.ศ. ............. ถึงวันที่ ................ เดือน ............................................. พ.ศ. ............. โดยให้ปฏิบัติตามกฎหมายและเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ในใบอนุญาตนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ .................. เดือน ........................ พ.ศ. .......................... ................................................................. นายทะเบียน ๒๖ เงื่อนไข (๑) ลักษณะและจำนวนรถ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องใช้รถที่มีลักษณะเป็นรถขนาดเล็ก จำนวนอย่างน้อย คัน อย่างมาก คัน (๒) สีของรถ และเครื่องหมาย (ก) ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้สี ............................... เป็นสีตัวถังรถ (ข) ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้เครื่องหมายตามแบบที่แนบท้ายใบอนุญาตเป็นเครื่องหมายที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน โดยแสดงไว้ที่ด้านนอกตัวรถทั้งสองข้าง (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (ก) รถที่นำมาใช้ในการขนส่งแต่ละคันต้องมีจำนวนที่นั่งสำหรับผู้โดยสารและหรือมีที่สำหรับบรรทุกสิ่งของรวมไปกับผู้โดยสารตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด (ข) วิธีการบรรทุกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกำหนด (๔) เงื่อนไขอื่น .......................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ๒๗ ลำดับที่ รายการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและหรือรายละเอียดในใบอนุญาต วัน/เดือน/ปี ลงชื่อนายทะเบียน ๒๘ คำเตือน (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลังใบอนุญาตนี้ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท และอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด เพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่ง หรือ ค่าบริการโดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท (๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ใช้หรือยอมให้บุคคลอื่นใช้รถที่ได้รับอนุญาตทำการขนส่งนอกเส้นทาง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน หรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับคันละไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ต่อ ๑ วัน จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง (๔) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ใช้รถผิดประเภทตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนเป็นครั้งคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๕) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่แสดงใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๖) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ปิดประกาศเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง อัตราค่าขนส่งและค่าบริการไว้ ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนดตามมาตรา ๓๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๗) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตตามมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๘) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ส่งคืนใบอนุญาตที่ถูกสั่งเพิกถอนต่อนายทะเบียน ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ๒๙ (๙) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด เลิกประกอบการขนส่งในระหว่างที่ใบอนุญาตยังไม่สิ้นอายุ โดยไม่แจ้งความประสงค์เป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน ก่อนวันเลิกประกอบการขนส่งตามมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท (๑๐) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด มีความประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่า ๑๒๐ วัน ตามมาตรา ๒๘ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด เลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้วโดยไม่แจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบ และไม่นำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนแก่นายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เลิกใช้รถนั้นตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ขส.บ. ๑๒ ฉ. (ครุฑ) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ใบอนุญาตที่ ........................ / ................................ นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ .............................................................................................. สำนักงานชื่อ ................................................. อยู่เลขที่ .......................... ตรอก/ซอย ..................................... ถนน ................................................................ หมู่ที่ ................................ ตำบล/แขวง ................................... อำเภอ/เขต .................................................................. จังหวัด ........................................ มีสิทธิประกอบการ ขนส่งส่วนบุคคล ใบอนุญาตฉบับนี้ให้มีอายุ ๕ ปี นับตั้งแต่วันที่ ............. เดือน ................. พ.ศ. ........... ถึงวันที่................. เดือน ............................................... พ.ศ. ............. โดยให้ปฏิบัติตามกฎหมาย และเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ในใบอนุญาตนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ .................. เดือน ........................ พ.ศ. .......................... .............................................................. นายทะเบียน ๓๑ เงื่อนไข (๑) จำนวนรถ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องใช้รถที่มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ข้อ ๒ จำนวนไม่เกิน คัน (๒) ลักษณะ ชนิด ขนาดของรถ และเครื่องหมาย (ก) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ต้องใช้รถ ลักษณะ .................................................................................................................. จำนวน .......................... คัน ลักษณะ .................................................................................................................. จำนวน .......................... คัน ลักษณะ .................................................................................................................. จำนวน .......................... คัน ลักษณะ .................................................................................................................. จำนวน .......................... คัน ลักษณะ .................................................................................................................. จำนวน .......................... คัน (ข) ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้เครื่องหมายตามแบบที่แนบท้ายใบอนุญาต ถ้ามี เป็นเครื่องหมายที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน โดยแสดงไว้ที่ด้านนอกตัวรถทั้งสองข้าง (๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องมีสถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถดังนี้ (ก) สถานที่เก็บรถตั้งอยู่ที่ ............................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... (ข) สถานที่ซ่อมและบำรุงรักษารถตั้งอยู่ที่ .................................................................. ...................................................................................................................................................................................... ๓๒ ลำดับที่ รายการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและหรือรายละเอียดในใบอนุญาต วัน/เดือน/ปี ลงชื่อนายทะเบียน ๓๓ คำเตือน (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลังใบอนุญาตนี้ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท และอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ใช้หรือยอมให้บุคคลอื่นใช้รถที่ได้รับอนุญาตทำการขนส่งนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาต โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน หรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับคันละไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ต่อ ๑ วัน จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง (๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ใช้รถผิดประเภทตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนเป็นครั้งคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๔) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่แสดงใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๕) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตตามมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๖) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ส่งคืนใบอนุญาตที่ถูกสั่งเพิกถอนต่อนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๗) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด มีความประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุตามมาตรา ๒๘ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๘) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด เลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้วโดยไม่แจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบ และไม่นำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนแก่นายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เลิกใช้รถนั้นตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ขส.บ. ๑๒ ช. (ครุฑ) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ใบอนุญาตที่ ........................ / ................................ นายทะเบียนออกใบอนุญาตฉบับนี้ให้ .................................................................................. สำนักงานชื่อ ................................................. อยู่เลขที่ .......................... ตรอก/ซอย ..................................... ถนน ................................................................ หมู่ที่ ................................ ตำบล/แขวง ................................... อำเภอ/เขต .................................................................................................. จังหวัด ............................................ มีสิทธิประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ใบอนุญาตฉบับนี้ให้มีอายุ ๕ ปี นับตั้งแต่วันที่ ................................... เดือน ................................. พ.ศ. ....................... ถึงวันที่................ เดือน ........................... พ.ศ. ............... โดยให้ปฏิบัติตามกฎหมาย และเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ในใบอนุญาตนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ .................. เดือน ........................ พ.ศ. .......................... .............................................................. นายทะเบียน ๓๕ เงื่อนไข (๑) จำนวนรถ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องใช้รถที่มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ข้อ ๒ จำนวนไม่เกิน คัน (๒) ลักษณะ ชนิด ขนาดของรถ และเครื่องหมาย (ก) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ต้องใช้รถ ลักษณะ ................................................................................................................ จำนวน ............................ คัน ลักษณะ ................................................................................................................ จำนวน ............................ คัน ลักษณะ ................................................................................................................ จำนวน ............................ คัน ลักษณะ ................................................................................................................ จำนวน ............................ คัน ลักษณะ ................................................................................................................ จำนวน ............................ คัน (ข) ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้เครื่องหมายตามแบบที่แนบท้ายใบอนุญาต ถ้ามี เป็นเครื่องหมายที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน โดยแสดงไว้ที่ด้านนอกตัวรถทั้งสองข้าง (๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องมีสถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถดังนี้ (ก) สถานที่เก็บรถตั้งอยู่ที่ ............................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... (ข) สถานที่ซ่อมและบำรุงรักษารถตั้งอยู่ที่ .................................................................. ...................................................................................................................................................................................... ๓๖ ลำดับที่ รายการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและหรือรายละเอียดในใบอนุญาต วัน/เดือน/ปี ลงชื่อนายทะเบียน ๓๗ คำเตือน (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลังใบอนุญาตนี้ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท และอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ใช้หรือยอมให้บุคคลอื่นใช้รถที่ได้รับอนุญาตทำการขนส่งนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาต โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน หรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับคันละไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ต่อ ๑ วัน จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง (๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ใช้รถผิดประเภทตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนเป็นครั้งคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๔) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่แสดงใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๕) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตตามมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๖) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด ไม่ส่งคืนใบอนุญาตที่ถูกสั่งเพิกถอนต่อนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๗) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด มีความประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุตามมาตรา ๒๘ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๘) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใด เลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้วโดยไม่แจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบ และไม่นำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนแก่นายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เลิกใช้รถนั้นตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๒๓ วรรคสอง และมาตรา ๒๘ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ บัญญัติว่าการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งส่วนบุคคล และการขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ โชติกานต์/ปรับปรุง ๘ กันยายน ๒๕๕๗ อังศุมาลี/เพิ่มเติม ๒๑ มกราคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๒๑๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๕ ธันวาคม ๒๕๒๔
301295
กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๘๕ วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เงินภาษีรถประจำปีตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่จัดเก็บได้ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้จังหวัดจัดสรรให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และเมืองพัทยาในจังหวัดนั้น โดยคำนวณตามอัตราส่วน ดังนี้ (๑) องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยละยี่สิบห้า (๒) เทศบาลร้อยละห้าสิบ ถ้าจังหวัดใดมีเทศบาลหลายเทศบาล ให้แบ่งให้เทศบาลละเท่า ๆ กัน และให้ถือว่าเมืองพัทยาเป็นเทศบาลหนึ่งในจังหวัดชลบุรี (๓) สุขาภิบาลร้อยละยี่สิบห้า ถ้าจังหวัดใดมีสุขาภิบาลหลายสุขาภิบาล ให้แบ่งให้สุขาภิบาลละเท่า ๆ กัน ข้อ ๒ การจัดสรรเงินภาษีรถตามข้อ ๑ ตามปกติให้จัดสรรปีละสี่งวด ดังนี้ งวดที่หนึ่ง ภายในเดือนตุลาคม งวดที่สอง ภายในเดือนมกราคม งวดที่สาม ภายในเดือนเมษายน งวดที่สี่ ภายในเดือนกรกฎาคม เพื่อประโยชน์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และเมืองพัทยา จังหวัดอาจจัดสรรให้เร็วกว่ากำหนด หรือเพิ่มงวดการจัดสรรได้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ประเทือง กีรติบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๓ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๑๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๖ สิงหาคม ๒๕๒๓
309138
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้กำหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้ (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ต่อเส้นทางหนึ่ง ฉบับละ ๗,๐๐๐ บาท (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ฉบับละ ๑,๕๐๐ บาท (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ฉบับละ ๑,๕๐๐ บาท (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๕) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ (ก) ตลอดปี ฉบับละ ๓,๐๐๐ บาท (ข) เฉพาะคราว ฉบับละ ๓๐๐ บาท (๖) ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ฉบับละ ๓,๐๐๐ บาท (๗) ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๘) ใบอนุญาตผู้ขับรถและใบอนุญาตนายตรวจ ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๙) ใบอนุญาตผู้เก็บค่าโดยสารและ ใบอนุญาตผู้บริการ ฉบับละ ๕๐ บาท (๑๐) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ฉบับละ ๑๕,๐๐๐ บาท (๑๑) ใบแทนใบอนุญาต (ก) ใบแทนใบอนุญาตสำหรับผู้ประจำรถ ฉบับละ ๓๐ บาท (ข) ใบแทนใบอนุญาตอื่น ๆ ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๒) การโอนทะเบียนรถ ครั้งละ ๒๐๐ บาท (๑๓) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและเครื่องหมาย แผ่นละ ๑๐๐ บาท (๑๔) คำขออนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๕) คำขออื่น ๆ (ก) คำขออนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ฉบับละ ๒๐ บาท (ข) คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการ สถานีขนส่ง ฉบับละ ๒๐ บาท (ค) คำขอให้รับรองโรงเรียนสอนขับรถ ฉบับละ ๒๐ บาท (ง) คำขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพ เครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ ฉบับละ ๒๐ บาท (จ) คำขอรับใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ หรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ฉบับละ ๒๐ บาท (ฉ) คำขอเปลี่ยนประเภทรถ ฉบับละ ๒๐ บาท (ช) คำขอรับใบอนุญาตและเครื่องหมายสำหรับรถ ที่นำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม ฉบับละ ๒๐ บาท (๑๖) การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับ ค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตแต่ละฉบับ ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๓ ส. บุณยคุปต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ บัญญัติให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต การโอนทะเบียนรถ แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและเครื่องหมาย คำขออนุญาต และคำขอรับใบอนุญาต ตลอดจนการต่ออายุใบอนุญาต ไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัติ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๒ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๒๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๓
309137
กฎกระทรวง (พ.ศ. 2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
กฎกระทรวง กฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ รถดังต่อไปนี้ ที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ใช้บังคับให้ได้รับการยกเว้นการตรวจสภาพในการชำระภาษีครั้งแรก แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับการตรวจเกี่ยวกับหมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถังและหรือโครงคัสซี และน้ำหนักรถ เพื่อประโยชน์ในการชำระภาษี คือ (๑) รถประเภทที่ใช้ในการขนส่งประจำทาง (๒) รถประเภทที่ใช้ในการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) รถประเภทที่ใช้ในการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) รถประเภทที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคล รถที่ได้รับการยกเว้นการตรวจสภาพตามวรรคหนึ่ง จะต้องได้รับการตรวจสภาพเมื่อขอต่ออายุทะเบียนในครั้งถัดไป ข้อ ๒ รถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกินยี่สิบคน ที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งได้รับการตรวจสภาพตามข้อ ๑ วรรคสอง ให้ได้รับยกเว้นการตรวจสภาพเป็นรายปี แต่ต้องนำรถมารับการตรวจสภาพทุก ๆ สามปี ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๓ ส. บุณยคุปต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นรถบางประเภทจากการตรวจสภาพเพราะรถดังกล่าวได้รับการตรวจสภาพและเสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ และเนื่องจากมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ บัญญัติว่ารถที่จะนำมาจดทะเบียนและเสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก จะต้องผ่านการตรวจสภาพรถ เว้นแต่รถประเภทหรือชนิดที่สมควรได้รับการยกเว้นการตรวจสภาพเป็นครั้งคราวตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๒ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๓
313039
กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2517) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๑๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.๒๔๙๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ว่าด้วยการขนส่งทางบกและให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒ การชำระค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงนี้ ให้กระทำโดยชำระเป็นเงินสดและออกใบเสร็จรับเงินให้เป็นหลักฐาน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๓ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๐๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ว่าด้วยการขนส่งทางบก และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๓ การชำระค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขนส่งสาธารณะด้วยรถยนต์ ให้กระทำโดยชำระเป็นเงินสด และออกใบเสร็จรับเงินให้เป็นหลักฐาน” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๒ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ว่าด้วยการขนส่งทางบก และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๒ การชำระค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถยนต์ ให้กระทำโดยชำระเป็นเงินสด และออกใบเสร็จรับเงินให้เป็นหลักฐาน” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ว่าด้วยการรับจัดการขนส่ง และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๖ การชำระค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการรับจัดการขนส่ง ให้กระทำโดยชำระเป็นเงินสด และออกใบเสร็จรับเงินให้เป็นหลักฐาน” ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๗ เชาวน์ ณศิลวันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลตำรวจตรี อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร รัฐมนตรีว่าการกะทรวงมหาดไทย หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากการชำระค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขนส่งและการรับจัดการขนส่งโดยวิธีปิดแสตมป์ฤชากรตามที่ได้ปฏิบัติมาแต่เดิมนั้น ไม่สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนได้รวดเร็วเท่าที่ควร ประกอบกับการใช้แสตมป์ฤชากรในทางปฏิบัติมีปัญหายุ่งยากเกี่ยวกับการเบิกจ่าย เก็บรักษา ทำบัญชี และการตรวจสอบ สมควรเปลี่ยนแปลงวิธีการชำระค่าธรรมเนียมเสียใหม่ เป็นวิธีชำระด้วยเงินสด และออกใบเสร็จรับเงินให้เป็นหลักฐานแทน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงฉบับนี้ ธิดาวรรณ/แก้ไข ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๕ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๑ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑/ตอนที่ ๑๒๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔/๒๙ กรกฎาคม ๒๕๑๗
313038
กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ว่าด้วยการรับจัดการขนส่ง
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ว่าด้วยการรับจัดการขนส่ง[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บุคคลใดประสงค์จะประกอบการรับจัดการขนส่งให้ทำคำขอโดยใช้แบบพิมพ์ของกรมการขนส่งทางบก ยื่นต่อนายทะเบียน และ (๑) ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้าน (๒) ถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วย (ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนกับรายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด และ (ข) บัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด (๓) ถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วย (ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนรายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด และจำพวกไม่จำกัดความรับผิด กับจำนวนส่วนลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนนั้น ๆ และ (ข) บัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด (๔) ถ้าเป็นบริษัทจำกัด ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วย (ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนกับรายชื่อกรรมการของบริษัท (ข) หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ (ค) บัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการของบริษัท และ (ง) บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นแสดงสัญชาติ และจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นมีอยู่ในวันยื่นคำขอ ข้อ ๒ บุคคลใดประสงค์จะขอใบแทนใบอนุญาตที่สูญหายหรือชำรุดลบเลือนในสาระสำคัญ ให้ทำคำขอโดยใช้แบบพิมพ์ของกรมการขนส่งทางบก ยื่นต่อนายทะเบียนพร้อมด้วยใบรับแจ้งความของสถานีตำรวจ หรือใบอนุญาตที่ชำรุดลบเลือนนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๓ เมื่อได้รับคำขอตามกฎกระทรวงนี้ ให้นายทะเบียนเป็นผู้พิจารณาและดำเนินการเพื่อออกใบอนุญาต หรือใบแทนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง มีหน้าที่ต้องทำรายงานสถิติตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๕ ให้กำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการรับจัดการขนส่งตามอัตราท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๖ การชำระค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการรับจัดการขนส่งให้กระทำโดยปิดแสตมป์ฤชากร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๙ พลโท พ. ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลเอก ป. จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย [เอกสารแนบท้าย] ๑. อัตราค่าธรรมเนียม (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยเหตุที่พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับจัดการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้ประกาศใช้บังคับ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงวางระเบียบเกี่ยวกับการรับจัดการขนส่งในเรื่องการขอและการออกใบอนุญาต การกำหนดค่าธรรมเนียม การกำหนดหน้าที่ผู้ประกอบการรับจัดการขนส่งต้องทำรายงานสถิติเกี่ยวกับการรับจัดการขนส่ง และสถิติเหตุภยันตราย ธิดาวรรณ/ปรับปรุง ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๑ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๓/ตอนที่ ๙๒/หน้า ๖๘๖/๑๘ ตุลาคม ๒๕๐๙
313037
กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ว่าด้วยการขนส่งทางบก
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ว่าด้วยการขนส่งทางบก[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๒๔ มาตรา ๓๗ และมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ “รถยนต์” หมายความว่า รถยนต์ รวมตลอดถึงรถพ่วงที่ใช้บรรทุกสิ่งของหรือสินค้าในการขนส่งส่วนบุคคลที่มีขนาดน้ำหนักรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกินสองพันกิโลกรัม ข้อ ๒ บุคคลใดประสงค์จะประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถยนต์ ให้ทำคำขอโดยใช้แบบพิมพ์ของกรมการขนส่งทางบก ยื่นต่อนายทะเบียน ข้อ ๓ ผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถยนต์ประสงค์จะนำรถยนต์คันใดไปประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้ทำคำขอโดยใช้แบบพิมพ์ของกรมการขนส่งทางบก ยื่นต่อนายทะเบียนพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิในการใช้รถยนต์นั้น และชำระค่าธรรมเนียมการตรวจรับรองรถยนต์ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๔ เมื่อนายช่างได้ตรวจรถยนต์คันใด เห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะนำไปประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้แจ้งรายการที่ไม่เหมาะสมนั้นแก่ผู้ยื่นคำขอทราบโดยมิชักช้า ถ้าผู้ยื่นคำขอซึ่งได้รับแจ้งรายการตามวรรคก่อน ได้แก้ไขรถยนต์ตามรายการที่ไม่เหมาะสม และนำมาให้นายช่างตรวจรับรองภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งรายการ ผู้ยื่นคำขอไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมการตรวจรับรองอีก ข้อ ๕ บุคคลใดประสงค์จะขับหรือควบคุมรถยนต์ ให้ทำคำขอโดยใช้แบบพิมพ์ของกรมการขนส่งทางบก ยื่นต่อนายทะเบียนพร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาทะเบียนบ้านและใบสำคัญทหารกองเกินหรือหนังสือสำคัญทหารนอกกองประจำการ (๒) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด ๔ x ๖ เซนติเมตร จำนวน ๕ รูป และ (๓) ประกาศนียบัตรของโรงเรียนการขนส่ง กรมการขนส่งทางบก หรือของหน่วยฝึกผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง กรมการขนส่งทางบก หรือของสถานศึกษาอื่นที่กรมการขนส่งทางบกเทียบเท่า ข้อ ๖ บุคคลซึ่งทำหน้าที่ขับหรือควบคุมรถยนต์ต้องเป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรของโรงเรียนการขนส่ง กรมการขนส่งทางบก หรือของหน่วยฝึกผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง กรมการขนส่งทางบก หรือของสถานศึกษาอื่นที่กรมการขนส่งทางบกเทียบเท่า เว้นแต่ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลหรือใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์อยู่แล้วในวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และใบอนุญาตนั้นยังไม่สิ้นอายุ และได้ผ่านการอบรมเกี่ยวกับศีลธรรม วัฒนธรรม และกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งจากเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกภายในระยะเวลาที่กำหนด ข้อ ๗ บุคคลใดประสงค์จะขอใบแทนใบอนุญาตที่สูญหายหรือชำรุดลบเลือนในสาระสำคัญ ให้ทำคำขอโดยใช้แบบพิมพ์ของกรมการขนส่งทางบก ยื่นต่อนายทะเบียนพร้อมด้วยใบรับแจ้งความของสถานีตำรวจ หรือใบอนุญาตที่ชำรุดลบเลือนนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ เมื่อได้รับคำขอตามกฎกระทรวงนี้ ให้นายทะเบียนเป็นผู้พิจารณาและดำเนินการเพื่อออกใบอนุญาต หรือใบแทนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี ข้อ ๙ ให้ผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถยนต์ มีหน้าที่ต้องทำรายงานสถิติตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๑๐ ขณะปฏิบัติหน้าที่ผู้ประจำรถยนต์ต้องแต่งกายให้สะอาดเรียบร้อย ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถยนต์ตามอัตราท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๑๒ การชำระค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถยนต์ให้กระทำโดยปิดแสตมป์ฤชากร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๙ พลโท พ. ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลเอก ป. จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย [เอกสารแนบท้าย] ๑. อัตราค่าธรรมเนียม (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยเหตุที่พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้ประกาศใช้บังคับ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงวางระเบียบเกี่ยวกับการขนส่งประเภทนี้ในเรื่องการขอและการออกใบอนุญาต การกำหนดค่าธรรมเนียม การกำหนดหน้าที่ผู้ประกอบการขนส่งต้องทำรายงานสถิติเกี่ยวกับการขนส่งและสถิติเหตุภยันตราย กำหนดการแต่งกายของผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง ธิดาวรรณ/ปรับปรุง ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๕ โชติกานต์/ปรับปรุง ๗ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๓/ตอนที่ ๙๒/หน้า ๖๗๙/๑๘ ตุลาคม ๒๕๐๙
323615
กฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2505) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ว่าด้วยการขนส่งทางบก
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๐๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ว่าด้วยการขนส่งทางบก[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๒๔ มาตรา ๓๗ และมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๐๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ว่าด้วยการขนส่งทางบก ข้อ ๒ บุคคลใดประสงค์จะประกอบการขนส่งสาธารณะด้วยรถยนต์ ให้ทำคำขอโดยใช้แบบพิมพ์ของกรมการขนส่งยื่นต่อนายทะเบียนการขนส่งทางบก และ (๑) ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้าน (๒) ถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วย (ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนกับรายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด และ (ข) บัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด (๓) ถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วย (ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียน รายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดและจำพวกไม่จำกัดความรับผิด กับจำนวนส่วนลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนนั้น ๆ และ (ข) บัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด (๔) ถ้าเป็นบริษัทจำกัด ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วย (ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนกับรายชื่อกรรมการของบริษัท (ข) ฉบับตีพิมพ์แห่งหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ ถ้าหากมี (ค) บัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการของบริษัท และ (ง) บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นแสดงสัญชาติและจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นมีอยู่ในวันยื่นคำขอ ข้อ ๓ ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะด้วยรถยนต์ประสงค์จะนำรถยนต์ไปประกอบการขนส่งสาธารณะให้ทำคำขอโดยใช้แบบพิมพ์ของกรมการขนส่ง ยื่นต่อนายทะเบียนการขนส่งทางบกพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในการใช้รถยนต์นั้น ข้อ ๔ เมื่อนายช่างได้ตรวจรถยนต์คันใด และเห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะนำไปประกอบการขนส่งสาธารณะประการใด ให้แจ้งรายการที่ไม่เหมาะสมนั้นแก่ผู้ยื่นคำขอทราบโดยมิชักช้า ถ้าผู้ยื่นคำขอซึ่งได้รับแจ้งรายการตามวรรคก่อน ได้แก้ไขปรับปรุงรถยนต์ตามรายการที่ไม่เหมาะสม และนำมาให้นายช่างตรวจรับรองอีกภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งรายการ ผู้ยื่นคำขอไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมการตรวจรับรองอีก ข้อ ๕ บุคคลใดประสงค์จะทำหน้าที่ผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งสาธารณะด้วยรถยนต์ให้ทำคำขอโดยใช้แบบพิมพ์ของกรมการขนส่ง ยื่นต่อนายทะเบียนการขนส่งทางบกพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (๑) บัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน (๒) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด ๔ x ๖ เซนติเมตร จำนวน ๓ รูป และ (๓) ประกาศนียบัตรของโรงเรียนการขนส่ง กรมการขนส่ง หรือของหน่วยฝึกผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง กรมการขนส่ง หรือของสถานศึกษาอื่นที่กรมการขนส่งเทียบเท่า ข้อ ๖ บุคคลซึ่งทำหน้าที่ขับรถยนต์ในการขนส่งสาธารณะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ เว้นแต่ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์อยู่แล้วในวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ข้อ ๗ บุคคลซึ่งทำหน้าที่ขับรถยนต์ในการขนส่งสาธารณะต้องเป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรของโรงเรียนการขนส่งกรมการขนส่ง หรือของหน่วยฝึกผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง กรมการขนส่ง หรือของสถานศึกษาอื่นที่กรมการขนส่งเทียบเท่า เว้นแต่ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์อยู่แล้วในวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และใบอนุญาตนั้นยังไม่สิ้นอายุ และได้ผ่านการอบรมเกี่ยวกับศีลธรรม วัฒนธรรม และกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งจากเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด ข้อ ๘ บุคคลใดประสงค์จะขอใบแทนใบอนุญาตที่สูญหายหรือชำรุดลบเลือนในสารสำคัญให้ทำคำขอโดยใช้แบบพิมพ์ของกรมการขนส่ง ยื่นต่อนายทะเบียนการขนส่งทางบกพร้อมด้วยใบรับแจ้งความของสถานีตำรวจ หรือใบอนุญาตที่ชำรุดลบเลือนนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๙ เมื่อได้รับคำขอตามกฎกระทรวงนี้ให้นายทะเบียนการขนส่งทางบกเป็นผู้พิจารณา และดำเนินการเพื่อออกใบอนุญาต หรือใบแทนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๐ ให้ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะด้วยรถยนต์มีหน้าที่ต้องทำรายงานสถิติตามมาตรา ๒๔ ข้อ ๑๑ ขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ขับรถยนต์ในการขนส่งสาธารณะต้องแต่งกายให้สะอาด เรียบร้อย และรัดกุม ด้วยเครื่องแต่งกายดังต่อไปนี้ (๑) หมวกทรงหม้อตาล สีขาว สีเทา สีน้ำเงิน หรือสีน้ำตาล มีเครื่องประกอบ คือ (ก) กะบังหน้าสีดำ (ข) สายรัดคางสีดำ ปลายสายมีดุมติดที่ริมขอบหมวกข้างละ ๑ ดุม (๒) เสื้อคอพับสีเดียวกับหมวก แขนยาวรัดข้อมือ ขัดดุมข้างละ ๑ ดุม หรือแขนสั้นเพียงศอก เมื่อสวมเสื้อนี้ ให้สอดชายเสื้อไว้ภายในกางเกง (๓) กางเกงขายาวสีเดียวกับหมวก (๔) เข็มขัดหนังหรือผ้า ขนาดกว้าง ๓ ถึง ๔ เซนติเมตร (๕) รองเท้าหุ้มข้อหรือหุ้นส้น (๖) เครื่องหมายอื่น ๆ ที่ใช้ประกอบเครื่องแต่งกาย ตามที่ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะด้วยรถยนต์กำหนดโดยความเห็นชอบของอธิบดีกรมการขนส่ง ข้อ ๑๒ ให้กำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขนส่งสาธารณะด้วยรถยนต์ตามอัตราท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๑๓ การชำระค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขนส่งสาธารณะด้วยรถยนต์ให้กระทำโดยปิดแสตมป์ฤชากร ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๕ พลโท พ. ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลเอก ป. จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย [เอกสารแนบท้าย] ๑. อัตราค่าธรรมเนียม (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยเหตุที่บทบัญญัติในมาตรา ๖ มาตรา ๒๔ มาตรา ๓๗ และมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ กำหนดให้วางระเบียบการขอและการออกใบอนุญาต การกำหนดค่าธรรมเนียม การกำหนดผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องทำรายงานสถิติเกี่ยวกับการขนส่งและสถิติเหตุภยันตราย การกำหนดคุณสมบัติและการแต่งกายของผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งให้กำหนดโดยการออกเป็นกฎกระทรวง ฉะนั้น เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ พุทธชาด/ปรับปรุง ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๔๖/๓๐ มกราคม ๒๕๐๕
313036
กฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2502) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ว่าด้วยการขนส่งทางบก
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๐๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ว่าด้วยการขนส่งทางบก[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ขับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารได้ไม่เกินเจ็ดคน (แท๊กซี่) ในขณะปฏิบัติหน้าที่ต้องแต่งกายดังต่อไปนี้ (๑) หมวกทรงหม้อตาล กะบังหน้าสีดำ มีดุมติดสายรัดคางข้างละ ๑ ดุม (๒) เสื้อเชิ้ตคอพับ แขนยาวหรือแขนสั้น ถ้าเป็นเสื้อแขนยาวให้เป็นแบบรัดข้อมือ และมีดุมมือข้างละ ๑ ดุม การสวมเสื้อนี้ ให้สอดชายล่างของเสื้ออยู่ภายในกางเกง (๓) กางเกงขายาว (๔) รองเท้าหุ้มข้อหรือหุ้มส้น (๕) เข็มขัดหนังหรือผ้าขนาดกว้าง ๓ ถึง ๔ เซนติเมตร ข้อ ๒ สีของเครื่องแต่งกายให้ใช้สีขาว สีน้ำเงิน สีเทา หรือสีกากี ถ้าแต่งกายด้วยสีใด จะต้องใช้ให้เป็นสีเดียวกันทั้งชุด (หมวก เสื้อ และกางเกง) และหากมีการใช้เครื่องหมายใด ๆ ประกอบเครื่องแต่งกาย ให้เป็นไปตามที่ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารได้ไม่เกินเจ็ดคน (แท๊กซี่) กำหนด โดยความเห็นชอบของอธิบดีกรมการขนส่ง ข้อ ๓ เครื่องแต่งกายตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับนี้ ให้เป็นไปตามแบบของกรมการขนส่ง ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๒ พลตรี พ. ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลเอก ป. จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่จำนวนรถยนต์โดยสารสาธารณะ (แท๊กซี่) ได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงสมควรที่จะได้กำหนดการแต่งกายของผู้ขับ เพื่อให้เป็นระเบียบเรียบร้อยตามความประสงค์ของทางราชการ และมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้บัญญัติให้ผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งแต่งกายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวง เพื่อกำหนดการแต่งกายของผู้ขับรถยนต์โดยสารสาธารณะ (แท๊กซี่) สรัลพร/พิมพ์ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๖/ตอนที่ ๑๒๐/หน้า ๖๖๘/๒๙ ธันวาคม ๒๕๐๒
580546
กฎกระทรวง (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ว่าด้วยการขนส่งทางบก
กฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๔๙๗[๑] ว่าด้วยการขนส่งทางบก อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๓๔ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้การทำหน้าที่นายตรวจ หรือผู้เก็บค่าโดยสารในการขนส่งประจำด้วยรถยนต์ เป็นการทำหน้าที่ผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งซึ่งต้องห้าม เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนการขนส่งทางบก ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ จอมพลอากาศ ฟื้น ร. ฤทธาคนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลเรือโท สุนาวินวิวัฒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย วิภา/ปรับปรุง ๑๔ กันยายน ๒๕๖๓ ภิรมย์พร/ตรวจ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๑/ตอนที่ ๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๔/๑ พฤศจิกายน ๒๕๙๗
579968
กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ว่าด้วยการขนส่งทางบก
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ว่าด้วยการขนส่งทางบก[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้กำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ ดังต่อไปนี้ ที่ ค่าธรรมเนียม บาท ๑ ใบอนุญาตการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ต่อเส้นทางหนึ่ง ฉบับละ ๒,๐๐๐ ๒ การตรวจรับรอง (๑) รถยนต์ซึ่งมีน้ำหนักไม่เกิน ๑,๐๐๐ กก คันละ (๒) รถยนต์ซึ่งมีน้ำหนักเกิน ๑,๐๐๐ กก. ถึง ๒,๐๐๐ กก คันละ (๓) รถยนต์ซึ่งมีน้ำหนักเกิน ๒,๐๐๐ กก. ถึง ๔,๐๐๐ กก คันละ (๔) รถยนต์ซึ่งมีน้ำหนักเกิน ๔,๐๐๐ กก. ขึ้นไป คันละ ๒๐ ๔๐ ๖๐ ๑๐๐ ๓ ใบอนุญาตขับรถยนต์ (๑) ประเภททำการภายในท้องที่ ฉบับละ (๒) ประเภททำการทั่วราชอาณาจักร ฉบับละ (๓) ประเภททำการได้ถึงนอกราชอาณาจักร ฉบับละ ๒๐ ๓๐ ๕๐ ๔ ใบอนุญาตนายตรวจหรือผู้เก็บค่าโดยสาร (๑) ประเภททำการภายในท้องที่ ฉบับละ (๒) ประเภททำการทั่วราชอาณาจักร ฉบับละ (๓) ประเภททำการได้ถึงนอกราชอาณาจักร ฉบับละ ๕ ๑๐ ๑๐ ๕ ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๑๐ ๖ การทำเครื่องหมายบนตัวรถหรือการแก้ไขข้อกำหนดในใบอนุญาต ครั้งละ ๑๐ ข้อ ๒ การชำระค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงฉบับนี้ ให้กระทำโดยปิดแสตมป์ฤชากร ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ จอมพลอากาศ พื้น ร. ฤทธาคนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลเรือโท สุนาวินวิวัฒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ณัฐดนัย/พิมพ์ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๑/ตอนที่ ๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๗
323614
กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ว่าด้วยการขนส่งทางบก
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ว่าด้วยการขนส่งทางบก[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ขณะปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถยนต์ในการขนส่งประจำทางและนายตรวจในการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ต้องแต่งกายดังต่อไปนี้ (๑) หมวกทรงหม้อตาล กะบังหน้าสีดำ มีดุมติดสายรัดคางข้างละ ๑ ดุม หรือหมวกเบเร่ (๒) เสื้อเชิตคอพับ แขนยาวหรือแขนสั้น มีกระเป๋าเย็บติดภายนอกที่อกเสื้อทั้งสองข้าง ๆ ละกระเป๋า มีใบปกรูปมน ชายกลางแหลม ที่ปากกระเป๋าทั้งสองติดดุมข้างละ ๑ ดุม สำหรับขัดกับใบปกกระเป๋า และมีอินทรธนูอ่อนสีเดียวกับเสื้อเย็บเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเรียวจากทางด้านไหล่ไปทางคอติดอยู่เหนือบ่าทั้งสองข้างขนาดพองาม ปลายมนขัดดุมขนาดเล็ก ถ้าเป็นเสื้อแขนยาว ให้เป็นแบบรัดข้อมือและมีดุมข้อมือข้างละ ๑ ดุม การสวมเสื้อนี้ให้สอดชายล่างของเสื้ออยู่ภายในกางเกง (๓) กางเกงขายาวไม่พับปลายขา (๔) รองเท้าหุ้มข้อหรือหุ้มส้น (๕) เข็มขัดหนังหรือผ้าขนาดกว้าง ๓ ถึง ๔ เซนติเมตร ข้อ ๒ ขณะปฏิบัติหน้าที่ผู้เก็บค่าโดยสารในการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ต้องแต่งกายดังต่อไปนี้ (๑) หมวกหนีบ หรือหมวกเบเร่ (๒) เสื้อเชิ้ตลักษณะเดียวกับข้อ ๑ (๒) (๓) กางเกงขายาวไม่พับปลายขา หรือกางเกงขาสั้นเสมอเข่า (๔) รองเท้าหุ้มข้อหรือหุ้มส้น (๕) เข็มขัดหนังหรือผ้าขนาดกว้าง ๓ ถึง ๔ เซนติเมตร ข้อ ๓ สีของเครื่องแต่งกาย และการใช้เครื่องหมายใด ๆ ประกอบเครื่องแต่งกายให้เป็นไปตามที่ผู้ประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์กำหนด โดยความเห็นชอบของอธิบดีกรมการขนส่ง ข้อ ๔ ที่อกเสื้อข้างซ้ายของผู้ขับรถยนต์ในการขนส่งประจำทาง นายตรวจ และผู้เก็บค่าโดยสารในการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ ให้ติดเลขหมายประจำตัวที่ผู้ประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ออกให้ ข้อ ๕ เครื่องแต่งกายตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับนี้ ให้เป็นไปตามแบบของกรมการขนส่ง ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ จอมพลอากาศ พื้น ร. ฤทธาคนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลเรือโท สุนาวินวิวัฒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สรัลพร/พิมพ์ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๑/ตอนที่ ๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔/๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๗
313035
กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ว่าด้วยการขนส่งทางบก
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ว่าด้วยการขนส่งทางบก[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๓๗ (๙) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บุคคลซึ่งทำหน้าที่ขับรถยนต์ในการขนส่งประจำทางต้องมีความรู้อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้คือ (๑) สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนการขนส่ง กรมการขนส่ง หรือสำเร็จการอบรมจากหน่วยฝึกผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง กรมการขนส่ง หรือสำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษาอื่นซึ่งกรมการขนส่งเทียบเท่า หรือ (๒) ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ประเภทสาธารณ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์อยู่แล้วก่อนวันที่กฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับ และใบอนุญาตนั้นยังไม่สิ้นอายุ ข้อ ๒ บุคคลซึ่งทำหน้าที่นายตรวจหรือผู้เก็บค่าโดยสารในการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ ต้องมีความรู้โดยสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนการขนส่ง กรมการขนส่ง หรือสำเร็จการอบรมจากหน่วยฝึกผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง กรมการขนส่ง ข้อ ๓ ในระหว่างที่ยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนการขนส่ง กรมการขนส่ง หรือหน่วยฝึกผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง กรมการขนส่ง เพียงพอกับความต้องการ บุคคลซึ่งทำหน้าที่ขับรถยนต์ในการขนส่งประจำทาง หรือนายตรวจ หรือผู้เก็บค่าโดยสารในการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ ต้องมีความรู้ในหน้าที่นั้น ๆ แล้วแต่กรณี ถ้านายทะเบียนการขนส่งทางบกเห็นสมควรจะให้มีการทดสอบความรู้นั้นก็ได้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ จอมพลอากาศ ฟื้น ร. ฤทธาคนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลเรือโท สุนาวินวิวัฒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดลธี/พิมพ์ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๑/ตอนที่ ๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑/๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๗
313034
กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ว่าด้วยการขนส่งทางบก
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ว่าด้วยการขนส่งทางบก[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้นายตรวจในการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์มีสิทธิทำการเก็บค่าโดยสารในการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ซึ่งตนสังกัดอยู่นั้นได้ด้วย ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ จอมพลอากาศ ฟื้น ร. ฤทธาคนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลเรือโท สุนาวินวิวัฒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ณัฐดนัย/พิมพ์ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ รัศมีวรรณวลัย/ตรวจ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๑/ตอนที่ ๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙/๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๗
323613
กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ว่าด้วยการขนส่งทางบก
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ว่าด้วยการขนส่งทางบก๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้ผู้ประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ทำรายงานสถิติเกี่ยวกับการขนส่ง และสถิติเหตุภยันตรายจากการประกอบการขนส่งของตน ซึ่งทำให้บุคคลบาดเจ็บหรือเสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย เป็นราคาตั้งแต่ห้าพันบาทขึ้นไป ตามแบบที่อธิบดีกำหนดยื่นต่อนายทะเบียนการขนส่งทางบก ภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนการขนส่งทางบกกำหนด ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ จอมพลอากาศ พื้น ร. ฤทธาคนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลเรือโท สุนาวินวิวัฒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดลธี/พิมพ์ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๘ ๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๑/ตอนที่ ๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗/๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๗
313033
กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ว่าด้วยการขนส่งทางบก
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ว่าด้วยการขนส่งทางบก๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๓๗ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บุคคลซึ่งทำหน้าที่ขับรถยนต์ในการขนส่งประจำทางต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปีบริบูรณ์ ข้อ ๒ บุคคลซึ่งทำหน้าที่นายตรวจในการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปีบริบูรณ์ ข้อ ๓ บุคคลซึ่งทำหน้าที่เก็บค่าโดยสารในการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๕ ปีบริบูรณ์ ข้อ ๔ บุคคลซึ่งได้ทำหน้าที่ตามความในข้อ ๑ ข้อ ๒ และข้อ ๓ อยู่แล้วก่อนวันที่กฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับ อธิบดีกรมการขนส่งจะผ่อนผันให้ทำหน้าที่นั้นต่อไปเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายก็ได้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ จอมพลอากาศ พื้น ร. ฤทธาคนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลเรือโท สุนาวินวิวัฒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ฐิติพร/พิมพ์ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๘ ๑ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๑/ตอนที่ ๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๗
327162
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ว่าด้วยการขนส่งทางบก
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ว่าด้วยการขนส่งทางบก[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บุคคลใดประสงค์จะประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ ให้ทำคำขอโดยใช้แบบพิมพ์ของกรมการขนส่งยื่นต่อนายทะเบียนการขนส่งทางบก พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) บุคคลธรรมดา บัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนสำมะโนครัว (๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญ ก. หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล กับรายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด และ ข. บัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนสำมะโนครัวของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด (๓) ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. หนังสือรับรองของทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล รายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดและจำพวกไม่จำกัดความรับผิด กับจำนวนทุนเข้าหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนนั้น และ ข. บัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนสำมะโนครัวของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด (๔) บริษัทจำกัด ก. หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และรายชื่อกรรมการของบริษัท ข. หนังสือบริคณสนธิ และข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ ค. บัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนสำมะโนครัวของกรรมการของบริษัท และ ง. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น แสดงสัญชาติและจำนวนหุ้นซึ่งผู้ถือหุ้นมีอยู่ในวันยื่นคำขอ ข้อ ๒ บุคคลใดประสงค์จะนำรถยนต์ไปประกอบการขนส่งประจำทางและขอเครื่องหมายประจำรถยนต์ ให้ทำคำขอโดยใช้แบบพิมพ์ของกรมการขนส่ง ยื่นต่อนายทะเบียนการขนส่งทางบก พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในการใช้รถยนต์นั้น ผู้ยื่นคำขอต้องชำระค่าธรรมเนียมการตรวจรับรองรถยนต์ก่อนการตรวจของนายช่าง ข้อ ๓ เมื่อนายช่างได้ตรวจรถยนต์คันใด และเห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะนำไปประกอบการขนส่งประจำทางประการใด ให้แจ้งรายการที่ไม่เหมาะสมนั้นแก่ผู้ยื่นคำขอทราบโดยมิชักช้า ข้อ ๔ ถ้าผู้ยื่นคำขอซึ่งได้รับแจ้งรายการตามข้อ ๓ ได้แก้ไขปรับปรุงรถยนต์ตามรายการที่ไม่เหมาะสมนั้น และนำมาให้นายช่างตรวจรับรองอีกภายในระยะ ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งรายการนั้น ผู้ยื่นคำขอไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมการตรวจรับรองซ้ำอีก ข้อ ๕ บุคคลใดประสงค์จะทำหน้าที่ผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งในการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ให้ทำคำขอโดยใช้แบบพิมพ์ของกรมการขนส่ง ยื่นต่อนายทะเบียนการขนส่งทางบก พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (๑) บัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนสำมะโนครัว (๒) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด ๔ x ๖ เซนติเมตร จำนวน ๓ รูป และ (๓) ประกาศนียบัตรของโรงเรียนการขนส่ง กรมการขนส่ง หรือหน่วยฝึกผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง กรมการขนส่ง หรือหนังสือสำคัญอย่างอื่นซึ่งกรมการขนส่งเทียบเท่า ข้อ ๖ บุคคลใดประสงค์จะขอใบแทนใบอนุญาตซึ่งสูญหาย หรือชำรุดลบเลือนในสารสำคัญให้ทำคำขอโดยใช้แบบพิมพ์ของกรมการขนส่ง ยื่นต่อนายทะเบียนการขนส่งทางบก ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้แนบใบสำคัญรับแจ้งความของสถานีตำรวจมาด้วย ในกรณีใบอนุญาตชำรุดลบเลือนในสารสำคัญให้แนบใบอนุญาตนั้นมาด้วย ข้อ ๗ เมื่อได้รับคำขอตามกฎกระทรวงฉบับนี้ ให้นายทะเบียนการขนส่งทางบกเป็นผู้พิจารณาและดำเนินการเพื่อออกใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต หรือเครื่องหมายแล้วแต่กรณี ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ จอมพลอากาศ ฟื้น ร. ฤทธาคนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลเรือโท สุนาวินวิวัฒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดลธี/พิมพ์ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๑/ตอนที่ ๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๖/๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๗
687871
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ที่มีโทษปรับสถานเดียว (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบความผิด ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และมาตรา ๖๗ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบบรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียวไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียวที่ได้เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ มีอำนาจเปรียบเทียบความผิด (๑) ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาล หรือสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาล หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ (๒) พนักงานสอบสวนของกองบังคับการตำรวจจราจรซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่ารองสารวัตรขึ้นไปหรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ (๓)[๒] พนักงานสอบสวนของกองบังคับการตำรวจทางหลวง ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่ารองสารวัตรขึ้นไป หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ ข้อ ๒ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว ที่ได้เกิดขึ้นในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิด (๑) ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนซึ่งเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนตำรวจภูธรจังหวัดนั้น สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ (๒) ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธร หรือสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธร หรือสารวัตรสถานีตำรวจภูธรหรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ (๓) พนักงานสอบสวนของกองบังคับการตำรวจทางหลวง ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่ารองสารวัตรขึ้นไปหรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๓] ณัฐพร/ผู้จัดทำ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๐ ง/หน้า ๓๑/๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๒] ข้อ ๑ (๓) เพิ่มโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๐ ง/หน้า ๓๓/๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
690660
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องทดสอบโคมไฟหน้า สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2556 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องทดสอบโคมไฟหน้า สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๖ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ วรรคสาม ของกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เครื่องทดสอบโคมไฟหน้า (Headlight Tester) ต้องมีแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเครื่องที่ได้มาตรฐาน CE (European conformity) หรือ EN (European Standard) หรือ CEE (International Commission on Rules for the approval of Electrical Equipment) และผ่านการรับรองด้าน Machinery และ Electromagnetic และ Low Voltage โดยผลิตจากผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๐ หรือมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ หรือสูงกว่า (๒) สามารถตรวจสอบค่าเบี่ยงเบนของศูนย์รวมแสงของโคมไฟหน้ารถในระยะไม่เกิน ๑ เมตร จากโคมไฟหน้ารถถึงเลนส์รับแสงของเครื่องทดสอบโคมไฟหน้า และต้องสามารถตรวจสอบโคมไฟหน้ารถที่มีความสูงจากพื้นราบตั้งแต่ ๐.๔๐ เมตร หรือน้อยกว่า จนถึง ๑.๓๕ เมตร หรือมากกว่า (๓) สามารถวัดค่าความเข้มการส่องสว่างของโคมไฟได้ตั้งแต่ ๕,๐๐๐ แคนเดลลา (cd) หรือน้อยกว่า จนถึง ๑๒๐,๐๐๐ แคนเดลลาหรือมากกว่า (๔) สามารถวัดค่าการเบี่ยงเบนของลำแสงต่ำกว่าแนวราบได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔ (๒.๒๙ องศา) (๕)[๑] (ยกเลิก) ข้อ ๒ เครื่องทดสอบโคมไฟหน้าที่จะนำไปใช้งานในสถานตรวจสภาพรถ ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ให้ใช้สำหรับการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ ข้อ ๓ เครื่องทดสอบโคมไฟหน้าที่กรมการขนส่งทางบกได้ให้ความเห็นชอบและมีการใช้งานในสถานตรวจสภาพรถไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ใช้ได้ต่อไป แต่ต้องสามารถวัดความเข้มการส่องสว่างได้ตามเกณฑ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ข้อ ๔[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องทดสอบโคมไฟหน้า สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖[๓] ปณตภร/ผู้จัดทำ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๖ [๑] ข้อ ๑ (๕) ยกเลิกโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องทดสอบโคมไฟหน้า สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๑๖/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๘๘ ง/หน้า ๕๑/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖
690662
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2556 (ฉบับ update ล่าสุด)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถ ของสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด มาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ วรรคสาม ของกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด มาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ (๒) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด มาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๘ ข้อ ๒ เครื่องวัดควันดำ (Smoke Meter) ต้องมีแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเครื่องวัดควันดำระบบกระดาษกรอง (Filter) (ก) เป็นเครื่องที่ผลิตจากผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๐ หรือมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ หรือสูงกว่า (ข) มีปริมาตรในการเก็บตัวอย่าง ๓๓๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร โดยมีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน ๑๕ ลูกบาศก์เซนติเมตร (ค) สามารถวัดค่าความทึบแสงได้ ตั้งแต่ร้อยละ ๐ ถึงร้อยละ ๙๙.๙ (ง) ส่วนแสดงผลเป็นแบบตัวเลข และมีความละเอียดในการอ่านไม่เกินร้อยละ ๐.๑ (จ) สามารถใช้กับระบบไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ๒๒๐ โวลท์ (Volt) ความถี่ ๕๐ เฮิรตซ์ (Hz.) ได้ (ฉ)[๑] (ยกเลิก) (๒) เป็นเครื่องวัดควันดำระบบวัดความทึบแสงแบบไหลผ่านบางส่วน (Partial Flow Opacimeter) (ก) เป็นเครื่องที่ได้มาตรฐานของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ เลขที่ ECE R ๒๔ หรือมาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ที่ ISO ๑๑๖๑๔ โดยผลิตจากผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๐ หรือมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ หรือสูงกว่า (ข) ต้องตรวจวัดที่ระยะความยาวของทางเดินแสงที่ ๔๓๐ มิลลิเมตรหรือเทียบเท่า (ค) สามารถวัดค่าความทึบแสงได้ ตั้งแต่ร้อยละ ๐ ถึงร้อยละ ๙๙.๙ (ง) ส่วนแสดงผลเป็นแบบตัวเลข และมีความละเอียดในการอ่านไม่เกินร้อยละ ๐.๑ (จ) สามารถใช้กับระบบไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ๒๒๐ โวลท์ (Volt) ความถี่ ๕๐ เฮิรตซ์ (Hz.) ได้ (ฉ) มีช่องสัญญาณออก (Output) แบบดิจิตอล (Digital) ข้อ ๓ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ (Gas Analyser) ต้องมีแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเครื่องวิเคราะห์ก๊าซระบบนันดีสเปอร์ซีฟ อินฟราเรด (Non - Dispersive Infrared Detection : NDIR) สำหรับใช้วัดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) (๒) สามารถวัดปริมาณของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากท่อไอเสียได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔.๕ โดยปริมาตร และวัดปริมาณของก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียได้ไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ ส่วนในล้านส่วน (ppm) ของค่าเทียบเท่านอร์มัลเฮ็กเซน (N-Hexane) (๓) เป็นเครื่องที่ได้มาตรฐาน ISO ๓๙๓๐ หรือ OIML R๙๙ class ๑ หรือ OIML R๙๙ class ๐ โดยผลิตจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๐ หรือมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ หรือสูงกว่า (๔) มีระบบการขับไล่ก๊าซไอเสียที่ตกค้างออกจากเครื่องวิเคราะห์ก๊าซ (๕) ส่วนแสดงผลเป็นแบบตัวเลข (ก) สามารถแสดงค่าปริมาณก๊าซ CO ได้ตั้งแต่ร้อยละ ๐ ถึงร้อยละ ๑๐ โดยปริมาตร หรือมากกว่า และมีความละเอียดในการอ่านไม่เกินร้อยละ ๐.๑ โดยปริมาตร (ข) สามารถแสดงค่าปริมาณก๊าซ HC ได้ตั้งแต่ ๐ ถึง ๑๐,๐๐๐ ส่วนในล้านส่วน หรือมากกว่า และมีความละเอียดในการอ่านไม่เกิน ๑๐ ส่วนในล้านส่วน (๖) สามารถใช้กับระบบไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ๒๒๐ โวลท์ (Volt) ความถี่ ๕๐ เฮิรตซ์ (Hz.) ได้ (๗) มีช่องสัญญาณออก (Output) แบบดิจิตอล (Digital) ข้อ ๔ เครื่องวัดก๊าซรั่ว (Gas Leak Detector) ต้องมีแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเครื่องที่ใช้ตรวจสอบการรั่วของก๊าซปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติในระบบเชื้อเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ (๒) เป็นเครื่องที่ผลิตจากผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๐ หรือมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ หรือสูงกว่า (๓) เป็นเครื่องตรวจสอบก๊าซรั่วด้วยเซ็นเซอร์ ชนิดสารกึ่งตัวนำ (Semi-conductor) (๔) มีเสียงสัญญาณเตือน หรือสัญญาณไฟกระพริบ หรือแสดงค่าเป็นตัวเลขเมื่อตรวจพบการรั่วของก๊าซ (๕) ใช้ระบบไฟฟ้ากระแสตรงจากแบตเตอรี่เซลล์แห้ง ที่มีจำหน่ายทั่วไปภายในประเทศ (๖)[๒] มีความไวในการตรวจจับปริมาณก๊าซรั่วที่น้อยกว่า ๑๕๐ ส่วนในล้านส่วน ข้อ ๕ เครื่องวัดระดับเสียง (Sound Level Meter) ต้องมีแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเครื่องที่ได้มาตรฐานตามมาตรฐานของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยเทคนิคไฟฟ้า (International Electrotechnical Commission, IEC) IEC ๖๑๖๗๒ Type ๑ หรือ Type ๒ โดยผลิตจากผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๐ หรือมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ หรือสูงกว่า (๒)[๓] สามารถแสดงค่าวัดระดับเสียงได้ตั้งแต่ ๕๐ dB (A) หรือน้อยกว่า ถึง ๑๒๐ dB (A) หรือมากกว่า และมีความละเอียดในการอ่านไม่เกิน ๐.๑ dB (A) (๓) สามารถแสดงและบันทึกค่าเสียงสูงสุด (Max Hold) ได้ในขณะทำการตรวจวัด (๔) ส่วนแสดงผลของอุปกรณ์เป็นแบบตัวเลขสามารถแสดง Weighting Network เป็นแบบ A และแสดง Dynamic Characteristic เป็นแบบ Fast ได้ (๕)[๔] มีช่องสัญญาณออก (Output) แบบดิจิตอล (Digital) หรือแบบอนาล็อก (Analog) ข้อ ๖ เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ (Engine Tachometer) ต้องมีแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเครื่องที่ใช้ตรวจวัดความเร็วรอบของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน หรือเครื่องยนต์ที่จุดระเบิดด้วยประกายไฟ (๒) เป็นเครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ที่ผลิตจากผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๐ หรือมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ หรือสูงกว่า (๓) สามารถแสดงค่าความเร็วรอบของเครื่องยนต์ได้ตั้งแต่ ๕๐๐ รอบต่อนาที หรือน้อยกว่า ถึง ๙,๐๐๐ รอบต่อนาที หรือมากกว่า (๔) สามารถตรวจวัดความเร็วรอบของเครื่องยนต์ ๒ จังหวะที่มีจำนวนสูบตั้งแต่ ๑ ถึง ๔ สูบ หรือมากกว่า และเครื่องยนต์ ๔ จังหวะ ที่มีจำนวนสูบตั้งแต่ ๑ ถึง ๖ สูบ หรือมากกว่า ข้อ ๗ เครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง (Tint Meter) ต้องมีแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเครื่องสำหรับตรวจวัดค่าของแสงที่ส่องผ่านกระจกและฟิล์มกรองแสงของรถยนต์ โดยสามารถเคลื่อนย้ายนำไปใช้งานได้สะดวก (๒) เป็นเครื่องที่ผลิตจากผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๐ หรือมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ หรือสูงกว่า (๓) แสดงค่าของแสงส่องผ่านกระจกและฟิล์มกรองแสงได้เป็นแบบตัวเลข ตั้งแต่ร้อยละ ๐ - ๙๙ (๔) สามารถป้องกันแสงรบกวนจากภายนอกได้ในขณะทำการตรวจวัด (๕) มีอุปกรณ์ประกอบการใช้งานที่สามารถตรวจวัดกระจกของรถได้ทุกบาน ข้อ ๘ เครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง ที่จะนำไปใช้งานในสถานตรวจสภาพรถ ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ให้ใช้สำหรับการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ ข้อ ๙[๕] เครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง ที่กรมการขนส่งทางบกได้ให้ความเห็นชอบและมีการใช้งานในสถานตรวจสภาพรถไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ใช้ได้ต่อไป ทั้งนี้ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซและเครื่องวัดระดับเสียงต้องมีอุปกรณ์ที่สามารถส่งผลการตรวจวัดเข้าระบบบันทึกผลและรายงานผลการตรวจสภาพรถตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดภายในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ ข้อ ๑๐[๖] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖[๗] ปณตภร/ผู้จัดทำ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๖ [๑] ข้อ ๒ (๑) (ฉ) ยกเลิกโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๒] ข้อ ๔ (๖) เพิ่มโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๓] ข้อ ๕ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๔] ข้อ ๕ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๕] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๑๒/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๘๘ ง/หน้า ๕๒/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖
694070
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ พ.ศ. 2556 (ฉบับ update ล่าสุด)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะและมาตรฐานตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแบบตัวถังของรถเสียใหม่ให้เหมาะสมกับการนำรถไปใช้งานยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ (๒) และข้อ ๑๘ (๒) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะและมาตรฐานตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “รถ” หมายความว่า รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๑ (รถกระบะบรรทุก) ลักษณะ ๖ (รถพ่วง) และลักษณะ ๗ (รถกึ่งพ่วง) “ของที่มีน้ำหนักมาก” หมายความว่า กรวด หิน ดิน ทราย สินแร่ หรือวัสดุอื่นใดที่มีน้ำหนักจำเพาะ (Specific Weight) ตั้งแต่ ๑.๕๕ ขึ้นไป ข้อ ๓ แบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถมี ๖ แบบ ดังต่อไปนี้ (๑) แบบที่ ๑ ตัวถังส่วนที่บรรทุกเป็นกระบะโปร่ง โดยเว้นระยะให้มีส่วนโปร่งและทึบสลับกัน ส่วนโปร่งมีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร และส่วนทึบมีขนาดความกว้างไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร วัดตามแนวดิ่งตลอดความยาวของกระบะ สำหรับใช้บรรทุกของทั่วไป เช่น ของที่มีรูปทรงเป็นท่อน รูปทรงยาว หรือรูปทรงอื่นที่มีขนาดไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร พืชผลเกษตรกรรม สัตว์มีชีวิต เป็นต้น (๒) แบบที่ ๒ ตัวถังส่วนที่บรรทุกเป็นกระบะโปร่ง ทำด้วยตาข่ายหรือตะแกรงโลหะ ขนาดของช่องตาข่ายหรือตะแกรงโลหะต้องมีความยาววัดตามแนวราบไม่น้อยกว่า ๔ เซนติเมตร และความสูงวัดตามแนวดิ่งไม่น้อยกว่า ๔ เซนติเมตร ส่วนทึบทั้งหมดของตาข่ายหรือตะแกรงโลหะคำนวณเป็นพื้นที่จะต้องไม่มากกว่าพื้นที่ทั้งหมดของช่องโปร่ง ลักษณะของช่องโปร่งและส่วนทึบต้องกลมกลืนกันโดยทั่วไป สำหรับใช้บรรทุกของที่มีลักษณะพรุน มีน้ำหนักเบา พืชผลเกษตรกรรม สัตว์มีชีวิต เป็นต้น (๓) แบบที่ ๓ ตัวถังส่วนที่บรรทุกเป็นกระบะทึบ กระบะที่เป็นส่วนทึบด้านข้างและด้านท้ายต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๘,๐๐๐ กิโลกรัม แต่ไม่เกิน ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัม และต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๘๐ เซนติเมตร สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัมขึ้นไป สำหรับใช้บรรทุกของที่มีน้ำหนักมาก (๔) แบบที่ ๔ ตัวถังส่วนที่บรรทุกส่วนล่างเป็นกระบะทึบ ส่วนบนเป็นกระบะโปร่ง โดยกระบะที่เป็นส่วนทึบด้านข้างและด้านท้ายต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๘,๐๐๐ กิโลกรัม แต่ไม่เกิน ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัม และต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๘๐ เซนติเมตร สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัมขึ้นไป และกระบะโปร่งต่อจากส่วนทึบให้เว้นระยะโดยมีส่วนโปร่งและส่วนทึบสลับกัน ส่วนโปร่งมีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร และส่วนทึบมีขนาดความกว้างไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร วัดตามแนวดิ่งตลอดแนวความยาวของกระบะ ทั้งนี้ จะมีส่วนกระบะโปร่งได้อีกไม่เกิน ๒ ช่อง และมีความสูงจากพื้นกระบะ ส่วนที่ต่ำสุดถึงส่วนที่สูงที่สุดของกระบะโปร่งไม่เกิน ๙๐ หรือ ๑๑๐ เซนติเมตร แล้วแต่กรณี สำหรับใช้บรรทุกของที่มีน้ำหนักมาก (๕) แบบที่ ๕ ตัวถังส่วนที่บรรทุกส่วนล่างเป็นกระบะทึบ ส่วนบนเป็นกระบะโปร่ง โดยกระบะที่เป็นส่วนทึบด้านข้างและด้านท้ายต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๘,๐๐๐ กิโลกรัม แต่ไม่เกิน ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัม และต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๘๐ เซนติเมตร สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัมขึ้นไป และกระบะโปร่งต่อจากส่วนทึบให้เว้นระยะโดยมีส่วนโปร่งและส่วนทึบสลับกัน ส่วนโปร่งมีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร และส่วนทึบมีขนาดความกว้างไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร วัดตามแนวดิ่งตลอดแนวความยาวของกระบะ สำหรับใช้บรรทุกของทั่วไป เช่น ของที่มีรูปทรงเป็นท่อน รูปทรงยาว หรือรูปทรงอื่นที่มีขนาดไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร พืชผลเกษตรกรรมสัตว์มีชีวิต เป็นต้น (๖) แบบที่ ๖ ตัวถังส่วนที่บรรทุกส่วนล่างเป็นกระบะทึบ ส่วนบนเป็นกระบะโปร่งทำด้วยตาข่ายหรือตะแกรงโลหะ โดยกระบะที่เป็นส่วนทึบด้านข้างและด้านท้ายต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๘,๐๐๐ กิโลกรัม แต่ไม่เกิน ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัม และต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๘๐ เซนติเมตร สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัมขึ้นไป และกระบะโปร่งต่อจากส่วนทึบทำด้วยตาข่ายหรือตะแกรงโลหะ ขนาดของช่องตาข่ายหรือตะแกรงโลหะต้องมีความยาววัดตามแนวราบไม่น้อยกว่า ๔ เซนติเมตร และความสูงวัดตามแนวดิ่งไม่น้อยกว่า ๔ เซนติเมตร ส่วนทึบทั้งหมดของตาข่ายหรือตะแกรงโลหะคำนวณเป็นพื้นที่จะต้องไม่มากกว่าพื้นที่ทั้งหมดของช่องโปร่งและส่วนทึบต้องกลมกลืนกันโดยทั่วไป สำหรับใช้บรรทุกของที่มีลักษณะพรุน มีน้ำหนักเบา พืชผลเกษตรกรรม สัตว์มีชีวิต เป็นต้น ตัวถังแบบที่ ๑ แบบที่ ๒ แบบที่ ๕ และแบบที่ ๖ จะมีประตูปิดเปิดด้านซ้ายหรือด้านท้ายของตัวรถด้วยก็ได้ ลักษณะของแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกให้เป็นไปตามตัวอย่างแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่ประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงตัวถังส่วนที่บรรทุกโดยมีลักษณะไม่เป็นไปตามประกาศนี้ ให้ยื่นคำขอรับความเห็นชอบจากนายทะเบียนที่รถนั้นจดทะเบียนก่อนดำเนินการ ข้อ ๕ ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่ประสงค์จะติดตั้งตะแกรงหรือวัสดุโปร่งที่มองเห็นของที่บรรทุกในส่วนกระบะโปร่งได้ชัดเจนเป็นการถาวรเพื่อป้องกันของร่วงหรือหล่นจากรถ ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนที่รถนั้นจดทะเบียน ให้นายทะเบียนพิจารณาอนุญาตได้คราวละไม่เกิน ๑ ปี โดยออกหนังสืออนุญาตตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ระยะเวลาการอนุญาตต้องไม่เกินวันสิ้นอายุภาษีประจำปีของรถนั้นด้วย ให้ผู้ได้รับอนุญาตติดหนังสืออนุญาตไว้ที่ด้านในของกระจกกันลมหน้า ข้อ ๖ การใช้รถเพื่อการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ น้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันจะต้องไม่เกินพิกัดน้ำหนักตามที่กฎหมายกำหนด ข้อ ๗[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตัวอย่างแบบตัวถังส่วนที่บรรทุก แบบที่ ๑ ๒. ตัวอย่างแบบตัวถังส่วนที่บรรทุก แบบที่ ๒ ๓. ตัวอย่างแบบตัวถังส่วนที่บรรทุก แบบที่ ๓ ๔. ตัวอย่างแบบตัวถังส่วนที่บรรทุก แบบที่ ๔ ๕. ตัวอย่างแบบตัวถังส่วนที่บรรทุก แบบที่ ๕ ๖. ตัวอย่างแบบตัวถังส่วนที่บรรทุก แบบที่ ๖ ๗. แบบหนังสืออนุญาตให้ติดตั้งตะแกรงหรือวัสดุโปร่ง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖[๓] ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๖ ปณตภร/เพิ่มเติม ๒ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑๕/๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๒] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๐๔ ง/หน้า ๑๗/๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๖
703241
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2555 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าอุบัติเหตุทางถนนที่เกิดจากรถบรรทุกวัตถุอันตรายก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง ทั้งแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งสาเหตุของอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากผู้ขับรถฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้น เพื่อให้สามารถควบคุม กำกับ ดูแลผู้ขับรถบรรทุกวัตถุอันตรายให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด สมควรกำหนดให้รถที่นำมาใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ (๑) (ต) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ” หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกและส่งข้อมูลการใช้งานของรถด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System : GPS) “ผู้ให้บริการระบบติดตามรถ” หมายถึง ผู้จำหน่ายเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถหรือผู้ให้บริการข้อมูลในการติดตาม ตรวจสอบและประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถผ่านโครงข่ายโทรคมนาคม และให้หมายความรวมถึงผู้ประกอบการขนส่งที่ดำเนินการในลักษณะดังกล่าวสำหรับรถของตนเองด้วย ข้อ ๒ รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๔ และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๙ ที่ใช้ลากจูงรถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุอันตราย ในประเภทการขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล ต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่มีคุณลักษณะและระบบการทำงานตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ ๓ เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถต้องสามารถทำงานผ่านโครงข่ายคมนาคมและต้องมีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีระบบบันทึกและส่งข้อมูลการใช้งานของรถ ซึ่งต้องสามารถบันทึกและส่งข้อมูลอย่างน้อยดังนี้ (ก) ตำแหน่งของรถในรูปแบบของระบบพิกัดบนพื้นโลกและสถานที่ โดยมีความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งพิกัดในแนวราบไม่เกิน ๒๐ เมตร (ข) ความเร็วของรถเป็นหน่วยกิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีค่าความละเอียดไม่เกิน ๑ กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีค่าความเร็วของรถในทุก ๆ ๑ นาที (ค) จำนวนชั่วโมงการขับรถของผู้ขับรถ โดยมีค่าความละเอียดไม่เกิน ๑ นาที (ง) วันเวลาที่บันทึกข้อมูล (จ) ชื่อและนามสกุลหรือเลขที่ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถของผู้ขับรถที่ได้จากระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ (๒) มีระบบส่งข้อมูลการใช้งานของรถในลักษณะที่เป็นปัจจุบัน (Real Time) หรือไม่น้อยกว่า ๑ ครั้ง ใน ๕ นาที โดยเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ที่ติดตั้งในเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ และประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ (๓) มีระบบบันทึกข้อมูลการใช้งานของรถไว้ที่เครื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมง สำหรับกรณีที่ไม่สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมได้ในบางขณะ (๔) มีระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ โดยเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลจากใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถของกรมการขนส่งทางบกที่เป็นแบบแถบแม่เหล็ก หรือเชื่อมโยงจากข้อมูลอื่นตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด (๕) มีระบบควบคุมให้ผู้ขับรถแสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถระบบใดระบบหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) ระบบการแจ้งเตือนเป็นตัวอักษร สัญญาณเสียงหรือสัญญาณอื่น ๆ หากเครื่องยนต์มีการทำงานหรือรถเคลื่อนที่โดยผู้ขับรถมิได้แสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ โดยการแจ้งเตือนต้องมีการแจ้งเตือนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐ นาที หรือจนกว่าจะหยุดเครื่องยนต์ หรือมีการแสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ (ข) ระบบป้องกันมิให้เครื่องยนต์ทำงานหรือรถเคลื่อนที่ หากผู้ขับรถมิได้แสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ (๖) มีระบบบันทึกและส่งข้อมูลการใช้งานของรถ กรณีผู้ขับรถมิได้แสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ (๗) มีระบบแจ้งการปลดหรือถอดเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ข้อ ๔[๒] เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถต้องมีระบบการทำงาน ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องทำงานตลอดเวลาที่เครื่องยนต์ทำงานหรือรถเคลื่อนที่ (๒) สามารถทำงานให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดไว้ตามข้อ ๓ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถจัดส่งข้อมูลดังต่อไปนี้ ในลักษณะที่เป็นปัจจุบัน (Real time) ผ่านทางโครงข่ายโทรคมนาคมหรือระบบสารสนเทศให้กรมการขนส่งทางบกตามรูปแบบและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ (ก) ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ได้แก่ หมายเลขการรับรองเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (Vendor Identifier) และหมายเลขเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (GPS Unit Identifier) (ข) ข้อมูลการใช้งานของรถ ได้แก่ วัน เวลา ความเร็ว ตำแหน่งพิกัด สถานะของเครื่องยนต์ สถานะของสัญญาณ (GPS Fix Status) สถานะของข้อมูล (Data Status) และลำดับของข้อมูล (Record Sequence Number) (ค) ข้อมูลผู้ขับรถ ได้แก่ ประเภทใบอนุญาตขับรถ หมายเลขใบอนุญาตขับรถและจังหวัดที่ออกใบอนุญาต (ง) ข้อมูลการปลดหรือถอดเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ข้อ ๕ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการขนส่งให้สามารถเลือกติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่มีคุณลักษณะและระบบการทำงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติการเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่จะติดตั้งบนรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองจากกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๖[๓] การขอรับการตรวจสอบและรับรองคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ให้ผู้ให้บริการระบบติดตามรถยื่นคำขอ ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน กรณีเป็นคนต่างด้าวให้ยื่นภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมด้วยใบสำคัญถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (๒) กรณีเป็นนิติบุคคลให้ยื่นภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล พร้อมด้วยภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม กรณีผู้มีอำนาจลงนามเป็นคนต่างด้าวให้ยื่นภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมด้วยใบสำคัญถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (๓) หนังสือมอบอำนาจพร้อมด้วยภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ กรณีมีการมอบอำนาจให้กระทำการแทน (๔) ภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม (๕) ภาพถ่ายใบรับรองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ (๖) ชนิด แบบ และเอกสารแสดงข้อกำหนดทางเทคนิค (Technical Specification) ของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ อุปกรณ์บ่งชี้ผู้ขับรถ พร้อมด้วยเอกสารรับรองอื่นที่เกี่ยวข้อง (๗) คู่มือการใช้งานเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ พร้อมอุปกรณ์บ่งชี้ผู้ขับรถ ข้อ ๗[๔] เมื่อตรวจสอบแล้วปรากฏว่า เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถมีคุณลักษณะเป็นไปตามที่กำหนดและผู้ให้บริการระบบติดตามรถดำเนินการเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System: GPS) ของกรมการขนส่งทางบกเรียบร้อยแล้ว กรมการขนส่งทางบกจะออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้ให้บริการระบบติดตามรถ ข้อ ๘ ผู้ให้บริการระบบติดตามรถที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกต้องจัดทำเครื่องหมายการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกเพื่อแสดงว่าเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถของผู้ให้บริการระบบติดตามรถเป็นชนิดและแบบที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก โดยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ (๑) หมายเลขการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก (๒) ชนิดและแบบของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (๓) หมายเลขของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (๔) เลขทะเบียนรถคันที่ติดตั้ง (๕) ชื่อผู้ให้บริการระบบติดตามรถ เครื่องหมายการรับรองเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๙[๕] เมื่อผู้ให้บริการระบบติดตามรถติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งรายใดแล้ว ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) ติดเครื่องหมายการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกไว้ที่เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ หรือบริเวณใกล้เคียงกับเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ หรือภายในห้องผู้ขับรถ ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน โดยเครื่องหมายดังกล่าวต้องชัดเจน ไม่ลบเลือน (๒) ออกหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ให้กับผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถนำไปใช้เป็นหลักฐานประกอบการตรวจสภาพรถและดำเนินการทางทะเบียน (๓) ส่งข้อมูลการติดตั้ง เปลี่ยน ถอด หรือยกเลิกการใช้ เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถให้แก่กรมการขนส่งทางบก (๔) ส่งข้อมูลตามข้อ ๔ (๒) ให้แก่กรมการขนส่งทางบกในลักษณะที่เป็นปัจจุบัน (Real Time) (๕) จัดเก็บข้อมูลการใช้งานของรถที่ติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางไว้ไม่น้อยกว่า ๖ เดือน และต้องจัดส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่กรมการขนส่งทางบกเมื่อมีการร้องขอหรือเมื่อต้องการตรวจสอบ การส่งข้อมูลตาม (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๔ และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๙ ที่ใช้ลากจูงรถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุอันตราย ในประเภทการขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล ตามเงื่อนเวลาดังต่อไปนี้ (๑) รถที่จดทะเบียนใหม่ หรือรถที่จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ (๒) รถที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ แต่มิได้ติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ (๓) รถที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ และได้ติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถไว้แล้วแต่ไม่เป็นไปตามประกาศนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๘ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๖] การส่งข้อมูลตามประกาศข้อ ๙ (๓) และ (๔) (แก้ไขเพิ่มเติม) ๒.[๗] แบบเครื่องหมายการรับรองเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (แก้ไขเพิ่มเติม) ๓.[๘] แบบหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (เพิ่ม) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗[๙] ข้อ ๖ ผู้ให้บริการระบบติดตามรถต้องแก้ไขปรับปรุงเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ได้รับการรับรองไว้ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้มีระบบการทำงานและสามารถรายงานข้อมูลการใช้งานของรถให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ปณตภร/ผู้จัดทำ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๕๕/๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๒] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๓] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๔] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๕] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๖] การส่งข้อมูลตามประกาศข้อ ๙ (๓) และ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๗] แบบเครื่องหมายการรับรองเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๘] แบบหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ เพิ่มโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๕ ง/หน้า ๒๑/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
721128
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. 2555 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในวรรคสามของข้อ ๑๓ (๒) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีความสูงตั้งแต่ ๓.๖๐ เมตร ขึ้นไป ต้องมีเกณฑ์การทรงตัวไม่ต่ำกว่า ๓๐ องศา ข้อ ๒ การทดสอบการทรงตัวให้กระทำบนเครื่องทดสอบการทรงตัวที่มีคุณสมบัติและคุณลักษณะดังนี้ (๑) สามารถวัดค่ามุมเอียงในการทดสอบได้ไม่น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๑ โดยมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน ๐.๑ องศา (๒) มีอัตราความเร็วในการยกเอียงขั้นต่ำ (Minimum Tilt Rate) ได้น้อยกว่า ๐.๐๕ องศาต่อวินาที (๓) พื้นทดสอบ (Platform) ต้องมีระดับสม่ำเสมอและไม่บิดตัว และต้องมีสันขอบ (Trip Rail) หรืออุปกรณ์ป้องกันการลื่นไถลด้านข้างของล้อรถ ที่มีความสูงไม่เกินสองในสามของความสูงแก้มยางของรถที่ทำการทดสอบ (๔) มีอุปกรณ์ป้องกันการพลิกคว่ำที่เหมาะสม เช่น โซ่หรือลวดสลิงคล้องเพลาหรือรถ หรือแผงรับด้านข้าง ข้อ ๓ การทดสอบการทรงตัวของรถให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังนี้ (๑) การเตรียมรถก่อนเข้ารับการทดสอบ (ก) รถต้องอยู่ในสถานะรถเปล่าไม่มีน้ำหนักบรรทุก และเครื่องยนต์ต้องไม่ทำงานขณะทำการทดสอบ (ข) เชื้อเพลิงต้องมีไม่เกินร้อยละ ๙๐ ของความจุถังเชื้อเพลิง และมีการป้องกันการรั่วไหลของเชื้อเพลิง (ค) ระบบรองรับน้ำหนักของรถต้องอยู่ในสภาพการใช้งานปกติ (๒) วิธีการทดสอบ (ก) ชั่งน้ำหนักรถเพื่อหาน้ำหนักรถในแต่ละด้าน (ข) จอดรถบนพื้นทดสอบ โดยให้ด้านข้างของรถที่มีน้ำหนักมากกว่าอยู่ตรงกันข้ามกับพื้นทดสอบด้านที่จะถูกยกขึ้น (ค) ติดหรือยึดอุปกรณ์เพื่อป้องกันการพลิกคว่ำของรถ (ง) ยกพื้นทดสอบขึ้น ข้อ ๔ รถที่ผ่านการทดสอบต้องสามารถทรงตัวในขณะที่พื้นทดสอบเอียงทำมุมกับแนวระนาบได้ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๑ และต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ (๑) ยางของล้อรถด้านที่ถูกยกขึ้นต้องสัมผัสกับพื้นทดสอบอย่างน้อยหนึ่งเส้น (๒) ไม่มีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบใดของรถสัมผัสกับพื้นทดสอบเว้นแต่ยางตาม (๑) (๓) ไม่มีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบใดของรถสัมผัสกัน เว้นแต่ได้มีการออกแบบมาให้สัมผัสกันตามสภาพการใช้งานปกติ (๔) ไม่มีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบใดของรถเกิดการชำรุดเสียหายหรือเคลื่อนเปลี่ยนตำแหน่งไปจากสภาพการใช้งานปกติ ข้อ ๕[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีความสูงตั้งแต่ ๓.๖๐ เมตรขึ้นไป ตามเงื่อนเวลาดังนี้ (๑) รถที่จดทะเบียนใหม่ และรถที่จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่เฉพาะที่มีการเปลี่ยนตัวถัง ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ (๒) รถที่จดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ แต่ได้มีการเปลี่ยนตัวถังให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ ข้อ ๖ ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถตามข้อ ๕ ต้องยื่นขอนำรถเข้ารับการทดสอบการทรงตัวกับกรมการขนส่งทางบกหรือหน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด สำหรับรถที่ทำการทดสอบและผ่านเกณฑ์การทรงตัวตามข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจของยุโรปแห่งสหประชาชาติ ข้อกำหนดที่ ๑๐๗ ว่าด้วยการสร้างรถ M2 หรือ M3 อนุกรมที่ ๓ ขึ้นไป (United Nations Economic Commission for Europe, Regulation No. 107: Uniform provisions concerning the approval of category M2 or M3 vehicles with regard to their general construction, Series 03) ให้ถือว่ารถนั้นมีการทรงตัวตามเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ ๑ โดยได้รับยกเว้นการทดสอบตามวรรคหนึ่ง แต่ต้องยื่นผลการทดสอบการทรงตัวตามข้อกำหนดดังกล่าวต่อกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๗[๓] (ยกเลิก) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗[๔] ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘[๕] ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ นุสรา/ผู้ตรวจ ๗ มกราคม ๒๕๕๘ วิศนี/เพิ่มเติม ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๒๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕ [๒] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๓] ข้อ ๗ ยกเลิกโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๑๘/๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๘/๖ มกราคม ๒๕๕๙
727748
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะ ขนาด สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ และการแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะ ขนาด สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ และการแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดลักษณะ ขนาด สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ และการแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ ไว้แล้ว นั้น โดยที่ปัจจุบันเลขรหัสแสดงประเภทรถประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถบรรทุกที่กำหนดไว้ตามประกาศดังกล่าวได้ใช้สำหรับจดทะเบียนรถใกล้จะหมดลง จำเป็นที่จะต้องกำหนดเลขรหัสเพื่อใช้สำหรับจดทะเบียนรถที่ใช้ในการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถบรรทุกเพิ่มเติม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๐ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และอนุวัตรการความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion Cross-Border Transport Agreement) อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะ ขนาด สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ และการแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ ข้อ ๒ แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถให้มีลักษณะ ขนาด และสี ดังนี้ (๑) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถที่ใช้ในการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก มีขนาดกว้าง ๒๒ เซนติเมตร ยาว ๔๔ เซนติเมตร มีพื้นเป็นวัสดุสะท้อนแสงสีเหลือง รายการบนแผ่นป้ายแบ่งออกเป็นสามบรรทัด บรรทัดแรกเป็นตัวอักษรคำว่า THAILAND และเลขรหัสจังหวัด บรรทัดที่สองเป็นตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถกับหมายเลขทะเบียนรถ ระหว่างตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถ กับหมายเลขทะเบียนรถมีขีดตามทางยาวคั่นกลาง บรรทัดที่สามเป็นชื่อจังหวัด ตัวอักษรชื่อจังหวัดเป็นภาษาไทย และมีเครื่องหมายเป็นตัวอักษร ขส อยู่ภายในวงกลมที่มุมล่างด้านซ้ายของแผ่นป้าย ในกรณีที่เป็นแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถที่ใช้ในการขนส่งไม่ประจำทางมาตรฐาน ๒ (จ) (รถตู้ชนิดพิเศษ) ให้มีลักษณะ ขนาด เช่นเดียวกับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถที่ใช้ในการขนส่งประจำทาง เว้นแต่พื้นเป็นวัสดุสะท้อนแสงสีขาว ตัวอักษร THAILAND รหัสจังหวัด ตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถขีดระหว่างตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถกับหมายเลขทะเบียนรถ หมายเลขทะเบียน เครื่องหมายเป็นตัวอักษร ขส อยู่ภายในวงกลมตัวอักษรชื่อจังหวัด และขอบแผ่นป้าย อัดเป็นรอยดุนนูนสีฟ้า[๒] ตัวอักษร THAILAND รหัสจังหวัด ตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถ ขีดระหว่างตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถกับหมายเลขทะเบียนรถ หมายเลขทะเบียนรถ เครื่องหมายเป็นตัวอักษร ขส อยู่ภายในวงกลม ตัวอักษรชื่อจังหวัด และขอบแผ่นป้าย อัดเป็นรอยดุนนูนสีดำ และรายการต่าง ๆ บนแผ่นป้ายมีขนาด ดังนี้ (ก) ตัวอักษร THAILAND มีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๒.๔ เซนติเมตร (ข) รหัสจังหวัด มีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๒.๔ เซนติเมตร (ค) รหัสประเภทรถ และหมายเลขทะเบียนรถ มีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร กว้างไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร (ง) ขีดระหว่างตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถกับหมายเลขทะเบียนรถ มีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๑.๕ เซนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่า ๒.๕ เซนติเมตร (จ) ชื่อจังหวัดมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๒.๕ เซนติเมตร (๒) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคล มีลักษณะและขนาดเป็นไปตาม (๑) แต่มีพื้นเป็นวัสดุสะท้อนแสงสีขาว (๓)[๓] เลขรหัสแสดงประเภทรถ หมายเลขทะเบียนรถ และเลขรหัสจังหวัดใช้เลขอารบิค โดยหมายเลขทะเบียนรถใช้เลข ๔ หลัก ตั้งแต่ลำดับหมายเลข ๐๐๐๑ ถึงหมายเลข ๙๙๙๙ แล้วเริ่มต้นโดยใช้เลขรหัสแสดงประเภทรถเดิมลำดับถัดไป เลขรหัสแสดงประเภทรถแบ่งตามประเภทการขนส่ง ดังนี้ (ก) รถโดยสารประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๑๐ ถึง ๑๙ (ข) รถขนาดเล็ก ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๒๐ ถึง ๒๙ (ค) รถโดยสารไม่ประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๓๐ ถึง ๓๕ (ง) รถโดยสารไม่ประจำทาง มาตรฐาน ๒ (จ) (รถตู้ชนิดพิเศษ) ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๓๖ ถึง ๓๙ (จ) รถโดยสารส่วนบุคคล ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๔๐ ถึง ๔๙ (ฉ) รถบรรทุกไม่ประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๖๐ ถึง ๖๙ และ ๗๐ ถึง ๗๙ (ช) รถบรรทุกส่วนบุคคล ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๕๐ ถึง ๕๙ และ ๘๐ ถึง ๙๙ ข้อ ๓ การติดแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีให้เป็น ดังนี้ (๑) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ ให้ติดตรึงไว้ในที่ที่เห็นได้ง่าย ที่ด้านหน้ารถหนึ่งแผ่นและที่ด้านท้ายรถหนึ่งแผ่น (๒) เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ให้ติดที่ด้านในของกระจกกันลมด้านหน้า โดยหันข้อความด้านหน้าของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีออกด้านนอกรถ ข้อ ๔ บรรดาแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ ลงวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่ยังคงเหลืออยู่ก่อนประกาศนี้ ใช้บังคับ ให้ใช้เป็นแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถต่อไปได้จนกว่าจะหมดลง และให้ยังคงใช้ได้ต่อไป เว้นแต่เจ้าของรถมีความประสงค์จะขอเปลี่ยนหรือมาแจ้งดำเนินการทางทะเบียนต่อนายทะเบียนเกี่ยวกับการโอนหรือขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญให้นายทะเบียนเปลี่ยนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถให้เป็นไปตามประกาศนี้โดยให้เจ้าของรถเสียค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เทียนโชติ จงพีร์เพียร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะ ขนาด สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและการแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๗[๔] ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ภีราพร/เพิ่มเติม ๒๘ มกราคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๕๒/๑๙ เมษายน ๒๕๕๔ [๒] ข้อ ๒ (๑) วรรคสาม เพิ่มโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะ ขนาด สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและการแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๗ [๓] ข้อ ๒ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะ ขนาด สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและการแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๗ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๕๓ ง/หน้า ๑๐/๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๗
760893
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2555 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๓ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๙ วรรคสอง และข้อ ๑๐ (๑) และ (๒) ของกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๒[๒] ในประกาศนี้ “ผู้ได้รับใบอนุญาต” หมายถึง ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ “นายทะเบียน” หมายถึง นายทะเบียนกลางหรือบุคคลซึ่งนายทะเบียนกลางมอบหมายให้ทำการแทน “สำนักงานขนส่ง” หมายถึง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี “ระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก” หมายถึง ระบบงานที่กรมการขนส่งทางบกจัดทำขึ้นเพื่อให้สถานตรวจสภาพรถบันทึกข้อมูลและผลการตรวจสภาพรถ รายงานผลการตรวจสภาพรถ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจากสถานตรวจสภาพรถมายังกรมการขนส่งทางบก และจัดพิมพ์รายงานผลการตรวจสภาพรถ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๓ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินการตรวจสภาพรถ เพื่อรับรองสภาพรถสำหรับรถที่จะต่ออายุทะเบียน หรือเสียภาษีประจำปี ดังนี้ (๑) รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ทั้งนี้ เว้นแต่รถที่ใช้ในการบรรทุกวัสดุอันตราย (ลักษณะ ๔) และรถพ่วง (ลักษณะ ๖) หรือรถกึ่งพ่วง (ลักษณะ ๗) ที่ติดตั้งถังบรรทุกวัสดุอันตราย (๒) รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ตามประเภทที่นายทะเบียนทั่วราชอาณาจักรประกาศกำหนด การตรวจสภาพรถตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้ล่วงหน้าภายในกำหนดเวลาสามเดือน ก่อนวันสิ้นอายุภาษีประจำปี หรือก่อนวันครบกำหนดเสียภาษีประจำปี แล้วแต่กรณี ข้อ ๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องตรวจสภาพรถตามขนาดน้ำหนักและประเภทของรถที่ได้รับอนุญาต และต้องดำเนินการภายในพื้นที่ตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาต ข้อ ๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) จัดเก็บค่าบริการตรวจสภาพรถตามอัตราที่กำหนด (๒) จัดให้มีป้ายชื่อ ข้อความหรือเครื่องหมายดังต่อไปนี้ ไว้ในที่ที่เห็นได้โดยชัดเจน ณ สถานตรวจสภาพรถ (ก) ป้ายชื่อสถานตรวจสภาพรถ มีข้อความดังต่อไปนี้ “สถานตรวจสภาพรถ (ชื่อสถานตรวจสภาพรถ) โดยได้รับใบอนุญาตจัดตั้งจากกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม” (ข) ข้อความหรือเครื่องหมายแสดงประเภท ลักษณะ หรือขนาดของรถที่รับบริการตรวจสภาพ และสัญลักษณ์สถานตรวจสภาพรถตามที่อธิบดีกำหนด (ค) ข้อความเตือนมิให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง เข้าไปในบริเวณที่ทำการตรวจสภาพรถ ดังนี้ “พื้นที่ตรวจสภาพรถ บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องห้ามเข้า” (ง) ป้ายแสดงอัตราค่าบริการตรวจสภาพรถ วันและเวลาที่ให้บริการตรวจสภาพรถ (๓)[๓] (ยกเลิก) (๔) จัดให้มีผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถอย่างน้อย ๑ คน และเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถอย่างน้อย ๑ คน ประจำสถานตรวจสภาพรถตลอดเวลาที่ให้บริการตรวจสภาพรถ แต่สำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์เพียงอย่างเดียว หากผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ด้วย จะมีผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ประจำสถานตรวจสภาพรถนั้นเพียงคนเดียวก็ได้ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติและผ่านการอบรมและทดสอบตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด (๕) แจ้งวันและเวลาที่ให้บริการตรวจสภาพรถเป็นหนังสือต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ ก่อนวันที่เริ่มให้บริการตรวจสภาพรถครั้งแรกและก่อนการเปลี่ยนแปลงวันและเวลาที่ให้บริการตรวจสภาพรถดังกล่าว (๖) จัดส่งรอยตราประทับประจำสถานตรวจสภาพรถซึ่งประกอบด้วยชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ และเครื่องหมายประจำสถานตรวจสภาพรถต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ ก่อนวันที่ให้บริการตรวจสภาพรถครั้งแรก และก่อนการเปลี่ยนแปลง (๗) ส่งลายมือชื่อผู้ได้รับใบอนุญาต หรือรายชื่อของผู้ได้รับมอบอำนาจให้ทำการแทน ผู้ได้รับใบอนุญาต (ถ้ามี) พร้อมหนังสือมอบอำนาจและภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ ต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ ก่อนวันที่ปฏิบัติหน้าที่หรือเริ่มให้บริการตรวจสภาพรถครั้งแรกและก่อนการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลดังกล่าว แจ้งรายชื่อของผู้ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถหรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถตาม (๔) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัว เป็นหนังสือต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ ก่อนวันที่ปฏิบัติหน้าที่หรือเริ่มให้บริการตรวจสภาพรถครั้งแรกและก่อนการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลดังกล่าว (๘) ควบคุม กำกับ ดูแลให้การดำเนินการสถานตรวจสภาพรถเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และถูกต้องตามกฎ ระเบียบ และประกาศของกรมการขนส่งทางบก (๙) ควบคุม กำกับ ดูแลมิให้ผู้ได้รับมอบอำนาจให้ทำการแทนผู้ได้รับใบอนุญาต (ถ้ามี) หรือผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ ลงลายมือชื่อในใบรับรองการตรวจสภาพรถไว้ล่วงหน้าก่อนดำเนินการตรวจสภาพรถ (๑๐) ควบคุม กำกับ ดูแลให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ แต่งกายสุภาพเหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ตรวจสภาพรถ และติดบัตรประจำตัว ตลอดเวลาในขณะปฏิบัติหน้าที่ (๑๑) ไม่ชักชวนหรือแนะนำ หรือยินยอมให้ผู้อื่นชักชวนหรือแนะนำให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ นำรถไปเข้ารับการตรวจ ซ่อม หรือปรับแต่ง ณ สถานประกอบการแห่งหนึ่งแห่งใด เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถจะร้องขอคำแนะนำ (๑๒) ไม่อนุญาตหรือยินยอมให้บุคคลอื่นนอกจากบุคคลตาม (๔) เข้าควบคุมการตรวจสภาพรถหรือทำหน้าที่ตรวจสภาพรถ (๑๓) อำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกในการเข้าไปในสถานตรวจสภาพรถในระหว่างเวลาทำงานตามปกติ เพื่อทราบข้อเท็จจริงและตรวจสอบเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสภาพรถ หมวด ๒ การตรวจสภาพรถ ข้อ ๖[๔] ผู้ควบคุมการตรวจสภาพ และเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถต้องดำเนินการตรวจสภาพรถให้เป็นตามหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสภาพรถที่กำหนดท้ายประกาศนี้ และต้องทำการบันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตัวรถ และผลการตรวจสภาพรถลงในระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๗[๕] เมื่อตรวจสภาพรถแต่ละคันเสร็จสิ้นแล้ว ให้ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ โดยต้องบันทึกการวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถและบันทึกข้อบกพร่องกรณีที่รถไม่ผ่านการตรวจสภาพ (ถ้ามี) ลงในระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกทันที ข้อ ๘ การวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ มี ๒ กรณี ดังต่อไปนี้ (๑) ผ่าน (๒) ไม่ผ่าน รถที่ตรวจสภาพแล้วเป็นไปตามเกณฑ์การวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ให้รถนั้นผ่านการตรวจสภาพ รถที่ตรวจสภาพแล้วไม่เป็นไปตามเกณฑ์การวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ให้รถนั้นไม่ผ่านการตรวจสภาพ ข้อ ๙ ในการตรวจสภาพรถ หากปรากฏว่าหมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถัง หรือหมายเลขโครงคัสซี หรือหมายเลขตัวรถ มีร่องรอยการแก้ไขขูดลบหรือลบเลือนจนไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ หรือมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญ สำหรับรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก หรือมีการเปลี่ยนแปลงสีของรถหรือเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถสำหรับรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ให้สถานตรวจสภาพรถระงับการตรวจสภาพรถนั้นเสีย ข้อ ๑๐[๖] รถที่ผ่านการตรวจสภาพให้ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถหรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจัดพิมพ์รายงานผลการตรวจสภาพรถจากระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก โดยให้สถานตรวจสภาพรถจัดเก็บเอกสารส่วนที่ ๑ และมอบเอกสารส่วนที่ ๒ ให้เจ้าของรถหรือผู้ที่นำรถเข้ารับการตรวจสภาพเก็บไว้เป็นหลักฐาน โดยให้รายงานผลการตรวจสภาพรถถือเป็นใบรับรองการตรวจสภาพรถและให้มีอายุ ๓ เดือน นับแต่วันที่ผ่านการตรวจสภาพรถ สำหรับกรณีไม่ผ่านการตรวจสภาพ ให้ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถแจ้งผลการตรวจสภาพรถและข้อบกพร่องของรถคันนั้นให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ที่นำรถเข้ารับการตรวจสภาพทราบ และให้จัดพิมพ์รายงานผลการตรวจสภาพรถจากระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก โดยให้สถานตรวจสภาพรถจัดเก็บเอกสารส่วนที่ ๑ และมอบเอกสารส่วนที่ ๒ ให้เจ้าของรถหรือผู้ที่นำรถเข้ารับการตรวจสภาพ สำหรับใช้เป็นหลักฐานในการนำรถมาเข้ารับการตรวจสภาพรถใหม่ ภายหลังที่ได้ทำการแก้ไขข้อบกพร่องนั้นแล้ว ข้อ ๑๑[๗] (ยกเลิก) ข้อ ๑๒[๘] (ยกเลิก) ข้อ ๑๓[๙] รถที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ เมื่อทำการแก้ไขข้อบกพร่องแล้ว และมาขอรับการตรวจสภาพรถใหม่ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) กรณีนำรถมาเข้ารับการตรวจสภาพใหม่ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพครั้งแรก ให้ตรวจสภาพเฉพาะรายการข้อบกพร่องที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่ารถนั้นมีข้อบกพร่องอื่นที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยในการใช้งาน แม้ในรายการนั้นจะได้ผ่านการตรวจสภาพไปแล้ว ก็ให้ตรวจสภาพรายการนั้นใหม่ด้วย (๒) กรณีนำรถมาเข้ารับการตรวจสภาพใหม่เกินกว่า ๑๕ วัน นับแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพรถครั้งแรก ให้ตรวจสภาพใหม่ทุกรายการ การตรวจสภาพรถตาม (๑) และ (๒) ให้ดำเนินการตามข้อ ๖ หมวด ๓ รายงานการตรวจสภาพรถ ข้อ ๑๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดทำรายงานการตรวจสภาพรถ และส่งให้นายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่สถานตรวจสภาพรถตั้งอยู่ภายในวันที่สิบของเดือนถัดไป พร้อมจัดทำสำเนารายงานดังกล่าวเก็บไว้ ณ สถานตรวจสภาพรถสำหรับให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี รายงานการตรวจสภาพรถตามวรรคหนึ่ง ต้องประทับตราประจำสถานตรวจสภาพรถไว้ที่ส่วนบนของรายงาน และลงลายมือชื่อผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับมอบอำนาจให้ทำการแทนผู้ได้รับใบอนุญาตให้ครบถ้วนถูกต้อง หมวด ๔ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๑๕ ในกรณีที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้การรับรองการตรวจสภาพรถ การบันทึกการตรวจสภาพรถ และการรายงานการตรวจสภาพรถ ต้องดำเนินการผ่านระบบสารสนเทศ ให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ข้อ ๑๖ กรณีที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดให้สถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตทำการตรวจสภาพรถนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๓ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสภาพตามประกาศนี้ด้วยโดยอนุโลม ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย. ๑) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย.๒) และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย. ๓) ๒. หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ สำหรับรถจักรยานยนต์ (รย. ๑๒) ๓. หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร และรถขนาดเล็ก ๔. หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ๕. ใบรับรองการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ๖. ใบรับรองการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ๗. บันทึกการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ๘. บันทึกการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ๙. รายงานการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ๑๐. รายงานการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑๐] ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ปุณิกา/จัดทำ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๑๐/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๒] ข้อ ๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๓] ข้อ ๕ (๓) ยกเลิกโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๔] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๕] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๖] ข้อ ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๗] ข้อ ๑๑ ยกเลิกโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๘] ข้อ ๑๒ ยกเลิกโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๙] ข้อ ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๖๗ ง/หน้า ๒๑/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙
771891
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียน พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียน พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] โดยที่ปัจจุบันอุบัติเหตุที่เกิดจากรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น และในแต่ละครั้งได้ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงทั้งแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งสาเหตุของอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากผู้ขับรถฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้น เพื่อให้สามารถควบคุม กำกับ ดูแลผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด สมควรกำหนดให้รถดังกล่าวต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๑) (ต) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และข้อ ๓ (๑๐) แห่งกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ รถดังต่อไปนี้ที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๙ ต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ซึ่งมีคุณลักษณะและระบบการทำงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้แล้วเสร็จตามเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีลักษณะเป็นรถตู้โดยสาร (๒) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๒ และ ๓ เว้นแต่รถที่มีการจัดวางที่นั่งเป็นลักษณะสองแถว (๓) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง เว้นแต่รถที่มีการจัดวางที่นั่งเป็นลักษณะสองแถว บรรดารถใดที่มีประกาศกรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถไว้แล้ว ให้การถือปฏิบัติเป็นไปตามประกาศดังกล่าวนั้น ข้อ ๒ รถตามประกาศนี้ต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่มีคุณลักษณะและระบบการทำงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้แล้วเสร็จตามเงื่อนเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) รถที่ยังมิได้ติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ หรือที่ได้ติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถไว้แล้ว แต่มิได้เป็นไปตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ และไม่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลตาม (๒) ได้ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียนสำหรับรถนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ (๒) รถที่ได้ติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถไว้แล้ว แต่มิได้เป็นไปตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ หากสามารถเชื่อมต่อข้อมูลความเร็วและตำแหน่งพิกัดบนโลกของรถเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System : GPS) ของกรมการขนส่งทางบก ก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียนสำหรับรถนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ หรือภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ให้สามารถใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถนั้นได้ต่อไป แต่ต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถให้เป็นไปตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้แล้วเสร็จก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียนสำหรับรถนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๒ ที่มีลักษณะเป็นรถตู้โดยสาร ที่ครบรอบต่ออายุทะเบียนในงวดเดือนมกราคม - มีนาคม ๒๕๖๐ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียนในงวดนี้ และสำหรับรถที่ครบรอบต่ออายุทะเบียนในงวดอื่น ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐[๒] ข้อ ๓ เมื่อครบกำหนดเงื่อนเวลาตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งสำหรับรถนั้น ต้องจัดให้มีการส่งข้อมูลให้แก่กรมการขนส่งทางบกตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๙ วริญา/เพิ่มเติม ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๙ ง/หน้า ๙/๑๓ มกราคม ๒๕๕๙ [๒] ข้อ ๒ วรรคสอง เพิ่มโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๑๕/๑๒ มกราคม ๒๕๖๐
777750
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดวางที่นั่งรถตู้โดยสารสาธารณะตามมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดวางที่นั่งรถตู้โดยสารสาธารณะ ตามมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อเป็นการดำเนินการตามมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ สมควรกำหนดการจัดวางที่นั่งสำหรับรถตู้โดยสารให้มีทางออกไปยังประตูฉุกเฉินเมื่อมีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุอาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ (๒) และ (๓) ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๕/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐ และข้อ ๑ (๒) (ก) และ (ฎ) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บรรดาระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในประกาศนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “รถ” หมายความว่า รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร มาตรฐาน ๒ (จ) ที่มีลักษณะเป็นรถตู้โดยสารในประเภทการขนส่งประจำทางและไม่ประจำทาง ข้อ ๓ การจัดวางที่นั่งผู้โดยสารของรถที่จดทะเบียนใหม่ ให้จัดวางได้ไม่เกิน ๑๓ ที่นั่งโดยที่นั่งแถวหลังสุดต้องมีช่องทางเดิน ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร เพื่อให้ผู้โดยสารใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ ข้อ ๔[๑] รถที่มีการจัดวางที่นั่งไม่เกิน ๕ แถว (ตอน) ที่จดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ที่มีที่นั่งผู้โดยสารเกิน ๑๓ ที่นั่ง ให้จัดวางที่นั่งผู้โดยสารได้ไม่เกิน ๑๓ ที่นั่ง โดยต้องจัดวางที่นั่งให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ (๑) กรณีที่นั่งแถวหลังสุดเป็นที่นั่งคู่ ให้ถอดที่นั่งคู่ด้านซ้ายออก โดยจะนำที่นั่งเดี่ยวมาติดด้านซ้ายสุดอีก ๑ ที่นั่ง หรือไม่ก็ได้ แต่ต้องมีช่องทางเดิน ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร เพื่อให้ผู้โดยสารใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ (๒) กรณีที่นั่งแถวหลังสุดเป็นที่นั่งไม่เกิน ๓ ที่นั่ง หรือที่นั่งเกินกว่า ๓ ที่นั่ง ให้ปรับปรุงการจัดวางที่นั่งแถวหลังสุดให้มีช่องทางเดิน ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร เพื่อให้ผู้โดยสารใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ รถตามวรรคหนึ่งที่ไม่มีที่เปิดประตูด้านท้ายจากภายในตัวรถ และประตูด้านท้ายมีส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจก ให้ติดตั้งค้อนทุบกระจกเพิ่มเติมในบริเวณใกล้บานกระจกด้านท้าย ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและนำมาใช้งานได้โดยสะดวก เพื่อให้ผู้โดยสารใช้ทุบกระจกและออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุด้วย ในกรณีที่รถมีการจัดวางที่นั่งผู้โดยสารไม่เกิน ๑๓ ที่นั่งอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ โดยที่นั่งแถวหลังสุดเป็นที่นั่ง ๓ ที่นั่ง แต่ไม่มีช่องทางเดินเพื่อให้ผู้โดยสารใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ จะปรับปรุงการจัดวางที่นั่งแถวหลังสุดให้มีช่องทางเดินเช่นเดียวกับรถตามวรรคหนึ่ง หรือในกรณีประตูด้านท้ายของรถดังกล่าวมีส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจก จะปรับปรุงที่นั่งตัวกลางหรือตัวหนึ่งตัวใดแถวหลังสุดให้พนักพิงเบาะหลังเป็นแบบพับไปข้างหน้าหรือปรับเอนไปข้างหลังให้สามารถใช้เป็นทางออกได้ และให้ติดตั้งค้อนทุบกระจกเพิ่มเติมใกล้บานกระจกด้านท้ายในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและนำมาใช้งานได้โดยสะดวก เพื่อให้ผู้โดยสารใช้ทุบกระจกและออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุก็ได้ ข้อ ๔/๑[๒] รถที่มีการจัดวางที่นั่งมากกว่า ๕ แถว (ตอน) ต้องจัดวางที่นั่งให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ (๑) กรณีที่นั่งแถวหลังสุดเป็นที่นั่งคู่ ให้ถอดที่นั่งคู่ด้านซ้ายออก โดยจะนำที่นั่งเดี่ยวมาติดด้านซ้ายสุดอีก ๑ ที่นั่ง หรือไม่ก็ได้ แต่ต้องมีช่องทางเดิน ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร เพื่อให้ผู้โดยสารใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ (๒) กรณีที่นั่งแถวหลังสุดเป็นที่นั่งไม่เกิน ๓ ที่นั่ง หรือที่นั่งเกินกว่า ๓ ที่นั่ง ให้ปรับปรุงการจัดวางที่นั่งแถวหลังสุดให้มีช่องทางเดิน ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร เพื่อให้ผู้โดยสารใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ รถตามวรรคหนึ่งที่ไม่มีที่เปิดประตูด้านท้ายจากภายในตัวรถ และประตูด้านท้ายมีส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจก ให้ติดตั้งค้อนทุบกระจกเพิ่มเติมในบริเวณใกล้บานกระจกด้านท้าย ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและนำมาใช้งานได้โดยสะดวก เพื่อให้ผู้โดยสารใช้ทุบกระจกและออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุด้วย ข้อ ๕ ภายใต้บังคับข้อ ๓ และข้อ ๔ รถที่มีประตูทางขึ้นลงที่ด้านซ้ายและด้านขวาของห้องผู้โดยสาร และผู้โดยสารสามารถเปิดประตูเพื่อออกจากรถได้ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ให้ถือว่าประตูทางขึ้นลงที่ด้านขวาเป็นประตูที่ใช้เป็นทางออกฉุกเฉิน โดยจะมีช่องทางเดินเพื่อให้ผู้โดยสารใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ก็ได้ ข้อ ๖ การจัดวางที่นั่งให้เป็นไปตามประกาศนี้ ที่นั่งต้องติดตรึงกับตัวรถอย่างมั่นคงแข็งแรงและมีความปลอดภัยในการใช้งาน ข้อ ๗ ประตูที่ใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้ายของรถ ต้องมีข้อความว่า “ทางออกฉุกเฉิน” เป็นตัวอักษรภาษาไทยสีแดงสะท้อนแสงมีความสูงไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร ติดอยู่เหนือบริเวณที่เปิดปิดประตู หรือบริเวณขอบประตูด้านบนทางออกฉุกเฉินให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ข้อ ๘ การจัดวางที่นั่งอาจจัดวางที่นั่งตามตัวอย่างแนบท้ายประกาศนี้ หรือจะจัดวางที่นั่งแตกต่างไปจากตัวอย่างแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ต้องมีช่องทางเดินตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๓ หรือข้อ ๔ ข้อ ๙ รถที่ดำเนินการตามข้อ ๔ หรือข้อ ๕ แล้ว ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพและแก้ไขรายการทางทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา ที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ ภายในกำหนดระยะเวลาดังนี้ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๒ และ ๓ ภายในวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๐ (๒) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๑ และ ๔ ภายในวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ (๓) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง ภายในวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ ข้อ ๑๐[๓] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตัวอย่างการจัดวางที่นั่งแนบท้ายประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดวางที่นั่งรถตู้โดยสารสาธารณะตามมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดวางที่นั่งรถตู้โดยสารสาธารณะตามมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๔] ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พิมพ์มาดา/จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดวางที่นั่งรถตู้โดยสารสาธารณะตามมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒] ข้อ ๔/๑ เพิ่มโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดวางที่นั่งรถตู้โดยสารสาธารณะตามมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๒๒/๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๙/๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
784701
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทรถและวงเงินที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถ ต้องจัดทำประกันภัยเพิ่มเติมจากกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทรถและวงเงินที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถ ต้องจัดทำประกันภัยเพิ่มเติมจากกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้โดยสารและบุคคลภายนอกที่ประสบภัยอันเนื่องมาจากการใช้รถใช้ถนนโดยเฉพาะการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะให้ได้รับการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๕/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประเภทรถดังต่อไปนี้ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถต้องจัดทำประกันภัยเพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ (๑) รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ก) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๒ และ ๓ ยกเว้นรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๓ ที่มีการจัดวางที่นั่งเป็นลักษณะสองแถว (ข) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง (๒) รถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ก) รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (รถแท็กซี่) (ข) รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (รถสามล้อ) สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง ลักษณะ ๔ (รถที่บรรทุกผู้โดยสารเกินเจ็ดคน แต่ไม่เกินเก้าคน เพื่อบริการรับจ้างไปยังจุดต่าง ๆ ในบริเวณเขตเทศบาล เขตเมือง หรือเขตชุมชน ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการขนส่ง โดยการเหมาเป็นรายเที่ยว หรือรายบุคคล) หรือรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (รถสามล้อ) ที่จดทะเบียนในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร จะจัดทำประกันภัยตามข้อ ๒ (๒) หรือ (๔) หรือไม่ก็ได้[๑] ข้อ ๒ วงเงินความคุ้มครองการจัดทำประกันภัยเพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ของรถตามข้อ ๑ ให้เป็นดังนี้ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๒ และ ๓ (ก) ความเสียหายต่อชีวิตหรือร่างกายของผู้โดยสารและบุคคลภายนอกในวงเงินไม่ต่ำกว่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายต่อคนในแต่ละครั้ง (ข) ความเสียหายต่อทรัพย์สินในวงเงินไม่ต่ำกว่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายในแต่ละครั้ง (๒) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง (ก) ความเสียหายต่อชีวิตหรือร่างกายของผู้โดยสารและบุคคลภายนอกในวงเงินไม่ต่ำกว่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายต่อคนในแต่ละครั้ง (ข) ความเสียหายต่อทรัพย์สินในวงเงินไม่ต่ำกว่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายในแต่ละครั้ง (๓) รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (รถแท็กซี่) (ก) ความเสียหายต่อชีวิตหรือร่างกายของผู้โดยสารและบุคคลภายนอกในวงเงินไม่ต่ำกว่า ๕๐,๐๐๐ บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายต่อคนในแต่ละครั้ง (ข) ความเสียหายต่อทรัพย์สินในวงเงินไม่ต่ำกว่า ๒๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายในแต่ละครั้ง (๔) รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (รถสามล้อ) (ก) ความเสียหายต่อชีวิตหรือร่างกายของผู้โดยสารและบุคคลภายนอกในวงเงินไม่ต่ำกว่า ๒๕,๐๐๐ บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายต่อคนในแต่ละครั้ง (ข) ความเสียหายต่อทรัพย์สินในวงเงินไม่ต่ำกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายในแต่ละครั้ง ข้อ ๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถต้องจัดทำประกันภัยเพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑ และ ๒ ในการเสียภาษีรถประจำปีครั้งถัดไปหลังจากประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ สัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย ต้องมีระยะเวลาความคุ้มครองอย่างน้อยตลอดอายุภาษีรถ ข้อ ๔ ในการจดทะเบียนรถ หรือเสียภาษีรถประจำปี ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถต้องแสดงหลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ พร้อมหลักฐานการจัดให้มีประกันภัยเพิ่มเติมตามประกาศนี้ต่อนายทะเบียนด้วย ข้อ ๕[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทรถและวงเงินที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถต้องจัดทำประกันภัยเพิ่มเติมจากกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๐ ปุณิกา/เพิ่มเติม ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๔ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ข้อ ๑ วรรคสอง เพิ่มโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทรถและวงเงินที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถต้องจัดทำประกันภัยเพิ่มเติมจากกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๒๗/๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๔๓ ง/หน้า ๓๓/๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐
804659
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถในส่วนของที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. 2559 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถ ในส่วนของที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความใน (ฎ) และวรรคสองของข้อ ๑ (๒) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และ (ณ) ของข้อ ๑ (๒) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ที่นั่ง” หมายความว่า ที่นั่งผู้โดยสารที่จัดวางที่นั่งตามความกว้างของรถ ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างของที่นั่ง วัสดุของที่นั่งและพนักพิงหลัง “จุดยึดที่นั่ง” หมายความว่า ส่วนของพื้นรถหรือตัวถังรถที่ใช้ติดตั้งที่นั่ง รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ยึดที่นั่งกับส่วนของพื้นรถหรือตัวถังรถ “จุดยึดเข็มขัดนิรภัย” หมายความว่า ส่วนของที่นั่งหรือตัวถังรถ หรือส่วนใดของรถที่ใช้ติดตั้งเข็มขัดนิรภัย “ผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ผลิต ประกอบ นำเข้า หรือจำหน่าย ที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง หรือจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ข้อ ๒ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับรถ ดังต่อไปนี้ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๑ และหมวด ๔ เว้นแต่รถนั้นมีลักษณะเป็นรถตู้โดยสาร (๒) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารทุกประเภทการขนส่งที่มีที่นั่งเป็นลักษณะรถสองแถว ข้อ ๓ ที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ที่ติดตั้งในรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ต้องผ่านการทดสอบตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวกท้ายประกาศดังนี้ (๑) ที่นั่ง ต้องผ่านการทดสอบตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๑ หรือภาคผนวก ๓ (๒) จุดยึดที่นั่ง ต้องผ่านการทดสอบตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๒ หรือภาคผนวก ๓ (๓) จุดยึดเข็มขัดนิรภัย ต้องผ่านการทดสอบตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๔ ข้อ ๔ ที่นั่ง และจุดยึดที่นั่ง ที่ได้รับมาตรฐานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าผ่านการทดสอบตามประกาศนี้ (๑) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และพนักพิงของยานยนต์ ตามมาตรฐานเลขที่ มอก. ๘๙๖ - ๒๕๔๙ โดยต้องแนบใบอนุญาตหรือหนังสือที่แสดงว่าได้รับมาตรฐานดังกล่าว (๒) ข้อกำหนดสหประชาชาติที่ ๘๐ ว่าด้วยที่นั่งและความแข็งแรงของที่นั่งและจุดยึดที่นั่งของรถโดยสารขนาดใหญ่ อนุกรมที่ ๐๒ (United Nation Regulation ๘๐.๐๒) Seats Of Large Passenger Vehicles And Of These Vehicles With Regard To The Strength Of The Seats And Their Anchorages ขึ้นไป โดยต้องแนบหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบของหน่วยงานทดสอบที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์ และเงื่อนไขสำหรับยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (๓) ข้อกำหนดสหประชาชาติที่ ๑๗ ว่าด้วยความแข็งแรงของที่นั่ง จุดยึดที่นั่งและพนักพิงศีรษะของรถยนต์ อนุกรมที่ ๐๗ (United Nation Regulation ๑๗.๐๗) The Seats, Their Anchorages And Any Head Restraints ขึ้นไป โดยต้องแนบหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบของหน่วยงานทดสอบที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบ ที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ข้อ ๕ จุดยึดเข็มขัดนิรภัยที่ได้รับมาตรฐานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าผ่านการทดสอบตามประกาศนี้ (๑) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จุดยึดเข็มขัดนิรภัยระบบยึดแบบไอโซฟิก และจุดยึดไอโซฟิกทอปเทเทอร์ ตามมาตรฐานเลขที่ มอก. ๑๔๖๗ - ๒๕๕๐ โดยต้องแนบใบอนุญาตหรือหนังสือที่แสดงว่าได้รับมาตรฐานดังกล่าว (๒) ข้อกำหนดสหประชาชาติที่ ๑๔ ว่าด้วยจุดยึดเข็มขัดนิรภัย อนุกรมที่ ๐๖ (United Nation Regulation ๑๔.๐๖) Safety - belt Anchorages, ISOFIX Anchorages Systems And ISOFIX Top Tether Anchorages ขึ้นไป โดยต้องแนบหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบของหน่วยงานทดสอบที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ข้อ ๖ ผู้ใดประสงค์จะขอรับความเห็นชอบที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ให้ยื่นเป็นหนังสือต่อสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยเอกสารตามภาคผนวก ๕ หรือภาคผนวก ๖ ท้ายประกาศนี้ และเอกสารตามข้อ ๔ และข้อ ๕ แล้วแต่กรณี โดยต้องยื่นขอรับความเห็นชอบที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ในคราวเดียวกัน เว้นแต่กรณีจุดยึดเข็มขัดนิรภัยถูกออกแบบให้ติดตั้งกับโครงสร้างรถจะแยกยื่นเฉพาะจุดยึดเข็มขัดนิรภัยก็ได้ การขอรับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ต้องนำส่งต้นแบบหรือตัวอย่างที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง หรือจุดยึดเข็มขัดนิรภัยให้กรมการขนส่งทางบกทำการทดสอบ แล้วแต่กรณี เว้นแต่ที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยนั้นได้รับมาตรฐานตามข้อ ๔ หรือข้อ ๕ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำต้นแบบหรือตัวอย่างที่นั่ง จุดยึดที่นั่งหรือจุดยึดเข็มขัดนิรภัย มาทำการทดสอบ ข้อ ๗ การพิจารณาให้ความเห็นชอบที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ข้อ ๓ ข้อ ๔ หรือข้อ ๕ แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ ที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ที่ผลิตตามแบบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก และไม่มีความแตกต่างในสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยนั้นได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกแล้ว (๑) ที่นั่ง (ก) โครงสร้าง รูปร่าง ขนาดและส่วนประกอบวัสดุของที่นั่งและพนักพิงหลัง (ข) แบบและขนาดของระบบล็อกและระบบปรับตำแหน่งพนักพิงหลัง (๒) จุดยึดที่นั่ง (ก) โครงสร้าง รูปร่าง ขนาดและวัสดุของจุดยึดที่นั่ง (ข) ขนาด รูปร่าง และวัสดุของส่วนประกอบโครงสร้างรถสำหรับยึดที่นั่ง (๓) จุดยึดเข็มขัดนิรภัย (ก) ขนาด รูปร่าง และวัสดุของจุดยึดเข็มขัดนิรภัย (ข) ขนาด รูปร่าง และวัสดุของส่วนประกอบโครงสร้างรถหรือที่นั่งสำหรับยึดเข็มขัดนิรภัย ข้อ ๙ ผู้ผลิตที่ผลิตหรือสร้างประกอบที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง หรือจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ (๑) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตตามมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ ขึ้นไป ด้านการผลิตหรือสร้างประกอบที่นั่ง จุดยึดที่นั่งและจุดยึดเข็มขัดนิรภัย หรือด้านการผลิตหรือสร้างประกอบรถ (๒) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์ และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (๓) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการรับรองระบบงาน กระทรวงอุตสาหกรรม (National Accreditation Council (NAC)) ด้านการผลิตหรือสร้างประกอบที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัย (๔) เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนอย่างถูกต้อง และมีอาคารสถานที่ บุคลากร และคู่มือในการปฏิบัติงานดังนี้ (ก) อาคารสถานที่ที่มีขนาดเหมาะสม มีความมั่นคงแข็งแรง (ข) ผู้ควบคุมงานประจำโรงงานที่มีคุณวุฒิตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป สาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมอุตสาหการ หรือวิศวกรรมการเชื่อม หรือผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานด้านการผลิตที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัย รถโดยสารไม่น้อยกว่า ๕ ปี (ค) คู่มือในการปฏิบัติงานที่แสดงขั้นตอนและรายละเอียดของการผลิตหรือการสร้างประกอบที่นั่ง จุดยึดที่นั่งและจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ผู้ผลิตที่มีคุณสมบัติตาม (๔) ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้ผลิตจากกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๑๐ ที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ต้องมีหนังสือรับรองการติดตั้งว่าเป็นไปตามแบบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกซึ่งออกโดยผู้ผลิต ยกเว้นที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยที่เป็นไปตามข้อ ๔ และข้อ ๕ หรือรถที่ผลิตตามแบบรถต้นแบบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๑๑ ผู้ผลิตที่จะยกเลิกการผลิตที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยที่เป็นแบบรุ่นที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ให้แจ้งเป็นหนังสือให้กรมการขนส่งทางบกทราบ ข้อ ๑๒ ผู้ผลิตต้องอำนวยความสะดวกให้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายในการเข้าทำการตรวจสอบกระบวนการผลิตหรือการทดสอบ ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศนี้ ณ โรงงานผลิต โรงงานสร้างประกอบ หรือสถานที่ทำการทดสอบ ข้อ ๑๓ ที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยที่ผ่านการทดสอบตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๓ ให้แสดงเครื่องหมายบ่งชี้ถึงชื่อผู้ลิตและแบบรุ่นของที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ยกเว้นที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยที่เป็นไปตามข้อ ๔ และข้อ ๕ หรือรถที่ผลิตตามแบบรถต้นแบบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๑๔ ผู้ผลิตที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ และต้องผลิต ประกอบและติดตั้งที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง หรือจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ให้เป็นไปตามแบบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่ง ทางบก หากผู้ผลิตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ หรือผลิต ประกอบและติดตั้งที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง หรือจุดยึดเข็มขัดนิรภัยไม่เป็นไปตามแบบที่ได้รับความเห็นชอบ กรมการขนส่งทางบกจะยกเลิกการให้ความเห็นชอบ ซึ่งจะทำให้ที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยนั้น ไม่สามารถนำมาติดตั้งบนรถเพื่อขอรับความเห็นชอบหรือจดทะเบียนรถได้ ข้อ ๑๕ การขอรับความเห็นชอบที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยตามประกาศนี้ ให้กระทำได้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๑๖[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถตามเงื่อนเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่จดทะเบียนใหม่ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป เว้นแต่รถนั้นมีการผลิต ประกอบ นำเข้า ตามแบบรถที่ได้รับความเห็นชอบก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๒ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๓ เป็นต้นไป (๒) รถที่เปลี่ยนตัวถัง หรือรถที่แจ้งเลิกใช้ตามมาตรา ๗๙ ซึ่งมีการเปลี่ยนตัวถังและนำมาจดทะเบียนใหม่ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ภาคผนวก ๑ การทดสอบที่นั่งและจุดยึดที่นั่ง แบบสถิต (Static test) ๒. ภาคผนวก ๒ การทดสอบจุดยึดที่นั่ง ๓. ภาคผนวก ๓ การทดสอบที่นั่งและจุดยึดที่นั่งแบบพลวัต (Dynamic test) ๔. ภาคผนวก ๔ การทดสอบจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ๕. ภาคผนวก ๕ แบบแสดงข้อมูลที่นั่งและจุดยึดที่นั่ง ๖. ภาคผนวก ๖ แบบแสดงข้อมูลจุดยึดเข็มขัดนิรภัย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถในส่วนของที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] ปริยานุช/จัดทำ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ ชวัลพร/ตรวจ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ พรวิภา/เพิ่มเติม ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ ปริญสินีย์/ตรวจ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๗๘ ง/หน้า ๒๘/๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ [๒] ข้อ ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถในส่วนของที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๑๔/๒๖ มกราคม ๒๕๖๑
827017
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณสมบัติด้านการลุกไหม้ การลามไฟของวัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในรถโดยสาร พ.ศ. 2559 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณสมบัติด้านการลุกไหม้ การลามไฟของวัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในรถโดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ กำหนดให้วัสดุที่นำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งภายในของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ต้องมีคุณสมบัติในด้านการลุกไหม้ การลามไฟ ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ดังนั้น เพื่อให้วัสดุดังกล่าวมีคุณสมบัติในด้านการลุกไหม้ การลามไฟเป็นไปตามหลักวิศวกรรมยานยนต์ และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ซึ่งจะทำให้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมีความปลอดภัยในการขนส่งมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๔/๒ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (๑) “รถ M๒” หมายความว่า รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีที่นั่งมากกว่า ๘ ที่นั่ง ไม่รวมที่นั่งผู้ขับรถ โดยมีน้ำหนักรวมสูงสุดของรถไม่เกิน ๕,๐๐๐ กิโลกรัม (๒) “รถ M๓” หมายความว่า รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีที่นั่งมากกว่า ๘ ที่นั่ง ไม่รวมที่นั่งผู้ขับรถ โดยมีน้ำหนักรวมสูงสุดของรถเกิน ๕,๐๐๐ กิโลกรัม (๓) “วัสดุ” หมายความว่า สิ่งที่นำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบ หรือการตกแต่งภายในของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถ M๒ และ M๓ ที่เป็นรถปรับอากาศในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งส่วนบุคคล ข้อ ๓ การประกอบเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งภายในของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งต้องใช้วัสดุตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ได้แก่ การประกอบหรือการตกแต่งที่นั่ง ผ้าม่าน ผนัง ที่บุผนัง ที่ปูพื้นและพื้นรถ หมวด ๑ คุณสมบัติด้านการลุกไหม้ การลามไฟของวัสดุ ข้อ ๔ วัสดุที่นำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งภายในของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ต้องมีคุณสมบัติในด้านการลุกไหม้ การลามไฟ ตามมาตรฐานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) มาตรฐานตามข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ข้อกำหนดสหประชาชาติที่ ๑๑๘ ว่าด้วยมาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของวัสดุตกแต่งภายในรถโดยสาร อนุกรมที่ ๐๒ (United Nation Regulation ๑๑๘.๐๒ : The Burning Behaviour and/or The Capability to Repel Fuel or Lubricant of Materials Used in The Construction of Certain Categories of Motor Vehicles ; series ๐๒) ขึ้นไป (๒) มาตรฐานว่าด้วยการลามไฟของวัสดุภายในรถตามข้อกำหนด Federal Motor Vehicle Safety Standards ที่ ๓๐๒ (FMVSS ๓๐๒ : Flammability of Interior Materials) (๓) มาตรฐานว่าด้วยการลามไฟด้านข้างของวัสดุตามข้อกำหนด International Organization for Standardization ที่ ๕๖๕๘ - ๒ : ๒๐๐๖ (ISO ๕๖๕๘ - ๒ : ๒๐๐๖ : Reaction to fire tests - spread of flame - Part ๒ : Lateral spread on building and transport products in vertical configuration) (๔) มาตรฐานอื่น ๆ ที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับ ข้อ ๕ เพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งสามารถเลือกวัสดุที่จะนำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งภายในของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติการเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดวัสดุที่นำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งภายในของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก หมวด ๒ การขอรับความเห็นชอบวัสดุ ข้อ ๖ ผู้ผลิตรถ ผู้สร้างประกอบรถ ผู้นำเข้ารถ ผู้ประกอบการขนส่ง เจ้าของรถ ผู้ผลิตวัสดุผู้จำหน่ายวัสดุหรือผู้นำเข้าวัสดุที่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบวัสดุ ให้ยื่นขอรับความเห็นชอบ ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารทั่วไป (ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามในกรณีเป็นนิติบุคคล (ข) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (๒) เอกสารทางเทคนิค (ก) แบบแสดงข้อมูลรายละเอียดของวัสดุตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๑ (ข) หนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบวัสดุอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ ๗ หรือข้อ ๘ แล้วแต่กรณี (ค) หลักฐานการรับรองระบบคุณภาพการผลิตตามมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ ขึ้นไปหรือหลักฐานการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ หรือหลักฐานการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการรับรองระบบงาน กระทรวงอุตสาหกรรม (National Accreditation Council (NAC)) ด้านการผลิตวัสดุหรือการสร้างประกอบรถของผู้ผลิตวัสดุหรือของผู้ผลิตรถทั้งคัน ข้อ ๗ หนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบวัสดุที่นำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งภายในของรถ M๒ ต้องออกโดยหน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใด ดังนี้ (๑) หนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบจากหน่วยงานทดสอบที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ข้อกำหนดสหประชาชาติที่ ๑๑๘ ว่าด้วยมาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของวัสดุตกแต่งภายในรถโดยสาร อนุกรมที่ ๐๒ (United Nation Regulation ๑๑๘.๐๒ : The Burning Behaviour and/or The Capability to Repel Fuel or Lubricant of Materials Used in The Construction of Certain Categories of Motor Vehicles ; series ๐๒) ขึ้นไป (๒) หนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบตามข้อกำหนด Federal Motor Vehicle Safety Standards ที่ ๓๐๒ ว่าด้วยมาตรฐานการลามไฟของวัสดุภายในรถ (FMVSS ๓๐๒ : Flammability of Interior Materials) จากหน่วยงานทดสอบที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC ๑๗๐๒๕ : ๒๐๐๕ หรือ มอก. ๑๗๐๒๕ - ๒๕๔๘ ขึ้นไป ว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (General requirements for the competence of testing and calibration laboratories) (๓) หนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบตามข้อกำหนด International Organization for Standardization ที่ ๕๖๕๘ - ๒ : ๒๐๐๖ ว่าด้วยมาตรฐานการลามไฟด้านข้างของวัสดุ (ISO ๕๖๕๘ - ๒ : ๒๐๐๖ : Reaction to fire tests - spread of flame - Part ๒ : Lateral spread on building and transport products in vertical configuration) จากหน่วยงานทดสอบที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC ๑๗๐๒๕ : ๒๐๐๕ หรือ มอก. ๑๗๐๒๕ - ๒๕๔๘ ขึ้นไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (General requirements for the competence of testing and calibration laboratories) (๔) หนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบคุณสมบัติของวัสดุตามมาตรฐานในข้อ ๔ ของหน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับให้ทำการทดสอบวัสดุหน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใดดังนี้ (ก) หน่วยงานทดสอบที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC ๑๗๐๒๕ : ๒๐๐๕ หรือ มอก. ๑๗๐๒๕ - ๒๕๔๘ ขึ้นไป ว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (General requirements for the competence of testing and calibration laboratories) (ข) สถาบันการศึกษา หรือสถาบันหรือหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐที่มีห้องปฏิบัติการทดสอบด้านการลามไฟของวัสดุ ข้อ ๘ หนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบวัสดุที่นำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งภายในของรถ M๓ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ (๑) กรณีเป็นวัสดุที่ใช้ในการประกอบหรือการตกแต่งที่นั่งที่ติดตั้งตามแนวราบ ต้องมีหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบตามข้อ ๗ (๑) (๒) หรือ (๔) และกรณีเป็นวัสดุที่ใช้ในการประกอบหรือการตกแต่งที่นั่งที่ติดตั้งตามแนวดิ่ง ต้องมีหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบตามข้อ ๗ (๑) (๓) หรือ (๔) (๒) กรณีเป็นวัสดุที่ใช้ในการประกอบหรือการตกแต่งผ้าม่าน ผนัง หรือที่บุผนัง ต้องมีหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบตามข้อ ๗ (๑) (๓) หรือ (๔) (๓) กรณีเป็นวัสดุที่ใช้ในการประกอบหรือการตกแต่งที่ปูพื้นหรือพื้นรถ ต้องมีหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบตามข้อ ๗ (๑) (๒) หรือ (๔) ข้อ ๙ การขอยกเลิกการได้รับความเห็นชอบวัสดุ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้กรมการขนส่งทางบกทราบ ข้อ ๑๐ ผู้ขอรับความเห็นชอบและผู้ได้รับความเห็นชอบวัสดุ ต้องอำนวยความสะดวกให้แก่อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายเข้าทำการตรวจสอบกระบวนการผลิตวัสดุ ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศนี้ ณ โรงงานผลิตวัสดุหรือโรงงานสร้างประกอบรถ หมวด ๓ การทดสอบวัสดุและเกณฑ์การผ่านการทดสอบ ข้อ ๑๑ การทดสอบวัสดุ เกณฑ์การผ่านการทดสอบ อุปกรณ์และเครื่องมือทดสอบต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแต่ละมาตรฐานตามข้อ ๔ หรือเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๒ หรือภาคผนวก ๓ ข้อ ๑๒ หน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับให้ทำการทดสอบวัสดุ ต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการทดสอบวัสดุด้วย ข้อ ๑๓ ผู้ขอรับความเห็นชอบวัสดุ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการนำวัสดุไปทำการทดสอบตามมาตรฐานต่าง ๆ ณ หน่วยงานทดสอบ หมวด ๔ การผลิตวัสดุ ข้อ ๑๔ วัสดุที่นำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งภายในของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งผลิตตามต้นแบบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก และไม่มีความแตกต่างในสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าวัสดุนั้นได้รับความเห็นชอบวัสดุจากกรมการขนส่งทางบกแล้ว (๑) ชนิด รุ่น แบบ และผู้ผลิต (๒) พื้นที่ บริเวณ ที่นำวัสดุไปประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือตกแต่งภายในรถ (๓) ชนิดหรือประเภทของวัสดุพื้นฐานที่สำคัญ เช่น หนัง ขนสัตว์ พลาสติก ยาง (๔) จำนวนชั้นของวัสดุในกรณีที่ประกอบด้วยวัสดุหลายอย่าง (Composite material) (๕) คุณสมบัติอื่น ๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของวัสดุ ข้อ ๑๕ ผู้ผลิตวัสดุหรือผู้ผลิตรถทั้งคัน ต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ (๑) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตตามมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ ขึ้นไปด้านการผลิตวัสดุหรือการผลิตรถทั้งคัน (๒) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์ และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (๓) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการรับรองระบบงาน กระทรวงอุตสาหกรรม (National Accreditation Council (NAC)) ด้านการผลิตวัสดุหรือการสร้างประกอบรถ ข้อ ๑๖ กรณีหากตรวจพบว่าวัสดุที่ใช้ในการประกอบหรือการตกแต่งภายในของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ กรมการขนส่งทางบกจะไม่ให้ความเห็นชอบรถหรือจะไม่ให้ผ่านการตรวจสภาพรถ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๗ การขอรับความเห็นชอบวัสดุตามประกาศนี้ ให้กระทำได้เมื่อพ้นกำหนด ๑ ปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๑๘[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถที่จดทะเบียนใหม่ รถที่มีการเปลี่ยนตัวถัง รถที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่ซึ่งมีการเปลี่ยนตัวถัง และรถที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งรถ ซึ่งต้องใช้วัสดุตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป ข้อ ๑๙ กรณีรถจดทะเบียนใหม่ รถที่มีการเปลี่ยนตัวถัง และรถที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่ซึ่งมีการเปลี่ยนตัวถัง ให้ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถแนบหนังสือให้ความเห็นชอบวัสดุที่กรมการขนส่งทางบกออกให้แก่ผู้ได้รับความเห็นชอบวัสดุ และหนังสือรับรองจากผู้ผลิตรถหรือผู้สร้างประกอบรถ ซึ่งรับรองว่าวัสดุที่นำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือตกแต่งภายในรถเป็นวัสดุที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกแล้ว ประกอบการขอรับความเห็นชอบรถหรือการตรวจสภาพรถด้วย แล้วแต่กรณี กรณีรถจดทะเบียนใหม่เป็นรถสำเร็จรูปนำเข้าทั้งคัน ให้ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถแนบหนังสือให้ความเห็นชอบวัสดุที่กรมการขนส่งทางบกออกให้แก่ผู้ได้รับความเห็นชอบวัสดุ และหนังสือรับรองจากผู้นำเข้าหรือผู้แทนจำหน่ายรถ ซึ่งรับรองว่าวัสดุที่นำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือตกแต่งภายในรถ เป็นวัสดุที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกแล้ว ประกอบการขอรับความเห็นชอบรถหรือการตรวจสภาพรถด้วย แล้วแต่กรณี ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองไม่ใช้บังคับกับรถที่ได้รับความเห็นชอบเป็นแบบรถ ข้อ ๒๐ กรณีรถที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งรถซึ่งต้องใช้วัสดุตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถแนบหนังสือให้ความเห็นชอบวัสดุที่กรมการขนส่งทางบกออกให้แก่ผู้ได้รับความเห็นชอบวัสดุ และหนังสือรับรองจากผู้ประกอบเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือผู้ตกแต่งรถ ซึ่งรับรองว่าวัสดุที่นำมาใช้ในการประกอบเป็นเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือตกแต่งภายในรถ เป็นวัสดุที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกแล้ว ประกอบการขอรับความเห็นชอบรถหรือการตรวจสภาพรถด้วย แล้วแต่กรณี ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ภาคผนวก ๑ แบบแสดงข้อมูลรายละเอียดของวัสดุ ๒. ภาคผนวก ๒ การทดสอบการลามไฟของวัสดุในแนวราบ ๓. ภาคผนวก ๓ การทดสอบการลามไฟของวัสดุในแนวดิ่ง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณสมบัติด้านการลุกไหม้ การลามไฟของวัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในรถโดยสาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๓] ปริยานุช/จัดทำ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ พรวิภา/เพิ่มเติม ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๖๕ ง/หน้า ๗/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๒] ข้อ ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณสมบัติด้านการลุกไหม้ การลามไฟของวัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในรถโดยสาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๖๖ ง/หน้า ๑๗/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๑
851571
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. 2559 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบ แบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] เพื่อให้ตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมีความมั่นคงแข็งแรงและมีความปลอดภัยในการใช้งานถูกต้องตามหลักวิศวกรรมและมาตรฐานสากล อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๒) และข้อ ๑๐ (๒) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (๑) “รถ” หมายความว่า รถที่มีความสูงตั้งแต่ ๓.๖๐ เมตรขึ้นไป หรือโครงสร้างตัวถังรถที่จะนำไปประกอบเป็นรถที่มีความสูงตั้งแต่ ๓.๖๐ เมตรขึ้นไป ซึ่งจะนำไปใช้เป็นรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (๒) “ผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ผลิต ประกอบ นำเข้า หรือจำหน่ายรถ (๓) “หน่วยงานทดสอบ” หมายความว่า กรมการขนส่งทางบกหรือหน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับผลการทดสอบรถ หมวด ๑ การขอรับความเห็นชอบแบบตัวถังรถ ข้อ ๒ ผู้ผลิตใดประสงค์จะขอรับความเห็นชอบแบบตัวถังรถ ให้ยื่นขอรับความเห็นชอบ ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านหรือใบสำคัญแสดงถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามในกรณีเป็นนิติบุคคล (๒) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (๓) รายละเอียดของโครงสร้างตัวถังรถตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๑ และเอกสารอื่นจำนวนอย่างละ ๓ ชุด ดังนี้ (๓.๑) กรณีรถที่ผลิตหรือสร้างประกอบภายในประเทศ (ก) รายการของชิ้นส่วนที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างตัวถังรถ (ข) ภาพวาด (Drawing) แบบตัวถังรถทั้งคันโดยละเอียด (ค) ภาพวาด (Drawing) โครงสร้างตัวถังรถทั้งคันโดยละเอียด (ง) ภาพวาด (Drawing) แสดงเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ ที่นั่งที่ติดตั้งกับโครงสร้างตัวถังรถ และตำแหน่งการติดตั้ง (จ) ภาพวาด (Drawing) แสดงลักษณะและเทคนิควิธีการเชื่อม การต่อ การติดตั้งหรือการประกอบชิ้นส่วนโครงสร้างตัวถังรถ และเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ โดยละเอียด (ฉ) น้ำหนักรวมสูงสุดของรถ (Gross Vehicle Weight (GVW)) ที่ใช้แบบโครงสร้าง ตัวถังรถที่ยื่นขอรับความเห็นชอบ (ช) ขนาดและตำแหน่งของน้ำหนักจำลองที่ติดตั้งเพื่อใช้ทำการทดสอบโครงสร้างตัวถังรถ (ซ) หนังสือรับรองของวิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล หรือวิศวกรรมโยธา ประเภทสามัญวิศวกรขึ้นไป ผู้ออกแบบ คำนวณโครงสร้างตัวถังรถและการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และสำเนาใบอนุญาตของวิศวกรนั้น เอกสารหลักฐานตาม (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) และ (ช) ทุกฉบับ ต้องมีการลงนามรับรองความถูกต้องโดยวิศวกรผู้ออกแบบ คำนวณโครงสร้างตัวถังรถและการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบตาม (ซ) (๓.๒) กรณีรถสำเร็จรูปนำเข้าทั้งคัน (ก) เอกสารตาม (๓.๑) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) และ (ช) ซึ่งมีการลงนามรับรองความถูกต้องโดยผู้ผลิตที่ยื่นขอรับความเห็นชอบ (ข) หนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบของหน่วยงานทดสอบที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ตามข้อกำหนดสหประชาชาติ ที่ ๖๖ ว่าด้วยความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังรถขนาดใหญ่ อนุกรมที่ ๐๐ (United Nation Regulation ๖๖.๐๐ : Approval of Large Passenger Vehicles With Regard To The Strength of Their Superstructure ; series ๐๐) ขึ้นไป หรือหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังรถขนาดใหญ่ของหน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับ ข้อ ๓ การขอรับความเห็นชอบแบบตัวถังรถ ผู้ผลิตต้องนำรถมาทำการทดสอบตามสถานที่ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด เว้นแต่มีหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบตาม (ข) ของข้อ ๒ (๓.๒) ให้ได้รับการยกเว้นการทดสอบ ข้อ ๔ หน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับผลการทดสอบรถ ต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการทดสอบรถด้วย ข้อ ๕ รถที่จะนำมาทำการทดสอบ ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ (๑) รถโดยสารสำเร็จรูปทั้งคันที่มีการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด (๒) โครงสร้างตัวถังรถโดยสารทั้งคัน (Body work) แบ่งออกเป็น (๒.๑) โครงสร้างตัวถังรถโดยสารทั้งคันสมบูรณ์ที่มีการตกแต่งและติดตั้งอุปกรณ์พื้นฐาน (๒.๒) โครงสร้างตัวถังรถโดยสารทั้งคันที่ยังไม่มีการตกแต่งและติดตั้งอุปกรณ์พื้นฐาน (๓) โครงสร้างตัวถังรถโดยสารบางส่วน (Body section) แบ่งออกเป็น (๓.๑) โครงสร้างตัวถังรถโดยสารบางส่วนสมบูรณ์ที่มีการตกแต่งและติดตั้งอุปกรณ์พื้นฐาน (๓.๒) โครงสร้างตัวถังรถโดยสารบางส่วนที่ยังไม่มีการตกแต่งและติดตั้งอุปกรณ์พื้นฐานรายละเอียดของรถและอุปกรณ์พื้นฐานที่จะนำมาทดสอบให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๒ หมวด ๒ การทดสอบรถและการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถ ข้อ ๖ อุปกรณ์และพื้นที่ใช้ในการทดสอบรถ ต้องมีคุณสมบัติและคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๓ ข้อ ๗ การทดสอบรถจะดำเนินการโดยกรมการขนส่งทางบก หรือหน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับผลการทดสอบก็ได้ ข้อ ๘ การทดสอบรถและเกณฑ์การผ่านการทดสอบ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๔ ข้อ ๙ ผู้ผลิตที่ยื่นขอรับความเห็นชอบแบบตัวถังรถต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการนำรถมาทำการทดสอบ การเตรียมก่อนการทดสอบ และการนำรถที่ทดสอบแล้วกลับคืน ภายในวันที่ทำการทดสอบเสร็จสิ้น กรมการขนส่งทางบกจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดกับรถหรือเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบที่นำมาทำการทดสอบ ข้อ ๑๐ รถที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบตามข้อ ๘ หรือมีหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบตาม (ข) ของข้อ ๒ (๓.๒) และผู้ผลิตได้ปฏิบัติครบถ้วนถูกต้องตามประกาศนี้ กรมการขนส่งทางบกจะให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถนั้น หมวด ๓ การผลิตหรือสร้างประกอบรถ ข้อ ๑๑ รถที่ผลิตหรือสร้างประกอบตามแบบตัวถังรถที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกตามข้อ ๑๐ หรือตามแบบตัวถังรถมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบก และไม่มีความแตกต่างกับแบบตัวถังรถดังกล่าวในสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ให้ถือว่ารถนั้นได้รับความเห็นชอบแบบตัวถังรถจากกรมการขนส่งทางบกแล้ว (๑) รูปแบบและขนาดของรถ ตัวถังรถ เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบที่ประกอบเป็นรถ (๒) คุณลักษณะและคุณสมบัติของเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบที่ประกอบเป็นรถ รวมถึงน้ำหนักของเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ (๓) เทคนิควิธีการเชื่อม การต่อ การติดตั้ง หรือการประกอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถ (๔) น้ำหนักรวมสูงสุดของรถ (Gross Vehicle Weight (GVW)) ไม่เกินน้ำหนักรวมสูงสุดตามแบบตัวถังรถที่ได้รับความเห็นชอบ รถตามวรรคหนึ่ง ต้องมีหนังสือรับรองการผลิตว่าเป็นไปตามแบบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ซึ่งออกโดยผู้ผลิต และสำหรับรถที่ผลิตหรือสร้างประกอบภายในประเทศต้องมีสำเนาหนังสือให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถ และหนังสือรับรองของวิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโยธา หรือวิศวกรรมอุตสาหการประเภทสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือประเภทภาคีวิศวกรพิเศษด้านงานพิจารณาตรวจสอบหรืองานควบคุมการสร้างหรือการผลิต ผู้ควบคุมการผลิตหรือสร้างประกอบตัวถังรถซึ่งรับรองว่ารถนั้นมีความมั่นคงแข็งแรงและมีรายละเอียดเป็นไปตามแบบตัวถังรถที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก พร้อมสำเนาใบอนุญาตของวิศวกรนั้น เป็นการเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวให้ใช้ประกอบการยื่นดำเนินการทางทะเบียนหรือใช้ประกอบการขอความเห็นชอบรถ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ รถตามข้อ ๑๑ ต้องมีเครื่องหมายการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถที่บ่งชี้ชื่อผู้ผลิตและแบบหรือรุ่นของตัวถังรถตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๕ หรือเครื่องหมายที่เป็นไปตามความตกลง ว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์ และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ตามข้อกำหนดสหประชาชาติที่ ๖๖ ว่าด้วยความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังรถขนาดใหญ่ อนุกรมที่ ๐๐ (United Nation Regulation ๖๖.๐๐ : Approval of Large Passenger Vehicles With Regard To The Strength of Their Superstructure ; series ๐๐) ขึ้นไป โดยให้ติดไว้ที่ตัวถังรถในตำแหน่งที่มองเห็นได้ง่าย สะดวกแก่การตรวจสอบ ข้อ ๑๓ ผู้ผลิตที่ผลิตหรือสร้างประกอบรถภายในประเทศต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ (๑) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตตามมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ ขึ้นไป ด้านการผลิตหรือสร้างประกอบรถ (๒) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์ และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (๓) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการรับรองระบบงาน กระทรวงอุตสาหกรรม (National Accreditation Council (NAC)) ด้านการผลิตหรือสร้างประกอบรถ (๔) เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนอย่างถูกต้อง และมีอาคารสถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ บุคลากร และคู่มือในการปฏิบัติงาน ดังนี้ (๔.๑) อาคารสถานที่ที่มีขนาดเหมาะสม มีความมั่นคงแข็งแรง (๔.๒) เครื่องมืออุปกรณ์ในการผลิตหรือสร้างประกอบรถอย่างน้อย ดังนี้ (ก) แท่นรองรับการประกอบ (Jig) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบโครงสร้างหลักที่ส่งผลโดยตรงกับความมั่นคงแข็งแรงของตัวถังรถ (ข) อุปกรณ์ตรวจสอบรอยเชื่อม การแตกร้าวของรอยเชื่อม เช่น สเปรย์พ่นทดสอบ เครื่องเอ็กซเรย์ (X-rays) เครื่องอัลตร้าโซนิก (Ultra Sonic) (ค) อุปกรณ์การวัดขนาดและชั่งน้ำหนัก (๔.๓) ช่างผู้ปฏิบัติงานที่ผ่านการฝึกอบรมด้านงานเชื่อมหรืองานโลหะ จำนวนไม่น้อยกว่า ๒ คน ที่ได้รับวุฒิบัตรหรือประกาศนียบัตรจากองค์การหรือสถาบัน ดังต่อไปนี้ (ก) องค์การที่ได้รับมาตรฐานองค์การระหว่างประเทศ (International Organization for Standardization (ISO)) (ข) สถาบันอาชีวศึกษา (ค) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (ง) สมาคมการเชื่อมโลหะแห่งประเทศไทย (จ) ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด (ฉ) สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนด้านวิชาช่างเชื่อม (ช) สถาบันหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับ (๔.๔) ผู้ควบคุมงานประจำ โรงงานที่มีคุณวุฒิตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป สาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมอุตสาหการ หรือวิศวกรรมการเชื่อม หรือผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานด้านการสร้างประกอบตัวถังรถโดยสารไม่น้อยกว่า ๕ ปี (๔.๕) คู่มือในการปฏิบัติงานที่แสดงขั้นตอนและรายละเอียดของการผลิตหรือสร้างประกอบรถ ผู้ผลิตที่มีคุณสมบัติตาม (๔) ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้ผลิตจากกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๑๔ ผู้ผลิตที่ผลิตหรือสร้างประกอบรถสำเร็จรูปนำเข้าทั้งคัน ต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ (๑) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตตามมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ ขึ้นไปด้านการผลิตหรือสร้างประกอบรถทั้งคัน (๒) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์ และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ข้อ ๑๕ ตัวถังรถต้องผลิตหรือสร้างประกอบโดยผู้ผลิตที่ได้รับความเห็นชอบแบบตัวถังรถจากกรมการขนส่งทางบก ผู้ผลิตที่ได้รับความเห็นชอบแบบตัวถังรถจากกรมการขนส่งทางบกอาจยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ผู้ผลิตที่มีคุณสมบัติตามข้อ ๑๓ (๔) ผลิตหรือสร้างประกอบตัวถังรถตามแบบตัวถังรถที่ตนได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกได้ ผู้ผลิตที่ได้รับความยินยอมจากผู้ผลิตตามวรรคสอง ต้องผลิตหรือสร้างประกอบตัวถังรถให้เป็นไปตามแบบตัวถังรถที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก มิฉะนั้นกรมการขนส่งทางบกจะทำการยกเลิกการขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้ผลิตจากกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๑๖ ผู้ผลิตที่ประสงค์จะเลิกการผลิตหรือสร้างประกอบรถตามแบบตัวถังรถที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ให้แจ้งเป็นหนังสือให้กรมการขนส่งทางบกทราบ ข้อ ๑๗ ผู้ผลิตต้องอำนวยความสะดวกให้แก่อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายเข้าทำการตรวจสอบกระบวนการผลิตหรือการทดสอบ ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศนี้ ณ โรงงานผลิต โรงงานสร้างประกอบหรือสถานที่ทำการทดสอบ ข้อ ๑๘ ผู้ผลิตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนี้และต้องผลิตหรือสร้างประกอบตัวถังรถให้เป็นไปตามแบบตัวถังรถที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกหากผู้ผลิตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ หรือผลิตหรือสร้างประกอบตัวถังรถไม่เป็นไปตามแบบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบกจะไม่ให้ความเห็นชอบรถและจะไม่รับจดทะเบียนรถที่ผลิตหรือสร้างประกอบจากผู้ผลิตนั้น ข้อ ๑๙ การขอรับความเห็นชอบแบบตัวถังรถตามประกาศนี้ ให้กระทำได้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒๐[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่จดทะเบียนใหม่ รถที่มีการเปลี่ยนตัวถัง และรถที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่ซึ่งมีการเปลี่ยนตัวถัง โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ภาคผนวก ๑ รายละเอียดของโครงสร้างตัวถังรถ ๒. ภาคผนวก ๒ รายละเอียดของรถและอุปกรณ์พื้นฐานที่จะนำมาทดสอบ ๓. ภาคผนวก ๓ คุณสมบัติและคุณลักษณะของอุปกรณ์และพื้นที่ใช้ในการทดสอบ ๔. ภาคผนวก ๔ การทดสอบรถและเกณฑ์การผ่านการทดสอบ ๕. ภาคผนวก ๕ เครื่องหมายการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๓] ชญานิศ/จัดทำ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๑/๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๙ [๒] ข้อ ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๓๑ ง/หน้า ๙/๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๑
860074
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2559 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่กฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่นำไปใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายต้องจัดให้มีเอกสารการขนส่งและต้องมีเอกสารดังกล่าวอยู่ในรถตลอดการขนส่ง เพื่อให้การขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน เป็นไปตามความตกลงระหว่างประเทศด้านการขนส่งสินค้าอันตรายที่ประเทศไทยเป็นภาคี ได้แก่ กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Inter - State Transport) และความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Cross - Border Transport Agreement) ซึ่งสอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (European Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road (ADR)) อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๓) ของกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง” หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งไม่ประจำทางหรือการขนส่งส่วนบุคคล ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่นำไปใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ทั้งการขนส่งภายในประเทศและระหว่างประเทศ “วัตถุอันตราย” หมายถึง วัตถุอันตรายตามประเภทที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ ๔ “ตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย” หมายถึง รายชื่อวัตถุอันตราย ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง รายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ “บรรจุภัณฑ์ที่ใช้กอบกู้” หมายถึง บรรจุภัณฑ์พิเศษที่นำไปใช้บรรจุหีบห่อของวัตถุอันตรายที่ชำรุดบกพร่อง หรือมีการรั่วไหล หรือบรรจุวัตถุอันตรายที่หกหรือรั่วไหล เพื่อใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายไปกำจัดทิ้ง ข้อ ๒ เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีขณะทำการขนส่งวัตถุอันตรายมี ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารกำกับการขนส่ง หรือเอกสารอื่นที่ให้ข้อมูลรายละเอียดของวัตถุอันตรายที่ขนส่งครบถ้วนตามประกาศนี้ (๒) เอกสารข้อแนะนำเป็นลายลักษณ์อักษรที่แสดงข้อปฏิบัติในกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน ลักษณะความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายแต่ละประเภทและข้อปฏิบัติเบื้องต้น และรายการอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นหรือที่ใช้สำหรับป้องกันอันตรายเมื่อมีอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น (๓) หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ทั้งนี้ เฉพาะกรณีการใช้รถตามข้อ ๗ เว้นแต่กรณีการขนส่งในลักษณะหรือปริมาณที่อาจก่อให้เกิดอันตรายน้อยตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ข้อยกเว้นสำหรับการขนส่งวัตถุอันตรายในลักษณะหรือปริมาณที่อาจก่อให้เกิดอันตรายน้อย พ.ศ. ๒๕๕๙ ให้ได้รับยกเว้น (๔) หนังสือรับรองผ่านการอบรมหลักสูตรการขับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายของผู้ขับรถ (๕) เอกสารระบุตัวตนของผู้ขับรถที่ทางราชการออกให้ ข้อ ๓ ในการขนส่งวัตถุอันตรายภายในประเทศ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดทำเอกสารการขนส่งเป็นภาษาไทย เว้นแต่เป็นรายละเอียดข้อมูลจำเพาะที่ต้องระบุเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ภาษาอังกฤษแทนได้ ทั้งนี้ หากเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ ต้องจัดทำเอกสารการขนส่งเป็นภาษาอังกฤษด้วย โดยจะจัดทำเพิ่มเติมเป็นอีกหนึ่งฉบับ หรือจะจัดทำเป็นสองภาษาในฉบับเดียวกันก็ได้ ข้อ ๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีเอกสารกำกับการขนส่งหรือเอกสารอื่นที่ให้ข้อมูลรายละเอียดของวัตถุอันตรายที่ขนส่งไว้ประจำรถ ซึ่งมีรายละเอียดและการแสดงข้อมูลของวัตถุอันตรายที่ขนส่ง ดังต่อไปนี้ (๑) รายละเอียดข้อมูล (ก) หมายเลขสหประชาชาติของวัตถุอันตราย (UN Number) โดยมีตัวอักษรภาษาอังกฤษคำว่า “UN” นำหน้า (ข) ชื่อที่ถูกต้องในการขนส่งของวัตถุอันตราย และในกรณีวัตถุอันตรายนั้นมีข้อกำหนดพิเศษหมายเลข ๒๗๔ ปรากฏในคอลัมน์ (๖) ของตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ให้ใส่ชื่อทางเทคนิคหรือชื่อทางเคมีด้วย (ค) หมายเลขรูปแบบฉลากหรือป้ายของวัตถุอันตรายที่เป็นความเสี่ยงหลัก และความเสี่ยงรองในวงเล็บ (ถ้ามี) ตามที่ปรากฏในคอลัมน์ (๕) ของตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ง) กลุ่มการบรรจุของวัตถุอันตราย (ถ้ามี) ตามที่ปรากฏในคอลัมน์ (๔) ของตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (จ) รหัสการขับรถผ่านอุโมงค์ (กรณีเส้นทางที่ใช้ทำการขนส่งมีการขับรถผ่านอุโมงค์) (ฉ) ชนิดและจำนวนของภาชนะบรรจุ (ช) ปริมาณรวมของวัตถุอันตรายแต่ละหมายเลขสหประชาชาติ (เป็นปริมาตรหรือน้ำหนักรวมหรือน้ำหนักสุทธิ แล้วแต่กรณี) (ซ) ชื่อและที่อยู่ของผู้ส่ง (ฌ) ชื่อและที่อยู่ของผู้รับ (๒) การแสดงข้อมูลตาม (๑) ให้เรียงตามลำดับข้อ เว้นแต่ (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ให้สลับตำแหน่งกันได้ (๓) การขนส่งของเสียอันตราย ให้เพิ่มคำว่า “ของเสีย” (WASTE) ระหว่างหมายเลขสหประชาชาติกับชื่อที่ถูกต้องในการขนส่งของวัตถุอันตราย (๔) ภาชนะบรรจุที่ผ่านการใช้งานหรือถ่ายสารออกแล้ว แต่ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด ให้เพิ่มคำว่า “ภาชนะเปล่ายังไม่ได้ทำความสะอาด” (EMPTY UNCLEANED) หรือ “มีสารเดิมตกค้างอยู่” (RESIDUE LAST CONTAINED) ก่อนหมายเลขสหประชาชาติของวัตถุอันตราย หรือต่อท้ายรหัสการขับรถผ่านอุโมงค์ (๕) การขนส่งวัตถุอันตรายที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ให้เพิ่มคำว่า “อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม” (ENVIRONMENTALLY HAZARDOUS) ต่อท้ายรหัสการขับรถผ่านอุโมงค์ (๖) การใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้กอบกู้ ให้เพิ่มคำว่า “บรรจุภัณฑ์ที่ใช้กอบกู้” (SALVAGE PACKAGING) ต่อท้ายรหัสการขับรถผ่านอุโมงค์ (๗) การขนส่งของเหลวในแท็งก์ (แท็งก์ติดตรึงกับตัวรถหรือแท็งก์คอนเทนเนอร์) ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ๑๐๐ องศาเซลเซียส หรือของแข็งในแท็งก์ (แท็งก์ติดตรึงกับตัวรถหรือแท็งก์คอนเทนเนอร์) ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ๒๔๐ องศาเซลเซียส ให้เพิ่มคำว่า “อุณหภูมิสูง” (ELEVATED TEMPERATURE) หรือ “หลอมละลาย” (MOLTEN) หรือ “ร้อน” (HOT) ก่อนชื่อที่ถูกต้องในการขนส่งของวัตถุอันตรายหากไม่ปรากฏ คำดังกล่าวในชื่อที่ถูกต้องในการขนส่ง ตัวอย่างการแสดงข้อมูลวัตถุอันตรายในเอกสารกำกับการขนส่งตามข้อ ๔ ข้อย่อย (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) ข้อกำหนดพิเศษ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) UN 2924 UN 1193 UN 1098 UN 1133 UN 1203 UN 3257 FLAMMABLE LIQUID, CORROSIVE, N.O.S. (ethanol/acetic acid) WASTE FLAMMABLE LIQUID, N.O.S. (toluene and ethyl alcohol) ALLYL ALCOHOL ADHESIVES GASOLINE ELEVATED TEMPERATURE LIQUID, N.O.S. (Asphalt, oxidised) 3(8) 3 6.1(3) 3 3 9 II II I II II III (D/E) (D/E) (C/D) (D/E) (D/E) (D) EMPTY, UNCLEANED ENVIRONMENTALLY HAZARDOUS SALVAGE PACKAGING ภาชนะบรรจุที่ผ่านการใช้งานหรือถ่ายสารออกแล้วแต่ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด ต้องมีเอกสารกำกับการขนส่งตามวรรคหนึ่งไว้ประจำรถด้วย เอกสารกำกับการขนส่งให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศ หรือแบบอื่นที่มีข้อมูลและการแสดงข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ต้องเก็บสำเนาเอกสารกำกับการขนส่งไว้อย่างน้อย ๓ เดือน โดยหากจัดเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ ต้องสามารถพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารได้ทันทีเมื่อมีการเรียกตรวจจากเจ้าหน้าที่ ข้อ ๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ต้องจัดให้มีเอกสารข้อแนะนำเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ประจำรถ ซึ่งมีรายละเอียดตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศ ข้อ ๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ซึ่งใช้รถตามลักษณะดังต่อไปนี้ต้องแนบหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบรถ ตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด (๑) รถขนส่งของเหลวไวไฟที่มีจุดวาบไฟไม่เกินกว่า ๖๐ องศาเซลเซียส หรือขนส่งก๊าซไวไฟ (Flammable : FL) ดังนี้ (ก) รถที่ติดตั้งแท็งก์ติดตรึง รถที่ติดตั้งแท็งก์ยึดติดไม่ถาวร (Demountable Tanks) และรถที่ติดตั้งภาชนะบรรจุก๊าซแบบแบตเตอรี่ (Battery Vehicle) ที่มีความจุเกินกว่า ๑,๐๐๐ ลิตร (ข) รถที่บรรทุกแท็งก์คอนเทนเนอร์ รถที่บรรทุกแท็งก์ที่ยกและเคลื่อนย้ายได้ และรถที่บรรทุกภาชนะบรรจุก๊าซแบบกลุ่ม (Multiple Element Gas Container : MEGC) ที่มีความจุเกินกว่า ๓,๐๐๐ ลิตร (๒) รถขนส่งไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Oxidizing : OX) ซึ่งเป็นรถที่ขนส่งวัตถุอันตรายประเภทย่อยที่ ๕.๑ หมายเลขสหประชาชาติ ๒๐๑๕ ด้วยแท็งก์ติดตรึงกับตัวรถ หรือแท็งก์ที่ยึดติดไม่ถาวร ที่มีความจุเกินกว่า ๑,๐๐๐ ลิตร และรถที่บรรทุกแท็งก์คอนเทนเนอร์หรือรถที่บรรทุกแท็งก์ที่ยกและเคลื่อนย้ายได้ ที่มีความจุเกินกว่า ๓,๐๐๐ ลิตร (๓) รถขนส่งวัตถุอันตรายประเภทอื่น ๆ (AT) ซึ่งรถที่ใช้ในการขนส่งและภาชนะบรรจุเป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน (๑) และ (๒) (๔) รถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุระเบิดดังนี้ (ก) รถขนส่งวัตถุระเบิดที่มีความเป็นอันตรายสูง (EX/II) (ข) รถขนส่งวัตถุระเบิดที่มีความเป็นอันตรายสูงมาก (EX/III) (ค) รถที่ติดตั้งหน่วยผลิตวัตถุระเบิดเคลื่อนที่ (Mobile Explosive Manufacturing Unit : MEMU) หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบรถตามวรรคหนึ่งให้มีอายุไม่เกิน ๑ ปี นับแต่วันออกหนังสือรับรอง โดยให้ต่ออายุหนังสือรับรองได้ล่วงหน้าไม่เกิน ๑ เดือน หรือหลังจากหนังสือรับรองสิ้นอายุไม่เกิน ๑ เดือน ข้อ ๘ ผู้ขับรถต้องมีหนังสือรับรองผ่านการอบรมหลักสูตรการขับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายจากกรมการขนส่งทางบก ซึ่งตรงกับลักษณะรถหรือประเภทวัตถุอันตรายที่ทำการขนส่ง อยู่กับตัวตลอดเวลาที่ทำการขนส่ง ข้อ ๙ ผู้ขับรถต้องมีเอกสารระบุตัวตนที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ไว้อยู่กับตัวตลอดเวลาที่ทำการขนส่ง เช่น ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง และพร้อมแสดงเอกสารดังกล่าวเมื่อมีการเรียกตรวจจากเจ้าหน้าที่ ข้อ ๑๐ ผู้ขับรถต้องศึกษาและทำความเข้าใจในเอกสารข้อแนะนำเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องจัดเก็บเอกสารดังกล่าวไว้ในที่ที่สามารถนำมาใช้งานได้โดยสะดวก ข้อ ๑๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้ (๑) การจัดให้มีเอกสารกำกับการขนส่งตามข้อ ๔ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (๒)[๒] การจัดให้มีหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบรถตามข้อ ๗ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป (๓)[๓] การจัดให้มีหนังสือรับรองผ่านการอบรมหลักสูตรการขับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายตามข้อ ๘ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเอกสารกำกับการขนส่ง ๒. รายละเอียดของเอกสารข้อแนะนำเป็นลายลักษณ์อักษร ๓. หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่นำไปใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๔] ปุณิกา/เพิ่มเติม ๓๐ เมษายน ๒๕๖๒ นุสรา/ตรวจ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๐๙ ง/หน้า ๓๙/๑๙ กันยายน ๒๕๕๙ [๒] ข้อ ๑๑ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] ข้อ ๑๑ (๓) เพิ่มโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๘ ง/หน้า ๑๒/๑๘ กันยายม ๒๕๖๑
875984
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การขอรับหนังสือรับรองผ่านการอบรมการขับรถวัตถุอันตราย พ.ศ. 2562 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การขอรับหนังสือรับรองผ่านการอบรมการขับรถวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๖๒[๑] โดยที่กฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่นำไปใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ต้องไม่ให้หรือยินยอมให้บุคคลซึ่งไม่มีหนังสือรับรองผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนดปฏิบัติหน้าที่ขับรถ เพื่อให้การขนส่งวัตถุอันตรายทางถนนของผู้ประกอบการขนส่งทั้งในประเทศและระหว่างประเทศเป็นไปด้วยความปลอดภัย และเป็นไปตามความตกลงระหว่างประเทศด้านการขนส่งสินค้าอันตรายที่ประเทศไทยเป็นภาคี ได้แก่ กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Inter - State Transport) และความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Cross - Border Transport Agreement) ที่ประเทศไทยได้ทำไว้ ซึ่งสอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (European Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road (ADR)) อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๘) (ข) ของกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง” หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งไม่ประจำทางหรือการขนส่งส่วนบุคคล ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่นำไปใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ทั้งการขนส่งภายในประเทศและระหว่างประเทศ “วัตถุอันตราย” หมายถึง วัตถุอันตรายตามประเภทที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ “หนังสือรับรอง” หมายถึง หนังสือรับรองผ่านการอบรมการขับรถวัตถุอันตรายที่กรมการขนส่งทางบกออกให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ ที่ผ่านการอบรมและทดสอบตามหลักสูตรที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ข้อ ๒ การยื่นคำขอดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับหนังสือรับรองตามประกาศนี้ ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ ข้อ ๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ ที่ประสงค์จะขอรับหนังสือรับรอง ต้องเข้ารับการอบรมและผ่านการทดสอบตามหลักสูตรที่กำหนดตามข้อ ๔ โดยต้องได้คะแนนรวมตั้งแต่ร้อยละ ๖๕ ขึ้นไป จึงจะถือว่าผ่านการทดสอบ กรณีไม่ผ่านการทดสอบ ให้ทดสอบแก้ตัวได้อีกหนึ่งครั้งในวันนั้นหรือภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่ไม่ผ่านการทดสอบครั้งแรก หากไม่ผ่านการทดสอบอีก ต้องเข้ารับการอบรมในหลักสูตรนั้นใหม่ ข้อ ๔ หลักสูตรการอบรมการขับรถวัตถุอันตราย แบ่งออกเป็น ๔ หลักสูตร ได้แก่ (๑) หลักสูตรขั้นพื้นฐาน (๒) หลักสูตรพิเศษสำหรับการขนส่งวัตถุอันตรายในรูปแบบแท็งก์ (๓) หลักสูตรพิเศษสำหรับการขนส่งวัตถุอันตราย ประเภทที่ ๑ วัตถุระเบิด (๔) หลักสูตรพิเศษสำหรับการขนส่งวัตถุอันตราย ประเภทที่ ๗ วัสดุกัมมันตรังสี รายละเอียดของหลักสูตรตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดแนบท้ายประกาศ ข้อ ๕ ในกรณีกรมการขนส่งทางบกได้ยอมรับผลการอบรมของหน่วยงานใด หรือมอบหมายให้หน่วยงานใดทำการอบรมแทนกรมการขนส่งทางบก ให้ถือว่าผู้ขอรับหนังสือรับรองที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงานดังกล่าวผ่านการอบรมตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดแล้ว แต่ยังคงต้องเข้ารับการทดสอบความรู้กับกรมการขนส่งทางบกตามข้อ ๓ ข้อ ๖[๒] หนังสือรับรอง ให้เป็นไปตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด โดยให้มีอายุสามปี นับแต่วันออกหนังสือรับรอง แต่วันครบกำหนดอายุต้องไม่เกินวันสิ้นอายุของใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ ของผู้ขอรับหนังสือรับรอง ในระหว่างหนังสือรับรองยังไม่สิ้นอายุ หากผู้ได้รับหนังสือรับรองผ่านการการอบรมและทดสอบในหลักสูตรอื่นเพิ่มเติม ให้ออกหนังสือรับรองฉบับใหม่ตามหลักสูตรเดิมและหลักสูตรที่ผ่านการอบรมและทดสอบเพิ่มเติม โดยให้หนังสือรับรองมีอายุเท่ากับอายุหนังสือรับรองที่เหลืออยู่ แต่ทั้งนี้ หากผู้ได้รับหนังสือรับรองยื่นคำขอต่ออายุหนังสือรับรองภายในกำหนดระยะเวลาตามข้อ ๗ พร้อมกับยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ ให้หนังสือรับรองมีอายุเท่ากับอายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ ที่ต่ออายุแล้วนั้น ข้อ ๗ การขอต่ออายุหนังสือรับรอง ให้ยื่นคำขอต่ออายุล่วงหน้าภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันก่อนหนังสือรับรองสิ้นอายุ และต้องผ่านการอบรมและทดสอบตามข้อ ๓ ข้อ ๘ ในกรณีหนังสือรับรองสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือรับรอง พร้อมด้วยหลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวนหรือบันทึกถ้อยคำกรณีแจ้งการสูญหายต่อเจ้าหน้าที่ หรือหนังสือรับรองที่ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดดังกล่าว ใบแทนหนังสือรับรอง ให้มีอายุเท่ากับอายุหนังสือรับรองที่เหลืออยู่ ข้อ ๙[๓] ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ และใบอนุญาตนั้นยังไม่สิ้นอายุ หากมีหนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถวัตถุอันตรายในประเภทหนึ่งประเภทใดจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งและได้มีการดำเนินการยื่นขอรับหนังสือรับรองจนแล้วเสร็จก่อนวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ให้ผู้นั้นไม่ต้องผ่านการอบรมและทดสอบตามข้อ ๓ หนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งให้มีอายุเท่ากับอายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ ที่เหลืออยู่ของผู้ขอรับหนังสือรับรอง ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ พีระพล ถาวรสุภเจริญ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. หลักสูตรการอบรมการขับรถวัตถุอันตราย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การขอรับหนังสือรับรองผ่านการอบรมการขับรถวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๓[๔] พัชรภรณ์/พิเชฐ/จัดทำ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๒ วิวรรธน์/เพิ่มเติม ๓๑ มกราคม ๒๕๖๔ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๒๐๙ ง/หน้า ๗/๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๒ [๒] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การขอรับหนังสือรับรองผ่านการอบรมการขับรถวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๓ [๓] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การขอรับหนังสือรับรองผ่านการอบรมการขับรถวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๓ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๓๐๔ ง/หน้า ๗/๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๓
873935
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2563
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๖๓ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติมไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศดังกล่าวให้สอดคล้องกับแผนการยกระดับมาตรฐานรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย และให้เป็นไปตามแผนการจัดให้มีหน่วยงานที่ทำการอบรมและทดสอบหลักสูตรการขับรถวัตถุอันตราย รวมทั้งเพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งวัตถุอันตรายมีความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานการจัดให้มีหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายและหนังสือรับรองผ่านการอบรมหลักสูตรการขับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายของผู้ขับรถ ตลอดจนให้สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงในการขนส่งวัตถุอันตราย อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๓) ของกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ (๒) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ (๓) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ (๔) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ (๕) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง” หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งไม่ประจำทางหรือการขนส่งส่วนบุคคล ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่นําไปใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ทั้งการขนส่งภายในประเทศและระหว่างประเทศ “วัตถุอันตราย” หมายถึง วัตถุอันตรายตามประเภทที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ ๔ “ตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย” หมายถึง รายชื่อวัตถุอันตราย ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง รายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ “บรรจุภัณฑ์ที่ใช้กอบกู้” หมายถึง บรรจุภัณฑ์พิเศษที่นำไปใช้บรรจุหีบห่อของวัตถุอันตรายที่ชำรุด บกพร่อง หรือมีการรั่วไหล หรือบรรจุวัตถุอันตรายที่หกหรือรั่วไหล เพื่อใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายไปกำจัดทิ้ง ข้อ ๓ เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีขณะทำการขนส่งวัตถุอันตรายมี ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารกำกับการขนส่ง หรือเอกสารอื่นที่ให้ข้อมูลรายละเอียดของวัตถุอันตรายที่ขนส่งครบถ้วนตามประกาศนี้ (๒) เอกสารข้อแนะนำเป็นลายลักษณ์อักษรที่แสดงข้อปฏิบัติในกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน ลักษณะความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายแต่ละประเภทและข้อปฏิบัติเบื้องต้น และรายการอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่จําเป็นหรือที่ใช้สำหรับป้องกันอันตรายเมื่อมีอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น (๓) หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ทั้งนี้ เฉพาะกรณีการใช้รถตามข้อ ๘ เว้นแต่กรณีการขนส่งในลักษณะหรือปริมาณที่อาจก่อให้เกิดอันตรายน้อยตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ข้อยกเว้นสำหรับการขนส่งวัตถุอันตรายในลักษณะหรือปริมาณที่อาจก่อให้เกิดอันตรายน้อย พ.ศ. ๒๕๕๙ ให้ได้รับยกเว้น (๔) หนังสือรับรองผ่านการอบรมหลักสูตรการขับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายของผู้ขับรถ (๕) เอกสารระบุตัวตนของผู้ขับรถที่ทางราชการออกให้ ข้อ ๔ ในการขนส่งวัตถุอันตรายภายในประเทศ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดทำเอกสารการขนส่งเป็นภาษาไทย เว้นแต่เป็นรายละเอียดข้อมูลจำเพาะที่ต้องระบุเป็นภาษาอังกฤษ ให้ใช้ภาษาอังกฤษแทนได้ ทั้งนี้ หากเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ ต้องจัดทำเอกสารการขนส่งเป็นภาษาอังกฤษด้วย โดยจะจัดทำเพิ่มเติมเป็นอีกหนึ่งฉบับ หรือจะจัดทำเป็นสองภาษาในฉบับเดียวกันก็ได้ ข้อ ๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีเอกสารกำกับการขนส่ง หรือเอกสารอื่นที่ให้ข้อมูลรายละเอียดของวัตถุอันตรายที่ขนส่งไว้ประจำรถ ซึ่งมีรายละเอียดและการแสดงข้อมูลของวัตถุอันตรายที่ขนส่ง ดังต่อไปนี้ (๑) รายละเอียดข้อมูล (ก) หมายเลขสหประชาชาติของวัตถุอันตราย (UN Number) โดยมีตัวอักษรภาษาอังกฤษ คำว่า “UN” นำหน้า (ข) ชื่อที่ถูกต้องในการขนส่งของวัตถุอันตราย และในกรณีวัตถุอันตรายนั้นมีข้อกำหนดพิเศษหมายเลข ๒๗๔ ปรากฏในคอลัมน์ (๖) ของตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ให้ใส่ชื่อทางเทคนิคหรือชื่อทางเคมีด้วย (ค) หมายเลขรูปแบบฉลากหรือป้ายของวัตถุอันตรายที่เป็นความเสี่ยงหลัก และความเสี่ยงรองในวงเล็บ (ถ้ามี) ตามที่ปรากฏในคอลัมน์ (๕) ของตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ง) กลุ่มการบรรจุของวัตถุอันตราย (ถ้ามี) ตามที่ปรากฏในคอลัมน์ (๔) ของตารางบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (จ) รหัสการขับรถผ่านอุโมงค์ (กรณีเส้นทางที่ใช้ทำการขนส่งมีการขับรถผ่านอุโมงค์) (ฉ) ชนิดและจำนวนของภาชนะบรรจุ (ช) ปริมาณรวมของวัตถุอันตรายแต่ละหมายเลขสหประชาชาติ (เป็นปริมาตรหรือน้ำหนักรวมหรือน้ำหนักสุทธิ แล้วแต่กรณี) (ซ) ชื่อและที่อยู่ของผู้ส่ง (ฌ) ชื่อและที่อยู่ของผู้รับ (๒) การแสดงข้อมูลตาม (๑) ให้เรียงตามลำดับข้อ เว้นแต่ (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ให้สลับตำแหน่งกันได้ (๓) การขนส่งของเสียอันตราย ให้เพิ่มคำว่า "ของเสีย" (WASTE) ระหว่างหมายเลขสหประชาชาติกับชื่อที่ถูกต้องในการขนส่งของวัตถุอันตราย (๔) ภาชนะบรรจุที่ผ่านการใช้งานหรือถ่ายสารออกแล้ว แต่ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด ให้เพิ่มคำว่า “ภาชนะเปล่ายังไม่ได้ทำความสะอาด” (EMPTY UNCLEANED) หรือ “มีสารเดิมตกค้างอยู่” (RESIDUE LAST CONTAINED) ก่อนหมายเลขสหประชาชาติของวัตถุอันตราย หรือต่อท้ายรหัสการขับรถผ่านอุโมงค์ (๕) การขนส่งวัตถุอันตรายที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ให้เพิ่มคำว่า “อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม” (ENVIRONMENTALLY HAZARDOUS) ต่อท้ายรหัสการขับรถผ่านอุโมงค์ (๖) การใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้กอบกู้ ให้เพิ่มคำว่า “บรรจุภัณฑ์ที่ใช้กอบกู้” (SALVAGE PACKAGING) ต่อท้ายรหัสการขับรถผ่านอุโมงค์ (๗) การขนส่งของเหลวในแท็งก์ (แท็งก์ติดตรึงกับตัวรถหรือแท็งก์คอนเทนเนอร์) ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ๑๐๐ องศาเซลเซียส หรือของแข็งในแท็งก์ (แท็งก์ติดตรึงกับตัวรถหรือแท็งก์คอนเทนเนอร์) ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ๒๔๐ องศาเซลเซียส ให้เพิ่มคำว่า “อุณหภูมิสูง” (ELEVATED TEMPERATURE) หรือ “หลอมละลาย” (MOLTEN) หรือ “ร้อน” (HOT) ก่อนชื่อที่ถูกต้องในการขนส่งของวัตถุอันตราย หากไม่ปรากฏคำดังกล่าวในชื่อที่ถูกต้องในการขนส่ง ตัวอย่างการแสดงข้อมูลวัตถุอันตรายในเอกสารกำกับการขนส่งตามข้อ ๔ ข้อย่อย (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) ข้อกำหนดพิเศษ (๒) UN ๒๙๒๔ FLAMMABLE LIQUID, CORROSIVE, N.O.S. (ethanol/acetic acid) ๓(๘) II (D/E) (๓) UN ๑๑๙๓ WASTE FLAMMABLE LIQUID, N.O.S. (toluene and ethyl alcohol) ๓ II (D/E) (๔) UN ๑๐๙๘ ALLYL ALCOHOL ๖.๑(๓) I (C/D) EMPTY, UNCLEANED (๕) UN ๑๑๓๓ ADHESIVES ๓ II (D/E) ENVIRONMENTALLY HAZARDOUS (๖) UN ๑๒๐๓ GASOLINE ๓ II (D/E) SALVAGE PACKAGING (๗) UN ๓๒๕๗ ELEVATED TEMPERATURE LIQUID, N.O.S. (Asphalt, oxidised) ๙ III (D) ภาชนะบรรจุที่ผ่านการใช้งานหรือถ่ายสารออกแล้วแต่ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด ต้องมีเอกสารกำกับการขนส่งตามวรรคหนึ่งไว้ประจำรถด้วย เอกสารกำกับการขนส่งให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศ หรือแบบอื่นที่มีข้อมูลและการแสดงข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ต้องเก็บสำเนาเอกสารกำกับการขนส่งไว้อย่างน้อย ๓ เดือน โดยหากจัดเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ ต้องสามารถพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารได้ทันทีเมื่อมีการเรียกตรวจจากเจ้าหน้าที่ ข้อ ๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ต้องจัดให้มีเอกสารข้อแนะนำเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ประจำรถ ซึ่งมีรายละเอียดตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศ ข้อ ๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ซึ่งใช้รถขนส่งของเหลวไวไฟที่มีจุดวาบไฟไม่เกินกว่า ๖๐ องศาเซลเซียส หรือขนส่งก๊าซไวไฟ (Flammable : FL) ตามลักษณะดังต่อไปนี้ ต้องแนบหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบรถ ตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด (๑) รถที่ติดตั้งแท็งก์ติดตรึง รถที่ติดตั้งแท็งก์ยึดติดไม่ถาวร (Demountable Tanks) และรถที่ติดตั้งภาชนะบรรจุก๊าซแบบแบตเตอรี่ (Battery Vehicle) ที่มีความจุเกินกว่า ๑,๐๐๐ ลิตร (๒) รถที่บรรทุกแท็งก์คอนเทนเนอร์ รถที่บรรทุกแท็งก์ที่ยกและเคลื่อนย้ายได้ และรถที่บรรทุกภาชนะบรรจุก๊าซแบบกลุ่ม (Multiple Element Gas Container : MEGC) ที่มีความจุเกินกว่า ๓,๐๐๐ ลิตร หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบรถตามวรรคหนึ่งให้มีอายุไม่เกิน ๑ ปี นับแต่วันออกหนังสือรับรอง โดยให้ต่ออายุหนังสือรับรองได้ล่วงหน้าไม่เกิน ๑ เดือน หรือหลังจากหนังสือรับรองสิ้นอายุไม่เกิน ๑ เดือน ข้อ ๙ ผู้ขับรถต้องมีหนังสือรับรองผ่านการอบรมหลักสูตรการขับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายจากกรมการขนส่งทางบก ซึ่งตรงกับลักษณะรถหรือประเภทวัตถุอันตรายที่ทำการขนส่งอยู่กับตัวตลอดเวลาที่ทำการขนส่ง ข้อ ๑๐ ผู้ขับรถต้องมีเอกสารระบุตัวตนที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ไว้อยู่กับตัวตลอดเวลาที่ทำการขนส่ง เช่น ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง และพร้อมแสดงเอกสารดังกล่าวเมื่อมีการเรียกตรวจจากเจ้าหน้าที่ ข้อ ๑๑ ผู้ขับรถต้องศึกษาและทำความเข้าใจในเอกสารข้อแนะนำเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องจัดเก็บเอกสารดังกล่าวไว้ในที่ที่สามารถนำมาใช้งานได้โดยสะดวก ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) การจัดให้มีหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบรถตามข้อ ๘ ให้ใช้บังคับกับรถที่จดทะเบียนใหม่ซึ่งได้รับความเห็นชอบแบบตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เป็นต้นไป ทั้งนี้ ไม่ใช้บังคับกับรถที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งมีการเปลี่ยนตัวถังเป็นรถขนส่งของเหลวไวไฟที่มีจุดวาบไฟไม่เกินกว่า ๖๐ องศาเซลเซียส หรือขนส่งก๊าซไวไฟ (Flammable : FL) แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่ (๒) การจัดให้มีหนังสือรับรองผ่านการอบรมหลักสูตรการขับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายตามข้อ ๙ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป ข้อ ๑๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ จิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเอกสารกำกับการขนส่ง ๒. รายละเอียดของเอกสารข้อแนะนำเป็นลายลักษณ์อักษร ๓. หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่นำไปใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ธนบดี/จัดทำ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔ สุภาทิพย์/ตรวจ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๓๐๕ ง/หน้า ๓๒/๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๓
873933
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. 2563
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๖๓[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติมไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงเงื่อนไขการบังคับใช้ประกาศดังกล่าวให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบันเพื่อบรรเทาผลกระทบกับผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID - 19) แต่คงไว้ซึ่งการยกระดับมาตรฐานสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารต่อไป รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการผลิตหรือสร้างประกอบรถที่มีการพัฒนาขึ้น ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๒) และข้อ ๑๐ (๒) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ (๒) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ (๓) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (๑) “รถ” หมายความว่า รถที่มีความสูงตั้งแต่ ๓.๖๐ เมตรขึ้นไป หรือโครงสร้างตัวถังรถที่จะนำไปประกอบเป็นรถที่มีความสูงตั้งแต่ ๓.๖๐ เมตรขึ้นไป ซึ่งจะนำไปใช้เป็นรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๗ และรถที่กำหนดให้มีพื้นที่สำหรับผู้โดยสารยืนและมีการขึ้นลงของผู้โดยสารบ่อยครั้ง (City Bus) (๒) “ผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ผลิต ประกอบ นำเข้า หรือจำหน่ายรถ (๓) “หน่วยงานทดสอบ” หมายความว่า กรมการขนส่งทางบกหรือหน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับผลการทดสอบรถ หมวด ๑ การขอรับความเห็นชอบแบบตัวถังรถ ข้อ ๓ ผู้ผลิตใดประสงค์จะขอรับความเห็นชอบแบบตัวถังรถ ให้ยื่นขอรับความเห็นชอบ ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านหรือใบสำคัญแสดงถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามในกรณีเป็นนิติบุคคล (๒) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (๓) รายละเอียดของโครงสร้างตัวถังรถตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๑ และเอกสารอื่น จำนวนอย่างละ ๓ ชุด ดังนี้ (๓.๑) กรณีรถที่ผลิตหรือสร้างประกอบภายในประเทศ (ก) รายการของชิ้นส่วนที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างตัวถังรถ (ข) ภาพวาด (Drawing) แบบตัวถังรถทั้งคันโดยละเอียด (ค) ภาพวาด (Drawing) โครงสร้างตัวถังรถทั้งคันโดยละเอียด (ง) ภาพวาด (Drawing) แสดงเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ ที่นั่งที่ติดตั้งกับโครงสร้างตัวถังรถ และตำแหน่งการติดตั้ง (จ) ภาพวาด (Drawing) แสดงลักษณะและเทคนิควิธีการเชื่อม การต่อ การติดตั้ง หรือการประกอบชิ้นส่วนโครงสร้างตัวถังรถ และเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ โดยละเอียด (ฉ) น้ำหนักรวมสูงสุดของรถ (Gross Vehicle Weight (GVW)) ที่ใช้แบบโครงสร้าง ตัวถังรถที่ยื่นขอรับความเห็นชอบ (ช) ขนาดและตำแหน่งของน้ำหนักจำลองที่ติดตั้งเพื่อใช้ทำการทดสอบโครงสร้างตัวถังรถ (ซ) หนังสือรับรองของวิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล หรือวิศวกรรมโยธา ประเภทสามัญวิศวกรขึ้นไป ผู้ออกแบบ คำนวณโครงสร้างตัวถังรถและการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และสำเนาใบอนุญาตของวิศวกรนั้น เอกสารหลักฐานตาม (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) และ (ช) ทุกฉบับ ต้องมีการลงนามรับรองความถูกต้องโดยวิศวกรผู้ออกแบบ คำนวณโครงสร้างตัวถังรถและการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบตาม (ซ) (๓.๒) กรณีรถสำเร็จรูปนำเข้าทั้งคัน (ก) เอกสารตาม (๓.๑) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) และ (ช) ซึ่งมีการลงนามรับรองความถูกต้องโดยผู้ผลิตที่ยื่นขอรับความเห็นชอบ (ข) หนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบของหน่วยงานทดสอบที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. 1958 ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ตามข้อกำหนดสหประชาชาติที่ ๖๖ ว่าด้วยความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังรถขนาดใหญ่ อนุกรมที่ ๐๐ (United Nation Regulation ๖๖.๐๐ : Approval of Large Passenger Vehicles With Regard To The Strength of Their Superstructure ; series ๐๐) ขึ้นไป หรือหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังรถขนาดใหญ่ของหน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับ ข้อ ๔ การขอรับความเห็นชอบแบบตัวถังรถ ผู้ผลิตต้องนำรถมาทำการทดสอบตามสถานที่ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด เว้นแต่มีหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบตาม (ข) ของข้อ ๓ (๓.๒) ให้ได้รับการยกเว้นการทดสอบ ข้อ ๕ หน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับผลการทดสอบรถ ต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการทดสอบรถด้วย ข้อ ๖ รถที่จะนำมาทำการทดสอบ ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ (๑) รถโดยสารสำเร็จรูปทั้งคันที่มีการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด (๒) โครงสร้างตัวถังรถโดยสารทั้งคัน (Body work) แบ่งออกเป็น (๒.๑) โครงสร้างตัวถังรถโดยสารทั้งคันสมบูรณ์ที่มีการตกแต่งและติดตั้งอุปกรณ์พื้นฐาน (๒.๒) โครงสร้างตัวถังรถโดยสารทั้งคันที่ยังไม่มีการตกแต่งและติดตั้งอุปกรณ์พื้นฐาน (๓) โครงสร้างตัวถังรถโดยสารบางส่วน (Body section) แบ่งออกเป็น (๓.๑) โครงสร้างตัวถังรถโดยสารบางส่วนสมบูรณ์ที่มีการตกแต่งและติดตั้งอุปกรณ์พื้นฐาน (๓.๒) โครงสร้างตัวถังรถโดยสารบางส่วนที่ยังไม่มีการตกแต่งและติดตั้งอุปกรณ์พื้นฐาน รายละเอียดของรถและอุปกรณ์พื้นฐานที่จะนำมาทดสอบให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๒ หมวด ๒ การทดสอบรถและการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถ ข้อ ๗ อุปกรณ์และพื้นที่ใช้ในการทดสอบรถ ต้องมีคุณสมบัติและคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๓ ข้อ ๘ การทดสอบรถจะดำเนินการโดยกรมการขนส่งทางบก หรือหน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับผลการทดสอบก็ได้ ข้อ ๙ การทดสอบรถและเกณฑ์การผ่านการทดสอบ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๔ ข้อ ๑๐ ผู้ผลิตที่ยื่นขอรับความเห็นชอบแบบตัวถังรถต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการนำรถมาทำการทดสอบ การเตรียมก่อนการทดสอบ และการนำรถที่ทดสอบแล้วกลับคืน ภายในวันที่ทำการทดสอบเสร็จสิ้น กรมการขนส่งทางบกจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดกับรถหรือเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบที่นำมาทำการทดสอบ ข้อ ๑๑ รถที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบตามข้อ ๙ หรือมีหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบตาม (ข) ของข้อ ๓ (๓.๒) และผู้ผลิตได้ปฏิบัติครบถ้วนถูกต้องตามประกาศนี้ กรมการขนส่งทางบกจะให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถนั้น หมวด ๓ การผลิตหรือสร้างประกอบรถ ข้อ ๑๒ ตัวถังรถที่จะนำมาใช้ในการผลิตหรือสร้างประกอบเป็นรถ ต้องเป็นไปตามแบบตัวถังรถที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกตามข้อ ๑๑ หรือตามแบบตัวถังรถมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบก รถที่ผลิตหรือสร้างประกอบตามแบบตัวถังรถตามวรรคหนึ่งและไม่มีความแตกต่างกับแบบตัวถังรถในสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ให้ถือว่ารถนั้นได้รับความเห็นชอบแบบตัวถังรถจากกรมการขนส่งทางบกแล้ว (๑) ขนาดของโครงสร้างตัวถังรถ (๒) คุณลักษณะ คุณสมบัติ และขนาดของวัสดุที่ใช้ประกอบเป็นโครงสร้างตัวถังรถ (๓) เทคนิควิธีการเชื่อม การต่อ การติดตั้ง หรือการประกอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถ (๔) น้ำหนักรวมสูงสุดของรถ (Gross Vehicle Weight (GVW)) ไม่เกินน้ำหนักรวมสูงสุดตามแบบตัวถังรถที่ได้รับความเห็นชอบ รถตามวรรคสอง ต้องมีหนังสือรับรองการผลิตว่าเป็นไปตามแบบตัวถังรถที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกหรือตามแบบตัวถังรถมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งออกโดยผู้ผลิต และสำหรับรถที่ผลิตหรือสร้างประกอบภายในประเทศ ต้องมีสำเนาหนังสือให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถ และหนังสือรับรองของวิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโยธา หรือวิศวกรรมอุตสาหการ ประเภทสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือประเภทภาคีวิศวกรพิเศษด้านงานพิจารณาตรวจสอบหรืองานควบคุมการสร้างหรือการผลิต ผู้ควบคุมการผลิตหรือสร้างประกอบตัวถังรถซึ่งรับรองว่ารถนั้นมีความมั่นคงแข็งแรง และมีรายละเอียดเป็นไปตามแบบตัวถังรถที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก พร้อมสำเนาใบอนุญาตของวิศวกรนั้น เป็นการเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวให้ใช้ประกอบการยื่นดำเนินการทางทะเบียนหรือใช้ประกอบการขอความเห็นชอบรถ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ รถตามข้อ ๑๒ ต้องมีเครื่องหมายการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถที่บ่งชี้ชื่อผู้ผลิต และแบบหรือรุ่นของตัวถังรถตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๕ หรือเครื่องหมายที่เป็นไปตามความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์ และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. 1958 ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ตามข้อกำหนดสหประชาชาติที่ ๖๖ ว่าด้วยความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังรถขนาดใหญ่ อนุกรมที่ ๐๐ (United Nation Regulation ๖๖.๐๐ : Approval of Large Passenger Vehicles With Regard To The Strength of Their Superstructure ; series ๐๐) ขึ้นไป โดยให้ติดไว้ที่ตัวถังรถในตำแหน่งที่มองเห็นได้ง่าย สะดวกแก่การตรวจสอบ ข้อ ๑๔ ผู้ผลิตที่ผลิตหรือสร้างประกอบรถภายในประเทศต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ (๑) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตตามมาตรฐาน ISO 9001 : 2008 ขึ้นไป หรือระบบการจัดการคุณภาพยานยนต์ ISO/TS 16949 : 2009 ขึ้นไป หรือ IATF 16949 : 2016 ขึ้นไป ด้านการผลิตหรือสร้างประกอบรถ (๒) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์ และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. 19๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (๓) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการรับรองระบบงาน กระทรวงอุตสาหกรรม (National Accreditation Council (NAC)) ด้านการผลิตหรือสร้างประกอบรถ (๔) เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนอย่างถูกต้อง และมีอาคารสถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ บุคลากร และคู่มือในการปฏิบัติงาน ดังนี้ (๔.๑) อาคารสถานที่ที่มีขนาดเหมาะสม มีความมั่นคงแข็งแรง (๔.๒) เครื่องมืออุปกรณ์ในการผลิตหรือสร้างประกอบรถอย่างน้อย ดังนี้ (ก) แท่นรองรับการประกอบ (Jig) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบโครงสร้างหลักที่ส่งผลโดยตรงกับความมั่นคงแข็งแรงของตัวถังรถ (ข) อุปกรณ์ตรวจสอบรอยเชื่อม การแตกร้าวของรอยเชื่อม เช่น สเปรย์พ่นทดสอบ เครื่องเอ็กซเรย์ (X - rays) เครื่องอัลตร้าโซนิก (Ultra Sonic) (ค) อุปกรณ์การวัดขนาดและชั่งน้ำหนัก (๔.๓) ช่างผู้ปฏิบัติงานที่ผ่านการฝึกอบรมด้านงานเชื่อมหรืองานโลหะ จำนวนไม่น้อยกว่า ๒ คน ที่ได้รับวุฒิบัตรหรือประกาศนียบัตรจากองค์การหรือสถาบัน ดังต่อไปนี้ (ก) องค์การที่ได้รับมาตรฐานองค์การระหว่างประเทศ (International Organization for Standardization (ISO)) (ข) สถาบันอาชีวศึกษา (ค) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (ง) สมาคมการเชื่อมโลหะแห่งประเทศไทย (จ) ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด (ฉ) สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนด้านวิชาช่างเชื่อม (ช) สถาบันหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับ (๔.๔) ผู้ควบคุมงานประจำโรงงานที่มีคุณวุฒิตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป สาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมอุตสาหการ หรือวิศวกรรมการเชื่อม หรือผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานด้านการสร้างประกอบตัวถังรถโดยสารไม่น้อยกว่า ๕ ปี (๔.๕) คู่มือในการปฏิบัติงานที่แสดงขั้นตอนและรายละเอียดของการผลิตหรือสร้างประกอบรถ ผู้ผลิตที่มีคุณสมบัติตาม (๔) ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้ผลิตจากกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๑๕ ผู้ผลิตที่ผลิตหรือสร้างประกอบรถสำเร็จรูปนำเข้าทั้งคัน ต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ (๑) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตตามมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ ขึ้นไป หรือระบบการจัดการคุณภาพยานยนต์ ISO/TS ๑๖๙๔๙ : ๒๐๐๙ ขึ้นไป หรือ IATF ๑๖๙๔๙ : ๒๐๑๖ ขึ้นไป ด้านการผลิตหรือสร้างประกอบรถ (๒) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิตจากหน่วยงานตรวจประเมินระบบคุณภาพการผลิตที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการรับรองข้อกำหนดทางเทคนิคของยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์ และเงื่อนไขสำหรับการยอมรับร่วมกันของการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดทางเทคนิค ค.ศ. 19๕๘ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ข้อ ๑๖ ตัวถังรถต้องผลิตหรือสร้างประกอบโดยผู้ผลิตที่ได้รับความเห็นชอบแบบตัวถังรถจากกรมการขนส่งทางบก ผู้ผลิตที่ได้รับความเห็นชอบแบบตัวถังรถจากกรมการขนส่งทางบกอาจยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ผลิตที่มีคุณสมบัติตามข้อ ๑๔ (๔) ผลิตหรือสร้างประกอบตัวถังรถตามแบบตัวถังรถที่ตนได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกได้ ผู้ผลิตที่ได้รับความยินยอมจากผู้ผลิตตามวรรคสอง ต้องผลิตหรือสร้างประกอบตัวถังรถให้เป็นไปตามแบบตัวถังรถที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก มิฉะนั้นกรมการขนส่งทางบกจะทำการยกเลิกการขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้ผลิตจากกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๑๗ ผู้ผลิตที่ประสงค์จะเลิกการผลิตหรือสร้างประกอบรถตามแบบตัวถังรถที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ให้แจ้งเป็นหนังสือให้กรมการขนส่งทางบกทราบ ข้อ ๑๘ ผู้ผลิตต้องอำนวยความสะดวกให้แก่อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายเข้าทำการตรวจสอบกระบวนการผลิตหรือการทดสอบ ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศนี้ ณ โรงงานผลิต โรงงานสร้างประกอบหรือสถานที่ทำการทดสอบ ข้อ ๑๙ ผู้ผลิตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ และต้องผลิตหรือสร้างประกอบตัวถังรถให้เป็นไปตามแบบตัวถังรถที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก หากผู้ผลิตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ หรือผลิตหรือสร้างประกอบตัวถังรถไม่เป็นไปตามแบบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบกจะไม่ให้ความเห็นชอบรถและจะไม่รับจดทะเบียนรถที่ผลิตหรือสร้างประกอบจากผู้ผลิตนั้น ข้อ ๒๐ บรรดาแบบตัวถังรถที่ได้รับความเห็นชอบไว้แล้วตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบตามประกาศนี้ ข้อ ๒๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่จดทะเบียนใหม่ รถที่มีการเปลี่ยนตัวถัง และรถที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งมีการเปลี่ยนตัวถังแล้วนำมาจดทะเบียนใหม่ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับรถที่ได้รับความเห็นชอบเป็นรถโดยสารทั้งคันก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เว้นแต่รถนั้นมีการเปลี่ยนตัวถัง ข้อ ๒๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ จิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ภาคผนวก ๑ รายละเอียดของโครงสร้างตัวถังรถ ๒. ภาคผนวก ๒ รายละเอียดของรถและอุปกรณ์พื้นฐานที่จะนำมาทดสอบ ๓. ภาคผนวก ๓ คุณสมบัติและคุณลักษณะของอุปกรณ์และพื้นที่ใช้ในการทดสอบ ๔. ภาคผนวก ๔ การทดสอบรถและเกณฑ์การผ่านการทดสอบ ๕. ภาคผนวก ๕ เครื่องหมายการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ธนบดี/จัดทำ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔ สุภาทิพย์/ตรวจ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๓๐๕ ง/หน้า ๒๕/๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๓
873791
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การขอรับหนังสือรับรองผ่านการอบรมการขับรถวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การขอรับหนังสือรับรองผ่านการอบรมการขับรถวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๓[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การขอรับหนังสือรับรองผ่านการอบรมการขับรถวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๖๒ ลงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ไว้แล้ว นั้น โดยที่ประกาศดังกล่าวกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะขอรับหนังสือรับรองผ่านการอบรมการขับรถวัตถุอันตรายต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ อยู่ก่อนแล้ว แต่มิได้กำหนดให้อายุหนังสือรับรองต้องมีอายุไม่เกินอายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ ของผู้ขอรับหนังสือรับรอง สมควรกำหนดอายุของหนังสือรับรองให้ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดความพร้อมในการดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศดังกล่าว สมควรขยายระยะเวลาในการยื่นขอรับหนังสือรับรองโดยไม่ต้องผ่านการอบรมและทดสอบสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ อยู่ก่อนแล้วไปอีกระยะหนึ่ง ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๘) (ข) ของกฎกระทรวง ความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การขอรับหนังสือรับรองผ่านการอบรมการขับรถวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๖๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๖ หนังสือรับรอง ให้เป็นไปตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด โดยให้มีอายุสามปี นับแต่วันออกหนังสือรับรอง แต่วันครบกำหนดอายุต้องไม่เกินวันสิ้นอายุของใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ ของผู้ขอรับหนังสือรับรอง ในระหว่างหนังสือรับรองยังไม่สิ้นอายุ หากผู้ได้รับหนังสือรับรองผ่านการการอบรมและทดสอบในหลักสูตรอื่นเพิ่มเติม ให้ออกหนังสือรับรองฉบับใหม่ตามหลักสูตรเดิมและหลักสูตรที่ผ่านการอบรมและทดสอบเพิ่มเติม โดยให้หนังสือรับรองมีอายุเท่ากับอายุหนังสือรับรองที่เหลืออยู่ แต่ทั้งนี้ หากผู้ได้รับหนังสือรับรองยื่นคำขอต่ออายุหนังสือรับรองภายในกำหนดระยะเวลาตามข้อ ๗ พร้อมกับยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ ให้หนังสือรับรองมีอายุเท่ากับอายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ ที่ต่ออายุแล้วนั้น” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การขอรับหนังสือรับรองผ่านการอบรมการขับรถวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๖๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ และใบอนุญาตนั้นยังไม่สิ้นอายุ หากมีหนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถวัตถุอันตรายในประเภทหนึ่งประเภทใดจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งและได้มีการดำเนินการยื่นขอรับหนังสือรับรองจนแล้วเสร็จก่อนวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ให้ผู้นั้นไม่ต้องผ่านการอบรมและทดสอบตามข้อ ๓ หนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งให้มีอายุเท่ากับอายุใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ ๔ ที่เหลืออยู่ของผู้ขอรับหนังสือรับรอง” ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ จิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก วิวรรธน์/จัดทำ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๔ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๓๐๔ ง/หน้า ๗/๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๓
824392
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2561) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดสุรินทร์ สายที่ 1 กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 - บ้านตะเคียน เป็นวงกลมกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 - บ้านตะเคียน
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ ๙๘ (พ.ศ. ๒๕๖๑ ) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางดวยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๑ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๑ - บ้านตะเคียน เป็น วงกลมกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๑ – บ้านตะเคียน[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ ๗๔ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๑ โรงเรียนศรีไผทสมันต์ - บ้านตะเคียน เป็นกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๑ – บ้านตะเคียน ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ไดพิจารณาเห็นสมควรปรับปรุง รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ ( ๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ในการประชุมครั้งที่ ๑ /๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๐ และไดรับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔ /๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๑ โดยได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖ /๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางดวยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๑ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๑ – บ้านตะเคียน เป็นวงกลมกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๑ – บ้านตะเคียน และให้แกไขรายละเอียดชื่อถนนให้ถูกต้อง ตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑ วงกลมกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๑ - บ้านตะเคียน เที่ยววนซ้าย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ ๒๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๙๓ (ถนนเลี่ยงเมือง) ถึงบ้านหนองเตา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตสุรินทร์ ถึง กม. ๐ แยกซ้ายไปตามถนนกรุงศรีนอก แยกขวาไปตามถนนธนสาร แยกขวาไปตามถนนหลักเมือง แยกซ้ายไปตามถนนสระโบราณ แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาล ๑ แยกขวาไปตามถนนจิตรบำรุง แยกซ้ายไปตามถนนสนิทนิคมรัฐ แยกซ้ายไปตามถนนธนสาร แยกขวาไปตามถนนกรุงศรีใน แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาล ๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖ ผ่านบ้านโคกมะเมียน สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสุรินทร์ ถึงบ้านตะเคียน กลับรถไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖ ถึงแยกบ้านไทย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๙๓ (ถนนเลี่ยงเมือง) ผ่านเรือนจำกลางสุรินทร์ ศาลจังหวัดสุรินทร์ บ้านดงมัน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ ๒๑ เที่ยววนขวา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ ๒๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๙๓ (ถนนเลี่ยงเมือง) ผ่านบ้านดงมัน ศาลจังหวัดสุรินทร์ เรือนจำกลางสุรินทร์ ถึงแยกบ้านไทย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖ ผ่านบ้านโคกมะเมียน สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสุรินทร์ ถึงบ้านตะเคียน กลับรถไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖ ผ่านบ้านโคกมะเมียน แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาล ๓ แยกขวาไปตามถนนกรุงศรีใน แยกซ้ายไปตามถนนธนสาร แยกขวาไปตามถนนสนิทนิคมรัฐ แยกขวาไปตามถนนจิตรบำรุง แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาล ๑ แยกขวาไปตามถนนสระโบราณ แยกขวาไปตามถนนหลักเมือง แยกซ้ายไปตามถนนธนสาร แยกซ้ายไปตามถนนกรุงศรีนอก ถึง กม. ๐ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตสุรินทร์ ถึงบ้านหนองเตา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๙๓ (ถนนเลี่ยงเมือง) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๑ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ประภัสสร มาลากาญจน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง ปรับปรุงเส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชญานิศ/จัดทำ ๒๑ มีนาคม๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๙๙ ง/หน้า ๑๕/๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๑
824390
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ 97 (พ.ศ. 2556) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสุรินทร์ สายที่ 4492 สังขะ-บ้านโนนคูณ ให้มีรายละเอียดเส้นทาง แยกช่วงสังขะ-บ้านกุง เพิ่มอีก 1 ช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ ๙๗ (พ.ศ. ๒๕๕๖ ) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางดวยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๔๔๙๒ สังขะ - บ้านโนนคูณ ใหมีรายละเอียดเส้นทาง แยกช่วงสังขะ - บ้านกุง เพิ่มอีก ๑ ชวง[๑] ตามที่ไดมีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ ๘๕ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ลงวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๐ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๔๔๙๒ สังขะ - บ้านโนนคูณ ให้มีรายละเอียดเส้นทาง แยกชวงสังขะ - บ้านตะแตรว เพิ่มอีก ๑ ชวง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ไดพิจารณาเห็นสมควรปรับปรุง รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ ( ๑) แหงพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ในการประชุมครั้งที่ ๑ /๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ และไดรับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓ /๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๖ จึงใหปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๔๔๙๒ สังขะ - บ้านโนนคูณ ให้มีรายละเอียดเส้นทาง แยกชวงสังขะ - บ้านกุง เพิ่มอีก ๑ ชวง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๔๙๒ สังขะ - บ้านโนนคูณ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสังขะ ไปตามทางหลวงแผนดินหมายเลข ๒๓๗๑ ถึงบ้านจรง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๔๐๐๘ ผานบ้านอาวอก บ้านสุขสำราญ บ้านขอนแตก บ้านเกาะ ถึงบ้านแจนแวน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผานบ้านหนองคู บ้านหนองแวง บ้านโนนตลาด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนคูณ ชวงสังขะ - บ้านตะแตรว เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสังขะ ไปตามทางหลวงแผนดินหมายเลข ๒๓๗๑ ถึงบ้านจรง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร . ๔๐๐๘ ผานบ้านอาวอก บ้านสุขสำราญ บ้านขอนแตก บ้านเกาะ บ้านแจนแวน แยกซายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านพราน บ้านตะโนน บ้านสำโรง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทาง บ้านตะแตรว ชวงสังขะ - บ้านกุง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสังขะ ไปตามทางหลวงแผนดิน หมายเลข ๒๓๗๑ ถึงบ้านจรง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๔๐๐๘ ผ่านบ้านอาวอก บ้านสุขสำราญ บ้านขอนแตก บ้านเกาะ บ้านแจนแวน บ้านสนวน บ้านจารย แยกซ้ายไปตาม ถนน อบจ. สายบ้านแจนแวน - บ้านกุง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกุง ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ . ศ. ๒๕๕๖ วิเชียร จันทรโณทัย รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง ปรับปรุงเส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชญานิศ/จัดทำ ๒๑ มีนาคม๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๙๙ ง/หน้า ๑๓/๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๑
824366
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ไว้แล้ว นั้น โดยที่กลุ่มอุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสารได้เรียกร้องขอให้มีการขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศดังกล่าวออกไประยะหนึ่ง เนื่องจากไม่สามารถปรับปรุงกระบวนการได้ทัน ซึ่งกรมการขนส่งทางบกพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้โอกาสและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมของประเทศได้มีการปรับตัวและสามารถสร้างมาตรฐานการประกอบตัวถังรถ สมควรปรับปรุงวันบังคับใช้ประกาศดังกล่าวออกไปตามที่มีการร้องขอเป็นระยะเวลาหนึ่งปี อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๒) และข้อ ๑๐ (๒) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๐ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่จดทะเบียนใหม่ รถที่มีการเปลี่ยนตัวถัง และรถที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่ซึ่งมีการเปลี่ยนตัวถัง โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๓ เป็นต้นไป” ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ พีระพล ถาวรสุภเจริญ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ชญานิศ/จัดทำ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๓๑ ง/หน้า ๙/๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๑
816329
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ ฉบับที่ 56 (พ.ศ. 2561) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง ) เส้นทางสำหรับการขนสง่ ประจำทางดว้ ยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดชัยภูมิ สายที่ 1343 ชัยภูมิ – เกษตรสมบูรณ์ เป็น ชัยภูมิ – บ้านโสกเชือก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๖๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง ) เส้นทางสำหรับการขนส่ง ประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชัยภูมิ สายที่ ๑๓๔๓ ชัยภูมิ – เกษตรสมบูรณ์ เป็น ชัยภูมิ – บ้านโสกเชือก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ ฉบับที่ ๓๖ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๓๖ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชัยภูมิ สายที่ ๑๓๔๓ ชัยภูมิ – เกษตรสมบูรณ์ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกเพิ่มอีก ๑ ช่วง ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ โดยได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชัยภูมิ สายที่ ๑๓๔๓ ชัยภูมิ – เกษตรสมบูรณ์ เป็น ชัยภูมิ – บ้านโสกเชือก และให้แก้ไขชื่อถนน ชื่อสถานที่ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน โดยใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๑๓๔๓ ชัยภูมิ – บ้านโสกเชือก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕๑ ผ่านบ้านช่อระกา บ้านนาฝาย บ้านห้วยชัน ถึงทางแยกเข้าน้ำตกตาดโตน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทผ่านบ้านห้วยหมากแดง ถึงบ้านท่าหินโงม แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหนองฉนวน บ้านหนองแวง บ้านกกผึ้ง บ้านคำผักแพว บ้านสระ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโสกเชือก ช่วงชัยภูมิ – บ้านท่ามะไฟหวาน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕๑ ผ่านบ้านช่อระกา บ้านนาฝาย บ้านห้วยชัน ถึงทางแยกเข้าน้ำตกตาดโตน แยกซ้าย ไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านห้วยหมากแดง บ้านท่าหินโงม บ้านห้วยผักหวาน บ้านทรัพย์สีทอง บ้านลาดผักหนาม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่ามะไฟหวาน ช่วงชัยภูมิ – บ้านกุดขมิ้น เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕๑ ถึงบ้านช่อระกา แ ยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ไป สุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกุดขมิ้น ช่วงชัยภูมิ – บ้านหนองแวง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕๑ ผ่านบ้านช่อระกา ถึงทางแยกบ้านหนองแวง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชย.๑๒๐๖๖ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองแวง ช่วงชัยภูมิ – บ้านหนองหญ้าปล้อง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕๑ ผ่านบ้านช่อระกา บ้านนาฝาย ถึงทางแยกบ้านหนองหญ้าปล้องแยกซ้าย ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชย.๑๑๐๒๖ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองหญ้าปล้อง ช่วงชัยภูมิ – บ้านนาสีนวล เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕๑ ผ่านบ้านช่อระกา บ้านนาฝาย ถึงทางแยกบ้านนาสีนวล แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชย.๑๑๐๐๘/๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนาสีนวล ช่วงชัยภูมิ – บ้านโนนพระคำ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕๑ ผ่านบ้านช่อระกา บ้านนาฝาย บ้านห้วยชัน ถึงทางแยกบ้านโนนพระคำ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนพระคำ ช่วงชัยภูมิ – บ้านตาดโตน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕๑ ผ่านบ้านช่อระกา บ้านนาฝาย บ้านห้วยชัน ถึงทางแยกบ้านตาดโตนแยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชย.๑๓๐๖๘ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านตาดโตน ช่วงชัยภูมิ – บ้านเก่าย่าดี – บ้านท่ามะไฟหวาน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕๑ ผ่านบ้านช่อระกา บ้านนาฝาย บ้านห้วยชัน ถึงทางแยกเข้าน้ำตกตาดโตน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านห้วยหมากแดง ถึงบ้านท่าหินโงมแยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหลุบช้างพลาย บ้านเก่าย่าดี บ้านใหม่ทรายทองบ้านด่านเจริญ ถึงบ้านโปร่งช้าง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหนองพีพ่วนไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่ามะไฟหวาน ประกาศ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปวันวิทย์/จัดทำ ๓ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๗๘ ง/หน้า ๑๒/๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๑
815006
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ฉบับที่ 111 (พ.ศ. 2561) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ฉบับที่ ๑๑๑ (พ.ศ. ๒๕๖๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๑ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๑ โดยได้การรับมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครศรีธรรมราช สายที่ ๘๕๙๓ โรงไฟฟ้าขนอม – หาดหน้าด่าน – บ้านในเพลา โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๘๕๙๓ โรงไฟฟ้าขนอม – หาดหน้าด่าน – บ้านในเพลา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงไฟฟ้าขนอม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑๔ ผ่านตลาดเทศบาลท้องเนียน ตลาดสดเทศบาลตำบลขนอม ถึงแยกปลาโลมา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒๓๒ ผ่านหาดหน้าด่าน หาดในเปร็ต แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นศ. ๔๐๗๓ ผ่านชุมชนบ้านในเพลา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านในเพลา ประกาศ ณ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ สกล จันทรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่อง กำหนดเส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/จัดทำ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๗๖ ง/หน้า ๑๘/๔ ตุลาคม ๒๕๖๑
813709
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ไว้แล้ว นั้น โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ารถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดตามความตกลงระหว่างประเทศด้านการขนส่งสินค้าอันตรายที่ประเทศไทยเป็นภาคี ได้แก่ กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Inter-State Transport) และความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง (GMS Cross-Border Transport Agreement) ซึ่งสอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (European Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road (ADR)) และผู้ขับรถขนส่งวัตถุอันตราย ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการอบรมหลักสูตรการขับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายอย่างครบถ้วน ดังนั้น สมควรผ่อนระยะเวลาการบังคับใช้หนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายและหนังสือรับรองผ่านการอบรมหลักสูตรการขับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายของผู้ขับรถ ออกไปอีกระยะหนึ่ง อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๓) ของกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ (๒) ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๒) การจัดให้มีหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบรถตามข้อ ๗ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๑ (๓) ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจำรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ “(๓) การจัดให้มีหนังสือรับรองผ่านการอบรมหลักสูตรการขับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายตามข้อ ๘ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป” ประกาศ ณ วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปุณิกา/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๒ นุสรา/ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๘ ง/หน้า ๑๒/๑๘ กันยายน ๒๕๖๑
813707
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะ สมรรถนะ และการติดตั้งอุปกรณ์สาหรับยึดตู้บรรทุกสินค้า และการให้ความเห็นชอบอุปกรณ์สาหรับยึดตู้บรรทุกสินค้า สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ พ.ศ. 2561
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะ สมรรถนะ และการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้า และการให้ความเห็นชอบอุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้า สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ พ.ศ. ๒๕๖๑[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดคุณลักษณะ สมรรถนะ และการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้า และการให้ความเห็นชอบอุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้า สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ เพื่อให้การใช้รถในการบรรทุกตู้บรรทุกสินค้ามีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ (๒) (ฎ) และข้อ ๑๘ (๒) (ฉ) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะและมาตรฐานของตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๑ ๖ ๗ และลักษณะ ๘ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “รถ” หมายความว่า รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๑ ลักษณะ ๕ ลักษณะ ๖ และลักษณะ ๗ ที่ใช้ในการบรรทุกตู้บรรทุกสินค้า “ISO” หมายความว่า องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization) “ตู้บรรทุกสินค้า” หมายความว่า ภาชนะสำหรับบรรทุกสินค้า และหมายความรวมถึงแท็งก์คอนเทนเนอร์ (Tank-Container) ตามมาตรฐาน ISO ๖๖๘ ข้อกำหนดมาตรฐานว่าด้วยการจำแนกประเภทและน้ำหนักบรรทุก (ISO ๖๖๘ Series ๑ freight containers - Classification, dimension and ratings) ISO ๑๔๙๖ ข้อกำหนดมาตรฐานว่าด้วยคุณลักษณะเฉพาะและวิธีการทดสอบ (ISO ๑๔๙๖ Series ๑ freight containers - Specification and Testing) และ ISO ๓๘๗๔ ข้อกำหนดมาตรฐานว่าด้วยการขนส่งและป้องกันอันตราย (ISO ๓๘๗๔: Series ๑ freight containers - Handling and Securing) “อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้า” (Twist-Lock) หมายความว่า ชุดอุปกรณ์ที่ใช้ในการล็อกและป้องกันการเคลื่อนที่ของตู้บรรทุกสินค้าบนพื้นรถ “อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าแบบไม่ยุบตัว” หมายความว่า อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าที่ชิ้นส่วนที่เป็นปลอกรับและหัวสลักยึดยึดอยู่กับที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งได้ “อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าแบบยุบตัว” หมายความว่า อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าที่ชิ้นส่วนที่เป็นปลอกรับและหัวสลักยึดสามารถเลื่อนลงมาให้ต่ำกว่าระดับของแผ่นรองรับได้ ในกรณีที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้า “อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าแบบอัตโนมัติ” (Automatic Twist-Lock) หมายความว่า อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าที่สามารถล็อกตู้บรรทุกสินค้าได้อย่างสมบูรณ์ โดยไม่ต้องใช้คนในการล็อกอุปกรณ์ ข้อ ๓ อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ISO ๓๘๗๔ หรือมีคุณลักษณะและขนาด ตามข้อ ๔ และข้อ ๕ ข้อ ๔ อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าต้องมีคุณลักษณะดังนี้ (๑) มีส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ปลอดภัยในการใช้งาน (๒) มีการออกแบบให้มีการยึดทางกลที่ดี ไม่คลายตัวเมื่อมีแรงสั่นสะเทือน (๓) มีส่วนประกอบอย่างน้อยดังนี้ (ก) หัวสลักยึด เป็นชิ้นส่วนที่อยู่ด้านบน ซึ่งจะต้องมีการหมุนเป็นมุมอย่างพอดีเพื่อยึดมุมตู้บรรทุกสินค้า และสามารถจำกัดการเคลื่อนที่ของตู้บรรทุกสินค้าในแนวดิ่ง (ข) แผ่นรองรับมุมตู้บรรทุกสินค้า ซึ่งสามารถรองรับมุมของตู้บรรทุกสินค้าได้อย่างพอดี และสามารถรองรับน้ำหนักของตู้บรรทุกสินค้าภายใต้สภาวะการเคลื่อนที่ได้ (ค) ปลอกรับ เป็นชิ้นส่วนที่ออกแบบเพื่อให้เคลื่อนที่ขึ้นไปด้านบนเพื่อสวมเข้ากับช่องว่างที่บริเวณมุมของตู้บรรทุกสินค้า ซึ่งต้องสามารถจำกัดการเคลื่อนที่ของตู้บรรทุกสินค้าในแนวราบ (๔) ใช้วัสดุที่สามารถทนต่อความเค้นภายใน การกัดกร่อน และความสกปรกได้ (๕) สามารถยึดตู้บรรทุกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย โดยต้องมีตำแหน่งหยุดของการล็อกและการปลดล็อกที่ชัดเจน ไม่เคลื่อนที่หลุดจากตำแหน่งได้โดยง่าย และสามารถทำการล็อกหรือปลดล็อกได้ด้วยคนเพียงคนเดียว โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์อื่นช่วย (๖) ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ หรือ ISO/TS ๑๖๙๔๙ : ๒๐๐๙ หรือ มอก. ๙๐๐๑-๒๕๕๒ หรือมาตรฐานที่สูงกว่า ข้อ ๕ อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าต้องมีขนาดดังนี้ (๑) หัวสลักยึด ต้องมีพื้นที่ในการยึดมากกว่า ๘๐๐ ตารางมิลลิเมตร เมื่อมีการล็อกอย่างสมบูรณ์และต้องไม่ยื่นล้ำออกมาเกินมุมของตู้บรรทุกสินค้า ตามที่กำหนดไว้ในภาพที่ ๑ ของภาคผนวก ๑ (๒) แผ่นรองรับมุมตู้บรรทุกสินค้า ต้องมีความหนาไม่น้อยกว่า ๑๐ มิลลิเมตร และต้องมีพื้นที่รับน้ำหนักไม่น้อยกว่า ๔,๕๐๐ ตารางมิลลิเมตร ตามที่กำหนดไว้ในภาพที่ ๒ ของภาคผนวก ๑ (๓) กรณีอุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าแบบมีด้ามจับ ความยาวของด้ามจับต้องยาวไม่น้อยกว่า ๑๖๐ มิลลิเมตร โดยวัดจากกึ่งกลางของจุดหมุนจนถึงปลาย และด้ามจับต้องขนานกับแนวยาวของตัวรถเมื่ออยู่ในตำแหน่งล็อก (๔) ปลอกรับ ต้องมีขนาดตามที่กำหนดไว้ในภาพที่ ๓ ของภาคผนวก ๑ (๕) หัวสลักยึดและแผ่นรองรับมุมตู้บรรทุกสินค้า ต้องมีระยะห่างระหว่างกันไม่น้อยกว่า ๓๓ ±๑ มิลลิเมตร ตามที่กำหนดไว้ในภาพที่ ๔ ของภาคผนวก ๑ ข้อ ๖ อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าต้องผ่านการทดสอบสมรรถนะตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๒ จากหน่วยงานทดสอบที่ได้รับการยอมรับจากกรมการขนส่งทางบก ทั้งนี้ หน่วยงานทดสอบต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบก เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการทดสอบอุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าด้วย อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าที่เป็นไปตามมาตรฐาน ISO ๓๘๗๔ ให้ได้รับการยกเว้นการทดสอบตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๗ การติดตั้งอุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าให้เป็นไปตามที่กำหนดดังนี้ (๑) ต้องติดตั้งกับตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถไม่น้อยกว่า ๔ จุดต่อ ๑ ตู้บรรทุกสินค้า (๒) อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าที่ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งหน้าสุดและท้ายสุดของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๕ ลักษณะ ๖ (เฉพาะกิจบรรทุกตู้บรรทุกสินค้า) และลักษณะ ๗ (เฉพาะกิจบรรทุกตู้บรรทุกสินค้า) ที่มีตัวถังสำหรับบรรทุกตู้บรรทุกสินค้าโดยเฉพาะ ต้องเป็นแบบไม่ยุบตัว (๓) ต้องติดตั้งอย่างสมมาตรกับแนวกึ่งกลางตามความยาวของตัวรถ และต้องอยู่ในตำแหน่งที่ทำให้การกระจายน้ำหนักบรรทุกมีความเหมาะสม กรณีที่มีการบรรทุกตู้บรรทุกสินค้า ๒ ตู้ ตำแหน่งของอุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าแต่ละตัวที่ติดตามความยาวของตัวรถ ด้ามจับ และโครงสร้างที่รองรับ จะต้องมีระยะห่างที่เหมาะสมเพียงพอ (๔) ต้องติดตั้งอย่างมั่นคงแข็งแรงกับตัวรถ และสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้โดยไม่เกิดความเสียหาย โดยต้องล็อกอุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าทุกตำแหน่งอย่างมั่นคงตลอดระยะเวลาการขับรถ ข้อ ๘ อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าต้องมีสัญลักษณ์สีแสดงการล็อกหรือการไม่ล็อก เมื่อมีการบรรทุกตู้บรรทุกสินค้า โดยสัญลักษณ์สีดังกล่าวต้องมีลักษณะเป็นแผ่นสะท้อนแสงหรือสีสะท้อนแสง รูปสี่เหลี่ยมขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๕๐ มิลลิเมตร และยาวไม่น้อยกว่า ๕๐ มิลลิเมตร หรือรูปวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๕๐ มิลลิเมตร ซึ่งเมื่ออุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าอยู่ในตำแหน่งการล็อก ต้องปรากฏสัญลักษณ์สีเหลืองหรือสีขาวตามแนวยาวของตัวรถ หากอุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าอยู่ในตำแหน่งการไม่ล็อก ต้องปรากฏสัญลักษณ์สีแดงตามแนวยาวของตัวรถอย่างชัดเจน กรณีใช้อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าแบบอัตโนมัติ และมีการติดตั้งครบทุกตำแหน่งให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีสัญลักษณ์สีแสดงการล็อกหรือการไม่ล็อกตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๙ การขอรับความเห็นชอบอุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้า ให้ยื่น ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังนี้ (๑) เอกสารประจำตัวของผู้ยื่น ในกรณีเป็นบุคคลธรรมดา ให้แสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือยื่นสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ในกรณีเป็นนิติบุคคล ให้ยื่นหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มีอำนาจลงนาม กรณีผู้มีอำนาจลงนามเป็นคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ให้ยื่นสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมทั้งหลักฐานแสดงที่พักอาศัยในราชอาณาจักรที่ทางราชการหรือหน่วยงานรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศออกให้ (๒) หนังสือมอบอำนาจกรณีมีการมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (๓) เอกสารแสดงข้อมูลอุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้า โดยต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังนี้ (ก) ชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายการค้า (ข) ชื่อแบบ (ค) ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต (ง) ชื่อและที่อยู่ของผู้ขอรับความเห็นชอบ (จ) รายละเอียดแสดงคุณลักษณะ ขนาด และภาพ (ฉ) ค่าความสามารถในการรับแรงดึง แรงอัด และแรงเฉือน (ช) หน่วยงานทดสอบ และวันที่ทาการทดสอบ (๔) หนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบของหน่วยงานทดสอบที่ได้รับการยอมรับจากกรมการขนส่งทางบก หรือหนังสือรับรองหรือรายงานผลการทดสอบตามมาตรฐาน ISO ๓๘๗๔ (๕) หนังสือรับรองมาตรฐานโรงงานผลิตอุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๔ (๖) (๖) ตัวอย่างเครื่องหมายหรือฉลาก ตามข้อ ๑๑ ข้อ ๑๐ อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าที่เป็นไปตามข้อกำหนดในประกาศนี้ กรมการขนส่งทางบกจะพิจารณาให้ความเห็นชอบอุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้านั้น ข้อ ๑๑ อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าต้องมีเครื่องหมายหรือฉลากติดในตำแหน่งที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อมีการติดตั้ง โดยต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้ (๑) ชื่อผู้ผลิตหรือเครื่องหมายการค้า (๒) ชื่อแบบ (๓) ค่าความสามารถในการรับแรงดึง แรงอัด และแรงเฉือน (๔) หน่วยงานตรวจสอบ รายละเอียดตามวรรคหนึ่งต้องมีขนาดความสูงของตัวอักษรหรือตัวเลขไม่น้อยกว่า ๘ มิลลิเมตร ข้อ ๑๒ การขอรับความเห็นชอบอุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าตามประกาศนี้ ให้กระทำได้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๒ เป็นต้นไป กับรถ ดังต่อไปนี้ (๑) รถที่จดทะเบียนใหม่ (๒) รถที่จดทะเบียนไว้แล้วแต่มีการเปลี่ยนตัวถังหรือเปลี่ยนลักษณะรถ (๓) รถที่จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่และมีการเปลี่ยนตัวถังหรือเปลี่ยนลักษณะรถ ข้อ ๑๔ รถที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๒ ให้ใช้อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าที่ได้ติดตั้งไว้เดิม แต่อาจแก้ไขให้เป็นไปตามประกาศนี้ได้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ภาคผนวก ๑ ขนาดของอุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้า ๒. ภาคผนวก ๒ การทดสอบสมรรถนะของอุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้า (ดูข้อมูลจากภาคกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๒ นุสรา/ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๘ ง/หน้า ๗/๑๘ กันยายน ๒๕๖๑
812868
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดให้มีเครื่องหมายหรือสัญญาณที่จะต้องแสดงเมื่อจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทาง พ.ศ. 2561
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดให้มีเครื่องหมายหรือสัญญาณที่จะต้องแสดงเมื่อจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทาง พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดให้มีเครื่องหมายที่จะต้องแสดงเมื่อจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทาง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ไว้แล้ว นั้น เพื่อให้การจัดให้มีเครื่องหมายหรือสัญญาณสำหรับแสดงเมื่อจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางมีความหลากหลาย ไม่เกิดภาระแก่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเกินสมควร แต่ยังสามารถคงไว้ซึ่งความปลอดภัยในการใช้รถ จึงสมควรกำหนดรูปแบบของเครื่องหมายหรือสัญญาณที่ต้องมีไว้แสดงเมื่อจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางเพิ่มเติม อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๖) และวรรคสอง ข้อ ๔ (๔) ข้อ ๕ (๒) (จ) และข้อ ๖ ของกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดให้มีเครื่องหมายที่จะต้องแสดงเมื่อจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทาง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๐ ข้อ ๒ ในกรณีมีความจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทาง เช่น กรณีรถเสีย เกิดอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีเครื่องหมายหรือสัญญาณเพื่อแจ้งเตือนผู้ขับรถอื่น อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) เครื่องหมายเตือนรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ยาวไม่น้อยกว่าด้านละ ๕๐ เซนติเมตร ขอบสีแดงสะท้อนแสง ด้านในเครื่องหมายอาจมีพื้นสีขาวและรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีดำหัวท้ายมนในแนวดิ่ง หรือมีแถบสะท้อนแสงสีแดงเพิ่มเติม หรือเป็นพื้นที่เปิดโล่งก็ได้ พร้อมขาตั้งหรือฐานตั้ง (๒) กรวยสะท้อนแสง สูงไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร พื้นสีส้ม มีแถบสะท้อนแสงสีขาว กว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร คาดตามแนวนอนโดยรอบอย่างน้อย ๑ แถบ ฐานตั้งกว้างไม่น้อยกว่า ๒๘ เซนติเมตร (๓) โคมไฟสัญญาณ เป็นไฟสีเหลืองอาพันและไฟสีขาว โดยไฟสัญญาณสีเหลืองต้องเป็นไฟกระพริบ ขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๖ เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า ๒๔ เซนติเมตร พร้อมขาตั้งหรือฐานตั้ง เครื่องหมายหรือสัญญาณตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามตัวอย่างแนบท้ายประกาศ ข้อ ๓ เครื่องหมายหรือสัญญาณตามข้อ ๒ ต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า ๒ ชิ้น โดยอาจเป็นเครื่องหมายหรือสัญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งหรือสองอย่างรวมกันก็ได้ ข้อ ๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถต้องแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณไว้ที่ด้านหน้าและด้านหลังของรถ ห่างจากรถไม่น้อยกว่า ๕๐ เมตร เว้นแต่ในกรณีมีเหตุจำเป็นไม่สามารถวางในระยะดังกล่าวได้ เช่น ในเขตชุมชนที่มีการจราจรหนาแน่น ให้วางเครื่องหมายหรือสัญญาณในระยะที่เหมาะสมที่ผู้ขับรถตามหลังสามารถหยุดรถได้อย่างปลอดภัย ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตัวอย่างเครื่องหมายเตือนตามข้อ ๒ (๑) ๒. ตัวอย่างกรวยสะท้อนแสงตามข้อ ๒ (๒) ๓. ตัวอย่างโคมไฟสัญญาณตามข้อ ๒ (๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิมพ์มาดา/จัดทำ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๒ ง/หน้า ๖/๑๑ กันยายน ๒๕๖๑
810587
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครพนม ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2561) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนครพนม สายที่ 4399 นครพนม - บ้านโคกกลาง – ปลาปาก ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครพนม - ท่าอากาศยานนครพนม
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครพนม ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๖๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครพนม สายที่ ๔๓๙๙ นครพนม - บ้านโคกกลาง - ปลาปาก ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครพนม - ท่าอากาศยานนครพนม[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครพนม ฉบับที่ ๒๙ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครพนม สายที่ ๔๓๙๙ นครพนม - บ้านโคกกลาง - ปลาปาก ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครพนม ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครพนม ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๑ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๑ โดยได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครพนม สายที่ ๔๓๙๙ นครพนม - บ้านโคกกลาง - ปลาปาก ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครพนม - ท่าอากาศยานนครพนม โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๓๙๙ นครพนม - บ้านโคกกลาง - ปลาปาก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครพนม ไปตามถนนเฟื่องนคร แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒ ผ่านบ้านหนองญาติ สถานีรายงานจังหวัดนครพนม ถึงบ้านกุรุคุ แยกซ้าย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๗๖ ผ่านบ้านโคกกลาง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปลาปาก ช่วงนครพนม - ท่าอากาศยานนครพนม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครพนม ไปตามถนนเฟื่องนคร แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒ ผ่านบ้านหนองญาติ ถึงทางแยกเข้าท่าอากาศยานนครพนม แยกขวาไปตามถนนเข้าท่าอากาศยานนครพนม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางท่าอากาศยานนครพนม ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ สมชาย วิทย์ดำรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครพนม [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครพนม เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๖๐ ง/หน้า ๓๓/๙ สิงหาคม ๒๕๖๑
810585
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ฉบับที่ 60 (พ.ศ. 2561) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดฉะเชิงเทรา สายที่ 1618 ฉะเชิงเทรา – ตลาดบางปะกง เป็น ฉะเชิงเทรา - ตลาดลาวบางปะกง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๖๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดฉะเชิงเทรา สายที่ ๑๖๑๘ ฉะเชิงเทรา - ตลาดบางปะกง เป็น ฉะเชิงเทรา - ตลาดลาวบางปะกง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่ ๗๓ (พ.ศ. ๒๕๐๘) ลงวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๐๘ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์โดยสารในชนบท (จังหวัดฉะเชิงเทรา) สายที่ ๑๖๑๘ ฉะเชิงเทรา - ตลาดบางปะกง ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดฉะเชิงเทราได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ และได้รับการอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐ โดยได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงกำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดฉะเชิงเทรา สายที่ ๑๖๑๘ ฉะเชิงเทรา - ตลาดบางปะกง เป็น ฉะเชิงเทรา - ตลาดลาวบางปะกง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๑๖๑๘ ฉะเชิงเทรา - ตลาดลาวบางปะกง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดฉะเชิงเทรา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ (ถนนสิริโสธร) ถึงสามแยกบางปะกง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ถึงสามแยกตลาดบางปะกง แยกขวาไปถนนเทศบาลตำบลบางปะกงพรหมเทพรังสรรค์ ผ่านตลาดบางปะกง ไปสุดเส้นทางที่ตลาดลาวบางปะกง ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ นายสุวิทย์ คำดี ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๖๐ ง/หน้า ๓๒/๙ สิงหาคม ๒๕๖๑
810425
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิจิตร
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิจิตร[๑] ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ออกประกาศกำหนดให้บริเวณที่ดิน นส. ๓ ก เลขที่ ๑๓๐๘ เนื้อที่ ๕ ไร่ ๗๐ ตารางวา ตั้งอยู่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เป็นสถานที่ใช้เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิจิตร โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๖๖ ลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๖ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และกรมการขนส่งทางบกได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ออกใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิจิตรให้บริษัท พิจิตรธุรกิจ ๑๑๑ จำกัด มีอายุ ๒๐ ปี นับตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๓๖ ถึงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ และใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิจิตร (ต่ออายุ ๕ ปี) นับตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นั้น เนื่องจากใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิจิตรได้สิ้นอายุลงประกอบกับผู้ขอรับใบอนุญาตดังกล่าวไม่ประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจึงได้ประกาศยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิจิตรดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปุณิกา/จัดทำ ๗ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๘๗ ง/หน้า ๑๒/๖ สิงหาคม ๒๕๖๑
808523
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณสมบัติด้านการลุกไหม้ การลามไฟของวัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในรถโดยสาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณสมบัติด้านการลุกไหม้ การลามไฟของวัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในรถโดยสาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณสมบัติด้านการลุกไหม้ การลามไฟของวัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในรถโดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ไว้แล้ว นั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายการใช้รถโดยสารขนาดเล็กแทนรถตู้โดยสารอาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๔/๒ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๘ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณสมบัติด้านการลุกไหม้การลามไฟของวัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในรถโดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถที่จดทะเบียนใหม่ รถที่มีการเปลี่ยนตัวถัง รถที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่ซึ่งมีการเปลี่ยนตัวถัง และรถที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบหรือการตกแต่งรถ ซึ่งต้องใช้วัสดุตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป” ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก พรวิภา/จัดทำ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๖๖ ง/หน้า ๑๗/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๑
808418
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสกลนคร ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2561) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสกลนคร สายที่ 4353 สกลนคร - ท่าแร่ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสกลนคร - ท่าอากาศยานสกลนคร - บ้านท่าแร่
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสกลนคร ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ. ๒๕๖๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสกลนคร สายที่ ๔๓๕๓ สกลนคร – ท่าแร่ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงสกลนคร – ท่าอากาศยานสกลนคร – บ้านท่าแร่[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสกลนคร ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๕ จังหวัดสกลนคร สายที่ ๔๔๐๐๑ สกลนคร – ท่าแร่ เป็นเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ สายที่ ๔๓๕๓ สกลนคร – บ้านท่าแร่ ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสกลนคร ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสกลนคร ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๑ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๑ โดยได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสกลนคร สายที่ ๔๓๕๓ สกลนคร – บ้านท่าแร่ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสกลนคร - ท่าอากาศยานสกลนคร – บ้านท่าแร่ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๓๕๓ สกลนคร – บ้านท่าแร่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสกลนคร แห่งที่ ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๔๗ ถึงบ้านธาตุนาเวง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒ ผ่านบ้านป่าหว้าน บ้านดอน เชียงบาน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าแร่ ช่วงสกลนคร – ท่าอากาศยานสกลนคร – บ้านท่าแร่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสกลนคร แห่งที่ ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๔๗ ถึงบ้านธาตุนาเวง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒ ถึงทางแยกเข้าท่าอากาศยานสกลนคร แยกขวาไปตามถนนเข้าท่าอากาศยานสกลนคร ผ่านสนามกีฬาจังหวัดสกลนคร ถึงท่าอากาศยานสกลนคร แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าแร่ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ วิทยา จันทร์ฉลอง ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสกลนคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสกลนคร เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/จัดทำ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๕๒ ง/หน้า ๖/๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑
808416
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสกลนคร ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2561) เรื่อง การกำหนดเส้วนทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสกลนคร ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๖๑) เรื่อง การกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสกลนครได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสกลนคร ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๑ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๑ โดยได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดสกลนคร สายที่ ๔ ท่าอากาศยานสกลนคร – สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสกลนคร แห่งที่ ๑ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๔ ท่าอากาศยานสกลนคร – สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสกลนคร แห่งที่ ๑ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางท่าอากาศยานสกลนคร แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒ ผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียง ๙๐๙ สกลนคร ผ่านกรมทหารราบที่ ๓ แยกซ้ายไปตาม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๔๗ ผ่านโรงพยาบาลค่ายกฤษสีวะรา ถึงมณฑลทหารบกที่ ๒๙ แยกขวาไปตามถนนอุฬารกุล ถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสกลนคร แห่งที่ ๒ แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๔๗ ถึงโรงเรียนเซนต์ยอแซฟสกลนคร กลับรถผ่านห้างแม็คโคร แยกซ้ายไปตามถนนประชาอุทิศ ผ่านโรงแรมไอยรา แยกซ้ายไปตามถนนรัฐบำรุง ผ่านสามแยกถนนเสรีไทย ถึงวงเวียนกกส้มโฮง ผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียง กวส.๓ สกลนคร ถึงสำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร แยกซ้ายไปตามถนนศูนย์ราชการจังหวัดสกลนคร ผ่านสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สกลนคร แยกซ้ายไปตามถนนสุขเกษม ผ่านอนุสาวรีย์รัชกาลที่ ๕ สี่แยกถนนสกล - นาแก ตลาดสดเทศบาลนครสกลนคร ธนาคารกรุงเทพ แยกซ้ายไปตามถนนรอบเมือง ผ่านโรงพยาบาลรักษ์สกล แยกซ้ายไปตามถนนรัฐพัฒนา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดสกลนคร แห่งที่ ๑ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ วิทยา จันทร์ฉลอง ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสกลนคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสกลนคร เรื่อง การกำหนดเส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/จัดทำ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๕๒ ง/หน้า ๔/๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑
807655
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2561) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 2 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๖๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน ๒ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดแม่ฮ่องสอน สายที่ ๒๔๕๐ แม่ฮ่องสอน – ปาย และสายที่ ๒๔๕๕ ปาย – บ้านหมอแปง ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ และได้รับอนุมัติ จากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๑ โดยได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน ๒ เส้นทาง ได้แก่ สายที่ ๒๔๕๐ แม่ฮ่องสอน – ปาย ให้มีรายละเอียดเส้นทางเข้าท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน และท่าอากาศยานปาย และเส้นทางแยกช่วงแม่ฮ่องสอน – บ้านห้วยขาน โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางเข้าท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน และให้แก้ไขรายละเอียดเส้นทางให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน สายที่ ๒๔๕๕ ปาย – บ้านหมอแปง และเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๓ ช่วง ได้แก่ ช่วงปาย – บ้านเมืองแปง ช่วงปาย – บ้านทุ่งยาวใต้ และช่วงปาย – บ้านตาลเจ็ดต้น ให้มีรายละเอียดเส้นทางเข้าท่าอากาศยานปาย และให้แก้ไขหมายเลขทางหลวงชนบทให้ถูกต้อง ตามข้อเท็จจริง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๒๔๕๐ แม่ฮ่องสอน – ปาย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปตามถนนสัมพันธ์เจริญเมือง ถึงวงเวียนหอนาฬิกา แยกซ้ายไปทางถนนขุนลุมประพาส ถึงแยกโตโยต้า แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข มส. ๕๐๑๖ ผ่านวัดกลางทุ่ง แยกขวาไปตามถนนภายในท่าอากาศยาน ถึงท่าอากาศยานจังหวัดแม่ฮ่องสอนย้อนกลับตามเส้นทางเดิม จนถึงแยกโตโยต้า แยกขวาไปตามถนนขุนลุมประพาส ผ่านอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนถึงทางแยกบ้านปางหมู ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๕ ผ่านวนอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา บ้านห้วยผา ทางแยกบ้านนาปลาจาด บ้านแม่สุยะ ผ่านอำเภอปางมะผ้า ถึงทางเข้าท่าอากาศยาน แยกซ้ายไปตามถนนภายในท่าอากาศยาน ถึงท่าอากาศยานปาย ย้อนกลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณอำเภอปาย ช่วงแม่ฮ่องสอน – บ้านปางหมู เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปตามถนนสัมพันธ์เจริญเมือง ถึงวงเวียนหอนาฬิกา แยกซ้ายไปทางถนนขุนลุมประพาส ถึงแยกโตโยต้า แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๕ ถึงทางแยกบ้านปางหมู แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านปางหมู ช่วงแม่ฮ่องสอน – บ้านในสอย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปตามถนนสัมพันธ์เจริญเมือง ถึงวงเวียนหอนาฬิกา แยกซ้ายไปทางถนนขุนลุมประพาส ถึงแยกโตโยต้า แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๕ ผ่านทางแยกบ้านปางหมู ถึงทางแยกบ้านในสอย แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านในสอย ช่วงแม่ฮ่องสอน – บ้านห้วยขาน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปตามถนนสัมพันธ์เจริญเมือง ถึงวงเวียนหอนาฬิกา แยกซ้ายไปทางถนนขุนลุมประพาส ถึงแยกโตโยต้า แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข มส. ๕๐๑๖ ผ่านวัดกลางทุ่ง แยกขวาไปตามถนนภายในท่าอากาศยาน ถึงท่าอากาศยานจังหวัดแม่ฮ่องสอนย้อนกลับตามเส้นทางเดิม จนถึงแยกโตโยต้า แยกขวาไปตามถนนขุนลุมประพาสผ่านอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ถึงทางแยกบ้านปางหมู ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๕ ผ่านแยกบ้านในสอยถึงแยกบ้านหมอกจำแป่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านห้วยขาน สายที่ ๒๔๕๕ ปาย – บ้านหมอแปง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๕ ถึงทางเข้าท่าอากาศยาน แยกขวาไปตามถนนภายในท่าอากาศยานถึงท่าอากาศยานปาย ย้อนกลับตามเส้นทางเดิมแยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๕ ผ่านบ้านแม่นาเติง ถึงบ้านแม่นาเติงในแยกซ้ายไปตามถนนองค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเติง หมายเลข มส. ๓๐๘๔ ผ่านบ้านม่วงสร้อย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านหมอแปง ช่วงปาย – บ้านเมืองแปง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๕ ถึงทางเข้าท่าอากาศยาน แยกขวาไปตามถนนภายในท่าอากาศยานถึงท่าอากาศยานปาย ย้อนกลับตามเส้นทางเดิมแยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๕ ผ่านบ้านตีนธาตุ บ้านท่าปาย บ้านแม่ปิง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๖๕ ผ่านเหมืองแร่ฟลูออไรด์ แยกขวาไปตามถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน หมายเลข มส. ๔๐๑๓ ผ่านบ้านสบสา บ้านใหม่ดอนตัน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านเมืองแปง ช่วงปาย – บ้านทุ่งยาวใต้ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๕ ถึงทางเข้าท่าอากาศยาน แยกขวาไปตามถนนภายในท่าอากาศยานถึงท่าอากาศยานปาย ย้อนกลับตามเส้นทางเดิมแยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๕ แยกซ้ายไปตามถนนองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งยาว หมายเลข มส. ๔๐๘๐ ผ่านบ้านกุงแกง บ้านทุ่งโป่ง บ้านทุ่งยาวเหนือ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านทุ่งยาวใต้ ช่วงปาย – บ้านตาลเจ็ดต้น เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๕ ถึงทางเข้าท่าอากาศยาน แยกขวาไปตามถนนภายในท่าอากาศยานถึงท่าอากาศยานปาย ย้อนกลับตามเส้นทางเดิมแยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๕ ถึงบ้านห้วยปู แยกขวา ไปตามถนนองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ หมายเลข มส.ถ ๔๑ – ๐๐๑ ผ่านบ้านศรีดอนชัย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านตาลเจ็ดต้น ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ สืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๑๔/๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๑
807653
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ฉบับที่ 74 (พ.ศ. 2561) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดบุรีรัมย์ สายที่ 1471 บุรีรัมย์ – สตึก ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงบุรีรัมย์ – ท่าอากาศยานบุรีรัมย์
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ฉบับที่ ๗๔ (พ.ศ. ๒๕๖๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดบุรีรัมย์ สายที่ ๑๔๗๑ บุรีรัมย์ – สตึก ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงบุรีรัมย์ – ท่าอากาศยานบุรีรัมย์[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๐๗ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์โดยสารในชนบท (จังหวัดบุรีรัมย์) สายที่ ๑๔๗๑ บุรีรัมย์ – สตึก ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๐ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๑ โดยได้รับมอบหมาย จากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดบุรีรัมย์ สายที่ ๑๔๗๑ บุรีรัมย์ – สตึก ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงบุรีรัมย์ – ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๔๗๑ บุรีรัมย์ – สตึก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ผ่าน บ้านสวายสอ บ้านด่าน บ้านโนนสวรรค์ บ้านโคกใหญ่ บ้านสระกอไทร ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสตึก ช่วงบุรีรัมย์ – ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ผ่าน บ้านสวายสอ บ้านด่าน บ้านโนนสวรรค์ บ้านโคกใหญ่ ถึงทางแยกทางเข้าท่าอากาศยานบุรีรัมย์ แยกขวาไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ อนุสรณ์ แก้วกังวาล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดบุรีรัมย์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดบุรีรัมย์ เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๑๒/๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๑
806982
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ 71 (พ.ศ. 2561) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดชลบุรี สายที่ 6268 ชลบุรี – บ้านดอนหัวฬ่อ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ ๗๑ (พ.ศ. ๒๕๖๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชลบุรี สายที่ ๖๒๖๘ ชลบุรี - บ้านดอนหัวฬ่อ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ ๗๐ (พ.ศ. ๒๕๕๙) ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดชลบุรี สายที่ ๗ รอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เป็น หมวด ๔ จังหวัดชลบุรี สายที่ ๖๒๖๘ ชลบุรี - บ้านดอนหัวฬ่อ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงชลบุรี - วัดอู่ตะเภา - บ้านดอนหัวฬ่อ ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรีพิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๙ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ โดยได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชลบุรี สายที่ ๖๒๖๘ ชลบุรี - บ้านดอนหัวฬ่อ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๖๒๖๘ ชลบุรี - บ้านดอนหัวฬ่อ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชลบุรี แยกขวาไปตามถนนวิบูลย์ธรรมรักษ์ แยกซ้าย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ถึงแยกเฉลิมไทยแยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕ (ถนนศุขประยูร) ถึงแยกศุขประยูรแยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๖๑ (ถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี) แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖๖ แยกขวาไปตามถนนบ้านเก่า - ดอนหัวฬ่อ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดอนหัวฬ่อ (บริเวณวัดดอนดำรงธรรม) ช่วงชลบุรี - วัดอู่ตะเภา - บ้านดอนหัวฬ่อ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชลบุรี แยกขวาไปตามถนนวิบูลย์ธรรมรักษ์ แยกซ้าย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ถึงแยกเฉลิมไทยแยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕ (ถนนศุขประยูร) ถึงแยกศุขประยูรแยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๖๑ (ถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี) กลับรถใต้ทางยกระดับ ไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนนวิบูลย์ธรรมรักษ์ ผ่านเทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ แยกขวาไปตามถนนบ้านเก่า - ดอนหัวฬ่อ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดอนหัวฬ่อ (บริเวณวัดดอนดำรงธรรม) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เชาวลิตร แสงอุทัย รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิมพ์มาดา/จัดทำ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๔๖ ง/หน้า ๕/๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๑
805338
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจเปรียบเทียบและแจ้งความร้องทุกข์ในคดีความผิดของผู้ให้บริการระบบติดตามรถ พ.ศ. 2561
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจเปรียบเทียบและแจ้งความร้องทุกข์ในคดีความผิดของผู้ให้บริการระบบติดตามรถ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจเปรียบเทียบและแจ้งความร้องทุกข์ในคดีความผิดตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๐ ไว้แล้ว นั้น โดยที่ผู้ให้บริการระบบติดตามรถมีการให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการกับผู้ให้บริการระบบติดตามรถที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ และข้อ ๓ ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๕/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงมอบอำนาจเปรียบเทียบและแจ้งความร้องทุกข์ในคดีความผิดตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจเปรียบเทียบและแจ้งความร้องทุกข์ในคดีความผิดตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๐ ข้อ ๒ ความผิดสำหรับผู้ให้บริการระบบติดตามรถที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ให้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิด (๑) ผู้ตรวจราชการกรม ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเดินรถระบบ GPS (๒) ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ (๓) ผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่งทางบก (๔) หัวหน้าฝ่ายตรวจการ กองตรวจการขนส่งทางบก (๕) หัวหน้าฝ่ายสืบสวน กองตรวจการขนส่งทางบก (๖) หัวหน้าฝ่ายเปรียบเทียบ กองตรวจการขนส่งทางบก (๗) หัวหน้าส่วนรับรองแบบรถ ส่วนรับรองแบบรถ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ (๘) ขนส่งจังหวัด (๙) หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัด ข้อ ๓ ให้บุคคลตามข้อ ๒ มีอำนาจในการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญากับผู้ให้บริการระบบติดตามรถที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ข้อ ๔ ให้ผู้รับมอบอำนาจตามข้อ ๓ มอบอำนาจช่วงให้แก่ข้าราชการหรือพนักงานราชการที่อยู่ในความควบคุมกำกับดูแลในการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้ ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก พัชรภรณ์/จัดทำ ๒๐ กรกฏาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง/หน้า ๒๗/๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804835
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดกำแพงเพชรกระทำการแทน พ.ศ. 2561
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดกำแพงเพชรกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๖๑ ด้วยได้มีประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งมีผลทำให้นายทะเบียนประจำจังหวัดมีอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดกำแพงเพชรจึงมอบหมายอำนาจหน้าที่นายทะเบียนประจำจังหวัดกำแพงเพชรให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดกำแพงเพชรกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดกำแพงเพชรให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดกำแพงเพชรกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๖๑” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียนประจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดกำแพงเพชรกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๔ การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกำแพงเพชรดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง นักวิชาการขนส่งชำนาญการ และนักวิชาการขนส่งปฏิบัติการของกลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่อง ข้อ ๕ การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกำแพงเพชรดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่อง และมอบหมายให้นักวิชาการขนส่งชำนาญการและนักวิชาการขนส่งปฏิบัติการของกลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๕ (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ข้อ ๖ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกำแพงเพชรดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียนตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่อง และมอบหมายให้นักวิชาการขนส่งชำนาญการและนักวิชาการขนส่งปฏิบัติการของกลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๖ (ข) ข้อ ๗ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกำแพงเพชรใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและมอบหมายให้นักวิชาการขนส่งชำนาญการของกลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๘ การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกำแพงเพชรเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง และมอบหมายให้นักวิชาการขนส่งชำนาญการของกลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๘ (ก) และ (ข) ข้อ ๙ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง และมอบหมายให้นักวิชาการขนส่งชำนาญการของกลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๑๐ การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในและภายนอกเขตจังหวัดกำแพงเพชร ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในและภายนอกเขตจังหวัดกำแพงเพชร หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๑๑ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ มอบหมายเจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้เป็นผู้กระทำการแทน (๑) หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถเป็นผู้กระทำการในข้อ ๑๑ (ก) ถึง (ซ) (๒) หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร สาขาอำเภอขาณุวรลักษบุรีเป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) (๓) เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน เจ้าพนักงานขนส่งปฏิบัติงานของฝ่ายทะเบียนรถและเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน เจ้าพนักงานขนส่งปฏิบัติงานของสำนักงานขนส่งจังหวัดกำแพงเพชรสาขาอำเภอขาณุวรลักษบุรี เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๑ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) (๔) เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานที่ปฏิบัติงานทะเบียนรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกของฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๑ (ก) ถึง (ซ) ข้อ ๑๒ การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถและหัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ รวมทั้งหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร สาขาอำเภอขาณุวรลักษบุรี เป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๑๓ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์ หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถและหัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ รวมทั้งหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร สาขาอำเภอขาณุวรลักษบุรี เป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๑๔ การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตขับรถปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต มอบหมายให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถและผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานของฝ่ายใบอนุญาตขับรถและหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร สาขาอำเภอขาณุวรลักษบุรี เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๔ (ก) ถึง (จ) และมอบหมายให้เจ้าพนักงานขนส่งปฏิบัติงานของฝ่ายใบอนุญาตขับรถและเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานและเจ้าพนักงานขนส่งปฏิบัติงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร สาขาอำเภอขาณุวรลักษบุรีเป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๔ (ข) และ (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ สุรชัย ทับยา ขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร นายทะเบียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร พรวิภา/จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๑๑/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804027
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเลย ฉบับที่ 72 (พ.ศ. 2561) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดเลย สายที่ 4457 เลย-บ้านปากหมาก ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเลย-ถนนร่วมใจ ท่าอากาศยานเลย เพิ่มอีก 1 ช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเลย ฉบับที่ ๗๒ (พ.ศ. ๒๕๖๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเลย สายที่ ๔๔๕๗ เลย - บ้านปากหมาก ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเลย - ถนนร่วมใจ - ท่าอากาศยานเลย เพิ่มอีก ๑ ช่วง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเลย ฉบับที่ ๕๑ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ลงวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๒ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเลย สายที่ ๔๔๕๗ เลย - บ้านปากหมาก ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเลย ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเลย ในการประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณา กิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๑ โดยได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเลย สายที่ ๔๔๕๗ เลย - บ้านปากหมาก ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเลย - ถนนร่วมใจ - ท่าอากาศยานเลย เพิ่มอีก ๑ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๔๕๗ เลย - บ้านปากหมาก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ แยกขวา ไปตามซอยเจริญรัฐ ๒ แยกซ้ายไปตามถนนเจริญรัฐ แยกซ้ายไปตามถนนร่วมใจ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านบ้านหนองผักก้าม บ้านปากภู บ้านหนองมะผาง บ้านนาอ้อถึงบ้านนาโคก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕๗ ผ่านบ้านท่าบุ่ง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านปากหมาก ช่วงเลย - บ้านท่ามะนาว เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ แยกขวาไปตามซอยเจริญรัฐ ๒ แยกซ้ายไปตามถนนเจริญรัฐ แยกซ้ายไปตามถนนร่วมใจ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านบ้านหนองผักก้าม บ้านปากภู บ้านหนองมะผาง ถึงบ้านนาอ้อ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลย. ๒๐๐๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทาง บ้านท่ามะนาว ช่วงเลย - บ้านโพนค่าย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ แยกขวาไปตามซอยเจริญรัฐ ๒ แยกซ้ายไปตามถนนเจริญรัฐ แยกซ้ายไปตามถนนร่วมใจ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านบ้านหนองผักก้าม บ้านปากภู แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโพนค่าย ช่างเลย - บ้านนาโคก - บ้านกกดู่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ แยกขวาไปตามซอยเจริญรัฐ ๒ แยกซ้ายไปตามถนนเจริญรัฐ แยกซ้ายไปตามถนนร่วมใจ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านบ้านหนองผักก้าม บ้านปากภู บ้านหนองมะผาง บ้านนาอ้อถึงบ้านนาโคก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลย. ๓๐๐๓ ผ่านบ้านใหม่พัฒนา บ้านนาม่วง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกกดู่ ช่วงเลย - ถนนร่วมใจ - ท่าอากาศยานเลย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ แยกขวาไปตามซอยเจริญรัฐ ๒ แยกซ้ายไปตามถนนเจริญรัฐ แยกซ้ายไปตามถนนร่วมใจ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางท่าอากาศยานเลย ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเลย [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเลย เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๓๗ ง/หน้า ๑๗/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๑
803605
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดหนองคาย เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดหนองคาย พ.ศ. 2560
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดหนองคาย เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดหนองคาย พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดหนองคายเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนได้ นายทะเบียนประจำจังหวัดหนองคายจึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดหนองคายกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดหนองคาย เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดหนองคาย พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (ง) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดได้อนุมัติไว้ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบกระทำการดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการดังนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ เปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๔ ให้นักวิชาการขนส่งในกลุ่มวิชาการขนส่ง ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓ (๑) และข้อ ๓ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนรถและภาษีรถดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งประราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายและเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (ฌ) การเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการทางทะเบียนรถ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานในฝ่ายทะเบียนรถ ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (จ) ข้อ ๕ (๒) และข้อ ๕ (๓) ข้อ ๘ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต (ฉ) การเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบอนุญาต ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานในฝ่ายใบอนุญาตขับรถ ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๘ (ข) (ค) (ฉ) ข้อ ๑๐ ในกรณีที่นายทะเบียนประจำจังหวัดหนองคายได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ปาหนัน ถนัดค้า ขนส่งจังหวัดหนองคาย นายทะเบียนประจำจังหวัดหนองคาย พิมพ์มาดา/จัดทำ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๒๒/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802025
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานี ฉบับที่ 110 (พ.ศ. 2561) เรื่อง การกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานี ฉบับที่ ๑๑๐ (พ.ศ. ๒๕๖๑) เรื่อง การกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานี ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานี ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๑ โดยได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดอุบลราชธานี สายที่ ๑๕ ท่าอากาศยานอุบลราชธานี - ทุ่งศรีเมือง - สถานีขนส่งผู้โดยสารเฉลิมพระเกียรติฯ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๑๕ ท่าอากาศยานอุบลราชธานี - ทุ่งศรีเมือง - สถานีขนส่งผู้โดยสารเฉลิมพระเกียรติฯ เริ่มต้นจากท่าอากาศยานอุบลราชธานี ไปตามถนนเทพโยธี ผ่านสี่แยกอุปลีสาน ผ่านสี่แยกสุริยาตร์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ผ่านสี่แยกพิชิตรังสรรค์ แยกขวาไปตามถนนพโลรังฤทธิ์ ทุ่งศรีเมือง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ถึงสี่แยกสรรพสิทธิ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒ ผ่านแยกกองบิน ๒๑ โรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี ถึงสี่แยกวนารมย์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารเฉลิมพระเกียรติฯ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ สฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานี เรื่อง กำหนดเส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปวันวิทย์/จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอน ๓๑ ง/หน้า ๓๑/๒๖ เมษายน ๒๕๖๑
802023
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแพร่ ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2561) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดแพร่ สายที่ 2592 แพร่ - บ้านป่าแดง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงแพร่ -ท่าอากาศยานแพร่
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแพร่ ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๖๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดแพร่ สายที่ ๒๕๙๒ แพร่ – บ้านป่าแดง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงแพร่ - ท่าอากาศยานแพร่[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแพร่ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ลงวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดแพร่ สายที่ ๒๕๙๒ แพร่ – บ้านป่าแดง ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแพร่ ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแพร่ ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๐ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ โดยได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดแพร่ สายที่ ๒๕๙๒ แพร่ – บ้านป่าแดง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงแพร่ – ท่าอากาศยานแพร่ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๒๕๙๒ แพร่ – บ้านป่าแดง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดแพร่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ (ถนนยันตรกิจโกศล) ถึงสี่แยกบ้านทุ่ง แยกซ้ายไปตามถนนช่อแฮ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๒๒ ผ่านโรงพยาบาลแพร่ บ้านนาจักร บ้านแต แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๐๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทาง บริเวณบ้านป่าแดง ช่วงแพร่ – ท่าอากาศแพร่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดแพร่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ (ถนนยันตรกิจโกศล) ถึงสี่แยกบ้านทุ่ง แยกซ้ายไปตามถนนช่อแฮ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๒๒ ผ่านโรงพยาบาลแพร่ แยกซ้ายไปตามถนนภายในท่าอากาศยาน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าอากาศยานแพร่ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ พงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแพร่ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแพร่ เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปวันวิทย์/จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอน ๓๑ ง/หน้า ๒๙/๒๖ เมษายน ๒๕๖๑
802021
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลก ฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2561) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดพิษณุโลก สายที่ 14 ห้างเซ็นทรัลพลาซาพิษณุโลก - สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ 2 เป็นห้างเซ็นทรัลพลาซาพิษณุโลก - ท่าอากาศยานพิษณุโลก - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ 1 - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ 2 - สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ 2
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลก ฉบับที่ ๕๑ (พ.ศ. ๒๕๖๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดพิษณุโลก สายที่ ๑๔ ห้างเซ็นทรัลพลาซาพิษณุโลก - สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ ๒ เป็นห้างเซ็นทรัลพลาซาพิษณุโลก - ท่าอากาศยานพิษณุโลก - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ ๑ - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ ๒ - สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ ๒[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลก ฉบับที่ ๔๖ (พ.ศ. ๒๕๕๖) ลงวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๖ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดพิษณุโลก สายที่ ๑๔ สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ ๑ - สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ ๒ เป็นห้างเซ็นทรัลพลาซาพิษณุโลก - สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ ๒ ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลก ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลก ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๑ โดยได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดพิษณุโลก สายที่ ๑๔ ห้างเซ็นทรัลพลาซาพิษณุโลก - สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ ๒ เป็นห้างเซ็นทรัลพลาซาพิษณุโลก-ท่าอากาศยานพิษณุโลก - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ ๑ - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ ๒ - สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ ๒ และแก้ไขชื่อสถานที่ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๔ ห้างเซ็นทรัลพลาซาพิษณุโลก - ท่าอากาศยานพิษณุโลก - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ ๑ - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ ๒ - สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ ๒ เริ่มต้นจากห้างเซ็นทรัลพลาซาพิษณุโลก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านสำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ ๑ ถึงแยกวัดคูหาสวรรค์ แยกขวาไปตามถนนพระร่วง ผ่านวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (วังจันทร์) ไปตามถนนนเรศวร ผ่านตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก สถานีรถไฟพิษณุโลก แยกขวาไปตามถนนเอกาทศรถ ถึงสามแยกเกษตร แยกซ้ายไปตามถนนราเมศวรถึงสำนักงานธนารักษ์พื้นที่พิษณุโลก แยกขวาไปตามถนนหลังโรงพยาบาลพุทธชินราช ผ่านโรงพยาบาลพุทธชินราช ถึงแยกมาลาเบี่ยง แยกซ้ายข้ามทางรถไฟ ถึงตลาดทรัพย์อนันต์ แยกขวาไปตามถนนศรีสุริโยทัยถึงแยกซอยโรงเรียนโรจน์วิทย์มาลาเบี่ยง แยกขวาไปตามถนนประสมประสาท ผ่านบ้านสนามบินใหม่ถึงหน้าท่าอากาศยานพิษณุโลก แยกซ้ายไปตามถนนท่าอากาศยานพิษณุโลก ผ่านสนามไดร์กอล์ฟภูชาวฟ้า ถึงท่าอากาศยานพิษณุโลก ย้อนกลับตามเส้นทางเดิม จนถึงสำนักงานธนารักษ์พื้นที่พิษณุโลก แยกขวาข้ามทางรถไฟ ไปตามถนนราเมศวรถึงแยกสนามบิน แยกซ้ายไปตามถนนพิชัยสงคราม ผ่านแขวงการทางพิษณุโลกที่ ๑ วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก ถึงแยกโคกมะตูม ผ่านวัดศรีวิสุทธาราม ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ ถึงแยกเรือนแพ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ ๑ ย้อนกลับตามเส้นทางเดิมจนถึงแยกเรือนแพ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต ๑๒ ภาคเหนือ ถึงแยกอินโดจีน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๖ ถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ ๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๖ ผ่านมหาวิทยาลัยพิษณุโลกไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ ๒ ประกาศ ณ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ ภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลก [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลก เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปวันวิทย์/จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอน ๓๑ ง/หน้า ๒๗/๒๖ เมษายน ๒๕๖๑
802019
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ฉบับที่ 66 (พ.ศ. 2561) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดชุมพร สายที่ 8356 ชุมพร – สะพลี – ปะทิว เป็น ชุมพร – ปะทิว – ท่าอากาศยานชุมพร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ฉบับที่ ๖๖ (พ.ศ. ๒๕๖๑) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชุมพร สายที่ ๘๓๕๖ ชุมพร – สะพลี – ปะทิว เป็น ชุมพร – ปะทิว – ท่าอากาศยานชุมพร[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ฉบับที่ ๓๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ลงวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๔๑ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชุมพร สายที่ ๘๓๕๖ ชุมพร – สะพลี – ปะทิว ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชุมพร สายที่ ๘๓๕๖ ชุมพร – สะพลี – ปะทิว เป็น ชุมพร – ปะทิว – ท่าอากาศยานชุมพร โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๘๓๕๖ ชุมพร – ปะทิว – ท่าอากาศยานชุมพร เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดชุมพร ไปตามถนนศาลาแดง ผ่านสถานีตำรวจภูธรเมืองชุมพร ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชพ. ๕๐๕๖ ผ่านศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๘๐ ผ่านแยกนาชะอัง วิทยาลัยเทคนิคชุมพร สะพลี ถึงแยกต้นมะขาม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๐๑ ผ่านบ้านทุ่งแหลมยาง ถึงแยกดอนตะเคียน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๐๑ ถึงแยกวัดเขาเจดีย์ แยกซ้ายไปตามถนนเจริญรัตน์ ผ่านที่ว่าการอำเภอปะทิว ถึงสถานีรถไฟปะทิว ย้อนกลับตามเส้นทางเดิม ถึงแยกวัดเขาเจดีย์ ไปตามถนนท้องถิ่นหมายเลข ชพ. ๒๐๐๓ (บ้านทองหลาง – บ้านบางจาก) ผ่านบ้านชุมโค แยกซ้ายไปตามถนนภายในท่าอากาศยาน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าอากาศยานชุมพร ประกาศ ณ วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ณรงค์ พลละเอียด ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร เรื่อง ปรับปรุงเส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปวันวิทย์/จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอน ๓๑ ง/หน้า ๒๕/๒๖ เมษายน ๒๕๖๑
801897
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ที่มีโทษปรับสถานเดียว
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบความผิด ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว[๑] ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้มีประกาศ เรื่อง มอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติมไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงการมอบอำนาจให้กับเจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการปฏิบัติงานและเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และมาตรา ๖๗ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบความผิดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ (๒) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๒ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว ที่ได้เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ มีอำนาจเปรียบเทียบความผิด (๑) ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาล หรือสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาล หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ (๒) พนักงานสอบสวนของกองบังคับการตำรวจจราจรซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่ารองสารวัตรขึ้นไปหรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ ข้อ ๓ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว ที่ได้เกิดขึ้นในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิด (๑) ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนซึ่งเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนตำรวจภูธรจังหวัดนั้น สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ (๒) ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธร หรือสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธร หรือสารวัตรสถานีตำรวจภูธรหรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ ข้อ ๔ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว ที่ได้เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครและในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกองบังคับการตำรวจทางหลวง ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิด (๑) ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง ผู้กำกับการตำรวจทางหลวง หัวหน้าสถานีตำรวจทางหลวงหรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้น ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ (๒) พนักงานสอบสวน สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปวันวิทย์/จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๑/๒๕ เมษายน ๒๕๖๑
800639
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการออกหลักฐานรับรองผลการเรียน พ.ศ. 2561
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการออกหลักฐานรับรองผลการเรียน พ.ศ. ๒๕๖๑[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการออกหนังสือรับรองผลการเรียน พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ไว้แล้วนั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการออกหลักฐานรับรองผลการเรียนสำหรับนำไปใช้ในการขอรับหรือขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถเสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการควบคุม กำกับ ดูแลโรงเรียนสอนขับรถ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๖ ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๖๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการออกหนังสือรับรองผลการเรียน พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ได้รับหนังสือรับรอง” หมายความว่า โรงเรียนสอนขับรถที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกให้สามารถอบรมและทดสอบได้ “หลักฐานรับรองผลการเรียน” หมายความว่า ข้อมูลผลการเรียนของผู้เข้ารับการอบรมจากโรงเรียนสอนขับรถ ที่สามารถนำไปใช้ประกอบการดำเนินการด้านใบอนุญาตขับรถกับกรมการขนส่งทางบกโดยบันทึกผ่านระบบงานโรงเรียนสอนขับรถอิเล็กทรอนิกส์ (e - Classroom) หรือดำเนินการในรูปแบบอื่นตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ข้อ ๓ ผู้ได้รับหนังสือรับรองที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ให้ได้รับสิทธิออกหลักฐานรับรองผลการเรียนภาคทฤษฎี (๑) ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับควบคุมกำกับดูแลการเรียนการสอนและการทดสอบ และใช้ระบบงานโรงเรียนสอนขับรถอิเล็กทรอนิกส์ (e - Classroom) ในการควบคุมกำกับดูแลการเรียนการสอนและการทดสอบครบทุกขั้นตอน (๒) ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง และข้อกำหนด ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนสอนขับรถได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง (๓) ไม่อยู่ในระหว่างถูกระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราว กรณีกรมการขนส่งทางบกมีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพโรงเรียนสอนขับรถ ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องดำเนินการจัดให้มีการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานดังกล่าวในระยะเวลาที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ข้อ ๔ ผู้ได้รับหนังสือรับรองที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ให้ได้รับสิทธิออกหลักฐานรับรองผลการเรียนภาคปฏิบัติ (๑) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข และไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามที่กำหนดในข้อ ๓ (๒) จัดให้มีคณะกรรมการดำเนินการทดสอบความสามารถในการขับรถ ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ และผ่านการประเมินความรู้ความสามารถจากกรมการขนส่งทางบกจำนวนไม่น้อยกว่า ๓ คน คณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้มีผู้ฝึกสอนที่ได้รับใบอนุญาตมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ เดือนเป็นประธานคณะกรรมการ (๓) ใช้เกณฑ์การวินิจฉัยการทดสอบขับรถตามมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบก (๔) บันทึกผลการทดสอบในระบบงานโรงเรียนสอนขับรถอิเล็กทรอนิกส์ (e - Classroom) ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก พิมพ์มาดา/จัดทำ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๕/๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑
800088
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยนาท ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2561) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งปรำจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 604 ชัยนาท - หูช้าง เป็นหมวด 4 จังหวัดชัยนาท สายที่ 2682 ชัยนาท - บ้านกะบกเตี้ย
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชัยนาท ฉบับที่ ๑๙ (พ.ศ. ๒๕๖๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๐๔ ชัยนาท – หูช้าง เป็นหมวด ๔ จังหวัดชัยนาท สายที่ ๒๖๘๒ ชัยนาท – บ้านกะบกเตี้ย[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๒๕๘ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๐๔ ชัยนาท – หูช้าง ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยนาทได้พิจารณาเห็นสมควร ให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยนาท ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุม ครั้งที่ ๗/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๐ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๐๔ ชัยนาท – หูช้าง เป็น หมวด ๔ จังหวัดชัยนาท สายที่ ๒๖๘๒ ชัยนาท – บ้านกะบกเตี้ย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๒๖๘๒ ชัยนาท – บ้านกะบกเตี้ย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยนาท ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านวิทยาลัยเทคนิคชัยนาท ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ผ่านบ้านวังไผ่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๑๐ ผ่านวัดใหม่สรรคบุรีวิทยา แยกขวาไปตามถนนหน้าพระลาน ถึงอำเภอสรรคบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖๕ ถึงแยกอำเภอสรรคบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ผ่านโรงพยาบาลสรรคบุรี ถึงแยกวังกะชาย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑๑ ผ่านอำเภอหันคา อำเภอเนินขาม บ้านวังคอไห บ้านสุขเดือนห้า ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกะบกเตี้ย ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ รณภพ เหลืองไพโรจน ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยนาท [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยนาท เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภูมิกิติ/จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๒๒ ง/หน้า ๗๘/๒๒ มีนาคม ๒๕๖๑
799706
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะ ระบบการทำงาน สมรรถนะของอุปกรณ์ต่อพ่วงและการให้ความเห็นชอบอุปกรณ์ต่อพ่วง สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2561
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะ ระบบการทำงาน สมรรถนะของอุปกรณ์ต่อพ่วง และการให้ความเห็นชอบอุปกรณ์ต่อพ่วง สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๖๑ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๖ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความใน พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และข้อ ๑๘ (๑) (ซ) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “อุปกรณ์ต่อพ่วง” หมายความว่า ชุดอุปกรณ์ที่ใช้ต่อพ่วงรถอย่างน้อย ๒ คัน เข้าเป็นขบวน เพื่อให้เคลื่อนที่ไปด้วยกัน ได้แก่ (๑) จานพ่วง (Fifth wheel) ที่ติดตั้งกับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๙ (๒) สลักพ่วง (King pin) ที่ติดตั้งกับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๗ หรือลักษณะ ๘ (๓) ข้อต่อพ่วง (Coupling) ที่ติดตั้งกับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๑ ลักษณะ ๒ ลักษณะ ๓ ลักษณะ ๔ ลักษณะ ๕ และลักษณะ ๙ (๔) ห่วงลากพ่วง (Drawbar eye) ที่ติดตั้งกับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๖ ข้อ ๒ อุปกรณ์ต่อพ่วงของรถต้องมีคุณลักษณะ ระบบการทำงาน และสมรรถนะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีลักษณะ ขนาด ระบบการทำงาน และสมรรถนะ ตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๑ ภาคผนวก ๒ ภาคผนวก ๓ หรือภาคผนวก ๔ หรือเป็นไปตามข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการ เศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ข้อกำหนดที่ ๕๕ ว่าด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วงเชิงกลสำหรับยานยนต์ อนุกรม ๐๑ (United Nations Economic Commission for Europe Regulation No. ๕๕ - The Approval of Mechanical Coupling Components of Combinations of Vehicles, Series ๐๑) หรือสูงกว่า หรือเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมว่าด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วงเชิงกล สำหรับยานยนต์ มอก. ๒๓๐๗ - ๒๕๔๙ หรือสูงกว่า กรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นสำหรับรถที่มีลักษณะการใช้งานเฉพาะกิจ อุปกรณ์ต่อพ่วงของรถนั้นอาจมีขนาดไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๑ ภาคผนวก ๒ ภาคผนวก ๓ หรือภาคผนวก ๔ ได้ (๒) ผ่านการทดสอบความแข็งแรงและการทำงานตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๕ จากหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับจากกรมการขนส่งทางบก เว้นแต่อุปกรณ์ต่อพ่วงนั้นเป็นไปตามข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ข้อกำหนดที่ ๕๕ ว่าด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วงเชิงกลสำหรับยานยนต์ อนุกรม ๐๑ (United Nations Economic Commission for Europe Regulation No. ๕๕ - The Approval of Mechanical Coupling Components of Combinations of Vehicles, Series ๐๑) หรือสูงกว่า หรือเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมว่าด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วงเชิงกลสำหรับยานยนต์ มอก. ๒๓๐๗ - ๒๕๔๙ หรือสูงกว่า ให้ได้รับยกเว้นการทดสอบ แต่ต้องยื่นรายละเอียดของอุปกรณ์ต่อพ่วงและหนังสือรับรองผลการทดสอบ พร้อมชื่อและที่อยู่ของหน่วยงานที่ทำการทดสอบประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบ หน่วยงานตามวรรคหนึ่งต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการทดสอบอุปกรณ์ต่อพ่วงด้วย การทดสอบตามวรรคหนึ่งอาจใช้วิธีจำลองด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Aided Engineering : CAE) ได้ โดยผลการทดสอบจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น ต้องได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานของรัฐ และได้รับการยอมรับจากกรมการขนส่งทางบกว่ามีคุณภาพเทียบเท่าผลการทดสอบตามภาคผนวก ๕ (๓) อุปกรณ์ต่อพ่วงและส่วนประกอบต้องทำจากเหล็กกล้า หรือวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติเทียบเท่า (๔) สามารถทำการต่อพ่วงหรือปลดการต่อพ่วงได้ด้วยคนเพียงคนเดียว โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ช่วย (๕) มีการออกแบบกลไกให้มีการล็อกตัวเองโดยอัตโนมัติและต้องไม่หลุดหรือปลดล็อกได้เองภายใต้แรงใด ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการใช้งานตามปกติหรือการทดสอบ และต้องมีกลไกการล็อกด้วยมืออีกชั้นหนึ่ง ซึ่งในตำแหน่งปิดล็อกจะต้องมีสปริงเพื่อป้องกันการหลุดหรือปลดล็อก โดยแรงของสปริงที่ใช้เพื่อปิดล็อกอุปกรณ์ ต้องสามารถป้องกันส่วนของอุปกรณ์เคลื่อนไปสู่ตำแหน่งที่อาจเปิดหรือปลดล็อกได้เองจากการสั่นสะเทือน และหากสปริงของระบบล็อกอัตโนมัติหรือระบบล็อกด้วยมือตัวใดตัวหนึ่งไม่ทำงานต้องไม่มีผลทำให้อุปกรณ์ต่อพ่วงเปิดหรือปลดล็อกได้ (๖) อุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับรถพ่วงที่มีเพลาตรงกลาง (Center axel trailers) ซึ่งเป็นรถที่มีแขนพ่วง ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ในแนวดิ่งได้อย่างอิสระ และมีเพลาล้อเพลาเดียวหรือหลายเพลาอยู่ในตำแหน่งศูนย์ถ่วงของรถพ่วง เมื่อมีการบรรทุกอย่างสม่ำเสมอเต็มพื้นที่บรรทุก (Uniformly loaded) แรงในแนวดิ่งที่กระทำบนข้อต่อพ่วงต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของน้ำหนักรวมสูงสุด (GVW.) ของรถพ่วงหรือ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม แล้วแต่ค่าใดจะน้อยกว่า ข้อ ๓ อุปกรณ์ต่อพ่วงต้องผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ หรือ TS ๑๖๙๔๙ หรือ มอก. ๙๐๐๑ - ๒๕๕๒ หรือมาตรฐานที่สูงกว่า อุปกรณ์ต่อพ่วงต้องมีเครื่องหมายหรือฉลากที่มีรายละเอียดตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๗ ข้อ ๔ การขอรับความเห็นชอบจานพ่วงสำหรับรถลักษณะ ๙ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับรถลักษณะ ๑ ลักษณะ ๒ ลักษณะ ๓ ลักษณะ ๔ ลักษณะ ๕ ลักษณะ ๖ ลักษณะ ๗ ลักษณะ ๘ หรือลักษณะ ๙ แล้วแต่กรณี ให้ยื่น ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังนี้ (๑) เอกสารประจำตัวของผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้จำหน่าย ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือรับรองนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มีอำนาจลงนาม ในกรณีเป็นนิติบุคคล (๒) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) และหลักฐานประจำตัวผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (๓) รายละเอียดข้อมูลของจานพ่วงหรืออุปกรณ์ต่อพ่วงดังนี้ (ก) ชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายการค้า (ข) ชื่อผู้ผลิตและที่อยู่ (ค) ชื่อและที่อยู่ของผู้ขอรับความเห็นชอบ (ง) ประเภทของอุปกรณ์และแบบรุ่น (จ) แบบที่แสดงขนาด (ฉ) ค่าคุณลักษณะทางกล ตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๖ (ช) คู่มือหรือข้อแนะนำในการติดตั้ง การใช้งาน และการบำรุงรักษา (ซ) หน่วยงานที่ทดสอบ วันที่ทำการทดสอบ และผลการทดสอบ (ฌ) ตัวอย่างการทำเครื่องหมายหรือฉลาก ข้อ ๕ อุปกรณ์ต่อพ่วงที่เป็นไปตามข้อ ๒ และได้มีการปฏิบัติครบถ้วนถูกต้องตามข้อ ๓ กรมการขนส่งทางบกจะพิจารณาให้ความเห็นชอบอุปกรณ์ต่อพ่วงนั้น ข้อ ๖[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถดังต่อไปนี้ เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (๑) รถที่จดทะเบียนใหม่ (๒) รถที่จดทะเบียนไว้แล้วแต่มีการเปลี่ยนตัวถังหรือเปลี่ยนลักษณะรถ (๓) รถที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่และมีการเปลี่ยนตัวถังหรือเปลี่ยนลักษณะรถ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ภาคผนวก ๑ ลักษณะ ขนาด ระบบการทำงาน และสมรรถนะของจานพ่วง (Fifth wheel) ๒. ภาคผนวก ๒ ลักษณะ ขนาด ระบบการทำงาน และสมรรถนะของสลักพ่วง (King pin) ๓. ภาคผนวก ๓ ลักษณะ ขนาด ระบบการทำงาน และสมรรถนะของข้อต่อพ่วง (Coupling) ๔. ภาคผนวก ๔ ลักษณะ ขนาด ระบบการทำงาน และสมรรถนะของห่วงลากพ่วง (Drawbar eye) ๕. ภาคผนวก ๕ การทดสอบอุปกรณ์ต่อพ่วง ๖. ภาคผนวก ๖ ค่าคุณลักษณะทางกลของอุปกรณ์ต่อพ่วง ๗. ภาคผนวก ๗ การทำเครื่องหมายและฉลากของอุปกรณ์ต่อพ่วง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภูมิกิติ/จัดทำ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๘/๒๑ มีนาคม ๒๕๖๑
799354
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย[๑] ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ประกาศกำหนดให้บริเวณที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒๔๕๐ ๑๒๔๕๑ ๑๒๔๕๒ ๑๒๔๕๕ ๑๒๔๖๑ ๑๒๔๖๕ ๑๓๓๘๖ และ ๑๓๔๓๖ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย เป็นสถานที่ใช้เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ง ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๐ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และกรมการขนส่งทางบกได้ออกใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย ตามความในมาตรา ๑๑๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ กำหนดอายุใบอนุญาต ๒๐ ปี ตั้งแต่วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๐ ครบกำหนดวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ นั้น เนื่องจากใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลยได้สิ้นอายุลง ประกอบกับผู้ขอรับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จึงประกาศยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลยดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปวันวิทย์/จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๑๑/๑๖ มีนาคม ๒๕๖๑
799348
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น[๑] ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ประกาศกำหนดให้บริเวณที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๕๗ ตำบลหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น เป็นสถานที่ใช้เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๑๑ ง ลงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และกรมการขนส่งทางบกได้ออกใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ตามความในมาตรา ๑๑๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยกำหนดอายุใบอนุญาต ๒๐ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ ครบกำหนดวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ นั้น เนื่องจากใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่นได้สิ้นอายุลง ประกอบกับผู้ขอรับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจึงประกาศยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปวันวิทย์/จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๑๐/๑๖ มีนาคม ๒๕๖๑
799344
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายก
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายก[๑] ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ประกาศกำหนดให้บริเวณที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒๘๙ ตำบลวังกระโจม อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เป็นสถานที่ใช้เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายก โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๓๐ ลงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และกรมการขนส่งทางบกได้ออกใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายก ตามความในมาตรา ๑๑๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ครบกำหนดวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๐ นั้น เนื่องจากใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายกได้สิ้นอายุลง ประกอบกับผู้ขอรับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจึงประกาศยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายกดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปวันวิทย์/จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๙/๑๖ มีนาคม ๒๕๖๑
797767
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุโขทัย ฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2561) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุโขทัย ฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๖๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุโขทัยได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำ จังหวัดสุโขทัย ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๐ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ โดยได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุโขทัยสายที่ ๒๖๘๓ สุโขทัย - สนามบินสุโขทัย – อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้คือ สายที่ ๒๖๘๓ สุโขทัย - สนามบินสุโขทัย - อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุโขทัย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ถึงสถานีวิทยุกองทัพภาคที่ ๓ (เอเอ็ม) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๙๕ ผ่านบ้านบางคลอง บ้านทับผึ้ง บ้านวังทอง บ้านหนองแหน บ้านวัดเกาะ ถึงแยกสนามบินสุโขทัย แยกซ้ายไปตามถนนภายในสนามบิน ถึงสนามบินสุโขทัย ย้อนกลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๙๕ ผ่านบ้านไทรย้อย บ้านย่านยาว ถึงบ้านวังไม้ขอน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๘ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๐๑ ผ่านบ้านคุ้งยาง บ้านป่ากุมเกาะ บ้านตลิ่งชัน บ้านหนองช้าง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๔๐๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ช่วงสุโขทัย - สนามบินสุโขทัย - สถานีรถไฟสวรรคโลก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุโขทัย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ถึงสถานีวิทยุกองทัพภาคที่ ๓ (เอเอ็ม) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๙๕ ผ่านบ้านบางคลอง บ้านทับผึ้ง บ้านวังทอง บ้านหนองแหน บ้านวัดเกาะ ถึงแยกสนามบินสุโขทัย แยกซ้ายไปตามถนนภายในสนามบิน ถึงสนามบินสุโขทัย ย้อนกลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๙๕ ผ่านบ้านไทรย้อย บ้านย่านยาว ถึงบ้านวังไม้ขอน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๘ ถึงแยกโรงพยาบาลสวรรคโลก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสถานีรถไฟสวรรคโลก ประกาศ ณ วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ พิพัฒน์ เอกภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุโขทัย [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุโขทัย เรื่อง กำหนดเส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๔๑/๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
796209
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมหาสารคาม ฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2560) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดมหาสารคาม สายที่ 4536 บรบือ - โกสุมพิสัย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงบรบือ - บ้านปอแดง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมหาสารคาม ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมหาสารคาม ฉบับที่ ๕๑ (พ.ศ. ๒๕๖๐) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดมหาสารคาม สายที่ ๔๕๓๖ บรบือ – โกสุมพิสัย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงบรบือ – บ้านปอแดง [๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมหาสารคาม ฉบับที่ ๓๔ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ลงวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๐ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดมหาสารคาม สายที่ ๔๕๓๖ บรบือ – โกสุมพิสัย ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมหาสารคาม ได้พิจารณาเห็นสมควร ให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมหาสารคาม ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณา กิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ โดยได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุม ครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดมหาสารคาม สายที่ ๔๕๓๖ บรบือ – โกสุมพิสัย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงบรบือ – บ้านปอแดง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๕๓๖ บรบือ – โกสุมพิสัย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบรบือ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓ แยกขวาไปตามถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัดหมายเลข มค.ถ๑-๐๐๗๗ ผ่านบ้านหนองแสง บ้านวังโจด บ้านวังทอง บ้านโชคชัย บ้านหัวนา ถึงบ้านสำโรง ตรงไปตามถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัดหมายเลข มค.ถ ๑-๐๐๓๖ ผ่านบ้านแท่น บ้านเขวา ถึงบ้านหัวขัว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๘ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอโกสุมพิสัย ช่วงบรบือ – บ้านปอแดง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบรบือ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข มค. ๒๐๓๔ ผ่านบ้านบ่อแก บ้านหนองบอน บ้านโสกคลอง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านปอแดง ประกาศ ณ วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เสน่ห์ นนทะโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำ จังหวัดมหาสารคาม [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมหาสารคาม เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปวันวิทย์/จัดทำ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอน ๙ ง/หน้า ๓๐/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
796207
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราด ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2560) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดตราด สายที่ 6157 ตราด - กิ่งอำเภอบ่อไร่ (ก) เป็น ตราด - เขาสมิง - บ่อไร่ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตราด - บ้านเนิน 400
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราด ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราด ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ. ๒๕๖๐) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตราด สายที่ ๖๑๕๗ ตราด – กิ่งอำเภอบ่อไร่ (ก) เป็น ตราด – เขาสมิง – บ่อไร่ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตราด – บ้านเนิน ๔๐๐ [๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราด ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๒๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตราด สายที่ ๖๑๕๗ ตราด – กิ่งอำเภอบ่อไร่ (ก) ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราดได้พิจารณาเห็นสมควร ให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราด ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ โดยได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตราด สายที่ ๖๑๕๗ ตราด – กิ่งอำเภอบ่อไร่ (ก) เป็น ตราด – เขาสมิง – บ่อไร่ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตราด – บ้านเนิน ๔๐๐ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๖๑๕๗ ตราด – เขาสมิง – บ่อไร่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตราด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านอำเภอเขาสมิง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕๙ ผ่านบ้านวังตะเคียน บ้านโป่ง บ้านสระใหญ่ จนถึงสี่แยกบ้านนนทรีย์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕๗ ผ่านบ้านตากแว้ง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณอำเภอบ่อไร ช่วงตราด – บ้านเนิน ๔๐๐ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตราด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านอำเภอเขาสมิง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕๙ ผ่านบ้านวังตะเคียน บ้านโป่ง บ้านสระใหญ่ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ตร.๔๐๒๖ ผ่านบ้านมะม่วง บ้านคลองเกศ ไปสุดเส้นทางบริเวณบ้านเนิน ๔๐๐ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ประเสริฐ ลือชาธนานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราด [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราด เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปวันวิทย์/จัดทำ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอน ๙ ง/หน้า ๒๘/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
795776
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถในส่วนของที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถ ในส่วนของที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถ ในส่วนของที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ไว้แล้ว นั้น โดยที่การให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถในส่วนของที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารตามประกาศดังกล่าว จำเป็นต้องทดสอบด้วยเครื่องทดสอบที่ได้มาตรฐานสากล และต้องสามารถทำการทดสอบได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ผลิตหรือประกอบรถสามารถนำเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบดังกล่าวเข้ารับการทดสอบได้อย่างเพียงพอต่อเนื่องตลอดเวลา ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความใน (ฎ) และวรรคสองของข้อ ๑ (๒) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และ (ณ) ของข้อ ๑ (๒) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๖ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบตัวถังรถ ในส่วนของที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถตามเงื่อนเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่จดทะเบียนใหม่ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป เว้นแต่รถนั้นมีการผลิต ประกอบ นำเข้า ตามแบบรถที่ได้รับความเห็นชอบก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๒ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๓ เป็นต้นไป (๒) รถที่เปลี่ยนตัวถัง หรือรถที่แจ้งเลิกใช้ตามมาตรา ๗๙ ซึ่งมีการเปลี่ยนตัวถังและนำมาจดทะเบียนใหม่ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป” ประกาศ ณ วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก พรวิภา/จัดทำ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๑๔/๒๖ มกราคม ๒๕๖๑
795748
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดหนองบัวลำภู ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2560) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 528 ศรีบุญเรือง - อุบลรัตน์ เป็น หมวด 4 จังหวัดหนองบัวลำภู สายที่ 4719 ศรีบุญเรือง -บ้านท่าศิลา
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๖๐) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๒๘ ศรีบุญเรือง – อุบลรัตน์ เป็น หมวด ๔ จังหวัดหนองบัวลำภู สายที่ ๔๗๑๙ ศรีบุญเรือง – บ้านท่าศิลา[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๗๓๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ลงวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๒๘ ศรีบุญเรือง – อุบลรัตน์ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงศรีบุญเรือง – หาดโนนยาว เพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดหนองบัวลำภูได้พิจารณาเห็นสมควร ให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้นอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดหนองบัวลำภู ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๙ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๐ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๒๘ ศรีบุญเรือง – อุบลรัตน์ เป็น หมวด ๔ จังหวัดหนองบัวลำภู สายที่ ๔๗๑๙ ศรีบุญเรือง – บ้านท่าศิลา และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๒ ช่วง คือ ช่วงศรีบุญเรือง – หาดโนนยาว และช่วงโนนสัง – บ้านดอนปอ – ศรีบุญเรือง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๔๗๑๙ ศรีบุญเรือง – บ้านท่าศิลา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอศรีบุญเรือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๘ ถึงบ้านโนนสูงเปือย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นภ.๔๐๐๖ ผ่านบ้านนาแพง บ้านห้วยวังทอง บ้านเหล่านาดี บ้านดอนข่า แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นภ.๓๐๐๓ ถึงบ้านสร้างเสี่ยน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นภ.๖๐๐๒ ผ่านบ้านโคกม่วง บ้านข่าน้อย บ้านโนนตาล บ้านหนองกุงจารย์ผาง บ้านหนองเหมือดแอ่ บ้านหนองกุงคำไฮ บ้านฝายหิน ถึงอำเภอโนนสัง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔๖ ผ่านบ้านโนนศิลา ถึงบ้านโสกจาน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔๖ ผ่านบ้านโคกป่ากุง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าศิลา ช่วงศรีบุญเรือง – หาดโนนยาว เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอศรีบุญเรือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๘ ถึงบ้านโนนสูงเปือย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นภ.๔๐๐๖ ผ่านบ้านนาแพง บ้านห้วยวังทอง บ้านเหล่านาดี บ้านดอนข่า แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นภ.๓๐๐๓ ถึงบ้านสร้างเสี่ยน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นภ.๖๐๐๒ ผ่านบ้านโคกม่วง บ้านข่าน้อย บ้านโนนตาล บ้านหนองกุงจารย์ผาง บ้านหนองเหมือดแอ่ บ้านหนองกุงคำไฮ บ้านฝายหิน ถึงอำเภอโนนสัง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นภ.๖๐๑๑ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านโคกป่ากุง บ้านนาล้อม บ้านหนองโน บ้านหนองสะแบง บ้านหนองตานา บ้านโคกใหญ่ บ้านโนนยาวไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่ จอดรถโดยสารประจำทางหาดโนนยาว ช่วงโนนสัง – บ้านดอนปอ – ศรีบุญเรือง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทาง อำเภอโนนสัง ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นภ.๖๐๐๒ ผ่านบ้านฝายหิน บ้านหนองกุงคำไฮ บ้านหนองเหมือดแอ่ บ้านหนองกุงจารย์ผาง บ้านโนนตาล บ้านข่าน้อย ถึงบ้านโคกม่วง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านแมด บ้านตาดไฮ บ้านหนองปิง บ้านบุ่งบก บ้านดอนปอ บ้านนาทับควาย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๘ ผ่านบ้านโนนสูงเปือย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอศรีบุญเรือง ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เวียงชัย แก้วพินิจ ปลัดจังหวัด รักษาการในตำแหน่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดหนองบัวลำภู [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดหนองบัวลำภู เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/จัดทำ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๗ ง/หน้า ๑๗/๒๕ มกราคม ๒๕๖๑
795746
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2560) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 333ราชบุรี - สมุทรสงคราม (ค) เป็น หมวด 4 จังหวัดสมุทรสงคราม สายที่ 8591 สมุทรสงคราม - วัดเจริญสุขารามวรวิหาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ฉบับที่ ๕๕ (พ.ศ. ๒๕๖๐) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๓๓ ราชบุรี – สมุทรสงคราม (ค) เป็น หมวด ๔ จังหวัดสมุทรสงคราม สายที่ ๘๕๙๑ สมุทรสงคราม – วัดเจริญสุขารามวรวิหาร[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๗๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๓๓ ราชบุรี – สมุทรสงคราม (ค) โดยยกเลิกการเดินรถแยก ช่วงสมุทรสงคราม – บ้านบางสะแก ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ได้พิจารณาเห็นสมควร ให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๐ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๓๓ ราชบุรี – สมุทรสงคราม (ค) เป็น หมวด ๔ จังหวัดสมุทรสงคราม สายที่ ๘๕๙๑ สมุทรสงคราม – วัดเจริญสุขารามวรวิหาร โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๘๕๙๑ สมุทรสงคราม – วัดเจริญสุขารามวรวิหาร เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสงคราม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕ แยกซ้ายไปตามถนนประชาเศรษฐ ผ่านอำเภออัมพวา โรงพยาบาลนภาลัย อำเภอ บางคนที บ้านบางนกแขวก แยกขวาเข้าซอยวัดเจริญสุขารามวรวิหาร ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่ จอดรถโดยสารประจำทางวัดเจริญสุขารามวรวิหาร ช่วงสมุทรสงคราม - หมู่บ้านโรงเจอัมพวา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสงคราม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕ แยกซ้ายไปตามถนนประชาเศรษฐ ผ่านอำเภออัมพวา ถึงวัดอัมพวันเจติยาราม แยกขวาไปตามถนนประชาอุทิศ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้าน โรงเจอัมพวา ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ คันฉัตร ตันเสถียร ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงคราม [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงคราม เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/จัดทำ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๗ ง/หน้า ๑๕/๒๕ มกราคม ๒๕๖๑
795744
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ 66 (พ.ศ. 2560) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดตาก สายที่ 2565 ปากทางเขื่อนภูมิพล - ประตูทางเข้าเขื่อนภูมิพล โดยให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน 2 ช่วง คือ ช่วงปากทางเขื่อนภูมิพล - บ้านวังโพ และช่วงปากทางเขื่อนภูมิพล - บ้านป่ายาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๖๖ (พ.ศ. ๒๕๖๐) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตาก สายที่ ๒๕๖๕ ปากทางเขื่อนภูมิพล - ประตูทางเข้าเขื่อนภูมิพล โดยให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๒ ช่วง คือ ช่วงปากทางเขื่อนภูมิพล - บ้านวังโพ และช่วงปากทางเขื่อนภูมิพล - บ้านป่ายาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ลงวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตาก สายที่ ๒๕๖๕ ปากทางเขื่อนภูมิพล - ประตูทางเข้าเขื่อนภูมิพล ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๐ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๐ โดยได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตาก สายที่ ๒๕๖๕ ปากทางเขื่อนภูมิพล – ประตูทางเข้าเขื่อนภูมิพล โดยให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงจำนวน ๒ ช่วง คือ ช่วงปากทางเขื่อนภูมิพล - บ้านวังโพ และช่วงปากทางเขื่อนภูมิพล - บ้านป่ายาง และให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๒๕๖๕ ปากทางเขื่อนภูมิพล - ประตูทางเข้าเขื่อนภูมิพล เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางเขื่อนภูมิพล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๓๕๗ ผ่านบ้านวังหมัน บ้านวังไคร้ บ้านท่าปุย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณประตูทางเข้าเขื่อนภูมิพล ช่วงประตูทางเข้าเขื่อนภูมิพล - บ้านแม่ระวานสองแคว เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณประตูทางเข้าเขื่อนภูมิพล ผ่านอำเภอสามเงา ถึงทางแยกสนามบินเขื่อน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ตก ๔๐๑๑ ผ่านบ้านใหม่สามัคคี บ้านวังน้ำผึ้ง บ้านท่าไผ่ บ้านหนองเชียงคา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านแม่ระวานสองแคว ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สุทธา สายวาณิชย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตาก เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/จัดทำ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๗ ง/หน้า ๑๓/๒๕ มกราคม ๒๕๖๑
795742
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2560) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 800 ชัยภูมิ - บ้านโมกมัน เป็น หมวด 4 จังหวัดชัยภูมิ สายที่ 4718 ชัยภูมิ - บ้านหนองแหน
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชัยภูมิ ฉบับที่ ๕๕ (พ.ศ. ๒๕๖๐) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง ) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๘๐๐ ชัยภูมิ – บ้านโมกมัน เป็น หมวด ๔ จังหวัดชัยภูมิ สายที่ ๔๗๑๘ ชัยภูมิ – บ้านหนองแหน[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๙๖๓ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๓๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชัยภูมิ สายที่ ๔๒๔๘ ชัยภูมิ – บ้านหนองแหน เป็น หมวด ๓ สายที่ ๘๐๐ ชัยภูมิ – บ้านโมกมัน และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มอีก ๑ ช่วง ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิได้พิจารณาเห็นสมควร ให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๘๐๐ ชัยภูมิ – บ้านโมกมันเป็น หมวด ๔ จังหวัดชัยภูมิ สายที่ ๔๗๑๘ ชัยภูมิ – บ้านหนองแหน และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๒ ช่วง คือ ช่วงชัยภูมิ – บ้านหนองเขื่อง และช่วงชัยภูมิ – บ้านกุดเวียน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๔๗๑๘ ชัยภูมิ – บ้านหนองแหน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านบ้านห้วยหลัว ถึงบ้านกุดละลม แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชย. ๑๑๐๓๒ ผ่านบ้านหนองไผ่ บ้านหนองทุ่ม บ้านศรีษะกระบือ บ้านดอนกู่ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทาง บ้านหนองแหน ช่วงชัยภูมิ – บ้านหนองเขื่อง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านบ้านห้วยหลัว ถึงบ้านกุดละลม แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชย. ๑๑๐๓๒ ถึงบ้านหนองไผ่ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านโนนสำราญ ถึงบ้านกระพี้ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทผ่านบ้านดอนขวาง ถึงบ้านแจ้งน้อย แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท หมายเลข ชย. ๑๑๐๐๗ ผ่านบ้านดอนหัน บ้านดอนกู่ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองเขื่อง ช่วงชัยภูมิ – บ้านกุดเวียน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านบ้านห้วยหลัว ถึงบ้านกุดละลม แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชย. ๑๑๐๓๒ ถึงบ้านหนองไผ่ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านโนนสำราญ ถึงบ้านกระพี้แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านดอนขวาง ถึงบ้านแจ้งน้อย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชย. ๑๑๐๐๗ ผ่านบ้านโสกหว้า ถึงทางแยกบ้านแจ้งจิก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทผ่านบ้านแจ้งจิก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกุดเวียน ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ชูศักดิ์ ตรีสาร ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/จัดทำ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๗ ง/หน้า ๑๑/๒๕ มกราคม ๒๕๖๑
795740
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ ฉบับที่ 54 (พ.ศ. 2560) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดชัยภูมิ สายที่ 4159 จัตุรัส - ภักดีชุมพล โดยให้ยกเลิกเส้นทางแยกช่วง จำนวน 5 ช่วง คือ ช่วงจัตุรัส - บ้านห้วยบง ช่วงจัตุรัส - บ้านโนนจาน ช่วงจัตุรัส - บ้านซับใหญ่ ช่วงจัตุรัส - บ้านซับหวาย และช่วงจัตุรัส - บ้านวังอ้ายจีด
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชัยภูมิ ฉบับที่ ๕๔ (พ.ศ. ๒๕๖๐) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง ) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชัยภูมิ สายที่ ๔๑๕๙ จัตุรัส – ภักดีชุมพล โดยให้ยกเลิกเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๕ ช่วง คือ ช่วงจัตุรัส – บ้านห้วยบง ช่วงจัตุรัส – บ้านโนนจาน ช่วงจัตุรัส – บ้านซับใหญ่ ช่วงจัตุรัส – บ้านซับหวาย และช่วงจัตุรัส – บ้านวังอ้ายจีด[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๓๖ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชัยภูมิ สายที่ ๔๑๕๙ จัตุรัส – บ้านน้อยศิลาทองเป็น จัตุรัส – ภักดีชุมพล ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ใ นการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ โดยได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชัยภูมิ สายที่ ๔๑๕๙ จัตุรัส – ภักดีชุมพล โดยให้ยกเลิกเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๕ ช่วง คือ ช่วงจัตุรัส – บ้านห้วยบง ช่วงจัตุรัส – บ้านโนนจาน ช่วงจัตุรัส – บ้านซับใหญ่ ช่วงจัตุรัส – บ้านซับหวาย และช่วงจัตุรัส – บ้านวังอ้ายจีด และให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๔๑๕๙ จัตุรัส – ภักดีชุมพล เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอจัตุรัส ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ถึงบ้านหนองบัวใหญ่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๗๐ ผ่านบ้านมะเกลือ บ้านหนองบัวบาน บ้านส้มป่อย ถึงอำเภอหนองบัวระเหว ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕ ผ่านบ้านวังตะเฆ่ บ้านวังกะทะ บ้านท่าโป่ง บ้านศิลาทอง บ้านซับมงคล ถึงบ้านเจาทอง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท หมายเลข ชย.๒๐๘๕ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๕๙ ผ่านบ้านน้อย บ้านโนนม่วง บ้านลาดไทรงาม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอภักดีชุมพล ช่วงจัตุรัส – บ้านชาด – หนองบัวระเหว เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอจัตุรัสไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ถึงบ้านหนองบัวใหญ่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๗๐ ผ่านบ้านมะเกลือ บ้านหนองบัวบาน ถึงบ้านส้มป่อย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทผ่านบ้านโนนเชือก บ้านชาด บ้านน้อย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหนองบัวระเหว ช่วงจัตุรัส – บ้านหนองกรองแก้ว เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอจัตุรัสไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ถึงบ้านหนองบัวใหญ่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๗๐ ผ่านบ้านมะเกลือ บ้านหนองบัวบาน บ้านส้มป่อย ถึงอำเภอหนองบัวระเหวแยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหนองโจด บ้านหนองจาน บ้านละหานค่าย บ้านตะลอมไผ่ บ้านแจ้งใหญ่ บ้านห้วยไฮ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองกรองแก้ว ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ชูศักดิ์ ตรีสาร ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/จัดทำ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๗ ง/หน้า ๙/๒๕ มกราคม ๒๕๖๑
795738
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ ฉบับที่ 53 (พ.ศ. 2560) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดชัยภูมิ สายที่ 4 วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ - บ้านโนนสาทร เป็น วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ แห่งที่ 2
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชัยภูมิ ฉบับที่ ๕๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง ) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดชัยภูมิ สายที่ ๔ วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ – บ้านโนนสาทร เป็น วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ – สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ แห่งที่ ๒[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ลงวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๐ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดชัยภูมิ สายที่ ๔ วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ – บ้านโนนสาทร ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้ง ที่ ๗/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดชัยภูมิ สายที่ ๔ วิทยาลัยเทคนิค ชัยภูมิ – บ้านโนนสาทร เป็น วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ – สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ แห่งที่ ๒ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๔ วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ – สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ แห่งที่ ๒ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ ไปตามถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ สาย ๒ แยกขวาไปตามถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัด สาย ๑ แยกซ้ายไปตามถนนบรรณาการ ผ่านสำนักงานเทศบาลเมืองชัยภูมิ แยกซ้ายไปตามถนนสนามบิน แยกขวาไปตามถนนชัยประสิทธิ์ ถึงวัดชัยประสิทธิ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ ถึงวิทยาลัยเกษตรกรรมชัยภูมิ แล้วกลับตามเส้นทางเดิม ถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ แห่งที่ ๑ แยกซ้ายไปตามถนนบูรพา แยกขวาไปตามถนนยุติธรรม แยกซ้ายไปตามถนนหฤทัย ผ่านอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล ถึงห้าแยกโนนไฮ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ แยกซ้ายไปตามถนนเลี่ยงเมือง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยภูมิ แห่งที่ ๒ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ชูศักดิ์ ตรีสาร ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/จัดทำ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๗ ง/หน้า ๗/๒๕ มกราคม ๒๕๖๑
793433
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสระบุรี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดสระบุรี
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสระบุรี ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสระบุรี เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดสระบุรี[๑] อาศัยอำนาจตามความในวรรคสี่ของมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดสระบุรี มอบหมายให้ข้าราชการทำการแทนนายทะเบียนประจำจังหวัดสระบุรีไว้ ดังมีรายละเอียดปรากฏตามตารางการมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสระบุรีแนบท้ายประกาศนี้ คำสั่งหรือประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสระบุรีอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้เป็นอันยกเลิกและให้ใช้ประกาศนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ กฤษณะ พึ่งปาน ขนส่งจังหวัดลพบุรี รักษาราชการแทน ขนส่งจังหวัดสระบุรี นายทะเบียนประจำจังหวัดสระบุรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางการมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสระบุรีตามประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสระบุรี ลงวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๙ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๒ ง/หน้า ๒๔/๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๐
793197
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรปราการ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรปราการให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรปราการ กรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. 2560
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรปราการ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรปราการ ให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรปราการ กรมการขนส่งทางบก กระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าว ประการหนึ่ง คือ การเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรปราการ จึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรปราการกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรปราการ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรปราการ ให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรปราการกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรปราการ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องทุกฉบับ และให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสมุทรปราการ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตจังหวัดสมุทรปราการดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสมุทรปราการ กระทำการดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสมุทรปราการ เปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์ เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุง หรือแก้ไข เปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพรถ หรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (จ) และ (๓) ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาตขับรถ (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๘ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรปราการ สาขาอำเภอพระประแดงเป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (ข) (ค) ๔ (๒) (เฉพาะการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล) ๔ (๓) (ข) (เฉพาะกรณีที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบ ข้อ ๔ (๖) ข้อ ๔ (๗) เฉพาะในส่วนของการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล และข้อ ๗ ข้อ ๙ ให้นักวิชาการขนส่งในกลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) ข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ในฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานในฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจหน้าที่ในข้อ ๗ (ก) (ข) (ค) ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานและนายช่างตรวจสภาพรถ ในสำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรปราการสาขาอำเภอพระประแดง เป็นผู้กระทำการแทนในเขตพื้นที่รับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๕ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๗ (ข) (ค) ข้อ ๑๓ ในกรณีนายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรปราการได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นกาลเฉพาะก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ คงศักดิ์ เลิศประดิษฐ์ นายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรปราการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางสรุปแนวทางการมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดสมุทรปราการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๗ ง/หน้า ๓๔/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐
792693
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบ การเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง โดยกำหนดให้ผู้ตรวจและทดสอบต้องมีเครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม เพียงพอ และมีอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก ซึ่งจะทำให้การดำเนินการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๐ ของกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ถัง” หมายความว่า ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว “การตรวจและทดสอบ” หมายความว่า การตรวจและทดสอบการติดตั้ง และการตรวจและทดสอบถัง “การตรวจและทดสอบการติดตั้ง” หมายความว่า การตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “การตรวจและทดสอบถัง” หมายความว่า การตรวจและทดสอบถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ตรวจและทดสอบ” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบที่ไม่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว “ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตจากโรงงานเป็นครั้งแรกก่อนการจดทะเบียน ซึ่งมีการกำหนดรหัสหรือรุ่นเป็นการเฉพาะ “ผู้ตรวจและทดสอบถัง” หมายความว่า ผู้ทำการตรวจและทดสอบถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ติดตั้งในรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง ข้อ ๓ ผู้ใดประสงค์จะขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดต่อสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก ข้อ ๔ การขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป และผู้ตรวจและทดสอบถัง ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) บุคคลธรรมดา (ก) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน (ข) หลักฐานการมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ค) ภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือระดับภาคีวิศวกรพิเศษ (ง) ภาพถ่ายใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ หรือการติดตั้งระบบก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ หรือหลักฐานแสดงว่ามีประสบการณ์ในการตรวจและทดสอบ (จ) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ตรวจและทดสอบ ได้แก่ หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิการใช้สถานที่ แผนที่แสดงที่ตั้ง ภาพแบบอาคารและพื้นที่ตรวจและทดสอบ ซึ่งแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจน และภาพถ่ายสถานที่ตรวจและทดสอบ (ฉ) รายละเอียดเครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการตรวจและทดสอบ (ช) คู่มือปฏิบัติงานตรวจและทดสอบ (ซ) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบ (๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (ก) ภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง (ข) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้มีอำนาจลงนาม (ค) หลักฐานการมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ง) โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ (จ) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ตรวจและทดสอบ ได้แก่ หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิการใช้สถานที่ แผนที่แสดงที่ตั้ง ภาพแบบอาคาร และพื้นที่ตรวจและทดสอบ ซึ่งแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจนและภาพถ่ายสถานที่ตรวจและทดสอบ (ฉ) เอกสารเกี่ยวกับวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน ภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ภาพถ่ายใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ หรือการติดตั้งระบบก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ หรือหลักฐานแสดงว่ามีประสบการณ์ในการตรวจและทดสอบ (ช) รายละเอียดเครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการตรวจและทดสอบ (ซ) คู่มือปฏิบัติงานตรวจและทดสอบ (ฌ) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบ (๓) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษาที่มีภารกิจเกี่ยวกับการตรวจและทดสอบหรือการติดตั้งระบบก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ (ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจลงนาม (ข) หลักฐานการมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับมอบอำนาจ (ค) โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ (ง) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ตรวจและทดสอบ ได้แก่ แผนที่แสดงที่ตั้ง ภาพแบบอาคารและพื้นที่ตรวจและทดสอบ ซึ่งแสดงขนาดสัดส่วนชัดเจน และภาพถ่ายสถานที่ตรวจและทดสอบ (จ) เอกสารเกี่ยวกับวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐที่สังกัดอยู่กับหน่วยงานที่ยื่นคำขอ ภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ภาพถ่ายใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ หรือการติดตั้งระบบก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ หรือหลักฐานแสดงว่ามีประสบการณ์ในการตรวจและทดสอบ (ฉ) รายละเอียดเครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการตรวจและทดสอบ (ช) คู่มือปฏิบัติงานตรวจและทดสอบ (ซ) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบ ข้อ ๕ ผู้ใดประสงค์จะขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) ภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง (๒) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้มีอำนาจลงนาม (๓) หลักฐานการมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (๔) โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ (๕) เอกสารแสดงขั้นตอนการตรวจและทดสอบ และวิธีการตรวจและทดสอบ (๖) รายละเอียดเครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการตรวจและทดสอบ ข้อ ๖ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ต้องไม่เป็นผู้ถูกยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ เว้นแต่พ้นระยะเวลาการถูกยกเลิกมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี นับแต่วันที่ถูกยกเลิกครั้งหลังสุด ข้อ ๗ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบและวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบต้องไม่เคยถูกลงโทษตามข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม และการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ข้อ ๘ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป ต้องมี (๑) อาคารสถานที่ที่มีความมั่นคงแข็งแรง สร้างจากวัสดุที่ไม่ติดไฟง่ายและมีลักษณะดังนี้ (ก) พื้นที่ที่ใช้ในการตรวจและทดสอบต้องเป็นพื้นราบที่สะดวกเพียงพอ และมีความปลอดภัยในการทำงานขนาดไม่น้อยกว่า ๔๐ ตารางเมตร ความกว้างไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ เมตร และความสูงจากพื้นถึงใต้ท้องคานไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ เมตร กรณีตรวจและทดสอบรถทุกขนาดทุกประเภท ต้องเป็นพื้นราบที่สะดวกเพียงพอ และมีความปลอดภัยในการทำงานขนาดไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ตารางเมตร ความกว้างไม่น้อยกว่า ๕ เมตร และความสูงจากพื้นถึงใต้ท้องคานไม่น้อยกว่า ๔.๕๐ เมตร (ข) ทางเข้า - ออกของรถที่จะเข้ารับบริการตรวจและทดสอบที่สะดวกปลอดภัย (ค) มีการกำหนดพื้นที่อันตรายและป้ายคำเตือนบ่งชี้เขตต่าง ๆ อย่างชัดเจนและเหมาะสม (ง) พื้นที่จอดรถสำหรับรอการตรวจและทดสอบได้อย่างน้อย ๒ คัน (๒) วิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบที่มีความรู้และความสามารถในการตรวจและทดสอบซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้ (ก) ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ซึ่งได้รับอนุญาตจากสภาวิศวกรให้ทำการตรวจและทดสอบระบบก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ (ข) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการตรวจและทดสอบการติดตั้งระบบก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ จากกรมธุรกิจพลังงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือมีประสบการณ์ในการตรวจและทดสอบไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านการทดสอบจากกรมการขนส่งทางบก (ค) ไม่อยู่ในระหว่างการถูกพักใช้ใบอนุญาต หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือใบอนุญาตหมดอายุตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร (๓) เครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและเพียงพออย่างน้อย ดังนี้ (ก) บ่อตรวจสภาพรถที่มีสันขอบบ่อตลอดแนวความยาวบ่อ ทำด้วยวัสดุแข็งแรงเพื่อป้องกันล้อรถตกบ่อ ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๘๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๙๐ เซนติเมตร ความยาวไม่น้อยกว่า ๕ เมตร และความลึกไม่น้อยกว่า ๑๓๐ เซนติเมตร เพื่อใช้ในการตรวจสภาพใต้ท้องรถได้อย่างปลอดภัย โดยผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถทำงานในลักษณะยืนได้ กรณีตรวจและทดสอบเฉพาะรถขนาดเล็กหากมีพื้นยกระดับ (ramp) หรือเครื่องยกรถ (car hoist) ต้องมีความสามารถยกรถที่มีขนาดน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า ๒,๒๐๐ กิโลกรัม เพื่อใช้ในการตรวจสภาพใต้ท้องรถได้อย่างปลอดภัย โดยผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถทำงานในลักษณะยืนได้ (ข) เครื่องตรวจวัดก๊าซรั่ว (gas detector) (ค) เครื่องมือวัดระยะ เช่น เทปวัดระยะ (tape) (ง) เครื่องมือวัดละเอียด เช่น เวอร์เนียคาลิเปอร์ (vernier caliper) (จ) มาตรวัดความดัน (pressure gauge) ที่อ่านค่าได้ละเอียดถึง ๑ บาร์ (ฉ) นาฬิกาจับเวลา (ช) กระจกเงา หรือเครื่องมืออื่นที่ช่วยในการตรวจสอบส่วนที่ถูกปกปิด (ซ) ไฟส่องสว่าง (ฌ) เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสม ขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า ๖ กิโลกรัม อย่างน้อย ๒ ถัง (ญ) ระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) พร้อมเครื่องบันทึกภาพระบบเครือข่าย (NVR) ที่รองรับมาตรฐาน ONVIF (Open Network Video Interface Forum) ซึ่งมีความจุในการจัดเก็บข้อมูลไม่น้อยกว่า ๑ เทระไบต์ (TB) โดยมีกล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวที่แสดงภาพเคลื่อนไหวได้ไม่น้อยกว่า ๒๔ ภาพต่อวินาที (Frame rate) (ฎ) คอมพิวเตอร์ พร้อมกล้องเว็บแคม (Web camera) และเครื่องพิมพ์ ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ ๑) คอมพิวเตอร์ มีความเร็วในการประมวลผลไม่น้อยกว่า ๑.๐ กิกะเฮิร์ตซ (GHz) หน่วยความจำหลัก (RAM) ขนาดไม่น้อยกว่า ๑ กิกะไบต์ (GB) และหน่วยจัดเก็บข้อมูลขนาดไม่น้อยกว่า ๑๐๐ กิกะไบต์ (GB) ๒) กล้องเว็บแคม (Web camera) รองรับการถ่ายภาพแบบ VGA หรือสูงกว่า และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า ๑ เมกะพิกเซล (Mega Pixel) ๓) เครื่องพิมพ์สีหรือขาวดำ สามารถพิมพ์กระดาษขนาด A๔ ได้ (ฏ) อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศกับกรมการขนส่งทางบก โดยต้องมีความเร็วในการส่งข้อมูล (Upload speed) ไม่น้อยกว่า ๑ เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ข้อ ๙ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบถัง ต้องมี (๑) อาคารสถานที่ตามข้อ ๘ (๑) (๒) วิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบที่มีความรู้และความสามารถในการตรวจและทดสอบถังซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ซึ่งได้รับอนุญาตจากสภาวิศวกรให้ทำการตรวจและทดสอบถังของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงได้ (๓) เครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและเพียงพออย่างน้อยดังนี้ (ก) เครื่องสูบน้ำแรงดันสูง (ข) ถังน้ำ (water jacket) (ค) เครื่องวัดการขยายตัวที่อ่านปริมาตรการขยายตัวได้ละเอียดถึงร้อยละ ๑ ของปริมาตรที่ขยายตัวทั้งหมด หรือละเอียดถึง ๐.๑ ลูกบาศก์เซนติเมตร (ง) มาตรวัดความดัน (pressure gauge) ที่อ่านค่าได้ละเอียดถึง ๑ บาร์ (จ) เครื่องชั่งที่อ่านค่าได้ละเอียดถึง ๐.๑ กิโลกรัม (ฉ) เครื่องมือวัดละเอียด เช่น เวอร์เนียคาลิเปอร์ (vernier caliper) เกจวัดความลึก (depth gauge) (ช) เครื่องทดสอบความหนาของถังแบบไม่ทำลาย (non-destructive thickness tester) (ซ) คอมพิวเตอร์ พร้อมกล้องเว็บแคม (Web camera) และเครื่องพิมพ์ซึ่งมีคุณลักษณะตามข้อ ๘ (๓) (ฎ) (ฌ) อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศกับกรมการขนส่งทางบก โดยต้องมีความเร็วในการส่งข้อมูล (Upload speed) ไม่น้อยกว่า ๑ เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๓ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ หากไม่ครบถ้วนถูกต้องให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขก่อนรับคำขอ หรือดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องภายใน ๔๕ วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งให้แก้ไข แล้วแต่กรณี และหากคำขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้องให้ดำเนินการดังนี้ (๑) มีหนังสือแจ้งการให้ความเห็นชอบในหลักการให้ผู้ยื่นคำขอทราบ และให้ผู้ยื่นคำขอแจ้งนัดหมายให้เจ้าหน้าที่ไปดำเนินการตรวจประเมินความสามารถของผู้ยื่นคำขอภายใน ๑๘๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ หากไม่แจ้งภายในกำหนดให้ถือว่าคำขอนั้นสิ้นสุดลง (๒) ให้เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินความสามารถในการตรวจและทดสอบออกไปดำเนินการประเมิน ณ สถานที่ประกอบกิจการของผู้ยื่นคำขอ หากพบข้อบกพร่องให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบ และดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินกำหนด (๓) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่พร้อมที่จะรับการประเมินความสามารถ หรือไม่ดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขอรับการให้ความเห็นชอบ หรือไม่แก้ไขข้อบกพร่องตาม (๒) ภายในระยะเวลาที่กำหนด กรมการขนส่งทางบกจะพิจารณายกเลิกคำขอ โดยแจ้งการยกเลิกคำขอเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ (๔) เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินความสามารถในการตรวจและทดสอบทำการประเมินเสร็จแล้ว และเห็นว่าผู้ยื่นคำขอผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ให้นำเสนออธิบดีเพื่ออนุมัติและออกหนังสือให้ความเห็นชอบให้กับผู้ยื่นคำขอตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๑ หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบให้มีอายุ ๓ ปี นับแต่วันที่ออกหนังสือ ข้อ ๑๒ กรมการขนส่งทางบกจะทำการประเมินความสามารถหรือตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ ตลอดจนการดำเนินกิจการของผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับความเห็นชอบแล้วโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยผู้ตรวจและทดสอบต้องอำนวยความสะดวกแก่อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายในการเข้าประเมินหรือตรวจสอบ ข้อ ๑๓ ผู้ตรวจและทดสอบต้องรายงานผลการตรวจและทดสอบให้กรมการขนส่งทางบกทราบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ข้อ ๑๔ ผู้ตรวจและทดสอบต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ติดตั้งป้ายสัญลักษณ์แสดงสถานประกอบกิจการตรวจและทดสอบรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ (๒) ติดตั้งป้ายแสดงว่าสถานประกอบกิจการได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก โดยมีชื่อผู้ตรวจและทดสอบพร้อมข้อความ “โดยได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกเลขที่..................” (๓) แสดงหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ (๔) แสดงวัน และเวลาที่ให้บริการตรวจและทดสอบ (๕) แสดงชื่อ นามสกุล และรูปถ่ายวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบที่ปฏิบัติงานในวันและเวลาตาม (๔) ขนาดไม่น้อยกว่า ๔ x ๖ นิ้ว (๖) แสดงอัตราค่าบริการตรวจและทดสอบตามที่ได้รับความเห็นชอบ การติดตั้งป้ายหรือการแสดงหนังสือให้ความเห็นชอบ วัน เวลาให้บริการ ชื่อ นามสกุล และรูปถ่ายวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ และอัตราค่าบริการตาม (๑) - (๖) ต้องติดตั้งหรือแสดงไว้ในบริเวณสถานที่ประกอบกิจการ ที่ประชาชนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ข้อ ๑๕ ผู้ตรวจและทดสอบที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขเกี่ยวกับสถานที่ประกอบกิจการหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบให้แตกต่างไปจากที่ได้รับความเห็นชอบ ให้ยื่นคำขอต่อสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก เพื่อขอรับความเห็นชอบก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขแล้วแต่กรณี ข้อ ๑๖ ผู้ตรวจและทดสอบที่ประสงค์จะขอต่ออายุหนังสือให้ความเห็นชอบ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยภาพถ่ายหนังสือให้ความเห็นชอบหรือใบแทน ก่อนวันที่หนังสือให้ความเห็นชอบสิ้นอายุอย่างน้อย ๓๐ วัน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ก่อนเกินกว่า ๙๐ วัน โดยการพิจารณาต่ออายุหนังสือให้ความเห็นชอบให้นำความในข้อ ๑๐ (๒) (๓) และ (๔) มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๗ ผู้ตรวจและทดสอบที่ประสงค์จะขอยกเลิกการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ให้แจ้งกรมการขนส่งทางบกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน ข้อ ๑๘ ในกรณีหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือให้ความเห็นชอบตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานการแจ้งความของพนักงานสอบสวน (ถ้ามี) และหนังสือให้ความเห็นชอบที่ชำรุดนั้น ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดดังกล่าว ในการออกใบแทนหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ให้เป็นไปตามแบบหนังสือให้ความเห็นชอบเดิม แต่ให้ระบุข้อความ “ใบแทน” ไว้ที่ด้านหน้าด้วย ข้อ ๑๙ หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับความเห็นชอบ ไม่สามารถโอนให้แก่ผู้อื่นได้ ข้อ ๒๐ ผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ถือเป็นผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศนี้ต่อไปจนกว่าหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบสิ้นอายุ ข้อ ๒๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ๒. แบบป้ายสัญลักษณ์แสดงสถานประกอบกิจการตรวจและทดสอบรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๐ ง/หน้า ๑๑๕/๔ ธันวาคม ๒๕๖๐
792689
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบ และเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบ การเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัด เป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ และประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง โดยกำหนดให้ผู้ตรวจและทดสอบต้องมีเครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม เพียงพอ และมีอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก ซึ่งจะทำให้การดำเนินการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๐ ของกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๒) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “การตรวจและทดสอบ” หมายความว่า การตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ตรวจและทดสอบ” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบที่ไม่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว “ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตจากโรงงานเป็นครั้งแรกก่อนจดทะเบียน ซึ่งมีการกำหนดรหัสหรือรุ่นเป็นการเฉพาะ ข้อ ๓ ผู้ใดประสงค์จะขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ต่อสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก ข้อ ๔ การขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) บุคคลธรรมดา (ก) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน (ข) หลักฐานการมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ค) ภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือระดับภาคีวิศวกรพิเศษ (ง) ภาพถ่ายใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบหรือ การติดตั้งระบบก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ หรือหลักฐานแสดงว่ามีประสบการณ์ในการตรวจและทดสอบ (จ) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ตรวจและทดสอบ ได้แก่ หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิการใช้สถานที่ แผนที่แสดงที่ตั้ง ภาพแบบอาคารและพื้นที่ตรวจและทดสอบ ซึ่งแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจน และภาพถ่ายสถานที่ตรวจและทดสอบ (ฉ) รายละเอียดเครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการตรวจและทดสอบ (ช) คู่มือปฏิบัติงานตรวจและทดสอบ (ซ) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบ (๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (ก) ภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง (ข) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้มีอำนาจลงนาม (ค) หลักฐานการมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ง) โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ (จ) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ตรวจและทดสอบ ได้แก่ หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิการใช้สถานที่ แผนที่แสดงที่ตั้ง ภาพแบบอาคารและพื้นที่ตรวจและทดสอบ ซึ่งแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจนและภาพถ่ายสถานที่ตรวจและทดสอบ (ฉ) เอกสารเกี่ยวกับวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน ภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ภาพถ่ายใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ หรือการติดตั้งระบบก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ หรือหลักฐานแสดงว่ามีประสบการณ์ในการตรวจและทดสอบ (ช) รายละเอียดเครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการตรวจและทดสอบ (ซ) คู่มือปฏิบัติงานตรวจและทดสอบ (ฌ) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบ (๓) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษาที่มีภารกิจเกี่ยวกับการตรวจและทดสอบ หรือการติดตั้งระบบก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ (ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของผู้มีอำนาจลงนาม (ข) หลักฐานการมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของผู้รับมอบอำนาจ (ค) โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ (ง) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ตรวจและทดสอบ ได้แก่ แผนที่แสดงที่ตั้ง ภาพแบบอาคารและพื้นที่ตรวจและทดสอบ ซึ่งแสดงขนาดสัดส่วนชัดเจน และภาพถ่ายสถานที่ตรวจและทดสอบ (จ) เอกสารเกี่ยวกับวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐที่สังกัดอยู่กับหน่วยงานที่ยื่นคำขอ ภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ภาพถ่ายใบรับรองการผ่าน การฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ หรือการติดตั้งระบบก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ หรือหลักฐานแสดงว่ามีประสบการณ์ในการตรวจและทดสอบ (ฉ) รายละเอียดเครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการตรวจและทดสอบ (ช) คู่มือปฏิบัติงานตรวจและทดสอบ (ซ) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบ ข้อ ๕ ผู้ใดประสงค์จะขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) ภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง (๒) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้มีอำนาจลงนาม (๓) หลักฐานการมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (๔) โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ (๕) เอกสารแสดงขั้นตอนการตรวจและทดสอบ และวิธีการตรวจและทดสอบ (๖) รายละเอียดเครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการตรวจและทดสอบ ข้อ ๖ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ต้องไม่เป็นผู้ถูกยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ เว้นแต่พ้นระยะเวลาการถูกยกเลิกมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี นับแต่วันที่ถูกยกเลิกครั้งหลังสุด ข้อ ๗ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ และวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบต้องไม่เคยถูกลงโทษตามข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม และการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ข้อ ๘ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปต้องมี (๑) อาคารสถานที่ที่มีความมั่นคงแข็งแรง สร้างจากวัสดุที่ไม่ติดไฟง่ายและมีลักษณะดังนี้ (ก) พื้นที่ที่ใช้ในการตรวจและทดสอบต้องเป็นพื้นราบที่สะดวกเพียงพอ และมีความปลอดภัยในการทำงานขนาดไม่น้อยกว่า ๔๐ ตารางเมตร ความกว้างไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ เมตร ความสูงจากพื้นถึงใต้ท้องคานไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ เมตร กรณีตรวจรถทุกขนาดทุกประเภท ต้องเป็นพื้นราบที่สะดวกเพียงพอ และมีความปลอดภัยในการทำงานขนาดไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ตารางเมตร ความกว้างไม่น้อยกว่า ๕ เมตร และความสูงจากพื้นถึงใต้ท้องคานไม่น้อยกว่า ๔.๕๐ เมตร (ข) ทางเข้า - ออกของรถที่จะเข้ารับบริการตรวจและทดสอบที่สะดวกปลอดภัย (ค) มีการกำหนดพื้นที่อันตรายและป้ายคำเตือนบ่งชี้เขตต่าง ๆ อย่างชัดเจนและเหมาะสม (ง) พื้นที่จอดรถสำหรับรอการตรวจและทดสอบได้อย่างน้อย ๒ คัน (๒) วิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบที่มีความรู้และความสามารถในการตรวจและทดสอบซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้ (ก) ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ซึ่งได้รับอนุญาตจากสภาวิศวกรให้ทำการตรวจและทดสอบระบบก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ (ข) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการตรวจและทดสอบการติดตั้งระบบก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ จากกรมธุรกิจพลังงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือมีประสบการณ์ในการตรวจและทดสอบไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านการทดสอบจากกรมการขนส่งทางบก (ค) ไม่อยู่ในระหว่างการถูกพักใช้ใบอนุญาต หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือใบอนุญาตหมดอายุตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร (๓) เครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและเพียงพออย่างน้อย ดังนี้ (ก) บ่อตรวจสภาพรถที่มีสันขอบบ่อตลอดแนวความยาวบ่อ ทำด้วยวัสดุแข็งแรงเพื่อป้องกันล้อรถตกบ่อ ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๘๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๙๐ เซนติเมตร ความยาวไม่น้อยกว่า ๕ เมตร และความลึกไม่น้อยกว่า ๑๓๐ เซนติเมตร เพื่อใช้ในการตรวจสภาพใต้ท้องรถได้อย่างปลอดภัย โดยผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถทำงานในลักษณะยืนได้ กรณีตรวจและทดสอบรถขนาดเล็ก หากมีพื้นยกระดับ (ramp) หรือเครื่องยกรถ (car hoist) ต้องมีความสามารถยกรถที่มีขนาดน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า ๒,๒๐๐ กิโลกรัม เพื่อใช้ในการตรวจสภาพใต้ท้องรถได้อย่างปลอดภัย โดยผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถทำงานในลักษณะยืนได้ (ข) เครื่องตรวจวัดก๊าซรั่ว (gas detector) (ค) เครื่องมือวัดระยะ เช่น เทปวัดระยะ (tape) (ง) เครื่องมือวัดละเอียด เช่น เวอร์เนียคาลิเปอร์ (vernier caliper) (จ) มาตรวัดความดัน (pressure gauge) ที่อ่านค่าได้ละเอียดถึง ๑๐ บาร์ (ฉ) นาฬิกาจับเวลา (ช) เครื่องมือทดสอบแรงดึงของหัวรับก๊าซ (receptacle mounting tester) (ซ) ประแจทอร์ค (Torque wrench) (ฌ) ถังบรรจุก๊าซสำหรับใช้ทดสอบที่มีปริมาตรไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ลิตร พร้อมสายและหัวเติมก๊าซ (ญ) กระจกเงา หรือเครื่องมืออื่นที่ช่วยในการตรวจสอบส่วนที่ถูกปกปิด (ฎ) ไฟส่องสว่าง (ฏ) เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสม ขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า ๖ กิโลกรัม อย่างน้อย ๒ ถัง (ฐ) ระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) พร้อมเครื่องบันทึกภาพระบบเครือข่าย (NVR) ที่รองรับมาตรฐาน ONVIF (Open Network Video Interface Forum) ซึ่งมีความจุในการจัดเก็บข้อมูลไม่น้อยกว่า ๑ เทระไบต์ (TB) โดยมีกล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวที่แสดงภาพเคลื่อนไหวได้ไม่น้อยกว่า ๒๔ ภาพต่อวินาที (Frame rate) (ฑ) คอมพิวเตอร์ พร้อมกล้องเว็บแคม (Web camera) และเครื่องพิมพ์ ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ ๑) คอมพิวเตอร์ มีความเร็วในการประมวลผลไม่น้อยกว่า ๑.๐ กิกะเฮิร์ตซ (GHz) หน่วยความจำหลัก (RAM) ขนาดไม่น้อยกว่า ๑ กิกะไบต์ (GB) และหน่วยจัดเก็บข้อมูลขนาดไม่น้อยกว่า ๑๐๐ กิกะไบต์ (GB) ๒) กล้องเว็บแคม (Web camera) รองรับการถ่ายภาพแบบ VGA หรือสูงกว่า และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า ๑ เมกะพิกเซล (Mega Pixels) ๓) เครื่องพิมพ์สีหรือขาวดำ สามารถพิมพ์กระดาษขนาด A๔ ได้ (ฒ) อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก โดยต้องมีความเร็วในการส่งข้อมูล (Upload speed) ไม่น้อยกว่า ๑ เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ข้อ ๙ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตต้องมี (๑) สถานที่ตรวจและทดสอบในโรงงานผลิตรถซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย (๒) บุคลากรที่มีความสามารถในการตรวจและทดสอบ (๓) เครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับดำเนินการตรวจและทดสอบที่เหมาะสมเพียงพอ ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๓ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ หากไม่ครบถ้วนถูกต้องให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขก่อนรับคำขอหรือดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องภายใน ๔๕ วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งให้แก้ไข แล้วแต่กรณี และหากคำขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้องให้ดำเนินการดังนี้ (๑) มีหนังสือแจ้งการให้ความเห็นชอบในหลักการให้ผู้ยื่นคำขอทราบ และให้ผู้ยื่นคำขอแจ้งนัดหมายให้เจ้าหน้าที่ไปดำเนินการตรวจประเมินความสามารถของผู้ยื่นคำขอภายใน ๑๘๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ หากไม่แจ้งภายในกำหนดให้ถือว่าคำขอนั้นสิ้นสุดลง (๒) ให้เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินความสามารถในการตรวจและทดสอบออกไปดำเนินการประเมิน ณ สถานที่ประกอบกิจการของผู้ยื่นคำขอ หากพบข้อบกพร่องให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบและดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินกำหนด (๓) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่พร้อมที่จะรับการประเมินความสามารถ หรือไม่ดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความเห็นชอบ หรือไม่แก้ไขข้อบกพร่องตาม (๒) ภายในระยะเวลาที่กำหนด กรมการขนส่งทางบกจะพิจารณายกเลิกคำขอ โดยแจ้งการยกเลิกคำขอเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ (๔) เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินความสามารถในการตรวจและทดสอบทำการประเมินเสร็จแล้ว และเห็นว่าผู้ยื่นคำขอผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ให้นำเสนออธิบดีเพื่ออนุมัติและออกหนังสือให้ความเห็นชอบให้กับผู้ยื่นคำขอตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๑ หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบให้มีอายุ ๓ ปี นับแต่วันที่ออกหนังสือ ข้อ ๑๒ กรมการขนส่งทางบกจะทำการประเมินความสามารถหรือตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ ตลอดจนการดำเนินกิจการของผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับความเห็นชอบแล้วโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยผู้ตรวจและทดสอบต้องอำนวยความสะดวกแก่อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายในการเข้าประเมินหรือตรวจสอบ ข้อ ๑๓ ผู้ตรวจและทดสอบต้องรายงานผลการตรวจและทดสอบให้กรมการขนส่งทางบกทราบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ข้อ ๑๔ ผู้ตรวจและทดสอบต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ติดตั้งป้ายสัญลักษณ์แสดงสถานประกอบกิจการตรวจและทดสอบรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ (๒) ติดตั้งป้ายแสดงว่าสถานประกอบกิจการได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกโดยมีชื่อผู้ตรวจและทดสอบ พร้อมข้อความ “โดยได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก เลขที่..................” (๓) แสดงหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ (๔) แสดงวัน และเวลาที่ให้บริการตรวจและทดสอบ (๕) แสดงชื่อ นามสกุล และรูปถ่ายวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบที่ปฏิบัติงานในวันและเวลาตาม (๔) ขนาดไม่น้อยกว่า ๔ x ๖ นิ้ว (๖) แสดงอัตราค่าบริการตรวจและทดสอบตามที่ได้รับความเห็นชอบ การติดตั้งป้ายหรือการแสดงหนังสือให้ความเห็นชอบ วัน เวลาให้บริการ ชื่อ นามสกุล และรูปถ่ายวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ และอัตราค่าบริการตาม (๑) - (๖) ต้องติดตั้งหรือแสดงไว้ในบริเวณสถานที่ประกอบกิจการ ที่ประชาชนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ข้อ ๑๕ ผู้ตรวจและทดสอบที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขเกี่ยวกับสถานที่ประกอบกิจการหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบให้แตกต่างไปจากที่ได้รับความเห็นชอบ ให้ยื่นคำขอต่อสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก เพื่อขอรับความเห็นชอบก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๖ ผู้ตรวจและทดสอบที่ประสงค์จะขอต่ออายุหนังสือให้ความเห็นชอบ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยภาพถ่ายหนังสือให้ความเห็นชอบหรือใบแทนก่อนวันที่หนังสือให้ความเห็นชอบสิ้นอายุอย่างน้อย ๓๐ วัน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ก่อนเกินกว่า ๙๐ วัน โดยการพิจารณาต่ออายุหนังสือให้ความเห็นชอบให้นำความในข้อ ๑๐ (๒) (๓) และ (๔) มาบังคับใช้โดยอนุโลม ข้อ ๑๗ ผู้ตรวจและทดสอบที่ประสงค์จะขอยกเลิกการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ให้แจ้งกรมการขนส่งทางบกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน ข้อ ๑๘ ในกรณีหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือให้ความเห็นชอบตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวน (ถ้ามี) และหนังสือให้ความเห็นชอบที่ชำรุดนั้น ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดดังกล่าว ในการออกใบแทนหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ให้เป็นไปตามแบบหนังสือให้ความเห็นชอบเดิม แต่ให้ระบุข้อความ “ใบแทน” ไว้ที่ด้านหน้าด้วย ข้อ ๑๙ หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับความเห็นชอบ ไม่สามารถโอนให้แก่ผู้อื่นได้ ข้อ ๒๐ ผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ถือเป็นผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศนี้ต่อไปจนกว่าหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบสิ้นอายุ ข้อ ๒๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ๒. แบบป้ายสัญลักษณ์แสดงสถานประกอบกิจการตรวจและทดสอบรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๐ ง/หน้า ๑๐๗/๔ ธันวาคม ๒๕๖๐
792687
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ การเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัด หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายกับผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงที่กระทำผิดกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๐ ของกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๐ และข้อ ๑๐ ของกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “หนังสือให้ความเห็นชอบ” หมายความว่า หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “การตรวจและทดสอบ” หมายความว่า การตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ตรวจและทดสอบ” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงานราชการ หรือ บุคลากรอื่นในสังกัดสำนักวิศวกรรมยานยนต์ ข้อ ๒ เมื่อปรากฏว่าผู้ตรวจและทดสอบผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด ให้ดำเนินการพิจารณาลงโทษตามบัญชีข้อหาความผิดและมาตรการลงโทษแนบท้ายประกาศนี้ โดยแบ่งการลงโทษเป็น ๓ ระดับ ดังนี้ (๑) ตักเตือน (๒) ระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราว (๓) ยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ข้อ ๓ การพิจารณาลงโทษตามข้อ ๒ ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ (๑) ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ให้มีอำนาจตักเตือน และระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราว (๒) อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ให้มีอำนาจยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ในการพิจารณาลงโทษตามวรรคหนึ่งให้ผู้มีอำนาจตาม (๑) และ (๒) มอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้ ข้อ ๔ การตรวจสอบการดำเนินการของผู้ตรวจและทดสอบ หากพบการกระทำความผิดหลายข้อหาแตกต่างกัน ให้พิจารณาดำเนินการกับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด เฉพาะความผิดที่ต้องได้รับโทษสูงสุด ข้อ ๕ การพิจารณาดำเนินการตามข้อ ๔ กับผู้ตรวจและทดสอบที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด ให้พิจารณาภายในรอบอายุหนังสือให้ความเห็นชอบ และให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (๑) ความผิดขั้นตักเตือน (ก) กระทำความผิดครั้งแรก ให้ตักเตือน (ข) กระทำความผิดครั้งที่สอง ให้สั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราว ๑๕ วัน (ค) กระทำความผิดตั้งแต่ครั้งที่สามขึ้นไป ให้สั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบ ๓๐ วัน การสั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบตาม (๑) มิให้นำไปนับรวมเป็นจำนวนครั้งสำหรับการสั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบตาม (๒) (๒) ความผิดขั้นระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราว (ก) กระทำความผิดครั้งแรก ให้สั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบ ๑๕ วัน (ข) กระทำความผิดครั้งที่สอง ให้สั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบ ๓๐ วัน (ค) กระทำความผิดครั้งที่สาม ให้ยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ การสั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบตาม (๑) และ (๒) หากการกระทำความผิดนั้นต้องปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้องก่อนจึงจะดำเนินการตรวจและทดสอบต่อไปได้ ให้สั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบไว้จนกว่าจะปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้อง แต่ต้องสั่งระงับการดำเนินการไว้ไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละกรณี ข้อ ๖ ในกรณีผู้ตรวจและทดสอบมีพฤติการณ์จงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราวตามข้อ ๕ ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์นำเสนออธิบดีกรมการขนส่งทางบกพิจารณายกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ ๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ มาบังคับใช้โดยอนุโลม ข้อ ๗ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำความผิดตามข้อหาความผิดที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ และมิใช่ความผิดซึ่งต้องถูกยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ต้องถูกยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบตามข้อ ๕ (๒) (ค) ให้พิจารณาลงโทษขั้นตักเตือนหรือระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราว แล้วแต่กรณี โดยสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ตรวจและทดสอบทราบทันที หรืออย่างช้าไม่เกินวันทำการถัดไป และรีบรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามลำดับโดยเร็ว ข้อ ๘ ผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับคำสั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราวตามข้อ ๕ ต้องระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบไว้จนกว่าจะปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้องเมื่อดำเนินการให้ถูกต้องแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ทราบเพื่อทำการตรวจสอบ เมื่อผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ได้รับแจ้งการดำ เนินการตามวรรคหนึ่งแล้วให้ดำเนินการตรวจสอบ หากผลการตรวจสอบพบว่าผู้ตรวจและทดสอบนั้นได้ปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้องแล้ว ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์มีหนังสือยกเลิกคำสั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราวโดยเร็ว ข้อ ๙ ในกรณีเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำ ความผิดซึ่งต้องถูกยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ หรืออยู่ในเกณฑ์ที่ต้องถูกยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบตามข้อ ๕ (๒) (ค) ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์สั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราวไว้จนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น และให้ดำเนินการจัดทำรายงานและความเห็น พร้อมรวบรวมเอกสารหลักฐานนำเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อนำเสนออธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมายพิจารณาต่อไป ข้อ ๑๐ เมื่ออธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมายพิจารณาตามข้อ ๙ แล้ว ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ตรวจและทดสอบทราบโดยเร็ว ในกรณีอธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมายสั่งยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ให้แจ้งผู้ตรวจและทดสอบส่งคืนหนังสือให้ความเห็นชอบต่อผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ถูกสั่งยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบด้วย ข้อ ๑๑ คำสั่งใด ๆ ที่ออกตามประกาศนี้ ต้องระบุวัน เดือน ปี ที่ออกคำสั่ง ชื่อ และตำแหน่ง พร้อมลายมือชื่อผู้ทำคำสั่ง เหตุผลที่ทำคำสั่งซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายอ้างอิง ข้อพิจารณา และข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ รวมทั้งการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ และระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์คำสั่ง การอุทธรณ์คำสั่งตักเตือน หรือระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราว ให้อุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมการขนส่งทางบก การอุทธรณ์คำสั่งยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ให้อุทธรณ์ต่อปลัดกระทรวงคมนาคม โดยให้อุทธรณ์ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง ทั้งนี้ ให้นำพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอน และระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์มาบังคับใช้โดยอนุโลม การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุแห่งการทุเลาการบังคับตามคำสั่งตักเตือน หรือระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราว หรือยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ข้อ ๑๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีข้อหาความผิดและมาตรการลงโทษ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๐ ง/หน้า ๑๐๓/๔ ธันวาคม ๒๕๖๐
792685
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ การเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัด หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายกับผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง ที่กระทำผิดกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๐ ของกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๐ และข้อ ๑๐ ของกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “หนังสือให้ความเห็นชอบ” หมายความว่า หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “การตรวจและทดสอบ” หมายความว่า การตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ตรวจและทดสอบ” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงานราชการ หรือ บุคลากรอื่นในสังกัดสำนักวิศวกรรมยานยนต์ ข้อ ๒ เมื่อปรากฏว่าผู้ตรวจและทดสอบผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด ให้ดำเนินการพิจารณาลงโทษตามบัญชีข้อหาความผิดและมาตรการลงโทษแนบท้ายประกาศนี้ โดยแบ่งการลงโทษเป็น ๓ ระดับ ดังนี้ (๑) ตักเตือน (๒) ระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราว (๓) ยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ข้อ ๓ การพิจารณาลงโทษตามข้อ ๒ ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ (๑) ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ให้มีอำนาจตักเตือน และระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราว (๒) อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ให้มีอำนาจยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ในการพิจารณาลงโทษตามวรรคหนึ่งให้ผู้มีอำนาจตาม (๑) และ (๒) มอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้ ข้อ ๔ การตรวจสอบการดำเนินการของผู้ตรวจและทดสอบ หากพบการกระทำความผิดหลายข้อหาแตกต่างกัน ให้พิจารณาดำเนินการกับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด เฉพาะความผิดที่ต้องได้รับโทษสูงสุด ข้อ ๕ การพิจารณาดำเนินการตามข้อ ๔ กับผู้ตรวจและทดสอบที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด ให้พิจารณาภายในรอบอายุหนังสือให้ความเห็นชอบ และให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (๑) ความผิดขั้นตักเตือน (ก) กระทำความผิดครั้งแรก ให้ตักเตือน (ข) กระทำความผิดครั้งที่สอง ให้สั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราว ๑๕ วัน (ค) กระทำความผิดตั้งแต่ครั้งที่สามขึ้นไป ให้สั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบ ๓๐ วัน การสั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบตาม (๑) มิให้นำไปนับรวมเป็นจำนวนครั้งสำหรับการสั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบตาม (๒) (๒) ความผิดขั้นระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราว (ก) กระทำความผิดครั้งแรก ให้สั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบ ๑๕ วัน (ข) กระทำความผิดครั้งที่สอง ให้สั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบ ๓๐ วัน (ค) กระทำความผิดครั้งที่สาม ให้ยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ การสั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบตาม (๑) และ (๒) หากการกระทำความผิดนั้นต้องปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้องก่อนจึงจะดำเนินการตรวจและทดสอบต่อไปได้ ให้สั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบไว้จนกว่าจะปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้อง แต่ต้องสั่งระงับการดำเนินการไว้ไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละกรณี ข้อ ๖ ในกรณีผู้ตรวจและทดสอบมีพฤติการณ์จงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราวตามข้อ ๕ ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์นำเสนออธิบดีกรมการขนส่งทางบกพิจารณายกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ ๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ มาบังคับใช้โดยอนุโลม ข้อ ๗ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำความผิดตามข้อหาความผิดที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ และมิใช่ความผิดซึ่งต้องถูกยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ต้องถูกยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบตามข้อ ๕ (๒) (ค) ให้พิจารณาลงโทษขั้นตักเตือนหรือระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราว แล้วแต่กรณี โดยสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ตรวจและทดสอบทราบทันที หรืออย่างช้าไม่เกินวันทำการถัดไป และรีบรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามลำดับโดยเร็ว ข้อ ๘ ผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับคำสั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราวตามข้อ ๕ ต้องระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบไว้จนกว่าจะปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อดำเนินการให้ถูกต้องแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ทราบเพื่อทำการตรวจสอบ เมื่อผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ได้รับแจ้งการดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้วให้ดำเนินการตรวจสอบ หากผลการตรวจสอบพบว่าผู้ตรวจและทดสอบนั้นได้ปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้องแล้ว ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์มีหนังสือยกเลิกคำสั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราวโดยเร็ว ข้อ ๙ ในกรณีเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำความผิดซึ่งต้องถูกยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ หรืออยู่ในเกณฑ์ที่ต้องถูกยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบตามข้อ ๕ (๒) (ค) ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์สั่งระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราวไว้จนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น และให้ดำเนินการจัดทำรายงานและความเห็น พร้อมรวบรวมเอกสารหลักฐานนำเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อนำเสนออธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมายพิจารณาต่อไป ข้อ ๑๐ เมื่ออธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมายพิจารณาตามข้อ ๙ แล้ว ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ตรวจและทดสอบทราบโดยเร็ว ในกรณีอธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมายสั่งยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ให้แจ้งผู้ตรวจและทดสอบส่งคืนหนังสือให้ความเห็นชอบต่อผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ถูกสั่งยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบด้วย ข้อ ๑๑ คำสั่งใด ๆ ที่ออกตามประกาศนี้ ต้องระบุวัน เดือน ปี ที่ออกคำสั่ง ชื่อ และตำแหน่ง พร้อมลายมือชื่อผู้ทำคำสั่ง เหตุผลที่ทำคำสั่งซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญข้อกฎหมายอ้างอิง ข้อพิจารณา และข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ รวมทั้งการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ และระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์คำสั่ง การอุทธรณ์คำสั่งตักเตือน หรือระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราว ให้อุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมการขนส่งทางบก การอุทธรณ์คำสั่งยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ให้อุทธรณ์ต่อปลัดกระทรวงคมนาคม โดยให้อุทธรณ์ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง ทั้งนี้ ให้นำพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอน และระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์มาบังคับใช้โดยอนุโลม การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุแห่งการทุเลาการบังคับตามคำสั่งตักเตือน หรือระงับการดำเนินการตรวจและทดสอบเป็นการชั่วคราว หรือยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ข้อ ๑๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีข้อหาความผิดและมาตรการลงโทษ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๐ ง/หน้า ๙๙/๔ ธันวาคม ๒๕๖๐
792683
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบและการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้บันทึกข้อมูลและผลการตรวจและทดสอบ รายงานผลการตรวจและทดสอบ และออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้การตรวจสอบการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๘ และข้อ ๙ ของกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ถัง” หมายความว่า ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซธรรมชาติอัด “ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์” หมายความว่า ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง “การตรวจและทดสอบ” หมายความว่า การตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ตรวจและทดสอบ” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบที่ไม่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว “ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตจากโรงงานเป็นครั้งแรกก่อนจดทะเบียน ซึ่งมีการกำหนดรหัสหรือรุ่นเป็นการเฉพาะ “ผู้ติดตั้ง” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง “ระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก” หมายความว่า ระบบงานที่กรมการขนส่งทางบกจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ตรวจและทดสอบบันทึกข้อมูล ผลการตรวจและทดสอบ รายงานผลการตรวจและทดสอบ และออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบผ่านระบบอินเตอร์เน็ต “ระบบโทรทัศน์วงจรปิด” หมายความว่า ระบบการบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องวงจรปิดที่สามารถเชื่อมต่อและส่งสัญญาณภาพไปยังระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกได้ ข้อ ๓ การตรวจและทดสอบต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ตรวจสอบความถูกต้องของส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด รวมทั้งตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ของส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ ซึ่งต้องตรงตามหนังสือรับรองการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ (๒) ตรวจสอบความถูกต้องของการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการติดตั้งตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด (๓) ตรวจสอบความถูกต้องของการติดเครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง ข้อ ๔ วิธีการตรวจและทดสอบ ให้ปฏิบัติตามคู่มือปฏิบัติงานตรวจและทดสอบ ข้อ ๕ การตรวจและทดสอบถังต้องเป็นไปตามมาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เลขที่ ISO ๑๙๐๗๘ ข้อ ๖ ผู้ตรวจและทดสอบต้องดำเนินการตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป (ก) ทำการตรวจและทดสอบ ณ สถานที่ประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในหนังสือให้ความเห็นชอบโดยบุคลากรของผู้ตรวจและทดสอบ โดยระหว่างดำเนินการตรวจและทดสอบให้ส่งสัญญาณจากระบบโทรทัศน์วงจรปิดไปยังระบบสารสนเทศของกรมการขนส่งทางบกตลอดเวลา และต้องจัดเก็บข้อมูลจากระบบโทรทัศน์วงจรปิดไว้ไม่น้อยกว่า ๑ ปี (ข) ทำการตรวจและทดสอบเฉพาะรถที่ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์โดยผู้ได้รับความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น เว้นแต่กรณีเป็นรถที่ได้ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ไว้แล้วก่อนวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ก็ให้สามารถทำการตรวจและทดสอบได้ (ค) ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการตรวจและทดสอบตามที่กำหนดไว้ในคู่มือปฏิบัติงานตรวจและทดสอบ โดยใช้เครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้ตรวจและทดสอบ (ง) เมื่อตรวจและทดสอบรถแต่ละคันเสร็จสิ้น ให้ผู้ตรวจและทดสอบวินิจฉัยผลการตรวจและทดสอบ โดยต้องบันทึกข้อมูลผลการตรวจและทดสอบ และบันทึกข้อบกพร่องกรณีรถไม่ผ่านการตรวจและทดสอบ (ถ้ามี) ลงในระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกทันที (จ) รถที่ผ่านการตรวจและทดสอบ ให้ผู้ตรวจและทดสอบออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบจากระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก ให้แก่เจ้าของรถหรือผู้นำรถเข้ารับการตรวจและทดสอบพร้อมติดเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบการติดตั้ง ตามแบบท้ายประกาศนี้ที่ด้านในซ้ายของกระจกกันลมหน้าให้เห็นได้อย่างชัดเจน และติดเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบถัง ตามแบบท้ายประกาศนี้ไว้ที่ถังทุกใบในตำแหน่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน สำหรับรถที่ไม่ผ่านการตรวจและทดสอบ ให้ผู้ตรวจและทดสอบแจ้งผลการตรวจและทดสอบ และข้อบกพร่องของรถคันนั้น พร้อมจัดพิมพ์รายงานผลการตรวจและทดสอบจากระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก ให้แก่เจ้าของรถหรือผู้นำรถเข้ารับการตรวจและทดสอบ และหากพบถังไม่ปลอดภัยต่อการใช้งานเนื่องจากถังหมดอายุ มีข้อบกพร่อง ชำรุด หรือเสียหายจนไม่สามารถใช้งานต่อไปได้ให้พ่นตัวอักษรสีแดงคำว่า “ห้ามใช้ถัง” ไว้ที่ถังในตำแหน่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน (ฉ) จัดเก็บค่าบริการตรวจและทดสอบตามอัตราที่กำหนดท้ายหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ (๒) ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิต (ก) ทำการตรวจและทดสอบ ณ สถานที่ประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในหนังสือให้ความเห็นชอบโดยบุคลากรของผู้ตรวจและทดสอบ (ข) ทำการตรวจและทดสอบเฉพาะรถที่ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์โดยผู้ได้รับความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งจากกรมการขนส่งทางบก ซึ่งเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ผลิตขึ้นเองในประเทศไทยเท่านั้น (ค) เมื่อตรวจและทดสอบรถแต่ละคันเสร็จสิ้น ให้ผู้ตรวจและทดสอบวินิจฉัยผลการตรวจและทดสอบ โดยต้องบันทึกข้อมูลผลการตรวจและทดสอบลงในระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกทันที (ง) ออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบตามแบบท้ายประกาศนี้ ให้แก่เจ้าของรถหรือผู้นำรถเข้ารับการตรวจและทดสอบ และจัดเก็บสำเนาหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบพร้อมรายละเอียดแนบท้ายหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบของรถที่ได้รับการบริการไว้ที่สถานประกอบกิจการให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบของกรมการขนส่งทางบกเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี ทั้งนี้ รายละเอียดแนบท้ายหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบให้มีรายการอย่างน้อยดังนี้ ๑) ชื่อผู้ตรวจและทดสอบ ๒) เลขที่หนังสือรับรอง ๓) วันที่ทำการตรวจและทดสอบ ๔) สถานที่ตรวจและทดสอบ ๕) หมายเลขทะเบียนรถ หรือหมายเลขประจำรถ (Vehicle Identity Number : VIN) ๖) หมายเลขเครื่องยนต์ ๗) รายงานการตรวจและทดสอบมาตรฐานส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ที่ติดตั้ง (จ) ติดเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบการติดตั้ง ตามแบบท้ายประกาศนี้ ที่ด้านในซ้ายของกระจกกันลมหน้า หรือติดแผ่นป้ายแสดงวันที่ตรวจและทดสอบ วันที่ตรวจและทดสอบครั้งต่อไป และชื่อผู้ตรวจและทดสอบไว้ที่ตัวรถในตำแหน่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนใกล้กับอุปกรณ์รับเติมก๊าซ (ฉ) ติดเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบถังตามแบบท้ายประกาศนี้ หรือติดแผ่นป้ายแสดงหมายเลขของถัง วันที่ตรวจและทดสอบ วันที่ถังหมดอายุ ชื่อผู้ตรวจและทดสอบไว้ที่ถังทุกใบในตำแหน่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน ข้อ ๗ การตรวจและทดสอบต้องดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลาดังนี้ (๑) รถที่ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์โดยผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตที่ผลิตในประเทศไทยให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตก่อนการจดทะเบียนครั้งแรก หลังจากนั้นให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนชำระภาษีประจำปีของปีที่ ๔ หลังจากนั้นให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนชำระภาษีประจำปีทุกปี กรณีแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ให้แตกต่างไปจากการติดตั้งของผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ ก่อนครบกำหนดชำระภาษีประจำปีของปีที่ ๔ ให้ทำการตรวจและทดสอบ โดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนมาดำเนินการทางทะเบียน (๒) รถที่ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์โดยผู้ติดตั้งทั่วไป หรือผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตซึ่งอยู่ในต่างประเทศ ให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงหรือก่อนการจดทะเบียน แล้วแต่กรณี หลังจากนั้นให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนชำระภาษีประจำปีทุกปี (๓) กรณีเปลี่ยนแปลงถังให้ทำการตรวจและทดสอบภายใน ๓๐ วันก่อนมาดำเนินการทางทะเบียน (๔) กรณีการแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง หรือการดำเนินการทางทะเบียน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงถังและการเปลี่ยนแปลงส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง ก่อนครบกำหนดชำระภาษีประจำปีในปีนั้นน้อยกว่า ๑๘๐ วัน ให้นำรถเข้ารับการตรวจและทดสอบครั้งต่อไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนชำระภาษีประจำปีของปีถัดไป (๕) รถที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงใหม่ ต้องทำการติดตั้งโดยผู้ติดตั้งและผ่านการตรวจและทดสอบตามประกาศนี้ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้ง (๖) การติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงเข้ากับเครื่องยนต์ที่เปลี่ยนแปลงใหม่ ต้องทำการติดตั้งโดยผู้ติดตั้งและผ่านการตรวจและทดสอบตามประกาศนี้ทุกครั้งที่มีการติดตั้ง ข้อ ๘ หนังสือรับรองการตรวจและทดสอบที่ได้ออกไว้ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะครบกำหนดการตรวจและทดสอบครั้งต่อไป หรือให้สิ้นสุดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงถังหรือส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ตามข้อ ๗ ข้อ ๙[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบการติดตั้ง สำหรับผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิต ๒. แบบเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบการติดตั้ง ๓. แบบเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบถัง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๐ ง/หน้า ๙๔/๔ ธันวาคม ๒๕๖๐
792681
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบและการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเป็นเชื้อเพลิง เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบันทึกข้อมูลผลการตรวจและทดสอบ รายงานผลการตรวจและทดสอบ และออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้การตรวจสอบการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๘ และข้อ ๙ ของกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ถัง” หมายความว่า ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว “ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์” หมายความว่า ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “การตรวจและทดสอบ” หมายความว่า การตรวจและทดสอบการติดตั้ง และการตรวจและทดสอบถัง “การตรวจและทดสอบการติดตั้ง” หมายความว่า การตรวจและทดสอบส่วนควบ และเครื่องอุปกรณ์และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “การตรวจและทดสอบถัง” หมายความว่า การตรวจและทดสอบถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ตรวจและทดสอบ” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบที่ไม่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว “ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตจากโรงงานเป็นครั้งแรกก่อนการจดทะเบียน ซึ่งมีการกำหนดรหัสหรือรุ่นเป็นการเฉพาะ “ผู้ตรวจและทดสอบถัง” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ติดตั้งในรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ติดตั้ง” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก” หมายความว่า ระบบงานที่กรมการขนส่งทางบกจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ตรวจและทดสอบบันทึกข้อมูลผลการตรวจและทดสอบ รายงานผลการตรวจและทดสอบ และออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบผ่านระบบอินเตอร์เน็ต “ระบบโทรทัศน์วงจรปิด” หมายความว่า ระบบการบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องวงจรปิดที่สามารถเชื่อมต่อและส่งสัญญาณภาพไปยังระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกได้ ข้อ ๓ การตรวจและทดสอบต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ตรวจสอบความถูกต้องของส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด รวมทั้งตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ของส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ ซึ่งต้องตรงตามหนังสือรับรองการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ (๒) ตรวจสอบความถูกต้องของการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการติดตั้งตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด (๓) ตรวจพินิจภายนอกถัง ซึ่งต้องไม่ปรากฏข้อบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (ก) ถังถูกไฟไหม้ (ข) ถังบิดเบี้ยวไม่ได้รูปทรง หรือมีการดัดแปลงหรือต่อเติมถัง (ค) มีหลุมบ่อโดดเดี่ยวลึกเกินร้อยละ ๕๐ ของความหนาผนังถังเดิม (ง) มีรอยผุกร่อนเป็นแนวยาวตั้งแต่ ๗๕ มิลลิเมตรขึ้นไป และลึกเกินร้อยละ ๒๕ ของความหนาผนังถังเดิม หรือมีรอยผุกร่อนเป็นแนวยาวน้อยกว่า ๗๕ มิลลิเมตร และลึกเกินร้อยละ ๕๐ ของความหนาผนังถังเดิม (จ) มีรอยผุกร่อนทั่วไปลึกเกินร้อยละ ๕๐ ของความหนาผนังถังเดิม (ฉ) มีรอยบุบเว้าที่รอยเชื่อมลึกเกิน ๖ มิลลิเมตร (ช) มีรอยบุบเว้าที่บริเวณอื่นลึกเกินร้อยละ ๑๐ ของความกว้างเฉลี่ยของรอยบุบเว้า (ซ) มีรอยบาด รอยขูดขีด หรือทิ่มแทงลึกเกินร้อยละ ๕๐ ของความหนาผนังถังเดิม หรือมีรอยดังกล่าวยาวตั้งแต่ ๗๕ มิลลิเมตรขึ้นไป และลึกเกินร้อยละ ๒๕ ของความหนาผนังถังเดิม (ฌ) มีรอยรั่ว ซึม รอยร้าว รอยหักพับ หรือบวม (ญ) จำนวนเกลียวของลิ้นถังที่กินกันลดลงจากที่ระบุไว้ หรือเมื่อขันเกลียวแน่นแล้วก๊าซรั่วซึม (ฎ) ลิ้นเอียงจนเห็นได้ชัดเจน (ฏ) โกร่งกำบังหรือฝาครอบเครื่องอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนถังเสียรูป หลวม หรือมีรอยเชื่อมชำรุดหรือฐานถังชำรุดทำให้ถังเอียงจนเห็นได้ชัดเจน (ฐ) อุปกรณ์ระบายความดันเสียหาย หรือเสียรูป หรือไม่ตรงตามที่ผู้ผลิตกำหนด (ฑ) เครื่องหมายประจำถังลบเลือนอ่านได้ไม่ชัดเจน มีการแก้ไขโดยไม่ถูกต้อง หรือมีข้อความไม่ถูกต้องตาม มอก. ๓๗๐ (๔) ทดสอบการรั่วของระบบเชื้อเพลิงก๊าซปิโตรเลียมเหลวด้วยการเติมก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือก๊าซอื่นที่เหมาะสม เช่น ไนโตรเจน ให้มีความดันไม่น้อยกว่า ๗๐๐ กิโลปาสกาล (kPa) เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐ นาที ต้องไม่ปรากฏว่ามีการรั่วของระบบเชื้อเพลิง (๕) ตรวจสอบความถูกต้องของการติดเครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง ข้อ ๔ การตรวจและทดสอบถังต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ตรวจพินิจภายนอกถังแล้ว ต้องไม่ปรากฏข้อบกพร่องตามข้อ ๓ (๓) (๒) ถังเปล่าต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕ ของน้ำหนักถังเดิม (๓) ทดสอบความทนต่อความดันตามวิธีทดสอบของ มอก. ๓๗๐ ได้แก่ (ก) ทดสอบความดันพิสูจน์ด้วยความดัน ๓.๓๐ เมกะปาสกาล (MPa) เป็นเวลา ๓๐ วินาที ต้องไม่ปรากฏการบวม (Bulge) การบิดเบี้ยว (Distortion) หรือการรั่วซึม (Leakage) (ข) ทดสอบการขยายตัวด้วยความดัน ๓.๓๐ เมกะปาสกาล (MPa) ปริมาตรการขยายตัวถาวรของถังต้องไม่เกิน ๑ ใน ๕,๐๐๐ ของความจุถัง (ค) ทดสอบการรั่วซึมด้วยความดัน ๖๙๐ กิโลปาสกาล (kPa) แล้วต้องไม่ปรากฏการรั่วซึม ข้อ ๕ ผู้ตรวจและทดสอบต้องดำเนินการตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป (ก) ทำการตรวจและทดสอบ ณ สถานที่ประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในหนังสือให้ความเห็นชอบโดยบุคลากรของผู้ตรวจและทดสอบ โดยระหว่างดำเนินการตรวจและทดสอบให้ส่งสัญญาณจากระบบโทรทัศน์วงจรปิดไปยังระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกตลอดเวลา และต้องจัดเก็บข้อมูลจากระบบโทรทัศน์วงจรปิดไว้ไม่น้อยกว่า ๑ ปี (ข) ทำการตรวจและทดสอบเฉพาะรถที่ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ โดยผู้ได้รับความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น เว้นแต่กรณีเป็นรถที่ได้ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ไว้แล้วก่อนวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ก็ให้สามารถทำการตรวจและทดสอบได้ (ค) ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการตรวจและทดสอบตามที่กำหนดไว้ในคู่มือปฏิบัติงานตรวจและทดสอบ โดยใช้เครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้ตรวจและทดสอบ (ง) เมื่อตรวจและทดสอบรถแต่ละคันเสร็จสิ้น ให้ผู้ตรวจและทดสอบวินิจฉัยผลการตรวจและทดสอบ โดยต้องบันทึกข้อมูลผลการตรวจและทดสอบ และบันทึกข้อบกพร่องกรณีรถไม่ผ่านการตรวจและทดสอบ (ถ้ามี) ลงในระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกทันที (จ) รถที่ผ่านการตรวจและทดสอบ ให้ผู้ตรวจและทดสอบออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบจากระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก ให้แก่เจ้าของรถหรือผู้นำรถเข้ารับการตรวจและทดสอบพร้อมติดเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบการติดตั้งตามแบบท้ายประกาศนี้ที่ด้านในซ้ายของกระจกกันลมหน้า และเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบถังตามแบบท้ายประกาศนี้ที่ถังทุกใบให้เห็นได้อย่างชัดเจน สำหรับรถที่ไม่ผ่านการตรวจและทดสอบ ให้ผู้ตรวจและทดสอบแจ้งผลการตรวจและทดสอบและข้อบกพร่องของรถคันนั้น พร้อมจัดพิมพ์รายงานผลการตรวจและทดสอบการติดตั้งจากระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกให้แก่เจ้าของรถหรือผู้นำรถเข้ารับการตรวจและทดสอบ และหากพบถังไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน เนื่องจากมีข้อบกพร่อง ชำรุด หรือเสียหายจนไม่สามารถใช้งานต่อไปได้ให้พ่นอักษรสีขาวคำว่า “ห้ามใช้ถัง” ไว้ที่ถังในตำแหน่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน (ฉ) จัดเก็บค่าบริการตรวจและทดสอบตามอัตราที่กำหนดท้ายหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ (๒) ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิต (ก) ทำการตรวจและทดสอบ ณ สถานที่ประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในหนังสือให้ความเห็นชอบ โดยบุคลากรของผู้ตรวจและทดสอบ (ข) ทำการตรวจและทดสอบเฉพาะรถที่ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ โดยผู้ได้รับความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งจากกรมการขนส่งทางบก ซึ่งเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ผลิตขึ้นเองในประเทศไทยเท่านั้น (ค) เมื่อตรวจและทดสอบรถแต่ละคันเสร็จสิ้น ให้ผู้ตรวจและทดสอบวินิจฉัยผลการตรวจและทดสอบ โดยต้องบันทึกข้อมูลผลการตรวจและทดสอบลงในระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกทันที (ง) ออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบตามแบบท้ายประกาศนี้ ให้แก่เจ้าของรถหรือผู้นำรถเข้ารับการตรวจและทดสอบ และจัดเก็บสำเนาหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบพร้อมรายละเอียดแนบท้ายหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบของรถที่ได้รับการบริการไว้ที่สถานประกอบกิจการให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบของกรมการขนส่งทางบกเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี ทั้งนี้ รายละเอียดแนบท้ายหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบให้มีรายการอย่างน้อยดังนี้ ๑) ชื่อผู้ตรวจและทดสอบ ๒) เลขที่หนังสือรับรอง ๓) วันที่ทำการตรวจและทดสอบ ๔) สถานที่ตรวจและทดสอบ ๕) หมายเลขทะเบียนรถ หรือหมายเลขประจำรถ (Vehicle Identity Number : VIN) ๖) หมายเลขเครื่องยนต์ ๗) รายงานการตรวจและทดสอบมาตรฐานส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ที่ติดตั้ง (จ) ติดเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบการติดตั้งตามแบบท้ายประกาศนี้ที่ด้านในซ้ายของกระจกกันลมหน้า หรือติดแผ่นป้ายแสดงวันที่ตรวจและทดสอบ วันที่ตรวจและทดสอบครั้งต่อไป และชื่อผู้ตรวจและทดสอบไว้ที่ตัวรถในตำแหน่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนใกล้กับอุปกรณ์รับเติมก๊าซ (ฉ) ติดเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบถังตามแบบท้ายประกาศนี้ หรือติดแผ่นป้ายแสดงหมายเลขของถัง วันที่ตรวจและทดสอบ วันที่ถังหมดอายุ ชื่อผู้ตรวจและทดสอบไว้ที่ถังทุกใบในตำแหน่ง ที่เห็นได้อย่างชัดเจน (๓) ผู้ตรวจและทดสอบถัง (ก) ทำการตรวจและทดสอบ ณ สถานที่ประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในหนังสือให้ความเห็นชอบโดยบุคลากรของผู้ตรวจและทดสอบ (ข) ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการตรวจและทดสอบตามที่กำหนดไว้ในคู่มือปฏิบัติงานตรวจและทดสอบ โดยใช้เครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้ตรวจและทดสอบ (ค) เมื่อตรวจและทดสอบถังแต่ละใบเสร็จสิ้น ให้ผู้ตรวจและทดสอบวินิจฉัยผลการตรวจและทดสอบ โดยต้องบันทึกข้อมูลผลการตรวจและทดสอบ และบันทึกข้อบกพร่องกรณีถังไม่ผ่านการตรวจและทดสอบ (ถ้ามี) ลงในระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกทันที (ง) ถังที่ผ่านการตรวจและทดสอบ ให้ผู้ตรวจและทดสอบออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบถังจากระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก พร้อมติดเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบถังตามแบบท้ายประกาศนี้ที่ถังทุกใบให้เห็นได้อย่างชัดเจน สำหรับถังที่ไม่ผ่านการตรวจและทดสอบ ให้ผู้ตรวจและทดสอบแจ้งผลการตรวจและทดสอบ และข้อบกพร่องของถังนั้น พร้อมจัดพิมพ์รายงานผลการตรวจและทดสอบจากระบบสารสนเทศ กรมการขนส่งทางบก ให้แก่เจ้าของรถหรือผู้นำรถเข้ารับการตรวจและทดสอบ และหากพบถังไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน เนื่องจากมีข้อบกพร่อง ชำรุด หรือเสียหายจนไม่สามารถใช้งานต่อไปได้ให้พ่นตัวอักษรสีขาวคำว่า “ห้ามใช้ถัง” ไว้ที่ถังในตำแหน่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน จ) จัดเก็บค่าบริการตรวจและทดสอบตามอัตราที่กำหนดท้ายหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ข้อ ๖ การตรวจและทดสอบการติดตั้งต้องดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลาดังนี้ (๑) รถที่ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์โดยผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตที่ผลิตในประเทศไทยให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตก่อนการจดทะเบียนครั้งแรก หลังจากนั้นให้ทำการตรวจและทดสอบ โดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนชำระภาษีประจำปีของปีที่ ๔ หลังจากนั้นให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนชำระภาษีประจำปีทุกปี กรณีแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ให้แตกต่างไปจากการติดตั้งของผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ ก่อนครบกำหนดชำระภาษีประจำปีของปีที่ ๔ ให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนมาดำเนินการทางทะเบียน (๒) รถที่ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์โดยผู้ติดตั้งทั่วไปหรือผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตซึ่งอยู่ในต่างประเทศ ให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง หรือก่อนการจดทะเบียน แล้วแต่กรณี หลังจากนั้นให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนชำระภาษีประจำปีทุกปี (๓) กรณีเปลี่ยนแปลงถังให้ทำการการตรวจและทดสอบภายใน ๓๐ วัน ก่อนมาดำเนินการทางทะเบียน (๔) กรณีการแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง หรือการดำเนินการทางทะเบียน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงถังและการเปลี่ยนแปลงส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง ก่อนครบกำหนดชำระภาษีประจำปีในปีนั้นน้อยกว่า ๑๘๐ วัน ให้นำรถเข้ารับการตรวจและทดสอบครั้งต่อไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนชำระภาษีประจำปีของปีถัดไป (๕) รถที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงใหม่ ต้องทำการติดตั้งโดยผู้ติดตั้ง และผ่านการตรวจและทดสอบตามประกาศนี้ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้ง (๖) การติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงเข้ากับเครื่องยนต์ที่เปลี่ยนแปลงใหม่ ต้องทำการติดตั้งโดยผู้ติดตั้งและผ่านการตรวจและทดสอบตามประกาศนี้ทุกครั้งที่มีการติดตั้ง ข้อ ๗ ให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถนำรถมาทำการตรวจและทดสอบถังโดยผู้ตรวจและทดสอบถัง เมื่อถังมีอายุใช้งานมาแล้วครบ ๑๐ ปี นับแต่วันที่ตรวจและทดสอบครั้งแรก หลังจากนั้นให้ทำการตรวจและทดสอบถังทุก ๕ ปี ข้อ ๘ หนังสือรับรองการตรวจและทดสอบที่ได้ออกไว้ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับให้ ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะครบกำหนดการตรวจและทดสอบครั้งต่อไป หรือให้สิ้นสุดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงถังหรือส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ตามข้อ ๖ ข้อ ๙[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบสำหรับผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิต ๒. แบบเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบการติดตั้ง ๓. แบบเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบถัง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๐ ง/หน้า ๘๗/๔ ธันวาคม ๒๕๖๐
792679
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และการออกหนังสือรับรองการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และการออกหนังสือรับรองการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และการออกหนังสือรับรองการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และการออกหนังสือรับรองการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบันทึกข้อมูลผลการติดตั้ง รายงานผลการติดตั้งและออกหนังสือรับรองการติดตั้งผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้การตรวจสอบการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ และข้อ ๗ ของกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และการออกหนังสือรับรองการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ถัง” หมายความว่า ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซธรรมชาติอัด “ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์” หมายความว่า ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง “การติดตั้ง” หมายความว่า การติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ติดตั้ง” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ติดตั้งทั่วไป” หมายความว่า ผู้ติดตั้งที่ไม่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่มิให้หมายความรวมถึงผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อม “ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผู้ติดตั้งผลิต ซึ่งมีการกำหนดรหัสหรือรุ่นเป็นการเฉพาะ “ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อม” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ผลิตรถ (Manufacturer) หรือผู้จำหน่ายเพียงผู้เดียว (Sole distributor) ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงใหม่เฉพาะรถที่ได้รับการติดตั้งจากผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต โดยการเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ต้องดำเนินการตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตรถหรือผู้จำหน่ายรถเพียงผู้เดียวกำหนด “ระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก” หมายความว่า ระบบงานที่กรมการขนส่งทางบกจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ติดตั้งบันทึกข้อมูลผลการติดตั้ง รายงานผลการติดตั้งและออกหนังสือรับรองการติดตั้งผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ข้อ ๓ การติดตั้งต้องเป็นไปตามมาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (๑) ข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจของยุโรปแห่งสหประชาชาติ เลขที่ ECE R ๑๑๐ (๒) มาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ มาตรฐานเลขที่ มอก. ๒๓๓๓ ดังนี้ (ก) เล่ม ๑ ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย (ข) เล่ม ๒ วิธีทดสอบ (๓) มาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เลขที่ ISO ๑๕๕๐๑ ข้อ ๔ การติดตั้งถังให้ปฏิบัติตามวิธีการ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องยึดถังให้แน่นกับตัวรถในบริเวณที่มีความแข็งแรง เมื่อรถสั่นสะเทือนถังต้องไม่ขยับเขยื้อนและสามารถทนต่อแรงกระชากของถังในขณะบรรจุก๊าซเต็มถัง เมื่อรถเกิดความเร่งหรือความหน่วงได้เท่ากับจำนวนเท่าของอัตราเร่งที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลกตามที่มาตรฐานกำหนด (๒) กรณีที่ติดตั้งถังขนานกับความยาวของตัวรถ ให้ติดตั้งอุปกรณ์ยึดหรือยันด้านหัวและด้านท้ายถังเพื่อป้องกันถังเคลื่อนตัวในแนวนอน (๓) ห้ามเชื่อมถังกับสิ่งอื่นใด เว้นแต่เป็นการเชื่อมจากโรงงานผู้ผลิต (๔) ถังที่ติดตั้งต้องไม่รับน้ำหนักหรือภาระอย่างหนึ่งอย่างใดของรถ (๕) ถังที่ติดตั้งภายในห้องผู้โดยสาร ห้องผู้ขับรถ ห้องเก็บสัมภาระหรือที่ซึ่งอากาศถ่ายเทไม่สะดวกต้องมีเรือนกักก๊าซ (gas tight housing) ที่ติดอยู่ที่ถังเพื่อป้องกันก๊าซรั่วซึมออกสู่บริเวณห้องที่ติดตั้ง และต้องมีท่อระบายก๊าซ (ventilation hose) สำหรับระบายก๊าซที่รั่วซึมออกนอกตัวรถ (๖) ถังที่ติดตั้งควรยึดด้วยวิธีหนึ่งวิธีใดดังนี้ (ก) ใช้สายรัดทำด้วยเหล็กรัดถังอย่างน้อย ๒ สาย สายรัดแต่ละสายควรมีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๓๐ มิลลิเมตร ความหนาไม่น้อยกว่า ๓ มิลลิเมตร และใช้สกรูยึดสายรัดถังที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๑๐ มิลลิเมตร และในกรณีที่ถังมีความจุเกินกว่า ๑๐๐ ลิตร สายรัดแต่ละสายควรมีขนาด ความกว้างไม่น้อยกว่า ๕๐ มิลลิเมตร ความหนาไม่น้อยกว่า ๖ มิลลิเมตร และใช้สกรูยึดสายรัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๑๒ มิลลิเมตร (ข) ใช้สกรูยึดขาถังอย่างน้อย ๔ ตัว สกรูแต่ละตัวควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๑๐ มิลลิเมตร และในกรณีที่ถังมีความจุเกินกว่า ๑๐๐ ลิตร สกรูแต่ละตัวควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๑๒ มิลลิเมตร (๗) ในกรณีที่ถังติดตั้งอยู่ห่างจากท่อไอเสียหรือเครื่องยนต์น้อยกว่า ๑๐๐ มิลลิเมตร ต้องมีเครื่องป้องกันความร้อนกั้นระหว่างถังกับท่อไอเสียและเครื่องยนต์ (๘) ห้ามบรรจุก๊าซธรรมชาติอัดลงในถังจนมีความดันสูงเกินกว่า ๒๐.๖๘ เมกาปาสกาล (MPa) ข้อ ๕ ห้ามนำถังที่มีข้อบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ มาติดตั้ง (๑) เครื่องหมายประจำถังลบเลือนจนอ่านไม่ออก มีการแก้ไขโดยไม่ถูกต้อง หรือมีข้อความไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน (๒) ถังที่ถูกไฟไหม้ (๓) มีรอยรั่ว ซึม รอยร้าว หรือบวม (๔) มีรอยสึกลึกตั้งแต่ ๐.๒๕ มิลลิเมตรขึ้นไป (๕) มีรอยบาด รอยขูดขีด รอยเซาะ ลึกตั้งแต่ ๐.๒๕ มิลลิเมตรขึ้นไป (๖) มีรอยบุบเว้าลึกตั้งแต่ ๑.๖ มิลลิเมตรขึ้นไป หรือเส้นผ่าศูนย์กลางหรือความยาวสูงสุดของรอยบุบเว้ามากกว่า ๕๐ มิลลิเมตร (๗) มีรอยผุกร่อนทั่วไปลึกตั้งแต่ร้อยละ ๑๕ ของความหนาถังเดิม หรือเป็นพื้นที่ตั้งแต่ร้อยละ ๒๕ ของพื้นที่ผิวของถังขึ้นไป (๘) มีรอยผุกร่อนเป็นแนวยาวตั้งแต่ ๑๐๐ มิลลิเมตร หรือมีความลึกตั้งแต่ร้อยละ ๑๐ ของความหนาถังเดิมขึ้นไป (๙) มีรอยผุกร่อนเป็นหลุมลึกตั้งแต่ร้อยละ ๒๕ ของความหนาถังเดิมขึ้นไป (๑๐) ถังบิดเบี้ยวไม่ได้รูปทรง (๑๑) ลิ้นหัวถังเอียงจนเห็นได้ชัด หรือเมื่อขันเกลียวแน่นแล้วก๊าซยังรั่วอยู่ (๑๒) มีการดัดแปลงหรือต่อเติมถัง (๑๓) อุปกรณ์ระบายความดันเสียหาย หรือเสียรูป หรือไม่ตรงตามที่ผู้ผลิตกำหนด ข้อ ๖ เมื่อผู้ติดตั้งทำการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ครบถ้วนถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ติดเครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงไว้ที่ด้านท้ายของตัวรถในลักษณะที่มองเห็นจากภายนอกตัวรถได้อย่างชัดเจนและไม่หลุดลอกง่าย (๒) บันทึกข้อมูลผลการติดตั้ง และรายงานผลการติดตั้งลงในระบบสารสนเทศ กรมการขนส่งทางบก (๓) ออกหนังสือรับรองการติดตั้ง ให้แก่เจ้าของรถหรือผู้นำรถเข้ารับการติดตั้งดังนี้ (ก) กรณีผู้ติดตั้งทั่วไป ให้ออกหนังสือรับรองการติดตั้งจากระบบสารสนเทศ กรมการขนส่งทางบก (ข) กรณีผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต และผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อม ให้ออกหนังสือรับรองการติดตั้งตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ โดยให้มีรายละเอียดแนบท้ายหนังสือรับรองการติดตั้งที่มีรายการอย่างน้อยดังนี้ ๑) ชื่อผู้ติดตั้ง ๒) เลขที่หนังสือรับรอง ๓) สถานที่ติดตั้ง (เฉพาะกรณีที่สถานที่ติดตั้งแตกต่างไปจากที่อยู่ของผู้ได้รับความเห็นชอบ) ๔) หมายเลขประจำรถ (Vehicle Identity Number : VIN) ๕) หมายเลขเครื่องยนต์ ๖) ประเภทของเครื่องยนต์ที่ติดตั้ง ๗) แบบหรือระบบการใช้ก๊าซที่ติดตั้ง ๘) มาตรฐานการติดตั้ง ๙) รายละเอียดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่นำมาติดตั้งที่ระบุถึงยี่ห้อ รุ่นหรือแบบ หมายเลข (ถ้ามี) และมาตรฐาน (๔) ส่งมอบเอกสารคำแนะนำการใช้งานเกี่ยวกับส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงให้แก่เจ้าของรถหรือผู้นำรถเข้ารับการติดตั้ง โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับกำหนดวันที่ต้องตรวจและทดสอบถัง วันที่ถังหมดอายุ การนำรถเข้าตรวจและทดสอบก่อนใช้รถ และการบำรุงรักษาตามระยะเวลา หรือระยะทาง ข้อ ๗ ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต และผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อม ต้องจัดเก็บสำเนาหนังสือรับรองการติดตั้ง พร้อมรายละเอียดแนบท้ายหนังสือรับรองการติดตั้งของรถที่ได้รับการบริการไว้ที่สถานที่ประกอบกิจการให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบของกรมการขนส่งทางบกเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี ข้อ ๘[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบหนังสือรับรองการติดตั้งสำหรับผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต ๒. แบบหนังสือรับรองการติดตั้งสำหรับผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อม (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๐ ง/หน้า ๘๓/๔ ธันวาคม ๒๕๖๐
792673
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และการออกหนังสือรับรองการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และการออกหนังสือรับรองการติดตั้งส่วนควบและ เครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และแบบหนังสือรับรองการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และการออกหนังสือรับรองการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบันทึกข้อมูลผลการติดตั้ง รายงานผลการติดตั้งและออกหนังสือรับรอง การติดตั้งผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้การตรวจสอบการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ และข้อ ๗ ของกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และแบบหนังสือรับรองการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ถัง” หมายความว่า ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว “ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์” หมายความว่า ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “การติดตั้ง” หมายความว่า การติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ติดตั้ง” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ติดตั้งทั่วไป” หมายความว่า ผู้ติดตั้งที่ไม่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว “ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผู้ติดตั้งผลิต ซึ่งมีการกำหนดรหัสหรือรุ่นเป็นการเฉพาะ “ระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก” หมายความว่า ระบบงานที่กรมการขนส่งทางบกจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ติดตั้งบันทึกข้อมูลผลการติดตั้ง รายงานผลการติดตั้งและออกหนังสือรับรองการติดตั้งผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ข้อ ๓ ถังที่จะนำมาติดตั้งต้องมีส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์อย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (๑) ลิ้นบรรจุ (filling valve) (๒) ลิ้นระบายความดัน (pressure relief valve) (๓) ลิ้นกันกลับ (check valve or non return valve) (๔) ลิ้นเปิดปิด (shut-off valve) (๕) อุปกรณ์วัดระดับก๊าซเหลว (level indicator or fixed liquid level gauge) เป็นระบบไฟฟ้าและมีหน้าปัดแสดงที่ห้องผู้ขับรถ (๖) อุปกรณ์ป้องกันการบรรจุเกิน (overfill protection device) (๗) อุปกรณ์ระบายความดัน (pressure relief device) (๘) อุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดลิ้นระยะไกลพร้อมด้วยลิ้นป้องกันการไหลเกิน (remotely controlled service valve with excess flow valve) ข้อ ๔ การติดตั้งถังให้ทำได้บริเวณใต้ท้องรถ หรือภายในตัวถังรถ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ห้ามติดตั้งไว้ในห้องเครื่องยนต์ หรือส่วนหน้าของตัวถังรถ หรือด้านหน้าของเพลาล้อหน้า และต้องติดตั้งอยู่ห่างจากส่วนท้ายสุดของกันชนหลัง ไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร (๒) ห้ามติดตั้งบนหลังคา หรือเหนือห้องโดยสาร (๓) ต้องวางถังในลักษณะที่สามารถมองเห็นแผ่นป้ายแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับถังได้ โดยไม่ต้องรื้อถอนส่วนประกอบใด ๆ ออก (๔) ยึดถังหรือขาถังให้ติดแน่นกับตัวรถ ในกรณีที่ใช้แถบโลหะรัด ต้องมีวัสดุที่ยืดหยุ่นได้ เช่น สักหลาด หนัง ยาง พลาสติก เป็นต้น หุ้มหรือคั่นกลางเพื่อป้องกันโลหะเสียดสีกัน และเมื่อรถสั่นสะเทือนถังต้องไม่ขยับเขยื้อน และต้องติดตั้งถังตามคู่มือที่ผู้ผลิตกำหนด (๕) อุปกรณ์ยึดถังต้องทนต่อแรงกระชากที่เกิดจากความเร่งหรือความหน่วงของรถ และเมื่อเกิดแรงดังกล่าวถังยังต้องยึดติดกับตัวรถอย่างมั่นคงไม่ขยับเขยื้อน (๖) ห้ามเชื่อมหรือต่อเติมถังกับสิ่งอื่นใด เว้นแต่เป็นการเชื่อมมาจากโรงงานผู้ผลิต กรณีมีเหตุจำเป็นต้องติดตั้งถังบริเวณอื่นนอกจากที่กำหนด จะกระทำได้เมื่อกรมการขนส่งทางบกเห็นว่ามีความปลอดภัย มั่นคงแข็งแรง และเหมาะสมในการใช้งาน ข้อ ๕ ภายใต้บังคับความในข้อ ๓ การติดตั้งถังหลายใบในรถคันเดียวกัน ถ้าใช้ท่อนำก๊าซร่วมสำหรับบรรจุก๊าซ ถังแต่ละใบต้องมีลิ้นเปิดปิดให้บรรจุก๊าซได้คราวละถัง และถ้าใช้ท่อนำก๊าซร่วมที่ต่อจากถังไปยังเครื่องยนต์ ถังแต่ละใบต้องมีลิ้นเปิดปิดให้จ่ายก๊าซได้คราวละถังด้วย ข้อ ๖ ภายใต้บังคับความในข้อ ๔ การติดตั้งถังใต้ท้องรถ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การติดตั้งเพิ่มเติมดังนี้ (๑) จะมีเรือนกักก๊าซที่ติดตั้งบนถังหรือไม่ก็ได้ (๒) ส่วนล่างสุดของถังและเครื่องอุปกรณ์ที่ติดกับถัง ต้องอยู่สูงกว่าระยะต่ำสุดของรถไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร และกรณีที่ติดตั้งถังด้านหลังเพลาล้อท้ายสุดของรถ ส่วนล่างสุดของถังรวมทั้งเครื่องอุปกรณ์ที่ติดกับถังต้องอยู่สูงกว่าระยะต่ำสุดของรถไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร และอยู่สูงจากพื้นถนน ไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๖ ของระยะห่างระหว่างแกนของถังกับแกนของเพลาล้อท้ายสุด (๓) เครื่องอุปกรณ์ที่ติดตั้งกับถังต้องอยู่ห่างจากตัวถังรถเพื่อป้องกันมิให้เกิดการเสียดสีกัน (๔) ติดแผ่นโลหะหนาพอสมควรสำหรับป้องกันเศษหินที่กระเด็นจากการหมุนของล้อรถ ข้อ ๗ การติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) ติดตั้งให้ห่างจากอุปกรณ์ที่เป็นแหล่งความร้อน แหล่งที่เกิดประกายไฟ หรือแหล่งสารเคมี เช่น ท่อไอเสีย เป็นต้น ไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร เว้นแต่มีการป้องกันเป็นอย่างดี (๒) ไม่ติดตั้งในตำแหน่งที่อาจจะได้รับความเสียหาย เนื่องจากการชำรุดของชิ้นส่วนของรถที่ทำงานในลักษณะเหวี่ยงหรือหมุน เช่น สายพาน หรือเพลาขับ เป็นต้น (๓) ไม่ให้ส่วนหนึ่งส่วนใดพ้นออกนอกตัวถังรถ ข้อ ๘ การติดตั้งเรือนกักก๊าซที่มีลักษณะเป็นฝาครอบเครื่องอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนถังเรือนกักก๊าซนั้นต้องมีท่อที่มีลักษณะและขนาดเหมาะสมสำหรับระบายก๊าซที่รั่วซึมจากเครื่องอุปกรณ์ดังกล่าวออกนอกตัวรถได้ดี โดยปลายท่อต้องอยู่ห่างจากท่อไอเสียไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร กรณีไม่สามารถติดตั้งเรือนกักก๊าซที่มีลักษณะเป็นฝาครอบได้ ต้องติดตั้งเรือนกักก๊าซแบบเป็นกล่องบรรจุถังที่มีลักษณะและหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ต้องทำด้วยวัสดุไม่ติดไฟง่าย และมีฝาปิดแน่น (๒) มีช่องทำด้วยวัสดุใสให้สามารถมองเห็นเครื่องอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนถังได้ (๓) วางกล่องบรรจุถังบนที่รองรับที่เหมาะสม ซึ่งสามารถบรรจุก๊าซได้สะดวกและยึดกล่องบรรจุถังให้ติดแน่นกับพื้นรถ (๔) จุดต่ำสุดของกล่องบรรจุถัง ต้องมีท่อที่มีลักษณะและขนาดเหมาะสมสำหรับระบายก๊าซที่รั่วซึมตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๙ การติดตั้งท่อนำก๊าซ ต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) ส่วนล่างสุดของท่อนำก๊าซต้องอยู่สูงกว่าระยะต่ำสุดของรถไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร และในกรณีที่ติดตั้งถังด้านหลังเพลาล้อท้ายสุดของรถ ส่วนล่างสุดของท่อนำก๊าซที่ต่อจากถัง ต้องอยู่สูงกว่าระยะต่ำสุดของรถไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร และต้องอยู่สูงจากพื้นถนนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๖ ของระยะห่างระหว่างแกนของถังกับแกนเพลาล้อท้ายสุด (๒) ท่อนำก๊าซต้องมีความหนาและมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในที่เหมาะสมกับการทำงานของลิ้นควบคุมการไหลและอัตราการใช้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์และสามารถทนความดันได้โดยปลอดภัย (๓) ท่อนำก๊าซต้องไม่ถูกกระทบกระเทือน หรือเสียดสีกับสิ่งอื่นใด (๔) ท่อนำก๊าซส่วนที่อยู่ภายในตัวถังรถต้องเป็นชิ้นส่วนเดียวกันโดยไม่มีการเชื่อมหรือต่อ (๕) ท่อนำก๊าซที่ติดตั้งในตำแหน่งซุ้มล้อ หรือในตำแหน่งที่อาจจะทำให้เกิดความเสียหายจากการกระแทกของหินที่กระเด็นจากล้อหรือใต้ท้องรถ ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันความเสียหาย (๖) ท่อนำก๊าซส่วนที่อยู่ใต้ท้องรถต้องต่อเข้าในโครงคัสซี หรือส่วนของตัวถังรถ ที่สามารถป้องกันการกระทบกระแทกจากภายนอกได้ และต้องไม่ติดตั้งในตำแหน่งที่ออกแบบไว้สำหรับยกรถ (๗) ท่อนำก๊าซต้องยึดแน่นกับโครงคัสซีหรือส่วนของตัวถังรถด้วยตัวยึด โดยตัวยึดต้องมีระยะห่างกันไม่เกินช่วงละ ๕๐ เซนติเมตร (๘) ท่อนำก๊าซส่วนที่ผ่านเข้าไปในห้องผู้โดยสารหรือห้องผู้ขับรถ ต้องเดินในท่อโลหะอีกชั้นหนึ่งสำหรับให้ก๊าซระบายออกนอกตัวถังรถได้เมื่อมีก๊าซรั่ว และต้องมีการป้องกันการเสียดสีระหว่างท่อโลหะกับท่อนำก๊าซเป็นอย่างดี (๙) ข้อต่อต่าง ๆ ต้องเป็นข้อต่อแบบเกลียว และวัสดุที่ใช้ต้องเหมาะสมกับท่อนำก๊าซ ข้อ ๑๐ การติดตั้งท่อนำก๊าซสำหรับบรรจุก๊าซกรณีที่ติดตั้งถังภายในตัวถังรถ ต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) ท่อนำก๊าซต้องเป็นท่อแบบยืดหยุ่นหรือแบบคงตัวชนิดที่สามารถทนต่อแรงสั่นสะเทือนเนื่องจากการใช้งานได้ มีขนาดเหมาะสม ทนความดันได้โดยปลอดภัย (๒) ต่อท่อนำก๊าซกับลิ้นบรรจุที่ถังออกไปยังตัวรถด้านใดด้านหนึ่ง แต่ต้องไม่ยื่นพ้นออกนอกตัวรถ (๓) ปลายท่อนำก๊าซต้องติดตั้งอุปกรณ์รับเติมก๊าซที่ยึดติดกับตัวรถอย่างมั่นคง ในตำแหน่งที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก และอยู่ห่างจากประตูทางขึ้นลงพอสมควร ข้อ ๑๑ การติดตั้งระบบควบคุมการเปิดปิดก๊าซ ต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) ติดตั้งลิ้นควบคุมการเปิดปิดก๊าซในตำแหน่งที่ก๊าซจะไม่พุ่งเข้ารถเมื่อเกิดก๊าซรั่วจากลิ้นควบคุมการเปิดปิดก๊าซไม่ว่าจะรั่วจากท่อทางเข้าหรือท่อทางออก (๒) ลิ้นเปิดปิดก๊าซต้องปิดโดยอัตโนมัติเมื่อเปิดใช้น้ำมันเบนซิน (๓) เมื่อเครื่องยนต์ดับ ลิ้นเปิดปิดก๊าซต้องปิดโดยอัตโนมัติ (๔) ระบบไฟฟ้าที่ควบคุมการเปิดปิดก๊าซไปยังเครื่องยนต์ ต้องมีฟิวส์ป้องกันการลัดวงจร และต้องต่อแยกออกจากระบบไฟฟ้าอื่น ๆ ในรถ ข้อ ๑๒ การติดตั้งอุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซ ต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) ท่อนำก๊าซที่ต่อจากอุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซ ไปยังเครื่องผสมอากาศกับก๊าซต้องเป็นท่อนำก๊าซแบบยืดหยุ่นที่ทนความดันได้ไม่น้อยกว่า ๑๐๐ กิโลปาสกาล (kPa) และทนความดันแตกได้ไม่น้อยกว่า ๘๗๕ กิโลปาสกาล (kPa) (๒) ห้ามต่อท่อหรืออุปกรณ์อื่นใดเพื่อนำความร้อนจากท่อไอเสียไปยังอุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซ (๓) ไม่ติดอุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซเข้ากับส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องยนต์ระบบส่งกำลัง หรือในห้องโดยสาร ข้อ ๑๓ กรณีที่รถใช้น้ำมันเบนซินสลับกับก๊าซปิโตรเลียมเหลว ลิ้นเปิดปิดน้ำมันต้องปิดโดยอัตโนมัติเมื่อเปิดใช้ก๊าซ ข้อ ๑๔ เมื่อผู้ติดตั้งทำการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ครบถ้วนถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ติดเครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงไว้ที่ด้านท้ายของตัวรถในลักษณะที่มองเห็นจากภายนอกตัวรถได้อย่างชัดเจนและไม่หลุดลอกง่าย (๒) บันทึกข้อมูลผลการติดตั้ง และรายงานผลการติดตั้งลงในระบบสารสนเทศ กรมการขนส่งทางบก (๓) ออกหนังสือรับรองการติดตั้ง ให้แก่เจ้าของรถหรือผู้นำรถเข้ารับการติดตั้งดังนี้ (ก) กรณีผู้ติดตั้งทั่วไป ให้ออกหนังสือรับรองการติดตั้งจากระบบสารสนเทศ กรมการขนส่งทางบก (ข) กรณีผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต ให้ออกหนังสือรับรองการติดตั้งตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ โดยให้มีรายละเอียดแนบท้ายหนังสือรับรองการติดตั้งที่มีรายการอย่างน้อยดังนี้ ๑) ชื่อผู้ติดตั้ง ๒) เลขที่หนังสือรับรอง ๓) สถานที่ติดตั้ง (เฉพาะกรณีที่สถานที่ติดตั้งแตกต่างไปจากที่อยู่ของผู้ได้รับความเห็นชอบ) ๔) หมายเลขประจำรถ (Vehicle Identity Number : VIN) ๕) หมายเลขเครื่องยนต์ ๖) ประเภทของเครื่องยนต์ที่ติดตั้ง ๗) แบบหรือระบบการใช้ก๊าซที่ติดตั้ง ๘) มาตรฐานการติดตั้ง ๙) รายละเอียดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่นำมาติดตั้งที่ระบุถึงยี่ห้อ รุ่นหรือแบบ หมายเลข (ถ้ามี) และมาตรฐาน (๔) ส่งมอบเอกสารคำแนะนำการใช้งานเกี่ยวกับส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงให้แก่เจ้าของรถหรือผู้นำรถเข้ารับการติดตั้ง โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับกำหนดวันที่ต้องตรวจและทดสอบถัง วันที่ถังหมดอายุ การนำรถเข้าตรวจและทดสอบก่อนใช้รถ และการบำรุงรักษาตามระยะเวลา หรือระยะทาง ข้อ ๑๕ ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตต้องจัดเก็บสำเนาหนังสือรับรองการติดตั้ง พร้อมรายละเอียดแนบท้ายหนังสือรับรองการติดตั้งของรถที่ได้รับการบริการไว้ที่สถานที่ประกอบกิจการให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบของกรมการขนส่งทางบกเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี ข้อ ๑๖[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบหนังสือรับรองการติดตั้งสำหรับผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๐ ง/หน้า ๗๗/๔ ธันวาคม ๒๕๖๐
792668
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ การเป็นผู้ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัด หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายกับผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงที่กระทำผิดกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๐ ของกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๐ และข้อ ๑๐ ของกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “หนังสือให้ความเห็นชอบ” หมายความว่า หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “การติดตั้ง” หมายความว่า การติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ติดตั้ง” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ติดตั้งทั่วไป” หมายความว่า ผู้ติดตั้งที่ไม่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว “ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผู้ติดตั้งผลิตซึ่งมีการกำหนดรหัสหรือรุ่นเป็นการเฉพาะ “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงานราชการ หรือบุคลากรอื่นในสังกัดสำนักวิศวกรรมยานยนต์ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด ข้อ ๒ เมื่อปรากฏว่าผู้ติดตั้งผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด ให้ดำเนินการพิจารณาลงโทษตามบัญชีข้อหาความผิด และมาตรการลงโทษแนบท้ายประกาศนี้ โดยแบ่งการลงโทษเป็น ๓ ระดับ ดังนี้ (๑) ตักเตือน (๒) ระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราว (๓) ยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ข้อ ๓ การพิจารณาลงโทษตามข้อ ๒ ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ให้มีอำนาจตักเตือน และระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราว กับผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต (๒) ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ หรือขนส่งจังหวัดที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบให้มีอำนาจตักเตือน และระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราวกับผู้ติดตั้งทั่วไป (๓) อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ให้มีอำนาจยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ กับผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตและผู้ติดตั้งทั่วไป ในการพิจารณาลงโทษตามวรรคหนึ่งให้ผู้มีอำนาจตาม (๑) (๒) และ (๓) มอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้ ข้อ ๔ การตรวจสอบการดำเนินการของผู้ติดตั้ง หากพบการกระทำความผิดหลายข้อหาแตกต่างกันให้พิจารณาดำเนินการกับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดเฉพาะความผิดที่ต้องได้รับโทษสูงสุด ข้อ ๕ การพิจารณาดำเนินการตามข้อ ๔ กับผู้ติดตั้งที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด ให้พิจารณาภายในรอบอายุหนังสือให้ความเห็นชอบและให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (๑) ความผิดขั้นตักเตือน (ก) กระทำความผิดครั้งแรก ให้ตักเตือน (ข) กระทำความผิดครั้งที่สอง ให้สั่งระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราว ๑๕ วัน (ค) กระทำความผิดตั้งแต่ครั้งที่สามขึ้นไป ให้สั่งระงับการดำเนินการติดตั้ง ๓๐ วัน การสั่งระงับการดำเนินการติดตั้งตาม (๑) มิให้นำไปนับรวมเป็นจำนวนครั้งสำหรับการสั่งระงับการดำเนินการติดตั้งตาม (๒) (๒) ความผิดขั้นระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราว (ก) กระทำความผิดครั้งแรก ให้สั่งระงับการดำเนินการติดตั้ง ๑๕ วัน (ข) กระทำความผิดครั้งที่สอง ให้สั่งระงับการดำเนินการติดตั้ง ๓๐ วัน (ค) กระทำความผิดครั้งที่สาม ให้ยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ การสั่งระงับการดำเนินการติดตั้งตาม (๑) และ (๒) หากการกระทำความผิดนั้น ต้องปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้องก่อนจึงจะดำเนินการติดตั้งต่อไปได้ ให้สั่งระงับการดำเนินการติดตั้งไว้จนกว่าจะปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้อง แต่ต้องสั่งระงับการดำเนินการไว้ไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละกรณี ข้อ ๖ ในกรณีผู้ติดตั้งมีพฤติการณ์จงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราวตามข้อ ๕ สำหรับผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต ให้ผู้อำนวยสำนักวิศวกรรมยานยนต์ สำหรับผู้ติดตั้งทั่วไป ให้ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ หรือขนส่งจังหวัดที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ นำเสนออธิบดีกรมการขนส่งทางบกพิจารณายกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ ๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ มาบังคับใช้โดยอนุโลม ข้อ ๗ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำความผิดตามข้อหาความผิดที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ และมิใช่ความผิดซึ่งต้องถูกยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ต้องถูกยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบตามข้อ ๕ (๒) (ค) ให้พิจารณาลงโทษขั้นตักเตือนหรือระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราว แล้วแต่กรณี โดยสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ติดตั้งทราบทันที หรืออย่างช้าไม่เกินวันทำการถัดไป และรีบรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามลำดับโดยเร็ว ข้อ ๘ ผู้ติดตั้งที่ได้รับคำสั่งระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราวตามข้อ ๕ ต้องระงับการดำเนินการติดตั้งไว้จนกว่าจะปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อดำเนินการให้ถูกต้องแล้ว สำหรับผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตให้มีหนังสือแจ้งผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ สำหรับผู้ติดตั้งทั่วไปให้มีหนังสือแจ้งผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ หรือขนส่งจังหวัดที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ทราบเพื่อทำการตรวจสอบ เมื่อผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ หรือขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี ได้รับแจ้งการดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้วให้ดำเนินการตรวจสอบ หากผลการตรวจสอบพบว่าผู้ติดตั้งนั้นได้ปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้องแล้ว ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ หรือขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี มีหนังสือยกเลิกคำสั่งระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราวโดยเร็ว ข้อ ๙ ในกรณีเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำความผิดซึ่งต้องถูกยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบหรืออยู่ในเกณฑ์ที่ต้องถูกยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบตามข้อ ๕ (๒) (ค) สำหรับผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ สำหรับผู้ติดตั้งทั่วไปให้ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ หรือขนส่งจังหวัด สั่งระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราวไว้จนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น และให้ดำเนินการจัดทำรายงานและความเห็น พร้อมรวบรวมเอกสารหลักฐานนำเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อนำเสนออธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมายพิจารณาต่อไป ข้อ ๑๐ เมื่ออธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมายพิจารณาตามข้อ ๙ แล้ว สำหรับผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ สำหรับผู้ติดตั้งทั่วไป ให้ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ หรือขนส่งจังหวัด แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ติดตั้งทราบโดยเร็ว ในกรณีอธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมายสั่งยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ให้แจ้งผู้ติดตั้งส่งคืนหนังสือให้ความเห็นชอบต่อผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ หรือขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ถูกสั่งยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบด้วย ข้อ ๑๑ คำสั่งใด ๆ ที่ออกตามประกาศนี้ ต้องระบุวัน เดือน ปี ที่ออกคำสั่ง ชื่อ และตำแหน่ง พร้อมลายมือชื่อผู้ทำคำสั่ง เหตุผลที่ทำคำสั่งซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายอ้างอิง ข้อพิจารณา และข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ รวมทั้งการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ และระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์คำสั่ง การอุทธรณ์คำสั่งตักเตือน หรือระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราว ให้อุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมการขนส่งทางบก การอุทธรณ์คำสั่งยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ให้อุทธรณ์ต่อปลัดกระทรวงคมนาคมโดยให้อุทธรณ์ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง ทั้งนี้ ให้นำพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอน และระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์มาบังคับใช้โดยอนุโลม การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุแห่งการทุเลาการบังคับตามคำสั่งตักเตือน หรือระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราว หรือยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ข้อ ๑๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีข้อหาความผิดและมาตรการลงโทษ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๐ ง/หน้า ๗๓/๔ ธันวาคม ๒๕๖๐
792663
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ การเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัด หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายกับผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงที่กระทำผิดกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๐ ของกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๐ และข้อ ๑๐ ของกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “หนังสือให้ความเห็นชอบ” หมายความว่า หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “การติดตั้ง” หมายความว่า การติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ติดตั้ง” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ติดตั้งทั่วไป” หมายความว่า ผู้ติดตั้งที่ไม่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว “ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผู้ติดตั้งผลิต ซึ่งมีการกำหนดรหัสหรือรุ่นเป็นการเฉพาะ “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงานราชการ หรือบุคลากรอื่นในสังกัดสำนักวิศวกรรมยานยนต์ หรือสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด ข้อ ๒ เมื่อปรากฏว่าผู้ติดตั้งผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด ให้ดำเนินการพิจารณาลงโทษตามบัญชีข้อหาความผิด และมาตรการลงโทษ แนบท้ายประกาศนี้ โดยแบ่งการลงโทษเป็น ๓ ระดับ ดังนี้ (๑) ตักเตือน (๒) ระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราว (๓) ยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ข้อ ๓ การพิจารณาลงโทษตามข้อ ๒ ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ (๑) ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ให้มีอำนาจตักเตือน และระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราว กับผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต (๒) ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ หรือขนส่งจังหวัดที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ ให้มีอำนาจตักเตือน และระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราวกับผู้ติดตั้งทั่วไป (๓) อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ให้มีอำนาจยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ กับผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตและผู้ติดตั้งทั่วไป ในการพิจารณาลงโทษตามวรรคหนึ่งให้ผู้มีอำนาจตาม (๑) (๒) และ (๓) มอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้ ข้อ ๔ การตรวจสอบการดำเนินการของผู้ติดตั้ง หากพบการกระทำความผิดหลายข้อหาแตกต่างกัน ให้พิจารณาดำเนินการกับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด เฉพาะความผิดที่ต้องได้รับโทษสูงสุด ข้อ ๕ การพิจารณาดำเนินการตามข้อ ๔ กับผู้ติดตั้งที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด ให้พิจารณาภายในรอบอายุหนังสือให้ความเห็นชอบ และให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (๑) ความผิดขั้นตักเตือน (ก) กระทำความผิดครั้งแรก ให้ตักเตือน (ข) กระทำความผิดครั้งที่สอง ให้สั่งระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราว ๑๕ วัน (ค) กระทำความผิดตั้งแต่ครั้งที่สามขึ้นไป ให้สั่งระงับการดำเนินการติดตั้ง ๓๐ วัน การสั่งระงับการดำเนินการติดตั้งตาม (๑) มิให้นำไปนับรวมเป็นจำนวนครั้งสำหรับการสั่งระงับการดำเนินการติดตั้งตาม (๒) (๒) ความผิดขั้นระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราว (ก) กระทำความผิดครั้งแรก ให้สั่งระงับการดำเนินการติดตั้ง ๑๕ วัน (ข) กระทำความผิดครั้งที่สอง ให้สั่งระงับการดำเนินการติดตั้ง ๓๐ วัน (ค) กระทำความผิดครั้งที่สาม ให้ยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ การสั่งระงับการดำเนินการติดตั้งตาม (๑) และ (๒) หากการกระทำความผิดนั้น ต้องปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้องก่อนจึงจะดำเนินการติดตั้งต่อไปได้ ให้สั่งระงับการดำเนินการติดตั้งไว้จนกว่าจะปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้อง แต่ต้องสั่งระงับการดำเนินการไว้ไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละกรณี ข้อ ๖ ในกรณีผู้ติดตั้งมีพฤติการณ์จงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราวตามข้อ ๕ สำหรับผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ สำหรับผู้ติดตั้งทั่วไป ให้ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ หรือขนส่งจังหวัดที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ นำเสนออธิบดีกรมการขนส่งทางบกพิจารณายกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ ๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ มาบังคับใช้โดยอนุโลม ข้อ ๗ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำความผิดตามข้อหาความผิดที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ และมิใช่ความผิดซึ่งต้องถูกยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ต้องถูกยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบตามข้อ ๕ (๒) (ค) ให้พิจารณาลงโทษขั้นตักเตือนหรือระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราว แล้วแต่กรณี โดยสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ติดตั้งทราบทันที หรืออย่างช้าไม่เกินวันทำการถัดไป และรีบรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามลำดับโดยเร็ว ข้อ ๘ ผู้ติดตั้งที่ได้รับคำสั่งระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราวตามข้อ ๕ ต้องระงับการดำเนินการติดตั้งไว้จนกว่าจะปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อดำเนินการให้ถูกต้องแล้ว สำหรับผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตให้มีหนังสือแจ้งผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ สำหรับผู้ติดตั้งทั่วไปให้มีหนังสือแจ้งผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ หรือขนส่งจังหวัดที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ทราบเพื่อ ทำการตรวจสอบ เมื่อผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ หรือขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี ได้รับแจ้งการดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้วให้ดำเนินการตรวจสอบ หากผลการตรวจสอบพบว่าผู้ติดตั้งนั้นได้ปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้องแล้ว ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ หรือขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี มีหนังสือยกเลิกคำสั่งระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราวโดยเร็ว ข้อ ๙ ในกรณีเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำความผิดซึ่งต้องถูกยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบหรืออยู่ในเกณฑ์ที่ต้องถูกยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบตามข้อ ๕ (๒) (ค) สำหรับผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ สำหรับผู้ติดตั้งทั่วไปให้ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ หรือขนส่งจังหวัด สั่งระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราวไว้จนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น และให้ดำเนินการจัดทำรายงานและความเห็น พร้อมรวบรวมเอกสารหลักฐานนำเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อนำเสนออธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมายพิจารณาต่อไป ข้อ ๑๐ เมื่ออธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมายพิจารณาตามข้อ ๙ แล้ว สำหรับผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ สำหรับผู้ติดตั้งทั่วไปให้ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ หรือขนส่งจังหวัด แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ติดตั้งทราบโดยเร็ว ในกรณีอธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมายสั่งยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ให้แจ้งผู้ติดตั้งส่งคืนหนังสือให้ความเห็นชอบต่อผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ หรือขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ถูกสั่งยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบด้วย ข้อ ๑๑ คำสั่งใด ๆ ที่ออกตามประกาศนี้ ต้องระบุวัน เดือน ปี ที่ออกคำสั่ง ชื่อ และตำแหน่ง พร้อมลายมือชื่อผู้ทำคำสั่ง เหตุผลที่ทำคำสั่งซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายอ้างอิง ข้อพิจารณา และข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ รวมทั้งการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ และระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์คำสั่ง การอุทธรณ์คำสั่งตักเตือน หรือระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราว ให้อุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมการขนส่งทางบก การอุทธรณ์คำสั่งยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ให้อุทธรณ์ต่อปลัดกระทรวงคมนาคม โดยให้อุทธรณ์ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง ทั้งนี้ ให้นำพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอน และระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์มาบังคับใช้ โดยอนุโลม การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุแห่งการทุเลาการบังคับตามคำสั่งตักเตือน หรือระงับการดำเนินการติดตั้งเป็นการชั่วคราว หรือยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบ ข้อ ๑๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีข้อหาความผิดและมาตรการลงโทษ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๐ ง/หน้า ๖๙/๔ ธันวาคม ๒๕๖๐
792660
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบและการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ ของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้บันทึกข้อมูลและผลการตรวจและทดสอบ รายงานผลการตรวจและทดสอบ และออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้การตรวจสอบการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๘ และข้อ ๙ ของกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ถัง” หมายความว่า ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซธรรมชาติอัด “เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ” หมายความว่า เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง “การตรวจและทดสอบ” หมายความว่า การตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบและการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ตรวจและทดสอบ” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบที่ไม่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว “ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบและการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตจากโรงงานเป็นครั้งแรกก่อนการจดทะเบียน ซึ่งมีการกำหนดรหัสหรือรุ่นเป็นการเฉพาะ “ผู้ติดตั้ง” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง “ระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก” หมายความว่า ระบบงานที่กรมการขนส่งทางบกจัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้ตรวจและทดสอบบันทึกข้อมูลผลการตรวจและทดสอบ รายงานผลการตรวจและทดสอบ และออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบผ่านระบบอินเตอร์เน็ต “ระบบโทรทัศน์วงจรปิด” หมายความว่า ระบบการบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องวงจรปิดที่สามารถเชื่อมต่อและส่งสัญญาณภาพไปยังระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกได้ ข้อ ๓ การตรวจและทดสอบต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบให้เป็นไปตามมาตรฐานเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด รวมทั้งตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ของเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ ซึ่งต้องตรงตามหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ (๒) ตรวจสอบความถูกต้องของการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการติดตั้งตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด (๓) ตรวจสอบความถูกต้องของการติดเครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง ข้อ ๔ วิธีการตรวจและทดสอบ ให้ปฏิบัติตามคู่มือปฏิบัติงานตรวจและทดสอบ ข้อ ๕ การตรวจและทดสอบถังต้องเป็นไปตามมาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เลขที่ ISO ๑๙๐๗๘ ข้อ ๖ ผู้ตรวจและทดสอบต้องดำเนินการตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป (ก) ทำการตรวจและทดสอบ ณ สถานที่ประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในหนังสือให้ความเห็นชอบโดยบุคลากรของผู้ตรวจและทดสอบ โดยระหว่างดำเนินการตรวจและทดสอบให้ส่งสัญญาณจากระบบโทรทัศน์วงจรปิดไปยังระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกตลอดเวลา และต้องจัดเก็บข้อมูลจากระบบโทรทัศน์วงจรปิดไว้ไม่น้อยกว่า ๑ ปี (ข) ทำการตรวจและทดสอบเฉพาะรถที่ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบโดยผู้ได้รับความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น เว้นแต่กรณีเป็นรถที่ได้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบไว้แล้วก่อนวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ก็ให้สามารถทำการตรวจและทดสอบได้ (ค) ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการตรวจและทดสอบตามที่กำหนดไว้ในคู่มือปฏิบัติงานตรวจและทดสอบ โดยใช้เครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้ตรวจและทดสอบ (ง) เมื่อตรวจและทดสอบรถแต่ละคันเสร็จสิ้น ให้ผู้ตรวจและทดสอบวินิจฉัยผลการตรวจและทดสอบ โดยต้องบันทึกข้อมูลผลการตรวจและทดสอบ และบันทึกข้อบกพร่องกรณีรถไม่ผ่านการตรวจและทดสอบ (ถ้ามี) ลงในระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกทันที (จ) รถที่ผ่านการตรวจและทดสอบ ให้ผู้ตรวจและทดสอบออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบจากระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก ให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง พร้อมติดเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบการติดตั้ง ตามแบบท้ายประกาศนี้ที่ด้านในซ้ายของกระจก กันลมหน้าให้เห็นได้อย่างชัดเจน และติดเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบถัง ตามแบบท้ายประกาศนี้ไว้ที่ถังทุกใบในตำแหน่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน สำหรับรถที่ไม่ผ่านการตรวจและทดสอบ ให้ผู้ตรวจและทดสอบแจ้งผลการตรวจและทดสอบ และข้อบกพร่องของรถคันนั้น พร้อมจัดพิมพ์รายงานผลการตรวจและทดสอบจากระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก ให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง และหากพบถังไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน เนื่องจากถังหมดอายุ มีข้อบกพร่อง ชำรุด หรือเสียหายจนไม่สามารถใช้งานต่อไปได้ให้พ่นตัวอักษรสีแดงคำว่า “ห้ามใช้ถัง” ไว้ที่ถังในตำแหน่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน (ฉ) จัดเก็บค่าบริการตรวจและทดสอบตามอัตราที่กำหนดท้ายหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ (๒) ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิต (ก) ทำการตรวจและทดสอบ ณ สถานที่ประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในหนังสือให้ความเห็นชอบโดยบุคลากรของผู้ตรวจและทดสอบ (ข) ทำการตรวจและทดสอบเฉพาะรถที่ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบโดยผู้ได้รับความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งจากกรมการขนส่งทางบก ซึ่งเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ผลิตขึ้นเองในประเทศไทยเท่านั้น (ค) เมื่อตรวจและทดสอบรถแต่ละคันเสร็จสิ้น ให้ผู้ตรวจและทดสอบวินิจฉัยผลการตรวจและทดสอบ โดยต้องบันทึกข้อมูลผลการตรวจและทดสอบลงในระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกทันที (ง) ออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบตามแบบท้ายประกาศนี้ ให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง และจัดเก็บสำเนาหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบพร้อมรายละเอียดแนบท้ายหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบของรถที่ได้รับการบริการไว้ที่สถานที่ประกอบกิจการให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบของกรมการขนส่งทางบกเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี ทั้งนี้ รายละเอียดแนบท้ายหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบให้มีรายการอย่างน้อยดังนี้ ๑) ชื่อผู้ตรวจและทดสอบ ๒) เลขที่หนังสือรับรอง ๓) วันที่ทำการตรวจและทดสอบ ๔) สถานที่ตรวจและทดสอบ ๕) หมายเลขทะเบียนรถ หรือหมายเลขประจำรถ (Vehicle Identity Number : VIN) ๖) หมายเลขเครื่องยนต์ ๗) รายงานการตรวจและทดสอบมาตรฐานเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้ง (จ) ติดเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบการติดตั้งตามแบบท้ายประกาศนี้ ที่ด้านในซ้ายของกระจกกันลมหน้า หรือติดแผ่นป้ายแสดงวันที่ตรวจและทดสอบ วันที่ตรวจและทดสอบครั้งต่อไป และชื่อผู้ตรวจและทดสอบไว้ที่ตัวรถในตำแหน่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนใกล้กับอุปกรณ์รับเติมก๊าซ (ฉ) ติดเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบถังตามแบบท้ายประกาศนี้ หรือติดแผ่นป้ายแสดงหมายเลขของถัง วันที่ตรวจและทดสอบ วันที่ถังหมดอายุ ชื่อผู้ตรวจและทดสอบไว้ที่ถังทุกใบในตำแหน่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน ข้อ ๗ การตรวจและทดสอบต้องดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลาดังนี้ (๑) รถที่ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบโดยผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตที่ผลิตในประเทศไทยให้ทำการตรวจและทดสอบ โดยผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตก่อนการจดทะเบียนครั้งแรก หลังจากนั้นให้ทำการตรวจและทดสอบ โดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนชำระภาษีประจำปีของปีที่ ๔ หลังจากนั้นให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนชำระภาษีประจำปีทุกปี กรณีแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบให้แตกต่างไปจากการติดตั้งของผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ ก่อนครบกำหนดชำระภาษีประจำปีของปีที่ ๔ ให้ทำการตรวจและทดสอบ โดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนมาดำเนินการทางทะเบียน (๒) รถที่ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบโดยผู้ติดตั้งทั่วไป หรือผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตซึ่งอยู่ในต่างประเทศ ให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง หรือก่อนการจดทะเบียน แล้วแต่กรณี หลังจากนั้นให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนชำระภาษีประจำปีทุกปี (๓) กรณีเปลี่ยนแปลงถังให้ทำการตรวจและทดสอบภายใน ๓๐ วัน ก่อนมาดำเนินการทางทะเบียน (๔) กรณีการแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง หรือการดำเนินการทางทะเบียน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงถัง และการเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบสำหรับใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง ก่อนครบกำหนดชำระภาษีประจำปีในปีนั้นน้อยกว่า ๑๘๐ วัน ให้นำรถเข้ารับการตรวจและทดสอบครั้งต่อไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนชำระภาษีประจำปีของปีถัดไป (๕) รถที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบสำหรับใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงใหม่ ต้องทำการติดตั้งโดยผู้ติดตั้งและผ่านการตรวจและทดสอบตามประกาศนี้ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้ง (๖) การติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบสำหรับใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงเข้ากับเครื่องยนต์ ที่เปลี่ยนแปลงใหม่ ต้องทำการติดตั้งโดยผู้ติดตั้งและผ่านการตรวจและทดสอบตามประกาศนี้ทุกครั้งที่มีการติดตั้ง ข้อ ๘ หนังสือรับรองการตรวจและทดสอบที่ได้ออกไว้ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะครบกำหนดการตรวจและทดสอบครั้งต่อไป หรือให้สิ้นสุดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงถังหรือเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบตามข้อ ๗ ข้อ ๙[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบการติดตั้ง สำหรับผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิต ๒. แบบเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบการติดตั้ง ๓. แบบเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบถัง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๐ ง/หน้า ๖๔/๔ ธันวาคม ๒๕๖๐
792656
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ ของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบันทึกข้อมูลผลการตรวจและทดสอบ รายงานผลการตรวจและทดสอบ และออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้การตรวจสอบการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๘ และข้อ ๙ ของกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ถัง” หมายความว่า ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว “เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ” หมายความว่า เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “การตรวจและทดสอบ” หมายความว่า การตรวจและทดสอบการติดตั้ง และการตรวจและทดสอบถัง “การตรวจและทดสอบการติดตั้ง” หมายความว่า การตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบและการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “การตรวจและทดสอบถัง” หมายความว่า การตรวจและทดสอบถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ตรวจและทดสอบ” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบที่ไม่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว “ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตจากโรงงานเป็นครั้งแรกก่อนการจดทะเบียนซึ่งมีการกำหนดรหัสหรือรุ่นเป็นการเฉพาะ “ผู้ตรวจและทดสอบถัง” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ติดตั้งในรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ติดตั้ง” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก” หมายความว่า ระบบงานที่กรมการขนส่งทางบกจัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้ตรวจและทดสอบบันทึกข้อมูลผลการตรวจและทดสอบ รายงานผลการตรวจและทดสอบ และออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบผ่านระบบอินเตอร์เน็ต “ระบบโทรทัศน์วงจรปิด” หมายความว่า ระบบการบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องวงจรปิดที่สามารถเชื่อมต่อและส่งสัญญาณภาพไปยังระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกได้ ข้อ ๓ การตรวจและทดสอบต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบให้เป็นไปตามมาตรฐานเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด รวมทั้งตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ของเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ ซึ่งต้องตรงตามหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ (๒) ตรวจสอบความถูกต้องของการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการติดตั้งตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด (๓) ตรวจพินิจภายนอกถัง ซึ่งต้องไม่ปรากฏข้อบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (ก) ถังถูกไฟไหม้ (ข) ถังบิดเบี้ยวไม่ได้รูปทรง หรือมีการดัดแปลงหรือต่อเติมถัง (ค) มีหลุมบ่อโดดเดี่ยวลึกเกินร้อยละ ๕๐ ของความหนาผนังถังเดิม (ง) มีรอยผุกร่อนเป็นแนวยาวตั้งแต่ ๗๕ มิลลิเมตรขึ้นไป และลึกเกินร้อยละ ๒๕ ของความหนาผนังถังเดิม หรือมีรอยผุกร่อนเป็นแนวยาวน้อยกว่า ๗๕ มิลลิเมตร และลึกเกินร้อยละ ๕๐ ของความหนาผนังถังเดิม (จ) มีรอยผุกร่อนทั่วไปลึกเกินร้อยละ ๕๐ ของความหนาผนังถังเดิม (ฉ) มีรอยบุบเว้าที่รอยเชื่อมลึกเกิน ๖ มิลลิเมตร (ช) มีรอยบุบเว้าที่บริเวณอื่นลึกเกินร้อยละ ๑๐ ของความกว้างเฉลี่ยของรอยบุบเว้า (ซ) มีรอยบาด รอยขูดขีด หรือทิ่มแทงลึกเกินร้อยละ ๕๐ ของความหนาผนังถังเดิม หรือมีรอยดังกล่าวยาวตั้งแต่ ๗๕ มิลลิเมตรขึ้นไป และลึกเกินร้อยละ ๒๕ ของความหนาผนังถังเดิม (ฌ) มีรอยรั่ว ซึม รอยร้าว รอยหักพับ หรือบวม (ญ) จำนวนเกลียวของลิ้นถังที่กินกันลดลงจากที่ระบุไว้ หรือเมื่อขันเกลียวแน่นแล้วก๊าซรั่วซึม (ฎ) ลิ้นเอียงจนเห็นได้ชัดเจน (ฏ) โกร่งกำบังหรือฝาครอบเครื่องอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนถังเสียรูป หลวม หรือมีรอยเชื่อมชำรุดหรือฐานถังชำรุดทำให้ถังเอียงจนเห็นได้ชัดเจน (ฐ) อุปกรณ์ระบายความดันเสียหาย หรือเสียรูป หรือไม่ตรงตามที่ผู้ผลิตกำหนด (ฑ) เครื่องหมายประจำถังลบเลือนอ่านได้ไม่ชัดเจน มีการแก้ไขโดยไม่ถูกต้อง หรือมีข้อความไม่ถูกต้องตาม มอก. ๓๗๐ (๔) ทดสอบการรั่วของระบบเชื้อเพลิงก๊าซปิโตรเลียมเหลวด้วยการเติมก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือก๊าซอื่นที่เหมาะสม เช่น ไนโตรเจน ให้มีความดันไม่น้อยกว่า ๗๐๐ กิโลปาสกาล (kPa) เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐ นาที ต้องไม่ปรากฏว่ามีการรั่วของระบบเชื้อเพลิง (๕) ตรวจสอบความถูกต้องของการติดเครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง ข้อ ๔ การตรวจและทดสอบถังต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ตรวจพินิจภายนอกถังแล้ว ต้องไม่ปรากฏข้อบกพร่องตามข้อ ๓ (๓) (๒) ถังเปล่าต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕ ของน้ำหนักถังเดิม (๓) ทดสอบความทนต่อความดันตามวิธีทดสอบของ มอก. ๓๗๐ ได้แก่ (ก) ทดสอบความดันพิสูจน์ด้วยความดัน ๓.๓๐ เมกะปาสกาล (MPa) เป็นเวลา ๓๐ วินาทีต้องไม่ปรากฏการบวม (Bulge) การบิดเบี้ยว (Distortion) หรือการรั่วซึม (Leakage) (ข) ทดสอบการขยายตัวด้วยความดัน ๓.๓๐ เมกะปาสกาล (MPa) ปริมาตรการขยายตัวถาวรของถังต้องไม่เกิน ๑ ใน ๕,๐๐๐ ของความจุถัง (ค) ทดสอบการรั่วซึมด้วยความดัน ๖๙๐ กิโลปาสกาล (kPa) แล้วต้องไม่ปรากฏการรั่วซึม ข้อ ๕ ผู้ตรวจและทดสอบต้องดำเนินการตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป (ก) ทำการตรวจและทดสอบ ณ สถานที่ประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในหนังสือให้ความเห็นชอบโดยบุคลากรของผู้ตรวจและทดสอบ โดยระหว่างดำเนินการตรวจและทดสอบให้ส่งสัญญาณจากระบบโทรทัศน์วงจรปิดไปยังระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกตลอดเวลา และต้องจัดเก็บข้อมูลจากระบบโทรทัศน์วงจรปิดไว้ไม่น้อยกว่า ๑ ปี (ข) ทำการตรวจและทดสอบเฉพาะรถที่ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ โดยผู้ได้รับความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น เว้นแต่กรณีเป็นรถที่ได้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบไว้แล้วก่อนวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ก็ให้สามารถทำการตรวจและทดสอบได้ (ค) ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการตรวจและทดสอบตามที่กำหนดไว้ในคู่มือปฏิบัติงานตรวจและทดสอบ โดยใช้เครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้ตรวจและทดสอบ (ง) เมื่อตรวจและทดสอบรถแต่ละคันเสร็จสิ้น ให้ผู้ตรวจและทดสอบวินิจฉัยผลการตรวจและทดสอบ โดยต้องบันทึกข้อมูลผลการตรวจและทดสอบ และบันทึกข้อบกพร่องกรณีรถไม่ผ่านการตรวจและทดสอบ (ถ้ามี) ลงในระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกทันที (จ) รถที่ผ่านการตรวจและทดสอบ ให้ผู้ตรวจและทดสอบออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบจากระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก ให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งพร้อมติดเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบการติดตั้งตามแบบท้ายประกาศนี้ที่ด้านในซ้ายของกระจกกันลมหน้า และเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบถังตามแบบท้ายประกาศนี้ที่ถังทุกใบให้เห็นได้อย่างชัดเจน สำหรับรถที่ไม่ผ่านการตรวจและทดสอบ ให้ผู้ตรวจและทดสอบแจ้งผลการตรวจและทดสอบ และข้อบกพร่องของรถคันนั้น พร้อมจัดพิมพ์รายงานผลการตรวจและทดสอบจากระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง และหากพบถังไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน เนื่องจากมีข้อบกพร่อง ชำรุด หรือเสียหายจนไม่สามารถใช้งานต่อไปได้ให้พ่นตัวอักษรสีขาวคำว่า “ห้ามใช้ถัง” ไว้ที่ถังในตำแหน่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน (ฉ) จัดเก็บค่าบริการตรวจและทดสอบตามอัตราที่กำหนดท้ายหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ (๒) ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิต (ก) ทำการตรวจและทดสอบ ณ สถานที่ประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในหนังสือให้ความเห็นชอบ โดยบุคลากรของผู้ตรวจและทดสอบ (ข) ทำการตรวจและทดสอบเฉพาะรถที่ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ โดยผู้ได้รับความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งจากกรมการขนส่งทางบก ซึ่งเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ผลิตขึ้นเองในประเทศไทยเท่านั้น (ค) เมื่อตรวจและทดสอบรถแต่ละคันเสร็จสิ้น ให้ผู้ตรวจและทดสอบวินิจฉัยผลการตรวจและทดสอบ โดยต้องบันทึกข้อมูลผลการตรวจและทดสอบลงในระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกทันที (ง) ออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบตามแบบท้ายประกาศนี้ ให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง และจัดเก็บสำเนาหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบพร้อมรายละเอียดแนบท้ายหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบของรถที่ได้รับการบริการไว้ที่สถานที่ประกอบกิจการให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบของกรมการขนส่งทางบกเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี ทั้งนี้ รายละเอียดแนบท้ายหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบให้มีรายการอย่างน้อยดังนี้ ๑) ชื่อผู้ตรวจและทดสอบ ๒) เลขที่หนังสือรับรอง ๓) วันที่ทำการตรวจและทดสอบ ๔) สถานที่ตรวจและทดสอบ ๕) หมายเลขทะเบียนรถ หรือหมายเลขประจำรถ (Vehicle Identity Number : VIN) ๖) หมายเลขเครื่องยนต์ ๗) รายงานการตรวจและทดสอบมาตรฐานเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้ง (จ) ติดเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบการติดตั้งตามแบบท้ายประกาศนี้ที่ด้านในซ้ายของกระจกกันลมหน้า หรือติดแผ่นป้ายแสดงวันที่ตรวจและทดสอบ วันที่ตรวจและทดสอบครั้งต่อไป และชื่อผู้ตรวจและทดสอบไว้ที่ตัวรถในตำแหน่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนใกล้กับอุปกรณ์รับเติมก๊าซ (ฉ) ติดเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบถังตามแบบท้ายประกาศนี้ หรือติดแผ่นป้ายแสดงหมายเลขของถัง วันที่ตรวจและทดสอบ วันที่ถังหมดอายุ ชื่อผู้ตรวจและทดสอบไว้ที่ถังทุกใบในตำแหน่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน (๓) ผู้ตรวจและทดสอบถัง (ก) ทำการตรวจและทดสอบ ณ สถานที่ประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในหนังสือให้ความเห็นชอบโดยบุคคลากรของผู้ตรวจและทดสอบ (ข) ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการตรวจและทดสอบตามที่กำหนดไว้ในคู่มือปฏิบัติงานตรวจและทดสอบ โดยใช้เครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้ตรวจและทดสอบ (ค) เมื่อตรวจและทดสอบถังแต่ละใบเสร็จสิ้น ให้ผู้ตรวจและทดสอบวินิจฉัยผลการตรวจและทดสอบ โดยต้องบันทึกข้อมูลผลการตรวจและทดสอบ และบันทึกข้อบกพร่องกรณีถังไม่ผ่านการตรวจและทดสอบ (ถ้ามี) ลงในระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบกทันที (ง) ถังที่ผ่านการตรวจและทดสอบ ให้ผู้ตรวจและทดสอบออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบถังจากระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก พร้อมติดเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบถังตามแบบท้ายประกาศนี้ที่ถังทุกใบให้เห็นได้อย่างชัดเจน สำหรับถังที่ไม่ผ่านการตรวจและทดสอบ ให้ผู้ตรวจและทดสอบแจ้งผลการตรวจและทดสอบ และข้อบกพร่องของถังนั้น พร้อมจัดพิมพ์รายงานผลการตรวจและทดสอบจากระบบสารสนเทศ กรมการขนส่งทางบก ให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง และหากพบถังไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน เนื่องจากมีข้อบกพร่อง ชำรุด หรือเสียหายจนไม่สามารถใช้งานต่อไปได้ให้พ่นตัวอักษรสีขาวคำว่า “ห้ามใช้ถัง” ไว้ที่ถังในตำแหน่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน (จ) จัดเก็บค่าบริการตรวจและทดสอบตามอัตราที่กำหนดท้ายหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ข้อ ๖ การตรวจและทดสอบการติดตั้งต้องดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลาดังนี้ (๑) รถที่ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบโดยผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตที่ผลิตในประเทศไทยให้ทำการตรวจและทดสอบ โดยผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตก่อนการจดทะเบียนครั้งแรก หลังจากนั้นให้ทำการตรวจและทดสอบ โดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนชำระภาษีประจำปีของปีที่ ๔ หลังจากนั้นให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนชำระภาษีประจำปีทุกปี กรณีแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบให้แตกต่างไปจากการติดตั้งของผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ ก่อนครบกำหนดชำระภาษีประจำปีของปีที่ ๔ ให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนมาดำเนินการทางทะเบียน (๒) รถที่ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบโดยผู้ติดตั้งทั่วไปหรือผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตซึ่งอยู่ในต่างประเทศ ให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง หรือก่อนการจดทะเบียน แล้วแต่กรณี หลังจากนั้นให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนชำระภาษีประจำปีทุกปี (๓) กรณีเปลี่ยนแปลงถังให้ทำการตรวจและทดสอบภายใน ๓๐ วันก่อนมาดำเนินการทางทะเบียน (๔) กรณีการแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง หรือการดำ เนินการทางทะเบียน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงถัง และการเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบสำหรับใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง ก่อนครบกำหนดชำระภาษีประจำปีในปีนั้นน้อยกว่า ๑๘๐ วัน ให้นำรถเข้ารับการตรวจและทดสอบครั้งต่อไปภายใน ๓๐ วัน ก่อนชำระภาษีประจำปีของปีถัดไป (๕) รถที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบสำหรับใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงใหม่ ต้องทำการติดตั้งโดยผู้ติดตั้ง และผ่านการตรวจและทดสอบตามประกาศนี้ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้ง (๖) การติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบสำหรับใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงเข้ากับเครื่องยนต์ที่เปลี่ยนแปลงใหม่ ต้องทำการติดตั้งโดยผู้ติดตั้งและผ่านการตรวจและทดสอบตามประกาศนี้ทุกครั้งที่มีการติดตั้ง ข้อ ๗ ให้เจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำรถมาทำการตรวจและทดสอบถัง โดยผู้ตรวจและทดสอบถัง เมื่อถังมีอายุการใช้งานมาแล้วครบ ๑๐ ปี นับแต่วันที่ตรวจและทดสอบครั้งแรก หลังจากนั้นให้ทำการตรวจและทดสอบถังทุก ๕ ปี ข้อ ๘ หนังสือรับรองการตรวจและทดสอบที่ได้ออกไว้ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะครบกำหนดการตรวจและทดสอบครั้งต่อไป หรือให้สิ้นสุดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงถังหรือเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบตามข้อ ๖ ข้อ ๙[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบสำหรับผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิต ๒. แบบเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบการติดตั้ง ๓. แบบเครื่องหมายผ่านการตรวจและทดสอบถัง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๐ ง/หน้า ๕๗/๔ ธันวาคม ๒๕๖๐
792653
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบ การเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่ง ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ และประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง โดยกำหนดให้ผู้ตรวจและทดสอบต้องมีเครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม เพียงพอ และมีอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก ซึ่งจะทำให้การดำเนินการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๐ ของกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๒) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “การตรวจและทดสอบ” หมายความว่า การตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบและการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ตรวจและทดสอบ” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบที่ไม่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว “ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตจากโรงงานเป็นครั้งแรกก่อนจดทะเบียน ซึ่งมีการกำหนดรหัสหรือรุ่น เป็นการเฉพาะ ข้อ ๓ ผู้ใดประสงค์จะขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ต่อสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก ข้อ ๔ การขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) บุคคลธรรมดา (ก) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน (ข) หลักฐานการมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ค) ภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือระดับภาคีวิศวกรพิเศษ (ง) ภาพถ่ายใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบหรือการติดตั้งระบบก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ หรือหลักฐานแสดงว่ามีประสบการณ์ในการตรวจและทดสอบ (จ) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ตรวจและทดสอบ ได้แก่ หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิการใช้สถานที่ แผนที่แสดงที่ตั้ง ภาพแบบอาคารและพื้นที่ตรวจและทดสอบ ซึ่งแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจนและภาพถ่ายสถานที่ตรวจและทดสอบ (ฉ) รายละเอียดเครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการตรวจและทดสอบ (ช) คู่มือปฏิบัติงานตรวจและทดสอบ (ซ) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบ (๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (ก) ภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง (ข) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้มีอำนาจลงนาม (ค) หลักฐานการมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ง) โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ (จ) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ตรวจและทดสอบ ได้แก่ หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิการใช้สถานที่ แผนที่แสดงที่ตั้ง ภาพแบบอาคารและพื้นที่ตรวจและทดสอบ ซึ่งแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจน และภาพถ่ายสถานที่ตรวจและทดสอบ (ฉ) เอกสารเกี่ยวกับวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน ภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ภาพถ่ายใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ หรือการติดตั้งระบบก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ หรือหลักฐานแสดงว่ามีประสบการณ์ในการตรวจและทดสอบ (ช) รายละเอียดเครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการตรวจและทดสอบ (ซ) คู่มือปฏิบัติงานตรวจและทดสอบ (ฌ) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบ (๓) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษาที่มีภารกิจเกี่ยวกับการตรวจและทดสอบหรือการติดตั้งระบบก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ (ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของผู้มีอำนาจลงนาม (ข) หลักฐานการมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของผู้รับมอบอำนาจ (ค) โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ (ง) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ตรวจและทดสอบ ได้แก่ แผนที่แสดงที่ตั้ง ภาพแบบอาคารและพื้นที่ตรวจและทดสอบ ซึ่งแสดงขนาดสัดส่วนชัดเจน และภาพถ่ายสถานที่ตรวจและทดสอบ (จ) เอกสารเกี่ยวกับวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐที่สังกัดอยู่กับหน่วยงานที่ยื่นคำขอ ภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ภาพถ่ายใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ หรือการติดตั้งระบบก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ หรือหลักฐานแสดงว่ามีประสบการณ์ในการตรวจและทดสอบ (ฉ) รายละเอียดเครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการตรวจและทดสอบ (ช) คู่มือปฏิบัติงานตรวจและทดสอบ (ซ) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบ ข้อ ๕ ผู้ใดประสงค์จะขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) ภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง (๒) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้มีอำนาจลงนาม (๓) หลักฐานการมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (๔) โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ (๕) เอกสารแสดงขั้นตอนการตรวจและทดสอบ และวิธีการตรวจและทดสอบ (๖) รายละเอียดเครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการตรวจและทดสอบ ข้อ ๖ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ต้องไม่เป็นผู้ถูกยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ เว้นแต่พ้นระยะเวลาการถูกยกเลิกมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี นับแต่วันที่ถูกยกเลิกครั้งหลังสุด ข้อ ๗ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบและวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบต้องไม่เคยถูกลงโทษตามข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม และการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ข้อ ๘ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปต้องมี (๑) อาคารสถานที่ที่มีความมั่นคงแข็งแรง สร้างจากวัสดุที่ไม่ติดไฟง่ายและมีลักษณะดังนี้ (ก) พื้นที่ที่ใช้ในการตรวจและทดสอบต้องเป็นพื้นราบที่สะดวกเพียงพอ และมีความปลอดภัยในการทำงานขนาดไม่น้อยกว่า ๔๐ ตารางเมตร ความกว้างไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ เมตร และความสูงจากพื้นถึงใต้ท้องคานไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ เมตร กรณีตรวจและทดสอบรถทุกขนาดทุกประเภทต้องเป็นพื้นราบที่สะดวกเพียงพอ และมีความปลอดภัยในการทำงานขนาดไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ตารางเมตร ความกว้างไม่น้อยกว่า ๕ เมตร และความสูงจากพื้นถึงใต้ท้องคานไม่น้อยกว่า ๔.๕๐ เมตร (ข) ทางเข้า - ออกของรถที่จะเข้ารับบริการตรวจและทดสอบที่สะดวกปลอดภัย (ค) มีการกำหนดพื้นที่อันตรายและป้ายคำเตือนบ่งชี้เขตต่าง ๆ อย่างชัดเจนและเหมาะสม (ง) พื้นที่จอดรถสำหรับรอการตรวจและทดสอบได้อย่างน้อย ๒ คัน (๒) วิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบที่มีความรู้และความสามารถในการตรวจและทดสอบซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้ (ก) ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ซึ่งได้รับอนุญาตจากสภาวิศวกรให้ทำการตรวจและทดสอบระบบก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ (ข) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการตรวจและทดสอบการติดตั้งระบบก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ จากกรมธุรกิจพลังงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือมีประสบการณ์ในการตรวจและทดสอบไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านการทดสอบจากกรมการขนส่งทางบก (ค) ไม่อยู่ในระหว่างการถูกพักใช้ใบอนุญาต หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือใบอนุญาตหมดอายุตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร (๓) เครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและเพียงพออย่างน้อยดังนี้ (ก) บ่อตรวจสภาพรถที่มีสันขอบบ่อตลอดแนวความยาวบ่อ ทำด้วยวัสดุแข็งแรงเพื่อป้องกันล้อรถตกบ่อ ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๘๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๙๐ เซนติเมตร ความยาวไม่น้อยกว่า ๕ เมตร และความลึกไม่น้อยกว่า ๑๓๐ เซนติเมตร เพื่อใช้ในการตรวจสภาพใต้ท้องรถได้อย่างปลอดภัย โดยผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถทำงานในลักษณะยืนได้ กรณีตรวจและทดสอบรถขนาดเล็ก หากมีพื้นยกระดับ (ramp) หรือเครื่องยกรถ (car hoist) ต้องมีความสามารถยกรถที่มีขนาดน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า ๒,๒๐๐ กิโลกรัม เพื่อใช้ในการตรวจสภาพใต้ท้องรถได้อย่างปลอดภัย โดยผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถทำงานในลักษณะยืนได้ (ข) เครื่องตรวจวัดก๊าซรั่ว (gas detector) (ค) เครื่องมือวัดระยะ เช่น เทปวัดระยะ (tape) (ง) เครื่องมือวัดละเอียด เช่น เวอร์เนียคาลิเปอร์ (vernier caliper) (จ) มาตรวัดความดัน (pressure gauge) ที่อ่านค่าได้ละเอียดถึง ๑๐ บาร์ (ฉ) นาฬิกาจับเวลา (ช) เครื่องมือทดสอบแรงดึงของหัวรับก๊าซ (receptacle mounting tester) (ซ) ประแจทอร์ค (Torque wrench) (ฌ) ถังบรรจุก๊าซสำหรับใช้ทดสอบที่มีปริมาตรไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ลิตร พร้อมสายและหัวเติมก๊าซ (ญ) กระจกเงา หรือเครื่องมืออื่นที่ช่วยในการตรวจสอบส่วนที่ถูกปกปิด (ฎ) ไฟส่องสว่าง (ฏ) เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสม ขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า ๖ กิโลกรัม อย่างน้อย ๒ ถัง (ฐ) ระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) พร้อมเครื่องบันทึกภาพระบบเครือข่าย (NVR) ที่รองรับมาตรฐาน ONVIF (Open Network Video Interface Forum) ซึ่งมีความจุในการจัดเก็บข้อมูลไม่น้อยกว่า ๑ เทระไบต์ (TB) โดยมีกล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวที่แสดงภาพเคลื่อนไหวได้ไม่น้อยกว่า ๒๔ ภาพต่อวินาที (Frame rate) (ฑ) คอมพิวเตอร์ พร้อมกล้องเว็บแคม (Web camera) และเครื่องพิมพ์ ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ ๑) คอมพิวเตอร์ มีความเร็วในการประมวลผลไม่น้อยกว่า ๑.๐ กิกะเฮิรตซ์ (GHz) หน่วยความจำหลัก (RAM) ขนาดไม่น้อยกว่า ๑ กิกะไบต์ (GB) และหน่วยจัดเก็บข้อมูลขนาดไม่น้อยกว่า ๑๐๐ กิกะไบต์ (GB) ๒) กล้องเว็บแคม (Web camera) รองรับการถ่ายภาพแบบ VGA หรือสูงกว่า และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า ๑ เมกะพิกเซล (Mega Pixels) ๓) เครื่องพิมพ์สีหรือขาวดำ สามารถพิมพ์กระดาษขนาด A๔ ได้ (ฒ) อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก โดยต้องมีความเร็วในการส่งข้อมูล (Upload speed) ไม่น้อยกว่า ๑ เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ข้อ ๙ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตต้องมี (๑) สถานที่ตรวจและทดสอบในโรงงานผลิตรถซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย (๒) บุคลากรที่มีความสามารถในการตรวจและทดสอบ (๓) เครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับดำเนินการตรวจและทดสอบที่เหมาะสมเพียงพอ ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๓ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ หากไม่ครบถ้วนถูกต้องให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขก่อนรับคำขอ หรือดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องภายใน ๔๕ วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งให้แก้ไข แล้วแต่กรณี และหากคำขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้องให้ดำเนินการดังนี้ (๑) มีหนังสือแจ้งการให้ความเห็นชอบในหลักการให้ผู้ยื่นคำขอทราบ และให้ผู้ยื่นคำขอแจ้งนัดหมายให้เจ้าหน้าที่ไปดำเนินการตรวจประเมินความสามารถของผู้ยื่นคำขอภายใน ๑๘๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ หากไม่แจ้งภายในกำหนดให้ถือว่าคำขอนั้นสิ้นสุดลง (๒) ให้เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินความสามารถในการตรวจและทดสอบออกไปดำเนินการประเมิน ณ สถานที่ประกอบกิจการของผู้ยื่นคำขอ หากพบข้อบกพร่องให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบและดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินกำหนด (๓) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่พร้อมที่จะรับการประเมินความสามารถ หรือไม่ดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความเห็นชอบ หรือไม่แก้ไขข้อบกพร่องตาม (๒) ภายในระยะเวลาที่กำหนดกรมการขนส่งทางบกจะพิจารณายกเลิกคำขอ โดยแจ้งการยกเลิกคำขอเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ (๔) เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินความสามารถในการตรวจและทดสอบทำการประเมินเสร็จแล้ว และเห็นว่าผู้ยื่นคำขอผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ให้นำเสนออธิบดีเพื่ออนุมัติและออกหนังสือให้ความเห็นชอบให้กับผู้ยื่นคำขอตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๑ หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบให้มีอายุ ๓ ปี นับแต่วันที่ออกหนังสือ ข้อ ๑๒ กรมการขนส่งทางบกจะทำการประเมินความสามารถหรือตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ ตลอดจนการดำเนินกิจการของผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับความเห็นชอบแล้วโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยผู้ตรวจและทดสอบต้องอำนวยความสะดวกแก่อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายในการเข้าประเมินหรือตรวจสอบ ข้อ ๑๓ ผู้ตรวจและทดสอบต้องรายงานผลการตรวจและทดสอบให้กรมการขนส่งทางบกทราบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ข้อ ๑๔ ผู้ตรวจและทดสอบต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ติดตั้งป้ายสัญลักษณ์แสดงสถานประกอบกิจการตรวจและทดสอบรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ (๒) ติดตั้งป้ายแสดงว่าสถานประกอบกิจการได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก โดยมีชื่อผู้ตรวจและทดสอบ พร้อมข้อความ “โดยได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก เลขที่..................” (๓) แสดงหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ (๔) แสดงวัน และเวลาที่ให้บริการตรวจและทดสอบ (๕) แสดงชื่อ นามสกุล และรูปถ่ายวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบที่ปฏิบัติงานในวันและเวลาตาม (๔) ขนาดไม่น้อยกว่า ๔ x ๖ นิ้ว (๖) แสดงอัตราค่าบริการตรวจและทดสอบตามที่ได้รับความเห็นชอบ การติดตั้งป้ายหรือการแสดงหนังสือให้ความเห็นชอบ วัน เวลาให้บริการ ชื่อ นามสกุลและรูปถ่ายวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ และอัตราค่าบริการตาม (๑) - (๖) ต้องติดตั้งหรือแสดงไว้ในบริเวณสถานที่ประกอบกิจการ ที่ประชาชนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ข้อ ๑๕ ผู้ตรวจและทดสอบที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขเกี่ยวกับสถานที่ประกอบกิจการหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบให้แตกต่างไปจากที่ได้รับความเห็นชอบ ให้ยื่นคำขอต่อสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก เพื่อขอรับความเห็นชอบก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๖ ผู้ตรวจและทดสอบที่ประสงค์จะขอต่ออายุหนังสือให้ความเห็นชอบ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยภาพถ่ายหนังสือให้ความเห็นชอบหรือใบแทนก่อนวันที่หนังสือให้ความเห็นชอบสิ้นอายุอย่างน้อย ๓๐ วัน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ก่อนเกินกว่า ๙๐ วัน โดยการพิจารณาต่ออายุหนังสือให้ความเห็นชอบ ให้นำความในข้อ ๑๐ (๒) (๓) และ (๔) มาบังคับใช้โดยอนุโลม ข้อ ๑๗ ผู้ตรวจและทดสอบที่ประสงค์จะขอยกเลิกการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ให้แจ้งกรมการขนส่งทางบกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน ข้อ ๑๘ ในกรณีหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือให้ความเห็นชอบตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวน (ถ้ามี) และหนังสือให้ความเห็นชอบที่ชำรุดนั้น ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดดังกล่าว ในการออกใบแทนหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ให้เป็นไปตามแบบหนังสือให้ความเห็นชอบเดิม แต่ให้ระบุข้อความ “ใบแทน” ไว้ที่ด้านหน้าด้วย ข้อ ๑๙ หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับความเห็นชอบ ไม่สามารถโอนให้แก่ผู้อื่นได้ ข้อ ๒๐ ผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ถือเป็นผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศนี้ต่อไปจนกว่าหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบสิ้นอายุ ข้อ ๒๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ๒. แบบป้ายสัญลักษณ์แสดงสถานประกอบกิจการตรวจและทดสอบรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๐ ง/หน้า ๔๙/๔ ธันวาคม ๒๕๖๐
792649
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบ การเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่ง ที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง โดยกำหนดให้ผู้ตรวจและทดสอบต้องมีเครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมเพียงพอ และมีอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก ซึ่งจะทำให้การดำเนินการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๐ ของกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ถัง” หมายความว่า ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว “การตรวจและทดสอบ” หมายความว่า การตรวจและทดสอบการติดตั้ง และการตรวจและทดสอบถัง “การตรวจและทดสอบการติดตั้ง” หมายความว่า การตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “การตรวจและทดสอบถัง” หมายความว่า การตรวจและทดสอบถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ตรวจและทดสอบ” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบที่ไม่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว “ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตจากโรงงานเป็นครั้งแรกก่อนการจดทะเบียน ซึ่งมีการกำหนดรหัสหรือรุ่นเป็นการเฉพาะ “ผู้ตรวจและทดสอบถัง” หมายความว่า ผู้ทำการตรวจและทดสอบถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ติดตั้งในรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง ข้อ ๓ ผู้ใดประสงค์จะขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ต่อสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก ข้อ ๔ การขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป และผู้ตรวจและทดสอบถัง ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดพร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) บุคคลธรรมดา (ก) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน (ข) หลักฐานการมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ค) ภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือระดับภาคีวิศวกรพิเศษ (ง) ภาพถ่ายใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบหรือการติดตั้งระบบก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ หรือหลักฐานแสดงว่ามีประสบการณ์ในการตรวจและทดสอบ (จ) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ตรวจและทดสอบ ได้แก่ หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิการใช้สถานที่ แผนที่แสดงที่ตั้ง ภาพแบบอาคารและพื้นที่ตรวจและทดสอบ ซึ่งแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจน และภาพถ่ายสถานที่ตรวจและทดสอบ (ฉ) รายละเอียดเครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการตรวจและทดสอบ (ช) คู่มือปฏิบัติงานตรวจและทดสอบ (ซ) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบ (๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (ก) ภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง (ข) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้มีอำนาจลงนาม (ค) หลักฐานการมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ง) โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ (จ) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ตรวจและทดสอบ ได้แก่ หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิการใช้สถานที่ แผนที่แสดงที่ตั้ง ภาพแบบอาคารและพื้นที่ตรวจและทดสอบ ซึ่งแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจน และภาพถ่ายสถานที่ตรวจและทดสอบ (ฉ) เอกสารเกี่ยวกับวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน ภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกลระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ภาพถ่ายใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ หรือการติดตั้งระบบก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถหรือหลักฐานแสดงว่ามีประสบการณ์ในการตรวจและทดสอบ (ช) รายละเอียดเครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการตรวจและทดสอบ (ซ) คู่มือปฏิบัติงานตรวจและทดสอบ (ฌ) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบ (๓) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษาที่มีภารกิจเกี่ยวกับการตรวจและทดสอบหรือการติดตั้งระบบก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ (ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจลงนาม (ข) หลักฐานการมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับมอบอำนาจ (ค) โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ (ง) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ตรวจและทดสอบ ได้แก่ แผนที่แสดงที่ตั้ง ภาพแบบอาคารและพื้นที่ตรวจและทดสอบ ซึ่งแสดงขนาดสัดส่วนชัดเจน และภาพถ่ายสถานที่ตรวจและทดสอบ (จ) เอกสารเกี่ยวกับวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐที่สังกัดอยู่กับหน่วยงานที่ยื่นคำขอ ภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ภาพถ่ายใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ หรือการติดตั้งระบบก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ หรือหลักฐานแสดงว่ามีประสบการณ์ในการตรวจและทดสอบ (ฉ) รายละเอียดเครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการตรวจและทดสอบ (ช) คู่มือปฏิบัติงานตรวจและทดสอบ (ซ) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบ ข้อ ๕ ผู้ใดประสงค์จะขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) ภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง (๒) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้มีอำนาจลงนาม (๓) หลักฐานการมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (๔) โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ (๕) เอกสารแสดงขั้นตอนการตรวจและทดสอบ และวิธีการตรวจและทดสอบ (๖) รายละเอียดเครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการตรวจและทดสอบ ข้อ ๖ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ต้องไม่เป็นผู้ถูกยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ เว้นแต่พ้นระยะเวลาการถูกยกเลิกมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี นับแต่วันที่ถูกยกเลิกครั้งหลังสุด ข้อ ๗ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบและวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบต้องไม่เคยถูกลงโทษตามข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ข้อ ๘ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป ต้องมี (๑) อาคารสถานที่ที่มีความมั่นคงแข็งแรง สร้างจากวัสดุที่ไม่ติดไฟง่ายและมีลักษณะดังนี้ (ก) พื้นที่ที่ใช้ในการตรวจและทดสอบต้องเป็นพื้นราบที่สะดวกเพียงพอ และมีความปลอดภัยในการทำงานขนาดไม่น้อยกว่า ๔๐ ตารางเมตร ความกว้างไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ เมตร และความสูงจากพื้นถึงใต้ท้องคานไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ เมตร กรณีตรวจและทดสอบรถทุกขนาดทุกประเภทต้องเป็นพื้นราบที่สะดวกเพียงพอ และมีความปลอดภัยในการทำงานขนาดไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ตารางเมตร ความกว้างไม่น้อยกว่า ๕ เมตร และความสูงจากพื้นถึงใต้ท้องคานไม่น้อยกว่า ๔.๕๐ เมตร (ข) ทางเข้า - ออกของรถที่จะเข้ารับบริการตรวจและทดสอบที่สะดวกปลอดภัย (ค) มีการกำหนดพื้นที่อันตรายและป้ายคำเตือนบ่งชี้เขตต่าง ๆ อย่างชัดเจนและเหมาะสม (ง) พื้นที่จอดรถสำหรับรอการตรวจและทดสอบได้อย่างน้อย ๒ คัน (๒) วิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบที่มีความรู้และความสามารถในการตรวจและทดสอบซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้ (ก) ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ซึ่งได้รับอนุญาตจากสภาวิศวกรให้ทำการตรวจและทดสอบระบบก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ (ข) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการตรวจและทดสอบการติดตั้งระบบก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ จากกรมธุรกิจพลังงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือมีประสบการณ์ในการตรวจและทดสอบไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านการทดสอบจากกรมการขนส่งทางบก (ค) ไม่อยู่ในระหว่างการถูกพักใช้ใบอนุญาต หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือใบอนุญาตหมดอายุตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร (๓) เครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและเพียงพออย่างน้อยดังนี้ (ก) บ่อตรวจสภาพรถที่มีสันขอบบ่อตลอดแนวความยาวบ่อ ทำด้วยวัสดุแข็งแรงเพื่อป้องกันล้อรถตกบ่อ ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๘๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๙๐ เซนติเมตร ความยาวไม่น้อยกว่า ๕ เมตร และความลึกไม่น้อยกว่า ๑๓๐ เซนติเมตร เพื่อใช้ในการตรวจสภาพใต้ท้องรถได้อย่างปลอดภัย โดยผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถทำงานในลักษณะยืนได้ กรณีตรวจและทดสอบรถขนาดเล็ก หากมีพื้นยกระดับ (ramp) หรือเครื่องยกรถ (car hoist) ต้องมีความสามารถยกรถที่มีขนาดน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า ๒,๒๐๐ กิโลกรัม เพื่อใช้ในการตรวจสภาพใต้ท้องรถได้อย่างปลอดภัย โดยผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถทำงานในลักษณะยืนได้ (ข) เครื่องตรวจวัดก๊าซรั่ว (gas detector) (ค) เครื่องมือวัดระยะ เช่น เทปวัดระยะ (tape) (ง) เครื่องมือวัดละเอียด เช่น เวอร์เนียคาลิเปอร์ (vernier caliper) (จ) มาตรวัดความดัน (pressure gauge) ที่อ่านค่าได้ละเอียดถึง ๑ บาร์ (ฉ) นาฬิกาจับเวลา (ช) กระจกเงา หรือเครื่องมืออื่นที่ช่วยในการตรวจสอบส่วนที่ถูกปกปิด (ซ) ไฟส่องสว่าง (ฌ) เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสม ขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า ๖ กิโลกรัม อย่างน้อย ๒ ถัง (ญ) ระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) พร้อมเครื่องบันทึกภาพระบบเครือข่าย (NVR) ที่รองรับมาตรฐาน ONVIF (Open Network Video Interface Forum) ซึ่งมีความจุในการจัดเก็บข้อมูลไม่น้อยกว่า ๑ เทระไบต์ (TB) โดยมีกล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวที่แสดงภาพเคลื่อนไหวได้ไม่น้อยกว่า ๒๔ ภาพ ต่อวินาที (Frame rate) (ฎ) คอมพิวเตอร์ พร้อมกล้องเว็บแคม (Web camera) และเครื่องพิมพ์ ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ ๑) คอมพิวเตอร์ มีความเร็วในการประมวลผลไม่น้อยกว่า ๑.๐ กิกะเฮิรตซ์ (GHz) หน่วยความจำหลัก (RAM) ขนาดไม่น้อยกว่า ๑ กิกะไบต์ (GB) และหน่วยจัดเก็บข้อมูลขนาดไม่น้อยกว่า ๑๐๐ กิกะไบต์ (GB) ๒) กล้องเว็บแคม (Web camera) รองรับการถ่ายภาพแบบ VGA หรือสูงกว่า และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า ๑ เมกะพิกเซล (Mega Pixel) ๓) เครื่องพิมพ์สีหรือขาวดำ สามารถพิมพ์กระดาษขนาด A๔ ได้ (ฏ) อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก โดยต้องมีความเร็วในการส่งข้อมูล (Upload speed) ไม่น้อยกว่า ๑ เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ข้อ ๙ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบถัง ต้องมี (๑) อาคารสถานที่ตามข้อ ๘ (๑) (๒) วิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบที่มีความรู้และความสามารถในการตรวจและทดสอบถังซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป หรือระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ซึ่งได้รับอนุญาตจากสภาวิศวกรให้ทำการตรวจและทดสอบถังของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงได้ (๓) เครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและเพียงพออย่างน้อยดังนี้ (ก) เครื่องสูบน้ำแรงดันสูง (ข) ถังน้ำ (water jacket) (ค) เครื่องวัดการขยายตัวที่อ่านปริมาตรการขยายตัวได้ละเอียดถึงร้อยละ ๑ ของปริมาตรที่ขยายตัวทั้งหมด หรือละเอียดถึง ๐.๑ ลูกบาศก์เซนติเมตร (ง) มาตรวัดความดัน (pressure gauge) ที่อ่านค่าได้ละเอียดถึง ๑ บาร์ (จ) เครื่องชั่งที่อ่านค่าได้ละเอียดถึง ๐.๑ กิโลกรัม (ฉ) เครื่องมือวัดละเอียด เช่น เวอร์เนียคาลิเปอร์ (vernier caliper) เกจวัดความลึก (depth gauge) (ช) เครื่องทดสอบความหนาของถังแบบไม่ทำลาย (non-destructive thickness tester) (ซ) คอมพิวเตอร์ พร้อมกล้องเว็บแคม (Web camera) และเครื่องพิมพ์ ซึ่งมีคุณลักษณะตามข้อ ๘ (๓) (ฎ) (ฌ) อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศกับกรมการขนส่งทางบก โดยต้องมีความเร็วในการส่งข้อมูล (Upload speed) ไม่น้อยกว่า ๑ เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๓ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ หากไม่ครบถ้วนถูกต้องให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขก่อนรับคำขอ หรือดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องภายใน ๔๕ วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งให้แก้ไข แล้วแต่กรณี และหากคำขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้องให้ดำเนินการดังนี้ (๑) มีหนังสือแจ้งการให้ความเห็นชอบในหลักการให้ผู้ยื่นคำขอทราบ และให้ผู้ยื่นคำขอแจ้งนัดหมายให้เจ้าหน้าที่ไปดำเนินการตรวจประเมินความสามารถของผู้ยื่นคำขอภายใน ๑๘๐ วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือหากไม่แจ้งภายในกำหนดให้ถือว่าคำขอนั้นสิ้นสุดลง (๒) ให้เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินความสามารถในการตรวจและทดสอบออกไปดำเนินการประเมิน ณ สถานที่ประกอบกิจการของผู้ยื่นคำขอ หากพบข้อบกพร่องให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบ และดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินกำหนด (๓) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่พร้อมที่จะรับการประเมินความสามารถ หรือไม่ดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขอรับการให้ความเห็นชอบ หรือไม่แก้ไขข้อบกพร่องตาม (๒) ภายในระยะเวลาที่กำหนดกรมการขนส่งทางบกจะพิจารณายกเลิกคำขอ โดยแจ้งการยกเลิกคำขอเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ (๔) เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินความสามารถในการตรวจและทดสอบทำการประเมินเสร็จแล้ว และเห็นว่าผู้ยื่นคำขอผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ให้นำเสนออธิบดีเพื่ออนุมัติและออกหนังสือให้ความเห็นชอบให้กับผู้ยื่นคำขอตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๑ หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบให้มีอายุ ๓ ปี นับแต่วันที่ออกหนังสือ ข้อ ๑๒ กรมการขนส่งทางบกจะทำการประเมินความสามารถหรือตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ ตลอดจนการดำเนินกิจการของผู้ตรวจและทดสอบ ที่ได้รับความเห็นชอบแล้วโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยผู้ตรวจและทดสอบต้องอำนวยความสะดวกแก่อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายในการเข้าประเมินหรือตรวจสอบ ข้อ ๑๓ ผู้ตรวจและทดสอบต้องรายงานผลการตรวจและทดสอบให้กรมการขนส่งทางบกทราบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ข้อ ๑๔ ผู้ตรวจและทดสอบต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ติดตั้งป้ายสัญลักษณ์แสดงสถานประกอบกิจการตรวจและทดสอบรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ (๒) ติดตั้งป้ายแสดงว่าสถานประกอบกิจการได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก โดยมีชื่อผู้ตรวจและทดสอบพร้อมข้อความ “โดยได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกเลขที่..................” (๓) แสดงหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ (๔) แสดงวัน และเวลาที่ให้บริการตรวจและทดสอบ (๕) แสดงชื่อ นามสกุล และรูปถ่ายวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบที่ปฏิบัติงานในวันและเวลาตาม (๔) ขนาดไม่น้อยกว่า ๔ x ๖ นิ้ว (๖) แสดงอัตราค่าบริการตรวจและทดสอบตามที่ได้รับความเห็นชอบ การติดตั้งป้ายหรือการแสดงหนังสือให้ความเห็นชอบ วัน เวลาให้บริการ ชื่อ นามสกุลและรูปถ่ายวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ และอัตราค่าบริการตาม (๑) - (๖) ต้องติดตั้งหรือแสดงไว้ในบริเวณสถานที่ประกอบกิจการ ที่ประชาชนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ข้อ ๑๕ ผู้ตรวจและทดสอบที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขเกี่ยวกับสถานที่ประกอบกิจการหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบให้แตกต่างไปจากที่ได้รับความเห็นชอบ ให้ยื่นคำขอต่อสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก เพื่อขอรับความเห็นชอบก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๖ ผู้ตรวจและทดสอบที่ประสงค์จะขอต่ออายุหนังสือให้ความเห็นชอบ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยภาพถ่ายหนังสือให้ความเห็นชอบหรือใบแทนก่อนวันที่หนังสือให้ความเห็นชอบสิ้นอายุอย่างน้อย ๓๐ วัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่ก่อนเกินกว่า ๙๐ วันโดยการพิจารณาต่ออายุหนังสือให้ความเห็นชอบให้นำความในข้อ ๑๐ (๒) (๓) และ (๔) มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๗ ผู้ตรวจและทดสอบที่ประสงค์จะขอยกเลิกการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ให้แจ้งกรมการขนส่งทางบกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน ข้อ ๑๘ ในกรณีหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือ ให้ความเห็นชอบตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวน (ถ้ามี) และหนังสือให้ความเห็นชอบที่ชำรุดนั้น ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดดังกล่าว ในการออกใบแทนหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ให้เป็นไปตามแบบหนังสือให้ความเห็นชอบเดิม แต่ให้ระบุข้อความ “ใบแทน” ไว้ที่ด้านหน้าด้วย ข้อ ๑๙ หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับความเห็นชอบ ไม่สามารถโอนให้แก่ผู้อื่นได้ ข้อ ๒๐ ผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับให้ถือเป็นผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศนี้ต่อไปจนกว่าหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบสิ้นอายุ ข้อ ๒๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ๒. แบบป้ายสัญลักษณ์แสดงสถานประกอบกิจการตรวจและทดสอบรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๐ ง/หน้า ๔๐/๔ ธันวาคม ๒๕๖๐
792645
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และการออกหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และการออกหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ ของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และการออกหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และการออกหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบันทึกข้อมูลผลการติดตั้ง รายงานผลการติดตั้งและออกหนังสือรับรองการติดตั้งผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้การตรวจสอบการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ และข้อ ๗ ของกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และการออกหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ถัง” หมายความว่า ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซธรรมชาติอัด “เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ” หมายความว่า เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง “การติดตั้ง” หมายความว่า การติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ติดตั้ง” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ติดตั้งทั่วไป” หมายความว่า ผู้ติดตั้งที่ไม่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่มิให้หมายความรวมถึงผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อม “ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผู้ติดตั้งผลิต ซึ่งมีการกำหนดรหัสหรือรุ่นเป็นการเฉพาะ “ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อม” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ผลิตรถ (Manufacturer) หรือผู้จำหน่ายเพียงผู้เดียว (Sole distributor) ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงใหม่เฉพาะรถที่ได้รับการติดตั้งจากผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต โดยการเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบต้องดำเนินการตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตรถหรือจำหน่ายรถเพียงผู้เดียวกำหนด “ระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก” หมายความว่า ระบบงานที่กรมการขนส่งทางบกจัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้ติดตั้งบันทึกข้อมูลผลการติดตั้ง รายงานผลการติดตั้งและออกหนังสือรับรองการติดตั้งผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ข้อ ๓ การติดตั้งต้องเป็นไปตามมาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (๑) ข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจของยุโรปแห่งสหประชาชาติ เลขที่ ECE R ๑๑๐ (๒) มาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ มาตรฐานเลขที่ มอก. ๒๓๓๓ ดังนี้ (ก) เล่ม ๑ ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย (ข) เล่ม ๒ วิธีทดสอบ (๓) มาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เลขที่ ISO ๑๕๕๐๑ ข้อ ๔ การติดตั้งถังให้ปฏิบัติตามวิธีการ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องยึดถังให้แน่นกับตัวรถในบริเวณที่มีความแข็งแรง เมื่อรถสั่นสะเทือนถังต้องไม่ขยับเขยื้อนและสามารถทนต่อแรงกระชากของถังในขณะบรรจุก๊าซเต็มถัง เมื่อรถเกิดความเร่งหรือความหน่วงได้เท่ากับจำนวนเท่าของอัตราเร่งที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลกตามที่มาตรฐานกำหนด (๒) กรณีที่ติดตั้งถังขนานกับความยาวของตัวรถ ให้ติดตั้งอุปกรณ์ยึดหรือยันด้านหัวและด้านท้ายถังเพื่อป้องกันถังเคลื่อนตัวในแนวนอน (๓) ห้ามเชื่อมถังกับสิ่งอื่นใด เว้นแต่เป็นการเชื่อมจากโรงงานผู้ผลิต (๔) ถังที่ติดตั้งต้องไม่รับน้ำหนักหรือภาระอย่างหนึ่งอย่างใดของรถ (๕) ถังที่ติดตั้งภายในห้องผู้โดยสาร ห้องผู้ขับรถ ห้องเก็บสัมภาระหรือที่ซึ่งอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ต้องมีเรือนกักก๊าซ (gas tight housing) ที่ติดอยู่ที่ถังเพื่อป้องกันก๊าซรั่วซึมออกสู่บริเวณห้องที่ติดตั้ง และต้องมีท่อระบายก๊าซ (ventilation hose) สำหรับระบายก๊าซที่รั่วซึมออกนอกตัวรถ (๖) ถังที่ติดตั้งควรยึดด้วยวิธีหนึ่งวิธีใดดังนี้ (ก) ใช้สายรัดทำด้วยเหล็กรัดถังอย่างน้อย ๒ สาย สายรัดแต่ละสายควรมีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๓๐ มิลลิเมตร ความหนาไม่น้อยกว่า ๓ มิลลิเมตร และใช้สกรูยึดสายรัดถังที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๑๐ มิลลิเมตร และในกรณีที่ถังมีความจุเกินกว่า ๑๐๐ ลิตร สายรัดแต่ละสายควรมีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๕๐ มิลลิเมตร ความหนาไม่น้อยกว่า ๖ มิลลิเมตร และใช้สกรูยึดสายรัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๑๒ มิลลิเมตร (ข) ใช้สกรูยึดขาถังอย่างน้อย ๔ ตัว สกรูแต่ละตัวควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๑๐ มิลลิเมตร และในกรณีที่ถังมีความจุเกินกว่า ๑๐๐ ลิตร สกรูแต่ละตัวควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๑๒ มิลลิเมตร (๗) ในกรณีที่ถังติดตั้งอยู่ห่างจากท่อไอเสียหรือเครื่องยนต์น้อยกว่า ๑๐๐ มิลลิเมตร ต้องมีเครื่องป้องกันความร้อนกั้นระหว่างถังกับท่อไอเสียและเครื่องยนต์ (๘) ห้ามบรรจุก๊าซธรรมชาติอัดลงในถังจนมีความดันสูงเกินกว่า ๒๐.๖๘ เมกาปาสกาล (MPa) ข้อ ๕ ห้ามนำถังที่มีข้อบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ มาติดตั้ง (๑) เครื่องหมายประจำถังลบเลือนจนอ่านไม่ออก มีการแก้ไขโดยไม่ถูกต้อง หรือมีข้อความไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน (๒) ถังที่ถูกไฟไหม้ (๓) มีรอยรั่ว ซึม รอยร้าว หรือบวม (๔) มีรอยสึกลึกตั้งแต่ ๐.๒๕ มิลลิเมตรขึ้นไป (๕) มีรอยบาด รอยขูดขีด รอยเซาะ ลึกตั้งแต่ ๐.๒๕ มิลลิเมตรขึ้นไป (๖) มีรอยบุบเว้าลึกตั้งแต่ ๑.๖ มิลลิเมตรขึ้นไป หรือเส้นผ่าศูนย์กลางหรือความยาวสูงสุดของรอยบุบเว้ามากกว่า ๕๐ มิลลิเมตร (๗) มีรอยผุกร่อนทั่วไปลึกตั้งแต่ร้อยละ ๑๕ ของความหนาถังเดิม หรือเป็นพื้นที่ตั้งแต่ร้อยละ ๒๕ ของพื้นที่ผิวของถังขึ้นไป (๘) มีรอยผุกร่อนเป็นแนวยาวตั้งแต่ ๑๐๐ มิลลิเมตร หรือมีความลึกตั้งแต่ร้อยละ ๑๐ ของความหนาถังเดิมขึ้นไป (๙) มีรอยผุกร่อนเป็นหลุมลึกตั้งแต่ร้อยละ ๒๕ ของความหนาถังเดิมขึ้นไป (๑๐) ถังบิดเบี้ยวไม่ได้รูปทรง (๑๑) ลิ้นหัวถังเอียงจนเห็นได้ชัด หรือเมื่อขันเกลียวแน่นแล้วก๊าซยังรั่วอยู่ (๑๒) มีการดัดแปลงหรือต่อเติมถัง (๑๓) อุปกรณ์ระบายความดันเสียหาย หรือเสียรูป หรือไม่ตรงตามที่ผู้ผลิตกำหนด ข้อ ๖ เมื่อผู้ติดตั้งทำการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบครบถ้วนถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ติดเครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงไว้ที่ด้านท้ายของตัวรถ หรือด้านข้างของห้องผู้ขับรถทั้ง ๒ ด้าน ในลักษณะที่มองเห็นจากภายนอกตัวรถได้อย่างชัดเจนและไม่หลุดลอกง่าย (๒) บันทึกข้อมูลผลการติดตั้ง และรายงานผลการติดตั้งลงในระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก (๓) ออกหนังสือรับรองการติดตั้ง ให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดังนี้ (ก) กรณีผู้ติดตั้งทั่วไป ให้ออกหนังสือรับรองการติดตั้งจากระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก (ข) กรณีผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตและผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อมให้ออกหนังสือรับรองการติดตั้งตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ โดยให้มีรายละเอียดแนบท้ายหนังสือรับรองการติดตั้งที่มีรายการอย่างน้อยดังนี้ ๑) ชื่อผู้ติดตั้ง ๒) เลขที่หนังสือรับรอง ๓) สถานที่ติดตั้ง (เฉพาะกรณีที่สถานที่ติดตั้งแตกต่างไปจากที่อยู่ของผู้ได้รับความเห็นชอบ) ๔) หมายเลขประจำรถ (Vehicle Identity Number : VIN) ๕) หมายเลขเครื่องยนต์ ๖) ประเภทของเครื่องยนต์ที่ติดตั้ง ๗) แบบหรือระบบการใช้ก๊าซที่ติดตั้ง ๘) มาตรฐานการติดตั้ง ๙) รายละเอียดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบแต่ละชิ้นที่นำมาติดตั้งที่ระบุถึงยี่ห้อ รุ่นหรือแบบ หมายเลข (ถ้ามี) และมาตรฐาน (๔) ส่งมอบเอกสารคำแนะนำการใช้งานเกี่ยวกับเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับกำหนดวันที่ต้องตรวจและทดสอบถัง วันที่ถังหมดอายุ การนำรถเข้าตรวจและทดสอบก่อนใช้รถ และการบำรุงรักษาตามระยะเวลาหรือระยะทาง ข้อ ๗ ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตและผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อมต้องจัดเก็บสำ เนาหนังสือรับรองการติดตั้ง พร้อมรายละเอียดแนบท้ายหนังสือรับรองการติดตั้งของรถที่ได้รับการบริการไว้ที่สถานที่ประกอบกิจการให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบของกรมการขนส่งทางบกเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี ข้อ ๘[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบหนังสือรับรองการติดตั้งสำหรับผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต ๒. แบบหนังสือรับรองการติดตั้งสำหรับผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ซ่อม (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๐ ง/หน้า ๓๕/๔ ธันวาคม ๒๕๖๐
792643
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และการออกหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และการออกหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ ของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และแบบหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และการออกหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบันทึกข้อมูลผลการติดตั้ง รายงานผลการติดตั้ง และออกหนังสือรับรองการติดตั้งผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้การตรวจสอบการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ และข้อ ๗ ของกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และแบบหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ถัง” หมายความว่า ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว “เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ” หมายความว่า เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “การติดตั้ง” หมายความว่า การติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ติดตั้ง” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง “ผู้ติดตั้งทั่วไป” หมายความว่า ผู้ติดตั้งที่ไม่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว “ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผู้ติดตั้งผลิต ซึ่งมีการกำหนดรหัสหรือรุ่นเป็นการเฉพาะ “ระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก” หมายความว่า ระบบงานที่กรมการขนส่งทางบกจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ติดตั้งบันทึกข้อมูลผลการติดตั้ง รายงานผลการติดตั้งและออกหนังสือรับรองการติดตั้งผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ข้อ ๓ ถังที่จะนำมาติดตั้งต้องมีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (๑) ลิ้นบรรจุ (filling valve) (๒) ลิ้นระบายความดัน (pressure relief valve) (๓) ลิ้นกันกลับ (check valve or non return valve) (๔) ลิ้นเปิดปิด (shut-off valve) (๕) อุปกรณ์วัดระดับก๊าซเหลว (level indicator or fixed liquid level gauge) เป็นระบบไฟฟ้าและมีหน้าปัดแสดงที่ห้องผู้ขับรถ (๖) อุปกรณ์ป้องกันการบรรจุเกิน (overfill protection device) (๗) อุปกรณ์ระบายความดัน (pressure relief device) (๘) อุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดลิ้นระยะไกลพร้อมด้วยลิ้นป้องกันการไหลเกิน (remotely controlled service valve with excess flow valve) ข้อ ๔ การติดตั้งถังให้ทำได้บริเวณใต้ท้องรถ หรือภายในตัวถังรถ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ห้ามติดตั้งไว้ในห้องเครื่องกำเนิดพลังงาน หรือส่วนหน้าของตัวถังรถ หรือด้านหน้าของเพลาล้อหน้า และต้องติดตั้งอยู่ห่างจากส่วนท้ายสุดของกันชนหลัง ไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร (๒) ห้ามติดตั้งบนหลังคา หรือเหนือห้องโดยสาร (๓) ต้องวางถังในลักษณะที่สามารถมองเห็นแผ่นป้ายแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับถังได้ โดยไม่ต้องรื้อถอนส่วนประกอบใด ๆ ออก (๔) ยึดถังหรือขาถังให้ติดแน่นกับตัวรถ ในกรณีที่ใช้แถบโลหะรัด ต้องมีวัสดุที่ยืดหยุ่นได้ เช่น สักหลาด หนัง ยาง พลาสติก เป็นต้น หุ้มหรือคั่นกลางเพื่อป้องกันโลหะเสียดสีกัน และเมื่อรถสั่นสะเทือนถังต้องไม่ขยับเขยื้อน และต้องติดตั้งถังตามคู่มือที่ผู้ผลิตกำหนด (๕) อุปกรณ์ยึดถังต้องทนต่อแรงกระชากที่เกิดจากความเร่งหรือความหน่วงของรถ และเมื่อเกิดแรงดังกล่าว ถังยังต้องยึดติดกับตัวรถอย่างมั่นคงไม่ขยับเขยื้อน (๖) ห้ามเชื่อมหรือต่อเติมถังกับสิ่งอื่นใด เว้นแต่เป็นการเชื่อมมาจากโรงงานผู้ผลิต กรณีมีเหตุจำเป็นต้องติดตั้งถังบริเวณอื่นนอกจากที่กำหนด จะกระทำได้เมื่อกรมการขนส่งทางบกเห็นว่ามีความปลอดภัย มั่นคงแข็งแรง และเหมาะสมในการใช้งาน ข้อ ๕ ภายใต้บังคับความในข้อ ๓ การติดตั้งถังหลายใบในรถคันเดียวกัน ถ้าใช้ท่อนำก๊าซร่วมสำหรับบรรจุก๊าซ ถังแต่ละใบต้องมีลิ้นเปิดปิดให้บรรจุก๊าซได้คราวละถัง และถ้าใช้ท่อนำก๊าซร่วมที่ต่อจากถังไปยังเครื่องกำเนิดพลังงาน ถังแต่ละใบต้องมีลิ้นเปิดปิดให้จ่ายก๊าซได้คราวละถังด้วย ข้อ ๖ ภายใต้บังคับความในข้อ ๔ การติดตั้งถังใต้ท้องรถ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การติดตั้งเพิ่มเติมดังนี้ (๑) จะมีเรือนกักก๊าซที่ติดตั้งบนถังหรือไม่ก็ได้ (๒) ส่วนล่างสุดของถังและเครื่องอุปกรณ์ที่ติดกับถัง ต้องอยู่สูงกว่าระยะต่ำสุดของรถไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร และกรณีที่ติดตั้งถังด้านหลังเพลาล้อท้ายสุดของรถ ส่วนล่างสุดของถังรวมทั้งเครื่องอุปกรณ์ที่ติดกับถังต้องอยู่สูงกว่าระยะต่ำสุดของรถไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร และอยู่สูงจากพื้นถนน ไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๖ ของระยะห่างระหว่างแกนของถังกับแกนของเพลาล้อท้ายสุด (๓) เครื่องอุปกรณ์ที่ติดตั้งกับถังต้องอยู่ห่างจากตัวถังรถเพื่อป้องกันมิให้เกิดการเสียดสีกัน (๔) ติดแผ่นโลหะหนาพอสมควรสำหรับป้องกันเศษหินที่กระเด็นจากการหมุนของล้อรถ ข้อ ๗ การติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบสำหรับการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) ติดตั้งให้ห่างจากอุปกรณ์ที่เป็นแหล่งความร้อน แหล่งที่เกิดประกายไฟ หรือแหล่งสารเคมี เช่น ท่อไอเสีย เป็นต้น ไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร เว้นแต่มีการป้องกันเป็นอย่างดี (๒) ไม่ติดตั้งในตำแหน่งที่อาจจะได้รับความเสียหาย เนื่องจากการชำรุดของชิ้นส่วนของรถที่ทำงานในลักษณะเหวี่ยงหรือหมุน เช่น สายพาน หรือเพลาขับ เป็นต้น (๓) ไม่ให้ส่วนหนึ่งส่วนใดพ้นออกนอกตัวถังรถ ข้อ ๘ การติดตั้งเรือนกักก๊าซที่มีลักษณะเป็นฝาครอบเครื่องอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนถังเรือนกักก๊าซนั้นต้องมีท่อที่มีลักษณะและขนาดเหมาะสมสำหรับระบายก๊าซที่รั่วซึมจากเครื่องอุปกรณ์ดังกล่าวออกนอกตัวรถได้ดี โดยปลายท่อต้องอยู่ห่างจากท่อไอเสียไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร กรณีไม่สามารถติดตั้งเรือนกักก๊าซที่มีลักษณะเป็นฝาครอบได้ ต้องติดตั้งเรือนกักก๊าซแบบเป็นกล่องบรรจุถังที่มีลักษณะและหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ต้องทำด้วยวัสดุไม่ติดไฟง่าย และมีฝาปิดแน่น (๒) มีช่องทำด้วยวัสดุใสให้สามารถมองเห็นเครื่องอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนถังได้ (๓) วางกล่องบรรจุถังบนที่รองรับที่เหมาะสม ซึ่งสามารถบรรจุก๊าซได้สะดวกและยึดกล่องบรรจุถังให้ติดแน่นกับพื้นรถ (๔) จุดต่ำสุดของกล่องบรรจุถัง ต้องมีท่อที่มีลักษณะและขนาดเหมาะสมสำหรับระบายก๊าซที่รั่วซึมตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๙ การติดตั้งท่อนำก๊าซ ต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) ส่วนล่างสุดของท่อนำก๊าซต้องอยู่สูงกว่าระยะต่ำสุดของรถไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร และในกรณีที่ติดตั้งถังด้านหลังเพลาล้อท้ายสุดของรถ ส่วนล่างสุดของท่อนำก๊าซที่ต่อจากถัง ต้องอยู่สูงกว่าระยะต่ำสุดของรถไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร และต้องอยู่สูงจากพื้นถนนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๖ ของระยะห่างระหว่างแกนของถังกับแกนเพลาล้อท้ายสุด (๒) ท่อนำก๊าซต้องมีความหนาและมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในที่เหมาะสมกับการทำงานของลิ้นควบคุมการไหลและอัตราการใช้เชื้อเพลิงของเครื่องกำเนิดพลังงานและสามารถทนความดันได้โดยปลอดภัย (๓) ท่อนำก๊าซต้องไม่ถูกกระทบกระเทือน หรือเสียดสีกับสิ่งอื่นใด (๔) ท่อนำก๊าซส่วนที่อยู่ภายในตัวถังรถต้องเป็นชิ้นส่วนเดียวกันโดยไม่มีการเชื่อมหรือต่อ (๕) ท่อนำก๊าซที่ติดตั้งในตำแหน่งซุ้มล้อ หรือในตำแหน่งที่อาจจะทำให้เกิดความเสียหายจากการกระแทกของหินที่กระเด็นจากล้อหรือใต้ท้องรถ ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันความเสียหาย (๖) ท่อนำก๊าซส่วนที่อยู่ใต้ท้องรถต้องต่อเข้าในโครงคัสซี หรือส่วนของตัวถังรถ ที่สามารถป้องกันการกระทบกระแทกจากภายนอกได้ และต้องไม่ติดตั้งในตำแหน่งที่ออกแบบไว้สำหรับยกรถ (๗) ท่อนำก๊าซต้องยึดแน่นกับโครงคัสซีหรือส่วนของตัวถังรถด้วยตัวยึด โดยตัวยึดต้องมีระยะห่างกันไม่เกินช่วงละ ๕๐ เซนติเมตร (๘) ท่อนำก๊าซส่วนที่ผ่านเข้าไปในห้องผู้โดยสารหรือห้องผู้ขับรถ ต้องเดินในท่อโลหะอีกชั้นหนึ่งสำหรับให้ก๊าซระบายออกนอกตัวถังรถได้เมื่อมีก๊าซรั่ว และต้องมีการป้องกันการเสียดสีระหว่างท่อโลหะกับท่อนำก๊าซเป็นอย่างดี (๙) ข้อต่อต่าง ๆ ต้องเป็นข้อต่อแบบเกลียว และวัสดุที่ใช้ต้องเหมาะสมกับท่อนำก๊าซ ข้อ ๑๐ การติดตั้งท่อนำก๊าซสำหรับบรรจุก๊าซกรณีที่ติดตั้งถังภายในตัวถังรถ ต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) ท่อนำก๊าซต้องเป็นท่อแบบยืดหยุ่นหรือแบบคงตัวชนิดที่สามารถทนต่อแรงสั่นสะเทือนเนื่องจากการใช้งานได้ มีขนาดเหมาะสม ทนความดันได้โดยปลอดภัย (๒) ต่อท่อนำก๊าซกับลิ้นบรรจุที่ถังออกไปยังตัวรถด้านใดด้านหนึ่ง แต่ต้องไม่ยื่นพ้นออกนอกตัวรถ (๓) ปลายท่อนำก๊าซต้องติดตั้งอุปกรณ์รับเติมก๊าซที่ยึดติดกับตัวรถอย่างมั่นคง ในตำแหน่งที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก และอยู่ห่างจากประตูทางขึ้นลงพอสมควร ข้อ ๑๑ การติดตั้งระบบควบคุมการเปิดปิดก๊าซ ต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) ติดตั้งลิ้นควบคุมการเปิดปิดก๊าซในตำแหน่งที่ก๊าซจะไม่พุ่งเข้ารถเมื่อเกิดก๊าซรั่วจากลิ้นควบคุมการเปิดปิดก๊าซไม่ว่าจะรั่วจากท่อทางเข้าหรือท่อทางออก (๒) ลิ้นเปิดปิดก๊าซต้องปิดโดยอัตโนมัติเมื่อเปิดใช้น้ำมันเบนซิน (๓) เมื่อเครื่องกำเนิดพลังงานดับ ลิ้นเปิดปิดก๊าซต้องปิดโดยอัตโนมัติ (๔) ระบบไฟฟ้าที่ควบคุมการเปิดปิดก๊าซไปยังเครื่องกำเนิดพลังงาน ต้องมีฟิวส์ป้องกันการลัดวงจร และต้องต่อแยกออกจากระบบไฟฟ้าอื่น ๆ ในรถ ข้อ ๑๒ การติดตั้งอุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซ ต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) ท่อนำก๊าซที่ต่อจากอุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซ ไปยังเครื่องผสมอากาศกับก๊าซต้องเป็นท่อนำก๊าซแบบยืดหยุ่นที่ทนความดันได้ไม่น้อยกว่า ๑๐๐ กิโลปาสกาล (kPa) และทนความดันแตกได้ไม่น้อยกว่า ๘๗๕ กิโลปาสกาล (kPa) (๒) ห้ามต่อท่อหรืออุปกรณ์อื่นใดเพื่อนำความร้อนจากท่อไอเสียไปยังอุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซ (๓) ไม่ติดอุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซเข้ากับส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องกำเนิดพลังงานระบบส่งกำลังหรือในห้องโดยสาร ข้อ ๑๓ กรณีที่รถใช้น้ำมันเบนซินสลับกับก๊าซปิโตรเลียมเหลว ลิ้นเปิดปิดน้ำมันต้องปิดโดยอัตโนมัติเมื่อเปิดใช้ก๊าซ ข้อ ๑๔ เมื่อผู้ติดตั้งทำการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบครบถ้วนถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ติดเครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงไว้ที่ด้านท้ายของตัวรถ หรือด้านข้างของห้องผู้ขับรถทั้ง ๒ ด้าน ในลักษณะที่มองเห็นจากภายนอกตัวรถได้อย่างชัดเจนและไม่หลุดลอกง่าย (๒) บันทึกข้อมูลผลการติดตั้ง และรายงานผลการติดตั้งลงในระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก (๓) ออกหนังสือรับรองการติดตั้ง ให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ดังนี้ (ก) กรณีผู้ติดตั้งทั่วไป ให้ออกหนังสือรับรองการติดตั้งจากระบบสารสนเทศกรมการขนส่งทางบก (ข) กรณีผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต ให้ออกหนังสือรับรองการติดตั้งตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ โดยให้มีรายละเอียดแนบท้ายหนังสือรับรองการติดตั้งที่มีรายการอย่างน้อยดังนี้ ๑) ชื่อผู้ติดตั้ง ๒) เลขที่หนังสือรับรอง ๓) สถานที่ติดตั้ง (เฉพาะกรณีที่สถานที่ติดตั้งแตกต่างไปจากที่อยู่ของผู้ได้รับความเห็นชอบ) ๔) หมายเลขประจำรถ (Vehicle Identity Number : VIN) ๕) หมายเลขเครื่องยนต์ ๖) ประเภทของเครื่องยนต์ที่ติดตั้ง ๗) แบบหรือระบบการใช้ก๊าซที่ติดตั้ง ๘) มาตรฐานการติดตั้ง ๙) รายละเอียดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบแต่ละชิ้นที่นำมาติดตั้งที่ระบุถึงยี่ห้อ รุ่นหรือแบบ หมายเลข (ถ้ามี) และมาตรฐาน (๔) ส่งมอบเอกสารคำแนะนำการใช้งานเกี่ยวกับเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับกำหนดวันที่ต้องตรวจและทดสอบถัง วันที่ถังหมดอายุ การนำรถเข้าตรวจและทดสอบก่อนใช้รถ และการบำรุงรักษาตามระยะเวลาหรือระยะทาง ข้อ ๑๕ ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตต้องจัดเก็บสำเนาหนังสือรับรองการติดตั้ง พร้อมรายละเอียดแนบท้ายหนังสือรับรองการติดตั้งของรถที่ได้รับการบริการไว้ที่สถานที่ประกอบกิจการให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบของกรมการขนส่งทางบกเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี ข้อ ๑๖[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบหนังสือรับรองการติดตั้งสำหรับผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๐ ง/หน้า ๒๙/๔ ธันวาคม ๒๕๖๐
787646
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ฉบับที่ 136 (พ.ศ. 2560) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ฉบับที่ ๑๓๖ (พ.ศ. ๒๕๖๐) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๐ โดยได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดอุดรธานี สายที่ ๒๑ สี่แยกตลาดรังษิณา - สี่แยกบ้านจั่น โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังนี้ สายที่ ๒๑ สี่แยกตลาดรังษิณา - สี่แยกบ้านจั่น เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางสี่แยกตลาดรังษิณา ไปตามถนนอุดรดุษฎี ผ่านสำนักงานขนส่งจังหวัดอุดรธานี แห่งที่ ๑ โรงเรียนอุดรคริสเตียน ตลาดบ้านห้วย ศูนย์การค้าตึกคอม แลนด์มาร์คอุดรธานี วงเวียนหอนาฬิกา วงเวียนน้ำพุ ไปตามถนนทหาร ผ่านอนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุดรธานี กองบิน ๒๓ ค่ายประจักษ์ศิลปาคม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางสี่แยกบ้านจั่น ประกาศ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี เรื่อง กำหนดเส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๖ ง/หน้า ๒๑/๕ ตุลาคม ๒๕๖๐
787644
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2560) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ฉบับที่ ๑๓๕ (พ.ศ. ๒๕๖๐) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ และได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณากิจการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๐ โดยได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดอุดรธานี สายที่ ๒๐ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีสาขาอุดรธานี – ท่าอากาศยานอุดรธานี โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังนี้ สายที่ ๒๐ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีสาขาอุดรธานี - ท่าอากาศยานอุดรธานี เริ่มต้นจากห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีสาขาอุดรธานีไปตามถนนนิตโย ผ่านตลาดเมืองทอง โรงเรียนเซ็นต์เมรี่ สนามกีฬาเทศบาลนครอุดรธานี ตลาดหนองบัว แยกขวาไปตามถนนทองใหญ่ ผ่านศูนย์การค้ายูดีทาวน์ ผ่านสถานีรถไฟอุดรธานี แยกซ้ายไปตามถนนประจักษ์ศิลปาคม ผ่านห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลพลาซ่า แยกซ้ายไปตามถนนสายอุทิศ ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี แห่งที่ ๑ แยกขวา ไปตามถนนโพศรี ถึงวงเวียนน้ำพุ ตรงไปผ่านสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทุ่งศรีเมือง แยกซ้ายไปตามถนนมุขมนตรี ผ่านโรงแรมบ้านเชียง แยกขวาไปตามถนนศรีสุข ผ่านโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล โรงเรียนสตรีราชินูทิศ แยกขวาไปตามถนนเพาะนิยม ตรงไปถึงสี่แยก แยกซ้ายผ่านวัดโพธิสมภรณ์ ไปตามถนนโพศรี ถึงสี่แยกถนนรอบเมือง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๖ ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดอุดรธานี แห่งที่ ๒ ถึงสี่แยกตรงไปผ่านสถาบันพลศึกษาวิทยาเขตอุดรธานี แยกซ้ายผ่านโรงเรียน อุดรพิชัยรักษ์ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางท่าอากาศยานอุดรธานี ประกาศ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี เรื่อง กำหนดเส้นทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๖ ง/หน้า ๒๐/๕ ตุลาคม ๒๕๖๐
787616
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดให้มีเครื่องหมายที่จะต้องแสดงเมื่อจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทาง พ.ศ. 2560
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดให้มีเครื่องหมายที่จะต้องแสดงเมื่อจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทาง พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าอุบัติเหตุทางถนนส่วนหนึ่งเกิดจากการจอดรถในช่องทางเดินรถหรือไหล่ทาง โดยไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณเพื่อป้องกันอุบัติเหตุให้ผู้ร่วมใช้ทางทราบ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากสาเหตุดังกล่าว สมควรกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ต้องจัดให้มีเครื่องหมายที่จะต้องแสดงเมื่อจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทาง อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๖) และวรรคสอง และข้อ ๔ (๔) ของกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในการใช้รถทำการขนส่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีเครื่องหมายที่จะต้องแสดงเมื่อจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางไว้ประจำรถ จำนวนอย่างน้อย ๒ ชิ้น ข้อ ๒ เครื่องหมายตามข้อ ๑ ให้เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ยาวไม่ต่ำกว่าด้านละ ๕๐ เซนติเมตร ประกอบด้วยแถบสะท้อนแสง พื้นสีขาว ขอบสีแดง กว้าง ๕ เซนติเมตร มีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีดำกว้าง ๘ เซนติเมตร ยาว ๒๕ เซนติเมตร หัวท้ายมน อยู่บนพื้นสีขาวในแนวดิ่ง พร้อมขาตั้งหรือฐานตั้ง ดังตัวอย่างแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๙๐ วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตัวอย่าง เครื่องหมายที่จะต้องแสดงเมื่อจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทาง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๕ ง/หน้า ๑๔/๔ ตุลาคม ๒๕๖๐