sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
732328
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดพิษณุโลก เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดพิษณุโลกให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลกกระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดพิษณุโลก ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดพิษณุโลก เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดพิษณุโลก ให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลกกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยที่ได้มีประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งมีผลทำให้นายทะเบียนประจำจังหวัดมีอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดพิษณุโลกจึงมอบหมายอำนาจหน้าที่นายทะเบียนประจำจังหวัดพิษณุโลกให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลกกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดพิษณุโลก เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดพิษณุโลกให้ข้าราชการสำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลกกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพิษณุโลก ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งและนักวิชาการขนส่งชำนาญการของกลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่อง ข้อ ๔ การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพิษณุโลก ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่อง และมอบหมายให้นักวิชาการขนส่งชำนาญการของกลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๔ (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ข้อ ๕ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพิษณุโลก ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่องและมอบหมายให้นักวิชาการขนส่งชำนาญการของกลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๕ (ข) ข้อ ๖ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพิษณุโลกใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๗ การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพิษณุโลกเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพิษณุโลก ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่อง ข้อ ๘ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๙ การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพิษณุโลก ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพิษณุโลก หรือผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่งเป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๑๐ การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ มอบหมายผู้กระทำการแทน ดังนี้ (๑) หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถเป็นผู้กระทำการในทุกเรื่อง (๒) หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก สาขาอำเภอพรหมพิรามและหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก สาขาอำเภอนครไทย เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๐ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) (๓) นักวิชาการขนส่งชำนาญการ ซึ่งช่วยปฏิบัติงานอยู่ที่ฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๐ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) (๔) เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ, สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก สาขาอำเภอพรหมพิราม และสำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก สาขาอำเภอนครไทย เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๐ (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๑๑ การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง, หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ, หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ, หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก สาขาอำเภอพรหมพิราม, หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก สาขาอำเภอนครไทย และนักวิชาการขนส่งชำนาญการ เป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๑๒ การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซมปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง, หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ, หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ, หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก สาขาอำเภอพรหมพิราม, หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก สาขาอำเภอนครไทย และนักวิชาการขนส่งชำนาญการ เป็นผู้กระทำการแทน ข้อ ๑๓ การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต มอบหมายให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ, หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก สาขาอำเภอพรหมพิราม และหัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก สาขาอำเภอนครไทยเป็นผู้กระทำการแทนในทุกเรื่อง และมอบหมายให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ, สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก สาขาอำเภอพรหมพิราม และสำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก สาขาอำเภอนครไทย เป็นผู้กระทำการแทนในข้อ ๑๓ (ข) และ (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ชาติชาย มัฆวิมาลย์ ขนส่งจังหวัดพิษณุโลก นายทะเบียนประจำจังหวัดพิษณุโลก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๘ นุสรา/ผู้ตรวจ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๗๖ ง/หน้า ๒๘/๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘
731040
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดพิจิตร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดพิจิตรให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดพิจิตรกระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดพิจิตร ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดพิจิตร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดพิจิตรให้ข้าราชการ สังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดพิจิตรกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดจึงมอบหมายอำนาจให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดพิจิตรกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดพิจิตร เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดพิจิตรให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดพิจิตรกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ และใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพิจิตร ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพิจิตร ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพิจิตร ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพิจิตรใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพิจิตรเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพิจิตร ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพิจิตร ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดพิจิตร หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับอนุญาตมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ ( ๑) ข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (จ) ข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่อใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดพิจิตร สาขาอำเภอโพทะเล เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน สำนักงานขนส่งจังหวัดพิจิตร สาขาอำเภอโพทะเล เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ปาณิสร ศศิธร นายทะเบียนประจำจังหวัดพิจิตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ปุณิกา/ผู้ตรวจ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๒๑/๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘
730741
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดบึงกาฬ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดบึงกาฬให้ข้าราชการ สังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดบึงกาฬกระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดบึงกาฬ ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดบึงกาฬ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดบึงกาฬให้ข้าราชการ สังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดบึงกาฬกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวประการหนึ่งคือการเพิ่มเติมให้นายทะเบียนประจำจังหวัดสามารถมอบหมายอำนาจหน้าที่ของตนให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้ (มาตรา ๖ วรรคสี่) นั้น ดังนั้น เพื่อให้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรค ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนประจำจังหวัดจึงมอบหมายอำนาจให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดบึงกาฬกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนประจำจังหวัดบึงกาฬ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนประจำจังหวัดบึงกาฬให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดบึงกาฬกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนประจำจังหวัดบึงกาฬ ที่ ๖/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๗ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ข้าราชการลงนามกำกับรอยตราประทับลายมือชื่อนายทะเบียนประจำจังหวัดบึงกาฬ ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดบึงกาฬ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดบึงกาฬ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาต (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดบึงกาฬ ดังนี้ (ก) ใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) ใช้รถทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค) เดินรถหมุนเวียน ตามมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดบึงกาฬใช้รถผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การสั่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดบึงกาฬเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราวหรือให้ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ข) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดบึงกาฬ ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวก หรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง (๗) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งมีเส้นทางที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดบึงกาฬ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งมีท้องที่ทำการขนส่งภายในเขตจังหวัดบึงกาฬ หรือผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๕ ให้นักวิชาการขนส่ง เป็นผู้กระทำแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) ข้อ ๔ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ดังนี้ (ก) การจดทะเบียน (ข) การเสียภาษีประจำปี (ค) การโอนรถ (ง) การย้ายรถ (จ) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญ ตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉ) การแจ้งเลิกใช้รถ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ช) การแจ้งไม่ใช้รถ ตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แทนที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่อง ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ เป็นผู้กระทำแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (จ) ข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายทะเบียนรถ เป็นผู้กระทำแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๖ (๑) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้กระทำแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๙ (๑) (ข) (ค) ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ชุติมา ไทยเจียมอารีย์ นายทะเบียนประจำจังหวัดบึงกาฬ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ปุณิกา/ผู้ตรวจ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๕๕ ง/หน้า ๑/๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘
728359
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ พ.ศ. 2558
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง สภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้มีความเหมาะสมเกิดความปลอดภัยในการใช้งานยิ่งขึ้น ตลอดจนเพื่อให้การปฏิบัติงานของนายทะเบียนเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ ลงวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๒๕ (๒) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบรถที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบ ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๖ (๓) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๓ (๔) หนังสือกรมการขนส่งทางบก ที่ คค ๐๓๐๕/๐๒๑๒๕ ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๓๒ เรื่อง การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ (๕) หนังสือกรมการขนส่งทางบก ที่ คค ๐๓๐๕/ว ๕๖ ลงวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๓๓ เรื่อง การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ (๖) หนังสือกรมการขนส่งทางบก ที่ คค ๐๔๐๘.๓/ว ๒๙๔ ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ เรื่อง การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ บรรดาระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใด ในส่วนที่มีกำหนดไว้แล้วในประกาศนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “รถ” หมายความว่า รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๓ ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่ประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ยื่นคำขอตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ข้อ ๔ การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ให้นายทะเบียนอนุญาตให้ดำเนินการได้ หากเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบดังกล่าวถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และมีความมั่นคงแข็งแรงปลอดภัยในการใช้งาน (๑) เครื่องกำเนิดพลังงาน (๒) ตัวถัง (๓) สีภายนอกตัวรถ (๔) จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร (๕) จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ น้ำหนักรวมสูงสุดและการกระจายนํ้าหนักลงเพลาของรถต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการในคู่มือการตรวจสอบน้ำหนักรวมสูงสุดและน้ำหนักลงเพลา (เอกสารหมายเลข ๑) การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงตัวถัง หรือจำนวนที่นั่งผู้โดยสาร ของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร น้ำหนักรวมสูงสุดและการกระจายน้ำหนักลงเพลาของรถต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการในคู่มือการตรวจสอบน้ำหนักรวมสูงสุดและน้ำหนักลงเพลา (เอกสารหมายเลข ๑) ข้อ ๕ การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ให้นายทะเบียนอนุญาตให้ดำเนินการได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศนี้ (๑) โครงคัสซี (๒) ระบบบังคับเลี้ยว (๓) จำนวนกงล้อและยาง (๔) จำนวนเพลาล้อ (๕) ช่วงล้อ การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถต้องยื่นเอกสารตามรายการรายละเอียดของรถ (เอกสารหมายเลข ๒) และหนังสือรับรองความมั่นคงแข็งแรงของรถและเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถจากผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกลประเภทสามัญวิศวกรขึ้นไปประกอบการพิจารณาด้วย ให้นายทะเบียนรวบรวมเอกสารหลักฐานทั้งหมด และผลการตรวจสอบรถและเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ (เอกสารหมายเลข ๓) แล้วแต่กรณี เสนอกรมการขนส่งทางบกเพื่อขอรับความเห็นชอบก่อนพิจารณาอนุญาตให้ดำเนินการ เว้นแต่การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงตามข้อ ๗ ที่ยกเว้นไม่ต้องยื่นขอรับความเห็นชอบ ให้นายทะเบียนพิจารณาอนุญาตได้ตามเหตุผลและความจำเป็น แต่ทั้งนี้ ต้องปรากฏว่าการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงมีความมั่นคงแข็งแรงปลอดภัยในการใช้งาน หมวด ๒ การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบ ของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ข้อ ๖ การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงคัสซี ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้ (๑) โครงคัสซีเดิมจากผู้ผลิตซึ่งมีหมายเลขคัสซีปรากฏอยู่ที่เป็นชิ้นเดียวกันต้องมีความยาวเหลืออยู่เกินกว่าร้อยละ ๕๐ ของความยาวโครงคัสซีทั้งหมด และเป็นสาระสำคัญในการรองรับน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุก การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากมีการเสริมดามโครงคัสซีต้องเป็นไปในลักษณะเสริมความมั่นคงแข็งแรงของโครงคัสซี และจากกึ่งกลางหมายเลขคัสซีไปทางด้านหน้าและด้านท้ายด้านละ ๕๐ เซนติเมตร ต้องไม่มีการปิดทับหรือเสริมดามโครงคัสซีด้านที่มีหมายเลขคัสซีปรากฏอยู่ (๒) ไม่ผ่าขยายโครงคัสซีตลอดความยาวของโครงคัสซี เว้นแต่เป็นการผ่าขยายโครงคัสซีบางส่วนโดยมีความยาวรวมไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของความยาวโครงคัสซีเดิม และโครงคัสซีที่ผ่าขยายแล้วต้องมีความสูงไม่เกินกว่าขนาดความสูงสูงสุดของโครงคัสซีเดิม (๓) โครงคัสซีที่จะแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงต้องไม่ผุกร่อน บิดเบี้ยว หรือเสียรูปทรงจนมีผลกระทบต่อการรองรับน้ำหนักของรถและน้ำหนักบรรทุก การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงคัสซีหากเป็นไปในลักษณะที่โครงคัสซีเดิมเหลืออยู่ไม่เกินร้อยละ ๕๐ หรือแม้จะเหลืออยู่เกินกว่าร้อยละ ๕๐ ของความยาวโครงคัสซีทั้งหมด แต่มิได้เป็นสาระสำคัญในการรองรับน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุก ไม่ถือเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงคัสซี และไม่สามารถกระทำได้ ข้อ ๗ การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถตามข้อ ๕ เฉพาะกรณีที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ให้นายทะเบียนอนุญาตให้ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอรับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก (๑) การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงจำนวนเพลาล้อ กงล้อและยาง ๑) การลดจำนวนเพลาล้อ กงล้อและยางของรถจากเดิม ๔ เพลา ๘ ล้อ ยาง ๑๒ เส้น เป็น ๓ เพลา ๖ ล้อ ยาง ๑๐ เส้น ตามสภาพที่เคยจดทะเบียนไว้ก่อนที่จะมีการเพิ่มจำนวนเพลาล้อ กงล้อและยางเป็น ๔ เพลา ๘ ล้อ ยาง ๑๒ เส้น โดยการถอดเพลาล้อหน้าที่ ๒ ออก และต้องไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงคัสซีระหว่างช่วงล้อ หรือเปลี่ยนแปลงช่วงล้อให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่จดทะเบียนไว้ โดยให้กำหนดน้ำหนักรวมสูงสุดของรถเท่ากับที่เคยจดทะเบียนไว้เดิมในสภาพที่เป็นรถ ๓ เพลา ๖ ล้อ ยาง ๑๐ เส้น หากไม่สามารถตรวจสอบน้ำหนักรวมสูงสุดดังกล่าวได้ ให้กำหนดน้ำหนักรวมสูงสุดตามที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบไว้ หรือตามที่ผู้ผลิตกำหนดตามลำดับ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินพิกัดน้ำหนักตามที่กรมทางหลวงประกาศกำหนด ๒) การลดจำนวนกงล้อและยางของรถจากเดิม ๒ เพลา ๔ ล้อ ยาง ๖ เส้น เป็น ๒ เพลา ๔ ล้อ ยาง ๔ เส้น โดยไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงคัสซีระหว่างช่วงล้อ ช่วงล้อ หรือระบบบังคับเลี้ยว ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่จดทะเบียนไว้เดิม ให้การกำหนดน้ำหนักรวมสูงสุดของรถเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการในคู่มือการตรวจสอบน้ำหนักรวมสูงสุดและน้ำหนักลงเพลา (เอกสารหมายเลข ๑) แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินพิกัดน้ำหนักตามที่กรมทางหลวงประกาศกำหนด ๓) การลดจำนวนเพลาล้อ กงล้อและยางของรถพ่วงหรือรถกึ่งพ่วงจากเดิม ๓ เพลา ๖ ล้อ ยาง ๑๒ เส้น เป็น ๒ เพลา ๔ ล้อ ยาง ๘ เส้น ตามสภาพที่เคยจดทะเบียนไว้ก่อนที่จะมีการเพิ่มจำนวนเพลาล้อ กงล้อและยางเป็น ๓ เพลา ๖ ล้อ ยาง ๑๒ เส้น และต้องไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงคัสซีระหว่างช่วงล้อ หรือตัวถัง หรือช่วงล้อให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่จดทะเบียนไว้ในขณะที่เป็นรถ ๒ เพลา ๔ ล้อ ยาง ๘ เส้น โดยให้กำหนดน้ำหนักรวมสูงสุดของรถเท่ากับที่เคยจดทะเบียนไว้เดิมในสภาพที่เป็นรถ ๒ เพลา ๔ ล้อ ยาง ๘ เส้น หากไม่สามารถตรวจสอบน้ำหนักรวมสูงสุดดังกล่าวได้ ให้กำหนดน้ำหนักรวมสูงสุดตามที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบไว้หรือเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการในคู่มือการตรวจสอบน้ำหนักรวมสูงสุดและน้ำหนักลงเพลา (เอกสารหมายเลข ๑) ตามลำดับ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินพิกัดน้ำหนักตามที่กรมทางหลวงประกาศกำหนด ๔) การเปลี่ยนขนาดกงล้อและยางที่ทำให้สมรรถนะของกงล้อและยางเปลี่ยนแปลงไปกรณีมีสมรรถนะเพิ่มขึ้น ให้กำหนดน้ำหนักรวมสูงสุดของรถเท่ากับที่เคยจดทะเบียนไว้เดิม สำหรับกรณีมีสมรรถนะลดลง ให้การกำหนดน้ำหนักรวมสูงสุดของรถเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการในคู่มือการตรวจสอบน้ำหนักรวมสูงสุดและน้ำหนักลงเพลา (เอกสารหมายเลข ๑) (๒) การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงคัสซี ๑) การตัดหรือต่อปลายโครงคัสซีด้านท้ายของรถ โดยแนวตัดหรือต่อโครงคัสซีที่ใกล้สุดกับจุดรองรับน้ำหนักของระบบรองรับน้ำหนักเป็น ดังนี้ (ก) กรณีที่เพลาท้ายสุดมีระบบรองรับน้ำหนักที่แยกออกจากเพลาท้ายอื่น แนวตัดหรือต่อโครงคัสซีที่ใกล้สุดอยู่ห่างจากจุดรองรับน้ำหนักทางด้านท้ายของระบบรองรับน้ำหนักเพลาท้ายสุดไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร (ข) กรณีที่เพลาท้ายสุดมีระบบรองรับน้ำหนักแบบเพลาคู่ (Tandem Axle) แนวตัดหรือต่อโครงคัสซีอยู่ห่างจากจุดกึ่งกลางของเพลาคู่ท้ายไม่น้อยกว่า ๑๒๐ เซนติเมตร ๒) การเปลี่ยนแปลงระยะห่างโครงคัสซีจากเดิมไม่เกิน ๕ เซนติเมตร อันเป็นผลจากการตัดหรือต่อโครงคัสซีตาม ๑) โดยไม่มีการแก้ไขดัดแปลงโครงตามขวางของโครงคัสซี (Crossmember) ที่มีผลกระทบกับความมั่นคงแข็งแรงในการรับน้ำหนัก ๓) การตัดหรือต่อปลายโครงคัสซีด้านหน้าของรถที่ไม่กระทบกับระบบบังคับเลี้ยวโดยแนวตัดหรือต่อโครงคัสซีที่ใกล้สุดอยู่ห่างจากจุดรองรับน้ำหนักทางด้านหน้าของระบบรองรับน้ำหนักเพลาหน้าไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร การตัดหรือต่อปลายโครงคัสซีตาม ๑) และ ๓) ต้องมีการกระจายน้ำหนักเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการในคู่มือการตรวจสอบน้ำหนักรวมสูงสุดและน้ำหนักลงเพลา (เอกสารหมายเลข ๑) และโครงคัสซีที่นำมาต่อใหม่จะต้องมีขนาดเดียวกันกับโครงคัสซี ณ จุดที่จะทำการต่อนั้น (๓) การเสริมดามโครงคัสซีที่มีลักษณะเสริมความมั่นคงแข็งแรงของโครงคัสซีเดิม โดยจากกึ่งกลางหมายเลขโครงคัสซีไปทางด้านหน้าและด้านท้าย ด้านละ ๕๐ เซนติเมตร ต้องไม่มีการปิดทับหรือเสริมดามโครงคัสซีด้านที่มีหมายเลขคัสซีปรากฏอยู่ ข้อ ๘ การเปลี่ยนโครงคัสซี ต้องเป็นกรณีมีเหตุผลความจำเป็นอันเนื่องมาจากการชำรุดหรือความเสียหายของโครงคัสซีเดิมเท่านั้น และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้ (๑) เป็นรถที่จดทะเบียนหรือเคยจดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (๒) ใช้เครื่องกำเนิดพลังงาน และตัวถังของรถคันที่จดทะเบียนไว้เดิม (๓) โครงคัสซีที่จะเปลี่ยนใหม่ต้องเป็นชนิด (Maker) และแบบ (Type) หรือรุ่น (Model) เดียวกันกับรถคันที่จดทะเบียนไว้เดิม ทั้งนี้ โครงคัสซีที่นำมาเปลี่ยน หากมีความแตกต่างของแบบย่อยหรือรุ่นย่อยของแบบนั้น ๆ ให้สามารถกระทำได้ (๔) ช่วงล้อ จำนวนเพลาล้อ กงล้อและยาง ต้องไม่เปลี่ยนแปลงไปจากที่จดทะเบียนไว้เดิม (๕) โครงคัสซีที่นำมาเปลี่ยนต้องไม่มีการตัดหรือต่อ ยกเว้นเป็นการตัดหรือต่อปลายโครงคัสซีตามข้อ ๗ (๒) ๑) หรือข้อ ๗ (๒) ๓) การเปลี่ยนโครงคัสซีต้องจดทะเบียนและชำระภาษีรถใหม่ ข้อ ๙ การเปลี่ยนเครื่องกำเนิดพลังงาน เครื่องกำเนิดพลังงานที่นำมาเปลี่ยนต้องมีกำลังไม่น้อยกว่าที่จดทะเบียนไว้เดิม หรือไม่น้อยกว่า ๕ กิโลวัตต์ต่อตันของน้ำหนักรวมสูงสุด ในกรณีที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีกำลังไม่น้อยกว่าที่จดทะเบียนไว้เดิมแต่มีกำลังน้อยกว่า ๕ กิโลวัตต์ต่อตันของน้ำหนักรวมสูงสุดน้ำหนักรวมสูงสุดของรถต้องไม่เพิ่มไปจากที่จดทะเบียนไว้เดิม หมวด ๓ การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบ ของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ข้อ ๑๐ การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงคัสซีหรือโครงสร้างรถ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้ (๑) รถที่มีโครงคัสซี (chassis Frame) ต้องมีโครงคัสซีเดิมเป็นสาระสำคัญในการรับน้ำหนักรถ ดังนี้ ๑) โครงคัสซีเดิมจากผู้ผลิตซึ่งมีหมายเลขคัสซีปรากฏอยู่ที่เป็นชิ้นเดียวกัน ต้องมีความยาวเหลืออยู่เกินกว่าร้อยละ ๕๐ ของความยาวโครงคัสซีทั้งหมด กรณีโครงคัสซีเดิมจากผู้ผลิตซึ่งมีหมายเลขคัสซีปรากฏอยู่ที่เป็นชิ้นเดียวกันมีความยาวเหลืออยู่ไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของความยาวโครงคัสซีทั้งหมด การอนุญาตจะทำได้ต่อเมื่อมีเหตุผลความจำเป็นเนื่องจากสภาพโครงสร้างและการใช้งานของรถ และโครงคัสซีส่วนนั้นต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า ๑๓๐ เซนติเมตร ซึ่งเมื่อรวมกับความยาวของโครงคัสซีเดิมจากผู้ผลิตส่วนอื่น ๆ อีกไม่เกินสองส่วนแล้วต้องทำให้โครงคัสซีเดิมยาวเกินกว่าร้อยละ ๕๐ ของความยาวโครงคัสซีทั้งหมด และต้องมีหนังสือรับรองชิ้นส่วนของโครงคัสซีเดิมจากผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถด้วย ๒) การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงคัสซีที่ทำให้ความยาวสุดของรถผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมและรถมีความยาวเกินกว่า ๑๐ เมตร ต้องเป็นรถที่ผู้ผลิตกำหนดให้มีน้ำหนักรวมสูงสุด (GVW) ไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ กิโลกรัม หรือมีขนาดหน้าตัดของโครงคัสซีเดิมส่วนที่ใหญ่ที่สุดมีความสูงไม่น้อยกว่า ๒๐๐ มิลลิเมตร (๒) รถที่มีโครงสร้างเป็นโมโนค็อก (Monocoque) หรือเซมิโมโนค็อก (Semi - Monocoque) ซึ่งใช้โครงสร้างตัวถังเป็นสาระสำคัญในการรับน้ำหนักรถ ต้องมีโครงสร้างส่วนที่รองรับน้ำหนักบริเวณเพลาล้อหน้า เพลาล้อท้ายหรือคู่ท้าย และส่วนที่มีหมายเลขคัสซีเป็นโครงสร้างเดิม ดังนี้ ๑) โครงสร้างส่วนที่รองรับน้ำหนักบริเวณเพลาล้อหน้า เพลาล้อท้ายหรือคู่ท้าย ต้องมีความยาวโครงสร้างเดิมที่เป็นชิ้นเดียวกันยาวเกินกว่าร้อยละ ๕๐ ของบริเวณเพลาล้อหน้า เพลาล้อท้ายหรือคู่ท้ายของรถนั้น แล้วแต่กรณี ๒) โครงสร้างส่วนที่มีหมายเลขคัสซี การตัดต่อเปลี่ยนแปลงความยาวเดิม ต้องมีโครงสร้างส่วนที่มีหมายเลขคัสซีที่เป็นชิ้นเดียวกันเกินกว่าร้อยละ ๕๐ ของส่วนนั้น และต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า ๑๓๐ เซนติเมตร ๓) การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรถที่ทำให้ความยาวสุดของรถผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมและทำให้รถมีความยาวเกินกว่า ๑๐ เมตร ต้องเป็นรถที่ผู้ผลิตกำหนดให้มีน้ำหนักรวมสูงสุด (GVW) ไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ กิโลกรัม หรือมีขนาดหน้าตัดของโครงสร้างของรถเดิมส่วนที่ใหญ่ที่สุดมีความสูงไม่น้อยกว่า ๒๐๐ มิลลิเมตร ๔) ต้องมีหนังสือรับรองชิ้นส่วนของโครงสร้างเดิมจากผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถ กรณีการดำเนินการตาม (๑) และ (๒) หากมีการเสริมดามโครงคัสซีหรือโครงสร้างของรถต้องเป็นไปในลักษณะเสริมความมั่นคงแข็งแรงของโครงคัสซีหรือโครงสร้างของรถ และจากกึ่งกลางหมายเลขคัสซีไปทางด้านหน้าและด้านท้ายด้านละ ๕๐ เซนติเมตร ต้องไม่มีการปิดทับหรือเสริมดามด้านที่มีหมายเลขคัสซีปรากฏอยู่ รถตาม (๒) หากมีการเปลี่ยนตัวถังหรือเปลี่ยนโครงสร้างของรถต้องจดทะเบียนและชำระภาษีรถใหม่ ข้อ ๑๑ การเปลี่ยนโครงคัสซี ต้องเป็นกรณีมีเหตุผลความจำเป็นอันเนื่องมาจากการชำรุดหรือความเสียหายของโครงคัสซีเดิมเท่านั้น และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้ (๑) เป็นรถที่จดทะเบียนหรือเคยจดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (๒) ใช้เครื่องกำเนิดพลังงาน และตัวถังของรถคันที่จดทะเบียนไว้เดิม (๓) โครงคัสซีที่จะเปลี่ยนใหม่ต้องเป็นชนิด (Maker) และแบบ (Type) หรือรุ่น (Model) เดียวกันกับรถคันที่จดทะเบียนไว้เดิม ทั้งนี้ โครงคัสซีที่นำมาเปลี่ยน หากมีความแตกต่างของแบบย่อยหรือรุ่นย่อยของแบบนั้น ๆ ให้สามารถกระทำได้ (๔) ช่วงล้อ จำนวนเพลาล้อ กงล้อและยาง ต้องไม่เปลี่ยนแปลงไปจากที่จดทะเบียนไว้เดิมการเปลี่ยนโครงคัสซีต้องจดทะเบียนและชำระภาษีรถใหม่ ข้อ ๑๒ การเปลี่ยนเครื่องกำเนิดพลังงาน เครื่องกำเนิดพลังงานที่นำมาเปลี่ยนต้องมีกำลังไม่น้อยกว่าที่จดทะเบียนไว้เดิม หรือไม่น้อยกว่า ๕ กิโลวัตต์ต่อตันของน้ำหนักรวมสูงสุด ในกรณีที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีกำลังไม่น้อยกว่าที่จดทะเบียนไว้เดิมแต่มีกำลังน้อยกว่า ๕ กิโลวัตต์ต่อตันของน้ำหนักรวมสูงสุดน้ำหนักรวมสูงสุดของรถต้องไม่เพิ่มไปจากที่จดทะเบียนไว้เดิม ข้อ ๑๓ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่เคยได้รับอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงคัสซีหรือโครงสร้างของรถไว้แล้ว หากมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงครั้งต่อไป ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขนี้ (๑) กรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงคัสซีหรือโครงสร้างของรถเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๑๐ ให้พิจารณาอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงเป็นรถโดยสารได้ทุกมาตรฐาน (๒) กรณีมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงคัสซีหรือโครงสร้างของรถเดิมก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๑๐ ห้ามมิให้พิจารณาอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงเป็นรถโดยสารมาตรฐาน ๔ ทั้งนี้ เว้นแต่รถนั้นจดทะเบียนเป็นรถมาตรฐาน ๔ ไว้แล้ว ข้อ ๑๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ธีระพงษ์ รอดประเสริฐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. คู่มือการตรวจสอบน้ำหนักรวมสูงสุดและน้ำหนักลงเพลา (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๒๖ ง/หน้า ๕/๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘
726672
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตให้เดินรถหมุนเวียน
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตให้เดินรถหมุนเวียน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตให้เดินรถหมุนเวียนสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนกลาง หรือนายทะเบียนประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตนำรถที่ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งในเส้นทางหนึ่งไปใช้ทำการขนส่งอีกเส้นทางหนึ่งที่ตนเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตในลักษณะหมุนเวียนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (๑) เส้นทางที่ขออนุญาตเดินรถหมุนเวียนต้องมีเหตุผลความจำเป็นและสามารถจัดการเดินรถหมุนเวียนได้อย่างสะดวก มีประสิทธิภาพ และไม่เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการในเส้นทางใดเส้นทางหนึ่ง (๒) เมื่อนำรถไปใช้เดินรถหมุนเวียนในอีกเส้นทางหนึ่งแล้ว ต้องมีรถเหลือในเส้นทางเดิมไม่ต่ำกว่าจำนวนรถขั้นต่ำและต้องไม่กระทบต่อจำนวนเที่ยวของการเดินรถ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเส้นทางนั้น ๆ (๓) รถที่นำไปเดินหมุนเวียนต้องมีลักษณะและมาตรฐานเดียวกันกับรถที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขใบอนุญาตประกอบการขนส่งเส้นทางที่นำไปใช้เดินรถหมุนเวียน (๔) รถในเส้นทางที่จะขออนุญาตนำไปใช้เดินรถหมุนเวียนในอีกเส้นทางหนึ่งต้องจดทะเบียนและชำระภาษีครบถ้วนถูกต้อง ข้อ ๓ การยื่นคำขอดำเนินการให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่จะนำรถไปใช้เดินรถหมุนเวียนยื่นคำขอตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้ และได้รับอนุญาตก่อนที่จะนำรถไปใช้ทำการขนส่ง (๑) หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (๒) สำเนาทะเบียนรถที่ประสงค์จะเดินรถหมุนเวียน ในกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งมิได้มาดำเนินการด้วยตนเอง ต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน พร้อมแนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจเป็นหลักฐานประกอบด้วย ข้อ ๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่จะนำรถไปใช้เดินรถหมุนเวียน ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ที่จะนำรถไปใช้เดินหมุนเวียน ดังนี้ (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งในเส้นทางหมวด ๑ และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งในเส้นทางหมวด ๒ และหมวด ๓ ให้ยื่น ณ สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก (๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งในเส้นทางหมวด ๑ และหมวด ๔ ส่วนภูมิภาคให้ยื่น ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น ๆ ข้อ ๕ เมื่อได้รับคำขอแล้วให้นายทะเบียนตรวจสอบเอกสารหลักฐาน หากครบถ้วนถูกต้องและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ ให้มีคำสั่งอนุญาตเป็นหนังสือ โดยกำหนดระยะเวลาอนุญาตได้ครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน และให้นายทะเบียนแจ้งการอนุญาตไปยังนายทะเบียนจังหวัดต้นทางและปลายทางทั้งเส้นทางเดิมและเส้นทางที่นำรถไปใช้เดินรถหมุนเวียนทราบด้วย หนังสืออนุญาตตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามตัวอย่างท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ได้รับอนุญาตให้เดินรถหมุนเวียนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้ (๑) แสดงหนังสืออนุญาตหรือสำเนาหนังสืออนุญาตไว้ที่ด้านหน้ารถตลอดเวลาที่นำรถไปใช้เดินรถหมุนเวียนเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ (๒) ติดป้ายแสดงชื่อเส้นทางและหมายเลขเส้นทางให้ถูกต้องตามเส้นทางที่เดินรถจริงบริเวณมุมซ้ายด้านล่างของกระจกกันลมหน้า โดยมีขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน (๓) จัดการเดินรถให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตประกอบการขนส่งของแต่ละเส้นทางที่เดินรถหมุนเวียน ข้อ ๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามประกาศนี้ ให้นายทะเบียนเพิกถอนการอนุญาตนั้น ข้อ ๘[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ พงษ์ไชย เกษมทวีศักดิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขออนุญาตให้นำรถโดยสารประจำทางที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งในเส้นทางหนึ่งไปทำการขนส่งอีกเส้นทางหนึ่งในลักษณะหมุนเวียน ๒. หนังสืออนุญาต (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๓๗/๒๔ เมษายน ๒๕๕๘
726628
ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียนกลาง ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ได้มีประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๗ ไว้แล้ว นั้น โดยที่ได้มีประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งมีผลทำให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทะเบียนกลางจึงมอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางให้ข้าราชการกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทน พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๔ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายบริหาร) กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต (๓) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การบรรจุรถ (ฉ) การเปลี่ยนรถ (ช) การถอนรถ (ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสาร ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (๗) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๘) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๙) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๐) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร นำรถที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประกอบการขนส่งในเส้นทางหนึ่งไปใช้ทำการขนส่งอีกเส้นทางหนึ่งที่ตนเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตในลักษณะหมุนเวียนตามความในมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๑) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือมิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดอื่น เปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๓) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๔) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก (๑๕) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง ผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามความในมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๖) การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ข้อ ๕ ให้ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งผู้โดยสาร เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๔) (๑๕) และ (๑๖) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าส่วนการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสารเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) ข้อ ๔ (๓) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ), ข้อ ๔ (๗) (๑๑) (๑๒) (๑๖) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ดังนี้ (๑) การรับหลักทรัพย์เป็นเงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาวางเพิ่มเติม (๓) การถอนหลักทรัพย์ กรณีนายทะเบียนสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่ง หรือขอถอนหลักทรัพย์บางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง หรือการถอนหลักทรัพย์เดิมเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเปลี่ยนการวางหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว หรือถอนหลักทรัพย์ไปชำระตามคำบังคับคดีของศาลเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน (๔) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ ข้อ ๗ ให้หัวหน้างานการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง ๑, ๒, ๓ และ ๔ ส่วนการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสาร เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (ฉ) (ช) (ซ), ข้อ ๔ (๗) (๑๖) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ดังนี้ (๑) การรับหลักทรัพย์เป็นเงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก (๒) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ ข้อ ๘ ให้นักวิชาการขนส่งในส่วนการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสารเป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าส่วนการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสารเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๒) (๔), ข้อ ๔ (๕) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) ข้อ ๔ (๘) (๑๒) (๑๖) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ดังนี้ (๑) การรับหลักทรัพย์เป็นเงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติม (๓) การถอนหลักทรัพย์ กรณีนายทะเบียนสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่ง หรือขอถอนหลักทรัพย์บางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง หรือการถอนหลักทรัพย์เดิมเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเปลี่ยนการวางหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว หรือถอนหลักทรัพย์ไปชำระตามคำบังคับคดีของศาลเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน (๔) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ ข้อ ๑๐ ให้หัวหน้างานการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสาร ส่วนการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสาร เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๒) ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ), ข้อ ๔ (๕) (จ) (ฉ) (ช), ข้อ ๔ (๘) (๑๖) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ดังนี้ (๑) การรับหลักทรัพย์เป็นเงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก (๒) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ ข้อ ๑๑ ให้นักวิชาการขนส่งในส่วนการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสารเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๕) (จ) (ฉ) และ (ช) ข้อ ๑๒ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ) กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต (๒) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การบรรจุรถ (ฉ) การเปลี่ยนรถ (ช) การถอนรถ (ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (๕) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือมิได้มี จุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๗) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๘) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก (๙) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง ผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามความในมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๐) การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ (๑๑) การดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๓ ให้ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งสินค้า เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๒ (๑) (๒) (๓) (๔) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) ข้อ ๑๔ ให้หัวหน้าส่วนประกอบการขนส่งสินค้า สำนักการขนส่งสินค้า เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๒ (๑) (๒) (๓) (๑๐) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ดังนี้ (๑) การรับหลักทรัพย์เป็นเงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติม (๓) การถอนหลักทรัพย์ กรณีนายทะเบียนสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่ง หรือขอถอนหลักทรัพย์บางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง หรือการถอนหลักทรัพย์เดิมเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเปลี่ยนการวางหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว หรือถอนหลักทรัพย์ไปชำระตามคำบังคับคดีของศาลเพื่อการชำระหนี้ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน (๔) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ ข้อ ๑๕ ให้นักวิชาการขนส่งในส่วนประกอบการขนส่งสินค้า สำนักการขนส่งสินค้าเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๒ (๓) (จ) (ฉ) และ (ช) ข้อ ๑๖ ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๒ (๙) และ (๑๑) ข้อ ๑๗ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานครในเส้นทางหมวด ๔ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๓) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การบรรจุรถ (ฉ) การเปลี่ยนรถ (ช) การถอนรถ (ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต (๔) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๕) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๖) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร ในเส้นทางหมวด ๔ ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๗) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือมิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๘) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๙) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๐) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล และการรับวางหลักทรัพย์เป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย (๑๑) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ (๑๒) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามความในมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๓) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวงตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๔) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามความในมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๕) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุง หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามความในมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๖) การดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การเพิกถอนใบอนุญาต (๑๗) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๘ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๓) (๑๔) (๑๕) (๑๖) (๑๗) ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ หรือพื้นที่อื่นตามที่นายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๑๙ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๑๑) ข้อ ๒๐ ให้นักวิชาการขนส่งในกลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ ๒, ๓, ๔ และ ๕ เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑) (๒), ข้อ ๑๗ (๓) (ค) (จ) (ฉ) (ช), ข้อ ๑๗ (๔) และ (๕) ข้อ ๒๑ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานในกลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๓) (ค) (จ) (ฉ) และ (ช) ข้อ ๒๒ ให้หัวหน้าส่วนทะเบียนรถขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ และหัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑๐) (๑๓) (๑๔) และ (๑๕) ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบหรือพื้นที่อื่นตามที่นายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๒๓ ให้หัวหน้างานทะเบียนรถโดยสารและหัวหน้างานทะเบียนรถบรรทุก ส่วนทะเบียนรถขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ และหัวหน้างานรถขนส่ง ฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑๐) (๑๓) และ (๑๕) ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ หรือพื้นที่อื่นตามที่นายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๒๔ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานในส่วนทะเบียนรถขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑๐) (๑๓) และ (๑๕) ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ หรือพื้นที่อื่นตามที่นายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๒๕ ให้หัวหน้าส่วนใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ และหัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑๗) ข้อ ๒๖ ให้หัวหน้างานใบอนุญาตผู้ประจำรถและใบอนุญาตขับรถอื่น ส่วนใบอนุญาตขับรถสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑๗) ข้อ ๒๗ ให้หัวหน้าส่วนตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ และหัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑๓) (๑๔) และ (๑๕) ข้อ ๒๘ ให้หัวหน้างานตรวจสภาพรถขนส่ง ส่วนตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑๓) และ (๑๕) ข้อ ๒๙ ให้ผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่งทางบก เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑๒) (๑๔) และข้อ ๑๗ (๑๗) (ง) (จ) ข้อ ๓๐ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจการและหัวหน้าฝ่ายสืบสวน กองตรวจการขนส่งทางบกเป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑๒) (๑๔) และข้อ ๑๗ (๑๗) (ง) (จ) ข้อ ๓๑ ให้หัวหน้าฝ่ายเปรียบเทียบ กองตรวจการขนส่งทางบก เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑๒) (๑๔) และข้อ ๑๗ (๑๗) (ง) (จ) ข้อ ๓๒ ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารการคลังและรายได้ เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไทย ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายที่เกิดจากการขนส่งตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามความในมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ข้อ ๓๓ ให้ขนส่งจังหวัด เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัด ซึ่งมิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต (๓) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การบรรจุรถ (ฉ) การเปลี่ยนรถ (ช) การถอนรถ (ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต (๔) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การบรรจุรถ (ฉ) การเปลี่ยนรถ (ช) การถอนรถ (ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและมีปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๗) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๘) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๙) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๐) การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ (๑๑) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น (๑๒) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง ผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามความในมาตรา ๔๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๓) การดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การเพิกถอนใบอนุญาต (๑๔) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๔ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัด เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓๓ (๑), ข้อ ๓๓ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ), ข้อ ๓๓ (๓) ข้อ ๓๓ (๔) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ), ข้อ ๓๓ (๕) (จ) (ฉ) (ช), ข้อ ๓๓ (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) และข้อ ๓๓ (๑๔) (ง) (จ) ข้อ ๓๕ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัด เป็นผู้กระทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓๓ (๑๔) ข้อ ๓๖ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา เป็นผู้กระทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓๓ (๓), ข้อ ๓๓ (๕) (จ) (ฉ) (ช), ข้อ ๓๓ (๑๐) (๑๒) (๑๔) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดสาขานั้น ข้อ ๓๗ ในกรณีนายทะเบียนกลางได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ธีระพงษ์ รอดประเสริฐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายทะเบียนกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๙๒ ง/หน้า ๑๕/๒๓ เมษายน ๒๕๕๘
724489
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง อัตราค่าบริการตรวจสภาพรถสำหรับสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2558
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง อัตราค่าบริการตรวจสภาพรถสำหรับสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถจัดเก็บค่าบริการตรวจสภาพรถจากผู้ใช้บริการได้ในอัตรา ดังต่อไปนี้ (๑) รถที่มีขนาดน้ำหนักรถเปล่าเกิน ๒,๐๐๐ กิโลกรัม อัตราค่าบริการคันละไม่เกิน ๓๐๐ บาท (๒) รถที่มีขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน ๒,๐๐๐ กิโลกรัม อัตราค่าบริการคันละไม่เกิน ๒๐๐ บาท (๓) รถจักรยานยนต์ อัตราค่าบริการคันละไม่เกิน ๖๐ บาท อัตราค่าบริการตามวรรคหนึ่งเป็นอัตราสุทธิ ซึ่งรวมภาษีอากรที่ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถจะต้องเสียหรือนำส่งให้แก่ทางราชการแล้ว ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ธีระพงษ์ รอดประเสริฐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๘ นุสรา/ผู้ตรวจ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๒๒ ง/หน้า ๑๗/๑๒ มีนาคม ๒๕๕๘
720700
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบและการจัดวางที่นั่งผู้โดยสารของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทางมาตรฐาน 2 (จ) (รถตู้ชนิดพิเศษ) พ.ศ. 2557
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบและการจัดวางที่นั่งผู้โดยสารของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทาง มาตรฐาน ๒ (จ) (รถตู้ชนิดพิเศษ) พ.ศ. ๒๕๕๗[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบและการจัดวางที่นั่งผู้โดยสารของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ไว้แล้ว นั้น โดยที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้มีมติอนุมัติให้มีรถตู้โดยสาร มาตรฐาน ๒ (จ) (รถตู้ชนิดพิเศษ) ขึ้นเป็นมาตรฐานย่อยของมาตรฐาน ๒ (จ) ทั่วไป เพื่อนำมาใช้ทำการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง ซึ่งรถตู้ชนิดพิเศษดังกล่าวจะมีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งมีแบบและการจัดวางที่นั่งผู้โดยสารที่มีความสะดวกสบายกว่ารถตู้โดยสารทั่วไป ดังนั้น เพื่อให้มีแบบที่นั่งและการจัดวางที่นั่งเฉพาะเป็นพิเศษสำหรับรถดังกล่าว ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบายยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๒) (ฎ) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง มาตรฐาน ๒ (จ) (รถตู้ชนิดพิเศษ) ให้มีแบบและการจัดวางที่นั่งผู้โดยสาร ดังนี้ (๑) แบบที่นั่ง จะเป็นที่นั่งเดี่ยว ที่นั่งคู่ หรือที่นั่ง ๓ ที่นั่งก็ได้ โดยเบาะนั่งต้องมีความยาวในแต่ละที่นั่งไม่น้อยกว่า ๔๕ เซนติเมตร และมีลักษณะ ดังนี้ (ก) ที่นั่งและพนักพิงหลังต้องมีเบาะหนาพอสมควร พนักพิงหลังต้องมีความสูงจากเบาะนั่งไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร และต้องมีเบาะรองรับศีรษะ กรณีพนักพิงหลังมีความสูงจากเบาะนั่งไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร จะมีเบาะรองรับศีรษะหรือไม่ก็ได้ (ข) พนักพิงหลังต้องแยกเป็นอิสระในแต่ละที่นั่ง ในสภาพปกติพนักพิงหลังต้องเอนไปข้างหลังในระดับ ๙๕ ถึง ๑๐๐ องศา และสามารถปรับเอนไปข้างหลังได้ไม่น้อยกว่า ๑๒๕ องศาจากแนวราบ (ค) มีที่วางแขนหรือไม่ก็ได้ โดยหากที่นั่งที่อยู่ชิดทางเดินมีที่วางแขน จะต้องมีช่องทางเดินที่มีความกว้างพอสมควรให้สามารถเดินเข้าออกได้โดยสะดวก (ง) มีเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง รวมที่นั่งผู้ขับรถ (๒) การจัดวางที่นั่ง ให้จัดวางตามความกว้างของรถ และให้จัดวางที่นั่งหันไปทางเดียวกันโดยที่นั่งที่อยู่ตอนเดียวกับที่นั่งผู้ขับรถให้มีที่นั่งได้ ๑ ที่นั่ง ซึ่งต้องมีระยะห่างเมื่อวัดจากด้านหน้ารถ (คอนโซล) บริเวณด้านหน้าที่นั่งผู้โดยสารส่วนที่ยื่นมากที่สุดถึงด้านหน้าพนักพิงหลังไม่น้อยกว่า ๖๗ เซนติเมตร สำหรับที่นั่งตอนหลังของที่นั่งผู้ขับรถ ให้จัดวางที่นั่งได้ ๓ แถว แถวละไม่เกิน ๓ ที่นั่ง และเว้นให้มีช่องทางเดินตามความยาวของตัวรถ มีความกว้างพอสมควรให้สามารถเดินเข้าออกได้โดยสะดวกในกรณีมีการจัดวางที่นั่งในแถวแรกติดประตูทางขึ้นลง ที่นั่งนั้นต้องเป็นแบบพับได้ เพื่อให้สามารถเดินเข้าออกได้โดยสะดวก ระยะห่างระหว่างที่นั่งเมื่อวัดจากด้านหลังพนักพิงหลังของที่นั่งด้านหน้าหรือสิ่งกีดขวางถึงด้านหน้าพนักพิงหลังของที่นั่งถัดไป ซึ่งวัดในระดับเหนือเบาะนั่งไม่เกิน ๕ เซนติเมตร ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๗๕ เซนติเมตร ตัวอย่างการจัดวางที่นั่งผู้โดยสารให้เป็นไปตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ธีระพงษ์ รอดประเสริฐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบตัวอย่างการจัดวางที่นั่งผู้โดยสารของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทางมาตรฐาน ๒ (จ) (รถตู้ชนิดพิเศษ) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๘ นุสรา/ผู้ตรวจ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๖ ง/หน้า ๔/๑๒ มกราคม ๒๕๕๘
746270
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. 2555 (ฉบับ Update ณ วันที่ 02/07/2557)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในวรรคสามของข้อ ๑๓ (๒) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีความสูงตั้งแต่ ๓.๖๐ เมตร ขึ้นไป ต้องมีเกณฑ์การทรงตัวไม่ต่ำกว่า ๓๐ องศา ข้อ ๒ การทดสอบการทรงตัวให้กระทำบนเครื่องทดสอบการทรงตัวที่มีคุณสมบัติและคุณลักษณะดังนี้ (๑) สามารถวัดค่ามุมเอียงในการทดสอบได้ไม่น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๑ โดยมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน ๐.๑ องศา (๒) มีอัตราความเร็วในการยกเอียงขั้นต่ำ (Minimum Tilt Rate) ได้น้อยกว่า ๐.๐๕ องศาต่อวินาที (๓) พื้นทดสอบ (Platform) ต้องมีระดับสม่ำเสมอและไม่บิดตัว และต้องมีสันขอบ (Trip Rail) หรืออุปกรณ์ป้องกันการลื่นไถลด้านข้างของล้อรถ ที่มีความสูงไม่เกินสองในสามของความสูงแก้มยางของรถที่ทำการทดสอบ (๔) มีอุปกรณ์ป้องกันการพลิกคว่ำที่เหมาะสม เช่น โซ่หรือลวดสลิงคล้องเพลาหรือรถ หรือแผงรับด้านข้าง ข้อ ๓ การทดสอบการทรงตัวของรถให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังนี้ (๑) การเตรียมรถก่อนเข้ารับการทดสอบ (ก) รถต้องอยู่ในสถานะรถเปล่าไม่มีน้ำหนักบรรทุก และเครื่องยนต์ต้องไม่ทำงานขณะทำการทดสอบ (ข) เชื้อเพลิงต้องมีไม่เกินร้อยละ ๙๐ ของความจุถังเชื้อเพลิง และมีการป้องกันการรั่วไหลของเชื้อเพลิง (ค) ระบบรองรับน้ำหนักของรถต้องอยู่ในสภาพการใช้งานปกติ (๒) วิธีการทดสอบ (ก) ชั่งน้ำหนักรถเพื่อหาน้ำหนักรถในแต่ละด้าน (ข) จอดรถบนพื้นทดสอบ โดยให้ด้านข้างของรถที่มีน้ำหนักมากกว่าอยู่ตรงกันข้ามกับพื้นทดสอบด้านที่จะถูกยกขึ้น (ค) ติดหรือยึดอุปกรณ์เพื่อป้องกันการพลิกคว่ำของรถ (ง) ยกพื้นทดสอบขึ้น ข้อ ๔ รถที่ผ่านการทดสอบต้องสามารถทรงตัวในขณะที่พื้นทดสอบเอียงทำมุมกับแนวระนาบได้ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๑ และต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ (๑) ยางของล้อรถด้านที่ถูกยกขึ้นต้องสัมผัสกับพื้นทดสอบอย่างน้อยหนึ่งเส้น (๒) ไม่มีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบใดของรถสัมผัสกับพื้นทดสอบเว้นแต่ยางตาม (๑) (๓) ไม่มีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบใดของรถสัมผัสกัน เว้นแต่ได้มีการออกแบบมาให้สัมผัสกันตามสภาพการใช้งานปกติ (๔) ไม่มีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบใดของรถเกิดการชำรุดเสียหายหรือเคลื่อนเปลี่ยนตำแหน่งไปจากสภาพการใช้งานปกติ ข้อ ๕[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีความสูงตั้งแต่ ๓.๖๐ เมตรขึ้นไปตามเงื่อนเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) รถที่จดทะเบียนใหม่ และรถที่จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่เฉพาะที่มีการเปลี่ยนตัวถัง ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ (๒) รถที่จดทะเบียนก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ เว้นแต่รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๔ (รถสองชั้น) ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๙ (๓) รถที่จดทะเบียนก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ทุกมาตรฐานที่ได้มีการเปลี่ยนตัวถังตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ให้มีผลใช้บังคับตาม (๑) ข้อ ๖ ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถตามข้อ ๕ ต้องยื่นขอนำรถเข้ารับการทดสอบการทรงตัวกับกรมการขนส่งทางบกหรือหน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด สำหรับรถที่ทำการทดสอบและผ่านเกณฑ์การทรงตัวตามข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจของยุโรปแห่งสหประชาชาติ ข้อกำหนดที่ ๑๐๗ ว่าด้วยการสร้างรถ M2 หรือ M3 อนุกรมที่ ๓ ขึ้นไป (United Nations Economic Commission for Europe, Regulation No. 107: Uniform provisions concerning the approval of category M2 or M3 vehicles with regard to their general construction, Series 03) ให้ถือว่ารถนั้นมีการทรงตัวตามเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ ๑ โดยได้รับยกเว้นการทดสอบตามวรรคหนึ่ง แต่ต้องยื่นผลการทดสอบการทรงตัวตามข้อกำหนดดังกล่าวต่อกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๗[๓] ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่นำรถเข้ารับการทดสอบเกณฑ์การทรงตัวตามข้อ ๖ วรรคหนึ่ง หากการทดสอบไม่ผ่านให้นำรถเข้ารับทดสอบซ้ำได้เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน นับแต่วันที่ทดสอบไม่ผ่าน ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗[๔] ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ นุสรา/ผู้ตรวจ ๗ มกราคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๒๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕ [๒] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๓] ข้อ ๗ เพิ่มโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๑๘/๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗
719018
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะ ขนาด สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและการแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะ ขนาด สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ และการแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗[๑] ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดลักษณะ ขนาด สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ และการแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ไว้แล้ว นั้น โดยที่ปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกได้ดำเนินการจัดระเบียบรถโดยสารไม่ประจำ ทางโดยกำหนดให้มีรถโดยสารไม่ประจำทางมาตรฐาน ๒ (จ) (รถตู้ชนิดพิเศษ) ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากรถโดยสารไม่ประจำทางโดยทั่วไป ดังนั้น เพื่อให้การจัดระเบียบรถโดยสารไม่ประจำทางดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะ ขนาด สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๐ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นวรรคสามใน (๑) ของข้อ ๒ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะ ขนาด สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและการแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี พ.ศ. ๒๕๕๔ “ในกรณีที่เป็นแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถที่ใช้ในการขนส่งไม่ประจำทางมาตรฐาน ๒ (จ) (รถตู้ชนิดพิเศษ) ให้มีลักษณะ ขนาด เช่นเดียวกับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถที่ใช้ในการขนส่งประจำทาง เว้นแต่พื้นเป็นวัสดุสะท้อนแสงสีขาว ตัวอักษร THAILAND รหัสจังหวัด ตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถขีดระหว่างตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถกับหมายเลขทะเบียนรถ หมายเลขทะเบียน เครื่องหมายเป็นตัวอักษร ขส อยู่ภายในวงกลมตัวอักษรชื่อจังหวัด และขอบแผ่นป้าย อัดเป็นรอยดุนนูนสีฟ้า” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๒ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะ ขนาด สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและการแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) เลขรหัสแสดงประเภทรถ หมายเลขทะเบียนรถ และเลขรหัสจังหวัดใช้เลขอารบิคโดยหมายเลขทะเบียนรถใช้เลข ๔ หลัก ตั้งแต่ลำดับหมายเลข ๐๐๐๑ ถึงหมายเลข ๙๙๙๙ แล้วเริ่มต้นโดยใช้เลขรหัสแสดงประเภทรถเดิมลำดับถัดไป เลขรหัสแสดงประเภทรถแบ่งตามประเภทการขนส่ง ดังนี้ (ก) รถโดยสารประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๑๐ ถึง ๑๙ (ข) รถขนาดเล็ก ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๒๐ ถึง ๒๙ (ค) รถโดยสารไม่ประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๓๐ ถึง ๓๕ (ง) รถโดยสารไม่ประจำทาง มาตรฐาน ๒ (จ) (รถตู้ชนิดพิเศษ) ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๓๖ ถึง ๓๙ (จ) รถโดยสารส่วนบุคคล ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๔๐ ถึง ๔๙ (ฉ) รถบรรทุกไม่ประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๖๐ ถึง ๖๙ และ ๗๐ ถึง ๗๙ (ช) รถบรรทุกส่วนบุคคล ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๕๐ ถึง ๕๙ และ ๘๐ ถึง ๙๙” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ธีระพงษ์ รอดประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) รักษาราชการแทน อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๗ ภีราพร/ผู้ตรวจ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๕๓ ง/หน้า ๑๐/๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๗
717661
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การให้ความเห็นชอบแบบตัวถังส่วนที่เป็นกระจกกันลมหน้า กระจกกันลมหลังและส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจก สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2557
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การให้ความเห็นชอบแบบตัวถังส่วนที่เป็นกระจกกันลมหน้า กระจกกันลมหลัง และส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจก สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๕๗[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ให้ความเห็นชอบกระจกนิรภัยที่ใช้เป็นกระจกกันลมและส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจก สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ ไว้แล้ว นั้น โดยที่กฎหมายกำหนดให้แบบตัวถังส่วนที่เป็นกระจกกันลมหน้า กระจกกันลมหลังและส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจกต้องเป็นกระจกนิรภัยตามที่อธิบดีประกาศกำหนด อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๒) ข้อ ๑๐ (๒) ข้อ ๑๕ (๒) และข้อ ๑๘ (๒) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ให้ความเห็นชอบกระจกนิรภัยที่ใช้เป็นกระจกกันลม และส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจก สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๒ กระจกกันลมและส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจกต้องเป็นกระจกนิรภัยอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) กระจกนิรภัยที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (๒) กระจกนิรภัยตามข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติข้อกำหนดที่ ๔๓ ว่าด้วยเรื่องกระจกนิรภัย อนุกรมที่ ๐๐ (United Nation/Economic Commission for Europe, Regulation No. ๔๓ : Safety Glazing Material, series ๐๐) ขึ้นไป ข้อ ๓ กระจกนิรภัยตามข้อ ๒ ที่ใช้เป็นกระจกกันลมหน้าต้องเป็นกระจกนิรภัยประเภทหลายชั้น (Laminated Safety Glass) ข้อ ๔ รถสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ และมีกระจกกันลมหรือส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจกไม่เป็นไปตามข้อ ๒ หรือข้อ ๓ ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๕ กระจกนิรภัยที่ติดตั้งกับรถและได้รับความเห็นชอบไว้แล้วตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ให้ความเห็นชอบกระจกนิรภัยสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ลงวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๓๐ ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ให้ความเห็นชอบกระจกนิรภัยที่ใช้เป็นกระจกกันลมและส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจก ลงวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๔ และประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ให้ความเห็นชอบกระจกนิรภัยที่ใช้เป็นกระจกกันลม และส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจกสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ ให้ใช้เป็นกระจกนิรภัยได้ต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ธีระพงษ์ รอดประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) รักษาราชการแทน อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ กฤษดายุทธ/ผู้ตรวจ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๓๖ ง/หน้า ๑๒/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
717657
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดกระจกกันลมหน้า กระจกกันลมหลัง และส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจกของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีเครื่องปรับอากาศ พ.ศ. 2557
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดกระจกกันลมหน้า กระจกกันลมหลัง และส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจก ของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีเครื่องปรับอากาศ พ.ศ. ๒๕๕๗ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดส่วนประกอบของตัวถังรถที่เป็นกระจกของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีเครื่องปรับอากาศ พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๑ ไว้แล้ว นั้น โดยที่กฎหมายกำหนดให้กระจกกันลมหน้า กระจกกันลมหลัง และส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจกของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารต้องเป็นกระจกนิรภัยตามที่อธิบดีประกาศกำหนด และจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในปัจจุบันพบว่า ประชาชนหรือผู้ใช้บริการไม่ทราบตำแหน่งของกระจกทุบแตกและวิธีการทุบกระจกเพื่อให้สามารถออกจากรถได้อย่างปลอดภัย ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ สมควรกำหนดสัญลักษณ์แสดงวิธีการทุบกระจก เพื่อใช้แสดงบริเวณกระจกที่สามารถทุบแตกได้ อาศัยอำนาจตามความใน (ก) และ (จ) ของข้อ ๑ (๒) และ (ก) และ (ค) ของข้อ ๑๐ (๒) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจกของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีเครื่องปรับอากาศ พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๑ มาตรฐาน ๒ มาตรฐาน ๔ (ก) (ข) (ค) และ (ง) มาตรฐาน ๕ (ก) และมาตรฐาน ๖ (ก) ข้อ ๓ กระจกกันลมหน้า กระจกกันลมหลัง และส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจกของรถต้องเป็นกระจกนิรภัยตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การให้ความเห็นชอบแบบตัวถังส่วนที่เป็นกระจกกันลมหน้า กระจกกันลมหลัง และส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจก สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ข้อ ๔ ส่วนประกอบของตัวถังด้านข้างที่เป็นกระจกและกระจกกันลมหลังของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารต้องเป็นกระจกนิรภัยตามประเภทและมีจำนวนตามที่กำหนด ดังนี้ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๑ มาตรฐาน ๒ (ก) (ข) (ค) และ (ง) และมาตรฐาน ๕ (ก) ส่วนประกอบตัวถังด้านข้างที่เป็นกระจกต้องเป็นกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์จำนวนอย่างน้อย ๒ บาน (๒) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๔ (ก) (ข) (ค) และ (ง) ส่วนประกอบตัวถังด้านข้างชั้นบนและชั้นล่างที่เป็นกระจกต้องเป็นกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์จำนวนอย่างน้อยชั้นละ ๒ บาน (๓) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๖ (ก) ส่วนประกอบตัวถังด้านข้างของรถตอนหน้าและตอนท้ายที่เป็นกระจกต้องเป็นกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์จำนวนอย่างน้อยตอนละ ๒ บาน (๔) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๒ (จ) ส่วนประกอบของตัวถังด้านข้างที่เป็นกระจกและกระจกกันลมหลังต้องเป็นกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์ ข้อ ๕ ขนาดและตำแหน่งของกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์ของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารตามข้อ ๔ (๑) (๒) และ (๓) ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร ความสูงไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร และอยู่สูงจากพื้นรถที่ใช้ติดตั้งที่นั่งผู้โดยสารไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร ติดตั้งอยู่บริเวณด้านขวาของตัวรถค่อนไปทางด้านหน้ารถอย่างน้อย ๑ บาน และอยู่ด้านซ้ายของตัวรถในตำแหน่งที่เหมาะสมอย่างน้อย ๑ บาน ข้อ ๖ รถตามข้อ ๔ ต้องมีค้อนทุบกระจก ข้อความและสัญลักษณ์ รวมทั้งวิธีการติดตั้ง ดังนี้ (๑) ให้มีค้อนทุบกระจกอย่างน้อย ๒ อัน ติดตั้งอย่างปลอดภัยที่ด้านซ้ายและด้านขวาของตัวรถใกล้บานกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์ โดยต้องอยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและนำมาใช้งานได้โดยสะดวก (๒) ให้มีข้อความ “ทางออกฉุกเฉิน” เป็นตัวอักษรสีแดงสะท้อนแสง และมีขนาดที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน และมีสัญลักษณ์แสดงวิธีการทุบกระจก โดยติดไว้บริเวณกลางกระจกหรือส่วนบนตรงกลางบานกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์ ทั้งนี้ สัญลักษณ์แสดงวิธีการทุบกระจกให้มีข้อความ ขนาด สี และลักษณะตามตัวอย่างแนบท้ายประกาศนี้ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๒ (จ) จะมีข้อความ “ทางออกฉุกเฉิน” หรือไม่ก็ได้แต่ต้องมีค้อนทุบกระจกอย่างน้อย ๒ อัน ติดตั้งอยู่ด้านซ้ายและด้านขวาของตัวรถ และติดสัญลักษณ์แสดงวิธีการทุบกระจกที่บานกระจกใกล้เคียงกับที่ติดตั้งค้อนทุบกระจก ข้อ ๗ ความในข้อ ๔ และข้อ ๕ มิให้ใช้บังคับกับรถที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ และรถที่เคยจดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ ซึ่งต่อมาแจ้งเลิกใช้และนำมาจดทะเบียนใหม่ ทั้งนี้ เว้นแต่รถนั้นได้ทำการเปลี่ยนตัวถังใหม่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ ข้อ ๘[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ธีระพงษ์ รอดประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) รักษาราชการแทน อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตัวอย่างสัญลักษณ์แสดงวิธีการทุบกระจก (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ กฤษดายุทธ/ผู้ตรวจ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๓๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
710598
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. 2557
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๗ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๑ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับขนาดและตำแหน่งของประตูทางขึ้นลงและตำแหน่งของประตูฉุกเฉิน รวมทั้งข้อความที่ประตูฉุกเฉินให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๒) (ฌ) และข้อ ๑๐ (๒) (ช) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๑ ข้อ ๒ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๑ (ก) มาตรฐาน ๑ (ข) มาตรฐาน ๒ (ก) มาตรฐาน ๒ (ข) มาตรฐาน ๒ (ค) มาตรฐาน ๒ (ง) มาตรฐาน ๓ (ก) มาตรฐาน ๓ (ข) มาตรฐาน ๕ (ก) มาตรฐาน ๕ (ข) ต้องมีประตูทางขึ้นลงอย่างน้อย ๑ ประตู แต่ไม่เกิน ๒ ประตู และต้องมีประตูฉุกเฉิน อย่างน้อย ๑ ประตู ในกรณีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๓ (ก) มาตรฐาน ๓ (ข) และมาตรฐาน ๕ (ข) ที่มีประตูทางขึ้นลง ๒ ประตู จะมีประตูฉุกเฉินตามวรรคหนึ่งหรือไม่ก็ได้ ข้อ ๓ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๔ (ก) มาตรฐาน ๔ (ข) มาตรฐาน ๔ (ค) มาตรฐาน ๔ (ง) มาตรฐาน ๔ (จ) และมาตรฐาน ๔ (ฉ) ต้องมีประตูทางขึ้นลงที่ชั้นล่างอย่างน้อย ๑ ประตู แต่ไม่เกิน ๒ ประตู และต้องมีประตูฉุกเฉินที่ชั้นบนอย่างน้อย ๑ ประตู และที่ชั้นล่างอย่างน้อย ๑ ประตู ในกรณีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๔ (จ) และมาตรฐาน ๔ (ฉ) ที่ชั้นล่างมีประตูทางขึ้นลง ๒ ประตู ชั้นล่างจะมีประตูฉุกเฉินหรือไม่ก็ได้ ข้อ ๔ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๖ (ก) และมาตรฐาน ๖ (ข) ต้องมีประตูทางขึ้นลงที่ตอนหน้าอย่างน้อย ๑ ประตู แต่ไม่เกิน ๒ ประตู ที่ตอนท้ายอย่างน้อย ๑ ประตู แต่ไม่เกิน ๒ ประตู และต้องมีประตูฉุกเฉินที่ตอนหน้าอย่างน้อย ๑ ประตู ที่ตอนท้ายอย่างน้อย ๑ ประตู ในกรณีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๖ (ข) มีประตูทางขึ้นลงที่ตอนหน้า ๒ ประตู ที่ตอนหน้าจะมีประตูฉุกเฉินหรือไม่ก็ได้ และในกรณีมีประตูทางขึ้นลงที่ตอนท้าย ๒ ประตู ที่ตอนท้ายจะมีประตูฉุกเฉินหรือไม่ก็ได้ ข้อ ๕ ประตูทางขึ้นลงต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๖๕ เซนติเมตร ความสูงไม่น้อยกว่า ๑.๖๕ เมตร อยู่ที่ด้านซ้ายของตัวรถ และความสูงของพื้นบันไดขั้นต่ำสุดในขณะรถเปล่า ต้องอยู่สูงจากพื้นผิวทางไม่เกิน ๔๕ เซนติเมตร สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจำทางในเส้นทางหมวด ๑ ประตูทางขึ้นลงต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร ความสูงไม่น้อยกว่า ๑.๘๐ เมตร อยู่ที่ด้านซ้ายของตัวรถ และความสูงของพื้นบันไดขั้นต่ำสุดในขณะรถเปล่าต้องอยู่สูงจากพื้นผิวทางไม่เกิน ๔๕ เซนติเมตร ข้อ ๖ ในกรณีรถตามข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ เป็นรถที่นำไปใช้สำหรับการขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศ รถนั้นอาจมีประตูทางขึ้นลงอยู่ที่ด้านขวาของตัวรถในตำแหน่งที่เหมาะสมเพิ่มขึ้นอีก ๑ ประตูก็ได้ โดยขนาดของประตูทางขึ้นลงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ ข้อ ๗ รถตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๖ ถ้าบานประตูทางขึ้นลงเป็นบานประตูที่ใช้กลไกควบคุมการปิดเปิดโดยอัตโนมัติ ต้องมีระบบการทำงานของประตูที่สามารถควบคุมให้บานประตูที่กำลังปิดหากกระทบถูกผู้โดยสารหรือสิ่งกีดขวาง บานประตูต้องเปิดออกโดยอัตโนมัติหรือหากบานประตูหนีบ ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายต้องสามารถดึงออกได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้โดยสาร หรือมีระบบการทำงานอื่นที่มีความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสารตามที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ รถที่บานประตูทางขึ้นลงมีระบบการทำงานตามวรรคหนึ่ง ต้องมีอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย ดังนี้ (๑) สัญญาณไฟกระพริบสีแดง พร้อมทั้งสัญญาณเสียงเตือนแสดงการปิดเปิดของบานประตูบริเวณประตูทางขึ้นลงภายในตัวรถและบริเวณที่ผู้ขับรถสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน (๒) อุปกรณ์ที่สามารถทำให้บานประตูเปิดออกได้ทั้งจากภายในและภายนอกตัวรถโดยสะดวกในกรณีฉุกเฉินแม้ในขณะที่ระบบดังกล่าวจะทำงานหรือไม่ก็ตาม ข้อ ๘ ประตูฉุกเฉินต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๔๐ เซนติเมตร ความสูงไม่น้อยกว่า ๑๒๐ เชนติเมตร อยู่ด้านขวาของห้องโดยสารบริเวณกลางตัวรถหรือค่อนไปทางท้ายหรือด้านท้ายรถ เว้นแต่รถโดยสารมาตรฐาน ๔ ประตูฉุกเฉินที่ชั้นล่างให้อยู่ด้านขวาของห้องโดยสารในตำแหน่งที่เหมาะสม และต้องเปิดออกได้ทั้งจากภายในภายนอกโดยไม่ต้องใช้กุญแจหรือเครื่องมืออื่นใดโดยบานประตูต้องสามารถเปิดออกได้เต็มส่วนกว้างและส่วนสูง และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางออกประตูเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินผู้โดยสารสามารถออกได้โดยสะดวก ในกรณีที่ส่วนหนึ่งส่วนใดของประตูฉุกเฉินอยู่เหนือล้อรถหรืออยู่เหนือเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถที่ไม่สามารถย้ายตำแหน่งได้ ส่วนล่างของประตู ณ ที่ระดับความสูงไม่เกิน ๔๕ เซนติเมตร โดยวัดจากพื้นรถ จะมีความกว้างน้อยกว่า ๔๐ เซนติเมตร แต่ไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร ก็ได้ ประตูฉุกเฉินต้องมีข้อความว่า “ประตูฉุกเฉิน” เป็นตัวอักษรภาษาไทยสีแดงสะท้อนแสงมีความสูงไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร ติดอยู่บริเวณกลางบานประตู พร้อมด้วยคำอธิบายภาษาไทยหรือสัญลักษณ์แสดงวิธีปิดเปิดทั้งด้านในและด้านนอกบานประตู ณ ตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน และต้องติดป้ายโคมไฟหรือป้ายหลอดไฟไดโอดเปล่งแสง (แอลอีดี) บนพื้นสีขาว ที่มีตัวอักษรคำว่า “EXIT” สีแดงมีความสูงไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร เหนือบานประตูฉุกเฉิน ซึ่งต้องให้แสงสว่างพร้อมกับโคมไฟหน้ารถ ข้อ ๙ ความในข้อ ๗ มิให้ใช้บังคับกับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๑ ที่จดทะเบียนก่อนวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๑ เว้นแต่รถนั้นมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงตัวถังรถจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ ข้อ ๑๐ บรรดารถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่ได้จดทะเบียนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับและมีขนาดประตูทางขึ้นลงเป็นไปตามที่กำหนดในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนตัวถังรถ หรืออาจขอเปลี่ยนแปลงขนาดประตูทางขึ้นลงให้เป็นไปตามที่กำหนดในประกาศนี้ได้ ข้อ ๑๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ อัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ กฤษดายุทธ/ผู้ตรวจ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๔๘ ง/หน้า ๑/๑ สิงหาคม ๒๕๕๗
709225
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่มีขนาดของรถแตกต่างไปจากที่กำหนดในกฎกระทรวง พ.ศ. 2557
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบ รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่มีขนาดของรถแตกต่างไปจากที่กำหนดในกฎกระทรวง พ.ศ. ๒๕๕๗ เพื่อให้มีหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่มีขนาดของรถแตกต่างไปจากที่กำหนดในกฎกระทรวง อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒๑ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กฎกระทรวง” หมายความว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๒ ในกรณีที่มีความจำเป็นตามลักษณะของการใช้งาน รถบรรทุกเฉพาะกิจ รถพ่วงและรถกึ่งพ่วงจะมีขนาดของรถแตกต่างไปจากที่กำหนดในกฎกระทรวงได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ และได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๓ เจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ประสงค์ขอรับความเห็นชอบรถตามข้อ ๒ ที่มีขนาดแตกต่างไปจากที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ยื่นคำขอเป็นหนังสือ ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังนี้ (๑) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามในกรณีเป็นนิติบุคคล (๒) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (๓) เอกสารรายละเอียดรถ ได้แก่ (ก) รายละเอียดรถที่แสดงข้อมูลต่าง ๆ เช่น ชนิด แบบ หมายเลขคัสซี หมายเลขเครื่องยนต์ ขนาด น้ำหนักรถ น้ำหนักรวมสูงสุด (Gross Vehicle Weight ; GVW) ระบบห้ามล้อ ระบบไฟฟ้าเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบต่าง ๆ ของรถ (ข) แบบแปลนรถ (Drawing) แสดงลักษณะและขนาดสัดส่วนต่าง ๆ ของรถ (ค) แบบแปลนโครงคัสซี แสดงลักษณะและขนาดสัดส่วนต่าง ๆ ของโครงคัสซี (ถ้ามี) (ง) รายละเอียดทางเทคนิคของผู้ผลิต ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลประกอบด้วย ขนาด น้ำหนัก สมรรถนะของเพลาและสปริง กำลังเครื่องยนต์ น้ำหนักรวมสูงสุด (GVW) (จ) กรณีรถที่มีการสร้างประกอบหรือแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถผิดแผกแตกต่างไปจากที่ผู้ผลิตกำหนด ต้องมีรายละเอียดรถและรายการคำนวณแสดงความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยของรถ พร้อมหนังสือรับรองจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับภาคีวิศวกรขึ้นไปสำหรับรถพ่วงหรือรถกึ่งพ่วง หรือระดับสามัญวิศวกรขึ้นไปสำหรับรถที่มีเครื่องยนต์ แล้วแต่กรณี โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้ ๑) การกระจายน้ำหนัก ทั้งในขณะรถเปล่าและบรรทุกน้ำหนักเต็มพิกัด ๒) กราฟแสดงแรงเฉือน (Shear Force Diagram) และกราฟแสดงโมเมนต์ดัด (Bending Moment Diagram) ที่กระทำต่อโครงคัสซีและตัวถัง ๓) ค่าความแข็งแรงของวัสดุที่ใช้ทำโครงคัสซี (Tensile Strength) ๔) ค่าความเค้น (Strees) และค่าความปลอดภัย (Safety Factor) ของโครงคัสซีและตัวถัง (ฉ) กรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายรถที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ผลิตรถ ต้องมีวิศวกรเครื่องกลตรวจสอบรถ เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ พร้อมออกหนังสือรับรองความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยที่จะใช้ในการขนส่ง และแนบสำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับภาคีวิศวกรขึ้นไปสำหรับรถพ่วงหรือรถกึ่งพ่วงหรือระดับสามัญวิศวกรขึ้นไปสำหรับรถที่มีเครื่องยนต์ แล้วแต่กรณี (๔) กรณีรถตามข้อ ๖ ต้องมีหนังสือชี้แจงเหตุผลและความจำเป็น ซึ่งลงนามโดยเจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง พร้อมด้วยข้อมูลรายละเอียด ดังนี้ (ก) เอกสารการประกอบกิจการที่แสดงถึงความจำเป็นในการใช้รถ เช่น สัญญารับจ้างทำงาน (ข) ขนาดความกว้าง ความยาว ความสูงของรถ และน้ำหนักของสิ่งของที่บรรทุก (ค) เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในสิ่งของที่บรรทุก (ง) มาตรการความปลอดภัยระหว่างการขนส่ง ข้อ ๔ รถพ่วงหรือรถกึ่งพ่วงที่มีลักษณะและวัตถุประสงค์ในการใช้งานเพื่อบรรทุกรถยนต์ให้มีขนาด ดังนี้ (๑) รถพ่วงให้มีความกว้างไม่เกิน ๒.๕๕ เมตร ความสูงไม่เกิน ๔.๐๐ เมตร และความยาวไม่เกิน ๑๓.๘๐ เมตร (๒) รถกึ่งพ่วงให้มีความกว้างไม่เกิน ๒.๕๕ เมตร ความสูงไม่เกิน ๔.๐๐ เมตร และความยาวไม่เกิน ๑๖.๐๐ เมตร ข้อ ๕ รถบรรทุกเฉพาะกิจ รถพ่วงหรือรถกึ่งพ่วงที่ติดตั้งอุปกรณ์เครื่องจักร เครื่องกล หรืออุปกรณ์ขนถ่ายด้านท้าย เช่น รถติดตั้งปั้นจั่น (รถเครน) รถติดตั้งอุปกรณ์กวาดดูดฝุ่น รถติดตั้งเครื่องสูบส่งคอนกรีต รถติดตั้งเครื่องผสมคอนกรีต รถติดตั้งกระเช้า รถติดตั้งอุปกรณ์ขุดเจาะ รถติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ รถบรรทุกรถยนต์ที่ติดตั้งอุปกรณ์ขนถ่ายด้านท้าย (รถสไลด์) ให้มีขนาด ดังนี้ (๑) รถที่มีความกว้างไม่เกิน ๒.๓๐ เมตร ให้มีความสูงไม่เกิน ๓.๕๐ เมตร และความยาวไม่เกิน ๑๖.๐๐ เมตร (๒) รถที่มีความกว้างเกิน ๒.๓๐ เมตร ให้มีความสูงไม่เกิน ๔.๕๐ เมตร และความยาวไม่เกิน ๑๖.๐๐ เมตร แต่ทั้งนี้จะต้องมีความกว้างไม่เกิน ๓.๐๐ เมตร ข้อ ๖ รถบรรทุกเฉพาะกิจ รถพ่วงหรือรถกึ่งพ่วงที่มีลักษณะและวัตถุประสงค์ในการใช้งานเพื่อบรรทุกสิ่งของที่มีขนาดความกว้างของสิ่งของเกิน ๒.๕๕ เมตร หรือบรรทุกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ซึ่งโดยสภาพของสิ่งของนั้นไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้เปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป เช่น รถบรรทุกรถขุดตัก รถบรรทุกรถแทรกเตอร์ รถบรรทุกหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่ให้มีขนาดความกว้างไม่เกิน ๓.๐๐ เมตร ความสูงไม่เกิน ๔.๐๐ เมตร และความยาวไม่เกิน ๑๖.๐๐ เมตร ทั้งนี้ หากรถมีความยาวมากกว่า ๑๓.๖๐ เมตร ส่วนที่ใช้ในการบรรทุกของรถจะมีความยาวกว่าสิ่งของที่บรรทุกได้ไม่เกิน ๑.๐๐ เมตร ข้อ ๗ การให้ความเห็นชอบรถตามประกาศนี้ รถนั้นต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีสมรรถนะเหมาะสมต่อการใช้งาน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (๑) น้ำหนักรถและน้ำหนักรวมสูงสุดของรถเมื่อมีการบรรทุก (GVW) ต้องไม่เกินสมรรถนะของรถ (๒) ตัวถังหรือส่วนประกอบของตัวถังจะยื่นเกินขอบยางด้านนอกของเพลาล้อท้ายหรือกลุ่มเพลาล้อท้ายได้ไม่เกินด้านละ ๑๕ เซนติเมตร ข้อ ๘ นายทะเบียนอาจกำหนดเงื่อนไขในการใช้รถตามประกาศนี้ เพื่อควบคุมตรวจสอบการใช้รถ ดังนี้ (๑) กรณีรถมีน้ำหนักเกินกว่าที่ทางราชการกำหนด อาจกำหนดเงื่อนไขว่า “การนำรถไปใช้บนทางหลวงต้องได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษ ผู้อำนวยการทางหลวงแผ่นดิน และผู้อำนวยการทางหลวงสัมปทาน” (๒) กรณีรถมีขนาดเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง อาจกำหนดเงื่อนไขว่า “การนำรถไปใช้บนทางสาธารณะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจรหรือเจ้าพนักงานอื่นที่ดูแลรับผิดชอบเส้นทางที่นำรถไปใช้” (๓) กรณีรถตามข้อ ๖ อาจกำหนดเงื่อนไขว่า “การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมการขนส่งทางบกก่อน” (๔) เงื่อนไขอื่น ๆ เพื่อความปลอดภัยและความเหมาะสมในการใช้รถ ข้อ ๙ ในกรณีรถที่มีขนาดแตกต่างไปจากที่กำหนดในประกาศนี้ การพิจารณาให้ความเห็นชอบต้องปรากฏว่ามีความจำเป็นต้องใช้รถนั้น และให้นำความในข้อ ๓ และข้อ ๘ ของประกาศนี้มาบังคับใช้โดยอนุโลม ข้อ ๑๐[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ อัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๒๒/๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗
709217
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๕ ไว้แล้ว นั้น โดยที่ปัจจุบันได้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจากรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารรถมาตรฐาน ๔ (รถสองชั้น) บ่อยครั้ง ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อให้รถดังกล่าวมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่สูงขึ้น และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ใช้บริการสมควรปรับปรุงระยะเวลาการบังคับใช้เกณฑ์การทรงตัวสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๔ (รถสองชั้น) ที่จดทะเบียนไว้แล้วให้เร็วขึ้นและเพิ่มข้อกำหนดเงื่อนเวลาการทดสอบซ้ำสำหรับรถที่ไม่ผ่านการทดสอบอาศัยอำนาจตามความในวรรคสามของข้อ ๑๓ (๒) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีความสูงตั้งแต่ ๓.๖๐ เมตรขึ้นไปตามเงื่อนเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) รถที่จดทะเบียนใหม่ และรถที่จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่เฉพาะที่มีการเปลี่ยนตัวถัง ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ (๒) รถที่จดทะเบียนก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ เว้นแต่รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๔ (รถสองชั้น) ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๙ (๓) รถที่จดทะเบียนก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ทุกมาตรฐานที่ได้มีการเปลี่ยนตัวถังตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ให้มีผลใช้บังคับตาม (๑)” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๗ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์การทรงตัวของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๕ “ข้อ ๗ ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่นำรถเข้ารับการทดสอบเกณฑ์การทรงตัวตามข้อ ๖ วรรคหนึ่ง หากการทดสอบไม่ผ่านให้นำรถเข้ารับทดสอบซ้ำได้เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน นับแต่วันที่ทดสอบไม่ผ่าน” ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ อัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๑๘/๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗
708937
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ 84 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง,รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน,ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวงหรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดลพบุรี จำนวน 2 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ ๘๔ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง,รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน,ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวงหรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลพบุรี จำนวน ๒ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ ๓๐ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๓๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วย รถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๒๒๙๙ โคกสำโรง – โคกเจริญ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ ๓๑ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๒๓๐๐ ลพบุรี – บ้านสี่แยกเขาน้อย นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลพบุรี จำนวน ๒ เส้นทาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๒๒๙๙ โคกสำโรง – โคกเจริญ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอโคกสำโรง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ผ่านบ้านเพนียด บ้านวังเพลิง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๒๖ ผ่านบ้านเกาะรี บ้านห้วยเขว้า อำเภอสระโบสถ์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๔๐ ผ่านบ้านมหาโพธิ บ้านกระดานเลื่อน บ้านคลอง บ้านหนองกระทุ่ม บ้านโคกประดู่ บ้านโคกแสมสาร แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๔๔ ผ่านบ้านประมง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณอำเภอโคกเจริญ สายที่ ๒๓๐๐ ลพบุรี – บ้านสี่แยกเขาน้อย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑ ถึงวงเวียนเทพสตรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๑๗ ถึงบ้านโคกตูม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๓๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ ผ่านบ้านดีลัง บ้านเขาขวาง ถึงบ้านม่วงค่อม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ถึงทางแยกชัยบาดาล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕๖ ผ่านอำเภอท่าหลวง โรงเรียนท่าหลวงวิทยาคม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านสี่แยกเขาน้อย ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ธนาคม จงจิระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี รักษาการในตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ วันทิตา/ผู้ตรวจ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๕/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
708929
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ 83 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดลพบุรี สายที่ 2202 ลพบุรี - บ้านหมี่ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงลพบุรี - บ้านหมี่ (สายคันคลอง)
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ ๘๓ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๒๒๐๒ ลพบุรี – บ้านหมี่ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงลพบุรี – บ้านหมี่ (สายคันคลอง)[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ ๗๗ (พ.ศ. ๒๕๕๔) ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๔ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๒๒๐๒ ลพบุรี – บ้านหมี่ ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๖ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๒๒๐๒ ลพบุรี – บ้านหมี่ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงลพบุรี – บ้านหมี่ (สายคันคลอง) โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๒๒๐๒ ลพบุรี – บ้านหมี่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี ไปตามถนนนารายณ์มหาราช แยกซ้ายวงเวียนเทพสตรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านสี่แยกเอราวัณ สำนักงานขนส่งจังหวัดลพบุรี สี่แยกโรงพยาบาลอานันท์ฯ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ทางแยกเขาพระงาม ทางแยกสถานีรถไฟโคกกระเทียม วัดทุ่งสิงห์โต ถึง กม.ที่ ๑๗๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๒๔ ผ่านบ้านสระตาแวว บ้านหนองน้ำทิพย์ บ้านเนินยาว บ้านสระเตย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านหมี่ ช่วงลพบุรี - บ้านหมี่ (สายคันคลอง) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี ไปตามถนนนารายณ์มหาราช ถึงสะพาน ๗ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๖ ผ่าน บ้านคอกกระบือ บ้านหนองเต่า หนองเกวียนหัก บ้านหนองทรายขาว ถึงสะพานชลประทานที่ ๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณอำเภอบ้านหมี่ ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ธนาคม จงจิระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี รักษาการในตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ วันทิตา/ผู้ตรวจ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๓/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
708638
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ฉบับที่ 58 (พ.ศ. 2556) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสุพรรณบุรี สายที่ 8408 ด่านช้าง - บ้านกกเชียง เป็น สามชุก - ด่านช้าง - บ้านกกเชียง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ฉบับที่ ๕๘ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุพรรณบุรี สายที่ ๘๔๐๘ ด่านช้าง–บ้านกกเชียง เป็น สามชุก – ด่านช้าง–บ้านกกเชียง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ฉบับที่ ๕๓ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ลงวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๖ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุพรรณบุรี สายที่ ๘๔๐๘ ด่านช้าง – บ้านกกเชียง ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุม ครั้งที่ ๖/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุพรรณบุรี สายที่ ๘๔๐๘ ด่านช้าง – บ้านกกเชียง เป็น สามชุก–ด่านช้าง – บ้านกกเชียง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๘๔๐๘ สามชุก – ด่านช้าง – บ้านกกเชียง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสามชุก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๖๕ ผ่านบ้านหนองผักนาก ถึงแยกบ้านดอนยาว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๙๖ ผ่านโรงเรียนบรรหาร - แจ่มใสวิทยา ๖ ถึงแยกบ้านดอนไร่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สพ. ๔๐๒๒ ผ่านบ้านหนองสะเดา บ้านหนองโพธิ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น ถึงแยกวัดลำพันบอง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๐๒ ผ่านบ้านโค้งบ่อแร่ บ้านสระบัวก่ำ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๕๐ ถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอด่านช้าง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๘๖ (ด่านช้าง – หนองปรือ) ถึงบ้านเขาช่องคับ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สพ. ๔๐๑๖ ผ่านบ้านหนองกระดี่ ไปตามถนนนิคมสร้างตนเองกระเสียว ผ่านที่ทำการนิคมสร้างตนเองกระเสียว โรงเรียนนิคมสร้างตนเองกระเสียว ๑ แยกซ้ายไปตามถนน นิคมสร้างตนเองกระเสียวสายเมนใต้ ผ่านหมู่บ้านนิคม ซอย ๑ - ๕ วัดโปร่งสะเดา โรงเรียนนิคม สร้างตนเองกระเสียว ๒ วัดท่าเดื่อ ถึงแยกบ้านกกตาด แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่นบ้านกกตาด – บ้านกกเชียง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกกเชียง ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ว่าที่ร้อยตรี สุพีร์พัฒน์ จองพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ กฤษดายุทธ/ผู้ตรวจ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๓ ง/หน้า ๒๒๐/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๗
708636
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ ฉบับที่ 117 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ 1196 ปากน้ำ - กม.4 (ถนนบางนา-ตราด) เป็น ปากน้ำ - ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ฉบับที่ ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ ๑๑๙๖ ปากน้ำ – กม.๔ (ถนนบางนา-ตราด) เป็น ปากน้ำ - ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ ฉบับที่ ๒๙ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ ๑๑๙๖ ปากน้ำ – กม.๔ (ถนนบางนา-ตราด) ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทางหมวด ๔ จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ ๑๑๙๖ ปากน้ำ – กม.๔ (ถนนบางนา-ตราด) เส้นทางสายหลักเดิมเป็น ปากน้ำ – ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๑๙๖ ชื่อเส้นทาง ปากน้ำ - ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรปราการ ไปตามถนนสุขุมวิท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓) ผ่านชุมสายโทรศัพท์สมุทรปราการ แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๓๓๔๔) ผ่านร.ร.คลองกระทุ่ม วัดศรีเอี่ยม ซอยอุดมสุข จนสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ คณิต เอี่ยมระหงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ กฤษดายุทธ/ผู้ตรวจ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๓ ง/หน้า ๒๑๘/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๗
708632
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ฉบับที่ 102 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช สายที่ 1 วงกลมสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอทุ่งสง - สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ฉบับที่ ๑๐๒ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช สายที่ ๑ วงกลมสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอทุ่งสง - สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๕ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๖ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช สายที่ ๑ วงกลมสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอทุ่งสง - สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง โดยให้มีรายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๑ วงกลมสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอทุ่งสง – สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอทุ่งสง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ถึงแยกหนองหว้า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓ ถึงแยกตลาดเกษตร แยกซ้ายไปตามถนนชลปรีดา ถึงแยกหอสมุด แยกขวาไปตามถนนชลปรีดา ถึงแยกธนาคารกสิกรไทย แยกซ้ายไปตามถนนนิกรบำรุง ผ่านสถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง ผ่านหอนาฬิกา แยกขวาไปตามถนนชัยชุมพล ผ่านแยกชลปรีดา ถึงแยกชัยชุมพล แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓ ถึงแยกทุ่งสง-ตรัง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓ ถึงแยกชะมาย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอทุ่งสง ช่วงวงกลมสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอทุ่งสง-ห้างสรรพสินค้าสหไทย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอทุ่งสง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ถึงแยกหนองหว้า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓ ถึงแยกทุ่งสง-ตรัง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓ ผ่านห้างสรรพสินค้าสหไทย ถึงแยกชะมาย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอทุ่งสง ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ว่าที่ร้อยตรี ฐิตวัฒน เชาวลิต รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ประธานคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ กฤษดายุทธ/ผู้ตรวจ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๓ ง/หน้า ๒๑๖/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๗
708630
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2557) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดกระบี่ สายที่ 1824 กระบี่ - บ้านคลองม่วง - บ้านทับแขก [หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พพ. 4 (ทับแขก)] ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงอ่าวนาง - บ้านทับแขก [หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พพ.4 (ทับแขก)]
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกระบี่ ฉบับที่ ๔๙ (พ.ศ. ๒๕๕๗) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดกระบี่ สายที่ ๑๘๒๔ กระบี่ – บ้านคลองม่วง – บ้านทับแขก [หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พพ.๔ (ทับแขก)] ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงอ่าวนาง – บ้านทับแขก [หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พพ.๔ (ทับแขก)][๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ฉบับที่ ๔๖ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ลงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดกระบี่ สายที่ ๑๘๒๔ กระบี่ – บ้านในสระ เป็น กระบี่ – บ้านคลองม่วง – บ้านทับแขก [หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พพ.๔ (ทับแขก)] และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกระบี่ – บ้านในสระ ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๕ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดกระบี่ สายที่ ๑๘๒๔ กระบี่ – บ้านคลองม่วง – บ้านทับแขก [หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พพ.๔ (ทับแขก)] ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงอ่าวนาง – บ้านทับแขก [หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พพ.๔ (ทับแขก)] เพิ่มอีก ๑ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๘๒๔ กระบี่ – บ้านคลองม่วง – บ้านทับแขก [หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พพ.๔ (ทับแขก)] เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกระบี่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๑ (ถนนอุตรกิจ) แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓๔ (ถนนกระบี่) ผ่านบ้านทุ่งโหลง บ้านคลองจิหลาด บ้านไสไทย บ้านช่องพลี ถึงบ้านหนองทะเล แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข กบ ๔๐๒๔ ผ่านแยกบ้านนาหนอง ถึงบ้านคลองม่วง แยกขวาผ่านบ้านเกาะกวาง ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านทับแขก [หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พพ.๔ (ทับแขก)] ช่วงกระบี่ – บ้านในสระ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกระบี่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๑ (ถนนอุตรกิจ) แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓๔ (ถนนกระบี่) ผ่านบ้านทุ่งโหลง บ้านคลองจิหลาด บ้านไสไทย บ้านช่องพลี บ้านหนองทะเล บ้านแหลมสอน บ้านเขากลม บ้านในไร่ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านในสระ ช่วงอ่าวนาง – บ้านทับแขก [หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พพ.๔ (ทับแขก)] เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านอ่าวนาง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒๐๓ ถึงหาดนพรัตน์ธารา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒๐๒ ถึงแยกบ้านนาตีน แยกซ้ายไปตามถนนชนบท (ถนนสายนาตีน – คลองสน) ถึงวัดคลองสน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข กบ ๔๐๒๔ ถึงบ้านคลองม่วง แยกขวาผ่านบ้านเกาะกวาง ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านทับแขก [หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พพ.๔ (ทับแขก)] ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ประสิทธิ์ โอสถานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ กฤษดายุทธ/ผู้ตรวจ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๓ ง/หน้า ๒๑๔/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๗
707197
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 194 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดขอนแก่น สายที่ 4373 บ้านไผ่ - ชนบท ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง บ้านไผ่ - บ้านละว้า
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๙๔ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๔๓๗๓ บ้านไผ่ - ชนบท ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง บ้านไผ่ - บ้านละว้า[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๒ ชนบท - บ้านหินตั้ง เป็น หมวด ๔ สายที่ ๔๓๗๓ บ้านไผ่ - ชนบท นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๔๓๗๓ บ้านไผ่ - ชนบท ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงบ้านไผ่ - บ้านละว้า โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๓๗๓ บ้านไผ่ - ชนบท เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอบ้านไผ่ ไปตามถนนแจ้งสนิท แยกซ้ายไปตามถนนราษฎร์ธุรกิจ แยกซ้ายไปตามถนนประพัทธ์บำรุง แยกซ้ายไปตามถนนอำมาตย์ แยกขวาไปตามถนนแจ้งสนิท แล้วไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๙ ผ่านบ้านโนนข่า บ้านเมืองเพีย บ้านโนนสุขใจ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอชนบท ช่วงบ้านไผ่ - บ้านละว้า เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอบ้านไผ่ ไปตามถนนแจ้งสนิท แยกซ้ายไปตามถนนราษฎร์ธุรกิจ แยกซ้ายไปตามถนนประพัทธ์บำรุง แยกซ้ายไปตามถนนอำมาตย์ แยกขวาไปตามถนนแจ้งสนิท แล้วไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๙ ผ่านบ้านโนนข่า ถึงบ้านเมืองเพีย แยกขวาไปตามถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านละว้า ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ นุสรา/ผู้ตรวจ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๕๕ ง/หน้า ๒๕๗/๓ มิถุนายน ๒๕๕๗
707191
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 193 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดขอนแก่น สายที่ 4672 บ้านไผ่ - บ้านหินตั้ง เป็น บ้านไผ่ - บ้านนาโน
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๙๓ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๔๖๗๒ บ้านไผ่ - บ้านหินตั้ง เป็น บ้านไผ่ - บ้านนาโน[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๖๕ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร สายที่ ๔๖๗๒ บ้านไผ่ - บ้านหินตั้ง ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๔๖๗๒ บ้านไผ่ - บ้านหินตั้ง เป็น บ้านไผ่ - บ้านนาโน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๖๗๒ บ้านไผ่ - บ้านนาโน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอบ้านไผ่ ไปตามถนนแจ้งสนิท แยกซ้ายไปตามถนนราษฎร์ธุรกิจ แยกขวาไปตามถนนประพัทธ์บำรุง แยกขวาไปตามถนนเจนจบทิศ แยกซ้ายไปตามถนนแจ้งสนิท ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓ ผ่านที่ทำการประปาอำเภอบ้านไผ่ บ้านหินตั้ง บ้านโคกก่อง บ้านไพศาล แยกขวาไปตามถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น (อบจ.ขก.๔๐๔๓) ผ่านบ้านหินลาด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนาโน ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ นุสรา/ผู้ตรวจ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๕๕ ง/หน้า ๒๕๖/๓ มิถุนายน ๒๕๕๗
707187
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 192 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สายที่ 14 หมู่บ้านเมืองประชา - บ้านโนนตุ่น เป็น มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูมอดินแดง) - บ้านโนนตุ่น และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูมอดินแดง) - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 3 และช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูกังสดาล) - ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๙๒ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๑๔ หมู่บ้านเมืองประชา - บ้านโนนตุ่น เป็น มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูมอดินแดง) - บ้านโนนตุ่น และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูมอดินแดง) - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ และช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูกังสดาล) - ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๓๙ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๑๔ หมู่บ้านเมืองประชา - หมู่บ้านเกษมทรัพย์กรีนวิลเลจ เป็น หมู่บ้านเมืองประชา - บ้านโนนตุ่น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๑๔ หมู่บ้านเมืองประชา - บ้านโนนตุ่น เป็น มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูมอดินแดง) - บ้านโนนตุ่น และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูมอดินแดง) - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ และช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูกังสดาล) - ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๔ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูมอดินแดง) - บ้านโนนตุ่น เริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูมอดินแดง) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านโรงพยาบาลศรีนครินทร์ กองกำกับการ ๔ กองตำรวจทางหลวง ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล แยกซ้ายไปตามถนนบ้านกอก แยกซ้ายไปตามถนนรถไฟ แล้วไปตามถนนดรุณสำราญ แยกขวาไปตามถนนศรีจันทร์ แยกขวาไปตามถนนหน้าเมือง แยกซ้ายไปตามถนนรื่นรมย์ แยกขวาไปตามถนนกลางเมือง ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (เดิม) ผ่านหมู่บ้านการเคหะแห่งชาติ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๐ (ถนนเลี่ยงเมือง) ถึงหมู่บ้านเกษมทรัพย์กรีนวิลเลจ แล้วย้อนกลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (เดิม) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่ จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนตุ่น ช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูมอดินแดง) - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ เริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูมอดินแดง) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านโรงพยาบาลศรีนครินทร์ กองกำกับการ ๔ กองตำรวจทางหลวง ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สนามม้าจังหวัดขอนแก่น แยกขวาไปตามถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๐ (ถนนเลี่ยงเมือง) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ ช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูกังสดาล) - ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูกังสดาล) ไปตามถนนกัลปพฤกษ์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านกองกำกับการ ๔ กองตำรวจทางหลวง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ นุสรา/ผู้ตรวจ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๕๕ ง/หน้า ๒๕๔/๓ มิถุนายน ๒๕๕๗
707183
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 191 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สายที่ 23 ตลาดสดเทศบาล 1 - บ้านห้วยเตย เส้นทางแยกช่วง ตลาดสดเทศบาล 1 - บ้านโนนตุ่น เป็น ตลาดสดเทศบาล 1 - บ้านโนนตุ่น - สถานีขนส่ง ผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 3
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๙๑ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๒๓ ตลาดสดเทศบาล ๑ - บ้านห้วยเตย เส้นทางแยกช่วง ตลาดสดเทศบาล ๑ - บ้านโนนตุ่น เป็น ตลาดสดเทศบาล ๑ - บ้านโนนตุ่น - สถานีขนส่ง ผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๗๗ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๐ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๒๓ ตลาดสดเทศบาล ๑ - บ้านห้วยเตย ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๒๓ ตลาดสดเทศบาล ๑ - บ้านห้วยเตย เส้นทางแยกช่วงตลาดสดเทศบาล ๑ - บ้านโนนตุ่น เป็น ตลาดสดเทศบาล ๑ - บ้านโนนตุ่น - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๒๓ ตลาดสดเทศบาล ๑ - บ้านห้วยเตย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดสดเทศบาล ๑ ตรงไปตามถนนหน้าเมือง แยกซ้ายไปตามถนนรื่นจิตร แยกขวาไปตามถนนศรีนวล ตรงไปตามถนนริมบึง แยกขวาไปตามถนนข้างวัดหนองแวง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (เดิม) ผ่านหมู่บ้านการเคหะแห่งชาติขอนแก่น บ้านโนนตุ่น ถึงบ้านกุดกว้าง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านท่าพระเนาว์ ถึงบ้านท่าพระ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๘ ถึงทางแยกไปโรงเรียนท่าพระวิทยายน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านโรงเรียนท่าพระวิทยายน ผ่านบ้านหนองบัวดีหมี บ้านหนองแวง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยเตย ช่วงตลาดสดเทศบาล ๑ - บ้านโนนตุ่น - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดสดเทศบาล ๑ ตรงไปตามถนนหน้าเมือง แยกซ้ายไปตามถนนรื่นจิตร แยกขวาไปตามถนนศรีนวล ตรงไปตามถนนริมบึง แยกขวาไปตามถนนข้างวัดหนองแวง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (เดิม) ผ่านหมู่บ้านการเคหะแห่งชาติขอนแก่น บ้านโนนตุ่น ถึงบ้านกุดกว้าง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๐ (ถนนเลี่ยงเมือง) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ ช่วงตลาดสดเทศบาล ๑ - โรงเรียนท่าพระวิทยายน เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดสดเทศบาล ๑ ตรงไปตามถนนหน้าเมือง แยกซ้ายไปตามถนนรื่นจิตร แยกขวาไปตามถนนศรีนวล ตรงไปตามถนนริมบึง แยกขวาไปตามถนนข้างวัดหนองแวง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (เดิม) ผ่านหมู่บ้านการเคหะแห่งชาติขอนแก่น บ้านโนนตุ่น ถึงบ้านกุดกว้าง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านท่าพระเนาว์ ถึงบ้านท่าพระ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๘ ถึงทางแยกไปโรงเรียนท่าพระวิทยายน ไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนท่าพระวิทยายน ช่วงบ้านท่าพระ - โรงเรียนท่าพระวิทยายน - บ้านหนองโพธิ์ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าพระ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๘ ถึงทางแยกไปโรงเรียนท่าพระวิทยายน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านโรงเรียนท่าพระวิทยายน ถึงบ้านหนองบัวดีหมี ไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองโพธิ์ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ นุสรา/ผู้ตรวจ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๕๕ ง/หน้า ๒๕๑/๓ มิถุนายน ๒๕๕๗
707181
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 190 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สายที่ 17 บ้านโนนทัน - บ้านโคกท่า เส้นทางแยกช่วงสนามม้า จังหวัดขอนแก่น - บ้านศิลา เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 3 - บ้านศิลา
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๙๐ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๑๗ บ้านโนนทัน - บ้านโคกท่า เส้นทางแยกช่วงสนามม้า จังหวัดขอนแก่น - บ้านศิลา เป็น สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ - บ้านศิลา[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๗๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๑๗ บ้านโนนทัน - บ้านโคกท่า เส้นทางแยกช่วงบ้านโนนทัน - หมู่บ้านพัชรียา ให้มีรายละเอียดเส้นทางผ่านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดขอนแก่น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๑๗ บ้านโนนทัน - บ้านโคกท่า เส้นทางแยกช่วงสนามม้าจังหวัดขอนแก่น - บ้านศิลา เป็น สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ - บ้านศิลา โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๗ บ้านโนนทัน - บ้านโคกท่า เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนทัน ไปตามถนนโพธิสาร แยกขวาไปตามถนนรอบบึงแก่นนคร ตรงไปตามถนนนิกรสำราญ แยกขวาไปตามถนนกลางเมือง แยกขวาไปตามถนนชีท่าขอน แยกซ้ายไปตามถนนหลังเมือง แยกซ้ายไปตามถนนประชาสโมสร แยกขวาไปตามถนนหน้าเมือง แยกขวาไปตามถนนหน้าศูนย์ราชการ แยกซ้ายไปตามถนนหลังเมือง แยกขวาไปตามถนนศูนย์ราชการ แยกซ้ายไปตามถนนกสิกรทุ่งสร้าง ถึงค่ายศรีพัชรินทร์ ตรงไปตามทางหลวงชนบท ผ่านโรงเรียนขามแก่นนคร บ้านเกสร บ้านโกทา บ้านหนองหิน บ้านบึง บ้านห้วยซัน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสาร ประจำทางบ้านโคกท่า ช่วงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ - บ้านศิลา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๐ (ถนนเลี่ยงเมือง) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านสนามม้าจังหวัดขอนแก่น แยกขวาไปตามถนนเหล่านาดี แยกซ้ายไปตามถนนรถไฟ ถึงสถานีรถไฟขอนแก่น แยกขวาไปตามถนนรื่นรมย์ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าเมือง แยกขวาไปตามถนนชวนชื่น แยกขวาไปตามถนนหลังเมือง ถึงวัดศรีนวล แยกซ้ายไปตามถนนรอบเมือง แยกซ้ายไปตามถนนพิมพสุต แยกขวาไปตามถนนหลังเมือง แยกซ้ายไปตามถนนประชาสโมสร แยกขวาไปตามถนนหน้าเมือง แยกขวาไปตามถนนหน้าศูนย์ราชการ แยกซ้ายไปตามถนนหลังเมือง แยกขวาไปตามถนนศูนย์ราชการ แยกซ้ายไปตามถนนกสิกรทุ่งสร้าง ถึงค่ายศรีพัชรินทร์ ตรงไปตามทางหลวงชนบท ผ่านโรงเรียนขามแก่นนคร บ้านเกสร บ้านโกทา ถึงบ้านหนองหิน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านศิลา ช่วงบ้านโนนทัน - หมู่บ้านพัชรียา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนทัน ไปตามถนนโพธิสาร แยกขวาไปตามถนนรอบบึงแก่นนคร ตรงไปตามถนนนิกรสำราญ แยกขวาไปตามถนนกลางเมือง แยกขวาไปตามถนนชีท่าขอน แยกซ้ายไปตามถนนหลังเมือง แยกซ้ายไปตามถนนประชาสโมสร แยกขวาไปตามถนนหน้าเมือง แยกขวาไปตามถนนหน้าศูนย์ราชการ ผ่านสำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดขอนแก่น แยกซ้ายไปตามถนนกสิกรทุ่งสร้าง ผ่านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น ค่ายศรีพัชรินทร์ ถึงทางแยกเข้าชุมชนบ้านคอนสวรรค์ แยกซ้ายไปตามถนนชุมชนบ้านคอนสวรรค์ ผ่านชุมชนบ้านคอนสวรรค์ หมู่บ้านพิมานบุรีเกสร หมู่บ้านฉัตรเพชร ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านพัชรียา ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ นุสรา/ผู้ตรวจ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๕๕ ง/หน้า ๒๔๙/๓ มิถุนายน ๒๕๕๗
707177
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 189 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สายที่ 12 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น - โรงเรียน ท่าพระวิทยายน ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 3
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๘๙ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๑๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น - โรงเรียน ท่าพระวิทยายน ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๓ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๑๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น - โรงเรียนท่าพระวิทยายน นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๑๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น - โรงเรียนท่าพระวิทยายน ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น - โรงเรียนท่าพระวิทยายน เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณข้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น ไปตามถนนกสิกรทุ่งสร้าง แยกขวาไปตามถนนศูนย์ราชการ แยกซ้ายไปตามถนนกลางเมือง แยกขวาไปตามถนนหน้าศูนย์ราชการ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าเมือง แยกขวาไปตามถนนรื่นรมย์ ถึงสถานีรถไฟขอนแก่น แยกซ้ายไปตามถนนรถไฟ แยกขวาไปตามถนนเหล่านาดี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๐ (ถนนเลี่ยงเมือง) แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (เดิม) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านบ้านกุดกว่าง บ้านท่าพระ ถึงบ้านหนองบัวดีหมี แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหน้าโรงเรียนท่าพระวิทยายน ช่วงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณข้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น ไปตามถนนกสิกรทุ่งสร้าง แยกขวาไปตามถนนศูนย์ราชการ แยกซ้ายไปตามถนนกลางเมือง แยกขวาไปตามถนนหน้าศูนย์ราชการ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าเมือง แยกขวาไปตามถนนรื่นรมย์ ถึงสถานีรถไฟขอนแก่น แยกซ้ายไปตามถนนรถไฟ แยกขวาไปตามถนนเหล่านาดี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ถึงบ้านกุดกว้าง กลับรถไปตามถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๐ (ถนนเลี่ยงเมือง) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ นุสรา/ผู้ตรวจ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๕๕ ง/หน้า ๒๔๗/๓ มิถุนายน ๒๕๕๗
707171
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 188 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สายที่ 10 หาวิทยาลัยขอนแก่น - สนามม้าจังหวัดขอนแก่น เส้นทางแยกช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น - ถนนชาตะผดุง - สนามม้าจังหวัดขอนแก่น เป็น มหาวิทยาลัยขอนแก่น - ถนนชาตะผดุง - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 3
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๘๘ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๑๐ มหาวิทยาลัยขอนแก่น - สนามม้าจังหวัดขอนแก่น เส้นทางแยกช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น - ถนนชาตะผดุง - สนามม้าจังหวัดขอนแก่น เป็น มหาวิทยาลัยขอนแก่น - ถนนชาตะผดุง - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๔๔ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ลงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๑๐ มหาวิทยาลัยขอนแก่น - สนามม้าจังหวัดขอนแก่น ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น - ถนนชาตะผดุง - สนามม้าจังหวัดขอนแก่น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๑๐ มหาวิทยาลัยขอนแก่น - สนามม้าจังหวัดขอนแก่น เส้นทางแยกช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น - ถนนชาตะผดุง – สนามม้าจังหวัดขอนแก่น เป็น มหาวิทยาลัยขอนแก่น - ถนนชาตะผดุง - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๐ มหาวิทยาลัยขอนแก่น - สนามม้าจังหวัดขอนแก่น เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูด้านทิศใต้) ไปตามถนนมะลิวัลย์ ถนนประชาสโมสร ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แยกขวาไปตามถนนบ้านบะขาม ผ่านบ้านบะขาม แยกขวาไปตามถนนศรีจันทร์ ผ่านโรงพยาบาลขอนแก่น แยกขวาไปตามถนนหลังเมือง แยกซ้ายไปตามถนนอำมาตย์ แยกซ้ายไปตามถนนกลางเมือง แยกขวาไปตามถนนเหล่านาดี ผ่านโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสนามม้าจังหวัดขอนแก่น ช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น - ถนนชาตะผดุง - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูด้านทิศใต้) ไปตามถนนมะลิวัลย์ ถนนประชาสโมสร ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แยกขวาไปตามถนนชาตะผดุง แยกขวาไปตามถนนศรีจันทร์ ผ่านโรงพยาบาลขอนแก่น แยกขวาไปตามถนนหลังเมือง แยกซ้ายไปตามถนนอำมาตย์ แยกซ้ายไปตามถนนกลางเมือง แยกขวาไปตามถนนเหล่านาดี ผ่านโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านสนามม้าจังหวัดขอนแก่น แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๐ (ถนนเลี่ยงเมือง) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ นุสรา/ผู้ตรวจ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๕๕ ง/หน้า ๒๔๕/๓ มิถุนายน ๒๕๕๗
707167
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 187 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สายที่ 8 บ้านสามเหลี่ยม - บ้านดอนบม เป็น มหาวิทยาลัยขอนแก่น - บ้านดอนบม และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูกังสดาล) - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 3
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๘๗ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๘ บ้านสามเหลี่ยม - บ้านดอนบม เป็น มหาวิทยาลัยขอนแก่น - บ้านดอนบม และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูกังสดาล) - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๗๔ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ลงวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๐ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๘ บ้านสามเหลี่ยม - บ้านดอนบม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงบ้านสามเหลี่ยม - หมู่บ้านเกษมทรัพย์ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๘ บ้านสามเหลี่ยม - บ้านดอนบม เป็น มหาวิทยาลัยขอนแก่น - บ้านดอนบม และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูกังสดาล) - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๘ มหาวิทยาลัยขอนแก่น - บ้านดอนบม เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูด้านทิศใต้) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ (ถนนมะลิวัลย์) ถึงสี่แยกมิตรภาพ ไปตามถนนประชาสโมสร แยกขวาไปตามถนนกลางเมือง แยกซ้ายไปตามถนนริมบึงแก่นนคร ผ่านบ้านตูม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดอนบม ช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น - หมู่บ้านการเคหะขอนแก่น เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูด้านทิศใต้) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ (ถนนมะลิวัลย์) ถึงสี่แยกมิตรภาพ ไปตามถนนประชาสโมสร แยกขวาไปตามถนนกลางเมือง ถึงหมู่บ้านการเคหะขอนแก่น แยกซ้ายไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านการเคหะขอนแก่น ช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น - หมู่บ้านเกษมทรัพย์ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูด้านทิศใต้) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ (ถนนมะลิวัลย์) ถึงสี่แยกมิตรภาพ ไปตามถนนประชาสโมสร แยกขวาไปตามถนนกลางเมือง ผ่านหมู่บ้านการเคหะขอนแก่น ถึงทางแยกตัดถนนเลี่ยงเมือง แยกซ้าย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๐ (ถนนเลี่ยงเมือง) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านเกษมทรัพย์ ช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูกังสดาล) - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูกังสดาล) ไปตามถนนกัลปพฤกษ์ ผ่านวัดป่าอดุลยาราม ผ่านหอประชุมกาญจนาภิเษก เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ (ถนนมะลิวัลย์) ถึงสี่แยกถนนมิตรภาพ ไปตามถนนประชาสโมสร แยกขวาไปตามถนนกลางเมือง ผ่านหมู่บ้านการเคหะขอนแก่น ถึงถนนเลี่ยงเมือง เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๐ (ถนนเลี่ยงเมือง) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ นุสรา/ผู้ตรวจ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๕๕ ง/หน้า ๒๔๓/๓ มิถุนายน ๒๕๕๗
707163
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สายที่ 6 ตลาดสดเทศบาล 1 - บ้านเหล่านกชุม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดสดเทศบาล 1 - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 3
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๘๖ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๖ ตลาดสดเทศบาล ๑ - บ้านเหล่านกชุม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดสดเทศบาล ๑ – สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๘๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕) ลงวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๖ ตลาดสดเทศบาล ๑ - บ้านเหล่านกชุม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดสดเทศบาล ๑ - บ้านหนองใคร่นุ่น - บ้านท่าแร่ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๖ ตลาดสดเทศบาล ๑ - บ้านเหล่านกชุม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดสดเทศบาล ๑ - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๖ ตลาดสดเทศบาล ๑ - บ้านเหล่านกชุม เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดสดเทศบาล ๑ ไปตามถนนรื่นรมย์ แยกขวาไปตามถนนประชาสำราญ แยกซ้ายไปตามถนนศรีจันทร์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านบ้านกุดกว้าง บ้านท่าพระ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๘ ผ่านศูนย์วิจัยเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงบ้านหนองหญ้าแพรก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านท่าแร่ บ้านโนนเขวา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเหล่านกชุม ช่วงตลาดสดเทศบาล ๑ - บ้านหนองใคร่นุ่น - บ้านท่าแร่ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดสดเทศบาล ๑ ไปตามถนนรื่นรมย์ แยกขวาไปตามถนนประชาสำราญ แยกซ้ายไปตามถนนศรีจันทร์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านบ้านกุดกว้าง บ้านท่าพระ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๘ ถึงศูนย์วิจัยเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านวังหิน บ้านสวนมอญ บ้านหนองใคร่นุ่น บ้านหนองโข่ย บ้านดอนหัน บ้านดอนแดง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าแร่ ช่วงตลาดสดเทศบาล ๑ - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดสดเทศบาล ๑ ไปตามถนนรื่นรมย์ แยกขวาไปตามถนนประชาสำราญ แยกซ้ายไปตามถนนศรีจันทร์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านบ้านกุดกว้าง กลับรถไปตามถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๐ (ถนนเลี่ยงเมือง) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ นุสรา/ผู้ตรวจ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๕๕ ง/หน้า ๒๔๑/๓ มิถุนายน ๒๕๕๗
707161
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 185 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สายที่ 4 สนามม้าจังหวัดขอนแก่น - บ้านหนองน้ำเกลี้ยง เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 3 - บ้านหนองน้ำเกลี้ยง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๘๕ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๔ สนามม้าจังหวัดขอนแก่น - บ้านหนองน้ำเกลี้ยง เป็น สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ - บ้านหนองน้ำเกลี้ยง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๕๘ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๘ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๔ หมู่บ้านแลนด์แอนด์เฮ้าส์พาร์ค - บ้านหนองน้ำเกลี้ยง เป็น สนามม้าจังหวัดขอนแก่น - บ้านหนองน้ำเกลี้ยง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๔ สนามม้าจังหวัดขอนแก่น - บ้านหนองน้ำเกลี้ยง เป็น สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ - บ้านหนองน้ำเกลี้ยง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ - บ้านหนองน้ำเกลี้ยง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ ไปตามถนนเลี่ยงเมือง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านสนามม้าจังหวัดขอนแก่น แยกขวาไปตามถนนเหล่านาดี ผ่านโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย แยกซ้ายไปตามถนนหน้าเมือง แยกซ้ายไปตามถนนประชาสโมสร ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านโรงพยาบาลศรีนครินทร์ บ้านสำราญ บ้านเพี้ยฟาน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทาง บ้านหนองน้ำเกลี้ยง ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ นุสรา/ผู้ตรวจ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๕๕ ง/หน้า ๒๓๙/๓ มิถุนายน ๒๕๕๗
707157
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 184 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สายที่ 3 สนามม้าจังหวัดขอนแก่น - บ้านพรหมนิมิตร เป็น สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 3 - บ้านพรหมนิมิตร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๘๔ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๓ สนามม้าจังหวัดขอนแก่น - บ้านพรหมนิมิตร เป็น สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ - บ้านพรหมนิมิตร[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๕๒ (พ.ศ. ๒๕๔๕) ลงวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๓ สนามม้าจังหวัดขอนแก่น - บ้านห้วยสายบาตร เป็น สนามม้าจังหวัดขอนแก่น - บ้านพรหมนิมิตร และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี - บ้านพรหมนิมิตร นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๓ สนามม้าจังหวัดขอนแก่น - บ้านพรหมนิมิตร เป็น สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ - บ้านพรหมนิมิตร โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๓ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ - บ้านพรหมนิมิตร เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๓ ไปตามถนนเลี่ยงเมือง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านสนามม้าจังหวัดขอนแก่น แยกขวาไปตามถนนเหล่านาดี ถึงโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย แยกซ้ายไปตามถนนรถไฟ ถึงสถานีรถไฟขอนแก่น แยกขวาไปตามถนนรื่นรมย์ แยกซ้ายไปตามถนนประชาสำราญ แยกซ้ายไปตามถนนศรีจันทร์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกขวาไปตามถนนประชาสโมสร ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แยกขวาไปตามถนนหน้าเมือง แยกซ้ายไปตามถนนรื่นรมย์ แยกซ้ายไปตามถนนกลางเมือง แยกขวาไปตามถนนศรีจันทร์ ผ่านโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น บ้านบะขาม บ้านหนองใหญ่ บ้านท่าหิน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านพรหมนิมิตร ช่วงห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี - บ้านพรหมนิมิตร เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกขวาไปตามถนนประชาสโมสร ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แยกขวาไปตามถนนหน้าเมือง แยกซ้ายไปตามถนนรื่นรมย์ แยกซ้ายไปตามถนนกลางเมือง แยกขวาไปตามถนนศรีจันทร์ ผ่านโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น บ้านบะขาม บ้านหนองใหญ่ บ้านท่าหิน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านพรหมนิมิตร ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ นุสรา/ผู้ตรวจ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๕๕ ง/หน้า ๒๓๗/๓ มิถุนายน ๒๕๕๗
707155
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 183 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สายที่ 2 บ้านโคกฟันโปง - บ้านโคกน้อย ให้มีรายละเอียดเส้นทาง แยกช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูกังสดาล) - บ้านโคกน้อย
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๘๓ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๒ บ้านโคกฟันโปง - บ้านโคกน้อย ให้มีรายละเอียดเส้นทาง แยกช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูกังสดาล) – บ้านโคกน้อย[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๕๑ (พ.ศ. ๒๕๔๕) ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๒ บ้านโคกฟันโปง - บ้านโคกน้อย นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ได้พิจารณาเห็นสมควร ให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๒ บ้านโคกฟันโปง - บ้านโคกน้อย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูกังสดาล) - บ้านโคกน้อย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๒ บ้านโคกฟันโปง - บ้านโคกน้อย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกฟันโปง ไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหัวทุ่ง บ้านคำไฮ ถึงบ้านศรีฐาน ไปตามถนนศรีจันทร์ ผ่านห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ถึงศาลหลักเมือง แยกซ้ายไปตามถนนเทพารักษ์ แยกขวาไปตามถนนประชาสโมสร ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แยกขวาไปตามถนนหน้าเมือง แยกซ้ายไปตามถนนชวนชื่น แยกซ้ายไปตามถนนกลางเมือง แยกขวาไปตามถนนศรีจันทร์ ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙ ผ่านโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น บ้านบะขาม บ้านหนองใหญ่ ถึงทางแยกไปบ้านพระคือ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านพระคือ บ้านหนองโพธิ์ บ้านหนองแสง ไปสุดสิ้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกน้อย ช่วงมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูกังสดาล) - บ้านโคกน้อย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูกังสดาล) ไปตามถนนกัลปพฤกษ์ ถึงบ้านศรีฐาน ไปตามถนนศรีจันทร์ ผ่านห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ถึงศาลหลักเมือง แยกซ้ายไปตามถนนเทพารักษ์ แยกขวาไปตามถนนประชาสโมสร ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แยกขวาไปตามถนนหน้าเมือง แยกซ้ายไปตามถนนชวนชื่น แยกซ้ายไปตามถนนกลางเมือง แยกขวาไปตามถนนศรีจันทร์ ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙ ผ่านโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น บ้านบะขาม บ้านหนองใหญ่ ถึงทางแยกไปบ้านพระคือ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านพระคือ บ้านหนองโพธิ์ บ้านหนองแสง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกน้อย ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ นุสรา/ผู้ตรวจ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๕๕ ง/หน้า ๒๓๕/๓ มิถุนายน ๒๕๕๗
706417
ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง บริษัทประกันภัยที่นายทะเบียนกลางให้ความเห็นชอบ พ.ศ. 2557
ประกาศนายทะเบียนกลาง ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง บริษัทประกันภัยที่นายทะเบียนกลางให้ความเห็นชอบ พ.ศ. ๒๕๕๗[๑] ตามที่ได้มีประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง บริษัทประกันภัยที่นายทะเบียนกลางให้ความเห็นชอบ ลงวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๓๗ ไว้แล้ว นั้น โดยที่ประกาศดังกล่าวนายทะเบียนกลางได้ให้ความเห็นชอบบริษัทประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการประเภทประกันภัยรถจากกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ เป็นบริษัทประกันภัยที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งสามารถนำสัญญาประกันภัย และกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งทำกับบริษัทประกันภัยดังกล่าวมาวางเป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกได้ แต่เนื่องจากปัจจุบันพระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้บัญญัติให้คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจประกันภัยแทนกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ นายทะเบียนกลางออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง บริษัทประกันภัยที่นายทะเบียนกลางให้ความเห็นชอบ ลงวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ข้อ ๒ ให้บริษัทประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยประเภทการประกันภัยรถตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย เป็นบริษัทประกันภัยที่นายทะเบียนกลางให้ความเห็นชอบให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งสามารถนำสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งทำกับบริษัทประกันภัยดังกล่าว มาวางเป็นหลักทรัพย์สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเพื่อประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกได้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗ อัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายทะเบียนกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๗ พจนา/ผู้ตรวจ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๘๖ ง/หน้า ๒๒/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๗
706170
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดจันทบุรี ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทางหมวด 4 จังหวัดจันทบุรี สายที่ 6072 นายายอาม - บ้านขุนซ่อง เป็น นายายอาม - บ้านคลองยาง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนายายอาม - บ้านน้ำขุ่น และช่วงนายายอาม - บ้านคลองครก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทางหมวด ๔ จังหวัดจันทบุรี สายที่ ๖๐๗๒ นายายอาม – บ้านขุนซ่อง เป็น นายายอาม – บ้านคลองยาง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนายายอาม – บ้านน้ำขุ่น และช่วงนายายอาม – บ้านคลองครก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดจันทบุรี ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ลงวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๐ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร สายที่ ๖๐๗๒ นายายอาม - บ้านขุนซ่อง ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดจันทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางดังกล่าว เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดจันทบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทางหมวด ๔ จังหวัดจันทบุรี สายที่ ๖๐๗๒ นายายอาม - บ้านขุนซ่อง เป็น นายายอาม - บ้านคลองยาง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนายายอาม - บ้านน้ำขุ่น และช่วงนายายอาม - บ้านคลองครก โดยมีรายละเอียดเส้นทางดังนี้คือ สายที่ ๖๐๗๒ นายายอาม – บ้านคลองยาง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอนายายอาม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐๖ ผ่านบ้านชากใหญ่ บ้านเขาวง ถึงแยกหนองกวาง แยกไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข จบ.๔๐๑๒ ผ่านบ้านประแกต บ้านช่องกะพัด บ้านหนองตลาด บ้านขุนซ่อง ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข จบ.๓๐๒๘ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคลองยาง ช่วงนายายอาม - บ้านน้ำขุ่น เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอนายายอาม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐๖ ผ่านบ้านชากใหญ่ บ้านเขาวง ถึงแยกหนองกวาง แยกไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข จบ.๔๐๑๒ ผ่านบ้านประแกต ถึงแยกแก่งหางแมว แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข จบ.๔๐๐๙ ผ่านบ้านชำตาเรือง ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านน้ำขุ่น ช่วงนายายอาม - บ้านคลองครก เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอนายายอาม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐๖ ผ่านบ้านชากใหญ่ บ้านเขาวง ถึงแยกหนองกวาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข จบ.๔๐๒๓ ผ่านบ้านหนองสร้อย บ้านพวา บ้านบ่อไฟไหม้ ไปสิ้นสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคลองครก ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ สุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดจันทบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๕๒ ง/หน้า ๗๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗
705722
ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง เกี่ยวกับการประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ พ.ศ. 2557
ประกาศนายทะเบียนกลาง ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง เกี่ยวกับการประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและ รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ พ.ศ. ๒๕๕๗[๑] เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนกลางจึงมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางไว้ ดังต่อไปนี้ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการบรรจุรถและถอนรถของการประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและเขตจังหวัดอื่น ๑. รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก ๒. ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ ๓. หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ ๔. นักวิชาการขนส่งในกลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ ๕. เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานในกลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ ๖. ขนส่งจังหวัด ๗. หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัด ๘. หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗ อัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายทะเบียนกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗ อุษมล/ผู้ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๒/๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗
704968
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ที่มีโทษปรับสถานเดียว
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรมอบหมายอำนาจในการเปรียบเทียบความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และมาตรา ๖๗ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบอำนาจเปรียบเทียบบรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียวไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๒ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งมีโทษปรับสถานเดียวที่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครและในเขตจังหวัดอื่นให้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิด (๑) ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งผู้โดยสาร และผู้อำนวยการสำนักการขนส่งสินค้า (๒) ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, และ ๔ และผู้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการขนส่ง เจ้าพนักงานขนส่งตั้งแต่ระดับชำนาญงานขึ้นไป หรือนายช่างตรวจสภาพรถตั้งแต่ระดับชำนาญงานขึ้นไป ในสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่นั้น ๆ (๓) ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ หัวหน้าส่วนทะเบียนรถยนต์ หัวหน้าส่วนทะเบียนรถขนส่ง หัวหน้าส่วนตรวจสภาพรถ ผู้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการขนส่ง เจ้าพนักงานขนส่งตั้งแต่ระดับชำนาญงานขึ้นไป และนายช่างตรวจสภาพรถตั้งแต่ระดับชำนาญงานขึ้นไป ในสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ (๔) ผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่งทางบก ผู้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการขนส่ง และเจ้าพนักงานขนส่งตั้งแต่ระดับชำนาญงานขึ้นไป ในกองตรวจการขนส่งทางบก (๕) ขนส่งจังหวัด ผู้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการขนส่ง เจ้าพนักงานขนส่งตั้งแต่ระดับชำนาญงานขึ้นไปและนายช่างตรวจสภาพรถ ในสำนักงานขนส่งจังหวัด (๖) หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานขนส่งตั้งแต่ระดับชำนาญงานขึ้นไป และนายช่างตรวจสภาพรถ ในสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา ข้อ ๓ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งมีโทษปรับสถานเดียวที่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครให้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดเฉพาะส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน (๑) ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ หัวหน้าส่วนควบคุมบัญชีรถและเครื่องยนต์ ผู้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการขนส่ง และเจ้าพนักงานขนส่งตั้งแต่ระดับชำนาญงานขึ้นไปในส่วนควบคุมบัญชีรถและเครื่องยนต์ สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ (๒) หัวหน้าส่วนประกอบการขนส่งสินค้าในสำนักการขนส่งสินค้า หัวหน้าส่วนการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง หัวหน้าส่วนการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทาง ในสำนักการขนส่งผู้โดยสาร ผู้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการขนส่ง และเจ้าพนักงานขนส่งตั้งแต่ระดับชำนาญงานขึ้นไป ในส่วนนั้น ๆ ข้อ ๔ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งมีโทษปรับสถานเดียวที่เกิดขึ้นในบริเวณสถานีขนส่งสินค้าให้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิด (๑) หัวหน้าส่วนสถานีขนส่งสินค้า และผู้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการขนส่ง ในส่วนสถานีขนส่งสินค้าสำนักการขนส่งสินค้า (๒) เจ้าพนักงานขนส่งตั้งแต่ระดับชำนาญงานขึ้นไป ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ที่สถานีขนส่งสินค้า ข้อ ๕ ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการขนส่ง ตามข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ และผู้ดำรงตำแหน่งนายช่างตรวจสภาพรถตามข้อ ๒ ต้องมิใช่ผู้ที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ อัษฌไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๗ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๖๔ ง/หน้า ๒๗/๑๘ เมษายน ๒๕๕๗
702656
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดความส่องสว่างของโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2557
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดความส่องสว่างของโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำ ของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๕๗ อาศัยอำนาจตามความใน ข้อ ๑ (๓) และข้อ ๑๓ (๓) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ออกประกาศกำหนดความส่องสว่างของโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “รถ” หมายความว่า “รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๑ มาตรฐาน ๒ มาตรฐาน ๓ มาตรฐาน ๔ มาตรฐาน ๖ มาตรฐาน ๗ และรถขนาดเล็ก และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๑ ลักษณะ ๒ ลักษณะ ๓ ลักษณะ ๔ ลักษณะ ๕ และลักษณะ ๙ และให้หมายความรวมถึงคัสซีของรถดังกล่าวด้วย “หลอดไฟไส้ขดลวด” (Filament Light Source) หมายความว่า แหล่งกำเนิดแสงซึ่งส่องแสงที่เกิดจากการแผ่ความร้อนของขดลวดหนึ่งขดหรือมากกว่า “หลอดไฟแอลอีดี” (Light - emitting diode) หมายความว่า แหล่งกำเนิดแสงซึ่งส่องแสงที่เกิดจากปฏิกิริยาเมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปในไดโอด “หลอดไฟปล่อยประจุในก๊าซ” (Gas - discharge light source) หมายความว่า แหล่งกำเนิดแสงซึ่งส่องแสงที่เกิดจากปฏิกิริยาการปล่อยประจุไฟฟ้าเข้าไปในก๊าซที่บรรจุภายในหลอด “แกนอ้างอิงของโคมไฟ” (Axis of reference หรือ Reference axis) หมายความว่า แกนลักษณะเฉพาะของโคมไฟที่กำหนดโดยผู้ผลิตโคมไฟ เพื่อใช้เป็นทิศทางอ้างอิงสำหรับการวัดความเข้มของแสงส่องสว่างและการติดตั้งโคมไฟบนรถ ข้อ ๒ โคมไฟแสงพุ่งไกลหรือโคมไฟแสงพุ่งต่ำของรถที่ใช้หลอดไฟไส้ขดลวด หลอดไฟแอลอีดี หรือหลอดไฟปล่อยประจุในก๊าซ ต้องมีคุณสมบัติและคุณลักษณะ ดังนี้ (๑) เมื่อส่องแสงพุ่งต่ำ สามารถให้แสงสว่างได้เพียงพอโดยไม่ก่อให้เกิดความรำคาญ (๒) เมื่อส่องแสงพุ่งไกล สามารถให้แสงสว่างได้ดี (๓) ต้องสามารถทำงานภายใต้ภาวการณ์สั่นสะเทือน (๔) เมื่อติดตั้งบนรถแล้วสามารถปรับทิศทางการส่องสว่างให้เป็นไปตามที่กำหนดได้ ข้อ ๓ เมื่อทำการตรวจสอบโคมไฟแสงพุ่งต่ำโดยใช้เครื่องทดสอบโคมไฟหน้า (Headlight Tester) หรือโดยการส่องแสงสว่างจากโคมไฟแสงพุ่งต่ำไปที่ฉากรับแสงทำมุมตั้งฉากกับแนวแกนอ้างอิงของโคมไฟที่ระยะไม่เกิน ๑๐ เมตร แสงสว่างที่ออกจากโคมไฟแสงพุ่งต่ำต้องมีทิศทางส่องสว่างไปด้านหน้าและต้องแสดงแนวจำกัดแสงที่ชัดเจน โดยแนวจำกัดแสงต้องมีลักษณะ ดังนี้ (๑) แนวจำกัดแสงแนวราบ (Horizontal part) ต้องอยู่ด้านขวาของแนวแกนอ้างอิงของโคมไฟแนวดิ่ง โดยต้องไม่สูงกว่าแกนอ้างอิงของโคมไฟแนวราบ และมีมุมกดระหว่างร้อยละ ๐.๕ - ๔.๐ (๐.๒๙ - ๒.๒๙ องศา) (๒) จุดหักของแนวจำกัดแสง (Elbow) และแนวจำกัดแสงแนวเฉียง (Shoulder) ต้องอยู่บนแนวแกนอ้างอิงของโคมไฟแนวดิ่งหรือที่ด้านซ้ายของแนวแกนอ้างอิงของโคมไฟแนวดิ่ง การตรวจสอบโคมไฟแสงพุ่งต่ำโดยการส่องแสงสว่างไปที่ฉากรับแสงตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามวิธีการตรวจสอบแนวจำกัดแสงท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ โคมไฟแสงพุ่งไกลหรือโคมไฟแสงพุ่งต่ำของรถที่ใช้หลอดไฟปล่อยประจุในก๊าซเป็นแหล่งกำเนิดแสง ให้ติดตั้งได้ไม่เกินข้างละ ๑ ดวง ข้อ ๕ เมื่อใช้โคมไฟแสงพุ่งไกลพร้อมกันทุกดวง ความเข้มส่องสว่างที่ออกจากโคมไฟทุกดวงรวมกันต้องไม่เกิน ๔๓๐,๐๐๐ แคนเดลา ข้อ ๖ หลอดไฟไส้ขดลวดที่ติดตั้งในโคมไฟแสงพุ่งไกลหรือโคมไฟแสงพุ่งต่ำ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมว่าด้วยหลอดไฟฟ้าชนิดไส้ขดลวดที่ใช้ในชุดโคมไฟยานยนต์และส่วนพ่วง (มอก. ๒๒๘๙ - ๒๕๔๙ ขึ้นไป) (ข) มาตรฐานตามข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจของยุโรปแห่งสหประชาชาติ ข้อกำหนดที่ ๓๗ ว่าด้วยหลอดไฟไส้ขดลวด อนุกรมที่ ๐๐ (United Nations Economic Commission for Europe, Regulation No. ๓๗ : Filament Light Source; Series ๐๐) ขึ้นไป ข้อ ๗ หลอดไฟปล่อยประจุในก๊าซที่ติดตั้งในโคมไฟแสงพุ่งไกลหรือโคมไฟแสงพุ่งต่ำ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมว่าด้วยแหล่งกำเนิดแสงชนิดปล่อยประจุในก๊าซที่ใช้ในโคมไฟของยานยนต์ (มอก. ๒๒๙๓ - ๒๕๔๙ ขึ้นไป) (ข) มาตรฐานตามข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจของยุโรปแห่งสหประชาชาติ ข้อกำหนดที่ ๙๙ ว่าด้วยหลอดไฟปล่อยประจุในก๊าซ อนุกรมที่ ๐๐ (United Nations Economic Commission for Europe, Regulation No. ๙๙ : Gas Discharge Light Source; Series ๐๐) ขึ้นไป ข้อ ๘[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ อัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. วิธีการตรวจสอบแนวจำกัดแสงของโคมไฟแสงพุ่งต่ำโดยการส่องแสงสว่างไปที่ฉากรับแสง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ อุษมล/ผู้ตรวจ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๓๓ ง/หน้า ๓๑/๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
701823
ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง พ.ศ. 2557
ประกาศนายทะเบียนกลาง ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง พ.ศ. ๒๕๕๗ ตามที่ได้มีประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขการมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางเสียใหม่ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนกลางจึงมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้อ ๔ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายบริหาร) กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต (๓) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การบรรจุรถ (ฉ) การเปลี่ยนรถ (ช) การถอนรถ (ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้โดยสาร ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (๗) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๘) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๙) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๐) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือมิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดอื่น เปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๑) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๓) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก (๑๔) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามความในมาตรา ๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๕) การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ ข้อ ๕ ให้ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งผู้โดยสาร เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๓) (๑๔) และ (๑๕) ข้อ ๖ ให้หัวหน้าส่วนการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสาร เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ), ข้อ ๔ (๓) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ), ข้อ ๔ (๗) (๑๐) (๑๑) (๑๕) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ดังนี้ (๑) การรับหลักทรัพย์เป็นเงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาวางเพิ่มเติม (๓) การถอนหลักทรัพย์ กรณีนายทะเบียนสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่ง หรือขอถอนหลักทรัพย์บางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง หรือการถอนหลักทรัพย์เดิมเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเปลี่ยนการวางหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว หรือถอนหลักทรัพย์ไปชำระตามคำบังคับคดีของศาลเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน (๔) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ ข้อ ๗ ให้หัวหน้างานการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง ๑, ๒, ๓ และ ๔ ส่วนการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสาร เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (ฉ) (ช) (ซ), ข้อ ๔ (๗) (๑๕) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ดังนี้ (๑) การรับหลักทรัพย์เป็นเงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกัน ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก (๒) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ ข้อ ๘ ให้นักวิชาการขนส่งในส่วนการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสาร เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๑) (ฉ) (ช) และ (ซ) ข้อ ๙ ให้หัวหน้าส่วนการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสาร เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๒) (๔), ข้อ ๔ (๕) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช), ข้อ ๔ (๘) (๑๑) (๑๕) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ดังนี้ (๑) การรับหลักทรัพย์เป็นเงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกัน ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติม (๓) การถอนหลักทรัพย์ กรณีนายทะเบียนสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่ง หรือขอถอนหลักทรัพย์บางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง หรือการถอนหลักทรัพย์เดิมเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเปลี่ยนการวางหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว หรือถอนหลักทรัพย์ไปชำระตามคำบังคับคดีของศาลเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน (๔) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ ข้อ ๑๐ ให้หัวหน้างานการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสาร ส่วนการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสาร เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๒) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ), ข้อ ๔ (๕) (จ) (ฉ) (ช), ข้อ ๔ (๘) (๑๕) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ดังนี้ (๑) การรับหลักทรัพย์เป็นเงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกัน ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก (๒) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ ข้อ ๑๑ ให้นักวิชาการขนส่งในส่วนการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสาร เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๔ (๕) (จ) (ฉ) และ (ช) ข้อ ๑๒ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ) กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต (๒) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การบรรจุรถ (ฉ) การเปลี่ยนรถ (ช) การถอนรถ (ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๔) การจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (๕) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือมิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๗) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๘) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก (๙) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามความในมาตรา ๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๐) การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ (๑๑) การดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๓ ให้ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งสินค้า เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๒ (๑) (๒) (๓) (๔) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) ข้อ ๑๔ ให้หัวหน้าส่วนประกอบการขนส่งสินค้า สำนักการขนส่งสินค้า เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๒ (๑) (๒) (๓) (๑๐) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ดังนี้ (๑) การรับหลักทรัพย์เป็นเงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกัน ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก (๒) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติม (๓) การถอนหลักทรัพย์ กรณีนายทะเบียนสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแจ้งเลิกประกอบการขนส่ง หรือขอถอนหลักทรัพย์บางส่วนให้เท่ากับจำนวนรถที่ลดลง หรือการถอนหลักทรัพย์เดิมเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเปลี่ยนการวางหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว หรือถอนหลักทรัพย์ไปชำระตามคำบังคับคดีของศาลเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน (๔) การออกหนังสือสำคัญรับรองการวางหลักทรัพย์ ข้อ ๑๕ ให้นักวิชาการขนส่งในส่วนประกอบการขนส่งสินค้า สำนักการขนส่งสินค้า เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๒ (๓) (จ) (ฉ) และ (ช) ข้อ ๑๖ ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๒ (๑๑) ข้อ ๑๗ ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานครในเส้นทางหมวด ๔ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๓) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การบรรจุรถ (ฉ) การเปลี่ยนรถ (ช) การถอนรถ (ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต (๔) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๕) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๖) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารภายในเขตกรุงเทพมหานคร ในเส้นทางหมวด ๔ ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๗) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือมิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๘) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๙) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๐) การดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล และการรับวางหลักทรัพย์เป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย (๑๑) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ (๑๒) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามความในมาตรา ๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๓) การอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวงตามความในมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๔) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถจัดการส่งรถไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามความในมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๕) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถที่ได้ทำการซ่อมแซม ปรับปรุง หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตแล้วตามความในมาตรา ๘๔ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๖) การดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การเพิกถอนใบอนุญาต (๑๗) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๘ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๓) (๑๔) (๑๕) (๑๖) (๑๗) ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ หรือพื้นที่อื่นตามที่นายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๑๙ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๑๑) ข้อ ๒๐ ให้นักวิชาการขนส่งในกลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑) (๒), ข้อ ๑๗ (๓) (ค) (จ) (ฉ) (ช), ข้อ ๑๗ (๔) และ (๕) ข้อ ๒๑ ให้เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงานในกลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๓) (ค) (จ) (ฉ) และ (ช) ข้อ ๒๒ ให้หัวหน้าส่วนทะเบียนรถขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ และหัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑๐) (๑๓) (๑๔) และ (๑๕) ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ หรือพื้นที่อื่นตามที่นายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๒๓ ให้หัวหน้างานทะเบียนรถโดยสารและหัวหน้างานทะเบียนรถบรรทุก ส่วนทะเบียนรถขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ใน ข้อ ๑๗ (๑๐) (๑๓) และ (๑๕) ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ หรือพื้นที่อื่นตามที่นายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๒๔ ให้หัวหน้าส่วนใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ และหัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑๗) ข้อ ๒๕ ให้หัวหน้างานใบอนุญาตผู้ประจำรถและใบอนุญาตขับรถอื่น ส่วนใบอนุญาตขับรถสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑๗) ข้อ ๒๖ ให้หัวหน้าส่วนตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ และหัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑๓) (๑๔) และ (๑๕) ข้อ ๒๗ ให้หัวหน้างานตรวจสภาพรถขนส่ง ส่วนตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ ในข้อ ๑๗ (๑๓) และ (๑๕) ข้อ ๒๘ ให้ผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑๒) (๑๔) และข้อ ๑๗ (๑๗) (ง) (จ) ข้อ ๒๙ ให้หัวหน้าฝ่ายตรวจการและหัวหน้าฝ่ายสืบสวน กองตรวจการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑๒) (๑๔) และข้อ ๑๗ (๑๗) (ง) (จ) ข้อ ๓๐ ให้หัวหน้าฝ่ายเปรียบเทียบ กองตรวจการขนส่งทางบก เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๑๗ (๑๒) (๑๔) และข้อ ๑๗ (๑๗) (ง) (จ) ข้อ ๓๑ ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารการคลังและรายได้ เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไทย ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางเป็นประกันความเสียหายที่เกิดจากการขนส่งตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามความในมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ กรมการขนส่งทางบก ข้อ ๓๒ ให้ขนส่งจังหวัด เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับ (๑) การประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัด ซึ่งมิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การบรรจุรถ (ข) การเปลี่ยนรถ (ค) การถอนรถ (๒) การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามมติที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต (๓) การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การบรรจุรถ (ฉ) การเปลี่ยนรถ (ช) การถอนรถ (ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต (๔) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขในใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติในหลักการไว้ (ฉ) การบรรจุรถ (ช) การเปลี่ยนรถ (ซ) การถอนรถ (ฌ) การลดจำนวนรถตามเงื่อนไข ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด (ญ) การเพิกถอนใบอนุญาต การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๕) การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต (จ) การบรรจุรถ (ฉ) การเปลี่ยนรถ (ช) การถอนรถ (ซ) การเพิกถอนใบอนุญาต การออกใบอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๖ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและมีปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๗) การอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดที่มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบใช้รถดังกล่าวผิดประเภทเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือใช้ทำการขนส่งนอกท้องที่เป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๘) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มิได้มีจุดต้นทางอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครแต่มีจุดต้นทางหรือปลายทางอยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถเป็นการชั่วคราว หรือส่งรถที่ได้รับอนุญาตให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดที่เกินกว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนรถขั้นต่ำในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๙) การสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ส่งรถไปทำการขนส่งช่วยเหลือเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่งตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๐) การผ่อนผันการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีรถ (๑๑) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น (๑๒) การเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามความในมาตรา ๔๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๓) การดำเนินการเกี่ยวกับสถานตรวจสภาพรถ สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การเพิกถอนใบอนุญาต (๑๔) การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ดังนี้ (ก) การออกใบอนุญาต (ข) การต่ออายุใบอนุญาต (ค) การออกใบแทนใบอนุญาต (ง) การสั่งพักใช้ใบอนุญาต (จ) การเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๓ ให้หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัด เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓๒ (๑), ข้อ ๓๒ (๒) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ), ข้อ ๓๒ (๓), ข้อ ๓๒ (๔) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ), ข้อ ๓๒ (๕) (จ) (ฉ) (ช), ข้อ ๓๒ (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) และข้อ ๓๒ (๑๔) (ง) (จ) ข้อ ๓๔ ให้หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัด เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓๒ (๑๔) ข้อ ๓๕ ให้หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา เป็นผู้ทำการแทน (ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ) ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในข้อ ๓๒ (๓), ข้อ ๓๒ (๕) (จ) (ฉ) (ช), ข้อ ๓๒ (๑๐) (๑๒) (๑๔) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งใบอนุญาตได้ออกให้ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดสาขานั้น ข้อ ๓๖ ในกรณีนายทะเบียนกลางได้มอบหมายอำนาจหน้าที่เรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ อัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายทะเบียนกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ อังศุมาลี/ผู้ตรวจ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๕ ง/หน้า ๓๑/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
701815
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้มีประกาศกำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบการทำงานเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ เงื่อนไขในการรับรองเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ และการรายงานข้อมูลการใช้งานของรถเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ (๑) (ต) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔ เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถต้องมีระบบการทำงาน ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องทำงานตลอดเวลาที่เครื่องยนต์ทำงานหรือรถเคลื่อนที่ (๒) สามารถทำงานให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดไว้ตามข้อ ๓ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถจัดส่งข้อมูลดังต่อไปนี้ ในลักษณะที่เป็นปัจจุบัน (Real time) ผ่านทางโครงข่ายโทรคมนาคมหรือระบบสารสนเทศให้กรมการขนส่งทางบกตามรูปแบบและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ (ก) ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ได้แก่ หมายเลขการรับรองเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (Vendor Identifier) และหมายเลขเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (GPS Unit Identifier) (ข) ข้อมูลการใช้งานของรถ ได้แก่ วัน เวลา ความเร็ว ตำแหน่งพิกัด สถานะของเครื่องยนต์ สถานะของสัญญาณ (GPS Fix Status) สถานะของข้อมูล (Data Status) และลำดับของข้อมูล (Record Sequence Number) (ค) ข้อมูลผู้ขับรถ ได้แก่ ประเภทใบอนุญาตขับรถ หมายเลขใบอนุญาตขับรถและจังหวัดที่ออกใบอนุญาต (ง) ข้อมูลการปลดหรือถอดเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๖ การขอรับการตรวจสอบและรับรองคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ให้ผู้ให้บริการระบบติดตามรถยื่นคำขอ ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน กรณีเป็นคนต่างด้าวให้ยื่นภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมด้วยใบสำคัญถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (๒) กรณีเป็นนิติบุคคลให้ยื่นภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล พร้อมด้วยภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม กรณีผู้มีอำนาจลงนามเป็นคนต่างด้าวให้ยื่นภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมด้วยใบสำคัญถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (๓) หนังสือมอบอำนาจพร้อมด้วยภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ กรณีมีการมอบอำนาจให้กระทำการแทน (๔) ภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม (๕) ภาพถ่ายใบรับรองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ (๖) ชนิด แบบ และเอกสารแสดงข้อกำหนดทางเทคนิค (Technical Specification) ของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ อุปกรณ์บ่งชี้ผู้ขับรถ พร้อมด้วยเอกสารรับรองอื่นที่เกี่ยวข้อง (๗) คู่มือการใช้งานเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ พร้อมอุปกรณ์บ่งชี้ผู้ขับรถ” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๗ เมื่อตรวจสอบแล้วปรากฏว่า เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถมีคุณลักษณะเป็นไปตามที่กำหนดและผู้ให้บริการระบบติดตามรถดำเนินการเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System: GPS) ของกรมการขนส่งทางบกเรียบร้อยแล้ว กรมการขนส่งทางบกจะออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้ให้บริการระบบติดตามรถ” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๙ เมื่อผู้ให้บริการระบบติดตามรถติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งรายใดแล้ว ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) ติดเครื่องหมายการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกไว้ที่เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ หรือบริเวณใกล้เคียงกับเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ หรือภายในห้องผู้ขับรถ ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน โดยเครื่องหมายดังกล่าวต้องชัดเจน ไม่ลบเลือน (๒) ออกหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ให้กับผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถนำไปใช้เป็นหลักฐานประกอบการตรวจสภาพรถและดำเนินการทางทะเบียน (๓) ส่งข้อมูลการติดตั้ง เปลี่ยน ถอด หรือยกเลิกการใช้ เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ให้แก่กรมการขนส่งทางบก (๔) ส่งข้อมูลตามข้อ ๔ (๒) ให้แก่กรมการขนส่งทางบกในลักษณะที่เป็นปัจจุบัน (Real Time) (๕) จัดเก็บข้อมูลการใช้งานของรถที่ติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางไว้ไม่น้อยกว่า ๖ เดือน และต้องจัดส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่กรมการขนส่งทางบกเมื่อมีการร้องขอหรือเมื่อต้องการตรวจสอบ การส่งข้อมูลตาม (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกแบบเครื่องหมายการรับรองเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้แบบเครื่องหมายการรับรองเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๖ ผู้ให้บริการระบบติดตามรถต้องแก้ไขปรับปรุงเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ได้รับการรับรองไว้ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้มีระบบการทำงานและสามารถรายงานข้อมูลการใช้งานของรถให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ข้อ ๗[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ อัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. การส่งข้อมูลตามประกาศข้อ ๙ (๓) และ (๔) ๒. แบบเครื่องหมายการรับรองเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ๓. แบบหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ อังศุมาลี/ผู้ตรวจ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๕ ง/หน้า ๒๑/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
701617
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ 68 (พ.ศ. 2556) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสงขลา สายที่ 1881 สงขลา - จะนะ - สะบ้าย้อย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มอีก 2 ช่วง คือ ช่วงสงขลา - บ้านทรายขาว และช่วงสงขลา - สี่แยกบ้านแขยง - หาดใหญ่
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๖๘ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่ ๑๘๘๑ สงขลา - จะนะ - สะบ้าย้อย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มอีก ๒ ช่วง คือ ช่วงสงขลา - บ้านทรายขาว และช่วงสงขลา - สี่แยกบ้านแขยง - หาดใหญ่[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๕๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ลงวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่ ๑๘๘๑ สงขลา - จะนะ เป็น สงขลา - จะนะ - สะบ้าย้อย นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ และครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๕ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๕ และครั้งที่ ๖/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่ ๑๘๘๑ สงขลา - จะนะ - สะบ้าย้อย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มอีก ๒ ช่วง คือ ช่วงสงขลา - บ้านทรายขาว และช่วงสงขลา - สี่แยกบ้านแขยง - หาดใหญ่ โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ หมวด ๔ สายที่ ๑๘๘๑ ชื่อเส้นทาง สงขลา - จะนะ - สะบ้าย้อย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสงขลา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๗ (ถนนกาญจนวนิช) ถึงแยกสำโรง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ ผ่านบ้านทุ่งหวัง บ้านควนมีด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘๖ ผ่านอำเภอจะนะ ถึงแยกจะนะ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๓ ผ่านบ้านสะกอม บ้านกรงอิตำ ถึงแยกพระพุทธ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘๕ ผ่านอำเภอเทพา บ้านป่ากอ บ้านแม่ที บ้านลำไพล แยกลำไพล ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสะบ้าย้อย ช่วงอำเภอจะนะ - วัดแหลมพ้อ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอจะนะ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘๖ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ ผ่านบ้านควนมีด บ้านทุ่งหวัง ถึงบ้านอ่างทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ ผ่านบ้านเกาะแต้ว แยกน้ำกระจาย ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดแหลมพ้อ ช่วงสงขลา - บ้านทรายขาว เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสงขลา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๗ (ถนนกาญจนวนิช) ถึงแยกสำโรง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ ผ่านบ้านทุ่งหวัง บ้านควนมีด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘๖ ผ่านอำเภอจะนะ สถานีรถไฟจะนะ แยกขวาไปตามถนน อบจ. สข. ๒๐๒๐ ผ่านบ้านโครตเค็ต บ้านท่าชะมวง บ้านลางา บ้านท่าล้อ บ้านเกษมรัตน์ แยกขวาไปตามถนน อบจ. สข. ๓๐๓๕ ผ่านบ้านสะพานไม้แก่น วัดสะพานไม้แก่น กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๓๒ ป้อมยาม ม. ๘ แยกขวาไปตามถนนกรมโยธาธิการ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านทรายขาว ช่วงสงขลา - สี่แยกบ้านแขยง - หาดใหญ่ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสงขลา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๗ (ถนนกาญจนวนิช) ถึงแยกสำโรง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ ผ่านบ้านสวนตูล บ้านด่าน บ้านเกาะวา บ้านอ่างทอง บ้านทุ่งหวัง ถึงแยกบ้านแขยง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สข. ๓๐๑๕ ผ่านบ้านต้นเดา บ้านทรายขาว แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สข ๓๐๐๕ ผ่านบ้านทำเนียบ บ้านหินเกลี้ยง ถึงแยกบ้านนาหลา แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สข. ๓๐๓๑ ถึงวัดเขากลอย แยกขวาไปตามถนน อบจ. สข. ๒๐๘๕ (ถนนปุณณกัณฑ์) ผ่านบ้านทุ่งงาย หมู่บ้านไทยสมุทร โรงเรียน มอ. วิทยานุสรณ์ ประตู ๑๐๙ มอ. ถึงแยกปุณณกัณฑ์ แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนวนิช ผ่านตลาดคลองเรียน วิทยาลัยการอาชีพหลวงประธานราษฎร์นิกร ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสาร อำเภอหาดใหญ่ แห่งที่ ๑ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ กฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ อุษมล/ผู้ตรวจ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๑ ง/หน้า ๑๒๓/๓๐ มกราคม ๒๕๕๗
701613
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ 67 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๖๗ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร ขึ้น เพื่อทดแทนเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กที่จะยกเลิกเส้นทาง และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๖ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสงขลา จำนวน ๒ เส้นทาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ หมวด ๔ สายที่ ๘๕๘๔ หาดใหญ่ - บ้านดอนขี้เหล็ก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหาดใหญ่ แห่งที่ ๑ ไปตามถนนกาญจนวนิช แยกซ้ายไปตามถนนศรีภูวนารถ แยกขวาไปตามถนนนิพัทธ์อุทิศ ๒ แยกซ้ายไปตามถนนศุภสารรังสรรค์ แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านวงเวียนน้ำพุ ถึงแยกคอหงส์ แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนวนิช ผ่านสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ ตลาดนัดบ้านเกาะหมี บ้านน้ำน้อย ถึงตลาดนัดควนหิน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท สข. ๓๐๑๕ ผ่านบ้านห้วยขัน โรงเรียนบ้านดอนขี้เหล็ก ถึงแยกบ้านบ่อระกำ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท สข. ๓๐๑๕ ผ่านบ้านใต้ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดอนขี้เหล็ก หมวด ๔ สายที่ ๘๕๘๕ สงขลา - บ้านดอนขี้เหล็ก เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสงขลา ไปตามถนนไทรบุรี แยกซ้ายไปตามถนนสงขลาบุรี แยกขวาไปตามถนนกาญจนวนิช ผ่านแยกสำโรง มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยทักษิณ บ้านเขาแก้ว แยกน้ำกระจาย บ้านน้ำกระจาย ถึงตลาดนัดควนหิน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท สข. ๓๐๑๕ ผ่านบ้านห้วยขัน โรงเรียนบ้านดอนขี้เหล็ก ถึงแยกบ้านบ่อระกำ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท สข. ๓๐๑๕ ผ่านบ้านใต้ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดอนขี้เหล็ก ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ กฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ อุษมล/ผู้ตรวจ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๑ ง/หน้า ๑๒๑/๓๐ มกราคม ๒๕๕๗
701611
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพะเยา ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2556) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพะเยา ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพะเยา กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดพะเยา ดังนี้ ๑. ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพะเยาฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๒๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดพะเยา สายที่ ๕๓๐๐๑ พะเยา - หนองเล็งทราย และ สายที่ ๕๓๐๐๒ พะเยา - แม่ใจ ๒. ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพะเยา ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๒๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดพะเยา สายที่ ๕๓๐๐๔ พะเยา - ดอกคำใต้ - บ้านปิน ๓. ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพะเยา ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๒๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดพะเยา สายที่ ๕๓๐๐๕ เชียงคำ - ห้วยข้าวก่ำ สายที่ ๕๓๐๐๖ วงกลมห้วยข้าวก่ำ สายที่ ๕๓๐๐๗ ปง - บ้านแฮะ และสายที่ ๕๓๐๐๘ ปง - น้ำปุก ๔. ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพะเยา ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ลงวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๒๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดพะเยา สายที่ ๕๓๐๐๙ เชียงคำ - ปางมดแดง - สันปูเลย สายที่ ๕๓๐๑๐ เชียงคำ - ปง - ปางมะโอ และสายที่ ๕๓๐๑๑ วงกลมเชียงคำนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพะเยา ได้พิจารณาเห็นว่าเส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากมีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้นทดแทนแล้ว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพะเยา ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๔ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ร้อยตรี สุวิชา แก้วมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพะเยา ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ อุษมล/ผู้ตรวจ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๑ ง/หน้า ๑๑๙/๓๐ มกราคม ๒๕๕๗
700973
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลก ฉบับที่ 46 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดพิษณุโลก สายที่ 14 สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ 1 - สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ 2 เป็นห้างเซ็นทรัลพลาซาพิษณุโลก - สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ 2
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิษณุโลก ฉบับที่ ๔๖ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดพิษณุโลก สายที่ ๑๔ สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ ๑ - สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ ๒ เป็นห้างเซ็นทรัลพลาซาพิษณุโลก - สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ ๒[๑] ตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลกได้มีประกาศฉบับที่ ๓๑ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ลงวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๒ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดพิษณุโลก สายที่ ๑๔ สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ ๑ - สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ ๒ ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลกได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลก ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๖ จึงกำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดพิษณุโลก สายที่ ๑๔ สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ ๑ - สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ ๒ เป็นห้างเซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก - สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ ๒ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๔ ห้างเซ็นทรัลพลาซาพิษณุโลก - สำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ ๒ เริ่มต้นจากห้างเซ็นทรัลพลาซาพิษณุโลก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านสำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ ๑ ถึงแยกวัดคูหาสวรรค์ แยกขวาไปตามถนนพระร่วง ผ่านวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (วังจันทร์) ไปตามถนนนเรศวร ผ่านตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก สถานีรถไฟพิษณุโลก แยกขวาไปตามถนนเอกาทศรถ ถึงสามแยกเกษตร แยกซ้ายไปตามถนนราเมศวร ผ่านสำนักงานธนารักษ์พื้นที่พิษณุโลก โรงเรียนไทยกล้าวิทยา แขวงการทางพิษณุโลก วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก ถึงแยกโคกมะตูม ไปตามถนนพิชัยสงคราม ผ่านวัดศรีวิสุทธาราม ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ ถึงแยกเรือนแพ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ ๑ แล้วกลับตามเส้นทางเดิม ผ่านห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต ๑๒ ภาคเหนือ ถึงแยกอินโดจีน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๖ ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ ๒ มหาวิทยาลัยพิษณุโลก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ ๒ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๗ อุษมล/ผู้ตรวจ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๓ ง/หน้า ๑๕๐/๙ มกราคม ๒๕๕๗
700971
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลก ฉบับที่ 45 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดพิษณุโลก สายที่ 6 สำนักงานการไฟฟ้าจังหวัดพิษณุโลก - บ้านกร่าง เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ 1 - บ้านกร่าง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิษณุโลก ฉบับที่ ๔๕ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดพิษณุโลก สายที่ ๖ สำนักงานการไฟฟ้าจังหวัดพิษณุโลก - บ้านกร่าง เป็นสถานีขนส่ง ผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ ๑ - บ้านกร่าง[๑] ตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลกได้มีประกาศฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๓๔ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดพิษณุโลก สายที่ ๑๑๔๑ (ก) พิษณุโลก - บ้านกร่าง เป็นหมวด ๑ จังหวัดพิษณุโลก สายที่ ๖ สำนักงานการไฟฟ้าจังหวัดพิษณุโลก - บ้านกร่าง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลกได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลก ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๖ จึงกำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดพิษณุโลก สายที่ ๖ สำนักงานการไฟฟ้าจังหวัดพิษณุโลก - บ้านกร่าง เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ ๑ - บ้านกร่าง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๖ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ ๑ - บ้านกร่าง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงแยกเรือนแพ แยกขวาไปตามถนนพิชัยสงคราม แยกขวาไปตามถนนราเมศวร แยกขวาไปตามถนนเอกาทศรถ แยกซ้ายไปตามถนนนเรศวร แยกขวาไปตามถนนพระร่วง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๑๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกร่าง ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๗ อุษมล/ผู้ตรวจ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๓ ง/หน้า ๑๔๘/๙ มกราคม ๒๕๕๗
698284
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เพิ่มสมรรถนะในการตรวจสภาพรถสำหรับสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2556
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เพิ่มสมรรถนะในการตรวจสภาพรถสำหรับสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดให้สถานตรวจสภาพรถปรับปรุงอาคารสถานที่ เครื่องตรวจสภาพรถ อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ พัฒนาระบบการตรวจสภาพรถให้สามารถบันทึกผลการตรวจโดยอัตโนมัติ และรายงานผลการตรวจสภาพรถผ่านทางระบบสารสนเทศ รวมทั้งให้ติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการสถานตรวจสภาพรถมีความทันสมัย มีคุณภาพมาตรฐานในการตรวจสภาพรถที่ดี สะดวกในการรายงานผลการตรวจสภาพ การจัดทำสถิติและการควบคุมกำกับดูแลของทางราชการ นั้น เพื่อให้การตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างเต็มสมรรถนะและเหมาะสมตามการแบ่งประเภทรถยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๐ (๑) ของกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ กรมการขนส่งทางบกจึงเพิ่มสมรรถนะให้สถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตให้ตรวจสภาพรถยนต์ที่มีขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน ๒,๐๐๐ กิโลกรัม สามารถตรวจสภาพรถยนต์ที่มีขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน ๒,๒๐๐ กิโลกรัม ได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๖๐ ง/หน้า ๘/๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
696518
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ฉบับที่ 57 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ฉบับที่ ๕๗ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อทดแทนเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ที่จะยกเลิกต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ในการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุพรรณบุรี สายที่ ๘๕๖๔ สุพรรณบุรี - ลาดตาล สายที่ ๘๕๖๕ สุพรรณบุรี - โพธิ์พระยา สายที่ ๘๕๖๖ สุพรรณบุรี - บ้านโพธิ์ตะวันออก สายที่ ๘๕๖๗ ศรีประจันต์ - ก.ม. ๖ สายที่ ๘๕๖๘ ศรีประจันต์ - วัดป่าพระเจ้า สายที่ ๘๕๖๙ ศรีประจันต์ - วัดโพธิ์นฤมิตร สายที่ ๘๕๗๐ สุพรรณบุรี - บ้านรางทอง สายที่ ๘๕๗๑ บางลี่ - บ้านต้นตาล สายที่ ๘๕๗๒ สุพรรณบุรี - สะแกย่างหมู - บ้านท่าไชย สายที่ ๘๕๗๓ สุพรรณบุรี - ไร่รถ สายที่ ๘๕๗๔ สุพรรณบุรี - หนองกุฎิ สายที่ ๘๕๗๕ อู่ทอง - บ้านไผ่ลูกนก สายที่ ๘๕๗๖ ศูนย์ รพช.จังหวัดสุพรรณบุรี - บ้านประตูน้ำโพธิ์คอย สายที่ ๘๕๗๗ สะพาน ๒ - บ้านประตูน้ำโพธิ์คอย และ สายที่ ๘๕๗๘ สุพรรณบุรี - บ้านปากคลองเจ๊ก โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๘๕๖๔ สุพรรณบุรี - ลาดตาล เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสุพรรณบุรี ไปตามถนนเณรแก้ว แยกซ้าย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๓๑ ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๙ ผ่านวัดไผ่ขวาง ถึงทางแยกวัดโคกโคเฒ่า แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๕๑ ผ่านวัดดอนตาล วัดไผ่เกาะโพธิ์งาม ถึงทางแยกบ้านลาดตาล แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านลาดตาล สายที่ ๘๕๖๕ สุพรรณบุรี - โพธิ์พระยา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสุพรรณบุรี ไปตามถนนเณรแก้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ (ถนนมาลัยแมน) ถึงทางแยกวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๐๗ ผ่านวัดพระลอย วัดพิหารแดง วัดสว่างอารมณ์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดเขื่อนโพธิ์พระยา สายที่ ๘๕๖๖ สุพรรณบุรี - บ้านโพธิ์ตะวันออก เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสุพรรณบุรี ไปตามถนนเณรแก้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ (ถนนมาลัยแมน) ผ่านวัดป่าเลไลยก์ ถึงทางแยกวัดบ้านโพธิ์ตะวันออก แยกขวาไปตามถนน อบจ.สพ. ๒๐๖๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดบ้านโพธิ์ตะวันออก สายที่ ๘๕๖๗ ศรีประจันต์ - กม. ๖ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอศรีประจันต์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ถึงทางแยกบ้านไร่ แยกขวาไปตามถนนชลประทาน ผ่านทางแยกบ้านหนองสรวง ถึงทางแยกบ้านคลองชะอม แยกซ้ายไปตามถนนชลประทาน ผ่านตลาดดอนปรู ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณ กม. ๖ สายที่ ๘๕๖๘ ศรีประจันต์ - วัดป่าพระเจ้า เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอศรีประจันต์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ถึงทางแยกบ้านไร่ แยกขวาไปตามถนนชลประทาน ผ่านทางแยกบ้านหนองสรวง ถึงทางแยกบ้านคลองชะอม แยกขวาไปตามถนนชลประทาน ถึงทางแยกวัดป่าพระเจ้า แยกซ้ายไปตามถนน อบจ.สพ. ๒๐๕๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดป่าพระเจ้า สายที่ ๘๕๖๙ ศรีประจันต์ - วัดโพธิ์นฤมิตร เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอศรีประจันต์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ถึงทางแยกบ้านพังม่วง แยกขวาไปตามถนน อบจ.สพ.๒๐๔๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดโพธิ์นฤมิตร สายที่ ๘๕๗๐ สุพรรณบุรี - บ้านรางทอง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสุพรรณบุรี ไปตามถนนเณรแก้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๓๑ ถึงทางแยกไผ่ขวาง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ผ่านสำนักงานขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี ทางแยกวัดโพธิ์คอย โรงเรียนบางปลาม้าสูงสุมารผดุงวิทย์ สหกรณ์การเกษตรบางปลาม้า จำกัด ถึงทางแยกอำเภอบางปลาม้า แยกซ้ายไปตามถนนสายบางปลาม้า - ประตูเลื่อน แยกขวาข้ามสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน (สะพานอำเภอบางปลาม้า) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๓๓๕๑ ผ่านวัดใหม่พินสุวรรณ บ้านชีปะขาว ตลาดคอวัง แยกขวาไปตามถนน อบจ.สพ. ๔๐๒๘ ผ่านบ้านสันดอน บ้านวัดดาว ไปตามถนน อบต.สพ. ๓๒๑๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านรางทอง สายที่ ๘๕๗๑ บางลี่ - บ้านต้นตาล เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดบางลี่ ไปตามถนนราษฎร์อุทิศ ผ่านบ้านไผ่หมู่ บ้านสองพี่น้อง แยกซ้ายข้ามสะพานไปวัดสองพี่น้อง แยกขวาไปตามถนน อบจ.สพ. ๒๐๖๖ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านต้นตาล สายที่ ๘๕๗๒ สุพรรณบุรี - สะแกย่างหมู - บ้านท่าไชย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสุพรรณบุรี ไปตามถนนเณรแก้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ (ถนนมาลัยแมน) ผ่านวัดป่าเลไลยก์ วิทยาลัยพลศึกษา แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สพ. ๓๐๓๔ ถึงทางแยกวัดบางปลาหมอ แยกขวาไปตามถนน อบจ.สพ. ๒๐๗๔ ผ่านบ้านสามนาค ถึงบ้านสะแกย่างหมู แยกซ้ายไปตามถนน อบจ.สพ. ๒๐๑๑ ผ่านบ้านมะขามล้ม บ้านโคกโก บ้านรางบัว บ้านไผ่เดี่ยว บ้านท่าตลาด บ้านดอนยอ บ้านดอนไข่เต่า บ้านดอนต้นคาง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านท่าไชย สายที่ ๘๕๗๓ สุพรรณบุรี - ไร่รถ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสุพรรณบุรี ไปตามถนนเณรแก้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ (ถนนมาลัยแมน) ผ่านวัดป่าเลไลยก์ ถึงทางแยกอู่ยา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๒ ถึงทางแยกบ้านโพธิ์ตะวันตก แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สพ. ๓๐๐๓ ผ่านบ้านโพธิ์ตะวันตก บ้านโพธิ์ท่าทราย ถึงทางแยกบ้านบึง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สพ. ๓๐๐๕ ผ่านบ้านบึง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านไร่รถ สายที่ ๘๕๗๔ สุพรรณบุรี - หนองกุฎิ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสุพรรณบุรี ไปตามถนนเณรแก้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ (ถนนมาลัยแมน) ผ่านวัดป่าเลไลยก์ ถึงทางแยกอู่ยา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๒ ถึงทางแยกบ้านท่าเสด็จ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖๐ ผ่านบ้านหนองปรือ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านหนองกุฎิ สายที่ ๘๕๗๕ อู่ทอง - บ้านไผ่ลูกนก เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภออู่ทอง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ ผ่านบ้านบางยี่แส ถึงทางแยกไปวัดโคกยายเกตุ แยกขวาไปตามถนน อบจ.สพ. ๒๐๓๘ ผ่านวัดโคกยายเกตุ วัดการ้อง ร.ร.วัดไผ่ลูกนก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านไผ่ลูกนก สายที่ ๘๕๗๖ ศูนย์ รพช.จังหวัดสุพรรณบุรี - บ้านประตูน้ำโพธิ์คอย เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณศูนย์ รพช.จังหวัดสุพรรณบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ ผ่านโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย ถึงทางแยกแขวงการทางสุพรรณบุรี แยกขวาไปตามถนนเณรแก้ว ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุพรรณบุรี ถึงทางแยกสำนักงานไฟฟ้าฯ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๓๑ ถึงทางแยกไผ่ขวาง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ผ่านสำนักงานขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี ถึงทางแยกบ้านโพธิ์คอย แยกซ้ายไปตามถนน อบจ.สพ. ๒๐๖๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านประตูน้ำโพธิ์คอย เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านประตูน้ำโพธิ์คอย ไปตามถนน อบจ.สพ. ๒๐๖๕ ถึงทางแยกบ้านโพธิ์คอย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ผ่านสำนักงานขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี ถึงทางแยกไผ่ขวาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๓๑ ถึงทางแยกสำนักงานไฟฟ้าฯ ตรงไปตามถนนหมื่นหาญ ถึงทางแยกโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช แยกขวาไปตามถนนพระพันวษา ถึงวัดไชนาวาส ไปตามถนนประชาธิปไตย ถึงทางแยกแขวงการทางสุพรรณบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณศูนย์ รพช.จังหวัดสุพรรณบุรี สายที่ ๘๕๗๗ สะพาน ๒ - บ้านประตูน้ำโพธิ์คอย เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสะพาน ๒ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๕ ถึงทางแยกโพธิ์พระยา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ผ่านสามแยกโพธิ์พระยา วัดลาวทอง วัดหอยโข่ง ไปตามถนนประชาธิปไตย ผ่านที่ว่าการอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ถึงทางแยกแขวงการทางสุพรรณบุรี แยกซ้ายไปตามถนนเณรแก้ว ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุพรรณบุรี ถึงทางแยกสำนักงานไฟฟ้าฯ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๓๑ ถึงทางแยกไผ่ขวาง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ผ่านสำนักงานขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี ถึงทางแยกบ้านโพธิ์คอย แยกซ้ายไปตามถนน อบจ.สพ. ๒๐๖๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านประตูน้ำโพธิ์คอย เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านประตูน้ำโพธิ์คอย ไปตามถนน อบจ.สพ. ๒๐๖๕ ถึงทางแยกบ้านโพธิ์คอย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ผ่านสำนักงานขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี ถึงทางแยกไผ่ขวาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๓๑ ถึงทางแยกสำนักงานไฟฟ้าฯ ตรงไปตามถนนหมื่นหาญ ถึงทางแยกโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช แยกขวาไปตามถนนพระพันวษา ถึงวัดไชนาวาส ไปตามถนนประชาธิปไตย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ ถึงทางแยกโพธิ์พระยา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสะพาน ๒ สายที่ ๘๕๗๘ สุพรรณบุรี - บ้านปากคลองเจ๊ก เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสุพรรณบุรี ไปตามถนนเณรแก้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ ถึงวัดประตูสาร แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑๘ ผ่านวัดพระรูป วัดศรีบัวบาน ถึงทางแยกวัดราษฎร์สามัคคี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑๘ ผ่านบ้านโพธิ์เขียว บ้านหัวไผ่ ถึงบ้านเสาธง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑๘ ถึงทางแยกบ้านเสาธง แยกขวาไปตามถนน อบจ.สพ. ๓๐๐๔/๔๙๐ ผ่านบ้านเสาธง บ้านโพธิ์ศรีถึงบ้านโพนไร่ แยกขวาไปตามถนน อบจ.สพ. ๒๐๗๘ ผ่านบ้านโพธิ์ตะควน บ้านหนองโสน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านปากคลองเจ๊ก ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สุภัทร์ ศรีสุนทรพินิต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๑๑๒ ง/หน้า ๒๐๗/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
696429
ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางเกี่ยวกับการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ พ.ศ. 2556
ประกาศนายทะเบียนกลาง ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง เกี่ยวกับการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] โดยที่กฎหมายว่าด้วยรถยนต์บัญญัติให้นำใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถในประเภทการขนส่งประจำทางการขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งโดยรถขนาดเล็กตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก มาใช้แทนใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินมาตรการเกี่ยวกับการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถดังกล่าวที่นำไปใช้แทนใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนกลางจึงมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางไว้ ดังต่อไปนี้ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ซึ่งใช้แทนใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ สำหรับการกระทำความผิดในข้อหาไม่ใช้มาตรค่าโดยสาร ปฏิเสธไม่รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ไม่ส่งคนโดยสาร ณ สถานที่ตามที่ตกลงกันไว้หรือทอดทิ้งผู้โดยสารระหว่างทาง ตามมาตรา ๕ (๒) ประกอบกับมาตรา ๕๘ และมาตรา ๕๗ จัตวา มาตรา ๕๗ เบญจ ประกอบกับมาตรา ๖๖/๒ แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่เกิดภายในเขตกรุงเทพมหานคร และภายในเขตจังหวัดอื่น ๑. รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) ๒. ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ ๓. หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ ๔. หัวหน้าส่วนใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ ๕. หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ ๖. หัวหน้างานใบอนุญาตผู้ประจำรถและใบอนุญาตขับรถอื่น ส่วนใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ ๗. ผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่งทางบก ๘. หัวหน้าฝ่ายตรวจการ กองตรวจการขนส่งทางบก ๙. หัวหน้าฝ่ายสืบสวน กองตรวจการขนส่งทางบก ๑๐. หัวหน้าฝ่ายเปรียบเทียบ กองตรวจการขนส่งทางบก ๑๑. ขนส่งจังหวัด ๑๒. หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัด ๑๓. หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัด ๑๔. หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายทะเบียนกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๓๖ ง/หน้า ๔๔/๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๖
696418
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดขนาด จำนวน และคุณภาพของเครื่องดับเพลิงสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ 4 (รถบรรทุกวัสดุอันตราย) พ.ศ. 2556
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดขนาด จำนวน และคุณภาพของเครื่องดับเพลิง สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๔ (รถบรรทุกวัสดุอันตราย) พ.ศ. ๒๕๕๖ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ขนาด จำนวน และคุณภาพเครื่องดับเพลิงสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๔ (รถบรรทุกวัสดุอันตราย) ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๑ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับขนาด จำนวน และคุณภาพของเครื่องดับเพลิงสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๔ (รถบรรทุกวัสดุอันตราย) ให้สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจของยุโรปแห่งสหประชาชาติ (European Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road : ADR) อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๗ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ขนาด จำนวน และคุณภาพเครื่องดับเพลิงสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๔ (รถบรรทุกวัสดุอันตราย) ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๑ ข้อ ๒ เครื่องดับเพลิงสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๔ (รถบรรทุกวัสดุอันตราย) ต้องเป็นดังนี้ (๑) เป็นแบบยกหิ้ว ชนิดผงเคมีแห้ง มีคุณภาพใช้งานได้ดี สารเคมีที่ใช้ในการดับเพลิงต้องเป็นชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดก๊าซพิษหรือมีปฏิกิริยาเมื่อได้รับความร้อนจากไฟ ในกรณีเป็นชนิดอื่นที่มิใช่ชนิดผงเคมีแห้ง ต้องมีประสิทธิภาพในการดับเพลิงที่ทัดเทียมกัน (๒) เป็นเครื่องที่มิได้มีการใช้งานมาก่อนและเครื่องนั้นต้องยังไม่สิ้นอายุการใช้งาน (๓) มีข้อความหรือฉลากที่ระบุวัน เดือน ปี ของอายุการใช้งาน หรือมีข้อความที่อย่างน้อยต้องระบุวัน เดือน ปี ของการตรวจสอบครั้งต่อไป หรือของช่วงเวลาที่อนุญาตให้ใช้งานได้ (๔) ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องดับเพลิงยกหิ้ว ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ข้อ ๓ รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๔ (รถบรรทุกวัสดุอันตราย) ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงไว้ประจำรถ ดังต่อไปนี้ (๑) เครื่องดับเพลิงที่มีคุณภาพสามารถใช้ดับเพลิงภายในห้องผู้ขับรถและห้องเครื่องยนต์ได้โดยมีขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า ๒ กิโลกรัม จำนวนอย่างน้อย ๑ เครื่อง ติดตั้งไว้ในบริเวณห้องผู้ขับรถ (๒) เครื่องดับเพลิงที่มีคุณภาพสามารถใช้ดับเพลิงที่เกิดจากยาง ระบบห้ามล้อและวัตถุอันตรายที่บรรทุกโดยมีจำนวนและขนาดบรรจุตามที่กำหนด ติดตั้งไว้ในบริเวณด้านหลังห้องผู้ขับรถหรือส่วนที่บรรทุก ดังนี้ (ก) รถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมสูงสุดไม่เกิน ๓,๕๐๐ กิโลกรัม ต้องมีเครื่องดับเพลิงที่มีขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า ๒ กิโลกรัม จำนวนอย่างน้อย ๑ เครื่อง (ข) รถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมสูงสุดเกิน ๓,๕๐๐ กิโลกรัม แต่ไม่เกิน ๗,๕๐๐ กิโลกรัม ต้องมีเครื่องดับเพลิงที่มีขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า ๖ กิโลกรัม จำนวนอย่างน้อย ๑ เครื่อง (ค) รถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมสูงสุดเกิน ๗,๕๐๐ กิโลกรัม ต้องมีเครื่องดับเพลิงที่มีขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า ๑๐ กิโลกรัม โดยอย่างน้อยหนึ่งเครื่อง ต้องมีขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า ๖ กิโลกรัม กรณีตาม (๒) ให้ใช้บังคับกับรถที่ทำการขนส่งวัตถุอันตรายที่มีปริมาณการขนส่งเกินกว่าปริมาณการขนส่งตามที่กำหนดในภาคผนวกท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ การติดตั้งเครื่องดับเพลิงตามข้อ ๓ ต้องติดตั้งในลักษณะที่สามารถนำออกมาใช้งานได้โดยง่าย และต้องติดตั้งในลักษณะที่มีการป้องกันผลกระทบจากสภาพอากาศ เช่น ความร้อน ความเย็น หรือความชื้น เพื่อมิให้เกิดผลต่อการทำงานของเครื่องดับเพลิง ข้อ ๕ รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๔ (รถบรรทุกวัสดุอันตราย) ที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๖[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ภาคผนวก ปริมาณการขนส่งสูงสุดต่อหน่วยการขนส่ง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๓๖ ง/หน้า ๒๗/๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๖
693629
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ฉบับที่ 56 (พ.ศ. 2556) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 จังหวัดสุพรรณบุรี สายที่ 1 วัดบางปลาหมอ - วัดชายทุ่ง ให้มีรายละเอียดเส้นทางผ่านห้างสรรพสินค้าโรบินสิน และสายที่ 2 โพธิ์พระยา - โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช เป็น ตลาดโพธิ์พระยา - ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดสุพรรณบุรี สายที่ ๑ วัดบางปลาหมอ - วัดชายทุ่ง ให้มีรายละเอียดเส้นทางผ่านห้างสรรพสินค้าโรบินสัน และ สายที่ ๒ โพธิ์พระยา - โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช เป็น ตลาดโพธิ์พระยา - ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ลงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ประเภท ๒ จังหวัดสุพรรณบุรี สายที่ ๑ วัดบางปลาหมอ - วัดชายทุ่ง และสายที่ ๒ โพธิ์พระยา - โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ลงวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๖ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดสุพรรณบุรี สายที่ ๑ วัดบางปลาหมอ - วัดชายทุ่ง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดสุพรรณบุรี สายที่ ๑ วัดบางปลาหมอ - วัดชายทุ่ง ให้มีรายละเอียดเส้นทางผ่านห้างสรรพสินค้าโรบินสัน และสายที่ ๒ โพธิ์พระยา - โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช เป็น ตลาดโพธิ์พระยา - ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑ วัดบางปลาหมอ - วัดชายทุ่ง เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดบางปลาหมอ ไปตามถนนสายเข้าวัดบางปลาหมอ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ (ถนนมาลัยแมน) ผ่านโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย แขวงการทางสุพรรณบุรี ถึงแยกหอนาฬิกา แยกขวาไปตามถนนเณรแก้ว แยกขวาไปตามถนนหมื่นหาญ แยกขวาไปตามถนนพระพันวษา ถึงวัดไชนาวาส ไปตามถนนประชาธิปไตย ถึงแยกแขวงการทาง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ (ถนนมาลัยแมน) ถึงแยกหอนาฬิกา แยกขวาไปตามถนนเณรแก้ว แยกขวาไปตามถนนหมื่นหาญ แยกซ้ายไปตามถนนขุนแผน แยกซ้ายไปตามถนนนางแว่นฟ้า แยกขวาไปตามถนนเณรแก้ว ถึงห้างสรรพสินค้าโรบินสัน แล้วย้อนกลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนนขุนแผน ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดชายทุ่ง เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดชายทุ่ง ไปตามถนนขุนแผน แยกซ้ายไปตามถนนหมื่นหาญ แยกขวาไปตามถนนพระพันวษา ถึงวัดไชนาวาส ไปตามถนนประชาธิปไตย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ (ถนนมาลัยแมน) แล้วย้อนกลับตามเส้นทางเดิม ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดบางปลาหมอ สายที่ ๒ ตลาดโพธิ์พระยา - ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดโพธิ์พระยา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ (เดิม) ผ่านแยกโพธิ์พระยา ไปตามถนนประชาธิปไตย ถึงแยกแขวงการทาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ (ถนนมาลัยแมน) ถึงแยกหอนาฬิกา แยกขวาไปตามถนนเณรแก้ว แยกขวาไปตามถนนหมื่นหาญ ผ่านโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช แยกขวาไปตามถนนพระพันวษา ถึงวัดไชนาวาสไปตามถนนประชาธิปไตย ถึงแยกแขวงการทาง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ (ถนนมาลัยแมน) ถึงแยกหอนาฬิกา แยกขวาไปตามถนนเณรแก้ว ผ่านสี่แยกเณรแก้ว ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณห้างสรรพสินค้าโรบินสัน เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ไปตามถนนเณรแก้ว ถึงแยกเณรแก้ว แยกซ้ายไปตามถนนหมื่นหาญ ผ่านโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช แยกขวาไปตามถนนพระพันวษา ไปตามถนนประชาธิปไตย ผ่านแยกแขวงการทาง สามแยกโพธิ์พระยา ไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๓๔๐ (เดิม) ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดโพธิ์พระยา ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สุภัทร์ ศรีสุนทรพินิต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๑๐๓ ง/หน้า ๒๐๗/๒๖ กันยายน ๒๕๕๖
692600
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ 82 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดลพบุรี สายที่ 6189 ลพบุรี - โรงเรียนวัดไดใหญ่ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงลพบุรี - วัดโบสถ์
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ ๘๒ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๖๑๘๙ ลพบุรี - โรงเรียนวัดไดใหญ่ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงลพบุรี - วัดโบสถ์[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ ๗๗ (พ.ศ. ๒๕๕๔) ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๔ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๖๑๘๙ ลพบุรี - โรงเรียนวัดไดใหญ่ ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๖ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๖๑๘๙ ลพบุรี - โรงเรียนวัดไดใหญ่ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงลพบุรี - วัดโบสถ์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๖๑๘๙ ลพบุรี - โรงเรียนวัดไดใหญ่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี ไปตามถนนเลียบคลองชลประทาน ๒๑ ขวา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๖ ผ่านวัดโพธิ์เก้าต้น วัดยาง ณ รังสี วัดดงตาล แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ ๓๑๕๑ แยกขวาไปตามถนนเลียบคลองระบายน้ำเริงรางใหญ่ ผ่านบ้านดอนโพธิ์ บ้านไทรย้อย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงเรียนวัดไดใหญ่ ช่วงลพบุรี - วัดโบสถ์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี ไปตามถนนเลียบคลองชลประทาน ๒๑ ขวา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๖ ผ่านวัดโพธิ์เก้าต้น วัดยาง ณ รังสี วัดดงตาล บ้านงิ้วราย บ้านโก่งธนู ถึงทางเข้าวัดญาณเสน แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดโบสถ์ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ พิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๖ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๑๐๐ ง/หน้า ๑๖๔/๑๙ กันยายน ๒๕๕๖
691045
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ไว้แล้ว นั้น โดยที่ประกาศดังกล่าวได้มีการปรับปรุงแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของให้มีความเหมาะสมกับการนำรถไปใช้งานยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการขนส่งที่มีรถซึ่งมีตัวถังส่วนที่บรรทุกไม่เป็นไปตามประกาศ ต้องนำรถไปปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฏว่ารถที่มีตัวถังส่วนที่บรรทุกไม่เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าวมีเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบตัวถังรถไม่สามารถดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตัวถังรถให้กับผู้ประกอบการขนส่งได้ทันตามกำหนดระยะเวลา ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามประกาศดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สมควรที่จะกำหนดระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศดังกล่าวเสียใหม่ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ (๒) และข้อ ๑๘ (๒) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป” ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๐๔ ง/หน้า ๑๗/๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๖
690011
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 2
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๒[๑] ตามที่ได้ออกประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสาร (รถปรับอากาศ) จังหวัดขอนแก่น ฉบับประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๒๘ โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๓๗ ลงวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๒๘ นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้แก้ไขชื่อประกาศจาก “ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสาร (รถปรับอากาศ) จังหวัดขอนแก่น” เป็น “ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๒” และให้แก้ไขข้อความจาก “สถานีขนส่งผู้โดยสาร (รถปรับอากาศ) จังหวัดขอนแก่น” เป็น “สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๒” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ พลเอก พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๑๘/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
689786
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสงสำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๖ เสียใหม่ ให้มีความเหมาะสม อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ วรรคสาม ของกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ฉ) ของ (๑) ของข้อ ๒ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๖ ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๖) ของข้อ ๔ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๖ “(๖) มีความไวในการตรวจจับปริมาณก๊าซรั่วที่น้อยกว่า ๑๕๐ ส่วนในล้านส่วน” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (๒) และ (๕) ของข้อ ๕ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๒) สามารถแสดงค่าวัดระดับเสียงได้ตั้งแต่ ๕๐ dB (A) หรือน้อยกว่า ถึง ๑๒๐ dB (A) หรือมากกว่า และมีความละเอียดในการอ่านไม่เกิน ๐.๑ dB (A)” “(๕) มีช่องสัญญาณออก (Output) แบบดิจิตอล (Digital) หรือแบบอนาล็อก (Analog)” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๙ เครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง ที่กรมการขนส่งทางบกได้ให้ความเห็นชอบและมีการใช้งานในสถานตรวจสภาพรถไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ใช้ได้ต่อไป ทั้งนี้ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซและเครื่องวัดระดับเสียงต้องมีอุปกรณ์ที่สามารถส่งผลการตรวจวัดเข้าระบบบันทึกผลและรายงานผลการตรวจสภาพรถตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดภายในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๖” ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๘๘ ง/หน้า ๕๒/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖
689784
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องทดสอบโคมไฟหน้าสำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องทดสอบโคมไฟหน้า สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องทดสอบโคมไฟหน้าสำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๖ เสียใหม่ ให้มีความเหมาะสม อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ วรรคสาม ของกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ (๕) ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องทดสอบโคมไฟหน้าสำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๖ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๘๘ ง/หน้า ๕๑/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖
689112
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๓๓๔๖ ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เนื้อที่ ๕ ไร่ ๑ งาน ๔๙ ตารางวา โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ พลเอก พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๘๒ ง/หน้า ๑๑/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๖
687140
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ พ.ศ. 2556
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ พ.ศ. ๒๕๕๖ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะและมาตรฐานตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแบบตัวถังของรถเสียใหม่ให้เหมาะสมกับการนำรถไปใช้งานยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ (๒) และข้อ ๑๘ (๒) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะและมาตรฐานตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “รถ” หมายความว่า รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๑ (รถกระบะบรรทุก) ลักษณะ ๖ (รถพ่วง) และลักษณะ ๗ (รถกึ่งพ่วง) “ของที่มีน้ำหนักมาก” หมายความว่า กรวด หิน ดิน ทราย สินแร่ หรือวัสดุอื่นใดที่มีน้ำหนักจำเพาะ (Specific Weight) ตั้งแต่ ๑.๕๕ ขึ้นไป ข้อ ๓ แบบตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถมี ๖ แบบ ดังต่อไปนี้ (๑) แบบที่ ๑ ตัวถังส่วนที่บรรทุกเป็นกระบะโปร่ง โดยเว้นระยะให้มีส่วนโปร่งและทึบสลับกัน ส่วนโปร่งมีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร และส่วนทึบมีขนาดความกว้างไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร วัดตามแนวดิ่งตลอดความยาวของกระบะ สำหรับใช้บรรทุกของทั่วไป เช่น ของที่มีรูปทรงเป็นท่อน รูปทรงยาว หรือรูปทรงอื่นที่มีขนาดไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร พืชผลเกษตรกรรม สัตว์มีชีวิต เป็นต้น (๒) แบบที่ ๒ ตัวถังส่วนที่บรรทุกเป็นกระบะโปร่ง ทำด้วยตาข่ายหรือตะแกรงโลหะ ขนาดของช่องตาข่ายหรือตะแกรงโลหะต้องมีความยาววัดตามแนวราบไม่น้อยกว่า ๔ เซนติเมตร และความสูงวัดตามแนวดิ่งไม่น้อยกว่า ๔ เซนติเมตร ส่วนทึบทั้งหมดของตาข่ายหรือตะแกรงโลหะคำนวณเป็นพื้นที่จะต้องไม่มากกว่าพื้นที่ทั้งหมดของช่องโปร่ง ลักษณะของช่องโปร่งและส่วนทึบต้องกลมกลืนกันโดยทั่วไป สำหรับใช้บรรทุกของที่มีลักษณะพรุน มีน้ำหนักเบา พืชผลเกษตรกรรม สัตว์มีชีวิต เป็นต้น (๓) แบบที่ ๓ ตัวถังส่วนที่บรรทุกเป็นกระบะทึบ กระบะที่เป็นส่วนทึบด้านข้างและด้านท้ายต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๘,๐๐๐ กิโลกรัม แต่ไม่เกิน ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัม และต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๘๐ เซนติเมตร สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัมขึ้นไป สำหรับใช้บรรทุกของที่มีน้ำหนักมาก (๔) แบบที่ ๔ ตัวถังส่วนที่บรรทุกส่วนล่างเป็นกระบะทึบ ส่วนบนเป็นกระบะโปร่ง โดยกระบะที่เป็นส่วนทึบด้านข้างและด้านท้ายต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๘,๐๐๐ กิโลกรัม แต่ไม่เกิน ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัม และต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๘๐ เซนติเมตร สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัมขึ้นไป และกระบะโปร่งต่อจากส่วนทึบให้เว้นระยะโดยมีส่วนโปร่งและส่วนทึบสลับกัน ส่วนโปร่งมีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร และส่วนทึบมีขนาดความกว้างไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร วัดตามแนวดิ่งตลอดแนวความยาวของกระบะ ทั้งนี้ จะมีส่วนกระบะโปร่งได้อีกไม่เกิน ๒ ช่อง และมีความสูงจากพื้นกระบะ ส่วนที่ต่ำสุดถึงส่วนที่สูงที่สุดของกระบะโปร่งไม่เกิน ๙๐ หรือ ๑๑๐ เซนติเมตร แล้วแต่กรณี สำหรับใช้บรรทุกของที่มีน้ำหนักมาก (๕) แบบที่ ๕ ตัวถังส่วนที่บรรทุกส่วนล่างเป็นกระบะทึบ ส่วนบนเป็นกระบะโปร่ง โดยกระบะที่เป็นส่วนทึบด้านข้างและด้านท้ายต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๘,๐๐๐ กิโลกรัม แต่ไม่เกิน ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัม และต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๘๐ เซนติเมตร สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัมขึ้นไป และกระบะโปร่งต่อจากส่วนทึบให้เว้นระยะโดยมีส่วนโปร่งและส่วนทึบสลับกัน ส่วนโปร่งมีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร และส่วนทึบมีขนาดความกว้างไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร วัดตามแนวดิ่งตลอดแนวความยาวของกระบะ สำหรับใช้บรรทุกของทั่วไป เช่น ของที่มีรูปทรงเป็นท่อน รูปทรงยาว หรือรูปทรงอื่นที่มีขนาดไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร พืชผลเกษตรกรรมสัตว์มีชีวิต เป็นต้น (๖) แบบที่ ๖ ตัวถังส่วนที่บรรทุกส่วนล่างเป็นกระบะทึบ ส่วนบนเป็นกระบะโปร่งทำด้วยตาข่ายหรือตะแกรงโลหะ โดยกระบะที่เป็นส่วนทึบด้านข้างและด้านท้ายต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๘,๐๐๐ กิโลกรัม แต่ไม่เกิน ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัม และต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๘๐ เซนติเมตร สำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัมขึ้นไป และกระบะโปร่งต่อจากส่วนทึบทำด้วยตาข่ายหรือตะแกรงโลหะ ขนาดของช่องตาข่ายหรือตะแกรงโลหะต้องมีความยาววัดตามแนวราบไม่น้อยกว่า ๔ เซนติเมตร และความสูงวัดตามแนวดิ่งไม่น้อยกว่า ๔ เซนติเมตร ส่วนทึบทั้งหมดของตาข่ายหรือตะแกรงโลหะคำนวณเป็นพื้นที่จะต้องไม่มากกว่าพื้นที่ทั้งหมดของช่องโปร่งและส่วนทึบต้องกลมกลืนกันโดยทั่วไป สำหรับใช้บรรทุกของที่มีลักษณะพรุน มีน้ำหนักเบา พืชผลเกษตรกรรม สัตว์มีชีวิต เป็นต้น ตัวถังแบบที่ ๑ แบบที่ ๒ แบบที่ ๕ และแบบที่ ๖ จะมีประตูปิดเปิดด้านซ้ายหรือด้านท้ายของตัวรถด้วยก็ได้ ลักษณะของแบบตัวถังส่วนที่บรรทุกให้เป็นไปตามตัวอย่างแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่ประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงตัวถังส่วนที่บรรทุกโดยมีลักษณะไม่เป็นไปตามประกาศนี้ ให้ยื่นคำขอรับความเห็นชอบจากนายทะเบียนที่รถนั้นจดทะเบียนก่อนดำเนินการ ข้อ ๕ ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่ประสงค์จะติดตั้งตะแกรงหรือวัสดุโปร่งที่มองเห็นของที่บรรทุกในส่วนกระบะโปร่งได้ชัดเจนเป็นการถาวรเพื่อป้องกันของร่วงหรือหล่นจากรถ ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนที่รถนั้นจดทะเบียน ให้นายทะเบียนพิจารณาอนุญาตได้คราวละไม่เกิน ๑ ปี โดยออกหนังสืออนุญาตตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ระยะเวลาการอนุญาตต้องไม่เกินวันสิ้นอายุภาษีประจำปีของรถนั้นด้วย ให้ผู้ได้รับอนุญาตติดหนังสืออนุญาตไว้ที่ด้านในของกระจกกันลมหน้า ข้อ ๖ การใช้รถเพื่อการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ น้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันจะต้องไม่เกินพิกัดน้ำหนักตามที่กฎหมายกำหนด ข้อ ๗[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตัวอย่างแบบตัวถังส่วนที่บรรทุก แบบที่ ๑ ๒. ตัวอย่างแบบตัวถังส่วนที่บรรทุก แบบที่ ๒ ๓. ตัวอย่างแบบตัวถังส่วนที่บรรทุก แบบที่ ๓ ๔. ตัวอย่างแบบตัวถังส่วนที่บรรทุก แบบที่ ๔ ๕. ตัวอย่างแบบตัวถังส่วนที่บรรทุก แบบที่ ๕ ๖. ตัวอย่างแบบตัวถังส่วนที่บรรทุก แบบที่ ๖ ๗. แบบหนังสืออนุญาตให้ติดตั้งตะแกรงหรือวัสดุโปร่ง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑๕/๓ มิถุนายน ๒๕๕๖
687078
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ 81 (พ.ศ. 2555) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง,รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน,ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวงหรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดลพบุรี จำนวน 3 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ ๘๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง,รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน,ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวงหรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๔ จังหวัดลพบุรี จำนวน ๓ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ ๒๕ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ลงวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๓๐ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๒๑๒๑ ลพบุรี – ลำนารายณ์ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ ๕๓ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ลงวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๔๖ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๒๓๒๗ โคกสำโรง – บ้านห้วยใหญ่ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๒๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๖๑๖๗ ลพบุรี – บ้านเบิก นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๕ และได้รับอนุมัติ ในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลพบุรี จำนวน ๓ เส้นทาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๒๑๒๑ ลพบุรี – ลำนารายณ์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านบ้านโคกกระเทียม บ้านทุ่งสิงห์โต ถึงอำเภอโคกสำโรง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ผ่านบ้านเพนียด บ้านห้วยหิน ผ่านสี่แยกม่วงค่อม บ้านห้วยนา บ้านถนนโค้ง ถึงสามแยกชัยบาดาล ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕๖ ผ่านทางแยกเข้าบ้านชัยบาดาล ถึงอำเภอท่าหลวง แล้วกลับตามเส้นทางเดิม ถึงทางแยกเข้าบ้านชัยบาดาล แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ผ่านบ้านท่ามะกอก บ้านเขาตากะยาย ถึงตลาดลำนารายณ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารลำนารายณ์ ช่วงการเดินรถตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านบ้านโคกกระเทียม บ้านทุ่งสิงห์โต ถึงอำเภอโคกสำโรง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ผ่านบ้านเพนียด บ้านห้วยหิน ถึงสี่แยกม่วงค่อม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ ผ่านบ้านห้วยดีเลิศ บ้านโกรกรกฟ้า ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารลำนารายณ์ สายที่ ๒๓๒๗ โคกสำโรง – บ้านห้วยใหญ่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอโคกสำโรง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ผ่านบ้านเพนียด ถึงบ้านวังเพลิง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๒๖ ถึงบ้านวังไผ่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ ๔๐๐๑ ผ่านบ้านตระกรุดหว้า ถึงบ้านทุ่งท่าช้าง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ ๕๐๒๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยใหญ่ สายที่ ๖๑๖๗ ลพบุรี – บ้านเบิก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑ ผ่านวัดโพธิ์ระหัต ตำบลบางขันหมาก โรงเรียนวัดวิหารขาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๒๗ ผ่านวัดคงคาราม วัดมะค่า ถึงสามแยกโคกคา แยกขวาไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านเบิก ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ พิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๖๐ ง/หน้า ๑๘๓/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖
687076
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ 80 (พ.ศ. 2555) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง,รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน,ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวงหรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 จังหวัดลพบุรี จำนวน 2 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ ๘๐ (พ.ศ. ๒๕๕๕) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง,รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน,ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวงหรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ จังหวัดลพบุรี จำนวน ๒ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๐๗ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์โดยสารในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี หมวด ๑ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๓ วัดเสาธงทอง – กองบินน้อยที่ ๒ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่ ๓๙๙ (พ.ศ. ๒๕๑๖) ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๖ ปรับปรุงรายละเอียดของเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทางหมวด ๑ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๖ วัดเสาธงทอง – ป.พัน ๑๐๑ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๕ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไข ชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัด เป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดลพบุรี จำนวน ๒ เส้นทาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๓ วัดเสาธงทอง – กองบิน ๒ เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดเสาธงทอง ไปตามถนนฝรั่งเศส แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนิน แยกซ้ายไปตามถนนสุระสงคราม แยกขวาไปตามถนนวิชาเยนทร์ ผ่านวงเวียนศาลพระกาฬ ไปตามถนนนารายณ์มหาราช ถึงวงเวียนเทพสตรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณกองบิน ๒ เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณกองบิน ๒ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงวงเวียนเทพสตรี แยกขวาไปตามถนนนารายณ์มหาราช ถึงวงเวียนศาลพระกาฬ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าศาลพระกาฬ แยกขวาไปตามถนนราชดำเนิน แยกขวาไปตามถนนสุระสงคราม แยกซ้ายไปตามถนนวิชาเยนทร์ แยกซ้ายไปตามถนนฝรั่งเศส ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดเสาธงทอง สายที่ ๖ วัดเสาธงทอง – ปืนใหญ่ เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดเสาธงทอง ไปตามถนนฝรั่งเศส แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนิน แยกซ้ายไปตามถนนสุระสงคราม แยกขวาไปตามถนนวิชาเยนทร์ ผ่านวงเวียนศาลพระกาฬ ไปตามถนนนารายณ์มหาราช ถึงวงเวียนเทพสตรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณค่ายการทหารปืนใหญ่ เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณค่ายการทหารปืนใหญ่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงวงเวียนเทพสตรี แยกขวาไปตามถนนนารายณ์มหาราช ถึงวงเวียนศาลพระกาฬ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าศาลพระกาฬ แยกขวาไปตามถนนราชดำเนิน แยกขวาไปตามถนนสุระสงคราม แยกซ้ายไปตามถนนวิชาเยนทร์ แยกซ้ายไปตามถนนฝรั่งเศส ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดเสาธงทอง ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ พิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๖๐ ง/หน้า ๑๘๑/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖
686964
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพังงา ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพังงา ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพังงา ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพังงา ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพังงา ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๕ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ จึงกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดพังงา สายที่ ๘๕๘๓ บ้านท่าด่าน – บ้านเขาหลัก โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังนี้ คือ สายที่ ๘๕๘๓ บ้านท่าด่าน – บ้านเขาหลัก เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าด่าน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔๔ ถึงแยกภูงา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านแยกวังหม้อแกง สถานี บขส. พังงา ถึงแยกบ้านนบปริง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๙๐ ผ่านบ้านทุ่งคาโงก ถึงแยกนิคมสร้างตนเอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒๔๐ ถึงแยกบ้านทุ่งมะพร้าว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๔ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเขาหลัก ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ ธำรงค์ เจริญกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพังงา ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๖ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๕๙ ง/หน้า ๑๙๑/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖
684952
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ในบริเวณที่ดินที่ราชพัสดุแปลงทะเบียนที่ ชร. ๓๖๗ ตำบลเวียงเทิง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เนื้อที่ ๖ ไร่ ๑ งาน ๓๐.๔๓ ตารางวา โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ พลเอก พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๕๖
684633
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำประจำจังหวัดมหาสารคาม ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2556) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดมหาสารคาม สายที่ 1408 มหาสารคาม - พยัคฆภูมิพิสัย
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดมหาสารคาม ฉบับที่ ๔๙ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดมหาสารคาม สายที่ ๑๔๐๘ มหาสารคาม - พยัคฆภูมิพิสัย[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมหาสารคาม ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ลงวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๓๐ ปรับปรุงเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดมหาสารคาม สายที่ ๑๔๐๘ มหาสารคาม - พยัคฆภูมิพิสัย นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมหาสารคามได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมหาสารคาม ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดมหาสารคาม สายที่ ๑๔๐๘ มหาสารคาม - พยัคฆภูมิพิสัย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มอีก ๑ ช่วง คือ ช่วงบรบือ - บ้านไพรวัลย์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๔๐๘ มหาสารคาม - พยัคฆภูมิพิสัย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดมหาสารคาม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓ ผ่านบ้านหนองจิก บ้านบ่อใหญ่ ถึงอำเภอบรบือ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ผ่านบ้านโนนแดง บ้านเขวาไร่ อำเภอนาเชือก บ้านยางสีสุราช บ้านหนองบัวสันตุ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ช่วงพยัคฆภูมิพิสัย – บ้านสร้างแซ่ง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ถึงทางแยกไปบ้านสร้างแซ่ง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข มค.๕๑๓๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสร้างแซ่ง ช่วงพยัคฆภูมิพิสัย - บ้านนาภู เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ถึงบ้านยางสีสุราช แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข มค.๒๐๑๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนาภู ช่วงบรบือ - บ้านไพรวัลย์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอบรบือ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ผ่านบ้านโนนเกษตร บ้านโนนแดง แยกขวาไปตามถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัดหมายเลข ๓๑๓๒ ผ่านบ้านหนองคูใหญ่ บ้านหนองคูขาด บ้านฝายป่าบัว ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านไพรวัลย์ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ธวัช สุระบาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมหาสารคาม ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๖ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๑๖๗/๑๑ เมษายน ๒๕๕๖
683721
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ฉบับที่ 54 (พ.ศ. 2555) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ฉบับที่ ๕๔ (พ.ศ. ๒๕๕๕) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้นเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุม ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๕ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดกาฬสินธุ์ สายที่ ๔๗๐๘ กาฬสินธุ์-สหัสขันธ์-หนองกุงศรี โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๔๗๐๘ กาฬสินธุ์-สหัสขันธ์-หนองกุงศรี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกาฬสินธุ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๗ ผ่านบ้านห้วยสีทน บ้านคำไผ่ บ้านหนองสอ บ้านถิ่นพัฒนา บ้านสว่าง อำเภอสหัสขันธ์ แยกซ้าย ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข กส.๔๐๓๖ ผ่านสาธารณสุขอำเภอสหัสขันธ์ บ้านโนนบุรี ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง บ้านภูสิงห์ ข้ามสะพานเทพสุดา (อ่างเก็บน้ำลำปาว ) ผ่านเทศบาลตำบลหนองบัว บ้านหนองสามขา ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข กส.๔๐๓๕ ผ่านบ้านหนองบัว อนามัยหนองบัว เทศบาลตำบลหนองบัว บ้านไชยวาร โรงเรียนไชยวารวิทยาคม โรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเครือ โรงเรียนหนองโนวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๐๙ ( กม.๑๒ ) ผ่านไปรษณีย์ ที่ว่าการอำเภอหนองกุงศรี โรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคม โรงพยาบาลหนองกุงศรี วัดสว่างกุงศรี ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหนองกุงศรี ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สุวิทย์ สุบงกฎ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๓๐ ง/หน้า ๑๔๐/๒๑ มีนาคม ๒๕๕๖
682841
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ 46 (พ.ศ. 2555) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดลำพูน สายที่ 2304 ลำพูน-ทุ่งหัวช้าง-บ้านก้อหลวง เป็น ลำพูน-ทุ่งหัวช้าง-บ้านดอนมูล
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ ๔๖ (พ.ศ. ๒๕๕๕) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสารหมวด ๔ จังหวัดลำพูน สายที่ ๒๓๐๔ ลำพูน-ทุ่งหัวช้าง-บ้านก้อหลวง เป็น ลำพูน- ทุ่งหัวช้าง-บ้านดอนมูล[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๔ จังหวัดลำพูน สาย ๒๓๐๔ ลำพูน-ทุ่งหัวช้าง เป็น ลำพูน- ทุ่งหัวช้าง-บ้านก้อหลวง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๕ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุม ครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลำพูน สายที่ ๒๓๐๔ ลำพูน-ทุ่งหัวช้าง-บ้านก้อหลวง เป็น ลำพูน-ทุ่งหัวช้าง-บ้านดอนมูล โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๒๓๐๔ ลำพูน-ทุ่งหัวช้าง-บ้านดอนมูล เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำพูน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๔ ผ่านบ้านแม่สารป่าแดด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๖ ผ่านบ้านน้ำบ่อเหลือง บ้านใหม่ ถึงสี่แยกสะปุ๋ง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ผ่านบ้านนครเจดีย์ ถึงบ้านแม่อาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๘๔ ผ่านบ้านห้วยไฟ บ้านปงแม่ลอบ บ้านต้นผึ้ง บ้านทุ่งข้าวหาง ที่ว่าการอำเภอทุ่งหัวช้าง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดอนมูล ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ พินิจ หาญพาณิชย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๑๔๓/๗ มีนาคม ๒๕๕๖
681990
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ 2
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ ๒ ในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๗๐๖๘ และ ๑๖๐๙๘๗ ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๑๒ ตารางวา โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ พลเอก พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ 2 (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๒๔ ง/หน้า ๙/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
680790
ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางเกี่ยวกับการตักเตือนและสั่งระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2556
ประกาศนายทะเบียนกลาง ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง เกี่ยวกับการตักเตือนและสั่งระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] โดยที่กฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจในการตักเตือนหรือสั่งระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเป็นการชั่วคราวได้ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทะเบียนกลางจึงมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบกดังต่อไปนี้ เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการตักเตือนหรือสั่งระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถเป็นการชั่วคราว สำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และในเขตจังหวัดอื่น (๑) รองอธิบดี (ฝ่ายวิชาการ) (๒) รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) (๓) ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ (๔) ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพในส่วนสถานตรวจสภาพรถ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ ให้ข้าราชการตาม (๑) (๒) และ (๓) เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการยกเลิกคำสั่งระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถเป็นการชั่วคราว สำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและในเขตจังหวัดอื่น ข้อ ๒ ให้ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบกดังต่อไปนี้ เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการตักเตือนหรือสั่งระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถเป็นการชั่วคราว สำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ (๑) ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ (๒) ขนส่งจังหวัด (๓) หัวหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา (๔) ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพในส่วนตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๕ และฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ (๕) ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพในกลุ่มวิชาการขนส่งและฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัด (๖) ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพในสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา ให้ข้าราชการตาม (๑) และ (๒) เป็นผู้ทำการแทนในส่วนที่เกี่ยวกับการยกเลิกคำสั่งระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถเป็นการชั่วคราว สำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ ประกาศ ณ วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายทะเบียนกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๕๖/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
680752
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการตักเตือนและการระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถเป็นการชั่วคราว พ.ศ. 2556
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการตักเตือน และการระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถเป็นการชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๕๖ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และข้อ ๑๓ วรรคสอง ของกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ได้รับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ “ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ข้อ ๒ มอบหมายให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพสังกัดสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก มีอำนาจเข้าไปในสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและในเขตจังหวัดอื่นและให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพสังกัดสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด มีอำนาจเข้าไปในสถานตรวจสภาพรถที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ ในระหว่างเวลาทำงานตามปกติเพื่อทราบข้อเท็จจริง ตรวจสอบการดำเนินการและเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของสถานตรวจสภาพรถ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง ข้อ ๓ การดำเนินการกับผู้ได้รับใบอนุญาตที่กระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎที่ทางราชการกำหนด แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ดังนี้ (๑) การตักเตือน (๒) การระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถเป็นการชั่วคราว (๓) การเพิกถอนใบอนุญาต การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เป็นอำนาจของนายทะเบียนกลาง หรือผู้ซึ่งนายทะเบียนกลางมอบหมายให้ทำการแทน โดยข้อหาความผิดให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ช้อ ๔ การตรวจสอบการดำเนินการของสถานตรวจสภาพรถในแต่ละครั้ง หากพบการกระทำความผิดหลายข้อหาแตกต่างกัน ให้พิจารณาดำเนินการกับผู้ฝ่าฝืนกฎหมายเฉพาะความผิดที่ต้องได้รับโทษสูงสุด ข้อ ๕ การพิจารณาใช้มาตรการตามข้อ ๓ กับผู้ได้รับใบอนุญาตที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายให้พิจารณาภายในรอบอายุใบอนุญาตและให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้ (๑) การตักเตือน หากกระทำความผิดเป็นครั้งที่สาม ให้สั่งระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถเป็นการชั่วคราว ๗ วันทำการ และกระทำความผิดตั้งแต่ครั้งที่สี่ขึ้นไป ให้สั่งระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถ ๑๕ วันทำการ การสั่งระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถตาม (๑) มิให้นำไปนับรวมเป็นจำนวนครั้งสำหรับการสั่งระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถตาม (๒) (๒) การระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถเป็นการชั่วคราว (ก) กระทำความผิดครั้งแรก ให้สั่งระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถ ๗ วันทำการ (ข) กระทำความผิดครั้งที่สอง ให้สั่งระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถ ๑๕ วันทำการ (ค) กระทำความผิดครั้งที่สาม ให้ระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถ ๓๐ วันทำการ (ง) กระทำความผิดครั้งที่สี่ ให้เพิกถอนใบอนุญาต การสั่งระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถตาม (ก) (ข) และ (ค) หากการกระทำความผิดนั้นต้องปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้องก่อนจึงจะดำเนินการตรวจสภาพรถต่อไปได้ ให้สั่งระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถไว้จนกว่าจะปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้อง แต่ต้องระงับการดำเนินการไว้ไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละกรณี ข้อ ๖ ในกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตมีพฤติการณ์จงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งตามข้อ ๕ (๒) (ก) (ข) และ (ค) ให้เสนอนายทะเบียนกลางพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตต่อไป ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ ๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๗ เมื่อผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพ ตรวจพบการกระทำความผิดตามข้อหาความผิดที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ และมิใช่ความผิดซึ่งต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามข้อ ๕ (๒) (ง) ให้พิจารณาสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทราบทันที หรืออย่างช้าไม่เกินวันทำการถัดไป และรีบรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามลำดับโดยเร็ว ข้อ ๘ กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตถูกสั่งระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อดำเนินการให้ถูกต้องแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือขนส่งจังหวัด ที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ทราบเพื่อทำการตรวจสอบ เมื่อผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี ได้รับแจ้งแล้ว ให้ดำเนินการตรวจสอบ หากผลการตรวจสอบพบว่าผู้ได้รับใบอนุญาตนั้นได้ปฏิบัติหรือแก้ไขได้ถูกต้องแล้วให้ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี มีหนังสือยกเลิกคำสั่งระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถโดยเร็ว ข้อ ๙ ในกรณีผู้ตรวจการ หรือพนักงานตรวจสภาพ ตรวจพบการกระทำความผิดซึ่งต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรืออยู่ในเกณฑ์ที่ต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามข้อ ๕ (๒) (ง) ให้สั่งระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถเป็นการชั่วคราวไว้จนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น และดำเนินการดังนี้ (๑) หากการตรวจสอบกระทำโดยผู้ตรวจการ หรือพนักงานตรวจสภาพของส่วนสถานตรวจสภาพรถ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ ให้จัดทำรายงานและความเห็น พร้อมรวบรวมเอกสารหลักฐานนำเสนอตามสายการบังคับบัญชาเพื่อนำเสนอนายทะเบียนกลางพิจารณาต่อไป หรือจะส่งให้สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด ที่สถานตรวจสภาพรถตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมเอกสารหลักฐาน พร้อมความเห็นส่งให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์พิจารณาและนำเสนอนายทะเบียนกลางพิจารณาก็ได้ (๒) หากการตรวจสอบกระทำโดยผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพของสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด ให้จัดทำรายงานและความเห็น พร้อมรวบรวมเอกสารหลักฐานนำเสนอผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี และส่งให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์พิจารณาและนำเสนอนายทะเบียนกลางพิจารณาต่อไป ข้อ ๑๐ เมื่อนายทะเบียนกลางพิจารณาตามข้อ ๙ แล้ว ให้สำนักวิศวกรรมยานยนต์แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี ทราบ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือขนส่งจังหวัด แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทราบโดยเร็ว ในกรณีนายทะเบียนกลางเห็นควรไม่เพิกถอนใบอนุญาต ให้ยกเลิกคำสั่งระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถ ในกรณีนายทะเบียนกลางเห็นควรเพิกถอนใบอนุญาต การสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ระบุการส่งคืนใบอนุญาตตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ข้อ ๑๑ คำสั่งใด ๆ ที่ออกตามประกาศนี้ ต้องระบุวัน เดือน ปีที่ออกคำสั่ง ชื่อและตำแหน่ง พร้อมลายมือชื่อผู้ทำคำสั่ง เหตุผลที่ทำคำสั่งซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายอ้างอิง และข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ รวมทั้งการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ และระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์คำสั่ง การอุทธรณ์คำสั่งตักเตือน หรือระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถเป็นการชั่วคราว ให้อุทธรณ์ต่อนายทะเบียนผู้ออกคำสั่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง ทั้งนี้ ให้นำพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ในส่วนที่เกี่ยวกับขั้นตอน และระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์มาใช้บังคับโดยอนุโลม การอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง ข้อ ๑๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีข้อหาความผิดและมาตรการลงโทษ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๑๗/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
680750
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องทดสอบโคมไฟหน้า สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2556
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องทดสอบโคมไฟหน้า สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๖ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ วรรคสาม ของกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เครื่องทดสอบโคมไฟหน้า (Headlight Tester) ต้องมีแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเครื่องที่ได้มาตรฐาน CE (European conformity) หรือ EN (European Standard) หรือ CEE (International Commission on Rules for the approval of Electrical Equipment) และผ่านการรับรองด้าน Machinery และ Electromagnetic และ Low Voltage โดยผลิตจากผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๐ หรือมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ หรือสูงกว่า (๒) สามารถตรวจสอบค่าเบี่ยงเบนของศูนย์รวมแสงของโคมไฟหน้ารถในระยะไม่เกิน ๑ เมตร จากโคมไฟหน้ารถถึงเลนส์รับแสงของเครื่องทดสอบโคมไฟหน้า และต้องสามารถตรวจสอบโคมไฟหน้ารถที่มีความสูงจากพื้นราบตั้งแต่ ๐.๔๐ เมตร หรือน้อยกว่า จนถึง ๑.๓๕ เมตร หรือมากกว่า (๓) สามารถวัดค่าความเข้มการส่องสว่างของโคมไฟได้ตั้งแต่ ๕,๐๐๐ แคนเดลลา (cd) หรือน้อยกว่า จนถึง ๑๒๐,๐๐๐ แคนเดลลาหรือมากกว่า (๔) สามารถวัดค่าการเบี่ยงเบนของลำแสงต่ำกว่าแนวราบได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔ (๒.๒๙ องศา) (๕) มีช่องสัญญาณออก (Output) แบบดิจิตอล (Digital) ข้อ ๒ เครื่องทดสอบโคมไฟหน้าที่จะนำไปใช้งานในสถานตรวจสภาพรถ ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ให้ใช้สำหรับการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ ข้อ ๓ เครื่องทดสอบโคมไฟหน้าที่กรมการขนส่งทางบกได้ให้ความเห็นชอบและมีการใช้งานในสถานตรวจสภาพรถไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ใช้ได้ต่อไป แต่ต้องสามารถวัดความเข้มการส่องสว่างได้ตามเกณฑ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๑๖/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
680748
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2556
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถ ของสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด มาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ วรรคสาม ของกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด มาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ (๒) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด มาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๘ ข้อ ๒ เครื่องวัดควันดำ (Smoke Meter) ต้องมีแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเครื่องวัดควันดำระบบกระดาษกรอง (Filter) (ก) เป็นเครื่องที่ผลิตจากผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๐ หรือมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ หรือสูงกว่า (ข) มีปริมาตรในการเก็บตัวอย่าง ๓๓๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร โดยมีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน ๑๕ ลูกบาศก์เซนติเมตร (ค) สามารถวัดค่าความทึบแสงได้ ตั้งแต่ร้อยละ ๐ ถึงร้อยละ ๙๙.๙ (ง) ส่วนแสดงผลเป็นแบบตัวเลข และมีความละเอียดในการอ่านไม่เกินร้อยละ ๐.๑ (จ) สามารถใช้กับระบบไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ๒๒๐ โวลท์ (Volt) ความถี่ ๕๐ เฮิรตซ์ (Hz.) ได้ (ฉ) มีช่องส่งสัญญาณออก (Output) แบบดิจิตอล (Digital) (๒) เป็นเครื่องวัดควันดำระบบวัดความทึบแสงแบบไหลผ่านบางส่วน (Partial Flow Opacimeter) (ก) เป็นเครื่องที่ได้มาตรฐานของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ เลขที่ ECE R ๒๔ หรือมาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ที่ ISO ๑๑๖๑๔ โดยผลิตจากผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๐ หรือมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ หรือสูงกว่า (ข) ต้องตรวจวัดที่ระยะความยาวของทางเดินแสงที่ ๔๓๐ มิลลิเมตรหรือเทียบเท่า (ค) สามารถวัดค่าความทึบแสงได้ ตั้งแต่ร้อยละ ๐ ถึงร้อยละ ๙๙.๙ (ง) ส่วนแสดงผลเป็นแบบตัวเลข และมีความละเอียดในการอ่านไม่เกินร้อยละ ๐.๑ (จ) สามารถใช้กับระบบไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ๒๒๐ โวลท์ (Volt) ความถี่ ๕๐ เฮิรตซ์ (Hz.) ได้ (ฉ) มีช่องสัญญาณออก (Output) แบบดิจิตอล (Digital) ข้อ ๓ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ (Gas Analyser) ต้องมีแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเครื่องวิเคราะห์ก๊าซระบบนันดีสเปอร์ซีฟ อินฟราเรด (Non - Dispersive Infrared Detection : NDIR) สำหรับใช้วัดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) (๒) สามารถวัดปริมาณของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากท่อไอเสียได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔.๕ โดยปริมาตร และวัดปริมาณของก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียได้ไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ ส่วนในล้านส่วน (ppm) ของค่าเทียบเท่านอร์มัลเฮ็กเซน (N-Hexane) (๓) เป็นเครื่องที่ได้มาตรฐาน ISO ๓๙๓๐ หรือ OIML R๙๙ class ๑ หรือ OIML R๙๙ class ๐ โดยผลิตจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๐ หรือมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ หรือสูงกว่า (๔) มีระบบการขับไล่ก๊าซไอเสียที่ตกค้างออกจากเครื่องวิเคราะห์ก๊าซ (๕) ส่วนแสดงผลเป็นแบบตัวเลข (ก) สามารถแสดงค่าปริมาณก๊าซ CO ได้ตั้งแต่ร้อยละ ๐ ถึงร้อยละ ๑๐ โดยปริมาตร หรือมากกว่า และมีความละเอียดในการอ่านไม่เกินร้อยละ ๐.๑ โดยปริมาตร (ข) สามารถแสดงค่าปริมาณก๊าซ HC ได้ตั้งแต่ ๐ ถึง ๑๐,๐๐๐ ส่วนในล้านส่วน หรือมากกว่า และมีความละเอียดในการอ่านไม่เกิน ๑๐ ส่วนในล้านส่วน (๖) สามารถใช้กับระบบไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ๒๒๐ โวลท์ (Volt) ความถี่ ๕๐ เฮิรตซ์ (Hz.) ได้ (๗) มีช่องสัญญาณออก (Output) แบบดิจิตอล (Digital) ข้อ ๔ เครื่องวัดก๊าซรั่ว (Gas Leak Detector) ต้องมีแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเครื่องที่ใช้ตรวจสอบการรั่วของก๊าซปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติในระบบเชื้อเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ (๒) เป็นเครื่องที่ผลิตจากผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๐ หรือมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ หรือสูงกว่า (๓) เป็นเครื่องตรวจสอบก๊าซรั่วด้วยเซ็นเซอร์ ชนิดสารกึ่งตัวนำ (Semi-conductor) (๔) มีเสียงสัญญาณเตือน หรือสัญญาณไฟกระพริบ หรือแสดงค่าเป็นตัวเลขเมื่อตรวจพบการรั่วของก๊าซ (๕) ใช้ระบบไฟฟ้ากระแสตรงจากแบตเตอรี่เซลล์แห้ง ที่มีจำหน่ายทั่วไปภายในประเทศ ข้อ ๕ เครื่องวัดระดับเสียง (Sound Level Meter) ต้องมีแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเครื่องที่ได้มาตรฐานตามมาตรฐานของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยเทคนิคไฟฟ้า (International Electrotechnical Commission, IEC) IEC ๖๑๖๗๒ Type ๑ หรือ Type ๒ โดยผลิตจากผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๐ หรือมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ หรือสูงกว่า (๒) สามารถแสดงค่าวัดระดับเสียงได้ตั้งแต่ ๓๐ dB (A) หรือน้อยกว่า ถึง ๑๒๐ dB (A) หรือมากกว่า และมีความละเอียดในการอ่านไม่เกิน ๐.๑ dB (A) (๓) สามารถแสดงและบันทึกค่าเสียงสูงสุด (Max Hold) ได้ในขณะทำการตรวจวัด (๔) ส่วนแสดงผลของอุปกรณ์เป็นแบบตัวเลขสามารถแสดง Weighting Network เป็นแบบ A และแสดง Dynamic Characteristic เป็นแบบ Fast ได้ (๕) มีช่องสัญญาณออก (Output) แบบดิจิตอล (Digital) ข้อ ๖ เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ (Engine Tachometer) ต้องมีแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเครื่องที่ใช้ตรวจวัดความเร็วรอบของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน หรือเครื่องยนต์ที่จุดระเบิดด้วยประกายไฟ (๒) เป็นเครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ที่ผลิตจากผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๐ หรือมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ หรือสูงกว่า (๓) สามารถแสดงค่าความเร็วรอบของเครื่องยนต์ได้ตั้งแต่ ๕๐๐ รอบต่อนาที หรือน้อยกว่า ถึง ๙,๐๐๐ รอบต่อนาที หรือมากกว่า (๔) สามารถตรวจวัดความเร็วรอบของเครื่องยนต์ ๒ จังหวะที่มีจำนวนสูบตั้งแต่ ๑ ถึง ๔ สูบ หรือมากกว่า และเครื่องยนต์ ๔ จังหวะ ที่มีจำนวนสูบตั้งแต่ ๑ ถึง ๖ สูบ หรือมากกว่า ข้อ ๗ เครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง (Tint Meter) ต้องมีแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเครื่องสำหรับตรวจวัดค่าของแสงที่ส่องผ่านกระจกและฟิล์มกรองแสงของรถยนต์ โดยสามารถเคลื่อนย้ายนำไปใช้งานได้สะดวก (๒) เป็นเครื่องที่ผลิตจากผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๐ หรือมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ หรือสูงกว่า (๓) แสดงค่าของแสงส่องผ่านกระจกและฟิล์มกรองแสงได้เป็นแบบตัวเลข ตั้งแต่ร้อยละ ๐ - ๙๙ (๔) สามารถป้องกันแสงรบกวนจากภายนอกได้ในขณะทำการตรวจวัด (๕) มีอุปกรณ์ประกอบการใช้งานที่สามารถตรวจวัดกระจกของรถได้ทุกบาน ข้อ ๘ เครื่องวัดควันดำ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ เครื่องวัดก๊าซรั่ว เครื่องวัดระดับเสียง เครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ และเครื่องวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสง ที่จะนำไปใช้งานในสถานตรวจสภาพรถ ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ให้ใช้สำหรับการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ ข้อ ๙ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซและเครื่องวัดระดับเสียงที่กรมการขนส่งทางบกได้ให้ความเห็นชอบและมีการใช้งานในสถานตรวจสภาพรถไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ใช้ได้ต่อไป ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ที่สามารถส่งผลการตรวจวัดเข้าระบบบันทึกผลและรายงานผลการตรวจสภาพรถตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดได้ ภายในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ ข้อ ๑๐[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๑๒/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
680635
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ในการตรวจสภาพใต้ท้องรถ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงานสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2555
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ในการตรวจสภาพใต้ท้องรถ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงานสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ วรรคสาม ของกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ขนาด จำนวน และคุณภาพเครื่องดับเพลิงที่จะต้องติดตั้ง ณ สถานตรวจสภาพรถ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๖ ข้อ ๒ อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพใต้ท้องรถ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงานสำหรับสถานตรวจสภาพรถ มีดังนี้ (๑) บ่อตรวจสภาพรถ (๒) เครื่องยกรถ (๓) กระจกเงาหรือวัสดุสะท้อนภาพ (๔) เครื่องดับเพลิง ข้อ ๓ บ่อตรวจสภาพรถ ต้องมีแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) อยู่กึ่งกลางความกว้างของพื้นที่ตรวจสภาพรถ และอยู่ห่างจากด้านท้ายสุดของพื้นที่ตรวจสภาพรถไม่น้อยกว่า ๑.๕๐ เมตร (๒) มีสันขอบบ่อทำด้วยโลหะหรือวัสดุที่มีความแข็งแรง เพื่อป้องกันล้อรถตกบ่อ มีความยาวตลอดแนวขอบบ่อ ด้านทางเข้าบ่อตรวจสภาพรถมีคอนกรีตลักษณะครึ่งวงกลม ครึ่งวงรี หรือสามเหลี่ยม มีขนาดรัศมีหรือความสูงของสามเหลี่ยมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความกว้างบ่อตรวจสภาพรถ มีขอบโลหะหรือวัสดุที่แข็งแรง ความสูงเท่ากับสันขอบบ่อ (๓) มีทางขึ้นลงเป็นคอนกรีตหรือโลหะที่ถาวรแข็งแรงบริเวณด้านท้ายของบ่อตรวจสภาพรถ (๔) มีหลอดไฟหรืออุปกรณ์ให้แสงสว่างชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟหรือเปลวเพลิง มีความสว่างเพียงพอต่อการตรวจสภาพใต้ท้องรถ (๕) ขนาดของบ่อตรวจสภาพรถ มี ๒ ขนาดดังนี้ (ก) ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๘๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๙๐ เซนติเมตร ความยาวไม่น้อยกว่า ๖ เมตร และความลึกไม่น้อยกว่า ๑๓๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๕๐ เซนติเมตร (ข) ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๘๐ เซนติเมตร ความยาวไม่น้อยกว่า ๕ เมตร และความลึกไม่น้อยกว่า ๑๓๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๕๐ เซนติเมตร ข้อ ๔ เครื่องยกรถ ต้องมีแบบ ขนาด มาตรฐานและคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นชนิดติดตั้งถาวรอยู่บนพื้นที่มีความมั่นคงแข็งแรง (๒) สามารถยกรถที่มีขนาดน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า ๒,๒๐๐ กิโลกรัม ขึ้นได้ทั้งคันได้อย่างมั่นคงและปลอดภัยในระดับความสูงไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เซนติเมตร และสามารถคงระดับความสูงในระดับนั้นได้โดยไม่ทรุดลง หรือเปลี่ยนแปลง (๓) มีอุปกรณ์ควบคุมการปรับระดับความสูงที่สะดวกและปลอดภัย (๔) มีอุปกรณ์หรือระบบป้องกันอันตรายแบบอัตโนมัติ เมื่อระดับการยกรถลดลงจากระดับความสูงที่ต้องการ (๕) ผลิตจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ และได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกให้ใช้สำหรับการตรวจสภาพรถ ข้อ ๕ กระจกเงาหรือวัสดุสะท้อนภาพลักษณะนูน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร หรือกระจกสี่เหลี่ยม ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เซนติเมตร อย่างน้อย ๑ บาน กรณีเป็นกระจกเงาหรือวัสดุสะท้อนภาพลักษณะนูน ให้ติดตั้งถาวรบริเวณใกล้บ่อตรวจสภาพรถ กรณีเป็นกระจกสี่เหลี่ยมให้ติดตั้งถาวรบริเวณด้านบนของพื้นที่ตรวจสภาพรถตำแหน่งบริเวณท้ายบ่อตรวจสภาพรถ และต้องไม่กีดขวางหรือเป็นอุปสรรคต่อการนำเข้าหรือออกจากพื้นที่ตรวจสภาพรถ โดยผู้ขับรถต้องสามารถมองกระจกเงาสะท้อนภาพ เพื่อเห็นด้านหน้าและล้อรถในขณะนำรถเข้าบ่อตรวจสภาพรถได้อย่างชัดเจน ข้อ ๖ เครื่องดับเพลิง ต้องมีแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นแบบยกหิ้วชนิดผงเคมีแห้ง และต้องเป็นชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดก๊าซพิษ (๒) มีขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า ๔ กิโลกรัม อย่างน้อย ๑ เครื่อง หรือขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า ๒ กิโลกรัม อย่างน้อย ๒ เครื่อง และอย่างน้อยต้องสามารถดับเพลิงได้ดังนี้ (ก) เพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดา เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ ยาง พลาสติก (ข) เพลิงที่เกิดจากของเหลวติดไฟ ก๊าซ ไข และน้ำมันต่าง ๆ (ค) เพลิงที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้า (๓) ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องดับเพลิงยกหิ้ว ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กรณีเป็นเครื่องดับเพลิงชนิดอื่น นอกจากที่กำหนดไว้ตาม (๑) เครื่องดับเพลิงนั้นต้องมีคุณลักษณะเท่าเทียมกัน การติดตั้งเครื่องดับเพลิงต้องติดตั้งใกล้กับพื้นที่ตรวจสภาพ โดยตำแหน่งของการติดตั้งต้องสูงไม่เกิน ๑๔๐ เซนติเมตร จากพื้นราบ การติดตั้งต้องไม่ยึดติดถาวร สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและนำไปใช้งานได้โดยสะดวก ข้อ ๗ สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจสภาพรถทุกประเภททุกขนาดน้ำหนัก ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ต้องมีบ่อตรวจสภาพรถที่มีขนาดตามข้อ ๓ (๕) (ก) และจะมีเครื่องยกรถตามข้อ ๔ ด้วยหรือไม่ก็ได้ ข้อ ๘ สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจสภาพรถยนต์ขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน ๒,๒๐๐ กิโลกรัม และรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ต้องมีบ่อตรวจสภาพรถที่มีขนาดตามข้อ ๓ (๕) (ข) หรือมีเครื่องยกรถตามข้อ ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างก็ได้ ข้อ ๙ สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพใต้ท้องรถตามข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ ข้อ ๑๐[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๕/๓๐ มกราคม ๒๕๕๖
680631
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบเข็มขัดนิรภัยและประเภทของรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ต้องจัดให้มีเข็มขัดนิรภัย พ.ศ. 2555
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบเข็มขัดนิรภัยและประเภทของรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ต้องจัดให้มีเข็มขัดนิรภัย พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดแบบเข็มขัดนิรภัยและประเภทของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ต้องจัดให้มีเข็มขัดนิรภัย พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรกำหนดประเภทของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยเป็นการเพิ่มเติม อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๒) (ณ) และข้อ ๑๕ (๒) (ฌ) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบเข็มขัดนิรภัยและประเภทของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ต้องจัดให้มีเข็มขัดนิรภัย พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ข้อ ๒ เข็มขัดนิรภัยสำหรับรถให้มี ๒ แบบ ดังนี้ (๑) แบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่ หรือเข็มขัดนิรภัยแบบ ๓ จุด (Lap and diagonal belt or three - point belt) (๒) แบบรัดหน้าตัก หรือเข็มขัดนิรภัยแบบ ๒ จุด (Lap belt or two - point belt) ข้อ ๓ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน ๒๐ ที่นั่ง (เฉพาะรถตู้โดยสาร) ในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งส่วนบุคคล และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของทุกประเภทการขนส่ง ที่ผลิต ประกอบ นำเข้า หรือจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๕ ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัย ดังนี้ (๑) แบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่ สำหรับที่นั่งผู้ขับรถและที่นั่งตอนเดียวกับผู้ขับรถที่อยู่ด้านริมสุด (๒) แบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่ หรือแบบรัดหน้าตัก สำหรับที่นั่งอื่นนอกจาก (๑) ข้อ ๔ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน ๒๐ ที่นั่ง (เฉพาะรถตู้โดยสาร) ในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งส่วนบุคคล ที่ผลิต ประกอบ นำเข้า หรือจดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๕ ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๓ ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ ข้อ ๕ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน ๒๐ ที่นั่ง (ลักษณะอื่นที่มิใช่รถตู้โดยสาร) และรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งเกินกว่า ๒๐ ที่นั่ง ในประเภทการขนส่งประจำทางหมวด ๒ และหมวด ๓ การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัย ดังนี้ (๑) แบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่ สำหรับที่นั่งผู้ขับรถ (๒) แบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่ หรือแบบรัดหน้าตัก สำหรับที่นั่งอื่นนอกจาก (๑) ข้อ ๖ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน ๒๐ ที่นั่ง (ลักษณะอื่นที่มิใช่รถตู้โดยสาร) และรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งเกินกว่า ๒๐ ที่นั่ง ในประเภทการขนส่งประจำทางหมวด ๒ และหมวด ๓ การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๖ ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๗ ข้อ ๗ รถที่ใช้ในการขนส่ง ในประเภทการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๗ เป็นต้นไป ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัย ดังนี้ (๑) แบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่ สำหรับที่นั่งผู้ขับรถและที่นั่งตอนเดียวกับผู้ขับรถที่อยู่ด้านริมสุด (๒) แบบรัดหน้าตัก สำหรับที่นั่งตอนกลางระหว่างที่นั่งผู้ขับรถและที่นั่งตอนเดียวกับผู้ขับรถที่อยู่ด้านริมสุด ข้อ ๘ รถตามข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ และข้อ ๖ ที่มีการจัดวางที่นั่งตามความยาวของรถ ที่นั่งนั้นจะติดตั้งเข็มขัดนิรภัยหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ ต้องอยู่ภายใต้บังคับประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบและการจัดวางที่นั่งผู้โดยสารของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถขนาดเล็ก ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๓/๓๐ มกราคม ๒๕๕๖
680274
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 182 (พ.ศ. 2555) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 533 อำเภอพล - อำเภอชุมพวง เป๋นหมวด 4 จังหวัดขอนแก่น สายที่ 4707 พล - หนองสองห้อง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๘๒ (พ.ศ. ๒๕๕๕) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๓๓ อำเภอพล - อำเภอชุมพวง เป็น หมวด ๔ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๔๗๐๗ พล - หนองสองห้อง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางฉบับที่ ๔๘๐ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๓๐ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๕๓๓ อำเภอพล - อำเภอชุมพวง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๕๓๓ อำเภอพล - อำเภอชุมพวง เป็น หมวด ๔ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๔๗๐๗ พล - หนองสองห้อง และยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงจำนวน ๓ ช่วง คือ ช่วงอำเภอพล - บ้านนาพู ช่วงอำเภอพล - บ้านนาเหล็ก และช่วงอำเภอพล - กิ่งอำเภอเปือยน้อย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๗๐๗ พล - หนองสองห้อง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๗ ผ่านบ้านชาด บ้านหนองเม็ก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหนองสองห้อง ช่วงอำเภอพล - บ้านป่าปอ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๗ ผ่านบ้านชาด แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก. ๓๐๑๘ ผ่านบ้านหนองบัว บ้านโสกนกเต็น บ้านวังหิน บ้านหลักด่าน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๐๑ ผ่านบ้านดอนเปือย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านป่าปอ ช่วงอำเภอพล - บ้านกุดกาบ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๗ ผ่านบ้านชาด ถึงบ้านแฝก แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกุดกาบ ช่วงอำเภอพล - บ้านนาดี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๗ ผ่านบ้านชาด บ้านแฝก ถึงบ้านหนองเม็ก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก. ๓๐๒๔ บ้านหินลาด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนาดี ช่วงอำเภอพล - บ้านหนองดู่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๗ ผ่านบ้านชาด บ้านแฝก บ้านหนองเม็ก ถึงบ้านวังคูณ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองดู่ ช่วงอำเภอพล - บ้านเค็ง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๗ ผ่านบ้านชาด บ้านแฝก บ้านหนองเม็ก บ้านวังคูณ ถึงอำเภอหนองสองห้อง แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ.ขก. ๒๐๓๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเค็ง ช่วงอำเภอพล - บ้านดอนดู่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๗ ผ่านบ้านชาด บ้านแฝก บ้านหนองเม็ก บ้านวังคูณ ถึงอำเภอหนองสองห้อง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหนองหวาย บ้านหนองไผ่ บ้านหนองแวงโศกธาตุ บ้านโคกสะแทน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดอนดู่ ช่วงอำเภอพล - บ้านโนนธาตุ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๗ ผ่านบ้านชาด ถึงบ้านหนองเม็ก แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหนองกุง บ้านสำราญ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนธาตุ ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ สมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๗ ง/หน้า ๑๗๐/๑๗ มกราคม ๒๕๕๖
679542
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบและขนาดตัวอักษรป้ายชื่อสถานีขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. 2555
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบและขนาดตัวอักษรป้ายชื่อสถานีขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่ป้ายชื่อสถานีขนส่งเป็นส่วนหนึ่งของอาคารสถานีขนส่งผู้โดยสารที่กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดหรือให้ความเห็นชอบ แต่ปัจจุบันปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีสถานีขนส่งผู้โดยสารบางแห่งทำการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขป้ายชื่อสถานีขนส่งให้แตกต่างไปจากที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือให้ความเห็นชอบไว้ ทำให้เกิดความแตกต่าง ไม่เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน อันอาจก่อให้เกิดความสับสนของผู้โดยสาร ดังนั้น เพื่อให้การจัดทำป้ายชื่อสถานีขนส่งผู้โดยสารเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม และเป็นแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ วรรคสอง แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ป้ายชื่อสถานีขนส่งผู้โดยสารให้มีแบบและขนาดตัวอักษร ดังนี้ (๑) ป้ายชื่อสถานีขนส่งบริเวณด้านหน้าสถานีขนส่งผู้โดยสาร ให้มีข้อความแบ่งออกเป็นสามบรรทัด บรรทัดที่หนึ่งเป็นชื่อสถานีขนส่งเป็นตัวอักษรภาษาไทยมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๒๖ เซนติเมตร บรรทัดที่สองเป็นชื่อสถานีขนส่งเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๑๙ เซนติเมตร บรรทัดที่สามเป็นชื่อผู้ดำเนินการสถานีขนส่งหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการสถานีขนส่งเป็นตัวอักษรภาษาไทยมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๑๕ เซนติเมตร ป้ายชื่อสถานีขนส่งตาม (๑) ให้ใช้ชื่อสถานีขนส่งตามประกาศจัดให้มีหรือจัดตั้งสถานีขนส่ง ทั้งนี้ รายละเอียดป้ายชื่อสถานีขนส่งให้เป็นไปตามตัวอย่างรูปแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ (๒) ป้ายชื่อสถานีขนส่งบริเวณด้านหน้าอาคารสถานีขนส่งผู้โดยสาร ให้ใช้ชื่อสถานีขนส่งตามประกาศจัดให้มีหรือจัดตั้งสถานีขนส่งเป็นตัวอักษรภาษาไทยขนาดที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ข้อ ๒ ป้ายชื่อสถานีขนส่งผู้โดยสารที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และมีรูปแบบเป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือให้ความเห็นชอบให้ยังคงใช้ได้ต่อไป แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขป้ายชื่อสถานีขนส่งให้แตกต่างไปจากที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือให้ความเห็นชอบไว้ และมีรูปแบบแตกต่างไปจากข้อกำหนดในประกาศนี้ ให้ผู้ดำเนินการสถานีขนส่งหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการสถานีขนส่งจัดทำป้ายชื่อสถานีขนส่งให้เป็นไปตามข้อกำหนดในประกาศนี้ภายในสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตัวอย่างรูปแบบป้ายชื่อสถานีขนส่งผู้โดยสาร สำหรับสถานีขนส่งผู้โดยสารที่ดำเนินการโดยกรมการขนส่งทางบก หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่ได้รับใบอนุญาต ๒. ตัวอย่างรูปแบบป้ายชื่อสถานีขนส่งผู้โดยสาร สำหรับสถานีขนส่งผู้โดยสารที่ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๒๕/๗ มกราคม ๒๕๕๖
679168
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2555
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าอุบัติเหตุทางถนนที่เกิดจากรถบรรทุกวัตถุอันตรายก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง ทั้งแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งสาเหตุของอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากผู้ขับรถฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้น เพื่อให้สามารถควบคุม กำกับ ดูแลผู้ขับรถบรรทุกวัตถุอันตรายให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด สมควรกำหนดให้รถที่นำมาใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ (๑) (ต) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ” หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกและส่งข้อมูลการใช้งานของรถด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System : GPS) “ผู้ให้บริการระบบติดตามรถ” หมายถึง ผู้จำหน่ายเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถหรือผู้ให้บริการข้อมูลในการติดตาม ตรวจสอบและประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถผ่านโครงข่ายโทรคมนาคม และให้หมายความรวมถึงผู้ประกอบการขนส่งที่ดำเนินการในลักษณะดังกล่าวสำหรับรถของตนเองด้วย ข้อ ๒ รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๔ และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๙ ที่ใช้ลากจูงรถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุอันตราย ในประเภทการขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล ต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่มีคุณลักษณะและระบบการทำงานตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ ๓ เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถต้องสามารถทำงานผ่านโครงข่ายคมนาคมและต้องมีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีระบบบันทึกและส่งข้อมูลการใช้งานของรถ ซึ่งต้องสามารถบันทึกและส่งข้อมูลอย่างน้อยดังนี้ (ก) ตำแหน่งของรถในรูปแบบของระบบพิกัดบนพื้นโลกและสถานที่ โดยมีความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งพิกัดในแนวราบไม่เกิน ๒๐ เมตร (ข) ความเร็วของรถเป็นหน่วยกิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีค่าความละเอียดไม่เกิน ๑ กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีค่าความเร็วของรถในทุก ๆ ๑ นาที (ค) จำนวนชั่วโมงการขับรถของผู้ขับรถ โดยมีค่าความละเอียดไม่เกิน ๑ นาที (ง) วันเวลาที่บันทึกข้อมูล (จ) ชื่อและนามสกุลหรือเลขที่ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถของผู้ขับรถที่ได้จากระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ (๒) มีระบบส่งข้อมูลการใช้งานของรถในลักษณะที่เป็นปัจจุบัน (Real Time) หรือไม่น้อยกว่า ๑ ครั้ง ใน ๕ นาที โดยเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ที่ติดตั้งในเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ และประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ (๓) มีระบบบันทึกข้อมูลการใช้งานของรถไว้ที่เครื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมง สำหรับกรณีที่ไม่สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมได้ในบางขณะ (๔) มีระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ โดยเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลจากใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถของกรมการขนส่งทางบกที่เป็นแบบแถบแม่เหล็ก หรือเชื่อมโยงจากข้อมูลอื่นตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด (๕) มีระบบควบคุมให้ผู้ขับรถแสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถระบบใดระบบหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) ระบบการแจ้งเตือนเป็นตัวอักษร สัญญาณเสียงหรือสัญญาณอื่น ๆ หากเครื่องยนต์มีการทำงานหรือรถเคลื่อนที่โดยผู้ขับรถมิได้แสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ โดยการแจ้งเตือนต้องมีการแจ้งเตือนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐ นาที หรือจนกว่าจะหยุดเครื่องยนต์ หรือมีการแสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ (ข) ระบบป้องกันมิให้เครื่องยนต์ทำงานหรือรถเคลื่อนที่ หากผู้ขับรถมิได้แสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ (๖) มีระบบบันทึกและส่งข้อมูลการใช้งานของรถ กรณีผู้ขับรถมิได้แสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ (๗) มีระบบแจ้งการปลดหรือถอดเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ข้อ ๔ เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถต้องมีระบบการทำงาน ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องทำงานตลอดเวลาที่เครื่องยนต์ทำงานหรือรถเคลื่อนที่ (๒) สามารถทำงานให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดไว้ตามข้อ ๓ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและต้องสามารถจัดส่งรายงานดังต่อไปนี้ผ่านทางโครงข่ายโทรคมนาคมหรือระบบสารสนเทศให้กรมการขนส่งทางบก (ก) ข้อมูลการใช้งานของรถที่ใช้ความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (ข) ข้อมูลการขับรถเกินชั่วโมงการทำงานของผู้ขับรถตามที่กฎหมายกำหนด (ค) ข้อมูลการไม่ได้แสดงตนผ่านระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ หรือการใช้ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถไม่ตรงกับประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ทำการขนส่ง (ง) ข้อมูลการปลดหรือถอดเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ข้อ ๕ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการขนส่งให้สามารถเลือกติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่มีคุณลักษณะและระบบการทำงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติการเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่จะติดตั้งบนรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองจากกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๖ การขอรับการตรวจสอบและรับรองคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ให้ผู้ให้บริการระบบติดตามรถยื่นคำขอ ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน กรณีเป็นคนต่างด้าวให้ยื่นภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมด้วยใบสำคัญถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (๒) กรณีเป็นนิติบุคคลให้ยื่นภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล พร้อมด้วยภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม กรณีผู้มีอำนาจลงนามเป็นคนต่างด้าวให้ยื่นภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมด้วยใบสำคัญถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (๓) หนังสือมอบอำนาจพร้อมด้วยภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจกรณีมีการมอบอำนาจให้กระทำการแทน (๔) ภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม (๕) ภาพถ่ายใบรับรองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ (๖) ชนิด แบบ และเอกสารแสดงข้อกำหนดทางเทคนิค (Technical Specification) ของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถพร้อมด้วยเอกสารรับรองอื่นที่เกี่ยวข้อง (๗) โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือระบบการทำงานสำหรับบันทึกและส่งข้อมูลการใช้งานของรถพร้อมด้วยชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) สำหรับเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก (๘) คู่มือการใช้งานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ อุปกรณ์บ่งชี้ผู้ขับรถและโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือระบบการทำงานสำหรับบันทึกและส่งข้อมูลการใช้งานของรถตาม (๖) และ (๗) ข้อ ๗ เมื่อกรมการขนส่งทางบกได้รับคำขอตามข้อ ๖ และตรวจสอบเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถของผู้ให้บริการระบบติดตามรถแล้วเห็นว่า เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถมีคุณลักษณะและระบบการทำงานเป็นไปตามประกาศนี้ กรมการขนส่งทางบกจะออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้ให้บริการระบบติดตามรถ ข้อ ๘ ผู้ให้บริการระบบติดตามรถที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกต้องจัดทำเครื่องหมายการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกเพื่อแสดงว่าเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถของผู้ให้บริการระบบติดตามรถเป็นชนิดและแบบที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก โดยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ (๑) หมายเลขการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก (๒) ชนิดและแบบของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (๓) หมายเลขของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (๔) เลขทะเบียนรถคันที่ติดตั้ง (๕) ชื่อผู้ให้บริการระบบติดตามรถ เครื่องหมายการรับรองเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๙ เมื่อผู้ให้บริการระบบติดตามรถติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งรายใดแล้ว ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) ติดเครื่องหมายการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกไว้ที่เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถหรือบริเวณใกล้เคียงกับเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ หรือภายในห้องผู้ขับรถ ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจนโดยเครื่องหมายดังกล่าวต้องชัดเจน ไม่ลบเลือน (๒) ส่งข้อมูลการติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถที่ติดตั้งให้กับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายทุกคันให้แก่กรมการขนส่งทางบก (๓) จัดส่งข้อมูลรายงานตามข้อ ๔ (๒) ให้แก่กรมการขนส่งทางบก (๔) จัดเก็บข้อมูลการใช้งานของรถที่ติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางไว้ไม่น้อยกว่า ๖ เดือน และต้องจัดส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่กรมการขนส่งทางบกเมื่อมีการร้องขอหรือเมื่อต้องการตรวจสอบ (๕) ให้สิทธิหรืออนุญาตให้กรมการขนส่งทางบกตรวจสอบข้อมูลการใช้งานของรถได้ตลอดเวลาทั้งข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน (Real Time) หรือข้อมูลย้อนหลังที่จัดเก็บไว้ตาม (๔) การส่งข้อมูลตาม (๒) และ (๓) ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๔ และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๙ ที่ใช้ลากจูงรถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุอันตราย ในประเภทการขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล ตามเงื่อนเวลาดังต่อไปนี้ (๑) รถที่จดทะเบียนใหม่ หรือรถที่จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา ๗๙ แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ (๒) รถที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ แต่มิได้ติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ (๓) รถที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ และได้ติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถไว้แล้วแต่ไม่เป็นไปตามประกาศนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๘ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. การรายงานข้อมูลตามประกาศข้อ ๙ (๒) และ (๓) ๒. แบบเครื่องหมายการรับรองเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อุษมล/ผู้จัดทำ ๗ มกราคม ๒๕๕๖ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๗ มกราคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๕๕/๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๕
679166
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของอาคารสถานที่ ลานจอดรถ พื้นที่สำหรับรถรอเข้าตรวจสภาพ ทางเข้าและทางออก สำหรับสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2555
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของอาคารสถานที่ ลานจอดรถ พื้นที่สำหรับรถรอเข้าตรวจสภาพ ทางเข้าและทางออก สำหรับสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ รูปแบบอาคารสถานที่สำหรับสถานตรวจสภาพรถ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ (๑) และ (๒) ของกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของอาคารสถานที่ ลานจอดรถ พื้นที่สำหรับรถรอเข้าตรวจสภาพ ทางเข้าและทางออกสำหรับสถานตรวจสภาพรถไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ รูปแบบอาคารสถานที่สำหรับสถานตรวจสภาพรถเอกชน ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๗ (๒) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ รูปแบบอาคารสถานที่สำหรับสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๘ ข้อ ๒ สถานตรวจสภาพรถที่จะได้รับอนุญาตต้องมีลักษณะเหมาะสมสำหรับการตรวจสภาพรถ โดยมีแบบ ขนาด ลักษณะของอาคารสถานตรวจสภาพรถ ลานจอดรถ พื้นที่สำหรับรถรอเข้าตรวจสภาพทางเข้าและทางออก ดังต่อไปนี้ ๒.๑ สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจสภาพรถทุกประเภทและทุกขนาดน้ำหนัก ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (๑) อาคารสถานที่ ๑) ทำเลที่ตั้ง (ก) มีแนวเขตแสดงอาณาบริเวณอย่างชัดเจน โดยด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกจะต้องติดทางหลวงหรือถนนสาธารณะ มีความกว้างของถนนเหมาะสมกับขนาดของรถที่ให้บริการตรวจสภาพ กรณีอาคารสถานตรวจสภาพรถอยู่ห่างจากที่พักอาศัยมีระยะน้อยกว่า ๑๐ เมตร แนวเขตสถานตรวจสภาพรถนั้นต้องจัดให้มีกำแพงกั้นเสียงมีความสูงไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (ข) ต้องไม่ตั้งอยู่ร่วมกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง สถานีบริการก๊าซหรือสถานที่ซึ่งกักเก็บวัตถุอันตรายหรือวัตถุไวไฟ หรืออยู่ในอาคารพาณิชย์ อาคารลักษณะตึกแถวหรือห้องแถว ๒) ลักษณะอาคาร (ก) เสาอาคารต้องเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือโลหะ (ข) หลังคาต้องเป็นกระเบื้องหรือโลหะ หรือวัสดุอื่นที่มีความมั่นคงแข็งแรง เป็นวัสดุไม่ติดไฟง่าย สามารถกันแสงแดดและฝนได้เป็นอย่างดีไม่รั่วซึม โครงสร้างหลังคาต้องเป็นโลหะ หรือคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค) ผนังด้านข้างของอาคาร ต้องเป็นผนังคอนกรีตหรือก่ออิฐฉาบปูนตลอดแนวความยาวของอาคาร มีความสูงจากระดับพื้นอาคารไม่น้อยกว่า ๑.๒๐ เมตร กรณีผนังส่วนที่สูงเกิน ๑.๒๐ เมตรเป็นผนังทึบ ต้องมีระบบระบายอากาศที่เพียงพอเหมาะสม กรณีผนังส่วนที่สูงเกิน ๑.๒๐ เมตร เป็นผนังโปร่ง ส่วนของผนังโปร่งต้องทำด้วยวัสดุที่มีความมั่นคงแข็งแรงแต่ต้องไม่ใช่สังกะสี (ง) พื้นอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กระดับราบสม่ำเสมอและสามารถรองรับน้ำหนักของรถที่เข้าตรวจสภาพได้ หากมีวัสดุอื่นปิดทับหรือเททับด้านบนต้องเป็นวัสดุประเภทโพลียูริเทรน คอนกรีต หรืออีพ็อกซี่ หรือวัสดุอื่นที่เทียบเท่า (จ) ส่วนประกอบของอาคารต้องไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งยื่นล้ำกีดขวางเข้าไปในบริเวณพื้นที่ตรวจสภาพรถอันเป็นอุปสรรคต่อรถที่เข้ารับการตรวจสภาพ ๓) ขนาดอาคารสถานที่ อาคารสถานตรวจสภาพรถ ต้องมีความกว้างของอาคารไม่น้อยกว่า ๑๕ เมตร ความยาวไม่น้อยกว่า ๒๐ เมตร และความสูง ณ จุดต่ำสุดบริเวณทางเข้าและทางออกของพื้นที่ตรวจสภาพรถต้องไม่น้อยกว่า ๕.๕๐ เมตร ๔) พื้นที่ตรวจสภาพรถ พื้นที่ตรวจสภาพรถ จำนวนไม่น้อยกว่า ๒ พื้นที่ โดยแต่ละพื้นที่ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๕ เมตร ความยาวไม่น้อยกว่า ๒๐ เมตร และความสูงภายใน ณ จุดตํ่าสุดตลอดพื้นที่ตรวจสภาพรถต้องไม่น้อยกว่า ๕.๕๐ เมตร โดยต้องเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กระดับราบสม่ำเสมอ สามารถรองรับน้ำหนักของรถที่เข้าตรวจสภาพได้อย่างเหมาะสม หากมีวัสดุอื่นปิดทับหรือเททับด้านบน ต้องเป็นวัสดุประเภท โพลียูริเทรน คอนกรีต หรืออีพ็อกซี่ หรือวัสดุอื่นที่เทียบเท่า และมีแนวเส้นที่พื้นเพื่อนำทางรถเข้าตรวจสภาพตลอดความยาวของพื้นที่ตรวจสภาพรถ มีความกว้างของแนวเส้นไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ เส้น สถานตรวจสภาพรถที่ติดตั้งเครื่องตรวจสภาพรถ และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ ที่มีสมรรถนะในการตรวจสภาพรถทุกขนาดน้ำหนักในพื้นที่ตรวจสภาพรถเดียวกัน จะมีพื้นที่ตรวจสภาพรถจำนวน ๑ พื้นที่ ก็ได้ ๕) ที่ทำการของผู้ปฏิบัติงาน ที่พักผู้ใช้บริการ และห้องสุขา ต้องจัดให้มีไว้ภายในอาคารสถานตรวจสภาพรถ หรือภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ โดยมีขนาดเหมาะสม (๒) ลานจอดรถ มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ เมตร ความยาวไม่น้อยกว่า ๑๒ เมตร จำนวนไม่น้อยกว่า ๒ พื้นที่ และมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร ความยาวไม่น้อยกว่า ๒๐ เมตร จำนวนไม่น้อยกว่า ๒ พื้นที่ โดยต้องเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือราดยาง อยู่ภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ และไม่กีดขวางทางเข้าหรือทางออกพื้นที่ตรวจสภาพรถ การจราจร ทางเข้าและทางออก กรณีที่สถานตรวจสภาพรถตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับกิจการประเภทอื่นให้สามารถใช้ลานจอดรถร่วมกันได้ โดยลานจอดรถจะต้องมีขนาดเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง (๓) พื้นที่สำหรับรถรอเข้าตรวจสภาพ ต้องอยู่ด้านหน้าพื้นที่ตรวจสภาพรถ มีความยาวตามแนวตรงไม่น้อยกว่า ๒๐ เมตร และมีความกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของพื้นที่ตรวจสภาพรถเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือราดยาง สามารถรองรับน้ำหนักของรถที่เข้ารับการตรวจสภาพได้อย่างเหมาะสม โดยพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับพื้นที่ตรวจสภาพรถต้องเป็นพื้นราบระดับเดียวกับพื้นที่ตรวจสภาพรถมีความยาวไม่น้อยกว่า ๖ เมตร พื้นที่สำหรับรถรอเข้าตรวจสภาพ ต้องไม่มีสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งกีดขวางที่ทำให้พื้นที่สำหรับรถรอตรวจสภาพ มีความกว้างและความสูงน้อยกว่าพื้นที่ตรวจสภาพรถ ตามที่กำหนดไว้ใน ๒.๑ (๑) ๔) (๔) ทางเข้าและทางออก ๑) ทางเข้าและทางออก กรณีทางเข้าและทางออกใช้ร่วมกันให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๖ เมตร แต่หากทางเข้าและทางออกแยกจากกันให้มีความกว้างแต่ละทางไม่น้อยกว่า ๔ เมตร และกรณีที่ทางเข้าและทางออกมีสิ่งกีดขวางอยู่ด้านบน จะต้องมีความสูงของทางเข้าและทางออกไม่น้อยกว่า ๕.๕๐ เมตร ๒) ทางเดินรถจากทางเข้าถึงพื้นที่สำหรับรถรอเข้าตรวจสภาพ ต้องเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือราดยาง มีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร ๓) ทางเดินรถออกจากพื้นที่ตรวจสภาพรถถึงทางออก ต้องเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือราดยาง มีความกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของพื้นที่ตรวจสภาพรถ ความยาวตามแนวตรงจากท้ายสุดของพื้นที่ตรวจสภาพรถไม่น้อยกว่า ๑๕ เมตร ทางเดินรถออกจากพื้นที่ตรวจสภาพรถถึงทางออก หากมีความยาวมากกว่า ๑๕ เมตร ความยาวส่วนที่มากกว่า ๑๕ เมตร จะมีความกว้างน้อยกว่าความกว้างของพื้นที่ตรวจสภาพรถก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่า ๔ เมตร ๒.๒ สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจสภาพรถยนต์ขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน ๒,๒๐๐ กิโลกรัม และรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (๑) อาคารสถานที่ ๑) ทำเลที่ตั้ง เป็นไปตามข้อ ๒.๑ (๑) ๑) ๒) ลักษณะอาคาร เป็นไปตามข้อ ๒.๑ (๑) ๒) ๓) ขนาดอาคารสถานที่ อาคารสถานตรวจสภาพรถ ต้องมีความกว้างของอาคารไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ความยาวไม่น้อยกว่า ๑๕ เมตร และความสูง ณ จุดต่ำสุดบริเวณทางเข้าและทางออกของพื้นที่ตรวจสภาพรถต้องไม่น้อยกว่า ๔ เมตร ๔) พื้นที่ตรวจสภาพรถ พื้นที่ตรวจสภาพรถ ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๕ เมตร ความยาวไม่น้อยกว่า ๑๕ เมตร และความสูงภายใน ณ จุดต่ำสุดตลอดพื้นที่ตรวจสภาพรถต้องไม่น้อยกว่า ๔ เมตร โดยต้องเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กระดับราบสม่ำเสมอและสามารถรองรับน้ำหนักของรถที่เข้าตรวจสภาพได้อย่างเหมาะสม หากมีวัสดุอื่นปิดทับหรือเททับด้านบน ต้องเป็นวัสดุประเภทโพลียูริเทรน คอนกรีต หรืออีพ็อกซี่ หรือวัสดุอื่นที่เทียบเท่า และมีแนวเส้นที่พื้นเพื่อนำทางรถเข้าตรวจสภาพตลอดความยาวของพื้นที่ตรวจสภาพรถ มีความกว้างของแนวเส้นไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ เส้น ๕) ที่ทำการของผู้ปฏิบัติงาน ที่พักผู้ใช้บริการ และห้องสุขา ต้องจัดให้มีไว้ภายในอาคารสถานตรวจสภาพรถ หรือภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ โดยมีขนาดเหมาะสม (๒) ลานจอดรถ มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๓ เมตร ความยาวไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร จำนวนไม่น้อยกว่า ๒ พื้นที่ โดยต้องเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือราดยาง อยู่ภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถ และไม่กีดขวางทางเข้าหรือทางออกพื้นที่ตรวจสภาพรถ การจราจร ทางเข้าและทางออก กรณีที่สถานตรวจสภาพรถตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับกิจการประเภทอื่นให้สามารถใช้ลานจอดรถร่วมกันได้ โดยลานจอดรถจะต้องมีขนาดเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง (๓) พื้นที่สำหรับรถรอเข้าตรวจสภาพ ต้องอยู่ด้านหน้าพื้นที่ตรวจสภาพรถ มีความยาวตามแนวตรงไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร และมีความกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างพื้นที่ตรวจสภาพรถ เป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือราดยางสามารถรองรับน้ำหนักของรถที่เข้ารับการตรวจสภาพได้อย่างเหมาะสม โดยพื้นที่ที่เชื่อมต่อพื้นที่ตรวจสภาพรถต้องเป็นพื้นราบระดับเดียวกับพื้นที่ตรวจสภาพรถ มีความยาวไม่น้อยกว่า ๓ เมตร พื้นที่สำหรับรถรอเข้าตรวจสภาพ ต้องไม่มีสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งกีดขวางที่ทำให้พื้นที่สำหรับรถรอตรวจสภาพ มีความกว้างและความสูงน้อยกว่าพื้นที่ตรวจสภาพรถ ตามที่กำหนดไว้ใน ๒.๒ (๑) ๔) (๔) ทางเข้าและทางออก ๑) ทางเข้าและทางออก กรณีทางเข้าและทางออกใช้ร่วมกันให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๕ เมตร แต่หากทางเข้าและทางออกแยกจากกันให้มีความกว้างแต่ละทางไม่น้อยกว่า ๓ เมตร และกรณีที่ทางเข้าและทางออกมีสิ่งกีดขวางอยู่ด้านบน จะต้องมีความสูงของทางเข้าและทางออกไม่น้อยกว่า ๔ เมตร ๒) ทางเดินรถจากทางเข้าถึงพื้นที่สำหรับรถรอเข้าตรวจสภาพ ต้องเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือราดยาง มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๓ เมตร ๓) ทางเดินรถออกจากพื้นที่ตรวจสภาพรถถึงทางออก ต้องเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือราดยาง มีความกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของพื้นที่ตรวจสภาพรถ ความยาวตามแนวตรงจากท้ายสุดของพื้นที่ตรวจสภาพรถไม่น้อยกว่า ๔ เมตร ทางเดินรถออกจากพื้นที่ตรวจสภาพรถถึงทางออก หากมีความยาวมากกว่า ๔ เมตร ความยาวส่วนที่มากกว่า ๔ เมตร จะมีความกว้างน้อยกว่าความกว้างของพื้นที่ตรวจสภาพรถก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า ๓ เมตร ๒.๓ สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (๑) อาคารสถานที่ ๑) ทำเลที่ตั้ง เป็นไปตามข้อ ๒.๑ (๑) ๑) ๒) ลักษณะอาคาร เป็นไปตามข้อ ๒.๑ (๑) ๒) ๓) ขนาดอาคารสถานที่ อาคารสถานตรวจสภาพรถ ต้องมีความกว้างของอาคารไม่น้อยกว่า ๖ เมตร ความยาวไม่น้อยกว่า ๖ เมตร และความสูงภายใน ณ จุดต่ำสุดบริเวณทางเข้าและทางออกของพื้นที่ตรวจสภาพรถต้องไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ เมตร ๔) พื้นที่ตรวจสภาพรถ พื้นที่ตรวจสภาพรถ ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร ความยาวไม่น้อยกว่า ๖ เมตร และความสูงภายใน ณ จุดต่ำสุดตลอดพื้นที่ตรวจสภาพรถ ต้องไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ เมตร โดยต้องเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กระดับราบสม่ำเสมอ สามารถรองรับน้ำหนักของรถที่เข้าตรวจสภาพได้อย่างเหมาะสม หากมีวัสดุอื่นปิดทับหรือเททับด้านบน ต้องเป็นวัสดุประเภทโพลียูริเทรน คอนกรีตหรืออีพ็อกซี่ หรือวัสดุอื่นที่เทียบเท่า ๕) ที่ทำการของผู้ปฏิบัติงาน ที่พักผู้ใช้บริการ และห้องสุขา ต้องอยู่ภายในอาคารสถานตรวจสภาพรถ หรือภายในบริเวณสถานตรวจสภาพรถโดยมีขนาดเหมาะสม (๒) ลานจอดรถและพื้นที่สำหรับรถรอเข้าตรวจสภาพ ให้ใช้พื้นที่ตรวจสภาพรถเป็นลานจอดรถหรือพื้นที่สำหรับรถรอเข้าตรวจสภาพได้แต่ต้องไม่กีดขวางรถที่จะเข้าหรือออกพื้นที่ตรวจสภาพรถ หรือเป็นอุปสรรคต่อรถที่เข้ารับการตรวจสภาพ (๓) ทางเข้าและทางออก ทางเข้าและทางออก ต้องเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือราดยาง มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร ข้อ ๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตในหลักการให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถไว้ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ จะจัดให้มีอาคารสถานที่ ลานจอดรถ พื้นที่สำหรับรถรอเข้าตรวจสภาพ ทางเข้าและทางออกของสถานตรวจสภาพรถให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ รูปแบบอาคารสถานที่สำหรับสถานตรวจสภาพรถเอกชน ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๗ ก็ได้ ในกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามวรรคหนึ่ง จัดให้มีอาคารสถานที่ลานจอดรถ พื้นที่สำหรับรถรอเข้าตรวจสภาพ ทางเข้าและทางออกของสถานตรวจสภาพรถ เป็นไปตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ รูปแบบอาคารสถานที่สำหรับสถานตรวจสภาพรถเอกชน ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๗ จะต้องดำเนินการปรับปรุงอาคารสถานที่ ลานจอดรถ พื้นที่สำหรับรถรอเข้าตรวจสภาพ ทางเข้าและทางออกของสถานตรวจสภาพรถ ให้เป็นไปตามประกาศนี้ก่อนวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ หากไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ใบอนุญาตเป็นอันสิ้นสุดลง ข้อ ๔ สถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับและมีทำเลที่ตั้งอยู่ร่วมกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง หรือสถานีบริการก๊าซ หรืออยู่ในอาคารพาณิชย์ อาคารลักษณะตึกแถว หรือห้องแถว ให้ยังคงอยู่ในทำเลที่ตั้งดังกล่าวได้ต่อไป เว้นแต่สถานตรวจสภาพรถนั้นย้ายสถานที่ตั้งต้องดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศนี้ ข้อ ๕ สถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากพื้นที่สำหรับรถรอเข้าตรวจสภาพ ทางเข้าและทางออกเฉพาะในส่วนของทางเดินรถออกจากพื้นที่ตรวจสภาพรถถึงทางออกมีแบบและขนาดเป็นไปตามที่นายทะเบียนกลางอนุญาตไว้ แต่แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าสถานตรวจสภาพรถนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอาคาร หรือย้ายสถานที่ตั้งต้องดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศนี้ ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก อุษมล/ผู้จัดทำ ๗ มกราคม ๒๕๕๖ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๗ มกราคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๔๙/๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๕
679164
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องทดสอบศูนย์ล้อ สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2555
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องทดสอบศูนย์ล้อ สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ วรรคสาม ของกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เครื่องทดสอบศูนย์ล้อ (Sideslip Tester) ต้องมีแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเครื่องทดสอบศูนย์ล้อชนิดแผ่นเดียว (Single plate) ติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสมทางด้านขวาของทิศทางการทดสอบ (๒) เป็นเครื่องที่ได้มาตรฐาน CE (European conformity) หรือ EN (European Standard) หรือ CEE (International Commission on Rules for the approval of Electrical Equipment) และผ่านการรับรองด้าน Machinery และ Electromagnetic และ Low Voltage โดยผลิตจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๐ หรือมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ หรือที่กรมการขนส่งทางบกให้การรับรอง (๓) ผิวหน้าแผ่นทดสอบมีคุณสมบัติป้องกันการลื่นไถล ในขณะทำการทดสอบ (๔) ส่วนแสดงผลเป็นแบบตัวเลข และต้องสามารถแสดงค่าการลื่นไถลของล้อได้ตั้งแต่ ๐ ถึง ± ๑๐ เมตรต่อกิโลเมตร หรือ ๐ ถึง ± ๑๐ มิลลิเมตรต่อเมตรหรือมากกว่า (๕) มีค่าความละเอียดในการแสดงผลไม่เกินร้อยละ ๕ ของมาตรวัดสูงสุด (๖) มีความเที่ยงตรง (Accuracy) โดยมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินร้อยละ ๓ ของค่าที่วัดได้ (๗) สามารถปรับเทียบความเที่ยงตรงได้ (๘) สามารถประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ และส่งผลการทดสอบเข้าระบบบันทึกผลและรายงานผลการตรวจสภาพรถตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดได้ ข้อ ๒ เครื่องทดสอบศูนย์ล้อที่ใช้งานในสถานตรวจสภาพรถต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกให้ใช้สำหรับการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ ข้อ ๓ เครื่องทดสอบศูนย์ล้อที่กรมการขนส่งทางบกได้ให้ความเห็นชอบและติดตั้งใช้งานสำหรับสถานตรวจสภาพรถไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ใช้ได้ต่อไป ข้อ ๔ บรรดากฎ ระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับการกำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องทดสอบศูนย์ล้อซึ่งขัด หรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก โชติกานต์/ผู้จัดทำ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๖ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๔๗/๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๕
679154
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องทดสอบห้ามล้อ สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2555
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องทดสอบห้ามล้อ สำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ วรรคสาม ของกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เครื่องทดสอบห้ามล้อ (Brake Tester) ต้องมีแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเครื่องทดสอบแบบลูกกลิ้ง (Roller) มีผิวป้องกันการลื่น สามารถรองรับน้ำหนักลงเพลา (Maximum axle load) ของรถที่เข้ารับการทดสอบได้ และสามารถทดสอบแรงห้ามล้อด้านซ้ายและด้านขวาได้โดยแยกอิสระจากกัน (๒) ขนาดของเครื่องทดสอบห้ามล้อให้เป็น ดังต่อไปนี้ (ก) เครื่องทดสอบห้ามล้อที่สามารถรับน้ำหนักลงเพลาได้ไม่น้อยกว่า ๒,๐๐๐ กิโลกรัมแต่ไม่เกิน ๔,๐๐๐ กิโลกรัม (ข) เครื่องทดสอบห้ามล้อที่สามารถรับน้ำหนักลงเพลาได้ไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ กิโลกรัม (ค) เครื่องทดสอบห้ามล้อที่สามารถรับน้ำหนักลงเพลาได้ไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ กิโลกรัม มีความเร็วในการทดสอบแบบ ๒ ความเร็ว และสามารถทดสอบรถที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยางตั้งแต่ ๕๓๐ มิลลิเมตร จนถึง ๑,๓๐๐ มิลลิเมตร (๓) เป็นเครื่องที่ได้มาตรฐาน CE (European conformity) หรือ EN (European Standard) หรือ CEE (International Commission on Rules for the approval of Electrical Equipment) และผ่านการรับรองด้าน Machinery และ Electromagnetic และ Low Voltage โดยผลิตจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๐ หรือมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ หรือที่กรมการขนส่งทางบกให้การรับรอง (๔) สามารถทดสอบระบบห้ามล้อของรถที่มีเพลาขับแบบเพลาขับคู่ หรือระบบขับเคลื่อนสี่ล้อแบบตลอดเวลาได้ (๕) มีชุดอุปกรณ์ชั่งน้ำหนักลงเพลา (Axle Weight) อยู่ในเครื่องทดสอบประสิทธิภาพห้ามล้อ (๖) มีระบบทำงานที่ช่วยให้รถสามารถออกจากลูกกลิ้งทดสอบได้อย่างสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย (๗) ส่วนแสดงผล (Display) เป็นแบบเข็มชี้หรือแบบตัวเลข และต้องสามารถแสดงค่าได้อย่างน้อยดังนี้ (ก) แสดงค่าแรงห้ามล้อเป็นหน่วยนิวตัน และน้ำหนักลงเพลาเป็นนิวตันหรือกิโลกรัม (ข) มีค่าความละเอียดในการอ่านไม่เกิน ๑๐๐ นิวตัน ในช่วงค่าทดสอบ ๐ นิวตันถึง ๕,๐๐๐ นิวตัน (ค) สามารถแสดงค่าแรงห้ามล้อด้านซ้ายและด้านขวา ขณะที่ทดสอบได้อย่างอิสระจากกัน (ง) สามารถแสดงค่าแรงห้ามล้อทุกล้อ และผลต่างของล้อด้านซ้ายกับด้านขวาในแต่ละเพลาเป็นหน่วยร้อยละเทียบกับแรงห้ามล้อสูงสุดในเพลาเดียวกัน (จ) สามารถแสดงค่าผลรวมของแรงห้ามล้อทั้งหมดเป็นร้อยละเทียบกับน้ำหนักรถได้ (ฉ) สามารถแสดงค่าน้ำหนักรถในแต่ละเพลาและค่าน้ำหนักรวมของรถได้ (๘) สามารถปรับเทียบความเที่ยงตรงได้ (๙) มีความเที่ยงตรง (Accuracy) โดยมีค่าคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน ๑๐๐ นิวตันในการแสดงค่าการทดสอบของแรงห้ามล้อในช่วง ๐ นิวตัน ถึง ๕,๐๐๐ นิวตัน และมีค่าคลาดเคลื่อนไม่เกินร้อยละ ๒ ของค่าที่วัดได้ของแรงห้ามล้อที่มากกว่า ๕,๐๐๐ นิวตัน (๑๐) มีความเที่ยงตรงของการชั่งน้ำหนักรถ โดยมีค่าคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน ๓๐๐ นิวตัน (๓๐ กิโลกรัม) ในช่วงน้ำหนัก ๐ นิวตัน ถึง ๑๐,๐๐๐ นิวตัน (๑,๐๐๐ กิโลกรัม) และมีค่าคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินร้อยละ ๓ ของค่าน้ำหนักที่ชั่งได้ ที่การชั่งน้ำหนักมากกว่า ๑๐,๐๐๐ นิวตัน (๑๑) มีช่องสัญญาณออก (Output) แบบดิจิตอล (Digital) (๑๒) สามารถประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ และส่งผลการทดสอบเข้าระบบบันทึกผลและรายงานผลการตรวจสภาพรถตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดได้ ข้อ ๒ เครื่องทดสอบห้ามล้อที่ใช้งานในสถานตรวจสภาพรถต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกให้ใช้สำหรับการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถและต้องเป็นดังนี้ (๑) เครื่องทดสอบห้ามล้อสำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตรวจสภาพรถยนต์ขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน ๒,๒๐๐ กิโลกรัม ต้องมีขนาดเป็นไปตามข้อ ๑ (๒) (ก) (๒) เครื่องทดสอบห้ามล้อสำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตรวจสภาพรถทุกขนาดน้ำหนักต้องมีขนาดเป็นไปตามข้อ ๑ (๒) (ค) หรือข้อ ๑ (๒) (ก) ร่วมกับข้อ ๑ (๒) (ข) ข้อ ๓ เครื่องทดสอบห้ามล้อที่กรมการขนส่งทางบกได้ให้ความเห็นชอบและติดตั้งใช้งานสำหรับสถานตรวจสภาพรถไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ใช้ได้ต่อไป ข้อ ๔ บรรดากฎ ระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับการกำหนดแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของเครื่องทดสอบห้ามล้อซึ่งขัด หรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก โชติกานต์/ผู้จัดทำ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๖ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๔๔/๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๕
678864
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ 79 (พ.ศ. 2555) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง,รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน,ชื่อสถานี, หมายเลขทางหลวงหรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดลพบุรี สายที่ 5 วัดเสาธงทอง - บ้านถนนใหญ่
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ ๗๙ (พ.ศ. ๒๕๕๕) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวงหรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๕ วัดเสาธงทอง - บ้านถนนใหญ่[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๐๗ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์โดยสารในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี สายที่ ๕ วัดเสาธงทอง - ถนนใหญ่ ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๕ วัดเสาธงทอง - ถนนใหญ่ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๕ วัดเสาธงทอง - บ้านถนนใหญ่ เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดเสาธงทอง ไปตามถนนฝรั่งเศส แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนิน แยกซ้ายไปตามถนนสุระสงคราม แยกขวาไปตามถนนวิชาเยนทร์ ผ่านวงเวียนศาลพระกาฬ ไปตามถนนนารายณ์มหาราช ถึงวงเวียนเทพสตรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงสี่แยกโรงพยาบาลอานันทมหิดล แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๑๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ.๒๐๓๙ แยกขวาไปตามถนนเข้าหมู่บ้านถนนใหญ่ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดถนนใหญ่ เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดถนนใหญ่ ไปตามถนนเข้าหมู่บ้านถนนใหญ่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ.๒๐๓๙ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๑๕ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงวงเวียนเทพสตรี แยกขวาไปตามถนนนารายณ์มหาราช ถึงวงเวียนศาลพระกาฬ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าศาลพระกาฬ แยกขวาไปตามถนนราชดำเนิน แยกขวาไปตามถนนสุระสงคราม แยกซ้ายไปตามถนนวิชาเยนทร์ แยกซ้ายไปตามถนนฝรั่งเศส ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดเสาธงทอง ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉัตรชัย พรหมเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๔๕ ง/หน้า ๓๒๙/๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕
677840
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ป้ายอักษร ภาพและเครื่องหมายของรถบรรทุกวัตถุอันตราย พ.ศ. 2555
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ป้ายอักษร ภาพและเครื่องหมายของรถบรรทุกวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๕ ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การติดป้ายอักษร ภาพและเครื่องหมายของรถบรรทุกวัตถุอันตราย ลงวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการติดป้ายและเครื่องหมายแสดงความเป็นอันตรายตามประเภทของวัตถุอันตรายเสียใหม่ ให้สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจของยุโรปแห่งสหประชาชาติ (European Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road : ADR) อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ (๒) (ฉ) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การติดป้ายอักษร ภาพและเครื่องหมายของรถบรรทุกวัตถุอันตราย ลงวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “วัตถุอันตราย” หมายความว่า วัตถุอันตรายตามประเภทที่กำหนดไว้ในประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ ๔ “หน่วยขนส่ง” หมายความว่า รถบรรทุกหนึ่งคัน หรือรถลากจูงและรถพ่วงหรือรถกึ่งพ่วงที่ต่อพ่วงกัน “รถแบตเตอรี่” หมายความว่า รถที่มีภาชนะบรรจุก๊าซหลายใบติดตั้งอยู่กับตัวรถอย่างถาวรและมีท่อก๊าซต่อร่วมถึงกัน ข้อ ๓ รถบรรทุกวัตถุอันตรายที่มีปริมาตรหรือน้ำหนักของวัตถุอันตรายตามที่กำหนดในภาคผนวก ก ท้ายประกาศ ต้องติดป้ายอักษร ภาพและเครื่องหมายให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ ๔ ป้ายและเครื่องหมายของรถบรรทุกวัตถุอันตรายมีดังนี้ (๑) ป้ายแสดงความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายที่บรรทุก (๒) ป้ายสีส้ม ได้แก่ (ก) ป้ายสีส้มที่ไม่มีข้อความ (ข) ป้ายสีส้มที่มีหมายเลขแสดงความเป็นอันตราย (Hazard identification number หรือ Kemler code) และหมายเลขสหประชาชาติของวัตถุอันตราย (UN number) (๓) เครื่องหมายสำหรับสารที่มีอุณหภูมิสูง ในกรณีบรรทุกวัตถุอันตรายประเภทที่ ๙ (วัตถุอันตรายเบ็ดเตล็ด) ที่เป็นของเหลวมีอุณหภูมิตั้งแต่ ๑๐๐ องศาเซลเซียส ขึ้นไป หรือที่เป็นของแข็งมีอุณหภูมิตั้งแต่ ๒๔๐ องศาเซลเซียส ขึ้นไป (๔) เครื่องหมายสำหรับสารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ในกรณีบรรทุกวัตถุอันตรายที่มีคุณสมบัติเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอักษร ตัวเลข ภาพ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์บนป้ายแสดงความเป็นอันตรายเครื่องหมายสำหรับสารที่มีอุณหภูมิสูง หรือเครื่องหมายสำหรับสารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมหมายเลขแสดงความเป็นอันตรายและหมายเลขสหประชาชาติของวัตถุอันตรายของป้ายสีส้ม ให้เป็นไปตามตาราง A ของบทที่ ๓.๒ ของข้อกำหนดว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทยหรือความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจของยุโรปแห่งสหประชาชาติ ข้อ ๕ ป้ายแสดงความเป็นอันตรายตามข้อ ๔ (๑) ต้องมีลักษณะและขนาด ดังนี้ (๑) เป็นป้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัสวางทำมุม ๔๕ องศา กับแนวระนาบ มีความยาวด้านละไม่น้อยกว่า ๒๕๐ มิลลิเมตร และมีเส้นขอบห่างจากขอบฉลาก ๑๒.๕ มิลลิเมตร ขนานกับขอบป้ายทั้งสี่ด้าน โดยเส้นขอบครึ่งบนต้องมีสีเดียวกับสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย และเส้นขอบครึ่งล่างต้องมีสีเดียวกับข้อความและตัวเลขแสดงประเภทความเป็นอันตราย ทั้งนี้ เว้นแต่ป้ายแสดงความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายประเภทที่ ๗ (วัสดุกัมมันตรังสี) ให้มีเส้นขอบสีดำห่างจากขอบป้าย ๕ มิลลิเมตร ขนานไปกับขอบป้ายทั้งสี่ด้าน (๒) สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย มีขนาดเหมาะสมกับขนาดของป้าย (๓) ตัวเลขแสดงประเภทความเป็นอันตราย ที่มุมด้านล่างของแผ่นป้าย มีความสูงไม่น้อยกว่า ๒๕ มิลลิเมตร โดยในกรณีของวัตถุอันตรายประเภท ๑ ให้แสดงพร้อมด้วยกลุ่มความเข้ากันได้ด้วย ป้ายแสดงความเป็นอันตรายสำหรับวัตถุอันตรายประเภทที่ ๑ และประเภทที่ ๗ หากขนาด หรือโครงสร้างรถไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับติดป้ายแสดงความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายตามขนาดที่กำหนดในวรรคหนึ่ง อาจลดขนาดป้ายลงเหลือความยาวด้านละ ๑๐๐ มิลลิเมตร ก็ได้ สำหรับการบรรทุกวัตถุอันตรายด้วยถังบรรทุกที่มีความจุไม่เกิน ๓ ลูกบาศก์เมตร หรือภาชนะบรรจุขนาดเล็ก อาจลดขนาดป้ายลงได้ แต่ต้องมีความยาวไม่น้อยกว่าด้านละ ๑๐๐ มิลลิเมตร ป้ายแสดงความเป็นอันตรายให้เป็นไปตามตัวอย่างในภาคผนวก ข ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ ป้ายสีส้มตามข้อ ๔ (๒) ต้องมีลักษณะและขนาด ดังนี้ (๑) ป้ายสีส้มที่ไม่มีข้อความ เป็นป้ายสี่เหลี่ยมพื้นสีส้มสะท้อนแสง มีความสูง ๓๐๐ มิลลิเมตร ความกว้าง ๔๐๐ มิลลิเมตร มีเส้นขอบสีดำหนา ๑๕ มิลลิเมตร อาจมีเส้นแนวนอนสีดำหนา ๑๕ มิลลิเมตร คั่นที่กึ่งกลางของป้ายก็ได้ (๒) ป้ายสีส้มที่มีหมายเลขแสดงความเป็นอันตราย และหมายเลขสหประชาชาติของวัตถุอันตรายต้องมีลักษณะและขนาดตาม (๑) และให้มีเส้นแนวนอนสีดำหนา ๑๕ มิลลิเมตร คั่นที่กึ่งกลางของป้ายโดยส่วนบนของป้ายกำหนดเป็นหมายเลขแสดงความเป็นอันตราย และส่วนล่างของป้ายกำหนดเป็นหมายเลขสหประชาชาติของวัตถุอันตราย ซึ่งหมายเลขที่แสดงต้องเป็นตัวเลขอารบิกสีดำ มีความสูง ๑๐๐ มิลลิเมตร และมีความหนา ๑๕ มิลลิเมตร หมายเลขแสดงความเป็นอันตรายและหมายเลขสหประชาชาติของวัตถุอันตราย บนป้ายสีส้มต้องไม่ลบเลือนและต้องสามารถอ่านได้แม้ถูกไฟเผาไหม้นาน ๑๕ นาที ในกรณีขนาดหรือโครงสร้างรถทำให้ไม่สามารถติดป้ายสีส้มตามขนาดที่กำหนดใน (๑) หรือ (๒) อาจลดขนาดป้ายลงได้ แต่ต้องมีความสูง ๑๒๐ มิลลิเมตร ความกว้าง ๓๐๐ มิลลิเมตร และมีเส้นขอบสีดำหนา ๑๐ มิลลิเมตร ขนาดของป้ายสีส้มตามวรรคหนึ่งให้มีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินร้อยละ ๑๐ ป้ายสีส้มให้เป็นไปตามตัวอย่างในภาคผนวก ข ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๗ เครื่องหมายสำหรับสารที่มีอุณหภูมิสูงตามข้อ ๔ (๓) เป็นป้ายรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า มีความยาวด้านละไม่น้อยกว่า ๒๕๐ มิลลิเมตร มีสีและลักษณะตามตัวอย่างในภาคผนวก ข ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๘ เครื่องหมายสำหรับสารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมตามข้อ ๔ (๔) เป็นป้ายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสวางทำมุม ๔๕ องศา กับแนวระนาบ มีความยาวด้านละไม่น้อยกว่า ๒๕๐ มิลลิเมตร มีสีและลักษณะตามตัวอย่างในภาคผนวก ข ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๙ การติดป้ายและเครื่องหมายของรถบรรทุกวัตถุอันตรายตามประกาศนี้ ต้องติดในตำแหน่งที่ถูกต้องตามที่กำหนดและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และผู้ประกอบการขนส่งอาจติดป้ายเครื่องหมาย หรือข้อความแสดงรายละเอียดอื่นเกี่ยวกับการบรรทุกวัตถุอันตรายเป็นการเพิ่มเติมด้วยก็ได้ เช่น ชื่อที่ถูกต้องในการขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์กรณีฉุกเฉิน ป้ายเตือนการรมยา ข้อ ๑๐ การติดป้ายแสดงความเป็นอันตราย ต้องเป็นป้ายที่แสดงความเป็นอันตรายตรงกับวัตถุอันตรายที่ทำการบรรทุกและต้องติดบนตัวรถที่มีสีที่ตัดกันกับป้าย แต่ในกรณีตัวรถมีสีกลมกลืนกับสีป้ายให้ใช้เส้นประหรือเส้นทึบสีดำรอบขอบป้ายแทนก็ได้ โดยให้ติดที่ด้านข้างทั้งสองข้างและด้านท้ายของรถ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้การติดป้ายแสดงความเป็นอันตรายเป็นไปตามที่กำหนด (๑) กรณีรถมีส่วนบรรทุกหลายส่วนและมีการขนส่งวัตถุอันตรายมากกว่าหนึ่งประเภท ให้ติดป้ายแสดงความเป็นอันตรายแต่ละประเภทที่ด้านข้างของรถให้ตรงกับตำแหน่งการบรรทุกและที่ด้านท้ายรถ (๒) กรณีส่วนบรรทุกของรถสามารถยกขึ้นลงจากรถได้ เช่น ตู้สินค้า แท็งก์คอนเทนเนอร์ ภาชนะบรรจุก๊าซแบบกลุ่ม (MEGC) ให้ติดป้ายแสดงความเป็นอันตรายไว้ที่ด้านหน้า ด้านข้างทั้งสองข้าง และด้านท้ายของส่วนบรรทุก (๓) กรณีการบรรทุกวัตถุอันตรายแบบหีบห่อ (Package) หรือในบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ไม่ต้องติดป้ายแสดงความเป็นอันตราย เว้นแต่การบรรทุกดังกล่าวเป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๗ ให้ติดป้ายแสดงความเป็นอันตรายไว้ที่ด้านข้างทั้งสองข้าง และด้านท้ายของส่วนบรรทุก ข้อ ๑๑ การติดป้ายสีส้ม ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ป้ายสีส้มที่ไม่มีข้อความ ให้ติดที่ด้านหน้าและด้านท้ายของหน่วยขนส่ง (๒) ป้ายสีส้มที่มีหมายเลขแสดงความเป็นอันตรายและหมายเลขสหประชาชาติของวัตถุอันตรายให้ติดกรณีการบรรทุกวัตถุอันตรายที่มีหมายเลขแสดงความเป็นอันตรายตามที่กำหนดไว้ในตาราง A ของบทที่ ๓.๒ ของข้อกำหนดว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทย หรือความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งยุโรปภายใต้สหประชาชาติ ดังนี้ (ก) กรณีการบรรทุกวัตถุอันตรายแบบเทกอง หรือสิ่งของหรือของแข็งที่ไม่ได้บรรจุหีบห่อ หรือวัสดุกัมมันตรังสีในบรรจุภัณฑ์ที่มีหมายเลขสหประชาชาติหมายเลขเดียว ให้ติดป้ายที่ด้านข้างทั้งสองข้างของส่วนบรรทุก (ข) กรณีการบรรทุกวัตถุอันตรายในแท็งก์ หรือในรถแบตเตอรี่ ให้ติดป้ายที่ด้านข้างทั้งสองข้างตรงกับวัตถุอันตรายที่ทำการบรรทุกบนแท็งก์หรือแต่ละช่องบรรทุกของแท็งก์ หรือแต่ละกลุ่มถังบรรทุกของรถแบตเตอรี่ (ค) กรณีการบรรทุกวัตถุอันตรายประเภทที่ ๓ ของเหลวไวไฟ ที่มีหมายเลขสหประชาชาติ ๑๒๐๒, ๑๒๐๓, ๑๒๒๓, ๑๒๖๘ หรือ ๑๘๖๓ ร่วมกัน โดยไม่มีวัตถุอันตรายชนิดอื่นในแท็งก์ อาจไม่ติดป้าย ตาม (๑) หรือ (๒) (ข) ก็ได้ หากมีการติดป้ายที่มีหมายเลขแสดงความเป็นอันตรายและหมายเลขสหประชาชาติของวัตถุอันตรายชนิดที่มีความอันตรายสูงที่สุด เช่น มีจุดวาบไฟต่ำสุด ที่ด้านหน้าและด้านท้ายของหน่วยขนส่ง (ง) กรณีส่วนบรรทุกของรถสามารถยกขึ้นลงจากรถได้ ให้การติดป้ายเป็นไปตาม (ก) หรือ (ข) แล้วแต่กรณี เว้นแต่เมื่อส่วนบรรทุกนั้นถูกนำไปวางบนรถทำให้ไม่สามารถมองเห็นป้ายได้อย่างชัดเจนให้ติดป้ายตามตำแหน่งการบรรทุกบนตัวรถเพิ่มเติมด้วย กรณีการบรรทุกวัตถุอันตรายเพียงชนิดเดียวโดยไม่มีการบรรทุกสินค้าอื่นไปด้วย หากมีการติดป้ายที่มีหมายเลขแสดงความเป็นอันตรายและหมายเลขสหประชาชาติของวัตถุอันตรายนั้นที่ด้านหน้าและด้านท้ายของหน่วยขนส่งแล้ว อาจไม่ติดป้ายตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) (ก) (ข) และ (ง) ก็ได้ ข้อ ๑๒ ให้นำความในข้อ ๑๐ มาใช้กับการติดเครื่องหมายสำหรับสารที่มีอุณหภูมิสูงและเครื่องหมายสำหรับสารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยอนุโลม ข้อ ๑๓ การติดป้ายและเครื่องหมายตามข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒ ให้เป็นไปตามตัวอย่างในภาคผนวก ค ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๔ เมื่อทำการขนถ่ายวัตถุอันตรายออกจากรถและได้ล้างหรือทำความสะอาดส่วนบรรทุกหรือถังบรรทุกแล้ว ให้ทำการปลดป้ายหรือเครื่องหมายสำหรับรถบรรทุกวัตถุอันตรายออก หรือปิดคลุมป้ายหรือเครื่องหมายดังกล่าวด้วยวัสดุที่มีความคงทน ข้อ ๑๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. ภาคผนวก ก ปริมาตรหรือน้ำหนักของวัตถุอันตรายตามข้อ ๓ ที่ต้องดำเนินการตามประกาศนี้ ๒. ภาคผนวก ข ป้ายแสดงความเป็นอันตราย ๓. ภาคผนวก ค ตัวอย่างตำแหน่งการติดป้ายและเครื่องหมาย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๐ ง/หน้า ๓๘/๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
677838
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก หรือเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานและการควบคุม กำกับ และดูแลสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2555
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะของอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก หรือเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานและการควบคุม กำกับ และดูแลสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] โดยที่กฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ กำหนดให้สถานตรวจสภาพรถต้องมีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกหรือเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานและการควบคุม กำกับ และดูแลสถานตรวจสภาพรถ ตามแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะที่อธิบดีประกาศกำหนด อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ และข้อ ๑๐ (๒) แห่งกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ต้องจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกหรือเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานและการควบคุม กำกับ และดูแลสถานตรวจสภาพรถ ตามแบบ ขนาด มาตรฐาน และคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ซึ่งประกอบด้วย (ก) หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ความเร็วในการประมวลผลไม่น้อยกว่า ๑.๐ GHz (ข) หน่วยความจำหลัก (RAM) ขนาดไม่น้อยกว่า ๑ GB (ค) หน่วยจัดเก็บข้อมูลฮาร์ดดิสค์ (HDD) ขนาดไม่น้อยกว่า ๑๐๐ GB หรือมีขนาดเพียงพอในการจัดเก็บข้อมูลการตรวจสภาพรถทุกคันที่ทำการตรวจสภาพเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี (ง) ระบบปฏิบัติการ Windows XP Service Pack ๒ หรือ Service Pack ๓ หรือ Windows ๗ หรือระบบปฏิบัติการอื่นตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด (จ) โปรแกรมป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์แบบมีลิขสิทธิ์ (ฉ) ช่องสัญญาณไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน USB จำนวนไม่น้อยกว่า ๒ ช่อง (ช) ช่องสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความเร็วไม่น้อยกว่า ๑๐/๑๐๐ Mbps (ซ) ช่องสัญญาณอื่น ๆ สำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ (ฌ) อุปกรณ์เชื่อมต่อสัญญาณข้อมูลจากเครื่องตรวจสภาพรถไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อนำข้อมูลเข้าสู่ระบบบันทึกการตรวจสภาพรถ กรณีการเชื่อมต่อสัญญาณข้อมูลระหว่างเครื่องตรวจสภาพรถกับคอมพิวเตอร์สามารถบันทึกการตรวจสภาพรถได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ จะมีอุปกรณ์เชื่อมต่อสัญญาณข้อมูลตาม (ฌ) หรือไม่ก็ได้ (๒) อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระบบสารสนเทศ เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลผ่านทางระบบสารสนเทศระหว่างสถานตรวจสภาพรถกับกรมการขนส่งทางบก ความเร็วไม่น้อยกว่า ๖ Mbps โดยอาจเป็นแบบมีสายหรือไร้สายก็ได้ กรณีที่ระบบเครือข่ายสารสนเทศ (อินเทอร์เน็ต) ในพื้นที่ที่สถานตรวจสภาพรถตั้งอยู่ ไม่สามารถให้บริการตามความเร็วที่กำหนดในวรรคหนึ่ง กรมการขนส่งทางบกอาจพิจารณาอนุญาตให้ใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงสุดในการให้บริการขณะนั้นได้เป็นการเฉพาะราย (๓) เครื่องพิมพ์ ซึ่งมีคุณลักษณะอย่างน้อย ดังนี้ (ก) เป็นเครื่องพิมพ์สีหรือขาวดำ (ข) สามารถเชื่อมต่อการทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้ (ค) สามารถพิมพ์กระดาษขนาด A๔ ได้ (๔) กล้องถ่ายภาพ ซึ่งมีคุณลักษณะอย่างน้อย ดังนี้ (ก) รองรับการถ่ายภาพแบบ VGA หรือสูงกว่า และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า ๑ MPixels (ข) สามารถเชื่อมต่อการทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้ (๕) ระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ซึ่งมีคุณลักษณะอย่างน้อย ดังนี้ (ก) มีกล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบ IP Camera โดยแสดงภาพเคลื่อนไหวได้ไม่น้อยกว่า ๒๖ ภาพต่อวินาที (Frame rate) (ข) สามารถเชื่อมต่อระบบสารสนเทศของกรมการขนส่งทางบกได้ ข้อ ๒ เมื่อทำการติดตั้งอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกหรือเครื่องมือตามข้อ ๑ เข้าด้วยกันแล้ว ต้องมีระบบการทำงานที่มีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑) สามารถเชื่อมต่อสัญญาณข้อมูลการตรวจสภาพรถจากเครื่องตรวจสภาพรถไปยังคอมพิวเตอร์ เพื่อนำข้อมูลเข้าสู่ระบบบันทึกการตรวจสภาพรถ โดยสามารถเชื่อมต่อสัญญาณข้อมูลการตรวจวัดหรือทดสอบอย่างน้อยจากเครื่องทดสอบห้ามล้อ เครื่องทดสอบศูนย์ล้อ เครื่องวัดระดับเสียง และเครื่องวิเคราะห์ก๊าซ (๒) สามารถจัดทำการรับรองการตรวจสภาพรถ บันทึกการตรวจสภาพรถและรายงานการตรวจสภาพรถ และเชื่อมต่อข้อมูลไปยังกรมการขนส่งทางบกผ่านทางระบบสารสนเทศได้ (๓) สามารถถ่ายภาพรถที่ทำการตรวจสภาพและส่งไปยังกรมการขนส่งทางบกผ่านทางระบบสารสนเทศได้ (๔) สามารถส่งสัญญาณภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิดไปยังกรมการขนส่งทางบกผ่านทางระบบสารสนเทศได้ โดยต้องสามารถแสดงภาพรถที่ทำการตรวจสภาพและการทำงานของผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถได้ตลอดเวลาที่ให้บริการตรวจสภาพรถ ข้อ ๓ ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต้องจัดทำการรับรองการตรวจสภาพรถบันทึกการตรวจสภาพรถและรายงานการตรวจสภาพรถผ่านทางระบบสารสนเทศ และจัดส่งไปยังกรมการขนส่งทางบกทันทีเมื่อทำการตรวจสภาพรถแต่ละคันเสร็จสิ้น การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้จัดทำตามรูปแบบและระบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดซึ่งต้องมีข้อมูลอย่างน้อย ดังนี้ (๑) วัน เดือน ปี และเวลาที่ทำการตรวจสภาพ (๒) ชื่อสถานตรวจสภาพรถและเลขที่ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ (๓) ชื่อผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถที่ทำการตรวจสภาพ (๔) เลขทะเบียนรถและจังหวัดที่จดทะเบียนของรถที่ทำการตรวจสภาพ (๕) ประเภทรถที่ทำการตรวจสภาพ (๖) ภาพถ่ายรถในพื้นที่ตรวจสภาพรถที่สามารถมองเห็นตัวรถและเลขทะเบียนรถที่ทำการตรวจสภาพ ซึ่งมีขนาดภาพตั้งแต่ ๕๐ KB ถึง ๑๐๐ KB (๗) ผลการตรวจวัดหรือทดสอบประสิทธิภาพห้ามล้อ การเบี่ยงเบนศูนย์ล้อหน้า ระดับเสียงก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นผลที่ได้จากการส่งสัญญาณข้อมูลจากเครื่องตรวจสภาพรถไปยังระบบบันทึกการตรวจสภาพรถโดยตรง โดยต้องไม่มีการบันทึกหรือแก้ไขข้อมูลด้วยการเขียน การพิมพ์ หรือโดยวิธีอื่น (๘) ผลการตรวจสภาพรถอื่น ๆ ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ข้อ ๔ ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต้องส่งสัญญาณภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิดไปยังกรมการขนส่งทางบกผ่านทางระบบสารสนเทศ โดยต้องแสดงภาพรถที่ทำการตรวจสภาพและการทำงานของผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถตลอดเวลาที่ให้บริการตรวจสภาพรถ ข้อ ๕ ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต้องจัดเก็บข้อมูลการตรวจสภาพรถตามข้อ ๓ ไว้สำหรับให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี นับแต่วันที่ทำการตรวจสภาพรถนั้น ข้อ ๖ ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ดำเนินการจัดทำการรับรองการตรวจสภาพรถตามประกาศนี้แล้ว ยังคงต้องจัดทำใบรับรองการตรวจสภาพรถตามที่กรมการขนส่งทางบกจัดพิมพ์จนกว่ากรมการขนส่งทางบกจะยกเลิกหรือกำหนดเป็นอย่างอื่น ข้อ ๗ ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศนี้ก่อนวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ หากไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ ใบอนุญาตเป็นอันสิ้นสุดลง ข้อ ๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตในหลักการให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถไว้ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ จะจัดทำการรับรองการตรวจสภาพรถ การบันทึกการตรวจสภาพรถ และการรายงานการตรวจสภาพรถตามประกาศนี้ หรือตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ ก็ได้ ในกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถตามวรรคหนึ่ง จัดทำการรับรองการตรวจสภาพรถการบันทึกการตรวจสภาพรถ และการรายงานการตรวจสภาพรถตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ จะต้องดำเนินการจัดทำการรับรองการตรวจสภาพรถ การบันทึกการตรวจสภาพรถ และการรายงานการตรวจสภาพรถให้เป็นไปตามประกาศนี้ก่อนวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ หากไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ใบอนุญาตเป็นอันสิ้นสุดลง ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๐ ง/หน้า ๓๔/๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
677836
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ที่มีโทษปรับสถานเดียว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบความผิด ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ไปแล้ว นั้น เพื่อให้การมอบอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียวครอบคลุมเจ้าพนักงานตำรวจทุกตำแหน่งที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และมาตรา ๖๗ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบความผิดไว้ ดังต่อไปนี้ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๓) ของข้อ ๑ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว “(๓) พนักงานสอบสวนของกองบังคับการตำรวจทางหลวง ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่ารองสารวัตรขึ้นไป หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๐ ง/หน้า ๓๓/๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
677834
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ที่มีโทษปรับสถานเดียว
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบความผิด ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และมาตรา ๖๗ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบบรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียวไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียวที่ได้เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ มีอำนาจเปรียบเทียบความผิด (๑) ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาล หรือสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาล หรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ (๒) พนักงานสอบสวนของกองบังคับการตำรวจจราจรซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่ารองสารวัตรขึ้นไปหรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ ข้อ ๒ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว ที่ได้เกิดขึ้นในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิด (๑) ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนซึ่งเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนตำรวจภูธรจังหวัดนั้น สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ (๒) ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธร หรือสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธร หรือสารวัตรสถานีตำรวจภูธรหรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ (๓) พนักงานสอบสวนของกองบังคับการตำรวจทางหลวง ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่ารองสารวัตรขึ้นไปหรือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น สำหรับบรรดาความผิดที่ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ความรับผิดชอบ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๐ ง/หน้า ๓๑/๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
677509
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2555
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสภาพรถ และข้อปฏิบัติของ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๓ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๙ วรรคสอง และข้อ ๑๐ (๑) และ (๒) ของกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ได้รับใบอนุญาต” หมายถึง ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ “นายทะเบียน” หมายถึง นายทะเบียนกลางหรือบุคคลซึ่งนายทะเบียนกลางมอบหมายให้ทำการแทน “สำนักงานขนส่ง” หมายถึง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๓ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินการตรวจสภาพรถ เพื่อรับรองสภาพรถสำหรับรถที่จะต่ออายุทะเบียน หรือเสียภาษีประจำปี ดังนี้ (๑) รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ทั้งนี้ เว้นแต่รถที่ใช้ในการบรรทุกวัสดุอันตราย (ลักษณะ ๔) และรถพ่วง (ลักษณะ ๖) หรือรถกึ่งพ่วง (ลักษณะ ๗) ที่ติดตั้งถังบรรทุกวัสดุอันตราย (๒) รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ตามประเภทที่นายทะเบียนทั่วราชอาณาจักรประกาศกำหนด การตรวจสภาพรถตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้ล่วงหน้าภายในกำหนดเวลาสามเดือน ก่อนวันสิ้นอายุภาษีประจำปี หรือก่อนวันครบกำหนดเสียภาษีประจำปี แล้วแต่กรณี ข้อ ๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องตรวจสภาพรถตามขนาดน้ำหนักและประเภทของรถที่ได้รับอนุญาต และต้องดำเนินการภายในพื้นที่ตรวจสภาพรถของผู้ได้รับใบอนุญาต ข้อ ๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) จัดเก็บค่าบริการตรวจสภาพรถตามอัตราที่กำหนด (๒) จัดให้มีป้ายชื่อ ข้อความหรือเครื่องหมายดังต่อไปนี้ ไว้ในที่ที่เห็นได้โดยชัดเจน ณ สถานตรวจสภาพรถ (ก) ป้ายชื่อสถานตรวจสภาพรถ มีข้อความดังต่อไปนี้ “สถานตรวจสภาพรถ (ชื่อสถานตรวจสภาพรถ) โดยได้รับใบอนุญาตจัดตั้งจากกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม” (ข) ข้อความหรือเครื่องหมายแสดงประเภท ลักษณะ หรือขนาดของรถที่รับบริการตรวจสภาพ และสัญลักษณ์สถานตรวจสภาพรถตามที่อธิบดีกำหนด (ค) ข้อความเตือนมิให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง เข้าไปในบริเวณที่ทำการตรวจสภาพรถ ดังนี้ “พื้นที่ตรวจสภาพรถ บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องห้ามเข้า” (ง) ป้ายแสดงอัตราค่าบริการตรวจสภาพรถ วันและเวลาที่ให้บริการตรวจสภาพรถ (๓) จัดทำใบรับรองการตรวจสภาพรถ บันทึกการตรวจสภาพรถ และรายงานการตรวจสภาพรถ ตามที่กรมการขนส่งทางบกจัดพิมพ์ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ (๔) จัดให้มีผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถอย่างน้อย ๑ คน และเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถอย่างน้อย ๑ คน ประจำสถานตรวจสภาพรถตลอดเวลาที่ให้บริการตรวจสภาพรถ แต่สำหรับสถานตรวจสภาพรถที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์เพียงอย่างเดียว หากผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ด้วย จะมีผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ประจำสถานตรวจสภาพรถนั้นเพียงคนเดียวก็ได้ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติและผ่านการอบรมและทดสอบตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด (๕) แจ้งวันและเวลาที่ให้บริการตรวจสภาพรถเป็นหนังสือต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ ก่อนวันที่เริ่มให้บริการตรวจสภาพรถครั้งแรกและก่อนการเปลี่ยนแปลงวันและเวลาที่ให้บริการตรวจสภาพรถดังกล่าว (๖) จัดส่งรอยตราประทับประจำสถานตรวจสภาพรถซึ่งประกอบด้วยชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ และเครื่องหมายประจำสถานตรวจสภาพรถต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ ก่อนวันที่ให้บริการตรวจสภาพรถครั้งแรก และก่อนการเปลี่ยนแปลง (๗) ส่งลายมือชื่อผู้ได้รับใบอนุญาต หรือรายชื่อของผู้ได้รับมอบอำนาจให้ทำการแทน ผู้ได้รับใบอนุญาต (ถ้ามี) พร้อมหนังสือมอบอำนาจและภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ ต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ ก่อนวันที่ปฏิบัติหน้าที่หรือเริ่มให้บริการตรวจสภาพรถครั้งแรกและก่อนการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลดังกล่าว แจ้งรายชื่อของผู้ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถหรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถตาม (๔) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัว เป็นหนังสือต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ ก่อนวันที่ปฏิบัติหน้าที่หรือเริ่มให้บริการตรวจสภาพรถครั้งแรกและก่อนการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลดังกล่าว (๘) ควบคุม กำกับ ดูแลให้การดำเนินการสถานตรวจสภาพรถเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และถูกต้องตามกฎ ระเบียบ และประกาศของกรมการขนส่งทางบก (๙) ควบคุม กำกับ ดูแลมิให้ผู้ได้รับมอบอำนาจให้ทำการแทนผู้ได้รับใบอนุญาต (ถ้ามี) หรือผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ ลงลายมือชื่อในใบรับรองการตรวจสภาพรถไว้ล่วงหน้าก่อนดำเนินการตรวจสภาพรถ (๑๐) ควบคุม กำกับ ดูแลให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ แต่งกายสุภาพเหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ตรวจสภาพรถ และติดบัตรประจำตัว ตลอดเวลาในขณะปฏิบัติหน้าที่ (๑๑) ไม่ชักชวนหรือแนะนำ หรือยินยอมให้ผู้อื่นชักชวนหรือแนะนำให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ นำรถไปเข้ารับการตรวจ ซ่อม หรือปรับแต่ง ณ สถานประกอบการแห่งหนึ่งแห่งใด เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถจะร้องขอคำแนะนำ (๑๒) ไม่อนุญาตหรือยินยอมให้บุคคลอื่นนอกจากบุคคลตาม (๔) เข้าควบคุมการตรวจสภาพรถหรือทำหน้าที่ตรวจสภาพรถ (๑๓) อำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกในการเข้าไปในสถานตรวจสภาพรถในระหว่างเวลาทำงานตามปกติ เพื่อทราบข้อเท็จจริงและตรวจสอบเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสภาพรถ หมวด ๒ การตรวจสภาพรถ ข้อ ๖ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ ต้องดำเนินการตรวจสภาพรถและวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดท้ายประกาศนี้ และให้ดำเนินการเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ (๑) ลอกลายหมายเลขตัวถังหรือหมายเลขโครงคัสซี หรือหมายเลขตัวรถ ติดไว้บริเวณส่วนล่างของใบรับรองการตรวจสภาพรถตามข้อ ๑๐ ทั้งต้นฉบับและสำเนา (๒) บันทึกข้อมูลและผลการตรวจสภาพรถในบันทึกการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก หรือบันทึกการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ แล้วแต่กรณี และลงลายมือชื่อและวันที่ไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๗ เมื่อทำการตรวจสภาพรถเสร็จสิ้นแล้ว ให้ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถเป็นผู้วินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ และให้บันทึกการวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถและบันทึกข้อบกพร่องกรณีที่รถไม่ผ่านการตรวจสภาพรถ (ถ้ามี) ไว้ในบันทึกการตรวจสภาพรถ พร้อมลงลายมือชื่อและวันที่ไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๘ การวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ มี ๒ กรณี ดังต่อไปนี้ (๑) ผ่าน (๒) ไม่ผ่าน รถที่ตรวจสภาพแล้วเป็นไปตามเกณฑ์การวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ให้รถนั้นผ่านการตรวจสภาพ รถที่ตรวจสภาพแล้วไม่เป็นไปตามเกณฑ์การวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ให้รถนั้นไม่ผ่านการตรวจสภาพ ข้อ ๙ ในการตรวจสภาพรถ หากปรากฏว่าหมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถัง หรือหมายเลขโครงคัสซี หรือหมายเลขตัวรถ มีร่องรอยการแก้ไขขูดลบหรือลบเลือนจนไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ หรือมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญ สำหรับรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก หรือมีการเปลี่ยนแปลงสีของรถหรือเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถสำหรับรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ให้สถานตรวจสภาพรถระงับการตรวจสภาพรถนั้นเสีย ข้อ ๑๐ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาต หรือผู้ได้รับมอบอำนาจให้ทำการแทนผู้ได้รับใบอนุญาต ออกใบรับรองการตรวจสภาพรถสำหรับรถที่ผ่านการตรวจสภาพโดยเร็ว ใบรับรองการตรวจสภาพรถให้จัดทำเป็นสองฉบับ โดยกรอกรายละเอียดข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้อง และให้ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถขีดคร่อม พร้อมลงลายมือชื่อกำกับและประทับตราเครื่องหมายประจำสถานตรวจสภาพรถบนลายหมายเลขตัวถัง หรือโครงคัสซี หรือหมายเลขตัวรถที่ติดไว้บริเวณส่วนล่างของใบรับรองการตรวจสภาพรถ และประทับตราประจำสถานตรวจสภาพรถไว้ที่ส่วนบนของใบรับรองการตรวจสภาพอย่างชัดเจนทั้งต้นฉบับและสำเนา โดยมอบต้นฉบับให้แก่ผู้ที่นำรถเข้ารับการตรวจสภาพ ส่วนสำเนาใบรับรองการตรวจสภาพรถให้จัดเก็บรวมกับบันทึกการตรวจสภาพรถ ณ สถานตรวจสภาพรถเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ตรวจสภาพ ใบรับรองการตรวจสภาพรถให้มีอายุ ๓ เดือน นับแต่วันที่ออกใบรับรองการตรวจสภาพรถ ใบรับรองการตรวจสภาพรถ ต้องไม่มีการขูดลบแก้ไข กรณีที่มีการลงรายการในใบรับรองการตรวจสภาพรถผิดพลาดให้จัดทำขึ้นใหม่ทั้งฉบับ ข้อ ๑๑ การใช้ใบรับรองการตรวจสภาพรถ ต้องเรียงลำดับตามเล่มที่และเลขที่ของใบรับรองการตรวจสภาพรถที่ได้รับจากกรมการขนส่งทางบก กรณีที่แบบพิมพ์ใบรับรองการตรวจสภาพรถต้นฉบับหรือสำเนาชำรุดในสาระสำคัญ หรือสูญหาย ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ พร้อมด้วยแบบพิมพ์ใบรับรองการตรวจสภาพรถที่ชำรุด ในกรณีสูญหายต้องแนบหลักฐานการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนด้วย ข้อ ๑๒ รถคันใดไม่ผ่านการตรวจสภาพ ให้ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถแจ้งผลการตรวจสภาพรถและข้อบกพร่องของรถคันนั้นให้แก่ผู้ที่นำรถเข้ารับการตรวจสภาพทราบ โดยมอบสำเนาบันทึกผลการตรวจสภาพรถ สำหรับใช้เป็นหลักฐานในการนำรถมารับการตรวจสภาพใหม่ ภายหลังที่ได้ทำการแก้ไขข้อบกพร่องนั้นแล้ว ข้อ ๑๓ รถที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ เมื่อทำการแก้ไขข้อบกพร่องแล้ว และมาขอรับการตรวจสภาพรถใหม่ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) กรณีนำรถมารับการตรวจสภาพใหม่ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพครั้งแรก ให้ตรวจสภาพเฉพาะรายการข้อบกพร่องที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่ารถนั้นมีข้อบกพร่องอื่นที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยในการใช้งาน แม้ในรายการนั้นจะได้ผ่านการตรวจสภาพไปแล้ว ก็ให้ตรวจสภาพรายการนั้นใหม่ด้วย (๒) กรณีนำรถมารับการตรวจสภาพใหม่เกินกว่า ๑๕ วัน นับแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพรถครั้งแรก ให้ตรวจสภาพใหม่ทุกรายการ การตรวจสภาพรถตาม (๑) และ (๒) ให้ดำเนินการตามข้อ ๖ โดยให้แนบบันทึกการตรวจสภาพรถไว้กับบันทึกการตรวจสภาพรถฉบับเดิมด้วย หมวด ๓ รายงานการตรวจสภาพรถ ข้อ ๑๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดทำรายงานการตรวจสภาพรถ และส่งให้นายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่สถานตรวจสภาพรถตั้งอยู่ภายในวันที่สิบของเดือนถัดไป พร้อมจัดทำสำเนารายงานดังกล่าวเก็บไว้ ณ สถานตรวจสภาพรถสำหรับให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี รายงานการตรวจสภาพรถตามวรรคหนึ่ง ต้องประทับตราประจำสถานตรวจสภาพรถไว้ที่ส่วนบนของรายงาน และลงลายมือชื่อผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับมอบอำนาจให้ทำการแทนผู้ได้รับใบอนุญาตให้ครบถ้วนถูกต้อง หมวด ๔ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๑๕ ในกรณีที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้การรับรองการตรวจสภาพรถ การบันทึกการตรวจสภาพรถ และการรายงานการตรวจสภาพรถ ต้องดำเนินการผ่านระบบสารสนเทศ ให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ข้อ ๑๖ กรณีที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดให้สถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตทำการตรวจสภาพรถนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๓ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสภาพตามประกาศนี้ด้วยโดยอนุโลม ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย. ๑) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย.๒) และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย. ๓) ๒. หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ สำหรับรถจักรยานยนต์ (รย. ๑๒) ๓. หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร และรถขนาดเล็ก ๔. หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ๕. ใบรับรองการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ๖. ใบรับรองการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ๗. บันทึกการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ๘. บันทึกการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ๙. รายงานการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ๑๐. รายงานการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒ มกราคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๑๐/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
676312
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช บนที่ดินที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน นศ. ๑๒๘๘ ตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๐ งาน ๘.๗ ตารางวา โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๖๕ ง/หน้า ๑๑/๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๕
675933
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ 45 (พ.ศ. 2555) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวงหรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดลำพูน สายที่ 2412 วงกลมลี้ - บ้านห้วยหญ้าไทร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ ๔๕ (พ.ศ. ๒๕๕๕) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลข ทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วย รถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลำพูน สายที่ ๒๔๑๒ วงกลมลี้ - บ้านห้วยหญ้าไทร[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ ๓๐ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ลงวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลำพูน สายที่ ๒๔๑๒ วงกลมลี้ - บ้านห้วยหญ้าไทร นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลำพูน ๒๔๑๒ วงกลมลี้ - บ้านห้วยหญ้าไทร โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๒๔๑๒ วงกลมลี้ - บ้านห้วยหญ้าไทร เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอลี้ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ผ่านบ้านหล่ายหิน โรงพยาบาลลี้ ถึงสำนักงานขนส่งจังหวัดลำพูน สาขาอำเภอลี้ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ลพ.๓๐๑๗ ถึงบ้านแพะหนองห้า แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ลพ.๓๐๑๗ ผ่านวัดพระบาท ห้วยต้ม ถึงบ้านฮั่ว แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น ผ่านบ้านแม่หว่างลุ่ม ถึงบ้านห้วยหญ้าไทร แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ผ่านบ้านปางส้าน ถึงบ้านปวงคำ แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น ผ่านบ้านป่าหก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอลี้ เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอลี้ ไปตามทางหลวงท้องถิ่น ผ่านบ้านป่าหก ถึงบ้านปวงคำ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ผ่านบ้านปางส้าน ถึงบ้านห้วยหญ้าไทร แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น ผ่านบ้านแม่หว่างลุ่ม ถึงบ้านฮั่ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ลพ.๓๐๑๗ ผ่านวัดพระบาทห้วยต้ม ถึงบ้านแพะหนองห้า แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ลพ.๓๐๑๗ ถึงสำนักงานขนส่งจังหวัดลำพูน สาขาอำเภอลี้ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ผ่านโรงพยาบาลลี้ บ้านหล่ายหิน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอลี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๖ ง/หน้า ๑๘๖/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕
675931
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2555) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวงหรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดลำพูน สายที่ 2394 ลำพูน - กิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง เป็น ลำพูน - อำเภอเวียงหนองล่อง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ ๔๔ (พ.ศ. ๒๕๕๕) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง,รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลข ทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วย รถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลำพูน สายที่ ๒๓๙๔ ลำพูน - กิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง เป็น ลำพูน - อำเภอเวียงหนองล่อง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ลงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลำพูน สายที่ ๒๓๙๔ ลำพูน - กิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลำพูน สายที่ ๒๓๙๔ ลำพูน - กิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง เป็น ลำพูน - อำเภอเวียงหนองล่อง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๒๓๙๔ ลำพูน - อำเภอเวียงหนองล่อง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำพูน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ผ่านสามแยกท่าจักร บ้านสบทา อำเภอป่าซาง บ้านแซม อำเภอบ้านโฮ่ง ถึงบ้านป่าป๋วย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ลพ.๓๐๐๔ ผ่านบ้านดงห้วยเย็น บ้านห้วยแพง บ้านน้ำเพอะพะ บ้านหนองปลาสวาย บ้านหนองเขียด บ้านท่าหลุก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเวียงหนองล่อง ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๖ ง/หน้า ๑๘๔/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕
675929
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2555) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวงหรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดลำพูน สายที่ 2339 ลำพูน - บ้านวังสะแกง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๕๕) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลข ทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วย รถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลำพูน สายที่ ๒๓๓๙ ลำพูน - บ้านวังสะแกง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ ๑๙ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ลงวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๓๙ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลำพูน สายที่ ๒๓๓๙ ลำพูน - บ้านวังสะแกง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลำพูน สายที่ ๒๓๓๙ ลำพูน - บ้านวังสะแกง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๒๓๓๙ ลำพูน - บ้านวังสะแกง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำพูน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ผ่านแยกท่าจักร อำเภอป่าซาง บ้านแซม แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น อบจ.ลพ.๑๒๐๙ ผ่านโรงเรียนบ้านห้วยอ้อ บ้านป่ารกฟ้า ถึงบ้านเวียง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑๐ ผ่านบ้านเวียงหนองล่อง ไปตามทางหลวงชนบท ชม.๔๐๐๓ ผ่านบ้านท่าช้าง บ้านต้นผึ้ง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านวังสะแกง ช่วงลำพูน - บ้านมะกอก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำพูน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ผ่านแยกท่าจักร อำเภอป่าซาง แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นสายบ้านล้อง - หนองหอย ผ่านบ้านหนองหอย บ้านล้อง ถึงบ้านกองงาม ไปตามทางหลวงท้องถิ่นสายบ้านกองงาม - หนองบัว ผ่านบ้านกอกอก บ้านต้นผึ้ง ถึงบ้านหนองเงือก แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น ผ่านบ้านสันกำแพง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านมะกอก ช่วงลำพูน - วัดพระพุทธบาทตากผ้า เริ่มต้นทางจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำพูน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ผ่านสามแยกท่าจักร อำเภอป่าซาง บ้านแซม บ้านมะกอก แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น (ทางเข้าวัดพระพุทธบาทตากผ้า) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทาง วัดพระพุทธบาทตากผ้า ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๖ ง/หน้า ๑๘๒/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕
675927
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ 42 (พ.ศ. 2555) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวงหรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดลำพูน สายที่ 1221 ลำพูน - บ้านทากู่
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๕๕) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง(ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลข ทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลำพูน สายที่ ๑๒๒๑ ลำพูน - บ้านทากู่[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ ๒๗ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ลงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๔๐ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลำพูน สายที่ ๑๒๒๑ ลำพูน - บ้านทากู่ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดลำพูน สายที่ ๑๒๒๑ ลำพูน - บ้านทากู่ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๒๒๑ ลำพูน - บ้านทากู่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำพูน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ถึงสามแยกท่าจักร แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓๓ ผ่านบ้านแป้น วัดหมูเปิ้ง วัดทาทุ่งหลวง บ้านทาร้องเรือ ถึงบ้านศาลาแม่ทา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นเทศบาลทาสบชัย ถึงอำเภอแม่ทา กลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ลพ.๒๐๓๑ ผ่านบ้านผาตั้ง บ้านทาปลาดุก บ้านทาป่าสัก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านทากู่ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๖ ง/หน้า ๑๘๐/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕
675925
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ 41 (พ.ศ. 2555) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวงหรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดลำพูน สายที่ 2 วงกลมสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำพูน - นิคมอุตสาหกรรม
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ ๔๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดลำพูน สายที่ ๒ วงกลมสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำพูน - นิคมอุตสาหกรรม[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ ๒๙ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ลงวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดลำพูน สายที่ ๒ วงกลมสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำพูน - นิคมอุตสาหกรรม นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดลำพูน สายที่ ๒ วงกลมสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำพูน - นิคมอุตสาหกรรม โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๒ วงกลมสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำพูน - นิคมอุตสาหกรรม เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำพูน ไปตามถนนสนามกีฬา ถึงสี่แยกประตูลี้ ไปตามถนนอินทยงยศ แยกขวาไปตามถนนวังขวา แยกซ้ายไปตามถนนรอบเมืองใน ถึงสะพานท่านาง แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นสายวัดหัวขัว - ที่ว่าการอำเภอ ผ่านสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดลำพูน สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลำพูน ถึงที่ว่าการอำเภอเมืองลำพูน แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นเทศบาลเวียงยอง ผ่านสำนักงานสรรพากรจังหวัดลำพูน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๔ ถึงบ้านแม่สารป่าแดด แยกซ้ายไปตามถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสายบ้านแม่สารป่าแดด - บ้านประตูโขง ผ่านสำนักงานขนส่งจังหวัดลำพูน ศูนย์ราชการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ถึงกองร้อย อส. แยกขวา ไปตามทางหลวงท้องถิ่นสายบ้านแม่สารป่าแดด ถึงสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประจำจังหวัดลำพูน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงสี่แยกนิคมอุตสาหกรรม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๔๗ ผ่านตลาดสันป่าฝ้าย ถึงปากทางเข้านิคมอุตสาหกรรม (ด้านตลาดสันป่าฝ้าย) แล้วกลับตามเส้นทางเดิม ถึงสี่แยกนิคมอุตสาหกรรมตรงไปตามทางหลวงท้องถิ่นสายสันป่าฝ้าย - ศรีสองเมือง ผ่านตลาดสดศรีบุญยืน ถึงวัดศรีสองเมือง แยกซ้ายไปตามถนนเจริญราษฎร์ ผ่านบ้านสันป่ายางหน่อม ศาลากลางจังหวัดลำพูน ไปตามถนนอินทยงยศ ถึงสี่แยกประตูลี้ ไปตามถนนสนามกีฬา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำพูน เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำพูน ไปตามถนนสนามกีฬา ถึงสี่แยกประตูลี้ ไปตามถนนอินทยงยศ ผ่านศาลากลางจังหวัดลำพูน ไปตามถนนเจริญราษฎร์ ถึงวัดศรีสองเมือง แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นสายสันป่าฝ้าย - ศรีสองเมือง ผ่านตลาดสดศรีบุญยืน ถึงสี่แยกนิคมอุตสาหกรรม ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๔๗ ผ่านตลาดสันป่าฝ้าย ถึงปากทางเข้านิคมอุตสาหกรรม (ด้านตลาดสันป่าฝ้าย) แล้วกลับตามเส้นทางเดิม ถึงสี่แยกนิคมอุตสาหกรรม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประจำจังหวัดลำพูน แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นสายบ้านแม่สารป่าแดด ถึงกองร้อย อส. แยกซ้ายไปตามถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสายบ้านแม่สารป่าแดด - บ้านประตูโขง ผ่านศูนย์ราชการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สำนักงานขนส่งจังหวัดลำพูน ถึงบ้านแม่สารป่าแดด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๔ แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นเทศบาลเวียงยอง ผ่านสำนักงานสรรพากรจังหวัดลำพูน ถึงที่ว่าการอำเภอเมืองลำพูน แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่นสายวัดหัวขัว - ที่ว่าการอำเภอ ผ่านสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลำพูน สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดลำพูน ถึงสะพานท่านาง แยกซ้ายไปตามถนนรอบเมืองใน แยกขวาไปตามถนนวังขวา แยกซ้ายไปตามถนนอินทยงยศ ถึงสี่แยกประตูลี้ ตรงไปตามถนนสนามกีฬา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำพูน ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดลำพูน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๖ ง/หน้า ๑๗๗/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕
675923
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ 40 (พ.ศ. 2555) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดลำพูน สายที่ 1 สนามกีฬาจังหวัดลำพูน - วัดกมลธัชชยาราม (วัดบ่อแฮ้ว)
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ ๔๐ (พ.ศ. ๒๕๕๕) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดลำพูน สายที่ ๑ สนามกีฬาจังหวัดลำพูน - วัดกมลธัชชยาราม (วัดบ่อแฮ้ว)[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ลงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๔๐ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดลำพูน สายที่ ๑ สนามกีฬาจังหวัดลำพูน - วัดบ่อแฮ้ว นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำพูน ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทาง, รายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่, หมายเลขทางหลวง หรือทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดลำพูน สายที่ ๑ สนามกีฬาจังหวัดลำพูน - วัดกมลธัชชยาราม (วัดบ่อแฮ้ว) โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑ สนามกีฬาจังหวัดลำพูน - วัดกมลธัชชยาราม (วัดบ่อแฮ้ว) เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหน้าสนามกีฬาจังหวัดลำพูน ไปตามถนนสนามกีฬา ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำพูน ถึงสี่แยกประตูลี้ ไปตามถนนอินทยงยศ แยกขวาไปตามถนนวังขวา ผ่านสะพานท่าขาม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๔ ผ่านบ้านแม่สารป่าแดด ถึงสามแยกดอยติ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ผ่านบ้านประตูโขง บ้านปูเลย แยกขวาไปตามถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ผ่านบ้านฮ่องกอม่วง ถึงบ้านป่าเป้า แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๔๗ ถึงบ้านเหมืองกวัก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ลพ. ๒๐๐๑ ผ่านบ้านพระเจ้าดำดิน บ้านแม่ร่องน้อย ถึงบ้านป่าเส้า แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ผ่านบ้านต้นผึ้ง บ้านเหมืองง่า ถึงบ้านศรีสองเมือง ไปตามถนนเจริญราษฎร์ ผ่านบ้านสันป่ายางหน่อม ไปตามถนนอินทยงยศ ถึงสี่แยกประตูลี้ แยกขวาไปตามถนนรอบเมืองใน แยกซ้ายไปตามถนนรอบเมืองนอก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ผ่านบ้านทุ่งยาว ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหน้าวัดกมลธัชชยาราม (วัดบ่อแฮ้ว) เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหน้าวัดกมลธัชชยาราม (วัดบ่อแฮ้ว) ไปตามเส้นทางเดิมจนถึงสะพานท่าขาม แยกซ้ายไปตามถนนรอบเมืองใน ถึงสี่แยกประตูลี้ แยกซ้าย ไปตามถนนสนามกีฬา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหน้าสนามกีฬาจังหวัดลำพูน ช่วงสนามกีฬาจังหวัดลำพูน - บ้านปูเลย - บ้านเหมืองง่า - วัดกมลธัชชยาราม (วัดบ่อแฮ้ว) เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหน้าสนามกีฬาจังหวัดลำพูน ไปตามถนนสนามกีฬา ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำพูน ถึงสี่แยกประตูลี้ ไปตามถนนอินทยงยศ แยกขวาไปตามถนนวังขวา ผ่านสะพานท่าขาม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๔ ผ่านบ้านแม่สารป่าแดด ถึงสามแยกดอยติ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ผ่านบ้านประตูโขง บ้านปูเลย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๓๖ ถึงบ้านเหมืองง่า แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ถึงบ้านศรีสองเมือง ไปตามถนนเจริญราษฎร์ ผ่านบ้านสันป่ายางหน่อม ไปตามถนนอินทยงยศ ถึงสี่แยกประตูลี้ แยกขวาไปตามถนนรอบเมืองใน แยกซ้ายไปตามถนนรอบเมืองนอก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ผ่านบ้านทุ่งยาว ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหน้าวัดกมลธัชชยาราม (วัดบ่อแฮ้ว) เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหน้าวัดกมลธัชชยาราม (วัดบ่อแฮ้ว) ไปตามเส้นทางเดิมจนถึงสะพานท่าขาม แยกซ้ายไปตามถนนรอบเมืองใน ถึงสี่แยกประตูลี้ แยกซ้าย ไปตามถนนสนามกีฬา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหน้าสนามกีฬาจังหวัดลำพูน ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดลำพูน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๖ ง/หน้า ๑๗๔/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕
674714
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชุมพร ฉบับที่ 65 (พ.ศ. 2555) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดชุมพร สายที่ 8333 ชุมพร - ท่าแซะ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงชุมพร - บ้านพรุใหญ่ - ท่าแซะ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชุมพร ฉบับที่ ๖๕ (พ.ศ. ๒๕๕๕) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสารหมวด ๔ จังหวัดชุมพร สายที่ ๘๓๓๓ ชุมพร - ท่าแซะ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงชุมพร - บ้านพรุใหญ่ - ท่าแซะ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ฉบับที่ ๒๙ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชุมพร สายที่ ๘๓๓๓ ชุมพร - ท่าแซะ ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชุมพร สายที่ ๘๓๓๓ ชุมพร - ท่าแซะ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๘๓๓๓ ชุมพร - ท่าแซะ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดชุมพร ไปตามถนนศาลาแดง ถนนไตรรัตน์ ผ่านศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชพ ๑๐๐๗ ผ่านบ้านศาลาลอย บ้านบ่อนไก่ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๘๑ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอท่าแซะ ช่วงชุมพร - บ้านพรุใหญ่ - ท่าแซะ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดชุมพร ไปตามถนนศาลาแดง ถนนไตรรัตน์ ผ่านศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร ตรงไปตามทางหลวงท้องถิ่น ผ่านสำนักงานขนส่งจังหวัดชุมพร บ้านเนินคีรี สถานีรถไฟนาชะอัง ตรงไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชพ ๔๐๓๕ ผ่านบ้านหนองเนียน บ้านพรุใหญ่ ถึงแยกสะพลี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๘๐ ผ่านบ้านพรุปลิง บ้านเขาขนาน บ้านเขาวง ถึงแยกท่าแซะ ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๘๑ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอท่าแซะ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ พินิจ เจริญพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๐ ง/หน้า ๒๑๕/๔ ตุลาคม ๒๕๕๕
674712
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชุมพร ฉบับที่ 64 (พ.ศ. 2555) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดชุมพร สายที่ 8214 ชุมพร - สี่แยกสำราญรมย์ เป็น ชุมพร - บ้านทุ่งคา - บ้านเชิงกระ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชุมพร ฉบับที่ ๖๔ (พ.ศ. ๒๕๕๕) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสารหมวด ๔ จังหวัดชุมพร สายที่ ๘๒๑๔ ชุมพร – สี่แยกสำราญรมย์ เป็น ชุมพร - บ้านทุ่งคา - บ้านเชิงกระ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชุมพร สายที่ ๘๒๑๔ ชุมพร - วิทยาลัยพลศึกษา เป็น ชุมพร - สี่แยกสำราญรมย์ ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชุมพร สายที่ ๘๒๑๔ ชุมพร - สี่แยกสำราญรมย์ เป็น ชุมพร - บ้านทุ่งคา - บ้านเชิงกระ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๘๒๑๔ ชุมพร - บ้านทุ่งคา - บ้านเชิงกระ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดชุมพร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๗ ถึงสี่แยกปฐมพร แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารปฐมพร สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตชุมพร สถานีวิทยุ อสมท. บ้านทุ่งคา บ้านสำราญรมย์ ถึงบ้านวัดเขาเจดีย์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชพ ๒๐๑๐ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเชิงกระ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ พินิจ เจริญพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๐ ง/หน้า ๒๑๓/๔ ตุลาคม ๒๕๕๕
674710
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชุมพร ฉบับที่ 63 (พ.ศ. 2555) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดชุมพร สายที่ 1782 ชุมพร - เขาทะลุ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงชุมพร - บ้านเขาชันโต๊ะ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชุมพร ฉบับที่ ๖๓ (พ.ศ. ๒๕๕๕) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสารหมวด ๔ จังหวัดชุมพร สายที่ ๑๗๘๒ ชุมพร - เขาทะลุ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงชุมพร - บ้านเขาชันโต๊ะ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๒๗ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชุมพร สายที่ ๑๗๘๒ ชุมพร - สวี เป็น ชุมพร - เขาทะลุ ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชุมพร สายที่ ๑๗๘๒ ชุมพร - เขาทะลุ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๗๘๒ ชุมพร - เขาทะลุ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดชุมพร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๗ ถึงสี่แยกปฐมพร แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารปฐมพร บ้านทุ่งคา อำเภอสวี ถึงสี่แยกเขาปีบ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๓๙ ผ่านบ้านเขากรด บ้านเขาน้อย บ้านห้วยทรายขาว บ้านหนองโตน บ้านในช่อง โรงเรียนบ้านเขาทะลุ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเขาทะลุ ช่วงชุมพร - บ้านเขาชันโต๊ะ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดชุมพร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๗ ถึงสี่แยกปฐมพร แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารปฐมพร บ้านทุ่งคา ถึงแยกบ้านวิสัยเหนือ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชพ ๑๐๐๕ ผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลวิสัยเหนือ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเขาชันโต๊ะ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ พินิจ เจริญพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๐ ง/หน้า ๒๑๑/๔ ตุลาคม ๒๕๕๕
674708
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชุมพร ฉบับที่ 62 (พ.ศ. 2555) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดชุมพร สายที่ 8176 ชุมพร - ปะทิว - มาบอำมฤต
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชุมพร ฉบับที่ ๖๒ (พ.ศ. ๒๕๕๕) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสารหมวด ๔ จังหวัดชุมพร สายที่ ๘๑๗๖ ชุมพร - ปะทิว - มาบอำมฤต[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชุมพร สายที่ ๘๑๗๖ ชุมพร - ปะทิว เป็น ชุมพร - ปะทิว - มาบอำมฤต ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๕ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดชุมพร สายที่ ๘๑๗๖ ชุมพร - ปะทิว - มาบอำมฤต โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๘๑๗๖ ชุมพร - ปะทิว - มาบอำมฤต เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดชุมพร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๗ ถึงสี่แยกปฐมพร แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม) ผ่านบ้านวังครก แยกท่าแซะ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๐๑ ผ่านบ้านทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕๓ ถึงบ้านหนองหมอ บ้านบางจาก บ้านบนไร่ บ้านทุ่งมหา ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านมาบอำมฤต ช่วงชุมพร - บ้านทรัพย์สมบูรณ์ - มาบอำมฤต เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดชุมพร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๗ ถึงสี่แยกปฐมพร แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม) ผ่านบ้านวังครก แยกท่าแซะ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๐๑ ผ่านบ้านทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕๓ ถึงบ้านหนองหมอ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ชพ. ๔๐๒๑ ผ่านบ้านทรัพย์สมบูรณ์ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านมาบอำมฤต ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ พินิจ เจริญพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชุมพร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๐ ง/หน้า ๒๐๙/๔ ตุลาคม ๒๕๕๕
674421
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดระยะเวลาการจัดให้มีอาคารสถานที่ ลานจอดรถ เครื่องตรวจสภาพรถ อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ หรือเครื่องมืออื่นใด และหลักเกณฑ์การย้ายที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. 2555
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดระยะเวลาการจัดให้มีอาคารสถานที่ ลานจอดรถ เครื่องตรวจสภาพรถ อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ หรือเครื่องมืออื่นใด และหลักเกณฑ์การย้ายที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ และข้อ ๑๑ ของกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ยังไม่มีอาคารสถานที่ ลานจอดรถพื้นที่สำหรับรถรอเข้าตรวจสภาพ ทางเข้า ทางออก เครื่องตรวจสภาพรถ อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ หรือเครื่องมืออื่นใดตามที่อธิบดีประกาศกำหนด หรือมีแต่ยังไม่ครบถ้วนถูกต้องเมื่อนายทะเบียนกลางอนุญาตในหลักการให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถแล้ว ผู้ยื่นคำขอต้องจัดให้มีอาคาร สถานที่ ลานจอดรถ พื้นที่สำหรับรถรอเข้าตรวจสภาพ ทางเข้า ทางออก เครื่องตรวจสภาพรถอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ หรือเครื่องมืออื่นใดให้ครบถ้วนถูกต้อง ภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตในหลักการ กรณีผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ มีเหตุผลความจำเป็นที่ไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง จะสามารถขอขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกินสองครั้ง ๆ ละไม่เกินสามสิบวัน หากผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตไม่สามารถดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ ให้คำขอรับใบอนุญาตนั้นสิ้นสุดลง ข้อ ๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ประสงค์จะย้ายที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถให้ยื่นคำขอตามแบบแนบท้ายประกาศ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ณ สำนักงานขนส่งที่สถานตรวจสภาพรถนั้นตั้งอยู่ การย้ายที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นการย้ายอาคารสถานที่เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งให้กระทำได้เฉพาะการย้ายที่ตั้งภายในเขตจังหวัดเดิมที่เคยได้รับใบอนุญาตเท่านั้น ทั้งนี้ ให้นำหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถจะย้ายที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง และนำใบอนุญาตมาบันทึกแก้ไขรายการที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถแล้ว ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอย้ายสถานที่ตั้งสถานตรวจสภาพรถ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๔๘ ง/หน้า ๔๐/๒๗ กันยายน ๒๕๕๕
674045
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสุไหงโก - ลก จังหวัดนราธิวาส
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสุไหงโก - ลก จังหวัดนราธิวาส[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำหนดจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสุไหงโก - ลก จังหวัดนราธิวาส ในที่ดินที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน นธ.๖๖๖ ตำบลสุไหงโก - ลก อำเภอสุไหงโก - ลก จังหวัดนราธิวาส เนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๑ งาน ๗๐ ตารางวา โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสุไหงโก - ลก จังหวัดนราธิวาส (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๔๔ ง/หน้า ๑๔/๑๙ กันยายน ๒๕๕๕
673889
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการอบรมและทดสอบผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ พ.ศ. 2555
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการอบรมและทดสอบ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] โดยที่กฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ กำหนดให้ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถต้องผ่านการอบรมและทดสอบตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่อธิบดีประกาศกำหนด อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๙ แห่งกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บัตรประจำตัว” หมายถึง บัตรประจำตัวผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ บัตรประจำตัวผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ ต้องมีคุณสมบัติตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดและต้องผ่านการอบรมและทดสอบจากกรมการขนส่งทางบก หน่วยงานหรือสถาบัน ที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง โดยการอบรมและทดสอบมี ดังนี้ (๑) การอบรม แบ่งเป็น (ก) ภาคทฤษฎี อบรมความรู้เกี่ยวกับการตรวจสภาพรถ กฎหมาย กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง (ข) ภาคปฏิบัติ ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ วิธีการตรวจสภาพรถ และการวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ (๒) การทดสอบ แบ่งเป็น (ก) การทดสอบข้อเขียน ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตรวจสภาพรถ การใช้เครื่องตรวจสภาพรถ และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ กฎหมาย กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง (ข) การทดสอบปฏิบัติ ทดสอบการใช้เครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ วิธีการตรวจสภาพรถ และการวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ ผู้ที่จะเข้ารับการทดสอบได้ ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการอบรมตาม (๑) และผู้ที่จะเข้ารับการทดสอบปฏิบัติได้ ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการทดสอบข้อเขียนแล้ว ข้อ ๓ ผู้ที่ผ่านการทดสอบตามข้อ ๒ (๒) ต้องได้คะแนน ดังนี้ (๑) ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ ต้องได้คะแนนการทดสอบข้อเขียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ และการทดสอบปฏิบัติไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ (๒) เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ ต้องได้คะแนนการทดสอบข้อเขียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕ และการทดสอบปฏิบัติไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕ ข้อ ๔ ผู้ขอรับการทดสอบที่ไม่ผ่านการทดสอบตามเกณฑ์ข้อ ๓ ให้ขอรับการทดสอบได้อีกไม่เกิน ๒ ครั้ง ภายในระยะเวลาไม่เกิน ๑๘๐ วันนับแต่วันที่ยื่นคำขอครั้งแรก หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้คำขอสิ้นสุดลง ทั้งนี้ กำหนดเวลาการทดสอบให้เป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ข้อ ๕ ผู้ที่ผ่านการอบรมและทดสอบ อธิบดีจะออกบัตรประจำตัวให้ โดยบัตรประจำตัวมี ๔ ประเภท ดังนี้ (๑) บัตรประจำตัวผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ (๒) บัตรประจำตัวผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ (๓) บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ (๔) บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ บัตรประจำตัวให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศ บัตรประจำตัวตาม (๑) ให้ใช้แทนบัตรประจำตัวตาม (๒) (๓) และ (๔) ได้ บัตรประจำตัวตาม (๒) และ (๓) ให้ใช้แทนบัตรประจำตัวตาม (๔) ได้ บัตรประจำตัวให้มีอายุ ๓ ปีนับแต่วันออกบัตร ข้อ ๖ ผู้ได้รับบัตรประจำตัวผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ ให้ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ได้ด้วย ผู้ได้รับบัตรประจำตัวผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์หรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ ให้ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ได้ด้วย ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์ขอรับการอบรมและทดสอบ ให้ยื่นคำขอตามแบบแนบท้ายประกาศ ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด พร้อมด้วยหลักฐาน ดังนี้ (๑) บัตรประจำตัวประชาชนหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พร้อมด้วยภาพถ่าย (๒) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านหรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (๓) ภาพถ่ายหนังสือหรือหลักฐานแสดงคุณวุฒิ (๔) รูปถ่าย ขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป ซึ่งถ่ายก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน ๖ เดือน ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถหรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์มาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี ที่ประสงค์ขอรับการอบรมและทดสอบเป็นผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถหรือผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ ต้องแนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถหรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ แล้วแต่กรณี และหนังสือรับรองการทำงานจากผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ หรือหลักฐานอื่นที่แสดงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามระยะเวลาดังกล่าว ข้อ ๘ ผู้ได้รับบัตรประจำตัวผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุบัตรประจำตัว ให้ยื่นคำขอตามแบบแนบท้ายประกาศ ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด โดยให้ยื่นได้ก่อนบัตรประจำตัวสิ้นอายุไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน แต่ต้องไม่เกิน ๑ ปี นับแต่วันที่บัตรประจำตัวสิ้นอายุ พร้อมด้วยหลักฐาน ดังนี้ (๑) บัตรประจำตัวประชาชนหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พร้อมด้วยภาพถ่าย (๒) บัตรประจำตัวเดิมหรือใบแทน พร้อมด้วยภาพถ่าย (๓) รูปถ่าย ขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป ซึ่งถ่ายก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน ๖ เดือน การยื่นขอต่ออายุบัตรประจำตัวหลังจากบัตรประจำตัวสิ้นอายุเกินกว่า ๑ ปี ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับการขอรับการอบรมและทดสอบใหม่ ข้อ ๙ ผู้ขอต่ออายุบัตรประจำตัว ต้องไม่ขาดคุณสมบัติตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดและต้องผ่านการอบรมและทดสอบจากกรมการขนส่งทางบก หน่วยงานหรือสถาบัน ที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง โดยให้นำความในข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๐ การต่ออายุบัตรประจำตัว ให้ออกบัตรประจำตัวฉบับใหม่ โดยวันเริ่มต้นของอายุบัตรประจำตัว ให้นับถัดจากวันสิ้นอายุบัตรประจำตัวเดิม ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับบัตรประจำตัวผู้ใดประสงค์จะขอรับใบแทนบัตรประจำตัวกรณีสูญหายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ยื่นคำขอตามแบบแนบท้ายประกาศ ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด พร้อมด้วยหลักฐาน ดังนี้ (๑) บัตรประจำตัวประชาชนหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พร้อมด้วยภาพถ่าย (๒) บัตรประจำตัวเดิมหรือใบแทน หรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวเดิมหรือใบแทน (ถ้ามี) (๓) หลักฐานการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวนหรือบันทึกแจ้งการสูญหายหรือชำรุดในสาระสำคัญของเจ้าหน้าที่ การออกใบแทนบัตรประจำตัว ให้ออกบัตรประจำตัวฉบับใหม่ โดยให้ระบุคำว่า “ใบแทน” ไว้ที่ด้านหน้าบัตรประจำตัวด้วย ข้อ ๑๒ ในกรณีผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ หรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ มีการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ให้ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ขนส่งจังหวัดผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพ มีอำนาจตักเตือนหรือระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถเป็นการชั่วคราวโดยอธิบดีจะยกเลิกบัตรประจำตัวของผู้นั้นเสียก็ได้ ข้อ ๑๓ อธิบดีจะยกเลิกบัตรประจำตัวในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับบัตรประจำตัวถูกระงับการดำเนินการตรวจสภาพรถตามข้อ ๑๒ เกินกว่า ๓ ครั้ง (๒) ผู้ได้รับบัตรประจำตัวทุจริตหรือจงใจทำเอกสารอันเกี่ยวกับการดำเนินการตรวจสภาพรถโดยไม่ตรงตามความเป็นจริง (๓) ผู้ได้รับบัตรประจำตัวขาดคุณสมบัติตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ข้อ ๑๔ บัตรประจำตัวย่อมสิ้นสุดลงในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับบัตรประจำตัวถึงแก่ความตาย (๒) ผู้ได้รับบัตรประจำตัวเป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๓) ผู้ได้รับบัตรประจำตัวถูกยกเลิกบัตรประจำตัว ข้อ ๑๕ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ หรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ ที่ปฏิบัติหน้าที่และผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการตรวจสภาพรถตามหลักสูตรการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือหลักสูตรอื่นที่กรมการขนส่งทางบกจัดฝึกอบรม ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นผู้ผ่านการอบรมและทดสอบตามข้อ ๒ และข้อ ๓ โดยให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยหลักฐานตามข้อ ๗ และหลักฐานการฝึกอบรมดังกล่าวเพื่อขอรับบัตรประจำตัวให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวต้องเข้ารับการอบรมและทดสอบใหม่ ข้อ ๑๖ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ หรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และยังไม่ผ่านการฝึกอบรมตามข้อ ๒ ข้อ ๓ หรือข้อ ๑๕ ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๑๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบบัตรประจำตัวผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ ๒. กรมการขนส่งทางบก คำขอรับการอบรมและทดสอบผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถหรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ ๓. กรมการขนส่งทางบก คำขอต่ออายุบัตรประจำตัวผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถหรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ ๔. กรมการขนส่งทางบก คำขอรับใบแทนบัตรประจำตัวผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถหรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๔๐ ง/หน้า ๗๘/๑๔ กันยายน ๒๕๕๕
673887
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง คุณสมบัติของผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ พ.ศ. 2555
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง คุณสมบัติของผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้มีประกาศ เรื่อง ให้ความเห็นชอบผู้มีคุณวุฒิอื่นเป็นผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถสำหรับสถานตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ลงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ไว้แล้ว นั้น โดยที่กฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต้องจัดให้มีผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่อธิบดีประกาศกำหนดตลอดเวลาที่ให้บริการตรวจสภาพรถตามใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๙ แห่งกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ให้ความเห็นชอบผู้มีคุณวุฒิอื่นเป็นผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถสำหรับสถานตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ลงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ข้อ ๒ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๒) มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์การทำงานตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ (๓) ผ่านการอบรมและทดสอบตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด (๔) ไม่เคยถูกยกเลิกบัตรประจำตัวผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถหรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ เว้นแต่ได้ถูกยกเลิกมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปีนับแต่วันที่ถูกยกเลิกครั้งหลังสุด ข้อ ๓ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถต้องมีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ปริญญาตรีหรือเทียบได้ในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิศวกรรมเครื่องกลหรือสาขางานยานยนต์ หรือด้านวิศวกรรมยานยนต์ (๒) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบได้ในระดับเดียวกันทางด้านช่างยนต์ หรือประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์หรือสาขางานยานยนต์ (๓) ประกาศนียบัตรวิชาชีพทางเทคนิค (ปวท.) สาขาเทคนิคเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกลหรือช่างยนต์ (๔) คุณวุฒิตาม (๑) (๒) หรือ (๓) นอกจากด้าน ประเภทหรือสาขาที่กำหนดไว้ และได้รับการศึกษาเพิ่มเติมด้านระบบเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลังรถยนต์และระบบเครื่องล่างรถยนต์ ตามหลักสูตรและหน่วยงานหรือสถาบัน ที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง ข้อ ๔ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ต้องมีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) คุณวุฒิตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๓ (๒) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบได้ในระดับเดียวกันทางด้านช่างยนต์ หรือประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาช่างยนต์หรือสาขาวิชาช่างกลเกษตร (๓) ประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพทางด้านช่างยนต์หรือช่างเครื่องยนต์ (๔) ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิชาชีพ ๒) ทางด้านช่างยนต์หรือช่างเครื่องยนต์ (๕) คุณวุฒิตาม (๒) นอกจากด้าน ประเภทหรือสาขาที่กำหนดไว้ และได้รับการศึกษาเพิ่มเติมด้านระบบเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลังรถยนต์และระบบเครื่องล่างรถยนต์ ตามหลักสูตรและหน่วยงานหรือสถาบัน ที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง ข้อ ๕ เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถต้องมีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๔ ข้อ ๖ เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ต้องมีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) คุณวุฒิตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๔ (๒) ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบได้ในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าและได้รับการศึกษาเพิ่มเติมด้านระบบเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลังรถยนต์และระบบเครื่องล่างรถยนต์ ตามหลักสูตรและหน่วยงานหรือสถาบัน ที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง ข้อ ๗ ผู้ที่จะขอเป็นผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ หากมีคุณวุฒิไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๓ แต่เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถและได้ปฏิบัติงานในการตรวจสภาพรถมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้สามารถยื่นคำขอเป็นผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถได้ ข้อ ๘ ผู้ที่จะขอเป็นผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ หากมีคุณวุฒิไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๔ แต่เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ และได้ปฏิบัติงานในการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์มาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้สามารถยื่นคำขอเป็นผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ได้ ข้อ ๙ ให้ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ หรือผู้ที่เคยทำหน้าที่ดังกล่าว ที่มีคุณวุฒิเป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ให้ความเห็นชอบผู้มีคุณวุฒิอื่นเป็นผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถสำหรับสถานตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ลงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๓๗ หรือได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกให้ทำหน้าที่ดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นผู้มีคุณวุฒิตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๔๐ ง/หน้า ๗๕/๑๔ กันยายน ๒๕๕๕
673885
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายเบื้องต้นของผู้สมัครเรียนขับรถ พ.ศ. 2555
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายเบื้องต้นของผู้สมัครเรียนขับรถ พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายเบื้องต้นของผู้สมัครเรียนขับรถ ลงวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒๒ (๔) ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายเบื้องต้นของผู้สมัครเรียนขับรถ ลงวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในประกาศนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย” หมายความว่า การทดสอบปฏิกิริยาและการทดสอบสายตา “ผู้สมัคร” หมายความว่า ผู้สมัครเรียนขับรถหรือสมัครเข้ารับการอบรมกับโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง ข้อ ๓ โรงเรียนสอนขับรถต้องจัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายของผู้สมัครดังนี้ ๓.๑ การทดสอบปฏิกิริยา ให้ทดสอบความสามารถในการเบรกเท้า ๓ ครั้ง หากสามารถใช้เบรกได้ในระยะเวลาน้อยกว่าหรือเท่ากับ ๐.๗๕ วินาที สองในสามครั้งให้ถือว่าผ่านการทดสอบ ๓.๒ การทดสอบสายตาให้ดำเนินการดังนี้ (๑) การทดสอบสายตาทางกว้าง ถ้าผู้เข้ารับการทดสอบสามารถมองเห็นทั้งด้านซ้ายและด้านขวา เป็นมุมกว้างข้างละตั้งแต่ ๗๕ องศา สองในสามครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ (๒) การทดสอบสายตาทางลึก ให้ทดสอบการมองเห็นในระยะ ๒.๕๐ เมตร ถึง ๓.๕๐ เมตร รวมสามครั้ง หากผลการทดสอบห่างจากจุดที่กำหนดไม่เกิน ๑ นิ้ว สองในสามครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ (๓) การทดสอบการมองเห็นสีที่จำเป็นในการขับรถ ให้ผู้เข้ารับการทดสอบดูสีเขียว สีแดง และสีเหลืองจากเครื่องทดสอบหรือแผ่นภาพทดสอบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือให้ความเห็นชอบโดยอยู่ห่างจากเครื่องทดสอบหรือแผ่นภาพทดสอบในระดับสายตาระยะไม่น้อยกว่า ๓ เมตร และให้อ่านสีตามที่เจ้าหน้าที่กำหนดสีละสามครั้ง หากอ่านได้ถูกต้องสองในสามครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ ข้อ ๔ โรงเรียนสอนขับรถที่จะรับผู้สมัครเข้าเรียนหรือเข้ารับการอบรม จะต้องปรากฏว่าผู้สมัครนั้นผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกายตามหลักเกณฑ์ตามข้อ ๓ แล้ว กรณีผู้สมัครไม่ผ่านการทดสอบ ให้โรงเรียนสอนขับรถแจ้งผลการทดสอบเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้สมัครทราบ ข้อ ๕ ผู้สมัครที่ไม่ผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกายตามข้อ ๓ สามารถยื่นคำขอพร้อมด้วยหลักฐานไม่ผ่านการทดสอบจากโรงเรียนสอนขับรถต่อสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา ไม่ว่าตนจะมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่หรือไม่ เพื่อขอรับการทดสอบใหม่ได้ เมื่อได้รับคำขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนแล้ว ให้สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา ทำการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย หากผ่านการทดสอบให้ออกหนังสือแสดงการผ่านการทดสอบให้แก่ผู้นั้น ข้อ ๖ ผู้ซึ่งผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกายตามข้อ ๕ สามารถใช้ผลการทดสอบนั้นยื่นต่อโรงเรียนสอนขับรถเพื่อสมัครเรียนขับรถ โดยให้ถือว่าผ่านการทดสอบตามข้อ ๓ แล้ว ข้อ ๗ โรงเรียนสอนขับรถที่ประสงค์จะจัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายแตกต่างจากหลักเกณฑ์ตามข้อ ๓ ให้ขอรับความเห็นชอบเป็นรายกรณีไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๔๐ ง/หน้า ๗๓/๑๔ กันยายน ๒๕๕๕
673883
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการออกหนังสือรับรองผลการเรียน พ.ศ. 2555
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการออกหนังสือรับรองผลการเรียน พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] โดยที่ปัจจุบันโรงเรียนสอนขับรถที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกหลายแห่งได้พัฒนาและยกระดับมาตรฐานการสอนขับรถจนได้รับการยอมรับ ดังนั้น เพื่อเป็นการจูงใจและสนับสนุนโรงเรียนสอนขับรถให้พัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของทางราชการตลอดจนเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน จึงเห็นสมควรมอบหมายให้โรงเรียนสอนขับรถที่มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดได้รับสิทธิในการออกหนังสือรับรองผลการเรียนเพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานยกเว้นการอบรมภาคทฤษฎีในการขอรับใบอนุญาตขับรถ หรือใช้ประกอบการขอรับใบอนุญาตขับรถหรือต่ออายุใบอนุญาตขับรถได้ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๘ ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. ๒๕๕๕ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “หนังสือรับรอง” หมายความว่า หนังสือรับรองโรงเรียนสอนขับรถ “หนังสือรับรองผลการเรียน” หมายความว่า เอกสารที่โรงเรียนสอนขับรถที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก และได้รับสิทธิออกหนังสือรับรองผลการเรียนให้แก่ผู้ที่ผ่านการอบรม หรือจบหลักสูตรการสอนขับรถเพื่อขอรับการยกเว้นการอบรมภาคทฤษฎี หรือใช้ประกอบการขอรับใบอนุญาตขับรถหรือต่ออายุใบอนุญาตขับรถต่อกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๒ ผู้ได้รับหนังสือรับรองที่จะได้รับสิทธิออกหนังสือรับรองผลการเรียนเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยกเว้นการอบรมภาคทฤษฎี หรือใช้ประกอบการขอรับใบอนุญาตขับรถหรือต่ออายุใบอนุญาตขับรถต่อกรมการขนส่งทางบกต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ เดือน (๒) ต้องมีการทดสอบข้อเขียนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-exam) (๓) มีจำนวนผู้เข้ารับการศึกษาที่ผ่านการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติสำหรับการทดสอบครั้งแรกจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้ารับการศึกษาที่เข้าสอบ และผลการทดสอบแก้ตัวต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐๐ ต่อเนื่องทุกเดือนตลอดระยะเวลา ๖ เดือนย้อนหลังนับแต่วันที่แจ้งขอรับสิทธิ (๔) ไม่เคยถูกระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราว เว้นแต่การถูกระงับใช้หนังสือรับรองเป็นการชั่วคราวได้พ้นไปแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๖ เดือน (๕) ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และประกาศต่าง ๆ ของกรมการขนส่งทางบก โดยเฉพาะต้องมีการจัดทำแบบรายงานตามที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วนถูกต้อง ดังนี้ (ก) แบบบันทึกการเรียนของผู้เข้ารับการศึกษาเป็นรายบุคคล (ข) แบบบันทึกผลการทดสอบภาคทฤษฎีของผู้เข้ารับการศึกษาทั้งหมด (ค) แบบบันทึกผลการทดสอบภาคปฏิบัติของผู้เข้ารับการศึกษาทั้งหมด (ง) แบบรายงานผลการทดสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติของผู้เข้ารับการศึกษาที่เข้ารับการทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตขับรถประจำเดือน (จ) แบบรายงานผลการทดสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติของผู้เข้ารับการศึกษาที่เข้ารับการทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตขับรถ (๖) จัดให้มีการสอน การอบรมและฝึกหัดขับรถครบถ้วนถูกต้องตามหลักสูตรที่ได้รับการรับรอง (๗) วิทยากรผู้ทำหน้าที่อบรมหรือฝึกสอนขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถจากกรมการขนส่งทางบก และต้องเป็นผู้ไม่เคยถูกร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมหรือการสอนที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อปฏิบัติต่าง ๆ ตามกฎ ระเบียบ และประกาศของกรมการขนส่งทางบก ข้อ ๓ ผู้ได้รับหนังสือรับรองที่มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ ๒ และประสงค์จะได้รับสิทธิออกหนังสือรับรองผลการเรียนเพื่อใช้เป็นหลักฐานขอยกเว้นการอบรมภาคทฤษฎีหรือใช้ประกอบการขอรับใบอนุญาตขับรถหรือต่ออายุใบอนุญาตขับรถต่อกรมการขนส่งทางบก ให้มีหนังสือแจ้งความประสงค์ ณ สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่ออกหนังสือรับรอง เมื่อสำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดได้รับหนังสือตามวรรคหนึ่งให้ทำการตรวจสอบคุณสมบัติและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ ๒ หากปรากฏว่าครบถ้วนถูกต้อง ให้มีหนังสือแจ้งผู้ได้รับหนังสือรับรองทราบว่าเป็นผู้ได้รับสิทธิออกหนังสือรับรองผลการเรียน และในกรณีพิจารณาเห็นว่าผู้ได้รับหนังสือรับรองขาดคุณสมบัติหรือปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งไม่สามารถอนุญาตได้ ให้มีหนังสือแจ้งผู้ได้รับหนังสือรับรองทราบด้วย ข้อ ๔ ผู้ได้รับหนังสือรับรองที่ได้รับสิทธิออกหนังสือรับรองผลการเรียนต้องออกหนังสือรับรองผลการเรียนให้ตรงตามหลักสูตรที่เข้ารับการศึกษาได้เรียนหรืออบรม ข้อ ๕ หนังสือรับรองผลการเรียนให้ใช้เป็นหลักฐานเพื่อยกเว้นการอบรมภาคทฤษฎีสำหรับการขอรับใบอนุญาตขับรถชั่วคราวหรือประกอบการขอรับใบอนุญาตขับรถหรือต่ออายุใบอนุญาตขับรถได้โดยไม่ต้องเข้ารับการอบรมและทดสอบกับกรมการขนส่งทางบกอีก ข้อ ๖ ในระหว่างที่ผู้ได้รับหนังสือรับรองได้รับสิทธิในการออกหนังสือรับรองผลการเรียนผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องรักษาคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้โดยตลอด ซึ่งหากปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ได้รับหนังสือรับรองขาดคุณสมบัติหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ให้ผู้ออกหนังสือรับรองดำเนินการยกเลิกหนังสือรับรองสิทธินั้นเสีย ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบบันทึกการเรียน ๒. แบบบันทึกผลการทดสอบภาคทฤษฎี ๓. แบบบันทึกผลการทดสอบภาคปฏิบัติ (รถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก) ๔. แบบบันทึกผลการทดสอบภาคปฏิบัติ (รถยนต์) ๕. แบบบันทึกผลการทดสอบภาคปฏิบัติ (รถจักรยานยนต์) ๖. แบบรายงานผลการทดสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติของผู้เข้ารับการศึกษาที่เข้ารับการทดสอบ เพื่อขอรับใบอนุญาตขับรถ ณ กรมการขนส่งทางบก/สำนักงานขนส่งจังหวัด ……… ๗. แบบรายงานผลการทดสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติของผู้เข้ารับการศึกษาที่เข้ารับการทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตขับรถ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๔๐ ง/หน้า ๗๑/๑๔ กันยายน ๒๕๕๕