sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
626831
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ กระทรวงการคลังจึงกำหนดระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “ส่วนราชการผู้เบิก” ตามความในข้อ ๔ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ส่วนราชการผู้เบิก” หมายความว่า ส่วนราชการซึ่งเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ วรรคหนึ่ง ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๗ ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิในการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการได้ โดยยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานการรับเงินของสถานศึกษา ต่อผู้มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการตามข้อ ๑๔ หรือข้อ๑๖ ณ ส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือส่วนราชการผู้เบิกบำนาญ หรือเบี้ยหวัด แล้วแต่กรณี เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๐ ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเป็นผู้รับรองการมีสิทธิของตนเอง” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของข้อ ๑๔ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๑) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมมอบหมาย ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน หรือตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๖ หรือเทียบเท่า หรือผู้ที่มียศตั้งแต่พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท หรือพันตำรวจโทขึ้นไป” ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๕ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๕ การอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการของผู้มีสิทธิตามข้อ ๗ (๑) ให้บุคคลตามข้อ ๑๔ ณ สถานที่ที่ไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการดังกล่าว” ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๖ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๖ ให้หัวหน้าส่วนราชการผู้เบิกบำนาญหรือเบี้ยหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการของผู้ได้รับบำนาญหรือเบี้ยหวัด” ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๗ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๗ เมื่อมีการอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการแล้ว ให้ส่วนราชการผู้เบิกจัดทำคำขอเบิกเงินสวัสดิการจากเงินงบประมาณงบกลางในระบบการบริหารการเงินการคลังด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) จากกรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด แล้วแต่กรณี” ข้อ ๑๐ การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับแต่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบเดิมจนกว่าจะแล้วเสร็จ ข้อ ๑๑ ให้ปลัดกระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๓ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๓๔ ง/หน้า ๑/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๓
624008
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กระทรวงการคลังจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ (๓) และ (๕) แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๗ การขอรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ ประเภทผู้ป่วยภายใน นอกจากที่กำหนดในข้อ ๘ ให้ปฏิบัติ ดังนี้ (๓) ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามข้อ ๑๒ เป็นผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาล เว้นแต่ ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในส่วนราชการที่ตั้งอยู่ในอำเภอหรือกิ่งอำเภอ จะให้นายอำเภอหรือปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอที่สังกัดนั้น หรือหัวหน้าหน่วยงานซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ หรือตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๖ หรือเทียบเท่าเป็นผู้ออกหนังสือรับรองให้ก็ได้ (๕) เมื่อสถานพยาบาลได้รับหนังสือรับรองแล้ว ให้ตรวจสอบบัตรประจำตัวผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลให้ถูกต้องตรงกับหนังสือรับรองโดยเคร่งครัด เว้นแต่ผู้ที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าไม่ต้องมีบัตรประจำตัว มิต้องตรวจสอบและให้เจ้าหน้าที่การเงินของสถานพยาบาลรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้รับการรักษาพยาบาลนั้น และจัดทำใบแสดงรายการค่ารักษาพยาบาลตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด (กรณีสถานพยาบาลเป็นผู้เบิก) เสนอให้หัวหน้าสถานพยาบาลหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรองว่าถูกต้องตามที่เรียกเก็บ เพื่อจัดทำฎีกาเบิกเงินตามข้อ ๑๕ กับกรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัดแล้วแต่กรณีตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรอง แล้วเก็บเอกสารดังกล่าวไว้เพื่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคตรวจสอบตามข้อ ๒๔” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๑ ให้ผู้บังคับบัญชาหรือข้าราชการต่อไปนี้เป็นผู้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิ (๑) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ให้เลขานุการรัฐมนตรี เลขานุการกรม ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่เทียบเท่าผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง เป็นผู้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัด ให้ผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไปอย่างน้อยหนึ่งขั้นเป็นผู้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิของผู้บังคับบัญชาตามวรรคก่อน ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางแต่มีสำนักงานอยู่ในภูมิภาคหรือแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม ให้หัวหน้าสำนักงานนั้น ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ หรือตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๖ หรือเทียบเท่าเป็นผู้รับรองการใช้สิทธิของข้าราชการในสังกัด การรับรองการใช้สิทธิของหัวหน้าหน่วยงานในราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาค หรือสำนักงานแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม ผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไปอย่างน้อยหนึ่งขั้นจะมอบหมายให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นเป็นผู้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิของตนเองก็ได้ สำหรับข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ประเภทอำนวยการ ระดับสูง ประเภทบริหาร ระดับต้น หรือตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่าให้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิของตนเอง (๒) ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหมหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ผู้บังคับบัญชาที่มียศตั้งแต่พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี หรือพันตำรวจตรีขึ้นไป เป็นผู้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัด ให้ผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไปอย่างน้อยหนึ่งขั้นเป็นผู้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิของผู้บังคับบัญชาตามวรรคก่อน หรือจะมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาตามวรรคก่อน ซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานแยกต่างหากจากส่วนราชการระดับกรมรับรองการใช้สิทธิของตนเองก็ได้ ข้าราชการทหารซึ่งมียศ พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก และเงินเดือนในอัตราพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกพิเศษ อันดับ ๒ หรือพันตำรวจเอกพิเศษ อันดับ ๒ ขึ้นไป ให้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิของตนเอง (๓) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ เป็นผู้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัด ให้ผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไปอย่างน้อยหนึ่งขั้นเป็นผู้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิผู้บังคับบัญชาตามวรรคก่อน หรือนายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี การรับรองการใช้สิทธิของนายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไปหนึ่งขั้นจะมอบหมายให้นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นผู้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิของตนเองก็ได้ สำหรับกรณีสำนักงานจังหวัด สำนักงานอำเภอ ให้หัวหน้าสำนักงานจังหวัด นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ เป็นผู้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัด ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ประเภทอำนวยการ ระดับสูง ประเภทบริหาร ระดับต้น หรือตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙ ขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ให้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิของตนเอง (๔) การรับรองการใช้สิทธิของข้าราชการที่ได้รับคำสั่งให้ไปช่วยปฏิบัติราชการ ให้ผู้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิ ณ สำนักงานที่ไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นผู้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิของข้าราชการดังกล่าว และเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติตามข้อ ๑๒ (๕) การรับรองการใช้สิทธิของลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย และสัญญาจ้างนั้นมิได้ระบุเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลไว้หรือผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด ให้ผู้เบิกเงินค่าจ้างเงินบำนาญ เบี้ยหวัด เป็นผู้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิของบุคคลดังกล่าวข้างต้น แล้วแต่กรณี” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๒ แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๒ ให้ผู้บังคับบัญชาหรือข้าราชการต่อไปนี้ เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (๑) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมายซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ หรือตำแหน่งไม่ต่ำกว่า ระดับ ๖ หรือเทียบเท่าหรือผู้ที่มียศตั้งแต่พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท หรือพันตำรวจโทขึ้นไป (๒) หน่วยงานในราชการบริหารส่วนกลางแต่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาคหรือแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมจะมอบหมายให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นเป็นผู้อนุมัติการเบิกจ่ายเงินของหน่วยงานนั้นก็ได้ (๓) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ให้หัวหน้าส่วนราชการผู้เบิกเป็นผู้อนุมัติ เว้นแต่การอนุมัติการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของหัวหน้าส่วนราชการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อนุมัติ” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๓ แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๓ การเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการประเภทผู้ป่วยภายในตามข้อ ๗ ให้สถานพยาบาลเป็นผู้วางฎีกาเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลโดยตรงกับกรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด แล้วแต่กรณี ที่สถานพยาบาลนั้น ๆ ตั้งอยู่ สำหรับโรงพยาบาลรถไฟฯ โรงพยาบาลโรงงานยาสูบ โรงพยาบาลโรคปอดกรุงเทพ หรือสถานพยาบาลอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดของผู้มีสิทธิเป็นผู้เบิกเงินชำระหนี้ให้ การเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีสถานพยาบาลของทางราชการเป็นผู้เบิกจ่าย ให้จัดทำฎีกาขอเบิกเงินโดยหัวหน้าสถานพยาบาลหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรองว่า ได้ปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลโดยถูกต้องแล้วยื่นพร้อมสมุดคู่มือวางฎีกาต่อกรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด แล้วแต่กรณี” ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๔ แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๔ การเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลตามข้อ ๙ ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดของผู้มีสิทธิเป็นผู้เบิกเงินกับกรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัดซึ่งเป็นสำนักงานเบิกเงินเดือนของผู้มีสิทธิ แล้วแต่กรณี” ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๕ แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๕ การเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลตามข้อ ๑๓ นอกจากข้อ ๑๓ วรรคสอง ให้ผู้เบิกใช้ฎีกาเงินงบประมาณที่จัดพิมพ์ตามระบบคอมพิวเตอร์ที่กรมบัญชีกลางกำหนด เบิกเงินงบกลางตามรายการที่สำนักงบประมาณกำหนด หักผลักส่งเข้าบัญชีเงินฝากประเภทเงินบำรุงหรือเงินรายรับของสถานพยาบาลโดยให้สถานพยาบาลผู้เบิกขอเปิดบัญชีเงินฝากประเภทเงินบำรุงหรือเงินรายรับของสถานพยาบาลที่กรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด แล้วแต่กรณี ขึ้นต่างหากอีกบัญชีหนึ่ง การวางฎีกาเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาลตามวรรคแรก ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กรมบัญชีกลางกำหนด ในกรณีที่สถานพยาบาลผู้เบิกได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากประเภทเงินบำรุงหรือเงินรายรับของสถานพยาบาลที่กรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑ ระเบียบการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๓๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมไว้แล้ว ก็ให้ถือว่าถูกต้องตามระเบียบนี้ และให้ถือปฏิบัติตามระเบียบนี้ต่อไปได้” ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๘ แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๘ การเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลกับสำนักงานคลังจังหวัด ให้เบิกได้โดยไม่ต้องขอโอนเงินจัดสรร” ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๒ แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๑๑ การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ แต่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบเดิมจนกว่าจะแล้วเสร็จ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๘ ง/หน้า ๑/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
621199
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ รวมทั้งกำหนดขั้นตอนและวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้มีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ กระทรวงการคลังจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ ๗ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๙ “ให้ข้าราชการผู้ใช้สิทธิจัดส่งรายงานข้อมูลของข้าราชการในการขอรับค่าเช่าบ้านพร้อมการยื่นแบบ ๖๐๐๕ และให้ผู้มีอำนาจรับรองการมีสิทธิตามข้อ ๘ มีอำนาจพิจารณารับรายงานข้อมูลข้าราชการในการขอรับค่าเช่าบ้านที่ยื่น โดยให้แจ้งรายละเอียดประกอบอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (๑) ข้อมูลประวัติการรับราชการตั้งแต่เริ่มรับราชการ และการโอน ย้าย ในกรณีเป็นการย้ายให้ชี้แจงข้อมูลว่าเกิดจากคำร้องขอของตนเองหรือไม่ (๒) ข้อมูลการมีเคหสถานของข้าราชการและคู่สมรสทุกแห่งในท้องที่ที่รับราชการ (๓) ข้อมูลด้านอาชีพและสถานที่ทำงานของคู่สมรสของข้าราชการ และให้แจ้งว่าหน่วยงานแห่งนั้นได้ให้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน หรือจัดบ้านพักให้กับคู่สมรสในท้องที่ที่รับราชการของข้าราชการหรือไม่ (๔) ข้อมูลการมีเคหสถานของบิดา มารดา ของคู่สมรสและของข้าราชการ รวมทั้งบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะทุกแห่งในท้องที่ที่รับราชการ (๕) ข้อมูลสถานะการมีชีวิตอยู่ของบิดา มารดา ของคู่สมรสและของข้าราชการ หากในภายหลังมีกรณีที่บุคคลดังกล่าวเสียชีวิตหรือสาบสูญ ให้แจ้งรายละเอียด วัน เดือน ปี ที่เสียชีวิตหรือสาบสูญ” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๘ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้รับรองการมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านของข้าราชการในสังกัดในแบบ ๖๐๐๕ (๑) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ให้เลขานุการรัฐมนตรี เลขานุการกรมหรือหัวหน้าส่วนราชการตั้งแต่ระดับกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป เป็นผู้รับรอง ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในภูมิภาคหรือแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม ให้หัวหน้าสำนักงานซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานขึ้นไป ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการขึ้นไป หรือดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๖ หรือเทียบเท่าเป็นผู้รับรอง (๒) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ แล้วแต่กรณี เป็นผู้รับรอง (๓) ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหมหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บังคับบัญชาที่มียศตั้งแต่พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี หรือพันตำรวจตรีขึ้นไป เป็นผู้รับรอง ให้ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอย่างน้อยหนึ่งระดับหรือหนึ่งชั้นยศ เป็นผู้รับรองการมีสิทธิของบุคคลตาม (๑) (๒) และ (๓) ซึ่งมิได้ดำรงตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในวรรคสาม ให้ข้าราชการประเภททั่วไป ระดับอาวุโสขึ้นไป ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไป ประเภทอำนวยการ ประเภทบริหาร หรือดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๘ ขึ้นไป หรือเทียบเท่าหรือข้าราชการทหารที่มียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หรือข้าราชการตำรวจที่มียศพันตำรวจเอกขึ้นไป เป็นผู้รับรองการมีสิทธิของตนเอง” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของข้อ ๑๐ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๑) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมมอบหมายซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าประเภททั่วไป ระดับอาวุโสขึ้นไป ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการขึ้นไป ประเภทอำนวยการ ประเภทบริหาร หรือดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๗ หรือเทียบเท่า หรือข้าราชการทหารที่มียศตั้งแต่พันโท นาวาโท นาวาอากาศโทหรือข้าราชการตำรวจที่มียศพันตำรวจโทขึ้นไป” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๖ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๖ การรับรองสิทธิ การอนุมัติเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านและการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการตามข้อ ๑๕ (๒) ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้ (๑) ให้บุคคลตามข้อ ๘ ประจำสำนักงานที่ผู้ใช้สิทธิไปปฏิบัติราชการเป็นผู้รับรองสิทธิในแบบ ๖๐๐๕ (๒) ให้บุคคลตามข้อ ๑๐ ประจำสำนักงานที่เบิกเงินเดือนของผู้ใช้สิทธิเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติในแบบ ๖๐๐๕ และแบบ ๖๐๐๖ (๓) ให้บุคคลตามข้อ ๑๐ ประจำสำนักงานที่ผู้ใช้สิทธิไปปฏิบัติราชการเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามข้อ ๙” ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในวรรคแรกของข้อ ๒๓ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒๓ ในกรณีที่มีการขยายวงเงินกู้หรือขยายระยะเวลาการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านให้นำหลักฐานการผ่อนชำระมาเบิกค่าเช่าบ้านได้ตามจำนวนเงินกู้และระยะเวลาการผ่อนชำระที่เหลืออยู่ของสัญญาเงินกู้ฉบับแรกเท่านั้น” ข้อ ๘ การเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านข้าราชการที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับแต่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบเดิมจนกว่าจะแล้วเสร็จ ข้อ ๙ ให้ปลัดกระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๘๐ ง/หน้า ๑/๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๒
575808
ระเบียบกรมบัญชีกลางว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนให้แก่ข้าราชการซึ่งออกจากราชการโดยคำสั่งลงโทษทางวินัยหรือคำสั่งให้ออกจากราชการแล้วได้รับการพิจารณายกเลิกเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นอย่างอื่น พ.ศ. 2551
ระเบียบกรมบัญชีกลาง ระเบียบกรมบัญชีกลาง ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนให้แก่ข้าราชการซึ่งออกจากราชการ โดยคำสั่งลงโทษทางวินัยหรือคำสั่งให้ออกจากราชการแล้วได้รับการพิจารณายกเลิก เพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นอย่างอื่น พ.ศ. ๒๕๕๑[๑] โดยที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่น ในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ เปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจกำหนดสิทธิการได้รับเงินเดือนของข้าราชการ ที่มิได้มาปฏิบัติหน้าที่ราชการในกรณีอื่น จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นอธิบดีกรมบัญชีกลาง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่าย เงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ อธิบดีกรมบัญชีกลางจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมบัญชีกลางว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนให้แก่ข้าราชการซึ่งออกจากราชการโดยคำสั่งลงโทษทางวินัยหรือคำสั่งให้ออกจากราชการแล้วได้รับการพิจารณายกเลิกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นอย่างอื่น พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ข้าราชการผู้ใดออกจากราชการโดยคำสั่งลงโทษทางวินัย หรือคำสั่งให้ออกจากราชการ แล้วต่อมาได้มีการยกเลิก เพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นอย่างอื่น ตามคำพิพากษาของศาลหรือคำวินิจฉัยของผู้มีอำนาจพิจารณาตามกฎหมายให้กลับเข้ารับราชการ ให้จ่ายเงินเดือนให้ผู้นั้นในระหว่างที่มิได้มาปฏิบัติหน้าที่ราชการตามคำสั่งนั้น ดังนี้ (๑) กรณีมิได้กระทำความผิด หรือกรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการที่มิใช่คำสั่งลงโทษทางวินัย ให้จ่ายเต็มจำนวนของเงินเดือนที่มีสิทธิได้รับ (๒) กรณีได้กระทำความผิด ให้จ่ายได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของเงินเดือนที่มีสิทธิได้รับตามที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดกำหนด ข้อ ๔ ในกรณีที่ข้าราชการตามข้อ ๓ ยังมิได้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ เนื่องจากได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือถึงแก่ความตายก่อนคดีถึงที่สุดหรือก่อนกรณีถึงที่สุด การจ่ายเงินเดือนในระหว่างที่มิได้มาปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้จ่ายถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือวันที่ถึงแก่ความตาย แล้วแต่กรณี ข้อ ๕ การจ่ายเงินเดือนระหว่างที่มิได้มาปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ ๓ หรือข้อ ๔ ให้กระทรวง ทบวง กรมเจ้าสังกัด จ่ายให้ภายในเวลา ๑ ปี นับแต่วันให้ยกเลิก เพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นอย่างอื่น โดยจ่ายจากเงินงบประมาณปีปัจจุบัน ข้อ ๖ ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๕/๒ เมษายน ๒๕๕๑
570925
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. 2551
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้สอดคล้องกับระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐและสถานการณ์ในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ กระทรวงการคลังจึงกำหนดระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๔๗ บรรดาระเบียบ คำสั่ง หรือหลักเกณฑ์อื่นใดที่เกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ส่วนราชการผู้เบิก” หมายความว่า ส่วนราชการซึ่งเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง สำนักงานคลังจังหวัดหรือสำนักงานคลังจังหวัด ณ อำเภอ “ส่วนราชการเจ้าสังกัด” หมายความว่า ส่วนราชการที่ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ มีอัตราเงินเดือนค่าจ้างและเลขที่ประจำตำแหน่งอยู่ “เงินสวัสดิการ” หมายความว่า เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร “ผู้มีสิทธิ” หมายความว่า ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการ ข้อ ๕ ในกรณีที่ส่วนราชการใดไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในระเบียบนี้ หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดในระเบียบนี้ ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง ข้อ ๖ กรณีคู่สมรสเป็นผู้มีสิทธิทั้งสองฝ่าย ให้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการสำหรับบุตรทุกคนแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยต้องรับรองในใบเบิกเงินสวัสดิการที่ยื่นตามข้อ ๗ ว่าตนเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการแต่เพียงฝ่ายเดียว ถ้าคู่สมรสตามวรรคหนึ่งอยู่ต่างส่วนราชการผู้เบิก หรือมีการเปลี่ยนส่วนราชการผู้เบิกหลังจากที่มีการใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการไปแล้ว คู่สมรสฝ่ายที่เป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการต้องแจ้งขอให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือส่วนราชการผู้เบิกบำนาญหรือเบี้ยหวัดแจ้งการใช้สิทธินั้นให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือส่วนราชการผู้เบิกบำนาญหรือเบี้ยหวัดของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วแต่กรณี ทราบ และให้ส่วนราชการที่ได้รับแจ้งดำเนินการตอบรับตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับแก่กรณีการหย่าโดยอนุโลม ทั้งนี้ ไม่ว่าการหย่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากที่มีการใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการไปแล้ว ข้อ ๗ ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการได้ โดยยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานการรับเงินของสถานศึกษาต่อผู้รับรองการมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการ ณ ส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือส่วนราชการผู้เบิกบำนาญหรือเบี้ยหวัด แล้วแต่กรณี เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (๑) กรณีผู้มีสิทธิได้รับคำสั่งให้ไปช่วยปฏิบัติราชการซึ่งอยู่ต่างส่วนราชการผู้เบิก ให้ยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการ ณ ส่วนราชการที่ไปช่วยปฏิบัติราชการ (๒) กรณีผู้มีสิทธิพ้นจากราชการหรือถึงแก่กรรมก่อนที่จะใช้สิทธิ ให้ยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการ ณ ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญหรือเบี้ยหวัด หรือสำนักงานที่รับราชการครั้งสุดท้าย แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ผู้มีสิทธิมีคู่สมรสปฏิบัติงานในหน่วยงานอื่นและมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเฉพาะส่วนที่ยังขาดอยู่ ให้แนบหนังสือรับรองการจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรของหน่วยงานต้นสังกัดของคู่สมรสพร้อมกับใบเบิกเงินสวัสดิการที่ยื่นด้วย ข้อ ๘ ก่อนการใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการ ผู้มีสิทธิตามข้อ ๗ วรรคหนึ่ง (๑) ต้องมีหนังสือแสดงเจตนาขอรับเงินสวัสดิการตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนดแจ้งต่อส่วนราชการที่ไปช่วยปฏิบัติราชการและเมื่อส่วนราชการที่ไปช่วยปฏิบัติราชการได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว ให้ส่งคู่ฉบับหรือภาพถ่ายหนังสือซึ่งมีการรับรองความถูกต้องให้ส่วนราชการผู้เบิกของผู้มีสิทธิทราบด้วย ข้อ ๙ หลักฐานการรับเงินของสถานศึกษา อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อ สถานที่อยู่ หรือที่ทำการของสถานศึกษาผู้รับเงิน (๒) วัน เดือน ปี ที่รับเงิน (๓) รายการแสดงการรับเงินระบุว่าเป็นค่าอะไร (๔) จำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษร (๕) ลายมือชื่อของผู้รับเงิน ในกรณีที่สถานศึกษามีข้อตกลงกับธนาคารในการรับชำระเงินบำรุงการศึกษาหรือเงินค่าเล่าเรียนของสถานศึกษา ให้ใช้ใบแจ้งการชำระเงินและหรือใบเสร็จรับเงินของสถานศึกษาซึ่งมีรายการในสาระสำคัญที่ส่วนราชการสามารถควบคุมและตรวจสอบการใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการได้เป็นหลักฐานการรับเงินของสถานศึกษา ข้อ ๑๐ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้รับรองการมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัด (๑) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ให้เลขานุการรัฐมนตรี เลขานุการกรม หัวหน้าส่วนราชการตั้งแต่ระดับกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือหัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๘ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๖ เป็นผู้รับรอง ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในภูมิภาคหรือแยกต่างหากจากกระทรวง กรม ให้หัวหน้าสำนักงานเป็นผู้รับรอง (๒) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอหรือกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี เป็นผู้รับรอง (๓) ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหมหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บังคับบัญชาที่มียศตั้งแต่พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท หรือพันตำรวจโทขึ้นไป เป็นผู้รับรอง ให้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๕ ขึ้นไปหรือเทียบเท่า ข้าราชการทหารที่มียศตั้งแต่พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี หรือข้าราชการตำรวจที่มียศตั้งแต่พันตำรวจตรีขึ้นไปเป็นผู้รับรองการมีสิทธิของตนเอง ข้อ ๑๑ การยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการ ให้กระทำภายในกำหนดเวลาดังนี้ (๑) ภายในหนึ่งปีนับแต่วันเปิดภาคเรียนแต่ละภาค ในกรณีที่สถานศึกษาเรียกเก็บเงินค่าการศึกษาเป็นรายภาคเรียน (๒) ภายในหนึ่งปีนับแต่วันเปิดเรียนภาคต้นของปีการศึกษา ในกรณีที่สถานศึกษาเรียกเก็บเงินค่าการศึกษาครั้งเดียวตลอดปี หากพ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าหมดสิทธิในการยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการสำหรับภาคการศึกษาหรือปีการศึกษานั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ กำหนดเวลาการยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการตามข้อ ๑๑ ไม่ใช้บังคับแก่กรณีดังต่อไปนี้ (๑) ผู้มีสิทธิถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และปรากฏในภายหลังว่าได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือในระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ผู้มีสิทธิยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่กรณีถึงที่สุด (๒) ผู้มีสิทธิมีความจำเป็นต้องขอผ่อนผันต่อสถานศึกษาในการชำระเงินล่าช้าในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้มีสิทธิยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ออกหลักฐานการรับเงินของสถานศึกษา ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิไม่สามารถลงลายมือชื่อในใบเบิกเงินสวัสดิการหรือไม่สามารถยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการด้วยตนเอง ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ถ้าผู้มีสิทธิถึงแก่กรรม ให้ทายาทตามกฎหมายหรือผู้จัดการมรดกเป็นผู้ยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการ (๒) ถ้าผู้มีสิทธิมีสติสัมปชัญญะ แต่ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้พิมพ์ลายนิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อพร้อมกับมีพยานสองคนลงลายมือชื่อรับรอง และให้บุคคลในครอบครัวเป็นผู้ยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการ (๓) ถ้าผู้มีสิทธิไม่รู้สึกตัวหรือไม่มีสติสัมปชัญญะ แต่ยังไม่มีคำสั่งศาลให้เป็นผู้ไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ให้บุคคลในครอบครัวเป็นผู้ยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการพร้อมกับหนังสือรับรองของแพทย์ผู้ทำการรักษาว่าไม่รู้สึกตัวหรือไม่มีสติสัมปชัญญะเพียงพอที่จะดำเนินการได้ หากไม่มีบุคคลดังกล่าว ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาเห็นสมควรให้ผู้ใดเป็นผู้ดำเนินการแทน ข้อ ๑๔ เมื่อมีการรับรองการมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการในใบเบิกเงินสวัสดิการแล้วให้เสนอใบเบิกเงินสวัสดิการนั้นต่อผู้มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการตามวรรคสองเพื่อพิจารณาอนุมัติการเบิกจ่ายต่อไป การอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัดให้เป็นอำนาจของบุคคลดังต่อไปนี้ (๑) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมมอบหมายซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๖ หรือเทียบเท่าหรือผู้ที่มียศตั้งแต่พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท หรือพันตำรวจโทขึ้นไป ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในภูมิภาคหรือแยกต่างหากจากกระทรวง กรม หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมจะมอบหมายให้หัวหน้าสำนักงานเป็นผู้อนุมัติสำหรับหน่วยงานนั้นก็ได้ (๒) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ให้หัวหน้าส่วนราชการผู้เบิกเป็นผู้อนุมัติ ข้อ ๑๕ การรับรองการมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการและการอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการของผู้มีสิทธิตามข้อ ๗ (๑) ให้บุคคลตามข้อ ๑๐ และบุคคลตาม ข้อ ๑๔ ณ สถานที่ที่ไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นผู้มีอำนาจสำหรับการดังกล่าว แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๖ ให้หัวหน้าส่วนราชการผู้เบิกบำนาญหรือเบี้ยหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับรองการมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการ และเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการของผู้ได้รับบำนาญหรือเบี้ยหวัด ข้อ ๑๗ เมื่อมีการอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการแล้ว ให้ส่วนราชการผู้เบิกจัดทำคำขอเบิกเงินสวัสดิการจากเงินงบประมาณงบกลางในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) จากกรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัดหรือสำนักงานคลังจังหวัด ณ อำเภอ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๘ ให้ส่วนราชการผู้เบิกจัดทำหน้างบใบสำคัญการจ่ายเงินสวัสดิการตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด โดยแสดงรายชื่อผู้ใช้สิทธิและจำนวนเงินสวัสดิการที่เบิกจ่ายเป็นรายบุคคลและให้ส่วนราชการผู้เบิกเก็บไว้เป็นหลักฐานในการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการและเพื่อการตรวจสอบ ข้อ ๑๙ เมื่อส่วนราชการผู้เบิกได้ดำเนินการตามข้อ ๑๘ และได้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิแล้วให้เจ้าหน้าที่ผู้จ่ายเงินประทับตราข้อความว่า “จ่ายเงินแล้ว” โดยลงลายมือชื่อรับรองการจ่ายและระบุชื่อผู้จ่ายเงินด้วยตัวบรรจง พร้อมทั้งวัน เดือน ปี ที่จ่ายกำกับไว้ในหลักฐานการรับเงินของสถานศึกษาทุกฉบับ ข้อ ๒๐ การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับแต่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบนี้ ข้อ ๒๑ ให้ปลัดกระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๗/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
560620
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ มาตรา ๘/๑ มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๖ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๙ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ มาตรา ๖๕ และมาตรา ๗๐ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม กระทรวงการคลังจึงกำหนดระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๕๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๓๔ (๒) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๔) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๖ (๕) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๘ (๖) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙ (๗) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๘) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ (๙) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๔ (๑๐) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเดินทางไปราชการโดยยานพาหนะประจำทาง พ.ศ. ๒๕๓๓ (๑๑) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ (๑๒) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐ (๑๓) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗ (๑๔) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าเครื่องแต่งตัวข้าราชการที่เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๒๖ (๑๕) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าเครื่องแต่งตัวข้าราชการที่เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘ (๑๖) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ของข้าราชการหรือลูกจ้างในกรณีคู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับประเทศไทยก่อน พ.ศ. ๒๕๒๖ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ค่าเช่าที่พัก” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการเช่าห้องพักในโรงแรมหรือที่พักแรม “ยานพาหนะประจำทาง” หมายความว่า รถไฟ รถโดยสารประจำทางตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและเรือกลเดินประจำทางตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย และให้หมายความรวมถึงยานพาหนะอื่นใดที่ให้บริการขนส่งแก่บุคคลทั่วไปเป็นประจำโดยมีเส้นทาง อัตราค่าโดยสารและค่าระวางที่แน่นอน “พาหนะส่วนตัว” หมายความว่า รถยนต์ส่วนบุคคล หรือรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งมิใช่ของทางราชการ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เดินทางไปราชการหรือไม่ก็ตาม “พ.ข.ต.” หมายความว่า เงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ ข้อ ๕ การอนุมัติระยะเวลาเดินทางไปราชการ ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุมัติให้เดินทางไปราชการและการจัดการประชุมของทางราชการ อนุมัติระยะเวลาเดินทางล่วงหน้าหรือระยะเวลาหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม กรณีผู้เดินทางไปราชการได้รับอนุมัติให้ลากิจหรือลาพักผ่อนตามระเบียบว่าด้วยการนั้นแล้ว ให้ขออนุมัติระยะเวลาดังกล่าวจากผู้มีอำนาจตามวรรคหนึ่งด้วย การอนุมัติระยะเวลาในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ให้อนุมัติระยะเวลาออกเดินทางล่วงหน้าก่อนเริ่มปฏิบัติราชการ และอนุมัติระยะเวลาเดินทางกลับหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการภายในกำหนดเวลาตามบัญชีหมายเลข ๑ ท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๖ ในกรณีที่ส่วนราชการใดไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบนี้ได้ ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง ข้อ ๗ ให้ปลัดกระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบนี้ หมวดที่ ๑ การเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ข้อ ๘ ให้ผู้เดินทางไปราชการในราชอาณาจักรเบิกค่าใช้จ่ายได้ตามบัญชีท้ายระเบียบ ดังต่อไปนี้ (๑) เบี้ยเลี้ยงเดินทาง ให้เบิกตามบัญชีหมายเลข ๒ (๒) ค่าเช่าที่พัก ให้เบิกตามบัญชีหมายเลข ๓ (๓) ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวในการเดินทางไปราชการประจำ ให้เบิกตามบัญชีหมายเลข ๔ การเดินทางไปราชการในท้องที่ที่มีค่าครองชีพสูงหรือเป็นแหล่งท่องเที่ยว ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณใช้ดุลพินิจพิจารณาอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าที่พักสูงกว่าอัตราที่กำหนดเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละยี่สิบห้า ผู้ดำรงตำแหน่งตามบัญชีหมายเลข ๕ ท้ายระเบียบนี้ ให้เบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เหมาะสมและประหยัด ข้อ ๙ การเดินทางไปราชการให้ใช้ยานพาหนะประจำทาง และให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยประหยัด ไม่เกินสิทธิที่ผู้เดินทางจะพึงได้รับตามประเภทของพาหนะที่ใช้เดินทาง การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ให้เบิกค่าพาหนะเดินทางได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด เว้นแต่กรณีจำเป็นที่ผู้เดินทางถูกเรียกเก็บเงินค่าพาหนะเกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด ก็ให้เบิกค่าพาหนะเดินทางได้เท่าที่จ่ายจริง การเดินทางโดยรถไฟ ให้เบิกค่าพาหนะเดินทางได้เท่าที่จ่ายจริง สำหรับการเดินทางโดยรถด่วนหรือรถด่วนพิเศษ ชั้นที่ ๑ นั่งนอนปรับอากาศ (บนอ.ป.) ให้เบิกได้เฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโทขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโทขึ้นไป ข้อ ๑๐ การเดินทางไปราชการโดยพาหนะรับจ้างข้ามเขตจังหวัด ระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก หรือสถานที่ปฏิบัติราชการกับสถานียานพาหนะประจำทางหรือสถานที่จัดพาหนะที่ต้องใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ปฏิบัติราชการ ให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด ข้อ ๑๑ การใช้พาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ ให้เบิกเงินชดเชยเป็นค่าพาหนะในลักษณะเหมาจ่ายให้แก่ผู้เดินทางไปราชการ ซึ่งเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครอง แล้วแต่กรณี ในอัตราต่อ ๑ คัน ตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยให้คำนวณระยะทางเพื่อเบิกเงินชดเชยตามเส้นทางของกรมทางหลวงในทางสั้นและตรง ซึ่งสามารถเดินทางได้โดยสะดวกและปลอดภัย ในกรณีที่ไม่มีเส้นทางของกรมทางหลวง ให้ใช้ระยะทางตามเส้นทางของหน่วยงานอื่นที่ตัดผ่าน เช่น เส้นทางของเทศบาล เป็นต้น และในกรณีที่ไม่มีเส้นทางกรมทางหลวงและของหน่วยงานอื่น ให้ผู้เดินทางเป็นผู้รับรองระยะทางในการเดินทาง หมวดที่ ๒ การเดินทางไปราชการต่างประเทศ ข้อ ๑๒ ให้ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวเบิกค่าใช้จ่ายได้ตามบัญชีท้ายระเบียบนี้ ดังต่อไปนี้ (๑) เบี้ยเลี้ยงเดินทาง หรือค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าภาษีและค่าบริการที่โรงแรม ภัตตาคาร หรือร้านค้าเรียกเก็บ ค่าใช้สอยเบ็ดเตล็ดและค่าทำความสะอาดเสื้อผ้า ให้เบิกตามบัญชีหมายเลข ๖ (๒) ค่าเช่าที่พัก ให้เบิกเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินอัตราตามบัญชีหมายเลข ๗ ผู้ดำรงตำแหน่งตามบัญชีหมายเลข ๕ ท้ายระเบียบนี้ ให้เบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เหมาะสมโดยประหยัด ข้อ ๑๓ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวซึ่งจะเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับคู่สมรสตามมาตรา ๕๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ให้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าพาหนะเดินทางของคู่สมรสได้ในอัตราเดียวกับผู้เดินทาง ค่าเช่าที่พักของผู้เดินทางและคู่สมรสให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคู่ ไม่เกินคนละร้อยละเจ็ดสิบของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวที่ผู้เดินทางมีสิทธิจะพึงได้รับ ในกรณีที่ผู้เดินทางมีตำแหน่งตามที่กำหนดในบัญชีหมายเลข ๕ ให้งดเบิกค่าเช่าที่พักของคู่สมรสของบุคคลดังกล่าว ข้อ ๑๔ ให้ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวเบิกค่ารับรองในการเดินทางไปราชการตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้เดินทางซึ่งดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ ให้เบิกเงินค่ารับรองได้เท่าที่จ่ายจริง (ก) ประธานองคมนตรี หรือองคมนตรี (ข) นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี (ค) ประธาน หรือรองประธานของสภาซึ่งเป็นองค์กรนิติบัญญัติ (ง) ประธาน ศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา หรือประธานศาลอุทธรณ์ (๒) ผู้เดินทางนอกจากที่กล่าวใน (๑) ให้เบิกค่ารับรองได้เท่าที่จ่ายจริง ทั้งในกรณีเดินทางไปราชการเป็นคณะหรือเดินทางไปราชการคนเดียว ไม่เกินอัตรา ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีเดินทางไม่เกิน ๑๕ วัน ไม่เกิน ๖๗,๐๐๐ บาท (ข) กรณีเดินทางเกิน ๑๕ วัน ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๓) การเดินทางไปราชการที่จะเบิกค่ารับรองตาม (๒) ได้ ต้องเป็นการเดินทางกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นผู้เดินทางไปเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศในฐานะผู้แทนรัฐบาล ผู้แทนรัฐสภา หรือผู้แทนส่วนราชการ แต่ไม่รวมถึงการประชุมหรือการสัมมนาทางวิชาการ (ข) เป็นผู้เดินทางไปเจรจาธุรกิจ เจรจากู้เงินหรือขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย (ค) เป็นผู้เดินทางไปปรึกษาหารือหรือเข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐบาลไทยกับหน่วยงานต่างประเทศ (ง) เป็นผู้เดินทางไปเยือนต่างประเทศในฐานะทูตสันถวไมตรีหรือในฐานะแขกของรัฐบาลต่างประเทศ (จ) เป็นผู้เดินทางไปร่วมในงานรัฐพิธีตามคำเชิญของรัฐบาลต่างประเทศ (ฉ) เป็นผู้เดินทางไปจัดงานแสดงสินค้าไทย หรือส่งเสริมสินค้าไทยในต่างประเทศ หรือส่งเสริมการลงทุนของต่างประเทศในประเทศไทย หรือส่งเสริมการลงทุนของไทยในต่างประเทศ (ช) เป็นผู้เดินทางไปเผยแพร่ศิลปะหรือวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ ข้อ ๑๕ ให้ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวเบิกค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการตามเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนดได้เท่าที่จ่ายจริง ข้อ ๑๖ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว โดยได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศหรือจากหน่วยงานใด ๆ น้อยกว่าสิทธิที่พึงได้รับตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้เบิกค่าใช้จ่ายสมทบได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าโดยสารเครื่องบิน กรณีผู้ให้ความช่วยเหลือไม่ออกค่าโดยสารเครื่องบินให้เบิกค่าโดยสารเครื่องบินไป - กลับ ได้ตามสิทธิของผู้เดินทาง กรณีได้รับความช่วยเหลือค่าโดยสารเครื่องบินไป - กลับแล้ว ให้งดเบิกเงินสมทบค่าโดยสารเครื่องบิน แม้ความช่วยเหลือนั้นชั้นที่นั่งจะต่ำกว่าสิทธิที่พึงได้รับ และกรณีได้รับความช่วยเหลือค่าโดยสารเครื่องบินเพียงเที่ยวเดียว ให้เบิกค่าโดยสารเครื่องบินอีกหนึ่งเที่ยวในชั้นเดียวกับที่ได้รับความช่วยเหลือ แต่ต้องไม่สูงกว่าสิทธิที่พึงได้รับ (๒) เบี้ยเลี้ยงเดินทาง กรณีที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้ตามสิทธิของผู้เดินทาง กรณีที่ได้รับความช่วยเหลือค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง หรือผู้ให้ความช่วยเหลือจัดเลี้ยงอาหารให้ ให้เบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางสมทบได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (ก) ถ้าได้รับความช่วยเหลือต่ำกว่าสิทธิที่พึงได้รับ ให้เบิกสมทบเฉพาะส่วนที่ขาด ซึ่งเมื่อรวมกับค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่ได้รับความช่วยเหลือแล้ว จะต้องไม่เกินสิทธิที่พึงได้รับ (ข) ถ้าผู้ให้ความช่วยเหลือจัดเลี้ยงอาหารทุกมื้อ ให้งดเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ในกรณีที่จัดเลี้ยงอาหาร ๒ มื้อ ให้เบิกได้ไม่เกิน ๑ ใน ๓ ของอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางเหมาจ่าย และกรณีจัดเลี้ยงอาหาร ๑ มื้อ ให้เบิกได้ไม่เกิน ๒ ใน ๓ ของอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางเหมาจ่าย (๓) ค่าเช่าที่พัก กรณีผู้ให้ความช่วยเหลือไม่ออกค่าเช่าที่พักให้ ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้ตามสิทธิของผู้เดินทาง กรณีได้รับความช่วยเหลือค่าเช่าที่พักต่ำกว่าสิทธิที่พึงได้รับ ให้เบิกสมทบเฉพาะส่วนที่ขาดตามจำนวนที่ได้จ่ายจริง ซึ่งเมื่อรวมกับค่าเช่าที่พักที่ได้รับความช่วยเหลือแล้วจะต้องไม่เกินสิทธิที่พึงได้รับ และกรณีที่ผู้ให้ความช่วยเหลือจัดที่พักให้ ให้งดเบิกค่าเช่าที่พัก (๔) ค่าเครื่องแต่งตัว กรณีไม่ได้รับความช่วยเหลือค่าเครื่องแต่งตัว ให้เบิกค่าเครื่องแต่งตัวได้ตามสิทธิของผู้เดินทาง กรณีได้รับความช่วยเหลือค่าเครื่องแต่งตัวต่ำกว่าสิทธิที่พึงได้รับ ให้เบิกค่าเครื่องแต่งตัวสมทบเฉพาะส่วนที่ขาด ซึ่งเมื่อรวมกับค่าเครื่องแต่งตัวที่ได้รับความช่วยเหลือแล้วจะต้องไม่เกินสิทธิที่พึงได้รับ (๕) ค่ารับรอง ให้ผู้เดินทางมีสิทธิได้รับเงินค่ารับรองตาม ข้อ ๑๔ (๖) ค่าพาหนะเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก หรือสถานที่ปฏิบัติราชการกับสถานียานพาหนะ และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นเนื่องในการเดินทางไปราชการ กรณีที่มิได้รับความช่วยเหลือ ให้เบิกได้ตามสิทธิ กรณีได้รับความช่วยเหลือต่ำกว่าสิทธิที่พึงได้รับ ให้เบิกสมทบเฉพาะส่วนที่ขาดตามจำนวนที่ได้จ่ายจริง รวมแล้วต้องไม่เกินกว่าสิทธิที่พึงได้รับ การเดินทางเพื่อดูงาน ให้เบิกค่าใช้จ่ายสมทบตามวรรคหนึ่งได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินวงเงินที่ได้รับความช่วยเหลือ ข้อ ๑๗ ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณพิจารณาให้ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวเบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด หรือจะเบิกตามสิทธิของตนก็ได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) การตามเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ หรือการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจร่วมกับหัวหน้าคณะที่ดำรงตำแหน่งตามบัญชีหมายเลข ๕ ซึ่งมีสิทธิเบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริง (๒) การเดินทางไปปฏิบัติภารกิจร่วมกับหัวหน้าคณะผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไปหรือเทียบเท่า ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสิทธิของหัวหน้าคณะนั้น (๓) การเดินทางไปประชุมระหว่างประเทศ การเจรจาธุรกิจ หรือปฏิบัติหน้าที่อย่างอื่น ซึ่งหน่วยงานที่เชิญหรือประเทศเจ้าภาพกำหนดให้ผู้เดินทางพักแรมในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ให้ หรือสำรองที่พักให้ซึ่งมิใช่กรณีที่ส่วนราชการหรือผู้เดินทางร้องขอหรือกระทำการใดๆ เพื่อให้หน่วยงานที่เชิญหรือประเทศเจ้าภาพกำหนดที่พัก หรือจัดเตรียมที่พักตามความต้องการของส่วนราชการหรือผู้เดินทาง (๔) การเดินทางไปประเทศที่มีสถานการณ์ไม่ปลอดภัย ยากจน ทุรกันดาร หรืออยู่ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวหรือสถานที่พักแรมที่มีอัตราค่าเช่าตามสิทธิถูกสำรองหมด ข้อ ๑๘ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวที่จะเบิกค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับตนเองและคู่สมรสตามอัตราในบัญชีหมายเลข ๘ ได้ ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นกรณีที่จำเป็นต้องใช้เครื่องแต่งตัวพิเศษ หรือกรณีจำเป็นอื่นโดยได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ (๒) เป็นการเดินทางไปราชการต่างประเทศซึ่งมิใช่ประเทศตามรายชื่อที่กำหนดไว้ในบัญชีหมายเลข ๙ ท้ายระเบียบนี้ หรือที่กระทรวงการคลังจะกำหนดเพิ่มเติม (๓) ผู้ซึ่งเคยได้รับค่าเครื่องแต่งตัวในการเดินทางไปราชการ หรือเคยได้รับค่าเครื่องแต่งตัวจากทางราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายหรือระเบียบอื่นใด หรือได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานใด ๆ ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ มีสิทธิเบิกค่าเครื่องแต่งตัวได้เมื่อการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวครั้งใหม่มีระยะเวลาห่างจากการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวครั้งสุดท้ายเกินกว่าสองปี นับแต่วันที่เดินทางออกจากประเทศ หรือมีระยะเวลาห่างจากการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศครั้งสุดท้ายเกินกว่าสองปีนับแต่วันที่เดินทางกลับถึงประเทศไทย กรณีที่ทางราชการสั่งงดการเดินทางโดยมิใช่ความผิดของผู้เดินทาง และผู้เดินทางได้จ่ายเงินค่าเครื่องแต่งตัวไปแล้ว หรือมีข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าเครื่องแต่งตัวโดยสุจริต โดยมีหลักฐานก็ให้เบิกค่าเครื่องแต่งตัวได้ และให้ถือว่าวันที่ได้รับค่าเครื่องแต่งตัวนั้นเป็นวันเดินทางออกจากประเทศไทย ข้อ ๑๙ ให้ผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ เบิกค่าเครื่องแต่งตัวตามบัญชีหมายเลข ๑๐ ท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๒๐ การเดินทางไปราชการของลูกจ้างที่ส่วนราชการในต่างประเทศเป็นผู้จ้าง ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศสังกัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้กำหนดอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักของลูกจ้าง ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราต่ำสุดของกลุ่มระดับตำแหน่งที่กำหนดตามบัญชีหมายเลข ๖ และบัญชีหมายเลข ๗ ท้ายระเบียบนี้ กรณีที่มีความจำเป็นต้องสั่งให้ลูกจ้างที่ประจำสำนักงานในต่างประเทศมาปฏิบัติงานชั่วคราวในประเทศไทย เพราะไม่อาจหาเจ้าหน้าที่อื่นในประเทศที่จะปฏิบัติงานดังกล่าวได้ การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในประเทศไทยให้เบิกจ่ายเช่นเดียวกับกรณีลูกจ้างของส่วนราชการในประเทศไทยซึ่งเดินทางไปราชการชั่วคราวในราชอาณาจักร ข้อ ๒๑ ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างที่มีตำแหน่งหน้าที่ประจำในต่างประเทศ เบิกค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ สำหรับคู่สมรสหรือบุตรที่เดินทางกลับประเทศไทยก่อนผู้เดินทางในลักษณะเหมาจ่ายตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดให้คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับประเทศไทยก่อนผู้เดินทาง สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ (๒) ในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับภายหลังจากได้ไปอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีขึ้นไป ให้เบิกสำหรับคู่สมรสในอัตราร้อยละสามสิบ และสำหรับบุตรต่อคนในอัตราร้อยละห้าของอัตรา พ.ข.ต. ในขณะที่ได้รับอนุมัติให้คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับก่อน (๓) ในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับภายหลังจากได้ไปอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลาเกินกว่าสองปีขึ้นไป ให้เบิกสำหรับคู่สมรสในอัตราร้อยละหกสิบ และสำหรับบุตรต่อคนในอัตราร้อยละสิบของอัตรา พ.ข.ต. ในขณะที่ได้รับอนุมัติให้คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับก่อน (๔) ในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับภายหลังจากได้ไปอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลาเกินกว่าสามปีขึ้นไป ให้เบิกสำหรับคู่สมรสในอัตราร้อยละเก้าสิบ และสำหรับบุตรต่อคนในอัตราร้อยละสิบห้าของอัตรา พ.ข.ต. ในขณะที่ได้รับอนุมัติให้คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับก่อน (๕) การนับเวลาที่ได้ไปอยู่ต่างประเทศตาม (๒) - (๔) ให้ถือจำนวนเดือนที่ได้รับ พ.ข.ต. เพิ่มสำหรับคู่สมรสและบุตรเป็นเกณฑ์คำนวณ ดังต่อไปนี้ (ก) ในเดือนหนึ่งถ้ามีสิทธิได้รับ พ.ข.ต. เกินกว่าสิบห้าวันให้นับเป็นหนึ่งเดือน (ข) ให้นับเวลาที่ได้รับ พ.ข.ต. สิบสองเดือนเป็นหนึ่งปี การเบิกค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้นำมาใช้บังคับในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับประเทศไทยภายหลังจากได้ไปอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลาไม่เกินหนึ่งปี หมวด ๓ การเบิกจ่ายเงิน ข้อ ๒๒ แบบรายงานการเดินทางเพื่อขอเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ และเอกสารประกอบที่ใช้ในการเบิกจ่ายเงิน ให้เป็นไปตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด ข้อ ๒๓ การเบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริง ผู้เดินทางไปราชการจะใช้ใบเสร็จรับเงินหรือใบแจ้งรายการของโรงแรม หรือที่พักแรมที่มีข้อความแสดงว่าได้รับชำระเงินค่าเช่าที่พักเรียบร้อยแล้ว โดยเจ้าหน้าที่รับเงินของโรงแรมหรือที่พักแรมลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี และจำนวนเงินที่ได้รับ เพื่อเป็นหลักฐานในการขอเบิกค่าเช่าที่พักก็ได้ การเบิกค่าเช่าที่พักในต่างประเทศ ผู้เดินทางจะใช้ใบแจ้งรายการค่าเช่าที่พักที่บันทึกด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่แสดงว่าได้รับชำระเงินจากผู้เดินทางแล้ว เป็นหลักฐานในการขอเบิกค่าเช่าที่พัก โดยไม่ต้องมีลายมือชื่อเจ้าหน้าที่รับเงินของโรงแรมหรือที่พักแรมก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้เดินทางจะต้องลงลายมือชื่อรับรองว่าผู้เดินทางได้ชำระค่าเช่าที่พักตามจำนวนที่เรียกเก็บนั้น ข้อ ๒๔ การเบิกค่าเช่าที่พักในอัตราห้องพักคู่ที่ผู้เดินทางไปราชการใช้สิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางอยู่ต่างสังกัดกัน แต่ต้องใช้ใบเสร็จรับเงินหรือใบแจ้งรายการของโรงแรม หรือที่พักแรมชุดเดียวกัน ให้ผู้เดินทางฝ่ายหนึ่งใช้ต้นฉบับ อีกฝ่ายหนึ่งใช้สำเนาภาพถ่ายที่ผู้นั้นรับรองสำเนาถูกต้อง โดยให้มีบันทึกแนบท้ายระบุว่ารายการใดที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะเป็นผู้เบิกฝ่ายเดียว และรายการใดทั้งคู่จะเป็นผู้เบิกฝ่ายละเป็นจำนวนเท่าใด ทั้งต้นฉบับและฉบับสำเนาภาพถ่ายและลงลายมือชื่อของผู้เดินทางทั้งคู่ในแต่ละฉบับ ข้อ ๒๕ การเบิกค่าเช่าที่พักกรณีที่เจ้าภาพผู้จัดประชุมเป็นผู้เรียกเก็บค่าเช่าที่พักจากผู้เดินทางไปราชการโดยตรง ให้ผู้เดินทางใช้ใบเสร็จรับเงินหรือใบแจ้งรายการที่เจ้าภาพผู้จัดประชุมได้เรียกเก็บค่าเช่าที่พักเป็นหลักฐานเพื่อขอเบิกค่าเช่าที่พักก็ได้ ข้อ ๒๖ การเบิกจ่ายเงินและหลักฐานการจ่ายซึ่งมิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ถือปฏิบัติตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ประกาศ ณ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บัญชีหมายเลข ๑ ระยะเวลาอนุมัติการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ประเทศที่เดินทางไปราชการ ก่อนเริ่มปฏิบัติราชการ หลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ (ก) ประเทศในทวีปเอเชีย (ข) ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ประเทศในทวีปยุโรป หรือประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ (ค) ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ หรือประเทศในทวีปแอฟริกา ไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง ไม่เกิน ๔๘ ชั่วโมง ไม่เกิน ๗๒ ชั่วโมง ไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง ไม่เกิน ๔๘ ชั่วโมง ไม่เกิน ๗๒ ชั่วโมง บัญชีหมายเลข ๒ อัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางในราชอาณาจักร ในลักษณะเหมาจ่าย บาท : วัน ข้าราชการ ประเภท ก. ประเภท ข. ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑ ถึงระดับ ๒ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือพลทหารถึงจ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก หรือพลตำรวจถึงจ่าสิบตำรวจ ๑๘๐ ๑๐๘ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๓ ถึงระดับ ๘ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือ ผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศ จ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก อัตราเงินเดือนจ่าสิบเอกพิเศษ พันจ่าเอกพิเศษ พันจ่าอากาศพิเศษถึงพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกหรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศนายดาบตำรวจ ถึงพันตำรวจเอก ๒๑๐ ๑๒๖ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือน พันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศพันตำรวจเอกอัตราเงินเดือน พันตำรวจเอกพิเศษขึ้นไป ๒๔๐ ๑๔๔ ประเภท ก. ได้แก่ (๑) การเดินทางไปราชการนอกจังหวัดพื้นที่ที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ (๒) การเดินทางไปราชการจากอำเภอหนึ่งไปปฏิบัติราชการในอำเภอเมืองในจังหวัดเดียวกัน ประเภท ข. ได้แก่ (๑) การเดินทางไปราชการในท้องที่อื่นนอกจากที่กำหนดในประเภท ก. (๒) การเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ บัญชีหมายเลข ๓ อัตราค่าเช่าที่พักในราชอาณาจักร ข้าราชการ บาท : วัน ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๘ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกลงมา หรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศพันตำรวจเอกลงมา เหมาจ่าย ไม่เกิน ๑,๐๐๐ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่าหรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือน ชั้น ๔ หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ เหมาจ่าย ไม่เกิน ๑,๖๐๐ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นสูง ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๕ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรีขึ้นไป กรณีเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ หากผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวข้างต้นเป็นหัวหน้าคณะและมีความจำเป็นต้องใช้สถานที่เดียวกันกับที่พัก เพื่อเป็นที่ประสานงานของคณะหรือกับบุคคลอื่น ให้เบิกค่าเช่าที่พักเพิ่มขึ้นสำหรับห้องพักอีกหนึ่งห้อง หรือจะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนก็ได้ เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน ๒,๕๐๐ กรณีเพิ่มอีกหนึ่งห้อง เบิกเพิ่มได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน ๒,๕๐๐ กรณีเช่าห้องชุด เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน ๕,๐๐๐ หมายเหตุ กรณีผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๘ ลงมา และผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ หัวหน้าส่วนราชการสามารถกำหนดหลักเกณฑ์อัตราค่าเช่าที่พักเหมาจ่ายต่ำกว่าที่กำหนดได้ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญชีหมายเลข ๔ อัตราค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวในการเดินทางไปราชการประจำในราชอาณาจักร ระยะทาง (กม.) อัตรา (บาท) ๑ – ๕๐ ๕๑ – ๑๐๐ ๑๐๑ – ๑๕๐ ๑๕๑ – ๒๐๐ ๒๐๑ – ๒๕๐ ๒๕๑ – ๓๐๐ ๓๐๑ – ๓๕๐ ๓๕๑ – ๔๐๐ ๔๐๑ – ๔๕๐ ๔๕๑ – ๕๐๐ ๕๐๑ – ๕๕๐ ๕๕๑ – ๖๐๐ ๖๐๑ – ๖๕๐ ๖๕๑ – ๗๐๐ ๗๐๑ – ๗๕๐ ๗๕๑ – ๘๐๐ ๘๐๑ – ๘๕๐ ๘๕๑ – ๙๐๐ ๙๐๑ – ๙๕๐ ๙๕๑ – ๑๐๐๐ ๑๐๐๑ – ๑๐๕๐ ๑๐๕๑ – ๑๑๐๐ ๑๑๐๑ – ๑๑๕๐ ๑๑๕๑ – ๑๒๐๐ ๑๒๐๑ – ๑๒๕๐ ๑๒๕๑ – ๑๓๐๐ ๑๓๐๑ – ๑๓๕๐ ๑๓๕๑ – ๑๔๐๐ ๑๔๐๑ – ๑๔๕๐ ๑๔๕๑ – ๑๕๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๕๐๐ ๓,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๕๐๐ ๕,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๖,๕๐๐ ๗,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๘,๕๐๐ ๙,๐๐๐ ๙,๕๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๑,๐๐๐ ๑๑,๕๐๐ ๑๒,๐๐๐ ๑๓,๐๐๐ ๑๓,๕๐๐ ๑๔,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ ๑๕,๕๐๐ ๑๖,๐๐๐ ๑๗,๐๐๐ ๑๗,๕๐๐ ๑๘,๕๐๐ ๑๙,๐๐๐ ๑๙,๕๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๕๐๐ สำหรับระยะทางที่เกิน ๑๕๐๐ กิโลเมตรขึ้นไปให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดที่จะพิจารณาอนุมัติให้เบิกจ่ายในลักษณะเหมาจ่ายได้ตามความจำเป็นเหมาะสม บัญชีหมายเลข ๕ ผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นและความเหมาะสม ตำแหน่ง ๑. องคมนตรี ๒๔. ผู้บัญชาการทหารบก ๒. รัฐบุรุษ ๒๕. ผู้บัญชาการทหารเรือ ๓. นายกรัฐมนตรี ๒๖. ผู้บัญชาการทหารอากาศ ๔. รองนายกรัฐมนตรี ๒๗. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ๕. รัฐมนตรี ๒๘. อัยการสูงสุด ๖. ประธานศาลฎีกา ๒๙. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ๗. รองประธานศาลฎีกา ๓๐. เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๘. ประธานศาลอุทธรณ์ ๓๑. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ๙. ประธานศาลปกครองสูงสุด ๓๒. เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ๑๐. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ๓๓. เลขาธิการสำนักพระราชวัง ๑๑. ประธานวุฒิสภา ๓๔. ราชเลขาธิการ ๑๒. ประธานสภาผู้แทนราษฎร ๓๕. นายกราชบัณฑิตยสถาน ๑๓. เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๓๖. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ๑๔. เลขาธิการวุฒิสภา ๓๗. ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ๑๕. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ๓๘. ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ๑๖. ปลัดกระทรวง ๓๙. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ๑๗. ปลัดทบวง ๔๐. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ ๑๘. รองปลัดกระทรวงกลาโหม และสังคมแห่งชาติ ๑๙. สมุหราชองครักษ์ ๔๑. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๐. จเรทหารทั่วไป ๔๒. เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ๒๑. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ๔๓. เลขาธิการสภาการศึกษา ๒๒. รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ๔๔. เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ๒๓. เสนาธิการทหาร ๔๕. เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บัญชีหมายเลข ๖ อัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวและค่าใช้จ่ายอื่น (๑) กรณีเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางเหมาจ่าย ข้าราชการ อัตรา (บาท : วัน) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๘ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา หรือดะโต๊ะยุติธรรมหรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกลงมา หรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศพันตำรวจเอกลงมา ๒,๑๐๐ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษขึ้นไป ๓,๑๐๐ (๒) กรณีมิได้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางเหมาจ่าย ให้เบิกค่าใช้จ่าย ดังนี้ (๒.๑) ค่าอาหาร – ค่าเครื่องดื่ม ค่าภาษี – ค่าบริการที่โรงแรม ภัตตาคาร หรือร้านค้าเรียกเก็บ ให้เบิกเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินวันละ ๔,๕๐๐ บาท (๒.๒) ค่าทำความสะอาดเสื้อผ้า สำหรับระยะเวลาที่เกิน ๗ วัน ให้เบิกเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินวันละ ๕๐๐ บาท (๒.๓) ค่าใช้สอยเบ็ดเตล็ด ให้เบิกในลักษณะเหมาจ่ายไม่เกินวันละ ๕๐๐ บาท ค่าใช้จ่ายตาม (๒.๑) – (๒.๒) ให้คิดคำนวณเบิกจ่ายในแต่ละวัน จำนวนเงินส่วนที่เหลือจ่ายในวันใดจะนำมาสมทบเบิกในวันถัดไปไม่ได้ บัญชีหมายเลข ๗ ค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว บาท : วัน : คน ข้าราชการ ประเภท ก. ประเภท ข. ประเภท ค. ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๘ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการ อัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอกลงมา ไม่เกิน ๗,๕๐๐ ไม่เกิน ๕,๐๐๐ ไม่เกิน ๓,๑๐๐ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษขึ้นไป ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ไม่เกิน ๗,๐๐๐ ไม่เกิน ๔,๕๐๐ หมายเหตุ ประเทศที่มีสิทธิเบิกค่าเช่าที่พักเพิ่มขึ้นจากประเภท ก. อีกไม่เกินร้อยละสี่สิบ ได้แก่ ประเทศ รัฐ เมือง ๑. ญี่ปุ่น ๒. สาธารณรัฐฝรั่งเศส ๓. สหพันธรัฐรัสเซีย ๔. สมาพันธรัฐสวิส ๕. สาธารณรัฐอิตาลี / ประเทศที่มีสิทธิ . . . - ๒ - ประเทศที่มีสิทธิเบิกค่าเช่าที่พักเพิ่มขึ้นจากประเภท ก. อีกไม่เกินร้อยละยี่สิบห้า ได้แก่ ประเทศ รัฐ เมือง ๑. ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม ๒. ราชอาณาจักรสเปน ๓. สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ๔. สหรัฐอเมริกา ๕. สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ๖. สาธารณรัฐโปรตุเกส ๗. สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประเภท ก. ได้แก่ ประเทศ รัฐ เมือง ๑. แคนาดา ๒. เครือรัฐออสเตรเลีย ๓. ไต้หวัน ๔. เติร์กเมนิสถาน ๕. นิวซีแลนด์ ๖. บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ๗. ปาปัวนิวกีนี ๘. มาเลเซีย ๙. ราชรัฐโมนาโก ๑๐. ราชรัฐลักเซมเบิร์ก ๑๑. ราชรัฐอันดอร์รา ๑๒. ราชอาณาจักรกัมพูชา ๑๓. ราชอาณาจักรเดนมาร์ก ๑๔. ราชอาณาจักรนอร์เวย์ ๑๕. ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ๑๖. ราชอาณาจักรโมร็อกโก ๑๗. ราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ ๑๘. ราชอาณาจักรสวีเดน /๑๙ ... - ๓ - ๑๙. รัฐสุลต่านโอมาน ๒๐. โรมาเนีย ๒๑. สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ๒๒. สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย ๒๓. สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ ๒๔. สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ๒๕. สาธารณรัฐโครเอเชีย ๒๖. สาธารณรัฐชิลี ๒๗. สาธารณรัฐเช็ก ๒๘. สาธารณรัฐตุรกี ๒๙. สาธารณรัฐบัลแกเรีย ๓๐. สาธารณรัฐประชาชนจีน ๓๑. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย ๓๒. สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์ – เลสเต ๓๓. สาธารณรัฐเปรู ๓๔. สาธารณรัฐโปแลนด์ ๓๕. สาธารณรัฐฟินแลนด์ ๓๖. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ๓๗. สาธารณรัฐมอริเซียส ๓๘. สาธารณรัฐมอลตา ๓๙. สาธารณรัฐโมซัมบิก ๔๐. สาธารณรัฐเยเมน ๔๑. สาธารณรัฐลิทัวเนีย ๔๒. สาธารณรัฐสโลวัก ๔๓. สาธารณรัฐสโลวีเนีย ๔๔. สาธารณรัฐออสเตรีย ๔๕. สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ๔๖. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๔๗. สาธารณรัฐอินเดีย /๔๘ ... - ๔ - ๔๘. สาธารณรัฐเอสโตเนีย ๔๙. สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ๕๐. สาธารณรัฐไอซ์แลนด์ ๕๑. สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ๕๒. สาธารณรัฐฮังการี ๕๓. สาธารณรัฐเฮลเลนิก (กรีซ) ๕๔. ฮ่องกง ประเภท ข. ได้แก่ ประเทศ รัฐ เมือง ๑. เครือรัฐบาฮามาส ๒. จอร์เจีย ๓. จาเมกา ๔. เนการาบรูไนดารุสซาลาม ๕. มาซิโดเนีย ๖. ยูเครน ๗. รัฐกาตาร์ ๘. รัฐคูเวต ๙. รัฐบาห์เรน ๑๐. รัฐอิสราเอล ๑๑. ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย ๑๒. ราชอาณาจักรตองกา ๑๓. ราชอาณาจักรเนปาล ๑๔. ราชอาณาจักรฮัซไมต์จอร์แดน ๑๕. สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย ๑๖. สหภาพพม่า ๑๗. สหรัฐเม็กซิโก ๑๘. สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย ๑๙. สาธารณรัฐกานา ๒๐. สาธารณรัฐแกมเบีย /๒๑ ... - ๕ - ๒๑. สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (ไอเวอรี่โคส) ๒๒. สาธารณรัฐคอสตาริกา ๒๓. สาธารณรัฐคีร์กิซ ๒๔. สาธารณรัฐเคนยา ๒๕. สาธารณรัฐแคเมอรูน ๒๖. สาธารณรัฐคาซัคสถาน ๒๗. สาธารณรัฐจิบูตี ๒๘. สาธารณรัฐชาด ๒๙. สาธารณรัฐซิมบับเว ๓๐. สาธารณรัฐเซเนกัล ๓๑. สาธารณรัฐแซมเบีย ๓๒. สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน ๓๓. สาธารณรัฐไซปรัส ๓๔. สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก ๓๕. สาธารณรัฐตูนิเซีย ๓๖. สาธารณรัฐทาจิกิสถาน ๓๗. สาธารณรัฐไนเจอร์ ๓๘. สาธารณรัฐบุรุนดี ๓๙. สาธารณรัฐเบนิน ๔๐. สาธารณรัฐเบลารุส ๔๑. สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ๔๒. สาธารณรัฐปานามา ๔๓. สาธารณรัฐมอลโดวา ๔๔. สาธารณรัฐมาลี ๔๕. สาธารณรัฐยูกันดา ๔๖. สาธารณรัฐลัตเวีย ๔๗. สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ๔๘. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ๔๙. สาธารณรัฐอาร์เจนตินา /๕๐ ... - ๖ - ๕๐. สาธารณรัฐอาร์เมเนีย ๕๑. สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย ๕๒. สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ๕๓. สาธารณรัฐอิรัก ๕๔. สาธารณอิสลามปากีสถาน ๕๕. สาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย ๕๖. สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ๕๗. สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน ๕๘. สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ประเภท ค. ได้แก่ ประเทศ รัฐ เมืองอื่น ๆ นอกจากที่กำหนดในประเภท ก. และประเภท ข. บัญชีหมายเลข ๘ ค่าเครื่องแต่งตัวในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ข้าราชการ อัตรา (บาท : คน) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๕ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา หรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ หรือข้าราชการทหาร ซึ่งมียศพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรีลงมาหรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจตรีลงมา เหมาจ่าย ๗,๕๐๐ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหาร ซึ่งมียศ พันโท นาวาโท นาวาอากาศโทขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโทขึ้นไป เหมาจ่าย ๙,๐๐๐ บัญชีหมายเลข ๙ ประเทศที่ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวไม่สามารถเบิกค่าเครื่องแต่งตัวได้ ๑. สหภาพพม่า ๘. สาธารณรัฐสิงคโปร์ ๒. เนการาบรูไนดารุซาลาม ๙. สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ๓. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๑๐. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ๔. ราชอาณาจักรกัมพูชา ๑๑. สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ ๕. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ๑๒. ปาปัวนิวกีนี ๖. มาเลเซีย ๑๓. รัฐเอกราชซามัว ๗. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ๑๔. สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์ – เลสเต บัญชีหมายเลข ๑๐ ค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ ลำดับที่ ตำแหน่ง ประเภท ก. ประเภท ข. ๑. เจ้าหน้าที่การทูตระดับ ๕ ลงมา ภริยาหรือสามี บุตรคนละ ๔๐,๐๐๐ ๒๕,๐๐๐ ๑๔,๐๐๐ ๓๐,๐๐๐ ๑๘,๐๐๐ ๙,๐๐๐ ๒. เจ้าหน้าที่การทูตระดับ ๖ ถึงระดับ ๙ ภริยาหรือสามี บุตรคนละ ๔๕,๐๐๐ ๓๐,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ ๓๒,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๓. เจ้าหน้าที่การทูตระดับ ๑๐ ภริยาหรือสามี บุตรคนละ ๖๐,๐๐๐ ๔๐,๐๐๐ ๑๘,๐๐๐ ๔๐,๐๐๐ ๓๐,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ หมายเหตุ ๑. ประเภท ก. ได้แก่ ประเทศอื่น ๆ นอกจากที่กำหนดในประเภท ข. ๒. ประเภท ข. ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สหภาพพม่า มาเลเซีย สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และเนการาบรูไนดารุซาลาม ๓. เจ้าหน้าที่การทูตระดับ ๕ ขึ้นไป ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องแต่งตัวราตรีสโมสร (White tie) หรือเครื่องแต่งตัวมอร์นิ่งโค้ต เพราะมีหน้าที่ต้องเข้างานพิธีต่าง ๆ และตามประเพณีของประเทศนั้น จำต้องแต่งตัวแบบเช่นว่านั้น ให้ปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด ส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวงให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้ใช้ดุลพินิจพิจารณาอนุมัติให้เบิกค่าเครื่องแต่งตัวดังกล่าว อย่างละ ๑ ชุด เพิ่มขึ้นอีกได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินชุดละ ๑๕,๐๐๐ บาท ปณตภร/ผู้จัดทำ ๘ มกราคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๑/๒ สิงหาคม ๒๕๕๐
521318
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2549
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการ สำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาวการณ์และระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๔ กระทรวงการคลังจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการ สำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๕ บรรดาคำสั่ง หรือระเบียบอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ผู้มีสิทธิ” หมายความว่า ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับ การปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๔ “หน่วยงานผู้เบิก” หมายความว่า หน่วยงานซึ่งเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง สำนักงานคลังจังหวัด หรือสำนักงานคลังจังหวัด ณ อำเภอ แล้วแต่กรณี ข้อ ๕ เมื่อกระทรวงการคลังได้ประกาศกำหนดสำนักงานในพื้นที่พิเศษตามมาตรา ๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๔ แล้วให้หัวหน้าสำนักงานตรวจสอบคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ และจัดทำบัญชีผู้มีสิทธิตามแบบท้ายระเบียบนี้ พร้อมทั้งรับรองการมีสิทธิ และจัดส่งให้หัวหน้าหน่วยงานผู้เบิกเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการในบัญชีผู้มีสิทธิ ให้หัวหน้าสำนักงานดำเนินการ ตามวรรคหนึ่งเฉพาะในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลง ข้อ ๖ การเบิกเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษของผู้มีสิทธิแต่ละรายในครั้งแรก ให้หัวหน้าสำนักงานในพื้นที่พิเศษจัดส่งเอกสารไปยังหน่วยงานผู้เบิก เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่าย ดังนี้ (๑) สำเนาคำสั่งให้ผู้มีสิทธิไปดำรงตำแหน่งและปฏิบัติงานประจำหรือลักษณะประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ (๒) หนังสือรายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชาว่าได้ปฏิบัติงานประจำหรือลักษณะประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ ซึ่งระบุช่วงเวลาในการปฏิบัติงานไว้ด้วย (๓) บัญชีผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษที่แต่ละสำนักงานส่งให้ ให้หน่วยงานผู้เบิกจัดเก็บเอกสารตามวรรคหนึ่งไว้ เพื่อให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ ข้อ ๗ ให้หน่วยงานผู้เบิกจัดทำคำขอเบิกเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำ สำนักงานในพื้นที่พิเศษในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) เบิกจ่ายจากสำนักเบิกเงินเดือนหรือค่าจ้างของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำนั้น ในงบบุคลากร ข้อ ๘ ผู้มีสิทธิรายใดถึงแก่กรรมไปก่อนที่จะได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ ให้หัวหน้าสำนักงานในพื้นที่พิเศษตามข้อ ๕ และหน่วยงานผู้เบิกดำเนินการ เพื่อเบิกจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้มีสิทธิ กรณีผู้มีสิทธิเกษียณอายุราชการ หรือลาออกจากราชการไปก่อนที่จะได้รับเงินสวัสดิการ สำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ ให้หน่วยงานผู้เบิกบำนาญ หรือสำนักงานที่รับราชการครั้งสุดท้าย แล้วแต่กรณี เป็นผู้จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ผู้มีสิทธิ ข้อ ๙ กรณีผู้มีสิทธิตามข้อ ๕ ได้โอนหรือย้ายไปหน่วยงานใหม่ในสังกัดเดียวกันโดยหน่วยงานเดิมยังมิได้ดำเนินการเบิกจ่าย ให้หัวหน้าสำนักงานตามข้อ ๕ แจ้งไปยังหน่วยงานใหม่ เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายต่อไป กรณีที่เป็นการโอนหรือย้ายหน่วยงานต่างสังกัด ให้หัวหน้าสำนักงานตามข้อ ๕ ดำเนินการเบิกจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิ ตั้งแต่วันที่เริ่มปฏิบัติงานจนถึงวันสิ้นสุดการปฏิบัติงาน ณ สำนักงานดังกล่าว ข้อ ๑๐ การจ่ายเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ ให้ปฏิบัติตามวิธีการจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้าง โดยอนุโลม ข้อ ๑๑ ผู้มีสิทธิรายใดมีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่เต็มเดือนไม่ว่าด้วยประการใด ให้จ่ายเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษตามส่วนของจำนวนวันที่ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างในเดือนนั้น ข้อ ๑๒ วิธีปฏิบัติการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือที่กำหนดไว้แล้วแต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามระเบียบนี้ ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ โดยคำนึงถึงความจำเป็นเหมาะสม ประหยัด และยึดถือประโยชน์ของทางราชการเป็นหลัก ข้อ ๑๓ การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษที่ได้ดำเนินการไปแล้วก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับแต่ยังไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบเดิม ข้อ ๑๔ ให้ปลัดกระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ปรีดิยาธร เทวกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ (สปพ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.... (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) โสรศ/ผู้จัดทำ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๙ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๒๙ ง/หน้า ๑๘/๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๙
513650
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2549
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่ได้มีการประกาศใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งมีผลเป็นการยกเลิกพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม สมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการขึ้นใหม่ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๖ วรรคสอง มาตรา ๗ วรรคสอง มาตรา ๘ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๗ (๓) และ (๕) แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ กระทรวงการคลังจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ประกาศ คำสั่ง และหลักเกณฑ์อื่นใดที่เกี่ยวกับค่าเช่าบ้านข้าราชการในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในกรณีที่ส่วนราชการไม่สามารถปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๗ หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากข้อกำหนดดังกล่าว ให้ปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี หรือหัวหน้าส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง แล้วแต่กรณี เป็นผู้วินิจฉัย ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความประหยัดและประโยชน์ของราชการเป็นสำคัญ แล้วแจ้งให้ปลัดกระทรวงการคลังทราบด้วย นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการหารือหรือขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง ข้อ ๕ บรรดาแบบพิมพ์ที่ใช้เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้าน ให้เป็นไปตามแบบท้ายระเบียบนี้ หรือตามที่กรมบัญชีกลางกำหนดในกรณีที่ไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ข้อ ๖ ให้ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านยื่นคำขอรับค่าเช่าบ้านตามแบบขอรับค่าเช่าบ้าน (แบบ ๖๐๐๕) ท้ายระเบียบนี้ ณ สำนักงานที่ข้าราชการผู้นั้นปฏิบัติราชการ เว้นแต่ระเบียบนี้จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๗ การยื่นแบบ ๖๐๐๕ ให้ยื่นต่อผู้รับรองการมีสิทธิตามข้อ ๘ พร้อมด้วยสัญญาเช่าบ้าน สัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในกรณีการยื่นหลักฐานที่เป็นสัญญาเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้าน ต้องแนบสัญญาซื้อขายบ้าน สัญญาซื้อขายบ้านพร้อมที่ดิน หรือสัญญาจ้างปลูกสร้างบ้าน แล้วแต่กรณี เป็นหลักฐานประกอบด้วย และหากวงเงินในสัญญาดังกล่าวต่ำกว่าสัญญาเงินกู้ ข้าราชการผู้ใช้สิทธิต้องยื่นหลักฐานที่สถาบันการเงินรับรองว่า หากมีการกู้เงินตามวงเงินในสัญญาดังกล่าว จะต้องมีการผ่อนชำระรายเดือนเป็นจำนวนเท่าใด ข้อ ๘ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้รับรองการมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านของข้าราชการในสังกัดในแบบ ๖๐๐๕ (๑) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ให้เลขานุการรัฐมนตรี เลขานุการกรมหรือหัวหน้าส่วนราชการตั้งแต่ระดับกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป เป็นผู้รับรอง ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในภูมิภาคหรือแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม ให้หัวหน้าสำนักงานซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๖ หรือเทียบเท่า เป็นผู้รับรอง (๒) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ แล้วแต่กรณี เป็นผู้รับรอง (๓) ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหมหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บังคับบัญชาที่มียศตั้งแต่พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี หรือพันตำรวจตรีขึ้นไป เป็นผู้รับรอง ให้ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอย่างน้อยหนึ่งระดับหรือหนึ่งชั้นยศ เป็นผู้รับรองการมีสิทธิของบุคคลตาม (๑) (๒) และ (๓) ซึ่งมิได้ดำรงตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในวรรคสาม ให้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๘ ขึ้นไปหรือเทียบเท่า ข้าราชการทหารที่มียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หรือข้าราชการตำรวจที่มียศพันตำรวจเอกขึ้นไป เป็นผู้รับรองการมีสิทธิของตนเอง ข้อ ๙ เมื่อมีการรับรองสิทธิขอรับค่าเช่าบ้านแล้ว ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติการเบิก ค่าเช่าบ้านตามข้อ ๑๐ แต่งตั้งข้าราชการจำนวนไม่น้อยกว่าสามคนเป็นคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายละเอียด ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีเช่าบ้าน ให้ตรวจสอบว่าได้เช่าบ้านและพักอาศัยอยู่จริง ระยะเวลาเริ่มต้นของการเช่าบ้านและการเข้าพักอาศัย ตลอดจนความเหมาะสมของอัตราค่าเช่าบ้านเมื่อเปรียบเทียบกับสภาพแห่งบ้าน (๒) กรณีเช่าซื้อบ้านหรือกู้เงินเพื่อชำระราคาบ้าน ให้ตรวจสอบสัญญาเช่าซื้อบ้านหรือสัญญาเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้าน วงเงินเช่าซื้อหรือวงเงินกู้ เอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และวันเริ่มต้นการเข้าพักอาศัยอยู่จริงในบ้าน เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายละเอียดครบถ้วนแล้ว ให้จัดทำรายงานการตรวจสอบการขอรับค่าเช่าบ้านตามแบบท้ายระเบียบนี้ เสนอต่อผู้มีอำนาจอนุมัติการเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามข้อ ๑๐ เพื่อพิจารณาอนุมัติการเบิกจ่ายต่อไป ข้อ ๑๐ การอนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านในแบบ ๖๐๐๕ ให้เป็นอำนาจของบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมมอบหมายซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๗ หรือเทียบเท่า หรือผู้ที่มียศตั้งแต่พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท หรือพันตำรวจโทขึ้นไป ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาคหรือแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมจะมอบหมายให้หัวหน้าสำนักงานซึ่งเป็นผู้เบิกเงินจากคลัง เป็นผู้อนุมัติสำหรับหน่วยงานนั้นก็ได้ (๒) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ให้หัวหน้าส่วนราชการซึ่งเป็นผู้เบิกเงินจากคลังเป็นผู้อนุมัติ เว้นแต่เป็นการเบิกค่าเช่าบ้านของหัวหน้าส่วนราชการนั้น ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อนุมัติ สำหรับค่าเช่าบ้านของหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ที่เบิกเงินจากสำนักงานคลังจังหวัด ณ อำเภอ ให้นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นผู้อนุมัติ ข้อ ๑๑ ข้าราชการซึ่งได้รับอนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านตามสิทธิแล้ว ให้ยื่นขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านประจำเดือนตามแบบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้าน (แบบ ๖๐๐๖) ท้ายระเบียบนี้ พร้อมหลักฐานการชำระเงิน ณ สำนักงานที่ข้าราชการผู้นั้นปฏิบัติราชการ ให้บุคคลตามข้อ ๑๐ เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๑๒ ค่าเช่าบ้านถือเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อส่วนราชการได้รับแบบ ๖๐๐๖ และให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ได้รับแบบดังกล่าว ข้อ ๑๓ สัญญาเช่าบ้าน สัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้าน ตามข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ หรืออย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ (๑) สัญญาเช่าบ้าน ต้องระบุวัน เดือน ปี ที่ทำสัญญา ชื่อคู่สัญญา สถานที่เช่า วันเริ่มต้นแห่งสัญญาเช่า ระยะเวลาการเช่า วันสิ้นสุดสัญญาเช่า และอัตราค่าเช่าต่อเดือน (๒) สัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้าน ให้ใช้ตามแบบสัญญาของสถาบันการเงินได้ โดยต้องระบุชื่อคู่สัญญา สถานที่เช่าซื้อหรือสถานที่กู้เงิน วันเริ่มต้นแห่งสัญญาระยะเวลาการชำระค่าเช่าซื้อหรือการผ่อนชำระเงินกู้ วันสิ้นสุดสัญญา จำนวนวงเงินที่เช่าซื้อหรือวงเงินกู้และจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระรายเดือน ข้อ ๑๔ การทำสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านของข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน ต้องทำกับสถาบันการเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์ (๒) รัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเคหะ หรือดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อเช่าซื้อบ้านหรือผ่อนชำระราคาบ้าน (๓) สหกรณ์ที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์และมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเคหะ (๔) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๕) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (๖) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งดำเนินกิจการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตาม (๑) (๗) นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์และดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเคหะ หรือการให้เช่าซื้อบ้านหรือให้กู้ยืมเพื่อชำระราคาบ้าน ข้อ ๑๕ ให้ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านยื่นแบบ ๖๐๐๕ ฉบับใหม่ ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) โอนย้ายโดยเปลี่ยนสังกัดหรือเปลี่ยนสำนักเบิกเงินเดือน (๒) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่โดยไม่เปลี่ยนสำนักเบิกเงินเดือน (๓) เปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าบ้าน สัญญาเช่าซื้อบ้าน หรือสัญญาเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้าน ในกรณีนำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกต่อเนื่องในท้องที่ใหม่ ให้คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งตามข้อ ๙ วรรคหนึ่งตรวจสอบหลักฐานที่นำมาเบิกค่าเช่าบ้านในช่วงเวลาที่รับราชการในท้องที่เดิมและระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้าน แล้วดำเนินการต่อไปตามข้อ ๙ วรรคสอง ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ ข้อ ๑๖ การรับรองสิทธิและการอนุมัติเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านของข้าราชการตามข้อ ๑๕ (๒)ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้ (๑) ให้บุคคลตามข้อ ๘ ประจำสำนักงานที่ผู้ใช้สิทธิไปปฏิบัติราชการเป็นผู้รับรองสิทธิในแบบ ๖๐๐๕ (๒) ให้บุคคลตามข้อ ๑๐ ประจำสำนักงานที่เบิกเงินเดือนของผู้ใช้สิทธิเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติในแบบ ๖๐๐๕ และแบบ ๖๐๐๖ ข้อ ๑๗ ข้าราชการผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านในอัตราที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับเงินเดือนหรือเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ให้ยื่นหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการเบิกจ่ายโดยไม่ต้องยื่นแบบ ๖๐๐๕ ใหม่ ข้อ ๑๘ ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านซึ่งได้ยื่นแบบ ๖๐๐๕ ไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้รับอนุมัติ ต่อมาได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในสังกัดเดิม ไม่ว่าอยู่ในท้องที่เดียวกันหรือต่างท้องที่ หรือได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่โดยไม่เปลี่ยนสำนักเบิกเงินเดือนให้ยื่นแบบ ๖๐๐๕ และแบบ ๖๐๐๖ พร้อมทั้งหลักฐานการชำระค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าซื้อ หรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ในช่วงเวลาที่ตนมีสิทธิ ณ สำนักงานเดิม ที่สำนักงานใหม่ ในกรณีที่ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านได้รับคำสั่งตามวรรคหนึ่ง หากได้รับอนุมัติในแบบ ๖๐๐๕ ไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้ยื่นแบบ ๖๐๐๖ หรือยื่นไว้แล้วแต่ยังไม่ได้รับอนุมัติ ให้ยื่นแบบ ๖๐๐๖ ใหม่ พร้อมทั้งหลักฐานตามวรรคหนึ่งที่สำนักงานใหม่ สำหรับแบบ ๖๐๐๕ ที่ได้รับอนุมัติแล้ว ให้สำนักงานเดิมจัดส่งให้สำนักงานใหม่โดยเร็ว ข้อ ๑๙ ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านได้รับคำสั่งให้โอนไปรับราชการประจำสำนักงานใหม่โดยเปลี่ยนสังกัด แต่ยังไม่ได้ยื่นขอรับค่าเช่าบ้านหรือยังไม่ได้ยื่นขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านในช่วงเวลาที่ตนมีสิทธิ ณ สำนักงานเดิม ให้ยื่นแบบ ๖๐๐๕ และแบบ ๖๐๐๖ ที่สำนักงานเดิม ข้อ ๒๐ การยื่นขอรับค่าเช่าบ้านหรือขอเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านซึ่งถึงแก่กรรม หรือเกษียณอายุราชการ หรือลาออกจากราชการไปก่อนยื่นคำขอ ให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) กรณีถึงแก่กรรม ให้ทายาทของข้าราชการผู้นั้นยื่นคำขอ ณ สำนักงานที่รับราชการครั้งสุดท้าย (๒) กรณีเกษียณอายุราชการหรือลาออกจากราชการ ให้ข้าราชการผู้นั้น ยื่นคำขอ ณ หน่วยงานผู้เบิกบำนาญ หรือสำนักงานที่รับราชการครั้งสุดท้าย แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๑ ภายใต้บังคับข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน แต่คู่สมรสได้เช่าบ้าน เช่าซื้อบ้าน หรือกู้เงินเพื่อชำระราคาบ้านในระหว่างสมรสและปรากฏชื่อคู่สมรสแต่เพียงผู้เดียวในสัญญาเช่าบ้าน สัญญาเช่าซื้อ สัญญาเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้าน สัญญาซื้อขายที่ดินหรือบ้านพร้อมที่ดิน สัญญาจ้างปลูกสร้างบ้าน โฉนดที่ดิน หรือหลักฐานการชำระเงิน ให้ข้าราชการผู้นั้นนำหลักฐานดังกล่าวมาประกอบการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านจากทางราชการได้ นับแต่วันที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านให้ข้าราชการผู้นั้นนำหลักฐานการชำระเงินและสำเนาคำพิพากษาดังกล่าวมาเป็นหลักฐานประกอบการยื่นแบบ ๖๐๐๕ และแบบ ๖๐๐๖ โดยไม่ต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงตามข้อ ๙ ข้อ ๒๓ ในกรณีที่มีการขยายวงเงินกู้หรือขยายระยะเวลาการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านให้นำหลักฐานการผ่อนชำระมาเบิกค่าเช่าบ้านได้ตามจำนวนเงินกู้และระยะเวลาการผ่อนชำระที่เหลืออยู่ของสัญญาเงินกู้ฉบับแรกที่ได้ยื่นไว้และได้รับอนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านตามสิทธิแล้วเท่านั้น ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในสัญญาเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ค้างชำระอยู่เนื่องจากสถาบันการเงินเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ ต้องมิใช่เหตุจากผู้กู้ ข้อ ๒๔ การย้ายสถานที่ทำการของสำนักงานไปตั้งในท้องที่ใหม่ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้ท้องที่ใหม่ที่อยู่ใกล้เคียงกับท้องที่ตั้งสำนักงานเดิมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) การย้ายที่ตั้งสำนักงานจากกรุงเทพมหานครไปจังหวัดใกล้เคียง ต้องเป็นเขตท้องที่ใกล้เคียงหรือติดต่อกับกรุงเทพมหานครและมีรถยนต์โดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพให้บริการ ตามบัญชีรายชื่อท้องที่ใกล้เคียงท้ายระเบียบนี้ (๒) การย้ายที่ตั้งสำนักงานภายในจังหวัดเดียวกันหรือระหว่างจังหวัด ต้องเป็นเขตท้องที่ติดต่อกันและมีขนส่งสาธารณะประจำทางให้บริการ ข้อ ๒๕ ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน ให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านได้ตามอัตราเงินเดือนสุทธิแต่ถ้าอัตราเงินเดือนสุทธิขั้นใดไม่ตรงกับอัตราเงินเดือนในบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้เบิกในอัตราที่ใกล้เคียงแต่ไม่เกินอัตราเงินเดือนสุทธิที่ได้รับ ข้อ ๒๖ ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านซึ่งมีเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชาหรือเงินเพิ่มการเลื่อนฐานะหรือสำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติหรือสำหรับการสู้รบ ให้นำเงินเพิ่มดังกล่าวมารวมกับเงินเดือนสุทธิที่ได้รับ แล้วเทียบกับอัตราเงินเดือนตามขั้นเงินเดือนในระดับหรือชั้นยศที่ได้รับในปัจจุบันหรือขั้นเงินเดือนใกล้เคียงในระดับหรือชั้นยศเดียวกันหรือระดับหรือชั้นยศถัดไปตามลำดับ แล้วให้ได้รับค่าเช่าบ้านตามขั้นเงินเดือนนั้น กรณีที่ต้องเบิกลดเนื่องจากการปรับชั้นเงินเดือน ให้นำเงินเดือนสุทธิที่หักเบิกลดเนื่องจากการปรับชั้นเงินเดือนแล้วเทียบกับอัตราเงินเดือนตามขั้นเงินเดือนในระดับหรือชั้นยศที่ได้รับในปัจจุบันหรือขั้นเงินเดือนใกล้เคียงในระดับหรือชั้นยศเดียวกันหรือระดับหรือชั้นยศต่ำลงมาตามลำดับ แล้วให้ได้รับค่าเช่าบ้านตามขั้นเงินเดือนนั้น กรณีที่หักเบิกลดแล้ว เงินเดือนสุทธิต่ำกว่าอัตราเงินเดือนขั้นต่ำสุดตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านแต่ละประเภท ให้ได้รับค่าเช่าบ้านเท่าที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกินเดือนละ ๘๐๐ บาท ข้อ ๒๗ บรรดาประกาศและคำสั่งกระทรวงการคลังเกี่ยวกับค่าเช่าบ้านที่ใช้อยู่ก่อนระเบียบนี้ มีผลใช้บังคับ ให้ใช้ต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ข้อ ๒๘ ให้ปลัดกระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีรายชื่อท้องที่ใกล้เคียง กรณีกรุงเทพมหานครกับจังหวัดใกล้เคียง ๒. แบบขอรับค่าเช่าบ้าน (แบบ ๖๐๐๕) ๓. แบบขอรับค่าเช่าบ้าน (แบบ ๖๐๐๖) ๔. แบบรายงานการตรวจสอบการขอรับค่าเช่าบ้าน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๑๕ ง/หน้า ๑๓/๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
309173
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 7
ประกาศของคณะปฏิวัติ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๗[๑] โดยที่คณะปฏิวัติได้พิจารณาเห็นว่า ภาวะการครองชีพโดยทั่วไปได้สูงขึ้นเป็นอย่างมาก สมควรให้เงินช่วยเหลือเป็นเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวแก่ข้าราชการและลูกจ้างของทางราชการ ซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าอัตราเดือนละสี่พันแปดสิบห้าบาท หัวหน้าคณะปฏิวัติจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา และข้าราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม “ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย เว้นแต่ลูกจ้างชาวต่างประเทศที่มีสัญญาจ้างและลูกจ้างสำนักราชการในต่างประเทศ ข้อ ๒ ภายใต้บังคับข้อ ๓ ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าอัตราเดือนละสี่พันแปดสิบห้าบาทให้ได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว เรียกย่อว่า “พ.ช.ค.” ในอัตราเดือนละสองร้อยบาท การคำนวณอัตราค่าจ้างรายวัน หรือรายชั่วโมง เป็นรายเดือน เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด ข้อ ๓ ข้าราชการหรือลูกจ้างดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับ พ.ช.ค. (๑) ข้าราชการซึ่งได้รับเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ (๒) ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราเดือนละสี่พันแปดสิบห้าบาท แต่ได้ถูกลงโทษตัดเงินเดือนหรือค่าจ้างจนเป็นเหตุให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างจริงต่ำกว่าอัตราเดือนละสี่พันแปดสิบห้าบาท ข้อ ๔ การจ่าย พ.ช.ค. ให้แก่ข้าราชการหรือลูกจ้าง ให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จบำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน หรือระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับ พ.ช.ค. ถึงแก่ความตาย ให้จ่าย พ.ช.ค. เพียงวันที่ถึงแก่ความตาย ข้อ ๕ การเบิกจ่าย พ.ช.ค. ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ข้อ ๖ ให้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ ข้อ ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ ข้อ ๘ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิวัติ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๔/ตอนที่ ๑๐๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๐
760195
พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชบัญญัติ การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ (๒) พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “บุคลากรกีฬา” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการกีฬา เช่น ผู้ตัดสิน ผู้ฝึกสอนและผู้บริหารองค์กรด้านกีฬา ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด “ภาษี” หมายความว่า ภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “สมาคมกีฬา” หมายความว่า สมาคมกีฬาที่ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาและได้จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย “ผู้ว่าการ” หมายความว่า ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย “รองผู้ว่าการ” หมายความว่า รองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย “พนักงาน” หมายความว่า พนักงานของการกีฬาแห่งประเทศไทย และหมายความรวมถึงรองผู้ว่าการด้วย “ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างของการกีฬาแห่งประเทศไทย “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา นายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำกรุงเทพมหานคร หรือนายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ และกำหนดกิจการอื่น หรือออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงหรือระเบียบนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ การจัดตั้ง ทุน และทุนสำรอง มาตรา ๖ ให้จัดตั้งองค์การขึ้นเรียกว่า “การกีฬาแห่งประเทศไทย” เรียกโดยย่อว่า “กกท.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “SPORTS AUTHORITY OF THAILAND” เรียกโดยย่อว่า “SAT” และให้มีตราเครื่องหมายของ “กกท.” รูปลักษณะตราเครื่องหมายตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง มาตรา ๗ ให้ กกท. เป็นนิติบุคคล มีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดใกล้เคียงและจะจัดตั้งสำนักงานสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใดภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรก็ได้ แต่การตั้งสำนักงานสาขาภายนอกราชอาณาจักรต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี มาตรา ๘ กกท. มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมการกีฬา (๒) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานเกี่ยวกับการกีฬา (๓) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และจัดทำโครงการ แผนงาน และสถิติเกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬา รวมทั้งประเมินผล (๔) จัด ช่วยเหลือ แนะนำ และร่วมมือในการจัดและดำเนินกิจกรรมกีฬา (๕) สำรวจ จัดสร้าง และบูรณะสถานที่สำหรับการกีฬา (๖) ติดต่อร่วมมือกับองค์การหรือสมาคมกีฬาทั้งในและนอกราชอาณาจักร (๗) สอดส่องและกำกับดูแลการดำเนินกิจกรรมกีฬา (๘) ริเริ่ม พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการกีฬาคนพิการ (๙) ประกอบกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวแก่หรือเพื่อประโยชน์ของการกีฬา มาตรา ๙ ให้ กกท. มีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๘ และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ถือกรรมสิทธิ์ หรือมีสิทธิครอบครอง หรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง ทำการแลกเปลี่ยน โอน รับโอน หรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักรตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๒) กู้ยืมเงินภายในและภายนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด (๓) ให้กู้ยืมเงินโดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แก่กิจการของ กกท. ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๐ ทุนของ กกท. ประกอบด้วย (๑) เงินและทรัพย์สินที่โอนมาตามมาตรา ๑๓๑ (๒) เงินที่ได้จากงบประมาณแผ่นดินให้เป็นทุนหรือเพื่อดำเนินงาน (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๔) เงินรายได้ตามมาตรา ๙๙ มาตรา ๑๑ กกท. อาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้ (๑) รายได้จากทรัพย์สินของ กกท. (๒) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๓) รายได้จากการจัดการแข่งขันกีฬา (๔) รายได้อื่น มาตรา ๑๒ เงินสำรองของ กกท. ให้ประกอบด้วยเงินสำรองธรรมดาซึ่งตั้งไว้เผื่อขาดเงินสำรองเพื่อการไถ่ถอนหนี้สินและเงินสำรองอื่น ๆ ตามความประสงค์แต่ละอย่างโดยเฉพาะตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร เงินสำรองธรรมดาจะนำออกใช้ได้ก็แต่โดยมติของคณะกรรมการ มาตรา ๑๓ ทรัพย์สินของ กกท. ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี หมวด ๒ คณะกรรมการและผู้ว่าการ มาตรา ๑๔[๒] ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย” ประกอบด้วย (๑) นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ (๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการ (๓) ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปลัดกระทรวงมหาดไทย และปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ (๔) ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ (๕) ผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๖) ผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๗) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกินสามคน โดยให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านกฎหมาย การแพทย์ การบริหาร การกีฬาหรือวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นกรรมการ ให้ผู้ว่าการเป็นกรรมการและเลขานุการ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตาม (๕) และ (๖) ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๕ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) และ (๗) ต้องไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างและต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจด้วย มาตรา ๑๖ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) และ (๗) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปีและอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ดำเนินการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการประเภทเดียวกันแทนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงสามสิบวัน จะไม่เลือกหรือแต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ ในกรณีที่กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) หรือ (๗) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๗) เพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้เลือกหรือแต่งตั้งไว้แล้ว เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) หรือ (๗) ขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๖ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) และ (๗) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ขาดการประชุมคณะกรรมการเกินสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร (๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๕ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) หรือ (๖) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด แล้วแต่กรณี กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๗) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ออก ในกรณีที่กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) หรือ (๗) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่ตำแหน่งผู้ว่าการว่างลงและยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งแทน ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่ แต่จะต้องมีจำนวนกรรมการรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด มาตรา ๑๘ เพื่อประโยชน์แห่งกิจการของ กกท. ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดของ กกท. แล้วรายงานต่อคณะกรรมการ มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ กกท. อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ออกข้อบังคับหรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรา ๘ และมาตรา ๙ (๒) ออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการดำเนินกิจการของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริหารกองทุน และคณะอนุกรรมการ (๓) ออกข้อบังคับว่าด้วยการจัดแบ่งส่วนงานและการบริหารงานของ กกท. (๔) ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของผู้ว่าการ และการมอบให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนผู้ว่าการ (๕) ออกข้อบังคับกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และเงินอื่น ๆ ของพนักงานและลูกจ้าง (๖) ออกข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือนหรือค่าจ้าง การพ้นจากตำแหน่งวินัย การลงโทษ และการอุทธรณ์การลงโทษพนักงานและลูกจ้าง (๗) ออกระเบียบว่าด้วยการร้องทุกข์ของพนักงานและลูกจ้าง (๘) ออกข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการของพนักงาน ลูกจ้าง และครอบครัว (๙) ออกข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทน ให้แก่ประธานกรรมการ กรรมการผู้ว่าการ พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ปฏิบัติงานให้แก่ กกท. โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๑๐) ออกระเบียบว่าด้วยเครื่องแบบผู้ว่าการ พนักงาน และลูกจ้าง (๑๑) ออกระเบียบว่าด้วยการเงินและการบริหารเงินรายได้ของ กกท. (๑๒) ออกระเบียบว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การบริหารกองทุนและการจัดหาผลประโยชน์ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๑๓) จำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญ ข้อบังคับหรือระเบียบตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีข้อความจำกัดอำนาจของผู้ว่าการในการทำนิติกรรมไว้ประการใด ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งผู้ว่าการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มาตรา ๒๑ ผู้ว่าการนอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจแล้วยังต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในธุรกิจการกีฬา (๒) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับ กกท. หรือในกิจการที่กระทำให้แก่ กกท. ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่เป็นเพียงผู้ถือหุ้นเพื่อการลงทุนโดยสุจริตในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดหรือเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในกิจการที่กระทำการอันมีส่วนได้เสียเช่นว่านั้น หรือเป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เป็นประธานกรรมการ กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้ดำเนินกิจการในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ กกท. เป็นผู้ถือหุ้น มาตรา ๒๒ ผู้ว่าการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑ (๕) คณะกรรมการมีมติเห็นสมควรให้เลิกจ้าง (๖) สัญญาจ้างสิ้นสุดลง มติของคณะกรรมการให้เลิกจ้างตาม (๕) ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่นอกจากผู้ว่าการ และให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ มาตรา ๒๓ ผู้ว่าการมีหน้าที่บริหารกิจการของ กกท. ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ กกท. และตามนโยบาย ข้อบังคับ และระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดกับมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่ง ผู้ว่าการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของ กกท. มาตรา ๒๔ ผู้ว่าการมีอำนาจ (๑) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนให้พนักงานและลูกจ้างออกจากตำแหน่งตามข้อบังคับหรือระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าเป็นพนักงานหรือลูกจ้างชั้นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการฝ่าย หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน (๒) กำหนดเงื่อนไขในการทำงานของพนักงานและลูกจ้าง และออกระเบียบการปฏิบัติงานของ กกท. โดยไม่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับหรือระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๒๕ ให้รองผู้ว่าการมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่งรองจากผู้ว่าการและมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของ กกท. ตามที่ผู้ว่าการมอบหมาย มาตรา ๒๖[๓] ในกรณีที่ผู้ว่าการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อตำแหน่งผู้ว่าการว่างลงและยังมิได้แต่งตั้งผู้ว่าการ ให้รองผู้ว่าการรักษาการแทนผู้ว่าการ ถ้าไม่มีรองผู้ว่าการหรือรองผู้ว่าการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งพนักงานคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทนผู้ว่าการ ในการปฏิบัติหน้าที่ของรองผู้ว่าการหรือผู้รักษาการแทนผู้ว่าการตามวรรคหนึ่ง ให้รองผู้ว่าการหรือผู้รักษาการแทนผู้ว่าการมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ว่าการ มาตรา ๒๗ ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้ว่าการเป็นผู้แทนของ กกท. และเพื่อการนี้ผู้ว่าการจะมอบอำนาจให้บุคคลใด ๆ ปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด นิติกรรมที่ผู้ว่าการกระทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบตามมาตรา ๑๙ ย่อมไม่ผูกพัน กกท. มาตรา ๒๘ ให้ประธานกรรมการและกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หมวด ๓ คณะกรรมการกีฬาจังหวัด มาตรา ๒๙ ในแต่ละจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการกีฬาจังหวัด และให้สำนักงาน กกท. จังหวัด ทำหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการ งานประชุม การศึกษาข้อมูลและกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการกีฬาจังหวัด มาตรา ๓๐ คณะกรรมการกีฬาจังหวัดประกอบด้วย (๑) ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ (๒) รองผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ (๓) ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด เป็นกรรมการ (๔) ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนั้น จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๕) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มิใช่องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวนหนึ่งคนเป็นกรรมการ (๖) ผู้แทนองค์กรเอกชนในจังหวัดนั้น จำนวนสองคน เป็นกรรมการ (๗) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คนแต่ไม่เกินแปดคนเป็นกรรมการ โดยต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านกีฬาคนพิการอย่างน้อยหนึ่งคน ให้ผู้อำนวยการสำนักงาน กกท. จังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ หลักเกณฑ์และวิธีการในการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตาม (๔) (๕) (๖) และ (๗) ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๑ คณะกรรมการกีฬาจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอนโยบาย แผนงาน และโครงการส่งเสริมกีฬาภายในจังหวัดต่อคณะกรรมการ (๒) ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ กกท. ตามมาตรา ๘ (๓) ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ และสนับสนุน กกท. สมาคมกีฬา และหน่วยงานกีฬาที่เกี่ยวข้องในการแข่งขันกีฬาและการดำเนินกิจกรรมกีฬาของจังหวัด (๔) ออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ (๕) ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย มาตรา ๓๒ ให้นำมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการกีฬาจังหวัดโดยอนุโลม หมวด ๔ การส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา มาตรา ๓๓ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา คณะกรรมการมีอำนาจให้ทุน ทรัพย์สิน หรือสิทธิประโยชน์อื่น แก่คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา นักกีฬา หรือบุคลากรกีฬาเพื่อใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา ตลอดจนให้คณะกรรมการมีอำนาจให้การสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬาได้ด้วย การให้ทุน ทรัพย์สิน หรือสิทธิประโยชน์อื่น ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬาตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการจะกำหนดเงื่อนไขในการให้ไว้ด้วยก็ได้ หลักเกณฑ์การพิจารณาและการกำหนดประเภทของบุคคลซึ่งพึงได้รับทุน ทรัพย์สิน หรือสิทธิประโยชน์อื่น ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา หรือการสงเคราะห์อื่นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๔ คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา นักกีฬา หรือบุคลากรกีฬาใดประสงค์จะขอรับทุน ทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ หรือการสงเคราะห์อื่นตามมาตรา ๓๓ ให้ยื่นคำขอต่อ กกท. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๕ ในกรณีที่คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา นักกีฬา หรือบุคลากรกีฬาที่ได้รับทุน ทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ หรือการสงเคราะห์อื่นตามมาตรา ๓๓ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งยกเลิกการให้ทุน ทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ หรือการสงเคราะห์อื่นทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ถ้าคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า การที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนั้นมิได้เป็นการกระทำโดยจงใจ คณะกรรมการจะเตือนเป็นหนังสือให้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดก็ได้ และเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา นักกีฬา หรือบุคลากรกีฬานั้นมิได้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง ให้คณะกรรมการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หมวด ๕ กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ มาตรา ๓๖ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ” ใน กกท. เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเพื่อการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา คุ้มครอง ช่วยเหลือและจัดสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา โดยประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินบำรุงกองทุนที่จัดเก็บตามมาตรา ๓๗ (๒) เงินและทรัพย์สินที่โอนมาตามมาตรา ๑๓๓ (๓) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ (๔) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็น (๕) เงินรายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน (๖) รายได้ที่เกิดจากการดำเนินการของกองทุน (๗) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๗/๑)[๔] เงินที่โอนมาโดยผลของกฎหมาย (๗/๒)[๕] เงินที่ได้จากค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยกีฬามวย (๗/๓)[๖] เงินค่าปรับทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกีฬาอาชีพ (๘) รายได้อื่น ๆ ให้ กกท. เก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุนและดำเนินการเบิกจ่ายเงินกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ เงินและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งให้เป็นของ กกท. เพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนโดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน มาตรา ๓๗ ให้กองทุนมีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละสองของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในการคำนวณเงินบำรุงกองทุนตามอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่ง หากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง มาตรา ๓๘ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บและส่งเงินบำรุงกองทุน (๑) ให้กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรเป็นผู้ดำเนินการเรียกเก็บเงินบำรุงกองทุน เพื่อนำส่งเป็นรายได้ของกองทุน โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด (๒) เงินบำรุงกองทุนให้ถือเป็นภาษี แต่ไม่ให้นำไปรวมคำนวณเป็นมูลค่าของภาษี มาตรา ๓๙ ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนตามอัตราที่กำหนดตามมาตรา ๓๗ พร้อมกับการชำระภาษีตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบได้รับการยกเว้นหรือคืนภาษี ให้ได้รับการยกเว้นหรือคืนเงินบำรุงกองทุนด้วย ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ส่งเงินบำรุงกองทุนหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนด หรือส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง นอกจากจะมีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้เสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่ส่งหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนดหรือจำนวนเงินที่ส่งขาดไป แล้วแต่กรณี นับแต่วันครบกำหนดส่งจนถึงวันที่ส่งเงินบำรุงกองทุน แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนเงินบำรุงกองทุนและให้ถือว่าเงินเพิ่มนี้เป็นเงินบำรุงกองทุนด้วย ในการคำนวณระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน มาตรา ๔๒ เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมกีฬาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานักกีฬา บุคลากรกีฬา และสมาคมกีฬา (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการเตรียมนักกีฬาเพื่อให้เป็นนักกีฬาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ (๔) สนับสนุนเงินรางวัลแก่นักกีฬา บุคลากรกีฬา และสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ซึ่งประกอบคุณความดีแก่การกีฬาของชาติหรือนำชื่อเสียงเกียรติภูมิมาสู่ประเทศชาติ (๕) สนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬา (๖) ช่วยเหลือด้านสวัสดิการแก่นักกีฬา บุคลากรกีฬา และผู้ซึ่งประสบอุบัติเหตุ หรือได้รับความเสียหายหรืออันตรายจากการแข่งขันกีฬา และกรณีอื่นอันควรแก่การสงเคราะห์ (๗)[๗] ส่งเสริมและสนับสนุนกีฬามวยตามกฎหมายว่าด้วยกีฬามวย และกีฬาอาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกีฬาอาชีพ นอกจากการใช้จ่ายเงินกองทุนตามวรรคหนึ่ง ให้จัดสรรเงินกองทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๓ ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย (๑) รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ (๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง (๓) ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สอง (๔) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สาม (๕) ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ (๖) ผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๗) ผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๘) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากบุคคลที่ไม่เป็นพนักงานจำนวนสองคน โดยให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านเศรษฐศาสตร์หรือการเงินจำนวนหนึ่งคนและด้านการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์การกีฬาจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ผู้ว่าการเป็นกรรมการบริหารกองทุนและเลขานุการ กรรมการบริหารกองทุนตาม (๖) (๗) และ (๘) จะดำรงตำแหน่งกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) หรือ (๗) ในขณะเดียวกันมิได้ หลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และวิธีการในการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนตาม (๖) (๗) และ (๘) ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๔ กรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) (๗) และ (๘) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ ในกรณีที่กรรมการบริหารกองทุนตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้ดำเนินการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนประเภทเดียวกันแทนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการบริหารกองทุนว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการบริหารกองทุนเหลือไม่ถึงสามสิบวัน จะไม่เลือกหรือแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนแทนก็ได้ และให้ผู้ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) (๗) หรือ (๘) ขึ้นใหม่ ให้กรรมการบริหารกองทุนซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการบริหารกองทุนซึ่งได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๔๕ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๔๔ กรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) (๗) และ (๘) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะกรรมการให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ (๔) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๗) ขาดคุณสมบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๔๓ กรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) หรือ (๗) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด แล้วแต่กรณี ในกรณีที่กรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) (๗) หรือ (๘) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระหรือในกรณีที่ตำแหน่งผู้ว่าการว่างลงและยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งแทน ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนประกอบด้วยกรรมการบริหารกองทุนเท่าที่เหลืออยู่ แต่จะต้องมีจำนวนกรรมการบริหารกองทุนรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการบริหารกองทุนทั้งหมด มาตรา ๔๖ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) บริหารกองทุนรวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์และการจัดการกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (๒) พิจารณาอนุมัติโครงการที่ขอรับการส่งเสริมหรือสนับสนุนจากกองทุนและติดตามผลการดำเนินการของโครงการดังกล่าว (๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้เงินรางวัลแก่นักกีฬา บุคลากรกีฬา และสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” (๔) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ทุนการศึกษา และอนุมัติทุนการศึกษาแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬา (๕) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือด้านสวัสดิการแก่บุคคลตามมาตรา ๔๒ (๖) (๕/๑)[๘] กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินของกองทุนเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนกีฬามวยตามกฎหมายว่าด้วยกีฬามวย และกีฬาอาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกีฬาอาชีพ (๖) รายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนต่อคณะกรรมการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (๗) วางระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการบริหารกองทุนอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนมอบหมายก็ได้ มาตรา ๔๗ การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การบริหารกองทุน และการจัดหาผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๘ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนจัดทำงบดุลและบัญชีทำการส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนทุกรอบปีแล้วทำรายงานผลการสอบและรับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีเพื่อคณะกรรมการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ มาตรา ๔๘/๑[๙] ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนทำรายงานประจำปีของกองทุนเสนอคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเพื่อทราบภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของกองทุนในปีที่ล่วงมาแล้ว พร้อมทั้งงบการเงิน และรายงานของผู้สอบบัญชี หมวด ๖ สมาคมกีฬา ส่วนที่ ๑ การจัดตั้งสมาคมกีฬา มาตรา ๔๙ สมาคมกีฬาจะมีขึ้นได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ สมาคมกีฬาตามวรรคหนึ่งต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาโดยมีการจัดการแข่งขันกีฬาหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน และอาจมีการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา มาตรา ๕๐ สมาคมกีฬาต้องมีข้อบังคับและต้องจดทะเบียน เมื่อได้จดทะเบียนแล้วให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล มาตรา ๕๑ ให้จัดตั้งสำนักงานกลางทะเบียนสมาคมกีฬาขึ้นใน กกท. เพื่อควบคุมการจดทะเบียนเป็นสมาคมกีฬาทั่วราชอาณาจักร และทำหน้าที่เป็นสำนักงานทะเบียนสมาคมกีฬาประจำกรุงเทพมหานคร ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้สำนักงาน กกท. จังหวัด ทำหน้าที่เป็นสำนักงานทะเบียนสมาคมกีฬาประจำจังหวัด ให้ผู้ว่าการหรือผู้ซึ่งผู้ว่าการมอบหมายเป็นนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาและนายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำกรุงเทพมหานคร และให้ผู้อำนวยการสำนักงาน กกท. จังหวัด หรือผู้ซึ่งผู้ว่าการมอบหมายเป็นนายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำจังหวัด มาตรา ๕๒ ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สามารถขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาได้ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕๓ การขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคนยื่นคำขอพร้อมด้วยข้อบังคับของสมาคมกีฬาอย่างน้อยสามฉบับต่อนายทะเบียนประจำท้องที่ที่จะตั้งสำนักงาน คุณสมบัติของผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคมกีฬา หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำขอจดทะเบียนและการจดทะเบียนให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๕๔ ในการขอจดทะเบียน ถ้าได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๓ มีข้อบังคับถูกต้องตามมาตรา ๕๖ และข้อบังคับนั้นไม่ขัดต่อกฎหมายและวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬากับทั้งผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคมกีฬาทุกคนมีคุณสมบัติถูกต้องตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดตามมาตรา ๕๓ วรรคสอง ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนได้ และให้ออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนตามแบบที่คณะกรรมการประกาศกำหนดให้แก่สมาคมกีฬานั้น การจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาและการเลิกสมาคมกีฬา ให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถ้านายทะเบียนเห็นว่าในการขอจดทะเบียนมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ผู้ยื่นคำขอแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เมื่อได้แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงถูกต้องแล้ว ให้นายทะเบียนออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่สมาคมกีฬานั้น ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามวรรคสามภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งนายทะเบียน หรือหากนายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นว่า วัตถุประสงค์ตามที่ยื่นคำขอมิได้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๙ วรรคสอง ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและแจ้งคำสั่งไม่รับจดทะเบียนพร้อมด้วยเหตุผลไปยังผู้ขอจดทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำขอ ให้ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว และให้นายทะเบียนส่งหนังสืออุทธรณ์ต่อไปยังคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ดังกล่าว ให้คณะกรรมการวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับหนังสืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด มาตรา ๕๕ ในกรณีที่ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้นายทะเบียนออกใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้เมื่อสมาคมกีฬาร้องขอ การขอรับใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การออกใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนและแบบใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๕๖ ข้อบังคับของสมาคมกีฬาอย่างน้อยต้องมีข้อความเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อ ซึ่งต้องมีคำว่า “สมาคมกีฬา” กำกับไว้กับชื่อนั้นด้วย (๒) วัตถุประสงค์ (๓) ที่ตั้งสำนักงานและวันเวลาเปิดทำการ (๔) วิธีการรับสมาชิกและการขาดจากสมาชิกภาพ (๕) ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก (๖) อัตราค่าบำรุง (๗) ข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการสมาคมกีฬา ได้แก่ จำนวนกรรมการ การตั้งกรรมการวาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมคณะกรรมการสมาคมกีฬา (๘) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการสมาคมกีฬา การบัญชี และทรัพย์สินของสมาคมกีฬา (๙) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ (๑๐) ข้อกำหนดอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา การกำหนดระยะเวลาของวาระการดำรงตำแหน่งตาม (๗) ของกรรมการสมาคมกีฬาทั่วไปและสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ต้องกำหนดให้ไม่เกินสี่ปี การกำหนดระยะเวลาของวาระการดำรงตำแหน่งตาม (๗) ของกรรมการสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ชนิดกีฬาใด ต้องกำหนดให้สอดคล้องกับระยะเวลาของวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการบริหารสหพันธ์กีฬานานาชาติของชนิดกีฬานั้นด้วย มาตรา ๕๗ สมาคมกีฬาต้องใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า “สมาคมกีฬา” ประกอบกับชื่อของสมาคมกีฬา มาตรา ๕๘ การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมกีฬาจะกระทำได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่ และต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานของสมาคมกีฬาตั้งอยู่ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติ เมื่อนายทะเบียนได้จดทะเบียนแล้วให้มีผลใช้บังคับได้ การยื่นคำขอจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด นายทะเบียนมีอำนาจไม่รับจดทะเบียนการแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมกีฬาได้เมื่อเห็นว่าการแก้ไขหรือเพิ่มเติมนั้นขัดต่อวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาหรือขัดต่อกฎหมาย ในกรณีที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนการแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมกีฬา ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๕๙ การแต่งตั้งกรรมการสมาคมกีฬาขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมกีฬา ให้กระทำตามข้อบังคับของสมาคมกีฬานั้น และสมาคมกีฬาต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานของสมาคมกีฬาตั้งอยู่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมกีฬานั้น ถ้านายทะเบียนเห็นว่ากรรมการสมาคมกีฬาตามวรรคหนึ่งผู้ใด มีฐานะ ความประพฤติ หรือคุณสมบัติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาหรือกระบวนการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมกีฬาขัดต่อกฎหมายหรือข้อบังคับของสมาคมกีฬา นายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียนกรรมการสมาคมกีฬาผู้นั้นก็ได้ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนกรรมการสมาคมกีฬานายทะเบียนต้องแจ้งเหตุผลที่ไม่รับจดทะเบียนให้สมาคมกีฬาทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน โดยให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในระหว่างที่ยังไม่มีการจดทะเบียนกรรมการสมาคมกีฬาชุดใหม่ หากข้อบังคับของสมาคมกีฬามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้กรรมการสมาคมกีฬาชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่กรรมการสมาคมกีฬาต่อไปจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนกรรมการสมาคมกีฬาชุดใหม่ มาตรา ๖๐ ห้ามมิให้บุคคลใดใช้ชื่อที่มีอักษรไทยประกอบว่า “สมาคมกีฬา” หรืออักษรต่างประเทศซึ่งแปลหรืออ่านว่า “สมาคมกีฬา” ในดวงตรา ป้ายชื่อ หรือเอกสารต่าง ๆ โดยมิได้เป็นสมาคมกีฬา เว้นแต่เป็นการใช้ในการขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา มาตรา ๖๑ ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาสอบถามหรือให้ส่งเอกสารมาเพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาได้ ส่วนที่ ๒ ประเภทของสมาคมกีฬา มาตรา ๖๒ สมาคมกีฬาแบ่งออกเป็นสามประเภท คือ (๑) สมาคมกีฬาทั่วไป (๒) สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด (๓) สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” มาตรา ๖๓ สมาคมกีฬาทั่วไปเป็นสมาคมกีฬาที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาแก่สมาชิกเป็นการทั่วไป มาตรา ๖๔ สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเป็นสมาคมกีฬาทั่วไปที่จัดตั้งขึ้นในแต่ละจังหวัด โดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และมีการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาซึ่งมีความหลากหลายของชนิดกีฬาและได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดจากนายทะเบียนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ในกรณีที่นายทะเบียนไม่อนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหกมาใช้บังคับโดยอนุโลม สมาคมกีฬาทั่วไปที่ได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ต้องใช้คำว่า “สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด” ประกอบในชื่อของสมาคมกีฬานั้น สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดอาจรับสมาชิกจากสมาคมกีฬาทั่วไป ชมรม สโมสร องค์กร หรือบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมกีฬาซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนั้น มาตรา ๖๕ สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามมาตรา ๖๔ สามารถดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา โดยส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาหรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของจังหวัด มาตรา ๖๖ ห้ามมิให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่มิได้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดแสดงตนว่าเป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด มาตรา ๖๗ สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” เป็นสมาคมกีฬาทั่วไปที่จัดตั้งขึ้นโดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในระดับชาติ และได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” จากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ในกรณีที่นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาไม่อนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม สมาคมกีฬาทั่วไปที่ได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ต้องใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ประกอบในชื่อของสมาคมกีฬานั้น สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” อาจรับสมาชิกจากสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดสมาคมกีฬาทั่วไป ชมรม สโมสร องค์กร หรือบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมกีฬาซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” นั้น ในกรณีที่สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ให้สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” นั้นพิจารณาถึงชนิดกีฬาที่สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนั้นดำเนินกิจกรรมอยู่ประกอบการพิจารณารับสมัครสมาชิกด้วย มาตรา ๖๘ สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” สามารถดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา โดยส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย ในการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยตามวรรคหนึ่ง ต้องขออนุญาตจากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาเป็นรายกรณีไป ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๖๙ ห้ามมิให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่มิได้เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” แสดงตนว่าเป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ห้ามมิให้สมาคมกีฬาทั่วไป สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด คณะบุคคล หรือบุคคลใดใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใดที่แสดงว่าเป็นสมาคม คณะบุคคล หรือบุคคล ซึ่งดำเนินกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา ห้ามมิให้สมาคมกีฬาทั่วไป สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด คณะบุคคล หรือบุคคลใดเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคสองและวรรคสาม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด โดยให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม ส่วนที่ ๓ การดำเนินกิจการของสมาคมกีฬา มาตรา ๗๐ ให้สมาคมกีฬามีคณะกรรมการสมาคมกีฬาเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมกีฬาและเป็นผู้แทนของสมาคมกีฬาในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้ คณะกรรมการสมาคมกีฬาจะมอบหมายให้กรรมการสมาคมกีฬาคนหนึ่งคนใดหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ มาตรา ๗๑ กรรมการสมาคมกีฬาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสมาคมกีฬา และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (๑) มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์เหมาะสมกับการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาภายในขอบวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬานั้น (๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๓) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๕) ไม่เคยถูกนายทะเบียนสั่งให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการสมาคมกีฬาตามมาตรา ๘๖ (๔) เว้นแต่จะพ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันที่ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๗๒ สมาชิกของสมาคมกีฬาที่มีสิทธิออกเสียงจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกที่มีสิทธิออกเสียง มีสิทธิขอตรวจสอบกิจการและทรัพย์สินของสมาคมกีฬาได้ โดยยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อสมาคมกีฬานั้น มาตรา ๗๓ ห้ามมิให้สมาคมกีฬากระทำการใด ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) ดำเนินการด้วยประการใด ๆ อันอาจเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือนำความเสื่อมเสียมาสู่การกีฬาของชาติ (๒) กีดกันหรือขัดขวางมิให้ผู้ใดซึ่งมีคุณสมบัติที่จะเข้าเป็นสมาชิกได้ตามข้อบังคับของสมาคมกีฬาเข้าเป็นสมาชิก หรือบังคับด้วยประการใด ๆ ให้เข้าเป็นสมาชิกโดยผู้นั้นไม่สมัครใจหรือให้สมาชิกออกจากสมาคมกีฬาโดยเจตนาอันไม่สุจริตหรือขัดต่อข้อบังคับของสมาคมกีฬา (๓) เปิดเผยข้อมูล เอกสาร หรือข้อความอันเกี่ยวกับประโยชน์ได้เสียโดยเฉพาะของสมาชิกผู้ใดเว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสมาชิกผู้นั้น (๔) ให้หรือยอมให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่กรรมการสมาคมกีฬาดำเนินกิจการในหน้าที่ของกรรมการสมาคมกีฬานั้น (๕) หาผลกำไรหรือรายได้เพื่อมาแบ่งปันกัน (๖) ให้การสนับสนุนด้านการเงินหรือทรัพย์สินแก่นักการเมืองหรือพรรคการเมืองใด (๗) กีดกันหรือขัดขวางมิให้นักกีฬาเข้าแข่งขันกีฬาโดยมีเจตนาอันไม่สุจริตหรือขัดต่อข้อบังคับของสมาคมกีฬา ส่วนที่ ๔ การกำกับดูแลสมาคมกีฬา มาตรา ๗๔ สมาคมกีฬาต้องปฏิบัติตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด ในกรณีที่สมาคมกีฬาใดดำเนินการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้สมาคมกีฬานั้นแก้ไขหรือระงับการดำเนินการฝ่าฝืนดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๗๕ ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้กรรมการสมาคมกีฬาหรือสมาชิกมาชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของสมาคมกีฬา หรือให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือรายงานการประชุมของสมาคมกีฬาได้ มาตรา ๗๖ นายทะเบียนหรือพนักงานที่ผู้ว่าการมอบหมายอาจเข้าร่วมการประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬาและอาจชี้แจงแสดงข้อคิดเห็นแก่ที่ประชุมใหญ่ได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน มาตรา ๗๗ สมาคมกีฬาต้องจัดให้มีทะเบียนสมาชิกตามแบบที่นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬากำหนด และให้เก็บรักษาทะเบียนดังกล่าวพร้อมหลักฐานและเอกสารที่ใช้ประกอบการลงทะเบียนไว้ที่สำนักงานของสมาคมกีฬา เมื่อมีการรับสมาชิกใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับทะเบียนสมาชิก ให้สมาคมกีฬาแจ้งการรับสมาชิกใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงนั้นต่อนายทะเบียนภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่รับสมาชิกใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลง มาตรา ๗๘ ให้สมาคมกีฬาจัดทำงบดุลอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือนอันจัดว่าเป็นรอบปีในทางบัญชีของสมาคมกีฬานั้น งบดุลนั้นต้องมีรายการแสดงจำนวนสินทรัพย์และหนี้สินของสมาคมกีฬากับทั้งบัญชีรายรับรายจ่ายงบดุลต้องทำให้แล้วเสร็จและจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติต่อที่ประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬาภายในกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สิ้นปีการบัญชี มาตรา ๗๙ ให้สมาคมกีฬาจัดทำรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินการของสมาคมกีฬาเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ในคราวที่เสนองบดุล และให้ส่งสำเนารายงานกับงบดุลไปยังนายทะเบียนภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมใหญ่ มาตรา ๘๐ ผู้ใดประสงค์จะขอตรวจหรือคัดเอกสาร หรือขอให้คัดและรับรองสำเนาเอกสารเกี่ยวกับสมาคมกีฬา ให้ยื่นคำขอตามแบบที่นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬากำหนด มาตรา ๘๑ นอกเหนือจากการกำกับดูแลสมาคมกีฬาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๗๔ ถึงมาตรา ๘๐ เพื่อประโยชน์แก่การกำกับดูแลการดำเนินการของสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดและสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ให้นายทะเบียนมีอำนาจดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๒ ถึงมาตรา ๘๘ ด้วย มาตรา ๘๒ ในกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมกีฬา ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการสมาคมกีฬานั้นเรียกประชุมใหญ่วิสามัญหรือให้คณะกรรมการสมาคมกีฬามาประชุมกันเพื่อพิจารณาหรือวินิจฉัยปัญหาของสมาคมกีฬาได้ มาตรา ๘๓ เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าสมาคมกีฬาใดจะดำเนินการไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือนำความเสื่อมเสียมาสู่การกีฬาของชาติให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้สมาคมกีฬานั้นแจ้งวันและเวลาประชุมทุกคราวมาให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน ในกรณีเช่นนี้ให้นายทะเบียนหรือพนักงานที่ผู้ว่าการมอบหมายมีอำนาจเข้าไปฟังการประชุมได้ สมาคมกีฬาใดไม่แจ้งวันและเวลาประชุมตามคำสั่งของนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนดให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้สมาคมกีฬานั้นงดการประชุมได้ครั้งหนึ่งไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่ง ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้งดการประชุม ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหกมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๔ เมื่อสมาชิกของสมาคมกีฬาซึ่งมีสิทธิออกเสียงจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกซึ่งมีสิทธิออกเสียง กรรมการสมาคมกีฬาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการสมาคมกีฬาเท่าที่มีอยู่ หรือพนักงานซึ่งเข้าร่วมในการประชุมกรรมการสมาคมกีฬาหรือการประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬาร้องขอว่าการประชุมกรรมการสมาคมกีฬาหรือการประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬานั้น ได้นัดเรียกหรือได้ประชุมกันหรือได้ลงมติฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือข้อบังคับของสมาคมกีฬา ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนมติของที่ประชุมกรรมการสมาคมกีฬาหรือมติของที่ประชุมใหญ่ที่เกิดขึ้นในการประชุมที่ได้เรียกหรือได้ประชุมกันหรือได้ลงมติฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือข้อบังคับของสมาคมกีฬานั้นเสียได้ การร้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมกรรมการสมาคมกีฬาหรือมติของที่ประชุมใหญ่ตามวรรคหนึ่ง สมาชิกของสมาคมกีฬา กรรมการสมาคมกีฬา หรือพนักงาน ต้องร้องขอภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ประชุมลงมติ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้เพิกถอนมติของที่ประชุมตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๕ ในกรณีที่กรรมการสมาคมกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมกีฬากระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่สมาคมกีฬา หรือกระทำการในประการที่น่าจะทำให้ประเทศชาติเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ถ้าสมาคมกีฬาไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดี ให้นายทะเบียนร้องทุกข์หรือฟ้องคดีได้โดยให้พนักงานอัยการรับว่าต่างให้ก็ได้ การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากจะต้องมีค่าใช้จ่ายให้ทดรองจ่ายจากเงินกองทุน ให้สมาคมกีฬาชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการร้องทุกข์ การฟ้องคดี หรือการว่าต่างให้แก่กองทุนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี มาตรา ๘๖ ในกรณีที่คณะกรรมการสมาคมกีฬาหรือกรรมการสมาคมกีฬากระทำการหรืองดเว้นกระทำการในการปฏิบัติหน้าที่ของตนจนทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของสมาคมกีฬา หรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดในประการที่น่าจะนำความเสื่อมเสียมาสู่การกีฬาของชาติไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ปฏิบัติการ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาหรือกรรมการสมาคมกีฬาระงับการปฏิบัติการที่เป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสียประโยชน์ของสมาคมกีฬาหรือการกีฬาของชาติ (๒) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาหรือกรรมการสมาคมกีฬาแก้ไขข้อบกพร่องตามวิธีการและระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด (๓) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาหรือกรรมการสมาคมกีฬาหยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องนั้นให้เสร็จตามวิธีการและภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด (๔) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะหรือให้กรรมการสมาคมกีฬาซึ่งเกี่ยวข้องกับการนั้นพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหกมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๗ เมื่อนายทะเบียนสั่งให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้นายทะเบียนแต่งตั้งคณะกรรมการสมาคมกีฬาชั่วคราวขึ้นคณะหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ และมีสิทธิเช่นเดียวกับคณะกรรมการสมาคมกีฬา ในกรณีที่ไม่มีการอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๖ (๔) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาชั่วคราวจัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมกีฬาขึ้นใหม่ทั้งคณะให้เสร็จสิ้นภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง ในกรณีที่มีการอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๖ (๔) ห้ามมิให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมกีฬาขึ้นใหม่จนกว่าคณะกรรมการจะได้วินิจฉัยอุทธรณ์แล้วเสร็จและให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาชั่วคราวจัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมกีฬาขึ้นใหม่ทั้งคณะให้เสร็จสิ้นภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการอุทธรณ์ มาตรา ๘๘ เมื่อนายทะเบียนสั่งให้กรรมการสมาคมกีฬาคนใดพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ให้สมาคมกีฬาดำเนินการตั้งผู้เป็นกรรมการสมาคมกีฬาแทนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่กรรมการสมาคมกีฬาพ้นจากตำแหน่ง ถ้ามิได้ตั้งหรือตั้งไม่ได้ตามกำหนดเวลาและนายทะเบียนเห็นสมควร นายทะเบียนอาจแต่งตั้งสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นกรรมการสมาคมกีฬาแทน และให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งกรรมการสมาคมกีฬาเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน แต่ถ้าวาระของกรรมการสมาคมกีฬาผู้นั้นเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน สมาคมกีฬาจะตั้งกรรมการสมาคมกีฬาแทนหรือนายทะเบียนจะดำเนินการแต่งตั้งกรรมการสมาคมกีฬาแทนหรือไม่ก็ได้ ส่วนที่ ๕ การเลิกสมาคมกีฬา มาตรา ๘๙ สมาคมกีฬาย่อมเลิกด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อมีเหตุตามที่กำหนดในข้อบังคับของสมาคมกีฬา (๒) ถ้าสมาคมกีฬาตั้งขึ้นไว้เฉพาะระยะเวลาใด เมื่อสิ้นระยะเวลานั้น (๓) เมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก (๔) เมื่อสมาคมกีฬาล้มละลาย (๕) เมื่อนายทะเบียนถอนชื่อสมาคมกีฬาออกจากทะเบียนตามมาตรา ๙๐ (๖) ศาลสั่งให้เลิกตามมาตรา ๙๒ เมื่อเลิกสมาคมกีฬาตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศการเลิกสมาคมกีฬาในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙๐ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งถอนชื่อสมาคมกีฬาออกจากทะเบียนได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อปรากฏในภายหลังการจดทะเบียนว่า วัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่การกีฬาของชาติ และนายทะเบียนได้สั่งให้แก้ไขแล้วแต่สมาคมกีฬาไม่ปฏิบัติตามภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด (๒) เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของสมาคมกีฬาขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่การกีฬาของชาติ (๓) เมื่อสมาคมกีฬาหยุดดำเนินกิจการติดต่อกันตั้งแต่สองปีขึ้นไป (๔) เมื่อปรากฏว่าสมาคมกีฬาให้หรือปล่อยให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่กรรมการสมาคมกีฬาเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมกีฬา (๕) เมื่อสมาคมกีฬามีสมาชิกเหลือน้อยกว่าสิบรายมาเป็นเวลาติดต่อกันกว่าสองปี (๖) เมื่อสมาคมกีฬาไม่แก้ไขหรือระงับการดำเนินการตามที่นายทะเบียนสั่งตามมาตรา ๗๔ วรรคสอง และการฝ่าฝืนดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สมาคมกีฬาหรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่การกีฬาของชาติ ในกรณีที่สมาคมกีฬาตาม (๖) เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” นายทะเบียนจะเพิกถอนการอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” โดยไม่ถอนชื่อสมาคมกีฬานั้นออกจากทะเบียนก็ได้ มาตรา ๙๑ เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งให้ถอนชื่อสมาคมกีฬาใดออกจากทะเบียนตามมาตรา ๙๐ วรรคหนึ่ง หรือเพิกถอนการอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามมาตรา ๙๐ วรรคสองแล้ว ให้นายทะเบียนแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลไปยังสมาคมกีฬานั้นโดยมิชักช้า กรรมการสมาคมกีฬาคนหนึ่งคนใดหรือสมาชิกของสมาคมกีฬาจำนวนไม่น้อยกว่าสามรายมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งต่อคณะกรรมการได้ โดยให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๙๒ เมื่อมีกรณีตามมาตรา ๙๐ ผู้มีส่วนได้เสียอาจร้องขอให้นายทะเบียนถอนชื่อสมาคมกีฬาออกจากทะเบียนได้ ถ้านายทะเบียนไม่ปฏิบัติตามคำร้องขอ โดยไม่แจ้งเหตุผลให้ผู้ร้องขอทราบภายในเวลาอันสมควร หรือนายทะเบียนได้แจ้งเหตุผลให้ทราบแล้วแต่ผู้ร้องขอไม่พอใจในเหตุผลดังกล่าว ผู้ร้องขอนั้นจะร้องขอต่อศาลให้สั่งเลิกสมาคมกีฬานั้นเสียก็ได้ มาตรา ๙๓ เมื่อสมาคมกีฬามีเหตุต้องเลิกตามมาตรา ๘๙ ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการเลิกสมาคมกีฬาแจ้งการเลิกสมาคมกีฬาต่อนายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเลิกสมาคมกีฬา ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้สมาคมกีฬาล้มละลายตามมาตรา ๘๙ (๔) หรือมีคำสั่งถึงที่สุดให้เลิกสมาคมกีฬาตามมาตรา ๙๒ ให้ศาลแจ้งคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวให้นายทะเบียนทราบด้วย มาตรา ๙๔ เมื่อสมาคมกีฬาใดต้องเลิกไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้มีการชำระบัญชีสมาคมกีฬานั้นและให้นำความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๙๕ เมื่อได้ชำระบัญชีแล้ว ถ้ามีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใดจะแบ่งให้แก่สมาชิกของสมาคมกีฬานั้นไม่ได้ ทรัพย์สินที่เหลือนั้นจะต้องโอนให้แก่สมาคม มูลนิธิ หรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการสาธารณกุศล ตามที่ได้ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับของสมาคมกีฬาหรือถ้าข้อบังคับไม่ได้ระบุชื่อไว้ก็ให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมใหญ่ แต่ถ้าข้อบังคับของสมาคมกีฬาหรือที่ประชุมใหญ่มิได้ระบุผู้รับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไว้ หรือระบุไว้แต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ให้ทรัพย์สินที่เหลืออยู่นั้นตกเป็นของแผ่นดิน หมวด ๗ การร้องทุกข์และการสงเคราะห์ มาตรา ๙๖ พนักงานและลูกจ้างมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๙๗ ให้ กกท. จัดให้มีกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการของพนักงาน ลูกจ้าง และครอบครัว ในกรณีพ้นจากตำแหน่ง ประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย ตาย หรือกรณีอื่นอันควรแก่การสงเคราะห์ ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด การจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นตามวรรคหนึ่ง การกำหนดหลักเกณฑ์การออกเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ การกำหนดประเภทของผู้ที่พึงได้รับการสงเคราะห์และหลักเกณฑ์การสงเคราะห์ ตลอดจนการจัดการเกี่ยวกับกองทุนสงเคราะห์ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๘ การเงิน การบัญชี และการตรวจสอบ มาตรา ๙๘ กกท. ต้องทำงบประมาณประจำปี โดยให้แยกเป็นงบลงทุนและงบทำการ สำหรับงบลงทุนให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและให้ความเห็นชอบ ส่วนงบทำการให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ มาตรา ๙๙ รายได้ที่ กกท. ได้รับจากการดำเนินงานในปีหนึ่ง ๆ ให้ตกเป็นของ กกท. สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และเมื่อได้หักรายจ่ายสำหรับการดำเนินงาน ค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม รวมตลอดถึงค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคา เงินสำรองตามมาตรา ๑๒ และเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นตามมาตรา ๙๗ แล้ว เหลือเท่าใดให้สะสมไว้เป็นเงินสำหรับใช้จ่ายต่อไป มาตรา ๑๐๐ กกท. ต้องเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๐๑ กกท. ต้องวางและรักษาไว้ซึ่งระบบการบัญชีที่เหมาะสมตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป และให้มีการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำ มาตรา ๑๐๒ กกท. ต้องจัดทำงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน ส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี มาตรา ๑๐๓ ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบรับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของ กกท. ทุกปี มาตรา ๑๐๔ ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุดบัญชีและเอกสารหลักฐานของ กกท. เพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามประธานกรรมการ กรรมการ ผู้ว่าการ พนักงาน และลูกจ้างของ กกท. มาตรา ๑๐๕ ผู้สอบบัญชีต้องทำรายงานผลการสอบบัญชีและการเงินเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อยหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีเพื่อคณะกรรมการเสนอต่อรัฐมนตรี มาตรา ๑๐๖ ให้คณะกรรมการทำรายงานปีละครั้งเสนอต่อคณะรัฐมนตรี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของ กกท. ในปีที่ล่วงมา พร้อมทั้งคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการ โครงการ และแผนงานที่จะจัดทำในปีถัดไป ให้ กกท. โฆษณารายงานประจำปีที่สิ้นไป โดยแสดงงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีรับรองว่าถูกต้องแล้ว รวมทั้งรายงานสรุปผลงานในปีที่ล่วงมาภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของ กกท. หมวด ๙ การกำกับและควบคุม มาตรา ๑๐๗ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ กกท. เพื่อการนี้จะสั่งให้ กกท. ชี้แจงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของ กกท. ที่ขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี ตลอดจนมีอำนาจที่จะสั่งให้ปฏิบัติการตามนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการได้ มาตรา ๑๐๘ ในกรณีที่ กกท. ต้องเสนอเรื่องใด ๆ ไปยังคณะรัฐมนตรี ให้ กกท. นำเรื่องเสนอรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อไปยังคณะรัฐมนตรี มาตรา ๑๐๙ กกท. ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) กู้ยืมเงินหรือให้กู้ยืมเงินมีจำนวนเกินคราวละห้าล้านบาท (๒) จำหน่ายอสังหาริมทรัพย์อันมีราคาเกินหนึ่งล้านบาท หมวด ๑๐ บทกำหนดโทษ มาตรา ๑๑๐ ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนตามมาตรา ๓๗ ผู้ใดไม่ส่งเงินบำรุงกองทุน หรือส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับตั้งแต่ห้าเท่าถึงยี่สิบเท่าของเงินบำรุงกองทุนที่จะต้องนำส่ง หรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจเปรียบเทียบได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการเปรียบเทียบคดีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ มาใช้บังคับกับการเปรียบเทียบคดีตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม มาตรา ๑๑๑ ผู้ใดดำเนินกิจการของคณะบุคคลหรือสมาคมใดที่มิใช่สมาคมกีฬาโดยกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้บุคคลอื่นหลงเชื่อว่ากิจการนั้นเป็นสมาคมกีฬาที่ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๒ ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลหรือสมาคมใดที่ใช้ชื่อหรือแสดงออกว่าเป็นสมาคมกีฬา โดยรู้อยู่แล้วว่าคณะบุคคลหรือสมาคมนั้นมิได้เป็นสมาคมกีฬาที่ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๑๓ ผู้ใดโฆษณา ชี้ชวน หรือจัดการให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดเข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลหรือสมาคมที่ใช้ชื่อหรือแสดงออกว่าเป็นสมาคมกีฬา โดยที่มิได้จดทะเบียนเป็นสมาคมกีฬาตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๔ สมาคมกีฬาใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๑๕ สมาคมกีฬาใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๘ มาตรา ๕๙ มาตรา ๗๓ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) มาตรา ๗๗ มาตรา ๗๘ มาตรา ๗๙ หรือมาตรา ๙๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๑๖ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะเลิกใช้ มาตรา ๑๑๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๖ หรือมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๙ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๙ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท มาตรา ๑๒๐ สมาคมกีฬาใดไม่ยอมให้สมาชิกของสมาคมกีฬาตรวจสอบกิจการและทรัพย์สินของสมาคมกีฬานั้นตามมาตรา ๗๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๒๑ สมาคมกีฬาใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๓ (๑) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๒๒ สมาคมกีฬาใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๒๓ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๗๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๔ สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๓ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๕ กรรมการสมาคมกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมกีฬาผู้ใดกระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่สมาคมกีฬา หรือกระทำการในประการที่น่าจะทำให้ประเทศชาติเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๖ (๔) หรือยังขืนเป็นกรรมการหรือสมาชิกของสมาคมกีฬาที่เลิกตามมาตรา ๘๙ หรือตามมาตรา ๑๓๖ วรรคหนึ่งแล้ว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๗ ในกรณีที่คณะกรรมการของสมาคมกีฬาไม่แจ้งการเลิกสมาคมกีฬาต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง กรรมการของสมาคมกีฬานั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินคนละหนึ่งหมื่นบาท เว้นแต่กรรมการผู้ใดของสมาคมกีฬานั้นจะพิสูจน์ได้ว่าการที่มิได้แจ้งนั้นมิได้เกิดจากการกระทำของตน มาตรา ๑๒๘ ผู้ใดแบ่งหรือโอนทรัพย์สินที่เหลืออยู่เมื่อได้ชำระบัญชีแล้วให้แก่บุคคลใดอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๙๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๒๙ ให้คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการกีฬาจังหวัด ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการกีฬาจังหวัด แล้วแต่กรณีตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๐ ให้ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ดำรงตำแหน่งต่อไปจนครบวาระ มาตรา ๑๓๑ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ พนักงาน ลูกจ้าง และงบประมาณของการกีฬาแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ไปเป็นของการกีฬาแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๒ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยตามมาตรา ๑๒๙ หรือคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยตามมาตรา ๑๔ แล้วแต่กรณี ทำหน้าที่คณะกรรมการบริหารกองทุนไปพลางก่อนจนกว่าจะมีคณะกรรมการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๓ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ตลอดจนงบประมาณของกองทุนการศึกษาของนักกีฬาตามข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารกองทุนการศึกษาของนักกีฬา พ.ศ. ๒๕๔๗ กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติว่าด้วยการจัดการเงินกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๘ และกองทุนสวัสดิการนักกีฬาตามระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการนักกีฬาว่าด้วยการบริหารการใช้จ่ายเงินกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๕ ไปเป็นของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๔ ให้บรรดาสมาคมที่ได้รับอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ และได้จดทะเบียนเป็นสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นสมาคมกีฬาทั่วไปตามมาตรา ๖๒ (๑) แห่งพระราชบัญญัตินี้และให้นายทะเบียนสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขีดชื่อสมาคมนั้นออกจากทะเบียนสมาคม ให้สมาคมตามวรรคหนึ่งที่ได้รับอนุญาตจาก กกท. ให้จัดตั้งเป็นสมาคมกีฬาจังหวัดเป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดตามมาตรา ๖๒ (๒) แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้สมาคมตามวรรคหนึ่งที่ได้รับอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามมาตรา ๖๒ (๓) แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาให้แก่สมาคมตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาตรา ๑๓๕ ให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่ได้รับอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใดแสดงว่าเป็นคณะบุคคลหรือบุคคลซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยตามมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นคณะบุคคลหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๖๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขันหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหรือจัดการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยตามมาตรา ๕๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นคณะบุคคลหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๖๙ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๖ สมาคมที่ได้รับการรับรองให้เป็นสมาคมกีฬาตามมาตรา ๑๓๔ ต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงข้อบังคับและการดำเนินการต่าง ๆ ของสมาคมให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยหากไม่แก้ไขปรับปรุงหรือดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นอันเลิกและให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาขีดชื่อสมาคมนั้นออกจากทะเบียนสมาคมกีฬา ถ้าสมาคมไม่พอใจในคำสั่งของนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาที่ให้ขีดชื่อออกจากทะเบียนสมาคมกีฬาก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว และให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาส่งหนังสืออุทธรณ์ต่อไปยังคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ดังกล่าว ให้คณะกรรมการวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับหนังสืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด มาตรา ๑๓๗ บรรดาคำขออนุญาตจัดตั้งสมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง คำขออนุญาตใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใดแสดงว่าเป็นสมาคม สโมสร หรือคณะบุคคลซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยและคำอุทธรณ์การไม่อนุญาตตามคำขอดังกล่าวที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นคำขอจดทะเบียน คำขออนุญาต และคำอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี และหากจำเป็นนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาอาจขอให้ส่งเอกสารเพิ่มเติมได้ มาตรา ๑๓๘ บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ที่ออกตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน จัดตั้งสมาคมกีฬา ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๒) ใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน จัดตั้งสมาคมกีฬา ฉบับละ ๒๐๐ บาท (๓) ใบอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท (๔) ใบอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬา ที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท (๕) ใบอนุญาตอย่างอื่นนอกจาก (๓) และ (๔) ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๖) การตรวจหรือคัดเอกสารเกี่ยวกับสมาคมกีฬา ครั้งละ ๕๐ บาท (๗) การขอให้คัดและรับรองสำเนาเอกสาร เกี่ยวกับสมาคมกีฬา ครั้งละ ๕๐ บาท หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน จึงมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทยเสียใหม่ และกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติขึ้นในการกีฬาแห่งประเทศไทยเพื่อใช้ในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา คุ้มครอง ช่วยเหลือและจัดสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา เพื่อให้สมาคมที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาสามารถจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคมกีฬาได้ตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการในการกำกับดูแลการดำเนินการของสมาคมกีฬาและการกระทำการต่าง ๆ ของคณะกรรมการสมาคมกีฬาและกรรมการสมาคมกีฬา เพื่อให้การกำกับดูแลการดำเนินการของสมาคมกีฬาและการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๓/๒๕๕๙ เรื่อง การส่งเสริม สนับสนุน และปฏิรูปการกีฬาของประเทศ[๑๐] ข้อ ๔ ให้บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการกีฬามวยตามพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. ๒๕๔๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับกองทุนกีฬามวย และของคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพและกองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพตามพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ ใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนด ข้อ ๕ ให้การกีฬาแห่งประเทศไทยดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๘ เรื่อง ความคืบหน้าและการดำเนินการเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘ และคำสั่งนี้ ให้แล้วเสร็จภายในสองเดือนนับแต่วันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๖ ในกรณีเห็นสมควร นายกรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งนี้ได้ ข้อ ๗ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๑] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา ๔ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป มาตรา ๗ ให้กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) และ (๗) แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๘ เห็นชอบให้ควบรวมกองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพและกองทุนกีฬามวยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๓/๒๕๕๙ เรื่อง การส่งเสริม สนับสนุน และปฏิรูปการกีฬาของประเทศ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ และพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อควบรวมกองทุนทั้งสามกองทุนดังกล่าวแล้ว ในการนี้ เพื่อให้กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติสามารถดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬาตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย กฎหมายว่าด้วยกีฬามวย และกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกีฬาอาชีพได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับการควบรวมกองทุน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ รวมทั้งสมควรแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อให้มีความเหมาะสมและสามารถขับเคลื่อนการดำเนินการของการกีฬาแห่งประเทศไทยและกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้ทำการแทน ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้รักษาการแทน หรือผู้รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๖๒[๑๒] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันกฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจหลายฉบับได้กำหนดให้ผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจเป็นกรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจโดยตำแหน่ง และกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ทำการแทน ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้รักษาการแทน หรือผู้รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ ในกรณีที่ตำแหน่งผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจนั้นว่างลง หรือในกรณีที่ผู้บริหารนั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยจำกัดอำนาจหน้าที่ของบุคคลที่ทำหน้าที่แทนผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจดังกล่าวมิให้มีอำนาจหน้าที่ในฐานะกรรมการ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อองค์ประกอบและการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว สมควรแก้ไขกฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจให้ผู้ทำการแทน ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้รักษาการแทน หรือผู้รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ รวมถึงอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารในฐานะกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒[๑๓] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๑๖ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง และมติของคณะรัฐมนตรีใดที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ อ้างถึง “กระทรวงศึกษาธิการ” “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ” “ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ” หรือผู้ดำรงตำแหน่ง หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวงศึกษาธิการ หากเกี่ยวกับการอุดมศึกษาหรือการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ถือว่าบทบัญญัตินั้นอ้างถึง “กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” “ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” หรือผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ให้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสภาหรือคณะกรรมการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโอนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นส่วนราชการตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง เพื่อให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่และการเปลี่ยนแปลงผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในบัญชี ๔ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองไม่ใช้บังคับแก่สถาบันการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา มาตรา ๑๗ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญเติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สมควรจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมขึ้น เพื่อให้มีการบูรณาการ การเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่นเข้าด้วยกัน และให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยในทิศทางที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผน และนโยบายในการพัฒนาประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ นุสรา/ปรับปรุง ๒๖ เมษายน ๒๕๖๒ ชญานิศ/เพิ่มเติม ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒ วิชพงษ์/ตรวจ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๒๑ ก/หน้า ๑/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘ [๒] มาตรา ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๓] มาตรา ๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้ทำการแทน ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้รักษาการแทน หรือผู้รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๖๒ [๔] มาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง (๗/๑) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๕] มาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง (๗/๒) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๖] มาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง (๗/๓) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๗] มาตรา ๔๒ (๗) เพิ่มโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๓/๒๕๕๙ เรื่อง การส่งเสริม สนับสนุน และปฏิรูปการกีฬาของประเทศ [๘] มาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง (๕/๑) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๙] มาตรา ๔๘/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๓๘ ง/หน้า ๖/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๐๖ ก/หน้า ๑/๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ [๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๕๐ ก/หน้า ๒๙/๑๖ เมษายน ๒๕๖๒ [๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๕๗ ก/หน้า ๑/๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
833476
พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ณ วันที่ 16/04/2562)
พระราชบัญญัติ การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ (๒) พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “บุคลากรกีฬา” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการกีฬา เช่น ผู้ตัดสิน ผู้ฝึกสอนและผู้บริหารองค์กรด้านกีฬา ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด “ภาษี” หมายความว่า ภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “สมาคมกีฬา” หมายความว่า สมาคมกีฬาที่ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาและได้จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย “ผู้ว่าการ” หมายความว่า ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย “รองผู้ว่าการ” หมายความว่า รองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย “พนักงาน” หมายความว่า พนักงานของการกีฬาแห่งประเทศไทย และหมายความรวมถึงรองผู้ว่าการด้วย “ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างของการกีฬาแห่งประเทศไทย “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา นายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำกรุงเทพมหานคร หรือนายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ และกำหนดกิจการอื่น หรือออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงหรือระเบียบนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ การจัดตั้ง ทุน และทุนสำรอง มาตรา ๖ ให้จัดตั้งองค์การขึ้นเรียกว่า “การกีฬาแห่งประเทศไทย” เรียกโดยย่อว่า “กกท.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “SPORTS AUTHORITY OF THAILAND” เรียกโดยย่อว่า “SAT” และให้มีตราเครื่องหมายของ “กกท.” รูปลักษณะตราเครื่องหมายตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง มาตรา ๗ ให้ กกท. เป็นนิติบุคคล มีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดใกล้เคียงและจะจัดตั้งสำนักงานสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใดภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรก็ได้ แต่การตั้งสำนักงานสาขาภายนอกราชอาณาจักรต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี มาตรา ๘ กกท. มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมการกีฬา (๒) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานเกี่ยวกับการกีฬา (๓) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และจัดทำโครงการ แผนงาน และสถิติเกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬา รวมทั้งประเมินผล (๔) จัด ช่วยเหลือ แนะนำ และร่วมมือในการจัดและดำเนินกิจกรรมกีฬา (๕) สำรวจ จัดสร้าง และบูรณะสถานที่สำหรับการกีฬา (๖) ติดต่อร่วมมือกับองค์การหรือสมาคมกีฬาทั้งในและนอกราชอาณาจักร (๗) สอดส่องและกำกับดูแลการดำเนินกิจกรรมกีฬา (๘) ริเริ่ม พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการกีฬาคนพิการ (๙) ประกอบกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวแก่หรือเพื่อประโยชน์ของการกีฬา มาตรา ๙ ให้ กกท. มีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๘ และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ถือกรรมสิทธิ์ หรือมีสิทธิครอบครอง หรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง ทำการแลกเปลี่ยน โอน รับโอน หรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักรตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๒) กู้ยืมเงินภายในและภายนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด (๓) ให้กู้ยืมเงินโดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แก่กิจการของ กกท. ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๐ ทุนของ กกท. ประกอบด้วย (๑) เงินและทรัพย์สินที่โอนมาตามมาตรา ๑๓๑ (๒) เงินที่ได้จากงบประมาณแผ่นดินให้เป็นทุนหรือเพื่อดำเนินงาน (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๔) เงินรายได้ตามมาตรา ๙๙ มาตรา ๑๑ กกท. อาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้ (๑) รายได้จากทรัพย์สินของ กกท. (๒) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๓) รายได้จากการจัดการแข่งขันกีฬา (๔) รายได้อื่น มาตรา ๑๒ เงินสำรองของ กกท. ให้ประกอบด้วยเงินสำรองธรรมดาซึ่งตั้งไว้เผื่อขาดเงินสำรองเพื่อการไถ่ถอนหนี้สินและเงินสำรองอื่น ๆ ตามความประสงค์แต่ละอย่างโดยเฉพาะตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร เงินสำรองธรรมดาจะนำออกใช้ได้ก็แต่โดยมติของคณะกรรมการ มาตรา ๑๓ ทรัพย์สินของ กกท. ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี หมวด ๒ คณะกรรมการและผู้ว่าการ มาตรา ๑๔[๒] ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย” ประกอบด้วย (๑) นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ (๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการ (๓) ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปลัดกระทรวงมหาดไทย และปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ (๔) ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ (๕) ผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๖) ผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๗) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกินสามคน โดยให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านกฎหมาย การแพทย์ การบริหารการกีฬาหรือวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นกรรมการ ให้ผู้ว่าการเป็นกรรมการและเลขานุการ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตาม (๕) และ (๖) ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๕ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) และ (๗) ต้องไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างและต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจด้วย มาตรา ๑๖ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) และ (๗) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปีและอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ดำเนินการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการประเภทเดียวกันแทนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงสามสิบวัน จะไม่เลือกหรือแต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ ในกรณีที่กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) หรือ (๗) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๗) เพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้เลือกหรือแต่งตั้งไว้แล้ว เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) หรือ (๗) ขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๖ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) และ (๗) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ขาดการประชุมคณะกรรมการเกินสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร (๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๕ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) หรือ (๖) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด แล้วแต่กรณี กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๗) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ออก ในกรณีที่กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) หรือ (๗) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่ตำแหน่งผู้ว่าการว่างลงและยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งแทน ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่ แต่จะต้องมีจำนวนกรรมการรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด มาตรา ๑๘ เพื่อประโยชน์แห่งกิจการของ กกท. ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดของ กกท. แล้วรายงานต่อคณะกรรมการ มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ กกท. อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ออกข้อบังคับหรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรา ๘ และมาตรา ๙ (๒) ออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการดำเนินกิจการของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริหารกองทุน และคณะอนุกรรมการ (๓) ออกข้อบังคับว่าด้วยการจัดแบ่งส่วนงานและการบริหารงานของ กกท. (๔) ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของผู้ว่าการ และการมอบให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนผู้ว่าการ (๕) ออกข้อบังคับกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และเงินอื่น ๆ ของพนักงานและลูกจ้าง (๖) ออกข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือนหรือค่าจ้าง การพ้นจากตำแหน่งวินัย การลงโทษ และการอุทธรณ์การลงโทษพนักงานและลูกจ้าง (๗) ออกระเบียบว่าด้วยการร้องทุกข์ของพนักงานและลูกจ้าง (๘) ออกข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการของพนักงาน ลูกจ้าง และครอบครัว (๙) ออกข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทน ให้แก่ประธานกรรมการ กรรมการผู้ว่าการ พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ปฏิบัติงานให้แก่ กกท. โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๑๐) ออกระเบียบว่าด้วยเครื่องแบบผู้ว่าการ พนักงาน และลูกจ้าง (๑๑) ออกระเบียบว่าด้วยการเงินและการบริหารเงินรายได้ของ กกท. (๑๒) ออกระเบียบว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การบริหารกองทุนและการจัดหาผลประโยชน์ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๑๓) จำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญ ข้อบังคับหรือระเบียบตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีข้อความจำกัดอำนาจของผู้ว่าการในการทำนิติกรรมไว้ประการใด ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งผู้ว่าการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มาตรา ๒๑ ผู้ว่าการนอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจแล้วยังต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในธุรกิจการกีฬา (๒) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับ กกท. หรือในกิจการที่กระทำให้แก่ กกท. ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่เป็นเพียงผู้ถือหุ้นเพื่อการลงทุนโดยสุจริตในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดหรือเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในกิจการที่กระทำการอันมีส่วนได้เสียเช่นว่านั้น หรือเป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เป็นประธานกรรมการ กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้ดำเนินกิจการในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ กกท. เป็นผู้ถือหุ้น มาตรา ๒๒ ผู้ว่าการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑ (๕) คณะกรรมการมีมติเห็นสมควรให้เลิกจ้าง (๖) สัญญาจ้างสิ้นสุดลง มติของคณะกรรมการให้เลิกจ้างตาม (๕) ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่นอกจากผู้ว่าการ และให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ มาตรา ๒๓ ผู้ว่าการมีหน้าที่บริหารกิจการของ กกท. ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ กกท. และตามนโยบาย ข้อบังคับ และระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดกับมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่ง ผู้ว่าการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของ กกท. มาตรา ๒๔ ผู้ว่าการมีอำนาจ (๑) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนให้พนักงานและลูกจ้างออกจากตำแหน่งตามข้อบังคับหรือระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าเป็นพนักงานหรือลูกจ้างชั้นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการฝ่าย หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน (๒) กำหนดเงื่อนไขในการทำงานของพนักงานและลูกจ้าง และออกระเบียบการปฏิบัติงานของ กกท. โดยไม่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับหรือระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๒๕ ให้รองผู้ว่าการมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่งรองจากผู้ว่าการและมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของ กกท. ตามที่ผู้ว่าการมอบหมาย มาตรา ๒๖[๓] ในกรณีที่ผู้ว่าการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อตำแหน่งผู้ว่าการว่างลงและยังมิได้แต่งตั้งผู้ว่าการ ให้รองผู้ว่าการรักษาการแทนผู้ว่าการ ถ้าไม่มีรองผู้ว่าการหรือรองผู้ว่าการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งพนักงานคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทนผู้ว่าการ ในการปฏิบัติหน้าที่ของรองผู้ว่าการหรือผู้รักษาการแทนผู้ว่าการตามวรรคหนึ่ง ให้รองผู้ว่าการหรือผู้รักษาการแทนผู้ว่าการมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ว่าการ มาตรา ๒๗ ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้ว่าการเป็นผู้แทนของ กกท. และเพื่อการนี้ผู้ว่าการจะมอบอำนาจให้บุคคลใด ๆ ปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด นิติกรรมที่ผู้ว่าการกระทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบตามมาตรา ๑๙ ย่อมไม่ผูกพัน กกท. มาตรา ๒๘ ให้ประธานกรรมการและกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หมวด ๓ คณะกรรมการกีฬาจังหวัด มาตรา ๒๙ ในแต่ละจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการกีฬาจังหวัด และให้สำนักงาน กกท. จังหวัด ทำหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการ งานประชุม การศึกษาข้อมูลและกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการกีฬาจังหวัด มาตรา ๓๐ คณะกรรมการกีฬาจังหวัดประกอบด้วย (๑) ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ (๒) รองผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ (๓) ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด เป็นกรรมการ (๔) ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนั้น จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๕) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มิใช่องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวนหนึ่งคนเป็นกรรมการ (๖) ผู้แทนองค์กรเอกชนในจังหวัดนั้น จำนวนสองคน เป็นกรรมการ (๗) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คนแต่ไม่เกินแปดคนเป็นกรรมการ โดยต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านกีฬาคนพิการอย่างน้อยหนึ่งคน ให้ผู้อำนวยการสำนักงาน กกท. จังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ หลักเกณฑ์และวิธีการในการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตาม (๔) (๕) (๖) และ (๗) ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๑ คณะกรรมการกีฬาจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอนโยบาย แผนงาน และโครงการส่งเสริมกีฬาภายในจังหวัดต่อคณะกรรมการ (๒) ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ กกท. ตามมาตรา ๘ (๓) ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ และสนับสนุน กกท. สมาคมกีฬา และหน่วยงานกีฬาที่เกี่ยวข้องในการแข่งขันกีฬาและการดำเนินกิจกรรมกีฬาของจังหวัด (๔) ออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ (๕) ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย มาตรา ๓๒ ให้นำมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการกีฬาจังหวัดโดยอนุโลม หมวด ๔ การส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา มาตรา ๓๓ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา คณะกรรมการมีอำนาจให้ทุน ทรัพย์สิน หรือสิทธิประโยชน์อื่น แก่คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา นักกีฬา หรือบุคลากรกีฬาเพื่อใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา ตลอดจนให้คณะกรรมการมีอำนาจให้การสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬาได้ด้วย การให้ทุน ทรัพย์สิน หรือสิทธิประโยชน์อื่น ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬาตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการจะกำหนดเงื่อนไขในการให้ไว้ด้วยก็ได้ หลักเกณฑ์การพิจารณาและการกำหนดประเภทของบุคคลซึ่งพึงได้รับทุน ทรัพย์สิน หรือสิทธิประโยชน์อื่น ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา หรือการสงเคราะห์อื่นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๔ คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา นักกีฬา หรือบุคลากรกีฬาใดประสงค์จะขอรับทุน ทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ หรือการสงเคราะห์อื่นตามมาตรา ๓๓ ให้ยื่นคำขอต่อ กกท. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๕ ในกรณีที่คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา นักกีฬา หรือบุคลากรกีฬาที่ได้รับทุน ทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ หรือการสงเคราะห์อื่นตามมาตรา ๓๓ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งยกเลิกการให้ทุน ทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ หรือการสงเคราะห์อื่นทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ถ้าคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า การที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนั้นมิได้เป็นการกระทำโดยจงใจ คณะกรรมการจะเตือนเป็นหนังสือให้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดก็ได้ และเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา นักกีฬา หรือบุคลากรกีฬานั้นมิได้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง ให้คณะกรรมการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หมวด ๕ กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ มาตรา ๓๖ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ” ใน กกท. เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเพื่อการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา คุ้มครอง ช่วยเหลือและจัดสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา โดยประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินบำรุงกองทุนที่จัดเก็บตามมาตรา ๓๗ (๒) เงินและทรัพย์สินที่โอนมาตามมาตรา ๑๓๓ (๓) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ (๔) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็น (๕) เงินรายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน (๖) รายได้ที่เกิดจากการดำเนินการของกองทุน (๗) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๗/๑)[๔] เงินที่โอนมาโดยผลของกฎหมาย (๗/๒)[๕] เงินที่ได้จากค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยกีฬามวย (๗/๓)[๖] เงินค่าปรับทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกีฬาอาชีพ (๘) รายได้อื่น ๆ ให้ กกท. เก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุนและดำเนินการเบิกจ่ายเงินกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ เงินและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งให้เป็นของ กกท. เพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนโดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน มาตรา ๓๗ ให้กองทุนมีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละสองของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในการคำนวณเงินบำรุงกองทุนตามอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่ง หากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง มาตรา ๓๘ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บและส่งเงินบำรุงกองทุน (๑) ให้กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรเป็นผู้ดำเนินการเรียกเก็บเงินบำรุงกองทุน เพื่อนำส่งเป็นรายได้ของกองทุน โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด (๒) เงินบำรุงกองทุนให้ถือเป็นภาษี แต่ไม่ให้นำไปรวมคำนวณเป็นมูลค่าของภาษี มาตรา ๓๙ ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนตามอัตราที่กำหนดตามมาตรา ๓๗ พร้อมกับการชำระภาษีตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบได้รับการยกเว้นหรือคืนภาษี ให้ได้รับการยกเว้นหรือคืนเงินบำรุงกองทุนด้วย ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ส่งเงินบำรุงกองทุนหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนด หรือส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง นอกจากจะมีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้เสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่ส่งหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนดหรือจำนวนเงินที่ส่งขาดไป แล้วแต่กรณี นับแต่วันครบกำหนดส่งจนถึงวันที่ส่งเงินบำรุงกองทุน แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนเงินบำรุงกองทุนและให้ถือว่าเงินเพิ่มนี้เป็นเงินบำรุงกองทุนด้วย ในการคำนวณระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน มาตรา ๔๒ เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมกีฬาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานักกีฬา บุคลากรกีฬา และสมาคมกีฬา (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการเตรียมนักกีฬาเพื่อให้เป็นนักกีฬาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ (๔) สนับสนุนเงินรางวัลแก่นักกีฬา บุคลากรกีฬา และสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ซึ่งประกอบคุณความดีแก่การกีฬาของชาติหรือนำชื่อเสียงเกียรติภูมิมาสู่ประเทศชาติ (๕) สนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬา (๖) ช่วยเหลือด้านสวัสดิการแก่นักกีฬา บุคลากรกีฬา และผู้ซึ่งประสบอุบัติเหตุ หรือได้รับความเสียหายหรืออันตรายจากการแข่งขันกีฬา และกรณีอื่นอันควรแก่การสงเคราะห์ (๗)[๗] ส่งเสริมและสนับสนุนกีฬามวยตามกฎหมายว่าด้วยกีฬามวย และกีฬาอาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกีฬาอาชีพ นอกจากการใช้จ่ายเงินกองทุนตามวรรคหนึ่ง ให้จัดสรรเงินกองทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๓ ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย (๑) รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ (๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง (๓) ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สอง (๔) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สาม (๕) ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ (๖) ผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๗) ผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๘) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากบุคคลที่ไม่เป็นพนักงานจำนวนสองคน โดยให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านเศรษฐศาสตร์หรือการเงินจำนวนหนึ่งคนและด้านการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์การกีฬาจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ผู้ว่าการเป็นกรรมการบริหารกองทุนและเลขานุการ กรรมการบริหารกองทุนตาม (๖) (๗) และ (๘) จะดำรงตำแหน่งกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) หรือ (๗) ในขณะเดียวกันมิได้ หลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และวิธีการในการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนตาม (๖) (๗) และ (๘) ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๔ กรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) (๗) และ (๘) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ ในกรณีที่กรรมการบริหารกองทุนตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้ดำเนินการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนประเภทเดียวกันแทนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการบริหารกองทุนว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการบริหารกองทุนเหลือไม่ถึงสามสิบวัน จะไม่เลือกหรือแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนแทนก็ได้ และให้ผู้ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) (๗) หรือ (๘) ขึ้นใหม่ ให้กรรมการบริหารกองทุนซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการบริหารกองทุนซึ่งได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๔๕ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๔๔ กรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) (๗) และ (๘) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะกรรมการให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ (๔) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๗) ขาดคุณสมบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๔๓ กรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) หรือ (๗) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด แล้วแต่กรณี ในกรณีที่กรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) (๗) หรือ (๘) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระหรือในกรณีที่ตำแหน่งผู้ว่าการว่างลงและยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งแทน ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนประกอบด้วยกรรมการบริหารกองทุนเท่าที่เหลืออยู่ แต่จะต้องมีจำนวนกรรมการบริหารกองทุนรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการบริหารกองทุนทั้งหมด มาตรา ๔๖ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) บริหารกองทุนรวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์และการจัดการกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (๒) พิจารณาอนุมัติโครงการที่ขอรับการส่งเสริมหรือสนับสนุนจากกองทุนและติดตามผลการดำเนินการของโครงการดังกล่าว (๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้เงินรางวัลแก่นักกีฬา บุคลากรกีฬา และสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” (๔) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ทุนการศึกษา และอนุมัติทุนการศึกษาแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬา (๕) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือด้านสวัสดิการแก่บุคคลตามมาตรา ๔๒ (๖) (๕/๑)[๘] กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินของกองทุนเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนกีฬามวยตามกฎหมายว่าด้วยกีฬามวย และกีฬาอาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกีฬาอาชีพ (๖) รายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนต่อคณะกรรมการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (๗) วางระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการบริหารกองทุนอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนมอบหมายก็ได้ มาตรา ๔๗ การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การบริหารกองทุน และการจัดหาผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๘ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนจัดทำงบดุลและบัญชีทำการส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนทุกรอบปีแล้วทำรายงานผลการสอบและรับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีเพื่อคณะกรรมการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ มาตรา ๔๘/๑[๙] ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนทำรายงานประจำปีของกองทุนเสนอคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเพื่อทราบภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของกองทุนในปีที่ล่วงมาแล้ว พร้อมทั้งงบการเงิน และรายงานของผู้สอบบัญชี หมวด ๖ สมาคมกีฬา ส่วนที่ ๑ การจัดตั้งสมาคมกีฬา มาตรา ๔๙ สมาคมกีฬาจะมีขึ้นได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ สมาคมกีฬาตามวรรคหนึ่งต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาโดยมีการจัดการแข่งขันกีฬาหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน และอาจมีการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา มาตรา ๕๐ สมาคมกีฬาต้องมีข้อบังคับและต้องจดทะเบียน เมื่อได้จดทะเบียนแล้วให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล มาตรา ๕๑ ให้จัดตั้งสำนักงานกลางทะเบียนสมาคมกีฬาขึ้นใน กกท. เพื่อควบคุมการจดทะเบียนเป็นสมาคมกีฬาทั่วราชอาณาจักร และทำหน้าที่เป็นสำนักงานทะเบียนสมาคมกีฬาประจำกรุงเทพมหานคร ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้สำนักงาน กกท. จังหวัด ทำหน้าที่เป็นสำนักงานทะเบียนสมาคมกีฬาประจำจังหวัด ให้ผู้ว่าการหรือผู้ซึ่งผู้ว่าการมอบหมายเป็นนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาและนายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำกรุงเทพมหานคร และให้ผู้อำนวยการสำนักงาน กกท. จังหวัด หรือผู้ซึ่งผู้ว่าการมอบหมายเป็นนายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำจังหวัด มาตรา ๕๒ ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สามารถขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาได้ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕๓ การขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคนยื่นคำขอพร้อมด้วยข้อบังคับของสมาคมกีฬาอย่างน้อยสามฉบับต่อนายทะเบียนประจำท้องที่ที่จะตั้งสำนักงาน คุณสมบัติของผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคมกีฬา หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำขอจดทะเบียนและการจดทะเบียนให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๕๔ ในการขอจดทะเบียน ถ้าได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๓ มีข้อบังคับถูกต้องตามมาตรา ๕๖ และข้อบังคับนั้นไม่ขัดต่อกฎหมายและวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬากับทั้งผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคมกีฬาทุกคนมีคุณสมบัติถูกต้องตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดตามมาตรา ๕๓ วรรคสอง ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนได้ และให้ออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนตามแบบที่คณะกรรมการประกาศกำหนดให้แก่สมาคมกีฬานั้น การจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาและการเลิกสมาคมกีฬา ให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถ้านายทะเบียนเห็นว่าในการขอจดทะเบียนมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ผู้ยื่นคำขอแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เมื่อได้แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงถูกต้องแล้ว ให้นายทะเบียนออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่สมาคมกีฬานั้น ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามวรรคสามภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งนายทะเบียน หรือหากนายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นว่า วัตถุประสงค์ตามที่ยื่นคำขอมิได้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๙ วรรคสอง ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและแจ้งคำสั่งไม่รับจดทะเบียนพร้อมด้วยเหตุผลไปยังผู้ขอจดทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำขอ ให้ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว และให้นายทะเบียนส่งหนังสืออุทธรณ์ต่อไปยังคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ดังกล่าว ให้คณะกรรมการวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับหนังสืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด มาตรา ๕๕ ในกรณีที่ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้นายทะเบียนออกใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้เมื่อสมาคมกีฬาร้องขอ การขอรับใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การออกใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนและแบบใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๕๖ ข้อบังคับของสมาคมกีฬาอย่างน้อยต้องมีข้อความเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อ ซึ่งต้องมีคำว่า “สมาคมกีฬา” กำกับไว้กับชื่อนั้นด้วย (๒) วัตถุประสงค์ (๓) ที่ตั้งสำนักงานและวันเวลาเปิดทำการ (๔) วิธีการรับสมาชิกและการขาดจากสมาชิกภาพ (๕) ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก (๖) อัตราค่าบำรุง (๗) ข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการสมาคมกีฬา ได้แก่ จำนวนกรรมการ การตั้งกรรมการวาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมคณะกรรมการสมาคมกีฬา (๘) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการสมาคมกีฬา การบัญชี และทรัพย์สินของสมาคมกีฬา (๙) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ (๑๐) ข้อกำหนดอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา การกำหนดระยะเวลาของวาระการดำรงตำแหน่งตาม (๗) ของกรรมการสมาคมกีฬาทั่วไปและสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ต้องกำหนดให้ไม่เกินสี่ปี การกำหนดระยะเวลาของวาระการดำรงตำแหน่งตาม (๗) ของกรรมการสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ชนิดกีฬาใด ต้องกำหนดให้สอดคล้องกับระยะเวลาของวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการบริหารสหพันธ์กีฬานานาชาติของชนิดกีฬานั้นด้วย มาตรา ๕๗ สมาคมกีฬาต้องใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า “สมาคมกีฬา” ประกอบกับชื่อของสมาคมกีฬา มาตรา ๕๘ การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมกีฬาจะกระทำได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่ และต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานของสมาคมกีฬาตั้งอยู่ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติ เมื่อนายทะเบียนได้จดทะเบียนแล้วให้มีผลใช้บังคับได้ การยื่นคำขอจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด นายทะเบียนมีอำนาจไม่รับจดทะเบียนการแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมกีฬาได้เมื่อเห็นว่าการแก้ไขหรือเพิ่มเติมนั้นขัดต่อวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาหรือขัดต่อกฎหมาย ในกรณีที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนการแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมกีฬา ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๕๙ การแต่งตั้งกรรมการสมาคมกีฬาขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมกีฬา ให้กระทำตามข้อบังคับของสมาคมกีฬานั้น และสมาคมกีฬาต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานของสมาคมกีฬาตั้งอยู่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมกีฬานั้น ถ้านายทะเบียนเห็นว่ากรรมการสมาคมกีฬาตามวรรคหนึ่งผู้ใด มีฐานะ ความประพฤติ หรือคุณสมบัติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาหรือกระบวนการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมกีฬาขัดต่อกฎหมายหรือข้อบังคับของสมาคมกีฬา นายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียนกรรมการสมาคมกีฬาผู้นั้นก็ได้ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนกรรมการสมาคมกีฬานายทะเบียนต้องแจ้งเหตุผลที่ไม่รับจดทะเบียนให้สมาคมกีฬาทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน โดยให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในระหว่างที่ยังไม่มีการจดทะเบียนกรรมการสมาคมกีฬาชุดใหม่ หากข้อบังคับของสมาคมกีฬามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้กรรมการสมาคมกีฬาชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่กรรมการสมาคมกีฬาต่อไปจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนกรรมการสมาคมกีฬาชุดใหม่ มาตรา ๖๐ ห้ามมิให้บุคคลใดใช้ชื่อที่มีอักษรไทยประกอบว่า “สมาคมกีฬา” หรืออักษรต่างประเทศซึ่งแปลหรืออ่านว่า “สมาคมกีฬา” ในดวงตรา ป้ายชื่อ หรือเอกสารต่าง ๆ โดยมิได้เป็นสมาคมกีฬา เว้นแต่เป็นการใช้ในการขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา มาตรา ๖๑ ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาสอบถามหรือให้ส่งเอกสารมาเพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาได้ ส่วนที่ ๒ ประเภทของสมาคมกีฬา มาตรา ๖๒ สมาคมกีฬาแบ่งออกเป็นสามประเภท คือ (๑) สมาคมกีฬาทั่วไป (๒) สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด (๓) สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” มาตรา ๖๓ สมาคมกีฬาทั่วไปเป็นสมาคมกีฬาที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาแก่สมาชิกเป็นการทั่วไป มาตรา ๖๔ สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเป็นสมาคมกีฬาทั่วไปที่จัดตั้งขึ้นในแต่ละจังหวัด โดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และมีการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาซึ่งมีความหลากหลายของชนิดกีฬาและได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดจากนายทะเบียนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ในกรณีที่นายทะเบียนไม่อนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหกมาใช้บังคับโดยอนุโลม สมาคมกีฬาทั่วไปที่ได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ต้องใช้คำว่า “สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด” ประกอบในชื่อของสมาคมกีฬานั้น สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดอาจรับสมาชิกจากสมาคมกีฬาทั่วไป ชมรม สโมสร องค์กร หรือบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมกีฬาซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนั้น มาตรา ๖๕ สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามมาตรา ๖๔ สามารถดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา โดยส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาหรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของจังหวัด มาตรา ๖๖ ห้ามมิให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่มิได้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดแสดงตนว่าเป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด มาตรา ๖๗ สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” เป็นสมาคมกีฬาทั่วไปที่จัดตั้งขึ้นโดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในระดับชาติ และได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” จากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ในกรณีที่นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาไม่อนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม สมาคมกีฬาทั่วไปที่ได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ต้องใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ประกอบในชื่อของสมาคมกีฬานั้น สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” อาจรับสมาชิกจากสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดสมาคมกีฬาทั่วไป ชมรม สโมสร องค์กร หรือบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมกีฬาซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” นั้น ในกรณีที่สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ให้สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” นั้นพิจารณาถึงชนิดกีฬาที่สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนั้นดำเนินกิจกรรมอยู่ประกอบการพิจารณารับสมัครสมาชิกด้วย มาตรา ๖๘ สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” สามารถดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา โดยส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย ในการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยตามวรรคหนึ่ง ต้องขออนุญาตจากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาเป็นรายกรณีไป ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๖๙ ห้ามมิให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่มิได้เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” แสดงตนว่าเป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ห้ามมิให้สมาคมกีฬาทั่วไป สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด คณะบุคคล หรือบุคคลใดใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใดที่แสดงว่าเป็นสมาคม คณะบุคคล หรือบุคคล ซึ่งดำเนินกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา ห้ามมิให้สมาคมกีฬาทั่วไป สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด คณะบุคคล หรือบุคคลใดเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคสองและวรรคสาม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด โดยให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม ส่วนที่ ๓ การดำเนินกิจการของสมาคมกีฬา มาตรา ๗๐ ให้สมาคมกีฬามีคณะกรรมการสมาคมกีฬาเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมกีฬาและเป็นผู้แทนของสมาคมกีฬาในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้ คณะกรรมการสมาคมกีฬาจะมอบหมายให้กรรมการสมาคมกีฬาคนหนึ่งคนใดหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ มาตรา ๗๑ กรรมการสมาคมกีฬาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสมาคมกีฬา และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (๑) มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์เหมาะสมกับการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาภายในขอบวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬานั้น (๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๓) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๕) ไม่เคยถูกนายทะเบียนสั่งให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการสมาคมกีฬาตามมาตรา ๘๖ (๔) เว้นแต่จะพ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันที่ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๗๒ สมาชิกของสมาคมกีฬาที่มีสิทธิออกเสียงจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกที่มีสิทธิออกเสียง มีสิทธิขอตรวจสอบกิจการและทรัพย์สินของสมาคมกีฬาได้ โดยยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อสมาคมกีฬานั้น มาตรา ๗๓ ห้ามมิให้สมาคมกีฬากระทำการใด ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) ดำเนินการด้วยประการใด ๆ อันอาจเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือนำความเสื่อมเสียมาสู่การกีฬาของชาติ (๒) กีดกันหรือขัดขวางมิให้ผู้ใดซึ่งมีคุณสมบัติที่จะเข้าเป็นสมาชิกได้ตามข้อบังคับของสมาคมกีฬาเข้าเป็นสมาชิก หรือบังคับด้วยประการใด ๆ ให้เข้าเป็นสมาชิกโดยผู้นั้นไม่สมัครใจหรือให้สมาชิกออกจากสมาคมกีฬาโดยเจตนาอันไม่สุจริตหรือขัดต่อข้อบังคับของสมาคมกีฬา (๓) เปิดเผยข้อมูล เอกสาร หรือข้อความอันเกี่ยวกับประโยชน์ได้เสียโดยเฉพาะของสมาชิกผู้ใดเว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสมาชิกผู้นั้น (๔) ให้หรือยอมให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่กรรมการสมาคมกีฬาดำเนินกิจการในหน้าที่ของกรรมการสมาคมกีฬานั้น (๕) หาผลกำไรหรือรายได้เพื่อมาแบ่งปันกัน (๖) ให้การสนับสนุนด้านการเงินหรือทรัพย์สินแก่นักการเมืองหรือพรรคการเมืองใด (๗) กีดกันหรือขัดขวางมิให้นักกีฬาเข้าแข่งขันกีฬาโดยมีเจตนาอันไม่สุจริตหรือขัดต่อข้อบังคับของสมาคมกีฬา ส่วนที่ ๔ การกำกับดูแลสมาคมกีฬา มาตรา ๗๔ สมาคมกีฬาต้องปฏิบัติตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด ในกรณีที่สมาคมกีฬาใดดำเนินการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้สมาคมกีฬานั้นแก้ไขหรือระงับการดำเนินการฝ่าฝืนดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๗๕ ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้กรรมการสมาคมกีฬาหรือสมาชิกมาชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของสมาคมกีฬา หรือให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือรายงานการประชุมของสมาคมกีฬาได้ มาตรา ๗๖ นายทะเบียนหรือพนักงานที่ผู้ว่าการมอบหมายอาจเข้าร่วมการประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬาและอาจชี้แจงแสดงข้อคิดเห็นแก่ที่ประชุมใหญ่ได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน มาตรา ๗๗ สมาคมกีฬาต้องจัดให้มีทะเบียนสมาชิกตามแบบที่นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬากำหนด และให้เก็บรักษาทะเบียนดังกล่าวพร้อมหลักฐานและเอกสารที่ใช้ประกอบการลงทะเบียนไว้ที่สำนักงานของสมาคมกีฬา เมื่อมีการรับสมาชิกใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับทะเบียนสมาชิก ให้สมาคมกีฬาแจ้งการรับสมาชิกใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงนั้นต่อนายทะเบียนภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่รับสมาชิกใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลง มาตรา ๗๘ ให้สมาคมกีฬาจัดทำงบดุลอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือนอันจัดว่าเป็นรอบปีในทางบัญชีของสมาคมกีฬานั้น งบดุลนั้นต้องมีรายการแสดงจำนวนสินทรัพย์และหนี้สินของสมาคมกีฬากับทั้งบัญชีรายรับรายจ่ายงบดุลต้องทำให้แล้วเสร็จและจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติต่อที่ประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬาภายในกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สิ้นปีการบัญชี มาตรา ๗๙ ให้สมาคมกีฬาจัดทำรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินการของสมาคมกีฬาเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ในคราวที่เสนองบดุล และให้ส่งสำเนารายงานกับงบดุลไปยังนายทะเบียนภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมใหญ่ มาตรา ๘๐ ผู้ใดประสงค์จะขอตรวจหรือคัดเอกสาร หรือขอให้คัดและรับรองสำเนาเอกสารเกี่ยวกับสมาคมกีฬา ให้ยื่นคำขอตามแบบที่นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬากำหนด มาตรา ๘๑ นอกเหนือจากการกำกับดูแลสมาคมกีฬาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๗๔ ถึงมาตรา ๘๐ เพื่อประโยชน์แก่การกำกับดูแลการดำเนินการของสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดและสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ให้นายทะเบียนมีอำนาจดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๒ ถึงมาตรา ๘๘ ด้วย มาตรา ๘๒ ในกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมกีฬา ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการสมาคมกีฬานั้นเรียกประชุมใหญ่วิสามัญหรือให้คณะกรรมการสมาคมกีฬามาประชุมกันเพื่อพิจารณาหรือวินิจฉัยปัญหาของสมาคมกีฬาได้ มาตรา ๘๓ เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าสมาคมกีฬาใดจะดำเนินการไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือนำความเสื่อมเสียมาสู่การกีฬาของชาติให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้สมาคมกีฬานั้นแจ้งวันและเวลาประชุมทุกคราวมาให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน ในกรณีเช่นนี้ให้นายทะเบียนหรือพนักงานที่ผู้ว่าการมอบหมายมีอำนาจเข้าไปฟังการประชุมได้ สมาคมกีฬาใดไม่แจ้งวันและเวลาประชุมตามคำสั่งของนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนดให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้สมาคมกีฬานั้นงดการประชุมได้ครั้งหนึ่งไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่ง ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้งดการประชุม ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหกมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๔ เมื่อสมาชิกของสมาคมกีฬาซึ่งมีสิทธิออกเสียงจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกซึ่งมีสิทธิออกเสียง กรรมการสมาคมกีฬาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการสมาคมกีฬาเท่าที่มีอยู่ หรือพนักงานซึ่งเข้าร่วมในการประชุมกรรมการสมาคมกีฬาหรือการประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬาร้องขอว่าการประชุมกรรมการสมาคมกีฬาหรือการประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬานั้น ได้นัดเรียกหรือได้ประชุมกันหรือได้ลงมติฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือข้อบังคับของสมาคมกีฬา ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนมติของที่ประชุมกรรมการสมาคมกีฬาหรือมติของที่ประชุมใหญ่ที่เกิดขึ้นในการประชุมที่ได้เรียกหรือได้ประชุมกันหรือได้ลงมติฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือข้อบังคับของสมาคมกีฬานั้นเสียได้ การร้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมกรรมการสมาคมกีฬาหรือมติของที่ประชุมใหญ่ตามวรรคหนึ่ง สมาชิกของสมาคมกีฬา กรรมการสมาคมกีฬา หรือพนักงาน ต้องร้องขอภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ประชุมลงมติ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้เพิกถอนมติของที่ประชุมตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๕ ในกรณีที่กรรมการสมาคมกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมกีฬากระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่สมาคมกีฬา หรือกระทำการในประการที่น่าจะทำให้ประเทศชาติเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ถ้าสมาคมกีฬาไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดี ให้นายทะเบียนร้องทุกข์หรือฟ้องคดีได้โดยให้พนักงานอัยการรับว่าต่างให้ก็ได้ การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากจะต้องมีค่าใช้จ่ายให้ทดรองจ่ายจากเงินกองทุน ให้สมาคมกีฬาชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการร้องทุกข์ การฟ้องคดี หรือการว่าต่างให้แก่กองทุนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี มาตรา ๘๖ ในกรณีที่คณะกรรมการสมาคมกีฬาหรือกรรมการสมาคมกีฬากระทำการหรืองดเว้นกระทำการในการปฏิบัติหน้าที่ของตนจนทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของสมาคมกีฬา หรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดในประการที่น่าจะนำความเสื่อมเสียมาสู่การกีฬาของชาติไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ปฏิบัติการ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาหรือกรรมการสมาคมกีฬาระงับการปฏิบัติการที่เป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสียประโยชน์ของสมาคมกีฬาหรือการกีฬาของชาติ (๒) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาหรือกรรมการสมาคมกีฬาแก้ไขข้อบกพร่องตามวิธีการและระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด (๓) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาหรือกรรมการสมาคมกีฬาหยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องนั้นให้เสร็จตามวิธีการและภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด (๔) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะหรือให้กรรมการสมาคมกีฬาซึ่งเกี่ยวข้องกับการนั้นพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหกมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๗ เมื่อนายทะเบียนสั่งให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้นายทะเบียนแต่งตั้งคณะกรรมการสมาคมกีฬาชั่วคราวขึ้นคณะหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ และมีสิทธิเช่นเดียวกับคณะกรรมการสมาคมกีฬา ในกรณีที่ไม่มีการอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๖ (๔) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาชั่วคราวจัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมกีฬาขึ้นใหม่ทั้งคณะให้เสร็จสิ้นภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง ในกรณีที่มีการอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๖ (๔) ห้ามมิให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมกีฬาขึ้นใหม่จนกว่าคณะกรรมการจะได้วินิจฉัยอุทธรณ์แล้วเสร็จและให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาชั่วคราวจัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมกีฬาขึ้นใหม่ทั้งคณะให้เสร็จสิ้นภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการอุทธรณ์ มาตรา ๘๘ เมื่อนายทะเบียนสั่งให้กรรมการสมาคมกีฬาคนใดพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ให้สมาคมกีฬาดำเนินการตั้งผู้เป็นกรรมการสมาคมกีฬาแทนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่กรรมการสมาคมกีฬาพ้นจากตำแหน่ง ถ้ามิได้ตั้งหรือตั้งไม่ได้ตามกำหนดเวลาและนายทะเบียนเห็นสมควร นายทะเบียนอาจแต่งตั้งสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นกรรมการสมาคมกีฬาแทน และให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งกรรมการสมาคมกีฬาเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน แต่ถ้าวาระของกรรมการสมาคมกีฬาผู้นั้นเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน สมาคมกีฬาจะตั้งกรรมการสมาคมกีฬาแทนหรือนายทะเบียนจะดำเนินการแต่งตั้งกรรมการสมาคมกีฬาแทนหรือไม่ก็ได้ ส่วนที่ ๕ การเลิกสมาคมกีฬา มาตรา ๘๙ สมาคมกีฬาย่อมเลิกด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อมีเหตุตามที่กำหนดในข้อบังคับของสมาคมกีฬา (๒) ถ้าสมาคมกีฬาตั้งขึ้นไว้เฉพาะระยะเวลาใด เมื่อสิ้นระยะเวลานั้น (๓) เมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก (๔) เมื่อสมาคมกีฬาล้มละลาย (๕) เมื่อนายทะเบียนถอนชื่อสมาคมกีฬาออกจากทะเบียนตามมาตรา ๙๐ (๖) ศาลสั่งให้เลิกตามมาตรา ๙๒ เมื่อเลิกสมาคมกีฬาตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศการเลิกสมาคมกีฬาในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙๐ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งถอนชื่อสมาคมกีฬาออกจากทะเบียนได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อปรากฏในภายหลังการจดทะเบียนว่า วัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่การกีฬาของชาติ และนายทะเบียนได้สั่งให้แก้ไขแล้วแต่สมาคมกีฬาไม่ปฏิบัติตามภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด (๒) เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของสมาคมกีฬาขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่การกีฬาของชาติ (๓) เมื่อสมาคมกีฬาหยุดดำเนินกิจการติดต่อกันตั้งแต่สองปีขึ้นไป (๔) เมื่อปรากฏว่าสมาคมกีฬาให้หรือปล่อยให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่กรรมการสมาคมกีฬาเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมกีฬา (๕) เมื่อสมาคมกีฬามีสมาชิกเหลือน้อยกว่าสิบรายมาเป็นเวลาติดต่อกันกว่าสองปี (๖) เมื่อสมาคมกีฬาไม่แก้ไขหรือระงับการดำเนินการตามที่นายทะเบียนสั่งตามมาตรา ๗๔ วรรคสอง และการฝ่าฝืนดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สมาคมกีฬาหรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่การกีฬาของชาติ ในกรณีที่สมาคมกีฬาตาม (๖) เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” นายทะเบียนจะเพิกถอนการอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” โดยไม่ถอนชื่อสมาคมกีฬานั้นออกจากทะเบียนก็ได้ มาตรา ๙๑ เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งให้ถอนชื่อสมาคมกีฬาใดออกจากทะเบียนตามมาตรา ๙๐ วรรคหนึ่ง หรือเพิกถอนการอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามมาตรา ๙๐ วรรคสองแล้ว ให้นายทะเบียนแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลไปยังสมาคมกีฬานั้นโดยมิชักช้า กรรมการสมาคมกีฬาคนหนึ่งคนใดหรือสมาชิกของสมาคมกีฬาจำนวนไม่น้อยกว่าสามรายมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งต่อคณะกรรมการได้ โดยให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๙๒ เมื่อมีกรณีตามมาตรา ๙๐ ผู้มีส่วนได้เสียอาจร้องขอให้นายทะเบียนถอนชื่อสมาคมกีฬาออกจากทะเบียนได้ ถ้านายทะเบียนไม่ปฏิบัติตามคำร้องขอ โดยไม่แจ้งเหตุผลให้ผู้ร้องขอทราบภายในเวลาอันสมควร หรือนายทะเบียนได้แจ้งเหตุผลให้ทราบแล้วแต่ผู้ร้องขอไม่พอใจในเหตุผลดังกล่าว ผู้ร้องขอนั้นจะร้องขอต่อศาลให้สั่งเลิกสมาคมกีฬานั้นเสียก็ได้ มาตรา ๙๓ เมื่อสมาคมกีฬามีเหตุต้องเลิกตามมาตรา ๘๙ ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการเลิกสมาคมกีฬาแจ้งการเลิกสมาคมกีฬาต่อนายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเลิกสมาคมกีฬา ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้สมาคมกีฬาล้มละลายตามมาตรา ๘๙ (๔) หรือมีคำสั่งถึงที่สุดให้เลิกสมาคมกีฬาตามมาตรา ๙๒ ให้ศาลแจ้งคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวให้นายทะเบียนทราบด้วย มาตรา ๙๔ เมื่อสมาคมกีฬาใดต้องเลิกไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้มีการชำระบัญชีสมาคมกีฬานั้นและให้นำความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๙๕ เมื่อได้ชำระบัญชีแล้ว ถ้ามีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใดจะแบ่งให้แก่สมาชิกของสมาคมกีฬานั้นไม่ได้ ทรัพย์สินที่เหลือนั้นจะต้องโอนให้แก่สมาคม มูลนิธิ หรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการสาธารณกุศล ตามที่ได้ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับของสมาคมกีฬาหรือถ้าข้อบังคับไม่ได้ระบุชื่อไว้ก็ให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมใหญ่ แต่ถ้าข้อบังคับของสมาคมกีฬาหรือที่ประชุมใหญ่มิได้ระบุผู้รับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไว้ หรือระบุไว้แต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ให้ทรัพย์สินที่เหลืออยู่นั้นตกเป็นของแผ่นดิน หมวด ๗ การร้องทุกข์และการสงเคราะห์ มาตรา ๙๖ พนักงานและลูกจ้างมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๙๗ ให้ กกท. จัดให้มีกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการของพนักงาน ลูกจ้าง และครอบครัว ในกรณีพ้นจากตำแหน่ง ประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย ตาย หรือกรณีอื่นอันควรแก่การสงเคราะห์ ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด การจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นตามวรรคหนึ่ง การกำหนดหลักเกณฑ์การออกเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ การกำหนดประเภทของผู้ที่พึงได้รับการสงเคราะห์และหลักเกณฑ์การสงเคราะห์ ตลอดจนการจัดการเกี่ยวกับกองทุนสงเคราะห์ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๘ การเงิน การบัญชี และการตรวจสอบ มาตรา ๙๘ กกท. ต้องทำงบประมาณประจำปี โดยให้แยกเป็นงบลงทุนและงบทำการ สำหรับงบลงทุนให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและให้ความเห็นชอบ ส่วนงบทำการให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ มาตรา ๙๙ รายได้ที่ กกท. ได้รับจากการดำเนินงานในปีหนึ่ง ๆ ให้ตกเป็นของ กกท. สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และเมื่อได้หักรายจ่ายสำหรับการดำเนินงาน ค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม รวมตลอดถึงค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคา เงินสำรองตามมาตรา ๑๒ และเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นตามมาตรา ๙๗ แล้ว เหลือเท่าใดให้สะสมไว้เป็นเงินสำหรับใช้จ่ายต่อไป มาตรา ๑๐๐ กกท. ต้องเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๐๑ กกท. ต้องวางและรักษาไว้ซึ่งระบบการบัญชีที่เหมาะสมตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป และให้มีการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำ มาตรา ๑๐๒ กกท. ต้องจัดทำงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน ส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี มาตรา ๑๐๓ ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบรับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของ กกท. ทุกปี มาตรา ๑๐๔ ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุดบัญชีและเอกสารหลักฐานของ กกท. เพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามประธานกรรมการ กรรมการ ผู้ว่าการ พนักงาน และลูกจ้างของ กกท. มาตรา ๑๐๕ ผู้สอบบัญชีต้องทำรายงานผลการสอบบัญชีและการเงินเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อยหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีเพื่อคณะกรรมการเสนอต่อรัฐมนตรี มาตรา ๑๐๖ ให้คณะกรรมการทำรายงานปีละครั้งเสนอต่อคณะรัฐมนตรี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของ กกท. ในปีที่ล่วงมา พร้อมทั้งคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการ โครงการ และแผนงานที่จะจัดทำในปีถัดไป ให้ กกท. โฆษณารายงานประจำปีที่สิ้นไป โดยแสดงงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีรับรองว่าถูกต้องแล้ว รวมทั้งรายงานสรุปผลงานในปีที่ล่วงมาภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของ กกท. หมวด ๙ การกำกับและควบคุม มาตรา ๑๐๗ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ กกท. เพื่อการนี้จะสั่งให้ กกท. ชี้แจงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของ กกท. ที่ขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี ตลอดจนมีอำนาจที่จะสั่งให้ปฏิบัติการตามนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการได้ มาตรา ๑๐๘ ในกรณีที่ กกท. ต้องเสนอเรื่องใด ๆ ไปยังคณะรัฐมนตรี ให้ กกท. นำเรื่องเสนอรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อไปยังคณะรัฐมนตรี มาตรา ๑๐๙ กกท. ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) กู้ยืมเงินหรือให้กู้ยืมเงินมีจำนวนเกินคราวละห้าล้านบาท (๒) จำหน่ายอสังหาริมทรัพย์อันมีราคาเกินหนึ่งล้านบาท หมวด ๑๐ บทกำหนดโทษ มาตรา ๑๑๐ ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนตามมาตรา ๓๗ ผู้ใดไม่ส่งเงินบำรุงกองทุน หรือส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับตั้งแต่ห้าเท่าถึงยี่สิบเท่าของเงินบำรุงกองทุนที่จะต้องนำส่ง หรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจเปรียบเทียบได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการเปรียบเทียบคดีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ มาใช้บังคับกับการเปรียบเทียบคดีตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม มาตรา ๑๑๑ ผู้ใดดำเนินกิจการของคณะบุคคลหรือสมาคมใดที่มิใช่สมาคมกีฬาโดยกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้บุคคลอื่นหลงเชื่อว่ากิจการนั้นเป็นสมาคมกีฬาที่ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๒ ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลหรือสมาคมใดที่ใช้ชื่อหรือแสดงออกว่าเป็นสมาคมกีฬา โดยรู้อยู่แล้วว่าคณะบุคคลหรือสมาคมนั้นมิได้เป็นสมาคมกีฬาที่ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๑๓ ผู้ใดโฆษณา ชี้ชวน หรือจัดการให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดเข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลหรือสมาคมที่ใช้ชื่อหรือแสดงออกว่าเป็นสมาคมกีฬา โดยที่มิได้จดทะเบียนเป็นสมาคมกีฬาตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๔ สมาคมกีฬาใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๑๕ สมาคมกีฬาใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๘ มาตรา ๕๙ มาตรา ๗๓ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) มาตรา ๗๗ มาตรา ๗๘ มาตรา ๗๙ หรือมาตรา ๙๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๑๖ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะเลิกใช้ มาตรา ๑๑๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๖ หรือมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๙ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๙ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท มาตรา ๑๒๐ สมาคมกีฬาใดไม่ยอมให้สมาชิกของสมาคมกีฬาตรวจสอบกิจการและทรัพย์สินของสมาคมกีฬานั้นตามมาตรา ๗๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๒๑ สมาคมกีฬาใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๓ (๑) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๒๒ สมาคมกีฬาใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๒๓ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๗๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๔ สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๓ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๕ กรรมการสมาคมกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมกีฬาผู้ใดกระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่สมาคมกีฬา หรือกระทำการในประการที่น่าจะทำให้ประเทศชาติเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๖ (๔) หรือยังขืนเป็นกรรมการหรือสมาชิกของสมาคมกีฬาที่เลิกตามมาตรา ๘๙ หรือตามมาตรา ๑๓๖ วรรคหนึ่งแล้ว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๗ ในกรณีที่คณะกรรมการของสมาคมกีฬาไม่แจ้งการเลิกสมาคมกีฬาต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง กรรมการของสมาคมกีฬานั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินคนละหนึ่งหมื่นบาท เว้นแต่กรรมการผู้ใดของสมาคมกีฬานั้นจะพิสูจน์ได้ว่าการที่มิได้แจ้งนั้นมิได้เกิดจากการกระทำของตน มาตรา ๑๒๘ ผู้ใดแบ่งหรือโอนทรัพย์สินที่เหลืออยู่เมื่อได้ชำระบัญชีแล้วให้แก่บุคคลใดอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๙๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๒๙ ให้คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการกีฬาจังหวัด ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการกีฬาจังหวัด แล้วแต่กรณีตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๐ ให้ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ดำรงตำแหน่งต่อไปจนครบวาระ มาตรา ๑๓๑ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ พนักงาน ลูกจ้าง และงบประมาณของการกีฬาแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ไปเป็นของการกีฬาแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๒ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยตามมาตรา ๑๒๙ หรือคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยตามมาตรา ๑๔ แล้วแต่กรณี ทำหน้าที่คณะกรรมการบริหารกองทุนไปพลางก่อนจนกว่าจะมีคณะกรรมการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๓ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ตลอดจนงบประมาณของกองทุนการศึกษาของนักกีฬาตามข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารกองทุนการศึกษาของนักกีฬา พ.ศ. ๒๕๔๗ กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติว่าด้วยการจัดการเงินกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๘ และกองทุนสวัสดิการนักกีฬาตามระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการนักกีฬาว่าด้วยการบริหารการใช้จ่ายเงินกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๕ ไปเป็นของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๔ ให้บรรดาสมาคมที่ได้รับอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ และได้จดทะเบียนเป็นสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นสมาคมกีฬาทั่วไปตามมาตรา ๖๒ (๑) แห่งพระราชบัญญัตินี้และให้นายทะเบียนสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขีดชื่อสมาคมนั้นออกจากทะเบียนสมาคม ให้สมาคมตามวรรคหนึ่งที่ได้รับอนุญาตจาก กกท. ให้จัดตั้งเป็นสมาคมกีฬาจังหวัดเป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดตามมาตรา ๖๒ (๒) แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้สมาคมตามวรรคหนึ่งที่ได้รับอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามมาตรา ๖๒ (๓) แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาให้แก่สมาคมตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาตรา ๑๓๕ ให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่ได้รับอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใดแสดงว่าเป็นคณะบุคคลหรือบุคคลซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยตามมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นคณะบุคคลหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๖๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขันหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหรือจัดการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยตามมาตรา ๕๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นคณะบุคคลหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๖๙ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๖ สมาคมที่ได้รับการรับรองให้เป็นสมาคมกีฬาตามมาตรา ๑๓๔ ต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงข้อบังคับและการดำเนินการต่าง ๆ ของสมาคมให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยหากไม่แก้ไขปรับปรุงหรือดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นอันเลิกและให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาขีดชื่อสมาคมนั้นออกจากทะเบียนสมาคมกีฬา ถ้าสมาคมไม่พอใจในคำสั่งของนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาที่ให้ขีดชื่อออกจากทะเบียนสมาคมกีฬาก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว และให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาส่งหนังสืออุทธรณ์ต่อไปยังคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ดังกล่าว ให้คณะกรรมการวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับหนังสืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด มาตรา ๑๓๗ บรรดาคำขออนุญาตจัดตั้งสมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง คำขออนุญาตใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใดแสดงว่าเป็นสมาคม สโมสร หรือคณะบุคคลซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยและคำอุทธรณ์การไม่อนุญาตตามคำขอดังกล่าวที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นคำขอจดทะเบียน คำขออนุญาต และคำอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี และหากจำเป็นนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาอาจขอให้ส่งเอกสารเพิ่มเติมได้ มาตรา ๑๓๘ บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ที่ออกตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน จัดตั้งสมาคมกีฬา ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๒) ใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน จัดตั้งสมาคมกีฬา ฉบับละ ๒๐๐ บาท (๓) ใบอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท (๔) ใบอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬา ที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท (๕) ใบอนุญาตอย่างอื่นนอกจาก (๓) และ (๔) ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๖) การตรวจหรือคัดเอกสารเกี่ยวกับสมาคมกีฬา ครั้งละ ๕๐ บาท (๗) การขอให้คัดและรับรองสำเนาเอกสาร เกี่ยวกับสมาคมกีฬา ครั้งละ ๕๐ บาท หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน จึงมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทยเสียใหม่ และกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติขึ้นในการกีฬาแห่งประเทศไทยเพื่อใช้ในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา คุ้มครอง ช่วยเหลือและจัดสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา เพื่อให้สมาคมที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาสามารถจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคมกีฬาได้ตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการในการกำกับดูแลการดำเนินการของสมาคมกีฬาและการกระทำการต่าง ๆ ของคณะกรรมการสมาคมกีฬาและกรรมการสมาคมกีฬา เพื่อให้การกำกับดูแลการดำเนินการของสมาคมกีฬาและการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๓/๒๕๕๙ เรื่อง การส่งเสริม สนับสนุน และปฏิรูปการกีฬาของประเทศ[๑๐] ข้อ ๔ ให้บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการกีฬามวยตามพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. ๒๕๔๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับกองทุนกีฬามวย และของคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพและกองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพตามพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ ใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนด ข้อ ๕ ให้การกีฬาแห่งประเทศไทยดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๘ เรื่อง ความคืบหน้าและการดำเนินการเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘ และคำสั่งนี้ ให้แล้วเสร็จภายในสองเดือนนับแต่วันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๖ ในกรณีเห็นสมควร นายกรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งนี้ได้ ข้อ ๗ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๑] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา ๔ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป มาตรา ๗ ให้กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) และ (๗) แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๘ เห็นชอบให้ควบรวมกองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพและกองทุนกีฬามวยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๓/๒๕๕๙ เรื่อง การส่งเสริม สนับสนุน และปฏิรูปการกีฬาของประเทศ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ และพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อควบรวมกองทุนทั้งสามกองทุนดังกล่าวแล้ว ในการนี้ เพื่อให้กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติสามารถดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬาตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย กฎหมายว่าด้วยกีฬามวย และกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกีฬาอาชีพได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับการควบรวมกองทุน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ รวมทั้งสมควรแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อให้มีความเหมาะสมและสามารถขับเคลื่อนการดำเนินการของการกีฬาแห่งประเทศไทยและกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้ทำการแทน ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้รักษาการแทน หรือผู้รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๖๒[๑๒] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันกฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจหลายฉบับได้กำหนดให้ผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจเป็นกรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจโดยตำแหน่ง และกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ทำการแทน ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้รักษาการแทน หรือผู้รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ ในกรณีที่ตำแหน่งผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจนั้นว่างลง หรือในกรณีที่ผู้บริหารนั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยจำกัดอำนาจหน้าที่ของบุคคลที่ทำหน้าที่แทนผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจดังกล่าวมิให้มีอำนาจหน้าที่ในฐานะกรรมการ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อองค์ประกอบและการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว สมควรแก้ไขกฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจให้ผู้ทำการแทน ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้รักษาการแทน หรือผู้รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ รวมถึงอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารในฐานะกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ นุสรา/ปรับปรุง ๒๖ เมษายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๒๑ ก/หน้า ๑/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘ [๒] มาตรา ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] มาตรา ๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้ทำการแทน ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้รักษาการแทน หรือผู้รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๖๒ [๔] มาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง (๗/๑) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๕] มาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง (๗/๒) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๖] มาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง (๗/๓) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๗] มาตรา ๔๒ (๗) เพิ่มโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๓/๒๕๕๙ เรื่อง การส่งเสริม สนับสนุน และปฏิรูปการกีฬาของประเทศ [๘] มาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง (๕/๑) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๙] มาตรา ๔๘/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๓๘ ง/หน้า ๖/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๐๖ ก/หน้า ๑/๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ [๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๕๐ ก/หน้า ๒๙/๑๖ เมษายน ๒๕๖๒
850118
พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ณ วันที่ 10/10/2560)
พระราชบัญญัติ การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ (๒) พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “บุคลากรกีฬา” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการกีฬา เช่น ผู้ตัดสิน ผู้ฝึกสอนและผู้บริหารองค์กรด้านกีฬา ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด “ภาษี” หมายความว่า ภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “สมาคมกีฬา” หมายความว่า สมาคมกีฬาที่ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาและได้จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย “ผู้ว่าการ” หมายความว่า ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย “รองผู้ว่าการ” หมายความว่า รองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย “พนักงาน” หมายความว่า พนักงานของการกีฬาแห่งประเทศไทย และหมายความรวมถึงรองผู้ว่าการด้วย “ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างของการกีฬาแห่งประเทศไทย “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา นายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำกรุงเทพมหานคร หรือนายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ และกำหนดกิจการอื่น หรือออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงหรือระเบียบนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ การจัดตั้ง ทุน และทุนสำรอง มาตรา ๖ ให้จัดตั้งองค์การขึ้นเรียกว่า “การกีฬาแห่งประเทศไทย” เรียกโดยย่อว่า “กกท.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “SPORTS AUTHORITY OF THAILAND” เรียกโดยย่อว่า “SAT” และให้มีตราเครื่องหมายของ “กกท.” รูปลักษณะตราเครื่องหมายตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง มาตรา ๗ ให้ กกท. เป็นนิติบุคคล มีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดใกล้เคียงและจะจัดตั้งสำนักงานสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใดภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรก็ได้ แต่การตั้งสำนักงานสาขาภายนอกราชอาณาจักรต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี มาตรา ๘ กกท. มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมการกีฬา (๒) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานเกี่ยวกับการกีฬา (๓) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และจัดทำโครงการ แผนงาน และสถิติเกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬา รวมทั้งประเมินผล (๔) จัด ช่วยเหลือ แนะนำ และร่วมมือในการจัดและดำเนินกิจกรรมกีฬา (๕) สำรวจ จัดสร้าง และบูรณะสถานที่สำหรับการกีฬา (๖) ติดต่อร่วมมือกับองค์การหรือสมาคมกีฬาทั้งในและนอกราชอาณาจักร (๗) สอดส่องและกำกับดูแลการดำเนินกิจกรรมกีฬา (๘) ริเริ่ม พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการกีฬาคนพิการ (๙) ประกอบกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวแก่หรือเพื่อประโยชน์ของการกีฬา มาตรา ๙ ให้ กกท. มีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๘ และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ถือกรรมสิทธิ์ หรือมีสิทธิครอบครอง หรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง ทำการแลกเปลี่ยน โอน รับโอน หรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักรตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๒) กู้ยืมเงินภายในและภายนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด (๓) ให้กู้ยืมเงินโดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แก่กิจการของ กกท. ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๐ ทุนของ กกท. ประกอบด้วย (๑) เงินและทรัพย์สินที่โอนมาตามมาตรา ๑๓๑ (๒) เงินที่ได้จากงบประมาณแผ่นดินให้เป็นทุนหรือเพื่อดำเนินงาน (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๔) เงินรายได้ตามมาตรา ๙๙ มาตรา ๑๑ กกท. อาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้ (๑) รายได้จากทรัพย์สินของ กกท. (๒) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๓) รายได้จากการจัดการแข่งขันกีฬา (๔) รายได้อื่น มาตรา ๑๒ เงินสำรองของ กกท. ให้ประกอบด้วยเงินสำรองธรรมดาซึ่งตั้งไว้เผื่อขาดเงินสำรองเพื่อการไถ่ถอนหนี้สินและเงินสำรองอื่น ๆ ตามความประสงค์แต่ละอย่างโดยเฉพาะตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร เงินสำรองธรรมดาจะนำออกใช้ได้ก็แต่โดยมติของคณะกรรมการ มาตรา ๑๓ ทรัพย์สินของ กกท. ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี หมวด ๒ คณะกรรมการและผู้ว่าการ มาตรา ๑๔[๒] ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย” ประกอบด้วย (๑) นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ (๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการ (๓) ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปลัดกระทรวงมหาดไทย และปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ (๔) ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ (๕) ผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๖) ผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๗) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกินสามคน โดยให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านกฎหมาย การแพทย์ การบริหารการกีฬาหรือวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นกรรมการ ให้ผู้ว่าการเป็นกรรมการและเลขานุการ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตาม (๕) และ (๖) ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๕ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) และ (๗) ต้องไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างและต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจด้วย มาตรา ๑๖ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) และ (๗) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปีและอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ดำเนินการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการประเภทเดียวกันแทนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงสามสิบวัน จะไม่เลือกหรือแต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ ในกรณีที่กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) หรือ (๗) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๗) เพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้เลือกหรือแต่งตั้งไว้แล้ว เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) หรือ (๗) ขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๖ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) และ (๗) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ขาดการประชุมคณะกรรมการเกินสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร (๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๕ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) หรือ (๖) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด แล้วแต่กรณี กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๗) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ออก ในกรณีที่กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) หรือ (๗) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่ตำแหน่งผู้ว่าการว่างลงและยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งแทน ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่ แต่จะต้องมีจำนวนกรรมการรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด มาตรา ๑๘ เพื่อประโยชน์แห่งกิจการของ กกท. ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดของ กกท. แล้วรายงานต่อคณะกรรมการ มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ กกท. อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ออกข้อบังคับหรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรา ๘ และมาตรา ๙ (๒) ออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการดำเนินกิจการของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริหารกองทุน และคณะอนุกรรมการ (๓) ออกข้อบังคับว่าด้วยการจัดแบ่งส่วนงานและการบริหารงานของ กกท. (๔) ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของผู้ว่าการ และการมอบให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนผู้ว่าการ (๕) ออกข้อบังคับกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และเงินอื่น ๆ ของพนักงานและลูกจ้าง (๖) ออกข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือนหรือค่าจ้าง การพ้นจากตำแหน่งวินัย การลงโทษ และการอุทธรณ์การลงโทษพนักงานและลูกจ้าง (๗) ออกระเบียบว่าด้วยการร้องทุกข์ของพนักงานและลูกจ้าง (๘) ออกข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการของพนักงาน ลูกจ้าง และครอบครัว (๙) ออกข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทน ให้แก่ประธานกรรมการ กรรมการผู้ว่าการ พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ปฏิบัติงานให้แก่ กกท. โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๑๐) ออกระเบียบว่าด้วยเครื่องแบบผู้ว่าการ พนักงาน และลูกจ้าง (๑๑) ออกระเบียบว่าด้วยการเงินและการบริหารเงินรายได้ของ กกท. (๑๒) ออกระเบียบว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การบริหารกองทุนและการจัดหาผลประโยชน์ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๑๓) จำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญ ข้อบังคับหรือระเบียบตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีข้อความจำกัดอำนาจของผู้ว่าการในการทำนิติกรรมไว้ประการใด ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งผู้ว่าการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มาตรา ๒๑ ผู้ว่าการนอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจแล้วยังต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในธุรกิจการกีฬา (๒) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับ กกท. หรือในกิจการที่กระทำให้แก่ กกท. ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่เป็นเพียงผู้ถือหุ้นเพื่อการลงทุนโดยสุจริตในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดหรือเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในกิจการที่กระทำการอันมีส่วนได้เสียเช่นว่านั้น หรือเป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เป็นประธานกรรมการ กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้ดำเนินกิจการในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ กกท. เป็นผู้ถือหุ้น มาตรา ๒๒ ผู้ว่าการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑ (๕) คณะกรรมการมีมติเห็นสมควรให้เลิกจ้าง (๖) สัญญาจ้างสิ้นสุดลง มติของคณะกรรมการให้เลิกจ้างตาม (๕) ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่นอกจากผู้ว่าการ และให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ มาตรา ๒๓ ผู้ว่าการมีหน้าที่บริหารกิจการของ กกท. ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ กกท. และตามนโยบาย ข้อบังคับ และระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดกับมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่ง ผู้ว่าการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของ กกท. มาตรา ๒๔ ผู้ว่าการมีอำนาจ (๑) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนให้พนักงานและลูกจ้างออกจากตำแหน่งตามข้อบังคับหรือระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าเป็นพนักงานหรือลูกจ้างชั้นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการฝ่าย หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน (๒) กำหนดเงื่อนไขในการทำงานของพนักงานและลูกจ้าง และออกระเบียบการปฏิบัติงานของ กกท. โดยไม่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับหรือระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๒๕ ให้รองผู้ว่าการมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่งรองจากผู้ว่าการและมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของ กกท. ตามที่ผู้ว่าการมอบหมาย มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ผู้ว่าการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อตำแหน่งผู้ว่าการว่างลงและยังมิได้แต่งตั้งผู้ว่าการ ให้รองผู้ว่าการรักษาการแทนผู้ว่าการ ถ้าไม่มีรองผู้ว่าการ หรือรองผู้ว่าการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งพนักงานคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทนผู้ว่าการ ในการปฏิบัติหน้าที่ของรองผู้ว่าการหรือผู้รักษาการแทนผู้ว่าการตามวรรคหนึ่ง ให้รองผู้ว่าการหรือผู้รักษาการแทนผู้ว่าการมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ว่าการ เว้นแต่อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าการในฐานะกรรมการ มาตรา ๒๗ ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้ว่าการเป็นผู้แทนของ กกท. และเพื่อการนี้ผู้ว่าการจะมอบอำนาจให้บุคคลใด ๆ ปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด นิติกรรมที่ผู้ว่าการกระทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบตามมาตรา ๑๙ ย่อมไม่ผูกพัน กกท. มาตรา ๒๘ ให้ประธานกรรมการและกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หมวด ๓ คณะกรรมการกีฬาจังหวัด มาตรา ๒๙ ในแต่ละจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการกีฬาจังหวัด และให้สำนักงาน กกท. จังหวัด ทำหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการ งานประชุม การศึกษาข้อมูลและกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการกีฬาจังหวัด มาตรา ๓๐ คณะกรรมการกีฬาจังหวัดประกอบด้วย (๑) ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ (๒) รองผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ (๓) ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด เป็นกรรมการ (๔) ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนั้น จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๕) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มิใช่องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวนหนึ่งคนเป็นกรรมการ (๖) ผู้แทนองค์กรเอกชนในจังหวัดนั้น จำนวนสองคน เป็นกรรมการ (๗) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คนแต่ไม่เกินแปดคนเป็นกรรมการ โดยต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านกีฬาคนพิการอย่างน้อยหนึ่งคน ให้ผู้อำนวยการสำนักงาน กกท. จังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ หลักเกณฑ์และวิธีการในการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตาม (๔) (๕) (๖) และ (๗) ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๑ คณะกรรมการกีฬาจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอนโยบาย แผนงาน และโครงการส่งเสริมกีฬาภายในจังหวัดต่อคณะกรรมการ (๒) ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ กกท. ตามมาตรา ๘ (๓) ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ และสนับสนุน กกท. สมาคมกีฬา และหน่วยงานกีฬาที่เกี่ยวข้องในการแข่งขันกีฬาและการดำเนินกิจกรรมกีฬาของจังหวัด (๔) ออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ (๕) ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย มาตรา ๓๒ ให้นำมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการกีฬาจังหวัดโดยอนุโลม หมวด ๔ การส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา มาตรา ๓๓ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา คณะกรรมการมีอำนาจให้ทุน ทรัพย์สิน หรือสิทธิประโยชน์อื่น แก่คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา นักกีฬา หรือบุคลากรกีฬาเพื่อใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา ตลอดจนให้คณะกรรมการมีอำนาจให้การสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬาได้ด้วย การให้ทุน ทรัพย์สิน หรือสิทธิประโยชน์อื่น ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬาตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการจะกำหนดเงื่อนไขในการให้ไว้ด้วยก็ได้ หลักเกณฑ์การพิจารณาและการกำหนดประเภทของบุคคลซึ่งพึงได้รับทุน ทรัพย์สิน หรือสิทธิประโยชน์อื่น ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา หรือการสงเคราะห์อื่นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๔ คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา นักกีฬา หรือบุคลากรกีฬาใดประสงค์จะขอรับทุน ทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ หรือการสงเคราะห์อื่นตามมาตรา ๓๓ ให้ยื่นคำขอต่อ กกท. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๕ ในกรณีที่คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา นักกีฬา หรือบุคลากรกีฬาที่ได้รับทุน ทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ หรือการสงเคราะห์อื่นตามมาตรา ๓๓ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งยกเลิกการให้ทุน ทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ หรือการสงเคราะห์อื่นทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ถ้าคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า การที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนั้นมิได้เป็นการกระทำโดยจงใจ คณะกรรมการจะเตือนเป็นหนังสือให้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดก็ได้ และเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา นักกีฬา หรือบุคลากรกีฬานั้นมิได้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง ให้คณะกรรมการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หมวด ๕ กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ มาตรา ๓๖ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ” ใน กกท. เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเพื่อการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา คุ้มครอง ช่วยเหลือและจัดสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา โดยประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินบำรุงกองทุนที่จัดเก็บตามมาตรา ๓๗ (๒) เงินและทรัพย์สินที่โอนมาตามมาตรา ๑๓๓ (๓) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ (๔) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็น (๕) เงินรายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน (๖) รายได้ที่เกิดจากการดำเนินการของกองทุน (๗) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๗/๑)[๓] เงินที่โอนมาโดยผลของกฎหมาย (๗/๒)[๔] เงินที่ได้จากค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยกีฬามวย (๗/๓)[๕] เงินค่าปรับทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกีฬาอาชีพ (๘) รายได้อื่น ๆ ให้ กกท. เก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุนและดำเนินการเบิกจ่ายเงินกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ เงินและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งให้เป็นของ กกท. เพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนโดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน มาตรา ๓๗ ให้กองทุนมีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละสองของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในการคำนวณเงินบำรุงกองทุนตามอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่ง หากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง มาตรา ๓๘ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บและส่งเงินบำรุงกองทุน (๑) ให้กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรเป็นผู้ดำเนินการเรียกเก็บเงินบำรุงกองทุน เพื่อนำส่งเป็นรายได้ของกองทุน โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด (๒) เงินบำรุงกองทุนให้ถือเป็นภาษี แต่ไม่ให้นำไปรวมคำนวณเป็นมูลค่าของภาษี มาตรา ๓๙ ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนตามอัตราที่กำหนดตามมาตรา ๓๗ พร้อมกับการชำระภาษีตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบได้รับการยกเว้นหรือคืนภาษี ให้ได้รับการยกเว้นหรือคืนเงินบำรุงกองทุนด้วย ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ส่งเงินบำรุงกองทุนหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนด หรือส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง นอกจากจะมีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้เสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่ส่งหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนดหรือจำนวนเงินที่ส่งขาดไป แล้วแต่กรณี นับแต่วันครบกำหนดส่งจนถึงวันที่ส่งเงินบำรุงกองทุน แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนเงินบำรุงกองทุนและให้ถือว่าเงินเพิ่มนี้เป็นเงินบำรุงกองทุนด้วย ในการคำนวณระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน มาตรา ๔๒ เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมกีฬาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานักกีฬา บุคลากรกีฬา และสมาคมกีฬา (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการเตรียมนักกีฬาเพื่อให้เป็นนักกีฬาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ (๔) สนับสนุนเงินรางวัลแก่นักกีฬา บุคลากรกีฬา และสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ซึ่งประกอบคุณความดีแก่การกีฬาของชาติหรือนำชื่อเสียงเกียรติภูมิมาสู่ประเทศชาติ (๕) สนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬา (๖) ช่วยเหลือด้านสวัสดิการแก่นักกีฬา บุคลากรกีฬา และผู้ซึ่งประสบอุบัติเหตุ หรือได้รับความเสียหายหรืออันตรายจากการแข่งขันกีฬา และกรณีอื่นอันควรแก่การสงเคราะห์ (๗)[๖] ส่งเสริมและสนับสนุนกีฬามวยตามกฎหมายว่าด้วยกีฬามวย และกีฬาอาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกีฬาอาชีพ นอกจากการใช้จ่ายเงินกองทุนตามวรรคหนึ่ง ให้จัดสรรเงินกองทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๓ ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย (๑) รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ (๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง (๓) ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สอง (๔) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สาม (๕) ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ (๖) ผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๗) ผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๘) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากบุคคลที่ไม่เป็นพนักงานจำนวนสองคน โดยให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านเศรษฐศาสตร์หรือการเงินจำนวนหนึ่งคนและด้านการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์การกีฬาจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ผู้ว่าการเป็นกรรมการบริหารกองทุนและเลขานุการ กรรมการบริหารกองทุนตาม (๖) (๗) และ (๘) จะดำรงตำแหน่งกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) หรือ (๗) ในขณะเดียวกันมิได้ หลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และวิธีการในการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนตาม (๖) (๗) และ (๘) ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๔ กรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) (๗) และ (๘) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ ในกรณีที่กรรมการบริหารกองทุนตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้ดำเนินการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนประเภทเดียวกันแทนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการบริหารกองทุนว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการบริหารกองทุนเหลือไม่ถึงสามสิบวัน จะไม่เลือกหรือแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนแทนก็ได้ และให้ผู้ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) (๗) หรือ (๘) ขึ้นใหม่ ให้กรรมการบริหารกองทุนซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการบริหารกองทุนซึ่งได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๔๕ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๔๔ กรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) (๗) และ (๘) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะกรรมการให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ (๔) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๗) ขาดคุณสมบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๔๓ กรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) หรือ (๗) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด แล้วแต่กรณี ในกรณีที่กรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) (๗) หรือ (๘) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระหรือในกรณีที่ตำแหน่งผู้ว่าการว่างลงและยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งแทน ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนประกอบด้วยกรรมการบริหารกองทุนเท่าที่เหลืออยู่ แต่จะต้องมีจำนวนกรรมการบริหารกองทุนรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการบริหารกองทุนทั้งหมด มาตรา ๔๖ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) บริหารกองทุนรวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์และการจัดการกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (๒) พิจารณาอนุมัติโครงการที่ขอรับการส่งเสริมหรือสนับสนุนจากกองทุนและติดตามผลการดำเนินการของโครงการดังกล่าว (๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้เงินรางวัลแก่นักกีฬา บุคลากรกีฬา และสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” (๔) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ทุนการศึกษา และอนุมัติทุนการศึกษาแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬา (๕) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือด้านสวัสดิการแก่บุคคลตามมาตรา ๔๒ (๖) (๕/๑)[๗] กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินของกองทุนเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนกีฬามวยตามกฎหมายว่าด้วยกีฬามวย และกีฬาอาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกีฬาอาชีพ (๖) รายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนต่อคณะกรรมการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (๗) วางระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการบริหารกองทุนอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนมอบหมายก็ได้ มาตรา ๔๗ การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การบริหารกองทุน และการจัดหาผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๘ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนจัดทำงบดุลและบัญชีทำการส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนทุกรอบปีแล้วทำรายงานผลการสอบและรับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีเพื่อคณะกรรมการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ มาตรา ๔๘/๑[๘] ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนทำรายงานประจำปีของกองทุนเสนอคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเพื่อทราบภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของกองทุนในปีที่ล่วงมาแล้ว พร้อมทั้งงบการเงิน และรายงานของผู้สอบบัญชี หมวด ๖ สมาคมกีฬา ส่วนที่ ๑ การจัดตั้งสมาคมกีฬา มาตรา ๔๙ สมาคมกีฬาจะมีขึ้นได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ สมาคมกีฬาตามวรรคหนึ่งต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาโดยมีการจัดการแข่งขันกีฬาหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน และอาจมีการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา มาตรา ๕๐ สมาคมกีฬาต้องมีข้อบังคับและต้องจดทะเบียน เมื่อได้จดทะเบียนแล้วให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล มาตรา ๕๑ ให้จัดตั้งสำนักงานกลางทะเบียนสมาคมกีฬาขึ้นใน กกท. เพื่อควบคุมการจดทะเบียนเป็นสมาคมกีฬาทั่วราชอาณาจักร และทำหน้าที่เป็นสำนักงานทะเบียนสมาคมกีฬาประจำกรุงเทพมหานคร ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้สำนักงาน กกท. จังหวัด ทำหน้าที่เป็นสำนักงานทะเบียนสมาคมกีฬาประจำจังหวัด ให้ผู้ว่าการหรือผู้ซึ่งผู้ว่าการมอบหมายเป็นนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาและนายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำกรุงเทพมหานคร และให้ผู้อำนวยการสำนักงาน กกท. จังหวัด หรือผู้ซึ่งผู้ว่าการมอบหมายเป็นนายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำจังหวัด มาตรา ๕๒ ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สามารถขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาได้ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕๓ การขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคนยื่นคำขอพร้อมด้วยข้อบังคับของสมาคมกีฬาอย่างน้อยสามฉบับต่อนายทะเบียนประจำท้องที่ที่จะตั้งสำนักงาน คุณสมบัติของผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคมกีฬา หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำขอจดทะเบียนและการจดทะเบียนให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๕๔ ในการขอจดทะเบียน ถ้าได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๓ มีข้อบังคับถูกต้องตามมาตรา ๕๖ และข้อบังคับนั้นไม่ขัดต่อกฎหมายและวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬากับทั้งผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคมกีฬาทุกคนมีคุณสมบัติถูกต้องตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดตามมาตรา ๕๓ วรรคสอง ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนได้ และให้ออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนตามแบบที่คณะกรรมการประกาศกำหนดให้แก่สมาคมกีฬานั้น การจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาและการเลิกสมาคมกีฬา ให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถ้านายทะเบียนเห็นว่าในการขอจดทะเบียนมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ผู้ยื่นคำขอแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เมื่อได้แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงถูกต้องแล้ว ให้นายทะเบียนออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่สมาคมกีฬานั้น ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามวรรคสามภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งนายทะเบียน หรือหากนายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นว่า วัตถุประสงค์ตามที่ยื่นคำขอมิได้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๙ วรรคสอง ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและแจ้งคำสั่งไม่รับจดทะเบียนพร้อมด้วยเหตุผลไปยังผู้ขอจดทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำขอ ให้ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว และให้นายทะเบียนส่งหนังสืออุทธรณ์ต่อไปยังคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ดังกล่าว ให้คณะกรรมการวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับหนังสืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด มาตรา ๕๕ ในกรณีที่ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้นายทะเบียนออกใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้เมื่อสมาคมกีฬาร้องขอ การขอรับใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การออกใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนและแบบใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๕๖ ข้อบังคับของสมาคมกีฬาอย่างน้อยต้องมีข้อความเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อ ซึ่งต้องมีคำว่า “สมาคมกีฬา” กำกับไว้กับชื่อนั้นด้วย (๒) วัตถุประสงค์ (๓) ที่ตั้งสำนักงานและวันเวลาเปิดทำการ (๔) วิธีการรับสมาชิกและการขาดจากสมาชิกภาพ (๕) ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก (๖) อัตราค่าบำรุง (๗) ข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการสมาคมกีฬา ได้แก่ จำนวนกรรมการ การตั้งกรรมการวาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมคณะกรรมการสมาคมกีฬา (๘) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการสมาคมกีฬา การบัญชี และทรัพย์สินของสมาคมกีฬา (๙) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ (๑๐) ข้อกำหนดอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา การกำหนดระยะเวลาของวาระการดำรงตำแหน่งตาม (๗) ของกรรมการสมาคมกีฬาทั่วไปและสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ต้องกำหนดให้ไม่เกินสี่ปี การกำหนดระยะเวลาของวาระการดำรงตำแหน่งตาม (๗) ของกรรมการสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ชนิดกีฬาใด ต้องกำหนดให้สอดคล้องกับระยะเวลาของวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการบริหารสหพันธ์กีฬานานาชาติของชนิดกีฬานั้นด้วย มาตรา ๕๗ สมาคมกีฬาต้องใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า “สมาคมกีฬา” ประกอบกับชื่อของสมาคมกีฬา มาตรา ๕๘ การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมกีฬาจะกระทำได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่ และต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานของสมาคมกีฬาตั้งอยู่ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติ เมื่อนายทะเบียนได้จดทะเบียนแล้วให้มีผลใช้บังคับได้ การยื่นคำขอจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด นายทะเบียนมีอำนาจไม่รับจดทะเบียนการแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมกีฬาได้เมื่อเห็นว่าการแก้ไขหรือเพิ่มเติมนั้นขัดต่อวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาหรือขัดต่อกฎหมาย ในกรณีที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนการแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมกีฬา ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๕๙ การแต่งตั้งกรรมการสมาคมกีฬาขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมกีฬา ให้กระทำตามข้อบังคับของสมาคมกีฬานั้น และสมาคมกีฬาต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานของสมาคมกีฬาตั้งอยู่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมกีฬานั้น ถ้านายทะเบียนเห็นว่ากรรมการสมาคมกีฬาตามวรรคหนึ่งผู้ใด มีฐานะ ความประพฤติ หรือคุณสมบัติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาหรือกระบวนการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมกีฬาขัดต่อกฎหมายหรือข้อบังคับของสมาคมกีฬา นายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียนกรรมการสมาคมกีฬาผู้นั้นก็ได้ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนกรรมการสมาคมกีฬานายทะเบียนต้องแจ้งเหตุผลที่ไม่รับจดทะเบียนให้สมาคมกีฬาทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน โดยให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในระหว่างที่ยังไม่มีการจดทะเบียนกรรมการสมาคมกีฬาชุดใหม่ หากข้อบังคับของสมาคมกีฬามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้กรรมการสมาคมกีฬาชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่กรรมการสมาคมกีฬาต่อไปจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนกรรมการสมาคมกีฬาชุดใหม่ มาตรา ๖๐ ห้ามมิให้บุคคลใดใช้ชื่อที่มีอักษรไทยประกอบว่า “สมาคมกีฬา” หรืออักษรต่างประเทศซึ่งแปลหรืออ่านว่า “สมาคมกีฬา” ในดวงตรา ป้ายชื่อ หรือเอกสารต่าง ๆ โดยมิได้เป็นสมาคมกีฬา เว้นแต่เป็นการใช้ในการขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา มาตรา ๖๑ ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาสอบถามหรือให้ส่งเอกสารมาเพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาได้ ส่วนที่ ๒ ประเภทของสมาคมกีฬา มาตรา ๖๒ สมาคมกีฬาแบ่งออกเป็นสามประเภท คือ (๑) สมาคมกีฬาทั่วไป (๒) สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด (๓) สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” มาตรา ๖๓ สมาคมกีฬาทั่วไปเป็นสมาคมกีฬาที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาแก่สมาชิกเป็นการทั่วไป มาตรา ๖๔ สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเป็นสมาคมกีฬาทั่วไปที่จัดตั้งขึ้นในแต่ละจังหวัด โดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และมีการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาซึ่งมีความหลากหลายของชนิดกีฬาและได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดจากนายทะเบียนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ในกรณีที่นายทะเบียนไม่อนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหกมาใช้บังคับโดยอนุโลม สมาคมกีฬาทั่วไปที่ได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ต้องใช้คำว่า “สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด” ประกอบในชื่อของสมาคมกีฬานั้น สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดอาจรับสมาชิกจากสมาคมกีฬาทั่วไป ชมรม สโมสร องค์กร หรือบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมกีฬาซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนั้น มาตรา ๖๕ สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามมาตรา ๖๔ สามารถดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา โดยส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาหรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของจังหวัด มาตรา ๖๖ ห้ามมิให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่มิได้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดแสดงตนว่าเป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด มาตรา ๖๗ สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” เป็นสมาคมกีฬาทั่วไปที่จัดตั้งขึ้นโดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในระดับชาติ และได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” จากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ในกรณีที่นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาไม่อนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม สมาคมกีฬาทั่วไปที่ได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ต้องใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ประกอบในชื่อของสมาคมกีฬานั้น สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” อาจรับสมาชิกจากสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดสมาคมกีฬาทั่วไป ชมรม สโมสร องค์กร หรือบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมกีฬาซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” นั้น ในกรณีที่สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ให้สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” นั้นพิจารณาถึงชนิดกีฬาที่สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนั้นดำเนินกิจกรรมอยู่ประกอบการพิจารณารับสมัครสมาชิกด้วย มาตรา ๖๘ สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” สามารถดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา โดยส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย ในการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยตามวรรคหนึ่ง ต้องขออนุญาตจากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาเป็นรายกรณีไป ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๖๙ ห้ามมิให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่มิได้เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” แสดงตนว่าเป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ห้ามมิให้สมาคมกีฬาทั่วไป สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด คณะบุคคล หรือบุคคลใดใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใดที่แสดงว่าเป็นสมาคม คณะบุคคล หรือบุคคล ซึ่งดำเนินกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา ห้ามมิให้สมาคมกีฬาทั่วไป สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด คณะบุคคล หรือบุคคลใดเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคสองและวรรคสาม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด โดยให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม ส่วนที่ ๓ การดำเนินกิจการของสมาคมกีฬา มาตรา ๗๐ ให้สมาคมกีฬามีคณะกรรมการสมาคมกีฬาเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมกีฬาและเป็นผู้แทนของสมาคมกีฬาในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้ คณะกรรมการสมาคมกีฬาจะมอบหมายให้กรรมการสมาคมกีฬาคนหนึ่งคนใดหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ มาตรา ๗๑ กรรมการสมาคมกีฬาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสมาคมกีฬา และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (๑) มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์เหมาะสมกับการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาภายในขอบวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬานั้น (๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๓) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๕) ไม่เคยถูกนายทะเบียนสั่งให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการสมาคมกีฬาตามมาตรา ๘๖ (๔) เว้นแต่จะพ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันที่ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๗๒ สมาชิกของสมาคมกีฬาที่มีสิทธิออกเสียงจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกที่มีสิทธิออกเสียง มีสิทธิขอตรวจสอบกิจการและทรัพย์สินของสมาคมกีฬาได้ โดยยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อสมาคมกีฬานั้น มาตรา ๗๓ ห้ามมิให้สมาคมกีฬากระทำการใด ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) ดำเนินการด้วยประการใด ๆ อันอาจเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือนำความเสื่อมเสียมาสู่การกีฬาของชาติ (๒) กีดกันหรือขัดขวางมิให้ผู้ใดซึ่งมีคุณสมบัติที่จะเข้าเป็นสมาชิกได้ตามข้อบังคับของสมาคมกีฬาเข้าเป็นสมาชิก หรือบังคับด้วยประการใด ๆ ให้เข้าเป็นสมาชิกโดยผู้นั้นไม่สมัครใจหรือให้สมาชิกออกจากสมาคมกีฬาโดยเจตนาอันไม่สุจริตหรือขัดต่อข้อบังคับของสมาคมกีฬา (๓) เปิดเผยข้อมูล เอกสาร หรือข้อความอันเกี่ยวกับประโยชน์ได้เสียโดยเฉพาะของสมาชิกผู้ใดเว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสมาชิกผู้นั้น (๔) ให้หรือยอมให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่กรรมการสมาคมกีฬาดำเนินกิจการในหน้าที่ของกรรมการสมาคมกีฬานั้น (๕) หาผลกำไรหรือรายได้เพื่อมาแบ่งปันกัน (๖) ให้การสนับสนุนด้านการเงินหรือทรัพย์สินแก่นักการเมืองหรือพรรคการเมืองใด (๗) กีดกันหรือขัดขวางมิให้นักกีฬาเข้าแข่งขันกีฬาโดยมีเจตนาอันไม่สุจริตหรือขัดต่อข้อบังคับของสมาคมกีฬา ส่วนที่ ๔ การกำกับดูแลสมาคมกีฬา มาตรา ๗๔ สมาคมกีฬาต้องปฏิบัติตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด ในกรณีที่สมาคมกีฬาใดดำเนินการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้สมาคมกีฬานั้นแก้ไขหรือระงับการดำเนินการฝ่าฝืนดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๗๕ ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้กรรมการสมาคมกีฬาหรือสมาชิกมาชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของสมาคมกีฬา หรือให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือรายงานการประชุมของสมาคมกีฬาได้ มาตรา ๗๖ นายทะเบียนหรือพนักงานที่ผู้ว่าการมอบหมายอาจเข้าร่วมการประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬาและอาจชี้แจงแสดงข้อคิดเห็นแก่ที่ประชุมใหญ่ได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน มาตรา ๗๗ สมาคมกีฬาต้องจัดให้มีทะเบียนสมาชิกตามแบบที่นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬากำหนด และให้เก็บรักษาทะเบียนดังกล่าวพร้อมหลักฐานและเอกสารที่ใช้ประกอบการลงทะเบียนไว้ที่สำนักงานของสมาคมกีฬา เมื่อมีการรับสมาชิกใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับทะเบียนสมาชิก ให้สมาคมกีฬาแจ้งการรับสมาชิกใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงนั้นต่อนายทะเบียนภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่รับสมาชิกใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลง มาตรา ๗๘ ให้สมาคมกีฬาจัดทำงบดุลอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือนอันจัดว่าเป็นรอบปีในทางบัญชีของสมาคมกีฬานั้น งบดุลนั้นต้องมีรายการแสดงจำนวนสินทรัพย์และหนี้สินของสมาคมกีฬากับทั้งบัญชีรายรับรายจ่ายงบดุลต้องทำให้แล้วเสร็จและจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติต่อที่ประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬาภายในกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สิ้นปีการบัญชี มาตรา ๗๙ ให้สมาคมกีฬาจัดทำรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินการของสมาคมกีฬาเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ในคราวที่เสนองบดุล และให้ส่งสำเนารายงานกับงบดุลไปยังนายทะเบียนภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมใหญ่ มาตรา ๘๐ ผู้ใดประสงค์จะขอตรวจหรือคัดเอกสาร หรือขอให้คัดและรับรองสำเนาเอกสารเกี่ยวกับสมาคมกีฬา ให้ยื่นคำขอตามแบบที่นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬากำหนด มาตรา ๘๑ นอกเหนือจากการกำกับดูแลสมาคมกีฬาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๗๔ ถึงมาตรา ๘๐ เพื่อประโยชน์แก่การกำกับดูแลการดำเนินการของสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดและสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ให้นายทะเบียนมีอำนาจดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๒ ถึงมาตรา ๘๘ ด้วย มาตรา ๘๒ ในกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมกีฬา ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการสมาคมกีฬานั้นเรียกประชุมใหญ่วิสามัญหรือให้คณะกรรมการสมาคมกีฬามาประชุมกันเพื่อพิจารณาหรือวินิจฉัยปัญหาของสมาคมกีฬาได้ มาตรา ๘๓ เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าสมาคมกีฬาใดจะดำเนินการไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือนำความเสื่อมเสียมาสู่การกีฬาของชาติให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้สมาคมกีฬานั้นแจ้งวันและเวลาประชุมทุกคราวมาให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน ในกรณีเช่นนี้ให้นายทะเบียนหรือพนักงานที่ผู้ว่าการมอบหมายมีอำนาจเข้าไปฟังการประชุมได้ สมาคมกีฬาใดไม่แจ้งวันและเวลาประชุมตามคำสั่งของนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนดให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้สมาคมกีฬานั้นงดการประชุมได้ครั้งหนึ่งไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่ง ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้งดการประชุม ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหกมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๔ เมื่อสมาชิกของสมาคมกีฬาซึ่งมีสิทธิออกเสียงจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกซึ่งมีสิทธิออกเสียง กรรมการสมาคมกีฬาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการสมาคมกีฬาเท่าที่มีอยู่ หรือพนักงานซึ่งเข้าร่วมในการประชุมกรรมการสมาคมกีฬาหรือการประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬาร้องขอว่าการประชุมกรรมการสมาคมกีฬาหรือการประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬานั้น ได้นัดเรียกหรือได้ประชุมกันหรือได้ลงมติฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือข้อบังคับของสมาคมกีฬา ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนมติของที่ประชุมกรรมการสมาคมกีฬาหรือมติของที่ประชุมใหญ่ที่เกิดขึ้นในการประชุมที่ได้เรียกหรือได้ประชุมกันหรือได้ลงมติฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือข้อบังคับของสมาคมกีฬานั้นเสียได้ การร้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมกรรมการสมาคมกีฬาหรือมติของที่ประชุมใหญ่ตามวรรคหนึ่ง สมาชิกของสมาคมกีฬา กรรมการสมาคมกีฬา หรือพนักงาน ต้องร้องขอภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ประชุมลงมติ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้เพิกถอนมติของที่ประชุมตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๕ ในกรณีที่กรรมการสมาคมกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมกีฬากระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่สมาคมกีฬา หรือกระทำการในประการที่น่าจะทำให้ประเทศชาติเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ถ้าสมาคมกีฬาไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดี ให้นายทะเบียนร้องทุกข์หรือฟ้องคดีได้โดยให้พนักงานอัยการรับว่าต่างให้ก็ได้ การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากจะต้องมีค่าใช้จ่ายให้ทดรองจ่ายจากเงินกองทุน ให้สมาคมกีฬาชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการร้องทุกข์ การฟ้องคดี หรือการว่าต่างให้แก่กองทุนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี มาตรา ๘๖ ในกรณีที่คณะกรรมการสมาคมกีฬาหรือกรรมการสมาคมกีฬากระทำการหรืองดเว้นกระทำการในการปฏิบัติหน้าที่ของตนจนทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของสมาคมกีฬา หรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดในประการที่น่าจะนำความเสื่อมเสียมาสู่การกีฬาของชาติไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ปฏิบัติการ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาหรือกรรมการสมาคมกีฬาระงับการปฏิบัติการที่เป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสียประโยชน์ของสมาคมกีฬาหรือการกีฬาของชาติ (๒) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาหรือกรรมการสมาคมกีฬาแก้ไขข้อบกพร่องตามวิธีการและระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด (๓) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาหรือกรรมการสมาคมกีฬาหยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องนั้นให้เสร็จตามวิธีการและภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด (๔) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะหรือให้กรรมการสมาคมกีฬาซึ่งเกี่ยวข้องกับการนั้นพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหกมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๗ เมื่อนายทะเบียนสั่งให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้นายทะเบียนแต่งตั้งคณะกรรมการสมาคมกีฬาชั่วคราวขึ้นคณะหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ และมีสิทธิเช่นเดียวกับคณะกรรมการสมาคมกีฬา ในกรณีที่ไม่มีการอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๖ (๔) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาชั่วคราวจัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมกีฬาขึ้นใหม่ทั้งคณะให้เสร็จสิ้นภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง ในกรณีที่มีการอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๖ (๔) ห้ามมิให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมกีฬาขึ้นใหม่จนกว่าคณะกรรมการจะได้วินิจฉัยอุทธรณ์แล้วเสร็จและให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาชั่วคราวจัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมกีฬาขึ้นใหม่ทั้งคณะให้เสร็จสิ้นภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการอุทธรณ์ มาตรา ๘๘ เมื่อนายทะเบียนสั่งให้กรรมการสมาคมกีฬาคนใดพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ให้สมาคมกีฬาดำเนินการตั้งผู้เป็นกรรมการสมาคมกีฬาแทนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่กรรมการสมาคมกีฬาพ้นจากตำแหน่ง ถ้ามิได้ตั้งหรือตั้งไม่ได้ตามกำหนดเวลาและนายทะเบียนเห็นสมควร นายทะเบียนอาจแต่งตั้งสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นกรรมการสมาคมกีฬาแทน และให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งกรรมการสมาคมกีฬาเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน แต่ถ้าวาระของกรรมการสมาคมกีฬาผู้นั้นเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน สมาคมกีฬาจะตั้งกรรมการสมาคมกีฬาแทนหรือนายทะเบียนจะดำเนินการแต่งตั้งกรรมการสมาคมกีฬาแทนหรือไม่ก็ได้ ส่วนที่ ๕ การเลิกสมาคมกีฬา มาตรา ๘๙ สมาคมกีฬาย่อมเลิกด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อมีเหตุตามที่กำหนดในข้อบังคับของสมาคมกีฬา (๒) ถ้าสมาคมกีฬาตั้งขึ้นไว้เฉพาะระยะเวลาใด เมื่อสิ้นระยะเวลานั้น (๓) เมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก (๔) เมื่อสมาคมกีฬาล้มละลาย (๕) เมื่อนายทะเบียนถอนชื่อสมาคมกีฬาออกจากทะเบียนตามมาตรา ๙๐ (๖) ศาลสั่งให้เลิกตามมาตรา ๙๒ เมื่อเลิกสมาคมกีฬาตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศการเลิกสมาคมกีฬาในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙๐ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งถอนชื่อสมาคมกีฬาออกจากทะเบียนได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อปรากฏในภายหลังการจดทะเบียนว่า วัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่การกีฬาของชาติ และนายทะเบียนได้สั่งให้แก้ไขแล้วแต่สมาคมกีฬาไม่ปฏิบัติตามภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด (๒) เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของสมาคมกีฬาขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่การกีฬาของชาติ (๓) เมื่อสมาคมกีฬาหยุดดำเนินกิจการติดต่อกันตั้งแต่สองปีขึ้นไป (๔) เมื่อปรากฏว่าสมาคมกีฬาให้หรือปล่อยให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่กรรมการสมาคมกีฬาเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมกีฬา (๕) เมื่อสมาคมกีฬามีสมาชิกเหลือน้อยกว่าสิบรายมาเป็นเวลาติดต่อกันกว่าสองปี (๖) เมื่อสมาคมกีฬาไม่แก้ไขหรือระงับการดำเนินการตามที่นายทะเบียนสั่งตามมาตรา ๗๔ วรรคสอง และการฝ่าฝืนดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สมาคมกีฬาหรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่การกีฬาของชาติ ในกรณีที่สมาคมกีฬาตาม (๖) เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” นายทะเบียนจะเพิกถอนการอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” โดยไม่ถอนชื่อสมาคมกีฬานั้นออกจากทะเบียนก็ได้ มาตรา ๙๑ เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งให้ถอนชื่อสมาคมกีฬาใดออกจากทะเบียนตามมาตรา ๙๐ วรรคหนึ่ง หรือเพิกถอนการอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามมาตรา ๙๐ วรรคสองแล้ว ให้นายทะเบียนแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลไปยังสมาคมกีฬานั้นโดยมิชักช้า กรรมการสมาคมกีฬาคนหนึ่งคนใดหรือสมาชิกของสมาคมกีฬาจำนวนไม่น้อยกว่าสามรายมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งต่อคณะกรรมการได้ โดยให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๙๒ เมื่อมีกรณีตามมาตรา ๙๐ ผู้มีส่วนได้เสียอาจร้องขอให้นายทะเบียนถอนชื่อสมาคมกีฬาออกจากทะเบียนได้ ถ้านายทะเบียนไม่ปฏิบัติตามคำร้องขอ โดยไม่แจ้งเหตุผลให้ผู้ร้องขอทราบภายในเวลาอันสมควร หรือนายทะเบียนได้แจ้งเหตุผลให้ทราบแล้วแต่ผู้ร้องขอไม่พอใจในเหตุผลดังกล่าว ผู้ร้องขอนั้นจะร้องขอต่อศาลให้สั่งเลิกสมาคมกีฬานั้นเสียก็ได้ มาตรา ๙๓ เมื่อสมาคมกีฬามีเหตุต้องเลิกตามมาตรา ๘๙ ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการเลิกสมาคมกีฬาแจ้งการเลิกสมาคมกีฬาต่อนายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเลิกสมาคมกีฬา ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้สมาคมกีฬาล้มละลายตามมาตรา ๘๙ (๔) หรือมีคำสั่งถึงที่สุดให้เลิกสมาคมกีฬาตามมาตรา ๙๒ ให้ศาลแจ้งคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวให้นายทะเบียนทราบด้วย มาตรา ๙๔ เมื่อสมาคมกีฬาใดต้องเลิกไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้มีการชำระบัญชีสมาคมกีฬานั้นและให้นำความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๙๕ เมื่อได้ชำระบัญชีแล้ว ถ้ามีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใดจะแบ่งให้แก่สมาชิกของสมาคมกีฬานั้นไม่ได้ ทรัพย์สินที่เหลือนั้นจะต้องโอนให้แก่สมาคม มูลนิธิ หรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการสาธารณกุศล ตามที่ได้ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับของสมาคมกีฬาหรือถ้าข้อบังคับไม่ได้ระบุชื่อไว้ก็ให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมใหญ่ แต่ถ้าข้อบังคับของสมาคมกีฬาหรือที่ประชุมใหญ่มิได้ระบุผู้รับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไว้ หรือระบุไว้แต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ให้ทรัพย์สินที่เหลืออยู่นั้นตกเป็นของแผ่นดิน หมวด ๗ การร้องทุกข์และการสงเคราะห์ มาตรา ๙๖ พนักงานและลูกจ้างมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๙๗ ให้ กกท. จัดให้มีกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการของพนักงาน ลูกจ้าง และครอบครัว ในกรณีพ้นจากตำแหน่ง ประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย ตาย หรือกรณีอื่นอันควรแก่การสงเคราะห์ ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด การจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นตามวรรคหนึ่ง การกำหนดหลักเกณฑ์การออกเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ การกำหนดประเภทของผู้ที่พึงได้รับการสงเคราะห์และหลักเกณฑ์การสงเคราะห์ ตลอดจนการจัดการเกี่ยวกับกองทุนสงเคราะห์ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๘ การเงิน การบัญชี และการตรวจสอบ มาตรา ๙๘ กกท. ต้องทำงบประมาณประจำปี โดยให้แยกเป็นงบลงทุนและงบทำการ สำหรับงบลงทุนให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและให้ความเห็นชอบ ส่วนงบทำการให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ มาตรา ๙๙ รายได้ที่ กกท. ได้รับจากการดำเนินงานในปีหนึ่ง ๆ ให้ตกเป็นของ กกท. สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และเมื่อได้หักรายจ่ายสำหรับการดำเนินงาน ค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม รวมตลอดถึงค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคา เงินสำรองตามมาตรา ๑๒ และเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นตามมาตรา ๙๗ แล้ว เหลือเท่าใดให้สะสมไว้เป็นเงินสำหรับใช้จ่ายต่อไป มาตรา ๑๐๐ กกท. ต้องเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๐๑ กกท. ต้องวางและรักษาไว้ซึ่งระบบการบัญชีที่เหมาะสมตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป และให้มีการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำ มาตรา ๑๐๒ กกท. ต้องจัดทำงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน ส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี มาตรา ๑๐๓ ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบรับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของ กกท. ทุกปี มาตรา ๑๐๔ ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุดบัญชีและเอกสารหลักฐานของ กกท. เพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามประธานกรรมการ กรรมการ ผู้ว่าการ พนักงาน และลูกจ้างของ กกท. มาตรา ๑๐๕ ผู้สอบบัญชีต้องทำรายงานผลการสอบบัญชีและการเงินเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อยหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีเพื่อคณะกรรมการเสนอต่อรัฐมนตรี มาตรา ๑๐๖ ให้คณะกรรมการทำรายงานปีละครั้งเสนอต่อคณะรัฐมนตรี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของ กกท. ในปีที่ล่วงมา พร้อมทั้งคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการ โครงการ และแผนงานที่จะจัดทำในปีถัดไป ให้ กกท. โฆษณารายงานประจำปีที่สิ้นไป โดยแสดงงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีรับรองว่าถูกต้องแล้ว รวมทั้งรายงานสรุปผลงานในปีที่ล่วงมาภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของ กกท. หมวด ๙ การกำกับและควบคุม มาตรา ๑๐๗ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ กกท. เพื่อการนี้จะสั่งให้ กกท. ชี้แจงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของ กกท. ที่ขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี ตลอดจนมีอำนาจที่จะสั่งให้ปฏิบัติการตามนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการได้ มาตรา ๑๐๘ ในกรณีที่ กกท. ต้องเสนอเรื่องใด ๆ ไปยังคณะรัฐมนตรี ให้ กกท. นำเรื่องเสนอรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อไปยังคณะรัฐมนตรี มาตรา ๑๐๙ กกท. ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) กู้ยืมเงินหรือให้กู้ยืมเงินมีจำนวนเกินคราวละห้าล้านบาท (๒) จำหน่ายอสังหาริมทรัพย์อันมีราคาเกินหนึ่งล้านบาท หมวด ๑๐ บทกำหนดโทษ มาตรา ๑๑๐ ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนตามมาตรา ๓๗ ผู้ใดไม่ส่งเงินบำรุงกองทุน หรือส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับตั้งแต่ห้าเท่าถึงยี่สิบเท่าของเงินบำรุงกองทุนที่จะต้องนำส่ง หรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจเปรียบเทียบได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการเปรียบเทียบคดีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ มาใช้บังคับกับการเปรียบเทียบคดีตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม มาตรา ๑๑๑ ผู้ใดดำเนินกิจการของคณะบุคคลหรือสมาคมใดที่มิใช่สมาคมกีฬาโดยกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้บุคคลอื่นหลงเชื่อว่ากิจการนั้นเป็นสมาคมกีฬาที่ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๒ ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลหรือสมาคมใดที่ใช้ชื่อหรือแสดงออกว่าเป็นสมาคมกีฬา โดยรู้อยู่แล้วว่าคณะบุคคลหรือสมาคมนั้นมิได้เป็นสมาคมกีฬาที่ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๑๓ ผู้ใดโฆษณา ชี้ชวน หรือจัดการให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดเข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลหรือสมาคมที่ใช้ชื่อหรือแสดงออกว่าเป็นสมาคมกีฬา โดยที่มิได้จดทะเบียนเป็นสมาคมกีฬาตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๔ สมาคมกีฬาใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๑๕ สมาคมกีฬาใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๘ มาตรา ๕๙ มาตรา ๗๓ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) มาตรา ๗๗ มาตรา ๗๘ มาตรา ๗๙ หรือมาตรา ๙๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๑๖ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะเลิกใช้ มาตรา ๑๑๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๖ หรือมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๙ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๙ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท มาตรา ๑๒๐ สมาคมกีฬาใดไม่ยอมให้สมาชิกของสมาคมกีฬาตรวจสอบกิจการและทรัพย์สินของสมาคมกีฬานั้นตามมาตรา ๗๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๒๑ สมาคมกีฬาใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๓ (๑) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๒๒ สมาคมกีฬาใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๒๓ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๗๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๔ สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๓ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๕ กรรมการสมาคมกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมกีฬาผู้ใดกระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่สมาคมกีฬา หรือกระทำการในประการที่น่าจะทำให้ประเทศชาติเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๖ (๔) หรือยังขืนเป็นกรรมการหรือสมาชิกของสมาคมกีฬาที่เลิกตามมาตรา ๘๙ หรือตามมาตรา ๑๓๖ วรรคหนึ่งแล้ว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๗ ในกรณีที่คณะกรรมการของสมาคมกีฬาไม่แจ้งการเลิกสมาคมกีฬาต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง กรรมการของสมาคมกีฬานั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินคนละหนึ่งหมื่นบาท เว้นแต่กรรมการผู้ใดของสมาคมกีฬานั้นจะพิสูจน์ได้ว่าการที่มิได้แจ้งนั้นมิได้เกิดจากการกระทำของตน มาตรา ๑๒๘ ผู้ใดแบ่งหรือโอนทรัพย์สินที่เหลืออยู่เมื่อได้ชำระบัญชีแล้วให้แก่บุคคลใดอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๙๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๒๙ ให้คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการกีฬาจังหวัด ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการกีฬาจังหวัด แล้วแต่กรณีตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๐ ให้ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ดำรงตำแหน่งต่อไปจนครบวาระ มาตรา ๑๓๑ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ พนักงาน ลูกจ้าง และงบประมาณของการกีฬาแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ไปเป็นของการกีฬาแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๒ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยตามมาตรา ๑๒๙ หรือคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยตามมาตรา ๑๔ แล้วแต่กรณี ทำหน้าที่คณะกรรมการบริหารกองทุนไปพลางก่อนจนกว่าจะมีคณะกรรมการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๓ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ตลอดจนงบประมาณของกองทุนการศึกษาของนักกีฬาตามข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารกองทุนการศึกษาของนักกีฬา พ.ศ. ๒๕๔๗ กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติว่าด้วยการจัดการเงินกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๘ และกองทุนสวัสดิการนักกีฬาตามระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการนักกีฬาว่าด้วยการบริหารการใช้จ่ายเงินกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๕ ไปเป็นของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๔ ให้บรรดาสมาคมที่ได้รับอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ และได้จดทะเบียนเป็นสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นสมาคมกีฬาทั่วไปตามมาตรา ๖๒ (๑) แห่งพระราชบัญญัตินี้และให้นายทะเบียนสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขีดชื่อสมาคมนั้นออกจากทะเบียนสมาคม ให้สมาคมตามวรรคหนึ่งที่ได้รับอนุญาตจาก กกท. ให้จัดตั้งเป็นสมาคมกีฬาจังหวัดเป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดตามมาตรา ๖๒ (๒) แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้สมาคมตามวรรคหนึ่งที่ได้รับอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามมาตรา ๖๒ (๓) แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาให้แก่สมาคมตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาตรา ๑๓๕ ให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่ได้รับอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใดแสดงว่าเป็นคณะบุคคลหรือบุคคลซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยตามมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นคณะบุคคลหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๖๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขันหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหรือจัดการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยตามมาตรา ๕๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นคณะบุคคลหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๖๙ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๖ สมาคมที่ได้รับการรับรองให้เป็นสมาคมกีฬาตามมาตรา ๑๓๔ ต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงข้อบังคับและการดำเนินการต่าง ๆ ของสมาคมให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยหากไม่แก้ไขปรับปรุงหรือดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นอันเลิกและให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาขีดชื่อสมาคมนั้นออกจากทะเบียนสมาคมกีฬา ถ้าสมาคมไม่พอใจในคำสั่งของนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาที่ให้ขีดชื่อออกจากทะเบียนสมาคมกีฬาก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว และให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาส่งหนังสืออุทธรณ์ต่อไปยังคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ดังกล่าว ให้คณะกรรมการวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับหนังสืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด มาตรา ๑๓๗ บรรดาคำขออนุญาตจัดตั้งสมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง คำขออนุญาตใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใดแสดงว่าเป็นสมาคม สโมสร หรือคณะบุคคลซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยและคำอุทธรณ์การไม่อนุญาตตามคำขอดังกล่าวที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นคำขอจดทะเบียน คำขออนุญาต และคำอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี และหากจำเป็นนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาอาจขอให้ส่งเอกสารเพิ่มเติมได้ มาตรา ๑๓๘ บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ที่ออกตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน จัดตั้งสมาคมกีฬา ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๒) ใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน จัดตั้งสมาคมกีฬา ฉบับละ ๒๐๐ บาท (๓) ใบอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท (๔) ใบอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬา ที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท (๕) ใบอนุญาตอย่างอื่นนอกจาก (๓) และ (๔) ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๖) การตรวจหรือคัดเอกสารเกี่ยวกับสมาคมกีฬา ครั้งละ ๕๐ บาท (๗) การขอให้คัดและรับรองสำเนาเอกสาร เกี่ยวกับสมาคมกีฬา ครั้งละ ๕๐ บาท หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน จึงมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทยเสียใหม่ และกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติขึ้นในการกีฬาแห่งประเทศไทยเพื่อใช้ในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา คุ้มครอง ช่วยเหลือและจัดสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา เพื่อให้สมาคมที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาสามารถจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคมกีฬาได้ตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการในการกำกับดูแลการดำเนินการของสมาคมกีฬาและการกระทำการต่าง ๆ ของคณะกรรมการสมาคมกีฬาและกรรมการสมาคมกีฬา เพื่อให้การกำกับดูแลการดำเนินการของสมาคมกีฬาและการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๓/๒๕๕๙ เรื่อง การส่งเสริม สนับสนุน และปฏิรูปการกีฬาของประเทศ[๙] ข้อ ๔ ให้บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการกีฬามวยตามพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. ๒๕๔๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับกองทุนกีฬามวย และของคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพและกองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพตามพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ ใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนด ข้อ ๕ ให้การกีฬาแห่งประเทศไทยดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๘ เรื่อง ความคืบหน้าและการดำเนินการเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘ และคำสั่งนี้ ให้แล้วเสร็จภายในสองเดือนนับแต่วันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๖ ในกรณีเห็นสมควร นายกรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งนี้ได้ ข้อ ๗ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๐] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา ๔ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป มาตรา ๗ ให้กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) และ (๗) แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๘ เห็นชอบให้ควบรวมกองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพและกองทุนกีฬามวยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๓/๒๕๕๙ เรื่อง การส่งเสริม สนับสนุน และปฏิรูปการกีฬาของประเทศ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ และพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อควบรวมกองทุนทั้งสามกองทุนดังกล่าวแล้ว ในการนี้ เพื่อให้กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติสามารถดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬาตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย กฎหมายว่าด้วยกีฬามวย และกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกีฬาอาชีพได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับการควบรวมกองทุน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ รวมทั้งสมควรแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อให้มีความเหมาะสมและสามารถขับเคลื่อนการดำเนินการของการกีฬาแห่งประเทศไทยและกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๙ เมษายน ๒๕๕๘ พรวิภา/เพิ่มเติม ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๒๑ ก/หน้า ๑/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘ [๒] มาตรา ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] มาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง (๗/๑) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๔] มาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง (๗/๒) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๕] มาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง (๗/๓) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๖] มาตรา ๔๒ (๗) เพิ่มโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๓/๒๕๕๙ เรื่อง การส่งเสริม สนับสนุน และปฏิรูปการกีฬาของประเทศ [๗] มาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง (๕/๑) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๘] มาตรา ๔๘/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๓๘ ง/หน้า ๖/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๐๖ ก/หน้า ๑/๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐
787939
พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา ๔ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย” ประกอบด้วย (๑) นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ (๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการ (๓) ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปลัดกระทรวงมหาดไทย และปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ (๔) ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ (๕) ผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๖) ผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๗) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกินสามคน โดยให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านกฎหมาย การแพทย์ การบริหารการกีฬาหรือวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นกรรมการ ให้ผู้ว่าการเป็นกรรมการและเลขานุการ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตาม (๕) และ (๖) ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด” มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗/๑) (๗/๒) และ (๗/๓) ของวรรคหนึ่งของมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ “(๗/๑) เงินที่โอนมาโดยผลของกฎหมาย (๗/๒) เงินที่ได้จากค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยกีฬามวย (๗/๓) เงินค่าปรับทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกีฬาอาชีพ” มาตรา ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๕/๑) ของวรรคหนึ่งของมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ “(๕/๑) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินของกองทุนเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนกีฬามวยตามกฎหมายว่าด้วยกีฬามวย และกีฬาอาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกีฬาอาชีพ” มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ “มาตรา ๔๘/๑ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนทำรายงานประจำปีของกองทุนเสนอคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเพื่อทราบภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของกองทุนในปีที่ล่วงมาแล้ว พร้อมทั้งงบการเงิน และรายงานของผู้สอบบัญชี” มาตรา ๗ ให้กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) และ (๗) แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๘ เห็นชอบให้ควบรวมกองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพและกองทุนกีฬามวยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๓/๒๕๕๙ เรื่อง การส่งเสริม สนับสนุน และปฏิรูปการกีฬาของประเทศ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ และพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อควบรวมกองทุนทั้งสามกองทุนดังกล่าวแล้ว ในการนี้ เพื่อให้กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติสามารถดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬาตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย กฎหมายว่าด้วยกีฬามวย และกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกีฬาอาชีพได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับการควบรวมกองทุน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ รวมทั้งสมควรแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อให้มีความเหมาะสมและสามารถขับเคลื่อนการดำเนินการของการกีฬาแห่งประเทศไทยและกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ พจนา/ตรวจ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๐๖ ก/หน้า ๑/๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐
788050
พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ณ วันที่ 18/10/2559)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ (๒) พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “บุคลากรกีฬา” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการกีฬา เช่น ผู้ตัดสิน ผู้ฝึกสอนและผู้บริหารองค์กรด้านกีฬา ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด “ภาษี” หมายความว่า ภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “สมาคมกีฬา” หมายความว่า สมาคมกีฬาที่ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาและได้จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย “ผู้ว่าการ” หมายความว่า ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย “รองผู้ว่าการ” หมายความว่า รองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย “พนักงาน” หมายความว่า พนักงานของการกีฬาแห่งประเทศไทย และหมายความรวมถึงรองผู้ว่าการด้วย “ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างของการกีฬาแห่งประเทศไทย “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา นายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำกรุงเทพมหานคร หรือนายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ และกำหนดกิจการอื่น หรือออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงหรือระเบียบนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ การจัดตั้ง ทุน และทุนสำรอง มาตรา ๖ ให้จัดตั้งองค์การขึ้นเรียกว่า “การกีฬาแห่งประเทศไทย” เรียกโดยย่อว่า “กกท.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “SPORTS AUTHORITY OF THAILAND” เรียกโดยย่อว่า “SAT” และให้มีตราเครื่องหมายของ “กกท.” รูปลักษณะตราเครื่องหมายตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง มาตรา ๗ ให้ กกท. เป็นนิติบุคคล มีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดใกล้เคียงและจะจัดตั้งสำนักงานสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใดภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรก็ได้ แต่การตั้งสำนักงานสาขาภายนอกราชอาณาจักรต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี มาตรา ๘ กกท. มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมการกีฬา (๒) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานเกี่ยวกับการกีฬา (๓) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และจัดทำโครงการ แผนงาน และสถิติเกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬา รวมทั้งประเมินผล (๔) จัด ช่วยเหลือ แนะนำ และร่วมมือในการจัดและดำเนินกิจกรรมกีฬา (๕) สำรวจ จัดสร้าง และบูรณะสถานที่สำหรับการกีฬา (๖) ติดต่อร่วมมือกับองค์การหรือสมาคมกีฬาทั้งในและนอกราชอาณาจักร (๗) สอดส่องและกำกับดูแลการดำเนินกิจกรรมกีฬา (๘) ริเริ่ม พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการกีฬาคนพิการ (๙) ประกอบกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวแก่หรือเพื่อประโยชน์ของการกีฬา มาตรา ๙ ให้ กกท. มีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๘ และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ถือกรรมสิทธิ์ หรือมีสิทธิครอบครอง หรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง ทำการแลกเปลี่ยน โอน รับโอน หรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักรตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๒) กู้ยืมเงินภายในและภายนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด (๓) ให้กู้ยืมเงินโดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แก่กิจการของ กกท. ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๐ ทุนของ กกท. ประกอบด้วย (๑) เงินและทรัพย์สินที่โอนมาตามมาตรา ๑๓๑ (๒) เงินที่ได้จากงบประมาณแผ่นดินให้เป็นทุนหรือเพื่อดำเนินงาน (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๔) เงินรายได้ตามมาตรา ๙๙ มาตรา ๑๑ กกท. อาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้ (๑) รายได้จากทรัพย์สินของ กกท. (๒) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๓) รายได้จากการจัดการแข่งขันกีฬา (๔) รายได้อื่น มาตรา ๑๒ เงินสำรองของ กกท. ให้ประกอบด้วยเงินสำรองธรรมดาซึ่งตั้งไว้เผื่อขาดเงินสำรองเพื่อการไถ่ถอนหนี้สินและเงินสำรองอื่น ๆ ตามความประสงค์แต่ละอย่างโดยเฉพาะตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร เงินสำรองธรรมดาจะนำออกใช้ได้ก็แต่โดยมติของคณะกรรมการ มาตรา ๑๓ ทรัพย์สินของ กกท. ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี หมวด ๒ คณะกรรมการและผู้ว่าการ มาตรา ๑๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย” ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานกรรมการ (๒) ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง (๓) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สอง (๔) ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ (๕) ผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๖) ผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๗) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกินสามคน โดยอย่างน้อยสองคนให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านกฎหมายจำนวนหนึ่งคน และด้านการแพทย์ การบริหารการกีฬา หรือวิทยาศาสตร์การกีฬาจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ผู้ว่าการเป็นกรรมการและเลขานุการ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตาม (๕) และ (๖) ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๕ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) และ (๗) ต้องไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างและต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจด้วย มาตรา ๑๖ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) และ (๗) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปีและอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ดำเนินการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการประเภทเดียวกันแทนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงสามสิบวัน จะไม่เลือกหรือแต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ ในกรณีที่กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) หรือ (๗) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๗) เพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้เลือกหรือแต่งตั้งไว้แล้ว เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) หรือ (๗) ขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๖ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) และ (๗) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ขาดการประชุมคณะกรรมการเกินสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร (๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๕ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) หรือ (๖) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด แล้วแต่กรณี กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๗) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ออก ในกรณีที่กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) หรือ (๗) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่ตำแหน่งผู้ว่าการว่างลงและยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งแทน ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่ แต่จะต้องมีจำนวนกรรมการรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด มาตรา ๑๘ เพื่อประโยชน์แห่งกิจการของ กกท. ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดของ กกท. แล้วรายงานต่อคณะกรรมการ มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ กกท. อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ออกข้อบังคับหรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรา ๘ และมาตรา ๙ (๒) ออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการดำเนินกิจการของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริหารกองทุน และคณะอนุกรรมการ (๓) ออกข้อบังคับว่าด้วยการจัดแบ่งส่วนงานและการบริหารงานของ กกท. (๔) ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของผู้ว่าการ และการมอบให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนผู้ว่าการ (๕) ออกข้อบังคับกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และเงินอื่น ๆ ของพนักงานและลูกจ้าง (๖) ออกข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือนหรือค่าจ้าง การพ้นจากตำแหน่งวินัย การลงโทษ และการอุทธรณ์การลงโทษพนักงานและลูกจ้าง (๗) ออกระเบียบว่าด้วยการร้องทุกข์ของพนักงานและลูกจ้าง (๘) ออกข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการของพนักงาน ลูกจ้าง และครอบครัว (๙) ออกข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทน ให้แก่ประธานกรรมการ กรรมการผู้ว่าการ พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ปฏิบัติงานให้แก่ กกท. โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๑๐) ออกระเบียบว่าด้วยเครื่องแบบผู้ว่าการ พนักงาน และลูกจ้าง (๑๑) ออกระเบียบว่าด้วยการเงินและการบริหารเงินรายได้ของ กกท. (๑๒) ออกระเบียบว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การบริหารกองทุนและการจัดหาผลประโยชน์ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๑๓) จำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญ ข้อบังคับหรือระเบียบตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีข้อความจำกัดอำนาจของผู้ว่าการในการทำนิติกรรมไว้ประการใด ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งผู้ว่าการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มาตรา ๒๑ ผู้ว่าการนอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจแล้วยังต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในธุรกิจการกีฬา (๒) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับ กกท. หรือในกิจการที่กระทำให้แก่ กกท. ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่เป็นเพียงผู้ถือหุ้นเพื่อการลงทุนโดยสุจริตในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดหรือเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในกิจการที่กระทำการอันมีส่วนได้เสียเช่นว่านั้น หรือเป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เป็นประธานกรรมการ กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้ดำเนินกิจการในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ กกท. เป็นผู้ถือหุ้น มาตรา ๒๒ ผู้ว่าการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑ (๕) คณะกรรมการมีมติเห็นสมควรให้เลิกจ้าง (๖) สัญญาจ้างสิ้นสุดลง มติของคณะกรรมการให้เลิกจ้างตาม (๕) ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่นอกจากผู้ว่าการ และให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ มาตรา ๒๓ ผู้ว่าการมีหน้าที่บริหารกิจการของ กกท. ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ กกท. และตามนโยบาย ข้อบังคับ และระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดกับมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่ง ผู้ว่าการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของ กกท. มาตรา ๒๔ ผู้ว่าการมีอำนาจ (๑) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนให้พนักงานและลูกจ้างออกจากตำแหน่งตามข้อบังคับหรือระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าเป็นพนักงานหรือลูกจ้างชั้นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการฝ่าย หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน (๒) กำหนดเงื่อนไขในการทำงานของพนักงานและลูกจ้าง และออกระเบียบการปฏิบัติงานของ กกท. โดยไม่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับหรือระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๒๕ ให้รองผู้ว่าการมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่งรองจากผู้ว่าการและมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของ กกท. ตามที่ผู้ว่าการมอบหมาย มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ผู้ว่าการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อตำแหน่งผู้ว่าการว่างลงและยังมิได้แต่งตั้งผู้ว่าการ ให้รองผู้ว่าการรักษาการแทนผู้ว่าการ ถ้าไม่มีรองผู้ว่าการ หรือรองผู้ว่าการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งพนักงานคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทนผู้ว่าการ ในการปฏิบัติหน้าที่ของรองผู้ว่าการหรือผู้รักษาการแทนผู้ว่าการตามวรรคหนึ่ง ให้รองผู้ว่าการหรือผู้รักษาการแทนผู้ว่าการมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ว่าการ เว้นแต่อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าการในฐานะกรรมการ มาตรา ๒๗ ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้ว่าการเป็นผู้แทนของ กกท. และเพื่อการนี้ผู้ว่าการจะมอบอำนาจให้บุคคลใด ๆ ปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด นิติกรรมที่ผู้ว่าการกระทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบตามมาตรา ๑๙ ย่อมไม่ผูกพัน กกท. มาตรา ๒๘ ให้ประธานกรรมการและกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หมวด ๓ คณะกรรมการกีฬาจังหวัด มาตรา ๒๙ ในแต่ละจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการกีฬาจังหวัด และให้สำนักงาน กกท. จังหวัด ทำหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการ งานประชุม การศึกษาข้อมูลและกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการกีฬาจังหวัด มาตรา ๓๐ คณะกรรมการกีฬาจังหวัดประกอบด้วย (๑) ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ (๒) รองผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ (๓) ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด เป็นกรรมการ (๔) ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนั้น จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๕) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มิใช่องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวนหนึ่งคนเป็นกรรมการ (๖) ผู้แทนองค์กรเอกชนในจังหวัดนั้น จำนวนสองคน เป็นกรรมการ (๗) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คนแต่ไม่เกินแปดคนเป็นกรรมการ โดยต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านกีฬาคนพิการอย่างน้อยหนึ่งคน ให้ผู้อำนวยการสำนักงาน กกท. จังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ หลักเกณฑ์และวิธีการในการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตาม (๔) (๕) (๖) และ (๗) ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๑ คณะกรรมการกีฬาจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอนโยบาย แผนงาน และโครงการส่งเสริมกีฬาภายในจังหวัดต่อคณะกรรมการ (๒) ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ กกท. ตามมาตรา ๘ (๓) ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ และสนับสนุน กกท. สมาคมกีฬา และหน่วยงานกีฬาที่เกี่ยวข้องในการแข่งขันกีฬาและการดำเนินกิจกรรมกีฬาของจังหวัด (๔) ออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ (๕) ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย มาตรา ๓๒ ให้นำมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการกีฬาจังหวัดโดยอนุโลม หมวด ๔ การส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา มาตรา ๓๓ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา คณะกรรมการมีอำนาจให้ทุน ทรัพย์สิน หรือสิทธิประโยชน์อื่น แก่คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา นักกีฬา หรือบุคลากรกีฬาเพื่อใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา ตลอดจนให้คณะกรรมการมีอำนาจให้การสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬาได้ด้วย การให้ทุน ทรัพย์สิน หรือสิทธิประโยชน์อื่น ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬาตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการจะกำหนดเงื่อนไขในการให้ไว้ด้วยก็ได้ หลักเกณฑ์การพิจารณาและการกำหนดประเภทของบุคคลซึ่งพึงได้รับทุน ทรัพย์สิน หรือสิทธิประโยชน์อื่น ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา หรือการสงเคราะห์อื่นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๔ คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา นักกีฬา หรือบุคลากรกีฬาใดประสงค์จะขอรับทุน ทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ หรือการสงเคราะห์อื่นตามมาตรา ๓๓ ให้ยื่นคำขอต่อ กกท. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๕ ในกรณีที่คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา นักกีฬา หรือบุคลากรกีฬาที่ได้รับทุน ทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ หรือการสงเคราะห์อื่นตามมาตรา ๓๓ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งยกเลิกการให้ทุน ทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ หรือการสงเคราะห์อื่นทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ถ้าคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า การที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนั้นมิได้เป็นการกระทำโดยจงใจ คณะกรรมการจะเตือนเป็นหนังสือให้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดก็ได้ และเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา นักกีฬา หรือบุคลากรกีฬานั้นมิได้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง ให้คณะกรรมการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หมวด ๕ กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ มาตรา ๓๖ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ” ใน กกท. เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเพื่อการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา คุ้มครอง ช่วยเหลือและจัดสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา โดยประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินบำรุงกองทุนที่จัดเก็บตามมาตรา ๓๗ (๒) เงินและทรัพย์สินที่โอนมาตามมาตรา ๑๓๓ (๓) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ (๔) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็น (๕) เงินรายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน (๖) รายได้ที่เกิดจากการดำเนินการของกองทุน (๗) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๘) รายได้อื่น ๆ ให้ กกท. เก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุนและดำเนินการเบิกจ่ายเงินกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ เงินและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งให้เป็นของ กกท. เพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนโดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน มาตรา ๓๗ ให้กองทุนมีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละสองของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในการคำนวณเงินบำรุงกองทุนตามอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่ง หากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง มาตรา ๓๘ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บและส่งเงินบำรุงกองทุน (๑) ให้กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรเป็นผู้ดำเนินการเรียกเก็บเงินบำรุงกองทุน เพื่อนำส่งเป็นรายได้ของกองทุน โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด (๒) เงินบำรุงกองทุนให้ถือเป็นภาษี แต่ไม่ให้นำไปรวมคำนวณเป็นมูลค่าของภาษี มาตรา ๓๙ ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนตามอัตราที่กำหนดตามมาตรา ๓๗ พร้อมกับการชำระภาษีตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบได้รับการยกเว้นหรือคืนภาษี ให้ได้รับการยกเว้นหรือคืนเงินบำรุงกองทุนด้วย ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ส่งเงินบำรุงกองทุนหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนด หรือส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง นอกจากจะมีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้เสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่ส่งหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนดหรือจำนวนเงินที่ส่งขาดไป แล้วแต่กรณี นับแต่วันครบกำหนดส่งจนถึงวันที่ส่งเงินบำรุงกองทุน แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนเงินบำรุงกองทุนและให้ถือว่าเงินเพิ่มนี้เป็นเงินบำรุงกองทุนด้วย ในการคำนวณระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน มาตรา ๔๒ เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมกีฬาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานักกีฬา บุคลากรกีฬา และสมาคมกีฬา (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการเตรียมนักกีฬาเพื่อให้เป็นนักกีฬาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ (๔) สนับสนุนเงินรางวัลแก่นักกีฬา บุคลากรกีฬา และสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ซึ่งประกอบคุณความดีแก่การกีฬาของชาติหรือนำชื่อเสียงเกียรติภูมิมาสู่ประเทศชาติ (๕) สนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬา (๖) ช่วยเหลือด้านสวัสดิการแก่นักกีฬา บุคลากรกีฬา และผู้ซึ่งประสบอุบัติเหตุ หรือได้รับความเสียหายหรืออันตรายจากการแข่งขันกีฬา และกรณีอื่นอันควรแก่การสงเคราะห์ (๗)[๒] ส่งเสริมและสนับสนุนกีฬามวยตามกฎหมายว่าด้วยกีฬามวย และกีฬาอาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกีฬาอาชีพ นอกจากการใช้จ่ายเงินกองทุนตามวรรคหนึ่ง ให้จัดสรรเงินกองทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๓ ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย (๑) รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ (๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง (๓) ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สอง (๔) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สาม (๕) ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ (๖) ผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๗) ผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๘) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากบุคคลที่ไม่เป็นพนักงานจำนวนสองคน โดยให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านเศรษฐศาสตร์หรือการเงินจำนวนหนึ่งคนและด้านการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์การกีฬาจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ผู้ว่าการเป็นกรรมการบริหารกองทุนและเลขานุการ กรรมการบริหารกองทุนตาม (๖) (๗) และ (๘) จะดำรงตำแหน่งกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) หรือ (๗) ในขณะเดียวกันมิได้ หลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และวิธีการในการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนตาม (๖) (๗) และ (๘) ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๔ กรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) (๗) และ (๘) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ ในกรณีที่กรรมการบริหารกองทุนตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้ดำเนินการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนประเภทเดียวกันแทนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการบริหารกองทุนว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการบริหารกองทุนเหลือไม่ถึงสามสิบวัน จะไม่เลือกหรือแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนแทนก็ได้ และให้ผู้ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) (๗) หรือ (๘) ขึ้นใหม่ ให้กรรมการบริหารกองทุนซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการบริหารกองทุนซึ่งได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๔๕ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๔๔ กรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) (๗) และ (๘) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะกรรมการให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ (๔) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๗) ขาดคุณสมบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๔๓ กรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) หรือ (๗) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด แล้วแต่กรณี ในกรณีที่กรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) (๗) หรือ (๘) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระหรือในกรณีที่ตำแหน่งผู้ว่าการว่างลงและยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งแทน ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนประกอบด้วยกรรมการบริหารกองทุนเท่าที่เหลืออยู่ แต่จะต้องมีจำนวนกรรมการบริหารกองทุนรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการบริหารกองทุนทั้งหมด มาตรา ๔๖ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) บริหารกองทุนรวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์และการจัดการกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (๒) พิจารณาอนุมัติโครงการที่ขอรับการส่งเสริมหรือสนับสนุนจากกองทุนและติดตามผลการดำเนินการของโครงการดังกล่าว (๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้เงินรางวัลแก่นักกีฬา บุคลากรกีฬา และสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” (๔) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ทุนการศึกษา และอนุมัติทุนการศึกษาแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬา (๕) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือด้านสวัสดิการแก่บุคคลตามมาตรา ๔๒ (๖) (๖) รายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนต่อคณะกรรมการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (๗) วางระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการบริหารกองทุนอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนมอบหมายก็ได้ มาตรา ๔๗ การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การบริหารกองทุน และการจัดหาผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๘ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนจัดทำงบดุลและบัญชีทำการส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนทุกรอบปีแล้วทำรายงานผลการสอบและรับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีเพื่อคณะกรรมการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ หมวด ๖ สมาคมกีฬา ส่วนที่ ๑ การจัดตั้งสมาคมกีฬา มาตรา ๔๙ สมาคมกีฬาจะมีขึ้นได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ สมาคมกีฬาตามวรรคหนึ่งต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาโดยมีการจัดการแข่งขันกีฬาหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน และอาจมีการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา มาตรา ๕๐ สมาคมกีฬาต้องมีข้อบังคับและต้องจดทะเบียน เมื่อได้จดทะเบียนแล้วให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล มาตรา ๕๑ ให้จัดตั้งสำนักงานกลางทะเบียนสมาคมกีฬาขึ้นใน กกท. เพื่อควบคุมการจดทะเบียนเป็นสมาคมกีฬาทั่วราชอาณาจักร และทำหน้าที่เป็นสำนักงานทะเบียนสมาคมกีฬาประจำกรุงเทพมหานคร ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้สำนักงาน กกท. จังหวัด ทำหน้าที่เป็นสำนักงานทะเบียนสมาคมกีฬาประจำจังหวัด ให้ผู้ว่าการหรือผู้ซึ่งผู้ว่าการมอบหมายเป็นนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาและนายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำกรุงเทพมหานคร และให้ผู้อำนวยการสำนักงาน กกท. จังหวัด หรือผู้ซึ่งผู้ว่าการมอบหมายเป็นนายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำจังหวัด มาตรา ๕๒ ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สามารถขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาได้ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕๓ การขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคนยื่นคำขอพร้อมด้วยข้อบังคับของสมาคมกีฬาอย่างน้อยสามฉบับต่อนายทะเบียนประจำท้องที่ที่จะตั้งสำนักงาน คุณสมบัติของผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคมกีฬา หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำขอจดทะเบียนและการจดทะเบียนให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๕๔ ในการขอจดทะเบียน ถ้าได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๓ มีข้อบังคับถูกต้องตามมาตรา ๕๖ และข้อบังคับนั้นไม่ขัดต่อกฎหมายและวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬากับทั้งผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคมกีฬาทุกคนมีคุณสมบัติถูกต้องตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดตามมาตรา ๕๓ วรรคสอง ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนได้ และให้ออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนตามแบบที่คณะกรรมการประกาศกำหนดให้แก่สมาคมกีฬานั้น การจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาและการเลิกสมาคมกีฬา ให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถ้านายทะเบียนเห็นว่าในการขอจดทะเบียนมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ผู้ยื่นคำขอแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เมื่อได้แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงถูกต้องแล้ว ให้นายทะเบียนออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่สมาคมกีฬานั้น ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามวรรคสามภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งนายทะเบียน หรือหากนายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นว่า วัตถุประสงค์ตามที่ยื่นคำขอมิได้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๙ วรรคสอง ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและแจ้งคำสั่งไม่รับจดทะเบียนพร้อมด้วยเหตุผลไปยังผู้ขอจดทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำขอ ให้ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว และให้นายทะเบียนส่งหนังสืออุทธรณ์ต่อไปยังคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ดังกล่าว ให้คณะกรรมการวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับหนังสืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด มาตรา ๕๕ ในกรณีที่ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้นายทะเบียนออกใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้เมื่อสมาคมกีฬาร้องขอ การขอรับใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การออกใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนและแบบใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๕๖ ข้อบังคับของสมาคมกีฬาอย่างน้อยต้องมีข้อความเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อ ซึ่งต้องมีคำว่า “สมาคมกีฬา” กำกับไว้กับชื่อนั้นด้วย (๒) วัตถุประสงค์ (๓) ที่ตั้งสำนักงานและวันเวลาเปิดทำการ (๔) วิธีการรับสมาชิกและการขาดจากสมาชิกภาพ (๕) ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก (๖) อัตราค่าบำรุง (๗) ข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการสมาคมกีฬา ได้แก่ จำนวนกรรมการ การตั้งกรรมการวาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมคณะกรรมการสมาคมกีฬา (๘) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการสมาคมกีฬา การบัญชี และทรัพย์สินของสมาคมกีฬา (๙) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ (๑๐) ข้อกำหนดอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา การกำหนดระยะเวลาของวาระการดำรงตำแหน่งตาม (๗) ของกรรมการสมาคมกีฬาทั่วไปและสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ต้องกำหนดให้ไม่เกินสี่ปี การกำหนดระยะเวลาของวาระการดำรงตำแหน่งตาม (๗) ของกรรมการสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ชนิดกีฬาใด ต้องกำหนดให้สอดคล้องกับระยะเวลาของวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการบริหารสหพันธ์กีฬานานาชาติของชนิดกีฬานั้นด้วย มาตรา ๕๗ สมาคมกีฬาต้องใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า “สมาคมกีฬา” ประกอบกับชื่อของสมาคมกีฬา มาตรา ๕๘ การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมกีฬาจะกระทำได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่ และต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานของสมาคมกีฬาตั้งอยู่ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติ เมื่อนายทะเบียนได้จดทะเบียนแล้วให้มีผลใช้บังคับได้ การยื่นคำขอจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด นายทะเบียนมีอำนาจไม่รับจดทะเบียนการแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมกีฬาได้เมื่อเห็นว่าการแก้ไขหรือเพิ่มเติมนั้นขัดต่อวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาหรือขัดต่อกฎหมาย ในกรณีที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนการแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมกีฬา ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๕๙ การแต่งตั้งกรรมการสมาคมกีฬาขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมกีฬา ให้กระทำตามข้อบังคับของสมาคมกีฬานั้น และสมาคมกีฬาต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานของสมาคมกีฬาตั้งอยู่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมกีฬานั้น ถ้านายทะเบียนเห็นว่ากรรมการสมาคมกีฬาตามวรรคหนึ่งผู้ใด มีฐานะ ความประพฤติ หรือคุณสมบัติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาหรือกระบวนการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมกีฬาขัดต่อกฎหมายหรือข้อบังคับของสมาคมกีฬา นายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียนกรรมการสมาคมกีฬาผู้นั้นก็ได้ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนกรรมการสมาคมกีฬานายทะเบียนต้องแจ้งเหตุผลที่ไม่รับจดทะเบียนให้สมาคมกีฬาทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน โดยให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในระหว่างที่ยังไม่มีการจดทะเบียนกรรมการสมาคมกีฬาชุดใหม่ หากข้อบังคับของสมาคมกีฬามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้กรรมการสมาคมกีฬาชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่กรรมการสมาคมกีฬาต่อไปจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนกรรมการสมาคมกีฬาชุดใหม่ มาตรา ๖๐ ห้ามมิให้บุคคลใดใช้ชื่อที่มีอักษรไทยประกอบว่า “สมาคมกีฬา” หรืออักษรต่างประเทศซึ่งแปลหรืออ่านว่า “สมาคมกีฬา” ในดวงตรา ป้ายชื่อ หรือเอกสารต่าง ๆ โดยมิได้เป็นสมาคมกีฬา เว้นแต่เป็นการใช้ในการขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา มาตรา ๖๑ ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาสอบถามหรือให้ส่งเอกสารมาเพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาได้ ส่วนที่ ๒ ประเภทของสมาคมกีฬา มาตรา ๖๒ สมาคมกีฬาแบ่งออกเป็นสามประเภท คือ (๑) สมาคมกีฬาทั่วไป (๒) สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด (๓) สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” มาตรา ๖๓ สมาคมกีฬาทั่วไปเป็นสมาคมกีฬาที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาแก่สมาชิกเป็นการทั่วไป มาตรา ๖๔ สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเป็นสมาคมกีฬาทั่วไปที่จัดตั้งขึ้นในแต่ละจังหวัด โดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และมีการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาซึ่งมีความหลากหลายของชนิดกีฬาและได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดจากนายทะเบียนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ในกรณีที่นายทะเบียนไม่อนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหกมาใช้บังคับโดยอนุโลม สมาคมกีฬาทั่วไปที่ได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ต้องใช้คำว่า “สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด” ประกอบในชื่อของสมาคมกีฬานั้น สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดอาจรับสมาชิกจากสมาคมกีฬาทั่วไป ชมรม สโมสร องค์กร หรือบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมกีฬาซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนั้น มาตรา ๖๕ สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามมาตรา ๖๔ สามารถดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา โดยส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาหรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของจังหวัด มาตรา ๖๖ ห้ามมิให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่มิได้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดแสดงตนว่าเป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด มาตรา ๖๗ สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” เป็นสมาคมกีฬาทั่วไปที่จัดตั้งขึ้นโดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในระดับชาติ และได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” จากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ในกรณีที่นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาไม่อนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม สมาคมกีฬาทั่วไปที่ได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ต้องใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ประกอบในชื่อของสมาคมกีฬานั้น สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” อาจรับสมาชิกจากสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดสมาคมกีฬาทั่วไป ชมรม สโมสร องค์กร หรือบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมกีฬาซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” นั้น ในกรณีที่สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ให้สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” นั้นพิจารณาถึงชนิดกีฬาที่สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนั้นดำเนินกิจกรรมอยู่ประกอบการพิจารณารับสมัครสมาชิกด้วย มาตรา ๖๘ สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” สามารถดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา โดยส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย ในการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยตามวรรคหนึ่ง ต้องขออนุญาตจากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาเป็นรายกรณีไป ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๖๙ ห้ามมิให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่มิได้เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” แสดงตนว่าเป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ห้ามมิให้สมาคมกีฬาทั่วไป สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด คณะบุคคล หรือบุคคลใดใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใดที่แสดงว่าเป็นสมาคม คณะบุคคล หรือบุคคล ซึ่งดำเนินกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา ห้ามมิให้สมาคมกีฬาทั่วไป สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด คณะบุคคล หรือบุคคลใดเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคสองและวรรคสาม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด โดยให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม ส่วนที่ ๓ การดำเนินกิจการของสมาคมกีฬา มาตรา ๗๐ ให้สมาคมกีฬามีคณะกรรมการสมาคมกีฬาเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมกีฬาและเป็นผู้แทนของสมาคมกีฬาในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้ คณะกรรมการสมาคมกีฬาจะมอบหมายให้กรรมการสมาคมกีฬาคนหนึ่งคนใดหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ มาตรา ๗๑ กรรมการสมาคมกีฬาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสมาคมกีฬา และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (๑) มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์เหมาะสมกับการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาภายในขอบวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬานั้น (๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๓) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๕) ไม่เคยถูกนายทะเบียนสั่งให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการสมาคมกีฬาตามมาตรา ๘๖ (๔) เว้นแต่จะพ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันที่ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๗๒ สมาชิกของสมาคมกีฬาที่มีสิทธิออกเสียงจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกที่มีสิทธิออกเสียง มีสิทธิขอตรวจสอบกิจการและทรัพย์สินของสมาคมกีฬาได้ โดยยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อสมาคมกีฬานั้น มาตรา ๗๓ ห้ามมิให้สมาคมกีฬากระทำการใด ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) ดำเนินการด้วยประการใด ๆ อันอาจเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือนำความเสื่อมเสียมาสู่การกีฬาของชาติ (๒) กีดกันหรือขัดขวางมิให้ผู้ใดซึ่งมีคุณสมบัติที่จะเข้าเป็นสมาชิกได้ตามข้อบังคับของสมาคมกีฬาเข้าเป็นสมาชิก หรือบังคับด้วยประการใด ๆ ให้เข้าเป็นสมาชิกโดยผู้นั้นไม่สมัครใจหรือให้สมาชิกออกจากสมาคมกีฬาโดยเจตนาอันไม่สุจริตหรือขัดต่อข้อบังคับของสมาคมกีฬา (๓) เปิดเผยข้อมูล เอกสาร หรือข้อความอันเกี่ยวกับประโยชน์ได้เสียโดยเฉพาะของสมาชิกผู้ใดเว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสมาชิกผู้นั้น (๔) ให้หรือยอมให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่กรรมการสมาคมกีฬาดำเนินกิจการในหน้าที่ของกรรมการสมาคมกีฬานั้น (๕) หาผลกำไรหรือรายได้เพื่อมาแบ่งปันกัน (๖) ให้การสนับสนุนด้านการเงินหรือทรัพย์สินแก่นักการเมืองหรือพรรคการเมืองใด (๗) กีดกันหรือขัดขวางมิให้นักกีฬาเข้าแข่งขันกีฬาโดยมีเจตนาอันไม่สุจริตหรือขัดต่อข้อบังคับของสมาคมกีฬา ส่วนที่ ๔ การกำกับดูแลสมาคมกีฬา มาตรา ๗๔ สมาคมกีฬาต้องปฏิบัติตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด ในกรณีที่สมาคมกีฬาใดดำเนินการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้สมาคมกีฬานั้นแก้ไขหรือระงับการดำเนินการฝ่าฝืนดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๗๕ ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้กรรมการสมาคมกีฬาหรือสมาชิกมาชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของสมาคมกีฬา หรือให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือรายงานการประชุมของสมาคมกีฬาได้ มาตรา ๗๖ นายทะเบียนหรือพนักงานที่ผู้ว่าการมอบหมายอาจเข้าร่วมการประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬาและอาจชี้แจงแสดงข้อคิดเห็นแก่ที่ประชุมใหญ่ได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน มาตรา ๗๗ สมาคมกีฬาต้องจัดให้มีทะเบียนสมาชิกตามแบบที่นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬากำหนด และให้เก็บรักษาทะเบียนดังกล่าวพร้อมหลักฐานและเอกสารที่ใช้ประกอบการลงทะเบียนไว้ที่สำนักงานของสมาคมกีฬา เมื่อมีการรับสมาชิกใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับทะเบียนสมาชิก ให้สมาคมกีฬาแจ้งการรับสมาชิกใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงนั้นต่อนายทะเบียนภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่รับสมาชิกใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลง มาตรา ๗๘ ให้สมาคมกีฬาจัดทำงบดุลอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือนอันจัดว่าเป็นรอบปีในทางบัญชีของสมาคมกีฬานั้น งบดุลนั้นต้องมีรายการแสดงจำนวนสินทรัพย์และหนี้สินของสมาคมกีฬากับทั้งบัญชีรายรับรายจ่ายงบดุลต้องทำให้แล้วเสร็จและจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติต่อที่ประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬาภายในกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สิ้นปีการบัญชี มาตรา ๗๙ ให้สมาคมกีฬาจัดทำรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินการของสมาคมกีฬาเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ในคราวที่เสนองบดุล และให้ส่งสำเนารายงานกับงบดุลไปยังนายทะเบียนภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมใหญ่ มาตรา ๘๐ ผู้ใดประสงค์จะขอตรวจหรือคัดเอกสาร หรือขอให้คัดและรับรองสำเนาเอกสารเกี่ยวกับสมาคมกีฬา ให้ยื่นคำขอตามแบบที่นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬากำหนด มาตรา ๘๑ นอกเหนือจากการกำกับดูแลสมาคมกีฬาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๗๔ ถึงมาตรา ๘๐ เพื่อประโยชน์แก่การกำกับดูแลการดำเนินการของสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดและสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ให้นายทะเบียนมีอำนาจดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๒ ถึงมาตรา ๘๘ ด้วย มาตรา ๘๒ ในกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมกีฬา ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการสมาคมกีฬานั้นเรียกประชุมใหญ่วิสามัญหรือให้คณะกรรมการสมาคมกีฬามาประชุมกันเพื่อพิจารณาหรือวินิจฉัยปัญหาของสมาคมกีฬาได้ มาตรา ๘๓ เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าสมาคมกีฬาใดจะดำเนินการไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือนำความเสื่อมเสียมาสู่การกีฬาของชาติให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้สมาคมกีฬานั้นแจ้งวันและเวลาประชุมทุกคราวมาให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน ในกรณีเช่นนี้ให้นายทะเบียนหรือพนักงานที่ผู้ว่าการมอบหมายมีอำนาจเข้าไปฟังการประชุมได้ สมาคมกีฬาใดไม่แจ้งวันและเวลาประชุมตามคำสั่งของนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนดให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้สมาคมกีฬานั้นงดการประชุมได้ครั้งหนึ่งไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่ง ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้งดการประชุม ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหกมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๔ เมื่อสมาชิกของสมาคมกีฬาซึ่งมีสิทธิออกเสียงจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกซึ่งมีสิทธิออกเสียง กรรมการสมาคมกีฬาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการสมาคมกีฬาเท่าที่มีอยู่ หรือพนักงานซึ่งเข้าร่วมในการประชุมกรรมการสมาคมกีฬาหรือการประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬาร้องขอว่าการประชุมกรรมการสมาคมกีฬาหรือการประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬานั้น ได้นัดเรียกหรือได้ประชุมกันหรือได้ลงมติฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือข้อบังคับของสมาคมกีฬา ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนมติของที่ประชุมกรรมการสมาคมกีฬาหรือมติของที่ประชุมใหญ่ที่เกิดขึ้นในการประชุมที่ได้เรียกหรือได้ประชุมกันหรือได้ลงมติฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือข้อบังคับของสมาคมกีฬานั้นเสียได้ การร้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมกรรมการสมาคมกีฬาหรือมติของที่ประชุมใหญ่ตามวรรคหนึ่ง สมาชิกของสมาคมกีฬา กรรมการสมาคมกีฬา หรือพนักงาน ต้องร้องขอภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ประชุมลงมติ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้เพิกถอนมติของที่ประชุมตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๕ ในกรณีที่กรรมการสมาคมกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมกีฬากระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่สมาคมกีฬา หรือกระทำการในประการที่น่าจะทำให้ประเทศชาติเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ถ้าสมาคมกีฬาไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดี ให้นายทะเบียนร้องทุกข์หรือฟ้องคดีได้โดยให้พนักงานอัยการรับว่าต่างให้ก็ได้ การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากจะต้องมีค่าใช้จ่ายให้ทดรองจ่ายจากเงินกองทุน ให้สมาคมกีฬาชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการร้องทุกข์ การฟ้องคดี หรือการว่าต่างให้แก่กองทุนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี มาตรา ๘๖ ในกรณีที่คณะกรรมการสมาคมกีฬาหรือกรรมการสมาคมกีฬากระทำการหรืองดเว้นกระทำการในการปฏิบัติหน้าที่ของตนจนทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของสมาคมกีฬา หรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดในประการที่น่าจะนำความเสื่อมเสียมาสู่การกีฬาของชาติไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ปฏิบัติการ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาหรือกรรมการสมาคมกีฬาระงับการปฏิบัติการที่เป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสียประโยชน์ของสมาคมกีฬาหรือการกีฬาของชาติ (๒) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาหรือกรรมการสมาคมกีฬาแก้ไขข้อบกพร่องตามวิธีการและระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด (๓) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาหรือกรรมการสมาคมกีฬาหยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องนั้นให้เสร็จตามวิธีการและภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด (๔) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะหรือให้กรรมการสมาคมกีฬาซึ่งเกี่ยวข้องกับการนั้นพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหกมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๗ เมื่อนายทะเบียนสั่งให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้นายทะเบียนแต่งตั้งคณะกรรมการสมาคมกีฬาชั่วคราวขึ้นคณะหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ และมีสิทธิเช่นเดียวกับคณะกรรมการสมาคมกีฬา ในกรณีที่ไม่มีการอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๖ (๔) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาชั่วคราวจัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมกีฬาขึ้นใหม่ทั้งคณะให้เสร็จสิ้นภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง ในกรณีที่มีการอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๖ (๔) ห้ามมิให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมกีฬาขึ้นใหม่จนกว่าคณะกรรมการจะได้วินิจฉัยอุทธรณ์แล้วเสร็จและให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาชั่วคราวจัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมกีฬาขึ้นใหม่ทั้งคณะให้เสร็จสิ้นภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการอุทธรณ์ มาตรา ๘๘ เมื่อนายทะเบียนสั่งให้กรรมการสมาคมกีฬาคนใดพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ให้สมาคมกีฬาดำเนินการตั้งผู้เป็นกรรมการสมาคมกีฬาแทนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่กรรมการสมาคมกีฬาพ้นจากตำแหน่ง ถ้ามิได้ตั้งหรือตั้งไม่ได้ตามกำหนดเวลาและนายทะเบียนเห็นสมควร นายทะเบียนอาจแต่งตั้งสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นกรรมการสมาคมกีฬาแทน และให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งกรรมการสมาคมกีฬาเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน แต่ถ้าวาระของกรรมการสมาคมกีฬาผู้นั้นเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน สมาคมกีฬาจะตั้งกรรมการสมาคมกีฬาแทนหรือนายทะเบียนจะดำเนินการแต่งตั้งกรรมการสมาคมกีฬาแทนหรือไม่ก็ได้ ส่วนที่ ๕ การเลิกสมาคมกีฬา มาตรา ๘๙ สมาคมกีฬาย่อมเลิกด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อมีเหตุตามที่กำหนดในข้อบังคับของสมาคมกีฬา (๒) ถ้าสมาคมกีฬาตั้งขึ้นไว้เฉพาะระยะเวลาใด เมื่อสิ้นระยะเวลานั้น (๓) เมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก (๔) เมื่อสมาคมกีฬาล้มละลาย (๕) เมื่อนายทะเบียนถอนชื่อสมาคมกีฬาออกจากทะเบียนตามมาตรา ๙๐ (๖) ศาลสั่งให้เลิกตามมาตรา ๙๒ เมื่อเลิกสมาคมกีฬาตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศการเลิกสมาคมกีฬาในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙๐ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งถอนชื่อสมาคมกีฬาออกจากทะเบียนได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อปรากฏในภายหลังการจดทะเบียนว่า วัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่การกีฬาของชาติ และนายทะเบียนได้สั่งให้แก้ไขแล้วแต่สมาคมกีฬาไม่ปฏิบัติตามภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด (๒) เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของสมาคมกีฬาขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่การกีฬาของชาติ (๓) เมื่อสมาคมกีฬาหยุดดำเนินกิจการติดต่อกันตั้งแต่สองปีขึ้นไป (๔) เมื่อปรากฏว่าสมาคมกีฬาให้หรือปล่อยให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่กรรมการสมาคมกีฬาเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมกีฬา (๕) เมื่อสมาคมกีฬามีสมาชิกเหลือน้อยกว่าสิบรายมาเป็นเวลาติดต่อกันกว่าสองปี (๖) เมื่อสมาคมกีฬาไม่แก้ไขหรือระงับการดำเนินการตามที่นายทะเบียนสั่งตามมาตรา ๗๔ วรรคสอง และการฝ่าฝืนดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สมาคมกีฬาหรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่การกีฬาของชาติ ในกรณีที่สมาคมกีฬาตาม (๖) เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” นายทะเบียนจะเพิกถอนการอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” โดยไม่ถอนชื่อสมาคมกีฬานั้นออกจากทะเบียนก็ได้ มาตรา ๙๑ เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งให้ถอนชื่อสมาคมกีฬาใดออกจากทะเบียนตามมาตรา ๙๐ วรรคหนึ่ง หรือเพิกถอนการอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามมาตรา ๙๐ วรรคสองแล้ว ให้นายทะเบียนแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลไปยังสมาคมกีฬานั้นโดยมิชักช้า กรรมการสมาคมกีฬาคนหนึ่งคนใดหรือสมาชิกของสมาคมกีฬาจำนวนไม่น้อยกว่าสามรายมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งต่อคณะกรรมการได้ โดยให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๙๒ เมื่อมีกรณีตามมาตรา ๙๐ ผู้มีส่วนได้เสียอาจร้องขอให้นายทะเบียนถอนชื่อสมาคมกีฬาออกจากทะเบียนได้ ถ้านายทะเบียนไม่ปฏิบัติตามคำร้องขอ โดยไม่แจ้งเหตุผลให้ผู้ร้องขอทราบภายในเวลาอันสมควร หรือนายทะเบียนได้แจ้งเหตุผลให้ทราบแล้วแต่ผู้ร้องขอไม่พอใจในเหตุผลดังกล่าว ผู้ร้องขอนั้นจะร้องขอต่อศาลให้สั่งเลิกสมาคมกีฬานั้นเสียก็ได้ มาตรา ๙๓ เมื่อสมาคมกีฬามีเหตุต้องเลิกตามมาตรา ๘๙ ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการเลิกสมาคมกีฬาแจ้งการเลิกสมาคมกีฬาต่อนายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเลิกสมาคมกีฬา ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้สมาคมกีฬาล้มละลายตามมาตรา ๘๙ (๔) หรือมีคำสั่งถึงที่สุดให้เลิกสมาคมกีฬาตามมาตรา ๙๒ ให้ศาลแจ้งคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวให้นายทะเบียนทราบด้วย มาตรา ๙๔ เมื่อสมาคมกีฬาใดต้องเลิกไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้มีการชำระบัญชีสมาคมกีฬานั้นและให้นำความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๙๕ เมื่อได้ชำระบัญชีแล้ว ถ้ามีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใดจะแบ่งให้แก่สมาชิกของสมาคมกีฬานั้นไม่ได้ ทรัพย์สินที่เหลือนั้นจะต้องโอนให้แก่สมาคม มูลนิธิ หรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการสาธารณกุศล ตามที่ได้ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับของสมาคมกีฬาหรือถ้าข้อบังคับไม่ได้ระบุชื่อไว้ก็ให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมใหญ่ แต่ถ้าข้อบังคับของสมาคมกีฬาหรือที่ประชุมใหญ่มิได้ระบุผู้รับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไว้ หรือระบุไว้แต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ให้ทรัพย์สินที่เหลืออยู่นั้นตกเป็นของแผ่นดิน หมวด ๗ การร้องทุกข์และการสงเคราะห์ มาตรา ๙๖ พนักงานและลูกจ้างมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๙๗ ให้ กกท. จัดให้มีกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการของพนักงาน ลูกจ้าง และครอบครัว ในกรณีพ้นจากตำแหน่ง ประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย ตาย หรือกรณีอื่นอันควรแก่การสงเคราะห์ ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด การจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นตามวรรคหนึ่ง การกำหนดหลักเกณฑ์การออกเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ การกำหนดประเภทของผู้ที่พึงได้รับการสงเคราะห์และหลักเกณฑ์การสงเคราะห์ ตลอดจนการจัดการเกี่ยวกับกองทุนสงเคราะห์ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๘ การเงิน การบัญชี และการตรวจสอบ มาตรา ๙๘ กกท. ต้องทำงบประมาณประจำปี โดยให้แยกเป็นงบลงทุนและงบทำการ สำหรับงบลงทุนให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและให้ความเห็นชอบ ส่วนงบทำการให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ มาตรา ๙๙ รายได้ที่ กกท. ได้รับจากการดำเนินงานในปีหนึ่ง ๆ ให้ตกเป็นของ กกท. สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และเมื่อได้หักรายจ่ายสำหรับการดำเนินงาน ค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม รวมตลอดถึงค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคา เงินสำรองตามมาตรา ๑๒ และเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นตามมาตรา ๙๗ แล้ว เหลือเท่าใดให้สะสมไว้เป็นเงินสำหรับใช้จ่ายต่อไป มาตรา ๑๐๐ กกท. ต้องเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๐๑ กกท. ต้องวางและรักษาไว้ซึ่งระบบการบัญชีที่เหมาะสมตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป และให้มีการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำ มาตรา ๑๐๒ กกท. ต้องจัดทำงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน ส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี มาตรา ๑๐๓ ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบรับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของ กกท. ทุกปี มาตรา ๑๐๔ ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุดบัญชีและเอกสารหลักฐานของ กกท. เพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามประธานกรรมการ กรรมการ ผู้ว่าการ พนักงาน และลูกจ้างของ กกท. มาตรา ๑๐๕ ผู้สอบบัญชีต้องทำรายงานผลการสอบบัญชีและการเงินเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อยหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีเพื่อคณะกรรมการเสนอต่อรัฐมนตรี มาตรา ๑๐๖ ให้คณะกรรมการทำรายงานปีละครั้งเสนอต่อคณะรัฐมนตรี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของ กกท. ในปีที่ล่วงมา พร้อมทั้งคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการ โครงการ และแผนงานที่จะจัดทำในปีถัดไป ให้ กกท. โฆษณารายงานประจำปีที่สิ้นไป โดยแสดงงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีรับรองว่าถูกต้องแล้ว รวมทั้งรายงานสรุปผลงานในปีที่ล่วงมาภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของ กกท. หมวด ๙ การกำกับและควบคุม มาตรา ๑๐๗ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ กกท. เพื่อการนี้จะสั่งให้ กกท. ชี้แจงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของ กกท. ที่ขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี ตลอดจนมีอำนาจที่จะสั่งให้ปฏิบัติการตามนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการได้ มาตรา ๑๐๘ ในกรณีที่ กกท. ต้องเสนอเรื่องใด ๆ ไปยังคณะรัฐมนตรี ให้ กกท. นำเรื่องเสนอรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อไปยังคณะรัฐมนตรี มาตรา ๑๐๙ กกท. ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) กู้ยืมเงินหรือให้กู้ยืมเงินมีจำนวนเกินคราวละห้าล้านบาท (๒) จำหน่ายอสังหาริมทรัพย์อันมีราคาเกินหนึ่งล้านบาท หมวด ๑๐ บทกำหนดโทษ มาตรา ๑๑๐ ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนตามมาตรา ๓๗ ผู้ใดไม่ส่งเงินบำรุงกองทุน หรือส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับตั้งแต่ห้าเท่าถึงยี่สิบเท่าของเงินบำรุงกองทุนที่จะต้องนำส่ง หรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจเปรียบเทียบได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการเปรียบเทียบคดีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ มาใช้บังคับกับการเปรียบเทียบคดีตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม มาตรา ๑๑๑ ผู้ใดดำเนินกิจการของคณะบุคคลหรือสมาคมใดที่มิใช่สมาคมกีฬาโดยกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้บุคคลอื่นหลงเชื่อว่ากิจการนั้นเป็นสมาคมกีฬาที่ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๒ ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลหรือสมาคมใดที่ใช้ชื่อหรือแสดงออกว่าเป็นสมาคมกีฬา โดยรู้อยู่แล้วว่าคณะบุคคลหรือสมาคมนั้นมิได้เป็นสมาคมกีฬาที่ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๑๓ ผู้ใดโฆษณา ชี้ชวน หรือจัดการให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดเข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลหรือสมาคมที่ใช้ชื่อหรือแสดงออกว่าเป็นสมาคมกีฬา โดยที่มิได้จดทะเบียนเป็นสมาคมกีฬาตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๔ สมาคมกีฬาใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๑๕ สมาคมกีฬาใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๘ มาตรา ๕๙ มาตรา ๗๓ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) มาตรา ๗๗ มาตรา ๗๘ มาตรา ๗๙ หรือมาตรา ๙๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๑๖ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะเลิกใช้ มาตรา ๑๑๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๖ หรือมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๙ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๙ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท มาตรา ๑๒๐ สมาคมกีฬาใดไม่ยอมให้สมาชิกของสมาคมกีฬาตรวจสอบกิจการและทรัพย์สินของสมาคมกีฬานั้นตามมาตรา ๗๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๒๑ สมาคมกีฬาใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๓ (๑) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๒๒ สมาคมกีฬาใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๒๓ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๗๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๔ สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๓ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๕ กรรมการสมาคมกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมกีฬาผู้ใดกระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่สมาคมกีฬา หรือกระทำการในประการที่น่าจะทำให้ประเทศชาติเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๖ (๔) หรือยังขืนเป็นกรรมการหรือสมาชิกของสมาคมกีฬาที่เลิกตามมาตรา ๘๙ หรือตามมาตรา ๑๓๖ วรรคหนึ่งแล้ว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๗ ในกรณีที่คณะกรรมการของสมาคมกีฬาไม่แจ้งการเลิกสมาคมกีฬาต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง กรรมการของสมาคมกีฬานั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินคนละหนึ่งหมื่นบาท เว้นแต่กรรมการผู้ใดของสมาคมกีฬานั้นจะพิสูจน์ได้ว่าการที่มิได้แจ้งนั้นมิได้เกิดจากการกระทำของตน มาตรา ๑๒๘ ผู้ใดแบ่งหรือโอนทรัพย์สินที่เหลืออยู่เมื่อได้ชำระบัญชีแล้วให้แก่บุคคลใดอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๙๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๒๙ ให้คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการกีฬาจังหวัด ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการกีฬาจังหวัด แล้วแต่กรณีตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๐ ให้ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ดำรงตำแหน่งต่อไปจนครบวาระ มาตรา ๑๓๑ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ พนักงาน ลูกจ้าง และงบประมาณของการกีฬาแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ไปเป็นของการกีฬาแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๒ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยตามมาตรา ๑๒๙ หรือคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยตามมาตรา ๑๔ แล้วแต่กรณี ทำหน้าที่คณะกรรมการบริหารกองทุนไปพลางก่อนจนกว่าจะมีคณะกรรมการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๓ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ตลอดจนงบประมาณของกองทุนการศึกษาของนักกีฬาตามข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารกองทุนการศึกษาของนักกีฬา พ.ศ. ๒๕๔๗ กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติว่าด้วยการจัดการเงินกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๘ และกองทุนสวัสดิการนักกีฬาตามระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการนักกีฬาว่าด้วยการบริหารการใช้จ่ายเงินกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๕ ไปเป็นของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๔ ให้บรรดาสมาคมที่ได้รับอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ และได้จดทะเบียนเป็นสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นสมาคมกีฬาทั่วไปตามมาตรา ๖๒ (๑) แห่งพระราชบัญญัตินี้และให้นายทะเบียนสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขีดชื่อสมาคมนั้นออกจากทะเบียนสมาคม ให้สมาคมตามวรรคหนึ่งที่ได้รับอนุญาตจาก กกท. ให้จัดตั้งเป็นสมาคมกีฬาจังหวัดเป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดตามมาตรา ๖๒ (๒) แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้สมาคมตามวรรคหนึ่งที่ได้รับอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามมาตรา ๖๒ (๓) แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาให้แก่สมาคมตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาตรา ๑๓๕ ให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่ได้รับอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใดแสดงว่าเป็นคณะบุคคลหรือบุคคลซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยตามมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นคณะบุคคลหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๖๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขันหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหรือจัดการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยตามมาตรา ๕๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นคณะบุคคลหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๖๙ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๖ สมาคมที่ได้รับการรับรองให้เป็นสมาคมกีฬาตามมาตรา ๑๓๔ ต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงข้อบังคับและการดำเนินการต่าง ๆ ของสมาคมให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยหากไม่แก้ไขปรับปรุงหรือดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นอันเลิกและให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาขีดชื่อสมาคมนั้นออกจากทะเบียนสมาคมกีฬา ถ้าสมาคมไม่พอใจในคำสั่งของนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาที่ให้ขีดชื่อออกจากทะเบียนสมาคมกีฬาก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว และให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาส่งหนังสืออุทธรณ์ต่อไปยังคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ดังกล่าว ให้คณะกรรมการวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับหนังสืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด มาตรา ๑๓๗ บรรดาคำขออนุญาตจัดตั้งสมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง คำขออนุญาตใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใดแสดงว่าเป็นสมาคม สโมสร หรือคณะบุคคลซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยและคำอุทธรณ์การไม่อนุญาตตามคำขอดังกล่าวที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นคำขอจดทะเบียน คำขออนุญาต และคำอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี และหากจำเป็นนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาอาจขอให้ส่งเอกสารเพิ่มเติมได้ มาตรา ๑๓๘ บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ที่ออกตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน จัดตั้งสมาคมกีฬา ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๒) ใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน จัดตั้งสมาคมกีฬา ฉบับละ ๒๐๐ บาท (๓) ใบอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท (๔) ใบอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬา ที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท (๕) ใบอนุญาตอย่างอื่นนอกจาก (๓) และ (๔) ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๖) การตรวจหรือคัดเอกสารเกี่ยวกับสมาคมกีฬา ครั้งละ ๕๐ บาท (๗) การขอให้คัดและรับรองสำเนาเอกสาร เกี่ยวกับสมาคมกีฬา ครั้งละ ๕๐ บาท หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน จึงมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทยเสียใหม่ และกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติขึ้นในการกีฬาแห่งประเทศไทยเพื่อใช้ในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา คุ้มครอง ช่วยเหลือและจัดสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา เพื่อให้สมาคมที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาสามารถจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคมกีฬาได้ตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการในการกำกับดูแลการดำเนินการของสมาคมกีฬาและการกระทำการต่าง ๆ ของคณะกรรมการสมาคมกีฬาและกรรมการสมาคมกีฬา เพื่อให้การกำกับดูแลการดำเนินการของสมาคมกีฬาและการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๓/๒๕๕๙ เรื่อง การส่งเสริม สนับสนุน และปฏิรูปการกีฬาของประเทศ[๓] ข้อ ๔ ให้บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการกีฬามวยตามพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. ๒๕๔๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับกองทุนกีฬามวย และของคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพและกองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพตามพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ ใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนด ข้อ ๕ ให้การกีฬาแห่งประเทศไทยดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๘ เรื่อง ความคืบหน้าและการดำเนินการเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘ และคำสั่งนี้ ให้แล้วเสร็จภายในสองเดือนนับแต่วันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๖ ในกรณีเห็นสมควร นายกรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งนี้ได้ ข้อ ๗ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๙ เมษายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๒๑ ก/หน้า ๑/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘ [๒] มาตรา ๔๒ (๗) เพิ่มโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๓/๒๕๕๙ เรื่อง การส่งเสริม สนับสนุน และปฏิรูปการกีฬาของประเทศ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๓๘ ง/หน้า ๖/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๙
760166
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 63/2559 เรื่อง การส่งเสริม สนับสนุน และปฏิรูปการกีฬาของประเทศ
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๓/๒๕๕๙ เรื่อง การส่งเสริม สนับสนุน และปฏิรูปการกีฬาของประเทศ โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๘ เห็นชอบให้ควบรวมกองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพและกองทุนกีฬามวย เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อลดภาระและความซ้ำซ้อนในด้านการงบประมาณ ในขณะเดียวกันก็สามารถบูรณาการ การส่งเสริม และสนับสนุนงานด้านกีฬาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเกิดความเป็นเอกภาพและมีความต่อเนื่อง อันเป็นการรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการปฏิรูปการกีฬาของประเทศ ดังนั้น ในระหว่างที่ต้องรอกระบวนการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งต้องใช้เวลาในการดำเนินการอีกระยะหนึ่ง จำเป็นต้องอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗) ของมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ “(๗) ส่งเสริมและสนับสนุนกีฬามวยตามกฎหมายว่าด้วยกีฬามวย และกีฬาอาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกีฬาอาชีพ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกหมวด ๔ กองทุนกีฬามวย มาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้โอนบรรดาทรัพย์สิน หนี้สิน ภาระผูกพัน สิทธิ หน้าที่ รวมทั้งพนักงานและลูกจ้างของกองทุนกีฬามวยตามพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. ๒๕๔๒ ไปเป็นของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ ทั้งนี้ ให้สิทธิและหน้าที่ของพนักงานหรือลูกจ้างยังคงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง ข้อ ๓ ให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “กองทุน” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““กองทุน” หมายความว่า กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย” (๒) ให้ยกเลิกความใน (๙) ของมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๙) ออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขและมาตรการ และพิจารณาให้การคุ้มครอง ช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนนักกีฬาอาชีพ บุคลากรกีฬาอาชีพ ผู้จัดการแข่งขันกีฬาอาชีพ สมาคมกีฬาอาชีพและสโมสรกีฬาอาชีพ” (๓) ให้ยกเลิก (๑๒) และ (๑๓) ของมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ (๔) ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๖ ให้การกีฬาแห่งประเทศไทยทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการและคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ รับผิดชอบงานธุรการ งานประชุมการศึกษา วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูล และกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการและคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์” (๕) ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๙ สโมสรกีฬาอาชีพหรือสมาคมกีฬาอาชีพที่ได้รับหนังสือสำคัญแสดงการจดแจ้งตามมาตรา ๑๗ ที่ประสงค์จะขอรับการช่วยเหลือ การส่งเสริม และการสนับสนุนจากกองทุนให้ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการ คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคำขอ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด” (๖) ให้ยกเลิกหมวด ๕ กองทุน มาตรา ๔๐ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ มาตรา ๔๙ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้โอนบรรดาทรัพย์สิน หนี้สิน ภาระผูกพัน สิทธิ หน้าที่ รวมทั้งพนักงานและลูกจ้างของกองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพตามพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ ไปเป็นของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ ทั้งนี้ ให้สิทธิและหน้าที่ของพนักงานหรือลูกจ้างยังคงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง ข้อ ๔ ให้บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการกีฬามวยตามพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. ๒๕๔๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับกองทุนกีฬามวย และของคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพและกองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพตามพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ ใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนด ข้อ ๕ ให้การกีฬาแห่งประเทศไทยดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๘ เรื่อง ความคืบหน้าและการดำเนินการเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘ และคำสั่งนี้ ให้แล้วเสร็จภายในสองเดือนนับแต่วันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๖ ในกรณีเห็นสมควร นายกรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งนี้ได้ ข้อ ๗[๑] คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปริยานุช/จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๓๘ ง/หน้า ๖/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๙
725391
พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ (๒) พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “บุคลากรกีฬา” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการกีฬา เช่น ผู้ตัดสิน ผู้ฝึกสอนและผู้บริหารองค์กรด้านกีฬา ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด “ภาษี” หมายความว่า ภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “สมาคมกีฬา” หมายความว่า สมาคมกีฬาที่ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาและได้จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย “ผู้ว่าการ” หมายความว่า ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย “รองผู้ว่าการ” หมายความว่า รองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย “พนักงาน” หมายความว่า พนักงานของการกีฬาแห่งประเทศไทย และหมายความรวมถึงรองผู้ว่าการด้วย “ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างของการกีฬาแห่งประเทศไทย “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา นายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำกรุงเทพมหานคร หรือนายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ และกำหนดกิจการอื่น หรือออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงหรือระเบียบนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ การจัดตั้ง ทุน และทุนสำรอง มาตรา ๖ ให้จัดตั้งองค์การขึ้นเรียกว่า “การกีฬาแห่งประเทศไทย” เรียกโดยย่อว่า “กกท.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “SPORTS AUTHORITY OF THAILAND” เรียกโดยย่อว่า “SAT” และให้มีตราเครื่องหมายของ “กกท.” รูปลักษณะตราเครื่องหมายตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง มาตรา ๗ ให้ กกท. เป็นนิติบุคคล มีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดใกล้เคียงและจะจัดตั้งสำนักงานสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใดภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรก็ได้ แต่การตั้งสำนักงานสาขาภายนอกราชอาณาจักรต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี มาตรา ๘ กกท. มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมการกีฬา (๒) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานเกี่ยวกับการกีฬา (๓) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และจัดทำโครงการ แผนงาน และสถิติเกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬา รวมทั้งประเมินผล (๔) จัด ช่วยเหลือ แนะนำ และร่วมมือในการจัดและดำเนินกิจกรรมกีฬา (๕) สำรวจ จัดสร้าง และบูรณะสถานที่สำหรับการกีฬา (๖) ติดต่อร่วมมือกับองค์การหรือสมาคมกีฬาทั้งในและนอกราชอาณาจักร (๗) สอดส่องและกำกับดูแลการดำเนินกิจกรรมกีฬา (๘) ริเริ่ม พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการกีฬาคนพิการ (๙) ประกอบกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวแก่หรือเพื่อประโยชน์ของการกีฬา มาตรา ๙ ให้ กกท. มีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๘ และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ถือกรรมสิทธิ์ หรือมีสิทธิครอบครอง หรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง ทำการแลกเปลี่ยน โอน รับโอน หรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักรตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๒) กู้ยืมเงินภายในและภายนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด (๓) ให้กู้ยืมเงินโดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แก่กิจการของ กกท. ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๐ ทุนของ กกท. ประกอบด้วย (๑) เงินและทรัพย์สินที่โอนมาตามมาตรา ๑๓๑ (๒) เงินที่ได้จากงบประมาณแผ่นดินให้เป็นทุนหรือเพื่อดำเนินงาน (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๔) เงินรายได้ตามมาตรา ๙๙ มาตรา ๑๑ กกท. อาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้ (๑) รายได้จากทรัพย์สินของ กกท. (๒) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๓) รายได้จากการจัดการแข่งขันกีฬา (๔) รายได้อื่น มาตรา ๑๒ เงินสำรองของ กกท. ให้ประกอบด้วยเงินสำรองธรรมดาซึ่งตั้งไว้เผื่อขาดเงินสำรองเพื่อการไถ่ถอนหนี้สินและเงินสำรองอื่น ๆ ตามความประสงค์แต่ละอย่างโดยเฉพาะตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร เงินสำรองธรรมดาจะนำออกใช้ได้ก็แต่โดยมติของคณะกรรมการ มาตรา ๑๓ ทรัพย์สินของ กกท. ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี หมวด ๒ คณะกรรมการและผู้ว่าการ มาตรา ๑๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย” ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานกรรมการ (๒) ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง (๓) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สอง (๔) ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ (๕) ผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๖) ผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๗) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกินสามคน โดยอย่างน้อยสองคนให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านกฎหมายจำนวนหนึ่งคน และด้านการแพทย์ การบริหารการกีฬา หรือวิทยาศาสตร์การกีฬาจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ผู้ว่าการเป็นกรรมการและเลขานุการ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตาม (๕) และ (๖) ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๕ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) และ (๗) ต้องไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างและต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจด้วย มาตรา ๑๖ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) และ (๗) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปีและอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ดำเนินการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการประเภทเดียวกันแทนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงสามสิบวัน จะไม่เลือกหรือแต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ ในกรณีที่กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) หรือ (๗) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๗) เพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้เลือกหรือแต่งตั้งไว้แล้ว เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) หรือ (๗) ขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๖ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) และ (๗) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ขาดการประชุมคณะกรรมการเกินสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร (๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๕ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) หรือ (๖) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด แล้วแต่กรณี กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๗) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ออก ในกรณีที่กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) หรือ (๗) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่ตำแหน่งผู้ว่าการว่างลงและยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งแทน ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่ แต่จะต้องมีจำนวนกรรมการรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด มาตรา ๑๘ เพื่อประโยชน์แห่งกิจการของ กกท. ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดของ กกท. แล้วรายงานต่อคณะกรรมการ มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ กกท. อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ออกข้อบังคับหรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรา ๘ และมาตรา ๙ (๒) ออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการดำเนินกิจการของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริหารกองทุน และคณะอนุกรรมการ (๓) ออกข้อบังคับว่าด้วยการจัดแบ่งส่วนงานและการบริหารงานของ กกท. (๔) ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของผู้ว่าการ และการมอบให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนผู้ว่าการ (๕) ออกข้อบังคับกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และเงินอื่น ๆ ของพนักงานและลูกจ้าง (๖) ออกข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือนหรือค่าจ้าง การพ้นจากตำแหน่งวินัย การลงโทษ และการอุทธรณ์การลงโทษพนักงานและลูกจ้าง (๗) ออกระเบียบว่าด้วยการร้องทุกข์ของพนักงานและลูกจ้าง (๘) ออกข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการของพนักงาน ลูกจ้าง และครอบครัว (๙) ออกข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทน ให้แก่ประธานกรรมการ กรรมการผู้ว่าการ พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ปฏิบัติงานให้แก่ กกท. โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๑๐) ออกระเบียบว่าด้วยเครื่องแบบผู้ว่าการ พนักงาน และลูกจ้าง (๑๑) ออกระเบียบว่าด้วยการเงินและการบริหารเงินรายได้ของ กกท. (๑๒) ออกระเบียบว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การบริหารกองทุนและการจัดหาผลประโยชน์ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๑๓) จำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญ ข้อบังคับหรือระเบียบตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีข้อความจำกัดอำนาจของผู้ว่าการในการทำนิติกรรมไว้ประการใด ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งผู้ว่าการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มาตรา ๒๑ ผู้ว่าการนอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจแล้วยังต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในธุรกิจการกีฬา (๒) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับ กกท. หรือในกิจการที่กระทำให้แก่ กกท. ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่เป็นเพียงผู้ถือหุ้นเพื่อการลงทุนโดยสุจริตในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดหรือเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในกิจการที่กระทำการอันมีส่วนได้เสียเช่นว่านั้น หรือเป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เป็นประธานกรรมการ กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้ดำเนินกิจการในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ กกท. เป็นผู้ถือหุ้น มาตรา ๒๒ ผู้ว่าการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑ (๕) คณะกรรมการมีมติเห็นสมควรให้เลิกจ้าง (๖) สัญญาจ้างสิ้นสุดลง มติของคณะกรรมการให้เลิกจ้างตาม (๕) ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่นอกจากผู้ว่าการ และให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ มาตรา ๒๓ ผู้ว่าการมีหน้าที่บริหารกิจการของ กกท. ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ กกท. และตามนโยบาย ข้อบังคับ และระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดกับมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่ง ผู้ว่าการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของ กกท. มาตรา ๒๔ ผู้ว่าการมีอำนาจ (๑) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนให้พนักงานและลูกจ้างออกจากตำแหน่งตามข้อบังคับหรือระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าเป็นพนักงานหรือลูกจ้างชั้นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการฝ่าย หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน (๒) กำหนดเงื่อนไขในการทำงานของพนักงานและลูกจ้าง และออกระเบียบการปฏิบัติงานของ กกท. โดยไม่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับหรือระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๒๕ ให้รองผู้ว่าการมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่งรองจากผู้ว่าการและมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของ กกท. ตามที่ผู้ว่าการมอบหมาย มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ผู้ว่าการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อตำแหน่งผู้ว่าการว่างลงและยังมิได้แต่งตั้งผู้ว่าการ ให้รองผู้ว่าการรักษาการแทนผู้ว่าการ ถ้าไม่มีรองผู้ว่าการ หรือรองผู้ว่าการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งพนักงานคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทนผู้ว่าการ ในการปฏิบัติหน้าที่ของรองผู้ว่าการหรือผู้รักษาการแทนผู้ว่าการตามวรรคหนึ่ง ให้รองผู้ว่าการหรือผู้รักษาการแทนผู้ว่าการมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ว่าการ เว้นแต่อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าการในฐานะกรรมการ มาตรา ๒๗ ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้ว่าการเป็นผู้แทนของ กกท. และเพื่อการนี้ผู้ว่าการจะมอบอำนาจให้บุคคลใด ๆ ปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด นิติกรรมที่ผู้ว่าการกระทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบตามมาตรา ๑๙ ย่อมไม่ผูกพัน กกท. มาตรา ๒๘ ให้ประธานกรรมการและกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หมวด ๓ คณะกรรมการกีฬาจังหวัด มาตรา ๒๙ ในแต่ละจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการกีฬาจังหวัด และให้สำนักงาน กกท. จังหวัด ทำหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการ งานประชุม การศึกษาข้อมูลและกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการกีฬาจังหวัด มาตรา ๓๐ คณะกรรมการกีฬาจังหวัดประกอบด้วย (๑) ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ (๒) รองผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ (๓) ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด เป็นกรรมการ (๔) ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนั้น จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๕) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มิใช่องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวนหนึ่งคนเป็นกรรมการ (๖) ผู้แทนองค์กรเอกชนในจังหวัดนั้น จำนวนสองคน เป็นกรรมการ (๗) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คนแต่ไม่เกินแปดคนเป็นกรรมการ โดยต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านกีฬาคนพิการอย่างน้อยหนึ่งคน ให้ผู้อำนวยการสำนักงาน กกท. จังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ หลักเกณฑ์และวิธีการในการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตาม (๔) (๕) (๖) และ (๗) ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๑ คณะกรรมการกีฬาจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอนโยบาย แผนงาน และโครงการส่งเสริมกีฬาภายในจังหวัดต่อคณะกรรมการ (๒) ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ กกท. ตามมาตรา ๘ (๓) ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ และสนับสนุน กกท. สมาคมกีฬา และหน่วยงานกีฬาที่เกี่ยวข้องในการแข่งขันกีฬาและการดำเนินกิจกรรมกีฬาของจังหวัด (๔) ออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ (๕) ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย มาตรา ๓๒ ให้นำมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการกีฬาจังหวัดโดยอนุโลม หมวด ๔ การส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา มาตรา ๓๓ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา คณะกรรมการมีอำนาจให้ทุน ทรัพย์สิน หรือสิทธิประโยชน์อื่น แก่คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา นักกีฬา หรือบุคลากรกีฬาเพื่อใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา ตลอดจนให้คณะกรรมการมีอำนาจให้การสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬาได้ด้วย การให้ทุน ทรัพย์สิน หรือสิทธิประโยชน์อื่น ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬาตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการจะกำหนดเงื่อนไขในการให้ไว้ด้วยก็ได้ หลักเกณฑ์การพิจารณาและการกำหนดประเภทของบุคคลซึ่งพึงได้รับทุน ทรัพย์สิน หรือสิทธิประโยชน์อื่น ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา หรือการสงเคราะห์อื่นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๔ คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา นักกีฬา หรือบุคลากรกีฬาใดประสงค์จะขอรับทุน ทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ หรือการสงเคราะห์อื่นตามมาตรา ๓๓ ให้ยื่นคำขอต่อ กกท. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๕ ในกรณีที่คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา นักกีฬา หรือบุคลากรกีฬาที่ได้รับทุน ทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ หรือการสงเคราะห์อื่นตามมาตรา ๓๓ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งยกเลิกการให้ทุน ทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ หรือการสงเคราะห์อื่นทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ถ้าคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า การที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนั้นมิได้เป็นการกระทำโดยจงใจ คณะกรรมการจะเตือนเป็นหนังสือให้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดก็ได้ และเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา นักกีฬา หรือบุคลากรกีฬานั้นมิได้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง ให้คณะกรรมการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หมวด ๕ กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ มาตรา ๓๖ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ” ใน กกท. เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเพื่อการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา คุ้มครอง ช่วยเหลือและจัดสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา โดยประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินบำรุงกองทุนที่จัดเก็บตามมาตรา ๓๗ (๒) เงินและทรัพย์สินที่โอนมาตามมาตรา ๑๓๓ (๓) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ (๔) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็น (๕) เงินรายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน (๖) รายได้ที่เกิดจากการดำเนินการของกองทุน (๗) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๘) รายได้อื่น ๆ ให้ กกท. เก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุนและดำเนินการเบิกจ่ายเงินกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ เงินและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งให้เป็นของ กกท. เพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนโดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน มาตรา ๓๗ ให้กองทุนมีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละสองของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในการคำนวณเงินบำรุงกองทุนตามอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่ง หากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง มาตรา ๓๘ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บและส่งเงินบำรุงกองทุน (๑) ให้กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรเป็นผู้ดำเนินการเรียกเก็บเงินบำรุงกองทุน เพื่อนำส่งเป็นรายได้ของกองทุน โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด (๒) เงินบำรุงกองทุนให้ถือเป็นภาษี แต่ไม่ให้นำไปรวมคำนวณเป็นมูลค่าของภาษี มาตรา ๓๙ ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนตามอัตราที่กำหนดตามมาตรา ๓๗ พร้อมกับการชำระภาษีตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบได้รับการยกเว้นหรือคืนภาษี ให้ได้รับการยกเว้นหรือคืนเงินบำรุงกองทุนด้วย ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ส่งเงินบำรุงกองทุนหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนด หรือส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง นอกจากจะมีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้เสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่ส่งหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนดหรือจำนวนเงินที่ส่งขาดไป แล้วแต่กรณี นับแต่วันครบกำหนดส่งจนถึงวันที่ส่งเงินบำรุงกองทุน แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนเงินบำรุงกองทุนและให้ถือว่าเงินเพิ่มนี้เป็นเงินบำรุงกองทุนด้วย ในการคำนวณระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน มาตรา ๔๒ เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมกีฬาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานักกีฬา บุคลากรกีฬา และสมาคมกีฬา (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการเตรียมนักกีฬาเพื่อให้เป็นนักกีฬาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ (๔) สนับสนุนเงินรางวัลแก่นักกีฬา บุคลากรกีฬา และสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ซึ่งประกอบคุณความดีแก่การกีฬาของชาติหรือนำชื่อเสียงเกียรติภูมิมาสู่ประเทศชาติ (๕) สนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬา (๖) ช่วยเหลือด้านสวัสดิการแก่นักกีฬา บุคลากรกีฬา และผู้ซึ่งประสบอุบัติเหตุ หรือได้รับความเสียหายหรืออันตรายจากการแข่งขันกีฬา และกรณีอื่นอันควรแก่การสงเคราะห์ นอกจากการใช้จ่ายเงินกองทุนตามวรรคหนึ่ง ให้จัดสรรเงินกองทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๓ ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย (๑) รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ (๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง (๓) ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สอง (๔) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สาม (๕) ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ (๖) ผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๗) ผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (๘) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากบุคคลที่ไม่เป็นพนักงานจำนวนสองคน โดยให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านเศรษฐศาสตร์หรือการเงินจำนวนหนึ่งคนและด้านการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์การกีฬาจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ผู้ว่าการเป็นกรรมการบริหารกองทุนและเลขานุการ กรรมการบริหารกองทุนตาม (๖) (๗) และ (๘) จะดำรงตำแหน่งกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๕) (๖) หรือ (๗) ในขณะเดียวกันมิได้ หลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และวิธีการในการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนตาม (๖) (๗) และ (๘) ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๔ กรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) (๗) และ (๘) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ ในกรณีที่กรรมการบริหารกองทุนตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้ดำเนินการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนประเภทเดียวกันแทนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการบริหารกองทุนว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการบริหารกองทุนเหลือไม่ถึงสามสิบวัน จะไม่เลือกหรือแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนแทนก็ได้ และให้ผู้ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) (๗) หรือ (๘) ขึ้นใหม่ ให้กรรมการบริหารกองทุนซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการบริหารกองทุนซึ่งได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๔๕ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๔๔ กรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) (๗) และ (๘) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะกรรมการให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ (๔) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๗) ขาดคุณสมบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๔๓ กรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) หรือ (๗) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด แล้วแต่กรณี ในกรณีที่กรรมการบริหารกองทุนตามมาตรา ๔๓ (๖) (๗) หรือ (๘) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระหรือในกรณีที่ตำแหน่งผู้ว่าการว่างลงและยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งแทน ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนประกอบด้วยกรรมการบริหารกองทุนเท่าที่เหลืออยู่ แต่จะต้องมีจำนวนกรรมการบริหารกองทุนรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการบริหารกองทุนทั้งหมด มาตรา ๔๖ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) บริหารกองทุนรวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์และการจัดการกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (๒) พิจารณาอนุมัติโครงการที่ขอรับการส่งเสริมหรือสนับสนุนจากกองทุนและติดตามผลการดำเนินการของโครงการดังกล่าว (๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้เงินรางวัลแก่นักกีฬา บุคลากรกีฬา และสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” (๔) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ทุนการศึกษา และอนุมัติทุนการศึกษาแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬา (๕) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือด้านสวัสดิการแก่บุคคลตามมาตรา ๔๒ (๖) (๖) รายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนต่อคณะกรรมการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (๗) วางระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการบริหารกองทุนอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนมอบหมายก็ได้ มาตรา ๔๗ การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การบริหารกองทุน และการจัดหาผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๘ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนจัดทำงบดุลและบัญชีทำการส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนทุกรอบปีแล้วทำรายงานผลการสอบและรับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีเพื่อคณะกรรมการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ หมวด ๖ สมาคมกีฬา ส่วนที่ ๑ การจัดตั้งสมาคมกีฬา มาตรา ๔๙ สมาคมกีฬาจะมีขึ้นได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ สมาคมกีฬาตามวรรคหนึ่งต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาโดยมีการจัดการแข่งขันกีฬาหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน และอาจมีการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา มาตรา ๕๐ สมาคมกีฬาต้องมีข้อบังคับและต้องจดทะเบียน เมื่อได้จดทะเบียนแล้วให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล มาตรา ๕๑ ให้จัดตั้งสำนักงานกลางทะเบียนสมาคมกีฬาขึ้นใน กกท. เพื่อควบคุมการจดทะเบียนเป็นสมาคมกีฬาทั่วราชอาณาจักร และทำหน้าที่เป็นสำนักงานทะเบียนสมาคมกีฬาประจำกรุงเทพมหานคร ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้สำนักงาน กกท. จังหวัด ทำหน้าที่เป็นสำนักงานทะเบียนสมาคมกีฬาประจำจังหวัด ให้ผู้ว่าการหรือผู้ซึ่งผู้ว่าการมอบหมายเป็นนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาและนายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำกรุงเทพมหานคร และให้ผู้อำนวยการสำนักงาน กกท. จังหวัด หรือผู้ซึ่งผู้ว่าการมอบหมายเป็นนายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำจังหวัด มาตรา ๕๒ ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สามารถขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาได้ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕๓ การขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคนยื่นคำขอพร้อมด้วยข้อบังคับของสมาคมกีฬาอย่างน้อยสามฉบับต่อนายทะเบียนประจำท้องที่ที่จะตั้งสำนักงาน คุณสมบัติของผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคมกีฬา หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำขอจดทะเบียนและการจดทะเบียนให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๕๔ ในการขอจดทะเบียน ถ้าได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๓ มีข้อบังคับถูกต้องตามมาตรา ๕๖ และข้อบังคับนั้นไม่ขัดต่อกฎหมายและวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬากับทั้งผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคมกีฬาทุกคนมีคุณสมบัติถูกต้องตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดตามมาตรา ๕๓ วรรคสอง ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนได้ และให้ออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนตามแบบที่คณะกรรมการประกาศกำหนดให้แก่สมาคมกีฬานั้น การจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาและการเลิกสมาคมกีฬา ให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถ้านายทะเบียนเห็นว่าในการขอจดทะเบียนมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ผู้ยื่นคำขอแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เมื่อได้แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงถูกต้องแล้ว ให้นายทะเบียนออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่สมาคมกีฬานั้น ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามวรรคสามภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งนายทะเบียน หรือหากนายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นว่า วัตถุประสงค์ตามที่ยื่นคำขอมิได้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๙ วรรคสอง ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและแจ้งคำสั่งไม่รับจดทะเบียนพร้อมด้วยเหตุผลไปยังผู้ขอจดทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำขอ ให้ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว และให้นายทะเบียนส่งหนังสืออุทธรณ์ต่อไปยังคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ดังกล่าว ให้คณะกรรมการวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับหนังสืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด มาตรา ๕๕ ในกรณีที่ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้นายทะเบียนออกใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้เมื่อสมาคมกีฬาร้องขอ การขอรับใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การออกใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนและแบบใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๕๖ ข้อบังคับของสมาคมกีฬาอย่างน้อยต้องมีข้อความเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อ ซึ่งต้องมีคำว่า “สมาคมกีฬา” กำกับไว้กับชื่อนั้นด้วย (๒) วัตถุประสงค์ (๓) ที่ตั้งสำนักงานและวันเวลาเปิดทำการ (๔) วิธีการรับสมาชิกและการขาดจากสมาชิกภาพ (๕) ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก (๖) อัตราค่าบำรุง (๗) ข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการสมาคมกีฬา ได้แก่ จำนวนกรรมการ การตั้งกรรมการวาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมคณะกรรมการสมาคมกีฬา (๘) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการสมาคมกีฬา การบัญชี และทรัพย์สินของสมาคมกีฬา (๙) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ (๑๐) ข้อกำหนดอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา การกำหนดระยะเวลาของวาระการดำรงตำแหน่งตาม (๗) ของกรรมการสมาคมกีฬาทั่วไปและสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ต้องกำหนดให้ไม่เกินสี่ปี การกำหนดระยะเวลาของวาระการดำรงตำแหน่งตาม (๗) ของกรรมการสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ชนิดกีฬาใด ต้องกำหนดให้สอดคล้องกับระยะเวลาของวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการบริหารสหพันธ์กีฬานานาชาติของชนิดกีฬานั้นด้วย มาตรา ๕๗ สมาคมกีฬาต้องใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า “สมาคมกีฬา” ประกอบกับชื่อของสมาคมกีฬา มาตรา ๕๘ การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมกีฬาจะกระทำได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่ และต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานของสมาคมกีฬาตั้งอยู่ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติ เมื่อนายทะเบียนได้จดทะเบียนแล้วให้มีผลใช้บังคับได้ การยื่นคำขอจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด นายทะเบียนมีอำนาจไม่รับจดทะเบียนการแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมกีฬาได้เมื่อเห็นว่าการแก้ไขหรือเพิ่มเติมนั้นขัดต่อวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาหรือขัดต่อกฎหมาย ในกรณีที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนการแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมกีฬา ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๕๙ การแต่งตั้งกรรมการสมาคมกีฬาขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมกีฬา ให้กระทำตามข้อบังคับของสมาคมกีฬานั้น และสมาคมกีฬาต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานของสมาคมกีฬาตั้งอยู่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมกีฬานั้น ถ้านายทะเบียนเห็นว่ากรรมการสมาคมกีฬาตามวรรคหนึ่งผู้ใด มีฐานะ ความประพฤติ หรือคุณสมบัติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาหรือกระบวนการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมกีฬาขัดต่อกฎหมายหรือข้อบังคับของสมาคมกีฬา นายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียนกรรมการสมาคมกีฬาผู้นั้นก็ได้ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนกรรมการสมาคมกีฬานายทะเบียนต้องแจ้งเหตุผลที่ไม่รับจดทะเบียนให้สมาคมกีฬาทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน โดยให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในระหว่างที่ยังไม่มีการจดทะเบียนกรรมการสมาคมกีฬาชุดใหม่ หากข้อบังคับของสมาคมกีฬามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้กรรมการสมาคมกีฬาชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่กรรมการสมาคมกีฬาต่อไปจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนกรรมการสมาคมกีฬาชุดใหม่ มาตรา ๖๐ ห้ามมิให้บุคคลใดใช้ชื่อที่มีอักษรไทยประกอบว่า “สมาคมกีฬา” หรืออักษรต่างประเทศซึ่งแปลหรืออ่านว่า “สมาคมกีฬา” ในดวงตรา ป้ายชื่อ หรือเอกสารต่าง ๆ โดยมิได้เป็นสมาคมกีฬา เว้นแต่เป็นการใช้ในการขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา มาตรา ๖๑ ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาสอบถามหรือให้ส่งเอกสารมาเพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาได้ ส่วนที่ ๒ ประเภทของสมาคมกีฬา มาตรา ๖๒ สมาคมกีฬาแบ่งออกเป็นสามประเภท คือ (๑) สมาคมกีฬาทั่วไป (๒) สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด (๓) สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” มาตรา ๖๓ สมาคมกีฬาทั่วไปเป็นสมาคมกีฬาที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาแก่สมาชิกเป็นการทั่วไป มาตรา ๖๔ สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเป็นสมาคมกีฬาทั่วไปที่จัดตั้งขึ้นในแต่ละจังหวัด โดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และมีการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาซึ่งมีความหลากหลายของชนิดกีฬาและได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดจากนายทะเบียนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ในกรณีที่นายทะเบียนไม่อนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหกมาใช้บังคับโดยอนุโลม สมาคมกีฬาทั่วไปที่ได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ต้องใช้คำว่า “สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด” ประกอบในชื่อของสมาคมกีฬานั้น สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดอาจรับสมาชิกจากสมาคมกีฬาทั่วไป ชมรม สโมสร องค์กร หรือบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมกีฬาซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนั้น มาตรา ๖๕ สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามมาตรา ๖๔ สามารถดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา โดยส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาหรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของจังหวัด มาตรา ๖๖ ห้ามมิให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่มิได้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดแสดงตนว่าเป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด มาตรา ๖๗ สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” เป็นสมาคมกีฬาทั่วไปที่จัดตั้งขึ้นโดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในระดับชาติ และได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” จากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ในกรณีที่นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาไม่อนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม สมาคมกีฬาทั่วไปที่ได้รับอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ต้องใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ประกอบในชื่อของสมาคมกีฬานั้น สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” อาจรับสมาชิกจากสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดสมาคมกีฬาทั่วไป ชมรม สโมสร องค์กร หรือบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมกีฬาซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” นั้น ในกรณีที่สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ให้สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” นั้นพิจารณาถึงชนิดกีฬาที่สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนั้นดำเนินกิจกรรมอยู่ประกอบการพิจารณารับสมัครสมาชิกด้วย มาตรา ๖๘ สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” สามารถดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา โดยส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย ในการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยตามวรรคหนึ่ง ต้องขออนุญาตจากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาเป็นรายกรณีไป ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๖๙ ห้ามมิให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่มิได้เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” แสดงตนว่าเป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ห้ามมิให้สมาคมกีฬาทั่วไป สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด คณะบุคคล หรือบุคคลใดใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใดที่แสดงว่าเป็นสมาคม คณะบุคคล หรือบุคคล ซึ่งดำเนินกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา ห้ามมิให้สมาคมกีฬาทั่วไป สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด คณะบุคคล หรือบุคคลใดเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคสองและวรรคสาม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด โดยให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม ส่วนที่ ๓ การดำเนินกิจการของสมาคมกีฬา มาตรา ๗๐ ให้สมาคมกีฬามีคณะกรรมการสมาคมกีฬาเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมกีฬาและเป็นผู้แทนของสมาคมกีฬาในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้ คณะกรรมการสมาคมกีฬาจะมอบหมายให้กรรมการสมาคมกีฬาคนหนึ่งคนใดหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ มาตรา ๗๑ กรรมการสมาคมกีฬาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสมาคมกีฬา และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (๑) มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์เหมาะสมกับการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาภายในขอบวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬานั้น (๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๓) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๕) ไม่เคยถูกนายทะเบียนสั่งให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการสมาคมกีฬาตามมาตรา ๘๖ (๔) เว้นแต่จะพ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันที่ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๗๒ สมาชิกของสมาคมกีฬาที่มีสิทธิออกเสียงจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกที่มีสิทธิออกเสียง มีสิทธิขอตรวจสอบกิจการและทรัพย์สินของสมาคมกีฬาได้ โดยยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อสมาคมกีฬานั้น มาตรา ๗๓ ห้ามมิให้สมาคมกีฬากระทำการใด ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) ดำเนินการด้วยประการใด ๆ อันอาจเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือนำความเสื่อมเสียมาสู่การกีฬาของชาติ (๒) กีดกันหรือขัดขวางมิให้ผู้ใดซึ่งมีคุณสมบัติที่จะเข้าเป็นสมาชิกได้ตามข้อบังคับของสมาคมกีฬาเข้าเป็นสมาชิก หรือบังคับด้วยประการใด ๆ ให้เข้าเป็นสมาชิกโดยผู้นั้นไม่สมัครใจหรือให้สมาชิกออกจากสมาคมกีฬาโดยเจตนาอันไม่สุจริตหรือขัดต่อข้อบังคับของสมาคมกีฬา (๓) เปิดเผยข้อมูล เอกสาร หรือข้อความอันเกี่ยวกับประโยชน์ได้เสียโดยเฉพาะของสมาชิกผู้ใดเว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสมาชิกผู้นั้น (๔) ให้หรือยอมให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่กรรมการสมาคมกีฬาดำเนินกิจการในหน้าที่ของกรรมการสมาคมกีฬานั้น (๕) หาผลกำไรหรือรายได้เพื่อมาแบ่งปันกัน (๖) ให้การสนับสนุนด้านการเงินหรือทรัพย์สินแก่นักการเมืองหรือพรรคการเมืองใด (๗) กีดกันหรือขัดขวางมิให้นักกีฬาเข้าแข่งขันกีฬาโดยมีเจตนาอันไม่สุจริตหรือขัดต่อข้อบังคับของสมาคมกีฬา ส่วนที่ ๔ การกำกับดูแลสมาคมกีฬา มาตรา ๗๔ สมาคมกีฬาต้องปฏิบัติตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด ในกรณีที่สมาคมกีฬาใดดำเนินการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้สมาคมกีฬานั้นแก้ไขหรือระงับการดำเนินการฝ่าฝืนดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๗๕ ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้กรรมการสมาคมกีฬาหรือสมาชิกมาชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของสมาคมกีฬา หรือให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือรายงานการประชุมของสมาคมกีฬาได้ มาตรา ๗๖ นายทะเบียนหรือพนักงานที่ผู้ว่าการมอบหมายอาจเข้าร่วมการประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬาและอาจชี้แจงแสดงข้อคิดเห็นแก่ที่ประชุมใหญ่ได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน มาตรา ๗๗ สมาคมกีฬาต้องจัดให้มีทะเบียนสมาชิกตามแบบที่นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬากำหนด และให้เก็บรักษาทะเบียนดังกล่าวพร้อมหลักฐานและเอกสารที่ใช้ประกอบการลงทะเบียนไว้ที่สำนักงานของสมาคมกีฬา เมื่อมีการรับสมาชิกใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับทะเบียนสมาชิก ให้สมาคมกีฬาแจ้งการรับสมาชิกใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงนั้นต่อนายทะเบียนภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่รับสมาชิกใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลง มาตรา ๗๘ ให้สมาคมกีฬาจัดทำงบดุลอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือนอันจัดว่าเป็นรอบปีในทางบัญชีของสมาคมกีฬานั้น งบดุลนั้นต้องมีรายการแสดงจำนวนสินทรัพย์และหนี้สินของสมาคมกีฬากับทั้งบัญชีรายรับรายจ่ายงบดุลต้องทำให้แล้วเสร็จและจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติต่อที่ประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬาภายในกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สิ้นปีการบัญชี มาตรา ๗๙ ให้สมาคมกีฬาจัดทำรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินการของสมาคมกีฬาเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ในคราวที่เสนองบดุล และให้ส่งสำเนารายงานกับงบดุลไปยังนายทะเบียนภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมใหญ่ มาตรา ๘๐ ผู้ใดประสงค์จะขอตรวจหรือคัดเอกสาร หรือขอให้คัดและรับรองสำเนาเอกสารเกี่ยวกับสมาคมกีฬา ให้ยื่นคำขอตามแบบที่นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬากำหนด มาตรา ๘๑ นอกเหนือจากการกำกับดูแลสมาคมกีฬาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๗๔ ถึงมาตรา ๘๐ เพื่อประโยชน์แก่การกำกับดูแลการดำเนินการของสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดและสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ให้นายทะเบียนมีอำนาจดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๒ ถึงมาตรา ๘๘ ด้วย มาตรา ๘๒ ในกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมกีฬา ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการสมาคมกีฬานั้นเรียกประชุมใหญ่วิสามัญหรือให้คณะกรรมการสมาคมกีฬามาประชุมกันเพื่อพิจารณาหรือวินิจฉัยปัญหาของสมาคมกีฬาได้ มาตรา ๘๓ เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าสมาคมกีฬาใดจะดำเนินการไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือนำความเสื่อมเสียมาสู่การกีฬาของชาติให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้สมาคมกีฬานั้นแจ้งวันและเวลาประชุมทุกคราวมาให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน ในกรณีเช่นนี้ให้นายทะเบียนหรือพนักงานที่ผู้ว่าการมอบหมายมีอำนาจเข้าไปฟังการประชุมได้ สมาคมกีฬาใดไม่แจ้งวันและเวลาประชุมตามคำสั่งของนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนดให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้สมาคมกีฬานั้นงดการประชุมได้ครั้งหนึ่งไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่ง ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้งดการประชุม ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหกมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๔ เมื่อสมาชิกของสมาคมกีฬาซึ่งมีสิทธิออกเสียงจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกซึ่งมีสิทธิออกเสียง กรรมการสมาคมกีฬาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการสมาคมกีฬาเท่าที่มีอยู่ หรือพนักงานซึ่งเข้าร่วมในการประชุมกรรมการสมาคมกีฬาหรือการประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬาร้องขอว่าการประชุมกรรมการสมาคมกีฬาหรือการประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬานั้น ได้นัดเรียกหรือได้ประชุมกันหรือได้ลงมติฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือข้อบังคับของสมาคมกีฬา ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนมติของที่ประชุมกรรมการสมาคมกีฬาหรือมติของที่ประชุมใหญ่ที่เกิดขึ้นในการประชุมที่ได้เรียกหรือได้ประชุมกันหรือได้ลงมติฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือข้อบังคับของสมาคมกีฬานั้นเสียได้ การร้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมกรรมการสมาคมกีฬาหรือมติของที่ประชุมใหญ่ตามวรรคหนึ่ง สมาชิกของสมาคมกีฬา กรรมการสมาคมกีฬา หรือพนักงาน ต้องร้องขอภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ประชุมลงมติ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้เพิกถอนมติของที่ประชุมตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๕ ในกรณีที่กรรมการสมาคมกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมกีฬากระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่สมาคมกีฬา หรือกระทำการในประการที่น่าจะทำให้ประเทศชาติเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ถ้าสมาคมกีฬาไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดี ให้นายทะเบียนร้องทุกข์หรือฟ้องคดีได้โดยให้พนักงานอัยการรับว่าต่างให้ก็ได้ การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากจะต้องมีค่าใช้จ่ายให้ทดรองจ่ายจากเงินกองทุน ให้สมาคมกีฬาชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการร้องทุกข์ การฟ้องคดี หรือการว่าต่างให้แก่กองทุนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี มาตรา ๘๖ ในกรณีที่คณะกรรมการสมาคมกีฬาหรือกรรมการสมาคมกีฬากระทำการหรืองดเว้นกระทำการในการปฏิบัติหน้าที่ของตนจนทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของสมาคมกีฬา หรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดในประการที่น่าจะนำความเสื่อมเสียมาสู่การกีฬาของชาติไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ปฏิบัติการ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาหรือกรรมการสมาคมกีฬาระงับการปฏิบัติการที่เป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสียประโยชน์ของสมาคมกีฬาหรือการกีฬาของชาติ (๒) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาหรือกรรมการสมาคมกีฬาแก้ไขข้อบกพร่องตามวิธีการและระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด (๓) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาหรือกรรมการสมาคมกีฬาหยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องนั้นให้เสร็จตามวิธีการและภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด (๔) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะหรือให้กรรมการสมาคมกีฬาซึ่งเกี่ยวข้องกับการนั้นพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหกมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๗ เมื่อนายทะเบียนสั่งให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้นายทะเบียนแต่งตั้งคณะกรรมการสมาคมกีฬาชั่วคราวขึ้นคณะหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ และมีสิทธิเช่นเดียวกับคณะกรรมการสมาคมกีฬา ในกรณีที่ไม่มีการอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๖ (๔) ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาชั่วคราวจัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมกีฬาขึ้นใหม่ทั้งคณะให้เสร็จสิ้นภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง ในกรณีที่มีการอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๖ (๔) ห้ามมิให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมกีฬาขึ้นใหม่จนกว่าคณะกรรมการจะได้วินิจฉัยอุทธรณ์แล้วเสร็จและให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาชั่วคราวจัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมกีฬาขึ้นใหม่ทั้งคณะให้เสร็จสิ้นภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการอุทธรณ์ มาตรา ๘๘ เมื่อนายทะเบียนสั่งให้กรรมการสมาคมกีฬาคนใดพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ให้สมาคมกีฬาดำเนินการตั้งผู้เป็นกรรมการสมาคมกีฬาแทนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่กรรมการสมาคมกีฬาพ้นจากตำแหน่ง ถ้ามิได้ตั้งหรือตั้งไม่ได้ตามกำหนดเวลาและนายทะเบียนเห็นสมควร นายทะเบียนอาจแต่งตั้งสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นกรรมการสมาคมกีฬาแทน และให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งกรรมการสมาคมกีฬาเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน แต่ถ้าวาระของกรรมการสมาคมกีฬาผู้นั้นเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน สมาคมกีฬาจะตั้งกรรมการสมาคมกีฬาแทนหรือนายทะเบียนจะดำเนินการแต่งตั้งกรรมการสมาคมกีฬาแทนหรือไม่ก็ได้ ส่วนที่ ๕ การเลิกสมาคมกีฬา มาตรา ๘๙ สมาคมกีฬาย่อมเลิกด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อมีเหตุตามที่กำหนดในข้อบังคับของสมาคมกีฬา (๒) ถ้าสมาคมกีฬาตั้งขึ้นไว้เฉพาะระยะเวลาใด เมื่อสิ้นระยะเวลานั้น (๓) เมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก (๔) เมื่อสมาคมกีฬาล้มละลาย (๕) เมื่อนายทะเบียนถอนชื่อสมาคมกีฬาออกจากทะเบียนตามมาตรา ๙๐ (๖) ศาลสั่งให้เลิกตามมาตรา ๙๒ เมื่อเลิกสมาคมกีฬาตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศการเลิกสมาคมกีฬาในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙๐ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งถอนชื่อสมาคมกีฬาออกจากทะเบียนได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อปรากฏในภายหลังการจดทะเบียนว่า วัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่การกีฬาของชาติ และนายทะเบียนได้สั่งให้แก้ไขแล้วแต่สมาคมกีฬาไม่ปฏิบัติตามภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด (๒) เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของสมาคมกีฬาขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่การกีฬาของชาติ (๓) เมื่อสมาคมกีฬาหยุดดำเนินกิจการติดต่อกันตั้งแต่สองปีขึ้นไป (๔) เมื่อปรากฏว่าสมาคมกีฬาให้หรือปล่อยให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่กรรมการสมาคมกีฬาเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมกีฬา (๕) เมื่อสมาคมกีฬามีสมาชิกเหลือน้อยกว่าสิบรายมาเป็นเวลาติดต่อกันกว่าสองปี (๖) เมื่อสมาคมกีฬาไม่แก้ไขหรือระงับการดำเนินการตามที่นายทะเบียนสั่งตามมาตรา ๗๔ วรรคสอง และการฝ่าฝืนดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สมาคมกีฬาหรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่การกีฬาของชาติ ในกรณีที่สมาคมกีฬาตาม (๖) เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” นายทะเบียนจะเพิกถอนการอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” โดยไม่ถอนชื่อสมาคมกีฬานั้นออกจากทะเบียนก็ได้ มาตรา ๙๑ เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งให้ถอนชื่อสมาคมกีฬาใดออกจากทะเบียนตามมาตรา ๙๐ วรรคหนึ่ง หรือเพิกถอนการอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามมาตรา ๙๐ วรรคสองแล้ว ให้นายทะเบียนแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลไปยังสมาคมกีฬานั้นโดยมิชักช้า กรรมการสมาคมกีฬาคนหนึ่งคนใดหรือสมาชิกของสมาคมกีฬาจำนวนไม่น้อยกว่าสามรายมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งต่อคณะกรรมการได้ โดยให้นำมาตรา ๕๔ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๙๒ เมื่อมีกรณีตามมาตรา ๙๐ ผู้มีส่วนได้เสียอาจร้องขอให้นายทะเบียนถอนชื่อสมาคมกีฬาออกจากทะเบียนได้ ถ้านายทะเบียนไม่ปฏิบัติตามคำร้องขอ โดยไม่แจ้งเหตุผลให้ผู้ร้องขอทราบภายในเวลาอันสมควร หรือนายทะเบียนได้แจ้งเหตุผลให้ทราบแล้วแต่ผู้ร้องขอไม่พอใจในเหตุผลดังกล่าว ผู้ร้องขอนั้นจะร้องขอต่อศาลให้สั่งเลิกสมาคมกีฬานั้นเสียก็ได้ มาตรา ๙๓ เมื่อสมาคมกีฬามีเหตุต้องเลิกตามมาตรา ๘๙ ให้คณะกรรมการสมาคมกีฬาที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการเลิกสมาคมกีฬาแจ้งการเลิกสมาคมกีฬาต่อนายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเลิกสมาคมกีฬา ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้สมาคมกีฬาล้มละลายตามมาตรา ๘๙ (๔) หรือมีคำสั่งถึงที่สุดให้เลิกสมาคมกีฬาตามมาตรา ๙๒ ให้ศาลแจ้งคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวให้นายทะเบียนทราบด้วย มาตรา ๙๔ เมื่อสมาคมกีฬาใดต้องเลิกไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้มีการชำระบัญชีสมาคมกีฬานั้นและให้นำความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๙๕ เมื่อได้ชำระบัญชีแล้ว ถ้ามีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใดจะแบ่งให้แก่สมาชิกของสมาคมกีฬานั้นไม่ได้ ทรัพย์สินที่เหลือนั้นจะต้องโอนให้แก่สมาคม มูลนิธิ หรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการสาธารณกุศล ตามที่ได้ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับของสมาคมกีฬาหรือถ้าข้อบังคับไม่ได้ระบุชื่อไว้ก็ให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมใหญ่ แต่ถ้าข้อบังคับของสมาคมกีฬาหรือที่ประชุมใหญ่มิได้ระบุผู้รับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไว้ หรือระบุไว้แต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ให้ทรัพย์สินที่เหลืออยู่นั้นตกเป็นของแผ่นดิน หมวด ๗ การร้องทุกข์และการสงเคราะห์ มาตรา ๙๖ พนักงานและลูกจ้างมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๙๗ ให้ กกท. จัดให้มีกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการของพนักงาน ลูกจ้าง และครอบครัว ในกรณีพ้นจากตำแหน่ง ประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย ตาย หรือกรณีอื่นอันควรแก่การสงเคราะห์ ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด การจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นตามวรรคหนึ่ง การกำหนดหลักเกณฑ์การออกเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ การกำหนดประเภทของผู้ที่พึงได้รับการสงเคราะห์และหลักเกณฑ์การสงเคราะห์ ตลอดจนการจัดการเกี่ยวกับกองทุนสงเคราะห์ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๘ การเงิน การบัญชี และการตรวจสอบ มาตรา ๙๘ กกท. ต้องทำงบประมาณประจำปี โดยให้แยกเป็นงบลงทุนและงบทำการ สำหรับงบลงทุนให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและให้ความเห็นชอบ ส่วนงบทำการให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ มาตรา ๙๙ รายได้ที่ กกท. ได้รับจากการดำเนินงานในปีหนึ่ง ๆ ให้ตกเป็นของ กกท. สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และเมื่อได้หักรายจ่ายสำหรับการดำเนินงาน ค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม รวมตลอดถึงค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคา เงินสำรองตามมาตรา ๑๒ และเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นตามมาตรา ๙๗ แล้ว เหลือเท่าใดให้สะสมไว้เป็นเงินสำหรับใช้จ่ายต่อไป มาตรา ๑๐๐ กกท. ต้องเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๐๑ กกท. ต้องวางและรักษาไว้ซึ่งระบบการบัญชีที่เหมาะสมตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป และให้มีการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำ มาตรา ๑๐๒ กกท. ต้องจัดทำงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน ส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี มาตรา ๑๐๓ ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบรับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของ กกท. ทุกปี มาตรา ๑๐๔ ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุดบัญชีและเอกสารหลักฐานของ กกท. เพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามประธานกรรมการ กรรมการ ผู้ว่าการ พนักงาน และลูกจ้างของ กกท. มาตรา ๑๐๕ ผู้สอบบัญชีต้องทำรายงานผลการสอบบัญชีและการเงินเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อยหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีเพื่อคณะกรรมการเสนอต่อรัฐมนตรี มาตรา ๑๐๖ ให้คณะกรรมการทำรายงานปีละครั้งเสนอต่อคณะรัฐมนตรี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของ กกท. ในปีที่ล่วงมา พร้อมทั้งคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการ โครงการ และแผนงานที่จะจัดทำในปีถัดไป ให้ กกท. โฆษณารายงานประจำปีที่สิ้นไป โดยแสดงงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีรับรองว่าถูกต้องแล้ว รวมทั้งรายงานสรุปผลงานในปีที่ล่วงมาภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของ กกท. หมวด ๙ การกำกับและควบคุม มาตรา ๑๐๗ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ กกท. เพื่อการนี้จะสั่งให้ กกท. ชี้แจงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของ กกท. ที่ขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี ตลอดจนมีอำนาจที่จะสั่งให้ปฏิบัติการตามนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการได้ มาตรา ๑๐๘ ในกรณีที่ กกท. ต้องเสนอเรื่องใด ๆ ไปยังคณะรัฐมนตรี ให้ กกท. นำเรื่องเสนอรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อไปยังคณะรัฐมนตรี มาตรา ๑๐๙ กกท. ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) กู้ยืมเงินหรือให้กู้ยืมเงินมีจำนวนเกินคราวละห้าล้านบาท (๒) จำหน่ายอสังหาริมทรัพย์อันมีราคาเกินหนึ่งล้านบาท หมวด ๑๐ บทกำหนดโทษ มาตรา ๑๑๐ ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนตามมาตรา ๓๗ ผู้ใดไม่ส่งเงินบำรุงกองทุน หรือส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับตั้งแต่ห้าเท่าถึงยี่สิบเท่าของเงินบำรุงกองทุนที่จะต้องนำส่ง หรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจเปรียบเทียบได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการเปรียบเทียบคดีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ มาใช้บังคับกับการเปรียบเทียบคดีตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม มาตรา ๑๑๑ ผู้ใดดำเนินกิจการของคณะบุคคลหรือสมาคมใดที่มิใช่สมาคมกีฬาโดยกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้บุคคลอื่นหลงเชื่อว่ากิจการนั้นเป็นสมาคมกีฬาที่ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๒ ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลหรือสมาคมใดที่ใช้ชื่อหรือแสดงออกว่าเป็นสมาคมกีฬา โดยรู้อยู่แล้วว่าคณะบุคคลหรือสมาคมนั้นมิได้เป็นสมาคมกีฬาที่ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๑๓ ผู้ใดโฆษณา ชี้ชวน หรือจัดการให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดเข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลหรือสมาคมที่ใช้ชื่อหรือแสดงออกว่าเป็นสมาคมกีฬา โดยที่มิได้จดทะเบียนเป็นสมาคมกีฬาตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๔ สมาคมกีฬาใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๑๕ สมาคมกีฬาใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๘ มาตรา ๕๙ มาตรา ๗๓ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) มาตรา ๗๗ มาตรา ๗๘ มาตรา ๗๙ หรือมาตรา ๙๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๑๖ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะเลิกใช้ มาตรา ๑๑๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๖ หรือมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๙ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๙ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท มาตรา ๑๒๐ สมาคมกีฬาใดไม่ยอมให้สมาชิกของสมาคมกีฬาตรวจสอบกิจการและทรัพย์สินของสมาคมกีฬานั้นตามมาตรา ๗๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๒๑ สมาคมกีฬาใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๓ (๑) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๒๒ สมาคมกีฬาใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๒๓ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๗๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๔ สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๓ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๕ กรรมการสมาคมกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมกีฬาผู้ใดกระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่สมาคมกีฬา หรือกระทำการในประการที่น่าจะทำให้ประเทศชาติเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๖ (๔) หรือยังขืนเป็นกรรมการหรือสมาชิกของสมาคมกีฬาที่เลิกตามมาตรา ๘๙ หรือตามมาตรา ๑๓๖ วรรคหนึ่งแล้ว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๗ ในกรณีที่คณะกรรมการของสมาคมกีฬาไม่แจ้งการเลิกสมาคมกีฬาต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง กรรมการของสมาคมกีฬานั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินคนละหนึ่งหมื่นบาท เว้นแต่กรรมการผู้ใดของสมาคมกีฬานั้นจะพิสูจน์ได้ว่าการที่มิได้แจ้งนั้นมิได้เกิดจากการกระทำของตน มาตรา ๑๒๘ ผู้ใดแบ่งหรือโอนทรัพย์สินที่เหลืออยู่เมื่อได้ชำระบัญชีแล้วให้แก่บุคคลใดอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๙๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๒๙ ให้คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการกีฬาจังหวัด ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการกีฬาจังหวัด แล้วแต่กรณีตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๐ ให้ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ดำรงตำแหน่งต่อไปจนครบวาระ มาตรา ๑๓๑ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ พนักงาน ลูกจ้าง และงบประมาณของการกีฬาแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ไปเป็นของการกีฬาแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๒ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยตามมาตรา ๑๒๙ หรือคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยตามมาตรา ๑๔ แล้วแต่กรณี ทำหน้าที่คณะกรรมการบริหารกองทุนไปพลางก่อนจนกว่าจะมีคณะกรรมการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๓ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ตลอดจนงบประมาณของกองทุนการศึกษาของนักกีฬาตามข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารกองทุนการศึกษาของนักกีฬา พ.ศ. ๒๕๔๗ กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติว่าด้วยการจัดการเงินกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๘ และกองทุนสวัสดิการนักกีฬาตามระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการนักกีฬาว่าด้วยการบริหารการใช้จ่ายเงินกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๕ ไปเป็นของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๔ ให้บรรดาสมาคมที่ได้รับอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ และได้จดทะเบียนเป็นสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นสมาคมกีฬาทั่วไปตามมาตรา ๖๒ (๑) แห่งพระราชบัญญัตินี้และให้นายทะเบียนสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขีดชื่อสมาคมนั้นออกจากทะเบียนสมาคม ให้สมาคมตามวรรคหนึ่งที่ได้รับอนุญาตจาก กกท. ให้จัดตั้งเป็นสมาคมกีฬาจังหวัดเป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดตามมาตรา ๖๒ (๒) แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้สมาคมตามวรรคหนึ่งที่ได้รับอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามมาตรา ๖๒ (๓) แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาให้แก่สมาคมตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาตรา ๑๓๕ ให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่ได้รับอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย”หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใดแสดงว่าเป็นคณะบุคคลหรือบุคคลซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยตามมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นคณะบุคคลหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๖๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขันหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหรือจัดการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยตามมาตรา ๕๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นคณะบุคคลหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๖๙ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๓๖ สมาคมที่ได้รับการรับรองให้เป็นสมาคมกีฬาตามมาตรา ๑๓๔ ต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงข้อบังคับและการดำเนินการต่าง ๆ ของสมาคมให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยหากไม่แก้ไขปรับปรุงหรือดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นอันเลิกและให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาขีดชื่อสมาคมนั้นออกจากทะเบียนสมาคมกีฬา ถ้าสมาคมไม่พอใจในคำสั่งของนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาที่ให้ขีดชื่อออกจากทะเบียนสมาคมกีฬาก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว และให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาส่งหนังสืออุทธรณ์ต่อไปยังคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ดังกล่าว ให้คณะกรรมการวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับหนังสืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด มาตรา ๑๓๗ บรรดาคำขออนุญาตจัดตั้งสมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง คำขออนุญาตใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใดแสดงว่าเป็นสมาคม สโมสร หรือคณะบุคคลซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยและคำอุทธรณ์การไม่อนุญาตตามคำขอดังกล่าวที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นคำขอจดทะเบียน คำขออนุญาต และคำอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี และหากจำเป็นนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาอาจขอให้ส่งเอกสารเพิ่มเติมได้ มาตรา ๑๓๘ บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ที่ออกตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน จัดตั้งสมาคมกีฬา ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๒) ใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน จัดตั้งสมาคมกีฬา ฉบับละ ๒๐๐ บาท (๓) ใบอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท (๔) ใบอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬา ที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท (๕) ใบอนุญาตอย่างอื่นนอกจาก (๓) และ (๔) ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๖) การตรวจหรือคัดเอกสารเกี่ยวกับสมาคมกีฬา ครั้งละ ๕๐ บาท (๗) การขอให้คัดและรับรองสำเนาเอกสาร เกี่ยวกับสมาคมกีฬา ครั้งละ ๕๐ บาท หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน จึงมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทยเสียใหม่ และกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติขึ้นในการกีฬาแห่งประเทศไทยเพื่อใช้ในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา คุ้มครอง ช่วยเหลือและจัดสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา เพื่อให้สมาคมที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาสามารถจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคมกีฬาได้ตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการในการกำกับดูแลการดำเนินการของสมาคมกีฬาและการกระทำการต่าง ๆ ของคณะกรรมการสมาคมกีฬาและกรรมการสมาคมกีฬา เพื่อให้การกำกับดูแลการดำเนินการของสมาคมกีฬาและการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๙ เมษายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๒๑ ก/หน้า ๑/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘
697834
พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 (ฉบับ Update ณ วันที่ 16/08/2534)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นปีที่ ๔๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๗ (๒) พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๑ (๓) พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ (๔) พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๙ (๕) พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๓ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย “ผู้ว่าการ” หมายความว่า ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย “รองผู้ว่าการ” หมายความว่า รองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย “พนักงาน” หมายความว่า พนักงานของการกีฬาแห่งประเทศไทย และหมายความรวมถึงผู้ว่าการและรองผู้ว่าการด้วย “ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างของการกีฬาแห่งประเทศไทย มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ การจัดตั้ง ทุน และทุนสำรอง มาตรา ๖ ให้จัดตั้งองค์การขึ้นเรียกว่า “การกีฬาแห่งประเทศไทย” เรียกโดยย่อว่า “กกท.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “SPORTS AUTHORITY OF THAILAND” เรียกโดยย่อว่า “SAT” และให้มีตราเครื่องหมายของ “กกท.” รูปลักษณะตราเครื่องหมายตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง มาตรา ๗ ให้ กกท. เป็นนิติบุคคล มีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดใกล้เคียง และจะจัดตั้งสำนักงานสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใดภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรก็ได้ แต่การตั้งสำนักงานสาขาภายนอกราชอาณาจักรต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี มาตรา ๘ กกท. มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมการกีฬา (๒) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานเกี่ยวกับการกีฬา (๓) ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำโครงการ แผนงานและสถิติเกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬา รวมทั้งประเมินผล (๔) จัด ช่วยเหลือ แนะนำและร่วมมือในการจัดและดำเนินการการกีฬา (๕) สำรวจ จัดสร้างและบูรณะสถานที่สำหรับการกีฬา (๖) ติดต่อร่วมมือกับองค์การหรือสมาคมกีฬาทั้งในและนอกราชอาณาจักร (๗) สอดส่องและควบคุมการดำเนินกิจการการกีฬา (๘) ประกอบกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวแก่หรือเพื่อประโยชน์ของการกีฬา มาตรา ๙ ให้ กกท. มีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๘ และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ถือกรรมสิทธิ์ หรือมีสิทธิครอบครอง หรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง ทำการแลกเปลี่ยน โอน รับโอน หรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๒) กู้หรือยืมเงิน ภายในและภายนอกราชอาณาจักร (๓) ให้กู้หรือให้ยืมเงินโดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แก่กิจการของ กกท. มาตรา ๑๐ ทุนของ กกท. ประกอบด้วย (๑) เงินและทรัพย์สินที่โอนมาตามมาตรา ๖๖ เมื่อได้หักหนี้สินออกแล้ว (๒) เงินที่ได้จากงบประมาณแผ่นดินให้เป็นทุนหรือเพื่อดำเนินงาน (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๔) เงินรายได้ตามมาตรา ๓๗ มาตรา ๑๑ กกท. อาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้ (๑) รายได้จากทรัพย์สินของ กกท. (๒) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๓) รายได้จากการจัดการแข่งขันกีฬา (๔) รายได้อื่น มาตรา ๑๒ เงินสำรองของ กกท. ให้ประกอบด้วยเงินสำรองธรรมดาซึ่งตั้งไว้เผื่อขาด เงินสำรองเพื่อการไถ่ถอนหนี้สินและเงินสำรองอื่น ๆ ตามความประสงค์แต่ละอย่างโดยเฉพาะ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร เงินสำรองธรรมดาจะนำออกใช้ได้ก็แต่โดยมติของคณะกรรมการ มาตรา ๑๓ ทรัพย์สินของ กกท. ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี หมวด ๒ คณะกรรมการและผู้ว่าการ มาตรา ๑๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหมหรือผู้แทน ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทน อธิบดีกรมพลศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณหรือผู้แทน ผู้แทนคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ผู้แทนคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย และบุคคลอื่นอีกไม่เกินสิบคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นกรรมการ และผู้ว่าการเป็นกรรมการและเลขานุการ มาตรา ๑๕ กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งต้องไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้าง และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจด้วย มาตรา ๑๖ กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระหรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งแทนหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว เมื่อครบกำหนดตามวาระดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน มาตรา ๑๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๖ กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก (๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ขาดการประชุมคณะกรรมการเกินสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร (๖) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๕ มาตรา ๑๘ เพื่อประโยชน์แห่งกิจการของ กกท. ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดของ กกท. แล้วรายงานต่อคณะกรรมการ มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ กกท. อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ออกข้อบังคับหรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรา ๘ และมาตรา ๙ (๒) ออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการดำเนินกิจการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ (๓) ออกข้อบังคับว่าด้วยการจัดแบ่งส่วนงานของ กกท. และออกข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานต่าง ๆ ของ กกท. (๔) ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของผู้ว่าการ และการมอบให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนผู้ว่าการ (๕) ออกข้อบังคับกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และเงินอื่น ๆ ของพนักงานและลูกจ้าง (๖) ออกข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือนหรือค่าจ้าง การถอดถอน ระเบียบวินัย การลงโทษ และการอุทธรณ์การลงโทษพนักงานและลูกจ้าง (๗) ออกระเบียบว่าด้วยการร้องทุกข์ของพนักงานและลูกจ้าง (๘) ออกข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการของพนักงานและลูกจ้างและครอบครัว โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (๙) ออกข้อบังคับว่าด้วยการจ่ายค่าพาหนะ เบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่าที่พัก ค่าทำงานล่วงเวลา เบี้ยประชุม และการจ่ายเงินอื่น ๆ (๑๐) ออกระเบียบว่าด้วยเครื่องแบบพนักงานและลูกจ้าง มาตรา ๒๐ ในข้อบังคับหรือระเบียบตามมาตรา ๑๙ ถ้ามีข้อความจำกัดอำนาจของผู้ว่าการในการทำนิติกรรมไว้ประการใด ให้ประกาศข้อความเช่นว่านั้นในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๑ ให้คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งและกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้ว่าการและรองผู้ว่าการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มาตรา ๒๒ ผู้ว่าการและรองผู้ว่าการต้อง (๑) ไม่มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับ กกท. ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม (๒) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ มาตรา ๒๓ ผู้ว่าการหรือรองผู้ว่าการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะกรรมการให้ออก (๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๒ มติของคณะกรรมการให้ผู้ว่าการและรองผู้ว่าการออกจากตำแหน่งตาม (๓) ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่อยู่ในตำแหน่งนอกจากผู้ว่าการ และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี มาตรา ๒๔ ผู้ว่าการมีหน้าที่บริหารกิจการของ กกท. ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ กกท. และตามนโยบาย ข้อบังคับ และระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดกับมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่ง ผู้ว่าการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของ กกท. มาตรา ๒๕ ผู้ว่าการมีอำนาจ (๑) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนให้พนักงานและลูกจ้างออกจากตำแหน่งตามข้อบังคับหรือระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าเป็นพนักงานหรือลูกจ้างชั้นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการฝ่ายหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน (๒) กำหนดเงื่อนไขในการทำงานของพนักงานและลูกจ้าง และออกระเบียบการปฏิบัติงานของ กกท. โดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบหรือข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๒๖ ให้รองผู้ว่าการมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่งรองจากผู้ว่าการ และมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการของ กกท. ตามที่ผู้ว่าการมอบหมาย มาตรา ๒๗ ในกรณีที่ผู้ว่าการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อตำแหน่งผู้ว่าการว่างลงและยังมิได้แต่งตั้งผู้ว่าการ ให้รองผู้ว่าการรักษาการแทนผู้ว่าการ ถ้าไม่มีรองผู้ว่าการหรือรองผู้ว่าการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งพนักงานคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทนผู้ว่าการ ในการปฏิบัติหน้าที่ของรองผู้ว่าการหรือรักษาการแทนผู้ว่าการตามวรรคหนึ่ง ให้รองผู้ว่าการหรือผู้รักษาการแทนผู้ว่าการมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ว่าการ เว้นแต่อำนาจและหน้าที่ของผู้ว่าการในฐานะกรรมการ มาตรา ๒๘ ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้ว่าการเป็นผู้แทนของ กกท. และเพื่อการนี้ ผู้ว่าการจะมอบอำนาจให้บุคคลใด ๆ ปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด นิติกรรมที่ผู้ว่าการกระทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบตามมาตรา ๒๐ ย่อมไม่ผูกพัน กกท. เว้นแต่คณะกรรมการจะให้สัตยาบัน มาตรา ๒๙ ให้ประธานกรรมการและกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หมวด ๓ คณะกรรมการกีฬาจังหวัด มาตรา ๓๐ ในแต่ละจังหวัด ให้มีคณะกรรมการกีฬาจังหวัดเพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือกิจการของ กกท. มาตรา ๓๑ คณะกรรมการกีฬาจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ รองผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการ ผู้แทนกรมพลศึกษา ผู้แทน กกท. และบุคคลอื่นซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งอีกไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบห้าคนเป็นกรรมการ ศึกษาธิการจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินห้าคนเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการกีฬาจังหวัดได้ มาตรา ๓๒ คณะกรรมการกีฬาจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมกีฬาในจังหวัด (๒) เสนอแนะโครงการส่งเสริมการกีฬาในจังหวัดต่อ กกท. (๓) ร่วมมือกับ กกท. ในการดำเนินการจัดแข่งขันกีฬา (๔) ปฏิบัติการอื่นตามที่ กกท. มอบหมาย (๕) ออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ มาตรา ๓๓ กรรมการซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี และให้นำมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการกีฬาจังหวัดโดยอนุโลม หมวด ๔ การร้องทุกข์ และการสงเคราะห์ มาตรา ๓๔ พนักงานและลูกจ้างมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๕ ให้ กกท. จัดให้มีกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการของพนักงานและลูกจ้างและครอบครัวในกรณีที่พ้นจากตำแหน่ง ประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย ตาย หรือกรณีอื่นอันควรแก่การสงเคราะห์ การจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นตามวรรคหนึ่ง การออกเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ การกำหนดประเภทของผู้ซึ่งพึงได้รับการสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ การจ่ายเงินสงเคราะห์ และการจัดการกองทุนสงเคราะห์ ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๕ การเงิน การบัญชี และการตรวจสอบ มาตรา ๓๖ กกท. ต้องทำงบประมาณประจำปี โดยให้แยกเป็นงบลงทุนและงบทำการ สำหรับงบลงทุนให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและให้ความเห็นชอบ ส่วนงบทำการให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ มาตรา ๓๗ รายได้ที่ กกท. ได้รับจากการดำเนินงานในปีหนึ่ง ๆ ให้ตกเป็นของ กกท. สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และเมื่อได้หักรายจ่ายสำหรับการดำเนินงานค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม เช่น ค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคา เงินสำรองตามมาตรา ๑๒ และเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ หรือการสงเคราะห์อื่นตามมาตรา ๓๕ แล้ว เหลือเท่าใดให้สะสมไว้เป็นเงินสำหรับใช้จ่ายต่อไป มาตรา ๓๘ กกท. ต้องเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธนาคารอื่นตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๓๙ กกท. ต้องวางและถือไว้ซึ่งระบบการบัญชีที่เหมาะสมแก่กิจการแยกตามประเภทงานส่วนที่สำคัญ มีสมุดบัญชีลงรายการรับและจ่ายเงิน สินทรัพย์และหนี้สินที่แสดงกิจการที่เป็นอยู่ตามความจริงและตามที่ควร ตามประเภทงาน พร้อมด้วยข้อความอันเป็นที่มาของรายการนั้น ๆ และให้มีผู้สอบบัญชีภายใน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการทำการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำทุกเดือน มาตรา ๔๐ กกท. ต้องจัดทำงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนส่งผู้สอบบัญชี ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี มาตรา ๔๑ ทุกปีให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบรับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของ กกท. มาตรา ๔๒ ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุดบัญชี และเอกสาร หลักฐานของ กกท. เพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามประธานกรรมการ กรรมการ พนักงานและลูกจ้างของ กกท. มาตรา ๔๓ ผู้สอบบัญชีต้องทำรายงานผลการสอบบัญชีและการเงินเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อยหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี เพื่อคณะกรรมการเสนอต่อนายกรัฐมนตรี มาตรา ๔๔ ให้คณะกรรมการทำรายงานปีละครั้งเสนอต่อคณะรัฐมนตรี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของ กกท. ในปีที่ล่วงมา พร้อมทั้งคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการโครงการและแผนงานที่จะจัดทำในปีถัดไป ให้ กกท. โฆษณารายงานประจำปีที่สิ้นไป โดยแสดงงบดุล บัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีรับรองว่าถูกต้องแล้ว รวมทั้งรายงานสรุปผลงานในปีที่ล่วงมา ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของ กกท. หมวด ๖ การกำกับและควบคุม มาตรา ๔๕ ให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ กกท. เพื่อการนี้จะสั่งให้ กกท. ชี้แจงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น ทำรายงานหรือยับยั้งการกระทำของ กกท. ที่ขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรี ตลอดจนมีอำนาจที่จะสั่งให้ปฏิบัติการตามนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการได้ มาตรา ๔๖ ในกรณีที่ กกท. ต้องเสนอเรื่องใด ๆ ไปยังคณะรัฐมนตรี ให้ กกท. นำเรื่องเสนอนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเพื่อเสนอต่อไปยังคณะรัฐมนตรี มาตรา ๔๗ กกท. ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินการดังต่อไปนี้ได้ (๑) กู้ยืมเงินหรือให้กู้ยืมเงินมีจำนวนเกินคราวละห้าล้านบาท (๒) จำหน่ายอสังหาริมทรัพย์อันมีราคาเกินหนึ่งล้านบาท (๓) จำหน่ายทรัพย์สินอันมีราคาเกินหนึ่งล้านบาทจากบัญชีเป็นสูญ หมวด ๗ การส่งเสริมการกีฬา มาตรา ๔๘ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการกีฬา คณะกรรมการมีอำนาจให้ทุนหรือทรัพย์สินช่วยเหลือแก่คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา หรือนิติบุคคลอื่นเพื่อใช้ในการส่งเสริมกิจการการกีฬาของคณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา หรือนิติบุคคลนั้นได้ ในการนี้คณะกรรมการจะกำหนดเงื่อนไขในการให้ไว้ด้วยก็ได้ กรณีเห็นเป็นการสมควร คณะกรรมการอาจจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์ หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการของนักกีฬา บุคคลในวงการกีฬาก็ได้ หลักเกณฑ์การพิจารณา การกำหนดประเภทของผู้ซึ่งพึงได้รับการสงเคราะห์ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๙ สมาคมกีฬาใดประสงค์จะรับทุนหรือทรัพย์สินช่วยเหลือตามมาตรา ๔๘ ให้ยื่นคำขอต่อ กกท. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่คณะกรรมการกำหนด พร้อมด้วยโครงการการกีฬาที่ขอรับการช่วยเหลือ มาตรา ๕๐ ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควรให้ทุนหรือทรัพย์สินช่วยเหลือแก่สมาคมกีฬาใดแล้ว คณะกรรมการจะกำหนดเงื่อนไขให้สมาคมกีฬานั้นต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ มาตรา ๕๑ นอกจากการให้ทุนหรือทรัพย์สินช่วยเหลือแก่สมาคมกีฬาแล้ว คณะกรรมการอาจให้สมาคมกีฬาได้รับสิทธิหรือประโยชน์เกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬาอย่างใดด้วยก็ได้ มาตรา ๕๒ ในกรณีที่สมาคมกีฬาที่ได้รับทุนหรือทรัพย์สินช่วยเหลือ หรือได้รับสิทธิหรือประโยชน์ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๕๐ ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนการช่วยเหลือ รวมทั้งสิทธิหรือประโยชน์ที่ได้ให้แก่สมาคมกีฬานั้นทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ ถ้าคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า การที่สมาคมกีฬาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนั้น มิได้เป็นการกระทำโดยจงใจ คณะกรรมการจะเตือนเป็นหนังสือให้สมาคมกีฬานั้นแก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้องเสียภายในเวลาที่กำหนดให้ก็ได้ และเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว สมาคมกีฬานั้นมิได้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้องก็ให้คณะกรรมการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หมวด ๘ การควบคุมการกีฬา มาตรา ๕๓ สมาคมใดซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๕๔ สมาคมที่ได้รับอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ ต้องอยู่ในความควบคุมของ กกท. และต้องปฏิบัติตามข้อบังคับที่ กกท. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ มาตรา ๕๕ ให้ กกท. มีอำนาจเพิกถอนการอนุญาตที่ให้ไว้แก่สมาคม ตามมาตรา ๕๓ ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อสมาคมนั้นปฏิบัติการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๙ (๒) เมื่อสมาคมนั้นไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับที่ กกท. กำหนดตามมาตรา ๕๔ หรือการกระทำของสมาคมผิดต่อกฎหมาย (๓) เมื่อสมาคมนั้นให้หรือยอมให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่กรรมการดำเนินกิจการในหน้าที่ของกรรมการ หรือให้หรือยอมให้บุคคลซึ่งขาดคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการตามมาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๘ เป็นกรรมการ สมาคมที่ถูกเพิกถอนการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องเลิกและหยุดดำเนินการทันที มาตรา ๕๖ ผู้ใดจะดำรงตำแหน่งกรรมการของสมาคมที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๕๓ เกินกว่าสองแห่งมิได้ สำหรับตำแหน่งนายกสมาคมหรือเลขาธิการสมาคม หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่านายกสมาคมหรือเลขาธิการสมาคม ให้ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินหนึ่งแห่ง มาตรา ๕๗[๒] กรรมการของสมาคมที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๕๓ ให้มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ การดำรงตำแหน่งกรรมการของสมาคมเกินสองวาระติดต่อกันจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อกรรมการผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการของสมาคมต่อไปด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสมาคม แต่ทั้งนี้ กรรมการผู้นั้นจะดำรงตำแหน่งกรรมการของสมาคมติดต่อกันเกินสี่วาระมิได้ ความในวรรคสองมิให้ใช้บังคับสำหรับกรณีที่กรรมการของสมาคมดำรงตำแหน่งในสมาคมหรือองค์กรกีฬาระหว่างประเทศที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ทั้งนี้ ตราบเท่าที่ยังดำรงตำแหน่งในสมาคมหรือองค์กรกีฬาระหว่างประเทศดังกล่าว มาตรา ๕๘ กรรมการของสมาคมที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๕๓ ไม่ว่าข้อบังคับจะกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามประการอื่นไว้อีกหรือไม่ก็ตามต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์เหมาะสมกับการดำเนินกิจการเกี่ยวกับกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาภายในขอบวัตถุประสงค์ของสมาคมนั้น (๒) ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (๓) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ มาตรา ๕๙ ห้ามมิให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใด แสดงว่าเป็นสมาคม สโมสรหรือคณะบุคคล ซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก กกท. ห้ามมิให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดเข้าร่วมการแข่งขันหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหรือจัดการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก กกท. การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ กกท. มีคำสั่งไม่อนุญาตตามมาตรา ๕๙ คณะบุคคลหรือบุคคลดังกล่าวมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ กกท. มีคำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นอุทธรณ์ และวิธีพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด หมวด ๙ บทกำหนดโทษ มาตรา ๖๑ ผู้ใดโฆษณา ชี้ชวน หรือจัดการให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดเข้าเป็นสมาชิก หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการส่งเสริมหรือสนับสนุนการดำรงอยู่ของสมาคมใดซึ่งยังมิได้รับอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ หรือซึ่ง กกท. ได้เพิกถอนการอนุญาตที่ให้ไว้ตามมาตรา ๕๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๖๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๙ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๖๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น บทเฉพาะกาล มาตรา ๖๔ สมาคมใดซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ที่ตั้งและดำรงอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ขอรับอนุญาตให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๖๕ คณะบุคคลหรือบุคคลใดซึ่งใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใด แสดงว่าเป็นสมาคม สโมสรหรือคณะบุคคล ซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ขอรับอนุญาตให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๙ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๖๖ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ตลอดจนงบประมาณขององค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๗ ที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเป็นของ กกท. มาตรา ๖๗ ให้ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และบรรดาพนักงานหรือลูกจ้างขององค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นผู้ว่าการ รองผู้ว่าการ และพนักงานหรือลูกจ้างของ กกท. แล้วแต่กรณี โดยให้ได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เท่าที่เคยได้รับอยู่เดิม กับให้ถือว่าเวลาการทำงานของบุคคลดังกล่าวในองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นเวลาทำงานใน กกท. นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๖๘ ให้คณะกรรมการองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา อยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งอย่างช้าต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๖๙ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งขององค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะได้มีการออกข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร รองนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อจัดตั้งการกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้นแทนองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย และให้การกีฬาแห่งประเทศไทยมีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมการกีฬาและควบคุมการดำเนินกิจการกีฬาได้กว้างขวางและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สมควรยกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยและตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้นใช้บังคับแทน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔[๓] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้กรรมการสมาคมกีฬามีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน ทำให้ผู้มีความรู้ความชำนาญงานในด้านการกีฬาไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ให้ต่อเนื่องติดต่อกันได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมและพัฒนาการกีฬาในอันที่จะให้เกิดประโยชน์แก่สมาคมกีฬา สมควรแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการของสมาคมกีฬาเพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปณตภร/ผู้จัดทำ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ กุลชาติ/ตรวจ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๔๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๗ ตุลาคม ๒๕๒๘ [๒] มาตรา ๕๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๔๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๖ สิงหาคม ๒๕๓๔
301873
พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นปีที่ ๔๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๗ กรรมการของสมาคมที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๕๓ ให้มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ การดำรงตำแหน่งกรรมการของสมาคมเกินสองวาระติดต่อกันจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อกรรมการผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการของสมาคมต่อไปด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสมาคม แต่ทั้งนี้กรรมการผู้นั้นจะดำรงตำแหน่งกรรมการของสมาคมติดต่อกันเกินสี่วาระมิได้ ความในวรรคสองมิให้ใช้บังคับสำหรับกรณีที่กรรมการของสมาคมดำรงตำแหน่งในสมาคมหรือองค์กรกีฬาระหว่างประเทศที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ทั้งนี้ตราบเท่าที่ยังดำรงตำแหน่งในสมาคมหรือองค์กรกีฬาระหว่างประเทศดังกล่าว” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้กรรมการสมาคมกีฬามีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน ทำให้ผู้มีความรู้ความชำนาญงานในด้านการกีฬาไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ให้ต่อเนื่องติดต่อกันได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมและพัฒนาการกีฬาในอันที่จะให้เกิดประโยชน์แก่สมาคมกีฬา สมควรแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการของสมาคมกีฬาเพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พรพิมล/แก้ไข ๑๑ ก.ย ๒๕๔๔ A+B (C) พัชรินทร์/แก้ไข ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๗ วศิน/แก้ไข ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ ปณตภร/ปรับปรุง ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ กุลชาติ/ตรวจ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๔๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๖ สิงหาคม ๒๕๓๔
301872
พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นปีที่ ๔๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๗ (๒) พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๑ (๓) พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ (๔) พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๙ (๕) พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๓ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย “ผู้ว่าการ” หมายความว่า ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย “รองผู้ว่าการ” หมายความว่า รองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย “พนักงาน” หมายความว่า พนักงานของการกีฬาแห่งประเทศไทย และหมายความรวมถึงผู้ว่าการและรองผู้ว่าการด้วย “ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างของการกีฬาแห่งประเทศไทย มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ การจัดตั้ง ทุน และทุนสำรอง มาตรา ๖ ให้จัดตั้งองค์การขึ้นเรียกว่า “การกีฬาแห่งประเทศไทย” เรียกโดยย่อว่า “กกท.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “SPORTS AUTHORITY OF THAILAND” เรียกโดยย่อว่า “SAT” และให้มีตราเครื่องหมายของ “กกท.” รูปลักษณะตราเครื่องหมายตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง มาตรา ๗ ให้ กกท. เป็นนิติบุคคล มีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดใกล้เคียง และจะจัดตั้งสำนักงานสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใดภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรก็ได้ แต่การตั้งสำนักงานสาขาภายนอกราชอาณาจักรต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี มาตรา ๘ กกท. มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมการกีฬา (๒) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานเกี่ยวกับการกีฬา (๓) ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำโครงการ แผนงานและสถิติเกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬา รวมทั้งประเมินผล (๔) จัด ช่วยเหลือ แนะนำและร่วมมือในการจัดและดำเนินการการกีฬา (๕) สำรวจ จัดสร้างและบูรณะสถานที่สำหรับการกีฬา (๖) ติดต่อร่วมมือกับองค์การหรือสมาคมกีฬาทั้งในและนอกราชอาณาจักร (๗) สอดส่องและควบคุมการดำเนินกิจการการกีฬา (๘) ประกอบกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวแก่หรือเพื่อประโยชน์ของการกีฬา มาตรา ๙ ให้ กกท. มีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๘ และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ถือกรรมสิทธิ์ หรือมีสิทธิครอบครอง หรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง ทำการแลกเปลี่ยน โอน รับโอน หรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๒) กู้หรือยืมเงิน ภายในและภายนอกราชอาณาจักร (๓) ให้กู้หรือให้ยืมเงินโดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แก่กิจการของ กกท. มาตรา ๑๐ ทุนของ กกท. ประกอบด้วย (๑) เงินและทรัพย์สินที่โอนมาตามมาตรา ๖๖ เมื่อได้หักหนี้สินออกแล้ว (๒) เงินที่ได้จากงบประมาณแผ่นดินให้เป็นทุนหรือเพื่อดำเนินงาน (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๔) เงินรายได้ตามมาตรา ๓๗ มาตรา ๑๑ กกท. อาจมีรายได้ดังต่อไปนี้ (๑) รายได้จากทรัพย์สินของ กกท. (๒) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๓) รายได้จากการจัดการแข่งขันกีฬา (๔) รายได้อื่น มาตรา ๑๒ เงินสำรองของ กกท. ให้ประกอบด้วยเงินสำรองธรรมดาซึ่งตั้งไว้เผื่อขาด เงินสำรองเพื่อการไถ่ถอนหนี้สินและเงินสำรองอื่น ๆ ตามความประสงค์แต่ละอย่างโดยเฉพาะ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร เงินสำรองธรรมดาจะนำออกใช้ได้ก็แต่โดยมติของคณะกรรมการ มาตรา ๑๓ ทรัพย์สินของ กกท. ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี หมวด ๒ คณะกรรมการและผู้ว่าการ มาตรา ๑๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหมหรือผู้แทน ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทน อธิบดีกรมพลศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณหรือผู้แทน ผู้แทนคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ผู้แทนคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย และบุคคลอื่นอีกไม่เกินสิบคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นกรรมการ และผู้ว่าการเป็นกรรมการและเลขานุการ มาตรา ๑๕ กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งต้องไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้าง และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจด้วย มาตรา ๑๖ กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระหรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งแทนหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว เมื่อครบกำหนดตามวาระดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน มาตรา ๑๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๖ กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก (๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ขาดการประชุมคณะกรรมการเกินสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร (๖) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๕ มาตรา ๑๘ เพื่อประโยชน์แห่งกิจการของ กกท. ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดของ กกท. แล้วรายงานต่อคณะกรรมการ มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ กกท. อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ออกข้อบังคับหรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรา ๘ และมาตรา ๙ (๒) ออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการดำเนินกิจการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ (๓) ออกข้อบังคับว่าด้วยการจัดแบ่งส่วนงานของ กกท. และออกข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานต่าง ๆ ของ กกท. (๔) ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของผู้ว่าการ และการมอบให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนผู้ว่าการ (๕) ออกข้อบังคับกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และเงินอื่น ๆ ของพนักงานและลูกจ้าง (๖) ออกข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือนหรือค่าจ้าง การถอดถอน ระเบียบวินัย การลงโทษ และการอุทธรณ์การลงโทษพนักงานและลูกจ้าง (๗) ออกระเบียบว่าด้วยการร้องทุกข์ของพนักงานและลูกจ้าง (๘) ออกข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการของพนักงานและลูกจ้างและครอบครัว โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (๙) ออกข้อบังคับว่าด้วยการจ่ายค่าพาหนะ เบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่าที่พัก ค่าทำงานล่วงเวลา เบี้ยประชุม และการจ่ายเงินอื่น ๆ (๑๐) ออกระเบียบว่าด้วยเครื่องแบบพนักงานและลูกจ้าง มาตรา ๒๐ ในข้อบังคับหรือระเบียบตามมาตรา ๑๙ ถ้ามีข้อความจำกัดอำนาจของผู้ว่าการในการทำนิติกรรมไว้ประการใด ให้ประกาศข้อความเช่นว่านั้นในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๑ ให้คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งและกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้ว่าการและรองผู้ว่าการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มาตรา ๒๒ ผู้ว่าการและรองผู้ว่าการต้อง (๑) ไม่มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับ กกท. ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม (๒) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ มาตรา ๒๓ ผู้ว่าการหรือรองผู้ว่าการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะกรรมการให้ออก (๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๒ มติของคณะกรรมการให้ผู้ว่าการและรองผู้ว่าการออกจากตำแหน่งตาม (๓) ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่อยู่ในตำแหน่งนอกจากผู้ว่าการ และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี มาตรา ๒๔ ผู้ว่าการมีหน้าที่บริหารกิจการของ กกท. ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ กกท. และตามนโยบาย ข้อบังคับ และระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดกับมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่ง ผู้ว่าการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของ กกท. มาตรา ๒๕ ผู้ว่าการมีอำนาจ (๑) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนให้พนักงานและลูกจ้างออกจากตำแหน่งตามข้อบังคับหรือระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าเป็นพนักงานหรือลูกจ้างชั้นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการฝ่ายหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน (๒) กำหนดเงื่อนไขในการทำงานของพนักงานและลูกจ้าง และออกระเบียบการปฏิบัติงานของ กกท. โดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบหรือข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๒๖ ให้รองผู้ว่าการมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่งรองจากผู้ว่าการ และมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการของ กกท. ตามที่ผู้ว่าการมอบหมาย มาตรา ๒๗ ในกรณีที่ผู้ว่าการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อตำแหน่งผู้ว่าการว่างลงและยังมิได้แต่งตั้งผู้ว่าการ ให้รองผู้ว่าการรักษาการแทนผู้ว่าการ ถ้าไม่มีรองผู้ว่าการหรือรองผู้ว่าการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งพนักงานคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทนผู้ว่าการ ในการปฏิบัติหน้าที่ของรองผู้ว่าการหรือรักษาการแทนผู้ว่าการตามวรรคหนึ่ง ให้รองผู้ว่าการหรือผู้รักษาการแทนผู้ว่าการมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ว่าการ เว้นแต่อำนาจและหน้าที่ของผู้ว่าการในฐานะกรรมการ มาตรา ๒๘ ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้ว่าการเป็นผู้แทนของ กกท. และเพื่อการนี้ ผู้ว่าการจะมอบอำนาจให้บุคคลใด ๆ ปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด นิติกรรมที่ผู้ว่าการกระทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบตามมาตรา ๒๐ ย่อมไม่ผูกพัน กกท. เว้นแต่คณะกรรมการจะให้สัตยาบัน มาตรา ๒๙ ให้ประธานกรรมการและกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หมวด ๓ คณะกรรมการกีฬาจังหวัด มาตรา ๓๐ ในแต่ละจังหวัด ให้มีคณะกรรมการกีฬาจังหวัดเพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือกิจการของ กกท. มาตรา ๓๑ คณะกรรมการกีฬาจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ รองผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการ ผู้แทนกรมพลศึกษา ผู้แทน กกท. และบุคคลอื่นซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งอีกไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบห้าคนเป็นกรรมการ ศึกษาธิการจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินห้าคนเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการกีฬาจังหวัดได้ มาตรา ๓๒ คณะกรรมการกีฬาจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมกีฬาในจังหวัด (๒) เสนอแนะโครงการส่งเสริมการกีฬาในจังหวัดต่อ กกท. (๓) ร่วมมือกับ กกท. ในการดำเนินการจัดแข่งขันกีฬา (๔) ปฏิบัติการอื่นตามที่ กกท. มอบหมาย (๕) ออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ มาตรา ๓๓ กรรมการซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี และให้นำมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการกีฬาจังหวัดโดยอนุโลม หมวด ๔ การร้องทุกข์ และการสงเคราะห์ มาตรา ๓๔ พนักงานและลูกจ้างมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๕ ให้ กกท. จัดให้มีกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการของพนักงานและลูกจ้างและครอบครัวในกรณีที่พ้นจากตำแหน่ง ประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย ตาย หรือกรณีอื่นอันควรแก่การสงเคราะห์ การจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นตามวรรคหนึ่ง การออกเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ การกำหนดประเภทของผู้ซึ่งพึงได้รับการสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ การจ่ายเงินสงเคราะห์ และการจัดการกองทุนสงเคราะห์ ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๕ การเงิน การบัญชี และการตรวจสอบ มาตรา ๓๖ กกท. ต้องทำงบประมาณประจำปี โดยให้แยกเป็นงบลงทุนและงบทำการ สำหรับงบลงทุนให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและให้ความเห็นชอบ ส่วนงบทำการให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ มาตรา ๓๗ รายได้ที่ กกท. ได้รับจากการดำเนินงานในปีหนึ่ง ๆ ให้ตกเป็นของ กกท. สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และเมื่อได้หักรายจ่ายสำหรับการดำเนินงานค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม เช่น ค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคา เงินสำรองตามมาตรา ๑๒ และเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ หรือการสงเคราะห์อื่นตามมาตรา ๓๕ แล้ว เหลือเท่าใดให้สะสมไว้เป็นเงินสำหรับใช้จ่ายต่อไป มาตรา ๓๘ กกท. ต้องเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธนาคารอื่นตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๓๙ กกท. ต้องวางและถือไว้ซึ่งระบบการบัญชีที่เหมาะสมแก่กิจการแยกตามประเภทงานส่วนที่สำคัญ มีสมุดบัญชีลงรายการรับและจ่ายเงิน สินทรัพย์และหนี้สินที่แสดงกิจการที่เป็นอยู่ตามความจริงและตามที่ควร ตามประเภทงาน พร้อมด้วยข้อความอันเป็นที่มาของรายการนั้น ๆ และให้มีผู้สอบบัญชีภายใน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการทำการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำทุกเดือน มาตรา ๔๐ กกท. ต้องจัดทำงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนส่งผู้สอบบัญชี ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี มาตรา ๔๑ ทุกปีให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบรับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของ กกท. มาตรา ๔๒ ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุดบัญชี และเอกสาร หลักฐานของ กกท. เพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามประธานกรรมการ กรรมการ พนักงานและลูกจ้างของ กกท. มาตรา ๔๓ ผู้สอบบัญชีต้องทำรายงานผลการสอบบัญชีและการเงินเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อยหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี เพื่อคณะกรรมการเสนอต่อนายกรัฐมนตรี มาตรา ๔๔ ให้คณะกรรมการทำรายงานปีละครั้งเสนอต่อคณะรัฐมนตรี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของ กกท. ในปีที่ล่วงมา พร้อมทั้งคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการโครงการและแผนงานที่จะจัดทำในปีถัดไป ให้ กกท. โฆษณารายงานประจำปีที่สิ้นไป โดยแสดงงบดุล บัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีรับรองว่าถูกต้องแล้ว รวมทั้งรายงานสรุปผลงานในปีที่ล่วงมา ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของ กกท. หมวด ๖ การกำกับและควบคุม มาตรา ๔๕ ให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ กกท. เพื่อการนี้จะสั่งให้ กกท. ชี้แจงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น ทำรายงานหรือยับยั้งการกระทำของ กกท. ที่ขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรี ตลอดจนมีอำนาจที่จะสั่งให้ปฏิบัติการตามนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการได้ มาตรา ๔๖ ในกรณีที่ กกท. ต้องเสนอเรื่องใด ๆ ไปยังคณะรัฐมนตรี ให้ กกท. นำเรื่องเสนอนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเพื่อเสนอต่อไปยังคณะรัฐมนตรี มาตรา ๔๗ กกท. ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินการดังต่อไปนี้ได้ (๑) กู้ยืมเงินหรือให้กู้ยืมเงินมีจำนวนเกินคราวละห้าล้านบาท (๒) จำหน่ายอสังหาริมทรัพย์อันมีราคาเกินหนึ่งล้านบาท (๓) จำหน่ายทรัพย์สินอันมีราคาเกินหนึ่งล้านบาทจากบัญชีเป็นสูญ หมวด ๗ การส่งเสริมการกีฬา มาตรา ๔๘ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการกีฬา คณะกรรมการมีอำนาจให้ทุนหรือทรัพย์สินช่วยเหลือแก่คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา หรือนิติบุคคลอื่นเพื่อใช้ในการส่งเสริมกิจการการกีฬาของคณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬา หรือนิติบุคคลนั้นได้ ในการนี้คณะกรรมการจะกำหนดเงื่อนไขในการให้ไว้ด้วยก็ได้ กรณีเห็นเป็นการสมควร คณะกรรมการอาจจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์ หรือการสงเคราะห์อื่นเพื่อสวัสดิการของนักกีฬา บุคคลในวงการกีฬาก็ได้ หลักเกณฑ์การพิจารณา การกำหนดประเภทของผู้ซึ่งพึงได้รับการสงเคราะห์ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๙ สมาคมกีฬาใดประสงค์จะรับทุนหรือทรัพย์สินช่วยเหลือตามมาตรา ๔๘ ให้ยื่นคำขอต่อ กกท. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่คณะกรรมการกำหนด พร้อมด้วยโครงการการกีฬาที่ขอรับการช่วยเหลือ มาตรา ๕๐ ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควรให้ทุนหรือทรัพย์สินช่วยเหลือแก่สมาคมกีฬาใดแล้ว คณะกรรมการจะกำหนดเงื่อนไขให้สมาคมกีฬานั้นต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ มาตรา ๕๑ นอกจากการให้ทุนหรือทรัพย์สินช่วยเหลือแก่สมาคมกีฬาแล้ว คณะกรรมการอาจให้สมาคมกีฬาได้รับสิทธิหรือประโยชน์เกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬาอย่างใดด้วยก็ได้ มาตรา ๕๒ ในกรณีที่สมาคมกีฬาที่ได้รับทุนหรือทรัพย์สินช่วยเหลือ หรือได้รับสิทธิหรือประโยชน์ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๕๐ ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนการช่วยเหลือ รวมทั้งสิทธิหรือประโยชน์ที่ได้ให้แก่สมาคมกีฬานั้นทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ ถ้าคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า การที่สมาคมกีฬาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนั้น มิได้เป็นการกระทำโดยจงใจ คณะกรรมการจะเตือนเป็นหนังสือให้สมาคมกีฬานั้นแก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้องเสียภายในเวลาที่กำหนดให้ก็ได้ และเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว สมาคมกีฬานั้นมิได้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้องก็ให้คณะกรรมการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หมวด ๘ การควบคุมการกีฬา มาตรา ๕๓ สมาคมใดซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๕๔ สมาคมที่ได้รับอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ ต้องอยู่ในความควบคุมของ กกท. และต้องปฏิบัติตามข้อบังคับที่ กกท. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ มาตรา ๕๕ ให้ กกท. มีอำนาจเพิกถอนการอนุญาตที่ให้ไว้แก่สมาคม ตามมาตรา ๕๓ ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อสมาคมนั้นปฏิบัติการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๙ (๒) เมื่อสมาคมนั้นไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับที่ กกท. กำหนดตามมาตรา ๕๔ หรือการกระทำของสมาคมผิดต่อกฎหมาย (๓) เมื่อสมาคมนั้นให้หรือยอมให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่กรรมการดำเนินกิจการในหน้าที่ของกรรมการ หรือให้หรือยอมให้บุคคลซึ่งขาดคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการตามมาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๘ เป็นกรรมการ สมาคมที่ถูกเพิกถอนการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องเลิกและหยุดดำเนินการทันที มาตรา ๕๖ ผู้ใดจะดำรงตำแหน่งกรรมการของสมาคมที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๕๓ เกินกว่าสองแห่งมิได้ สำหรับตำแหน่งนายกสมาคมหรือเลขาธิการสมาคม หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่านายกสมาคมหรือเลขาธิการสมาคม ให้ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินหนึ่งแห่ง มาตรา ๕๗ กรรมการของสมาคมที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๕๓ ให้มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน มาตรา ๕๘ กรรมการของสมาคมที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๕๓ ไม่ว่าข้อบังคับจะกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามประการอื่นไว้อีกหรือไม่ก็ตามต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (๑) มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์เหมาะสมกับการดำเนินกิจการเกี่ยวกับกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาภายในขอบวัตถุประสงค์ของสมาคมนั้น (๒) ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (๓) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ มาตรา ๕๙ ห้ามมิให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใด แสดงว่าเป็นสมาคม สโมสรหรือคณะบุคคล ซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก กกท. ห้ามมิให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดเข้าร่วมการแข่งขันหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหรือจัดการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก กกท. การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ กกท. มีคำสั่งไม่อนุญาตตามมาตรา ๕๙ คณะบุคคลหรือบุคคลดังกล่าวมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ กกท. มีคำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นอุทธรณ์ และวิธีพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด หมวด ๙ บทกำหนดโทษ มาตรา ๖๑ ผู้ใดโฆษณา ชี้ชวน หรือจัดการให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดเข้าเป็นสมาชิก หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการส่งเสริมหรือสนับสนุนการดำรงอยู่ของสมาคมใดซึ่งยังมิได้รับอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ หรือซึ่ง กกท. ได้เพิกถอนการอนุญาตที่ให้ไว้ตามมาตรา ๕๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๖๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๙ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๖๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น บทเฉพาะกาล มาตรา ๖๔ สมาคมใดซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ที่ตั้งและดำรงอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ขอรับอนุญาตให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๖๕ คณะบุคคลหรือบุคคลใดซึ่งใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใด แสดงว่าเป็นสมาคม สโมสรหรือคณะบุคคล ซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ขอรับอนุญาตให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๙ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๖๖ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ตลอดจนงบประมาณขององค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๗ ที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเป็นของ กกท. มาตรา ๖๗ ให้ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และบรรดาพนักงานหรือลูกจ้างขององค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นผู้ว่าการ รองผู้ว่าการ และพนักงานหรือลูกจ้างของ กกท. แล้วแต่กรณี โดยให้ได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เท่าที่เคยได้รับอยู่เดิม กับให้ถือว่าเวลาการทำงานของบุคคลดังกล่าวในองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นเวลาทำงานใน กกท. นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๖๘ ให้คณะกรรมการองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา อยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งอย่างช้าต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๖๙ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งขององค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะได้มีการออกข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร รองนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อจัดตั้งการกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้นแทนองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย และให้การกีฬาแห่งประเทศไทยมีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมการกีฬาและควบคุมการดำเนินกิจการกีฬาได้กว้างขวางและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สมควรยกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยและตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้นใช้บังคับแทน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พรพิมล/แก้ไข ๑๑ ก.ย ๒๕๔๔ A+B (C) พัชรินทร์/แก้ไข ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๗ วศิน/แก้ไข ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ ปณตภร/ปรับปรุง ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ กุลชาติ/ตรวจ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๔๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๗ ตุลาคม ๒๕๒๘
756035
กฎกระทรวงกำหนดตราเครื่องหมายของการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2559
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดตราเครื่องหมายของการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ตราเครื่องหมายของการกีฬาแห่งประเทศไทยมีลักษณะเป็นรูปคล้ายพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ (ช้างสามเศียร) เบื้องล่างมีช่อชัยพฤกษ์โอบขึ้นสองข้างและมีอักษร “กกท” อยู่ด้านล่างโค้งสัมพันธ์กับช่อชัยพฤกษ์ ตามแบบท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตราเครื่องหมายของการกีฬาแห่งประเทศไทย ท้ายกฎกระทรวงกำหนดตราเครื่องหมายของการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติให้รูปลักษณะตราเครื่องหมายของการกีฬาแห่งประเทศไทยให้กำหนดโดยกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๖๙ ก/หน้า ๓/๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๙
756033
กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2559
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้กำหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้ (๑) ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๒) ใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา ฉบับละ ๒๐๐ บาท (๓) ใบอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท (๔) ใบอนุญาตให้เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท (๕) ใบอนุญาตอย่างอื่นนอกจาก (๓) และ (๔) ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๖) การตรวจหรือคัดเอกสารเกี่ยวกับสมาคมกีฬา ครั้งละ ๕๐ บาท (๗) การขอให้คัดและรับรองสำเนาเอกสารเกี่ยวกับสมาคมกีฬา ครั้งละ ๕๐ บาท ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัติ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๖๙ ก/หน้า ๑/๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๙
301875
กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๕๒๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การอุทธรณ์คำสั่งของ กกท. ตามมาตรา ๕๙ ผู้ได้รับคำสั่งของ กกท. ต้องกระทำสำหรับตนเอง จะอุทธรณ์เพื่อผู้อื่น หรือมอบหมายให้ผู้อื่นอุทธรณ์แทนไม่ได้ ข้อ ๒ อุทธรณ์ตามข้อ ๑ ต้องทำเป็นหนังสือ และมีรายการดังต่อไปนี้ (๑) วัน เดือน ปี ที่ยื่นอุทธรณ์ (๒) ชื่อและที่อยู่ของผู้อุทธรณ์ (๓) คำชี้แจงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายพร้อมทั้งความประสงค์ที่ยกขึ้นอ้างอิงในการอุทธรณ์โดยแจ้งชัด (๔) เอกสารหลักฐานที่ประสงค์จะใช้เป็นหลักฐานหรือข้ออ้างในการอุทธรณ์ (๕) ลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์ ทั้งนี้ ให้แนบสำเนาคำขออนุญาตพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาตและสำเนาคำสั่งของ กกท. ตามมาตรา ๕๙ ไปพร้อมกับคำอุทธรณ์ด้วย ข้อ ๓ การยื่นอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นต่อประธานกรรมการ หรือจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงประธานกรรมการก็ได้ ในกรณีที่ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ให้ถือวันที่ปรากฏในหลักฐานทางไปรษณีย์เป็นวันยื่นอุทธรณ์ เมื่อได้รับอุทธรณ์แล้ว ให้ประธานกรรมการออกใบรับอุทธรณ์ให้แก่ผู้อุทธรณ์ไว้เป็นหลักฐาน อุทธรณ์ที่ยื่นต่อประธานกรรมการโดยตรงให้ออกใบรับอุทธรณ์ให้แก่ผู้อุทธรณ์ในวันยื่นอุทธรณ์ ถ้าได้รับอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ให้ส่งใบรับอุทธรณ์ให้แก่ผู้อุทธรณ์ภายในสามวันนับแต่วันได้รับอุทธรณ์ และให้ประธานกรรมการเสนออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาโดยเร็ว ข้อ ๔ คณะกรรมการจะพิจารณาอุทธรณ์เอง หรือจะมอบหมายให้คณะอนุกรรมการเป็นผู้พิจารณาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับอุทธรณ์ก่อนก็ได้ กรรมการหรืออนุกรรมการซึ่งมีส่วนได้เสียในอุทธรณ์เรื่องใด จะเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการก็ได้ แต่จะเข้าร่วมประชุมพิจารณาอุทธรณ์นั้นมิได้ ข้อ ๕ ผู้อุทธรณ์อาจขอมาชี้แจงหรือนำบุคคลหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการได้ก่อนที่คณะกรรมการจะได้วินิจฉัยคำอุทธรณ์ หรือคณะอนุกรรมการจะได้พิจารณาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ แต่ต้องมาชี้แจงหรือนำบุคคลหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการกำหนด ข้อ ๖ คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการจะแจ้งให้ผู้อุทธรณ์หรือให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องที่อุทธรณ์ส่งเอกสารหรือข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการก็ได้ ในการนี้จะขอให้บุคคลดังกล่าวมาชี้แจงต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการด้วยก็ได้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการที่ได้สั่งตามข้อ ๖ โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการภายในสองวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ และคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการพิจารณาเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร ผู้อุทธรณ์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะโต้แย้งหรืออ้างอิงเอกสารหลักฐานนั้น ข้อ ๘ ผู้อุทธรณ์อาจขอถอนอุทธรณ์ต่อประธานกรรมการได้ ข้อ ๙ ในกรณีที่คณะกรรมการมอบหมายให้คณะอนุกรรมการพิจารณาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับอุทธรณ์ตามข้อ ๔ คณะอนุกรรมการต้องพิจารณาอุทธรณ์และเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการภายในห้าวันนับแต่วันได้รับอุทธรณ์จากคณะกรรมการ แต่ถ้ายังพิจารณาไม่เสร็จ ให้คณะอนุกรรมการขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ได้อีกสองวัน และให้บันทึกเหตุผลที่จำเป็นต้องมีการขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ไว้ด้วยพร้อมทั้งรายงานให้คณะกรรมการทราบตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๑๐ คณะกรรมการต้องพิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับอุทธรณ์ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ได้ไม่เกินห้าวัน และให้บันทึกเหตุผลที่จำเป็นต้องมีการขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ไว้ด้วย ข้อ ๑๑ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้ทำเป็นหนังสือระบุเหตุผลแห่งการวินิจฉัยและแจ้งผลการวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในสามวันนับแต่วันที่ได้มีคำวินิจฉัย ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๙ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศให้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นอุทธรณ์ และวิธีพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของ กกท. ตามมาตรา ๕๙ ต้องเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๓ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๙/๙ มกราคม ๒๕๒๙
301874
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การขออนุญาตดำเนินการจัดตั้งสมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคมยื่นคำขอตามแบบ กกท. ๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้ จำนวน ๓ ชุด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาหรือภาพถ่ายข้อบังคับของสมาคม (๒) สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตตั้งสมาคมตามกฎหมายว่าด้วยวัฒนธรรมแห่งชาติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (๓) ชื่อ ที่อยู่ อาชีพของผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคมทุกคนพร้อมด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับประสบการณ์ด้านการกีฬาหรือส่งเสริมการกีฬา (ถ้ามี) ตามแบบ กกท. ๑ ก ท้ายกฎกระทรวงนี้ (๔) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคมทุกคน (๕) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวของบุคคลซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคมทุกคน (๖) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด ๔ x ๖ เซนติเมตร ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือนของผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคมทุกคน คนละ ๕ รูป ข้อ ๒ สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรงที่ตั้งและดำรงอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้แทนของสมาคมนั้นยื่นคำขอตามแบบ กกท. ๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้จำนวน ๓ ชุด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารหลักฐานตามข้อ ๑ (๑) และ (๒) (๒) สำเนาหรือภาพถ่ายใบสำคัญการจดทะเบียนสมาคม (๓) หลักฐานการเป็นผู้แทนของสมาคม (๔) บัญชีรายชื่อกรรมการของสมาคมฉบับที่นายทะเบียนสมาคมรับรอง (๕) บัญชีรายชื่อสมาชิกของสมาคมฉบับที่นายทะเบียนสมาคมรับรอง ข้อ ๓ ใบอนุญาตให้ดำเนินการจัดตั้งสมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ให้ใช้แบบ กกท. ๓ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๔ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้แทนของสมาคมนั้นยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตตามแบบ กกท. ๔ ท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (๑) หลักฐานการเป็นผู้แทนของสมาคม (๒) ใบรับแจ้งความของสถานีตำรวจแห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตนั้นสูญหาย (๓) ใบอนุญาตที่ถูกทำลายหรือชำรุดบางส่วน ในกรณีที่ใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ กกท. ๓ และมีข้อความว่า “ใบแทน” ด้วยหมึกสีแดงไว้ด้านหน้าตรงมุมบนด้านขวา ข้อ ๕ สมาคมซึ่งได้รับใบอนุญาตตามกฎกระทรวงนี้ที่ได้จดทะเบียนเลิกสมาคมไปแล้ว ให้แจ้งการเลิกสมาคมเป็นหนังสือต่อ กกท. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่จดทะเบียนเลิกสมาคม ข้อ ๖ การยื่นคำขอและการจ้างตามกฎกระทรวงนี้ (๑) สำหรับสมาคมที่ข้อบังคับระบุให้มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นหรือแจ้งต่อ กกท. (๒) สำหรับสมาคมที่ข้อบังคับระบุให้มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นหรือแจ้งต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของ กกท. ในจังหวัดนั้น หรือต่อ กกท. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๙ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขออนุญาตดำเนินการจัดตั้งสมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ (แบบ กกท. ๑) ๒. รายละเอียดเกี่ยวกับผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคม (แบบ กกท. ๑ ก) ๓. คำขออนุญาตดำเนินการจัดตั้งสมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ (กรณีสมาคมที่ตั้งและดำรงอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา) (แบบ กกท. ๒) ๔. ใบอนุญาตให้ดำเนินการจัดตั้งสมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง (แบบ กกท. ๓) ๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตให้ดำเนินการจัดตั้งสมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง (แบบ กกท. ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตจัดตั้งสมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ต้องเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๓ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๔/๙ มกราคม ๒๕๒๙
318720
กฎกระทรวง (พ.ศ. 2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528
กฎกระทรวง กฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ตราเครื่องหมายของการกีฬาแห่งประเทศไทย มีลักษณะเป็นรูปคล้ายพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ (ช้างสามเศียร) เบื้องล่างมีช่อชัยพฤกษ์โอบขึ้นสองข้างและมีอักษรย่อ “กกท.” อยู่ด้านล่างโค้งสัมพันธ์กับช่อชัยพฤกษ์ ตามแบบท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตราเครื่องหมายของการกีฬาแห่งประเทศไทย ท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้รูปลักษณะตราเครื่องหมายของการกีฬาแห่งประเทศไทยต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๓ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๙ มกราคม ๒๕๒๙
659285
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้กีฬาดำน้ำเป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่ง ประเทศไทย ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้กีฬาดำน้ำเป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘[๑] ตามที่มาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ นั้น การนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงออกประกาศกำหนดชนิดกีฬาเพิ่มเติมไว้ ดังต่อไปนี้ ๑.[๒] กำหนดให้กีฬาดำน้ำ (ดำน้ำลึก การว่ายน้ำโดยใช้ตีนกบ ดำน้ำยิงปลา ดำน้ำยิงเป้าใต้น้ำ ค้นหาตำแหน่งและทิศทางใต้น้ำ ฮอกกี้ใต้น้ำ รักบี้ใต้น้ำ ถ่ายภาพและถ่ายวีดีโอใต้น้ำ ดำน้ำแบบกลั้นหายใจ มวยปล้ำใต้น้ำ) เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือส่งเสริมการกีฬาดังกล่าว ต้องขอรับใบอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ๒. ให้สมาคมกีฬาดำน้ำ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวโดยตรง ที่ตั้งและดำรงอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ต่อไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ กนกพันธุ์ จุลเกษม ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้กีฬาดำน้ำเป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือส่งเสริมการกีฬาโดยตรงต้องได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ (ฉบับที่ ๒)[๓] ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง/หน้า ๖๖/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๒] ข้อ ๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้กีฬาดำน้ำเป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือส่งเสริมการกีฬาโดยตรงต้องได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ (ฉบับที่ ๒) [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๒๕/๙ เมษายน ๒๕๕๓
631872
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้กีฬา คูราช เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมต้องได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้กีฬา คูราช เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมต้องได้รับ อนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘[๑] ตามที่มาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ นั้น การนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๓ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงออกประกาศกำหนดให้ คูราช เป็นชนิดกีฬา และให้สมาคมคูราช ซึ่งเป็นสมาคมที่มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวโดยตรง ที่ตั้งและดำรงอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ กนกพันธุ์ จุลเกษม ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๔ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๓๒/๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓
627139
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้กีฬาดำน้ำเป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือส่งเสริมการกีฬาโดยตรงต้องได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทยตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 (ฉบับที่ 2)
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้กีฬาดำน้ำเป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับ การกีฬาหรือส่งเสริมการกีฬาโดยตรงต้องได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ (ฉบับที่ ๒)[๑] ตามที่การกีฬาแห่งประเทศไทยได้ประกาศเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ กำหนดให้กีฬาดำน้ำ (ดำน้ำลึก การว่ายน้ำโดยใช้ตีนกบ ดำน้ำยิงปลา ดำน้ำยิงเป้าใต้น้ำ ค้นหาตำแหน่งและทิศทางใต้น้ำ ฮอกกี้ใต้น้ำ ถ่ายภาพและถ่ายวีดีโอใต้น้ำ ดำน้ำแบบกลั้นหายใจ มวยปล้ำใต้น้ำ) เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือส่งเสริม การกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทยตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ นั้น การนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงออกประกาศเพิ่มเติมไว้ดังนี้ ๑. ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ แห่งประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้กีฬาดำน้ำเป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือส่งเสริมการกีฬาโดยตรงต้องได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทยตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑ กำหนดให้กีฬาดำน้ำ (ดำน้ำลึก การว่ายน้ำโดยใช้ตีนกบ ดำน้ำยิงปลา ดำน้ำยิงเป้าใต้น้ำ ค้นหาตำแหน่งและทิศทางใต้น้ำ ฮอกกี้ใต้น้ำ รักบี้ใต้น้ำ ถ่ายภาพและถ่ายวีดีโอใต้น้ำ ดำน้ำแบบกลั้นหายใจ มวยปล้ำใต้น้ำ) เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือส่งเสริมการกีฬาดังกล่าว ต้องขอรับใบอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘” ๒. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ กนกพันธุ์ จุลเกษม ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๔ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๒๕/๙ เมษายน ๒๕๕๓
624788
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้กีฬาชักกะเย่อ เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมต้องได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้กีฬาชักกะเย่อ เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมต้องได้รับ อนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘[๑] ตามที่มาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ นั้น การนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงออกประกาศกำหนดให้ กีฬาชักกะเย่อ เป็นชนิดกีฬา และให้สมาคมชักกะเย่อ ซึ่งเป็นสมาคมที่มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวโดยตรง ที่ตั้งและดำรงอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ต่อไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ กนกพันธุ์ จุลเกษม ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๔ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๒๔ ง/หน้า ๖๑/๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
619567
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้กีฬาดำน้ำเป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้กีฬาดำน้ำเป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘[๑] ตามที่มาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ นั้น การนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงออกประกาศกำหนดชนิดกีฬาเพิ่มเติมไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้กีฬาดำน้ำ (ดำน้ำลึก การว่ายน้ำโดยใช้ตีนกบ ดำน้ำยิงปลา ดำน้ำยิงเป้าใต้น้ำ ค้นหาตำแหน่งและทิศทางใต้น้ำ ฮอกกี้ใต้น้ำ ถ่ายภาพและถ่ายวีดีโอใต้น้ำ ดำน้ำแบบกลั้นหายใจ และมวยปล้ำใต้น้ำ) เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งที่มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ๒. ให้สมาคมกีฬาดำน้ำ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวโดยตรง ที่ตั้งและดำรงอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ต่อไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ กนกพันธุ์ จุลเกษม ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๔ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง/หน้า ๖๖/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
610490
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือส่งเสริม การกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือส่งเสริม การกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘[๑] เนื่องจากมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ บัดนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เห็นสมควรประกาศกำหนดชนิดกีฬาเพิ่มเติม ซึ่งสมาคมที่มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้หมากรุกจีน (เซี่ยงฉี) และยูยิตสู เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งที่มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทยตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ๒. ให้สมาคมหมากรุกจีน (เซี่ยงฉี) และสมาคมยูยิตสู ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวโดยตรง ที่ตั้งและดำรงอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ต่อไป ประกาศ ณ วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ กนกพันธุ์ จุลเกษม ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๔ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๓ ง/หน้า ๘๓/๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒
575149
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 เพิ่มเติม
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม[๑] เนื่องจากมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ และตามประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่องกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๙ และที่ประกาศเพิ่มเติม ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. แล้ว บัดนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เห็นสมควรประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. เพิ่มเติมและโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้กีฬาเอ็กซ์ตรีม (อินไลน์สเก็ต สเก็ตบอร์ด และจักรยานผาดโผน) เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม ๒. ให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาเอ็กซ์ตรีม (อินไลน์สเก็ต สเก็ตบอร์ด และจักรยานผาดโผน) โดยตรงที่ตั้งและดำรงอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ กนกพันธุ์ จุลเกษม ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๔ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๔๖/๒๘ มีนาคม ๒๕๕๑
573247
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 เพิ่มเติม
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม[๑] เนื่องจากมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ และตามประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๙ และที่ประกาศเพิ่มเติม ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. แล้ว บัดนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เห็นสมควรประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. เพิ่มเติม และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้กีฬาวู้ดบอล เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม ๒. ให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาวู้ดบอลโดยตรงที่ตั้งและดำรงอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ กนกพันธุ์ จุลเกษม ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๔ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๒๔/๑๔ มีนาคม ๒๕๕๑
564691
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 เพิ่มเติม
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม[๑] เนื่องจากมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ และตามประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๙ และที่ประกาศเพิ่มเติม ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. แล้ว บัดนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เห็นสมควรประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. เพิ่มเติม และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุม ครั้งที่ ๗/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้กีฬาฟุตวอลเลย์ เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม ๒. ให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาฟุตวอลเลย์โดยตรงที่ตั้งและดำรงอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกาศ ณ วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ กนกพันธุ์ จุลเกษม ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๔ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง/หน้า ๙/๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๐
462715
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 เพิ่มเติม
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม[๑] เนื่องจากมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ และตามประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๙ และที่ประกาศเพิ่มเติม ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. แล้ว นั้น บัดนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยเห็นสมควรประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือส่งเสริมการกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. เพิ่มเติม และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้กีฬารถยนต์ (รถยนต์ รถจักรยานยนต์) กีฬาเรือยนต์ (เรือเร็ว เจ็ทสกี) และกีฬาทางอากาศ เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม ๒. ให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือส่งเสริมการกีฬารถยนต์ (รถยนต์ รถจักรยานยนต์) กีฬาเรือยนต์ (เรือเร็ว เจ็ทสกี) และกีฬาทางอากาศโดยตรงที่ตั้งและดำรงอยู่ในวันที่ประกาศใช้บังคับ ดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้อง ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกาศ ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ สันติภาพ เตชะวณิช ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๔ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า ๑๓๐/๖ ตุลาคม ๒๕๔๘
461913
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 เพิ่มเติม
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม[๑] เนื่องจากมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ และตามประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๙ และที่ประกาศเพิ่มเติม ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. แล้ว นั้น บัดนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เห็นสมควรประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. เพิ่มเติมและโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุม ครั้งที่ ๔/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้กีฬาคริกเกต เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม ๒. ให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาคริกเกตโดยตรงที่ตั้งและดำรงอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกาศ ณ วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ สันติภาพ เตชะวณิช ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๔ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง/หน้า ๘/๒๗ กันยายน ๒๕๔๘
458500
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 เพิ่มเติม
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม[๑] เนื่องจากมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ และตามประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๙ และที่ประกาศเพิ่มเติม ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. แล้ว นั้น บัดนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เห็นสมควรประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. เพิ่มเติม และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้กีฬาปีนหน้าผาเป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม ๒. ให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาปีนหน้าผาโดยตรงที่ตั้งและดำรงอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ สันติภาพ เตชะวณิช ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๔ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๘๕/๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
559611
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 เพิ่มเติม
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม[๑] เนื่องจากมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาโดยตรงต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ และตามประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๙ และที่ประกาศเพิ่มเติม ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. แล้ว นั้น บัดนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เห็นสมควรประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. เพิ่มเติม และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยในการประชุม ครั้งที่ ๔/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๔๖ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้กีฬาหมากล้อมเป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม ๒. ให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมหมากล้อมโดยตรง ที่ตั้งและดำรงอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ภายใน ๓๐ วันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๖ สันติภาพ เตชะวณิช ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๔ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๘๘ ง/หน้า ๔๑/๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๖
425904
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม[๑] เนื่องจากมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาโดยตรงต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ และตามประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๙ และที่ประกาศเพิ่มเติม ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. แล้ว นั้น บัดนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เห็นสมควรประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. เพิ่มเติม และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๖ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้กีฬาขี่ม้าโปโลเป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม ๒. ให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมขี่ม้าโปโลโดยตรง ที่ตั้งและดำรงอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ภายใน ๓๐ วันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ สันติภาพ เตชะวณิช ผู้ว่าการ การกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๓ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๖๙/๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
559609
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 เพิ่มเติม
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม[๑] เนื่องจากมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ และตามประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๙ และที่ประกาศเพิ่มเติม ซึ่งผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. แล้วนั้น บัดนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เห็นสมควรประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. เพิ่มเติม และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยในการประชุม ครั้งที่ ๗/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๕ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้กีฬาโฮเรียนเทียริ่ง เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม ๒. ให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโอเรียนเทียริ่งโดยตรง ที่ตั้งและดำรงอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ภายใน ๓๐ วัน นับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ สันติภาพ เตชะวณิช ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๓ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๓๘/๒ ธันวาคม ๒๕๔๕
559607
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 เพิ่มเติม
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม[๑] เนื่องจากมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาโดยตรงต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ และตามประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๙ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. แล้วนั้น บัดนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เห็นสมควรประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. เพิ่มเติม และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๔๔ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้กีฬาฟิกเกอร์และสปีดสเก็ต เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม ๒. ให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาฟิกเกอร์และสปีดสเก็ตโดยตรง ที่ตั้งและดำรงอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ภายใน ๓๐ วัน นับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ สันติภาพ เตชะวณิช ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๓ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐ ง/หน้า ๒๐/๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
315287
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 เพิ่มเติม
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก เกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้อง ขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม[๑] เนื่องจากมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาโดยตรงต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ และตามประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๙ ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. แล้วนั้น บัดนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เห็นสมควรประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. เพิ่มเติม และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๔๔ เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๔ จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้กีฬาเนตบอลเป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม ๒. ให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาเนตบอลโดยตรงที่ตั้งและดำรงอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ภายใน ๓๐ วัน นับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เจริญทัศน์ จินตนเสรี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๓ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า๘๐/๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๔
559605
ประกาศกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง โครงสร้างการจัดแบ่งส่วนงาน อำนาจหน้าที่ และการดำเนินงานและสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของการกีฬาแห่งประเทศไทย
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่อง โครงสร้างการจัดแบ่งส่วนงาน อำนาจหน้าที่และการดำเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร ของการกีฬาแห่งประเทศไทย[๑] เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่จะให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐ เพื่อที่ประชาชนจะสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิได้โดยถูกต้องกับความเป็นจริง จึงสมควรประกาศโครงสร้างการจัดแบ่งส่วนงาน อำนาจหน้าที่ การดำเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของการกีฬาแห่งประเทศไทยไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การกีฬาแห่งประเทศไทยมีอำนาจและหน้าที่โดยสรุป ดังต่อไปนี้ ๑.๑ ส่งเสริมกีฬา ๑.๒ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานเกี่ยวกับการกีฬา ๑.๓ ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำโครงการ แผนงาน และสถิติเกี่ยวกับการส่งเสริมกีฬา รวมทั้งการประเมินผล ๑.๔ จัด ช่วยเหลือ แนะนำ และร่วมมือในการจัดและดำเนินการการกีฬา ๑.๕ สำรวจ จัดสร้างและบูรณะสถานที่สำหรับการกีฬา ๑.๖ ติดต่อ ร่วมมือกับองค์การหรือสมาคมกีฬาทั้งในและนอกราชอาณาจักร ๑.๗ สอดส่องและควบคุมการดำเนินกิจการการกีฬา ๑.๘ ประกอบกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวแก่หรือเพื่อประโยชน์ของการกีฬา ข้อ ๒ การกีฬาแห่งประเทศไทยมีโครงสร้างการจัดแบ่งส่วนงานภายในดังนี้ ๒.๑ สำนักผู้ว่าการ ประกอบด้วย กองกลาง กองการเจ้าหน้าที่ กองนิติการ กองนิเทศและวิเทศสัมพันธ์ ศูนย์สารสนเทศการกีฬา ๒.๒ ผู้ตรวจสอบภายใน ๒.๓ ฝ่ายนโยบายและแผน ประกอบด้วย กองนโยบายและแผน กองงบประมาณ กองตรวจสอบและประเมินผล ๒.๔ ฝ่ายการคลัง ประกอบด้วย กองการเงิน กองพัสดุ กองบัญชี ๒.๕ ฝ่ายสถานกีฬาและบริการ ประกอบด้วย กองโยธาและการช่าง กองซ่อมบำรุง กองบริหารทรัพย์สิน ๒.๖ ฝ่ายส่งเสริมกีฬา ประกอบด้วย กองกีฬาพื้นฐาน กองกีฬาเพื่อสุขภาพมวลชน กองกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ ๒.๗ ฝ่ายองค์กรและสวัสดิการกีฬา ประกอบด้วย กององค์กรกีฬา กองการแข่งขันกีฬา กองสวัสดิการกีฬา ๒.๘ ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา ประกอบด้วย กองวิจัยการส่งเสริมกีฬา กองวิทยาศาสตร์การกีฬา กองบริการกีฬาเวชศาสตร์ ๒.๙ สำนักพัฒนาบุคลากรกีฬา ประกอบด้วย กองพัฒนาบุคลากร กองการฝึกอบรม ๒.๑๐ สำนักงานกีฬาอาชีพ ประกอบด้วย กองพัฒนากีฬาอาชีพ สำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย ๒.๑๑ สำนักงานการกีฬาภูมิภาค ประกอบด้วย สำนักงาน กกท. ภาค ๑ ระยอง สำนักงาน กกท. ภาค ๒ สุพรรณบุรี สำนักงาน กกท. ภาค ๓ นครราชสีมา สำนักงาน กกท. ภาค ๔ สงขลา สำนักงาน กกท. ภาค ๕ เชียงใหม่ ข้อ ๓ อำนาจและหน้าที่สำคัญของส่วนงานภายในการกีฬาแห่งประเทศไทยโดยสรุป ดังต่อไปนี้ ๓.๑ สำนักผู้ว่าการ ๓.๑.๑ กองกลาง ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านธุรการ งานสารบรรณ ของ กกท. ประสานงาน แนะนำ และให้ความร่วมมือกับส่วนงานต่าง ๆ ในการดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบงานสารบรรณ ตามระเบียบ ข้อบังคับอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน มีหน้าที่รับผิดชอบงานการประชุมต่าง ๆ ของ กกท. ด้านงานธุรการให้กับผู้ว่าการและรองผู้ว่าการ ดำเนินการจัดหารายได้จากสิทธิประโยชน์และคุ้มครองสิทธิของผู้ได้รับให้เป็นไปตามข้อตกลงหรือสัญญา ตลอดจนรับผิดชอบกิจการอันอาจเกิดขึ้นและยังไม่ได้มอบหมายให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใด ๓.๑.๒ กองการเจ้าหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลทั่วไป ได้แก่ การจัดทำแผนอัตรากำลัง การสอบแข่งขัน สอบคัดเลือก บรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย ย้ายโอน เลื่อนขั้น เลื่อนระดับตำแหน่งพนักงาน และมีหน้าที่รับผิดชอบการพัฒนาบุคลากร งานทะเบียนประวัติ ระบบข้อมูลของบุคคล การพิจารณาความดีความชอบ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ งานธุรการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงาน งานสวัสดิการ และงานวินัยพนักงาน งานด้านรักษาความปลอดภัยในหน่วยงาน กกท. ๓.๑.๓ กองนิติการ ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และงานนิติกรรมเกี่ยวข้องกับ กกท. ทั้งปวง พิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ร่างและพิจารณาให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง รวบรวมหลักฐานเพื่อการดำเนินคดี รวมถึงมีหน้าที่สืบสวนสอบสวนเรื่องราวต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย และให้ความร่วมมือในการพิจารณาให้คำแนะนำข้อกฎหมายแก่หน่วยงานต่าง ๆ ใน กกท. ตลอดจนประสานกับหน่วยงานด้านกฎหมายของรัฐ ๓.๑.๔ กองนิเทศและวิเทศสัมพันธ์ ดำเนินการเกี่ยวกับเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจการ กกท. ตลอดจนจัดให้มีสื่อและทัศนูปกรณ์เพื่อการเผยแพร่ความรู้ ข่าวสารด้านการกีฬาให้ประชาชนสนใจและมีทัศนคติที่ดีต่อกีฬา ผลิตเอกสารและสื่อต่าง ๆ การชี้แจงข้อเท็จจริง จัดการแถลงข่าวกิจการ กกท. และงานนิทรรศการ ให้ความร่วมมือและสร้างสัมพันธ์อันดีกับสื่อมวลชนรวมทั้งประสานงานด้านการประชาสัมพันธ์กับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนตามนโยบาย ประสานงานเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ ติดต่อประสานงานกับประเทศต่าง ๆ ในความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการกีฬา ให้การช่วยเหลือและดำเนินการการเดินทางไปต่างประเทศหรือการเข้าประเทศของผู้เกี่ยวข้องกับการกีฬาและ กกท. ประสานงานกับองค์กรกีฬาในต่างประเทศและสหพันธ์กีฬาระหว่างชาติเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและข่าวสารที่ทันสมัย ตลอดจนให้การต้อนรับบุคลากรของสถาบันกีฬาจากต่างประเทศตามควรแก่สถานะ ๓.๑.๕ ศูนย์สารสนเทศการกีฬา ดำเนินการบริหารงาน วางแผน ประสานงาน กำกับ ดูแล และสนับสนุนข้อมูลข่าวสารการกีฬาให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ใน กกท. และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา รับผิดชอบดำเนินการระบบสารสนเทศการกีฬา โดยมี กกท. เป็นศูนย์หลักและมีโครงข่ายไปยังองค์กรกีฬาและหน่วยงาน กกท. ทั่วประเทศ รวมทั้งการเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกีฬากับต่างประเทศ และมีหน้าที่รับผิดชอบงานบรรณสารห้องสมุด และพิพิธภัณฑ์กีฬา ๓.๒ ผู้ตรวจสอบภายใน ทำหน้าที่ผู้สอบบัญชีภายในตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ และมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการตรวจสอบการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่าย วินิจฉัยความเหมาะสมของวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ในทางการเงินและการบัญชีให้มีลักษณะของการควบคุมภายในที่ดี สอบทานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการเงินว่าได้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามคำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายด้วยความประหยัดและรวดเร็วภายในกำหนดเวลาหรือไม่ เพื่อเสนอผู้ว่าการทราบ ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข กรณีพบความไม่ถูกต้องหรือข้อควรปรับปรุง เพื่อให้การปฏิบัติงานของ กกท. เป็นไปตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ๓.๓ ฝ่ายนโยบายและแผน ๓.๓.๑ กองนโยบายและแผน ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านวิเคราะห์นโยบายและแผนของหน่วยเหนือและหน่วยที่เกี่ยวข้อง วางแผนดำเนินการประสานงาน จัดทำแผนทั้งปวง ทั้งแผนระยะยาว ระยะปานกลาง และระยะสั้น รวมทั้งแผนปฏิบัติการและปฏิทินการปฏิบัติงานประจำปี ตลอดจนปรับปรุงพัฒนาแผนต่าง ๆ ให้ทันสมัยเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์และสภาวะการณ์ในช่วงเวลานั้น ๆ เสนอแนะตามลำดับชั้นเพื่ออนุมัติและสั่งการแก้ไขปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้องใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้การดำเนินการและปฏิบัติการตามแผนโดยรวมของ กกท. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมาย ตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่กำหนด ๓.๓.๒ กองงบประมาณ ดำเนินการประสานงาน และกำกับดูแลเกี่ยวกับการงบประมาณทั้งปวง ซึ่งหมายความรวมถึงงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรประจำปี เงินทุนดำเนินการ และเงินรายได้ของ กกท. ตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยจะต้องมีหน้าที่ในการขอตั้ง จัดสรร จัดทำแผนการใช้จ่ายเงินประจำปี ปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีตามความจำเป็นหรือปรับแผนตามแผนการปฏิบัติการหลักของ กกท. ทั้งนี้ จะต้องอยู่ภายใต้กรอบของข้อบังคับ และกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ตลอดจนมีหน้าที่กำกับดูแลให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลา กับพิจารณาเสนอแนะการแก้ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ทางด้านงบประมาณให้แก่หน่วยเหนือ หน่วยข้างเคียงและองค์กรกีฬาต่าง ๆ ที่ใช้งบประมาณของ กกท. จัดทำโครงการใหม่ โครงการต่อเนื่อง และโครงการตามข้อผูกพันงบประมาณ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการจัดทำประมาณการรายได้เพื่อเสนอสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีทราบ เพื่อให้ความเห็นชอบงบลงทุนประจำปี รวมทั้งมีหน้าที่ในการวางแผนการใช้สังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ของ กกท. ประจำปี เพื่อก่อให้เกิดรายได้หรือเพื่อการบริการองค์กรกีฬาต่าง ๆ ตามนโยบาย ๓.๓.๓ กองตรวจสอบและประเมินผล ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณ เงินทุนหมุนเวียนและเงินรายได้ของ กกท. ตามแผนงาน โครงการ และการใช้จ่ายเงินประจำปีตามแผนการใช้จ่ายเงินและแผนปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งรวบรวมข้อมูล ข้อปัญหา อุปสรรค ข้อขัดข้อง เพื่อวิเคราะห์และเสนอแนะเพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการงบประมาณ เพื่อใช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาระยะยาว และการสร้างระบบการวางแผนในวงรอบต่อไป ๓.๔ ฝ่ายการคลัง ๓.๔.๑ กองการเงิน มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการรับ การเบิกจ่าย การโอนเงิน และการเก็บรักษาเงินให้เป็นไปโดยถูกต้องตามระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จัดทำทะเบียนการเงิน ประสานงานกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับภาษีอากร การวางฎีกาประมาณการรายได้ ดำเนินการเกี่ยวกับรายได้ เงินทุน ดำเนินการเช่นเดียวกับเงินงบประมาณแผ่นดิน ตรวจสอบหลักฐาน เงินทดรองจ่าย ทั้งในส่วนงานภายใน กกท. และองค์กรกีฬาต่าง ๆ รวมทั้งมีหน้าที่รับผิดชอบด้านเงินกองทุนต่าง ๆ ที่ได้จัดตั้งขึ้นตลอดจนงานด้านการเงินอื่น ๆ ทั้งปวงที่เกี่ยวข้อง ๓.๔.๒ กองพัสดุ มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการด้านการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามข้อบังคับ กกท. ว่าด้วยการพัสดุ เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ เว้นแต่จะมีการสั่งการเป็นอย่างอื่นเฉพาะกรณี ควบคุมพัสดุ ครุภัณฑ์ รวมทั้งยานพาหนะ ให้มีการรับจ่าย ตรวจสอบ และเก็บรักษาให้ถูกต้องทั้งประเภทและจำนวน จัดให้มีการดูแลบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีใช้งานได้ โดยประสานกับหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลซ่อมบำรุง เพื่อการดำเนินการในการจัดทำบัญชีรายการพัสดุ และขึ้นบัญชีทะเบียนพัสดุ/สิ่งก่อสร้าง ๓.๔.๓ กองบัญชี มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการบัญชีทั้งในส่วนเงินงบประมาณ เงินรายได้ เงินทุนหมุนเวียน และกองทุนต่าง ๆ ของส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยจัดให้มีระบบบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด ดำเนินการตรวจสอบ รายงานยอดคงเหลือ จัดทำงบดุล และงบเงินสำรองค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ตรวจสอบการหักล้างเงินยืม เงินทดรองจ่าย จัดทำรายละเอียดลูกหนี้ รายละเอียดค่าใช้จ่ายแต่ละส่วนงาน รายงานวิเคราะห์การเงิน และรายงานยอดคงเหลือ และงานปิดบัญชี บัญชีกองทุนต่าง ๆ ไม่ว่าจะได้มาจากการจัดหาหรือจากการอื่นใด ๓.๕ ฝ่ายสถานที่และบริการ ๓.๕.๑ กองโยธาและการช่าง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานช่างโยธา รวมถึงงานก่อสร้างอาคาร สถานที่ สถานกีฬา งานระบบต่าง ๆ และระบบอุปกรณ์กีฬาให้เป็นไปตามมาตรฐานหรือตามนโยบายที่กำหนดไว้ ดำเนินการด้านการปรับปรุงสิ่งก่อสร้างดังกล่าวให้เป็นไปตามแผนหรือความต้องการ พิจารณาเสนอแนะงานทางด้านเทคนิคการช่างทั้งปวง รับผิดชอบตั้งแต่ขั้นการสำรวจ ออกแบบ ดำเนินการด้านการจัดซื้อจัดจ้างตามที่ได้รับมอบหมาย และรับผิดชอบโดยตรงในการควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบและมาตรฐานที่กำหนด รับผิดชอบในการประเมินราคาการก่อสร้าง ปรับปรุง อาคาร สถานที่ สถานกีฬา รวมทั้งประเมินราคาการซ่อมบำรุงสิ่งก่อสร้าง พัสดุ อุปกรณ์กีฬา เสนอแนะขั้นตอนการดำเนินงานทางด้านเทคนิคโยธา ระบบต่าง ๆ อุปกรณ์กีฬาและอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประกอบการทำสัญญาในการจัดซื้อจัดจ้างตลอดจนให้บริการด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องแก่หน่วยงานที่ขอรับการสนับสนุน ๓.๕.๒ กองซ่อมบำรุง มีหน้าที่รับผิดชอบในการสำรวจ อาคาร สถานที่ สถานกีฬา ระบบต่าง ๆ พัสดุ อุปกรณ์กีฬาที่ชำรุดเสียหาย หรือที่จำเป็นต้องซ่อมบำรุงตามระยะเวลา ประสานการประเมินราคากับกองการช่างและกองพัสดุเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณหรือขอรับงบประมาณฉุกเฉิน เพื่อการซ่อมบำรุง ดูแลรักษาให้คงสภาพดีใช้งานได้ รวมถึงดำเนินการด้านการจัดซื้อจัดจ้าง การซ่อมบำรุงหรือดำเนินการเองตามความเหมาะสม จัดทำทะเบียนประวัติการซ่อมบำรุงแต่ละรายการไว้เป็นข้อมูล ๓.๕.๓ กองบริหารทรัพย์สิน มีหน้าที่รับผิดชอบในการวางแผน การให้บริการ อาคาร สถานที่ สถานกีฬา และอุปกรณ์กีฬา ตามนโยบาย กกท. และปฏิทินการปฏิบัติงานประจำปี บริหารจัดการการให้บริการทั้งที่มีค่าตอบแทนเป็นรายได้หรือตามนโยบายในการให้การสนับสนุนตามแผนพัฒนากีฬา โดยมีหน้าที่ควบคุมการใช้อาคารสถานที่ และอุปกรณ์กีฬาให้เกิดความเรียบร้อย ถูกต้องตามหลักเกณฑ์หรือระเบียบปฏิบัติที่กำหนด วางแผนหรือปรับแผนการใช้อาคารสถานที่ และอุปกรณ์เพื่อให้คุ้มประโยชน์ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา อุปสรรค ข้อข้อข้องในการบริการ อาคาร สถานที่ เพื่อให้การบริการได้อย่างเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ และให้ประสิทธิผลสูงสุด ๓.๖ ฝ่ายส่งเสริมกีฬา ๓.๖.๑ กองกีฬาพื้นฐาน มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหาสถานที่และอุปกรณ์สำหรับการฝึกกีฬาขั้นพื้นฐาน ร่วมมือกับสมาคมกีฬาต่าง ๆ ในการฝึกสอนกีฬาแก่เยาวชนเพื่อให้เล่นกีฬาเป็น มีเจตคติที่ดีต่อการออกกำลังกายและเล่นกีฬา การจัดการแข่งขันกีฬาพื้นฐานและสร้างความพร้อมเพื่อการพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศ จัดให้มีคู่มือการฝึกสอนขั้นพื้นฐานและกติกาที่ทันสมัยเพื่อการเผยแพร่และให้ประโยชน์ในการส่งเสริมกีฬาขั้นพื้นฐาน ๓.๖.๒ กองกีฬาเพื่อสุขภาพมวลชน มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดให้มีสถานที่เล่นกีฬาและออกกำลังกายสำหรับประชาชน และชุมชน เช่น สวนสุขภาพ ลานกีฬาอเนกประสงค์ จัดให้มีบุคลากรให้คำแนะนำและดูแลการเล่นให้เป็นไปตามหลักวิชาการ เผยแพร่และรณรงค์ให้ประชาชนสนใจเล่นกีฬาและออกกำลังกาย การแข่งขันกีฬาเพื่อมวลชน ให้การส่งเสริมอุดหนุนการกีฬาในบุคคลกลุ่มพิเศษ ได้แก่ ผู้พิการทางกาย ผู้การทางสมอง และผู้เปลี่ยนอวัยวะ รวมทั้งให้ความร่วมมือกับองค์กรกีฬามวลชนและกีฬาเพื่อสุขภาพ ทั้งในประเทศและต่างประเทศในกิจการที่เกี่ยวข้อง ๓.๖.๓ กองกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ มีหน้าที่รับผิดชอบในการสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานนักกีฬาสู่ความเป็นเลิศอย่างเป็นระบบร่วมกับองค์กรกีฬาที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีสถานที่ฝึกซ้อมและอุปกรณ์กีฬาที่ได้มาตรฐาน จัดหาผู้ฝึกสอนที่มีคุณภาพ และมีการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจแก่นักกีฬาให้เป็นไปตามหลักวิชาการวิทยาศาสตร์การกีฬาและกีฬาเวชศาสตร์ โดยจัดให้มีสถานที่พักและการเก็บตัวฝึกซ้อมนักกีฬาที่เหมาะสมต่อการแข่งขันทุกระดับ ให้ความร่วมมือด้านเทคนิคกีฬาและให้การสนับสนุนการจัดส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ การจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศในประเทศ ๓.๗ ฝ่ายองค์กรและสวัสดิการกีฬา ๓.๗.๑ กององค์กรกีฬา มีหน้าที่รับผิดชอบงานประสานงานและงานให้การอุดหนุนส่งเสริมการดำเนินงานของคณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาจังหวัด และองค์กรกีฬาที่เกี่ยวข้อง การพิจารณาจัดสรรงบประมาณอุดหนุนประจำปี ให้ความร่วมมือด้านวิชาการและบริการต่าง ๆ รวมถึงการติดตามและกำกับการบริหารงานขององค์กรกีฬาที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ๓.๗.๒ กองการแข่งขันกีฬา มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการการจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ กีฬาแห่งชาติ กำกับ ดูแลจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ กีฬาแห่งชาติ ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ รวมถึงประสานงานด้านงบประมาณ การอำนวยการ การจัดการ และด้านเทคนิคที่เกี่ยวกับจัดการแข่งขันให้เป็นไปตามข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีระบบทะเบียนนักกีฬาในแต่ละระดับ ๓.๗.๓ กองสวัสดิการกีฬา มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสวัสดิการนักกีฬาและบุคลากรทางการกีฬา การให้รางวัลนักกีฬาตามระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าหน้าที่และงานธุรการกองทุนของกองทุนที่มีการจัดตั้งตามนโยบาย ๓.๘ ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา ๓.๘.๑ กองวิจัยการส่งเสริมกีฬา มีหน้าที่รับผิดชอบในการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการกีฬาเกี่ยวกับสถานกีฬา อุปกรณ์กีฬา และเทคนิคกีฬา ทำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การกีฬาในด้านสรีรวิทยา โภชนาการ ชีวกลศาสตร์ จิตวิทยาการกีฬา ฯลฯ โดยร่วมมือและสนับสนุนสถาบันทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยหรือเอกสารทางวิชาการไปสู่องค์กรและหน่วยงานกีฬาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการกีฬา ๓.๘.๒ กองวิทยาศาสตร์การกีฬา มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและสมรรถภาพของนักกีฬาและบุคคลในวงการกีฬาด้วยการตรวจสอบสมรรถภาพทางกายและจิตใจตามหลักการทางวิทยาศาสตร์การกีฬา ให้คำแนะนำและดำเนินการในด้านโภชนาการ ด้านจิตวิทยา และด้านชีวกลศาสตร์แก่นักกีฬา ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการด้านการควบคุมการใช้สารต้องห้ามตามระบบสากล และให้ความรู้แก่นักกีฬาเพื่อป้องกันการใช้สารต้องห้าม ๓.๘.๓ กองบริการกีฬาเวชศาสตร์ มีหน้าที่รับผิดชอบการให้บริการด้านความปลอดภัยในการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย การตรวจรักษาทั่วไปแก่นักกีฬาและบุคลากรทางการกีฬา รวมถึงบริการด้านทันตอนามัยดูแลสุขภาพและฟื้นฟูสภาพของผู้ได้รับบาดเจ็บจากการกีฬา ให้การบริการการป้องกันและฟื้นฟูสภาพโรคหรือความพิการบางอย่างโดยใช้กีฬาและการออกกำลังกาย และทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานงานด้านวิชาการกีฬาเวชศาสตร์กับสถาบันที่เกี่ยวข้อง ๓.๙ สำนักพัฒนาบุคลากรกีฬา ๓.๙.๑ กองพัฒนาบุคลากร มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดวางและกำหนดหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรทางการกีฬาทุกระดับร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมกับการพัฒนาบุคลากรกีฬาแต่ละประเภท ดำเนินการโดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหรือองค์กรทางกีฬาในการผลิตบุคลากรที่ทำหน้าที่ผู้ฝึกสอนกีฬาของสมาคมกีฬา ผู้บริหารกีฬา ผู้ตัดสินกีฬาระดับนานาชาติ และผู้จัดการสถานกีฬาและรับผิดชอบงานมาตรฐานบุคลากรและระบบทะเบียนบุคลากรกีฬา ๓.๙.๒ กองการฝึกอบรม มีหน้าที่รับผิดชอบในการให้การสนับสนุนและจัดการฝึกอบรมบุคลากรทางการกีฬา โดยร่วมมือกับสมาคมกีฬาและสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง จัดวางหลักสูตรที่มาตรฐานสำหรับใช้ในการอบรม เช่น การอบรมผู้ฝึกสอนกีฬาขั้นพื้นฐาน ขั้นก้าวหน้า ผู้ตัดสินกีฬาระดับจังหวัด ตลอดจนมีหน้าที่ผลิตและจัดสื่อการเรียนการสอนเพื่อการอบรมและเผยแพร่ ๓.๑๐ สำนักงานกีฬาอาชีพ ๓.๑๐.๑ กองพัฒนากีฬาอาชีพ มีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางการกีฬา เช่น นักกีฬา ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน ผู้จัดการ ที่มีศักยภาพไปเป็นบุคลากรกีฬาเพื่อการอาชีพ ประสานงานให้มีการนำระบบการจัดการแข่งขันแบบอาชีพมาใช้กับชนิดกีฬาที่มีมาตรฐานให้เป็นกีฬาอาชีพ รวมทั้งให้การสนับสนุนในการใช้ทรัพยากรของรัฐเพื่อการฝึกซ้อมและแข่งขันกีฬาอาชีพ ตลอดจนส่งเสริมและอำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานหรือองค์กรกีฬาที่มีกิจกรรมกีฬาอาชีพ ประสานและให้ความร่วมมือผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และให้มีหน้าที่รวมถึงการปฏิบัติงานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกีฬาอาชีพบัญญัติ ๓.๑๐.๒ สำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย มีหน้าที่รับผิดชอบตามพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. ๒๕๔๒ ในการส่งเสริมสนับสนุนอนุรักษ์ และเผยแพร่กีฬามวยอาชีพดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยและสวัสดิภาพ รวมถึงมาตรฐานการประกอบอาชีพการปฏิบัติหน้าที่และจรรยาบรรณของบุคคลในวงการกีฬามวยอาชีพ ดูแลกองทุนกีฬามวยอาชีพและสอดส่องงานด้านสวัสดิการของบุคคลในวงการกีฬามวยอาชีพ และมีหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายจาก กกท. ๓.๑๑ สำนักงานกีฬาภูมิภาค มีหน้าที่รับผิดชอบการส่งเสริมกีฬาภูมิภาค ประสานงานและให้ความร่วมมือกับองค์กรกีฬาในส่วนภูมิภาคในการดำเนินกิจการกีฬา ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวแก่การส่งเสริมและดำเนินการกีฬาในส่วนภูมิภาค ตามนโยบายของ กกท. ดูแลบำรุงรักษาสถานกีฬาในความรับผิดชอบ การจัดตั้งศูนย์อุปกรณ์กีฬา การดำเนินการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ข้อ ๔ สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของการกีฬาแห่งประเทศไทย ได้แก่ ห้องสมุด - การกีฬาแห่งประเทศไทย เลขที่ ๒๐๘๘ ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๔๐ โทรศัพท์ ๓๑๘๐๙๔๐ ต่อ ๑๐๕๗ โทรสาร ๓๑๙๓๘๘๗ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เจริญทัศน์ จินตนเสรี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๓ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/ หน้า ๘๖/ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
315863
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 8 เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาต กกท. ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 เพิ่มเติม
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๘ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาต กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม[๑] เนื่องจากมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาโดยตรงต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ และตามประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๙ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. แล้วนั้น บัดนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เห็นสมควรประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. เพิ่มเติมและโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๔๒ เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๒ จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้กีฬาลอนโบวล์สและไตรกีฬาเป็นชนิดกีฬา ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว ที่จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม ๒. ให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาลอนโบวล์สและไตรกีฬาโดยตรง ที่ตั้งและดำรงอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับมาดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้อง ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ภายในวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒ ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๓ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๑๐๑/๖ ตุลาคม ๒๕๔๒
559603
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 7 เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 เพิ่มเติม
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๗ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬา แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม[๑] เนื่องจากมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๘ บัญญัติให้สมาคม ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาโดยตรงต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ และตามประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่องกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๙ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. แล้วนั้น บัดนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เห็นสมควรประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. เพิ่มเติม และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุม ครั้งที่ ๔/๒๕๔๑ เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๑ จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้กีฬากาบัดดี้เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม ๒. ให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬากาบัดดี้โดยตรงที่ตั้งและดำรงอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๑ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๓ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๔๖ ง/หน้า ๑๐๐/๙ มิถุนายน ๒๕๔๑
559601
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 6 เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 เพิ่มเติม
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๖ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม[๑] เนื่องจากมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาโดยตรงต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ และตามประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่องกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๙ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. แล้วนั้น บัดนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เห็นสมควรประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. เพิ่มเติม และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๔๑ เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑ จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้กีฬาลีลาศ เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม ๒. ให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการลีลาศโดยตรง ที่ตั้งและดำรงอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๑ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๓ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๘/๑๑ มีนาคม ๒๕๔๑
559599
ประกาศ การกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 5 เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์ หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. มาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 เพิ่มเติม
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๕ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาต จาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติ การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม[๑] เนื่องจากมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ และตามประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๙ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. แล้ว นั้น บัดนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เห็นสมควรประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. เพิ่มเติม และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๓๕ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๕ จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้กีฬาเบสบอล เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม ๒. ให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาเบสบอลโดยตรงที่ตั้งและดำรงอยู่แล้วในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับมาดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ภายในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๓๕ สมชาย ประเสริฐศิริพันธ์ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๓ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๗๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔/๕ มิถุนายน ๒๕๓๕
559597
ประกาศ การกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4 เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์ หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 เพิ่มเติม
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๔ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยว กับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับ ใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติ การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม[๑] เนื่องจากมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ และตามประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๙ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. แล้ว นั้น บัดนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เห็นสมควรประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. เพิ่มเติม และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๓๔ เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๓๔ จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้กีฬาเพาะกาย เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว ที่จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม ๒. ให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาเพาะกายโดยตรงที่ตั้งและดำรงอยู่แล้วในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับมาดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ภายในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๓๔ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๓๔ นายสมชาย ประเสริฐศิริพันธ์ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๓ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๘๐/หน้า ๑๐๑๘๗/๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๔
318722
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3 เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๓ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬา หรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาต จาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติ การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม[๑] เนื่องจากมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ และตามประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๙ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. แล้ว นั้น บัดนี้ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เห็นสมควรประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. เพิ่มเติมและโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๓๔ เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๓๔ จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้กีฬาวูซู เป็นชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาดังกล่าวที่จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ เพิ่มเติม ๒. ให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาวูซูโดยตรงที่ตั้งและดำรงอยู่แล้วในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับมาดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๔ ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๓๔ สมชาย ประเสริฐศิริพันธ์ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๓ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๘๐/หน้า ๑๐๑๘๕/๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๔
301876
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 2 เรื่อง สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ที่ต้องขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬา
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๒ เรื่อง สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริม การกีฬาโดยตรง ที่ต้องขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้อง ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘[๑] เนื่องจากมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ที่ตั้งและดำรงอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและโดยที่เป็นการสมควรแจ้งให้สมาคมดังกล่าวมาดำเนินการขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายต่อไป ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ที่ตั้งและดำรงอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และได้รับการส่งเสริมจาก อ.ส.ก.ท. ให้มาขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคม ข้อ ๒ สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ที่ตั้งและดำรงอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่ได้รับการส่งเสริมจาก อ.ส.ก.ท. ให้มาขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคม ข้อ ๓ ให้สมาคมตามข้อ ๑ และข้อ ๒ มาดำเนินการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ภายในวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๒๘ ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๙ ไพบูลย์ วัชรพรรณ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๓ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๙ มกราคม ๒๕๒๙
318721
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 1 เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท.ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528
ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกาศการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่อง กำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์ หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘[๑] เนื่องจากมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาโดยตรงต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. จึงจะดำเนินการจัดตั้งตามกฎหมายได้ และมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรงที่ตั้งและดำรงอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ขอรับอนุญาตให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในมาตรา ๕๓ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศกำหนดชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ชนิดกีฬาที่สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาดังกล่าว จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้แก่ (๑) ยิงธนู (๒) กรีฑา (๓) แบดมินตัน (๔) บาสเกตบอล (๕) โบว์ลิ่ง (๖) มวย (๗) ฟุตบอล (๘) ยิมนาสติค (๙) เทนนิส (๑๐) ยิงปืน - ยิงเป้าบิน (๑๑) กีฬาทางน้ำ (ว่ายน้ำ กระโดดน้ำ โปโลน้ำ ระบำใต้น้ำ) (๑๒) เทเบิลเทนนิส (๑๓) ยูโด (๑๔) วอลเล่ย์บอล (๑๕) ยกน้ำหนัก (๑๖) เซปัค - ตะกร้อ (๑๗) เรือใบ (๑๘) กระดานโต้คลื่นมีใบ (๑๙) จักรยาน (๒๐) ขี่ม้าข้ามเครื่องกีดขวาง (๒๑) ฟันดาบ (๒๒) แฮนด์บอล (๒๓) ฮ๊อกกี้ (๒๔) ปัญจกรีฑาสมัยใหม่ (๒๕) กีฬาแข่งเรือ (เรือพาย เรือกรรเชียง) (๒๖) มวยปล้ำ (๒๗) รักบี้ (๒๘) ซอฟท์บอล (๒๙) กอล์ฟ (๓๐) บริดจ์ (๓๑) ตกปลา (๓๒) คาราเต้ (๓๓) เทควนโด้ (๓๔) เปตอง (๓๕) หมากรุกสากล (๓๖) บิลเลียด (๓๗) สนุกเกอร์ (๓๘) สเกต (๓๙) สควอช (๔๐) มวยไทย (๔๑) กีฬาพื้นเมืองและกีฬาไทย (ว่าว กระบี่กระบอง หมากรุก ตะกร้อ) ข้อ ๒ สมาคมกีฬาใดที่ใช้ชื่อชนิดกีฬาตามข้อ ๑ ให้มีความหมายเป็นอย่างอื่นหรือใช้ชื่อชนิดกีฬาตามข้อ ๑ เป็นภาษาต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงหรือไม่ก็ตามหากมีกิจกรรมหรือวัตถุประสงค์หลักในการจัดดำเนินการเล่น การแสดง การแข่งขัน หรือการออกกำลังกายเกี่ยวกับกีฬาชนิดดังกล่าวตรงตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑ ย่อมถือได้ว่าสมาคมนั้นมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๙ ไพบูลย์ วัชรพรรณ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๓ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๓/๙ มกราคม ๒๕๒๙
735197
ระเบียบกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด พ.ศ. 2558
ระเบียบกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระเบียบกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “คณะกรรมการดำเนินการเลือก” หมายความว่า คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด “ประธานกรรมการดำเนินการเลือก” หมายความว่า ประธานกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด “กรรมการดำเนินการเลือก” หมายความว่า กรรมการดำเนินการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด “คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนน” หมายความว่า คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนในการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด “อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนน” หมายความว่า อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนในการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด หมวด ๑ คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ข้อ ๔ เพื่อให้การเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการดำเนินการเลือกหนึ่งคนและกรรมการดำเนินการเลือกอีกจำนวนไม่เกินหกคน ข้อ ๕ ประธานกรรมการดำเนินการเลือกและกรรมการดำเนินการเลือกต้องไม่เป็นนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด กรรมการสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ ให้รวมถึง (๑) จัดทำรายชื่อนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ผู้มีสิทธิลงคะแนน และผู้มีสิทธิสมัครรับเลือก (๒) ดำเนินการรับสมัครรับเลือก (๓) ตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานการสมัครรับเลือก (๔) ประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกและผู้มีสิทธิลงคะแนน (๕) กำหนดรูปแบบบัตรลงคะแนนที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับช่องลงคะแนน รายชื่อผู้สมัครรับเลือก และหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือก (๖) กำหนดรูปแบบ ลักษณะ และรายละเอียดของเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการเลือก (๗) พิจารณาตัดสิทธิลงคะแนนของผู้มีสิทธิลงคะแนนที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ (๘) ประกาศผลการเลือก (๙) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนน หรือคณะอนุกรรมการอื่นเพื่อช่วยดำเนินการตามระเบียบนี้ ให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา นายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำกรุงเทพมหานคร หรือนายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำจังหวัด ให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนแก่คณะกรรมการดำเนินการเลือกตามที่คณะกรรมการดำเนินการเลือกร้องขอ ข้อ ๗ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการดำเนินการเลือกโดยอนุโลม การลงมติวินิจฉัยของคณะกรรมการดำเนินการเลือกให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการดำเนินการเลือกคนหนึ่งให้มีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการดำเนินการเลือกออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด หมวด ๒ การสมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ข้อ ๘ เมื่อจะมีการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาส่งบัญชีรายชื่อนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ให้แก่คณะกรรมการดำเนินการเลือก ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกจัดทำประกาศการรับสมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด โดยต้องกำหนดวัน เวลา สถานที่ และรายละเอียดการรับสมัครรับเลือก และวันเลือกและสถานที่เลือกไว้ด้วย ทั้งนี้ วันเลือกต้องเป็นวันหยุดราชการและสถานที่เลือกต้องจัดในเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกจัดส่งประกาศตามวรรคหนึ่งไปยังสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ตามที่ปรากฏในทะเบียนของนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา นายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำกรุงเทพมหานคร หรือนายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำจังหวัด โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และถือว่าสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนั้นได้รับแจ้งประกาศดังกล่าวแล้วเมื่อครบเจ็ดวันนับแต่วันส่ง ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกปิดประกาศตามวรรคหนึ่งไว้ ณ ที่ทำการ กกท. สำนักงานใหญ่และสำนักงาน กกท. จังหวัด พร้อมทั้งเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือจะประกาศทางสื่อมวลชนอื่นเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ข้อ ๑๐ ผู้สมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด นอกจากต้องดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด และไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของการกีฬาแห่งประเทศไทยแล้ว ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในวันสมัคร (๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๕) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๖) ไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ (๗) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา (๘) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง เว้นแต่เป็นการดำรงตำแหน่งกรรมการตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย (๙) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง (๑๐) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน เพราะทุจริตต่อหน้าที่ (๑๑) ไม่เป็นกรรมการ หรือผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือมีส่วนได้เสียในนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ร่วมทุน หรือมีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับกิจการของการกีฬาแห่งประเทศไทยเว้นแต่เป็นประธานกรรมการ กรรมการ หรือผู้บริหารโดยการมอบหมายของการกีฬาแห่งประเทศไทย (๑๒) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจอื่นเกินกว่าสองแห่ง ทั้งนี้ ให้นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และการได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งกรรมการด้วย ข้อ ๑๑ นายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดผู้ใดประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดให้สมัครรับเลือกต่อคณะกรรมการดำเนินการเลือก การสมัครรับเลือกตามวรรคหนึ่งให้ใช้ใบสมัครตามแบบ คกก. ๒ ท้ายระเบียบนี้ โดยยื่นใบสมัครต่อคณะกรรมการดำเนินการเลือก หรือยื่นใบสมัครผ่านทางนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา นายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำกรุงเทพมหานคร หรือนายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำจังหวัด ณ ที่ทำการ กกท. สำนักงานใหญ่ หรือสำนักงาน กกท. จังหวัดแห่งท้องที่ที่สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนั้นตั้งอยู่ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ (๒) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน (๓) รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกขนาด ๔ x ๖ เซนติเมตร ถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือนนับถึงวันสมัคร จำนวนสองรูป (๔) รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกขนาด ๔ x ๖ นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือนนับถึงวันสมัครจำนวนสองรูป (๕) หลักฐานแสดงการเป็นนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดที่นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬานายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำกรุงเทพมหานคร หรือนายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำจังหวัดออกให้ ในกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกยื่นใบสมัครผ่านทางนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา นายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำกรุงเทพมหานคร หรือนายทะเบียนสมาคมกีฬาประจำจังหวัด ให้นายทะเบียนที่ได้รับใบสมัครนั้นจัดทำหลักฐานการรับใบสมัครมอบให้แก่ผู้สมัครรับเลือก และให้จัดส่งใบสมัครพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานแก่คณะกรรมการดำเนินการเลือกภายในวันถัดจากวันที่ได้รับใบสมัคร ข้อ ๑๒ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกได้รับใบสมัครพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามข้อ ๑๑ แล้ว ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกตรวจสอบความถูกต้องของใบสมัครและความครบถ้วนของเอกสารและหลักฐานประกอบใบสมัคร ในกรณีที่ใบสมัครที่ยื่นไว้ไม่ถูกต้องหรือเอกสารหรือหลักฐานประกอบใบสมัครไม่ครบถ้วนให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกแนะนำให้ผู้สมัครรับเลือกแก้ไขเพิ่มเติมใบสมัครให้ถูกต้องหรือนำเอกสารหรือหลักฐานมายื่นเพิ่มเติมภายในเวลาที่คณะกรรมการดำเนินการเลือกกำหนด ในกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกไม่แก้ไขเพิ่มเติมใบสมัครหรือไม่จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในเวลาตามวรรคสอง ให้ถือว่าผู้สมัครรับเลือกไม่ประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ข้อ ๑๓ ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกจัดทำบัญชีรายชื่อและหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ตามลำดับตัวอักษรของชื่อจังหวัดที่นายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนั้นสมัครรับเลือก พร้อมบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนน ส่งไปยังสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับก่อนกำหนดวันเลือกไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกปิดประกาศบัญชีรายชื่อและหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด และบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนไว้ ณ ที่ทำการ กกท. สำนักงานใหญ่และสำนักงาน กกท. จังหวัด พร้อมทั้งเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือจะประกาศทางสื่อมวลชนอื่นเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ข้อ ๑๔ ก่อนกำหนดวันเลือกไม่น้อยกว่าห้าวัน ถ้าผู้มีสิทธิลงคะแนนผู้ใดยังไม่ได้รับบัญชีรายชื่อและหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ให้ผู้นั้นแจ้งต่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกเพื่อดำเนินการให้ตนทราบรายชื่อและหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือก ข้อ ๑๕ ในกรณีที่คณะกรรมการดำเนินการเลือกพบว่าบัญชีรายชื่อหรือหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด หรือบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนมีข้อผิดพลาด ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องก่อนกำหนดวันเลือกไม่น้อยกว่าสามวัน เพื่อให้คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนนำไปปิดประกาศตามข้อ ๑๖ (๔) หมวด ๓ การดำเนินการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ข้อ ๑๖ ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานอนุกรรมการหนึ่งคนและอนุกรรมการอีกจำนวนไม่เกินสิบคน มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดทำบัตรลงคะแนน (๒) จัดเตรียมสถานที่ลงคะแนน สถานที่ตรวจนับคะแนน และสถานที่สังเกตการณ์ (๓) จัดหาอุปกรณ์สำหรับใช้ลงคะแนน ดังต่อไปนี้ (ก) หีบบัตรลงคะแนน (ข) คูหาลงคะแนน (ค) เครื่องเขียน (ง) กระดานดำ กระดาษ หรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่คล้ายคลึงกันเพื่อใช้ในการตรวจนับคะแนน (๔) ปิดประกาศบัญชีรายชื่อ หมายเลขประจำ ตัวพร้อมรูปถ่ายของผู้สมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด และบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนน (๕) จัดระเบียบและควบคุมดูแลให้ความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิลงคะแนน เพื่อให้การลงคะแนนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวมทั้งต้องมิให้ผู้ใดเข้าไปในสถานที่ลงคะแนน เว้นแต่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการลงคะแนนในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนน (๖) ตรวจสอบหลักฐานการแสดงตนของผู้มีสิทธิลงคะแนน บันทึกชื่อและหมายเหตุลงในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนน (๗) ส่งบัตรลงคะแนนให้กับผู้มีสิทธิลงคะแนนเพื่อใช้สิทธิลงคะแนน (๘) จัดระเบียบในการเข้าไปลงคะแนนให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย (๙) ดำเนินการตรวจนับคะแนน (๑๐) รักษาความสงบเรียบร้อยในสถานที่ตรวจนับคะแนนเพื่อให้การตรวจนับคะแนนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวมทั้งต้องมิให้ผู้ใดเข้าไปในสถานที่ตรวจนับคะแนน เว้นแต่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการตรวจนับคะแนนในระหว่างที่มีการตรวจนับคะแนน ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ปรากฏต่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกว่า ผู้สมัครรับเลือกผู้ใดตายหรือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกแจ้งให้คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนทราบ และให้คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนปิดประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกผู้นั้นไว้ ณ สถานที่ลงคะแนนเพื่อให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนทราบ ข้อ ๑๘ ในวันลงคะแนน ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกมอบหมายให้กรรมการดำเนินการเลือกจำนวนไม่น้อยกว่าสามคนมาประจำ ณ สถานที่ลงคะแนนและสถานที่ตรวจนับคะแนน เพื่อให้การดำเนินการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด เป็นไปตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๙ สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดที่ประสงค์จะส่งบุคคลใดมาเป็นผู้สังเกตการณ์ในการลงคะแนนหรือการตรวจนับคะแนน ให้ยื่นหนังสือแต่งตั้งผู้สังเกตการณ์จำนวนหนึ่งคนต่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่าสามวัน ผู้สังเกตการณ์ต้องอยู่ในสถานที่ที่คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนกำหนดไว้ โดยสามารถมองเห็นการปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนได้ หากผู้สังเกตการณ์กระทำการอันเป็นอุปสรรคแก่การลงคะแนนหรือการปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนน ให้ประธานอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นออกไปจากสถานที่สังเกตการณ์ได้ ข้อ ๒๐ ในวันลงคะแนน ให้ประธานอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนเปิดการลงคะแนน ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา โดยเปิดหีบบัตรลงคะแนนในที่เปิดเผยแสดงให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนซึ่งอยู่ ณ สถานที่เลือก เห็นว่าหีบบัตรลงคะแนนเป็นหีบเปล่า แล้วให้ทำการบันทึกการดำเนินการดังกล่าว โดยให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนไม่น้อยกว่าสองคนซึ่งอยู่ ณ สถานที่เลือกในขณะนั้นลงลายมือชื่อในบันทึกด้วย ข้อ ๒๑ การลงคะแนนให้ลงคะแนนโดยวิธีการลงคะแนนลับ ในการลงคะแนน ให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนไปแสดงตนต่ออนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนโดยแสดงหลักฐานการเป็นนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ให้อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนตรวจสอบรายชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนน และให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนน แล้วให้อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนมอบบัตรลงคะแนนที่มีลายมือชื่อของประธานกรรมการดำเนินการเลือกกำกับเป็นหลักฐานให้แก่ผู้นั้นเพื่อไปลงคะแนน ผู้มีสิทธิลงคะแนนต้องมาใช้สิทธิด้วยตนเอง จะมอบให้ผู้อื่นมาใช้สิทธิแทนไม่ได้ ข้อ ๒๒ เมื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนได้รับบัตรลงคะแนนแล้ว ให้ไปยังคูหาลงคะแนนที่ว่างคูหาละหนึ่งคน โดยให้ทำเครื่องหมายกากบาทในบัตรลงคะแนนในช่องทำเครื่องหมายให้ตรงกับหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกซึ่งตนต้องการเลือกเพียงหมายเลขเดียว หรือในกรณีที่ผู้มีสิทธิลงคะแนนไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้ทำเครื่องหมายกากบาทในช่องทำเครื่องหมาย “ไม่ลงคะแนน” แล้วพับบัตรลงคะแนนเพื่อมิให้ผู้อื่นทราบว่าตนลงคะแนนให้แก่ผู้ใด แล้วนำบัตรลงคะแนนนั้นใส่ลงหีบบัตรลงคะแนนด้วยตนเองต่อหน้าอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนแล้วออกไปจากสถานที่ลงคะแนน ทั้งนี้ ต้องลงคะแนนให้แล้วเสร็จภายในเวลาอันสมควร ข้อ ๒๓ ผู้มีสิทธิลงคะแนนจะนำโทรศัพท์ อุปกรณ์สื่อสาร อุปกรณ์บันทึกภาพ หรืออุปกรณ์อื่นใดในลักษณะเดียวกันเข้าไปในสถานที่ลงคะแนนไม่ได้ ในขณะลงคะแนน ผู้มีสิทธิลงคะแนนจะกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อสร้างหลักฐานการลงคะแนนของตนไม่ได้ ข้อ ๒๔ เมื่อถึงเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา ให้ประธานอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนประกาศปิดการลงคะแนน เช่น กล่าวว่า “บัดนี้ถึงเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกาแล้วให้ปิดการลงคะแนน” ถ้ามีผู้มีสิทธิลงคะแนนซึ่งประสงค์จะลงคะแนนได้มาอยู่ในสถานที่ลงคะแนนแล้วก่อนเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา ให้ดำเนินการมอบบัตรลงคะแนนตามข้อ ๒๑ ให้แก่ผู้นั้นและเมื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนนั้นลงคะแนนเสร็จสิ้นแล้ว ให้คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนลงลายมือชื่อในป้ายสำหรับปิดช่องใส่บัตรลงคะแนน และนำป้ายดังกล่าวไปปิดบนหีบบัตรลงคะแนน ข้อ ๒๕ ให้คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนนำบัตรลงคะแนนที่เหลือมานับให้ทราบจำนวนและทำเครื่องหมายโดยเจาะบัตรลงคะแนนที่เหลือทุกบัตรหรือกระทำด้วยวิธีการอื่นใดที่สามารถป้องกันมิให้ใช้บัตรลงคะแนนที่เหลืออยู่ได้ แล้วทำรายงานเกี่ยวกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนและจำนวนบัตรลงคะแนนที่เหลือเมื่อเสร็จสิ้นการลงคะแนนแล้ว และให้ลงชื่อกำกับรายงานนั้นไว้จำนวนสามชุด เพื่อ (๑) ปิดประกาศไว้ ณ สถานที่ลงคะแนน (๒) ส่งให้คณะกรรมการดำเนินการเลือก (๓) เก็บไว้เป็นหลักฐาน หมวด ๔ การตรวจนับคะแนน ข้อ ๒๖ เมื่อปิดการลงคะแนนแล้ว ให้คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนดำเนินการตรวจนับคะแนน ณ สถานที่ตรวจนับคะแนนโดยเปิดเผยต่อหน้าผู้ซึ่งอยู่ในสถานที่ตรวจนับคะแนนและบริเวณโดยรอบสถานที่นั้น และให้ดำเนินการจนแล้วเสร็จในรวดเดียวภายในเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา ของวันเลือก โดยห้ามมิให้เลื่อนหรือประวิงการตรวจนับคะแนน ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ผู้สังเกตการณ์กระทำการอันเป็นอุปสรรคแก่การตรวจนับคะแนนหรือการปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนน ให้ประธานอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นออกไปจากสถานที่สังเกตการณ์ได้ ข้อ ๒๘ ในการตรวจนับคะแนน ให้คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนเปิดหีบบัตรลงคะแนน แล้วดำเนินการตรวจนับคะแนนตามลำดับ ดังต่อไปนี้ (๑) อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนคนที่หนึ่ง มีหน้าที่หยิบบัตรลงคะแนนทีละฉบับและคลี่บัตรส่งให้อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนคนที่สอง (๒) อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนคนที่สอง มีหน้าที่วินิจฉัยบัตรลงคะแนนและอ่านผลการลงคะแนน (๓) อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนคนที่สาม มีหน้าที่เจาะบัตรลงคะแนนที่ได้วินิจฉัยและอ่านผลการลงคะแนนจากอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนคนที่สอง แล้วใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับใส่บัตรเสีย บัตรดี และบัตรที่ไม่ประสงค์ลงคะแนน แล้วแต่กรณี (๔) อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนคนที่สี่ มีหน้าที่ขานทวนคะแนนและขีดคะแนนในบันทึกการตรวจนับคะแนน โดยต้องให้บุคคลทั่วไปที่อยู่ในบริเวณโดยรอบสถานที่ตรวจนับคะแนนเห็นการขีดคะแนนอย่างชัดเจน อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนที่เหลือมีหน้าที่ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกและคอยสับเปลี่ยน ในการปฏิบัติหน้าที่กับอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ ข้อ ๒๙ บัตรลงคะแนนต่อไปนี้ ให้ถือเป็นบัตรเสียและไม่ให้นับคะแนน (๑) บัตรที่มิใช่บัตรฉบับที่อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนมอบให้หรือบัตรที่ไม่มีลายมือชื่อของประธานกรรมการดำเนินการเลือกกำกับเป็นหลักฐาน (๒) บัตรที่เขียนเครื่องหมายกากบาทในช่องหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกเกินหนึ่งเครื่องหมาย (๓) บัตรที่มิได้เขียนเครื่องหมายกากบาทในช่องหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกเลย (๔) บัตรที่เขียนเครื่องหมายอื่นนอกจากเครื่องหมายกากบาทในช่องหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือก (๕) บัตรที่เขียนเครื่องหมายกากบาทในช่องหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกที่ตายหรือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ตามที่ได้ปิดประกาศไว้ตามข้อ ๑๗ (๖) บัตรที่เขียนเครื่องหมายในช่องหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกไม่ชัดเจนจนไม่สามารถทราบเจตนาอันแท้จริงของผู้เลือกได้ ข้อ ๓๐ ให้ประธานอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนสลักหลังบัตรเสียว่า “เสีย” และลงลายมือชื่อกำกับไว้ หมวด ๕ การประกาศผลการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ข้อ ๓๑ เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจนับคะแนน ให้คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนประกาศผลการตรวจนับคะแนน ณ สถานที่ตรวจนับคะแนน และให้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือก โดยเรียงลำดับผู้ได้รับคะแนนมากที่สุดจนถึงผู้ได้รับคะแนนน้อยที่สุด และให้ผู้ได้รับคะแนนมากที่สุดเป็นผู้ได้รับเลือก ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนมากที่สุดเท่ากัน ให้ประธานกรรมการดำเนินการเลือกจับสลากโดยเปิดเผย เพื่อให้ได้ผู้ได้รับเลือกในลำดับแรกจำนวนหนึ่งคน และจัดเรียงลำดับผู้ได้รับเลือกในลำดับถัดไป ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนลำดับอื่นเท่ากัน ให้ประธานกรรมการดำเนินการเลือกจับสลากโดยเปิดเผย เพื่อจัดเรียงลำดับในระหว่างผู้ได้รับคะแนนเท่ากัน ให้คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนเก็บบัตรลงคะแนนที่ใช้ตรวจนับคะแนนใส่ซองปิดผนึกโดยลงลายมือชื่อคณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนกำกับไว้บนซองและแยกเก็บบัตรเสียหรือบัตรลงคะแนนที่เหลือไว้ต่างหาก และเก็บบัตรลงคะแนนทั้งหมดไว้ด้วยกันในหีบบัตรลงคะแนน โดยปิดหีบบัตรลงคะแนนใส่กุญแจไว้ แล้วส่งมอบให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกเพื่อดำเนินการต่อไป ข้อ ๓๒ เมื่อคณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนประกาศผลการตรวจนับคะแนนแล้ว ถ้าผู้สมัครรับเลือกเห็นว่าการลงคะแนนหรือการตรวจนับคะแนนเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้มีสิทธิยื่นคำคัดค้านต่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกภายในสามวันนับแต่วันเลือก เมื่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกได้รับคำคัดค้านแล้ว ให้ดำเนินการพิจารณาวินิจฉัยสั่งการให้แล้วเสร็จภายในสามวัน คำวินิจฉัยของคณะกรรมการดำเนินการเลือกให้เป็นที่สุด ข้อ ๓๓ ในกรณีที่ไม่มีการคัดค้านตามข้อ ๓๒ ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกประกาศผลการเลือกแล้วส่งรายชื่อผู้ได้รับเลือกในลำดับแรกพร้อมทั้งรายงานผลการเลือกต่อรัฐมนตรีภายในสี่วันนับแต่วันเลือก ข้อ ๓๔ ในกรณีที่มีการคัดค้าน ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกรอการประกาศผลการเลือกไว้จนกว่าจะได้วินิจฉัยคำคัดค้านแล้วเสร็จ ในกรณีที่คำคัดค้านฟังขึ้นและทำให้ผู้ได้รับเลือกในลำดับแรกเปลี่ยนแปลงลำดับไปให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกจัดส่งรายชื่อผู้ได้รับเลือกในลำดับถัดไปพร้อมทั้งรายงานผลต่อรัฐมนตรีภายในวันถัดจากวันที่ได้มีคำวินิจฉัย ในกรณีที่คำคัดค้านฟังไม่ขึ้นหรือฟังขึ้นแต่ไม่ทำให้ผู้ได้รับเลือกในลำดับแรกเปลี่ยนแปลงลำดับไปก็ให้จัดส่งรายชื่อผู้ได้รับเลือกในลำดับแรกนั้นพร้อมทั้งรายงานผลต่อรัฐมนตรีภายในวันถัดจากวันที่ได้มีคำวินิจฉัย ข้อ ๓๕ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ได้รับเลือกในลำดับแรกตาย หรือเป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ ภายในสามวันนับแต่วันเลือก ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกนำรายชื่อผู้ได้รับเลือกในลำดับถัดไปเสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป ภายในสี่วันนับจากวันเลือก ข้อ ๓๖ ผู้ที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดตามระเบียบนี้ ต้องไม่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ในกรณีที่ผู้จะได้รับการเสนอชื่อตามวรรคหนึ่งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกมีหนังสือแจ้งให้ผู้นั้นลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวภายในสามวันนับแต่วันได้รับแจ้งจากคณะกรรมการดำเนินการเลือก หากผู้นั้นมิได้ลาออกภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยได้รับเลือกให้เป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดและในกรณีที่ผู้จะได้รับการเสนอชื่อนั้นเป็นผู้ได้รับเลือกในลำดับแรก ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกนำรายชื่อผู้ได้รับเลือกในลำดับถัดไปเสนอต่อรัฐมนตรีโดยเร็ว ข้อ ๓๗ เมื่อรัฐมนตรีได้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดแล้ว ให้บัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นอันยกเลิกไป ในกรณีที่ไม่มีการเสนอรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดตามระเบียบนี้ ให้บัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นอันยกเลิกไป และให้รายงานต่อรัฐมนตรีเพื่อสั่งการต่อไป ข้อ ๓๘ เมื่อรัฐมนตรีได้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดแล้ว หากไม่มีการฟ้องคดี คณะกรรมการดำเนินการเลือกจะทำลายบัตรลงคะแนนหรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องก็ได้ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๙ การเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดตามมาตรา ๑๔ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นวาระแรกหากสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดใดยังไม่มีนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดตามกฎหมาย ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่นายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดตามข้อบังคับของสมาคมกีฬานั้น เป็นผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด โดยแสดงหลักฐานการเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่นายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ต่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกและคณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนน ประกาศ ณ วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบสมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด (แบบ คกก. ๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘ ปุณิกา/ผู้ตรวจ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๓ ง/หน้า ๑๒/๑๐ กันยายน ๒๕๕๘
735195
ระเบียบกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า "แห่งประเทศไทย" พ.ศ. 2558
ระเบียบกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระเบียบกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “คณะกรรมการดำเนินการเลือก” หมายความว่า คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” “ประธานกรรมการดำเนินการเลือก” หมายความว่า ประธานกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” “กรรมการดำเนินการเลือก” หมายความว่า กรรมการดำเนินการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” “คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนน” หมายความว่า คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนในการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” “อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนน” หมายความว่า อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนในการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หมวด ๑ คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ข้อ ๔ เพื่อให้การเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการดำเนินการเลือกหนึ่งคนและกรรมการดำเนินการเลือกอีกจำนวนไม่เกินหกคน ข้อ ๕ ประธานกรรมการดำเนินการเลือกและกรรมการดำเนินการเลือกต้องไม่เป็นนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” กรรมการสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) จัดทำรายชื่อนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ผู้มีสิทธิลงคะแนน และผู้มีสิทธิสมัครรับเลือก (๒) ดำเนินการรับสมัครรับเลือก (๓) ตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานการสมัครรับเลือก (๔) ประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกและผู้มีสิทธิลงคะแนน (๕) กำหนดรูปแบบบัตรลงคะแนนที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับช่องลงคะแนน รายชื่อผู้สมัครรับเลือกและหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือก (๖) กำหนดรูปแบบ ลักษณะ และรายละเอียดของเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการเลือก (๗) พิจารณาตัดสิทธิลงคะแนนของผู้มีสิทธิลงคะแนนที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ (๘) ประกาศผลการเลือก (๙) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนน หรือคณะอนุกรรมการอื่นเพื่อช่วยดำเนินการตามระเบียบนี้ ให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนแก่คณะกรรมการดำเนินการเลือกตามที่คณะกรรมการดำเนินการเลือกร้องขอ ข้อ ๗ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการดำเนินการเลือกโดยอนุโลม การลงมติวินิจฉัยของคณะกรรมการดำเนินการเลือกให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการดำเนินการเลือกคนหนึ่งให้มีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการดำเนินการเลือกออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด หมวด ๒ การสมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ข้อ ๘ เมื่อจะมีการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ให้นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬาส่งบัญชีรายชื่อนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ให้แก่คณะกรรมการดำเนินการเลือก ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกจัดทำประกาศการรับสมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” โดยต้องกำหนดวัน เวลา สถานที่ และรายละเอียดการรับสมัครรับเลือก และวันเลือกและสถานที่เลือกไว้ด้วย ทั้งนี้ วันเลือกต้องเป็นวันหยุดราชการและสถานที่เลือกต้องจัดในเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกจัดส่งประกาศตามวรรคหนึ่งไปยังสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามที่ปรากฏในทะเบียนของนายทะเบียนกลางสมาคมกีฬา โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และถือว่าสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” นั้นได้รับแจ้งประกาศดังกล่าวแล้วเมื่อครบเจ็ดวันนับแต่วันส่ง ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกปิดประกาศตามวรรคหนึ่งไว้ ณ ที่ทำการ กกท. สำนักงานใหญ่พร้อมทั้งเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือจะประกาศทางสื่อมวลชนอื่นเพิ่มเติมหรือปิดประกาศ ณ สำนักงาน กกท. จังหวัด ตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ข้อ ๑๐ ผู้สมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” นอกจากต้องดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” และไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของการกีฬาแห่งประเทศไทยแล้ว ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในวันสมัคร (๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๕) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๖) ไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ (๗) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น (๘) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง เว้นแต่เป็นการดำรงตำแหน่งกรรมการตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย (๙) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง (๑๐) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน เพราะทุจริตต่อหน้าที่ (๑๑) ไม่เป็นกรรมการ หรือผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือมีส่วนได้เสียในนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ร่วมทุน หรือมีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับกิจการของการกีฬาแห่งประเทศไทย เว้นแต่เป็นประธานกรรมการ กรรมการ หรือผู้บริหารโดยการมอบหมายของการกีฬาแห่งประเทศไทย (๑๒) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจอื่นเกินกว่าสองแห่ง ทั้งนี้ ให้นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และการได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งกรรมการด้วย ข้อ ๑๑ ให้นายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ที่ประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ยื่นใบสมัครตามแบบ คกก. ๑ ท้ายระเบียบนี้ต่อคณะกรรมการดำเนินการเลือก พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ (๒) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน (๓) รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกขนาด ๔ x ๖ เซนติเมตร ถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือนนับถึงวันสมัคร จำนวนสองรูป (๔) รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกขนาด ๔ x ๖ นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือนนับถึงวันสมัครจำนวนสองรูป (๕) หลักฐานแสดงการเป็นนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ที่นายทะเบียนกลางสมาคมกีฬารับรองหรือออกให้ ข้อ ๑๒ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกได้รับใบสมัครพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามข้อ ๑๑ แล้ว ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกตรวจสอบความถูกต้องของใบสมัครและความครบถ้วนของเอกสารและหลักฐานประกอบใบสมัคร ในกรณีที่ใบสมัครที่ยื่นไว้ไม่ถูกต้องหรือเอกสารหรือหลักฐานประกอบใบสมัครไม่ครบถ้วนให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกแนะนำให้ผู้สมัครรับเลือกแก้ไขเพิ่มเติมใบสมัครให้ถูกต้องหรือนำเอกสารหรือหลักฐานมายื่นเพิ่มเติมภายในเวลาที่คณะกรรมการดำเนินการเลือกกำหนด ในกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกไม่แก้ไขเพิ่มเติมใบสมัครหรือไม่จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในเวลาตามวรรคสอง ให้ถือว่าผู้สมัครรับเลือกไม่ประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ข้อ ๑๓ ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกจัดทำบัญชีรายชื่อและหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามลำดับการสมัครรับเลือกพร้อมบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนน ส่งไปยังสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับก่อนกำหนดวันเลือกไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกปิดประกาศบัญชีรายชื่อและหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” และบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนไว้ ณ ที่ทำการ กกท. สำนักงานใหญ่ พร้อมทั้งเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือจะประกาศทางสื่อมวลชนอื่นเพิ่มเติมหรือปิดประกาศ ณ สำนักงาน กกท. จังหวัด ตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ข้อ ๑๔ ก่อนกำหนดวันเลือกไม่น้อยกว่าห้าวัน ถ้าผู้มีสิทธิลงคะแนนผู้ใดยังไม่ได้รับบัญชีรายชื่อและหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ให้ผู้นั้นแจ้งต่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกเพื่อดำเนินการให้ตนทราบรายชื่อและหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือก ข้อ ๑๕ ในกรณีที่คณะกรรมการดำเนินการเลือกพบว่าบัญชีรายชื่อหรือหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนมีข้อผิดพลาด ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องก่อนกำหนดวันเลือกไม่น้อยกว่าสามวัน เพื่อให้คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนนำไปปิดประกาศตามข้อ ๑๖ (๔) หมวด ๓ การดำเนินการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ข้อ ๑๖ ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานอนุกรรมการหนึ่งคนและอนุกรรมการอีกจำนวนไม่เกินสิบคน มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดทำบัตรลงคะแนน (๒) จัดเตรียมสถานที่ลงคะแนน สถานที่ตรวจนับคะแนน และสถานที่สังเกตการณ์ (๓) จัดหาอุปกรณ์สำหรับใช้ลงคะแนน ดังต่อไปนี้ (ก) หีบบัตรลงคะแนน (ข) คูหาลงคะแนน (ค) เครื่องเขียน (ง) กระดานดำ กระดาษ หรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่คล้ายคลึงกันเพื่อใช้ในการตรวจนับคะแนน (๔) ปิดประกาศบัญชีรายชื่อ หมายเลขประจำตัวพร้อมรูปถ่ายของผู้สมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” และบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนน (๕) จัดระเบียบและควบคุมดูแลให้ความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิลงคะแนน เพื่อให้การลงคะแนนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวมทั้งต้องมิให้ผู้ใดเข้าไปในสถานที่ลงคะแนน เว้นแต่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการลงคะแนนในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนน (๖) ตรวจสอบหลักฐานการแสดงตนของผู้มีสิทธิลงคะแนน บันทึกชื่อและหมายเหตุลงในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนน (๗) ส่งบัตรลงคะแนนให้กับผู้มีสิทธิลงคะแนนเพื่อใช้สิทธิลงคะแนน (๘) จัดระเบียบในการเข้าไปลงคะแนนให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย (๙) ดำเนินการตรวจนับคะแนน (๑๐) รักษาความสงบเรียบร้อยในสถานที่ตรวจนับคะแนนเพื่อให้การตรวจนับคะแนนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวมทั้งต้องมิให้ผู้ใดเข้าไปในสถานที่ตรวจนับคะแนน เว้นแต่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการตรวจนับคะแนนในระหว่างที่มีการตรวจนับคะแนน ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ปรากฏต่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกว่า ผู้สมัครรับเลือกผู้ใดตายหรือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกแจ้งให้คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนทราบ และให้คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนปิดประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกผู้นั้นไว้ ณ สถานที่ลงคะแนนเพื่อให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนทราบ ข้อ ๑๘ ในวันลงคะแนน ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกมอบหมายให้กรรมการดำเนินการเลือกจำนวนไม่น้อยกว่าสามคนมาประจำ ณ สถานที่ลงคะแนนและสถานที่ตรวจนับคะแนน เพื่อให้การดำเนินการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” เป็นไปตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๙ สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ที่ประสงค์จะส่งบุคคลใดมาเป็นผู้สังเกตการณ์ในการลงคะแนนหรือการตรวจนับคะแนน ให้ยื่นหนังสือแต่งตั้งผู้สังเกตการณ์จำนวนหนึ่งคนต่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่าสามวัน ผู้สังเกตการณ์ต้องอยู่ในสถานที่ที่คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนกำหนดไว้ โดยสามารถมองเห็นการปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนได้ หากผู้สังเกตการณ์กระทำ การอันเป็นอุปสรรคแก่การลงคะแนนหรือการปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนน ให้ประธานอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นออกไปจากสถานที่สังเกตการณ์ได้ ข้อ ๒๐ ในวันลงคะแนน ให้ประธานอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนเปิดการลงคะแนน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา โดยเปิดหีบบัตรลงคะแนนในที่เปิดเผยแสดงให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนซึ่งอยู่ ณ สถานที่เลือก เห็นว่าหีบบัตรลงคะแนนเป็นหีบเปล่า แล้วให้ทำการบันทึกการดำเนินการดังกล่าว โดยให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนไม่น้อยกว่าสองคนซึ่งอยู่ ณ สถานที่เลือกในขณะนั้นลงลายมือชื่อในบันทึกด้วย ข้อ ๒๑ การลงคะแนนให้ลงคะแนนโดยวิธีการลงคะแนนลับ ในการลงคะแนน ให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนไปแสดงตนต่ออนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนโดยแสดงหลักฐานการเป็นนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ให้อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนตรวจสอบรายชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนน และให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนน แล้วให้อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนมอบบัตรลงคะแนนที่มีลายมือชื่อของประธานกรรมการดำเนินการเลือกกำกับเป็นหลักฐานให้แก่ผู้นั้นเพื่อไปลงคะแนน ผู้มีสิทธิลงคะแนนต้องมาใช้สิทธิด้วยตนเอง จะมอบให้ผู้อื่นมาใช้สิทธิแทนไม่ได้ ข้อ ๒๒ เมื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนได้รับบัตรลงคะแนนแล้ว ให้ไปยังคูหาลงคะแนนที่ว่างคูหาละหนึ่งคน โดยให้ทำเครื่องหมายกากบาทในบัตรลงคะแนนในช่องทำเครื่องหมายให้ตรงกับหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกซึ่งตนต้องการเลือกเพียงหมายเลขเดียว หรือในกรณีที่ผู้มีสิทธิลงคะแนนไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้ทำเครื่องหมายกากบาทในช่องทำเครื่องหมาย “ไม่ลงคะแนน” แล้วพับบัตรลงคะแนนเพื่อมิให้ผู้อื่นทราบว่าตนลงคะแนนให้แก่ผู้ใด แล้วนำบัตรลงคะแนนนั้นใส่ลงหีบบัตรลงคะแนนด้วยตนเองต่อหน้าอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนแล้วออกไปจากสถานที่ลงคะแนน ทั้งนี้ ต้องลงคะแนนให้แล้วเสร็จภายในเวลาอันสมควร ข้อ ๒๓ ผู้มีสิทธิลงคะแนนจะนำโทรศัพท์ อุปกรณ์สื่อสาร อุปกรณ์บันทึกภาพ หรืออุปกรณ์อื่นใดในลักษณะเดียวกันเข้าไปในสถานที่ลงคะแนนไม่ได้ ในขณะลงคะแนน ผู้มีสิทธิลงคะแนนจะกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อสร้างหลักฐานการลงคะแนนของตนไม่ได้ ข้อ ๒๔ เมื่อถึงเวลา ๑๒.๐๐ นาฬิกา ให้ประธานอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนประกาศปิดการลงคะแนน เช่น กล่าวว่า “บัดนี้ถึงเวลา ๑๒.๐๐ นาฬิกาแล้ว ให้ปิดการลงคะแนน” ถ้ามีผู้มีสิทธิลงคะแนนซึ่งประสงค์จะลงคะแนนได้มาอยู่ในสถานที่ลงคะแนนแล้วก่อนเวลา ๑๒.๐๐ นาฬิกา ให้ดำเนินการมอบบัตรลงคะแนนตามข้อ ๒๑ ให้แก่ผู้นั้นและเมื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนนั้นลงคะแนนเสร็จสิ้นแล้วให้คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนลงลายมือชื่อในป้ายสำหรับปิดช่องใส่บัตรลงคะแนน และนำป้ายดังกล่าวไปปิดบนหีบบัตรลงคะแนน ข้อ ๒๕ ให้คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนนำบัตรลงคะแนนที่เหลือมานับให้ทราบจำนวนและทำเครื่องหมายโดยเจาะบัตรลงคะแนนที่เหลือทุกบัตรหรือกระทำด้วยวิธีการอื่นใดที่สามารถป้องกันมิให้ใช้บัตรลงคะแนนที่เหลืออยู่ได้ แล้วทำรายงานเกี่ยวกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนและจำนวนบัตรลงคะแนนที่เหลือเมื่อเสร็จสิ้นการลงคะแนนแล้ว และให้ลงชื่อกำกับรายงานนั้นไว้จำนวนสามชุด เพื่อ (๑) ปิดประกาศไว้ ณ สถานที่ลงคะแนน (๒) ส่งให้คณะกรรมการดำเนินการเลือก (๓) เก็บไว้เป็นหลักฐาน หมวด ๔ การตรวจนับคะแนน ข้อ ๒๖ เมื่อปิดการลงคะแนนแล้ว ให้คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนดำเนินการตรวจนับคะแนน ณ สถานที่ตรวจนับคะแนนโดยเปิดเผยต่อหน้าผู้ซึ่งอยู่ในสถานที่ตรวจนับคะแนนและบริเวณโดยรอบสถานที่นั้น และให้ดำเนินการจนแล้วเสร็จในรวดเดียวภายในเวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา ของวันเลือก โดยห้ามมิให้เลื่อนหรือประวิงการตรวจนับคะแนน ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ผู้สังเกตการณ์กระทำการอันเป็นอุปสรรคแก่การตรวจนับคะแนนหรือการปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนน ให้ประธานอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นออกไปจากสถานที่สังเกตการณ์ได้ ข้อ ๒๘ ในการตรวจนับคะแนน ให้คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนเปิดหีบบัตรลงคะแนน แล้วดำเนินการตรวจนับคะแนนตามลำดับ ดังต่อไปนี้ (๑) อนุกรรมการประจำ สถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนคนที่หนึ่ง มีหน้าที่หยิบบัตรลงคะแนนทีละฉบับและคลี่บัตรส่งให้อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนคนที่สอง (๒) อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนคนที่สอง มีหน้าที่วินิจฉัยบัตรลงคะแนนและอ่านผลการลงคะแนน (๓) อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนคนที่สาม มีหน้าที่เจาะบัตรลงคะแนนที่ได้วินิจฉัยและอ่านผลการลงคะแนนจากอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนคนที่สอง แล้วใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับใส่บัตรเสีย บัตรดี และบัตรที่ไม่ประสงค์ลงคะแนน แล้วแต่กรณี (๔) อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนคนที่สี่ มีหน้าที่ขานทวนคะแนน และขีดคะแนนในบันทึกการตรวจนับคะแนน โดยต้องให้บุคคลทั่วไปที่อยู่ในบริเวณโดยรอบสถานที่ตรวจนับคะแนนเห็นการขีดคะแนนอย่างชัดเจน อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนที่เหลือมีหน้าที่ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกและคอยสับเปลี่ยน ในการปฏิบัติหน้าที่กับอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ ข้อ ๒๙ บัตรลงคะแนนต่อไปนี้ ให้ถือเป็นบัตรเสียและไม่ให้นับคะแนน (๑) บัตรที่มิใช่บัตรฉบับที่อนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนมอบให้หรือบัตรที่ไม่มีลายมือชื่อของประธานกรรมการดำเนินการเลือกกำกับเป็นหลักฐาน (๒) บัตรที่เขียนเครื่องหมายกากบาทในช่องหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกเกินหนึ่งเครื่องหมาย (๓) บัตรที่มิได้เขียนเครื่องหมายกากบาทในช่องหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกเลย (๔) บัตรที่เขียนเครื่องหมายอื่นนอกจากเครื่องหมายกากบาทในช่องหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือก (๕) บัตรที่เขียนเครื่องหมายกากบาทในช่องหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกที่ตายหรือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ตามที่ได้ปิดประกาศไว้ตามข้อ ๑๗ (๖) บัตรที่เขียนเครื่องหมายในช่องหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกไม่ชัดเจนจนไม่สามารถทราบเจตนาอันแท้จริงของผู้เลือกได้ ข้อ ๓๐ ให้ประธานอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนสลักหลังบัตรเสียว่า “เสีย” และลงลายมือชื่อกำกับไว้ หมวด ๕ การประกาศผลการเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ข้อ ๓๑ เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจนับคะแนน ให้คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนประกาศผลการตรวจนับคะแนน ณ สถานที่ตรวจนับคะแนน และให้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือก โดยเรียงลำดับผู้ได้รับคะแนนมากที่สุดจนถึงผู้ได้รับคะแนนน้อยที่สุด และให้ผู้ได้รับคะแนนมากที่สุดเป็นผู้ได้รับเลือก ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนมากที่สุดเท่ากัน ให้ประธานกรรมการดำเนินการเลือกจับสลากโดยเปิดเผยเพื่อให้ได้ผู้ได้รับเลือกในลำดับแรกจำนวนหนึ่งคน และจัดเรียงลำดับผู้ได้รับเลือกในลำดับถัดไป ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนลำดับอื่นเท่ากัน ให้ประธานกรรมการดำเนินการเลือกจับสลากโดยเปิดเผย เพื่อจัดเรียงลำดับในระหว่างผู้ได้รับคะแนนเท่ากัน ให้คณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนเก็บบัตรลงคะแนนที่ใช้ตรวจนับคะแนนใส่ซองปิดผนึกโดยลงลายมือชื่อคณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนกำกับไว้บนซองและแยกเก็บบัตรเสียหรือบัตรลงคะแนนที่เหลือไว้ต่างหาก และเก็บบัตรลงคะแนนทั้งหมดไว้ด้วยกันในหีบบัตรลงคะแนน โดยปิดหีบบัตรลงคะแนนใส่กุญแจไว้ แล้วส่งมอบให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกเพื่อดำเนินการต่อไป ข้อ ๓๒ เมื่อคณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนนประกาศผลการตรวจนับคะแนนแล้ว ถ้าผู้สมัครรับเลือกเห็นว่าการลงคะแนนหรือการตรวจนับคะแนนเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้มีสิทธิยื่นคำคัดค้านต่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกภายในสามวันนับแต่วันเลือก เมื่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกได้รับคำคัดค้านแล้ว ให้ดำเนินการพิจารณาวินิจฉัยสั่งการให้แล้วเสร็จภายในสามวัน คำวินิจฉัยของคณะกรรมการดำเนินการเลือกให้เป็นที่สุด ข้อ ๓๓ ในกรณีที่ไม่มีการคัดค้านตามข้อ ๓๒ ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกประกาศผลการเลือก แล้วส่งรายชื่อผู้ได้รับเลือกในลำดับแรกพร้อมทั้งรายงานผลการเลือกต่อรัฐมนตรีภายในสี่วันนับแต่วันเลือก ข้อ ๓๔ ในกรณีที่มีการคัดค้าน ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกรอการประกาศผลการเลือกไว้จนกว่าจะได้วินิจฉัยคำคัดค้านแล้วเสร็จ ในกรณีที่คำคัดค้านฟังขึ้นและทำให้ผู้ได้รับเลือกในลำดับแรกเปลี่ยนแปลงลำดับไปให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกจัดส่งรายชื่อผู้ได้รับเลือกในลำดับถัดไปพร้อมทั้งให้รายงานผลต่อรัฐมนตรีภายในวันถัดจากวันที่ได้มีคำวินิจฉัย ในกรณีที่คำคัดค้านฟังไม่ขึ้นหรือฟังขึ้นแต่ไม่ทำให้ผู้ได้รับเลือกในลำดับแรกเปลี่ยนแปลงลำดับไปก็ให้จัดส่งรายชื่อผู้ได้รับเลือกในลำดับแรกนั้นพร้อมทั้งรายงานผลต่อรัฐมนตรีภายในวันถัดจากวันที่ได้มีคำวินิจฉัย ข้อ ๓๕ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ได้รับเลือกในลำดับแรกตาย หรือเป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ ภายในสามวันนับแต่วันเลือก ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกนำรายชื่อผู้ได้รับเลือกในลำดับถัดไปเสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป ภายในสี่วันนับจากวันเลือก ข้อ ๓๖ เมื่อรัฐมนตรีได้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” แล้ว ให้บัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือกตามข้อ ๓๑ เป็นอันยกเลิกไป ในกรณีที่ไม่มีการเสนอรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามระเบียบนี้ ให้บัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นอันยกเลิกไปและให้รายงานผลต่อรัฐมนตรีเพื่อสั่งการต่อไป ข้อ ๓๗ เมื่อรัฐมนตรีได้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” แล้ว หากไม่มีการฟ้องคดี คณะกรรมการดำเนินการเลือกจะทำลายบัตรลงคะแนนหรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องก็ได้ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๘ การเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามมาตรา ๑๔ (๕) แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นวาระแรก หากสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ใด ยังไม่มีนายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามกฎหมาย ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่นายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ตามข้อบังคับของสมาคมกีฬานั้น เป็นผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยประเภท ผู้แทนสมาคมกีฬาใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” โดยแสดงหลักฐานการเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่นายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ต่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกและคณะอนุกรรมการประจำสถานที่เลือกและตรวจนับคะแนน ประกาศ ณ วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบสมัครรับเลือกเป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ประเภทผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” (แบบ คกก. ๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘ ปุณิกา/ผู้ตรวจ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๓ ง/หน้า ๑/๑๐ กันยายน ๒๕๕๘
727250
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ สำหรับสุราและยาสูบ พ.ศ. 2558
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุง กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ สำหรับสุราและยาสูบ พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๘ มาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ กระทรวงการคลังจึงวางระเบียบปฏิบัติในการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ สำหรับสุราและยาสูบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้ เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้นและการขอคืนเงินบำรุงกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ สำหรับสุราและยาสูบ พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันออกประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ “สุรา” หมายความว่า สุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา “ยาสูบ” หมายความว่า ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “ภาษี” หมายความว่า ภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมาย ว่าด้วยยาสูบ “ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน” หมายความว่า (๑) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุรา (๒) ผู้มีหน้าที่เสียค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “ผู้ส่งออก” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุรา หรือยาสูบที่ได้รับอนุญาตให้ส่งสุราหรือยาสูบออกนอกราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยสุราหรือกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ข้อ ๔ ให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน ส่งเงินกองทุนในอัตราร้อยละสองของภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในการคำนวณเงินบำรุงกองทุน ตามอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่ง หากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ข้อ ๕ ให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน ส่งเงินบำรุงกองทุนตามแบบ กกท. ๑/๐๑ ท้ายระเบียบนี้พร้อมกับชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบ ตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ณ สถานที่ยื่นแบบชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบ ตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ กรณีการยื่นแบบชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th ให้ถือว่าเป็นการยื่นแบบชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบ ณ กรมสรรพสามิต ข้อ ๖ กรณีที่ผู้ที่มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ส่งเงินบำรุงกองทุน หรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนด หรือส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนจะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่ส่งหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนดหรือจำนวนเงินที่ส่งขาดไป แล้วแต่กรณี นับแต่วันครบกำหนดส่งจนถึงวันที่ส่งเงินบำรุงกองทุนครบถ้วน ทั้งนี้ เงินเพิ่มจะต้องไม่เกินจำนวนเงินบำรุงกองทุนและให้ถือว่าเงินเพิ่มนี้เป็นเงินบำรุงกองทุนด้วย โดยยื่นแบบ กกท. ๑/๐๑ ตามข้อ ๕ การคำนวณระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ข้อ ๗ การส่งเงินเข้ากองทุนให้ส่งเป็นเงินสดหรือเช็ค กรณีเป็นเช็คให้สั่งจ่ายในนาม “กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ” ในกรณีผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนยื่นแบบชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th เมื่อกรมสรรพสามิตตรวจสอบว่ามีการชำระเงินเข้าบัญชีของกรมสรรพสามิตแล้ว ให้กรมสรรพสามิตส่งเงินบำรุงกองทุนเป็นเช็คต่อไป ข้อ ๘ การนำส่งเงินบำรุงกองทุน ให้ส่งเงินบำรุงกองทุนให้แก่กองทุนอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งเข้าบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาปทุมวัน บัญชีเลขที่ ๐๐๘ - ๑ - ๖๐๖๓๕ - ๔ หรือธนาคารอื่นตามที่กองทุนกำหนด โดยดำเนินการ ดังนี้ (๑) สำหรับกรมศุลกากร ให้สำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากร ผู้จัดเก็บเป็นผู้นำส่ง (๒) สำหรับกรมสรรพสามิต ให้สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขาผู้จัดเก็บเป็นผู้นำส่ง ในการส่งเงินตามวรรคหนึ่ง ให้จัดทำใบส่งเงินบำรุงกองทุน ตามแบบ กกท. ๑/๐๒ และบัญชีสรุปรายละเอียดการรับ - ส่งเงินบำรุงกองทุน ตามแบบ กกท. ๑/๐๓ พร้อมแนบสำเนาใบนำฝากเงิน (Pay - In - Slip) รายงานให้กองทุนทราบภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันสิ้นเดือนที่นำส่งเงิน ให้หน่วยงานที่นำส่งเงินจัดทำรายงานการจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนประจำเดือน แบบ กกท. ๑/๐๔ พร้อมทั้งส่งสำเนาบัญชีสรุปรายละเอียดการรับ - ส่งเงินบำรุงกองทุนประจำเดือนให้กรมสรรพสามิตหรือกรมศุลกากร แล้วแต่กรณี ภายในวันที่ ๑๐ ของเดือนถัดไป การเก็บรักษาและการนำเงินส่งกองทุน ให้ใช้ระเบียบการรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการโดยอนุโลม เท่าที่ไม่ขัดต่อระเบียบนี้ ข้อ ๙ กรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน ได้รับคืนภาษีสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุราให้ได้รับคืนเงินบำรุงกองทุนด้วย ข้อ ๑๐ ให้ผู้ส่งออกแจ้งความประสงค์ขอคืนเงินบำรุงกองทุนพร้อมกับการขอคืนค่าภาษีสุรา ข้อ ๑๑ การขอรับเงินบำรุงคืนจากกองทุน ให้อธิบดีกรมสรรพสามิต หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งคืนเงินบำรุงกองทุน โดยใช้วิธีปฏิบัติเช่นเดียวกับวิธีการขอคืนภาษีสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา ข้อ ๑๒ สำหรับสุราหรือยาสูบที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร ให้ได้รับการยกเว้นการส่งเงินบำรุงเข้ากองทุน โดยให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนแจ้งความประสงค์ขอยกเว้นการส่งเงินบำรุงกองทุนพร้อมกับการขออนุญาตส่งออกสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบตามแบบ กกท. ๑/๐๕ ข้อ ๑๓ การดำเนินการอื่นใดที่ไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบราชการโดยอนุโลม ข้อ ๑๔ ให้ปลัดกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ สมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบรายการเงินบำรุงกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ (แบบ กกท. ๑/๐๑) ๒. ใบส่งเงินบำรุงกองทุน (แบบ กกท. ๑/๐๒) ๓. บัญชีสรุปรายละเอียดการรับ-ส่งเงินบำรุงกองทุน (แบบ กกท. ๑/๐๓) ๔. รายงานการจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนประจำเดือน (แบบ กกท. ๑/๐๔) ๕. แบบรายการขอยกเว้นเงินบำรุงกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ (แบบ กกท. ๑/๐๕) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ นุสรา/ผู้ตรวจ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๐๐ ง/หน้า ๔/๓๐ เมษายน ๒๕๕๘
559613
ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 21 ว่าด้วยการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ
ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๒๑ ว่าด้วยการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ[๑] ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ เห็นชอบและอนุมัติให้มีการแข่งขันกีฬาแห่งชาติขึ้นเป็นสองปีต่อครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ (๑) ส่งเสริมการกีฬาให้ขยายไปทั่วทุกจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพพลานามัยแก่ประชาชนและปลูกฝังให้ประชาชนมีน้ำใจนักกีฬา มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ (๒) ส่งเสริมให้ทุกจังหวัดเข้าใจวิธีการดำเนินการจัดการแข่งขันตามแบบธรรมเนียมสากล และช่วยให้เจ้าหน้าที่ด้านกีฬาในส่วนภูมิภาคได้รับการอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในด้านการแข่งขันกีฬาอย่างมีประสิทธิภาพ (๓) เสริมสร้างประสบการณ์การแข่งขันกีฬาแก่ประชาชนอันเป็นการเพิ่มพูนมาตรฐานกีฬาเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการคัดเลือกเป็นผู้แทนของประเทศในอนาคต (๔) เพื่อให้ได้มาซึ่งนักกีฬาผู้มีความสามารถเตรียมไว้สำหรับการคัดเลือกเป็นผู้แทนของประเทศไปร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๒๑ ว่าด้วยการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ” ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๔๒ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๕ ว่าด้วยการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ บรรดาข้อบังคับ ข้อระเบียบ และคำสั่งอื่นใดที่ขัดแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบังคับนี้ “กกท.” หมายความถึง การกีฬาแห่งประเทศไทย “ภาค” หมายความถึง กลุ่มของจังหวัดที่แบ่งเพื่อการแข่งขันกีฬาแห่งชาติตามข้อบังคับนี้ “เจ้าภาพ” หมายความถึง จังหวัดเจ้าภาพที่จัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ “คณะกรรมการอำนวยการแข่งขัน” หมายความถึง คณะกรรมการอำนวยการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ “คณะกรรมการจัดการแข่งขัน” หมายความถึง คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ “คณะกรรมการกีฬาจังหวัด” หมายความถึง คณะกรรมการที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย “สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย” หมายความถึง สมาคมที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาหรือส่งเสริมกีฬาโดยตรงในนามของชาติหรือของประเทศไทย และได้รับอนุญาตจัดตั้งตามมาตรา ๕๓ และมาตรา ๕๙ ตามพระราชบัญญัติ กกท. พ.ศ. ๒๕๒๘ “สมาคมกีฬาจังหวัด” หมายความถึง สมาคมกีฬาที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นในจังหวัด ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาโดยตรงในแต่ละจังหวัด และได้รับอนุญาตจัดตั้งตามมาตรา ๕๓ ตามพระราชบัญญัติ กกท. พ.ศ. ๒๕๒๘ “กีฬาบังคับ” หมายความถึง กรีฑาและว่ายน้ำ “กีฬาสากล” หมายความถึง กีฬาต่าง ๆ ที่มีการแข่งขันในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ ซีเกมส์ “กีฬาอนุรักษ์” หมายความถึง กีฬาต่าง ๆ ที่นิยมเล่นในท้องถิ่น และเจ้าภาพเสนอจัดเพื่อเป็นการอนุรักษ์ “นักกีฬาสมัครเล่น” หมายความถึง นักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติและมีคุณสมบัติไม่ขัดต่อข้อบังคับ กฎ ระเบียบของ กกท. และสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยชนิดนั้น ๆ ด้วย “หัวหน้าคณะนักกีฬา” หมายความรวมถึง ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากจังหวัดนั้น ๆ ให้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลควบคุมนักกีฬา ตลอดทั้งการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้แก่คณะนักกีฬาจนการแข่งขันกีฬาแห่งชาติจะเสร็จสิ้น ข้อ ๕ ให้ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยรักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอำนาจวางระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๖ ให้มีการจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติเป็นประจำทุกสองปีต่อหนึ่งครั้ง ข้อ ๗ ให้เจ้าภาพดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติให้เสร็จสิ้นในระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบวันแต่ไม่เกินสิบห้าวัน โดยรวมพิธีเปิดและปิดด้วย ข้อ ๘ การแบ่งพื้นที่ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ เพื่อเป็นการพัฒนากีฬาของชาติ และให้การดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อยให้ กกท. กำหนดจังหวัดที่ใกล้เคียงและสะดวกแก่การคมนาคมรวมกันเข้าเป็นภาคโดยรวมให้ได้ห้าภาค แต่ละภาคประกอบด้วย ภาค ๑ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครปฐม นนทบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ปทุมธานี ระยอง สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสระแก้ว ภาค ๒ ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครสวรรค์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี สระบุรี อ่างทอง และอุทัยธานี ภาค ๓ ประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ ภาค ๔ ประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง ปัตตานี นครศรีธรรมราช นราธิวาส พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี ภาค ๕ ประกอบด้วย จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย และอุตรดิตถ์ ข้อ ๙ การแข่งขันกีฬาแห่งชาติดำเนินการเป็นสามขั้นตอนดังนี้ (๑) การแข่งขันระดับจังหวัด เป็นการแข่งขันเพื่อคัดเลือกนักกีฬาตัวแทนของจังหวัด โดยให้จังหวัดดำเนินการคัดเลือกให้แล้วเสร็จก่อนพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน (๒) การแข่งขันระดับภาค เป็นการแข่งขันเพื่อคัดเลือกนักกีฬาของแต่ละภาคโดยให้แต่ละจังหวัดภายในภาคส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันตามชนิดและประเภทกีฬาที่มีการคัดเลือกทั้งนี้ ต้องดำเนินการคัดเลือกให้แล้วเสร็จก่อนพิธีเปิดการแข่งขันระดับชาติไม่น้อยกว่าห้าเดือน (๓) การแข่งขันระดับชาติ เป็นการดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬาที่จังหวัดส่งเข้าร่วมแข่งขันได้โดยตรง เว้นแต่ชนิดกีฬาที่กำหนดให้มีการคัดเลือกในระดับภาคโดยจะต้องดำเนินการจัดการแข่งขันในช่วงระยะเวลาที่ กกท. กำหนด ข้อ ๑๐ การคัดเลือกเจ้าภาพ (๑) การแข่งขันระดับภาค ให้จังหวัดที่อยู่ภายในภาคตกลงกันเลือกจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งเป็นจังหวัดเจ้าภาพจัดการแข่งขัน (๒) การแข่งขันระดับชาติ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๒.๑) คณะกรรมการ กกท. กำหนดเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ (๒.๒) การกำหนดวันแข่งขันต้องได้รับการอนุมัติจาก กกท. หากจำเป็นต้องยืดเวลาหรือวันแข่งขันมากกว่าที่กำหนด ต้องได้รับการอนุมัติจาก กกท. ก่อน (๒.๓) การคัดเลือกเจ้าภาพ จะตัดสินชี้ขาดสามปี ล่วงหน้าก่อนการแข่งขัน (๒.๔) เจ้าภาพต้องจัดการแข่งขันกีฬาทุกชนิดและจัดพิธีเปิด - ปิดในจังหวัดเดียวกันทั้งหมด เว้นแต่มีความจำเป็นจะขอจัดการแข่งขันบางชนิดกีฬาในจังหวัดอื่น ๆ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก กกท. เสียก่อน (๒.๕) เจ้าภาพต้องไม่จัดหรืออนุญาตให้จัดกิจกรรมอื่นใดเกี่ยวกับกีฬาทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ ในช่วงเวลาเดียวกับการแข่งขันในจังหวัดเดียวกัน (๒.๖) เจ้าภาพต้องดำเนินการจัดทำใบสมัคร รายชื่อ แผงรูป บัตรประจำตัว หลักฐานต่าง ๆ ของนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ ตลอดทั้งเอกสารที่ใช้ในการจัดการแข่งขัน พร้อมสำเนาเอกสารตามที่ กกท. กำหนดจำนวนหนึ่งชุดก่อนการแข่งขันอย่างน้อยสิบห้าวัน (๒.๗) หากเจ้าภาพไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ กกท. กำหนดให้คณะกรรมการ กกท. มีอำนาจยกเลิกการเป็นเจ้าภาพ ข้อ ๑๑ ชนิดและประเภทกีฬาที่จะจัดให้มีในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ให้ กกท. และเจ้าภาพร่วมกันกำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) กีฬาบังคับ (๒) กีฬาสากล (๓) กีฬาอนุรักษ์ ให้ กกท. ประกาศชนิดและประเภทกีฬาที่กำหนดแข่งขันให้ทุกจังหวัดทราบก่อนพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ไม่น้อยกว่าสิบห้าเดือน หมวด ๒ คณะกรรมการ ข้อ ๑๒ ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ให้มีคณะกรรมการสองคณะดังนี้ (๑) คณะกรรมการอำนวยการแข่งขัน (๒) คณะกรรมการจัดการแข่งขัน ให้คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งทั้งสองคณะอยู่ในตำแหน่งจนกว่าการดำเนินกิจการเกี่ยวกับการแข่งขันครั้งนั้น ๆ จะเสร็จสิ้น ข้อ ๑๓ คณะกรรมการอำนวยการแข่งขัน ประกอบด้วย ผู้ว่าการ กกท. เป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดเจ้าภาพเป็นรองประธานกรรมการ รองผู้ว่าการ กกท. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ นายกสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยที่มีการแข่งขัน และผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินสิบคนเป็นกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการ เป็นกรรมการและเลขานุการ ให้กรรมการในคณะกรรมการ กกท. ทุกคน และผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเป็นกรรมการกิตติมศักดิ์ ข้อ ๑๔ คณะกรรมการอำนวยการแข่งขัน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการจัดการแข่งขัน (๒) วินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ (๓) วินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ที่มิได้บัญญัติไว้ในข้อบังคับนี้ (๔) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวกับการแข่งขัน ตามที่คณะกรรมการ กกท. มอบหมาย คำวินิจฉัย มติ คำสั่งของคณะกรรมการอำนวยการแข่งขันให้เป็นที่สุด ข้อ ๑๕ คณะกรรมการจัดการแข่งขัน ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเจ้าภาพเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยที่มีการแข่งขัน (สมาคมละหนึ่งคน) คณะกรรมการกีฬาจังหวัดเจ้าภาพ นายกสมาคมกีฬาจังหวัดเจ้าภาพ บุคคลอื่นซึ่งเจ้าภาพเสนอเพื่อแต่งตั้งให้เป็นกรรมการ สำหรับตำแหน่งกรรมการและเลขานุการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง ส่วนตำแหน่งกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการต้องเป็นพนักงาน กกท. ข้อ ๑๖ คณะกรรมการจัดการแข่งขัน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) จัดการแข่งขันให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามข้อบังคับ (๒) เสนอปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากการปฏิบัติตามข้อบังคับ เพื่อให้คณะกรรมการอำนวยการแข่งขันวินิจฉัย (๓) รายงานคณะกรรมการอำนวยการแข่งขันในกรณีที่ปรากฏว่าบุคคลหรือคณะบุคคลใดที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับหลักฐานการแข่งขัน ได้แก่ใบสมัคร รายชื่อแผงรูป บัตรประจำตัวนักกีฬา เอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการแข่งขัน การขึ้นทะเบียนนักกีฬา ตลอดทั้งการสรุปผลและประเมินผลการแข่งขัน (๕) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อประโยชน์แห่งการจัดการแข่งขัน หมวด ๓ ระเบียบและกติกาการแข่งขัน ข้อ ๑๗ ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ แต่ละชนิดกีฬาให้ใช้ระเบียบและกติกาการแข่งขันตามที่ กกท. และสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย ร่วมกันกำหนด หมวด ๔ จำนวนนักกีฬา ข้อ ๑๘ ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ การกำหนดจำนวนนักกีฬา จำนวนทีมในแต่ละชนิดและประเภทกีฬาให้เป็นไปตามระเบียบและกติกาการแข่งขันตามที่ กกท. และสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย ร่วมกันกำหนด หมวด ๕ คุณสมบัติของนักกีฬา ข้อ ๑๙ ผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติต้องมีคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ ดังนี้ (๑) เป็นนักกีฬาสมัครเล่น (๒) มีสัญชาติไทย (๓) เป็นนักกีฬาที่มีชื่อในทะเบียนนักกีฬาของสมาคมกีฬาจังหวัดนั้น ๆ เพียงจังหวัดเดียวเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ก่อนเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนั้น (๔) การย้ายสังกัดสมาคมกีฬาจังหวัดจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากสมาคมกีฬาจังหวัดที่เป็นต้นสังกัดเดิมและที่จะเป็นต้นสังกัดใหม่เสียก่อน (๕) ไม่เป็นนักกีฬาที่อยู่ในระยะเวลาที่สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย หรือประธานกรรมการอำนวยการแข่งขัน หรือ กกท. ลงโทษให้พักการแข่งขัน (๖) นักกีฬาซึ่งเป็นผู้ที่เคยเข้าแข่งขัน หรือมีชื่อในบัญชีผู้แทนชาติไทยในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ ซีเกมส์ การแข่งขันชิงชนะเลิศของโลก หรือการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเซียจะเข้าแข่งขันกีฬาแห่งชาติได้เฉพาะชนิดประเภทกีฬา และจำนวน ตามที่ กกท. และสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยร่วมกันกำหนด (๗) นักกีฬาที่เข้าแข่งขันกีฬาแห่งชาติต้องได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักกีฬาผู้แทนจังหวัดตามหมวด ๖ หมวด ๖ การคัดเลือกและสมัครนักกีฬาเข้าแข่งขัน ข้อ ๒๐ การสมัครเข้าแข่งขันคัดเลือกเป็นนักกีฬาผู้แทนจังหวัด ผู้สมัครยื่นใบสมัครส่วนบุคคลต่อสมาคมกีฬาจังหวัดที่ตนสังกัด ตามแบบที่ กกท. กำหนด ข้อ ๒๑ การแข่งขันคัดเลือกนักกีฬาในระดับต่าง ๆ ให้ปฏิบัติดังนี้ (๑) ระดับจังหวัด ให้แต่ละจังหวัดทำการแข่งขันคัดเลือกนักกีฬาระดับจังหวัดให้แล้วเสร็จก่อนพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน (๒) ระดับภาค ให้เจ้าภาพในระดับภาคทำการแข่งขันคัดเลือกนักกีฬาให้แล้วเสร็จก่อนพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติไม่น้อยกว่าห้าเดือน ข้อ ๒๒ การส่งแบบแจ้งชนิด ประเภท และจำนวนนักกีฬา (Entry Form by Number) ที่ส่งเข้าแข่งขันให้ปฏิบัติดังนี้ (๑) ระดับภาค ให้แต่ละจังหวัดส่งแบบแจ้งชนิด ประเภท และจำนวนนักกีฬาที่จะเข้าแข่งขันให้เจ้าภาพระดับภาคไม่น้อยกว่าสามเดือนก่อนพิธีเปิดการแข่งขัน (๒) ระดับชาติ ให้จังหวัดจัดส่งแบบแจ้งชนิด ประเภท และจำนวนนักกีฬาที่จะเข้าแข่งขันให้เจ้าภาพไม่น้อยกว่าสี่เดือนก่อนพิธีเปิดการแข่งขัน ข้อ ๒๓ การส่งรายชื่อนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ (Entry Form by Name) ที่ส่งเข้าแข่งขันให้ปฏิบัติดังนี้ (๑) ระดับภาค ให้จังหวัดจัดส่งรายชื่อนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ให้เจ้าภาพระดับภาคไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนก่อนพิธีเปิดการแข่งขัน (๒) ระดับชาติ ให้จังหวัดจัดส่งรายชื่อนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ให้เจ้าภาพไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนก่อนพิธีเปิดการแข่งขัน ข้อ ๒๔ สำหรับนักกีฬาที่ไม่ต้องคัดเลือกในระดับภาค ให้จังหวัดส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันโดยตรง ให้ถือปฏิบัติตามข้อ ๒๒ และข้อ ๒๓ โดยอนุโลม เจ้าภาพมีสิทธิ์ส่งกีฬาประเภททีมเข้าร่วมการแข่งขัน โดยไม่ต้องคัดเลือกตามชนิดและประเภทกีฬาที่ กกท. กำหนด ข้อ ๒๕ จังหวัดใดจัดส่งรายชื่อนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ไปให้เจ้าภาพไม่ทันภายในเวลาที่กำหนดตามข้อ ๒๓ และข้อ ๒๔ ให้ผู้นั้นหมดสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนั้น ข้อ ๒๖ บัญชีรายชื่อนักกีฬาที่จัดส่งให้เจ้าภาพจะเปลี่ยนแปลง แก้ไขเพิ่มเติม หรือ สับเปลี่ยนตัวบุคคลไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยในเรื่องการเขียนหรือพิมพ์ผิดเท่านั้น หมวด ๗ กรรมการผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด ข้อ ๒๗ กรรมการผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาดกีฬาแต่ละชนิดที่มีการแข่งขันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของ กกท. และสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยร่วมกันกำหนด หมวด ๘ รางวัลการแข่งขัน ข้อ ๒๘ ให้เจ้าภาพจัดทำรางวัลในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติประกอบด้วยเหรียญและประกาศนียบัตร ดังต่อไปนี้ (๑) รางวัลที่ ๑ เหรียญชุบทองและประกาศนียบัตร (๒) รางวัลที่ ๒ เหรียญชุบเงินและประกาศนียบัตร (๓) รางวัลที่ ๓ เหรียญชุบทองแดงและประกาศนียบัตร ข้อ ๒๙ ให้เจ้าภาพจัดพิธีมอบรางวัลนักกีฬาที่ชนะการแข่งขันอย่างสมเกียรติ หมวด ๙ การประท้วง ข้อ ๓๐ ให้ประธานกรรมการอำนวยการแข่งขันแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการประท้วงสองคณะ คือ (๑) คณะกรรมการพิจารณาการประท้วงคุณสมบัติของนักกีฬา ประกอบด้วยนายกสมาคมกีฬาจังหวัดเจ้าภาพเป็นประธานกรรมการ ประธานฝ่ายเทคนิคจัดการแข่งขัน ผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยชนิดกีฬาที่มีการประท้วงหนึ่งคนและผู้แทน กกท. โดยให้เจ้าภาพพิจารณาแต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งตามที่เห็นสมควรเป็นเลขานุการ (๒) คณะกรรมการพิจารณาการประท้วงเทคนิคกีฬา ประกอบด้วยกรรมการตามระเบียบและกติกาการแข่งขันกีฬาชนิดที่มีการประท้วงได้กำหนดไว้ ถ้าระเบียบและกติกาดังกล่าวมิได้กำหนดในเรื่องวิธีการประท้วงหรือคณะกรรมการพิจารณาการประท้วงไว้เป็นอย่างอื่น ให้ผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยชนิดกีฬาที่มีการประท้วงเป็นประธานกรรมการ ประธานจัดการแข่งขันกีฬาที่มีการประท้วงและผู้จัดการทีมทุกทีมในชนิดกีฬาที่มีการประท้วง ยกเว้นคู่กรณี เจ้าภาพพิจารณาแต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งตามที่เห็นสมควรเป็นเลขานุการ ให้คณะกรรมการพิจารณาการประท้วงตาม (๑) และ (๒) มีอำนาจพิจารณาการประท้วง คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาการประท้วงให้เป็นที่สุด ข้อ ๓๑ การประท้วงให้ปฏิบัติดังนี้ (๑) การประท้วงคุณสมบัติของนักกีฬา หัวหน้าคณะนักกีฬาจังหวัดเป็นผู้ยื่นประท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประธานกรรมการพิจารณาการประท้วงคุณสมบัติของนักกีฬาก่อนการแข่งขันแต่ละครั้ง พร้อมวางเงินประกันการประท้วงตามที่ กกท. กำหนด (๒) การประท้วงเทคนิคกีฬา ให้เป็นไปตามที่ระเบียบและกติกาการแข่งขันกีฬาชนิดนั้น ๆ กำหนดไว้ คำประท้วงให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นต่อประธานกรรมการพิจารณาประท้วงเทคนิคกีฬาภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในระเบียบและกติกาการแข่งขันกีฬาดังกล่าวนั้น ข้อ ๓๒ ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาการประท้วงเห็นว่าคำประท้วงฟังขึ้นและได้วินิจฉัยให้เป็นไปตามคำประท้วงแล้ว ให้ผู้ยื่นประท้วงได้รับเงินประกันการประท้วงคืน แต่ถ้าคำประท้วงฟังไม่ขึ้นให้เงินประกันดังกล่าวตกเป็นทุนสำหรับส่งเสริมการกีฬาของเจ้าภาพ หมวด ๑๐ บทลงโทษ ข้อ ๓๓ เจ้าหน้าที่หรือนักกีฬาผู้ใดละเมิดข้อบังคับข้อ ๓๐ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการขัดต่อเจตนารมณ์ของการส่งเสริมกีฬาตามข้อบังคับนี้ โดยให้ประธานกรรมการอำนวยการแข่งขันพิจารณาตัดสิทธิ์ผู้นั้นออกจากการเป็นเจ้าหน้าที่หรือนักกีฬาในการแข่งขันสำหรับครั้งนั้น การกระทำดังกล่าวตามวรรคก่อน ประธานกรรมการอำนวยการแข่งขันอาจตัดสิทธิ์ครั้งต่อ ๆ ไปด้วยก็ได้ ในกรณีที่นักกีฬาซึ่งเข้าแข่งขันขาดคุณสมบัติตามข้อ ๑๙ อยู่ในสังกัดทีมของผู้จัดการทีมหรือผู้ฝึกสอนกีฬาผู้ใด ให้ประธานกรรมการอำนวยการแข่งขันพิจารณาตัดสิทธิ์ผู้นั้นออกจากการเป็นผู้จัดการทีมกีฬาหรือผู้ฝึกสอนกีฬาในการแข่งขันสำหรับครั้งนั้น หรือครั้งต่อ ๆ ไป แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๔ การแข่งขันที่มีเจ้าหน้าที่หรือนักกีฬาละเมิดข้อบังคับ หรือระเบียบและกติกาการแข่งขันให้ผลการแข่งขันเป็นไปตามระเบียบและกติกาของชนิดกีฬานั้น ๆ หากผู้แข่งขันหรือทีมที่ละเมิดนั้นได้รับรางวัล หรือได้รับตำแหน่งในการแข่งขันให้ถือว่ารางวัลหรือตำแหน่งนั้นเป็นโมฆะ และให้คืนรางวัลนั้นโดยเร็ว พร้อมทั้งให้เลื่อนลำดับนักกีฬาตำแหน่งถัดไปเข้าแทน ข้อ ๓๕ เจ้าหน้าที่หรือนักกีฬาผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบและกติกาการแข่งขันหรือประพฤติตนไม่เหมาะสม ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งภายในหรือนอกสนามแข่งขัน ให้ประธานกรรมการจัดการแข่งขันพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร หมวด ๑๑ สิทธิประโยชน์ ข้อ ๓๖ สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ให้เป็นไปตามที่ กกท. กำหนด บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๗ ให้ กกท. เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๔๓ และให้นำข้อบังคับนี้มาใช้โดยอนุโลม ความในวรรคสองของข้อ ๒๔ แห่งข้อบังคับนี้ มิให้นำมาใช้กับการจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๔๓ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๒ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๔ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๑๗/๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
315903
ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 22 ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2542
ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๒๒ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑๑ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๒ ให้เหมาะกับการปฏิบัติของการกีฬาแห่งประเทศไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย จึงวางข้อบังคับไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๒๒ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๒” ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑๑ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๒ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งอื่นใดที่กำหนดไว้แล้วในข้อบังคับนี้หรือซึ่งขัดแย้งกับข้อบังคับนี้ให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน ข้อ ๔ ให้ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้และให้มีอำนาจออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ส่วนที่ ๑ นิยาม ข้อ ๕ ในข้อบังคับนี้ “การพัสดุ” หมายความว่า การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบ และควบคุมงาน การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย และการดำเนินการอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ “พัสดุ” หมายความว่า วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง ที่กำหนดไว้ในหนังสือ การจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณของสำนักงบประมาณหรือการจำแนกประเภทรายจ่ายตามสัญญาเงินกู้จากต่างประเทศ “การซื้อ” หมายความว่า การซื้อพัสดุทุกชนิดทั้งที่มีการติดตั้ง ทดลอง และบริการที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ แต่ไม่รวมถึงการจัดหาพัสดุในลักษณะการจ้าง “การจ้าง” ให้หมายความรวมถึงการจ้างทำของและการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการจ้างเหมาบริการ แต่ไม่รวมถึงการจ้างลูกจ้างของ กกท. การรับขนในการเดินทางไปราชการตามกฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน และการจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “การจ้างที่ปรึกษา” หมายความว่า การจ้างบริการจากที่ปรึกษา แต่ไม่รวมถึงการจ้างออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคารด้วยเงินงบประมาณ “การจ้างออกแบบและควบคุมงาน” หมายความว่า การจ้างบริการจากนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจบริการด้านงานออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคารด้วยเงินงบประมาณ “เงินงบประมาณ” หมายความว่า งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และเงินซึ่ง กกท. ได้รับไว้โดยไม่ต้องส่งคลัง เงินสำรองและเงินรายได้ตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ แต่ไม่รวมถึงเงินกู้ เงินช่วยเหลือ “เงินกู้” หมายความว่า เงินกู้ตามกฎหมายว่าด้วยการใช้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศ “เงินช่วยเหลือ” หมายความว่า เงินที่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ องค์การต่างประเทศ ทั้งในระดับรัฐบาลและที่มิใช่ระดับรัฐบาล มูลนิธิ หรือเอกชนต่างประเทศ “อาคาร” หมายความว่า สิ่งปลูกสร้างถาวรที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือใช้สอยได้ เช่น อาคารที่ทำการ โรงพยาบาล โรงเรียน สนามกีฬา สถานีนำร่อง หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน และรวมตลอดถึงสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยสำหรับอาคารนั้น ๆ เช่น เสาธง รั้ว ท่อระบายน้ำ หอถังน้ำ ถนน ประปา และสิ่งอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของตัวอาคาร เช่น เครื่องปรับอากาศ ลิฟท์ เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ “พัสดุที่ผลิตในประเทศ” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตสำเร็จรูปแล้วโดยสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในประเทศไทย “กิจการของคนไทย” หมายความว่า กิจการที่เป็นของบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล สัญชาติไทย “ที่ปรึกษา” หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจหรือสามารถให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางวิศวกรรม สถาปัตยกรรม เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาอื่น รวมทั้งให้บริการด้านศึกษา สำรวจ ออกแบบ และควบคุมงาน และการวิจัย แต่ไม่รวมถึงการให้บริการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคารด้วยเงินงบประมาณ “ที่ปรึกษาไทย” หมายความว่า ที่ปรึกษาที่มีสัญชาติไทย และได้จดทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาของกระทรวงการคลัง “กกท.” หมายความว่า การกีฬาแห่งประเทศไทย “คณะกรรมการ กกท.” หมายความว่า คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย “ประธานกรรมการ กกท.” หมายความว่า ประธานกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย “ผู้ว่าการ” หมายความว่า ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย “พนักงาน” หมายความว่า พนักงานของการกีฬาแห่งประเทศไทย และหมายความรวมถึงผู้ว่าการและรองผู้ว่าการด้วย “หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานระดับกองหรือที่มีฐานะเทียบเท่ากอง ซึ่งปฏิบัติงานในสายงานที่เกี่ยวกับการพัสดุ หรือผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือได้รับมอบหมายจากผู้ว่าการให้เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ แล้วแต่กรณี “เจ้าหน้าที่พัสดุ” หมายความว่า พนักงานซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุ หรือผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือได้รับมอบหมายจากผู้ว่าการให้มีหน้าที่หรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัสดุตามข้อบังคับนี้ “ผู้อำนวยการโครงการ” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ตามโครงการที่ กกท. กำหนด “โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ” หมายความว่า โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐานเลขที่ มอก. ๙๐๐๑ หรือ มอก. ๙๐๐๒ ในกิจการและขอบข่ายที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม “ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน” หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่เข้าเสนอราคาขายในการซื้อพัสดุของ กกท. หรือเข้าเสนอราคาเพื่อรับจ้างทำพัสดุหรือเข้าเสนองานเพื่อรับจ้างเป็นที่ปรึกษา หรือรับจ้างออกแบบและควบคุมงานให้แก่ กกท. เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในกิจการของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่นที่เข้าเสนอราคาหรือเข้าเสนองานให้แก่ กกท. ในคราวเดียวกัน การมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ การที่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังกล่าวมีความสัมพันธ์กันในลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีความสัมพันธ์กันในเชิงบริหาร โดยผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของบุคคลธรรมดาหรือของนิติบุคคลรายหนึ่ง มีอำนาจหรือสามารถใช้อำนาจในการบริหารจัดการกิจการของบุคคลธรรมดาหรือของนิติบุคคลอีกรายหนึ่งหรือหลายราย ที่เสนอราคาหรือเสนองานให้แก่ กกท. ในคราวเดียวกัน (๒) มีความสัมพันธ์ในเชิงทุน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด อีกรายหนึ่งหรือหลายรายที่เสนอราคาหรือเสนองานให้แก่ กกท. ในคราวเดียวกัน คำว่า “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” ให้หมายความว่า ผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าในกิจการนั้น หรือในอัตราอื่น ตามที่เห็นสมควรประกาศกำหนดสำหรับกิจการบางประเภทหรือบางขนาด (๓) มีความสัมพันธ์กันในลักษณะไขว้กันระหว่าง (๑) และ (๒) โดยผู้จัดการหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของบุคคลธรรมดาหรือของนิติบุคคลรายหนึ่ง เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดอีกรายหนึ่งหรือหลายรายที่เข้าเสนอราคาหรือเสนองานให้แก่ กกท. ในคราวเดียวกันหรือในทางกลับกัน การดำรงตำแหน่ง การเป็นหุ้นส่วน หรือการเข้าถือหุ้นดังกล่าวข้างต้นของคู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลใน (๑) (๒) หรือ (๓) ให้ถือว่าเป็นการดำรงตำแหน่งการเป็นหุ้นส่วนหรือการถือหุ้นของบุคคลดังกล่าว ในกรณีบุคคลใดใช้ชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นโดยที่ตนเองเป็นผู้ใช้อำนาจในการบริหารที่แท้จริงหรือเป็นหุ้นส่วนหรือเป็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริงของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด แล้วแต่กรณี และห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าเสนอราคา หรือเสนองานให้แก่ กกท. ในคราวเดียวกัน ให้ถือว่าผู้เสนอราคา หรือผู้เสนอราคานั้นมีความสัมพันธ์กันตาม (๑) (๒) หรือ (๓) แล้วแต่กรณี “การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม” หมายความว่า การที่ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายหนึ่ง หรือหลายรายกระทำการอย่างใด ๆ อันเป็นการขัดขวางหรือเป็นอุปสรรคหรือไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมในการเสนอราคาหรือเสนองานต่อ กกท. ไม่ว่าจะกระทำโดยการสมยอมกัน หรือโดยการให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ เรียก รับ หรือยอมจะรับเงินหรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด หรือใช้กำลังประทุษร้าย หรือข่มขู่ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือแสดงเอกสารอันเป็นเท็จ หรือกระทำการใดโดยทุจริต ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหาประโยชน์ในระหว่างผู้เสนอราคาหรือผู้เสนอราคาด้วยกัน หรือเพื่อประโยชน์แก่ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายหนึ่งรายใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับ กกท. หรือเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือเพื่อให้เกิดความได้เปรียบ กกท. โดยมิใช่เป็นไปในทางประกอบธุรกิจปกติ “เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ” หมายความว่า คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาตามข้อ ๔๘ คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาตามข้อ ๕๖ คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีคัดเลือกตามข้อ ๙๓ ถึงข้อ ๙๕ คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกตามข้อ ๑๐๕ ถึง ๑๐๘ คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนดตามข้อ ๑๐๙ ถึง ๑๑๑ หรือผู้ว่าจ้างในกรณีการจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยวิธีพิเศษที่เป็นการว่าจ้างโดยการประกวดราคาแบบตามข้อ ๑๑๒ (๒) “งานก่อสร้างสาธารณูปโภค” หมายความว่า งานก่อสร้างซ่อมแซม และบำรุงรักษางานอันเกี่ยวกับการประปา การไฟฟ้า การสื่อสาร การโทรคมนาคม การระบายน้ำ ระบบการขนส่งปิโตรเลี่ยม โดยทางท่อ ทางหลวง ทางรถไฟ และการอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งดำเนินการในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน หรือเหนือพื้นดิน ส่วนที่ ๒ การใช้บังคับและการมอบอำนาจ ข้อ ๖ ข้อบังคับนี้ใช้บังคับสำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุ ซึ่งใช้เงินงบประมาณ และเงินซึ่ง กกท. ได้รับไว้ โดยไม่ต้องส่งคลังเงินสำรองและเงินรายได้ตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ รวมถึงเงินกู้และเงินช่วยเหลือ ข้อ ๗ ผู้ว่าการจะมอบอำนาจตามข้อบังคับนี้ โดยทำเป็นหนังสือให้แก่พนักงานผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้โดยคำนึงถึงระดับ ตำแหน่งหน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ที่จะได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ภายในวงเงินที่ผู้ว่าการมีอำนาจ ในกรณีเมื่อมีการมอบอำนาจตามวรรคหนึ่ง ผู้รับมอบอำนาจหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้น และจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไปไม่ได้ เว้นแต่ การมอบอำนาจให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมอบอำนาจนั้น ต่อไปได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) กรณีมอบอำนาจให้แก่รองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด หรือหัวหน้าสำนักงาน กกท. จังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งให้ผู้ว่าการทราบด้วย (๒) กรณีมอบอำนาจให้แก่บุคคลอื่นนอกจากที่กล่าวใน (๑) จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าการแล้ว สำหรับโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือโครงการที่ กกท. กำหนด ให้ผู้ว่าการ กกท. แต่งตั้งพนักงานคนหนึ่ง ทำหน้าที่ผู้อำนวยการโครงการ และมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินการตามข้อบังคับนี้ให้เป็นการเฉพาะก็ได้ ให้ผู้มอบส่งสำเนาหลักฐานการมอบอำนาจให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค แล้วแต่กรณี ทราบทุกครั้ง ส่วนที่ ๓ บทกำหนดโทษ ข้อ ๘ ผู้มีอำนาจหรือหน้าที่ดำเนินการตามข้อบังคับนี้ หรือผู้หนึ่งผู้ใดกระทำการใดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ หรือกระทำการโดยมีเจตนาทุจริตหรือกระทำการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่รวมทั้งมีพฤติกรรมที่เอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าเสนอราคาหรือเสนองาน ให้มีการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับ กกท. หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ถ้าการกระทำมีเจตนาทุจริต หรือเป็นเหตุให้ กกท. เสียหายอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการลงโทษอย่างต่ำให้ออกหรือเลิกจ้าง (๒) ถ้าการกระทำเป็นเหตุให้ กกท. เสียหายแต่ไม่ร้ายแรง ให้ลงโทษอย่างต่ำตัดเงินเดือน (๓) ถ้าการกระทำไม่เป็นเหตุให้ กกท. เสียหาย ให้ลงโทษภาคทัณฑ์หรือว่ากล่าวตักเตือนโดยทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร การลงโทษทางวินัยตาม (๑) หรือ (๒) ไม่เป็นเหตุให้ผู้กระทำหลุดพ้นจากความรับผิดในทางแพ่งตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้องหรือความรับผิดทางอาญา (ถ้ามี) หมวด ๒ การจัดหา ส่วนที่ ๑ บททั่วไป ข้อ ๙ หลังจากได้ทราบยอดเงินที่จะนำมาใช้ในการจัดหาแล้วให้ กกท. รีบดำเนินการให้เป็นไปตามแผนและตามขั้นตอนของระเบียบนี้ ในส่วนที่ ๒ ส่วนที่ ๓ หรือส่วนที่ ๔ แล้วแต่กรณี เพื่อให้พร้อมที่จะทำสัญญาได้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติทางการเงินแล้ว การจัดหาโดยวิธีสอบราคา และวิธีประกวดราคา ให้ กกท. วางแผนในการจัดหาและดำเนินการให้เป็นไปตามแผนด้วย ข้อ ๑๐ การได้มาซึ่งพัสดุหรือบริการนอกเหนือจากที่ข้อบังคับนี้ได้กำหนดไว้และไม่มีระเบียบของทางราชการหรือกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้ถือปฏิบัติโดยอนุโลมตามวิธีการจัดหาลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่กำหนดไว้ในหมวดนี้ กรณีที่การได้มาซึ่งพัสดุหรือบริการ ไม่มีกำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ และไม่อาจถือปฏิบัติตามวรรคหนึ่งได้ให้นำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาใช้โดยอนุโลม ข้อ ๑๑ กรณีที่มีการจัดทำเอง ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งผู้ควบคุมรับผิดชอบในการจัดทำเองนั้น และแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจการปฏิบัติงานโดยมีคุณสมบัติและหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจการจ้าง เว้นแต่ส่วนงานที่กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยเฉพาะอยู่แล้ว ข้อ ๑๒ การจัดหาพัสดุตามข้อบังคับนี้ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนของการจัดหา ต้องดำเนินการโดยเปิดเผย โปร่งใส และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงคุณสมบัติและความสามารถของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน เว้นแต่กรณีที่มีลักษณะเฉพาะอันเป็นข้อยกเว้นตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ ในการดำเนินการแต่ละขั้นตอน ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องมีการบันทึกหลักฐานในการดำเนินการพร้อมทั้งต้องระบุเหตุผลในการพิจารณาสั่งการในขั้นตอนที่สำคัญไว้เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย ข้อ ๑๓ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมตามข้อ ๑๒ ให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่เป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันแต่เพียงรายเดียวเท่านั้น มีสิทธิที่จะเสนอราคาหรือเสนองานในการซื้อหรือการจัดทำพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้างออกแบบและควบคุมงานของทางราชการในแต่ละครั้ง ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานแต่ละรายว่าเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ก่อนการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน แล้วแต่กรณี และในกรณีการซื้อหรือการจ้างทำพัสดุ โดยวิธีประกวดราคาตามข้อ ๖๐ หรือการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกตามข้อ ๙๐ และข้อ ๙๔ ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานดังกล่าวก่อนการเปิดซองเสนอด้านเทคนิค ซองข้อเสนอด้านราคา หรือซองข้อเสนอทางการเงิน ข้อ ๑๔ ในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือเสนองานแต่ละรายตามข้อ ๑๓ วรรคสอง ให้เจ้าหน้าที่กำหนดให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติแยกมาต่างหาก โดยอย่างน้อยต้องมีเอกสาร ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเป็นนิติบุคคล ให้ยื่นสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ บัญชีรายชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้มีอำนาจควบคุม และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง (๒) ในกรณีผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเป็นบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลให้ยื่นสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้นั้น สำเนาข้อตกลงที่แสดงการเข้าเป็นหุ้นส่วน (ถ้ามี) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นหุ้นส่วน พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง (๓) ในกรณีที่ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานร่วมกันในฐานะเป็นผู้ร่วมค้า ให้ยื่นสำเนาสัญญาของการเข้าร่วมค้า สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร่วมค้า และในกรณีที่ผู้เข้าร่วมค้าฝ่ายใดเป็นบุคคลธรรมดาที่มิได้ถือสัญชาติไทย ก็ให้ยื่นสำเนาหนังสือเดินทาง หรือถ้าผู้ร่วมค้าฝ่ายใดเป็นนิติบุคคลให้ยื่นเอกสารตามที่ระบุไว้ใน (๑) (๔) เอกสารอื่นตามที่ กกท. กำหนด เช่น หนังสือแสดงฐานะทางการเงิน สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นพร้อมกับการยื่นซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน แล้วแต่กรณี สำหรับกรณีที่ข้อบังคับนี้กำหนดให้ยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิคเพียงซองเดียวตามข้อ ๙๒ (๒) ให้ผู้เสนองานยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งมาพร้อมกับการยื่นซองดังกล่าวด้วย เมื่อได้มีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานแต่ละรายตามข้อ ๑๓ วรรคสองแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติประกาศรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทำการของ กกท. โดยพลัน และถ้าผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานอยู่ ณ สถานที่ที่มีการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน แล้วแต่กรณี ให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายนั้นทราบด้วย ข้อ ๑๕ เมื่อได้มีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานแต่ละรายตามข้อ ๑๓ วรรคสองแล้ว หากปรากฏว่ามีผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเป็นผู้เสนอราคาที่มีประโยชน์ร่วมกัน ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติตัดรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานดังกล่าวทุกรายออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน ในการเสนอราคาหรือเสนองานในครั้งนั้น พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายดังกล่าวทราบโดยพลัน ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเพราะเหตุเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน อาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อประธานกรรมการ กกท. ภายใน ๓ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งพร้อมทั้งแสดงเหตุผลของการอุทธรณ์และเอกสารที่เกี่ยวข้องมาด้วย ในกรณีที่มีการยื่นอุทธรณ์ตามวรรคสอง ให้ประธานกรรมการ กกท. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบโดยพลัน การวินิจฉัยอุทธรณ์ของประธานกรรมการ กกท. ให้ถือเป็นที่สุดสำหรับการเสนอราคาหรือเสนองานในการซื้อหรือการจ้างทำพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้างออกแบบ และควบคุมงานในครั้งนั้น การยื่นอุทธรณ์ตามวรรคสอง ย่อมไม่เป็นเหตุให้มีการขยายระยะเวลาการเปิดซอง สอบราคา ประกวดราคาหรือเสนองาน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่ประธานกรรมการ กกท. พิจารณาเห็นว่าการขยายระยะเวลาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์แก่ กกท. อย่างยิ่งและในกรณีที่ประธานกรรมการ กกท. พิจารณาแล้วเห็นด้วยกับคำคัดค้านของผู้อุทธรณ์และเห็นว่าการยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานที่ได้ดำเนินการไปแล้วจะเป็นประโยชน์แก่ กกท. อย่างยิ่ง ให้ประธานกรรมการ กกท. มีอำนาจยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานดังกล่าวได้ ข้อ ๑๖ นอกจากการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานแต่ละรายตามข้อ ๑๓ วรรคสอง และตามข้อ ๑๕๐ แล้ว หากปรากฏต่อเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติก่อนหรือในขณะที่มีการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน ว่ามีผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองานกระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว หากเชื่อได้ว่ามีการกระทำอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติตัดรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่กระทำการดังกล่าวทุกรายออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานในการซื้อหรือการจ้างทำพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้างออกแบบและควบคุมงานในครั้งนั้น เว้นแต่เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติจะวินิจฉัยว่า ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานนั้น เป็นผู้ที่ให้ความร่วมมือเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของ กกท. และมิได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการกระทำดังกล่าวตามนัย ข้อ ๑๕๓ จะไม่ตัดรายชื่อผู้เสนอราคาหรืผู้เสนองานนั้นออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานในการซื้อหรือการจ้างทำพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้างออกแบบและควบคุมงานนั้นก็ได้ ให้นำความในข้อ ๑๔ วรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม และผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานตามวรรคหนึ่งมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติได้ ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ ๑๕ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้กับการอุทธรณ์ในกรณีนี้โดยอนุโลมและให้ผู้ว่าการเสนอต่อประธานกรรมการ กกท. เพื่อพิจารณาให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ทิ้งงานตามความในหมวด ๒ ส่วนที่ ๘ การลงโทษผู้ทิ้งงาน ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงภายหลังจากการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานแล้วว่าผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกตามที่ได้ประกาศรายชื่อไว้ตามข้อ ๑๔ วรรคสาม เป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายอื่น หรือเป็นผู้เสนอราคาหรือเสนองานที่กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ให้ผู้ว่าการมีอำนาจที่จะตัดรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกดังกล่าวทุกรายออกจากประกาศรายชื่อตามข้อ ๑๔ วรรคสาม ให้ผู้ว่าการ เสนอต่อประธานกรรมการ กกท. เพื่อพิจารณาให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ทิ้งงานตามความในหมวด ๒ ส่วนที่ ๘ การลงโทษผู้ทิ้งงาน และในกรณีที่ประธานกรรมการ กกท. พิจารณาแล้วเห็นว่า การยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานที่ได้ดำเนินการไปแล้วจะเป็นประโยชน์แก่ กกท. อย่างยิ่ง ให้ประธานกรรมการ กกท. มีอำนาจยกเลิกซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานดังกล่าวได้ ส่วนที่ ๒ การซื้อการจ้าง การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศและกิจการของคนไทย ข้อ ๑๘ ให้ กกท. ใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศหรือเป็นกิจการของคนไทยตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ห้ามกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งอาจมีผลกีดกันไม่ให้ผู้ผลิตหรือผู้ขายพัสดุที่ผลิตในประเทศ หรือเป็นกิจการของคนไทยสามารถเข้าแข่งขันกันในการเสนอราคากับ กกท. (๒) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ มีประกาศกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้วให้กำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะหรือรายการในการก่อสร้างตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือเพื่อความสะดวกจะระบุเฉพาะหมายเลขมาตรฐานก็ได้ (๓) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ ยังไม่มีประกาศกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแต่มีผู้ได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ให้กำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะหรือรายการในการก่อสร้างให้สอดคล้องกับรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะตามที่ระบุไว้ในคู่มือผู้ซื้อหรือใบแทรกคู่มือผู้ซื้อที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำขึ้น (๔) ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะหรือรายการในการก่อสร้างแตกต่างจากที่กำหนดไว้ใน (๒) หรือ (๓) ให้แจ้งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และเมื่อได้รับหนังสือกระทรวงอุตสาหกรรมตอบรับทราบหรือไม่ทักท้วงแล้ว ให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างต่อไปได้หรือไม่รับพิจารณารายนั้น แล้วแต่กรณี (๕) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ เป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกัน และในขณะเดียวกันเป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ โดยมีผู้ผลิตตั้งแต่สามรายขึ้นไป ให้ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุซึ่งแสดงเครื่องหมายมาตรฐานและผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพที่ทำในประเทศไทยเท่านั้น ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำตามวรรคหนึ่ง เป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกันและในขณะเดียวกันเป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ โดยมีผู้ผลิตน้อยกว่าสามราย แต่เป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกัน โดยมีผู้ได้รับใบอนุญาตตั้งแต่สามรายขึ้นไป หรือเป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ โดยมีผู้ผลิตตั้งแต่สามรายขึ้นไป ให้ กกท. ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุซึ่งแสดงเครื่องหมายมาตรฐานหรือพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพที่ทำในประเทศไทย และให้ดำเนินการตาม (๖) (๖) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ เป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกันตั้งแต่สามรายขึ้นไป ให้ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุซึ่งแสดงเครื่องหมายมาตรฐานที่ทำในประเทศไทยเท่านั้น ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ เป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตั้งแต่สามรายขึ้นไป ให้ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุซึ่งผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพที่ทำในประเทศไทยเท่านั้น การซื้อหรือการจ้างในกรณีนี้นอกจากการจ้างก่อสร้าง หากมีผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐานและในขณะเดียวกันเป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพเสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่นไม่เกินร้อยละห้า ให้ต่อรองราคา ผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐานและผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพรายที่เสนอราคาต่ำสุด หากต่อรองราคาแล้ว ราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุดไม่เกินร้อยละสามหรืออัตราที่คณะกรรมการ กกท. กำหนด ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๗) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำตาม (๕) หรือ (๖) เป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกันและในขณะเดียวกันเป็นพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพน้อยกว่าสามราย หรือเป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกัน โดยมีผู้ได้รับใบอนุญาตน้อยกว่าสามราย หรือเป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ โดยมีผู้ผลิตน้อยว่าสามราย ให้ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุที่ทำในประเทศไทย การซื้อหรือการจ้างในกรณีนี้นอกจากการจ้างก่อสร้าง หากมีผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐานและในขณะเดียวกันเป็นพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ หรือมีผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือมีผู้เสนอราคาพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ ให้ดำเนินการต่อรองราคาดังนี้ (ก) ให้เรียกผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐานและในขณะเดียวกันเป็นพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพรายที่เสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่นไม่เกินร้อยละสิบมาต่อรองราคา ทั้งนี้ ให้เรียกผู้เสนอราคารายที่เสนอราคาต่ำสุดมาต่อรองราคาก่อน หากต่อรองราคาแล้ว ราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่นไม่เกินร้อยละเจ็ดหรืออัตราที่คณะกรรมการ กกท. กำหนด ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น หากต่อรองราคาแล้วไม่ได้ผลให้เรียกผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน และผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพรายที่เสนอราคาต่ำสุดลำดับถัดไปมาต่อรองราคา หากต่อรองราคาแล้วราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่นไม่เกินร้อยละเจ็ดหรืออัตราที่คณะกรรมการ กกท. กำหนดให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (ข) หากดำเนินการตาม (ก) แล้วไม่ได้ผล ให้เรียกผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐานหรือผู้เสนอราคาพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพรายที่เสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่นไม่เกินร้อยละเจ็ดมาต่อรองราคา หากต่อรองราคาแล้ว ราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่นไม่เกินร้อยละห้าหรืออัตราที่คณะกรรมการ กกท. กำหนดให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๘) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำมีผู้ได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ให้ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุที่ทำในประเทศไทย การซื้อหรือการจ้างในกรณีนี้นอกจากการจ้างก่อสร้าง หากมีผู้เสนอราคาพัสดุที่ได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรม เสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เข้าแข่งขันรายอื่นไม่เกินร้อยละเจ็ดให้ต่อรองราคาผู้เสนอราคาพัสดุที่ได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมรายที่เสนอราคาต่ำสุด หากต่อรองราคาแล้ว ราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุดไม่เกินร้อยละห้าหรืออัตราที่คณะกรรมการ กกท. กำหนดให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๙) การดำเนินการตาม (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) ให้ถือตามที่ปรากฏในบัญชีคู่มือผู้ซื้อหรือใบแทรกคู่มือผู้ซื้อที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำขึ้นถึงเดือนก่อนหน้าที่จะประกาศซื้อหรือจ้าง ถ้ามีผู้เสนอราคาพัสดุที่อยู่ระหว่างขอการรับรองระบบคุณภาพ หรือการขอรับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือการขอจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรม โดยแนบใบรับมาพร้อมกับใบเสนอราคา หากพัสดุนั้นได้รับการรับรองระบบคุณภาพหรือใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมภายใน ๑๐ วันทำการ นับจากวันถัดจากวันเสนอราคา แต่ทั้งนี้จะต้องก่อนการพิจารณาตัดสินราคาของคณะกรรมการ ให้ถือเสมือนเป็นผู้เสนอราคาพัสดุที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพหรือได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรม แล้วแต่กรณี (๑๐) ในกรณีที่ได้ดำเนินการตาม (๒) (๓) (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) แล้วแต่ไม่สามารถซื้อหรือจ้างได้ ให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างต่อไปได้ หรือไม่รับพิจารณารายนั้น แล้วแต่กรณี (๑๑) การซื้อและการจ้างนอกจากที่กล่าวใน (๒) (๓) (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) แต่ไม่รวมถึงการจ้างก่อสร้างให้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้เสนอราคาระบุแหล่งกำเนิดหรือประเทศที่ผลิตด้วย ในกรณีที่ผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดหรือผลิตในประเทศไทยหรือเป็นกิจการของคนไทยเสนอราคาสูงกว่าพัสดุที่มิได้มีแหล่งกำเนิดหรือผลิตในประเทศไทยหรือมิได้เป็นกิจการของคนไทยไม่เกินร้อยละห้าของผู้เสนอราคารายต่ำสุด ให้ต่อรองราคาของผู้เสนอราคาพัสดุที่มีแหล่งกำเนิดหรือผลิตในประเทศไทยหรือเป็นกิจการของคนไทยรายที่เสนอถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งเป็นคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ และเสนอราคาต่ำสุด หากต่อรองราคาแล้วราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุดไม่เกินร้อยละสาม ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๑๒) การเปรียบเทียบราคาให้พิจารณาราคาที่อยู่ในฐานเดียวกัน โดยให้พิจารณาราคารวมภาษี ราคาแยกภาษี หรือราคายกเว้นภาษี ตามหลักเกณฑ์ที่ได้ประกาศให้ผู้เสนอราคาทราบ แล้วแต่กรณี (๑๓) ราคาที่ซื้อหรือจ้าง ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับวิธีซื้อหรือวิธีจ้างแต่ละวิธีเว้นแต่จะเข้าหลักเกณฑ์ตาม (๖) (๗) (๘) หรือ (๑๑) การซื้อหรือการจ้างที่ดำเนินการด้วยเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือซึ่งไม่สามารถเจรจากับแหล่งเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือเพื่อกำหนดเงื่อนไขตามวรรคหนึ่งได้ ให้ส่วนราชการส่งเสริมพัสดุที่ผลิตในประเทศไทย หรือเป็นกิจการของคนไทย ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผู้ได้รับอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกันหรือผู้ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตาม (๕) (๖) หรือ (๗) แต่ละรายถ้ามีลักษณะที่เป็นการมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมตามนัยของบทนิยามผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ให้นับผู้ได้รับอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานหรือผู้ผลิตดังกล่าวเป็นหนึ่งรายเท่านั้น ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ กกท. มีความจำเป็นต้องใช้พัสดุที่ผลิตจากต่างประเทศจะต้องเป็นพัสดุที่สหพันธ์กีฬานานาชาติให้การรับรอง ข้อ ๒๐ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่สอดส่องมิให้มีการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อ ๑๙ หากพบการหลีกเลี่ยงให้รายงานผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปเพื่อดำเนินการทางวินัยแก่ผู้หลีกเลี่ยง และแจ้งให้ผู้รักษาการตามระเบียบทราบ วิธีซื้อและวิธีจ้าง ข้อ ๒๑ การซื้อหรือการจ้างกระทำได้ ๕ วิธี คือ (๑) วิธีตกลงราคา (๒) วิธีสอบราคา (๓) วิธีประกวดราคา (๔) วิธีพิเศษ (๕) วิธีกรณีพิเศษ ข้อ ๒๒ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ได้แก่ การซื้อ หรือการจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๒๓ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ได้แก่ การซื้อ หรือการจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๒๔ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาเกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๒๕ การซื้อหรือการจ้างตามข้อ ๒๒ และข้อ ๒๓ ถ้าผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเห็นสมควรจะสั่งให้กระทำโดยวิธีที่กำหนดไว้สำหรับวงเงินที่สูงกว่าก็ได้ การแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างโดยลดวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกัน เพื่อให้วงเงินต่ำกว่าที่กำหนด โดยวิธีหนึ่งวิธีใด หรือเพื่อให้อำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเปลี่ยนไปจะกระทำมิได้ การซื้อหรือการจ้างซึ่งดำเนินการด้วยเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างจะสั่งให้กระทำตามวงเงินที่สัญญาเงินกู้หรือสัญญาเงินช่วยเหลือกำหนดก็ได้ ข้อ ๒๖ การซื้อโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใดต่อไปนี้ (๑) เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาด โดยส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานของต่างประเทศ (๒) เป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่ราชการ (๓) เป็นพัสดุที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่จำเป็นหรือเร่งด่วนหรือเพื่อประโยชน์ของส่วนราชการ และจำเป็นต้องซื้อเพิ่ม (Repeat Order) (๔) เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ หรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ (๕) เป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งานหรือมีข้อจำกัดทางเทคนิคที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะซึ่งหมายความรวมถึงอะไหล่ รถประจำตำแหน่ง หรือยารักษาโรคที่ไม่ต้องจัดซื้อตามชื่อสามัญในบัญชียาหลักแห่งชาติตามข้อ ๖๖ (๖) เป็นพัสดุที่เป็นที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง (๗) เป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี (๘) เป็นพัสดุที่เป็นอุปกรณ์กีฬาซึ่งจำเป็นต้องซื้อจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรง โดยให้ได้ราคาต่ำกว่าราคาท้องตลาดไม่น้อยกว่า ๔๐% ในมาตรฐานเดียวกัน ข้อ ๒๗ การจ้างโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นงานที่ต้องจ้างช่างผู้มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือผู้มีความชำนาญเป็นพิเศษ (๒) เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุที่จำเป็นต้องถอดตรวจให้ทราบความชำรุดเสียหายก่อนจึงจะประมาณค่าซ่อมได้ เช่น งานจ้างซ่อมเครื่องจักร เครื่องมือกล เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้า หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น (๓) เป็นงานที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่ราชการ (๔) เป็นงานที่จำเป็นต้องการจ้างเพิ่มในสถานการณ์ที่จำเป็น หรือเร่งด่วน หรือเพื่อประโยชน์ของ กกท. และจำเป็นต้องจ้างเพิ่ม (Repeat Order) (๕) เป็นงานที่ได้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี ข้อ ๒๘ กรณีมีกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติในต่างประเทศจะซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษก็ได้ โดยให้ติดต่อซื้อหรือจ้างกับผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรง ข้อ ๒๙ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างจากส่วนราชการ สถาบันการศึกษา หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่น ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้ผลิตพัสดุหรือทำงานจ้างนั้นเอง และนายกรัฐมนตรีอนุมัติให้ซื้อหรือจ้าง (๒) มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ซื้อหรือจ้าง และกรณีนี้ให้รวมถึงหน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดด้วย รายงานขอซื้อหรือขอจ้าง ข้อ ๓๐ ก่อนดำเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธี นอกจากการซื้อที่ดินและสิ่งก่อสร้างตามข้อ ๓๑ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำรายงานเสนอผู้ว่าการ ตามรายการดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง (๒) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง (๓) ราคามาตรฐานหรือราคากลางของทางราชการหรือราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา ๒ ปีงบประมาณ (๔) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ วงเงินตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้นทั้งหมด ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าว ให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น (๕) กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้น หรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ (๖) วิธีที่จะซื้อหรือจ้าง และเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น (๗) ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการซื้อหรือจ้าง การออกประกาศสอบราคาหรือประกาศประกวดราคา การซื้อหรือจ้างโดยวิธีตกลงราคาในวงเงินไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท และการซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษกรณีเร่งด่วน ตามข้อ ๒๖ (๒) หรือข้อ ๒๗ (๓) ซึ่งไม่อาจทำรายงานตามปกติได้ เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการนั้น จะทำรายงานตามวรรคหนึ่งเฉพาะรายการที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้ ข้อ ๓๑ ก่อนดำเนินการซื้อที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอต่อผู้ว่าการตามรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อ (๒) รายละเอียดของที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่ต้องการซื้อ รวมทั้งเนื้อที่และท้องที่ที่ต้องการ (๓) ราคาประเมินของทางราชการในท้องที่นั้น (๔) ราคาซื้อขายของที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างใกล้เคียงบริเวณที่จะซื้อครั้งหลังสุดประมาณ ๓ ราย (๕) วงเงินที่ซื้อ โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ วงเงินตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือที่จะซื้อในครั้งนั้นทั้งหมด ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าว ให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะซื้อในครั้งนั้น (๖) วิธีที่จะซื้อและเหตุผลที่ต้องซื้อโดยวิธีนั้น (๗) ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการซื้อการออกประกาศสอบราคาหรือประกาศประกวดราคา การซื้อที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างให้ติดต่อกับเจ้าของโดยตรง เว้นแต่การซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างในต่างประเทศที่จำเป็นต้องติดต่อผ่านนายหน้า หรือดำเนินการในทำนองเดียวกันตามกฎหมายหรือประเพณีนิยมของท้องถิ่น ข้อ ๓๒ สำหรับการจ้างก่อสร้างนั้น เจ้าหน้าที่พัสดุให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าการกำหนด ข้อ ๓๓ เมื่อผู้ว่าการให้ความเห็นชอบตามรายงานที่เสนอตามข้อ ๓๐ หรือข้อ ๓๑ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการตามวิธีการซื้อหรือการจ้างนั้นต่อไปได้ การคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการซื้อและการจ้าง ข้อ ๓๔ การคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการซื้อและการจ้างให้กระทำได้ในกรณีที่จำเป็นต้องจำกัดเฉพาะผู้ที่มีความสามารถ โดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกประกาศให้ผู้ที่สนใจทราบโดยเปิดเผย ในการดำเนินการคัดเลือก ให้ส่วนงานเจ้าของเรื่องจัดทำรายงานเสนอขออนุมัติผู้ว่าการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ พร้อมด้วยเอกสารคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นโดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องทำการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น (๒) ประเภท วงเงิน และรายละเอียดของพัสดุหรืองานที่จะต้องซื้อหรือจ้าง (๓) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก ซึ่งเป็นเกณฑ์ความต้องการขั้นต่ำ เช่น ประสบการณ์และผลงานที่ผ่านมา สมรรถภาพในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ เครื่องมือ และโรงงาน ฐานะการเงิน เป็นต้น (๔) หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือก ข้อ ๓๕ เมื่อผู้ว่าการสั่งการอนุมัติในข้อ ๓๔ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำประกาศเชิญชวนเพื่อคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น ประกาศเชิญชวนอย่างน้อยให้แสดงรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) รายละเอียดเฉพาะของที่ต้องการซื้อหรืองานที่ต้องการจ้าง (๒) ประสบการณ์และผลงานของผู้เสนอที่มีลักษณะและประเภทเดียวกัน (๓) สมรรถภาพในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ เครื่องมือ และโรงงาน (๔) ฐานะการเงิน (๕) หลักเกณฑ์ทั่วไปในการพิจารณาคัดเลือก (๖) สถานที่ในการขอรับหรือขอซื้อเอกสารคุณสมบัติเบื้องต้น ในประกาศครั้งแรก ให้กำหนดสถานที่ วัน เวลารับข้อเสนอ ปิดการรับข้อเสนอและเปิดซองข้อเสนอพร้อมทั้งประกาศโฆษณาและแจ้งลักษณะโดยย่อของพัสดุที่ต้องการซื้อหรืองานที่ต้องการจ้างและกำหนดเวลาให้พอเพียงเพื่อเปิดโอกาสให้แก่ผู้ที่สนใจ จัดเตรียมข้อเสนอ ทั้งนี้ จะต้องกระทำก่อนวันรับซองข้อเสนอไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน โดยประกาศทางวิทยุกระจายเสียง และลงประกาศในหนังสือพิมพ์ หากเห็นสมควรจะส่งประกาศเชิญชวนไปยังผู้มีอาชีพหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรงหรือโฆษณาด้วยวิธีอื่นก็ได้ สำหรับการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการประกาศราคานานาชาติให้ประกาศโฆษณาก่อนวันรับซองข้อเสนอไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน และดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของแหล่งเงินกู้หรือเงินช่วยเหลืออีกด้วย ข้อ ๓๖ ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ประกอบด้วยประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๔ คน โดยให้แต่งตั้งจากข้าราชการระดับ ๕ หรือเทียบเท่าขึ้นไป และจะต้องมีผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย ๑ คน คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นมีหน้าที่พิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาที่ผู้ว่าการกำหนด ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้ว่าการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อพิจารณาประกาศรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการซื้อหรือจ้างต่อไป ข้อ ๓๗ ให้ กกท. พิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการซื้อหรือการจ้างและตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นที่ได้ประกาศไปแล้วอย่างน้อยทุกรอบ ๓ ปี โดยปกติให้กระทำภายในเดือนแรกของปีงบประมาณ และเมื่อได้ทบทวนแล้ว ให้ กกท. แจ้งการทบทวนพร้อมทั้งส่งหลักเกณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ให้คณะกรรมการ กกท. ทราบโดยเร็ว แต่ต้องไม่นานเกินกว่า ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ดังกล่าว ในกรณีที่ กกท. มีการขึ้นบัญชีผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นสำหรับการซื้อหรือการจ้างไว้เป็นการประจำ ให้ กกท. เปิดโอกาสให้ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นที่ได้ขึ้นบัญชีไว้แล้วและประสงค์ที่จะขอเลื่อนชั้น หรือให้บุคคลที่ประสงค์จะเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกเพื่อขึ้นบัญชีเป็นผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น มีสิทธิยื่นคำขอเลื่อนชั้นหรือคำขอเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกให้ตลอดเวลา โดยให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๓๕ และข้อ ๓๖ และโดยปกติจะต้อพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ครบถ้วนแล้ว ถ้าไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จะต้องชี้แจงเหตุผลและระยะเวลาที่ต้องใช้ตามความจำเป็นให้ผู้ยื่นคำขอทราบด้วย ในระหว่างการยื่นคำขอและตรวจพิจารณาคำขอ ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นที่ยื่นคำขอเลื่อนชั้นหรือผู้ที่ยื่นคำขอเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกเพื่อขึ้นบัญชีเป็นผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นจะใช้สิทธิจากการที่ตนได้ยื่นคำขอเลื่อนชั้นหรือคำขอเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกดังกล่าวในการซื้อหรือการจ้างที่มีขึ้นก่อนหรือในระหว่างที่ตนยื่นคำขอเลื่อนชั้นหรือคำขอเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกนั้นไม่ได้ ในกรณีที่ กกท. เห็นสมควรยกเลิกบัญชีรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการซื้อหรือการจ้างเพื่อดำเนินการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นตามหลักเกณฑ์ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ตามวรรคหนึ่ง ให้ กกท. แจ้งให้ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นที่อยู่ในบัญชีรายชื่อทราบหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๒๐ วัน ข้อ ๓๘ ในการซื้อหรือการจ้างแต่ละครั้ง ให้ กกท. พิจารณาถึงความสามารถในการรับงานของผู้ขายหรือผู้รับจ้างประกอบการพิจารณาคัดเลือกของ กกท. ด้วย ในกรณีที่ กกท. มีการขึ้นบัญชีผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นสำหรับการซื้อหรือการจ้างไว้แล้ว ให้ กกท. แจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างที่อยู่ในบัญชีผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นดังกล่าวแสดงหลักฐานถึงขีดความสามารถและความพร้อมที่ตนมีอยู่ในวันเสนอราคาตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดทั้งในด้านบุคลากร เครื่องมือ โรงงาน และฐานะทางการเงินของตนต่อ กกท. กรรมการ ข้อ ๓๙ ในการดำเนินการซื้อหรือจ้างแต่ละครั้ง ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้พร้อมกับกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี คือ (๑) คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา (๒) คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา (๓) คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา (๔) คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ (๕) คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ (๖) คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (๗) คณะกรรมการตรวจการจ้าง ให้คณะกรรมการแต่ละคณะรายงานผลการพิจารณาต่อผู้ว่าการภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้ามีเหตุผลที่ทำให้การรายงานล่าช้า ให้เสนอผู้ว่าการพิจารณาขยายเวลาให้ตามความจำเป็น ข้อ ๔๐ คณะกรรมการตามข้อ ๓๙ แต่ละคณะให้ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน โดยปกติให้แต่งตั้งจากพนักงานตั้งแต่ระดับ ๓ หรือเทียบเท่าขึ้นไปในกรณีจำเป็น เพื่อประโยชน์ของ กกท. จะแต่งตั้งบุคคลที่มิใช่พนักงานร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้ ถ้าประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งพนักงานที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นทำหน้าที่ประธานกรรมการแทน ในกรณีเมื่อกำหนดเวลาการเปิดซองสอบราคาหรือรับซองประกวดราคาแล้ว ประธานกรรมการยังไม่มาปฏิบัติหน้าที่ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานกรรมการในเวลานั้น โดยให้คณะกรรมการดังกล่าวที่ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะข้อ ๔๘ (๑) หรือ ข้อ ๕๕ แล้วแต่กรณี แล้วรายงานประธานกรรมการซึ่งผู้ว่าการแต่งตั้งเพื่อดำเนินการต่อไป ในการซื้อหรือจ้างครั้งเดียวกัน ห้ามแต่งตั้งผู้ที่เป็นกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาเป็นกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาหรือแต่งตั้งผู้ที่เป็นกรรมการเปิดซองสอบราคาหรือกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ คณะกรรมการทุกคณะเว้นแต่คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาควรแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุหรืองานจ้างนั้น ๆ เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย สำหรับการซื้อหรือจ้างในวงเงินไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท จะแต่งตั้งพนักงานหรือลูกจ้างประจำคนหนึ่งซึ่งมิใช่ผู้จัดซื้อหรือจัดจ้างเป็นผู้ตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างนั้น โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้างก็ได้ ข้อ ๔๑ การแต่งตั้งคณะกรรมการตามข้อ ๓๙ สำหรับสำนักงานสาขา ถ้ามีพนักงานในสำนักงานนั้นไม่พอที่จะปฏิบัติตามความในข้อ ๔๐ หรือข้อ ๔๒ ได้ จะแต่งตั้งพนักงานคนหนึ่ง หรือลูกจ้างของสำนักงานนั้น หรือบุคคลอื่นร่วมเป็นกรรมการคณะหนึ่งคณะใดหรือทุกคณะก็ได้ ข้อ ๔๒ ในการประชุมปรึกษาของคณะกรรมการแต่ละคณะ ต้องมีกรรมการมาพร้อมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด โดยให้ประธานกรรมการและกรรมการแต่ละคนมีเสียงหนึ่งในการลงมติ มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงเป็นเสียงชี้ขาด เว้นแต่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุและคณะกรรมการตรวจการจ้างให้ถือมติเอกฉันท์ กรรมการของคณะใด ไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการให้ทำบันทึกความเห็นแย้งไว้ด้วย ข้อ ๔๓ ในการจ้างก่อสร้างแต่ละครั้ง ให้แต่งตั้งผู้ควบคุมงานที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านช่างตามลักษณะของงานก่อสร้างจากพนักงานหรือลูกจ้างประจำในสังกัด หรือข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัดอื่นตามที่ได้รับความยินยอมจากหัวหน้าส่วนราชการของผู้นั้นแล้ว ในกรณีที่ลักษณะของงานก่อสร้างมีความจำเป็นต้องใช้ความรู้ ความชำนาญหลายด้าน จะแต่งตั้งผู้ควบคุมงานเฉพาะด้านหรือเป็นกลุ่มบุคคลก็ได้ ผู้ควบคุมงานควรมีคุณวุฒิตามที่ผู้ออกแบบเสนอแนะ และโดยปกติจะต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในกรณีจำเป็นจะต้องจ้างที่ปรึกษาเป็นผู้ควบคุมงานแทนพนักงานหรือลูกจ้างประจำตามวรรคหนึ่งให้ถือปฏิบัติตามหมวด ๒ ส่วนที่ ๓ หรือส่วนที่ ๔ แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๔ ในการซื้อหรือจ้างทำพัสดุที่มีเทคนิคพิเศษ และจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาเป็นการเฉพาะ ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ว่าการที่จะขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อว่าจ้างที่ปรึกษา มาให้ความเห็นชอบประกอบการพิจารณาในการจัดซื้อหรือจัดจ้างในขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใดได้ตามความจำเป็น โดยให้ดำเนินการจ้างโดยถือปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ในส่วนที่ ๓ วิธีตกลงราคา ข้อ ๔๕ การซื้อหรือจ้างโดยวิธีตกลงราคา ให้เจ้าหน้าที่พัสดุติดต่อตกลงราคากับผู้ขายหรือผู้รับจ้างโดยตรง แล้วจัดซื้อหรือจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าการตามข้อ ๓๓ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคาในกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่เกิดขึ้น โดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อนและไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทันให้เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการนั้นดำเนินการไปก่อน แล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อผู้ว่าและเมื่อผู้ว่าการให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานตรวจรับโดยอนุโลม วิธีสอบราคา ข้อ ๔๖ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำเอกสารสอบราคา โดยอย่างน้อยให้แสดงรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) คุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่ต้องการซื้อและจำนวนที่ต้องการ หรือแบบรูปรายการละเอียดและปริมาณงานที่ต้องการจ้าง ในกรณีที่จำเป็นต้องดูสถานที่ หรือชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมประกอบตามวรรคหนึ่งให้กำหนด สถานที่ วัน เวลาที่นัดหมายไว้ด้วย (๒) คุณสมบัติของผู้เข้าเสนอราคาซึ่งจะต้องมีอาชีพขายหรือรับจ้างตาม (๑) โดยให้ผู้เสนอราคาแสดงหลักฐานดังกล่าวด้วย (๓) ในกรณีจำเป็นให้ระบุผู้เข้าเสนอราคาส่งตัวอย่าง แคตตาล็อก หรือแบบรูปและรายละเอียดไปพร้อมกับใบเสนอราคา (๔) ถ้าจำเป็นต้องมีการตรวจทดลอง ให้กำหนดจำนวนตัวอย่างให้พอแก่การตรวจทดลองและเหลือไว้สำหรับการทำสัญญาด้วย ทั้งนี้ ให้มีข้อกำหนดไว้ด้วยว่า กกท. ไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทดสอบตัวอย่างนี้ (๕) สถานที่ติดต่อเกี่ยวกับแบบรูปรายการละเอียด ในกรณีที่มีการขายให้ระบุราคาขายไว้ด้วย (๖) ข้อกำหนดให้ผู้เข้าเสนอราคาเสนอราคารวมทั้งสิ้นและราคาต่อหน่วยหรือต่อรายการ (ถ้าทำได้) พร้อมทั้งระบุหลักเกณฑ์โดยชัดเจนว่าจะพิจารณาราคารวมหรือราคาต่อหน่วยหรือต่อรายการ ในกรณีที่ไม่ได้กำหนดไว้ในเอกสารสอบราคาให้พิจารณาราคารวม (๗) แบบใบเสนอราคา โดยกำหนดไว้ด้วยว่าในการเสนอราคาให้ลงราคารวมทั้งสิ้นเป็นตัวเลข มีตัวหนังสือกำกับ ถ้าตัวเลขและตัวหนังสือไม่ตรงกันให้ถือตัวหนังสือเป็นสำคัญ ในการสอบราคาจ้างก่อสร้าง ให้กำหนดแบบบัญชีรายการก่อสร้างตามความเหมาะสมของลักษณะและประเภทของงาน เพื่อให้ผู้เข้าเสนอราคากรอกปริมาณวัสดุและราคาด้วย (๘) กำหนดระยะเวลายืนราคาเท่าที่จำเป็นต่อ กกท. และมีเงื่อนไขด้วยว่าซองเสนอราคาที่ยื่นต่อ กกท. และลงทะเบียนรับซองแล้วจะถอนคืนมิได้ (๙) กำหนดสถานที่ส่งมอบพัสดุ และวันส่งมอบโดยประมาณ (สำหรับการซื้อ) หรือกำหนดวันที่จะเริ่มทำงานและวันแล้วเสร็จโดยประมาณ (สำหรับการจ้าง) (๑๐) กำหนดสถานที่ วัน เวลา เปิดซองสอบราคา (๑๑) ข้อกำหนดให้ผู้เสนอราคาผนึกซองราคาให้เรียบร้อย จ่าหน้าถึงประธานกรรมการเปิดซองสอบราคาการซื้อการจ้างครั้งนั้น พร้อมจัดทำบัญชีรายการเอกสารเสนอไปพร้อมกับซองราคาด้วย (๑๒) กำหนดเงื่อนไขในการสงวนสิทธิ์ที่จะถือว่าผู้ที่ไม่ไปทำสัญญาหรือข้อตกลงกับ กกท. เป็นผู้ทิ้งงาน (๑๓) ข้อกำหนดว่าผู้เข้าเสนอราคา ที่ได้รับการคัดเลือกให้ไปทำสัญญาจะต้องวางหลักประกันสัญญาตามชนิดและอัตราในข้อ ๑๔๖ และข้อ ๑๔๗ (๑๔) ร่างสัญญา รวมทั้งการแบ่งงวดงาน การจ่ายเงิน เงื่อนไขการจ่ายเงินล่วงหน้า (ถ้ามี) และอัตราค่าปรับ (๑๕) ขอสงวนสิทธิ์ว่า กกท. จะไม่พิจารณาผู้เสนอราคาที่เป็นผู้ทิ้งงานของทางราชการ และ กกท. ทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ที่จะงดซื้อหรือจ้าง หรือเลือกซื้อหรือจ้างโดยไม่จำต้องซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคาต่ำสุดเสมอไป รวมทั้งจะพิจารณายกเลิกการสอบราคา และลงโทษผู้เสนอราคาเสมือนเป็นผู้ทิ้งงาน หากมีเหตุที่เชื่อได้ว่าการเสนอราคากระทำไปโดยไม่สุจริตหรือมีการสมยอมกันในการเสนอราคา ข้อ ๔๗ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ก่อนวันเปิดซองสอบราคาไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน สำหรับการสอบราคาในประเทศ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุส่งประกาศเผยแพร่การสอบราคาและเอกสารสอบราคาไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรงหรือโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ กับให้ปิดประกาศเผยแพร่การสอบราคาไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการ กกท. (๒) ในการยื่นซองสอบราคา ผู้เสนอราคาจะต้องผนึกซองจ่าหน้าถึงประธานคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาการซื้อหรือการจ้างครั้งนั้นและส่งถึง กกท. ผู้ดำเนินการสอบราคาก่อนวันเปิดซองสอบราคา โดยยื่นตรงต่อ กกท. (๓) ให้เจ้าหน้าที่ลงรับโดยไม่เปิดซองพร้อมระบุวันและเวลาที่รับซอง พร้อมออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นซองเมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองสอบราคาแล้ว ห้ามรับซองสอบราคาหรือเอกสารหลักฐานต่าง ๆ เว้นแต่ใบรับรองระบบคุณภาพ ใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือการขอจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมให้ถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ และให้ส่งมอบซองให้แก่หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุทันที (๔) ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเก็บรักษาซองเสนอราคาทุกราย โดยไม่เปิดซองและเมื่อพ้นกำหนดเวลาเปิดซองสอบราคาแล้ว ให้ส่งมอบซองเสนอราคา พร้อมทั้งรายงานผลการรับซองต่อคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาเพื่อดำเนินการต่อไป ข้อ ๔๘ คณะกรรมการเปิดซองสอบราคามีหน้าที่ดังนี้ (๑) เปิดซองใบเสนอราคา และอ่านแจ้งราคาพร้อมบัญชีรายการเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของผู้เสนอราคาทุกราย โดยเปิดเผย ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด และตรวจสอบรายการเอกสารตามบัญชีของผู้เสนอราคาทุกราย แล้วให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคาและเอกสารประกอบใบเสนอราคาทุกแผ่น (๒) ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา แคตตาล็อก หรือแบบรูปและรายการละเอียดแล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขในเอกสารสอบราคา (๓) พิจารณาคัดเลือกพัสดุหรืองานจ้างของผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตาม (๒) ที่มีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อ กกท. และเสนอให้ซื้อหรือจ้างจากรายที่คัดเลือกไว้แล้วซึ่งเสนอราคาต่ำสุด ในกรณีที่ผู้เสนอราคาต่ำสุดดังกล่าว ไม่ยอมเข้าทำสัญญาหรือข้อตกลงกับ กกท. ในเวลาที่กำหนดตามเอกสารสอบราคา ให้คณะกรรมการพิจารณาจากผู้เสนอราคาต่ำรายถัดไปตามลำดับ ถ้ามีผู้เสนอราคาเท่ากันหลายราย ให้เรียกผู้เสนอราคาดังกล่าว มาขอให้เสนอราคาใหม่พร้อมกันด้วยวิธียื่นซองเสนอราคา ถ้าปรากฏว่าราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ให้คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาดำเนินการตามข้อ ๔๙ (๔) ในกรณีที่มีผู้เสนอราคาถูกต้องตามรายละเอียด และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารสอบราคาเพียงรายเดียว ให้คณะกรรมการดำเนินการตาม (๓) โดยอนุโลม (๕) ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้ว่าการ เพื่อสั่งการโดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ข้อ ๔๙ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคาที่ปรากฏว่าราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างยังสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างตามข้อ ๓๐ (๔) หรือข้อ ๓๑ (๕) แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการดำเนินการตามลำดับดังนี้ (๑) เรียกผู้เสนอราคารายนั้นมาต่อรองราคาให้ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ หากผู้เสนอราคารายนั้นยอมลดราคาแล้ว ราคาที่เสนอใหม่ไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างหรือสูงกว่า แต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง หรือต่อรองราคาแล้ว ไม่ยอมลดราคาลงอีก แต่ส่วนที่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างนั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสมก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๒) ถ้าดำเนินการตาม (๑) แล้วไม่ได้ผล ให้เรียกผู้เสนอราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างทุกรายมาต่อรองราคาใหม่พร้อมกัน ด้วยวิธียื่นซองเสนอราคาภายในกำหนดระยะเวลาอันสมควร หากรายใดไม่มายื่นซอง ให้ถือว่ารายนั้นยืนราคาตามที่เสนอไว้เดิม หากผู้เสนอราคาต่ำสุดในการต่อรองราคาครั้งนี้เสนอราคาไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง หรือสูงกว่า แต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสม ก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๓) ถ้าดำเนินการตาม (๒) แล้วไม่ได้ผล ให้เสนอความเห็นต่อผู้ว่าการฯ เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจว่าจะสมควรลดรายการ ลดจำนวน หรือลดเนื้องานหรือขอเงินเพิ่มเติมหรือยกเลิกการสอบราคาเพื่อดำเนินการสอบราคาใหม่ วิธีการประกวดราคา ข้อ ๕๐ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำเอกสารประกวดราคาตามตัวอย่างของ กวพ. หรือตามแบบที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว การเผยแพร่เอกสารประกวดราคาให้จัดทำเป็นประกาศ และมีสาระสำคัญดังนี้ (๑) รายการพัสดุที่ต้องการซื้อ หรืองานที่ต้องการจ้าง (๒) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าประกวดราคา (๓) กำหนดวัน เวลา รับซอง ปิดการรับซอง และเปิดซองประกวดราคา (๔) สถานที่และระยะเวลาในการขอรับหรือขอซื้อเอกสารการประกวดราคาและราคาของเอกสาร (๕) แหล่งเงินกู้และประเทศผู้มีสิทธิเข้าประกวดราคา ในกรณีประกวดราคานานาชาติ ข้อ ๕๑ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคา ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลและจัดทำหลักฐานการเผยแพร่และการปิดประกาศประกวดราคาภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการดังนี้ (๑) ปิดประกาศประกวดราคาโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของ กกท. นั้น ทั้งนี้ การปิดหรือปลดประกาศจะต้องเสนอผู้ว่าการทราบ (๒) ส่งไปประกาศทางวิทยุกระจายเสียง และ/หรือประกาศในหนังสือพิมพ์ (๓) ส่งให้กรมประชาสัมพันธ์ และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยเพื่อเผยแพร่ (๔) ส่งไปเผยแพร่ที่ศูนย์รวมข่าวประกวดราคาของทางราชการ โดยให้ส่งเอกสารประกวดราคาไปพร้อมกันด้วย (๕) ส่งให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน โดยให้ส่งเอกสารประกวดราคาไปพร้อมกันด้วย นอกจากการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากเห็นสมควร จะส่งประกาศไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรง หรือจะโฆษณาโดยวิธีอื่นอีกด้วยก็ได้ การส่งประกวดราคาตามวรรคหนึ่ง หากจัดส่งทางไปรษณีย์ ให้จัดส่งโดยใช้บริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) เว้นแต่ท้องที่ใดไม่มีบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) จึงให้จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ให้กระทำก่อนการให้หรือการขายเอกสารประกวดราคาไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ สำหรับการซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคานานาชาติ ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของแหล่งเงินกู้หรือแหล่งให้เงินช่วยเหลือ ข้อ ๕๒ การให้หรือการขายเอกสารประกวดราคา รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะหรือรายละเอียด ให้กระทำ ณ สถานที่ที่สามารถติดต่อได้โดยสะดวกและไม่เป็นเขตหวงห้าม และจะต้องจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาไว้ให้มากพอสำหรับความต้องการของผู้มาขอรับหรือขอซื้อที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นรายละ ๑ ชุด โดยไม่มีเงื่อนไขอื่นใดในการให้หรือการขาย การให้หรือการขายเอกสารประกวดราคา ต้องกระทำไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ และจะต้องมีช่วงเวลาสำหรับการคำนวณราคาของผู้ประสงค์จะเข้าเสนอราคาหลังปิดการให้หรือการขายเอกสารประกวดราคาจนถึงก่อนวันรับซองประกวดราคาไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ โดยคำนึงถึงขนาด ปริมาณ และลักษณะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง ในกรณีที่มีการขาย ให้กำหนดราคาพอสมควรกับค่าใช้จ่ายที่ กกท. ต้องเสียไปในการจัดทำเอกสารประกวดราคานั้น ถ้ามีการยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้นและมีการประกวดราคาใหม่ ให้ผู้รับหรือซื้อเอกสารประกวดราคาในการประกวดราคาครั้งก่อน มีสิทธิใช้เอกสารประกวดราคานั้นหรือได้รับเอกสารประกวดราคาใหม่ โดยไม่ต้องเสียค่าซื้อเอกสารประกวดราคาอีก ข้อ ๕๓ ในกรณีที่การซื้อหรือการจ้างใดมีรายละเอียดที่มีการซับซ้อน หรือมีความจำเป็น โดยสภาพของการซื้อหรือการจ้างที่จะต้องมีการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ให้ส่วนราชการกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ในประกาศประกวดราคา ก่อนวันปิดการรับซองประกวดราคา หากเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมหรือการชี้สถานที่อันเป็นการแก้ไขคุณลักษณะเฉพาะที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งมิได้กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคาตั้งแต่ต้น ให้จัดทำเป็นเอกสารประกวดราคาเพิ่มเติมและให้ระบุ วัน เวลา และสถานที่ในการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ไว้ด้วย และให้ดำเนินการตาม ข้อ ๕๑ วรรคหนึ่ง โดยอนุโลม รวมทั้งให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ที่ได้รับหรือได้ซื้อเอกสารประกวดราคาไปแล้วทุกรายทราบโดยมิชักช้า การชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดทำบันทึกการชี้แจงรายละเอียด หรือการชี้สถานที่ เป็นลายลักษณ์อักษรไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง ถ้ามีการดำเนินการตามวรรคสอง ให้พิจารณาเลื่อนวัน เวลา รับซอง การปิด การรับซอง และการเปิดซองประกวดราคาตามความจำเป็นแก่กรณีด้วย ข้อ ๕๔ นอกจากกรณีที่กำหนดไว้ตามข้อ ๕๓ เมื่อกำหนดวันรับซองประกวดราคา ห้ามิให้ร่นหรือเลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลารับซอง และเปิดซองประกวดราคา การรับซองทางไปรษณีย์จะกระทำมิได้ ข้อ ๕๕ คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคามีหน้าที่ดังนี้ (๑) รับซองประกวดราคา ลงทะเบียนรับซองไว้เป็นหลักฐานลงชื่อกำกับซองกับบันทึกไว้ที่หน้าซองว่าเป็นของผู้ใด (๒) ตรวจสอบหลักประกันซองร่วมกับเจ้าหน้าที่การเงิน และให้เจ้าหน้าที่การเงินออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นซองไว้เป็นหลักฐาน หากไม่ถูกต้องให้หมายเหตุในใบรับและบันทึกในรายงานด้วย กรณีหลักประกันซองเป็นหนังสือค้ำประกัน ให้ส่งสำเนาหนังสือค้ำประกันให้ธนาคารหรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยผู้ออกหนังสือค้ำประกันทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับด้วย (๓) รับเอกสารหลักฐานต่างๆ ตามบัญชีรายการเอกสารของผู้เสนอราคาพร้อมทั้งพัสดุตัวอย่างแคตตาล็อก หรือแบบรูปและรายการละเอียด (ถ้ามี) หากไม่ถูกต้องให้บันทึกในรายงานไว้ด้วย (๔) เมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองแล้ว ห้ามรับซองประกวดราคา หรือเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาอีก เว้นแต่กรณีใบรับรองระบบคุณภาพ ใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือการขอจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ (๕) เปิดซองใบเสนอราคา และอ่านแจ้งราคาพร้อมบัญชีรายการเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของผู้เสนอราคาทุกราย โดยเปิดเผยตามเวลา และสถานที่ที่กำหนดและให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคาและเอกสารประกอบใบเสนอราคาทุกแผ่น ในกรณีที่มีการยื่นซองข้อเสนอทางเทคนิคและข้อเสนออื่นๆ แยกจากซองข้อเสนอด้านราคาซึ่งต้องพิจารณาทางเทคนิคและอื่น ๆ ก่อน ตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ตามข้อ ๖๐ และข้อ ๖๒ คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาไม่ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง โดยให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาที่จะต้องดำเนินการต่อไป (๖) ส่งมอบใบเสนอราคาทั้งหมด และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พร้อมด้วยบันทึกรายงานการดำเนินการต่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาทันทีในวันเดียวกัน ข้อ ๕๖ คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา มีหน้าที่ดังนี้ (๑) ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา เอกสารหลักฐานต่าง ๆ พัสดุตัวอย่าง แคตตาล็อก หรือแบบรูปและรายการละเอียดแล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคา ในกรณีที่ผู้เสนอราคารายใดเสนอรายละเอียดแตกต่างไปจากเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ และความแตกต่างนั้น ไม่มีผลทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบต่อผู้เสนอราคาสรายอื่นหรือเป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ให้พิจารณาผ่อนปรนให้ผู้เข้าประกวดราคา โดยไม่คัดผู้เข้าประกวดราคารายนั้นออก ในการพิจารณา คณะกรรมการอาจสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้เสนอราคารายใดก็ได้ แต่จะให้ผู้เสนอราคารายใดเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญที่เสนอไว้แล้วมิได้ (๒) พิจารณาคัดเลือกสิ่งของ หรืองานจ้าง หรือคุณสมบัติของผู้เสนอราคาที่ตรวจสอบแล้วตาม (๑) ซึ่งมีคุณภาพและคุณสมบัติและประโยชน์ต่อ กกท. แล้วเสนอให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายที่คัดเลือกไว้แล้วซึ่งเสนอราคาต่ำสุด ในกรณีที่ผู้เสนอราคาต่ำสุดดังกล่าว ไม่ยอมเข้าทำสัญญาหรือข้อตกลงกับ กกท. ในเวลาที่กำหนดตามเอกสารประกวดราคาให้คณะกรรมการพิจารณาจากผู้เสนอราคาต่ำรายถัดไปตามลำดับ ถ้ามีผู้เสนอราคาเท่ากันหลายรายให้เรียกผู้เสนอราคาดังกล่าวมาขอให้เสนอราคาใหม่พร้อมกันด้วยวิธียื่นซองเสนอราคา ถ้าปรากฏว่าราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาดำเนินการตามข้อ ๔๙ โดยอนุโลม (๓) ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณา และความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้ว่าการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ข้อ ๕๗ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ได้พิจารณาตามข้อ ๕๖ (๑) แล้วปรากฏว่ามีผู้เสนอราคารายเดียวหรือมีผู้เสนอราคาหลายรายแต่ถูกต้องตรงตามรายการละเอียดและเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาเพียงรายเดียว โดยปกติให้เสนอผู้ว่าการยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น แต่ถ้าคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเห็นว่ามีเหตุผล สมควรที่จะดำเนินการต่อไปโดยไม่ต้องยกเลิกการประกวดราคาก็ให้ดำเนินการตามข้อ ๕๖ (๒) โดยอนุโลม ข้อ ๕๘ ในกรณีไม่มีผู้เสนอราคา หรือมีแต่ไม่ถูกต้องตามรายการละเอียดและเงื่อนไขที่กำหนดให้เสนอผู้ว่าการยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น เพื่อดำเนินการประกวดราคาใหม่ หากผู้ว่าการเห็นว่าการประกวดราคาใหม่จะไม่มีผลดี จะสั่งให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษ ตามข้อ ๒๖ (๗) หรือข้อ ๒๗ (๕) แล้วแต่กรณี ก็ได้ ข้อ ๕๙ หลังจากการประกวดราคาแล้วแต่ยังไม่ได้ทำสัญญาหรือตกลงซื้อหรือจ้างกับผู้เสนอราคารายใดถ้ามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของ กกท. เป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในรายการละเอียดหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคา ซึ่งทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้เข้าเสนอราคาด้วยกัน ให้ผู้ว่าการพิจารณายกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น ข้อ ๖๐ การซื้อหรือการจ้างที่มีลักษณะจำเป็นจะต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีของพัสดุและหรือข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าเสนอราคา ซึ่งอาจจะมีข้อเสนอที่ไม่อยู่ในฐานเดียวกันเป็นเหตุให้มีปัญหาในการพิจารณาตัดสิน และเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องให้มีการปรับปรุงข้อเสนอให้ครบถ้วนและเป็นไปตามความต้องการก่อนพิจารณาด้านราคา หรือการซื้อหรือการจ้างแบบเหมารวม (Lump Sum Turnkey) ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดำเนินการได้ ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับการประกวดราคาทั่วไป เว้นแต่การกำหนดให้ผู้เข้าเสนอราคายื่นซองประกวดราคาโดยแยกเป็น (๑) ซองข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนออื่น ๆ (๒) ซองข้อเสนอด้านราคา (๓) ซองข้อเสนอทางการเงินตามข้อ ๖๒ (ถ้ามี) ทั้งนี้ ให้กำหนดวิธีการ ขั้นตอน และหลักเกณฑ์การพิจารณาไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคาด้วย ข้อ ๖๑ เพื่อให้เป็นไปตามข้อ ๖๐ ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ทำหน้าที่เปิดซองข้อเสนอด้านเทคนิคของผู้เสนอราคาแทนคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาตามข้อ ๕๕ (๕) และพิจารณาผลการประกวดราคาตามข้อ ๖๐ โดยถือปฏิบัติตามข้อ ๕๖ ในส่วนที่ไม่ขัดกับการดำเนินการต่อไปนี้ (๑) พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนออื่นของผู้เข้าเสนอราคาทุกรายและคัดเลือกเฉพาะรายที่เสนอได้ตรงหรือใกล้เคียงตามมาตรฐานความต้องการของ กกท. มากที่สุด ในกรณีจำเป็น จะเรียกผู้เสนอราคามาชี้แจงในรายละเอียดข้อเสนอเป็นการเพิ่มเติมข้อหนึ่งข้อใดก็ได้ (๒) เปิดซองราคาเฉพาะรายที่ได้ผ่านการพิจารณาคัดเลือกตาม (๑) แล้ว สำหรับรายที่ไม่ผ่านการพิจารณา ให้ส่งคืนซองข้อเสนอด้านราคา และซองข้อเสนอทางการเงิน (ถ้ามี) โดยไม่เปิดซอง ในการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค และข้อเสนอทางการเงินในกรณีนี้ให้ กกท. แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือการจ้างอย่างน้อยด้านละ ๑ คน เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาตามวรรคหนึ่งด้วย ข้อ ๖๒ การซื้อหรือการจ้างที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าเสนอราคายื่นข้อเสนอทางการเงินมาด้วยให้กำหนดให้ผู้เสนอราคายื่นซองข้อเสนอทางการเงินแยกมาต่างหากและให้เปิดซองข้อเสนอทางการเงินพร้อมกับเปิดซองราคาตามข้อ ๖๑ (๒) เพื่อทำการประเมินเปรียบเทียบต่อไป ทั้งนี้ ให้กำหนดวิธีการ ขั้นตอน และหลักเกณฑ์การพิจารณาไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารการประกวดราคาด้วย วิธีพิเศษ ข้อ ๖๓ การซื้อโดยวิธีพิเศษ ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษขึ้นเพื่อดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีเป็นพัสดุจะขายทอดตลาด ให้ดำเนินการซื้อโดยวิธีเจรจาตกลงราคา (๒) ในกรณีเป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจะเสียหายแก่ กกท. ให้เชิญผู้มีอาชีพขายพัสดุนั้น โดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องตลาด หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ (๓) ในกรณีที่เป็นพัสดุที่ได้ซื้อไว้แล้ว แต่มีความจำเป็นต้องใช้เพิ่มในสถานการณ์ที่จำเป็นหรือเร่งด่วนหรือเพื่อประโยชน์ของ กกท. ให้เจรจากับผู้ขายรายเดิมตามสัญญาหรือข้อตกลง ซึ่งยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาการส่งมอบ เพื่อขอให้มีการขายพัสดุตามรายละเอียดและราคาที่ต่ำกว่า หรือราคาเดิม ภายใต้เงื่อนไขที่ดีกว่าหรือเงื่อนไขเดิมโดยคำนึงถึงราคาต่อหน่วยตามสัญญาเดิม (ถ้ามี) เพื่อให้บังเกิดผลประโยชน์สูงสุดที่ กกท. จะได้รับ (๔) ในกรณีเป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ ให้เสนอผู้ว่าการเพื่อติดต่อสั่งซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ หรือสืบราคาจากต่างประเทศ โดยขอความร่วมมือให้สถานเอกอัครราชทูตหรือส่วนราชการในต่างประเทศช่วยสืบราคา คุณภาพ ตลอดจนรายละเอียด ส่วนการซื้อโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศให้ติดต่อกับสำนักงานขององค์การระหว่างประเทศที่อยู่ในประเทศโดยตรง เว้นแต่กรณีที่ไม่มีสำนักงานในประเทศให้ติดต่อกับสำนักงานในต่างประเทศได้ (๕) ในกรณีเป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งานหรือมีข้อจำกัดทางเทคนิคที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ ให้เชิญผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายพัสดุนั้นโดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องตลาด หรือราคาที่เสนอคณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ (๖) ในกรณีพัสดุที่เป็นที่ดินและสิ่งก่อสร้างซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่งให้เชิญเจ้าของที่ดินโดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องตลาดหรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ สำหรับการจัดซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างในต่างประเทศในกรณีจำเป็นจะติดต่อกับนายหน้าหรือดำเนินการในทำนองเดียวกันตามกฎหมายหรือประเพณีนิยมท้องถิ่นแทนเจ้าของที่ดินก็ได้ (๗) ในกรณีเป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี ให้สืบราคาจากผู้มีอาชีพขายพัสดุนั้นโดยตรง และผู้เสนอราคาในการสอบราคาหรือประกวดราคาซึ่งถูกยกเลิกไป (ถ้ามี) หากเห็นว่าผู้เสนอราคารายที่เห็นสมควรซื้อเสนอราคาสูงกว่าราคาในท้องตลาดหรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ (๘) ในกรณีพัสดุเป็นอุปกรณ์กีฬา ซึ่งหากซื้อจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวหรือผู้แทนจำหน่ายรายที่ผู้ผลิตจากต่างประเทศตกลงขายพัสดุรายนั้นให้ในราคาพิเศษ โดย กกท. สามารถซื้อได้ราคาต่ำกว่าราคาขายปลีกไม่น้อยกว่า ๔๐% ให้เชิญผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรงมาเสนอราคา ทั้งนี้ จะเชิญมากกว่าหนึ่งรายเพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบราคาอีกก็ได้ ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้ว่าการเพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ข้อ ๖๔ การจ้างโดยวิธีพิเศษ ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษขึ้นเพื่อดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) การจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๗ (๑) (๒) และ (๓) ให้เชิญผู้มีอาชีพรับจ้างทำงานนั้นโดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องถิ่นหรือราคาที่ประมาณได้ หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ (๒) การจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๗ (๔) ให้เจรจากับผู้รับจ้างรายเดิมตามสัญญาหรือข้อตกลงซึ่งยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาการส่งมอบ เพื่อขอให้มีการจ้างตามรายละเอียดและราคาที่ต่ำกว่าหรือราคาเดิม โดยคำนึงถึงราคาต่อหน่วยตามสัญญาเดิม (ถ้ามี) เพื่อให้บังเกิดผลประโยชน์สูงสุดที่ กกท. จะได้รับ (๓) การจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๗ (๕) กรณีเป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี ให้สืบราคาจากผู้มีอาชีพรับจ้างทำงานโดยตรงและผู้เสนอราคาในการสอบราคาหรือประกวดราคา ซึ่งถูกยกเลิกไป (ถ้ามี) หากเห็นว่าผู้เสนอราคารายที่เห็นสมควรจ้างเสนอราคาสูงกว่าราคาในท้องถิ่นหรือราคาที่ประมาณได้หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาเท่าที่จะทำได้ ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้ว่าการเพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ วิธีกรณีพิเศษ ข้อ ๖๕ การดำเนินการซื้อหรือการจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ ให้ผู้ว่าการสั่งซื้อหรือสั่งจ้างจากผู้ขายหรือผู้รับจ้างตามข้อ ๒๙ ได้โดยตรงเว้นแต่การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุจัดซื้อหรือจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าการตามข้อ ๓๓ การจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ ข้อ ๖๖ การซื้อยาของ กกท. ให้จัดซื้อตามชื่อสามัญ (GENERIC NAME) ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ตามที่คณะกรรมการแห่งชาติด้านยากำหนด โดยให้ใช้เงินงบประมาณจัดซื้อยาดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ข้อ ๖๗ การซื้อยา และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา เช่น ผ้าก๊อส สำลี หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา เฝือก วัสดุทันตกรรม ฟิล์มเอกซเรย์ และเภสัชเคมีภัณฑ์ ซึ่งองค์การเภสัชกรรมหรือโรงงานเภสัชกรรมทหารออกจำหน่ายแล้ว ให้จัดซื้อจากองค์การเภสัชกรรมหรือโรงงานเภสัชกรรมทหารก็ได้ โดยให้ดำเนินการด้วยวิธีกรณีพิเศษ ข้อ ๖๘ การซื้อยาตามชื่อสามัญในบัญชียาหลักแห่งชาติ และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ซึ่งองค์การเภสัชกรรมหรือโรงงานเภสัชกรรมทหาร มิได้เป็นผู้ผลิตแต่มีจำหน่าย และจัดซื้อจากองค์การเภสัชกรรมหรือโรงงานเภสัชกรรมทหารหรือผู้ขายหรือผู้ผลิตรายใดก็ได้ ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้ (๑) การจัดซื้อโดยวิธีสอบราคา หรือประกวดราคาให้ กกท. แจ้งให้องค์การเภสัชกรรมทราบด้วยทุกครั้งและถ้าผลการสอบราคาหรือประกวดราคา ปรากฏว่าองค์การเภสัชกรรมเสนอราคาเท่ากันหรือต่ำกว่าผู้เสนอราคารายอื่น ให้ กกท. ซื้อจากองค์การเภสัชกรรม (๒) การจัดซื้อโดยวิธีตกลงราคาหรือวิธีพิเศษ ให้ซื้อในราคาที่ไม่สูงกว่าราคากลางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ข้อ ๖๙ ในกรณีที่กฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ความสนับสนุนให้ซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาจากหน่วยงานใด ก็ให้จัดซื้อยา หรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาจากหน่วยงานดังกล่าวได้ โดยวิธีกรณีพิเศษด้วย อำนาจในการสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง ข้อ ๗๐ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างครั้งหนึ่ง นอกจากวิธีพิเศษและวิธีกรณีพิเศษให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ว่าการไม่เกิน ๒๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ประธานกรรมการ กกท. เกิน ๒๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) คณะกรรมการ กกท. เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ การสั่งซื้อ สั่งจ้าง กรณีที่เกี่ยวกับงบลงทุน จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องด้วย ข้อ ๗๑ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยวิธีพิเศษครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ว่าการไม่เกิน ๑๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ประธานกรรมการ กกท. เกิน ๑๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๒๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) คณะกรรมการ กกท. เกิน ๒๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ การสั่งซื้อสั่งจ้าง กรณีที่เกี่ยวกับงบลงทุน จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องด้วย ข้อ ๗๒ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ ให้ผู้ว่าการสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยไม่จำกัดวงเงิน การจ่ายเงินล่วงหน้า ข้อ ๗๓ การจ่ายเงินค่าพัสดุหรือค่าล่วงหน้าให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างจะกระทำมิได้ เว้นแต่ผู้ว่าการเห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องจ่าย และมีการกำหนดเงื่อนไขไว้ก่อนทำสัญญาหรือข้อตกลงให้กระทำได้เฉพาะกรณีและตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) การซื้อหรือการจ้างจากส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจ จ่ายได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของราคาซื้อหรือราคาจ้าง (๒) การซื้อพัสดุจากสถาบันของรัฐในต่างประเทศ หรือจากหน่วยงานอื่นในต่างประเทศ ซึ่งต้องดำเนินการผ่านองค์การระหว่างประเทศ หรือการซื้อเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ซึ่งจำเป็นต้องซื้อจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรงในต่างประเทศให้จ่ายได้ตามที่ตกลงกับสถาบันของรัฐหรือองค์การระหว่างประเทศหรือตามเงื่อนไขที่ผู้จ่ายกำหนด แล้วแต่กรณี (๓) การบอกรับวารสารหรือการสั่งจองหนังสือหรือการจัดซื้อฐานข้อมูลสำเร็จรูป (CD - ROM) ที่มีลักษณะจะต้องบอกรับเป็นสมาชิกก่อนและมีกำหนดการออกเป็นวาระดังเช่นวารสาร หรือการบอกรับเป็นสมาชิก INTERNET เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์เรียกค้นหาข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดยอาศัยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง (๔) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา หรือประกวดราคาจ่ายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของราคาซื้อหรือราคาจ้าง แต่ทั้งนี้จะต้องกำหนดอัตราค่าพัสดุหรือค่าจ้างที่จะจ่ายล่วงหน้าไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารสอบราคาหรือประกวดราคาด้วย (๕) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษ ให้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของราคาซื้อหรือราคาจ้าง ข้อ ๗๔ การจ่ายเงินให้แก่ผู้ขาย หรือผู้รับจ้างตามแบบธรรมเนียมการค้าระหว่างประเทศ โดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต หรือโดยวิธีใช้ดราฟต์ กรณีที่วงเงินไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท หรือการจ่ายเงินตามความก้าวหน้าในการจัดหาพัสดุที่สั่งซื้อให้กระทำได้โดยไม่ถือว่าเป็นการจ่ายเงินล่วงหน้า ข้อ ๗๕ การจ่ายเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างล่วงหน้าตามข้อ ๗๓ (๑) (๒) และ (๓) ไม่ต้องเรียกหลักประกัน ส่วนการจ่ายเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างล่วงหน้าตามข้อ ๗๓ (๔) และ (๕) ผู้ขายหรือผู้รับจ้างจะต้องนำพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารในประเทศมาค้ำประกันเงินที่รับล่วงหน้าไปนั้น การตรวจรับพัสดุ ข้อ ๗๖ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ มีหน้าที่ดังนี้ (๑) ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุนั้น หรือสถานที่ซึ่งกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลง การตรวจรับพัสดุ ณ สถานที่อื่น ในกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือข้อตกลง จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าการก่อน (๒) ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้สำหรับกรณีที่มีการทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์ จะเชิญผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คำปรึกษา หรือส่งพัสดุนั้น ไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ ผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้น ๆ ก็ได้ ในกรณีจำเป็นที่ไม่สามารถตรวจนับเป็นจำนวนหน่วยทั้งหมดได้ให้ตรวจรับตามหลักวิชาการสถิติ (๓) โดยปกติให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่ง และให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด (๔) เมื่อตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้รับพัสดุไว้และถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ส่งมอบพัสดุถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้ขาย หรือผู้รับจ้างนำพัสดุนั้นมาส่งแล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พัสดุพร้อมกับทำใบตรวจรับ โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อยสองฉบับมอบแก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ ๑ ฉบับ เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินจากคลังและรายงานให้ผู้ว่าการทราบ ในกรณีที่เห็นว่าพัสดุที่ส่งมอบ มีรายละเอียดไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลงให้รายงานผู้ว่าการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อทราบหรือสั่งการ แล้วแต่กรณี (๕) ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวนหรือส่งมอบครบจำนวน แต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง โดยถือปฏิบัติตาม (๔) และโดยปกติให้รีบรายงานผู้ว่าการเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันตรวจพบ แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิ์ของ กกท. ที่จะปรับผู้ขายหรือผู้รับจ้างในจำนวนที่ส่งมอบไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องนั้น (๖) การตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดหรือหน่วย ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้ว จะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ให้ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างยังมิได้ส่งมอบพัสดุนั้นและโดยปกติให้รีบรายงานผู้ว่าการ เพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันที่ตรวจพบ (๗) ถ้ากรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับพัสดุ โดยทำความเห็นแย้งไว้ ให้เสนอผู้ว่าการเพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าผู้ว่าการสั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้จึงดำเนินการตาม (๔) หรือ (๕) แล้วแต่กรณี การตรวจการจ้างและการควบคุมงานก่อสร้าง ข้อ ๗๗ คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ดังนี้ (๑) ตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง และเหตุการณ์แวดล้อมที่ผู้ควบคุมงานรายงานโดยตรวจสอบกับแบบรูปรายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญาทุกสัปดาห์ รวมทั้งรับทราบหรือพิจารณาการสั่งหยุดงาน หรือพักงานของผู้ควบคุมงานแล้วรายงานผู้ว่าการเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป (๒) การดำเนินการตาม (๑) ในกรณีมีข้อสงสัยหรือมีกรณีที่เห็นว่าตามหลักวิชาการช่างไม่น่าจะเป็นไปได้ ให้ออกตรวจงานจ้าง ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้น ๆ โดยมีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควรและตามหลักวิชาการช่างเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา (๓) โดยปกติให้ตรวจผลงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบภายใน ๓ วันทำการนับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับทราบการส่งมอบงาน และให้ทำการตรวจรับให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด (๔) เมื่อตรวจเห็นว่าเป็นการถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาแล้ว ให้ถือว่าผู้รับจ้างส่งมอบงานครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างส่งงานจ้างนั้น และให้ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงานทั้งหมดหรือเฉพาะงวด แล้วแต่กรณี โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย ๒ ฉบับ มอบให้แก่ผู้รับจ้าง ๑ ฉบับและเจ้าหน้าที่พัสดุ ๑ ฉบับ เพื่อทำการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายจากคลังและรายงานให้ผู้ว่าการทราบ ในกรณีที่เห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดก็ตามไม่เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา ให้รายงานผู้ว่าการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อทราบหรือสั่งการ แล้วแต่กรณี (๕) ในกรณีที่กรรมการตรวจการจ้างบางคนไม่ยอมรับงาน โดยทำความเห็นแย้งไว้ให้เสนอผู้ว่าการ เพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าผู้ว่าการสั่งการให้ตรวจรับงานจ้างนั้นไว้จึงจะดำเนินการตาม (๔) ข้อ ๗๘ ผู้ควบคุมงานมีหน้าที่ดังนี้ (๑) ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้น ๆ ทุกวันให้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียดและข้อกำหนดไว้ในสัญญาทุกประการ โดยสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร และตามหลักวิชาการช่างเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา ถ้าผู้รับจ้างขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็สั่งให้หยุดงานนั้นเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด แล้วแต่กรณี ไว้ก่อน จนกว่าผู้รับจ้างจะยอมปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่ง และให้รายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างทันที (๒) ในกรณีที่ปรากฏว่าแบบรูป รายการละเอียดหรือข้อกำหนดในสัญญามีข้อความขัดกัน หรือเป็นที่คาดหมายได้ว่าถึงแม้ว่างานนั้นจะได้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาแต่เมื่อสำเร็จแล้วจะไม่มั่นคงแข็งแรง หรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาการช่างที่ดีหรือไม่ปลอดภัย ให้สั่งพักงานนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างโดยเร็ว (๓) จดบันทึกสภาพการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน พร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน หรือการหยุดงานและสาเหตุที่มีการหยุดงานอย่างน้อย ๒ ฉบับ เพื่อรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์และเก็บรักษาไว้เพื่อมอบให้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุ เมื่อเสร็จงานแต่ละงวด โดยถือว่าเป็นเอกสารสำคัญของ กกท. เพื่อประกอบการตรวจสอบของผู้มีหน้าที่ การบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างให้ระบุรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานและวัสดุที่ใช้ด้วย (๔) ในวันกำหนดลงมือทำการของผู้รับจ้างตามสัญญาและในวันถึงกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวดให้รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างว่าเป็นไปตามสัญญาหรือไม่ ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการนับแต่วันถึงกำหนดนั้นๆ (๕) ปฏิบัติตามระเบียบที่ กกท. กำหนด ส่วนที่ ๓ การจ้างที่ปรึกษา การส่งเสริมที่ปรึกษาไทย ข้อ ๗๙ เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาที่ปรึกษาให้ กกท. ยึดถือข้อมูลตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕, ๒๕๔๑ ข้อ ๗๔ โดยอนุโลม ข้อ ๘๐ การจ้างที่ปรึกษาที่เป็นนิติบุคคล นอกจากการจ้างที่ปรึกษาที่ดำเนินการด้วยเงินช่วยเหลือหรือเงินกู้จากแหล่งที่กำหนดให้ดำเนินการว่าจ้างโดยวิธีอื่น ให้ กกท. จ้างที่ปรึกษาไทยเป็นที่ปรึกษาหลัก (Lead Firm) ในการดำเนินงาน เว้นแต่ได้รับการยืนยันเป็นหนังสือจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทยในสาขาบริการหรืองานนั้น การจ้างที่ปรึกษาที่มิใช่นิติบุคคล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ระเบียบที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ สำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดโดยอนุโลม เว้นแต่ข้อบังคับนี้กำหนดไว้เป็นอื่น ในกรณีมีที่ปรึกษาไทย แต่มีเหตุผลและความจำเป็นที่จะไม่จ้างที่ปรึกษาไทย ให้ขออนุมัติต่อคณะกรรมการ กกท. สำหรับการจ้างที่ปรึกษาของส่วนราชการในต่างประเทศหรือมีกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติในต่างประเทศจะไม่จ้างที่ปรึกษาไทยก็ได้ ข้อ ๘๑ ภายใต้บังคับข้อ ๘๐ การจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศของ กกท. นอกจากการจ้างที่ปรึกษาที่ดำเนินการด้วยเงินช่วยเหลือหรือเงินกู้จากแหล่งที่กำหนดให้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่น จะต้องมีบุคลากรไทยร่วมงานด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวน คน/เดือน (man - months) ของที่ปรึกษาทั้งหมด เว้นแต่สาขาบริการหรืองานที่ไม่อาจจะจ้างบุคลากรไทยได้ให้ขออนุมัติต่อคณะกรรมการ กกท. วิธีจ้างที่ปรึกษา ข้อ ๘๒ การจ้างที่ปรึกษากระทำได้ ๒ วิธี คือ (๑) วิธีตกลง (๒) วิธีคัดเลือก รายงานขอจ้างที่ปรึกษา ข้อ ๘๓ ก่อนดำเนินการจ้างที่ปรึกษา ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอผู้ว่าการตามรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องจ้างที่ปรึกษา (๒) ขอบเขตโดยละเอียดของงานที่จะจ้างที่ปรึกษา (Terms of Reference) (๓) คุณสมบัติของที่ปรึกษาที่จะจ้าง (๔) วงเงินค่าจ้างที่ปรึกษาโดยประมาณ (๕) กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน (๖) วิธีจ้างที่ปรึกษาและเหตุผลที่ต้องจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีนั้น (๗) ข้อเสนออื่น ๆ (ถ้ามี) เมื่อผู้ว่าการให้ความเห็นชอบตามรายงานที่เสนอแล้วให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการจ้างตามวิธีจ้างนั้นต่อไปได้ กรรมการ ข้อ ๘๔ ในการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาแต่ละครั้ง ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ แล้วแต่กรณี คือ (๑) คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง (๒) คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก ข้อ ๘๕ คณะกรรมการตามข้อ ๘๔ ให้ประกอบด้วยประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๔ คน โดยปกติให้แต่งตั้งจากพนักงานในสังกัดตั้งแต่ระดับ ๖ หรือเทียบเท่าขึ้นไปอย่างน้อย ๒ คน ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์แก่ กกท. ให้แต่งตั้งผู้แทนจากส่วนราชการอื่นหรือบุคคลที่มิใช่ข้าราชการซึ่งเป็นผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิในงานที่จะจ้างที่ปรึกษาเป็นกรรมการด้วย และในกรณีการจ้างที่ปรึกษาที่ดำเนินการด้วยเงินกู้ให้มีผู้แทนจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลังด้วย ๑ คน ข้อ ๘๖ ในการประชุมของคณะกรรมการตามข้อ ๘๔ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุม การประชุมของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้นำความตามข้อ ๔๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม วิธีตกลง ข้อ ๘๗ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง ได้แก่ การจ้างที่ปรึกษาที่ผู้ว่าจ้างตกลงจ้างรายใดรายหนึ่งซึ่งเคยทราบหรือเคยเห็นความสามารถและผลงานแล้วและเป็นผู้ให้บริการที่เชื่อถือได้ ข้อ ๘๘ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง ให้กระทำได้ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นการจ้างที่มีค่างานจ้างไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๒) เป็นการจ้างเพื่อทำงานต่อเนื่องจากงานที่ได้ทำอยู่แล้ว (๓) เป็นการจ้างในกรณีที่ทราบแน่ชัดว่าผู้เชี่ยวชาญในงานที่จะให้บริการตามที่ต้องการมีจำนวนจำกัดไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการด้วยวิธีคัดเลือก และเป็นการจ้างที่มีค่างานจ้างไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๔) เป็นการจ้างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นใดที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีให้การสนับสนุนให้ดำเนินการจ้างโดยตรง การจ้างที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่ราชการ และมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการจ้าง โดยวิธีตกลงก็ให้กระทำได้ โดยผู้ว่าการจะต้องทำรายงานชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นของการจ้างโดยวิธีตกลงให้คณะกรรมการ กกท. อนุมัติภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้มีการจ้าง และในการทำสัญญาจ้างโดยอาศัยเหตุเร่งด่วนนี้ กกท. จะต้องกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาด้วยว่าสัญญาจ้างดังกล่าวจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อคณะกรรมการ กกท. ให้ความเห็นชอบ ในกรณีการจ้างโดยอาศัยเหตุตาม (๒) หรือ (๓) จะต้องทำรายงานชี้แจงเหตุผลให้คณะกรรมการ กกท. ทราบ ข้อ ๘๙ คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษา (๒) พิจารณาอัตราค่าจ้างและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับบริการที่จะจ้างและเจรจาต่อรอง (๓) พิจารณารายละเอียดที่จะกำหนดในสัญญา (๔) ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้ว่าการ เพื่อสั่งการโดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ วิธีคัดเลือก ข้อ ๙๐ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก ได้แก่การจ้างที่ปรึกษาโดยการคัดเลือกที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะทำงานนั้นโดยเหลือน้อยราย และเชิญชวนที่ปรึกษาที่ได้รับการคัดเลือกให้เหลือน้อยรายดังกล่าวยื่นข้อเสนอเข้ามารับงานนั้น ๆ เพื่อพิจารณาคัดเลือกรายที่ดีที่สุด ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรและผู้ว่าการเห็นชอบให้เชิญที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมยื่นข้อเสนอเข้ารับงานโดยไม่ต้องทำการคัดเลือกให้เหลือน้อยรายก่อนก็ได้ ข้อ ๙๑ เพื่อให้ได้รายชื่อของที่ปรึกษาที่มีคุณลักษณะเหมาะสมมากรายที่สุด ให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการจ้างที่ปรึกษา ดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ที่ปรึกษาต่างประเทศ ให้ขอรายชื่อจากสถาบันการเงินหรือองค์การระหว่างประเทศหรือลงประกาศในหนังสือพิมพ์ แจ้งไปยังสมาคมหรือสถาบันอาชีพหรือสถานทูตที่เกี่ยวข้องหรือขอความร่วมมือจากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ซึ่งเคยดำเนินการจ้างที่ปรึกษาในงานประเภทเดียวกัน (๒) ที่ปรึกษาไทย ให้ขอรายชื่อที่ปรึกษาจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษากระทรวงการคลัง หาก กกท. มีรายชื่อที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมอยู่แล้วอาจพิจารณาคัดเลือกให้เหลือน้อยรายโดยไม่ดำเนินการตามวรรคหนึ่งก็ได้ การคัดเลือกที่ปรึกษาให้เหลือน้อยราย ให้คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกทำหน้าที่พิจารณาคัดเลือกที่ปรึกษาให้เหลืออย่างมาก ๖ ราย เมื่อได้ดำเนินการคัดเลือกที่ปรึกษาให้เหลือน้อยรายแล้ว ให้รายงานผู้ว่าการเพื่อพิจารณา และกรณีที่เป็นการจ้างที่ปรึกษาโดยใช้เงินกู้หรือช่วยเหลือ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของแหล่งเงินนั้นด้วย ข้อ ๙๒ ให้ กกท. ออกหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาที่ได้คัดเลือกไว้ ยื่นข้อเสนอเพื่อรับงานตามวิธีหนึ่งวิธีใด ดังต่อไปนี้ (๑) ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคาพร้อมกันโดยแยกเป็น ๒ ซอง (๒) ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคเพียงซองเดียว ข้อ ๙๓ คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก (๒) พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษาทุกราย และจัดลำดับ (๓) ในกรณีที่ใช้วิธีตามข้อ ๙๒ (๑) ให้เปิดซองเสนอด้านราคาของที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุดและเจรจาต่อรองให้ได้ราคาที่เหมาะสม สำหรับกรณีที่ใช้วิธีตามข้อ ๙๒ (๒) ให้เชิญที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุดมายื่นข้อเสนอด้านราคาและเจรจาต่อรองให้ได้ราคาที่เหมาะสม หากเจรจาไม่ได้ผล ให้เสนอผู้ว่าการ เพื่อพิจารณายกเลิกการเจรจากับที่ปรึกษารายนั้น แล้วเปิดซองข้อเสนอด้านราคาของที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุดรายถัดไป หรือเชิญที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุดรายถัดไปยื่นข้อเสนอด้านราคา แล้วแต่กรณี และเจรจาต่อรองให้ได้ราคาที่เหมาะสม (๔) เมื่อเจรจาได้ราคาที่เหมาะสมแล้วให้พิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ ที่จะกำหนดในสัญญา (๕) ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณา และความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้ว่าการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ในกรณีที่ใช้วิธียื่นข้อเสนอตามข้อ ๙๒ (๑) หลังจากตัดสินให้ทำสัญญากับที่ปรึกษาซึ่งได้รับการคัดเลือกแล้ว ให้ส่งคืนซองข้อเสนอค้านราคาให้แก่ที่ปรึกษารายอื่นที่ได้ยื่นไว้โดยไม่เปิดซอง สำหรับการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกที่ดำเนินการด้วยเงินช่วยเหลือโดยกรมวิเทศสหการให้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยอนุโลม ข้อ ๙๔ การจ้างที่ปรึกษาที่เป็นงานที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และมีหน้าที่ปรึกษาซึ่งสามารถทำงานนั้นได้เป็นการทั่วไป ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ว่าการที่จะออกหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาที่ได้คัดเลือกไว้ให้ยื่นข้อเสนอเพื่อรับงาน โดยให้ดำเนินการตามวิธีดังต่อไปนี้ (๑) ให้ที่ปรึกษายื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคาพร้อมกันโดยแยกเป็น ๒ ซอง (๒) ให้คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีคัดเลือกพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษาทุกราย และจัดลำดับ (๓) เปิดซองราคาของผู้ที่ได้รับการจัดลำดับไว้อันดับหนึ่งถึงอันดับสามตาม (๒) พร้อมกัน แล้วเลือกรายที่เสนอราคาต่ำสุดมาเจรจาต่อรองราคาเป็นลำดับแรก (๔) หากเจรจาตาม (๓) แล้วไม่ได้ผล ให้ยกเลิกแล้วเจรจากับรายที่เสนอราคาต่ำรายถัดไปตามลำดับ เมื่อเจรจาได้ผลประการใด ให้ดำเนินการตามข้อ ๙๓ (๔) และ (๕) ข้อ ๙๕ การจ้างที่ปรึกษาเป็นรายบุคคลที่ไม่ต้องยื่นข้อเสนอด้านเทคนิค ให้ดำเนินการคัดเลือกที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามนัยข้อ ๙๑ และพิจารณาจัดลำดับ และเมื่อสามารถจัดลำดับได้แล้ว ให้เชิญรายที่เหมาะสมที่สุดมาเสนอราคาค่าจ้างเพื่อพิจารณาต่อรองราคาตามลำดับ อำนาจในการสั่งจ้างที่ปรึกษา ข้อ ๙๖ การสั่งจ้างที่ปรึกษาครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงินดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ว่าการ ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ประธานกรรมการ กกท. เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) คณะกรรมการ กกท. เกิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ค่าจ้างที่ปรึกษา ข้อ ๙๗ อัตราค่าจ้างที่ปรึกษา ให้เป็นไปตามความเหมาะสมและประหยัดโดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ลักษณะของงานที่จะจ้าง อัตราค่าจ้างของงานในลักษณะเดียวกันที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเคยจ้างจำนวนคน - เดือน (man - months) เท่าที่จำเป็น ดัชนีค่าครองชีพ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่เกินกว่าอัตราค่าจ้างที่ปรึกษาตามคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ สำนักนายกรัฐมนตรี กำหนด (ถ้ามี) โดยอนุโลม เว้นแต่คณะกรรมการ กกท. เห็นความจำเป็นต้องกำหนดเป็นอย่างอื่น ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า ให้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของค่าจ้างตามสัญญาและที่ปรึกษาจะต้องจัดให้ธนาคารในประเทศเป็นผู้ค้ำประกันเงินค่าจ้างที่ได้รับล่วงหน้าไปนั้น และให้ กกท. คืนหนังสือค้ำประกันดังกล่าวให้แก่ที่ปรึกษาเมื่อได้หักเงินที่ได้จ่ายล่วงหน้าจากเงินค่าจ้างที่จ่ายตามผลงานแต่ละงวดครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาด้วย สำหรับการจ้างส่วนราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐให้จ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของค่าจ้างตามสัญญา และไม่ต้องมีหลักประกันเงินล่วงหน้าที่รับไปก็ได้ หลักประกันผลงาน ข้อ ๙๘ การจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ที่ปรึกษาที่แบ่งการชำระเงินออกเป็นงวดนอกจากการจ้างที่ปรึกษาซึ่งดำเนินการด้วยเงินช่วยเหลือ ให้ผู้ว่าจ้างหักเงินที่จะจ่ายแต่ละครั้งในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละห้า แต่ไม่เกินร้อยละสิบของเงินค่าจ้าง เพื่อเป็นการประกันผลงานหรือจะให้ที่ปรึกษาใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคารในประเทศมีอายุการค้ำประกันตามที่ผู้ว่าจ้างจะกำหนดวางค้ำประกันแทนเงินที่หักไว้ก็ได้ ทั้งนี้ ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาด้วย ข้อ ๙๙ กรณีสัญญาจ้างที่ปรึกษาตามโครงการเงินกู้ที่ได้รวมเงินค่าภาษีซึ่งที่ปรึกษาจะต้องจ่ายให้แก่รัฐบาลไทยไว้ในราคาจ้าง ให้แยกเงินส่วนที่กันเป็นค่าภาษีไว้ต่างหากจากราคาจ้างรวม ส่วนที่ ๔ การจ้างออกแบบและควบคุมงาน วิธีจ้างออกแบบและควบคุมงาน ข้อ ๑๐๐ การจ้างออกแบบและควบคุมงาน กระทำได้ ๔ วิธี คือ (๑) วิธีตกลง (๒) วิธีคัดเลือก (๓) วิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด (๔) วิธีพิเศษ รายงานการขอจ้างออกแบบและควบคุมงาน ข้อ ๑๐๑ ก่อนดำเนินการออกแบบหรือจ้างออกแบบ และควบคุมงานทุกวิธี ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำรายงานเสนอผู้ว่าการ ตามรายการดังต่อไปนี้ (๑) ขอบเขตวงงาน รวมทั้งรายละเอียดเท่าที่จำเป็น (๒) วงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง (๓) ประมาณการค่าจ้าง (๔) กำหนดเวลาแล้วเสร็จ (๕) วิธีที่จะจ้าง และเหตุผลที่ต้องจ้างโดยวิธีนั้น (๖) ข้อเสนออื่นๆ (ถ้ามี) เมื่อผู้ว่าการให้ความเห็นชอบตามรายงานที่เสนอแล้วให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการจ้างตามวิธีจ้างนั้นต่อไปได้ การจ้างโดยวิธีตกลง ข้อ ๑๐๒ การจ้างโดยวิธีตกลง ได้แก่ การจ้างออกแบบและควบคุมงานที่ผู้ว่าจ้างเลือกจ้างผู้ให้บริการรายหนึ่งรายใด ซึ่งเคยทราบหรือเคยเห็นความสามารถแล้วและเป็นผู้ให้บริการที่มีหลักฐานดี ตามที่คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีตกลงได้พิจารณาเสนอแนะ ทั้งนี้ ให้ใช้กับการก่อสร้างที่มีวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างตามโครงการหนึ่ง ๆ ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๐๓ ในการดำเนินการจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยวิธีตกลงแต่ละครั้ง ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีตกลงขึ้นคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยประธาน ๑ คน และกรรมการอื่นอีกอย่างน้อย ๒ คน ปกติให้เป็นพนักงานตั้งแต่ระดับ ๔ หรือเทียบเท่าขึ้นไปอย่างน้อย ๑ คน และควรมีผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้ชำนาญในกิจการนี้เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย คณะกรรมการดังกล่าวต้องมีจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดจึงจะดำเนินการตามที่กำหนดไว้ได้ ข้อ ๑๐๔ คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีตกลง มีหน้าที่พิจารณาข้อกำหนดของผู้ให้บริการตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ และให้รายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับทั้งหมดต่อผู้ว่าการ ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ การจ้างโดยวิธีคัดเลือก ข้อ ๑๐๕ การจ้างโดยวิธีคัดเลือก ได้แก่ การจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยผู้ว่าจ้างประกาศเชิญชวนการว่าจ้าง และคณะกรรมการดำเนินการจ้างจะพิจารณาคัดเลือกผู้ให้บริการที่มีข้อกำหนดเหมาะสมที่สุด เพื่อดำเนินการว่าจ้างต่อไป ทั้งนี้ ให้ใช้กับการก่อสร้างอาคารที่มีวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างตามโครงการหนึ่ง ๆ เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๐๖ ในการดำเนินการจ้างออกแบบและควบคุมงาน โดยการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแต่ละครั้งให้ผู้ว่าการแต่งตั้งกรรมการรับซองเสนองาน และกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือก คณะกรรมการรับซองเสนองาน ให้ประกอบด้วยประธาน ๑ คน และกรรมการอื่นอีกอย่างน้อย ๒ คน ปกติให้เป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับ ๓ หรือเทียบเท่าขึ้นไปอย่างน้อย ๒ คน คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือก ให้ประกอบด้วยประธาน ๑ คน และกรรมการอื่นอีกอย่างน้อย ๒ คน ปกติให้เป็นพนักงานตั้งแต่ระดับ ๔ หรือเทียบเท่าขึ้นไปอย่างน้อย ๒ คน และควรมีผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ชำนาญในกิจการนี้เข้าร่วมด้วย คณะกรรมการดังกล่าวในข้อนี้ ต้องมีจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดจึงจะดำเนินการตามที่กำหนดไว้ได้ ข้อ ๑๐๗ คณะกรรมการรับซองเสนองานการจ้างโดยวิธีคัดเลือก มีหน้าที่ดังนี้ (๑) รับซองเสนองานจากผู้ให้บริการและบันทึกไว้ที่หน้าซองว่าเป็นผู้ให้บริการรายใดและลงบัญชีไว้เป็นหลักฐาน (๒) มอบซองเสนองานในสภาพเดิมต่อคณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือก และเมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองเสนองานแล้ว ห้ามรับซองเสนอจากผู้ให้บริการรายหนึ่งรายใดเป็นอันขาด ข้อ ๑๐๘ คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือก มีหน้าที่ดังนี้ (๑) เมื่อคณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกมาครบองค์ประชุมแล้วจึงเปิดซองเสนองาน ตามที่คณะกรรมการรับซองเสนองานการจ้างโดยวิธีคัดเลือกมอบให้ (๒) พิจารณาข้อกำหนดของผู้ให้บริการตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ คุณวุฒิและประวัติการทำงาน จำนวนสถาปนิกและหรือวิศวกรที่ประจำและไม่ประจำ หลักฐานแสดงผลงานที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้วของผู้ให้บริการ และลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนองานเพื่อเป็นหลักฐาน (๓) เมื่อได้พิจารณาเสร็จแล้วเห็นสมควรดำเนินการต่อไปประการใดให้รายงานต่อผู้ว่าการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุพร้อมด้วยหลักฐาน ตามปกติคณะกรรมการควรเสนอจ้างผู้ที่มีข้อกำหนดเหมาะสมที่สุด เว้นแต่ผู้ให้บริการดังกล่าวไม่สามารถรับงานในกรณีใดก็ตามให้คณะกรรมการเสนอผู้ให้บริการที่มีข้อกำหนดเหมาะสมรายถัดไป การจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด ข้อ ๑๐๙ การจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด ได้แก่ การว่าจ้างออกแบบและควบคุมงานที่ผู้ว่าจ้างประกาศเชิญชวนการว่าจ้าง และคณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนดพิจารณาคัดเลือกผู้ให้บริการที่เป็นนิติบุคคล โดยคำนึงถึงฐานะทางนิติบุคคล คุณวุฒิ และประวัติการทำงาน จำนวนสถาปนิกและหรือวิศวกรที่ประจำและไม่ประจำ หลักฐานแสดงผลงานที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้ว ตลอดจนแนวความคิดในการออกแบบ เพื่อดำเนินการจ้างต่อไป ทั้งนี้ ให้ใช้กับการก่อสร้างอาคารที่มีวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างตามโครงการหนึ่ง ๆ เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๑๐ ในการดำเนินการจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยวิธีการจ้างแบบจำกัดข้อกำหนดแต่ละครั้งให้ผู้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการรับซอง และคณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการแต่ละคณะ คุณวุฒิหรือผู้ชำนาญในคณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด หน้าที่ของคณะกรรมการรับซองเสนองานจ้างโดยคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด ให้นำความในข้อ ๑๐๖ ข้อ ๑๐๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๑๑ คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด มีหน้าที่ดังนี้ (๑) เมื่อคณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนดมาครบองค์ประชุมแล้ว จึงเปิดซองเสนองานตามที่คณะกรรมการรับซองเสนองานมอบให้ (๒) พิจารณาข้อกำหนดต่าง ๆ ดังนี้ ก. ข้อกำหนดของผู้ให้บริการตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข. คุณวุฒิและประวัติการทำงาน จำนวนสถาปนิกและหรือวิศวกรที่ประจำและไม่ประจำ ค. หลักฐานแสดงผลงานที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้ว ง. แนวความคิดในการออกแบบ (๓) พิจารณาคัดเลือกผู้ให้บริการที่มีข้อกำหนดเหมาะสมไว้เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า ๒ ราย และแจ้งวิธีดำเนินการเสนองานตามความประสงค์ของผู้ว่าจ้างแก่ผู้เสนองานและอาจพิจารณากำหนดให้ผู้บริการดังกล่าว ยื่นเสนอแบบร่างของงานก็ได้ อนึ่ง การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนองานให้คำนึงถึงแผนปฏิบัติงาน ความเหมาะสมทางด้านประโยชน์ใช้สอย ตลอดจนสายงานและความเหมาะสมทางด้านสถาปัตยกรรม และลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนองานเพื่อเป็นหลักฐาน (๔) เมื่อได้พิจารณาเสร็จแล้วเห็นสมควรดำเนินการต่อไปประการใด และสมควรเลือกผู้ให้บริการรายหนึ่งรายใด ให้รายงานต่อผู้ว่าการ ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุพร้อมด้วยหลักฐาน การจ้างโดยวิธีพิเศษ ข้อ ๑๑๒ การจ้างโดยวิธีพิเศษมี ๒ ลักษณะดังนี้ (๑) วิธีเลือกจ้าง ได้แก่การจ้างออกแบบและควบคุมงานในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน และความมั่นคงของชาติ หากจะดำเนินการว่าจ้างตามวิธีอื่นดังกล่าวมาแล้วจะทำให้เกิดการล่าช้า เกิดความเสียหายแก่ กกท. และความมั่นคงของประเทศชาติ ให้ประธานกรรมการ กกท. มีอำนาจตกลงจ้างผู้ให้บริการรายหนึ่งรายใดตามที่พิจารณาเห็นสมควร (๒) การว่าจ้างโดยการประกวดแบบ ได้แก่การว่าจ้างออกแบบอาคารที่มีลักษณะพิเศษ เป็นที่เชิดชูคุณค่าทางด้านศิลปกรรมหรือสถาปัตยกรรมของชาติ เช่น พิพิธภัณฑ์การกีฬาแห่งชาติ หอเกียรติคุณนักกีฬาหรืองานออกแบบอาคารที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น สนามกีฬาแห่งชาติ สนามกีฬาภาค ให้ผู้ว่าการเสนอรายละเอียดเรื่องการจ้างออกแบบ โดยวิธีประกวดแบบต่อคณะกรรมการ กกท. ข้อ ๑๑๓ กกท. มีสิทธิ์บอกเลิกการคัดเลือกผู้ให้บริการได้ในกรณีต่อไปนี้ (๑) มีผู้ยื่นเสนองานน้อยกว่า ๒ ราย (๒) ผู้ให้บริการยื่นเสนองานไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของผู้ว่าจ้าง ข้อ ๑๑๔ ให้ กกท. ส่งหนังสือแจ้งผลการตัดสินคัดเลือก และนัดหมายการทำสัญญาไปยังผู้ให้บริการรายที่ได้รับการคัดเลือกโดยเร็ว การประกาศเชิญชวน ข้อ ๑๑๕ การประกาศเชิญชวนการว่าจ้างกระทำได้ ๓ วิธี คือ (๑) ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย (๒) ประกาศทางสื่อสารมวลชน เช่น ลงประกาศในหนังสือพิมพ์หรือประกาศทางวิทยุกระจายเสียง (๓) ประกาศส่งไปยังสมาคมวิชาชีพสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม หรือสำนักงานที่ประกอบธุรกิจดังกล่าว การจะประกาศด้วยวิธีใดให้พิจารณาตามความจำเป็นของกิจการและความเหมาะสมแห่งท้องถิ่นเป็นเรื่อง ๆ ไป ข้อ ๑๑๖ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำประกาศเชิญชวน โดยอย่างน้อยให้แสดงรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) ความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอยของอาคารและขอบเขตที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (๒) กำหนดวัน เวลา สถานที่เปิดและปิดซองเสนองาน (๓) เงื่อนไขและระยะเวลาการออกแบบ (๔) กำหนดให้ผู้เสนองานวางหลักประกันซอง ตามชนิดและจำนวนในข้อ ๑๔๖ และข้อ ๑๔๗ และให้เงื่อนไขว่า ถ้าผู้เข้าประกวดราคาถอนการเสนองานหรือไม่ไปทำสัญญากับ กกท. ภายในกำหนด กกท. จะริบหลักประกันซอง หรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ค้ำประกัน และสงวนสิทธิ์ที่จะถือว่าผู้ที่ไม่ไปทำสัญญากับ กกท. เป็นผู้ทิ้งงานด้วย (๕) การวินิจฉัยของคณะกรรมการให้ถือเป็นเด็ดขาด การเสนองาน ข้อ ๑๑๗ ผู้ให้บริการที่เสนองานจ้างโดยวิธีคัดเลือก และการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนดนอกจากจะต้องส่งข้อเสนองานให้กับผู้ว่าจ้างแล้วยังต้องยื่นหลักฐานประกอบการเสนองาน ดังนี้ (๑) ข้อกำหนดของผู้ให้บริการตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ (๒) คุณวุฒิและประวัติการทำงาน จำนวนสถาปนิกและหรือวิศวกรที่ประจำและไม่ประจำ (๓) หลักฐานแสดงผลงานที่เคยปฏิบัติมาแล้ว (๔) หลักประกันการเสนองาน เมื่อการคัดเลือกการว่าจ้างเสร็จสิ้นแล้ว ให้ส่งข้อเสนอและหลักฐานต่าง ๆ ดังกล่าวคืนแก่ผู้ให้บริการที่ไม่ได้รับการคัดเลือก ข้อ ๑๑๘ ผู้ให้บริการที่เป็นบุคคลธรรมดาจะต้องมีสัญชาติไทย และเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม และหรือวิศวกรรมสำหรับงานว่าจ้างตามที่กำหนด โดยกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพสถาปัตยกรรมและหรือวิศวกรรม แล้วแต่กรณี และไม่เป็นข้าราชการประจำหรือลูกจ้างของส่วนราชการหรือพนักงานเทศบาล รัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ผู้ให้บริการที่เป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นจะต้องเป็นคนไทย และเป็นนิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยเกินร้อยละห้าสิบของทุนการจัดตั้งนิติบุคคลนั้น อำนาจในการสั่งจ้างออกแบบและควบคุมงาน ข้อ ๑๑๙ การสั่งจ้างออกแบบและควบคุมงานครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ว่าการ ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ประธานกรรมการ กกท. เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๒๐ กกท. อาจริบหลักประกัน หรือใช้สิทธิ์เรียกร้องเอาจากผู้ค้ำประกันการเสนองานที่ผู้รับจ้างนำมามอบไว้กับ กกท. ในกรณีดังนี้ (๑) ผู้รับจ้างหลีกเลี่ยงการทำสัญญาในระยะเวลาที่กำหนด (๒) กกท. ไม่สามารถส่งใบแจ้งให้มาทำสัญญาได้เนื่องจาก ก. ผู้รับจ้างเลิกหรือหยุดกิจการ ข. ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา บุคคลนั้นถูกระงับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมและหรือวิศวกรรม (๓) ผู้รับจ้างผิดสัญญา และผู้ว่าจ้างได้บอกเลิกสัญญากับผู้รับจ้างแล้ว การตรวจและรับมอบงาน ข้อ ๑๒๑ ในการจ้างออกแบบและควบคุมงานแต่ละครั้ง ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจและรับมอบงานเพื่อปฏิบัติการตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ คณะกรรมการตรวจและรับมอบงาน ประกอบด้วยประธาน ๑ คน และกรรมการอื่นอีกอย่างน้อย ๒ คน ปกติให้เป็นพนักงานตั้งแต่ระดับ ๔ หรือเทียบเท่าขึ้นไปอย่างน้อย ๒ คน และควรให้มีผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้ชำนาญในกิจการนั้นเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย คณะกรรมการดังกล่าวต้องมีจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด จึงจะดำเนินการตามที่กำหนดไว้ได้ ข้อ ๑๒๒ คณะกรรมการตรวจและรับมอบงาน มีหน้าที่ตรวจและควบคุมงานออกแบบและก่อสร้างอาคารว่าถูกต้องตามเกณฑ์ที่ระบุไว้ในสัญญา เมื่อตรวจเห็นเป็นการถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงานโดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย ๒ ฉบับ มอบให้แก่ผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ ๑ ฉบับ เพื่อทำการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินจากคลัง และรายงานให้ผู้ว่าการทราบ การควบคุมงาน ข้อ ๑๒๓ ผู้รับจ้างจะต้องจัดผู้ควบคุมงานที่มีความรู้และมีความชำนาญงานการก่อสร้างให้เหมาะสมกับสภาพงานการก่อสร้างนั้น ๆ ผู้รับจ้างจะต้องส่งรายชื่อผู้ควบคุมงาน ผู้ตรวจการหรือผู้แทนให้ผู้ว่าจ้างให้ความเห็นชอบ และในกรณีที่ผู้ควบคุมงานไม่สามารถปฏิบัติงานตามความในวรรคหนึ่ง ผู้รับจ้างจะต้องเสนอชื่อผู้ควบคุมงานปฏิบัติงานแทนผู้ที่ปฏิบัติงานแทนในกรณีดังกล่าวจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ว่าจ้าง ค่าออกแบบและควบคุมงาน ข้อ ๑๒๔ การจ่ายเงินค่าออกแบบและควบคุมงาน ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (๑) อาคารที่มีงบประมาณค่าก่อสร้างไม่เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้จ่ายค่าออกแบบหรือค่าคุมงานอย่างใดอย่างหนึ่งในอัตราร้อยละ ๒ ของวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง (๒) อาคารที่มีงบประมาณค่าก่อสร้าง เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับในส่วนที่เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้จ่ายค่าออกแบบหรือค่าคุมงาน อย่างใดอย่างหนึ่งในอัตราร้อยละ ๑.๗๕ ของวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง การจ่ายเงินค่าออกแบบและควบคุมงานตามความในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงค่าสำรวจและวิเคราะห์ดินฐานราก ข้อ ๑๒๕ ในกรณีที่ กกท. หรือหน่วยงานอื่นใด ที่จะนำแบบแปลนรายละเอียดงานจ้างไปดำเนินการก่อสร้างนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในสัญญา ให้ กกท. หรือหน่วยงานนั้น ๆ จ่ายเงินค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างตามอัตราที่คณะกรรมการ กกท. พิจารณากำหนดเป็นราย ๆ ไป ข้อ ๑๒๖ ห้ามผู้รับจ้างนำแบบแปลนรายละเอียดงานออกแบบและควบคุมงานที่ได้ทำสัญญากับ กกท. แล้ว ไปให้ผู้อื่นดำเนินการก่อสร้างอีก ข้อ ๑๒๗ ระหว่างดำเนินการตามสัญญาจ้าง กกท. อาจขอให้ผู้รับจ้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขเล็ก ๆ น้อย ๆ ในส่วนที่ไม่กระทบกระเทือนโครงสร้างที่สำคัญของอาคาร ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ น้ำประปา หรือระบบอื่น ๆ ของงานที่ผู้รับจ้างได้ส่งมอบตามงวดงานในสัญญาแล้วโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่สำคัญ ซึ่งมีผลกระทบต่อวงเงินค่าก่อสร้าง ให้ กกท. เสนอขออนุมัติ คณะกรรมการ กกท. ก่อน ส่วนที่ ๕ การแลกเปลี่ยน ข้อ ๑๒๘ การแลกเปลี่ยนพัสดุจะกระทำมิได้ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ว่าการเห็นว่ามีความจำเป็นและให้กระทำได้เฉพาะการแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์และการแลกเปลี่ยนวัสดุกับวัสดุ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) การแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์ประเภทชนิดเดียวกันให้แลกเปลี่ยนได้และให้เป็นอำนาจของผู้ว่าการ เว้นแต่การแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์บางอย่างซึ่งสำนักงบประมาณกำหนดหรือการแลกเปลี่ยนที่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ให้ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ กกท. ก่อน (๒) การแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์ต่างประเภทหรือต่างชนิดกัน ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ กกท. ก่อน (๓) การแลกเปลี่ยนวัสดุกับวัสดุประเภทและชนิดเดียวกัน ที่ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มให้แลกเปลี่ยนได้โดยเป็นอำนาจของผู้ว่าการ กรณีนอกเหนือจากนี้ ให้ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ กกท. ก่อน ข้อ ๑๒๙ ในกรณีต้องมีการแลกเปลี่ยนพัสดุ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุรายงานต่อผู้ว่าการ เพื่อพิจารณาสั่งการ โดยให้รายงานตามรายการดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องแลกเปลี่ยน (๒) รายละเอียดของพัสดุที่จะนำไปแลกเปลี่ยน (๓) ราคาที่ซื้อหรือได้มาของพัสดุที่จะนำไปแลกเปลี่ยน และราคาที่จะแลกเปลี่ยนได้โดยประมาณ (๔) พัสดุที่จะแลกเปลี่ยน และให้ระบุว่าจะแลกเปลี่ยนกับส่วนราชการหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน (๕) ข้อเสนออื่น ๆ (ถ้ามี) ในกรณีที่จะแลกเปลี่ยนกับเอกชน ให้ระบุวิธีที่จะแลกเปลี่ยนพร้อมทั้งเหตุผลโดยเสนอให้นำวิธีการซื้อมาโดยอนุโลม เว้นแต่การแลกเปลี่ยนพัสดุที่จะนำไปแลกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท และเสนอให้ใช้วิธีตกลงราคาก็ได้ ข้อ ๑๓๐ การแลกเปลี่ยนพัสดุกับเอกชนให้ผู้ว่าการ แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะตามความจำเป็น โดยถือปฏิบัติตามข้อ ๓๙ และข้อ ๔๒ แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม ให้คณะกรรมการมีหน้าที่ดังนี้ (๑) ตรวจสอบและประเมินราคาพัสดุที่ต้องการแลกเปลี่ยนตามสภาพปัจจุบันของพัสดุนั้น (๒) ตรวจสอบรายละเอียดพัสดุที่จะได้รับการแลกเปลี่ยนว่าเป็นของใหม่ที่ยังไม่เคยใช้งานมาก่อน เว้นแต่พัสดุเก่าที่จะได้รับการแลกเปลี่ยนนั้นจะเป็นความจำเป็นไม่ทำให้ กกท. ต้องเสียประโยชน์หรือเพื่อประโยชน์แก่ กกท. (๓) เปรียบเทียบราคาพัสดุที่จะแลกเปลี่ยนกัน โดยพิจารณาจากราคาที่ประเมินตาม (๑) และราคาพัสดุที่จะได้รับจากการแลกเปลี่ยน ซึ่งถือตามราคากลางหรือราคามาตรฐาน หรือราคาในท้องตลาดโดยทั่วไป (๔) ต่อรองกับผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรแลกเปลี่ยน (๕) เสนอความเห็นต่อผู้ว่าการ เพื่อพิจารณาสั่งการ (๖) ตรวจรับพัสดุ โดยปฏิบัติตามข้อ ๗๖ โดยอนุโลม ข้อ ๑๓๑ การแลกเปลี่ยนพัสดุของ กกท. กับส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ ให้อยู่ในดุจพินิจของผู้ว่าการและหัวหน้าหน่วยงานนั้น ๆ ที่จะตกลงกัน ข้อ ๑๓๒ ครุภัณฑ์ที่ได้รับการแลกเปลี่ยนเมื่อลงทะเบียนครุภัณฑ์ของ กกท. นั้นแล้ว ให้แจ้งสำนักงบประมาณ และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค แล้วแต่กรณี ทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับครุภัณฑ์ ในกรณีการแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์กับหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน ให้ส่งสำเนาหลักฐานการดำเนินการตามข้อ ๑๓๐ หรือข้อ ๑๓๑ ไปด้วย ส่วนที่ ๖ การเช่า ข้อ ๑๓๓ การเช่าสังหาริมทรัพย์ และการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหมวดนี้ ให้ผู้ว่าการพิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นโดยสำหรับการเช่าสังหาริมทรัพย์ให้นำข้อกำหนดเกี่ยวกับการซื้อมาใช้โดยอนุโลม ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้าในการเช่าอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ให้กระทำได้เฉพาะกรณีการเช่าซึ่งมีระยะเวลาไม่เกิน ๓ ปี ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) การเช่าจากหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหน่วยงานอื่น ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจ จ่ายได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของค่าเช่าทั้งสัญญา (๒) การเช่าจากเอกชนจ่ายได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของค่าเช่าทั้งสัญญา การจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้านอกเหนือจากหลักเกณฑ์ข้างต้น ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ กกท. ก่อน การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๑๓๔ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้กระทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เช่าที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการของ กกท. (๒) เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่ทำการในกรณีที่ไม่มีสถานที่ของ กกท. หรือมีแต่ไม่เพียงพอ และถ้าสถานที่เช่านั้นกว้างพอ จะใช้เป็นที่พักของผู้ซึ่งมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามระเบียบของทางราชการด้วยก็ได้ (๓) เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่พักสำหรับผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าที่พักตามระเบียบของ กกท. ในกรณีที่ต้องการประหยัดเงินงบประมาณ (๔) เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่เก็บพัสดุของ กกท. ในกรณีที่ไม่มีสถานที่เก็บเพียงพอ การเช่าให้ดำเนินการโดยวิธีตกลงราคา ข้อ ๑๓๕ ก่อนดำเนินการเช่า ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอผู้ว่าการตามราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องเช่า (๒) ราคาค่าเช่าที่ผู้ให้เช่าเสนอ (๓) รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะเช่า เช่น สภาพของสถานที่ บริเวณที่ต้องการใช้พร้อมทั้งภาพถ่าย (ถ้ามี) และราคาค่าเช่าครั้งหลังสุด เป็นต้น (๔) อัตราค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีขนาดและสภาพใกล้เคียงกับที่จะเช่า (ถ้ามี) ในกรณี กกท. ต้องการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในส่วนภูมิภาค ให้ขอความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของสถานที่และอัตราค่าเช่าจากจังหวัดนั้น ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย ข้อ ๑๓๖ อสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีอัตราค่าเช่ารวมทั้งค่าบริการอื่นเกี่ยวกับการเช่าตามที่จะกำหนดไว้ในสัญญาไม่เกินเดือนละ ๕๐,๐๐๐ บาท ให้ผู้ว่าการเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ถ้าเกินเดือนละ ๕๐,๐๐๐ บาท ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ กกท. ก่อน ส่วนที่ ๗ สัญญาและหลักประกัน สัญญา ข้อ ๑๓๗ การลงนามในสัญญาในการจัดหาตามข้อบังคับนี้ เป็นอำนาจของผู้ว่าการและให้ทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนด การทำสัญญารายใดถ้าจำเป็นต้องมีข้อความหรือรายการแตกต่างไปจากตัวอย่างที่กำหนด โดยมีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในตัวอย่างสัญญา และไม่ทำให้ กกท. เสียเปรียบ ก็ให้กระทำได้ เว้นแต่ผู้ว่าการเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ ก็ให้ส่งร่างสัญญานั้นไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาก่อน ในกรณีที่ไม่อาจทำสัญญาตามตัวอย่าง และจำเป็นต้องร่างสัญญาขึ้นใหม่ต้องส่งร่างสัญญานั้นให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาก่อน เว้นแต่ผู้ว่าการเห็นสมควรทำสัญญาตามแบบที่เคยผ่านการพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุดมาแล้ว ก็ให้กระทำได้ สำหรับการเช่าซึ่งผู้เช่าจะต้องเสียเงินอื่นใดนอกจากค่าเช่า หรือในกรณีที่ผู้ว่าการเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ ให้ส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดหรืออัยการจังหวัด แล้วแต่กรณี ตรวจพิจารณาก่อน ในกรณีจำเป็นต้องทำสัญญาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ทำเป็นภาษาอังกฤษแต่ต้องมีคำแปลตัวสัญญาและเอกสารแนบท้ายสัญญาเฉพาะที่สำคัญเป็นภาษาไทยไว้ด้วย เว้นแต่เป็นการทำสัญญาตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนดไม่ต้องแปลเป็นภาษาไทย การทำสัญญาของ กกท. ในต่างประเทศจะทำสัญญาเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาของประเทศที่หน่วยงานของ กกท. ตั้งอยู่ โดยผ่านการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รู้กฎหมายของ กกท. ก็ได้ ข้อ ๑๓๘ การจัดหาในกรณีดังต่อไปนี้จะทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้ โดยไม่ต้องทำเป็นสัญญาตามข้อ ๑๓๗ ก็ได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ว่าการ (๑) การซื้อ การจ้าง หรือการแลกเปลี่ยนโดยวิธีตกลงราคาหรือการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีตกลงราคาที่มีวงเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๒) การจัดหาที่คู่สัญญาสามารถส่งมอบพัสดุได้ครบถ้วนภายในห้าวันทำการของทางราชการ นับตั้งแต่วันถัดจากวันทำข้อตกลงเป็นหนังสือ (๓) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษและการจัดหาจากส่วนราชการ (๔) การซื้อโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๖ (๑) (๒) (๓) และ (๔) (๕) การจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๗ (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) (๖) การเช่า ซึ่งผู้เช่าไม่ต้องเสียเงินอื่นใดนอกจากค่าเช่า ในกรณีการซื้อที่ผู้ขายสามารถส่งมอบพัสดุได้ทันที หรือการซื้อหรือการจ้างซึ่งมีราคาไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือในกรณีการซื้อหรือการจ้าง ซึ่งให้วิธีดำเนินการตามข้อ ๔๕ วรรคสอง จะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้ ข้อ ๑๓๙ การทำสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ นอกจากการจ้างที่ปรึกษาให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันในอัตราตายตัวระหว่างร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๒๐ ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ เว้นแต่การจ้าง ซึ่งต้องการผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกันให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันเป็นจำนวนเงินตายตัวในอัตราร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๑๐ ของราคางานจ้างนั้น แต่จะต้องไม่ต่ำกว่าวันละ ๑๐๐ บาท สำหรับงานก่อสร้างสาธารณูปโภคที่มีผลกระทบต่อการจราจร ให้กำหนดค่าปรับในอัตราร้อยละ ๐.๒๕ ของราคางานจ้างเฉพาะส่วนของสาธารณูปโภคนั้น แต่อาจจะกำหนดขั้นสูงสุดของการปรับก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ กกท. กำหนด ในการทำสัญญาจ้างที่ปรึกษา หากเห็นว่า ถ้าไม่กำหนดค่าปรับไว้ในสัญญาจะเกิดความเสียหายแก่ กกท. ให้จัดทำสัญญากำหนดค่าปรับเป็นรายวันในอัตราหรือจำนวนเงินตายตัวในอัตราร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๑๐ ของราคางานจ้างนั้น ได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น การกำหนดค่าปรับตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ในอัตราหรือเป็นจำนวนเงินเท่าใดให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ว่าการ โดยคำนึงถึงราคาและลักษณะของพัสดุซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการที่คู่สัญญาของ กกท. จะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือกระทบต่อการจราจร หรือความเสียหายแก่ กกท. แล้วแต่กรณี ในกรณีการจัดหาสิ่งของที่ประกอบกันเป็นชุด ถ้าขาดส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้ว จะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ แม้คู่สัญญาจะส่งมอบสิ่งของภายในกำหนดตามสัญญา แต่ยังขาดส่วนประกอบบางส่วนต่อมาได้ส่งมอบส่วนประกอบที่ยังขาดนั้นเกินกำหนดสัญญา ให้ถือว่าไม่ได้ส่งมอบสิ่งของนั้นเลย ให้ปรับเต็มราคาทั้งชุด ในกรณีที่การจัดหาสิ่งของคิดราคารวมทั้งค่าติดตั้งหรือทดลองด้วย ถ้าติดตั้งหรือทดลองเกินกว่ากำหนดตามสัญญาเห็นจำนวนวันเท่าใด ให้ปรับเป็นรายวันในอัตราที่กำหนดของราคาทั้งหมด เมื่อครบกำหนดส่งมอบพัสดุตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้ กกท. รีบแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงจากคู่สัญญา และเมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุให้ กกท. บอกสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย ข้อ ๑๔๐ ให้ผู้ว่าการส่งสำเนาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และกรมสรรพากรภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันทำสัญญาหรือข้อตกลง ข้อ ๑๔๑ สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้ว จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้เว้นแต่การแก้ไขนั้น จะเป็นความจำเป็นโดยไม่ทำให้ กกท. ต้องเสียประโยชน์ หรือเป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์แก่ กกท. ให้อยู่ในอำนาจของผู้ว่าการที่จะพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้ามีการเพิ่มวงเงินจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือขอทำความตกลงในส่วนที่ใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ และตามระเบียบข้อบังคับที่ กกท. กำหนด ข้อ ๑๔๒ ให้ผู้ว่าการพิจารณาใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงในกรณีที่มีเหตุอันเชื่อว่าผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด การตกลงกับคู่สัญญาที่จะบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงให้ผู้ว่าการ พิจารณาได้เฉพาะกรณีที่เป็นประโยชน์แก่ กกท. โดยตรง หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของ กกท. ในการที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้นต่อไป ข้อ ๑๔๓ ในกรณีที่คู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงได้และจะต้องมีการปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น หากจำนวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างให้ กกท. พิจารณาดำเนินการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงเว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ กกท. โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ให้ผู้ว่าการ พิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จำเป็น ข้อ ๑๔๔ การงดหรือการลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา หรือการขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้อยู่ในอำนาจของผู้ว่าการที่จะพิจารณา แต่ถ้าวงเงินในการสั่งซื้อหรือสั่งจ้างครั้งนั้นเกินอำนาจของผู้ว่าการ ให้เสนอประธานหรือคณะกรรมการ กกท. พิจารณา โดยให้พิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริงเฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของ กกท. (๒) เหตุสุดวิสัย (๓) เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ข้อ ๑๔๕ ในกรณีที่ไม่มีระเบียบกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ และเป็นความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ กกท. ที่จะให้สิทธิตามเงื่อนไขของสัญญาหรือข้อตกลง หรือข้อกฎหมายให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ว่าการ ที่จะให้สิทธิดังกล่าว สั่งการได้ตามความจำเป็น หลักประกัน ข้อ ๑๔๖ หลักประกันซองหรือหลักประกันสัญญา ให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) เงินสด (๒) เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ที่ใช้เช็คนั้นชำระต่อเจ้าหน้าที่หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน ๓ วันทำการ (๓) หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศ (๔) หนังสือค้ำประกันของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (๕) พันธบัตรรัฐบาลไทย สำหรับการประกวดราคานานาชาติ ให้ใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคารในต่างประเทศที่มีหลักฐานดีและผู้ว่าการเชื่อถือเป็นหลักประกันซองได้อีกประเภทหนึ่ง ข้อ ๑๔๗ หลักประกันดังกล่าวในข้อ ๑๔๖ ให้เรียกไว้ตามอัตราดังนี้ (๑) หลักประกันซอง ให้กำหนดมูลค่าเป็นจำนวนเงินตายตัว ในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละสามแต่ไม่เกินร้อยละห้าของวงเงินค่าพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง (๒) หลักประกันสัญญา ให้กำหนดมูลค่าในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละสิบแต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าของราคาพัสดุที่ตกลงซื้อหรือจ้าง และให้ลดหลักประกันสัญญาให้เหลือร้อยละห้า เมื่อส่งมอบงานงวดสุดท้าย ในการทำสัญญาจัดหาพัสดุที่มีระยะเวลาผูกพันตามสัญญาเกิน ๑ ปี และพัสดุนั้นไม่ต้องมีการประกันความชำรุดบกพร่อง เช่น พัสดุใช้สิ้นเปลือง ให้กำหนดหลักประกันในอัตราร้อยละห้าของราคาพัสดุที่ส่งมอบในแต่ละปีของสัญญา โดยให้ถือว่าหลักประกันนี้เป็นการค้ำประกันตลอดอายุสัญญา และหากในปีต่อไปราคาพัสดุที่ส่งมอบแตกต่างไปจากราคาในรอบปีก่อน ให้ปรับปรุงหลักประกันตามอัตราส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นก่อนครบรอบปี ในกรณีที่หลักประกันต้องปรับปรุงในทางที่เพิ่มขึ้นและคู่สัญญาไม่นำหลักประกันมาเพิ่มให้ครบจำนวนภายใน ๑๕ วัน ก่อนการส่งมอบพัสดุงวดสุดท้ายของปีนั้น ให้ กกท. หักจากเงินค่าพัสดุงวดสุดท้ายของปีนั้นที่ กกท. จะต้องจ่ายให้ เป็นหลักประกันในส่วนที่เพิ่มขึ้น การกำหนดหลักประกันตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง จะต้องระบุไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคา และหรือในสัญญาด้วย ในกรณีที่ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญาวางหลักประกันที่มีมูลค่าสูงกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคา หรือสัญญา ให้อนุโลมรับได้ ข้อ ๑๔๘ ในกรณีที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เสนอราคา หรือเป็นคู่สัญญาไม่ต้องวางหลักประกัน ข้อ ๑๔๙ ให้ กกท. คืนหลักประกันให้แก่ผู้เสนอราคา คู่สัญญาหรือผู้ค้ำประกันตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) หลักประกันซองให้คืนแก่ผู้เสนอราคาหรือผู้ค้ำประกันภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้พิจารณาในเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว เว้นแต่ผู้เสนอราคารายที่คัดเลือกไว้ซึ่งเสนอราคาต่ำสุดไม่เกิน ๓ ราย ให้คืนได้ต่อเมื่อได้ทำสัญญาหรือข้อตกลงหรือผู้เสนอราคาได้พ้นจากข้อผูกพันแล้ว (๒) หลักประกันสัญญาให้คืนให้แก่คู่สัญญาหรือผู้ค้ำประกันโดยเร็ว และอย่างช้าต้องไม่เกิน ๑๕ วันนับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว การจัดหาที่ไม่ต้องมีการประกันเพื่อความชำระบกพร่องให้คืนหลักประกันให้แก่คู่สัญญาหรือผู้ค้ำประกันตามอัตราส่วนของพัสดุ ซึ่ง กกท. ได้รับมอบไว้แล้ว แต่ทั้งนี้จะต้องระบุไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารสอบราคา หรือเอกสารประกวดราคาและในสัญญาด้วย การคืนหลักประกันที่เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารหรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในกรณีที่ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญาไม่มารับภายในกำหนดเวลาข้างต้น ให้รีบส่งต้นฉบับหนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญาโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยเร็วพร้อมกับแจ้งให้ธนาคารหรือบรรษัทเงินทุนหรืออุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้ค้ำประกันทราบด้วย ส่วนที่ ๘ การลงโทษผู้ทิ้งงาน ข้อ ๑๕๐ เมื่อปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกแล้วไม่ยอมไปทำสัญญาหรือข้อตกลงภายในเวลาที่ กกท. กำหนด (๒) เมื่อคู่สัญญาของ กกท. หรือผู้รับจ้างช่วงที่ กกท. อนุญาตให้รับช่วงงานได้ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น (๓) พัสดุที่ซื้อหรือจ้างทำ เกิดบกพร่องขึ้นภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงและไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องจากผู้จำหน่าย ผู้รับจ้างหรือคู่สัญญา หรือพัสดุที่ซื้อหรือจ้างไม่ได้มาตรฐานหรือวัสดุที่ใช้ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง ทำให้งานบกพร่องเสียหายอย่างร้ายแรง หรือ (๔) สำหรับงานก่อสร้างสาธารณูปโภค หากปรากฏว่าพัสดุหรือวัสดุที่ซื้อหรือจ้างหรือใช้โดยผู้รับจ้างช่วงที่ กกท. อนุญาตให้รับช่วงได้ มีข้อบกพร่องหรือไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ครบถ้วนตาม (๓) ให้ผู้ว่าการ ทำรายงานไปยังประธานกรรมการ กกท. โดยเร็ว เพื่อพิจารณาให้บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกผู้จำหน่าย ผู้รับจ้าง คู่สัญญา หรือผู้รับจ้าง ช่วงที่ กกท. อนุญาตให้รับช่วงงานได้ เป็นผู้ทิ้งงาน แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งเสนอความเห็น เพื่อประกอบพิจารณาของประธานกรรมการ กกท. ด้วย เมื่อประธานกรรมการ กกท. พิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) เป็นการกระทำโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และบุคคลดังกล่าวสมควรเป็นผู้ทิ้งงานให้ กกท. ส่งชื่อบุคคลดังกล่าวไปยังผู้รักษาการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ เพื่อระบุชื่อไว้ในบัญชีผู้ทิ้งงาน และห้าม กกท. ก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ทิ้งงาน เว้นแต่ประธานกรรมการ กกท. จะสั่งเพิกถอน ในกรณีจำเป็น และเพื่อประโยชน์ของ กกท. คณะกรรมการ กกท. อาจพิจารณาให้ไม่เป็นผู้ทิ้งงานได้ ห้าม กกท. ก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ทิ้งงานที่ผู้รักษาการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานและได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว เว้นแต่ผู้รักษาการจะสั่งเพิกถอน ข้อ ๑๕๑ ในกรณีการจ้างที่ปรึกษาหรือการจ้างออกแบบและควบคุมงานหากตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่าผลจากการปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวมีข้อบกพร่องผิดพลาด หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ กกท. อย่างร้างแรง ให้ผู้ว่าการเสนอประธานกรรมการ กกท. เพื่อพิจารณาให้คู่สัญญานั้นเป็นผู้ทิ้งงาน การพิจารณาสั่งให้คู่สัญญาเป็นผู้ทิ้งงานตามวรรคหนึ่ง ให้นำความในข้อ ๑๕๐ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า และวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๕๒ ในการจัดหาพัสดุตามข้อบังคับนี้ หากมีเหตุอันควรสงสัยปรากฏในภายหลังว่า ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายหนึ่งหรือหลายราย ไม่ว่าจะเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ได้รับการคัดเลือกหรือไม่ก็ตามกระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมหรือกระทำโดยไม่สุจริต เช่น การเสนอเอกสารอันเป็นเท็จ หรือใช้ชื่อบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลอื่นมาเสนอราคาแทน ให้ กกท. ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าบุคคลดังกล่าวสมควรเป็นผู้ทิ้งงานหรือไม่ โดยมีหนังสือแจ้งเหตุที่ กกท. สงสัยไปยังผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกสงสัยทราบ พร้อมทั้งให้ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงภายในเวลาที่ กกท. กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจาก กกท. เมื่อ กกท. ได้รับคำชี้แจงจากผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกสงสัยตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้ว่าการทำรายงานไปยังประธานกรรมการ กกท. พร้อมทั้งเสนอความเห็นของตนเพื่อประกอบการพิจารณาของประธานกรรมการ กกท. ว่าบุคคลดังกล่าว สมควรเป็นผู้ทิ้งงานหรือไม่ หากผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกสงสัย ไม่ชี้แจงภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมหรือมีการกระทำโดยไม่สุจริตให้ผู้ว่าการเสนอประธานกรรมการ กกท. พร้อมทั้งเสนอความเห็นเพื่อพิจารณาให้ผู้นั้นเป็นผู้ทิ้งงาน การพิจารณาให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเป็นผู้ทิ้งงานตามวรรคสองและวรรคสาม ให้นำความในข้อ ๑๕๐ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า และวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๕๓ ในกรณีที่ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ร่วมกระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมหรือกระทำการโดยไม่สุจริตรายใด ซึ่งมิได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการกระทำดังกล่าวได้ ให้ความร่วมมือเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของ กกท. ให้ผู้ว่าการ หรือประธานกรรมการ กกท. หรือผู้รักษาการตามระเบียบพิจารณาให้ผู้เสนอราคาหรือ ผู้เสนองานรายนั้นได้รับการยกเว้นที่จะไม่เป็นผู้ทิ้งงานได้โดยแสดงเหตุผลหรือระบุเหตุผลไว้ในการเสนอความเห็นหรือในการสั่งการ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๕๔ ในกรณีที่นิติบุคคลใดถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานตามข้อ ๑๕๐ ข้อ ๑๕๑ หรือข้อ ๑๕๒ ถ้าการกระทำดังกล่าวเกิดจากหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้น ให้ผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้ สั่งให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทิ้งงานด้วย ในกรณีที่นิติบุคคลรายใดถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานตามข้อ ๑๕๐ ข้อ ๑๕๑ หรือข้อ ๑๕๒ ให้คำสั่งดังกล่าวมีผลไปถึงนิติบุคคลอื่นที่ดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน ซึ่งมีหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้นเป็นบุคคลเดียวกันกับหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลที่ถูกพิจารณาให้เป็นผู้ทิ้งงานด้วย ในกรณีที่บุคคลธรรมดารายใดถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานตามข้อ ๑๕๐ ข้อ ๑๕๑ หรือข้อ ๑๕๒ ให้คำสั่งดังกล่าวมีผลไปถึงนิติบุคคลอื่นที่เข้าเสนอราคาหรือเสนองาน ซึ่งมีบุคคลดังกล่าวเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้นด้วย ข้อ ๑๕๕ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอันควรสงสัยว่ามีการกระทำตามข้อ ๑๕๐ ข้อ ๑๕๑ หรือข้อ ๑๕๒ และประธานกรรมการ กกท. ยังไม่ได้รายงานไปยังผู้รักษาการตามข้อบังคับ ผู้รักษาการตามข้อบังคับอาจเรียกให้ผู้ได้รับการคัดเลือก ผู้จำหน่าย ผู้รับจ้าง คู่สัญญา ผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองานที่มีข้อเท็จจริงอันควรสงสัยว่ามีการกระทำอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมหรือกระทำการโดยไม่สุจริต มาชี้แจงข้อเท็จจริงต่อผู้รักษาการตามข้อบังคับ ทั้งนี้ โดยมีหนังสือแจ้งเหตุที่ผู้รักษาการตามข้อบังคับสงสัยไปยังบุคคลดังกล่าว พร้อมทั้งแจ้งให้บุคคลนั้นชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงภายในเวลาที่ผู้รักษาการตามข้อกำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากผู้รักษาการตามข้อบังคับ เมื่อผู้รักษาการตามข้อบังคับได้รับคำชี้แจงจากผู้ได้รับการคัดเลือก ผู้จำหน่าย ผู้รับจ้าง คู่สัญญา ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกสงสัยตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้รักษาการตามข้อบังคับพิจารณาคำชี้แจงดังกล่าวหากคำชี้แจงไม่มีเหตุผลรับฟังได้ ให้ผู้รักษาการตามข้อบังคับพิจารณาให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทิ้งงาน พร้อมทั้งแจ้งผลการพิจารณาไปให้คณะกรรมการ กกท. ทราบด้วย หากผู้ได้รับการคัดเลือก ผู้จำหน่าย ผู้รับจ้าง คู่สัญญา ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกสงสัยตามวรรคหนึ่งไม่ชี้แจงภายในกำหนดเวลาที่ผู้รักษาการตามระเบียบจะได้กำหนดไว้ ให้ถือว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือมีการกระทำโดยไม่สุจริต ให้ผู้รักษาการตามระเบียบพิจารณาให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทิ้งงาน พร้อมทั้งแจ้งผลการพิจารณาไปให้คณะกรรมการ กกท. ทราบด้วย หมวด ๓ การควบคุมและการจำหน่ายพัสดุ ส่วนที่ ๑ การยืม ข้อ ๑๕๖ การให้ยืมหรือนำพัสดุไปใช้ในกิจการซึ่งมิใช่เพื่อประโยชน์ของ กกท. จะกระทำมิได้ ข้อ ๑๕๗ การยืมพัสดุประเภทใช้คงรูปไปใช้เพื่อประโยชน์ของ กกท. ให้ผู้ยืมทำหลักฐานการยืม เป็นลายลักษณ์อักษร แสดงเหตุผลและกำหนดวันส่งคืน โดยมีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) การให้หน่วยงานอื่นยืมจะต้องเป็นหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรกีฬาหรือหน่วยงานอื่นซึ่งจะยืมไปเพื่อวัตถุประสงค์ทางกีฬา จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าการเท่านั้น และผู้ยืมต้องเป็นหัวหน้าของหน่วยงานนั้น ๆ (๒) การให้บุคคลยืมใช้ภายในสถานที่ทำการของ กกท. ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบพัสดุนั้น ข้อ ๑๕๘ ผู้ยืมพัสดุประเภทใช้คงรูปจะต้องนำพัสดุนั้นมาส่งคืนให้ในสภาพเดิม หากเกิดชำรุดเสียงหายหรือใช้การไม่ได้ หรือสูญหายไป ให้ผู้ยืมจัดการแก้ไขซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม โดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเองหรือชดใช้เป็นพัสดุ ประเภท ชนิด ขนาด ลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกัน หรือชดใช้เป็นเงินตามราคาที่เป็นอยู่ในขณะยืมตามหลักเกณฑ์ที่ กกท. กำหนด ข้อ ๑๕๙ การยืมพัสดุประเภทใช้สิ้นเปลือง ให้กระทำได้เฉพาะ เมื่อผู้ยืมมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นเป็นการรีบด่วน จะดำเนินการจัดหาได้ไม่ทันการ และ กกท. มีพัสดุนั้น ๆ พอที่จะให้ยืมได้ โดยไม่เป็นการเสียหายแก่ กกท. และให้มีหลักฐานการยืมเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ โดยปกติผู้ยืมจะต้องจัดหาพัสดุเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันส่งคืนให้ กกท. ข้อ ๑๖๐ เมื่อครบกำหนดยืม ให้ผู้ให้ยืมหรือผู้รับหน้าที่แทนมีหน้าที่ติดตามทวงพัสดุที่ให้ยืม ไปคืนภายใน ๗ วัน นับแต่วันครบกำหนด ส่วนที่ ๒ การควบคุม การเก็บรักษาพัสดุ ข้อ ๑๖๑ พัสดุของ กกท. ไม่ว่าจะได้มาด้วยประการใด ให้อยู่ในความควบคุมตามข้อบังคับนี้ ข้อ ๑๖๒ เมื่อเจ้าหน้าที่พัสดุได้รับมอบแล้ว ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ลงบัญชีหรือทะเบียนเพื่อควบคุมพัสดุ แล้วแต่กรณี แยกเป็นชนิดและแสดงรายการตามตัวอย่างที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุกำหนด โดยให้มีหลักฐานการรับเข้าบัญชีหรือทะเบียนไว้ประกอบรายการด้วย สำหรับพัสดุประเภทอาหารสด จะลงรายการอาหารสดทุกชนิดในบัญชีเดียวกันก็ได้ (๒) เก็บรักษาพัสดุให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยและให้ครบถ้วนถูกต้องตรงตามบัญชีหรือทะเบียน การเบิก - จ่ายพัสดุ ข้อ ๑๖๓ การเบิกพัสดุ ให้พนักงานผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานขึ้นไปที่ต้องใช้พัสดุนั้นเป็นผู้เบิก และให้หัวหน้าหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบพัสดุเป็นผู้สั่งจ่าย ข้อ ๑๖๔ ผู้จ่ายพัสดุต้องตรวจสอบความถูกต้องของใบเบิกและเอกสารประกอบ (ถ้ามี) แล้วลงบัญชีหรือทะเบียนทุกครั้งที่มีการจ่าย และเก็บใบเบิกจ่ายไว้เป็นหลักฐานด้วย การตรวจสอบพัสดุประจำปี ข้อ ๑๖๕ ก่อนสิ้นเดือนกันยายนทุกปี ให้ผู้ว่าการ แต่งตั้งพนักงานใน กกท. ซึ่งประกอบด้วยผู้ตรวจสอบภายใน และพนักงานอื่น ซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่พัสดุคนหนึ่งหรือหลายคนตามความจำเป็น เพื่อตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุงวด ตั้งแต่ วันที่ ๑ ตุลาคมปีก่อน จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายนปีปัจจุบัน และตรวจนับพัสดุประเภทที่คงเหลืออยู่เพียงวันสิ้นงวดนั้น ในการตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ให้เริ่มดำเนินการในวันเปิดทำการวันแรกของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป ว่าการรับจ่ายถูกต้องหรือไม่ พัสดุคงเหลือมีอยู่ตรงตามบัญชีหรือทะเบียนหรือไม่ มีพัสดุใดชำรุด เสื่อมคุณภาพหรือสูญไป เพราะเหตุใด หรือพัสดุใดไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการต่อไป แล้วให้เสนอรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวต่อผู้ว่าการ ภายใน ๔๐ วันทำการ นับแต่วันเริ่มดำเนินการตรวจสอบพัสดุนั้น ให้ส่งรายงานเสนอตามลำดับชั้นจนถึงผู้ว่าการ ๑ ชุด และส่งสำเนารายงานไปยังสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค แล้วแต่กรณี ๑ ชุด สำหรับสำนักงาน กกท. ส่วนภูมิภาคให้ส่งรายงานไปยังหน่วยงานพัสดุในส่วนกลางเพื่อรวบรวมเสนอต่อผู้ว่าการต่อไป ข้อ ๑๖๖ เมื่อผู้ว่า ได้รับรายงานดังกล่าวตามข้อ ๑๖๕ และปรากฏว่ามีพัสดุชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญไปหรือไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการต่อไป ก็ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงขึ้นคณะหนึ่ง โดยให้นำความในข้อ ๔๐ และข้อ ๔๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ กรณีที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่า เป็นการเสื่อมสภาพ เนื่องจากมาใช้งานตามปกติ หรือเสื่อมไปตามธรรมชาติ ให้ผู้ว่าการพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการจำหน่ายต่อไปได้ ถ้าผลการพิจารณาปรากฏว่า จะต้องหาตัวผู้รับผิดด้วย ให้ผู้ว่าการดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของ กกท. ที่เกี่ยวข้องต่อไป ส่วนที่ ๓ การจำหน่าย ข้อ ๑๖๗ หลังจากการตรวจสอบแล้ว หากปรากฏว่าไม่มีตัวผู้รับผิดและยังมีตัวพัสดุอยู่หรือพัสดุใดหมดความจำเป็น หรือหากใช้ราชการต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากให้เจ้าหน้าที่พัสดุเสนอรายงานต่อผู้ว่าการเพื่อพิจารณาสั่งให้ดำเนินการตามวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) ขาย ให้ดำเนินการขายโดยวิธีทอดตลาดก่อน แต่ถ้าขายโดยวิธีทอดตลาดแล้วไม่ได้ผลดีให้นำวิธีที่กำหนดเกี่ยวกับการซื้อมาใช้โดยอนุโลม เว้นแต่การขายพัสดุครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท จะขายโดยวิธีตกลงราคาโดยไม่ต้องทอดตลาดก่อนก็ได้ การขายให้แก่ส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจหรือองค์การสถานสาธารณกุศลตามมาตรา ๔๗ (๗) แห่งประมวลรัษฎากรให้ขายโดยวิธีตกลงราคา (๒) แลกเปลี่ยน ให้ดำเนินการตามวิธีการแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ (๓) โอน ให้โอนแก่ส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจหรือองค์การสถานสาธารณกุศลตามมาตรา ๔๗ (๗) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ให้มีหลักฐานการส่งมอบไว้ต่อกันด้วย (๔) แปรสภาพหรือทำลาย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กกท. กำหนด การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง โดยปกติให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่ผู้ว่าการสั่งการ ข้อ ๑๖๘ เงินที่ได้จากการจำหน่ายพัสดุ ให้ถือเป็นรายได้ของ กกท. การจำหน่ายเป็นสูญ ข้อ ๑๖๙ ในกรณีที่พัสดุสูญไปโดยไม่ปรากฏตัวผู้รับผิดหรือมีตัวผู้รับผิดแต่ไม่สามารถชดใช้หรือมีตัวพัสดุอยู่แต่ไม่สมควรดำเนินการตามข้อ ๑๖๗ ให้จำหน่ายพัสดุนั้นเป็นสูญ ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ถ้าพัสดุนั้นมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้ผู้ว่าการเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ (๒) ถ้าพัสดุนั้นมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันเกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ กกท. เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ การลงจ่ายออกจากบัญชีหรือทะเบียน ข้อ ๑๗๐ เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๑๖๗ หรือข้อ ๑๖๙ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุลงจ่ายพัสดุนั้นออกจากบัญชีหรือทะเบียนทันที และแจ้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค ทราบภายใน ๓๐ วันทำการ นับแต่วันลงจ่ายพัสดุนั้น สำหรับพัสดุซึ่งต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย ให้แจ้งแก่นายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดด้วย ข้อ ๑๗๑ ในกรณีที่พัสดุของ กกท. เกิดการชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือสูญไป หรือไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการต่อไป ก่อนมีการตรวจสอบตามข้อ ๑๖๕ และได้ดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องหรือข้อบังคับนี้โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี เสร็จสิ้นแล้ว ถ้าไม่มีระเบียบอื่นใดกำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้ดำเนินการตามข้อ ๑๖๗ ข้อ ๑๖๘ ข้อ ๑๖๙ และข้อ ๑๗๐ โดยอนุโลม หมวด ๔ บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๗๒ การพัสดุใดที่อยู่ในระหว่างดำเนินการและยังไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งเดิมจนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จหรือจนกว่าจะสามารถดำเนินการตามข้อบังคับนี้ได้ ข้อ ๑๗๓ กรณีที่มีปัญหาในการตีความและวินิจฉัย หรือไม่อาจปฏิบัติได้ตามข้อบังคับนี้ ให้เสนอคณะกรรมการ กกท. พิจารณาตีความและวินิจฉัย หรืออนุมัติการขอยกเว้นหรือผ่อนผันเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบสัญญาซื้อขาย ๒. แบบหนังสือค้ำประกัน (หลักประกันสัญญา) ๓. แบบหนังสือค้ำประกัน (หลักประกันซอง) ๔. แบบหนังสือค้ำประกัน (หลักประกันการรับเงินค่าพัสดุล่วงหน้า) ๕. แบบสัญญาจ้าง ๖. แบบหนังสือค้ำประกัน (หลักประกันซอง) ๗. แบบหนังสือค้ำประกัน (หลักประกันสัญญา) ๘. แบบหนังสือค้ำประกัน (หลักประกันการรับเงินค่าจ้างล่วงหน้า) ๙. ตัวอย่างสัญญาจ้างที่ปรึกษาออกแบบและควบคุมงาน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๔ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๖๘ ง/หน้า ๙/๒๐ กันยายน ๒๕๔๒
301880
ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 11 ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2532
ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑๑ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๒ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยการพัสดุของการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๑) ของพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๒๘ คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ด้วยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง จึงวางข้อบังคับไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑๑ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๒” ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (๑) “ข้อบังคับองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการทำนิติกรรม พ.ศ. ๒๕๒๐” (๒) “ระเบียบองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๒๒” บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่ง อื่นใดที่กำหนดไว้แล้วในข้อบังคับนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้ “พัสดุ” หมายความว่า วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ที่กำหนดไว้ในหนังสือการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณของสำนักงบประมาณ “การพัสดุ” หมายความว่า การซื้อ การจ้าง การซ่อมและการบำรุงรักษา การจัดทำเอง การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม และการดำเนินการอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ “กกท.” หมายความว่า การกีฬาแห่งประเทศไทย “คณะกรรมการ กกท.” หมายความว่า คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย “ประธานกรรมการ กกท.” หมายความว่า ประธานกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย “ผู้ว่าการ” หมายความว่า ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย “พนักงาน” หมายความว่า พนักงานของการกีฬาแห่งประเทศไทย และหมายความรวมถึงผู้ว่าการและรองผู้ว่าการด้วย “เจ้าหน้าที่พัสดุ” หมายความว่า พนักงานซึ่งดำรงตำแหน่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุ หรือผู้ได้รับแต่งตั้งหรือได้รับมอบหมายจากผู้ว่าการให้มีหน้าที่หรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัสดุตามข้อบังคับนี้ “การซื้อ” หมายความว่า การซื้อพัสดุทุกชนิด แต่ไม่รวมถึงการจัดหาพัสดุในลักษณะการจ้าง “การจ้าง” ให้หมายความรวมถึงการจ้างทำของและการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการจ้างเหมาบริการแต่ไม่รวมถึงการจ้างของลูกจ้างของ กกท. และการรับขนในการเดินทางไปปฏิบัติงาน “ผู้สั่งซื้อ” หมายความว่า ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ซื้อ “ผู้สั่งจ้าง” หมายความว่า ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตให้จ้าง “ผู้ซื้อ” หมายความว่า ผู้ว่าการซึ่งดำเนินการซื้อในนามของ กกท. “ผู้ว่าจ้าง” หมายความว่า ผู้ว่าการซึ่งดำเนินการจ้างในนามของ กกท. ข้อ ๔ ข้อบังคับนี้ใช้บังคับสำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุซึ่งใช้งบประมาณ เงินรายได้ตามมาตรา ๑๐ และ ๑๑ ของพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ข้อ ๕ ผู้ว่าการจะมอบอำนาจตามข้อบังคับนี้ โดยทำเป็นหนังสือให้แก่พนักงานผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้ โดยคำนึงถึงตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่จะได้รับมอบอำนาจนั้นเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ภายในวงเงินที่ผู้ว่าการมีอำนาจ ข้อ ๖ เจ้าหน้าที่พัสดุ ผู้ว่าการ หรือผู้มีอำนาจสั่งการตามข้อบังคับนี้ ผู้ใดกระทำการโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ หรือกระทำการโดยมีเจตนาทุจริตหรือปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทยว่าด้วยการพนักงานที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ถ้าการกระทำเป็นเหตุให้การกีฬาแห่งประเทศไทยเสียหายอย่างร้ายแรงให้ดำเนินการลงโทษอย่างต่ำให้ออก หรือเลิกจ้าง (๒) ถ้าการกระทำเป็นเหตุให้การกีฬาแห่งประเทศไทยเสียหายแต่ไม่ร้ายแรงให้ลงโทษอย่างต่ำตัดเงินเดือน (๓) ถ้าการกระทำไม่เป็นเหตุให้การกีฬาแห่งประเทศไทยเสียหายให้ลงโทษภาคทัณฑ์ หรือว่ากล่าวตักเตือน โดยทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร การลงโทษตาม (๑) หรือ (๒) ไม่เป็นเหตุให้ผู้กระทำหลุดพ้นจากความผิดอาญา หรือความผิดในทางแพ่ง หมวด ๒ การจัดหาพัสดุ ส่วนที่ ๑ การซื้อและการจ้าง ข้อ ๗ การซื้อให้ส่งเสริมพัสดุที่ผลิตในประเทศไทย โดยให้ถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๒๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้ง ระเบียบ คำสั่ง และมติของคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยอนุโลม การจ้างให้ส่งเสริมกิจการของคนไทย โดยให้ถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๒๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้ง ระเบียบ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยอนุโลม วิธีซื้อและวิธีจ้าง ข้อ ๘ การซื้อและการจ้างกระทำได้ ๕ วิธี คือ (๑) วิธีตกลงราคา (๒) วิธีสอบราคา (๓) วิธีประกวดราคา (๔) วิธีพิเศษ (๕) วิธีกรณีพิเศษ ข้อ ๙ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๐ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกินกว่า ๔๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๑ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกินกว่า ๔๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๒ การซื้อหรือการจ้างตามข้อ ๙ และข้อ ๑๐ ถ้าผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเห็นสมควรจะสั่งให้กระทำโดยวิธีที่กำหนดไว้สำหรับวงเงินที่สูงกว่าก็ได้ การแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างเพื่อให้วงเงินต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในวิธีหนึ่งวิธีใด จะกระทำมิได้ ข้อ ๑๓ การซื้อโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกินกว่า ๔๐,๐๐๐ บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นพัสดุขายทอดตลาด (๒) เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาดโดยส่วนราชการหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศ หรือหน่วยงานของต่างประเทศ (๓) เป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่การปฏิบัติงาน (๔) เป็นพัสดุเพื่อใช้ในกิจการลับ (๕) เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศหรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ (๖) เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรง (๗) เป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี (๘) เป็นพัสดุที่เป็นที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง (๙) เป็นพัสดุที่เป็นอุปกรณ์กีฬา ซึ่งจำเป็นต้องซื้อจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรงเพื่อให้ได้ราคาต่ำกว่าราคาขายส่งไม่น้อยกว่า ๒๐ % ข้อ ๑๔ การจ้างโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกินกว่า ๔๐,๐๐๐ บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นงานที่ต้องการช่างผู้มีฝีมือจริง ๆ หรือผู้มีความชำนาญพิเศษ (๒) เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุที่จำเป็นต้องถอดตรวจให้ทราบความชำรุดเสียหายก่อนจึงจะประมาณค่าซ่อมได้ (๓) เป็นงานที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่การปฏิบัติงาน (๔) เป็นงานที่ต้องปกปิดเป็นความลับ (๕) เป็นงานที่ได้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี ข้อ ๑๕ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ ได้แก่การซื้อหรือการจ้างในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การซื้อหรือการจ้างจากส่วนราชการ หน่วยงาน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการ บริหารส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นผู้ทำหรือผลิตวัสดุนั้น ๆ ขึ้นเอง (๒) การซื้อหรือการจ้างที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรี กำหนดให้ต้องซื้อหรือจ้างจากส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ รายงานขอซื้อและขอจ้าง ข้อ ๑๖ ก่อนดำเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธี นอกจากการซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างตามข้อ ๑๗ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอผู้ว่าการดังนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง (๒) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง (๓) ราคาพัสดุหรือค่าจ้างในท้องตลาดขณะนั้นที่สืบทราบหรือประมาณได้และราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุด (ถ้ามี) (๔) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง (๕) ประมาณเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้น หรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ (๖) วิธีที่จะซื้อหรือจ้าง และเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น (๗) ข้อเสนออื่น ๆ (ถ้ามี) ในกรณีที่จะต้องดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๑๓ (๓) หรือ ข้อ ๑๔ (๓) ซึ่งไม่อาจทำรายงานตามปกติได้ เจ้าหน้าที่พัสดุหรือผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้น จะทำรายงานเฉพาะรายการที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้ ข้อ ๑๗ ก่อนดำเนินการซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำรายงานเสนอผู้ว่าการตามรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อ (๒) รายละเอียดของที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างที่ต้องการซื้อรวมทั้งเนื้อที่และท้องที่ที่ต้องการ (๓) ราคาประเมินของทางราชการในท้องที่นั้น และราคาซื้อขายของที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างใกล้เคียงบริเวณที่จะซื้อครั้งหลังสุดประมาณ ๓ ราย (๔) วงเงินที่จะซื้อ (๕) วิธีที่จะซื้อและเหตุผลที่ต้องซื้อโดยวิธีนั้น (๖) ข้อเสนออื่น ๆ (ถ้ามี) การดำเนินการซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง ให้ติดต่อกับเจ้าของโดยตรง เว้นแต่การซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างในต่างประเทศ หากจำเป็นต้องติดต่อผ่านนายหน้า หรือดำเนินการในทำนองเดียวกันตามกฎหมายหรือประเพณีนิยมของท้องถิ่นก็ให้กระทำได้ ข้อ ๑๘ เมื่อผู้ว่าการให้ความเห็นชอบตามรายงานที่เสนอตามข้อ ๑๖ หรือข้อ ๑๗ แล้วให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการตามวิธีการซื้อหรือวิธีการจ้างนั้น ๆ ต่อไปได้ กรรมการ ข้อ ๑๙ ในการดำเนินการซื้อหรือจ้างแต่ละครั้งให้ผู้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อการปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้ แล้วแต่กรณี คือ (๑) คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา (๒) คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา (๓) คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา (๔) คณะกรรมการจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ (๕) คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (๖) คณะกรรมการตรวจการจ้าง ข้อ ๒๐ คณะกรรมการตามข้อ ๑๙ แต่ละคณะให้ประกอบด้วยประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน โดยปกติให้แต่งตั้งจากพนักงานตั้งแต่ระดับ ๓ หรือเทียบเท่าขึ้นไปในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของ กกท. จะแต่งตั้งบุคคลที่มิใช้พนักงานร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้ ถ้าประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งพนักงานที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นทำหน้าที่ประธานกรรมการแทน ในกรณีเมื่อถึงกำหนดเวลารับและเปิดซองประกวดราคา หรือเปิดซองสอบราคา ประธานกรรมการยังไม่มาปฏิบัติหน้าที่ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานกรรมการในเวลานั้นโดยให้คณะกรรมการดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่เฉพาะข้อ ๒๖ (๑) ข้อ ๓๒ แล้วแต่กรณี แล้วรายงานประธานกรรมการซึ่งผู้ว่าการแต่งตั้งเพื่อดำเนินการต่อไป ในการซื้อหรือจ้างครั้งเดียวกันห้ามแต่งตั้งผู้ที่เป็นกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา เป็นกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา หรือแต่งตั้งผู้ที่เป็นกรรมการเปิดซองสอบราคา หรือกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ คณะกรรมการการทุกคณะเว้นแต่คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาควรแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุหรืองานจ้างนั้น ๆ เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย สำหรับการซื้อหรือการจ้างในวงเงินไม่เกิน ๒๐,๐๐๐.- บาท จะแต่งตั้งพนักงานเพียงคนเดียวเป็นผู้ตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างนั้น โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้างก็ได้ ข้อ ๒๑ ในการประชุมปรึกษาของคณะกรรมการแต่ละคณะ ต้องมีกรรมการมาพร้อมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดโดยให้ประธานกรรมการและกรรมการแต่ละคนมีเสียงหนึ่งในการลงมติ มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก เว้นแต่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ และคณะกรรมการตรวจการจ้าง ให้ถือมติเอกฉันท์ ในกรณีกรรมการบางคนไม่ยอมรับพัสดุหรืองานจ้างนั้น โดยทำความเห็นแย้งไว้ ให้นำความในข้อ ๓๙ (๗) หรือข้อ ๔๐ (๖) แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับสำหรับคณะกรรมการคณะอื่น ถ้าผู้ใดไม่เห็นด้วยให้ทำบันทึกความเห็นแย้งไว้ด้วย ข้อ ๒๒ การแต่งตั้งคณะกรรมการตามข้อ ๑๙ สำหรับสำนักงานสาขา ถ้ามีพนักงานในสำนักงานนั้นไม่พอที่จะปฏิบัติตามความในข้อ ๒๐ หรือข้อ ๒๑ ได้ จะแต่งตั้งพนักงานคนหนึ่งและลูกจ้างของสำนักงานนั้นหรือบุคคลอื่นร่วมเป็นกรรมการคณะหนึ่งคณะใด หรือทุกคณะก็ได้ วิธีตกลงราคา ข้อ ๒๓ การซื้อหรือจ้างโดยวิธีตกลงราคา ให้เจ้าหน้าที่พัสดุต่อรองและตกลงราคากับผู้ขายหรือผู้รับจ้าง แล้วจัดซื้อหรือจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบตามข้อ ๑๘ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคาในกรณีจำเป็นและเร่งด่วนที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อนและไม่อาจดำเนินการปกติได้ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้นดำเนินการไปก่อน แล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง ส่วนการซื้อหรือการจ้างในกรณีดังกล่าว ให้ผู้จ่ายเงินค่าพัสดุหรืองานจ้าง แล้วแต่กรณี เป็นผู้ตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างนั้น ๆ โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้าง วิธีสอบราคา ข้อ ๒๔ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ก่อนวันเปิดซองไม่น้อยกว่า ๗ วัน ให้เจ้าหน้าที่พัสดุปิดใบประกาศสอบราคาไว้ โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของ กกท. กับให้ส่งประกาศดังกล่าว หรือแจ้งด้วยวาจาไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เสนอราคาเป็นหนังสือผนึกซองยื่นต่อเจ้าหน้าที่พัสดุด้วยตนเอง หรือโดยผู้แทนซึ่งได้รับมอบหมายเป็นหนังสือภายในวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด (๒) ให้เจ้าหน้าที่พัสดุรับซองใบเสนอราคายื่นมาทุกรายโดยไม่เปิดซองเมื่อครบกำหนดเวลาตาม (๑) แล้ว ให้ส่งมอบซองใบเสนอราคาพร้อมทั้งรายงานผลการรับซองต่อคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา เพื่อดำเนินการต่อไป เมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองแล้ว ห้ามรับซองใบเสนอราคาพร้อมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ จากผู้หนึ่งผู้ใดอีก การรับซองสอบราคาทางไปรษณีย์จะกระทำมิได้ ข้อ ๒๕ ใบประกาศสอบราคา ให้มีรายการทำนองเดียวกับในประกาศประกวดราคาตามข้อ ๓๐ เว้นแต่ไม่ต้องวางหลักประกันซอง ข้อ ๒๖ คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา มีหน้าที่ดังนี้ (๑) เปิดซองใบเสนอราคาโดยเปิดเผยต่อหน้าผู้ยื่นซองหรือผู้แทน ซึ่งมีอยู่ในขณะถึงเวลาเปิดซอง แล้วจดราคาจากใบเสนอราคาทุกฉบับลงไว้ในบัญชีเปรียบเทียบราคา และให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคา บัญชีเปรียบเทียบราคา และเอกสารประกอบใบเสนอราคาที่เป็นเอกสารสำคัญ (๒) ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา แคตตาล็อก หรือแบบรูปและรายละเอียด แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขในประกาศสอบราคา (๓) พิจารณาคัดเลือกพัสดุหรืองานจ้างของผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตาม (๒) ที่มีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อ กกท. ก่อนแล้วเสนอให้ซื้อหรือจ้างจากรายที่คัดเลือกไว้แล้ว ซึ่งเสนอราคาต่ำสุดและอยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการที่จะต่อรองราคาหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงราคาที่เจ้าหน้าที่พัสดุเสนอตามข้อ ๑๖ หรือข้อ ๑๗ เป็นเครื่องประกอบการพิจารณา ถ้ามีผู้เสนอราคาเท่ากันหลายราย ให้เรียกผู้เสนอราคาดังกล่าวมาขอให้เสนอราคาใหม่พร้อมกันด้วยวิธียื่นซองเสนอราคาหรือโดยวาจา ถ้าปรากฏว่าราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ให้คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาดำเนินการตามข้อ ๒๗ (๔) ในกรณีที่มีผู้เสนอราคาถูกต้องตรงตามรายการละเอียดและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแจ้งความสอบราคาเพียงรายเดียว ให้คณะกรรมการดำเนินการตาม (๓) โดยอนุโลม (๕) เมื่อได้ดำเนินการไปแล้วได้ผลประการใด ให้เสนอความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้ว่าการเพื่อสั่งการโดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ข้อ ๒๗ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคาที่ปรากฏว่าราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ให้คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาดำเนินการตามลำดับ ดังนี้ (๑) เรียกผู้เสนอราคารายนั้นมาต่อรองราคาให้ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ หากผู้เสนอราคารายนั้นยอมลดราคาลงอยู่ภายในวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๒) ถ้าผู้เสนอราคาตาม (๑) ไม่ยอมลดราคาหรือลดราคาแล้วแต่ยังสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ให้เรียกผู้เสนอราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างทุกรายมาต่อรองราคาใหม่พร้อมกันด้วยวิธียื่นซองเสนอราคาภายในกำหนดระยะเวลาอันสมควร หากรายใดไม่มายื่นซองให้ถือว่ารายนั้นยืนตามราคาที่เสนอไว้เดิม ทั้งนี้ ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้ที่ลดราคาลงต่ำสุดอยู่ภายในวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง (๓) ถ้าปรากฏว่าราคาต่ำสุดของรายที่ได้ต่อรองราคาใหม่ยังสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างหรือไม่มีผู้ใดยินยอมลดราคาเลย ให้เสนอความเห็นต่อผู้ว่าการว่าจะสมควรเปลี่ยนแปลงรายการหรือขอเงินงบประมาณเพิ่มเติมตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ หรือยกเลิกการสอบราคาเพื่อดำเนินการสอบราคาใหม่ หรือดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีอื่น วิธีประกวดราคา ข้อ ๒๘ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคา ให้เจ้าหน้าที่พัสดุปิดประกาศประกวดราคาโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของ กกท. หรือที่ทำการของสำนักงานสาขา และประกาศทางวิทยุกระจายเสียงหรือลงประกาศในหนังสือพิมพ์ หากเห็นควรจะส่งประกาศหรือใบแจ้งความดังกล่าวไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรง หรือจะโฆษณาด้วยวิธีอื่นอีกก็ได้ สำหรับการซื้อหรือการจ้าง ซึ่งมีวงเงินซื้อหรือจ้างตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป ให้ส่งประกาศประกวดราคาให้กรมประชาสัมพันธ์ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สาระสำคัญในการส่งข่าวการประกวดราคาไปประกาศทางวิทยุกระจายเสียง หรือลงประกาศในหนังสือพิมพ์ของทางราชการ ประกอบด้วย ๑. รายการพัสดุที่ต้องการซื้อหรืองานที่ต้องการจ้าง ๒. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าประกวดราคา ๓. กำหนดวัน เวลา รับซอง ปิดการรับซอง และเปิดซองประกวดราคา ๔. สถานที่ขอรับหรือขอซื้อเอกสารการประกวดราคา และราคาของเอกสาร การดำเนินการดังกล่าวข้างต้น จะต้องกระทำก่อนวันรับซองประกวดราคาไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ข้อ ๒๙ การให้หรือขายแบบรูปและรายการละเอียดในการประกวดราคาให้กระทำ ณ สถานที่ที่ผู้ต้องการสามารถติดต่อได้โดยสะดวกและไม่เป็นเขตหวงห้ามกับจะต้องจัดเตรียมไว้ให้มากพอสำหรับความต้องการของผู้มาขอรับหรือขอซื้อ ที่มีอาชีพขายหรือทำงานจ้างนั้น รายละ ๑ ชุด โดยไม่มีเงื่อนไขในการให้หรือขาย ทั้งนี้ ให้เผื่อเวลาไว้สำหรับการคำนวณราคาของผู้ประสงค์จะเข้ามาเสนอราคา โดยจะต้องดำเนินการให้หรือขายก่อนวันรับซองประกวดราคาไม่น้อยกว่า ๗ วัน ในกรณีที่มีการขาย ให้กำหนดราคาพอสมควรกับค่าใช้จ่ายที่ กกท. ต้องเสียไปในการจัดทำสำเนาแบบรูปและรายการละเอียด นั้น ถ้ามีการยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น และมีการประกวดราคาใหม่ ให้ผู้รับหรือซื้อแบบรูปและรายการละเอียดในการประกวดราคาครั้งก่อน มีสิทธิใช้แบบรูป และรายการละเอียดนั้น หรือได้รับแบบรูปและรายการละเอียดใหม่ โดยไม่ต้องเสียค่าซื้อแบบรูปและรายการละเอียดอีก ข้อ ๓๐ ประกาศประกวดราคาอย่างน้อยให้แสดงรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) รายละเอียดและคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่ต้องการซื้อหรืองานที่ต้องการจ้างและจำนวนที่ต้องการ (๒) คุณสมบัติของผู้เข้าประกวดราคาซึ่งจะต้องมีอาชีพขาย หรือรับจ้างตาม (๑) และไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิหรือความคุ้มกันซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาล เว้นแต่รัฐบาลของผู้เข้าประกวดราคาจะได้มีคำสั่งให้สละเอกสิทธิและความคุ้มกันเช่นว่านั้น สำหรับการประกวดราคาซื้อพัสดุที่มีผู้ผลิต หรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรง ให้กำหนดความต้องการไว้ทั้งจากผู้ผลิตและผู้ที่มีหนังสือรับรองจากผู้ผลิตในการเป็นผู้แทนจำหน่ายพัสดุนั้นโดยตรงเว้นแต่ กกท. จะพิจารณาเห็นว่าไม่อาจซื้อพัสดุนั้นจากบุคคลดังกล่าวได้ ก็ให้กำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าประกวดราคาเป็นอย่างอื่นได้ตามความเหมาะสม ส่วนการจ้างก่อสร้างให้จำกัดเฉพาะผู้มีกิจการรับเหมาก่อสร้างเป็นของตนเองและดำเนินการก่อสร้างส่วนใหญ่ด้วยตนเอง (๓) ในกรณีจำเป็นให้ระบุให้ผู้เข้าประกวดราคาส่งตัวอย่างแคตตาล็อคหรือแบบรูปและรายการละเอียดไปพร้อมกับใบเสนอราคา (๔) ถ้าจำเป็นต้องทำการตรวจทดลอง ให้กำหนดจำนวนตัวอย่างให้พอแก่การตรวจทดลองและให้มีเหลือไว้สำหรับทำสัญญาด้วย ทั้งนี้ ให้มีข้อกำหนดไว้ด้วยว่า กกท. ไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นแก่ตัวอย่างที่ส่งมาให้ตรวจทดลอง (๕) ข้อกำหนดให้ผู้เข้าประกวดราคาเสนอราคารวมทั้งสิ้น และราคาต่อหน่วยหรือต่อรายการ (ถ้าทำได้) พร้อมทั้งระบุหลักเกณฑ์ว่าจะพิจารณาราคารวมหรือราคาต่อหน่วยหรือต่อรายการไว้ด้วย (๖) กำหนดระยะเวลายื่นราคาเท่าที่จำเป็นต่อ กกท. และมีเงื่อนไขด้วยว่าซองประกวดราคาที่ยื่นต่อ กกท. และลงทะเบียนรับซองแล้วจะถอนคืนมิได้ (๗) กำหนดสถานที่ วัน เวลารับซอง ปิดการรับซองและเปิดซองประกวดราคา (๘) กำหนดสถานที่ส่งมอบพัสดุและวันส่งมอบโดยประมาณ (สำหรับการซื้อ) หรือกำหนดวันที่จะเริ่มทำงานและวันแล้วเสร็จโดยประมาณ (สำหรับการจ้าง) (๙) จำนวนเงินที่กำหนดเป็นหลักประกันซอง สถานที่รับหลักประกันซอง และมีเงื่อนไขว่าถ้าผู้เข้าประกวดราคาถอนการเสนอราคา หรือไม่ไปทำสัญญาหรือข้อตกลงกับ กกท. ภายในกำหนด กกท. จะริบหลักประกันซอง หรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ค้ำประกันและสงวนสิทธิที่จะถือว่าผู้ที่ไม่ไปทำสัญญากับ กกท. เป็นผู้ทิ้งงานด้วย (๑๐) กำหนดเงื่อนไขและอัตราการจ่ายเงินล่วงหน้า (ถ้ามี) (๑๑) ข้อกำหนดว่าผู้ประกวดราคาได้ จะต้องวางหลักประกันสัญญาตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อ ๔๗ (๑๒) ใบเสนอราคาให้ลงราคารวมทั้งสิ้นเป็นตัวเลขและต้องมีตัวหนังสือกำกับ ถ้าตัวเลขและตัวหนังสือไม่ตรงกันให้ถือตัวหนังสือเป็นสำคัญ (๑๓) ซองประกวดราคาต้องผนึกให้เรียบร้อยก่อนยื่นต่อเจ้าหน้าที่หรือคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา และผู้เสนอราคาจะต้องจัดทำบัญชีรายการเอกสารที่ได้ยื่นพร้อมซองประกวดราคาด้วย (๑๔) สถานที่ติดต่อเกี่ยวกับแบบรูปและรายละเอียดพร้อมทั้งแบบสัญญาในกรณีที่มีการขายให้ระบุราคาขายไว้ด้วย (๑๕) อัตราค่าปรับ (๑๖) ขอสงวนสิทธิว่า กกท. จะไม่พิจารณาผู้เสนอราคาที่เป็นผู้ทิ้งงานของทางราชการและทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะงดซื้อหรือจ้างหรือเลือกซื้อหรือจ้างโดยไม่จำเป็นต้องซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคาต่ำสุดเสมอไป รวมทั้งจะพิจารณายกเลิกการประกวดราคา หากมีเหตุที่เชื่อได้ว่าการดำเนินการประกวดราคากระทำไปโดยไม่สุจริต หรือมีการสมยอมกันในการเสนอราคา ข้อ ๓๑ ก่อนวันเปิดซองประกวดราคา หากมีความจำเป็นที่จะต้องชี้แจง หรือให้รายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แก่ กกท. หรือมีความจำเป็นต้องแก้ไขรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญให้จัดทำเป็นประกาศประกวดราคาเพิ่มเติม และดำเนินการตามข้อ ๒๘ โดยอนุโลมกับแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ที่ขอรับหรือขอซื้อเอกสารประกวดราคาไปแล้วทุกรายด้วย การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากจะเป็นเหตุให้ผู้เสนอราคาไม่สามารถยื่นซองประกวดราคาได้ทันตามกำหนดเดิมให้เลื่อน วัน เวลา รับซองและเปิดซองประกวดราคาตามจำเป็นด้วย นอกจากกรณีข้างต้นเมื่อถึงกำหนดวันรับซองประกวดราคาห้ามมิให้ร่นหรือเลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลารับซองเปิดซองประกวดราคา ข้อ ๓๒ คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา มีหน้าที่ดังนี้ (๑) รับซองประกวดราคา ลงทะเบียนรับซองไว้เป็นหลักฐาน ลงชื่อกำกับซองกับบันทึกไว้ที่หน้าซองว่าเป็นของผู้ใด (๒) ตรวจสอบหลักประกันซองร่วมกับเจ้าหน้าที่การเงินเมื่อถูกต้องแล้วให้เจ้าหน้าที่การเงินออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นซองไว้เป็นหลักฐาน หากไม่ถูกต้องให้หมายเหตุในใบรับและบันทึกในรายงานด้วย กรณีหลักประกันซองเป็นหนังสือค้ำประกัน การตรวจสอบความสมบูรณ์ให้กระทำโดยการแจ้งให้ธนาคารหรือบริษัทเงินทุนผู้ออกหนังสือค้ำประกันทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ (๓) รับเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามบัญชีรายการเอกสารของผู้เสนอราคาพร้อมทั้งพัสดุตัวอย่าง แคตตาล็อก หรือแบบรูปและรายการละเอียด (๔) เมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองประกวดราคาแล้ว ห้ามรับซองประกวดราคาหรือเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศประกวดราคาอีก เว้นแต่กรณีรอรับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานหรือได้รับจดทะเบียนผลิตภัณฑ์จากกระทรวงอุตสาหกรรมภายใน ๑๐ วันทำการนับถัดจากวันเสนอราคา การรับซองประกวดราคาทางไปรษณีย์จะกระทำมิได้ (๕) เปิดซองใบเสนอราคา และอ่านแจ้งราคาพร้อมบัญชีรายการเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของผู้เสนอราคาทุกราย โดยเปิดเผยตามเวลาและสถานที่ที่กำหนด และให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคา และเอกสารประกอบใบเสนอราคาทุกแผ่น (๖) เมื่อได้ดำเนินการตาม (๕) แล้ว ให้ส่งมอบใบเสนอราคาทั้งหมดและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พร้อมด้วยบันทึกรายงานดำเนินการต่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาทันทีในวันเดียวกัน ข้อ ๓๓ คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา มีหน้าที่ดังนี้ (๑) ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา เอกสารหลักฐานต่าง ๆ พัสดุตัวอย่าง แคตตาล็อค หรือแบบรูปและรายการละเอียด แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขในประกาศประกวดราคา ในกรณีที่ผู้เสนอราคารายใดเสนอรายละเอียดแตกต่างไปจากที่กำหนดในเงื่อนไขประกาศประกวดราคาในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญและความแตกต่างนั้นไม่มีผลทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบต่อผู้เสนอราคารายอื่น หรือเป็นการผิดพลาดเล็กน้อยให้พิจารณาผ่อนปรนให้ผู้เข้าประกวดราคาโดยไม่ตัดผู้เข้าประกวดราคารายนั้นออก ในการพิจารณา คณะกรรมการอาจสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้เสนอราคารายใดก็ได้แต่จะให้ผู้เสนอราคารายใดเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญที่เสนอไว้แล้วมิได้ (๒) พิจารณาคัดเลือกสิ่งของหรืองานจ้างหรือคุณสมบัติของผู้เสนอราคาที่ถูกตรวจสอบแล้วตาม (๑) ซึ่งมีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อ กกท. ก่อน แล้วเสนอให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายที่คัดเลือกไว้แล้ว ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด ถ้ามีผู้เสนอราคาเท่ากันหลายราย ให้เรียกผู้เสนอราคาดังกล่าวมาขอให้เสนอราคาใหม่พร้อมกัน ด้วยวิธียื่นซองเสนอราคา ถ้าปรากฏว่าราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาดำเนินการตามข้อ ๒๗ โดยอนุโลม (๓) เมื่อได้ดำเนินการไปแล้วได้ผลประการใด ให้เสนอความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้ว่าการเพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ข้อ ๓๔ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาได้ดำเนินการตามข้อ ๓๓ (๑) แล้ว ปรากฏว่ามีผู้เสนอราคาถูกต้องตรงตามรายการละเอียดและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศประกวดราคาเพียงรายเดียว ถ้าคณะกรรมการเห็นว่ามีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการต่อไป โดยไม่ต้องยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้นให้ดำเนินการตามข้อ ๓๓ (๒) โดยอนุโลม ในกรณีไม่มีผู้เสนอราคาหรือมีแต่ไม่ถูกต้องตรงตามรายการละเอียดและเงื่อนไขที่กำหนดหรือกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าไม่มีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการตามผลการประกวดราคาตามวรรคแรกและหากดำเนินการโดยวิธีอื่น ๆ สามารถซื้อได้ในวงเงินงบประมาณ ให้เสนอผู้ว่าการยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น หรือดำเนินการประกวดราคาใหม่หรือดำเนินการโดยวิธีอื่น ๆ แล้วแต่กรณี ก็ได้โดยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ว่าการที่จะสั่งการ ข้อ ๓๕ หลังจากการประกวดราคาแล้วแต่ยังไม่ได้ทำสัญญาหรือตกลงซื้อหรือจ้างกับผู้เข้าประกวดราคารายใด ถ้ามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของ กกท. เป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในรายการละเอียดหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศประกวดราคา ซึ่งเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้เข้าประกวดราคาด้วยกัน ให้ผู้ว่าการพิจารณายกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น วิธีพิเศษ ข้อ ๓๖ การซื้อโดยวิธีพิเศษ ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษขึ้น เพื่อดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีเป็นพัสดุขายทอดตลาด ให้ดำเนินการซื้อโดยวิธีการขายทอดตลาด ตามบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (๒) ในกรณีเป็นพัสดุจะขายทอดตลาดให้ดำเนินการซื้อโดยวิธีตกลงราคา (๓) ในกรณีเป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจเสียหายแก่การปฏิบัติงาน ให้เชิญผู้มีอาชีพขายพัสดุนั้นโดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องตลาด หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ (๔) ในกรณีเป็นพัสดุเพื่อใช้ในกิจการลับ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับ (๓) (๕) ในกรณีเป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ ให้เสนอผู้ว่าการเพื่อติดต่อสั่งซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ หรือสืบราคาจากต่างประเทศ แล้วเปรียบเทียบราคาในประเทศ (ถ้ามี) ส่วนการซื้อโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศให้ติดต่อกับสำนักงานขององค์การระหว่างประเทศที่มีอยู่ในประเทศโดยตรง เว้นแต่กรณีที่ไม่มีสำนักงานในประเทศ ให้ติดต่อกับสำนักงานในต่างประเทศได้ (๖) ในกรณีเป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรง เนื่องจากเป็นการซื้ออะไหล่ทดแทนของเดิม หรือมีผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับ (๓) (๗) ในกรณีเป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดีให้สืบราคาจากผู้มีอาชีพขายพัสดุนั้นโดยตรงเปรียบเทียบกับราคาของรายที่เสนอในการสอบราคาหรือประกวดราคาซึ่งถูกยกเลิกไป (ถ้ามี) หากเห็นว่าผู้เสนอราคารายที่เห็นสมควรซื้อเสนอราคาสูงกว่าราคาในท้องตลาด หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ (๘) ในกรณีที่พัสดุเป็นที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง ซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่งให้เชิญเจ้าของที่ดินโดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องตลาดหรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อ ให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ สำหรับการซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างในต่างประเทศ ในกรณีจำเป็นจะติดต่อกับนายหน้าแทนเจ้าของที่ดินก็ได้ (๙) ในกรณีพัสดุเป็นอุปกรณ์กีฬา ซึ่งหากซื้อจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวหรือผู้แทนจำหน่ายรายที่ผู้ผลิตจากต่างประเทศตกลงขายพัสดุรายนั้นให้ในราคาพิเศษ โดย กกท. สามารถซื้อได้ราคาต่ำกว่าที่ขายส่งไม่น้อยกว่า ๒๐% ให้เชิญผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรงมาเสนอราคา ทั้งนี้ จะเชิญมากกว่าหนึ่งรายเพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบราคาอีกก็ได้ เมื่อได้ดำเนินการไปแล้วได้ผลประการใด ให้คณะกรรมการเสนอรายงานพร้อมด้วยความเห็นต่อผู้ว่าการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อสั่งการต่อไป ข้อ ๓๗ การจ้างโดยวิธีพิเศษ ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษขึ้น เพื่อดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) การจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๑๔ (๑) (๒) (๓) และ (๔) ให้เชิญผู้มีอาชีพรับจ้างทำงานนั้นโดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องถิ่นหรือราคาที่ประมาณได้หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรจ้างให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ (๒) การจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๑๔ (๕) ให้สืบราคาจากผู้มีอาชีพรับจ้างทำงานนั้นโดยตรง เปรียบเทียบกับราคาของรายที่เสนอในการสอบราคาหรือประกวดราคาซึ่งถูกยกเลิกไป (ถ้ามี) หากเห็นว่าผู้เสนอราคารายที่เห็นสมควรจ้างเสนอราคาสูงกว่าราคาในท้องถิ่นหรือราคาที่ประมาณได้ หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรจ้างให้ต่อรองราคาลงเท่าที่กระทำได้ เมื่อได้ดำเนินการไปแล้วได้ผลประการใด ให้คณะกรรมการเสนอรายงานพร้อมด้วยความเห็นต่อผู้ว่าการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อสั่งการต่อไป วิธีกรณีพิเศษ ข้อ ๓๘ การดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ ให้ผู้ว่าการสั่งซื้อ หรือสั่งจ้างจากส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจตามข้อ ๑๕ ได้โดยตรง เว้นแต่การซื้อหรือจ้าง ซึ่งมีราคาไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดซื้อหรือจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าการตามข้อ ๑๘ การตรวจรับพัสดุ ข้อ ๓๙ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุที่ซื้อมีหน้าที่ดังนี้ (๑) ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของ กกท. หรือที่ใช้พัสดุนั้น หรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา การตรวจรับพัสดุ ณ สถานที่อื่น ในกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ซื้อก่อน (๒) ตรวจนับพัสดุที่ซื้อว่าถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้หรือไม่ในกรณีที่มีการทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์ จะเชิญผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คำปรึกษา หรือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้น ๆ ก็ได้ (๓) โดยปกติให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายนำพัสดุมาส่ง และให้ทำการตรวจรับให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด (๔) เมื่อตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้รับพัสดุไว้และถือว่าผู้ขายได้ส่งมอบพัสดุถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้ขายนำพัสดุนั้นมาส่งแล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พัสดุพร้อมกับทำใบตรวจรับ โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อยสองฉบับ มอบแก่ผู้ขาย ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ ๑ ฉบับ เพื่อทำการเบิกจ่ายและรายงานให้ผู้ซื้อทราบ (๕) ในกรณีที่ผู้ขายส่งมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน หรือส่งมอบครบจำนวนแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าสัญญามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้องโดยถือปฏิบัติตาม (๔) และให้รีบรายงานผู้ซื้อเพื่อแจ้งให้ผู้ขายทราบภายใน ๓ วัน ทำการ นับแต่วันที่ตรวจพบ แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิของ กกท. ที่จะปรับผู้ขายในจำนวนที่ส่งมอบไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้องนั้น (๖) การตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดหรือเป็นหน่วย ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้ว จะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ ให้ถือว่าผู้ขายยังมิได้ส่งมอบพัสดุนั้น และให้รีบรายงานผู้ซื้อ เพื่อแจ้งให้ผู้ขายทราบภายใน ๓ วัน ทำการนับแต่วันที่ตรวจพบ (๗) ถ้ากรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับพัสดุโดยทำความเห็นแย้งไว้ให้เสนอผู้ซื้อเพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าผู้ซื้อสั่งการให้รับพัสดุนั้นได้ จึงดำเนินการตาม (๔) หรือ (๕) แล้วแต่กรณี การตรวจการจ้าง ข้อ ๔๐ คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ดังนี้ (๑) ตรวจและควบคุมงานให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา โดยจะสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญา ถ้าผู้รับจ้างขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็สั่งให้หยุดงานนั้นเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด แล้วแต่กรณี ไว้ก่อนจนกว่าผู้รับจ้างจะยอมปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่ง หากมีปัญหาเกิดขึ้นในกรณีที่แบบรูปรายการละเอียด หรือข้อกำหนดในสัญญา มีข้อความขัดกันหรือเป็นที่คาดหมายได้ว่าถึงแม้ว่างานนั้นจะได้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา แต่เมื่อสำเร็จลงแล้วจะไม่มั่นคงแข็งแรงให้สั่งพักงานนั้นไว้ก่อน แล้วรายงานผู้ว่าจ้างเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้จดบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง และเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน บันทึกดังกล่าวต้องเก็บรักษาไว้เพื่อมอบให้แก่ผู้ว่าจ้าง เมื่อเสร็จงานแต่ละงวดโดยถือว่าเป็นเอกสารสำคัญเพื่อประกอบการตรวจสอบของผู้มีหน้าที่ (๒) ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้ควบคุมงานในกรณีที่มีการแต่งตั้งผู้ควบคุมงาน (๓) ในวันกำหนดลงมือทำการของผู้รับจ้างตามสัญญาและในวันถึงกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวดให้คณะกรรมการตรวจการจ้างไปดูยังสถานที่ก่อสร้าง และให้รายงานผลการปฏิบัติงานผู้รับจ้างว่าเป็นไปตามสัญญาหรือไม่ ให้ผู้ว่าจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการนับแต่วันถึงกำหนดนั้น (๔) โดยปกติให้ตรวจผลงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบภายใน ๓ วัน ทำการนับแต่วันที่ประธานคณะกรรมการตรวจการจ้างได้รับทราบการส่งมอบงาน และให้ทำการตรวจรับให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด (๕) เมื่อตรวจเห็นเป็นการถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาแล้ว ให้ถือว่าผู้รับจ้างได้ส่งมอบงานครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างส่งงานจ้าง นั้นและให้ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงานทั้งหมดหรือเฉพาะในงวดแล้วแต่กรณี โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย ๒ ฉบับ มอบให้แก่ผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ ๑ ฉบับ แล้วรายงานให้ผู้ว่าจ้างทราบ ในกรณีที่เห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดก็ตามไม่เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา ให้รายงานผู้ว่าจ้างผ่านเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อทราบหรือสั่งการ แล้วแต่กรณี (๖) ในกรณีที่กรรมการตรวจการจ้างบางคนไม่ยอมรับงานโดยทำความเห็นแย้งไว้ให้เสนอผู้ว่าจ้างเพื่อพิจารณาสั่งการ ข้อ ๔๑ งานจ้างใดที่ผู้ว่าการเห็นความจำเป็นต้องมีผู้ควบคุมงานโดยเฉพาะหรือในกรณีที่คณะกรรมการตรวจการจ้างรายงานว่า ไม่สามารถจะไปควบคุมงานโดยใกล้ชิดได้ ให้แต่งตั้งผู้ควบคุมงานขึ้นจากพนักงานซึ่งผู้ว่าการเห็นสมควร หรือจะแต่งตั้งจากข้าราชการของหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบนั้น ตามที่ได้รับความยินยอมจากหัวหน้าส่วนราชการของข้าราชการผู้นั้นแล้วก็ได้ การจ้างเอกชนเป็นผู้ควบคุมงาน จะต้องถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้องด้วย ข้อ ๔๒ ให้ผู้ควบคุมงานรับหน้าที่แทนคณะกรรมการตรวจการจ้างตามข้อ ๔๐ (๑) และให้รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการตรวจการจ้างทุกสัปดาห์ อำนาจในการสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง ข้อ ๔๓ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างครั้งหนึ่ง นอกจากวิธีพิเศษและวิธีกรณีพิเศษให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ว่าการ ไม่เกิน ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ประธานกรรมการ กกท. เกินกว่า ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๓๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) คณะกรรมการ กกท. เกินกว่า ๓๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๔๔ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยวิธีพิเศษ ครั้งหนึ่งให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ว่าการไม่เกิน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ประธานกรรมการ กกท. เกินกว่า ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๑๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) คณะกรรมการ กกท. เกินกว่า ๑๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๔๕ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ ให้ผู้ว่าการสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยไม่จำกัดวงเงิน หลักประกัน ข้อ ๔๖ หลักประกันซองหรือหลักประกันสัญญา ให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) เงินสด (๒) เช็คที่ธนาคารรับรอง หรือเช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ที่ใช้เช็คนั้นชำระต่อเจ้าหน้าที่หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน ๓ วันทำการ (๓) หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศ (๔) พันธบัตรรัฐบาลไทย หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ำประกัน ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แจ้งเวียนให้ส่วนราชการต่าง ๆ ทราบแล้ว ให้ใช้เป็นหลักประกันซองได้โดยอนุโลมให้ใช้แบบหนังสือค้ำประกันของธนาคาร ข้อ ๔๗ หลักประกันดังกล่าวในข้อ ๔๖ ให้เรียกไว้ตามอัตราดังนี้ (๑) หลักประกันซอง ให้กำหนดมูลค่าเป็นจำนวนเงินตายตัว ในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละห้า แต่ไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง (๒) หลักประกันสัญญา ให้กำหนดมูลค่าในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละห้าแต่ไม่เกินร้อยละสิบของราคาพัสดุที่ตกลงซื้อหรือจ้าง ในการทำสัญญาจัดหาพัสดุที่มีระยะเวลาผูกพันตามสัญญาเกินกว่า ๑ ปี และพัสดุนั้นไม่ต้องมีการประกันเพื่อความชำรุดบกพร่อง เช่น พัสดุใช้สิ้นเปลือง ให้กำหนดหลักประกันได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละห้าแต่ไม่เกินร้อยละสิบของราคาพัสดุที่ส่งแทน ในแต่ละปีของสัญญา โดยให้ถือว่าหลักประกันนี้เป็นการค้ำประกันตลอดอายุสัญญาและหากในปีต่อไปราคาพัสดุที่ส่งมอบแตกต่างไปจากราคาในรอบปีก่อนให้ปรับปรุงหลักประกันตามอัตราส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นก่อนครบรอบปี ในกรณีที่หลักประกันต้องปรับปรุงในทางที่เพิ่มขึ้นและผู้ขายไม่นำหลักประกันมาเพิ่มให้ครบจำนวนภายใน ๑๕ วัน ก่อนการส่งมอบพัสดุงวดสุดท้ายของปีนั้นให้ กกท. หักจากเงินค่าวัสดุงวดสุดท้ายของปีนั้นที่ กกท. จะต้องจ่ายให้เป็นหลักประกันในส่วนที่เพิ่มขึ้น การกำหนดหลักประกันตามความในวรรคสอง จะต้องระบุไว้เป็นเงื่อนไขในแจ้งความและในสัญญาด้วย ข้อ ๔๘ ให้ กกท. คืนหลักประกันให้แก่ผู้เสนอราคา หรือผู้ขายหรือผู้รับจ้างตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) หลักประกันซองให้คืนให้แก่ผู้เสนอราคาภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้พิจารณาคัดเลือกตามข้อ ๓๓ (๒) เรียบร้อยแล้วเว้นแต่ผู้เสนอราคารายที่คัดเลือกไว้ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด ๓ รายให้คืนได้ต่อเมื่อได้ทำสัญญาหรือข้อตกลงกับผู้ขายหรือผู้รับจ้างแล้ว (๒) หลักประกันสัญญาให้คืนให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างโดยเร็ว แต่อย่างช้าต้องไม่เกิน ๑๕ วันนับแต่วันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว การซื้อหรือจ้างที่ไม่ต้องมีหลักประกันเพื่อความชำรุดบกพร่อง ให้คืนหลักประกันให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างตามอัตราส่วนของพัสดุซึ่ง กกท. ได้รับมอบไว้แล้ว แต่ทั้งนี้จะต้องระบุไว้เป็นเงื่อนไขในแจ้งความและในสัญญาด้วย การคืนหลักประกันที่เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารหรือหนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุนในกรณีที่ผู้เสนอราคา ผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่มารับภายในกำหนดเวลาข้างต้น ให้รีบส่งต้นฉบับหนังสือค้ำประกันคืนให้แก่ผู้เสนอราคา ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยเร็ว พร้อมกับแจ้งให้ธนาคารหรือบริษัทเงินทุนผู้ค้ำประกันทราบด้วย ข้อ ๔๙ ในกรณีที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เสนอราคาหรือเป็นผู้ขายหรือเป็นผู้รับจ้างไม่ต้องวางหลักประกัน การจ่ายเงินล่วงหน้า ข้อ ๕๐ การจ่ายเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างจะกระทำมิได้เว้นแต่ผู้ว่าการเห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องจ่าย ให้กระทำให้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การซื้อหรือจ้างจากส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจจ่ายได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของราคาซื้อหรือราคาจ้าง (๒) การซื้อพัสดุจากต่างประเทศ โดยดำเนินการผ่านองค์การระหว่างประเทศ ให้จ่ายได้ตามที่ตกลงกับองค์การระหว่างประเทศ (๓) การบอกรับวารสารไม่เกินหนึ่งปีและราคาไม่เกินวารสารละ ๑๐,๐๐๐ บาท จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง กรณีนอกเหนือจากนี้ให้ขอรับความเห็นชอบจากประธานกรรมการ กกท. (๔) การซื้อหรือจ้างโดยวิธีสอบราคาหรือประกวดราคาจ่ายได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของราคาซื้อหรือราคาจ้าง แต่ทั้งนี้ต้องกำหนดอัตราค่าพัสดุหรือค่าจ้างที่จะจ่ายล่วงหน้าไว้เป็นเงื่อนไขในประกาศด้วย (๕) การซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษ ให้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของราคาซื้อหรือราคาจ้าง การจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างตามแบบธรรมเนียมการค้าระหว่างประเทศโดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต หรือโดยวิธีใช้ดร๊าฟ กรณีที่วงเงินไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ให้กระทำได้โดยไม่ถือว่าเป็นการจ่ายเงินล่วงหน้า ข้อ ๕๑ การจ่ายเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างล่วงหน้าตามข้อ ๕๐ (๑) (๒) และ (๓) ไม่ต้องเรียกหลักประกัน ส่วนการจ่ายเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างล่วงหน้าตามข้อ ๕๐ (๔) และ (๕) ผู้ขายหรือผู้รับจ้างจะต้องจัดให้ธนาคารในประเทศ ธนาคารหนึ่งหรือหลายธนาคารเป็นผู้ค้ำประกันเงินที่รับล่วงหน้าไปนั้น การทำสัญญาซื้อขายและสัญญาจ้าง ข้อ ๕๒ การซื้อหรือการจ้างให้ทำสัญญาเป็นหนังสือตามตัวอย่างท้ายข้อบังคับนี้ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้จะทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้าง (๑) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา (๒) การซื้อหรือการจ้างที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างสามารถส่งมอบพัสดุได้ครบถ้วนภายในห้าวันทำการ นับแต่วันถัดจากวันตกลงซื้อขายหรือจ้าง (๓) การซื้อหรือจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ (๔) การซื้อโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๑๓ (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) (๕) การจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๑๔ (๑) (๒) (๓) และ (๔) สำหรับการซื้อที่ผู้ขายสามารถส่งมอบพัสดุได้ทันที หรือการซื้อหรือการจ้างซึ่งมีราคาไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือในกรณีการซื้อหรือการจ้างซึ่งใช้วิธีดำเนินการตามข้อ ๒๓ วรรคสอง จะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันได้ การทำสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือสำหรับการซื้อให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันในอัตราตายตัวระหว่างร้อยละ ๐.๑๐ - ๐.๒๐ ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ ส่วนการจ้างให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันเป็นจำนวนตายตัวในอัตราระหว่างร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๑๐ ของราคางานจ้างนั้นแต่จะต้องไม่ต่ำกว่าวันละ ๑๐๐ บาท การกำหนดค่าปรับตามวรรคหนึ่งในอัตราหรือเป็นจำนวนเงินตายตัวเท่าใดให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ว่าการ ในกรณีการซื้อสิ่งของที่ประกอบกันเป็นชุด ถ้าขาดส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้ว จะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์แม้ผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของภายในกำหนดตามสัญญา แต่ยังขาดส่วนประกอบบางส่วน ต่อมาได้ส่งมอบส่วนประกอบที่ยังขาดนั้นเกินกำหนดสัญญา ให้ถือว่าไม่ได้ส่งมอบสิ่งของนั้นเลย ให้ปรับเต็มราคาของทั้งชุด ในกรณีการซื้อสิ่งของที่คิดราคารวมทั้งค่าติดตั้งหรือทดลองด้วย ถ้าติดตั้งหรือทดลองเกินกว่ากำหนดตามสัญญาเป็นจำนวนวันเท่าใด ให้ปรับเป็นรายวันในอัตราที่กำหนดของราคาทั้งหมด เมื่อครบกำหนดส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างตามสัญญา ให้รีบแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับตามสัญญาให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบ ข้อ ๕๓ การทำสัญญารายใดถ้าจำเป็นต้องมีข้อความหรือรายการแตกต่างไปจากตัวอย่างสัญญาท้ายข้อบังคับนี้ โดยมีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในตัวอย่างสัญญาและไม่ทำให้ กกท. เสียเปรียบก็ให้กระทำได้เว้นแต่ผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้างเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ ก็ให้ส่งร่างสัญญานั้นไปให้กรมอัยการพิจารณาก่อน ในกรณีที่ไม่อาจทำสัญญาตามตัวอย่างท้ายข้อบังคับนี้ได้ และจำเป็นต้องร่างสัญญาขึ้นใหม่ต้องส่งร่างสัญญานั้นให้กรมอัยการพิจารณาก่อน เว้นแต่การทำสัญญาตามแบบที่เคยผ่านการพิจารณาของกรมอัยการมาแล้ว ในกรณีจำเป็นต้องทำสัญญาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ทำเป็นภาษาอังกฤษแต่ต้องมีคำแปลเป็นภาษาไทยไว้ด้วย และให้ส่งร่างสัญญาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้กรมอัยการพิจารณาก่อน ข้อ ๕๔ สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือได้ลงนามแล้ว จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้ เว้นแต่การแก้ไขนั้นจะเป็นความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของ กกท. หรือไม่ทำให้ กกท. ต้องเสียประโยชน์ให้อยู่ในอำนาจของผู้ว่าการที่จะพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่ทั้งนี้จะต้องขอทำความตกลงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามระเบียบปฏิบัติด้วย การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลงตามวรรคหนึ่ง หากมีความจำเป็นต้องเพิ่มหรือลดวงเงิน หรือเพิ่มหรือลดระยะเวลาส่งมอบของหรือระยะเวลาในการทำงานให้ตกลงพร้อมกันไป แต่ถ้ามีการเพิ่มวงเงินทำให้วงเงินนั้นสูงเกินอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างของผู้ว่าการ ให้อยู่ในอำนาจของผู้มีอำนาจในวงเงินนั้น ๆ พิจารณาอนุมัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ จะต้องขอทำความตกลงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามระเบียบปฏิบัติด้วย สำหรับการซื้อหรือจ้างที่เกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรงของสิ่งก่อสร้างหรืองานทางเทคนิคเฉพาะอย่าง จะต้องได้รับการรับรองจากวิศวกรสถาปนิก และวิศวกรผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรับผิดชอบหรือสามารถรับรองในแบบและรายการของงานก่อสร้างหรืองานเทคนิคเฉพาะอย่าง แล้วแต่กรณี ด้วย ข้อ ๕๕ ให้ผู้ว่าการพิจารณาใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงในกรณีที่มีเหตุอื่น เชื่อได้ว่าผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงได้ และจะต้องมีการปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น หากจำนวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุ หรือค่าจ้างให้ กกท. พิจารณาดำเนินการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงเว้นแต่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ทางราชการ โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ให้ผู้ว่าการพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จำเป็น การต่ออายุสัญญาให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ให้อยู่ในอำนาจของผู้ว่าการที่จะพิจารณา แต่ถ้าวงเงินในการสั่งซื้อหรือสั่งจ้างครั้งนั้นเกินอำนาจของผู้ว่าการ ให้เสนอประธานหรือคณะกรรมการ กกท. พิจารณา โดยให้พิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริงเฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของฝ่ายซื้อหรือผู้ว่าจ้าง (๒) เหตุสุดวิสัย (๓) เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ให้ กกท. ระบุไว้ในสัญญากำหนดให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้ กกท. ทราบภายใน ๑๕ วัน นับแต่เหตุนั้นได้สิ้นสุดลง หากมิได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนด ผู้ขายหรือผู้รับจ้างจะยกมากล่าวอ้างเพื่อขอต่ออายุสัญญาในภายหลังมิได้เว้นแต่กรณีตาม (๑) ซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้ง หรือ กกท. ทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น ข้อ ๕๖ ให้ผู้ว่าการส่งสำเนาสัญญาซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป ให้สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันทำสัญญาหรือข้อตกลง การลงโทษผู้ทิ้งงาน ข้อ ๕๗ ผู้ที่เสนอราคาในการสอบราคาหรือประกวดราคา ซึ่งได้รับการคัดเลือกแล้วไม่ยอมมาทำสัญญาหรือข้อตกลงภายในเวลาที่ กกท. กำหนด หรือผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้ผู้ว่าการเสนอประธานกรรมการ กกท. เพื่อพิจารณา เมื่อประธานกรรมการ กกท. พิจารณาชี้ขาดว่าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพันของ กกท. แล้วผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้ทิ้งงานขายหรืองานจ้าง แล้วแต่กรณี ให้ผู้ว่าการส่งชื่อผู้ทิ้งงานไปให้สำนักนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานต่าง ๆ ของ กกท. ทราบโดยเร็ว ห้ามซื้อหรือจ้างผู้ทิ้งงานของ กกท. หรือผู้ทิ้งงานของทางราชการ เว้นแต่ประธานกรรมการ กกท. หรือผู้รักษาการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๒๑ จะสั่งเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงาน แล้วแต่กรณี ส่วนที่ ๒ การจัดทำเอง ข้อ ๕๘ ในการจัดทำเอง ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งผู้ควบคุมรับผิดชอบในการจัดทำเองนั้น และแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจการปฏิบัติงาน โดยมีคุณสมบัติและหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจการจ้าง เว้นแต่ กกท. กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยเฉพาะอยู่แล้ว ส่วนที่ ๓ การแลกเปลี่ยน ข้อ ๕๙ การแลกเปลี่ยนพัสดุจะกระทำมิได้ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ว่าการเห็นว่ามีความจำเป็นและให้กระทำได้เฉพาะการแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์ วัสดุกับวัสดุ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) การแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์ประเภทและชนิดเดียวกัน ให้แลกเปลี่ยนได้และให้เป็นอำนาจของผู้ว่าการ เว้นแต่การแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์บางอย่างซึ่งสำนักงบประมาณกำหนดหรือการแลกเปลี่ยนที่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ให้ได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการ กกท. ก่อน (๒) การแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์ต่างประเภทหรือต่างชนิดกันต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการ กกท. ก่อน (๓) การแลกเปลี่ยนวัสดุกับวัสดุ ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าการ ข้อ ๖๐ ในกรณีต้องมีการแลกเปลี่ยนพัสดุ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุรายงานผู้ว่าการเพื่อพิจารณาสั่งการโดยให้รายงานตามรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องแลกเปลี่ยน (๒) รายละเอียดของพัสดุที่จะนำไปแลกเปลี่ยน (๓) ราคาที่ซื้อหรือได้มาของพัสดุที่จะนำไปแลกเปลี่ยนและราคาที่จะแลกเปลี่ยนได้โดยประมาณ (๔) พัสดุที่จะรับแลกเปลี่ยน และได้ระบุว่าจะแลกเปลี่ยนกับส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน (๕) ข้อเสนออื่น ๆ (ถ้ามี) ในกรณีที่จะแลกเปลี่ยนกับเอกชน ให้ระบุวิธีที่จะแลกเปลี่ยนพร้อมทั้งเหตุผลโดยเสนอให้วิธีการซื้อมาใช้โดยอนุโลม เว้นแต่การแลกเปลี่ยนพัสดุที่จะนำไปแลกเปลี่ยนครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท จะเสนอให้ใช้วิธีตกลงราคาก็ได้ ข้อ ๖๑ การแลกเปลี่ยนพัสดุกับเอกชน ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง หรือหลายคณะตามความจำเป็นโดยถือปฏิบัติตามข้อ ๒๐ ข้อ ๒๐ หรือข้อ ๒๒ แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม ให้คณะกรรมการมีหน้าที่ดังนี้ (๑) ตรวจสอบและประเมินราคาพัสดุที่ต้องการแลกเปลี่ยนตามสภาพปัจจุบันของพัสดุนั้น (๒) ตรวจสอบรายละเอียดพัสดุที่จะได้รับการแลกเปลี่ยนนั้น จะเป็นความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของ กกท. หรือไม่ทำให้ กกท. ต้องเสียประโยชน์ (๓) เปรียบเทียบราคาพัสดุที่จะแลกเปลี่ยนกัน โดยพิจารณาจากราคาที่ประเมินตาม (๑) และราคาพัสดุที่จะได้รับจากการแลกเปลี่ยนซึ่งถือตามราคาในท้องตลาดโดยทั่วไป (๔) ต่อรองกับผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรแลกเปลี่ยน (๕) เสนอความเห็นต่อผู้ว่าการเพื่อพิจารณาสั่งการ (๖) เมื่อผู้ว่าการสั่งการให้มีการแลกเปลี่ยนแล้ว ให้จัดทำสัญญาแลกเปลี่ยนตามตัวอย่างท้ายข้อบังคับนี้ เว้นแต่มูลค่าในการแลกเปลี่ยนครั้งนั้นไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท จะจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้ ในกรณีที่ไม่อาจทำสัญญาแลกเปลี่ยนตามตัวอย่างท้ายข้อบังคับได้ ให้นำความในข้อ ๕๓ มาใช้โดยอนุโลม (๗) ตรวจรับพัสดุโดยปฏิบัติตามข้อ ๓๙ โดยอนุโลม ข้อ ๖๒ ในกรณีได้รับเงินจากการแลกเปลี่ยนพัสดุให้นำส่งเข้าบัญชีเงินรายได้ ข้อ ๖๓ การแลกเปลี่ยนพัสดุของ กกท. กับส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ว่าการกับหัวหน้าหน่วยงานนั้น ๆ ที่จะตกลงกัน ส่วนที่ ๔ การเช่า ข้อ ๖๔ การเช่าพัสดุ นอกจากการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหมวดนี้ ให้นำข้อกำหนดเกี่ยวกับการซื้อมาใช้โดยอนุโลม ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้าในการเช่าอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ให้กระทำได้เฉพาะกรณีการเช่าซึ่งมีระยะเวลาไม่เกิน ๓ ปี ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) การเช่าจากหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ จ่ายได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของค่าเช่าทั้งสัญญา (๒) การเช่าจากเอกชนจ่ายได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของค่าเช่าทั้งสัญญา การจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้านอกเหนือจากหลักเกณฑ์ข้างต้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการ กกท. ก่อน การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๖๕ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้กระทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เช่าที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการของ กกท. (๒) เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่ทำการ (๓) เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่พัก (๔) เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่เก็บพัสดุ การเช่าให้ดำเนินการโดยวิธีตกลงราคา ข้อ ๖๖ ก่อนดำเนินการเช่า ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอผู้ว่าการตามรายการดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลความจำเป็นที่จะต้องเช่า (๒) ราคาค่าเช่าที่ผู้ให้เช่าเสนอ (๓) รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะเช่า เช่น สภาพของสถานที่ บริเวณที่ต้องการใช้ พร้อมทั้งภาพถ่าย (ถ้ามี) และราคาค่าเช่าครั้งหลังสุด เป็นต้น (๔) อัตราค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีขนาดและสภาพใกล้เคียงกับที่จะเช่า (ถ้ามี) ข้อ ๖๗ อสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีอัตราค่าเช่ารวมทั้งค่าบริหารอื่นเกี่ยวกับการเช่า ตามที่จะกำหนดไว้ในสัญญาไม่เกินเดือนละ ๕๐,๐๐๐ บาท ให้ผู้ว่าการเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ถ้าเกินกว่าเดือนละ ๕๐,๐๐๐ บาท ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ กกท. ก่อน การทำสัญญาเช่า ข้อ ๖๘ การเช่าให้ทำสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันและให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ว่าการที่จะดำเนินการในเรื่องเงื่อนไขของสัญญาหรือข้อตกลงได้เอง เว้นแต่กรณีการเช่าที่ กกท. ต้องเสียเงินอื่นใดนอกจากค่าเช่า หรือในกรณีที่ผู้ว่าการเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ ให้ส่งร่างสัญญาให้กรมอัยการพิจารณาก่อน และในกรณีที่จะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ดำเนินการตามกฎหมายด้วย หมวด ๓ การควบคุมและการจำหน่ายพัสดุ ส่วนที่ ๑ การให้ยืม ข้อ ๖๙ การให้ยืมหรือนำพัสดุไปใช้ในกิจการ ซึ่งมิใช่เพื่อประโยชน์ของ กกท. จะกระทำมิได้ ข้อ ๗๐ การให้ยืมพัสดุประเภทใช้คงรูป ต้องให้ผู้ยืมทำหลักฐานการยืมเป็นลายลักษณ์อักษรแสดงเหตุผลและกำหนดวันส่งคืนโดยมีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) การให้หน่วยงานอื่นยืม ผู้ยืมต้องเป็นหัวหน้าของหน่วยงานนั้น ๆ (๒) การให้บุคคลยืมใช้ภายในสถานที่ทำการของ กกท. จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบพัสดุนั้น แต่ถ้ายืมไปใช้นอกสถานที่ทำการของ กกท. จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าการ หรือผู้ที่ผู้ว่าการมอบหมาย ข้อ ๗๑ ผู้ยืมพัสดุประเภทใช้คงรูปจะต้องนำพัสดุนั้นมาส่งคืนให้ในสภาพที่ใช้การได้เรียบร้อย หากเกิดการชำรุดเสียหาย หรือใช้การไม่ได้ หรือสูญหายไปให้ผู้ยืมจัดการแก้ไขซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม โดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง หรือชดใช้เป็นพัสดุประเภท ชนิด ขนาด ลักษณะ และคุณภาพอย่างเดียวกัน หรือชดใช้เป็นเงินตามราคาที่เป็นอยู่ในขณะยืม ข้อ ๗๒ การให้หน่วยงานอื่นยืมพัสดุประเภทใช้สิ้นเปลือง ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อหน่วยงานนั้นมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นเป็นการรีบด่วน จะดำเนินการจัดหาได้ไม่ทันการและให้มีหลักฐานการยืมเป็นลายลักษณ์อักษร ข้อ ๗๓ เมื่อครบกำหนดยืม ผู้ให้ยืมหรือผู้รับหน้าที่แทน มีหน้าที่ติดตามทวงพัสดุที่ให้ยืมไปคืนภายใน ๗ วัน นับแต่วันครบกำหนด ส่วนที่ ๒ การควบคุม ข้อ ๗๔ พัสดุของ กกท. ไม่ว่าจะได้มาด้วยประการใด ให้อยู่ในความควบคุมตามข้อบังคับนี้ ข้อ ๗๕ เมื่อเจ้าหน้าที่พัสดุได้รับมอบพัสดุแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ลงบัญชีหรือทะเบียนเพื่อควบคุมพัสดุ แยกเป็นชนิดและแสดงรายการตามแบบตัวอย่างท้ายข้อบังคับนี้ โดยให้มีหลักฐานการรับเข้าบัญชีหรือทะเบียนไว้ประกอบรายการด้วย สำหรับพัสดุประเภทอาหารสด จะลงรายการอาหารสดทุกชนิดในบัญชีเดียวกันก็ได้ (๒) เก็บรักษาพัสดุให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย และให้ครบถ้วนถูกต้องตรงตามบัญชีหรือทะเบียน ข้อ ๗๖ การเบิกพัสดุ ให้พนักงานผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานขึ้นไปที่ต้องใช้พัสดุนั้นเป็นผู้เบิกและให้หัวหน้าหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบพัสดุเป็นผู้สั่งจ่าย ข้อ ๗๗ ผู้จ่ายพัสดุต้องตรวจสอบความถูกต้องของใบเบิกและเอกสารประกอบ (ถ้ามี) แล้วลงบัญชีหรือทะเบียนทุกครั้งที่มีการจ่ายและเก็บใบเบิกจ่ายไว้เป็นหลักฐานด้วย ข้อ ๗๘ ก่อนสิ้นเดือนกันยายนทุกปี ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งพนักงานซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่พัสดุคนหนึ่งหรือหลายคนตามความจำเป็น เพื่อตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุงวดตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ปีก่อน จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ปีปัจจุบัน และตรวจนับพัสดุคงเหลืออยู่เพียงวันสิ้นงวดนั้น การตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ให้เริ่มดำเนินการในวันเปิดทำการวันแรกของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป ว่าการรับจ่ายถูกต้องหรือไม่ พัสดุคงเหลือมีตัวอยู่ตรงตามบัญชีหรือทะเบียนหรือไม่ มีพัสดุใดชำรุดเสื่อมคุณภาพหรือสูญไป เพราะเหตุใด หรือพัสดุใดไม่จำเป็นต้องใช้งานต่อไป แล้วให้เสนอรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวต่อผู้ว่าการภายใน ๓๐ วันทำการ นับแต่วันเริ่มดำเนินการตรวจสอบพัสดุ นั้น ข้อ ๗๙ เมื่อผู้ว่าการได้รับรายงานตามข้อ ๗๘ แล้ว และปรากฏว่ามีพัสดุชำรุดเสื่อมคุณภาพหรือสูญไป หรือไม่จำเป็นต้องใช้งานต่อไปก็ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงขึ้นคณะหนึ่ง โดยให้นำความในข้อ ๒๐ และข้อ ๒๑ มาใช้โดยอนุโลม ถ้าผลการพิจารณาปรากฏว่าจะต้องหาตัวผู้รับผิดด้วย ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่ง ในกรณีที่เห็นสมควรผู้ว่าการจะสั่งให้คณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง ทำหน้าที่สอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งด้วยก็ได้ ให้คณะกรรมการเสนอผลการพิจารณาต่อผู้ว่าการภายในกำหนด ๖๐ วัน นับแต่วันที่ประธานกรรมการทราบคำสั่งแต่งตั้งกรรมการแต่ถ้ายังพิจารณาไม่แล้วเสร็จจะขออนุญาตขยายเวลาดำเนินการต่อไปอีกคราวละไม่เกิน ๓๐ วันก็ได้ ข้อ ๘๐ เรื่องใดปรากฏตัวผู้ต้องรับผิดโดยชัดแจ้ง หรือที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งอยู่ก่อนที่จะมีการตรวจสอบพัสดุ ไม่ต้องดำเนินการตามข้อ ๗๙ เฉพาะเรื่องนั้น ข้อ ๘๑ เมื่อปรากฏตัวผู้ต้องรับผิด ให้ผู้ว่าการพิจารณาสั่งการภายใน ๔๕ วัน นับแต่วันรู้ตัวผู้ต้องรับผิดโดยชัดแจ้ง หรือวันได้รับรายงานของคณะกรรมการสอบสวน แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่สามารถแก้ไขให้คงสภาพเดิมได้ ให้แก้ไขโดยเสียค่าใช้จ่ายของผู้ต้องรับผิดเอง ภายในกำหนดเวลาอันสมควร (๒) ในกรณีสูญไปหรือไม่สามารถแก้ไขให้คงสภาพเดิมได้ ให้ชดใช้เป็นพัสดุประเภท ชนิด ลักษณะ และขนาดอย่างเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีสภาพไม่เลวไปกว่าพัสดุที่ได้ทำชำรุด เสื่อมสภาพหรือสูญไปนั้น หรือชดใช้เป็นเงินตามที่ผู้ว่าการกำหนด โดยให้ผู้ต้องรับผิดส่งใช้คืนทั้งหมดภายใน ๓๐ วันนับแต่วันได้รับแจ้ง ในกรณีชดใช้เป็นเงิน ถ้าผู้ต้องรับผิดไม่สามารถส่งใช้คืนภายใน ๓๐ วัน จะผ่อนผันให้ใช้เป็นรายเดือนก็ได้ แต่จะต้องชดใช้ให้เสร็จสิ้นภายในเวลาไม่เกินหนึ่งปี การผ่อนผันระยะเวลาเกินหนึ่งปีจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการ กกท. ก่อน การผ่อนผันตามวรรคสองให้ทำสัญญารับสภาพหนี้เป็นหนังสือ พร้อมหลักประกันที่เหมาะสมไว้เป็นหลักฐาน และให้มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย (๓) ถ้าผู้ต้องรับผิดคนใดปฏิเสธไม่ยินยอมปฏิบัติตาม (๑) หรือ (๒) หรือไม่ยอมทำสัญญารับสภาพหนี้ให้ดำเนินคดีต่อไป ส่วนที่ ๓ การจำหน่าย ข้อ ๘๒ ถ้าผลการพิจารณาปรากฏว่า ไม่มีตัวผู้ต้องรับผิดและยังมีตัวพัสดุอยู่ หรือว่าพัสดุใดหากใช้งานต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก ให้เจ้าหน้าที่พัสดุเสนอรายงานต่อผู้ว่าการเพื่อพิจารณาสั่งให้ดำเนินการตามวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) ขาย ให้ดำเนินการขายโดยวิธีทอดตลาดก่อน แต่ถ้าขายโดยวิธีทอดตลาดแล้วไม่ได้ผลดี ให้นำวิธีที่กำหนดเกี่ยวกับการซื้อมาใช้โดยอนุโลม เว้นแต่การขายพัสดุครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท จะขายโดยวิธีตกลงราคาโดยไม่ต้องทอดตลาดก่อนก็ได้ การขายให้แก่ส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ ให้ขายโดยวิธีตกลงราคา (๒) แลกเปลี่ยนให้ดำเนินการตามวิธีการแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ (๓) โอน ให้โอนแก่ส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจหรือองค์การสถานสาธารณกุศลตามมาตรา ๔๗ (๗) แห่งประมวลรัษฎากร ที่แจ้งความประสงค์ขอมา โดยได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการ กกท. เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการโอนพัสดุซึ่งหมดความจำเป็นที่จะต้องใช้หรือไม่สามารถใช้งานได้ให้อยู่ในอำนาจของผู้ว่าการที่จะเป็นผู้พิจารณา ทั้งนี้ ให้มีหลักฐานการส่งมอบไว้ต่อกัน (๔) แปรสภาพหรือทำลาย การดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ว่าการกำหนด การจำหน่ายเป็นสูญ ข้อ ๘๓ ในกรณีที่พัสดุสูญไปโดยไม่ปรากฏตัวผู้รับผิด หรือมีตัวผู้รับผิด แต่ไม่สามารถชดใช้ตามข้อ ๘๑ หรือมีตัวพัสดุอยู่แต่ไม่สามารถดำเนินการตามข้อ ๘๒ ได้ ให้จำหน่ายพัสดุนั้นเป็นสูญตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ถ้าพัสดุนั้นมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้ผู้ว่าการเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ (๒) ถ้าพัสดุนั้นมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ กกท. เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ การลงจ่ายออกจากบัญชี ข้อ ๘๔ เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๘๒ หรือข้อ ๘๓ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุลงจ่ายพัสดุนั้นออกจากบัญชีหรือทะเบียนทันที สำหรับพัสดุซึ่งต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย ให้แจ้งแก่นายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดด้วย ข้อ ๘๕ ในกรณีที่พัสดุเกิดการชำรุดเสื่อมคุณภาพหรือสูญไปก่อนมีการตรวจสอบตามข้อ ๗๘ และได้ดำเนินการตามระเบียบความรับผิดในทางแพ่งเสร็จสิ้นแล้ว ถ้าระเบียบความรับผิดในทางแพ่งมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้ดำเนินการตามข้อ ๘๒ ข้อ ๘๓ และข้อ ๘๔ โดยอนุโลม หมวด ๔ บทเฉพาะกาล ข้อ ๘๖ การพัสดุใดที่อยู่ในระหว่างดำเนินการและยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งเดิมจนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ หรือจนกว่าจะสามารถดำเนินการตามข้อบังคับนี้ได้ ข้อ ๘๗ กรณีที่มีปัญหาในการตีความและวินิจฉัย หรือไม่อาจปฏิบัติได้ตามข้อบังคับนี้ ให้เสนอคณะกรรมการ กกท. พิจารณาตีความและวินิจฉัย หรืออนุมัติการขอยกเว้นหรือผ่อนผันเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๘๘ ให้ผู้ว่าการเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้ ข้อ ๘๙[๑] ให้ใช้ข้อบังคับนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒ พลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย [เอกสารแนบท้าย] ๑. สัญญาซื้อขาย ๒. สัญญาจ้าง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๔ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๓๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๒๓ สิงหาคม ๒๕๓๒
301879
ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 6 ว่าด้วยการควบคุมสมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับ การกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง
ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๖ ว่าด้วยการควบคุมสมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับ การกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง เพื่อให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรงดำเนินกิจการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายของ กกท. มีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพไม่ก่อให้เกิดการเสื่อมเสียชื่อเสียงสมาคม ประกอบกับมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรงที่ได้รับอนุญาตจาก กกท. ตามมาตรา ๕๓ ต้องอยู่ในความควบคุมของ กกท. และต้องปฏิบัติตามข้อบังคับที่ กกท. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ กกท. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๖ ว่าด้วยการควบคุมสมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง” ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้ “สมาคม” หมายความว่า สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง “กกท.” หมายความว่า การกีฬาแห่งประเทศไทย ข้อ ๔ สมาคมต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายและวัตถุประสงค์ของ กกท. โดยเคร่งครัด ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมกิจการของสมาคมให้มีประสิทธิภาพให้สมาคมออกข้อบังคับตามแนวทางที่ กกท. จะได้กำหนด ข้อ ๖ สมาคมพึงดำเนินการส่งเสริมให้มีสมาชิกมาจากจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ข้อ ๗ สมาชิกของสมาคมนอกจากจะเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสมาคมแล้ว จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) ได้ร่วมหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมเดียวกันกับสมาคม (๓) ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (๔) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ (๖) ไม่เป็นผู้ที่คณะกรรมการของสมาคมมีมติให้ลบชื่อออกจากทะเบียนสมาชิก หรือคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยมีมติเห็นสมควรให้พ้นจากสมาชิกภาพของสมาคม อันเนื่องมาจากไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับหรือระเบียบของสมาคมที่นำความเสื่อมเสียมาสู่สมาคมหรือประพฤติตน หรือกระทำการใด ๆ ที่นำความเสื่อมเสียมาสู่สมาคม ความใน (๑) ไม่ใช้บังคับกับสมาชิกทั่วไป เว้นแต่สมาชิกที่ทำหน้าที่บริหารสมาคม ในกรณีที่สมาชิกของสมาคมเป็นนิติบุคคล สมาชิกนั้นจะต้องมีวัตถุประสงค์หลักอย่างเดียวกันหรือสอดคล้องกันกับสมาคม ข้อ ๘ ให้สมาคมแจ้งบัญชีรายชื่อและจำนวนสมาชิกของสมาคมเพียงสิ้นวันที่ ๓๑ ธันวาคมของทุกปี ให้ กกท. ทราบภายในวันที่ ๓๑ มกราคมของปีถัดไป บัญชีรายชื่อของสมาชิกอย่างน้อยจะต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อของสมาชิก (๒) ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการด้านกีฬา (๓) ที่อยู่ของสมาชิก (๔) วัน เดือน ปี ที่เข้าเป็นสมาชิก ข้อ ๙ สมาคมใดที่มีการรับสมาชิกใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับบัญชีรายชื่อและจำนวนสมาชิก ให้สมาคมนั้นแจ้งการรับสมาชิกใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงนั้นต่อ กกท. ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่รับสมาชิกใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลง ข้อ ๑๐ สมาคมจะต้องมีคณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินการกิจการของสมาคม คณะกรรมการของสมาคมต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคน แต่ไม่เกินสิบเก้าคน ในจำนวนนี้ให้มีกรรมการที่เป็นสมาชิกของสมาคมจำนวนไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนคณะกรรมการทั้งหมด สมาคมจะต้องแจ้งรายชื่อคณะกรรมการบริหารสมาคมให้ กกท. ทราบตามแบบที่ กกท. กำหนดไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่มีการแต่งตั้ง ข้อ ๑๑ กรรมการของสมาคมนอกจากจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสมาคมแล้ว จะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีคุณสมบัติหรือประสบการณ์เหมาะสมกับการดำเนินกิจการเกี่ยวกับกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาภายในขอบวัตถุประสงค์ของสมาคม (๓) ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (๔) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๖) ไม่เป็นผู้ที่คณะกรรมการของสมาคมมีมติให้ออกจากกรรมการ หรือคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยมีมติเห็นสมควรให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการของสมาคม อันเนื่องมาจากไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับหรือกระทำการใด ๆ ที่นำความเสื่อมเสียมาสู่สมาคม ข้อ ๑๒ สมาชิกหรือกรรมการของสมาคมใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๗ หรือข้อ ๑๑ ให้สมาคมนั้นดำเนินการลบชื่อสมาชิกนั้นออกจากทะเบียนสมาชิกหรือให้ออกจากตำแหน่งกรรมการของสมาคม แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ สมาคมจะดำเนินการได้แต่เฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) จัดกิจกรรมทางด้านกีฬา และส่งเสริมการกีฬาตามวัตถุประสงค์ (๒) สนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิก นักกีฬา และกรรมการในการประกอบกิจกรรมทางด้านกีฬา เพื่อประโยชน์ร่วมกัน (๓) สอดส่องและติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมทางด้านกีฬาที่เกี่ยวกับการกีฬาของสมาคม (๔) ทำการวิจัย แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ในทางวิชาการตลอดจนข่าวสารอันเกี่ยวกับการกีฬาของสมาคม (๕) ส่งเสริมคุณภาพและความมาตรฐานของนักกีฬา (๖) ร่วมมือกับการกีฬาแห่งประเทศไทยหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา ข้อ ๑๔ สมาคมจะกระทำการใด ๆ ดังต่อไปนี้ไม่ได้ (๑) ดำเนินการอย่างใด ๆ ในประการที่จะนำความเสื่อมเสียมาสู่การกีฬาของชาติไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม (๒) ให้หรือยอมให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดให้เงิน สิ่งของหรือทรัพย์สินอันมีมูลค่าแก่นักกีฬา เพื่อให้นักกีฬาของสมาคมประพฤติตนในทางที่ขัดต่อระเบียบ วินัย และเกียรติศักดิ์ของนักกีฬา (๓) ให้เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน สิ่งของ หรือทรัพย์สินอันมีมูลค่าแก่นักกีฬา เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนนักกีฬาซึ่งอยู่ในสังกัดของสมาคมอื่นแล้ว มาอยู่ในสังกัดของสมาคมโดยที่ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากสมาคมต้นสังกัด (๔) กีดกันหรือขัดขวางมิให้นักกีฬาเข้าแข่งขันโดยมีเจตนาอันไม่สุจริตหรือขัดต่อข้อบังคับของสมาคม (๕) กีดกันหรือขัดขวางมิให้ผู้ใดซึ่งมีคุณสมบัติที่จะเป็นสมาชิกได้ตามข้อบังคับของสมาคมเข้ามาเป็นสมาชิกของสมาคม (๖) ดำเนินการด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายการแข่งขันอันพึงมีตามปกติวิสัยของการประกอบกิจกรรมในด้านการกีฬา (๗) ดำเนินการด้วยประการใด ๆ อันอาจเป็นภัยต่อการกีฬา ความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือความมั่นคงของประเทศ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่สมาคมใดดำเนินการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของสมาคมหรือข้อบังคับฉบับนี้ให้ กกท. มีอำนาจสั่งการให้สมาคมแก้ไขหรือระงับการดำเนินการฝ่าฝืนดังกล่าวภายในระยะเวลาอันสมควรได้ และในกรณีเดียวกันนี้สมาชิกของสมาคมจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๕ หรือกรรมการสมาคมจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ร้องขอให้สมาคมดำเนินการแก้ไขก็ได้ หากสมาคมมิได้ดำเนินการตามความในวรรคหนึ่ง และ กกท. เห็นว่าถ้าปล่อยให้เนิ่นช้าออกไปอีกจะเป็นผลเสียหายต่อสมาคม ให้ กกท. หรือคณะบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่ กกท. แต่งตั้งขึ้นโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย เข้าดำเนินการหรือบริหารงานของสมาคมได้ในระหว่างเวลาหนึ่งเวลาใดตามที่คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยกำหนด และให้คณะกรรมการบริการของสมาคมมอบหมายการบริหารของสมาคมให้คณะบุคคลดังกล่าวดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด และสมาคมจะต้องให้ความสะดวกและช่วยเหลือในการดำเนินการดังกล่าว ข้อ ๑๖ สมาคมจะต้องให้สมาชิกหรือกรรมการมีสิทธิเข้าตรวจสอบการดำเนินงานของสมาคมได้ ในกรณีที่ข้อบังคับของสมาคมไม่ได้กำหนดเรื่องสิทธิดังกล่าวไว้ ให้สมาชิกหรือกรรมการมีสิทธิร้องขอต่อ กกท. เพื่อใช้สิทธิดังกล่าว หรือให้ กกท. ใช้สิทธินั้นแทนสมาชิกหรือแทนกรรมการได้ ให้สมาคมให้ความสะดวกหรือให้ความช่วยเหลือแก่เจ้าหน้าที่ของ กกท. ตามสมควรหรือให้คำชี้แจงตามที่ กกท. ร้องขอ ข้อ ๑๗ สมาคมต้องดำเนินการให้มีการประชุมคณะกรรมการเดือนละหนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย ข้อ ๑๘ สมาคมใดจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการ การประชุมใหญ่สมาชิกประจำปีหรือการประชุมวิสามัญ ให้สมาคมนั้นแจ้งระเบียบวาระการประชุม และรายละเอียดตามสมควรให้ กกท. ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ข้อ ๑๙ ในกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนหรือมีเหตุพิเศษเกี่ยวข้องกับสมาคมโดยตรง กกท. อาจสั่งให้สมาคมดำเนินการเรียกประชุมคณะกรรมการหรือสมาชิกของสมาคม แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาเรื่องหรือปัญหาที่ กกท. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยเห็นว่าเป็นเรื่องหรือปัญหาที่มีความสำคัญ ข้อ ๒๐ ในการประชุมของสมาคม ให้ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยหรือผู้แทนที่ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยมอบหมายเป็นหนังสือมีสิทธิเข้าฟังการประชุมคณะกรรมการหรือสมาชิกของสมาคมได้ ข้อ ๒๑ ให้สมาคมส่งรายงานการประชุมคณะกรรมการหรือสมาชิกของสมาคมทุกครั้งให้ กกท. ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันประชุม ข้อ ๒๒ สมาคมใดจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการหรือสมาชิกของสมาคมและได้มีมติฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือข้อบังคับของสมาคม ให้ กกท. มีอำนาจสั่งให้สมาคมนั้นแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าสมาคมไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ กกท. ดังกล่าวให้ กกท. มีอำนาจสั่งพักใช้หรือเพิกถอนในอนุญาตได้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๒๓ สมาคมใดจัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปี ให้สมาคมนั้นแจ้งให้ กกท. ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันแข่งขัน และให้รายงานผลการแข่งขันให้ กกท. ทราบภายในสามสิบวัน นับจากวันเสร็จสิ้นการแข่งขัน ข้อ ๒๔ สมาคมใดจัดให้มีการออกหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารหรือสูจิบัตรใด ๆ ในนามของสมาคม ให้สมาคมนั้นส่งเอกสารดังกล่าวให้ กกท. อย่างน้อยสองเล่มหรือสองชุด ข้อ ๒๕ สมาคมต้องปฏิบัติตามคำสั่งของ กกท. ซึ่งสั่งเพื่อปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้ ในกรณีที่สมาคมไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อประธานกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ภายในเจ็ดวันนับแต่วันรับทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของประธานกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ให้ถือเป็นที่สุด ข้อ ๒๖ ข้อบังคับ ข้อ ๕ ว่าด้วยแนวทางข้อบังคับของสมาคม ข้อ ๗ ว่าด้วยคุณสมบัติของสมาชิกข้อ ๑๐ ว่าด้วยจำนวนของกรรมการและข้อ ๑๑ ว่าด้วยคุณสมบัติของกรรมการจะใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศใช้ข้อบังคับนี้เป็นต้นไป ในระหว่างที่ยังไม่ใช้ข้อบังคับดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง สมาคมใดจะนำไปใช้พลางก่อนก็ได้ โดยสมาคมนั้นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของสมาคมให้ถูกต้อง และแจ้งให้ กกท. ทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว ข้อ ๒๗ ให้ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยรักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอำนาจวางระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ อำนวย สุวรรณคีรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการการกีฬาแห่งประเทศ ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๔ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๗๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๒๐ เมษายน ๒๕๓๐
301878
ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3 ว่าด้วยการขออนุญาต การอนุญาต และเงื่อนไขในการ อนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขันหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหรือจัดการแข่งขันกีฬา ในนามของชาติหรือประเทศไทย
ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๓ ว่าด้วยการขออนุญาต การอนุญาต และเงื่อนไขในการ อนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขันหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหรือจัดการแข่งขันกีฬา ในนามของชาติหรือประเทศไทย เนื่องจากมาตรา ๕๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติห้ามมิให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดเข้าร่วมการแข่งขันหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหรือจัดการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก กกท. และโดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๑) และมาตรา ๕๙ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๓ ว่าด้วยการขออนุญาต การอนุญาตและเงื่อนไขในการอนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขันหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหรือจัดการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย” ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ คณะบุคคลหรือบุคคลใดซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย”ประสงค์จะเข้าร่วมการแข่งขันหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหรือจัดการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ กกท. ๖ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) ภาพถ่ายเอกสารอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (ก) ธรรมนูญการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์หรือซีเกมส์ (ข) ธรรมนูญสหพันธ์กีฬานานาชาติหรือธรรมนูญสหพันธ์กีฬาแห่งเอเซียที่เกี่ยวข้อง หรือ (ค) ธรรมนูญหรือระเบียบการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลกหรือเอเซียที่เกี่ยวข้อง (๒) ใบรับรายงานผลการแข่งขันกีฬาตามข้อ ๙ วรรคสอง สำหรับกรณีที่เคยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อกำหนดนี้มาแล้ว (๓) ภายถ่ายใบอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ข้อ ๔ คณะบุคคลหรือบุคคลใดนอกจากคณะบุคคลหรือบุคคลตามข้อ ๓ ประสงค์จะเข้าร่วมการแข่งขันหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือจัดหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการแข่งขันหรือจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ กกท. ๖ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา (ก) ชื่อนักกีฬาที่จะเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา (ข) ชื่อและสถานที่แข่งขันกีฬาพร้อมด้วยหลักฐานการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาดังกล่าว (ค) รายงานผลการฝึกซ้อมและการแข่งขันกีฬาของนักกีฬาที่จะเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา ในระยะเวลาหกเดือนก่อนวันที่ยื่นคำขอสำหรับกีฬาอาชีพหรือในระยะเวลาสามเดือนก่อนวันที่ยื่นคำขอสำหรับกีฬาสมัครเล่น (ง) รายงานผลการตรวจสุขภาพของนักกีฬาจากศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาของ กกท. (จ) หลักฐานแสดงฐานะการเงินในการเข้าร่วมแข่งขันกีฬา (ฉ) ใบรับรายงานผลการแข่งขันกีฬาตามข้อ ๙ วรรคสอง สำหรับกรณีที่เคยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อกำหนดนี้มาแล้ว (๒) กรณีส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา (ก) ภาพถ่ายใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมตามมาตรา ๕๓ ถ้ามี (ข) รายชื่อนักกีฬาที่ส่งเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา (ค) ชื่อและสถานที่แข่งขันกีฬาพร้อมด้วยหลักฐานการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา (ง) หลักฐานแสดงฐานะการเงินในการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา (จ) รายงานตาม (๑) (ค) และ (ง) (ฉ) ใบรับรายงานผลการแข่งขันกีฬาตามข้อ ๙ วรรคสอง สำหรับกรณีที่เคยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อกำหนดนี้มาแล้ว (๓) กรณีจัดให้มีการแข่งขันกีฬา (ก) ภาพถ่ายใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมตามมาตรา ๕๓ ถ้ามี (ข) หลักฐานการเป็นผู้จัดให้มีการแข่งขันกีฬา (ค) รายชื่อประเทศ สมาคม สโมสรหรือคณะบุคคลที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา (ง) ชื่อและสถานที่ที่จะจัดให้มีการแข่งขันกีฬา (จ) หลักฐานแสดงฐานะการเงินในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา (ฉ) ใบรับรายงานผลการแข่งขันกีฬาตามข้อ ๙ วรรคสอง สำหรับกรณีที่เคยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อกำหนดนี้มาแล้ว (๔) กรณีร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา (ก) ภาพถ่ายใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมตามมาตรา ๕๓ ถ้ามี (ข) หลักฐานการเป็นผู้ร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา (ค) รายชื่อผู้ที่ร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาทุกคน พร้อมด้วยหลักฐานแสดงฐานะทางกฎหมายของบุคคลดังกล่าว ถ้ามี (ง) หลักฐานแสดงฐานะการเงินในการร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา (จ) เอกสารหลักฐานตาม (๓) (ค) และ (ง) (ฉ) ใบรับรายงานผลการแข่งขันกีฬาตามข้อ ๙ วรรคสอง สำหรับกรณีที่เคยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อกำหนดนี้มาแล้ว ข้อ ๕ การยื่นคำขอตามข้อบังคับนี้ (๑) ถ้าเป็นกรณีเข้าร่วมการแข่งขันหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา โดยแสดงว่าเป็นการแข่งขันในนามของชาติหรือประเทศไทย ให้ยื่นต่อ กกท. หรือสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของ กกท. ก่อนการแข่งขันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่อาจยื่นได้ทันภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้คณะบุคคลหรือนิติบุคคลยื่นคำขอพร้อมทั้งชี้แจงแสดงเหตุจำเป็นและหลักฐานประกอบ เมื่อ กกท. เห็นเป็นการสมควรจะให้ขยายกำหนดเวลายื่นคำขอออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีก็ได้ แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่เกินสิบห้าวันก่อนการแข่งขัน (๒) ถ้าเป็นกรณีจัดให้มีการแข่งขันกีฬาหรือร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาโดยแสดงว่าเป็นการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย ให้ยื่นต่อ กกท. หรือสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของ กกท. ก่อนการแข่งขันไม่น้อยกว่าหกสิบวัน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่อาจยื่นได้ทันภายในกำหนดเวลาดังกล่าว เมื่อ กกท. เห็นเป็นการสมควร จะให้ขยายกำหนดเวลาออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีก็ได้ แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่เกินสามสิบวัน ข้อ ๖ ในกรณีที่คณะบุคคลหรือบุคคลใดได้รับเชิญจากสถาบันกีฬาระหว่างประเทศหรือสถาบันกีฬาต่างประเทศ ซึ่ง กกท. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการให้เข้าร่วมการแข่งขันหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโดยรีบด่วนและไม่อาจที่จะยื่นขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๕ (๑) ได้ทันภายในกำหนดระยะเวลา ให้คณะบุคคลหรือบุคคลดังกล่าวยื่นคำขอรับใบอนุญาตพร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) หนังสือหรือหลักฐานการเชิญจากสถาบันกีฬาระหว่างประเทศหรือสถาบันกีฬาต่างประเทศ ซึ่ง กกท. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการให้เข้าร่วมการแข่งขันหรือส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน (๒) ชื่อนักกีฬาที่จะเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา หรือที่ส่งเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา (๓) ชื่อและสถานที่แข่งขันกีฬา พร้อมด้วยหลักฐานการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาหรือหลักฐานการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาดังกล่าว (๔) หลักฐานแสดงฐานะการเงินในการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาหรือในการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา (๕) หลักฐานอื่นตามที่ กกท. เห็นสมควร เมื่อ กกท. เห็นเป็นการสมควร ให้ กกท. มีอำนาจพิจารณาคำขอของคณะบุคคลหรือบุคคลดังกล่าวได้ และให้ กกท. พิจารณาโดยมิชักช้า ข้อ ๗ ในการพิจารณาอนุญาตตามข้อบังคับนี้ ให้ กกท. คำนึงถึงประวัติ ชื่อเสียง กิจกรรมหรือพฤติกรรมของคณะบุคคลหรือบุคคลนั้น รวมตลอดถึงผลกระทบที่จะบังเกิดขึ้นต่อนโยบายของ กกท. อันเนื่องมาจากการอนุญาตนั้นด้วย ข้อ ๘ ใบอนุญาตตามข้อบังคับนี้ ให้ใช้แบบใบอนุญาต ดังต่อไปนี้ (๑) ใบอนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโดยแสดงว่าเป็นการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย ให้ใช้แบบ กกท. ๘ (๒) ใบอนุญาตให้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโดยแสดงว่าเป็นการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย ให้ใช้แบบ กกท. ๙ (๓) ใบอนุญาตให้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย ให้ใช้แบบ กกท. ๑๐ (๔) ใบอนุญาตให้ร่วมในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย ให้ใช้แบบ กกท. ๑๑ ใบอนุญาตตามข้อบังคับนี้จะโอนกันมิได้ ข้อ ๙ ให้คณะบุคคลหรือบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตตามข้อ ๓ และข้อ ๔ ส่งรายงานผลการแข่งขันกีฬาตามแบบที่ กกท. กำหนด ให้ กกท. ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดการแข่งขัน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่อาจส่งรายงานผลการแข่งขันกีฬาภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ เมื่อ กกท. เห็นเป็นการสมควรจะให้ขยายกำหนดเวลาออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีก็ได้ เมื่อ กกท. รับรายงานผลการแข่งขันกีฬาตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ออกใบรับให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๑๐ คณะบุคคลหรือบุคคลใดซึ่งได้รับใบอนุญาตตามข้อบังคับนี้จะต้องไม่กระทำการใด ๆ ในประการที่น่าจะทำให้ชาติหรือประเทศไทยเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังและต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบของ กกท. ข้อ ๑๑ คณะบุคคลหรือบุคคลใดซึ่งได้รับใบอนุญาตตามข้อบังคับนี้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๘ หรือข้อ ๑๐ ให้ถือว่าใบอนุญาตสิ้นผล ข้อ ๑๒ ให้ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยรักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอำนาจวางระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๔ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙/๙ มกราคม ๒๕๒๙
301877
ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 2 ว่าด้วยการขออนุญาต การอนุญาต และเงื่อนไขในการอนุญาต ให้ใช้คำว่า "แห่งประเทศไทย" หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใด แสดงว่าเป็นสมาคม สโมสรหรือคณะบุคคล ซึ่งมีกิจกรรม เกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย
ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๒ ว่าด้วยการขออนุญาต การอนุญาต และเงื่อนไขในการอนุญาต ให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใด แสดงว่าเป็นสมาคม สโมสรหรือคณะบุคคล ซึ่งมีกิจกรรม เกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย เนื่องจากมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติห้ามมิให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใดแสดงว่าเป็นสมาคม สโมสรหรือคณะบุคคล ซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก กกท. และโดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา (๑๙) (๑) และมาตรา ๕๙ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๒ ว่าด้วยการขออนุญาต การอนุญาตและเงื่อนไขในการอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใดแสดงว่าเป็นสมาคม สโมสรหรือคณะบุคคล ซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย” ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ คณะบุคคลหรือบุคคลใดประสงค์จะใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใดแสดงว่าเป็นสมาคม สโมสรหรือคณะบุคคล ซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ กกท. ๕ (ก) พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สมาคมหรือคณะบุคคลที่เป็นนิติบุคคล (ก) ภาพถ่ายใบสำคัญการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (ข) ภาพถ่ายใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมตามมาตรา ๕๓ ถ้ามี (ค) ภาพถ่ายข้อบังคับของสมาคมหรือคณะบุคคล (ง) บัญชีรายชื่อพร้อมด้วยที่อยู่และอาชีพของกรรมการของสมาคมหรือคณะบุคคลฉบับที่นายทะเบียนรับรอง (จ) รายละเอียดกิจกรรมของสมาคมหรือคณะบุคคลเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย (ฉ) แบบอักษรหรือเครื่องหมายที่ประสงค์จะใช้เพื่อแสดงว่ามีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย (๒) สโมสรหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล (ก) ภาพถ่ายข้อบังคับของสโมสรหรือคณะบุคคล (ข) บัญชีรายชื่อพร้อมด้วยที่อยู่และอาชีพของกรรมการของสโมสรหรือคณะบุคคล (ค) รายละเอียดกิจกรรมของสโมสรหรือคณะบุคคลเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย (ง) แบบอักษรหรือเครื่องหมายที่ประสงค์จะใช้เพื่อแสดงว่ามีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย ข้อ ๔ คณะบุคคลหรือบุคคลใดซึ่งใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใดแสดงว่าเป็นสมาคม สโมสรหรือคณะบุคคล ซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทยอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประสงค์จะใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายดังกล่าวต่อไป ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ ใช้บังคับตามแบบ กกท. ๕ (ข) พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (ก) ภาพถ่ายใบสำคัญการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือหลักฐานการจัดตั้งคณะบุคคล (ข) ภาพถ่ายข้อบังคับของคณะบุคคลหรือบุคคล (ค) บัญชีรายชื่อพร้อมด้วยที่อยู่และอาชีพของกรรมการของคณะบุคคลหรือบุคคล (ง) รายละเอียดกิจกรรมของคณะบุคคลหรือบุคคลเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย (จ) แบบอักษรหรือเครื่องหมายที่ใช้เพื่อแสดงว่ามีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย ข้อ ๕ การยื่นคำขอตามข้อบังคับนี้ ให้ยื่นต่อ กกท. หรือสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของ กกท. ข้อ ๖ ในการพิจารณาอนุญาตคำขอใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ของคณะบุคคลหรือบุคคลซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาประเภทเดียวกัน ให้ กกท. พิจารณาอนุญาตคำขอของคณะบุคคลหรือบุคคลตามข้อ ๔ ก่อนก็ได้ เมื่อได้อนุญาตให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” แล้ว กกท. จะไม่อนุญาตให้คณะบุคคลหรือบุคคลอื่นซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาประเภทเดียวกันใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” เป็นการซ้ำซ้อนกันอีก ข้อ ๗ ในการพิจารณาอนุญาตตามข้อบังคับนี้ ให้ กกท. คำนึงถึงประวัติ ชื่อเสียง กิจกรรมหรือพฤติกรรมของคณะบุคคลหรือบุคคลนั้นรวมตลอดถึงผลกระทบที่จะบังเกิดขึ้นต่อนโยบายของ กกท. อันเนื่องมาจากการอนุญาตนั้นด้วย ข้อ ๘ ใบอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใด แสดงว่าเป็นสมาคม สโมสรหรือคณะบุคคล ซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย ให้ใช้แบบ กกท. ๗ ใบอนุญาตตามข้อบังคับนี้จะโอนกันมิได้ ข้อ ๙ คณะบุคคลหรือบุคคลใดซึ่งได้รับอนุญาตตามข้อบังคับนี้จะต้องไม่กระทำการใด ๆ ในประการที่น่าจะทำให้ชาติหรือประเทศไทยเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง และต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบของ กกท. ข้อ ๑๐ คณะบุคคลหรือบุคคลใดซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือมีอักษรหรือเครื่องหมายใด แสดงว่าเป็นสมาคม สโมสรหรือคณะบุคคล ซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย เลิกกิจการ ให้กรรมการหรือผู้ดำเนินงานแจ้งการเลิกต่อ กกท. ตามแบบที่ กกท. กำหนด ภายในสามสิบวันนับแต่วันเลิกกิจการ ข้อ ๑๑ คณะบุคคลหรือบุคคลใดซึ่งได้รับใบอนุญาตตามข้อบังคับนี้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๘ หรือ ข้อ ๑๐ ให้ถือว่าใบอนุญาตสิ้นผล ข้อ ๑๒ ให้ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยรักษาการตามข้อบังคับนี้และให้มีอำนาจวางระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ปัทมา/จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๔ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔/๙ มกราคม ๒๕๒๙
659155
ข้อบังคับองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ว่าด้วยอำนาจในการทำนิติกรรม พ.ศ. 2520
ข้อบังคับองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ข้อบังคับองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ว่าด้วยอำนาจในการทำนิติกรรม พ.ศ. ๒๕๒๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๗ คณะกรรมการองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย จึงวางข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้ให้เรียกว่า “ข้อบังคับองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ว่าด้วยอำนาจในการทำนิติกรรม พ.ศ. ๒๕๒๐” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกข้อบังคับองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ว่าด้วยอำนาจผู้อำนวยการในการทำนิติกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๒ และให้ใช้บังคับนี้แทน ข้อ ๓ ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับกิจการขององค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ครั้งหนึ่งไม่เกินวงเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) ข้อ ๔ การทำนิติกรรมครั้งหนึ่งมีมูลค่าเกินกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ในข้อ ๓ แต่ไม่เกินวงเงิน ๒ ล้านบาท ประธานกรรมการองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นผู้อนุมัติและถ้าวงเงินเกินกว่า ๒ ล้านบาทขึ้นไป ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ก่อน ข้อ ๕ ให้ใช้ข้อบังคับนี้ ตั้งแต่วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๒๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ พลตำรวจเอก หลวงชาติตระการโกศล ประธานกรรมการ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้ข้อบังคับนี้ คือ เนื่องด้วยคณะกรรมการองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ได้พิจารณาเห็นว่า ตามที่กำหนดอำนาจผู้อำนวยการในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับกิจการขององค์การฯ ได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท เป็นการไม่สะดวกแก่การปฏิบัติกิจการ สมควรขยายวงเงินขึ้นไปเป็น ๕๐๐,๐๐๐ บาท และอำนาจประธานกรรมการในการอนุมัติทำนิติกรรม ปัทมา/ผู้จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ พัสสน/ผู้ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ อภิญญา/ปรับปรุง ๔ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๔/ตอนที่ ๖๗/หน้า ๕๗๓/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๒๐
773803
พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นปีที่ ๖๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ” หมายความว่า การรับขนของโดยมีรูปแบบการขนส่งที่แตกต่างกันตั้งแต่สองรูปแบบขึ้นไปภายใต้สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบฉบับเดียว โดยขนส่งจากสถานที่ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้รับมอบของในประเทศหนึ่งไปยังสถานที่ซึ่งกำหนดให้เป็นสถานที่ส่งมอบของในอีกประเทศหนึ่ง การดำเนินการรับหรือส่งมอบของตามที่ระบุไว้ในสัญญาขนส่งรูปแบบเดียวไม่ถือว่าเป็นการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ “ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง” หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในฐานะตัวการและเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติการขนส่งตามสัญญา ไม่ว่าการทำสัญญานั้นจะทำด้วยตนเองหรือโดยบุคคลที่ตนมอบหมาย แต่ไม่รวมถึงบุคคลที่กระทำการในฐานะตัวแทนหรือทำการแทนผู้ตราส่งหรือผู้ขนส่งที่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการขนส่งดังกล่าว “ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน” หมายความว่า ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องที่ได้จดทะเบียนตามมาตรา ๔๑ หรือมาตรา ๔๘ หรือได้จดแจ้งตามมาตรา ๔๕ “ผู้ขนส่ง” หมายความว่า บุคคลซึ่งทำการหรือรับที่จะทำการขนส่งไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหรือไม่ก็ตาม “ผู้ตราส่ง” หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องในสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ “ผู้รับตราส่ง” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีสิทธิในการรับของจากผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งต่อเนื่อง “ใบตราส่งต่อเนื่อง” หมายความว่า เอกสารที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องออกให้แก่ผู้ตราส่ง เพื่อเป็นหลักฐานแห่งสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดยมีสาระสำคัญแสดงว่าผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้รับมอบของตามที่ระบุในใบตราส่งต่อเนื่องและผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องรับที่จะส่งมอบของดังกล่าวให้แก่ผู้รับตราส่ง หรือบุคคลผู้มีสิทธิรับของตามมาตรา ๒๒ นั้น “รับมอบของ” หมายความว่า การที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้รับของเพื่อขนส่งของให้ตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ “ส่งมอบของ” หมายความว่า ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) มอบของให้แก่ผู้รับตราส่ง (ข) นำของไปไว้ในเงื้อมมือของผู้รับตราส่งตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือตามกฎหมายหรือประเพณีทางการค้าที่ถือปฏิบัติกันอยู่ ณ สถานที่ส่งมอบแล้ว หรือ (ค) มอบของให้แก่เจ้าหน้าที่หรือบุคคลใด ๆ ซึ่งกฎหมายหรือกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ ณ สถานที่ส่งมอบกำหนดให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องต้องส่งมอบของให้ “หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน” หมายความว่า หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงินตามกฎหมายว่าด้วยการให้อำนาจและกำหนดการปฏิบัติบางประการเกี่ยวกับสิทธิพิเศษถอนเงินในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ “ของ” หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ สัตว์มีชีวิต รวมทั้งภาชนะขนส่งที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมิได้เป็นผู้จัดหามา ไม่ว่าของเหล่านั้นจะบรรทุกหรือได้บรรทุกไว้บนหรือใต้ปากระวาง “ภาชนะขนส่ง” หมายความว่า ตู้สินค้า ไม้รองสินค้าหรือสิ่งอื่นที่ใช้บรรจุของหรือรองรับของ หรือใช้รวมหน่วยการขนส่งของหลายหน่วยเข้าด้วยกัน หรือภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์อย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ “หน่วยการขนส่ง” หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งซึ่งนับเป็นหนึ่ง และแต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อัน หรือหน่วยที่เรียกชื่ออย่างอื่น “เป็นหนังสือ” หมายความรวมถึงโทรเลข โทรพิมพ์ โทรสารหรือวิธีการอย่างอื่นซึ่งพิมพ์ บันทึก ทำซ้ำหรือส่งข้อความโดยทางเครื่องกลหรืออิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องมือเครื่องใช้อย่างอื่นที่มีไว้ใช้ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว “ใบทะเบียน” หมายความว่า ใบทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบรวมทั้งใบจดแจ้งหรือใบทะเบียนการตั้งตัวแทนตามพระราชบัญญัตินี้ “นายทะเบียน” หมายความว่า อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่นายทะเบียน “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีซึ่งนายทะเบียนแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ สัญญารับขนของภายในราชอาณาจักรโดยมีรูปแบบการขนส่งที่แตกต่างกันตั้งแต่สองรูปแบบขึ้นไปภายใต้สัญญารับขนของฉบับเดียว คู่สัญญาอาจตกลงกันเป็นหนังสือว่าให้นำบทบัญญัติในหมวด ๑ ว่าด้วยสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบตามพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับก็ได้ มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ส่วนที่ ๑ บททั่วไป มาตรา ๗ สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ คือ สัญญาซึ่งผู้ตราส่ง ตกลงให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง ดำเนินการหรือจัดให้มีการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและผู้ตราส่งตกลงที่จะชำระค่าระวางให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง มาตรา ๘ ข้อกำหนดใดในสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบซึ่งมีวัตถุประสงค์หรือมีผลไม่ว่าโดยตรงหรือโดยปริยาย เป็นการปลดเปลื้องหน้าที่หรือความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหรือทำให้เสื่อมสิทธิแก่ผู้ตราส่งหรือผู้รับตราส่งตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้ข้อกำหนดนั้นเป็นโมฆะ ข้อกำหนดที่เป็นโมฆะตามวรรคหนึ่งไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์ของข้อกำหนดอื่นในสัญญานั้น และให้ถือว่าคู่สัญญาได้เจตนาให้ข้อกำหนดอื่นนั้นแยกออกต่างหากจากข้อกำหนดที่เป็นโมฆะตามวรรคหนึ่ง บทบัญญัติในมาตรานี้ไม่ตัดสิทธิคู่สัญญาที่จะตกลงกันกำหนดหน้าที่และความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง ให้มากกว่าที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ มาตรา ๙ บทบัญญัติในหมวดนี้ไม่กระทบถึงสิทธิและหน้าที่ในการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการนั้น มาตรา ๑๐ ในการทำสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจะต้องออกใบตราส่งต่อเนื่องให้แก่ผู้ตราส่งเมื่อได้รับมอบของ ใบตราส่งต่อเนื่องอาจเป็นชนิดโอนให้กันได้หรือชนิดห้ามโอน ทั้งนี้ แล้วแต่ผู้ตราส่งจะเลือก ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหรือบุคคลอื่นที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมอบหมายจะต้องลงลายมือชื่อในใบตราส่งต่อเนื่อง การลงลายมือชื่อตามวรรคสามให้หมายความรวมถึงการลงลายมือชื่อที่ปรากฏในเอกสารทางโทรสาร การปรุเอกสาร การประทับตรา การใช้สัญลักษณ์ หรือการลงลายมือชื่อโดยใช้เครื่องกลหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการนั้น มาตรา ๑๑ ใบตราส่งต่อเนื่องพึงแสดงรายการดังต่อไปนี้ (๑) ลักษณะทั่วไปแห่งของ เครื่องหมายที่จำเป็นเพื่อบ่งตัวของ ข้อความที่แจ้งสถานะอันตราย สภาพการเน่าเสียง่ายแห่งของ หากจะต้องมี และจำนวนหน่วยการขนส่ง น้ำหนักรวมหรือปริมาณอย่างอื่นแห่งของ ทั้งนี้ ตามที่ผู้ตราส่งแจ้งหรือจัดให้ (๒) สภาพแห่งของเท่าที่เห็นได้จากภายนอก (๓) ชื่อและสำนักงานใหญ่ของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง (๔) ชื่อผู้ตราส่ง (๕) ชื่อผู้รับตราส่ง ถ้าผู้ตราส่งระบุไว้ (๖) สถานที่และวันที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องรับมอบของ (๗) สถานที่ส่งมอบของ (๘) วันที่หรือระยะเวลาส่งมอบของ ณ สถานที่ส่งมอบ ถ้าคู่สัญญาจะได้ตกลงกันไว้โดยชัดแจ้ง (๙) ข้อความระบุว่าใบตราส่งต่อเนื่องเป็นชนิดโอนให้กันได้หรือชนิดห้ามโอน (๑๐) สถานที่และวันที่ออกใบตราส่งต่อเนื่อง (๑๑) ลายมือชื่อของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมาย (๑๒) ค่าระวางเท่าที่ผู้รับตราส่งจะต้องชำระซึ่งรวมถึงสกุลเงินที่จะต้องชำระหรือค่าระวางสำหรับแต่ละรูปแบบการขนส่ง หรือข้อความแสดงว่าผู้รับตราส่งเป็นผู้ชำระค่าระวางตามที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ (๑๓) เส้นทางที่จะใช้ขนส่ง รูปแบบการขนส่ง และสถานที่เปลี่ยนถ่ายพาหนะ ถ้าทราบถึงรายละเอียดดังกล่าวเมื่อออกใบตราส่งต่อเนื่อง (๑๔) รายละเอียดอื่นใดที่คู่สัญญาตกลงให้แสดงไว้ในใบตราส่งต่อเนื่อง ในกรณีที่ใบตราส่งต่อเนื่องใดที่ออกโดยผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมีรายการไม่ครบตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ใบตราส่งต่อเนื่องนั้นยังคงมีฐานะทางกฎหมายเป็นใบตราส่งต่อเนื่อง หากมีข้อความครบลักษณะเป็นใบตราส่งต่อเนื่องตามมาตรา ๔ มาตรา ๑๒ ในกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมิได้ทำบันทึกเป็นข้อสงวนไว้ในใบตราส่งต่อเนื่องโดยระบุถึงข้อที่ไม่ตรงกับความจริง เหตุแห่งความสงสัยหรือพฤติการณ์ที่ไม่อาจตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงได้ แล้วแต่กรณี หรือมิได้ระบุข้อความไว้ในใบตราส่งต่อเนื่องอย่างชัดแจ้ง เช่น ระบุว่า “ผู้ตราส่งเป็นผู้ชั่งน้ำหนัก บรรทุก และตรวจนับ” “ผู้ตราส่งเป็นผู้บรรจุตู้สินค้า” หรือข้อความอื่นในลักษณะเดียวกัน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้รับมอบของไว้ตามสภาพที่ระบุไว้ในใบตราส่งต่อเนื่องนั้น มาตรา ๑๓ ถ้ามิได้มีการบันทึกไว้ในใบตราส่งต่อเนื่องตามมาตรา ๑๒ และถ้าใบตราส่งต่อเนื่องหรือข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ตามใบตราส่งต่อเนื่องได้โอนหรือส่งไปยังผู้รับตราส่งหรือบุคคลภายนอก ซึ่งได้ทราบและกระทำการโดยสุจริตโดยเชื่อตามข้อความในใบตราส่งต่อเนื่องนั้น ห้ามมิให้พิสูจน์เป็นอย่างอื่น มาตรา ๑๔ เมื่อได้ออกใบตราส่งต่อเนื่องให้แก่กันไว้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องกับผู้รับตราส่งในเรื่องทั้งหลายเกี่ยวกับการขนส่งของที่ระบุไว้ในใบตราส่งต่อเนื่องนั้น ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในใบตราส่งต่อเนื่อง มาตรา ๑๕ ให้นำบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลในส่วนที่เกี่ยวกับใบตราส่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ส่วนที่ ๒ หน้าที่และความรับผิดของผู้ตราส่ง มาตรา ๑๖ เมื่อผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้รับมอบของจากผู้ตราส่งหรือจากบุคคลอื่นในนามผู้ตราส่งไว้แล้ว ให้ถือว่า ผู้ตราส่งได้รับรองความถูกต้องในรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับสภาพแห่งของ เครื่องหมาย เลขหมาย น้ำหนัก ปริมาตร และปริมาณแห่งของที่ขนส่งนั้น ตลอดจนลักษณะอันตรายแห่งของที่ตนได้แจ้งไว้แก่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหรือจัดให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องเพื่อบันทึกไว้ในใบตราส่งต่อเนื่อง ถ้ามีความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นเนื่องจากการแจ้งข้อความไม่ถูกต้องตรงตามรายละเอียดตามวรรคหนึ่งที่ผู้ตราส่งได้แจ้งไว้หรือจัดให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องเพื่อบันทึกไว้ในใบตราส่งต่อเนื่อง ผู้ตราส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง แม้ว่าผู้ตราส่งจะได้โอนใบตราส่งต่อเนื่องนั้นให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ตาม แต่ทั้งนี้ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องยังคงต้องรับผิดตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบต่อบุคคลภายนอกนั้น มาตรา ๑๗ ผู้ตราส่งต้องทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายของที่มีสภาพอันก่อให้เกิดอันตรายได้ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศและตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้รู้ว่าของนั้นมีอันตราย มาตรา ๑๘ เมื่อผู้ตราส่งได้มอบของที่มีสภาพอันก่อให้เกิดอันตรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหรือบุคคลที่ทำการแทนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง ผู้ตราส่งต้องแจ้งสภาพอันตรายแห่งของนั้นและข้อควรระวังต่าง ๆ ถ้ามี หากผู้ตราส่งไม่แจ้งสภาพอันตรายแห่งของและผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไม่ทราบ ให้สิทธิและหน้าที่ของผู้ตราส่งและผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง มีดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ตราส่งต้องรับผิดในความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายทั้งปวงอันเกิดขึ้นหรือเป็นผลเนื่องจากการขนส่งของนั้น (๒) ไม่ว่าเวลาใด ๆ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหรือบุคคลที่ทำการแทนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องอาจขนถ่ายของนั้นออกจากพาหนะที่ขนส่ง ทำลาย หรือทำให้หมดฤทธิ์ ตามความจำเป็นแห่งกรณีได้ โดยไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่บุคคลที่ได้ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งของที่ขนส่งนั้นแล้วเมื่อได้รับมอบของ มาตรา ๑๙ แม้ว่าผู้ตราส่งจะได้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๘ แล้ว แต่ถ้าปรากฏในภายหลังว่าของนั้นเป็นอันตราย หรือเป็นอันตรายใกล้จะถึงแก่ชีวิตหรือทรัพย์สิน หรือจะเป็นอันตรายอย่างแน่ชัด ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหรือบุคคลที่ทำการแทนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง อาจขนถ่ายของนั้นออกจากพาหนะที่ขนส่ง ทำลาย หรือทำให้หมดฤทธิ์ตามความจำเป็นแห่งกรณีได้ โดยไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องยังต้องรับผิดตามส่วนของตนในการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปหรือในกรณีที่ต้องรับผิดตามมาตรา ๒๐ ส่วนที่ ๓ หน้าที่และความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง มาตรา ๒๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๗ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันเป็นผลจากการที่ของสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้า ถ้าเหตุแห่งการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้านั้นได้เกิดขึ้นตั้งแต่เวลาที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องรับมอบของจนถึงเวลาที่ได้ส่งมอบของนั้น เว้นแต่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจะพิสูจน์ได้ว่าตนหรือลูกจ้าง ตัวแทนของตนหรือบุคคลอื่นใดซึ่งตนได้ใช้บริการ เพื่อปฏิบัติตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ได้ใช้มาตรการทั้งปวงซึ่งจำเป็นต้องกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุแห่งการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้ารวมทั้งผลที่เกิดขึ้นจากเหตุนั้น ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายใด ๆ อันเป็นผลจากการส่งมอบชักช้า เว้นแต่ผู้ตราส่งจะได้แจ้งก่อนที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจะรับมอบของว่า หากมีการส่งมอบชักช้า ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจะต้องรับผิดในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นและผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้ยินยอมที่จะรับผิดในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก่อนรับมอบของ มาตรา ๒๑ การส่งมอบชักช้า คือ (๑) ในกรณีที่มีการตกลงกำหนดเวลาส่งมอบไว้อย่างชัดแจ้ง ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไม่ได้ส่งมอบของภายในกำหนดเวลานั้น (๒) ในกรณีที่ไม่มีการตกลงกำหนดเวลาส่งมอบไว้ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไม่ได้ส่งมอบของภายในกำหนดเวลาอันควรที่จะส่งมอบตามหน้าที่อันพึงปฏิบัติ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วย มาตรา ๒๒ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมีหน้าที่ต้องดำเนินการส่งมอบของ ดังต่อไปนี้ (๑) ถ้าใบตราส่งต่อเนื่องเป็นชนิดโอนให้กันได้ประเภทออกให้แก่ผู้ถือ ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องส่งมอบของแก่บุคคลซึ่งเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งต่อเนื่องฉบับใดฉบับหนึ่ง (๒) ถ้าใบตราส่งต่อเนื่องเป็นชนิดโอนให้กันได้ประเภทออกให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่ง ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องส่งมอบของแก่บุคคลซึ่งได้เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งต่อเนื่องฉบับใดฉบับหนึ่ง ซึ่งได้สลักหลังโดยชอบ (๓) ถ้าใบตราส่งต่อเนื่องเป็นชนิดโอนให้กันได้ประเภทออกให้แก่บุคคลโดยนาม ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องส่งมอบของแก่บุคคลซึ่งมีชื่อระบุในใบตราส่งต่อเนื่องเมื่อได้มีการพิสูจน์ถึงความถูกต้องของตัวบุคคลและได้รับการเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งต่อเนื่องฉบับใดฉบับหนึ่งจากบุคคลดังกล่าว แต่ถ้ามีการโอนใบตราส่งต่อเนื่องดังกล่าวต่อไปเป็นประเภทเพื่อเขาสั่งหรือโดยการสลักหลังลอยให้นำความใน (๒) มาใช้บังคับ (๔) ถ้าใบตราส่งต่อเนื่องเป็นชนิดห้ามโอน ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องส่งมอบของแก่บุคคลซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับตราส่งในใบตราส่งต่อเนื่องเมื่อได้พิสูจน์ถึงความถูกต้องของตัวบุคคลนั้นแล้ว ในกรณีที่ไม่มีการออกเอกสารใด ๆ ให้แก่ผู้ตราส่ง ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องส่งมอบของแก่บุคคลตามคำสั่งของผู้ตราส่ง หรือตามคำสั่งของผู้ได้มาซึ่งสิทธิของผู้ตราส่งหรือของผู้รับตราส่งตามที่สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระบุไว้ มาตรา ๒๓ ในกรณีที่หาตัวผู้รับตราส่งไม่พบหรือผู้รับตราส่งปฏิเสธไม่ยอมรับของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องต้องบอกกล่าวไปยังผู้ตราส่งทันทีและถามเอาคำสั่งจากผู้ตราส่ง หากมีพฤติการณ์ขัดขวางไม่สามารถจะบอกกล่าวไปยังผู้ตราส่งได้ทันที หรือไม่อาจถามเอาคำสั่งจากผู้ตราส่งได้ หรือผู้ตราส่งละเลยไม่ส่งคำสั่งนั้นมาในเวลาอันควรหรือส่งมาเป็นคำสั่งอันไม่อาจปฏิบัติได้ หากของนั้นได้พ้นจากอารักขาภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยศุลกากรแล้วให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมีสิทธินำของนั้นออกขาย ทำลาย หรือจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งตามความเหมาะสมและจำเป็น เมื่อได้จัดการตามวรรคสองแล้ว ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องบอกกล่าวแก่ผู้ตราส่งโดยไม่ชักช้า เว้นแต่ไม่สามารถจะทำได้ ถ้าผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องละเลยไม่บอกกล่าวแก่ผู้ตราส่ง ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ในกรณีที่ได้จัดการกับของตามวรรคสองแล้ว ได้เงินจำนวนเท่าใด ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมีสิทธิหักเอาไว้เป็นค่าระวาง ค่าอุปกรณ์แห่งค่าระวางและค่าใช้จ่ายอันเกิดขึ้นจากการจัดการนั้น ถ้ายังมีเงินเหลือ ให้ส่งมอบแก่บุคคลซึ่งมีสิทธิจะได้เงินนั้นโดยพลันหรือถ้าส่งมอบไม่ได้ ให้นำไปฝากไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์ แต่ถ้าเงินยังขาดอยู่เท่าใด ผู้ตราส่งต้องรับผิดในส่วนที่ขาดนั้น ในกรณีที่ได้ทำลายหรือจัดการกับของตามวรรคสองแล้วไม่ได้เงิน ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมีสิทธิเรียกค่าใช้จ่ายอันเกิดขึ้นจากการจัดการดังกล่าวเอากับผู้ตราส่งได้ มาตรา ๒๔ เมื่อผู้รับตราส่งได้รับของ หากปรากฏว่ามีการสูญหายบางส่วนหรือเสียหายและถ้าผู้รับตราส่งมิได้โต้แย้งเป็นหนังสือแก่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องถึงการสูญหายหรือสภาพของความเสียหายแห่งของที่ได้รับนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้ส่งมอบของถูกต้องตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งต่อเนื่อง ในกรณีที่การสูญหายหรือเสียหายไม่เห็นประจักษ์ ผู้รับตราส่งมีสิทธิโต้แย้งเป็นหนังสือภายในหกวันนับแต่วันที่ได้รับของนั้น มาตรา ๒๕ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องต้องรับผิดเพื่อความเสียหายในการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของลูกจ้างและตัวแทนของตน และของบุคคลอื่นซึ่งตนได้ใช้บริการเพื่อการปฏิบัติตามสัญญารวมถึงลูกจ้างและตัวแทนของบุคคลอื่นนั้น ซึ่งได้กระทำไปในทางการที่จ้างหรือภายในขอบอำนาจแห่งการเป็นตัวแทนหรือในกิจการที่ได้ใช้บริการนั้น มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ได้ล่วงพ้นกำหนดเวลาส่งมอบของหรือกำหนดเวลาอันควรที่จะส่งมอบของ แล้วแต่กรณี ให้บุคคลผู้มีสิทธิรับของมีสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (๑) รับของ (๒) รับของและเรียกค่าเสียหายอันเป็นผลมาจากการส่งมอบชักช้า หรือ (๓) ไม่รับของและเรียกค่าเสียหายอันเป็นผลมาจากการส่งมอบชักช้า ในกรณีที่กำหนดเวลาส่งมอบของหรือกำหนดเวลาอันควรที่จะส่งมอบของได้ล่วงพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันถึงกำหนดส่งมอบของ ให้ถือว่าของนั้นได้สูญหายโดยสิ้นเชิง บุคคลผู้มีสิทธิรับของมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเสมือนว่าของนั้นได้สูญหายโดยสิ้นเชิง เว้นแต่จะปรากฏหลักฐานแสดงให้เห็นว่าของนั้นยังมิได้สูญหาย ในกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้ชำระค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้มีสิทธิรับของแล้ว ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการรับช่วงสิทธิแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ มาตรา ๒๗ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไม่ต้องรับผิดเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้า ถ้าพิสูจน์ได้ว่าการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้านั้นเกิดขึ้นหรือเป็นผลจาก (๑) เหตุสุดวิสัย (๒) การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ตราส่ง ผู้รับตราส่ง ผู้แทนหรือตัวแทนของบุคคลดังกล่าว (๓) การบรรจุหีบห่อ การทำเครื่องหมาย หรือการระบุจำนวนของที่บกพร่องหรือไม่เพียงพอ (๔) การยกขน การบรรทุก การขนถ่าย การเก็บรักษาของโดยผู้ตราส่ง ผู้รับตราส่ง ผู้แทนหรือตัวแทนของบุคคลดังกล่าว (๕) สภาพแห่งของนั้นเองหรือความชำรุดบกพร่องที่แฝงอยู่ภายในของนั้น (๖) การนัดหยุดงาน การปิดงานงดจ้าง การผละงาน หรืออุปสรรคหรือเหตุขัดข้องในด้านแรงงานด้วยประการใด ๆ (๗) ในกรณีเป็นของที่ขนส่งทางทะเลหรือน่านน้ำภายใน เมื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าระหว่างการขนส่งเกิดขึ้นโดย (ก) การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือความผิดพลาดในการเดินเรือหรือในการบริหารจัดการเรือไม่ว่าจะเป็นการกระทำของนายเรือ คนประจำเรือ ผู้นำร่อง หรือลูกจ้างของผู้ขนส่ง (ข) อัคคีภัย เว้นแต่อัคคีภัยนั้นเกิดจากความผิดหรืออยู่ในความรู้เห็นของผู้ขนส่ง อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องยังคงต้องรับผิดในการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าตาม (๗) อันเป็นผลมาจากเรือไม่อยู่ในสภาพที่สามารถเดินทะเลได้อย่างปลอดภัย เว้นแต่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจะพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าตนได้กระทำการตามที่ควรจะต้องกระทำในฐานะเช่นนั้น เพื่อให้เรืออยู่ในสภาพดังกล่าวแล้วเมื่อเริ่มต้นการเดินทาง ส่วนที่ ๔ ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องและการคิดค่าเสียหาย มาตรา ๒๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๐ มาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๒ ในกรณีที่ของซึ่งผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้รับมอบไว้สูญหายหรือเสียหาย ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้จำกัดความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไว้เพียงหกร้อยหกสิบหกจุดหกเจ็ดหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงินต่อหนึ่งหน่วยการขนส่ง หรือสองหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงินต่อหนึ่งกิโลกรัมของน้ำหนักทั้งหมดแห่งของที่สูญหายหรือเสียหายแล้วแต่จำนวนเงินใดจะมากกว่า ในกรณีที่คำนวณราคาค่าเสียหายได้ตามมาตรา ๓๔ และปรากฏว่าราคาของนั้นต่ำกว่าที่จำกัดความรับผิดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเอาตามราคาที่คำนวณได้นั้น ในกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องต้องรับผิดในความเสียหายอันเป็นผลจากการส่งมอบชักช้าหรือความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนอกเหนือไปจากความเสียหายที่เกิดจากการสูญหายหรือเสียหายในของที่ขนส่ง ให้จำกัดความรับผิดทั้งหมดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไว้เพียงไม่เกินค่าระวางตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ในกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องต้องรับผิดทั้งตามวรรคหนึ่งและวรรคสาม ให้จำกัดความรับผิดโดยรวมของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไว้ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๒๙ ในกรณีที่มีการระบุจำนวนหน่วยการขนส่งไว้ในใบตราส่งต่อเนื่อง ให้ถือว่าของตามใบตราส่งต่อเนื่องนั้นมีจำนวนหน่วยการขนส่งตามที่ระบุไว้ แต่ในกรณีที่นำเอาสินค้าซึ่งบรรจุอยู่ในกระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อัน หรือหน่วยที่เรียกชื่ออย่างอื่น มารวมบรรจุไว้ในภาชนะขนส่งเดียวกันโดยมิได้ระบุจำนวนหน่วยการขนส่งไว้ ให้ถือว่าของทั้งหมดที่รวมอยู่ในภาชนะขนส่งนั้นเป็นหนึ่งหน่วยการขนส่ง ในกรณีที่ตัวภาชนะขนส่งซึ่งผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไม่ได้เป็นเจ้าของหรือผู้จัดหาได้สูญหายหรือเสียหาย ให้ถือว่าภาชนะขนส่งนั้นเป็นหน่วยการขนส่งอีกหน่วยหนึ่งต่างหากจากของที่อยู่ในหรือบนภาชนะขนส่งนั้น มาตรา ๓๐ ในกรณีที่ตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบไม่ได้ระบุให้มีการขนส่งทางทะเลหรือการขนส่งในน่านน้ำภายในรวมอยู่ด้วย ให้จำกัดความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไว้แปดจุดสามสามหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงินต่อหนึ่งกิโลกรัมของน้ำหนักทั้งหมดแห่งของที่สูญหายหรือเสียหาย มาตรา ๓๑ ในกรณีที่ปรากฏชัดว่า ของได้สูญหายหรือเสียหายในระหว่างช่วงหนึ่งช่วงใดของการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและในช่วงนั้นมีกฎหมายภายในของประเทศที่ของนั้นได้สูญหายหรือเสียหายหรือมีอนุสัญญาระหว่างประเทศที่กำหนดจำนวนเงินแห่งการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้เป็นอย่างอื่น ให้การจำกัดความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องสำหรับการสูญหายหรือเสียหายนั้นเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายภายในหรืออนุสัญญาระหว่างประเทศดังกล่าว มาตรา ๓๒ การจำกัดความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมิให้ใช้บังคับแก่กรณี ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ตราส่งได้แจ้งสภาพและราคาแห่งของไว้ก่อนที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจะรับมอบของและผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้จดแจ้งสภาพและราคาแห่งของนั้นไว้ในใบตราส่งต่อเนื่องแล้ว (๒) การสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลจากการที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง ลูกจ้าง ตัวแทน หรือบุคคลอื่นที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้ใช้บริการในการปฏิบัติตามสัญญากระทำการหรืองดเว้นกระทำการโดยจงใจที่จะให้เกิดการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าหรือโดยละเลยไม่เอาใจใส่ทั้งที่รู้ว่าการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้านั้นอาจเกิดขึ้นได้ มาตรา ๓๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๒ ในกรณีที่มีการใช้สิทธิเรียกร้องต่อทั้งผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องและลูกจ้าง ตัวแทน และบุคคลอื่นที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้ใช้บริการในการปฏิบัติตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ให้จำกัดความรับผิดของบุคคลทั้งหมดดังกล่าว รวมกันแล้วไม่เกินจำนวนความรับผิดที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ แล้วแต่กรณี มาตรา ๓๔ ในกรณีที่ของสูญหายหรือเสียหาย ให้คำนวณค่าเสียหายเท่ากับราคาที่ของนั้นจะพึงมี ณ สถานที่และเวลาที่ส่งมอบแก่ผู้รับตราส่งหรือ ณ สถานที่และเวลาอันควรจะได้ส่งมอบแก่ผู้รับตราส่งตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ การคำนวณราคาของตามวรรคหนึ่ง ให้คำนวณตามราคาตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้า หากไม่มีราคาดังกล่าว ให้คำนวณตามราคาท้องตลาดในขณะนั้น แต่ถ้าไม่มีทั้งราคาตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้าและราคาท้องตลาด ให้คำนวณตามราคาปกติแห่งของชนิดเดียวกันและคุณภาพเท่าเทียมกัน ในกรณีที่ราคาที่คำนวณได้ตามวรรคสองต่ำกว่าที่แสดงไว้ในใบตราส่งต่อเนื่อง ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องรับผิดเพียงเท่าราคาที่คำนวณได้นั้น แต่ถ้าราคาสูงกว่าให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องรับผิดเพียงเท่าราคาที่แสดงไว้ในใบตราส่งต่อเนื่อง มาตรา ๓๕ เพื่อประโยชน์แก่การคำนวณความรับผิดตามพระราชบัญญัตินี้ การแปลงหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงินให้เป็นสกุลเงินบาท ให้คำนวณ ณ เวลาอันเป็นฐานของการคำนวณค่าเสียหายตามมาตรา ๓๔ โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย มาตรา ๓๖ คู่สัญญาอาจตกลงกำหนดจำนวนเงินแห่งการจำกัดความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องให้มากกว่าที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้ก็ได้ ส่วนที่ ๕ การใช้สิทธิเรียกร้อง มาตรา ๓๗ ความในหมวดนี้ให้ใช้บังคับแก่การใช้สิทธิเรียกร้องต่อผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไม่ว่าการเรียกร้องนั้นจะมีมูลกรณีจากสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือละเมิด และให้ใช้บังคับตลอดถึงการที่ใช้สิทธิเรียกร้องต่อลูกจ้าง ตัวแทน หรือบุคคลอื่นที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้ใช้บริการในการปฏิบัติตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ มาตรา ๓๘ สิทธิเรียกร้องใด ๆ อันเกิดจากการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบไม่ว่าจะมีมูลกรณีจากสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือละเมิด ถ้ามิได้ฟ้องคดีต่อศาลหรือเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการตามความในหมวด ๓ เพื่อชี้ขาดภายในเก้าเดือนนับแต่วันที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้ส่งมอบของ หรือควรจะส่งมอบของ ให้เป็นอันขาดอายุความ ภายในอายุความตามวรรคหนึ่ง ถ้าฝ่ายที่ถูกเรียกร้องยินยอมโดยทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ถูกเรียกร้องว่าจะไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในกรณีที่ฝ่ายที่มีสิทธิเรียกร้องฟ้องคดีต่อศาลหรือเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการ ความยินยอมนี้ให้ใช้บังคับได้ แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้ส่งมอบของหรือควรจะส่งมอบของ ในกรณีฝ่ายที่ถูกเรียกร้องยินยอมขยายระยะเวลาในการใช้สิทธิเรียกร้องให้แก่ฝ่ายที่มีสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ถูกเรียกร้อง ให้ถือว่าเป็นการให้ความยินยอมว่าจะไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้และให้มีผลเช่นเดียวกับกรณีตามวรรคสอง หมวด ๒ การควบคุมการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ มาตรา ๓๙ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เว้นแต่จะเป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องที่ได้จดทะเบียนตามมาตรา ๔๑ (๒) ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องที่ได้จดทะเบียนในต่างประเทศที่ประเทศไทยรับรองโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศที่ได้จดแจ้งต่อนายทะเบียนตามมาตรา ๔๕ หรือ (๓) ผู้ประกอบการขนส่งหรือขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในต่างประเทศที่ได้ตั้งตัวแทนตามมาตรา ๔๘ มาตรา ๔๐ ผู้ที่จะเป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักร (๒) มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่าแปดหมื่นหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน มาตรา ๔๑ ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ให้ยื่นคำขอโดยแสดงหลักฐานการมีคุณสมบัติตามมาตรา ๔๐ และการมีหลักประกันสำหรับความรับผิดตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือสำหรับความเสี่ยงอื่นใดจากสัญญาที่ทำขึ้น หากนายทะเบียนเห็นว่าผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนมีคุณสมบัติและหลักประกันตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนและออกใบทะเบียนภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอจดทะเบียน การยื่นคำขอจดทะเบียน การจดทะเบียนและการออกใบทะเบียนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้านายทะเบียนเห็นว่าไม่อาจรับจดทะเบียนได้เนื่องจากผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนมีคุณสมบัติหรือหลักประกันไม่ถูกต้อง ให้นายทะเบียนแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยมิชักช้าแต่ต้องไม่เกินยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในการรับจดทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง นายทะเบียนอาจกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบไว้ในใบทะเบียนได้ตามความจำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๒ ใบทะเบียนของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบทะเบียน ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบทะเบียนจะต้องยื่นคำขอก่อนใบทะเบียนสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวัน เมื่อได้ยื่นคำขอตามวรรคสองแล้ว ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบต่อไปได้จนกว่านายทะเบียนจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบทะเบียนนั้น การขอต่ออายุใบทะเบียนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๔๓ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) จะต้องดำรงหลักประกันสำหรับความรับผิดตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือสำหรับความเสี่ยงอื่นใดตามสัญญาที่ทำขึ้น และดำรงสินทรัพย์ขั้นต่ำไว้ไม่น้อยกว่าแปดหมื่นหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงินตลอดระยะเวลาที่ประกอบกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ หลักเกณฑ์และวิธีกำหนด จำนวน ชนิด ขนาด และเงื่อนไขในการดำรงหลักประกันและสินทรัพย์ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ประกอบกิจการในฐานะตัวแทนตามมาตรา ๓๙ (๒) หรือ (๓) จะต้องดำรงหลักประกันสำหรับความรับผิดตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือสำหรับความเสี่ยงอื่นใดตามสัญญาที่ทำขึ้นโดยรวมถึงกิจการที่กระทำในฐานะที่เป็นตัวแทนด้วย มาตรา ๔๔ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ที่ประสงค์จะตั้งสาขาในการประกอบกิจการ ให้ขออนุญาตต่อนายทะเบียน นายทะเบียนจะอนุญาตโดยมีเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ใช้บริการก็ได้ การขอรับใบอนุญาตตั้งสาขาและการออกใบอนุญาตตั้งสาขาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๔๕ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องที่ได้จดทะเบียนในต่างประเทศที่ประเทศไทยรับรองโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศตามมาตรา ๓๙ (๒) ที่ประสงค์จะประกอบกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขอจดแจ้งต่อนายทะเบียนโดยแสดงหลักฐานการจดทะเบียนในต่างประเทศที่ประเทศไทยรับรองโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศพร้อมทั้งตั้งตัวแทนหรือตั้งสำนักงานสาขาในราชอาณาจักร หากนายทะเบียนเห็นว่าผู้ยื่นคำขอจดแจ้งแสดงหลักฐานถูกต้อง ให้นายทะเบียนรับจดแจ้งและออกใบจดแจ้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอจดแจ้ง การยื่นคำขอจดแจ้ง การจดแจ้ง การออกใบจดแจ้ง การตั้งตัวแทนและสำนักงานสาขา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้านายทะเบียนเห็นว่าไม่อาจรับจดแจ้งได้เนื่องจากผู้ยื่นคำขอจดแจ้งแสดงหลักฐานไม่ครบถ้วน ให้นายทะเบียนแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยมิชักช้าแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในการรับจดแจ้งตามวรรคหนึ่ง นายทะเบียนอาจกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบไว้ในใบจดแจ้งได้ตามความจำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๖ ใบจดแจ้งของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๒) ให้มีอายุตามที่ได้จดทะเบียนในต่างประเทศแต่ไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ออกใบจดแจ้ง ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบจดแจ้งจะต้องยื่นคำขอเสียก่อนใบจดแจ้งสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และให้นำมาตรา ๔๒ วรรคสามและวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๔๗ ตัวแทนของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๒) จะต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) หรือ (๒) เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการขนส่ง หรือเป็นนายหน้า ตัวแทนหรือตัวแทนค้าต่างในกิจการขนส่ง ตัวแทนตาม (๒) จะต้องดำรงหลักประกันสำหรับความรับผิดของตัวการตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือสำหรับความเสี่ยงอื่นใดจากสัญญาที่ทำขึ้น มาตรา ๔๘ ผู้ประกอบการขนส่งหรือขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในต่างประเทศตามมาตรา ๓๙ (๓) ที่ประสงค์จะประกอบกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนการตั้งตัวแทนต่อนายทะเบียนโดยแสดงหลักฐานการจดทะเบียนในต่างประเทศพร้อมทั้งแสดงหลักฐานเกี่ยวกับการตั้งผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) เป็นตัวแทนในราชอาณาจักร หากนายทะเบียนเห็นว่าผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนแสดงหลักฐานถูกต้อง ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนการตั้งตัวแทนและออกใบทะเบียนการเป็นตัวแทนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอจดทะเบียน การยื่นคำขอจดทะเบียนการตั้งตัวแทน การจดทะเบียนการตั้งตัวแทน การออกใบทะเบียนการเป็นตัวแทนและการรับเป็นตัวแทน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้านายทะเบียนเห็นว่าไม่อาจรับจดทะเบียนการตั้งตัวแทนได้เนื่องจากผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนแสดงหลักฐานไม่ครบถ้วน ให้นายทะเบียนแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยมิชักช้าแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในการรับจดทะเบียนการตั้งตัวแทนตามวรรคหนึ่ง นายทะเบียนอาจกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบไว้ในใบทะเบียนได้ตามความจำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๙ ใบทะเบียนการเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๓) ให้มีอายุตามอายุของสัญญาการตั้งตัวแทนแต่ไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ออกใบทะเบียน ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบทะเบียนจะต้องยื่นคำขอก่อนใบทะเบียนสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และให้นำมาตรา ๔๒ วรรคสามและวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๕๐ ตัวแทนของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๒) และ (๓) จะต้องร่วมรับผิดกับผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนเพื่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดจากการผิดสัญญาหรือการละเมิดแก่ผู้ตราส่งหรือผู้รับตราส่งหรือบุคคลอื่นในราชอาณาจักร มาตรา ๕๑ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียน ไม่รับจดแจ้งไม่ออกใบทะเบียนตามมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๕ หรือมาตรา ๔๘ ไม่ออกใบแทนใบทะเบียนตามมาตรา ๕๕ หรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบทะเบียนตามมาตรา ๔๒ มาตรา ๔๖ หรือมาตรา ๔๙ ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อรัฐมนตรีได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งจากนายทะเบียน ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยคำอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จและแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้รับคำอุทธรณ์ มาตรา ๕๒ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนจะต้องส่งรายงานเกี่ยวกับการประกอบการต่อนายทะเบียนตามแบบ หลักเกณฑ์ และระยะเวลาที่นายทะเบียนประกาศกำหนด มาตรา ๕๓ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนต้องแสดงใบทะเบียนไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขา มาตรา ๕๔ ตัวแทนของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๒) และ (๓) ต้องแสดงเอกสารสำคัญเกี่ยวกับการประกอบการของผู้ที่เป็นตัวการตามที่นายทะเบียนกำหนดไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานของตัวแทน มาตรา ๕๕ ในกรณีที่ใบทะเบียนสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดดังกล่าว การขอรับใบแทนใบทะเบียนและการออกใบแทนใบทะเบียนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๕๖ ในกรณีที่มีการย้ายสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขา หรือมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการอย่างหนึ่งอย่างใดในใบทะเบียน ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนแจ้งแก่นายทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง และให้นายทะเบียนหมายเหตุการเปลี่ยนแปลงนั้นไว้ในใบทะเบียน มาตรา ๕๗ เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนผู้ใด (๑) ไม่ดำรงหลักประกันสำหรับความรับผิดหรือความเสี่ยงอื่นใดตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ หรือไม่ดำรงสินทรัพย์ขั้นต่ำไว้ไม่น้อยกว่าแปดหมื่นหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงินตลอดระยะเวลาที่ประกอบกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (๒) ฝ่าฝืนเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบทะเบียนที่ระบุว่าเป็นเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญ (๓) ไม่ส่งหรือส่งรายงานไม่ถูกต้องหรือไม่มีรายการครบถ้วนตามมาตรา ๕๒ (๔) ไม่อำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือตามสมควร ในการปฏิบัติการของนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องปฏิบัติให้ถูกต้องภายในเวลาอันสมควร ถ้าผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนไม่ปฏิบัติตามที่นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งตามวรรคหนึ่ง โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งระงับการประกอบธุรกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเป็นการชั่วคราวได้ในระยะเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่มีคำสั่ง มาตรา ๕๘ นอกจากกรณีที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง นายทะเบียนมีอำนาจเพิกถอนใบทะเบียน เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนให้ข้อมูลเท็จหรือกระทำฉ้อฉลเพื่อให้ได้รับจดทะเบียน (๒) นายทะเบียนมีคำสั่งให้ระงับการประกอบธุรกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๕๗ วรรคสองและผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนไม่ดำเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนดเกินกว่าหนึ่งครั้งในรอบปี (๓) ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียน หรือตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่อื่นที่มีอำนาจตามกฎหมายที่ให้นำของที่เป็นอันตรายซึ่งหาผู้รับไม่ได้ หรือของผิดกฎหมายไปส่งคืนให้แก่ผู้ตราส่ง รวมทั้งชำระค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการดำเนินการดังกล่าว มาตรา ๕๙ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนซึ่งนายทะเบียนมีคำสั่งให้ระงับการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือให้เพิกถอนใบทะเบียน มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อรัฐมนตรีได้โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งจากนายทะเบียน การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของนายทะเบียน เว้นแต่รัฐมนตรีจะสั่งให้ทุเลาการบังคับ ในระหว่างที่รัฐมนตรีพิจารณาคำอุทธรณ์ ห้ามมิให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบต่อไป เว้นแต่จะเป็นการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่เป็นการประกอบการตามสัญญาที่ได้ทำขึ้นก่อนได้รับแจ้งคำสั่งจากนายทะเบียน ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยคำอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จและแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้รับคำอุทธรณ์ มาตรา ๖๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๙ วรรคสอง ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนซึ่งถูกเพิกถอนใบทะเบียนส่งคืนใบทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพิกถอนใบทะเบียน มาตรา ๖๑ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันที่เลิกประกอบการ เมื่อบอกเลิกประกอบการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ทำการประกอบการตามสัญญาที่ได้ทำขึ้นก่อนบอกเลิกประกอบการต่อไปแต่มิให้เกินสามเดือนนับแต่วันที่เลิกประกอบการ ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ส่งคืนใบทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เลิกประกอบการ มาตรา ๖๒ นายทะเบียนมีอำนาจควบคุมดูแลบรรดากิจการที่เกี่ยวกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามความในพระราชบัญญัตินี้ ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) เข้าไปในสถานที่ดำเนินการของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนในระหว่างเวลาทำงานตามปกติ เพื่อทราบข้อเท็จจริงและตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวกับการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (๒) เรียกผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน ผู้จัดการ พนักงานและลูกจ้าง ตัวแทนและลูกจ้างของตัวแทนของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง (๓) สั่งให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนดำเนินการนำของที่เป็นอันตรายซึ่งหาผู้รับไม่ได้หรือซึ่งเป็นของผิดกฎหมายไปส่งคืนให้แก่ผู้ตราส่ง รวมทั้งสั่งให้ชำระค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการดำเนินการนั้น ทั้งนี้ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา ๖๓ ในการปฏิบัติการของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๖๒ วรรคสอง ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นอำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือตามสมควร มาตรา ๖๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ การระงับข้อพิพาท มาตรา ๖๕ คู่สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบอาจตกลงกันให้ศาลในประเทศใดประเทศหนึ่งที่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีแพ่งที่มีมูลกรณีจากสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือละเมิดตามกฎหมายของประเทศนั้น เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี โดยระบุไว้ในใบตราส่งต่อเนื่องหรือสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบก็ได้ ในกรณีที่มิได้มีการระบุศาลในการฟ้องคดีแพ่งที่มีมูลกรณีจากสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือละเมิด โจทก์มีสิทธิเลือกฟ้องคดีในศาลใดศาลหนึ่งที่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีดังกล่าวตามกฎหมายของประเทศนั้นได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ศาลในประเทศที่เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือภูมิลำเนาของจำเลย (๒) ศาลในประเทศที่สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้กระทำขึ้น ซึ่งต้องปรากฏว่าจำเลยมีสำนักงาน สำนักงานสาขาหรือตัวแทนอยู่ในประเทศนั้นด้วย (๓) ศาลในประเทศที่เป็นสถานที่ที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องรับมอบของหรือส่งมอบของ อย่างไรก็ตาม คู่สัญญาอาจตกลงกันเป็นหนังสือให้ฟ้องคดีในศาลใด ๆ ที่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีดังกล่าวตามกฎหมายของประเทศนั้นก็ได้ ถ้าการตกลงนั้นได้กระทำขึ้นภายหลังจากเกิดสิทธิเรียกร้องแล้ว มาตรา ๖๖ คำฟ้องเกี่ยวกับคดีแพ่งในราชอาณาจักรไม่ว่าจะมีมูลกรณีจากสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือละเมิดตามพระราชบัญญัตินี้ และคำฟ้องเกี่ยวกับสัญญารับขนของภายในราชอาณาจักรตามมาตรา ๕ ให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มาตรา ๖๗ คู่สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบอาจตกลงกันเป็นหนังสือกำหนดให้เสนอข้อพิพาทใด ๆ ที่มีมูลกรณีจากสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือละเมิด ให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดก็ได้ ในกรณีที่มีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการโดยระบุสถานที่ คู่สัญญามีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ ณ สถานที่ในประเทศตามที่ระบุไว้ในสัญญาเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการก็ได้ ในกรณีที่มีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการแต่มิได้ระบุสถานที่ ผู้เสนอข้อพิพาทมีสิทธิเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ ณ สถานที่ในประเทศใดประเทศหนึ่งดังต่อไปนี้ (๑) ประเทศที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่หรือภูมิลำเนาของคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง (๒) ประเทศที่สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้กระทำขึ้นซึ่งต้องปรากฏว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งมีสำนักงาน สำนักงานสาขาหรือตัวแทนอยู่ในประเทศนั้นด้วย (๓) ประเทศที่เป็นสถานที่ที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องรับมอบของหรือส่งมอบของ อย่างไรก็ตาม คู่สัญญาอาจตกลงกันเป็นหนังสือให้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ ณ สถานที่ในประเทศใด ๆ ก็ได้ ถ้าการตกลงนั้นได้กระทำขึ้นภายหลังจากเกิดสิทธิเรียกร้องแล้ว มาตรา ๖๘ ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องอันมีมูลกรณีจากสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือละเมิดตามบทบัญญัติในหมวด ๑ แห่งพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่จะมีข้อตกลงเป็นหนังสือภายหลังจากเกิดสิทธิเรียกร้องแล้วให้บังคับใช้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายของประเทศที่ตกลงกันก็ได้ มาตรา ๖๙ ข้อความหรือข้อตกลงใดในใบตราส่งต่อเนื่องหรือสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่จำกัดสิทธิในการฟ้องคดีแพ่งต่อศาลหรือจำกัดสิทธิในการดำเนินการพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นโมฆะ ทั้งนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น หมวด ๔ บทกำหนดโทษ มาตรา ๗๐ ผู้ใดประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบโดยไม่ได้เป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนหรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งให้เพิกถอนใบทะเบียนตามมาตรา ๕๘ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และในกรณีที่มีการทำสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบไว้แล้ว ให้ปรับอีกเป็นรายสัญญาในอัตราสัญญาละห้าหมื่นบาท เพื่อประโยชน์แก่คู่สัญญาหรือผู้รับตราส่ง ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมีสิทธิปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวที่ได้ทำไว้แล้วต่อไปจนแล้วเสร็จ มาตรา ๗๑ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ หรือมาตรา ๔๗ วรรคสอง หรือฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการประกอบการตามมาตรา ๕๗ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และปรับอีกวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ มาตรา ๗๒ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในใบทะเบียนตามมาตรา ๔๑ วรรคห้า มาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๕ วรรคห้า หรือมาตรา ๔๘ วรรคห้า ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท มาตรา ๗๓ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๒ หรือมาตรา ๕๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๗๔ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๐ หรือมาตรา ๖๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๗๕ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๕๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๗๖ ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๖๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๗๗[๒] ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๗๘ เมื่อผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องที่กระทำความผิดตามมาตรา ๗๒ มาตรา ๗๓ มาตรา ๗๔ มาตรา ๗๕ หรือมาตรา ๗๖ ได้ชำระค่าปรับในอัตราสูงสุดสำหรับความผิดนั้นแก่นายทะเบียนภายในสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บทเฉพาะกาล มาตรา ๗๙ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องซึ่งประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากประสงค์จะประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบต่อไป ให้ดำเนินการขอจดทะเบียนหรือจดแจ้งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อได้ยื่นขอจดทะเบียนหรือจดแจ้งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้นั้นประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบต่อไปได้จนกว่านายทะเบียนจะสั่งไม่อนุญาตให้จดทะเบียนหรือจดแจ้ง มาตรา ๘๐ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่ทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง ฉบับละ ๑๐,๐๐๐ บาท (๒) ใบจดแจ้ง ฉบับละ ๘,๐๐๐ บาท (๓) ใบทะเบียนการเป็นตัวแทน ฉบับละ ๘,๐๐๐ บาท (๔) ใบอนุญาตตั้งสาขาของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง จดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๕) ใบแทนใบทะเบียน (ก) ใบแทนใบทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง ฉบับละ ๕๐๐ บาท (ข) ใบแทนใบจดแจ้ง ฉบับละ ๕๐๐ บาท (ค) ใบแทนใบทะเบียนการเป็นตัวแทน ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๖) คำขอจดทะเบียน ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๗) คำขอจดแจ้ง ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๘) คำขอตั้งตัวแทน ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๙) คำขอต่ออายุใบทะเบียน ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๑๐) คำขออนุญาตตั้งสาขาของผู้ประกอบการ ขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๑๑) คำขออื่น ๆ ฉบับละ ๒๐๐ บาท หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รูปแบบของการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศได้พัฒนาไปจากเดิมที่มีลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งสินค้าจากท่าเรือถึงท่าเรือ หรือจากท่าอากาศยานถึงท่าอากาศยานจนสามารถขยายบริการเป็นลักษณะจากจุดรับมอบสินค้าที่ต้นทางจนถึงจุดส่งมอบสินค้าที่ปลายทางมีรูปแบบหรือยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งมากกว่าหนึ่งรูปแบบหรือหนึ่งประเภท ภายใต้สัญญาขนส่งเพียงฉบับเดียว ฉะนั้น จึงต้องกำหนดหลักเกณฑ์ในการอนุญาตและหลักเกณฑ์ในการประกอบกิจการเพื่อรองรับการบริการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบดังกล่าว และเพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกแก่การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันสูง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘ พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ ดังนั้น เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ กมลฤทัย/ปรับปรุง ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๖ สุพิชชา/ตรวจ ๓ เมษายน ๒๕๕๖ พรวิถา/เพิ่มเติม ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ พจนา/ตรวจ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ภัทรวีร์/ปรับปรุง ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๖๑ ก/หน้า ๑/๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๘ [๒] มาตรา ๗๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
769035
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตราแห่งประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติและพระราชกำหนด จำนวนเจ็ดสิบหกฉบับ ดังต่อไปนี้ และให้ใช้ความตามที่ปรากฏในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้แทนตามลำดับ (๑) มาตรา ๑๒ จัตวา แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช ๒๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒) มาตรา ๓๕ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๒๕ และมาตรา ๙๐/๕ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๓) มาตรา ๖๒ ตรี แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๔) มาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๕) มาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๖) มาตรา ๒๘/๔ แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๖ (๗) มาตรา ๓๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๘) มาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๕๑๐ (๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ (๑๐) มาตรา ๗๒/๕ แห่งพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ (๑๑) มาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๒) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๓) มาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๔) มาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๑๕) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๖) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๗) มาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๔ (๑๘) มาตรา ๒๓ แห่งพระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. ๒๕๒๔ (๑๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ (๒๐) มาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ (๒๑) มาตรา ๙๒ แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ (๒๒) มาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ (๒๓) มาตรา ๑๐๑ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ (๒๔) มาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ (๒๕) มาตรา ๔๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ (๒๖) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒๗) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒๘) มาตรา ๑๑๑ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒๙) มาตรา ๘๗/๒ แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓๐) มาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓๑) มาตรา ๑๑๔ แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓๒) มาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓๓) มาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๗ (๓๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ (๓๕) มาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ (๓๖) มาตรา ๑๓ แห่งพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๕๐ (๓๗) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ (๓๘) มาตรา ๖๑ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ (๓๙) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๐) มาตรา ๖๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๑) มาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๒) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๕) มาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๖) มาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๗) มาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๘) มาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๙) มาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓ (๕๐) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ (๕๑) มาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๓ (๕๒) มาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๕๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ (๕๔) มาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๕๕) มาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕ (๕๖) มาตรา ๑๓๕ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ (๕๗) มาตรา ๑๑๕ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ (๕๘) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖ (๕๙) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ (๖๐) มาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ๒๕๔๘ (๖๑) มาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ (๖๒) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๓) มาตรา ๑๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๔) มาตรา ๑๕๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๕) มาตรา ๘๐ แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๖) มาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ (๖๗) มาตรา ๑๓๒ และมาตรา ๑๓๙ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ (๖๘) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๖๙) มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๐) มาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๑) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๒) มาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๓) มาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๔) มาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๕) มาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๓ (๗๖) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บัญชีท้ายพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑. พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช ๒๔๗๔ “มาตรา ๑๒ จัตวา ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒. ประมวลรัษฎากร “มาตรา ๓๕ ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๒ ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย” “มาตรา ๙๐/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓. พระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑ “มาตรา ๖๒ ตรี ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๖๒ ทวิ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๒ ทวิ ด้วย” ๔. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ “มาตรา ๑๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕. พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙ “มาตรา ๒๕ ในกรณีที่บริษัทจำกัดใดกระทำความผิดตามมาตรา ๗ ถึงมาตรา ๒๔ ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทจำกัดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทจำกัดนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทจำกัดนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท” ๖. พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ “มาตรา ๒๘/๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ “มาตรา ๓๙ ทวิ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๘. พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๕๑๐ “มาตรา ๓๓ ผู้ใดมิใช่ในกิจการของ อผศ. หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ. ใช้ชื่อหรือถ้อยคำในประการที่น่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นกิจการของ อผศ. หรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของ อผศ. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ นิติบุคคลใดมิใช่กระทรวง ทบวง กรม หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ. ใช้คำว่า “อผศ.” “ทหารผ่านศึก” “ผ่านศึก” “นอกประจำการ” หรือคำว่า“ทหาร” เป็นชื่อหรือประกอบชื่อของนิติบุคคลนั้น ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย” ๙. พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ “มาตรา ๗๖ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิด ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๐. พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ “มาตรา ๗๒/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๗๒/๒ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๑. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๘๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๒. พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๓. พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๓๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๔ . พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๗๑ นิติบุคคลอาคารชุดใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๘/๑ มาตรา ๓๘/๒ และมาตรา ๓๘/๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ในกรณีที่นิติบุคคลอาคารชุดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น หรือในกรณีที่ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลอาคารชุดนั้นกระทำความผิด ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ตามวรรคหนึ่งด้วย” ๑๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๖. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๗. พระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๔ “มาตรา ๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๘. พระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. ๒๕๒๔ “มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๙. พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ “มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๐. พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ “มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลซึ่งปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลด้วย” ๒๑. พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ “มาตรา ๙๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๒. พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ “มาตรา ๔๑ ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนกระทำความผิดตามมาตรา ๓๔ ถ้าการกระทำความผิดของคณะกรรมการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้คณะกรรมการกองทุนนั้นกระทำความผิด กรรมการผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๓. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ “มาตรา ๑๐๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๔. พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ “มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๕ หรือมาตรา ๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๒๕. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ “มาตรา ๔๘/๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๕ วรรคสี่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ในกรณีที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐกระทำผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นกระทำความผิด หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๖. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๗. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๘. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๑๑๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๙. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๘๗/๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรเฉพาะ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๐. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๖๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๑. พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๑๑๔ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา ๔๕ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๒. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๑๐๘ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา ๔๙ หรือไม่หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๓. พระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๗ “มาตรา ๓๙ ในกรณีที่สภากระทำความผิดและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของสภานั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด หรือในกรณีที่กรรมการผู้ใดมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สภานั้นกระทำความผิด กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท” ๓๔. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ “มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๕. พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ “มาตรา ๘๙ ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๖. พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ “มาตรา ๑๓ บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔/๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือคำสั่งหรือเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๔/๑ วรรคสอง มาตรา ๕ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๑๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ในกรณีที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๗. พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๘. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๖๑ นิติบุคคลใดกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๗ มาตรา ๘ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งของนิติบุคคลเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๙. พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๐. พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๑. พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๘๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๒. พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย” ๔๓. พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๔. พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย” ๔๕. พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๖. พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๗. พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๕๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๘. พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๖๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๙. พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๐. พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๑. พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๘๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๒. พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ “มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ “มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๔. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ “มาตรา ๔๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๕. พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕ “มาตรา ๖๔ ในกรณีที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๐ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ หรือมาตรา ๓๙ หรือฝ่าฝืนมาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ ถ้าการกระทำความผิดของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นกระทำความผิด กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท” ๕๖. พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ “มาตรา ๑๓๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๖ มาตรา ๑๒๗ มาตรา ๑๒๘ มาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๓๐ มาตรา ๑๓๑ มาตรา ๑๓๓ หรือมาตรา ๑๓๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๕๗. พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ “มาตรา ๑๑๕ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๔ หรือมาตรา ๗๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดกระทำความผิดตามมาตรา ๗๔ หรือมาตรา ๗๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการสภาสถาบัน อธิการบดี หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖ “มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๙. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ “มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๐. พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ๒๕๔๘ “มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๑. พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ “มาตรา ๗๗ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๒. พระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๓๓ ซึ่งเป็นนิติบุคคลกระทำความผิด ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๑๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๔. พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๑๕๓ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลกระทำความผิดและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๕. พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๘๐ ผู้ใดให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในการตรวจสอบหรือการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งเป็นทรัสตี ถ้าการกระทำความผิดของทรัสตีนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของทรัสตีนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ทรัสตีนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๖๖. พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๕๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๗. พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๑๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๑ หรือมาตรา ๑๒๓ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของนิติบุคคล หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย ภายใต้บังคับมาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่สถาบันการเงินกระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๔ มาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๘ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” “มาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ หรือมาตรา ๙๕ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ข้อกำหนด หลักเกณฑ์ หรือคำสั่งที่กำหนดตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๗๑ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๖๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๙. พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๖๕ ผู้ใดนอกจากสถาบันการเงิน ใช้ข้อความ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ เพื่อแสดงว่าธุรกิจของตนเป็นสถาบันการเงินที่เงินฝากได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๖๖ สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย” ๗๐. พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๕๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในส่วนที่ ๒ นี้ ยกเว้นมาตรา ๔๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๑. พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๒. พระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๓. พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๘๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษอาญาตามส่วนนี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๔. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๑๒๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๓ “มาตรา ๔๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๖. พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ “มาตรา ๖๒ ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๗ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘ พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ ดังนั้น เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
458375
พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นปีที่ ๖๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ” หมายความว่า การรับขนของโดยมีรูปแบบการขนส่งที่แตกต่างกันตั้งแต่สองรูปแบบขึ้นไปภายใต้สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบฉบับเดียว โดยขนส่งจากสถานที่ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้รับมอบของในประเทศหนึ่งไปยังสถานที่ซึ่งกำหนดให้เป็นสถานที่ส่งมอบของในอีกประเทศหนึ่ง การดำเนินการรับหรือส่งมอบของตามที่ระบุไว้ในสัญญาขนส่งรูปแบบเดียวไม่ถือว่าเป็นการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ “ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง” หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในฐานะตัวการและเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติการขนส่งตามสัญญา ไม่ว่าการทำสัญญานั้นจะทำด้วยตนเองหรือโดยบุคคลที่ตนมอบหมาย แต่ไม่รวมถึงบุคคลที่กระทำการในฐานะตัวแทนหรือทำการแทนผู้ตราส่งหรือผู้ขนส่งที่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการขนส่งดังกล่าว “ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน” หมายความว่า ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องที่ได้จดทะเบียนตามมาตรา ๔๑ หรือมาตรา ๔๘ หรือได้จดแจ้งตามมาตรา ๔๕ “ผู้ขนส่ง” หมายความว่า บุคคลซึ่งทำการหรือรับที่จะทำการขนส่งไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหรือไม่ก็ตาม “ผู้ตราส่ง” หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องในสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ “ผู้รับตราส่ง” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีสิทธิในการรับของจากผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งต่อเนื่อง “ใบตราส่งต่อเนื่อง” หมายความว่า เอกสารที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องออกให้แก่ผู้ตราส่ง เพื่อเป็นหลักฐานแห่งสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดยมีสาระสำคัญแสดงว่าผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้รับมอบของตามที่ระบุในใบตราส่งต่อเนื่องและผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องรับที่จะส่งมอบของดังกล่าวให้แก่ผู้รับตราส่ง หรือบุคคลผู้มีสิทธิรับของตามมาตรา ๒๒ นั้น “รับมอบของ” หมายความว่า การที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้รับของเพื่อขนส่งของให้ตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ “ส่งมอบของ” หมายความว่า ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) มอบของให้แก่ผู้รับตราส่ง (ข) นำของไปไว้ในเงื้อมมือของผู้รับตราส่งตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือตามกฎหมายหรือประเพณีทางการค้าที่ถือปฏิบัติกันอยู่ ณ สถานที่ส่งมอบแล้ว หรือ (ค) มอบของให้แก่เจ้าหน้าที่หรือบุคคลใด ๆ ซึ่งกฎหมายหรือกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ ณ สถานที่ส่งมอบกำหนดให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องต้องส่งมอบของให้ “หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน” หมายความว่า หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงินตามกฎหมายว่าด้วยการให้อำนาจและกำหนดการปฏิบัติบางประการเกี่ยวกับสิทธิพิเศษถอนเงินในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ “ของ” หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ สัตว์มีชีวิต รวมทั้งภาชนะขนส่งที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมิได้เป็นผู้จัดหามา ไม่ว่าของเหล่านั้นจะบรรทุกหรือได้บรรทุกไว้บนหรือใต้ปากระวาง “ภาชนะขนส่ง” หมายความว่า ตู้สินค้า ไม้รองสินค้าหรือสิ่งอื่นที่ใช้บรรจุของหรือรองรับของ หรือใช้รวมหน่วยการขนส่งของหลายหน่วยเข้าด้วยกัน หรือภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์อย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ “หน่วยการขนส่ง” หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งซึ่งนับเป็นหนึ่ง และแต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อัน หรือหน่วยที่เรียกชื่ออย่างอื่น “เป็นหนังสือ” หมายความรวมถึงโทรเลข โทรพิมพ์ โทรสารหรือวิธีการอย่างอื่นซึ่งพิมพ์ บันทึก ทำซ้ำหรือส่งข้อความโดยทางเครื่องกลหรืออิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องมือเครื่องใช้อย่างอื่นที่มีไว้ใช้ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว “ใบทะเบียน” หมายความว่า ใบทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบรวมทั้งใบจดแจ้งหรือใบทะเบียนการตั้งตัวแทนตามพระราชบัญญัตินี้ “นายทะเบียน” หมายความว่า อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่นายทะเบียน “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีซึ่งนายทะเบียนแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ สัญญารับขนของภายในราชอาณาจักรโดยมีรูปแบบการขนส่งที่แตกต่างกันตั้งแต่สองรูปแบบขึ้นไปภายใต้สัญญารับขนของฉบับเดียว คู่สัญญาอาจตกลงกันเป็นหนังสือว่าให้นำบทบัญญัติในหมวด ๑ ว่าด้วยสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบตามพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับก็ได้ มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ส่วนที่ ๑ บททั่วไป มาตรา ๗ สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ คือ สัญญาซึ่งผู้ตราส่ง ตกลงให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง ดำเนินการหรือจัดให้มีการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและผู้ตราส่งตกลงที่จะชำระค่าระวางให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง มาตรา ๘ ข้อกำหนดใดในสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบซึ่งมีวัตถุประสงค์หรือมีผลไม่ว่าโดยตรงหรือโดยปริยาย เป็นการปลดเปลื้องหน้าที่หรือความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหรือทำให้เสื่อมสิทธิแก่ผู้ตราส่งหรือผู้รับตราส่งตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้ข้อกำหนดนั้นเป็นโมฆะ ข้อกำหนดที่เป็นโมฆะตามวรรคหนึ่งไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์ของข้อกำหนดอื่นในสัญญานั้น และให้ถือว่าคู่สัญญาได้เจตนาให้ข้อกำหนดอื่นนั้นแยกออกต่างหากจากข้อกำหนดที่เป็นโมฆะตามวรรคหนึ่ง บทบัญญัติในมาตรานี้ไม่ตัดสิทธิคู่สัญญาที่จะตกลงกันกำหนดหน้าที่และความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง ให้มากกว่าที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ มาตรา ๙ บทบัญญัติในหมวดนี้ไม่กระทบถึงสิทธิและหน้าที่ในการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการนั้น มาตรา ๑๐ ในการทำสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจะต้องออกใบตราส่งต่อเนื่องให้แก่ผู้ตราส่งเมื่อได้รับมอบของ ใบตราส่งต่อเนื่องอาจเป็นชนิดโอนให้กันได้หรือชนิดห้ามโอน ทั้งนี้ แล้วแต่ผู้ตราส่งจะเลือก ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหรือบุคคลอื่นที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมอบหมายจะต้องลงลายมือชื่อในใบตราส่งต่อเนื่อง การลงลายมือชื่อตามวรรคสามให้หมายความรวมถึงการลงลายมือชื่อที่ปรากฏในเอกสารทางโทรสาร การปรุเอกสาร การประทับตรา การใช้สัญลักษณ์ หรือการลงลายมือชื่อโดยใช้เครื่องกลหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการนั้น มาตรา ๑๑ ใบตราส่งต่อเนื่องพึงแสดงรายการดังต่อไปนี้ (๑) ลักษณะทั่วไปแห่งของ เครื่องหมายที่จำเป็นเพื่อบ่งตัวของ ข้อความที่แจ้งสถานะอันตราย สภาพการเน่าเสียง่ายแห่งของ หากจะต้องมี และจำนวนหน่วยการขนส่ง น้ำหนักรวมหรือปริมาณอย่างอื่นแห่งของ ทั้งนี้ ตามที่ผู้ตราส่งแจ้งหรือจัดให้ (๒) สภาพแห่งของเท่าที่เห็นได้จากภายนอก (๓) ชื่อและสำนักงานใหญ่ของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง (๔) ชื่อผู้ตราส่ง (๕) ชื่อผู้รับตราส่ง ถ้าผู้ตราส่งระบุไว้ (๖) สถานที่และวันที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องรับมอบของ (๗) สถานที่ส่งมอบของ (๘) วันที่หรือระยะเวลาส่งมอบของ ณ สถานที่ส่งมอบ ถ้าคู่สัญญาจะได้ตกลงกันไว้โดยชัดแจ้ง (๙) ข้อความระบุว่าใบตราส่งต่อเนื่องเป็นชนิดโอนให้กันได้หรือชนิดห้ามโอน (๑๐) สถานที่และวันที่ออกใบตราส่งต่อเนื่อง (๑๑) ลายมือชื่อของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมาย (๑๒) ค่าระวางเท่าที่ผู้รับตราส่งจะต้องชำระซึ่งรวมถึงสกุลเงินที่จะต้องชำระหรือค่าระวางสำหรับแต่ละรูปแบบการขนส่ง หรือข้อความแสดงว่าผู้รับตราส่งเป็นผู้ชำระค่าระวางตามที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ (๑๓) เส้นทางที่จะใช้ขนส่ง รูปแบบการขนส่ง และสถานที่เปลี่ยนถ่ายพาหนะ ถ้าทราบถึงรายละเอียดดังกล่าวเมื่อออกใบตราส่งต่อเนื่อง (๑๔) รายละเอียดอื่นใดที่คู่สัญญาตกลงให้แสดงไว้ในใบตราส่งต่อเนื่อง ในกรณีที่ใบตราส่งต่อเนื่องใดที่ออกโดยผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมีรายการไม่ครบตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ใบตราส่งต่อเนื่องนั้นยังคงมีฐานะทางกฎหมายเป็นใบตราส่งต่อเนื่อง หากมีข้อความครบลักษณะเป็นใบตราส่งต่อเนื่องตามมาตรา ๔ มาตรา ๑๒ ในกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมิได้ทำบันทึกเป็นข้อสงวนไว้ในใบตราส่งต่อเนื่องโดยระบุถึงข้อที่ไม่ตรงกับความจริง เหตุแห่งความสงสัยหรือพฤติการณ์ที่ไม่อาจตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงได้ แล้วแต่กรณี หรือมิได้ระบุข้อความไว้ในใบตราส่งต่อเนื่องอย่างชัดแจ้ง เช่น ระบุว่า “ผู้ตราส่งเป็นผู้ชั่งน้ำหนัก บรรทุก และตรวจนับ” “ผู้ตราส่งเป็นผู้บรรจุตู้สินค้า” หรือข้อความอื่นในลักษณะเดียวกัน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้รับมอบของไว้ตามสภาพที่ระบุไว้ในใบตราส่งต่อเนื่องนั้น มาตรา ๑๓ ถ้ามิได้มีการบันทึกไว้ในใบตราส่งต่อเนื่องตามมาตรา ๑๒ และถ้าใบตราส่งต่อเนื่องหรือข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ตามใบตราส่งต่อเนื่องได้โอนหรือส่งไปยังผู้รับตราส่งหรือบุคคลภายนอก ซึ่งได้ทราบและกระทำการโดยสุจริตโดยเชื่อตามข้อความในใบตราส่งต่อเนื่องนั้น ห้ามมิให้พิสูจน์เป็นอย่างอื่น มาตรา ๑๔ เมื่อได้ออกใบตราส่งต่อเนื่องให้แก่กันไว้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องกับผู้รับตราส่งในเรื่องทั้งหลายเกี่ยวกับการขนส่งของที่ระบุไว้ในใบตราส่งต่อเนื่องนั้น ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในใบตราส่งต่อเนื่อง มาตรา ๑๕ ให้นำบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลในส่วนที่เกี่ยวกับใบตราส่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ส่วนที่ ๒ หน้าที่และความรับผิดของผู้ตราส่ง มาตรา ๑๖ เมื่อผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้รับมอบของจากผู้ตราส่งหรือจากบุคคลอื่นในนามผู้ตราส่งไว้แล้ว ให้ถือว่า ผู้ตราส่งได้รับรองความถูกต้องในรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับสภาพแห่งของ เครื่องหมาย เลขหมาย น้ำหนัก ปริมาตร และปริมาณแห่งของที่ขนส่งนั้น ตลอดจนลักษณะอันตรายแห่งของที่ตนได้แจ้งไว้แก่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหรือจัดให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องเพื่อบันทึกไว้ในใบตราส่งต่อเนื่อง ถ้ามีความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นเนื่องจากการแจ้งข้อความไม่ถูกต้องตรงตามรายละเอียดตามวรรคหนึ่งที่ผู้ตราส่งได้แจ้งไว้หรือจัดให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องเพื่อบันทึกไว้ในใบตราส่งต่อเนื่อง ผู้ตราส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง แม้ว่าผู้ตราส่งจะได้โอนใบตราส่งต่อเนื่องนั้นให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ตาม แต่ทั้งนี้ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องยังคงต้องรับผิดตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบต่อบุคคลภายนอกนั้น มาตรา ๑๗ ผู้ตราส่งต้องทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายของที่มีสภาพอันก่อให้เกิดอันตรายได้ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศและตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้รู้ว่าของนั้นมีอันตราย มาตรา ๑๘ เมื่อผู้ตราส่งได้มอบของที่มีสภาพอันก่อให้เกิดอันตรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหรือบุคคลที่ทำการแทนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง ผู้ตราส่งต้องแจ้งสภาพอันตรายแห่งของนั้นและข้อควรระวังต่าง ๆ ถ้ามี หากผู้ตราส่งไม่แจ้งสภาพอันตรายแห่งของและผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไม่ทราบ ให้สิทธิและหน้าที่ของผู้ตราส่งและผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง มีดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ตราส่งต้องรับผิดในความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายทั้งปวงอันเกิดขึ้นหรือเป็นผลเนื่องจากการขนส่งของนั้น (๒) ไม่ว่าเวลาใด ๆ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหรือบุคคลที่ทำการแทนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องอาจขนถ่ายของนั้นออกจากพาหนะที่ขนส่ง ทำลาย หรือทำให้หมดฤทธิ์ ตามความจำเป็นแห่งกรณีได้ โดยไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่บุคคลที่ได้ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งของที่ขนส่งนั้นแล้วเมื่อได้รับมอบของ มาตรา ๑๙ แม้ว่าผู้ตราส่งจะได้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๘ แล้ว แต่ถ้าปรากฏในภายหลังว่าของนั้นเป็นอันตราย หรือเป็นอันตรายใกล้จะถึงแก่ชีวิตหรือทรัพย์สิน หรือจะเป็นอันตรายอย่างแน่ชัด ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหรือบุคคลที่ทำการแทนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง อาจขนถ่ายของนั้นออกจากพาหนะที่ขนส่ง ทำลาย หรือทำให้หมดฤทธิ์ตามความจำเป็นแห่งกรณีได้ โดยไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องยังต้องรับผิดตามส่วนของตนในการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปหรือในกรณีที่ต้องรับผิดตามมาตรา ๒๐ ส่วนที่ ๓ หน้าที่และความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง มาตรา ๒๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๗ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันเป็นผลจากการที่ของสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้า ถ้าเหตุแห่งการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้านั้นได้เกิดขึ้นตั้งแต่เวลาที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องรับมอบของจนถึงเวลาที่ได้ส่งมอบของนั้น เว้นแต่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจะพิสูจน์ได้ว่าตนหรือลูกจ้าง ตัวแทนของตนหรือบุคคลอื่นใดซึ่งตนได้ใช้บริการ เพื่อปฏิบัติตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ได้ใช้มาตรการทั้งปวงซึ่งจำเป็นต้องกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุแห่งการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้ารวมทั้งผลที่เกิดขึ้นจากเหตุนั้น ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายใด ๆ อันเป็นผลจากการส่งมอบชักช้า เว้นแต่ผู้ตราส่งจะได้แจ้งก่อนที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจะรับมอบของว่า หากมีการส่งมอบชักช้า ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจะต้องรับผิดในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นและผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้ยินยอมที่จะรับผิดในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก่อนรับมอบของ มาตรา ๒๑ การส่งมอบชักช้า คือ (๑) ในกรณีที่มีการตกลงกำหนดเวลาส่งมอบไว้อย่างชัดแจ้ง ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไม่ได้ส่งมอบของภายในกำหนดเวลานั้น (๒) ในกรณีที่ไม่มีการตกลงกำหนดเวลาส่งมอบไว้ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไม่ได้ส่งมอบของภายในกำหนดเวลาอันควรที่จะส่งมอบตามหน้าที่อันพึงปฏิบัติ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วย มาตรา ๒๒ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมีหน้าที่ต้องดำเนินการส่งมอบของ ดังต่อไปนี้ (๑) ถ้าใบตราส่งต่อเนื่องเป็นชนิดโอนให้กันได้ประเภทออกให้แก่ผู้ถือ ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องส่งมอบของแก่บุคคลซึ่งเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งต่อเนื่องฉบับใดฉบับหนึ่ง (๒) ถ้าใบตราส่งต่อเนื่องเป็นชนิดโอนให้กันได้ประเภทออกให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่ง ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องส่งมอบของแก่บุคคลซึ่งได้เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งต่อเนื่องฉบับใดฉบับหนึ่ง ซึ่งได้สลักหลังโดยชอบ (๓) ถ้าใบตราส่งต่อเนื่องเป็นชนิดโอนให้กันได้ประเภทออกให้แก่บุคคลโดยนาม ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องส่งมอบของแก่บุคคลซึ่งมีชื่อระบุในใบตราส่งต่อเนื่องเมื่อได้มีการพิสูจน์ถึงความถูกต้องของตัวบุคคลและได้รับการเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งต่อเนื่องฉบับใดฉบับหนึ่งจากบุคคลดังกล่าว แต่ถ้ามีการโอนใบตราส่งต่อเนื่องดังกล่าวต่อไปเป็นประเภทเพื่อเขาสั่งหรือโดยการสลักหลังลอยให้นำความใน (๒) มาใช้บังคับ (๔) ถ้าใบตราส่งต่อเนื่องเป็นชนิดห้ามโอน ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องส่งมอบของแก่บุคคลซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับตราส่งในใบตราส่งต่อเนื่องเมื่อได้พิสูจน์ถึงความถูกต้องของตัวบุคคลนั้นแล้ว ในกรณีที่ไม่มีการออกเอกสารใด ๆ ให้แก่ผู้ตราส่ง ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องส่งมอบของแก่บุคคลตามคำสั่งของผู้ตราส่ง หรือตามคำสั่งของผู้ได้มาซึ่งสิทธิของผู้ตราส่งหรือของผู้รับตราส่งตามที่สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระบุไว้ มาตรา ๒๓ ในกรณีที่หาตัวผู้รับตราส่งไม่พบหรือผู้รับตราส่งปฏิเสธไม่ยอมรับของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องต้องบอกกล่าวไปยังผู้ตราส่งทันทีและถามเอาคำสั่งจากผู้ตราส่ง หากมีพฤติการณ์ขัดขวางไม่สามารถจะบอกกล่าวไปยังผู้ตราส่งได้ทันที หรือไม่อาจถามเอาคำสั่งจากผู้ตราส่งได้ หรือผู้ตราส่งละเลยไม่ส่งคำสั่งนั้นมาในเวลาอันควรหรือส่งมาเป็นคำสั่งอันไม่อาจปฏิบัติได้ หากของนั้นได้พ้นจากอารักขาภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยศุลกากรแล้วให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมีสิทธินำของนั้นออกขาย ทำลาย หรือจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งตามความเหมาะสมและจำเป็น เมื่อได้จัดการตามวรรคสองแล้ว ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องบอกกล่าวแก่ผู้ตราส่งโดยไม่ชักช้า เว้นแต่ไม่สามารถจะทำได้ ถ้าผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องละเลยไม่บอกกล่าวแก่ผู้ตราส่ง ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ในกรณีที่ได้จัดการกับของตามวรรคสองแล้ว ได้เงินจำนวนเท่าใด ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมีสิทธิหักเอาไว้เป็นค่าระวาง ค่าอุปกรณ์แห่งค่าระวางและค่าใช้จ่ายอันเกิดขึ้นจากการจัดการนั้น ถ้ายังมีเงินเหลือ ให้ส่งมอบแก่บุคคลซึ่งมีสิทธิจะได้เงินนั้นโดยพลันหรือถ้าส่งมอบไม่ได้ ให้นำไปฝากไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์ แต่ถ้าเงินยังขาดอยู่เท่าใด ผู้ตราส่งต้องรับผิดในส่วนที่ขาดนั้น ในกรณีที่ได้ทำลายหรือจัดการกับของตามวรรคสองแล้วไม่ได้เงิน ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมีสิทธิเรียกค่าใช้จ่ายอันเกิดขึ้นจากการจัดการดังกล่าวเอากับผู้ตราส่งได้ มาตรา ๒๔ เมื่อผู้รับตราส่งได้รับของ หากปรากฏว่ามีการสูญหายบางส่วนหรือเสียหายและถ้าผู้รับตราส่งมิได้โต้แย้งเป็นหนังสือแก่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องถึงการสูญหายหรือสภาพของความเสียหายแห่งของที่ได้รับนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้ส่งมอบของถูกต้องตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งต่อเนื่อง ในกรณีที่การสูญหายหรือเสียหายไม่เห็นประจักษ์ ผู้รับตราส่งมีสิทธิโต้แย้งเป็นหนังสือภายในหกวันนับแต่วันที่ได้รับของนั้น มาตรา ๒๕ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องต้องรับผิดเพื่อความเสียหายในการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของลูกจ้างและตัวแทนของตน และของบุคคลอื่นซึ่งตนได้ใช้บริการเพื่อการปฏิบัติตามสัญญารวมถึงลูกจ้างและตัวแทนของบุคคลอื่นนั้น ซึ่งได้กระทำไปในทางการที่จ้างหรือภายในขอบอำนาจแห่งการเป็นตัวแทนหรือในกิจการที่ได้ใช้บริการนั้น มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ได้ล่วงพ้นกำหนดเวลาส่งมอบของหรือกำหนดเวลาอันควรที่จะส่งมอบของ แล้วแต่กรณี ให้บุคคลผู้มีสิทธิรับของมีสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (๑) รับของ (๒) รับของและเรียกค่าเสียหายอันเป็นผลมาจากการส่งมอบชักช้า หรือ (๓) ไม่รับของและเรียกค่าเสียหายอันเป็นผลมาจากการส่งมอบชักช้า ในกรณีที่กำหนดเวลาส่งมอบของหรือกำหนดเวลาอันควรที่จะส่งมอบของได้ล่วงพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันถึงกำหนดส่งมอบของ ให้ถือว่าของนั้นได้สูญหายโดยสิ้นเชิง บุคคลผู้มีสิทธิรับของมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเสมือนว่าของนั้นได้สูญหายโดยสิ้นเชิง เว้นแต่จะปรากฏหลักฐานแสดงให้เห็นว่าของนั้นยังมิได้สูญหาย ในกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้ชำระค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้มีสิทธิรับของแล้ว ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการรับช่วงสิทธิแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ มาตรา ๒๗ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไม่ต้องรับผิดเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้า ถ้าพิสูจน์ได้ว่าการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้านั้นเกิดขึ้นหรือเป็นผลจาก (๑) เหตุสุดวิสัย (๒) การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ตราส่ง ผู้รับตราส่ง ผู้แทนหรือตัวแทนของบุคคลดังกล่าว (๓) การบรรจุหีบห่อ การทำเครื่องหมาย หรือการระบุจำนวนของที่บกพร่องหรือไม่เพียงพอ (๔) การยกขน การบรรทุก การขนถ่าย การเก็บรักษาของโดยผู้ตราส่ง ผู้รับตราส่ง ผู้แทนหรือตัวแทนของบุคคลดังกล่าว (๕) สภาพแห่งของนั้นเองหรือความชำรุดบกพร่องที่แฝงอยู่ภายในของนั้น (๖) การนัดหยุดงาน การปิดงานงดจ้าง การผละงาน หรืออุปสรรคหรือเหตุขัดข้องในด้านแรงงานด้วยประการใด ๆ (๗) ในกรณีเป็นของที่ขนส่งทางทะเลหรือน่านน้ำภายใน เมื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าระหว่างการขนส่งเกิดขึ้นโดย (ก) การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือความผิดพลาดในการเดินเรือหรือในการบริหารจัดการเรือไม่ว่าจะเป็นการกระทำของนายเรือ คนประจำเรือ ผู้นำร่อง หรือลูกจ้างของผู้ขนส่ง (ข) อัคคีภัย เว้นแต่อัคคีภัยนั้นเกิดจากความผิดหรืออยู่ในความรู้เห็นของผู้ขนส่ง อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องยังคงต้องรับผิดในการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าตาม (๗) อันเป็นผลมาจากเรือไม่อยู่ในสภาพที่สามารถเดินทะเลได้อย่างปลอดภัย เว้นแต่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจะพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าตนได้กระทำการตามที่ควรจะต้องกระทำในฐานะเช่นนั้น เพื่อให้เรืออยู่ในสภาพดังกล่าวแล้วเมื่อเริ่มต้นการเดินทาง ส่วนที่ ๔ ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องและการคิดค่าเสียหาย มาตรา ๒๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๐ มาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๒ ในกรณีที่ของซึ่งผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้รับมอบไว้สูญหายหรือเสียหาย ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้จำกัดความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไว้เพียงหกร้อยหกสิบหกจุดหกเจ็ดหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงินต่อหนึ่งหน่วยการขนส่ง หรือสองหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงินต่อหนึ่งกิโลกรัมของน้ำหนักทั้งหมดแห่งของที่สูญหายหรือเสียหายแล้วแต่จำนวนเงินใดจะมากกว่า ในกรณีที่คำนวณราคาค่าเสียหายได้ตามมาตรา ๓๔ และปรากฏว่าราคาของนั้นต่ำกว่าที่จำกัดความรับผิดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเอาตามราคาที่คำนวณได้นั้น ในกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องต้องรับผิดในความเสียหายอันเป็นผลจากการส่งมอบชักช้าหรือความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนอกเหนือไปจากความเสียหายที่เกิดจากการสูญหายหรือเสียหายในของที่ขนส่ง ให้จำกัดความรับผิดทั้งหมดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไว้เพียงไม่เกินค่าระวางตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ในกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องต้องรับผิดทั้งตามวรรคหนึ่งและวรรคสาม ให้จำกัดความรับผิดโดยรวมของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไว้ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๒๙ ในกรณีที่มีการระบุจำนวนหน่วยการขนส่งไว้ในใบตราส่งต่อเนื่อง ให้ถือว่าของตามใบตราส่งต่อเนื่องนั้นมีจำนวนหน่วยการขนส่งตามที่ระบุไว้ แต่ในกรณีที่นำเอาสินค้าซึ่งบรรจุอยู่ในกระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อัน หรือหน่วยที่เรียกชื่ออย่างอื่น มารวมบรรจุไว้ในภาชนะขนส่งเดียวกันโดยมิได้ระบุจำนวนหน่วยการขนส่งไว้ ให้ถือว่าของทั้งหมดที่รวมอยู่ในภาชนะขนส่งนั้นเป็นหนึ่งหน่วยการขนส่ง ในกรณีที่ตัวภาชนะขนส่งซึ่งผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไม่ได้เป็นเจ้าของหรือผู้จัดหาได้สูญหายหรือเสียหาย ให้ถือว่าภาชนะขนส่งนั้นเป็นหน่วยการขนส่งอีกหน่วยหนึ่งต่างหากจากของที่อยู่ในหรือบนภาชนะขนส่งนั้น มาตรา ๓๐ ในกรณีที่ตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบไม่ได้ระบุให้มีการขนส่งทางทะเลหรือการขนส่งในน่านน้ำภายในรวมอยู่ด้วย ให้จำกัดความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไว้แปดจุดสามสามหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงินต่อหนึ่งกิโลกรัมของน้ำหนักทั้งหมดแห่งของที่สูญหายหรือเสียหาย มาตรา ๓๑ ในกรณีที่ปรากฏชัดว่า ของได้สูญหายหรือเสียหายในระหว่างช่วงหนึ่งช่วงใดของการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและในช่วงนั้นมีกฎหมายภายในของประเทศที่ของนั้นได้สูญหายหรือเสียหายหรือมีอนุสัญญาระหว่างประเทศที่กำหนดจำนวนเงินแห่งการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้เป็นอย่างอื่น ให้การจำกัดความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องสำหรับการสูญหายหรือเสียหายนั้นเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายภายในหรืออนุสัญญาระหว่างประเทศดังกล่าว มาตรา ๓๒ การจำกัดความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมิให้ใช้บังคับแก่กรณี ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ตราส่งได้แจ้งสภาพและราคาแห่งของไว้ก่อนที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจะรับมอบของและผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้จดแจ้งสภาพและราคาแห่งของนั้นไว้ในใบตราส่งต่อเนื่องแล้ว (๒) การสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลจากการที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง ลูกจ้าง ตัวแทน หรือบุคคลอื่นที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้ใช้บริการในการปฏิบัติตามสัญญากระทำการหรืองดเว้นกระทำการโดยจงใจที่จะให้เกิดการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าหรือโดยละเลยไม่เอาใจใส่ทั้งที่รู้ว่าการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้านั้นอาจเกิดขึ้นได้ มาตรา ๓๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๒ ในกรณีที่มีการใช้สิทธิเรียกร้องต่อทั้งผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องและลูกจ้าง ตัวแทน และบุคคลอื่นที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้ใช้บริการในการปฏิบัติตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ให้จำกัดความรับผิดของบุคคลทั้งหมดดังกล่าว รวมกันแล้วไม่เกินจำนวนความรับผิดที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ แล้วแต่กรณี มาตรา ๓๔ ในกรณีที่ของสูญหายหรือเสียหาย ให้คำนวณค่าเสียหายเท่ากับราคาที่ของนั้นจะพึงมี ณ สถานที่และเวลาที่ส่งมอบแก่ผู้รับตราส่งหรือ ณ สถานที่และเวลาอันควรจะได้ส่งมอบแก่ผู้รับตราส่งตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ การคำนวณราคาของตามวรรคหนึ่ง ให้คำนวณตามราคาตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้า หากไม่มีราคาดังกล่าว ให้คำนวณตามราคาท้องตลาดในขณะนั้น แต่ถ้าไม่มีทั้งราคาตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้าและราคาท้องตลาด ให้คำนวณตามราคาปกติแห่งของชนิดเดียวกันและคุณภาพเท่าเทียมกัน ในกรณีที่ราคาที่คำนวณได้ตามวรรคสองต่ำกว่าที่แสดงไว้ในใบตราส่งต่อเนื่อง ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องรับผิดเพียงเท่าราคาที่คำนวณได้นั้น แต่ถ้าราคาสูงกว่าให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องรับผิดเพียงเท่าราคาที่แสดงไว้ในใบตราส่งต่อเนื่อง มาตรา ๓๕ เพื่อประโยชน์แก่การคำนวณความรับผิดตามพระราชบัญญัตินี้ การแปลงหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงินให้เป็นสกุลเงินบาท ให้คำนวณ ณ เวลาอันเป็นฐานของการคำนวณค่าเสียหายตามมาตรา ๓๔ โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย มาตรา ๓๖ คู่สัญญาอาจตกลงกำหนดจำนวนเงินแห่งการจำกัดความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องให้มากกว่าที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้ก็ได้ ส่วนที่ ๕ การใช้สิทธิเรียกร้อง มาตรา ๓๗ ความในหมวดนี้ให้ใช้บังคับแก่การใช้สิทธิเรียกร้องต่อผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไม่ว่าการเรียกร้องนั้นจะมีมูลกรณีจากสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือละเมิด และให้ใช้บังคับตลอดถึงการที่ใช้สิทธิเรียกร้องต่อลูกจ้าง ตัวแทน หรือบุคคลอื่นที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้ใช้บริการในการปฏิบัติตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ มาตรา ๓๘ สิทธิเรียกร้องใด ๆ อันเกิดจากการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบไม่ว่าจะมีมูลกรณีจากสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือละเมิด ถ้ามิได้ฟ้องคดีต่อศาลหรือเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการตามความในหมวด ๓ เพื่อชี้ขาดภายในเก้าเดือนนับแต่วันที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้ส่งมอบของ หรือควรจะส่งมอบของ ให้เป็นอันขาดอายุความ ภายในอายุความตามวรรคหนึ่ง ถ้าฝ่ายที่ถูกเรียกร้องยินยอมโดยทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ถูกเรียกร้องว่าจะไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในกรณีที่ฝ่ายที่มีสิทธิเรียกร้องฟ้องคดีต่อศาลหรือเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการ ความยินยอมนี้ให้ใช้บังคับได้ แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้ส่งมอบของหรือควรจะส่งมอบของ ในกรณีฝ่ายที่ถูกเรียกร้องยินยอมขยายระยะเวลาในการใช้สิทธิเรียกร้องให้แก่ฝ่ายที่มีสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ถูกเรียกร้อง ให้ถือว่าเป็นการให้ความยินยอมว่าจะไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้และให้มีผลเช่นเดียวกับกรณีตามวรรคสอง หมวด ๒ การควบคุมการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ มาตรา ๓๙ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เว้นแต่จะเป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องที่ได้จดทะเบียนตามมาตรา ๔๑ (๒) ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องที่ได้จดทะเบียนในต่างประเทศที่ประเทศไทยรับรองโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศที่ได้จดแจ้งต่อนายทะเบียนตามมาตรา ๔๕ หรือ (๓) ผู้ประกอบการขนส่งหรือขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในต่างประเทศที่ได้ตั้งตัวแทนตามมาตรา ๔๘ มาตรา ๔๐ ผู้ที่จะเป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักร (๒) มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่าแปดหมื่นหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน มาตรา ๔๑ ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ให้ยื่นคำขอโดยแสดงหลักฐานการมีคุณสมบัติตามมาตรา ๔๐ และการมีหลักประกันสำหรับความรับผิดตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือสำหรับความเสี่ยงอื่นใดจากสัญญาที่ทำขึ้น หากนายทะเบียนเห็นว่าผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนมีคุณสมบัติและหลักประกันตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนและออกใบทะเบียนภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอจดทะเบียน การยื่นคำขอจดทะเบียน การจดทะเบียนและการออกใบทะเบียนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้านายทะเบียนเห็นว่าไม่อาจรับจดทะเบียนได้เนื่องจากผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนมีคุณสมบัติหรือหลักประกันไม่ถูกต้อง ให้นายทะเบียนแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยมิชักช้าแต่ต้องไม่เกินยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในการรับจดทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง นายทะเบียนอาจกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบไว้ในใบทะเบียนได้ตามความจำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๒ ใบทะเบียนของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบทะเบียน ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบทะเบียนจะต้องยื่นคำขอก่อนใบทะเบียนสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวัน เมื่อได้ยื่นคำขอตามวรรคสองแล้ว ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบต่อไปได้จนกว่านายทะเบียนจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบทะเบียนนั้น การขอต่ออายุใบทะเบียนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๔๓ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) จะต้องดำรงหลักประกันสำหรับความรับผิดตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือสำหรับความเสี่ยงอื่นใดตามสัญญาที่ทำขึ้น และดำรงสินทรัพย์ขั้นต่ำไว้ไม่น้อยกว่าแปดหมื่นหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงินตลอดระยะเวลาที่ประกอบกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ หลักเกณฑ์และวิธีกำหนด จำนวน ชนิด ขนาด และเงื่อนไขในการดำรงหลักประกันและสินทรัพย์ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ประกอบกิจการในฐานะตัวแทนตามมาตรา ๓๙ (๒) หรือ (๓) จะต้องดำรงหลักประกันสำหรับความรับผิดตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือสำหรับความเสี่ยงอื่นใดตามสัญญาที่ทำขึ้นโดยรวมถึงกิจการที่กระทำในฐานะที่เป็นตัวแทนด้วย มาตรา ๔๔ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ที่ประสงค์จะตั้งสาขาในการประกอบกิจการ ให้ขออนุญาตต่อนายทะเบียน นายทะเบียนจะอนุญาตโดยมีเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ใช้บริการก็ได้ การขอรับใบอนุญาตตั้งสาขาและการออกใบอนุญาตตั้งสาขาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๔๕ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องที่ได้จดทะเบียนในต่างประเทศที่ประเทศไทยรับรองโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศตามมาตรา ๓๙ (๒) ที่ประสงค์จะประกอบกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขอจดแจ้งต่อนายทะเบียนโดยแสดงหลักฐานการจดทะเบียนในต่างประเทศที่ประเทศไทยรับรองโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศพร้อมทั้งตั้งตัวแทนหรือตั้งสำนักงานสาขาในราชอาณาจักร หากนายทะเบียนเห็นว่าผู้ยื่นคำขอจดแจ้งแสดงหลักฐานถูกต้อง ให้นายทะเบียนรับจดแจ้งและออกใบจดแจ้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอจดแจ้ง การยื่นคำขอจดแจ้ง การจดแจ้ง การออกใบจดแจ้ง การตั้งตัวแทนและสำนักงานสาขา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้านายทะเบียนเห็นว่าไม่อาจรับจดแจ้งได้เนื่องจากผู้ยื่นคำขอจดแจ้งแสดงหลักฐานไม่ครบถ้วน ให้นายทะเบียนแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยมิชักช้าแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในการรับจดแจ้งตามวรรคหนึ่ง นายทะเบียนอาจกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบไว้ในใบจดแจ้งได้ตามความจำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๖ ใบจดแจ้งของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๒) ให้มีอายุตามที่ได้จดทะเบียนในต่างประเทศแต่ไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ออกใบจดแจ้ง ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบจดแจ้งจะต้องยื่นคำขอเสียก่อนใบจดแจ้งสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และให้นำมาตรา ๔๒ วรรคสามและวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๔๗ ตัวแทนของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๒) จะต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) หรือ (๒) เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการขนส่ง หรือเป็นนายหน้า ตัวแทนหรือตัวแทนค้าต่างในกิจการขนส่ง ตัวแทนตาม (๒) จะต้องดำรงหลักประกันสำหรับความรับผิดของตัวการตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือสำหรับความเสี่ยงอื่นใดจากสัญญาที่ทำขึ้น มาตรา ๔๘ ผู้ประกอบการขนส่งหรือขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในต่างประเทศตามมาตรา ๓๙ (๓) ที่ประสงค์จะประกอบกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนการตั้งตัวแทนต่อนายทะเบียนโดยแสดงหลักฐานการจดทะเบียนในต่างประเทศพร้อมทั้งแสดงหลักฐานเกี่ยวกับการตั้งผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) เป็นตัวแทนในราชอาณาจักร หากนายทะเบียนเห็นว่าผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนแสดงหลักฐานถูกต้อง ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนการตั้งตัวแทนและออกใบทะเบียนการเป็นตัวแทนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอจดทะเบียน การยื่นคำขอจดทะเบียนการตั้งตัวแทน การจดทะเบียนการตั้งตัวแทน การออกใบทะเบียนการเป็นตัวแทนและการรับเป็นตัวแทน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้านายทะเบียนเห็นว่าไม่อาจรับจดทะเบียนการตั้งตัวแทนได้เนื่องจากผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนแสดงหลักฐานไม่ครบถ้วน ให้นายทะเบียนแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยมิชักช้าแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในการรับจดทะเบียนการตั้งตัวแทนตามวรรคหนึ่ง นายทะเบียนอาจกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบไว้ในใบทะเบียนได้ตามความจำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๙ ใบทะเบียนการเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๓) ให้มีอายุตามอายุของสัญญาการตั้งตัวแทนแต่ไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ออกใบทะเบียน ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบทะเบียนจะต้องยื่นคำขอก่อนใบทะเบียนสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และให้นำมาตรา ๔๒ วรรคสามและวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๕๐ ตัวแทนของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๒) และ (๓) จะต้องร่วมรับผิดกับผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนเพื่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดจากการผิดสัญญาหรือการละเมิดแก่ผู้ตราส่งหรือผู้รับตราส่งหรือบุคคลอื่นในราชอาณาจักร มาตรา ๕๑ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียน ไม่รับจดแจ้งไม่ออกใบทะเบียนตามมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๕ หรือมาตรา ๔๘ ไม่ออกใบแทนใบทะเบียนตามมาตรา ๕๕ หรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบทะเบียนตามมาตรา ๔๒ มาตรา ๔๖ หรือมาตรา ๔๙ ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อรัฐมนตรีได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งจากนายทะเบียน ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยคำอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จและแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้รับคำอุทธรณ์ มาตรา ๕๒ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนจะต้องส่งรายงานเกี่ยวกับการประกอบการต่อนายทะเบียนตามแบบ หลักเกณฑ์ และระยะเวลาที่นายทะเบียนประกาศกำหนด มาตรา ๕๓ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนต้องแสดงใบทะเบียนไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขา มาตรา ๕๔ ตัวแทนของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๒) และ (๓) ต้องแสดงเอกสารสำคัญเกี่ยวกับการประกอบการของผู้ที่เป็นตัวการตามที่นายทะเบียนกำหนดไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานของตัวแทน มาตรา ๕๕ ในกรณีที่ใบทะเบียนสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดดังกล่าว การขอรับใบแทนใบทะเบียนและการออกใบแทนใบทะเบียนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๕๖ ในกรณีที่มีการย้ายสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขา หรือมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการอย่างหนึ่งอย่างใดในใบทะเบียน ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนแจ้งแก่นายทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง และให้นายทะเบียนหมายเหตุการเปลี่ยนแปลงนั้นไว้ในใบทะเบียน มาตรา ๕๗ เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนผู้ใด (๑) ไม่ดำรงหลักประกันสำหรับความรับผิดหรือความเสี่ยงอื่นใดตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ หรือไม่ดำรงสินทรัพย์ขั้นต่ำไว้ไม่น้อยกว่าแปดหมื่นหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงินตลอดระยะเวลาที่ประกอบกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (๒) ฝ่าฝืนเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบทะเบียนที่ระบุว่าเป็นเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญ (๓) ไม่ส่งหรือส่งรายงานไม่ถูกต้องหรือไม่มีรายการครบถ้วนตามมาตรา ๕๒ (๔) ไม่อำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือตามสมควร ในการปฏิบัติการของนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องปฏิบัติให้ถูกต้องภายในเวลาอันสมควร ถ้าผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนไม่ปฏิบัติตามที่นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งตามวรรคหนึ่ง โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งระงับการประกอบธุรกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเป็นการชั่วคราวได้ในระยะเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่มีคำสั่ง มาตรา ๕๘ นอกจากกรณีที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง นายทะเบียนมีอำนาจเพิกถอนใบทะเบียน เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนให้ข้อมูลเท็จหรือกระทำฉ้อฉลเพื่อให้ได้รับจดทะเบียน (๒) นายทะเบียนมีคำสั่งให้ระงับการประกอบธุรกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๕๗ วรรคสองและผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนไม่ดำเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนดเกินกว่าหนึ่งครั้งในรอบปี (๓) ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียน หรือตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่อื่นที่มีอำนาจตามกฎหมายที่ให้นำของที่เป็นอันตรายซึ่งหาผู้รับไม่ได้ หรือของผิดกฎหมายไปส่งคืนให้แก่ผู้ตราส่ง รวมทั้งชำระค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการดำเนินการดังกล่าว มาตรา ๕๙ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนซึ่งนายทะเบียนมีคำสั่งให้ระงับการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือให้เพิกถอนใบทะเบียน มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อรัฐมนตรีได้โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งจากนายทะเบียน การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของนายทะเบียน เว้นแต่รัฐมนตรีจะสั่งให้ทุเลาการบังคับ ในระหว่างที่รัฐมนตรีพิจารณาคำอุทธรณ์ ห้ามมิให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบต่อไป เว้นแต่จะเป็นการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่เป็นการประกอบการตามสัญญาที่ได้ทำขึ้นก่อนได้รับแจ้งคำสั่งจากนายทะเบียน ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยคำอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จและแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้รับคำอุทธรณ์ มาตรา ๖๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๙ วรรคสอง ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนซึ่งถูกเพิกถอนใบทะเบียนส่งคืนใบทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพิกถอนใบทะเบียน มาตรา ๖๑ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันที่เลิกประกอบการ เมื่อบอกเลิกประกอบการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ทำการประกอบการตามสัญญาที่ได้ทำขึ้นก่อนบอกเลิกประกอบการต่อไปแต่มิให้เกินสามเดือนนับแต่วันที่เลิกประกอบการ ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ส่งคืนใบทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เลิกประกอบการ มาตรา ๖๒ นายทะเบียนมีอำนาจควบคุมดูแลบรรดากิจการที่เกี่ยวกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามความในพระราชบัญญัตินี้ ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) เข้าไปในสถานที่ดำเนินการของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนในระหว่างเวลาทำงานตามปกติ เพื่อทราบข้อเท็จจริงและตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวกับการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (๒) เรียกผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน ผู้จัดการ พนักงานและลูกจ้าง ตัวแทนและลูกจ้างของตัวแทนของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริง (๓) สั่งให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนดำเนินการนำของที่เป็นอันตรายซึ่งหาผู้รับไม่ได้หรือซึ่งเป็นของผิดกฎหมายไปส่งคืนให้แก่ผู้ตราส่ง รวมทั้งสั่งให้ชำระค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการดำเนินการนั้น ทั้งนี้ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา ๖๓ ในการปฏิบัติการของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๖๒ วรรคสอง ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นอำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือตามสมควร มาตรา ๖๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ การระงับข้อพิพาท มาตรา ๖๕ คู่สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบอาจตกลงกันให้ศาลในประเทศใดประเทศหนึ่งที่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีแพ่งที่มีมูลกรณีจากสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือละเมิดตามกฎหมายของประเทศนั้น เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี โดยระบุไว้ในใบตราส่งต่อเนื่องหรือสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบก็ได้ ในกรณีที่มิได้มีการระบุศาลในการฟ้องคดีแพ่งที่มีมูลกรณีจากสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือละเมิด โจทก์มีสิทธิเลือกฟ้องคดีในศาลใดศาลหนึ่งที่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีดังกล่าวตามกฎหมายของประเทศนั้นได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ศาลในประเทศที่เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือภูมิลำเนาของจำเลย (๒) ศาลในประเทศที่สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้กระทำขึ้น ซึ่งต้องปรากฏว่าจำเลยมีสำนักงาน สำนักงานสาขาหรือตัวแทนอยู่ในประเทศนั้นด้วย (๓) ศาลในประเทศที่เป็นสถานที่ที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องรับมอบของหรือส่งมอบของ อย่างไรก็ตาม คู่สัญญาอาจตกลงกันเป็นหนังสือให้ฟ้องคดีในศาลใด ๆ ที่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีดังกล่าวตามกฎหมายของประเทศนั้นก็ได้ ถ้าการตกลงนั้นได้กระทำขึ้นภายหลังจากเกิดสิทธิเรียกร้องแล้ว มาตรา ๖๖ คำฟ้องเกี่ยวกับคดีแพ่งในราชอาณาจักรไม่ว่าจะมีมูลกรณีจากสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือละเมิดตามพระราชบัญญัตินี้ และคำฟ้องเกี่ยวกับสัญญารับขนของภายในราชอาณาจักรตามมาตรา ๕ ให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มาตรา ๖๗ คู่สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบอาจตกลงกันเป็นหนังสือกำหนดให้เสนอข้อพิพาทใด ๆ ที่มีมูลกรณีจากสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือละเมิด ให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดก็ได้ ในกรณีที่มีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการโดยระบุสถานที่ คู่สัญญามีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ ณ สถานที่ในประเทศตามที่ระบุไว้ในสัญญาเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการก็ได้ ในกรณีที่มีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการแต่มิได้ระบุสถานที่ ผู้เสนอข้อพิพาทมีสิทธิเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ ณ สถานที่ในประเทศใดประเทศหนึ่งดังต่อไปนี้ (๑) ประเทศที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่หรือภูมิลำเนาของคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง (๒) ประเทศที่สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้กระทำขึ้นซึ่งต้องปรากฏว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งมีสำนักงาน สำนักงานสาขาหรือตัวแทนอยู่ในประเทศนั้นด้วย (๓) ประเทศที่เป็นสถานที่ที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องรับมอบของหรือส่งมอบของ อย่างไรก็ตาม คู่สัญญาอาจตกลงกันเป็นหนังสือให้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ ณ สถานที่ในประเทศใด ๆ ก็ได้ ถ้าการตกลงนั้นได้กระทำขึ้นภายหลังจากเกิดสิทธิเรียกร้องแล้ว มาตรา ๖๘ ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องอันมีมูลกรณีจากสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือละเมิดตามบทบัญญัติในหมวด ๑ แห่งพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่จะมีข้อตกลงเป็นหนังสือภายหลังจากเกิดสิทธิเรียกร้องแล้วให้บังคับใช้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายของประเทศที่ตกลงกันก็ได้ มาตรา ๖๙ ข้อความหรือข้อตกลงใดในใบตราส่งต่อเนื่องหรือสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่จำกัดสิทธิในการฟ้องคดีแพ่งต่อศาลหรือจำกัดสิทธิในการดำเนินการพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นโมฆะ ทั้งนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น หมวด ๔ บทกำหนดโทษ มาตรา ๗๐ ผู้ใดประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบโดยไม่ได้เป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนหรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งให้เพิกถอนใบทะเบียนตามมาตรา ๕๘ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และในกรณีที่มีการทำสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบไว้แล้ว ให้ปรับอีกเป็นรายสัญญาในอัตราสัญญาละห้าหมื่นบาท เพื่อประโยชน์แก่คู่สัญญาหรือผู้รับตราส่ง ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมีสิทธิปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวที่ได้ทำไว้แล้วต่อไปจนแล้วเสร็จ มาตรา ๗๑ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ หรือมาตรา ๔๗ วรรคสอง หรือฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการประกอบการตามมาตรา ๕๗ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และปรับอีกวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ มาตรา ๗๒ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในใบทะเบียนตามมาตรา ๔๑ วรรคห้า มาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๕ วรรคห้า หรือมาตรา ๔๘ วรรคห้า ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท มาตรา ๗๓ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๒ หรือมาตรา ๕๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๗๔ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๐ หรือมาตรา ๖๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๗๕ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๕๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๗๖ ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๖๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๗๗ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๑ เป็นนิติบุคคล ให้กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลในเรื่องนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอม หรือตนได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดความผิดนั้นแล้ว มาตรา ๗๘ เมื่อผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องที่กระทำความผิดตามมาตรา ๗๒ มาตรา ๗๓ มาตรา ๗๔ มาตรา ๗๕ หรือมาตรา ๗๖ ได้ชำระค่าปรับในอัตราสูงสุดสำหรับความผิดนั้นแก่นายทะเบียนภายในสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บทเฉพาะกาล มาตรา ๗๙ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องซึ่งประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากประสงค์จะประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบต่อไป ให้ดำเนินการขอจดทะเบียนหรือจดแจ้งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อได้ยื่นขอจดทะเบียนหรือจดแจ้งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้นั้นประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบต่อไปได้จนกว่านายทะเบียนจะสั่งไม่อนุญาตให้จดทะเบียนหรือจดแจ้ง มาตรา ๘๐ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่ทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง ฉบับละ ๑๐,๐๐๐ บาท (๒) ใบจดแจ้ง ฉบับละ ๘,๐๐๐ บาท (๓) ใบทะเบียนการเป็นตัวแทน ฉบับละ ๘,๐๐๐ บาท (๔) ใบอนุญาตตั้งสาขาของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง จดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๕) ใบแทนใบทะเบียน (ก) ใบแทนใบทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง ฉบับละ ๕๐๐ บาท (ข) ใบแทนใบจดแจ้ง ฉบับละ ๕๐๐ บาท (ค) ใบแทนใบทะเบียนการเป็นตัวแทน ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๖) คำขอจดทะเบียน ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๗) คำขอจดแจ้ง ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๘) คำขอตั้งตัวแทน ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๙) คำขอต่ออายุใบทะเบียน ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๑๐) คำขออนุญาตตั้งสาขาของผู้ประกอบการ ขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๑๑) คำขออื่น ๆ ฉบับละ ๒๐๐ บาท หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รูปแบบของการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศได้พัฒนาไปจากเดิมที่มีลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งสินค้าจากท่าเรือถึงท่าเรือ หรือจากท่าอากาศยานถึงท่าอากาศยานจนสามารถขยายบริการเป็นลักษณะจากจุดรับมอบสินค้าที่ต้นทางจนถึงจุดส่งมอบสินค้าที่ปลายทางมีรูปแบบหรือยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งมากกว่าหนึ่งรูปแบบหรือหนึ่งประเภท ภายใต้สัญญาขนส่งเพียงฉบับเดียว ฉะนั้น จึงต้องกำหนดหลักเกณฑ์ในการอนุญาตและหลักเกณฑ์ในการประกอบกิจการเพื่อรองรับการบริการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบดังกล่าว และเพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกแก่การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันสูง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ กมลฤทัย/ปรับปรุง ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๖ สุพิชชา/ตรวจ ๓ เมษายน ๒๕๕๖ ภัทรวีร์/ปรับปรุง ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๖๑ ก/หน้า ๑/๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๘
633604
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอต่ออายุใบทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2553
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอต่ออายุใบทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๖ และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบทะเบียนให้ยื่นคำขอต่ออายุใบทะเบียน ต่อนายทะเบียน ณ สำนักส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี กรมเจ้าท่า พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่เป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ตามแบบ ขต.-ค๖ ท้ายกฎกระทรวงนี้ (๒) ในกรณีที่เป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๒) ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบจดแจ้งเป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ตามแบบ ขต.-ค๗ ท้ายกฎกระทรวงนี้ (๓) ในกรณีที่เป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๓) ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบทะเบียนการตั้งตัวแทน ตามแบบ ขต.-ค๘ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๒ เมื่อได้รับคำขอต่ออายุใบทะเบียนตามข้อ ๑ หากนายทะเบียนเห็นว่าผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติหรือหลักประกัน หรือแสดงเอกสารและหลักฐานถูกต้อง แล้วแต่กรณี ให้นายทะเบียนรับต่ออายุใบทะเบียนและออกใบทะเบียนตามแบบใบทะเบียนเดิมให้ใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอต่ออายุใบทะเบียน ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าไม่อาจรับต่ออายุใบทะเบียนได้เนื่องจากผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติหรือหลักประกัน หรือแสดงเอกสารและหลักฐานไม่ถูกต้อง ให้นายทะเบียนแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยมิชักช้า แต่ต้องไม่เกินยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ และเมื่อผู้ยื่นคำขอได้ยื่นเอกสารและหลักฐานแสดงการแก้ไขคุณสมบัติหรือหลักประกันถูกต้องพร้อมกับยื่นคำขอต่ออายุใบทะเบียนใหม่หากนายทะเบียนเห็นว่าผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติหรือหลักประกัน หรือแสดงเอกสารและหลักฐานถูกต้องให้นายทะเบียนรับต่ออายุใบทะเบียนและออกใบทะเบียนตามแบบใบทะเบียนเดิมให้ใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอต่ออายุใบทะเบียนใหม่ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอต่ออายุใบทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (แบบ ขต.-ค๖) ๒. คำขอต่ออายุใบจดแจ้งเป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (แบบ ขต.-ค๗) ๓. คำขอต่ออายุใบทะเบียนการตั้งตัวแทน (แบบ ขต.-ค๘) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๔๒ มาตรา ๔๖ และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ บัญญัติให้การขอต่ออายุใบทะเบียนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๓ ภัทรวีร์/ปรับปรุง ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๔๙ ก/หน้า ๓๔/๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๓
633602
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดแจ้งเป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และการตั้งตัวแทนหรือสำนักงานสาขาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2553
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดแจ้งเป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และการตั้งตัวแทนหรือสำนักงานสาขาในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องที่ได้จดทะเบียนในต่างประเทศที่ประเทศไทยรับรองโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศตามมาตรา ๓๙ (๒) ที่ประสงค์จะประกอบกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขอจดแจ้งเป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พร้อมทั้งตั้งตัวแทนหรือตั้งสำนักงานสาขาในราชอาณาจักร ตามแบบ ขต.-ค๕ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อนายทะเบียน ณ สำนักส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี กรมเจ้าท่า พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบดังกล่าว ข้อ ๒ เมื่อได้รับคำขอจดแจ้งเป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบตามข้อ ๑ หากนายทะเบียนเห็นว่าผู้ยื่นคำขอจดแจ้งแสดงเอกสารและหลักฐานถูกต้อง ให้นายทะเบียนรับจดแจ้งและออกใบจดแจ้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอจดแจ้ง ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าไม่อาจรับจดแจ้งได้เนื่องจากผู้ยื่นคำขอจดแจ้งแสดงเอกสารและหลักฐานไม่ถูกต้อง และได้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอจดแจ้งทราบแล้ว ต่อมาผู้ยื่นคำขอจดแจ้งได้ยื่นเอกสารและหลักฐานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นคำขอจดแจ้งใหม่ หากนายทะเบียนเห็นว่าผู้ยื่นคำขอจดแจ้งแสดงเอกสารและหลักฐานถูกต้อง ให้นายทะเบียนรับจดแจ้งและออกใบจดแจ้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอจดแจ้งใหม่ ข้อ ๓ ใบจดแจ้งเป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบให้เป็นไปตามแบบ ขต.-บ๕ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๔ บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการขนส่ง หรือเป็นนายหน้า ตัวแทนหรือตัวแทนค้าต่างในกิจการขนส่งที่เป็นตัวแทนในราชอาณาจักรของผู้ยื่นคำขอจดแจ้งตามข้อ ๑ ต้องดำรงหลักประกันสำหรับความรับผิดของตัวการตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือสำหรับความเสี่ยงอื่นใดตามสัญญาที่ทำขึ้น ทั้งนี้ ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการดำรงหลักประกันตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีกำหนด จำนวน ชนิด ขนาด และเงื่อนไขในการดำรงหลักประกันและสินทรัพย์ของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนมาใช้บังคับโดยอนุโลม ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอจดแจ้งเป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (แบบ ขต.-ค๕) ๒. ใบจดแจ้งเป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (แบบ ขต.-บ๕) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ บัญญัติให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องที่ได้จดทะเบียนในต่างประเทศที่ประเทศไทยรับรองโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศตามมาตรา ๓๙ (๒) ที่ประสงค์จะประกอบกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในราชอาณาจักร ต้องยื่นคำขอจดแจ้งต่อนายทะเบียนพร้อมทั้งตั้งตัวแทนหรือตั้งสำนักงานสาขาในราชอาณาจักร สมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดแจ้งเป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และการตั้งตัวแทนหรือสำนักงานสาขาในราชอาณาจักร จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๓ ภัทรวีร์/ปรับปรุง ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๔๙ ก/หน้า ๓๑/๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๓
633600
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีกำหนด จำนวน ชนิด ขนาด และเงื่อนไขในการดำรงหลักประกันและสินทรัพย์ของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน พ.ศ. 2553
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีกำหนด จำนวน ชนิด ขนาด และเงื่อนไขในการดำรงหลักประกัน และสินทรัพย์ของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ หลักประกันของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) อาจเป็นชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดแบบกำหนดเวลา ตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) ในกรณีการทำประกันภัยกลุ่มซึ่งสมาคม สถาบัน หรือองค์กรเกี่ยวกับการขนส่งที่มีจำนวนสมาชิกไม่น้อยกว่าห้าสิบรายที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนนั้น เป็นสมาชิกเป็นผู้เอาประกันภัย ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนนั้น จะประกอบกิจการด้วยตนเองหรือประกอบกิจการในฐานะตัวแทนด้วยหรือไม่ก็ตาม ต้องมีจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยเพื่อคุ้มครองความรับผิดตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบต่อเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อสมาชิกแต่ละรายไม่ต่ำกว่าห้าล้านบาท (ข) ในกรณีที่ประกอบกิจการด้วยตนเอง ต้องมีจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยเพื่อคุ้มครองความรับผิดตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบต่อเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ต่ำกว่าสองล้านบาท (ค) ในกรณีที่ประกอบกิจการด้วยตนเองและประกอบกิจการในฐานะตัวแทนของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๒) หรือ (๓) ด้วย นอกจากจะต้องมีจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยตาม (ข) แล้ว จะต้องเพิ่มจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยเพื่อคุ้มครองความรับผิดตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบต่อเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยอีกไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านบาท ในกรณีตาม (ก) หรือ (ค) หากเป็นการประกอบกิจการในฐานะตัวแทนกรมธรรม์ประกันภัยตาม (ก) หรือ (ค) ต้องให้ความคุ้มครองความรับผิดของตัวการตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบต่อผู้ตราส่งหรือผู้รับตราส่งหรือบุคคลอื่นในราชอาณาจักรด้วย (๒) หนังสือรับรองจากสมาคม สถาบัน หรือองค์กรที่ให้ความคุ้มครองสมาชิกในลักษณะของการปกป้องและชดใช้ หรือหนังสือรับรองการเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม สถาบันหรือองค์กร ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนนั้นเป็นสมาชิก พร้อมสำเนากฎข้อบังคับแสดงความคุ้มครองที่ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนสำหรับความรับผิดตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนนั้นจะประกอบกิจการด้วยตนเองหรือประกอบกิจการในฐานะตัวแทนด้วยหรือไม่ก็ตาม (๓) หนังสือค้ำประกันของธนาคารหรือหลักประกันอื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ออกให้แก่กรมเจ้าท่า โดยระบุให้ผู้ค้ำประกันสัญญาเป็นผู้ชดใช้ให้แก่บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายสำหรับหนี้ของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ในวงเงินไม่ต่ำกว่าสองล้านบาท และในกรณีที่ประกอบกิจการในฐานะตัวแทนของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๒) หรือ (๓) ด้วย ต้องเพิ่มวงเงินอีกไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านบาท ข้อ ๒ เมื่อมีการบังคับตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารหรือหลักประกันอื่นใดในลักษณะเดียวกันและทำให้วงเงินลดลงต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ ๑ (๓) ในระหว่างที่ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) จะต้องเพิ่มวงเงินให้เท่ากับจำนวนที่กำหนดไว้นั้น ข้อ ๓ ก่อนที่หลักประกันตามข้อ ๑ จะสิ้นอายุ ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ดำเนินการขอต่ออายุหลักประกัน และยื่นหลักฐานแสดงการขอต่ออายุหลักประกันนั้น หรือสำเนาของหลักประกันที่ได้รับการต่ออายุแล้ว แล้วแต่กรณี ต่อนายทะเบียน ในกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ได้ยื่นหลักฐานแสดงการขอต่ออายุหลักประกันตามวรรคหนึ่ง ต่อมาเมื่อได้รับการต่ออายุหลักประกันแล้ว ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ยื่นสำเนาของหลักประกันที่ได้รับการต่ออายุแล้วต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับการต่ออายุหลักประกัน ข้อ ๔ นอกจากผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) จะต้องดำรงหลักประกันตามข้อ ๑ แล้ว จะต้องดำรงสินทรัพย์ขั้นต่ำไว้ไม่น้อยกว่าแปดหมื่นหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน ตลอดระยะเวลาที่ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบด้วย การดำรงสินทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ยื่นสำเนาบัญชีงบดุลที่มีรายการแสดงสินทรัพย์ต่อนายทะเบียน เมื่อครบทุกรอบระยะเวลาบัญชี เพื่อประโยชน์แก่การคำนวณมูลค่าสินทรัพย์ การแปลงหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงินเป็นสกุลเงินบาทให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันครบรอบระยะเวลาบัญชีของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ข้อ ๕ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องซึ่งได้จดทะเบียนตามมาตรา ๔๑ หรือมาตรา ๔๘ หรือได้จดแจ้งตามมาตรา ๔๕ ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ จะต้องดำเนินการดำรงหลักประกันหรือสินทรัพย์ แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ บัญญัติให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) จะต้องดำรงหลักประกันและสินทรัพย์สำหรับความรับผิดตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือสำหรับความเสี่ยงอื่นใดตามสัญญาที่ทำขึ้น และในกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ประกอบกิจการในฐานะตัวแทนของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๒) หรือ (๓) จะต้องดำรงหลักประกันสำหรับความรับผิดตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือสำหรับความเสี่ยงอื่นใดตามสัญญาที่ทำขึ้นด้วย จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๓ ภัทรวีร์/ปรับปรุง ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๔๙ ก/หน้า ๒๗/๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๓
543824
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบแทนใบทะเบียน พ.ศ. 2550
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบแทนใบทะเบียน พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกรณีที่ใบทะเบียนสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนตามแบบ ขต. - ค๔ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อนายทะเบียน ณ สำนักส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบดังกล่าว ข้อ ๒ เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอรับใบแทนใบทะเบียนพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ให้นายทะเบียนออกใบแทนใบทะเบียนตามแบบ ขต. - บ๔ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้แก่ผู้ยื่นคำขอภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับใบแทนใบทะเบียน ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอรับใบแทนใบทะเบียน (แบบ ขต.-ค๔) ๒. ใบแทนใบทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ/ใบจดแจ้ง/ใบทะเบียนการตั้งตัวแทน (แบบ ขต.-บ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ บัญญัติให้การขอรับใบแทนใบทะเบียนและการออกใบแทนใบทะเบียน ในกรณีที่ใบทะเบียนสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ภัทรวีร์/ปรับปรุง ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๓๘/๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐
543822
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตตั้งสาขาและการออกใบอนุญาตตั้งสาขาในการประกอบกิจการของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา 39 (1) พ.ศ. 2550
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตตั้งสาขาและการออกใบอนุญาตตั้งสาขา ในการประกอบกิจการของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ที่ประสงค์จะตั้งสาขาในการประกอบกิจการ ให้ยื่นคำขออนุญาตตั้งสาขาในการประกอบกิจการของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ตามแบบ ขต.-ค๓ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อนายทะเบียน ณ สำนักส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบดังกล่าว ข้อ ๒ เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขออนุญาตตั้งสาขาในการประกอบกิจการของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนแล้วให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตตั้งสาขาในการประกอบกิจการของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ตามแบบ ขต.-บ๓ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้แก่ผู้ยื่นคำขอภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาต ข้อ ๓ ใบอนุญาตตั้งสาขาในการประกอบกิจการของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ให้มีอายุตามอายุของใบทะเบียน ในกรณีที่ใบทะเบียนสิ้นอายุและไม่มีการขอต่ออายุ หรือนายทะเบียนมีคำสั่งเพิกถอนใบทะเบียน ให้ถือว่าใบอนุญาตตั้งสาขาในการประกอบกิจการของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) เป็นอันสิ้นผล ในกรณีที่ใบทะเบียนสิ้นอายุและมีการยื่นคำขอต่ออายุตามมาตรา ๔๒ วรรคสอง แล้วให้ใบอนุญาตตั้งสาขาในการประกอบกิจการของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) มีผลต่อไปจนกว่านายทะเบียนจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบทะเบียน ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขออนุญาตตั้งสาขาในการประกอบกิจการของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) (แบบ ขต.-ค๓) ๒. ใบอนุญาตตั้งสาขาในการประกอบกิจการของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน (แบบ ขต.-บ๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ บัญญัติให้การขอรับใบอนุญาตตั้งสาขาและการออกใบอนุญาตตั้งสาขาในการประกอบกิจการของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ภัทรวีร์/ปรับปรุง ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๓๕/๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐
543820
กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2550
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้กำหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้ (๑) ใบทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (๒) ใบจดแจ้ง ฉบับละ ๔,๐๐๐ บาท (๓) ใบทะเบียนการเป็นตัวแทน ฉบับละ ๔,๐๐๐ บาท (๔) ใบอนุญาตตั้งสาขาของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง จดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๕) ใบแทนใบทะเบียน (ก) ใบแทนใบทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง ฉบับละ ๒๕๐ บาท (ข) ใบแทนใบจดแจ้ง ฉบับละ ๒๕๐ บาท (ค) ใบแทนใบทะเบียนการเป็นตัวแทน ฉบับละ ๒๕๐ บาท (๖) คำขอจดทะเบียน ฉบับละ ๒๕๐ บาท (๗) คำขอจดแจ้ง ฉบับละ ๒๕๐ บาท (๘) คำขอตั้งตัวแทน ฉบับละ ๒๕๐ บาท (๙) คำขอต่ออายุใบทะเบียน ฉบับละ ๒๕๐ บาท (๑๐) คำขออนุญาตตั้งสาขาของผู้ประกอบการ ขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ฉบับละ ๒๕๐ บาท (๑๑) คำขออื่น ๆ ฉบับละ ๑๐๐ บาท ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ บัญญัติให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมได้ไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัติ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ภัทรวีร์/ปรับปรุง ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๓๒/๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐
543818
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและการจดทะเบียนการตั้งตัวแทน พ.ศ. 2550
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดทะเบียน ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและการจดทะเบียนการตั้งตัวแทน พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๔๑ วรรคสาม และมาตรา ๔๘ วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบตามแบบ ขต.-ค๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อนายทะเบียน ณ สำนักส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบดังกล่าว ข้อ ๒ เมื่อมีการยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องที่ได้จดทะเบียนตามมาตรา ๔๑ ถ้านายทะเบียนเห็นว่าไม่อาจรับจดทะเบียนได้เนื่องจากผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนมีคุณสมบัติหรือหลักประกันไม่ถูกต้องและได้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนทราบแล้ว ต่อมาผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ยื่นเอกสารหลักฐานแสดงการแก้ไขคุณสมบัติหรือหลักประกันให้ถูกต้องพร้อมกับยื่นคำขอจดทะเบียนใหม่ หากนายทะเบียนเห็นว่าผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนมีคุณสมบัติและหลักประกันถูกต้องให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนและออกใบทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอจดทะเบียนใหม่ ข้อ ๓ ใบทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบให้เป็นไปตามแบบ ขต.-บ๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๔ ผู้ประกอบการขนส่งหรือขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในต่างประเทศตามมาตรา ๓๙ (๓) ที่ประสงค์จะประกอบกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนการตั้งตัวแทนตามแบบ ขต.-ค๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อนายทะเบียน ณ สำนักส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบดังกล่าว ข้อ ๕ เมื่อมีการยื่นคำขอจดทะเบียนการตั้งตัวแทนตามมาตรา ๔๘ ถ้านายทะเบียนเห็นว่าไม่อาจรับจดทะเบียนการตั้งตัวแทนได้เนื่องจากผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนแสดงหลักฐานไม่ครบถ้วนและได้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนทราบแล้ว ต่อมาผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ยื่นแสดงหลักฐานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นคำขอจดทะเบียนการตั้งตัวแทนใหม่ หากนายทะเบียนเห็นว่าผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนแสดงหลักฐานครบถ้วน ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนการตั้งตัวแทนและออกใบทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอจดทะเบียนการตั้งตัวแทนใหม่ ข้อ ๖ ใบทะเบียนการตั้งตัวแทนให้เป็นไปตามแบบ ขต.-บ๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอจดทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (แบบ ขต.-ค๑) ๒. ใบทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (แบบ ขต.-บ๑) ๓. คำขอจดทะเบียนการตั้งตัวแทน (แบบ ขต.-ค๒) ๔. ใบทะเบียนการตั้งตัวแทน (แบบ ขต.-บ๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ บัญญัติให้ผู้ที่จะเป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องและผู้ประกอบการขนส่งหรือขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในต่างประเทศที่ประสงค์จะประกอบกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในราชอาณาจักร ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือคำขอจดทะเบียนการตั้งตัวแทน แล้วแต่กรณี ต่อนายทะเบียน สมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและการจดทะเบียนการตั้งตัวแทนดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ภัทรวีร์/ปรับปรุง ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๒๙/๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐
743130
ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 284/2558 เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์และระยะเวลาให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนส่งรายงานเกี่ยวกับการประกอบการ
ประกาศกรมเจ้าท่า ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ ๒๘๔/๒๕๕๘ เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ และระยะเวลาให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน ส่งรายงานเกี่ยวกับการประกอบการ[๑] เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการส่งรายงานเกี่ยวกับการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบให้สอดคล้องกับการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ตามความเป็นจริง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ อธิบดีกรมเจ้าท่าในฐานะนายทะเบียน จึงออกประกาศกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ และระยะเวลาให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนส่งรายงานเกี่ยวกับการประกอบการไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมเจ้าท่า ที่ ๒๑/๒๕๕๘ เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ และระยะเวลา ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนส่งรายงานเกี่ยวกับการประกอบการ ลงวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๘ ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนส่งรายงานเกี่ยวกับการประกอบการตามแบบ ขต. - บ.๖ ที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนยื่นรายงานเกี่ยวกับการประกอบการที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ ๑ มกราคม - ๓๑ ธันวาคมของแต่ละปีต่อนายทะเบียน ณ กองกำกับการพาณิชยนาวี กรมเจ้าท่า ภายในวันที่ ๓๑ มีนาคมของปีถัดไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ดรุณ แสงฉาย รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง รักษาราชการแทน อธิบดีกรมเจ้าท่า [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายงานเกี่ยวกับการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ประจำปี พ.ศ. .............แบบ ขต. - บ๖) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๑๔/๖ มกราคม ๒๕๕๙
743128
ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 283/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์และระยะเวลาให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน ตามมาตรา 39 (1) ยื่นสำเนาบัญชีงบดุลที่มีรายการแสดงสินทรัพย์ต่อนายทะเบียน
ประกาศกรมเจ้าท่า ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ ๒๘๓/๒๕๕๘ เรื่อง หลักเกณฑ์และระยะเวลาให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน ตามมาตรา ๓๙ (๑) ยื่นสำเนาบัญชีงบดุลที่มีรายการแสดงสินทรัพย์ต่อนายทะเบียน[๑] เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์สำหรับผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนในการปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ ๔ แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีกำหนด จำนวน ชนิด ขนาด และเงื่อนไข ในการดำรงหลักประกันและสินทรัพย์ของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งออกตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ กรมเจ้าท่า จึงกำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมเจ้าท่าที่ ๒๐/๒๕๕๘ เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์และระยะเวลาให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน ตามมาตรา ๓๙ (๑) ยื่นสำเนาบัญชีงบดุลที่มีรายการแสดงสินทรัพย์ต่อนายทะเบียน เมื่อครบทุกรอบระยะเวลาบัญชี ลงวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๘ ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ยื่นสำเนาบัญชีงบดุลเกี่ยวกับการประกอบการในรอบปีที่ผ่านมาที่มีรายการแสดงสินทรัพย์ต่อนายทะเบียน ณ กองกำกับการพาณิชยนาวี กรมเจ้าท่า ภายในห้าเดือนนับแต่วันครบรอบระยะเวลาบัญชีของตน ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ดรุณ แสงฉาย รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง รักษาราชการแทน อธิบดีกรมเจ้าท่า ปริยานุช/จัดทำ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๑๓/๖ มกราคม ๒๕๕๙
736379
ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 21/2558 เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์และระยะเวลาให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนส่งรายงานเกี่ยวกับการประกอบการ
ประกาศกรมเจ้าท่า ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ ๒๑/๒๕๕๘ เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์และระยะเวลาให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน ส่งรายงานเกี่ยวกับการประกอบการ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ อธิบดีกรมเจ้าท่าในฐานะนายทะเบียน จึงออกประกาศกำหนดแบบ หลักเกณฑ์และระยะเวลา ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนส่งรายงานเกี่ยวกับการประกอบการไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ที่ ๓๘๗ /๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๐ ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนส่งรายงานเกี่ยวกับการประกอบการเป็นสถิติรายเดือน ตามแบบ ขต.-บ.๖ ที่แนบท้ายประกาศนี้ ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ ๒.๑ น้ำหนักของสินค้าที่ไม่รวมน้ำหนักของตู้สินค้า ทั้งขาเข้าและขาออก โดยมีหน่วยเป็นตัน หรือปริมาณของสินค้าทั้งขาเข้าและขาออก โดยมีหน่วยเป็นตู้สินค้า ๒.๒ ค่าระวางสินค้า (Freight) ขาเข้าและขาออก ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนยื่นรายงานเกี่ยวกับการประกอบการที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม ต่อนายทะเบียน ณ สำนักส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี กรมเจ้าท่า ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ จุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายงานเกี่ยวกับการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (แบบ ขต. - บ๖) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๑๐๔ ง/หน้า ๘/๑ ตุลาคม ๒๕๕๘
736377
ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 20/2558 เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์และระยะเวลาให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน ตามมาตรา 39 (1) ยื่นสำเนาบัญชีงบดุลที่มีรายการแสดงสินทรัพย์ต่อนายทะเบียน เมื่อครบทุกรอบระยะเวลาบัญชี
ประกาศกรมเจ้าท่า ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ ๒๐/๒๕๕๘ เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์และระยะเวลาให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง จดทะเบียน ตามมาตรา ๓๙ (๑) ยื่นสำเนาบัญชีงบดุลที่มีรายการแสดงสินทรัพย์ต่อนายทะเบียน เมื่อครบทุกรอบระยะเวลาบัญชี[๑] เพื่อให้มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนในการปฏิบัติตามข้อกำหนดใน ข้อ ๔ แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีกำหนด จำนวน ชนิด ขนาด และเงื่อนไขในการดำรงหลักประกันและสินทรัพย์ของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน พ.ศ. ๒๕๕๓ ออกตามความใน มาตรา ๖ และมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ซึ่งได้กำหนดให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) จะต้องดำรงสินทรัพย์ขั้นต่ำไม่น้อยกว่าแปดหมื่นหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน ตลอดระยะเวลาที่ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดยให้ยื่นสำเนาบัญชีงบดุลที่มีรายการแสดงสินทรัพย์ต่อนายทะเบียนเมื่อครบระยะเวลาบัญชีนั้น จึงกำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติไว้ดังนี้ ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนตามมาตรา ๓๙ (๑) ยื่นสำเนาบัญชีงบดุลเกี่ยวกับการประกอบการที่มีรายการแสดงสินทรัพย์ต่อนายทะเบียนเมื่อครบระยะเวลาบัญชีในรอบปีที่ผ่านมาต่อนายทะเบียน ณ สำนักส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี กรมเจ้าท่า ภายในเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ จุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๑๐๔ ง/หน้า ๗/๑ ตุลาคม ๒๕๕๘
563656
ประกาศกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ที่ 387/2550 เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์และระยะเวลาให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนส่งรายงานเกี่ยวกับการประกอบการ
ประกาศกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ประกาศกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ที่ ๓๘๗/๒๕๕๐ เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์และระยะเวลาให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง จดทะเบียนส่งรายงานเกี่ยวกับการประกอบการ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีในฐานะนายทะเบียนจึงออกประกาศกำหนดแบบหลักเกณฑ์และระยะเวลาให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนส่งรายงานเกี่ยวกับการประกอบการไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนยื่นรายงานเกี่ยวกับการประกอบการตามแบบ ขต. - บ๖ ที่แนบท้ายประกาศนี้ ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ ๑.๑ น้ำหนักของสินค้าที่ไม่รวมน้ำหนักของตู้สินค้า ทั้งขาเข้าและขาออก โดยมีหน่วยเป็นตัน หรือปริมาณของสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกโดยมีหน่วยเป็นตู้สินค้า ๑.๒ ค่าระวางสินค้า ข้อ ๒ ในการยื่นข้อมูลตามข้อ ๑ ให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องยื่นรายงานเกี่ยวกับการประกอบการ ต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ดังนี้ ๒.๑ การประกอบการที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนให้ยื่นภายในเดือนกรกฎาคมของปีนั้น ๒.๒ การประกอบการที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคมให้ยื่นภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ประสงค์ ตันมณีวัฒนา อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายงานเกี่ยวกับการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (แบบ ขต.-บ๖) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๐ ภัทรวีร์/ปรับปรุง ๗ ตุลาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๓/๒๖ กันยายน ๒๕๕๐
746410
คำสั่งกรมเจ้าท่า ที่ 103/2559 เรื่อง ยกเลิกคำสั่งกรมเจ้าท่า
คำสั่งกรมเจ้าท่า คำสั่งกรมเจ้าท่า ที่ ๑๐๓/๒๕๕๙ เรื่อง ยกเลิกคำสั่งกรมเจ้าท่า[๑] ตามที่ได้มีคำสั่งกรมเจ้าท่า ที่ ๑๐๕๔/๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ลงวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ไปแล้ว นั้น เพื่อความชัดเจน เหมาะสม และสอดคล้องกับการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานของกรมเจ้าท่าตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ อธิบดีกรมเจ้าท่าในฐานะนายทะเบียน จึงยกเลิกคำสั่งกรมเจ้าท่า ที่ ๑๐๕๔/๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ลงวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ดรุณ แสงฉาย รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง รักษาราชการแทน อธิบดีกรมเจ้าท่า ปริยานุช/จัดทำ ๘ มีนาคม ๒๕๕๙ วริญา/ตรวจ ๘ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๕๑ ง/หน้า ๒๗/๑ มีนาคม ๒๕๕๙
746408
คำสั่งกรมเจ้าท่า ที่ 102/2559 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ และมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548
คำสั่งกรมเจ้าท่า คำสั่งกรมเจ้าท่า ที่ ๑๐๒/๒๕๕๙ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ และมอบหมายให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่นายทะเบียน ตามพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] เพื่อความชัดเจน เหมาะสม และสอดคล้องกับการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานของกรมเจ้าท่าตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และเพื่อให้การประกอบกิจการเพื่อรองรับการบริการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เป็นไปด้วยความถูกต้องเหมาะสม รวดเร็ว คล่องตัวทันต่อระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ บูรณาการการปฏิบัติหน้าที่และบรรลุเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ ตลอดจนเพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกแก่การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันสูง และเพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจการดำเนินงานของกรมเจ้าท่าตลอดจนให้เกิดความรวดเร็วและคล่องตัวยิ่งขึ้น อธิบดีกรมเจ้าท่า จึงแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ดังนี้ ๑. แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ อธิบดีกรมเจ้าท่าในฐานะนายทะเบียน จึงแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมเจ้าท่าผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ ๑.๑ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ที่กำกับดูแลกองกำกับการพาณิชยนาวี หรือรักษาราชการแทนรองอธิบดีกรมเจ้าท่า ที่กำกับดูแลกองกำกับการพาณิชยนาวี ๑.๒ ผู้อำนวยการกองกำกับการพาณิชยนาวี ๑.๓ หัวหน้ากลุ่มกำกับกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ๑.๔ นักวิชาการขนส่ง สังกัดกองกำกับการพาณิชยนาวี ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป ๒. มอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ อธิบดีกรมเจ้าท่าในฐานะนายทะเบียนจึงมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๑.๑ และ ๑.๒ ตามลำดับปฏิบัติหน้าที่นายทะเบียน และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ในลำดับที่ ๑.๒ ปฏิบัติหน้าที่นายทะเบียนได้เมื่อไม่มีผู้ปฏิบัติหน้าที่นายทะเบียน หรือผู้รักษาราชการแทนตามข้อ ๑.๑ ข้างต้น ๓. มอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่นายทะเบียนในส่วนของการชำระค่าปรับในอัตราสูงสุด ตามพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๒ ประกอบกับมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ อธิบดีกรมเจ้าท่าในฐานะนายทะเบียน มอบหมายให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมเจ้าท่า ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๑.๑ ข้อ ๑.๒ ข้อ ๑.๓ หรือข้อ ๑.๔ ข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่นายทะเบียนในส่วนของการชำระค่าปรับในอัตราสูงสุดตามนัยมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ดรุณ แสงฉาย รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง รักษาราชการแทน อธิบดีกรมเจ้าท่า ปริยานุช/จัดทำ ๘ มีนาคม ๒๕๕๙ วริญา/ตรวจ ๘ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๕๑ ง/หน้า ๒๕/๑ มีนาคม ๒๕๕๙
743070
คำสั่งกรมเจ้าท่า ที่ 1054/2558 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
คำสั่งกรมเจ้าท่า คำสั่งกรมเจ้าท่า ที่ ๑๐๕๔/๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่[๑] ตามที่ได้มีคำสั่งกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ที่ ๔๘๔/๒๕๔๘ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ ไปแล้วนั้น โดยที่ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานของกรมเจ้าท่าตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่แต่งตั้งไม่สอดคล้องกับกฎกระทรวงดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ อธิบดีกรมเจ้าท่าในฐานะนายทะเบียนให้เป็นไปตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ ๑. รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ที่กำกับดูแลกองกำกับการพาณิชยนาวี ๒. ผู้อำนวยการกองกำกับการพาณิชยนาวี ๓. หัวหน้ากลุ่มกำกับกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ๔. นักวิชาการขนส่ง สังกัดกองกำกับการพาณิชยนาวี ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ดรุณ แสงฉาย รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง รักษาราชการแทน อธิบดีกรมเจ้าท่า ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ ๘ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๕๑ ง/หน้า ๑๗/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘
649113
ระเบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นและการพิจารณาคำขออื่น ๆ ของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน พ.ศ. 2554
ระเบียบกรมเจ้าท่า ระเบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ ในการยื่นและการพิจารณาคำขออื่น ๆ ของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อให้มีหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นและการพิจารณาคำขออื่น ๆ ของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนที่ชัดเจนแก่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน ในการยื่นเรื่องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการตามคำขออื่น ๆ ของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน และจัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขออื่น ๆ ตาม (๑๑) แห่งกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๕๐ อธิบดีกรมเจ้าท่าในฐานะนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นและการพิจารณาคำขออื่น ๆ ของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “นายทะเบียน” หมายถึง อธิบดีกรมเจ้าท่าหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งอธิบดีกรมเจ้าท่ามอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่นายทะเบียน “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายถึง ข้าราชการกรมเจ้าท่าซึ่งนายทะเบียนแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ “แบบคำขออื่น ๆ” หมายถึง แบบที่ใช้สำหรับการยื่นและการพิจารณาคำขออื่น ๆ ของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน ตามที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๔ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียนที่ประสงค์จะยื่นคำขออื่น ๆ ของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน ให้ยื่นคำขอตามแบบคำขออื่น ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี กรมเจ้าท่า พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ขอตามที่กำหนดไว้ในแบบดังกล่าว ข้อ ๕ เมื่อมีการยื่นคำขออื่น ๆ ของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าไม่อาจดำเนินการตามคำขอได้เนื่องจากผู้ยื่นคำขอแสดงหลักฐานไม่ครบถ้วนให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ เมื่อผู้ยื่นคำขอได้ยื่นแสดงหลักฐานเพิ่มเติมและพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าเป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้ว และมีเอกสารหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินการตามคำขอได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำเสนอต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินการตามคำขอดังกล่าว ข้อ ๖ ให้อธิบดีกรมเจ้าท่าเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมเจ้าท่า [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขออื่น ๆ ของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องจดทะเบียน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๕๑ ง/หน้า ๓๓/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔
575062
ระเบียบกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ว่าด้วยการออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2551
ระเบียบกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ระเบียบกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ว่าด้วยการออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ พ.ศ. ๒๕๕๑[๑] เพื่อให้การออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี จึงออกระเบียบปฏิบัติ ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ว่าด้วยการออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒ บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่มีสี ขนาดและลักษณะ ตามแบบ พขน. ๑ ท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๓ ในการขอมีบัตรประจำตัว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ขอมีบัตรประจำตัวยื่นคำขอตามแบบ พขน. ๒ ท้ายระเบียบนี้ พร้อมหลักฐานคือ รูปถ่ายที่ถ่ายไม่เกินหกเดือนก่อนวันยื่นคำขอขนาด ๒.๕ x ๓.๐ เซนติเมตร ครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาสีเข้ม แต่งเครื่องแบบปกติขาวหรือเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ตนสังกัด จำนวน ๒ รูป ต่อผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี ข้อ ๔ ให้ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี พิจารณาความเหมาะสมของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ขอมีบัตรประจำตัว และแจ้งรายชื่อพร้อมส่งคำขอและหลักฐานของผู้ที่เห็นสมควรไปยังฝ่ายการเจ้าหน้าที่ สำนักงานเลขานุการกรม เพื่อพิจารณาดำเนินการออกบัตรประจำตัวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ข้อ ๕ ให้ฝ่ายการเจ้าหน้าที่ สำนักเลขานุการกรมดำเนินการออกบัตรประจำตัวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ขอมีบัตรประจำตัวตามข้อ ๔ โดยให้อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีหรือที่อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีมอบหมายเป็นผู้ลงนามในบัตรดังกล่าว ข้อ ๖ บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ใช้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดในบัตรแต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันออกบัตรดังกล่าว เมื่อบัตรประจำตัวนั้นจะสิ้นอายุและมีความประสงค์จะขอมีบัตรใหม่เพื่อใช้แทนบัตรเดิม ให้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวใหม่พร้อมหลักฐานตามที่ระบุในข้อ ๓ และสำเนาบัตรประจำตัวที่จะสิ้นอายุผ่านผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวีเพื่อแจ้งไปยังฝ่ายการเจ้าหน้าที่ สำนักงานเลขานุการกรมภายในสามสิบวันก่อนวันที่บัตรดังกล่าวจะสิ้นอายุ เพื่อให้ฝ่ายการเจ้าหน้าที่ สำนักงานเลขานุการกรมดำเนินการออกบัตรประจำตัวให้ใหม่ เมื่อได้รับบัตรใหม่แล้วให้ส่งบัตรเดิมคืนฝ่ายการเจ้าหน้าที่ สำนักงานเลขานุการกรม ข้อ ๗ ในกรณีที่บัตรประจำตัวชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายด้วยประการใด ๆ ให้ผู้เป็นเจ้าของบัตรนั้นรีบรายงานต่อผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี พร้อมแสดงบัตรประจำตัวที่ชำรุดหรือหลักฐานการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ แล้วแต่กรณี ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้นั้นประสงค์จะขอมีบัตรใหม่เพื่อใช้แทนบัตรเดิม ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับการขอมีบัตรใหม่เพื่อใช้แทนบัตรเดิมที่จะสิ้นอายุตามข้อ ๖ โดยแนบบัตรประจำตัวที่ชำรุดหรือหลักฐานการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ แล้วแต่กรณี เพื่อให้ฝ่ายการเจ้าหน้าที่ สำนักงานเลขานุการกรมดำเนินการออกบัตรประจำตัวใหม่ ข้อ ๘ ผู้ใดพ้นสภาพการเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้คืนบัตรประจำตัวต่อผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี เพื่อแจ้งไปยังฝ่ายการเจ้าหน้าที่ สำนักงานเลขานุการกรม ข้อ ๙ ให้ฝ่ายการเจ้าหน้าที่ สำนักงานเลขานุการกรมจัดทำทะเบียนพนักงานเจ้าหน้าที่และเสนอรายงานให้อธิบดีกรมการขนส่งทางนํ้าและพาณิชยนาวีทราบเป็นรายปี ทั้งนี้ ต้องรายงานไม่ช้ากว่าเดือนมกราคมของปีถัดไป ข้อ ๑๐ ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ประสงค์ ตันมณีวัฒนา อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ (แบบ พขน. ๑) ๒. คำขอมีบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ (แบบ พขน. ๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑ เมษายน ๒๕๕๑ ภัทรวีร์/ปรับปรุง ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๒/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๑
321681
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นปีที่ ๓๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ (๒) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ (๓) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ (๑) “การขนส่ง” หมายความว่า การขนคน สัตว์ หรือสิ่งของ โดยทางบกด้วยรถ (๒) “การขนส่งประจำทาง” หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนด (๓) “การขนส่งไม่ประจำทาง” หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่จำกัดเส้นทาง (๔)[๒] “การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก” หมายความว่า การขนส่งคนหรือสิ่งของหรือคนและสิ่งของรวมกันเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนดด้วยรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสี่พันกิโลกรัม (๕)[๓] “การขนส่งส่วนบุคคล” หมายความว่า การขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองด้วยรถที่มีน้ำหนักเกินสองพันสองร้อยกิโลกรัม (๖) “การขนส่งระหว่างจังหวัด” หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทำระหว่างจังหวัดกับจังหวัด (๗) “การขนส่งระหว่างประเทศ” หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทำระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ (๘) “การรับจัดการขนส่ง” หมายความว่า การรับจ้างรวบรวมคน สัตว์หรือสิ่งของ และจัดให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำการขนส่งจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในความรับผิดชอบของผู้รับจัดการขนส่ง (๙) “รถ” หมายความว่า ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่รถไฟ (๑๐) “ผู้ตรวจการ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจการขนส่ง (๑๑) “พนักงานตรวจสภาพ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจความมั่นคงแข็งแรง ความสะอาด ความเรียบร้อย และความเหมาะสมของสภาพรถที่นำมาใช้ในการขนส่ง (๑๒) “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนกลาง หรือนายทะเบียนประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี (๑๓) “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง หรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี (๑๔) “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (๑๕) “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕[๔] พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (๑) การขนส่งโดยรถยนต์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร (๒) การขนส่งโดย (ก) รถยนต์รับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์บริการที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ข)[๕] รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินสองพันสองร้อยกิโลกรัมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้าง (ค) รถยนต์สามล้อ รถจักรยานยนต์ และรถแทร็กเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (๓) การขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเป็นนายทะเบียนกลางมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งระหว่างจังหวัดและการขนส่งระหว่างประเทศ ให้นายทะเบียนกลางเป็นนายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานคร มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ภายในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ขนส่งจังหวัดเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัด มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในเขตจังหวัดของตน ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ นายทะเบียนกลางและนายทะเบียนประจำจังหวัดอาจมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้[๖] การมอบหมายตามวรรคสี่ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพกับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียมและกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกคณะหนึ่ง ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร* อธิบดีกรมทางหลวงเป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทย และมีความรู้หรือความจัดเจนในการขนส่ง การเศรษฐกิจหรือกฎหมาย ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๙ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งซ่อม ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วนั้น กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ มาตรา ๑๐ ผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ห้ามมิให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (๑) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๒) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นกรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง มาตรา ๑๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) รัฐมนตรีให้ออก (๔) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๒ ในการประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมแทน มาตรา ๑๓ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๔ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดนโยบายการขนส่งทางบกระยะสั้นและระยะยาวเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๒) กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาและดำเนินการสถานีขนส่งเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๓) กำหนดมาตรการและแผนพัฒนาการขนส่งทางบกเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๔) กำหนดมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยและความสะดวกในการขนส่งทางบก เพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (๕) กำหนดการห้ามรับจดทะเบียนรถเป็นครั้งคราวตามความจำเป็นโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (๖) ประสานงานที่เกี่ยวข้องระหว่างกันในด้านการขนส่งทางบก ตลอดจนประสานงานด้านการขนส่งทางบกกับการขนส่งทางน้ำและการขนส่งทางอากาศ (๗) ให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการขนส่งทางบก มาตรา ๑๕ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม หมวด ๒ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางคณะหนึ่งประกอบด้วย ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมทางหลวง อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินสามคนซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการขนส่งหรือการวางแผนจราจร[๗] ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ อัยการจังหวัด ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินห้าคน โดยมีนายกเทศมนตรีในจังหวัดนั้นรวมอยู่ด้วยหนึ่งคนเป็นกรรมการ ให้ขนส่งจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๘ ให้นำมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง และคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดโดยอนุโลม มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดลักษณะของการขนส่งประจำทางและการขนส่งไม่ประจำทาง (๒) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัดและระหว่างประเทศ (๓) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัดและระหว่างประเทศ (๔) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่ง โดยรถขนาดเล็ก (๕) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๖) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๗) กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่ง (๘) กำหนดสถานที่ จัดให้มีหรือจัดตั้ง และระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่ง (๙) กำหนดชนิดหรือสภาพรถที่มิให้รับจดทะเบียน (๑๐) กำหนดประเภทหรือชนิดของรถที่ต้องเข้าหยุดหรือจอดเพื่อการรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่ง (๑๑) กำหนดที่หยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสาร (๑๒) วางมาตรการในการกำหนด อนุญาต เพิกถอนการอนุญาตและการควบคุมกิจการขนส่งทางบก (๑๓) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก การกำหนดตาม (๒) (๓) (๔) (๘) (๙) และ (๑๐) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ภายในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทาง (๒) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๕) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกและคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง การกำหนดตาม (๑) และ (๔) เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแล้วจึงจะใช้บังคับได้ และการกำหนดตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๑ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม มาตรา ๒๒ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการการขนส่งทางบก เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งให้คณะกรรมการชี้แจงข้อเท็จจริงแสดงความคิดเห็นหรือทำรายงานหรือยับยั้งการกระทำใด ๆ ซึ่งขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี ตลอดจนมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินงานได้ หมวด ๓ การประกอบการขนส่ง มาตรา ๒๓ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือการขนส่งส่วนบุคคล เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ต้องมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดนั้นต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทยและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย และ (๑) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย (๒) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย และทุนของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย (๓)[๘] ในกรณีที่เป็นบริษัทจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย หรือต้องเป็นของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด หรือต้องเป็นของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือองค์การของรัฐ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และบริษัทจำกัดนั้นต้องไม่มีข้อบังคับ อนุญาตให้มีการออกหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ (๔) ในกรณีที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทมหาชนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมดต้องเป็นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะต้องมีลักษณะตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจยกเว้นคุณสมบัติตามความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษเป็นการเฉพาะรายได้ มาตรา ๒๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งระหว่างประเทศเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางและผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่ออนุสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่ง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นำมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๖ มาใช้บังคับแก่การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศโดยอนุโลม มาตรา ๒๖ ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย เว้นแต่เพื่อการขนส่งระหว่างประเทศและได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางแล้ว ผู้ประจำรถตามมาตรา ๙๒ ซึ่งประจำในรถตามวรรคหนึ่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ และหรือตามข้อตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ มาตรา ๒๗ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งมีสี่ประเภท คือ (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางหรือใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้ใช้เป็นใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลได้ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถผิดประเภทตามที่ระบุไว้ข้างต้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนเป็นครั้งคราว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๒๘ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้มีอายุเจ็ดปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอเสียก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ แต่การขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางและใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๙[๙] บทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๓ มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งหน่วยงานของรัฐ วัด มัสยิด มิซซัง มูลนิธิ สภากาชาดไทย และสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลเป็นผู้ประกอบการขนส่ง แต่ผู้ประกอบการขนส่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้เสมือนดังเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลทุกประการ มาตรา ๓๐ ให้นายทะเบียนกลางเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในกรุงเทพมหานคร การขนส่งระหว่างจังหวัด และการขนส่งระหว่างประเทศ และให้นายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในจังหวัดของตน ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ มาตรา ๓๑ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) สิทธิในรถที่ใช้ประกอบการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๓) ลักษณะ ชนิด ขนาดและสีของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๔) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุกและวิธีการบรรทุก (๕) จำนวนผู้ประจำรถ (๖) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๗) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๘) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (๙) ที่ที่รถจะต้องหยุดในระหว่างเส้นทาง (๑๐) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (๑๑) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (๑๒) เวลาทำงานประจำวันในการประกอบการขนส่ง (๑๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (๑๔) การประกอบกิจการอื่นนอกจากการประกอบการขนส่งประจำทาง (๑๕) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางต้องจัดให้มีประกาศเงื่อนไขตาม (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๑) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๒ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิดและขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุกและวิธีการบรรทุก (๔) จำนวนผู้ประจำรถ (๕) ท้องที่ที่ทำการขนส่ง (๖) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (๗) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๘) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (๙) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (๑๐) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางต้องจัดให้มีการประกาศเงื่อนไขตาม (๗) และ (๘) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๓ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิด ขนาดและสีของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๔) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (๕) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๖) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๗) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องจัดให้มีประกาศเงื่อนไขตาม (๕) และ (๖) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๔[๑๐] ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้นายทะเบียนกำหนดเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิด และขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษา (๔)[๑๑] จำนวนผู้ประจำรถ (๕)[๑๒] เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๕[๑๓] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามประเภทที่อธิบดีประกาศกำหนดต้องจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติผู้ประจำรถ การตรวจสอบสภาพและความพร้อมของรถและผู้ขับรถพร้อมทั้งบันทึกการตรวจสอบดังกล่าว และใบกำกับสินค้าที่ทำการขนส่ง รวมทั้งต้องจัดทำรายงานการขนส่งและรายงานอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๓๖[๑๔] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่ง ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจัดให้มีที่พักผู้โดยสารตามระยะทางโดยมีลักษณะ ขนาด จำนวน และจุดที่ตั้งของที่พักผู้โดยสารตามที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๘ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่งหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ มาตรา ๓๙ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลใช้หรือยอมให้บุคคลอื่นใช้รถที่ได้รับอนุญาตทำการขนส่งนอกเส้นทาง หรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาต แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน หรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมาย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๓๙/๑[๑๕] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางอาจนำรถที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประกอบการขนส่งในเส้นทางหนึ่งไปใช้ทำการขนส่งอีกเส้นทางหนึ่งที่ตนเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตในลักษณะหมุนเวียนได้ โดยได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๔๐ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางกระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางหรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาต มาตรา ๔๐ ทวิ[๑๖] ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้หรือยินยอมให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ขับรถที่ใช้ในการขนส่งหากปรากฏว่าขณะใช้หรือขณะยินยอมให้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถ ผู้นั้นมีอาการหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (๑) เมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น (๒) เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (๓) เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องคอยดูแลและป้องกันไม่ให้ผู้ซึ่งมีอาการ หรือกระทำการตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ของวรรคหนึ่งปฏิบัติหน้าที่ขับรถ มาตรา ๔๑ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง นายทะเบียนมีอำนาจที่จะสั่งเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถหรือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้ใดส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวตามควรแก่กรณีแล้วให้รายงานคณะกรรมการโดยเร็ว มาตรา ๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องแสดงใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ใบอนุญาตประกอบการขนส่งสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดดังกล่าว มาตรา ๔๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการขนส่ง มาตรา ๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการขนส่ง มาตรา ๔๖ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๑) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๒) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขในมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยของผู้โดยสารตามมาตรา ๓๖ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติในหมวด ๔ ว่าด้วยการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติหรือไม่แก้ไขให้ถูกต้อง หรือเป็นที่เห็นได้ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่สามารถจะดำเนินการตามเงื่อนไขหรือข้อกำหนดนั้น หรือการดำเนินการนั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายหรือเสื่อมประโยชน์ต่อประชาชน ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ แต่ถ้าเป็นการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่จะพิจารณาอนุมัติ มาตรา ๔๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต้องส่งคืนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๙[๑๗] ให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจควบคุมดูแลบรรดากิจการที่เกี่ยวกับการขนส่งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์ดังกล่าวให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจ (๑) เข้าไปในสถานที่ดำเนินการของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเพื่อทราบข้อเท็จจริงและเพื่อตรวจสอบบัญชีและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการขนส่ง (๒) ยึดหรืออายัดไว้ซึ่งสิ่งของหรือเอกสารที่อยู่ในสถานที่ตาม (๑) ที่เป็นความผิดหรือที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิด หรือได้มาจากการกระทำความผิด (๓) เรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ ในการปฏิบัติตาม (๑) และ (๒) ให้กระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น และให้อธิบดีมีอำนาจมอบหมายให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพทำการแทนได้ ในการปฏิบัติการของอธิบดี นายทะเบียน ผู้ตรวจการ หรือพนักงานตรวจสภาพตามมาตรานี้ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นอำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือตามสมควร มาตรา ๕๐ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจเรียกรถให้หยุดเพื่อทำการตรวจสอบ และเมื่อเชื่อว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้น ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจจับกุมผู้ฝ่าฝืนเพื่อส่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดำเนินคดีต่อไป บทบัญญัติในวรรคหนึ่งไม่ลบล้างอำนาจจับกุมของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มาตรา ๕๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ และมาตรา ๕๐ ให้ผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง มาตรา ๕๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ต้องวางหลักทรัพย์เป็นเงินสด หรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกัน หรือเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งทำกับบริษัทประกันภัยที่นายทะเบียนกลางให้ความเห็นชอบต่อนายทะเบียนกลาง ในกรณีเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องเป็นผู้เอาประกันภัย โดยให้บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการขนส่งของตนเป็นผู้รับประโยชน์ สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเพื่อประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง[๑๘] จำนวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดตามขนาดและประเภทของการประกอบการขนส่งแต่ต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งวางหลักทรัพย์เป็นเงินสดไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนให้ดอกผลที่เกิดจากหลักทรัพย์ที่เป็นเงินสดนั้นตกเป็นของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่วางหลักทรัพย์ ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้รับผิดชอบในการเปิดบัญชีเงินฝาก และการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีหลักทรัพย์กับธนาคารตามระเบียบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๕๓ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันตามมาตรา ๕๒ มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง นายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๕๔ ในการวางหลักทรัพย์ซึ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลไทย ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำหนังสือมอบอำนาจให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจจัดการจำหน่ายพันธบัตรนั้น เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วย มาตรา ๕๕ หลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางประกันตามมาตรา ๕๒ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เว้นแต่จะเป็นการบังคับคดีเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน มาตรา ๕๖ เมื่อรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายหรือชีวิตของบุคคลใดนอกจากความรับผิดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาท ในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นซึ่งจะต้องจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ให้จ่ายตามความร้ายแรงของความเสียหาย ทั้งนี้ ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ระหว่างการรักษาพยาบาลและหรือค่าปลงศพ มาตรา ๕๗ เมื่อผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ประสงค์จะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมตำรวจกำหนดต่อพนักงานสอบสวน โดยแสดงพยานหลักฐานว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ให้พนักงานสอบสวนพิจารณาจากสำนวนการสอบสวน และเมื่อเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นจากรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งคันใด ให้มีหนังสือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถคันนั้นชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๕๖ วรรคสอง ในการนี้ให้แจ้งให้นายทะเบียนกลางทราบโดยเร็วด้วย ในการสั่งของพนักงานสอบสวนตามวรรคหนึ่ง พนักงานสอบสวนต้องพิจารณาสั่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในการชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ต้องชำระภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจากพนักงานสอบสวน มาตรา ๕๘ ผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายต้องใช้สิทธิในการขอรับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามมาตรา ๕๗ ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ความเสียหายเกิดขึ้น มาตรา ๕๙ การชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามหมวดนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายในอันที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๐ บุคคลซึ่งมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามหมวดนี้ ได้แก่ผู้เสียหายดังต่อไปนี้ (๑) ผู้เสียหายซึ่งมิได้อยู่ในรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ได้รับความเสียหายจากรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น (๒) ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ไม่รวมถึงผู้ขับรถ คนงานหรือลูกจ้างประจำรถซึ่งอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ (๓) ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในรถคันที่ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย มาตรา ๖๑ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ ให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ และให้พนักงานสอบสวนบันทึกความเห็นของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งไม่เห็นด้วยไว้ในสำนวนการสอบสวน คำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งกลางให้เป็นที่สุด มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานสอบสวน ถ้าคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีความเห็นตามความเห็นของพนักงานสอบสวน ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายเบื้องต้นที่พนักงานสอบสวนกำหนดไว้อีกร้อยละสิบ มาตรา ๖๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางตามมาตรา ๖๑ ในกรณีที่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามมาตรา ๕๒ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นซึ่งได้นำมาวางไว้เป็นประกันชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นแทนได้ มาตรา ๖๔ ในกรณีที่ผู้เสียหายไม่ได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือได้รับชดใช้ไม่ครบตามจำนวนที่พนักงานสอบสวนหรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางสั่งไม่ว่าเพราะเหตุหลักทรัพย์ที่วางประกันไว้ไม่พอจ่ายค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือเพราะเหตุอื่นใด เมื่อผู้เสียหายได้ร้องเรียนต่อนายทะเบียนกลาง ให้นายทะเบียนกลางสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชำระให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนกลางดังกล่าว ให้นายทะเบียนกลางเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง และให้นำมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๕ การรับจัดการขนส่ง มาตรา ๖๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการรับจัดการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๖ ในการออกใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ให้นายทะเบียนกลาง โดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) ท้องที่ที่ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๒) สถานที่ตั้งสำนักงานของผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๓) สถานที่พักคน สัตว์ หรือเก็บสิ่งของ (๔) วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับสวัสดิภาพ ความสะดวกและความปลอดภัยในการรับจัดการขนส่ง (๕) อัตราค่าบริการรับจัดการขนส่ง (๖) เงื่อนไขอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งต้องจัดให้มีการประกาศเงื่อนไขตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๖๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๖๕ ต้องวางหลักทรัพย์ต่อนายทะเบียน เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญารับจัดการขนส่ง ทั้งนี้ ตามจำนวนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๘ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันตามมาตรา ๖๗ มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๖๙ ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๐ ให้นำมาตรา ๒๔ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่การประกอบการรับจัดการขนส่งโดยอนุโลม หมวด ๖ รถ มาตรา ๗๑ รถที่ใช้ในการขนส่งต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงกับได้จดทะเบียนตามมาตรา ๗๓ และเสียภาษีตามมาตรา ๘๕ แล้ว รถที่ใช้ในการขนส่งที่เสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ มาตรา ๗๒[๑๙] รถที่จะนำมาจดทะเบียนและเสียภาษีต้องผ่านการตรวจสภาพรถจากพนักงานตรวจสภาพ หรือจากสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๗๔ เว้นแต่รถประเภท หรือชนิดใดที่สมควรได้รับการยกเว้นการตรวจสภาพเป็นครั้งคราวให้กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ปรากฏว่ารถที่นำมารับการตรวจสภาพนั้นมีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีเครื่อง อุปกรณ์ และส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับการอนุญาตออกใบรับรองให้ ใบรับรองการตรวจสภาพรถให้ทำตามแบบที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๗๓[๒๐] เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตได้ตรวจสภาพรถถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๑ และมาตรา ๗๒ แล้ว ให้รับจดทะเบียนและออกหนังสือแสดงการจดทะเบียนพร้อมกับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคันนั้นให้โดยไม่ชักช้า มาตรา ๗๔ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเพื่อรับรองสภาพรถตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๔/๑[๒๑] อัตราค่าบริการตรวจสภาพรถ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต้องแสดงอัตราค่าบริการตรวจสภาพรถที่จะจัดเก็บไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานตรวจสภาพรถของตน มาตรา ๗๕ ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๗๔ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นได้ ให้นำมาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่การจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตโดยอนุโลม มาตรา ๗๗ หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถให้ใช้ได้สี่งวดนับแต่งวดที่ออกหนังสือนี้ ให้เดือนมกราคม เดือนเมษายน เดือนกรกฎาคม และเดือนตุลาคม เป็นเดือนแรกของแต่ละงวด การขอต่ออายุทะเบียน ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนภายในเวลาที่นายทะเบียนจะได้ประกาศกำหนด ให้นำมาตรา ๗๑ มาตรา ๗๒ และมาตรา ๗๓ มาใช้บังคับแก่การขอต่ออายุทะเบียนโดยอนุโลม มาตรา ๗๘ ห้ามมิให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน มาตรา ๗๙ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ประสงค์จะเลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบและนำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนแก่นายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกใช้รถนั้น มาตรา ๘๐ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีความจำเป็นจะต้องระงับใช้รถนั้นชั่วคราวเป็นเวลาเกินสิบห้าวันแจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบก่อนวันที่จะระงับใช้รถนั้น มาตรา ๘๑ รถที่ยังมิได้จดทะเบียนตามความในพระราชบัญญัตินี้หรือรถที่เลิกใช้ตามมาตรา ๗๙ ถ้าจะนำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม ต้องมีใบอนุญาตและเครื่องหมายโดยเฉพาะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ใบอนุญาตและเครื่องหมายดังกล่าวใช้ได้เฉพาะรถที่อยู่ในความครอบครองของผู้ได้รับใบอนุญาตโดยสับเปลี่ยนกันได้ ไม่เฉพาะคัน มาตรา ๘๒ การโอนรถซึ่งได้จดทะเบียนตามมาตรา ๗๓ แล้วผู้โอนและผู้รับโอนจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันโอนและให้นายทะเบียนจดแจ้งการโอนไว้ในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถนั้น มาตรา ๘๓ เมื่อผู้ตรวจการตรวจพบว่ารถคันใดมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือมีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ผู้ตรวจการรายงานให้นายทะเบียนทราบ แต่ถ้าปรากฏโดยชัดแจ้งว่าการใช้รถคันนั้นต่อไปน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายแก่การขนส่ง ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจสั่งระงับใช้ไว้เป็นการชั่วคราวได้ และให้รีบรายงานให้นายทะเบียนทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถตามวรรคหนึ่ง จัดการส่งรถคันนั้นไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามรายงานของผู้ตรวจการภายในเวลาที่กำหนด เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งตามวรรคสองแล้ว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตงดการใช้รถดังกล่าวไว้จนกว่านายทะเบียนจะมีคำสั่งอนุญาตให้ใช้ได้ต่อไป มาตรา ๘๔ เมื่อพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตเห็นว่ารถที่นำมาให้ตรวจตามมาตรา ๘๓ สมควรจะต้องซ่อมแซม ปรับปรุง เพื่อให้รถกลับมีสภาพมั่นคงแข็งแรง หรือจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้แจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดำเนินการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง แล้วให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องและรายงานให้นายทะเบียนทราบ เมื่อได้พิจารณาเห็นสมควรตามรายงานของพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถคันนั้นต่อไปได้ มาตรา ๘๕ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้ กรมการขนส่งทางบกจะกำหนดเวลาการชำระภาษีรถประจำปีสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแต่ละรายก็ได้ และให้คำนวณภาษีตามน้ำหนักรถตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ในการคำนวณน้ำหนักรถ ให้รวมน้ำหนักของรถและเครื่องอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับตัวรถตามปกติแต่ไม่รวมน้ำหนักของน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเครื่อง น้ำและเครื่องมือประจำรถ เศษของหนึ่งกิโลกรัมให้ปัดทิ้ง เงินภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้ที่จัดเก็บได้ในกรุงเทพมหานครให้ตกเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดอื่นให้ตกเป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนั้น โดยให้จังหวัดจัดสรรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง[๒๒] มาตรา ๘๖ ภาษีรถให้ชำระล่วงหน้าเป็นรายปีต่อนายทะเบียนและจะขอชำระเป็นงวดก็ได้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มตามที่กำหนดในกฎกระทรวง รถที่จดทะเบียนใหม่ในงวดใด ให้ชำระภาษีตั้งแต่งวดนั้นเป็นต้นไป ถ้าเจ้าของรถไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่จะต้องชำระให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือน หรือเศษของเดือนของภาษีที่ต้องชำระ เงินเพิ่มตามมาตรานี้ให้ถือเป็นเงินภาษี มาตรา ๘๖/๑[๒๓] รถที่ได้เสียภาษีรถประจำปีสำหรับปีใด ถ้าเปลี่ยนเจ้าของรถ เจ้าของใหม่ไม่ต้องเสียภาษีรถประจำปีในปีนั้นอีก มาตรา ๘๖/๒[๒๔] ในระหว่างที่เจ้าของรถค้างชำระภาษีรถประจำปี ให้นายทะเบียนมีอำนาจที่จะไม่รับดำเนินการทางทะเบียนจนกว่าเจ้าของรถจะเสียภาษีที่ค้างชำระให้ครบถ้วนก่อน หรือได้มีการดำเนินการตามมาตรา ๘๖/๓ วรรคสองแล้ว มาตรา ๘๖/๓[๒๕] รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีไม่ถึงสามปี หากเจ้าของรถประสงค์จะขอเสียภาษีรถประจำปีเพื่อใช้รถในปีนั้น ให้นายทะเบียนรับชำระภาษีนั้นได้ สำหรับภาษีรถที่ค้างชำระ ให้นายทะเบียนกำหนดจำนวนเงิน และระยะเวลาในการชำระตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ในกรณีที่เจ้าของรถผิดนัดไม่เสียภาษีรถที่ค้างชำระตามวรรคสองให้ครบถ้วน นายทะเบียนมีอำนาจที่จะไม่รับดำเนินการทางทะเบียน จนกว่าเจ้าของรถจะเสียภาษีรถที่ค้างชำระให้ครบถ้วน มาตรา ๘๖/๔[๒๖] รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีติดต่อกันครบสามปี ให้การจดทะเบียนรถเป็นอันระงับไป ในการนี้ให้นายทะเบียนประกาศหมายเลขทะเบียนพร้อมทั้งจำนวนภาษีที่ค้างชำระไว้ ณ ที่ทำการนายทะเบียนและในสถานที่ที่อธิบดีประกาศกำหนด และแจ้งให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถทราบ และให้บุคคลดังกล่าวส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถต่อนายทะเบียนและนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียนเพื่อบันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้แจ้งและปิดประกาศดังกล่าว ในกรณีที่เจ้าของรถหรือผู้ครองครอบรถมิได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนหรือผู้ตรวจการหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจยึดแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถได้ ให้ภาระภาษีรถประจำปีหลังจากปีที่สามเป็นอันระงับไป แต่เจ้าของรถหรือผู้ครอบครอบรถยังคงต้องเสียภาษีที่ค้างชำระให้ครบถ้วน และให้นำมาตรา ๘๖/๒ และมาตรา ๘๖/๓ วรรคสอง และวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๗ รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีแล้ว ถ้าต่อมามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงเพิ่มเติม เป็นเหตุให้รถมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากเดิม เจ้าของรถจะต้องเสียภาษีเพิ่มตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นด้วย และให้นำมาตรา ๘๖ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๘[๒๗] รถที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคลของส่วนราชการ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในกฎกระทรวง วัด มัสยิด มิซซัง มูลนิธิ และสภากาชาดไทย ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี มาตรา ๘๘ ทวิ[๒๘] (ยกเลิก) มาตรา ๘๙ รถที่ได้จดทะเบียนแล้ว ถ้าไม่ได้เสียภาษีตามกำหนดตามมาตรา ๘๖ เจ้าของรถต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบพร้อมกับนำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถนั้นคืนต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งจะต้องเสียภาษีครั้งถัดไปตามมาตรา ๘๖ มาตรา ๙๐ เจ้าของรถต้องติดแผ่นป้ายเลขทะเบียนและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่นายทะเบียนออกให้ไว้กับตัวรถตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๙๑ ในกรณีที่แผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ ให้เจ้าของรถยื่นคำขอ ขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีต่อนายทะเบียน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุดหรือลบเลือนดังกล่าว หมวด ๗ ผู้ประจำรถ มาตรา ๙๒ ผู้ประจำรถ ได้แก่ (๑) ผู้ขับรถ (๒) ผู้เก็บค่าโดยสาร (๓) นายตรวจ (๔) ผู้บริการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๓ ห้ามมิให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๔ ใบอนุญาตสำหรับผู้ประจำรถ มี ๔ ประเภท คือ (๑) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ (๒) ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร (๓) ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ (๔) ใบอนุญาตเป็นผู้บริการ ใบอนุญาตแต่ละประเภทจะใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตประเภทที่หนึ่ง ประเภทที่สาม และประเภทที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตประเภทที่สองได้ มาตรา ๙๕[๒๙] ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถมีดังนี้ (๑) ชนิดที่หนึ่ง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกินยี่สิบคน (๒) ชนิดที่สอง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่าสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารเกินยี่สิบคน (๓) ชนิดที่สาม ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งโดยสภาพใช้สำหรับลากจูงรถอื่นหรือล้อเลื่อนที่บรรทุกสิ่งใด ๆ บนล้อเลื่อนนั้น (๔) ชนิดที่สี่ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภท หรือชนิดและลักษณะการบรรทุกตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใบอนุญาตแต่ละชนิดใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตชนิดที่สอง ชนิดที่สาม และชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่หนึ่งได้ ใบอนุญาตชนิดที่สามและชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สองได้ และใบอนุญาตชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สามได้ ประกาศของอธิบดีตามความใน (๔) ของวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามมาตรา ๙๓ ในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องมีคุณสมบัติและลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีความรู้และความสามารถตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๓) ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยความเหมาะสม (๔) ไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๕) ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจ (๖) ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพติดให้โทษ (๗) ไม่เป็นผู้มีใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถประเภทหรือชนิดเดียวกับที่ได้รับอนุญาตอยู่แล้ว (๘) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เว้นแต่การเพิกถอนใบอนุญาตนั้นพ้นกำหนดสามปีแล้วนับแต่วันที่มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต (๙) ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่มิใช่เกี่ยวกับการใช้รถในการกระทำผิดหรือความผิดลหุโทษ หรือได้พ้นโทษมาแล้วเกินสามปี (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยถูกควบคุมตัวเพราะมีพฤติการณ์เป็นภัยต่อสังคม หรือเป็นอันธพาล เว้นแต่ได้พ้นจากการควบคุมตัวมาแล้วเกินหนึ่งปี มาตรา ๙๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง และได้ผ่านการศึกษาและจบหลักสูตรจากโรงเรียนการขนส่งของกรมการขนส่งทางบกหรือโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง การรับรองโรงเรียนสอนขับรถตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และผู้บริการต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในการขนส่งส่วนบุคคลต้องมีคุณสมบัติและมีลักษณะตามมาตรา ๙๖ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐๐[๓๐] ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถยื่นคำขอต่อนายทะเบียนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด มาตรา ๑๐๑ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถต้องมีใบอนุญาตอยู่กับตัวและต้องแสดงต่อนายทะเบียนหรือผู้ตรวจการเมื่อขอตรวจ มาตรา ๑๐๒ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถต้อง (๑) แต่งกายสะอาดเรียบร้อยตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง (๒) ไม่แสดงกิริยาหรือใช้ถ้อยคำเป็นการเสียดสี ดูหมิ่น ก้าวร้าว รังแก รบกวน หรือหยาบหยามผู้หนึ่งผู้ใด หรือแสดงกิริยาวาจาหรือส่งเสียงด้วยประการหนึ่งประการใดในลักษณะไม่สมควรหรือไม่สุภาพ (๓) ไม่เสพหรือเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น (๓ ทวิ)[๓๑] ไม่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (๓ ตรี)[๓๒] ไม่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (๔) ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐๒ ทวิ[๓๓] ในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใด ในขณะปฏิบัติหน้าที่นั้นมีสารอยู่ในร่างกายอันเกิดจากการเสพสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น หรือยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจมีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่าผู้นั้นมีสารนั้น ๆ อยู่ในร่างกายหรือไม่ เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ วิธีการตรวจหรือทดสอบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๐๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถนอกจากจะต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๒ แล้ว จะต้อง (๑) ไม่ขับรถในเวลาที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนความสามารถ (๒) ไม่รับบรรทุกบุคคลที่เป็นโรคเรื้อนหรือโรคติดต่อที่น่ารังเกียจไปกับผู้โดยสารอื่น (๓) ไม่รับบรรทุกศพ สัตว์ หรือสิ่งของที่อาจเกิดอันตรายหรือเป็นที่พึงรังเกียจไปกับผู้โดยสาร (๔)[๓๔] ไม่รับบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง ระเบิด หรือวัตถุอันตรายโดยฝ่าฝืนข้อห้าม ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๕) ต้องหยุดหรือจอดรถ ณ สถานีขนส่งและปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่งตามมาตรา ๑๙ (๘) และ (๑๐) มาตรา ๑๐๓ ทวิ[๓๕] ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในการปฏิบัติหน้าที่ขับรถในรอบยี่สิบสี่ชั่วโมง ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขับรถติดต่อกันเกินสี่ชั่วโมงนับแต่ขณะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ขับรถ แต่ถ้าในระหว่างนั้น ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถได้พักติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมง ก็ให้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถต่อไปได้อีกไม่เกินสี่ชั่วโมงติดต่อกัน มาตรา ๑๐๔ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถกระทำการใด ๆ ให้ผู้โดยสารจำต้องลงจากรถก่อนที่จะได้โดยสารถึงจุดหมายปลายทาง โดยที่ได้ชำระค่าโดยสารถูกต้องตามอัตราที่กำหนดแล้ว มาตรา ๑๐๕ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถละเว้นการหยุดรถเพื่อรับหรือส่งผู้โดยสาร ณ ที่ที่มีเครื่องหมายให้รถนั้นหยุด ในเมื่อปรากฏว่ามีผู้โดยสารต้องการให้หยุดรถเพื่อรับหรือส่ง มาตรา ๑๐๖ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถกระทำการใด ๆ อันเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร มาตรา ๑๐๖ ทวิ[๓๖] ในกรณีที่มีความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และมีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศที่มีความตกลงดังกล่าวกับรัฐบาลไทย อาจใช้ใบอนุญาตขับรถของประเทศนั้นขับรถในราชอาณาจักรได้ตามประเภทและชนิดของรถที่ระบุไว้ในใบอนุญาตขับรถนั้น แต่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาและหรือความตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ และตามบทบัญญัติทั้งหลายในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๗ ในการขนส่งประจำทางหรือการขนส่งไม่ประจำทางระหว่างจังหวัดหรือระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถรับบรรทุกผู้โดยสารเกินจำนวนที่นั่งผู้โดยสารที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต มาตรา ๑๐๘ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๖ มาตรา ๙๗ มาตรา ๙๘ หรือมาตรา ๙๙ หรือบกพร่องไปในภายหลังเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้นเสีย มาตรา ๑๐๙ ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายในหมวดนี้ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจยึดใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถของผู้นั้น และสั่งเป็นหนังสือให้ผู้นั้นไปรายงานตนต่อนายทะเบียนภายในเจ็ดสิบสองชั่วโมง คำสั่งนั้นให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถชั่วคราวภายในกำหนดเวลาดังกล่าวนั้น ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้นได้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือจะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้นเสียก็ได้ มาตรา ๑๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถซึ่งถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๑๑๑ ให้นำบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสารและนายตรวจมาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๘ ผู้โดยสาร มาตรา ๑๑๒ ผู้โดยสารต้องชำระค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๑๓ ผู้โดยสารต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ตลอดเวลาที่อยู่ในระหว่างการโดยสาร ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีการประกาศข้อกำหนดตามวรรคหนึ่งปิดไว้ ณ ที่เปิดเผยในรถ หมวด ๙ สถานีขนส่ง มาตรา ๑๑๔ สถานีขนส่งมี ๒ ประเภท คือ (๑) สถานีขนส่งผู้โดยสาร (๒) สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ ลักษณะของสถานีขนส่งตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๑๕ ให้กรมการขนส่งทางบกโดยอนุมัติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง จัดให้มีสถานีขนส่งขึ้นในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและในเขตท้องที่จังหวัดอื่น โดยจะดำเนินการเอง หรือจะมอบหมายให้รัฐวิสาหกิจหรือองค์การของรัฐเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด บุคคลอื่นใดประสงค์จะจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางก่อน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดให้มีหรือจัดตั้งสถานีขนส่งขึ้นที่ใด เมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๑๖ ให้อธิบดีมีอำนาจกำกับและควบคุมการดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์แห่งการนี้จะแต่งตั้งข้าราชการและหรือลูกจ้างสังกัดกรมการขนส่งทางบกทำหน้าที่เป็นนายสถานีและเจ้าหน้าที่สถานีตามจำนวนที่เห็นสมควร มีอำนาจกำกับและควบคุมดังกล่าวด้วยก็ได้ มาตรา ๑๑๗ ในการบริหารงานที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งของกรมการขนส่งทางบกตามมาตรา ๑๑๕ วรรคหนึ่ง อธิบดีจะแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่เกินแปดคนเพื่อดูแลควบคุมและดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งก็ได้ กรรมการที่อธิบดีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการของคณะกรรมการ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการนี้โดยอนุโลม มาตรา ๑๑๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสาม ต้องมีคุณสมบัติและลักษณะตามมาตรา ๒๔ มาตรา ๑๑๙ ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งให้มีอายุตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดแต่ไม่เกินยี่สิบปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกิจการสถานีขนส่งรวมทั้งการรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยในบริเวณสถานีขนส่งนั้น มาตรา ๑๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างประจำสถานีขนส่งตลอดเวลา โดยให้มีหน้าที่ตรวจสอบสภาพรถขนส่งประจำทาง ซึ่งต้องหยุดหรือจอดเพื่อการขนส่ง ณ สถานีขนส่งแห่งนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัย คุณสมบัติและจำนวนเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๑๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีอู่ซ่อมรถและบริการซ่อมรถเพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่รถที่ใช้สถานีขนส่งนั้น มาตรา ๑๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีบริเวณที่จอดพักรถตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๑๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีสมุดทะเบียนการเดินรถที่ผ่านเข้าออกสถานีขนส่งตามแบบที่อธิบดีกำหนด สมุดทะเบียนการเดินรถต้องเก็บรักษาไว้ในที่ทำการของสถานีขนส่งแห่งนั้น พร้อมที่จะให้นายทะเบียน พนักงานตรวจสภาพหรือผู้ตรวจการตรวจดูได้ทุกเวลา มาตรา ๑๒๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งเรียกเก็บค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่งได้ไม่เกินอัตราตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๑๒๕/๑[๓๗] เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลบรรดากิจการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งให้เป็นไปตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ให้นำความในมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้อธิบดี นายทะเบียนหรือผู้ตรวจการซึ่งอธิบดีมอบหมาย เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินการ หมวด ๑๐ บทกำหนดโทษ มาตรา ๑๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๗๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๗[๓๘] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๖ วรรคสอง มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ (๑) (๒) หรือ (๔) มาตรา ๑๐๓ มาตรา ๑๐๓ ทวิ มาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๐๖ หรือมาตรา ๑๐๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๗ ทวิ[๓๙] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓ ทวิ) หรือ (๓ ตรี) ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี อีกหนึ่งในสาม มาตรา ๑๒๗ ตรี[๔๐] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามมาตรา ๑๐๒ ทวิ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๒๗ จัตวา[๔๑] ในกรณีที่ผู้ขับรถขับรถที่ใช้ในการขนส่งซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่น ถ้าปรากฏว่าในขณะขับรถ ผู้ขับรถนั้นกระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓) (๓ ทวิ) หรือ (๓ ตรี) ให้ถือว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคสอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นและได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ขับรถกระทำการดังกล่าว มาตรา ๑๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๑) ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๑) ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๓) (๑๔) หรือ (๑๕) หรือในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๓๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๓๖ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง มาตรา ๓๒ วรรคสอง มาตรา ๓๓ วรรคสอง มาตรา ๓๔ วรรคสอง มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๗ หรือมาตรา ๑๑๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๓๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๙ ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาตคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๐ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองแสนบาท มาตรา ๑๓๘ ทวิ[๔๒] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท มาตรา ๑๓๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๔๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๔๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๒ หรือมาตรา ๔๗ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา ๔๓ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕ มาตรา ๗๙ หรือมาตรา ๘๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๔๔[๔๓] ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่อธิบดี นายทะเบียน ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ (๑) และ (๒) หรือมาตรา ๔๙ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ มาตรา ๗๖ หรือมาตรา ๑๒๕/๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๔๔/๑[๔๔] ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำหรือยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงต่ออธิบดีหรือนายทะเบียนตามมาตรา ๔๙ (๓) หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตรวจการที่เรียกรถให้หยุดเพื่อทำการตรวจสอบตามมาตรา ๕๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนกลางซึ่งสั่งตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๖๘ ต้องระวางโทษปรับหนึ่งแสนบาท หรือปรับเป็นรายวันวันละห้าพันบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๔๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๖๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๔๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๖ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดใช้รถโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๑ หรือฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ตรวจการหรือนายทะเบียนตามมาตรา ๘๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๔๘/๑[๔๕] ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดเก็บค่าบริการผิดไปจากอัตราค่าบริการที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๗๔/๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๔๘/๒[๔๖] ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดไม่แสดงอัตราค่าบริการตรวจสภาพรถตามมาตรา ๗๔/๑ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท มาตรา ๑๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๘ มาตรา ๘๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๘๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๔๙/๑[๔๗] เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๖/๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๕๐ เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท มาตรา ๑๕๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท แต่ถ้าผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง และได้กระทำการใด ๆ อันเป็นความผิดที่กำหนดไว้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดและต้องระวางโทษสำหรับการกระทำนั้นเช่นเดียวกับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถด้วย[๔๘] มาตรา ๑๕๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างที่ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๑๐๙ หรือปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่ถ้าผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท มาตรา ๑๕๓ ผู้โดยสารผู้ใดโดยสารรถโดยมีเจตนาไม่ชำระค่าขนส่งหรือชำระค่าขนส่งไม่ครบถ้วนตามอัตราที่กำหนด หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๑๑๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๕๔ ผู้ใดจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๕๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๓ หรือมาตรา ๑๒๔ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๕๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถผู้ใดไม่นำรถเข้าหยุดหรือจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่งตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๑๕๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งนำรถเข้าหยุดหรือจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่งผู้ใดไม่ชำระค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่งให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา ๑๒๕ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๑๕๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดโดยทุจริตหรือจงใจออกใบรับรองตรวจสภาพรถโดยไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท และนายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นเสียได้ มาตรา ๑๕๙ ผู้ใดเรียกเก็บค่าขนส่ง ค่าบริการรับจัดการขนส่ง ค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่ง หรือค่าบริการอย่างอื่นผิดไปจากอัตราที่คณะกรรมการกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๖๐ ผู้ใด (๑) ใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้แก่ผู้อื่น (๒) ใช้เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้สำหรับรถคันหนึ่งกับรถอีกคันหนึ่ง (๓) ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้แก่ตน (๔) เปลี่ยนแปลงหรือปิดบังทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ซึ่งแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ หรือ (๕) ใช้รถที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา ๘๘ ให้ผิดไปจากวัตถุประสงค์ที่ได้รับยกเว้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๖๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบกในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสาร และนายตรวจตามมาตรา ๑๑๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๖๒ ผู้ใดเปลี่ยนแปลง ย้าย ทำลาย หรือกระทำให้เสียหายด้วยประการใด ๆ แก่เครื่องหมายหรือสิ่งอื่นใดที่ทางราชการได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการขนส่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๖๓ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้ เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ดำเนินคดีเพื่อฟ้องร้องต่อไป บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๖๔ ในระหว่างที่ยังมิได้มีกฎกระทรวง ข้อกำหนด หรือระเบียบตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กฎกระทรวง ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศใด ๆ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ และพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้คงใช้บังคับต่อไป มาตรา ๑๖๕[๔๙] บรรดาใบอนุญาตที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ และถ้าจะต่ออายุใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ บรรดารถที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้ามีการแก้ไขดัดแปลงโครงรถหรือขนาดสัดส่วนของตัวถังกว้างหรือยาวกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อยู่แล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และการแก้ไขดัดแปลงนั้นกระทำได้โดยชอบตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ที่ใช้บังคับในขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นรถที่ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๗๑ มาตรา ๑๖๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง และเจ้าของรถที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ ปฏิบัติการให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๖๗ รถที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่ถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้ ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้รถตามวรรคหนึ่ง ซึ่งจะชำระภาษีครั้งแรกตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องชำระภาษีคราวละกี่งวดก็ได้ มาตรา ๑๖๘ คำขออนุญาตใด ๆ ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ถือว่าเป็นคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม และถ้าคำขออนุญาตดังกล่าวมีข้อความแตกต่างไปจากคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมคำขออนุญาตเพื่อให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ได้ มาตรา ๑๖๙ ในเขตท้องที่จังหวัดใดในระหว่างที่ยังไม่มีขนส่งจังหวัด ให้อำนาจและหน้าที่ของขนส่งจังหวัด เป็นอำนาจและหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕[๕๐] (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งส่วนบุคคล ให้จัดเก็บภาษีประจำปี ดังนี้ น้ำหนักรถเป็นกิโลกรัม รถที่ใช้ในการ ขนส่ง ประจำทาง รถที่ใช้ในการ ขนส่ง ไม่ประจำทาง รถที่ใช้ในการ ขนส่งโดยรถ ขนาดเล็ก รถที่ใช้ในการ ขนส่งส่วนบุคคล ไม่มากกว่า ๕๐๐ กิโลกรัม ๓๐๐ บาท ๔๕๐ บาท ๓๐๐ บาท ๑๕๐ บาท ตั้งแต่ ๕๐๑ ถึง ๗๕๐ กิโลกรัม ๔๐๐ บาท ๖๐๐ บาท ๔๐๐ บาท ๓๐๐ บาท ตั้งแต่ ๗๕๑ ถึง ๑,๐๐๐ กิโลกรัม ๕๐๐ บาท ๗๕๐ บาท ๕๐๐ บาท ๔๕๐ บาท ตั้งแต่ ๑,๐๐๑ ถึง ๑,๒๕๐ กิโลกรัม ๖๐๐ บาท ๙๐๐ บาท ๖๐๐ บาท ๘๐๐ บาท ตั้งแต่ ๑,๒๕๑ ถึง ๑,๕๐๐ กิโลกรัม ๗๐๐ บาท ๑,๐๕๐ บาท ๗๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ตั้งแต่ ๑,๕๐๑ ถึง ๑,๗๕๐ กิโลกรัม ๙๐๐ บาท ๑,๓๕๐ บาท ๙๐๐ บาท ๑,๓๐๐ บาท ตั้งแต่ ๑,๗๕๑ ถึง ๒,๐๐๐ กิโลกรัม ๑,๑๐๐ บาท ๑,๖๕๐ บาท ๑,๑๐๐ บาท ๑,๖๐๐ บาท ตั้งแต่ ๒,๐๐๑ ถึง ๒,๕๐๐ กิโลกรัม ๑,๓๐๐ บาท ๑,๙๕๐ บาท ๑,๓๐๐ บาท ๑,๙๐๐ บาท ตั้งแต่ ๒,๕๐๑ ถึง ๓,๐๐๐ กิโลกรัม ๑,๕๐๐ บาท ๒,๒๕๐ บาท ๑,๕๐๐ บาท ๒,๒๐๐ บาท ตั้งแต่ ๓,๐๐๑ ถึง ๓,๕๐๐ กิโลกรัม ๑,๗๐๐ บาท ๒,๕๕๐ บาท ๒,๔๐๐ บาท ตั้งแต่ ๓,๕๐๑ ถึง ๔,๐๐๐ กิโลกรัม ๑,๙๐๐ บาท ๒,๘๕๐ บาท ๒,๖๐๐ บาท ตั้งแต่ ๔,๐๐๑ ถึง ๔,๕๐๐ กิโลกรัม ๒,๑๐๐ บาท ๓,๑๕๐ บาท ๒,๘๐๐ บาท ตั้งแต่ ๔,๕๐๑ ถึง ๕,๐๐๐ กิโลกรัม ๒,๓๐๐ บาท ๓,๔๕๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท ตั้งแต่ ๕,๐๐๑ ถึง ๖,๐๐๐ กิโลกรัม ๒,๕๐๐ บาท ๓,๗๕๐ บาท ๓,๒๐๐ บาท ตั้งแต่ ๖,๐๐๑ ถึง ๗,๐๐๐ กิโลกรัม ๒,๗๐๐ บาท ๔,๐๕๐ บาท ๓,๔๐๐ บาท ตั้งแต่ ๗,๐๐๑ กิโลกรัม ขึ้นไป ๒,๙๐๐ บาท ๔,๓๕๐ บาท ๓,๖๐๐ บาท (๒) รถตาม (๑) ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า หรือใช้พลังงานทดแทน พลังงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือพลังงานอย่างประหยัด ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้จัดเก็บภาษีประจำปีในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนดไว้ตาม (๑) (๓) รถตาม (๑) ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นก๊าซไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่เป็นเชื้อเพลิง ให้จัดเก็บภาษีประจำปี ดังนี้ (ก) ระบบเชื้อเพลิงที่ใช้ก๊าซธรรมชาติดังกล่าวเพียงอย่างเดียว ให้จัดเก็บในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนดไว้ตาม (๑) (ข) ระบบเชื้อเพลิงที่ใช้ก๊าซธรรมชาติดังกล่าวร่วมหรือสลับกับน้ำมันเชื้อเพลิงให้จัดเก็บในอัตราสามในสี่ของอัตราที่กำหนดไว้ตาม (๑) อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ต่อเส้นทางหนึ่ง ฉบับละ ๑๕,๐๐๐ บาท (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ไม่ประจำทาง ฉบับละ ๔,๐๐๐ บาท (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดย รถขนาดเล็ก ฉบับละ ๑,๕๐๐ บาท (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ฉบับละ ๑,๕๐๐ บาท (๕) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ (ก) ตลอดปี ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (ข) เฉพาะคราว ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๖) ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (๗) ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการ สถานีขนส่ง ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๘) ใบอนุญาตผู้ขับรถและใบอนุญาต นายตรวจ ฉบับละ ๒๐๐ บาท (๙) ใบอนุญาตผู้เก็บค่าโดยสารและ ใบอนุญาตผู้บริการ ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๐) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๑๑) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๑๒) การโอนทะเบียนรถ ครั้งละ ๒๐๐ บาท (๑๓) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและ เครื่องหมาย แผ่นละ ๑๐๐ บาท (๑๔) คำขออนุญาตประกอบการขนส่ง ประจำทาง ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๕) คำขออื่น ๆ ฉบับละ ๒๐ บาท (๑๖) การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตแต่ละฉบับ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว และสภาพการณ์ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก บทบัญญัติทั้งหลายที่ใช้บังคับอยู่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการขนส่งเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓[๕๑] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผลแห่งการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ส่งผลกระทบถึงบรรดารถบรรทุกขนส่งสินค้า ของผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล คือ ก. รถบรรทุกที่ใช้รถมีน้ำหนักรถต่ำกว่าหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมทั่วพระราชอาณาจักรสำหรับประกอบการภายในครอบครัว ต่างได้รับความเดือดร้อนอย่างยิ่ง เพราะต้องไปยื่นขอจดทะเบียนขนส่งส่วนบุคคล และต้องใช้ใบอนุญาตขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก นอกเหนือไปจากใบอนุญาตของกรมตำรวจที่มีอยู่แล้ว ก่อให้เกิดความเดือดร้อน เพราะรถบรรทุกขนาดเล็กเหล่านี้หาจำต้องใช้ความชำนาญเชี่ยวชาญเป็นพิเศษไม่ เนื่องจากเป็นรถที่ส่วนมากใช้ในธุรกิจส่วนตัว ภายในครัวเรือนและใช้ในการขนส่งพืชผลของเกษตรกร จึงสมควรได้รับการยกเว้นไม่ต้องไปจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก และการใช้ใบขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก ข. สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งได้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามใบอนุญาตนั้น การจำกัดท้องที่ทำการขนส่งนั้น ย่อมก่อให้เกิดความไม่สะดวกและเป็นธรรม เพราะผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลก็ย่อมหมายถึงประกอบธุรกิจส่วนตัวนั่นเอง ท้องที่ที่กำหนดให้แน่นอนย่อมเป็นเครื่องกีดขวางการปฏิบัติงาน เพราะการที่จะบรรทุกสินค้าของตนไปส่งยังที่ต่าง ๆ การที่จะต้องไปขออนุญาตเป็นครั้งคราวนั้นย่อมก่อให้เกิดภาวะสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ เป็นการเพิ่มราคาทุนโดยไม่จำเป็น ค. โดยทั่วไปการตรวจสภาพรถมักล่าช้า เมื่อนำรถไปขอรับการตรวจแล้วแต่ปรากฏว่ารถมีจำนวนมาก ตรวจสภาพไม่ทันหากนำไปวิ่งขนส่งก็จะต้องถูกจับกุม และมีโทษสูง และการที่จอดรอการตรวจสภาพเป็นระยะนาน ๆ นั้น ย่อมทำให้เศรษฐกิจกระทบกระเทือน จึงสมควรกำหนดเวลาตรวจไว้ และหากความล่าช้าเป็นเพราะความผิดของพนักงานหรือผู้มีอำนาจตรวจสภาพ ก็ไม่สมควรเอาโทษแก่ผู้ประกอบการขนส่งที่ขอตรวจสภาพไว้แล้ว เพราะโทษมีกำหนดสูง ง. การต่อใบอนุญาตตามบทเฉพาะกาลของใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งได้รับอนุญาตไว้แล้ว ก่อนใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ขนาดและส่วนซึ่งพนักงานตรวจสภาพตามกฎหมายเก่า ทั้งของกรมตำรวจและกรมการขนส่งทางบก ไม่เป็นระเบียบเดียวกัน และมีมาตรฐานต่างกัน ฉะนั้น การขอต่อใบอนุญาตใหม่จึงไม่สมควรนำเหตุผลของการผิดขนาดและส่วนมาเป็นข้อปฏิเสธ การขอต่อใบอนุญาตเก่านั้นอาศัยเหตุผลดังกล่าว จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฉบับนี้ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๕๒] มาตรา ๒ พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๕ อัตราภาษีรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ไม่ใช้บังคับแก่รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีรถประจำปีไว้แล้ว หรือที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ สำหรับภาษีรถประจำปีที่เสียไว้แล้ว หรือที่ค้างชำระนั้น มาตรา ๖ รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีรถประจำปีไว้แล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ หากเป็นรถที่ไม่ได้รับการลดภาษีรถประจำปีตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๘๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ให้เสียภาษีรถประจำปีสำหรับปีต่อไป ดังต่อไปนี้ (๑) ปีที่หนึ่ง ให้เสียในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๒) ปีที่สอง ให้เสียในอัตราสามในสี่ของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๓) ปีต่อไป ให้เสียในอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันมีรถจำนวนมากใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกิดความจำเป็นในการสั่งน้ำมันดีเซลหรือก๊าซเข้ามาในราชอาณาจักร ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการเพิ่มจำนวนรถที่ใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง และเพื่อเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๕๓] พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐[๕๔] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยได้ทำความตกลงกับประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน และโดยที่ประเทศไทยอาจทำความตกลงในทำนองเดียวกันกับประเทศอื่น ๆ ด้วย ซึ่งความตกลงดังกล่าวจะมีผลให้ผู้มีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือจากรัฐบาลของประเทศที่ประเทศไทยมีความตกลงด้วย สามารถใช้ใบอนุญาตขับรถนั้นขับรถในประเทศไทยได้ ฉะนั้น เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่กับต่างประเทศตามความตกลงดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕[๕๕] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ โดยเฉพาะผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถส่วนมากมักนิยมเสพยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ ทำให้เกิดอุบัติเหตุสร้างความสูญเสียแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนบนท้องถนนเป็นอันมาก สมควรมีบทบัญญัติกำหนดความผิดและกำหนดโทษเกี่ยวกับการเสพยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และให้อำนาจผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นหรือเสพยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบถึงเหตุดังกล่าวได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕[๕๖] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปรากฏว่าอุบัติเหตุที่เกิดจากรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก แต่โดยที่พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังไม่มีบทบัญญัติควบคุมการขนส่งวัตถุอันตรายไว้อย่างเพียงพอและเหมาะสม สมควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตรายเสียใหม่เพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗[๕๗] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีผู้นำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน หรือรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ไปใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างในลักษณะที่เป็นการแก่งแย่งแข่งขันกับผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง โดยมิได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และโดยที่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกได้บัญญัติยกเว้นไว้มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งโดยรถยนต์ดังกล่าว เป็นเหตุให้ทางราชการไม่สามารถเข้าควบคุมและจัดระเบียบการขนส่งได้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๗[๕๘] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๔ บรรดาใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ และถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาต ให้นำความในมาตรา ๑๐๐ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดให้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถมีอายุเพียงหนึ่งปี ทำให้ผู้ประกอบอาชีพเป็นผู้ประจำรถจะต้องมาต่อใบอนุญาตทุก ๆ หนึ่งปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นมากทำให้เกิดความไม่สะดวกเสียเวลาและค่าใช้จ่ายแก่ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวเป็นอย่างยิ่งในการที่จะต้องเดินทางมาต่อใบอนุญาตทุก ๆ ปี โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางไปทำงานในจังหวัดอื่น การกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวโดยไม่จำเป็น จึงสมควรให้มีการขยายอายุของใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเพิ่มขึ้นจากหนึ่งปีเป็นสามปี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒[๕๙] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันอุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดบนท้องถนนอันเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลต่าง ๆ นั้น มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ขับรถเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น เสพยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ขับรถติดต่อกันนานเกินไปจนทำให้ผู้ขับรถเกิดความตึงเครียด ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงอันเนื่องมาจากกรณีดังกล่าว สมควรกำหนดห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้หรือยินยอมให้ผู้ขับรถซึ่งมีอาการหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ขับรถที่ใช้ในการขนส่ง และกำหนดให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลและป้องกันมิให้ผู้ขับรถที่มีอาการหรือกระทำการเช่นว่านั้นขับรถที่ใช้ในการขนส่งด้วย รวมทั้งสมควรกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขับรถได้ไม่เกินสี่ชั่วโมงติดต่อกัน เพื่อไม่ให้เกิดความตึงเครียดจนเกินไป นอกจากนั้นสมควรกำหนดให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และได้กระทำการใด ๆ อันเป็นความผิดที่กำหนดไว้สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่กระทำความผิดดังกล่าวด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒[๖๐] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังมิได้บัญญัติให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ เพื่อที่จะให้มีการจัดสรรภาษีรถที่จัดเก็บได้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ นอกจากนี้โดยที่ถ้อยคำเกี่ยวกับราชการส่วนท้องถิ่นในกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกมีใช้อยู่หลายคำตามรูปแบบของราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งมีอยู่หลากหลาย โดยเมื่อจัดตั้งราชการส่วนท้องถิ่นขึ้นใหม่ ก็จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกครั้ง เพื่อให้ราชการส่วนท้องถิ่นนั้นได้รับการจัดสรรภาษีรถ ดังเช่นในกรณีขององค์การบริหารส่วนตำบลนี้เป็นต้น ฉะนั้น เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลได้รับจัดสรรภาษีรถ และเพื่อปรับปรุงถ้อยคำเกี่ยวกับราชการส่วนท้องถิ่นให้ครอบคลุมถึงราชการส่วนท้องถิ่นทุกประเภท จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ *พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕[๖๑] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๘ ในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้แก้ไขคำว่า “เลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทหรือผู้แทน” เป็น “อธิบดีกรมทางหลวงชนบทหรือผู้แทน” และคำว่า “ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนมหาดไทย” เป็น “ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖[๖๒] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๕ รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) ให้นายทะเบียนประกาศหมายเลขทะเบียนพร้อมทั้งจำนวนภาษีค้างชำระไว้ ณ ที่ทำการนายทะเบียนและในสถานที่ที่อธิบดีประกาศกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (๒) ให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถทำความตกลงกับนายทะเบียนในการชำระภาษีค้างชำระภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้มีประกาศตาม (๑) โดยให้ได้รับยกเว้นเงินเพิ่ม หากมีภาษีค้างชำระเกินกว่าสามปี ให้คิดภาษีค้างชำระเพียงสามปี และให้ผ่อนชำระเป็นงวดได้ ตามระเบียบที่อธิบดีประกาศกำหนด (๓) เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถที่มิได้ดำเนินการตาม (๒) ต้องเสียภาษีค้างชำระทั้งหมด พร้อมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ (๔) เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตาม (๒) รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีตั้งแต่สามปีขึ้นไป หรือรถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีไม่ถึงสามปี แต่ต่อมาภายหลังค้างชำระภาษีติดต่อกันครบสามปีให้ถือว่าทะเบียนรถเป็นอันระงับไป และให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถมีหน้าที่ส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถต่อนายทะเบียน และนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียน เพื่อบันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถภายในสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาตาม (๒) หรือนับแต่วันค้างชำระภาษีติดต่อกันครบสามปี แล้วแต่กรณี ให้นำมาตรา ๘๖/๒ มาตรา ๘๖/๓ วรรคสองและวรรคสาม และมาตรา ๘๖/๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถผู้ใดไม่ส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียนตามความใน (๔) ให้นำโทษตามมาตรา ๑๔๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีเจ้าของรถเป็นจำนวนมากละเลยหรือหลีกเลี่ยงการชำระภาษีรถประจำปี ทำให้มีภาษีรถประจำปีค้างชำระเพิ่มขึ้นทุกปี และเมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าของรถก็เกิดข้อโต้แย้งในภาระภาษีรถประจำปีที่ค้างชำระ สมควรปรับปรุงมาตรการในการจัดเก็บภาษีรถประจำปีที่ค้างชำระให้ได้ผลอย่างจริงจัง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๐[๖๓] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์ราคาน้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัญหาทางด้านมลภาวะทางอากาศที่เพิ่มมากขึ้น และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอื่นทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง สนับสนุนการใช้พลังงานอย่างประหยัด และการใช้พลังงานสะอาดเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อันจะเป็นการช่วยให้มีการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมและคุ้มค่าและก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของประเทศ สมควรส่งเสริมการใช้รถที่ใช้พลังงานดังกล่าวโดยกำหนดให้มีอัตราภาษีประจำปีสำหรับรถเหล่านี้เป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗[๖๔] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๑๔ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้จนกว่าจะครบวาระ มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน สมควรปรับปรุงบทบัญญัติบางประการเสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีการผลิตรถในปัจจุบันที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปมาก และเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีกทั้งเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการการตรวจสภาพรถให้ได้รับความเป็นธรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๕๗[๖๕] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา ๕ บรรดาภาษีประจำปีของรถของหน่วยงานตามมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ที่ค้างชำระไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันระงับไป มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันได้มีการปรับปรุงการบริหารราชการ ทำให้มีหน่วยงานของรัฐรูปแบบต่าง ๆ เกิดขึ้นเพิ่มเติมจากหน่วยงานทางราชการที่มีอยู่เดิม อีกทั้งหน่วยงานทางราชการเดิมบางหน่วยก็ได้มีการปรับเปลี่ยนฐานะหรือรูปแบบการดำเนินการใหม่ อันมีผลทำให้หน่วยงานนั้น ๆ มิได้มีฐานะเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับยกเว้นการขออนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลและยกเว้นภาษีรถประจำปี อย่างไรก็ดี เนื่องจากหน่วยงานที่เกิดขึ้นหรือปรับเปลี่ยนใหม่นั้นมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกเพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวได้รับยกเว้นการขออนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล และยกเว้นภาษีรถประจำปี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๕/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ[๖๖] ข้อ ๒ ให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกมีอำนาจสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนรถระงับใช้รถหรือพักใช้ใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ไม่เกินหกเดือน เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจากการขนส่งอันกระทบต่อความเชื่อมั่นในระบบการขนส่ง โดยมีสาเหตุมาจากการที่ผู้ประกอบการขนส่งไม่ควบคุมกำกับดูแลผู้ขับรถให้ใช้ความเร็วไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ขับรถเกินชั่วโมงการทำงานตามที่กฎหมายกำหนด ขับรถโดยประมาท หรือขับรถในขณะที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนความสามารถ (๒) ผู้ประกอบการขนส่งปล่อยปละละเลยให้มีการนำรถไปใช้กระทำความผิด เช่น ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษี (๓) ผู้ประกอบการขนส่งไม่ควบคุมกำกับดูแลผู้ขับรถหรือพนักงานเก็บค่าโดยสาร ทำให้มีการบรรทุกผู้โดยสารเกินจำนวนที่นั่ง ทอดทิ้งผู้โดยสาร หรือเก็บค่าโดยสารเกินอัตราที่กำหนด ข้อ ๓ ให้กรมการขนส่งทางบกควบคุมผู้ให้บริการระบบติดตามรถสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ให้ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ผู้ให้บริการระบบติดตามรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้กรมการขนส่งทางบกมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้วันละไม่เกินห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง ข้อ ๔ ให้กรมการขนส่งทางบกกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับรถประจำทางและไม่ประจำทางประเภทรถตู้โดยสาร เพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งดำเนินการโดยเคร่งครัด ดังต่อไปนี้ (๑) การติดตั้งถังบรรจุก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวต้องไม่ทำให้น้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกเกินสมรรถนะของรถ (๒) การติดตั้งหรือการปรับปรุงแก้ไขตัวรถและเครื่องอุปกรณ์ เพื่อความปลอดภัยต่อการใช้รถและการเดินทาง โดยเฉพาะเพื่อให้ผู้โดยสารสามารถออกจากตัวรถได้โดยสะดวกและรวดเร็ว เมื่อมีกรณีจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ เช่น การแก้ไขกลไกเปิดประตูหลัง การเพิ่มขนาดหน้าต่าง การปรับปรุงพนักพิงเบาะหลังเพื่อให้พับได้และใช้เป็นทางออกฉุกเฉิน ทั้งนี้ ตามมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด (๓) กำหนดจำนวนที่นั่งผู้โดยสารให้มีจำนวนที่เหมาะสมและปลอดภัยกับการบรรทุกและขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งต้องไม่เกินสิบสามที่นั่ง ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้โดยสารและบุคคลภายนอก ให้รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกหรือกฎหมายว่าด้วยรถยนต์จัดให้มีการทำประกันภัยรถยนต์เพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยให้กรมการขนส่งทางบกกำหนดเป็นเงื่อนไขสำหรับการรับจดทะเบียนหรือรับชำระภาษี ประเภทรถที่ต้องจัดทำประกันภัยเพิ่มเติมและวงเงินคุ้มครองผู้โดยสารและบุคคลภายนอกให้เป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด ข้อ ๖ ให้กฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ ยังมีผลใช้บังคับไปพลางก่อนจนกว่าจะมีประกาศที่ออกตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนี้ใช้บังคับแทน ทั้งนี้ กฎกระทรวงดังกล่าวให้ใช้บังคับได้เป็นเวลาไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ ข้อ ๗ ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำความผิดหรือมีการกระทำใดที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการให้บริการขนส่งสาธารณะ ทั้งนี้ ในกรณีที่ปรากฏว่ามีการเพิกเฉยหรือละเลยไม่กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ หรือมีการแสวงหาผลประโยชน์โดยการเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยมิชอบ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นพิจารณาดำเนินการทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครองต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด กรณีที่หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเป็นความผิดวินัยหรือความผิดทางอาญา แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ ในกรณีเห็นสมควรนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งนี้ได้ ข้อ ๙ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป กมลฤทัย/แก้ไข ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ชาญ/ตรวจ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ วศิน/แก้ไข ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/เพิ่มเติม ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๓๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๑ มีนาคม ๒๕๒๒ [๒] มาตรา ๔ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๓] มาตรา ๔ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๔] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗ [๕] มาตรา ๕ (๒) (ข) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๖] มาตรา ๖ วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๗] มาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๘] มาตรา ๒๔ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๙] มาตรา ๒๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๑๐] มาตรา ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๑๑] มาตรา ๓๔ (๔) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๒] มาตรา ๓๔ (๕) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๓] มาตรา ๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๕/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ [๑๔] มาตรา ๓๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๕] มาตรา ๓๙/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๑๖] มาตรา ๔๐ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๗] มาตรา ๔๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๑๘] มาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๙] มาตรา ๗๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๒๐] มาตรา ๗๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๒๑] มาตรา ๗๔/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๒๒] มาตรา ๘๕ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๓] มาตรา ๘๖/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๒๔] มาตรา ๘๖/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๒๕] มาตรา ๘๖/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๒๖] มาตรา ๘๖/๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๒๗] มาตรา ๘๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๒๘] มาตรา ๘๘ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ต่อมามีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙ (สมัยสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ที่ประชุมได้ลงมติไม่อนุมัติ [๒๙] มาตรา ๙๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๓๐] มาตรา ๑๐๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๗ [๓๑] มาตรา ๑๐๒ (๓ ทวิ) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๓๒] มาตรา ๑๐๒ (๓ ตรี) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๓๓] มาตรา ๑๐๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๓๔] มาตรา ๑๐๓ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๓๕] มาตรา ๑๐๓ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๖] มาตรา ๑๐๖ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ [๓๗] มาตรา ๑๒๕/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๓๘] มาตรา ๑๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๙] มาตรา ๑๒๗ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๔๐] มาตรา ๑๒๗ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๔๑] มาตรา ๑๒๗ จัตวา เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๔๒] มาตรา ๑๓๘ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๔๓] มาตรา ๑๔๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๔๔] มาตรา ๑๔๔/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๔๕] มาตรา ๑๔๘/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๔๖] มาตรา ๑๔๘/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๔๗] มาตรา ๑๔๙/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๔๘] มาตรา ๑๕๑ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๔๙] มาตรา ๑๖๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๕๐] บัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๕๑] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๖๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๕ ตุลาคม ๒๕๒๓ [๕๒] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑/๓๑ มกราคม ๒๕๒๙ [๕๓] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๗๕/หน้า ๑๑/๖ พฤษภาคม ๒๕๒๙ [๕๔] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓/๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๐ [๕๕] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๔/หน้า ๑๔/๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ [๕๖] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๘/หน้า ๙/๕ เมษายน ๒๕๓๕ [๕๗] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๒๖ ก/หน้า ๑/๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๗ [๕๘] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๑/๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๗ [๕๙] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๒๓/๒๕ มีนาคม ๒๕๔๒ [๖๐] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๒๗/๒๕ มีนาคม ๒๕๔๒ [๖๑] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖๖/๘ ตุลาคม ๒๕๔๕ [๖๒] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๔๘ ก/หน้า ๙/๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖ [๖๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๑/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๐ [๖๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๘๓ ก/หน้า ๑๐/๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๖๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๘๗ ก/หน้า ๓๑/๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๖๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๕ ง/หน้า๔๐/๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐
772825
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 15/2560 เรื่อง มาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๕/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ เนื่องจากในปัจจุบันการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะโดยเฉพาะรถตู้โดยสาร ทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดเป็นที่นิยมของประชาชนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทางแต่โดยที่มาตรการในการควบคุมกำกับดูแลรถโดยสารสาธารณะที่มีอยู่ยังไม่สามารถรองรับต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเพื่อให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุดได้ จนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนหลายครั้ง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายวันซึ่งมีผู้โดยสารสัญจรเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้โดยสารและผู้ใช้รถใช้ถนนมีความปลอดภัยสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงสภาพของรถโดยสาร การควบคุมผู้ประกอบการขนส่งและผู้ขับรถให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมทั้งกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการแก้ไขให้ครบถ้วน อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการคมนาคมและการขนส่ง เพื่อประโยชน์ต่อความสงบเรียบร้อยในสังคม เพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และเสริมสร้างความมั่นใจในการเดินทางของประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามประเภทที่อธิบดีประกาศกำหนดต้องจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติผู้ประจำรถ การตรวจสอบสภาพและความพร้อมของรถและผู้ขับรถพร้อมทั้งบันทึกการตรวจสอบดังกล่าว และใบกำกับสินค้าที่ทำการขนส่ง รวมทั้งต้องจัดทำรายงานการขนส่งและรายงานอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด” ข้อ ๒ ให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกมีอำนาจสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนรถระงับใช้รถหรือพักใช้ใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ไม่เกินหกเดือน เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจากการขนส่งอันกระทบต่อความเชื่อมั่นในระบบการขนส่ง โดยมีสาเหตุมาจากการที่ผู้ประกอบการขนส่งไม่ควบคุมกำกับดูแลผู้ขับรถให้ใช้ความเร็วไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ขับรถเกินชั่วโมงการทำงานตามที่กฎหมายกำหนด ขับรถโดยประมาท หรือขับรถในขณะที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนความสามารถ (๒) ผู้ประกอบการขนส่งปล่อยปละละเลยให้มีการนำรถไปใช้กระทำความผิด เช่น ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษี (๓) ผู้ประกอบการขนส่งไม่ควบคุมกำกับดูแลผู้ขับรถหรือพนักงานเก็บค่าโดยสาร ทำให้มีการบรรทุกผู้โดยสารเกินจำนวนที่นั่ง ทอดทิ้งผู้โดยสาร หรือเก็บค่าโดยสารเกินอัตราที่กำหนด ข้อ ๓ ให้กรมการขนส่งทางบกควบคุมผู้ให้บริการระบบติดตามรถสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ให้ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ผู้ให้บริการระบบติดตามรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้กรมการขนส่งทางบกมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้วันละไม่เกินห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง ข้อ ๔ ให้กรมการขนส่งทางบกกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับรถประจำทางและไม่ประจำทางประเภทรถตู้โดยสาร เพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งดำเนินการโดยเคร่งครัด ดังต่อไปนี้ (๑) การติดตั้งถังบรรจุก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวต้องไม่ทำให้น้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกเกินสมรรถนะของรถ (๒) การติดตั้งหรือการปรับปรุงแก้ไขตัวรถและเครื่องอุปกรณ์ เพื่อความปลอดภัยต่อการใช้รถและการเดินทาง โดยเฉพาะเพื่อให้ผู้โดยสารสามารถออกจากตัวรถได้โดยสะดวกและรวดเร็ว เมื่อมีกรณีจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ เช่น การแก้ไขกลไกเปิดประตูหลัง การเพิ่มขนาดหน้าต่าง การปรับปรุงพนักพิงเบาะหลังเพื่อให้พับได้และใช้เป็นทางออกฉุกเฉิน ทั้งนี้ ตามมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด (๓) กำหนดจำนวนที่นั่งผู้โดยสารให้มีจำนวนที่เหมาะสมและปลอดภัยกับการบรรทุกและขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งต้องไม่เกินสิบสามที่นั่ง ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้โดยสารและบุคคลภายนอก ให้รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกหรือกฎหมายว่าด้วยรถยนต์จัดให้มีการทำประกันภัยรถยนต์เพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยให้กรมการขนส่งทางบกกำหนดเป็นเงื่อนไขสำหรับการรับจดทะเบียนหรือรับชำระภาษี ประเภทรถที่ต้องจัดทำประกันภัยเพิ่มเติมและวงเงินคุ้มครองผู้โดยสารและบุคคลภายนอกให้เป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด ข้อ ๖ ให้กฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ ยังมีผลใช้บังคับไปพลางก่อนจนกว่าจะมีประกาศที่ออกตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนี้ใช้บังคับแทน ทั้งนี้ กฎกระทรวงดังกล่าวให้ใช้บังคับได้เป็นเวลาไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ ข้อ ๗ ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำความผิดหรือมีการกระทำใดที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการให้บริการขนส่งสาธารณะ ทั้งนี้ ในกรณีที่ปรากฏว่ามีการเพิกเฉยหรือละเลยไม่กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ หรือมีการแสวงหาผลประโยชน์โดยการเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยมิชอบ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นพิจารณาดำเนินการทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครองต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด กรณีที่หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเป็นความผิดวินัยหรือความผิดทางอาญา แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ ในกรณีเห็นสมควรนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งนี้ได้ ข้อ ๙[๑] คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๕ ง/หน้า๔๐/๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐
772829
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 (ฉบับ Update ณ วันที่ 26/12/2557)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นปีที่ ๓๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ (๒) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ (๓) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ (๑) “การขนส่ง” หมายความว่า การขนคน สัตว์ หรือสิ่งของ โดยทางบกด้วยรถ (๒) “การขนส่งประจำทาง” หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนด (๓) “การขนส่งไม่ประจำทาง” หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่จำกัดเส้นทาง (๔)[๒] “การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก” หมายความว่า การขนส่งคนหรือสิ่งของหรือคนและสิ่งของรวมกันเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนดด้วยรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสี่พันกิโลกรัม (๕)[๓] “การขนส่งส่วนบุคคล” หมายความว่า การขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองด้วยรถที่มีน้ำหนักเกินสองพันสองร้อยกิโลกรัม (๖) “การขนส่งระหว่างจังหวัด” หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทำระหว่างจังหวัดกับจังหวัด (๗) “การขนส่งระหว่างประเทศ” หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทำระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ (๘) “การรับจัดการขนส่ง” หมายความว่า การรับจ้างรวบรวมคน สัตว์หรือสิ่งของ และจัดให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำการขนส่งจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในความรับผิดชอบของผู้รับจัดการขนส่ง (๙) “รถ” หมายความว่า ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่รถไฟ (๑๐) “ผู้ตรวจการ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจการขนส่ง (๑๑) “พนักงานตรวจสภาพ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจความมั่นคงแข็งแรง ความสะอาด ความเรียบร้อย และความเหมาะสมของสภาพรถที่นำมาใช้ในการขนส่ง (๑๒) “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนกลาง หรือนายทะเบียนประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี (๑๓) “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง หรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี (๑๔) “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (๑๕) “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕[๔] พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (๑) การขนส่งโดยรถยนต์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร (๒) การขนส่งโดย (ก) รถยนต์รับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์บริการที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ข)[๕] รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินสองพันสองร้อยกิโลกรัมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้าง (ค) รถยนต์สามล้อ รถจักรยานยนต์ และรถแทร็กเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (๓) การขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเป็นนายทะเบียนกลางมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งระหว่างจังหวัดและการขนส่งระหว่างประเทศ ให้นายทะเบียนกลางเป็นนายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานคร มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ภายในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ขนส่งจังหวัดเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัด มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในเขตจังหวัดของตน ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ นายทะเบียนกลางและนายทะเบียนประจำจังหวัดอาจมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้[๖] การมอบหมายตามวรรคสี่ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพกับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียมและกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกคณะหนึ่ง ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร* อธิบดีกรมทางหลวงเป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทย และมีความรู้หรือความจัดเจนในการขนส่ง การเศรษฐกิจหรือกฎหมาย ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๙ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งซ่อม ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วนั้น กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ มาตรา ๑๐ ผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ห้ามมิให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (๑) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๒) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นกรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง มาตรา ๑๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) รัฐมนตรีให้ออก (๔) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๒ ในการประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมแทน มาตรา ๑๓ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๔ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดนโยบายการขนส่งทางบกระยะสั้นและระยะยาวเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๒) กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาและดำเนินการสถานีขนส่งเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๓) กำหนดมาตรการและแผนพัฒนาการขนส่งทางบกเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๔) กำหนดมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยและความสะดวกในการขนส่งทางบก เพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (๕) กำหนดการห้ามรับจดทะเบียนรถเป็นครั้งคราวตามความจำเป็นโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (๖) ประสานงานที่เกี่ยวข้องระหว่างกันในด้านการขนส่งทางบก ตลอดจนประสานงานด้านการขนส่งทางบกกับการขนส่งทางน้ำและการขนส่งทางอากาศ (๗) ให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการขนส่งทางบก มาตรา ๑๕ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม หมวด ๒ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางคณะหนึ่งประกอบด้วย ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมทางหลวง อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินสามคนซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการขนส่งหรือการวางแผนจราจร[๗] ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ อัยการจังหวัด ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินห้าคน โดยมีนายกเทศมนตรีในจังหวัดนั้นรวมอยู่ด้วยหนึ่งคนเป็นกรรมการ ให้ขนส่งจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๘ ให้นำมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง และคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดโดยอนุโลม มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดลักษณะของการขนส่งประจำทางและการขนส่งไม่ประจำทาง (๒) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัดและระหว่างประเทศ (๓) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัดและระหว่างประเทศ (๔) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่ง โดยรถขนาดเล็ก (๕) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๖) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๗) กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่ง (๘) กำหนดสถานที่ จัดให้มีหรือจัดตั้ง และระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่ง (๙) กำหนดชนิดหรือสภาพรถที่มิให้รับจดทะเบียน (๑๐) กำหนดประเภทหรือชนิดของรถที่ต้องเข้าหยุดหรือจอดเพื่อการรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่ง (๑๑) กำหนดที่หยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสาร (๑๒) วางมาตรการในการกำหนด อนุญาต เพิกถอนการอนุญาตและการควบคุมกิจการขนส่งทางบก (๑๓) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก การกำหนดตาม (๒) (๓) (๔) (๘) (๙) และ (๑๐) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ภายในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทาง (๒) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๕) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกและคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง การกำหนดตาม (๑) และ (๔) เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแล้วจึงจะใช้บังคับได้ และการกำหนดตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๑ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม มาตรา ๒๒ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการการขนส่งทางบก เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งให้คณะกรรมการชี้แจงข้อเท็จจริงแสดงความคิดเห็นหรือทำรายงานหรือยับยั้งการกระทำใด ๆ ซึ่งขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี ตลอดจนมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินงานได้ หมวด ๓ การประกอบการขนส่ง มาตรา ๒๓ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือการขนส่งส่วนบุคคล เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ต้องมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดนั้นต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทยและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย และ (๑) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย (๒) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย และทุนของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย (๓)[๘] ในกรณีที่เป็นบริษัทจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย หรือต้องเป็นของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด หรือต้องเป็นของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือองค์การของรัฐ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และบริษัทจำกัดนั้นต้องไม่มีข้อบังคับ อนุญาตให้มีการออกหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ (๔) ในกรณีที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทมหาชนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมดต้องเป็นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะต้องมีลักษณะตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจยกเว้นคุณสมบัติตามความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษเป็นการเฉพาะรายได้ มาตรา ๒๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งระหว่างประเทศเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางและผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่ออนุสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่ง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นำมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๖ มาใช้บังคับแก่การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศโดยอนุโลม มาตรา ๒๖ ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย เว้นแต่เพื่อการขนส่งระหว่างประเทศและได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางแล้ว ผู้ประจำรถตามมาตรา ๙๒ ซึ่งประจำในรถตามวรรคหนึ่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ และหรือตามข้อตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ มาตรา ๒๗ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งมีสี่ประเภท คือ (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางหรือใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้ใช้เป็นใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลได้ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถผิดประเภทตามที่ระบุไว้ข้างต้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนเป็นครั้งคราว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๒๘ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้มีอายุเจ็ดปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอเสียก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ แต่การขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางและใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๙[๙] บทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๓ มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งหน่วยงานของรัฐ วัด มัสยิด มิซซัง มูลนิธิ สภากาชาดไทย และสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลเป็นผู้ประกอบการขนส่ง แต่ผู้ประกอบการขนส่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้เสมือนดังเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลทุกประการ มาตรา ๓๐ ให้นายทะเบียนกลางเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในกรุงเทพมหานคร การขนส่งระหว่างจังหวัด และการขนส่งระหว่างประเทศ และให้นายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในจังหวัดของตน ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ มาตรา ๓๑ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) สิทธิในรถที่ใช้ประกอบการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๓) ลักษณะ ชนิด ขนาดและสีของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๔) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุกและวิธีการบรรทุก (๕) จำนวนผู้ประจำรถ (๖) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๗) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๘) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (๙) ที่ที่รถจะต้องหยุดในระหว่างเส้นทาง (๑๐) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (๑๑) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (๑๒) เวลาทำงานประจำวันในการประกอบการขนส่ง (๑๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (๑๔) การประกอบกิจการอื่นนอกจากการประกอบการขนส่งประจำทาง (๑๕) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางต้องจัดให้มีประกาศเงื่อนไขตาม (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๑) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๒ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิดและขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุกและวิธีการบรรทุก (๔) จำนวนผู้ประจำรถ (๕) ท้องที่ที่ทำการขนส่ง (๖) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (๗) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๘) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (๙) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (๑๐) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางต้องจัดให้มีการประกาศเงื่อนไขตาม (๗) และ (๘) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๓ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิด ขนาดและสีของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๔) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (๕) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๖) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๗) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องจัดให้มีประกาศเงื่อนไขตาม (๕) และ (๖) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๔[๑๐] ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้นายทะเบียนกำหนดเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิด และขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษา (๔)[๑๑] จำนวนผู้ประจำรถ (๕)[๑๒] เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามประเภทที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติผู้ประจำรถ และหรือใบกำกับสินค้าที่ทำการขนส่งและต้องทำรายงานเกี่ยวกับการขนส่งและอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๖[๑๓] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่ง ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจัดให้มีที่พักผู้โดยสารตามระยะทางโดยมีลักษณะ ขนาด จำนวน และจุดที่ตั้งของที่พักผู้โดยสารตามที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๘ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่งหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ มาตรา ๓๙ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลใช้หรือยอมให้บุคคลอื่นใช้รถที่ได้รับอนุญาตทำการขนส่งนอกเส้นทาง หรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาต แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน หรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมาย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๓๙/๑[๑๔] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางอาจนำรถที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประกอบการขนส่งในเส้นทางหนึ่งไปใช้ทำการขนส่งอีกเส้นทางหนึ่งที่ตนเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตในลักษณะหมุนเวียนได้ โดยได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๔๐ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางกระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางหรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาต มาตรา ๔๐ ทวิ[๑๕] ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้หรือยินยอมให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ขับรถที่ใช้ในการขนส่งหากปรากฏว่าขณะใช้หรือขณะยินยอมให้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถ ผู้นั้นมีอาการหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (๑) เมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น (๒) เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (๓) เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องคอยดูแลและป้องกันไม่ให้ผู้ซึ่งมีอาการ หรือกระทำการตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ของวรรคหนึ่งปฏิบัติหน้าที่ขับรถ มาตรา ๔๑ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง นายทะเบียนมีอำนาจที่จะสั่งเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถหรือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้ใดส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวตามควรแก่กรณีแล้วให้รายงานคณะกรรมการโดยเร็ว มาตรา ๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องแสดงใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ใบอนุญาตประกอบการขนส่งสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดดังกล่าว มาตรา ๔๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการขนส่ง มาตรา ๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการขนส่ง มาตรา ๔๖ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๑) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๒) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขในมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยของผู้โดยสารตามมาตรา ๓๖ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติในหมวด ๔ ว่าด้วยการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติหรือไม่แก้ไขให้ถูกต้อง หรือเป็นที่เห็นได้ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่สามารถจะดำเนินการตามเงื่อนไขหรือข้อกำหนดนั้น หรือการดำเนินการนั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายหรือเสื่อมประโยชน์ต่อประชาชน ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ แต่ถ้าเป็นการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่จะพิจารณาอนุมัติ มาตรา ๔๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต้องส่งคืนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๙[๑๖] ให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจควบคุมดูแลบรรดากิจการที่เกี่ยวกับการขนส่งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์ดังกล่าวให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจ (๑) เข้าไปในสถานที่ดำเนินการของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเพื่อทราบข้อเท็จจริงและเพื่อตรวจสอบบัญชีและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการขนส่ง (๒) ยึดหรืออายัดไว้ซึ่งสิ่งของหรือเอกสารที่อยู่ในสถานที่ตาม (๑) ที่เป็นความผิดหรือที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิด หรือได้มาจากการกระทำความผิด (๓) เรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ ในการปฏิบัติตาม (๑) และ (๒) ให้กระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น และให้อธิบดีมีอำนาจมอบหมายให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพทำการแทนได้ ในการปฏิบัติการของอธิบดี นายทะเบียน ผู้ตรวจการ หรือพนักงานตรวจสภาพตามมาตรานี้ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นอำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือตามสมควร มาตรา ๕๐ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจเรียกรถให้หยุดเพื่อทำการตรวจสอบ และเมื่อเชื่อว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้น ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจจับกุมผู้ฝ่าฝืนเพื่อส่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดำเนินคดีต่อไป บทบัญญัติในวรรคหนึ่งไม่ลบล้างอำนาจจับกุมของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มาตรา ๕๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ และมาตรา ๕๐ ให้ผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง มาตรา ๕๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ต้องวางหลักทรัพย์เป็นเงินสด หรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกัน หรือเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งทำกับบริษัทประกันภัยที่นายทะเบียนกลางให้ความเห็นชอบต่อนายทะเบียนกลาง ในกรณีเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องเป็นผู้เอาประกันภัย โดยให้บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการขนส่งของตนเป็นผู้รับประโยชน์ สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเพื่อประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง[๑๗] จำนวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดตามขนาดและประเภทของการประกอบการขนส่งแต่ต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งวางหลักทรัพย์เป็นเงินสดไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนให้ดอกผลที่เกิดจากหลักทรัพย์ที่เป็นเงินสดนั้นตกเป็นของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่วางหลักทรัพย์ ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้รับผิดชอบในการเปิดบัญชีเงินฝาก และการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีหลักทรัพย์กับธนาคารตามระเบียบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๕๓ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันตามมาตรา ๕๒ มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง นายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๕๔ ในการวางหลักทรัพย์ซึ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลไทย ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำหนังสือมอบอำนาจให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจจัดการจำหน่ายพันธบัตรนั้น เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วย มาตรา ๕๕ หลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางประกันตามมาตรา ๕๒ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เว้นแต่จะเป็นการบังคับคดีเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน มาตรา ๕๖ เมื่อรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายหรือชีวิตของบุคคลใดนอกจากความรับผิดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาท ในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นซึ่งจะต้องจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ให้จ่ายตามความร้ายแรงของความเสียหาย ทั้งนี้ ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ระหว่างการรักษาพยาบาลและหรือค่าปลงศพ มาตรา ๕๗ เมื่อผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ประสงค์จะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมตำรวจกำหนดต่อพนักงานสอบสวน โดยแสดงพยานหลักฐานว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ให้พนักงานสอบสวนพิจารณาจากสำนวนการสอบสวน และเมื่อเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นจากรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งคันใด ให้มีหนังสือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถคันนั้นชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๕๖ วรรคสอง ในการนี้ให้แจ้งให้นายทะเบียนกลางทราบโดยเร็วด้วย ในการสั่งของพนักงานสอบสวนตามวรรคหนึ่ง พนักงานสอบสวนต้องพิจารณาสั่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในการชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ต้องชำระภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจากพนักงานสอบสวน มาตรา ๕๘ ผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายต้องใช้สิทธิในการขอรับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามมาตรา ๕๗ ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ความเสียหายเกิดขึ้น มาตรา ๕๙ การชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามหมวดนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายในอันที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๐ บุคคลซึ่งมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามหมวดนี้ ได้แก่ผู้เสียหายดังต่อไปนี้ (๑) ผู้เสียหายซึ่งมิได้อยู่ในรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ได้รับความเสียหายจากรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น (๒) ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ไม่รวมถึงผู้ขับรถ คนงานหรือลูกจ้างประจำรถซึ่งอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ (๓) ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในรถคันที่ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย มาตรา ๖๑ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ ให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ และให้พนักงานสอบสวนบันทึกความเห็นของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งไม่เห็นด้วยไว้ในสำนวนการสอบสวน คำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งกลางให้เป็นที่สุด มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานสอบสวน ถ้าคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีความเห็นตามความเห็นของพนักงานสอบสวน ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายเบื้องต้นที่พนักงานสอบสวนกำหนดไว้อีกร้อยละสิบ มาตรา ๖๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางตามมาตรา ๖๑ ในกรณีที่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามมาตรา ๕๒ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นซึ่งได้นำมาวางไว้เป็นประกันชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นแทนได้ มาตรา ๖๔ ในกรณีที่ผู้เสียหายไม่ได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือได้รับชดใช้ไม่ครบตามจำนวนที่พนักงานสอบสวนหรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางสั่งไม่ว่าเพราะเหตุหลักทรัพย์ที่วางประกันไว้ไม่พอจ่ายค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือเพราะเหตุอื่นใด เมื่อผู้เสียหายได้ร้องเรียนต่อนายทะเบียนกลาง ให้นายทะเบียนกลางสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชำระให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนกลางดังกล่าว ให้นายทะเบียนกลางเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง และให้นำมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๕ การรับจัดการขนส่ง มาตรา ๖๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการรับจัดการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๖ ในการออกใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ให้นายทะเบียนกลาง โดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) ท้องที่ที่ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๒) สถานที่ตั้งสำนักงานของผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๓) สถานที่พักคน สัตว์ หรือเก็บสิ่งของ (๔) วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับสวัสดิภาพ ความสะดวกและความปลอดภัยในการรับจัดการขนส่ง (๕) อัตราค่าบริการรับจัดการขนส่ง (๖) เงื่อนไขอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งต้องจัดให้มีการประกาศเงื่อนไขตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๖๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๖๕ ต้องวางหลักทรัพย์ต่อนายทะเบียน เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญารับจัดการขนส่ง ทั้งนี้ ตามจำนวนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๘ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันตามมาตรา ๖๗ มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๖๙ ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๐ ให้นำมาตรา ๒๔ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่การประกอบการรับจัดการขนส่งโดยอนุโลม หมวด ๖ รถ มาตรา ๗๑ รถที่ใช้ในการขนส่งต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงกับได้จดทะเบียนตามมาตรา ๗๓ และเสียภาษีตามมาตรา ๘๕ แล้ว รถที่ใช้ในการขนส่งที่เสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ มาตรา ๗๒[๑๘] รถที่จะนำมาจดทะเบียนและเสียภาษีต้องผ่านการตรวจสภาพรถจากพนักงานตรวจสภาพ หรือจากสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๗๔ เว้นแต่รถประเภท หรือชนิดใดที่สมควรได้รับการยกเว้นการตรวจสภาพเป็นครั้งคราวให้กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ปรากฏว่ารถที่นำมารับการตรวจสภาพนั้นมีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีเครื่อง อุปกรณ์ และส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับการอนุญาตออกใบรับรองให้ ใบรับรองการตรวจสภาพรถให้ทำตามแบบที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๗๓[๑๙] เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตได้ตรวจสภาพรถถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๑ และมาตรา ๗๒ แล้ว ให้รับจดทะเบียนและออกหนังสือแสดงการจดทะเบียนพร้อมกับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคันนั้นให้โดยไม่ชักช้า มาตรา ๗๔ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเพื่อรับรองสภาพรถตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๔/๑[๒๐] อัตราค่าบริการตรวจสภาพรถ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต้องแสดงอัตราค่าบริการตรวจสภาพรถที่จะจัดเก็บไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานตรวจสภาพรถของตน มาตรา ๗๕ ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๗๔ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นได้ ให้นำมาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่การจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตโดยอนุโลม มาตรา ๗๗ หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถให้ใช้ได้สี่งวดนับแต่งวดที่ออกหนังสือนี้ ให้เดือนมกราคม เดือนเมษายน เดือนกรกฎาคม และเดือนตุลาคม เป็นเดือนแรกของแต่ละงวด การขอต่ออายุทะเบียน ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนภายในเวลาที่นายทะเบียนจะได้ประกาศกำหนด ให้นำมาตรา ๗๑ มาตรา ๗๒ และมาตรา ๗๓ มาใช้บังคับแก่การขอต่ออายุทะเบียนโดยอนุโลม มาตรา ๗๘ ห้ามมิให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน มาตรา ๗๙ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ประสงค์จะเลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบและนำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนแก่นายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกใช้รถนั้น มาตรา ๘๐ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีความจำเป็นจะต้องระงับใช้รถนั้นชั่วคราวเป็นเวลาเกินสิบห้าวันแจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบก่อนวันที่จะระงับใช้รถนั้น มาตรา ๘๑ รถที่ยังมิได้จดทะเบียนตามความในพระราชบัญญัตินี้หรือรถที่เลิกใช้ตามมาตรา ๗๙ ถ้าจะนำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม ต้องมีใบอนุญาตและเครื่องหมายโดยเฉพาะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ใบอนุญาตและเครื่องหมายดังกล่าวใช้ได้เฉพาะรถที่อยู่ในความครอบครองของผู้ได้รับใบอนุญาตโดยสับเปลี่ยนกันได้ ไม่เฉพาะคัน มาตรา ๘๒ การโอนรถซึ่งได้จดทะเบียนตามมาตรา ๗๓ แล้วผู้โอนและผู้รับโอนจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันโอนและให้นายทะเบียนจดแจ้งการโอนไว้ในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถนั้น มาตรา ๘๓ เมื่อผู้ตรวจการตรวจพบว่ารถคันใดมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือมีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ผู้ตรวจการรายงานให้นายทะเบียนทราบ แต่ถ้าปรากฏโดยชัดแจ้งว่าการใช้รถคันนั้นต่อไปน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายแก่การขนส่ง ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจสั่งระงับใช้ไว้เป็นการชั่วคราวได้ และให้รีบรายงานให้นายทะเบียนทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถตามวรรคหนึ่ง จัดการส่งรถคันนั้นไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามรายงานของผู้ตรวจการภายในเวลาที่กำหนด เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งตามวรรคสองแล้ว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตงดการใช้รถดังกล่าวไว้จนกว่านายทะเบียนจะมีคำสั่งอนุญาตให้ใช้ได้ต่อไป มาตรา ๘๔ เมื่อพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตเห็นว่ารถที่นำมาให้ตรวจตามมาตรา ๘๓ สมควรจะต้องซ่อมแซม ปรับปรุง เพื่อให้รถกลับมีสภาพมั่นคงแข็งแรง หรือจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้แจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดำเนินการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง แล้วให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องและรายงานให้นายทะเบียนทราบ เมื่อได้พิจารณาเห็นสมควรตามรายงานของพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถคันนั้นต่อไปได้ มาตรา ๘๕ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้ กรมการขนส่งทางบกจะกำหนดเวลาการชำระภาษีรถประจำปีสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแต่ละรายก็ได้ และให้คำนวณภาษีตามน้ำหนักรถตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ในการคำนวณน้ำหนักรถ ให้รวมน้ำหนักของรถและเครื่องอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับตัวรถตามปกติแต่ไม่รวมน้ำหนักของน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเครื่อง น้ำและเครื่องมือประจำรถ เศษของหนึ่งกิโลกรัมให้ปัดทิ้ง เงินภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้ที่จัดเก็บได้ในกรุงเทพมหานครให้ตกเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดอื่นให้ตกเป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนั้น โดยให้จังหวัดจัดสรรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง[๒๑] มาตรา ๘๖ ภาษีรถให้ชำระล่วงหน้าเป็นรายปีต่อนายทะเบียนและจะขอชำระเป็นงวดก็ได้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มตามที่กำหนดในกฎกระทรวง รถที่จดทะเบียนใหม่ในงวดใด ให้ชำระภาษีตั้งแต่งวดนั้นเป็นต้นไป ถ้าเจ้าของรถไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่จะต้องชำระให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือน หรือเศษของเดือนของภาษีที่ต้องชำระ เงินเพิ่มตามมาตรานี้ให้ถือเป็นเงินภาษี มาตรา ๘๖/๑[๒๒] รถที่ได้เสียภาษีรถประจำปีสำหรับปีใด ถ้าเปลี่ยนเจ้าของรถ เจ้าของใหม่ไม่ต้องเสียภาษีรถประจำปีในปีนั้นอีก มาตรา ๘๖/๒[๒๓] ในระหว่างที่เจ้าของรถค้างชำระภาษีรถประจำปี ให้นายทะเบียนมีอำนาจที่จะไม่รับดำเนินการทางทะเบียนจนกว่าเจ้าของรถจะเสียภาษีที่ค้างชำระให้ครบถ้วนก่อน หรือได้มีการดำเนินการตามมาตรา ๘๖/๓ วรรคสองแล้ว มาตรา ๘๖/๓[๒๔] รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีไม่ถึงสามปี หากเจ้าของรถประสงค์จะขอเสียภาษีรถประจำปีเพื่อใช้รถในปีนั้น ให้นายทะเบียนรับชำระภาษีนั้นได้ สำหรับภาษีรถที่ค้างชำระ ให้นายทะเบียนกำหนดจำนวนเงิน และระยะเวลาในการชำระตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ในกรณีที่เจ้าของรถผิดนัดไม่เสียภาษีรถที่ค้างชำระตามวรรคสองให้ครบถ้วน นายทะเบียนมีอำนาจที่จะไม่รับดำเนินการทางทะเบียน จนกว่าเจ้าของรถจะเสียภาษีรถที่ค้างชำระให้ครบถ้วน มาตรา ๘๖/๔[๒๕] รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีติดต่อกันครบสามปี ให้การจดทะเบียนรถเป็นอันระงับไป ในการนี้ให้นายทะเบียนประกาศหมายเลขทะเบียนพร้อมทั้งจำนวนภาษีที่ค้างชำระไว้ ณ ที่ทำการนายทะเบียนและในสถานที่ที่อธิบดีประกาศกำหนด และแจ้งให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถทราบ และให้บุคคลดังกล่าวส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถต่อนายทะเบียนและนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียนเพื่อบันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้แจ้งและปิดประกาศดังกล่าว ในกรณีที่เจ้าของรถหรือผู้ครองครอบรถมิได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนหรือผู้ตรวจการหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจยึดแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถได้ ให้ภาระภาษีรถประจำปีหลังจากปีที่สามเป็นอันระงับไป แต่เจ้าของรถหรือผู้ครอบครอบรถยังคงต้องเสียภาษีที่ค้างชำระให้ครบถ้วน และให้นำมาตรา ๘๖/๒ และมาตรา ๘๖/๓ วรรคสอง และวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๗ รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีแล้ว ถ้าต่อมามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงเพิ่มเติม เป็นเหตุให้รถมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากเดิม เจ้าของรถจะต้องเสียภาษีเพิ่มตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นด้วย และให้นำมาตรา ๘๖ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๘[๒๖] รถที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคลของส่วนราชการ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในกฎกระทรวง วัด มัสยิด มิซซัง มูลนิธิ และสภากาชาดไทย ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี มาตรา ๘๘ ทวิ[๒๗] (ยกเลิก) มาตรา ๘๙ รถที่ได้จดทะเบียนแล้ว ถ้าไม่ได้เสียภาษีตามกำหนดตามมาตรา ๘๖ เจ้าของรถต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบพร้อมกับนำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถนั้นคืนต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งจะต้องเสียภาษีครั้งถัดไปตามมาตรา ๘๖ มาตรา ๙๐ เจ้าของรถต้องติดแผ่นป้ายเลขทะเบียนและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่นายทะเบียนออกให้ไว้กับตัวรถตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๙๑ ในกรณีที่แผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ ให้เจ้าของรถยื่นคำขอ ขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีต่อนายทะเบียน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุดหรือลบเลือนดังกล่าว หมวด ๗ ผู้ประจำรถ มาตรา ๙๒ ผู้ประจำรถ ได้แก่ (๑) ผู้ขับรถ (๒) ผู้เก็บค่าโดยสาร (๓) นายตรวจ (๔) ผู้บริการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๓ ห้ามมิให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๔ ใบอนุญาตสำหรับผู้ประจำรถ มี ๔ ประเภท คือ (๑) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ (๒) ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร (๓) ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ (๔) ใบอนุญาตเป็นผู้บริการ ใบอนุญาตแต่ละประเภทจะใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตประเภทที่หนึ่ง ประเภทที่สาม และประเภทที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตประเภทที่สองได้ มาตรา ๙๕[๒๘] ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถมีดังนี้ (๑) ชนิดที่หนึ่ง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกินยี่สิบคน (๒) ชนิดที่สอง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่าสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารเกินยี่สิบคน (๓) ชนิดที่สาม ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งโดยสภาพใช้สำหรับลากจูงรถอื่นหรือล้อเลื่อนที่บรรทุกสิ่งใด ๆ บนล้อเลื่อนนั้น (๔) ชนิดที่สี่ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภท หรือชนิดและลักษณะการบรรทุกตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใบอนุญาตแต่ละชนิดใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตชนิดที่สอง ชนิดที่สาม และชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่หนึ่งได้ ใบอนุญาตชนิดที่สามและชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สองได้ และใบอนุญาตชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สามได้ ประกาศของอธิบดีตามความใน (๔) ของวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามมาตรา ๙๓ ในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องมีคุณสมบัติและลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีความรู้และความสามารถตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๓) ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยความเหมาะสม (๔) ไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๕) ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจ (๖) ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพติดให้โทษ (๗) ไม่เป็นผู้มีใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถประเภทหรือชนิดเดียวกับที่ได้รับอนุญาตอยู่แล้ว (๘) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เว้นแต่การเพิกถอนใบอนุญาตนั้นพ้นกำหนดสามปีแล้วนับแต่วันที่มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต (๙) ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่มิใช่เกี่ยวกับการใช้รถในการกระทำผิดหรือความผิดลหุโทษ หรือได้พ้นโทษมาแล้วเกินสามปี (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยถูกควบคุมตัวเพราะมีพฤติการณ์เป็นภัยต่อสังคม หรือเป็นอันธพาล เว้นแต่ได้พ้นจากการควบคุมตัวมาแล้วเกินหนึ่งปี มาตรา ๙๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง และได้ผ่านการศึกษาและจบหลักสูตรจากโรงเรียนการขนส่งของกรมการขนส่งทางบกหรือโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง การรับรองโรงเรียนสอนขับรถตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และผู้บริการต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในการขนส่งส่วนบุคคลต้องมีคุณสมบัติและมีลักษณะตามมาตรา ๙๖ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐๐[๒๙] ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถยื่นคำขอต่อนายทะเบียนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด มาตรา ๑๐๑ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถต้องมีใบอนุญาตอยู่กับตัวและต้องแสดงต่อนายทะเบียนหรือผู้ตรวจการเมื่อขอตรวจ มาตรา ๑๐๒ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถต้อง (๑) แต่งกายสะอาดเรียบร้อยตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง (๒) ไม่แสดงกิริยาหรือใช้ถ้อยคำเป็นการเสียดสี ดูหมิ่น ก้าวร้าว รังแก รบกวน หรือหยาบหยามผู้หนึ่งผู้ใด หรือแสดงกิริยาวาจาหรือส่งเสียงด้วยประการหนึ่งประการใดในลักษณะไม่สมควรหรือไม่สุภาพ (๓) ไม่เสพหรือเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น (๓ ทวิ)[๓๐] ไม่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (๓ ตรี)[๓๑] ไม่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (๔) ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐๒ ทวิ[๓๒] ในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใด ในขณะปฏิบัติหน้าที่นั้นมีสารอยู่ในร่างกายอันเกิดจากการเสพสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น หรือยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจมีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่าผู้นั้นมีสารนั้น ๆ อยู่ในร่างกายหรือไม่ เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ วิธีการตรวจหรือทดสอบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๐๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถนอกจากจะต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๒ แล้ว จะต้อง (๑) ไม่ขับรถในเวลาที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนความสามารถ (๒) ไม่รับบรรทุกบุคคลที่เป็นโรคเรื้อนหรือโรคติดต่อที่น่ารังเกียจไปกับผู้โดยสารอื่น (๓) ไม่รับบรรทุกศพ สัตว์ หรือสิ่งของที่อาจเกิดอันตรายหรือเป็นที่พึงรังเกียจไปกับผู้โดยสาร (๔)[๓๓] ไม่รับบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง ระเบิด หรือวัตถุอันตรายโดยฝ่าฝืนข้อห้าม ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๕) ต้องหยุดหรือจอดรถ ณ สถานีขนส่งและปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่งตามมาตรา ๑๙ (๘) และ (๑๐) มาตรา ๑๐๓ ทวิ[๓๔] ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในการปฏิบัติหน้าที่ขับรถในรอบยี่สิบสี่ชั่วโมง ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขับรถติดต่อกันเกินสี่ชั่วโมงนับแต่ขณะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ขับรถ แต่ถ้าในระหว่างนั้น ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถได้พักติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมง ก็ให้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถต่อไปได้อีกไม่เกินสี่ชั่วโมงติดต่อกัน มาตรา ๑๐๔ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถกระทำการใด ๆ ให้ผู้โดยสารจำต้องลงจากรถก่อนที่จะได้โดยสารถึงจุดหมายปลายทาง โดยที่ได้ชำระค่าโดยสารถูกต้องตามอัตราที่กำหนดแล้ว มาตรา ๑๐๕ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถละเว้นการหยุดรถเพื่อรับหรือส่งผู้โดยสาร ณ ที่ที่มีเครื่องหมายให้รถนั้นหยุด ในเมื่อปรากฏว่ามีผู้โดยสารต้องการให้หยุดรถเพื่อรับหรือส่ง มาตรา ๑๐๖ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถกระทำการใด ๆ อันเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร มาตรา ๑๐๖ ทวิ[๓๕] ในกรณีที่มีความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และมีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศที่มีความตกลงดังกล่าวกับรัฐบาลไทย อาจใช้ใบอนุญาตขับรถของประเทศนั้นขับรถในราชอาณาจักรได้ตามประเภทและชนิดของรถที่ระบุไว้ในใบอนุญาตขับรถนั้น แต่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาและหรือความตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ และตามบทบัญญัติทั้งหลายในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๗ ในการขนส่งประจำทางหรือการขนส่งไม่ประจำทางระหว่างจังหวัดหรือระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถรับบรรทุกผู้โดยสารเกินจำนวนที่นั่งผู้โดยสารที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต มาตรา ๑๐๘ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๖ มาตรา ๙๗ มาตรา ๙๘ หรือมาตรา ๙๙ หรือบกพร่องไปในภายหลังเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้นเสีย มาตรา ๑๐๙ ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายในหมวดนี้ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจยึดใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถของผู้นั้น และสั่งเป็นหนังสือให้ผู้นั้นไปรายงานตนต่อนายทะเบียนภายในเจ็ดสิบสองชั่วโมง คำสั่งนั้นให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถชั่วคราวภายในกำหนดเวลาดังกล่าวนั้น ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้นได้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือจะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้นเสียก็ได้ มาตรา ๑๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถซึ่งถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๑๑๑ ให้นำบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสารและนายตรวจมาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๘ ผู้โดยสาร มาตรา ๑๑๒ ผู้โดยสารต้องชำระค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๑๓ ผู้โดยสารต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ตลอดเวลาที่อยู่ในระหว่างการโดยสาร ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีการประกาศข้อกำหนดตามวรรคหนึ่งปิดไว้ ณ ที่เปิดเผยในรถ หมวด ๙ สถานีขนส่ง มาตรา ๑๑๔ สถานีขนส่งมี ๒ ประเภท คือ (๑) สถานีขนส่งผู้โดยสาร (๒) สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ ลักษณะของสถานีขนส่งตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๑๕ ให้กรมการขนส่งทางบกโดยอนุมัติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง จัดให้มีสถานีขนส่งขึ้นในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและในเขตท้องที่จังหวัดอื่น โดยจะดำเนินการเอง หรือจะมอบหมายให้รัฐวิสาหกิจหรือองค์การของรัฐเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด บุคคลอื่นใดประสงค์จะจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางก่อน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดให้มีหรือจัดตั้งสถานีขนส่งขึ้นที่ใด เมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๑๖ ให้อธิบดีมีอำนาจกำกับและควบคุมการดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์แห่งการนี้จะแต่งตั้งข้าราชการและหรือลูกจ้างสังกัดกรมการขนส่งทางบกทำหน้าที่เป็นนายสถานีและเจ้าหน้าที่สถานีตามจำนวนที่เห็นสมควร มีอำนาจกำกับและควบคุมดังกล่าวด้วยก็ได้ มาตรา ๑๑๗ ในการบริหารงานที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งของกรมการขนส่งทางบกตามมาตรา ๑๑๕ วรรคหนึ่ง อธิบดีจะแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่เกินแปดคนเพื่อดูแลควบคุมและดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งก็ได้ กรรมการที่อธิบดีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการของคณะกรรมการ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการนี้โดยอนุโลม มาตรา ๑๑๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสาม ต้องมีคุณสมบัติและลักษณะตามมาตรา ๒๔ มาตรา ๑๑๙ ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งให้มีอายุตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดแต่ไม่เกินยี่สิบปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกิจการสถานีขนส่งรวมทั้งการรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยในบริเวณสถานีขนส่งนั้น มาตรา ๑๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างประจำสถานีขนส่งตลอดเวลา โดยให้มีหน้าที่ตรวจสอบสภาพรถขนส่งประจำทาง ซึ่งต้องหยุดหรือจอดเพื่อการขนส่ง ณ สถานีขนส่งแห่งนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัย คุณสมบัติและจำนวนเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๑๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีอู่ซ่อมรถและบริการซ่อมรถเพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่รถที่ใช้สถานีขนส่งนั้น มาตรา ๑๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีบริเวณที่จอดพักรถตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๑๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีสมุดทะเบียนการเดินรถที่ผ่านเข้าออกสถานีขนส่งตามแบบที่อธิบดีกำหนด สมุดทะเบียนการเดินรถต้องเก็บรักษาไว้ในที่ทำการของสถานีขนส่งแห่งนั้น พร้อมที่จะให้นายทะเบียน พนักงานตรวจสภาพหรือผู้ตรวจการตรวจดูได้ทุกเวลา มาตรา ๑๒๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งเรียกเก็บค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่งได้ไม่เกินอัตราตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๑๒๕/๑[๓๖] เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลบรรดากิจการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งให้เป็นไปตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ให้นำความในมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้อธิบดี นายทะเบียนหรือผู้ตรวจการซึ่งอธิบดีมอบหมาย เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินการ หมวด ๑๐ บทกำหนดโทษ มาตรา ๑๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๗๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๗[๓๗] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๖ วรรคสอง มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ (๑) (๒) หรือ (๔) มาตรา ๑๐๓ มาตรา ๑๐๓ ทวิ มาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๐๖ หรือมาตรา ๑๐๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๗ ทวิ[๓๘] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓ ทวิ) หรือ (๓ ตรี) ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี อีกหนึ่งในสาม มาตรา ๑๒๗ ตรี[๓๙] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามมาตรา ๑๐๒ ทวิ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๒๗ จัตวา[๔๐] ในกรณีที่ผู้ขับรถขับรถที่ใช้ในการขนส่งซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่น ถ้าปรากฏว่าในขณะขับรถ ผู้ขับรถนั้นกระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓) (๓ ทวิ) หรือ (๓ ตรี) ให้ถือว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคสอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นและได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ขับรถกระทำการดังกล่าว มาตรา ๑๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๑) ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๑) ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๓) (๑๔) หรือ (๑๕) หรือในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๓๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๓๖ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง มาตรา ๓๒ วรรคสอง มาตรา ๓๓ วรรคสอง มาตรา ๓๔ วรรคสอง มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๗ หรือมาตรา ๑๑๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๓๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๙ ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาตคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๐ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองแสนบาท มาตรา ๑๓๘ ทวิ[๔๑] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท มาตรา ๑๓๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๔๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๔๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๒ หรือมาตรา ๔๗ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา ๔๓ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕ มาตรา ๗๙ หรือมาตรา ๘๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๔๔[๔๒] ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่อธิบดี นายทะเบียน ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ (๑) และ (๒) หรือมาตรา ๔๙ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ มาตรา ๗๖ หรือมาตรา ๑๒๕/๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๔๔/๑[๔๓] ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำหรือยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงต่ออธิบดีหรือนายทะเบียนตามมาตรา ๔๙ (๓) หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตรวจการที่เรียกรถให้หยุดเพื่อทำการตรวจสอบตามมาตรา ๕๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนกลางซึ่งสั่งตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๖๘ ต้องระวางโทษปรับหนึ่งแสนบาท หรือปรับเป็นรายวันวันละห้าพันบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๔๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๖๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๔๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๖ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดใช้รถโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๑ หรือฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ตรวจการหรือนายทะเบียนตามมาตรา ๘๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๔๘/๑[๔๔] ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดเก็บค่าบริการผิดไปจากอัตราค่าบริการที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๗๔/๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๔๘/๒[๔๕] ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดไม่แสดงอัตราค่าบริการตรวจสภาพรถตามมาตรา ๗๔/๑ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท มาตรา ๑๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๘ มาตรา ๘๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๘๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๔๙/๑[๔๖] เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๖/๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๕๐ เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท มาตรา ๑๕๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท แต่ถ้าผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง และได้กระทำการใด ๆ อันเป็นความผิดที่กำหนดไว้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดและต้องระวางโทษสำหรับการกระทำนั้นเช่นเดียวกับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถด้วย[๔๗] มาตรา ๑๕๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างที่ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๑๐๙ หรือปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่ถ้าผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท มาตรา ๑๕๓ ผู้โดยสารผู้ใดโดยสารรถโดยมีเจตนาไม่ชำระค่าขนส่งหรือชำระค่าขนส่งไม่ครบถ้วนตามอัตราที่กำหนด หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๑๑๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๕๔ ผู้ใดจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๕๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๓ หรือมาตรา ๑๒๔ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๕๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถผู้ใดไม่นำรถเข้าหยุดหรือจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่งตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๑๕๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งนำรถเข้าหยุดหรือจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่งผู้ใดไม่ชำระค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่งให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา ๑๒๕ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๑๕๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดโดยทุจริตหรือจงใจออกใบรับรองตรวจสภาพรถโดยไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท และนายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นเสียได้ มาตรา ๑๕๙ ผู้ใดเรียกเก็บค่าขนส่ง ค่าบริการรับจัดการขนส่ง ค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่ง หรือค่าบริการอย่างอื่นผิดไปจากอัตราที่คณะกรรมการกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๖๐ ผู้ใด (๑) ใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้แก่ผู้อื่น (๒) ใช้เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้สำหรับรถคันหนึ่งกับรถอีกคันหนึ่ง (๓) ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้แก่ตน (๔) เปลี่ยนแปลงหรือปิดบังทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ซึ่งแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ หรือ (๕) ใช้รถที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา ๘๘ ให้ผิดไปจากวัตถุประสงค์ที่ได้รับยกเว้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๖๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบกในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสาร และนายตรวจตามมาตรา ๑๑๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๖๒ ผู้ใดเปลี่ยนแปลง ย้าย ทำลาย หรือกระทำให้เสียหายด้วยประการใด ๆ แก่เครื่องหมายหรือสิ่งอื่นใดที่ทางราชการได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการขนส่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๖๓ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้ เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ดำเนินคดีเพื่อฟ้องร้องต่อไป บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๖๔ ในระหว่างที่ยังมิได้มีกฎกระทรวง ข้อกำหนด หรือระเบียบตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กฎกระทรวง ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศใด ๆ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ และพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้คงใช้บังคับต่อไป มาตรา ๑๖๕[๔๘] บรรดาใบอนุญาตที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ และถ้าจะต่ออายุใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ บรรดารถที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้ามีการแก้ไขดัดแปลงโครงรถหรือขนาดสัดส่วนของตัวถังกว้างหรือยาวกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อยู่แล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และการแก้ไขดัดแปลงนั้นกระทำได้โดยชอบตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ที่ใช้บังคับในขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นรถที่ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๗๑ มาตรา ๑๖๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง และเจ้าของรถที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ ปฏิบัติการให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๖๗ รถที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่ถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้ ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้รถตามวรรคหนึ่ง ซึ่งจะชำระภาษีครั้งแรกตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องชำระภาษีคราวละกี่งวดก็ได้ มาตรา ๑๖๘ คำขออนุญาตใด ๆ ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ถือว่าเป็นคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม และถ้าคำขออนุญาตดังกล่าวมีข้อความแตกต่างไปจากคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมคำขออนุญาตเพื่อให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ได้ มาตรา ๑๖๙ ในเขตท้องที่จังหวัดใดในระหว่างที่ยังไม่มีขนส่งจังหวัด ให้อำนาจและหน้าที่ของขนส่งจังหวัด เป็นอำนาจและหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕[๔๙] (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งส่วนบุคคล ให้จัดเก็บภาษีประจำปี ดังนี้ น้ำหนักรถเป็นกิโลกรัม รถที่ใช้ในการ ขนส่ง ประจำทาง รถที่ใช้ในการ ขนส่ง ไม่ประจำทาง รถที่ใช้ในการ ขนส่งโดยรถ ขนาดเล็ก รถที่ใช้ในการ ขนส่งส่วนบุคคล ไม่มากกว่า ๕๐๐ กิโลกรัม ๓๐๐ บาท ๔๕๐ บาท ๓๐๐ บาท ๑๕๐ บาท ตั้งแต่ ๕๐๑ ถึง ๗๕๐ กิโลกรัม ๔๐๐ บาท ๖๐๐ บาท ๔๐๐ บาท ๓๐๐ บาท ตั้งแต่ ๗๕๑ ถึง ๑,๐๐๐ กิโลกรัม ๕๐๐ บาท ๗๕๐ บาท ๕๐๐ บาท ๔๕๐ บาท ตั้งแต่ ๑,๐๐๑ ถึง ๑,๒๕๐ กิโลกรัม ๖๐๐ บาท ๙๐๐ บาท ๖๐๐ บาท ๘๐๐ บาท ตั้งแต่ ๑,๒๕๑ ถึง ๑,๕๐๐ กิโลกรัม ๗๐๐ บาท ๑,๐๕๐ บาท ๗๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ตั้งแต่ ๑,๕๐๑ ถึง ๑,๗๕๐ กิโลกรัม ๙๐๐ บาท ๑,๓๕๐ บาท ๙๐๐ บาท ๑,๓๐๐ บาท ตั้งแต่ ๑,๗๕๑ ถึง ๒,๐๐๐ กิโลกรัม ๑,๑๐๐ บาท ๑,๖๕๐ บาท ๑,๑๐๐ บาท ๑,๖๐๐ บาท ตั้งแต่ ๒,๐๐๑ ถึง ๒,๕๐๐ กิโลกรัม ๑,๓๐๐ บาท ๑,๙๕๐ บาท ๑,๓๐๐ บาท ๑,๙๐๐ บาท ตั้งแต่ ๒,๕๐๑ ถึง ๓,๐๐๐ กิโลกรัม ๑,๕๐๐ บาท ๒,๒๕๐ บาท ๑,๕๐๐ บาท ๒,๒๐๐ บาท ตั้งแต่ ๓,๐๐๑ ถึง ๓,๕๐๐ กิโลกรัม ๑,๗๐๐ บาท ๒,๕๕๐ บาท ๒,๔๐๐ บาท ตั้งแต่ ๓,๕๐๑ ถึง ๔,๐๐๐ กิโลกรัม ๑,๙๐๐ บาท ๒,๘๕๐ บาท ๒,๖๐๐ บาท ตั้งแต่ ๔,๐๐๑ ถึง ๔,๕๐๐ กิโลกรัม ๒,๑๐๐ บาท ๓,๑๕๐ บาท ๒,๘๐๐ บาท ตั้งแต่ ๔,๕๐๑ ถึง ๕,๐๐๐ กิโลกรัม ๒,๓๐๐ บาท ๓,๔๕๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท ตั้งแต่ ๕,๐๐๑ ถึง ๖,๐๐๐ กิโลกรัม ๒,๕๐๐ บาท ๓,๗๕๐ บาท ๓,๒๐๐ บาท ตั้งแต่ ๖,๐๐๑ ถึง ๗,๐๐๐ กิโลกรัม ๒,๗๐๐ บาท ๔,๐๕๐ บาท ๓,๔๐๐ บาท ตั้งแต่ ๗,๐๐๑ กิโลกรัม ขึ้นไป ๒,๙๐๐ บาท ๔,๓๕๐ บาท ๓,๖๐๐ บาท (๒) รถตาม (๑) ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า หรือใช้พลังงานทดแทน พลังงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือพลังงานอย่างประหยัด ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้จัดเก็บภาษีประจำปีในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนดไว้ตาม (๑) (๓) รถตาม (๑) ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นก๊าซไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่เป็นเชื้อเพลิง ให้จัดเก็บภาษีประจำปี ดังนี้ (ก) ระบบเชื้อเพลิงที่ใช้ก๊าซธรรมชาติดังกล่าวเพียงอย่างเดียว ให้จัดเก็บในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนดไว้ตาม (๑) (ข) ระบบเชื้อเพลิงที่ใช้ก๊าซธรรมชาติดังกล่าวร่วมหรือสลับกับน้ำมันเชื้อเพลิงให้จัดเก็บในอัตราสามในสี่ของอัตราที่กำหนดไว้ตาม (๑) อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ต่อเส้นทางหนึ่ง ฉบับละ ๑๕,๐๐๐ บาท (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ไม่ประจำทาง ฉบับละ ๔,๐๐๐ บาท (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดย รถขนาดเล็ก ฉบับละ ๑,๕๐๐ บาท (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ฉบับละ ๑,๕๐๐ บาท (๕) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ (ก) ตลอดปี ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (ข) เฉพาะคราว ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๖) ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (๗) ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการ สถานีขนส่ง ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๘) ใบอนุญาตผู้ขับรถและใบอนุญาต นายตรวจ ฉบับละ ๒๐๐ บาท (๙) ใบอนุญาตผู้เก็บค่าโดยสารและ ใบอนุญาตผู้บริการ ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๐) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๑๑) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๑๒) การโอนทะเบียนรถ ครั้งละ ๒๐๐ บาท (๑๓) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและ เครื่องหมาย แผ่นละ ๑๐๐ บาท (๑๔) คำขออนุญาตประกอบการขนส่ง ประจำทาง ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๕) คำขออื่น ๆ ฉบับละ ๒๐ บาท (๑๖) การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตแต่ละฉบับ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว และสภาพการณ์ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก บทบัญญัติทั้งหลายที่ใช้บังคับอยู่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการขนส่งเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓[๕๐] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผลแห่งการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ส่งผลกระทบถึงบรรดารถบรรทุกขนส่งสินค้า ของผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล คือ ก. รถบรรทุกที่ใช้รถมีน้ำหนักรถต่ำกว่าหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมทั่วพระราชอาณาจักรสำหรับประกอบการภายในครอบครัว ต่างได้รับความเดือดร้อนอย่างยิ่ง เพราะต้องไปยื่นขอจดทะเบียนขนส่งส่วนบุคคล และต้องใช้ใบอนุญาตขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก นอกเหนือไปจากใบอนุญาตของกรมตำรวจที่มีอยู่แล้ว ก่อให้เกิดความเดือดร้อน เพราะรถบรรทุกขนาดเล็กเหล่านี้หาจำต้องใช้ความชำนาญเชี่ยวชาญเป็นพิเศษไม่ เนื่องจากเป็นรถที่ส่วนมากใช้ในธุรกิจส่วนตัว ภายในครัวเรือนและใช้ในการขนส่งพืชผลของเกษตรกร จึงสมควรได้รับการยกเว้นไม่ต้องไปจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก และการใช้ใบขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก ข. สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งได้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามใบอนุญาตนั้น การจำกัดท้องที่ทำการขนส่งนั้น ย่อมก่อให้เกิดความไม่สะดวกและเป็นธรรม เพราะผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลก็ย่อมหมายถึงประกอบธุรกิจส่วนตัวนั่นเอง ท้องที่ที่กำหนดให้แน่นอนย่อมเป็นเครื่องกีดขวางการปฏิบัติงาน เพราะการที่จะบรรทุกสินค้าของตนไปส่งยังที่ต่าง ๆ การที่จะต้องไปขออนุญาตเป็นครั้งคราวนั้นย่อมก่อให้เกิดภาวะสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ เป็นการเพิ่มราคาทุนโดยไม่จำเป็น ค. โดยทั่วไปการตรวจสภาพรถมักล่าช้า เมื่อนำรถไปขอรับการตรวจแล้วแต่ปรากฏว่ารถมีจำนวนมาก ตรวจสภาพไม่ทันหากนำไปวิ่งขนส่งก็จะต้องถูกจับกุม และมีโทษสูง และการที่จอดรอการตรวจสภาพเป็นระยะนาน ๆ นั้น ย่อมทำให้เศรษฐกิจกระทบกระเทือน จึงสมควรกำหนดเวลาตรวจไว้ และหากความล่าช้าเป็นเพราะความผิดของพนักงานหรือผู้มีอำนาจตรวจสภาพ ก็ไม่สมควรเอาโทษแก่ผู้ประกอบการขนส่งที่ขอตรวจสภาพไว้แล้ว เพราะโทษมีกำหนดสูง ง. การต่อใบอนุญาตตามบทเฉพาะกาลของใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งได้รับอนุญาตไว้แล้ว ก่อนใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ขนาดและส่วนซึ่งพนักงานตรวจสภาพตามกฎหมายเก่า ทั้งของกรมตำรวจและกรมการขนส่งทางบก ไม่เป็นระเบียบเดียวกัน และมีมาตรฐานต่างกัน ฉะนั้น การขอต่อใบอนุญาตใหม่จึงไม่สมควรนำเหตุผลของการผิดขนาดและส่วนมาเป็นข้อปฏิเสธ การขอต่อใบอนุญาตเก่านั้นอาศัยเหตุผลดังกล่าว จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฉบับนี้ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๕๑] มาตรา ๒ พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๕ อัตราภาษีรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ไม่ใช้บังคับแก่รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีรถประจำปีไว้แล้ว หรือที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ สำหรับภาษีรถประจำปีที่เสียไว้แล้ว หรือที่ค้างชำระนั้น มาตรา ๖ รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีรถประจำปีไว้แล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ หากเป็นรถที่ไม่ได้รับการลดภาษีรถประจำปีตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๘๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ให้เสียภาษีรถประจำปีสำหรับปีต่อไป ดังต่อไปนี้ (๑) ปีที่หนึ่ง ให้เสียในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๒) ปีที่สอง ให้เสียในอัตราสามในสี่ของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๓) ปีต่อไป ให้เสียในอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันมีรถจำนวนมากใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกิดความจำเป็นในการสั่งน้ำมันดีเซลหรือก๊าซเข้ามาในราชอาณาจักร ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการเพิ่มจำนวนรถที่ใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง และเพื่อเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๕๒] พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐[๕๓] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยได้ทำความตกลงกับประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน และโดยที่ประเทศไทยอาจทำความตกลงในทำนองเดียวกันกับประเทศอื่น ๆ ด้วย ซึ่งความตกลงดังกล่าวจะมีผลให้ผู้มีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือจากรัฐบาลของประเทศที่ประเทศไทยมีความตกลงด้วย สามารถใช้ใบอนุญาตขับรถนั้นขับรถในประเทศไทยได้ ฉะนั้น เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่กับต่างประเทศตามความตกลงดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕[๕๔] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ โดยเฉพาะผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถส่วนมากมักนิยมเสพยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ ทำให้เกิดอุบัติเหตุสร้างความสูญเสียแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนบนท้องถนนเป็นอันมาก สมควรมีบทบัญญัติกำหนดความผิดและกำหนดโทษเกี่ยวกับการเสพยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และให้อำนาจผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นหรือเสพยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบถึงเหตุดังกล่าวได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕[๕๕] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปรากฏว่าอุบัติเหตุที่เกิดจากรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก แต่โดยที่พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังไม่มีบทบัญญัติควบคุมการขนส่งวัตถุอันตรายไว้อย่างเพียงพอและเหมาะสม สมควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตรายเสียใหม่เพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗[๕๖] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีผู้นำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน หรือรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ไปใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างในลักษณะที่เป็นการแก่งแย่งแข่งขันกับผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง โดยมิได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และโดยที่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกได้บัญญัติยกเว้นไว้มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งโดยรถยนต์ดังกล่าว เป็นเหตุให้ทางราชการไม่สามารถเข้าควบคุมและจัดระเบียบการขนส่งได้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๗[๕๗] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๔ บรรดาใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ และถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาต ให้นำความในมาตรา ๑๐๐ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดให้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถมีอายุเพียงหนึ่งปี ทำให้ผู้ประกอบอาชีพเป็นผู้ประจำรถจะต้องมาต่อใบอนุญาตทุก ๆ หนึ่งปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นมากทำให้เกิดความไม่สะดวกเสียเวลาและค่าใช้จ่ายแก่ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวเป็นอย่างยิ่งในการที่จะต้องเดินทางมาต่อใบอนุญาตทุก ๆ ปี โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางไปทำงานในจังหวัดอื่น การกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวโดยไม่จำเป็น จึงสมควรให้มีการขยายอายุของใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเพิ่มขึ้นจากหนึ่งปีเป็นสามปี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒[๕๘] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันอุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดบนท้องถนนอันเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลต่าง ๆ นั้น มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ขับรถเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น เสพยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ขับรถติดต่อกันนานเกินไปจนทำให้ผู้ขับรถเกิดความตึงเครียด ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงอันเนื่องมาจากกรณีดังกล่าว สมควรกำหนดห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้หรือยินยอมให้ผู้ขับรถซึ่งมีอาการหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ขับรถที่ใช้ในการขนส่ง และกำหนดให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลและป้องกันมิให้ผู้ขับรถที่มีอาการหรือกระทำการเช่นว่านั้นขับรถที่ใช้ในการขนส่งด้วย รวมทั้งสมควรกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขับรถได้ไม่เกินสี่ชั่วโมงติดต่อกัน เพื่อไม่ให้เกิดความตึงเครียดจนเกินไป นอกจากนั้นสมควรกำหนดให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และได้กระทำการใด ๆ อันเป็นความผิดที่กำหนดไว้สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่กระทำความผิดดังกล่าวด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒[๕๙] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังมิได้บัญญัติให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ เพื่อที่จะให้มีการจัดสรรภาษีรถที่จัดเก็บได้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ นอกจากนี้โดยที่ถ้อยคำเกี่ยวกับราชการส่วนท้องถิ่นในกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกมีใช้อยู่หลายคำตามรูปแบบของราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งมีอยู่หลากหลาย โดยเมื่อจัดตั้งราชการส่วนท้องถิ่นขึ้นใหม่ ก็จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกครั้ง เพื่อให้ราชการส่วนท้องถิ่นนั้นได้รับการจัดสรรภาษีรถ ดังเช่นในกรณีขององค์การบริหารส่วนตำบลนี้เป็นต้น ฉะนั้น เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลได้รับจัดสรรภาษีรถ และเพื่อปรับปรุงถ้อยคำเกี่ยวกับราชการส่วนท้องถิ่นให้ครอบคลุมถึงราชการส่วนท้องถิ่นทุกประเภท จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ *พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕[๖๐] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๘ ในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้แก้ไขคำว่า “เลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทหรือผู้แทน” เป็น “อธิบดีกรมทางหลวงชนบทหรือผู้แทน” และคำว่า “ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนมหาดไทย” เป็น “ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖[๖๑] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๕ รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) ให้นายทะเบียนประกาศหมายเลขทะเบียนพร้อมทั้งจำนวนภาษีค้างชำระไว้ ณ ที่ทำการนายทะเบียนและในสถานที่ที่อธิบดีประกาศกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (๒) ให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถทำความตกลงกับนายทะเบียนในการชำระภาษีค้างชำระภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้มีประกาศตาม (๑) โดยให้ได้รับยกเว้นเงินเพิ่ม หากมีภาษีค้างชำระเกินกว่าสามปี ให้คิดภาษีค้างชำระเพียงสามปี และให้ผ่อนชำระเป็นงวดได้ ตามระเบียบที่อธิบดีประกาศกำหนด (๓) เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถที่มิได้ดำเนินการตาม (๒) ต้องเสียภาษีค้างชำระทั้งหมด พร้อมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ (๔) เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตาม (๒) รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีตั้งแต่สามปีขึ้นไป หรือรถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีไม่ถึงสามปี แต่ต่อมาภายหลังค้างชำระภาษีติดต่อกันครบสามปีให้ถือว่าทะเบียนรถเป็นอันระงับไป และให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถมีหน้าที่ส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถต่อนายทะเบียน และนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียน เพื่อบันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถภายในสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาตาม (๒) หรือนับแต่วันค้างชำระภาษีติดต่อกันครบสามปี แล้วแต่กรณี ให้นำมาตรา ๘๖/๒ มาตรา ๘๖/๓ วรรคสองและวรรคสาม และมาตรา ๘๖/๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถผู้ใดไม่ส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียนตามความใน (๔) ให้นำโทษตามมาตรา ๑๔๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีเจ้าของรถเป็นจำนวนมากละเลยหรือหลีกเลี่ยงการชำระภาษีรถประจำปี ทำให้มีภาษีรถประจำปีค้างชำระเพิ่มขึ้นทุกปี และเมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าของรถก็เกิดข้อโต้แย้งในภาระภาษีรถประจำปีที่ค้างชำระ สมควรปรับปรุงมาตรการในการจัดเก็บภาษีรถประจำปีที่ค้างชำระให้ได้ผลอย่างจริงจัง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๐[๖๒] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์ราคาน้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัญหาทางด้านมลภาวะทางอากาศที่เพิ่มมากขึ้น และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอื่นทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง สนับสนุนการใช้พลังงานอย่างประหยัด และการใช้พลังงานสะอาดเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อันจะเป็นการช่วยให้มีการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมและคุ้มค่าและก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของประเทศ สมควรส่งเสริมการใช้รถที่ใช้พลังงานดังกล่าวโดยกำหนดให้มีอัตราภาษีประจำปีสำหรับรถเหล่านี้เป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗[๖๓] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๑๔ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้จนกว่าจะครบวาระ มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน สมควรปรับปรุงบทบัญญัติบางประการเสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีการผลิตรถในปัจจุบันที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปมาก และเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีกทั้งเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการการตรวจสภาพรถให้ได้รับความเป็นธรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๕๗[๖๔] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา ๕ บรรดาภาษีประจำปีของรถของหน่วยงานตามมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ที่ค้างชำระไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันระงับไป มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันได้มีการปรับปรุงการบริหารราชการ ทำให้มีหน่วยงานของรัฐรูปแบบต่าง ๆ เกิดขึ้นเพิ่มเติมจากหน่วยงานทางราชการที่มีอยู่เดิม อีกทั้งหน่วยงานทางราชการเดิมบางหน่วยก็ได้มีการปรับเปลี่ยนฐานะหรือรูปแบบการดำเนินการใหม่ อันมีผลทำให้หน่วยงานนั้น ๆ มิได้มีฐานะเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับยกเว้นการขออนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลและยกเว้นภาษีรถประจำปี อย่างไรก็ดี เนื่องจากหน่วยงานที่เกิดขึ้นหรือปรับเปลี่ยนใหม่นั้นมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกเพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวได้รับยกเว้นการขออนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล และยกเว้นภาษีรถประจำปี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ กมลฤทัย/แก้ไข ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ชาญ/ตรวจ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ วศิน/แก้ไข ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๓๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๑ มีนาคม ๒๕๒๒ [๒] มาตรา ๔ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๓] มาตรา ๔ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๔] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗ [๕] มาตรา ๕ (๒) (ข) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๖] มาตรา ๖ วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๗] มาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๘] มาตรา ๒๔ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๙] มาตรา ๒๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๑๐] มาตรา ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๑๑] มาตรา ๓๔ (๔) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๒] มาตรา ๓๔ (๕) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๓] มาตรา ๓๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๔] มาตรา ๓๙/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๑๕] มาตรา ๔๐ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๖] มาตรา ๔๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๑๗] มาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๘] มาตรา ๗๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๑๙] มาตรา ๗๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๒๐] มาตรา ๗๔/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๒๑] มาตรา ๘๕ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๒] มาตรา ๘๖/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๒๓] มาตรา ๘๖/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๒๔] มาตรา ๘๖/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๒๕] มาตรา ๘๖/๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๒๖] มาตรา ๘๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๒๗] มาตรา ๘๘ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ต่อมามีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙ (สมัยสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ที่ประชุมได้ลงมติไม่อนุมัติ [๒๘] มาตรา ๙๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๙] มาตรา ๑๐๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๗ [๓๐] มาตรา ๑๐๒ (๓ ทวิ) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๓๑] มาตรา ๑๐๒ (๓ ตรี) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๓๒] มาตรา ๑๐๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๓๓] มาตรา ๑๐๓ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๓๔] มาตรา ๑๐๓ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๕] มาตรา ๑๐๖ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ [๓๖] มาตรา ๑๒๕/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๓๗] มาตรา ๑๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๘] มาตรา ๑๒๗ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๙] มาตรา ๑๒๗ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๔๐] มาตรา ๑๒๗ จัตวา เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๔๑] มาตรา ๑๓๘ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๔๒] มาตรา ๑๔๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๔๓] มาตรา ๑๔๔/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๔๔] มาตรา ๑๔๘/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๔๕] มาตรา ๑๔๘/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๔๖] มาตรา ๑๔๙/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๔๗] มาตรา ๑๕๑ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๔๘] มาตรา ๑๖๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๔๙] บัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๕๐] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๖๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๕ ตุลาคม ๒๕๒๓ [๕๑] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑/๓๑ มกราคม ๒๕๒๙ [๕๒] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๗๕/หน้า ๑๑/๖ พฤษภาคม ๒๕๒๙ [๕๓] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓/๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๐ [๕๔] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๔/หน้า ๑๔/๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ [๕๕] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๘/หน้า ๙/๕ เมษายน ๒๕๓๕ [๕๖] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๒๖ ก/หน้า ๑/๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๗ [๕๗] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๑/๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๗ [๕๘] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๒๓/๒๕ มีนาคม ๒๕๔๒ [๕๙] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๒๗/๒๕ มีนาคม ๒๕๔๒ [๖๐] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖๖/๘ ตุลาคม ๒๕๔๕ [๖๑] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๔๘ ก/หน้า ๙/๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖ [๖๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๑/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๐ [๖๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๘๓ ก/หน้า ๑๐/๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๖๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๘๗ ก/หน้า ๓๑/๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๗
720246
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2557
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๕๗” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๙ บทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๓ มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งหน่วยงานของรัฐ วัด มัสยิด มิซซัง มูลนิธิ สภากาชาดไทย และสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลเป็นผู้ประกอบการขนส่ง แต่ผู้ประกอบการขนส่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้เสมือนดังเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลทุกประการ” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๘๘ รถที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคลของส่วนราชการ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในกฎกระทรวง วัด มัสยิด มิซซัง มูลนิธิ และสภากาชาดไทย ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี” มาตรา ๕ บรรดาภาษีประจำปีของรถของหน่วยงานตามมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ที่ค้างชำระไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันระงับไป มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันได้มีการปรับปรุงการบริหารราชการ ทำให้มีหน่วยงานของรัฐรูปแบบต่าง ๆ เกิดขึ้นเพิ่มเติมจากหน่วยงานทางราชการที่มีอยู่เดิม อีกทั้งหน่วยงานทางราชการเดิมบางหน่วยก็ได้มีการปรับเปลี่ยนฐานะหรือรูปแบบการดำเนินการใหม่ อันมีผลทำให้หน่วยงานนั้น ๆ มิได้มีฐานะเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับยกเว้นการขออนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลและยกเว้นภาษีรถประจำปี อย่างไรก็ดี เนื่องจากหน่วยงานที่เกิดขึ้นหรือปรับเปลี่ยนใหม่นั้นมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกเพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวได้รับยกเว้นการขออนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล และยกเว้นภาษีรถประจำปี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ มกราคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๘๗ ก/หน้า ๓๑/๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๗
734089
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 (ฉบับ Update ณ วันที่ 23/12/2557)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นปีที่ ๓๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ (๒) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ (๓) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ (๑) “การขนส่ง” หมายความว่า การขนคน สัตว์ หรือสิ่งของ โดยทางบกด้วยรถ (๒) “การขนส่งประจำทาง” หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนด (๓) “การขนส่งไม่ประจำทาง” หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่จำกัดเส้นทาง (๔)[๒] “การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก” หมายความว่า การขนส่งคนหรือสิ่งของหรือคนและสิ่งของรวมกันเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนดด้วยรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสี่พันกิโลกรัม (๕)[๓] “การขนส่งส่วนบุคคล” หมายความว่า การขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองด้วยรถที่มีน้ำหนักเกินสองพันสองร้อยกิโลกรัม (๖) “การขนส่งระหว่างจังหวัด” หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทำระหว่างจังหวัดกับจังหวัด (๗) “การขนส่งระหว่างประเทศ” หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทำระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ (๘) “การรับจัดการขนส่ง” หมายความว่า การรับจ้างรวบรวมคน สัตว์หรือสิ่งของ และจัดให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำการขนส่งจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในความรับผิดชอบของผู้รับจัดการขนส่ง (๙) “รถ” หมายความว่า ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่รถไฟ (๑๐) “ผู้ตรวจการ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจการขนส่ง (๑๑) “พนักงานตรวจสภาพ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจความมั่นคงแข็งแรง ความสะอาด ความเรียบร้อย และความเหมาะสมของสภาพรถที่นำมาใช้ในการขนส่ง (๑๒) “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนกลาง หรือนายทะเบียนประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี (๑๓) “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง หรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี (๑๔) “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (๑๕) “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕[๔] พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (๑) การขนส่งโดยรถยนต์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร (๒) การขนส่งโดย (ก) รถยนต์รับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์บริการที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ข)[๕] รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินสองพันสองร้อยกิโลกรัมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้าง (ค) รถยนต์สามล้อ รถจักรยานยนต์ และรถแทร็กเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (๓) การขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเป็นนายทะเบียนกลางมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งระหว่างจังหวัดและการขนส่งระหว่างประเทศ ให้นายทะเบียนกลางเป็นนายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานคร มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ภายในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ขนส่งจังหวัดเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัด มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในเขตจังหวัดของตน ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ นายทะเบียนกลางและนายทะเบียนประจำจังหวัดอาจมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้[๖] การมอบหมายตามวรรคสี่ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพกับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียมและกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกคณะหนึ่ง ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร* อธิบดีกรมทางหลวงเป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทย และมีความรู้หรือความจัดเจนในการขนส่ง การเศรษฐกิจหรือกฎหมาย ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๙ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งซ่อม ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วนั้น กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ มาตรา ๑๐ ผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ห้ามมิให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (๑) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๒) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นกรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง มาตรา ๑๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) รัฐมนตรีให้ออก (๔) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๒ ในการประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมแทน มาตรา ๑๓ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๔ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดนโยบายการขนส่งทางบกระยะสั้นและระยะยาวเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๒) กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาและดำเนินการสถานีขนส่งเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๓) กำหนดมาตรการและแผนพัฒนาการขนส่งทางบกเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๔) กำหนดมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยและความสะดวกในการขนส่งทางบก เพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (๕) กำหนดการห้ามรับจดทะเบียนรถเป็นครั้งคราวตามความจำเป็นโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (๖) ประสานงานที่เกี่ยวข้องระหว่างกันในด้านการขนส่งทางบก ตลอดจนประสานงานด้านการขนส่งทางบกกับการขนส่งทางน้ำและการขนส่งทางอากาศ (๗) ให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการขนส่งทางบก มาตรา ๑๕ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม หมวด ๒ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางคณะหนึ่งประกอบด้วย ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมทางหลวง อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินสามคนซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการขนส่งหรือการวางแผนจราจร[๗] ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ อัยการจังหวัด ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินห้าคน โดยมีนายกเทศมนตรีในจังหวัดนั้นรวมอยู่ด้วยหนึ่งคนเป็นกรรมการ ให้ขนส่งจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๘ ให้นำมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง และคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดโดยอนุโลม มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดลักษณะของการขนส่งประจำทางและการขนส่งไม่ประจำทาง (๒) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัดและระหว่างประเทศ (๓) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัดและระหว่างประเทศ (๔) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่ง โดยรถขนาดเล็ก (๕) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๖) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๗) กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่ง (๘) กำหนดสถานที่ จัดให้มีหรือจัดตั้ง และระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่ง (๙) กำหนดชนิดหรือสภาพรถที่มิให้รับจดทะเบียน (๑๐) กำหนดประเภทหรือชนิดของรถที่ต้องเข้าหยุดหรือจอดเพื่อการรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่ง (๑๑) กำหนดที่หยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสาร (๑๒) วางมาตรการในการกำหนด อนุญาต เพิกถอนการอนุญาตและการควบคุมกิจการขนส่งทางบก (๑๓) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก การกำหนดตาม (๒) (๓) (๔) (๘) (๙) และ (๑๐) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ภายในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทาง (๒) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๕) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกและคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง การกำหนดตาม (๑) และ (๔) เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแล้วจึงจะใช้บังคับได้ และการกำหนดตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๑ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม มาตรา ๒๒ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการการขนส่งทางบก เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งให้คณะกรรมการชี้แจงข้อเท็จจริงแสดงความคิดเห็นหรือทำรายงานหรือยับยั้งการกระทำใด ๆ ซึ่งขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี ตลอดจนมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินงานได้ หมวด ๓ การประกอบการขนส่ง มาตรา ๒๓ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือการขนส่งส่วนบุคคล เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ต้องมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดนั้นต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทยและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย และ (๑) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย (๒) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย และทุนของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย (๓)[๘] ในกรณีที่เป็นบริษัทจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย หรือต้องเป็นของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด หรือต้องเป็นของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือองค์การของรัฐ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และบริษัทจำกัดนั้นต้องไม่มีข้อบังคับ อนุญาตให้มีการออกหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ (๔) ในกรณีที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทมหาชนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมดต้องเป็นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะต้องมีลักษณะตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจยกเว้นคุณสมบัติตามความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษเป็นการเฉพาะรายได้ มาตรา ๒๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งระหว่างประเทศเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางและผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่ออนุสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่ง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นำมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๖ มาใช้บังคับแก่การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศโดยอนุโลม มาตรา ๒๖ ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย เว้นแต่เพื่อการขนส่งระหว่างประเทศและได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางแล้ว ผู้ประจำรถตามมาตรา ๙๒ ซึ่งประจำในรถตามวรรคหนึ่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ และหรือตามข้อตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ มาตรา ๒๗ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งมีสี่ประเภท คือ (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางหรือใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้ใช้เป็นใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลได้ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถผิดประเภทตามที่ระบุไว้ข้างต้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนเป็นครั้งคราว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๒๘ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้มีอายุเจ็ดปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอเสียก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ แต่การขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางและใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๙[๙] บทบัญญัติมาตรา ๒๓ มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น วัด มูลนิธิ สภากาชาดไทย สถานพยาบาล หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เป็นผู้ประกอบการขนส่ง แต่ผู้ประกอบการขนส่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้เสมือนดังเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลทุกประการ มาตรา ๓๐ ให้นายทะเบียนกลางเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในกรุงเทพมหานคร การขนส่งระหว่างจังหวัด และการขนส่งระหว่างประเทศ และให้นายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในจังหวัดของตน ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ มาตรา ๓๑ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) สิทธิในรถที่ใช้ประกอบการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๓) ลักษณะ ชนิด ขนาดและสีของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๔) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุกและวิธีการบรรทุก (๕) จำนวนผู้ประจำรถ (๖) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๗) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๘) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (๙) ที่ที่รถจะต้องหยุดในระหว่างเส้นทาง (๑๐) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (๑๑) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (๑๒) เวลาทำงานประจำวันในการประกอบการขนส่ง (๑๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (๑๔) การประกอบกิจการอื่นนอกจากการประกอบการขนส่งประจำทาง (๑๕) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางต้องจัดให้มีประกาศเงื่อนไขตาม (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๑) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๒ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิดและขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุกและวิธีการบรรทุก (๔) จำนวนผู้ประจำรถ (๕) ท้องที่ที่ทำการขนส่ง (๖) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (๗) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๘) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (๙) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (๑๐) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางต้องจัดให้มีการประกาศเงื่อนไขตาม (๗) และ (๘) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๓ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิด ขนาดและสีของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๔) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (๕) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๖) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๗) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องจัดให้มีประกาศเงื่อนไขตาม (๕) และ (๖) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๔[๑๐] ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้นายทะเบียนกำหนดเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิด และขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษา (๔)[๑๑] จำนวนผู้ประจำรถ (๕)[๑๒] เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามประเภทที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติผู้ประจำรถ และหรือใบกำกับสินค้าที่ทำการขนส่งและต้องทำรายงานเกี่ยวกับการขนส่งและอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๖[๑๓] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่ง ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจัดให้มีที่พักผู้โดยสารตามระยะทางโดยมีลักษณะ ขนาด จำนวน และจุดที่ตั้งของที่พักผู้โดยสารตามที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๘ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่งหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ มาตรา ๓๙ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลใช้หรือยอมให้บุคคลอื่นใช้รถที่ได้รับอนุญาตทำการขนส่งนอกเส้นทาง หรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาต แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน หรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมาย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๓๙/๑[๑๔] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางอาจนำรถที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประกอบการขนส่งในเส้นทางหนึ่งไปใช้ทำการขนส่งอีกเส้นทางหนึ่งที่ตนเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตในลักษณะหมุนเวียนได้ โดยได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๔๐ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางกระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางหรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาต มาตรา ๔๐ ทวิ[๑๕] ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้หรือยินยอมให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ขับรถที่ใช้ในการขนส่งหากปรากฏว่าขณะใช้หรือขณะยินยอมให้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถ ผู้นั้นมีอาการหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (๑) เมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น (๒) เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (๓) เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องคอยดูแลและป้องกันไม่ให้ผู้ซึ่งมีอาการ หรือกระทำการตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ของวรรคหนึ่งปฏิบัติหน้าที่ขับรถ มาตรา ๔๑ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง นายทะเบียนมีอำนาจที่จะสั่งเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถหรือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้ใดส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวตามควรแก่กรณีแล้วให้รายงานคณะกรรมการโดยเร็ว มาตรา ๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องแสดงใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ใบอนุญาตประกอบการขนส่งสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดดังกล่าว มาตรา ๔๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการขนส่ง มาตรา ๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการขนส่ง มาตรา ๔๖ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๑) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๒) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขในมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยของผู้โดยสารตามมาตรา ๓๖ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติในหมวด ๔ ว่าด้วยการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติหรือไม่แก้ไขให้ถูกต้อง หรือเป็นที่เห็นได้ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่สามารถจะดำเนินการตามเงื่อนไขหรือข้อกำหนดนั้น หรือการดำเนินการนั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายหรือเสื่อมประโยชน์ต่อประชาชน ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ แต่ถ้าเป็นการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่จะพิจารณาอนุมัติ มาตรา ๔๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต้องส่งคืนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๙[๑๖] ให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจควบคุมดูแลบรรดากิจการที่เกี่ยวกับการขนส่งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์ดังกล่าวให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจ (๑) เข้าไปในสถานที่ดำเนินการของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเพื่อทราบข้อเท็จจริงและเพื่อตรวจสอบบัญชีและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการขนส่ง (๒) ยึดหรืออายัดไว้ซึ่งสิ่งของหรือเอกสารที่อยู่ในสถานที่ตาม (๑) ที่เป็นความผิดหรือที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิด หรือได้มาจากการกระทำความผิด (๓) เรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ ในการปฏิบัติตาม (๑) และ (๒) ให้กระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น และให้อธิบดีมีอำนาจมอบหมายให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพทำการแทนได้ ในการปฏิบัติการของอธิบดี นายทะเบียน ผู้ตรวจการ หรือพนักงานตรวจสภาพตามมาตรานี้ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นอำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือตามสมควร มาตรา ๕๐ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจเรียกรถให้หยุดเพื่อทำการตรวจสอบ และเมื่อเชื่อว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้น ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจจับกุมผู้ฝ่าฝืนเพื่อส่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดำเนินคดีต่อไป บทบัญญัติในวรรคหนึ่งไม่ลบล้างอำนาจจับกุมของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มาตรา ๕๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ และมาตรา ๕๐ ให้ผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง มาตรา ๕๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ต้องวางหลักทรัพย์เป็นเงินสด หรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกัน หรือเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งทำกับบริษัทประกันภัยที่นายทะเบียนกลางให้ความเห็นชอบต่อนายทะเบียนกลาง ในกรณีเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องเป็นผู้เอาประกันภัย โดยให้บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการขนส่งของตนเป็นผู้รับประโยชน์ สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเพื่อประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง[๑๗] จำนวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดตามขนาดและประเภทของการประกอบการขนส่งแต่ต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งวางหลักทรัพย์เป็นเงินสดไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนให้ดอกผลที่เกิดจากหลักทรัพย์ที่เป็นเงินสดนั้นตกเป็นของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่วางหลักทรัพย์ ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้รับผิดชอบในการเปิดบัญชีเงินฝาก และการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีหลักทรัพย์กับธนาคารตามระเบียบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๕๓ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันตามมาตรา ๕๒ มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง นายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๕๔ ในการวางหลักทรัพย์ซึ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลไทย ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำหนังสือมอบอำนาจให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจจัดการจำหน่ายพันธบัตรนั้น เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วย มาตรา ๕๕ หลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางประกันตามมาตรา ๕๒ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เว้นแต่จะเป็นการบังคับคดีเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน มาตรา ๕๖ เมื่อรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายหรือชีวิตของบุคคลใดนอกจากความรับผิดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาท ในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นซึ่งจะต้องจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ให้จ่ายตามความร้ายแรงของความเสียหาย ทั้งนี้ ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ระหว่างการรักษาพยาบาลและหรือค่าปลงศพ มาตรา ๕๗ เมื่อผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ประสงค์จะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมตำรวจกำหนดต่อพนักงานสอบสวน โดยแสดงพยานหลักฐานว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ให้พนักงานสอบสวนพิจารณาจากสำนวนการสอบสวน และเมื่อเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นจากรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งคันใด ให้มีหนังสือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถคันนั้นชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๕๖ วรรคสอง ในการนี้ให้แจ้งให้นายทะเบียนกลางทราบโดยเร็วด้วย ในการสั่งของพนักงานสอบสวนตามวรรคหนึ่ง พนักงานสอบสวนต้องพิจารณาสั่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในการชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ต้องชำระภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจากพนักงานสอบสวน มาตรา ๕๘ ผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายต้องใช้สิทธิในการขอรับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามมาตรา ๕๗ ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ความเสียหายเกิดขึ้น มาตรา ๕๙ การชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามหมวดนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายในอันที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๐ บุคคลซึ่งมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามหมวดนี้ ได้แก่ผู้เสียหายดังต่อไปนี้ (๑) ผู้เสียหายซึ่งมิได้อยู่ในรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ได้รับความเสียหายจากรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น (๒) ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ไม่รวมถึงผู้ขับรถ คนงานหรือลูกจ้างประจำรถซึ่งอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ (๓) ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในรถคันที่ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย มาตรา ๖๑ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ ให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ และให้พนักงานสอบสวนบันทึกความเห็นของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งไม่เห็นด้วยไว้ในสำนวนการสอบสวน คำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งกลางให้เป็นที่สุด มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานสอบสวน ถ้าคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีความเห็นตามความเห็นของพนักงานสอบสวน ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายเบื้องต้นที่พนักงานสอบสวนกำหนดไว้อีกร้อยละสิบ มาตรา ๖๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางตามมาตรา ๖๑ ในกรณีที่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามมาตรา ๕๒ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นซึ่งได้นำมาวางไว้เป็นประกันชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นแทนได้ มาตรา ๖๔ ในกรณีที่ผู้เสียหายไม่ได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือได้รับชดใช้ไม่ครบตามจำนวนที่พนักงานสอบสวนหรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางสั่งไม่ว่าเพราะเหตุหลักทรัพย์ที่วางประกันไว้ไม่พอจ่ายค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือเพราะเหตุอื่นใด เมื่อผู้เสียหายได้ร้องเรียนต่อนายทะเบียนกลาง ให้นายทะเบียนกลางสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชำระให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนกลางดังกล่าว ให้นายทะเบียนกลางเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง และให้นำมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๕ การรับจัดการขนส่ง มาตรา ๖๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการรับจัดการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๖ ในการออกใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ให้นายทะเบียนกลาง โดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) ท้องที่ที่ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๒) สถานที่ตั้งสำนักงานของผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๓) สถานที่พักคน สัตว์ หรือเก็บสิ่งของ (๔) วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับสวัสดิภาพ ความสะดวกและความปลอดภัยในการรับจัดการขนส่ง (๕) อัตราค่าบริการรับจัดการขนส่ง (๖) เงื่อนไขอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งต้องจัดให้มีการประกาศเงื่อนไขตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๖๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๖๕ ต้องวางหลักทรัพย์ต่อนายทะเบียน เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญารับจัดการขนส่ง ทั้งนี้ ตามจำนวนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๘ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันตามมาตรา ๖๗ มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๖๙ ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๐ ให้นำมาตรา ๒๔ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่การประกอบการรับจัดการขนส่งโดยอนุโลม หมวด ๖ รถ มาตรา ๗๑ รถที่ใช้ในการขนส่งต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงกับได้จดทะเบียนตามมาตรา ๗๓ และเสียภาษีตามมาตรา ๘๕ แล้ว รถที่ใช้ในการขนส่งที่เสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ มาตรา ๗๒[๑๘] รถที่จะนำมาจดทะเบียนและเสียภาษีต้องผ่านการตรวจสภาพรถจากพนักงานตรวจสภาพ หรือจากสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๗๔ เว้นแต่รถประเภท หรือชนิดใดที่สมควรได้รับการยกเว้นการตรวจสภาพเป็นครั้งคราวให้กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ปรากฏว่ารถที่นำมารับการตรวจสภาพนั้นมีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีเครื่อง อุปกรณ์ และส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับการอนุญาตออกใบรับรองให้ ใบรับรองการตรวจสภาพรถให้ทำตามแบบที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๗๓[๑๙] เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตได้ตรวจสภาพรถถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๑ และมาตรา ๗๒ แล้ว ให้รับจดทะเบียนและออกหนังสือแสดงการจดทะเบียนพร้อมกับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคันนั้นให้โดยไม่ชักช้า มาตรา ๗๔ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเพื่อรับรองสภาพรถตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๔/๑[๒๐] อัตราค่าบริการตรวจสภาพรถ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต้องแสดงอัตราค่าบริการตรวจสภาพรถที่จะจัดเก็บไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานตรวจสภาพรถของตน มาตรา ๗๕ ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๗๔ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นได้ ให้นำมาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่การจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตโดยอนุโลม มาตรา ๗๗ หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถให้ใช้ได้สี่งวดนับแต่งวดที่ออกหนังสือนี้ ให้เดือนมกราคม เดือนเมษายน เดือนกรกฎาคม และเดือนตุลาคม เป็นเดือนแรกของแต่ละงวด การขอต่ออายุทะเบียน ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนภายในเวลาที่นายทะเบียนจะได้ประกาศกำหนด ให้นำมาตรา ๗๑ มาตรา ๗๒ และมาตรา ๗๓ มาใช้บังคับแก่การขอต่ออายุทะเบียนโดยอนุโลม มาตรา ๗๘ ห้ามมิให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน มาตรา ๗๙ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ประสงค์จะเลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบและนำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนแก่นายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกใช้รถนั้น มาตรา ๘๐ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีความจำเป็นจะต้องระงับใช้รถนั้นชั่วคราวเป็นเวลาเกินสิบห้าวันแจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบก่อนวันที่จะระงับใช้รถนั้น มาตรา ๘๑ รถที่ยังมิได้จดทะเบียนตามความในพระราชบัญญัตินี้หรือรถที่เลิกใช้ตามมาตรา ๗๙ ถ้าจะนำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม ต้องมีใบอนุญาตและเครื่องหมายโดยเฉพาะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ใบอนุญาตและเครื่องหมายดังกล่าวใช้ได้เฉพาะรถที่อยู่ในความครอบครองของผู้ได้รับใบอนุญาตโดยสับเปลี่ยนกันได้ ไม่เฉพาะคัน มาตรา ๘๒ การโอนรถซึ่งได้จดทะเบียนตามมาตรา ๗๓ แล้วผู้โอนและผู้รับโอนจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันโอนและให้นายทะเบียนจดแจ้งการโอนไว้ในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถนั้น มาตรา ๘๓ เมื่อผู้ตรวจการตรวจพบว่ารถคันใดมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือมีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ผู้ตรวจการรายงานให้นายทะเบียนทราบ แต่ถ้าปรากฏโดยชัดแจ้งว่าการใช้รถคันนั้นต่อไปน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายแก่การขนส่ง ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจสั่งระงับใช้ไว้เป็นการชั่วคราวได้ และให้รีบรายงานให้นายทะเบียนทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถตามวรรคหนึ่ง จัดการส่งรถคันนั้นไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามรายงานของผู้ตรวจการภายในเวลาที่กำหนด เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งตามวรรคสองแล้ว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตงดการใช้รถดังกล่าวไว้จนกว่านายทะเบียนจะมีคำสั่งอนุญาตให้ใช้ได้ต่อไป มาตรา ๘๔ เมื่อพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตเห็นว่ารถที่นำมาให้ตรวจตามมาตรา ๘๓ สมควรจะต้องซ่อมแซม ปรับปรุง เพื่อให้รถกลับมีสภาพมั่นคงแข็งแรง หรือจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้แจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดำเนินการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง แล้วให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องและรายงานให้นายทะเบียนทราบ เมื่อได้พิจารณาเห็นสมควรตามรายงานของพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถคันนั้นต่อไปได้ มาตรา ๘๕ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้ กรมการขนส่งทางบกจะกำหนดเวลาการชำระภาษีรถประจำปีสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแต่ละรายก็ได้ และให้คำนวณภาษีตามน้ำหนักรถตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ในการคำนวณน้ำหนักรถ ให้รวมน้ำหนักของรถและเครื่องอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับตัวรถตามปกติแต่ไม่รวมน้ำหนักของน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเครื่อง น้ำและเครื่องมือประจำรถ เศษของหนึ่งกิโลกรัมให้ปัดทิ้ง เงินภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้ที่จัดเก็บได้ในกรุงเทพมหานครให้ตกเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดอื่นให้ตกเป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนั้น โดยให้จังหวัดจัดสรรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง[๒๑] มาตรา ๘๖ ภาษีรถให้ชำระล่วงหน้าเป็นรายปีต่อนายทะเบียนและจะขอชำระเป็นงวดก็ได้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มตามที่กำหนดในกฎกระทรวง รถที่จดทะเบียนใหม่ในงวดใด ให้ชำระภาษีตั้งแต่งวดนั้นเป็นต้นไป ถ้าเจ้าของรถไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่จะต้องชำระให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือน หรือเศษของเดือนของภาษีที่ต้องชำระ เงินเพิ่มตามมาตรานี้ให้ถือเป็นเงินภาษี มาตรา ๘๖/๑[๒๒] รถที่ได้เสียภาษีรถประจำปีสำหรับปีใด ถ้าเปลี่ยนเจ้าของรถ เจ้าของใหม่ไม่ต้องเสียภาษีรถประจำปีในปีนั้นอีก มาตรา ๘๖/๒[๒๓] ในระหว่างที่เจ้าของรถค้างชำระภาษีรถประจำปี ให้นายทะเบียนมีอำนาจที่จะไม่รับดำเนินการทางทะเบียนจนกว่าเจ้าของรถจะเสียภาษีที่ค้างชำระให้ครบถ้วนก่อน หรือได้มีการดำเนินการตามมาตรา ๘๖/๓ วรรคสองแล้ว มาตรา ๘๖/๓[๒๔] รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีไม่ถึงสามปี หากเจ้าของรถประสงค์จะขอเสียภาษีรถประจำปีเพื่อใช้รถในปีนั้น ให้นายทะเบียนรับชำระภาษีนั้นได้ สำหรับภาษีรถที่ค้างชำระ ให้นายทะเบียนกำหนดจำนวนเงิน และระยะเวลาในการชำระตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ในกรณีที่เจ้าของรถผิดนัดไม่เสียภาษีรถที่ค้างชำระตามวรรคสองให้ครบถ้วน นายทะเบียนมีอำนาจที่จะไม่รับดำเนินการทางทะเบียน จนกว่าเจ้าของรถจะเสียภาษีรถที่ค้างชำระให้ครบถ้วน มาตรา ๘๖/๔[๒๕] รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีติดต่อกันครบสามปี ให้การจดทะเบียนรถเป็นอันระงับไป ในการนี้ให้นายทะเบียนประกาศหมายเลขทะเบียนพร้อมทั้งจำนวนภาษีที่ค้างชำระไว้ ณ ที่ทำการนายทะเบียนและในสถานที่ที่อธิบดีประกาศกำหนด และแจ้งให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถทราบ และให้บุคคลดังกล่าวส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถต่อนายทะเบียนและนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียนเพื่อบันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้แจ้งและปิดประกาศดังกล่าว ในกรณีที่เจ้าของรถหรือผู้ครองครอบรถมิได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนหรือผู้ตรวจการหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจยึดแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถได้ ให้ภาระภาษีรถประจำปีหลังจากปีที่สามเป็นอันระงับไป แต่เจ้าของรถหรือผู้ครอบครอบรถยังคงต้องเสียภาษีที่ค้างชำระให้ครบถ้วน และให้นำมาตรา ๘๖/๒ และมาตรา ๘๖/๓ วรรคสอง และวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๗ รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีแล้ว ถ้าต่อมามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงเพิ่มเติม เป็นเหตุให้รถมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากเดิม เจ้าของรถจะต้องเสียภาษีเพิ่มตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นด้วย และให้นำมาตรา ๘๖ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๘[๒๖] รถที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคลของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น วัด มูลนิธิ และสภากาชาดไทย ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี มาตรา ๘๘ ทวิ[๒๗] (ยกเลิก) มาตรา ๘๙ รถที่ได้จดทะเบียนแล้ว ถ้าไม่ได้เสียภาษีตามกำหนดตามมาตรา ๘๖ เจ้าของรถต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบพร้อมกับนำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถนั้นคืนต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งจะต้องเสียภาษีครั้งถัดไปตามมาตรา ๘๖ มาตรา ๙๐ เจ้าของรถต้องติดแผ่นป้ายเลขทะเบียนและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่นายทะเบียนออกให้ไว้กับตัวรถตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๙๑ ในกรณีที่แผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ ให้เจ้าของรถยื่นคำขอ ขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีต่อนายทะเบียน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุดหรือลบเลือนดังกล่าว หมวด ๗ ผู้ประจำรถ มาตรา ๙๒ ผู้ประจำรถ ได้แก่ (๑) ผู้ขับรถ (๒) ผู้เก็บค่าโดยสาร (๓) นายตรวจ (๔) ผู้บริการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๓ ห้ามมิให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๔ ใบอนุญาตสำหรับผู้ประจำรถ มี ๔ ประเภท คือ (๑) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ (๒) ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร (๓) ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ (๔) ใบอนุญาตเป็นผู้บริการ ใบอนุญาตแต่ละประเภทจะใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตประเภทที่หนึ่ง ประเภทที่สาม และประเภทที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตประเภทที่สองได้ มาตรา ๙๕[๒๘] ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถมีดังนี้ (๑) ชนิดที่หนึ่ง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกินยี่สิบคน (๒) ชนิดที่สอง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่าสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารเกินยี่สิบคน (๓) ชนิดที่สาม ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งโดยสภาพใช้สำหรับลากจูงรถอื่นหรือล้อเลื่อนที่บรรทุกสิ่งใด ๆ บนล้อเลื่อนนั้น (๔) ชนิดที่สี่ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภท หรือชนิดและลักษณะการบรรทุกตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใบอนุญาตแต่ละชนิดใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตชนิดที่สอง ชนิดที่สาม และชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่หนึ่งได้ ใบอนุญาตชนิดที่สามและชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สองได้ และใบอนุญาตชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สามได้ ประกาศของอธิบดีตามความใน (๔) ของวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามมาตรา ๙๓ ในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องมีคุณสมบัติและลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีความรู้และความสามารถตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๓) ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยความเหมาะสม (๔) ไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๕) ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจ (๖) ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพติดให้โทษ (๗) ไม่เป็นผู้มีใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถประเภทหรือชนิดเดียวกับที่ได้รับอนุญาตอยู่แล้ว (๘) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เว้นแต่การเพิกถอนใบอนุญาตนั้นพ้นกำหนดสามปีแล้วนับแต่วันที่มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต (๙) ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่มิใช่เกี่ยวกับการใช้รถในการกระทำผิดหรือความผิดลหุโทษ หรือได้พ้นโทษมาแล้วเกินสามปี (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยถูกควบคุมตัวเพราะมีพฤติการณ์เป็นภัยต่อสังคม หรือเป็นอันธพาล เว้นแต่ได้พ้นจากการควบคุมตัวมาแล้วเกินหนึ่งปี มาตรา ๙๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง และได้ผ่านการศึกษาและจบหลักสูตรจากโรงเรียนการขนส่งของกรมการขนส่งทางบกหรือโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง การรับรองโรงเรียนสอนขับรถตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และผู้บริการต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในการขนส่งส่วนบุคคลต้องมีคุณสมบัติและมีลักษณะตามมาตรา ๙๖ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐๐[๒๙] ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถยื่นคำขอต่อนายทะเบียนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด มาตรา ๑๐๑ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถต้องมีใบอนุญาตอยู่กับตัวและต้องแสดงต่อนายทะเบียนหรือผู้ตรวจการเมื่อขอตรวจ มาตรา ๑๐๒ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถต้อง (๑) แต่งกายสะอาดเรียบร้อยตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง (๒) ไม่แสดงกิริยาหรือใช้ถ้อยคำเป็นการเสียดสี ดูหมิ่น ก้าวร้าว รังแก รบกวน หรือหยาบหยามผู้หนึ่งผู้ใด หรือแสดงกิริยาวาจาหรือส่งเสียงด้วยประการหนึ่งประการใดในลักษณะไม่สมควรหรือไม่สุภาพ (๓) ไม่เสพหรือเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น (๓ ทวิ)[๓๐] ไม่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (๓ ตรี)[๓๑] ไม่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (๔) ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐๒ ทวิ[๓๒] ในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใด ในขณะปฏิบัติหน้าที่นั้นมีสารอยู่ในร่างกายอันเกิดจากการเสพสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น หรือยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจมีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่าผู้นั้นมีสารนั้น ๆ อยู่ในร่างกายหรือไม่ เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ วิธีการตรวจหรือทดสอบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๐๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถนอกจากจะต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๒ แล้ว จะต้อง (๑) ไม่ขับรถในเวลาที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนความสามารถ (๒) ไม่รับบรรทุกบุคคลที่เป็นโรคเรื้อนหรือโรคติดต่อที่น่ารังเกียจไปกับผู้โดยสารอื่น (๓) ไม่รับบรรทุกศพ สัตว์ หรือสิ่งของที่อาจเกิดอันตรายหรือเป็นที่พึงรังเกียจไปกับผู้โดยสาร (๔)[๓๓] ไม่รับบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง ระเบิด หรือวัตถุอันตรายโดยฝ่าฝืนข้อห้าม ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๕) ต้องหยุดหรือจอดรถ ณ สถานีขนส่งและปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่งตามมาตรา ๑๙ (๘) และ (๑๐) มาตรา ๑๐๓ ทวิ[๓๔] ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในการปฏิบัติหน้าที่ขับรถในรอบยี่สิบสี่ชั่วโมง ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขับรถติดต่อกันเกินสี่ชั่วโมงนับแต่ขณะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ขับรถ แต่ถ้าในระหว่างนั้น ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถได้พักติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมง ก็ให้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถต่อไปได้อีกไม่เกินสี่ชั่วโมงติดต่อกัน มาตรา ๑๐๔ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถกระทำการใด ๆ ให้ผู้โดยสารจำต้องลงจากรถก่อนที่จะได้โดยสารถึงจุดหมายปลายทาง โดยที่ได้ชำระค่าโดยสารถูกต้องตามอัตราที่กำหนดแล้ว มาตรา ๑๐๕ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถละเว้นการหยุดรถเพื่อรับหรือส่งผู้โดยสาร ณ ที่ที่มีเครื่องหมายให้รถนั้นหยุด ในเมื่อปรากฏว่ามีผู้โดยสารต้องการให้หยุดรถเพื่อรับหรือส่ง มาตรา ๑๐๖ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถกระทำการใด ๆ อันเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร มาตรา ๑๐๖ ทวิ[๓๕] ในกรณีที่มีความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และมีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศที่มีความตกลงดังกล่าวกับรัฐบาลไทย อาจใช้ใบอนุญาตขับรถของประเทศนั้นขับรถในราชอาณาจักรได้ตามประเภทและชนิดของรถที่ระบุไว้ในใบอนุญาตขับรถนั้น แต่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาและหรือความตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ และตามบทบัญญัติทั้งหลายในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๗ ในการขนส่งประจำทางหรือการขนส่งไม่ประจำทางระหว่างจังหวัดหรือระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถรับบรรทุกผู้โดยสารเกินจำนวนที่นั่งผู้โดยสารที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต มาตรา ๑๐๘ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๖ มาตรา ๙๗ มาตรา ๙๘ หรือมาตรา ๙๙ หรือบกพร่องไปในภายหลังเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้นเสีย มาตรา ๑๐๙ ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายในหมวดนี้ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจยึดใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถของผู้นั้น และสั่งเป็นหนังสือให้ผู้นั้นไปรายงานตนต่อนายทะเบียนภายในเจ็ดสิบสองชั่วโมง คำสั่งนั้นให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถชั่วคราวภายในกำหนดเวลาดังกล่าวนั้น ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้นได้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือจะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้นเสียก็ได้ มาตรา ๑๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถซึ่งถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๑๑๑ ให้นำบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสารและนายตรวจมาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๘ ผู้โดยสาร มาตรา ๑๑๒ ผู้โดยสารต้องชำระค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๑๓ ผู้โดยสารต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ตลอดเวลาที่อยู่ในระหว่างการโดยสาร ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีการประกาศข้อกำหนดตามวรรคหนึ่งปิดไว้ ณ ที่เปิดเผยในรถ หมวด ๙ สถานีขนส่ง มาตรา ๑๑๔ สถานีขนส่งมี ๒ ประเภท คือ (๑) สถานีขนส่งผู้โดยสาร (๒) สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ ลักษณะของสถานีขนส่งตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๑๕ ให้กรมการขนส่งทางบกโดยอนุมัติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง จัดให้มีสถานีขนส่งขึ้นในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและในเขตท้องที่จังหวัดอื่น โดยจะดำเนินการเอง หรือจะมอบหมายให้รัฐวิสาหกิจหรือองค์การของรัฐเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด บุคคลอื่นใดประสงค์จะจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางก่อน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดให้มีหรือจัดตั้งสถานีขนส่งขึ้นที่ใด เมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๑๖ ให้อธิบดีมีอำนาจกำกับและควบคุมการดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์แห่งการนี้จะแต่งตั้งข้าราชการและหรือลูกจ้างสังกัดกรมการขนส่งทางบกทำหน้าที่เป็นนายสถานีและเจ้าหน้าที่สถานีตามจำนวนที่เห็นสมควร มีอำนาจกำกับและควบคุมดังกล่าวด้วยก็ได้ มาตรา ๑๑๗ ในการบริหารงานที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งของกรมการขนส่งทางบกตามมาตรา ๑๑๕ วรรคหนึ่ง อธิบดีจะแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่เกินแปดคนเพื่อดูแลควบคุมและดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งก็ได้ กรรมการที่อธิบดีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการของคณะกรรมการ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการนี้โดยอนุโลม มาตรา ๑๑๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสาม ต้องมีคุณสมบัติและลักษณะตามมาตรา ๒๔ มาตรา ๑๑๙ ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งให้มีอายุตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดแต่ไม่เกินยี่สิบปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกิจการสถานีขนส่งรวมทั้งการรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยในบริเวณสถานีขนส่งนั้น มาตรา ๑๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างประจำสถานีขนส่งตลอดเวลา โดยให้มีหน้าที่ตรวจสอบสภาพรถขนส่งประจำทาง ซึ่งต้องหยุดหรือจอดเพื่อการขนส่ง ณ สถานีขนส่งแห่งนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัย คุณสมบัติและจำนวนเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๑๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีอู่ซ่อมรถและบริการซ่อมรถเพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่รถที่ใช้สถานีขนส่งนั้น มาตรา ๑๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีบริเวณที่จอดพักรถตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๑๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีสมุดทะเบียนการเดินรถที่ผ่านเข้าออกสถานีขนส่งตามแบบที่อธิบดีกำหนด สมุดทะเบียนการเดินรถต้องเก็บรักษาไว้ในที่ทำการของสถานีขนส่งแห่งนั้น พร้อมที่จะให้นายทะเบียน พนักงานตรวจสภาพหรือผู้ตรวจการตรวจดูได้ทุกเวลา มาตรา ๑๒๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งเรียกเก็บค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่งได้ไม่เกินอัตราตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๑๒๕/๑[๓๖] เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลบรรดากิจการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งให้เป็นไปตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ให้นำความในมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้อธิบดี นายทะเบียนหรือผู้ตรวจการซึ่งอธิบดีมอบหมาย เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินการ หมวด ๑๐ บทกำหนดโทษ มาตรา ๑๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๗๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๗[๓๗] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๖ วรรคสอง มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ (๑) (๒) หรือ (๔) มาตรา ๑๐๓ มาตรา ๑๐๓ ทวิ มาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๐๖ หรือมาตรา ๑๐๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๗ ทวิ[๓๘] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓ ทวิ) หรือ (๓ ตรี) ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี อีกหนึ่งในสาม มาตรา ๑๒๗ ตรี[๓๙] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามมาตรา ๑๐๒ ทวิ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๒๗ จัตวา[๔๐] ในกรณีที่ผู้ขับรถขับรถที่ใช้ในการขนส่งซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่น ถ้าปรากฏว่าในขณะขับรถ ผู้ขับรถนั้นกระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓) (๓ ทวิ) หรือ (๓ ตรี) ให้ถือว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคสอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นและได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ขับรถกระทำการดังกล่าว มาตรา ๑๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๑) ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๑) ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๓) (๑๔) หรือ (๑๕) หรือในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๓๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๓๖ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง มาตรา ๓๒ วรรคสอง มาตรา ๓๓ วรรคสอง มาตรา ๓๔ วรรคสอง มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๗ หรือมาตรา ๑๑๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๓๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๙ ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาตคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๐ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองแสนบาท มาตรา ๑๓๘ ทวิ[๔๑] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท มาตรา ๑๓๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๔๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๔๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๒ หรือมาตรา ๔๗ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา ๔๓ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕ มาตรา ๗๙ หรือมาตรา ๘๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๔๔[๔๒] ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่อธิบดี นายทะเบียน ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ (๑) และ (๒) หรือมาตรา ๔๙ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ มาตรา ๗๖ หรือมาตรา ๑๒๕/๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๔๔/๑[๔๓] ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำหรือยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงต่ออธิบดีหรือนายทะเบียนตามมาตรา ๔๙ (๓) หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตรวจการที่เรียกรถให้หยุดเพื่อทำการตรวจสอบตามมาตรา ๕๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนกลางซึ่งสั่งตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๖๘ ต้องระวางโทษปรับหนึ่งแสนบาท หรือปรับเป็นรายวันวันละห้าพันบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๔๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๖๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๔๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๖ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดใช้รถโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๑ หรือฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ตรวจการหรือนายทะเบียนตามมาตรา ๘๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๔๘/๑[๔๔] ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดเก็บค่าบริการผิดไปจากอัตราค่าบริการที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๗๔/๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๔๘/๒[๔๕] ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดไม่แสดงอัตราค่าบริการตรวจสภาพรถตามมาตรา ๗๔/๑ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท มาตรา ๑๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๘ มาตรา ๘๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๘๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๔๙/๑[๔๖] เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๖/๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๕๐ เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท มาตรา ๑๕๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท แต่ถ้าผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง และได้กระทำการใด ๆ อันเป็นความผิดที่กำหนดไว้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดและต้องระวางโทษสำหรับการกระทำนั้นเช่นเดียวกับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถด้วย[๔๗] มาตรา ๑๕๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างที่ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๑๐๙ หรือปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่ถ้าผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท มาตรา ๑๕๓ ผู้โดยสารผู้ใดโดยสารรถโดยมีเจตนาไม่ชำระค่าขนส่งหรือชำระค่าขนส่งไม่ครบถ้วนตามอัตราที่กำหนด หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๑๑๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๕๔ ผู้ใดจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๕๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๓ หรือมาตรา ๑๒๔ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๕๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถผู้ใดไม่นำรถเข้าหยุดหรือจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่งตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๑๕๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งนำรถเข้าหยุดหรือจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่งผู้ใดไม่ชำระค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่งให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา ๑๒๕ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๑๕๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดโดยทุจริตหรือจงใจออกใบรับรองตรวจสภาพรถโดยไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท และนายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นเสียได้ มาตรา ๑๕๙ ผู้ใดเรียกเก็บค่าขนส่ง ค่าบริการรับจัดการขนส่ง ค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่ง หรือค่าบริการอย่างอื่นผิดไปจากอัตราที่คณะกรรมการกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๖๐ ผู้ใด (๑) ใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้แก่ผู้อื่น (๒) ใช้เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้สำหรับรถคันหนึ่งกับรถอีกคันหนึ่ง (๓) ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้แก่ตน (๔) เปลี่ยนแปลงหรือปิดบังทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ซึ่งแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ หรือ (๕) ใช้รถที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา ๘๘ ให้ผิดไปจากวัตถุประสงค์ที่ได้รับยกเว้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๖๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบกในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสาร และนายตรวจตามมาตรา ๑๑๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๖๒ ผู้ใดเปลี่ยนแปลง ย้าย ทำลาย หรือกระทำให้เสียหายด้วยประการใด ๆ แก่เครื่องหมายหรือสิ่งอื่นใดที่ทางราชการได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการขนส่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๖๓ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้ เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ดำเนินคดีเพื่อฟ้องร้องต่อไป บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๖๔ ในระหว่างที่ยังมิได้มีกฎกระทรวง ข้อกำหนด หรือระเบียบตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กฎกระทรวง ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศใด ๆ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ และพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้คงใช้บังคับต่อไป มาตรา ๑๖๕[๔๘] บรรดาใบอนุญาตที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ และถ้าจะต่ออายุใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ บรรดารถที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้ามีการแก้ไขดัดแปลงโครงรถหรือขนาดสัดส่วนของตัวถังกว้างหรือยาวกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อยู่แล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และการแก้ไขดัดแปลงนั้นกระทำได้โดยชอบตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ที่ใช้บังคับในขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นรถที่ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๗๑ มาตรา ๑๖๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง และเจ้าของรถที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ ปฏิบัติการให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๖๗ รถที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่ถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้ ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้รถตามวรรคหนึ่ง ซึ่งจะชำระภาษีครั้งแรกตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องชำระภาษีคราวละกี่งวดก็ได้ มาตรา ๑๖๘ คำขออนุญาตใด ๆ ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ถือว่าเป็นคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม และถ้าคำขออนุญาตดังกล่าวมีข้อความแตกต่างไปจากคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมคำขออนุญาตเพื่อให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ได้ มาตรา ๑๖๙ ในเขตท้องที่จังหวัดใดในระหว่างที่ยังไม่มีขนส่งจังหวัด ให้อำนาจและหน้าที่ของขนส่งจังหวัด เป็นอำนาจและหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕[๔๙] (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งส่วนบุคคล ให้จัดเก็บภาษีประจำปี ดังนี้ น้ำหนักรถเป็นกิโลกรัม รถที่ใช้ในการ ขนส่ง ประจำทาง รถที่ใช้ในการ ขนส่ง ไม่ประจำทาง รถที่ใช้ในการ ขนส่งโดยรถ ขนาดเล็ก รถที่ใช้ในการ ขนส่งส่วนบุคคล ไม่มากกว่า ๕๐๐ กิโลกรัม ๓๐๐ บาท ๔๕๐ บาท ๓๐๐ บาท ๑๕๐ บาท ตั้งแต่ ๕๐๑ ถึง ๗๕๐ กิโลกรัม ๔๐๐ บาท ๖๐๐ บาท ๔๐๐ บาท ๓๐๐ บาท ตั้งแต่ ๗๕๑ ถึง ๑,๐๐๐ กิโลกรัม ๕๐๐ บาท ๗๕๐ บาท ๕๐๐ บาท ๔๕๐ บาท ตั้งแต่ ๑,๐๐๑ ถึง ๑,๒๕๐ กิโลกรัม ๖๐๐ บาท ๙๐๐ บาท ๖๐๐ บาท ๘๐๐ บาท ตั้งแต่ ๑,๒๕๑ ถึง ๑,๕๐๐ กิโลกรัม ๗๐๐ บาท ๑,๐๕๐ บาท ๗๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ตั้งแต่ ๑,๕๐๑ ถึง ๑,๗๕๐ กิโลกรัม ๙๐๐ บาท ๑,๓๕๐ บาท ๙๐๐ บาท ๑,๓๐๐ บาท ตั้งแต่ ๑,๗๕๑ ถึง ๒,๐๐๐ กิโลกรัม ๑,๑๐๐ บาท ๑,๖๕๐ บาท ๑,๑๐๐ บาท ๑,๖๐๐ บาท ตั้งแต่ ๒,๐๐๑ ถึง ๒,๕๐๐ กิโลกรัม ๑,๓๐๐ บาท ๑,๙๕๐ บาท ๑,๓๐๐ บาท ๑,๙๐๐ บาท ตั้งแต่ ๒,๕๐๑ ถึง ๓,๐๐๐ กิโลกรัม ๑,๕๐๐ บาท ๒,๒๕๐ บาท ๑,๕๐๐ บาท ๒,๒๐๐ บาท ตั้งแต่ ๓,๐๐๑ ถึง ๓,๕๐๐ กิโลกรัม ๑,๗๐๐ บาท ๒,๕๕๐ บาท ๒,๔๐๐ บาท ตั้งแต่ ๓,๕๐๑ ถึง ๔,๐๐๐ กิโลกรัม ๑,๙๐๐ บาท ๒,๘๕๐ บาท ๒,๖๐๐ บาท ตั้งแต่ ๔,๐๐๑ ถึง ๔,๕๐๐ กิโลกรัม ๒,๑๐๐ บาท ๓,๑๕๐ บาท ๒,๘๐๐ บาท ตั้งแต่ ๔,๕๐๑ ถึง ๕,๐๐๐ กิโลกรัม ๒,๓๐๐ บาท ๓,๔๕๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท ตั้งแต่ ๕,๐๐๑ ถึง ๖,๐๐๐ กิโลกรัม ๒,๕๐๐ บาท ๓,๗๕๐ บาท ๓,๒๐๐ บาท ตั้งแต่ ๖,๐๐๑ ถึง ๗,๐๐๐ กิโลกรัม ๒,๗๐๐ บาท ๔,๐๕๐ บาท ๓,๔๐๐ บาท ตั้งแต่ ๗,๐๐๑ กิโลกรัม ขึ้นไป ๒,๙๐๐ บาท ๔,๓๕๐ บาท ๓,๖๐๐ บาท (๒) รถตาม (๑) ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า หรือใช้พลังงานทดแทน พลังงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือพลังงานอย่างประหยัด ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้จัดเก็บภาษีประจำปีในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนดไว้ตาม (๑) (๓) รถตาม (๑) ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นก๊าซไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่เป็นเชื้อเพลิง ให้จัดเก็บภาษีประจำปี ดังนี้ (ก) ระบบเชื้อเพลิงที่ใช้ก๊าซธรรมชาติดังกล่าวเพียงอย่างเดียว ให้จัดเก็บในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนดไว้ตาม (๑) (ข) ระบบเชื้อเพลิงที่ใช้ก๊าซธรรมชาติดังกล่าวร่วมหรือสลับกับน้ำมันเชื้อเพลิงให้จัดเก็บในอัตราสามในสี่ของอัตราที่กำหนดไว้ตาม (๑) อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ต่อเส้นทางหนึ่ง ฉบับละ ๑๕,๐๐๐ บาท (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ไม่ประจำทาง ฉบับละ ๔,๐๐๐ บาท (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดย รถขนาดเล็ก ฉบับละ ๑,๕๐๐ บาท (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ฉบับละ ๑,๕๐๐ บาท (๕) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ (ก) ตลอดปี ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (ข) เฉพาะคราว ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๖) ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (๗) ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการ สถานีขนส่ง ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๘) ใบอนุญาตผู้ขับรถและใบอนุญาต นายตรวจ ฉบับละ ๒๐๐ บาท (๙) ใบอนุญาตผู้เก็บค่าโดยสารและ ใบอนุญาตผู้บริการ ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๐) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๑๑) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๑๒) การโอนทะเบียนรถ ครั้งละ ๒๐๐ บาท (๑๓) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและ เครื่องหมาย แผ่นละ ๑๐๐ บาท (๑๔) คำขออนุญาตประกอบการขนส่ง ประจำทาง ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๕) คำขออื่น ๆ ฉบับละ ๒๐ บาท (๑๖) การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตแต่ละฉบับ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว และสภาพการณ์ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก บทบัญญัติทั้งหลายที่ใช้บังคับอยู่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการขนส่งเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓[๕๐] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผลแห่งการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ส่งผลกระทบถึงบรรดารถบรรทุกขนส่งสินค้า ของผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล คือ ก. รถบรรทุกที่ใช้รถมีน้ำหนักรถต่ำกว่าหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมทั่วพระราชอาณาจักรสำหรับประกอบการภายในครอบครัว ต่างได้รับความเดือดร้อนอย่างยิ่ง เพราะต้องไปยื่นขอจดทะเบียนขนส่งส่วนบุคคล และต้องใช้ใบอนุญาตขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก นอกเหนือไปจากใบอนุญาตของกรมตำรวจที่มีอยู่แล้ว ก่อให้เกิดความเดือดร้อน เพราะรถบรรทุกขนาดเล็กเหล่านี้หาจำต้องใช้ความชำนาญเชี่ยวชาญเป็นพิเศษไม่ เนื่องจากเป็นรถที่ส่วนมากใช้ในธุรกิจส่วนตัว ภายในครัวเรือนและใช้ในการขนส่งพืชผลของเกษตรกร จึงสมควรได้รับการยกเว้นไม่ต้องไปจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก และการใช้ใบขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก ข. สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งได้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามใบอนุญาตนั้น การจำกัดท้องที่ทำการขนส่งนั้น ย่อมก่อให้เกิดความไม่สะดวกและเป็นธรรม เพราะผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลก็ย่อมหมายถึงประกอบธุรกิจส่วนตัวนั่นเอง ท้องที่ที่กำหนดให้แน่นอนย่อมเป็นเครื่องกีดขวางการปฏิบัติงาน เพราะการที่จะบรรทุกสินค้าของตนไปส่งยังที่ต่าง ๆ การที่จะต้องไปขออนุญาตเป็นครั้งคราวนั้นย่อมก่อให้เกิดภาวะสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ เป็นการเพิ่มราคาทุนโดยไม่จำเป็น ค. โดยทั่วไปการตรวจสภาพรถมักล่าช้า เมื่อนำรถไปขอรับการตรวจแล้วแต่ปรากฏว่ารถมีจำนวนมาก ตรวจสภาพไม่ทันหากนำไปวิ่งขนส่งก็จะต้องถูกจับกุม และมีโทษสูง และการที่จอดรอการตรวจสภาพเป็นระยะนาน ๆ นั้น ย่อมทำให้เศรษฐกิจกระทบกระเทือน จึงสมควรกำหนดเวลาตรวจไว้ และหากความล่าช้าเป็นเพราะความผิดของพนักงานหรือผู้มีอำนาจตรวจสภาพ ก็ไม่สมควรเอาโทษแก่ผู้ประกอบการขนส่งที่ขอตรวจสภาพไว้แล้ว เพราะโทษมีกำหนดสูง ง. การต่อใบอนุญาตตามบทเฉพาะกาลของใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งได้รับอนุญาตไว้แล้ว ก่อนใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ขนาดและส่วนซึ่งพนักงานตรวจสภาพตามกฎหมายเก่า ทั้งของกรมตำรวจและกรมการขนส่งทางบก ไม่เป็นระเบียบเดียวกัน และมีมาตรฐานต่างกัน ฉะนั้น การขอต่อใบอนุญาตใหม่จึงไม่สมควรนำเหตุผลของการผิดขนาดและส่วนมาเป็นข้อปฏิเสธ การขอต่อใบอนุญาตเก่านั้นอาศัยเหตุผลดังกล่าว จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฉบับนี้ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๕๑] มาตรา ๒ พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๕ อัตราภาษีรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ไม่ใช้บังคับแก่รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีรถประจำปีไว้แล้ว หรือที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ สำหรับภาษีรถประจำปีที่เสียไว้แล้ว หรือที่ค้างชำระนั้น มาตรา ๖ รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีรถประจำปีไว้แล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ หากเป็นรถที่ไม่ได้รับการลดภาษีรถประจำปีตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๘๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ให้เสียภาษีรถประจำปีสำหรับปีต่อไป ดังต่อไปนี้ (๑) ปีที่หนึ่ง ให้เสียในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๒) ปีที่สอง ให้เสียในอัตราสามในสี่ของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๓) ปีต่อไป ให้เสียในอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันมีรถจำนวนมากใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกิดความจำเป็นในการสั่งน้ำมันดีเซลหรือก๊าซเข้ามาในราชอาณาจักร ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการเพิ่มจำนวนรถที่ใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง และเพื่อเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๕๒] พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐[๕๓] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยได้ทำความตกลงกับประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน และโดยที่ประเทศไทยอาจทำความตกลงในทำนองเดียวกันกับประเทศอื่น ๆ ด้วย ซึ่งความตกลงดังกล่าวจะมีผลให้ผู้มีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือจากรัฐบาลของประเทศที่ประเทศไทยมีความตกลงด้วย สามารถใช้ใบอนุญาตขับรถนั้นขับรถในประเทศไทยได้ ฉะนั้น เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่กับต่างประเทศตามความตกลงดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕[๕๔] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ โดยเฉพาะผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถส่วนมากมักนิยมเสพยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ ทำให้เกิดอุบัติเหตุสร้างความสูญเสียแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนบนท้องถนนเป็นอันมาก สมควรมีบทบัญญัติกำหนดความผิดและกำหนดโทษเกี่ยวกับการเสพยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และให้อำนาจผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นหรือเสพยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบถึงเหตุดังกล่าวได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕[๕๕] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปรากฏว่าอุบัติเหตุที่เกิดจากรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก แต่โดยที่พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังไม่มีบทบัญญัติควบคุมการขนส่งวัตถุอันตรายไว้อย่างเพียงพอและเหมาะสม สมควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตรายเสียใหม่เพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗[๕๖] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีผู้นำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน หรือรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ไปใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างในลักษณะที่เป็นการแก่งแย่งแข่งขันกับผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง โดยมิได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และโดยที่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกได้บัญญัติยกเว้นไว้มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งโดยรถยนต์ดังกล่าว เป็นเหตุให้ทางราชการไม่สามารถเข้าควบคุมและจัดระเบียบการขนส่งได้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๗[๕๗] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๔ บรรดาใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ และถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาต ให้นำความในมาตรา ๑๐๐ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดให้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถมีอายุเพียงหนึ่งปี ทำให้ผู้ประกอบอาชีพเป็นผู้ประจำรถจะต้องมาต่อใบอนุญาตทุก ๆ หนึ่งปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นมากทำให้เกิดความไม่สะดวกเสียเวลาและค่าใช้จ่ายแก่ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวเป็นอย่างยิ่งในการที่จะต้องเดินทางมาต่อใบอนุญาตทุก ๆ ปี โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางไปทำงานในจังหวัดอื่น การกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวโดยไม่จำเป็น จึงสมควรให้มีการขยายอายุของใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเพิ่มขึ้นจากหนึ่งปีเป็นสามปี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒[๕๘] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันอุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดบนท้องถนนอันเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลต่าง ๆ นั้น มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ขับรถเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น เสพยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ขับรถติดต่อกันนานเกินไปจนทำให้ผู้ขับรถเกิดความตึงเครียด ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงอันเนื่องมาจากกรณีดังกล่าว สมควรกำหนดห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้หรือยินยอมให้ผู้ขับรถซึ่งมีอาการหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ขับรถที่ใช้ในการขนส่ง และกำหนดให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลและป้องกันมิให้ผู้ขับรถที่มีอาการหรือกระทำการเช่นว่านั้นขับรถที่ใช้ในการขนส่งด้วย รวมทั้งสมควรกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขับรถได้ไม่เกินสี่ชั่วโมงติดต่อกัน เพื่อไม่ให้เกิดความตึงเครียดจนเกินไป นอกจากนั้นสมควรกำหนดให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และได้กระทำการใด ๆ อันเป็นความผิดที่กำหนดไว้สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่กระทำความผิดดังกล่าวด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒[๕๙] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังมิได้บัญญัติให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ เพื่อที่จะให้มีการจัดสรรภาษีรถที่จัดเก็บได้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ นอกจากนี้โดยที่ถ้อยคำเกี่ยวกับราชการส่วนท้องถิ่นในกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกมีใช้อยู่หลายคำตามรูปแบบของราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งมีอยู่หลากหลาย โดยเมื่อจัดตั้งราชการส่วนท้องถิ่นขึ้นใหม่ ก็จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกครั้ง เพื่อให้ราชการส่วนท้องถิ่นนั้นได้รับการจัดสรรภาษีรถ ดังเช่นในกรณีขององค์การบริหารส่วนตำบลนี้เป็นต้น ฉะนั้น เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลได้รับจัดสรรภาษีรถ และเพื่อปรับปรุงถ้อยคำเกี่ยวกับราชการส่วนท้องถิ่นให้ครอบคลุมถึงราชการส่วนท้องถิ่นทุกประเภท จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ *พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕[๖๐] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๘ ในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้แก้ไขคำว่า “เลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทหรือผู้แทน” เป็น “อธิบดีกรมทางหลวงชนบทหรือผู้แทน” และคำว่า “ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนมหาดไทย” เป็น “ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖[๖๑] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๕ รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) ให้นายทะเบียนประกาศหมายเลขทะเบียนพร้อมทั้งจำนวนภาษีค้างชำระไว้ ณ ที่ทำการนายทะเบียนและในสถานที่ที่อธิบดีประกาศกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (๒) ให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถทำความตกลงกับนายทะเบียนในการชำระภาษีค้างชำระภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้มีประกาศตาม (๑) โดยให้ได้รับยกเว้นเงินเพิ่ม หากมีภาษีค้างชำระเกินกว่าสามปี ให้คิดภาษีค้างชำระเพียงสามปี และให้ผ่อนชำระเป็นงวดได้ ตามระเบียบที่อธิบดีประกาศกำหนด (๓) เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถที่มิได้ดำเนินการตาม (๒) ต้องเสียภาษีค้างชำระทั้งหมด พร้อมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ (๔) เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตาม (๒) รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีตั้งแต่สามปีขึ้นไป หรือรถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีไม่ถึงสามปี แต่ต่อมาภายหลังค้างชำระภาษีติดต่อกันครบสามปีให้ถือว่าทะเบียนรถเป็นอันระงับไป และให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถมีหน้าที่ส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถต่อนายทะเบียน และนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียน เพื่อบันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถภายในสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาตาม (๒) หรือนับแต่วันค้างชำระภาษีติดต่อกันครบสามปี แล้วแต่กรณี ให้นำมาตรา ๘๖/๒ มาตรา ๘๖/๓ วรรคสองและวรรคสาม และมาตรา ๘๖/๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถผู้ใดไม่ส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียนตามความใน (๔) ให้นำโทษตามมาตรา ๑๔๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีเจ้าของรถเป็นจำนวนมากละเลยหรือหลีกเลี่ยงการชำระภาษีรถประจำปี ทำให้มีภาษีรถประจำปีค้างชำระเพิ่มขึ้นทุกปี และเมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าของรถก็เกิดข้อโต้แย้งในภาระภาษีรถประจำปีที่ค้างชำระ สมควรปรับปรุงมาตรการในการจัดเก็บภาษีรถประจำปีที่ค้างชำระให้ได้ผลอย่างจริงจัง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๐[๖๒] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์ราคาน้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัญหาทางด้านมลภาวะทางอากาศที่เพิ่มมากขึ้น และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอื่นทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง สนับสนุนการใช้พลังงานอย่างประหยัด และการใช้พลังงานสะอาดเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อันจะเป็นการช่วยให้มีการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมและคุ้มค่าและก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของประเทศ สมควรส่งเสริมการใช้รถที่ใช้พลังงานดังกล่าวโดยกำหนดให้มีอัตราภาษีประจำปีสำหรับรถเหล่านี้เป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗[๖๓] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๑๔ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้จนกว่าจะครบวาระ มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน สมควรปรับปรุงบทบัญญัติบางประการเสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีการผลิตรถในปัจจุบันที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปมาก และเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีกทั้งเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการการตรวจสภาพรถให้ได้รับความเป็นธรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ กมลฤทัย/แก้ไข ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ชาญ/ตรวจ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ วศิน/แก้ไข ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๓๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๑ มีนาคม ๒๕๒๒ [๒] มาตรา ๔ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๓] มาตรา ๔ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๔] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗ [๕] มาตรา ๕ (๒) (ข) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๖] มาตรา ๖ วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๗] มาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๘] มาตรา ๒๔ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๙] มาตรา ๒๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๐] มาตรา ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๑๑] มาตรา ๓๔ (๔) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๒] มาตรา ๓๔ (๕) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๓] มาตรา ๓๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๔] มาตรา ๓๙/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๑๕] มาตรา ๔๐ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๖] มาตรา ๔๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๑๗] มาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๘] มาตรา ๗๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๑๙] มาตรา ๗๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๒๐] มาตรา ๗๔/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๒๑] มาตรา ๘๕ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๒] มาตรา ๘๖/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๒๓] มาตรา ๘๖/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๒๔] มาตรา ๘๖/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๒๕] มาตรา ๘๖/๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๒๖] มาตรา ๘๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๗] มาตรา ๘๘ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ต่อมามีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙ (สมัยสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ที่ประชุมได้ลงมติไม่อนุมัติ [๒๘] มาตรา ๙๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๙] มาตรา ๑๐๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๗ [๓๐] มาตรา ๑๐๒ (๓ ทวิ) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๓๑] มาตรา ๑๐๒ (๓ ตรี) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๓๒] มาตรา ๑๐๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๓๓] มาตรา ๑๐๓ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๓๔] มาตรา ๑๐๓ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๕] มาตรา ๑๐๖ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ [๓๖] มาตรา ๑๒๕/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๓๗] มาตรา ๑๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๘] มาตรา ๑๒๗ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๙] มาตรา ๑๒๗ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๔๐] มาตรา ๑๒๗ จัตวา เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๔๑] มาตรา ๑๓๘ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๔๒] มาตรา ๑๔๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๔๓] มาตรา ๑๔๔/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๔๔] มาตรา ๑๔๘/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๔๕] มาตรา ๑๔๘/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๔๖] มาตรา ๑๔๙/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๔๗] มาตรา ๑๕๑ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๔๘] มาตรา ๑๖๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๔๙] บัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๕๐] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๖๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๕ ตุลาคม ๒๕๒๓ [๕๑] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑/๓๑ มกราคม ๒๕๒๙ [๕๒] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๗๕/หน้า ๑๑/๖ พฤษภาคม ๒๕๒๙ [๕๓] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓/๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๐ [๕๔] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๔/หน้า ๑๔/๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ [๕๕] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๘/หน้า ๙/๕ เมษายน ๒๕๓๕ [๕๖] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๒๖ ก/หน้า ๑/๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๗ [๕๗] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๑/๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๗ [๕๘] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๒๓/๒๕ มีนาคม ๒๕๔๒ [๕๙] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๒๗/๒๕ มีนาคม ๒๕๔๒ [๖๐] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖๖/๘ ตุลาคม ๒๕๔๕ [๖๑] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๔๘ ก/หน้า ๙/๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖ [๖๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๑/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๐ [๖๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๘๓ ก/หน้า ๑๐/๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
719222
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2557
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๕) ของมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๕) “การขนส่งส่วนบุคคล” หมายความว่า การขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองด้วยรถที่มีน้ำหนักเกินสองพันสองร้อยกิโลกรัม” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (๒) ของมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินสองพันสองร้อยกิโลกรัมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้าง” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ นายทะเบียนกลางและนายทะเบียนประจำจังหวัดอาจมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบกกระทำการแทนได้” มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางคณะหนึ่งประกอบด้วย ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมทางหลวง อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินสามคนซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการขนส่งหรือการวางแผนจราจร” มาตรา ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๓๙/๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางอาจนำรถที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประกอบการขนส่งในเส้นทางหนึ่งไปใช้ทำการขนส่งอีกเส้นทางหนึ่งที่ตนเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตในลักษณะหมุนเวียนได้ โดยได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด” มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔๙ ให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจควบคุมดูแลบรรดากิจการที่เกี่ยวกับการขนส่งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์ดังกล่าวให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจ (๑) เข้าไปในสถานที่ดำเนินการของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเพื่อทราบข้อเท็จจริงและเพื่อตรวจสอบบัญชีและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการขนส่ง (๒) ยึดหรืออายัดไว้ซึ่งสิ่งของหรือเอกสารที่อยู่ในสถานที่ตาม (๑) ที่เป็นความผิดหรือที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิด หรือได้มาจากการกระทำความผิด (๓) เรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง มาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ ในการปฏิบัติตาม (๑) และ (๒) ให้กระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น และให้อธิบดีมีอำนาจมอบหมายให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพทำการแทนได้ ในการปฏิบัติการของอธิบดี นายทะเบียน ผู้ตรวจการ หรือพนักงานตรวจสภาพตามมาตรานี้ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นอำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือตามสมควร” มาตรา ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๗๔/๑ อัตราค่าบริการตรวจสภาพรถ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถต้องแสดงอัตราค่าบริการตรวจสภาพรถที่จะจัดเก็บไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานตรวจสภาพรถของตน” มาตรา ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๒๕/๑ ในหมวด ๙ สถานีขนส่ง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๑๒๕/๑ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลบรรดากิจการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งให้เป็นไปตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ให้นำความในมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้อธิบดี นายทะเบียนหรือผู้ตรวจการซึ่งอธิบดีมอบหมาย เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินการ” มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๔๔ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่อธิบดี นายทะเบียน ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ (๑) และ (๒) หรือมาตรา ๔๙ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ มาตรา ๗๖ หรือมาตรา ๑๒๕/๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท” มาตรา ๑๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๔๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๑๔๔/๑ ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำหรือยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงต่ออธิบดีหรือนายทะเบียนตามมาตรา ๔๙ (๓) หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตรวจการที่เรียกรถให้หยุดเพื่อทำการตรวจสอบตามมาตรา ๕๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท” มาตรา ๑๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๔๘/๑ และมาตรา ๑๔๘/๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๑๔๘/๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดเก็บค่าบริการผิดไปจากอัตราค่าบริการที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๗๔/๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๔๘/๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดไม่แสดงอัตราค่าบริการตรวจสภาพรถตามมาตรา ๗๔/๑ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท” มาตรา ๑๔ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้จนกว่าจะครบวาระ มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน สมควรปรับปรุงบทบัญญัติบางประการเสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีการผลิตรถในปัจจุบันที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปมาก และเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีกทั้งเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการการตรวจสภาพรถให้ได้รับความเป็นธรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ มกราคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๘๓ ก/หน้า ๑๐/๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
720242
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 (ฉบับ Update ณ วันที่ 30/12/2550)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นปีที่ ๓๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ (๒) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ (๓) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ (๑) “การขนส่ง” หมายความว่า การขนคน สัตว์ หรือสิ่งของ โดยทางบกด้วยรถ (๒) “การขนส่งประจำทาง” หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนด (๓) “การขนส่งไม่ประจำทาง” หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่จำกัดเส้นทาง (๔)[๒] “การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก” หมายความว่า การขนส่งคนหรือสิ่งของหรือคนและสิ่งของรวมกันเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนดด้วยรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสี่พันกิโลกรัม (๕)[๓] “การขนส่งส่วนบุคคล” หมายความว่า การขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองด้วยรถที่มีน้ำหนักเกินกว่าหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม (๖) “การขนส่งระหว่างจังหวัด” หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทำระหว่างจังหวัดกับจังหวัด (๗) “การขนส่งระหว่างประเทศ” หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทำระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ (๘) “การรับจัดการขนส่ง” หมายความว่า การรับจ้างรวบรวมคน สัตว์หรือสิ่งของ และจัดให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำการขนส่งจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในความรับผิดชอบของผู้รับจัดการขนส่ง (๙) “รถ” หมายความว่า ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่รถไฟ (๑๐) “ผู้ตรวจการ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจการขนส่ง (๑๑) “พนักงานตรวจสภาพ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจความมั่นคงแข็งแรง ความสะอาด ความเรียบร้อย และความเหมาะสมของสภาพรถที่นำมาใช้ในการขนส่ง (๑๒) “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนกลาง หรือนายทะเบียนประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี (๑๓) “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง หรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี (๑๔) “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (๑๕) “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕[๔] พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (๑) การขนส่งโดยรถยนต์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร (๒) การขนส่งโดย (ก) รถยนต์รับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์บริการที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ข) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน และรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้าง (ค) รถยนต์สามล้อ รถจักรยานยนต์ และรถแทร็กเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (๓) การขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเป็นนายทะเบียนกลางมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งระหว่างจังหวัดและการขนส่งระหว่างประเทศ ให้นายทะเบียนกลางเป็นนายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานคร มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ภายในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ขนส่งจังหวัดเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัด มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในเขตจังหวัดของตน ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดทำแทนได้ การมอบหมายตามวรรคสี่ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพกับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียมและกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกคณะหนึ่ง ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร* อธิบดีกรมทางหลวงเป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทย และมีความรู้หรือความจัดเจนในการขนส่ง การเศรษฐกิจหรือกฎหมาย ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๙ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งซ่อม ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วนั้น กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ มาตรา ๑๐ ผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ห้ามมิให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (๑) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๒) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นกรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง มาตรา ๑๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) รัฐมนตรีให้ออก (๔) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๒ ในการประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมแทน มาตรา ๑๓ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๔ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดนโยบายการขนส่งทางบกระยะสั้นและระยะยาวเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๒) กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาและดำเนินการสถานีขนส่งเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๓) กำหนดมาตรการและแผนพัฒนาการขนส่งทางบกเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๔) กำหนดมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยและความสะดวกในการขนส่งทางบก เพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (๕) กำหนดการห้ามรับจดทะเบียนรถเป็นครั้งคราวตามความจำเป็นโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (๖) ประสานงานที่เกี่ยวข้องระหว่างกันในด้านการขนส่งทางบก ตลอดจนประสานงานด้านการขนส่งทางบกกับการขนส่งทางน้ำและการขนส่งทางอากาศ (๗) ให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการขนส่งทางบก มาตรา ๑๕ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม หมวด ๒ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางคณะหนึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือผู้แทน อธิบดีกรมทางหลวงชนบทหรือผู้แทน* อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้แทน อธิบดีกรมทางหลวงหรือผู้แทน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้แทนเป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินสามคนเป็นกรรมการ ทั้งนี้ โดยให้มีผู้มีความรู้และมีความจัดเจนในการขนส่งรวมอยู่ด้วย ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ อัยการจังหวัด ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินห้าคน โดยมีนายกเทศมนตรีในจังหวัดนั้นรวมอยู่ด้วยหนึ่งคนเป็นกรรมการ ให้ขนส่งจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๘ ให้นำมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง และคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดโดยอนุโลม มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดลักษณะของการขนส่งประจำทางและการขนส่งไม่ประจำทาง (๒) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัดและระหว่างประเทศ (๓) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัดและระหว่างประเทศ (๔) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่ง โดยรถขนาดเล็ก (๕) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๖) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๗) กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่ง (๘) กำหนดสถานที่ จัดให้มีหรือจัดตั้ง และระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่ง (๙) กำหนดชนิดหรือสภาพรถที่มิให้รับจดทะเบียน (๑๐) กำหนดประเภทหรือชนิดของรถที่ต้องเข้าหยุดหรือจอดเพื่อการรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่ง (๑๑) กำหนดที่หยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสาร (๑๒) วางมาตรการในการกำหนด อนุญาต เพิกถอนการอนุญาตและการควบคุมกิจการขนส่งทางบก (๑๓) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก การกำหนดตาม (๒) (๓) (๔) (๘) (๙) และ (๑๐) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ภายในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทาง (๒) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๕) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกและคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง การกำหนดตาม (๑) และ (๔) เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแล้วจึงจะใช้บังคับได้ และการกำหนดตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๑ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม มาตรา ๒๒ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการการขนส่งทางบก เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งให้คณะกรรมการชี้แจงข้อเท็จจริงแสดงความคิดเห็นหรือทำรายงานหรือยับยั้งการกระทำใด ๆ ซึ่งขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี ตลอดจนมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินงานได้ หมวด ๓ การประกอบการขนส่ง มาตรา ๒๓ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือการขนส่งส่วนบุคคล เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ต้องมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดนั้นต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทยและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย และ (๑) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย (๒) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย และทุนของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย (๓)[๕] ในกรณีที่เป็นบริษัทจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย หรือต้องเป็นของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด หรือต้องเป็นของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือองค์การของรัฐ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และบริษัทจำกัดนั้นต้องไม่มีข้อบังคับ อนุญาตให้มีการออกหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ (๔) ในกรณีที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทมหาชนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมดต้องเป็นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะต้องมีลักษณะตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจยกเว้นคุณสมบัติตามความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษเป็นการเฉพาะรายได้ มาตรา ๒๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งระหว่างประเทศเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางและผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่ออนุสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่ง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นำมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๖ มาใช้บังคับแก่การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศโดยอนุโลม มาตรา ๒๖ ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย เว้นแต่เพื่อการขนส่งระหว่างประเทศและได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางแล้ว ผู้ประจำรถตามมาตรา ๙๒ ซึ่งประจำในรถตามวรรคหนึ่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ และหรือตามข้อตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ มาตรา ๒๗ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งมีสี่ประเภท คือ (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางหรือใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้ใช้เป็นใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลได้ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถผิดประเภทตามที่ระบุไว้ข้างต้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนเป็นครั้งคราว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๒๘ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้มีอายุเจ็ดปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอเสียก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ แต่การขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางและใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๙[๖] บทบัญญัติมาตรา ๒๓ มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น วัด มูลนิธิ สภากาชาดไทย สถานพยาบาล หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เป็นผู้ประกอบการขนส่ง แต่ผู้ประกอบการขนส่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้เสมือนดังเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลทุกประการ มาตรา ๓๐ ให้นายทะเบียนกลางเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในกรุงเทพมหานคร การขนส่งระหว่างจังหวัด และการขนส่งระหว่างประเทศ และให้นายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในจังหวัดของตน ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ มาตรา ๓๑ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) สิทธิในรถที่ใช้ประกอบการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๓) ลักษณะ ชนิด ขนาดและสีของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๔) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุกและวิธีการบรรทุก (๕) จำนวนผู้ประจำรถ (๖) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๗) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๘) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (๙) ที่ที่รถจะต้องหยุดในระหว่างเส้นทาง (๑๐) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (๑๑) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (๑๒) เวลาทำงานประจำวันในการประกอบการขนส่ง (๑๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (๑๔) การประกอบกิจการอื่นนอกจากการประกอบการขนส่งประจำทาง (๑๕) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางต้องจัดให้มีประกาศเงื่อนไขตาม (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๑) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๒ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิดและขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุกและวิธีการบรรทุก (๔) จำนวนผู้ประจำรถ (๕) ท้องที่ที่ทำการขนส่ง (๖) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (๗) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๘) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (๙) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (๑๐) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางต้องจัดให้มีการประกาศเงื่อนไขตาม (๗) และ (๘) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๓ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิด ขนาดและสีของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๔) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (๕) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๖) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๗) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องจัดให้มีประกาศเงื่อนไขตาม (๕) และ (๖) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๔[๗] ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้นายทะเบียนกำหนดเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิด และขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษา (๔)[๘] จำนวนผู้ประจำรถ (๕)[๙] เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามประเภทที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติผู้ประจำรถ และหรือใบกำกับสินค้าที่ทำการขนส่งและต้องทำรายงานเกี่ยวกับการขนส่งและอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๖[๑๐] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่ง ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจัดให้มีที่พักผู้โดยสารตามระยะทางโดยมีลักษณะ ขนาด จำนวน และจุดที่ตั้งของที่พักผู้โดยสารตามที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๘ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่งหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ มาตรา ๓๙ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลใช้หรือยอมให้บุคคลอื่นใช้รถที่ได้รับอนุญาตทำการขนส่งนอกเส้นทาง หรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาต แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน หรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมาย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๔๐ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางกระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางหรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาต มาตรา ๔๐ ทวิ[๑๑] ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้หรือยินยอมให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ขับรถที่ใช้ในการขนส่งหากปรากฏว่าขณะใช้หรือขณะยินยอมให้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถ ผู้นั้นมีอาการหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (๑) เมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น (๒) เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (๓) เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องคอยดูแลและป้องกันไม่ให้ผู้ซึ่งมีอาการ หรือกระทำการตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ของวรรคหนึ่งปฏิบัติหน้าที่ขับรถ มาตรา ๔๑ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง นายทะเบียนมีอำนาจที่จะสั่งเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถหรือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้ใดส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวตามควรแก่กรณีแล้วให้รายงานคณะกรรมการโดยเร็ว มาตรา ๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องแสดงใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ใบอนุญาตประกอบการขนส่งสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดดังกล่าว มาตรา ๔๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการขนส่ง มาตรา ๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการขนส่ง มาตรา ๔๖ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๑) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๒) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขในมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยของผู้โดยสารตามมาตรา ๓๖ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติในหมวด ๔ ว่าด้วยการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติหรือไม่แก้ไขให้ถูกต้อง หรือเป็นที่เห็นได้ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่สามารถจะดำเนินการตามเงื่อนไขหรือข้อกำหนดนั้น หรือการดำเนินการนั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายหรือเสื่อมประโยชน์ต่อประชาชน ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ แต่ถ้าเป็นการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่จะพิจารณาอนุมัติ มาตรา ๔๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต้องส่งคืนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๙ ให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจควบคุมดูแลบรรดากิจการที่เกี่ยวกับการขนส่งให้เป็นไปตามความในพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์ดังกล่าวให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจ (๑) เข้าไปในสถานที่ดำเนินการของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งในระหว่างเวลาทำงานตามปกติ เพื่อทราบข้อเท็จจริงและเพื่อตรวจสอบบัญชีและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการขนส่ง (๒) เรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการและพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ ในการปฏิบัติตาม (๑) ให้อธิบดีมีอำนาจมอบหมายให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพทำการแทนได้ ในการปฏิบัติการของอธิบดี นายทะเบียน ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพตามมาตรานี้ ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นอำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือตามสมควร มาตรา ๕๐ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจเรียกรถให้หยุดเพื่อทำการตรวจสอบ และเมื่อเชื่อว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้น ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจจับกุมผู้ฝ่าฝืนเพื่อส่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดำเนินคดีต่อไป บทบัญญัติในวรรคหนึ่งไม่ลบล้างอำนาจจับกุมของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มาตรา ๕๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ และมาตรา ๕๐ ให้ผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง มาตรา ๕๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ต้องวางหลักทรัพย์เป็นเงินสด หรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกัน หรือเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งทำกับบริษัทประกันภัยที่นายทะเบียนกลางให้ความเห็นชอบต่อนายทะเบียนกลาง ในกรณีเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องเป็นผู้เอาประกันภัย โดยให้บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการขนส่งของตนเป็นผู้รับประโยชน์ สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเพื่อประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง[๑๒] จำนวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดตามขนาดและประเภทของการประกอบการขนส่งแต่ต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งวางหลักทรัพย์เป็นเงินสดไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนให้ดอกผลที่เกิดจากหลักทรัพย์ที่เป็นเงินสดนั้นตกเป็นของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่วางหลักทรัพย์ ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้รับผิดชอบในการเปิดบัญชีเงินฝาก และการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีหลักทรัพย์กับธนาคารตามระเบียบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๕๓ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันตามมาตรา ๕๒ มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง นายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๕๔ ในการวางหลักทรัพย์ซึ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลไทย ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำหนังสือมอบอำนาจให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจจัดการจำหน่ายพันธบัตรนั้น เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วย มาตรา ๕๕ หลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางประกันตามมาตรา ๕๒ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เว้นแต่จะเป็นการบังคับคดีเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน มาตรา ๕๖ เมื่อรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายหรือชีวิตของบุคคลใดนอกจากความรับผิดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาท ในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นซึ่งจะต้องจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ให้จ่ายตามความร้ายแรงของความเสียหาย ทั้งนี้ ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ระหว่างการรักษาพยาบาลและหรือค่าปลงศพ มาตรา ๕๗ เมื่อผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ประสงค์จะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมตำรวจกำหนดต่อพนักงานสอบสวน โดยแสดงพยานหลักฐานว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ให้พนักงานสอบสวนพิจารณาจากสำนวนการสอบสวน และเมื่อเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นจากรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งคันใด ให้มีหนังสือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถคันนั้นชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๕๖ วรรคสอง ในการนี้ให้แจ้งให้นายทะเบียนกลางทราบโดยเร็วด้วย ในการสั่งของพนักงานสอบสวนตามวรรคหนึ่ง พนักงานสอบสวนต้องพิจารณาสั่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในการชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ต้องชำระภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจากพนักงานสอบสวน มาตรา ๕๘ ผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายต้องใช้สิทธิในการขอรับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามมาตรา ๕๗ ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ความเสียหายเกิดขึ้น มาตรา ๕๙ การชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามหมวดนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายในอันที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๐ บุคคลซึ่งมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามหมวดนี้ ได้แก่ผู้เสียหายดังต่อไปนี้ (๑) ผู้เสียหายซึ่งมิได้อยู่ในรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ได้รับความเสียหายจากรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น (๒) ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ไม่รวมถึงผู้ขับรถ คนงานหรือลูกจ้างประจำรถซึ่งอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ (๓) ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในรถคันที่ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย มาตรา ๖๑ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ ให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ และให้พนักงานสอบสวนบันทึกความเห็นของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งไม่เห็นด้วยไว้ในสำนวนการสอบสวน คำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งกลางให้เป็นที่สุด มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานสอบสวน ถ้าคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีความเห็นตามความเห็นของพนักงานสอบสวน ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายเบื้องต้นที่พนักงานสอบสวนกำหนดไว้อีกร้อยละสิบ มาตรา ๖๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางตามมาตรา ๖๑ ในกรณีที่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามมาตรา ๕๒ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นซึ่งได้นำมาวางไว้เป็นประกันชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นแทนได้ มาตรา ๖๔ ในกรณีที่ผู้เสียหายไม่ได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือได้รับชดใช้ไม่ครบตามจำนวนที่พนักงานสอบสวนหรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางสั่งไม่ว่าเพราะเหตุหลักทรัพย์ที่วางประกันไว้ไม่พอจ่ายค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือเพราะเหตุอื่นใด เมื่อผู้เสียหายได้ร้องเรียนต่อนายทะเบียนกลาง ให้นายทะเบียนกลางสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชำระให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนกลางดังกล่าว ให้นายทะเบียนกลางเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง และให้นำมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๕ การรับจัดการขนส่ง มาตรา ๖๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการรับจัดการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๖ ในการออกใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ให้นายทะเบียนกลาง โดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) ท้องที่ที่ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๒) สถานที่ตั้งสำนักงานของผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๓) สถานที่พักคน สัตว์ หรือเก็บสิ่งของ (๔) วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับสวัสดิภาพ ความสะดวกและความปลอดภัยในการรับจัดการขนส่ง (๕) อัตราค่าบริการรับจัดการขนส่ง (๖) เงื่อนไขอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งต้องจัดให้มีการประกาศเงื่อนไขตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๖๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๖๕ ต้องวางหลักทรัพย์ต่อนายทะเบียน เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญารับจัดการขนส่ง ทั้งนี้ ตามจำนวนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๘ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันตามมาตรา ๖๗ มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๖๙ ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๐ ให้นำมาตรา ๒๔ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่การประกอบการรับจัดการขนส่งโดยอนุโลม หมวด ๖ รถ มาตรา ๗๑ รถที่ใช้ในการขนส่งต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงกับได้จดทะเบียนตามมาตรา ๗๓ และเสียภาษีตามมาตรา ๘๕ แล้ว รถที่ใช้ในการขนส่งที่เสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ มาตรา ๗๒[๑๓] รถที่จะนำมาจดทะเบียนและเสียภาษีต้องผ่านการตรวจสภาพรถจากพนักงานตรวจสภาพ หรือจากสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๗๔ เว้นแต่รถประเภท หรือชนิดใดที่สมควรได้รับการยกเว้นการตรวจสภาพเป็นครั้งคราวให้กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ปรากฏว่ารถที่นำมารับการตรวจสภาพนั้นมีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีเครื่อง อุปกรณ์ และส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับการอนุญาตออกใบรับรองให้ ใบรับรองการตรวจสภาพรถให้ทำตามแบบที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๗๓[๑๔] เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตได้ตรวจสภาพรถถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๑ และมาตรา ๗๒ แล้ว ให้รับจดทะเบียนและออกหนังสือแสดงการจดทะเบียนพร้อมกับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคันนั้นให้โดยไม่ชักช้า มาตรา ๗๔ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเพื่อรับรองสภาพรถตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๕ ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๗๔ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นได้ ให้นำมาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่การจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตโดยอนุโลม มาตรา ๗๗ หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถให้ใช้ได้สี่งวดนับแต่งวดที่ออกหนังสือนี้ ให้เดือนมกราคม เดือนเมษายน เดือนกรกฎาคม และเดือนตุลาคม เป็นเดือนแรกของแต่ละงวด การขอต่ออายุทะเบียน ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนภายในเวลาที่นายทะเบียนจะได้ประกาศกำหนด ให้นำมาตรา ๗๑ มาตรา ๗๒ และมาตรา ๗๓ มาใช้บังคับแก่การขอต่ออายุทะเบียนโดยอนุโลม มาตรา ๗๘ ห้ามมิให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน มาตรา ๗๙ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ประสงค์จะเลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบและนำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนแก่นายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกใช้รถนั้น มาตรา ๘๐ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีความจำเป็นจะต้องระงับใช้รถนั้นชั่วคราวเป็นเวลาเกินสิบห้าวันแจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบก่อนวันที่จะระงับใช้รถนั้น มาตรา ๘๑ รถที่ยังมิได้จดทะเบียนตามความในพระราชบัญญัตินี้หรือรถที่เลิกใช้ตามมาตรา ๗๙ ถ้าจะนำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม ต้องมีใบอนุญาตและเครื่องหมายโดยเฉพาะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ใบอนุญาตและเครื่องหมายดังกล่าวใช้ได้เฉพาะรถที่อยู่ในความครอบครองของผู้ได้รับใบอนุญาตโดยสับเปลี่ยนกันได้ ไม่เฉพาะคัน มาตรา ๘๒ การโอนรถซึ่งได้จดทะเบียนตามมาตรา ๗๓ แล้วผู้โอนและผู้รับโอนจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันโอนและให้นายทะเบียนจดแจ้งการโอนไว้ในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถนั้น มาตรา ๘๓ เมื่อผู้ตรวจการตรวจพบว่ารถคันใดมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือมีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ผู้ตรวจการรายงานให้นายทะเบียนทราบ แต่ถ้าปรากฏโดยชัดแจ้งว่าการใช้รถคันนั้นต่อไปน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายแก่การขนส่ง ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจสั่งระงับใช้ไว้เป็นการชั่วคราวได้ และให้รีบรายงานให้นายทะเบียนทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถตามวรรคหนึ่ง จัดการส่งรถคันนั้นไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามรายงานของผู้ตรวจการภายในเวลาที่กำหนด เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งตามวรรคสองแล้ว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตงดการใช้รถดังกล่าวไว้จนกว่านายทะเบียนจะมีคำสั่งอนุญาตให้ใช้ได้ต่อไป มาตรา ๘๔ เมื่อพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตเห็นว่ารถที่นำมาให้ตรวจตามมาตรา ๘๓ สมควรจะต้องซ่อมแซม ปรับปรุง เพื่อให้รถกลับมีสภาพมั่นคงแข็งแรง หรือจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้แจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดำเนินการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง แล้วให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องและรายงานให้นายทะเบียนทราบ เมื่อได้พิจารณาเห็นสมควรตามรายงานของพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถคันนั้นต่อไปได้ มาตรา ๘๕ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้ กรมการขนส่งทางบกจะกำหนดเวลาการชำระภาษีรถประจำปีสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแต่ละรายก็ได้ และให้คำนวณภาษีตามน้ำหนักรถตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ในการคำนวณน้ำหนักรถ ให้รวมน้ำหนักของรถและเครื่องอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับตัวรถตามปกติแต่ไม่รวมน้ำหนักของน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเครื่อง น้ำและเครื่องมือประจำรถ เศษของหนึ่งกิโลกรัมให้ปัดทิ้ง เงินภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้ที่จัดเก็บได้ในกรุงเทพมหานครให้ตกเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดอื่นให้ตกเป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนั้น โดยให้จังหวัดจัดสรรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง[๑๕] มาตรา ๘๖ ภาษีรถให้ชำระล่วงหน้าเป็นรายปีต่อนายทะเบียนและจะขอชำระเป็นงวดก็ได้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มตามที่กำหนดในกฎกระทรวง รถที่จดทะเบียนใหม่ในงวดใด ให้ชำระภาษีตั้งแต่งวดนั้นเป็นต้นไป ถ้าเจ้าของรถไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่จะต้องชำระให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือน หรือเศษของเดือนของภาษีที่ต้องชำระ เงินเพิ่มตามมาตรานี้ให้ถือเป็นเงินภาษี มาตรา ๘๖/๑[๑๖] รถที่ได้เสียภาษีรถประจำปีสำหรับปีใด ถ้าเปลี่ยนเจ้าของรถ เจ้าของใหม่ไม่ต้องเสียภาษีรถประจำปีในปีนั้นอีก มาตรา ๘๖/๒[๑๗] ในระหว่างที่เจ้าของรถค้างชำระภาษีรถประจำปี ให้นายทะเบียนมีอำนาจที่จะไม่รับดำเนินการทางทะเบียนจนกว่าเจ้าของรถจะเสียภาษีที่ค้างชำระให้ครบถ้วนก่อน หรือได้มีการดำเนินการตามมาตรา ๘๖/๓ วรรคสองแล้ว มาตรา ๘๖/๓[๑๘] รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีไม่ถึงสามปี หากเจ้าของรถประสงค์จะขอเสียภาษีรถประจำปีเพื่อใช้รถในปีนั้น ให้นายทะเบียนรับชำระภาษีนั้นได้ สำหรับภาษีรถที่ค้างชำระ ให้นายทะเบียนกำหนดจำนวนเงิน และระยะเวลาในการชำระตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ในกรณีที่เจ้าของรถผิดนัดไม่เสียภาษีรถที่ค้างชำระตามวรรคสองให้ครบถ้วน นายทะเบียนมีอำนาจที่จะไม่รับดำเนินการทางทะเบียน จนกว่าเจ้าของรถจะเสียภาษีรถที่ค้างชำระให้ครบถ้วน มาตรา ๘๖/๔[๑๙] รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีติดต่อกันครบสามปี ให้การจดทะเบียนรถเป็นอันระงับไป ในการนี้ให้นายทะเบียนประกาศหมายเลขทะเบียนพร้อมทั้งจำนวนภาษีที่ค้างชำระไว้ ณ ที่ทำการนายทะเบียนและในสถานที่ที่อธิบดีประกาศกำหนด และแจ้งให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถทราบ และให้บุคคลดังกล่าวส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถต่อนายทะเบียนและนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียนเพื่อบันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้แจ้งและปิดประกาศดังกล่าว ในกรณีที่เจ้าของรถหรือผู้ครองครอบรถมิได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนหรือผู้ตรวจการหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจยึดแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถได้ ให้ภาระภาษีรถประจำปีหลังจากปีที่สามเป็นอันระงับไป แต่เจ้าของรถหรือผู้ครอบครอบรถยังคงต้องเสียภาษีที่ค้างชำระให้ครบถ้วน และให้นำมาตรา ๘๖/๒ และมาตรา ๘๖/๓ วรรคสอง และวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๗ รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีแล้ว ถ้าต่อมามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงเพิ่มเติม เป็นเหตุให้รถมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากเดิม เจ้าของรถจะต้องเสียภาษีเพิ่มตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นด้วย และให้นำมาตรา ๘๖ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๘[๒๐] รถที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคลของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น วัด มูลนิธิ และสภากาชาดไทย ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี มาตรา ๘๘ ทวิ[๒๑] (ยกเลิก) มาตรา ๘๙ รถที่ได้จดทะเบียนแล้ว ถ้าไม่ได้เสียภาษีตามกำหนดตามมาตรา ๘๖ เจ้าของรถต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบพร้อมกับนำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถนั้นคืนต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งจะต้องเสียภาษีครั้งถัดไปตามมาตรา ๘๖ มาตรา ๙๐ เจ้าของรถต้องติดแผ่นป้ายเลขทะเบียนและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่นายทะเบียนออกให้ไว้กับตัวรถตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๙๑ ในกรณีที่แผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ ให้เจ้าของรถยื่นคำขอ ขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีต่อนายทะเบียน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุดหรือลบเลือนดังกล่าว หมวด ๗ ผู้ประจำรถ มาตรา ๙๒ ผู้ประจำรถ ได้แก่ (๑) ผู้ขับรถ (๒) ผู้เก็บค่าโดยสาร (๓) นายตรวจ (๔) ผู้บริการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๓ ห้ามมิให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๔ ใบอนุญาตสำหรับผู้ประจำรถ มี ๔ ประเภท คือ (๑) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ (๒) ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร (๓) ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ (๔) ใบอนุญาตเป็นผู้บริการ ใบอนุญาตแต่ละประเภทจะใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตประเภทที่หนึ่ง ประเภทที่สาม และประเภทที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตประเภทที่สองได้ มาตรา ๙๕[๒๒] ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถมีดังนี้ (๑) ชนิดที่หนึ่ง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกินยี่สิบคน (๒) ชนิดที่สอง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่าสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารเกินยี่สิบคน (๓) ชนิดที่สาม ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งโดยสภาพใช้สำหรับลากจูงรถอื่นหรือล้อเลื่อนที่บรรทุกสิ่งใด ๆ บนล้อเลื่อนนั้น (๔) ชนิดที่สี่ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภท หรือชนิดและลักษณะการบรรทุกตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใบอนุญาตแต่ละชนิดใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตชนิดที่สอง ชนิดที่สาม และชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่หนึ่งได้ ใบอนุญาตชนิดที่สามและชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สองได้ และใบอนุญาตชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สามได้ ประกาศของอธิบดีตามความใน (๔) ของวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามมาตรา ๙๓ ในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องมีคุณสมบัติและลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีความรู้และความสามารถตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๓) ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยความเหมาะสม (๔) ไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๕) ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจ (๖) ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพติดให้โทษ (๗) ไม่เป็นผู้มีใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถประเภทหรือชนิดเดียวกับที่ได้รับอนุญาตอยู่แล้ว (๘) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เว้นแต่การเพิกถอนใบอนุญาตนั้นพ้นกำหนดสามปีแล้วนับแต่วันที่มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต (๙) ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่มิใช่เกี่ยวกับการใช้รถในการกระทำผิดหรือความผิดลหุโทษ หรือได้พ้นโทษมาแล้วเกินสามปี (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยถูกควบคุมตัวเพราะมีพฤติการณ์เป็นภัยต่อสังคม หรือเป็นอันธพาล เว้นแต่ได้พ้นจากการควบคุมตัวมาแล้วเกินหนึ่งปี มาตรา ๙๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง และได้ผ่านการศึกษาและจบหลักสูตรจากโรงเรียนการขนส่งของกรมการขนส่งทางบกหรือโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง การรับรองโรงเรียนสอนขับรถตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และผู้บริการต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในการขนส่งส่วนบุคคลต้องมีคุณสมบัติและมีลักษณะตามมาตรา ๙๖ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐๐[๒๓] ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถยื่นคำขอต่อนายทะเบียนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด มาตรา ๑๐๑ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถต้องมีใบอนุญาตอยู่กับตัวและต้องแสดงต่อนายทะเบียนหรือผู้ตรวจการเมื่อขอตรวจ มาตรา ๑๐๒ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถต้อง (๑) แต่งกายสะอาดเรียบร้อยตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง (๒) ไม่แสดงกิริยาหรือใช้ถ้อยคำเป็นการเสียดสี ดูหมิ่น ก้าวร้าว รังแก รบกวน หรือหยาบหยามผู้หนึ่งผู้ใด หรือแสดงกิริยาวาจาหรือส่งเสียงด้วยประการหนึ่งประการใดในลักษณะไม่สมควรหรือไม่สุภาพ (๓) ไม่เสพหรือเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น (๓ ทวิ)[๒๔] ไม่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (๓ ตรี)[๒๕] ไม่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (๔) ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐๒ ทวิ[๒๖] ในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใด ในขณะปฏิบัติหน้าที่นั้นมีสารอยู่ในร่างกายอันเกิดจากการเสพสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น หรือยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจมีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่าผู้นั้นมีสารนั้น ๆ อยู่ในร่างกายหรือไม่ เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ วิธีการตรวจหรือทดสอบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๐๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถนอกจากจะต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๒ แล้ว จะต้อง (๑) ไม่ขับรถในเวลาที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนความสามารถ (๒) ไม่รับบรรทุกบุคคลที่เป็นโรคเรื้อนหรือโรคติดต่อที่น่ารังเกียจไปกับผู้โดยสารอื่น (๓) ไม่รับบรรทุกศพ สัตว์ หรือสิ่งของที่อาจเกิดอันตรายหรือเป็นที่พึงรังเกียจไปกับผู้โดยสาร (๔)[๒๗] ไม่รับบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง ระเบิด หรือวัตถุอันตรายโดยฝ่าฝืนข้อห้าม ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๕) ต้องหยุดหรือจอดรถ ณ สถานีขนส่งและปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่งตามมาตรา ๑๙ (๘) และ (๑๐) มาตรา ๑๐๓ ทวิ[๒๘] ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในการปฏิบัติหน้าที่ขับรถในรอบยี่สิบสี่ชั่วโมง ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขับรถติดต่อกันเกินสี่ชั่วโมงนับแต่ขณะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ขับรถ แต่ถ้าในระหว่างนั้น ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถได้พักติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมง ก็ให้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถต่อไปได้อีกไม่เกินสี่ชั่วโมงติดต่อกัน มาตรา ๑๐๔ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถกระทำการใด ๆ ให้ผู้โดยสารจำต้องลงจากรถก่อนที่จะได้โดยสารถึงจุดหมายปลายทาง โดยที่ได้ชำระค่าโดยสารถูกต้องตามอัตราที่กำหนดแล้ว มาตรา ๑๐๕ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถละเว้นการหยุดรถเพื่อรับหรือส่งผู้โดยสาร ณ ที่ที่มีเครื่องหมายให้รถนั้นหยุด ในเมื่อปรากฏว่ามีผู้โดยสารต้องการให้หยุดรถเพื่อรับหรือส่ง มาตรา ๑๐๖ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถกระทำการใด ๆ อันเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร มาตรา ๑๐๖ ทวิ[๒๙] ในกรณีที่มีความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และมีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศที่มีความตกลงดังกล่าวกับรัฐบาลไทย อาจใช้ใบอนุญาตขับรถของประเทศนั้นขับรถในราชอาณาจักรได้ตามประเภทและชนิดของรถที่ระบุไว้ในใบอนุญาตขับรถนั้น แต่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาและหรือความตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ และตามบทบัญญัติทั้งหลายในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๗ ในการขนส่งประจำทางหรือการขนส่งไม่ประจำทางระหว่างจังหวัดหรือระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถรับบรรทุกผู้โดยสารเกินจำนวนที่นั่งผู้โดยสารที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต มาตรา ๑๐๘ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๖ มาตรา ๙๗ มาตรา ๙๘ หรือมาตรา ๙๙ หรือบกพร่องไปในภายหลังเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้นเสีย มาตรา ๑๐๙ ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายในหมวดนี้ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจยึดใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถของผู้นั้น และสั่งเป็นหนังสือให้ผู้นั้นไปรายงานตนต่อนายทะเบียนภายในเจ็ดสิบสองชั่วโมง คำสั่งนั้นให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถชั่วคราวภายในกำหนดเวลาดังกล่าวนั้น ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้นได้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือจะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้นเสียก็ได้ มาตรา ๑๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถซึ่งถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๑๑๑ ให้นำบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสารและนายตรวจมาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๘ ผู้โดยสาร มาตรา ๑๑๒ ผู้โดยสารต้องชำระค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๑๓ ผู้โดยสารต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ตลอดเวลาที่อยู่ในระหว่างการโดยสาร ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีการประกาศข้อกำหนดตามวรรคหนึ่งปิดไว้ ณ ที่เปิดเผยในรถ หมวด ๙ สถานีขนส่ง มาตรา ๑๑๔ สถานีขนส่งมี ๒ ประเภท คือ (๑) สถานีขนส่งผู้โดยสาร (๒) สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ ลักษณะของสถานีขนส่งตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๑๕ ให้กรมการขนส่งทางบกโดยอนุมัติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง จัดให้มีสถานีขนส่งขึ้นในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและในเขตท้องที่จังหวัดอื่น โดยจะดำเนินการเอง หรือจะมอบหมายให้รัฐวิสาหกิจหรือองค์การของรัฐเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด บุคคลอื่นใดประสงค์จะจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางก่อน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดให้มีหรือจัดตั้งสถานีขนส่งขึ้นที่ใด เมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๑๖ ให้อธิบดีมีอำนาจกำกับและควบคุมการดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์แห่งการนี้จะแต่งตั้งข้าราชการและหรือลูกจ้างสังกัดกรมการขนส่งทางบกทำหน้าที่เป็นนายสถานีและเจ้าหน้าที่สถานีตามจำนวนที่เห็นสมควร มีอำนาจกำกับและควบคุมดังกล่าวด้วยก็ได้ มาตรา ๑๑๗ ในการบริหารงานที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งของกรมการขนส่งทางบกตามมาตรา ๑๑๕ วรรคหนึ่ง อธิบดีจะแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่เกินแปดคนเพื่อดูแลควบคุมและดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งก็ได้ กรรมการที่อธิบดีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการของคณะกรรมการ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการนี้โดยอนุโลม มาตรา ๑๑๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสาม ต้องมีคุณสมบัติและลักษณะตามมาตรา ๒๔ มาตรา ๑๑๙ ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งให้มีอายุตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดแต่ไม่เกินยี่สิบปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกิจการสถานีขนส่งรวมทั้งการรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยในบริเวณสถานีขนส่งนั้น มาตรา ๑๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างประจำสถานีขนส่งตลอดเวลา โดยให้มีหน้าที่ตรวจสอบสภาพรถขนส่งประจำทาง ซึ่งต้องหยุดหรือจอดเพื่อการขนส่ง ณ สถานีขนส่งแห่งนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัย คุณสมบัติและจำนวนเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๑๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีอู่ซ่อมรถและบริการซ่อมรถเพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่รถที่ใช้สถานีขนส่งนั้น มาตรา ๑๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีบริเวณที่จอดพักรถตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๑๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีสมุดทะเบียนการเดินรถที่ผ่านเข้าออกสถานีขนส่งตามแบบที่อธิบดีกำหนด สมุดทะเบียนการเดินรถต้องเก็บรักษาไว้ในที่ทำการของสถานีขนส่งแห่งนั้น พร้อมที่จะให้นายทะเบียน พนักงานตรวจสภาพหรือผู้ตรวจการตรวจดูได้ทุกเวลา มาตรา ๑๒๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งเรียกเก็บค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่งได้ไม่เกินอัตราตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด หมวด ๑๐ บทกำหนดโทษ มาตรา ๑๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๗๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๗[๓๐] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๖ วรรคสอง มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ (๑) (๒) หรือ (๔) มาตรา ๑๐๓ มาตรา ๑๐๓ ทวิ มาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๐๖ หรือมาตรา ๑๐๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๗ ทวิ[๓๑] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓ ทวิ) หรือ (๓ ตรี) ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี อีกหนึ่งในสาม มาตรา ๑๒๗ ตรี[๓๒] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามมาตรา ๑๐๒ ทวิ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๒๗ จัตวา[๓๓] ในกรณีที่ผู้ขับรถขับรถที่ใช้ในการขนส่งซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่น ถ้าปรากฏว่าในขณะขับรถ ผู้ขับรถนั้นกระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓) (๓ ทวิ) หรือ (๓ ตรี) ให้ถือว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคสอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นและได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ขับรถกระทำการดังกล่าว มาตรา ๑๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๑) ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๑) ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๓) (๑๔) หรือ (๑๕) หรือในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๓๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๓๖ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง มาตรา ๓๒ วรรคสอง มาตรา ๓๓ วรรคสอง มาตรา ๓๔ วรรคสอง มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๗ หรือมาตรา ๑๑๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๓๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๙ ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาตคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๐ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองแสนบาท มาตรา ๑๓๘ ทวิ[๓๔] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท มาตรา ๑๓๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๔๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๔๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๒ หรือมาตรา ๔๗ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา ๔๓ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕ มาตรา ๗๙ หรือมาตรา ๘๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๔๔ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่อธิบดี นายทะเบียน ผู้ตรวจการ หรือพนักงานตรวจสภาพ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ หรือมาตรา ๔๙ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนกลางซึ่งสั่งตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๖๘ ต้องระวางโทษปรับหนึ่งแสนบาท หรือปรับเป็นรายวันวันละห้าพันบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๔๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๖๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๔๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๖ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดใช้รถโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๑ หรือฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ตรวจการหรือนายทะเบียนตามมาตรา ๘๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๘ มาตรา ๘๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๘๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๔๙/๑[๓๕] เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๖/๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๕๐ เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท มาตรา ๑๕๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท แต่ถ้าผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง และได้กระทำการใด ๆ อันเป็นความผิดที่กำหนดไว้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดและต้องระวางโทษสำหรับการกระทำนั้นเช่นเดียวกับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถด้วย[๓๖] มาตรา ๑๕๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างที่ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๑๐๙ หรือปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่ถ้าผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท มาตรา ๑๕๓ ผู้โดยสารผู้ใดโดยสารรถโดยมีเจตนาไม่ชำระค่าขนส่งหรือชำระค่าขนส่งไม่ครบถ้วนตามอัตราที่กำหนด หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๑๑๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๕๔ ผู้ใดจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๕๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๓ หรือมาตรา ๑๒๔ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๕๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถผู้ใดไม่นำรถเข้าหยุดหรือจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่งตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๑๕๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งนำรถเข้าหยุดหรือจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่งผู้ใดไม่ชำระค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่งให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา ๑๒๕ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๑๕๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดโดยทุจริตหรือจงใจออกใบรับรองตรวจสภาพรถโดยไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท และนายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นเสียได้ มาตรา ๑๕๙ ผู้ใดเรียกเก็บค่าขนส่ง ค่าบริการรับจัดการขนส่ง ค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่ง หรือค่าบริการอย่างอื่นผิดไปจากอัตราที่คณะกรรมการกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๖๐ ผู้ใด (๑) ใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้แก่ผู้อื่น (๒) ใช้เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้สำหรับรถคันหนึ่งกับรถอีกคันหนึ่ง (๓) ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้แก่ตน (๔) เปลี่ยนแปลงหรือปิดบังทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ซึ่งแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ หรือ (๕) ใช้รถที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา ๘๘ ให้ผิดไปจากวัตถุประสงค์ที่ได้รับยกเว้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๖๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบกในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสาร และนายตรวจตามมาตรา ๑๑๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๖๒ ผู้ใดเปลี่ยนแปลง ย้าย ทำลาย หรือกระทำให้เสียหายด้วยประการใด ๆ แก่เครื่องหมายหรือสิ่งอื่นใดที่ทางราชการได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการขนส่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๖๓ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้ เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ดำเนินคดีเพื่อฟ้องร้องต่อไป บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๖๔ ในระหว่างที่ยังมิได้มีกฎกระทรวง ข้อกำหนด หรือระเบียบตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กฎกระทรวง ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศใด ๆ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ และพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้คงใช้บังคับต่อไป มาตรา ๑๖๕[๓๗] บรรดาใบอนุญาตที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ และถ้าจะต่ออายุใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ บรรดารถที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้ามีการแก้ไขดัดแปลงโครงรถหรือขนาดสัดส่วนของตัวถังกว้างหรือยาวกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อยู่แล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และการแก้ไขดัดแปลงนั้นกระทำได้โดยชอบตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ที่ใช้บังคับในขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นรถที่ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๗๑ มาตรา ๑๖๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง และเจ้าของรถที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ ปฏิบัติการให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๖๗ รถที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่ถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้ ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้รถตามวรรคหนึ่ง ซึ่งจะชำระภาษีครั้งแรกตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องชำระภาษีคราวละกี่งวดก็ได้ มาตรา ๑๖๘ คำขออนุญาตใด ๆ ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ถือว่าเป็นคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม และถ้าคำขออนุญาตดังกล่าวมีข้อความแตกต่างไปจากคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมคำขออนุญาตเพื่อให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ได้ มาตรา ๑๖๙ ในเขตท้องที่จังหวัดใดในระหว่างที่ยังไม่มีขนส่งจังหวัด ให้อำนาจและหน้าที่ของขนส่งจังหวัด เป็นอำนาจและหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕[๓๘] (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งส่วนบุคคล ให้จัดเก็บภาษีประจำปี ดังนี้ น้ำหนักรถเป็นกิโลกรัม รถที่ใช้ในการ ขนส่ง ประจำทาง รถที่ใช้ในการ ขนส่ง ไม่ประจำทาง รถที่ใช้ในการ ขนส่งโดยรถ ขนาดเล็ก รถที่ใช้ในการ ขนส่งส่วนบุคคล ไม่มากกว่า ๕๐๐ กิโลกรัม ๓๐๐ บาท ๔๕๐ บาท ๓๐๐ บาท ๑๕๐ บาท ตั้งแต่ ๕๐๑ ถึง ๗๕๐ กิโลกรัม ๔๐๐ บาท ๖๐๐ บาท ๔๐๐ บาท ๓๐๐ บาท ตั้งแต่ ๗๕๑ ถึง ๑,๐๐๐ กิโลกรัม ๕๐๐ บาท ๗๕๐ บาท ๕๐๐ บาท ๔๕๐ บาท ตั้งแต่ ๑,๐๐๑ ถึง ๑,๒๕๐ กิโลกรัม ๖๐๐ บาท ๙๐๐ บาท ๖๐๐ บาท ๘๐๐ บาท ตั้งแต่ ๑,๒๕๑ ถึง ๑,๕๐๐ กิโลกรัม ๗๐๐ บาท ๑,๐๕๐ บาท ๗๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ตั้งแต่ ๑,๕๐๑ ถึง ๑,๗๕๐ กิโลกรัม ๙๐๐ บาท ๑,๓๕๐ บาท ๙๐๐ บาท ๑,๓๐๐ บาท ตั้งแต่ ๑,๗๕๑ ถึง ๒,๐๐๐ กิโลกรัม ๑,๑๐๐ บาท ๑,๖๕๐ บาท ๑,๑๐๐ บาท ๑,๖๐๐ บาท ตั้งแต่ ๒,๐๐๑ ถึง ๒,๕๐๐ กิโลกรัม ๑,๓๐๐ บาท ๑,๙๕๐ บาท ๑,๓๐๐ บาท ๑,๙๐๐ บาท ตั้งแต่ ๒,๕๐๑ ถึง ๓,๐๐๐ กิโลกรัม ๑,๕๐๐ บาท ๒,๒๕๐ บาท ๑,๕๐๐ บาท ๒,๒๐๐ บาท ตั้งแต่ ๓,๐๐๑ ถึง ๓,๕๐๐ กิโลกรัม ๑,๗๐๐ บาท ๒,๕๕๐ บาท ๒,๔๐๐ บาท ตั้งแต่ ๓,๕๐๑ ถึง ๔,๐๐๐ กิโลกรัม ๑,๙๐๐ บาท ๒,๘๕๐ บาท ๒,๖๐๐ บาท ตั้งแต่ ๔,๐๐๑ ถึง ๔,๕๐๐ กิโลกรัม ๒,๑๐๐ บาท ๓,๑๕๐ บาท ๒,๘๐๐ บาท ตั้งแต่ ๔,๕๐๑ ถึง ๕,๐๐๐ กิโลกรัม ๒,๓๐๐ บาท ๓,๔๕๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท ตั้งแต่ ๕,๐๐๑ ถึง ๖,๐๐๐ กิโลกรัม ๒,๕๐๐ บาท ๓,๗๕๐ บาท ๓,๒๐๐ บาท ตั้งแต่ ๖,๐๐๑ ถึง ๗,๐๐๐ กิโลกรัม ๒,๗๐๐ บาท ๔,๐๕๐ บาท ๓,๔๐๐ บาท ตั้งแต่ ๗,๐๐๑ กิโลกรัม ขึ้นไป ๒,๙๐๐ บาท ๔,๓๕๐ บาท ๓,๖๐๐ บาท (๒) รถตาม (๑) ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า หรือใช้พลังงานทดแทน พลังงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือพลังงานอย่างประหยัด ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้จัดเก็บภาษีประจำปีในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนดไว้ตาม (๑) (๓) รถตาม (๑) ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นก๊าซไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่เป็นเชื้อเพลิง ให้จัดเก็บภาษีประจำปี ดังนี้ (ก) ระบบเชื้อเพลิงที่ใช้ก๊าซธรรมชาติดังกล่าวเพียงอย่างเดียว ให้จัดเก็บในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนดไว้ตาม (๑) (ข) ระบบเชื้อเพลิงที่ใช้ก๊าซธรรมชาติดังกล่าวร่วมหรือสลับกับน้ำมันเชื้อเพลิงให้จัดเก็บในอัตราสามในสี่ของอัตราที่กำหนดไว้ตาม (๑) อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ต่อเส้นทางหนึ่ง ฉบับละ ๑๕,๐๐๐ บาท (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ไม่ประจำทาง ฉบับละ ๔,๐๐๐ บาท (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดย รถขนาดเล็ก ฉบับละ ๑,๕๐๐ บาท (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ฉบับละ ๑,๕๐๐ บาท (๕) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ (ก) ตลอดปี ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (ข) เฉพาะคราว ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๖) ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (๗) ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการ สถานีขนส่ง ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๘) ใบอนุญาตผู้ขับรถและใบอนุญาต นายตรวจ ฉบับละ ๒๐๐ บาท (๙) ใบอนุญาตผู้เก็บค่าโดยสารและ ใบอนุญาตผู้บริการ ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๐) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๑๑) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๑๒) การโอนทะเบียนรถ ครั้งละ ๒๐๐ บาท (๑๓) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและ เครื่องหมาย แผ่นละ ๑๐๐ บาท (๑๔) คำขออนุญาตประกอบการขนส่ง ประจำทาง ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๕) คำขออื่น ๆ ฉบับละ ๒๐ บาท (๑๖) การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตแต่ละฉบับ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว และสภาพการณ์ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก บทบัญญัติทั้งหลายที่ใช้บังคับอยู่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการขนส่งเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓[๓๙] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผลแห่งการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ส่งผลกระทบถึงบรรดารถบรรทุกขนส่งสินค้า ของผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล คือ ก. รถบรรทุกที่ใช้รถมีน้ำหนักรถต่ำกว่าหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมทั่วพระราชอาณาจักรสำหรับประกอบการภายในครอบครัว ต่างได้รับความเดือดร้อนอย่างยิ่ง เพราะต้องไปยื่นขอจดทะเบียนขนส่งส่วนบุคคล และต้องใช้ใบอนุญาตขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก นอกเหนือไปจากใบอนุญาตของกรมตำรวจที่มีอยู่แล้ว ก่อให้เกิดความเดือดร้อน เพราะรถบรรทุกขนาดเล็กเหล่านี้หาจำต้องใช้ความชำนาญเชี่ยวชาญเป็นพิเศษไม่ เนื่องจากเป็นรถที่ส่วนมากใช้ในธุรกิจส่วนตัว ภายในครัวเรือนและใช้ในการขนส่งพืชผลของเกษตรกร จึงสมควรได้รับการยกเว้นไม่ต้องไปจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก และการใช้ใบขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก ข. สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งได้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามใบอนุญาตนั้น การจำกัดท้องที่ทำการขนส่งนั้น ย่อมก่อให้เกิดความไม่สะดวกและเป็นธรรม เพราะผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลก็ย่อมหมายถึงประกอบธุรกิจส่วนตัวนั่นเอง ท้องที่ที่กำหนดให้แน่นอนย่อมเป็นเครื่องกีดขวางการปฏิบัติงาน เพราะการที่จะบรรทุกสินค้าของตนไปส่งยังที่ต่าง ๆ การที่จะต้องไปขออนุญาตเป็นครั้งคราวนั้นย่อมก่อให้เกิดภาวะสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ เป็นการเพิ่มราคาทุนโดยไม่จำเป็น ค. โดยทั่วไปการตรวจสภาพรถมักล่าช้า เมื่อนำรถไปขอรับการตรวจแล้วแต่ปรากฏว่ารถมีจำนวนมาก ตรวจสภาพไม่ทันหากนำไปวิ่งขนส่งก็จะต้องถูกจับกุม และมีโทษสูง และการที่จอดรอการตรวจสภาพเป็นระยะนาน ๆ นั้น ย่อมทำให้เศรษฐกิจกระทบกระเทือน จึงสมควรกำหนดเวลาตรวจไว้ และหากความล่าช้าเป็นเพราะความผิดของพนักงานหรือผู้มีอำนาจตรวจสภาพ ก็ไม่สมควรเอาโทษแก่ผู้ประกอบการขนส่งที่ขอตรวจสภาพไว้แล้ว เพราะโทษมีกำหนดสูง ง. การต่อใบอนุญาตตามบทเฉพาะกาลของใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งได้รับอนุญาตไว้แล้ว ก่อนใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ขนาดและส่วนซึ่งพนักงานตรวจสภาพตามกฎหมายเก่า ทั้งของกรมตำรวจและกรมการขนส่งทางบก ไม่เป็นระเบียบเดียวกัน และมีมาตรฐานต่างกัน ฉะนั้น การขอต่อใบอนุญาตใหม่จึงไม่สมควรนำเหตุผลของการผิดขนาดและส่วนมาเป็นข้อปฏิเสธ การขอต่อใบอนุญาตเก่านั้นอาศัยเหตุผลดังกล่าว จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฉบับนี้ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๔๐] มาตรา ๒ พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๕ อัตราภาษีรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ไม่ใช้บังคับแก่รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีรถประจำปีไว้แล้ว หรือที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ สำหรับภาษีรถประจำปีที่เสียไว้แล้ว หรือที่ค้างชำระนั้น มาตรา ๖ รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีรถประจำปีไว้แล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ หากเป็นรถที่ไม่ได้รับการลดภาษีรถประจำปีตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๘๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ให้เสียภาษีรถประจำปีสำหรับปีต่อไป ดังต่อไปนี้ (๑) ปีที่หนึ่ง ให้เสียในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๒) ปีที่สอง ให้เสียในอัตราสามในสี่ของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๓) ปีต่อไป ให้เสียในอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันมีรถจำนวนมากใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกิดความจำเป็นในการสั่งน้ำมันดีเซลหรือก๊าซเข้ามาในราชอาณาจักร ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการเพิ่มจำนวนรถที่ใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง และเพื่อเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๔๑] พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐[๔๒] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยได้ทำความตกลงกับประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน และโดยที่ประเทศไทยอาจทำความตกลงในทำนองเดียวกันกับประเทศอื่น ๆ ด้วย ซึ่งความตกลงดังกล่าวจะมีผลให้ผู้มีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือจากรัฐบาลของประเทศที่ประเทศไทยมีความตกลงด้วย สามารถใช้ใบอนุญาตขับรถนั้นขับรถในประเทศไทยได้ ฉะนั้น เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่กับต่างประเทศตามความตกลงดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕[๔๓] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ โดยเฉพาะผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถส่วนมากมักนิยมเสพยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ ทำให้เกิดอุบัติเหตุสร้างความสูญเสียแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนบนท้องถนนเป็นอันมาก สมควรมีบทบัญญัติกำหนดความผิดและกำหนดโทษเกี่ยวกับการเสพยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และให้อำนาจผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นหรือเสพยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบถึงเหตุดังกล่าวได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕[๔๔] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปรากฏว่าอุบัติเหตุที่เกิดจากรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก แต่โดยที่พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังไม่มีบทบัญญัติควบคุมการขนส่งวัตถุอันตรายไว้อย่างเพียงพอและเหมาะสม สมควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตรายเสียใหม่เพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗[๔๕] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีผู้นำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน หรือรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ไปใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างในลักษณะที่เป็นการแก่งแย่งแข่งขันกับผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง โดยมิได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และโดยที่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกได้บัญญัติยกเว้นไว้มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งโดยรถยนต์ดังกล่าว เป็นเหตุให้ทางราชการไม่สามารถเข้าควบคุมและจัดระเบียบการขนส่งได้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๗[๔๖] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๔ บรรดาใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ และถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาต ให้นำความในมาตรา ๑๐๐ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดให้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถมีอายุเพียงหนึ่งปี ทำให้ผู้ประกอบอาชีพเป็นผู้ประจำรถจะต้องมาต่อใบอนุญาตทุก ๆ หนึ่งปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นมากทำให้เกิดความไม่สะดวกเสียเวลาและค่าใช้จ่ายแก่ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวเป็นอย่างยิ่งในการที่จะต้องเดินทางมาต่อใบอนุญาตทุก ๆ ปี โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางไปทำงานในจังหวัดอื่น การกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวโดยไม่จำเป็น จึงสมควรให้มีการขยายอายุของใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเพิ่มขึ้นจากหนึ่งปีเป็นสามปี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒[๔๗] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันอุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดบนท้องถนนอันเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลต่าง ๆ นั้น มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ขับรถเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น เสพยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ขับรถติดต่อกันนานเกินไปจนทำให้ผู้ขับรถเกิดความตึงเครียด ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงอันเนื่องมาจากกรณีดังกล่าว สมควรกำหนดห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้หรือยินยอมให้ผู้ขับรถซึ่งมีอาการหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ขับรถที่ใช้ในการขนส่ง และกำหนดให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลและป้องกันมิให้ผู้ขับรถที่มีอาการหรือกระทำการเช่นว่านั้นขับรถที่ใช้ในการขนส่งด้วย รวมทั้งสมควรกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขับรถได้ไม่เกินสี่ชั่วโมงติดต่อกัน เพื่อไม่ให้เกิดความตึงเครียดจนเกินไป นอกจากนั้นสมควรกำหนดให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และได้กระทำการใด ๆ อันเป็นความผิดที่กำหนดไว้สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่กระทำความผิดดังกล่าวด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒[๔๘] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังมิได้บัญญัติให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ เพื่อที่จะให้มีการจัดสรรภาษีรถที่จัดเก็บได้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ นอกจากนี้โดยที่ถ้อยคำเกี่ยวกับราชการส่วนท้องถิ่นในกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกมีใช้อยู่หลายคำตามรูปแบบของราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งมีอยู่หลากหลาย โดยเมื่อจัดตั้งราชการส่วนท้องถิ่นขึ้นใหม่ ก็จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกครั้ง เพื่อให้ราชการส่วนท้องถิ่นนั้นได้รับการจัดสรรภาษีรถ ดังเช่นในกรณีขององค์การบริหารส่วนตำบลนี้เป็นต้น ฉะนั้น เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลได้รับจัดสรรภาษีรถ และเพื่อปรับปรุงถ้อยคำเกี่ยวกับราชการส่วนท้องถิ่นให้ครอบคลุมถึงราชการส่วนท้องถิ่นทุกประเภท จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ *พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕[๔๙] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๘ ในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้แก้ไขคำว่า “เลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทหรือผู้แทน” เป็น “อธิบดีกรมทางหลวงชนบทหรือผู้แทน” และคำว่า “ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนมหาดไทย” เป็น “ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖[๕๐] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๕ รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) ให้นายทะเบียนประกาศหมายเลขทะเบียนพร้อมทั้งจำนวนภาษีค้างชำระไว้ ณ ที่ทำการนายทะเบียนและในสถานที่ที่อธิบดีประกาศกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (๒) ให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถทำความตกลงกับนายทะเบียนในการชำระภาษีค้างชำระภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้มีประกาศตาม (๑) โดยให้ได้รับยกเว้นเงินเพิ่ม หากมีภาษีค้างชำระเกินกว่าสามปี ให้คิดภาษีค้างชำระเพียงสามปี และให้ผ่อนชำระเป็นงวดได้ ตามระเบียบที่อธิบดีประกาศกำหนด (๓) เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถที่มิได้ดำเนินการตาม (๒) ต้องเสียภาษีค้างชำระทั้งหมด พร้อมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ (๔) เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตาม (๒) รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีตั้งแต่สามปีขึ้นไป หรือรถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีไม่ถึงสามปี แต่ต่อมาภายหลังค้างชำระภาษีติดต่อกันครบสามปีให้ถือว่าทะเบียนรถเป็นอันระงับไป และให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถมีหน้าที่ส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถต่อนายทะเบียน และนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียน เพื่อบันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถภายในสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาตาม (๒) หรือนับแต่วันค้างชำระภาษีติดต่อกันครบสามปี แล้วแต่กรณี ให้นำมาตรา ๘๖/๒ มาตรา ๘๖/๓ วรรคสองและวรรคสาม และมาตรา ๘๖/๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถผู้ใดไม่ส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียนตามความใน (๔) ให้นำโทษตามมาตรา ๑๔๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีเจ้าของรถเป็นจำนวนมากละเลยหรือหลีกเลี่ยงการชำระภาษีรถประจำปี ทำให้มีภาษีรถประจำปีค้างชำระเพิ่มขึ้นทุกปี และเมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าของรถก็เกิดข้อโต้แย้งในภาระภาษีรถประจำปีที่ค้างชำระ สมควรปรับปรุงมาตรการในการจัดเก็บภาษีรถประจำปีที่ค้างชำระให้ได้ผลอย่างจริงจัง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๐[๕๑] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์ราคาน้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัญหาทางด้านมลภาวะทางอากาศที่เพิ่มมากขึ้น และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอื่นทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง สนับสนุนการใช้พลังงานอย่างประหยัด และการใช้พลังงานสะอาดเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อันจะเป็นการช่วยให้มีการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมและคุ้มค่าและก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของประเทศ สมควรส่งเสริมการใช้รถที่ใช้พลังงานดังกล่าวโดยกำหนดให้มีอัตราภาษีประจำปีสำหรับรถเหล่านี้เป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ กมลฤทัย/แก้ไข ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ชาญ/ตรวจ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๓๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๑ มีนาคม ๒๕๒๒ [๒] มาตรา ๔ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๓] มาตรา ๔ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๔] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗ [๕] มาตรา ๒๔ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๖] มาตรา ๒๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๗] มาตรา ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๘] มาตรา ๓๔ (๔) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๙] มาตรา ๓๔ (๕) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๐] มาตรา ๓๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๑] มาตรา ๔๐ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๒] มาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๓] มาตรา ๗๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๑๔] มาตรา ๗๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๑๕] มาตรา ๘๕ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๖] มาตรา ๘๖/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๑๗] มาตรา ๘๖/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๑๘] มาตรา ๘๖/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๑๙] มาตรา ๘๖/๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๒๐] มาตรา ๘๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๑] มาตรา ๘๘ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ต่อมามีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙ (สมัยสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ที่ประชุมได้ลงมติไม่อนุมัติ [๒๒] มาตรา ๙๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๓] มาตรา ๑๐๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๗ [๒๔] มาตรา ๑๐๒ (๓ ทวิ) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๕] มาตรา ๑๐๒ (๓ ตรี) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๖] มาตรา ๑๐๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๗] มาตรา ๑๐๓ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๘] มาตรา ๑๐๓ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๙] มาตรา ๑๐๖ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ [๓๐] มาตรา ๑๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๑] มาตรา ๑๒๗ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๒] มาตรา ๑๒๗ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๓๓] มาตรา ๑๒๗ จัตวา เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๔] มาตรา ๑๓๘ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๕] มาตรา ๑๔๙/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๓๖] มาตรา ๑๕๑ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๗] มาตรา ๑๖๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๓๘] บัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๓๙] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๖๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๕ ตุลาคม ๒๕๒๓ [๔๐] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑/๓๑ มกราคม ๒๕๒๙ [๔๑] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๗๕/หน้า ๑๑/๖ พฤษภาคม ๒๕๒๙ [๔๒] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓/๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๐ [๔๓] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๔/หน้า ๑๔/๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ [๔๔] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๘/หน้า ๙/๕ เมษายน ๒๕๓๕ [๔๕] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๒๖ ก/หน้า ๑/๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๗ [๔๖] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๑/๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๗ [๔๗] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๒๓/๒๕ มีนาคม ๒๕๔๒ [๔๘] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๒๗/๒๕ มีนาคม ๒๕๔๒ [๔๙] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖๖/๘ ตุลาคม ๒๕๔๕ [๕๐] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๔๘ ก/หน้า ๙/๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖ [๕๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๑/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๐
567189
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ ท้ายพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้บัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ ท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งส่วนบุคคล ให้จัดเก็บภาษีประจำปี ดังนี้ น้ำหนักรถเป็นกิโลกรัม รถที่ใช้ในการ ขนส่ง ประจำทาง รถที่ใช้ในการ ขนส่ง ไม่ประจำทาง รถที่ใช้ในการ ขนส่งโดยรถ ขนาดเล็ก รถที่ใช้ในการ ขนส่งส่วนบุคคล ไม่มากกว่า ๕๐๐ กิโลกรัม ๓๐๐ บาท ๔๕๐ บาท ๓๐๐ บาท ๑๕๐ บาท ตั้งแต่ ๕๐๑ ถึง ๗๕๐ กิโลกรัม ๔๐๐ บาท ๖๐๐ บาท ๔๐๐ บาท ๓๐๐ บาท ตั้งแต่ ๗๕๑ ถึง ๑,๐๐๐ กิโลกรัม ๕๐๐ บาท ๗๕๐ บาท ๕๐๐ บาท ๔๕๐ บาท ตั้งแต่ ๑,๐๐๑ ถึง ๑,๒๕๐ กิโลกรัม ๖๐๐ บาท ๙๐๐ บาท ๖๐๐ บาท ๘๐๐ บาท ตั้งแต่ ๑,๒๕๑ ถึง ๑,๕๐๐ กิโลกรัม ๗๐๐ บาท ๑,๐๕๐ บาท ๗๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ตั้งแต่ ๑,๕๐๑ ถึง ๑,๗๕๐ กิโลกรัม ๙๐๐ บาท ๑,๓๕๐ บาท ๙๐๐ บาท ๑,๓๐๐ บาท ตั้งแต่ ๑,๗๕๑ ถึง ๒,๐๐๐ กิโลกรัม ๑,๑๐๐ บาท ๑,๖๕๐ บาท ๑,๑๐๐ บาท ๑,๖๐๐ บาท ตั้งแต่ ๒,๐๐๑ ถึง ๒,๕๐๐ กิโลกรัม ๑,๓๐๐ บาท ๑,๙๕๐ บาท ๑,๓๐๐ บาท ๑,๙๐๐ บาท ตั้งแต่ ๒,๕๐๑ ถึง ๓,๐๐๐ กิโลกรัม ๑,๕๐๐ บาท ๒,๒๕๐ บาท ๑,๕๐๐ บาท ๒,๒๐๐ บาท ตั้งแต่ ๓,๐๐๑ ถึง ๓,๕๐๐ กิโลกรัม ๑,๗๐๐ บาท ๒,๕๕๐ บาท ๒,๔๐๐ บาท ตั้งแต่ ๓,๕๐๑ ถึง ๔,๐๐๐ กิโลกรัม ๑,๙๐๐ บาท ๒,๘๕๐ บาท ๒,๖๐๐ บาท ตั้งแต่ ๔,๐๐๑ ถึง ๔,๕๐๐ กิโลกรัม ๒,๑๐๐ บาท ๓,๑๕๐ บาท ๒,๘๐๐ บาท ตั้งแต่ ๔,๕๐๑ ถึง ๕,๐๐๐ กิโลกรัม ๒,๓๐๐ บาท ๓,๔๕๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท ตั้งแต่ ๕,๐๐๑ ถึง ๖,๐๐๐ กิโลกรัม ๒,๕๐๐ บาท ๓,๗๕๐ บาท ๓,๒๐๐ บาท ตั้งแต่ ๖,๐๐๑ ถึง ๗,๐๐๐ กิโลกรัม ๒,๗๐๐ บาท ๔,๐๕๐ บาท ๓,๔๐๐ บาท ตั้งแต่ ๗,๐๐๑ กิโลกรัม ขึ้นไป ๒,๙๐๐ บาท ๔,๓๕๐ บาท ๓,๖๐๐ บาท (๒) รถตาม (๑) ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า หรือใช้พลังงานทดแทน พลังงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือพลังงานอย่างประหยัด ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้จัดเก็บภาษีประจำปีในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนดไว้ตาม (๑) (๓) รถตาม (๑) ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นก๊าซไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่เป็นเชื้อเพลิง ให้จัดเก็บภาษีประจำปี ดังนี้ (ก) ระบบเชื้อเพลิงที่ใช้ก๊าซธรรมชาติดังกล่าวเพียงอย่างเดียว ให้จัดเก็บในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนดไว้ตาม (๑) (ข) ระบบเชื้อเพลิงที่ใช้ก๊าซธรรมชาติดังกล่าวร่วมหรือสลับกับน้ำมันเชื้อเพลิงให้จัดเก็บในอัตราสามในสี่ของอัตราที่กำหนดไว้ตาม (๑) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์ราคาน้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัญหาทางด้านมลภาวะทางอากาศที่เพิ่มมากขึ้น และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอื่นทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง สนับสนุนการใช้พลังงานอย่างประหยัด และการใช้พลังงานสะอาดเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อันจะเป็นการช่วยให้มีการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมและคุ้มค่าและก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของประเทศ สมควรส่งเสริมการใช้รถที่ใช้พลังงานดังกล่าวโดยกำหนดให้มีอัตราภาษีประจำปีสำหรับรถเหล่านี้เป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ สัญชัย/จัดทำ ๙ มกราคม ๒๕๕๑ วิมล/ปรับปรุง ๑๑ กันยายน ๒๕๖๓ ภิรมย์พร/ตรวจ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๑/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๐
567191
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 (Update ณ วันที่ 29/05/2546)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นปีที่ ๓๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ (๒) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ (๓) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ (๑) “การขนส่ง” หมายความว่า การขนคน สัตว์ หรือสิ่งของ โดยทางบกด้วยรถ (๒) “การขนส่งประจำทาง” หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนด (๓) “การขนส่งไม่ประจำทาง” หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่จำกัดเส้นทาง (๔)[๒] “การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก” หมายความว่า การขนส่งคนหรือสิ่งของหรือคนและสิ่งของรวมกันเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนดด้วยรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสี่พันกิโลกรัม (๕)[๓] “การขนส่งส่วนบุคคล” หมายความว่า การขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองด้วยรถที่มีน้ำหนักเกินกว่าหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม (๖) “การขนส่งระหว่างจังหวัด” หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทำระหว่างจังหวัดกับจังหวัด (๗) “การขนส่งระหว่างประเทศ” หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทำระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ (๘) “การรับจัดการขนส่ง” หมายความว่า การรับจ้างรวบรวมคน สัตว์หรือสิ่งของ และจัดให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำการขนส่งจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในความรับผิดชอบของผู้รับจัดการขนส่ง (๙) “รถ” หมายความว่า ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่รถไฟ (๑๐) “ผู้ตรวจการ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจการขนส่ง (๑๑) “พนักงานตรวจสภาพ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจความมั่นคงแข็งแรง ความสะอาด ความเรียบร้อย และความเหมาะสมของสภาพรถที่นำมาใช้ในการขนส่ง (๑๒) “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนกลาง หรือนายทะเบียนประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี (๑๓) “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง หรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี (๑๔) “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (๑๕) “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕[๔] พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (๑) การขนส่งโดยรถยนต์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร (๒) การขนส่งโดย (ก) รถยนต์รับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์บริการที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ข) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน และรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้าง (ค) รถยนต์สามล้อ รถจักรยานยนต์ และรถแทร็กเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (๓) การขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเป็นนายทะเบียนกลางมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งระหว่างจังหวัดและการขนส่งระหว่างประเทศ ให้นายทะเบียนกลางเป็นนายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานคร มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ภายในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ขนส่งจังหวัดเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัด มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในเขตจังหวัดของตน ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดทำแทนได้ การมอบหมายตามวรรคสี่ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพกับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกคณะหนึ่งประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร* อธิบดีกรมทางหลวง เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทย และมีความรู้หรือความจัดเจนในการขนส่ง การเศรษฐกิจหรือกฎหมาย ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๙ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งซ่อม ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วนั้น กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ มาตรา ๑๐ ผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ห้ามมิให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (๑) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๒) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นกรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง มาตรา ๑๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) รัฐมนตรีให้ออก (๔) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๒ ในการประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมแทน มาตรา ๑๓ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๔ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดนโยบายการขนส่งทางบกระยะสั้นและระยะยาวเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๒) กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาและดำเนินการสถานีขนส่งเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๓) กำหนดมาตรการและแผนพัฒนาการขนส่งทางบกเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๔) กำหนดมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยและความสะดวกในการขนส่งทางบก เพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (๕) กำหนดการห้ามรับจดทะเบียนรถเป็นครั้งคราวตามความจำเป็นโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (๖) ประสานงานที่เกี่ยวข้องระหว่างกันในด้านการขนส่งทางบก ตลอดจนประสานงานด้านการขนส่งทางบกกับการขนส่งทางน้ำและการขนส่งทางอากาศ (๗) ให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการขนส่งทางบก มาตรา ๑๕ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม หมวด ๒ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางคณะหนึ่ง ประกอบด้วยปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือผู้แทน อธิบดีกรมทางหลวงชนบทหรือผู้แทน* อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้แทน อธิบดีกรมทางหลวงหรือผู้แทน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้แทน เป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินสามคนเป็นกรรมการ ทั้งนี้ โดยให้มีผู้มีความรู้และมีความจัดเจนในการขนส่งรวมอยู่ด้วย ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ อัยการจังหวัด ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินห้าคน โดยมีนายกเทศมนตรีในจังหวัดนั้นรวมอยู่ด้วยหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ขนส่งจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๘ ให้นำมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง และคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดโดยอนุโลม มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดลักษณะของการขนส่งประจำทางและการขนส่งไม่ประจำทาง (๒) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัดและระหว่างประเทศ (๓) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัด และระหว่างประเทศ (๔) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๕) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๖) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๗) กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่ง (๘) กำหนดสถานที่ จัดให้มีหรือจัดตั้ง และระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่ง (๙) กำหนดชนิดหรือสภาพรถที่มิให้รับจดทะเบียน (๑๐) กำหนดประเภทหรือชนิดของรถที่ต้องเข้าหยุดหรือจอดเพื่อการรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่ง (๑๑) กำหนดที่หยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสาร (๑๒) วางมาตรการในการกำหนด อนุญาต เพิกถอนการอนุญาตและการควบคุมกิจการขนส่งทางบก (๑๓) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก การกำหนดตาม (๒) (๓) (๔) (๘) (๙) และ (๑๐) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ภายในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทาง (๒) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๕) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกและคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง การกำหนดตาม (๑) และ (๔) เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแล้วจึงจะใช้บังคับได้ และการกำหนดตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๑ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม มาตรา ๒๒ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการการขนส่งทางบก เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งให้คณะกรรมการชี้แจงข้อเท็จจริงแสดงความคิดเห็นหรือทำรายงานหรือยับยั้งการกระทำใด ๆ ซึ่งขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี ตลอดจนมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินงานได้ หมวด ๓ การประกอบการขนส่ง มาตรา ๒๓ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือการขนส่งส่วนบุคคล เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ต้องมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดนั้น ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทยและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย และ (๑) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย (๒) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย และทุนของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย (๓)[๕] ในกรณีที่เป็นบริษัทจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย หรือต้องเป็นของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด หรือต้องเป็นของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือองค์การของรัฐ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และบริษัทจำกัดนั้นต้องไม่มีข้อบังคับอนุญาตให้มีการออกหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ (๔) ในกรณีที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทมหาชนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมดต้องเป็นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะต้องมีลักษณะตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจยกเว้นคุณสมบัติตามความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษเป็นการเฉพาะรายได้ มาตรา ๒๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางและผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่ออนุสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่ง การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นำมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๖ มาใช้บังคับแก่การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศโดยอนุโลม มาตรา ๒๖ ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย เว้นแต่เพื่อการขนส่งระหว่างประเทศและได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางแล้ว ผู้ประจำรถตามมาตรา ๙๒ ซึ่งประจำในรถตามวรรคหนึ่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ และหรือตามข้อตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ มาตรา ๒๗ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งมีสี่ประเภท คือ (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง หรือใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้ใช้เป็นใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลได้ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถผิดประเภทตามที่ระบุไว้ข้างต้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนเป็นครั้งคราว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๒๘ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้มีอายุเจ็ดปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอเสียก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ แต่การขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางและใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๙[๖] บทบัญญัติมาตรา ๒๓ มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น วัด มูลนิธิ สภากาชาดไทย สถานพยาบาล หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เป็นผู้ประกอบการขนส่ง แต่ผู้ประกอบการขนส่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้เสมือนดังเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลทุกประการ มาตรา ๓๐ ให้นายทะเบียนกลางเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในกรุงเทพมหานคร การขนส่งระหว่างจังหวัด และการขนส่งระหว่างประเทศ และให้นายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในจังหวัดของตน ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ มาตรา ๓๑ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) สิทธิในรถที่ใช้ประกอบการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๓) ลักษณะ ชนิด ขนาด และสีของรถ และเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๔) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๕) จำนวนผู้ประจำรถ (๖) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๗) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๘) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (๙) ที่ที่รถจะต้องหยุดในระหว่างเส้นทาง (๑๐) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (๑๑) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (๑๒) เวลาทำงานประจำวันในการประกอบการขนส่ง (๑๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (๑๔) การประกอบกิจการอื่นนอกจากการประกอบการขนส่งประจำทาง (๑๕) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางต้องจัดให้มีประกาศเงื่อนไขตาม (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๑) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๒ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิดและขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๔) จำนวนผู้ประจำรถ (๕) ท้องที่ที่ทำการขนส่ง (๖) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (๗) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๘) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (๙) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (๑๐) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางต้องจัดให้มีการประกาศเงื่อนไขตาม (๗) และ (๘) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๓ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิด ขนาด และสีของรถ และเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๔) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (๕) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๖) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๗) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องจัดให้มีประกาศเงื่อนไขตาม (๕) และ (๖) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๔[๗] ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้นายทะเบียนกำหนดเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิด และขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษา (๔)[๘] จำนวนผู้ประจำรถ (๕)[๙] เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามประเภทที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติผู้ประจำรถ และหรือใบกำกับสินค้าที่ทำการขนส่ง และต้องทำรายงานเกี่ยวกับการขนส่งและอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๖[๑๐] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่ง ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจัดให้มีที่พักผู้โดยสารตามระยะทางโดยมีลักษณะ ขนาด จำนวน และจุดที่ตั้งของที่พักผู้โดยสารตามที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๘ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่งหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ มาตรา ๓๙ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ใช้หรือยอมให้บุคคลอื่นใช้รถที่ได้รับอนุญาตทำการขนส่งนอกเส้นทาง หรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาตแล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมาย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๔๐ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางกระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางหรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาต มาตรา ๔๐ ทวิ[๑๑] ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้หรือยินยอมให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ขับรถที่ใช้ในการขนส่ง หากปรากฏว่าขณะใช้หรือขณะยินยอมให้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถ ผู้นั้นมีอาการหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (๑) เมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น (๒) เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (๓) เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องคอยดูแลและป้องกันไม่ให้ผู้ซึ่งมีอาการหรือกระทำการตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ของวรรคหนึ่งปฏิบัติหน้าที่ขับรถ มาตรา ๔๑ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง นายทะเบียนมีอำนาจที่จะสั่งเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถ หรือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวตามควรแก่กรณี แล้วให้รายงานคณะกรรมการโดยเร็ว มาตรา ๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องแสดงใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ใบอนุญาตประกอบการขนส่งสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดดังกล่าว มาตรา ๔๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการขนส่ง มาตรา ๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการขนส่ง มาตรา ๔๖ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๑) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๒) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขในมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยของผู้โดยสารตามมาตรา ๓๖ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติในหมวด ๔ ว่าด้วยการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติหรือไม่แก้ไขให้ถูกต้อง หรือเป็นที่เห็นได้ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่สามารถจะดำเนินการตามเงื่อนไขหรือข้อกำหนดนั้น หรือการดำเนินการนั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายหรือเสื่อมประโยชน์ต่อประชาชน ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ แต่ถ้าเป็นการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่จะพิจารณาอนุมัติ มาตรา ๔๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต้องส่งคืนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๙ ให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจควบคุมดูแลบรรดากิจการที่เกี่ยวกับการขนส่งให้เป็นไปตามความในพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์ดังกล่าวให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจ (๑) เข้าไปในสถานที่ดำเนินการของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งในระหว่างเวลาทำงานตามปกติ เพื่อทราบข้อเท็จจริงและเพื่อตรวจสอบบัญชีและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการขนส่ง (๒) เรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ ในการปฏิบัติตาม (๑) ให้อธิบดีมีอำนาจมอบหมายให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพทำการแทนได้ ในการปฏิบัติการของอธิบดี นายทะเบียน ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพตามมาตรานี้ ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นอำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือตามสมควร มาตรา ๕๐ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจเรียกรถให้หยุดเพื่อทำการตรวจสอบ และเมื่อเชื่อว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้น ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจจับกุมผู้ฝ่าฝืนเพื่อส่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดำเนินคดีต่อไป บทบัญญัติในวรรคหนึ่งไม่ลบล้างอำนาจจับกุมของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มาตรา ๕๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ และมาตรา ๕๐ ให้ผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง มาตรา ๕๒[๑๒] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ต้องวางหลักทรัพย์เป็นเงินสด หรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกัน หรือเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งทำกับบริษัทประกันภัยที่นายทะเบียนกลางให้ความเห็นชอบ ต่อนายทะเบียนกลาง ในกรณีเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องเป็นผู้เอาประกันภัย โดยให้บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการขนส่งของตนเป็นผู้รับประโยชน์ สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเพื่อประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง จำนวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดตามขนาดและประเภทของการประกอบการขนส่งแต่ต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งวางหลักทรัพย์เป็นเงินสดไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ดอกผลที่เกิดจากหลักทรัพย์ที่เป็นเงินสดนั้นตกเป็นของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่วางหลักทรัพย์ ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้รับผิดชอบในการเปิดบัญชีเงินฝาก และการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีหลักทรัพย์กับธนาคารตามระเบียบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๕๓ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันตามมาตรา ๕๒ มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง นายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๕๔ ในการวางหลักทรัพย์ซึ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลไทย ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำหนังสือมอบอำนาจให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจจัดการจำหน่ายพันธบัตรนั้น เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วย มาตรา ๕๕ หลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางประกันตามมาตรา ๕๒ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เว้นแต่จะเป็นการบังคับคดีเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน มาตรา ๕๖ เมื่อรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายหรือชีวิตของบุคคลใดนอกจากความรับผิดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นซึ่งจะต้องจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ให้จ่ายตามความร้ายแรงของความเสียหาย ทั้งนี้ ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ระหว่างการรักษาพยาบาลและหรือค่าปลงศพ มาตรา ๕๗ เมื่อผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายประสงค์จะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมตำรวจกำหนดต่อพนักงานสอบสวน โดยแสดงพยานหลักฐานว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ให้พนักงานสอบสวนพิจารณาจากสำนวนการสอบสวน และเมื่อเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นจากรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งคันใด ให้มีหนังสือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถคันนั้นชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๕๖ วรรคสอง ในการนี้ให้แจ้งให้นายทะเบียนกลางทราบโดยเร็วด้วย ในการสั่งของพนักงานสอบสวนตามวรรคหนึ่ง พนักงานสอบสวนต้องพิจารณาสั่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในการชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องชำระภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจากพนักงานสอบสวน มาตรา ๕๘ ผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายต้องใช้สิทธิในการขอรับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามมาตรา ๕๗ ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ความเสียหายเกิดขึ้น มาตรา ๕๙ การชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามหมวดนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายในอันที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๐ บุคคลซึ่งมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามหมวดนี้ได้แก่ผู้เสียหายดังต่อไปนี้ (๑) ผู้เสียหายซึ่งมิได้อยู่ในรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ได้รับความเสียหายจากรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น (๒) ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ไม่รวมถึงผู้ขับรถคนงานหรือลูกจ้างประจำรถซึ่งอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ (๓) ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในรถคันที่ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย มาตรา ๖๑ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ ให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ และให้พนักงานสอบสวนบันทึกความเห็นของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งไม่เห็นด้วยไว้ในสำนวนการสอบสวน คำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งกลางให้เป็นที่สุด มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานสอบสวน ถ้าคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีความเห็นตามความเห็นของพนักงานสอบสวน ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายเบื้องต้นที่พนักงานสอบสวนกำหนดไว้อีกร้อยละสิบ มาตรา ๖๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางตามมาตรา ๖๑ ในกรณีที่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามมาตรา ๕๒ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นซึ่งได้นำมาวางไว้เป็นประกันชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นแทนได้ มาตรา ๖๔ ในกรณีที่ผู้เสียหายไม่ได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือได้รับชดใช้ไม่ครบตามจำนวนที่พนักงานสอบสวนหรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางสั่งไม่ว่าเพราะเหตุหลักทรัพย์ที่วางประกันไว้ไม่พอจ่ายค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือเพราะเหตุอื่นใด เมื่อผู้เสียหายได้ร้องเรียนต่อนายทะเบียนกลางให้นายทะเบียนกลางสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชำระให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนกลางดังกล่าว ให้นายทะเบียนกลางเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง และให้นำมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๕ การรับจัดการขนส่ง มาตรา ๖๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการรับจัดการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๖ ในการออกใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ให้นายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) ท้องที่ที่ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๒) สถานที่ตั้งสำนักงานของผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๓) สถานที่พักคน สัตว์ หรือเก็บสิ่งของ (๔) วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับสวัสดิภาพ ความสะดวกและความปลอดภัยในการรับจัดการขนส่ง (๕) อัตราค่าบริการรับจัดการขนส่ง (๖) เงื่อนไขอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งต้องจัดให้มีการประกาศเงื่อนไขตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๖๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๖๕ ต้องวางหลักทรัพย์ต่อนายทะเบียนเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญารับจัดการขนส่ง ทั้งนี้ ตามจำนวนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๘ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันตามมาตรา ๖๗ มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๖๙ ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๐ ให้นำมาตรา ๒๔ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่การประกอบการรับจัดการขนส่งโดยอนุโลม หมวด ๖ รถ มาตรา ๗๑ รถที่ใช้ในการขนส่งต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง กับได้จดทะเบียนตามมาตรา ๗๓ และเสียภาษีตามมาตรา ๘๕ แล้ว รถที่ใช้ในการขนส่งที่เสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ มาตรา ๗๒[๑๓] รถที่จะนำมาจดทะเบียนและเสียภาษีต้องผ่านการตรวจสภาพรถจากพนักงานตรวจสภาพ หรือจากสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๗๔ เว้นแต่รถประเภทหรือชนิดใดที่สมควรได้รับการยกเว้นการตรวจสภาพเป็นครั้งคราวให้กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ปรากฏว่ารถที่นำมารับการตรวจสภาพนั้นมีสภาพมั่นคงแข็งแรงมีเครื่องอุปกรณ์ และส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับการอนุญาตออกใบรับรองให้ ใบรับรองการตรวจสภาพรถให้ทำตามแบบที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๗๓[๑๔] เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตได้ตรวจสภาพรถถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๑ และมาตรา ๗๒ แล้ว ให้รับจดทะเบียนและออกหนังสือแสดงการจดทะเบียนพร้อมกับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคันนั้นให้โดยไม่ชักช้า มาตรา ๗๔ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเพื่อรับรองสภาพรถตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๕ ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๗๔ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นได้ ให้นำมาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่การจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตโดยอนุโลม มาตรา ๗๗ หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถให้ใช้ได้สี่งวดนับแต่งวดที่ออกหนังสือนี้ ให้เดือนมกราคม เดือนเมษายน เดือนกรกฎาคม และเดือนตุลาคมเป็นเดือนแรกของแต่ละงวด การขอต่ออายุทะเบียน ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนภายในเวลาที่นายทะเบียนจะได้ประกาศกำหนด ให้นำมาตรา ๗๑ มาตรา ๗๒ และมาตรา ๗๓ มาใช้บังคับแก่การขอต่ออายุทะเบียนโดยอนุโลม มาตรา ๗๘ ห้ามมิให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน มาตรา ๗๙ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ประสงค์จะเลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบและนำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนแก่นายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกใช้รถนั้น มาตรา ๘๐ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีความจำเป็นจะต้องระงับใช้รถนั้นชั่วคราวเป็นเวลาเกินสิบห้าวันแจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบก่อนวันที่จะระงับใช้รถนั้น มาตรา ๘๑ รถที่ยังมิได้จดทะเบียนตามความในพระราชบัญญัตินี้ หรือรถที่เลิกใช้ตามมาตรา ๗๙ ถ้าจะนำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม ต้องมีใบอนุญาตและเครื่องหมายโดยเฉพาะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ใบอนุญาตและเครื่องหมายดังกล่าวใช้ได้เฉพาะรถที่อยู่ในความครอบครองของผู้ได้รับใบอนุญาตโดยสับเปลี่ยนกันได้ ไม่เฉพาะคัน มาตรา ๘๒ การโอนรถซึ่งได้จดทะเบียนตามมาตรา ๗๓ แล้ว ผู้โอนและผู้รับโอนจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันโอนและให้นายทะเบียนจดแจ้งการโอนไว้ในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถนั้น มาตรา ๘๓ เมื่อผู้ตรวจการตรวจพบว่ารถคันใดมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือมีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ผู้ตรวจการรายงานให้นายทะเบียนทราบ แต่ถ้าปรากฏโดยชัดแจ้งว่าการใช้รถคันนั้นต่อไปน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายแก่การขนส่ง ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจสั่งระงับใช้ไว้เป็นการชั่วคราวได้ และให้รีบรายงานให้นายทะเบียนทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถตามวรรคหนึ่ง จัดการส่งรถคันนั้นไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามรายงานของผู้ตรวจการภายในเวลาที่กำหนด เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งตามวรรคสองแล้ว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตงดการใช้รถดังกล่าวไว้จนกว่านายทะเบียนจะมีคำสั่งอนุญาตให้ใช้ได้ต่อไป มาตรา ๘๔ เมื่อพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตเห็นว่ารถที่นำมาให้ตรวจตามมาตรา ๘๓ สมควรจะต้องซ่อมแซม ปรับปรุงเพื่อให้รถกลับมีสภาพมั่นคงแข็งแรง หรือจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้แจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดำเนินการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง แล้วให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องและรายงานให้นายทะเบียนทราบ เมื่อได้พิจารณาเห็นสมควรตามรายงานของพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถคันนั้นต่อไปได้ มาตรา ๘๕ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้กรมการขนส่งทางบกจะกำหนดเวลาการชำระภาษีรถประจำปีสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแต่ละรายก็ได้ และให้คำนวณภาษีตามน้ำหนักรถตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ในการคำนวณน้ำหนักรถ ให้รวมน้ำหนักของรถและเครื่องอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับตัวรถตามปกติ แต่ไม่รวมน้ำหนักของน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเครื่อง น้ำ และเครื่องมือประจำรถ เศษของหนึ่งกิโลกรัมให้ปัดทิ้ง เงินภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้ที่จัดเก็บได้ในกรุงเทพมหานครให้ตกเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดอื่นให้ตกเป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนั้น โดยให้จังหวัดจัดสรรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง[๑๕] มาตรา ๘๖ ภาษีรถให้ชำระล่วงหน้าเป็นรายปีต่อนายทะเบียน และจะขอชำระเป็นงวดก็ได้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มตามที่กำหนดในกฎกระทรวง รถที่จดทะเบียนใหม่ในงวดใด ให้ชำระภาษีตั้งแต่งวดนั้นเป็นต้นไป ถ้าเจ้าของรถไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่จะต้องชำระ ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือน หรือเศษของเดือนของภาษีที่ต้องชำระ เงินเพิ่มตามมาตรานี้ให้ถือเป็นเงินภาษี มาตรา ๘๖/๑[๑๖] รถที่ได้เสียภาษีรถประจำปีสำหรับปีใด ถ้าเปลี่ยนเจ้าของรถ เจ้าของใหม่ไม่ต้องเสียภาษีรถประจำปีในปีนั้นอีก มาตรา ๘๖/๒[๑๗] ในระหว่างที่เจ้าของรถค้างชำระภาษีรถประจำปี ให้นายทะเบียนมีอำนาจที่จะไม่รับดำเนินการทางทะเบียนจนกว่าเจ้าของรถจะเสียภาษีที่ค้างชำระให้ครบถ้วนก่อน หรือได้มีการดำเนินการตามมาตรา ๘๖/๓ วรรคสองแล้ว มาตรา ๘๖/๓[๑๘] รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีไม่ถึงสามปี หากเจ้าของรถประสงค์จะขอเสียภาษีรถประจำปีเพื่อใช้รถในปีนั้น ให้นายทะเบียนรับชำระภาษีนั้นได้ สำหรับภาษีรถที่ค้างชำระให้นายทะเบียนกำหนดจำนวนเงิน และระยะเวลาในการชำระตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ในกรณีที่เจ้าของรถผิดนัดไม่เสียภาษีรถที่ค้างชำระตามวรรคสองให้ครบถ้วน นายทะเบียนมีอำนาจที่จะไม่รับดำเนินการทางทะเบียน จนกว่าเจ้าของรถจะเสียภาษีรถที่ค้างชำระให้ครบถ้วน มาตรา ๘๖/๔[๑๙] รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีติดต่อกันครบสามปี ให้การจดทะเบียนรถเป็นอันระงับไป ในการนี้ให้นายทะเบียนประกาศหมายเลขทะเบียนพร้อมทั้งจำนวนภาษีที่ค้างชำระไว้ ณ ที่ทำการนายทะเบียนและในสถานที่ที่อธิบดีประกาศกำหนด และแจ้งให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถทราบ และให้บุคคลดังกล่าวส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถต่อนายทะเบียนและนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียนเพื่อบันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้แจ้งและปิดประกาศดังกล่าว ในกรณีที่เจ้าของรถหรือผู้ครองครอบรถมิได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนหรือผู้ตรวจการหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจยึดแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถได้ ให้ภาระภาษีรถประจำปีหลังจากปีที่สามเป็นอันระงับไป แต่เจ้าของรถหรือผู้ครอบครอบรถยังคงต้องเสียภาษีที่ค้างชำระให้ครบถ้วน และให้นำมาตรา ๘๖/๒ และมาตรา ๘๖/๓ วรรคสอง และวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๗ รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีแล้ว ถ้าต่อมามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงเพิ่มเติม เป็นเหตุให้รถมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากเดิม เจ้าของรถจะต้องเสียภาษีเพิ่มตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นด้วย และให้นำมาตรา ๘๖ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๘[๒๐] รถที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคลของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น วัด มูลนิธิ และสภากาชาดไทย ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี มาตรา ๘๘ ทวิ[๒๑] (ยกเลิก) มาตรา ๘๙ รถที่ได้จดทะเบียนแล้ว ถ้าไม่ได้เสียภาษีตามกำหนดตามมาตรา ๘๖ เจ้าของรถต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบพร้อมกับนำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถนั้นคืนต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งจะต้องเสียภาษีครั้งถัดไปตามมาตรา ๘๖ มาตรา ๙๐ เจ้าของรถต้องติดแผ่นป้ายเลขทะเบียนและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่นายทะเบียนออกให้ไว้กับตัวรถตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๙๑ ในกรณีที่แผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ ให้เจ้าของรถยื่นคำขอ ขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุด หรือลบเลือนดังกล่าว หมวด ๗ ผู้ประจำรถ มาตรา ๙๒ ผู้ประจำรถ ได้แก่ (๑) ผู้ขับรถ (๒) ผู้เก็บค่าโดยสาร (๓) นายตรวจ (๔) ผู้บริการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๓ ห้ามมิให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๔ ใบอนุญาตสำหรับผู้ประจำรถ มี ๔ ประเภท คือ (๑) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ (๒) ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร (๓) ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ (๔) ใบอนุญาตเป็นผู้บริการ ใบอนุญาตแต่ละประเภทจะใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตประเภทที่หนึ่ง ประเภทที่สาม และประเภทที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตประเภทที่สองได้ มาตรา ๙๕[๒๒] ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถมีดังนี้ (๑) ชนิดที่หนึ่ง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกินยี่สิบคน (๒) ชนิดที่สอง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่าสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารเกินยี่สิบคน (๓) ชนิดที่สาม ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งโดยสภาพใช้สำหรับลากจูงรถอื่นหรือล้อเลื่อนที่บรรทุกสิ่งใด ๆ บนล้อเลื่อนนั้น (๔) ชนิดที่สี่ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภท หรือชนิดและลักษณะการบรรทุกตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใบอนุญาตแต่ละชนิดใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตชนิดที่สอง ชนิดที่สาม และชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่หนึ่งได้ ใบอนุญาตชนิดที่สามและชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สองได้ และใบอนุญาตชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สามได้ ประกาศของอธิบดีตามความใน (๔) ของวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามมาตรา ๙๓ ในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องมีคุณสมบัติและลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีความรู้และความสามารถตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๓) ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยความเหมาะสม (๔) ไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๕) ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจ (๖) ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพติดให้โทษ (๗) ไม่เป็นผู้มีใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถประเภทหรือชนิดเดียวกับที่ได้รับอนุญาตอยู่แล้ว (๘) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เว้นแต่การเพิกถอนใบอนุญาตนั้นพ้นกำหนดสามปีแล้วนับแต่วันที่มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต (๙) ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่มิใช่เกี่ยวกับการใช้รถในการกระทำผิดหรือความผิดลหุโทษ หรือได้พ้นโทษมาแล้วเกินสามปี (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยถูกควบคุมตัวเพราะมีพฤติการณ์เป็นภัยต่อสังคม หรือเป็นอันธพาล เว้นแต่ได้พ้นจากการควบคุมตัวมาแล้วเกินหนึ่งปี มาตรา ๙๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง และได้ผ่านการศึกษาและจบหลักสูตรจากโรงเรียนการขนส่งของกรมการขนส่งทางบกหรือโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง การรับรองโรงเรียนสอนขับรถตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และผู้บริการต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในการขนส่งส่วนบุคคลต้องมีคุณสมบัติและมีลักษณะตามมาตรา ๙๖ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐๐[๒๓] ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถยื่นคำขอต่อนายทะเบียนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด มาตรา ๑๐๑ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถต้องมีใบอนุญาตอยู่กับตัวและต้องแสดงต่อนายทะเบียนหรือผู้ตรวจการเมื่อขอตรวจ มาตรา ๑๐๒ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถต้อง (๑) แต่งกายสะอาดเรียบร้อยตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง (๒) ไม่แสดงกิริยาหรือใช้ถ้อยคำเป็นการเสียดสี ดูหมิ่น ก้าวร้าว รังแก รบกวน หรือหยาบหยามผู้หนึ่งผู้ใด หรือแสดงกิริยาวาจาหรือส่งเสียงด้วยประการหนึ่งประการใดในลักษณะไม่สมควรหรือไม่สุภาพ (๓) ไม่เสพหรือเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น (๓ ทวิ)[๒๔] ไม่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (๓ ตรี)[๒๕] ไม่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (๔) ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐๒ ทวิ[๒๖] ในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใด ในขณะปฏิบัติหน้าที่นั้นมีสารอยู่ในร่างกายอันเกิดจากการเสพสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น หรือยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ให้ผู้ตรวจการ หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจมีอำนาจตรวจหรือทดสอบ หรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่าผู้นั้นมีสารนั้น ๆ อยู่ในร่างกายหรือไม่ เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ วิธีการตรวจหรือทดสอบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๐๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถนอกจากจะต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๒ แล้ว จะต้อง (๑) ไม่ขับรถในเวลาที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนความสามารถ (๒) ไม่รับบรรทุกบุคคลที่เป็นโรคเรื้อนหรือโรคติดต่อที่น่ารังเกียจไปกับผู้โดยสารอื่น (๓) ไม่รับบรรทุกศพ สัตว์ หรือสิ่งของที่อาจเกิดอันตรายหรือเป็นที่พึงรังเกียจไปกับผู้โดยสาร (๔)[๒๗] ไม่รับบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง ระเบิด หรือวัตถุอันตรายโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๕) ต้องหยุดหรือจอดรถ ณ สถานีขนส่งและปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่งตามมาตรา ๑๙ (๘) และ (๑๐) มาตรา ๑๐๓ ทวิ[๒๘] ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ในการปฏิบัติหน้าที่ขับรถในรอบยี่สิบสี่ชั่วโมง ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขับรถติดต่อกันเกินสี่ชั่วโมงนับแต่ขณะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ขับรถ แต่ถ้าในระหว่างนั้น ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถได้พักติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมง ก็ให้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถต่อไปได้อีกไม่เกินสี่ชั่วโมงติดต่อกัน มาตรา ๑๐๔ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถกระทำการใด ๆ ให้ผู้โดยสารจำต้องลงจากรถก่อนที่จะได้โดยสารถึงจุดหมายปลายทางโดยที่ได้ชำระค่าโดยสารถูกต้องตามอัตราที่กำหนดแล้ว มาตรา ๑๐๕ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถละเว้นการหยุดรถเพื่อรับหรือส่งผู้โดยสาร ณ ที่ที่มีเครื่องหมายให้รถนั้นหยุด ในเมื่อปรากฏว่ามีผู้โดยสารต้องการให้หยุดรถเพื่อรับหรือส่ง มาตรา ๑๐๖ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถกระทำการใด ๆ อันเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร มาตรา ๑๐๖ ทวิ[๒๙] ในกรณีที่มีความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและมีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศที่มีความตกลงดังกล่าวกับรัฐบาลไทย อาจใช้ใบอนุญาตขับรถของประเทศนั้นขับรถในราชอาณาจักรได้ตามประเภทและชนิดของรถที่ระบุไว้ในใบอนุญาตขับรถนั้น แต่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาและหรือความตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ และตามบทบัญญัติทั้งหลายในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๗ ในการขนส่งประจำทางหรือการขนส่งไม่ประจำทางระหว่างจังหวัดหรือระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถรับบรรทุกผู้โดยสารเกินจำนวนที่นั่งผู้โดยสารที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต มาตรา ๑๐๘ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๖ มาตรา ๙๗ มาตรา ๙๘ หรือมาตรา ๙๙ หรือบกพร่องไปในภายหลังเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้นเสีย มาตรา ๑๐๙ ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายในหมวดนี้ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจยึดใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถของผู้นั้น และสั่งเป็นหนังสือให้ผู้นั้นไปรายงานตนต่อนายทะเบียนภายในเจ็ดสิบสองชั่วโมง คำสั่งนั้นให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถชั่วคราวภายในกำหนดเวลาดังกล่าวนั้น ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้นได้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันหรือจะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้นเสียก็ได้ มาตรา ๑๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถซึ่งถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๑๑๑ ให้นำบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสารและนายตรวจมาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๘ ผู้โดยสาร มาตรา ๑๑๒ ผู้โดยสารต้องชำระค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๑๓ ผู้โดยสารต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ตลอดเวลาที่อยู่ในระหว่างการโดยสาร ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีการประกาศข้อกำหนดตามวรรคหนึ่งปิดไว้ ณ ที่เปิดเผยในรถ หมวด ๙ สถานีขนส่ง มาตรา ๑๑๔ สถานีขนส่งมี ๒ ประเภท คือ (๑) สถานีขนส่งผู้โดยสาร (๒) สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ ลักษณะของสถานีขนส่งตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๑๕ ให้กรมการขนส่งทางบกโดยอนุมัติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง จัดให้มีสถานีขนส่งขึ้นในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและในเขตท้องที่จังหวัดอื่น โดยจะดำเนินการเอง หรือจะมอบหมายให้รัฐวิสาหกิจหรือองค์การของรัฐเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด บุคคลอื่นใดประสงค์จะจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางก่อน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดให้มีหรือจัดตั้งสถานีขนส่งขึ้นที่ใด เมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๑๖ ให้อธิบดีมีอำนาจกำกับและควบคุมการดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์แห่งการนี้จะแต่งตั้งข้าราชการและหรือลูกจ้างสังกัดกรมการขนส่งทางบก ทำหน้าที่เป็นนายสถานีและเจ้าหน้าที่สถานีตามจำนวนที่เห็นสมควร มีอำนาจกำกับและควบคุมดังกล่าวด้วยก็ได้ มาตรา ๑๑๗ ในการบริหารงานที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งของกรมการขนส่งทางบกตามมาตรา ๑๑๕ วรรคหนึ่ง อธิบดีจะแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่เกินแปดคนเพื่อดูแลควบคุมและดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งก็ได้ กรรมการที่อธิบดีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการของคณะกรรมการ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการนี้โดยอนุโลม มาตรา ๑๑๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสาม ต้องมีคุณสมบัติและลักษณะตามมาตรา ๒๔ มาตรา ๑๑๙ ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งให้มีอายุตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดแต่ไม่เกินยี่สิบปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกิจการสถานีขนส่งรวมทั้งการรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยในบริเวณสถานีขนส่งนั้น มาตรา ๑๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างประจำสถานีขนส่งตลอดเวลา โดยให้มีหน้าที่ตรวจสอบสภาพรถขนส่งประจำทางซึ่งต้องหยุดหรือจอดเพื่อการขนส่ง ณ สถานีขนส่งแห่งนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัย คุณสมบัติและจำนวนเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๑๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีอู่ซ่อมรถและบริการซ่อมรถเพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่รถที่ใช้สถานีขนส่งนั้น มาตรา ๑๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีบริเวณที่จอดพักรถตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๑๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีสมุดทะเบียนการเดินรถที่ผ่านเข้าออกสถานีขนส่งตามแบบที่อธิบดีกำหนด สมุดทะเบียนการเดินรถต้องเก็บรักษาไว้ในที่ทำการของสถานีขนส่งแห่งนั้นพร้อมที่จะให้นายทะเบียน พนักงานตรวจสภาพหรือผู้ตรวจการตรวจดูได้ทุกเวลา มาตรา ๑๒๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งเรียกเก็บค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่งได้ไม่เกินอัตราตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด หมวด ๑๐ บทกำหนดโทษ มาตรา ๑๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๗๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๗[๓๐] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๖ วรรคสอง มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ (๑) (๒) หรือ (๔) มาตรา ๑๐๓ มาตรา ๑๐๓ ทวิ มาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๐๖ หรือมาตรา ๑๐๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๗ ทวิ[๓๑] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓ ทวิ) หรือ (๓ ตรี) ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี อีกหนึ่งในสาม มาตรา ๑๒๗ ตรี[๓๒] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามมาตรา ๑๐๒ ทวิ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๒๗ จัตวา[๓๓] ในกรณีที่ผู้ขับรถขับรถที่ใช้ในการขนส่งซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่น ถ้าปรากฏว่าในขณะขับรถ ผู้ขับรถนั้นกระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓) (๓ ทวิ) หรือ (๓ ตรี) ให้ถือว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคสอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นและได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ขับรถกระทำการดังกล่าว มาตรา ๑๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๑) ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๑) ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๓) (๑๔) หรือ (๑๕) หรือในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๓๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๓๖ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง มาตรา ๓๒ วรรคสอง มาตรา ๓๓ วรรคสอง มาตรา ๓๔ วรรคสอง มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๗ หรือมาตรา ๑๑๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๓๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๙ ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาตคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวัน จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๐ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองแสนบาท มาตรา ๑๓๘ ทวิ[๓๔] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท มาตรา ๑๓๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๔๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๔๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๒ หรือมาตรา ๔๗ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕ มาตรา ๗๙ หรือมาตรา ๘๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๔๔ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่อธิบดี นายทะเบียนผู้ตรวจการ หรือพนักงานตรวจสภาพ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ หรือมาตรา ๔๙ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนกลางซึ่งสั่งตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๖๘ ต้องระวางโทษปรับหนึ่งแสนบาท หรือปรับเป็นรายวัน วันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๔๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๖๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๔๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๖ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดใช้รถโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๑ หรือฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ตรวจการหรือนายทะเบียนตามมาตรา ๘๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๘ มาตรา ๘๑ วรรคหนึ่งหรือมาตรา ๘๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๔๙/๑[๓๕] เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๖/๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๕๐ เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท มาตรา ๑๕๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท แต่ถ้าผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง และได้กระทำการใด ๆ อันเป็นความผิดที่กำหนดไว้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดและต้องระวางโทษสำหรับการกระทำนั้นเช่นเดียวกับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถด้วย[๓๖] มาตรา ๑๕๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างที่ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๑๐๙ หรือปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่ถ้าผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท มาตรา ๑๕๓ ผู้โดยสารผู้ใดโดยสารรถโดยมีเจตนาไม่ชำระค่าขนส่งหรือชำระค่าขนส่งไม่ครบถ้วนตามอัตราที่กำหนด หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๑๑๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๕๔ ผู้ใดจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๕๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๓ หรือมาตรา ๑๒๔ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๕๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถผู้ใดไม่นำรถเข้าหยุดหรือจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่งตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๑๕๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งนำรถเข้าหยุดหรือจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่งผู้ใดไม่ชำระค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่งให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา ๑๒๕ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๑๕๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใด โดยทุจริตหรือจงใจออกใบรับรองตรวจสภาพรถโดยไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท และนายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นเสียได้ มาตรา ๑๕๙ ผู้ใดเรียกเก็บค่าขนส่ง ค่าบริการรับจัดการขนส่ง ค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่ง หรือค่าบริการอย่างอื่น ผิดไปจากอัตราที่คณะกรรมการกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๖๐ ผู้ใด (๑) ใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้แก่ผู้อื่น (๒) ใช้เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้สำหรับรถคันหนึ่งกับรถอีกคันหนึ่ง (๓) ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้แก่ตน (๔) เปลี่ยนแปลงหรือปิดบังทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ซึ่งแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ หรือ (๕) ใช้รถที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา ๘๘ ให้ผิดไปจากวัตถุประสงค์ที่ได้รับยกเว้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๖๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบกในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถผู้เก็บค่าโดยสารและนายตรวจตามมาตรา ๑๑๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๖๒ ผู้ใดเปลี่ยนแปลง ย้าย ทำลาย หรือกระทำให้เสียหายด้วยประการใด ๆ แก่เครื่องหมายหรือสิ่งอื่นใดที่ทางราชการได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการขนส่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๖๓ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้ เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบหรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ดำเนินคดีเพื่อฟ้องร้องต่อไป บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๖๔ ในระหว่างที่ยังมิได้มีกฎกระทรวง ข้อกำหนด หรือระเบียบตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กฎกระทรวง ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศใด ๆ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ และพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ คงใช้บังคับต่อไป มาตรา ๑๖๕[๓๗] บรรดาใบอนุญาตที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุและถ้าจะต่ออายุใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ บรรดารถที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้ามีการแก้ไขดัดแปลงโครงรถหรือขนาดสัดส่วนของตัวถังกว้างหรือยาวกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และการแก้ไขดัดแปลงนั้นกระทำได้โดยชอบตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ที่ใช้บังคับในขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นรถที่ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๗๑ มาตรา ๑๖๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง และเจ้าของรถที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ ปฏิบัติการให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๖๗ รถที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่ถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้ ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้รถตามวรรคหนึ่ง ซึ่งจะชำระภาษีครั้งแรกตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องชำระภาษีคราวละกี่งวดก็ได้ มาตรา ๑๖๘ คำขออนุญาตใด ๆ ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ถือว่าเป็นคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม และถ้าคำขออนุญาตดังกล่าวมีข้อความแตกต่างไปจากคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมคำขออนุญาตเพื่อให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ได้ มาตรา ๑๖๙ ในเขตท้องที่จังหวัดใดในระหว่างที่ยังไม่มีขนส่งจังหวัดให้อำนาจและหน้าที่ของขนส่งจังหวัด เป็นอำนาจและหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ต่อเส้นทางหนึ่ง ฉบับละ ๑๕,๐๐๐ บาท (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ไม่ประจำทาง ฉบับละ ๔,๐๐๐ บาท (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดย รถขนาดเล็ก ฉบับละ ๑,๕๐๐ บาท (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๕) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ (ก) ตลอดปี ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (ข) เฉพาะคราว ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๖) ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (๗) ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการ สถานีขนส่ง ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๘) ใบอนุญาตผู้ขับรถและใบอนุญาต นายตรวจ ฉบับละ ๒๐๐ บาท (๙) ใบอนุญาตผู้เก็บค่าโดยสารและ ใบอนุญาตผู้บริการ ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๐) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๑๑) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๑๒) การโอนทะเบียนรถ ครั้งละ ๒๐๐ บาท (๑๓) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและ เครื่องหมาย แผ่นละ ๑๐๐ บาท (๑๔) คำขออนุญาตประกอบการขนส่ง ประจำทาง ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๕) คำขออื่น ๆ ฉบับละ ๒๐ บาท (๑๖) การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตแต่ละฉบับ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว และสภาพการณ์ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก บทบัญญัติทั้งหลายที่ใช้บังคับอยู่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการขนส่งเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓[๓๘] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผลแห่งการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ส่งผลกระทบถึงบรรดารถบรรทุกขนส่งสินค้า ของผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล คือ ก. รถบรรทุกที่ใช้รถมีน้ำหนักรถต่ำกว่าหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมทั่วพระราชอาณาจักรสำหรับประกอบการภายในครอบครัว ต่างได้รับความเดือดร้อนอย่างยิ่ง เพราะต้องไปยื่นขอจดทะเบียนขนส่งส่วนบุคคล และต้องใช้ใบอนุญาตขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก นอกเหนือไปจากใบอนุญาตของกรมตำรวจที่มีอยู่แล้ว ก่อให้เกิดความเดือดร้อน เพราะรถบรรทุกขนาดเล็กเหล่านี้หาจำต้องใช้ความชำนาญเชี่ยวชาญเป็นพิเศษไม่ เนื่องจากเป็นรถที่ส่วนมากใช้ในธุรกิจส่วนตัว ภายในครัวเรือนและใช้ในการขนส่งพืชผลของเกษตรกร จึงสมควรได้รับการยกเว้นไม่ต้องไปจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก และการใช้ใบขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก ข. สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งได้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามใบอนุญาตนั้น การจำกัดท้องที่ทำการขนส่งนั้น ย่อมก่อให้เกิดความไม่สะดวกและเป็นธรรม เพราะผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลก็ย่อมหมายถึงประกอบธุรกิจส่วนตัวนั่นเอง ท้องที่ที่กำหนดให้แน่นอนย่อมเป็นเครื่องกีดขวางการปฏิบัติงาน เพราะการที่จะบรรทุกสินค้าของตนไปส่งยังที่ต่าง ๆ การที่จะต้องไปขออนุญาตเป็นครั้งคราวนั้นย่อมก่อให้เกิดภาวะสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ เป็นการเพิ่มราคาทุนโดยไม่จำเป็น ค. โดยทั่วไปการตรวจสภาพรถมักล่าช้า เมื่อนำรถไปขอรับการตรวจแล้วแต่ปรากฏว่ารถมีจำนวนมาก ตรวจสภาพไม่ทันหากนำไปวิ่งขนส่งก็จะต้องถูกจับกุมและมีโทษสูง และการที่จอดรอการตรวจสภาพเป็นระยะนาน ๆ นั้น ย่อมทำให้เศรษฐกิจกระทบกระเทือน จึงสมควรกำหนดเวลาตรวจไว้ และหากความล่าช้าเป็นเพราะความผิดของพนักงานหรือผู้มีอำนาจตรวจสภาพ ก็ไม่สมควรเอาโทษแก่ผู้ประกอบการขนส่งที่ขอตรวจสภาพไว้แล้ว เพราะโทษมีกำหนดสูง ง. การต่อใบอนุญาตตามบทเฉพาะกาลของใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งได้รับอนุญาตไว้แล้ว ก่อนใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ขนาดและส่วนซึ่งพนักงานตรวจสภาพตามกฎหมายเก่า ทั้งของกรมตำรวจและกรมการขนส่งทางบก ไม่เป็นระเบียบเดียวกัน และมีมาตรฐานต่างกัน ฉะนั้น การขอต่อใบอนุญาตใหม่จึงไม่สมควรนำเหตุผลของการผิดขนาดและส่วนมาเป็นข้อปฏิเสธการขอต่อใบอนุญาตเก่านั้น อาศัยเหตุผลดังกล่าว จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฉบับนี้ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๓๙] มาตรา ๕ อัตราภาษีรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ไม่ใช้บังคับแก่รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีรถประจำปีไว้แล้ว หรือที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ สำหรับภาษีรถประจำปีที่เสียไว้แล้ว หรือที่ค้างชำระนั้น มาตรา ๖ รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีรถประจำปีไว้แล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ หากเป็นรถที่ไม่ได้รับการลดภาษีรถประจำปีตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๘๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ให้เสียภาษีรถประจำปีสำหรับปีต่อไป ดังต่อไปนี้ (๑) ปีที่หนึ่ง ให้เสียในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๒) ปีที่สอง ให้เสียในอัตราสามในสี่ของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๓) ปีต่อไป ให้เสียในอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันมีรถจำนวนมากใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกิดความจำเป็นในการสั่งน้ำมันดีเซลหรือก๊าซเข้ามาในราชอาณาจักร ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการเพิ่มจำนวนรถที่ใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง และเพื่อเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๔๐] ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอขอให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ นั้น ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙ (สมัยสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ที่ประชุมได้ลงมติไม่อนุมัติ จึงประกาศมาตามความในมาตรา ๑๕๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐[๔๑] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยได้ทำความตกลงกับประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน และโดยที่ประเทศไทยอาจทำความตกลงในทำนองเดียวกันกับประเทศอื่น ๆ ด้วย ซึ่งความตกลงดังกล่าวจะมีผลให้ผู้มีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือจากรัฐบาลของประเทศที่ประเทศไทยมีความตกลงด้วย สามารถใช้ใบอนุญาตขับรถนั้นขับรถในประเทศไทยได้ ฉะนั้น เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่กับต่างประเทศตามความตกลงดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕[๔๒] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ โดยเฉพาะผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถส่วนมากมักนิยมเสพยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ ทำให้เกิดอุบัติเหตุสร้างความสูญเสียแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนบนท้องถนนเป็นอันมาก สมควรมีบทบัญญัติกำหนดความผิดและกำหนดโทษเกี่ยวกับการเสพยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และให้อำนาจผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นหรือเสพยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบถึงเหตุดังกล่าวได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕[๔๓] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปรากฏว่าอุบัติเหตุที่เกิดจากรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก แต่โดยที่พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังไม่มีบทบัญญัติควบคุมการขนส่งวัตถุอันตรายไว้อย่างเพียงพอและเหมาะสม สมควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตรายเสียใหม่เพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗[๔๔] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีผู้นำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน หรือรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ไปใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างในลักษณะที่เป็นการแก่งแย่งแข่งขันกับผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง โดยมิได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และโดยที่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกได้บัญญัติยกเว้นไว้มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งโดยรถยนต์ดังกล่าว เป็นเหตุให้ทางราชการไม่สามารถเข้าควบคุมและจัดระเบียบการขนส่งได้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๗[๔๕] มาตรา ๔ บรรดาใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ และถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาต ให้นำความในมาตรา ๑๐๐ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดให้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถมีอายุเพียงหนึ่งปี ทำให้ผู้ประกอบอาชีพเป็นผู้ประจำรถจะต้องมาต่อใบอนุญาตทุก ๆ หนึ่งปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นมากทำให้เกิดความไม่สะดวกเสียเวลาและค่าใช้จ่ายแก่ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวเป็นอย่างยิ่งในการที่จะต้องเดินทางมาต่อใบอนุญาตทุก ๆ ปี โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางไปทำงานในจังหวัดอื่น การกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวโดยไม่จำเป็น จึงสมควรให้มีการขยายอายุของใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเพิ่มขึ้นจากหนึ่งปีเป็นสามปี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒[๔๖] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันอุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดบนท้องถนนอันเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลต่าง ๆ นั้น มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ขับรถเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น เสพยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ขับรถติดต่อกันนานเกินไปจนทำให้ผู้ขับรถเกิดความตึงเครียด ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงอันเนื่องมาจากกรณีดังกล่าว สมควรกำหนดห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้หรือยินยอมให้ผู้ขับรถซึ่งมีอาการหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ขับรถที่ใช้ในการขนส่ง และกำหนดให้มีหน้าที่ควบคุมดูแล และป้องกันมิให้ผู้ขับรถที่มีอาการหรือกระทำการเช่นว่านั้นขับรถที่ใช้ในการขนส่งด้วย รวมทั้งสมควรกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขับรถได้ไม่เกินสี่ชั่วโมงติดต่อกัน เพื่อไม่ให้เกิดความตึงเครียดจนเกินไป นอกจากนั้นสมควรกำหนดให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และได้กระทำการใด ๆ อันเป็นความผิดที่กำหนดไว้สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่กระทำความผิดดังกล่าวด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒[๔๗] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังมิได้บัญญัติให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ เพื่อที่จะให้มีการจัดสรรภาษีรถที่จัดเก็บได้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ นอกจากนี้โดยที่ถ้อยคำเกี่ยวกับราชการส่วนท้องถิ่นในกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกมีใช้อยู่หลายคำตามรูปแบบของราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งมีอยู่หลากหลาย โดยเมื่อจัดตั้งราชการส่วนท้องถิ่นขึ้นใหม่ ก็จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกครั้ง เพื่อให้ราชการส่วนท้องถิ่นนั้นได้รับการจัดสรรภาษีรถ ดังเช่นในกรณีขององค์การบริหารส่วนตำบลนี้เป็นต้น ฉะนั้น เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลได้รับจัดสรรภาษีรถ และเพื่อปรับปรุงถ้อยคำเกี่ยวกับราชการส่วนท้องถิ่นให้ครอบคลุมถึงราชการส่วนท้องถิ่นทุกประเภท จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ *พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕[๔๘] มาตรา ๘ ในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้แก้ไขคำว่า “เลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทหรือผู้แทน” เป็น “อธิบดีกรมทางหลวงชนบทหรือผู้แทน” และคำว่า “ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนมหาดไทย” เป็น “ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖[๔๙] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๕ รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ให้นายทะเบียนประกาศหมายเลขทะเบียนพร้อมทั้งจำนวนภาษีค้างชำระไว้ ณ ที่ทำการนายทะเบียนและในสถานที่ที่อธิบดีประกาศกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (๒) ให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถทำความตกลงกับนายทะเบียนในการชำระภาษีค้างชำระภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้มีประกาศตาม (๑) โดยให้ได้รับยกเว้นเงินเพิ่ม หากมีภาษีค้างชำระเกินกว่าสามปี ให้คิดภาษีค้างชำระเพียงสามปี และให้ผ่อนชำระเป็นงวดได้ ตามระเบียบที่อธิบดีประกาศกำหนด (๓) เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถที่มิได้ดำเนินการตาม (๒) ต้องเสียภาษีค้างชำระทั้งหมด พร้อมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ (๔) เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตาม (๒) รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีตั้งแต่สามปีขึ้นไป หรือรถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีไม่ถึงสามปี แต่ต่อมาภายหลังค้างชำระภาษีติดต่อกันครบสามปีให้ถือว่าทะเบียนรถเป็นอันระงับไป และให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถมีหน้าที่ส่งคืนแผ่นป้านเลขทะเบียนรถต่อนายทะเบียน และนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียน เพื่อบันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถภายในสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาตาม (๒) หรือนับแต่วันค้างชำระภาษีติดต่อกันครบสามปีแล้วแต่กรณี ให้นำมาตรา ๘๖/๒ มาตรา ๘๖/๓ วรรคสองและวรรคสาม และมาตรา ๘๖/๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถผู้ใดไม่ส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียนตามความใน (๔) ให้นำโทษตามมาตรา ๑๔๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีเจ้าของรถเป็นจำนวนมากละเลยหรือหลีกเลี่ยงการชำระภาษีรถประจำปี ทำให้มีภาษีรถประจำปีค้างชำระเพิ่มขึ้นทุกปี และเมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าของรถก็เกิดข้อโต้แย้งในภาระภาษีรถประจำปีที่ค้างชำระ สมควรปรับปรุงมาตรการในการจัดเก็บภาษีรถประจำปีที่ค้างชำระให้ได้ผลอย่างจริงจัง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วศิน/ผู้จัดทำ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๓๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๑ มีนาคม ๒๕๒๒ [๒] มาตรา ๔ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๓] มาตรา ๔ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๔] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗ [๕] มาตรา ๒๔ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๖] มาตรา ๒๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๗] มาตรา ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๘] มาตรา ๓๔ (๔) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๙] มาตรา ๓๔ (๕) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๐] มาตรา ๓๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๑] มาตรา ๔๐ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๒] มาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๓] มาตรา ๗๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๑๔] มาตรา ๗๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๑๕] มาตรา ๘๕ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๖] มาตรา ๘๖/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๑๗] มาตรา ๘๖/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๑๘] มาตรา ๘๖/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๑๙] มาตรา ๘๖/๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๒๐] มาตรา ๘๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๑] มาตรา ๘๘ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ต่อมามีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙ (สมัยสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ที่ประชุมได้ลงมติไม่อนุมัติ [๒๒] มาตรา ๙๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๓] มาตรา ๑๐๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๗ [๒๔] มาตรา ๑๐๒ (๓ ทวิ) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๕] มาตรา ๑๐๒ (๓ ตรี) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๖] มาตรา ๑๐๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๗] มาตรา ๑๐๓ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๘] มาตรา ๑๐๓ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๙] มาตรา ๑๐๖ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ [๓๐] มาตรา ๑๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๑] มาตรา ๑๒๗ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๒] มาตรา ๑๒๗ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๓๓] มาตรา ๑๒๗ จัตวา เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๔] มาตรา ๑๓๘ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๕] มาตรา ๑๔๙/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๓๖] มาตรา ๑๕๑ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๗] มาตรา ๑๖๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๓๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๖๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๕ ตุลาคม ๒๕๒๓ [๓๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑/๓๑ มกราคม ๒๕๒๙ [๔๐] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๗๕/หน้า ๑๑/๖ พฤษภาคม ๒๕๒๙ [๔๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓/๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๐ [๔๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๔/หน้า ๑๔/๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ [๔๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๘/หน้า ๙/๕ เมษายน ๒๕๓๕ [๔๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๒๖ ก/หน้า ๑/๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๗ [๔๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๑/๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๗ [๔๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๒๓/๒๕ มีนาคม ๒๕๔๒ [๔๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๒๗/๒๕ มีนาคม ๒๕๔๒ [๔๘] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖๖/๘ ตุลาคม ๒๕๔๕ [๔๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๔๘ ก/หน้า ๙/๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖
385374
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่10) พ.ศ. 2546
พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นปีที่ ๕๘ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๖ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๘๖/๑ มาตรา ๘๖/๒ มาตรา ๘๖/๓ และมาตรา ๘๖/๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๘๖/๑ รถที่ได้เสียภาษีรถประจำปีสำหรับปีใด ถ้าเปลี่ยนเจ้าของรถ เจ้าของใหม่ไม่ต้องเสียภาษีรถประจำปีในปีนั้นอีก มาตรา ๘๖/๒ ในระหว่างที่เจ้าของรถค้างชำระภาษีรถประจำปี ให้นายทะเบียนมีอำนาจที่จะไม่รับดำเนินการทางทะเบียนจนกว่าเจ้าของรถจะเสียภาษีที่ค้างชำระให้ครบถ้วนก่อน หรือได้มีการดำเนินการตามมาตรา ๘๖/๓ วรรคสองแล้ว มาตรา ๘๖/๓ รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีไม่ถึงสามปี หากเจ้าของรถประสงค์จะขอเสียภาษีรถประจำปีเพื่อใช้รถในปีนั้น ให้นายทะเบียนรับชำระภาษีนั้นได้ สำหรับภาษีรถที่ค้างชำระ ให้นายทะเบียนกำหนดจำนวนเงิน และระยะเวลาในการชำระตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ในกรณีที่เจ้าของรถผิดนัดไม่เสียภาษีรถที่ค้างชำระตามวรรคสองให้ครบถ้วน นายทะเบียนมีอำนาจที่จะไม่รับดำเนินการทางทะเบียน จนกว่าเจ้าของรถจะเสียภาษีรถที่ค้างชำระให้ครบถ้วน มาตรา ๘๖/๔ รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีติดต่อกันครบสามปี ให้การจดทะเบียนรถเป็นอันระงับไป ในการนี้ ให้นายทะเบียนประกาศหมายเลขทะเบียนพร้อมทั้งจำนวนภาษีที่ค้างชำระไว้ ณ ที่ทำการนายทะเบียนและในสถานที่ที่อธิบดีประกาศกำหนด และแจ้งให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถทราบ และให้บุคคลดังกล่าวส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถต่อนายทะเบียนและนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียนเพื่อบันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้แจ้งและปิดประกาศดังกล่าว ในกรณีที่เจ้าของรถหรือผู้ครองครอบรถมิได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนหรือผู้ตรวจการหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจยึดแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถได้ ให้ภาระภาษีรถประจำปีหลังจากปีที่สามเป็นอันระงับไป แต่เจ้าของรถหรือผู้ครอบครอบรถยังคงต้องเสียภาษีที่ค้างชำระให้ครบถ้วน และให้นำมาตรา ๘๖/๒ และมาตรา ๘๖/๓ วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม” มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๔๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๑๔๙/๑ เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๖/๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท” มาตรา ๕ รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ให้นายทะเบียนประกาศหมายเลขทะเบียนพร้อมทั้งจำนวนภาษีค้างชำระไว้ ณ ที่ทำการนายทะเบียนและในสถานที่ที่อธิบดีประกาศกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (๒) ให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถทำความตกลงกับนายทะเบียนในการชำระภาษีค้างชำระภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้มีประกาศตาม (๑) โดยให้ได้รับยกเว้นเงินเพิ่ม หากมีภาษีค้างชำระเกินกว่าสามปี ให้คิดภาษีค้างชำระเพียงสามปี และให้ผ่อนชำระเป็นงวดได้ ตามระเบียบที่อธิบดีประกาศกำหนด (๓) เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถที่มิได้ดำเนินการตาม (๒) ต้องเสียภาษีค้างชำระทั้งหมด พร้อมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ (๔) เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตาม (๒) รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีตั้งแต่สามปีขึ้นไป หรือรถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีไม่ถึงสามปี แต่ต่อมาภายหลังค้างชำระภาษีติดต่อกันครบสามปีให้ถือว่าทะเบียนรถเป็นอันระงับไป และให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถมีหน้าที่ส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถต่อนายทะเบียน และนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียน เพื่อบันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถภายในสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาตาม (๒) หรือนับแต่วันค้างชำระภาษีติดต่อกันครบสามปีแล้วแต่กรณี ให้นำมาตรา ๘๖/๒ มาตรา ๘๖/๓ วรรคสองและวรรคสาม และมาตรา ๘๖/๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถผู้ใดไม่ส่งคืนแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียนตามความใน (๔) ให้นำโทษตามมาตรา ๑๔๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีเจ้าของรถเป็นจำนวนมากละเลย หรือหลีกเลี่ยงการชำระภาษีรถประจำปี ทำให้มีภาษีรถประจำปีค้างชำระเพิ่มขึ้นทุกปี และเมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าของรถก็เกิดข้อโต้แย้งในภาระภาษีรถประจำปีที่ค้างชำระ สมควรปรับปรุงมาตรการในการจัดเก็บภาษีรถประจำปีที่ค้างชำระให้ได้ผลอย่างจริงจัง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วศิน/แก้ไข ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๒ วิมล/ปรับปรุง ๑๑ กันยายน ๒๕๖๓ ภิรมย์พร/ตรวจ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๔๘ ก/หน้า ๙/๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖
385377
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 (Update ณ วันที่ 25/03/2542)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นปีที่ ๓๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ (๒) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ (๓) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ (๑) “การขนส่ง” หมายความว่า การขนคน สัตว์ หรือสิ่งของ โดยทางบกด้วยรถ (๒) “การขนส่งประจำทาง” หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนด (๓) “การขนส่งไม่ประจำทาง” หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่จำกัดเส้นทาง (๔)[๒] “การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก” หมายความว่า การขนส่งคนหรือสิ่งของหรือคนและสิ่งของรวมกันเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนดด้วยรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสี่พันกิโลกรัม (๕)[๓] “การขนส่งส่วนบุคคล” หมายความว่า การขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองด้วยรถที่มีน้ำหนักเกินกว่าหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม (๖) “การขนส่งระหว่างจังหวัด” หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทำระหว่างจังหวัดกับจังหวัด (๗) “การขนส่งระหว่างประเทศ” หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทำระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ (๘) “การรับจัดการขนส่ง” หมายความว่า การรับจ้างรวบรวมคน สัตว์หรือสิ่งของ และจัดให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำการขนส่งจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในความรับผิดชอบของผู้รับจัดการขนส่ง (๙) “รถ” หมายความว่า ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่รถไฟ (๑๐) “ผู้ตรวจการ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจการขนส่ง (๑๑) “พนักงานตรวจสภาพ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจความมั่นคงแข็งแรง ความสะอาด ความเรียบร้อย และความเหมาะสมของสภาพรถที่นำมาใช้ในการขนส่ง (๑๒) “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนกลาง หรือนายทะเบียนประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี (๑๓) “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง หรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี (๑๔) “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (๑๕) “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕[๔] พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (๑) การขนส่งโดยรถยนต์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร (๒) การขนส่งโดย (ก) รถยนต์รับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์บริการที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ข) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน และรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้าง (ค) รถยนต์สามล้อ รถจักรยานยนต์ และรถแทร็กเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (๓) การขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเป็นนายทะเบียนกลางมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งระหว่างจังหวัดและการขนส่งระหว่างประเทศ ให้นายทะเบียนกลางเป็นนายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานคร มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ภายในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ขนส่งจังหวัดเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัด มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในเขตจังหวัดของตน ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดทำแทนได้ การมอบหมายตามวรรคสี่ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพกับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกคณะหนึ่งประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนมหาดไทย อธิบดีกรมทางหลวง เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทย และมีความรู้หรือความจัดเจนในการขนส่ง การเศรษฐกิจหรือกฎหมาย ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๙ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งซ่อม ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วนั้น กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ มาตรา ๑๐ ผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ห้ามมิให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (๑) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๒) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นกรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง มาตรา ๑๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) รัฐมนตรีให้ออก (๔) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๒ ในการประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมแทน มาตรา ๑๓ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๔ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดนโยบายการขนส่งทางบกระยะสั้นและระยะยาวเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๒) กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาและดำเนินการสถานีขนส่งเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๓) กำหนดมาตรการและแผนพัฒนาการขนส่งทางบกเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๔) กำหนดมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยและความสะดวกในการขนส่งทางบก เพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (๕) กำหนดการห้ามรับจดทะเบียนรถเป็นครั้งคราวตามความจำเป็นโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (๖) ประสานงานที่เกี่ยวข้องระหว่างกันในด้านการขนส่งทางบก ตลอดจนประสานงานด้านการขนส่งทางบกกับการขนส่งทางน้ำและการขนส่งทางอากาศ (๗) ให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการขนส่งทางบก มาตรา ๑๕ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม หมวด ๒ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางคณะหนึ่ง ประกอบด้วยปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือผู้แทน เลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทหรือผู้แทน อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้แทน อธิบดีกรมทางหลวงหรือผู้แทน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้แทน เป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินสามคนเป็นกรรมการ ทั้งนี้ โดยให้มีผู้มีความรู้และมีความจัดเจนในการขนส่งรวมอยู่ด้วย ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ อัยการจังหวัด ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินห้าคน โดยมีนายกเทศมนตรีในจังหวัดนั้นรวมอยู่ด้วยหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ขนส่งจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๘ ให้นำมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง และคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดโดยอนุโลม มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดลักษณะของการขนส่งประจำทางและการขนส่งไม่ประจำทาง (๒) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัดและระหว่างประเทศ (๓) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัด และระหว่างประเทศ (๔) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๕) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๖) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๗) กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่ง (๘) กำหนดสถานที่ จัดให้มีหรือจัดตั้ง และระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่ง (๙) กำหนดชนิดหรือสภาพรถที่มิให้รับจดทะเบียน (๑๐) กำหนดประเภทหรือชนิดของรถที่ต้องเข้าหยุดหรือจอดเพื่อการรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่ง (๑๑) กำหนดที่หยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสาร (๑๒) วางมาตรการในการกำหนด อนุญาต เพิกถอนการอนุญาตและการควบคุมกิจการขนส่งทางบก (๑๓) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก การกำหนดตาม (๒) (๓) (๔) (๘) (๙) และ (๑๐) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ภายในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทาง (๒) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๕) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกและคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง การกำหนดตาม (๑) และ (๔) เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแล้วจึงจะใช้บังคับได้ และการกำหนดตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๑ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม มาตรา ๒๒ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการการขนส่งทางบก เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งให้คณะกรรมการชี้แจงข้อเท็จจริงแสดงความคิดเห็นหรือทำรายงานหรือยับยั้งการกระทำใด ๆ ซึ่งขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี ตลอดจนมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินงานได้ หมวด ๓ การประกอบการขนส่ง มาตรา ๒๓ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือการขนส่งส่วนบุคคล เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ต้องมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดนั้น ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทยและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย และ (๑) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย (๒) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย และทุนของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย (๓)[๕] ในกรณีที่เป็นบริษัทจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย หรือต้องเป็นของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด หรือต้องเป็นของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือองค์การของรัฐ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และบริษัทจำกัดนั้นต้องไม่มีข้อบังคับอนุญาตให้มีการออกหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ (๔) ในกรณีที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทมหาชนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมดต้องเป็นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะต้องมีลักษณะตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจยกเว้นคุณสมบัติตามความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษเป็นการเฉพาะรายได้ มาตรา ๒๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางและผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่ออนุสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่ง การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นำมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๖ มาใช้บังคับแก่การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศโดยอนุโลม มาตรา ๒๖ ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย เว้นแต่เพื่อการขนส่งระหว่างประเทศและได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางแล้ว ผู้ประจำรถตามมาตรา ๙๒ ซึ่งประจำในรถตามวรรคหนึ่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ และหรือตามข้อตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ มาตรา ๒๗ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งมีสี่ประเภท คือ (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง หรือใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้ใช้เป็นใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลได้ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถผิดประเภทตามที่ระบุไว้ข้างต้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนเป็นครั้งคราว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๒๘ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้มีอายุเจ็ดปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอเสียก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ แต่การขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางและใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๙[๖] บทบัญญัติมาตรา ๒๓ มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น วัด มูลนิธิ สภากาชาดไทย สถานพยาบาล หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เป็นผู้ประกอบการขนส่ง แต่ผู้ประกอบการขนส่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้เสมือนดังเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลทุกประการ มาตรา ๓๐ ให้นายทะเบียนกลางเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในกรุงเทพมหานคร การขนส่งระหว่างจังหวัด และการขนส่งระหว่างประเทศ และให้นายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในจังหวัดของตน ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ มาตรา ๓๑ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) สิทธิในรถที่ใช้ประกอบการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๓) ลักษณะ ชนิด ขนาด และสีของรถ และเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๔) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๕) จำนวนผู้ประจำรถ (๖) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๗) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๘) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (๙) ที่ที่รถจะต้องหยุดในระหว่างเส้นทาง (๑๐) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (๑๑) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (๑๒) เวลาทำงานประจำวันในการประกอบการขนส่ง (๑๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (๑๔) การประกอบกิจการอื่นนอกจากการประกอบการขนส่งประจำทาง (๑๕) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางต้องจัดให้มีประกาศเงื่อนไขตาม (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๑) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๒ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิดและขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๔) จำนวนผู้ประจำรถ (๕) ท้องที่ที่ทำการขนส่ง (๖) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (๗) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๘) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (๙) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (๑๐) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางต้องจัดให้มีการประกาศเงื่อนไขตาม (๗) และ (๘) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๓ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิด ขนาด และสีของรถ และเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๔) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (๕) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๖) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๗) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องจัดให้มีประกาศเงื่อนไขตาม (๕) และ (๖) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๔[๗] ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้นายทะเบียนกำหนดเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิด และขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษา (๔)[๘] จำนวนผู้ประจำรถ (๕)[๙] เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามประเภทที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติผู้ประจำรถ และหรือใบกำกับสินค้าที่ทำการขนส่ง และต้องทำรายงานเกี่ยวกับการขนส่งและอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๖[๑๐] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่ง ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจัดให้มีที่พักผู้โดยสารตามระยะทางโดยมีลักษณะ ขนาด จำนวน และจุดที่ตั้งของที่พักผู้โดยสารตามที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๘ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่งหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ มาตรา ๓๙ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ใช้หรือยอมให้บุคคลอื่นใช้รถที่ได้รับอนุญาตทำการขนส่งนอกเส้นทาง หรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาตแล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมาย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๔๐ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางกระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางหรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาต มาตรา ๔๐ ทวิ[๑๑] ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้หรือยินยอมให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ขับรถที่ใช้ในการขนส่ง หากปรากฏว่าขณะใช้หรือขณะยินยอมให้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถ ผู้นั้นมีอาการหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (๑) เมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น (๒) เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (๓) เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องคอยดูแลและป้องกันไม่ให้ผู้ซึ่งมีอาการหรือกระทำการตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ของวรรคหนึ่งปฏิบัติหน้าที่ขับรถ มาตรา ๔๑ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง นายทะเบียนมีอำนาจที่จะสั่งเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถ หรือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวตามควรแก่กรณี แล้วให้รายงานคณะกรรมการโดยเร็ว มาตรา ๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องแสดงใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ใบอนุญาตประกอบการขนส่งสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดดังกล่าว มาตรา ๔๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการขนส่ง มาตรา ๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการขนส่ง มาตรา ๔๖ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๑) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๒) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขในมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยของผู้โดยสารตามมาตรา ๓๖ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติในหมวด ๔ ว่าด้วยการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติหรือไม่แก้ไขให้ถูกต้อง หรือเป็นที่เห็นได้ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่สามารถจะดำเนินการตามเงื่อนไขหรือข้อกำหนดนั้น หรือการดำเนินการนั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายหรือเสื่อมประโยชน์ต่อประชาชน ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ แต่ถ้าเป็นการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่จะพิจารณาอนุมัติ มาตรา ๔๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต้องส่งคืนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๙ ให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจควบคุมดูแลบรรดากิจการที่เกี่ยวกับการขนส่งให้เป็นไปตามความในพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์ดังกล่าวให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจ (๑) เข้าไปในสถานที่ดำเนินการของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งในระหว่างเวลาทำงานตามปกติ เพื่อทราบข้อเท็จจริงและเพื่อตรวจสอบบัญชีและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการขนส่ง (๒) เรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ ในการปฏิบัติตาม (๑) ให้อธิบดีมีอำนาจมอบหมายให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพทำการแทนได้ ในการปฏิบัติการของอธิบดี นายทะเบียน ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพตามมาตรานี้ ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นอำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือตามสมควร มาตรา ๕๐ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจเรียกรถให้หยุดเพื่อทำการตรวจสอบ และเมื่อเชื่อว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้น ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจจับกุมผู้ฝ่าฝืนเพื่อส่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดำเนินคดีต่อไป บทบัญญัติในวรรคหนึ่งไม่ลบล้างอำนาจจับกุมของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มาตรา ๕๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ และมาตรา ๕๐ ให้ผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง มาตรา ๕๒[๑๒] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ต้องวางหลักทรัพย์เป็นเงินสด หรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกัน หรือเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งทำกับบริษัทประกันภัยที่นายทะเบียนกลางให้ความเห็นชอบ ต่อนายทะเบียนกลาง ในกรณีเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องเป็นผู้เอาประกันภัย โดยให้บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการขนส่งของตนเป็นผู้รับประโยชน์ สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเพื่อประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง จำนวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดตามขนาดและประเภทของการประกอบการขนส่งแต่ต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งวางหลักทรัพย์เป็นเงินสดไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ดอกผลที่เกิดจากหลักทรัพย์ที่เป็นเงินสดนั้นตกเป็นของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่วางหลักทรัพย์ ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้รับผิดชอบในการเปิดบัญชีเงินฝาก และการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีหลักทรัพย์กับธนาคารตามระเบียบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๕๓ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันตามมาตรา ๕๒ มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง นายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๕๔ ในการวางหลักทรัพย์ซึ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลไทย ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำหนังสือมอบอำนาจให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจจัดการจำหน่ายพันธบัตรนั้น เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วย มาตรา ๕๕ หลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางประกันตามมาตรา ๕๒ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เว้นแต่จะเป็นการบังคับคดีเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน มาตรา ๕๖ เมื่อรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายหรือชีวิตของบุคคลใดนอกจากความรับผิดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นซึ่งจะต้องจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ให้จ่ายตามความร้ายแรงของความเสียหาย ทั้งนี้ ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ระหว่างการรักษาพยาบาลและหรือค่าปลงศพ มาตรา ๕๗ เมื่อผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายประสงค์จะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมตำรวจกำหนดต่อพนักงานสอบสวน โดยแสดงพยานหลักฐานว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ให้พนักงานสอบสวนพิจารณาจากสำนวนการสอบสวน และเมื่อเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นจากรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งคันใด ให้มีหนังสือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถคันนั้นชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๕๖ วรรคสอง ในการนี้ให้แจ้งให้นายทะเบียนกลางทราบโดยเร็วด้วย ในการสั่งของพนักงานสอบสวนตามวรรคหนึ่ง พนักงานสอบสวนต้องพิจารณาสั่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในการชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องชำระภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจากพนักงานสอบสวน มาตรา ๕๘ ผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายต้องใช้สิทธิในการขอรับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามมาตรา ๕๗ ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ความเสียหายเกิดขึ้น มาตรา ๕๙ การชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามหมวดนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายในอันที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๐ บุคคลซึ่งมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามหมวดนี้ได้แก่ผู้เสียหายดังต่อไปนี้ (๑) ผู้เสียหายซึ่งมิได้อยู่ในรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ได้รับความเสียหายจากรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น (๒) ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ไม่รวมถึงผู้ขับรถคนงานหรือลูกจ้างประจำรถซึ่งอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ (๓) ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในรถคันที่ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย มาตรา ๖๑ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ ให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ และให้พนักงานสอบสวนบันทึกความเห็นของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งไม่เห็นด้วยไว้ในสำนวนการสอบสวน คำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งกลางให้เป็นที่สุด มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานสอบสวน ถ้าคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีความเห็นตามความเห็นของพนักงานสอบสวน ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายเบื้องต้นที่พนักงานสอบสวนกำหนดไว้อีกร้อยละสิบ มาตรา ๖๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางตามมาตรา ๖๑ ในกรณีที่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามมาตรา ๕๒ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นซึ่งได้นำมาวางไว้เป็นประกันชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นแทนได้ มาตรา ๖๔ ในกรณีที่ผู้เสียหายไม่ได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือได้รับชดใช้ไม่ครบตามจำนวนที่พนักงานสอบสวนหรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางสั่งไม่ว่าเพราะเหตุหลักทรัพย์ที่วางประกันไว้ไม่พอจ่ายค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือเพราะเหตุอื่นใด เมื่อผู้เสียหายได้ร้องเรียนต่อนายทะเบียนกลางให้นายทะเบียนกลางสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชำระให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนกลางดังกล่าว ให้นายทะเบียนกลางเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง และให้นำมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๕ การรับจัดการขนส่ง มาตรา ๖๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการรับจัดการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๖ ในการออกใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ให้นายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) ท้องที่ที่ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๒) สถานที่ตั้งสำนักงานของผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๓) สถานที่พักคน สัตว์ หรือเก็บสิ่งของ (๔) วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับสวัสดิภาพ ความสะดวกและความปลอดภัยในการรับจัดการขนส่ง (๕) อัตราค่าบริการรับจัดการขนส่ง (๖) เงื่อนไขอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งต้องจัดให้มีการประกาศเงื่อนไขตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๖๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๖๕ ต้องวางหลักทรัพย์ต่อนายทะเบียนเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญารับจัดการขนส่ง ทั้งนี้ ตามจำนวนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๘ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันตามมาตรา ๖๗ มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๖๙ ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๐ ให้นำมาตรา ๒๔ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่การประกอบการรับจัดการขนส่งโดยอนุโลม หมวด ๖ รถ มาตรา ๗๑ รถที่ใช้ในการขนส่งต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง กับได้จดทะเบียนตามมาตรา ๗๓ และเสียภาษีตามมาตรา ๘๕ แล้ว รถที่ใช้ในการขนส่งที่เสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ มาตรา ๗๒[๑๓] รถที่จะนำมาจดทะเบียนและเสียภาษีต้องผ่านการตรวจสภาพรถจากพนักงานตรวจสภาพ หรือจากสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๗๔ เว้นแต่รถประเภทหรือชนิดใดที่สมควรได้รับการยกเว้นการตรวจสภาพเป็นครั้งคราวให้กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ปรากฏว่ารถที่นำมารับการตรวจสภาพนั้นมีสภาพมั่นคงแข็งแรงมีเครื่องอุปกรณ์ และส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับการอนุญาตออกใบรับรองให้ ใบรับรองการตรวจสภาพรถให้ทำตามแบบที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๗๓[๑๔] เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตได้ตรวจสภาพรถถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๑ และมาตรา ๗๒ แล้ว ให้รับจดทะเบียนและออกหนังสือแสดงการจดทะเบียนพร้อมกับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคันนั้นให้โดยไม่ชักช้า มาตรา ๗๔ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเพื่อรับรองสภาพรถตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๕ ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๗๔ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นได้ ให้นำมาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่การจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตโดยอนุโลม มาตรา ๗๗ หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถให้ใช้ได้สี่งวดนับแต่งวดที่ออกหนังสือนี้ ให้เดือนมกราคม เดือนเมษายน เดือนกรกฎาคม และเดือนตุลาคมเป็นเดือนแรกของแต่ละงวด การขอต่ออายุทะเบียน ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนภายในเวลาที่นายทะเบียนจะได้ประกาศกำหนด ให้นำมาตรา ๗๑ มาตรา ๗๒ และมาตรา ๗๓ มาใช้บังคับแก่การขอต่ออายุทะเบียนโดยอนุโลม มาตรา ๗๘ ห้ามมิให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน มาตรา ๗๙ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ประสงค์จะเลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบและนำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนแก่นายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกใช้รถนั้น มาตรา ๘๐ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีความจำเป็นจะต้องระงับใช้รถนั้นชั่วคราวเป็นเวลาเกินสิบห้าวันแจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบก่อนวันที่จะระงับใช้รถนั้น มาตรา ๘๑ รถที่ยังมิได้จดทะเบียนตามความในพระราชบัญญัตินี้ หรือรถที่เลิกใช้ตามมาตรา ๗๙ ถ้าจะนำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม ต้องมีใบอนุญาตและเครื่องหมายโดยเฉพาะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ใบอนุญาตและเครื่องหมายดังกล่าวใช้ได้เฉพาะรถที่อยู่ในความครอบครองของผู้ได้รับใบอนุญาตโดยสับเปลี่ยนกันได้ ไม่เฉพาะคัน มาตรา ๘๒ การโอนรถซึ่งได้จดทะเบียนตามมาตรา ๗๓ แล้ว ผู้โอนและผู้รับโอนจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันโอนและให้นายทะเบียนจดแจ้งการโอนไว้ในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถนั้น มาตรา ๘๓ เมื่อผู้ตรวจการตรวจพบว่ารถคันใดมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือมีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ผู้ตรวจการรายงานให้นายทะเบียนทราบ แต่ถ้าปรากฏโดยชัดแจ้งว่าการใช้รถคันนั้นต่อไปน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายแก่การขนส่ง ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจสั่งระงับใช้ไว้เป็นการชั่วคราวได้ และให้รีบรายงานให้นายทะเบียนทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถตามวรรคหนึ่ง จัดการส่งรถคันนั้นไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามรายงานของผู้ตรวจการภายในเวลาที่กำหนด เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งตามวรรคสองแล้ว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตงดการใช้รถดังกล่าวไว้จนกว่านายทะเบียนจะมีคำสั่งอนุญาตให้ใช้ได้ต่อไป มาตรา ๘๔ เมื่อพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตเห็นว่ารถที่นำมาให้ตรวจตามมาตรา ๘๓ สมควรจะต้องซ่อมแซม ปรับปรุงเพื่อให้รถกลับมีสภาพมั่นคงแข็งแรง หรือจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้แจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดำเนินการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง แล้วให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องและรายงานให้นายทะเบียนทราบ เมื่อได้พิจารณาเห็นสมควรตามรายงานของพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถคันนั้นต่อไปได้ มาตรา ๘๕ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้กรมการขนส่งทางบกจะกำหนดเวลาการชำระภาษีรถประจำปีสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแต่ละรายก็ได้ และให้คำนวณภาษีตามน้ำหนักรถตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ในการคำนวณน้ำหนักรถ ให้รวมน้ำหนักของรถและเครื่องอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับตัวรถตามปกติ แต่ไม่รวมน้ำหนักของน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเครื่อง น้ำ และเครื่องมือประจำรถ เศษของหนึ่งกิโลกรัมให้ปัดทิ้ง เงินภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้ที่จัดเก็บได้ในกรุงเทพมหานครให้ตกเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดอื่นให้ตกเป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนั้น โดยให้จังหวัดจัดสรรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง[๑๕] มาตรา ๘๖ ภาษีรถให้ชำระล่วงหน้าเป็นรายปีต่อนายทะเบียน และจะขอชำระเป็นงวดก็ได้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มตามที่กำหนดในกฎกระทรวง รถที่จดทะเบียนใหม่ในงวดใด ให้ชำระภาษีตั้งแต่งวดนั้นเป็นต้นไป ถ้าเจ้าของรถไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่จะต้องชำระ ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือน หรือเศษของเดือนของภาษีที่ต้องชำระ เงินเพิ่มตามมาตรานี้ให้ถือเป็นเงินภาษี มาตรา ๘๗ รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีแล้ว ถ้าต่อมามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงเพิ่มเติม เป็นเหตุให้รถมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากเดิม เจ้าของรถจะต้องเสียภาษีเพิ่มตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นด้วย และให้นำมาตรา ๘๖ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๘[๑๖] รถที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคลของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น วัด มูลนิธิ และสภากาชาดไทย ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี มาตรา ๘๘ ทวิ[๑๗] (ยกเลิก) มาตรา ๘๙ รถที่ได้จดทะเบียนแล้ว ถ้าไม่ได้เสียภาษีตามกำหนดตามมาตรา ๘๖ เจ้าของรถต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบพร้อมกับนำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถนั้นคืนต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งจะต้องเสียภาษีครั้งถัดไปตามมาตรา ๘๖ มาตรา ๙๐ เจ้าของรถต้องติดแผ่นป้ายเลขทะเบียนและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่นายทะเบียนออกให้ไว้กับตัวรถตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๙๑ ในกรณีที่แผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ ให้เจ้าของรถยื่นคำขอ ขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุด หรือลบเลือนดังกล่าว หมวด ๗ ผู้ประจำรถ มาตรา ๙๒ ผู้ประจำรถ ได้แก่ (๑) ผู้ขับรถ (๒) ผู้เก็บค่าโดยสาร (๓) นายตรวจ (๔) ผู้บริการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๓ ห้ามมิให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๔ ใบอนุญาตสำหรับผู้ประจำรถ มี ๔ ประเภท คือ (๑) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ (๒) ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร (๓) ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ (๔) ใบอนุญาตเป็นผู้บริการ ใบอนุญาตแต่ละประเภทจะใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตประเภทที่หนึ่ง ประเภทที่สาม และประเภทที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตประเภทที่สองได้ มาตรา ๙๕[๑๘] ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถมีดังนี้ (๑) ชนิดที่หนึ่ง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกินยี่สิบคน (๒) ชนิดที่สอง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่าสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารเกินยี่สิบคน (๓) ชนิดที่สาม ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งโดยสภาพใช้สำหรับลากจูงรถอื่นหรือล้อเลื่อนที่บรรทุกสิ่งใด ๆ บนล้อเลื่อนนั้น (๔) ชนิดที่สี่ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภท หรือชนิดและลักษณะการบรรทุกตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใบอนุญาตแต่ละชนิดใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตชนิดที่สอง ชนิดที่สาม และชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่หนึ่งได้ ใบอนุญาตชนิดที่สามและชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สองได้ และใบอนุญาตชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สามได้ ประกาศของอธิบดีตามความใน (๔) ของวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามมาตรา ๙๓ ในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องมีคุณสมบัติและลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีความรู้และความสามารถตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๓) ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยความเหมาะสม (๔) ไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๕) ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจ (๖) ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพติดให้โทษ (๗) ไม่เป็นผู้มีใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถประเภทหรือชนิดเดียวกับที่ได้รับอนุญาตอยู่แล้ว (๘) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เว้นแต่การเพิกถอนใบอนุญาตนั้นพ้นกำหนดสามปีแล้วนับแต่วันที่มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต (๙) ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่มิใช่เกี่ยวกับการใช้รถในการกระทำผิดหรือความผิดลหุโทษ หรือได้พ้นโทษมาแล้วเกินสามปี (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยถูกควบคุมตัวเพราะมีพฤติการณ์เป็นภัยต่อสังคม หรือเป็นอันธพาล เว้นแต่ได้พ้นจากการควบคุมตัวมาแล้วเกินหนึ่งปี มาตรา ๙๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง และได้ผ่านการศึกษาและจบหลักสูตรจากโรงเรียนการขนส่งของกรมการขนส่งทางบกหรือโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง การรับรองโรงเรียนสอนขับรถตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และผู้บริการต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในการขนส่งส่วนบุคคลต้องมีคุณสมบัติและมีลักษณะตามมาตรา ๙๖ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐๐[๑๙] ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถยื่นคำขอต่อนายทะเบียนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด มาตรา ๑๐๑ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถต้องมีใบอนุญาตอยู่กับตัวและต้องแสดงต่อนายทะเบียนหรือผู้ตรวจการเมื่อขอตรวจ มาตรา ๑๐๒ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถต้อง (๑) แต่งกายสะอาดเรียบร้อยตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง (๒) ไม่แสดงกิริยาหรือใช้ถ้อยคำเป็นการเสียดสี ดูหมิ่น ก้าวร้าว รังแก รบกวน หรือหยาบหยามผู้หนึ่งผู้ใด หรือแสดงกิริยาวาจาหรือส่งเสียงด้วยประการหนึ่งประการใดในลักษณะไม่สมควรหรือไม่สุภาพ (๓) ไม่เสพหรือเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น (๓ ทวิ)[๒๐] ไม่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (๓ ตรี)[๒๑] ไม่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (๔) ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐๒ ทวิ[๒๒] ในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใด ในขณะปฏิบัติหน้าที่นั้นมีสารอยู่ในร่างกายอันเกิดจากการเสพสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น หรือยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ให้ผู้ตรวจการ หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจมีอำนาจตรวจหรือทดสอบ หรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่าผู้นั้นมีสารนั้น ๆ อยู่ในร่างกายหรือไม่ เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ วิธีการตรวจหรือทดสอบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๐๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถนอกจากจะต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๒ แล้ว จะต้อง (๑) ไม่ขับรถในเวลาที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนความสามารถ (๒) ไม่รับบรรทุกบุคคลที่เป็นโรคเรื้อนหรือโรคติดต่อที่น่ารังเกียจไปกับผู้โดยสารอื่น (๓) ไม่รับบรรทุกศพ สัตว์ หรือสิ่งของที่อาจเกิดอันตรายหรือเป็นที่พึงรังเกียจไปกับผู้โดยสาร (๔)[๒๓] ไม่รับบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง ระเบิด หรือวัตถุอันตรายโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๕) ต้องหยุดหรือจอดรถ ณ สถานีขนส่งและปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่งตามมาตรา ๑๙ (๘) และ (๑๐) มาตรา ๑๐๓ ทวิ[๒๔] ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ในการปฏิบัติหน้าที่ขับรถในรอบยี่สิบสี่ชั่วโมง ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขับรถติดต่อกันเกินสี่ชั่วโมงนับแต่ขณะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ขับรถ แต่ถ้าในระหว่างนั้น ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถได้พักติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมง ก็ให้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถต่อไปได้อีกไม่เกินสี่ชั่วโมงติดต่อกัน มาตรา ๑๐๔ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถกระทำการใด ๆ ให้ผู้โดยสารจำต้องลงจากรถก่อนที่จะได้โดยสารถึงจุดหมายปลายทางโดยที่ได้ชำระค่าโดยสารถูกต้องตามอัตราที่กำหนดแล้ว มาตรา ๑๐๕ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถละเว้นการหยุดรถเพื่อรับหรือส่งผู้โดยสาร ณ ที่ที่มีเครื่องหมายให้รถนั้นหยุด ในเมื่อปรากฏว่ามีผู้โดยสารต้องการให้หยุดรถเพื่อรับหรือส่ง มาตรา ๑๐๖ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถกระทำการใด ๆ อันเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร มาตรา ๑๐๖ ทวิ[๒๕] ในกรณีที่มีความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและมีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศที่มีความตกลงดังกล่าวกับรัฐบาลไทย อาจใช้ใบอนุญาตขับรถของประเทศนั้นขับรถในราชอาณาจักรได้ตามประเภทและชนิดของรถที่ระบุไว้ในใบอนุญาตขับรถนั้น แต่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาและหรือความตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ และตามบทบัญญัติทั้งหลายในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๗ ในการขนส่งประจำทางหรือการขนส่งไม่ประจำทางระหว่างจังหวัดหรือระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถรับบรรทุกผู้โดยสารเกินจำนวนที่นั่งผู้โดยสารที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต มาตรา ๑๐๘ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๖ มาตรา ๙๗ มาตรา ๙๘ หรือมาตรา ๙๙ หรือบกพร่องไปในภายหลังเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้นเสีย มาตรา ๑๐๙ ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายในหมวดนี้ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจยึดใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถของผู้นั้น และสั่งเป็นหนังสือให้ผู้นั้นไปรายงานตนต่อนายทะเบียนภายในเจ็ดสิบสองชั่วโมง คำสั่งนั้นให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถชั่วคราวภายในกำหนดเวลาดังกล่าวนั้น ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้นได้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันหรือจะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้นเสียก็ได้ มาตรา ๑๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถซึ่งถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๑๑๑ ให้นำบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสารและนายตรวจมาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๘ ผู้โดยสาร มาตรา ๑๑๒ ผู้โดยสารต้องชำระค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๑๓ ผู้โดยสารต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ตลอดเวลาที่อยู่ในระหว่างการโดยสาร ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีการประกาศข้อกำหนดตามวรรคหนึ่งปิดไว้ ณ ที่เปิดเผยในรถ หมวด ๙ สถานีขนส่ง มาตรา ๑๑๔ สถานีขนส่งมี ๒ ประเภท คือ (๑) สถานีขนส่งผู้โดยสาร (๒) สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ ลักษณะของสถานีขนส่งตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๑๕ ให้กรมการขนส่งทางบกโดยอนุมัติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง จัดให้มีสถานีขนส่งขึ้นในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและในเขตท้องที่จังหวัดอื่น โดยจะดำเนินการเอง หรือจะมอบหมายให้รัฐวิสาหกิจหรือองค์การของรัฐเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด บุคคลอื่นใดประสงค์จะจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางก่อน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดให้มีหรือจัดตั้งสถานีขนส่งขึ้นที่ใด เมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๑๖ ให้อธิบดีมีอำนาจกำกับและควบคุมการดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์แห่งการนี้จะแต่งตั้งข้าราชการและหรือลูกจ้างสังกัดกรมการขนส่งทางบก ทำหน้าที่เป็นนายสถานีและเจ้าหน้าที่สถานีตามจำนวนที่เห็นสมควร มีอำนาจกำกับและควบคุมดังกล่าวด้วยก็ได้ มาตรา ๑๑๗ ในการบริหารงานที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งของกรมการขนส่งทางบกตามมาตรา ๑๑๕ วรรคหนึ่ง อธิบดีจะแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่เกินแปดคนเพื่อดูแลควบคุมและดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งก็ได้ กรรมการที่อธิบดีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการของคณะกรรมการ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการนี้โดยอนุโลม มาตรา ๑๑๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสาม ต้องมีคุณสมบัติและลักษณะตามมาตรา ๒๔ มาตรา ๑๑๙ ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งให้มีอายุตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดแต่ไม่เกินยี่สิบปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกิจการสถานีขนส่งรวมทั้งการรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยในบริเวณสถานีขนส่งนั้น มาตรา ๑๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างประจำสถานีขนส่งตลอดเวลา โดยให้มีหน้าที่ตรวจสอบสภาพรถขนส่งประจำทางซึ่งต้องหยุดหรือจอดเพื่อการขนส่ง ณ สถานีขนส่งแห่งนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัย คุณสมบัติและจำนวนเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๑๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีอู่ซ่อมรถและบริการซ่อมรถเพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่รถที่ใช้สถานีขนส่งนั้น มาตรา ๑๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีบริเวณที่จอดพักรถตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๑๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีสมุดทะเบียนการเดินรถที่ผ่านเข้าออกสถานีขนส่งตามแบบที่อธิบดีกำหนด สมุดทะเบียนการเดินรถต้องเก็บรักษาไว้ในที่ทำการของสถานีขนส่งแห่งนั้นพร้อมที่จะให้นายทะเบียน พนักงานตรวจสภาพหรือผู้ตรวจการตรวจดูได้ทุกเวลา มาตรา ๑๒๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งเรียกเก็บค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่งได้ไม่เกินอัตราตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด หมวด ๑๐ บทกำหนดโทษ มาตรา ๑๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๗๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๗[๒๖] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๖ วรรคสอง มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ (๑) (๒) หรือ (๔) มาตรา ๑๐๓ มาตรา ๑๐๓ ทวิ มาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๐๖ หรือมาตรา ๑๐๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๗ ทวิ[๒๗] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓ ทวิ) หรือ (๓ ตรี) ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี อีกหนึ่งในสาม มาตรา ๑๒๗ ตรี[๒๘] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามมาตรา ๑๐๒ ทวิ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๒๗ จัตวา[๒๙] ในกรณีที่ผู้ขับรถขับรถที่ใช้ในการขนส่งซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่น ถ้าปรากฏว่าในขณะขับรถ ผู้ขับรถนั้นกระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓) (๓ ทวิ) หรือ (๓ ตรี) ให้ถือว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคสอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นและได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ขับรถกระทำการดังกล่าว มาตรา ๑๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๑) ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๑) ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๓) (๑๔) หรือ (๑๕) หรือในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๓๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๓๖ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง มาตรา ๓๒ วรรคสอง มาตรา ๓๓ วรรคสอง มาตรา ๓๔ วรรคสอง มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๗ หรือมาตรา ๑๑๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๓๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๙ ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาตคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวัน จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๐ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองแสนบาท มาตรา ๑๓๘ ทวิ[๓๐] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท มาตรา ๑๓๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๔๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๔๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๒ หรือมาตรา ๔๗ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕ มาตรา ๗๙ หรือมาตรา ๘๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๔๔ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่อธิบดี นายทะเบียนผู้ตรวจการ หรือพนักงานตรวจสภาพ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ หรือมาตรา ๔๙ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนกลางซึ่งสั่งตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๖๘ ต้องระวางโทษปรับหนึ่งแสนบาท หรือปรับเป็นรายวัน วันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๔๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๖๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๔๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๖ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดใช้รถโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๑ หรือฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ตรวจการหรือนายทะเบียนตามมาตรา ๘๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๘ มาตรา ๘๑ วรรคหนึ่งหรือมาตรา ๘๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๕๐ เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท มาตรา ๑๕๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท แต่ถ้าผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง และได้กระทำการใด ๆ อันเป็นความผิดที่กำหนดไว้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดและต้องระวางโทษสำหรับการกระทำนั้นเช่นเดียวกับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถด้วย[๓๑] มาตรา ๑๕๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างที่ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๑๐๙ หรือปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่ถ้าผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท มาตรา ๑๕๓ ผู้โดยสารผู้ใดโดยสารรถโดยมีเจตนาไม่ชำระค่าขนส่งหรือชำระค่าขนส่งไม่ครบถ้วนตามอัตราที่กำหนด หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๑๑๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๕๔ ผู้ใดจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๕๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๓ หรือมาตรา ๑๒๔ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๕๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถผู้ใดไม่นำรถเข้าหยุดหรือจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่งตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๑๕๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งนำรถเข้าหยุดหรือจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่งผู้ใดไม่ชำระค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่งให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา ๑๒๕ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๑๕๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใด โดยทุจริตหรือจงใจออกใบรับรองตรวจสภาพรถโดยไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท และนายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นเสียได้ มาตรา ๑๕๙ ผู้ใดเรียกเก็บค่าขนส่ง ค่าบริการรับจัดการขนส่ง ค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่ง หรือค่าบริการอย่างอื่น ผิดไปจากอัตราที่คณะกรรมการกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๖๐ ผู้ใด (๑) ใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้แก่ผู้อื่น (๒) ใช้เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้สำหรับรถคันหนึ่งกับรถอีกคันหนึ่ง (๓) ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้แก่ตน (๔) เปลี่ยนแปลงหรือปิดบังทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ซึ่งแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ หรือ (๕) ใช้รถที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา ๘๘ ให้ผิดไปจากวัตถุประสงค์ที่ได้รับยกเว้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๖๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบกในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถผู้เก็บค่าโดยสารและนายตรวจตามมาตรา ๑๑๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๖๒ ผู้ใดเปลี่ยนแปลง ย้าย ทำลาย หรือกระทำให้เสียหายด้วยประการใด ๆ แก่เครื่องหมายหรือสิ่งอื่นใดที่ทางราชการได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการขนส่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๖๓ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้ เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบหรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ดำเนินคดีเพื่อฟ้องร้องต่อไป บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๖๔ ในระหว่างที่ยังมิได้มีกฎกระทรวง ข้อกำหนด หรือระเบียบตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กฎกระทรวง ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศใด ๆ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ และพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ คงใช้บังคับต่อไป มาตรา ๑๖๕[๓๒] บรรดาใบอนุญาตที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุและถ้าจะต่ออายุใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ บรรดารถที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้ามีการแก้ไขดัดแปลงโครงรถหรือขนาดสัดส่วนของตัวถังกว้างหรือยาวกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และการแก้ไขดัดแปลงนั้นกระทำได้โดยชอบตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ที่ใช้บังคับในขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นรถที่ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๗๑ มาตรา ๑๖๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง และเจ้าของรถที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ ปฏิบัติการให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๖๗ รถที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่ถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้ ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้รถตามวรรคหนึ่ง ซึ่งจะชำระภาษีครั้งแรกตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องชำระภาษีคราวละกี่งวดก็ได้ มาตรา ๑๖๘ คำขออนุญาตใด ๆ ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ถือว่าเป็นคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม และถ้าคำขออนุญาตดังกล่าวมีข้อความแตกต่างไปจากคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมคำขออนุญาตเพื่อให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ได้ มาตรา ๑๖๙ ในเขตท้องที่จังหวัดใดในระหว่างที่ยังไม่มีขนส่งจังหวัดให้อำนาจและหน้าที่ของขนส่งจังหวัด เป็นอำนาจและหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ต่อเส้นทางหนึ่ง ฉบับละ ๑๕,๐๐๐ บาท (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ไม่ประจำทาง ฉบับละ ๔,๐๐๐ บาท (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดย รถขนาดเล็ก ฉบับละ ๑,๕๐๐ บาท (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๕) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ (ก) ตลอดปี ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (ข) เฉพาะคราว ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๖) ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (๗) ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการ สถานีขนส่ง ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๘) ใบอนุญาตผู้ขับรถและใบอนุญาต นายตรวจ ฉบับละ ๒๐๐ บาท (๙) ใบอนุญาตผู้เก็บค่าโดยสารและ ใบอนุญาตผู้บริการ ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๐) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๑๑) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๑๒) การโอนทะเบียนรถ ครั้งละ ๒๐๐ บาท (๑๓) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและ เครื่องหมาย แผ่นละ ๑๐๐ บาท (๑๔) คำขออนุญาตประกอบการขนส่ง ประจำทาง ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๕) คำขออื่น ๆ ฉบับละ ๒๐ บาท (๑๖) การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตแต่ละฉบับ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว และสภาพการณ์ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก บทบัญญัติทั้งหลายที่ใช้บังคับอยู่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการขนส่งเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓[๓๓] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผลแห่งการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ส่งผลกระทบถึงบรรดารถบรรทุกขนส่งสินค้า ของผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล คือ ก. รถบรรทุกที่ใช้รถมีน้ำหนักรถต่ำกว่าหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมทั่วพระราชอาณาจักรสำหรับประกอบการภายในครอบครัว ต่างได้รับความเดือดร้อนอย่างยิ่ง เพราะต้องไปยื่นขอจดทะเบียนขนส่งส่วนบุคคล และต้องใช้ใบอนุญาตขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก นอกเหนือไปจากใบอนุญาตของกรมตำรวจที่มีอยู่แล้ว ก่อให้เกิดความเดือดร้อน เพราะรถบรรทุกขนาดเล็กเหล่านี้หาจำต้องใช้ความชำนาญเชี่ยวชาญเป็นพิเศษไม่ เนื่องจากเป็นรถที่ส่วนมากใช้ในธุรกิจส่วนตัว ภายในครัวเรือนและใช้ในการขนส่งพืชผลของเกษตรกร จึงสมควรได้รับการยกเว้นไม่ต้องไปจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก และการใช้ใบขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก ข. สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งได้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามใบอนุญาตนั้น การจำกัดท้องที่ทำการขนส่งนั้น ย่อมก่อให้เกิดความไม่สะดวกและเป็นธรรม เพราะผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลก็ย่อมหมายถึงประกอบธุรกิจส่วนตัวนั่นเอง ท้องที่ที่กำหนดให้แน่นอนย่อมเป็นเครื่องกีดขวางการปฏิบัติงาน เพราะการที่จะบรรทุกสินค้าของตนไปส่งยังที่ต่าง ๆ การที่จะต้องไปขออนุญาตเป็นครั้งคราวนั้นย่อมก่อให้เกิดภาวะสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ เป็นการเพิ่มราคาทุนโดยไม่จำเป็น ค. โดยทั่วไปการตรวจสภาพรถมักล่าช้า เมื่อนำรถไปขอรับการตรวจแล้วแต่ปรากฏว่ารถมีจำนวนมาก ตรวจสภาพไม่ทันหากนำไปวิ่งขนส่งก็จะต้องถูกจับกุมและมีโทษสูง และการที่จอดรอการตรวจสภาพเป็นระยะนาน ๆ นั้น ย่อมทำให้เศรษฐกิจกระทบกระเทือน จึงสมควรกำหนดเวลาตรวจไว้ และหากความล่าช้าเป็นเพราะความผิดของพนักงานหรือผู้มีอำนาจตรวจสภาพ ก็ไม่สมควรเอาโทษแก่ผู้ประกอบการขนส่งที่ขอตรวจสภาพไว้แล้ว เพราะโทษมีกำหนดสูง ง. การต่อใบอนุญาตตามบทเฉพาะกาลของใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งได้รับอนุญาตไว้แล้ว ก่อนใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ขนาดและส่วนซึ่งพนักงานตรวจสภาพตามกฎหมายเก่า ทั้งของกรมตำรวจและกรมการขนส่งทางบก ไม่เป็นระเบียบเดียวกัน และมีมาตรฐานต่างกัน ฉะนั้น การขอต่อใบอนุญาตใหม่จึงไม่สมควรนำเหตุผลของการผิดขนาดและส่วนมาเป็นข้อปฏิเสธการขอต่อใบอนุญาตเก่านั้น อาศัยเหตุผลดังกล่าว จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฉบับนี้ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๓๔] มาตรา ๕ อัตราภาษีรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ไม่ใช้บังคับแก่รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีรถประจำปีไว้แล้ว หรือที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ สำหรับภาษีรถประจำปีที่เสียไว้แล้ว หรือที่ค้างชำระนั้น มาตรา ๖ รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีรถประจำปีไว้แล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ หากเป็นรถที่ไม่ได้รับการลดภาษีรถประจำปีตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๘๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ให้เสียภาษีรถประจำปีสำหรับปีต่อไป ดังต่อไปนี้ (๑) ปีที่หนึ่ง ให้เสียในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๒) ปีที่สอง ให้เสียในอัตราสามในสี่ของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๓) ปีต่อไป ให้เสียในอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันมีรถจำนวนมากใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกิดความจำเป็นในการสั่งน้ำมันดีเซลหรือก๊าซเข้ามาในราชอาณาจักร ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการเพิ่มจำนวนรถที่ใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง และเพื่อเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๓๕] ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอขอให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ นั้น ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙ (สมัยสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ที่ประชุมได้ลงมติไม่อนุมัติ จึงประกาศมาตามความในมาตรา ๑๕๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐[๓๖] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยได้ทำความตกลงกับประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน และโดยที่ประเทศไทยอาจทำความตกลงในทำนองเดียวกันกับประเทศอื่น ๆ ด้วย ซึ่งความตกลงดังกล่าวจะมีผลให้ผู้มีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือจากรัฐบาลของประเทศที่ประเทศไทยมีความตกลงด้วย สามารถใช้ใบอนุญาตขับรถนั้นขับรถในประเทศไทยได้ ฉะนั้น เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่กับต่างประเทศตามความตกลงดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕[๓๗] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ โดยเฉพาะผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถส่วนมากมักนิยมเสพยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ ทำให้เกิดอุบัติเหตุสร้างความสูญเสียแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนบนท้องถนนเป็นอันมาก สมควรมีบทบัญญัติกำหนดความผิดและกำหนดโทษเกี่ยวกับการเสพยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และให้อำนาจผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นหรือเสพยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบถึงเหตุดังกล่าวได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕[๓๘] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปรากฏว่าอุบัติเหตุที่เกิดจากรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก แต่โดยที่พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังไม่มีบทบัญญัติควบคุมการขนส่งวัตถุอันตรายไว้อย่างเพียงพอและเหมาะสม สมควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตรายเสียใหม่เพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗[๓๙] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีผู้นำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน หรือรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ไปใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างในลักษณะที่เป็นการแก่งแย่งแข่งขันกับผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง โดยมิได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และโดยที่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกได้บัญญัติยกเว้นไว้มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งโดยรถยนต์ดังกล่าว เป็นเหตุให้ทางราชการไม่สามารถเข้าควบคุมและจัดระเบียบการขนส่งได้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๗[๔๐] มาตรา ๔ บรรดาใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ และถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาต ให้นำความในมาตรา ๑๐๐ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดให้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถมีอายุเพียงหนึ่งปี ทำให้ผู้ประกอบอาชีพเป็นผู้ประจำรถจะต้องมาต่อใบอนุญาตทุก ๆ หนึ่งปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นมากทำให้เกิดความไม่สะดวกเสียเวลาและค่าใช้จ่ายแก่ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวเป็นอย่างยิ่งในการที่จะต้องเดินทางมาต่อใบอนุญาตทุก ๆ ปี โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางไปทำงานในจังหวัดอื่น การกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวโดยไม่จำเป็น จึงสมควรให้มีการขยายอายุของใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเพิ่มขึ้นจากหนึ่งปีเป็นสามปี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒[๔๑] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันอุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดบนท้องถนนอันเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลต่าง ๆ นั้น มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ขับรถเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น เสพยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ขับรถติดต่อกันนานเกินไปจนทำให้ผู้ขับรถเกิดความตึงเครียด ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงอันเนื่องมาจากกรณีดังกล่าว สมควรกำหนดห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้หรือยินยอมให้ผู้ขับรถซึ่งมีอาการหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ขับรถที่ใช้ในการขนส่ง และกำหนดให้มีหน้าที่ควบคุมดูแล และป้องกันมิให้ผู้ขับรถที่มีอาการหรือกระทำการเช่นว่านั้นขับรถที่ใช้ในการขนส่งด้วย รวมทั้งสมควรกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขับรถได้ไม่เกินสี่ชั่วโมงติดต่อกัน เพื่อไม่ให้เกิดความตึงเครียดจนเกินไป นอกจากนั้นสมควรกำหนดให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และได้กระทำการใด ๆ อันเป็นความผิดที่กำหนดไว้สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่กระทำความผิดดังกล่าวด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒[๔๒] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังมิได้บัญญัติให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ เพื่อที่จะให้มีการจัดสรรภาษีรถที่จัดเก็บได้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ นอกจากนี้โดยที่ถ้อยคำเกี่ยวกับราชการส่วนท้องถิ่นในกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกมีใช้อยู่หลายคำตามรูปแบบของราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งมีอยู่หลากหลาย โดยเมื่อจัดตั้งราชการส่วนท้องถิ่นขึ้นใหม่ ก็จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกครั้ง เพื่อให้ราชการส่วนท้องถิ่นนั้นได้รับการจัดสรรภาษีรถ ดังเช่นในกรณีขององค์การบริหารส่วนตำบลนี้เป็นต้น ฉะนั้น เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลได้รับจัดสรรภาษีรถ และเพื่อปรับปรุงถ้อยคำเกี่ยวกับราชการส่วนท้องถิ่นให้ครอบคลุมถึงราชการส่วนท้องถิ่นทุกประเภท จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วศิน/ผู้จัดทำ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๓๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๑ มีนาคม ๒๕๒๒ [๒] มาตรา ๔ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๓] มาตรา ๔ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๔] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗ [๕] มาตรา ๒๔ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๖] มาตรา ๒๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๗] มาตรา ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๘] มาตรา ๓๔ (๔) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๙] มาตรา ๓๔ (๕) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๐] มาตรา ๓๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๑] มาตรา ๔๐ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๒] มาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๓] มาตรา ๗๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๑๔] มาตรา ๗๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๑๕] มาตรา ๘๕ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๖] มาตรา ๘๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๗] มาตรา ๘๘ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ต่อมามีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙ (สมัยสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ที่ประชุมได้ลงมติไม่อนุมัติ [๑๘] มาตรา ๙๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๙] มาตรา ๑๐๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๗ [๒๐] มาตรา ๑๐๒ (๓ ทวิ) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๑] มาตรา ๑๐๒ (๓ ตรี) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๒] มาตรา ๑๐๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๓] มาตรา ๑๐๓ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๔] มาตรา ๑๐๓ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๕] มาตรา ๑๐๖ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ [๒๖] มาตรา ๑๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๗] มาตรา ๑๒๗ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๘] มาตรา ๑๒๗ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๙] มาตรา ๑๒๗ จัตวา เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๐] มาตรา ๑๓๘ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๑] มาตรา ๑๕๑ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๒] มาตรา ๑๖๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๓๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๖๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๕ ตุลาคม ๒๕๒๓ [๓๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑/๓๑ มกราคม ๒๕๒๙ [๓๕] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๗๕/หน้า ๑๑/๖ พฤษภาคม ๒๕๒๙ [๓๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓/๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๐ [๓๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๔/หน้า ๑๔/๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ [๓๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๘/หน้า ๙/๕ เมษายน ๒๕๓๕ [๓๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๒๖ ก/หน้า ๑/๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๗ [๔๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๑/๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๗ [๔๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๒๓/๒๕ มีนาคม ๒๕๔๒ [๔๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๒๗/๒๕ มีนาคม ๒๕๔๒
307933
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นปีที่ ๕๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) ในกรณีที่เป็นบริษัทจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย หรือต้องเป็นของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด หรือต้องเป็นของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือองค์การของรัฐ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และบริษัทจำกัดนั้นต้องไม่มีข้อบังคับ อนุญาตให้มีการออกหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๙ บทบัญญัติมาตรา ๒๓ มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น วัด มูลนิธิ สภากาชาดไทย สถานพยาบาล หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เป็นผู้ประกอบการขนส่ง แต่ผู้ประกอบการขนส่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้เสมือนดังเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลทุกประการ” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “เงินภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้ที่จัดเก็บได้ในกรุงเทพมหานครให้ตกเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดอื่นให้ตกเป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนั้น โดยให้จังหวัดจัดสรรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง” มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๘๘ รถที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคลของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น วัด มูลนิธิ และสภากาชาดไทย ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังมิได้บัญญัติให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ เพื่อที่จะให้มีการจัดสรรภาษีรถที่จัดเก็บได้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ นอกจากนี้ โดยที่ถ้อยคำเกี่ยวกับราชการส่วนท้องถิ่นในกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกมีใช้อยู่หลายคำตามรูปแบบของราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งมีอยู่หลากหลาย โดยเมื่อจัดตั้งราชการส่วนท้องถิ่นขึ้นใหม่ ก็จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกครั้ง เพื่อให้ราชการส่วนท้องถิ่นนั้นได้รับการจัดสรรภาษีรถ ดังเช่นในกรณีขององค์การบริหารส่วนตำบลนี้เป็นต้น ฉะนั้น เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลได้รับจัดสรรภาษีรถ และเพื่อปรับปรุงถ้อยคำเกี่ยวกับราชการส่วนท้องถิ่นให้ครอบคลุมถึงราชการส่วนท้องถิ่นทุกประเภท จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วศิน/ผู้จัดทำ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๒ วิมล/ปรับปรุง ๑๑ กันยายน ๒๕๖๓ ภิรมย์พร/ตรวจ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๒๗/๒๕ มีนาคม ๒๕๔๒
600577
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 (Update ณ วันที่ 25/03/2542)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นปีที่ ๓๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ (๒) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ (๓) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ (๑) “การขนส่ง” หมายความว่า การขนคน สัตว์ หรือสิ่งของ โดยทางบกด้วยรถ (๒) “การขนส่งประจำทาง” หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนด (๓) “การขนส่งไม่ประจำทาง” หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่จำกัดเส้นทาง (๔)[๒] “การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก” หมายความว่า การขนส่งคนหรือสิ่งของหรือคนและสิ่งของรวมกันเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนดด้วยรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสี่พันกิโลกรัม (๕)[๓] “การขนส่งส่วนบุคคล” หมายความว่า การขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองด้วยรถที่มีน้ำหนักเกินกว่าหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม (๖) “การขนส่งระหว่างจังหวัด” หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทำระหว่างจังหวัดกับจังหวัด (๗) “การขนส่งระหว่างประเทศ” หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทำระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ (๘) “การรับจัดการขนส่ง” หมายความว่า การรับจ้างรวบรวมคน สัตว์หรือสิ่งของ และจัดให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำการขนส่งจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในความรับผิดชอบของผู้รับจัดการขนส่ง (๙) “รถ” หมายความว่า ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่รถไฟ (๑๐) “ผู้ตรวจการ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจการขนส่ง (๑๑) “พนักงานตรวจสภาพ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจความมั่นคงแข็งแรง ความสะอาด ความเรียบร้อย และความเหมาะสมของสภาพรถที่นำมาใช้ในการขนส่ง (๑๒) “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนกลาง หรือนายทะเบียนประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี (๑๓) “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง หรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี (๑๔) “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (๑๕) “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕[๔] พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (๑) การขนส่งโดยรถยนต์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร (๒) การขนส่งโดย (ก) รถยนต์รับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์บริการที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ข) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน และรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้าง (ค) รถยนต์สามล้อ รถจักรยานยนต์ และรถแทร็กเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (๓) การขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเป็นนายทะเบียนกลางมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งระหว่างจังหวัดและการขนส่งระหว่างประเทศ ให้นายทะเบียนกลางเป็นนายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานคร มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ภายในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ขนส่งจังหวัดเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัด มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในเขตจังหวัดของตน ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดทำแทนได้ การมอบหมายตามวรรคสี่ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพกับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกคณะหนึ่งประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนมหาดไทย อธิบดีกรมทางหลวง เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทย และมีความรู้หรือความจัดเจนในการขนส่ง การเศรษฐกิจหรือกฎหมาย ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๙ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งซ่อม ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วนั้น กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ มาตรา ๑๐ ผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ห้ามมิให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (๑) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๒) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นกรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง มาตรา ๑๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) รัฐมนตรีให้ออก (๔) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๒ ในการประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมแทน มาตรา ๑๓ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๔ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดนโยบายการขนส่งทางบกระยะสั้นและระยะยาวเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๒) กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาและดำเนินการสถานีขนส่งเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๓) กำหนดมาตรการและแผนพัฒนาการขนส่งทางบกเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๔) กำหนดมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยและความสะดวกในการขนส่งทางบก เพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (๕) กำหนดการห้ามรับจดทะเบียนรถเป็นครั้งคราวตามความจำเป็นโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (๖) ประสานงานที่เกี่ยวข้องระหว่างกันในด้านการขนส่งทางบก ตลอดจนประสานงานด้านการขนส่งทางบกกับการขนส่งทางน้ำและการขนส่งทางอากาศ (๗) ให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการขนส่งทางบก มาตรา ๑๕ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม หมวด ๒ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางคณะหนึ่ง ประกอบด้วยปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือผู้แทน เลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทหรือผู้แทน อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้แทน อธิบดีกรมทางหลวงหรือผู้แทน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้แทน เป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินสามคนเป็นกรรมการ ทั้งนี้ โดยให้มีผู้มีความรู้และมีความจัดเจนในการขนส่งรวมอยู่ด้วย ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ อัยการจังหวัด ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินห้าคน โดยมีนายกเทศมนตรีในจังหวัดนั้นรวมอยู่ด้วยหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ขนส่งจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๘ ให้นำมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง และคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดโดยอนุโลม มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดลักษณะของการขนส่งประจำทางและการขนส่งไม่ประจำทาง (๒) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัดและระหว่างประเทศ (๓) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัด และระหว่างประเทศ (๔) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๕) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๖) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๗) กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่ง (๘) กำหนดสถานที่ จัดให้มีหรือจัดตั้ง และระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่ง (๙) กำหนดชนิดหรือสภาพรถที่มิให้รับจดทะเบียน (๑๐) กำหนดประเภทหรือชนิดของรถที่ต้องเข้าหยุดหรือจอดเพื่อการรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่ง (๑๑) กำหนดที่หยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสาร (๑๒) วางมาตรการในการกำหนด อนุญาต เพิกถอนการอนุญาตและการควบคุมกิจการขนส่งทางบก (๑๓) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก การกำหนดตาม (๒) (๓) (๔) (๘) (๙) และ (๑๐) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ภายในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทาง (๒) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๕) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกและคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง การกำหนดตาม (๑) และ (๔) เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแล้วจึงจะใช้บังคับได้ และการกำหนดตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๑ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม มาตรา ๒๒ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการการขนส่งทางบก เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งให้คณะกรรมการชี้แจงข้อเท็จจริงแสดงความคิดเห็นหรือทำรายงานหรือยับยั้งการกระทำใด ๆ ซึ่งขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี ตลอดจนมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินงานได้ หมวด ๓ การประกอบการขนส่ง มาตรา ๒๓ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือการขนส่งส่วนบุคคล เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ต้องมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดนั้น ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทยและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย และ (๑) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย (๒) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย และทุนของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย (๓) ในกรณีที่เป็นบริษัทจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย หรือต้องเป็นของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด หรือต้องเป็นของกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล เมืองพัทยา รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือองค์การของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และบริษัทจำกัดนั้นต้องไม่มีข้อบังคับอนุญาตให้มีการออกหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ (๔) ในกรณีที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทมหาชนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมดต้องเป็นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะต้องมีลักษณะตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจยกเว้นคุณสมบัติตามความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษเป็นการเฉพาะรายได้ มาตรา ๒๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางและผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่ออนุสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่ง การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นำมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๖ มาใช้บังคับแก่การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศโดยอนุโลม มาตรา ๒๖ ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย เว้นแต่เพื่อการขนส่งระหว่างประเทศและได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางแล้ว ผู้ประจำรถตามมาตรา ๙๒ ซึ่งประจำในรถตามวรรคหนึ่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ และหรือตามข้อตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ มาตรา ๒๗ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งมีสี่ประเภท คือ (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง หรือใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้ใช้เป็นใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลได้ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถผิดประเภทตามที่ระบุไว้ข้างต้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนเป็นครั้งคราว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๒๘ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้มีอายุเจ็ดปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอเสียก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ แต่การขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางและใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๙[๕] บทบัญญัติมาตรา ๒๓ มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล เมืองพัทยา วัด มูลนิธิที่ได้รับอำนาจแล้ว สภากาชาดไทย สถานพยาบาล รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เป็นผู้ประกอบการขนส่ง แต่ผู้ประกอบการขนส่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้เสมือนดังเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลทุกประการ มาตรา ๓๐ ให้นายทะเบียนกลางเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในกรุงเทพมหานคร การขนส่งระหว่างจังหวัด และการขนส่งระหว่างประเทศ และให้นายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในจังหวัดของตน ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ มาตรา ๓๑ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) สิทธิในรถที่ใช้ประกอบการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๓) ลักษณะ ชนิด ขนาด และสีของรถ และเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๔) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๕) จำนวนผู้ประจำรถ (๖) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๗) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๘) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (๙) ที่ที่รถจะต้องหยุดในระหว่างเส้นทาง (๑๐) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (๑๑) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (๑๒) เวลาทำงานประจำวันในการประกอบการขนส่ง (๑๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (๑๔) การประกอบกิจการอื่นนอกจากการประกอบการขนส่งประจำทาง (๑๕) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางต้องจัดให้มีประกาศเงื่อนไขตาม (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๑) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๒ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิดและขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๔) จำนวนผู้ประจำรถ (๕) ท้องที่ที่ทำการขนส่ง (๖) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (๗) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๘) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (๙) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (๑๐) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางต้องจัดให้มีการประกาศเงื่อนไขตาม (๗) และ (๘) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๓ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิด ขนาด และสีของรถ และเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๔) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (๕) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๖) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๗) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องจัดให้มีประกาศเงื่อนไขตาม (๕) และ (๖) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๔[๖] ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้นายทะเบียนกำหนดเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิด และขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษา (๔)[๗] จำนวนผู้ประจำรถ (๕)[๘] เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามประเภทที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติผู้ประจำรถ และหรือใบกำกับสินค้าที่ทำการขนส่ง และต้องทำรายงานเกี่ยวกับการขนส่งและอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๖[๙] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่ง ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจัดให้มีที่พักผู้โดยสารตามระยะทางโดยมีลักษณะ ขนาด จำนวน และจุดที่ตั้งของที่พักผู้โดยสารตามที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๘ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่งหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ มาตรา ๓๙ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ใช้หรือยอมให้บุคคลอื่นใช้รถที่ได้รับอนุญาตทำการขนส่งนอกเส้นทาง หรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาตแล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมาย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๔๐ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางกระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางหรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาต มาตรา ๔๐ ทวิ[๑๐] ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้หรือยินยอมให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ขับรถที่ใช้ในการขนส่ง หากปรากฏว่าขณะใช้หรือขณะยินยอมให้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถ ผู้นั้นมีอาการหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (๑) เมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น (๒) เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (๓) เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องคอยดูแลและป้องกันไม่ให้ผู้ซึ่งมีอาการหรือกระทำการตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ของวรรคหนึ่งปฏิบัติหน้าที่ขับรถ มาตรา ๔๑ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง นายทะเบียนมีอำนาจที่จะสั่งเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถ หรือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวตามควรแก่กรณี แล้วให้รายงานคณะกรรมการโดยเร็ว มาตรา ๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องแสดงใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ใบอนุญาตประกอบการขนส่งสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดดังกล่าว มาตรา ๔๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการขนส่ง มาตรา ๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการขนส่ง มาตรา ๔๖ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๑) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๒) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขในมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยของผู้โดยสารตามมาตรา ๓๖ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติในหมวด ๔ ว่าด้วยการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติหรือไม่แก้ไขให้ถูกต้อง หรือเป็นที่เห็นได้ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่สามารถจะดำเนินการตามเงื่อนไขหรือข้อกำหนดนั้น หรือการดำเนินการนั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายหรือเสื่อมประโยชน์ต่อประชาชน ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ แต่ถ้าเป็นการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่จะพิจารณาอนุมัติ มาตรา ๔๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต้องส่งคืนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๙ ให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจควบคุมดูแลบรรดากิจการที่เกี่ยวกับการขนส่งให้เป็นไปตามความในพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์ดังกล่าวให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจ (๑) เข้าไปในสถานที่ดำเนินการของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งในระหว่างเวลาทำงานตามปกติ เพื่อทราบข้อเท็จจริงและเพื่อตรวจสอบบัญชีและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการขนส่ง (๒) เรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ ในการปฏิบัติตาม (๑) ให้อธิบดีมีอำนาจมอบหมายให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพทำการแทนได้ ในการปฏิบัติการของอธิบดี นายทะเบียน ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพตามมาตรานี้ ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นอำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือตามสมควร มาตรา ๕๐ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจเรียกรถให้หยุดเพื่อทำการตรวจสอบ และเมื่อเชื่อว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้น ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจจับกุมผู้ฝ่าฝืนเพื่อส่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดำเนินคดีต่อไป บทบัญญัติในวรรคหนึ่งไม่ลบล้างอำนาจจับกุมของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มาตรา ๕๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ และมาตรา ๕๐ ให้ผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง มาตรา ๕๒[๑๑] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ต้องวางหลักทรัพย์เป็นเงินสด หรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกัน หรือเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งทำกับบริษัทประกันภัยที่นายทะเบียนกลางให้ความเห็นชอบ ต่อนายทะเบียนกลาง ในกรณีเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องเป็นผู้เอาประกันภัย โดยให้บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการขนส่งของตนเป็นผู้รับประโยชน์ สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเพื่อประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง จำนวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดตามขนาดและประเภทของการประกอบการขนส่งแต่ต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งวางหลักทรัพย์เป็นเงินสดไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ดอกผลที่เกิดจากหลักทรัพย์ที่เป็นเงินสดนั้นตกเป็นของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่วางหลักทรัพย์ ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้รับผิดชอบในการเปิดบัญชีเงินฝาก และการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีหลักทรัพย์กับธนาคารตามระเบียบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๕๓ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันตามมาตรา ๕๒ มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง นายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๕๔ ในการวางหลักทรัพย์ซึ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลไทย ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำหนังสือมอบอำนาจให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจจัดการจำหน่ายพันธบัตรนั้น เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วย มาตรา ๕๕ หลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางประกันตามมาตรา ๕๒ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เว้นแต่จะเป็นการบังคับคดีเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน มาตรา ๕๖ เมื่อรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายหรือชีวิตของบุคคลใดนอกจากความรับผิดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นซึ่งจะต้องจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ให้จ่ายตามความร้ายแรงของความเสียหาย ทั้งนี้ ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ระหว่างการรักษาพยาบาลและหรือค่าปลงศพ มาตรา ๕๗ เมื่อผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายประสงค์จะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมตำรวจกำหนดต่อพนักงานสอบสวน โดยแสดงพยานหลักฐานว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ให้พนักงานสอบสวนพิจารณาจากสำนวนการสอบสวน และเมื่อเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นจากรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งคันใด ให้มีหนังสือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถคันนั้นชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๕๖ วรรคสอง ในการนี้ให้แจ้งให้นายทะเบียนกลางทราบโดยเร็วด้วย ในการสั่งของพนักงานสอบสวนตามวรรคหนึ่ง พนักงานสอบสวนต้องพิจารณาสั่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในการชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องชำระภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจากพนักงานสอบสวน มาตรา ๕๘ ผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายต้องใช้สิทธิในการขอรับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามมาตรา ๕๗ ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ความเสียหายเกิดขึ้น มาตรา ๕๙ การชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามหมวดนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายในอันที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๐ บุคคลซึ่งมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามหมวดนี้ได้แก่ผู้เสียหายดังต่อไปนี้ (๑) ผู้เสียหายซึ่งมิได้อยู่ในรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ได้รับความเสียหายจากรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น (๒) ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ไม่รวมถึงผู้ขับรถคนงานหรือลูกจ้างประจำรถซึ่งอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ (๓) ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในรถคันที่ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย มาตรา ๖๑ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ ให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ และให้พนักงานสอบสวนบันทึกความเห็นของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งไม่เห็นด้วยไว้ในสำนวนการสอบสวน คำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งกลางให้เป็นที่สุด มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานสอบสวน ถ้าคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีความเห็นตามความเห็นของพนักงานสอบสวน ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายเบื้องต้นที่พนักงานสอบสวนกำหนดไว้อีกร้อยละสิบ มาตรา ๖๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางตามมาตรา ๖๑ ในกรณีที่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามมาตรา ๕๒ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นซึ่งได้นำมาวางไว้เป็นประกันชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นแทนได้ มาตรา ๖๔ ในกรณีที่ผู้เสียหายไม่ได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือได้รับชดใช้ไม่ครบตามจำนวนที่พนักงานสอบสวนหรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางสั่งไม่ว่าเพราะเหตุหลักทรัพย์ที่วางประกันไว้ไม่พอจ่ายค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือเพราะเหตุอื่นใด เมื่อผู้เสียหายได้ร้องเรียนต่อนายทะเบียนกลางให้นายทะเบียนกลางสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชำระให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนกลางดังกล่าว ให้นายทะเบียนกลางเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง และให้นำมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๕ การรับจัดการขนส่ง มาตรา ๖๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการรับจัดการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๖ ในการออกใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ให้นายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) ท้องที่ที่ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๒) สถานที่ตั้งสำนักงานของผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๓) สถานที่พักคน สัตว์ หรือเก็บสิ่งของ (๔) วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับสวัสดิภาพ ความสะดวกและความปลอดภัยในการรับจัดการขนส่ง (๕) อัตราค่าบริการรับจัดการขนส่ง (๖) เงื่อนไขอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งต้องจัดให้มีการประกาศเงื่อนไขตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๖๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๖๕ ต้องวางหลักทรัพย์ต่อนายทะเบียนเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญารับจัดการขนส่ง ทั้งนี้ ตามจำนวนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๘ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันตามมาตรา ๖๗ มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๖๙ ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๐ ให้นำมาตรา ๒๔ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่การประกอบการรับจัดการขนส่งโดยอนุโลม หมวด ๖ รถ มาตรา ๗๑ รถที่ใช้ในการขนส่งต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง กับได้จดทะเบียนตามมาตรา ๗๓ และเสียภาษีตามมาตรา ๘๕ แล้ว รถที่ใช้ในการขนส่งที่เสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ มาตรา ๗๒[๑๒] รถที่จะนำมาจดทะเบียนและเสียภาษีต้องผ่านการตรวจสภาพรถจากพนักงานตรวจสภาพ หรือจากสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๗๔ เว้นแต่รถประเภทหรือชนิดใดที่สมควรได้รับการยกเว้นการตรวจสภาพเป็นครั้งคราวให้กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ปรากฏว่ารถที่นำมารับการตรวจสภาพนั้นมีสภาพมั่นคงแข็งแรงมีเครื่องอุปกรณ์ และส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับการอนุญาตออกใบรับรองให้ ใบรับรองการตรวจสภาพรถให้ทำตามแบบที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๗๓[๑๓] เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตได้ตรวจสภาพรถถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๑ และมาตรา ๗๒ แล้ว ให้รับจดทะเบียนและออกหนังสือแสดงการจดทะเบียนพร้อมกับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคันนั้นให้โดยไม่ชักช้า มาตรา ๗๔ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเพื่อรับรองสภาพรถตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๕ ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๗๔ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นได้ ให้นำมาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่การจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตโดยอนุโลม มาตรา ๗๗ หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถให้ใช้ได้สี่งวดนับแต่งวดที่ออกหนังสือนี้ ให้เดือนมกราคม เดือนเมษายน เดือนกรกฎาคม และเดือนตุลาคมเป็นเดือนแรกของแต่ละงวด การขอต่ออายุทะเบียน ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนภายในเวลาที่นายทะเบียนจะได้ประกาศกำหนด ให้นำมาตรา ๗๑ มาตรา ๗๒ และมาตรา ๗๓ มาใช้บังคับแก่การขอต่ออายุทะเบียนโดยอนุโลม มาตรา ๗๘ ห้ามมิให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน มาตรา ๗๙ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ประสงค์จะเลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบและนำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนแก่นายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกใช้รถนั้น มาตรา ๘๐ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีความจำเป็นจะต้องระงับใช้รถนั้นชั่วคราวเป็นเวลาเกินสิบห้าวันแจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบก่อนวันที่จะระงับใช้รถนั้น มาตรา ๘๑ รถที่ยังมิได้จดทะเบียนตามความในพระราชบัญญัตินี้ หรือรถที่เลิกใช้ตามมาตรา ๗๙ ถ้าจะนำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม ต้องมีใบอนุญาตและเครื่องหมายโดยเฉพาะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ใบอนุญาตและเครื่องหมายดังกล่าวใช้ได้เฉพาะรถที่อยู่ในความครอบครองของผู้ได้รับใบอนุญาตโดยสับเปลี่ยนกันได้ ไม่เฉพาะคัน มาตรา ๘๒ การโอนรถซึ่งได้จดทะเบียนตามมาตรา ๗๓ แล้ว ผู้โอนและผู้รับโอนจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันโอนและให้นายทะเบียนจดแจ้งการโอนไว้ในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถนั้น มาตรา ๘๓ เมื่อผู้ตรวจการตรวจพบว่ารถคันใดมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือมีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ผู้ตรวจการรายงานให้นายทะเบียนทราบ แต่ถ้าปรากฏโดยชัดแจ้งว่าการใช้รถคันนั้นต่อไปน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายแก่การขนส่ง ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจสั่งระงับใช้ไว้เป็นการชั่วคราวได้ และให้รีบรายงานให้นายทะเบียนทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถตามวรรคหนึ่ง จัดการส่งรถคันนั้นไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามรายงานของผู้ตรวจการภายในเวลาที่กำหนด เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งตามวรรคสองแล้ว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตงดการใช้รถดังกล่าวไว้จนกว่านายทะเบียนจะมีคำสั่งอนุญาตให้ใช้ได้ต่อไป มาตรา ๘๔ เมื่อพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตเห็นว่ารถที่นำมาให้ตรวจตามมาตรา ๘๓ สมควรจะต้องซ่อมแซม ปรับปรุงเพื่อให้รถกลับมีสภาพมั่นคงแข็งแรง หรือจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้แจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดำเนินการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง แล้วให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องและรายงานให้นายทะเบียนทราบ เมื่อได้พิจารณาเห็นสมควรตามรายงานของพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถคันนั้นต่อไปได้ มาตรา ๘๕ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้กรมการขนส่งทางบกจะกำหนดเวลาการชำระภาษีรถประจำปีสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแต่ละรายก็ได้ และให้คำนวณภาษีตามน้ำหนักรถตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ในการคำนวณน้ำหนักรถ ให้รวมน้ำหนักของรถและเครื่องอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับตัวรถตามปกติ แต่ไม่รวมน้ำหนักของน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเครื่อง น้ำ และเครื่องมือประจำรถ เศษของหนึ่งกิโลกรัมให้ปัดทิ้ง เงินภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้ที่จัดเก็บได้ในกรุงเทพมหานครให้ตกเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดอื่นให้ตกเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และเมืองพัทยาในจังหวัดนั้น โดยให้กระทรวงมหาดไทยจัดสรรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๘๖ ภาษีรถให้ชำระล่วงหน้าเป็นรายปีต่อนายทะเบียน และจะขอชำระเป็นงวดก็ได้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มตามที่กำหนดในกฎกระทรวง รถที่จดทะเบียนใหม่ในงวดใด ให้ชำระภาษีตั้งแต่งวดนั้นเป็นต้นไป ถ้าเจ้าของรถไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่จะต้องชำระ ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือน หรือเศษของเดือนของภาษีที่ต้องชำระ เงินเพิ่มตามมาตรานี้ให้ถือเป็นเงินภาษี มาตรา ๘๗ รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีแล้ว ถ้าต่อมามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงเพิ่มเติม เป็นเหตุให้รถมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากเดิม เจ้าของรถจะต้องเสียภาษีเพิ่มตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นด้วย และให้นำมาตรา ๘๖ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๘ รถที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคลของกระทรวง ทบวง กรมกรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล เมืองพัทยา วัด มูลนิธิที่ได้รับอำนาจแล้ว และสภากาชาดไทย ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี มาตรา ๘๘ ทวิ[๑๔] (ยกเลิก) มาตรา ๘๙ รถที่ได้จดทะเบียนแล้ว ถ้าไม่ได้เสียภาษีตามกำหนดตามมาตรา ๘๖ เจ้าของรถต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบพร้อมกับนำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถนั้นคืนต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งจะต้องเสียภาษีครั้งถัดไปตามมาตรา ๘๖ มาตรา ๙๐ เจ้าของรถต้องติดแผ่นป้ายเลขทะเบียนและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่นายทะเบียนออกให้ไว้กับตัวรถตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๙๑ ในกรณีที่แผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ ให้เจ้าของรถยื่นคำขอ ขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุด หรือลบเลือนดังกล่าว หมวด ๗ ผู้ประจำรถ มาตรา ๙๒ ผู้ประจำรถ ได้แก่ (๑) ผู้ขับรถ (๒) ผู้เก็บค่าโดยสาร (๓) นายตรวจ (๔) ผู้บริการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๓ ห้ามมิให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๔ ใบอนุญาตสำหรับผู้ประจำรถ มี ๔ ประเภท คือ (๑) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ (๒) ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร (๓) ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ (๔) ใบอนุญาตเป็นผู้บริการ ใบอนุญาตแต่ละประเภทจะใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตประเภทที่หนึ่ง ประเภทที่สาม และประเภทที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตประเภทที่สองได้ มาตรา ๙๕[๑๕] ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถมีดังนี้ (๑) ชนิดที่หนึ่ง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกินยี่สิบคน (๒) ชนิดที่สอง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่าสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารเกินยี่สิบคน (๓) ชนิดที่สาม ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งโดยสภาพใช้สำหรับลากจูงรถอื่นหรือล้อเลื่อนที่บรรทุกสิ่งใด ๆ บนล้อเลื่อนนั้น (๔) ชนิดที่สี่ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภท หรือชนิดและลักษณะการบรรทุกตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใบอนุญาตแต่ละชนิดใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตชนิดที่สอง ชนิดที่สาม และชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่หนึ่งได้ ใบอนุญาตชนิดที่สามและชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สองได้ และใบอนุญาตชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สามได้ ประกาศของอธิบดีตามความใน (๔) ของวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามมาตรา ๙๓ ในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องมีคุณสมบัติและลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีความรู้และความสามารถตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๓) ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยความเหมาะสม (๔) ไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๕) ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจ (๖) ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพติดให้โทษ (๗) ไม่เป็นผู้มีใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถประเภทหรือชนิดเดียวกับที่ได้รับอนุญาตอยู่แล้ว (๘) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เว้นแต่การเพิกถอนใบอนุญาตนั้นพ้นกำหนดสามปีแล้วนับแต่วันที่มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต (๙) ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่มิใช่เกี่ยวกับการใช้รถในการกระทำผิดหรือความผิดลหุโทษ หรือได้พ้นโทษมาแล้วเกินสามปี (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยถูกควบคุมตัวเพราะมีพฤติการณ์เป็นภัยต่อสังคม หรือเป็นอันธพาล เว้นแต่ได้พ้นจากการควบคุมตัวมาแล้วเกินหนึ่งปี มาตรา ๙๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง และได้ผ่านการศึกษาและจบหลักสูตรจากโรงเรียนการขนส่งของกรมการขนส่งทางบกหรือโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง การรับรองโรงเรียนสอนขับรถตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และผู้บริการต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในการขนส่งส่วนบุคคลต้องมีคุณสมบัติและมีลักษณะตามมาตรา ๙๖ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐๐[๑๖] ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถยื่นคำขอต่อนายทะเบียนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด มาตรา ๑๐๑ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถต้องมีใบอนุญาตอยู่กับตัวและต้องแสดงต่อนายทะเบียนหรือผู้ตรวจการเมื่อขอตรวจ มาตรา ๑๐๒ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถต้อง (๑) แต่งกายสะอาดเรียบร้อยตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง (๒) ไม่แสดงกิริยาหรือใช้ถ้อยคำเป็นการเสียดสี ดูหมิ่น ก้าวร้าว รังแก รบกวน หรือหยาบหยามผู้หนึ่งผู้ใด หรือแสดงกิริยาวาจาหรือส่งเสียงด้วยประการหนึ่งประการใดในลักษณะไม่สมควรหรือไม่สุภาพ (๓) ไม่เสพหรือเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น (๓ ทวิ)[๑๗] ไม่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (๓ ตรี)[๑๘] ไม่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (๔) ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐๒ ทวิ[๑๙] ในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใด ในขณะปฏิบัติหน้าที่นั้นมีสารอยู่ในร่างกายอันเกิดจากการเสพสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น หรือยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ให้ผู้ตรวจการ หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจมีอำนาจตรวจหรือทดสอบ หรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่าผู้นั้นมีสารนั้น ๆ อยู่ในร่างกายหรือไม่ เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ วิธีการตรวจหรือทดสอบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๐๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถนอกจากจะต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๒ แล้ว จะต้อง (๑) ไม่ขับรถในเวลาที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนความสามารถ (๒) ไม่รับบรรทุกบุคคลที่เป็นโรคเรื้อนหรือโรคติดต่อที่น่ารังเกียจไปกับผู้โดยสารอื่น (๓) ไม่รับบรรทุกศพ สัตว์ หรือสิ่งของที่อาจเกิดอันตรายหรือเป็นที่พึงรังเกียจไปกับผู้โดยสาร (๔)[๒๐] ไม่รับบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง ระเบิด หรือวัตถุอันตรายโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๕) ต้องหยุดหรือจอดรถ ณ สถานีขนส่งและปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่งตามมาตรา ๑๙ (๘) และ (๑๐) มาตรา ๑๐๓ ทวิ[๒๑] ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ในการปฏิบัติหน้าที่ขับรถในรอบยี่สิบสี่ชั่วโมง ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขับรถติดต่อกันเกินสี่ชั่วโมงนับแต่ขณะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ขับรถ แต่ถ้าในระหว่างนั้น ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถได้พักติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมง ก็ให้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถต่อไปได้อีกไม่เกินสี่ชั่วโมงติดต่อกัน มาตรา ๑๐๔ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถกระทำการใด ๆ ให้ผู้โดยสารจำต้องลงจากรถก่อนที่จะได้โดยสารถึงจุดหมายปลายทางโดยที่ได้ชำระค่าโดยสารถูกต้องตามอัตราที่กำหนดแล้ว มาตรา ๑๐๕ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถละเว้นการหยุดรถเพื่อรับหรือส่งผู้โดยสาร ณ ที่ที่มีเครื่องหมายให้รถนั้นหยุด ในเมื่อปรากฏว่ามีผู้โดยสารต้องการให้หยุดรถเพื่อรับหรือส่ง มาตรา ๑๐๖ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถกระทำการใด ๆ อันเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร มาตรา ๑๐๖ ทวิ[๒๒] ในกรณีที่มีความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและมีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศที่มีความตกลงดังกล่าวกับรัฐบาลไทย อาจใช้ใบอนุญาตขับรถของประเทศนั้นขับรถในราชอาณาจักรได้ตามประเภทและชนิดของรถที่ระบุไว้ในใบอนุญาตขับรถนั้น แต่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาและหรือความตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ และตามบทบัญญัติทั้งหลายในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๗ ในการขนส่งประจำทางหรือการขนส่งไม่ประจำทางระหว่างจังหวัดหรือระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถรับบรรทุกผู้โดยสารเกินจำนวนที่นั่งผู้โดยสารที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต มาตรา ๑๐๘ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๖ มาตรา ๙๗ มาตรา ๙๘ หรือมาตรา ๙๙ หรือบกพร่องไปในภายหลังเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้นเสีย มาตรา ๑๐๙ ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายในหมวดนี้ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจยึดใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถของผู้นั้น และสั่งเป็นหนังสือให้ผู้นั้นไปรายงานตนต่อนายทะเบียนภายในเจ็ดสิบสองชั่วโมง คำสั่งนั้นให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถชั่วคราวภายในกำหนดเวลาดังกล่าวนั้น ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้นได้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันหรือจะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้นเสียก็ได้ มาตรา ๑๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถซึ่งถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๑๑๑ ให้นำบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสารและนายตรวจมาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๘ ผู้โดยสาร มาตรา ๑๑๒ ผู้โดยสารต้องชำระค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๑๓ ผู้โดยสารต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ตลอดเวลาที่อยู่ในระหว่างการโดยสาร ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีการประกาศข้อกำหนดตามวรรคหนึ่งปิดไว้ ณ ที่เปิดเผยในรถ หมวด ๙ สถานีขนส่ง มาตรา ๑๑๔ สถานีขนส่งมี ๒ ประเภท คือ (๑) สถานีขนส่งผู้โดยสาร (๒) สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ ลักษณะของสถานีขนส่งตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๑๕ ให้กรมการขนส่งทางบกโดยอนุมัติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง จัดให้มีสถานีขนส่งขึ้นในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและในเขตท้องที่จังหวัดอื่น โดยจะดำเนินการเอง หรือจะมอบหมายให้รัฐวิสาหกิจหรือองค์การของรัฐเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด บุคคลอื่นใดประสงค์จะจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางก่อน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดให้มีหรือจัดตั้งสถานีขนส่งขึ้นที่ใด เมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๑๖ ให้อธิบดีมีอำนาจกำกับและควบคุมการดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์แห่งการนี้จะแต่งตั้งข้าราชการและหรือลูกจ้างสังกัดกรมการขนส่งทางบก ทำหน้าที่เป็นนายสถานีและเจ้าหน้าที่สถานีตามจำนวนที่เห็นสมควร มีอำนาจกำกับและควบคุมดังกล่าวด้วยก็ได้ มาตรา ๑๑๗ ในการบริหารงานที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งของกรมการขนส่งทางบกตามมาตรา ๑๑๕ วรรคหนึ่ง อธิบดีจะแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่เกินแปดคนเพื่อดูแลควบคุมและดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งก็ได้ กรรมการที่อธิบดีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการของคณะกรรมการ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการนี้โดยอนุโลม มาตรา ๑๑๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสาม ต้องมีคุณสมบัติและลักษณะตามมาตรา ๒๔ มาตรา ๑๑๙ ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งให้มีอายุตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดแต่ไม่เกินยี่สิบปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกิจการสถานีขนส่งรวมทั้งการรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยในบริเวณสถานีขนส่งนั้น มาตรา ๑๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างประจำสถานีขนส่งตลอดเวลา โดยให้มีหน้าที่ตรวจสอบสภาพรถขนส่งประจำทางซึ่งต้องหยุดหรือจอดเพื่อการขนส่ง ณ สถานีขนส่งแห่งนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัย คุณสมบัติและจำนวนเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๑๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีอู่ซ่อมรถและบริการซ่อมรถเพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่รถที่ใช้สถานีขนส่งนั้น มาตรา ๑๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีบริเวณที่จอดพักรถตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๑๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีสมุดทะเบียนการเดินรถที่ผ่านเข้าออกสถานีขนส่งตามแบบที่อธิบดีกำหนด สมุดทะเบียนการเดินรถต้องเก็บรักษาไว้ในที่ทำการของสถานีขนส่งแห่งนั้นพร้อมที่จะให้นายทะเบียน พนักงานตรวจสภาพหรือผู้ตรวจการตรวจดูได้ทุกเวลา มาตรา ๑๒๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งเรียกเก็บค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่งได้ไม่เกินอัตราตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด หมวด ๑๐ บทกำหนดโทษ มาตรา ๑๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๗๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๗[๒๓] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๖ วรรคสอง มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ (๑) (๒) หรือ (๔) มาตรา ๑๐๓ มาตรา ๑๐๓ ทวิ มาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๐๖ หรือมาตรา ๑๐๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๗ ทวิ[๒๔] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓ ทวิ) หรือ (๓ ตรี) ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี อีกหนึ่งในสาม มาตรา ๑๒๗ ตรี[๒๕] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามมาตรา ๑๐๒ ทวิ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๒๗ จัตวา[๒๖] ในกรณีที่ผู้ขับรถขับรถที่ใช้ในการขนส่งซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่น ถ้าปรากฏว่าในขณะขับรถ ผู้ขับรถนั้นกระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓) (๓ ทวิ) หรือ (๓ ตรี) ให้ถือว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคสอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นและได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ขับรถกระทำการดังกล่าว มาตรา ๑๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๑) ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๑) ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๓) (๑๔) หรือ (๑๕) หรือในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๓๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๓๖ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง มาตรา ๓๒ วรรคสอง มาตรา ๓๓ วรรคสอง มาตรา ๓๔ วรรคสอง มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๗ หรือมาตรา ๑๑๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๓๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๙ ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาตคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวัน จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๐ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองแสนบาท มาตรา ๑๓๘ ทวิ[๒๗] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท มาตรา ๑๓๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๔๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๔๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๒ หรือมาตรา ๔๗ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕ มาตรา ๗๙ หรือมาตรา ๘๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๔๔ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่อธิบดี นายทะเบียนผู้ตรวจการ หรือพนักงานตรวจสภาพ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ หรือมาตรา ๔๙ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนกลางซึ่งสั่งตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๖๘ ต้องระวางโทษปรับหนึ่งแสนบาท หรือปรับเป็นรายวัน วันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๔๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๖๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๔๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๖ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดใช้รถโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๑ หรือฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ตรวจการหรือนายทะเบียนตามมาตรา ๘๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๘ มาตรา ๘๑ วรรคหนึ่งหรือมาตรา ๘๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๕๐ เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท มาตรา ๑๕๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท แต่ถ้าผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง และได้กระทำการใด ๆ อันเป็นความผิดที่กำหนดไว้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดและต้องระวางโทษสำหรับการกระทำนั้นเช่นเดียวกับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถด้วย[๒๘] มาตรา ๑๕๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างที่ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๑๐๙ หรือปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่ถ้าผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท มาตรา ๑๕๓ ผู้โดยสารผู้ใดโดยสารรถโดยมีเจตนาไม่ชำระค่าขนส่งหรือชำระค่าขนส่งไม่ครบถ้วนตามอัตราที่กำหนด หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๑๑๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๕๔ ผู้ใดจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๕๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๓ หรือมาตรา ๑๒๔ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๕๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถผู้ใดไม่นำรถเข้าหยุดหรือจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่งตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๑๕๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งนำรถเข้าหยุดหรือจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่งผู้ใดไม่ชำระค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่งให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา ๑๒๕ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๑๕๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใด โดยทุจริตหรือจงใจออกใบรับรองตรวจสภาพรถโดยไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท และนายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นเสียได้ มาตรา ๑๕๙ ผู้ใดเรียกเก็บค่าขนส่ง ค่าบริการรับจัดการขนส่ง ค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่ง หรือค่าบริการอย่างอื่น ผิดไปจากอัตราที่คณะกรรมการกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๖๐ ผู้ใด (๑) ใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้แก่ผู้อื่น (๒) ใช้เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้สำหรับรถคันหนึ่งกับรถอีกคันหนึ่ง (๓) ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้แก่ตน (๔) เปลี่ยนแปลงหรือปิดบังทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ซึ่งแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ หรือ (๕) ใช้รถที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา ๘๘ ให้ผิดไปจากวัตถุประสงค์ที่ได้รับยกเว้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๖๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบกในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถผู้เก็บค่าโดยสารและนายตรวจตามมาตรา ๑๑๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๖๒ ผู้ใดเปลี่ยนแปลง ย้าย ทำลาย หรือกระทำให้เสียหายด้วยประการใด ๆ แก่เครื่องหมายหรือสิ่งอื่นใดที่ทางราชการได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการขนส่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๖๓ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้ เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบหรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ดำเนินคดีเพื่อฟ้องร้องต่อไป บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๖๔ ในระหว่างที่ยังมิได้มีกฎกระทรวง ข้อกำหนด หรือระเบียบตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กฎกระทรวง ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศใด ๆ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ และพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ คงใช้บังคับต่อไป มาตรา ๑๖๕[๒๙] บรรดาใบอนุญาตที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุและถ้าจะต่ออายุใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ บรรดารถที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้ามีการแก้ไขดัดแปลงโครงรถหรือขนาดสัดส่วนของตัวถังกว้างหรือยาวกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และการแก้ไขดัดแปลงนั้นกระทำได้โดยชอบตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ที่ใช้บังคับในขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นรถที่ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๗๑ มาตรา ๑๖๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง และเจ้าของรถที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ ปฏิบัติการให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๖๗ รถที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่ถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้ ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้รถตามวรรคหนึ่ง ซึ่งจะชำระภาษีครั้งแรกตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องชำระภาษีคราวละกี่งวดก็ได้ มาตรา ๑๖๘ คำขออนุญาตใด ๆ ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ถือว่าเป็นคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม และถ้าคำขออนุญาตดังกล่าวมีข้อความแตกต่างไปจากคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมคำขออนุญาตเพื่อให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ได้ มาตรา ๑๖๙ ในเขตท้องที่จังหวัดใดในระหว่างที่ยังไม่มีขนส่งจังหวัดให้อำนาจและหน้าที่ของขนส่งจังหวัด เป็นอำนาจและหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ต่อเส้นทางหนึ่ง ฉบับละ ๑๕,๐๐๐ บาท (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ไม่ประจำทาง ฉบับละ ๔,๐๐๐ บาท (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดย รถขนาดเล็ก ฉบับละ ๑,๕๐๐ บาท (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๕) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ (ก) ตลอดปี ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (ข) เฉพาะคราว ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๖) ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (๗) ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการ สถานีขนส่ง ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๘) ใบอนุญาตผู้ขับรถและใบอนุญาต นายตรวจ ฉบับละ ๒๐๐ บาท (๙) ใบอนุญาตผู้เก็บค่าโดยสารและ ใบอนุญาตผู้บริการ ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๐) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๑๑) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๑๒) การโอนทะเบียนรถ ครั้งละ ๒๐๐ บาท (๑๓) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและ เครื่องหมาย แผ่นละ ๑๐๐ บาท (๑๔) คำขออนุญาตประกอบการขนส่ง ประจำทาง ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๕) คำขออื่น ๆ ฉบับละ ๒๐ บาท (๑๖) การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตแต่ละฉบับ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว และสภาพการณ์ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก บทบัญญัติทั้งหลายที่ใช้บังคับอยู่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการขนส่งเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓[๓๐] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผลแห่งการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ส่งผลกระทบถึงบรรดารถบรรทุกขนส่งสินค้า ของผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล คือ ก. รถบรรทุกที่ใช้รถมีน้ำหนักรถต่ำกว่าหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมทั่วพระราชอาณาจักรสำหรับประกอบการภายในครอบครัว ต่างได้รับความเดือดร้อนอย่างยิ่ง เพราะต้องไปยื่นขอจดทะเบียนขนส่งส่วนบุคคล และต้องใช้ใบอนุญาตขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก นอกเหนือไปจากใบอนุญาตของกรมตำรวจที่มีอยู่แล้ว ก่อให้เกิดความเดือดร้อน เพราะรถบรรทุกขนาดเล็กเหล่านี้หาจำต้องใช้ความชำนาญเชี่ยวชาญเป็นพิเศษไม่ เนื่องจากเป็นรถที่ส่วนมากใช้ในธุรกิจส่วนตัว ภายในครัวเรือนและใช้ในการขนส่งพืชผลของเกษตรกร จึงสมควรได้รับการยกเว้นไม่ต้องไปจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก และการใช้ใบขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก ข. สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งได้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามใบอนุญาตนั้น การจำกัดท้องที่ทำการขนส่งนั้น ย่อมก่อให้เกิดความไม่สะดวกและเป็นธรรม เพราะผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลก็ย่อมหมายถึงประกอบธุรกิจส่วนตัวนั่นเอง ท้องที่ที่กำหนดให้แน่นอนย่อมเป็นเครื่องกีดขวางการปฏิบัติงาน เพราะการที่จะบรรทุกสินค้าของตนไปส่งยังที่ต่าง ๆ การที่จะต้องไปขออนุญาตเป็นครั้งคราวนั้นย่อมก่อให้เกิดภาวะสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ เป็นการเพิ่มราคาทุนโดยไม่จำเป็น ค. โดยทั่วไปการตรวจสภาพรถมักล่าช้า เมื่อนำรถไปขอรับการตรวจแล้วแต่ปรากฏว่ารถมีจำนวนมาก ตรวจสภาพไม่ทันหากนำไปวิ่งขนส่งก็จะต้องถูกจับกุมและมีโทษสูง และการที่จอดรอการตรวจสภาพเป็นระยะนาน ๆ นั้น ย่อมทำให้เศรษฐกิจกระทบกระเทือน จึงสมควรกำหนดเวลาตรวจไว้ และหากความล่าช้าเป็นเพราะความผิดของพนักงานหรือผู้มีอำนาจตรวจสภาพ ก็ไม่สมควรเอาโทษแก่ผู้ประกอบการขนส่งที่ขอตรวจสภาพไว้แล้ว เพราะโทษมีกำหนดสูง ง. การต่อใบอนุญาตตามบทเฉพาะกาลของใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งได้รับอนุญาตไว้แล้ว ก่อนใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ขนาดและส่วนซึ่งพนักงานตรวจสภาพตามกฎหมายเก่า ทั้งของกรมตำรวจและกรมการขนส่งทางบก ไม่เป็นระเบียบเดียวกัน และมีมาตรฐานต่างกัน ฉะนั้น การขอต่อใบอนุญาตใหม่จึงไม่สมควรนำเหตุผลของการผิดขนาดและส่วนมาเป็นข้อปฏิเสธการขอต่อใบอนุญาตเก่านั้น อาศัยเหตุผลดังกล่าว จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฉบับนี้ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๓๑] มาตรา ๕ อัตราภาษีรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ไม่ใช้บังคับแก่รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีรถประจำปีไว้แล้ว หรือที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ สำหรับภาษีรถประจำปีที่เสียไว้แล้ว หรือที่ค้างชำระนั้น มาตรา ๖ รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีรถประจำปีไว้แล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ หากเป็นรถที่ไม่ได้รับการลดภาษีรถประจำปีตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๘๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ให้เสียภาษีรถประจำปีสำหรับปีต่อไป ดังต่อไปนี้ (๑) ปีที่หนึ่ง ให้เสียในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๒) ปีที่สอง ให้เสียในอัตราสามในสี่ของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๓) ปีต่อไป ให้เสียในอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันมีรถจำนวนมากใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกิดความจำเป็นในการสั่งน้ำมันดีเซลหรือก๊าซเข้ามาในราชอาณาจักร ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการเพิ่มจำนวนรถที่ใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง และเพื่อเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๓๒] ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอขอให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ นั้น ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙ (สมัยสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ที่ประชุมได้ลงมติไม่อนุมัติ จึงประกาศมาตามความในมาตรา ๑๕๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐[๓๓] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยได้ทำความตกลงกับประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน และโดยที่ประเทศไทยอาจทำความตกลงในทำนองเดียวกันกับประเทศอื่น ๆ ด้วย ซึ่งความตกลงดังกล่าวจะมีผลให้ผู้มีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือจากรัฐบาลของประเทศที่ประเทศไทยมีความตกลงด้วย สามารถใช้ใบอนุญาตขับรถนั้นขับรถในประเทศไทยได้ ฉะนั้น เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่กับต่างประเทศตามความตกลงดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕[๓๔] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ โดยเฉพาะผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถส่วนมากมักนิยมเสพยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ ทำให้เกิดอุบัติเหตุสร้างความสูญเสียแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนบนท้องถนนเป็นอันมาก สมควรมีบทบัญญัติกำหนดความผิดและกำหนดโทษเกี่ยวกับการเสพยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และให้อำนาจผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นหรือเสพยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบถึงเหตุดังกล่าวได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕[๓๕] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปรากฏว่าอุบัติเหตุที่เกิดจากรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก แต่โดยที่พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังไม่มีบทบัญญัติควบคุมการขนส่งวัตถุอันตรายไว้อย่างเพียงพอและเหมาะสม สมควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตรายเสียใหม่เพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗[๓๖] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีผู้นำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน หรือรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ไปใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างในลักษณะที่เป็นการแก่งแย่งแข่งขันกับผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง โดยมิได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และโดยที่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกได้บัญญัติยกเว้นไว้มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งโดยรถยนต์ดังกล่าว เป็นเหตุให้ทางราชการไม่สามารถเข้าควบคุมและจัดระเบียบการขนส่งได้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๗[๓๗] มาตรา ๔ บรรดาใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ และถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาต ให้นำความในมาตรา ๑๐๐ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดให้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถมีอายุเพียงหนึ่งปี ทำให้ผู้ประกอบอาชีพเป็นผู้ประจำรถจะต้องมาต่อใบอนุญาตทุก ๆ หนึ่งปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นมากทำให้เกิดความไม่สะดวกเสียเวลาและค่าใช้จ่ายแก่ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวเป็นอย่างยิ่งในการที่จะต้องเดินทางมาต่อใบอนุญาตทุก ๆ ปี โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางไปทำงานในจังหวัดอื่น การกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวโดยไม่จำเป็น จึงสมควรให้มีการขยายอายุของใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเพิ่มขึ้นจากหนึ่งปีเป็นสามปี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒[๓๘] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันอุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดบนท้องถนนอันเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลต่าง ๆ นั้น มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ขับรถเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น เสพยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ขับรถติดต่อกันนานเกินไปจนทำให้ผู้ขับรถเกิดความตึงเครียด ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงอันเนื่องมาจากกรณีดังกล่าว สมควรกำหนดห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้หรือยินยอมให้ผู้ขับรถซึ่งมีอาการหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ขับรถที่ใช้ในการขนส่ง และกำหนดให้มีหน้าที่ควบคุมดูแล และป้องกันมิให้ผู้ขับรถที่มีอาการหรือกระทำการเช่นว่านั้นขับรถที่ใช้ในการขนส่งด้วย รวมทั้งสมควรกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขับรถได้ไม่เกินสี่ชั่วโมงติดต่อกัน เพื่อไม่ให้เกิดความตึงเครียดจนเกินไป นอกจากนั้นสมควรกำหนดให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และได้กระทำการใด ๆ อันเป็นความผิดที่กำหนดไว้สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่กระทำความผิดดังกล่าวด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วศิน/ผู้จัดทำ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๓๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๑ มีนาคม ๒๕๒๒ [๒] มาตรา ๔ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๓] มาตรา ๔ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๔] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗ [๕] มาตรา ๒๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๖] มาตรา ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๗] มาตรา ๓๔ (๔) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๘] มาตรา ๓๔ (๕) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๙] มาตรา ๓๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๐] มาตรา ๔๐ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๑] มาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๒] มาตรา ๗๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๑๓] มาตรา ๗๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๑๔] มาตรา ๘๘ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ต่อมามีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙ (สมัยสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ที่ประชุมได้ลงมติไม่อนุมัติ [๑๕] มาตรา ๙๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๖] มาตรา ๑๐๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๗ [๑๗] มาตรา ๑๐๒ (๓ ทวิ) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๘] มาตรา ๑๐๒ (๓ ตรี) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๙] มาตรา ๑๐๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๐] มาตรา ๑๐๓ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๑] มาตรา ๑๐๓ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๒] มาตรา ๑๐๖ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ [๒๓] มาตรา ๑๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๔] มาตรา ๑๒๗ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๕] มาตรา ๑๒๗ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๖] มาตรา ๑๒๗ จัตวา เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๗] มาตรา ๑๓๘ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๘] มาตรา ๑๕๑ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๙] มาตรา ๑๖๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๓๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๖๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๕ ตุลาคม ๒๕๒๓ [๓๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑/๓๑ มกราคม ๒๕๒๙ [๓๒] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๗๕/หน้า ๑๑/๖ พฤษภาคม ๒๕๒๙ [๓๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓/๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๐ [๓๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๔/หน้า ๑๔/๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ [๓๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๘/หน้า ๙/๕ เมษายน ๒๕๓๕ [๓๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๒๖ ก/หน้า ๑/๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๗ [๓๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๑/๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๗ [๓๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๒๓/๒๕ มีนาคม ๒๕๔๒
321134
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นปีที่ ๕๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔๐ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๔๐ ทวิ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้หรือยินยอมให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ขับรถที่ใช้ในการขนส่งหากปรากฏว่าขณะใช้หรือขณะยินยอมให้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถ ผู้นั้นมีอาการหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (๑) เมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น (๒) เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (๓) เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องคอยดูแลและป้องกันไม่ให้ผู้ซึ่งมีอาการ หรือกระทำการตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ของวรรคหนึ่งปฏิบัติหน้าที่ขับรถ” มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๐๓ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๑๐๓ ทวิ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในการปฏิบัติหน้าที่ขับรถในรอบยี่สิบสี่ชั่วโมง ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขับรถติดต่อกันเกินสี่ชั่วโมงนับแต่ขณะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ขับรถ แต่ถ้าในระหว่างนั้น ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถได้พักติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมง ก็ให้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถต่อไปได้อีกไม่เกินสี่ชั่วโมงติดต่อกัน” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๒๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๖ วรรคสอง มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ (๑) (๒) หรือ (๔) มาตรา ๑๐๓ มาตรา ๑๐๓ ทวิ มาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๐๖ หรือมาตรา ๑๐๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท” มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒๗ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๒๗ ทวิ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓ ทวิ) หรือ (๓ ตรี) ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี อีกหนึ่งในสาม” มาตรา ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๒๗ จัตวา แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๑๒๗ จัตวา ในกรณีที่ผู้ขับรถขับรถที่ใช้ในการขนส่งซึ่งก่อให้เกิดอันตราย หรือความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่น ถ้าปรากฏว่าในขณะขับรถ ผู้ขับรถนั้นกระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓) (๓ ทวิ) หรือ (๓ ตรี) ให้ถือว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคสอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นและได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ขับรถกระทำการดังกล่าว” มาตรา ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๓๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๑๓๘ ทวิ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ทวิ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท” มาตรา ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา ๑๕๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง และได้กระทำการใด ๆ อันเป็นความผิดที่กำหนดไว้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดและต้องระวางโทษสำหรับการกระทำนั้นเช่นเดียวกับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถด้วย” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันอุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดบนท้องถนนอันเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลต่าง ๆ นั้น มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ขับรถเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น เสพยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ขับรถติดต่อกันนานเกินไปจนทำให้ผู้ขับรถเกิดความตึงเครียด ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงอันเนื่องมาจากกรณีดังกล่าว สมควรกำหนดห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้หรือยินยอมให้ผู้ขับรถซึ่งมีอาการหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ขับรถที่ใช้ในการขนส่ง และกำหนดให้มีหน้าที่ควบคุมดูแล และป้องกันมิให้ผู้ขับรถที่มีอาการหรือกระทำการเช่นว่านั้นขับรถที่ใช้ในการขนส่งด้วย รวมทั้งสมควรกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขับรถได้ไม่เกินสี่ชั่วโมงติดต่อกัน เพื่อไม่ให้เกิดความตึงเครียดจนเกินไป นอกจากนั้น สมควรกำหนดให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และได้กระทำการใด ๆ อันเป็นความผิดที่กำหนดไว้สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่กระทำความผิดดังกล่าวด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วศิน/ผู้จัดทำ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๒ วิมล/ปรับปรุง ๑๑ กันยายน ๒๕๖๓ ภิรมย์พร/ตรวจ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๒๓/๒๕ มีนาคม ๒๕๔๒
306778
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 (Update ณ วันที่ 30/06/2537)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นปีที่ ๓๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ (๒) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ (๓) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ (๑) “การขนส่ง” หมายความว่า การขนคน สัตว์ หรือสิ่งของ โดยทางบกด้วยรถ (๒) “การขนส่งประจำทาง” หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนด (๓) “การขนส่งไม่ประจำทาง” หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่จำกัดเส้นทาง (๔)[๒] “การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก” หมายความว่า การขนส่งคนหรือสิ่งของหรือคนและสิ่งของรวมกันเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนดด้วยรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสี่พันกิโลกรัม (๕)[๓] “การขนส่งส่วนบุคคล” หมายความว่า การขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองด้วยรถที่มีน้ำหนักเกินกว่าหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม (๖) “การขนส่งระหว่างจังหวัด” หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทำระหว่างจังหวัดกับจังหวัด (๗) “การขนส่งระหว่างประเทศ” หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทำระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ (๘) “การรับจัดการขนส่ง” หมายความว่า การรับจ้างรวบรวมคน สัตว์หรือสิ่งของ และจัดให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำการขนส่งจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในความรับผิดชอบของผู้รับจัดการขนส่ง (๙) “รถ” หมายความว่า ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่รถไฟ (๑๐) “ผู้ตรวจการ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจการขนส่ง (๑๑) “พนักงานตรวจสภาพ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจความมั่นคงแข็งแรง ความสะอาด ความเรียบร้อย และความเหมาะสมของสภาพรถที่นำมาใช้ในการขนส่ง (๑๒) “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนกลาง หรือนายทะเบียนประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี (๑๓) “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง หรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี (๑๔) “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (๑๕) “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕[๔] พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (๑) การขนส่งโดยรถยนต์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร (๒) การขนส่งโดย (ก) รถยนต์รับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์บริการที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ข) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน และรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้าง (ค) รถยนต์สามล้อ รถจักรยานยนต์ และรถแทร็กเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (๓) การขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเป็นนายทะเบียนกลางมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งระหว่างจังหวัดและการขนส่งระหว่างประเทศ ให้นายทะเบียนกลางเป็นนายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานคร มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ภายในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ขนส่งจังหวัดเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัด มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในเขตจังหวัดของตน ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดทำแทนได้ การมอบหมายตามวรรคสี่ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพกับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกคณะหนึ่งประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนมหาดไทย อธิบดีกรมทางหลวง เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทย และมีความรู้หรือความจัดเจนในการขนส่ง การเศรษฐกิจหรือกฎหมาย ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๙ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งซ่อม ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วนั้น กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ มาตรา ๑๐ ผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ห้ามมิให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (๑) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๒) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นกรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง มาตรา ๑๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) รัฐมนตรีให้ออก (๔) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๒ ในการประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมแทน มาตรา ๑๓ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๔ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดนโยบายการขนส่งทางบกระยะสั้นและระยะยาวเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๒) กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาและดำเนินการสถานีขนส่งเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๓) กำหนดมาตรการและแผนพัฒนาการขนส่งทางบกเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๔) กำหนดมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยและความสะดวกในการขนส่งทางบก เพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (๕) กำหนดการห้ามรับจดทะเบียนรถเป็นครั้งคราวตามความจำเป็นโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (๖) ประสานงานที่เกี่ยวข้องระหว่างกันในด้านการขนส่งทางบก ตลอดจนประสานงานด้านการขนส่งทางบกกับการขนส่งทางน้ำและการขนส่งทางอากาศ (๗) ให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการขนส่งทางบก มาตรา ๑๕ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม หมวด ๒ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางคณะหนึ่ง ประกอบด้วยปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือผู้แทน เลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทหรือผู้แทน อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้แทน อธิบดีกรมทางหลวงหรือผู้แทน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้แทน เป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินสามคนเป็นกรรมการ ทั้งนี้ โดยให้มีผู้มีความรู้และมีความจัดเจนในการขนส่งรวมอยู่ด้วย ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ อัยการจังหวัด ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินห้าคน โดยมีนายกเทศมนตรีในจังหวัดนั้นรวมอยู่ด้วยหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ขนส่งจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๘ ให้นำมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง และคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดโดยอนุโลม มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดลักษณะของการขนส่งประจำทางและการขนส่งไม่ประจำทาง (๒) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัดและระหว่างประเทศ (๓) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัด และระหว่างประเทศ (๔) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๕) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๖) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๗) กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่ง (๘) กำหนดสถานที่ จัดให้มีหรือจัดตั้ง และระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่ง (๙) กำหนดชนิดหรือสภาพรถที่มิให้รับจดทะเบียน (๑๐) กำหนดประเภทหรือชนิดของรถที่ต้องเข้าหยุดหรือจอดเพื่อการรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่ง (๑๑) กำหนดที่หยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสาร (๑๒) วางมาตรการในการกำหนด อนุญาต เพิกถอนการอนุญาตและการควบคุมกิจการขนส่งทางบก (๑๓) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก การกำหนดตาม (๒) (๓) (๔) (๘) (๙) และ (๑๐) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ภายในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทาง (๒) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๕) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกและคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง การกำหนดตาม (๑) และ (๔) เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแล้วจึงจะใช้บังคับได้ และการกำหนดตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๑ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม มาตรา ๒๒ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการการขนส่งทางบก เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งให้คณะกรรมการชี้แจงข้อเท็จจริงแสดงความคิดเห็นหรือทำรายงานหรือยับยั้งการกระทำใด ๆ ซึ่งขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี ตลอดจนมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินงานได้ หมวด ๓ การประกอบการขนส่ง มาตรา ๒๓ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือการขนส่งส่วนบุคคล เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ต้องมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดนั้น ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทยและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย และ (๑) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย (๒) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย และทุนของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย (๓) ในกรณีที่เป็นบริษัทจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย หรือต้องเป็นของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด หรือต้องเป็นของกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล เมืองพัทยา รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือองค์การของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และบริษัทจำกัดนั้นต้องไม่มีข้อบังคับอนุญาตให้มีการออกหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ (๔) ในกรณีที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทมหาชนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมดต้องเป็นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะต้องมีลักษณะตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจยกเว้นคุณสมบัติตามความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษเป็นการเฉพาะรายได้ มาตรา ๒๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางและผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่ออนุสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่ง การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นำมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๖ มาใช้บังคับแก่การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศโดยอนุโลม มาตรา ๒๖ ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย เว้นแต่เพื่อการขนส่งระหว่างประเทศและได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางแล้ว ผู้ประจำรถตามมาตรา ๙๒ ซึ่งประจำในรถตามวรรคหนึ่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ และหรือตามข้อตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ มาตรา ๒๗ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งมีสี่ประเภท คือ (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง หรือใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้ใช้เป็นใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลได้ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถผิดประเภทตามที่ระบุไว้ข้างต้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนเป็นครั้งคราว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๒๘ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้มีอายุเจ็ดปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอเสียก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ แต่การขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางและใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๙[๕] บทบัญญัติมาตรา ๒๓ มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล เมืองพัทยา วัด มูลนิธิที่ได้รับอำนาจแล้ว สภากาชาดไทย สถานพยาบาล รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เป็นผู้ประกอบการขนส่ง แต่ผู้ประกอบการขนส่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้เสมือนดังเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลทุกประการ มาตรา ๓๐ ให้นายทะเบียนกลางเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในกรุงเทพมหานคร การขนส่งระหว่างจังหวัด และการขนส่งระหว่างประเทศ และให้นายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในจังหวัดของตน ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ มาตรา ๓๑ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) สิทธิในรถที่ใช้ประกอบการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๓) ลักษณะ ชนิด ขนาด และสีของรถ และเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๔) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๕) จำนวนผู้ประจำรถ (๖) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๗) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๘) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (๙) ที่ที่รถจะต้องหยุดในระหว่างเส้นทาง (๑๐) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (๑๑) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (๑๒) เวลาทำงานประจำวันในการประกอบการขนส่ง (๑๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (๑๔) การประกอบกิจการอื่นนอกจากการประกอบการขนส่งประจำทาง (๑๕) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางต้องจัดให้มีประกาศเงื่อนไขตาม (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๑) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๒ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิดและขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๔) จำนวนผู้ประจำรถ (๕) ท้องที่ที่ทำการขนส่ง (๖) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (๗) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๘) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (๙) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (๑๐) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางต้องจัดให้มีการประกาศเงื่อนไขตาม (๗) และ (๘) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๓ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิด ขนาด และสีของรถ และเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๔) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (๕) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๖) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๗) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องจัดให้มีประกาศเงื่อนไขตาม (๕) และ (๖) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๔[๖] ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้นายทะเบียนกำหนดเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิด และขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษา (๔)[๗] จำนวนผู้ประจำรถ (๕)[๘] เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามประเภทที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติผู้ประจำรถ และหรือใบกำกับสินค้าที่ทำการขนส่ง และต้องทำรายงานเกี่ยวกับการขนส่งและอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๖[๙] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่ง ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจัดให้มีที่พักผู้โดยสารตามระยะทางโดยมีลักษณะ ขนาด จำนวน และจุดที่ตั้งของที่พักผู้โดยสารตามที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๘ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่งหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ มาตรา ๓๙ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ใช้หรือยอมให้บุคคลอื่นใช้รถที่ได้รับอนุญาตทำการขนส่งนอกเส้นทาง หรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาตแล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมาย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๔๐ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางกระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางหรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาต มาตรา ๔๑ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง นายทะเบียนมีอำนาจที่จะสั่งเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถ หรือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวตามควรแก่กรณี แล้วให้รายงานคณะกรรมการโดยเร็ว มาตรา ๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องแสดงใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ใบอนุญาตประกอบการขนส่งสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดดังกล่าว มาตรา ๔๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการขนส่ง มาตรา ๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการขนส่ง มาตรา ๔๖ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๑) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๒) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขในมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยของผู้โดยสารตามมาตรา ๓๖ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติในหมวด ๔ ว่าด้วยการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติหรือไม่แก้ไขให้ถูกต้อง หรือเป็นที่เห็นได้ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่สามารถจะดำเนินการตามเงื่อนไขหรือข้อกำหนดนั้น หรือการดำเนินการนั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายหรือเสื่อมประโยชน์ต่อประชาชน ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ แต่ถ้าเป็นการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่จะพิจารณาอนุมัติ มาตรา ๔๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต้องส่งคืนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๙ ให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจควบคุมดูแลบรรดากิจการที่เกี่ยวกับการขนส่งให้เป็นไปตามความในพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์ดังกล่าวให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจ (๑) เข้าไปในสถานที่ดำเนินการของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งในระหว่างเวลาทำงานตามปกติ เพื่อทราบข้อเท็จจริงและเพื่อตรวจสอบบัญชีและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการขนส่ง (๒) เรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ ในการปฏิบัติตาม (๑) ให้อธิบดีมีอำนาจมอบหมายให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพทำการแทนได้ ในการปฏิบัติการของอธิบดี นายทะเบียน ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพตามมาตรานี้ ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นอำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือตามสมควร มาตรา ๕๐ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจเรียกรถให้หยุดเพื่อทำการตรวจสอบ และเมื่อเชื่อว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้น ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจจับกุมผู้ฝ่าฝืนเพื่อส่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดำเนินคดีต่อไป บทบัญญัติในวรรคหนึ่งไม่ลบล้างอำนาจจับกุมของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มาตรา ๕๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ และมาตรา ๕๐ ให้ผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง มาตรา ๕๒[๑๐] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ต้องวางหลักทรัพย์เป็นเงินสด หรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกัน หรือเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งทำกับบริษัทประกันภัยที่นายทะเบียนกลางให้ความเห็นชอบ ต่อนายทะเบียนกลาง ในกรณีเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องเป็นผู้เอาประกันภัย โดยให้บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการขนส่งของตนเป็นผู้รับประโยชน์ สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเพื่อประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง จำนวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดตามขนาดและประเภทของการประกอบการขนส่งแต่ต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งวางหลักทรัพย์เป็นเงินสดไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ดอกผลที่เกิดจากหลักทรัพย์ที่เป็นเงินสดนั้นตกเป็นของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่วางหลักทรัพย์ ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้รับผิดชอบในการเปิดบัญชีเงินฝาก และการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีหลักทรัพย์กับธนาคารตามระเบียบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๕๓ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันตามมาตรา ๕๒ มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง นายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๕๔ ในการวางหลักทรัพย์ซึ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลไทย ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำหนังสือมอบอำนาจให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจจัดการจำหน่ายพันธบัตรนั้น เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วย มาตรา ๕๕ หลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางประกันตามมาตรา ๕๒ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เว้นแต่จะเป็นการบังคับคดีเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน มาตรา ๕๖ เมื่อรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายหรือชีวิตของบุคคลใดนอกจากความรับผิดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นซึ่งจะต้องจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ให้จ่ายตามความร้ายแรงของความเสียหาย ทั้งนี้ ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ระหว่างการรักษาพยาบาลและหรือค่าปลงศพ มาตรา ๕๗ เมื่อผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายประสงค์จะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมตำรวจกำหนดต่อพนักงานสอบสวน โดยแสดงพยานหลักฐานว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ให้พนักงานสอบสวนพิจารณาจากสำนวนการสอบสวน และเมื่อเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นจากรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งคันใด ให้มีหนังสือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถคันนั้นชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๕๖ วรรคสอง ในการนี้ให้แจ้งให้นายทะเบียนกลางทราบโดยเร็วด้วย ในการสั่งของพนักงานสอบสวนตามวรรคหนึ่ง พนักงานสอบสวนต้องพิจารณาสั่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในการชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องชำระภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจากพนักงานสอบสวน มาตรา ๕๘ ผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายต้องใช้สิทธิในการขอรับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามมาตรา ๕๗ ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ความเสียหายเกิดขึ้น มาตรา ๕๙ การชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามหมวดนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายในอันที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๐ บุคคลซึ่งมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามหมวดนี้ได้แก่ผู้เสียหายดังต่อไปนี้ (๑) ผู้เสียหายซึ่งมิได้อยู่ในรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ได้รับความเสียหายจากรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น (๒) ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ไม่รวมถึงผู้ขับรถคนงานหรือลูกจ้างประจำรถซึ่งอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ (๓) ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในรถคันที่ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย มาตรา ๖๑ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ ให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ และให้พนักงานสอบสวนบันทึกความเห็นของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งไม่เห็นด้วยไว้ในสำนวนการสอบสวน คำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งกลางให้เป็นที่สุด มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานสอบสวน ถ้าคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีความเห็นตามความเห็นของพนักงานสอบสวน ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายเบื้องต้นที่พนักงานสอบสวนกำหนดไว้อีกร้อยละสิบ มาตรา ๖๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางตามมาตรา ๖๑ ในกรณีที่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามมาตรา ๕๒ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นซึ่งได้นำมาวางไว้เป็นประกันชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นแทนได้ มาตรา ๖๔ ในกรณีที่ผู้เสียหายไม่ได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือได้รับชดใช้ไม่ครบตามจำนวนที่พนักงานสอบสวนหรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางสั่งไม่ว่าเพราะเหตุหลักทรัพย์ที่วางประกันไว้ไม่พอจ่ายค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือเพราะเหตุอื่นใด เมื่อผู้เสียหายได้ร้องเรียนต่อนายทะเบียนกลางให้นายทะเบียนกลางสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชำระให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนกลางดังกล่าว ให้นายทะเบียนกลางเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง และให้นำมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๕ การรับจัดการขนส่ง มาตรา ๖๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการรับจัดการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๖ ในการออกใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ให้นายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) ท้องที่ที่ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๒) สถานที่ตั้งสำนักงานของผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๓) สถานที่พักคน สัตว์ หรือเก็บสิ่งของ (๔) วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับสวัสดิภาพ ความสะดวกและความปลอดภัยในการรับจัดการขนส่ง (๕) อัตราค่าบริการรับจัดการขนส่ง (๖) เงื่อนไขอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งต้องจัดให้มีการประกาศเงื่อนไขตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๖๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๖๕ ต้องวางหลักทรัพย์ต่อนายทะเบียนเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญารับจัดการขนส่ง ทั้งนี้ ตามจำนวนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๘ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันตามมาตรา ๖๗ มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๖๙ ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๐ ให้นำมาตรา ๒๔ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่การประกอบการรับจัดการขนส่งโดยอนุโลม หมวด ๖ รถ มาตรา ๗๑ รถที่ใช้ในการขนส่งต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง กับได้จดทะเบียนตามมาตรา ๗๓ และเสียภาษีตามมาตรา ๘๕ แล้ว รถที่ใช้ในการขนส่งที่เสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ มาตรา ๗๒[๑๑] รถที่จะนำมาจดทะเบียนและเสียภาษีต้องผ่านการตรวจสภาพรถจากพนักงานตรวจสภาพ หรือจากสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๗๔ เว้นแต่รถประเภทหรือชนิดใดที่สมควรได้รับการยกเว้นการตรวจสภาพเป็นครั้งคราวให้กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ปรากฏว่ารถที่นำมารับการตรวจสภาพนั้นมีสภาพมั่นคงแข็งแรงมีเครื่องอุปกรณ์ และส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับการอนุญาตออกใบรับรองให้ ใบรับรองการตรวจสภาพรถให้ทำตามแบบที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๗๓[๑๒] เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตได้ตรวจสภาพรถถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๑ และมาตรา ๗๒ แล้ว ให้รับจดทะเบียนและออกหนังสือแสดงการจดทะเบียนพร้อมกับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคันนั้นให้โดยไม่ชักช้า มาตรา ๗๔ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเพื่อรับรองสภาพรถตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๕ ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๗๔ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นได้ ให้นำมาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่การจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตโดยอนุโลม มาตรา ๗๗ หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถให้ใช้ได้สี่งวดนับแต่งวดที่ออกหนังสือนี้ ให้เดือนมกราคม เดือนเมษายน เดือนกรกฎาคม และเดือนตุลาคมเป็นเดือนแรกของแต่ละงวด การขอต่ออายุทะเบียน ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนภายในเวลาที่นายทะเบียนจะได้ประกาศกำหนด ให้นำมาตรา ๗๑ มาตรา ๗๒ และมาตรา ๗๓ มาใช้บังคับแก่การขอต่ออายุทะเบียนโดยอนุโลม มาตรา ๗๘ ห้ามมิให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน มาตรา ๗๙ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ประสงค์จะเลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบและนำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนแก่นายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกใช้รถนั้น มาตรา ๘๐ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีความจำเป็นจะต้องระงับใช้รถนั้นชั่วคราวเป็นเวลาเกินสิบห้าวันแจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบก่อนวันที่จะระงับใช้รถนั้น มาตรา ๘๑ รถที่ยังมิได้จดทะเบียนตามความในพระราชบัญญัตินี้ หรือรถที่เลิกใช้ตามมาตรา ๗๙ ถ้าจะนำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม ต้องมีใบอนุญาตและเครื่องหมายโดยเฉพาะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ใบอนุญาตและเครื่องหมายดังกล่าวใช้ได้เฉพาะรถที่อยู่ในความครอบครองของผู้ได้รับใบอนุญาตโดยสับเปลี่ยนกันได้ ไม่เฉพาะคัน มาตรา ๘๒ การโอนรถซึ่งได้จดทะเบียนตามมาตรา ๗๓ แล้ว ผู้โอนและผู้รับโอนจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันโอนและให้นายทะเบียนจดแจ้งการโอนไว้ในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถนั้น มาตรา ๘๓ เมื่อผู้ตรวจการตรวจพบว่ารถคันใดมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือมีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ผู้ตรวจการรายงานให้นายทะเบียนทราบ แต่ถ้าปรากฏโดยชัดแจ้งว่าการใช้รถคันนั้นต่อไปน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายแก่การขนส่ง ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจสั่งระงับใช้ไว้เป็นการชั่วคราวได้ และให้รีบรายงานให้นายทะเบียนทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถตามวรรคหนึ่ง จัดการส่งรถคันนั้นไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามรายงานของผู้ตรวจการภายในเวลาที่กำหนด เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งตามวรรคสองแล้ว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตงดการใช้รถดังกล่าวไว้จนกว่านายทะเบียนจะมีคำสั่งอนุญาตให้ใช้ได้ต่อไป มาตรา ๘๔ เมื่อพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตเห็นว่ารถที่นำมาให้ตรวจตามมาตรา ๘๓ สมควรจะต้องซ่อมแซม ปรับปรุงเพื่อให้รถกลับมีสภาพมั่นคงแข็งแรง หรือจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้แจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดำเนินการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง แล้วให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องและรายงานให้นายทะเบียนทราบ เมื่อได้พิจารณาเห็นสมควรตามรายงานของพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถคันนั้นต่อไปได้ มาตรา ๘๕ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้กรมการขนส่งทางบกจะกำหนดเวลาการชำระภาษีรถประจำปีสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแต่ละรายก็ได้ และให้คำนวณภาษีตามน้ำหนักรถตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ในการคำนวณน้ำหนักรถ ให้รวมน้ำหนักของรถและเครื่องอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับตัวรถตามปกติ แต่ไม่รวมน้ำหนักของน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเครื่อง น้ำ และเครื่องมือประจำรถ เศษของหนึ่งกิโลกรัมให้ปัดทิ้ง เงินภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้ที่จัดเก็บได้ในกรุงเทพมหานครให้ตกเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดอื่นให้ตกเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และเมืองพัทยาในจังหวัดนั้น โดยให้กระทรวงมหาดไทยจัดสรรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๘๖ ภาษีรถให้ชำระล่วงหน้าเป็นรายปีต่อนายทะเบียน และจะขอชำระเป็นงวดก็ได้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มตามที่กำหนดในกฎกระทรวง รถที่จดทะเบียนใหม่ในงวดใด ให้ชำระภาษีตั้งแต่งวดนั้นเป็นต้นไป ถ้าเจ้าของรถไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่จะต้องชำระ ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือน หรือเศษของเดือนของภาษีที่ต้องชำระ เงินเพิ่มตามมาตรานี้ให้ถือเป็นเงินภาษี มาตรา ๘๗ รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีแล้ว ถ้าต่อมามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงเพิ่มเติม เป็นเหตุให้รถมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากเดิม เจ้าของรถจะต้องเสียภาษีเพิ่มตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นด้วย และให้นำมาตรา ๘๖ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๘ รถที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคลของกระทรวง ทบวง กรมกรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล เมืองพัทยา วัด มูลนิธิที่ได้รับอำนาจแล้ว และสภากาชาดไทย ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี มาตรา ๘๘ ทวิ[๑๓] (ยกเลิก) มาตรา ๘๙ รถที่ได้จดทะเบียนแล้ว ถ้าไม่ได้เสียภาษีตามกำหนดตามมาตรา ๘๖ เจ้าของรถต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบพร้อมกับนำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถนั้นคืนต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งจะต้องเสียภาษีครั้งถัดไปตามมาตรา ๘๖ มาตรา ๙๐ เจ้าของรถต้องติดแผ่นป้ายเลขทะเบียนและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่นายทะเบียนออกให้ไว้กับตัวรถตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๙๑ ในกรณีที่แผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ ให้เจ้าของรถยื่นคำขอ ขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุด หรือลบเลือนดังกล่าว หมวด ๗ ผู้ประจำรถ มาตรา ๙๒ ผู้ประจำรถ ได้แก่ (๑) ผู้ขับรถ (๒) ผู้เก็บค่าโดยสาร (๓) นายตรวจ (๔) ผู้บริการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๓ ห้ามมิให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๔ ใบอนุญาตสำหรับผู้ประจำรถ มี ๔ ประเภท คือ (๑) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ (๒) ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร (๓) ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ (๔) ใบอนุญาตเป็นผู้บริการ ใบอนุญาตแต่ละประเภทจะใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตประเภทที่หนึ่ง ประเภทที่สาม และประเภทที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตประเภทที่สองได้ มาตรา ๙๕[๑๔] ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถมีดังนี้ (๑) ชนิดที่หนึ่ง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกินยี่สิบคน (๒) ชนิดที่สอง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่าสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารเกินยี่สิบคน (๓) ชนิดที่สาม ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งโดยสภาพใช้สำหรับลากจูงรถอื่นหรือล้อเลื่อนที่บรรทุกสิ่งใด ๆ บนล้อเลื่อนนั้น (๔) ชนิดที่สี่ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภท หรือชนิดและลักษณะการบรรทุกตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใบอนุญาตแต่ละชนิดใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตชนิดที่สอง ชนิดที่สาม และชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่หนึ่งได้ ใบอนุญาตชนิดที่สามและชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สองได้ และใบอนุญาตชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สามได้ ประกาศของอธิบดีตามความใน (๔) ของวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามมาตรา ๙๓ ในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องมีคุณสมบัติและลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีความรู้และความสามารถตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๓) ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยความเหมาะสม (๔) ไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๕) ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจ (๖) ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพติดให้โทษ (๗) ไม่เป็นผู้มีใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถประเภทหรือชนิดเดียวกับที่ได้รับอนุญาตอยู่แล้ว (๘) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เว้นแต่การเพิกถอนใบอนุญาตนั้นพ้นกำหนดสามปีแล้วนับแต่วันที่มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต (๙) ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่มิใช่เกี่ยวกับการใช้รถในการกระทำผิดหรือความผิดลหุโทษ หรือได้พ้นโทษมาแล้วเกินสามปี (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยถูกควบคุมตัวเพราะมีพฤติการณ์เป็นภัยต่อสังคม หรือเป็นอันธพาล เว้นแต่ได้พ้นจากการควบคุมตัวมาแล้วเกินหนึ่งปี มาตรา ๙๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง และได้ผ่านการศึกษาและจบหลักสูตรจากโรงเรียนการขนส่งของกรมการขนส่งทางบกหรือโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง การรับรองโรงเรียนสอนขับรถตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และผู้บริการต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในการขนส่งส่วนบุคคลต้องมีคุณสมบัติและมีลักษณะตามมาตรา ๙๖ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐๐[๑๕] ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถยื่นคำขอต่อนายทะเบียนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด มาตรา ๑๐๑ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถต้องมีใบอนุญาตอยู่กับตัวและต้องแสดงต่อนายทะเบียนหรือผู้ตรวจการเมื่อขอตรวจ มาตรา ๑๐๒ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถต้อง (๑) แต่งกายสะอาดเรียบร้อยตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง (๒) ไม่แสดงกิริยาหรือใช้ถ้อยคำเป็นการเสียดสี ดูหมิ่น ก้าวร้าว รังแก รบกวน หรือหยาบหยามผู้หนึ่งผู้ใด หรือแสดงกิริยาวาจาหรือส่งเสียงด้วยประการหนึ่งประการใดในลักษณะไม่สมควรหรือไม่สุภาพ (๓) ไม่เสพหรือเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น (๓ ทวิ)[๑๖] ไม่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (๓ ตรี)[๑๗] ไม่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (๔) ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐๒ ทวิ[๑๘] ในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใด ในขณะปฏิบัติหน้าที่นั้นมีสารอยู่ในร่างกายอันเกิดจากการเสพสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น หรือยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ให้ผู้ตรวจการ หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจมีอำนาจตรวจหรือทดสอบ หรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่าผู้นั้นมีสารนั้น ๆ อยู่ในร่างกายหรือไม่ เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ วิธีการตรวจหรือทดสอบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๐๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถนอกจากจะต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๒ แล้ว จะต้อง (๑) ไม่ขับรถในเวลาที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนความสามารถ (๒) ไม่รับบรรทุกบุคคลที่เป็นโรคเรื้อนหรือโรคติดต่อที่น่ารังเกียจไปกับผู้โดยสารอื่น (๓) ไม่รับบรรทุกศพ สัตว์ หรือสิ่งของที่อาจเกิดอันตรายหรือเป็นที่พึงรังเกียจไปกับผู้โดยสาร (๔)[๑๙] ไม่รับบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง ระเบิด หรือวัตถุอันตรายโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๕) ต้องหยุดหรือจอดรถ ณ สถานีขนส่งและปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่งตามมาตรา ๑๙ (๘) และ (๑๐) มาตรา ๑๐๔ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถกระทำการใด ๆ ให้ผู้โดยสารจำต้องลงจากรถก่อนที่จะได้โดยสารถึงจุดหมายปลายทางโดยที่ได้ชำระค่าโดยสารถูกต้องตามอัตราที่กำหนดแล้ว มาตรา ๑๐๕ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถละเว้นการหยุดรถเพื่อรับหรือส่งผู้โดยสาร ณ ที่ที่มีเครื่องหมายให้รถนั้นหยุด ในเมื่อปรากฏว่ามีผู้โดยสารต้องการให้หยุดรถเพื่อรับหรือส่ง มาตรา ๑๐๖ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถกระทำการใด ๆ อันเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร มาตรา ๑๐๖ ทวิ[๒๐] ในกรณีที่มีความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและมีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศที่มีความตกลงดังกล่าวกับรัฐบาลไทย อาจใช้ใบอนุญาตขับรถของประเทศนั้นขับรถในราชอาณาจักรได้ตามประเภทและชนิดของรถที่ระบุไว้ในใบอนุญาตขับรถนั้น แต่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาและหรือความตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ และตามบทบัญญัติทั้งหลายในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๗ ในการขนส่งประจำทางหรือการขนส่งไม่ประจำทางระหว่างจังหวัดหรือระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถรับบรรทุกผู้โดยสารเกินจำนวนที่นั่งผู้โดยสารที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต มาตรา ๑๐๘ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๖ มาตรา ๙๗ มาตรา ๙๘ หรือมาตรา ๙๙ หรือบกพร่องไปในภายหลังเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้นเสีย มาตรา ๑๐๙ ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายในหมวดนี้ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจยึดใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถของผู้นั้น และสั่งเป็นหนังสือให้ผู้นั้นไปรายงานตนต่อนายทะเบียนภายในเจ็ดสิบสองชั่วโมง คำสั่งนั้นให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถชั่วคราวภายในกำหนดเวลาดังกล่าวนั้น ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้นได้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันหรือจะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้นเสียก็ได้ มาตรา ๑๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถซึ่งถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๑๑๑ ให้นำบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสารและนายตรวจมาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๘ ผู้โดยสาร มาตรา ๑๑๒ ผู้โดยสารต้องชำระค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๑๓ ผู้โดยสารต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ตลอดเวลาที่อยู่ในระหว่างการโดยสาร ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีการประกาศข้อกำหนดตามวรรคหนึ่งปิดไว้ ณ ที่เปิดเผยในรถ หมวด ๙ สถานีขนส่ง มาตรา ๑๑๔ สถานีขนส่งมี ๒ ประเภท คือ (๑) สถานีขนส่งผู้โดยสาร (๒) สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ ลักษณะของสถานีขนส่งตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๑๕ ให้กรมการขนส่งทางบกโดยอนุมัติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง จัดให้มีสถานีขนส่งขึ้นในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและในเขตท้องที่จังหวัดอื่น โดยจะดำเนินการเอง หรือจะมอบหมายให้รัฐวิสาหกิจหรือองค์การของรัฐเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด บุคคลอื่นใดประสงค์จะจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางก่อน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดให้มีหรือจัดตั้งสถานีขนส่งขึ้นที่ใด เมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๑๖ ให้อธิบดีมีอำนาจกำกับและควบคุมการดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์แห่งการนี้จะแต่งตั้งข้าราชการและหรือลูกจ้างสังกัดกรมการขนส่งทางบก ทำหน้าที่เป็นนายสถานีและเจ้าหน้าที่สถานีตามจำนวนที่เห็นสมควร มีอำนาจกำกับและควบคุมดังกล่าวด้วยก็ได้ มาตรา ๑๑๗ ในการบริหารงานที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งของกรมการขนส่งทางบกตามมาตรา ๑๑๕ วรรคหนึ่ง อธิบดีจะแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่เกินแปดคนเพื่อดูแลควบคุมและดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งก็ได้ กรรมการที่อธิบดีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการของคณะกรรมการ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการนี้โดยอนุโลม มาตรา ๑๑๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสาม ต้องมีคุณสมบัติและลักษณะตามมาตรา ๒๔ มาตรา ๑๑๙ ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งให้มีอายุตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดแต่ไม่เกินยี่สิบปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกิจการสถานีขนส่งรวมทั้งการรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยในบริเวณสถานีขนส่งนั้น มาตรา ๑๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างประจำสถานีขนส่งตลอดเวลา โดยให้มีหน้าที่ตรวจสอบสภาพรถขนส่งประจำทางซึ่งต้องหยุดหรือจอดเพื่อการขนส่ง ณ สถานีขนส่งแห่งนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัย คุณสมบัติและจำนวนเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๑๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีอู่ซ่อมรถและบริการซ่อมรถเพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่รถที่ใช้สถานีขนส่งนั้น มาตรา ๑๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีบริเวณที่จอดพักรถตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๑๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีสมุดทะเบียนการเดินรถที่ผ่านเข้าออกสถานีขนส่งตามแบบที่อธิบดีกำหนด สมุดทะเบียนการเดินรถต้องเก็บรักษาไว้ในที่ทำการของสถานีขนส่งแห่งนั้นพร้อมที่จะให้นายทะเบียน พนักงานตรวจสภาพหรือผู้ตรวจการตรวจดูได้ทุกเวลา มาตรา ๑๒๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งเรียกเก็บค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่งได้ไม่เกินอัตราตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด หมวด ๑๐ บทกำหนดโทษ มาตรา ๑๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๗๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๗[๒๑] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๖ วรรคสอง มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ (๑) (๒) หรือ (๔) มาตรา ๑๐๓ มาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๐๖ หรือมาตรา ๑๐๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๗ ทวิ[๒๒] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓) (๓ ทวิ) หรือ (๓ ตรี) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๒๗ ตรี[๒๓] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามมาตรา ๑๐๒ ทวิ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๑) ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๑) ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๓) (๑๔) หรือ (๑๕) หรือในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๓๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๓๖ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง มาตรา ๓๒ วรรคสอง มาตรา ๓๓ วรรคสอง มาตรา ๓๔ วรรคสอง มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๗ หรือมาตรา ๑๑๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๓๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๙ ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาตคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวัน จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๐ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองแสนบาท มาตรา ๑๓๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๔๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๔๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๒ หรือมาตรา ๔๗ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕ มาตรา ๗๙ หรือมาตรา ๘๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๔๔ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่อธิบดี นายทะเบียนผู้ตรวจการ หรือพนักงานตรวจสภาพ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ หรือมาตรา ๔๙ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนกลางซึ่งสั่งตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๖๘ ต้องระวางโทษปรับหนึ่งแสนบาท หรือปรับเป็นรายวัน วันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๔๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๖๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๔๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๖ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดใช้รถโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๑ หรือฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ตรวจการหรือนายทะเบียนตามมาตรา ๘๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๘ มาตรา ๘๑ วรรคหนึ่งหรือมาตรา ๘๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๕๐ เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท มาตรา ๑๕๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท แต่ถ้าผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๕๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างที่ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๑๐๙ หรือปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่ถ้าผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท มาตรา ๑๕๓ ผู้โดยสารผู้ใดโดยสารรถโดยมีเจตนาไม่ชำระค่าขนส่งหรือชำระค่าขนส่งไม่ครบถ้วนตามอัตราที่กำหนด หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๑๑๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๕๔ ผู้ใดจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๕๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๓ หรือมาตรา ๑๒๔ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๕๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถผู้ใดไม่นำรถเข้าหยุดหรือจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่งตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๑๕๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งนำรถเข้าหยุดหรือจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่งผู้ใดไม่ชำระค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่งให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา ๑๒๕ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๑๕๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใด โดยทุจริตหรือจงใจออกใบรับรองตรวจสภาพรถโดยไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท และนายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นเสียได้ มาตรา ๑๕๙ ผู้ใดเรียกเก็บค่าขนส่ง ค่าบริการรับจัดการขนส่ง ค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่ง หรือค่าบริการอย่างอื่น ผิดไปจากอัตราที่คณะกรรมการกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๖๐ ผู้ใด (๑) ใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้แก่ผู้อื่น (๒) ใช้เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้สำหรับรถคันหนึ่งกับรถอีกคันหนึ่ง (๓) ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้แก่ตน (๔) เปลี่ยนแปลงหรือปิดบังทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ซึ่งแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ หรือ (๕) ใช้รถที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา ๘๘ ให้ผิดไปจากวัตถุประสงค์ที่ได้รับยกเว้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๖๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบกในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถผู้เก็บค่าโดยสารและนายตรวจตามมาตรา ๑๑๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๖๒ ผู้ใดเปลี่ยนแปลง ย้าย ทำลาย หรือกระทำให้เสียหายด้วยประการใด ๆ แก่เครื่องหมายหรือสิ่งอื่นใดที่ทางราชการได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการขนส่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๖๓ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้ เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบหรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ดำเนินคดีเพื่อฟ้องร้องต่อไป บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๖๔ ในระหว่างที่ยังมิได้มีกฎกระทรวง ข้อกำหนด หรือระเบียบตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กฎกระทรวง ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศใด ๆ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ และพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ คงใช้บังคับต่อไป มาตรา ๑๖๕[๒๔] บรรดาใบอนุญาตที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุและถ้าจะต่ออายุใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ บรรดารถที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้ามีการแก้ไขดัดแปลงโครงรถหรือขนาดสัดส่วนของตัวถังกว้างหรือยาวกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และการแก้ไขดัดแปลงนั้นกระทำได้โดยชอบตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ที่ใช้บังคับในขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นรถที่ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๗๑ มาตรา ๑๖๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง และเจ้าของรถที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ ปฏิบัติการให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๖๗ รถที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่ถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้ ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้รถตามวรรคหนึ่ง ซึ่งจะชำระภาษีครั้งแรกตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องชำระภาษีคราวละกี่งวดก็ได้ มาตรา ๑๖๘ คำขออนุญาตใด ๆ ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ถือว่าเป็นคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม และถ้าคำขออนุญาตดังกล่าวมีข้อความแตกต่างไปจากคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมคำขออนุญาตเพื่อให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ได้ มาตรา ๑๖๙ ในเขตท้องที่จังหวัดใดในระหว่างที่ยังไม่มีขนส่งจังหวัดให้อำนาจและหน้าที่ของขนส่งจังหวัด เป็นอำนาจและหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ต่อเส้นทางหนึ่ง ฉบับละ ๑๕,๐๐๐ บาท (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ไม่ประจำทาง ฉบับละ ๔,๐๐๐ บาท (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดย รถขนาดเล็ก ฉบับละ ๑,๕๐๐ บาท (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๕) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ (ก) ตลอดปี ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (ข) เฉพาะคราว ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๖) ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (๗) ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการ สถานีขนส่ง ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๘) ใบอนุญาตผู้ขับรถและใบอนุญาต นายตรวจ ฉบับละ ๒๐๐ บาท (๙) ใบอนุญาตผู้เก็บค่าโดยสารและ ใบอนุญาตผู้บริการ ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๐) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๑๑) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๑๒) การโอนทะเบียนรถ ครั้งละ ๒๐๐ บาท (๑๓) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและ เครื่องหมาย แผ่นละ ๑๐๐ บาท (๑๔) คำขออนุญาตประกอบการขนส่ง ประจำทาง ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๕) คำขออื่น ๆ ฉบับละ ๒๐ บาท (๑๖) การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตแต่ละฉบับ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว และสภาพการณ์ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก บทบัญญัติทั้งหลายที่ใช้บังคับอยู่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการขนส่งเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓[๒๕] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผลแห่งการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ส่งผลกระทบถึงบรรดารถบรรทุกขนส่งสินค้า ของผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล คือ ก. รถบรรทุกที่ใช้รถมีน้ำหนักรถต่ำกว่าหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมทั่วพระราชอาณาจักรสำหรับประกอบการภายในครอบครัว ต่างได้รับความเดือดร้อนอย่างยิ่ง เพราะต้องไปยื่นขอจดทะเบียนขนส่งส่วนบุคคล และต้องใช้ใบอนุญาตขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก นอกเหนือไปจากใบอนุญาตของกรมตำรวจที่มีอยู่แล้ว ก่อให้เกิดความเดือดร้อน เพราะรถบรรทุกขนาดเล็กเหล่านี้หาจำต้องใช้ความชำนาญเชี่ยวชาญเป็นพิเศษไม่ เนื่องจากเป็นรถที่ส่วนมากใช้ในธุรกิจส่วนตัว ภายในครัวเรือนและใช้ในการขนส่งพืชผลของเกษตรกร จึงสมควรได้รับการยกเว้นไม่ต้องไปจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก และการใช้ใบขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก ข. สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งได้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามใบอนุญาตนั้น การจำกัดท้องที่ทำการขนส่งนั้น ย่อมก่อให้เกิดความไม่สะดวกและเป็นธรรม เพราะผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลก็ย่อมหมายถึงประกอบธุรกิจส่วนตัวนั่นเอง ท้องที่ที่กำหนดให้แน่นอนย่อมเป็นเครื่องกีดขวางการปฏิบัติงาน เพราะการที่จะบรรทุกสินค้าของตนไปส่งยังที่ต่าง ๆ การที่จะต้องไปขออนุญาตเป็นครั้งคราวนั้นย่อมก่อให้เกิดภาวะสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ เป็นการเพิ่มราคาทุนโดยไม่จำเป็น ค. โดยทั่วไปการตรวจสภาพรถมักล่าช้า เมื่อนำรถไปขอรับการตรวจแล้วแต่ปรากฏว่ารถมีจำนวนมาก ตรวจสภาพไม่ทันหากนำไปวิ่งขนส่งก็จะต้องถูกจับกุมและมีโทษสูง และการที่จอดรอการตรวจสภาพเป็นระยะนาน ๆ นั้น ย่อมทำให้เศรษฐกิจกระทบกระเทือน จึงสมควรกำหนดเวลาตรวจไว้ และหากความล่าช้าเป็นเพราะความผิดของพนักงานหรือผู้มีอำนาจตรวจสภาพ ก็ไม่สมควรเอาโทษแก่ผู้ประกอบการขนส่งที่ขอตรวจสภาพไว้แล้ว เพราะโทษมีกำหนดสูง ง. การต่อใบอนุญาตตามบทเฉพาะกาลของใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งได้รับอนุญาตไว้แล้ว ก่อนใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ขนาดและส่วนซึ่งพนักงานตรวจสภาพตามกฎหมายเก่า ทั้งของกรมตำรวจและกรมการขนส่งทางบก ไม่เป็นระเบียบเดียวกัน และมีมาตรฐานต่างกัน ฉะนั้น การขอต่อใบอนุญาตใหม่จึงไม่สมควรนำเหตุผลของการผิดขนาดและส่วนมาเป็นข้อปฏิเสธการขอต่อใบอนุญาตเก่านั้น อาศัยเหตุผลดังกล่าว จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฉบับนี้ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๒๖] มาตรา ๕ อัตราภาษีรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ไม่ใช้บังคับแก่รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีรถประจำปีไว้แล้ว หรือที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ สำหรับภาษีรถประจำปีที่เสียไว้แล้ว หรือที่ค้างชำระนั้น มาตรา ๖ รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีรถประจำปีไว้แล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ หากเป็นรถที่ไม่ได้รับการลดภาษีรถประจำปีตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๘๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ให้เสียภาษีรถประจำปีสำหรับปีต่อไป ดังต่อไปนี้ (๑) ปีที่หนึ่ง ให้เสียในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๒) ปีที่สอง ให้เสียในอัตราสามในสี่ของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๓) ปีต่อไป ให้เสียในอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันมีรถจำนวนมากใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกิดความจำเป็นในการสั่งน้ำมันดีเซลหรือก๊าซเข้ามาในราชอาณาจักร ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการเพิ่มจำนวนรถที่ใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง และเพื่อเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๒๗] ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอขอให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ นั้น ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙ (สมัยสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ที่ประชุมได้ลงมติไม่อนุมัติ จึงประกาศมาตามความในมาตรา ๑๕๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐[๒๘] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยได้ทำความตกลงกับประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน และโดยที่ประเทศไทยอาจทำความตกลงในทำนองเดียวกันกับประเทศอื่น ๆ ด้วย ซึ่งความตกลงดังกล่าวจะมีผลให้ผู้มีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือจากรัฐบาลของประเทศที่ประเทศไทยมีความตกลงด้วย สามารถใช้ใบอนุญาตขับรถนั้นขับรถในประเทศไทยได้ ฉะนั้น เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่กับต่างประเทศตามความตกลงดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕[๒๙] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ โดยเฉพาะผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถส่วนมากมักนิยมเสพยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ ทำให้เกิดอุบัติเหตุสร้างความสูญเสียแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนบนท้องถนนเป็นอันมาก สมควรมีบทบัญญัติกำหนดความผิดและกำหนดโทษเกี่ยวกับการเสพยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และให้อำนาจผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นหรือเสพยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบถึงเหตุดังกล่าวได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕[๓๐] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปรากฏว่าอุบัติเหตุที่เกิดจากรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก แต่โดยที่พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังไม่มีบทบัญญัติควบคุมการขนส่งวัตถุอันตรายไว้อย่างเพียงพอและเหมาะสม สมควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตรายเสียใหม่เพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗[๓๑] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีผู้นำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน หรือรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ไปใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างในลักษณะที่เป็นการแก่งแย่งแข่งขันกับผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง โดยมิได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และโดยที่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกได้บัญญัติยกเว้นไว้มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งโดยรถยนต์ดังกล่าว เป็นเหตุให้ทางราชการไม่สามารถเข้าควบคุมและจัดระเบียบการขนส่งได้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๗[๓๒] มาตรา ๔ บรรดาใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ และถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาต ให้นำความในมาตรา ๑๐๐ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดให้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถมีอายุเพียงหนึ่งปี ทำให้ผู้ประกอบอาชีพเป็นผู้ประจำรถจะต้องมาต่อใบอนุญาตทุก ๆ หนึ่งปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นมากทำให้เกิดความไม่สะดวกเสียเวลาและค่าใช้จ่ายแก่ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวเป็นอย่างยิ่งในการที่จะต้องเดินทางมาต่อใบอนุญาตทุก ๆ ปี โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางไปทำงานในจังหวัดอื่น การกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวโดยไม่จำเป็น จึงสมควรให้มีการขยายอายุของใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเพิ่มขึ้นจากหนึ่งปีเป็นสามปี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วศิน/ผู้จัดทำ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๓๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๑ มีนาคม ๒๕๒๒ [๒] มาตรา ๔ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๓] มาตรา ๔ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๔] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗ [๕] มาตรา ๒๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๖] มาตรา ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๗] มาตรา ๓๔ (๔) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๘] มาตรา ๓๔ (๕) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๙] มาตรา ๓๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๐] มาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๑] มาตรา ๗๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๑๒] มาตรา ๗๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๑๓] มาตรา ๘๘ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ต่อมามีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙ (สมัยสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ที่ประชุมได้ลงมติไม่อนุมัติ [๑๔] มาตรา ๙๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๕] มาตรา ๑๐๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๗ [๑๖] มาตรา ๑๐๒ (๓ ทวิ) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๗] มาตรา ๑๐๒ (๓ ตรี) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๘] มาตรา ๑๐๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๙] มาตรา ๑๐๓ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๐] มาตรา ๑๐๖ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ [๒๑] มาตรา ๑๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๒] มาตรา ๑๒๗ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๓] มาตรา ๑๒๗ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๔] มาตรา ๑๖๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๖๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๕ ตุลาคม ๒๕๒๓ [๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑/๓๑ มกราคม ๒๕๒๙ [๒๗] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๗๕/หน้า ๑๑/๖ พฤษภาคม ๒๕๒๙ [๒๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓/๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๐ [๒๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๔/หน้า ๑๔/๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ [๓๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๘/หน้า ๙/๕ เมษายน ๒๕๓๕ [๓๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๒๖ ก/หน้า ๑/๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๗ [๓๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๑/๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๗
301293
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นปีที่ ๔๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๗” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐๐ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๐๐ ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำ รถยื่นคำขอต่อนายทะเบียนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด” มาตรา ๔ บรรดาใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ และถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาต ให้นำความในมาตรา ๑๐๐ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดให้ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถมีอายุเพียงหนึ่งปี ทำให้ผู้ประกอบอาชีพเป็นผู้ประจำรถจะต้องมาต่อใบอนุญาตทุก ๆ หนึ่งปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นมากทำให้เกิดความไม่สะดวกเสียเวลาและค่าใช้จ่ายแก่ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวเป็นอย่างยิ่งในการที่จะต้องเดินทางมาต่อใบอนุญาตทุก ๆ ปี โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางไปทำงานในจังหวัดอื่น การกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวโดยไม่จำเป็น จึงสมควรให้มีการขยายอายุของใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเพิ่มขึ้นจากหนึ่งปีเป็นสามปี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วศิน/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ วิมล/ปรับปรุง ๑๐ กันยายน ๒๕๖๓ ภิรมย์พร/ตรวจ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๑/๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๗
300257
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 (Update ณ วันที่ 21/06/2537)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นปีที่ ๓๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ (๒) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ (๓) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ (๑) “การขนส่ง” หมายความว่า การขนคน สัตว์ หรือสิ่งของ โดยทางบกด้วยรถ (๒) “การขนส่งประจำทาง” หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนด (๓) “การขนส่งไม่ประจำทาง” หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่จำกัดเส้นทาง (๔)[๒] “การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก” หมายความว่า การขนส่งคนหรือสิ่งของหรือคนและสิ่งของรวมกันเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนดด้วยรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสี่พันกิโลกรัม (๕)[๓] “การขนส่งส่วนบุคคล” หมายความว่า การขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองด้วยรถที่มีน้ำหนักเกินกว่าหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม (๖) “การขนส่งระหว่างจังหวัด” หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทำระหว่างจังหวัดกับจังหวัด (๗) “การขนส่งระหว่างประเทศ” หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทำระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ (๘) “การรับจัดการขนส่ง” หมายความว่า การรับจ้างรวบรวมคน สัตว์หรือสิ่งของ และจัดให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำการขนส่งจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในความรับผิดชอบของผู้รับจัดการขนส่ง (๙) “รถ” หมายความว่า ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่รถไฟ (๑๐) “ผู้ตรวจการ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจการขนส่ง (๑๑) “พนักงานตรวจสภาพ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจความมั่นคงแข็งแรง ความสะอาด ความเรียบร้อย และความเหมาะสมของสภาพรถที่นำมาใช้ในการขนส่ง (๑๒) “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนกลาง หรือนายทะเบียนประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี (๑๓) “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง หรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี (๑๔) “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (๑๕) “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕[๔] พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (๑) การขนส่งโดยรถยนต์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร (๒) การขนส่งโดย (ก) รถยนต์รับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์บริการที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ข) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน และรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้าง (ค) รถยนต์สามล้อ รถจักรยานยนต์ และรถแทร็กเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (๓) การขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเป็นนายทะเบียนกลางมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งระหว่างจังหวัดและการขนส่งระหว่างประเทศ ให้นายทะเบียนกลางเป็นนายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานคร มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ภายในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ขนส่งจังหวัดเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัด มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในเขตจังหวัดของตน ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดทำแทนได้ การมอบหมายตามวรรคสี่ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพกับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกคณะหนึ่งประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนมหาดไทย อธิบดีกรมทางหลวง เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทย และมีความรู้หรือความจัดเจนในการขนส่ง การเศรษฐกิจหรือกฎหมาย ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๙ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งซ่อม ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วนั้น กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ มาตรา ๑๐ ผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ห้ามมิให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (๑) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๒) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นกรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง มาตรา ๑๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) รัฐมนตรีให้ออก (๔) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๒ ในการประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมแทน มาตรา ๑๓ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๔ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดนโยบายการขนส่งทางบกระยะสั้นและระยะยาวเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๒) กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาและดำเนินการสถานีขนส่งเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๓) กำหนดมาตรการและแผนพัฒนาการขนส่งทางบกเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๔) กำหนดมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยและความสะดวกในการขนส่งทางบก เพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (๕) กำหนดการห้ามรับจดทะเบียนรถเป็นครั้งคราวตามความจำเป็นโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (๖) ประสานงานที่เกี่ยวข้องระหว่างกันในด้านการขนส่งทางบก ตลอดจนประสานงานด้านการขนส่งทางบกกับการขนส่งทางน้ำและการขนส่งทางอากาศ (๗) ให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการขนส่งทางบก มาตรา ๑๕ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม หมวด ๒ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางคณะหนึ่ง ประกอบด้วยปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือผู้แทน เลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทหรือผู้แทน อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้แทน อธิบดีกรมทางหลวงหรือผู้แทน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้แทน เป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินสามคนเป็นกรรมการ ทั้งนี้ โดยให้มีผู้มีความรู้และมีความจัดเจนในการขนส่งรวมอยู่ด้วย ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ อัยการจังหวัด ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินห้าคน โดยมีนายกเทศมนตรีในจังหวัดนั้นรวมอยู่ด้วยหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ขนส่งจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๘ ให้นำมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง และคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดโดยอนุโลม มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดลักษณะของการขนส่งประจำทางและการขนส่งไม่ประจำทาง (๒) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัดและระหว่างประเทศ (๓) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัด และระหว่างประเทศ (๔) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๕) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๖) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๗) กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่ง (๘) กำหนดสถานที่ จัดให้มีหรือจัดตั้ง และระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่ง (๙) กำหนดชนิดหรือสภาพรถที่มิให้รับจดทะเบียน (๑๐) กำหนดประเภทหรือชนิดของรถที่ต้องเข้าหยุดหรือจอดเพื่อการรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่ง (๑๑) กำหนดที่หยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสาร (๑๒) วางมาตรการในการกำหนด อนุญาต เพิกถอนการอนุญาตและการควบคุมกิจการขนส่งทางบก (๑๓) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก การกำหนดตาม (๒) (๓) (๔) (๘) (๙) และ (๑๐) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ภายในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทาง (๒) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๕) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกและคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง การกำหนดตาม (๑) และ (๔) เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแล้วจึงจะใช้บังคับได้ และการกำหนดตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๑ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม มาตรา ๒๒ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการการขนส่งทางบก เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งให้คณะกรรมการชี้แจงข้อเท็จจริงแสดงความคิดเห็นหรือทำรายงานหรือยับยั้งการกระทำใด ๆ ซึ่งขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี ตลอดจนมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินงานได้ หมวด ๓ การประกอบการขนส่ง มาตรา ๒๓ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือการขนส่งส่วนบุคคล เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ต้องมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดนั้น ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทยและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย และ (๑) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย (๒) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย และทุนของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย (๓) ในกรณีที่เป็นบริษัทจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย หรือต้องเป็นของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด หรือต้องเป็นของกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล เมืองพัทยา รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือองค์การของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และบริษัทจำกัดนั้นต้องไม่มีข้อบังคับอนุญาตให้มีการออกหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ (๔) ในกรณีที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทมหาชนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมดต้องเป็นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะต้องมีลักษณะตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจยกเว้นคุณสมบัติตามความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษเป็นการเฉพาะรายได้ มาตรา ๒๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางและผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่ออนุสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่ง การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นำมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๖ มาใช้บังคับแก่การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศโดยอนุโลม มาตรา ๒๖ ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย เว้นแต่เพื่อการขนส่งระหว่างประเทศและได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางแล้ว ผู้ประจำรถตามมาตรา ๙๒ ซึ่งประจำในรถตามวรรคหนึ่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ และหรือตามข้อตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ มาตรา ๒๗ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งมีสี่ประเภท คือ (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง หรือใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้ใช้เป็นใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลได้ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถผิดประเภทตามที่ระบุไว้ข้างต้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนเป็นครั้งคราว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๒๘ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้มีอายุเจ็ดปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอเสียก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ แต่การขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางและใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๙[๕] บทบัญญัติมาตรา ๒๓ มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล เมืองพัทยา วัด มูลนิธิที่ได้รับอำนาจแล้ว สภากาชาดไทย สถานพยาบาล รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เป็นผู้ประกอบการขนส่ง แต่ผู้ประกอบการขนส่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้เสมือนดังเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลทุกประการ มาตรา ๓๐ ให้นายทะเบียนกลางเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในกรุงเทพมหานคร การขนส่งระหว่างจังหวัด และการขนส่งระหว่างประเทศ และให้นายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในจังหวัดของตน ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ มาตรา ๓๑ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) สิทธิในรถที่ใช้ประกอบการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๓) ลักษณะ ชนิด ขนาด และสีของรถ และเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๔) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๕) จำนวนผู้ประจำรถ (๖) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๗) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๘) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (๙) ที่ที่รถจะต้องหยุดในระหว่างเส้นทาง (๑๐) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (๑๑) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (๑๒) เวลาทำงานประจำวันในการประกอบการขนส่ง (๑๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (๑๔) การประกอบกิจการอื่นนอกจากการประกอบการขนส่งประจำทาง (๑๕) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางต้องจัดให้มีประกาศเงื่อนไขตาม (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๑) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๒ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิดและขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๔) จำนวนผู้ประจำรถ (๕) ท้องที่ที่ทำการขนส่ง (๖) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (๗) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๘) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (๙) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (๑๐) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางต้องจัดให้มีการประกาศเงื่อนไขตาม (๗) และ (๘) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๓ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิด ขนาด และสีของรถ และเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๔) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (๕) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๖) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๗) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องจัดให้มีประกาศเงื่อนไขตาม (๕) และ (๖) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๔[๖] ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้นายทะเบียนกำหนดเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิด และขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษา (๔)[๗] จำนวนผู้ประจำรถ (๕)[๘] เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามประเภทที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติผู้ประจำรถ และหรือใบกำกับสินค้าที่ทำการขนส่ง และต้องทำรายงานเกี่ยวกับการขนส่งและอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๖[๙] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่ง ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจัดให้มีที่พักผู้โดยสารตามระยะทางโดยมีลักษณะ ขนาด จำนวน และจุดที่ตั้งของที่พักผู้โดยสารตามที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๘ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่งหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ มาตรา ๓๙ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ใช้หรือยอมให้บุคคลอื่นใช้รถที่ได้รับอนุญาตทำการขนส่งนอกเส้นทาง หรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาตแล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมาย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๔๐ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางกระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางหรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาต มาตรา ๔๑ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง นายทะเบียนมีอำนาจที่จะสั่งเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถ หรือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวตามควรแก่กรณี แล้วให้รายงานคณะกรรมการโดยเร็ว มาตรา ๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องแสดงใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ใบอนุญาตประกอบการขนส่งสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดดังกล่าว มาตรา ๔๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการขนส่ง มาตรา ๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการขนส่ง มาตรา ๔๖ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๑) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๒) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขในมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยของผู้โดยสารตามมาตรา ๓๖ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติในหมวด ๔ ว่าด้วยการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติหรือไม่แก้ไขให้ถูกต้อง หรือเป็นที่เห็นได้ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่สามารถจะดำเนินการตามเงื่อนไขหรือข้อกำหนดนั้น หรือการดำเนินการนั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายหรือเสื่อมประโยชน์ต่อประชาชน ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ แต่ถ้าเป็นการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่จะพิจารณาอนุมัติ มาตรา ๔๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต้องส่งคืนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๙ ให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจควบคุมดูแลบรรดากิจการที่เกี่ยวกับการขนส่งให้เป็นไปตามความในพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์ดังกล่าวให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจ (๑) เข้าไปในสถานที่ดำเนินการของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งในระหว่างเวลาทำงานตามปกติ เพื่อทราบข้อเท็จจริงและเพื่อตรวจสอบบัญชีและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการขนส่ง (๒) เรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ ในการปฏิบัติตาม (๑) ให้อธิบดีมีอำนาจมอบหมายให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพทำการแทนได้ ในการปฏิบัติการของอธิบดี นายทะเบียน ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพตามมาตรานี้ ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นอำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือตามสมควร มาตรา ๕๐ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจเรียกรถให้หยุดเพื่อทำการตรวจสอบ และเมื่อเชื่อว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้น ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจจับกุมผู้ฝ่าฝืนเพื่อส่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดำเนินคดีต่อไป บทบัญญัติในวรรคหนึ่งไม่ลบล้างอำนาจจับกุมของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มาตรา ๕๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ และมาตรา ๕๐ ให้ผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง มาตรา ๕๒[๑๐] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ต้องวางหลักทรัพย์เป็นเงินสด หรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกัน หรือเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งทำกับบริษัทประกันภัยที่นายทะเบียนกลางให้ความเห็นชอบ ต่อนายทะเบียนกลาง ในกรณีเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องเป็นผู้เอาประกันภัย โดยให้บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการขนส่งของตนเป็นผู้รับประโยชน์ สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเพื่อประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง จำนวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดตามขนาดและประเภทของการประกอบการขนส่งแต่ต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งวางหลักทรัพย์เป็นเงินสดไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ดอกผลที่เกิดจากหลักทรัพย์ที่เป็นเงินสดนั้นตกเป็นของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่วางหลักทรัพย์ ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้รับผิดชอบในการเปิดบัญชีเงินฝาก และการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีหลักทรัพย์กับธนาคารตามระเบียบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๕๓ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันตามมาตรา ๕๒ มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง นายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๕๔ ในการวางหลักทรัพย์ซึ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลไทย ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำหนังสือมอบอำนาจให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจจัดการจำหน่ายพันธบัตรนั้น เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วย มาตรา ๕๕ หลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางประกันตามมาตรา ๕๒ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เว้นแต่จะเป็นการบังคับคดีเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน มาตรา ๕๖ เมื่อรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายหรือชีวิตของบุคคลใดนอกจากความรับผิดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นซึ่งจะต้องจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ให้จ่ายตามความร้ายแรงของความเสียหาย ทั้งนี้ ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ระหว่างการรักษาพยาบาลและหรือค่าปลงศพ มาตรา ๕๗ เมื่อผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายประสงค์จะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมตำรวจกำหนดต่อพนักงานสอบสวน โดยแสดงพยานหลักฐานว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ให้พนักงานสอบสวนพิจารณาจากสำนวนการสอบสวน และเมื่อเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นจากรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งคันใด ให้มีหนังสือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถคันนั้นชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๕๖ วรรคสอง ในการนี้ให้แจ้งให้นายทะเบียนกลางทราบโดยเร็วด้วย ในการสั่งของพนักงานสอบสวนตามวรรคหนึ่ง พนักงานสอบสวนต้องพิจารณาสั่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในการชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องชำระภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจากพนักงานสอบสวน มาตรา ๕๘ ผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายต้องใช้สิทธิในการขอรับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามมาตรา ๕๗ ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ความเสียหายเกิดขึ้น มาตรา ๕๙ การชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามหมวดนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายในอันที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๐ บุคคลซึ่งมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามหมวดนี้ได้แก่ผู้เสียหายดังต่อไปนี้ (๑) ผู้เสียหายซึ่งมิได้อยู่ในรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ได้รับความเสียหายจากรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น (๒) ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ไม่รวมถึงผู้ขับรถคนงานหรือลูกจ้างประจำรถซึ่งอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ (๓) ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในรถคันที่ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย มาตรา ๖๑ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ ให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ และให้พนักงานสอบสวนบันทึกความเห็นของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งไม่เห็นด้วยไว้ในสำนวนการสอบสวน คำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งกลางให้เป็นที่สุด มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานสอบสวน ถ้าคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีความเห็นตามความเห็นของพนักงานสอบสวน ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายเบื้องต้นที่พนักงานสอบสวนกำหนดไว้อีกร้อยละสิบ มาตรา ๖๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางตามมาตรา ๖๑ ในกรณีที่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามมาตรา ๕๒ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นซึ่งได้นำมาวางไว้เป็นประกันชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นแทนได้ มาตรา ๖๔ ในกรณีที่ผู้เสียหายไม่ได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือได้รับชดใช้ไม่ครบตามจำนวนที่พนักงานสอบสวนหรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางสั่งไม่ว่าเพราะเหตุหลักทรัพย์ที่วางประกันไว้ไม่พอจ่ายค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือเพราะเหตุอื่นใด เมื่อผู้เสียหายได้ร้องเรียนต่อนายทะเบียนกลางให้นายทะเบียนกลางสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชำระให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนกลางดังกล่าว ให้นายทะเบียนกลางเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง และให้นำมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๕ การรับจัดการขนส่ง มาตรา ๖๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการรับจัดการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๖ ในการออกใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ให้นายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) ท้องที่ที่ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๒) สถานที่ตั้งสำนักงานของผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๓) สถานที่พักคน สัตว์ หรือเก็บสิ่งของ (๔) วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับสวัสดิภาพ ความสะดวกและความปลอดภัยในการรับจัดการขนส่ง (๕) อัตราค่าบริการรับจัดการขนส่ง (๖) เงื่อนไขอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งต้องจัดให้มีการประกาศเงื่อนไขตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๖๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๖๕ ต้องวางหลักทรัพย์ต่อนายทะเบียนเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญารับจัดการขนส่ง ทั้งนี้ ตามจำนวนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๘ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันตามมาตรา ๖๗ มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๖๙ ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๐ ให้นำมาตรา ๒๔ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่การประกอบการรับจัดการขนส่งโดยอนุโลม หมวด ๖ รถ มาตรา ๗๑ รถที่ใช้ในการขนส่งต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง กับได้จดทะเบียนตามมาตรา ๗๓ และเสียภาษีตามมาตรา ๘๕ แล้ว รถที่ใช้ในการขนส่งที่เสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ มาตรา ๗๒[๑๑] รถที่จะนำมาจดทะเบียนและเสียภาษีต้องผ่านการตรวจสภาพรถจากพนักงานตรวจสภาพ หรือจากสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๗๔ เว้นแต่รถประเภทหรือชนิดใดที่สมควรได้รับการยกเว้นการตรวจสภาพเป็นครั้งคราวให้กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ปรากฏว่ารถที่นำมารับการตรวจสภาพนั้นมีสภาพมั่นคงแข็งแรงมีเครื่องอุปกรณ์ และส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับการอนุญาตออกใบรับรองให้ ใบรับรองการตรวจสภาพรถให้ทำตามแบบที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๗๓[๑๒] เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตได้ตรวจสภาพรถถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๑ และมาตรา ๗๒ แล้ว ให้รับจดทะเบียนและออกหนังสือแสดงการจดทะเบียนพร้อมกับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคันนั้นให้โดยไม่ชักช้า มาตรา ๗๔ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเพื่อรับรองสภาพรถตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๕ ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๗๔ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นได้ ให้นำมาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่การจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตโดยอนุโลม มาตรา ๗๗ หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถให้ใช้ได้สี่งวดนับแต่งวดที่ออกหนังสือนี้ ให้เดือนมกราคม เดือนเมษายน เดือนกรกฎาคม และเดือนตุลาคมเป็นเดือนแรกของแต่ละงวด การขอต่ออายุทะเบียน ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนภายในเวลาที่นายทะเบียนจะได้ประกาศกำหนด ให้นำมาตรา ๗๑ มาตรา ๗๒ และมาตรา ๗๓ มาใช้บังคับแก่การขอต่ออายุทะเบียนโดยอนุโลม มาตรา ๗๘ ห้ามมิให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน มาตรา ๗๙ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ประสงค์จะเลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบและนำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนแก่นายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกใช้รถนั้น มาตรา ๘๐ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีความจำเป็นจะต้องระงับใช้รถนั้นชั่วคราวเป็นเวลาเกินสิบห้าวันแจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบก่อนวันที่จะระงับใช้รถนั้น มาตรา ๘๑ รถที่ยังมิได้จดทะเบียนตามความในพระราชบัญญัตินี้ หรือรถที่เลิกใช้ตามมาตรา ๗๙ ถ้าจะนำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม ต้องมีใบอนุญาตและเครื่องหมายโดยเฉพาะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ใบอนุญาตและเครื่องหมายดังกล่าวใช้ได้เฉพาะรถที่อยู่ในความครอบครองของผู้ได้รับใบอนุญาตโดยสับเปลี่ยนกันได้ ไม่เฉพาะคัน มาตรา ๘๒ การโอนรถซึ่งได้จดทะเบียนตามมาตรา ๗๓ แล้ว ผู้โอนและผู้รับโอนจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันโอนและให้นายทะเบียนจดแจ้งการโอนไว้ในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถนั้น มาตรา ๘๓ เมื่อผู้ตรวจการตรวจพบว่ารถคันใดมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือมีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ผู้ตรวจการรายงานให้นายทะเบียนทราบ แต่ถ้าปรากฏโดยชัดแจ้งว่าการใช้รถคันนั้นต่อไปน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายแก่การขนส่ง ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจสั่งระงับใช้ไว้เป็นการชั่วคราวได้ และให้รีบรายงานให้นายทะเบียนทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถตามวรรคหนึ่ง จัดการส่งรถคันนั้นไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามรายงานของผู้ตรวจการภายในเวลาที่กำหนด เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งตามวรรคสองแล้ว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตงดการใช้รถดังกล่าวไว้จนกว่านายทะเบียนจะมีคำสั่งอนุญาตให้ใช้ได้ต่อไป มาตรา ๘๔ เมื่อพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตเห็นว่ารถที่นำมาให้ตรวจตามมาตรา ๘๓ สมควรจะต้องซ่อมแซม ปรับปรุงเพื่อให้รถกลับมีสภาพมั่นคงแข็งแรง หรือจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้แจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดำเนินการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง แล้วให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องและรายงานให้นายทะเบียนทราบ เมื่อได้พิจารณาเห็นสมควรตามรายงานของพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถคันนั้นต่อไปได้ มาตรา ๘๕ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้กรมการขนส่งทางบกจะกำหนดเวลาการชำระภาษีรถประจำปีสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแต่ละรายก็ได้ และให้คำนวณภาษีตามน้ำหนักรถตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ในการคำนวณน้ำหนักรถ ให้รวมน้ำหนักของรถและเครื่องอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับตัวรถตามปกติ แต่ไม่รวมน้ำหนักของน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเครื่อง น้ำ และเครื่องมือประจำรถ เศษของหนึ่งกิโลกรัมให้ปัดทิ้ง เงินภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้ที่จัดเก็บได้ในกรุงเทพมหานครให้ตกเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดอื่นให้ตกเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และเมืองพัทยาในจังหวัดนั้น โดยให้กระทรวงมหาดไทยจัดสรรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๘๖ ภาษีรถให้ชำระล่วงหน้าเป็นรายปีต่อนายทะเบียน และจะขอชำระเป็นงวดก็ได้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มตามที่กำหนดในกฎกระทรวง รถที่จดทะเบียนใหม่ในงวดใด ให้ชำระภาษีตั้งแต่งวดนั้นเป็นต้นไป ถ้าเจ้าของรถไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่จะต้องชำระ ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือน หรือเศษของเดือนของภาษีที่ต้องชำระ เงินเพิ่มตามมาตรานี้ให้ถือเป็นเงินภาษี มาตรา ๘๗ รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีแล้ว ถ้าต่อมามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงเพิ่มเติม เป็นเหตุให้รถมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากเดิม เจ้าของรถจะต้องเสียภาษีเพิ่มตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นด้วย และให้นำมาตรา ๘๖ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๘ รถที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคลของกระทรวง ทบวง กรมกรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล เมืองพัทยา วัด มูลนิธิที่ได้รับอำนาจแล้ว และสภากาชาดไทย ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี มาตรา ๘๘ ทวิ[๑๓] (ยกเลิก) มาตรา ๘๙ รถที่ได้จดทะเบียนแล้ว ถ้าไม่ได้เสียภาษีตามกำหนดตามมาตรา ๘๖ เจ้าของรถต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบพร้อมกับนำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถนั้นคืนต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งจะต้องเสียภาษีครั้งถัดไปตามมาตรา ๘๖ มาตรา ๙๐ เจ้าของรถต้องติดแผ่นป้ายเลขทะเบียนและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่นายทะเบียนออกให้ไว้กับตัวรถตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๙๑ ในกรณีที่แผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ ให้เจ้าของรถยื่นคำขอ ขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุด หรือลบเลือนดังกล่าว หมวด ๗ ผู้ประจำรถ มาตรา ๙๒ ผู้ประจำรถ ได้แก่ (๑) ผู้ขับรถ (๒) ผู้เก็บค่าโดยสาร (๓) นายตรวจ (๔) ผู้บริการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๓ ห้ามมิให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๔ ใบอนุญาตสำหรับผู้ประจำรถ มี ๔ ประเภท คือ (๑) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ (๒) ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร (๓) ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ (๔) ใบอนุญาตเป็นผู้บริการ ใบอนุญาตแต่ละประเภทจะใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตประเภทที่หนึ่ง ประเภทที่สาม และประเภทที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตประเภทที่สองได้ มาตรา ๙๕[๑๔] ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถมีดังนี้ (๑) ชนิดที่หนึ่ง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกินยี่สิบคน (๒) ชนิดที่สอง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่าสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารเกินยี่สิบคน (๓) ชนิดที่สาม ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งโดยสภาพใช้สำหรับลากจูงรถอื่นหรือล้อเลื่อนที่บรรทุกสิ่งใด ๆ บนล้อเลื่อนนั้น (๔) ชนิดที่สี่ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภท หรือชนิดและลักษณะการบรรทุกตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใบอนุญาตแต่ละชนิดใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตชนิดที่สอง ชนิดที่สาม และชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่หนึ่งได้ ใบอนุญาตชนิดที่สามและชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สองได้ และใบอนุญาตชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สามได้ ประกาศของอธิบดีตามความใน (๔) ของวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามมาตรา ๙๓ ในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องมีคุณสมบัติและลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีความรู้และความสามารถตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๓) ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยความเหมาะสม (๔) ไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๕) ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจ (๖) ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพติดให้โทษ (๗) ไม่เป็นผู้มีใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถประเภทหรือชนิดเดียวกับที่ได้รับอนุญาตอยู่แล้ว (๘) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เว้นแต่การเพิกถอนใบอนุญาตนั้นพ้นกำหนดสามปีแล้วนับแต่วันที่มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต (๙) ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่มิใช่เกี่ยวกับการใช้รถในการกระทำผิดหรือความผิดลหุโทษ หรือได้พ้นโทษมาแล้วเกินสามปี (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยถูกควบคุมตัวเพราะมีพฤติการณ์เป็นภัยต่อสังคม หรือเป็นอันธพาล เว้นแต่ได้พ้นจากการควบคุมตัวมาแล้วเกินหนึ่งปี มาตรา ๙๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง และได้ผ่านการศึกษาและจบหลักสูตรจากโรงเรียนการขนส่งของกรมการขนส่งทางบกหรือโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง การรับรองโรงเรียนสอนขับรถตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และผู้บริการต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในการขนส่งส่วนบุคคลต้องมีคุณสมบัติและมีลักษณะตามมาตรา ๙๖ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐๐ ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถให้มีอายุหนึ่งปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถยื่นคำขอต่อนายทะเบียนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด มาตรา ๑๐๑ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถต้องมีใบอนุญาตอยู่กับตัวและต้องแสดงต่อนายทะเบียนหรือผู้ตรวจการเมื่อขอตรวจ มาตรา ๑๐๒ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถต้อง (๑) แต่งกายสะอาดเรียบร้อยตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง (๒) ไม่แสดงกิริยาหรือใช้ถ้อยคำเป็นการเสียดสี ดูหมิ่น ก้าวร้าว รังแก รบกวน หรือหยาบหยามผู้หนึ่งผู้ใด หรือแสดงกิริยาวาจาหรือส่งเสียงด้วยประการหนึ่งประการใดในลักษณะไม่สมควรหรือไม่สุภาพ (๓) ไม่เสพหรือเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น (๓ ทวิ)[๑๕] ไม่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (๓ ตรี)[๑๖] ไม่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (๔) ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐๒ ทวิ[๑๗] ในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใด ในขณะปฏิบัติหน้าที่นั้นมีสารอยู่ในร่างกายอันเกิดจากการเสพสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น หรือยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ให้ผู้ตรวจการ หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจมีอำนาจตรวจหรือทดสอบ หรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่าผู้นั้นมีสารนั้น ๆ อยู่ในร่างกายหรือไม่ เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ วิธีการตรวจหรือทดสอบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๐๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถนอกจากจะต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๒ แล้ว จะต้อง (๑) ไม่ขับรถในเวลาที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนความสามารถ (๒) ไม่รับบรรทุกบุคคลที่เป็นโรคเรื้อนหรือโรคติดต่อที่น่ารังเกียจไปกับผู้โดยสารอื่น (๓) ไม่รับบรรทุกศพ สัตว์ หรือสิ่งของที่อาจเกิดอันตรายหรือเป็นที่พึงรังเกียจไปกับผู้โดยสาร (๔)[๑๘] ไม่รับบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง ระเบิด หรือวัตถุอันตรายโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๕) ต้องหยุดหรือจอดรถ ณ สถานีขนส่งและปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่งตามมาตรา ๑๙ (๘) และ (๑๐) มาตรา ๑๐๔ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถกระทำการใด ๆ ให้ผู้โดยสารจำต้องลงจากรถก่อนที่จะได้โดยสารถึงจุดหมายปลายทางโดยที่ได้ชำระค่าโดยสารถูกต้องตามอัตราที่กำหนดแล้ว มาตรา ๑๐๕ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถละเว้นการหยุดรถเพื่อรับหรือส่งผู้โดยสาร ณ ที่ที่มีเครื่องหมายให้รถนั้นหยุด ในเมื่อปรากฏว่ามีผู้โดยสารต้องการให้หยุดรถเพื่อรับหรือส่ง มาตรา ๑๐๖ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถกระทำการใด ๆ อันเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร มาตรา ๑๐๖ ทวิ[๑๙] ในกรณีที่มีความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและมีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศที่มีความตกลงดังกล่าวกับรัฐบาลไทย อาจใช้ใบอนุญาตขับรถของประเทศนั้นขับรถในราชอาณาจักรได้ตามประเภทและชนิดของรถที่ระบุไว้ในใบอนุญาตขับรถนั้น แต่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาและหรือความตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ และตามบทบัญญัติทั้งหลายในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๗ ในการขนส่งประจำทางหรือการขนส่งไม่ประจำทางระหว่างจังหวัดหรือระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถรับบรรทุกผู้โดยสารเกินจำนวนที่นั่งผู้โดยสารที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต มาตรา ๑๐๘ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๖ มาตรา ๙๗ มาตรา ๙๘ หรือมาตรา ๙๙ หรือบกพร่องไปในภายหลังเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้นเสีย มาตรา ๑๐๙ ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายในหมวดนี้ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจยึดใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถของผู้นั้น และสั่งเป็นหนังสือให้ผู้นั้นไปรายงานตนต่อนายทะเบียนภายในเจ็ดสิบสองชั่วโมง คำสั่งนั้นให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถชั่วคราวภายในกำหนดเวลาดังกล่าวนั้น ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้นได้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันหรือจะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้นเสียก็ได้ มาตรา ๑๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถซึ่งถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๑๑๑ ให้นำบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสารและนายตรวจมาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๘ ผู้โดยสาร มาตรา ๑๑๒ ผู้โดยสารต้องชำระค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๑๓ ผู้โดยสารต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ตลอดเวลาที่อยู่ในระหว่างการโดยสาร ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีการประกาศข้อกำหนดตามวรรคหนึ่งปิดไว้ ณ ที่เปิดเผยในรถ หมวด ๙ สถานีขนส่ง มาตรา ๑๑๔ สถานีขนส่งมี ๒ ประเภท คือ (๑) สถานีขนส่งผู้โดยสาร (๒) สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ ลักษณะของสถานีขนส่งตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๑๕ ให้กรมการขนส่งทางบกโดยอนุมัติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง จัดให้มีสถานีขนส่งขึ้นในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและในเขตท้องที่จังหวัดอื่น โดยจะดำเนินการเอง หรือจะมอบหมายให้รัฐวิสาหกิจหรือองค์การของรัฐเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด บุคคลอื่นใดประสงค์จะจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางก่อน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดให้มีหรือจัดตั้งสถานีขนส่งขึ้นที่ใด เมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๑๖ ให้อธิบดีมีอำนาจกำกับและควบคุมการดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์แห่งการนี้จะแต่งตั้งข้าราชการและหรือลูกจ้างสังกัดกรมการขนส่งทางบก ทำหน้าที่เป็นนายสถานีและเจ้าหน้าที่สถานีตามจำนวนที่เห็นสมควร มีอำนาจกำกับและควบคุมดังกล่าวด้วยก็ได้ มาตรา ๑๑๗ ในการบริหารงานที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งของกรมการขนส่งทางบกตามมาตรา ๑๑๕ วรรคหนึ่ง อธิบดีจะแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่เกินแปดคนเพื่อดูแลควบคุมและดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งก็ได้ กรรมการที่อธิบดีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการของคณะกรรมการ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการนี้โดยอนุโลม มาตรา ๑๑๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสาม ต้องมีคุณสมบัติและลักษณะตามมาตรา ๒๔ มาตรา ๑๑๙ ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งให้มีอายุตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดแต่ไม่เกินยี่สิบปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกิจการสถานีขนส่งรวมทั้งการรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยในบริเวณสถานีขนส่งนั้น มาตรา ๑๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างประจำสถานีขนส่งตลอดเวลา โดยให้มีหน้าที่ตรวจสอบสภาพรถขนส่งประจำทางซึ่งต้องหยุดหรือจอดเพื่อการขนส่ง ณ สถานีขนส่งแห่งนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัย คุณสมบัติและจำนวนเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๑๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีอู่ซ่อมรถและบริการซ่อมรถเพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่รถที่ใช้สถานีขนส่งนั้น มาตรา ๑๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีบริเวณที่จอดพักรถตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๑๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีสมุดทะเบียนการเดินรถที่ผ่านเข้าออกสถานีขนส่งตามแบบที่อธิบดีกำหนด สมุดทะเบียนการเดินรถต้องเก็บรักษาไว้ในที่ทำการของสถานีขนส่งแห่งนั้นพร้อมที่จะให้นายทะเบียน พนักงานตรวจสภาพหรือผู้ตรวจการตรวจดูได้ทุกเวลา มาตรา ๑๒๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งเรียกเก็บค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่งได้ไม่เกินอัตราตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด หมวด ๑๐ บทกำหนดโทษ มาตรา ๑๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๗๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๗[๒๐] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๖ วรรคสอง มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ (๑) (๒) หรือ (๔) มาตรา ๑๐๓ มาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๐๖ หรือมาตรา ๑๐๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๗ ทวิ[๒๑] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓) (๓ ทวิ) หรือ (๓ ตรี) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๒๗ ตรี[๒๒] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามมาตรา ๑๐๒ ทวิ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๑) ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๑) ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๓) (๑๔) หรือ (๑๕) หรือในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๓๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๓๖ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง มาตรา ๓๒ วรรคสอง มาตรา ๓๓ วรรคสอง มาตรา ๓๔ วรรคสอง มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๗ หรือมาตรา ๑๑๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๓๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๙ ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาตคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวัน จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๐ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองแสนบาท มาตรา ๑๓๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๔๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๔๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๒ หรือมาตรา ๔๗ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕ มาตรา ๗๙ หรือมาตรา ๘๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๔๔ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่อธิบดี นายทะเบียนผู้ตรวจการ หรือพนักงานตรวจสภาพ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ หรือมาตรา ๔๙ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนกลางซึ่งสั่งตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๖๘ ต้องระวางโทษปรับหนึ่งแสนบาท หรือปรับเป็นรายวัน วันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๔๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๖๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๔๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๖ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดใช้รถโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๑ หรือฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ตรวจการหรือนายทะเบียนตามมาตรา ๘๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๘ มาตรา ๘๑ วรรคหนึ่งหรือมาตรา ๘๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๕๐ เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท มาตรา ๑๕๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท แต่ถ้าผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๕๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างที่ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๑๐๙ หรือปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่ถ้าผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท มาตรา ๑๕๓ ผู้โดยสารผู้ใดโดยสารรถโดยมีเจตนาไม่ชำระค่าขนส่งหรือชำระค่าขนส่งไม่ครบถ้วนตามอัตราที่กำหนด หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๑๑๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๕๔ ผู้ใดจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๕๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๓ หรือมาตรา ๑๒๔ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๕๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถผู้ใดไม่นำรถเข้าหยุดหรือจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่งตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๑๕๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งนำรถเข้าหยุดหรือจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่งผู้ใดไม่ชำระค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่งให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา ๑๒๕ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๑๕๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใด โดยทุจริตหรือจงใจออกใบรับรองตรวจสภาพรถโดยไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท และนายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นเสียได้ มาตรา ๑๕๙ ผู้ใดเรียกเก็บค่าขนส่ง ค่าบริการรับจัดการขนส่ง ค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่ง หรือค่าบริการอย่างอื่น ผิดไปจากอัตราที่คณะกรรมการกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๖๐ ผู้ใด (๑) ใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้แก่ผู้อื่น (๒) ใช้เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้สำหรับรถคันหนึ่งกับรถอีกคันหนึ่ง (๓) ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้แก่ตน (๔) เปลี่ยนแปลงหรือปิดบังทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ซึ่งแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ หรือ (๕) ใช้รถที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา ๘๘ ให้ผิดไปจากวัตถุประสงค์ที่ได้รับยกเว้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๖๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบกในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถผู้เก็บค่าโดยสารและนายตรวจตามมาตรา ๑๑๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๖๒ ผู้ใดเปลี่ยนแปลง ย้าย ทำลาย หรือกระทำให้เสียหายด้วยประการใด ๆ แก่เครื่องหมายหรือสิ่งอื่นใดที่ทางราชการได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการขนส่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๖๓ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้ เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบหรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ดำเนินคดีเพื่อฟ้องร้องต่อไป บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๖๔ ในระหว่างที่ยังมิได้มีกฎกระทรวง ข้อกำหนด หรือระเบียบตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กฎกระทรวง ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศใด ๆ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ และพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ คงใช้บังคับต่อไป มาตรา ๑๖๕[๒๓] บรรดาใบอนุญาตที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุและถ้าจะต่ออายุใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ บรรดารถที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้ามีการแก้ไขดัดแปลงโครงรถหรือขนาดสัดส่วนของตัวถังกว้างหรือยาวกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และการแก้ไขดัดแปลงนั้นกระทำได้โดยชอบตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ที่ใช้บังคับในขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นรถที่ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๗๑ มาตรา ๑๖๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง และเจ้าของรถที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ ปฏิบัติการให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๖๗ รถที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่ถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้ ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้รถตามวรรคหนึ่ง ซึ่งจะชำระภาษีครั้งแรกตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องชำระภาษีคราวละกี่งวดก็ได้ มาตรา ๑๖๘ คำขออนุญาตใด ๆ ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ถือว่าเป็นคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม และถ้าคำขออนุญาตดังกล่าวมีข้อความแตกต่างไปจากคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมคำขออนุญาตเพื่อให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ได้ มาตรา ๑๖๙ ในเขตท้องที่จังหวัดใดในระหว่างที่ยังไม่มีขนส่งจังหวัดให้อำนาจและหน้าที่ของขนส่งจังหวัด เป็นอำนาจและหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ต่อเส้นทางหนึ่ง ฉบับละ ๑๕,๐๐๐ บาท (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ไม่ประจำทาง ฉบับละ ๔,๐๐๐ บาท (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดย รถขนาดเล็ก ฉบับละ ๑,๕๐๐ บาท (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๕) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ (ก) ตลอดปี ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (ข) เฉพาะคราว ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๖) ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (๗) ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการ สถานีขนส่ง ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๘) ใบอนุญาตผู้ขับรถและใบอนุญาต นายตรวจ ฉบับละ ๒๐๐ บาท (๙) ใบอนุญาตผู้เก็บค่าโดยสารและ ใบอนุญาตผู้บริการ ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๐) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๑๑) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๑๒) การโอนทะเบียนรถ ครั้งละ ๒๐๐ บาท (๑๓) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและ เครื่องหมาย แผ่นละ ๑๐๐ บาท (๑๔) คำขออนุญาตประกอบการขนส่ง ประจำทาง ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๕) คำขออื่น ๆ ฉบับละ ๒๐ บาท (๑๖) การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตแต่ละฉบับ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว และสภาพการณ์ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก บทบัญญัติทั้งหลายที่ใช้บังคับอยู่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการขนส่งเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓[๒๔] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผลแห่งการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ส่งผลกระทบถึงบรรดารถบรรทุกขนส่งสินค้า ของผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล คือ ก. รถบรรทุกที่ใช้รถมีน้ำหนักรถต่ำกว่าหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมทั่วพระราชอาณาจักรสำหรับประกอบการภายในครอบครัว ต่างได้รับความเดือดร้อนอย่างยิ่ง เพราะต้องไปยื่นขอจดทะเบียนขนส่งส่วนบุคคล และต้องใช้ใบอนุญาตขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก นอกเหนือไปจากใบอนุญาตของกรมตำรวจที่มีอยู่แล้ว ก่อให้เกิดความเดือดร้อน เพราะรถบรรทุกขนาดเล็กเหล่านี้หาจำต้องใช้ความชำนาญเชี่ยวชาญเป็นพิเศษไม่ เนื่องจากเป็นรถที่ส่วนมากใช้ในธุรกิจส่วนตัว ภายในครัวเรือนและใช้ในการขนส่งพืชผลของเกษตรกร จึงสมควรได้รับการยกเว้นไม่ต้องไปจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก และการใช้ใบขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก ข. สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งได้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามใบอนุญาตนั้น การจำกัดท้องที่ทำการขนส่งนั้น ย่อมก่อให้เกิดความไม่สะดวกและเป็นธรรม เพราะผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลก็ย่อมหมายถึงประกอบธุรกิจส่วนตัวนั่นเอง ท้องที่ที่กำหนดให้แน่นอนย่อมเป็นเครื่องกีดขวางการปฏิบัติงาน เพราะการที่จะบรรทุกสินค้าของตนไปส่งยังที่ต่าง ๆ การที่จะต้องไปขออนุญาตเป็นครั้งคราวนั้นย่อมก่อให้เกิดภาวะสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ เป็นการเพิ่มราคาทุนโดยไม่จำเป็น ค. โดยทั่วไปการตรวจสภาพรถมักล่าช้า เมื่อนำรถไปขอรับการตรวจแล้วแต่ปรากฏว่ารถมีจำนวนมาก ตรวจสภาพไม่ทันหากนำไปวิ่งขนส่งก็จะต้องถูกจับกุมและมีโทษสูง และการที่จอดรอการตรวจสภาพเป็นระยะนาน ๆ นั้น ย่อมทำให้เศรษฐกิจกระทบกระเทือน จึงสมควรกำหนดเวลาตรวจไว้ และหากความล่าช้าเป็นเพราะความผิดของพนักงานหรือผู้มีอำนาจตรวจสภาพ ก็ไม่สมควรเอาโทษแก่ผู้ประกอบการขนส่งที่ขอตรวจสภาพไว้แล้ว เพราะโทษมีกำหนดสูง ง. การต่อใบอนุญาตตามบทเฉพาะกาลของใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งได้รับอนุญาตไว้แล้ว ก่อนใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ขนาดและส่วนซึ่งพนักงานตรวจสภาพตามกฎหมายเก่า ทั้งของกรมตำรวจและกรมการขนส่งทางบก ไม่เป็นระเบียบเดียวกัน และมีมาตรฐานต่างกัน ฉะนั้น การขอต่อใบอนุญาตใหม่จึงไม่สมควรนำเหตุผลของการผิดขนาดและส่วนมาเป็นข้อปฏิเสธการขอต่อใบอนุญาตเก่านั้น อาศัยเหตุผลดังกล่าว จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฉบับนี้ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๒๕] มาตรา ๕ อัตราภาษีรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ไม่ใช้บังคับแก่รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีรถประจำปีไว้แล้ว หรือที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ สำหรับภาษีรถประจำปีที่เสียไว้แล้ว หรือที่ค้างชำระนั้น มาตรา ๖ รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีรถประจำปีไว้แล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ หากเป็นรถที่ไม่ได้รับการลดภาษีรถประจำปีตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๘๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ให้เสียภาษีรถประจำปีสำหรับปีต่อไป ดังต่อไปนี้ (๑) ปีที่หนึ่ง ให้เสียในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๒) ปีที่สอง ให้เสียในอัตราสามในสี่ของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๓) ปีต่อไป ให้เสียในอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันมีรถจำนวนมากใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกิดความจำเป็นในการสั่งน้ำมันดีเซลหรือก๊าซเข้ามาในราชอาณาจักร ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการเพิ่มจำนวนรถที่ใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง และเพื่อเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๒๖] ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอขอให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ นั้น ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙ (สมัยสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ที่ประชุมได้ลงมติไม่อนุมัติ จึงประกาศมาตามความในมาตรา ๑๕๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐[๒๗] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยได้ทำความตกลงกับประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน และโดยที่ประเทศไทยอาจทำความตกลงในทำนองเดียวกันกับประเทศอื่น ๆ ด้วย ซึ่งความตกลงดังกล่าวจะมีผลให้ผู้มีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือจากรัฐบาลของประเทศที่ประเทศไทยมีความตกลงด้วย สามารถใช้ใบอนุญาตขับรถนั้นขับรถในประเทศไทยได้ ฉะนั้น เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่กับต่างประเทศตามความตกลงดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕[๒๘] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ โดยเฉพาะผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถส่วนมากมักนิยมเสพยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ ทำให้เกิดอุบัติเหตุสร้างความสูญเสียแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนบนท้องถนนเป็นอันมาก สมควรมีบทบัญญัติกำหนดความผิดและกำหนดโทษเกี่ยวกับการเสพยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และให้อำนาจผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นหรือเสพยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบถึงเหตุดังกล่าวได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕[๒๙] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปรากฏว่าอุบัติเหตุที่เกิดจากรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก แต่โดยที่พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังไม่มีบทบัญญัติควบคุมการขนส่งวัตถุอันตรายไว้อย่างเพียงพอและเหมาะสม สมควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตรายเสียใหม่เพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗[๓๐] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีผู้นำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน หรือรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ไปใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างในลักษณะที่เป็นการแก่งแย่งแข่งขันกับผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง โดยมิได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และโดยที่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกได้บัญญัติยกเว้นไว้มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งโดยรถยนต์ดังกล่าว เป็นเหตุให้ทางราชการไม่สามารถเข้าควบคุมและจัดระเบียบการขนส่งได้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วศิน/ผู้จัดทำ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๓๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๑ มีนาคม ๒๕๒๒ [๒] มาตรา ๔ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๓] มาตรา ๔ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๔] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗ [๕] มาตรา ๒๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๖] มาตรา ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๗] มาตรา ๓๔ (๔) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๘] มาตรา ๓๔ (๕) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๙] มาตรา ๓๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๐] มาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๑] มาตรา ๗๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๑๒] มาตรา ๗๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๑๓] มาตรา ๘๘ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ต่อมามีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙ (สมัยสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ที่ประชุมได้ลงมติไม่อนุมัติ [๑๔] มาตรา ๙๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๕] มาตรา ๑๐๒ (๓ ทวิ) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๖] มาตรา ๑๐๒ (๓ ตรี) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๗] มาตรา ๑๐๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๘] [๑๙] มาตรา ๑๐๖ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ [๒๐] มาตรา ๑๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๑] มาตรา ๑๒๗ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๒] มาตรา ๑๒๗ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๓] มาตรา ๑๖๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๖๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๕ ตุลาคม ๒๕๒๓ [๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑/๓๑ มกราคม ๒๕๒๙ [๒๖] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๗๕/หน้า ๑๑/๖ พฤษภาคม ๒๕๒๙ [๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓/๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๐ [๒๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๔/หน้า ๑๔/๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ [๒๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๘/หน้า ๙/๕ เมษายน ๒๕๓๕ [๓๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๒๖ ก/หน้า ๑/๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๗
318498
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๗ เป็นปีที่ ๔๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (๑) การขนส่งโดยรถยนต์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร (๒) การขนส่งโดย (ก) รถยนต์รับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์บริการที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ข) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน และรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้าง (ค) รถยนต์สามล้อ รถจักรยานยนต์ และรถแทร็กเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (๓) การขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีผู้นำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน หรือรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ไปใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างในลักษณะที่เป็นการแก่งแย่งแข่งขันกับผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง โดยมิได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และโดยที่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกได้บัญญัติยกเว้นไว้มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งโดยรถยนต์ดังกล่าว เป็นเหตุให้ทางราชการไม่สามารถเข้าควบคุมและจัดระเบียบการขนส่งได้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วศิน/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ วิมล/ปรับปรุง ๑๐ กันยายน ๒๕๖๓ ภิรมย์พร/ตรวจ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๒๖ ก/หน้า ๑/๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๗
300256
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 (Update ณ วันที่ 05/04/2535)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นปีที่ ๓๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ (๒) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ (๓) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ (๑) “การขนส่ง” หมายความว่า การขนคน สัตว์ หรือสิ่งของ โดยทางบกด้วยรถ (๒) “การขนส่งประจำทาง” หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนด (๓) “การขนส่งไม่ประจำทาง” หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่จำกัดเส้นทาง (๔)[๒] “การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก” หมายความว่า การขนส่งคนหรือสิ่งของหรือคนและสิ่งของรวมกันเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนดด้วยรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสี่พันกิโลกรัม (๕)[๓] “การขนส่งส่วนบุคคล” หมายความว่า การขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองด้วยรถที่มีน้ำหนักเกินกว่าหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม (๖) “การขนส่งระหว่างจังหวัด” หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทำระหว่างจังหวัดกับจังหวัด (๗) “การขนส่งระหว่างประเทศ” หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทำระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ (๘) “การรับจัดการขนส่ง” หมายความว่า การรับจ้างรวบรวมคน สัตว์หรือสิ่งของ และจัดให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำการขนส่งจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในความรับผิดชอบของผู้รับจัดการขนส่ง (๙) “รถ” หมายความว่า ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่รถไฟ (๑๐) “ผู้ตรวจการ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจการขนส่ง (๑๑) “พนักงานตรวจสภาพ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจความมั่นคงแข็งแรง ความสะอาด ความเรียบร้อย และความเหมาะสมของสภาพรถที่นำมาใช้ในการขนส่ง (๑๒) “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนกลาง หรือนายทะเบียนประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี (๑๓) “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง หรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี (๑๔) “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (๑๕) “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕[๔] พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (๑) การขนส่งโดยรถยนต์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร (๒) การขนส่งโดยรถยนต์รับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์บริการที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินสิบสองคน รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม รถยนต์สามล้อ รถจักรยานยนต์ และรถแทร็กเตอร์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (๓) การขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเป็นนายทะเบียนกลางมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งระหว่างจังหวัดและการขนส่งระหว่างประเทศ ให้นายทะเบียนกลางเป็นนายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานคร มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ภายในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ขนส่งจังหวัดเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัด มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในเขตจังหวัดของตน ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดทำแทนได้ การมอบหมายตามวรรคสี่ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพกับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกคณะหนึ่งประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนมหาดไทย อธิบดีกรมทางหลวง เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทย และมีความรู้หรือความจัดเจนในการขนส่ง การเศรษฐกิจหรือกฎหมาย ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๙ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งซ่อม ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วนั้น กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ มาตรา ๑๐ ผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ห้ามมิให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (๑) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๒) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นกรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง มาตรา ๑๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) รัฐมนตรีให้ออก (๔) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๒ ในการประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมแทน มาตรา ๑๓ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๔ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดนโยบายการขนส่งทางบกระยะสั้นและระยะยาวเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๒) กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาและดำเนินการสถานีขนส่งเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๓) กำหนดมาตรการและแผนพัฒนาการขนส่งทางบกเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๔) กำหนดมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยและความสะดวกในการขนส่งทางบก เพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (๕) กำหนดการห้ามรับจดทะเบียนรถเป็นครั้งคราวตามความจำเป็นโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (๖) ประสานงานที่เกี่ยวข้องระหว่างกันในด้านการขนส่งทางบก ตลอดจนประสานงานด้านการขนส่งทางบกกับการขนส่งทางน้ำและการขนส่งทางอากาศ (๗) ให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการขนส่งทางบก มาตรา ๑๕ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม หมวด ๒ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางคณะหนึ่ง ประกอบด้วยปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือผู้แทน เลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทหรือผู้แทน อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้แทน อธิบดีกรมทางหลวงหรือผู้แทน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้แทน เป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินสามคนเป็นกรรมการ ทั้งนี้ โดยให้มีผู้มีความรู้และมีความจัดเจนในการขนส่งรวมอยู่ด้วย ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ อัยการจังหวัด ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินห้าคน โดยมีนายกเทศมนตรีในจังหวัดนั้นรวมอยู่ด้วยหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ขนส่งจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๘ ให้นำมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง และคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดโดยอนุโลม มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดลักษณะของการขนส่งประจำทางและการขนส่งไม่ประจำทาง (๒) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัดและระหว่างประเทศ (๓) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัด และระหว่างประเทศ (๔) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๕) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๖) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๗) กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่ง (๘) กำหนดสถานที่ จัดให้มีหรือจัดตั้ง และระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่ง (๙) กำหนดชนิดหรือสภาพรถที่มิให้รับจดทะเบียน (๑๐) กำหนดประเภทหรือชนิดของรถที่ต้องเข้าหยุดหรือจอดเพื่อการรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่ง (๑๑) กำหนดที่หยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสาร (๑๒) วางมาตรการในการกำหนด อนุญาต เพิกถอนการอนุญาตและการควบคุมกิจการขนส่งทางบก (๑๓) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก การกำหนดตาม (๒) (๓) (๔) (๘) (๙) และ (๑๐) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ภายในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทาง (๒) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๕) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกและคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง การกำหนดตาม (๑) และ (๔) เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแล้วจึงจะใช้บังคับได้ และการกำหนดตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๑ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม มาตรา ๒๒ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการการขนส่งทางบก เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งให้คณะกรรมการชี้แจงข้อเท็จจริงแสดงความคิดเห็นหรือทำรายงานหรือยับยั้งการกระทำใด ๆ ซึ่งขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี ตลอดจนมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินงานได้ หมวด ๓ การประกอบการขนส่ง มาตรา ๒๓ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือการขนส่งส่วนบุคคล เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ต้องมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดนั้น ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทยและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย และ (๑) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย (๒) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย และทุนของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย (๓) ในกรณีที่เป็นบริษัทจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย หรือต้องเป็นของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด หรือต้องเป็นของกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล เมืองพัทยา รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือองค์การของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และบริษัทจำกัดนั้นต้องไม่มีข้อบังคับอนุญาตให้มีการออกหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ (๔) ในกรณีที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทมหาชนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมดต้องเป็นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะต้องมีลักษณะตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจยกเว้นคุณสมบัติตามความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษเป็นการเฉพาะรายได้ มาตรา ๒๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางและผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่ออนุสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่ง การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นำมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๖ มาใช้บังคับแก่การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศโดยอนุโลม มาตรา ๒๖ ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย เว้นแต่เพื่อการขนส่งระหว่างประเทศและได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางแล้ว ผู้ประจำรถตามมาตรา ๙๒ ซึ่งประจำในรถตามวรรคหนึ่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ และหรือตามข้อตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ มาตรา ๒๗ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งมีสี่ประเภท คือ (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง หรือใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้ใช้เป็นใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลได้ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถผิดประเภทตามที่ระบุไว้ข้างต้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนเป็นครั้งคราว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๒๘ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้มีอายุเจ็ดปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอเสียก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ แต่การขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางและใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๙[๕] บทบัญญัติมาตรา ๒๓ มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล เมืองพัทยา วัด มูลนิธิที่ได้รับอำนาจแล้ว สภากาชาดไทย สถานพยาบาล รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เป็นผู้ประกอบการขนส่ง แต่ผู้ประกอบการขนส่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้เสมือนดังเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลทุกประการ มาตรา ๓๐ ให้นายทะเบียนกลางเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในกรุงเทพมหานคร การขนส่งระหว่างจังหวัด และการขนส่งระหว่างประเทศ และให้นายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในจังหวัดของตน ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ มาตรา ๓๑ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) สิทธิในรถที่ใช้ประกอบการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๓) ลักษณะ ชนิด ขนาด และสีของรถ และเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๔) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๕) จำนวนผู้ประจำรถ (๖) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๗) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๘) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (๙) ที่ที่รถจะต้องหยุดในระหว่างเส้นทาง (๑๐) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (๑๑) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (๑๒) เวลาทำงานประจำวันในการประกอบการขนส่ง (๑๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (๑๔) การประกอบกิจการอื่นนอกจากการประกอบการขนส่งประจำทาง (๑๕) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางต้องจัดให้มีประกาศเงื่อนไขตาม (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๑) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๒ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิดและขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๔) จำนวนผู้ประจำรถ (๕) ท้องที่ที่ทำการขนส่ง (๖) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (๗) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๘) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (๙) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (๑๐) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางต้องจัดให้มีการประกาศเงื่อนไขตาม (๗) และ (๘) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๓ ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิด ขนาด และสีของรถ และเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (๔) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (๕) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (๖) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (๗) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องจัดให้มีประกาศเงื่อนไขตาม (๕) และ (๖) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๓๔[๖] ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้นายทะเบียนกำหนดเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (๒) ลักษณะ ชนิด และขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (๓) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษา (๔)[๗] จำนวนผู้ประจำรถ (๕)[๘] เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามประเภทที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติผู้ประจำรถ และหรือใบกำกับสินค้าที่ทำการขนส่ง และต้องทำรายงานเกี่ยวกับการขนส่งและอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๖[๙] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่ง ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจัดให้มีที่พักผู้โดยสารตามระยะทางโดยมีลักษณะ ขนาด จำนวน และจุดที่ตั้งของที่พักผู้โดยสารตามที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๘ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่งหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ มาตรา ๓๙ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ใช้หรือยอมให้บุคคลอื่นใช้รถที่ได้รับอนุญาตทำการขนส่งนอกเส้นทาง หรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาตแล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมาย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด มาตรา ๔๐ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางกระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางหรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาต มาตรา ๔๑ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง นายทะเบียนมีอำนาจที่จะสั่งเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และจำนวนเที่ยวของการเดินรถ หรือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวตามควรแก่กรณี แล้วให้รายงานคณะกรรมการโดยเร็ว มาตรา ๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องแสดงใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาต มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ใบอนุญาตประกอบการขนส่งสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดดังกล่าว มาตรา ๔๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการขนส่ง มาตรา ๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการขนส่ง มาตรา ๔๖ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๑) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๒) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขในมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยของผู้โดยสารตามมาตรา ๓๖ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติในหมวด ๔ ว่าด้วยการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติหรือไม่แก้ไขให้ถูกต้อง หรือเป็นที่เห็นได้ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่สามารถจะดำเนินการตามเงื่อนไขหรือข้อกำหนดนั้น หรือการดำเนินการนั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายหรือเสื่อมประโยชน์ต่อประชาชน ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ แต่ถ้าเป็นการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่จะพิจารณาอนุมัติ มาตรา ๔๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต้องส่งคืนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๙ ให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจควบคุมดูแลบรรดากิจการที่เกี่ยวกับการขนส่งให้เป็นไปตามความในพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์ดังกล่าวให้อธิบดีหรือนายทะเบียนมีอำนาจ (๑) เข้าไปในสถานที่ดำเนินการของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งในระหว่างเวลาทำงานตามปกติ เพื่อทราบข้อเท็จจริงและเพื่อตรวจสอบบัญชีและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการขนส่ง (๒) เรียกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้จัดการ และพนักงานของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้ยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ ในการปฏิบัติตาม (๑) ให้อธิบดีมีอำนาจมอบหมายให้ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพทำการแทนได้ ในการปฏิบัติการของอธิบดี นายทะเบียน ผู้ตรวจการหรือพนักงานตรวจสภาพตามมาตรานี้ ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นอำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือตามสมควร มาตรา ๕๐ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจเรียกรถให้หยุดเพื่อทำการตรวจสอบ และเมื่อเชื่อว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้น ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจจับกุมผู้ฝ่าฝืนเพื่อส่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดำเนินคดีต่อไป บทบัญญัติในวรรคหนึ่งไม่ลบล้างอำนาจจับกุมของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มาตรา ๕๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ และมาตรา ๕๐ ให้ผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวผู้ตรวจการและพนักงานตรวจสภาพให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด หมวด ๔ การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง มาตรา ๕๒[๑๐] ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ต้องวางหลักทรัพย์เป็นเงินสด หรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกัน หรือเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งทำกับบริษัทประกันภัยที่นายทะเบียนกลางให้ความเห็นชอบ ต่อนายทะเบียนกลาง ในกรณีเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องเป็นผู้เอาประกันภัย โดยให้บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการขนส่งของตนเป็นผู้รับประโยชน์ สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเพื่อประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง จำนวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดตามขนาดและประเภทของการประกอบการขนส่งแต่ต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งวางหลักทรัพย์เป็นเงินสดไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ดอกผลที่เกิดจากหลักทรัพย์ที่เป็นเงินสดนั้นตกเป็นของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่วางหลักทรัพย์ ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้รับผิดชอบในการเปิดบัญชีเงินฝาก และการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีหลักทรัพย์กับธนาคารตามระเบียบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๕๓ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันตามมาตรา ๕๒ มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง นายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๕๔ ในการวางหลักทรัพย์ซึ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลไทย ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทำหนังสือมอบอำนาจให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจจัดการจำหน่ายพันธบัตรนั้น เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วย มาตรา ๕๕ หลักทรัพย์ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนำมาวางประกันตามมาตรา ๕๒ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เว้นแต่จะเป็นการบังคับคดีเพื่อการชำระหนี้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการขนส่งของตน มาตรา ๕๖ เมื่อรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายหรือชีวิตของบุคคลใดนอกจากความรับผิดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นซึ่งจะต้องจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ให้จ่ายตามความร้ายแรงของความเสียหาย ทั้งนี้ ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ระหว่างการรักษาพยาบาลและหรือค่าปลงศพ มาตรา ๕๗ เมื่อผู้เสียหายหรือทายาทในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายประสงค์จะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมตำรวจกำหนดต่อพนักงานสอบสวน โดยแสดงพยานหลักฐานว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ให้พนักงานสอบสวนพิจารณาจากสำนวนการสอบสวน และเมื่อเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นจากรถของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งคันใด ให้มีหนังสือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถคันนั้นชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๕๖ วรรคสอง ในการนี้ให้แจ้งให้นายทะเบียนกลางทราบโดยเร็วด้วย ในการสั่งของพนักงานสอบสวนตามวรรคหนึ่ง พนักงานสอบสวนต้องพิจารณาสั่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในการชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องชำระภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจากพนักงานสอบสวน มาตรา ๕๘ ผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายต้องใช้สิทธิในการขอรับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามมาตรา ๕๗ ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ความเสียหายเกิดขึ้น มาตรา ๕๙ การชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามหมวดนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายในอันที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๐ บุคคลซึ่งมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามหมวดนี้ได้แก่ผู้เสียหายดังต่อไปนี้ (๑) ผู้เสียหายซึ่งมิได้อยู่ในรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ได้รับความเสียหายจากรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น (๒) ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ไม่รวมถึงผู้ขับรถคนงานหรือลูกจ้างประจำรถซึ่งอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ (๓) ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในรถคันที่ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย มาตรา ๖๑ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ ให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ และให้พนักงานสอบสวนบันทึกความเห็นของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งไม่เห็นด้วยไว้ในสำนวนการสอบสวน คำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งกลางให้เป็นที่สุด มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานสอบสวน ถ้าคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีความเห็นตามความเห็นของพนักงานสอบสวน ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายเบื้องต้นที่พนักงานสอบสวนกำหนดไว้อีกร้อยละสิบ มาตรา ๖๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๕๗ หรือตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางตามมาตรา ๖๑ ในกรณีที่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามมาตรา ๕๒ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจนำหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้นซึ่งได้นำมาวางไว้เป็นประกันชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นแทนได้ มาตรา ๖๔ ในกรณีที่ผู้เสียหายไม่ได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือได้รับชดใช้ไม่ครบตามจำนวนที่พนักงานสอบสวนหรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางสั่งไม่ว่าเพราะเหตุหลักทรัพย์ที่วางประกันไว้ไม่พอจ่ายค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือเพราะเหตุอื่นใด เมื่อผู้เสียหายได้ร้องเรียนต่อนายทะเบียนกลางให้นายทะเบียนกลางสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งชำระให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนกลางดังกล่าว ให้นายทะเบียนกลางเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง และให้นำมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๕ การรับจัดการขนส่ง มาตรา ๖๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการรับจัดการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๖ ในการออกใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ให้นายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (๑) ท้องที่ที่ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๒) สถานที่ตั้งสำนักงานของผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง (๓) สถานที่พักคน สัตว์ หรือเก็บสิ่งของ (๔) วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับสวัสดิภาพ ความสะดวกและความปลอดภัยในการรับจัดการขนส่ง (๕) อัตราค่าบริการรับจัดการขนส่ง (๖) เงื่อนไขอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งต้องจัดให้มีการประกาศเงื่อนไขตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด มาตรา ๖๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๖๕ ต้องวางหลักทรัพย์ต่อนายทะเบียนเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญารับจัดการขนส่ง ทั้งนี้ ตามจำนวนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๘ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันตามมาตรา ๖๗ มีจำนวนหรือมูลค่าลดน้อยลง นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตนำหลักทรัพย์มาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนหรือมูลค่าตามที่กำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๖๙ ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๐ ให้นำมาตรา ๒๔ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่การประกอบการรับจัดการขนส่งโดยอนุโลม หมวด ๖ รถ มาตรา ๗๑ รถที่ใช้ในการขนส่งต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง กับได้จดทะเบียนตามมาตรา ๗๓ และเสียภาษีตามมาตรา ๘๕ แล้ว รถที่ใช้ในการขนส่งที่เสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ มาตรา ๗๒[๑๑] รถที่จะนำมาจดทะเบียนและเสียภาษีต้องผ่านการตรวจสภาพรถจากพนักงานตรวจสภาพ หรือจากสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๗๔ เว้นแต่รถประเภทหรือชนิดใดที่สมควรได้รับการยกเว้นการตรวจสภาพเป็นครั้งคราวให้กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ปรากฏว่ารถที่นำมารับการตรวจสภาพนั้นมีสภาพมั่นคงแข็งแรงมีเครื่องอุปกรณ์ และส่วนควบถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับการอนุญาตออกใบรับรองให้ ใบรับรองการตรวจสภาพรถให้ทำตามแบบที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๗๓[๑๒] เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตได้ตรวจสภาพรถถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๑ และมาตรา ๗๒ แล้ว ให้รับจดทะเบียนและออกหนังสือแสดงการจดทะเบียนพร้อมกับแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคันนั้นให้โดยไม่ชักช้า มาตรา ๗๔ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเพื่อรับรองสภาพรถตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๕ ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๗๔ ให้นายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นได้ ให้นำมาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่การจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตโดยอนุโลม มาตรา ๗๗ หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถให้ใช้ได้สี่งวดนับแต่งวดที่ออกหนังสือนี้ ให้เดือนมกราคม เดือนเมษายน เดือนกรกฎาคม และเดือนตุลาคมเป็นเดือนแรกของแต่ละงวด การขอต่ออายุทะเบียน ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนภายในเวลาที่นายทะเบียนจะได้ประกาศกำหนด ให้นำมาตรา ๗๑ มาตรา ๗๒ และมาตรา ๗๓ มาใช้บังคับแก่การขอต่ออายุทะเบียนโดยอนุโลม มาตรา ๗๘ ห้ามมิให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน มาตรา ๗๙ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ประสงค์จะเลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบและนำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนแก่นายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกใช้รถนั้น มาตรา ๘๐ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีความจำเป็นจะต้องระงับใช้รถนั้นชั่วคราวเป็นเวลาเกินสิบห้าวันแจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบก่อนวันที่จะระงับใช้รถนั้น มาตรา ๘๑ รถที่ยังมิได้จดทะเบียนตามความในพระราชบัญญัตินี้ หรือรถที่เลิกใช้ตามมาตรา ๗๙ ถ้าจะนำมาใช้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม ต้องมีใบอนุญาตและเครื่องหมายโดยเฉพาะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ใบอนุญาตและเครื่องหมายดังกล่าวใช้ได้เฉพาะรถที่อยู่ในความครอบครองของผู้ได้รับใบอนุญาตโดยสับเปลี่ยนกันได้ ไม่เฉพาะคัน มาตรา ๘๒ การโอนรถซึ่งได้จดทะเบียนตามมาตรา ๗๓ แล้ว ผู้โอนและผู้รับโอนจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันโอนและให้นายทะเบียนจดแจ้งการโอนไว้ในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถนั้น มาตรา ๘๓ เมื่อผู้ตรวจการตรวจพบว่ารถคันใดมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือมีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ผู้ตรวจการรายงานให้นายทะเบียนทราบ แต่ถ้าปรากฏโดยชัดแจ้งว่าการใช้รถคันนั้นต่อไปน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายแก่การขนส่ง ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจสั่งระงับใช้ไว้เป็นการชั่วคราวได้ และให้รีบรายงานให้นายทะเบียนทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้เป็นเจ้าของรถตามวรรคหนึ่ง จัดการส่งรถคันนั้นไปให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความบกพร่องตามรายงานของผู้ตรวจการภายในเวลาที่กำหนด เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งตามวรรคสองแล้ว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตงดการใช้รถดังกล่าวไว้จนกว่านายทะเบียนจะมีคำสั่งอนุญาตให้ใช้ได้ต่อไป มาตรา ๘๔ เมื่อพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตเห็นว่ารถที่นำมาให้ตรวจตามมาตรา ๘๓ สมควรจะต้องซ่อมแซม ปรับปรุงเพื่อให้รถกลับมีสภาพมั่นคงแข็งแรง หรือจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์หรือส่วนควบให้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้แจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดำเนินการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง แล้วให้พนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องและรายงานให้นายทะเบียนทราบ เมื่อได้พิจารณาเห็นสมควรตามรายงานของพนักงานตรวจสภาพหรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถคันนั้นต่อไปได้ มาตรา ๘๕ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้กรมการขนส่งทางบกจะกำหนดเวลาการชำระภาษีรถประจำปีสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งแต่ละรายก็ได้ และให้คำนวณภาษีตามน้ำหนักรถตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ในการคำนวณน้ำหนักรถ ให้รวมน้ำหนักของรถและเครื่องอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับตัวรถตามปกติ แต่ไม่รวมน้ำหนักของน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเครื่อง น้ำ และเครื่องมือประจำรถ เศษของหนึ่งกิโลกรัมให้ปัดทิ้ง เงินภาษีรถตามพระราชบัญญัตินี้ที่จัดเก็บได้ในกรุงเทพมหานครให้ตกเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดอื่นให้ตกเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และเมืองพัทยาในจังหวัดนั้น โดยให้กระทรวงมหาดไทยจัดสรรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๘๖ ภาษีรถให้ชำระล่วงหน้าเป็นรายปีต่อนายทะเบียน และจะขอชำระเป็นงวดก็ได้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มตามที่กำหนดในกฎกระทรวง รถที่จดทะเบียนใหม่ในงวดใด ให้ชำระภาษีตั้งแต่งวดนั้นเป็นต้นไป ถ้าเจ้าของรถไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่จะต้องชำระ ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือน หรือเศษของเดือนของภาษีที่ต้องชำระ เงินเพิ่มตามมาตรานี้ให้ถือเป็นเงินภาษี มาตรา ๘๗ รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีแล้ว ถ้าต่อมามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงเพิ่มเติม เป็นเหตุให้รถมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากเดิม เจ้าของรถจะต้องเสียภาษีเพิ่มตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นด้วย และให้นำมาตรา ๘๖ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๘ รถที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคลของกระทรวง ทบวง กรมกรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล เมืองพัทยา วัด มูลนิธิที่ได้รับอำนาจแล้ว และสภากาชาดไทย ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี มาตรา ๘๘ ทวิ[๑๓] (ยกเลิก) มาตรา ๘๙ รถที่ได้จดทะเบียนแล้ว ถ้าไม่ได้เสียภาษีตามกำหนดตามมาตรา ๘๖ เจ้าของรถต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบพร้อมกับนำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถนั้นคืนต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งจะต้องเสียภาษีครั้งถัดไปตามมาตรา ๘๖ มาตรา ๙๐ เจ้าของรถต้องติดแผ่นป้ายเลขทะเบียนและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่นายทะเบียนออกให้ไว้กับตัวรถตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๙๑ ในกรณีที่แผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ ให้เจ้าของรถยื่นคำขอ ขอรับแผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุด หรือลบเลือนดังกล่าว หมวด ๗ ผู้ประจำรถ มาตรา ๙๒ ผู้ประจำรถ ได้แก่ (๑) ผู้ขับรถ (๒) ผู้เก็บค่าโดยสาร (๓) นายตรวจ (๔) ผู้บริการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๓ ห้ามมิให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๔ ใบอนุญาตสำหรับผู้ประจำรถ มี ๔ ประเภท คือ (๑) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ (๒) ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร (๓) ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ (๔) ใบอนุญาตเป็นผู้บริการ ใบอนุญาตแต่ละประเภทจะใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตประเภทที่หนึ่ง ประเภทที่สาม และประเภทที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตประเภทที่สองได้ มาตรา ๙๕[๑๔] ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถมีดังนี้ (๑) ชนิดที่หนึ่ง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกินยี่สิบคน (๒) ชนิดที่สอง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่าสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารเกินยี่สิบคน (๓) ชนิดที่สาม ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งโดยสภาพใช้สำหรับลากจูงรถอื่นหรือล้อเลื่อนที่บรรทุกสิ่งใด ๆ บนล้อเลื่อนนั้น (๔) ชนิดที่สี่ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภท หรือชนิดและลักษณะการบรรทุกตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใบอนุญาตแต่ละชนิดใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตชนิดที่สอง ชนิดที่สาม และชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่หนึ่งได้ ใบอนุญาตชนิดที่สามและชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สองได้ และใบอนุญาตชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สามได้ ประกาศของอธิบดีตามความใน (๔) ของวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามมาตรา ๙๓ ในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องมีคุณสมบัติและลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีความรู้และความสามารถตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๓) ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยความเหมาะสม (๔) ไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๕) ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจ (๖) ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพติดให้โทษ (๗) ไม่เป็นผู้มีใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถประเภทหรือชนิดเดียวกับที่ได้รับอนุญาตอยู่แล้ว (๘) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ เว้นแต่การเพิกถอนใบอนุญาตนั้นพ้นกำหนดสามปีแล้วนับแต่วันที่มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต (๙) ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่มิใช่เกี่ยวกับการใช้รถในการกระทำผิดหรือความผิดลหุโทษ หรือได้พ้นโทษมาแล้วเกินสามปี (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยถูกควบคุมตัวเพราะมีพฤติการณ์เป็นภัยต่อสังคม หรือเป็นอันธพาล เว้นแต่ได้พ้นจากการควบคุมตัวมาแล้วเกินหนึ่งปี มาตรา ๙๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง และได้ผ่านการศึกษาและจบหลักสูตรจากโรงเรียนการขนส่งของกรมการขนส่งทางบกหรือโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง การรับรองโรงเรียนสอนขับรถตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และผู้บริการต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถในการขนส่งส่วนบุคคลต้องมีคุณสมบัติและมีลักษณะตามมาตรา ๙๖ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐๐ ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถให้มีอายุหนึ่งปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถยื่นคำขอต่อนายทะเบียนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด มาตรา ๑๐๑ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถต้องมีใบอนุญาตอยู่กับตัวและต้องแสดงต่อนายทะเบียนหรือผู้ตรวจการเมื่อขอตรวจ มาตรา ๑๐๒ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถต้อง (๑) แต่งกายสะอาดเรียบร้อยตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง (๒) ไม่แสดงกิริยาหรือใช้ถ้อยคำเป็นการเสียดสี ดูหมิ่น ก้าวร้าว รังแก รบกวน หรือหยาบหยามผู้หนึ่งผู้ใด หรือแสดงกิริยาวาจาหรือส่งเสียงด้วยประการหนึ่งประการใดในลักษณะไม่สมควรหรือไม่สุภาพ (๓) ไม่เสพหรือเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น (๓ ทวิ)[๑๕] ไม่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (๓ ตรี)[๑๖] ไม่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (๔) ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐๒ ทวิ[๑๗] ในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใด ในขณะปฏิบัติหน้าที่นั้นมีสารอยู่ในร่างกายอันเกิดจากการเสพสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น หรือยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ให้ผู้ตรวจการ หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจมีอำนาจตรวจหรือทดสอบ หรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่าผู้นั้นมีสารนั้น ๆ อยู่ในร่างกายหรือไม่ เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ วิธีการตรวจหรือทดสอบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๐๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถนอกจากจะต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๒ แล้ว จะต้อง (๑) ไม่ขับรถในเวลาที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนความสามารถ (๒) ไม่รับบรรทุกบุคคลที่เป็นโรคเรื้อนหรือโรคติดต่อที่น่ารังเกียจไปกับผู้โดยสารอื่น (๓) ไม่รับบรรทุกศพ สัตว์ หรือสิ่งของที่อาจเกิดอันตรายหรือเป็นที่พึงรังเกียจไปกับผู้โดยสาร (๔) ไม่รับบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง ระเบิด หรือวัตถุอันตรายอย่างอื่นไปกับผู้โดยสาร วัตถุอันตรายให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๕) ต้องหยุดหรือจอดรถ ณ สถานีขนส่งและปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับสถานีขนส่งตามมาตรา ๑๙ (๘) และ (๑๐) มาตรา ๑๐๔ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถกระทำการใด ๆ ให้ผู้โดยสารจำต้องลงจากรถก่อนที่จะได้โดยสารถึงจุดหมายปลายทางโดยที่ได้ชำระค่าโดยสารถูกต้องตามอัตราที่กำหนดแล้ว มาตรา ๑๐๕ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถละเว้นการหยุดรถเพื่อรับหรือส่งผู้โดยสาร ณ ที่ที่มีเครื่องหมายให้รถนั้นหยุด ในเมื่อปรากฏว่ามีผู้โดยสารต้องการให้หยุดรถเพื่อรับหรือส่ง มาตรา ๑๐๖ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถกระทำการใด ๆ อันเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร มาตรา ๑๐๖ ทวิ[๑๘] ในกรณีที่มีความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและมีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศที่มีความตกลงดังกล่าวกับรัฐบาลไทย อาจใช้ใบอนุญาตขับรถของประเทศนั้นขับรถในราชอาณาจักรได้ตามประเภทและชนิดของรถที่ระบุไว้ในใบอนุญาตขับรถนั้น แต่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาและหรือความตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ และตามบทบัญญัติทั้งหลายในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๗ ในการขนส่งประจำทางหรือการขนส่งไม่ประจำทางระหว่างจังหวัดหรือระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถรับบรรทุกผู้โดยสารเกินจำนวนที่นั่งผู้โดยสารที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต มาตรา ๑๐๘ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๖ มาตรา ๙๗ มาตรา ๙๘ หรือมาตรา ๙๙ หรือบกพร่องไปในภายหลังเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้นเสีย มาตรา ๑๐๙ ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายในหมวดนี้ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจยึดใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถของผู้นั้น และสั่งเป็นหนังสือให้ผู้นั้นไปรายงานตนต่อนายทะเบียนภายในเจ็ดสิบสองชั่วโมง คำสั่งนั้นให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถชั่วคราวภายในกำหนดเวลาดังกล่าวนั้น ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้นได้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันหรือจะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้นเสียก็ได้ มาตรา ๑๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถซึ่งถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๑๑๑ ให้นำบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสารและนายตรวจมาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๘ ผู้โดยสาร มาตรา ๑๑๒ ผู้โดยสารต้องชำระค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๑๓ ผู้โดยสารต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ตลอดเวลาที่อยู่ในระหว่างการโดยสาร ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีการประกาศข้อกำหนดตามวรรคหนึ่งปิดไว้ ณ ที่เปิดเผยในรถ หมวด ๙ สถานีขนส่ง มาตรา ๑๑๔ สถานีขนส่งมี ๒ ประเภท คือ (๑) สถานีขนส่งผู้โดยสาร (๒) สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ ลักษณะของสถานีขนส่งตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๑๕ ให้กรมการขนส่งทางบกโดยอนุมัติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง จัดให้มีสถานีขนส่งขึ้นในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและในเขตท้องที่จังหวัดอื่น โดยจะดำเนินการเอง หรือจะมอบหมายให้รัฐวิสาหกิจหรือองค์การของรัฐเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่งไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด บุคคลอื่นใดประสงค์จะจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางก่อน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดให้มีหรือจัดตั้งสถานีขนส่งขึ้นที่ใด เมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๑๖ ให้อธิบดีมีอำนาจกำกับและควบคุมการดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์แห่งการนี้จะแต่งตั้งข้าราชการและหรือลูกจ้างสังกัดกรมการขนส่งทางบก ทำหน้าที่เป็นนายสถานีและเจ้าหน้าที่สถานีตามจำนวนที่เห็นสมควร มีอำนาจกำกับและควบคุมดังกล่าวด้วยก็ได้ มาตรา ๑๑๗ ในการบริหารงานที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งของกรมการขนส่งทางบกตามมาตรา ๑๑๕ วรรคหนึ่ง อธิบดีจะแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่เกินแปดคนเพื่อดูแลควบคุมและดำเนินการที่เกี่ยวกับสถานีขนส่งก็ได้ กรรมการที่อธิบดีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการของคณะกรรมการ ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการนี้โดยอนุโลม มาตรา ๑๑๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสาม ต้องมีคุณสมบัติและลักษณะตามมาตรา ๒๔ มาตรา ๑๑๙ ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งให้มีอายุตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดแต่ไม่เกินยี่สิบปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกิจการสถานีขนส่งรวมทั้งการรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยในบริเวณสถานีขนส่งนั้น มาตรา ๑๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างประจำสถานีขนส่งตลอดเวลา โดยให้มีหน้าที่ตรวจสอบสภาพรถขนส่งประจำทางซึ่งต้องหยุดหรือจอดเพื่อการขนส่ง ณ สถานีขนส่งแห่งนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัย คุณสมบัติและจำนวนเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๑๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีอู่ซ่อมรถและบริการซ่อมรถเพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่รถที่ใช้สถานีขนส่งนั้น มาตรา ๑๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีบริเวณที่จอดพักรถตามที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๑๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งต้องจัดให้มีสมุดทะเบียนการเดินรถที่ผ่านเข้าออกสถานีขนส่งตามแบบที่อธิบดีกำหนด สมุดทะเบียนการเดินรถต้องเก็บรักษาไว้ในที่ทำการของสถานีขนส่งแห่งนั้นพร้อมที่จะให้นายทะเบียน พนักงานตรวจสภาพหรือผู้ตรวจการตรวจดูได้ทุกเวลา มาตรา ๑๒๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งเรียกเก็บค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่งได้ไม่เกินอัตราตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด หมวด ๑๐ บทกำหนดโทษ มาตรา ๑๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๗๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๗[๑๙] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๖ วรรคสอง มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ (๑) (๒) หรือ (๔) มาตรา ๑๐๓ มาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๐๖ หรือมาตรา ๑๐๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๗ ทวิ[๒๐] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๒ (๓) (๓ ทวิ) หรือ (๓ ตรี) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๒๗ ตรี[๒๑] ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามมาตรา ๑๐๒ ทวิ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๑) ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๑) ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ขาดคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๓๑ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๓) (๑๔) หรือ (๑๕) หรือในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๓๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๔ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๓๖ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง มาตรา ๓๒ วรรคสอง มาตรา ๓๓ วรรคสอง มาตรา ๓๔ วรรคสอง มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๗ หรือมาตรา ๑๑๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๓๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๙ ต้องระวางโทษปรับตามจำนวนรถที่ใช้ทำการขนส่งนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาตคันละไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งวัน จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๓๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๐ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองแสนบาท มาตรา ๑๓๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๔๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๔๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๒ หรือมาตรา ๔๗ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕ มาตรา ๗๙ หรือมาตรา ๘๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๔๔ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่อธิบดี นายทะเบียนผู้ตรวจการ หรือพนักงานตรวจสภาพ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ หรือมาตรา ๔๙ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนกลางซึ่งสั่งตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๖๘ ต้องระวางโทษปรับหนึ่งแสนบาท หรือปรับเป็นรายวัน วันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๑๔๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดตามมาตรา ๖๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๔๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๖ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดใช้รถโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๑ หรือฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ตรวจการหรือนายทะเบียนตามมาตรา ๘๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๘ มาตรา ๘๑ วรรคหนึ่งหรือมาตรา ๘๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๕๐ เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท มาตรา ๑๕๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท แต่ถ้าผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๕๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างที่ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๑๐๙ หรือปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่ถ้าผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท มาตรา ๑๕๓ ผู้โดยสารผู้ใดโดยสารรถโดยมีเจตนาไม่ชำระค่าขนส่งหรือชำระค่าขนส่งไม่ครบถ้วนตามอัตราที่กำหนด หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๑๑๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๕๔ ผู้ใดจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๕๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๓ หรือมาตรา ๑๒๔ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๕๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถผู้ใดไม่นำรถเข้าหยุดหรือจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่งตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๑๕๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งนำรถเข้าหยุดหรือจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่งผู้ใดไม่ชำระค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่งให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา ๑๒๕ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๑๕๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถผู้ใด โดยทุจริตหรือจงใจออกใบรับรองตรวจสภาพรถโดยไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท และนายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นเสียได้ มาตรา ๑๕๙ ผู้ใดเรียกเก็บค่าขนส่ง ค่าบริการรับจัดการขนส่ง ค่าบริการเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีขนส่ง หรือค่าบริการอย่างอื่น ผิดไปจากอัตราที่คณะกรรมการกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๖๐ ผู้ใด (๑) ใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้แก่ผู้อื่น (๒) ใช้เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้สำหรับรถคันหนึ่งกับรถอีกคันหนึ่ง (๓) ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้แก่ตน (๔) เปลี่ยนแปลงหรือปิดบังทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ซึ่งแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ หรือ (๕) ใช้รถที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา ๘๘ ให้ผิดไปจากวัตถุประสงค์ที่ได้รับยกเว้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๖๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติทั้งหลายในกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบกในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถผู้เก็บค่าโดยสารและนายตรวจตามมาตรา ๑๑๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๖๒ ผู้ใดเปลี่ยนแปลง ย้าย ทำลาย หรือกระทำให้เสียหายด้วยประการใด ๆ แก่เครื่องหมายหรือสิ่งอื่นใดที่ทางราชการได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการขนส่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๖๓ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้ เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบหรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ดำเนินคดีเพื่อฟ้องร้องต่อไป บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๖๔ ในระหว่างที่ยังมิได้มีกฎกระทรวง ข้อกำหนด หรือระเบียบตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กฎกระทรวง ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศใด ๆ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ และพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ คงใช้บังคับต่อไป มาตรา ๑๖๕[๒๒] บรรดาใบอนุญาตที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุและถ้าจะต่ออายุใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ บรรดารถที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้ามีการแก้ไขดัดแปลงโครงรถหรือขนาดสัดส่วนของตัวถังกว้างหรือยาวกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และการแก้ไขดัดแปลงนั้นกระทำได้โดยชอบตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ที่ใช้บังคับในขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นรถที่ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๗๑ มาตรา ๑๖๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง และเจ้าของรถที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ ปฏิบัติการให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๖๗ รถที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่ถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้ ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้รถตามวรรคหนึ่ง ซึ่งจะชำระภาษีครั้งแรกตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องชำระภาษีคราวละกี่งวดก็ได้ มาตรา ๑๖๘ คำขออนุญาตใด ๆ ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘ และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ถือว่าเป็นคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม และถ้าคำขออนุญาตดังกล่าวมีข้อความแตกต่างไปจากคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมคำขออนุญาตเพื่อให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ได้ มาตรา ๑๖๙ ในเขตท้องที่จังหวัดใดในระหว่างที่ยังไม่มีขนส่งจังหวัดให้อำนาจและหน้าที่ของขนส่งจังหวัด เป็นอำนาจและหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ต่อเส้นทางหนึ่ง ฉบับละ ๑๕,๐๐๐ บาท (๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ไม่ประจำทาง ฉบับละ ๔,๐๐๐ บาท (๓) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดย รถขนาดเล็ก ฉบับละ ๑,๕๐๐ บาท (๔) ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (๕) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ (ก) ตลอดปี ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (ข) เฉพาะคราว ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๖) ใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (๗) ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการ สถานีขนส่ง ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๘) ใบอนุญาตผู้ขับรถและใบอนุญาต นายตรวจ ฉบับละ ๒๐๐ บาท (๙) ใบอนุญาตผู้เก็บค่าโดยสารและ ใบอนุญาตผู้บริการ ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๐) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๑๑) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๑๒) การโอนทะเบียนรถ ครั้งละ ๒๐๐ บาท (๑๓) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและ เครื่องหมาย แผ่นละ ๑๐๐ บาท (๑๔) คำขออนุญาตประกอบการขนส่ง ประจำทาง ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๑๕) คำขออื่น ๆ ฉบับละ ๒๐ บาท (๑๖) การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตแต่ละฉบับ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว และสภาพการณ์ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก บทบัญญัติทั้งหลายที่ใช้บังคับอยู่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการขนส่งเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓[๒๓] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผลแห่งการประกาศใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ส่งผลกระทบถึงบรรดารถบรรทุกขนส่งสินค้า ของผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล คือ ก. รถบรรทุกที่ใช้รถมีน้ำหนักรถต่ำกว่าหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมทั่วพระราชอาณาจักรสำหรับประกอบการภายในครอบครัว ต่างได้รับความเดือดร้อนอย่างยิ่ง เพราะต้องไปยื่นขอจดทะเบียนขนส่งส่วนบุคคล และต้องใช้ใบอนุญาตขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก นอกเหนือไปจากใบอนุญาตของกรมตำรวจที่มีอยู่แล้ว ก่อให้เกิดความเดือดร้อน เพราะรถบรรทุกขนาดเล็กเหล่านี้หาจำต้องใช้ความชำนาญเชี่ยวชาญเป็นพิเศษไม่ เนื่องจากเป็นรถที่ส่วนมากใช้ในธุรกิจส่วนตัว ภายในครัวเรือนและใช้ในการขนส่งพืชผลของเกษตรกร จึงสมควรได้รับการยกเว้นไม่ต้องไปจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก และการใช้ใบขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก ข. สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งได้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามใบอนุญาตนั้น การจำกัดท้องที่ทำการขนส่งนั้น ย่อมก่อให้เกิดความไม่สะดวกและเป็นธรรม เพราะผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลก็ย่อมหมายถึงประกอบธุรกิจส่วนตัวนั่นเอง ท้องที่ที่กำหนดให้แน่นอนย่อมเป็นเครื่องกีดขวางการปฏิบัติงาน เพราะการที่จะบรรทุกสินค้าของตนไปส่งยังที่ต่าง ๆ การที่จะต้องไปขออนุญาตเป็นครั้งคราวนั้นย่อมก่อให้เกิดภาวะสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ เป็นการเพิ่มราคาทุนโดยไม่จำเป็น ค. โดยทั่วไปการตรวจสภาพรถมักล่าช้า เมื่อนำรถไปขอรับการตรวจแล้วแต่ปรากฏว่ารถมีจำนวนมาก ตรวจสภาพไม่ทันหากนำไปวิ่งขนส่งก็จะต้องถูกจับกุมและมีโทษสูง และการที่จอดรอการตรวจสภาพเป็นระยะนาน ๆ นั้น ย่อมทำให้เศรษฐกิจกระทบกระเทือน จึงสมควรกำหนดเวลาตรวจไว้ และหากความล่าช้าเป็นเพราะความผิดของพนักงานหรือผู้มีอำนาจตรวจสภาพ ก็ไม่สมควรเอาโทษแก่ผู้ประกอบการขนส่งที่ขอตรวจสภาพไว้แล้ว เพราะโทษมีกำหนดสูง ง. การต่อใบอนุญาตตามบทเฉพาะกาลของใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งได้รับอนุญาตไว้แล้ว ก่อนใช้พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ขนาดและส่วนซึ่งพนักงานตรวจสภาพตามกฎหมายเก่า ทั้งของกรมตำรวจและกรมการขนส่งทางบก ไม่เป็นระเบียบเดียวกัน และมีมาตรฐานต่างกัน ฉะนั้น การขอต่อใบอนุญาตใหม่จึงไม่สมควรนำเหตุผลของการผิดขนาดและส่วนมาเป็นข้อปฏิเสธการขอต่อใบอนุญาตเก่านั้น อาศัยเหตุผลดังกล่าว จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฉบับนี้ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๒๔] มาตรา ๕ อัตราภาษีรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ไม่ใช้บังคับแก่รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีรถประจำปีไว้แล้ว หรือที่ค้างชำระภาษีรถประจำปีก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ สำหรับภาษีรถประจำปีที่เสียไว้แล้ว หรือที่ค้างชำระนั้น มาตรา ๖ รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีรถประจำปีไว้แล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ หากเป็นรถที่ไม่ได้รับการลดภาษีรถประจำปีตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๘๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ให้เสียภาษีรถประจำปีสำหรับปีต่อไป ดังต่อไปนี้ (๑) ปีที่หนึ่ง ให้เสียในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๒) ปีที่สอง ให้เสียในอัตราสามในสี่ของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ (๓) ปีต่อไป ให้เสียในอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันมีรถจำนวนมากใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกิดความจำเป็นในการสั่งน้ำมันดีเซลหรือก๊าซเข้ามาในราชอาณาจักร ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการเพิ่มจำนวนรถที่ใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง และเพื่อเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙[๒๕] ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอขอให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ นั้น ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙ (สมัยสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ที่ประชุมได้ลงมติไม่อนุมัติ จึงประกาศมาตามความในมาตรา ๑๕๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐[๒๖] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยได้ทำความตกลงกับประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน และโดยที่ประเทศไทยอาจทำความตกลงในทำนองเดียวกันกับประเทศอื่น ๆ ด้วย ซึ่งความตกลงดังกล่าวจะมีผลให้ผู้มีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือจากรัฐบาลของประเทศที่ประเทศไทยมีความตกลงด้วย สามารถใช้ใบอนุญาตขับรถนั้นขับรถในประเทศไทยได้ ฉะนั้น เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่กับต่างประเทศตามความตกลงดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕[๒๗] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ โดยเฉพาะผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถส่วนมากมักนิยมเสพยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ ทำให้เกิดอุบัติเหตุสร้างความสูญเสียแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนบนท้องถนนเป็นอันมาก สมควรมีบทบัญญัติกำหนดความผิดและกำหนดโทษเกี่ยวกับการเสพยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และให้อำนาจผู้ตรวจการ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นหรือเสพยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบถึงเหตุดังกล่าวได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วศิน/ผู้จัดทำ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๓๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๑ มีนาคม ๒๕๒๒ [๒] มาตรา ๔ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๓] มาตรา ๔ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๔] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๕] มาตรา ๒๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๖] มาตรา ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๗] มาตรา ๓๔ (๔) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๘] มาตรา ๓๔ (๕) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๙] มาตรา ๓๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๐] มาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๑] มาตรา ๗๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๑๒] มาตรา ๗๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๑๓] มาตรา ๘๘ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ต่อมามีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙ (สมัยสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ที่ประชุมได้ลงมติไม่อนุมัติ [๑๔] มาตรา ๙๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๕] มาตรา ๑๐๒ (๓ ทวิ) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๖] มาตรา ๑๐๒ (๓ ตรี) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๗] มาตรา ๑๐๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๘] มาตรา ๑๐๖ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ [๑๙] มาตรา ๑๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๐] มาตรา ๑๒๗ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๑] มาตรา ๑๒๗ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๒๒] มาตรา ๑๖๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๖๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๕ ตุลาคม ๒๕๒๓ [๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑/๓๑ มกราคม ๒๕๒๙ [๒๕] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๗๕/หน้า ๑๑/๖ พฤษภาคม ๒๕๒๙ [๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓/๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๐ [๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๔/หน้า ๑๔/๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
301292
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๔) และ (๕) ของมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ “(๔) จำนวนผู้ประจำรถ (๕) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่ง ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ต้องวางหลักทรัพย์เป็นเงินสด หรือพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกัน หรือเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งทำกับบริษัทประกันภัยที่นายทะเบียนกลางให้ความเห็นชอบต่อนายทะเบียนกลาง ในกรณีเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องเป็นผู้เอาประกันภัย โดยให้บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการขนส่งของตนเป็นผู้รับประโยชน์ สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเพื่อประกันความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิตหรือร่างกายของบุคคลภายนอก และซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องรับผิดชอบเนื่องจากการขนส่งของตน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง” มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๕ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๙๕ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถมีดังนี้ (๑) ชนิดที่หนึ่ง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกินยี่สิบคน (๒) ชนิดที่สอง ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่าสามพันห้าร้อยกิโลกรัมที่มิได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารเกินยี่สิบคน (๓) ชนิดที่สาม ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งโดยสภาพใช้สำหรับลากจูงรถอื่น หรือล้อเลื่อนที่บรรทุกสิ่งใด ๆ บนล้อเลื่อนนั้น (๔) ชนิดที่สี่ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภท หรือชนิดและลักษณะการบรรทุกตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใบอนุญาตแต่ละชนิดใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ เว้นแต่ใบอนุญาตชนิดที่สอง ชนิดที่สาม และชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่หนึ่งได้ ใบอนุญาตชนิดที่สามและชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สองได้ และใบอนุญาตชนิดที่สี่ใช้เป็นใบอนุญาตชนิดที่สามได้ ประกาศของอธิบดีตามความใน (๔) ของวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา” มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความใน (๔) ของมาตรา ๑๐๓ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๔) ไม่รับบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง ระเบิด หรือวัตถุอันตรายโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปรากฏว่าอุบัติเหตุที่เกิดจากรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก แต่โดยที่พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังไม่มีบทบัญญัติควบคุมการขนส่งวัตถุอันตรายไว้อย่างเพียงพอและเหมาะสม สมควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตรายเสียใหม่เพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วศิน/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ วิมล/ปรับปรุง ๙ กันยายน ๒๕๖๓ ภิรมย์พร/ตรวจ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๘/หน้า ๙/๕ เมษายน ๒๕๓๕